The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

หลักสูตรวิชาสุขศึกษาและพละศึกษา

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

หลักสูตรวิชาสุขศึกษาและพละศึกษา

หลักสูตรวิชาสุขศึกษาและพละศึกษา

149 ที่ ชื่อหน่วยการเรียนรู้ มาตรฐาน การเรียนรู้/ตัวชี้วัด สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด เวลา (ชั่วโมง) น้ำหนัก คะแนน พ 3.2 ม.5/3 - มารยาทของผู้เล่นและผู้ดูกีฬาที่ ดี -การมีน้ำใจนักกีฬา 2 10 5 การทดสอบ สมรรถภาพ พ 3.2 ม.5/4 -ความรู้การทดสอบสมรรถภาพ ทางกาย -ข้อเสนอแนะการประเมินผล สมรรถภาพทางกาย 2 10 ระหว่างภาค 20 80 คะแนนวัดผลปลายภาค 20 รวมคะแนนรายภาค 100


150 โครงสร้างรายวิชา พ33101 วิชาสุขศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เวลา 20 ชั่วโมง จำนวน 0.5 หน่วยกิต ที่ ชื่อหน่วยการเรียนรู้ มาตรฐานการ เรียนรู้/ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้ เวลา (ชั่วโมง) น้ำหนัก คะแนน 1 กายพร้อม ใจพร้อม พ 1.1 ม.6/1 การทำงานของระบบย่อยอาหาร 1 4 พ 1.1 ม.6/2 วางแผนดูแลสุขภาพตามภาวะการ เจริญเติบโตและพัฒนาการของ ตนเอง/ครอบครัว 1 4 2 เพศสภาพและ ความสัมพันธ์ พ 2.1 ม.6/1 อิทธิพลของวัฒนธรรมที่มีผลต่อ พฤติกรรมทางเพศ และการดำเนิน ชีวิต 1 4 พ 2.1 ม.6/2 แนวทางในการเลือกใช้ทักษะต่างๆ ในการป้องกัน ลดความขัดแย้ง และ แก้ปัญหาเรื่องเพศและครอบครัว 1 4 พ 2.1 ม.6/3 การป้องกัน ลดความขัดแย้งและ แก้ปัญหาเรื่องเพศและครอบครัว 1 4 พ 2.1 ม.6/4 เสนอแนวทางแก้ปัญหาความขัดแย้งที่ เกิดขึ้นกับผู้เรียนหรือเยาวชนในชุมชน เช่น เพศสัมพันธ์ เป็นต้น 1 4 3 การสร้างเสริม สุขภาพและการ ป้องกันโรคในชุมชน พ 4.1 ม.6/1 บทบาทและความรับผิดชอบของ บุคคลที่มีต่อการสร้างเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค 1 4 พ 4.1 ม.6/2 อิทธิพลของสื่อโฆษณาเกี่ยวกับ สุขภาพเพื่อการเลือกบริโภค 1 4 พ 4.1 ม.6/3 ปฏิบัติตนตามสิทธิของผู้บริโภค 1 4 4 การสร้างเสริม สุขภาพและการ ป้องกันโรคในชุมชน พ 4.1 ม.6/4 วิเคราะห์สาเหตุและเสนอทางการ ป้องกันการเจ็บป่วย/การตายของ คนไทย 1 4 พ 4.1 ม.6/5 วางแผนและปฏิบัติตามแผนการ พัฒนาสุขภาพ 1 4 พ 4.1 ม.6/6 มีส่วนร่วมในการส่งเสริมและพัฒนา สุขภาพในชุมชน 1 4


151 ที่ ชื่อหน่วยการเรียนรู้ มาตรฐานการ เรียนรู้/ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้ เวลา (ชั่วโมง) น้ำหนัก คะแนน พ 4.1 ม.6/7 วางแผนและปฏิบัติตามแผนการ พัฒนาสมรรถภาพทางกายและ สมรรถภาพทางกลไก 1 4 5 ห่างไกลยาเสพติด พ 5.1 ม.6/1 - ป้องกันความเสี่ยงต่อการใช้ยา การใช้สารเสพติดและความรุนแรง - ผ ล ก ร ะ ท บ ที่ เกิด จ า ก ก า ร ครอ บ ค รอง ก ารใช้ แ ล ะ ก าร จำหน่ายสารเสพติด 1 4 พ 5.1 ม.6/2 โทษทางกฎหมายที่เกิดจากการ ครอ บ ค รอ ง ก าร ใช้ แ ล ะ ก าร จำหน่ายสารเสพติด 1 4 พ 5.1 ม.6/3 วิเคราะห์และเสนอแนวทางป้องกัน ปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพหรือความ รุนแรงของคนไทย 1 4 พ 5.1 ม.6/4 วางแผน กำหนดแนวทางการลด อุบัติเห ตุ และสร้างเสริมความ ปลอดภัยในชุมชน 1 4 พ 5.1 ม.6/5 เสริมสร้างความความปลอดภัยใน ชุมชน 1 4 พ 5.1 ม.6/6 ใช้ทักษะการตัดสินใจแก้ปัญหาใน สถานการณ์ที่เสี่ยงต่อสุขภาพและ ความรุนแรง 1 4 พ 5.1 ม.6/7 แสดงวิธีการฟื้นคืนชีพอย่างถูกต้อง - วิธีการช่วยฟื้นคืนชีพ CPR 1 4 ระหว่างภาค 20 80 คะแนนวัดผลปลายภาค 20 รวมคะแนนรายภาค 100


152 โครงสร้างรายวิชา พ33203 วิชากีฬาไทยและกีฬาสากล 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เวลา 20 ชั่วโมง จำนวน 0.5 หน่วยกิต ที่ ชื่อหน่วยการเรียนรู้ มาตรฐาน การเรียนรู้/ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้ เวลา (ชั่วโมง) น้ำหนัก คะแนน 1 ประวัติความเป็นมา และประโยชน์ของ กีฬาเปตอง กรีฑา แบดมินตัน เทเบิล เทนนิส ฟุตซอลและ ฟุตบอล พ 3.1 ม.6/1 - ประวัติความเป็นมากีฬาเปตอง กรีฑา แบดมินตัน เทเบิลเทนนิส ฟุตซอลและ ฟุตบอล - ความสำคัญของกีฬาเปตอง กรีฑา แบดมินตัน เทเบิลเทนนิส ฟุตซอลและ ฟุตบอล - ประโยชน์ของการเล่นกีฬาเปตอง กรีฑา แบดมินตัน เทเบิลเทนนิส ฟุตซอลและ ฟุตบอล 1 5 2 ความรู้พื้นฐานการ ออกกําลังกาย พ 3.1 ม.6/2 - กรีฑาประเภทลาน 3 10 พ 3.1 ม.6/4 - การฝึกแต่ละตำแหน่ง 3 10 พ 3.1 ม.6/5 - การเล่นอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน 3 10 พ 3.1 ม.6/3 - แกนนำนักกีฬา 3 10 3 ทักษะการคลื่อนไหว ขั้นพื้นฐานของการ เล่นกีฬา พ 3.2 ม.6/1 การเล่นกีฬาเปตอง กรีฑาแบดมินตัน เท เบิลเทนนิส ฟุตซอลและฟุตบอล 2 10 พ 3.1 ม.6/2 กฎ กติกา ในการแข่งขันการเล่นกีฬาเปตอง กรีฑาแบดมินตัน เทเบิลเทนนิส ฟุตซอล และฟุตบอล 2 10 พ 3.1 ม.6/3 มารยาทในการดู การเล่น การแข่งขัน และ นำไปใช้ปฏิบัติอย่างมีน้ำใจนักกีฬา 1 5 พ 3.2 ม.6/4 ร่วมแข่งขันกีฬาอย่างมีความสุข และเห็น คุณค่าของการเต้นแอโรบิค 2 10 ระหว่างภาค 20 80 คะแนนวัดผลปลายภาค 20 รวมคะแนนรายภาค 100


153 การจัดการเรียนรู้และส่งเสริมการเรียนรู้ ตามหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนรู้ระยองปัญญานุกูล พุทธศักราช ๒๕๖๖


154 การจัดการเรียนรู้และการส่งเสริมการเรียนรู้ หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนระยองปัญญานุกูล พุทธศักราช 2566 ตามหลักสูตรการแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง 2560) การจัดการเรียนรู้เป็นกระบวนการสำคัญในการนำหลักสูตรสู่การปฏิบัติ หลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนระยองปัญญานุกูล พุทธศักราช 2566 เป็นหลักสูตรที่มีมาตรฐานการเรียนรู้ สมรรถนะสำคัญ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน เป็นเป้าหมายสำคัญในการพัฒนาเด็กและเยาวชนสำหรับผู้เรียน ที่เป็นกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ ในการพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณสมบัติตามเป้าหมายหลักสูตร ผู้สอนพยายามคัดสรรกระบวนการเรียนรู้ จัดการเรียนรู้โดยช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ผ่านสาระที่กำหนดไว้ในหลักสูตร 8 กลุ่ม รวมทั้งปลูกฝังเสริมสร้าง คุณลักษณะอันพึงประสงค์ พัฒนาทักษะต่าง ๆ อันเป็นสมรรถนะสำคัญให้ผู้เรียนบรรลุตามเป้าหมาย หลักการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนระยองปัญญานุกูล พุทธศักราช 2566 การจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนระยองปัญญานุกูล พุทธศักราช 2566 ตามหลักสูตรการแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง 2560) ยึดหลัก การจัด การเรียนรู้ตามแนวทางของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (พ.ศ. 2545 และ พ.ศ. 2553) หลักเกณฑ์และวิธีการปรับใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (สำหรับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ) ที่เน้นผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด เชื่อว่าทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนา ตนเองได้ ยึดประโยชน์ที่เกิดกับผู้เรียน โดยมีเป้าหมายให้ผู้เรียนเป็นคนดี เก่ง มีความเป็นไทย และทำงาน ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขในกลุ่มสาระการเรียนรู้ทั้ง 8 กลุ่ม กระบวนการจัดการเรียนรู้ต้องส่งเสริมให้ ผู้เรียน สามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล และพัฒนาการทางสมอง เน้นให้ความสำคัญทั้งความรู้ และคุณธรรม คิดเป็นองค์รวม การจัดการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถตามมาตรฐานการเรียนรู้ สมรรถนะสำคัญ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระบวนการจัดการเรียนรู้ต้องส่งเสริมให้ผู้เรียน สามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล เน้นให้ความสำคัญ ทั้งความรู้ และคุณธรรม การจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนระยองปัญญานุกูล


155 พุทธศักราช 2566 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง 2560) จึงได้กำหนดแนวดำเนินการเพื่อให้การจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรประสบความสำเร็จตามจุดมุ่งหมาย ดังนี้ 1. จัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยยึดหลักการพัฒนาผู้เรียนให้ถึงศักยภาพสูงสุด คือ ผู้เรียนได้พัฒนา ตนเอง ทั้งร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม มีความรู้สึกที่ดีเกี่ยวกับตนเอง ภาคภูมิใจในผลการปฏิบัติ 2. จัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยยึดชีวิตจริงของผู้เรียนเป็นหลัก เน้นให้ผู้เรียนมีศักยภาพในการคิด วิเคราะห์มีรูปแบบการคิดของตนเอง ค้นพบตนเอง 3. จัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยยึดหลักความแตกต่างระหว่างบุคคล และหลักการเรียนรู้ ในเชิงพหุปัญญา และใช้กระบวนการวิจัยในการแก้ปัญหาและพัฒนาผู้เรียน 4. จัดประสบการณ์โดยใช้คุณธรรมนำความรู้ บูรณาการคุณธรรมในการจัดประสบการณ์ ทุกกลุ่มสาระการเรียรู้และทุกขั้นตอนในการจัดการเรียนรู้ ถือว่าครูทุกคนมีหน้าที่พัฒนาผู้เรียนให้ประพฤติตน ยึดหลักคุณธรรม และพัฒนาตนให้มีค่านิยมอันพึงประสงค์ 5. จัดบรรยากาศให้เอื้อต่อการแสวงหาความรู้ มีอิสระในการคิด ได้ลงมือปฏิบัติจริง ครูพร้อม ให้คำปรึกษา ให้กำลังใจ เสริมแรงให้ผู้เรียนมีความเชื่อมั่นว่า ตนเองมีศักยภาพในการเรียนรู้ในเชิงพหุปัญญา ไม่ด้านใดก็ด้านหนึ่งหรือหลายด้านพร้อมกัน 6. จัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้มีความสัมพันธ์ เชื่อมโยง หรือบูรณาการทั้งภายในกลุ่มสาระ การเรียนรู้และระหว่างกลุ่มสาระการเรียนรู้ให้มากที่สุด 7. จัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้ยืดหยุ่นตามเหตุการณ์ และสภาพท้องถิ่น โดยใช้แหล่งการเรียนรู้ และภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการเรียนรู้ตามความเหมาะสม 8. จัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยมุ่งเน้นกระบวนการเรียนรู้ กระบวนการคิดอย่างมีเหตุผล และสร้างสรรค์กระบวนการกลุ่ม การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ผู้เรียนจะต้องอาศัยกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย เป็นเครื่องมือที่จะนำพาตนเองไปสู่เป้าหมายของหลักสูตร กระบวนการเรียนรู้ที่จำเป็นสำหรับผู้เรียน อาทิกระบวนการเรียนรู้แบบบูรณาการ กระบวนการสร้างความรู้ กระบวนการคิด กระบวนการทางสังคม กระบวนการเผชิญสถานการณ์และแก้ปัญหา กระบวนการเรียนรู้ จากประสบการณ์จริง กระบวนการปฏิบัติ ลงมือทำจริง กระบวนการจัดการ กระบวนการวิจัย กระบวนการเรียนรู้ของตนเอง กระบวนการพัฒนาลักษณะ นิสัย กระบวนการเหล่านี้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนรู้ที่ผู้เรียนควรได้รับการฝึกฝนพัฒนา เพราะจะ สามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี บรรลุเป้าหมายของหลักสูตร ดังนั้น ผู้สอน จึงจำเป็นต้องศึกษาทำ ความเข้าใจในกระบวนการเรียนรู้ต่าง ๆ เพื่อให้สามารถเลือกใช้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้ได้อย่าง มีประสิทธิภาพ ผู้สอนต้องวิเคราะห์ผู้เรียน ออกแบบกระบวนการเรียนรู้ จัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพ ตาม มาตรฐาน การเรียน รู้ทั้ ง 8 กลุ่ม สาระการเรียน รู้รวมทั้ งป ลูกฝังเสริมสร้างคุณ ลักษ ณ ะ อันพึงประสงค์ พัฒนาทักษะต่างๆ อันเป็นสมรรถนะสำคัญที่ต้องการให้เกิดแก่ผู้เรียน


