สัมมนาผลงานวิชาการระดับบณั ฑิตศกึ ษาสังคมสงเคราะหศ์ าสตรแ์ ละสวสั ดกิ ารสงั คมระดบั ชาติ ครั้งท่ี 10 ประจำปกี ารศึกษา 2563 | 35
ดลพัฒน์ ยศธร. (2551). การปรบั กระบวนทัศนแ์ ละร่วมปฏบิ ตั ใิ นการอบรมเลีย้ งดเู ด็กอยา่ งสรา้ งสรรค์:
วนิ ยั เชิงบวก. กระบวนทศั น์ใหมเ่ พ่ือพฒั นาศกั ยภาพเด็กไทยในทศวรรษหน้า.
นลินี เช้ือวนชิ ชากร. (2551). โครงการกจิ กรรมพัฒนาระบบการอบรมเล้ยี งดูอย่างสรา้ งสรรค์แกเ่ ดก็ ไทย
ชว่ งปฐมวยั . (เอกสารอัดสำเนา).
พนม ลม้ิ อาร.ี (2522). กล่มุ สัมพนั ธ.์ มหาสารคาม: มหาวทิ ยาลยั ศรีนครนิ ทรวโิ รฒ มหาสารคาม,
คณะศกึ ษาศาสตร์, ภาควิชาการแนะแนวและจิตวทิ ยาการศึกษา.
วินัดดา ปยิ ะศลิ ป์. (2558). คู่มอื การเลย้ี งลกู ตอนวยั 6-12 ปี. สบื ค้นจาก
http://elementarymn.blogspot.com/
วบิ ูลย์ ศิริภสั สโรทัย. (2545). การส่งเสริมจรยิ ธรรมแก่เด็กและเยาวชนในสถานสงเคราะห์เดก็ .
(วทิ ยานพิ นธ์ปรญิ ญามหาบณั ฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะสงั คมวทิ ยาและมานษุ ยวทิ ยา.
สมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย. (2560). ตอนเด็กวยั เรียน 7-12 ป.ี คมู่ อื สำหรับพ่อแม่เพ่ือเผยแพร่
ความรู้ด้านการดูแลและพฒั นาเด็ก. ราชวิทยาลยั กุมารแพทย์แหง่ ประเทศไทย. กรุงเทพฯ:
สมาคมกุมารแพทยแ์ ห่งประเทศไทย.
สมบตั ิ ตาปัญญา. (2558). เลยี้ งลกู ใหถ้ ูกวิธี ไมต่ กี ็ดีได้. องค์การยูนิเซฟ แห่งประเทศไทย.
สุชาติ ท่ังสถิรสิม. (2561). รปู แบบการสอนรายวันเพ่ือพัฒนาพฤติกรรมความมีวนิ ัยนักเรียนโรงเรยี น
สาธิตมหาวิทยาลัยขอนแกน่ ฝ่ายประถม ตามแนวคดิ การสรา้ งวนิ ัยเชงิ บวกดว้ ยพหวุ ธิ ี.
วารสารวิชาการแสงอสี าน มหาวทิ ยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลยั วทิ ยาเขตอสี าน.
สำนักงานกองทนุ สนับสนุนการสร้างเสริมสขุ ภาพ (สสส.) และสถาบนั RLG (รกั ลูก เลริ น์ นิ่ง กรุ๊ป).
(2561). คมู่ อื พัฒนาทักษะสมอง EF-Executive Function ในเด็กวยั 7-12 ปี สำหรับพ่อแม่และ
คร.ู กรงุ เทพฯ: บริษัท รักลกู กรุ๊ป จำกัด.
36 | สมั มนาผลงานวชิ าการระดบั บณั ฑติ ศกึ ษาสังคมสงเคราะห์ศาสตรแ์ ละสวัสดิการสงั คมระดับชาติ ครง้ั ท่ี 10 ประจำปีการศึกษา 2563
การเขา้ ถงึ สิทธใิ นการเลือกตั้งของคนพกิ าร
Rights Accessibility for Persons with Disabilities in the General Election
สุกญั ญา จำนงค์บญุ 1 และ ผศ.ดร. ภุชงค์ เสนานุช2
Sukanya Jumnongboon3 and Asst. Prof. Puchong Senanuch, Ph.D.4
Abstract
This research combines both quantitative and qualitative methods. It’s aimed to study
the voting rights of people with disabilities ( PWD) including those with vision
impairment, and/ or deaf or hard of hearing, and/ or physical disability in the 77
provinces of Thailand with the sample size of 451 persons and in-depth interview key
important 6 persons. The objective is to explore 3 issues, the voting rights of people
with disabilities, factors affecting their voting rights, and challenges impeding their voting
rights. As a result of this study, the researchers recommend that PWD voting rights be
vigorously promoted and election participation actively encouraged. This includes
providing PWD with essential election information as well as purpose-designed facilities
and communication aids for PWD. It is further recommended that particular protection
of electoral rights and necessary facilitation of voting access be provided for PWD who
are physically unable to travel to voting sites due to their disabilities. These
recommendations are intended to assure that all PWD in Thailand are afforded access
to voting privileges equal to all Thai citizens under The Constitution and universally
recognized human rights.
Keywords: Disabilities, voting rights of citizens with disabilities, rights accessibility
บทคดั ย่อ
การศึกษาคร้ังน้ีเป็นการศึกษาวิจัยแบบผสมผสาน ทั้งการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เพ่ือ
ศึกษาการเข้าถึงสิทธิในการเลือกตั้งของคนพิการจากคนพิการทางการเห็น คนพิการทางการไดย้ ินหรอื ส่ือ
ความหมาย และคนพิการทางการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกาย ในพื้นท่ี 77 จังหวัด จำนวน 451 คน และ
สมั ภาษณ์เชิงลกึ จำนวน 6 คน มวี ตั ถุประสงค์ เพอ่ื ศกึ ษาการเขา้ ถงึ สทิ ธใิ นการเลอื กต้ังของคนพิการ ปัจจัย
ท่ีส่งผลต่อการเข้าถึงสิทธิในการเลือกต้ังของคนพิการ และปัญหาและอุปสรรคในการเข้าถึงสิทธิใน
การเลือกต้ังของคนพิการ เพื่อนำมาพัฒนาข้อเสนอแนะท่ีเหมาะสมในการส่งเสริมให้คนพิการเข้าถึงสิทธิ
1 นกั ศกึ ษาปริญญาโทหลกั สตู รสงั คมสงเคราะหศ์ าสตรมหาบณั ฑติ คณะสังคมสงเคราะหศ์ าสตร์ มหาวิทยาลยั ธรรมศาสตร์
2 อาจารยป์ ระจำคณะสงั คมสงเคราะหศ์ าสตร์ มหาวทิ ยาลยั ธรรมศาสตร์
3 Master of Social Work, Faculty of Social Work, Thammasat University
4 Lecturer, Faculty of social Administration, Thammasat University, Thailand
สมั มนาผลงานวชิ าการระดับบณั ฑิตศึกษาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และสวสั ดกิ ารสงั คมระดบั ชาติ ครั้งที่ 10 ประจำปีการศึกษา 2563 | 37
ในการเลือกต้ัง ในด้านข้อมูลข่าวสาร ด้านการมีส่วนร่วมในกระบวนการการเลือกตั้งการเลือกต้ัง ด้าน
สิ่งอำนวยความสะดวก และด้านการใช้สิทธิเลือกต้ัง ซึ่งหมายรวมถึงการรักษาสิทธิหากไม่สามารถไปใช้
สิทธิไดใ้ นวันเลือกตัง้ โดยการแจ้งเหตุไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกต้ังได้ เพ่ือให้คนพิการสามารถเข้าถึงสิทธิตาม
รัฐธรรมนูญอย่างท่วั ถึงเท่าเทยี ม ตามหลักสทิ ธิมนษุ ยชน
คำสำคญั : คนพกิ าร, สิทธใิ นการเลือกตัง้ ของคนพกิ าร
บทนำ
การศึกษาวิจัยคร้ังนี้เป็นการศึกษาการเข้าถึงสิทธิในการเลือกตั้งของคนพิการทางการเห็น
ทางการได้ยินหรือส่ือความหมาย และทางการเคล่ือนไหวหรือทางร่างกาย จากการเลือกต้ังสมาชิกสภาผู้แทน
ราษฎร (ส.ส.) เม่ือปี 2562 ท่ีผ่านมา ท่ีได้มีการกำหนดพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย
การเลือกต้ังสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 ในมาตรา 92 เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่คนพิการ
หรือผู้สูงอายุ ในการออกเสียงลงคะแนน โดยความยินยอมและเป็นไปตามเจตนาของคนพิการหรือ
ผูส้ ูงอายุน้ัน ทัง้ น้ี ใหถ้ ือเป็นการออกเสียงลงคะแนนโดยตรงและลับ (พระราชบัญญัติประกอบรฐั ธรรมนูญ
วา่ ด้วยการเลือกต้ังสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561, 2561) สำนักงานคณะกรรมการการเลือกต้ังจึง
ได้มีการกำหนดแนวทางวิธีการอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการและผู้สูงอายุขึ้นหลายอย่าง เช่น
มีคู่มือการเลือกตั้งเป็นอักษรเบรลล์ และบัตรทาบในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง สำหรับคนพิการทาง
การเห็น รวมไปถึงมีสถานท่ีเลือกตั้งล่วงหน้าสำหรับคนพิการและผู้สูงอายุ (หน่วยเลือกต้ังพิเศษสำหรับ
คนพิการและผสู้ ูงอายุ) พร้อมจัดให้มีสิง่ อำนวยความสะดวกต่างๆ อาทิ ที่น่ังรอสำหรับคนพิการ ที่จอดรถ
คนพิการ ห้องน้ำ รวมถึงเครื่องช่วยอำนวยความสะดวกอ่ืนๆ เช่น บัตรเลือกต้ังอักษรเบรลล์ บัตรทาบ
สำหรบั คนพกิ ารทางการเห็น รถเข็นนั่ง โคมไฟ แว่นขยาย หรอื อ่ืนๆ ตามความจำเป็น ซ่ึงมเี พยี ง 10 แห่ง
และมีจำนวนผู้ใช้สิทธิเลือกต้ังรวมทั้งส้ินเพียง 846 คน เท่าน้ัน นอกจากน้ียังไม่ได้มีการรวบรวมสถิติ
ข้อมูลของคนพิการท่ีออกมาใช้สิทธิเลือกตั้ง (เจษฎา ทองขาว, 2562) แต่ในส่วนของหน่วยเลือกตั้งปกติ
ส่วนใหญ่ยังไม่สามารถจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวก และการส่งเสริมให้คนพิการเข้าถึงสิทธิใน
การเลือกต้ังอย่างจรงิ จัง ทำให้คนพิการอาจเข้าไม่ถึงสิทธิในการเลือกตง้ั
วตั ถปุ ระสงคข์ องการวจิ ัย
1. เพ่อื ศึกษาการเข้าถงึ สทิ ธิในการเลือกต้ังของคนพิการ
2. เพ่อื ศึกษาปจั จยั ทีส่ ง่ ผลตอ่ การเข้าถงึ สิทธใิ นการเลือกตั้งของคนพิการ
3. เพื่อศึกษาปัญหาและอปุ สรรค ในการเข้าถงึ สทิ ธใิ นการเลือกตงั้ ของคนพิการ
สมมติฐานการวิจยั
1. ปัจจยั ส่วนบคุ คลของคนพิการสง่ ผลตอ่ การเขา้ ถึงสทิ ธใิ นการเลอื กตัง้ ของคนพิการแตกต่างกัน
2. การรับรูเ้ กีย่ วกบั สิทธิในการเลือกตั้ง มีความสัมพันธก์ ับการเขา้ ถงึ สิทธิในการเลือกตัง้ ของคนพิการ
38 | สมั มนาผลงานวชิ าการระดับบณั ฑิตศึกษาสังคมสงเคราะห์ศาสตรแ์ ละสวัสดกิ ารสงั คมระดับชาติ ครง้ั ที่ 10 ประจำปกี ารศึกษา 2563
แนวคิด ทฤษฎี และวรรณกรรมทเี่ กยี่ วข้อง
1. สทิ ธขิ องคนพกิ ารในการเลือกตง้ั
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และ 2550 ได้ให้ความสำคัญใน
มาตรา 4 กล่าวว่า : "ศกั ด์ิศรีความเป็นมนุษย์ สทิ ธิ และเสรีภาพของบุคคล ย่อมไดร้ บั ความคุ้มครอง" และ
ในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันคือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2560 หมวด 3 มาตรา 27 กำหนด
ไว้ว่า บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมาย มีสิทธิและเสรีภาพและได้รับความคุ้มครอง ตามกฎหมายเท่าเทียม
กัน ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคล ไม่ว่าด้วยเหตุ
ความแตกตา่ งในเรอ่ื งถ่ินกำเนิด เชอื้ ชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะ
ของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเช่ือทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็น
ทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ หรือเหตุอ่ืนใด จะกระทำมิได้ มาตรการท่ีรัฐกำหนด
ขนึ้ เพื่อขจัดอุปสรรคหรือส่งเสริมให้บุคคลสามารถใช้สิทธหิ รือเสรภี าพ ได้เช่นเดียวกับบุคคลอื่น หรือเพ่ือ
คุ้มครองหรืออำนวยความสะดวกให้แก่เด็ก สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ หรือผู้ด้อยโอกาส ย่อมไม่ถือว่าเป็น
การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม (รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560, 2560) และ
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกต้ังสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 มาตรา 92
เพ่ืออำนวยความสะดวกให้แก่คนพิการหรือทุพพลภาพ หรือผู้สูงอายุ ในการออกเสียงลงคะแนนให้
คณะกรรมการหรือผู้ซึ่งคณะกรรมการมอบหมายจัดให้มีการอำนวยความสะดวกสำหรับการออกเสียง
ลงคะแนนของบุคคลดังกล่าวไว้เป็นพิเศษ หรือจัดให้มีการช่วยเหลือในการออกเสียงลงคะแนนภายใต้
การกำกับดูแลของคณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง ในการให้ความชว่ ยเหลือดังกล่าวต้องให้บคุ คลนั้น
ได้ออกเสียงลงคะแนนด้วยตนเองตามเจตนาของบุคคลน้ัน เว้นแต่ลักษณะทางกายภาพทำให้คนพิการ
หรือทุพพลภาพ หรือผู้สูงอายุไม่สามารถทำเครื่องหมายลงในบัตรเลือกต้ังได้ ให้บุคคลอื่นหรือกรรมการ
ประจำหน่วยเลือกต้ังเป็นผู้กระทำการแทน โดยความยินยอมและเป็นไปตามเจตนาของคนพิการหรือ
ทุพพลภาพ หรือผู้สูงอายุนั้น ท้ังนี้ ให้ถือเป็นการออกเสียงลงคะแนนโดยตรงและลับ (พระราชบัญญัติ
ประกอบรฐั ธรรมนูญวา่ ด้วยการเลอื กต้งั สมาชิกสภาผแู้ ทนราษฎร พ.ศ. 2561, 2561)
2. การเข้าถึงสทิ ธิ
การเข้าถึง มีผู้ให้คำจำกัดความไว้ ดังน้ี กิตติยา ใสสะอาด (2552) ให้ความหมายการเข้าถึง
ว่า หมายถึง หนทาง วิธีการ ความสามารถในการเข้าใช้สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ รวมถึงการจัดส่ิง
อำนวยความสะดวกต่างๆ เพือ่ นำไปสูก่ ารปรบั ปรงุ คุณภาพชีวิตที่ดแี ละปราศจากอุปสรรคหรือข้อจำกดั ใน
การเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมได้อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม ซ่ึงความหมายน้ีจะเน้นแนวคิดความเป็นธรรม
และทั่วถึงอีกด้วย ริญญารัตน์ กิติพัฒน์ธนโชติ (2554) ให้ความหมายว่าเป็นวิถีทางหรือวิธีการใน
การมุ่งเข้าหา การรับมาหรือการใช้หรือเป็นสิทธิของการใช้หนทางในการนำไปใช้ประโยชน์เพื่อ
ความสะดวกสบายในการใช้สถานที่ต่างๆ หรือความสามารถท่ีจะเข้าไปถึงส่ิงใดส่ิงหนึ่ง และ อนล
ศรีสำราญ (2559) ได้ให้ความหมายการเข้าถึงบริการของคนพิการ หมายถึง วิธีการ หนทางและ
ความสามารถท่ีคนพิการสามารถเข้าไปใชบ้ รกิ ารต่างๆ รวมถึงสิ่งอำนวยความสะดวก มสี ่วนร่วมในการใช้
สมั มนาผลงานวชิ าการระดับบัณฑิตศกึ ษาสงั คมสงเคราะห์ศาสตร์และสวสั ดิการสังคมระดบั ชาติ ครั้งที่ 10 ประจำปีการศึกษา 2563 | 39
บริการต่างๆ ที่รัฐจัดข้ึนได้อย่างสะดวก มีความเพียงพอตรงกับปัญหาและความต้องการ เพ่ือนำไปสู่
คุณภาพชีวิตที่ดีของคนพิการ โดยปราศจากอุปสรรคหรือข้อจำกัดในการเข้ามามีส่วนร่วมกิจกรรมทาง
สังคมได้อย่างเท่าเทียม ทว่ั ถงึ และเป็นธรรม
การเข้าถึงอย่างเท่าเทียม วิธีการรวมคนพิการเข้าไว้ในการเลือกตั้งและกระบวนการ
การเลือกตงั้ ทางการเมือง ความทา้ ทายท่ีคนพิการเผชิญ ในการมีสว่ นร่วมทางการเมืองและวธิ ีการบรรเทา
ปัญหา อุปสรรคที่มีลักษณะเฉพาะที่คนพิการต้องเผชิญ รวมไปถึงให้คำแนะนำเพ่ือเสริมพลังให้แก่
คนพิการ ท่ีจะให้ส่วนร่วมมีบทบาทต่างๆ เช่น เป็นผู้จัดการการเลือกต้ัง คณะกรรมการในหน่วยเลือกตั้ง
ผู้มีสิทธิเลือกต้ัง ผู้ลงสมัครรับเลือกต้ัง ผู้สนับสนุนนโยบาย และ/หรือนักรณรงค์ เป็นต้น สิ่งสำคัญ คือ
ต้องให้คนพิการมีส่วนร่วมตั้งแต่เร่ิมออกแบบโปรแกรม สิง่ น้ที ำให้มั่นใจได้วา่ คนพิการยังเป็นหุ้นส่วนท่ีเท่า
เทียมกันซ่ึงมีเสียงในการตดั สินใจที่ส่งผลต่อชีวิตของพวกเขา โดยเสนอกลยุทธ์ 4 ประการ เพ่ือเพ่ิมการมี
ส่วนร่วมทางการเมืองของคนพิการ (The International Foundation for Electoral Systems: IFES.,
2014)
งานวิจัยทเ่ี ก่ียวข้อง
สาวิตรี รัตนชูโชติ (2552) ศึกษาการเข้าถึงสิทธิของคนพิการตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและ
พฒั นาคณุ ภาพชวี ิตคนพิการ พ.ศ. 2550 พบวา่ การจัดสงิ่ อำนวยความสะดวกในเร่อื งหนังสืออกั ษรเบรลล์
ไม่มีผลทำให้คนพิการเข้าถึงสิทธิของคนพิการท่ีแตกต่างกัน เนื่องจากไม่มีความรู้ และไม่ได้เรยี นการอ่าน
หนงั สอื อักษรเบรลล์ มเี พยี งผนู้ ำคนพิการทางการเห็นบางสว่ นทีไ่ ด้รบั การศกึ ษาสงู จึงใช้อกั ษรเบรลล์
นะโรดม อินต๊ะปัน (2553) ศึกษาโอกาสของคนพิการในการมีส่วนร่วมทางการเมืองในจังหวัดเชียงใหม่
เพื่อศึกษารูปแบบและกระบวนการการเลือกตั้งมีส่วนร่วมในทางการเมืองของคนพิการ และปัจจัยที่เป็น
อุปสรรคตอ่ การเขา้ ไปมสี ว่ นร่วมในทางการเมืองของคนพิการในเขตพ้ืนทจี่ ังหวัดเชียงใหม่ พบว่าภาครฐั ไม่
เปิดโอกาสและปิดกั้นความสามารถและไม่ยอมรับศักยภาพของคนพิการเท่าท่ีควร รวมไปถึงการเปิด
โอกาสการให้ทางเลือกแกค่ นพิการน้อย หนว่ ยงานภาครัฐให้การประชาสัมพันธข์ ้อมูลขา่ วสารไม่ท่ัวถึง ทำ
ให้คนพิการไมท่ ราบขอ้ มลู ข่าวสารเก่ยี วกับการเมืองและการเลือกตั้ง
อิทธิ์ณณัฎฐ์ หงส์ชูเวช (2556) ศึกษาวิจัยเร่ือง “ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร: ศึกษากรณีประชาชนกรุงเทพมหานครในการเลือกตั้งทัว่ ไป วันท่ี 2 กุมภาพนั ธ์
2557” พบว่า เพศ ไม่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของประชาชน
กรุงเทพมหานคร ส่วนอายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และ รายได้ มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจเลือกตั้ง
สมาชกิ สภาผแู้ ทนราษฎรของประชาชนกรงุ เทพมหานครอยา่ งมนี ัยสำคญั ทางสถติ ิทีร่ ะดับ 0.05
ปนัดดา จันทร์โชติญาน (2559) ศกึ ษาปญั หาและอปุ สรรคการอำนวยความสะดวกการลงคะแนน
เลือกต้ัง และแนวทางการอำนวยความสะดวกการลงคะแนนเลือกตั้ง ณ หน่วยเลือกตั้งสำหรับคนพิการ
และข้อเสนอเชิงนโยบายในการพัฒนาหลักเกณฑ์และวิธีการลงคะแนนเลือกตั้ง ฯ หน่วยเลือกต้ังสำหรับ
คนพิการ ได้สรุปและเสนอแนวทางที่เกี่ยวข้อง คือ การเข้าถึงสิทธิในการมีส่วนร่วมในการเลือกต้ังของ
40 | สมั มนาผลงานวชิ าการระดบั บณั ฑิตศกึ ษาสงั คมสงเคราะห์ศาสตร์และสวสั ดิการสงั คมระดบั ชาติ ครัง้ ท่ี 10 ประจำปกี ารศึกษา 2563
คนพิการที่ผ่านมาไมม่ ีส่ิงอำนวยความสะดวกที่เหมาะสมสำหรับคนพิการเพ่ือให้คนพิการสามารถเดินทาง
ไปใช้สิทธิเลือกต้ังได้ และการเข้าคูหา การกากบาทบัตรเลือกต้ัง การหย่อนบัตรเลือกตั้ง การได้รับข้อมูล
ข่าวสาร รวมถึงเจ้าหน้าที่ หรือกรรมการการเลือกตั้งประจำหน่วย (กปน.) บางคนไม่รู้วิธีปฏิบัติต่อ
คนพิการในแต่ละประเภทความพิการ ไม่เห็นความสำคัญในการปรับสภาพแวดล้อมของหน่วยให้
เหมาะสม โดยเห็นว่าเป็นการส้ินเปลืองงบประมาณ เนื่องจากคนพิการมาใช้สิทธิน้อย ไม่คุ้มค่า ท้ังที่มี
กฎหมายหลายฉบับท่ีรับรองสิทธิในการเลือกต้ังของคนพิการ ในการมีส่วนร่วมและการแสดงออกทาง
การเมอื ง ในการเป็นพลเมืองอยา่ งภาคภมู ิ เสมอภาค เท่าเทียมกับคนทัว่ ไป
เจษฎา ทองขาว (2562) ทำการศึกษามาตรการทางกฎหมายเก่ียวกับการเลือกตั้งของคนพิการ
ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 พบว่า
กฎหมายฉบับน้ีมุ่งเน้นแต่เฉพาะการฝึกอบรมในเรื่องการจัดการเลือกต้ังทั่วไปให้แก่กรรมการประจำ
หน่วยเลือกต้ังเท่าน้ัน ส่งผลให้กรรมการประจำหน่วยเลือกต้ังจำนวนมากไม่ทราบถึงแนวทางใน
การอำนวยความสะดวกหรือให้ความช่วยเหลือในการลงคะแนนเสียงเลือกต้ังให้แก่คนพิการ และ
การเข้าถึงสิทธิของคนพิการภายหลังจากการเลือกตั้งน้ัน พบว่า กฎหมายฉบับนี้มิได้มีการกำหนดให้มี
มาตรการในการทำให้คนพิการเข้าถึงสิทธิในการรับทราบข้อมูลผลการเลือกต้ังเป็นการเฉพาะ คงมีเพียง
แค่การรายงานผลการเลือกตั้งแบบท่ัวไป ซ่ึงทำให้คนพิการบางประเภทมีอุปสรรคในการเข้าถึงข้อมูล
หรือหากเข้าถึงข้อมูลได้ก็จะได้รับทราบข้อมูลภายหลัง นอกจากนี้ยังมิได้มีการรวบรวมสถิติข้อมูลของ
คนพิการที่ออกมาใช้สิทธิเลือกตงั้ แต่อย่างใด
พรปวีณ์ มีมากบาง (2562) ทำการศึกษาวิจัยเชิงเอกสาร เร่ือง ปัญหาการใช้สิทธิเลือกต้ังของ
คนพิการในประเทศไทย จากการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 พบว่า
คนพิการทางการเห็นและคนพิการทางการได้ยินหรือส่ือความหมายมีอุปสรรคในการเข้าถึงข้อมูลที่
เก่ยี วกับการเลอื กต้ัง เช่น ขอ้ มูลข้ันตอน วธิ ีการเลือกต้ัง ข้อมูลผู้สมคั รรบั เลือกตัง้ นโยบายพรรคการเมอื ง
ผลการเลือกตั้ง เป็นต้น สังคม ชุมชน ครอบครวั หรือแม้แต่ตัวคนพิการขาดความตระหนักรู้เรื่องสิทธิของ
คนพิการ โดยมีทัศนคติมองคนพิการเป็นบุคคลท่ีมีเวรกรรม น่าเวทนา ทั้งนี้ จากการศึกษาดังกล่าวมี
ข้อเสนอต่อคณะกรรมการการเลือกต้ัง (กกต.) ได้แก่ ควรส่งเสริมและเปิดโอกาสให้คนพิการหรือองค์กร
คนพิการเข้ามามีส่วนร่วมเป็นเจ้าหน้าที่ประจำหน่วยเลือกตั้ง กกต. ควรกำหนดให้คนพิการสามารถ
เลือกต้ังทางไปรษณีย์ และมีช่องทางการลงทะเบียนท่ีหลากหลายเพื่อให้คนพิการแต่ละประเภทสามารถ
เข้าถึงได้ ควรอำนวยความสะดวกแก่คนพิการหรือบุคคลผู้มีสิทธิเลือกตั้งท่ีมีข้อจำกัดไม่สามารถเดินทาง
ไปยังหนว่ ยเลือกตงั้ ได้โดยจัดใหม้ ีหนว่ ยเลอื กต้ังเคล่ือนที่
พรเทพ เตียเจริญวรรธน์ (2563) ศึกษากฎหมายต้นแบบเพ่ือการคุ้มครองสิทธิคนพิการ ผล
การศึกษาในประเด็นการเข้าถึงสิทธิสวัสดิการตามกฎหมายการคุ้มครองสิทธิด้านการใช้สิทธิเลือกต้ัง
พบว่า ในด้านการอำนวยความสะดวกแก่คนพิการในการใช้สิทธิเลือกต้ังน้ัน หน่วยงานที่ควรทำหน้าที่ใน
การอำนวยความสะดวกในการใช้สิทธิเลือกตั้งของคนพิการ ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการเลือกต้ัง
(กกต.) และองค์กรปกครองส่วนท้องถ่ินที่คนพิการอาศัยอยู่ในเขตพ้ืนที่โดยวิธีการอำนวยความสะดวกใน
สมั มนาผลงานวิชาการระดับบัณฑิตศกึ ษาสงั คมสงเคราะหศ์ าสตร์และสวสั ดิการสงั คมระดับชาติ ครั้งที่ 10 ประจำปีการศกึ ษา 2563 | 41
การใช้สิทธิเลือกตั้ง เห็นควรให้มีการจัดวันเลือกต้ังสำหรับคนพิการเป็นการล่วงหน้าและจัดยานพาหนะ
ให้กับคนพิการ และเห็นควรจัดหน่วยเลือกตั้งเคล่ือนที่ในกรณีคนพิการติดเตียง หรือคนพิการที่มี
ความประสงค์จะเลือกตั้งจากหน่วยเลือกตั้งเคล่ือนที่ และควรมีรูปแบบการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง
ที่มีความเหมาะสมสำหรับคนพิการเพื่อช่วยให้คนพิการใช้สิทธิการลงคะแนนได้โดยสะดวก เช่น
การลงคะแนนทางไปรษณีย์ การลงคะแนนเสียงแบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือวิธีการอื่นท่ีเหมาะสมกับสภาพ
ความพกิ าร
จากการทบทวนวรรณกรรมท่ีเก่ียวข้อง ทำให้เห็นว่าการเข้าถึงสทิ ธใิ นการเลอื กตั้งของคนพิการท่ี
ผ่านมายังขาดการประชาสัมพันธ์ให้กับคนพิการให้ได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารเก่ียวกับกฎหมายเกี่ยวกับ
การเลือกต้ัง ข้อมูลการเลือกต้ังโดยเฉพาะคนพิการทางการเห็นและคนพิการทางการได้ยินหรือสื่อ
ความหมายมีอุปสรรคในการเข้าถึงข้อมูลท่ีเกี่ยวกับการเลือกต้ัง ไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกที่เหมาะสม
สำหรับคนพิการ เน่ืองจากการจัดการเลือกต้ังไม่เห็นความสำคัญในการปรับสภาพแวดล้อมของหน่วยให้
เหมาะสมสำหรับคนพิการและคนทุกคน เจ้าหน้าท่ีไมร่ ู้วิธีปฏิบัติต่อคนพิการในแต่ละประเภทความพิการ
รวมไปถึงกฎหมายการเลือกต้ังมุ่งเน้นแตเ่ ฉพาะการฝกึ อบในเร่ืองการจัดการเลือกตั้งทั่วไปให้แก่กรรมการ
ประจำหน่วยเลือกตั้ง ซึ่งอาจส่งผลต่อการเข้าถึงสิทธิในการเลือกตั้งหรือการเข้าไปมีส่วนร่วมใน
กระบวนการการเลือกตั้งการเลือกตั้งของคนพิการ และนำไปพัฒนาเป็นกรอบแนวคิดและเครื่องมือใน
