เ อ ก ส า ร ป ร ะ ก อ บ ก า ร เ รี ย น
การจัดการ
ธุรกิจโรงแรม
อรรถกร ธนวณิชย์กุล
การจัดการธุรกิจโรงแรม
บทที่ 1
ความเป็นมาและวิวัฒนาการ
ของธุรกิจโรงแรม
การจัดการธุรกิจโรงแรม
บทที่ 1
ความเป็นมา
และวิวัฒนาการ
ของธุรกิจโรงแรม
ในการศึกษาระบบการบริหารงาน เป็นธุรกิจที่ให้ความสะดวกสบายและ
และการทำงานของฝ่ายต่าง ๆ ใน บริการต่างๆ แก่ผู้เดินทางและนัก
ธุรกิจโรงแรมนั้น หากผู้ศึกษาได้ ท่องเที่ยว สามารถนำรายได้จากต่าง
ทราบถึงประวัติความเป็นมาและ ประเทศเป็นจำนวนมาก ธุรกิจในยุโรป
แนวโน้มในอนาคตของที่พักแรม ก็ และสหรัฐฯ มีแบบแผนและวิธีการ
จะทำให้การดำเนินงานของธุรกิจนี้ ทำงานที่เป็นมาตรฐานชั้นนำ ดังนั้น
ได้ดีขึ้น นอกจากนี้ สิ่งแวดล้อมทาง การศึกษาความเป็นมาของธุรกิจ
การเมือง เศรษฐกิจ และสังคม โรงแรมทั้งในแถบตะวันตกและใน
ปัจจุบันก็เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ประเทศไทย จะช่วยสร้างความเข้าใจ
ผู้ศึกษาจึงควรทราบสภาวะอุตสาห- ภาพของธุรกิจโรงแรมในปัจจุบันได้
กรรมท่องเที่ยวของประเทศไทย ทั้ง เป็นอย่างดีการเดินทางเพื่อ
ในอดีตและในอนาคตด้วย วัตถุประสงค์ทางด้านเศรษฐกิจ
การเมือง ศาสนา และการแสวงหา
ประวัติของการพักแรมและ ความเพลิดเพลินหรือวัตถุประสงค์
วิวัฒนาการของที่พักแรม ประวัติ ปลีกย่อยอื่นๆ ได้เกิดขึ้นตั้งแต่สมัย
ที่พักแรมในยุโรป ประวัติที่พักแรม โบราณ การเดินทางนอกจาก
ในสหรัฐฯ ประวัติที่พักแรมใน ต้องการขนส่ง อาหารและเครื่องดื่ม
ประเทศไทย ประวัติในโรงแรมที่ ความปลอดภัย และความสะดวก
สำคัญในประเทศไทย วิวัฒนาการ สบายในการเดินทางแล้ว สิ่งหนึ่งซึ่ง
ของธุรกิจโรงแรม และแนวโน้มของ ขาดไม่ได้ในการเดินทางก็คือ ที่
ธุรกิจโรงแรมในอนาคต ธุรกิจ พักแรม (Accommodations)
โรงแรมความเป็นมาและวิวัฒนาการ
มานานนับร้อยปี
ค ว า ม เ ป็ น ม า แ ล ะ วิ วั ฒ น า ก า ร ข อ ง ธุ ร กิ จ โ ร ง แ ร ม | 2
การจัดการธุรกิจโรงแรม
ที่พักแรมในการเดินทางหรือ
โรงแรม(Hotel) มีลักษณะแตก
ต่างกัน
ออกไป เพื่อให้สอดคล้องกับ
วัตถุประสงค์ของผู้เดินทาง บาง
ประเภทอาจเป็นที่พักชั่วคราว
ระหว่างการ
เดินทาง บ้านญาติ วัด หรือโรงแรม
ที่สร้างขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในด้าน
เศรษฐกิจเป็นเป้าหมายหลัก
ในปัจจุบันการเดินทางเพื่อการ
ประกอบอาชีพและการท่องเที่ยว
ขยายตัวขึ้น เพราะความ
เจริญก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจที่
ทําให้ผู้คนต้องติดต่อธุรกิจโยงใย
กันทั่วโลก นอกจากนี้การพัฒนา
เทคโนโลยีด้านขนส่งยังทําให้การ
เดินทางทําได้รวดเร็ว ปลอดภัย และ
สะดวกสบายมากขึ้นกว่าเดิม
ส่งผลทําให้การเดินทางเพื่อการท่อง
เที่ยวขยายตัวขึ้นอย่างมาก อีกทั้ง
ระบบธุรกิจในปัจจุบันมีวันหยุด
มากขึ้น พนักงานซึ่งเคร่งเครียดจา
กการทํางานต้องการพักผ่อนหย่อน
ใจ จึงเกิดการสร้างที่พักแรม
หลากหลายประเภท เพื่อตอบสนอง
ความต้องการของผู้บริโภค
ค ว า ม เ ป็ น ม า แ ล ะ วิ วั ฒ น า ก า ร ข อ ง ธุ ร กิ จ โ ร ง แ ร ม | 3
การจัดการธุรกิจโรงแรม
1.1 วิวัฒนาการของการโรงแรม (Hotel Development)
ก่อนที่จะศึกษาวิชาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับโรงแรมโดยละเอียด เราควรทํา
ความเข้าใจ
เกี่ยวกับคําศัพท์ต่างๆ ที่สําคัญ เพื่อปูพื้นฐานสําหรับวิชานี้
1.1.1 ความหมาย
ความหมายของคําว่า โรงแรม มีรากฐานคําศัพท์ที่เกี่ยวข้องที่ควรทราบดังต่อ
ไปนี้
Hotel หมายถึง เป็นคําที่มาจากภาษาฝรั่งเศส ซึ่งคฤหาสน์ของเศรษฐี มี
ลักษณะเป็นบ้านหลังใหญ่ มีห้องนอนจํานวนมาก รวมถึงห้องรับแขกและห้อง
อาหาร รวมทั้งมีสิ่งอํานวยความสะดวกพร้อม ต่อมาคฤหาสน์เหล่านี้ก็เปิดให้คน
เข้าพักได้ จึงเป็นจุดเริ่มต้นของโรงแรม
Host และ Hostel หมายถึงเจ้าของบ้านหรือ เจ้าภาพ
Hosteler หมายถึง เจ้าของโรงแรม หรอผู้ประกอบการโรงแรม
Hospitality หมายถึง การต้อนรับ การให้ความบันเทิงแก่ผู้มาเยือน ด้วย
อัธยาศัยและน้ําใจไมตรีอันดียิ่ง
Guest หมายถึง แขก เป็นคําที่นิยมเรียกผู้มาใช้บริการในธุรกิจโรงแรมแทนคํา
ว่า Customer ซึ่งหมาถึงลูกค้าสําหรับธุรกิจบริการอื่นๆ
ค ว า ม เ ป็ น ม า แ ล ะ วิ วั ฒ น า ก า ร ข อ ง ธุ ร กิ จ โ ร ง แ ร ม | 4
การจัดการธุรกิจโรงแรม
นอกเหนือจากคําว่า Hostel ซึ่งหมายถึง โรงแรม ก็ยังมีคําศัพท์อื่นที่ใช้เรียก
สถานที่ที่ให้บริการที่พักอาหารและเครื่องดื่ม ได้แก่
Inns หมายถึง ที่พักของคนเดินทาง
Motel หมายถึงที่พักราคาประหยัด ไม่หรูหรา มีสิ่งอํานวยความสะดวกขั้นพื้น-
ฐานเฉพาะที่จําเป็น
Motor Hotel หมายถึง สถานที่พักสําหรับนักเดินทางที่ใช้รถยนต์ มักตั้งอยู่
ตามเส้นทางที่เป็นทางผ่าน ทางเชื่อมระหว่างเมือง เหมาะสําหรับผู้ที่มีรถยนต์ที่
แวะค้างคืน
Resort หมายถึง สถานที่พักตากอากาศ มักตั้งอยู่ในบริเวณที่มีทิวทัศน์
สวยงาม มักจะตั้งใกล้กับทะเล ริมแม่น้ํา ภูเขา ฯลฯ
ค ว า ม เ ป็ น ม า แ ล ะ วิ วั ฒ น า ก า ร ข อ ง ธุ ร กิ จ โ ร ง แ ร ม | 5
การจัดการธุรกิจโรงแรม
1.2 ประวัติของอุตสาหกรรมโรงแรม
1.2.1 ประวัติของที่พักแรม กิจการโรงแรมเริ่มขึ้นในหลายพันปีมาแล้ว จากการ
ที่มีผู้เดินทางตามวัตถุประสงค์ต่างๆ เช่น ทางศาสนา การเมือง การค้า การ
ท่องเที่ยว จากเหตุผลข้างต้น โรงแรมก็ได้มีพัฒนาการขึ้นเรื่อยๆ โดยลําดับดัง
ต่อไปนี้
1) สมัยโบราณ (Early History) 1000 ปี ก่อนคริสต์ศักราช - ค.ศ.500
เริ่มจากชาวกรีกโบราณ เดินทางเพื่อจุดประสงค์ทางด้านศาสนา เพื่อมา
ประกอบพิธีกรรม ณ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ชาวกรีกจํานวนมากพากันออกจากบ้าน
จึงจําเป็นต้องมีที่พัก โดยเรียกที่พักแรมสําหรับคนเดินทาง(Taverns) โดยการ
แบ่งเป็นห้องเล็กๆ ให้พัก ซึ่งเป็นรูปแบบเดียวกับธุรกิจโรงแรมใน
ปัจจุบันนั่นเอง
ต่อมายุคอาณาจักรโรมัน(Roman Empire) เป็นอาณาจักรที่กว้างใหญ่
ไพศาล เพราะโรมันต้องการขยายดินแดนที่ยิ่งใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ช่วงแรกเป็นการ
เดินทางเพื่อรบที่มีการเดินทางแบบกองคาราวานมีการเตรียมอาหาร เครื่องดื่ม
และเต็นท์สําหรับพักไปด้วย จึงไม่ต้องอาศัยที่พักสําหรับการเดินทางมากนัก
เมื่อเริ่มมีการเดินทางเพื่อการค้ากับพวกอาณานิคมต่างๆ ของพวกพ่อค้า จึงได้
มีผู้ริเริ่มกิจการห้องพักขนาดเล็ก(Inns) เพื่อให้พ่อค้าพักสําหรับการติดต่อ
ค้าขาย ไม่ต้องกังวลเรื่องที่พัก นอกจากนี้ชาวโรมันในยุคหลังๆ ยังมีการเดิน
ทางเพื่อหาความสําราญ โดยเดินทางไปยังประเทศกรีซ อิตาลี รวมทั้งอียิปต์
และแถบเมดิเตอร์เรเนียนด้วย เมื่อมีผู้เดินทางเป็นจํานวนมาก ที่พักแรมจึง
เจริญขึ้นตามลําดับ
ค ว า ม เ ป็ น ม า แ ล ะ วิ วั ฒ น า ก า ร ข อ ง ธุ ร กิ จ โ ร ง แ ร ม | 6
การจัดการธุรกิจโรงแรม
2) สมัยกลาง (The Middle Ages) ค.ศ.500 - ค.ศ. 1500
ในสมัยนี้ยุโรปเรียกว่า ยุคมืด(Dark Ages) อาณาจักรโรมันอันยิ่งใหญ่ก็ล่ม
สลายลงมีการสู้รบแทบทุกประเทศในยุโรป กิจการด้านที่พักแรมจึงต้องหยุด
ชะงักความเจริญไปช่วงหนึ่ง
3) สมัยฟื้ นฟู (The Renaissance) ค.ศ.1501 - ค.ศ. 1900
เป็นช่วงที่ประเทศอังกฤษมีความก้าวหน้ามาก มีการค้าขายจึงทําให้เจริญทั้ง
เศรษฐกิจและสังคม นํามาซึ่งความเจริญก้าวหน้าของธุรกิจที่พักแรมของ
อังกฤษ ซึ่งการเดินทางในประเทศอังกฤษนิยมใช้รถม้า (Stagecoach) การ
เดินทางในรูปแบบดังกล่าวต้องใช้เวลาหลายวันในการเดินทางจาก
เมืองหนึ่งไปยังเมืองหนึ่ง ทําให้เกิดที่พักแรมตามเส้นทางการเดินทางในรูป
แบบ (Inns) และ(Taverns) ซึ่งเป็นแบบอย่างธุรกิจในปัจจุบันนั่นเอง
ในปี พ.ศ.2317 ได้มีการสร้างโรงแรมขึ้นในฐานะที่เป็นโรงแรม หรือที่เรียกว่า
Hotel จริงๆ และเปิดให้บริการครั้งแรกที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ
บุคคลผู้มีความสําคัญมากต่อประวัติศาสตร์ของธุรกิจโรงแรม คือ ซีซาร์ริทซ์
ซึ่งเป็นชาวสวิส โดยได้บริการจัดการโรงแรมซาวอย เปิดโรงแรมลอนดอนริทซ์
และขยายเครือข่ายโรงแรมริทซ์ออกไปตามนครใหญ่ต่าง ๆ ซึ่งเครือข่ายโรงแร
มริทซ์นี้จัดอยู่ในกลุ่มโรงแรมหรูหราที่สุดต่อมาจนถึงปัจจุบัน ซีซาร์ริทซ์ ได้เป็น
ผู้ให้คํานิยามว่า หัวใจสําคัญของธุรกิจโรงแรมคือ “การบริการ” และเป็นผู้ริเริ่ม
แนวคิดใช้โรงแรมเพื่อการบันเทิงแทนการจัดงานที่บ้าน ซึ่งในภายหลังเขาได้รับ
สมญานามว่าเป็น “บิดาแห่งการโรงแรม”
จากนั้นโรงแรมได้ขยายตัวอย่างต่อเนื่องตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 18 จนพัฒนา
เป็นโรงแรมมาตรฐาน ซึ่งเป็นต้นแบบของโรงแรมปัจจุบันในปลายคริสต์
ศตวรรษที่ 19
ค ว า ม เ ป็ น ม า แ ล ะ วิ วั ฒ น า ก า ร ข อ ง ธุ ร กิ จ โ ร ง แ ร ม | 7
การจัดการธุรกิจโรงแรม
1.3 ประวัติที่พักแรมในสหรัฐอเมริกา
ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 หลังจากชาวอังกฤษ ชาวยุโรป และชาติอื่น ๆ ได้อพยพ
เข้าไปอยู่ในสหรัฐฯ ก็ทําให้เกิดที่พักหรือโรงแรมในบริเวณทางด้านฝั่ งตะวันออก
เฉียงเหนือของสหรัฐฯ ซึ่งในปัจจุบัน โรงแรมในสหรัฐฯ ได้เกิดขึ้นตามบริเวณ
เมืองท่าชายฝั่ งทะเลหรือแม่น้ํา แต่โรงแรมในอังกฤษจะเกิดขึ้นตามแนวเส้นทาง
รถม้า ซึ่งโรงแรมได้พัฒนาตามความเจริญของประเทศมาอย่างต่อเนื่อง ในปี
ค.ศ.1974 ได้เกิดโรงแรมซิตี้ (City Hotel) ขึ้นในนิวยอร์ก ซึ่งเป็นโรงแรม
ขนาดใหญ่ที่สุด มีห้องพัก 70 ห้อง ต่อมาในปี ค.ศ.1829 ได้เกิดโรงแรมขนาด
ใหญ่ ชื่อโรงแรมทรีมอนต์ ในเมืองบอสตัน มีห้องพักถึง 170 ห้อง และภาย
หลังได้กลายเป็นแบบอย่างด้านการจัดสถานที่และบริการต่างๆ ให้กับโรงแรม
อื่ นๆ
ผู้บุกเบิก และ ผู้นําในการก่อตั้งธุรกิจโรงแรม
กิจการโรงแรมเริ่มดําเนินกิจการในลักษณะธุรกิจโรงแรม บุคคลที่เกี่ยวข้องใน
การริเริ่มงานโรงแรม คือ
Elsworth M. Statler
1. เอสส์เวิร์ทเอ็ม.สเตตเลอร์ (Elsworth M. Statler) ในปี ค.ศ.1908 ได้
สร้างโรงแรมบัฟฟาโล สเตตเลอร์ (Buffalo Statler) โดยมีห้องพักทั้งหมด
300 ห้อง และแต่ละห้องจะมีห้องน้ําส่วนตัว และสเตตเลอร์ยังได้ขยายกิจการ
ของโรงแรมออกไปยังเมืองต่างๆ ซึ่งเป็นแนวความคิดของการจัดตั้งโรงแรม
เครือข่าย (Chain Hotel) ในปัจจุบัน
ค ว า ม เ ป็ น ม า แ ล ะ วิ วั ฒ น า ก า ร ข อ ง ธุ ร กิ จ โ ร ง แ ร ม | 8
การจัดการธุรกิจโรงแรม
2. คอนราด เอ็น. ฮิลตัน (Conrad N.Hilton) Conrad N.Hilton
นอกจาก เอลส์เวิร์ทเอ็ม.สเตตเลอร์ แล้ว ยังมี
บุคคลสําคัญในประวัติศาสตร์ธุรกิจโรงแรมของ
สหรัฐฯ อีกคือ คอนราด เอ็น. ฮิลตัน(Conrad
N.Hilton) เป็นผู้ก่อตั้งฮิลตันอินเตอร์เนชั่นแนล
ขึ้นในปี ค.ศ.1927 และซื้อกิจการโรงแรมสเตตเลอร์
ในปี ค.ศ.1954 ซึ่งปัจจุบันมีโรงแรมในเครือของฮิล
ตันมากมาย อาทิ คอนราด ดับเบิ้ลทรี และเอ็มบาสซี
สวีท เป็นต้น
3. เออร์เนสต์เฮนเดอร์สัน (Ernest Henderson) เป็นผู้พัฒนาการบริหาร
งานของโรงแรมเชอราตัน (Sheraton) ทําให้เชอราตันประสบความสําเร็จ
อย่างล้นเหลือ และขยายเครือข่ายไปทั่วโลก ปัจจุบันบริษัทสตาร์วูดเป็นผู้บริหาร
ในเครือเชอราตัน รวมทั้งโรงแรมในเครืออื่น ๆ เช่น เวสตินและโฟร์พอยต์