156 หลักการจัดการเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถตามมาตรฐานการเรียนรู้ สมรรถนะสำคัญ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง 2560) โดยยึดหลักว่า ผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด เชื่อว่าทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนา ตนเองได้ ยึดประโยชน์ที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน กระบวนการเรียนรู้ต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนา ตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ คำนึงความแตกต่างระหว่างบุคคลความต้องการจำเป็น และพัฒนาการ ทางสมอง เน้นให้ความสำคัญทั้งความรู้และคุณธรรม ๑) กระบวนการเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้และการพัฒนาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ครูผู้สอนจะต้องอาศัยกระบวนการ เรียนรู้ที่หลากหลาย เป็นเครื่องมือที่จะนำพาผู้เรียนไปสู่เป้าหมาย กระบวนการเรียนรู้ที่จำเป็นสำหรับผู้เรียน อาทิ กระบวนการเรียนรู้แบบบูรณาการ กระบวนการสร้างความรู้ กระบวนการคิด กระบวนการทางสังคม กระบวนการเผชิญสถานการณ์และแก้ปัญหา กระบวนการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง กระบวนการปฏิบัติลงมือทำจริง กระบวนการจัดการ กระบวนการวิจัย กระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเอง และกระบวนการพัฒนาลักษณะนิสัย การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับผู้เรียน ให้ยึดผู้เรียนเป็น สำคัญ โดยใช้กระบวนการจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Program : IEP) และแผนการสอนเฉพาะบุคคล (Individualized Implementation Plan : IIP) มาเป็นเครื่องมือในการ จัดการเรียนรู้และการพัฒนาศักยภาพของผู้เรียน เพื่อนำไปสู่เป้าหมายของหลักสูตร ให้มีการวิเคราะห์ มาตรฐาน ตัวชี้วัด และประเมินความต้องการของผู้เรียน เพื่อนำข้อมูลมาวางแผนการจัดการเรียนรู้ วางแผน พัฒนาผู้เรียนโดยการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบองค์รวม และใช้รูปแบบวิธีการที่หลากหลาย บูรณาการการ เรียนรู้ เน้นการจัดการเรียนการสอนตามสภาพจริง ให้ผู้เรียนได้ศึกษา แหล่งเรียนรู้ในชุมชน รวมทั้งนำ กระบวนการวิจัยในชั้นเรียนมาเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการเรียนการสอนและการพัฒนาผู้เรียนให้เต็มศักยภาพ 3) การออกแบบการจัดการเรียนรู้ ผู้สอนต้องศึกษาหลักสูตรสถานศึกษาให้เข้าใจถึงมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด สมรรถนะสำคัญ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน แล้วจึงทำการออกแบบการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ ความต้องการจำเป็นในแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Program : IEP) โดยเลือกใช้วิธีสอนและเทคนิคการสอน เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการและการช่วยเหลืออื่นใด ทางการศึกษา แหล่งเรียนรู้ การวัดและประเมินผล เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาเต็มศักยภาพและบรรลุตาม มาตรฐานการเรียนรู้ ซึ่งเป็นเป้าหมายที่กำหนด


157 4) บทบาทของผู้สอนและผู้เรียน การจัดการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนมีคุณภาพตามเป้าหมายของหลักสูตร ทั้งผู้สอนและผู้เรียนควรมี บทบาท ดังนี้ 4.1 บทบาทของผู้สอน 1) ศึกษาวิเคราะห์หลักสูตรสถานศึกษา ให้เข้าใจสามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติได้ 2) ศึกษาวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล ประเมินความสามารถพื้นฐาน แล้วนำข้อมูลมาใช้ใน การจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Program : IEP) ให้ตรงกับความ ต้องการจำเป็น เหมาะสม สอดคล้องกับศักยภาพของผู้เรียนเป็นสำคัญ 3) กำหนดเป้าหมายที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน ด้านความรู้ ทักษะกระบวนการที่จำเป็น ความคิดรวบยอด หลักการและความสัมพันธ์ รวมทั้งคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 4) ออกแบบการเรียนรู้และจัดการเรียนรู้ที่ตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล และพัฒนาการทางสมอง ระดับความสามารถเพื่อนำผู้เรียนไปสู่เป้าหมาย 5) จัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ และดูแลช่วยเหลือผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้ 6) จัดเตรียมและเลือกใช้สื่อให้เหมาะสมกับกิจกรรม ระดับความสามารถ ลักษณะ บุคลิกภาพ นำภูมิปัญญาท้องถิ่น เทคโนโลยีที่เหมาะสมมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน 7) ประเมินความก้าวหน้าของผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาด้วยวิธีการ ที่หลากหลาย เหมาะสมกับธรรมชาติของทักษะและระดับพัฒนาการของผู้เรียน ซึ่งอาจมีการปรับปรุงแผนการ จัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Program : IEP) ให้เหมาะสมกับผู้เรียนแต่ละคน 8) จัดหาสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการและความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา สำหรับผู้เรียนที่มีความต้องการจำเป็นตามแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Program : IEP) 9) ประสานความร่วมมือกับผู้เกี่ยวข้องในการพัฒนาผู้เรียนเป็นองค์รวมในการวางแผนการจัด การศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Program : IEP) เพื่อนำผู้เรียนไปสู่เป้าหมายที่กำหนด 10) วิเคราะห์ผลการประเมินมาใช้ในการซ่อมเสริมและพัฒนาผู้เรียน รวมทั้งการปรับปรุงการ จัดการเรียนการสอนของตนเองให้สอดคล้องกับแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล ( Individualized Education Program : IEP)


158 4.2 บทบาทของผู้เรียน 1) ให้ความร่วมมือ มีปฏิสัมพันธ์ เข้าร่วมกิจกรรม ทำงานร่วมกับกลุ่มและผู้สอน 2) เสาะแสวงหาความรู้ ศึกษาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ สื่อ เทคโนโลยีที่หลากหลายด้วยวิธีการ ต่างๆ โดยผู้แนะนำหรือด้วยตนเอง 3) ลงมือฝึกปฏิบัติจริงและนำไปใช้ในชีวิตประจำวันตามสถานการณ์ต่างๆ 4) ควบคุมตนเอง แสดงพฤติกรรมและอารมณ์ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ 5) มีส่วนร่วมในการประเมินและพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของตนเอง 5) สื่อการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้เป็นเครื่องมือส่งเสริมสนับสนุนการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้ผู้เรียนเข้าถึงความรู้ทักษะ กระบวนการ และคุณลักษณะตามมาตรฐานการเรียนรู้ของหลักสูตร ได้อย่างมีประสิทธิภาพสื่อการเรียนรู้ มีหลากหลายประเภท ทั้งสื่อธรรมชาติ สื่อของจริง สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อเทคโนโลยี และเครือข่ายการเรียนรู้ต่างๆ ที่มีในท้องถิ่น การเลือกใช้สื่อควรเลือกให้มีความเหมาะสมกับระดับพัฒนาการและศักยภาพของผู้เรียน ที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาแต่ละระดับ การจัดหาสื่อการเรียนรู้ ผู้เรียนและผู้สอนสามารถจัดทำและพัฒนาขึ้นเอง หรือปรับปรุงเลือกใช้อย่าง มีคุณภาพจากสื่อต่างๆที่มีอยู่รอบตัว เพื่อนำมาใช้ประกอบในการจัดการเรียนรู้ที่สามารถส่งเสริมและสื่อสาร ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ โดยสถานศึกษาควรจัดให้มีอย่างเพียงพอเพื่อพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่าง แท้จริง และสถานศึกษาควรดำเนินการ ดังนี้ 1) จัดให้มีแหล่งเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษาอย่างหลากหลาย จัดศูนย์สื่อ การเรียนรู้ ระบบสารสนเทศการเรียนรู้และเครือข่ายการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งการนำภูมิปัญญา ท้องถิ่นมาพัฒนาการเรียนรู้ เพื่อการศึกษาค้นคว้าและแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเรียนรู้ 2) จัดทำ จัดหา สื่อการเรียนรู้สำหรับการศึกษาค้นคว้าสำหรับผู้เรียนที่มีความบกพร่องทาง สติปัญญา และออทิสติก เสริมความรู้ให้ผู้สอน รวมทั้งจัดหาสิ่งที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้เป็นสื่อการเรียนรู้ 3) เลือกและใช้สื่อการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ มีความเหมาะสม มีความหลากหลาย สอดคล้อง กับวิธีการเรียนรู้ ธรรมชาติของกลุ่มทักษะ และความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน 4) ศึกษา ค้นคว้า วิจัยเพื่อพัฒนาสื่อการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน 5) จัดให้มีการกำกับ ติดตาม ประเมินคุณภาพและประสิทธิภาพการใช้สื่อการเรียนรู้ อย่างเป็นระบบ ในการจัดทำ การเลือกใช้ และการประเมินคุณภาพสื่อการเรียนรู้ที่ใช้ในสถานศึกษาควรคำนึงถึง หลักการสำคัญของสื่อการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับหลักสูตร วัตถุประสงค์การเรียนรู้ การออกแบบกิจกรรม การเรียนรู้ การจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียน เนื้อหา ทันสมัย ไม่ขัดต่อศีลธรรม มีการใช้ภาษาที่ถูกต้อง รูปแบบ การนำเสนอที่เข้าใจง่าย น่าสนใจ มีความถูกต้อง


