The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

สัมมนาระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 10

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by ntknight478, 2021-10-08 07:55:46

สัมมนาระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 10

สัมมนาระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 10

สัมมนาผลงานวิชาการระดบั บณั ฑิตศกึ ษาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และสวสั ดกิ ารสงั คมระดับชาติ ครั้งที่ 10 ประจำปกี ารศึกษา 2563 | 185

อุทัย ปริญญาสทุ ธินันท์ (2561) ก็ได้จำแนกรูปแบบของสวัสดิการชุมชนไว้เชน่ เดียวกัน แต่เป็นการเฉพาะ
โดยใช้สารทุนของชุมชนเป็นเกณฑ์ในการจำแนก มีดังต่อไปนี้ 1) สวัสดิการฐานกลุ่มออมทรัพย์ เพื่อจัด
สวัสดิการจากการนำผลกำไรมาจัดเป็นสวัสดิการ 2) สวัสดกิ ารฐานวสิ าหกิจชุมชน เพื่อให้ชุมชนพ่ึงพากัน
ภายในชุมชนและเป็นการสร้างมูลค่าเพ่ิมให้ผลผลิตเพ่ือนำผลกำไรมาจัดเป็นสวัสดิการ 3) สวัสดิการฐาน
ทรัพยากรธรรมชาติเป็นการใช้ทุนทรัพยากรของชุมชนมาจัดต้ังเป็นสวัสดิการความมั่นคงอย่างรอบด้าน
4) สวัสดิการฐานศาสนา วัฒนธรรม และประเพณี เพ่ือการจัดตั้งเป็นกองทุนแล้วนำผลกำไรมาจัดเป็น
สวัสดิการ 5) สวัสดิการฐานชุมชนเมือง เป็นสวัสดิการด้านที่อยู่อาศัยท่ีม่ันคงแล้วขยายกิจกรรมเป็น
สวัสดิการด้านอ่ืนๆ ท่ีหลากหลายข้ึน เช่น สวัสดิการชุมชนด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ 6) สวัสดิการฐาน
ผู้สูงอายุ เป็นการจัดการกองทุนหมุนเวียนให้ผู้สูงอายุหรือลูกหลานกู้ยืมไปลงทุนแล้วนำผลกำไรมาจัดตั้ง
เป็นสวัสดิการ 7) สวัสดิการฐานผู้ยากลำบาก เป็นการใช้กองทุนของผู้ยากลำบากหรือกองทุนชุมชนโดย
เครือขา่ ยองค์กรชุมชน มาจัดเปน็ สวสั ดิการทง้ั ทีเ่ ป็นการใหเ้ ปล่าและเปน็ กองทุนหมุนเวียน

เม่ือจำแนกประเภทและรูปแบบของสวัสดิการชุมชนแล้วน้ัน จำเป็นต้องศึกษาถึงหลักการสำคัญ
ในการจัดสวัสดิการชุมชนร่วมด้วย โดย ระพีพรรณ คำหอม (2551) ได้กล่าวถึงหลักการสำคัญในการจัด
สวัสดิการชุมชน ไว้ทั้งสิ้น 7 หลักการ ดังรายละเอียดดังต่อไปน้ี 1) ทำจากส่ิงที่มีอยู่จริงในชุมชนด้วย
การใช้ภูมิปัญญาชุมชน เพื่อเอื้อประโยชน์ต่อคนในชุมชนโดยต้องสอดคล้องกับสภาพพ้ืนท่ีของแต่ละ
ชุมชน 2) ต้องมีความพร้อม และดำเนินการอย่างรอบคอบ ค่อยเป็นค่อยไป เพื่อให้คนในชุมชนมี
ความพร้อมในด้านการมีส่วนร่วมและรับผลประโยชน์ร่วมกัน 3) ใช้เงินเป็นเพียงเคร่ืองมือในการจัดสรร
สวัสดิการชุมชน ทำให้คนในชุมชนได้รับเงินในลักษณะของการสมทบหรือการสนับสนุนอย่างพอดีและ
มีความจำเป็น 4) ระบบสวัสดิการชุมชนที่ดีควรให้คนในชุมชนได้รับกันอย่างเท่าเทียม และมุ่งเน้น
ผู้ด้อยโอกาสเป็นสำคัญ ผ่านการมีส่วนร่วมในการกำหนดกฎกติการ่วมกัน 5) จัดสวัสดิการชุมชนแบบ
บรู ณาการมีการเชือ่ มโยงเขา้ หากนั เพื่อให้คนในชุมชนเกิดความเชอื่ มโยงและมคี วามสัมพันธ์ทีด่ ซี ่งึ กันและ
กัน 6) คนในชุมชนท่ีเกี่ยวข้องกับการจัดสวัสดิการเป็นท้ังผู้ให้และผู้รับอยู่เสมอ ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ท่ี
เท่าเทียมกันและมีศักดิ์ศรี และ 7) การจัดสวัสดิการชุมชนต้องทำด้วยความรักที่มีต่อชุมชน ทำเพ่ือ
ส่วนร่วม และมีความเช่อื ม่ันว่าคนในชุมชนสามารถทีจ่ ะสร้างสวสั ดกิ ารชุมชนดว้ ยตนเองได้

