สัมมนาผลงานวชิ าการระดบั บณั ฑิตศกึ ษาสงั คมสงเคราะห์ศาสตรแ์ ละสวสั ดิการสังคมระดับชาติ ครั้งท่ี 10 ประจำปีการศกึ ษา 2563 | 85
4. แนวทางการพัฒนาบทบาทของอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
(อพม.) ในการเฝา้ ระวงั ความเสีย่ งของผู้สงู อายใุ นชมุ ชน
ผลการศึกษาพบว่า อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) มีความรู้
ความเขา้ ใจเก่ียวกับการเฝา้ ระวังความเสีย่ งของผูส้ ูงอายใุ นชุมชน มีความสามารถคัดกรอง วิเคราะห์ และ
ประเมินความเส่ียงของผู้สูงอายุ โดยมีการเฝ้าระวังความเสี่ยงท้ังก่อนเกิดปัญหาและภายหลังเกิดปัญหา
แต่ยังมีข้อมูลบางส่วนท่ีแสดงให้เห็นว่า อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) ต้อง
ได้รับการพัฒนาบทบาทในด้านทักษะความรู้ในการดูแลและเฝ้าระวังความเสี่ยงของผู้สูงอายุในชุมชน
ตลอดจนควรจะได้รับการพัฒนาบทบาทในด้านการเสริมสร้างเครือข่ายในการเฝ้าระวังความเส่ียงของ
ผู้สูงอายุ โดยจะมีแนวทางการพัฒนาบทบาทอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความม่ันคงของมนุษย์ (อพม.)
ในการเฝ้าระวังความเสี่ยงของผู้สูงอายุในชุมชน มี 2 ช่วง ได้แก่ (1) การพัฒนาบทบาทอาสาสมัครพัฒนา
สังคมและความม่ันคงของมนุษย์ (อพม.) ก่อนเกิดปัญหา และ(2) การพัฒนาบทบาทอาสาสมัครพัฒนา
สังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) เม่ือเกิดปัญหาแล้ว ซึ่งจะเป็นการพัฒนาความรู้ ทักษะเก่ียวกับ
ผู้สูงอายุ การสร้างยอมรับ เสริมความเชื่อมั่นในบทบาทของอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความม่ันคงของ
มนุษย์ (อพม.) และความมั่นคงในบทบาทอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความม่ันคงของมนุษย์ (อพม.)
รายละเอยี ด ดงั นี้
4.1 การพัฒนาบทบาทอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) ก่อนเกิด
ปัญหา เป็นการพัฒนาองค์ความรเู้ พ่ือเสริมสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการเฝ้าระวังความเส่ียงของผู้สูงอายุ
ในชุมชน โดยแบ่งออกเป็น 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1) พัฒนาบทบาทอาสาสมัครพัฒนาสังคมและ
ความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) เก่ียวกับการประเมิน คัดกรอง และวิเคราะห์การเฝ้าระวังความเสี่ยงของ
ผู้สูงอายุในชุมชน 2) การพัฒนาบทบาทการเป็นผู้ให้คำปรึกษาแนะนำ และพิทักษ์สิทธิ โดยเสริมสร้าง
องค์ความรู้และทักษะการเฝ้าระวังความเสี่ยงของผู้สูงอายุในชุมชน 3) การพัฒนาบทบาทการเสริมสร้าง
เครือข่ายในการเฝ้าระวงั ความเส่ยี งของผู้สูงอายุในชุมชน
(1) พัฒนาบทบาทอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความม่ันคงของมนุษย์ (อพม.) เก่ียวกับ
การประเมิน คัดกรอง และวิเคราะห์การเฝ้าระวังความเส่ียงของผู้สูงอายุในชุมชน เป็นการพัฒนา
องค์ความรู้การเฝ้าระวังความเส่ียงของผู้สูงอายุในชุมชนการพัฒนาองค์ความรู้เก่ียวกับการประเมิน
คัดกรอง และฝกึ ทักษะการวเิ คราะหข์ ้อมลู ความเสยี่ งของผสู้ งู อายใุ นชุมชน สามารถวเิ คราะห์และประเมิน
สภาพปัญหาของผู้สูงอายุ และครอบครัวได้ว่าผู้สูงอายุประสบปัญหาด้านไหน อย่างไร และควรจะมี
แนวทางการให้ความช่วยเหลืออย่างไร รวมทั้งเสริมสร้างความเข้าใจเก่ียวกับการเฝ้าระวังความเส่ียง
เพอ่ื สามารถนำมาเป็นฐานความรู้ และนำไปต่อยอดการปฏบิ ัติงานได้ ซ่ึงจากการศึกษาพบว่า อาสาสมัคร
พัฒนาสังคมและความม่ันคงของมนุษย์ (อพม.) ทั้งหมดเคยเข้ารับการอบรมพัฒนาศักยภาพ องค์ความรู้
ทักษะ เทคนิคในการปฏิบัตงิ านในบทบาทของอาสาสมคั รพฒั นาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.)
ซึ่งจัดโดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความม่ันคงของมนุษย์ และอาสาสมัครพัฒนาสังคมและ
ความม่ันคงของมนุษย์ (อพม.) ร้อยละ 50 เคยเข้ารับการฝึกอบรมเก่ียวกับการดูแลผู้สูงอายุ เนื่องจาก
อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) บางคนมีบทบาทการเป็นอาสาสมัคร
สาธารณสุขด้วย แต่ส่วนใหญ่แล้วอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) เข้ารับ
การอบรมพัฒนาศักยภาพและเสริมสร้างองค์ความรู้ในการปฏิบัติงาน โดยเน้นการดูแลช่วยเหลือ
ทุกกลุ่มเป้าหมาย แต่ถา้ เป็นการอบรมเกย่ี วกับผู้สูงอายุจะเป็นการดแู ลทั่วๆ ไป ท่เี น้นในเร่ืองของสุขภาพ
86 | สมั มนาผลงานวิชาการระดบั บณั ฑิตศกึ ษาสงั คมสงเคราะห์ศาสตรแ์ ละสวสั ดกิ ารสังคมระดบั ชาติ ครง้ั ท่ี 10 ประจำปกี ารศกึ ษา 2563
กายมากกว่า หรือบางหลักสูตรก็จะเน้นเร่ืองของการจัดกิจกรรมเพ่ือดูแลผู้สูงอายุซ่ึงจากข้อมูลยังไม่มี
การพัฒนาองค์ความรู้และเสริมสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการเฝ้าระวังความเส่ียงของผู้ สูงอายุในชุมชน
ให้แก่อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความม่ันคงของมนุษย์ (อพม.) ท่ีอยู่ในชุมชน ประกอบกับข้อมูลจาก
เจ้าหน้าที่สำนักงานพัฒนาสังคมและความม่ันคงของมนุษย์จังหวัดสุโขทัย ท่ีแสดงให้เห็นว่าหน่วยงานที่
ดูแลอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) มีการจัดอบรมพัฒนาศักยภาพแต่ก็ยัง
ไม่เพียงพอและทั่วถึงกับจำนวนอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความม่ันคงของมนุษย์ (อพม.) ซึ่งการจัด
อบรมส่วนใหญ่เป็นหลักสูตรเพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้ในการปฏิบัติงานโดยรวม และมีการพัฒนาให้
อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านผู้สูงอายุ เพ่ือสามารถให้
การดูแลช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมายท่ีเป็นผู้สูงอายุได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ยังไม่ครอบคลุมถึงอาสาสมัคร
พัฒนาสังคมและความม่ันคงของมนุษย์ (อพม.) ท่ีมีอยู่ท้ังหมด ซึ่งต้องมีการขยายเป้าหมายในการจัด
อบรม เพื่อจะได้สามารถครอบคลุมถึงอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.)
ทงั้ จงั หวดั
(2) การพัฒนาบทบาทการเป็นผู้ให้คำปรึกษาแนะนำ และพทิ ักษ์สิทธิ โดยเสริมสร้าง
องค์ความรู้และทักษะการเฝ้าระวังความเสี่ยงของผู้สูงอายุในชุมชน จะมุ่งเน้นทักษะ 3 ด้าน ได้แก่
1) ทักษะด้านการให้คำปรึกษาเชิงการเสริมพลังอำนาจ เพ่ือให้อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคง
ของมนุษย์ (อพม.) สามารถให้คำปรึกษาแก่ผู้สูงอายุ และครอบครัวท่ีให้การดูแลผู้สูงอายุได้ 2) ทักษะ
การวิเคราะห์และการประเมินความเส่ียงของผู้สูงอายุในชุมชน เพ่ือให้อาสาสมัครพัฒนาสังคมและ
ความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) สามารถวิเคราะห์และประเมินสภาพปญั หาของผู้สูงอายุ และครอบครวั ได้
ว่าผู้สูงอายุประสบปัญหาด้านไหน อย่างไร และควรจะมีแนวทางการให้ความช่วยเหลืออย่างไร และ
3) ทักษะการดูแลผู้สูงอายุ เพ่ือให้อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความม่ันคงของมนุษย์ (อพม.) มีทักษะใน
การจัดการดูแลผู้สูงอายุ เนื่องจากผู้สูงอายุบางคนอาศัยอยู่เพียงลำพัง ไม่มีผู้ดูแล จึงทำให้เป็นหน้าที่ของ
อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) ท่ีจะต้องเข้าไปดูแลให้การช่วยเหลือผู้สูงอายุ
ดังกลา่ วให้มีคณุ ภาพชีวิตทีด่ ขี ้ึน
(3) การเสริมสร้างเครือข่ายในการเฝ้าระวังความเสี่ยงของผู้สูงอายุ การยอมรับใน
บทบาทอาสาสมัครพัฒนาสงั คมและความม่ันคงของมนษุ ย์(อพม.) เพ่ือเฝ้าระวงั ความเส่ียงของผ้สู ูงอายใุ น
ชมุ ชน
บทบาทการเป็นผู้ประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ หรือภาคีเครือข่ายต่างๆ ที่
เก่ียวข้องในการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาทางสังคม ซึ่งในการประสานงานกับภาคีเครือข่ายนั้น
ถือได้ว่าเป็นกระบวนการพัฒนาความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน เนื่องจากการให้ความช่วยเหลือผู้สูงอายุ
บางรายไม่ได้ทำคร้ังเดียวแล้วจะสำเร็จ อาจจะต้องมีการประสานงานกันบ่อยคร้ัง จนกว่าจะให้
การชว่ ยเหลือผู้สงู อายุได้อย่างสำเร็จและเสร็จสิ้นกระบวนการใหค้ วามช่วยเหลือ โดยในการดแู ลผู้สูงอายุ
และการเฝ้าระวังความเส่ียงของผู้สูงอายุในชุมชน อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความม่ันคงของมนุษย์
(อพม.) มีบทบาทในการเป็นนักเฝ้าระวังเพื่อไม่ให้เกิดความเส่ียงกับผู้สูงอายุในชุมชน ซ่ึงในการเป็น
นักเฝ้าระวังจะมีบทบาทในการสำรวจข้อมูลความเสี่ยง 7 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านสุขภาพกาย 2) ด้าน
สุขภาพจิต 3) ด้านอาชีพรายได้ 4) ด้านความรุนแรงทางร่างกาย จิตใจ และถูกทอดทิ้ง ละเลย เพิกเฉย
5) ด้านการเข้าไม่ถึงสิทธิสวัสดิการผู้สูงอายุ 6) ด้านความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 7) ด้านขาด
การเตรียมความพร้อมในตนเองของผู้สูงอายุ มีบทบาทในการเป็นผู้คัดกรองว่าผู้สูงอายุมีความเสี่ยงด้าน
สมั มนาผลงานวชิ าการระดบั บัณฑิตศกึ ษาสงั คมสงเคราะห์ศาสตรแ์ ละสวสั ดกิ ารสังคมระดบั ชาติ ครั้งที่ 10 ประจำปีการศึกษา 2563 | 87
ไหน และควรได้รับการช่วยเหลือรูปแบบใด เพ่ือวางแผนการให้ความช่วยและเฝ้าระวังไม่ให้เกิด
ความเส่ียงข้ึน รวมท้ังเป็นผู้ท่ีจะประสานเครือข่ายท่ีเกี่ยวข้องหรือแม้กระทั่งการสร้างเครือข่ายที่จะ
สามารถบูรณาการให้ความช่วยเหลือผู้สูงอายุ ซึ่งจากข้อมูลของอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคง
ของมนุษย์ (อพม.) ทั้งหมดและข้อมูลจากผู้นำชุมชน พบว่า อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความม่ันคงของ
มนุษย์ (อพม.) มีบทบาทสำคัญในการเป็น ผู้ประสานงานเพ่ือให้ความช่วยเหลือผู้สูงอายุในชุมชน เพ่ือให้
การช่วยเหลือตามบทบาทอื่นๆไม่ว่าจะเป็นการสำรวจข้อมูล การจัดเก็บข้อมูล การคัดกรองความเส่ียง
ต่างๆ ท่ีจะเกิดกับผู้สูงอายุ รวมทั้งการวางแผนในการให้การช่วยเหลือและป้องกันไม่ให้เกิดความเสี่ยง
ทั้งก่อนเกิดความเส่ียงและเมื่อเกิดความเสี่ยงแล้ว แต่ยังมีอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความม่ันคงของ
มนุษย์ (อพม.) บางส่วนที่มีบทบาทในการประสานงาน เมื่อประสานงานไปแล้ว แต่ยังไม่ได้รับ
ความร่วมมือเท่าท่ีควร จึงมีความยากลำบากใน การปฏิบัติงาน คือ การท่ีผู้สูงอายุ ผู้นำชุมชน
ภาคีเครือข่ายไม่รู้จักอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความม่ันคงของมนุษย์ (อพม.) หรือบางคนเป็น
อาสาสมัครอ่ืนๆด้วย จึงทำให้ผู้สูงอายุหรือภาคีเครือข่ายรู้จักในนามอาสาสมัครอื่นๆมากกว่าอาสาสมัคร
พัฒนาสังคมและความม่ันคงของมนุษย์ (อพม.) ซ่ึงการปฏิบัติงานของอาสาสมัครพัฒนาสังคมและ
ความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) จะทำเพียงลำพังไม่ได้ ในการทำงานยิ่งต้องมีเครือข่ายท่ีประสานการให้
ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน จากข้อจำกัดน้ีทำให้อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความม่ันคงของมนุษย์
(อพม.) สะท้อนส่ิงท่ีต้องการให้มีการสร้างการยอมรับในบทบาทของอาสาสมัครพัฒนาสังคมและ
ความมัน่ คงของมนุษย์ (อพม.) ของภาคีเครือข่ายท่ีเก่ียวข้อง
4.2 การพัฒนาบทบาทอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) เมื่อเกิด
ปัญหาแล้ว โดยจะเป็นการพัฒนาบทบาทในการจัดบรกิ ารให้ความช่วยเหลือเบ้ืองต้น และประสานการให้
ความชว่ ยเหลือ
การจดั บริการใหค้ วามช่วยเหลือเบือ้ งต้น และประสานการใหค้ วามช่วยเหลอื โดยจะแบ่ง
การให้ความช่วยเหลืออกเป็น 3 งาน ได้แก่ งานฟ้ืนฟู-เยียวยา งานป้องกัน-เฝ้าระวัง และงานส่งเสริม-
พัฒนา ให้เกิดขึ้นระดับชุมชน โดยจะมีอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) เป็น
ผู้จัดบริการให้ความช่วยเหลือในเบ้ืองต้นและเฝ้าระวัง ไม่ให้เกิดความเสี่ยงแก่ผู้สูงอายุในชุมชน มีการให้
ความช่วยเหลือ ฟ้ืนฟูเยียวยาให้แก่ผู้สูงอายุ ซึ่งชุมชนมีส่วนสำคัญในการร่วมสนับสนุนการปฏิบัติตาม
บทบาทของอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) ในการร่วมลงพ้ืนที่ให้
การช่วยเหลือผู้สูงอายุที่ประสบปัญหาทางสังคม รวมท้ังมีการประสานงานกับภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง
ท้ังภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม เพ่ือให้การช่วยเหลือ นอกจากนี้ ชุมชนยังสามารถส่งเสริม
และพัฒนาศักยภาพของอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) ได้ โดยเป็นตัวกลาง
ระหว่างอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) กับผู้สูงอายุ และอาสาสมัครพัฒนา
สังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) กับภาคีเครือข่ายต่างๆ ท่ีเก่ียวข้อง เพื่อให้อาสาสมัคร
พัฒนาสังคมและความม่ันคงของมนุษย์ (อพม.) สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจน
การสนับสนุนให้อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) เข้ารับการพัฒนาองค์ความรู้
ด้านต่างๆ โดยการจัดอบรมภายในชุมชนหรอื การคัดเลือกให้อาสาสมัครพฒั นาสังคมและความม่ันคงของ
มนุษย์ (อพม.) เป็นผู้แทนชุมชนเข้ารบั การอบรมด้านการดูแลผู้สูงอายุ และนำมาถ่ายทอดให้ผู้ปฏิบัติงาน
หรอื อาสาสมคั รต่างๆ ในชมุ ชนไดน้ ำไปปรับใช้ในการปฏบิ ัตงิ าน
88 | สัมมนาผลงานวิชาการระดับบณั ฑติ ศกึ ษาสังคมสงเคราะหศ์ าสตร์และสวสั ดกิ ารสังคมระดบั ชาติ ครงั้ ที่ 10 ประจำปีการศกึ ษา 2563
การพัฒนาบทบาทอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) ควรจะมี
การพัฒนาทั้งก่อนเกิดปัญหาและภายหลังจากเกิดปัญหาแล้ว เพื่อให้อาสาสมัครพัฒนาสังคมและ
ความม่ันคงของมนุษย์ (อพม.) มีความรู้ความเข้าใจ มีทักษะ สามารถคัดกรอง วิเคราะห์ และประเมิน
ความเสย่ี งที่อาจจะเกิดขึน้ กบั ผ้สู ูงอายุได้ รวมท้ังสามารถให้การดูแลช่วยเหลือและเฝา้ ระวงั ความเส่ียงของ
ผู้สูงอายุได้อย่างครอบคลุม และมีประสิทธิภาพ ตลอดจนเพื่อให้อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความม่ันคง
ของมนุษย์ (อพม.) ได้มีช่องทางในการประสานการให้ความชว่ ยเหลือผู้สูงอายุในชุมชนให้มคี ุณภาพท่ีชวี ิตที่ดี
ขึน้ และเฝา้ ระวงั ไม่ให้เกิดความเส่ียงกับผู้สูงอายุในชุมชน
ภาพที่ 1. สรุปผลการศึกษาแนวทางการพัฒนาบทบาทของอาสาสมัคร ในการเฝ้าระวังความเสี่ยงของ
ผู้สงู อายใุ นชมุ ชน: กรณีศึกษาอาสาสมคั รพฒั นาสังคมและความม่นั คงของมนุษย์ (อพม.) จังหวดั สุโขทยั .
สัมมนาผลงานวิชาการระดบั บณั ฑิตศึกษาสังคมสงเคราะหศ์ าสตรแ์ ละสวัสดิการสังคมระดับชาติ ครั้งที่ 10 ประจำปีการศกึ ษา 2563 | 89
จากแผนภาพ 1 จะเห็นได้ว่าอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.)
มีความรู้ความเข้าใจเก่ียวกับการเฝ้าระวังความเส่ียงของผู้สูงอายุในชุมชน บนฐานข้อมูลสถานการณ์ชีวิต
ของผู้อายุในชุมชน โดยมีประเด็นความเสี่ยงทั้งหมด 7 ด้าน ดังน้ี 1) สุขภาพกาย 2) สุขภาพจิต
3) อาชีพรายได้ 4) ความรุนแรง (ร่างกาย จิตใจ และถูกทอดท้ิง ละเลย เพิกเฉย) 5) การเข้าไม่ถึงสิทธิ
สวัสดิการผู้สูงอายุ 6) ความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 7) ขาดการเตรียมความพร้อมในตนเองของ
ผู้สูงอายุ รวมท้ังประเด็นการดูแลและให้ความช่วยเหลือผู้อายุในชุมชน เพื่อตอบสนองต่อความต้องการ
ลดภาวะเส่ียง ลดผลกระทบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้เกิดแก่ผู้สูงอายุ โดย
การเฝ้าระวังความเส่ียงนั้น มีการดำเนินการ 2 ช่วง ได้แก่ ช่วงท่ี 1) ก่อนเกิดปัญหา อาสาสมัครพัฒนา
สังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) จะมีการเตรียมพร้อมด้านชุดความรู้เก่ียวกับการเฝ้าระวัง
ความเส่ียงของผู้สูงอายุ รวมท้ังสำรวจข้อมูล ประเมินและวิเคราะห์ความเส่ียงท่ีอาจจะเกิดข้ึน ตลอดจน
มกี ารประสานภาคีเครอื ขา่ ยในการป้องกันความเสย่ี ง และชว่ งท่ี 2) เมื่อเกิดปญั หาแล้ว อาสาสมัครพัฒนา
สังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) จะดำเนินการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า โดยการลงพ้ืนที่เยี่ยมให้
กำลังใจ และให้การช่วยเหลือเบื้องต้น ตลอดจนสร้างฐานข้อมูลความเส่ียงที่เกิดข้ึน เพื่อวางแผนป้องกัน
ไม่ให้เกิดความเส่ียงซ้ำได้อีก ทั้งนี้ ในการดำเนินการทั้ง 2 ช่วงดังกล่าวมีความต่อเน่ืองและเป็น
กระบวนการท่ีเช่ือมโยงกัน และภายใต้การทำบทบาทของอาสาสมัครพัฒนาสังคมดังกล่าว พบว่า มีพลัง
การขับเคล่ือนในการทำบทบาทของอาสาสมัคร จากความปิติยินดีรวมถงึ ต้นทุนประสบการณ์ในการดูแล
ผู้สูงอายุซึ่งเป็นสมาชิกของครอบครัวตนเอง สำหรับแนวทางการพัฒนาบทบาทของอาสาสมัครพัฒนา
สังคมและความม่ันคงของมนุษย์ (อพม.) ในการเฝ้าระวังความเสี่ยงของผู้สูงอายุในชุมชน มีดังน้ี
การพัฒนาบทบาทอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความม่ันคงของมนุษย์ (อพม.) ช่วงก่อนเกิดปัญหากับ
ผู้สูงอายุในชุมชน ได้แก่ 1) พัฒนาบทบาทอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.)
เก่ียวกับการประเมิน คัดกรอง และวิเคราะห์การเฝ้าระวังความเส่ียงของผู้สูงอายุในชุมชน 2) การพัฒนา
บทบาทการเป็นผู้ให้คำปรึกษาแนะนำ และพิทักษ์สิทธิ โดยเสริมสร้างองค์ความรู้และทักษะการเฝ้าระวัง
ความเสี่ยงของผู้สูงอายุในชุมชน และ 3) การพัฒนาบทบาทการเสริมสร้างเครือข่ายในการเฝ้าระวัง
ความเส่ียงของผู้สงู อายุในชุมชน และช่วงที่ผู้สูงอายุเผชญิ ปัญหาแลว้ ไดแ้ ก่ การพฒั นาบทบาทอาสาสมัคร
พฒั นาสังคมและความม่ันคงของมนุษย์ (อพม.) ในการจัดบริการให้ความชว่ ยเหลือเบือ้ งต้น และประสาน
การใหค้ วามช่วยเหลอื ในดา้ นการฟ้นื ฟู-เยียวยา ดา้ นการปอ้ งกนั -เฝ้าระวัง และดา้ นการสง่ เสรมิ -พัฒนา
การอภิปรายผลการศกึ ษา
1. ความรู้ความเข้าใจของอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) ในการเฝ้า
ระวังความเส่ียงของผสู้ ูงอายุในชุมชน
อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความม่ันคงของมนุษย์ (อพม.) มีความรู้ความเข้าใจในการเฝ้า
ระวังความเส่ียงของผู้สูงอายุในชุมชน โดยความรู้ความเข้าใจน้ันเป็นความสามารถของอาสาสมัครพัฒนา
สังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) ในการสำรวจข้อมูลคัดกรอง และประเมินสภาวะท่ีอาจจะสง่ ผลให้
90 | สมั มนาผลงานวชิ าการระดบั บณั ฑติ ศึกษาสงั คมสงเคราะห์ศาสตร์และสวสั ดิการสงั คมระดบั ชาติ คร้ังท่ี 10 ประจำปกี ารศึกษา 2563
เกิด ความเสี่ยงแก่ผู้สูงอายุได้ รวมท้ังเป็นความสามารถในการดูแลและให้ความช่วยเหลือผู้สูงอายุให้
ตอบสนองต่อความต้องการของผู้สูงอายุ รวมถึงผู้ดูแล และครอบครัวของผู้สูงอายุ ท้ังน้ีอาจเป็นเพราะ
อาสาสมคั รพัฒนาสงั คมและความม่นั คงของมนุษย์ (อพม.) บางรายมีประสบการณ์ในการเป็นอาสาสมัคร
สาธารณสุข ซึ่งเคยผ่านการอบรมเก่ียวกับกระบวนการในการดูแลผู้สูงอายุในชุมชน รวมท้ัง
มีประสบการณ์จากดูแลผู้สูงอายุที่เป็นสมาชิกในครอบครัว แต่อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความม่ันคง
ของมนุษย์ (อพม.) บางรายไม่มีประสบการณ์ในการดูแลผู้สูงอายุมาก่อน จึงทำให้ยังขาดทักษะใน
การปฏิบัติงานได้ จึงทำให้เห็นว่าอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) ทั้ง 2
ประเภท มีความแตกต่างกัน เนื่องจากอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความม่ันคงของมนุษย์ (อพม.)
ท่ีมีประสบการณ์ในการดูแลคนในครอบครัวจะสามารถให้การดูแลช่วยเหลือผู้สูงอายุในเบื้องต้นได้ดีกว่า
อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) ที่ไม่เคยมีประสบการณ์การดูแลคนใน
ครอบครัว โดยคนมีประสบการณ์จะสามารถสังเกตและแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้มากกว่า ซึ่งสอดคล้อง
กับทฤษฎีการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ที่กล่าวว่า บุคคลต้องมีการเรียนรู้ สังเกต เพื่อให้เกิดทักษะและ
เป็นประสบการณ์ สามารถให้คำปรึกษาแนะนำในเบ้ืองต้นเพื่อเป็นการป้องกันความเส่ียงท่ีจะเกิดข้ึนใน
ระยะยาว ส่วนคนท่ีไม่เคยมีประสบการณ์จะเป็นลักษณะของการให้การดูแลด้านส่ิงของเครื่องใช้ และ
การประสานงานกับหน่วยงานท่ีเก่ียวข้อง เพื่อให้การช่วยเหลือตามความเหมาะสมต่อไป ดังน้ัน จึงควรมี
การพัฒนาบทบาทอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความม่ันคงของมนุษย์ (อพม.) ในด้านทักษะ องค์ความรู้
ในการเฝ้าระวังความเสี่ยงของผู้สูงอายุในชุมชน ตลอดจนการเสริมสร้างเครือข่ายในการเฝ้าระวัง
ความเส่ยี งของผู้สงู อายใุ นชมุ ชน
2. แนวทางการพัฒนาบทบาทของอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
(อพม.) ในการเฝา้ ระวังความเสย่ี งของผู้สูงอายใุ นชุมชน
การพัฒนาบทบาทอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) มีแนวทางแบ่ง
ออกเป็น 2 ช่วง ได้แก่ (1) การพัฒนาบทบาทอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความม่ันคงของมนุษย์ (อพม.)
ก่อนเกิดปัญหา และ (2) การพัฒนาบทบาทอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.)