159 การส่งเสริมการเรียนรู้ ปัจจัยสำคัญที่เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพ และประสบความสำเร็จตามจุดมุ่งหมาย ของหลักสูตร คือการพัฒนาระบบการส่งเสริม สนับสนุน ของสถานศึกษาในด้านต่าง ๆ ที่จะเอื้อให้สามารถ จัดการเรียนการสอนได้อย่างมีคุณภาพ สำหรับแนวปฏิบัติในการส่งเสริมการเรียนรู้ และสนับสนุน การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของสถานศึกษา ได้กำหนดแนวในการส่งเสริมการเรียนรู้ ดังต่อไปนี้ 1. การจัดสภาพแวดล้อมในสถานศึกษาให้เอื้อต่อการใช้หลักสูตร การจัดสภาพแวดล้อม ในสถานศึกษาให้เอื้อต่อการใช้หลักสูตรเป็นหน้าที่โดยตรงของบุคลากรทุกคนในสถานศึกษาที่จะต้องร่วมมือกัน โดยยึดเป้าหมาย หลักการ และจุดเน้นต่าง ๆ ของหลักสูตรเป็นหลักในการดำเนินการ ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เรียน ได้เรียนรู้และพัฒนาตนเองได้อย่างเต็มศักยภาพ 2. การจัดให้มีแหล่งการเรียนรู้ ห้องสมุด และมุมหนังสือ หรือแหล่งวิชาที่จะให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้า หาความรู้เพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์และความชำนาญ โดยเฉพาะห้องสมุดเป็นแหล่งการเรียนรู้ที่สำคัญยิ่งเพราะ เป็นแหล่งที่รวบรวมองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์กับผู้เรียนโดยตรง นอกจากนี้ยังจัดให้มีแหล่งการเรียนรู้ ต่างๆ อาทิเช่น ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ห้องคหกรรม ห้องศิลปะ ห้องดนตรี ห้องนาฎศิลป์ ศูนย์การเรียนรู้ เศรษฐกิจพอเพียง รย.ป.พอเพียง ศูนย์การเรียนด้านอาชีพต่างๆ เช่น การทอผ้าซาโอริ รีสอร์ทระยองปัญญานุ กูล RS.R SHOP เป็นต้น 3. การจัดให้มีบริเวณสำหรับให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติกิจกรรมในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ เพื่อให้ผู้เรียน ได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ได้คิด ได้ทำ ได้แสดงออก ได้เรียนรู้เอง และค้นพบความรู้ด้วยตนเองตาม ศักยภาพของนักเรียนแต่ละคน 4. การจัดให้มีแหล่งการเรียนรู้ในท้องถิ่น และการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น การจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตร เน้นการเรียนรู้จากแหล่งการเรียนรู้ทั้งในและนอกห้องเรียน ทั้งนี้เพื่อผู้เรียนจะได้มีโอกาสที่จะสัมผัสกับชีวิตจริง นอกห้องเรียนหรือนอกโรงเรียน ได้พบปะกับผู้คน ผู้รู้ ภูมิปัญญาของท้องถิ่นเพื่อจะได้เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ มากขึ้น มีประสบการณ์กว้างขวางขึ้น เรียนรู้ได้ทุกเวลาและทุกสถานที่ไม่จำกัดว่าจะต้องเรียนรู้จากผู้สอน ในสถานศึกษาเท่านั้น 5. การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพ การวิจัยเป็นกระบวนการที่ควบคู่กับกระบวนการเรียนรู้ และกระบวนการทำงานของผู้ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ซึ่งเป็นกลไกที่นำไปสู่สังคมแห่งภูมิปัญญา และการเรียนรู้ดังนั้นในการจัดการเรียนรู้ ผู้สอนต้องนำกระบวนการวิจัยมาผสมผสานหรือบูรณาการเพื่อพัฒนา คุณภาพของผู้เรียน และสามารถใช้กระบวนการการวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ นอกจากนี้ ผลการวิจัยยังเป็นประโยชน์ต่อการแก้ปัญหาหรือพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนได้เป็นอย่างดี


160 ระเบียบโรงเรียนระยองปัญญานุกูล ว่าด้วยการประเมินผลการเรียนรู้


161 ระเบียบโรงเรียนระยองปัญญานุกูล ว่าด้วยการประเมินผลการเรียนรู้พุทธศักราช 2566 ตามหลักสูตรการแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ------------------------------------------------------------------- โดยที่โรงเรียนระยองปัญญานุกูลได้ประกาศใช้หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนระยองปัญญานุกูล จังหวัดระยอง พุทธศักราช 2566 ตามคำสั่งกระทรวงศึกษาธิการ ที่ สพฐ. 1239/ 2560 ลงวันที่ 7 สิงหาคม 2560 เรื่องให้ใช้มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสาระ ภูมิศาสตร์ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) และ ประกาศสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ลงวันที่ 8 มกราคม 2561 เรื่องการบริหารจัดการ หลักสูตรสถานศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตามหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 พร้อมคำสั่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ลงวันที่ 3 พฤษภาคม 2561 เรื่องยกเลิกมาตรฐานตัวชี้วัด สาระ 2 การออกแบบและเทคโนโลยีและสาระ ที่3 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ตามหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และเปลี่ยนชื่อกลุ่มสาระการเรียนรู้ เพื่อให้สอดคล้องกับ คำสั่งดังกล่าว ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2542 และที่ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2 ) พ.ศ.2545 พร้อมทั้งมาตรา 12 และมาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบ บริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 คณะกรรมการบริหารหลักสูตรและกลุ่มบริหารวิชาการของ สถานศึกษา โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนระยองปัญญานุกูล จึงวางระเบียบไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบโรงเรียนระยองปัญญานุกูล ว่าด้วยการประเมินผลการเรียนรู้ พุทธศักราช 2566 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ” ข้อ 2 ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่ปีการศึกษา 2566 เป็นต้นไป ข้อ 3 ให้ยกเลิกระเบียบข้อบังคับหรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับ ระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน


162 ข้อ 4 ระเบียบนี้ให้ใช้ควบคู่กับหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนระยองปัญญานุกูล จังหวัดระยองพุทธศักราช 2566 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ข้อ 5 ในระเบียบนี้ “หลักสูตร” หมายถึง หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนระยองปัญญานุกูล จังหวัดระยอง พุทธศักราช 2566 “โรงเรียน” หมายถึง โรงเรียนระยองปัญญานุกูล จังหวัดระยอง “ผู้อำนวยการโรงเรียน” หมายถึง ผู้อำนวยการสถานศึกษา โรงเรียนระยองปัญญานุกูล จังหวัด ระยอง “ครู” หมายถึง ครู ผู้ปฏิบัติการสอนในโรงเรียนระยองปัญญานุกูล จังหวัดระยอง “นักเรียน” หมายถึง นักเรียนโรงเรียนระยองปัญญานุกูล จังหวัดระยอง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ข้อ 6 ให้ผู้อำนวยการโรงเรียนรักษาการให้เป็นไปตามระเบียบนี้ หมวดที่1 หลักการในการวัดและประเมินผลการเรียน ข้อ 7 การวัดและประเมินผลการเรียนให้เป็นไปตามหลักการดังนี้ 7.1 ทุกระดับชั้นตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีการวัด และประเมินผล ตัดสินผลการเรียนตามกลุ่มสาระการเรียนรู้เป็นรายปี ส่วนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 6 มีการวัดและประเมินผล ตัดสินผลการเรียนตามกลุ่มสาระการเรียนรู้เป็นรายภาค 7.2 โรงเรียนมีหน้าที่วัดและประเมินผลการเรียนให้สอดคล้องกับวิธีการวัดและประเมินผล การเรียน 7.3 การวัดและประเมินผลการเรียน ต้องสอดคล้องและครอบคลุมมาตรฐานการเรียนรู้ และตัวชี้วัด ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ ที่กำหนดไว้ในหลักสูตรสถานศึกษา 7.4 การวัดผลและประเมินผลการเรียน เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนการสอน ต้องดำเนินการด้วยวิธีการที่หลากหลาย เพื่อให้สามารถวัดและประเมินผลผู้เรียนได้อย่างรอบด้าน เหมาะสม มีความยืดหยุ่นตามสภาพจริง ธรรมชาติของผู้เรียน ธรรมชาติวิชา และระดับชั้นของผู้เรียน โดยตั้งบน พื้นฐานความเที่ยงตรง ยุติธรรม และเชื่อถือได้ 7.5 วัดและประเมินผล ทั้งเพื่อปรับปรุงการเรียนและเพื่อตัดสินผลการเรียน 7.6 ให้มีการวัดและประเมินความรู้ความสามารถของนักเรียนด้านการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนสื่อความในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ 7.7 ให้มีการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน ในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ 7.8 ให้มีการวัดและประเมินผลคุณภาพนักเรียน ทั้งระดับชั้นเรียนและระดับสถานศึกษา ในแต่ละชั้นปี


163 7.9 ให้มีการเทียบโอนผลการเรียนระหว่างสถานศึกษาและรูปแบบการศึกษาต่างๆ ตามแนว ปฏิบัติที่กำหนดไว้ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) 7.10 ให้โรงเรียนจัดทำเอกสารหลักฐานการศึกษาเพื่อเป็นหลักฐานการประเมินผลการเรียนรู้ รายงานผลการเรียน แสดงวุฒิการศึกษาและรับรองผลการเรียนของผู้เรียน หมวดที่2 วิธีการวัดและประเมินผลการเรียน ข้อ 8 การวัดและประเมินผลการเรียน เพื่อพัฒนาผู้เรียน เป็นการประเมินผลระดับชั้นเรียน การวัดและประเมินผลการเรียนรู้สำหรับนักเรียนโรงเรียนระยองปัญญานุกูล ควรอยู่บนพื้นฐานที่สอดคล้อง และตอบสนองกับความต้องการจำเป็นพิเศษทางการศึกษาของนักเรียน โดยใช้แผนการจัดการศึกษาเฉพาะ บุคคล (IEP) เป็นเครื่องมือในการดำเนินการ เชื่อมโยงกับมาตรฐานและตัวชี้วัดตามหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนระยองปัญญานุกูล จังหวัดระยอง พุทธศักราช 2566 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ปฏิบัติดังนี้ 8.1 การวัดและประเมินผลการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ ครูผู้สอนดำเนินการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียนเป็นรายวิชาตามตัวชี้วัด ในรายวิชาพื้นฐานตามผลการเรียนรู้ในรายวิชาเพิ่มเติม โดยการปรับใช้ให้เหมาะกับสภาพความพิการ หรือ ความบกพร่องของนักเรียนเพื่อเอื้ออำนวยให้นักเรียนได้รับการพัฒนาเต็มศักยภาพ ตามที่กำหนดไว้ในแผนการ จัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) นักเรียนได้รับการพัฒนาความรู้ ทักษะและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ที่จำเป็นพื้นฐานตามมาตรฐานการเรียนรู้ของหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนระยองปัญญานุกูล จังหวัดระยอง พุทธศักราช 2566 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ครูผู้สอนดำเนินการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้โดยใช้วิธีการ ที่หลากหลายจากแหล่งข้อมูลหลายๆแหล่ง เพื่อให้ได้ผลการประเมินที่สะท้อนความรู้ความสามารถ ที่แท้จริงของนักเรียน โดยวัด และ ประเมินการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องไปพร้อมกับการจัดการเรียนการสอน สังเกตพัฒนาการและความประพฤติของนักเรียน สังเกตพฤติกรรมการเรียน การร่วมกิจกรรม ผู้สอนควรเน้น การประเมินตามสภาพจริง เช่น การประเมินการปฏิบัติงาน การประเมินจากโครงงาน หรือการประเมินจาก แฟ้มสะสมงาน เป็นต้น ควบคู่ไปกับการใช้การทดสอบแบบต่างๆ อย่างสมดุล ต้องให้ความสำคัญกับการ ประเมินระหว่างเรียนมากกว่าการประเมินปลายปี/ปลายภาคและใช้เป็นข้อมูลเพื่อประเมินการเลื่อนชั้นเรียน และการจบการศึกษาระดับต่างๆ 8.1.1 ก่อนการเรียน ครูแจ้งให้นักเรียนทราบถึงวิธีการวัดและประเมินผล ตัวชี้วัด การประเมินการอ่าน คิด วิเคราะห์ เขียนสื่อความ การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เกณฑ์การประเมิน และการตัดสินผลการเรียน