วิธกี ารและเครอื่ งมือในการศึกษา
การศึกษาคร้ังนี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ที่เน้นการพรรณนาและ
วิเคราะห์ (Descriptive Analysis) โดยเคร่ืองมือที่ใช้ในการศึกษาสามารถจำแนกรายละเอียดได้
ดังต่อไปน้ี
1. การวิจัยเอกสาร (Documentary research) โดยใช้การศึกษาค้นคว้ารวบรวมข้อมูลเอกสาร
ต่างๆท่ีเก่ียวข้อง เช่น หนังสือเล่ม บทความวิชาการ เอกสารวิชาการ บทความวิจัย เอกสารวิจัย และ
วิทยานิพนธ์ทีเ่ ก่ยี วข้อง ตลอดจนฐานข้อมลู อเิ ลก็ ทรอนกิ สท์ ีเ่ กี่ยวข้องกบั การทอ่ งเทีย่ วชุมชนต่างๆ

186 | สัมมนาผลงานวชิ าการระดบั บณั ฑิตศึกษาสงั คมสงเคราะห์ศาสตร์และสวัสดกิ ารสังคมระดบั ชาติ ครง้ั ที่ 10 ประจำปกี ารศกึ ษา 2563

2. การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth interview) โดยนำการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกมาใช้
เปน็ เครือ่ งมอื หลักในการเก็บรวบรวมข้อมลู ในการทำวิจยั เชิงคณุ ภาพ

3. การสังเกต (Observation) ทั้งการสังเกตแบบมีส่วนร่วม (Participant observation) โดย
การเข้าไปมีส่วนร่วมในสถานการณ์จริง เช่น การเข้าไปร่วมทำผลิตภัณฑ์ชุมชนจากศูนย์การเรียนรู้ต่างๆ
การร่วมล่องเรือท่องเที่ยวตามแผนการท่องเท่ียวของชุมชน เป็นต้น และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม
(Non participant observation) โดยการไม่เข้าไปมีส่วนร่วมในสถานการณ์จริง เช่น การสังเกตการณ์
ลักษณะทั่วไปของชมุ ชน วถิ ชี ีวิตความเป็นอยู่ การประกอบอาชพี เป็นตน้