เป็นต้น
4. เคมมอนส์วิลสัน (Kemmons Wilson)
ซึ่งได้ชื่อว่าเป็น บิดาแห่งการโรงแรมสมัยใหม่
(Father of Modern Hotel) ได้ก่อตั้งโรง
แรมฮอลิเดย์อินน์ขึ้นใน ค.ศ.1952 จาก
แนวคิดโรงแรมในอุดมคติของเขาเอง เป็น
โรงแรมที่มีขนาดเล็ก แต่มีบริการที่จําเป็น
แทบทุกอย่างภายในและภายนอกห้องพัก เช่น
ลานจอดรถ ห้องดูแลเด็ก กรงสุนัข ระบบสํา
Kemmons Wilson รองห้องพักที่ใช้ได้กับฮอลิเดย์อินน์ทุกสาขา มี
เปิดธุรกิจสนับสนุนกิจการของโรงแรมอื่น ๆ
เช่น บริษัทนําเที่ยว บริษัทเดินเรือ เป็นต้น ซึ่งโรงแรมในเครือของกลุ่มโรงแรม
อินเตอร์คอนติเนนทัลได้เข้าซื้อกิจการของโรงแรมฮอลิเดย์อินน์ทั้งหมดในปี
ค.ศ.1988 และผนวกเข้าเป็นโรงแรมในกลุ่มของอินเตอร์คอนดิเนนทัลในปัจจุบัน
5. เจ. วิลลาร์ดแมริออท (J. Willard Marriott) และเจดับบลิว แมริออทจูเนียร์
(JW Marriott Jr.) ผู้ก่อตั้งโรงแรมในเครือแมริออทและขยายสาขาไปทั่วโลก
ภายใต้ชื่อต่างๆ เช่น แมริออท โฮเต็ล รีสอร์ท, เจดับบลิว แมริออท โฮเต็ลแอนด์
รีสอร์ท และคอร์ทยาร์ด บาย แมริออท เป็นต้น
ค ว า ม เ ป็ น ม า แ ล ะ วิ วั ฒ น า ก า ร ข อ ง ธุ ร กิ จ โ ร ง แ ร ม | 9
การจัดการธุรกิจโรงแรม
1.4 ประวัติที่พักแรมในประเทศไทย
สถานที่พักที่แรก ๆ ของคนเดินทางสมัยก่อนธุรกิจโรงแรมในไทย ได้แก่ บ้าน
ญาติมิตร ตามวัดหรือศาลาที่มีอยู่ทั่วไประหว่างเส้นทางคมนาคม สังคมไทย
สมัยต้นรัตนโกสินทร์อาศัยแม่น้ำลำคลองเป็นเส้นทางติดต่อค้าขาย และ
กรุงเทพฯ ก็เป็นเมืองท่าที่มีพ่อค้าต่างชาติเดินทางเข้ามามาก จึงปรากฏที่พัก
นักเดินทางในยุคแรกอยู่บริเวณริมฝั่ งแม่น้ำเจ้าพระยา ส่วนกิจการที่พักนั้นมี
มากกว่า 100 ปี เดิมเรียกว่า “ที่พักคนเดินทาง” ในขณะนั้นการเดินทางจะเป็น
ทางเท้าหรือทางเรือเท่านั้นที่พักคนเดินทางจะมีลักษณะเป็นเรือนแถวยกพื้นสูง
แค่เข่า เป็นห้องพักคล้าย ๆ กับศาลาการเปรียญผู้เข้าพักจะนอนเรียงรายเป็น
แถวต่อกันไป ไม่มีห้องแยกเป็นสัดส่วน ตั้งอยู่บริเวณเชิงสะพานเหล็กใกล้ ๆ
กับสะพานหัน ต่อมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ
หม่อมราโชทัย เสด็จไปศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษและเป็นผู้นำคำว่า “โฮเต็ล”
มาทรงประพันธ์ไว้ในนิราศลอนดอน นับแต่นั้นเป็นต้นมา ที่พักคนเดินทางก็ถูก
เรียกว่า “โรงแรม” หรือ “โฮเต็ล” และที่พักก็เริ่มมีความหรูหราขึ้นตามกาลเวลา
โฮเต็ลพญาไทย หรือ พระราชวังพญาไทย ในปัจจุบัน
ค ว า ม เ ป็ น ม า แ ล ะ วิ วั ฒ น า ก า ร ข อ ง ธุ ร กิ จ โ ร ง แ ร ม | 1 0
การจัดการธุรกิจโรงแรม
1.4.1 ประวัติของโรงแรมที่สำคัญในประเทศไทย
The Orientel Hotel
- โรงแรมโอเรียนเต็ล(The Oriental Hotel) สร้างขึ้นใน พ.ศ.2419 รัชสมัย
ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยนักเดินเรือชาวเดนมาร์ก 2
คน คือ เอช.จาร์ค(H.Jarck) และซี.ชาล์จ(C.Salje) ตั้งอยู่ใกล้กับสถานทูต
ฝรั่งเศส เป็นโรงแรมแห่งแรกที่มีลักษณะเป็นอาคารชั้นเดียว สร้างขนานไปกับ
แม่น้ำเจ้าพระยา และเป็นโรงแรมแรกที่นำระบบไฟฟ้าเข้ามาใช้ในกิจการโรงแรม
กลุ่มกิจการแมนดาริน โอเรียนเต็ล ซึ่งเป็นกลุ่มโรงแรมที่มีชื่อเสียงกลุ่มหนึ่ง
ของเอเชียได้ประกาศเข้าซื้อกิจการของโรงแรม หลังจากนั้นก็ได้มีการเปลื่ยน
ชื่อบริษัทจาก บริษัท โรงแรมโอเรียนเต็ล ประเทศไทย จำกัด (มหาชน) มาเป็น
บริษัท OHTL จำกัด (มหาชน) และโรงแรมได้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น "โรงแรมแมน
ดาริน โอเรียนเต็ล กรุงเทพ " ทำให้มีการปรับภาพลักษณ์และกระบวนทัศน์ของ
การบริหารงานโรงแรม ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในรอบ 132 ปี
- โรงแรมรอยัล(Royal Hotel) สร้างใน พ.ศ.2454 รัชสมัยพระบาทสมเด็จ
พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อใช้ต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง และนักธุรกิจชาว
ตะวันตก เป็นอาคาร 3 ชั้น อยู่บนถนนสาทร ปัจจุบันคือสถานทูตรัสเซีย
ค ว า ม เ ป็ น ม า แ ล ะ วิ วั ฒ น า ก า ร ข อ ง ธุ ร กิ จ โ ร ง แ ร ม | 1 1
การจัดการธุรกิจโรงแรม
- โรงแรมหัวหิน สร้างใน พ.ศ.2465 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้า
อยู่หัว ในสมัยนั้นหัวหินเป็นแหล่งพักผ่อนยอดนิยมของชาวเมืองหลวง
พระองค์จึงทรงดำริให้สร้างบ้านพักบังกะโลริมทะเลให้เช่า ต่อมาสร้างเป็น
อาคารโฮเต็ลบนที่ดินที่พระราชทานให้กรมรถไฟคือ “โฮเต็ลหัวหิน หรือโรงแรม
รถไฟหัวหิน” มีห้องพักทั้งหมด 28 ห้อง เดิมเป็นอาคารบังกะโลเรือนไม้ ต่อมา
ปรับปรุงเป็นแบบยุโรป มีบริการสนามกอล์ฟ และสนามเทนนิส ขณะนั้นโรงแรม
นี้ดำเนินการโดยการรถไฟแห่งประเทศไทย โดยมีพลเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธินเป็นผู้บัญชาการ ซึ่งต่อมาท่านได้รับยกย่องให้
เป็น“บิดาแห่งการโรงแรมไทย”ปัจจุบันโรงแรมนี้คือโรงแรมโซฟิเทลเซ็นทรัล
หัวหิน
โรงแรมเซ็นทาร่าแกรนด์บีชรีสอร์ทแอนด์วิลล่าหัวหิน
หรือ โรงแรมรถไฟหัวหินในอดีต
- โรงแรมโฮเต็ลวังพญาไท สร้างใน พ.ศ. 2469 เป็นโรงแรมดีลักซ์แห่งแรก
ของไทย ปัจจุบันคือโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
- โรงแรมรัตนโกสินทร์ จอมพล ป.พิบูลสงคราม ให้สร้างขึ้นบนถนน
ราชดำเนินกลาง เพื่อเป็นที่พักรับรองแขกเมืองคนสำคัญ ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อ
เป็นโรงแรมรอยัลรัตนโกสินทร์
ค ว า ม เ ป็ น ม า แ ล ะ วิ วั ฒ น า ก า ร ข อ ง ธุ ร กิ จ โ ร ง แ ร ม | 1 2
การจัดการธุรกิจโรงแรม
ในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 การท่องเที่ยวของไทยขยายตัว เนื่องจากมีการ
พัฒนาการคมนาคมทางอากาศ มีเส้นทางการบินเข้าสู่ประเทศไทยมากขึ้นอีก
ทั้งภาครัฐบาลได้สนับสนุนและส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างจริงจัง ในปี
พ.ศ.2502 ได้จัดตั้งองค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ซึ่งเปลี่ยน
เป็นการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และได้รับการตั้งเป็นกระทรวงการท่องเที่ยว
และกีฬา เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ.2545 ภาคเอกชนขยายการลงทุนในธุรกิจ
โรงแรม เกิดโรงแรมมาตรฐานสากลขึ้นหลายแห่งในกรุงเทพฯ โดยดำเนินงาน
และบริหารงานตามมาตรฐานของกลุ่มโรงแรม หรือเป็นเครือโรงแรมจากต่าง
ประเทศ ตลาดผู้เข้าพักหลัก คือ นักท่องเที่ยวต่างชาติ ทั้งหมดนี้เป็นการเปิด
โอกาสให้มีการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์งานโรงแรมตามแบบแผน-
สากล ทำให้คนไทยได้เรียนรู้ระบบบริหารงานโรงแรมมาตรฐานชั้นดี และพัฒนา
เป็นกลุ่มบริหารของคนไทย
ในระยะต่อมา กิจการโรงแรมในไทยเติบโต
ตามการขยายตัวทางเศรษฐกิจและ
อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลัง พ.ศ.2530 ซึ่ง
รัฐบาลประกาศเป็นปีท่องเที่ยวไทย การ
ส่งเสริมการท่องเที่ยวประสบความสำเร็จ
เป็นอย่างดี ปริมาณนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น
อย่างรวดเร็วในอัตราที่สูงกว่าการขยาย
ตัวของปริมาณห้องพักโรงแรม จนเกิด
ปัญหาการขาดแคลนห้องพัก โดยเฉพาะ
ในเขตกรุงเทพฯ และแหล่งท่องเที่ยวที่
สำคัญฯ เป็นเหตุจูงใจให้มีผู้ลงทุนในธุรกิจ
องค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย โรงแรม ทั้งโดยการสร้างเพิ่มและปรับปรุง
ปัจจุบันคือ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ขยายจำนวนห้องพัก
แต่พัฒนาการที่สำคัญที่สุดคือ การขยายเครือข่ายกิจการภายใต้ชื่อของบริษัท
โรงแรมไทย กลุ่มโรงแรมในจำนวนนี้ ได้แก่ กลุ่มดุสิตธานี เซ็นทรัลอมารี
อิมพีเรียล ในขณะที่กลุ่มโรงแรมต่างประเทศก็ขยายเครือข่ายไปยังแหล่งท่อง
เที่ยวต่างจังหวัดเช่นกัน ในช่วงท้ายทศวรรษนี้ เครือข่ายของกลุ่มโรงแรมไทย
หลายกลุ่มเติบโตมากจนสามารถขยายออกไปสู่ประเทศใกล้เคียงแถบอินโดจีน
และบางกลุ่มเข้าซื้อกิจการโรงแรมต่างประเทศในยุโรปและสหรัฐฯ ต่อมาวิกฤติ
เศรษฐกิจ พ.ศ. 2540 ส่งผลกระทบต่อภาคการท่องเที่ยว การลงทุนขยายกิจการ
การโรงแรมได้ชะลอลงไปมาก ทำให้มีการรณรงค์ส่งเสริมการท่องเที่ยวภายใน
ประเทศอย่างจริงจังมากขึ้น
ค ว า ม เ ป็ น ม า แ ล ะ วิ วั ฒ น า ก า ร ข อ ง ธุ ร กิ จ โ ร ง แ ร ม | 1 3
การจัดการธุรกิจโรงแรม
การเปิดใช้สนามบินสุวรรณภูมิ เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ.2549 ทำให้เกิดการไหล
เข้าออกของนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลในเชิงบวกต่อธุรกิจ
โรงแรมในระยะยาว ปัจจุบันโรงแรมมิได้เป็นเพียงสถานที่พักแรมเท่านั้น แต่ยัง
เป็นศูนย์กลางการชุมนุมทางสังคมของชุมชนเมือง เพื่อประโยชน์ต่อกิจการ
ส่วนรวมและธุรกิจ รวมทั้งในการสังสรรค์หรือการผ่อนคลายส่วนบุคคล บริหาร
ต่างๆ ที่จัดเสนอในโรงแรมจึงมีความหลากหลายมากขึ้น ทั้งสถาปัตยกรรม
การก่อสร้าง และการบริหารงานที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวและเพิ่มความพิถีพิถัน
มากขึ้น อีกทั้งยังมีการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาปรับใช้ เพื่อให้การทำงานใน
ส่วนต่าง ๆ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
สรุป
องค์ประกอบสำคัญที่ทำให้ธุรกิจการโรงแรมขยายตัวคือ การขยายตัวทาง
เศรษฐกิจของยุโรปตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 18 ผนวกกับความเข้มแข็งทาง
ด้านการเมืองและความก้าวหน้าในการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ใน
คริสต์ศตวรรษที่ 19 ได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการขนส่งทั้งทางน้ำและ
ทางบก ได้ประดิษฐ์เรือกลไฟและรถไฟในการขนส่งสินค้าและผู้โดยสาร สิ่ง
เหล่านี้ล้วนส่งเสริมให้เกิดการขยายตัวในเรื่องการเดินทาง และส่งผลให้
ธุรกิจโรงแรมได้พัฒนามากยิ่งขึ้น หลังจากได้มีการ พัฒนาการขนส่งทาง
อากาศในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 จนกระทั่งมีความปลอดภัยในการขนส่งผู้
โดยสารและสินค้า จึงทำให้การขนส่งทางอากาศมีบทบาทที่สำคัญในการเดิน
ทางระหว่างประเทศ หรือการเดินทางระยะไกลตั้งแต่ทศวรรษที่ 1960
เป็นต้นมา ได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีของระบบการขนส่งทางอากาศให้เจริญ
ก้าวหน้าขึ้น สามารถขนส่งผู้โดยสารได้อย่างปลอดภัย รวดเร็ว และสะดวก
สบาย ทำให้เกิดการขยายตัวทางด้านการเดินทางเพื่อประกอยธุรกิจและท่อง
เที่ยว จึงส่งผลทำให้เกิดการขยายตัวทางด้านที่พักแรมในรูปแบบต่างๆ เพื่อ
สนองความต้องการของนักเดินทาง
ค ว า ม เ ป็ น ม า แ ล ะ วิ วั ฒ น า ก า ร ข อ ง ธุ ร กิ จ โ ร ง แ ร ม | 1 4
การจัดการธุรกิจโรงแรม
คำถามทบทวน
1. วัตถุประสงค์การเดินทางของผู้คน มีวิวัฒนาการอย่างไร จงอธิบายแต่มาละยุค
2. ผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็น บิดาแห่งการโรงแรม และ เหตุใดจึงได้สมญานามดังกล่าว
3. บอกความหมายคำว่า “ Hotel” มาให้ถูกต้อง
4. ตามความหมาย พรบ.2478 คำว่า โรงแรม หมายถึง
5. “ยุคมืด”หมายถึงยุคใดและเพราะอะไรจึงถูกเรียกว่า “ยุคมืด”.