164 8.1.2 ครูผู้สอนในแต่ละรายวิชา ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ประเมินความรู้พื้นฐาน พร้อมทั้ง ทักษะความพร้อมด้านต่างๆ ของนักเรียน โดยใช้วิธีการที่เหมาะสม แล้วนำผลการประเมินมาปรับปรุง หรือ เตรียมผู้เรียนทุกคนให้มีความพร้อมและมีความรู้พื้นฐานตามศักยภาพ เพื่อช่วยให้การจัดกระบวนการเรียนรู้ ประสบความสำเร็จในการเรียนเป็นอย่างดีแต่จะไม่นำผลการประเมินนี้ไปใช้ในการพิจารณาตัดสินผลการเรียน 8.1.3 การประเมินความก้าวหน้าระหว่างเรียน เป็นการประเมินมุ่งตรวจสอบพัฒนาการ ของผู้เรียนให้บรรลุตามมาตรฐาน/ตัวชี้วัด ผลการเรียนรู้ตามหน่วยการเรียนรู้ที่ครูผู้สอนได้วางแผนไว้เพื่อให้ได้ ข้อมูลสารสนเทศไปพัฒนา ปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่อง และส่งเสริมผู้เรียนให้มีความรู้ความสามารถและเกิด การพัฒนาสูงสุดตามศักยภาพ นอกจากนี้ยังใช้เป็นข้อมูลในการปรับปรุงกระบวนการจัดการเรียนรู้ ของครูผู้สอน 8.1.4 การประเมินความสำเร็จหลังเรียน เป็นการประเมินมุ่งตรวจสอบความสำเร็จ ของผู้เรียนใน 2 ลักษณะ คือ 8.1.4.1 การประเมินเมื่อจบหน่วยการเรียนรู้เป็นการประเมินผู้เรียนในหน่วยการ เรียนรู้ที่ได้เรียนจบแล้ว เพื่อตรวจสอบผลการเรียนของผู้เรียนตามตัวชี้วัดหรือผลการเรียนรู้พัฒนาการ ของผู้เรียน เมื่อนำไปเปรียบเทียบกับผลการประเมินวิเคราะห์ผู้เรียน ทำให้ประเมินศักยภาพในการเรียน ของผู้เรียน และประสิทธิภาพในการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอน ข้อมูลที่ได้จากการประเมินความสำเร็จภายหลัง การเรียน สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงแก้ไขวิธีการเรียนของผู้เรียนการพัฒนากระบวนการจัดการ เรียนรู้ของครูผู้สอน หรือซ่อมเสริมผู้เรียนให้บรรลุผลตามมาตรฐาน/ตัวชี้วัดหรือผลการเรียนรู้ 8.1.4.2 การประเมินผลปลายปี/ปลายภาค เป็นการประเมินเพื่อตรวจสอบ ผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนในการเรียนรู้ตามมาตรฐาน/ตัวชี้วัด หรือผลการเรียนรู้และใช้เป็นข้อมูลสำหรับปรับปรุง แก้ไข ซ่อมเสริมผู้เรียนที่ไม่ผ่านการประเมินมาตรฐาน/ตัวชี้วัด หรือผลการเรียนรู้ การประเมินผลปลายปี/ ปลายปี สามารถใช้วิธีการและเครื่องมือได้อย่างหลากหลายโดยเลือกใช้ให้สอดคล้องกับมาตรฐาน/ตัวชี้วัด หรือ ผลการเรียนรู้ อาจใช้แบบทดสอบชนิดต่างๆ หรือประเมินโดยใช้ภาระงาน หรือกิจกรรม ตามความเหมาะสม 8.1.5 ครูวัดและประเมินผลการเรียนเพื่อศึกษาผลการเรียน เพื่อจัดการสอนซ่อมเสริม และประเมินผลตามตัวชี้วัดเพื่อตัดสินผลการเรียน ดังนี้ 8.1.5.1 วัดและประเมินผลการเรียนตามตัวชี้วัด ของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ ที่กำหนดในหลักสูตร 8.1.5.2 วัดและประเมินผลการอ่าน คิด วิเคราะห์ และเขียนสื่อความ ที่สอดคล้องกับ ตัวชี้วัดของแต่ละสาระการเรียนรู้ 8.1.5.3 วัด และประเมินผลคุณลักษณ์อันพึงประสงค์ของแต่ละสาระการเรียนรู้ ที่กำหนดในหลักสูตร 8.1.6 ครูวัดและประเมินผลการเรียนได้ตลอดในขณะเวลาที่เรียนถือเป็นการวัดและ ประเมินผลความก้าวหน้าตามตัวชี้วัด ผลการเรียนรู้ที่กำหนดนักเรียนต้องได้รับการตัดสินผลการเรียน


165 ทุกรายวิชาหรือได้รับการตัดสินผลการเรียนที่กำหนดไว้ในแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) โดยประเมิน ในรูปเกณฑ์คุณภาพ 8 ระดับ โดยใช้สัญลักษณ์เป็นเลขฮินดูอารบิกหรืออยู่ในดุลยพินิจของครูผู้สอน ดังนี้ ผลการประเมิน “4” หมายถึงเกณฑ์คุณภาพ “ดีเยี่ยม หรือมีผลคะแนน เฉลี่ยร้อยละ 80 – 100 ผลการประเมิน “3.5” หมายถึงเกณฑ์คุณภาพ “ดีมาก” หรือมีผลคะแนน เฉลี่ยตั้งแต่ร้อยละ75-79 ผลการประเมิน “3” หมายถึงเกณฑ์คุณภาพ “ดี” หรือมีผลคะแนนเฉลี่ย ตั้งแต่ร้อยละ70-74 ผลการประเมิน “2.5” หมายถึงเกณฑ์คุณภาพ “ค่อนข้างดี” หรือมีผล คะแนนเฉลี่ยตั้งแต่ร้อยละ65-69 ผลการประเมิน “2” หมายถึงเกณฑ์คุณภาพ “น่าพอใจ” หรือมีผลคะแนน เฉลี่ยตั้งแต่ร้อยละ60-64 ผลการประเมิน “1.5” หมายถึงเกณฑ์คุณภาพ “พอใช้” หรือมีผลคะแนน เฉลี่ยตั้งแต่ร้อยละ55-59 ผลการประเมิน “ 1” หมายถึงเกณฑ์คุณภาพ “ผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำ” หรือมีผลคะแนนเฉลี่ยตั้งแต่ร้อยละ50-54 ผลการประเมิน “0” หมายถึงเกณฑ์คุณภาพ “ต่ำกว่าเกณฑ์” หรือมีผล คะแนนเฉลี่ยต่ำกว่าร้อยละ 50 8.1.7 การตัดสินผลการเรียน ผลการประเมินการเรียนรู้ของสาระการเรียนรู้นั้นๆ เปรียบเทียบตัวเลขแสดงความหมายระดับผลการเรียนแต่ละรายวิชา โดยใช้สัญลักษณ์เป็นเลขฮินดูอารบิก ดังนี้ ผลการประเมิน “4” หมายถึงเกณฑ์คุณภาพ “ดีเยี่ยม หรือมีผลคะแนน เฉลี่ยร้อยละ 80 – 100 ผลการประเมิน “3.5” หมายถึงเกณฑ์คุณภาพ “ดีมาก” หรือมีผลคะแนน เฉลี่ยตั้งแต่ร้อยละ75-79 ผลการประเมิน “3” หมายถึงเกณฑ์คุณภาพ “ดี” หรือมีผลคะแนนเฉลี่ย ตั้งแต่ร้อยละ70-74 ผลการประเมิน “2.5” หมายถึงเกณฑ์คุณภาพ “ค่อนข้างดี” หรือมีผล คะแนนเฉลี่ยตั้งแต่ร้อยละ65-69 ผลการประเมิน “2” หมายถึงเกณฑ์คุณภาพ “น่าพอใจ” หรือมีผลคะแนน เฉลี่ยตั้งแต่ร้อยละ60-64 ลการประเมิน “1.5” หมายถึงเกณฑ์คุณภาพ “พอใช้” หรือมีผลคะแนน เฉลี่ยตั้งแต่ร้อยละ55-59


166 ผลการประเมิน “ 1” หมายถึงเกณฑ์คุณภาพ “ผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำ” หรือมีผลคะแนนเฉลี่ยตั้งแต่ร้อยละ50-54 ผลการประเมิน “0” หมายถึงเกณฑ์คุณภาพ “ต่ำกว่าเกณฑ์” หรือมีผล คะแนนเฉลี่ยต่ำกว่าร้อยละ 50 8.1.8 กรณีนักเรียนพิการหรือบกพร่องขั้นรุนแรงที่ไม่สามารถปรับใช้มาตรฐานการเรียนรู้ และตัวชี้วัดในกลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชาใดๆ ได้ถึงแม้จะปรับวิธีการสอนหรือวิธีการสอบแล้วก็ตาม การจัดการเรียนรู้มุ่งเน้นการเรียนรู้ทักษะชีวิตเพื่อการดดำรงชีวิตในสังคมอย่างมีความสุข กำหนดแนวปฏิบัติ ดังนี้ 1) ให้ประเมินผลตามจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมที่กำหนดไว้ในแผนการจัด การศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) 2) ประเมินความสามารถในการปฏิบัติ ตามระดับคุณภาพ เช่น ระดับคุณภาพ 4 มีทำได้ถูกต้องด้วยตนเองทั้งหมด ระดับคุณภาพ 3 ทำได้ถูกต้องด้วยตนเอง (กระตุ้นด้วยวาจา) ระดับคุณภาพ 2 ทำได้เองบ้าง ทำไม่ได้บ้าง (ครูต้องกระตุ้นด้วย ท่าทาง และวาจา) ระดับคุณภาพ 1 มีทำได้โดยครูต้องกระตุ้นเตือนทั้งหมด (กระตุ้นด้วย กายท่าทาง วาจา) 3) ประเมินความก้าวหน้าในการปฏิบัติงาน ได้ใช้วิธียืดหยุ่นและปรับวิธีการให้ คะแนน เช่น ระดับคุณภาพ 5 ทำได้ครบ 5 ครั้ง ระดับคุณภาพ 4 ทำได้ครบ 4 ครั้ง ระดับคุณภาพ 3 ทำได้ครบ 3 ครั้ง ระดับคุณภาพ 2 ทำได้ครบ 1-2 ครั้ง ระดับคุณภาพ 1 ทำไม่ได้ 8.1.9 การประเมินผลการเรียนเพื่อตัดสินผลการเรียน ใช้เฉพาะนักเรียนผู้ที่มีเวลาเรียน ตลอดปีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของเวลาเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้นั้นแต่อาจยืดหยุ่นตามสภาพความพิการหรือ บกพร่อง โดยให้อยู่ในดุลพินิจของครูผู้สอน


167 ข้อ 9 การกำหนดสัดส่วนคะแนนระหว่างเรียนกับคะแนนปลายปี/ปลายภาค โดยให้ความสำคัญของ คะแนนระหว่างเรียนมากกว่าคะแนนปลายภาค โรงเรียนระยองปัญญานุกูล จังหวัดระยอง จึงกำหนดสัดส่วน คะแนนระหว่างเรียนมากกว่าคะแนนปลายภาค ดังนี้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ คะแนนระหว่างเรียน คะแนนปลายปี/ปลาย ภาค ภาษาไทย 80 20 คณิตศาสตร์ 80 20 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 80 20 สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม 80 20 สุขศึกษาและพลศึกษา 80 20 ศิลปะ 80 20 การงานอาชีพ 80 20 ภาษาต่างประเทศ 80 20 ข้อ 10 การประเมินการอ่าน คิด วิเคราะห์ และเขียน ในระดับสถานศึกษา เพื่อปรับปรุงพัฒนา และจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยปฏิบัติดังนี้ 10.1 โรงเรียนแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินการอ่าน คิด วิเคราะห์ และเขียนขึ้นคณะหนึ่งใน แต่ละปีการศึกษา 10.2 คณะกรรมการประเมินการอ่าน คิด วิเคราะห์ และเขียนกำหนดแนวทาง วิธีการ ประเมินและเกณฑ์การตัดสิน ตามที่หลักสูตรกำหนด 10.3 มีการประเมินเป็นรายปี เพื่อปรับปรุงและพัฒนาในปีที่ 1-5 การตัดสินจบชั้น ประถมศึกษาปีที่ 6 ให้ถือผลการประเมินปลายปีของปีที่ 6 สำหรับมัธยมศึกษามีการประเมินผลเป็นรายภาค 10.4 ประเมินนักเรียนเป็นรายบุคคลตามมาตรฐานการเรียนรู้และเกณฑ์ที่กำหนด 10.5 นักเรียนที่ผ่านเกณฑ์การประเมิน ตัดสิน “ดี หรือ ดีเยี่ยม” แล้วแต่กรณี 10.6 นักเรียนที่ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน ตัดสิน “ปรับปรุง” 10.7 นักเรียนที่ได้รับการตัดสิน “ปรับปรุง” ต้องดำเนินการซ่อมเสริมปรับปรุงแก้ไข ตามแนวทางที่คณะกรรมการกำหนด และมีการประเมินใหม่