เม่ือเกิดปัญหาแล้ว จะเป็นการพัฒนาด้านทักษะ องค์ความรู้ ด้านการประเมิน คัดกรอง และวิเคราะห์
ความเสี่ยงของผู้สูงอายุในชุมชน รวมทั้งด้านการให้คำแนะนำปรึกษา การพิทักษ์สิทธิ ตลอดจน
การเสริมสร้างเครือข่ายในการฝ้าระวังความเสี่ยงของผู้สูงอายุในชุมชน โดยวิธีการในการพัฒนาบทบาท
ก่อนเกิดปัญหา จะเป็นการจัดอบรมพัฒนาศักยภาพ และเสริมสร้างทักษะ องค์ความรู้ในการปฏิบัติงาน
ตามบทบาทอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) ของหน่วยงานที่เก่ียวข้อง โดยจะ
พัฒนาให้อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความม่ันคงของมนุษย์ (อพม.) มีความรู้ความสามารถเพ่ิมมากขึ้น
และสามารถให้การดูแลช่วยเหลือ เฝ้าระวังความเส่ียงของผู้สูงอายุในชุมชนได้ ซ่ึงสอดคล้องกับวิจัยที่
เก่ียวข้อง ท่ีมีข้อเสนอแนะในการพัฒนาบทบาทของอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความม่ันคงของมนุษย์
(อพม.) เพ่ือสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น ควรจะมีการเสริมสร้างลักษณะของการเพ่ิมพูน
องค์ความรู้ ทักษะความชำนาญในการปฏิบัติงานให้แก่ อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
สมั มนาผลงานวชิ าการระดับบณั ฑิตศึกษาสังคมสงเคราะห์ศาสตรแ์ ละสวสั ดิการสังคมระดบั ชาติ คร้ังท่ี 10 ประจำปกี ารศกึ ษา 2563 | 91
(อพม.) รวมทั้งควรเป็นลักษณะของการรวมกลุ่มหรือจัดเวทีเพื่อแลกเปล่ียนความคิดเห็น ประสบการณ์
และความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความม่ันคงของมนุษย์ (อพม.)
สม่ำเสมอ เพื่อเป็นการถอดบทเรียน และทบทวนองค์ความรู้ในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครพัฒนา
สังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) ทั้งนี้อาจจะทำให้อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความม่ันคงของ
มนุษย์ (อพม.) ได้มีโอกาสพบปะอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) ในพ้ืนท่ีอื่น
ตลอดจนหน่วยงานภาคีเครือข่ายท่ีเก่ียวข้องกับการปฏิบัติงาน เพ่ือเป็นกลไกที่สำคัญในการเฝ้าระวัง
ความเสี่ยงให้แก่ผู้สูงอายุในชุมชนได้ เม่ืออาสาสมัครพัฒนาสังคมและความม่ันคงของมนุษย์ (อพม.)
มีเครือข่ายในการปฏิบัติงาน ก็จะสามารถให้การดูแลช่วยเหลือ และเฝ้าระวังความเสี่ยงของผู้สูงอายุใน
ชุมชนไดอ้ ยา่ งครอบคลุมและมปี ระสิทธิภาพ
ขอ้ เสนอแนะ
1. ข้อเสนอแนะเชงิ นโยบาย
ผลักดันให้สำนักงานพัฒนาสังคมและความม่ันคงของมนุษย์จังหวัด ร่วมกับภาคีเครือข่ายท่ี
เก่ียวข้อง เช่น สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ องค์กรปกครองส่วนท้องถ่ิน
เป็นต้นพัฒนาเครื่องมือหรือระบบการประเมินความเสี่ยงของผู้สูงอายุให้มีประสิทธิภาพและครอบคลุม
มากยง่ิ ข้ึน โดยการถอดบทเรยี นจากการใช้เครื่องมือในการประเมินความเส่ยี ง วิเคราะห์ถึงปญั หาอปุ สรรค
รวมท้ังข้อขัดข้องต่างๆ ที่เกิดจากการใช้เครื่องมือประเมินความเสี่ยง และนำมาพัฒนาปรับปรุงให้มี
ประสิทธิภาพมากยง่ิ ขนึ้
2. ขอ้ เสนอแนะเชงิ พ้ืนท่ี
สำนักงานพัฒนาสังคมและความม่ันคงของมนุษย์จังหวัด และภาคีเครือข่ายท่ีเกี่ยวข้อง
ควรส่งเสรมิ สนับสนุน และสรา้ งกระบวนการเรียนรูใ้ ห้แกอ่ าสาสมคั รพัฒนาสังคมและความม่นั คงของมนุษย์
(อพม.) เพื่อให้อาสาสมัครพฒั นาสังคมและความมน่ั คงของมนุษย์ (อพม.) มีองค์ความรู้ มีทกั ษะ ตลอดจน
ได้ฝึกการประเมินความเสี่ยงของผู้สูงอายุอย่างต่อเน่ือง เพื่อให้เกิดความเช่ียวชาญ สามารถประเมิ น
สถานการณ์ความเส่ียงได้อย่างแม่นยำ ซ่ึงจะทำให้อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความม่ันคงของมนุษย์
(อพม.) สามารถจัดการความเส่ียงและลดความรุนแรงของปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมท้ัง
มีการประชาสัมพันธ์การเสริมสร้างบทบาทผู้ดูแลและครอบครัวของผู้สูงอายุให้มีความตระหนักในการดูแล
และเฝ้าระวงั ความเสยี่ งทจ่ี ะเกิดข้ึนกับผ้สู งู อายุ
3. ข้อเสนอแนะเชงิ ปฏบิ ตั ิการ
สำนักงานพัฒนาสังคมและความม่ันคงของมนุษย์จังหวัดร่วมกับภาคีเครือข่ายท่ีเกี่ยวข้อง
ดำเนินการพัฒนาศักยภาพของอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความม่ันคงของมนุษย์ (อพม.) ในทุกด้าน
ท้ังในด้านองค์ความรู้ที่ใช้ในการปฏิบัติงาน ทัศนคติต่อผู้สูงอายุ รวมถึงกระบวนการทางสังคมสงเคราะห์
และควรฝึกทักษะการใช้เครื่องมือในการประเมินความเสี่ยงของผู้สูงอายุ นอกจากน้ีควรจัดให้มีเวที
แลกเปลี่ยนเรียนรรู้ ะหว่างอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความม่ันคงของมนุษย์ (อพม.) กับภาคีเครือข่ายที่
92 | สมั มนาผลงานวชิ าการระดบั บณั ฑติ ศึกษาสังคมสงเคราะหศ์ าสตร์และสวสั ดกิ ารสังคมระดับชาติ ครงั้ ท่ี 10 ประจำปีการศกึ ษา 2563
เกี่ยวข้องซ่ึงจะนำไปสู่การสร้างเครือข่ายการทำงานกับผู้สูงอายุ และสามารถบูรณาการความร่วมมือใน
ด้านต่างๆอย่างครอบคลุมและครบวงจร ตลอดจนการปลูกฝังและสร้างความตระหนัก รวมท้ังเสริมสร้าง
ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลและเฝ้าระวังความเสี่ยงของผู้สูงอายุให้แก่ผู้ดูแลและครอบครัวของ
ผู้สูงอายุ เพ่อื สามารถเฝ้าระวังความเสีย่ งใหแ้ ก่ผสู้ งู อายในครอบครัวได้
4. ข้อเสนอแนะในการวิจัยคร้ังตอ่ ไป
1) การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research-PAR) เพื่อ
ศึกษาบทบาทของอาสาสมัครดูแลผูส้ ูงอายุ (อผส.) ในการเฝา้ ระวังความเสยี่ งของผสู้ ูงอายใุ นชุมชน
2) การศึกษาวิจัยเชิงสำรวจเร่ืองปัจจัยสนับสนุนการปฏิบัติงานของอาสาสมัครพัฒนาสังคม
และความมัน่ คงของมนษุ ย์ (อพม.) ในการดแู ลผูส้ ูงอายใุ นชุมชน
รายการอา้ งอิง
กระทรวงการพฒั นาสงั คมและความมั่นคงของมนุษย,์ กรมกจิ การผสู้ ูงอายุ. (2562). มาตรการขับเคลื่อน
ระเบียบวาระแห่งชาติ เรื่อง ผู้สงู อายุ (ฉบบั ปรับปรุง). กรงุ เทพฯ: บริษัทอมรนิ ทร์พริน้ ตง้ิ แอนด์
พบั ลชิ ชิ่ง.
กองบัญชาการศึกษา. (2563). เครือขา่ ยทางสงั คม. สบื ค้นจาก http://www.edupol.org/
eduOrganize/eLearning/generalStaff/doc/group10/06/01.pdf.
กระทรวงการพฒั นาสังคมและความมั่นคงของมนษุ ย.์ (2557). ระเบยี บกระทรวงการพฒั นาสงั คมและ
ความมนั่ คงของมนุษย์ว่าด้วยอาสาสมัครพัฒนาสงั คมและความม่นั คงของมนุษย์ พ.ศ.2557.
กรุงเทพฯ: ผ้แู ตง่
กระทรวงการพฒั นาสังคมและความมั่นคงของมนุษย.์ (2557). พระราชบญั ญัติผู้สูงอายุ พ.ศ.2546.
กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เทพเพ็ญวานสิ ย.์
คณะทำงานการจดั ทำหนังสือรายงานประจำปี (ปีงบประมาณ 2561). (2561). รายงานประจำปี 2561
สำนักงานพัฒนาสงั คมและความมน่ั คงของมนษุ ยจ์ ังหวดั สโุ ขทัย. ม.ป.ท.
จรรยารัตน์ ชำนาญวาด. (2551). การพฒั นาบทบาทอาสาสมัครพฒั นาสงั คมฯ ช่วยเหลือคนพิการ
(อพมก.) ในระดับครอบครวั กรณีศึกษา : สำนักงานพฒั นาสงั คมและความม่นั คงของมนุษย์
จังหวดั (ภาคกลาง). (วทิ ยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑติ ). มหาวิทยาลยั ธรรมศาสตร์,
คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์, ภาควิชาสงั คมสงเคราะหศ์ าสตร,์ สาขาการบริหารและนโยบาย
สวัสดิการสงั คม.
เจษฎา เนตะวงศ์. (2557). รูปแบบการให้บริการสุขภาพปฐมภูมกิ ับผู้ปว่ ยเรอ้ื รงั : กรณีศึกษา ทมี ไม้เล้ือย
โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกุฉนิ ารายณ์ จงั หวดั กาฬสินธ์ุ. (วทิ ยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑติ ).
มหาวทิ ยาลัยธรรมศาสตร์, คณะสังคมสงเคราะหศ์ าสตร,์ ภาควชิ าสังคมสงเคราะหศ์ าสตร์.
ฐนันดร์ศกั ดิ์ บวรนันทกุล. (2557). การเสริมสรา้ งศกั ยภาพการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. วารสารวชิ าการ
มหาวิทยาลยั ปทมุ ธานี.
สัมมนาผลงานวชิ าการระดับบัณฑิตศึกษาสงั คมสงเคราะห์ศาสตร์และสวัสดิการสงั คมระดบั ชาติ ครั้งที่ 10 ประจำปีการศึกษา 2563 | 93
ทยาน โคตะนนั ท์. (2554). แนวทางการพัฒนาบทบาทอาสาสมัครสาธารณสขุ ในการสรา้ งเสรมิ
สขุ ภาพจิตในชุมชน. (สารนิพนธ์ปริญญามหาบณั ฑิต). มหาวทิ ยาลัยธรรมศาสตร์,
คณะสงั คมสงเคราะห์ศาสตร,์ ภาควชิ าสงั คมสงเคราะห์ศาสตร์, สาขาการบริหารและนโยบาย
สวัสดิการสังคม.
ธนวรรณ สาระรัมย์. (2549). ระบบการเฝา้ ระวงั ทางสังคมด้านเดก็ ในสถานสงเคราะห์.
(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวทิ ยาลยั ธรรมศาสตร์, คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร,์
การบริหารและนโยบายสวัสดกิ ารสังคม.
ธันยาภรณ์ ตันสกุล. (2563). ความเสี่ยงของผู้สูงอายุ. สืบค้นจาก
http://www.bangkokinternationalhospital.com
ธรี วจั น์ จลุ นวล. (2554). การส่งเสริมบทบาทอาสาสมัครดูแลผูส้ ูงอายุ (อผส.) ต่อการดูแลผสู้ งู อายทุ ี่บ้าน:
กรณีศึกษาสำนักงานพฒั นาสงั คมและความมั่นคงของมนุษยจ์ งั หวดั สตูล. (สารนิพนธ์ปริญญา
มหาบัณฑติ ). มหาวทิ ยาลยั ธรรมศาสตร์, คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์, ภาควิชาสังคมสงเคราะห์
ศาสตร์, สาขาการบริหารและนโยบายสวัสดิการสังคม.
นภาพร ลมิ้ ฮกไล้. (2552). ประสิทธิผลของโปรแกรมการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสขุ ประจำ
หมูบ่ า้ นต่อความรู้ และทศั นคตเิ ก่ียวกับระบบบรกิ าร การแพทยฉ์ ุกเฉนิ ของประชาชนในพืน้ ท่ี
อำเภอหนองเสือ จงั หวัดปทุมธานี. (วิทยานพิ นธ์ปรญิ ญามหาบณั ฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,
คณะพยาบาลศาสตร์, การพยาบาลเวชปฏบิ ัตชิ ุมชน.
นภัสกรณ์ ธูปแก้ว (2554). แนวทางการพฒั นาการปฏิบตั ิงานของอาสาสมัครดูแลผสู้ ูงอายทุ ีบ่ ้าน (อผส.)
กรณีศึกษา: อผส.ทไ่ี ดร้ ับการสนับสนุนจากสมาคมพฒั นาผู้ประกอบการผสู้ ูงอายุชนบท จงั หวดั
ชัยนาท. (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑติ ). มหาวิทยาลยั ธรรมศาสตร์, ภาควิชาสงั คมสงเคราะห์
ศาสตร,์ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร,์ สาขาการบรหิ ารและนโยบายสวัสดิการสังคม.
เบญจา ยอดดำเนิน-แอ็ตติกจ.์ (2552). การวิเคราะห์ขอ้ มูลเชงิ คุณภาพ : การจัดการข้อมูล การตคี วาม
และการหาความหมาย. นครปฐม: สถาบนั วิจยั ประชากรและสงั คม มหาวิทยาลยั มหดิ ล.
ปาณญาดา เสถยี รเขตต์. (2555). วธิ ีการดแู ลผสู้ ูงอายโุ ดยอาสาสมคั รดูแลผสู้ งู อายุทบ่ี า้ น (อผส.)
กรณศี ึกษาองค์การบริหารสว่ นตำบลบ้านค่าย อำเภอบา้ นค่าย จงั หวดั ระยอง.
(สารนพิ นธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลยั ธรรมศาสตร์, คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์,
ภาควิชาการพฒั นาชมุ ชน.
เพียงนภา คำประสทิ ธ.์ิ (2557). การจัดการความเสีย่ งของผู้ปฏิบตั งิ านในการช่วยเหลือและคุ้มครอง
สวัสดิภาพของบา้ นพกั เด็กและครอบครัว. (สารนิพนธ์ปรญิ ญามหาบณั ฑติ ).
มหาวทิ ยาลยั ธรรมศาสตร์, คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์, ภาควิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร,์
สาขาการบรหิ ารและนโยบายสวัสดกิ ารสงั คม.
94 | สมั มนาผลงานวิชาการระดบั บณั ฑิตศึกษาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และสวัสดิการสังคมระดบั ชาติ ครง้ั ท่ี 10 ประจำปกี ารศกึ ษา 2563
ภูเบธ มานะสคุ นธ์. (2557). แนวทางส่งเสริมบทบาทการปฏิบตั ิหน้าที่ของอาสาสมัครดแู ลผสู้ งู อายุทีบ่ ้าน
กรณศี ึกษาอาสาสมัครดูแลผู้สงู อายุทบี่ า้ นพ้นท่จี ังหวัดลำปาง. (สารนพิ นธ์ปริญญามหาบัณฑิต).
มหาวทิ ยาลัยธรรมศาสตร์, คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์, สาขาการบริหารและนโยบายสวสั ดิการ
สงั คม.
มนัส โนนุช. (2557). การพัฒนาบทบาทอาสาสมคั รในการปฏิบตั ิงานชว่ ยเหลอื ผ้ปู ระสบภยั : กรณีศกึ ษา
มลู นธิ ิมริ าเคลิ ออฟไลฟ์ . (วทิ ยานพิ นธ์ปรญิ ญามหาบัณฑิต). มหาวทิ ยาลยั ธรรมศาสตร์,
คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร,์ ภาควชิ าสงั คมสงเคราะห์ศาสตร์, สาขาการบริหารและนโยบาย
สวสั ดิการสังคม.
มณฑล เผอื กโสมณ. (2552). แนวทางการสง่ เสรมิ การใช้เครอื ขา่ ยสนับสนุนในการปฏิบัติงานของ
อาสาสมัครดูแลผสู้ ูงอายทุ บ่ี า้ น (อผส.) กรณีศึกษาสำนักงานพัฒนาสงั คมและความม่นั คงของ
มนษุ ย์จังหวดั เขตภาคกลาง. (วิทยานพิ นธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,
คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร,์ ภาควชิ าสังคมสงเคราะหศ์ าสตร์, สาขาการบริหารและนโยบาย
สวัสดิการสงั คม.
มูลนิธสิ ถาบันวิจยั และพัฒนาผ้สู ูงอายุไทย. (2561). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2560 (พิมพค์ ร้งั แรก).
ม.ป.ท.
ยพุ าพิศ วรรณโชติ. (2552). การมีส่วนรว่ มของอาสาสมัครพฒั นาสังคมและความม่ันคงของมนุษย์ (อพม.)
ตอ่ การเฝา้ ระวังความรนุ แรงในครอบครวั จังหวัดปทมุ ธานี. (วทิ ยานิพนธ์ปรญิ ญามหาบัณฑติ ).
มหาวทิ ยาลัยธรรมศาสตร์, คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์, ภาควชิ าสังคมสงเคราะหศ์ าสตร,์
สาขาการบรหิ ารและนโยบายสวสั ดิการสังคม.
วรี ลกั ษณ์ ดมี นั่ . (2556). การพัฒนาบคุ ลากรดา้ นงานเฝา้ ระวังการถูกกระทำความรนุ แรงในครอบครวั :
เขตพื้นทส่ี ำนกั งานส่งเสริมและสนับสนุนวชิ าการ 9 กรมพัฒนาสังคมและสวสั ดิการ.
(วิทยานพิ นธ์ปรญิ ญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลยั ธรรมศาสตร์, คณะสงั คมสงเคราะหศ์ าสตร์,
ภาควิชาสงั คมสงเคราะห์ศาสตร,์ สาขาการบรหิ ารและนโยบายสวัสดกิ ารสงั คม.
ศศธิ ร เข็มทอง. (2563). หลกั การเรียนรู้. สบื ค้นจาก https://sites.google.com/site/tornsasitorn
/hlak-kar/hlak-kar-kar-reiyn-ru.
ศศิพฒั น์ ยอดเพชร. (2534). แนวทางการจดั บริการสวัสดกิ ารสำหรบั ผู้สูงอายุ. กรงุ เทพฯ:
มหาวทิ ยาลัยธรรมศาสตร์, สถาบันไทยคดีศกึ ษา.
ศนู ย์เฝ้าระวงั และเตือนภยั ทางสงั คม. (2549). รายงานการสำรวจความเส่ยี งของผสู้ งู อายุไทย.
สำนักงานปลดั กระทรวงการพัฒนาสงั คมและความมน่ั คงของมนุษย.์ ไมป่ รากฏ.
ศูนยเ์ ทคโนโลยสี ารสนเทศและการสื่อสาร สำนกั งานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความม่นั คงของ
มนุษย์. (2557). ประชากรสูงอายุไทย : ปจั จุบันและอนาคต (พมิ พ์ครงั้ ที่ 1). กรุงเทพฯ: ผแู้ ตง่ .
สงั คม คุณคณากรสกุล. (2548). สาระน่าร้เู ก่ียวกบั การเฝา้ ระวงั และการเตือนภยั ทางสังคม. กรุงเทพฯ:
ม.ป.ท.
สมั มนาผลงานวชิ าการระดับบณั ฑิตศกึ ษาสังคมสงเคราะหศ์ าสตรแ์ ละสวัสดิการสังคมระดับชาติ คร้ังที่ 10 ประจำปกี ารศกึ ษา 2563 | 95
สังคม คณุ คณากรสกุล. (2562). การเฝ้าระวังทางสงั คม. สืบคน้ จาก http://www.socialwarning.
mociety.go.th/socwarn/view/SocialSurvillanceBasic.htm.
สารานกุ รมเสร.ี (2563). ความเสย่ี ง. สืบคน้ จาก http://www.th.wikipedia.org
สภุ างค์ จันทวานชิ . (2559). การวเิ คราะหข์ ้อมลู ในการวจิ ยั เชิงคุณภาพ (พิมพค์ รง้ั ที่ 12). กรงุ เทพฯ:
สำนกั พิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวทิ ยาลัย.
สรุ กุล เจนอบรม. (2541). วิสยั ทัศน์ผู้สงู อายุและการศกึ ษานอกระบบสำหรบั ผสู้ ูงอายุไทย. กรุงเทพฯ:
นิชินแอดเวอรไ์ ทชงิ่ กรุ๊ฟ.
สภุ ณดิ า ปสุ รุ ินทรค์ ำ. (2563). การเรียนรเู้ ชิงประสบการณ์. สืบค้นจาก
http://rms.msu.ac.th/upload/service/doc/ 5706002_2198(0).doc,
สุวิมล เตมิ ผล. (2552). การพัฒนาบทบาทของอาสาสมัครศูนยร์ บั แจง้ เหตุและบริการครอบครวั ในชมุ ชน
ต่อการเฝา้ ระวงั ปญั หาในชุมชนเขตยานนาวา กรงุ เทพมหานคร. (สารนพิ นธ์ปริญญา
มหาบณั ฑติ ). มหาวทิ ยาลยั ธรรมศาสตร์, คณะสังคมสงเคราะหศ์ าสตร์, ภาควิชาสงั คมสงเคราะห์
ศาสตร,์ การบรหิ ารและนโยบายสวัสดกิ ารสังคม.
สำนักงานพัฒนาสังคมและความมนั่ คงของมนุษย์จังหวดั สุโขทยั . (2560). แผนยุทธศาสตรผ์ สู้ งู อายุจังหวดั
สโุ ขทยั พ.ศ. 2560-2564. ม.ป.ท.
สำนักงานพัฒนาสงั คมและความมั่นคงของมนษุ ย์จังหวดั สุโขทัย. (2562). สรปุ ผลการดำเนนิ งาน
ประจำเดือนของอาสาสมัครพัฒนาสงั คมและความมนั่ คงของมนุษย.์ ม.ป.ท.
อภญิ ญา เวชยชัย. (2548). แนวคิดการเฝ้าระวงั ทางสังคม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร,์
คณะสงั คมสงเคราะห์ศาสตร์
อณุสรา ชืน่ ทรวง. (2547). การพฒั นาบทบาทอาสาสมัครของศูนย์อำนวยการเด็ก สตรี ผู้สูงอายุ และ
ผดู้ ้อยโอกาสกรุงเทพมหานคร. (วทิ ยานพิ นธ์ปรญิ ญามหาบัณฑติ ). มหาวทิ ยาลัยธรรมศาสตร์,
คณะสงั คมสงเคราะห์ศาสตร์, สาขาการบริหารและนโยบายสวสั ดกิ ารสังคม.
องค์การพิพิธภัณฑ์วทิ ยาศาสตรแ์ ห่งชาติ. (2562). ความเส่ียง. สบื คน้ จาก
http://www.thai-sciencemuseum.com.
CH7 Social News. (2562). สถานการณผ์ ูส้ ูงอายุ. สืบคน้ จาก
https://news.ch7.com/detail/330375?refid=line.
96 | สมั มนาผลงานวชิ าการระดบั บัณฑติ ศกึ ษาสงั คมสงเคราะหศ์ าสตร์และสวสั ดกิ ารสังคมระดับชาติ ครั้งท่ี 10 ประจำปีการศกึ ษา 2563
สัมมนาผลงานวิชาการระดบั บัณฑิตศึกษาสังคมสงเคราะห์ศาสตรแ์ ละสวสั ดิการสังคมระดบั ชาติ ครั้งท่ี 10 ประจำปีการศึกษา 2563 | 97
ห้องย่อยท่ี 2
การสรา้ งภูมิคมุ้ กนั ในวิถชี วี ติ ใหมด่ ้วยการจดั การความรู้และการจดั การสวัสดกิ าร
98 | สมั มนาผลงานวชิ าการระดบั บัณฑติ ศกึ ษาสงั คมสงเคราะหศ์ าสตร์และสวสั ดกิ ารสังคมระดับชาติ ครั้งท่ี 10 ประจำปีการศกึ ษา 2563
สัมมนาผลงานวชิ าการระดับบณั ฑิตศึกษาสังคมสงเคราะห์ศาสตรแ์ ละสวสั ดกิ ารสังคมระดบั ชาติ ครั้งที่ 10 ประจำปีการศึกษา 2563 | 99
กระบวนการขับเคลื่อนชุมชนเขม้ แข็งดว้ ยแนวคิดเศรษฐกิจพอเพยี ง
The Process of Community Strengthening through
Sufficiency Economy Philosophy
กาญจนา รอดแก้ว1
Kanchana Roadkaew2
Abstract
The objectives of The Process of Community Strengthening through Sufficiency Economy
Philosophy aimed to study the Process of Community through Sufficiency Economy Philosophy that
enables the community to become sustainably strong. The process uses qualitative research
method to collect data of 3 sufficiency economy communities in Nonthaburi Province area. The
research results found: 1) Community process including creating knowledge and understanding,
community analysis, community activity development, networking, and follow-up and improvement;
2)Community co-empowerment including community leadership and leaders, groups, organizations
and networks; 3) External promotion and support including local administrative organizations,
government agencies, financial institutes and sufficiency economy community network;
4)Sustainable strong community including social, economy, environment and human development.