6. ผู้ก่อตั้งเครือข่ายโรงแรมคือใคร
7. นาย คอนราด เอ็น ฮิลตันคือใคร มีความสำคัญอย่างไร
8. คำว่า รีสอรท์ มีลักษณะแตกต่างจาก โรงแรมอย่างไร
9. โรงแรมรถไฟหัวหินมีความสำคัญอย่างไร ใครเป็นผู้ก่อตั้ง
10. โรงแรมวังพญาไทย จัดให้เป็นโรงแรมระดับหรูหราในภูมิภาคอาเซียนตะวัน
ออก สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่เท่าไร
เอกสารอ้างอิง
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2545). การบริหารและการจัดการโรงแรม.
กรุงเทพฯ : บริษัทไทยยูเนี่ยนกราฟฟิกส์ จำกัด.
จิตตินันท์ นันทไพบูลย์. (2555).ธุรกิจโรงแรม. กรุงเทพ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.
โปรดักชั่น.
นงนุช ศรีธนาอนันัต์. (2546).การโรงแรมเบื้องต้น.กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธุรกิจ
บัณฑิตย์.
ประสงค์ แสงพายัพ. (2538).การบริหารการโรงแรม. กรุงเทพฯ :สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ปรีชา แดงโรจน์. (2530).การโรงแรม ฉบับนิสิตนักศึกษา. กรุงเทพฯ : หจก. โรง
พิมพ์ยูไนเต็ด
ธารีทิพย์ ทากิ. (2549).ธุรกิจโรงแรมและธุรกิจบริการอาหารเบื้องต้น. กรุงเทพฯ:
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
Thorp, Daniel (1996). "Taverns and Tavern Culture on the
Southern Colonial Frontier:Rowan County, North Carolina, 1753-
1776".
The Journal of Southern History. 62 (4): 670.[Online].Avaliable
from: https://en.wikipedia.org/wiki/Tavern.[RetrievedFebrury 7,
2016]
ค ว า ม เ ป็ น ม า แ ล ะ วิ วั ฒ น า ก า ร ข อ ง ธุ ร กิ จ โ ร ง แ ร ม | 1 5
การจัดการธุรกิจโรงแรม
Burke, Thomas (1930) The English Inn. (English Heritage.)
London: Herbert
JenkinsAvaliable from: https://en.wikipedia.org/wiki/Tavern.
[Retrieved Februry
7, 2016]
Wikipedia .(2016) "The Savoy London Hotel: Meetings &
Banquets". The Luxury
Hotels & Resorts of the World website, accessed 8 July
2011Avaliable from:
https://en.wikipedia.org/wiki/Tavern. [Retrieved Februry 7,
2016]
http://www.centarahotelsresorts.com/centaragrand/chbr/[O
nline] [Retrieved Februry
7, 2016]
ค ว า ม เ ป็ น ม า แ ล ะ วิ วั ฒ น า ก า ร ข อ ง ธุ ร กิ จ โ ร ง แ ร ม | 1 6
การจัดการธุรกิจโรงแรม
บทที่ 2
การจำแนกประเภทและการ
แบ่งชั้นของโรงแรม
การจัดการธุรกิจโรงแรม
บทที่ 2
การจำแนกประเภท
และการแบ่งชั้นของโรงแรม
ปัจจุบันมีกิจการที่เปิดให้ลูกค้าได้เข้า จากความหมายดังกล่าว โรงแรมจึง
พักอาศัยเป็นการชั่วคราวเกิดขึ้น หมายถึงสถานที่ทุกประเภทอาจเรียก
มากมาย โดยกิจการเหล่านั้นอาจ ชื่อว่าโรงแรม หรือไม่เรียกชื่อโรงแรม
เรียกตนเองว่า “โรงแรม” หรืออาจ เช่น อาจเรียกว่า รีสอร์ท(Resort)
ใช้ชื่ออื่นได้อีกมากมาย นอกจากนี้ หรือบ้านพักตากอากาศ แต่จัดบริการ
สถานที่พักแรมเหล่านี้ก็มีบริการให้ เพื่อเรียกเก็บค่าเช่า และอาจจัด
กับลูกค้าแตกต่างกันไป ดังนั้นจึงมี บริการอื่นๆ ประกอบด้วย เช่น
ความจำเป็นที่ผู้ศึกษาต้องทราบว่า บริการด้านอาหารและเครื่องดื่ม การ
การแบ่งประเภทของที่พักแรมนั้น ซักรีด การขายสินค้าที่ระลึกฯลฯ ก็
ใช้ปัจจัยอะไรในการแบ่ง และใน เป็นลักษณะของโรงแรมทั้งสิ้น และ
แต่ละปัจจัยที่ใช้แบ่งปัน สามารถ ความหมายของโรงแรมในทางสากล
แบ่งที่พักแรมได้เป็นกี่ประเภท ก็มีลักษณะคล้ายกับโรงแรมในความ
หมายของไทย แต่ได้ยกตัวอย่างการ
แจกแจงการแบ่งประเภทของที่พัก บริการประกอบความหมายชัดเจน
แรม โดยแบ่งโรงแรมตามลักษณะ กว่า เช่น ได้ให้ความหมายว่า โรงแรม
ทางการตลาด แบ่งตามขนาด คือ สถานประกอบการที่ผู้ให้บริการ
โรงแรม แบ่งตามระดับการบริการ ต้องจัดให้มีบริการด้านอาหาร เครื่อง
และแบ่งตามความเป็นเจ้าของและ ดื่ม และที่พัก ไว้บริการแก่นักเดินทาง
การเป็นสมาชิกในสถาบันโรงแรม ที่ต้องจ่ายค่าบริการ หรือโรงแรมคือ
โดยความหมายของโรงแรมตามพ สถานที่ซึ่งจัดบริการด้านที่พักอาศัย
ระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ.2478 และสิ่งอำนวยความสะดวกให้แก่นัก
มาตรา 3 ได้ให้ความหมายว่า เดินทาง
“โรงแรมหมายถึงสถานที่ทุกชนิดที่
จัดตั้งขึ้นเพื่อรับสินจ้างสำหรับคน
เดินทางหรือบุคคลที่จะหาที่อยู่หรือ
ที่พักชั่วคราว”
ก า ร จ ำ แ น ก ป ร ะ เ ภ ท แ ล ะ ก า ร แ บ่ ง ชั้ น ข อ ง โ ร ง แ ร ม | 1 8
การจัดการธุรกิจโรงแรม
การจำแนกประเภทและการแบ่งชั้นของโรงแรม
เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้รู้ถึงประเภทของการให้บริการและค่าใช้จ่ายรวมทั้ง
สามารถเลือกพักได้ตามวัตถุประสงค์และเหมาะกับสภาพเศรษฐกิจของตน จึงมี
การกำหนดระดับชั้นของโรงแรมโดยจัดกลุ่มมาตรฐานของโรงแรมที่ถูกต้อง
ซึ่งการกำหนดระดับชั้นนี้อาจแตกต่างกันในระหว่างประเทศ แต่ในประเทศ
เดียวกันควรใช้เกณฑ์เดียวกัน ผู้ที่กำหนดนี้อาจเป็นรัฐบาลหรือหน่วยงานการ
ท่องเที่ยวของประเทศหรือสมาคมโรงแรมในแต่ละประเทศ
เกณฑ์การกำหนดประเภทโรงแรม
แนวคิดในการจัดแบ่งประเภทของโรงแรมหรือที่พักแรมมีความหลากหลาย
แตกต่างกันออกไปตามวัตถุประสงค์ในการจัดประเภท ซึ่งอาจขึ้นอยู่กับทำเลที่
ตั้ง การเข้าพักอาศัยของแขก การบริหารงาน การจัดบริการแก่แขกหรือขึ้นอยู่
กับองค์ประกอบอื่น ๆ ดังนั้นการจัดแบ่งประเภทของที่พักแรมจึงไม่มีข้อยุติ
แน่นอน อย่างไรก็ดี การกำหนดแนวคิดที่ถือเป็นระบบนานาชาติ ใช้ปัจจัยต่างๆ
ในการกำหนดประเภทตามวัตถุประสงค์ดังนี้
1. กำหนดจากระยะเวลาการเข้าพัก
2. กำหนดตามลักษณะการตลาด
3. กำหนดตามวัตถุประสงค์ของการเข้าพัก
4. กำหนดตามระดับการบริการ
5. กำหนดตามระบบการบริหารงานหรือ การแบ่งตามความเป็นเจ้าของและ
การเป็นสมาชิกในสถาบันโรงแรม(Ownership and Affiliation)
6. กำหนดตามอัตราค่าห้องพัก
7. กำหนดตามขนาดโรงแรม
ก า ร จ ำ แ น ก ป ร ะ เ ภ ท แ ล ะ ก า ร แ บ่ ง ชั้ น ข อ ง โ ร ง แ ร ม | 1 9
การจัดการธุรกิจโรงแรม
2.1 กำหนดจากระยะเวลาการเข้าพัก(Length of stay)
การแบ่งโรงแรมตามกำหนดจากระยะเวลาการเข้าพัก แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
2.1.1 การบริการแบบระยะสั้น มีการกำหนดอัตราค่าเช่าห้องพักเป็นรายวัน
เรียกว่า แบบ Commercial Hotel หรือTransient Hotel หรือ
Full Line of Service Hotel ได้แก่ โรงแรมทั่วๆไป ทุกประเภท ทุกระดับ
2.1.2 การบริการห้องพักแบบระยะยาว หรือเป็นรายเดือน
(ResidentialHotel) ได้แก่ การบริการที่คิดเป็นรายเดือน เช่น การจัดการ
ห้องพักในแบบ Service Apartment, Flat, Apartment,
Condominium, Dormitory, Hostel,
2.2 กำหนดตามลักษณะทางการตลาด(Marketing)
การแบ่งโรงแรมตามลักษณะทางการตลาด แบ่งโรงแรมออกเป็น 3 ประเภท
2.2.1 โรงแรมประเภทธุรกิจหรือโรงแรมแขกพักระยะสั้น
โรงแรมเพื่อการพาณิชย์หรือโรงแรมประเภทธุรกิจ (Commercial or
Transient Hotel) โรงแรมประเภทนี้มีมากกว่าประเภทอื่นๆ ทำเลที่ตั้งจะ
อยู่ในตัวเมืองหรือในย่านธุรกิจการค้า ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการติดต่อ
ธุรกิจ แขกซึ่งพักในโรงแรมดังกล่าวจะเป็นนักธุรกิจเป็นหลัก หรือ นักท่อง-
เที่ยว ที่มีวัตถุประสงค์พักชั่วคราวเพื่อติดต่อธุรกิจหรือการท่องเที่ยว
โรงแรมจะจัดบริการให้ความสะดวกสบายต่าง ๆ แก่แขกอย่างพร้อมเพรียง
เช่น ห้องอาหาร สถานที่บริการด้านธุรกิจ เช่นการส่งจดหมาย โทรเลขศูนย์
สุขภาพ ร้านขายของที่ระลึก สถานที่จำหน่ายบัตรโดยสารต่างๆ สามารถไป
ไหนมาไหนได้สะดวกเพราะอยู่ในย่านชุมชนธุรกิจที่มีการคมนาคมสะดวกหรือ
ระบบการสื่อสารอื่น ๆ สถานที่พักผ่อนหย่อนใจและการออกกำลังกาย เช่น
สระว่ายน้ำ สนามเทนนิส ฯลฯ เพื่อให้การบริการเกิดความประทับใจ
2.2.2 โรงแรมแขกพักประจำ (Residential Hotel) โรงแรมประเภทนี้มี
วัตถุประสงค์ในการให้แขกเช่าพักอาศัยอยู่เป็นระยะเวลานานๆ จึงต้องมี
สัญญาเช่าระหว่างกัน ส่วนใหญ่แขกจะพักคนเดียว มีการจัดห้องอาหาร
บริการแก่แขกและลูกค้าทั่วไป ทำเลที่ตั้งโดยปกติแล้วอยู่ในบริเวณชานเมือง
เพื่อเหมาะแก่การเป็นที่พักอาศัย แต่ก็มีบางโรงแรมตั้งอยู่ใกล้ย่านธุรกิจ
ทั้งนี้เพื่ออำนวยความสะดวกแก่แขกในการติดต่อการงาน
ก า ร จ ำ แ น ก ป ร ะ เ ภ ท แ ล ะ ก า ร แ บ่ ง ชั้ น ข อ ง โ ร ง แ ร ม | 2 0
การจัดการธุรกิจโรงแรม
2.2.3 โรงแรมรีสอร์ท (Resort Hotel) บุคคลที่ต้องการพักผ่อน หรือใช้เวลา
ช่วงวันหยุดพักผ่อนประจำปี จะเลือกพักยังโรงแรมประเภทนี้ โรงแรม
ประเภทนี้ตั้งอยู่ในบริเวณที่ใกล้ชิดกับธรรมชาติมีวิวทิวทัศน์สวยงาม เหมาะ
สำหรับนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวเพื่อสัมผัสธรรมชาติอย่างแท้จริง เช่น
ชายทะเล หรือบริเวณภูเขา ทั้งนี้เพื่อให้แขกได้พักผ่อนและสัมผัสกับ
ธรรมชาติได้อย่างแท้จริงโรงแรมต้องจัดบริการต่าง ๆ เช่น ห้องอาหาร
การซักรีด การติดต่อสื่อสาร และมีบริการอื่น ๆ เหมือนโรงแรมทั่วไป แต่
ต้องเน้นบริการทางด้านการกีฬาและนันทนาการแก่แขกให้มากกว่า อาทิ
ต้องสร้างสระว่ายน้ำ เล่นกอล์ฟ สนามเทนนิส สนามขี่ม้า และกิจกรรมบันเทิง
อื่นๆ เช่น เดินป่า สกี โดยเน้นให้มีบรรยากาศแบบสบายๆ เข้ากับธรรมชาติ
นั้นๆ ให้กับแขกผู้มาพัก ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในด้านการพักผ่อนเป็นหลัก ให้
แขกเกิดติดใจกับกิจกรรมที่สนุกสนานต่างๆ เพื่อจะได้กลับมาพักอีก ใน
ปัจจุบันโรงแรมรีสอร์ท นอกจากจะมีวัตถุประสงค์เพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ
และเพื่อการประชุมและสัมมนา แล้ว การจัดนำเที่ยวแบบให้างวัล(Incentive
Tour) ก็เพิ่มปริมาณมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้สถานที่ดังกล่าวนอก-
ฤดูกาลท่องเที่ยว เพราะสามารถลดค่าบริการได้ต่ำกว่าฤดูกาลท่องเที่ยว
สำหรับที่พักประเภทอื่น ๆ ซึ่งจัดขึ้นเพื่อบริการแขกนอกจาก 3 ประเภทดังกล่าว
แล้วจะได้แก่ โมเต็ล(Motel), มอเตอร์โฮเต็ล(Motor Hotel), บ้านแบ่ง
เช่า(Rooming House), แคมป์พักแรม(Tourist House) ทั้งนี้โมเต็ลและ
มอเตอร์โฮเต็ลมีลักษณะเหมือนโรงแรมทั่วไป วัตถุประสงค์เดิมในการสร้าง
ที่พักดังกล่าว เพื่อตอบสนองคนเดินทางโดยรถยนต์จะได้มีที่พักตามแนวถนน
ซึ่งเชื่อมระหว่างรัฐของสหรัฐฯ โรงแรมประเภทนี้จึงจัดที่พักสำหรับคนและ