168 10.8 นักเรียนที่ได้รับการตัดสิน “ปรับปรุง” และมีการประเมินใหม่แล้วผ่านเกณฑ์การ ประเมิน ตัดสิน “ผ่าน” 10.9 นักเรียนที่ได้รับการตัดสิน “ดี หรือ ดีเยี่ยม หรือ ผ่าน” มีสิทธิได้รับการพิจารณาการ จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ข้อ 11 การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของโรงเรียน การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของโรงเรียน ระดับสถานศึกษา เพื่อปรับปรุงพัฒนา และจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยปฏิบัติดังนี้ 11.1 โรงเรียนแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของ โรงเรียนขึ้นคณะ หนึ่งในแต่ละปีการศึกษา 11.2 คณะกรรมการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของโรงเรียนกำหนดแนวทาง วิธีการ ประเมิน และเกณฑ์การตัดสินตามที่หลักสูตรกำหนด 11.3 มีการประเมินเป็นรายปี เพื่อปรับปรุงและพัฒนาในปีที่ 1-5การตัดสินจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้ถือผลการประเมินปลายปีของปีที่ 6 สำหรับมัธยมศึกษามีการประเมินผลเป็นรายภาค 11.4 ประเมินนักเรียนเป็นรายบุคคล ตามมาตรฐาน และเกณฑ์ที่กำหนดในหลักสูตร 11.5 นักเรียนผ่านเกณฑ์การประเมิน ตัดสิน “ดี หรือ ดีเยี่ยม” แล้วแต่กรณี 11.6 นักเรียนไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน ตัดสิน “ปรับปรุง” 11.7 นักเรียนที่ได้รับการตัดสิน “ปรับปรุง” ต้องดำเนินการปรับปรุง ซ่อมเสริมแก้ไขตาม แนวทางที่คณะกรรมการกำหนดและมีการประเมินใหม่ 11.8 นักเรียนที่ได้รับการตัดสิน “ปรับปรุง” และได้รับการประเมินใหม่แล้วผ่านเกณฑ์ การประเมิน ตัดสิน “ผ่าน” 11.9 นักเรียนที่ได้รับการตัดสิน “ดี หรือ ดีเยี่ยม หรือ ผ่าน” มีสิทธิได้รับการพิจารณาจบ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ข้อ 12 การประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน การประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ระดับสถานศึกษา โดยปฏิบัติดังนี้ 12.1 โรงเรียนแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนของโรงเรียนขึ้นคณะหนึ่ง ในแต่ละปีการศึกษา 12.2 คณะกรรมการประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนของโรงเรียน กำหนดแนวทาง วิธีการประเมินและเกณฑ์การตัดสินตามที่หลักสูตรกำหนด 12.3 นักเรียน ต้องเข้าร่วมกิจกรรม 3 กลุ่ม ดังนี้ 12.3.1 กิจกรรมแนะแนว เวลาเรียน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้รู้จักตนเอง รู้รักษ์สิ่งแวดล้อม สามารถคิดตัดสินใจ คิดแก้ปัญหา กำหนดเป้าหมาย วางแผนชีวิตทั้งด้านการเรียน และอาชีพ สามารถปรับตน ได้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้ยังช่วยให้ครูรู้จักและเข้าใจผู้เรียน ทั้งยังเป็นกิจกรรมที่ช่วยเหลือและให้คำปรึกษา แก่ผู้ปกครองในการมีส่วนร่วมพัฒนาผู้เรียน


169 12.3.2 กิจกรรมนักเรียน เวลาเรียน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ เป็นกิจกรรมที่มุ่งพัฒนาความมีระเบียบวินัย ความเป็นผู้นำผู้ตามที่ดี ความรับผิดชอบ การทำงานร่วมกัน การรู้จักแก้ปัญหา การตัดสินใจที่เหมาะสม ความมีเหตุผล การช่วยเหลือแบ่งปันกัน เอื้ออาทร และสมานฉันท์ โดยจัดให้สอดคล้องกับความสามารถ ความถนัด และความสนใจของผู้เรียน ให้ได้ ปฏิบัติด้วยตนเองในทุกขั้นตอน ได้แก่ การศึกษาวิเคราะห์วางแผน ปฏิบัติตามแผน ประเมินและปรับปรุง การทำงาน เน้นการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม ตามความเหมาะสมและสอดคล้องกับวุฒิภาวะของผู้เรียน บริบท ของสถานศึกษาและท้องถิ่น กิจกรรมนักเรียนประกอบด้วย ก. กิจกรรมลูกเสือ เนตรนารีกิจกรรมสาธารณประโยชน์ ข. กิจกรรมชุมนุม ชมรม หรือกิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิต 12.3.3 กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ เวลาเรียน ชั้นปีละ 10 ชั่วโมง โดยบูรณาการกับกิจกรรมลูกเสือ เนตรนารีเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม ชุมชน และ ท้องถิ่นตามความสนใจในลักษณะอาสาสมัคร เพื่อแสดงถึงความรับผิดชอบ ความดีงาม ความเสียสละ ต่อสังคม มีจิตสาธารณะ เช่น กิจกรรมอาสาพัฒนาต่าง ๆ กิจกรรมสร้างสรรค์สังคม 12.4 ครูผู้รับผิดชอบกิจกรรมแนะแนว เป็นผู้ประเมินและตัดสินผลกิจกรรมแนะแนว 12.5 ครูผู้บังคับบัญชาในกิจกรรมลูกเสือเนตรนารี กิจกรรมสาธารณประโยชน์ เป็นผู้ประเมินและตัดสินผลการพัฒนาผู้เรียนในกิจกรรมลูกเสือเนตรนารี กิจกรรมสาธารณประโยชน์ ตามแต่กรณี ครูที่ปรึกษาในกิจกรรมชุมนุม ชมรม หรือ กิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิต เป็นผู้กำหนดกิจกรรม และประเมิน ผู้เรียนในกิจกรรมนั้น โดยนำผลการประเมินทั้ง 2 กิจกรรม มาประเมินตัดสินร่วมกัน 12.6 ครูผู้รับผิดชอบ กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์เป็นผู้ประเมินและตัดสิน กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ 12.7 นักเรียนที่มีเวลาเข้าร่วมกิจกรรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของเวลาร่วมกิจกรรมรายปี/ รายภาค และผ่านจุดประสงค์สำคัญของกิจกรรม มีผลการประเมินและตัดสิน “ผ่าน” 12.8 นักเรียนที่มีเวลาเข้าร่วมกิจกรรมน้อยกว่าร้อยละ 80 ของเวลาร่วมกิจกรรมรายปี/ รายภาค หรือไม่ผ่านจุดประสงค์สำคัญของกิจกรรม มีผลการประเมินและตัดสิน “ไม่ผ่าน” 12.9 นักเรียนที่ได้รับการตัดสิน “ไม่ผ่าน” ต้องดำเนินการปรับปรุง ซ่อมเสริม แก้ไข ตามแนวทางที่ครูปรึกษาหรือบังคับบัญชากำหนดและมีการประเมินใหม่ 12.10 นักเรียนที่ได้รับการตัดสิน “ไม่ผ่าน” และได้รับการประเมินใหม่แล้วผ่านเกณฑ์ การประเมิน ตัดสิน “ผ่าน” 12.11 นักเรียนที่ได้รับการตัดสิน “ผ่าน” ทุกกิจกรรมได้รับสิทธิพิจารณาจบชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6


170 หมวดที่3 เกณฑ์การจบหลักสูตร ข้อ 13 นักเรียนจะได้รับการพิจารณาอนุมัติให้จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนทุกข้อดังนี้ 13.1 ต้องมีเวลาเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของเวลาเรียนทั้งหมด 13.2 ต้องได้รับการประเมินทุกตัวชี้วัด และมีผลการประเมินแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ ไม่ต่ำกว่า ระดับผลการเรียน 1 13.3 ต้องได้รับการตัดสินผลการเรียนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ 13.4 ต้องได้รับการประเมิน และมีผลการประเมินผ่านตามเกณฑ์ที่โรงเรียนกำหนด ใน 3 ด้านดังนี้ 13.4.1 การอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน 13.4.2 คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 13.4.3 กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ข้อ 14 ผู้อำนวยการโรงเรียนเป็นผู้อนุมัติผลการเรียนและการจบหลักสูตร หมวดที่ 4 การเทียบโอนผลการเรียน ข้อ 15 โรงเรียนจะรับเทียบโอนผลการเรียน ซึ่งเป็นความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ของผู้เรียน ที่เกิดจากการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย มาประเมินเป็นส่วนหนึ่ง ของการศึกษา ตามหลักสูตรของโรงเรียนตามแนวปฏิบัติต่อไปนี้ 15.1 คณะกรรมการเทียบโอนผลการเรียน 15.1.1 โรงเรียนแต่งตั้งคณะกรรมการเทียบโอนผลการเรียนขึ้นคณะหนึ่ง มีจำนวนไม่ น้อยกว่า 3 คน แต่ไม่เกิน 5 คน ประกอบด้วยหัวหน้ากลุ่มวิชาการเป็นประธานกรรมการ 1 คน ครูประจำชั้น เป็นกรรมการและเลขานุการ 1 คน และครูในโรงเรียนผู้มีความรู้ประสบการณ์ในสาขาวิชา การศึกษา รวมไม่เกิน 3 คน เป็นกรรมการ 15.2 วิธีดำเนินการเทียบโอนผลการเรียน 15.2.1 ผู้ขอเทียบโอนผลการเรียน ต้องขึ้นทะเบียนเป็นนักเรียนของโรงเรียนระยอง ปัญญานุกูล จังหวัดระยอง และโรงเรียนต้องดำเนินการเทียบโอนในภาคเรียนแรกที่ขอขึ้นทะเบียน 15.2.2 คณะกรรมการเทียบโอนผลการเรียน ต้องพิจารณาจากสาระการเรียนรู้/ มาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ของผู้เทียบโอน โดยเทียบเคียงกับโครงสร้างหลักสูตร


171 สาระการเรียนรู้และมาตรฐานของโรงเรียน โดยมีผลการพิจารณาแล้วสอดคล้องกับโครงสร้างหลักสูตร สาระการเรียนรู้และมาตรฐานของโรงเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 15.2.3 การเทียบโอนความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ ให้พิจารณาจากเอกสาร หลักฐาน (ถ้ามี) โดยให้มีการประเมินด้วยเครื่องมือที่หลากหลาย และให้ได้ระดับผลการเรียนตามเกณฑ์ การประเมินผลการเรียนของหลักสูตรโรงเรียน 15.2.4 จำนวนกลุ่มวิชา รายวิชา กลุ่มสาระการเรียนรู้ ที่จะรับเทียบโอน อายุของ นักเรียน และ ผลการเรียนที่จะนำมาเทียบโอนให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร และวิชาการ ทั้งนี้ เมื่อเทียบโอนแล้วผู้ขอเทียบโอนต้องมีเวลาเรียนในโรงเรียนไม่น้อยกว่า 1 ภาคเรียน 15.2.5 ผลการพิจารณาและตัดสินของคณะกรรมการเทียบโอนผลการเรียน ให้เสนอคณะกรรมการบริหารหลักสูตรและงานวิชาการพิจารณาให้ความเห็นชอบแล้วเสนอผู้อำนวยการ พิจารณาตามเกณฑ์กำหนด คือ มีผลการเรียนเทียบโอนสอดคล้องกับหลักสูตรของโรงเรียนมากกว่าร้อยละ 60 พิจารณาอนุมัติ ผลการเรียนเทียบโอนสอดคล้องกับหลักสูตรของโรงเรียนน้อยกว่าร้อยละ 60 พิจารณา ไม่อนุมัติ 15.2.6 การกำหนดรายละเอียดวิธีการและหลักการเทียบโอนให้เป็นไปอย่าง สอดคล้องกับกฎกระทรวงและระเบียบที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด หมวดที่5 เอกสารหลักฐานการศึกษา ข้อ 16 โรงเรียนจัดให้มีเอกสารการประเมินผลการเรียนต่าง ๆ ดังนี้ 16.1 ระเบียนแสดงผลการเรียน (ปพ. 1) 16.2 หลักฐานแสดงวุฒิการศึกษา (ประกาศนียบัตร) (ปพ. 2) 16.3 แบบรายงานผู้สำเร็จการศึกษา (ปพ. 3) 16.4 แบบแสดงผลการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์(ปพ. 4) 16.5 แบบบันทึกผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน(ปพ.5) 16.6 แบบรายงานผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนรายบุคคล(ปพ. 6) 16.7 ใบรับรองผลการศึกษา(ปพ. 7) 16.8 ระเบียนสะสม(ปพ. 8) 16.9 สมุด/คู่มือหลักสูตรโรงเรียน(ปพ. 9) เอกสาร ปพ. 1 ปพ. 2 ปพ. 3 ให้ใช้รูปแบบที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด


172 ข้อ 17 เอกสารหลักฐานการศึกษาที่สถานศึกษากำหนด เป็นเอกสารที่สถานศึกษาจัดทำขึ้น เพื่อบันทึกพัฒนาการ ผลการเรียนรู้และข้อมูลสำคัญ เกี่ยวกับนักเรียน ดังนี้ 17.1 แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) 17.2. แบบสรุปผลการประเมินตามแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) 17.3. เอกสารรับรองความพิการ (เอกสารทางการแพทย์และหรือแบบคัดกรองคนพิการทาง การศึกษาตามประกาศคณะกรรมการพิจารณาให้คนพิการได้รับสิทธิช่วยเหลือทางการศึกษา เรื่อง กำหนด หลักเกณฑ์และวิธีการการรับรองบุคคลของสถานศึกษาว่าเป็นคนพิการ ฉบับปีพ.ศ. 2556)