Keywords: Community process, community strengthening, sufficiency economy
บทคัดยอ่
กระบวนการขับเคล่ือนชุมชนเข้มแข็งด้วยแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการ
ขับเคล่ือนชุมชนด้วยแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงที่ส่งผลให้ชุมชนเข้มแข็งอย่างย่ังยืน ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บ
ขอ้ มูลชุมชนเศรษฐกิจพอเพียงในพื้นที่จังหวัดนนทบรุ ี จำนวน 3 ชุมชน มีผลการศกึ ษาดังน้ี 1) กระบวนการขบั เคลอื่ น
ชุมชน ได้แก่ การสร้างความรู้ความเข้าใจ การวิเคราะห์ชุมชน การพัฒนากิจกรรมชุมชน การสร้างเครือข่าย และ
การขยายผลและต่อยอด 2) การประสานพลังภายในชุมชน ได้แก่ ผู้นำและแกนนำชมุ ชน กลุ่ม องค์กรและเครือข่ายใน
ชุมชน 3) การส่งเสริมและสนับสนุนจากภายนอกชุมชน ได้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ส่วนราชการ สถาบัน
การเงิน และเครือข่ายหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง 4) ชุมชนเข้มแข็งอย่างย่ังยืน ดังน้ี ด้านสังคม ด้านเศรษฐกิจ ด้าน
ส่ิงแวดล้อม และดา้ นการพฒั นาคน
คำสำคญั : กระบวนการขับเคล่ือน, ชมุ ชนเข้มแขง็ , เศรษฐกิจพอเพียง
1 อาจารยป์ ระจำคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลยั ธรรมศาสตร์
2 Lecturer, Faculty of Social Administration, Thammasat University, Thailand
100 | สมั มนาผลงานวิชาการระดับบณั ฑติ ศึกษาสงั คมสงเคราะห์ศาสตรแ์ ละสวสั ดกิ ารสังคมระดบั ชาติ ครง้ั ที่ 10 ประจำปีการศึกษา 2563
บทนาํ
หลกั การเหตุผล
การพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ได้รับการน้อมนำมาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนา
ประเทศ นับตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับท่ี 8 เป็นต้นมา ซึ่งยึดหลักปรัชญาของ
เศรษฐกจิ พอเพียง ทม่ี ุ่งใหค้ นเปน็ ศนู ย์กลางของการพัฒนา และสรา้ งสมดุลการพัฒนาในทุกมิติจนถึงปจั จบุ ัน
สถานการณ์ในปัจจุบันเป็นที่ทราบกันว่ามีการเปล่ียนแปลงอย่างรวดเร็วและประเทศไทยน้ันอยู่
ในช่วงของการปฏิรูปประเทศ โดยได้น้อมนำหลัก “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” มาเป็นปรัชญานำทางใน
การพัฒนาประเทศ เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและช่วยให้สังคมไทยสามารถยืนหยัดอยู่ได้อย่างม่ันคง มีการ
บริหารจัดการอย่างเหมาะสม ส่งผลให้การพัฒนาประเทศสู่ความสมดุลและย่ังยืน โดยในแผนพัฒนา
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับท่ี 12 พ.ศ.2560-2564 ได้กำหนดวิสัยทัศน์ของแผนฯ โดยยึดวิสัยทัศน์
ของกรอบยุทธศาสตร์ชาติที่กำหนดว่า “ประเทศไทยมีความมั่นคง ม่ังค่ัง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้วด้วย
การพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” และได้กำหนดแผนยุทธศาสตร์การบูรณาการ
การขับเคล่ือนการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งครอบคลุมการพัฒนาประเทศทุกด้านโดย
ความรว่ มมอื ของทุกภาคส่วน
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นแนวทางแห่งการดำรงชีวิตและการบริหารจัดการท่ีต้ังอยู่บน
พ้ืนฐานของ “ทางสายกลาง” และ “ความไม่ประมาท” มุ่งประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน โดย
ใช้ความรู้และคุณธรรมเป็นฐานในการกล่ันกรองกระบวนการทางความคิดและการจัดการ ภายใต้หลักของ
ความพอประมาณ มีเหตุผล และมีภูมิคุ้มกัน นำไปสู่การตัดสินใจที่รอบคอบ ระมัดระวัง สอดคล้องและ
เหมาะสมกับบริบทและสถานการณ์แวดล้อมต่างๆ อันจะก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างสมดุลและยั่งยืน ทั้งใน
ระดบั บุคคล ครัวเรอื น ชมุ ชนและประเทศชาติ
ในระดับชุมชนได้มีการน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปเป็นแนวทางในการบริหารจัดการ
ชุมชนเพื่อม่งุ สรา้ งชุมชนทีม่ ีการพัฒนาอย่างสมดุลและมีความเขม้ แข็งอย่างยง่ั ยืน ท้งั น้ีมีชุมชนหลายชุมชนที่
มีการนอ้ มนำหลักปรชั ญาของเศรษฐกิจพอเพยี งมาประยุกต์ใช้ในการขับเคล่ือนชุมชนจนเปน็ ชุมชนท่ีเข้มแข็ง
และมีศักยภาพในการเผยแพร่องค์ความรู้ให้แก่ชุมชนอื่นๆ เช่น ชุมชนบ้านบางโรง ตำบลป่าคลอก
อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ดำเนินการพัฒนาชุมชนโดยการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทาง
ในการดำเนินงานกลุ่มออมทรัพย์เพ่ือการผลิต และร่วมกันจัดตั้งกองทุนปลดเปลื้องหน้ีสิน จนสามารถซ้ือ
ที่ดินจากนายทุนกลับคืนให้สมาชิกในชุมชนได้ ชุมชนบางรักน้อย ตำบลบางรักน้อย อำเภอเมือง จังหวัด
นนทบุรี ชุมชนมีการผสมผสานทางวัฒนธรรมระหว่างชุมชนใหม่และชุมชนดั้งเดิมที่อยู่ร่วมกันได้อย่างดี
มกี ารรวมกลุ่มกันอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ส่งผลให้ชุมชนเกิดกิจกรรมดีเด่น มีกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ชุมชน
มีวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่พอเพียง เก้ือกูลและสามัคคี และชุมชนบ้านท่าเรือ ตำบลท่าเรือ อำเภอนาหว้า
จังหวัดนครพนม ชุมชนท่ีสามารถผสมผสานความเป็นอยู่ดั้งเดิมพร้อมกับรับการพัฒนาที่ทันสมัย มีการวาง
แผนการจัดการทรัพยากรในท้องถิ่น สืบสานภูมิปัญญาท้องถ่ิน วัฒนธรรมสู่การพัฒนาเป็นอาชีพเสริมที่
ยั่งยนื (สำนกั งานคณะกรรมการพเิ ศษเพื่อประสานงานโครงการอันเน่อื งมาจากพระราชดำริ, 2553, น. 46-48)
สัมมนาผลงานวชิ าการระดับบัณฑิตศกึ ษาสงั คมสงเคราะห์ศาสตรแ์ ละสวัสดกิ ารสงั คมระดบั ชาติ ครั้งที่ 10 ประจำปีการศึกษา 2563 | 101
จังหวัดนนทบุรี เป็นจังหวัดท่ีมีการขยายความเจริญต่างๆ เข้ามาสู่จังหวัดและชุมชนอย่างรวดเร็ว
อีกท้ังยังเป็นพื้นท่ีรองรับการขยายตัวการพัฒนาด้านต่างๆ มีลักษณะเป็นกึ่งเมืองก่ึงชนบท ท่ีสำคัญพ้ืนที่
แห่งนี้ในอดีตเป็นพ้ืนท่ีเกษตรกรรมที่สร้างผลผลิตมีช่ือเสียงให้กับประเทศ แต่ในปัจจุบันเน่ืองจากมี
การจัดสรรพ้ืนท่ีเพ่ือสร้างที่อยูอ่ าศยั หมู่บ้านจัดสรร คอนโดมีเนียม โรงงานอุตสาหกรรม และสถานประกอบ
ธุรกิจต่างๆ ทำให้พื้นที่ทำการเกษตรลดลง และจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างต่อเน่ือง จึงเป็นแหล่ง
สร้างรายได้ของประชาชนท่ีอพยพมาจากทุกภูมิภาคของประเทศ ส่งผลให้ชุมชนต้องมีการปรับตัว
ปรับวิถีชีวิต การทำความเข้าใจกันระหว่างวิถีชุมชนเมืองกับวิถีชุมชนชนบท และความแตกต่างหลากหลาย
ของประชากรที่อพยพเข้ามาต้ังถ่ินฐานในชุมชนเพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกันได้ อย่างไรก็ตามชุมชนในจังหวัด
นนทบุรีได้มีการน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต และการบริหาร
จัดการชุมชน โดยชุมชนในจังหวัดนนทบุรีเคยได้รับรางวัลด้านเศรษฐกิจพอเพียงจากสำนักงาน
คณะกรรมการพิเศษเพ่ือประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) ท้ังในระดับ
บคุ คล ระดับกลมุ่ และระดับชมุ ชน เช่น 1) ในระดบั บุคคล นายยวง เขียวนลิ เกษตรกรอำเภอไทรน้อย ได้รับ
รางวัลเกษตรกรทฤษฎีใหม่ 2) ในระดับกลุ่ม กลุ่มผลิตพันธ์ข้าวชุมชนบ้านไทรใหญ่ อำเภอไทรน้อย ได้รับ
รางวัลกลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ และ 3) ในระดับชุมชน ชุมชนบางรักน้อย อำเภอเมือง ได้รับรางวัลชุมชน
เศรษฐกิจพอเพียง นอกจากนี้จังหวัดนนทบุรียังมีการดำเนินการหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงอย่างต่อเน่ือง
มีหมู่บ้านพัฒนาตัวอย่างท่ีได้รับการเชิดชูเกียรติและความสำเร็จในการดำเนินงานและได้รับโล่รางวัล
พระราชทานจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ และมีการดำเนินงานศูนย์
เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพี ยงเพ่ื อเป็ นแหล่ งเรียนรู้ของชุ มชนและร่วม กันขับเคลื่ อนชุ มชนด้ วยปรัชญาของ
เศรษฐกจิ พอพียงให้ไปสู่เป้าหมายทีช่ มุ ชนต้องการ
ผู้วิจยั สนใจทจี่ ะศึกษากระบวนการชุมชนตามแนวคิดเศรษฐกจิ พอเพียงที่จะนำไปสชู่ ุมชนเขม้ แข็งได้
อย่างยั่งยืน โดยศึกษาจากชุมชนท่ีขับเคลื่อนชุมชนด้วยแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน 3 ชุมชนในพื้นที่
จังหวดั นนทบุรี เพือ่ พัฒนาองค์ความรแู้ ละการขยายผลสู่การพัฒนาชมุ ชนอ่ืนๆ ตอ่ ไป
วัตถุประสงค์การวจิ ัย
เพื่อศึกษากระบวนการขับเคล่อื นชมุ ชนดว้ ยแนวคดิ เศรษฐกิจพอเพียงที่ส่งผลให้ชุมชนเข้มแข็งอย่าง
ย่ังยืน
แนวคดิ ทฤษฎแี ละวรรณกรรมทเ่ี กี่ยวข้อง
1) เศรษฐกิจพอเพียง
สำนักงาน กปร. (2554, น. 14-22) อธิบายกระบวนทัศน์การพัฒนาตามแนวคิดเศรษฐกิจ
พอเพียง ประกอบด้วย 3 ขั้น คือ ข้ันที่ 1 การผลิตเพื่อพออยู่ พอกิน และพอเพียง ด้วยอาชีพหลักของ
คนส่วนใหญ่ของประเทศคือการเกษตร จุดมุ่งหมายแรกคือ ต้องมีข้าวและอาหารบริโภคอย่างเพียงพอใน
ครัวเรือน มีความพอเพียงเล้ียงตัวเองได้บนพื้นฐานของความประหยัด ลดการใช้จ่าย ข้ันที่ 2 การรวมพลัง
102 | สัมมนาผลงานวิชาการระดับบณั ฑิตศึกษาสงั คมสงเคราะห์ศาสตร์และสวสั ดกิ ารสังคมระดบั ชาติ ครงั้ ที่ 10 ประจำปกี ารศกึ ษา 2563
ร่วมแรง ร่วมใจ ในรูปกลุ่มหรือสหกรณ์ เป็นการรวมกลุ่ม ช่วยเหลือเกื้อกูลกันระหว่างเพื่อนบ้าน ชุมชน
ขั้นท่ี 3 การประสานงาน จัดหาแหล่งทุนจากภายนอกชุมชน เป็นการร่วมมือกับองค์กร เอกชน ธนาคาร
ภาคราชการ
การปฏิบัติตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงในระดับชุมชน คือ คนในชุมชนมีการรวมกลุ่มกันทำ
ประโยชน์เพ่ือส่วนรวม ช่วยเหลือเก้ือกูลกันภายในชุมชนบนหลักของความรู้ ความสามัคคี สร้างเป็น
เครือข่ายเช่ือมโยงกันในชุมชนและนอกชุมชนทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และทรัพยากรธรรมชาติและ
ส่ิงแวดล้อม เช่น การรวมกลุ่มอาชีพ องค์กรการเงิน สวัสดิการชุมชน การช่วยดูแลรักษาความสงบ
ความสะอาด ความเป็นระเบียบเรียบร้อย รวมท้ังการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นและทรัพยากรธรรมชาติ และ
สงิ่ แวดลอ้ มในชุมชนมาสร้างประโยชน์ได้อยา่ งเหมาะสม เพ่อื สร้างเสริมชุมชนให้มคี วามเป็นอยทู่ ่ีพอเพียงโดย
มีกระบวนการขับเคลื่อนชุมชนเข้มแข็งด้วยแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง จึงเป็นการใช้หลักความพอประมาณ
ความมีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน และการมีความรู้คู่คุณธรรม มีลักษณะของความพอเพียงทั้งในด้านเศรษฐกิจ
จิตใจ สังคมวัฒนธรรม ทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อม และด้านเทคโนโลยี โดยให้ความสำคัญกับ
กระบวนการเพ่ือมุ่งสร้างความย่ังยืนของการพัฒนา อย่างเป็นรูปธรรม เช่น การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน
การบริหารจัดการชุมชน กระบวนการเรียนรู้ของชุมชน และการประสานเครือข่ายต่างๆ เพื่อการขับเคลื่อน
ชมุ ชน เป็นต้น
2) ชุมชนเข้มแข็ง
ชุมชนเข้มแข็งเป็นแนวคิดท่ีพยายามดึงศักยภาพภายในของชุมชนให้แสดงออกมาได้อย่าง
โดดเด่น บนพื้นฐานของการพึ่งตนเอง
โกวิทย์ พวงงาม (2553, น. 255-257) กล่าวว่า ความเข้มแข็งของชุมชนมีลักษณะและ
องค์ประกอบดังน้ี 1) คนในชุมชนต้องเป็นคนที่มีกระบวนการเรียนรู้ เพื่อเสริมศักยภาพของตนเอง 2) ต้อง
เป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ มีการแลกเปล่ียนข้อมูลความคิดเห็นร่วมกันนำไปสู่การตัดสินใจในการดำเนิน
กิจกรรมต่างๆ ของชุมชน 3) มีภาวะผู้นำชุมชน ผู้นำเป็นผู้ประสานความคิดของสมาชิก ให้โอกาสสมาชิกได้
แสดงความคิดเห็น และเป็นผู้ที่เชื่อมประสานแนวความคิดต่างๆ ของสมาชิกและองค์กรชุมชนเพื่อนำไป
ปฏิบัติได้อย่างเหมาะสม 4) มีจิตสำนึกชุมชน เป็นชุมชนท่ีมีจิตวิญญาณ สำนึกว่าตนเองเป็นเจ้าของชุมชน
ยอมรับในความแตกต่างหลากหลายระหว่างสมาชิก และการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาของชุมชนร่วมกัน
5) มีจิตวิญญาณชุมชน การที่สมาชิกมีความจงรักภักดีต่อชุมชน เสียสละทำงานเพื่อชุมชน หวงแหนชุมชน
จิตวิญญาณของชุมชน ทำให้เกิดความปิติ ความสุข เกิดพลังที่ทำให้คนและชุมชนมีความสุข 6) มีองค์กร
ชุมชนเข้มแข็ง ประชาชนรวมตัวกัน ผนึกกำลังกันเพื่อช่วยกันแก้ไขปัญหาชุมชน 7) มีการจัดการชุมชนที่ดี
คอื สมาชิกของชุมชนมีความสามารถในการจัดการตนเองและชุมชน วางแผนจัดกระบวนการ ดำเนินการและ
ประเมินผลการพัฒนาชุมชนของตนเอง 8) มีเครือข่ายชุมชน คือ มีกระบวนการเช่ือมโยงสมาชิกในกลุ่มและ
องค์กรชุมชนต่างๆ เข้าด้วยกันด้วยระบบการส่ือสารที่มีประสิทธิภาพและการประชาสัมพันธ์ด้วย
ความสมานฉันท์ 9) เป็นชุมชนพึ่งตนเองได้ สมาชิกและองค์กรต่างๆ ในชุมชน มีความเข้มแข็งพอที่จะ
ช่วยเหลือหรือพ่ึงตนเองได้ ท้ังในทางเศรษฐกิจ การเมืองการปกครอง สังคมและวัฒนธรรมท้ังในยามปกติ
สมั มนาผลงานวชิ าการระดับบณั ฑิตศึกษาสงั คมสงเคราะหศ์ าสตร์และสวัสดิการสงั คมระดบั ชาติ คร้ังที่ 10 ประจำปีการศกึ ษา 2563 | 103
และประสบกับภาวะวิกฤติต่างๆ อันเป็นการพัฒนาแบบย่ังยืนที่พึงประสงค์ 10) เป็นชุมชนสงบสุข ชุมชน
เข้มแข็งเป็นผลสืบเน่ืองมาจากการพัฒนาคนให้มีคุณภาพ มีคุณธรรมและมีความสุข เมื่อคนมารวมกันเป็น
ชุมชนและสร้างชุมชนให้เข้มแข็งได้ ก็ทำให้คนและชุมชนมีความสงบสุข บรรลุเป้าหมายของการพัฒนา
ชมุ ชน 11) เป็นการพฒั นาแบบย่ังยนื ชมุ ชนเข้มแข็งทำใหช้ มุ ชนดำรงอยู่และดำรงต่อไปโดยไมล่ ่มสลาย
การขับเคลื่อนกระบวนการในชุมชนให้เกิดการเรียนรู้เกิดการสร้างคุณค่าใหม่ สะท้อนออกมา
เป็นพลังชุมชน เพื่อการเปลี่ยนแปลง เป็นการพัฒนาท่ีเกิดจากคนในชุมชนที่ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับผิดชอบ
ในการพัฒนาตามความสามารถและศักยภาพของชุมชน โดยพึ่งพาทรัพยากรท่ีมีอยู่เป็นหลัก ภายใต้
กระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคม มุ่งเสริมสร้างความสามารถในการบริหารจัดการชุมชนโดย
ชมุ ชน และเพือ่ ชมุ ชน ซึง่ จะนำไปสูก่ ารสรา้ งชมุ ชนทเ่ี ข้มแข็งอย่างยั่งยืน
3) การพฒั นาทีย่ ัง่ ยืน
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (2546, น. 1-5) จัดทำข้อเสนอ
สำหรับการพัฒนาท่ีย่ังยืนในบริบทไทย จะต้องเป็น “การพัฒนาที่ทำให้เกิดดุลยภาพของมิติทางเศรษฐกิจ
สังคม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพ่ือเสริมสร้างความอยู่ดีมีสุขของประชาชนตลอดไป” โดยมี
กรอบแนวคิดของการดำเนินงานในแต่ละมิติของการพัฒนา ดังนี้ 1) การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
และส่ิงแวดล้อมอย่างย่ังยืน ให้ความสำคัญกับการใช้ทรัพยากรธรรมชาติในปริมาณท่ีระบบนิเวศสามารถฟ้ืน
ตัวกลับสู่สภาพเดิมได้ และปล่อยมลพิษออกสู่ส่ิงแวดล้อมในระดับที่ระบบนิเวศสามารถดูดซับและทำลาย
มลพษิ น้นั ได้ดว้ ย 2) การพัฒนาเศรษฐกิจอยา่ งยั่งยืน ซึ่งจะเกิดข้ึนกต็ ่อเมื่อมีการพัฒนาเศรษฐกจิ ของประเทศ
ให้เจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพ มีเสถียรภาพ มีความสมดุลและกระจายความม่ังค่ัง เอ้ือประโยชน์ต่อ
คนส่วนใหญ่ และต้องเป็นการเติบโตที่ย่ังยืนได้ในระยะยาว 3) การพัฒนาสังคมเพ่ือการพัฒนาที่ยั่งยืน
จะเกิดข้ึนก็ต่อเม่ือมีการพัฒนาคนและสังคมให้เชื่อมโยงกับการพัฒนาเศรษฐกิจ ทรัพยากรธรรมชาติและ
สิง่ แวดลอ้ มอย่างสมดลุ
การพัฒนาท่ียั่งยืนคือ การให้ความสำคัญกับการพัฒนาที่สมดุลท้ังด้านคน สังคมวัฒนธรรม
เศรษฐกิจ และสงิ่ แวดล้อม เพื่อความสามารถในการพ่ึงตนเอง และคุณภาพชวี ิตท่ดี ี
การประยุกต์ใช้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงในการพัฒนาชุมชนจึงเป็นการส่งเสริม สนับสนุนให้
คนในชุมชนมีวิถีชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอพียง มีการบริหารจัดการชุมชนและการกำหนดทิศทาง
การพัฒนาชุมชนให้เป็นไปตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง รวมท้ังการดำเนินกิจกรรมของชุมชนที่สมดุล
ครอบคลุมทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม การส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมที่ทำให้ชุมชนสามารถ
ดำเนินวถิ ีชวี ิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพยี งได้ กล่าวคือ 1) มีกระบวนการสร้างและพัฒนาระบบการจัดการ
ของชุมชนการส่งเสริมการมีส่วนร่วม และการสร้างกระบวนการเรียนรู้ของชุมชน 2) การพัฒนาท่ีคำนึงถึง
บริบทสังคม วิถีปฏิบัติ วัฒนธรรมชุมชน ภูมิปัญญา และวิถีการผลิตที่ไม่เบียดเบียนหรือทำลายล้างระบบ
ต่างๆ มีวิถีของการเก้ือกูล รวมท้ังการบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียงในทุกมิติท้ังมิติเศรษฐกิจ สังคม การเมือง
การปกครอง กฎหมาย การศึกษา สง่ิ แวดลอ้ ม สุขภาพตลอดจนคุณธรรม จริยธรรม 3) ผลลัพธ์ของเศรษฐกิจ
พอเพียงมุ่งให้เกิดประโยชน์สุขแก่สังคม เกิดสังคมแห่งความสุข ช่วยเหลือ เอ้ือเฟ้ือ เผ่ือแผ่ เอ้ืออาทร
104 | สัมมนาผลงานวิชาการระดบั บณั ฑติ ศกึ ษาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และสวัสดกิ ารสังคมระดบั ชาติ ครัง้ ที่ 10 ประจำปกี ารศกึ ษา 2563
แบ่งปันและสามัคคี ให้ความสำคัญกับการสร้างความเชื่อม่ัน และการตระหนักในคุณค่าของตนเอง คุณค่า
ของสงั คม
วิธีการศกึ ษา
พ้ืนท่ีศึกษา การศึกษากระบวนการขับเคลื่อนชุมชนเข้มแข็งด้วยแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง มีพ้ืนท่ี
ศึกษาคือชุมชนเศรษฐกิจพอเพียงในพ้ืนที่จังหวัดนนทบุรี จำนวน ๓ ชุมชน โดยคัดเลือกชุมชนท่ีมี
การขับเคล่ือนกระบวนการชุมชนด้วยแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงอย่างต่อเนื่อง มีรูปธรรมการดำเนินงานใน
ชุมชนที่ชัดเจน ผู้นำชุมชนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีความพร้อมในการถ่ายทอดองค์ความรู้และประสบการณ์
การดำเนินงานขบั เคล่ือนชุมชนดว้ ยแนวคดิ เศรษฐกิจพอเพียงของชุมชน
ประเด็นเน้ือหา ประเด็นเน้ือหาในการศึกษา ประกอบด้วย 1) กระบวนการขับเคล่ือนชุมชน ได้แก่
กระบวนการชุมชน การประสานพลังภายในชุมชน และการส่งเสริมสนับสนุนจากภายนอกชุมชน
2) ความเข้มแข็งของชุมชนอย่างย่ังยืน
วิธีการศึกษา วิธีการศึกษาใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เจาะลึก
การสนทนากลุ่มจากผู้นำชุมชนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ตลอดจนการสังเกต การวิเคราะห์บริบทชุมชนเพ่ือ
วเิ คราะหก์ ระบวนการขับเคลอ่ื นชมุ ชน การดำเนนิ กจิ กรรมของชุมชน และความเขม้ แข็งของชุมชน
ผลการศึกษา
การศึกษากระบวนการขับเคลื่อนชุมชนเข้มแข็งด้วยแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง โดยศึกษาที่ชุมชน
มีการขับเคลื่อนกระบวนการชุมชนด้วยแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี จำนวน 3 ชุมชน
มผี ลการศึกษา ดังน้ี
1) กรณศี ึกษาบ้านแหลมเหนือ
ชุมชนบ้านแหลมเหนือ ต้ังอยู่ท่ีหมู่ 5 บ้านแหลมเหนือ ตำบลบางตะไนย์ อำเภอปากเกร็ด
การอยู่ร่วมกันของคนในชุมชน มีลักษณะความเป็นเครือญาติ มีความสัมพันธ์และเกื้อกูลกัน เป็นชุมชนท่ี
ผสมผสานระหว่างชุมชนไทยและชุมชนมอญ คนในชุมชนมีอาชีพหลักคือทำเกษตรกรรม ทำนา ทำสวน
สวนทุเรียน และอาชีพเสริมคือหัตถกรรมและอุตสาหกรรมในครัวเรือน ผลิตภัณฑ์เด่นของชุมชน ได้แก่
การทำผ้าสไบมอญ การทำโน่ (ธงตะขาบ สัญลักษณ์ชาวมอญใช้ประดับต่อหางหงส์บนยอดโบสถ์) และ
พวงมะโหด (ใช้ประดบั ห้อยระย้าตามงานบวชของชาวมอญ) เปน็ ตน้
กระบวนการชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง
บ้านแหลมเหนือ มีกระบวนการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในชุมชน ดังน้ี
1) การสร้างความรู้ ความเข้าใจ มีการสร้างความรู้ ความเข้าใจร่วมกันของคนในชุมชน การเปิดเวทีพูดคุย
ทำความเข้าใจ ร่วมกันคิด ร่วมกันกำหนดแนวทางการดำเนินการในชุมชน ใช้วิธีการเข้าไปหา ไปพบ ไปคุย