บริการต่าง ๆ เกี่ยวกับรถยนต์ เพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทาง แต่ใน
ปัจจุบันวัตถุประสงค์ในการจัดสร้างโมเต็ลได้เปลี่ยนแปลงไป โดยโมเต็ลได้จัด
เป็นที่พักหรือโรงแรมขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่ทั้งในตัวเมือง ย่านธุรกิจ หรือริมถนน
ทั้งนี้เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่กว้างขวางขึ้นกว่าเดิม และใกล้
เคียงกับโรงแรมทั่วไปมากยิ่งขึ้นจากการแบ่งโรงแรมออกเป็นประเภทต่างๆ
ดังกล่าวแล้ว นักบริหารด้านการโรงแรมบางคนได้แบ่งโรงแรมตามลักษณะการ
เข้าพักชั่วคราว หรือระยะเวลานานออกเป็น2 ประเภทคือ โรงแรมที่แขกพัก
ชั่วคราว(Transient Hotel) และโรงแรมแขกพักประจำหรือระยะเวลา
นาน(Residential Hotel) สำหรับโรงแรมที่เรียกชื่ออย่างอื่นก็จัดอยู่ใน
ลักษณะของ 2 ประเภทดังกล่าวแล้ว นอกจากนี้ยังมีการแบ่งโรงแรมตามสถาน
ที่ตั้ง(Location) โดยแบ่งออกเป็นโรงแรมในเมืองเล็กๆ(Small Cities)
โรงแรมในเมืองใหญ่(Large Cities) โรงแรมตากอากาศ และโรงแรมสนาม
บิน(Airport Hotel) เป็นต้น
ก า ร จ ำ แ น ก ป ร ะ เ ภ ท แ ล ะ ก า ร แ บ่ ง ชั้ น ข อ ง โ ร ง แ ร ม | 2 1
การจัดการธุรกิจโรงแรม
2.3 การแบ่งตามวัตถุประสงค์การเข้าพัก(Objective)
เป้าหมายด้านการตลาดของโรงแรมมีหลายประเภท แต่ที่สำคัญอาจแบ่งได้ดังนี้
2.3.1 โรงแรมเพื่อการพาณิชย์(Commercial Hotel) โรงแรมเพื่อการ
พาณิชย์หรือโรงแรมประเภทธุรกิจจะตั้งอยู่ในตัวเมืองหรือในย่านธุรกิจการค้า
ซึ่งเป็นบริเวณที่สะดวกต่อการติดต่องานของแขกที่มักเป็นนักธุรกิจ มุ่งขาย
ห้องพักแก่นักธุรกิจเป็นหลักทางโรงแรมได้จัดสิ่งอำนวยความสะดวกและ
บริการต่างๆ ไว้พร้อม ดังได้กล่าวมาแล้วในตอนต้น
2.3.2 โรงแรมสนามบิน(Airport Hotel) โรงแรมสนามบิน โรงแรมประเภทนี้จะ
ตั้งอยู่ใกล้กับท่าอากาศยาน โดยเฉพาะท่าอากาศยานนานาชาติ ลูกค้าส่วนใหญ่
จะเป็นนักธุรกิจ หรือเป็นผู้โดยสารเครื่องบินที่จำเป็นต้องพักค้างคืนเนื่องจาก
เที่ยวบินได้รับการยกเลิก หรือเครื่องบินมีปัญหาติดขัดต้องเลื่อนกำหนดการ
เดินทางออกไป โรงแรมนี้เหมาะสำหรับแขกที่ไม่ต้องการเสียเวลาในการเดิน
ทางเข้าเมือง
Novotel Bangkok Suvarnabhumi Airport Hotel
2.3.3 โรงแรมห้องชุด(Suite Hotel) โรงแรมห้องชุด เป็นโรงแรมที่หรูหราและ
อำนวยความสะดวกสบายแก่แขกเป็นอย่างดียิ่งโรงแรมประเภทที่เพิ่งได้รับการ
พัฒนาขึ้นมาล่าสุด และกำลังได้รับความนิยมอย่างมาก โรงแรมประเภทนี้จะมี
ห้องพักเป็นห้องชุดล้วนๆ คือ จะมีห้องรับแขกแยกออกจากห้องนอน บางแห่ง
ก็อาจจะมีห้องครัวเล็กๆ ให้โดยมีตู้เย็นและเครื่องดื่มต่างๆ จัดให้พร้อมอยู่
ภายในห้องพักนั้น กลุ่มคนที่ต้องเดินทางบ่อยๆ ก็ชอบโรงแรมประเภทนี้เพราะ
ให้ความรู้สึกเหมือนอยู่บ้าน โรงแรมในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นโรงแรมประเภทใด
มักนิยมมีห้องชุดนี้ไว้บริการนอกจากนี้ยังมีห้องประชุมขนาดเล็กไม่เกิน 10 คน
จัดไว้บริการแขกควบคู่กับห้องพักด้วย ราคาค่าบริการจึงค่อนข้างสูง แต่แขก
ประเภทนักธุรกิจหรือบุคคลชั้นสูงในสังคมก็นิยมพักในโรงแรมประเภทนี้
เพราะมีสิ่งอำนวยความสะดวกสบายต่างๆ อย่างครบครัน
ก า ร จ ำ แ น ก ป ร ะ เ ภ ท แ ล ะ ก า ร แ บ่ ง ชั้ น ข อ ง โ ร ง แ ร ม | 2 2
การจัดการธุรกิจโรงแรม
2.3.4 โรงแรมแขกพักประจำ(Residential Hotel) โรงแรมแขกพักประจำ
เป็นธุรกิจโรงแรมที่ผู้พักมักเช่าอยู่เป็นระยะเวลานานๆ จึงต้องมีสัญญาเช่า
ระหว่างกัน ซึ่งได้อธิบายไว้แล้วในตอนต้น
2.3.5 โรงแรมรีสอร์ท โรงแรมรีสอร์ท(Resort Hotel)
2.3.6 โรงแรมซึ่งจัดห้องพักและอาหารเช้า(Bed and Breakfast)
โรงแรมซึ่งจัดห้องพักและอาหารเช้า โรงแรมประเภทนี้บางเรียกว่า“บีแอนด์-
บีส์ (B and B)” ทั้งนี้เพราะคิดค่าบริการควบคู่กับอาหารเช้า การบริการและ
สิ่งอำนวยความสะดวกน้อยกว่าโรงแรมเพื่อการพาณิชย์ ที่พักประเภทนี้
ได้แก่ บ้าน ที่พักอาศัย หรืออาคารขนาดเล็กที่มีไม่กี่ห้องนำมาดัดแปลงเป็น
ที่พักค้างคืนให้บริการแก่ผู้เดินทาง ลักษณะของโรงแรมมีขนาดเล็กประมาณ
20-30 ห้อง ซึ่งเจ้าของสถานที่จะพักอยู่ในโรงแรมนั้นเองและจะเป็นผู้
จัดการด้านอาหารเช้าให้แก่แขกด้วยตนเอง ราคาค่าห้องจึงค่อนข้างจะย่อม
เยาว์กว่าโรงแรมทั่วไป
2.3.7 โรงแรมคอนโดมีเนียม(Condominium Hotel) จะประกอบด้วย
ห้องชุด ซึ่งมีห้องนอน ห้องน้ำ ห้องรับแขก ห้องอาหาร และห้องครัว เจ้าของ
ห้องชุดมิได้พักประจำในที่พักดังกล่าวแล้ว จึงได้มอบหมายให้หน่วยธุรกิจ
จัดการให้บุคคลอื่นแบ่งเช่าพักอาศัยชั่วคราวแบบโรงแรมทั่วไป เป็นการแบ่ง
เวลาในการพักแรมเพื่อมิให้ที่พักว่างเปล่า ดังนั้นจึงเรียกโรงแรมประเภทนี้ว่า
โรงแรมแบ่งเวลาเช่าพัก (Time–Share Hotels) โดยทั่วไปแล้ว
วัตถุประสงค์ในการก่อสร้างโรงแรมดังกล่าวแล้วก็เพื่อการพักผ่อนและตาก
อากาศ ดังนั้นโรงแรมจึงอยู่ในเขตพื้นที่ชายทะเลเป็นส่วนมาก
Condominium Hotel Monpa
ก า ร จ ำ แ น ก ป ร ะ เ ภ ท แ ล ะ ก า ร แ บ่ ง ชั้ น ข อ ง โ ร ง แ ร ม | 2 3
การจัดการธุรกิจโรงแรม
2.3.8 โรงแรมบ่อนการพนัน(Casino Hotel) จัดสร้างขึ้นเพื่อตอบสนอง
ความต้องการของแขกในการเล่นการพนัน ดังนั้นโรงแรมประเภทนี้จึงจัดให้
มีการเล่นการพนันเกือบทุกประเภทไว้บริการแขกเพื่อความสะดวกสบายของ
แขก จึงได้จัดห้องพัก และภัตตาคาร เพื่อจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มให้แก่
แขกตลอด 24 ชั่วโมง
โรงแรมเอ็ม จี เอ็ม แกรนด์ ในลาสเวกัสโดยมีจำนวนห้อง 5,690 ห้อง
2.3.9 ศูนย์ประชุม(Conference Center) ศูนย์ประชุมมีเป้าหมายในการ
รับแขกเพื่อการประชุมสัมมนาโดยเฉพาะ ดังนั้นต้องจัดห้องประชุมและสิ่ง
อำนวยความสะดวกต่าง ๆ ในการประชุมอย่างพร้อมเพรียง นอกจากนี้ศูนย์
ประชุมต้องจัดที่พัก อาหาร และเครื่องดื่ม รวมทั้งสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ
เหมือนโรงแรม แต่เน้นเป้าหมายหลักด้านการประชุม โดยศูนย์การประชุมต้อง
จัดสถานที่และอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่นเดียวกับโรงแรม เพื่อการพักผ่อนและออก
กำลังกาย เช่น สระว่ายน้ำ สนามเทนนิส ฯลฯ ให้แขกเพื่อพักฟ่อนหลังจากการ
ประชุม
ห้องบอลรูมโรงแรม ห้องสำหรับจัดงานประชุม
ก า ร จ ำ แ น ก ป ร ะ เ ภ ท แ ล ะ ก า ร แ บ่ ง ชั้ น ข อ ง โ ร ง แ ร ม | 2 4
การจัดการธุรกิจโรงแรม
2.4 การแบ่งตามระดับการบริการ(Levels of Service)
กำหนดตามระดับการบริการคุณภาพของอุปกรณ์มาตรฐานการบริการสิ่งอำนวย
ความสะดวกให้แก่ลูกค้า และจำนวนพนักงาน
2.4.1 การบริการระดับโลก(World –Class Service) โรงแรมประเภทนี้มีเป้า
หมายในการรับแขกระดับบุคคลสำคัญของประเทศหรือบุคคลสำคัญของโลก
นักธุรกิจผู้มั่งคั่ง และบุคคลผู้มีชื่อเสียง อื่นๆ ค่าบริการจึงค่อนข้างสูง แต่ก็
สอดคล้องกับบริการและความสะดวกสบายต่างๆ ที่แขกได้รับ ทั้งห้องพัก
ห้องรับแขก ห้องอาหาร และห้องน้ำต้องตกแต่งอย่างสวยงาม และใช้เครื่องมือ
สื่อสารทางด้านการติดต่อธุรกิจและการบันเทิงก็ต้องจัดเตรียมให้แขกในห้อง-
พักสำหรับแขกบุคคลสำคัญ(Very Important Person; VIP) โรงแรมอาจ
ต้องจัดให้มีการลงทะเบียนในห้องพัก และจัดเลขานุการส่วนตัวสำหรับบริการ
ทางด้านธุรกิจให้แก่แขก เลขานุการส่วนตัว อาจจะต้องทำหน้าที่บริการด้าน
อาหาร เครื่องดื่ม หรือช่วยเหลือแขกด้านอื่น ๆ ถ้าโรงแรมไม่จัดบัทเลอร์หรือ
พนักงานต้นห้องส่วนตัว(Butler) ให้แก่แขก เลขานุการส่วนตัวอาจจะต้อง
ทำหน้าที่บริการด้านอาหาร เครื่องดื่ม หรือช่วยเหลือแขกด้านอื่นๆ ถ้าโรงแรมไม่
จัดบัทเลอร์หรือพนักงานต้นห้องส่วนตัว(Butler) ให้แก่แขก
โรงแรม Burj Al Arab Hotel ซึ่งมีการบริการระดับโลก (World –Class Service)
ก า ร จ ำ แ น ก ป ร ะ เ ภ ท แ ล ะ ก า ร แ บ่ ง ชั้ น ข อ ง โ ร ง แ ร ม | 2 5
การจัดการธุรกิจโรงแรม
2.4.2 การบริการระดับกลาง โรงแรมประเภทนี้มีเป้าหมายในการรับแขกทั่วไป ทั้ง
นักธุรกิจและนักท่องเที่ยวรายบุคคลและหมู่คณะ โรงแรมจะลดราคาให้แก่แขก
ประเภทข้าราชการ นักการศึกษา บริษัทนำเที่ยว แขกพักเป็นหมู่คณะ และ
ประชาชนอาวุโส(Senior Citizen) การบริการของโรงแรมอยู่ในระดับ
มาตรฐาน แต่สิ่งอำนวยความสะดวกสบายต่าง ๆ อาจลดน้อยกว่าโรงแรมที่มี
การบริการระดับโลก เป้าหมายด้านการตลาดที่สำคัญอย่างหนึ่งของโรงแรม
ประเภทนี้คือ การจัดการประชุม สัมมนา และการฝึกอบรม
2.4.3 การบริการระดับประหยัด(Economy or Limited Service) โรงแรม
ประเภทนี้เก็บค่าบริการถูกกว่าโรงแรม 2 ประเภทในหัวข้อที่ 2.4.1 และ 2.4.2
การบริการจะอยู่ในระดับมาตรฐาน แต่อุปกรณ์ในเรื่องความสะดวกสบายมี
น้อยกว่า โรงแรมจะเน้นเกี่ยวกับเรื่องความสะอาด ความสุขสบาย ห้องพักราคา
ประหยัด และการจัดอุปกรณ์ขั้นพื้นฐานให้แก่แขกอย่างครบถ้วน แต่ไม่หรูหรา
หรือไม่ใช้วัสดุอุปกรณ์ราคาแพง เช่นในห้องน้ำมีสบู่ ยาสระผม ผ้าเช็ดตัว ฯลฯ
ในห้องนอน มีโทรศัพท์ ไว้บริการเพื่อความเพลิดเพลิน งดการบริการอาหารและ
เครื่องดื่มภายในห้องพัก แขกต้องรับประทานที่ห้องอาหารของโรงแรม การจัด
อุปกรณ์อยู่ในขั้นพื้นฐานแต่ไม่หรูหรา การบริการที่ได้มาตรฐานในราคาประหยัด
คือนโยบายสำคัญของโรงแรมประเภทนี้
2.5 กำหนดตามระบบการบริหารงาน หรือ การแบ่งตามความเป็น
เจ้าของและการเป็นสมาชิกในสถาบันโรงแรม(Ownership and
Affiliation)
การจัดแบ่งโรงแรมในลักษณะนี้ สามารถแยกออกได้เป็น 2 ประเภท คือ โรงแรมที่
บริหารงานอย่างอิสระ และโรงแรมเครือข่าย ซึ่งอธิบายได้ดังนี้
2.5.1 โรงแรมที่บริหารงานอย่างอิสระ(Independent Hotel) จะมีบุคคลคน
เดียวหรือคณะบุคคลเป็นเจ้าของ การบริหารงานเป็นอิสระ ไม่ขึ้นอยู่กับโรงแรม
อื่นๆ จึงทำให้มีความคล่องตัวและมีอำนาจในการบริหารงาน สามารถปรับ
ทิศทางในการบริหารสอดคล้องกับความต้องการของตลาดได้สะดวก แต่มีข้อ-
จำกัดในด้านประสบการณ์การบริหารงาน การสร้างเครือข่ายด้านการตลาด และ
การขยายธุรกิจในอนาคต
ก า ร จ ำ แ น ก ป ร ะ เ ภ ท แ ล ะ ก า ร แ บ่ ง ชั้ น ข อ ง โ ร ง แ ร ม | 2 6
การจัดการธุรกิจโรงแรม
2.5.2 โรงแรมเครือข่าย(Chain Hotel) จัดแบ่งการบริหารงานออกเป็น 3
ประเภท ดังนี้
1) การบริหารโดยบริษัทแม่(Parent Company) โรงแรมเครือข่ายในลักษณะนี้