173


174 การบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนระยองปัญญานุกูล การบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนระยองปัญญานุกูล กระบวนการในการบริหารจัดการนำหลักสูตรไปใช้ถือว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญเป็นอย่างมากที่จะช่วย สนับสนุนส่งเสริมให้การใช้หลักสูตรของสถานศึกษาบรรลุผลสูงสุด ดังนั้นสถานศึกษาจึงได้กำหนดแผนการ บริหารจัดการหลักสูตรของสถานศึกษาขึ้น เพื่อให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาของสถานศึกษา ในทุก ๆ ส่วน และทุกระดับ เกิดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับจุดหมายของหลักสูตร การพัฒนาการเรียน การสอน การนิเทศการศึกษา การบริหารหลักสูตร การประเมินผล และแนวปฏิบัติของสถานศึกษาที่จะต้อง ดำเนินการให้สอดคล้องและเหมาะสมกับสภาพความต้องการของหลักสูตรสถานศึกษา สำหรับการบริหาร จัดการหลักสูตรของสถานศึกษาโรงเรียนระยองปัญญานุกูล จังหวัดระยอง กำหนดแนวทางการบริหาร จัดการไว้ 4 ขั้นตอน 8 ภารกิจ ดังนี้ 1. แนวทางการบริหารจัดการด้านวิชาการ ขั้นตอนที่ 1 การเตรียมความพร้อมของสถานศึกษา ภารกิจที่ 1 การเตรียมความพร้อมของสถานศึกษา 1.1 สร้างความตระหนักให้แก่บุคลากร ซึ่งประกอบด้วย คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้บริหาร ผู้สอน ผู้ปกครอง ชุมชน นักเรียน ทั้งนี้เพื่อให้เห็นความสำคัญ ความจำเป็นที่จะต้องร่วมมือกันบริหารจัดการ หลักสูตรสถานศึกษาของสถานศึกษา 1.2 แต่งตั้งคณะกรรมการ และคณะอนุกรรมการของสถานศึกษาตามระเบียบของกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยคณะกรรมการบริหารหลักสูตรและงานวิชาการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2544 1.3 ประชาสัมพันธ์ให้นักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน หน่วยงาน องค์กรในชุมชนทุกฝ่ายได้รับทราบ และความร่วมมือในการบริหารจัดการหลักสูตรของสถานศึกษา 1.4 จัดทำข้อมูลสารสนเทศของสถานศึกษาอย่างเป็นระบบ 1.5 จัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา 1.6 พัฒนาบุคลากรของสถานศึกษาให้มีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถนำความรู้ไปใช้ ในการจัดทำสาระของหลักสูตรสถานศึกษา ขั้นตอนที่ 2 การดำเนินการจัดทำสาระของหลักสูตรสถานศึกษา ภารกิจที่ 2 จัดทำสาระของหลักสูตรสถานศึกษา 2.1 ศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง 2.2 กำหนดปรัชญา และเป้าหมายของการจัดการศึกษาของสถานศึกษา 2.3 กำหนดโครงสร้างของหลักสูตรแต่ละรายชั้น และจัดสัดส่วนเวลาเรียน 2.4 กำหนดตัวชี้วัด และสาระการเรียนรู้ของกลุ่มสาระการเรียนรู้


175 2.5 กำหนดสาระและกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 2.6 กำหนดสื่อการเรียนรู้ 2.7 กำหนดการวัดและประเมินผล ภารกิจที่ 3 การวางแผนบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษา 3.1 การบริหารการจัดการกิจกรรมการเรียนรู้ 3.2 การบริหารการจัดการกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 3.3 การส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการกิจกรรมการเรียนรู้ และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ภารกิจที่ 4 ปฏิบัติการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษา ดำเนินการบริหารจัดการหลักสูตรตามภารกิจที่ 2 และภารกิจที่ 3 ที่กำหนดไว้ ขั้นตอนที่ 3 การนิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผล และรายงาน ภารกิจที่ 5 การนิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผล 5.1 การนิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผลการบริหารหลักสูตร และงานวิชาการภายในสถานศึกษา 5.2 การนิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผลการบริหารหลักสูตร และงานวิชาการจากภายนอก สถานศึกษา ภารกิจที่ 6 สรุปผลการดำเนินการบริหารจัดการหลักสูตรของสถานศึกษา 6.1 สถานศึกษาสรุปผลการดำเนินการ และเขียนรายงาน 6.2 สรุปผลการดำเนินงานรูปแบบบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษา ภารกิจที่ 7 ปรับปรุง และพัฒนากระบวนการบริหารจัดการหลักสูตร 7.1 สถานศึกษานำผลการดำเนินการ ปัญหา และข้อเสนอแนะต่าง ๆ มาใช้เป็นข้อมูลพื้นฐาน ในการวางแผนปรับปรุง และพัฒนากระบวนการบริหารจัดการหลักสูตรของสถานศึกษา 7.2 สถานศึกษาดำเนินการปรับปรุง และพัฒนากระบวนการบริหารจัดการหลักสูตร เพื่อให้เกิด ประโยชน์มากขึ้น ขั้นตอนที่ 4 การบริหารทั่วไปตรียมความพร้อมของสถานศึกษา ภารกิจที่ 8 การสนับสนุนกระบวนการบริหารจัดการหลักสูตร เป็นภารกิจการสนับสนุนการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน ให้มีประสิทธิภาพสูงสุดโดยมีกิจกรรม ที่สำคัญ ดังนี้ 8.1 การพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา ดำเนินการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ทักษะความสามารถและเจตคติที่ถูกต้องต่อการจัดการเรียน การสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามนโยบายปฏิรูปการเรียนรู้ สามารถจัดการเรียนการสอนได้ตามจุดเน้นที่ หลักสูตรสถานศึกษากำหนด มีคุณธรรมจริยธรรมที่เหมาะสมกับอาชีพและเป็นที่ยอมรับของนักเรียน ผู้ปกครอง


176 8.2การใช้ห้องเรียน อาคารเรียน และสถานที่ เพื่อให้ประโยชน์ในการจัดการศึกษา ของโรงเรียน 1) สนับสนุนการจัดห้องเรียนให้สามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้หลากหลายลักษณะ สวยงาม น่าอยู่ มีการสื่อการเรียนและสื่อสนับสนุนการเรียนรู้ที่เพียงพอ 2) สนับสนุนให้ครูใช้และอำนวยความสะดวกในการใช้ห้องปฏิบัติการ สถานที่ปฏิบัติงาน จุดศึกษาและแหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียน เพื่อเน้นให้ได้เรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริง 3) การสร้างความสะอาด สวยงาม ร่มรื่น และความปลอดภัยในโรงเรียนโดยการจัดให้ โรงเรียนมีความสวยงาม ร่มรื่นด้วยไม้ยืนต้น ไม้ดอก ไม้ประดับ ให้นักเรียนเป็นผู้รับผิดชอบในการรักษาความ สะอาดในบริเวณโรงเรียน ให้โรงเรียนเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจและเล่นกีฬาของนักเรียนมีความปลอดภัยใน การใช้ชีวิตในโรงเรียนและความปลอดภัยในทรัพย์สินของทางราชการและเป็นเขตปลอดสิ่งเสพติดทุกประเภท 8.3 การบริหารจัดการงบประมาณในการจัดการเรียนการสอน โรงเรียนเน้นให้การจัดสรรงบประมาณค่าวัสดุการศึกษาและงบประมาณอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ การพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาให้เป็นประโยชน์ต่อนักเรียนและการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตร สถานศึกษา 8.4 การขอรับการสนับสนุนช่วยเหลือการจัดการศึกษาของโรงเรียน มีกิจกรรมการ ดำเนินงาน ดังนี้ 1) การประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียน เพื่อให้การปฏิบัติงานตาม ภารกิจ หน้าที่ ความรับผิดชอบของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เกิดประโยชน์และมีประสิทธิภาพ สูงสุดต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียน 2) การประชุมผู้ปกครองนักเรียน เพื่อการชี้แจงการดำเนินงานของโรงเรียน การประสานงาน การจัดการศึกษาและพัฒนางาน 3) การร่วมกิจกรรมกับชุมชน ท้องถิ่น องค์กรปกครองท้องถิ่น และหน่วยงานในท้องถิ่น 8.5 การประกันคุณภาพการจัดการศึกษาภายในของสถานศึกษา เป็นการดำเนินงานของสถานศึกษาที่ร่วมมือกับชุมชนและหน่วยงานต้นสังกัดที่เกี่ยวข้องให้ เป็นที่เชื่อมั่นได้ว่าผู้เรียนทุกคนจะได้รับบริการด้านการศึกษาที่มีคุณภาพจากสถานศึกษาสามารถพัฒนาความรู้ ความสามารถและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามที่กำหนดในมาตรฐานหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยมีการ ดำเนินงาน ดังนี้ 1) การประเมินตนเองประจำปีของครูผู้สอน 2) การประเมินตนเองประจำปีของสถานศึกษา 3) การรายงานคุณภาพการศึกษาประจำปี เสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียนและชุมชน


177 เกณฑ์การวัดและประเมิลผลการเรียนรู้ และเกณฑ์การจบหลักสูตร


178 1. ระดับประถมศึกษา 1.1 การตัดสินผลการเรียน หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนระยองปัญญานุกูล จังหวัดระยอง พุทธศักราช 2566 กำหนดหลักเกณฑ์ การวัด และประเมินผลการเรียนรู้ เพื่อตัดสินผลการเรียนของผู้เรียน ดังนี้ 1) นักเรียนต้องมีเวลาเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของเวลาเรียนทั้งหมดแต่อาจยืดหยุ่นตามสภาพ ความพิการหรือบกพร่อง ให้อยู่ในดุลพินิจของครูผู้สอน 2) นักเรียนต้องได้รับการประเมินทุกตัวชี้วัดและผ่านตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด 3) นักเรียนต้องได้รับการตัดสินผลการเรียนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้หรือได้รับการตัดสินผลการเรียน ที่กำหนดไว้ในแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) 4) นักเรียนต้องได้รับการประเมินและมีผลการประเมินผ่านตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนดในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโดยคำนึงถึงศักยภาพ และความสามารถของนักเรียนแต่ละรายบุคคล การตัดสินผลการเรียน ตัดสินเป็นกลุ่มสาระการเรียนรู้ โดยใช้ผลการประเมินระหว่างปีและปลายปี ตามสัดส่วนที่สถานศึกษากำหนด ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ต้องได้รับการตัดสินให้ผลการเรียนตามแนวทางการ ให้ระดับผลการเรียนตามที่สถานศึกษากำหนดและผู้เรียนต้องผ่านทุกรายวิชาพื้นฐานนักเรียนควรได้รับการ ประเมินและตัดสินผลตามจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมที่กำหนดไว้ในแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) แผนการสอนเฉพาะบุคคล(IIP) โดยประเมินใน 2 รูปแบบ คืออิงกับพัฒนาการและอิงเกณฑ์ไปพร้อมๆ กัน เพื่อใช้ในการพิจารณาเลื่อนชั้นถ้านักเรียนมีข้อบกพร่องเล็กน้อยสามารถพัฒนาและสอนซ่อมเสริมได้ 1.2 การให้ระดับผลการเรียน การประเมินผลการเรียนสาระการเรียนรู้รายวิชา ตามผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของรายวิชา ซึ่งสถานศึกษาวิเคราะห์จากตัวชี้วัดชั้นปี การประเมินสาระการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ ให้ตัดสินผลการ ประเมินระดับผลการเรียน 8 ระดับ คือ “4” หมายถึง ผลการเรียนดีเยี่ยม “3.5” หมายถึง ผลการเรียนดีมาก “3” หมายถึง ผลการเรียนดี “2.5” หมายถึง ผลการเรียนค่อนข้างดี “2” หมายถึง ผลการเรียนน่าพอใช้ “1.5” หมายถึง ผลการเรียนพอใช้ “1” หมายถึง ผลการเรียนผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำ “0” หมายถึง ผลการเรียนต่ำกว่าเกณฑ์