ขอบเขตดา้ นพื้นที่ในการศึกษา
หลักเกณฑ์ในการคัดเลือกพื้นที่ในการศึกษาครั้งน้ี
ได้เลือกพ้ืนที่ชุมชนริมคลองมหาสวัสด์ิ อำเภอบางกรวย
จังหวัดนนทบุรี เนื่องจากเป็นพ้ืนท่ีที่มีความน่าสนใจและมี
ความโดดเด่นในด้านการใชท้ ุนชุมชนท่ีมคี วามสอดคล้องกับ
บริบทชุมชนในหลากหลายประเภท และยังเป็นพ้ืนที่ท่ีทำ
ให้เห็นถึงศักยภาพของคนในชุมชนในการเข้ามามีส่วนร่วม
และให้การสนับสนุนด้านต่างๆในกระบวนการท่องเที่ยวชุมชน โดยริมคลองมหาสวัสด์ิมีข้อมูลด้าน
ทุนชุมชนในเบื้องต้น (กระทรวงการท่องเท่ียวและกีฬา, 2556 ) ได้แก่ 1) ทุนทางธรรมชาติ ชุมชนริม
คลองมหาสวัสดิ์ ต้ังอยู่ในอำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี มีพ้ืนท่ีติดต่อกับกรุงเทพมหานคร และเป็น
ชุมชนชุมชนเก่าแก่ท่ีอยู่ติดกับคลองมหาสวัสดิ์ ทำให้ชุมชนมีพ้ืนท่ีทางการเกษตรกรรม สวนไม้ดอกไม้
ประดับ การปลูกพืชสมุนไพร และการเลี้ยงผึ้งชันโรง ทำให้เป็นพ้ืนท่ีท่ีมีความโดดเด่นในเรื่องของการมี
ประวัติศาสตร์ท่ียาวนาน และทำให้เห็นถึงมิติด้านทุนทางธรรมชาติท่ีเป็นทุนชุมชนในการเกิด
การท่องเท่ียวชุมชน 2) ทุนทางวัฒนธรรม ชุมชนริมคลองมหาสวัสดิ์เป็นชุมชนท่ีมีวัฒนธรรมวิถีชีวิตริม
คลองมหาสวัสดิ์ที่มีอายุเก่าแก่มากกว่า 100 ปี และได้มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างหลากหลาย เช่น
บ้านโบราณอายุร่วม 100 ปี การเคารพนับถือศาลเจ้าแม่ทับทิมซ่ึงเป็นเทพแห่งสายน้ำ ความเช่ือทาง
พุทธศาสนา ณ วัดศรีเรืองบุญ ทัง้ ยังมีพิพิธภัณฑ์ของโบราณอายหุ ลายร้อยปี สง่ิ เหล่าน้ีเป็นพน้ื ฐานทท่ี ำให้
ชุมชนริมคลองมหาสวัสด์ิเกิดการพัฒนามาเป็นชุมชนท่องเที่ยวได้ 3) ทุนทางภูมิปัญญา การท่องเที่ยว
ชุมชนรมิ คลองมหาสวสั ด์ิไดม้ ีการจดั กิจกรรมทแ่ี สดงถงึ ภมู ิปญั ญาท้องถ่ินไว้ให้ไดช้ มและเป็นศูนยเ์ รยี นรู้ใน
แต่ละสถานท่ีจนกลายเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชน เช่น การทำดอกกหุ ลาบจากใบเตย การทำพวงมโหตร การทำ
ลูกประคบ การทำยาหม่อง การทำขนมครกจากข้าวไรซ์เบอร์รี่ การนวดแผนไทย การแปรรูปสมุนไพร
ซึ่งภูมิปัญญาเหล่านี้ล้วนสืบทอดมาจากบรรพบุรุษและได้ใช้ทรัพยากรต่างๆ ท่ีมีอยู่ในชุมชน และ
4) ทุนทางสังคม ชุมชนริมคลองมหาสวัสด์ิมีผู้นำท่ีมีศักยภาพ มีความรู้ความสามารถท่ีจะพัฒนาพ้ืนที่
ชุมชนของตนที่มีเอกลักษณ์ในด้านต่างๆให้กลายเป็นแหล่งท่องเท่ียวชุมชน ทำให้คนในชุมชนเกิดรายได้
เกิดความร่วมมือ และรู้สึกภาคภูมิใจในชุมชนของตนเอง อีกท้ังชุมชนปลายบางยังมีองค์กรความร่วมมือ

สัมมนาผลงานวชิ าการระดบั บณั ฑิตศึกษาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และสวสั ดกิ ารสังคมระดบั ชาติ คร้ังท่ี 10 ประจำปีการศึกษา 2563 | 187

และสนับสนุนจากแหล่งต่างๆที่คอยผลักดันและเป็นการเสริมแรงให้กับชุมชนกลายเป็นชุมชนท่องเที่ยว
อกี ดว้ ย

ขอบเขตดา้ นเนื้อหาและประเดน็ ในการศึกษา
1. วเิ คราะห์กลไกและกระบวนการปรับตัวแหล่งท่องเทย่ี วชุมชน
2. วเิ คราะหร์ ปู แบบสวัสดกิ ารชมุ ชนจากการเกิดข้ึนของแหล่งทอ่ งเทยี่ วชมุ ชน
ขอบเขตดา้ นระยะเวลา
บทความวจิ ัยนี้ทำการศึกษาและใช้ข้อมลู ตั้งแต่ปี 2554 จนถึงปี 2563 เน่ืองจากปี 2554 เป็นปีที่
เริ่มมีการดำเนินการท่องเที่ยวชุมชนข้ึน และมีการดำเนินการต่อเนื่องมาจนถึงในปี 2563 ซึ่งเป็นปีท่ี
ทำการศึกษา
ขอบเขตด้านผ้ใู ห้ขอ้ มูลหลัก
ในการศึกษาครั้งน้ี จะทำการศึกษาและเก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูล 2 กลุ่มหลัก อันเป็นตัวแสดงที่
เก่ียวข้องกับประเด็นท่ีต้องการศึกษา ประกอบด้วย 1) กลุ่มผู้นำท่ีเป็นทางการ จำนวน 6 คน และ
กลุ่มผู้นำท่ีไม่เป็นทางการ จำนวน 11 คน 2) กลุ่มผู้ท่ีเก่ียวข้องกับการท่องเที่ยวชุมชนและมีหน้าท่ี
ดำเนินงานการทอ่ งเทยี่ วชุมชน จำนวน 14 คน