ทรัพย์สินและการบริหารงานจะเป็นของบริษัทแม่ทั้งหมด บริษัทแม่เป็นองค์การ
กลางในการจัดวางระบบการบริหารงานในโรงแรมเครือข่ายทั้งหมดให้เป็นในทาง
ทิศเดียวกัน และใช้ชื่อเดียวกันทุกสาขาความได้เปรียบของโรงแรมประเภทนี้คือ มี
ทรัพย์สินในการลงทุนมาก บริการงานโดยมืออาชีพที่มีประสบการณ์ สร้างระบบ
การตลาดและการส่งเสริมการขายร่วมกัน แขกสามารถจดจำได้ง่ายข้อเสีย คือ
ระบบงานเป็นแนวทางเดียวกัน ไม่มีความหลากหลาย แตกต่างกันตามลักษณะของ
สิ่งแวดล้อมในแต่ละพื้นที่
2) การบริหารโดยพันธสัญญา(Management Contract) การบริหารงานใน
ลักษณะนี้เป็นรูปแบบหนึ่งของการบริการโรงแรมแบบเครือข่าย ทรัพย์สินในการจัด
สร้างโรงแรมเป็นของบุคคลภายนอกบริษัทแม่ แต่ต้องการใช้ระบบการบริหารงาน
แบบเครือข่าย ทั้งนี้เพราะระบบเครือข่ายมีบุคลากรที่มีความสามารถ มีการจัดวาง
ระบบงานที่ดี มีข้อได้เปรียบทางด้านการตลาดและการส่งเสริมการขาย นอกจากนี้
ในด้านการเสนอโครงการกู้ยืมเงินเพื่อสร้างโรงแรม ถ้าการบริหารงานโดยผ่าน
ระบบเครือข่ายธนาคารหรือองค์การธุรกิจด้านการลงทุนก็จะอนุมัติโครงการได้ง่าย
ขึ้น เพราะมีความมั่นใจในการบริหารงาน ดังนั้นการที่ผู้ลงทุนทางด้านการโรงแรม
ต้องเสียผลประโยชน์จากรายได้ส่วนหนึ่งในการประกอบธุรกิจให้แก่ผู้บริหาร
โรงแรมในระบบเครือข่าย ก็คุ้มค่าในการลงทุนและลดความเสี่ยงของธุรกิจ
3) การบริหารงานแบบแฟรนไชส์(Franchise Groups) คำว่า “แฟรนไชส์”
หมายถึง สิทธิพิเศษที่บริษัทแม่มอบให้แก่ผู้ที่เข้าร่วมกิจการหรือเจ้าของธุรกิจแฟ
รนไชส์ เจ้าของธุรกิจดังกล่าวไม่ใช่ผู้แทนจำหน่ายและไม่ใช่พนักงาน แต่เป็นผู้
บริหารงาน โดยใช้เครื่องหมายการค้าสินค้าหรือบริการ ระบบงาน และข้อบังคับต่าง
ๆ ของบริษัทแม่ เจ้าของธุรกิจหรือบริษัทในเครือต้องจ่ายค่าสมาชิก ค่าลิขสิทธิ์ ค่า
สัญญา และเงินทุนประกอบการตามข้อตกลง ทั้งนี้เพื่อแลกเปลี่ยนกับข้อได้เปรียบ
ในเรื่องการบริหารงาน การใช้เครื่องหมายการค้าร่วมกัน การส่งเสริมการขาย และ
ชื่อเสียงที่ดีของบริษัทแม่ ระบบแฟรนไชส์ในปัจจุบันแพร่หลายทั้งธุรกิจบริการและ
การขายผลผลิตที่มีตัวตน เช่น ร้านค้าต่าง ๆในด้านการโรงแรม ระบบแฟรนไชส์จะ
วางระบบการจัดการบริหารหน้าที่ของบุคลากร การวางแผนพัฒนาองค์การ ระบบ
การตลาดออกแบบในการตกแต่งโรงแรม การใช้วัสดุอุปกรณ์ และการวางระบบ
งานบริการให้ได้มาตรฐาน เจ้าของธุรกิจโรงแรมในระบบแฟรนไชส์มีสิทธิ์และอำนาจ
ในการจัดการ แต่ต้องสอดคล้องกับข้อตกลงซึ่งไว้ให้กับระบบแฟรนไชส์ กล่าวโดย
สรุป ระบบแฟรนไชส์จะให้บริการ 3 ประการ คือ ประการที่หนึ่ง วางระบบบริหารและ
พัฒนาบุคลากร ประการที่สองจัดวางระบบการตกแต่งร้านให้ได้มาตรฐาน และ
ประการที่สาม ช่วยเหลือด้านการตลาด
ก า ร จ ำ แ น ก ป ร ะ เ ภ ท แ ล ะ ก า ร แ บ่ ง ชั้ น ข อ ง โ ร ง แ ร ม | 2 7
การจัดการธุรกิจโรงแรม
2.6 กำหนดตามอัตราค่าห้องพัก(Room rate)
การแบ่งกลุ่มโรงแรมโดยพิจารณาจากอัตราการคิดค่าห้องพักที่โรงแรมกำหนดนี้
แม้จะไม่สามารถแสดงถึงลักษณะกิจการได้อย่างถูกต้องเสมอไป แต่ในความจริง
อัตราราคาย่อมมีความสัมพันธ์กับปริมาณและคุณภาพของการบริการที่ต้อง
อาศัยเงินลงทุนสูง จึงกล่าวได้ว่า การแสดงอัตราราคาตามที่โรงแรมประกาศใช้
สามารถบ่งบอกได้ในระดับหนึ่งถึงคุณภาพบริการในโรงแรม และกลุ่มเป้าหมายที่
คาดว่าจะจ่ายค่าบริการได้ รวมทั้งยังสามารถสร้างความคาดหวังแก่ผู้ใช้บริการได้
อีกด้วย ดังนั้น การให้ข้อมูลประเภทโรงแรมโดยแบ่งตามอัตราราคาเพื่อบริการนัก
เดินทาง จึงควรจำกัดอยู่ในท้องถิ่นที่มีสภาพเศรษฐกิจคล้ายคลึงกัน เช่น การ
ท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยมีการจัดพิมพ์แผ่นพับแสดงรายชื่อโรงแรมและที่พักใน
กรุงเทพฯ (ฉบับเดือนสิงหาคม 2538) เพื่อบริการแก่นักท่องเที่ยว โดยแบ่งเป็น
6 กลุ่มตามอัตราราคาห้องเดี่ยวต่อคืน คือ
1. กลุ่มราคาตั้งแต่ 3,000 บาทขึ้นไป
2. กลุ่มราคาตั้งแต่ 2,000 บาทขึ้นไป
3. กลุ่มราคาตั้งแต่ 1,000 บาทขึ้นไป
4. กลุ่มราคาตั้งแต่ 400 บาทขึ้นไป
5. กลุ่มราคาตั้งแต่ 100 บาทขึ้นไป
6. กลุ่มที่พักราคาประหยัด(guesthouse)
ขณะเดียวกัน กองสถิติและการวิจัย การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ได้จัดแบ่ง
กลุ่มสถานพักแรมเพื่อประโยชน์ทางสถิติ โดยไม่ได้ถือมาตรฐานสากล และมิได้
เป็นการจัดระดับของกิจการ แต่ใช้ราคาต่ำสุดของราคาประกาศขาย(rack rate)
เป็นเกณฑ์ในการจัดแบ่งกลุ่มเป็น 5 กลุ่มดังนี้
กลุ่มที่ 1 หมายถึง ราคาตั้งแต่ 2,500 บาทขึ้นไป
กลุ่มที่ 2 หมายถึง ราคาตั้งแต่ 1,500 – 2,499 บาท
กลุ่มที่ 3 หมายถึง ราคาตั้งแต่ 1,000 - 1,499 บาท
กลุ่มที่ 4 หมายถึง ราคาตั้งแต่ 500 - 999 บาท
กลุ่มที่ 5 หมายถึง ราคาต่ำกว่า 500 บาท
อีกตัวอย่างหนึ่งของการจำแนกโรงแรม โดยเปรียบเทียบจากอัตราราคาขายห้อง
พักเฉลี่ยต่อคืนในตลาดภูมิภาคอเมริกาเหนือ ซึ่ง Smith Travel Research ได้
ทำการแบ่งตลาดโรงแรมเป็น 5 ส่วนตามระดับราคาสูงสุดของราคาที่มีการ
ประกาศขายในตลาด ดังนี้
1 ระดับหรูหรา(luxury) คือกลุ่มราคาเฉลี่ยตั้งแต่ 85-100 %
2. ระดับมาตรฐานสูง(upscale) คือกลุ่มราคาเฉลี่ยระหว่าง 70-84 %
3. ระดับปานกลาง (mid-price) คือกลุ่มราคาเฉลี่ยระหว่าง 40-69 %
4. ระดับประหยัด(economy) คือกลุ่มราคาเฉลี่ยระหว่าง 20 - 39 %
5. ระดับราคาต่ำ (budget) คือกลุ่มราคาที่ต่ำกว่า 20% ของราคาสูงสุด
ก า ร จ ำ แ น ก ป ร ะ เ ภ ท แ ล ะ ก า ร แ บ่ ง ชั้ น ข อ ง โ ร ง แ ร ม | 2 8
การจัดการธุรกิจโรงแรม
2.7 กำหนดตามขนาดโรงแรม (Hotel Size)
การแบ่งตามขนาดของโรงแรม สามารถนับได้จากจำนวนห้องพัก ซึ่งสามารถแยก
ได้เป็น 4 ขนาดคือ
1. ห้องพักที่มีจำนวนต่ำกว่า 150 ห้อง มีขนาดเล็ก
2. ห้องพักระหว่าง 150-299 ห้อง มีขนาดกลาง
3. ห้องพักระหว่าง 300-599 ห้อง มีขนาดใหญ่
4. ห้องพัก 600 ห้องขึ้นไป มีขนาดใหญ่มาก
สำหรับการบริการต่าง ๆ ก็เหมือนกับโรงแรมทั่วไป แต่อาจจะมากน้อยแตกต่าง
กันขึ้นอยู่กับขนาดของโรงแรม
การกำหนดระดับหรือชั้นของโรงแรม (Hotel Classification)
การกำหนดชั้นของโรงแรมโดยอาศัยปัจจัยต่างๆ เป็นตัวกำหนดแบบและสะสม
คะแนน โดยมีชื่อเรียกหลายแบบ ดังนี้
1. ระดับสูงสุด ได้แก่ โรงแรมที่เรียกว่า 5 ดาว(Five Star Hotel)หรือ Luxury
Hotel หรือ Deluxe Hotel หรือ Grade A เป็นโรงแรมที่มีความพร้อมในทุก
เรื่อง ทั้งทำเลที่ตั้ง ขนาดของห้องพัก สิ่งอำนวยความสะดวก บริการและราคา อยู่
ในระดับดีมาก ในบางประเทศจะมีหน่วยงานของรัฐบาลเป็นผู้กำหนดและถอดถอน
ดาว ฉะนั้นโรงแรมใดมีการร้องเรียนจากแขกมากอาจจะถูกถอดจาก 5 ดาว เป็น 4
ดาว เป็นต้น
2. ระดับสูง(กว่ามาตรฐาน)ได้แก่ โรงแรม 4 ดาว หรือโรงแรมชั้นหนึ่ง( First
Class Hotel) หรือเกรด B เป็นโรงแรมที่มีเกือบทุกสิ่งทุกอย่าง อยู่ในระดับดี มี
การบริการที่สูงกว่ามาตรฐานโรงแรมนานาชาติ มีความเด่นชัดในด้านสิ่งอำนวย
ความสะดวก และบริการมากกว่าโรงแรมทั่วไป
3. ระดับกลาง ได้แก่โรงแรม 3 ดาว หรือ(Moderate Class Hotel)หรือ
Grade C เป็นโรงแรมที่มีสิ่งอำนวยความสะดวก และบริการตามมาตรฐาน
โรงแรมนานาชาติ เช่น มีห้องพักที่ใหญ่พอสมควร มีห้องน้ำขนาด 4 x 7 ม. ในตัว
มีห้องอาหารให้เลือกได้บ้าง เช่น มี Coffee Shop และ ห้อง Grill เป็นต้น
4. ระดับนักท่องเที่ยว ได้แก่ โรงแรม 2 ดาว หรือ Tourist Class หรือ Grade
D เป็นโรงแรมที่มีสิ่งอำนวยความสะดวก และบริการค่อนข้างจำกัด เช่น มีห้อง
อาหารเพียง 1 ห้อง ห้องนอนเล็ก ฯลฯ ทั้งนี้เพื่อให้ระดับราคาเหมาะสมกับนักท่อง
เที่ยว ซึ่งมักจะเข้าพักเป็นคณะ และไม่ เน้นความหรูหราเนื่องจากใช้นอน และกิน
อาหารบางมื้อ
ก า ร จ ำ แ น ก ป ร ะ เ ภ ท แ ล ะ ก า ร แ บ่ ง ชั้ น ข อ ง โ ร ง แ ร ม | 2 9
การจัดการธุรกิจโรงแรม
5. ระดับประหยัด ได้แก่โรงแรม 1 ดาว หรือ(Economy Hotel)หรือ Grade
E เป็นโรงแรมที่จัดห้องพักราคาถูกมาก เช่น อาจจะพักรวมกัน หรือใช้ห้องน้ำรวม
อาจจะไม่มีบริการอาหารปัจจุบันโรงแรมในอเมริกาบางกลุ่มได้จัดระดับชั้นเป็น
มงกุฎแทนดาวโดยมีแนวคิดในการจัดระดับแบ่งออกเป็น 3 แบบ ได้แก่ แนวคิดที่
กำหนดชั้นต่างๆ ออกเป็น 5 ระดับดังกล่าวแล้ว แนวคิดที่กำหนดชั้นต่างๆ ออก
เป็น 4 ระดับ ได้แก่ Luxury Hotel, First Hotel , Moderate Hotel,
Economy Hotel และแนวคิดที่กำหนดชั้นต่างๆ ออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่
Luxury Hotel, First Hotel , Moderate Hotel ในขณะเดียวกันมีการ
กำหนดชั้นในอเมริกายุคใหม่ ซึ่งยังคงแบ่งออกเป็น 5 ระดับ กำหนดโรงแรม 3
ดาว ที่ Basic และ ระดับสูงกว่า 2 ระดับ ได้แก่ Upscale Hotel และ Luxury
Hotel เป็น All Suite Hotel เพื่อให้ทราบว่าเป็นโรงแรมที่มีการลงทุนต่อห้อง
สูงมาก และในทางกลับกันจะมีห้องที่ต่ำกว่า 3 ระดับ 2 ระดับ ได้แก่ Economy
Hotel และ Budget Hotel
การจัดลำดับโรงแรมที่จัดได้ว่าดีที่สุดในโลกปี 2016
1. La Mamounia, Marrakech, Morocco
จัดได้ว่าโรงแรมสุดหรูในมาราเกซที่ครองตำแหน่ง World's Leading Hotel
ของปี 2015 ซึ่งการันตีความยอดเยี่ยมในทุกๆ ด้านของโรงแรมแห่งนี้ได้เป็นอย่าง
ดี La Mamounia เปิดให้บริการมากว่า 90 ปี ผสมผสานระหว่างความหรูหรา
ความทันสมัยและความเป็นโมรอคโคได้อย่างลงตัว ด้วยความสวยงามและบริการที่
เป็นเลิศ ที่นี่จึงเคยเป็นที่พำนักของบุคคลที่มีชื่อเสียงของโลกหลายท่าน ตั้งแต่
วินสตัน เชอร์ชิล อดีตนายกฯอังกฤษ ไปจนถึงเจ้าหญิงแคโรไลน์แห่งโมนาโค
โรงแรม มาร์ราเกช (La Mamounia, Marrakech)
ก า ร จ ำ แ น ก ป ร ะ เ ภ ท แ ล ะ ก า ร แ บ่ ง ชั้ น ข อ ง โ ร ง แ ร ม | 3 0
การจัดการธุรกิจโรงแรม
2. Palazzo Versace, Gold Coast, Australia
เจ้าของรางวัล Australasia's Leading Hotel โรงแรมแห่งแรกของโลกที่ได้
แรงบันดาลใจจากแฟชั่นชั้นสูง Palazzo Versace Gold Coast ตกแต่งด้วย
เฟอร์นิเจอร์สั่งทำพิเศษของเวอร์ซาเช่และงานฝีมือสุดประณีตจากช่างฝีมืออิตาลี
แขกที่พักจะได้สัมผัสโลกของเวอร์ซาเช่ได้ทุกตารางนิ้วของโรงแรมสุดหรูหราแห่งนี้
โรงแรม ปาราโซ เวอร์ซาเช่ โกลด์ โครท์ (Palazzo Versace, Gold Coast)
3. Jumeirah Himalayas Hotel, Shanghai, China
โรงแรม 5 ดาวตั้งอยู่ใจกลางย่านผู่ตงในเซี่ยงไฮ้ ผู้ครองรางวัล Asia's Leading