179 การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน และคุณลักษณะอันพึงประสงค์นั้นให้ผลการประเมิน เป็นผ่านและไม่ผ่าน กรณีที่ผ่านให้ระดับผลการประเมินเป็นดีเยี่ยม ดี และผ่าน 1) ในการสรุปผลการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน เพื่อการเลื่อนชั้นและจบการศึกษา กำหนดเกณฑ์การตัดสินเป็น 4 ระดับ และความหมายของแต่ละระดับ ดังนี้ ดีเยี่ยม หมายถึง มีผลงานที่แสดงถึงความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนที่มีคุณภาพดีเลิศอยู่เสมอ ดี หมายถึง มีผลงานที่แสดงถึงความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และ เขียนที่มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับ ผ่าน หมายถึง มีผลงานที่แสดงถึงความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนที่มี คุณภาพเป็นที่ยอมรับ แต่ยังมีข้อบกพร่องบางประการ ไม่ผ่าน หมายถึง ไม่มีผลงานที่แสดงถึงความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนหรือ ถ้ามีผลงาน ผลงานนั้นยังมีข้อบกพร่องที่ต้องได้รับการปรับปรุงแก้ไข หลายประการ 2) ในการสรุปผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์รวมทุกคุณลักษณะเพื่อการเลื่อนชั้น และ จบการศึกษา กำหนดเกณฑ์การตัดสินเป็น 4 ระดับ และความหมายของแต่ละระดับ ดังนี้ ดีเยี่ยม หมายถึง ผู้เรียนปฏิบัติตนตามคุณลักษณะจนเป็นนิสัยและนำไปใช้ในชีวิต ประจำวันเพื่อประโยชน์สุขของตนเองและสังคม โดยพิจารณา จากผลการประเมินระดับดีเยี่ยม จำนวน 5-8 คุณลักษณะ และไม่มีคุณลักษณะใดได้ผลการประเมินต่ำกว่าระดับดี ดี หมายถึง ผู้เรียนมีคุณลักษณะในการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ เพื่อให้เป็น การยอมรับของสังคม โดยพิจารณาจาก 1. ได้ผลการประเมินระดับดีเยี่ยมจำนวน 1-4 คุณลักษณะ และ ไม่มี คุณลักษณะใดได้ผล การประเมินต่ำกว่าระดับดี หรือ 2. ได้ผลการประเมินระดับดีเยี่ยม จำนวน 4 คุณลักษณะ และ ไม่มีคุณลักษณะใด ได้ผลการประเมินต่ำกว่าระดับผ่าน หรือ 3. ได้ผลการประเมินระดับดี จำนวน 5-8 คุณลักษณะ และไม่มี คุณลักษณะใดได้ผลการประเมินต่ำกว่าระดับผ่าน ผ่าน หมายถึง ผู้เรียนรับรู้และปฏิบัติตามกฎเกณฑ์และเงื่อนไขที่สถานศึกษา กำหนดโดยพิจารณาจาก 1.ได้ผลการประเมินระดับผ่าน จำนวน 5-8 คุณลักษณะ และไม่มีคุณลักษณะใด ได้ผลการประเมินต่ำกว่าระดับผ่านหรือ


180 2. ได้ผลการประเมินระดับดี จำนวน 4 คุณลักษณะ และไม่มีคุณลักษณะใดได้ผลการประเมินต่ำกว่าระดับ ผ่าน ไม่ผ่าน หมายถึง ผู้เรียนรับรู้และปฏิบัติได้ไม่ครบตามกฎเกณฑ์และเงื่อนไขที่ สถานศึกษากำหนดโดยพิจารณาจากผลการประเมินระดับ ไม่ผ่านตั้งแต่ 1 คุณลักษณะ


181 การประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน จะต้องพิจารณาทั้งเวลาการเข้าร่วมกิจกรรมการปฏิบัติกิจกรรม และผลงานของผู้เรียนตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด และให้ผลการประเมินเป็นผ่านและไม่ผ่านกิจกรรม พัฒนาผู้เรียน มี 3 ลักษณะ คือ 1) กิจกรรมแนะแนว 2) กิจกรรมนักเรียน ซึ่งประกอบด้วย (1) กิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี กิจกรรมสาธารณประโยชน์ (2) กิจกรรมชุมนุม ชมรม กิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิต 3) กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ ให้ใช้ตัวอักษรแสดงผลการประเมิน ดังนี้ “ผ” หมายถึง ผู้เรียนมีเวลาเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ปฏิบัติกิจกรรม และมีผลงานตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด “มผ” หมายถึง ผู้เรียนมีเวลาเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ปฏิบัติกิจกรรม และมีผลงานไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด ในกรณีที่ผู้เรียนได้ผลของกิจกรรมเป็น “มผ” สถานศึกษาต้องจัดซ่อมเสริมให้ผู้เรียนทำกิจกรรม ในส่วนที่ผู้เรียนไม่ได้เข้าร่วมหรือไม่ได้ทำจนครบถ้วน แล้วจึงเปลี่ยนผลจาก “มผ” เป็น “ผ” ได้ ทั้งนี้ ต้องดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายในปีการศึกษานั้น ยกเว้นมีเหตุสุดวิสัยให้อยู่ในดุลยพินิจของสถานศึกษา 1.3 การเลื่อนชั้น เมื่อสิ้นปีการศึกษา ผู้เรียนจะได้รับการเลื่อนชั้น เมื่อมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ดังต่อไปนี้ 1) ผู้เรียนมีเวลาเรียนตลอดปีการศึกษาไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของเวลาเรียนทั้งหมดแต่อาจยืดหยุ่น ตามสภาพความพิการหรือบกพร่อง ให้อยู่ในดุลพินิจของสถานศึกษา 2) ผู้เรียนมีผลการประเมินผ่านทุกรายวิชาพื้นฐาน 3) ผู้เรียนมีผลการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ และกิจกรรม พัฒนาผู้เรียนผ่านตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด ทั้งนี้ ถ้าผู้เรียนมีข้อบกพร่องเพียงเล็กน้อย และสถานศึกษาพิจารณาเห็นว่าสามารถพัฒนาและสอน ซ่อมเสริมได้ ให้อยู่ในดุลยพินิจของสถานศึกษาที่จะผ่อนผันให้เลื่อนชั้นได้ แต่หากนักเรียนไม่ผ่านการประเมิน จุดประสงค์เชิงพฤติกรรมที่กำหนดไว้ในแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) และมีแนวโน้มว่าจะเป็น ปัญหาต่อการผ่านจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมที่กำหนดไว้ในแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) ควรแต่งตั้ง คณะกรรมการพิจารณาให้ปรับแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) ให้เหมาะสมกับสภาพความพิการ หรือบกพร่องของนักเรียน ในช่วงที่มีการประเมินระหว่างเรียน โดยให้คำนึงถึงศักยภาพด้านการเรียนรู้ วุฒิภาวะ ความรู้ความสามารถ และประโยชน์ที่นักเรียนจะได้รับเป็นสำคัญ


182 1.4 การสอนซ่อมเสริม การสอนซ่อมเสริม เป็นการสอนเพื่อแก้ไขข้อบกพร่อง กรณีที่ผู้เรียนมีความรู้ ทักษะ กระบวนการ หรือ เจตคติ/คุณลักษณะไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด สถานศึกษาต้องจัดสอนซ่อมเสริมเป็นกรณีพิเศษ นอกเหนือไปจากการสอนตามปกติ เพื่อพัฒนาให้ผู้เรียนสามารถบรรลุตามมาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด ที่กำหนดไว้ เป็นการให้โอกาสแก่ผู้เรียนได้เรียนรู้และพัฒนา โดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย และตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล 1.5 เกณฑ์การจบระดับประถมศึกษา 1) ผู้เรียนเรียนรายวิชาทักษะพื้นฐาน จำนวน 5,040 ชั่วโมง และรายวิชาเพิ่มเติม / กิจกรรมเพิ่มเติม จำนวน 240 ชั่วโมงและมีผลการประเมินรายวิชาพื้นฐานผ่านทุกรายวิชา 2) ผู้เรียนต้องมีผลการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน ระดับ “ผ่าน” ขึ้นไป 3) ผู้เรียนต้องมีลการประเมิน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ระดับ “ผ่าน” ขึ้นไป 4) ผู้เรียนต้องเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และได้รับการตัดสินผลการเรียน “ผ่าน” ทุกกิจกรรม 2. ระดับมัธยมศึกษา 2.1 การตัดสินผลการเรียน หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนระยองปัญญานุกูล จังหวัดระยอง พุทธศักราช 2566 กำหนดหลักเกณฑ์ การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ เพื่อตัดสินผลการเรียนของผู้เรียน ดังนี้ 1) ตัดสินผลการเรียนเป็นกลุ่มสาระการเรียนรู้ ผู้เรียนต้องมีเวลาเรียนตลอดภาคเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของเวลาเรียนทั้งหมดในกลุ่มสาระการเรียนรู้นั้น ๆแต่อาจยืดหยุ่นตามสภาพความพิการหรือบกพร่อง ให้อยู่ในดุลพินิจของสถานศึกษา 2) ผู้เรียนต้องได้รับการประเมินทุกตัวชี้วัดและผ่านตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด 3) ผู้เรียนต้องได้รับการตัดสินผลการเรียนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้หรือได้รับการตัดสินผลการเรียน ที่กำหนดไว้ในแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) 4) ผู้เรียนต้องได้รับการประเมินและมีผลการประเมินผ่านตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนดในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโดยคำนึงถึงศักยภาพ และความสามารถของนักเรียนแต่ละรายบุคคล การตัดสินผลการเรียน ตัดสินเป็นกลุ่มสาระการเรียนรู้ โดยใช้ผลการประเมินระหว่างภาค และปลายภาคตามสัดส่วนที่สถานศึกษากำหนด ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ต้องได้รับการตัดสิน และให้ ระดับผลการเรียน ทั้งนี้ ผู้เรียนต้องผ่านทุกรายวิชาพื้นฐาน โดยนักเรียนควรได้รับการประเมินและตัดสินผลตาม จุดประสงค์เชิงพฤติกรรมที่กำหนดไว้ในแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) แผนการสอนเฉพาะบุคคล โดยประเมินใน 2 รูปแบบ คืออิงกับพัฒนาการและอิงเกณฑ์ไปพร้อมๆ กัน เพื่อใช้ในการพิจารณาเลื่อนชั้น ถ้านักเรียนมีข้อบกพร่องเล็กน้อยสามารถพัฒนาและสอนซ่อมเสริมได้


183 2.2 การให้ระดับผลการเรียน การตัดสินผลการเรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานใช้ระบบผ่านและไม่ผ่าน โดยกำหนดเกณฑ์ การตัดสินผ่านแต่ละวิชาที่ร้อยละ 50 จากนั้นจึงให้ระดับผลการเรียนที่ผ่าน สามารถให้ระดับผลการเรียนหรือ ระดับคุณภาพโดยพิจารณาจากการผ่านจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมในแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) มาประกอบการให้ระดับผลการเรียนและตัดสินระดับคุณภาพตามเกณฑ์ปกติ โดยคำนึงถึงความเหมาะสมตาม ศักยภาพ พัฒนาการความรู้ความสามารถ และความบกพร่องของนักเรียนสำหรับ ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย ใช้ตัวเลขแสดงระดับผลการเรียนเป็น 8 ระดับ แนวการให้ระดับผลการเรียน 8 ระดับ และความหมายของแต่ละระดับ ดังนี้ “4” หมายถึง ผลการเรียนดีเยี่ยม “3.5” หมายถึง ผลการเรียนดีมาก “3” หมายถึง ผลการเรียนดี “2.5” หมายถึง ผลการเรียนค่อนข้างดี “2” หมายถึง ผลการเรียนน่าพอใช้ “1.5” หมายถึง ผลการเรียนพอใช้ “1” หมายถึง ผลการเรียนผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำ “0” หมายถึง ผลการเรียนต่ำกว่าเกณฑ์ การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน และคุณลักษณะอันพึงประสงค์นั้นให้ระดับผลการ ประเมินเป็นผ่านและไม่ผ่าน กรณีที่ผ่านให้ระดับผลการประเมินเป็นดีเยี่ยม ดี และผ่าน 1) ในการสรุปผลการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน เพื่อการเลื่อนชั้นและจบการศึกษา กำหนดเกณฑ์การตัดสินเป็น 4 ระดับ และความหมายของแต่ละระดับ ดังนี้ ดีเยี่ยม หมายถึง มีผลงานที่แสดงถึงความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนที่มีคุณภาพดีเลิศอยู่เสมอ ดี หมายถึง มีผลงานที่แสดงถึงความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนที่มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับ ผ่าน หมายถึง มีผลงานที่แสดงถึงความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนที่มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับ แต่ยังมีข้อบกพร่องบาง บางประการ ไม่ผ่าน หมายถึง ไม่มีผลงานที่แสดงถึงความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนหรือถ้ามีผลงาน ผลงานนั้นยังมี ข้อบกพร่องที่ต้องได้รับการปรับปรุงแก้ไขหลายประการ 2) ในการสรุปผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์รวมทุกคุณลักษณะเพื่อการเลื่อนชั้น และจบการศึกษา กำหนดเกณฑ์การตัดสินเป็น 4 ระดับ และความหมายของแต่ละระดับ ดังนี้