ผลการศกึ ษา
สถานการณ์การจัดการท่องเที่ยวของชุมชนริมคลองมหาสวัสด์ิในปัจจุบัน พบว่า มีรูปแบบ
การท่องเท่ียวในลักษณะเชิงนิเวศและเชิงวัฒนธรรม ปรากฏลักษณะของเชิงนิเวศ เช่น คลองมหาสวัสดิ์
การปลูกพืชสมุนไพร การเกษตรแบบผสมผสาน และลักษณะเชิงวัฒนธรรม เช่น อาคารบ้านเรือน
พิธีกรรมและความเช่ือ ศาสนา สิ่งของจากภูมิปัญญา เป็นต้น การท่องเท่ียวชุมชนริมคลองมหาสวัสด์ิใช้
การเดินทางด้วยเรือเป็นเส้นทางสัญจรหลัก ล่องไปตามเส้นทางน้ำบนคลองมหาสวัสดิ์ จุดเริ่มต้นของ
การท่องเที่ยวจะเป็นที่ท่าเรือกำนันเชาว์ ศาลเจ้าแม่ทับทิม สวนเกษตรลัดดาวัลย์ บ้านโบราณ 100 ปี
วัดศรเี รืองบุญ และสิน้ สุดทสี่ วนสมุนไพรเฉลิมพระเกยี รติ ผ่านกลุ่มผู้ให้บริการทีเ่ ป็นคนในชุมชนเป็นหลัก
ทง้ั ในส่วนของวิทยากร คนขับเรอื และผดู้ ำเนินกิจกรรมในแต่ละสถานที่ อีกท้ังยังพบว่ากลุ่มนักท่องเท่ียว
ทีเ่ ขา้ มาท่องเทย่ี วภายในชมุ ชน จะเป็นนักทอ่ งเท่ียวชาวไทยในรปู แบบของหม่คู ณะ
กลไกขับเคลื่อนการท่องเทยี่ วชมุ ชนของชมุ ชนริมคลองมหาสวสั ดิ์
กลไกขับเคล่ือนการท่องเท่ียวชุมชนของชุมชนริมคลองมหาสวัสด์ิ จากการศึกษาพบว่า ปัจจัย
สนับสนุนให้เกิดกลไกขับเคล่ือนการท่องเที่ยวชุมชนของชุมชนริมคลองมหาสวัสด์ิ ประกอบด้วย 3 กลไก
สำคัญดงั น้ี
1. กลุ่มผู้นำท่เี ปน็ ทางการและไมเ่ ปน็ ทางการภายในชุมชน

1) กลุ่มผู้นำท่ีเป็นทางการภายในชุมชน เนื่องมาจากวิกฤตการณ์น้ำท่วมใหญ่ เมื่อปี พ.ศ.
2554 ต่อเน่ืองถึงปี พ.ศ. 2556 กลุ่มผู้นำชุมชนโดยการนำของ นายสมเชาว์ กนกกาญจนะ กำนันตำบล
มหาสวัสด์ิในขณะนั้น มีบทบาทสำคัญในการมีความคิดริเริ่มท่ีต้องการจะได้งบประมาณจากเครือข่าย

188 | สมั มนาผลงานวิชาการระดบั บณั ฑติ ศกึ ษาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และสวสั ดกิ ารสังคมระดบั ชาติ ครงั้ ท่ี 10 ประจำปีการศึกษา 2563