Hotel 2015 จาก World Travel Awards เรียกได้ว่าเป็นโรงแรมอันดับ 1 ของ
เอเชียในปีที่ผ่านมา โรงแรมหรูแห่งนี้ออกแบบโดยสถาปนิกชื่อดังชาวญี่ปุ่นอย่าง
Arata Isozaki ที่ได้แรงบันดาลใจจากชิ้นส่วนของหยก กลายมาเป็นโรงแรมแบบ
Modern Luxury ที่เต็มไปด้วยกลิ่นอายแบบจีนอย่างแท้จริง
โรงแรม เซาท์เทิร์น โอเชี่ยน ลอดจ์ (Jumeirah Himalayas Hotel)
ก า ร จ ำ แ น ก ป ร ะ เ ภ ท แ ล ะ ก า ร แ บ่ ง ชั้ น ข อ ง โ ร ง แ ร ม | 3 1
การจัดการธุรกิจโรงแรม
4. Ciragan Palace Kempinski, Istanbul, Turkey
โรงแรมตั้งอยู่ริมฝั่ งของช่องแคบบอสพอรัสในอิสตันบลู ได้รับรางวัล Europe's
Leading Hotel มาแล้ว 3 ปีซ้อน อีกทั้งยังเคยได้รับรางวัล World's Leading
Hotel 2014 อีกด้วย แขกหลายคนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าวิวสวย บริการเยี่ยม
ห้องพักสมบูรณ์แบบ การตกแต่งอย่างหรูหราทำให้รู้สึกเหมือนได้พักอยู่ในวังจริงๆ
โรงแรม (Ciragan Palace Kempinski, Istanbul)
5. Burj Al Arab Jumeirah, Dubai, United Arab Emirates
โรงแรมระดับ 7 ดาว ที่มีค่าเข้าพักต่อคืนแพงที่สุดแห่งหนึ่งของโลก เรื่องของความ
หรูหราอลังการอยู่ในอันดับต้นๆ ของโลกเช่นกัน แขกที่เข้าพักจะได้รับบริการอย่าง
ดีเยี่ยม สะดวกสบายและเป็นส่วนตัว เสมือนเป็นบุคคลสำคัญ Burj Al Arab เคย
ได้รับรางวัล World's Leading Hotel จาก World Travel Awards ติดต่อ
กันหลายปี ตั้งแต่ปี 2005 – 2013 และรางวัลการันตีความยอดเยี่ยมอื่นๆ อีก
หลายรางวัล
โรงแรม โอเบอรอย อุทัยวิลาส (Burj Al Arab)
ก า ร จ ำ แ น ก ป ร ะ เ ภ ท แ ล ะ ก า ร แ บ่ ง ชั้ น ข อ ง โ ร ง แ ร ม | 3 2
การจัดการธุรกิจโรงแรม
6. Conrad Maldives Rangali Island, Maldives
หนึ่งในโรงแรมหรูที่มีชื่อเสียงมากแห่งหนึ่งในมัลดีฟส์ เจ้าของรางวัล Indian
Ocean's Leading Hotel ตั้งแต่ปี 2013 จนถึงปัจจุบัน นอกจากความสวยงาม
และบริการดีๆ แล้วส่วนที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลก คือภัตตาคารใต้น้ำแห่งแรกของโลก
Ithaa Undersea Restaurant ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ ให้รู้สึกเหมือนนั่งทาน
อาหารอยู่ใต้ทะเลลึก 5 เมตร
โรงแรม (Conrad Maldives Rangali Island)
7. Forte Village Resort, Pula, Italy
เป็นรีสอร์ทที่ดีที่สุดในโลกก็ว่าได้ เพราะ Forte Village Resort ครองรางวัล
World's Leading Resort จาก World Travel Awards มากว่า 18 ปีติดต่อ
กันแล้วที่นี่เป็นหนึ่งในรีสอร์ทแบบครบวงจรที่เหมาะสำหรับวันหยุดของทุกคนใน
ครอบครัว ไม่ว่าจะเด็กหรือผู้ใหญ่ก็สามารถสนุกสนานไปกับกิจกรรมต่างๆ ได้ทุกวัน
เพราะภายในรีสอร์ทมีทั้งสถาบันสอนกีฬา สนามกีฬา สวนน้ำ สวนสนุก และร้านค้า
แบรนด์เนม
Forte Village Resort
ก า ร จ ำ แ น ก ป ร ะ เ ภ ท แ ล ะ ก า ร แ บ่ ง ชั้ น ข อ ง โ ร ง แ ร ม | 3 3
การจัดการธุรกิจโรงแรม
8. Rosewood Mansion on Turtle Creek, Texas, USA
โรงแรมตั้งห่างจากย่านดาวน์ทาวน์ของดัลลัสไปเพียง 5 นาที ก็จะพบกับ
Rosewood Mansion on Turtle Creek โรงแรมเก่าแก่กว่า 50 ปีที่ให้
บรรยากาศสุดโรแมนติก ตั้งอยู่บนเนินเขาในย่านที่เงียบสงบ โรงแรมนี้ครองรางวัล
North America's Leading Hotel, United States' Leading Hotel จาก
World Travel Awards อยู่หลายปีด้วยกัน แขกที่เข้าพักหลายท่านต่างประทับใจ
ในบริการที่ดีเยี่ยมตั้งแต่พนักงานต้อนรับไปจนถึงคนทำความสะอาดเลยทีเดียว
โรงแรม (Rosewood Mansion on Turtle)
9. The Oberoi Udaivilas, Udaipur, Rajasthan, India
สวยงามอลังการและหรูหราแบบสุดๆ สำหรับ The Oberoi Udaivilas โรงแรม
บรรยากาศดีๆ ริมทะเลสาบ Pichola การันตีความยอดเยี่ยมด้วยรางวัลจากหลาย
แห่งทั้ง Asia's Leading Luxury Hotel 2015 จาก World Travel Awards,
2015 World's Best Hotel จาก Travel and Leisure และ The best
hotels in Asia & the Indian จาก Conde Nast Traveller
โรงแรม The Oberoi Udaivilas
ก า ร จ ำ แ น ก ป ร ะ เ ภ ท แ ล ะ ก า ร แ บ่ ง ชั้ น ข อ ง โ ร ง แ ร ม | 3 4
การจัดการธุรกิจโรงแรม
10. InterContinental Danang Sun Peninsula Resort, Vietnam
รีสอร์ทหรูตั้งอยู่บนเนินเขาริมฝั่ งแหลมซอนทร้าในดานัง เพิ่งเปิดให้บริการไม่กี่ปีแต่
ก็สามารถครองรางวัล World's Leading Luxury Resort 2015 ได้ และยังได้
รับรางวัล Asia's Leading Luxury Resort 2014 - 2015 อีกด้วย
InterContinental Danang Sun Peninsula Resort โดดเด่นในเรื่องของ
บริการที่ดีเยี่ยมสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานประวัติศาสตร์ของเวียดนาม และความ
หรูหราได้อย่างลงตัวและสปาแบบLuxury
InterContinental Danang Sun Peninsula Resort
สรุป
การจัดแบ่งประเภทของโรงแรมดังกล่าวยังไม่มีข้อตกลงสากล ดังนั้นการ
จัดแบ่งประเภทจึงแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของผู้จัด
ประเภทว่าใช้หลักการอย่างไรในการจัดแบ่ง เช่น การเข้าพักอาศัยที่ตั้งของ
โรงแรมการบริการ การบริหาร ราคาห้องพัก ขนาดของโรงแรม หรือ
หลักการอื่นๆ ในบางประเทศ เช่นออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ มีที่พักในฟาร์ม
แกะ (Farmstay) หรือที่พักในรถยนต์ (Motor Camp) โดยในรถยนต์จะ
จัดห้องพัก ห้องน้ำ และห้องอาหารไว้ ผู้เช่ารถยนต์ประเภทนี้สามารถพักใน
รถได้ นอกจากนี้ยังมีบริการที่พักร่วมกับเจ้าบ้าน (Home stay) หรือที่พัก
ในรถยนต์ประเภทนี้สามารถพักในรถได้ นอกจากนี้ยังมีบริการที่พักร่วมกับ
เจ้าของบ้าน (Homestay) เจ้าของบ้านจะจัดที่พักและอาหารมื้อเช้า-เย็นให้
แก่ผู้เช่าอาศัย
ก า ร จ ำ แ น ก ป ร ะ เ ภ ท แ ล ะ ก า ร แ บ่ ง ชั้ น ข อ ง โ ร ง แ ร ม | 3 5
การจัดการธุรกิจโรงแรม
คำถามทบทวน
1. เกณฑ์การกำหนดประเภทโรงแรมตามวัตถุประสงค์ แบ่งออกได้กี่ประเภท
มีอะไรบ้าง
2. การแบ่งประเภทโรงแรมกำหนดจากระยะเวลาการเข้าพัก แบ่งได้ 2 ลักษณะ คือ
3. การแบ่งประเภทโรงแรมตามวัตถุประสงค์แบ่งได้กี่ประเภทมีอะไรบ้าง
4. การแบ่งประเภทโรงแรมตามระดับการบริการแบ่งได้กี่ประเภท มีอะไรบ้าง
5. การแบ่งประเภทโรงแรมตามระบบการบริหารงานแบ่งได้กี่ประเภท มีอะไรบ้าง
6. การกำหนดระดับ โรงแรมระดับสูงสุด คือ
7. โรงแรมที่จัดว่าเหมาะสม หรือไว้สำหรับบริการนักท่องเที่ยวคือ โรงแรมระดับใด
8. Economy Hotel หมายถึง โรงแรมระดับใด
9. Commercial Hotel คือโรงแรมชนิดใด
10. โรงแรมที่จัดไว้สำหรับแขกที่พักประจำ คือโรงแรมแบบใด
เอกสารอ้างอิง
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2545). การบริหารและการจัดการโรงแรม.
กรุงเทพฯ: บริษัทไทยยูเนี่ยนกราฟฟิกส์ จำกัด.
ขจิต ขอบเดช. (2550).การบริหารส่วนหน้าในสถาบันที่พักแรมต่างๆ. กรุงเทพฯ
: สำนักพิมพ์บริษัทซีซี พริ้นติ้งจำกัด.
ขจิต ขอบเดช. (2548).การบริหารงานแม่บ้านในโรงแรมและสถาบันอื่นๆ.กรุงเทพฯ
: สำนักพิมพ์บริษัทซี ซี พริ้นติ้งจำกัด.
ขจิต ขอบเดช. (2542).งานโรงแรมฝ่ายห้องพัก แม่บ้านในโรงแรมและสถาบัน
อื่นๆ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์บริษัทซี ซี พริ้นติ้งจำกัด.
จิตตินันท์ นันทไพบูลย์. (2555).ธุรกิจโรงแรม.กรุงเทพฯ :ซีเอ็ดยูเคชั่น.
นงนุช ศรีธนาอนันัต์. (2546).การโรงแรมเบื้องต้น.กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธุรกิจ
บัณฑิตย์.
ประสงค์ แสงพายัพ. (2538).การบริหารการโรงแรม. กรุงเทพฯ :สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ปรีชา แดงโรจน์. (2530).การโรงแรม ฉบับนิสิตนักศึกษา. กรุงเทพฯ : หจก. โรง
พิมพ์ยูไนเต็ดโปรดักชั่น.
ธารีทิพย์ ทากิ. (2549).ธุรกิจโรงแรมและธุรกิจบริการอาหารเบื้องต้น. กรุงเทพฯ:
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ก า ร จ ำ แ น ก ป ร ะ เ ภ ท แ ล ะ ก า ร แ บ่ ง ชั้ น ข อ ง โ ร ง แ ร ม | 3 6
การจัดการธุรกิจโรงแรม
Wikipedia.(2013). "Hotels in Dubai". Dubaifaqs.com.[Online]
https://en.wikipedia.org/wiki/Casino_hotel#/media/.
[Retrieved March30, 2017]
-------.https://en.wikipedia.org/wiki/List_of_hotels_in_Dubai.
[Online]
[RetrievedFebruary 7,2016]
http://www.mamounia.com[Online][Retrieved May14,2017]
http://www.chicclick.th.com[Online][Retrieved May14,2017]
http://www.jumeirah.com/jumeirah-himalayas-hotel[Online]
[Retrieved May14,2017]
http://www.jumeirah.com/burj-al-arab[Online][Retrieved
May14,2017]
http://www.kempinski.com/ciragan-palace[Online]
[Retrieved May14,2017]
http//www.conradhotels3.hilton.com/conrad-maldives-
rangali-island[Online]
[Retrieved May14,2017]
http:// www.fortevillageresort.com[Online] [Retrieved
May14,2017]
http://www.rosewoodhotels.com[Online][Retrieved
May14,2017]
http://www.oberoihotels.com[Online][Retrieved May14,2017]
http://www.danang.intercontinental.com[Online][Retrieved
May14,2017]
ก า ร จ ำ แ น ก ป ร ะ เ ภ ท แ ล ะ ก า ร แ บ่ ง ชั้ น ข อ ง โ ร ง แ ร ม | 3 7
การจัดการธุรกิจโรงแรม
บทที่ 3
มาตรฐานโรงแรม
การจัดการธุรกิจโรงแรม
บทที่ 3
มาตรฐานโรงแรม
การจัดระดับโรงแรมโดยใช้ นับแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สองที่
สัญลักษณ์เป็นวิธีหนึ่งที่นิยมกัน ผู้คนนิยมเดินทางท่องเที่ยวมากขึ้น
มากในภาคธุรกิจ และมีการใช้ อย่าง เป็นทวีคูณ โดยเฉพาะในยุโรป ทําให้
เป็นระบบในต่างประเทศ ปัจจุบันมี หน่วยงานรัฐบาลในบางประเทศเริ่ม
การใช้สัญลักษณ์ปรากฏเป็นรูปต่าง จดทะเบียนและแบ่งกลุ่มที่พักตาม
ๆ และกําหนดให้จํานวน ของ มาตรฐานการบริการ เช่น ในประเทศ
สัญลักษณ์แทนค่ามาตรฐานบริการ
ระดับต่าง ๆ สําหรับโรงแรมใน ★อังกฤษและฝรั่งเศสต่างก็ใช้
ประเทศไทยใช้ “มาตรฐาน ดาว” เป็น
สัญลักษณ์ สัญลักษณ์รูปดาว ( ) ส่วนใน
ปัจจุบันมีหน่วยงานในต่างประเทศที่
หน่วยงานเอกชนระดับโลกที่พัฒนา พัฒนาระบบขึ้นใช้ โดยยังคงใช้ดาว 1-
ระบบจัดระดับการบริการของ 5 ดาว แทนค่าระดับ มาตรฐานที่ต่าง
โรงแรม การจัดมาตรฐาน ดาว กันของโรงแรม
โรงแรมไทยโดย “มูลนิธิพัฒนา
มาตรฐานและบุคลากรใน ในบทนี้จะอธิบายเกี่ยวกับ มาตรฐาน
อุตสาหกรรมบริการและการท่อง ของธุรกิจโรงแรม หน่วยงานที่ตรวจ