การศึกษาครั้งน้ี เพื่อให้เห็นถึงการรบั รู้เกี่ยวกับสิทธแิ ละข้อมูลเก่ียวกับการเลือกตั้ง มีผลการเขา้ ถึงสิทธิใน
การเลือกตัง้ ของคนพิการหรอื ไม่
วิธีการและเครอ่ื งมือในการศกึ ษา
การศึกษาครั้งน้ีเป็นการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพหรือแบบผสมผสาน เพื่อศึกษา
การเข้าถึงสิทธิในการเลือกต้ังของคนพิการ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ พิการทางการเห็น ทางการได้ยินหรือ
ส่ือความหมาย และพิการทางการเคล่ือนไหวหรือทางร่างกาย เคร่ืองมือท่ีใช้ในการศึกษาผู้วิจัยสร้างข้ึน
จากการศึกษาทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยท่ีเกี่ยวข้องโดยพิจารณาให้ครอบคลุม แนวคิดทฤษฎี และ
วัตถุประสงค์ในการศกึ ษา
วิจัยเชิงปริมาณ ใช้วิธีการเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามจากคนพิการท่ีมีบัตรประจำตัวคนพิการ
กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ คนพิการทางการเห็น ทางการได้ยินหรือส่ือความหมาย และทางการเคล่ือนไหวหรือ
ทางร่างกายอายุ 18 ปีบริบูรณ์ข้ึนไปและมีสิทธิเลือกต้ัง 77 จังหวัด จังหวัดละ 6 คน แบ่งประเภท
ความพิการละ 2 คน แบบสุ่ม และมีหนังสือขอความร่วมมือสำนักงานพัฒนาสังคมและความม่ันคงของ
มนุษย์จังหวัด โดยศูนย์บริการคนพิการระดับจังหวัดในการเก็บข้อมูลออนไลน์ผ่านระบบ Google Form
กลุ่มตัวอย่างคำนวณจากสูตรของทาโร ยามาเน่ จากจำนวนคนพิการท่ีอายุ 18 ปี ในปี 2563 จำนวน
1,576,663 คน ค่าความคลาดเคลื่อนท่ี 0.05 ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน จึงเก็บข้อมูลจังหวัดละ
6 ชุด รวมเก็บแบบสอบถามท้ังส้ิน 462 ชุด เครื่องมือในการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ คือ แบบสอบถามที่
สร้างขึ้น โดยแบ่งออกเปน็ 5 สว่ น ได้แก่
42 | สมั มนาผลงานวิชาการระดบั บณั ฑิตศกึ ษาสงั คมสงเคราะห์ศาสตร์และสวสั ดกิ ารสังคมระดบั ชาติ ครงั้ ท่ี 10 ประจำปกี ารศึกษา 2563
ส่วนท่ี 1 ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม ได้แก่ เพศ อายุ ประเภทความพิการ ระดับ
การศึกษา อาชีพ รายได้ สถานภาพครอบครวั สมาชิกในครอบครัว ภมู ลิ ำเนา ระยะเวลาท่ีเกดิ ความพิการ
การเดินทาง ระยะทางจากบ้านถึงหนว่ ยเลือกต้ัง แบบตรวจสอบรายการ (Check - list)
ส่วนท่ี 2 การรับรู้เก่ียวกับสิทธิในการเลือกตั้งและข้อมูลการเลือกต้ังของคนพิการ แบ่งออกเป็น
การรับรู้เกี่ยวกับกฎหมายการเลือกต้ังท่ีเก่ียวข้องกับคนพิการและการรับรู้ข้อมูลการจัดการเลือกต้ังและ
ข้อมูลผู้สมัคร แบบตรวจสอบรายการ โดยใช้การวัดแบบ ใช่ ไม่ใช่ ซึ่งการให้ค่าน้ำหนักคะแนนแต่ละข้อ
ตามลักษณะของคำถามท่ีตอบถูกและผิด คือ ตอบว่า รู้ ให้ 1 คะแนน และตอบว่า ไม่รู้ ให้ 0 คะแนน
ส่วนเกณฑ์การจัดกลุ่มคะแนนแบ่งระดับการรับรู้เก่ียวกับสิทธิในการเลือกต้ังและข้อมูลการเลือกต้ังของ
คนพิการ 3 ระดับ คือ ค่าเฉลี่ย 0.68-1.00 หมายถึง ระดับมาก ค่าเฉล่ีย 0.34-0.67 หมายถึง ระดับ
ปานกลาง และคา่ เฉลย่ี 0.00-0.33 หมายถึง ระดบั น้อย
ส่วนที่ 3 การเข้าถึงสิทธิในการเลือกตั้งของคนพิการ ลักษณะแบบสอบถามเป็นแบบตรวจสอบ
รายการ (Check - list) ใน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านข้อมูลข่าวสารการเลือกต้ัง ด้านการมีส่วนร่วมใน
กระบวนการการเลือกตั้งเลือกตั้งด้านส่ิงอำนวยความสะดวกในการเลือกตั้ง และด้านการใช้สิทธิ
ลงคะแนนเสียงเลือกตง้ั โดยใชก้ ารวดั แบบ ใช่ ไม่ใช่ ซงึ่ การให้ค่าน้ำหนกั คะแนนแตล่ ะข้อตามลกั ษณะของ
คำถามทต่ี อบถกู และผิด คือ ตอบว่า ใช่ ให้ 1 คะแนน และตอบว่า ไม่ใช่ ให้ 0 คะแนน ส่วนเกณฑ์การจัด
กลุ่มคะแนน แบ่งระดับการเข้าถึงสิทธิในการเลือกต้ังของคนพิการ 3 ระดับ โดยแบ่งค่าเฉล่ียเช่นเดียวกับ
สว่ นที่ 2
ส่วนท่ี 4 ปัญหา อุปสรรคในการเข้าถึงสิทธิในการเลือกตั้งของคนพิการ เป็นแบบสอบถาม
ปลายเปิด
ส่วนท่ี 5 ข้อเสนอแนะเก่ียวกับการเข้าถึงสิทธิในการเลือกตั้งของคนพิการ เป็นแบบสอบถาม
ปลายเปิด
วิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้นำคนพิการจากสมาคม
คนตาบอดแห่งประเทศไทย สมาคมคนหูหนวกแห่งประเทศไทย และสมาคมคนพิการแห่งประเทศไทย
รวมท้ังส้ิน 6 คน แบบเฉพาะเจาะจง โดยใช้คำถามแบบกึ่งโครงสร้างในการสัมภาษณ์ในประเด็นเกี่ยวกับ
การรับรู้ข้อมูลข่าวสารการเลือกต้ังของคนพิการ ปัจจัยท่ีส่งผลต่อการเข้าถึงสิทธิในการเลือกตั้งของ
คนพิการ 4 ด้าน คือ ด้านข้อมูลข่าวสารการเลือกตั้ง ด้านการมีส่วนร่วมในกระบวนการการเลือกตั้ง
การเลือกต้ัง ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกในการเลือกต้ัง และด้านการใช้สิทธิลงคะแนนเสียงเลือกต้ัง
รวมไปถึงปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ ในการส่งเสริมให้คนพิการเข้าถึงสิทธิในการเลือกตั้งโดยมี
หนังสอื ถึงนายกสมาคมคนพิการขอความร่วมมือมอบหมายผูน้ ำคนพิการในการให้สัมภาษณ์และนัดหมาย
การสัมภาษณ์ ทั้งน้ี จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19 (Covid-
19)
สัมมนาผลงานวิชาการระดับบณั ฑิตศึกษาสงั คมสงเคราะห์ศาสตร์และสวัสดกิ ารสังคมระดับชาติ คร้ังที่ 10 ประจำปกี ารศึกษา 2563 | 43
การสัมภาษณ์ข้อมูลจึงมีการสัมภาษณ์ ใน 2 ลักษณะ คือ การเข้าสัมภาษณ์กับผู้นำคนพิการ
โดยตรง และการโทรศัพท์สัมภาษณ์ รวมท้ังส้ินจำนวน 6 คน ในการเก็บข้อมูลมีการบันทึกเสียงหลังจาก
ได้รับอนุญาตแล้ว โดยใช้โทรศัพท์ในการบนั ทึกเสียง ใชเ้ วลาในการสัมภาษณ์ ประมาณ 1 ชวั่ โมง
ตรวจสอบคุณภาพเคร่ืองมือโดยตรวจสอบความเท่ียงตรงของเคร่ืองมือโดยนำแบบสอบถาม
(เชิงปริมาณ) และแบบสัมภาษณ์ (เชิงคุณภาพ) ที่สร้างขึ้นเสนอผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน และนำมาหา
ค่าดัชนีความสอดคล้อง (Index of Item Objective Congruence: IOC) และในส่วนของแบบสอบถาม
เชิงปริมาณได้ทำการทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างคนพิการท่ีมาใช้บริการ ณ ศูนย์บริการคนพิการจังหวัด
จำนวน 46 คน และนำมาหาค่าความเชื่อมั่น (Reliability) โดยวิธีสัมประสิทธิ์แอลฟา (Alpha
Coefficient) ได้ค่าความเช่ือม่ันการรับรู้เกี่ยวกับสิทธิในการเลือกตั้งและข้อมูลการเลือกตั้งของคนพิการ
ได้ค่าความเช่ือม่ัน เท่ากับ 0.860 และการเข้าถึงสิทธิในการเลือกตั้งของคนพิการ ได้ค่าความเช่ือมั่น
เท่ากับ 0.849
จริยธรรมการวิจัย บทความน้ีมาจากโครงการวิจัย เร่ืองการเข้าถึงสิทธิในการเลือกตั้งของ
คนพิการ (รหัส/ ID 108/2563) ได้ผ่านการรับรองโดยคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน
มหาวทิ ยาลยั ธรรมศาสตร์ สาขาสังคมศาสตร์ เลขที่ 105/2563 เม่ือวันท่ี 16 ธันวาคม 2563
การวิเคราะห์ข้อมลู
เชิงปริมาณ ใช้โปรแกรมสำเรจ็ รปู ทางสถิตเิ พ่ือการวิจัยทางสงั คมศาสตร์ โดยวิเคราะห์ข้อมลู โดย
สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) เพื่อหาค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉล่ีย
ส่วนเบ่ียงเบนมาตรฐาน เพ่ือบรรยายข้อมูลส่วนบุคคล การรับรู้ข้อมูลการเลือกต้ัง และการเข้าถึงสิทธิใน
การเลือกต้ังของคนพิการ ที่แตกต่างกัน สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ ค่า t-test และ ค่า F-test (One-way
ANOVA) เพื่อวิเคราะห์ความแตกต่างของคะแนนเฉล่ียการเข้าถึงสิทธิในการเลือกตั้งของคนพิการท่ีมี
ปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกัน พร้อมด้วยการเปรียบเทียบรายคู่ เพื่อวิเคราะห์ความแตกต่างของคะแนน
เฉลี่ยการเข้าถึงสิทธิในการเลือกตั้งของคนพิการท่ีมีปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกัน และ สถิติสัมประสิทธ์ิ
สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนเฉล่ียการเข้าถึงสิทธิในการเลือกต้ัง
ของคนพิการกับปัจจัยส่วนบุคคล และการรับรู้เก่ียวกับสิทธิในการเลือกตั้งและข้อมูลการเลือกต้ังของ
คนพกิ าร
เชิงคุณภาพ ผู้วิจัยใช้วิธีการถอดถ้อยคำจากการสัมภาษณ์เชิงลึก เพ่ือใช้ในการตีความข้อมูล
และการกำหนดประเด็นสำคัญ แล้วทำการวเิ คราะห์ขอ้ มลู เชงิ คณุ ภาพโดยการวิเคราะหเ์ นอ้ื หา
ผลการศกึ ษา
1. ข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 36-60 ปี เป็น
คนพิการทางการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกาย มีระดับการศกึ ษาชั้นประถมศึกษา อาชีพส่วนใหญ่คนพิการ
ไม่ได้ประกอบอาชีพ มีรายได้ต่อเดือน 1,001-5,000 บาท สถานภาพโสด มีสมาชิกในครอบครัว จำนวน
44 | สัมมนาผลงานวชิ าการระดับบณั ฑิตศกึ ษาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และสวสั ดกิ ารสังคมระดับชาติ คร้ังท่ี 10 ประจำปกี ารศึกษา 2563
3 คน มีภูมิลำเนาเดียวกับจังหวัดท่ีอยู่ปัจจุบัน ระยะเวลาที่เกิดความพิการ มากกว่า 15 ปี การเดินทาง
ออกจากบ้านเดินทางด้วยรถส่วนตัว ระยะทางจากบ้านถึงหน่วยเลือกตั้ง 1-4 กิโลเมตร เคยไปลงคะแนน
เสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผ้แู ทนราษฎร มากกว่า 4 คร้ัง
2. การรับรู้เกี่ยวกับสิทธิและข้อมูลการเลือกต้ังภาพรวม พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้เก่ียวกับ
สิทธแิ ละข้อมูลการเลือกตั้งของคนพิการในระดับมาก มีค่าเฉล่ียเท่ากับ .7417 และเม่ือพิจารณารายด้าน
พบว่า การรับรู้ท้ัง 2 ด้าน มคี ่าเฉลี่ยที่ใกล้เคยี งกัน ได้แก่ ด้านการรับรขู้ ้อมลู การจัดการเลือกตง้ั และข้อมูล
ผ้สู มัคร (ก่อนวันเลือกตั้ง) มีค่าเฉลีย่ .7441 และด้านการรบั รู้เก่ียวกับกฎหมายการเลือกตั้งท่ีเก่ียวข้องกับ
คนพิการ มีคา่ เฉลี่ย .7392
ตารางท่ี 1 S.D. แปลผลระดบั
ภาพรวมการรับรู้เกย่ี วกบั สิทธแิ ละขอ้ มูลการเลอื กตัง้ ของคนพิการ .32047 การรบั รู้ (ลำดบั )
.31423
การรับร้เู กยี่ วกบั สทิ ธิและข้อมูลการเลอื กตั้งของคนพิการ ̃ .29111 มาก
(2)
ดา้ นการรบั ร้เู กี่ยวกับกฎหมายการเลอื กต้งั ทเ่ี กีย่ วข้องกับ .7392 มาก
คนพิการ .7441 (1)
ด้านการรบั ร้ขู ้อมลู การจดั การเลือกต้งั และข้อมลู ผูส้ มคั ร .7417 มาก
(ก่อนวันเลือกตัง้ )
รวม
3. การเข้าถึงสิทธิในการเลือกตั้งของคนพิการภาพรวม พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีการเข้าถึงสิทธิใน
การเลือกต้ังของคนพิการ ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย .6711) หากพิจารณารายด้านเรียงลำดับจาก
ค่าเฉล่ียมากไปน้อย ดังน้ี (1) ด้านข้อมูลข่าวสารการเลือกต้ัง (2) ด้านส่ิงอำนวยความสะดวก ใน
การเลือกตั้ง (3) ด้านการใช้สิทธิลงคะแนนเสียงเลือกต้ัง และ (4) ด้านการมีส่วนร่วมในกระบวนการ
การเลือกตั้งเลอื กต้ัง
สมั มนาผลงานวชิ าการระดับบณั ฑิตศกึ ษาสงั คมสงเคราะห์ศาสตร์และสวัสดิการสังคมระดับชาติ ครั้งท่ี 10 ประจำปีการศกึ ษา 2563 | 45
ตารางที่ 2 ̃ S.D. แปลผลระดับการเข้าถงึ
ภาพรวมการเขา้ ถงึ สิทธิในการเลอื กต้งั ของคนพกิ าร (ลำดับ)
การเข้าถึงสิทธิในการเลือกต้ังของคนพิการ .19499 มาก (1)
.35586 ปานกลาง (4)
1. ด้านข้อมลู ข่าวสารการเลือกตั้ง .9013
2. ด้านการมสี ว่ นร่วมในกระบวนการ .4483 .33697 มาก (2)
การเลอื กตั้งเลือกตง้ั .29275 ปานกลาง (3)
3. ด้านสิง่ อำนวยความสะดวกในการเลือกต้งั .7317 .23533 ปานกลาง
4. ด้านการใชส้ ทิ ธิลงคะแนนเสียงเลอื กต้ัง .6497
.6711
รวม
4. ปัจจัยส่วนบุคคลท่ีมีความสัมพันธ์กับการเข้าถึงสิทธิในการเลือกต้ังของคนพิการ ได้แก่ อายุ
ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ สถานภาพครอบครัว ระยะเวลาที่เกิดความพิการ การเดินทาง ระยะทาง
จากบ้านถึงหน่วยเลือกต้ัง รวมไปถงึ การรับรู้เก่ียวกับสิทธแิ ละข้อมลู การเลือกตั้งท้ังด้านกฎหมายเก่ียวกับ
การเลือกต้ังที่เก่ียวข้องกับคนพิการและข้อมูลการจัดการเลือกต้ังและข้อมูลผู้สมัครมีความแตกต่างกัน
อย่างมนี ัยสำคัญ
5. ปัญหาอุปสรรคในการเข้าถึงสิทธิในการเลือกต้ังของคนพิการ ใน 4 ด้าน คือ ด้านข้อมูล
ข่าวสารการเลือกตั้ง พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ทราบข่าวการเลือกต้ังแต่ไม่ได้ติดตาม ด้านการมี
ส่วนร่วมในกระบวนการการเลือกตั้งการเลือกต้ัง พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ไม่ชอบเรื่องการเมืองและ
การเลือกต้ัง ด้านส่ิงอำนวยความสะดวกในการเลือกต้ัง พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ หน่วยเลือกตั้งไกล
จากบ้าน (สถานท่ีจัดการเลือกต้ังมีความเหมาะสมและสะดวกต่อการเดินทางไปใช้สิทธิเลือกต้ัง) ด้าน
การใช้สิทธิลงคะแนนเสียงเลือกต้ัง พบว่ากลุม่ ตัวอย่างส่วนใหญ่ หากไม่สามารถไปลงคะแนนเสยี งเลือกตั้ง
ไดก้ ็ไม่สามารถแจง้ เหตไุ มไ่ ปใชส้ ิทธิได้เช่นกนั
การอภิปรายผลการศึกษา
การศึกษาเรื่อง การเข้าถึงสิทธิในการเลือกตั้งของคนพิการ มีวัตถุประสงค์ เพ่ือศึกษาการเข้าถึง
สิทธิในการเลือกต้ังของคนพิการ ปัจจัยท่ีส่งผลต่อการเข้าถึงสิทธิในการเลือกต้ังของคนพิการ ปัญหา
อปุ สรรค และขอ้ เสนอแนะในการเข้าถึงสทิ ธิในการเลือกตง้ั ของคนพิการ โดยมีขอ้ มูลท่ีเปน็ ประเด็นสำคัญ
ดงั นี้
1. การเข้าถึงสิทธิในการเลือกต้ังของคนพิการ ภาพรวมกลุ่มตัวอย่างมีการเข้าถึงอยู่ในระดับ
ปานกลาง โดยมีการเข้าถึงจากมากไปหาน้อยในแต่ละด้าน ดังนี้ ด้านข้อมูลข่าวสารการเลือกตั้ง ด้าน
ส่ิงอำนวยความสะดวกในการเลือกตั้ง ด้านการใช้สิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง และด้านการมีส่วนร่วมใน
กระบวนการการเลอื กตงั้ เลือกต้งั
46 | สมั มนาผลงานวชิ าการระดบั บณั ฑิตศึกษาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และสวัสดกิ ารสังคมระดบั ชาติ คร้ังท่ี 10 ประจำปีการศึกษา 2563
1) การเข้าถึงสิทธิในการเลือกตั้งของคนพิการ ด้านข้อมูลข่าวสารการเลือกต้ัง อยู่ในระดับ
มาก ช่องทางในการรบั รู้ข้อมูลการเลือกต้ังของคนพิการ พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เข้าถึงจากช่องทาง
โทรทัศน์มากท่ีสุด รองลงมา คือ ป้ายโฆษณาตามที่ต่างๆ จากญาติและเพื่อน เฟซบุ๊ค/Line หน่วยงาน
ภาครัฐ องค์กรคนพิการผู้นำคนพิการ วิทยุ และจากเว็บไซต์ ปัญหาอุปสรรคในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร
การเลือกตั้งของคนพิการ พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ทราบข่าวการเลือกตั้งแต่ไม่ได้ติดตาม รองลงมา
คือ ไม่ทราบข่าวการเลือกต้ัง ท้ังนี้ จากการศึกษาเชิงคุณภาพ พบว่า ช่องทางท่ีคนพิการทางการเห็น
เข้าถึงข้อมูลข่าวสารการเลือกตั้ง คือ จากเพื่อนและส่ือออนไลน์โดยใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟน ผ่านช่องทาง
Line, YouTube และจากการอบรมสัมมนา ซ่ึงจะมีการอบรมให้ความรู้และพัฒนาศักยภาพคนพิการ
อย่างต่อเนื่อง ท้ังในระดับประเทศ ระดับภาค จากหน่วยงานภาครัฐ องค์กรคนพิการเอง และในส่วนของ
ป้ายประชาสัมพันธ์หรือข้อมูลของผู้สมัครและพรรคการเมือง ยังขาดส่ือประเภทอักษรเบรลล์หรือ
QR CODE สแกนเข้าถึงสื่ออิเล็กทรอนิกส์ สว่ นคนพกิ ารทางการไดย้ ินหรือส่ือความหมาย ปัญหาอุปสรรค
ที่สำคัญหลัก คือ การส่ือสารกับคนอ่ืนโดยการพูด จึงทำให้ไม่สามารถรับรู้และเข้าถึงข้อมูลได้ แต่จะรับรู้
ได้โดยการอ่าน เขียน การดูภาพ และล่ามภาษามือ และเม่ือสื่อประชาสมั พันธ์ต่างๆ เกีย่ วกับการเลอื กต้ัง
ไม่ได้จัดให้มีสื่อท่ีคนพิการสามารถรับรู้ได้ดังที่กล่าวจึงทำให้คนพิการทางการได้ยินหรือสื่อความหมาย
เขา้ ไม่ถึงข้อมลู ข่าวสารในการเลือกต้งั รวมถงึ การหาเสียงในรปู แบบการจัดเวทีหาเสยี งของพรรคการเมือง
หลายพรรคไม่มีล่ามภาษามือ ในขณะเดียวกันคนพิการทางการได้ยินหรือสื่อความหมายหลายคนจะอ่าน
ออกแต่ไม่ค่อยเข้าใจ เนื่องจากมีตัวหนังสือเยอะและเป็นภาษาราชการ สอดคล้องกบั นะโรดม อินต๊ะปัน
(2553) ท่ีพบว่า หน่วยงานภาครัฐให้การประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารไม่ทั่วถึง ทำให้คนพิการไม่ทราบ
ข้อมูลข่าวสารเก่ียวกับการเมืองและการเลือกต้ัง รวมไปถึงการให้ความรู้เร่ืองการเมืองแก่คนพิการน้อย
และให้สวัสดิการต่างๆ กับคนพิการน้อยและไม่ทั่วถึง สอดคล้องกับการศึกษาของ พรปวีณ์ มีมากบาง
(2562) พบว่า คนพกิ ารทางการเหน็ และคนพิการทางการได้ยินหรอื สอื่ ความหมายมอี ปุ สรรคในการเขา้ ถึง
ข้อมูลที่เก่ียวกับการเลือกตั้ง เช่น ข้อมูลขั้นตอน วิธีการเลือกตั้ง ข้อมูลผู้สมัครรับเลือกตั้ง นโยบายพรรค
การเมือง ผลการเลือกตั้ง เป็นต้น และสอดคล้องกับ Disabled People’s Association, Singapore
(2016) อภิปรายว่า ป้ายสัญลักษณ์ที่คนพิการสามารถรับรู้และเข้าใจข้อมูล ไม่ได้ถูกจัดไว้ในทุกหน่วย
เลือกต้ัง การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์เก่ียวกับนโยบายทางการเมืองไม่ได้นำเสนอโดยใช้ภาษามือหรือ
การแปลในรูปแบบต่างๆ ท่ีให้คนพิการเข้าใจ ทั้งยังสอดคล้องกับเจษฎา ทองขาว (2560) ที่พบว่า
การเข้าถึงสิทธิของคนพิการภายหลังจากการเลือกตั้งน้ัน พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย
การเลือกต้ังสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 มิได้มีการกำหนดให้มีมาตรการในการทำให้คนพิการ
เข้าถึงสิทธิในการรับทราบข้อมูลผลการเลือกตั้งเป็นการเฉพาะ คงมีเพียงแค่การรายงานผลการเลือกตั้ง
แบบท่ัวไป ซึ่งทำให้คนพิการบางประเภทมีอุปสรรคในการเข้าถึงข้อมูล หรือหากเข้าถึงข้อมูลได้ก็จะได้
รับทราบข้อมูลภายหลัง นอกจากนี้ยังมิได้มีการรวบรวมสถิติข้อมูลของคนพิการท่ีออกมาใช้สิทธิเลือก
ตงั้ แต่อย่างใด
สัมมนาผลงานวิชาการระดบั บณั ฑิตศกึ ษาสงั คมสงเคราะหศ์ าสตร์และสวสั ดิการสังคมระดับชาติ ครั้งที่ 10 ประจำปกี ารศึกษา 2563 | 47
2) ด้านการมีส่วนร่วมในกระบวนการการเลือกต้ังเลือกต้ัง ภาพรวมการเข้าถึงอยู่ในระดับ
ปานกลาง และปัญหาอุปสรรคของการเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการการเลือกต้ังการเลือกต้ัง พบว่า
กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ไม่ชอบเรื่องการเมืองและการเลือกต้ัง รองลงมา คือ ไม่มีโอกาสเข้าร่วมในกระบวนการ
การเลือกต้ังการเลือกตั้ง แสดงให้เห็นว่าคนพิการส่วนใหญ่ไม่สนใจเรื่องการเมืองและการเลือกตั้ง แต่ใน
ขณะเดียวกันคนพิการท่ีสนใจเรื่องการเมืองและการเลือกตั้งก็ยังขาดโอกาสในการเข้าไปมีส่วนร่วมใน
กระบวนการการเลือกตั้งเลือกตั้ง เช่น การสังเกตและตรวจสอบการเลือกตั้ง การร่วมรณรงค์การเลือกตั้งและ
ช่วยผูส้ มัครในเขตของท่านหาเสียงเลือกตั้ง ซึ่งเป็นส่งิ ที่ต้องเข้าไปร่วมกบั คนทว่ั ไป จึงทำให้คนพิการมีส่วนร่วม
เพียงการพูดคุยเกี่ยวกับการเมืองและการเลือกตั้งกับผู้อ่ืนหรือคนพิการด้วยกัน รวมถึงการพูดคุยชักชวนผู้อื่น
หรอื คนพิการดว้ ยกนั ไปใช้สิทธิเลือกต้ัง รวมไปถึงทัศนคติของสงั คมไทยหรอื แมแ้ ต่คนในครอบครัวของคนพิการ
เอง ที่มคี วามกังวลและความเปน็ ห่วงกลัวคนพิการจะลำบากหากออกจากบ้าน จึงมีการเข้าถงึ ในระดับที่ไมม่ าก
สอดคล้องกับ Irwan, Otto, and Utami (2013) ที่พบว่าอุปสรรคต่อการตระหนักถึงการมีส่วนร่วมใน
การเลือกตั้งอย่างเต็มรูปแบบสำหรับผู้มีสิทธิเลือกต้ังที่มีความพิการมีความหลากหลายและหลายมิติ
เช่น ตัวบทกฎหมาย ข้อมูลและความท้าทายในทางปฏิบัติท่ีรวมถึงกรอบของกฎหมาย การเข้าถึง
การลงทะเบียนของผู้เลือกต้ัง การศึกษาและข้อมูลของผู้เลือกตั้ง สถานที่ของหน่วยเลือกต้ัง การจัดหา
เทมเพลตอักษรเบรลล์ และทัศนคติของคนในสังคมตอ่ คนพิการ เปน็ ต้น
3) การเข้าถึงสิทธิในการเลือกต้ังของคนพิการ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกในการเลือกตั้งอยู่ใน
ระดับมาก และปัญหาอุปสรรคด้านส่ิงอำนวยความสะดวกในการเลือกต้ัง พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่
หน่วยเลือกตั้งไกลจากบ้าน รองลงมาคือ ไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ และมีส่ิงอำนวย
ความสะดวกแต่ไม่ได้มาตรฐาน ไม่เหมาะกับความพิการ สอดคล้องกับการศึกษาเชิงคุณภาพ พบว่า
สถานท่ีในการจัดการเลือกต้ังบางแห่งไม่มีส่ิงอำนวยความสะดวกหรือมีแต่ไม่เหมาะสม ไม่สามารถใช้
ประโยชน์ได้ เช่น ไม่มีทางลาด คูหาในการลงคะแนนที่รถเข็นไม่สามารถเข้าไปได้ หรือสถานท่ีจัดตั้งคูหา
และหีบบัตร จะต้องขึ้นบันได หรือบางแห่งอยู่ติดถนน พื้นไม่เรียบ ทำให้คนพิการทางการเคลื่อนไหวหรือ
ทางร่างกายโดยเฉพาะคนที่ใช้รถเข็น และคนพิการทางการเห็นมีความลำบาก บัตรทาบและคลิปหนีบ
ป้องกันการเคล่ือนสำหรับคนพิการทางการเห็นบางแห่งมีแต่บางแห่งไม่มี และในส่วนของกรรมการ
ประจำหน่วยเลือกต้ังบางคนไม่มีความรู้เก่ียวกับวิธีการอำนวยความสะดวกให้กับคนพิการ หรือการให้
ความช่วยเหลือที่ถูกต้อง สอดคล้องกับ เจษฎา ทองขาว (2560) ที่ได้อภิปรายเก่ียวกับพระราชบัญญัติ
ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกต้ังสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 ไว้ว่า กฎหมายฉบับน้ี
ม่งุ เน้นแตเ่ ฉพาะการฝกึ อบรมในเรื่องการจัดการเลือกตัง้ ทว่ั ไปให้แก่กรรมการประจำหนว่ ยเลือกต้ังเท่านั้น
สง่ ผลให้กรรมการประจำหน่วยเลอื กตั้งจำนวนมากไม่ทราบถึงแนวทางในการอำนวยความสะดวกหรือให้
ความช่วยเหลือในการลงคะแนนเสียงเลือกต้ังใหแ้ ก่คนพิการ ทั้งน้ี การศึกษายังพบว่าคนพิการไมต่ ้องการ
ให้มีหน่วยเลือกต้ังพิเศษหรือหน่วยเลือกต้ังล่วงหน้าสำหรับคนพิการ แต่ขอให้มีช่องทางพิเศษและมี
การจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกให้เหมาะกับคนพิการในหน่วยเลือกตั้งปกติ ซึ่งคนพิการต้องการไป
เลือกตั้งพร้อมกับคนในครอบครัว สอดคล้องกับการศึกษาของ สาวิตรี รัตนชูโชติ (2552) ที่พบว่าด้าน
48 | สมั มนาผลงานวชิ าการระดับบณั ฑติ ศึกษาสังคมสงเคราะห์ศาสตรแ์ ละสวสั ดกิ ารสงั คมระดบั ชาติ ครัง้ ท่ี 10 ประจำปกี ารศกึ ษา 2563
สิ่งอำนวยความสะดวกทางกายภาพ ทางลาดขึ้น-ลง ห้องน้ำ วีลแชร์/รถเข็น มีแนวโน้มให้คนพิการ
สามารถเข้าถึงสิทธิของคนพิการมากกว่าสถานท่ีท่ีไม่มีส่ิงอำนวยความสะดวก และสอดคล้องกับ ปนัดดา