ไปเยี่ยมบ้าน สร้างความสัมพันธ์และสร้างความเข้าใจร่วมกัน 2) การวิเคราะห์ชุมชน ชุมชนมีการวิเคราะห์
ชุมชนตนเอง วิเคราะห์ทุนชุมชน วิเคราะห์ศักยภาพชุมชน มีการค้นหาปัญหา ความต้องการของชุมชน
สมั มนาผลงานวิชาการระดับบณั ฑิตศกึ ษาสงั คมสงเคราะหศ์ าสตรแ์ ละสวสั ดกิ ารสังคมระดับชาติ คร้ังท่ี 10 ประจำปีการศึกษา 2563 | 105
3) การพัฒนากิจกรรมชุมชน มีการพัฒนากิจกรรมของชุมชน ได้แก่ 3.1 การคัดเลือกครัวเรือนต้นแบบ
เศรษฐกิจพอเพียง 3.2 การรวมกลุ่ม เช่น กลุ่มสบู่ กลุ่มกะลา กลุ่มสไบมอญ กลุ่มดอกไม้จันทน์ กลุ่มทำ
เครื่องดนตรีไทย กลมุ่ แปรรปู อาหาร และกลุ่มออมทรัพย์เพ่ือการผลิต 3.3 ศูนย์เรียนรู้ ได้แก่ ศูนย์การเรียนรู้
สไบมอญ ศูนย์เรียนรู้วิสาหกิจชุมชน ศูนย์การเรียนรู้ผลิตภัณฑ์ชุมชน ศูนย์การเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรม และ
ศูนย์การเรียนรู้การจักสาน 3.4 การส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมประเพณี ได้แก่ การทำบุญศาลเจ้า การสืบสาน
งานประเพณีแห่โน่ กิจกรรมตักบาตรคนอมจิน (ขนมจีน) และดนตรีไทย 3.5 การดำเนินการกองทุนชุมชน
ได้แก่ กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง โครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) 3.6 การจัดสวัสดิการ
ชุมชน เช่น สวัสดิการค่ารักษาพยาบาล สวัสดิการฌาปนกิจ ทุนการศึกษา 3.7 การขยายกิจกรรมชุมชนสู่
ชุมชนท่องเที่ยวนวัตวิถี โดยการส่งเสริมการท่องเท่ียววิถีคลอง วิถีเกษตร และประวัติศาสตร์ 4) การ
แลกเปล่ียนเรียนรู้ มีกิจกรรมส่งเสริมความรู้ การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และการถ่ายทอดความรู้
ประสบการณ์ การสรุปบทเรียนเพ่ือนำความรู้และประสบการณ์จัดเป็นแหล่งเรียนรู้ ศูนย์เรียนรู้ชุมชนเพื่อ
ขยายผลกิจกรรมของชุมชนต่อไป 5) การสร้างเครือข่ายการพัฒนา บ้านแหลมเหนือเป็นแหล่งเรียนรู้
เศรษฐกิจพอเพียง และมีเครือข่ายหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงที่เป็นการเสริมแรง เสริมพลัง มีการแลกเปลี่ยน
เรียนรูท้ ้ังความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ ตลอดจนทรัพยากร
การประสานพลังภายในชุมชน
ชมุ ชนบ้านแหลมเหนือมกี ารประสานพลังภายในชุมชนในการขับเคล่ือนชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง
ที่สำคัญ ดังน้ี 1) ผู้นำชุมชน ผู้นำชุมชนและแกนนำชุมชน ได้แก่ ผู้ใหญ่บ้านและคณะกรรมการหมู่บ้านมี
ความต้ังใจจริงในการพัฒนาชุมชนตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง เป็นผู้ท่ีลงมือทำให้เห็น ทำเป็นตัวอย่าง
มีการปรึกษาหารือกัน เปิดโอกาสให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการการแสดงความคิดเห็น มีการประสานทรัพยากร
ท้ังภายในชุมชนและภายนอกชุมชน มีบทบาทเป็นนักส่งเสริม นักสร้างกิจกรรม นักส่งเสริมการมีส่วนร่วม
นักประชาสัมพันธ์ และนักเชื่อมประสาน 2) กลุ่มชุมชน กลุ่มในชุมชนที่เป็นพลังในการขับเคล่ือนชุมชน
ได้แก่ 2.1 กลุ่มการออม เช่น กลุ่มออมทรัพย์เพ่ือการผลิต กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง และโครงการ
แก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) 2.2 กลุ่มอาชีพ เช่น กลุ่มสบู่ กลุ่มกะลา กลุ่มสไบมอญ กลุ่มดอกไมจ้ ันทน์
กลุ่มแปรรูปอาหาร กลุ่มทำเครื่องดนตรีไทย 2.3 กลุ่มเรียนรู้ เช่น ศูนย์เรียนรู้กิจกรรมชุมชน วิสาหกิจชุมชน
วัฒนธรรมชมุ ชน และสิง่ แวดล้อมชมุ ชน
การสง่ เสรมิ สนบั สนุนจากภายนอกชุมชน
ชุ ม ช น บ้ าน แ ห ล ม เห นื อ ได้ รั บ ก ารส่ งเส ริ ม แล ะ ส นั บ ส นุ น จ าก ห น่ ว ย งาน ท่ี เก่ี ย ว ข้ อ งใน
การขับเคลื่อนชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่ 1) องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) มีบทบาทในการส่งเสริม
และสนับสนนุ กิจกรรมของชมุ ชน เช่น การสนับสนุนต่อยอดกล่มุ อาชีพ การสนับสนุนวิทยากรมาใหค้ วามรู้ใน
การพัฒนาอาชีพ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การตลาด ตลอดจนความรู้ด้านการบริหารจัดการ และธุรกิจชุมชน
2) หน่วยงานราชการ ได้แก่ 2.1 สำนักงานเกษตร มีบทบาทในการให้ความรู้ สนับสนุนวัสดุอุปกรณ์แก่กลุ่ม
อาชีพ 2.2 สำนักงานพัฒนาชุมชน ให้การสนับสนุนโครงการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง สัมมาชีพ
106 | สัมมนาผลงานวชิ าการระดบั บัณฑิตศกึ ษาสงั คมสงเคราะห์ศาสตร์และสวสั ดิการสังคมระดบั ชาติ ครงั้ ที่ 10 ประจำปีการศึกษา 2563
ชุมชนนวัตวิถี การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน 3) ธนาคารออมสิน เป็นหน่วยงานสนับสนุนด้านเงินทุน ให้กู้
เพือ่ การประกอบอาชพี
ชุมชนเขม้ แข็งอย่างย่ังยืน
ความเข้มแขง็ ของชุมชนด้วยวิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง เพ่ือนำไปสู่การพ่ึงตนเองอย่างย่ังยืน และ
การพัฒนาคณุ ภาพชวี ิตของคนในชุมชน ดังนี้ 1) ด้านสงั คม การเปิดโอกาสให้มีการมีส่วนร่วมในกิจกรรมของ
ชุมชน การสร้างความสัมพันธ์ของคนในชุมชนและความร่วมมือ การช่วยเหลือเก้ือกูลกันในชุมชน ตลอดจน
การมีสวัสดิการชุมชน 2) ด้านเศรษฐกิจ มีการพัฒนาเพื่อสร้างอาชีพ สร้างรายได้และมีการออม มีเงินทุน
เช่น มีกลุ่มอาชีพต่างๆและกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต 3) ด้านส่ิงแวดล้อม ชุมชนมีการรักษาสิ่งแวดล้อม
การปรบั ภูมิทัศน์ การจดั ระเบียบชุมชน และการทำความสะอาดหมู่บ้านในวนั สำคัญต่างๆ 4) ด้านการเรียนรู้
เป็นชุมชนท่ีส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ มีศูนย์เรียนรู้ เครือข่ายการเรียนรู้ มีความสามารถในการถ่ายทอด
ความรู้ ทง้ั คนภายในชุมชน และคนภายนอกชมุ ชนทีส่ นใจมาเรยี นรู้ ส่งผลใหเ้ กิดการเรียนร้อู ย่างต่อเน่ือง
2) กรณศี ึกษาบา้ นคลองตาชม
บ้านคลองตาชม หมู่ท่ี 9 ตำบลบางคูรัด อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี เป็นพื้นท่ีที่มี
การขยายความเจริญของเมือง โดยในพื้นที่บ้านคลองตาชมมีบ้านจัดสรรขนาดใหญ่และอีกด้านหนึ่งเป็น
ชุมชนด้ังเดิมท่ีอาศัยบนพื้นท่ีของตนเอง มีพื้นที่ทำการเกษตรในครัวเรือน ภายในชุมชนมีความสัมพันธ์
แบบเครอื ญาติ และมสี มาชกิ ในครวั เรือนที่อยรู่ ่วมกันแบบครอบครัวขยาย
กระบวนการชมุ ชนเศรษฐกจิ พอเพียง
การนำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเพ่ือขับเคล่ือนชุมชนบ้านคลองตาชม เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต
ของคนในชุมชน สร้างความเข้มแข็งชุมชน โดยให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมและกระบวนการเรียนรู้ของ
คนในชุมชน ดังน้ี 1) การวิเคราะห์ชุมชน เริ่มจากการวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาของชุมชน ได้แก่ ปัญหายา
เสพติด ปัญหาความแตกแยกในชุมชน ปัญหาหนี้นอกระบบ ปัญหาส่ิงแวดล้อมในชุมชน โดยชุมชนร่วมกัน
คิด วิเคราะห์ หาแนวทางแก้ไข ตลอดจนการวิเคราะห์ศักยภาพชุมชน ทุนชุมชน ความรู้และภูมิปัญญา
ท่ีชุมชนมีเพ่ือจัดทำแผนชุมชน กำหนดกิจกรรม กำหนดแนวทางการดำเนินการของชุมชนเพ่ือแก้ปัญหาของ
ชุมชน 2) การสง่ เสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน ให้ความสำคัญกับการมีสว่ นร่วมของคนในชมุ ชน การส่งเสริม
การแสดงออกทางความคิด การรับฟังความคิดเห็นซ่ึงกันและกัน การแสดงศักยภาพ ความสามารถ
ความถนัดของแต่ละคน ใช้หลักการร่วมกันคิด ร่วมกันทำ และร่วมกันรับผลประโยชน์ ผ่านเวทีการประชุม
หมู่บ้าน และเวทีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น 3) กระบวนการเรียนรู้ของชุมชน มีการส่งเสริมความรู้
การส่งเสริมการใช้ศักยภาพของคนในชุมชน การแลกเปล่ียนความคิด ทักษะและประสบการณ์ ตลอดจน
การสรุปบทเรียนเพื่อสร้างองค์ความรู้ชุมชน และการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ประโยชน์หรือต่อยอดกิจกรรม
ของกลุ่ม นอกจากนี้ยังมีเครือข่ายการเรียนรู้ และการศึกษาดูงานระหว่างชุมชนส่งผลให้เกิดการเรียนรู้
การพัฒนาความรู้ของชุมชนอย่างต่อเน่ือง มีการนำความรู้มาประยุกต์ใช้อย่างเป็นรูปธรรม 4) การบริหาร
จัดการชุมชน มีระบบการบริหารจัดการชุมชนท่ีเช่ือมโยงกับทุนชุมชนและกิจกรรมชุมชน และก่อให้เกิด
ระบบความสัมพันธ์ในชุมชน การพึ่งพาอาศัยกัน การช่วยเหลือเกื้อกูลกัน มีการบริหารจัดการแบบคุ้มบ้าน
สมั มนาผลงานวิชาการระดบั บณั ฑิตศึกษาสังคมสงเคราะห์ศาสตรแ์ ละสวสั ดิการสังคมระดับชาติ คร้ังท่ี 10 ประจำปีการศึกษา 2563 | 107
แต่ละคุ้มบ้านจะมีกิจกรรม มีฐานเรียนรู้ และมีกลุ่มอาชีพ ได้แก่ 4.1 คุ้มก้าวหน้า มีการปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่
4.2 คุ้มไข่มุก มีการทำการเกษตรแบบพอเพียง 4.3 คุ้มเจริญสุข มีกิจกรรมการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ
4.4 คุ้มรวมใจพัฒนา มีการปลูกพืชไฮโดรโปนอกส์ 4.5 คุ้มสันติสุข มีการเพาะเห็ด 4.6 คุ้มสามัคคี มีสุข
มีการปลูกผักปลอดสารพิษและสมุนไพรไทย 4.7 คุ้มอาจารย์โปร่ง มีการทำน้ำพริก 5) การพัฒนากิจกรรม
ชุมชน บ้านคลองตาชมมีการพัฒนากิจกรรมของชุมชน เร่ิมจากการรวมกลุ่มต่างๆ ในชุมชน เช่น
กลุ่มออมทรัพย์เพ่ือการผลิต กลุ่มอาชีพ มีการต่อยอดและขยายกิจกรรมเป็นฐานเรียนรู้ของชุมชน
มีการพัฒนาความรู้และสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ชุมชน เช่น มีอาหารพ้ืนถิ่น การแปรรูปผลผลิต การพัฒนา
การผลติ การพฒั นาบรรจภุ ณั ฑ์ การทำจักสานจากภมู ิปัญญาของคนในชุมชน เปน็ ต้น
การประสานพลังภายในชุมชน
การดำเนินงานพัฒนาชุมชนตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงของบ้านคลองตาชม ผู้ท่ีมีบทบาท
สำคัญในการขับเคล่ือน ได้แก่ 1) ผู้นำชุมชน คือ ผู้ใหญ่บ้านเป็นกลไกสำคัญในการริเริม่ กระตุ้น ลงมือปฏบิ ัติ
มีบทบาทสำคัญในการนำการเปลี่ยนแปลง การปฏิบัติการ การประสานงาน การประสานทรัพยากร
2) คณะกรรมการหมู่บ้าน มีบทบาทสำคัญในการดำเนินงานต่างๆ ในชุมชน มีบทบาทในการขับเคล่ือนงาน
ให้สามารถดำเนินการเพ่ือบรรลุเป้าหมาย 3) กลุ่มในชุมชน เป็นกลุ่มท่ีจัดตั้งขึ้นจากความต้องการของคนใน
ชุมชนหรือการส่งเสริมให้เกิดกลุ่มในการพัฒนาคุณภาพชีวิตหรือพัฒนากิจกรรมในชุมชน เช่น กลุ่มผู้ผลิต
สินค้าและผลิตภัณฑ์ชุมน กลุ่มปลูกข้าวอินทรีย์ ปลูกผักอินทรีย์ ปลูกสมุนไพร กลุ่มออมทรัพย์เพ่ือการผลิต
กองทุนแม่ของแผ่นดิน กองทุนหมู่บ้าน กลุ่มผู้ใช้นำ กลุ่มชุมชนพอเพียงผลิตน้ำยาเอนกประสงค์ กลุ่มตำรวจ
ชุมชน เป็นต้น 4) เครือข่าย บ้านคลองตาชมมีการบูรณาการงานเป็นเครือข่ายในหลากหลายด้าน
ทั้งเครือข่ายศูนย์เรียนรู้ เครือข่ายทรัพยากร เครือข่ายหมู่บ้านกองทุนแม่ของแผ่นดิน เครือข่ายหมู่บ้าน
เศรษฐกิจพอเพียง มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน และการประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ใน
การพฒั นาต่อไป
การสง่ เสรมิ สนบั สนุนภายนอก
การส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยการสนับสนุนจาก
หน่วยงานต่างๆ ได้แก่ 1) กรมการปกครอง เป็นผู้ริเริ่มให้มีการจัดตั้งกองทุนแม่ของแผ่นดิน และสนับสนุน
งบประมาณในการพัฒนากิจกรรมต่างๆ 2) กรมการพัฒนาชุมชน เป็นหน่วยงานท่ีให้การสนับสนุนความรู้
การสร้างการเรียนรู้ สนับสนุนงบประมาณในการพัฒนาเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง และการพัฒนาต่อ
ยอดกิจกรรม 3) สำนักงานเกษตรอำเภอ ให้การสนับสนุนความรู้ในการทำเกษตรอินทรีย์ ผลิตภัณฑ์เกษตร
อินทรีย์ การสนับสนุนอุปกรณ์เคร่ืองมือต่างๆ ท่ีจำเป็นในการดำเนินกิจกรรมหรือโครงการของชุมชน
4) สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) สนับสนุนการดำเนินงานหมู่บ้าน
กองทุนแม่ของแผ่นดิน สนับสนุนงบประมาณดำเนินงาน พัฒนากิจกรรมเป็นจุดเร่ิมต้นในการพัฒนาหมู่บ้าน
จนสามารถพฒั นาเปน็ หมู่บา้ นเศรษฐกิจพอเพียง
108 | สัมมนาผลงานวชิ าการระดบั บัณฑิตศึกษาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และสวัสดกิ ารสังคมระดับชาติ ครัง้ ท่ี 10 ประจำปกี ารศกึ ษา 2563
ชมุ ชนเข้มแข็งอยา่ งยั่งยืน
การประยุกต์ใช้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงของบ้านคลองตาชม มีการบริหารจัดการชุมชนเพื่อ
ขบั เคลื่อนชุมชนใหบ้ รรลุเป้าหมาย ผลการดำเนินงานทเี่ กิดข้ึนนอกจากสามารถแก้ไขปัญหาของชมุ ชนแล้วยัง
ส่งเสริมความสัมพันธ์ของคนในชุมชน เกิดความเก้ือกูลในชุมชน สร้างความสุขและสร้างชุมชนเข้มแข็ง ดังน้ี
1) ด้านเศรษฐกิจชุมชน การรวมตัวกันในลักษณะของกลุ่มอาชีพตามความถนัด ตามศักยภาพและทุนชุมชน
เชน่ กล่มุ อาชีพปลกู ข้าวไรซเ์ บอรร์ ่ี กลุ่มเกษตรพอเพียง กลุ่มปลูกพชื ผักไฮโดรโปนิค กลุ่มเพาะเห็ด กลุ่มปลูก
ผักปลอดสารพิษและสมุนไพรไทย กลุ่มทำน้ำพริก เป็นต้น มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ สร้างอาชีพ สร้างรายได้
แก่คนในชุมชน นอกจากน้ียังมีกิจกรรมกลุ่มออมทรัพย์เพ่ือการผลิตที่ส่งเสริมให้คนในชุมชนมีการออม
มีแหล่งเงินทุนในการประกอบอาชีพ 2) ด้านการเรียนรู้ สร้างการเรียนรู้ เป็นแหล่งเรียนรู้แก่คนในชุมชน
และถ่ายทอดความรู้แก่ผู้ที่สนใจ เป็นความรู้จากการปฏิบัติและจากประสบการณ์ ซ่ึงเป็นองค์ความรู้ท่ีสำคัญ
ในการประยุกต์ใช้และต่อยอดต่อไป มีกิจกรรมฐานเรียนรู้ เวทีแลกเปล่ียน การศึกษาดูงาน ตลอดจนชุมชน
เป็นแหลง่ เรียนรู้ของผู้ที่สนใจ มีศนู ย์เรยี นร้ชู มุ ชน เป็นศูนย์กลางชมุ ชน เป็นศูนย์เรียนรู้ท่ีมชี วี ิต 3) ด้านสงั คม
การขับเคลื่อนชุมชนด้วยแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง นอกจากจะสามารถแก้ปัญหาชุมชน เช่น ปัญหา
ยาเสพติด ปัญหาหนี้นอกระบบ ยังเป็นการส่งเสริมความสัมพันธ์ในชุมชน ส่งเสริมชุมชนเอื้ออาทร ชุมชน
เกื้อกูล มีการแบ่งปัน เกิดการร่วมแรงร่วมใจของคนในชุมชน มีความร่วมมือในการทำกิจกรรมของชุมชน
เพื่อชุมชน เกิดเป็นชุมชนแห่งความสุข 5) ด้านการพัฒนาศักยภาพคน การดำเนินการขับเคลื่อนชุมชนด้วย
แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วม กระบวนการเรียนรู้ เกิดการพัฒนากิจกรรมของ
ชุมชนท่ีสามารถแก้ปัญหาและพัฒนาชุมชน นอกจากนี้ยังเป็นการพัฒนาศักยภาพของคนในชุมชน
สร้างความเชื่อมั่นในตนเอง ตระหนักในคุณค่าและศักยภาพของตนเอง และเป็นการสร้างพลังในการขับเคล่ือน
ชุมชนตอ่ ไป
3) กรณศี ึกษาบ้านคลองลากค้อน
บ้านคลองลากค้อน หมู่ที่ 4 ตำบลราษฎร์นิยม อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี พ้ืนท่ีส่วนใหญ่
อยู่ติดลำคลอง มีความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติ โดยส่วนใหญ่คนในชุมชนประกอบอาชีพทางการเกษตร
มอี าชีพหลกั คือทำนา ทำสวน อาชีพรองเล้ียงสตั ว์
กระบวนการชุมชนเศรษฐกจิ พอเพียง
กระบวนการพัฒนาชุมชนเศรษฐกิจพอเพียงของบ้านคลองลากค้อน มีการขับเคล่ือนชุมชนตาม
แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ดังนี้ 1) การส่งเสริมความรู้ เริ่มจากการให้ความรู้เกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียงแก่คนในชุมชนอย่างสม่ำเสมอและต่อเน่ือง โดยการฝึกอบรม การประชุม การพูดคุย ตลอดจน
การพาไปดูงาน ซึ่งนอกจากจะให้ความรเู้ ร่อื งปรชั ญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีการให้ความรู้ดา้ นการประกอบ
อาชีพ 2) การสร้างความตระหนัก โดยผู้นำชุมชน แกนนำในชุมชนลงมือปฏิบัติให้เห็นเป็นรูปธรรม
มีตัวอย่าง มีแบบอย่างให้เห็น มีการแลกเปล่ียนความรู้ ความคิด การแบ่งปัน เร่ิมจากองค์ความรู้เดิมที่มีอยู่
ในชุมชนคือความรู้ด้านการเกษตร ประยุกต์กับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงจนเกิดผลเป็นรูปธรรม มีการปลูก
พืชผักเพื่อใช้ในครัวเรือนซึ่งสามารถแก้ปัญหาให้คนในชุมชนได้ สามารถลดรายจ่ายในครัวเรือน นอกจากน้ี
สมั มนาผลงานวิชาการระดับบัณฑิตศกึ ษาสังคมสงเคราะห์ศาสตรแ์ ละสวัสดิการสังคมระดบั ชาติ คร้ังที่ 10 ประจำปกี ารศกึ ษา 2563 | 109
ยังสามารถสร้างรายได้อีกด้วย 3) การขยายผล การขยายผลให้เกิดการดำเนินงานตามแนวคิดเศรษฐกิจ
พอเพียงท่ัวท้ังชุมชน โดยการเผยแพร่ความคิด การถ่ายทอดความรู้ การแบ่งปัน การส่งเสริมสนับสนุน และ
การรวมกลุ่มต่างๆ เพ่ือสร้างอาชีพ สร้างรายได้ ได้แก่ กลุ่มจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตร กลุ่มแปรรูป
ผลผลิต กลุ่มเลี้ยงสัตว์ กลุ่มทำขนมไทย กลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชน และกลุ่มปุ๋ยหมัก 4) การพัฒนาและต่อยอด
การดำเนินงานตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อมุ่งลดรายจ่ายของครัวเรือน และพัฒนากิจกรรมเพื่อเพ่ิม
รายได้แก่คนในชุมชน และยังสามารถต่อยอดกิจกรรม ได้แก่ 4.1 การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ ท่ีได้รับใบรับรอง
หลักเกณฑ์การรับรองมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี Good Agricultural Practices (GAP)
4.2 การรวมกลุ่มผลผลิตทางการเกษตรท่ปี ลอดสารพิษ ส่งจำหนา่ ยในตา่ งประเทศ ในราคาท่ีสงู กว่าราคาตาม
ท้องตลาดประมาณ 3 เท่า 4.3 การพัฒนาสู่วิสาหกิจชุมชนเกษตรพอเพียง จำหน่ายผักปลอดสาร
ข้าวอินทรีย์ 4.4 การผลิตข้าวปลอดสารที่มีคุณภาพ และโรงสีชุมชน 4.5 ศูนย์เรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียงและเกษตรทฤษฎใี หม่ 4.6 เครือข่ายหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง 4.7 รางวลั หม่บู ้านเศรษฐกิจพอเพียง
“อยู่เย็น เป็นสุข” และรางวัลผู้นำกิจกรรมพัฒนาชุมชนดีเด่น ระดับประเทศ ประจำปี 2561 4.8
มีแผนพฒั นาเสน้ ทางการท่องเท่ียวชมุ ชน เป็นการท่องเท่ียวเชงิ วัฒนธรรมผสมผสานการทอ่ งเทย่ี วเชิงเกษตร
การประสานพลงั ภายในชุมชน
การขับเคล่ือนชุมชนผู้มีบทบาทหลักในชุมชน ได้แก่ 1) ผู้นำชุมชน คือ ผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้ปฏิบัติ
เป็นแบบอย่างให้แก่คนในชุมชน เป็นต้นแบบให้เห็นเป็นรูปธรรม เห็นประโยชน์ และสามารถเป็นผู้ให้
คำปรึกษา คำแนะนำได้ จนขยายความคิดได้ทั่วท้ังชุมชน โดยการทำให้เห็นตัวอย่าง การพูดคุยชักชวน
การแบ่งปัน ตลอดจนการใช้ส่ือให้เป็นประโยชน์ 2) กลุ่มในชุมชน เป็นพลังในการขับเคลื่อนการดำเนินงาน
ได้แก่ กลุ่มจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตร กลุ่มแปรรูปผลผลิต กลุ่มเลี้ยงสัตว์ กลุ่มทำขนมไทย
กลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชน และกลุ่มปุ๋ยหมัก เป็นต้น 3) วัดลากค้อน เป็นศูนย์รวมของชุมชน โดยใช้กิจกรรมทาง
ศาสนาในการส่งเสริมและให้องค์ความรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
4) โรงเรียนวัดลากค้อน ส่งเสริมให้ความรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียง มีกิจกรรมด้านการทำเกษตร โดยวิทยากร
จากคนในชุมชน และใช้ผลผลิตในชุมชนประกอบอาหารเป็นอาหารกลางวันให้เด็กในโรงเรียน 5) โรงพยาบาล
ส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพสต.) มี อสม. เป็นผู้มีบทบาทหลักในการขับเคลื่อน มีกลุ่มกิจกรรมปลูกผัก
กลมุ่ ออกกำลังกาย
การส่งเสริมสนบั สนนุ จากภายนอกชุมชน
บ้านคลองลากค้อนได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานจากหน่วยงานต่างๆ ดังน้ี
1) กรมการพัฒนาชุมชน มีบทบาทในการสนับสนุนองค์ความรู้ สนับสนุนด้านอุปกรณ์และทรพั ยากรท่ีจำเป็น
ในการดำเนินการตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และการพาไปศึกษาดูงาน 2) กองอำนวยการรักษา
ความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอรมน.) มีบทบาทในการส่งเสริมอาชีพในด้านต่างๆ ในชุมชน 3) กรม