เที่ยว” ปัจจัยหลักในการพิจารณา สอบมาตรฐาน ปัจจัยในการตัดสิน
ตัดสินมาตรฐานโรงแรม มาตรฐาน มาตรฐานโรงแรม เกณฑ์กําหน
โรงแรม 1-5 ดาว และมาตรฐาน ดมาตรฐานของโรงแรม มาตรฐาน
โรงแรม ที่สูงกว่า 5 ดาว คุณภาพการ บริการ การจัดบริการ
เสริมความสะดวก
มาตรฐานโรงแรม | 39
การจัดการธุรกิจโรงแรม
3.1 มาตรฐานธุรกิจโรงแรม
การทําธุรกิจโรงแรมทุกวันนี้มีมาตรฐานต่างๆ เข้ามาเกี่ยวข้องและมีบทบาท
ในการดําเนินธุรกิจ อยู่มากมาย ทั้งที่มีการบัญญัติไว้เป็นกฎหมาย และกฎ
เกณฑ์ที่กําหนดโดยหน่วยงาน หรือองค์กรที่ เกี่ยวข้องทางระดับท้องถิ่น และ
ระดับสากล ที่ผู้ดําเนินธุรกิจโรงแรมทั้งหลายควรที่จะศึกษาหา ข้อมูลเกี่ยวกับ
เกณฑ์มาตรฐานเหล่านี้ไว้เป็นอย่างดี
มาตรฐานโรงแรมเป็นสิ่งที่จะช่วยบ่งบอกคุณลักษณะ และคุณสมบัติของ
โรงแรมให้แก่บุคคล ทั่วไปได้รับทราบ และเลือกใช้บริการได้ตามความเหมาะสม
และความต้องการของลูกค้ากลุ่มต่างๆ ตลอดจนการบ่งบอกระดับราคาของ
โรงแรมแต่ละแห่ง เพื่อช่วยให้ง่ายต่อการตัดสินใจในปัจจุบันยังไม่มีองค์กรใดที่
มีหน้าที่กําหนดและรับรองมาตรฐานโรงแรมในระดับสากลได้เป็นการเฉพาะ แต่
ผู้ ประกอบธุรกิจโรงแรมทั้งหลายก็สามารถใช้เกณฑ์มาตรฐานต่างๆ มาใช้เพื่อ
เป็นแนวทางในการสร้าง มาตรฐานโรงแรมของตนเองได้
มาตรฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจโรงแรมแบ่งออกได้ 4 ประเภท ดังนี้
1. มาตรฐานเบื้องต้นตามพระราชบัญญัติ
เป็นมาตรฐานเบื้องต้นที่บัญญัติไว้ให้ผู้ที่ขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรม
ต้องปฏิบัติตาม กฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องก่อนที่จะออกใบอนุญาตให้ประกอบ
ธุรกิจโรงแรมที่ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งมาตรฐานในเบื้องต้นนี้มีกฎหมายที่
เกี่ยวข้องอยู่เป็นจํานวนมาก
2. มาตรฐานขององค์กร/สถานบันภายในประเทศ
เป็นมาตรฐานที่องค์กรหรือสถาบันภายในประเทศจัดทําขึ้น เพื่อออกใบรับรอง
มาตรฐานให้กับผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมในลักษณะของระดับมาตรฐานโรงแรม
หรือดาวที่แตกต่างกันเพื่อนําไปใช้ในด้านการตลาดของโรงแรม ซึ่งโรงแรมที่จะ
ยื่นขอใบรับรองเหล่านี้จะต้องผ่านเกณฑ์มาตรฐานเบื้องต้นตามพระราช
บัญญัติและได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรมแล้วเท่านั้น แต่ปัจจุบันยัง
ไม่มีองค์กรหรือสถาบันใดที่เป็นผู้มีหน้าที่รับรองมาตรฐานของโรงแรมอย่าง
เป็นทางการในระดับชาติ
มาตรฐานโรงแรม | 40
การจัดการธุรกิจโรงแรม
3. มาตรฐานขององค์กร/สถาบันในระดับสากล
แม้ว่าจะไม่มีองค์กรหรือสถาบันใดเป็นผู้ที่รับผิดชอบในด้านการกําหนดและ
รับรองมาตรฐานของธุรกิจโรงแรมในระดับสากลอย่างเป็นทางการ แต่ก็มีองค์กร
และสถาบันต่างๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง และมีบทบาทเกี่ยวกับการรับรองระดับ
มาตรฐานการให้บริการที่ได้รับการยอมรับในระดับสากลอยู่เป็นจํานวนมาก ซึ่ง
มาตรฐานเหล่านี้เป็นที่รับรู้และยอมรับกันในหมู่ของลูกค้าผู้ใช้บริการส่วนใหญ่ใน
ระดับนานาชาติ แต่ไม่อาจจะกล่าวได้ว่า มาตรฐานระดับสากลนั้นจะสูงกว่า
มาตรฐานระดับชาติของ แต่ละประเทศเสมอไป เพราะมาตรฐานของบางประเทศ
นั้นสูงกว่ามาตรฐานของอุตสาหกรรมทั่วไป เป็นอย่างมาก
4. มาตรฐานของแบรนด์
เป็นมาตรฐานที่แบรนด์โรงแรมต่างๆ พัฒนาและสร้างขึ้นมานําเสนอให้กับกลุ่ม
ลูกค้าของตนเอง และแข่งขันกันในเชิงธุรกิจเน้นตอบสนองความต้องการของ
ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายของตนเองเป็นหลัก มาตรฐานเหล่านี้ส่วนใหญ่ได้จากการ
ศึกษาวิจัยกลุ่มลูกค้าเป้าหมายในระดับสากล และเป็นมาตรฐานที่สูงกว่ามาตรฐาน
ของอุตสาหกรรมทั่วไป และเป็นมาตรฐานที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เป็นที่รู้จักและ
ยอมรับกันในกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของแต่ละแบรนด์ ทั้งในลักษณะของแบรนด์
อิสระ และแบรนด์ที่เป็นเช่นขนาดใหญ่ๆ
ใบรับรองโรงแรมที่ได้มาตรฐาน จากกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
การอ้างอิงกับมาตรฐานต่างๆ ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น จะช่วยให้ผู้ประกอบ
ธุรกิจโรงแรม ทั้งหลายสามารถพัฒนามาตรฐานตัวโรงแรมและการให้บริการของ
โรงแรมให้มีคุณลักษณะ และ คุณสมบัติตรงตามตําแหน่งทางด้านการตลาด
ความต้องการของลูกค้าแต่ละกลุ่ม สร้างการรับรู้ และ การยอมรับได้ง่ายกว่า
โรงแรมที่ไม่ได้มีมาตรฐานใดๆ มาใช้ในการอ้างอิง
มาตรฐานโรงแรม | 41
การจัดการธุรกิจโรงแรม
3.2 หน่วยงานเอกชนที่ตรวจสอบมาตรฐานโรงแรม
หน่วยงานเอกชนที่ตรวจสอบมาตรฐานจนพัฒนาเป็นระบบการจัดระดับที่ได้รับ
การยอมรับใน ระดับประเทศ ได้แก่ระบบของหน่วยงานต่อไปนี้
1. บริษัทมิชลิน(Michelin) ผู้ผลิตยางรถยนต์รายใหญ่ในฝรั่งเศส ได้ผลิต
สื่อสิ่งพิมพ์เป็น คู่มือการเดินทางสู่ฝรั่งเศสครั้งแรกในราว พ.ศ. 2533 โดยใช้
รูปอาคารคล้ายปราสาท ที่มียอดปราสาท ต่างกัน 1-5 ยอด แทนระดับ
มาตรฐานบริการที่ต่างกัน ปัจจุบันได้ขยายบริการข้อมูลแนะนํากิจการโรงแรม
อีกด้วย โดยแสดงด้วยรูปสัญลักษณ์อื่น
2. สมาคมยานยนต์(Automobile Association; AA) ในอังกฤษ ใช้
สัญลักษณ์รูปดาว บริการข้อมูลความแตกต่างด้านคุณภาพของที่พักแรม และ
ร้านอาหารหลากหลาย
3. สมาคมยานยนต์อเมริกัน(American Automobile Association;
AA) ในสหรัฐฯใช้รูปเพชร 1-5 รูป ในการจําแนกประเภทที่พัก
4. บริษัทโมบิล(Mobile) ผู้ผลิตน้ํามันรายใหญ่ในสหรัฐฯ พิมพ์หนังสือแนะ
นําการ เดินทางในสหรัฐฯ แคนาดา และบางส่วนของเม็กซิโก โดยใช้รูปดาว 1-5
รูป จําแนกประเภทที่พักและร้านอาหารในส่วนของประเทศไทยนั้น จะเห็นได้ว่า
ปัจจุบันมีการขยายตัวของเครือข่ายโรงแรม ต่างประเทศ รุกเข้ามาบริหาร
จัดการโรงแรมในประเทศไทยเป็นจํานวนมากขึ้นเรื่อง ๆ โรงแรมเหล่านี้ เครือ
ข่ายอยู่ทั่วโลก ทําให้ลูกค้าชาวต่างชาติส่วนใหญ่มักจะเข้าใช้บริการโรงแรมของ
เครือต่างประเทศ ซึ่งส่งผลกระทบต่อภาพรวมธุรกิจโรงแรมไทยไม่น้อย อีกทั้ง
ขณะนี้ประเทศต่างๆ ทั้งในยุโรป จีน และประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียง จะมีการ
กําหนดมาตรฐานดาวโรงแรมเพื่อให้นักท่องเที่ยวได้ทราบ การกําหนดมาตร-
ฐานนี้มีทั้งในรูปแบบของการออกกฎหมายบังคับและแบบกึ่งบังคับ ดังนั้น
การจัดทําระบบมาตรฐานดาวโรงแรมของไทย จึงถือเป็นความจําเป็นของ
อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการโรงแรม
มาตรฐานโรงแรม | 42
การจัดการธุรกิจโรงแรม
3.3 หน่วยงานที่ตรวจสอบมาตรฐานโรงแรมไทย
ในปี พ.ศ. 2549 ภาคเอกชนซึ่งก็คือ สามคมโรงแรมไทยและสมาคมไทย
ธุรกิจการท่องเที่ยว (Association of Thai Travel Agents; ATTA) ได้
ร่วมมือกับการท่องเทียว” ซึ่งก่อนที่จะก่อตั้งมูลนิธินี้ แต่ละโรงแรมต่างก็มีแต่
การกล่าวอ้างถึงมาตรฐานโรงแรมของตนว่าเป็นหนึ่งดาวบ้าง สองดาวบ้าง
สามดาวบ้างไปจนถึงห้าดาว แต่ไม่มีหน่วยงานใดเข้ามาตรวจสอบและรับรองให้
โรงแรมได้รับมาตรฐาน “ดาว” ที่ถูกต้อง การตั้งมูลนิธินี้จึงมีข้อดีคือ
1. ยกระดับมาตรฐานโรงแรมในประเทศให้ดีขึ้น ลูกค้าและนักท่องเที่ยวได้รับ
การดูแลด้านความปลอดภัย สุขอนามัย รวมทั้งด้านสิ่งแวดล้อมที่ดี ผลที่ได้รับ
คือ ช่วยสร้างความมั่นใจให้ลูกค้า กลุ่มนักท่องเที่ยวจากเดิมที่ไม่มีความชัดเจน
ในเรื่องระดับมาตรฐานดาวการให้บริการของโรงแรมแต่ละแห่ง ก็ทําให้เกิด
ความชัดเจนดีขึ้น สร้างความมั่นใจในการรับบริการ
2. เป็นเครื่องมือในการเปิดตลาดต่างประเทศให้กับโรงแรมไทย โดยเฉพาะ
โรงแรมระดับท้องถิ่นให้สามารถขยายกลุ่มผู้ใช้บริการได้กว้างขึ้นและขายได้ใน
ราคาที่เหมาะสม และสามารถใช้ มาตรฐานดาวอ้างอิงในด้านการตลาดกับลูกค้า
และคู่ค้าได้
3. เกิดการพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน ไม่เกิดการตัดราคาหรือโก่งราคา
เพราะมีมาตรฐานเป็นเครื่องมือในการควบคุม ก่อนมีมาตรฐานนี้ โรงแรมไทย
อยู่ในลักษณะต่างคนต่างทํา ไม่มีระบบ ตั้งราคากันตามภาวะตลาด และส่วน
ใหญ่ตั้งต่ํากว่ามาตรฐานที่ควรจะเป็น ตัดราคากันเองบาง รายถึงกับหา
ทางออกด้วยการให้บริการอื่นเสริม จนเกิดปัญหาทําให้ประเทศไทยมีภาพของ
แหล่งท่องเที่ยวราคาถูก(Cheap Destination) ดังนั้นหลังจากมีการใช้
มาตรฐาน “ดาว” กับโรงแรมแล้ว คาดว่าปัญหานี้น่าจะบรรเทาลงหรือหมดไป
เมื่อโรงแรมได้รับมาตรฐานดาวอย่างเป็นทางการแล้ว การควบคุมรักษาระดับ
มาตรฐานในทุกๆ ด้านต้องละเอียดและคงที่ เนื่องจากจะมีการตรวจสอบ
มาตรฐานเป็นระยะๆทั้งแบบตรวจโดยเปิดเผยและตรวจโดยปิดเป็นความลับ
หากโรงแรมที่ได้รับ มาตรฐานดาวแล้วแต่บริการกลับต่ําลงกว่ามาตรฐาน ก็จะมี
การแจ้งเตือนให้ปรับปรุงเพื่อรักษา มาตรฐานให้สม่ําเสมอ และมีการสุ่มตรวจ
โดยไม่แจ้งล่วงหน้า ก็จะมีการแจ้งเตือนให้ปรับปรุงเพื่อ รักษามาตรฐาน โดย
มาตรฐานจะมีอายุ 3 ปี และโรงแรมสามารถต่ออายุมาตรฐานดาวได้โดยการ
เสียค่าธรรมเนียมรายปี
มาตรฐานโรงแรม | 43
การจัดการธุรกิจโรงแรม
3.4 ปัจจัยหลักในการพิจารณาตัดสินมาตรฐานโรงแรม
ปัจจัยในการตรวจพิจารณาให้มาตรฐานโรงแรมในระดับต่าง ๆ มีรายละเอียด
ดังต่อไปนี้
1. สภาพทางกายภาพ เช่น ที่ตั้ง และสภาพแวดล้อม เป็นต้น
2. การก่อสร้าง เช่น โครงสร้างทางกายภาพของโรงแรม ระบบในโรงแรม
การเลือกใช้วัสดุ และระบบความปลอดภัย
3. สิ่งอํานวยความสะดวกสําหรับผู้เข้าพักและผู้มาใช้บริการ เช่น ปริมาณ
ของใช้ที่จัดให้ และอุปกรณ์ตกแต่ง
4. คุณภาพการบริการและการรักษาคุณภาพ เช่น บุคลิกภาพ คุณภาพ การ
บริการ ความสะอาด และชื่อเสียงของโรงแรม เป็นต้น
5. การบํารุงรักษาโรงแรม และสิ่งอํานวยความสะดวกต่างๆ
3.5 เกณฑ์กําหนดมาตรฐานของโรงแรมในประเทศไทย
สมาคมโรงแรมไทยได้กําหนดมาตรฐานของโรงแรมที่เป็นสมาชิกของ
สมาคมไว้ดังนี้ (Thai Hotel Association 1990 : 10)
1.ขนาด
- จะต้องมีห้องพักไม่น้อยกว่า 60 ห้อง
2. ห้องพัก
- ในห้องพักทุกห้องจะต้องมีห้องน้ํารวมอยู่ด้วย
3. การบํารุงรักษาส่วนประกอบต่างๆ ของโรงแรม (ตัวตึก เครื่องตกแต่ง
อุปกรณ์) ได้รับการทํานุบํารุงให้อยู่ในสภาพดี
4. สถานที่จอดรถ มีสถานที่จอดรถยนต์ ยานพาหนะที่เพียงพอ สัมพันธ์กับ
จํานวนห้องพัก ห้องอาหารที่มีไว้บริการตามพรบ.