จันทร์โชติญาน (2559) อภิปรายว่าท่ีผ่านมาไม่มีส่ิงอำนวยความสะดวกที่เหมาะสมสำหรับคนพิการ
เพื่อให้คนพิการสามารถเดินทางไปใช้สิทธิเลือกต้ังได้ และไม่เห็นความสำคัญในการปรับสภาพแวดล้อม
ของหน่วยให้เหมาะสม โดยเห็นว่าเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณ รวมถึงการศึกษาของ Disabled
People’s Association, Singapore (2016) ได้อธิบายถึงอุปสรรคของคนพิการในการเข้าไปใช้สิทธิ
เลือกตั้งอันเป็นสิทธิพ้ืนฐาน ไม่ว่าจะเป็นการขาดความตระหนักเก่ียวกับสิทธิในการออกเสียงลงคะแนน
การไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลที่เกี่ยวกับการเลือกตั้ง อุปสรรคด้านกายภาพของสถานที่เลือกต้ัง ดังนั้น
คนพิการอาจมโี อกาสลงคะแนนเสยี งนอ้ ยกว่าหรือออกจากกระบวนการการเลือกต้งั การลงคะแนนดว้ ย
4) การเข้าถึงสิทธิในการเลือกตั้งของคนพิการ ด้านการใช้สิทธิลงคะแนนเสียง อยู่ในระดับ
ปานกลาง โดยมีการเข้าถึงเรียงลำดับจากมากไปน้อย ปัญหาอุปสรรคด้านการใช้สิทธิลงคะแนนเสียง
เลือกตั้ง พบว่า หากไม่สามารถไปลงคะแนนก็จะไม่สามารถไปแจ้งเหตุไม่ไปใช้สิทธิได้เช่นกัน รองลงมา
คือ ไม่สามารถเดินทางไปเลือกตั้งได้ และไม่สามารถทำเครื่องหมายกากบาทด้วยตนเองได้ แต่ไม่ต้องการ
ให้คนอ่ืนลงให้ สอดคล้องกับการศึกษาเชิงคุณภาพ ท่ีพบว่าคนพิการทางการเห็นต้องการกากบาทด้วย
ตนเองและม่นั ใจว่ากากบาทถูก แต่ถ้าจะให้คนอ่ืนช่วยกาก็อยากให้เป็นคนในครอบครัวหรือญาติท่ีไปด้วย
ในขณะเดียวกันก็มีความกังวลเก่ียวกับการกาของบุคคลอ่ืนในการกาแทน คนพิการทางการได้ยินหรือ
สื่อความหมายสามารถเดินทางไปและลงคะแนนได้ ในคูหาเลือกตั้งไม่มีล่ามภาษามือ หรือเจ้าหน้าที่
ที่สามารถสื่อสารกับคนพิการทางการได้ยินหรือส่ือความหมายได้ รวมไปถึงไม่มีส่ือภาพอธิบายขั้นตอน
วิธีการใช้สิทธิเลือกตั้ง และการไปใช้สิทธิของคนพิการทางการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกาย บางคน
ไม่สามารถเดินทางไปเลือกต้ังได้ โดยเฉพาะคนพิการที่ต้องใช้รถเข็นและคนพิการรุนแรง คนติดเตียงที่
ตอ้ งมีผชู้ ่วย และมีค่าใช้จ่ายในการเดินทางเพิ่มขึ้น ซงึ่ หากไมม่ ีรถส่วนตวั หรือญาตพิ ามา คนพิการต้องเสีย
ค่าใช้จ่ายในการเหมารถหรือจ้างรถไป รวมไปถึงความกังวลและความเป็นห่วงของครอบครัวท่ีกลัว
คนพิการจะลำบาก และเม่ือมาถึงหน่วยเลือกตั้งการลงคะแนนเสียงเลือกต้ังตามพระราชบัญญัติประกอบ
รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561 มาตรา 92 สามารถให้บุคคลท่ีไว้วางใจสามารถเข้าคูหากับคนพิการได้ แต่บาง
หน่วยเลือกต้ังเจ้าหน้าที่ไม่เข้าใจ ไม่อนุญาตบุคคลที่คนพิการร้องขอเข้าไป โดยเจ้าหน้าท่ีมาเป็น
คนดำเนินการให้ความชว่ ยเหลือเอง ท้ังนี้ ในสว่ นของคนพิการทางการเคล่ือนไหวหรอื ทางร่างกายในกลุ่ม
ที่ติดเตียง จะเป็นกลุ่มที่เข้าไม่ถึงสิทธิในการเลือกตั้ง เนื่องจากไม่สามารถไปเลือกต้ังได้ และญาติไม่ได้
ใหค้ วามสำคัญกับการพาคนพิการไปใช้สิทธเิ ลือกตง้ั เน่ืองจากมีความลำบากในการพาคนพิการไป จึงต้อง
มีการเลือกตั้งสำหรับคนพิการกลุ่มน้ี เช่น การเลือกต้ังที่บ้าน โดยผู้นำคนพิการเห็นว่าสามารถทำได้โดย
การแก้กฎหมายและในขณะเดียวกันก็ไม่ได้ให้ความสำคัญกับการแจ้งเหตุที่ไม่อาจไปเลือกตั้งได้
สอดคลอ้ งกับ ปนัดดา จันทร์โชติญาน (2559) อภิปรายว่า การเขา้ ถึงสทิ ธใิ นการมสี ่วนร่วมในการเลอื กตั้ง
ของคนพิการที่ผ่านมาไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกที่เหมาะสมสำหรับคนพิการเพื่อให้คนพิการสามารถ
เดินทางไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้ และการเข้าคูหา การกากบาทบัตรเลือกต้ัง การหย่อนบัตรเลือกต้ัง
สัมมนาผลงานวชิ าการระดบั บัณฑิตศกึ ษาสังคมสงเคราะหศ์ าสตรแ์ ละสวสั ดิการสังคมระดับชาติ ครั้งท่ี 10 ประจำปีการศกึ ษา 2563 | 49
การได้รับข้อมูลข่าวสาร รวมถึงเจา้ หนา้ ที่ หรือ กรรมการการเลือกต้งั ประจำหน่วย (กปน.) บางคนไม่รวู้ ิธี
ปฏิบัติต่อคนพิการในแต่ละประเภทความพิการ และสอดคล้องกับ พรเทพ เตียเจริญวรรธน์ (2563) ได้
อภิปรายไว้ว่า หน่วยงานที่ควรทำหน้าท่ีในการอำนวยความสะดวกในการใช้สิทธิเลือกตั้งของคนพิการ
ไดแ้ ก่ สำนักงานคณะกรรมการเลอื กต้งั (กกต.) และองค์กรปกครองสว่ นท้องถิน่ ทีค่ นพกิ ารอาศยั อยูใ่ นเขต
พ้ืนที่โดยวิธีการอำนวยความสะดวกในการใช้สิทธิเลือกตั้ง เห็นควรจัดหน่วยเลือกต้ังเคล่ือนที่ในกรณี
คนพิการติดเตียง หรือคนพิการท่ีมีความประสงค์จะเลือกตั้งจากหน่วยเลือกตั้งเคล่ือนท่ีและสำหรับ
รูปแบบการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งสำหรบั คนพิการควรใหน้ ำรูปแบบการลงคะแนนเสียงเลือกต้ังทีม่ ีความ
เหมาะสมสำหรับคนพิการเพื่อช่วยให้คนพิการใชส้ ทิ ธิการลงคะแนนไดโ้ ดยสะดวก เช่น การลงคะแนนทาง
ไปรษณีย์ การลงคะแนนเสยี งแบบอิเลก็ ทรอนกิ ส์ หรือวิธกี ารอ่นื ท่เี หมาะสมกับสภาพความพกิ าร
2. ปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อการเข้าถึงสิทธิในการเลือกต้ังของคนพิการ ได้แก่ อายุ ระดับ
การศึกษา อาชีพ รายได้ สถานภาพครอบครัว ระยะเวลาท่ีเกิดความพิการ มีความแตกต่างทางสถิติที่
0.01 ส่วนการเดินทาง และระยะทางจากบ้านถึงหน่วยเลือกตั้ง มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญท่ี
0.05 สว่ นปัจจยั ส่วนบุคคลของคนพิการในเรื่อง เพศ ประเภทความพิการ สมาชิกในครอบครวั ภูมิลำเนา
และจำนวนครั้งท่ีเคยไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ไม่มีความแตกต่างทางสถิติ และสอดคล้องกับการศึกษา
เชงิ คณุ ภาพท่พี บว่า คนพิการทางการได้ยนิ หรอื ส่อื ความหมายทไ่ี มไ่ ด้เรียนหนังสือ ทำให้อ่านไม่ออกเขียน
ไม่ได้รวมถึงไม่ได้เรียนภาษามือ และไม่สามารถสื่อสารกับผู้อื่นและเข้าถึงข้อมูลเก่ียวกับการเลือกต้ังได้
อาชีพ พบว่า คนพิการที่ทำงานในหน่วยงานต่างๆ หรือคนพิการที่มีงานทำ จะเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับ
การเลอื กตั้ง ไดม้ ากกว่าคนพิการท่ีอยู่ในชมุ ชน สถานภาพครอบครัว พบวา่ บุคคลในครอบครวั เป็นปัจจัย
หน่ึงที่ทำให้คนพิการเข้าถึงสิทธิในการเลือกตั้ง เนื่องจากเป็นบุคคลใกล้ชิดและคนพิการให้ความไว้ใจ
รวมถึงเรื่องการเดินทางที่คนในครอบครัว จะเป็นคนพาคนพิการมาใช้สิทธิเลือกตั้งด้วย เช่น คนพิการ
ทางการเห็นเดินทางคนเดียวไม่สะดวก และไม่คุ้นเคยกับสถานที่จัดการเลือกต้ัง คนพิการทางการได้ยิน
หรือส่ือความหมายอาศัยบุคคลในครอบครวั ในการอธิบายวิธีการ ขั้นตอนในการลงคะแนน และคนพิการ
ทางการเคล่ือนไหวหรือทางร่างกาย บางคนทตี่ ้องมีผชู้ ่วยเหลือในการเดินทาง ซ่ึงกจ็ ะเป็นคนในครอบครัว
หรือญาติ ซึ่งหากเป็นคนในครอบครัวหรือญาติ ไม่ไปเลือกต้ังคนพิการก็จะไม่ได้ไปด้วย สอดคล้องกับ
การศึกษาของ อิทธ์ิณณัฎฐ์ หงส์ชูเวช (2556) ที่พบว่า อายุ ระดับการศึกษา อาชีพและรายได้
มคี วามสมั พันธ์ต่อการตดั สนิ ใจเลอื กตัง้ ฯ อยา่ งมีนัยสำคญั ทางสถิตทิ รี่ ะดับ 0.05
3. การรับรู้เกี่ยวกับสิทธิและข้อมูลการเลือกต้ังของคนพิการ การรับรู้เก่ียวกับกฎหมาย
การเลอื กตั้งภาพรวมกลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้อยู่ในระดบั มาก โดยกล่มุ ตวั อยา่ งส่วนใหญ่จะรู้เก่ียวกับขอ้ มูล
กฎหมายพื้นฐานท่ีเคยมีการกำหนดไว้ในการเลือกต้ังที่ผ่านมา และจะไม่ค่อยรู้เก่ียวกับข้อกฎหมายที่
กำหนดขึ้นมาเพ่ิมเติม แสดงให้เห็นว่าการรับรู้ข้อมูลกฎหมายเก่ียวกับการเลือกต้ังหรือข้อบัญญัติที่เพ่ิม
ใหม่ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561
เก่ียวกบั การอำนวยความสะดวกให้แก่คนพิการและผู้สูงอายุ ในมาตรา 92 เพ่ืออำนวยความสะดวกให้แก่
คนพิการหรือทุพพลภาพ หรือผู้สูงอายุ ในการออกเสียงลงคะแนน คนพิการยังมีการรับรู้ไม่ดีเท่าท่ีควร
50 | สมั มนาผลงานวชิ าการระดบั บัณฑติ ศกึ ษาสงั คมสงเคราะหศ์ าสตร์และสวสั ดกิ ารสงั คมระดับชาติ ครงั้ ที่ 10 ประจำปีการศกึ ษา 2563
และไม่ได้มีการแจ้งเหตุฯ สอดคล้องกับการศึกษาเชิงคุณภาพ ท่ีพบว่า การรับรู้เกี่ยวกับการให้
ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกให้กับคนพิการในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ตามมาตรา 92
พบว่าพิการทางการเห็น ยังไม่เข้าใจและมีความสับสนเกี่ยวกับวิธีการปฏิบัติ รวมถึงเจ้าหน้าที่ประจำ
หน่วยเลือกตัง้ เองด้วย ในขณะเดยี วกันการแจ้งเหตทุ ่ีไม่อาจไปเลอื กต้ังคนพิการสว่ นใหญ่จะไมร่ ูว้ ่าตอ้ งแจ้ง
และไม่รู้ว่าสิทธิท่ีถูกจำกัดมีอะไรบ้าง ท้ังน้ี ในส่วนของคนพิการที่รู้ ส่วนหน่ึงจะไม่รู้ว่าต้องแจ้งที่ไหน
แจ้งอย่างไร จึงไม่ได้ทำการแจ้งเหตุท่ีไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้ง แต่จะรู้ว่าหากมีการเลือกตั้งคร้ังต่อไปแล้ว
ไปเลอื กตั้ง สทิ ธนิ น้ั จะกลบั มา
ตารางวิเคราะห์ความสมั พันธ์ระหวา่ งคะแนนเฉลยี่ การเข้าถึงสิทธใิ นการเลือกต้ังของคนพิการกับ
การรับรู้เก่ียวกับสิทธิในการเลือกตั้งและข้อมูลการเลือกต้ังของคนพิการ โดยใช้สถิติสัมประสิทธิ์
สหสมั พันธ์ของเพียร์สนั
ปัจจยั สว่ นบุคคล การเข้าถงึ สิทธใิ นการเลือกตั้งของคนพิการ
(การรบั ร้)ู r P - value
การรบั รเู้ กีย่ วกบั สทิ ธแิ ละข้อมูลการเลือกต้ัง .676 <0.01**
- กฎหมายเกี่ยวกับการเลอื กตั้ง .596 <0.01**
- ข้อมลู เกยี่ วกบั การจัดการเลือกต้ังฯ .645 <0.01**
*p < 0.05 , **p < 0.01
บทสรุป
การเข้าถึงสิทธิในการเลือกตั้งของคนพิการ ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีการเข้าถึงสิทธิ
แต่ละด้านจากมากไปหาน้อย ดังน้ี ด้านข้อมูลข่าวสารการเลือกต้ัง (ระดับมาก) ด้านสิ่งอำนวยความ
สะดวกในการเลือกตั้ง (ระดับมาก) ด้านการใช้สิทธิลงคะแนนเสียงเลือกต้ัง (ระดับปานกลาง) และด้าน
การมีส่วนร่วมในกระบวนการการเลือกตั้งเลือกตั้ง (ระดับปานกลาง) โดยปัจจัยที่ส่งผลการเข้าถึงสิทธิใน
การเลือกตั้งของคนพิการ คือ ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ สถานภาพ
ครอบครัว ระยะเวลาที่เกิดความพิการ มีความแตกต่างทางสถิติที่ 0.01 ส่วนการเดินทาง และระยะทาง
จากบ้านถึงหน่วยเลือกตง้ั มีความแตกต่างกันอย่างมนี ัยสำคัญที่ 0.05 และปจั จัยด้านการการรบั รู้เกี่ยวกับ
สทิ ธิและข้อมูลการเลือกตั้งของคนพิการ พบวา่ การรับร้เู กี่ยวกบั สิทธแิ ละข้อมลู การเลือกต้งั ของคนพิการ
มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการเข้าถึงสิทธิในการเลือกต้ังของคนพิการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01
ท้ังน้ี ในส่วนของระดับรับรู้เกี่ยวกับสทิ ธิและข้อมูลการเลือกตั้งของคนพิการภาพรวม พบว่า กล่มุ ตัวอย่าง
มกี ารรบั รู้เกยี่ วกับสิทธแิ ละขอ้ มูลการเลอื กตั้งของคนพกิ ารในระดบั มาก และมีค่าเฉลี่ยท่ใี กลเ้ คียงกันโดยมี
การรับรู้ข้อมูลการจัดการเลือกต้ังและข้อมูลผู้สมัคร (ก่อนวันเลือกต้ัง) มากกว่าการรับรู้เกี่ยวกับกฎหมาย
การเลือกต้ังที่เก่ียวข้องกับคนพิการ และปัญหาอุปสรรคที่ทำให้คนพิการเข้าไม่ถึงการเลือกต้ัง ได้แก่
สัมมนาผลงานวชิ าการระดบั บณั ฑิตศกึ ษาสังคมสงเคราะหศ์ าสตรแ์ ละสวสั ดกิ ารสังคมระดับชาติ ครั้งที่ 10 ประจำปกี ารศกึ ษา 2563 | 51
ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการเลือกตั้งมีการผลิตส่ือสำหรับคนพิการน้อยและไม่ท่ัวถึง โดยเฉพาะคนพิการ
ทางการเห็นและพิการทางการได้ยินหรือส่ือความหมาย และส่ิงอำนวยความสะดวกที่คนพิการ
ไมเ่ หมาะสม รวมถงึ การไมเ่ ปดิ โอกาสให้คนพิการเข้าไปมสี ่วนรว่ มในกระบวนการการเลือกต้ัง
ข้อเสนอแนะที่ไดจ้ ากผลการศึกษา
จากการศึกษาเรือ่ งการเขา้ ถึงสทิ ธิในการเลอื กต้ังของคนพิการ ผู้ศึกษามขี อ้ เสนอแนะ ดังน้ี
1. การจัดทำสื่อในรูปแบบที่เหมาะสมสำหรับคนพิการในแต่ละประเภทความพิการ หรือส่ือที่
คนทุกคนเข้าถึงได้ เช่น วิดีโออธิบายขั้นตอนและวิธีการเลือกต้ังท่ีมีทั้งภาพ เสียง ข้อความบรรยายแทน
เสียง และล่ามภาษามือในการแปลไปพร้อมๆ กัน และสื่อประชาสัมพันธ์ควรใช้ภาษาที่ง่าย กระชับ
ได้ใจความ ไม่เป็นภาษากฎหมายมากเกินไปและหลากหลายช่องทาง ควรมี QR CODE ให้คนพิการ
สามารถสแกนเพ่ือเข้าถึงสอ่ื วิดีโอหรอื สอ่ื ที่คนพิการเข้าถึงได้
2. การจัดเวทีปราศรัยหาเสียงเลือกต้ังตามสถานท่ีต่างๆ หรือทางสื่อโทรทัศน์ การถ่ายทอดสด
ออนไลน์ ควรมีล่ามภาษามือและคำบรรยายแทนเสียง เพื่อให้คนพิการทางการได้ยินหรือส่ือความหมาย
เข้าใจและรับรู้ด้วย โดย กกต. อาจกำหนดเพ่ิมเติมในเง่ือนไขประกอบการแจ้งการหาเสียงของพรรค
การเมืองหรอื ผู้สมคั ร ให้มลี ่ามภาษามอื ทุกครง้ั
3. ควรใช้แนวคิดการออกแบบเพ่ือทุกคนมาใช้ในการคัดเลือกและการจัดสถานที่ในการเลือกตั้ง
และการจัดส่ิงอำนวยความสะดวกและอุปกรณ์ช่วยเหลือในการลงคะแนนเสียงเลือกต้ัง และจัดให้มีบัตร
ทาบและคลิปหนีบเพื่อป้องกันการเคลื่อนระหว่างการกา อักษรเบรลล์ หรือส่ือเสียง สำหรับคนพิการ
ทางการเห็น การจัดให้มีวิดีโอพร้อมคำบรรยายแทนเสียง หรือสื่อภาพง่ายๆ สำหรับคนพิการทางการได้
ยินหรือสื่อความหมาย และควรมีโต๊ะวางคูหาหรือจัดให้มีคูหาในการลงคะแนนที่เหมาะสม สามารถนำ
รถเข็นเข้าไปได้ด้วยตนเองสำหรับคนพิการทางการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกาย และเป็นมาตรฐาน
เดียวกันในทุกหนว่ ยเลือกตงั้ และการเลอื กตั้งในทุกระดบั
4. เจ้าหน้าที่ประจำหน่วยเลือกต้ังควรมีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการอำนวยความสะดวกสำหรับ
คนพิการ และการเตรียมอุปกรณ์ช่วยคนพิการลงคะแนน หรือกำหนดให้ผู้ช่วยคนพิการท่ีผ่านการอบรม
หลักสูตรผู้ช่วยคนพิการ หรือบุคคลท่ีมีความรู้และประสบการณ์ท่ีเกี่ยวข้องหรือล่ามภาษามือ ร่วมเป็น
คณะกรรมการประจำหนว่ ยเลือกตั้ง
5. เสริมสร้างเจตคติที่ดีต่อคนพิการ และส่งเสริมให้ครอบครัว ชุมชน สังคม มองคนพิการเป็น
พลเมืองไทยที่มีสิทธิในการเลือกตั้ง และนำพาคนพิการออกมาใช้สิทธิเลือกตั้งโดยเฉพาะครอบครัวหรือ
ผู้ดูแลคนพิการ ท่ีเป็นปัจจัยสำคัญในการพาคนพิการท่ีมีข้อจำกัดในการเดินทางด้วยตนเองในการมา
ลงคะแนนเสียงเลือกต้ัง ซ่ึงโดยปกติผู้ดูแลหรือคนในครอบครัวก็จะเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งในหน่วยเลือกตั้ง
เดยี วกับคนพิการอยูแ่ ล้ว
52 | สัมมนาผลงานวชิ าการระดบั บัณฑิตศึกษาสงั คมสงเคราะห์ศาสตรแ์ ละสวสั ดิการสงั คมระดบั ชาติ ครงั้ ที่ 10 ประจำปกี ารศกึ ษา 2563
6. ควรมีการกำหนดให้มีการเลือกตั้งที่บ้านสำหรับคนพิการทางการเคล่ือนไหวหรือทาง
รา่ งกายท่ีพิการติดเตียง และไม่สามารถเดินทางมาใช้สิทธิเลือกต้ังได้ ในรูปแบบออนไลน์ ท้ังน้ี ให้ถือเป็น
การออกเสยี งลงคะแนนโดยตรงและลบั
7. ควรมีการแจ้งวิธีการ ขั้นตอนการแจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้ แนบมาพร้อม
หนังสือแจ้งสิทธิการเลือกต้ังรายครัวเรือน และการแจ้งผ่านช่องทางออนไลน์ หรือ Application Smart
Vote
8. ควรมีการรวบรวมสถติ ขิ อ้ มูลของคนพิการที่ออกมาใชส้ ิทธเิ ลือกต้งั ในแตล่ ะคร้ัง
รายการอ้างอิง
กติ ติยา ใสสอาด. (2552). การส่งเสรมิ การเข้าถงึ บรกิ ารสวัสดิการสําหรบคนพิการในจังหวัดพษิ ณุโลก
ตามพระราชบญั ญตั สิ ง่ เสริมและพัฒนาคุณภาพชวี ิตคนพิการ พ.ศ. 2550. (วทิ ยานิพนธ์ปริญญา
มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลยั ธรรมศาสตร์, คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร,์ ภาควิชาสงั คมสงเคราะห์
ศาสตร์, สาขาการบริหารและนโยบายสวัสดิการสังคม.
เจษฎา ทองขาว. (2562). มาตรการทางกฎหมายเกีย่ วกบั การเลือกต้ัง ตามพระราชบัญญัตปิ ระกอบ
รฐั ธรรมนญู ว่าด้วยการเลือกต้ังสมาชกิ สภาผ้แู ทนราษฎร พ.ศ. 2561. (วทิ ยานิพนธป์ ริญญา
มหาบณั ฑติ ). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะนติ ศิ าสตร์.
นะโรดม อนิ ต๊ะปนั . (2553). โอกาสของคนพิการในการมสี ่วนร่วมทางการเมืองในจังหวดั เชียงใหม่.
(วทิ ยานพิ นธ์ปริญญามหาบณั ฑติ ). มหาวิทยาลัยเชียงใหม,่ บณั ฑติ วทิ ยาลยั .
ปนดั ดา จันทร์โชติญาน. (2559). ขอ้ เสนอเชงิ นโยบายในการพฒั นาหลกั เกณฑ์และวิธกี ารลงคะแนน
เลอื กตัง้ ฯ หนว่ ยเลอื กตั้งสำหรบั คนพกิ าร. (การค้นคว้าอสิ ระปริญญามหาบัณฑติ ).
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะรัฐศาสตร,์ สาขาวิชาการเมืองการปกครอง.
พรเทพ เตยี เจรญิ วรรธน์. (2563). กฎหมายต้นแบบเพ่ือการค้มุ ครองสทิ ธคิ นพิการ. กรงุ เทพฯ:
มหาวิทยาลยั ศรีปทุม.
พรปวีณ์ มมี ากบาง. (2562). ปัญหาการใชส้ ิทธสิ ิทธขิ องคนพกิ ารในประเทศไทย. (วทิ ยานิพนธ์ปรญิ ญา
มหาบัณฑติ ). มหาวิทยาลยั ธรรมศาสตร์, คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร,์ ภาควชิ าสงั คมสงเคราะห์
ศาสตร์.
พระราชบัญญัติประกอบรฐั ธรรมนญู วา่ ดว้ ยการเลอื กตัง้ สมาชกิ สภาผแู้ ทนราษฎร พ.ศ. 2561
(เล่มท่ี 135 ตอนที่ 68 ก). (2561). ราชกจิ จานุเบกษา.
รฐั ธรรมนูญแหง่ ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 (เลม่ ที่ 134 ตอนที่ 40ก). (2560).
ราชกจิ จานุเบกษา.
ริญญารัตน์ กติ ิพฒั น์ธนโชต.ิ (2554). การรับรู้ของผูด้ ูแลคนพิการเกยี่ วกบั สทิ ธิคนพิการและสทิ ธิผูด้ ูแล
คนพิการ. (วิทยานิพนธ์ปรญิ ญามหาบณั ฑติ ). มหาวทิ ยาลัยธรรมศาสตร์, คณะสังคมสงเคราะห์
ศาสตร์, ภาควิชาสังคมสงเคราะหศ์ าสตร์, สาขาการบริหารและนโยบายสวัสดิการสังคม.
สมั มนาผลงานวิชาการระดบั บัณฑิตศึกษาสงั คมสงเคราะหศ์ าสตร์และสวัสดกิ ารสงั คมระดบั ชาติ ครั้งท่ี 10 ประจำปกี ารศกึ ษา 2563 | 53
สาวิตรี รัตนชูโชต.ิ (2552). การเขา้ ถึงสทิ ธขิ องคนพิการตามพระราชบญั ญัติสง่ เสริมและพฒั นาคุณภาพ
ชีวิตคนพกิ าร พ.ศ. 2550. (ภาคนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). สถาบนั บณั ฑิตพฒั นบรหิ ารศาสตร์,
คณะพัฒนาสังคม.
อนล ศรีสำราญ. (2559). การเขา้ ถึงสิทธิของคนพิการ ในเขตเทศบาลนครอ้อมน้อย. (สารนิพนธ์ปรญิ ญา
มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลยั ธรรมศาสตร์, คณะสังคมสงเคราะหศ์ าสตร์, ภาควชิ าสงั คมสงเคราะห์
ศาสตร์, สาขาการบริหารและนโยบายสวัสดิการสงั คม.
อทิ ธ์ณิ ณฎั ฐ์ หงส์ชูเวช. (2556). ปัจจัยทีม่ ผี ลตอ่ การตัดสินใจเลอื กต้ังสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร:
ศึกษากรณีประชาชนกรงุ เทพมหานครในการเลอื กตง้ั ทวั่ ไป. วนั ที่ 2 กมุ ภาพนั ธ์ 2557.
Disabled People’s Association, Singapore. (2016). Achieving Inclusion in Electoral
Process: Meeting.
Irwan, Otto, and Utami. (2013). Accessible Elections for Persons with Disabilities in Five
Southeast Asian Countries. Jakarta Indonesia: The Center for Election Access of
Citizens with Disabilities (PPUA Penca).
The International Foundation for Electoral Systems: IFES. (2014). Disability Rights and
Election Observation: Increasing Access.
54 | สมั มนาผลงานวิชาการระดบั บณั ฑติ ศกึ ษาสังคมสงเคราะหศ์ าสตร์และสวสั ดกิ ารสงั คมระดับชาติ คร้งั ที่ 10 ประจำปกี ารศกึ ษา 2563
การปรบั ตัวและปจั จัยทสี่ มั พนั ธก์ บั การปรบั ตวั ของผู้อปุ การะเด็กแบบครอบครวั อปุ ถมั ภ์
ของสำนกั งานพฒั นาสงั คมและความมัน่ คงของมนษุ ย์จังหวดั นครนายก
Adaptation and Factors Related to Foster Family Adaptation in the
Nakhon Nayok Provincial Social Development and Human
Security Center Foster Care System
กมลทิพย์ พิพธิ กลุ 1 และ ผศ.ดร. มาดี ล่มิ สกลุ 2
Kamolthip Pipitkul3 and Asst. Prof. Madee Limsakul, Ph.D.4
Abstract
This research studies adaptation and related factors of foster family services at
the Nakhon Nayok Provincial Social Development and Human Security Center.
Qualitative research was done with data collected by structured interview. Samples
were 10 foster parents with at least five years of foster care experience. Results were
that foster parents adapted well in four categories: physical well-being, self-image,
society, and interdependence. Self-adjustment was the most important aspect and
influenced most other adjustments as it was related to internal security of users. These
categories were associated with personal factors for foster parents, including adoptee-
related matters, family concerns, and social support from family members and others in
a system including neighbors, community members, employers, and other agents. The
most important factor related to adaptation to foster families was perceived social
support. Important recommendations included that family, kinship, and individuals in
the social support system should encourage adaptation of the sponsor. Emphasis is
placed on social support needed to adjust and raise children. Foster families should be
prepared for adopting a child beforehand and closely monitored during the first six
months by working cooperatively with local networks, including community leaders and
area social development and human security volunteers, the Village Health Volunteer
local government organization and nearby subdistrict health promotion hospitals on
different social support aspects from the beginning of adoption to boost adaptation.
This will ensure that adoptive families may securely raise foster children over the long term.
Keywords: Adaptation, foster parents, factors related to adaption of foster families.