ภายนอกมาช่วยเหลือและซ่อมแซมบ้านเรือนที่ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วมใหญ่ จึงได้มีการประชุม
หารือกันระหว่างผู้ใหญ่บ้านในขณะนั้นทั้ง 4 หมู่บ้าน ได้แก่ นายนคร ช้างปลิว ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 2 ตำบล
มหาสวัสดิ์ นายสมเกียรติ สุขแป้น ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 5 ตำบลมหาสวัสดิ์ นางจินวราห์ ซาพวง ผู้ใหญ่บ้าน
หมู่ 6 ตำบลมหาสวัสดิ์ในขณะนั้น และอดีตผู้ใหญ่บ้านหมู่ 7 ตำบลมหาสวัสดิ์ในขณะน้ัน ได้ข้อสรุปว่าจะ
จัดทำโครงการของบประมาณจากธนาคารโลก (World Bank) ซ่ึงเป็นเครือข่ายที่มีความเชื่อมโยงกับ
สภาองค์กรชุมชน การดำเนินการจัดทำโครงการดังกล่าวเพื่อช่วยเหลือและซ่อมแซมบ้านเรือนของคนใน
ชุมชนท่ีอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสภาองค์กรชุมชนท้ัง 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลปลายบาง ตำบล
บางคูเวียง และตำบลมหาสวัสดิ์ ท่ีได้รับความเสียหายจากน้ำท่วม จากการท่ีได้สำรวจบ้านเรือน
ความเสียหายของคนในชุมชน จึงได้พบว่าภายในพื้นที่ชุมชนมีทุนชุมชนที่น่าสนใจหลากหลายประเภท
ดว้ ยกัน อาทิ ทุนด้านวฒั นธรรม ทุนด้านธรรมชาติ ทุนด้านประวัติศาสตร์ เป็นต้น ด้านกลุ่มผู้นำชุมชนจึง
ได้นำทุนชุมชนที่ได้พบนั้นกลับมาพูดคุยร่วมกัน มีความเห็นและมติท่ีร่วมกันว่าจะจัดทำการท่องเที่ยว
ชุมชน โดยกลุ่มผู้นำกลุ่มแรกท่ีมีการดำเนินการหารือร่วมกันในเรื่องของการที่จะจัดทำการท่องเท่ียว
ชุมชนริมคลองมหาสวัสด์ิ การดำเนินการซ่อมแซมบ้านเรือนของคนในชุมชนที่เสียหายจากน้ำท่วมเสร็จ
ส้ินในช่วงปี พ.ศ. 2556 และในปี พ.ศ. 2557 ได้ทำโครงการของบประมาณสนับสนุนจากสภาองค์กร
ชุมชน เพื่อศึกษาค้นคว้าเก่ียวกับองค์ความรู้ต่างๆที่จะนำมาจัดทำการท่องเท่ียวชุมชน ในปี พ.ศ. 2558
จึงได้มีการรวมตัวกันและจดทะเบียนจัดต้ังกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในชื่อว่า “วิสาหกิจชุมชนท่องเท่ียว
เชิงนิเวศน์และวัฒนธรรมวิถีคนปลายบาง” เม่ือวันท่ี 18 ตุลาคม พ.ศ.2559 สมาชกิ รวม 22 คน และได้มี
การเปิดการท่องเที่ยวอย่างเป็นทางการจากความร่วมมือของจังหวัดนนทบุรี โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัด
นนทบรุ ีมาร่วมเปน็ ประธานในพธิ ีเปดิ ในวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