พัฒนาที่ดิน สนับสนุนการจัดทำปุ๋ย อุปกรณ์การเกษตร งบประมาณ ตลอดจนการศึกษาดูงาน 4) สำนักงาน
การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) การส่งเสริมอาชีพ สนับสนุนงบประมาณและจัดหา
วิทยากรมาอบรมให้ความรู้ตามความต้องการของชุมชน 5) เครือข่ายชุมชน เครือข่ายหมู่บ้านเศรษฐกิจ
110 | สมั มนาผลงานวชิ าการระดบั บัณฑติ ศึกษาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และสวสั ดิการสังคมระดับชาติ ครง้ั ท่ี 10 ประจำปีการศึกษา 2563
พอเพียง) เป็นเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งด้านความรู้ประสบการณ์ ตลอดจนการสนับสนุนและแบ่งปัน
ทรพั ยากร
ชมุ ชนเขม้ แข็งอยา่ งย่ังยนื
การขับเคลื่อนแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงบ้านคลองลากค้อน มีบทบาทในการส่งเสริม
ความเข้มแข็งของชุมชน ดังนี้ 1) ด้านเศรษฐกิจ ชุมชนสามารถดำเนินกิจกรรมเพื่อลดรายจ่ายของครัวเรือน
มีความม่ันคงทางอาหาร นอกจากน้ียังมีกิจกรรมส่งเสริมอาชีพ มีการรวมกลุ่มเพ่ือจำหน่ายผลผลิตและ
ผลิตภัณฑ์ชุมชน ซึ่งเป็นการสร้างรายได้แก่คนในชุมชน 2) ด้านสังคม การขับเคลื่อนชุมชนตามแนวคิด
เศรษฐกจิ พอเพียงก่อใหเ้ กดิ ความร่วมมือ การมีส่วนร่วม การรวมกลุ่ม การช่วยเหลือเกื้อกูล การแบ่งปัน และ
การพัฒนาองค์ความรู้มาต่อยอดเป็นกิจกรรมเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน
สร้างชุมชนอยู่เย็นเป็นสุข 3) ด้านสิ่งแวดล้อม ในด้านการพัฒนาส่ิงแวดล้อม มีการดำเนินการตามปรัชญา
ของเศรษฐกิจพอเพียง เช่น การหมักปุ๋ย การใช้น้ำหมักไล่แมลง ในการปลูกผัก ปลูกข้าวปลอดสารพิษ
ทดแทนการปุ๋ยเคมี ซึ่งส่งผลดีต่อส่ิงแวดล้อมและสุขภาพ 4) ด้านการเรียนรู้ มีการเรียนรู้ทั้งจากการส่งเสริม
ความรู้จากภายนอก ได้แก่ ความรู้ด้านปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ความรู้ด้านการส่งเสริมอาชีพ
โดยวิธีการอบรม การพูดคุย การพาไปดูงาน เป็นต้น นอกจากน้ียังมีการเรียนรู้จากภายในชุมชน ได้แก่
การแลกเปล่ียนความรู้ ความคิด การถ่ายทอดทักษะและประสบการณ์ และการมีศูนย์เรียนรู้ชุมชน
ซ่ึงมีบทบาทในการถา่ ยทอดความรู้ตามความต้องการของชุมชน
บทสรปุ
จากการศึกษากระบวนการขับเคล่ือนชุมชนเข้มแข็งด้วยแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงของ 3 ชุมชน
สรุปประเดน็ สำคญั ได้ดังนี้
1) กระบวนการชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง การประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็น
การปรับประยุกต์ให้สอดคล้องกับบริบทและวถิ ีชีวติ ชมุ ชน ดังนี้ 1) การสร้างความรู้ความเข้าใจ โดยการสร้าง
ความรู้ความเข้าใจร่วมกันถึงความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง การดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง
การกำหนดแนวทางและกิจกรรมท่ีส่งเสริมการเรียนรู้ของคนในชุมชน การขับเคล่ือนชุมชนตามแนวคิด
เศรษฐกิจพอเพียง ตลอดจนประโยชน์ท่ีจะเกิดจากการดำเนินงานตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง โดยการ
พูดคุย การประชุม การอบรม รวมท้ังศูนย์เรียนรู้ชุมชน 2) การวิเคราะห์ชุมชน โดยการวิเคราะห์ชุมชน
ตนเอง วิเคราะห์ทุนชุมชน วิเคราะห์ปัญหาและความต้องการของชุมชน เพ่ือชุมชนร่วมกันคิด วิเคราะห์หา
แนวทางในการขับเคลื่อนชุมชน การกำหนดกิจกรรม ตลอดจนการจัดทำแผนชุมชนเพ่ือกำหนดเป้าหมาย
กำหนดแนวทาง กำหนดกิจกรรมในการดำเนินการของชุมชน 3) การพัฒนากิจกรรมชุมชน โดยการพัฒนา
กิจกรรมที่สอดคล้องกับบริบทชุมชน วิถีชีวิตชุมชน ทุนชุมชน ศักยภาพชุมชน ตลอดจนการสร้างสรรค์
การพัฒนา การต่อยอดและการขยายกิจกรรมของชุมชน เช่น การรวมกลุ่มกจิ กรรมของชมุ ชน การจัดทำฐาน
เรียนรู้ ศูนย์เรียนรู้ชุมชน รวมทั้งการขยายผลสู่การท่องเท่ียวชุมชน เป็นต้น 4) การสร้างเครือข่าย โดยการ
รวมตัวกันเป็นเครือข่ายการพัฒนา เช่น เครือข่ายหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง เครือข่ายกิจกรรม เครือข่าย
สัมมนาผลงานวิชาการระดบั บณั ฑิตศึกษาสังคมสงเคราะห์ศาสตรแ์ ละสวสั ดกิ ารสังคมระดับชาติ คร้ังท่ี 10 ประจำปกี ารศึกษา 2563 | 111
กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต เครือข่ายการตลาดผลิตภัณฑ์ชุมชน เป็นต้น เพื่อการเสริมแรง เสริมพลัง
การแลกเปล่ียนความรู้และประสบการณ์ ตลอดจนการแบ่งปันทรัพยากร 5) การขยายผลและต่อยอด
เพื่อมุ่งให้เกิดการดำเนินการพัฒนาอย่างต่อเน่ืองเป็นกระบวนการ เกิดการพัฒนา การขยายผล การขยาย
กิจกรรมและการต่อยอดกิจกรรม
2) ชุมชนเข้มแข็งอย่างย่ังยืน การดำเนินการกระบวนการขับเคล่ือนชุมชนด้วยแนวคิดเศรษฐกิจ
พอเพียงส่งผลให้เกิดการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในด้านต่างๆ ดังน้ี 1) ด้านสังคม เกิดการมี
ส่วนร่วมของคนในชุมชน สร้างความสัมพันธ์ มีการช่วยเหลือเก้ือกูลกันในชุมชน ส่งผลให้เกิดการเสริมพลัง
เสริมคุณค่า เป็นชุมชนแห่งความสุข นอกจากนี้ยังสามารถแก้ไขปัญหาของชุมชนท้ังด้านการป้องกันและ
แก้ไขปัญหายาเสพติด ความขัดแย้งของคนในชุมชนอีกด้วย 2) ด้านเศรษฐกิจ มีการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน
สร้างอาชพี สร้างรายได้แก่คนในชุมชน สร้างการออม การสรา้ งแหล่งเงินทุนในชุมชน สง่ ผลให้เกิดการพัฒนา
เศรษฐกิจชุมชนและสร้างคณุ ภาพชีวิตท่ีดขี องคนในชุมชน 3) ด้านสง่ิ แวดล้อม มีการพัฒนาส่งิ แวดลอ้ มชุมชน
เช่น มีระบบการจัดการขยะในชุมชน การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนที่เป็นมิตรกับส่ิงแวดล้อมและสุขภาพ
4) ด้านการพัฒนาคน มีการพัฒนาศักยภาพคน การพัฒนาความรู้ ทักษะ ความเชื่อมั่นในตนเอง ความคิด
สรา้ งสรรค์ ผา่ นกระบวนการเรียนรู้ของชุมชน
การอภปิ รายผล
การศึกษากระบวนการขับเคล่ือนชุมชนเข้มแข็งด้วยแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง มีประเด็นที่สำคัญ
ดงั นี้
1) กระบวนการขับเคล่ือนชุมชน การส่งเสริมกระบวนการขับเคลื่อนชุมชนด้วยแนวคิดเศรษฐกิจ
พอเพียงโดยกระบวนการสร้างความรู้ความเข้าใจแก่คนในชุมชนร่วมกัน การวิเคราะห์ชุมชน การบริหาร
จัดการชุมชน การดำเนินกิจกรรมชุมชน การสรา้ งเครอื ข่าย และการต่อยอดและขยายผลการดำเนนิ งาน โดย
เป็นกระบวนการที่ขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้กระบวนการดังกล่าวชุมชนควรมีการสรุปบทเรียนและ
การถอดบทเรียนของชุมชนเพื่อการเรียนรู้ การถ่ายทอด การพัฒนาและขยายผลต่อไปซึ่งจะเป็นประโยชน์
สำหรับชุมชนตนเองและเป็นการเรียนรู้ของชุมชนอ่ืนๆ และผู้ท่ีสนใจ อย่างไรก็ตามส่ิงสำคญั ที่ควรคำนึงถึงใน
กระบวนการขับเคลื่อนชุมชนจะต้องให้ความสำคัญใน 3 ประเด็น คือ 1) การมีส่วนร่วมของชุมชน
2) การเรียนรขู้ องคนในชมุ ชน 3) การพัฒนาท่ีสอดคล้องกับวถิ ีชีวติ และทุนชุมชน ซึ่งจะสง่ ผลใหก้ ระบวนการ
ขบั เคลอ่ื นมีความต่อเน่ืองและนำไปสู่การพฒั นาชมุ ชนท่เี ขม้ แข็งสามารถพ่ึงตนเองได้อย่างย่ังยนื
2) การสรา้ งผู้นำและแกนนำชุมชน ซ่ึงมบี ทบาทสำคัญต่อกระบวนการขับเคล่ือนชุมชนท้ังบทบาท
ในการดำเนินกิจกรรมชุมชน การเปล่ียนแปลงทัศนคติและพฤติกรรมของคนในชุมชน และการส่งเสริม
ความสัมพันธ์และความผูกพันของคนในชุมชน ดังน้ันส่ิงสำคัญคือการพัฒนาความรู้ ทักษะและทัศนคติของ
ผู้นำและแกนนำชุมชนให้เป็นผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจในแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ความรู้ความเข้าใจใน
ชุมชนตนเอง และมีความพร้อมในการเรียนรู้และการลงมือปฏิบัติ ตลอดจนเป็นแบบอย่าง เป็นต้น แบบแก่
112 | สัมมนาผลงานวชิ าการระดับบณั ฑติ ศึกษาสงั คมสงเคราะห์ศาสตร์และสวัสดกิ ารสังคมระดบั ชาติ ครั้งท่ี 10 ประจำปีการศกึ ษา 2563
คนในชุมชน พร้อมท่ีจะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูล ความคิดเห็น สถานการณ์และส่ิงใหม่ๆ และเป็นผู้นำที่
สามารถผนกึ ตัวเองกับชมุ ชนอย่างแนบแน่น ร่วมกนั ขับเคลอ่ื นชุมชนเพ่ือชมุ ชน
3) การส่งเสริมการเรียนรู้ขุมชน กระบวนการขับเคลื่อนชุมชนด้วยแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง
ภายใต้สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของสังคมเง่ือนไขสำคัญ คือ ความสามารถในการปรับตัวของชุมชน
การรับรู้ข้อมูลข่าวสารท้ังทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และการเช่ือมโยงและการวิเคราะห์สถานการณ์กับ
คุณค่าของชุมชนและวิถีชุมชน โดยกระบวนการเรียนรู้ การพูดคุย การถกเถียง การแลกเปลี่ยนข้อมูล
ความคิดเห็นซ่ึงกันและกัน นำความรู้ ประสบการณ์ท่ีหลากหลายมาแลกเปล่ียนกันเพ่ือการเกิดความรู้ใหม่
คณุ คา่ ใหม่
ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะเพื่อการส่งเสริมกระบวนการขับเคลื่อนชุมชนเข้มแข็งด้วยแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงมี
ดังนี้
1) การส่งเสริมทุนชุมชนเป็นฐานในการขับเคล่ือนชุมชน ท้ังน้ีในชุมชนมีทุนชุมชน ทั้งทุนความรู้
ทนุ สังคม ทุนมนุษย์ ทุนวัฒนธรรมและทุนทรัพยากร เป็นต้น ดังนั้นการการพัฒนาทุนชุมชนเพ่ือเป็นพื้นฐาน
ในการพัฒนากิจกรรมชุมชนท้ังกิจกรรมด้านการส่งเสริมอาชีพ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อการพัฒนา
เศรษฐกิจชุมชน การพัฒนานวัตกรรมชุมชน กิจกรรมส่งเสริมประเพณีวัฒนธรรมชุมชน กิจกรรม
การถ่ายทอดความรู้และการเรียนรู้ของคนในชุมชน และการจัดการท่องเท่ียวชุมชน โดยวิธีการสืบค้น
รวบรวมและต่อยอดทุนชุมชนเพื่อพัฒนาศักยภาพชุมชนและเพื่อเป็นฐานในการพัฒนากิจกรรมชุมชน
เพอ่ื การขับเคล่ือนชุมชนต่อไป
2) การเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชนอย่างย่ังยืน เพ่ือให้ชุมชนสามารถขับเคล่ือนชุมชนได้อย่าง
เข้มแข็งและต่อเน่ืองโดยการส่งเสริมการดำเนินการของชุมชน ได้แก่ 1) การส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจ
ชุมชน ท่ีเกิดจากการพัฒนาทุนชุมชน การเรียนรู้ของคนในชุมชนโดยการส่งเสริมการออมเพ่ือสร้างแหล่ง
เงินทุนในชุมชน การพัฒนากลุ่มอาชีพ พัฒนาวิสาหกิจชุมชนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อสร้างรายได้
แก่ชุมชน และการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชน นอกจากนี้มีการแสวงหากลไกสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจ
ชุมชน ท้ังด้านการผลิต การประชาสัมพันธ์ การตลาด ทั้งจากภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม
2) การส่งเสริมการพัฒนาสังคม การส่งเสริมการพัฒนาผ่านกิจกรรมต่างๆ ของชุมชนด้วยการส่งเสริมการมี
ส่วนรว่ มของคนในชุมชน การส่งเสริมความสัมพันธ์ การสรา้ งชุมชนแห่งการเกื้อกูลและแบ่งปัน เพื่อเป็นพลัง
ในการขับเคล่อื นชุมชนแห่งความสมานฉนั ท์และชุมชนแห่งความสขุ
สมั มนาผลงานวชิ าการระดับบณั ฑิตศึกษาสงั คมสงเคราะหศ์ าสตร์และสวสั ดกิ ารสงั คมระดับชาติ ครั้งท่ี 10 ประจำปกี ารศึกษา 2563 | 113
รายการอ้างอิง
โกวิทย์ พวงงาม. (2553). การจัดการตนเองของชุมชนและท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: บพิธการพิมพ.์
โกวทิ ย์ พวงงาม. (2562). การจดั การตนเองของชุมชนและท้องถน่ิ . นนทบุร:ี ธรรมสาร.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกจิ และสังคมแห่งชาติ. (2546). การพัฒนาท่ีย่ังยืนในบริบทไทย.
เอกสารประกอบการประชมุ ประจำปี 2546.
สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพ่ือประสานงานโครงการอันเนือ่ งมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.)
(2553). ตวั อย่างความสำเรจ็ การประยุกต์ใชป้ รชั ญาของเศรษฐกจิ พอเพยี ง. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
สำนกั งานคณะกรรมการพิเศษเพ่ือประสานงานโครงการอันเน่อื งมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.)
(2554). การประกวดผลงานตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ผู้แตง่ .
114 | สมั มนาผลงานวชิ าการระดบั บัณฑิตศกึ ษาสังคมสงเคราะห์ศาสตรแ์ ละสวัสดกิ ารสังคมระดบั ชาติ ครงั้ ท่ี 10 ประจำปกี ารศึกษา 2563
กลไกและกระบวนการสร้างความเขม้ แข็งสวัสดกิ ารชมุ ชนเมอื ง กรณีศกึ ษา
ชมุ ชนมสั ยดิ จกั รพงษ์ เขตพระนคร กรงุ เทพมหานคร
Urban Community Welfare Strengthening Mechanism and Process:
A Case Study of Chakkraphong Mosque Community,
Phra Nakhon District, Bangkok Metropolis
อรชา สุขกวี1 และ ผศ.ดร. สริ ยิ า รัตนชว่ ย2
Oracha Sukavee3 and Asst. Prof. Siriya Rattanachuay, Ph.D.4
Abstract
This research purposes to study the strengthening mechanisms and processes of
urban community of the Chakkraphong Mosque Community, Phra Nakhon District, Bangkok
Metropolis was applied as the case study. It employed qualitative research, documentary
study, in-depth interview, participatory and non-participatory observation, and community
development tools. The results illustrated that the Chakkraphong Mosque Community
was equipped with the strengthening mechanism consisted of the following
components: 1) community leaders 2) community wisdom 3) community culture and
4) community network. The key processes of strengthening the Chakkraphong Mosque
urban community included the community participative processes. The model of the
urban welfare resulted from the strength of this community including 1) security
welfare, 2) environmental welfare, 3) educational welfare and, 4) financial welfare.
Keywords: Strengthening mechanism and process, urban community welfare, muslim community
บทคดั ย่อ
บทความวิจัยน้มี วี ัตถปุ ระสงค์เพ่ือศึกษากลไกและกระบวนการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนเมือง
และรูปแบบสวัสดิการชุมชนเมือง กรณีศึกษา ชุมชนมัสยิดจักรพงษ์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
ใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพ ใชว้ ิธีการศกึ ษาเชิงคุณภาพ การศึกษาเอกสาร ใช้เครื่องมือการสัมภาษณแ์ บบ
เจาะลึก การสังเกตแบบมีส่วนรว่ มและไม่มีส่วนร่วม และเครื่องมอื ในงานพฒั นาชุมชน ผลการศึกษาพบว่า
ชุมชนมัสยิดจักรพงษ์ มีกลไกการสร้างความเข้มแข็งที่เกิดจากองค์ประกอบ อันได้แก่ 1) ผู้นำชุมชน
1 นกั ศกึ ษาปรญิ ญาโทหลกั สตู รพฒั นาชมุ ชนมหาบัณฑิต คณะสงั คมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั ธรรมศาสตร์
2 อาจารยป์ ระจำคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั ธรรมศาสตร์
3 Master of Science Program in Community Development, Faculty of Social Administration, Thammasat University
4 Lecturer, the Faculty of Social Administration, Thammasat University, Thailand
สมั มนาผลงานวชิ าการระดับบัณฑิตศกึ ษาสังคมสงเคราะห์ศาสตรแ์ ละสวสั ดิการสงั คมระดบั ชาติ ครั้งท่ี 10 ประจำปีการศกึ ษา 2563 | 115
2) ภมู ิปัญญาและความร้ชู ุมชน 3) วัฒนธรรมชมุ ชน และ 4) เครอื ข่ายชุมชน ชุมชนมีกระบวนการท่ีสำคัญ
ในการสร้างความเข้มแข็งชุมชนได้แก่ กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน รูปแบบสวัสดิการชุมชนเมือง
พบว่า ชุมชนแห่งน้ีมีสวัสดิการอัน ได้แก่ 1) สวัสดิการด้านความปลอดภัย 2) สวัสดิการด้านสิ่งแวดล้อม
3) สวัสดกิ ารด้านการศกึ ษา และ4)สวสั ดิการด้านการเงนิ
คำสำคัญ: กลไกและกระบวนการสร้างความเขม้ แข็ง, สวสั ดกิ ารชมุ ชนเมือง, ชมุ ชนมุสลิม
บทนำ
กรุงเทพมหานครคือเมืองหลวงของประเทศไทย เป็นศูนย์กลางของการบริหารท้ังในด้าน
การปกครอง เศรษฐกิจ การคมนาคม และการท่องเที่ยว ด้วยความเป็นศูนย์กลางของระบบการบริหาร
หลากหลายด้านจึงส่งผลให้มีการพัฒนาและขยายตัวของเมืองที่รวดเร็ว ด้วยลักษณะของการเป็น
ศูนย์กลางของประเทศทงั้ ทางด้านการปกครองและเศรษฐกจิ ดังกลา่ ว ทำให้กรงุ เทพมหานครมจี ำนวนของ
ผู้อพยพเข้ามาทำงานและอยู่อาศัยเพิ่มข้ึน ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางด้านท่ีอยู่อาศัยของคนในพื้นที่
กรุงเทพมหานครอย่างสม่ำเสมอ ท่ามกลางความเป็นเมืองหลวงของกรุงเทพมหานครที่มีความเป็น
สมัยใหม่ทั้งทางด้านส่ิงก่อสร้าง เทคโนโลยี และวิถีชีวิตท่ีผู้คนส่วนใหญ่มักจะนึกถึงการอาศัยบนชุมชน
อาคารสูงเช่นคอนโดมิเนียมเป็นหลักนั้นก็ยังคงมีชุมชนชุมชนรูปแบบอ่ืนอยู่ภายในกรุงเทพมหานคร โดย
จำแนกออกเป็น 6 ประเภทชุมชน ได้แก่ ชุมชนแออัด ชุมชนเมือง ชุมชนชานเมือง เคหะชุมชน ชุมชน
อาคารสูง และชุมชนหมบู่ ้านจัดสรร (สำนกั การวางผงั และพฒั นาเมือง, 2561)
ชุมช น เมือง ถือ เป็ น ห น่ึ งใน ป ระเภ ทของชุ มช น ท่ีมีอยู่ ใน กรุงเทพ มห าน คร ซ่ึงมี คว ามน่ าส น ใจ
เนื่องจากชุมชนเมืองเป็นชุมชนท่ีมีความพร้อมในสาธารณูปโภค สาธารณูปการ การคมนาคมสะดวก
(สำนักการวางผังและพัฒนาเมือง, 2561) และทางด้านสังคมและวัฒนธรรมท่ีมีความซับซ้อน มีองค์กร
และสถาบันทางสังคมมาก มีการใช้กฎหมายเพ่ือควบคุมทางสังคมเป็นหลัก อีกทั้งยังมีความแตกต่างทาง
สงั คมและวัฒนธรรมมาก (Heterogeneous) ขาดความเป็นเอกลักษณ์ของชมุ ชน มีการเปล่ียนแปลงทาง
สังคมและวัฒนธรรมได้ง่าย และความผกู พันหรือความรู้สกึ เปน็ เจา้ ของชุมชนน้อย (สนธยา พลศรี, 2550)
ทำให้ชุมชนเมืองมีแนวโน้มที่จะเกิดความเข้มแข็งของชุมชนน้อย เน่ืองจากความเข้มแข็งของชุมชนมี
องค์ประกอบคือ 1) ผู้นำชุมชนทั้งทางการและไม่เป็นทางการมีคุณธรรม ความรู้และความสามารถใน
การเป็นผูน้ ำท้ังทางความคิดและกจิ กรรม 2) ชมุ ชนมกี ารเรียนรู้จากทั้งภายในและภายนอกชุมชนอยู่เสมอ
3) ชุมชนมีการจัดการชุมชนโดยอยู่บนพื้นฐานการพึ่งตนเองและพ่ึงพาซ่ึงกันและกันภายในชุมชน
4) ชุมชนมวี ัฒนธรรม ประเพณี พธิ กี รรม และความเกือ้ กูลกันเป็นแนวทางสืบทอดความดีงามและวถิ ีชวี ิต
ของชุมชน 5) ชุมชนมีความเป็นประชาธิปไตยและมีความสามัคคี 6) มีการจดั การความรจู้ ากการประยกุ ต์
ความรู้ภายนอกกับภายในชุมชน 7) ชุมชนมีเครือข่ายและมีการประสานงานกันของกลุ่มต่างๆ ภายใน
ชุมชนเพื่อประโยชน์ร่วมของชุมชน (สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดสุรินทร์,
2553, น. 140-149)
116 | สัมมนาผลงานวิชาการระดบั บณั ฑิตศึกษาสงั คมสงเคราะห์ศาสตร์และสวสั ดกิ ารสังคมระดบั ชาติ คร้งั ที่ 10 ประจำปีการศึกษา 2563
การสร้างความเข้มแข็งในชุมชนเมืองจากการอาศัยทุนชุมชนเป็นพ้ืนฐานนั้นจึงเป็นส่ิงที่น่าสนใจ
ชุมชนมัสยิดจักรพงษ์ถือเป็นชุมชนเมือง ตั้งอยู่ในเขตพระนคร จังหวัดกรุงเทพมหานคร เป็นชุมชนมุสลิม
แห่งแรกในเขตพระนครที่ตั้งอยู่ท่ามกลางสภาพแวดล้อมของแหล่งเศรษฐกิจและการท่องเท่ียวท่ีสำคัญ
ของกรงุ เทพมหานคร เช่น ถนนข้าวสาร ถนนพระอาทิตย์ และยา่ นบางลำพู ซ่ึงเป็นย่านธุรกจิ การค้าและ
เป็นท่ีนิยมของนักท่องเท่ียวท้ังชาวไทยและชาวต่างประเทศ ชุมชนแห่งนี้ถือเป็นชุมชนเก่าแก่ทาง
ประวัติศาสตร์ต้ังขึ้นเม่ือปี พ.ศ. 2329 มีอายุเก่าแก่ถึง 234 ปี โดยเป็นชุมชนของชาวมุสลิมกลุ่ม
“แขกตานี” จากเมืองปัตตานีที่ถูกกวาดต้อนมา และพระบาทสมเด็จพระพทุ ธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชได้
พระราชทานที่ดินเพื่ออยู่อาศัย จึงเกิดเป็นชุมชนมุสลิมข้ึน ในอดีตผู้คนในชุมชนประกอบไปด้วยขุนนาง
และช่างฝีมอื ต่างๆ ชุมชนแห่งน้ีมีการสืบทอดความรู้ทางช่างฝีมือต่อกันมา ชุมชนแห่งนี้มีความน่าสนอาทิ
1) เป็นชุมชนทางประวัติศาสตร์ 2) เป็นชุมชนเมืองท่ีเป็นชุมชนมุสลิม ซึ่งในเขตพระนครถือเป็นชุมชน
มุสลิมแห่งแรกในเขตพระนคร 3) ชุมชนแห่งน้ีต้ังอยู่ท่ามกลางกระแสทุนนิยมอันได้แก่ แหล่งท่องเที่ยว