5. ระบบปรับอากาศ
- ส่วนห้องพัก และส่วนใช้ร่วมทั้งหมดของอาคารโรงแรมในเขตกรุงเทพฯ จะ
ต้องมี ระบบปรับอากาศ
- 75% ของห้องพักในโรงแรมนอกเขตกรุงเทพฯ จะต้องมีระบบปรับอากาศ
6. ห้องน้ํา
- มีเครื่องสุขภัณฑ์ครบ และคุณภาพดี การตกแต่งทันสมัย
- มีน้ําร้อน น้ําเย็น ตลอด 24 ชั่วโมง
- พื้นและผนังบุด้วยวัสดุทึบ สีสวยงาม และด้วยฝีมือดี
- มีห้องน้ําสาธารณะในส่วนใช้ร่วมที่จํานวนและขนาดที่เหมาะสม
มาตรฐานโรงแรม | 44
การจัดการธุรกิจโรงแรม
7. บริการต้อนรับ
- มีสถานที่พร้อมทั้งบริการต้อนรับ ให้ข่าวสาร และขนย้ายสัมภาระ
- มีพนักงานบริการส่วนหน้าที่มีความรู้ภาษาต่างประเทศ
8. ห้องโถงโรงแรม ต้องมีห้องโถง (Lobby)ทีมีขนาดสัมพันธ์กับชิดและ
ขนาดของโรงแรมใน บริเวณต้อนรับ และมีบริเวณพักผ่อน( Lounge ) อยู่
ด้วย
9. ห้องรับฝากของ
- มีบริการตู้นิรภัยไม่น้อยกว่า 20% ของจํานวนห้องพัก
- มีห้องพักและบริการรับฝากของเบ็ดเตล็ด
10. ร้านค้า จะต้องมีร้านจําหน่ายหนังสือ ตัวแทนบริษัทนําเที่ยว ตัวแทน
บริษัทการบิน ร้านจําหน่ายยา และร้านจําหน่ายของใช้เบ็ดเตล็ดในโรงแรมหรือ
บริเวณใกล้เคียง
3.6 เกณฑ์การวัดระดับมาตรฐานโรงแรม 1-5 ดาว
ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างปัจจัยในการตรวจพิจารณาให้มาตรฐานดาวในระดับต่าง ๆ
3.6.1 มาตรฐานโรงแรมระดับ 1 ดาว
มาตรฐานโรงแรมระดับ 1 ดาว นอกจากเรื่องความสะอาด และปลอดภัยที่
โรงแรมทุกระดับให้ความสำคัญแล้ว โรงแรมจะเน้นการมีสิ่งอำนวยความสะดวก
พื้นฐานทั่วไป เช่น ห้องพักที่มีขนาดไม่เล็กกว่า 10 ตารางเมตร พร้อมเตียง
ขนาด 3 ฟุต กระจกแต่งหน้า ถังขยะ โต๊ะ เก้าอี้ และภายในห้องน้ำก็จะมี
ผ้าเช็ดตัวและกระดาษชำระไว้บริการ
3.6.2 มาตรฐานโรงแรมระดับ 2 ดาว
มาตรฐานโรงแรมระดับ 2 ดาว จะมีเฟอร์นิเจอร์ตกแต่งภายในโรงแรม และ
สิ่งอำนวยความสะดวกทั่วไปไว้บริการ เช่น ห้องพักที่มีขนาดไม่เล็กกว่า 14
ตารางเมตร มีตาแมว โซ่คล้องประตูพร้อมเตียงขนาด 3 ฟุต กระจกแต่งหน้า
ถังขยะ โต๊ะ เก้าอี้ น้ำดื่ม โทรทัศน์ขนาด 14 นิ้วขึ้นไปและโทรศัพท์ติดต่อภายใน
และห้องน้ำจะเป็นแบบชักโครก มีผ้าเช็ดตัวและกระดาษชำระ เป็นต้น
3.6.3 มาตรฐานโรงแรมระดับ 3 ดาว
มาตรฐานโรงแรมระดับ 3 ดาว สิ่งอำนวยความสะดวกระดับปานกลาง เช่น
ห้องพักขนาดไม่น้อยกว่า 18 ตารางเมตร ซึ่งมีโทรทัศน์ 14 นิ้วขึ้นไปพร้อม
รีโมทคอนโทรล ตู้เสื้อผ้า ไฟหัวเตียง เครื่องเขียน และในห้องน้ำจะมีอ่างอาบน้ำ
ระบบน้ำร้อน-น้ำเย็น สบู่ หมวกอาบน้ำ แก้ว ผ้าเช็ดหน้า และถุงใส่ผ้าอนามัย
และบริการอื่น ๆ ที่มี เช่น รูมเซอร์วิส คอฟฟี่ ช็อป ห้องประชุมและอุปกรณ์ที่
จำเป็น ศูนย์ธุรกิจ ห้องน้ำสาธารณะ และห้องน้ำคนพิการ เป็นต้น
มาตรฐานโรงแรม | 45
การจัดการธุรกิจโรงแรม
ห้องพักที่มีขนาดและอุปกรณ์อยู่ในระดับมาตรฐาน
3.6.4 มาตรฐานโรงแรมระดับ 4 ดาว
มาตรฐานโรงแรมระดับ 4 ดาว จะมีการตกแต่งที่สวยงามพร้อมด้วยบริการและ
สิ่งอำนวยความสะดวก เช่น ห้องพักมาตรฐานซึ่งกว้างกว่า 24 ตารางเมตร
ภายในมีเตียงขนาดไม่น้อยกว่า 3.5 ฟุต โทรทัศน์ขนาด 20 นิ้วขึ้นไปที่มีรายการให้
ชมมากกว่า 8 ช่องรายการ ตู้เย็น มินิบาร์ กระติกต้มน้ำร้อนไฟฟ้าพร้อมชา กาแฟ
ชุดขัดรองเท้า ถุงซักผ้า เสื้อคลุมอาบน้ำ รองเท้าแตะ โทรศัพท์ที่สามารถโทรทาง
ไกล/ต่างประเทศได้โดยตรง ภายในห้องน้ำจะมีเครื่องใช้ครบถ้วน อุปกรณ์ใน
ห้องน้ำที่เพิ่มเติมจากระดับ 3 ดาว คือ โฟมอาบน้ำ แชมพู ผ้าเช็ดมือ ชุดเครื่องมือ
ตัดเย็บขนาดพกพา (Sewing Kit) ไดร์เป่าผม ปลั๊กไฟสำหรับโกนหนวด มีห้อง
ชุดให้บริการ 2 แบบ นอกจากนั้นยังมีห้องอาหาร ห้องออกกำลังกายที่มีอุปกรณ์
มากกว่า 5 ชนิด ห้องอบไอน้ำ ห้องนวด สระว่ายน้ำศูนย์ธุรกิจ ห้องประชุมใหญ่
และห้องประชุมย่อยอีกไม่น้อยกว่า 2 ห้อง มีระบบการตรวจเช็คและอุปกรณ์ด้าน
ความปลอดภัย
3.6.5 มาตรฐานโรงแรมระดับ 5 ดาว
มาตรฐานโรงแรมระดับ 5 ดาว มีการตกแต่งที่สวยงามทั้งภายนอกและภายใน
เพียบพร้อมด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกและบริการที่ประทับใจ อุปกรณ์เครื่องใช้
ต่าง ๆ ได้รับการดูแลรักษาให้อยู่ในสภาพดี ห้องพักมาตรฐานกว้างกว่า 30
ตารางเมตร พร้อมเตียงสะอาดขนาดไม่น้อยกว่า 4 ฟุต โทรทัศน์ขนาด 20 นิ้วขึ้น
ไป ซึ่งมีรายการให้ชมมากกว่า 12 ช่องรายการ ตู้เย็น มินิบาร์ และอุปกรณ์การ
ติดต่อสื่อสารที่ครบครัน ห้องน้ำมีขนาดใหญ่ สุขภัณฑ์สะอาด สวยงาม เครื่องใช้
ครบถ้วน พร้อมเครื่องชั่งน้ำหนัก และโทรศัพท์พ่วงอยู่ภายใน นอกจากนั้นยังมี
ห้องชุดให้เลือกใช้บริการถึง 3 แบบ และห้องอาหารซึ่งให้บริการทั้งอาหารไทยและ
หารนานาชาติ ห้องออกกำลังกายที่มีอุปกรณ์มากกว่า 7 ชนิด ห้องอบไอน้ำ อ่างจา
กุชชี่ ห้องนวด สระว่ายน้ำ ห้องประชุมใหญ่ที่มีอุปกรณ์ครบถ้วน พร้อมห้องประชุม
ย่อยอีกไม่น้อยกว่า 4 ห้อง มีระบบการตรวจเช็คความปลอดภัยและอุปกรณ์ที่ทัน
สมัย
มาตรฐานโรงแรม | 46
การจัดการธุรกิจโรงแรม
3.7 มาตรฐานโรงแรมที่สูงกว่า 5 ดาว
จุดสูงสุดของการจัดอันดับธุรกิจโรงแรมคือ มาตรฐานระดับ 5 ดาว ทำให้
โรงแรมหลายแห่งพยายามผลักดันกิจการของตนให้ได้มาตรฐานนี้ ส่งผลให้
เกิดโรงแรมมาตรฐาน 5 ดาวขึ้นอย่างมากมาย โดยโรงแรมเปิดใหม่หลาย
แห่งต้องการสร้างความแตกต่างจากเดิม จึงประกาศตนว่าเป็นโรงแรม 6
ดาว หรือ 7 ดาว ตัวอย่างโรงแรมที่วางตำแหน่งว่าตนเองเป็นโรงแรม 6
ดาว เช่น
1. เดอะเรสซิเดนเซสแอทเดอะเซนต์รีจิส กรุงเทพฯ ของเครือสตาร์วูดโฮเต็ล
แอนด์รีสอร์ท โดยสิ่งที่แตกต่างจากโรงแรม 5 ดาวทั่วไปคือ มีห้องพักที่ใหญ่
กว่า ของใช้ในห้องพักที่ดีกว่า และยังมีต้นห้องส่วนตัวหรือบัตเลอร์ที่จะเข้าไป
ดูแลความต้องการของลูกค้า และช่วยทำอาหารให้กับลูกค้าทุกระดับชั้น สร้าง
ความเป็นส่วนตัวให้กับลูกค้าอย่างมาก และเป็นสิ่งที่โรงแรมอื่นยังไม่มีราคา
ห้องพักเริ่มต้นที่ 7,000 บาท ซึ่งสูงกว่าโรงแรม 5 ดาว 20-30 เปอร์เซ็นต์
2. บริษัท ดุสิตอินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ผู้บริหารแบรนด์และโรงแรมในเครือ
ดุสิตธานี กลุ่มโรงแรมภายใต้ชื่อ ดุสิตเทวารัณย์ ที่ได้ไปลงทุนในดูไบ
3. สันติบุรีกอล์ฟรีสอร์ทแอนด์สปา บริหารโดยกลุ่มบุญรอดบริวเวอรี่ มีรี
สอร์ตหรูหราภายใต้ชื่อสันติบุรีเรสซิเดนท์ มีห้องพักจำนวน 14 -15 หลัง แต่ละ
หลังมีขนาด 300 ตารางเมตร ราคาห้องพักคืนละ 40,000 บาท อย่างไร
ก็ตาม นายกสมาคมโรงแรมไทยได้แสดงทัศนะว่า ปัจจุบันยังไม่มีมาตรฐาน
โรงแรม 6 ดาว ทั้งในระดับประเทศและระดับโลก โรงแรมต่างๆ ที่วางตำแหน่ง
ตนเองเป็นระดับ 6 ดาวนั้นเป็นเพียงการประกาศเองโดยยังไม่มีมาตรฐาน
รองรับ หรืออาจใช้เพียงเงินลงทุนที่สูงกว่าโรงแรมอื่นเป็นปัจจัยในการแบ่ง
แยกในขณะเดียวกัน เว็บไซด์ ProfessionalTravelGuide.com แหล่ง
ข้อมูลด้านการท่องเที่ยวที่ครบถ้วนสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งในอินเตอร์เน็ต ก็
ประกาศมาตรฐาน“โรงแรม 6 ดาว”เป็นครั้งแรกโดยมาตรฐานนี้ได้มาจากการ
เจาะลึกเข้าไปยังฐานข้อมูลของโรงแรมมากกว่า 160,000 แห่งทั่วโลกและ
ศึกษาบทวิจารณ์หรือบทตรวจทาน (Review) เชิงลึกของโรงแรมกว่า
10,000 แห่งทั่วโลกอย่างละเอียด ซึ่งบทวิจารณ์เหล่านี้เขียนขึ้นโดยผู้
เชี่ยวชาญ 325 คนจากทั่วโลก โดยตัวอย่างบรรทัดฐานที่นำมาพิจารณา
มาตรฐาน 6 ดาว ประกอบด้วย
1) สัดส่วนขั้นต่ำระหว่างพนักงานโรงแรมต่อแขกผู้เข้าพักต้อง เท่ากับ 1:1
2) บริการต้องไม่มีข้อจำกัดและไม่ก้าวก่ายความเป็นส่วนตัวของแขก
3) ความเป็นส่วนตัวของแขกในพื้นที่สาธารณะและในห้องอาหาร
4) สถาปัตยกรรมอันโดดเด่นของโรงแรม
5) การผนวกเอกลักษณ์ของท้องถิ่นที่โรงแรมตั้งอยู่เข้าไปในบรรยากาศของ
โรงแรม
มาตรฐานโรงแรม | 47
การจัดการธุรกิจโรงแรม
ในประเทศฝรั่งเศสซึ่งให้ความสำคัญกับรายได้จากการท่องเที่ยวมากที่สุด
ประเทศหนึ่งในโลกนั้น หน่วยงานด้านการท่องเที่ยวของประเทศได้ประกาศ
ระดับมาตรฐานที่หรูหรามากกว่ามาตรฐานดาวที่ใช้กันอยู่ โดยระดับมาตรฐานนี้
ใช้ชื่อว่า มาตรฐานระดับพระราชวัง หรือพาเลซ (Palace) เกณฑ์การตัดสินนั้น
ไม่ได้วัดเฉพาะที่ความหรูหราเท่านั้น แต่ยังให้คะแนนด้านความสำคัญและ
ประวัติศาสตร์อันยาวนานเป็นประเด็นหลักด้วย เพราะประเทศที่มีประวัติศาสตร์
อันยาวนานในยุโรปหลายประเทศต่างตระหนักว่า อารยธรรมและประวัติศาสตร์
ของตนเป็นสิ่งที่สามารถดึงดูดความสนใจของนักท่องเที่ยวระดับสูงได้ปัจจุบัน
มีโรงแรมเพียง 8 แห่งทั่วฝรั่งเศสเท่านั้นที่ได้รับเครื่องหมายมาตรฐานระดับ
พระราชวังอันทรงคุณค่านี้ และโรงแรมจะถูกตรวจสอบจากคณะกรรมการทุก
5 ปี หากพบว่ามาตรฐานบกพร่องหรือต่ำลง หน่วยงานผู้ออกมาตรฐาน
สามารถยึดเครื่องหมายสำคัญนี้คืนได้ การสร้างมาตรฐานเช่นนี้ สามารถเป็น
ข้อคิดให้กับโรงแรมในประเทศไทยถึงการสร้างจุดขายใหม่ให้กับโรงแรม นั่นคือ
ความสามารถในการใช้ประวัติศาสตร์ อารยธรรม และวิวัฒนธรรมของชาติไทย
มาเป็นจุดดึงดูดความสนใจและการใช้จ่ายจากนักท่องเที่ยวคุณภาพระดับสูง
ภาพลักษณ์เช่นนี้ย่อมยั่งยืนมากกว่าภาพลักษณ์เรื่องความสนุกสนานที่
ฉาบฉวยและไม่ยั่งยืน
3.8 การบริการภายในโรงแรม
การบริการ หมายถึง การทำประโยชน์ การช่วยเหลือหรือการอำนวยความ
สะดวกการบริการส่วนบุคคล หมายถึง การทำประโยชน์แก่ผู้อื่นการช่วยเหลือผู้
อื่น หรือการอำนวยความสะดวกแก่ผู้อื่น
โรงแรมมีสินค้า 2 ประเภท คือ
- สินค้าที่เป็นวัตถุ ได้แก่ อาหาร ห้องพัก เฟอร์นิเจอร์
- สินค้าที่เป็นการบริการ
การบริการในโรงแรม เป็นการบริการส่วนบุคคลซึ่งเชื่อมโยงระหว่างสินค้า 2
ประเภท หมายถึงการที่พนักงานใช้วัตถุอย่างดีของโรงแรมอำนวยความสะดวก
ให้แขกและผู้รับบริการเกิดความรู้สึกสุขสบายเช่น พนักงานยกกระเป๋าและแบก
สัมภาระขึ้นไปบนห้องให้แขก
มาตรฐานโรงแรม | 48
การจัดการธุรกิจโรงแรม
ดังนั้นสินค้าของโรงแรมทั้งสองประเภทจะตอบสนองความต้องการทาง
กายภาพของแขกและผู้รับบริการเบื้องต้นแล้วจึงส่งผลให้เกิดความพึงพอใจ
ตามมาทันทีปัจจัยสำคัญที่แขกและผู้รับบริการใช้ประเมินการบริการของ
พนักงานได้แก่ รสนิยมภาวะจิตใจขณะได้รับบริการและประสบการณ์ซึ่งแขกและ
ผู้รับบริการจะสังเกตบุคลิกภาพและท่าทางของพนักงานขณะปฏิสัมพันธ์กับ
แขกและผู้รับบริการและจะสัมผัสได้ถึงบริการที่สุภาพ มีอัธยาศัยและรวดเร็วซึ่ง
กลั่นกรองออกมาจากทัศนคติที่ดีในการบริการของพนักงานจนแขกและผู้รับ
บริการรู้สึกสุขสบายราวกับอาศัยอยู่ในบ้านของตนเองจึงจะเรียกว่าการบริการ
ที่มีคุณภาพดี
3.9 มาตรฐานคุณภาพการบริการ
มาตรฐานคุณภาพการบริการสามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่
1. ตรงตามเวลา หมายถึง การให้บริการต้องตรงตารมช่วงจังหวะเวลาที่แขก
และผู้รับบริการต้องการ และจะต้องบริการให้ตรงเวลาพอดีไม่ควรจะให้แขกและ
ผู้รับบริการต้องรอคอย
2. ตรงตามความต้องการ หมายถึงการพยายามทำความเข้าใจความต้องการ
และความจำเป็นของแขกและผู้รับบริการแล้วตอบสนองในทันที
3. แสดงความเอาใจใส่ หมายถึงทุกจุดที่แขกและผู้รับบริการได้สัมผัสกับ
โรงแรมไม่ว่าจะเป็นวัตถุหรือการบริการแขกและผู้รับบริการจะรู้สึกได้ถึงการ
เอาใจใส่ที่โรงแรมมอบให้
4. ความคงที่ของการบริการ หมายถึงการบริการที่ทุกแผนกควรมีระดับ
คุณภาพที่ดีเหมือนกันตั้งแต่จุดแรกจนกระทั่งจุดสุดท้ายที่แขกและผู้รับบริการ
ได้สัมผัสเพราะพนักงานไม่ใช่เครื่องจักรที่สามารถปฏิบัติงานคงที่ตลอดเวลา
แต่ละแผนกจึงจำเป็นต้องมีหัวหน้าพนักงานเพื่อควบคุมดูแลการปฏิบัติงาน
ของพนักงานอย่างใกล้ชิดเพื่อควบคุมกระบวนการปฏิบัติงานให้ได้จังหวะที่
เหมาะสม
มาตรฐานโรงแรม | 49