1 นกั ศกึ ษาปริญญาโทหลกั สตู รสงั คมสงเคราะหศ์ าสตรมหาบณั ฑิต คณะสังคมสงเคราะหศ์ าสตร์ มหาวทิ ยาลัยธรรมศาสตร์
2 อาจารย์ประจำคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลยั ธรรมศาสตร์
3 Master of Social Work, Faculty of Social Work, Thammasat University
4 Lecturer, Faculty of social Administration, Thammasat University, Thailand
สมั มนาผลงานวชิ าการระดับบัณฑิตศึกษาสงั คมสงเคราะห์ศาสตรแ์ ละสวัสดกิ ารสงั คมระดับชาติ คร้ังที่ 10 ประจำปกี ารศึกษา 2563 | 55
บทคดั ยอ่
การศึกษาครั้งน้ีมีวัตถุประสงค์เพ่ือศึกษาการปรับตัวและปัจจัยท่ีสัมพันธ์กับการปรับตัวของ
ผู้อุปการะเด็กแบบครอบครัวอุปถัมภ์ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวมรวมข้อมูลด้วยแบบ
สัมภาษณ์อย่างมีโครงสร้าง ผู้มีส่วนร่วมในการวิจัย คือ ผู้อุปการะเด็กแบบครอบครัวอุปถัมภ์ที่ให้
การอุปการะเด็กมาแล้วมากกว่า 5 ปี และเป็นผู้ใช้บริการของสำนักงานพัฒนาสังคมและความม่ันคงของ
มนุษย์จังหวัดนครนายก จำนวน 10 กรณี ผลการศึกษา พบว่า ผู้อุปการะสามารถปรับตัวในการรับ
อุปการะเด็กได้ดีครอบคลุมทั้งด้านร่างกาย ด้านอัตมโนทัศน์ ด้านสังคม และด้านการพ่ึงพาระหว่างกัน
โดยการปรับตัวด้านอัตมโนทัศน์เป็นด้านที่สำคัญและมีอิทธิพลต่อการปรับตัวด้านอื่น ๆ มากท่ีสุด
เนื่องจากเกี่ยวข้องกับความม่ันคงภายในของผู้อุปการะ ท้ังนี้ การปรับตัวท้ัง 4 ด้าน มีความสัมพันธ์กับ
ปจั จัยสว่ นบคุ คลของผู้อุปการะ ปัจจัยด้านเดก็ ปัจจยั ภายในครอบครัว และปัจจัยการสนับสนุนทางสังคม
จากบุคคลในสังคม ประกอบด้วย บุคคลในครอบครัวและเครือญาติ และบุคคลในระบบสนับสนุนทาง
สังคม ได้แก่ เพื่อนบ้าน คนในชุมชน นายจ้าง เจ้าหน้าท่ีหน่วยงานต่างๆ โดยปัจจัยสำคัญท่ีมีอิทธิพลต่อ
การปรับตัวของผู้อุปการะมากที่สุด คือ การได้รับการสนับสนุนทางสังคม ข้อเสนอแนะที่สำคัญ ได้แก่
ครอบครัวและเครือญาติ และบุคคลในระบบสนับสนุนทางสังคม ควรสนับสนุนการปรับตัวของผู้อุปการะ
โดยเน้นการสนับสนุนทางสังคมท่จี ำเป็นต่อการปรบั ตวั และการเล้ยี งดูเด็ก ควรเตรียมความพร้อมครอบครัว
กอ่ นรับอุปการะเด็กแบบครอบครัวอุปถัมภ์ และติดตามอย่างใกล้ชิดในช่วง 6 เดือนแรก โดยดำเนินการใน
รูปแบบของความร่วมมือระหว่างเครือข่ายในพ้ืนที่ ได้แก่ ผู้นำชุมชน อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความ
มั่นคงของมนุษย์ในพ้ืนที่ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน องค์กรปกครองส่วนท้องถ่ิน และ
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในพื้นท่ี ในการสนับสนุนทางสังคมด้านต่างๆ ต้ังแต่ช่วงแรกของการรับ
อุปการะเด็กเพื่อสนับสนุนการปรับตัวของผู้อุปการะและครอบครัว ให้สามารถเลี้ยงดูเด็กได้อย่างมั่นคงใน
ระยะยาว
คำสำคัญ: การปรับตัว, ผู้อุปการะเด็กแบบครอบครัวอุปถัมภ์, ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการปรับตัวของ
ผู้อปุ การะเดก็ แบบครอบครวั อปุ ถมั ภ์
บทนำ
สถิติการให้บริการของบ้านพักเด็กและครอบครัวท่ัวประเทศ ประจำปี 2563 (กรมกจิ การเด็กและ
เยาวชน, 2563) พบว่า มีเด็กกำพร้า ถูกทอดท้ิง เร่ร่อน หนีออกจากบ้าน อยู่ในสภาพยากลำบาก
ผปู้ กครองไม่สามารถดูแลได้ ถกู เล้ียงดโู ดยมชิ อบ ถูกทารณุ กรรมทางเพศ ปัญหาความรนุ แรงในครอบครัว
และเป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ รวมท้ังส้ิน จำนวน 2,254 ราย สะท้อนว่า ครอบครัวไม่สามารถทำ
หน้าที่ดูแลเด็กให้มีความปลอดภัยในครอบครัวได้ นำไปสู่การดูแลเด็กในรูปแบบอื่น เช่น รูปแบบครอบครัว
ทดแทน ประเภทครอบครัวอุปถัมภ์ โดยภารกิจของกรมกิจการเด็กและเยาวชน กระทรวงการพัฒนาสังคม
และความม่ันคงของมนุษย์ เป็นการจัดบริการครอบครัวทดแทนรูปแบบหน่ึง ครอบคลุมเด็กท่ีมีอายุตั้งแต่
แรกเกิดถึง 18 ปีบริบูรณ์ เพ่ือให้เด็กได้มีโอกาสอยู่กับครอบครัว ได้รับการเล้ียงดูที่เหมาะสม โดย
56 | สัมมนาผลงานวชิ าการระดับบัณฑิตศกึ ษาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และสวสั ดกิ ารสังคมระดับชาติ ครงั้ ที่ 10 ประจำปกี ารศึกษา 2563
การดำเนินงานภายใต้ระเบียบกรมประชาสงเคราะห์ ว่าด้วยการสงเคราะห์เด็กในครอบครัวอุปถัมภ์ พ.ศ.
2544 ซึ่งสอดคล้องกับพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 ที่ครอบคลุมการคุ้มครองสวัสดิภาพและ
พัฒนาเดก็ ในทุกมิติ (ศนู ย์อำนวยการรับเด็กเป็นบตุ รบุญธรรม, 2561)
จากข้อมูลผลการดำเนินงานโครงการจัดหาครอบครัวอุปถัมภ์ท่ัวประเทศ พบว่า สถิติของเด็กท่ี
ได้รับการจัดหาครอบครัวอุปถัมภ์ พ.ศ. 2562 จำนวน 5,585 คน และใน พ.ศ. 2563 จำนวน 5,599 คน
ซึ่งมีจำนวนเพ่ิมมากขึ้น (ศูนย์อำนวยการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม, 2563) โดยภายหลังจากที่เด็กได้รับ
การจดั หาครอบครัวอุปถัมภ์ มีหลายครอบครัวที่เผชญิ กับสภาพปัญหาหลายประการส่งผลให้ไม่สามารถให้
การเล้ียงดูเด็กได้อย่างมีคุณภาพ เช่น ผู้อุปการะต้องออกไปทำงานนอกบ้าน ทำให้มีเวลาในการดูแลเด็ก
ไม่มากเท่าที่ควร บางครอบครวั ผู้อุปการะเปน็ ผู้สูงอายุไม่สามารถเท่าทนั สถานการณ์ทางสังคมในปัจจุบัน
ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จึงไม่สามารถกำกับดูแลหรือให้คำแนะนำเด็กได้เท่าท่ีควร อีกทั้งหลาย
ครอบครัวผู้อุปการะไม่เคยมีบุตรหรือไม่เคยให้การเลี้ยงดูเด็กมาก่อน การมีเด็กเพ่ิมเข้ามาในครอบครัว
จึงนับเป็นสถานการณ์วิกฤตของชีวิตท่ีส่งผลให้ผู้อุปการะเกิดความเครยี ดได้ สอดคล้องกับการศึกษาของ
ชัยสิทธิ์ ทองบริสุทธ์ และ ประยูร สุยะใจ (2558) ท่ีพบว่า การมีสมาชิกเพิ่มเข้ามาในครอบครัวเป็น
การเปลี่ยนแปลงรูปแบบหน่ึงที่เป็นบ่อเกิดของความเครียด ซ่ึงส่งผลให้ผู้อุปการะเด็กต้องปรับตัวและ
บริหารความเครียดให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อม ตลอดจนสุขภาวะด้านร่างกาย สังคม อารมณ์และ
สตปิ ญั ญาอยา่ งบูรณาการ รวมถึงการเรียนรู้เก่ยี วกับการดูแลและทำความเขา้ ใจเดก็ อยา่ งเหมาะสมด้วย
อย่างไรก็ตาม การท่ีผู้อุปการะจะสามารถทำหน้าที่อบรมเล้ียงดูเด็กได้อย่างเหมาะสม จำเป็น
อย่างย่ิงท่ีจะต้องมีความรู้ความเข้าใจเก่ียวกับเด็กและการเล้ียงดูเด็ก รวมท้ังต้องปรับตัวในการทำหน้าที่
ผู้ปกครอง โดยเฉพาะอย่างย่ิงผู้ท่ีไม่เคยมีบุตรมาก่อน หรือผู้ที่เคยมีบุตรมาแล้วแต่ต้องให้การดูแลเด็กที่
นอกเหนือจากบุตรของตนเอง และผู้อุปการะบางกรณีมีช่วงอายุห่างจากเด็กค่อนข้างมาก จึงจำเป็นต้อง
ปรบั ตัวเพ่ือทำความเข้าใจตนเองและเด็ก รวมท้ังแนวทางในการเลี้ยงดูเด็กให้มีความเหมาะสม สอดคล้อง
กับการศึกษาของ ภทั ราพร เพช็ รนลิ (2557) ทไี่ ดศ้ กึ ษาการปรับตัวของผู้ปกครองในการดแู ลเด็กสมาธิส้ัน
พบว่า ปัจจัยสำคัญท่ีส่งผลต่อการปรับตัวของผู้ปกครอง คือ เพศ สถานภาพสมรส สัมพันธภาพใน
ครอบครัว และการได้รับการสนับสนุนทางสังคม ซึ่งหากได้รับบริการด้านข้อมูลข่าวสารท่ีจำเป็นเก่ียวกับ
การดูแลเด็กสมาธิส้ัน การอบรมและกิจกรรมท่ีเหมาะสมรวมถึงการยอมรับและเข้าใจเด็กก็จะช่วยทำให้
ปรับตัวได้ดีขึ้น กล่าวได้ว่า การปรับตัวของผู้ปกครองในการดูแลเด็ก ส่งผลทางบวกต่อการเจริญเติบโตของ
เด็กและชว่ ยให้ชวี ติ ครอบครวั สามารถดำเนินตอ่ ไปได้อย่างปกติสุข เช่นเดียวกบั การปรับตัวของผู้อุปการะ
เด็กแบบครอบครัวอุปถัมภ์ท่ีหากสามารถปรับตัวต่อการเล้ียงดูเด็กและได้รับการสนับสนุนช่วยเหลือในด้าน
ที่จำเป็น ย่อมส่งผลใหผ้ ้อู ปุ การะสามารถเล้ียงดูเด็กอย่างมั่นคงได้ในระยะยาวได้
นอกจากนี้ ผลสืบเน่ืองจากการที่ผู้วิจัยปฏิบัติหน้าท่ีเป็นนักสังคมสงเคราะห์ซึ่งทำหน้าท่ีใน
การสงเคราะห์และคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กท่ีอยู่ในความดูแลของครอบครัวอุปถัมภ์ในพื้นท่ีจังหวัด
นครนายก พบว่า ใน พ.ศ. 2563 มีเด็กอยู่ในความดูแลของครอบครัวอุปถัมภ์ ซ่ึงเป็นผู้ใช้บริการของ
สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนครนายก จำนวน 42 ราย โดยผู้วิจัยได้ลงพ้ืนที่
สมั มนาผลงานวิชาการระดบั บัณฑิตศึกษาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และสวสั ดิการสงั คมระดบั ชาติ คร้ังท่ี 10 ประจำปกี ารศกึ ษา 2563 | 57
เย่ียมบ้านประเมินพัฒนาการและพฤติกรรมเด็กแบบครอบครัวอุปถัมภ์ตามแบบประเมินของศูนย์
อำนวยการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม พบว่า มีเด็กที่ผ่านการประเมิน จำนวน 37 ราย จากการดำเนินงาน
ดังกล่าว สะท้อนว่า เด็กที่อยู่ในความดูแลของผู้อุปการะเด็กแบบครอบครัวอุปถัมภ์ส่วนใหญ่ได้รับ
การดูแลท่ีเป็นไปตามมาตรฐานการเล้ียงดูเด็กขั้นต่ำ แต่ยังมีความจำเป็นท่ีจะต้องได้รับการส่ งเสริม
พัฒนาการและพฤติกรรมให้เป็นไปตามเกณฑ์ของวัยพัฒนาการ โดยเฉพาะในรายท่ีไม่ผ่านเกณฑ์
การประเมิน ซ่ึงผู้ที่มีอิทธิพลต่อการส่งเสริมพัฒนาการและพฤติกรรมของเด็กให้เป็นไปตามเกณฑ์ของ
วัยพัฒนาการมากที่สุด คือ ผู้อุปการะเด็กในฐานะผู้ปกครอง ซ่ึงหากผู้อุปการะสามารถปรับตัวต่อการทำ
หน้าท่ีผูป้ กครองในการอบรมส่ังสอน ปกปอ้ งคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กให้ความรักความอบอุ่นตอ่ เด็กจนเด็ก
สามารถมีชีวติ ความเป็นอยู่ท่ีมีความปลอดภัย มีคุณภาพชีวิตท่ีดคี รอบคลุมทุกด้านท่ีจำเป็น ย่อมส่งผลให้
เด็กมีการเจริญเติบโตที่ดีและมีทักษะในด้านต่างๆ อย่างเหมาะสมตามช่วงวัย อย่างไรก็ดี ปัจจุบันยังไม่มี
การศึกษาเก่ียวกับการปรับตัวและปัจจัยที่สนับสนุนให้ผู้อุปการะเด็กแบบครอบครัวอุปถัมภ์สามารถ
ปรบั ตัวในการเลยี้ งดูเด็กได้ ผวู้ ิจยั จึงมคี วามสนใจศึกษาการปรบั ตัวและปัจจัยที่สัมพนั ธ์กับการปรบั ตัวของ
ผู้อุปการะเด็กแบบครอบครัวอุปถัมภ์ ซ่ึงจะเป็นประโยชน์ต่อผู้อุปการะในการปรับตัวเพ่ือให้การอุปการะ
เด็ก และเป็นแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาการให้บริการครอบครัวอุปถัมภ์ของสำนักงานพัฒนา
สังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนครนายก ต่อไป
วัตถปุ ระสงค์
1. เพ่ือศึกษาการปรับตัวของผูอ้ ปุ การะเดก็ แบบครอบครัวอุปถมั ภ์
2. เพื่อศกึ ษาปจั จัยท่สี มั พันธ์กบั การปรบั ตัวของผู้อุปการะเด็กแบบครอบครัวอุปถมั ภ์
นยิ ามศพั ทเ์ ชงิ ปฏิบัตกิ าร
ผู้อุปการะเด็กแบบครอบครัวอุปถัมภ์ หมายถึง ผู้ให้การเลี้ยงดูและปกครองดูแลเด็กท่ีพึงได้รับ
การสงเคราะห์หรือคุม้ ครองสวัสดภิ าพ โดยใหก้ ารอปุ การะเด็กอายตุ ั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายไุ มเ่ กิน 18 ปี ท่ี
กำพร้าบิดา มารดา หรือถูกทอดทิ้ง หรือบิดามารดาไม่สามารถเลี้ยงดูได้ด้วยเหตุผลความจำเป็นอย่างใด
อย่างหน่ึง แล้วเด็กอยู่ในความดูแลของผู้อปุ การะในลักษณะของครอบครวั อุปถัมภร์ ะยะยาว ซึง่ ผู้อุปการะ
เป็นญาติของเด็ก และเป็นผู้ใช้บริการของสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด
นครนายก
การปรับตัว หมายถึง กระบวนการตอบสนองของผู้อุปการะเด็กแบบครอบครัวอุปถัมภ์เม่ือเผชิญ
กับสถานการณ์ท่ีคุกคามความปกติสุขของชีวิต จากการมีสมาชิกเพิ่มเข้ามาในครอบครัวในรูปแบบของ
เด็กในครอบครัวอุปถัมภ์ ซ่ึงนับเป็นการเปล่ียนแปลงสำคัญอย่างหน่ึงที่เกิดข้ึนในชีวิต โดยผู้อุปการะมี
การปรับตัวด้านร่างกาย ด้านอัตมโนทัศน์ ด้านสังคม และด้านการพ่ึงพาระหว่างกัน ให้สอดคล้องกับ
สภาพแวดล้อมและความต้องการของตนเองในการดูแลเด็ก จนสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข
ปราศจากความวิตกกังวลคับข้องใจ
58 | สัมมนาผลงานวชิ าการระดบั บณั ฑติ ศกึ ษาสังคมสงเคราะห์ศาสตรแ์ ละสวสั ดิการสงั คมระดับชาติ ครง้ั ท่ี 10 ประจำปกี ารศึกษา 2563
1) ด้านร่างกาย หมายถึง การปรับตัวของระบบต่างๆ ภายในร่างกายเพ่ือดำรงไว้ซึ่งความม่ันคง
ด้านร่างกาย ได้แก่ การปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน การดูแลสุขภาพร่างกาย การดูแลรักษาอาการเจ็บป่วย
โรคประจำตวั และการนอนหลบั พักผ่อน โดยมีเปา้ หมายสงู สุดเพือ่ ใหร้ า่ งกายเขา้ สสู่ ภาวะสมดลุ
2) ด้านอัตมโนทัศน์ หมายถึง การปรับตัวเพื่อความมั่นคงทางจิตใจในด้านความรู้สึกมีคุณค่าใน
ตนเองและมมุ มองต่อตนเองในการเล้ียงดูเด็ก
3) ด้านสังคม หมายถึง การปรับตัวด้านบทบาทหน้าท่ีในการดูแลเด็ก การดูแลสมาชิกใน
ครอบครวั การปรับตัวดา้ นเศรษฐกจิ ของครอบครวั และการปรับตัวในฐานะสมาชกิ ของชมุ ชน
4) ด้านการพ่ึงพาระหว่างกัน หมายถึง การปรับตัวในการรักษาสัมพันธภาพเพ่ือให้ได้รับ
ความต้องการพื้นฐาน ได้แก่ ความรัก ความเอื้ออาทร ความห่วงใย ความอิ่มเอมใจ ความรู้สึกมั่นคง
ความปลอดภัย ความเคารพ การยอมรับ การเห็นคุณค่าจากบุคคลรอบข้าง และการสนับสนุนช่วยเหลือ
ตา่ งๆ แบง่ เปน็ 2 ประเภท ไดแ้ ก่
(1) การพ่งึ พาอาศยั บคุ คลในครอบครัวและเครอื ญาติ
(2) การพึ่งพาอาศัยบุคคลในระบบสนับสนุนทางสังคม ได้แก่ เพื่อน เพื่อนบ้าน คนในชุมชน
เพื่อนรว่ มงาน นายจา้ ง เจา้ หน้าที่ภาครัฐ/เอกชน เปน็ ต้น
ปจั จัยท่ีสมั พันธ์กับการปรับตวั หมายถึง สิ่งทมี่ ีอทิ ธพิ ลต่อการปรบั ตัวทั้งทางด้านร่างกาย ด้านอตั มโนทศั น์
ด้านสังคม และด้านการพ่ึงพาระหว่างกัน ของผู้อุปการะเด็กแบบครอบครัวอปุ ถัมภ์ ประกอบด้วย ปัจจัย
สว่ นบุคคล ปจั จัยด้านเด็ก ปัจจยั ภายในครอบครัว และปจั จัยการสนบั สนนุ ทางสงั คม
วรรณกรรมทเ่ี กีย่ วข้อง
ผู้วิจัยได้ศึกษาแนวคิดและทฤษฎีที่สำคัญ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการศึกษา คือ แนวคิดเกี่ยวกับ
การปรบั ตวั และแนวคิดเก่ียวกบั ครอบครัวอปุ ถัมภ์ ดังรายละเอยี ดต่อไปน้ี
แนวคดิ เก่ยี วกับการปรับตวั
จากการศึกษาแนวคิดทฤษฎีของนักวิชาการหลายท่าน สามารถสรุปได้ว่า การปรับตัว หมายถึง
พฤติกรรมการตอบสนองของบุคคลเมื่อเผชิญกับสถานการณ์ท่ีคุกคาม (ภัทราพร เพ็ชรนิล, 2557)
ซ่ึงบุคคลจะมีการปรับตัวใน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย ด้านอัตมโนทัศน์ ด้านสังคม และด้านการพ่ึงพา
ระหว่างกัน เช่นเดียวกับผู้อุปการะเด็ก ท่ีการมเี ดก็ เพิ่มเข้ามาในครอบครัวนับว่าเป็นสถานการณ์ท่ีคุกคาม
ความปกติของชีวิต ผู้อุปการะจึงต้องมีการปรับตัวเพ่ือตอบสนองสถานการณ์นั้น ด้วยการปรับตัวด้าน
ร่างกาย คอื การปรบั ตวั ของระบบต่างๆ ในร่างกายเพ่ือตอบสนองความตอ้ งการพื้นฐานของร่างกายให้อยู่
ในสภาวะสมดุล ด้านอัตมโนทัศน์ คือ การปรับตัวเพื่อความมั่นคงทางจิตใจเกี่ยวกับความเช่ือความรู้สึก
มั่นคง พอใจ และมีคุณค่าในตนเอง ด้านสังคม คือ การปรับตัวเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ต่างๆ เพื่อความ
ม่ันคงทางสังคม เช่น บทบาทในการดูแลเด็กและครอบครัว บทบาทในชุมชน เป็นต้น และด้านการพ่ึงพา
ระหว่างกัน คือ การปรับตัวด้วยการรักษาสัมพันธภาพกับบุคคลอ่ืนเพื่อให้ตนเองได้รับความต้องการ
พื้นฐานและการสนับสนุนช่วยเหลือในรูปแบบต่างๆ จากบุคคลใกล้ชิด เช่น ครอบครัว เครือญาติ และ
สมั มนาผลงานวิชาการระดับบัณฑิตศึกษาสังคมสงเคราะห์ศาสตรแ์ ละสวัสดกิ ารสังคมระดับชาติ คร้ังท่ี 10 ประจำปกี ารศกึ ษา 2563 | 59
บุคคลในระบบสนับสนุนทางสังคม เช่น เพื่อน เพ่ือนบ้าน เพ่ือนร่วมงาน นายจ้าง และบุคลากรใน
หนว่ ยงานตา่ งๆ เป็นต้น
ท้ังน้ี ผู้อุปการะจะสามารถปรับตัวด้านต่างๆ เมื่อเผชิญกับการมีเด็กเพิ่มเข้ามาในครอบครัว
ซ่ึงเป็นสถานการณ์ที่คุกคามความปกติสุขของชีวิตเพื่อลดความตึงเครียดและความวติ กกังวลต่างๆ ให้อยู่
ในภาวะสมดุลได้น้ัน (ภัทราพร เพ็ชรนิล, 2557) มีความสัมพันธ์กับปัจจัยต่างๆ ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคล
ของผู้อุปการะ เก่ียวกับเพศ อายุ อาชีพ รายได้ สถานภาพสมรส จำนวนสมาชิกในครอบครัว ระยะเวลา
ในการรับอุปการะเด็ก สาเหตกุ ารอปุ การะเด็ก ความเห็นจากสมาชิกในครอบครัว ความคดิ และทศั นคติที่
มีต่อการรับอุปการะเด็ก และการดำรงบทบาทหน้าที่ต่างๆ ของตนเองอย่างเหมาะสม ปัจจัยด้านเด็ก
เก่ียวกับอายุและภาวะสุขภาพของเด็ก ปัจจัยภายในครอบครัว เก่ียวกับสถานะทางเศรษฐกิจของ
ครอบครัว และการดูแลสมาชิกในครอบครัวท่ีมีความต้องการพิเศษ เช่น ผู้สูงอายุ คนพิการ และปัจจัย
การสนับสนนุ ทางสังคมจากบุคคลในสงั คม ประกอบดว้ ย บุคคลในครอบครัวและเครอื ญาติ และบุคคลใน
ระบบสนับสนุนทางสังคม ได้แก่ เพ่ือนบ้าน คนในชุมชน นายจ้าง เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานต่างๆ ใน
4 ด้าน ได้แก่ การสนับสนุนด้านอารมณ์ การสนับสนุนด้านการประเมินค่า การสนับสนุนดา้ นข้อมูลขา่ วสาร
และการสนับสนุนดา้ นวตั ถสุ ่งิ ของ (House, 1981, อ้างถึงใน พรพิมล เพ็ชรบรุ ,ี 2559)
แนวคิดเกย่ี วกบั ครอบครัวอปุ ถมั ภ์
ครอบครัวอุปถัมภ์ หมายถึง ครอบครัวที่ผู้อุปการะเด็กประสงค์จะทำหน้าท่ีในการเป็นผู้ปกครอง
เพื่อให้การอบรมเลี้ยงดูเด็กที่พึงได้รับการสงเคราะห์ หรือคุ้มครองสวัสดิภาพ ไม่ว่าจะเป็นเด็กกำพร้า
เด็กท่ีถูกทอดทิ้ง เด็กที่บิดามารดาเสียชีวิต หรือผู้ปกครองประสบปัญหาไม่สามารถให้การเลี้ยงดูได้
โดยผู้อุปการะมีความเป็นญาติพี่น้องตามสายโลหิตหรือไม่ใช่ญาติ ซึ่งต้องได้รับการอนุมัติจากอธิบดี
กรมกิจการเด็กและเยาวชน หรือผู้ว่าราชการจังหวัด โดยผู้อุปการะมีหน้าท่ีในการอุปการะเลี้ยงดูเด็ก
อย่างเหมาะสม มีความเป็นอยู่อย่างเด็กปกติท่ัวไปในบรรยากาศของความเป็นบ้านหรือครอบครัว อันถือ
เป็นบ้านทดแทนซึ่งเหมือนหรือใกล้เคียงความเป็นบ้านท่ีแท้จริงมากท่ีสุด และหากผู้อุปการะเด็กแบบ
ครอบครัวอุปถัมภ์มีฐานะยากจน ประสบปัญหาเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูเด็กสามารถขอรับ
ความช่วยเหลือในรูปแบบของค่าเลยี้ งดู หรือเคร่ืองอุปโภคบริโภคสำหรับเดก็ จากหน่วยงานรัฐและเอกชน
ได้ ทั้งนี้ จะได้รับความช่วยเหลือจนกว่าครอบครัวจะสามารถพ่ึงพาตนเองได้ หรือเด็กอายุครบ 18 ปี
บรบิ รู ณ์ (ศนู ยอ์ ำนวยการรับเดก็ เป็นบตุ รบุญธรรม, 2561)
ระเบียบวธิ กี ารวิจยั
การศึกษาครั้งน้ี เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ มุ่งศึกษาและเรียนรู้การปรับตัวและปัจจัยที่
สัมพันธ์กับการปรับตัวของผู้อุปการะเด็กแบบครอบครัวอุปถัมภ์ซึ่งเป็นประสบการณ์ของผู้มีส่วนร่วมใน
การวจิ ัย โดยมรี ายละเอียด ดงั น้ี
ผู้มีส่วนร่วมในการวิจัย คือ ผู้อุปการะเด็กแบบครอบครัวอุปถัมภ์ที่เป็นผู้ใช้บริการของ
สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จงั หวัดนครนายก จำนวน 10 กรณี กำหนดคุณสมบัติ
60 | สัมมนาผลงานวิชาการระดบั บณั ฑิตศึกษาสังคมสงเคราะห์ศาสตรแ์ ละสวสั ดิการสงั คมระดับชาติ ครง้ั ท่ี 10 ประจำปกี ารศกึ ษา 2563
ในเกณฑ์การคัดเข้า คือ ให้การอุปการะเด็กแบบครอบครัวอุปถัมภ์มาแล้วมากกว่า 5 ปี เป็นผู้ใช้บริการ
ของสำนักงานพัฒนาสังคมและความม่ันคงของมนษุ ย์จังหวัดนครนายก และเตม็ ใจให้ขอ้ มูล
เคร่ืองมือท่ีใช้ในการวิจัย ผู้วจิ ัยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) เป็นเคร่ืองมือใน
การศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบ่งแนวคำถามออกเป็น 2 ส่วน
ได้แก่ 1) ข้อมูลส่วนบุคคลท่ัวไป 2) แนวคำถามเก่ียวกับการปรับตัวและปัจจัยที่สัมพันธ์กับการปรับตัว
ของผู้อุปการะเด็กแบบครอบครัวอุปถัมภ์ ครอบคลุมรูปแบบการปรับตัว 4 ด้าน ได้แก่ (1) ด้านร่างกาย
(2) ด้านอัตมโนทัศน์ (3) ด้านสังคม และ (4) ด้านการพึ่งพาระหว่างกัน และปัจจัยที่สัมพันธ์กับ
การปรับตัว 4 ปัจจัย ได้แก่ (1) ปัจจัยส่วนบุคคลของผู้อุปการะ (2) ปัจจัยด้านเด็ก (3) ปัจจัยภายใน
ครอบครัว และ (4) ปัจจยั การสนับสนนุ ทางสังคม
การทดสอบคุณภาพของเครื่องมือ ผู้วิจัยนำแบบประเมินความเที่ยงตรงของแนวคำถาม
การสัมภาษณ์สง่ ให้ผู้เช่ียวชาญ 3 ท่าน ตรวจสอบความเท่ียงตรงตามเนื้อหา ความถูกต้องเหมาะสม และ
ความครอบคลุม โดยมีค่าดัชนีความสอดคล้องโดยผู้เช่ียวชาญที่เรียกว่า Index of item-Objective
Congruence (IOC) คา่ ความสอดคล้องของคำถามและวัตถปุ ระสงค์การวิจัย เทา่ กบั 0.97
การเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยศึกษาจากเอกสารทางวิชาการ
ตำรา งานวิจัย วิทยานิพนธ์ สิ่งพิมพ์ต่างๆ ข้อมูลทางระบบอินเตอร์เน็ตท่ีเกี่ยวข้องกับการปรับตัวและ
ครอบครัวอุปถัมภ์ และเก็บข้อมูลภาคสนามโดยผู้วิจัยเป็นผู้สัมภาษณ์แบบเจาะลึกผู้อุปการะเด็กแบบ
ครอบครัวอุปถัมภ์ด้วยตนเอง จำนวน 10 กรณี ก่อนการสัมภาษณ์ ผู้วิจัยจะมีการนัดหมายเวลาล่วงหน้า
และใช้เวลาสร้างสัมพันธภาพกับผู้อุปการะเด็กแบบครอบครัวอุปถัมภ์ก่อนเข้าประเด็นคำถาม ระหว่าง
การสัมภาษณ์มีการปรับเปล่ียนลักษณะคำถามให้เหมาะสมกับผู้อุปการะเด็กแต่ละกรณี โดยใช้
การสัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการ คำนึงถึงสภาพแวดล้อมและสถานที่ที่เหมาะสม และดำเนินการ
ขออนุญาตก่อนการสัมภาษณ์ทุกครั้งโดยมีหนังสือถึงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด
นครนายก และหนังสอื แสดงเจตนายนิ ยอมเข้าร่วมโครงการวจิ ยั (Consent Form) สำหรบั ผู้มสี ว่ นร่วมใน
การวิจัยเพ่ือนำข้อมูลไปเผยแพร่ในทางวิชาการ ท้ังน้ี ขณะทำการสัมภาษณ์ผู้วิจัยได้ใช้เคร่ืองบันทึกเสียงใน
การบันทึกบทสัมภาษณ์ควบคู่กบั การจดบนั ทึกเพ่ือความครบถ้วนของข้อมูล หลังจากการสมั ภาษณ์ ผู้วิจัย
ไดถ้ อดบทสัมภาษณ์ทุกถอ้ ยคำ และนำบทสมั ภาษณ์มาจัดระเบียบข้อมูลโดยการแบ่งประเภท และให้รหัส
ข้อมูล เพือ่ ประโยชนต์ อ่ การวิเคราะหข์ อ้ มลู ในลำดับตอ่ ไป
การวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยนำข้อมูลท่ีได้จากระเบียบวิธีวิจัยและ
เคร่ืองมือต่างๆ จากการสัมภาษณ์เชิงลึก มาจัดระบบเป็นหมวดหมู่ และวิเคราะห์เนื้อหา (Content
analysis) ตามประเด็นท่ีสร้างแนวคำถามข้ึนอย่างเชื่อมโยงกับแนวคิดทฤษฎีที่เก่ียวข้องจากการทบทวน
วรรณกรรม และจัดประเภทของข้อมูลโดยอ้างอิงจากข้อมูลการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนร่วมในการวิจัย เพื่อให้
เกิดการวเิ คราะห์และเช่ือมโยงความสัมพันธ์ของข้อมูลในการนำเสนอข้อเท็จจริงท่ีค้นพบ และการอภิปรายผล
ซ่ึงสามารถจัดประเภทข้อมูลได้ 2 กลุ่ม คือ (1) ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้อุปการะ และ (2) ข้อมูลการปรับตัว
และปัจจัยที่สัมพันธ์กับการปรับตัวของผู้อุปการะ ครอบคลุมรูปแบบการปรับตัว 4 ด้าน ได้แก่ ด้าน
สัมมนาผลงานวิชาการระดบั บัณฑิตศกึ ษาสังคมสงเคราะหศ์ าสตร์และสวัสดิการสงั คมระดับชาติ คร้ังที่ 10 ประจำปีการศกึ ษา 2563 | 61
ร่างกาย ด้านอัตมโนทัศน์ ด้านสังคม และด้านการพ่ึงพาระหว่างกัน และปัจจัยที่สัมพันธ์กับการปรับตัว 4
ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคลของผู้อุปการะ ปัจจัยด้านเด็ก ปัจจัยภายในครอบครัว และปัจจัย
การสนับสนุนทางสังคม โดยนำเสนอผลการศึกษาด้วยการพรรณนาแต่ละประเด็นภายใต้ขอบเขตของ
วัตถปุ ระสงคแ์ ละแนวความคดิ ทใ่ี ช้ในการศึกษา
ผลการศึกษา
ผู้วิจัยทำการศึกษาผู้อุปการะเด็กแบบครอบครัวอุปถัมภ์ที่เป็นผู้ใช้บริการของสำนักงานพัฒนา
สังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนครนายก จำนวน 10 กรณี โดยได้สรุปข้อมูลส่วนบุคคลของ
ผ้อู ุปการะในรูปแบบตาราง เพ่ือความชดั เจนยิ่งขึ้น ดังตารางที่ 1
ตารางท่ี 1
ขอ้ มลู สว่ นบุคคลของผอู้ ปุ การะเดก็ แบบครอบครัวอุปถมั ภท์ ั้ง 10 กรณี
ช่อื ผอู้ ปุ การะ อายุ ระดบั อาชีพ/ สถาน จำนวน จำนวน อายเุ ดก็ ที่ สาเหตุ เวลาที่ ความเห็น แผนการเลย้ี งดเู ดก็
เด็ก (ป)ี การศกึ ษา รายได้ ภาพ บตุ ร สมาชิก อปุ การะ การ อุปการะ สมาชิก ต่อไปในอนาคต
(นามสมมติ) สงู สดุ สมรส (คน) ครอบครัว (ปี) อปุ การะ (ปี) ครอบครวั
(คน)
นางวไิ ล 64 ป.4 รับจ้างทวั่ ไป/ หยา่ รา้ ง 5 3 14 บิดามารดา 14 เหน็ ด้วย การสนับสนนุ ให้เด็กไดร้ ับ
300 บาท/วนั แยกทางกนั การศกึ ษาตามความชอบ
และทอดทิ้ง และความถนัดของเดก็
และเปน็ ไปตามฐานะทาง
เศรษฐกิจของครอบครวั
นางสมร 58 ป.4 ทำนา/ปลี ะ สมรส 2 5 5 บิดามารดา 5 เหน็ ดว้ ย การสนับสนนุ ให้เดก็ ไดร้ บั
100,000 บาท เสียชวี ติ การศกึ ษาชน้ั สูงสดุ ตาม
ยายเด็กไม่ ฐานะทางเศรษฐกจิ ของ
สามารถ ครอบครัวจนเดก็ สามารถ
เลย้ี งดูได้ ประกอบอาชีพเล้ียงดู
ตนเองได้
นางจนิ ดา 69 ป.4 รับจ้าง/300 หมา้ ย 2 2 9 มารดา 9 เหน็ ดว้ ย การสนับสนนุ ใหเ้ ด็กไดร้ ับ
บาท/วนั (คสู่ มรส ตั้งครรภ์ไม่ การศกึ ษาจนกวา่ จะไม่
เสียชวี ิต) พร้อมและ สามารถสง่ เสยี เดก็ ได้
ทอดทง้ิ เดก็
นางจันตา 56 ป.4 ค้าขาย/วนั ละ สมรส 5 6 12 มารดาของ 12 เหน็ ด้วย การเลย้ี งดแู ละสนบั สนนุ
300 บาท
เด็กต้งั ครรภ์ ให้เดก็ ไดร้ บั การศกึ ษาจน
โดยไม่ปรากฏ สามารถประกอบอาชพี
บิดาเมอ่ื เล้ยี งดตู นเองได้
คลอดแลว้ ได้
ทอดท้ิงเดก็
ไว้ที่ รพ.