184 ดีเยี่ยม หมายถึง ผู้เรียนปฏิบัติตนตามคุณลักษณะจนเป็นนิสัยและนำไปใช้ ในชีวิตประจำวันเพื่อประโยชน์สุขของตนเองและสังคม โดยพิจารณาจากผลการประเมินระดับดีเยี่ยม จำนวน 5-8 คุณลักษณะ และไม่มีคุณลักษณะใดได้ผลการประเมินต่ำกว่าระดับดี ดี หมายถึง ผู้เรียนมีคุณลักษณะในการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ เพื่อให้เป็นการ ยอมรับของสังคม โดยพิจารณาจาก 1. ได้ผลการประเมินระดับดีเยี่ยม จำนวน 1-4 คุณลักษณะ และไม่มี คุณลักษณะใดได้ผลการประเมินต่ำกว่า ระดับดี หรือ 2. ได้ผลการประเมินระดับดีเยี่ยม จำนวน 4 คุณลักษณะ และไม่มี คุณลักษณะใดได้ผลการประเมินต่ำกว่าระดับผ่าน หรือ 3. ได้ผลการประเมินระดับดี จำนวน 5-8 คุณลักษณะ และไม่มีคุณลักษณะใดได้ผลการประเมินต่ำกว่าระดับผ่าน ผ่าน หมายถึง ผู้เรียนรับรู้และปฏิบัติตามกฎเกณฑ์และเงื่อนไขที่สถานศึกษา กำหนดโดยพิจารณาจาก 1. ได้ผลการประเมินระดับผ่าน จำนวน 5-8 คุณลักษณะ และไม่มี คุณลักษณะใดได้ผลการประเมินต่ำกว่าระดับผ่าน หรือ 2. ได้ผลการประเมินระดับดี จำนวน 4 คุณลักษณะ และ ไม่มีคุณลักษณะใดได้ผลการประเมินต่ำกว่าระดับผ่าน ไม่ผ่าน หมายถึง ผู้เรียนรับรู้และปฏิบัติได้ไม่ครบตามกฎเกณฑ์และเงื่อนไขที่ สถานศึกษากำหนด โดยพิจารณาจากผลการประเมินระดับไม่ผ่าน ตั้งแต่ 1 คุณลักษณะ การประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน จะต้องพิจารณาทั้งเวลาการเข้าร่วมกิจกรรม การปฏิบัติกิจกรรม และผลงานของผู้เรียนตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด และให้ผลการประเมินเป็นผ่านและไม่ผ่านกิจกรรม พัฒนาผู้เรียน มี 3 ลักษณะ คือ 1) กิจกรรมแนะแนว 2) กิจกรรมนักเรียน ซึ่งประกอบด้วย (1) กิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี กิจกรรมสาธารณประโยชน์โดยผู้เรียนเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง (2) กิจกรรมชุมนุม ชมรม กิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิต ทั้งนี้ ผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นจะต้องเข้าร่วมกิจกรรมทั้งข้อ (1) และ (2) 3) กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ ให้ใช้ตัวอักษรแสดงผลการประเมิน ดังนี้ “ผ” หมายถึง ผู้เรียนมีเวลาเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ปฏิบัติกิจกรรม และมีผลงานตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด “มผ” หมายถึง ผู้เรียนมีเวลาเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ปฏิบัติกิจกรรม และมีผลงานไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด


185 2.3 การเลื่อนชั้น เมื่อสิ้นปีการศึกษา ผู้เรียนจะได้รับการเลื่อนชั้น เมื่อมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ 1) รายวิชาพื้นฐานและรายวิชาเพิ่มเติมได้รับการตัดสินผลการเรียนผ่านตามเกณฑ์ที่สถานศึกษา กำหนด 2) ผู้เรียนต้องได้รับการประเมินและมีผลการประเมินผ่านตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนดในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 3) ระดับผลการเรียนเฉลี่ยในปีการศึกษานั้นควรได้ไม่ต่ำกว่า 1.00 ทั้งนี้ รายวิชาใดที่ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน สถานศึกษาสามารถซ่อมเสริมผู้เรียนให้ได้รับการแก้ไข ในภาคเรียนถัดไป ทั้งนี้สำหรับภาคเรียนที่ 2 ต้องดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายในปีการศึกษานั้นทั้งนี้ ถ้าผู้เรียน มีข้อบกพร่องเพียงเล็กน้อย และสถานศึกษาพิจารณาเห็นว่าสามารถพัฒนาและสอนซ่อมเสริมได้ ให้อยู่ในดุลยพินิจของสถานศึกษาที่จะผ่อนผันให้เลื่อนชั้นได้ แต่หากนักเรียนไม่ผ่านการประเมินจุดประสงค์ เชิงพฤติกรรมที่กำหนดไว้ในแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) และมีแนวโน้มว่าจะเป็นปัญหาต่อการ ผ่านจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมที่กำหนดไว้ในแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) ควรแต่งตั้งคณะกรรมการ พิจารณาให้ปรับแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) ให้เหมาะสมกับสภาพความพิการ หรือ บกพร่องของ นักเรียน ในช่วงที่มีการประเมินระหว่างเรียน โดยให้คำนึงถึงศักยภาพด้านการเรียนรู้วุฒิภาวะความรู้ ความสามารถ และประโยชน์ที่นักเรียนจะได้รับเป็นสำคัญ 2.4 การสอนซ่อมเสริม การสอนซ่อมเสริม เป็นการสอนเพื่อแก้ไขข้อบกพร่อง กรณีที่ผู้เรียนมีความรู้ ทักษะ กระบวนการ หรือ เจตคติ/คุณลักษณะ ไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด สถานศึกษาต้องจัดสอนซ่อมเสริมเป็นกรณีพิเศษ อกเหนือไปจากการสอนตามปกติ เพื่อพัฒนาให้ผู้เรียนสามารถบรรลุตามมาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัดที่กำหนด ไว้เป็นการให้โอกาสแก่ผู้เรียนได้เรียนรู้และพัฒนา โดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายและตอบสนองความ แตกต่างระหว่างบุคคลการสอนซ่อมเสริมสามารถดำเนินการได้ในกรณี ดังต่อไปนี้ 1) ผู้เรียนมีความรู้/รายวิชาพื้นฐานไม่เพียงพอที่จะศึกษาในแต่ละรายวิชานั้น ควรจัดการสอน ซ่อมเสริมปรับความรู้/รายวิชาพื้นฐาน 2) ผู้เรียนไม่สามารถแสดงความรู้ ทักษะ กระบวนการ หรือเจตคติ/คุณลักษณะที่กำหนดไว้ตาม มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัดในการประเมินผลระหว่างเรียน 3) นักเรียนไม่ผ่านการประเมินจุดประสงค์ เชิงพฤติกรรมที่กำหนดไว้ในแผนการจัดการศึกษาเฉพาะ บุคคล (IEP) 2.5 เกณฑ์การจบระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 1) ผู้เรียนเรียนรายวิชาพื้นฐาน และรายวิชาเพิ่มเติม จำนวน 81 หน่วยกิต โดยเป็นรายวิชาพื้นฐาน จำนวน 66 หน่วยกิต และรายวิชาเพิ่มเติม จำนวน 15 หน่วยกิต 2) ผู้เรียนต้องมีผลการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน ระดับ “ผ่าน” ขึ้นไป 3) ผู้เรียนต้องมีผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ระดับ “ผ่าน” ขึ้นไป 4.) ผู้เรียนต้องเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และได้รับการตัดสินผลการเรียน “ผ่าน” ทุกกิจกรรม


186 2.6 เกณฑ์การจบระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 1) ผู้เรียนเรียนรายวิชาพื้นฐาน และรายวิชาเพิ่มเติม จำนวน 81 หน่วยกิต โดยเป็นรายวิชาพื้นฐาน จำนวน 41 หน่วยกิต และรายวิชาเพิ่มเติม จำนวน 40 หน่วยกิต 2) ผู้เรียนต้องมีผลการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน ระดับ “ผ่าน” ขึ้นไป 3) ผู้เรียนต้องมีผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ระดับ “ผ่าน” ขึ้นไป 4) ผู้เรียนต้องเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และได้รับการตัดสินผลการเรียน “ผ่าน” ทุกกิจกรรม


187 บรรณานุกรม


188 บรรณานุกรม กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และ ที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้า และพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.). กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.). กระทรวงศึกษาธิการ . (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด. กระทรวงศึกษาธิการ. (2555). หลักเกณฑ์และวิธีการปรับใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษา ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 สำหรับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ. สำนักวิชาการและ มาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรุงเทพ ฯ : โรงพิมพ์อักษรไทย (น.ส.พ.ฟ้าเมืองไทย). กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 แก้ไขเพิ่มเติมพุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์ การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด. กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ประกาศเรื่อง การบริหารจัดการเวลาเรียนของสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน ณ วันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550. (2550). (ออนไลน์). (วันที่ค้นข้อมูล : มีนาคม 2561). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. (2560). (ออนไลน์). (วันที่ค้นข้อมูล : มีนาคม 2561). สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2553). แนวปฏิบัติการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.


189 ภาคผนวก


190 คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำ และพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา


191


192


193


194


195 คณะผู้จัดทำ


196 คณะผู้จัดทำ ที่ปรึกษา 1. นายโต้ง พรมกุล ผู้อำนวยการโรงเรียนระยองปัญญานุกูล 2. นางสาวสุกัญญา วุฒิรัตน์ รองผู้อำนวยการโรงเรียนระยองปัญญานุกูล 3. นางสาวอนงค์ภัทร์ วางโต รองผู้อำนวยการโรงเรียนระยองปัญญานุกูล 4. นายเด่นชัย มูลสวัสดิ์ รองผู้อำนวยการโรงเรียนระยองปัญญานุกูล 5. นางสาวนิตยา บุตรยศ รองผู้อำนวยการโรงเรียนระยองปัญญานุกูล 6. นางสาวเสาวลักษณ์ ปรีดา หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย 7. นายยุทธภูมิ สาระคร หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ 8. นางสาวธันยพร คำแสนสุข หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 9. นางสาวรัชดาพร เวหน หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม . 10. นางอุมากร พรหมดีมา หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา 11. นายพรชัย สุริยพรรณพงศ์ หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ 12. นายสมบูรณ์ แสนสุด หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ 13. นางสาวทิพวรรณ สุขดาษ หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ 14. นางสาวกมลชนก ชอบชิงชัย หัวหน้าหลักสูตรปฐมวัย 15. นางสาวโสภิตา อิ่มรักษา หัวหน้าหลักสูตรโรงเรียนคุณธรรม 16. นายคำภู ภักดีหาร หัวหน้าหลักสูตรโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ 17. นางสาวสุดตา ป้อมเด็ด หัวหน้าหลักสูตรพอเพียง 18. นายจิรวัฒน์ จันทร์เอียด หัวหน้าหลักสูตรหน้าที่พลเมือง 19. นายธงชัย นามวิชา หัวหน้าหลักสูตรสถานศึกษาปลอดภัย 20. นายธานินท์ ขวนขวาย หัวหน้าหลักสูตรอาชีพ 21. นางสาวชลบุษ ทับทิมทอง หัวหน้าหลักสูตรกิจกรรมแนะแนว 22. นายธีรวัฒน์ ปติสังข์ หัวหน้าหลักสูตรกิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี และบำเพ็ญประโยชน์ 23. นางสาวศิริพร แป้นสุข หัวหน้าหลักสูตรกิจกรรมชุมนุม คณะผู้จัดทำ 1. นางอุมากร พรหมดีมา หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา 2. นายกิตติศักดิ์ เย็นจตุรัส กรรมการ 3. นายพิทยา วงศ์คำมา กรรมการ 4. นายอดุลย์ ยาตรา กรรมการ 5. นางสาวจินตนา ปัตตายะโส กรรมการ 6.นางงสาวศิริภัสสร บริบูรณ์ กรรมการและเลขานุการ


197 คณะบรรณาธิการ 1. นายพรชัย สุริยพรรณพงศ์ หัวหน้ากลุ่มบริหารงานวิชาการ 2. นางสาวธันยพร คำแสนสุข ผู้จัดทำโครงการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา 3. นางสาวเสาวลักษณ์ ปรีดา กรรมการ 4. นางสาวณัฐฑิราภรณ์ กุลกิตติ์วิริยะ กรรมการ 5. นางสาวเกศกนก ไชยลาภ กรรมการ 6. นายราเชน สร้อยชื่น กรรมการ 7. นางสาวกัลยาณี กองเสพ กรรมการและเลขานุการ ผู้จัดพิมพ์/ออกแบบรูปเล่ม 1. นางอุมากร พรหมดีมา ประธานกรรมการ 2. นายกิตติศักดิ์ เย็นจตุรัส กรรมการ 3. นายพิทยา วงศ์คำมา กรรมการ 4. นายอดุลย์ ยาตรา กรรมการ 5. นางสาวจินตนา ปัตตายะโส กรรมการ 6.นางงสาวศิริภัสสร บริบูรณ์ กรรมการและเลขานุการ


1


Click to View FlipBook Version