แหล่งเศรษฐกิจที่สำคัญ 4) มีผู้นำชุมชนและมีการจัดการบริหารชุมชนที่ชัดเจน 5) สมาชิกชุมชนยึดถือ
ศาสนาอสิ ลามเป็นส่วนหนง่ึ ของวิถชี ีวิต และช่วยเหลอื กันและกนั ภายในชมุ ชน
ดังนั้น ชุมชนมัสยิดจักรพงษ์จึงมีความน่าสนในด้านของการสร้างความเข้มแข็งภายในชุมชนที่
เป็นรูปแบบของชุมชนเมือง บทความฉบับนี้จึงต้องการนำเสนอประเด็นกลไกและกระบวนการสร้าง
ความเข้มแข็งสู่สวัสดิการชุมชนเมือง กรณีศึกษา ชุมชนมัสยิดจักรพงษ์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
ผา่ นคำถามเพอื่ เป็นประโยชน์ในการศึกษาในมิตกิ ลไกและกระบวนการสรา้ งความเข้มแขง็ ของชุมชนเมือง
หลวง และรปู แบบสวสั ดกิ ารของชุมชนเมอื งของชมุ ชนมัสยดิ จักรพงษ์
คำถามและวตั ถปุ ระสงคข์ องการศึกษา
บทความวิจัยฉบับน้ี ต้ังประเด็นคำถามที่น่าสนใจว่า ชุมชนมัสยิดจักรพงษ์ เขตพระนคร มีกลไก
และกระบวนการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนเมืองหลวงอยา่ งไร และการเป็นชุมชนเมืองหลวงที่เข้มแข็ง
ของชุมชนมัสยิดจักรพงษ์ เขตพระนคร นำไปสู่การเกิดข้ึนของรูปแบบสวัสดิการของชุมชนเมืองในมิติ
ใดบ้าง
จากประเด็นคำถามดังกล่าว จึงได้กำหนดวัตถุประสงค์เพ่ือศึกษากลไกและกระบวนการสร้าง
ความเข้มแขง็ ของชมุ ชน อีกทั้งเพ่ือศึกษารูปแบบสวัสดิการของชุมชนเมืองท่ีเกดิ ข้ึนภายในมสั ยิดจักรพงษ์
เขตพระนคร จังหวดั กรงุ เทพมหานคร
แนวคดิ เกี่ยวกบั ชุมชนเข้มแขง็
แนวคดิ ชุมชนเข้มแขง็ Fran Baum (2008) ไดอ้ ธิบายถึงการสร้างพลงั ความเขม้ แขง็ ของชุมชนว่า
เป็นผลท่ีเกดิ ขึน้ จากการมีส่วนร่วมของชุมชนที่แสดงถึงความเป็นเจา้ ของชมุ ชน การมีเป้าหมายขับเคลื่อน
หรือเปล่ียนแปลงชุมชนที่ชัดเจน และใช้กระบวนการเจรจาพูดคุยเป็นสิ่งที่ช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็ง
ของชุมชนเพื่อก่อให้เกิดอำนาจในการจัดการบริหารชุมชน รวมถึง เสรี พงศ์พิศ (2553) กล่าวว่าชุมชน
สัมมนาผลงานวิชาการระดับบณั ฑิตศึกษาสังคมสงเคราะหศ์ าสตร์และสวัสดิการสังคมระดบั ชาติ คร้ังที่ 10 ประจำปกี ารศกึ ษา 2563 | 117
เข้มแข็งเป็นชุมชนท่ีมีการเรียนรู้จนค้นพบตัวตนของชุมชนและพัฒนาทุนท้องถิ่น ทั้งทุนทรัพยากร
ทุนทางปญั ญา และทุนทางสังคม เพื่อมุ่งไปสู่การพ่ึงพาตนเองของชุมชน โดยการสร้างความเข้มแข็งทำได้
โดยการให้ชุมชนมีโอกาสที่จะเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพของชุมชนให้ได้มากที่สุด ขณะท่ีมูลนิธิพัฒนา
อีสาน (2553) ให้ความหมายไว้ว่า เปน็ ชุมชนท่มี ีความสามารถในการจัดการปัญหาของตนได้ในระดบั หน่ึง
ซ่ึงเป็นผลที่เกิดจากการมีผู้นำที่มีความสามารถ การเรียนรู้ของชุมชนท่ีมีความต่อเนื่องบนฐานของ
วัฒนธรรม ความเชื่อ คุณค่าด้ังเดิม ศาสนา และเศรษฐกิจ กล่าวโดยสรุป ชุมชนเข้มแข็ง จึงหมายถึง
การท่ีชุมชนสามารถพึ่งตนเองได้ โดยอาศยั ความร่วมมือของสมาชิกชุมชนเป็นหลัก เพื่อให้สามารถรับมือ
กบั ปัญหา เปล่ียนแปลง หรือพัฒนาชุมชนได้ และเกิดผลท่ีดีต่อชุมชนและสมาชกิ ชุมชน ซง่ึ ส่ิงสำคัญท่ีทำ
ใหเ้ กิดความเข้มแข็งของชุมชนคือ การมสี ว่ นรว่ มของสมาชิกชมุ ชนและเครอื ขา่ ย
องค์ประกอบที่ทำให้เกิดความเข้มแข็งในชุมชนได้น้ัน สำนักงานส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม
จังหวัดสุรินทร์ (2553) ได้จำแนกไว้ด้วยกัน 7 ประการ ได้แก่ 1) ผู้นำ 2) การเรียนรู้ 3) ระบบเศรษฐกิจ
ท้องถิ่น 4) ระบบคุณธรรมและวัฒนธรรม 5) ระบบประชาธิปไตยในการบริหารจัดการชุมชน 6) การจัดการ
ความรู้ 7) การประสานประโยชน์ร่วมของชุมชน ส่วน วรวิทย์ อวิรุทธ์วรกุล (2544) ได้อธิบายปัจจัยใน
การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนไว้มีดังน้ี 1) โครงสร้างทางสังคมของชุมชนเป็นรูปแบบความสัมพันธ์
แบบพ่ึงพาอาศัยกัน และมีการเปิดโอกาสให้สมาชิกชุมชนมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างเสรี 2) เศรษฐกิจ
ชุมชนเป็นลักษณะของการพึง่ ตนเอง 3) คา่ นิยมและความเชอื่ ทางศาสนาทส่ี มาชิกชุมชนยึดถือและปฏิบตั ิ
จนเป็นวิถีชีวิต และสามารถกำหนดเป็นทิศทางของทัศนคติได้ 4) กระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิตจากการ
เรียนรู้ในระดับครอบครัวไปจนถึงระดับหน่วยงานภายนอก 5) กลุ่มผู้นำ โดยเป็นผู้นำท้ังทางการและ
ไม่เป็นทางการท่ีมีอิสระในการตัดสินใจ มีทักษะในการบริหารงานชุมชน 6) รูปแบบความสัมพันธ์ทาง
สังคมในลักษณะของการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ซ่ึงถือเป็นสวัสดิการชุมชนรูปแบบหนึ่ง 7) การ
ปฏิสัมพันธ์ภายในชุมชนเพื่อให้เกิดความร่วมมือในชุมชน 8)การบริหารงานของรัฐด้านการปกครองใน
รปู แบบการกระจายอำนาจเพอ่ื ใหเ้ อื้อต่อการมสี ่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชมุ ชน
แนวคิดเกี่ยวกบั การจัดการทุนชมุ ชน
ทุนชุมชนคือสิ่งที่มีมูลค่าหรือมีคุณค่าต่อชุมชน เปรียบสมือนทรัพยากรของชุมชนท่ีต้องอาศัย
การบริหารจัดการเพ่ือทำให้เกิดความสมดุลในการใช้ประโยชน์และไม่เกิดผลเสียต่อชุมชน เสรี พงศ์พิศ
(2547) ให้ความหมายของทุนชุมชนว่าหมายถึงทุนทรัพยากรและทรัพยากรที่ชุมชนสร้างให้เกิดหรือ
ผลิตข้ึน เช่น ปัจจัยสี่ รวมถึงเงิน สินทรัพย์อื่นๆ ความรู้ ภูมิปัญญา ประสบการณ์ชีวิตของผู้คน ทุนทาง
สังคมและวัฒนธรรม รวมถึง กรมพัฒนาชุมชน (2553) ได้อธิบายความหมายของทุนชุมชนว่า คือ ส่ิงใด
ส่ิงหน่ึงท่ีอยู่ในชุมชน ทั้งท่ีเกิดขึ้นตามธรรมชาติหรือเกิดจากฝีมือมนุษย์ ได้แก่ คน ทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม ประเพณี ปัจจัยโครงสร้างพ้ืนฐาน รวมถึงปัจจัยด้านเศรษฐศาสตร์การเงิน
อีกท้ัง โกวิทย์ พวงงาม (2553) ได้ให้ความหมายของทุมชุมชนว่า เป็นต้นทุนหลักในการพัฒนาและเป็น
ทุนสำคัญต่อการจัดการตนเองของชุมชนมากท่ีสุดเป็นสิ่งท่ีมีอยู่ในชุมชน แต่ชุมชนมักมองไม่เห็นหรือ
118 | สัมมนาผลงานวชิ าการระดับบณั ฑิตศกึ ษาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และสวัสดิการสังคมระดบั ชาติ ครง้ั ที่ 10 ประจำปกี ารศึกษา 2563
มองข้ามไป ทำให้ชุมชนไปพ่ึงพิงทุนจากภายนอกเพอื่ มาพฒั นาชุมชนตนเอง โดยประเภทของทนุ ชุมชนถูก
จำแนกออกเป็น 7 ประเภท (โกวิทย์ พวงงาม, 2553) ดังนี้ 1) ทุนพ้ืนฐาน (Basic Capital) เป็นสิ่งท่ี
รองรบั การดำเนินชีวิตและเปน็ สิ่งจำเป็นพ้ืนฐานในการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้สามารถประสบความสำเร็จ
ในการดำเนินงานของชุมชน 2) ทุนธรรมชาติ (Natural Capital) เกี่ยวข้องกับความอุดมสมบูรณ์ของ
ทรัพยากรธรรมชาติในชุมชน 3) ทุนแห่งชีวิตหรือทุนสร้างสรรค์ เกิดจากภายในสิ่งมีชีวิตทุกชนิดโดย
เก่ียวข้องกับการใช้ทุนธรรมชาติให้เกิดความสมดุลและยั่งยืน 4) ทุนมนุษย์ (Human Capital) เกี่ยวข้อง
กับการให้ความสำคัญในการพัฒนามนุษย์ให้มีคุณภาพทั้งด้านความรู้ ทักษะ สติปัญญา จริยธรรมและ
คุณธรรม ความมีระเบียบ โดยเฉพาะในการรวมกลุ่มกันเป็นเครือข่าย 5) ทุนความรู้ ภูมิปัญญา
(Knowledge Wisdom Capital) เป็นทุนที่เกิดจากกระบวนการคิด การผ่านประสบการณ์ด้วยตนเอง
มกี ารรกั ษาไวแ้ ละถ่ายทอดต่อกันจนเปน็ ภูมิปัญญาทอ้ งถิ่น 6) ทุนวัฒนธรรม (Cultural Capital) เปน็ ทุน
ที่สะท้อนถึงวิถีการดำเนินชีวิตของคนในชุมชน คือ ทุนวัฒนธรรมท่ีเป็นรูปธรรม และทุนท่ีเป็นนามธรรม
7) ทุนทางสังคม (Social Capital) เป็นทุนที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ของคนในชุมชน รวมท้ังกฎเกณฑ์
ระเบียบทางสังคมท่ี และระบบความสัมพันธ์ทางสังคม การพัฒนาทุนชุมชนจึงต้องประกอบด้วย
การพัฒนาในหลายมิติ (ปรียา โสภณา, 2554) เช่น การพัฒนาคน พัฒนากลุ่ม พัฒนากองทุน สร้าง
เครือข่ายชุมชน และบริหารจัดการชุมชน ซึ่งการจัดการชุมชนท่ีดีจะทำให้ทุนชุมชนต่างๆ เอื้อต่อ
การพัฒนากันและกัน การจัดการทุนชุมชนจึงต้องคำนึงถึงทุนชุมชนทุกด้านเพื่อทำให้เกิดเป็นชุมชนที่มี
คณุ ภาพ กล่าวคือ เปน็ ชุมชนทส่ี ามารถจัดการปัญหาและพัฒนาชุมชนได้โดยผ่านกระบวนการเรียนรูแ้ ละ
จัดการร่วมกันบนฐานทรัพยากรชุมชน โดยสร้างกระบวนการพัฒนาที่เป็นระบบ จึงกล่าวได้ว่าทุนใน
แต่ละประเภทน้ันมีความเก่ียวข้องซึ่งกับและกันอยู่ และการจะใช้ทุนชุมชนน้ันต้องอาศัยความสมดุล
ในการใช้สอยร่วมกับการรักษาทุนชุมชนไว้ เพื่อลดการทำลายและการสูญเสียทุนชุมชนบางประเภทไป
อย่างถาวร แนวคดิ การจัดการทุนชมุ ชน จึงเป็นแนวคดิ ที่จะนำมาศกึ ษาในประเด็นการจัดการทุนชุมชนของ
ชุมชนมัสยิดจักรพงษ์ โดยการจำแนกทุนต่างๆ ภายในชุมชน และศึกษาเน้นทุนพื้นฐานท่ีมีภายในชุมชน
รวมเอาพ้ืนที่ทางกายภาพของชุมชนเข้าไว้เป็นส่วนหน่ึงของทุนชุมชน และทุนทางวัฒนธรรม เพื่อเป็น
กรอบในการศกึ ษา
แนวคิดเก่ียวกบั ทนุ ทางสงั คม
Robert Putnam (1993) กล่าวถึง ทุนทางสังคมว่า ทุนทางสังคมจะเกิดข้ึนจากความตระหนัก
ของปัญหาสาธารณะร่วมกัน ซึ่งทนุ ทางสังคมจะเป็นส่ิงที่ทำให้ความสมั พันธ์ของคนในสังคมเป็นไปในทาง
ที่ดีและนำไปสู่ความเขม้ แข็งของชุมชน โดยทนุ ทางสังคมเปน็ ลักษณะขององค์กรทางสังคม เชน่ เครอื ข่าย
จารีต ความไว้วางใจ ความเอ้ืออาทร และความร่วมมือเพ่ือผลประโยชนร์ ่วมกัน ทุนทางสังคมสามารถทำ
ให้เกิดความร่วมมือตั้งแต่ในระดับบุคคล และความร่วมมือที่เกิดขึ้นจะสามารถพัฒนาต่อไปเป็น
ความร่วมมือในระดับภูมิภาคหรือระดับประเทศได้ เช่นเดียวกับ Fukuyama (2001) ได้กล่าวถึงทุนทาง
สังคม (Social Capital) ว่าเป็นรูปแบบของขนบธรรมเนียมที่ไม่เป็นทางการท่ีสามารถสนับสนุนให้เกิด
สัมมนาผลงานวิชาการระดับบัณฑิตศกึ ษาสงั คมสงเคราะห์ศาสตร์และสวัสดิการสังคมระดบั ชาติ ครั้งที่ 10 ประจำปกี ารศึกษา 2563 | 119
เป็นความร่วมมือของบุคคลสองคนขึ้นไปได้ ต้ังแต่เร่ืองของการตอบแทนภายในกลุ่มพวกพ้องไปจนถึง
เร่ืองที่มีความซับซ้อน เช่น คำสอนตามหลักศาสนา ทุนทางสังคมเป็นผลให้เกิดความไว้เน้ือเชื่อใจกัน
เกิดความเป็นเครือข่าย เกิดความเป็นประชาสังคมขึ้น รวมถึง Christian Grootaert and Thierry Van
Bastelaer (2002) กล่าวถึงทุนทางสังคมไว้ว่าเป็นรูปแบบที่สนับสนุนการพัฒนาทางด้านสังคมและ
เศรษฐกิจ โดยแบ่งเป็นสองประเภท ได้แก่ ทุนทางสังคมเชิงโครงสร้างท่ีสามารถเห็นเป็นรูปธรรมได้
เกิดจากการส่ังการหรือสร้างข้ึนโดยรัฐ เช่น เครือข่าย กลุ่ม สถาบัน และทุนทางสังคมเชิงความรู้
ที่มีลักษณะเป็นนามธรรมในสังคม เช่น พฤติกรรม ทัศนคติ การพ่ึงพาอาศัยกัน และความไว้วางใจต่อกัน
ทุนทางสังคมโดยสรุป คือ ส่ิงท่ีเกิดข้ึนจากคนในสังคม และเกิดจากกิจกรรมทางสังคม เป็นส่ิงท่ีก่อตัวขึ้น
จากความผูกพัน จารีต ประเพณี ความไว้วางใจซึ่งกันและกัน และความร่วมมือของคนในสังคม ซ่ึงถือได้ว่า
เป็นส่งิ ท่ีเกย่ี วข้องกับเรอื่ งของวิถชี ีวติ รวมไปถึงด้านจิตใจ ซงึ่ ทำให้เกิดเครอื ขา่ ยทางสังคมขน้ึ
ในส่วนของประเภทของทุนทางสังคมน้ัน วรวุฒิ โรมรัตนพันธ์ (2548) ได้อธิบายไว้ว่ามี
องค์ประกอบต่างๆ อันได้แก่ 1) ศาสนา หรือหลักคำสอนทางศาสนา 2) สำนึกในท้องถิ่น มีความต้องการ
ท่ีจะทำให้เกิดการพัฒนาชุมชนในชุมชนที่ตนอาศัยอยู่อย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ 3) ภูมิปัญญาท้องถ่ิน
4) ทรัพยากรบุคคลและเครือข่ายบุคคล 5) ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ 6) วิถีชีวิตทางวัฒนธรรม
เอกลักษณ์ อัตลักษณ์ของชุมชน 7) ความเออ้ื อาทร เป็นพลังสำคัญที่มผี ลต่อทุนทางสังคมของชุมชน ท้ังนี้
ยังได้เสนอปัจจัยเพ่ือการเสริมสร้างทุนทางสังคมไว้ 8 ประการ ได้แก่ 1) ระบบคุณค่า อุดมการณ์ และ
ความเชื่อ เพ่ือให้มองว่าตนเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งสำคัญในพ้ืนที่ 2) ภูมิปัญญาท้องถิ่นและกระบวนการ
เรียนรู้ที่ชุมชนสร้างหรือสั่งสมเพื่อการดำรงชีวิตภายในชุมชน เช่น ภูมิปัญญา ศิลปะ แพทย์พื้นบ้านและ
ประสบการณ์ต่างๆ ของชุมชน 3) ผู้นำทางปัญญาของชุมชนหรือปราชญ์ชาวบ้านท่ีมีบทบาทในการสร้าง
ความเขม้ แข็งของชุมชน 4) โครงสรา้ งความสมั พนั ธท์ างสงั คมแนวราบ 5) ระบบกรรมสิทธ์ิและการจดั การ
ร่วมกันของชุมชน 6) สถาบันชุมชน เช่น จารีต ธรรมเนียม ประเพณี และจิตสำนึกร่วม 7) ความหลากหลาย
ทางวฒั นธรรม และ 8) กลุม่ องคก์ ร และเครอื ข่ายด้านกิจกรรมสาธารณะในภาคประชาชน
แนวคดิ สวสั ดกิ ารชุมชน
แนวคิดสวัสดิการชุมชน Friedlander (1968) ได้นิยามไว้ว่า เป็นกิจกรรมด้านความช่วยเหลือ
มนุษย์ในการปรับตัวเข้ากับส่ิงแวดล้อมทางสังคมให้สามารถบรรลุถึงความสามารถในการแก้ปัญหาและ
ตอบสนองความต้องการทางสังคมที่ต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างมนุษย์ เพ่ือยกระดับสถานะทางด้าน
สังคมและเศรษฐกิจให้แก่มนุษย์ รวมถึง Turner (1974) ได้นิยามสวัสดิการสังคมไว้ว่า เป็นการพยายาม
ส่งเสริมให้ประชาชนมีความเป็นอยู่พื้นฐานท่ีดีและมีความมั่นคงข้ึน โดยครอบคลุมการบริการแก่
ประชาชน ชมุ ชน หรือสงั คมในด้านการพัฒนาสังคม สร้างเสรมิ ให้ประชาชนมคี วามพร้อมรับมอื กบั ปัญหา
ทางร่างกาย จิตใจ เศรษฐกิจและสังคม เพื่อนำไปสู่ความรู้จักการพ่ึงพาตนเองได้ อีกท้ัง นงนุช ศรีสุข
(2555) ได้ใหน้ ิยามสวัสดิการชุมชนว่า เป็นหลักประกันความมั่นคงในชีวิตของสมาชิกชุมชนทเ่ี กิดจากการ
ร่วมกันสร้างสรรค์ของชุมชนหรือท้องถ่ิน เพ่ือทำให้เกิดความอยู่ดีมีสุขด้วยการฟื้นฟูชุมชนตนเองให้อยู่
120 | สมั มนาผลงานวิชาการระดบั บณั ฑิตศึกษาสงั คมสงเคราะห์ศาสตรแ์ ละสวัสดกิ ารสังคมระดับชาติ คร้งั ที่ 10 ประจำปกี ารศกึ ษา 2563
ร่วมกันด้วยการพึ่งพาอาศัยกันระหว่างมนุษย์ด้วยกัน มนุษย์กับธรรมชาติ หรือมนุษย์กับวัฒนธรรม ใช้
การบูรณาการตามหลักคำสอน หลักความเชื่อและภูมิปัญญาของแต่ละท้องถ่ิน กล่าวโดยสรปุ สวัสดิการ
จึงหมายถึงระบบที่แสวงหาและให้การบริการแก่สมาชิกชุมชนผ่านรูปแบบการดำเนินการที่เป็นกิจกรรม
ต่างๆ เพื่อตอบสนองและสร้างคุณภาพความเป็นอยู่ที่ดีให้เกิดขึ้นในชุมชน โดยผ่านการช่วยเหลือซึ่งกัน
และกัน ด้วยการจัดการภายในชุมชน และตั้งอยู่บนพ้ืนฐานความเท่าเทียม โดยท่ีสวัสดิการสังคมและ
สวัสดิการชุมชน มีข้อแตกต่างกันที่ลักษณะความสัมพันธ์ของผู้ให้บริการสวัสดิการและผู้รับสวัสดิการ
ที่ชุมชนจะมีความใกล้ชิด มีสัมพันธภาพ มิตรภาพ ความผูกพัน และการให้ความสำคัญของเงิน จาก
ความหมายของสวัสดิการชุมชนน้ัน สามารถกำหนดขอบเขตของสวัสดิการชุมชนสำหรับการศึกษาใน
คร้ังนี้ โดยยึดถือความสัมพันธ์ของการสวัสดิการกับด้านพ้ืนท่ีอยู่อาศัยของชุมชนเป็นหลัก เพ่ือศึกษา
การจัดการอนุรักษ์พ้ืนท่ีของชุมชนท่ีจะอาศัยหลักการสวัสดิการเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินการ
อนรุ กั ษข์ องชุมชน
ทั้งน้ีเป้าหมายของการจัดสวัสดิการนั้นได้มี ปิยาภรณ์ ขันเพชร (2551) อธิบายไว้ด้วยกัน 3
ประการดังนี้ 1) ชุมชนมีสวัสดิการและสวัสดิภาพแก่สมาชิกชุมชนตลอดชีวิต ให้ความดูแลช่วยเหลือ
ผู้ที่ต้องการได้อย่างครบถ้วน เพียงพอต่อความจำเป็น 2) ชุมชนสามารถฟื้นฟูรากฐานทางวัฒนธรรม
ด้ังเดิมและดำรงอยู่ในสภาพปัจจุบันได้ 3) ชุมชนมีความร่วมมือ สามัคคี ปรองดอง มีการช่วยเหลือซ่ึงกัน
และกัน และการจัดสวัสดิการชุมชนน้ันจะต้องใช้ทุนชุมชนที่สำคัญเป็นฐานการจัดสวัสดิการโดยสถาบัน
พัฒนาองค์กรชุมชน (2562) ระบุไว้อัน ได้แก่ 1) ทุนทรัพยากรธรรมชาติ 2) ทุนประเพณี 3) ทุนการ
รวมกลุ่มจากกงานพัฒนา 4)ทุนเงินตรา โดยองค์ประกอบของสวัสดิการชุมชนประกอบด้วยปัจจัย 7
ประการ (สถาบันองค์กรพัฒนาชุมชน, 2544) ดังน้ี 1) การศึกษา 2) สุขภาพอนามัย 3) ท่ีอยู่อาศัย
4) การทำงานและมรี ายได้ 5) ความม่ันคงทางสงั คม 6) การบริการสังคม และ 7) การนันทนาการ
หลกั คำสอนทางศาสนาอิสลาม
ศาสนาอิสลามมีการบัญญัติแนวทางปฏิบัติตามหลักคำสอนที่ครอบคลุมถึงวิถีชีวิตของผู้นับถือ
ตง้ั แต่เกดิ จนเสียชีวิต การดำเนินชวี ิตของผู้นับถอื ศาสนาจึงถือว่าเป็นไปตามแนวทางทศ่ี าสนาไดก้ ำหนดไว้
ไม่สามารถเลือกปฏิบัติหรือปฏิบัติตามหลักของศาสนาไม่ครบทุกประการได้ โดยหลักคำสอนของศาสนา
อิสลามประกอบด้วย 3 ประการ (มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์, 2559) ดังน้ี 1) หลักการศรัทธา หรือ
ความเชื่อในศาสนาทเี่ ชื่อว่าเป็นความจริงแท้ ต้องยึดถืออย่างม่ันคงแม้วา่ จะไม่สามารถพสิ ูจน์ไดด้ ้วยสัมผัส
ทั้ง 5 ของมนุษย์ก็ตาม 2) นับถือพระเจ้าองค์เดียวว่าสูงสุด โดยศาสนาอิสลามนับถือพระอัลลอฮ์เป็น
พระเจ้า 3) หลักการปฏิบัติ การกำหนดถึงสิ่งท่ีควรปฏิบัติและส่ิงท่ีควรละเว้น ซ่ึงมีปรากฏอยู่ในคัมภีร์
อัลกรุ อาน ที่แบง่ ออกเป็นสองประเภทคือ การกระทำท่ีอนญุ าต เรยี กวา่ ฮะลาล และการกระทำทต่ี ้องหา้ ม
เรียกว่าฮะรอม นอกจากนี้ยังมีหลักคำสอนด้านสามัคคีธรรม (กรมศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม, 2557)
อัน ได้แก่ 1) ส่งเสริมให้มีปฏิสัมพันธ์ในรูปแบบหมู่คณะ (ญะมาอะฮ์) เพื่อส่งเสริมให้เกิดความสามัคคี
การแบ่งปัน ความร่วมมือ ร่วมใจ และความรับผิดชอบร่วมกัน 2) ผู้นับถือศาสนาอิสลามจะใช้ชีวิตอยู่
สัมมนาผลงานวชิ าการระดบั บณั ฑิตศกึ ษาสังคมสงเคราะห์ศาสตรแ์ ละสวัสดิการสงั คมระดับชาติ ครั้งท่ี 10 ประจำปกี ารศึกษา 2563 | 121
ร่วมกันในสังคมโดยยึดถือความสามัคคีและการเสียสละเพื่อส่วนรวม รู้จักให้อภัยเพื่อลดความขัดแย้ง
ภายในสังคม 3) การเสริมสร้างความรัก ความสามัคคีเป็นภารกิจที่ทุกคนต้องช่วยกันทำให้สังคมมี
ความเป็นน้ำหน่ึงใจเดียวกัน และ4)ความรัก ความสามัคคี และความปรองดองจะเกิดในสังคมได้เม่ือมี
ความบริสุทธิ์ใจให้แก่กันและกัน และเล่ียงการกระทำที่เป็นสาเหตุให้เกิดความแตกแยกในสังคม ดังที่
กลา่ วมาศาสนาอสิ ลามจึงเปน็ เสมอื นชมุ ชนขนาดใหญช่ มุ ชนหน่ึง หลกั คำสอนตา่ งๆและหลกั การปฏบิ ัติตน
ของศาสนามีแนวทางไปสู่การอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุขภายในสังคม นอกจากนั้นยังมีแนวทางปฏิบัติท่ี
ม่งุ ชว่ ยเหลือผทู้ ี่นับถือศาสนาอิสลามดว้ ยกนั ซึง่ เปรียบเสมอื นสวัสดกิ ารรปู แบบหนงึ่ ทางศาสนาได้
วิถีชีวิตชาวมุสลิมสามารถจำแนกออกเป็น 2 ประการ (มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์, 2559)
ประการแรกได้แก่ความเชื่อความศรัทธาในเร่ืองพระเจ้า ศาสดา (หลักศรัทธา 6 ประการ) ประการที่สอง
ได้แก่ การปฏิบัติซึ่งได้แก่การปฏิบัติในด้านศาสนา การปฏิสัมพันธ์กับบุคคลท่ัวไป และในการใช้ชีวิต
ในโลก โดยการปฏิสัมพันธ์กับบุคคลทั่วไปของศาสนาอิสลามน้ันอยู่บนหลักการอันได้แก่ ความเท่าเทียม
กันเสมอภาค ความเห็นอกเห็นใจ ความปรารถนาในส่ิงท่ีดีท่ีสุดให้กับผู้อ่ืน ความเก้ือกูลกัน และ
การปกป้องกันและกันจากสิ่งที่ไม่ดีไม่งามท้ังด้านจิตใจและอันตรายต่างๆ ท้ังน้ียังมีหลักการซะกาต
(สำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำกรุงเทพมหานคร, 2559) ท่ีในทางสังคมน้ันมองว่าเป็น
การแก้ปัญหาสังคมท่ีถูกจุด เนื่องจากเป็นรูปแบบหน่ึงในการช่วยเหลือชาวมุสลิมผู้ที่ประสบปัญหา
ทางดา้ นเศรษฐกิจ เน่ืองจากการซะกาตเป็นการช่วยเหลือให้คนยากจนในสังคมชาวมุสลิมมีอำนาจการซื้อ
เพ่ิมข้ึน เพราะซะกาตถือเป็นการบริจาคทรัพย์สินจากคนรวยไปสู่คนจน และเม่ือคนเหล่านี้มีอำนาจซ้ือ
ก็จะส่งผลให้มีการผลิตเพื่อตอบสนองต่อความต้องการต่างๆ เกิดการจ้างงาน และมีการกระจายรายได้
ทางเศรษฐกิจตามมา ดังน้ันการจ่ายซะกาตนอกจากจะเป็นการแสดงออกถึงความศรัทธาแล้ว ยังเป็น
การแสดงความเคารพภักดตี ่อพระเจ้าผา่ นทางการชว่ ยเหลือในทางสงั คมอกี ด้วย
ทั้งน้ี จากแนวคิดและงานวิจัยท่ีเก่ียวข้องท่ีได้นำเสนอไปข้างต้น ทำให้ผู้ศึกษาสามารถนำมา
พัฒนาเป็นกรอบแนวคดิ ในการวจิ ยั ดงั แผนภาพด้านลา่ งนี้
ภาพที่ 1 กรอบแนวคิดในการวิจยั .