นางพรเพญ็ 60 ป.4 ทำนา/ปีละ หย่ารา้ ง 2 8 8 มารดา 8 เหน็ ดว้ ย การสนบั สนนุ ใหเ้ ด็กไดร้ บั
150,000 บาท
ทอดทง้ิ บิดา การศกึ ษาตามความชอบ
ปว่ ย (HIV) ของเดก็ และเปน็ ไปตาม
62 | สมั มนาผลงานวชิ าการระดบั บณั ฑติ ศกึ ษาสังคมสงเคราะหศ์ าสตรแ์ ละสวสั ดิการสงั คมระดบั ชาติ คร้งั ท่ี 10 ประจำปกี ารศึกษา 2563
ช่ือผู้อุปการะ อายุ ระดบั อาชีพ/ สถาน จำนวน จำนวน อายเุ ด็กท่ี สาเหตุ เวลาที่ ความเห็น แผนการเลีย้ งดเู ดก็
เด็ก (ป)ี การศกึ ษา รายได้ ภาพ บุตร สมาชิก อุปการะ การ อปุ การะ สมาชิก ต่อไปในอนาคต
(นามสมมติ) สงู สดุ สมรส (คน) ครอบครัว (ปี) อปุ การะ (ปี) ครอบครัว
(คน)
ในระยะทา้ ย ฐานะทางเศรษฐกจิ ของ
ไม่สามารถ ครอบครวั
เลีย้ งดเู ด็กได้
นางสาวมกุ ดา 39 ม.6 คา้ ขาย/วนั ละ สมรส 1 4 9 มารดา 9 เห็นด้วย การเล้ยี งดเู ดก็ อย่างดที ่สี ุด
500-600 บาท (บตุ ร เสียชวี ิตและ และสนับสนุนให้เดก็ ไดร้ ับ
บุญธรรม) บดิ าไม่ การศกึ ษาจนจบปรญิ ญา
สามารถ ตรี ตามฐานะทาง
เลย้ี งดูได้ เศรษฐกจิ ของครอบครวั
นางระพี 56 ป.4 รบั จ้าง/วนั ละ หย่าร้าง 1 4 12 บิดามารดา 12 เห็นด้วย การเลยี้ งดแู ละสนบั สนนุ
400 บาท ของเดก็ แยก ให้เดก็ ไดร้ ับการศกึ ษาตาม
ทางกนั และ ฐานะทางเศรษฐกิจของ
ทอดทง้ิ ไป ครอบครวั
ไม่ไดส้ ่งเสยี
เลย้ี งดู
นางน้ำทิพย์ 56 ป.6 รับจา้ ง/วนั ละ สมรส 3 4 6 บดิ ามารดา 6 เห็นด้วย ให้การเลย้ี งดแู ละ
200 บาท แยกทางกัน สนบั สนุนเดก็ ใหเ้ ติบโต
และทอดทิ้ง อยา่ งดที ี่สุดจนกวา่
เด็กมคี วาม ครอบครวั จะไมส่ ามารถ
พกิ ารซำ้ ซ้อน ดูแลเดก็ ได้
นายประยงค์ 55 ม.6 พนง.ขบั รถยนต์ หย่ารา้ ง 1 7 11 มารดาเดก็ 11 เหน็ ดว้ ย ใหก้ ารเลยี้ งดแู ละ
/เดอื นละ ตัง้ ครรภ์ สนบั สนนุ เดก็ ให้ไดร้ บั
13,800 บาท โดยไม่ปรากฏ การศกึ ษาตามฐานะทาง
บดิ าและเมอื่ เศรษฐกิจของครอบครวั
คลอดแลว้ จนกว่าเดก็ จะสามารถ
ทอดท้ิงเดก็ ประกอบอาชพี เลยี้ งดู
ไปตงั้ แต่ ตนเองได้
เด็กยังอยู่
ท่ี รพ.
นางสาวรำนำ 25 ปวส. ครธู ุรการ/ โสด - 5 5 บดิ ามารดา 5 เหน็ ดว้ ย ให้การเลยี้ งดเู ด็กสุดวาม
แคดด้ี แยกทางกนั สามารถและสนับสนนุ ให้
12,000 บาท และทอดทิ้ง เดก็ ได้รบั การศกึ ษาสงู สดุ
เดก็ โดยไม่
เคยสง่ เสีย
ดูแล
จากผลการศึกษา พบว่า ผู้อุปการะเด็กแบบครอบครัวอุปถัมภ์ทุกกรณีสามารถปรับตัวในการรับ
อุปการะเด็กด้านร่างกาย ด้านอัตมโนทัศน์ ด้านสังคม และด้านการพึ่งพาระหว่างกัน ได้เป็นอย่างดี ซ่ึงมี
ความสัมพนั ธ์กับปัจจยั ตา่ งๆ ที่มีความเหมือนและแตกตา่ งกันในแต่กรณี ดงั นี้
สมั มนาผลงานวิชาการระดบั บณั ฑิตศกึ ษาสงั คมสงเคราะหศ์ าสตร์และสวัสดิการสงั คมระดบั ชาติ คร้ังท่ี 10 ประจำปีการศกึ ษา 2563 | 63
1) ด้านรา่ งกาย
การปรับตวั ด้านร่างกาย พบวา่ ผู้อปุ การะเด็กมีการปรับตวั ด้านร่างกายได้เหมาะสมทุกกรณี
ด้วยการปรับระบบต่างๆ ภายในร่างกายให้ยังดำรงไว้ซ่ึงความม่ันคงด้านร่างกายอย่างสอดคล้องกับ
การดำเนินชีวิตประจำวันและการดูแลเด็ก โดยพบว่า มีการปรับเปลี่ยนการปฏิบัติกิจวัตรประจำวั น
การดแู ลสุขภาพร่างกายการดูแลสุขภาพรา่ งกายในกรณีทีม่ ีโรคประจำตัว/การเจ็บป่วย และการปรับเปล่ียน
พฤติกรรมการนอนหลับพักผ่อน ที่มีความแตกต่างกันในแต่ละกรณี โดยสัมพันธ์กับปัจจัยส่วนบุคคลของ
ผอู้ ปุ การะ ปัจจัยดา้ นเด็ก และปจั จยั การสนบั สนุนทางสงั คมจากบคุ คลในสงั คม ไดแ้ ก่ บุคคลในครอบครัว
และเครอื ญาติ และบุคคลภายนอกครอบครัว
ปัจจัยท่ีสัมพันธ์กับการปรับตัวด้านร่างกาย ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคลของผู้อุปการะ
ประกอบด้วย อายุ การมีโรคประจำตัว ความสนใจการดูแลสุขภาพของตนเอง ปัจจัยด้านเด็ก เก่ียวกับ
อายขุ องเดก็ และปัจจัยการสนับสนุนทางสังคมจากบุคคลในสังคม ประกอบด้วย การสนับสนุนทางสังคม
จากบุคคลในครอบครัวและเครือญาติ ได้แก่ การได้รับความช่วยเหลือในการดูแลเด็ก คำแนะนำด้าน
สุขภาพ และการสนับสนุนทางสังคมจากบุคคลในระบบสนับสนุนทางสังคม ได้แก่ การได้รับคำแนะนำ
และการรักษาความเจ็บป่วยจากบุคลากรทางการแพทย์ โดยผู้อุปการะส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญกับ
การปรบั เปล่ียนการปฏบิ ัตกิ ิจวัตรประจำวนั ใหเ้ หมาะสมกับการดูแลเด็กเนื่องจากเด็กทุกกรณีอยู่ในช่วงวัย
ทารก ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ มีการปรับเปลี่ยนการดูแลสุขภาพร่างกายและการดูแลตนเองใน
กรณีที่มีโรคประจำตัว/การเจ็บป่วยต่างๆ มากขึ้น โดยเฉพาะผู้อุปการะที่สูงอายุจะดูแลสุขภาพของตนเอง
ด้วยการระมัดระวังเก่ียวกับการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย การพักผ่อน และการปฏิบัติตาม
คำแนะนำของบุคลากรทางการแพทย์ นอกจากน้ี ยังพบว่า ผู้อุปการะส่วนใหญ่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
การนอนหลับพักผ่อนมากข้ึนโดยการปรับให้เหมาะสมกับการดูแลเด็กด้วยการเพิ่มการนอนในเวลา
กลางวันด้วยการงีบส้ันๆ เพ่ือทดแทนการนอนในเวลากลางคืน ท้ังน้ี ข้อค้นพบท่ีสำคัญจากการศึกษา
พบว่า ปัจจัยสำคัญท่ีสุดในการปรับตัวด้านร่างกายได้ดี คือ การสนับสนุนทางสังคมจากบุคคลใน
ครอบครัวและเครือญาตใิ นการช่วยดแู ลและให้คำแนะนำเก่ียวกับการเล้ียงดเู ด็ก และการดแู ลสขุ ภาพ
2) ด้านอัตมโนทัศน์
การปรบั ตัวด้านอัตมโนทัศน์ เปน็ การปรับตวั เพ่ือความมน่ั คงทางจติ ใจของผู้อุปการะเพื่อให้
สามารถยอมรับ เข้าใจ และผ่านพ้นสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของครอบครัวจากการมีเด็กเข้ามาเป็น
สมาชกิ ใหม่ ผลการศึกษา พบว่า ผู้อุปการะสามารถปรับตวั ด้านอัตมโนทัศน์ได้เหมาะสมทุกกรณี จากการ
รู้สึกมีคุณค่าในตนเองเพ่ิมมากข้ึนตั้งแต่ให้การอุปการะเด็กแบบครอบครัวอุปถัมภ์ และมีมุมมองต่อ
ความสามารถของตนเองในการอุปการะเด็กในเชิงบวกทุกกรณี แม้ว่าในช่วง 1-6 เดือนแรกของการรับ
อุปการะเด็ก ผู้อุปการะบางกรณีจะมีความวิตกกังวล ไม่ม่ันใจ และรู้สึกหนักใจต่อการนำเด็กมาเล้ียงดู
แต่เม่ือได้รับการสนับสนุนทางสังคมจากบุคคลในครอบครัวและเครือญาติก็ทำให้ผู้อุปการะสามารถ
ก้าวผ่านช่วงเวลายากลำบากน้ันมาได้ ซ่ึงข้อค้นพบท่ีสำคัญ พบว่า ผู้อุปการะแต่ละกรณีมีการปรับตัวที่
แตกต่างกัน โดยสัมพันธ์กับปัจจัยส่วนบุคคลของผู้อุปการะ ปัจจัยด้านเด็ก ปัจจัยภายในครอบครัว และ
64 | สัมมนาผลงานวชิ าการระดบั บัณฑติ ศึกษาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และสวสั ดกิ ารสงั คมระดับชาติ คร้ังที่ 10 ประจำปกี ารศึกษา 2563
ปัจจัยการสนับสนุนทางสังคมจากบุคคลในสังคม ได้แก่ บุคคลในครอบครัวและเครือญาติ และบุคคลใน
ระบบสนับสนนุ ทางสงั คม
ปัจจัยท่ีสัมพันธ์กับการปรับตัวด้านอัตมโนทัศน์ พบว่า มีความสัมพันธ์กับปัจจัยส่วนบุคคลของ
ผ้อู ุปการะ โดยทุกกรณีรู้สึกมีคุณค่าและมองว่าตนเองมีความสามารถในการเลี้ยงดูเด็กพร้อมกับทำหน้าที่
ในบทบาทอ่ืนๆ ควบคู่ด้วยได้อย่างดี เช่น การดูแลสมาชิกในครอบครัว การประกอบอาชีพเพ่ือหารายได้
ซึง่ ข้อคน้ พบที่สำคัญ พบว่า ผ้อู ุปการะบางกรณีมีความร้สู ึกวิตกกังวล ไม่ม่ันใจ และรู้สกึ หนักใจต่อการรับ
อุปการะเด็กในช่วง 1-6 เดือนแรกของการรับอุปการะเด็กด้วยเหตุผลหลายประการ เช่น ความหนักใจ
เกี่ยวกับการเลี้ยงดูเด็ก ภาวะสุขภาพและความต้องการพิเศษของเด็ก และความวิตกกังวลเก่ียวกับ
ความเห็นของสมาชิกในครอบครัว รวมถึงปัจจัยภายในครอบครัว เก่ียวกับภาระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มมากขึ้น
และการดูแลสมาชิกคนอื่นในครอบครัวท่ีมีความต้องการพิเศษ ซ่ึงปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผู้อุปการะสามารถ
ผ่านพ้นช่วงเวลายากลำบากดังกล่าวน้ีมาได้ คือ การสนับสนุนทางสังคมจากบุคคลในครอบครัวและเครือ
ญาติ ซ่ึงเป็นกลุ่มบุคคลท่ีมีความผูกพันใกล้ชิดกับผู้อุปการะมากท่ีสุด จากการยอมรับและช่วยเล้ียงดูเด็ก
จนส่งผลให้ผู้อุปการะสามารถปรับตัวและมีความม่ันคงต่อการเลี้ยงดูเด็กได้อย่างดี สอดคล้องกับปัจจัย
ด้านเด็กจากการที่เด็กเจริญเติบโตสมวัย และปัจจัยการสนับสนุนทางสังคมจากบุคคลในสังคม ไม่ว่าจะ
เป็น เพื่อนบ้าน เพื่อนร่วมงาน นายจ้าง และคนในชุมชน ด้วยการยอมรบั ช่ืนชม และให้กำลังใจ นำไปสู่
ความมั่นคงทางจิตใจท่ีส่งผลให้ผู้อุปการะสามารถปรับตัวด้านอัตมโนทัศน์ได้เป็นอย่างดีและมีอิทธิพลต่อ
การปรับตัวในดา้ นอื่นๆ ตามไปด้วย เนื่องจากเมื่อผู้อุปการะมีความม่ันคงทางจิตใจจากภายใน ยอ่ มส่งผล
ให้ผู้อปุ การะดำรงบทบาทอืน่ ๆ และปรับตัวในดา้ นอน่ื ได้ดแี ละมปี ระสทิ ธิภาพตามด้วย
3) ด้านสงั คม
การปรับตัวด้านสังคม พบว่า ผู้อุปการะมีการปรับตัวด้านสังคมด้วยการปรับเปลี่ยนบทบาท
หน้าที่ของตนเองเพื่อความมั่นคงทางสังคมเม่ือรับอุปการะเด็กใน 4 บทบาท ได้แก่ บทบาทหน้าที่ ใน
การดูแลเด็กเมื่อเป็นผู้ใช้บริการของสำนักงานพัฒนาสังคมและความม่ันคงของมนุษย์จังหวัดนครนายก
โดยให้การเลี้ยงดูเด็กด้วยความระมัดระวังมากย่ิงข้ึน บทบาทหน้าที่ในการดูแลสมาชิกในครอบครัว
บทบาทหน้าท่ีด้านเศรษฐกิจของครอบครัว และบทบาทหน้าท่ีในฐานะสมาชิกของชุมชน ซึ่งผู้อุปการะ
ทุกกรณีล้วนปรับตัวในการทำหน้าท่ีทุกบทบาทได้เหมาะสมกับการดูแลเด็ก โดยจะปรับตัวในแต่ละ
บทบาทแตกต่างกันสัมพนั ธ์กับปัจจยั ส่วนบุคคลของผู้อุปการะ ปัจจัยด้านเด็ก ปจั จัยภายในครอบครวั และ
ปัจจัยการสนับสนุนทางสังคมจากบุคคลในสังคม ได้แก่ บุคคลในครอบครัวและเครือญาติ และบุคคลใน
ระบบสนบั สนุนทางสังคม
ปัจจัยท่ีสัมพันธ์กับการปรับตัวด้านสังคม พบว่า มีความสัมพันธ์กับปัจจัยส่วนบุคคลของ
ผู้อุปการะ คือ การทำหน้าท่ีของตนเองในทุกบทบาทให้ดีท่ีสุด ปัจจัยด้านตัวเด็ก คือ การที่เด็กมีอายุ
มากขึ้นและภาวะสุขภาพของเด็ก ปัจจัยภายในครอบครัว ประกอบด้วย จำนวนสมาชิกในครอบครัว
การมีสมาชิกในครอบครัวท่ีมีความพิการหรือความต้องการพิเศษ สถานะทางเศรษฐกิจของครอบครัว และ
ปัจจัยการสนับสนุนทางสังคมจากบุคคลในครอบครัวและเครือญาติ ในการเลี้ยงดูเด็ก ดูแลสมาชิกใน
สมั มนาผลงานวชิ าการระดับบณั ฑิตศึกษาสงั คมสงเคราะหศ์ าสตร์และสวสั ดิการสังคมระดับชาติ ครั้งที่ 10 ประจำปกี ารศกึ ษา 2563 | 65
ครอบครัว และหารายได้ และการสนับสนุนทางสงั คมจากบุคคลในสังคม โดยองค์กรปกครองสว่ นท้องถ่ิน
ในพ้ืนท่ี และการได้รับความช่วยเหลอื ในรูปแบบการดูแลเด็กแบบครอบครัวอปุ ถัมภจ์ ากสำนักงานพัฒนา
สังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนครนายก โดยผู้อุปการะเด็กทุกกรณีจะให้ความสำคัญต่อ
การเลี้ยงดเู ดก็ อย่างระมัดระวังมากยิ่งขึ้น มีการวางแผนการใชจ้ ่ายเงนิ อดุ หนนุ ช่วยเหลือค่าเลี้ยงดูเดก็ แม้จะ
ไม่เพียงพอต่อภาระค่าใช้จ่ายของครอบครัวท่ีเพ่ิมมากขึ้น โดยปรับเปลี่ยนบทบาทด้านเศรษฐกิจของ
ครอบครัวในการหารายได้ท่ีแตกต่างกันในแต่ละกรณี เช่น บางกรณีเปล่ียนไปประกอบอาชีพที่ได้รับ
ค่าตอบแทนและมีความม่ันคงในการจ้างงานมากกว่าอาชีพเดิมและประกอบอาชีพมากกว่า 1 อาชีพ
บางกรณีเพิ่มการลงทุนในการประกอบอาชีพเดิมเพื่อให้ได้ผลผลิตและกำไรมากข้ึน นอกจากนี้ ข้อค้นพบ
จากการศึกษา พบว่า ผู้อุปการะในกรณีท่ีได้รับการสนับสนุนช่วยเหลือจากบุคคลในครอบครัวและเครือ
ญาติในการช่วยเลี้ยงดูเด็ก ส่งผลให้ผู้อุปการะไม่ต้องปรับเปล่ียนบทบาทด้านเศรษฐกิจของครอบครัว
มากนัก เน่ืองจากยังสามารถประกอบอาชีพเพ่ือหารายได้ของครอบครัวได้ดังเดิม แต่จะมีการปรับเปล่ียน
บทบาทการดูแลสมาชิกในครอบครัวด้วยการเพิ่มบทบาทในการดูแลเด็กในฐานะสม าชิกคนหน่ึงของ
ครอบครวั ซ่ึงช่วยลดภาระของผู้อุปการะและช่วยให้ไม่ต้องปรับเปลย่ี นบทบาทในฐานะสมาชิกของชุมชน
มากนัก เน่ืองจากการมีคนช่วยเลี้ยงดูเด็กในบางช่วงเวลาทำให้ผู้อุปการะยังสามารถร่วมกิจกรรมกับชุมชน
ได้ดังเดิมแม้จะลดน้อยลงบ้างในช่วงแรกของการรับอุปการะเด็กเนื่องจากเด็กอยู่ในวัยทารก แต่เมื่อเด็กอายุ
เพิ่มมากข้ึนผู้อุปการะก็สามารถเข้าร่วมกิจกรรมของชุมชนได้ดังเดิม สะท้อนว่า ปัจจัยสำคัญท่ีช่วยให้
ผู้อุปการะสามารถปรับตัวด้านสังคมได้ดี คือ การสนับสนุนทางสังคมจากบุคคลในครอบครัวและ
เครอื ญาตนิ น่ั เอง
4) ดา้ นการพึง่ พาระหว่างกนั
การปรับตัวด้านการพึ่งพาระหว่างกัน พบว่า ผู้อุปการะมีการปรับตัวเพ่ือให้สามารถพึ่งพา
อาศัยผู้อ่ืนในการรบั อุปการะเด็กได้ ด้วยการเล้ียงดเู ด็กอย่างเหมาะสมบนพนื้ ฐานความคิดและทัศนคติท่ีดีต่อ
เด็กไปพร้อมกับการดำรงบทบาทหน้าท่ีอื่นๆ ของตนเอง ซึ่งส่งผลให้ผู้อุปการะได้รับการยอมรับจาก
สมาชิกในครอบครัวและคนรอบข้างในด้านการมีคุณค่าในตนเองและความสามารถในการเล้ียงดูเด็ก
โดยผู้อุปการะมีการปรับตัวเพื่อรักษาสัมพันธภาพกับบุคคลในครอบครัวและเครือญาติ และ
บุคคลภายนอกครอบครัวด้วยสัมพันธภาพเชิงบวก ซ่ึงส่งผลให้ได้รับการสนับสนุนทางสังคมจากบุคคล
ดังกล่าวในการเล้ียงดูเด็ก โดยมีความแตกต่างกันในแต่ละกรณีอย่างสัมพันธ์กับปัจจัยส่วนบุคคลของ
ผอู้ ปุ การะ ปัจจยั ด้านเด็ก และปัจจัยภายในครอบครวั
ปัจจัยท่ีสัมพันธ์กับการปรับตัวด้านการพ่ึงพาระหว่างกัน พบว่า มีความสัมพันธ์กับปัจจัย
สว่ นบุคคลของผู้อปุ การะเกย่ี วกับความสามารถในการอุปการะเด็กบนพ้ืนฐานความคดิ และทศั นคติทด่ี ีต่อ
เด็ก โดยสามารถเล้ียงดูเด็กไปพร้อมกับการดำรงบทบาทหน้าท่ีอื่นๆ ได้ดี และยังสัมพันธ์กับปัจจัย
ดา้ นเด็ก โดยพบว่า ผูอ้ ุปการะบางกรณี รับอุปการะเด็กที่มีความพิการซ้ำซ้อนไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้
แต่ผู้อุปการะสามารถเลี้ยงดูเด็กให้เติบโตได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัย ประกอบกับปัจจัยภายใน
ครอบครัว พบว่า ผู้อุปการะบางกรณีต้องดูแลสมาชิกในครอบครัวท่ีเป็นผู้สูงอายุพิการติดเตียง ทั้งยังเป็น
66 | สัมมนาผลงานวชิ าการระดบั บณั ฑิตศกึ ษาสังคมสงเคราะหศ์ าสตรแ์ ละสวสั ดิการสงั คมระดบั ชาติ ครงั้ ท่ี 10 ประจำปกี ารศึกษา 2563
ผู้หารายได้หลักของครอบครัวด้วย สะท้อนถึงความรับผิดชอบและความสามารถของผู้อุปการะในเชิง
ประจักษ์ท่ีส่งผลให้ผู้อุปการะได้รับการยอมรับจากสมาชิกในครอบครัวและบุคคลรอบข้างทุกกรณี
นอกจากน้ี ข้อค้นพบท่ีสำคัญ พบว่า ผู้อุปการะสามารถปรบั ตัวเพ่ือรักษาสัมพันธภาพกับบุคคลในครอบครัว
และเครือญาติ และบุคคลในระบบสนับสนุนทางสังคมเพ่ือให้สามารถพึ่งพาอาศัยบุคคลดังกล่าวเกี่ยวกับ
การเลี้ยงดูเด็กได้โดยอาศัยสัมพันธภาพเชิงบวกในการส่ือสารระหว่างกันภายในครอบครัวและเครือญาติ
รวมถึงบุคคลภายนอกครอบครัวให้รับรู้และเข้าใจในเหตุผลและความจำเป็นที่ต้องอุปการะเด็ก ซ่ึงส่งผล
ให้ผู้อุปการะได้รับการสนับสนุนทางสังคมจากบุคคลดังกล่าวในการอุปการะเด็กใน 4 ด้าน ประกอบด้วย
1) การสนับสนุนด้านอารมณ์ จากการได้รับการยอมรับ และกำลังใจจากบุคคลรอบข้างในการเลี้ยงดูเด็ก
2) การสนับสนุนด้านข้อมูลข่าวสารที่จำเป็นในการดำเนินชีวิต 3) การสนับสนุนด้านสิ่งของและบริการ
ต่างๆ และ 4) การสนับสนุนด้านการประเมินค่า จากการได้รับการยอมรับในความมีคุณค่าและ
ความสามารถในการอุปการะเด็กแบบครอบครัวอุปถัมภ์ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้ผู้อุปการะสามารถ
ปรบั ตวั ด้านการพงึ่ พาระหว่างกันได้อย่างดี
อภปิ รายผลการศึกษา
ผู้วิจยั อภิปรายผลการศกึ ษา โดยแบง่ ข้อมูลออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้
1. ขอ้ มูลสว่ นบคุ คลของผู้อุปการะเด็กแบบครอบครวั อุปถมั ภ์
การอุปการะเด็กแบบครอบครัวอุปถัมภ์ เป็นการปรับตัวรูปแบบหนึ่งเพื่อให้ผู้อุปการะเด็ก
สามารถปรบั เปลีย่ นตนเองภายใต้สภาพแวดล้อม และสถานการณ์ชวี ติ ที่เปลี่ยนแปลงไปให้สามารถดำเนิน
ชีวิตต่อไปได้ เม่ือพิจารณาข้อมูลส่วนบุคคลของผู้อุปการะเด็กแบบครอบครัวอุปถัมภ์ทั้ง 10 กรณี
พบข้อเท็จจริงว่า ผู้อุปการะมีการปรับตัวด้านร่างกาย ด้านอัตมโนทัศน์ ด้านสังคม และด้านการพ่ึงพา
ระหว่างกันได้เหมาะสมกับการเล้ียงดูเด็กและการดำเนินชีวิตประจำวัน อย่างสัมพันธ์กับปัจจัยท่ี
หลากหลาย คือ ปัจจัยส่วนบุคคลของผู้อุปการะ โดยพบว่า ผู้อุปการะท่ีเป็นเพศหญิงจะปรับตัวได้ดีกว่า
เพศชาย เน่ืองจากถูกอบรมเล้ียงดูให้เป็นผู้ดูแลงานบ้านและดูแลสมาชิกในครอบครัว (ภัทราพร เพ็ชรนิล,
2557) ด้านอายุ พบว่า ผูอ้ ุปการะเด็กทอ่ี ยู่ในช่วงวัยสูงอายุ จะมกี ารปรับตัวมากกวา่ ช่วงวัยอ่ืนๆ เนอ่ื งจาก
ความแข็งแรงของร่างกายลดน้อยลง และเริ่มมีการเจ็บป่วยรวมทั้งโรคประจำตัวต่างๆ ด้านอาชีพ/รายได้
พบว่า ผู้อุปการะต้องหารายได้เพิ่มตามภาระค่าใช้จ่ายของครอบครัวท่ีเพ่ิมมากขึ้น จึงมีการปรับเปลี่ยน
การประกอบอาชีพและการหารายได้ที่แตกต่างกันไป ท้ังการประกอบอาชีพมากกว่า 1 อาชีพ การลงทุน
ในอาชีพเดิมมากขึ้น ตลอดจนเปล่ียนอาชีพเพื่อให้มีรายได้มากขึ้น ในขณะท่ีบางกรณีต้องเลิกประกอบ
อาชีพซึ่งเชื่อมโยงกับปัจจัยด้านสถานภาพสมรสของผู้อุปการะเด็ก โดยพบว่า ผู้อุปการะท่ีมีสถานภาพ
สมรส จะมีคู่สมรสที่คอยช่วยเหลือในเร่ืองการหารายได้ ตลอดจนการให้คำปรึกษา กำลังใจ ส่งผลให้
ผู้อุปการะปรับตัวได้ดีข้ึน (ภัทราพร เพ็ชรนิล, 2557) ด้านจำนวนสมาชิกในครอบครัวและจำนวนบุตร
ครอบครัวท่ีมีสมาชิกหลายคนและสามารถช่วยเล้ียงดูเด็กได้ ผอู้ ุปการะจะสามารถปรับตัวไดด้ ีและง่ายกว่า
ผอู้ ุปการะที่ไม่มีสมาชิกในครอบครัวช่วยดูแลเด็ก ปัจจัยด้านตัวเด็ก พบวา่ อายุและภาวะสุขภาพของเด็ก
สมั มนาผลงานวชิ าการระดบั บัณฑิตศกึ ษาสงั คมสงเคราะหศ์ าสตร์และสวัสดกิ ารสังคมระดับชาติ คร้ังท่ี 10 ประจำปกี ารศึกษา 2563 | 67
มีผลต่อการปรับตัวเนื่องจากเด็กทุกกรณีอยู่ในช่วงวัยทารกและบางกรณีมีความพิการซ้ำซ้อน ผู้อุปการะต้อง
ปรับตัวทุกด้านให้เหมาะสมกับเด็ก ซึ่งจะปรับตัวแตกต่างกันข้ึนอยู่กับการสนับสนุนทางสังคมจากบุคคลใน
ครอบครัว นอกจากนี้ ความเห็นจากสมาชิกในครอบครัวเป็นอีกหน่ึงปัจจัยท่ีมีอิทธิพลต่อการปรับตัวของ
ผู้อุปการะ เนื่องจากการที่ครอบครัวเห็นด้วย เข้าใจในเหตุผลของการรับอุปการะเด็ก ส่งผลให้ผู้อุปการะ
รู้สึกได้รับการสนับสนุนในด้านความผูกพันทางอารมณ์และความคิดที่เป็นการแสดงออก ถึงอารมณ์ใน
ทางบวก (Kahn, 1979, p. 85, อ้างถึงใน วันทนีย์ วาสิกะสิน, สุรางค์รัตน์ วศินารมณ์ และ กิติพัฒน์
นนทปัทมะดุลย์, 2550, น. 102) ซ่ึงส่งผลโดยตรงต่อความมั่นคงทางจิตใจ นอกจากนี้ ปัจจัยด้านสาเหตุ
การอุปการะเด็ก ยังมีอิทธิพลต่อการปรับตัวเพื่อรบั อุปการะเด็กด้วย เนอื่ งจากเด็กทกุ กรณีอยู่ในสภาพท่ีบิดา
มารดาไมส่ ามารถให้การเลยี้ งดูได้และผู้อุปการะจำเป็นตอ้ งอุปการะเล้ียงดูเด็กอย่างปฏิเสธไม่ได้ เน่ืองจาก
เป็นญาติที่มีความใกล้ชิดกับเด็กและเป็นที่พึ่งที่เป็นไปได้มากที่สุดในการอุปการะเด็กในระยะยาว (ศูนย์
อำนวยการรบั เด็กเปน็ บุตรบญุ ธรรม, 2561)
2. การปรับตัวและปัจจยั ทสี่ มั พันธก์ บั การปรบั ตัวของผู้อุปการะเด็กแบบครอบครัวอุปถัมภ์
การปรับตัวเพื่อรับอุปการะเด็กของผู้อุปการะแบบครอบครัวอุปถัมภ์ ประกอบด้วย 4 ด้าน
คือ ด้านร่างกาย ด้านอัตมโนทัศน์ ด้านสังคม และด้านการพึ่งพาระหว่างกัน ซ่ึงผลการศึกษา พบว่า
ผู้อุปการะสามารถปรับตัวได้ดีและมีความสัมพันธ์กับปัจจัยต่างๆ ที่หนุนเสริมให้ผู้อุปการะสามารถปรับ
ตนเองในการรบั อุปการะเด็กได้ ดังน้ี
ด้านร่างกาย ผู้อุปการะปรับตัวโดยการปรับเปล่ียนการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ปรับเปลี่ยน
การดูแลสุขภาพร่างกาย โดยเฉพาะกรณีท่ีมีการเจ็บป่วย/โรคประจำตัว จะใส่ใจสุขภาพมากย่ิงขึ้น พร้อม
ทงั้ มีการปรับเปล่ียนพฤตกิ รรมการนอนหลับพักผ่อนให้สอดคล้องกับการเล้ียงดูเด็กและภาวะสุขภาพของ
ตนเอง โดยมีความสัมพันธ์กับปัจจัยต่างๆ ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคลของผู้อุปการะ ประกอบด้วย ภาวะสุขภาพ
การมีโรคประจำตัวหรือการเจ็บป่วยต่างๆ และความสนใจดูแลสุขภาพของตนเอง ด้วยการปรับให้มี
ความเหมาะสมกับปัจจัยด้านเด็ก คือ การดูแลเด็กซ่ึงอยู่ในช่วงวัยทารกที่ยังไม่สามารถดูแลช่วยเหลือ
ตนเองได้ และปัจจัยการสนับสนุนทางสังคมจากบุคคลในครอบครัวและเครือญาติในการเลี้ยงดูเด็ก และ
ให้คำแนะนำเก่ียวกับการดูแลสุขภาพรา่ งกาย สะท้อนว่า ผู้อุปการะได้รับการสนับสนุนดา้ นอารมณ์ที่ช่วยให้
รู้สึกได้รับความใส่ใจ ช่วยเหลือ ตลอดจนแบ่งเบาภาระ และการสนับสนุนด้านข้อมูลข่าวสารท่ีช่วยให้
ผู้อุปการะมีความรู้ความเข้าใจในภาวะสุขภาพของตนเองมากข้ึน (Jacobson, 1986, p. 252, อ้างถึงใน
วนั ทนยี ์ วาสกิ ะสนิ , สุรางค์รตั น์ วศินารมณ์ และ กติ ิพฒั น์ นนทปัทมะดลุ ย,์ 2550) ไมเ่ กดิ ความยากลำบาก
ในการดำเนินชีวิต (ศิริลักษณ์ สุมาดน, สุธิศา ล่ามช้าง และ ฐิติมา สุขเลิศตระกูล, 2563) จึงไม่ต้อง
ปรบั ตัวด้านรา่ งกายมากนัก และยังส่งผลให้ผอู้ ปุ การะรสู้ ึกมคี วามมั่นคงในตนเอง นอกจากน้ี ปัจจยั ท่ีสำคัญ
อีกประการ คือ การสนับสนุนทางสังคมจากบุคคลในระบบสนับสนุนทางสังคม ในรูปแบบคำแนะนำและ
การรกั ษาความเจ็บป่วยจากบุคลากรทางการแพทย์ ช่วยให้ผูอ้ ุปการะสามารถปรับตัวได้สอดคล้องกับสภาวะ
ร่างกายของตนเอง เกิดการจัดการร่างกายอย่างเหมาะสม ส่งผลดีต่อการจัดการครอบครัวและการดูแล
เด็กได้อยา่ งลงตวั ตามไปด้วย (ศิรลิ ักษณ์ สุมาดน, สุธศิ า ล่ามช้าง และ ฐติ ิมา สขุ เลศิ ตระกลู , 2563)
68 | สัมมนาผลงานวิชาการระดบั บณั ฑิตศกึ ษาสังคมสงเคราะหศ์ าสตร์และสวสั ดิการสงั คมระดับชาติ ครงั้ ที่ 10 ประจำปีการศึกษา 2563
ด้านอัตมโนทัศน์ ผู้อุปการะสามารถปรับตัวได้อย่างเหมาะสมทุกกรณี โดยรู้สึกมีคุณค่าใน
ตนเองเพ่ิมมากขึ้น และมีมุมมองต่อความสามารถของตนเองในการรับอุปการะเด็กในเชิงบวก ด้วยเช่ือว่า
ตนเองสามารถเลี้ยงดูเด็กได้อย่างเหมาะสม แม้ว่าในช่วง 1-6 เดือนแรกของการรับอุปการะเด็ก ผู้อุปการะ
บางกรณีจะมีความวิตกกังวล และไม่มั่นใจเก่ียวกับการนำเด็กมาเล้ียงดู แต่เมื่อได้รับการสนับสนุนทางสังคม
จากบุคคลในครอบครัวและเครือญาติก็สามารถปรับตัวและก้าวผ่านช่วงเวลายากลำบากน้ันมาได้ ท้ังนี้
ผู้อุปการะแต่ละกรณีมีการปรับตัวท่ีแตกต่างกันอย่างสัมพันธ์กับปัจจัยส่วนบุคคลของผู้อุปการะ ปัจจัยด้าน
เด็ก ปัจจัยภายในครอบครัว และปัจจัยการสนับสนุนทางสังคมจากบุคคลในสังคม ได้แก่ บุคคลใน
ครอบครัวและเครือญาติ และบุคคลในระบบสนับสนุนทางสังคม ข้อค้นพบท่ีสำคัญ พบว่า การปรับตัว
ด้านอัตมโนทัศน์เป็นด้านที่สำคัญและมีอิทธิพลต่อการปรับตัวด้านอื่นๆ เน่ืองจากเกี่ยวข้องกับความม่ันคง
ภายในของผู้อปุ การะ และผู้อปุ การะทุกกรณีลว้ นมีความเชอ่ื มั่นและรู้สึกมคี ุณคา่ ในตนเองสูงจากการเลีย้ งดู
เด็กได้อย่างดี และสามารถก้าวผ่านช่วงเวลายากลำบากในการรับอุปการะเด็กได้จากการสนับสนุนทาง
สังคมของบุคคลในครอบครัวและเครือญาติ และบุคคลในระบบสนับสนุนทางสังคมท่ีให้การยอมรับใน
คุณค่าและความสามารถของผู้อุปการะ พร้อมท้ังให้ความช่วยเหลือในส่วนท่ีเกี่ยวข้องกับการเลี้ยงดูเด็กและ
ชีวติ ครอบครัว ส่งผลให้ปรับตัวได้ดี (Thorpe, 1965, อ้างถึงใน นิรมล สุวรรณโคตร, 2553) และผลลัพธ์จาก
การปรับตัวได้ดี ช่วยให้ผู้อุปการะเกิดขวัญและกำลังใจท่ีดีจนสามารถปรับตัวได้อย่างเหมาะสม อย่างไรก็ดี
การมีขวัญและกำลังใจท่ีดี มีความมั่นคงทางจิตใจและอารมณ์ สามารถตัดสินใจและปรับตัวในสถานการณ์
ใหม่ท่ีอาจมีความยากลำบากได้ เป็นองค์ประกอบสำคัญที่สะท้อนว่าผูอ้ ุปการะสามารถปรับตัวเพื่อรับอุปการะ
เด็กแบบครอบครัวอุปถัมภ์ได้ (Lazarus & Folkman, 1984, p. 19, อ้างถึงใน พัชชา เจิงกลิ่นจันทร์,
2556)
ด้านสังคม ผู้อุปการะมีการปรับตัวในการดำรงบทบาทหน้าท่ีต่างๆ เพ่ือความมั่นคงทางสังคม
ด้วยการปรับเปลี่ยนบทบาทหน้าที่ในการดูแลเด็กเม่ือเป็นผู้ใช้บริการของสำนักงานพัฒนาสังคมและ
ความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนครนายก โดยให้ความสำคัญต่อการดูแลเด็กมากข้ึน ปรับเปลี่ยนบทบาท
หน้าที่ในการดูแลสมาชิกในครอบครัว โดยเพ่ิมการดูแลเด็กในฐานะสมาชิกของครอบครัว ปรับเปลี่ยน
บทบาทด้านเศรษฐกิจของครอบครัวให้สอดคล้องกับการมีภาระค่าใช้จ่ายที่เพ่ิมมากข้ึน และปรับเปล่ียน
บทบาทหน้าที่ในฐานะสมาชิกในชุมชนด้วยการร่วมกิจกรรมของชุมชนลดน้อยลง เน่ืองจากต้องดูแลเด็ก
ซึง่ สัมพันธก์ ับปัจจัยตา่ งๆ ได้แก่ ปจั จัยส่วนบุคคลของผู้อุปการะเกยี่ วกับการดำรงบทบาทหน้าที่ของตนเอง
ให้ดีท่ีสุดเพื่อความมั่นคงทางสังคม ปัจจัยภายในครอบครัว จากการมีสมาชิกในครอบครัวที่มีความพิการ
หรือความต้องการพิเศษ และสถานะทางเศรษฐกิจของครอบครัว โดยจะมีการปรับเปลี่ยนการดูแลสมาชิก
ในครอบครัวให้เหมาะสมกับการเล้ียงดูเด็ก ซึ่งพบว่า บางกรณีรับอุปการะเด็กซึ่งมีความพิการซ้ำซ้อน
ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ จึงต้องปรับเปลี่ยนบทบาทหน้าท่ีในการดูแลสมาชิกในครอบครัวและหา
รายได้มาดูแลเด็กเป็นหลัก และแม้ว่าผู้อุปการะจะต้องปรับเปลี่ยนบทบาทหน้าที่บางประการไปอย่าง
สน้ิ เชิง แต่การมสี มาชกิ ในครอบครวั ทำหน้าท่ีทดแทน เชน่ ดา้ นเศรษฐกจิ ของครอบครัว การดูแลครอบครัว
ในเร่ืองอ่ืนที่นอกเหนือจากการดูแลเด็ก สะท้อนถึงการสนับสนุนทางสังคมจากบุคคลในครอบครัว ท่ีพบว่า
สมั มนาผลงานวชิ าการระดับบัณฑิตศึกษาสงั คมสงเคราะห์ศาสตรแ์ ละสวสั ดกิ ารสงั คมระดบั ชาติ ครั้งที่ 10 ประจำปกี ารศกึ ษา 2563 | 69
การแบ่งบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบกันภายในครอบครัวส่งผลให้ผู้อุปการะปรับตัวได้ดีขึ้น (กนกฐินี
พันภักดี, 2556) รวมท้ังการสนับสนุนทางสังคมจากบุคคลในระบบสนับสนุนทางสังคม ไม่ว่าจะเป็น
เพอื่ นบา้ น คนในชุมชน นายจา้ ง และหนว่ ยงานตา่ งๆ ท่ชี ว่ ยเหลอื เกย่ี วกับการดแู ลเดก็ ดว้ ย
ด้านการพ่ึงพาระหว่างกัน ผู้อุปการะมีการปรับตัวด้วยให้ได้รับการยอมรับจากสมาชิกใน
ครอบครัวและบุคคลรอบข้างในความมีคุณค่าและความสามารถในการเลี้ยงดูเด็กอย่างเหมาะสม
บนพื้นฐานความคิดและทศั นคติที่ดตี ่อเดก็ ไปพร้อมกบั การดำรงบทบาทหน้าที่อ่ืนของตนเองอย่างไม่ขาดตก
บกพร่อง พร้อมท้ังมีการปรับตัวเพื่อรักษาสัมพันธภาพกับบุคคลในครอบครัวและเครือญาติ และบุคคลใน
ระบบสนับสนุนทางสังคม โดยการสื่อสารระหว่างกันด้วยสัมพันธภาพเชิงบวก ซ่ึงส่งผลให้ผู้อุปการะได้รับ
การสนับสนุนทางสังคมจากบุคคลในครอบครัวและเครือญาติ และบุคคลในระบบสนับสนุนทางสังคมใน
การอุปการะเด็ก ซึ่งสัมพันธ์กับปัจจัยต่างๆ ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคลของผู้อุปการะด้านความสามารถใน
การอุปการะเด็กอย่างเหมาะสม ปัจจัยด้านเด็ก จากการรับอุปการะเด็กท่ีมีความพิการซ้ำซ้อนไม่สามารถ
ช่วยเหลือตนเองได้ ซึ่งผู้อุปการะสามารถยอมรับและปรับตัวในการเลี้ยงดูเด็กได้อย่างเหมาะสมและ
ปลอดภัย ปัจจัยภายในครอบครัว พบว่า ผู้อุปการะบางกรณีต้องดูแลสมาชิกในครอบครัวท่ีมี
ความต้องการพิเศษเนื่องจากเป็นผู้สูงอายุและมีความพิการติดเตียง ทั้งยังทำหน้าท่ีหารายได้เพ่ือดูแล
ครอบครัวด้วย สะท้อนถึงความรับผิดชอบและความสามารถในการจัดการครอบครัวอย่างเห็นได้ชัด
ส่งผลให้ผู้อุปการะได้รับการยอมรับจากสมาชิกในครอบครัวและบุคคลรอบข้างทุกกรณี นอกจากน้ี
ข้อค้นพบท่ีสำคัญ คือ ผู้อุปการะสามารถปรับตัวเพ่ือรักษาสัมพันธภาพกับบุคคลในครอบครัวและเครือ
ญาติ และบุคคลในระบบสนับสนุนทางสังคมได้เป็นอย่างดี ซ่ึงทำให้ผู้อุปการะสามารถพึ่งพาอาศัยบุคคล
ดังกล่าวเก่ยี วกับการเลี้ยงดูเด็กได้ โดยได้รับการสนับสนนุ ทางสังคมใน 4 ด้าน ไดแ้ ก่ 1) การสนับสนุนดา้ น
อารมณ์ จากการยอมรับ เห็นคุณค่า ช่ืนชมและให้กำลงั ใจโดยบุคคลรอบข้าง 2) การสนับสนุนด้านข้อมูล
ข่าวสารที่จำเป็นในการดำเนินชีวิตและการเล้ียงดูเด็ก 3) การสนับสนุนด้านสิ่งของและบริการต่างๆ ไม่ว่า
จะเป็น เงินอุดหนุนช่วยเหลือ สิ่งของเคร่ืองใช้ และการให้บริการจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และ
4) การสนับสนุนด้านการประเมินค่า ที่ผู้อุปการะสามารถประเมินความสามารถและคุณค่าของตนเองใน
การอุปการะเด็กแบบครอบครัวอุปถัมภ์ได้จากการยอมรับ ช่ืนชม และยืนยันในความสามารถโดยบุคคล
รอบข้าง ล้วนเป็นองค์ประกอบที่ทำให้ผู้อุปการะปรับตัวได้ดี เพราะการรู้สึกว่าตนเองมีตัวตน มีคุณค่า
มีที่พึ่งเม่ือประสบปัญหาและสถานการณ์เลวร้ายของชีวิตย่อมส่งผลให้ผ่านพ้นสถานการณ์ต่างๆ เหล่านั้น
ไปได้ (House, 1981, อ้างถึงใน พรพิมล เพ็ชรบรุ ี, 2559)
ข้อเสนอแนะทส่ี ำคญั จากการศกึ ษา
การปรับตัวของผู้อุปการะเด็กแบบครอบครัวอุปถัมภ์ จำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนทางสังคม
จากบุคคลในครอบครัวและเครือญาติ และบุคคลในระบบสนบั สนนุ ทางสังคมตา่ งๆ ซึ่งเปน็ บริบทแวดลอ้ ม
ของผู้อุปการะ ที่ส่งผลให้ผู้อุปการะสามารถปรับตัวในการรับอุปการะเด็กแบบครอบครัวอุปถัมภ์ได้อย่าง
70 | สมั มนาผลงานวิชาการระดับบัณฑิตศึกษาสงั คมสงเคราะหศ์ าสตร์และสวสั ดิการสงั คมระดบั ชาติ คร้งั ที่ 10 ประจำปกี ารศึกษา 2563
ม่ันคงในระยะยาว ดงั นั้น บุคคลในครอบครัวและเครือญาติ และบุคคลในระบบสนับสนุนทางสังคมต่างๆ
ควรมีบทบาทในการสี นับสนุนการปรับตวั ของผอู้ ุปการะเด็กแบบครอบครวั อปุ ถมั ภ์ ดงั น้ี
(1) ครอบครัวและเครือญาติ และบุคคลในระบบสนับสนุนทางสังคม ควรสนับสนุนการปรับตัว
ของผู้อุปการะและการดำเนินชีวิตครอบครัว โดยเน้นการสนับสนุนทางสังคมท่ีจำเป็นต่อการปรับตัวและ
การเลี้ยงดูเด็ก ได้แก่ ด้านอารมณ์ ด้านข้อมูลข่าวสาร วิธีการเลี้ยงดูเด็กที่เหมาะสม การให้บริการ
การปรึกษาและการทำกลุ่มครอบครัวเมื่อประสบปัญหาต่างๆ ระหว่างการดูแลเด็ก การสนับสนุนด้าน
การเงนิ สิ่งของจำเปน็ การสนบั สนุนด้านอาชพี และอ่นื ๆ
(2) ควรเตรียมความพร้อมครอบครัวก่อนรับอุปการะเด็กแบบครอบครัวอุปถัมภ์ และติดตาม
อย่างใกล้ชดิ ในชว่ ง 6 เดือนแรก เพอ่ื สนบั สนุนการปรับตัวของผู้อปุ การะเด็กและครอบครัว
(3) ควรดำเนินการในรูปแบบของความร่วมมือระหว่างเครือข่ายในพื้นที่ ได้แก่ ผู้นำชุมชน
อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนษุ ย์ในพ้ืนที่ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมบู่ ้าน องค์กร
ปกครองส่วนท้องถ่ิน และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในพ้ืนที่ ในการสนับสนุนทางสงั คมด้านต่างๆ
ตงั้ แตช่ ่วงแรกของการรับอปุ การะเด็กเพอ่ื สนบั สนนุ การปรบั ตวั ของผ้อู ุปการะและครอบครัว
(4) ควรปรับรูปแบบการติดตาม โดยเพิ่มการจัดกิจกรรมสำหรับครอบครัวใหม่ในช่วงแรกของ
การรับอุปการะเด็ก และครอบครัวเดิมต่อเน่ืองทุกปี อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง โดยเน้นความรู้หรือทักษะท่ี
จำเป็นตามสภาพปัญหาและความต้องการ หรือพัฒนาการในแต่ละช่วงวัยของเด็ก เพ่ือทำให้ครอบครัว
อปุ ถัมภส์ ามารถปรับตัวในการเลี้ยงดูเดก็ ไดม้ น่ั คงในระยะยาว
รายการอ้างอิง
กนกฐินี พันภกั ดี. (2556). การศกึ ษาความสัมพันธ์ในครอบครัวบญุ ธรรม : กรณีศึกษาครอบครัวบุญธรรม
ไทยทรี่ ับอุปการะบุตรบญุ ธรรม อายุระหว่าง 3-8 ปี จากสถานสงเคราะห์เด็กบ้านแคนทอง
จังหวัดขอนแก่น. (วทิ ยานพิ นธป์ รญิ ญามหาบณั ฑติ ). มหาวิทยาลยั ขอนแกน่ , คณะศึกษาศาสตร,์
สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษาและการให้คำปรกึ ษา.
กรมกจิ การเดก็ และเยาวชน. (2563). สถิติการให้บริการของบา้ นพกั เด็กและครอบครัวทั่วประเทศ
ประจำปี 2563. สืบคน้ จาก file:///C:/Users/Admin/Downloads/Music/file_th_
20201305145701_1.pdf
กรมกิจการสตรแี ละสถาบนั ครอบครัว. (2563). ผลการสำรวจสถานการณ์ความเข้มแขง็ ของครอบครวั
ประจำปี 2563. กรุงเทพฯ: ผู้แตง่ .
ชัยสทิ ธิ์ ทองบริสทุ ธิ์, และประยรู สยุ ะใจ. (2558). การปรับตวั ในสถานการณว์ ิกฤติของชีวิต. สืบคน้ จาก
file:///C:/Users/Admin/Downloads/138138-Article%20Text- 366686-1-10-
20180804%20(1).pdf.
สมั มนาผลงานวชิ าการระดบั บัณฑิตศกึ ษาสังคมสงเคราะห์ศาสตรแ์ ละสวัสดกิ ารสังคมระดับชาติ ครั้งที่ 10 ประจำปกี ารศกึ ษา 2563 | 71
นิรมล สุวรรณโคตร. (2553). การปรบั ตัวของนสิ ิตระดบั ปริญญาตรี ชน้ั ปที ่ี 1 มหาวทิ ยาลัยนเรศวร.
(วิทยานพิ นธ์ปริญญามหาบัณฑติ ). มหาวิทยาลัยศรีนครนิ ทรวโิ รฒ, คณะศึกษาศาสตร,์
สาขาวชิ าการอดุ มศกึ ษา.
พรพิมล เพช็ รบรุ ี. (2559). ผลของโปรแกรมการสนับสนนุ ทางสงั คมต่อภาวะสุขภาพจิตของผู้สงู อาย.ุ
(วทิ ยานิพนธ์ปรญิ ญามหาบณั ฑติ ). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะพยาบาลศาสตร์.
พัชชา เจิงกลิน่ จนั ทร.์ (2556). กระบวนการปรับตัวและการอบรมเล้ียงดูบุตรของแมว่ ัยรุ่นที่ตอ้ งดูแลบุตร
เพยี งลำพัง: กรณศี ึกษาผู้ใชบ้ ริการของสหทยั มูลนธิ ิ. (วิทยานพิ นธ์ปริญญามหาบัณฑิต).
มหาวทิ ยาลยั ศรีนครนิ ทรวโิ รฒ, คณะวิทยาศาสตร,์ สาขาวิชาการวิจยั พฤติกรรมศาสตรป์ ระยกุ ต์.
ภทั ราพร เพ็ชรนลิ . (2557). การปรับตวั ของผู้ปกครองในการดแู ลเดก็ สมาธิส้นั .
(วิทยานพิ นธ์ปรญิ ญามหาบัณฑติ ). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะสังคมสงเคราะหศ์ าสตร.์
วันทนยี ์ วาสกิ ะสนิ , สุรางค์รตั น์ วศนิ ารมณ์ และ กิตพิ ัฒน์ นนทปทั มะดลุ ย.์ (2550). ความรู้ท่วั ไปเกยี่ วกบั
สวสั ดกิ ารสงั คมและสังคมสงเคราะห์ (พิมพค์ ร้ังท่ี 6). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ศริ ลิ กั ษณ์ สมุ าดน, สุธศิ า ล่ามช้าง, และฐิตมิ า สขุ เลศิ ตระกูล. (2563). ปัจจยั ที่เกย่ี วข้องกบั การจดั การ
ครอบครวั ในผูด้ ูแลเดก็ โรคธาลัสซีเมยี . สืบคน้ จาก file:///C:/Users/NEPUser2/Downloads
/240182-Article%20Text-852736-2-10-20200913.pdf
ศูนย์อำนวยการรับเด็กเปน็ บตุ รบุญธรรม. (2561). ค่มู ือการปฏิบตั ิงานครอบครัวทดแทน. กรงุ เทพฯ:
กระทรวงการพฒั นาสังคมและความมน่ั คงของมนุษย,์ กรมกิจการเด็กและเยาวชน.
ศนู ย์อำนวยการรับเด็กเป็นบตุ รบญุ ธรรม. (2563). สถติ ิผลการดำเนินงานโครงการจัดหาครอบครัวทดแทน
ประจำปี งบประมาณ 2563. สืบคน้ จาก http://www.dcy.go.th/webnew/oppnews/?p
=news_view&id=4302
72 | สัมมนาผลงานวชิ าการระดบั บณั ฑติ ศกึ ษาสงั คมสงเคราะหศ์ าสตรแ์ ละสวัสดกิ ารสังคมระดบั ชาติ ครั้งที่ 10 ประจำปีการศึกษา 2563
แนวทางการพัฒนาบทบาทของอาสาสมคั รในการเฝา้ ระวังความเสย่ี งของผู้สูงอายใุ น
ชุมชน: กรณศี กึ ษาอาสาสมคั รพฒั นาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จงั หวดั สุโขทัย
The Guideline of Role Development for Volunteers to Surveillance
the Older Persons Risk in the Community: A Case Study of Social
Development and Human Security Volunteers Sukhothai Province
อาภาภรณ์ บญุ มี1 และ ผศ.ดร. มาลี จริ วัฒนานนท์2
Apaporn Boonmee 3 and Asst. Prof. Malee Jirawattananon, Ph.D.4
Abstract
The objective of this study aimed to assess the Social development and Human
security volunteer knowledge of older persons’risk surveillance in community, Sukhothai
province and to study the Guideline of role development for volunteers in risk
surveillance of the older persons in the community. This study is quantitative; using
Purposive sampling method. There are 15 participants divided in to 3 groups including
10 Social development and human security volunteers in Sukhothai province, 2 Social
development and human security officers in Sukhothai and 3 community leaders. There
are interviewed question, analysis and descriptive presentation in this study.
The results showed that there are 10 female social development and human
security volunteers. There are 9 in 10 people who are between 50 and 59 years old.
Half of them are agriculturists, graduated from high school to master degree,
experienced in social development and human security volunteer role for 6 to 17 years.
For their understanding and knowledge of risk surveillance of the older persons in the
community during pre-event problems, they got 3 risks including 1) insecurity in life and
property of older persons, 2) lack of access to older persons welfare and 3) lack of
elderly readiness. For post-event problems in risk surveillance of the older persons in
the community, there are 4 risk surveillances including 1) physical risk 2) mental risk
3) occupational and income risk 4) violent risk (body, mind and ignorance). However, the
role of Social development and Human security volunteer during pre-event and post-
1 นักศึกษาปริญญาโทหลักสูตรสังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑติ คณะสงั คมสงเคราะหศ์ าสตร์ มหาวิทยาลยั ธรรมศาสตร์
2 อาจารย์ประจำคณะสังคมสงเคราะหศ์ าสตร์ มหาวิทยาลยั ธรรมศาสตร์
3 Master of Social Work, Faculty of Social Work, Thammasat University
4 Lecturer, Faculty of social Administration, Thammasat University, Thailand
สัมมนาผลงานวิชาการระดับบัณฑิตศกึ ษาสงั คมสงเคราะหศ์ าสตร์และสวสั ดิการสงั คมระดบั ชาติ ครั้งที่ 10 ประจำปีการศกึ ษา 2563 | 73
event is related and continued. Aside from their knowledge and understanding of 7 risk
surveillances, they were found with their volunteers’ role drive because they have been
willing to do their role and to do good. Also, they have experienced with their own
older persons in their families. For the guidelines of role development for volunteers,
there were divided into 2 phases including 1) pre-event control; Social development
and Human security volunteer assess and screen, being adviser, being right protector
and being supporter of the older persons in the community. 2) post-event control;
Social development and Human security volunteer developed the community
administration and coordinated to give primary help.
Recommendations: There should develop the elderly risk surveillance effective tools
or comprehensive assessment system. In addition, there should support, promote and create
the knowledge to Social development and Human security volunteer. Moreover, there
should have knowledge exchange program between Social development and Human security
volunteer and related networks to cooperate and to develop the role of risk surveillance of
the older persons in the community. Thus, this should be sustainably integrated with other
Social development and Human security volunteer work.