122 | สมั มนาผลงานวิชาการระดับบัณฑติ ศึกษาสงั คมสงเคราะห์ศาสตร์และสวสั ดกิ ารสังคมระดบั ชาติ ครงั้ ท่ี 10 ประจำปกี ารศึกษา 2563
วธิ กี ารและเครอื่ งมือในการศึกษา
การศกึ ษาเรื่องกลไกและกระบวนการสร้างความเข้มแข็งสสู่ วัสดกิ ารชุมชนเมืองกรณีศึกษาชุมชน
มัสยิดจักรพงษ์ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ที่เน้นการพรรณนาและการวิเคราะห์
ข้อมูล (Descriptive method) โดยเครื่องมือท่ีใช้จำแนกรายละเอยี ดไดด้ ังน้ี
1. การวิจัยเอกสาร (Documentary Research) โดยศึกษาค้นคว้าและรวบรวมเอกสารข้อมูล
ตา่ งๆ เช่น หนังสือ บทความวิชาการ บทความวิจัย วิทยานิพนธ์ท่ีเกี่ยวข้อง และฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
ท่ีเกย่ี วขอ้ ง และนำมาวเิ คราะห์เชื่อมโยงเขา้ กับหลักการ ทฤษฎี แนวคิดที่เกีย่ วขอ้ ง
2. การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview) โดยการเก็บและรวบรวมข้อมูลการศึกษา
ภาคสนามจากการสัมภาษณ์แบบเจาะลกึ กบั กลมุ่ เป้าหมายเพื่อนำมาใชใ้ นการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ
3. การสังเกต (Observation) ทั้งการสังเกตแบบมีส่วนร่วม (Participant Observation) และ
ไม่มีสว่ นรว่ ม (Non-Participant Observation) โดยเข้าไปมีส่วนร่วมในสถานการณ์จริง เช่น การร่วมฟัง
การประชุมย่อยสมาชิกชุมชน การร่วมเดินท่องเที่ยวชุมชนกับสมาชิกชุมชน และการสังเกตแบบไม่มี
ส่วนร่วม เช่น การสังเกตลักษณะชุมชน วิถีชีวิตของชุมชน การประกอบอาชีพ และการประกอบกิจกรรม
ทางศาสนาของชุมชน เป็นต้น
ขอบเขตดา้ นพื้นที่ในการศึกษา
หลักเกณฑ์การเลือกพ้ืนท่ีในการศึกษาครั้งนี้ ได้เลือกพื้นที่ชุมชนมัสยิดจักรพงษ์ เขตพระนคร
เนื่องจากเป็นชุมชนเมืองที่มีความโดดเด่นในด้านวัฒนธรรม ศาสนาและวิถีชีวิต อีกทั้งเป็นชุมชนเมือง
หลวงที่ล้อมรอบไปด้วยพ้ืนทีท่ างเศรษฐกจิ และแหล่งท่องเท่ียวของกรุงเทพมหานคร ซ่งึ ความโดดเด่นและ
น่าสนใจของพ้ืนที่มีดังน้ี 1) ชุมชนเมืองหลวงท่ีเข้มแข็ง โดยมีผู้นำชุมชนท้ังทางการและไม่เป็นทางการ
ชุมชนมีการปรบั ตัวตามสถานการณแ์ ละรบั มอื กบั สภาพแวดล้อมทม่ี ีลักษณะเปน็ ทนุ นยิ ม 2) ชมุ ชนศาสนา
อสิ ลามท่ีมีอายุกว่า 234 ปี มีบันทึกทางประวัติศาสตร์ที่ระบุถงึ การเป็นชุมชนมุสลิมแห่งแรกของเขตพระ
นคร และมีอาคารมัสยิดท่ีเป็นสถาปัตยกรรมอิหร่านเป็นศูนย์กลางของชุมชน 3) ชุมชนเมืองหลวงที่
สามารถสร้างให้เกิดสวัสดิการชุมชนเมืองขึ้นมาได้สำเร็จด้วยการยึด หลักคำสอนและหลักปฏิบัติของ
ศาสนาอิสลาม
ขอบเขตด้านเนอ้ื หาและประเด็นในการศกึ ษา
1. วิเคราะห์กลไกและกระบวนการในการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนเมืองหลวง ชุมชนมัสยิด
จกั รพงษ์
2. วเิ คราะหร์ ปู แบบสวัสดิการชุมชนเมืองของชมุ ชนมัสยดิ จักรพงษ์
ขอบเขตด้านผใู้ ห้ข้อมลู หลกั
การศึกษาครั้งนี้ จะทำการศึกษาและเก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูล 2 กลุ่ม ท่ีมีความเก่ียวข้องกับ
ประเด็นท่ีศึกษาโดยประกอบด้วยกลุ่มผู้นำชุมชนท้ังผู้นำทางการและผู้นำไม่เป็นทางการ จำนวน 4 คน
สมั มนาผลงานวชิ าการระดับบัณฑิตศกึ ษาสงั คมสงเคราะหศ์ าสตรแ์ ละสวัสดิการสงั คมระดับชาติ ครั้งท่ี 10 ประจำปีการศกึ ษา 2563 | 123
ได้แก่ ประธานชุมชน รองประธานชุมชน ผู้นำทางศาสนา ปราชญ์ชุมชน และกลุ่มผู้มีส่วนเก่ียวข้องกับ
กระบวนการสรา้ งความเข้มแขง็ ในชมุ ชน จำนวน 4 คน ไดแ้ ก่ อาสาสมคั รชุมชน และสมาชิกชุมชน
ผลการศึกษา
กลไกและกระบวนการสรา้ งความเขม้ เข็งของชุมชนมสั ยิดจักรพงษ์
1. กลไกการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนมัสยิดจักรพงษ์ จากการศึกษาพบว่าชุมชนแห่งน้ีมี
กลไกสำคัญในการสร้างความเขม้ แข็งใหแ้ ก่ชมุ ชนประกอบดว้ ย 4 กลไก ดังนี้
1.1 ผู้นำชุมชน ชมุ ชนมสั ยดิ จกั รพงษ์นนั้ มกี ารบริหารจัดการชุมชนโดยตวั แทนของชมุ ชนที่มา
จากการคัดเลือกบุคคลภายในสมาชิกชุมชน และทำการแบ่งหน้าที่เพื่อบริหารจัดการด้านต่างๆ
ประกอบด้วยสมาชิกชุมชนผู้นับถือศาสนาอิสลามและผู้นับถือศาสนาพุทธทำงานร่วมกันเป็น
คณะกรรมการชุมชน นอกจากนี้ผู้นำทางศาสนา (โต๊ะอิหม่าม) ที่ชุมชนถือว่าเป็นผู้ที่มีความรู้
ความสามารถในทางศาสนา จะมีบทบาทในการช่วยแก้ไขปัญหาร่วมกบั ชมุ ชนเสมอ ต้ังแต่ปัญหาในระดับ
ชมุ ชนไปจนถึงระดับครอบครวั สมาชกิ ของชมุ ชน
ชุมชนมัสยิดจักรพงษ์นั้นได้มีการแต่งต้ังสมาชิกชุมชนท่ีได้รับการเคารพนับถื อจากชุมชน
และเป็นผู้มีความรู้ความสามารถมาเป็นคณะท่ีปรึกษาอาวุโสของชุมชนและมัสยิดจักรพงษ์ เพ่ือทำหน้าท่ี
ใหค้ ำปรกึ ษาดา้ นตา่ งๆ แกค่ ณะกรรมการและสมาชกิ ชมุ ชนในการดำเนินกิจกรรมชุมชน
1.2 ภูมปิ ญั ญาและความร้ชู ุมชน สมาชิกชุมชนมัสยิดจักรพงษ์น้นั สืบเชื้อสายมาจากแขกมลายู
หรือแขกตานี ส่งผลให้ชาวชุมชนนั้นมีความรู้ในด้านงานฝีมือและการทำอาหาร ท่ีเป็นส่ิงสืบทอดต่อมา
จากรุ่นสู่รุ่นตั้งแต่ครั้งอดีต โดยชุมชนแห่งน้ีถือเป็นชุมชนช่างทำทองท่ีสำคัญแห่งหน่ึงของเขตพระนคร
ทั้งยงั มีทักษะและความรใู้ นการทำอาหารมลายูทไ่ี ดร้ ับการสบื ทอดภายในชมุ ชน สมาชกิ ชุมชนได้นำทกั ษะ
ความรู้ในการทำอาหารท้องถิ่นนี้มาใช้เพ่ือการประกอบอาชีพ สร้างรายได้แก่ชุมชน และนำมาซึ่งช่ือเสียง
ของชุมชน
1.3 วัฒนธรรมชุมชน ชุมชนมัสยิดจักรพงษ์มีวัฒนธรรมชุมชนที่ได้รับอิทธิพลมาจากศาสนา
อิสลามเป็นหลัก เนื่องจากเป็นชุมชนเก่าแก่ที่มีบรรพบุรุษมาจากมลายู ทำให้วัฒนธรรมต่างๆ ภายใน
ชุมชนมีความเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมและประเพณีทางศาสนาอิสลาม โดยวัฒนธรรมท่ีมีความโดดเด่น
ภายในชุมชน มีดังนี้
วัฒนธรรมการทักทาย สามารถจำแนกเป็น 2 รูปแบบ คือ 1) การกล่าวทกั ทายของชาวมุสลิม
ในชุมชน โดยนัยของการกล่าวนั้น คือ การทักทายและการอวยพรแก่อีกฝ่าย นอกจากนี้ยังเป็น
การแสดงออกถงึ ความเป็นพวกพ้องเดยี วกันทีม่ ีส่วนส่งเสริมให้ชาวมุสลิมเป็นหนง่ึ เดียวกันอกี ประการหน่ึง
2) การกล่าวทักทายท่ัวไปของสมาชิกชุมชน เม่ือสมาชิกชุมชนพบปะกันในเวลาใดก็ตาม จะมีการกล่าว
ทกั ทาย การไหวส้ มาชิกชมุ ชนท่ีสงู วัยกว่าตน และมีการสนทนากันเปน็ เวลาระยะสน้ั ๆ ก่อนแยกยา้ ยไปทำ
ภารกิจของตนเองเสมอ
124 | สัมมนาผลงานวชิ าการระดบั บัณฑิตศึกษาสงั คมสงเคราะห์ศาสตร์และสวัสดกิ ารสังคมระดับชาติ ครั้งท่ี 10 ประจำปกี ารศกึ ษา 2563
วัฒนธรรมการละเล่นพ้ืนบ้าน ชุมชนได้รับการสืบทอดการละเล่นพ้ืนบ้านมาจากบรรพบุรุษ
ชาวมลายู โดยการละเล่นในชุมชน ได้แก่ รองแง็ง และฮูลู แต่ในปัจจุบันเร่ิมสูญหายไปจาก
ความเปล่ียนแปลงของรปู แบบการดำเนินชีวิตและจำนวนประชากรทลี่ ดลง
1.4 เครือข่ายของชุมชน ชุมชนมัสยิดจักรพงษ์มีการดำเนินกิจกรรมของชุมชน ทั้งในด้าน
การพัฒนา การอนุรักษ์ การปรับปรุงต่างๆภายในชุมชน โดยสามารถจำแนกเครือข่าย (Networks)
ออกเป็น 2 เครอื ขา่ ยดังน้ี
1) เครือข่ายภายในชุมชน (Inside Networks) มีการทำงานร่วมโดยแบ่งออกเป็น 3 ส่วน
ได้แก่ (1) ส่วนชุมชน ประกอบด้วยคณะกรรมการชุมชน และกรรมการชุดต่างๆ ของชุมชน (2) ส่วน
มัสยิด ประกอบด้วย อิหม่ามและคณะกรรมการมัสยิด และ (3) ส่วนสถาบันการศึกษา ประกอบด้วย
โรงเรยี นสอนศาสนาภายในชุมชนและโรงเรยี นบริเวณใกล้เคยี งชุมชน
2) เครือข่ายความสัมพันธ์ภายนอกชุมชน (Outside Networks) แบ่งออกเป็น 3 ภาคส่วน
ดังนี้ (1) ภาครัฐ โดยหน่วยงานรัฐท่ีมีส่วนในการสนับสนุนชุมชนมัสยิดจักรพงษ์ที่ชัดเจน ประกอบด้วย
สำนักงานเขตพระนคร ศูนย์บริการสาธารณสุขหน่วย 9 สถานีตำรวจนครบาลชนะสงคราม ห้างสรรพสินค้า
ตั้งฮ่ัวเส็ง ผู้ค้ารายย่อย และผู้ประกอบการในพ้ืนที่ใกล้เคียง มูลนิธิเล็ก -ประไพ วิริยะพันธุ์ และ
พิพิธบางลำพู (2) สถาบันการศึกษา โรงเรียนในเขตพระนคร และระดับมหาวิทยาลัย เช่น โรงเรียน
วัดสังเวช โรงเรยี นสตรวี ทิ ยา มหาวิทยาลัยศลิ ปากร
2. กระบวนการสร้างความเข้มแข็งของชุมชน จากการศึกษาพบว่า ชุมชนมัสยิดจักรพงษ์นั้น
มกี ระบวนการสร้างความเขม้ แข็งของชมุ ชน ได้แก่ กระบวนการมีส่วนร่วม โดยสามารถจำแนกออกเปน็ 2
แนวทางไดด้ ังนี้ 1) กระบวนการมีส่วนรว่ มจากกลมุ่ ผนู้ ำชุมชน เปน็ กระบวนการที่เกดิ ข้ึนจากความร่วมมือ
ของคณะกรรมการชุมชน คณะกรรมการมสั ยิดจักรพงษ์ และผอู้ าวุโสของชมุ ชน ที่ร่วมมือกันเพื่อวางแนว
ทางการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ให้แก่ชุมชน ผ่านวิธีการคือ การประชุมชุมชน การเย่ียมบ้านสมาชิกชุมชน
และการประชาสัมพันธ์ภายในชุมชน 2) กระบวนการมสี ่วนร่วมจากสมาชิกชมุ ชน สมาชกิ ทุกคนจะเข้าไป
มีส่วนร่วมในข้ันตอนของการดำเนินกิจกรรม เช่น การเตรียมจัดสถานท่ี การเตรียมอาหาร การติดต่อ
ประสานงานภายนอก การเข้าร่วมกิจกรรม โดยหน้าที่ต่างๆ ของสมาชิกชุมชนน้ันแบ่งแยกไปตาม
ความถนดั เฉพาะและจับกลมุ่ กนั ไปดำเนินการ
รปู แบบสวสั ดกิ ารชุมชนเมืองทเี่ กดิ ข้ึนจากความเข้มแข็งของชุมชนมัสยิดจกั รพงษ์
รปู แบบสวัสดิการชุมชนเมืองของมัสยดิ จกั รพงษ์จากการศึกษาพบวา่ สามารถจำแนกเป็น 4
รูปแบบดังนี้
1. สวัสดิการชุมชนเมืองด้านความปลอดภัย ชุมชนมัสยิดจักรพงษ์ได้คำนึงถึงการดำเนิน
ชีวิตที่ปลอดภัยภายในชุมชน ทั้งด้านอาชญากรรม ทรัพย์สิน และอบายมุข ทั้งด้วยสภาพแวดล้อมภายใน
ชุมชนและพ้ืนที่ใกล้เคียง ชุมชนจึงมีรูปแบบสวัสดิการชุมชนด้านความปลอดภัยที่เป็นผลมาจาก
ความร่วมมือระหว่างชุมชนและมัสยิด โดย 1) ติดตั้งกล้องวงจรปิดในชุมชน 2) จัดอาสาสมัครชุมชนและ
สมั มนาผลงานวชิ าการระดบั บณั ฑิตศึกษาสังคมสงเคราะหศ์ าสตร์และสวสั ดกิ ารสังคมระดบั ชาติ คร้ังท่ี 10 ประจำปีการศึกษา 2563 | 125
ตำรวจบ้าน 3) จัดการตรวจตราชุมชนโดนคณะกรรมการชุมชน 4)ให้การดูแลความปลอดภัยโดยสมาชิก
ชมุ ชนดว้ ยกนั และ 5) จัดกิจกรรมให้ความรู้เกย่ี วกับยาเสพติดแก่เด็กและเยาวชนในชมุ ชน
2. สวัสดิการชุมชนเมืองด้านสิ่งแวดล้อม ความตระหนักถึงความสะอาดภายในบริเวณ
ชุมชน ทำให้ชุมชนมีแนวทางการดำเนินงานเพ่ือรักษาความสะอาดของชุมชนอย่างต่อเน่ือง ท้ังเป็น
การจัดการด้วยชุมชนเอง และขอความร่วมมือจากหน่วยงานภายนอกชุมชน โดยแนวทางของชุมชน
ได้แก่ 1) การจัดการขยะภายในชมุ ชน 2) การจัดการปัญหาสตั วจ์ รจัดภายในชมุ ชน
3. สวัสดิการชุมชนเมืองด้านการศึกษา ชุมชนมัสยิดจักรพงษ์ มีการให้ความสำคัญกับ
การศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยมัสยิดจักรพงษ์ได้มีการจัดตั้งโรงเรียนสอนศาสนาชื่อ โรงเรียนอนุกุลอิสลาม
เพื่อทำการเรียนการสอนแก่ชาวมุสลิม ท้ังในด้านคำสอนของศาสนาอิสลาม แนวทางปฏิบัติทางศาสนา
การอ่านคัมภีร์อัลกุรอาน รวมไปถึงการปลูกฝังคุณธรรมและหลักการใช้ชีวิตร่วมกันภายในชุมชนและ
ภายในสังคมแก่เด็กและเยาวชน มีการจัดการเรียนการสอนในช่วงเวลาหลังเลิกเรียนจากโรงเรียนสามัญ
และจัดกิจกรรมเข้าคา่ ยคุณธรรมในวาระต่างๆ เพอ่ื ปลูกฝังคุณธรรมจรยิ ธรรมใหแ้ ก่เด็กและเยาวชน
4. สวัสดิการชุมชนเมืองด้านการเงิน ชุมชนแห่งนี้มีมัสยิดเป็นส่วนสำคัญในการสนับสนุน
และช่วยเหลือในการบริหารจัดการชุมชน โดยมีการสนับสนุนด้านงบประมาณโครงการต่างๆ และ
กจิ กรรมชมุ ชน รวมถงึ สถาบันสอนศาสนาภายในชุมชน ที่ไปสง่ เสรมิ และพัฒนาให้เกดิ สวสั ดิการดา้ นอื่นๆ
ในชุมชนขึ้น โดยมาจากรายได้ประจำของมัสยิด การระดมทุนในชุใชนโดยสมาชิกชุมชน และการซะกาต
ที่เปน็ หลกั ปฏิบตั ใิ นศาสนาอสิ ลาม
อภิปรายผลการศกึ ษา
ผลการศึกษาท่ีปรากฎนำมาสู่การสังเคราะห์ถึงกลไกและกระบวนการสร้างความเข้มแข็งของ
ชมุ ชนสู่การพัฒนาคุณภาพชวี ิตคนเมือง และรูปแบบสวัสดิการชุมชนเมืองท่ีเหมาะสมกับพลวัตของสังคม
เมอื ง ดงั น้ี
1. กลไกการสร้างความเข้มแขง็ ของชุมชนสูก่ ารพฒั นาคุณภาพชวี ติ คนเมอื ง
กลไกการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตคนเมืองน้ัน พบว่ากลไกของ
ชุมชนท่ีสามารถสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนเมืองได้มากที่สุดท่ีพบในการศึกษาคร้ังน้ี คือ กลไกของ
ชุมชนอัน ได้แก่ 1) ผู้นำชุมชน 2) ภูมิปัญญาและความรู้ชุมชน 3) วัฒนธรรมชุมชน และ 4) เครือข่าย
ชมุ ชน โดยกลไกการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนมัสยิดจักรพงษ์นั้น เกิดจากการใช้สิ่งท่ีมีอยู่ในชุมชนมา
เพ่ือดำเนินงานของชุมชนให้เกิดเป็นกลไกท่ีมีประสิทธิภาพและนำไปสูก่ ารสร้างความเขม้ แข็งให้แก่ชุมชน
ผ่านกลไกที่สำคัญอันได้แก่ผู้นำชุมชน ท่ีเป็นผู้มีความสามารถ มีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และดำเนินงาน
ของชุมชนโดยคำนึงถึงฐานวัฒนธรรม ศาสนาความเชอื่ และคุณค่าด้ังเดิมของชมุ ชน โดยการพัฒนาต่างๆ
ของชุมชนมัสยิดจักรพงษ์นั้น มปี ัจจัยพื้นฐานที่สำคัญซึ่งมาจากส่งิ ท่ีมีอย่ภู ายในชุมชนคือทุนชุมชนในด้าน
ต่างๆ ท่ีถูกนำมาใช้สนับสนนุ ชุมชนใหย้ ังคงมีรูปแบบชุมชนด้ังเดิมท่มี ีความเข้มแข็ง กลไกท่เี กิดจากบุคคล
ความเชื่อ วัฒนธรรม และความสัมพันธ์ของสมาชิกชุมชน ถือเป็นการใช้ทุนชุมชนหรือสิ่งท่ีมีอยู่ภายใน
126 | สัมมนาผลงานวชิ าการระดบั บัณฑิตศึกษาสังคมสงเคราะห์ศาสตรแ์ ละสวัสดิการสังคมระดบั ชาติ ครง้ั ที่ 10 ประจำปกี ารศึกษา 2563
ชมุ ชนที่หลากหลายดา้ นมาเปน็ สิ่งต้งั ต้นเพ่ือก่อให้เกิดการขบั เคล่ือนกระบวนการสร้างความเข้มแข็ง ดังท่ี
โกวิทย์ พวงงาม (2553) ได้กล่าวว่า ทุมชุมชนเป็นต้นทุนหลักในการพัฒนาและเป็นทุนสำคัญต่อ
การจัดการตนเองของชุมชนมากที่สุดเป็นสิ่งที่มีอยู่ในชุมชน และ เสรี พงศ์พิศ (2548, อ้างถึงใน โกวิทย์
พวงงาม, 2553, น. 396-397) ที่กล่าวว่า การจัดการทุนชุมชนจะนำไปสู่การจัดการชุมชนท้ังหมด โดย
จะต้องคำนึงถึงทุนชุมชน ทั้งทุนความรู้ ภูมิปัญญา ทุนทางสังคมที่เป็นจารีต ประเพณี ทำให้คนในชุมชน
สามารถอยู่ร่วมกันเป็นพี่น้องได้ เพื่อให้ชุมชนสามารถดำเนินกิจกรรมการพัฒนาตนเองไปได้อย่างเช่ือมั่น
และมีความภาคภูมิใจในชุมชน เช่นเดียวกับ Christian Grootaert and Thierry Van Bastelaer
(2002) ที่กล่าวถึงทุนไว้ว่าเป็นรูปแบบที่สนับสนุนการพัฒนาทางด้านสังคมและเศรษฐกิจ โดยแบ่งเป็น
เชิงโครงสร้างที่สามารถเห็นเป็นรูปธรรมได้ เกิดจากการส่ังการหรือสร้างข้ึนโดยรัฐ และเชิงความรู้ที่มี
ลักษณะเป็นนามธรรมในสังคม อีกทั้งทุนชุมชนท่ีเป็นทุนทางสังคมน้ันยังเป็นส่ิงท่ีช่วยเสริมสร้างให้เกิด
ความเข้มแข็งขน้ึ ภายในชมุ ชนตามที่ วรวุฒิ โรมรนั ตพนั ธ์ (2548) ได้กล่าวถึงปัจจัยการสรา้ งความเข้มแข็ง
ทเี่ กิดจากทุนทางสังคมท่ีประกอบไปด้วย 1) ระบบคุณค่า อุดมการณ์ และความเชอ่ื เพื่อให้มองวา่ ตนเป็น
ส่วนหน่ึงของสิ่งสำคัญในพ้ืนที่ 2) ภูมิปัญญาท้องถ่ินและกระบวนการเรียนรู้ที่ชุมชนสร้างหรือส่ังสมเพ่ือ
การดำรงชีวิตภายในชุมชน เช่น ภูมิปัญญา ศิลปะ แพทย์พื้นบ้านและประสบการณ์ต่างๆ ของชุมชน
3) ผู้นำทางปัญญาของชุมชนหรือปราชญ์ชาวบ้านท่ีมีบทบาทในการสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
4) โครงสร้างความสัมพันธ์ทางสังคมแนวราบ 5) ระบบกรรมสิทธิ์และการจัดการร่วมกันของชุมชน
6) สถาบันชุมชน เช่น จารีต ธรรมเนียม ประเพณี และจิตสำนึกร่วม 7) ความหลากหลายทางวัฒนธรรม
และ8)กลุ่ม องค์กร และเครือข่ายด้านกิจกรรมสาธารณะในภาคประชาชน ดังน้ันความเข้มแข็งของชมุ ชน
มัสยิดจักรพงษ์จึงเกิดจากการนำทุนท่ีมีอยู่ภายในชุมชนมาเป็นกลไกเพอ่ื ขบั เคลอ่ื นการสรา้ งความเข้มแข็ง
ให้เกิดข้ึนภายในชมุ ชน
2. กระบวนการสรา้ งความเข้มแขง็ ของชุมชนสู่การพัฒนาคุณภาพชวี ิตคนเมอื ง
จากผลการศึกษา สามารถบ่งชี้ว่า กระบวนการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนมัสยิดจักรพงษ์
ได้แก่ กระบวนการมีส่วนร่วม โดยจำแนกออกเป็น 2 รูปแบบ คือ 1) กระบวนการมีส่วนร่วมที่เกิดจาก
ผนู้ ำชุมชน มีการรว่ มมอื วางแนวทางการดำเนินกิจกรรมแก่ชมุ ชน ผ่านการร่วมประชมุ การนำปัญหาของ
ชุมชนมาร่วมกันหาแนวทางแก้ไข ระดมความคิดและประสบการณข์ องแต่ละบุคคล และ 2) กระบวนการ
มีส่วนร่วมจากสมาชิกชุมชน ที่เกิดจากทุนเดิมของสมาชิกชุมชนในด้านความผูกพันธ์กันในลักษณะของ
เครือญาติพ่ีน้อง ส่งผลให้การดำเนินกิจกรรมต่างๆ ภายในชุมชนได้รับความร่วมมือจากสมาชิกชุมชน
ทั้งกิจกรรรมวันสำคัญและกิจกรรมสำคัญทางศาสนาอย่างไม่แบ่งแยก ซ่ึงสอดคล้องกับ Fran Baum
(2008) ท่ีกล่าวถึงการสร้างพลังความเข้มแข็งของชุมชนว่า เป็นผลลัพธ์ของการมีส่วนร่วมของชุมชน
ท่ีเป็นการแสดงถึงความเป็นเจ้าของชุมชน การมีเป้าหมายขับเคลื่อนหรือเปล่ียนแปลงชุมชนท่ีชัดเจน
รวมถึงมูลนิธิพัฒนาอีสาน (2553) ที่กล่าวว่า ชุมชนเข้มแข็งเป็นผลท่ีเกิดจากการมีผู้นำท่ีมีความสามารถ
การเรียนรู้ของชุมชนท่ีมีความต่อเน่ืองบนฐานของวัฒนธรรม ความเชื่อ คุณค่าดั้งเดิม ศาสนา และ
เศรษฐกิจ การมีส่วนร่วมของชุมชนน้ันยังมีความสอดคล้องกับหลักของศาสนาอิสลามซ่ึงถือเป็นศาสนา
สมั มนาผลงานวชิ าการระดบั บัณฑิตศกึ ษาสังคมสงเคราะหศ์ าสตรแ์ ละสวสั ดิการสงั คมระดบั ชาติ ครั้งท่ี 10 ประจำปีการศกึ ษา 2563 | 127
ของชมุ ชนแห่งนี้ ดงั ทกี่ รมศาสนา กระทรวงวฒั นธรรม (2557) ไดก้ ลา่ งถึงหลักคำสอนด้านสามคั คีธรรมใน
ศาสนาอิสลาม ได้แก่ 1) ส่งเสริมให้มีปฏิสัมพันธ์ในรูปแบบหมู่คณะเพ่ือส่งเสริมให้เกิดความสามัคคี
ความร่วมมือ และความรับผิดชอบร่วมกัน 2) ผู้นับถือศาสนาอิสลามจะอยู่ร่วมกันในสังคมโดยยึดถือ
ความสามัคคแี ละการเสียสละเพอื่ ส่วนรวม รจู้ ักใหอ้ ภัยเพ่ือลดความขัดแย้งภายในสังคม 3) การเสริมสร้าง
ความรัก ความสามัคคีเป็นภารกิจที่ทุกคนต้องช่วยกันทำให้สังคมมีความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน และ
4) มีความบริสุทธ์ิใจให้แก่กันและกัน และเล่ียงการกระทำที่เป็นสาเหตุให้เกิดความแตกแยกในสังคม
ซง่ึ สอดคล้องกับรูปแบบการมีส่วนร่วมท่ีเป็นกระบวนการทเี่ กดิ ข้ึนภายในชุมชนมัสยิดจกั รพงษ์ และสง่ ผล
ให้เกดิ การสรา้ งความเขม้ แข็งของชุมชนจนนำไปสคู่ วามสำเรจ็ ของชมุ ชน
3. รูปแบบสวัสดกิ ารชมุ ชนเมอื งท่ีเหมาะสมกับพลวตั ของสงั คมเมือง
จากการศึกษาสามารถบ่งชี้ว่า รูปแบบสวัสดิการชุมชนที่เหมาะสมกับพลวัตของสังคมเมือง
ของชุมชนมัสยิดจักรพงษ์ มีรูปแบบสวัสดิการชุมชนเมืองท่ีเกิดขึ้นจากความต้องการของสมาชิกชุมชน
อีกท้ังยังมีการปรับเปล่ียนแนวทางของสวัสดิการบางประการเพ่ือให้สอดคล้องกับความเป็นพลวัตขอ ง
สังคมเมืองท่ีเปลี่ยนแปลงอยู่อย่างต่อเนื่อง โดยมี 4 รูปแบบ คือ 1) สวัสดิการชุมชนเมืองด้าน
ความปลอดภัย 2) สวัสดิการชุมชนเมืองด้านสิ่งแวดล้อม 3) สวัสดิการชุมชนเมืองด้านการศึกษา และ
4) สวัสดิการชุมชนเมืองด้านการเงิน ซึ่งสอดคล้องกับ Friedlander (1968) ท่ีกล่าวว่า สวัสดิการชุมชน
เป็นกิจกรรมด้านความช่วยเหลือในการแก้ปัญหาและตอบสนองความต้องการทางสังคมซึ่งต้องอาศัย
ความร่วมมือระหว่างมนุษย์ รวมถึง Turner (1974) ท่ีกล่าวถึงสวัสดิการว่า เป็นการพยายามส่งเสริม
ความเป็นอยู่พื้นฐานที่ดีและมีความมั่นคงขึ้นเพื่อนำไปสคู่ วามรจู้ ักการพ่ึงพาตนเองได้ ทั้งยังสอดคล้องกับ
เป้าหมายของการจัดสวัสดิการที่ ปิยาภรณ์ ขันเพชร (2551) ได้อธิบายว่ามีด้วยกัน 3 ประการ คือ
1)ชุมชนมีสวัสดิการและสวัสดิภาพแก่สมาชิกชมุ ชนตลอดชีวิต ใหค้ วามดแู ลชว่ ยเหลือผ้ทู ี่ต้องการได้อย่าง
ครบถ้วน เพียงพอต่อความจำเป็น 2) ชุมชนสามารถฟ้ืนฟูรากฐานทางวัฒนธรรมดั้งเดิมและดำรงอยู่ใน
สภาพปจั จุบันได้ 3) ชุมชนมีความร่วมมือ สามัคคี ปรองดอง มีการชว่ ยเหลือซึ่งกนั และกัน ดังนั้นรูปแบบ
สวัสดิการชุมชนเมืองท่ีมีอยู่ในชุมชนมัสยิดจักรพงษ์น้ัน จึงแสดงให้เห็นว่าเป็นรูปแบบสวัสดิการที่
ตอบสนองความต้องการของสมาชิกของชมุ ชนได้อยา่ งท่ัวถึง
บทสรุป
กลไกและกระบวนการสร้างความเข้มแข็งสู่สวัสดิการชุมชนเมืองภายใต้ฐานศาสนาอิสลาม
กรณีศึกษา ชุมชนมัสยิดจักรพงษ์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เป็นสวัสดิการชุมชนเมืองที่เกดิ ข้นึ จาก
กลไกภายในชุมชน ท้ังด้านทุนพ้ืนฐาน ทุนวัฒนธรรม ทุนความรู้ ทุนมนุษย์ ทุนทางสังคม ร่วมกับภาคี
เครือข่ายต่างๆ ของชุมชน การขับเคลื่อนแนวทางโดยกลุ่มผู้นำภายในชุมชน และมีกระบวนการ
สำคัญของชุมชน ทั้งการประชุม การตรวจตราดูแลสมาชิก การประชาสัมพันธ์ภายในชุมชน โดยมี
การควบคุมดูแลโดยผู้นำและสมาชิกชุมชน ทำให้ชุมชนมีความสามารถในการจัดการตนเอง มีการรักษา
ความเป็นชุมชนรว่ มกนั ได้ อกี ทง้ั ชมุ ชนมสั ยิดจกั รพงษ์มกี ารสบื ทอดวฒั นธรรม ความเช่อื ภูมปิ ัญญาชุมชน
128 | สมั มนาผลงานวชิ าการระดบั บณั ฑิตศึกษาสงั คมสงเคราะห์ศาสตร์และสวัสดกิ ารสังคมระดบั ชาติ ครงั้ ท่ี 10 ประจำปีการศกึ ษา 2563
และความสัมพันธ์แบบเครือญาติภายในชุมชนมาถึงปัจจุบัน ร่วมกับการมีแนวทางพัฒนาชุมชน
โดยตัวแทนสมาชิกชุมชนที่คำนึงถึงความสำคัญของการคงอยู่ของชุมชนเข้ามาบริหารจัดการชุมชน มีการ
วางรากฐานเพื่อปลูกฝังจิตสำนึกให้แก่สมาชิกชุมชน ผ่านกิจกรรมต่างๆ ของชุมชน การสอดแทรกความรู้
และแนวคิดการอยู่ร่วมกันอย่างเป็นพ่ีน้องภายในชุมชนในกิจกรรมท้ังทางศาสนาและกิจกรรมของชุม ชน
การร่วมกันแก้ไขปัญหาต่างๆ ด้วยสมาชิกชุมชนและภาคีเครือข่ายภายนอก ที่ทำให้ชุมชนเกิดการหลอม
รวมเปน็ ชุมชนท่ีมีความเข้มแข็ง ซึ่งสอดคล้องกับ มูลนธิ ิพัฒนาอีสาน (2553, น. 21) ที่กล่าวว่า ชุมชนที่มี
ขีดความสามารถในการจัดการปัญหาของตนเอง ด้วยผู้นำที่มีความสามารถ มีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
บนฐานวัฒนธรรม ความเชื่อ คุณค่าดั้งเดิม ศาสนาและเศรษฐกิจ โดยการพัฒนาต่างๆ ของชุมชนมัสยิด
จักรพงษ์นั้นมีปัจจัยพื้นฐานท่ีสำคัญซ่ึงมาจากส่ิงที่มีอยู่ภายในชุมชนอันได้แก่ ทุนชุมชนในด้านต่างๆ ที่ถูก
นำมาใช้สนับสนุนชุมชนให้ยังคงมีรูปแบบชุมชนดั้งเดิมที่มีความเข้มแข็ง ซึ่งสอดคล้องกับ เสรี พงศ์พิศ
(2548, อ้างถึงใน โกวิทย์ พวงงาม, 2553, น. 396-397) ที่กล่าวว่า การจัดการทุนชุมชนจะนำไปสู่
การจัดการชุมชนทั้งหมด โดยจะต้องคำนึงถึงทุนชุมชน ท้ังทุนความรู้ ภูมิปัญญา ทุนทางสังคมที่เป็น
จารีตประเพณี ทำให้คนในชุมชนสามารถอยู่ร่วมกันเป็นพ่ีน้องได้ เพ่ือให้ชุมชนสามารถดำเนินกิจกรรม
การพฒั นาตนเองไปไดอ้ ย่างเช่ือมน่ั และมคี วามภาคภมู ิใจในชมุ ชน
ขอ้ เสนอแนะ
1. ขอ้ เสนอแนะจากผลการศึกษา
1) การส่งเสริมสวัสดิการของชุมชนมัสยิดจักรพงษ์ให้ในส่วนของสวัสดิการการเงินเน่ืองจาก
รูปแบบสวัสดิการด้านการเงินแต่เดิมของชุมชนน้ันเป็นรูปแบบท่ีสัมพันธ์กับหลักคำสอนทางศาสนา
อิสลาม เพื่อให้เกิดรูปแบบสวัสดิการด้านการเงินที่มีแบบแผนอย่างเป็นระบบ เช่น การออมทรัพย์
กองทุนหมู่บ้าน โดยคำนึงถึงหลักปฏิบัติทางศาสนาทั้งศาสนาอิสลามและศาสนาพุทธที่สมาชิกชุมชน
นับถือ เพื่อให้เกิดความเป็นไปได้ของงานสวัสดิการด้านการเงินภายในชุมชน โดยอาจประสานงานกับ
สถาบันทางการเงินภายนอกเพ่ือให้ความรู้ คำแนะนำ หรือร่วมสร้างแนวทางสวัสดิการการเงินแก่ชุมชน
ผ่านการจัดเวทรี ่วมประชุมหรอื แลกเปลย่ี นความคิดเหน็ กบั ชมุ ชน
2) การส่งเสริมด้านกิจกรรมที่ส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมในชุมชน เพื่อคงระดับ
ความสัมพันธ์ของผู้อาศัยอยู่ร่วมกันในชุมชน โดยการนำเข้าของการดำเนินกจิ กรรมจากหน่วยงานภาครัฐ
หรือมีภาคเอกชนภายนอกที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชนเข้ามาสนับสนุน เพื่อให้สมาชิกชุมชนเกิดปฏิสัมพันธ์
และเกิดการมีส่วนร่วมของคนภายในชุมชน และลดช่องว่างระหว่างวัยของสมาชิกชุมชนและวิถีชีวิต
การทำงานของสมาชิกชุมชนที่เปลย่ี นแปลงไปตามยุคสมัย เช่นการออกไปทำงานภายนอกชุมชนมากกว่า
การประกอบอาชีพภายในชมุ ชน
3) การจัดมาตรการหรือแนวทางอนุรักษ์วัฒนธรรมหรือเอกลักษณ์ของชุมชนอย่างเป็นระบบ
ทัง้ ในด้านส่ิงปลูกสร้างทางวัฒนธรรม โดยผา่ นการบูรณะซ่อมแซมร่วมกับหน่วยงานทเี่ กี่ยวข้อง ส่วนด้าน
สมั มนาผลงานวิชาการระดบั บัณฑิตศึกษาสงั คมสงเคราะห์ศาสตรแ์ ละสวสั ดกิ ารสังคมระดบั ชาติ ครั้งที่ 10 ประจำปีการศึกษา 2563 | 129
วัฒนธรรมชุมชนน้ันให้มีการบันทึกรูปแบบท่ีเป็นลายลักษณ์อักษร และจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมของ
ชมุ ชนอยา่ งต่อเน่อื งเพอื่ ให้เกดิ การสืบทอดต่อไป
2. ขอ้ เสนอแนะในการวจิ ัยครงั้ ต่อไป
1) ศึกษาต่อยอดโดยการศึกษารูปแบบกลไกและกระบวนการสร้างความเข้มแข็งและ
สวัสดิการชุมชนเมืองของชุมชนอื่นต่อไป ทั้งในชุมชนเมือง และชุมชนเมืองท่ีรูปแบบเฉพาะหรือ
มีเอกลักษณข์ องตนเอง
รายการอา้ งอิง
กระทรวงวฒั นธรรม, กรมศาสนา. (2557). คตุ บะฮ์ (บทธรรมกถา) ว่าด้วยสามัคคีธรรม. (พิมพค์ รั้งที่ 2).