Keywords: Role development, risk surveillance, older persons, social development and
human security volunteer, Sukhothai province
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพ่ือศึกษาความรู้ความเข้าใจของอาสาสมัครพัฒนาสังคมและ
ความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) ในการเฝ้าระวังความเสี่ยงของผู้สูงอายุในชุมชน จังหวัดสุโขทัย และแนวทาง
การพัฒนาบทบาทของ อพม. ในการเฝ้าระวังความเส่ียงของผู้สูงอายุในชุมชน ใช้การศึกษาวิจัยเชิง
คุณภาพ โดยผู้มีส่วนร่วมในการวิจัย แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ อพม.จังหวัดสุโขทัย จำนวน 10 คน เจ้าหน้าที่
สำนักงานพัฒนาสังคมและความม่ันคงของมนุษย์จังหวัดสุโขทัย จำนวน 2 คน และผู้นำชุมชน จำนวน 3 คน
รวมทั้งส้ิน จำนวน 15 คน ใช้การสุ่มแบบเจาะจง มีแนวคำถามเป็นเคร่ืองมือในการสัมภาษณ์ เม่ือได้ข้อมูล
จึงนำมาวเิ คราะหต์ ีความ และนำเสนอผลการศึกษาวจิ ยั เชงิ พรรณนา
ผลการศึกษาพบว่า ข้อมูลท่ัวไปของ อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความม่ันคงของมนุษย์ (อพม.)
จำนวน 10 คนเป็นผู้หญิงท้ังหมด โดยส่วนใหญ่ จำนวน 9 คน มีอายุระหว่าง 50-59 ปี จำนวนคร่ึงหนึ่ง
ของ อพม. ดังกล่าว ประกอบอาชีพหลักเป็นเกษตรกร ระดับการศึกษาต้ังแต่มัธยมศึกษาตอนต้นถึง
ปริญญาโท โดยมีประสบการณ์ในการเป็น อพม. ระหว่าง 6-17 ปี สำหรับความรู้ความเข้าใจของ อพม.
ในการเฝ้าระวังความเส่ียงของผู้สูงอายุในชุมชนนั้น ช่วงก่อนเกิดปัญหากับผู้สูงอายุในชุมชน อพม.
มีความรู้ความเข้าใจในความเส่ียง 3 ด้าน กล่าวคือ 1)ความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของผู้สงู อายุ
74 | สมั มนาผลงานวิชาการระดบั บณั ฑติ ศกึ ษาสงั คมสงเคราะห์ศาสตร์และสวสั ดกิ ารสังคมระดับชาติ ครั้งที่ 10 ประจำปกี ารศึกษา 2563
2) การเข้าไม่ถึงสิทธิสวัสดิการของผู้สูงอายุ และ 3) ด้านการขาดการเตรียมความพร้อม ก่อนเข้าสู่วัย
สูงอายุ และช่วงหลังจากท่ีผู้สูงอายุในชุมชนเผชิญปัญหาแล้ว พบว่า ความเส่ียงท่ีต้องเฝ้าระวังใน 4 ด้าน
ได้แก่ 1) สุขภาพร่างกาย 2) สุขภาพจิต 3)อาชีพและการมีรายได้ 4) ความรุนแรงในลักษณะของการถูก
เพิกเฉย ละเลยและทอดทิ้ง ท้ังน้ี การทำบทบาทของ อพม. น้ัน ท้ังก่อนและหลังเกิดปัญหาจะเป็น
การทำงานที่มีความต่อเนื่องและส่งผลกระทบต่อกัน ซ่ึงนอกจากประเด็นความเส่ียงต่างๆ ที่เป็นความรู้
ความเข้าใจของ อพม.ในความเส่ียงที่ตอ้ งเฝ้าระวัง 7 ดา้ น ดังกล่าวแล้ว ข้อคน้ พบที่นา่ สนใจของงานชิ้นนี้
คือ พลังขับเคลอื่ นตนเองในการทำบทบาทของ อพม. อันเนอื่ งจากความปิติยินดี ความเช่ือในเรอื่ งความดี
รวมถึงตน้ ทุนการมีประสบการณ์การดูแลผ้สู ูงอายุในครอบครัวตนเอง สำหรับแนวทางการพัฒนาบทบาท
อพม. แบ่งตามช่วงเวลา คือ แนวทางการพัฒนาบทบาท อพม. ก่อนเกิดปัญหา เป็นการพัฒนาบทบาทใน
การประเมินและคัดกรอง การเป็นผู้ให้การปรึกษาแนะนำ บทบาทผู้พิทักษ์สิทธิ์ และบทบาท
การเสริมสร้างเครือข่ายในการเฝ้าระวังผู้สงู อายุในชุมชน และแนวทางการพัฒนาบทบาท อพม. หลงั เกิด
ปัญหาแลว้ คือ การพัฒนาบทบาทในการจัดบริการ และประสานการใหค้ วามชว่ ยเหลือในเบอ้ื งต้น
ข้อเสนอแนะของการศึกษาวจิ ัย คือ ควรมีการพัฒนาเครื่องมือการประเมินความเสย่ี งสำหรับผู้สูงอายุ
และให้ความรู้ ความเข้าใจแก่ อพม. จัดเวทีสร้างเสริมกระบวนการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาเครือข่าย การทำงาน
รว่ มกับภาคีเครือข่ายเฉพาะทางด้านผู้สูงอายุ เพื่อให้ อพม. สามารถพัฒนาบทบาทการเฝ้าระวังความเสี่ยงของ
ผู้สงู อายุในชมุ ชนและบรู ณาการเชอื่ มร้อยเขา้ กบั งานอื่นๆ ของ อพม. ได้ อยา่ งยงั่ ยืนต่อไป
คำสำคัญ: การพัฒนาบทบาท การเฝ้าระวังความเสี่ยง ผู้สูงอายุ อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคง
ของมนษุ ย์ และ จังหวัดสุโขทัย
บทนำ
งานอาสาสมัคร เป็นงานท่ีมีคณุ ค่าต่อสังคม ซ่ึงบุคคลท่ีเข้ามาเป็นอาสาสมัครนั้นจะเสยี สละเวลา
อนั มีคา่ ตลอดจนความสุขส่วนตัว เพื่อชว่ ยเหลอื ผู้อนื่ หรือทำประโยชน์ให้แก่สังคมโดยไม่หวังสิง่ ตอบแทน
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ขับเคลื่อนการพัฒนาคนและสังคม การสร้างความ
เป็นธรรมและความเสมอภาคในสังคม รวมไปถึงการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพและความมั่นคงในชีวิต
สถาบันครอบครัวและชุมชน โดยมีการทำงานแบบบูรณาการแนวคิด ทิศทาง และการบริหารงานอย่าง
เป็นระบบจากภาคีทุกภาคส่วนและทุกระดับ มุ่งส่งเสริมสนับสนุนให้มีการเสริมสร้างกลไกในระดับพื้นท่ี
คือ อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความม่ันคงของมนุษย์ (อพม.) ให้เป็นกลไกการดำเนินงาน เพ่ือเชื่อม
ประสานบริการด้านการจัดสวัสดิการสังคมและการพัฒนาสังคมและความม่ันคงของมนุษย์ จาก
กระทรวงฯ สู่ประชาชนกลุ่มเป้าหมายในระดับพ้ืนท่ี ให้สามารถเข้าถึงการพิทักษ์คุ้มครองสิทธิให้เกิด
ความเป็นธรรมและเสมอภาคในทุกระดับ และครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย จังหวัดสุโขทัยมีอาสาสมัคร
พัฒนาสังคมและความม่ันคงของมนุษย์ (อพม.) กระจายครอบคลุมทุกพื้นท่ี 9 อำเภอ รวมจำนวน 965
คน สามารถให้การดูแลช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาทุกประเภทในแต่ละพ้ืนท่ีได้อย่างทันท่วงที รวมทั้ง
สามารถปฏิบัติงานตามบทบาทหนา้ ทไ่ี ดอ้ ย่างมีประสิทธภิ าพ อาสาสมัครพฒั นาสงั คมและความมัน่ คงของ
สมั มนาผลงานวชิ าการระดับบัณฑิตศกึ ษาสงั คมสงเคราะห์ศาสตร์และสวัสดกิ ารสังคมระดับชาติ ครั้งที่ 10 ประจำปกี ารศกึ ษา 2563 | 75
มนุษย์ (อพม.) มีบทบาทหน้าที่สำคัญในการให้คำแนะนำปรึกษาปัญหาทางสังคม ประสานการช่วยเหลือ
ผู้ประสบปัญหาความเดือดร้อน ให้บริการและดำเนินงานเพ่ือพิทักษ์คุ้มครองสิทธิ รวมท้ังส่งเสริมการจัด
สวัสดิการสังคมทุกระดับ ตลอดจนจัดกิจกรรมด้านการพัฒนาสังคมและความม่ันคงของมนุษย์ เพ่ือการเฝ้า
ระวัง ป้องกัน แก้ไข และฟื้นฟูคุณภาพชีวิต โดยสอดคล้องกับสถานการณ์ของพื้นที่นั้นๆ เสริมสร้างการมี
ส่วนร่วมทางสังคมและเสริมสร้างเครือข่ายด้านการพัฒนาสังคม เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ จัดการรณรงค์
ใหค้ วามรูข้ อ้ มูลขา่ วสารด้านการพัฒนาสงั คมและส่งเสรมิ การเข้าถึงสทิ ธิของประชาชนทุกกลุม่ เปา้ หมาย
จังหวัดสุโขทัย มีประชากรผู้สูงอายุท้ังหมดจำนวน 113,745 คน จากจำนวนประชากรท้ังหมด
597,257 คน คิดเป็นร้อยละ 19.04 และเม่ือเทียบกับประชากรผู้สูงอายุทั้งประเทศ ทั้งหมดจำนวน
10,666803 คน คดิ เป็นร้อยละ 16.06 (กระทรวงมหาดไทย, 2562) บ่งบอกได้ว่าจังหวัดสุโขทัยกำลังก้าว
สู่สังคมผู้สูงอายุแบบสมบูรณ์ ทั้งนี้ ซึ่งการเตรียมความพร้อมในการดูแลผู้สูงอายุก่อนเกิดปัญหาหรือที่
เรียกว่า ความเส่ียง จำเป็นต้องมีการดำเนินการเพื่อเป็นประโยชน์ต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ประกอบ
กบั ครัวเรือนที่ตกเกณฑ์ จปฐ. ในพ้ืนที่จังหวัดสุโขทัย ส่วนใหญ่ผู้ที่ตกเกณฑ์ จปฐ.จะเป็นผูส้ ูงอายุ คดิ เป็น
รอ้ ยละ 77.18 ของประชากรทั้งหมด จากข้อมูลดังกล่าวทำให้เห็นว่ากลุ่มผู้สูงอายุ เป็นกลุ่มเป้าหมายท่ีมี
ความเปราะบาง และจากการศกึ ษาข้อมลู ของผู้สูงอายุในพ้ืนท่ีจังหวัดสุโขทัย พบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่จะ
เป็นผู้สูงอายุที่อยู่เพียงลำพัง และอยู่กับเด็ก ซึ่งบิดามารดาแยกทางเด็กกัน หรือเสียชีวิต มีครอบครัวใหม่
หรือต้องโทษจำคุก จึงทำให้ผู้สูงอายุต้องแบกรับภาระหนักน้ีไว้ ในการดูแลหลาน รวมทั้งยังเป็นเสาหลัก
ในการหาเลี้ยงครอบครัวอีกด้วย ประกอบกับผู้สูงอายุบางรายเป็นคนพิการด้วย ทำให้เป็นอุปสรรคต่อ
การดำเนินชีวิต และเส่ียงต่อการเกิดปัญหาด้านสุขภาพ ด้านเศรษฐกิจ ด้านอาหารการกิน ด้านอุบัติเหตุ
ตา่ งๆ ที่อาจจะเกิดขนึ้ แต่ไม่มผี ู้ดูแล จึงควรจะมผี ู้ท่ีคอยดูแล ให้การชว่ ยเหลือ เพอื่ สามารถดำเนินชีวิตได้
อย่างปกติสุข และสามารถดูแลตนเองและบุคคลในครอบครัวได้ โดยส่วนใหญ่เมื่อเกิดความเสี่ยงขึ้น
อาสาสมัครพัฒนาสงั คมและความม่ันคงของมนุษย์(อพม.) จะมีบทบาทในการชี้เป้า เฝ้าระวังความเส่ียงที่จะ
เกดิ ขน้ึ มีการดำเนินการสำรวจข้อมลู คัดกรองและประเมนิ ความเสย่ี ง เพ่ือวางแผนการให้ความช่วยเหลือ
ตลอดจนการประสานภาคีเครือข่ายที่เก่ียวข้องดำเนินการให้ความช่วยเหลือ เพื่อให้การดูแล ป้องกัน
เฝ้าระวงั และให้การชว่ ยเหลอื ในเบอ้ื งต้นแก่กลุ่มเป้าหมายในพืน้ ท่ไี ด้
ดังนั้น การพัฒนาบทบาทอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) จึงมี
ความสำคัญ เพราะหากอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) ได้รับการพัฒนาบทบาทให้
มศี ักยภาพ สามารถสำรวจ คัดกรอง และดูแลช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมายได้ จะส่งผลให้กลุ่มเป้าหมาย โดยเฉพาะ
ผู้สูงอายุได้รับการดูแล และเฝ้าระวัง ไม่ให้เกิดความเส่ียงที่จะเกิดข้ึนได้ การศึกษาวิจัยชิ้นน้ี จึงเป็น
การศึกษาเพ่ือพัฒนาและส่งเสริมบทบาทของ อพม. ในการเป็นเครือข่ายเฝ้าระวังความเส่ียง ท่ีเป็นไปใน
ทิศทางเดียวกัน โดยมีวัตถุประสงค์ เพ่ือศึกษาความรู้ความเขา้ ใจของอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคง
ของมนุษย์ (อพม.) เกี่ยวกับการเฝ้าระวังความเสี่ยงของผู้สูงอายุในชุมชน และศึกษาแนวทางการพัฒนา
บทบาทของอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) ในการเฝ้าระวังความเส่ียงของ
ผู้สูงอายใุ นชมุ ชน
76 | สัมมนาผลงานวชิ าการระดับบัณฑิตศกึ ษาสังคมสงเคราะหศ์ าสตร์และสวัสดกิ ารสังคมระดับชาติ ครง้ั ที่ 10 ประจำปกี ารศึกษา 2563
การทบทวนแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยกลุ่มแนวคิดต่างๆ แนวคิดบทบาทของ
อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความม่ันคงของมนุษย์ (อพม.) แนวคิดการเฝ้าระวังทางสังคม และ แนวคิดท่ี
เก่ียวข้องกับผู้สูงอายุและความเสี่ยงในผู้สูงอายุ ในการเฝ้าระวังความเสี่ยงน้ัน อพม. ต้องท่ีมีความรู้
ความสามารถ และมคี วามเขา้ ใจในเรอ่ื งของการสำรวจข้อมูล การคัดกรองผสู้ งู อายุ การให้ความช่วยเหลือ
เบ้ืองต้น เพ่ือนำข้อมูลดังกล่าวมาวางแผนประเมินความเส่ียงท่ีจะเกิดข้ึนกับผู้สูงอายุ เพ่ือประสาน
หน่วยงานที่เก่ียวข้องดำเนินการช่วยเหลือตามความเหมาะสม รวมท้ังจัดกิจกรรมต่างๆ เพ่ือเฝ้าระวัง
ความเส่ียงที่จะเกิดข้ึนได้ โดยเฉพาะกลุ่มเป้าหมายท่ีเป็นผู้สูงอายุ ซึ่งผู้สูงอายุมีความเสี่ยงหลายด้าน เช่น
ด้านร่างกายและจิตใจ ด้านปัจจัยพื้นฐานการดำรง ไม่ว่าจะเป็นอาชีพ/รายได้ ด้านการอยู่ในสภาวะ
ยากลำบาก ถูกละเลย ถูกทอดทิ้ง ไม่มีผู้ดูแล หรือแม้กระท่ังให้รับภาระเลี้ยงดูลูกหลานที่ยังเล็ก ด้าน
การถูกทำร้ายร่างกายหรือจิตใจ การถูกละเมิดสิทธิ และด้านการเตรียมความพร้อมก่อนท่ีจะเข้าสู่วัย
สูงอายุ แต่เพื่อเป็นการป้องกันความเส่ียงที่อาจจะเกิดข้ึนกับผู้สงู อายุ จึงมีการศึกษาเกี่ยวกบั การเฝ้าระวัง
รวมทั้งรวบรวมข้อมูลความเส่ียงท่ีอาจจะเกิดขึ้น เพื่อเป็นฐานข้อมูลในการเฝ้าระวังความเส่ียงที่อาจจะ
เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ โดยนักเฝ้าระวังคือ อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) ที่มี
บทบาทในการเฝ้าระวังท้ังก่อนเกิดปัญหา และในขณะเกิดปัญหา รวมท้ังนำข้อมูลดังกล่าวมาวิเคราะห์
วางแผนเฝ้าระวังเพ่ือไม่ให้เกิดความเส่ียงซ้ำ ดังนั้น การเฝ้าระวังความเสี่ยงของผู้สูงอายุ จึงถือได้ว่าเป็น
ส่งิ สำคัญท่จี ะช่วยใหผ้ ู้สงู อายุไม่ได้รับผลกระทบหรอื ได้รับผลกระทบนอ้ ยจากความเสี่ยงที่จะเกดิ ข้ึน โดยมี
อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความม่ันคงของมนุษย์ (อพม.) เป็นกลไกในการเฝ้าระวังความเส่ียง
ของผู้สูงอายุในชุมชน ที่ทำงานในเชิงรุกก่อนที่ปัญหาจะเกิดขึ้น โดยใช้เครื่องมือต่างๆ การประสาน
ความร่วมมือกับหน่วยงานภาคีเครือข่าย ในการสำรวจข้อมูลเพ่ือตรวจสอบสถานการณ์ที่เกิดข้ึนจริงและ
นำไปส่มู าตรการในการปอ้ งกนั และแก้ไขปญั หาทเ่ี กิดข้นึ
สำหรับอีกกลุ่มแนวคิดทฤษฎี คือ แนวคิดเครือข่ายทางสังคมและทฤษฎีการเรียนรู้เชิง
ประสบการณ์การเรยี นรขู้ องบุคคล โดยการทดลองปฏิบัติ เพ่ือใหเ้ กดิ ประสบการณ์ กล่ันเป็นความรู้ ซ่ึงใน
ระหว่างการเรียนรู้ของผู้ปฏิบัติ เช่น อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) ต้อง
สามารถสังเกต ไตร่ตรอง แก้ปัญหา เพ่ือให้การเรียนรู้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี รวมท้ังนำความรู้ท่ีได้มา
พิจารณาว่าผิดหรือถูก มีผลทางบวกหรือทางลบ และสามารถที่จะยอมรับในผลนั้นๆ เพื่อนำไปปรับปรุง
แก้ไข หรือประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานจริงได้ ซึ่งการเรียนรู้เชิงประสบการณ์เป็นกระบวนการท่ีเน้น
อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) เป็นหลัก ท่ีได้มีประสบการณ์ เพื่อให้เกิด
กระบวนการพัฒนาความคิดใหม่ๆ และสามารถนำมาปฏิบัติจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ (Kolb, 1984,
อ้างถึงใน กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข, 2544; สุภณิตา ปุสุรินทร์คำ, 2563) ในการปฏิบัติงาน
บุคคลอาจจะเรียนรู้จากการศึกษาหาความรู้ การฝึกปฏิบัติจริง ทุกส่ิงล้วนเกิดมาจากการเคยปฏิบัติ
ซึ่งเรียกว่า “ประสบการณ์” ที่ส่งผลให้เกิดการเรียนรู้ ซ่ึงถ้ากล่าวถึงการเรียนรู้จากประสบการณ์มี
ความหมายท่ีกว้างขวางมาก ทั้งในทางปฏิบัติและทฤษฎี ต่างมีมุมมองท่ีสอดคลอ้ งกับสถานการณ์ทีแ่ ต่ละ
คนเผชิญอยู่ในชีวิตประจำวัน ดังนั้น “การเรียนรู้จากประสบการณ์ (Experiential Learning) คือ
สมั มนาผลงานวชิ าการระดบั บัณฑิตศกึ ษาสงั คมสงเคราะหศ์ าสตร์และสวัสดิการสงั คมระดบั ชาติ ครั้งที่ 10 ประจำปกี ารศึกษา 2563 | 77
กระบวนการสร้างความรู้ ทักษะ และเจตคติด้วยการนำเอาประสบการณ์เดิมของผู้ปฏิบัติมาบูรณาการ
เพื่อสร้างการเรยี นรู้ใหม่ๆ ขึ้น” และในการทำงานของอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความม่ันคงของมนุษย์
(อพม.) ซึ่งต้องทำงานโดยอาศัยเครือข่ายที่เก่ียวข้อง ทั้งในระดับพ้ืนที่และในระดับจังหวัด เพ่ือประสาน
ข้อมูล และสนับสนุนการปฏิบัติงาน ในการให้การดูแล ช่วยเหลือผู้สูงอายุ และกลุ่มเป้าหมายอื่นๆ จาก
แนวคิดเครือข่ายทางสังคม ที่กล่าวถึงความสัมพันธ์ของบุคคล กลุ่ม ชุมชน สังคม องค์กรต่างๆ โดยมี
การติดต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยนทรัพยากรต่างๆ ทั้งในเชิงรูปธรรมและนามธรรม ไม่ว่าจะเป็นส่ิงของ ข้อมูล
ข่าวสาร การบริการต่างๆ รวมไปถึงการดำเนินกิจกรรมต่างๆร่วมกัน กระบวนการพัฒนาความสัมพันธ์
ระหวา่ งมนษุ ย์กับมนุษย์ท่ตี ้องมคี วามเชื่อมโยงซ่ึงกันและกัน ซ่ึงการศึกษาครง้ั นี้ จะเป็นการศึกษาเกีย่ วกับ
ความสัมพันธ์ของเครือข่ายระหว่างอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความม่ันคงของมนุษย์ (อพม.) และ
ผู้สูงอายุ โดยเป็นการศึกษาเกี่ยวกับบทบาทของอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
(อพม.) ในการดูแลและเฝ้าระวังความเสี่ยงของผู้สูงอายุในชุมชน นอกจากน้ียังเชื่อมโยงไปถึง
ความสัมพันธ์ของอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความม่ันคงของมนุษย์ (อพม.) กับผู้นำชุมชน หน่วยงาน
ภาครัฐและเอกชน รวมทั้งอาสาสมัครต่างๆ ทเี่ ก่ียวข้องกบั การปฏบิ ัติงานของอาสาสมัครพัฒนาสงั คมและ
ความมั่นคงของมนษุ ย์ (อพม.) ในการประสานการให้ความชว่ ยเหลอื ผสู้ งู อายใุ นชมุ ชน
งานวิจัยต่างๆ ท่ีเก่ียวข้อง จากการทบทวนวรรณกรรม มี 4 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1) งานวิจัยที่
เกี่ยวข้องกับบทบาทอาสาสมัคร 2) งานวิจัยท่ีเก่ียวข้องกับการเสริมสร้างศักยภาพและพัฒนาบทบาท
อาสาสมัคร 3) งานวิจัยที่เก่ียวข้องกับการเฝ้าระวังทางสังคม และ4)งานวิจัยที่เก่ียวข้องกับความเส่ียง
และผู้สูงอายุ จะได้กล่าวตามลำดับ คือ งานวิจัยต่างๆ ที่เก่ียวกับบทบาทของอาสาสมัครต่างๆ ส่วนใหญ่
แล้ว อาสาสมัครมีบทบาทในการสำรวจ/รวบรวมข้อมูล การมีส่วนร่วมกระตุ้น ดูแล ช่วยเหลือ และการ
ประสานงาน กับหน่วยงานท่ีเก่ียวข้องไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ และเอกชน รวมถึงภาคประชาชน ในการให้
ความช่วยเหลือในระยะยาว รวมทั้งเป็นผู้คอยกระตุ้นให้ผู้กลุ่มเป้าหมายได้เล็งเห็นถึงความสำคัญใน
การรว่ มกนั ป้องกนั และแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง ส่วนงานวจิ ัยตา่ งๆ ทีเ่ ก่ียวกับการเสริมสร้างศักยภาพและ
การพัฒนาบทบาทอาสาสมัครเป็นไปในลักษณะของการเพ่ิมพูนองค์ความรู้ ทักษะความชำนาญใน
การปฏิบัติงานให้แก่ อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความม่ันคงของมนุษย์ (อพม.) รวมทั้งควรเป็นลักษณะ
ของการรวมกลุ่มหรือจัดเวทีเพ่ือแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ประสบการณ์ และความรู้ความเข้าใจใน
การปฏิบัติงานของอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) สม่ำเสมอ เพื่อเป็น
การถอดบทเรียน และทบทวนองค์ความรู้ในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของ
มนุษย์ (อพม.) ถัดมางานวิจัยต่างๆ ที่เก่ียวข้องกับการเฝ้าระวังทางสังคม และผู้สูงอายุ พบว่า ในการเฝ้า
ระวังจะมีลักษณะการดำเนินงานเป็น 2 ด้าน คือ ด้านการเฝ้าระวังเมื่อยังไม่เกิดปัญหา และด้านการเฝ้า
ระวังเม่ือเกิดปัญหา และงานวิจัยต่างๆที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยง และผู้สูงอายุ มีความเส่ียงใน 5 ด้าน
ไดแ้ ก่ ดา้ นสุขภาพกายและจติ ดา้ นปจั จัยการดำรงชีพ ด้านการถูกทำร้ายร่างกายและจิตใจ การถกู ละเมิด
สทิ ธิ ตกอยใู่ นสภาวะยากลำบาก และดา้ นการเตรียมความพร้อมกอ่ นสูว่ ัยสูงอายุ
78 | สมั มนาผลงานวิชาการระดับบณั ฑิตศึกษาสังคมสงเคราะหศ์ าสตรแ์ ละสวสั ดิการสังคมระดบั ชาติ คร้งั ที่ 10 ประจำปีการศึกษา 2563
วธิ กี ารและเครอื่ งมือในการศึกษา (Methods and Instruments)
การศึกษาวิจัยคร้ังน้ี เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ(Qualitative Research) ใช้การสุ่มแบบ
เฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) โดยผู้มีส่วนร่วมในการวิจัย แบ่งเป็น 3 กลุ่ม รวมจำนวนท้ังหมด
15 คน คือ 1) อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดสุโขทัย จำนวน 10 คน
2) เจ้าหน้าท่ีสำนักงานพัฒนาสังคมและความม่ันคงของมนุษย์จังหวัดสุโขทัย จำนวน 2 คน และ 3) ผู้นำ
ชมุ ชน จำนวน 3 คน การเข้าถงึ พื้นท่ีและเข้าถงึ ข้อมูล ผวู้ ิจยั คัดเลือกพื้นท่ตี ามเกณฑ์เพื่อให้ได้ผมู้ ีส่วนรว่ ม
ในการวิจัยที่มีความหลากหลาย โดยเข้าถึงพ้ืนท่ีด้วยการประสานเจ้าหน้าท่ีสำนักงานพัฒนาสังคมและ
ความม่ันคงของมนุษย์จังหวัดสุโขทัยที่ทำงานกับอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความม่ันคงของม นุษย์
(อพม.) เพ่ือแนะนำผู้มี ส่วนร่วมในการวิจัย ส่วนการเข้าถึงข้อมูล ผู้วิจัยได้ประสานกับผู้มีส่วนร่วมใน
การวจิ ัย นัดหมายทางโทรศัพท์ล่วงหนา้ ก่อนการลงพื้นท่ีเกบ็ ข้อมลู ทุกคร้ัง โดยการสัมภาษณ์ในสถานท่ีท่ี
อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) สะดวกให้สัมภาษณ์ เป็นสถานที่ที่เอ้ือต่อ
การให้ข้อมูลและการแสดงความคิดเห็นได้อย่างเต็มท่ี โดยเร่ิมต้นด้วยการแนะนำตัวผู้วิจัย วัตถุประสงค์
การศึกษาวิจยั ชแี้ จงการเก็บข้อมูล โดยนัดหมายสัมภาษณ์จะนัดหมายคนละ 2-3 ครั้ง และระยะเวลาใน
การสัมภาษณ์ประมาณครั้งละ 60 นาที รวมท้ังขออนุญาตก่อนทุกคร้ัง สำหรับการบันทึกเสียงหรอื การจด
บันทึกย่อ หลังจากนั้นจะเริ่มเก็บข้อมูลพื้นฐานของผู้ให้ข้อมูล ตลอดจนการปฏิบัติงานเก่ียวกับการดูแล
หรือเฝ้าระวังความเสี่ยงของผู้สูงอายุ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความพร้อมของผู้ให้ข้อมูลเป็นหลัก ซึ่งผู้ให้ข้อมูล
สามารถออกจากการวิจัยได้หากไม่ประสงค์ให้ข้อมูลต่อผู้วิจัย ซ่ึงเป็นส่วนการวิจัยท่ีเก็บรวบรวมข้อมูล
ภาคสนาม (Field Study) โดยมีแนวคำถามกึง่ โครงสร้าง (Semi-structured interviews) เป็นเครือ่ งมือ
ซ่ึงแนวคำถาม ประกอบด้วย 4 ส่วน คือ ข้อมูลทั่วไปของผู้มีส่วนร่วมในการวิจัย ข้อมูลเก่ียวกับ
การปฏิบัติงานของผู้มีส่วนร่วมในการวิจัย ข้อมูลเกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจในบทบาทของอาสาสมัคร
พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) เก่ียวกับการดูแลและเฝ้าระวังความเส่ียงของผู้สูงอายุใน
ชุมชน และข้อมูลเกี่ยวกับข้อจำกัดและความต้องการในการสนับสนุนการปฏิบัติงานของอาสาสมัคร
พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) ในการเฝ้าระวังความเสี่ยงของผู้สูงอายุในชุมชน เพื่อเป็น
แนวทางการพัฒนาบทบาทของอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) ในการเฝ้า
ระวังความเส่ียงของผู้สูงอายุ และมีอุปกรณ์ภาคสนาม ได้แก่ สมุดบันทึกภาคสนาม และเครื่องบันทึกเสียง
นอกจากน้ี ผูว้ ิจยั ได้เก็บรวบรวมจากแหล่งข้อมลู เอกสาร (Documentary Study) ประกอบกนั เม่ือเก็บรวบรวบ
ข้อมูลได้แล้ว จะนำมาวิเคราะห์ตีความให้ความหมาย การตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า (Triangulation)
และการพฒั นาร่างแรก และการเขียนเรยี บเรียงผลการศกึ ษาเชิงพรรณนาตอ่ ไป
สมั มนาผลงานวิชาการระดับบัณฑิตศกึ ษาสังคมสงเคราะหศ์ าสตร์และสวสั ดิการสังคมระดบั ชาติ ครั้งที่ 10 ประจำปีการศึกษา 2563 | 79
ผลการศกึ ษา
1. ขอ้ มูลท่ัวไปของอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมนั่ คงของมนุษย์ (อพม.)
อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) ทั้งหมด 10 คน เป็นเพศหญิง
ทั้งหมด ลักษณะครอบครัว เป็นครอบครัวเดี่ยว จำนวน 5 คน นอกน้ันเป็นครอบครัวขยายและอาศัยอยู่
กับเครือญาติ มีอายุระหว่าง 44-59 ปี ประกอบอาชีพเกษตรกรรม จำนวน 5 คน นอกน้ันเป็น ผู้ช่วย
ผู้ใหญ่บ้าน เลขานุการนายก อบต. รับจ้าง ค้าขาย และธุรกิจส่วนตัว อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความ
ม่ันคงของมนุษย์ (อพม.) มีระดับการศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรีข้ึนไป จำนวน 5 คน และระดับต่ำกว่า
ปริญญาตรี จำนวน 5 คน ประสบการณ์ในการเป็นอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
(อพม.) มีระยะเวลาที่นานท่ีสุดคือ 17 ปี และน้อยท่ีสุดคือ 6 ปี โดยครึ่งหน่ึง จำนวน 5 ใน 10 คนของ
อาสาสมัครพฒั นาสังคมและความม่ันคงของมนุษย์ (อพม.) เป็นผู้มีประสบการณ์ในการดูแลผู้สูงอายุ และ
อีก 5 คน ไม่มีประสบการณ์ในการดูแลผู้สูงอายุ นอกจากนี้อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของ
มนุษย์ (อพม.) เข้าร่วมเป็นอาสาสมัครอ่ืนๆ อีกหลายตำแหน่ง เช่น อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.)
อาสาสมัครคุมประพฤติ (อสค.) อาสาสมัครแรงงาน (อสง.) อาสาสมัครประชาสัมพันธ์ประจำหม่บู ้าน เป็น
ต้น โดยส่วนใหญ่อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) 8 คน จากท้ังหมด
10 คนจะเป็นอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) เน่ืองจากอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความม่ันคงของมนุษย์
(อพม.) พัฒนาต่อยอดมาจากบุคคลที่ทำงานเปน็ อาสาสมัครสาธารณสุขมาก่อน
2. ความรู้ความเข้าใจของอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) กับ
การเฝ้าระวงั ความเสีย่ งของผ้สู งู อายใุ นชุมชน
จากผลการศึกษา พบว่า อาสาสมัครพัฒนาสงั คมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) มีความรู้
ความเข้าใจเก่ียวกับการเฝ้าระวงั ความเส่ียงของผู้สงู อายุในชุมชน โดยมีความสามารถในการสำรวจข้อมูล
คดั กรอง และประเมินสภาวะท่ีอาจจะสง่ ผลกระทบตอ่ ผู้สูงอายุกลุ่มต่างๆ ในชุมชนของอาสาสมคั รพัฒนา
สังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) ตลอดจนการวางแผนการดูแลและช่วยเหลือ ป้องกันและ
เฝา้ ระวงั ส่งเสรมิ และพฒั นาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชมุ ชน ซ่ึงประเด็นความรู้ความเข้าใจจะแยกออกเป็น
2 ประเดน็ สำคัญ ได้แก่
2.1 ความรู้ความเข้าใจของอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.)
ท่ีดำเนินบทบาทการสำรวจขอ้ มูล การคัดกรอง การประเมิน พบว่า ผู้สูงอายุในชุมชนมคี วามเสย่ี ง 7 ด้าน
ดงั นี้
(1) ความเสี่ยงด้านสุขภาพกาย อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
(อพม.) มีความรู้ความเข้าใจว่าความเส่ียงด้านนี้จะมีโอกาสเกิดข้ึนกับกลุ่มผู้สูงอายุติดเตียง เนื่องจาก
ผู้สูงอายุติดเตียงจะมีปัญหาเร่ืองข้อติด เรื่องแผลกดทับ เป็นต้น ซึ่งอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความ
ม่ันคงของมนุษย์ (อพม.) จะออกเย่ียมเยียน ทำความสะอาดร่างกายโดยรวม และท่ีเป็นแผลกดทับ
ถ่ายทอดความรู้ต่างๆ ให้ผู้ที่ดูแลสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกวิธี รวมทั้งต้องคอยดูแลให้คำปรึกษา
80 | สัมมนาผลงานวิชาการระดบั บณั ฑติ ศกึ ษาสังคมสงเคราะห์ศาสตรแ์ ละสวัสดิการสังคมระดับชาติ ครัง้ ที่ 10 ประจำปีการศกึ ษา 2563
แนะนำกับบุตรหลานท่ีเป็นผู้ดูแลผู้สูงอายุด้วย ในกลุ่มผู้สูงอายุติดเตียง อาสาสมัครพัฒนาสังคมและ
ความมนั่ คงของมนษุ ย์ (อพม.) ต้องคอยดแู ล ให้กำลงั ใจท้ังตวั ของผูส้ งู อายุและผู้ทีค่ อยดูแล
(2) ความเส่ียงด้านสุขภาพจิตใจ อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความม่ันคงของมนุษย์
(อพม.) มีความรู้ ความเข้าใจว่าความเส่ียงด้านนี้จะมีโอกาสเกิดข้ึนกับกลุ่มผู้สูงอายุติดบ้าน เนื่องจาก
ผู้สูงอายุติดบ้านส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่เพียงลำพัง ไม่ค่อยได้พบปะใคร อาจจะทำให้เกิดภาวะเครียดหรือ
ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าได้ อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) จะลงพื้นท่ีเยี่ยมไป
พดู คุยด้วย ให้กำลังใจแก่ผู้สูงอายุ ตลอดจนให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลสขุ ภาพกายและสุขภาพใจ เพื่อ
ผ้สู งู อายุจะได้ใชช้ ีวติ อย่างมีความสขุ และมสี ขุ ภาพกายสขุ ภาพใจท่แี ข็งแรง
(3) ความเส่ียงด้านอาชีพ รายได้ อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความม่ันคงของมนุษย์
(อพม.) มคี วามรู้ ความเข้าใจว่าความเสย่ี งด้านนี้มโี อกาสเกิดข้ึนกับผู้สูงอายุท่ีเปน็ กล่มุ ติดเตียงและติดบ้าน
มากกว่า เนื่องจากผู้สูงอายุสองกลุ่มนี้จะไม่สามารถประกอบอาชีพได้ ทำให้รายได้น้อยและไม่เพียงพอ
รวมทั้งผ้สู งู อายบุ างคนมคี ่าใชจ้ ่ายในการรกั ษาพยาบาลตนเอง และภาระเล้ยี งดูสมาชิกในครอบครวั จงึ ทำ
ให้มีรายได้ไม่เพียงพอแก่การครองชีพในชีวิตประจำวัน ส่วนในกลุ่มผู้สูงอายุติดสังคมจะมีโอกาสเกิดข้ึน
น้อยเน่ืองจากกลุ่มน้ีจะสามารถออกไปประกอบอาชีพนอกบ้านได้ รวมท้ังได้เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ กับ
ชุมชน เช่นการเข้ารบั การฝึกอาชีพจากชุมชนหรือหน่วยงานต่างๆ เพ่ือให้ผู้สูงอายุได้มีอาชีพและมีรายได้
หลักหรอื บางคนมรี ายไดเ้ สรมิ เพ่ือเปน็ ค่าใชจ้ า่ ยในครอบครัวได้
(4) ความเส่ียงด้านความรนุ แรง
4.1 ทางร่างกายและจิตใจ อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความม่ันคงของมนุษย์
(อพม.) มีความรู้ ความเข้าใจว่าความเส่ียงด้านน้ีจะมีโอกาสเกิดข้ึนกับกลุ่มผู้สูงอายุติดเตียงมากกว่า
กลุ่มอ่ืนๆ เน่ืองจากผู้สูงอายุติดเตียง ส่วนใหญ่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ และส่วนน้อยที่จะชว่ ยเหลือ
ได้แค่บางส่วน จึงทำให้ผู้สูงอายุกลุ่มนี้ไม่สามารถท่ีจะขัดขืนหรือช่วยเหลือตัวเองเมื่อถูกทำร้ายร่างกาย
ซ่งึ สง่ ผลกระทบทางด้านร่างกายจากคนดูแลและบคุ คลอื่น
4.2 การถูกทอดท้ิง ละเลย เพิกเฉย อาสาสมัครพัฒนาสงั คมและความม่ันคงของมนุษย์
(อพม.) มีความรู้ความเข้าใจว่าจะเป็นความเส่ียงที่มีโอกาสเกิดข้ึนกับกลุ่มผู้สูงอายุติดบ้านมากที่สุด
เน่ืองจากกลุ่มผู้สูงอายุติดบ้านจะเป็นกลุ่มท่ีสามารถช่วยเหลือตัวเอง ดูแลตัวเองได้ จึงทำให้บางครั้ง
ถกู ปล่อยปะละเลยจากบตุ รหลาน หรือบางครอบครัวบุตรหลานต้องออกไปทำงานตา่ งถิ่น ทอดท้ิงหลาน/
เหลนไว้ให้ผู้สูงอายุเลย้ี งดู รองลงมาก็จะเป็นกลุ่มผูส้ ูงอายุติดเตียง ท่ีจะมีโอกาสประสบกบั ความเสีย่ งด้าน
ท่ีจะถูกทอดท้ิง ไม่มีผู้ดูแล ซึ่งจากการศึกษา พบว่า อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความม่ันคงของมนุษย์
(อพม.) มีการจัดการความเสี่ยง โดยการลงพ้ืนท่ีพูดคุย ให้คำปรึกษา ตลอดจนประสานหน่วยงานท่ี
เก่ียวข้องให้การช่วยเหลือกรณีท่ีผู้สูงอายุไม่สามารถดูแลหลาน/เหลนได้ การดูแลบุตรหลานของผู้สูงอายุ
เชน่ การถูกทอดท้งิ การไมม่ คี ่สู มรส/บตุ ร หรอื การถูกละเลยใหร้ บั ภาระในการเล้ยี งหลาน/เหลน
(5) ความเสี่ยงด้านการเข้าไม่ถึงสิทธิ อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
(อพม.) มีความรู้ความเข้าใจว่าผู้สูงอายุกลุ่มติดเตียง มีโอกาสที่จะประสบกับความเสี่ยงด้านการเข้าไม่ถึง
สมั มนาผลงานวิชาการระดับบณั ฑิตศึกษาสงั คมสงเคราะหศ์ าสตร์และสวสั ดิการสังคมระดับชาติ ครั้งที่ 10 ประจำปกี ารศกึ ษา 2563 | 81
สิทธิมากกว่าผู้สูงอายุกลุ่มอื่น เนื่องจากเป็นกลุ่มผู้สูงอายุที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ จึงทำให้
ไม่สามารถไปดำเนินการตามสิทธิต่างๆ ได้ เช่น การขึ้นทะเบียนคนพิการ หรือการทำบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
เป็นตน้
(6) ความเสี่ยงด้านความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน อาสาสมัครพัฒนาสังคมและ
ความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) มีความรู้ความเข้าใจว่าความเสี่ยงดา้ นนจ้ี ะมีโอกาสเกิดข้ึนกับกลุ่มผู้สูงอายุ
ติดบ้าน เน่ืองจากผู้สูงอายุกลุ่มน้ีจะอาศัยอยู่ที่บ้านเป็นหลัก ไม่ได้ออกไปประกอบอาชีพหรือเข้าร่วม
กจิ กรรมใดๆ ทำให้ไม่มีโอกาสได้พบเจอผู้คนมากนัก ซึ่งเม่ือมีกลุ่มมิจฉาชีพหรือกลุ่มผู้ไม่หวังดีเข้ามาหาที่
บ้าน และตีสนิทแอบอ้างหาผลประโยชน์ โดยการหลอกลวงขายผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีคุณภาพหรือแอบอ้างว่า
รู้จักกับบุตรหลาน หลอกให้โอนเงินให้ จึงทำให้ผู้สูงอายุกลุ่มน้ีเส่ียงที่จะเสียเงินทองหรือทรัพย์สิน
ดงั คำบอกเลา่ ของอาสาสมคั รพัฒนาสังคมและความมน่ั คงของมนุษย์ (อพม.)
(7) ความเส่ียงด้านขาดการเตรียมความพร้อมในตนเองของผู้สูงอายุ พัฒนาสังคมและ
ความม่ันคงของมนุษย์ (อพม.) ร้อยละ 70 มีการพูดคุยและให้คำแนะนำปรึกษาเก่ียวกับการเตรียม
ความพร้อมเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ แต่ไม่ได้จริงจังหรือลักษณะท่ีเป็นเป็นทางการ ส่วนใหญ่จะเป็นการพูดคุย
กันเองแบบไม่เป็นทางการมากกว่า เช่นการพูดคุยถึงการเตรียมพร้อมรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ต้องมีการขึ้น
ทะเบียน การเตรียมเปิดบัญชีเพื่อรับเบี้ยยังชีพ การเตรียมความพร้อมด้านที่อยู่อาศัย ความพร้อมด้าน
อาชีพ/รายได้ในการครองชีพ เน่อื งจากเมอื่ เขา้ สู่วัยสูงอายุ สภาพร่างกายกย็ ่อมเป็นไปตามวัย ทำงานหนัก
ไม่ได้ หรือบางคนไม่สามารถออกไปทำงานได้ ถ้าผู้สูงอายุคนไหนมีบุตรหลานช่วยดูแลก็อาจจะไม่ต้อง
เตรียมตัวมาก แต่ถ้าผู้สูงอายุคนไหนที่อาศัยอยู่ด้วยกันเอง ไม่มีบุตรหลานช่วยดูแล อาสาสมัครพัฒนา
สงั คมและความม่ันคงของมนุษย์ (อพม.) จะต้องช่วยเหลือในการเตรยี มความพรอ้ ม เพ่ือให้มีความเป็นอยู่
และรองรบั การเป็นผู้สูงอายใุ นอนาคตได้
จากผลการศึกษาจะเห็นได้ว่า ความเสี่ยงทั้ง 7 ด้าน ผู้สูงอายุแต่ละกลุ่มจะได้รับ
ผลกระทบที่แตกต่างกันไป อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) ส่วนใหญ่จะมี
วิธีการจัดการความเส่ียงที่เกิดข้ึนคือการประชาสัมพันธ์การเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ของชุมชนหรือของ
หน่วยงานต่างๆ เช่น โรงเรียนผู้สูงอายุ เพื่อจะได้เข้าร่วมกิจกรรม เช่น กิจกรรมฝึกอาชีพ กิจกรรม
นันทนาการ เป็นตน้ และพบเจอเพอ่ื นท่อี ยู่ในวัยเดยี วกนั ไดม้ ีการแลกเปล่ียนความคิดเห็นร่วมกัน รวมท้ัง
ให้คำแนะนำปรึกษาเก่ียวกับการดูแลสุขภาพ อาหารการกิน การออกกำลังกาย ตลอดจนการชักชวนเข้า
วดั ปฏบิ ตั ิธรรม เพื่อใหเ้ ข้าถงึ ความสงบ และจะทำใหผ้ สู้ ูงอายไุ ดค้ น้ พบความสุขในการดำเนนิ ชวี ิต
บทบาทในการประเมินคัดกรอง พบว่า อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
(อพม.) มีการทำงานใน 3 มติ ิ ได้แก่
(1) ประเมินสถานการณ์ชีวิตผู้สูงอายุเฉพาะราย ได้แก่ การประเมินสุขภาพกาย อารมณ์
และจิตใจ
(2) ประเมินความสัมพันธ์ระหว่างผสู้ ูงอายุกบั สังคมของผู้สูงอายุ ได้แก่ ครอบครัว ระบบ
การดูแลผู้สูงอายุ ส่ิงแวดล้อม ในที่น้ีคือ ส่ิงแวดล้อมทางกายภาพ ; ที่อยู่อาศัย สภาพชุมชน ฯลฯ และ
82 | สัมมนาผลงานวิชาการระดับบัณฑติ ศกึ ษาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และสวสั ดิการสงั คมระดับชาติ คร้งั ที่ 10 ประจำปีการศึกษา 2563
สิ่งแวดล้อมทางสังคม; ความสัมพันธ์ของสมาชิกในครอบครัว ความสัมพันธ์ระหว่างเครือญาติ ผู้ดูแล
ผ้สู ูงอายุ ฯลฯ
(3) ประเมนิ ปัจจยั ท่ีจะสง่ ผลกระทบตอ่ ชีวิตผู้สงู อายุในชุมชน ได้แก่
1) ปจั จยั ทางสงั คม ความสมั พันธส์ มาชิกในครอบครัว ผู้ดแู ล ผู้นำ อาสาสมคั ร
2) ปัจจยั ทางเศรษฐกิจ สถานะทางการเงิน การมอี าชพี การมีรายได้
3) ปจั จยั ทางระบบคิด ความเช่ือ ทีส่ ่งผลกระทบตอ่ พฤตกิ รรม
2.2 ความรู้ความเข้าใจของอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความม่ันคงของมนุษย์ (อพม.)
เก่ียวกับการดูแลและให้ความช่วยเหลือผู้อายุในชุมชน กล่าวคือ ความสามารถในการดูแลและให้
ความช่วยเหลือผู้สูงอายุท่ีตอบสนองต่อสภาพปัญหาความต้องการ ลดภาวะเสี่ยง ลดผลกระทบ และ
เสริมสร้างคณุ ภาพชีวติ ท่ีดีให้เกิดแก่ผ้สู ูงอายุ โดยมีประเด็นพิจารณา ได้แก่
(1) การฟ้ืนฟู-เยียวยา เม่ืออาสาสมคั รพัฒนาสงั คมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) ได้
สำรวจและจัดทำฐานข้อมูลความเดือดร้อนของผู้สูงอายุ จะมีการลงพ้ืนที่ เพ่ือค้นหาข้อเท็จจริงเพิ่มเติม
และให้การช่วยเหลือในเบ้ืองต้น โดยอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความม่ันคงของมนุษย์ (อพม.) จะเป็น
ผูป้ ระสานงานในการขอรบั ความช่วยเหลือจากหนว่ ยงานต่างๆ เช่น องคก์ รปกครองสว่ นท้องถิ่น สำนักงาน
พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวดั โรงพยาบาลสง่ เสริมสุขภาพตำบล โรงพยาบาล และอาสาสมัคร
อ่ืนๆ เป็นต้น เพื่อบูรณาการการให้ความช่วยเหลือของแต่ละภาคส่วน ให้ผู้สูงอายได้รับการช่วยเหลือ
อยา่ งทันทว่ งที และตอบสนองต่อความต้องการของผู้สงู อายใุ นชมุ ชน
(2) การป้องกัน-เฝ้าระวัง อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความม่ันคงของมนุษย์ (อพม.)
จะมกี ารสำรวจขอ้ มลู ผู้สูงอายใุ นชมุ ชน เพือ่ นำมาวเิ คราะห์ และวางแผนการใหค้ วามช่วยเหลอื โดยการลง
พื้นที่เย่ียมบ้าน ให้ความรู้เบื้องต้นแก่ผู้สูงอายุในการดูแลตัวเอง และให้ความรู้แก่ผู้ดูแลผู้สูงอายุในชุมชน
เพ่ือเป็นการป้องกันก่อนที่จะเกิดความเสี่ยงกับผู้สูงอายุในทุกๆ ด้าน แต่ถ้าเกิดความเสี่ยงแล้ว ก็จะนำ
ข้อมลู มาวางแผนเพื่อเฝ้าระวังไม่ให้เกิดความเสย่ี งซำ้ กบั ผสู้ ูงอายใุ นชมุ ชนอกี
(3) การส่งเสริม-พัฒนา โดยอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความม่ันคงของมนุษย์ (อพม.)
จะมีบทบทเป็นผู้ประสานงานในการรวมกลุ่มเพ่ือจัดกิจกรรมให้แก่ผู้สูงอายุ เช่น การฝึกอาชีพเสรมิ ให้กับ
ผู้สูงอายุที่สามารถออกมาร่วมกิจกรรมได้ รวมทั้งร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถ่ิน จัดกิจกรรมใน
โรงเรียนผู้สูงอายุ โดยจะเน้นกิจกรรมนันทนาการ ผ่อนคลาย และการเสริมสร้างทักษะอาชีพ เพื่อให้
ผู้สูงอายุใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ตลอดจนเป็นผู้ประสานงานในการรวมกลุ่มผู้สูงอายุเข้าร่วมอบรม
เสริมสร้างความรู้ต่างๆ ร่วมกับหนว่ ยงานในระดับพ้นื ท่ีและระดับจงั หวัด เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการพัฒนา
ทกั ษะต่างๆ และสิ่งที่สำคัญคือการทำให้ผู้สูงอายุได้ผอ่ นคลาย ลดภาวะเครียด และได้แลกเปล่ียนความรู้
ความคิดเห็นตา่ งๆ ร่วมกบั ผสู้ งู อายุชมุ ชน
3. การเฝ้าระวังความเส่ียงของผู้สูงอายุ จากข้อมูลในประเด็นความเสี่ยง จะเห็นได้ว่า
อาสาสมัครพัฒนาสังคมและ ความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) มีวิธีการปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ และป้องกัน
ไม่ให้เกิดความเส่ียงขึ้น ซ่ึงจะมีแนวทางปฏิบัติเช่นเดียวกับการเฝ้าระวังความเส่ียง คือการป้องกันและ
สัมมนาผลงานวชิ าการระดบั บณั ฑิตศกึ ษาสงั คมสงเคราะห์ศาสตร์และสวัสดกิ ารสงั คมระดับชาติ ครั้งที่ 10 ประจำปีการศึกษา 2563 | 83
จัดการเพ่ือไม่ให้เกิดความเส่ียงน้ันๆ แก่ผู้สูงอายุ โดยอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
(อพม.) จะมีการเฝ้าระวังความเส่ียง โดยเน้นการเฝ้าระวังเม่ือยังไม่เกิดปัญหา และเม่ือเกิดปัญหาแล้ว
ดงั น้ี
3.1 การเฝ้าระวังเมื่อยังไม่เกิดปัญหา ซ่ึงในการเฝ้าระวังก่อนที่จะเกิดปัญหานั้น อาสาสมัคร
พัฒนาสังคมและความม่ันคงของมนุษย์ (อพม.) จะต้องมีการเตรียมพร้อม โดยสิ่งแรกคือความรู้
ความเข้าใจ เกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุกลุ่มต่างๆ ซ่ึงความรู้แต่ละคนมีต้นทุนท่ีแตกต่างกัน เช่น การมี
ประสบการณ์การดูแลบุคคลในครอบครัวท่ีเป็นผู้สูงอายุ เป็นต้น ซ่ึงเป็นการศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเองมา
ก่อนท่ีจะเข้ามาปฏิบัติหน้าท่ีในบทบาทของอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.)
ทำให้มีประสบการณ์ในการดูแลผู้สูงอายุมาก่อน นอกจากนี้เมื่อเข้ามาเป็นอาสาสมัครพัฒนาสังคมและ
ความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) แล้วต้องได้รับการอบรมเกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุ ซึ่งอาสาสมัครพัฒนา
สังคมและความม่ันคงของมนุษย์ (อพม.) ร้อยละ 50 จะมีบทบาทการเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขด้วย
จึงทำให้อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) มีประสบการณ์ในการเข้ารับ
การฝึกอบรมเก่ียวกับการดูแลผู้สูงอายุ รวมทั้งความเส่ียงต่างๆ ท่ีอาจจะเกิดข้ึนกับผู้สูงอายุ รวมทั้ง
ประสบการณใ์ นการดูแลสุขภาพของผ้สู ูงอายุและผ้ปู ่วยในชมุ ชน และเมื่อไดร้ บั ความรหู้ รอื มีประสบการณ์
กส็ ามารถนำไปถ่ายทอดให้อาสาสมัครต่างๆ รวมไปถึงถ่ายทอดให้ผูท้ ่ดี ูแลผูส้ ูงอายุประเภทต่างๆ ไดเ้ ข้าใจ
และสามารถนำไปใช้ในการดูแลผู้สูงอายไุ ด้จริง ตลอดจนสามารถนำไปประชาสัมพันธ์ให้คนในชุมชนและ
นอกชุมชนได้รับทราบ และสามารถนำไปปฏิบัติได้จริงในการดูแลผู้สูงอายุได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก็จะ
เกิดการเฝ้าระวังความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุได้อย่างแท้จริง เมื่อมีการพัฒนาความรู้เพ่ือให้
อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) สามารถพัฒนาบทบาทในการดำเนินการ
สำรวจข้อมูลผู้สูงอายุท่ีมีความเสี่ยงในแตล่ ะด้าน โดยแยกเป็นข้อมูลความเส่ียง 7 ด้าน แล้วรวบรวมข้อมูล
ดังกล่าวเพ่ือรายงานให้หน่วยงานท่ีเกี่ยวข้องทราบ ซ่ึงถ้าอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความม่ันคงของมนุษย์
(อพม.) สามารถรวบรวมข้อมูลดังกล่าวและจัดทำเป็นฐานข้อมูล คัดกรองผู้สูงอายุในเบื้องต้นว่าผู้สูงอายุ
แต่ละคนมีความเสี่ยงทางด้านไหน และต้องได้รับการช่วยเหลืออย่างไร โดยการคัดกรองผู้สูงอายุจะ
คัดกรองตามประเภทของความเส่ียงในแต่ละด้าน เม่ือคัดกรองแล้วก็สามารถท่ีจะนำข้อมูลมา
วางแผนการเฝ้าระวังไม่ให้เกิดความเส่ียงขึ้นกับผู้สูงอายุในชุมชนได้จริง รวมทั้งสามารถส่งต่อข้อมูลให้
หน่วยงานตา่ งๆ ท่ีเกีย่ วขอ้ งทราบ และมสี ่วนร่วมในการเฝ้าระวังความเสย่ี งทีอ่ าจจะเกดิ ขนึ้ ไดเ้ ชน่ กัน
การสร้างเครือข่ายในพื้นที่ให้มีประสิทธิภาพและเพียงพอแก่การเฝ้าระวังความเสี่ยงของ
ผสู้ ูงอายุในชุมชนโดยอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความม่ันคงของมนุษย์ (อพม.) จะเป็นผู้ประสานงานใน
พื้นท่ีที่สนับสนุนทรัพยากรในการดำเนินงาน รวมไปถึงการเป็นผู้คอยสนับสนุนการสร้างเครือข่าย
การประสานการทำงานรว่ มกนั ของชุมชนกับเครอื ข่าย เพ่ือบูรณาการการเฝ้าระวังความเส่ียงของผู้สูงอายุ
ในชุมชนร่วมกัน และ ในส่วนของการจัดทำฐานข้อมูลผู้สูงอายุประเภทต่างๆ โดยฐานข้อมูลดังกล่าวจะ
นำมาประเมินความเสี่ยงด้านต่างๆ เพ่ือเฝ้าระวังความเส่ียงที่อาจจะเกิดข้ึน จากการศึกษาพบว่า
อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความม่ันคงของมนุษย์ (อพม.) ร้อยละ 80 จะดำเนินการร่วมกับอาสาสมัคร
84 | สมั มนาผลงานวชิ าการระดับบณั ฑติ ศึกษาสงั คมสงเคราะห์ศาสตรแ์ ละสวสั ดิการสังคมระดบั ชาติ ครง้ั ท่ี 10 ประจำปีการศึกษา 2563
สาธารณสุข และหน่วยงานในพื้นท่ีเช่น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล องค์กรปกครองส่วนท้องถ่ิน
เป็นต้น ในการเก็บรวบรวมข้อมูลของผู้สูงอายุกลุ่มต่างๆ และนำข้อมูลดังกล่าวมาประเมินร่วมกัน
โดยการบูรณาการช่วยเหลือของทุกหน่วยงาน ตลอดจนการวางแผนการป้องกันและเฝ้าระวังไม่ให้
เกิดปัญหาน้ันๆ ขึน้
3.2 การเฝ้าระวังเม่ือเกิดปัญหาแล้ว โดยอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของ
มนุษย์(อพม.) จะมีบทบาทในการดำเนินการเม่ือเกิดปัญหาแล้ว โดยการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเม่ือเกิด
ความเส่ียงขึ้น จะมีลงพ้ืนที่ประเมินความเส่ียง และแก้ไขปัญหาในเบ้ืองต้น อย่างถ้าผู้สูงอายุประสบกับ
ความเสี่ยงด้านร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นแผลติดเชื้อ แผลกดทับ อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความม่ันคงของ
มนุษย์(อพม.) จะดำเนินการประสานอาสาสมัครสาธารณสุข ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุท่ีมีภาวะพ่ึงพิง
(Caregiver) และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ เพ่ือร่วมลงพ้ืนที่ให้การช่วยเหลือในการทำแผล ล้างแผล
ตลอดจนให้คำแนะนำปรึกษาแก่ผดู้ แู ลผูส้ งู อายุ หรอื ถ้าผู้สงู อายปุ ระสบกบั ความเสย่ี งด้านปัจจัยพ้นื ฐานใน
การดำรงชีพ อาสาสมัครพัฒนาสงั คมและความม่ันคงของมนุษย์ (อพม.) ก็จะดำเนนิ การลงพ้นื ท่ีเย่ียมบา้ น
สอบขอ้ เท็จจริง ให้การช่วยเหลือเบือ้ งตน้ เป็นเครอื่ งอุปโภคบริโภคท่ีจำเป็น รวมท้ังรวบรวมขอ้ มลู รายงาน
หน่วยงานที่เก่ียวข้อง เพ่ือประสานให้การช่วยเหลืออย่างทันท่วงที ตลอดจนการนำข้อมูลความเส่ียง
ต่างๆ ท่ีมีนำมาเป็นฐานข้อมูลในการวางแผน เพื่อที่จะไม่ให้เกิดความเสี่ยงข้ึนอีก เช่น เม่ือเกิดความเส่ียง
ด้านสุขภาพร่างกายของผู้สูงอายุ อาจจะมีสาเหตุมาจากอาหารการกิน อาสาสมัครพัฒนาสังคมและ
ความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) ก็จะมีการวางแผนด้านการทำเกษตร การปลูกผัก เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับ
ประทานอาหารท่ีมีประโยชน์ ถ้าสุขภาพกายดี สุขภาพจิตใจย่อมดีตามไปด้วย เป็นต้น โดยเม่ือได้ข้อมูล
แล้วจะเป็นการวางแผนรว่ มกบั อาสาสมัครสาธารณสขุ และหน่วยงานที่เก่ียวข้อง เพ่ือให้การช่วยเหลือใน
ระยะยาว และไม่เกดิ ความเส่ยี งซ้ำอกี คร้งั
ในการเฝ้าระวังความเส่ียงท้ังก่อนเกิดปัญหาและเมื่อเกิดปัญหา ในการปฏิบัติงาน
ตามบทบาทของอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความม่ันคงของมนุษย์ (อพม.) จะเป็นการทำงานแบบบูรณา
การ เป็นกระบวนการทำงาน ไม่สามารถแยกการปฏิบัติงานออกจากกันได้ ซ่ึงในการะบวนการทำงาน
ตามบทบาทของอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความม่ันคงของมนุษย์(อพม.) อาจจะมีการดำเนินการ
ทั้งก่อนเกิดปัญหาและภายหลัง ซ่ึงบางรายเม่ือเกิดปัญหาแลว้ กส็ ามารถท่ีจะดำเนินการป้องกันเพ่ือไม่ให้
เกิดความเส่ียงซ้ำได้อีก แต่ยังมีบางข้อมูลที่แสดงให้เห็นว่า ในบางกระบวนการทำงานอาสาสมัครพัฒนา
สังคมและความม่ันคงของมนุษย์(อพม.) บางส่วนยังขาดทักษะความรู้ในการดูแลและเฝ้าระวังความเสี่ยง
ของผู้สงู อายุในชุมชน จึงทำให้ควรที่จะมีการพัฒนาบทบาทอาสาสมัครพัฒนาสังคมและ ความมัน่ คงของ
มนุษย์ (อพม.) ท้ังในด้านทักษะ องค์ความรู้ ตลอดจนด้านการเสริมสร้างเครือข่ายในการเฝ้าระวัง
ความเสี่ยงของผสู้ งู อายุ