กรงุ เทพฯ: โรงพมิ พ์ชมุ นุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กรมการพัฒนาชุมชน. (2553). แนวทางการพฒั นาทุนชมุ ชน. สืบค้นจาก
https://issuu.com/jayard/docs/naewtangpattanatunchumchon
โกวิทย์ พวงงาม. (2553). การจัดการตนเองของชมุ ชนและท้องถิน่ . กรงุ เทพฯ: บพิธการพิมพ์.
เขตพระนคร. สืบค้นจาก https://th.wikipedia.org/wiki/เขตพระนคร
ซะกาต ทานกุศลของชาวมุสลมิ . (2559). สืบค้นจาก http://lek-rapai.org/home/view.php?id=421
ทำความรจู้ ักมสั ยดิ จักรพงษ์. สืบค้นจาก http://www.thaimuslim.com/ทำความรู้จกั -มัสยิดจกั ร/
นงนชุ ศรีสุข. (กุมภาพันธ์-พฤษภาคม 2555). อตั ลักษณ์ทางสงั คม และวฒั นธรรม. วารสารร่มพฤกษ์,
30(2), 141-153.
นภางค์ คงเศรษฐกลุ . (2549). กระบวนการพลิกฟนื้ ทุนทางสงั คมเพื่อความเขม้ แขง็ ของเศรษฐกจิ ชมุ ชน.
วาสารทางวชิ าการโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกลา้ .
ปิยาภรณ์ ขนั เพชร. (2551). การจัดการสวสั ดกิ ารชมุ ชนแบบมีส่วนรว่ มด้านสุขภาพ: กรณีศกึ ษาของ
ตำบลทา่ โสม อำเภอเขาสมงิ จังหวัดตราด. (วทิ ยานิพนธ์ปริญญามหาบณั ฑติ ).
มหาวทิ ยาลยั ธรรมศาสตร์, คณะสงั คมสงเคราะหศ์ าสตร์.
วรวทิ ย์ อวริ ทุ ธว์ รกุล. (มกราคม-เมษายน 2544). ชมุ ชนเขม้ แขง็ : รากฐานการพฒั นาประเทศทยี่ ัง่ ยนื .
วารสารเศรษฐกิจและสงั คม, 18-26.
วรวุฒิ โรมรตั นพันธ.์ (2548). ทนุ ทางสงั คม. กรุงเทพฯ: โครงการส่งเสรมิ การเรยี นรู้เพื่อชุมชนเป็นสขุ .
สนธยา พลศรี. (2550). เครือข่ายการเรยี นรใู้ นงานพฒั นาชุมชน. (พิมพ์ครง้ั ท่ี 2.). โอเดียนสโตร.์
เสรี พงศพ์ ิศ. (2552). ยทุ ธศาสตร์พัฒนาทอ้ งถนิ่ . (พิมพ์ครง้ั ที่ 2). กรุงเทพฯ: เจรญิ วิทยก์ ารพิมพ์.
สถาบนั พฒั นาองค์กรชุมชน. (2562). คู่มอื และแนวทางการสง่ เสรมิ และพัฒนากองทนุ สวัสดิการ.
สบื ค้น จาก https://web.codi.or.th/printing_media/20120828-5038/
สำนกั งานคณะกรรมการพฒั นาเศรษฐกิจและสงั คมแหง่ ชาติ. ทนุ ทางสังคมกับการเพ่ิมความม่ันคงของ
มนษุ ย์. สืบคน้ จาก https://tdri.or.th/wp-content/uploads/2013/07/YE2003_2_06.pdf
130 | สมั มนาผลงานวิชาการระดบั บณั ฑิตศกึ ษาสงั คมสงเคราะห์ศาสตรแ์ ละสวัสดกิ ารสังคมระดบั ชาติ ครง้ั ที่ 10 ประจำปกี ารศึกษา 2563
หลกั คาํ สอนของศาสนาอิสลาม หลักธรรมพ้นื ฐานของศาสนาอิสลาม. สืบคน้ จาก
http://islamhouse.muslimthaipost.com/article/18170
Baum, F. (2008) Foreword to Health promotion in action: from local to global
empowerment
Catanese, Anthony J., and Synder, James C. (1979). Introduction to Urban Planning.
U.S.A.: Mc Graw-Hill.
Charles Hampden-Turner. (1974) From Poverty to Dignity: A Strategy for Poor Americans.
University of Utah.
Dunham, Arthur. (1985). “The Outlook for Community Development” in The Social
Welfare Forum 1958. Proceedings of The National Conference on Social Welfare
Fukuyama, F. (2001). Social capital, civil society and development: Third World
Quarterly. From https://www.researchgate.net/publication/44828808_Social_
capital_civil_society_and_development
Grootaert, C. and Bastelaer. (2002). Understanding and Measuring Social Capital:
A Multidisciplinary Tool for Practitioners. Washington D.C., The World Bank
Putnam, Robert D. (1993). The Prosperous Community. The American Prospect 4(13),
35–42.
Robert, W. Bradnock and Glyn Williams. (2002). South Asia in a Globalizing World.
Malaysia: Prentice Hall.
Walter, A. Friedlander. (1968) Introduction to Social Welfare. New Jersey: Prentice-Hall,
Inc.
สัมมนาผลงานวชิ าการระดบั บณั ฑิตศกึ ษาสังคมสงเคราะหศ์ าสตร์และสวสั ดกิ ารสังคมระดบั ชาติ ครั้งที่ 10 ประจำปกี ารศึกษา 2563 | 131
การประยกุ ตป์ รชั ญาของเศรษฐกจิ พอเพยี งในการบริหารจดั การงานของผูจ้ ัดการชุมชน
กรณศี ึกษาบรษิ ทั ลุมพนิ ี พรอพเพอรต์ ้ี มาเนจเมนท์ จำกัด
The Application of Sufficiency Economy Philosophy to Strengthen Job
Management of Community Managers Case Study of Lumpini
Property Management Company Limited
กุมารกิ า อินทรัตน์1 และ อ.ดร. กาญจนา รอดแก้ว2
Kumarika Intarat3 and Kanchana Roadkaew, Ph.D.4
Abstract
The objectives of the research work on the Application of the Sufficiency Economy
Philosophy to Strengthen Job Management of Community Managers, Case Study of Lumpini
Property Management Company Limited, are 1) to study on the application of sufficiency
economy philosophy to the management of community managers of Lumpini Property
Management Company Limited; 2) to study on the level of the life management in terms of
economy, health, society and environment with the application of sufficiency economy
philosophy to living by community managers of Lumpini Property Management Company
Limited; and 3) to study on the correlation between the application of sufficiency economy to
strengthen the job management of community managers and the success of the work. This
research uses the mixed methodology, with a questionnaire and an interview script as tools for
data collection.
The findings from the study show as follows:
1) Concerning the application of sufficiency economy philosophy to job management,
it is found out that most of the samples is most aware of the virtuous, followed byrationality
the categories of knowledgeability, good immunity and moderation, respectively.
2) As for the level of the life management with the application of sufficiency
economy philosophy to living by community managers of Lumpini Property Management
Company Limited, most samples are most aware of the environment, followed by the
categories of society, health and economy, respectively.
1 นักศกึ ษาปริญญาโทหลกั สตู รพัฒนาชมุ ชนมหาบัณฑติ คณะสงั คมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลยั ธรรมศาสตร์
2 อาจารย์ประจำคณะสงั คมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลยั ธรรมศาสตร์
3 Master of Science Program in Community Development, Faculty of Social Administration, Thammasat University
4 Lecturer, the Faculty of Social Administration, Thammasat University, Thailand
132 | สัมมนาผลงานวิชาการระดบั บณั ฑิตศกึ ษาสงั คมสงเคราะห์ศาสตร์และสวสั ดิการสังคมระดับชาติ ครั้งท่ี 10 ประจำปกี ารศกึ ษา 2563
3) Concerning the correlation between the application of sufficiency economy to
strengthen the job management of community managers and the success of the
management work, it is discovered that the success of the management is measured by
KPI, according to FBLESP, with the following discoveries. As for the maintenance of
common assets, the most significant matter is the frequency of the halt by the engines.
As for financial management, the most important matter is the receipt of receivables
within 90 days. As for the management of life quality, the important matters are
complaints against services, environment management and the treatment of waste
water before discharge out of the project, 5) As for the safety, the significant matters are
the frequency of the cases of theft, robbery and snatching, and narcotics, as well as the
number of accidents that are caused from the damage of the common space. As for
personnel management, the significant matter is the renewal of employment agreement.
The aforementioned matters have the greatest effects on the evaluation.
Keywords: Sufficiency economy, management, community managers
บทคดั ยอ่
บทความวิจัยเรื่องการประยุกต์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการบริหารจัดการงานของ
ผู้จัดการชุมชน กรณี ศึกษา บริษัท ลุมพินี พรอพเพอร์ตี้ มาเนจเม้นท์ โดยมีวัตถุประสงค์ ดังน้ี 1) เพื่อ
ศึกษาการน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้เพื่อการบริหารจัดการงานของผู้จัดการชุมชน
บริษัท ลุมพินี พรอพเพอร์ต้ี 2) เพื่อศึกษาระดับการจัดการชีวิต ด้านเศรษฐกิจ สุขภาพ สังคม และ
สิ่งแวดล้อม ในการน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในชีวิตของผู้จัดการชุมชน บริษัท
ลุมพินี พรอพเพอร์ตี้ 3) เพ่ือศึกษาความสัมพันธ์ของการประยุกต์ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อเสริมสร้าง
การบริหารจัดการงานของผู้จัดการชุมชนกับผลสำเร็จของงาน เป็นการศึกษาแบบผสมผสาน โดยใช้
แบบสอบถาม และแบบสมั ภาษณเ์ ปน็ เคร่อื งมอื ในการเก็บข้อมูล
ผลการศึกษาพบว่า
1) การน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้เพื่อการบริหารจัดการงาน พบว่า
ส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับด้านความมีคุณ ธรรมมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านความมีเหตุผล
ดา้ นความรอบรู้ ถดั มาดา้ นการมภี มู คิ ้มุ กันทด่ี ี และดา้ นความพอประมาณ ตามลำดับ
2) ระดับการจัดการชีวิตในการน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้เพื่อ
การบริหารจัดการงานของผู้จัดการ ชุมชน บริษทั ลุมพินี พรอพเพอร์ตี้ พบว่า สว่ นใหญ่ใหค้ วามสำคัญกับ
ดา้ นสง่ิ แวดลอ้ มมากทสี่ ุด รองลงมาคอื ดา้ นสงั คม ด้านสขุ ภาพ และดา้ นเศรษฐกจิ ตามลำดับ
3) ความสัมพันธ์ของการประยุกต์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับการบริหารจัดการชีวิตและ
ผลสำเร็จของการบริหารจัดการงานของผู้จดั การ ชมุ ชน บรษิ ัท ลุมพินี พรอพเพอร์ตี้ พบว่า ผลสำเร็จของ
สมั มนาผลงานวิชาการระดับบัณฑิตศึกษาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และสวัสดิการสังคมระดับชาติ คร้ังท่ี 10 ประจำปีการศกึ ษา 2563 | 133
งานโดยใช้ผลประเมิน KPI ตามแนวทาง FBLESP พบว่า ด้านการดูแลทรัพย์ส่วนกลาง ในเรื่องของ
จำนวนครั้งของการหยุดชะงักของเครื่องจักร ด้านการจัดการด้านการเงิน ในเรื่องของ การรับชำระหน้ี
ภายใน 90 วัน ดา้ นการจัดการคุณภาพชีวติ ในเร่ืองของ ข้อร้องเรียนด้านการงานบริการ ดา้ นการจัดการ
สิ่งแวดล้อม ในเร่ืองของการบำบัดน้ำเสียก่อนปล่อยออกนอกโครงการ, ด้านความปลอดภัย ในเร่ืองของ
จำนวนครั้งการเกิดเหตุ ลัก-วิ่ง-ชิ่ง-ปล้น และยาเสพติด และจำนวนครั้งของอุบัติเหตุท่ีเกิดจากพ้ืนที่
สว่ นกลางชำรุด เสียหาย และด้านการบรหิ ารจัดการผู้คน ในเรอื่ งของ การต่อสัญญาของผู้วา่ จ้าง มีระดับ
ผลการประเมนิ มากท่สี ดุ
คำสำคญั : เศรษฐกิจพอเพียง, การบรหิ ารจดั การงาน, ผู้จดั การชุมชน
บทนำ
เศรษฐกิจพอเพียงในความคิดของคนท่ัวไปอาจมีความคิดว่าเป็นหลักทฤษฎีเกี่ยวกับภาค
เกษตรกรรมหรือสามารถนำไปใช้ได้ในเพียงสังคมชนบท แต่หากทำความรู้จัก ศึกษา และนำแก่นแท้ของ
หลักเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ จะทำให้รวู้ ่าเป็นหลักท่ีช้ีถึงแนวทางการดำรงอยู่และการปฏบิ ัติตนของคนได้
ทุกระดับ ต้ังแต่ระดับ บุคคล ครอบครัวถึงชุมชน จนถึงระดับรัฐหรือการบริหารประเทศ คือ เน้นหลัก
เดินทางสายกลางในการดำรงชีวิต โดยเฉพาะการปรับตัวเพ่ือให้ก้าวทันความเปลี่ยนแปลงต่างๆ โดยใช้
หลักความพอเพียง พอประมาณ และความมีเหตุผล ท่ีจะทำใหม้ รี ะบบภูมคิ ุ้มกนั ในตัวที่ดพี อ
ซึ่งการดำรงชีวิตของคนในเมืองใหญ่ ที่มีการแข่งขันสูง มีการด้ินรนในการอยู่อาศัย ทำให้ผู้คน
อาจมหี ลายวิธกี ารในการจัดสรรชวี ติ ให้อยูร่ อดและสะดวกสบาย และตัวเลือกหนงึ่ ในการจัดการชวี ติ เพื่อ
หลีกเล่ียงปัญหาในด้านการเดินทาง และปัญหาเร่ืองที่อยู่อาศัยที่ไม่เพียงพอกับจำนวนประชากร ทำให้มี
ผู้คนไม่น้อยคนท่ีเลือกการพักอาศัยในอาคารสูงๆ หรืออาคารชุดคอนโดมิเนียม ท่ีมีการขยายตัวออกไป
อย่างมากมายในปัจจุบัน และเมื่อมีการอยู่อาศัยของบุคคลมากในพ้ืนท่ีจำกัด ย่อมมีปัญหามากมายใน
การพักอาศัย ถือเป็นความปัญหากดดันซ้ำซ้อนสำหรับผู้ท่ีพักอาศัยในคอนโดที่ต้องพบปัญหากดดันจาก
ภาวะสังคมภายนอกแลว้ ยังตอ้ งเผชญิ กบั ปญั หาดา้ นการอยู่อาศยั กบั คนจำนวนมากเพิม่ ขึ้นอีก
และจากการขยายตัวของธุรกิจท่ีอยู่อาศัยด้านคอนโดมิเนียม ส่ิงที่ตามมานั่นก็คือ ธุรกิจการ
บริหารคอนโด และอาชีพที่เกดิ ข้ึนมาพร้อมกับการบริหารคอนโด คือบุคคลทมี่ ีหน้าที่ดูแลคอนโด ซึ่งก็คือ
ผู้จดั การคอนโดน่ันเอง
จากบริษัทอสังหาริมหาริมทรัพย์ท่ีมีอยู่อย่างมากมายในเมืองไทยน้ันทางผู้ศึกษาได้เลือก บริษัท
ลุมพินี พรอพเพอร์ต้ี มาเนจเม้นท์ จำกัด เพื่อศึกษาเก่ียวตำแหน่งงานผู้จัดการคอนโด ซ่ึงในบริษัทลุมพินี
ได้ใชค้ ำวา่ “ผู้จดั การชุมชน” ด้วยประสบการณท์ ำงานของบรษิ ทั ยาวนาน ถึง 33ปี และผลิตคอนโดและที่
อาศยั ภายใต้บรษิ ทั ถงึ 12 แบรนด์ เพื่อตอบสนองการพักอาศัยของคนทุกระดับ และวสิ ัยทัศน์และพันธกิจ
ของบริษัทลมุ พินใี นคำพูดท่วี า่ ชุมชนน่าอยู่ คือ “ชุมชนลุมพนิ ที ่ีอยู่อาศยั อยู่รว่ มกัน อยา่ งมคี วามสุข โดยมี
องค์ประกอบท่ีเหมาะสม มคี ณุ ภาพชีวติ สงั คมและสง่ิ แวดล้อมทีด่ รี วมทั้งจิตสำนึกของการอยู่ร่วมกัน ดูแล
ห่วงใยและแบ่งปัน”
134 | สัมมนาผลงานวิชาการระดับบัณฑติ ศกึ ษาสงั คมสงเคราะห์ศาสตร์และสวัสดกิ ารสังคมระดบั ชาติ คร้งั ท่ี 10 ประจำปีการศึกษา 2563
โดยหน้าท่ีหลักของผู้จัดการชุมชน บริษัท ลุมพินี พรอพเพอร์ต้ี มาเนจเม้น จำกัด ในการบริหาร
จัดการคุณภาพชีวิตของผู้พักอาศัยในโครงการ ภายใต้คำว่า “ชุมชนน่าอยู่” ซึ่งไม่เพียงการดูแลรักษา
อุปกรณ์และทรัพย์สินต่างๆ ให้มีความพร้อมและปลอดภัยในการใช้งานเท่านั้นแต่ยังให้ความสำคัญกับ
การสร้างความสุขและสังคมท่ีดี อบอุ่น ปลอดภัย รวมท้ังสร้างจิตสำนึกของการใส่ใจส่ิงแวดล้อมอย่าง
จรงิ จังและสม่ำเสมอ
และจะเห็นได้ว่าสภาวะแวดล้อมและหน้าท่ีการทำงานของ ผู้จัดการชุมชน ต้องเป็นอาชีพท่ีทน
รับสภาวะกดดันได้อย่างมหาศาล เพราะต้องน่ังอยู่ตรงกลางท่ามกลางความขัดแย้ง และต้องแก้ปัญหาท่ี
เกิดขึ้นมากมาย ในคอนโดมีต้ังแต่ปัญหาเล็ก จนไปถึงปัญหาใหญ่ที่ร้ายแรงถึงชีวิตและทรัพย์สิน ไม่ว่าจะ
เป็นการบริหารด้านกายภาพให้สมบูรณ์พร้อมใช้งาน ตัวอาคาร ระบบไฟฟ้า ลิฟต์ สระว่ายน้ำหรือการใช้
อปุ กรณอ์ อกกำลังกาย ฯลฯ
ด้านการดูแลผู้คนท่ีอยู่อาศัยให้มีความสัมพันธ์ท่ีดีต่อกันแล้ว ก็อาจมีปัญหากระทบกระท่ังที่
หลากหลาย เช่น การใช้ที่จอดรถ การใช้เสียงในอาคาร การก่ออาชญากรรม ปัญหาด้านส่ิงแวดล้อมใน
ชุมชน อีกท้ังยังต้องวางแผนพัฒนาและปรับปรุงโครงการโดยใช้งบประมาณท่ีต้องผ่านการประชุมอนุมัติ
ของคณะกรรมการที่เป็นตัวแทนผู้พักอาศัย และยังต้องมีการติดต่อประสานงานอย่างรอบด้าน รวมถึง
การจัดกิจกรรมต่างๆเพื่อให้ผู้อยู่อาศัยได้มีปฏิสัมพันธ์ท่ีดีต่อกัน ถือว่าตำแหน่งผู้จัดการชุมชน ต้องมี
ความรู้ความสามารถท่หี ลายหลาย ทำให้ชีวติ “ผู้จดั การชุมชน”เกิดความตึงเครียดในการทำงาน ไม่ว่าจะ
เป็นทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การจัดการปัญหาส่วนตัว ซ่ึงในอาชีพผู้จัดการชุมชน นอกจากการมี
ร่างกายท่ีแข็งแรงแล้ว การมีสุขภาพจิตที่ดียังเป็นสิ่งที่จำเป็นที่เป็นคุณสมบัติหลักของผู้ท่ีมีตำแหน่ง
ผูจ้ ดั การชมุ ชนอกี ด้วย
ในส่วนของบริษัท ลุมพินี พรอพเพอร์ตี้ มาเนจเม้น ขอบข่ายงานผู้จัดการบริหารชุมชน ท่ีมี
บุคลากร ในตำแหน่งผู้จัดการชุมชน ประมาณ 170 คน ท้ังในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด ในส่วนงานนี้ถือ
ว่ามีความสำคัญมาก คือ เป็นกลไกสำคัญท่ีประสานระหว่างลูกค้าภายนอกกับบริษัท ดังน้ันเร่ือง
การบริการ ภาพลักษณ์ ทัศนะคติ และความเป็นมืออาชีพของงานท่ีทำจะถูกส่ือออกไปจากตัวผู้จัดการ
ชุมชนมากทสี่ ดุ
ซ่ึงหากผู้จัดการชุมชนมีแนวคิดในทางสายกลาง มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีแล้ว จะเป็นตัวช่วยสำคัญท่ี
สามารถทำให้บริหารจัดการชีวิตของผู้จัดการชุมชน ให้มีบรรลุผลสำเร็จ ซึ่งจะส่งผลไปยังการบริหาร
จัดการงานที่ทำ ซึ่งตรงกับวิสัยทัศน์และพันธกิจของบริษัทลุมพินี ในคำพูดท่ีว่า “ชุมชนน่าอยู่” หมายถึง
ชุมชนท่ีอยู่อาศัยอยู่ร่วมกัน อย่างมีความสุข โดยมีองค์ประกอบที่เหมาะสม มีคุณภาพชีวิต สังคมและ
สิ่งแวดลอ้ มที่ดีรวมทั้งจติ สำนกึ ของการอยรู่ ่วมกัน ดแู ลหว่ งใยและแบ่งปนั
ผู้ศึกษาจึงมีความสนใจท่ีจะศึกษาการประยุกต์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพ่ือการบริหาร
จัดการงานของผู้จัดการชุมชน ว่าเมื่อนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการจัดการชีวิตของ
ตนเองในด้าน เศรษฐกิจ สังคม สุขภาพ สิ่งแวดล้อม แล้ว จะสามารถเสริมสร้างบริหารจัดการชุมชนที่
ดูแล ให้ได้ผลตามเป้าหมาย สร้างชุมชนที่เป็นสุข และสิ่งแวดล้อมของการอยู่ร่วมกัน ด้วยความดูแล