2) กลุ่มผู้นำท่ีไม่เป็นทางการภายในชุมชน ผู้นำที่ไม่เป็นทางการในการเป็นกลไกขับเคลื่อน
การท่องเท่ียวชุมชนน้ีด้วย ได้แก่ นายสันติ สิริรัตนพรหม เดิมเคยเป็นผู้ร่วมดำเนินการอย่างไม่เป็น
ทางการในกล่มุ ของ “วสิ าหกิจชุมชนท่องเทยี่ วเชงิ นเิ วศน์และวัฒนธรรมวถิ ีคนปลายบาง” ซ่ึงได้เกิดปัญหา
ความขัดแย้งกับการทำงานของกลุ่มเดมิ เกิดข้ึน จงึ ได้แยกตัวออกมาและดำเนินการจดั การทอ่ งเทยี่ วชุมชน
กลุ่มใหม่อีกกลุ่มหน่ึงขึ้น หากแต่มีความคาบเก่ียวกับการดำเนินงานของกลุ่มแรกในเรื่องของสถานท่ี
ท่องเท่ียวภายในชุมชน และเส้นทางการเดินเรือ โดยมีการจัดต้ังและจดทะเบียนกลุ่มวิสาหกิจชุมชน
เช่นกัน ช่ือว่า “กลุ่มวิสาหกิจชมุ ชนท่องเท่ียวบ้านปลายบางเกษตร นวตั กรรมและเทคโนโลยี” ในปี พ.ศ.
2562 โดยสมาชิกของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนจากการสมั ภาษณ์มีรายช่อื 7 คน การดำเนินงานของท้ัง 2 กลุ่ม
ทไ่ี ด้จดั การท่องเท่ียวชุมชนเชน่ เดยี วกนั จากการศึกษาพบว่า ทัง้ 2 กลุ่มไม่ไดม้ ีการทำงานรว่ มกนั แตอ่ ยา่ ง
ใด และพบว่าการดำเนินการท่องเท่ียวไม่มีความแตกต่างกัน ปรากฎว่าใช้เส้นทางการท่องเท่ียวทางเรือ
บนคลองมหาสวัสด์เิ ช่นเดียวกนั ใช้สถานท่ภี ายในชุมชนเป็นจุดแวะเย่ียมชมและทำกจิ กรรม และผู้ดำเนิน
กิจกรรมในแต่ละจุดเป็นกลุ่มคนเดียวกันทั้งสิ้น เพียงแต่มีผู้นำคนละคนเพียงเท่าน้ัน ท้ังน้ีประธานท้ัง 2
กล่มุ นน้ั มีการติดต่อประสานงานกนั เองในเรอื่ งของการใช้เรือของสมาชิกภายในชุมชนท่ีอย่ใู นการดแู ลของ
กลุ่มแรกท่ีจัดต้ังขึ้นก่อน มาใช้ในการดำเนินงานท่องเที่ยวของกลุ่มที่ 2 ท่ีได้แยกตัวออกมาจัดต้ังกลุ่มเอง

สัมมนาผลงานวิชาการระดบั บณั ฑิตศกึ ษาสงั คมสงเคราะหศ์ าสตรแ์ ละสวัสดิการสงั คมระดบั ชาติ คร้ังที่ 10 ประจำปีการศกึ ษา 2563 | 189

ซึ่งเหตุผลเนื่องจากเป็นการดำเนินงานในพ้ืนที่ที่ทับซ้อนกัน และในชุมชนมีสมาชิกที่เป็นเจ้าของเรือและ
สามารถขับขี่เรือได้อย่างจำกัด สาเหตุประเด็นความขัดแย้งเริ่มต้นมาจากปัญหาความขัดแย้งในเรื่องของ
ความคิดเห็นในเรื่องการรกั ษาความปลอดภัยให้กับนักท่องเที่ยวในเรื่องการสวมใส่เสื้อชูชีพที่แตกต่างกัน
และอีกสาเหตุความขัดแย้งท่ีเกิดขึ้น คือ เร่ืองพบเห็นการทุจริตเงินและความไม่โปร่งใสในการทำบัญชี
รายรับรายจ่าย ด้วยการไม่แบ่งสันปันส่วนของเงินที่สมาชิกภายในชุมชนควรจะได้อย่างถูกต้องและ
โปร่งใส จึงได้มีการทักท้วงและทวงถามกันเกิดข้ึน จึงได้เกิดปัญหาความขัดแย้งและแยกตัวออกมา
ดำเนินการเองในกลุ่มใหม่ในที่สุด ในส่วนของกลุ่มผู้นำที่ไม่เป็นทางการภายในชุมชน ยังพบว่ายังมี
เจ้าอาวาสวัดศรีเรืองบุญ ได้แก่ พระมหาสราวุธ เจ้าอาวาสคนปัจจุบัน ถึงแม้ว่าเจ้าอาวาสวัดศรีเรืองบุญ
จะไม่ได้มีบทบาทในการเร่ิมก่อต้ังการท่องเที่ยวชุมชน แต่ท่านก็เป็นผู้นำทางศาสนาท่ีมีบทบาทในด้าน
การพัฒนาและปรับปรุงสภาพแวดล้อมและส่ิงก่อสร้างในวัดศรีเรืองบุญให้มีความสวยงามและเหมาะสม
ต่อการเป็นสถานท่ีหนึ่งในการจัดการท่องเท่ียวชุมชน อีกทั้งการบูรณะวัดของท่านนั้น ยังได้จัดทำ
พิพิธภัณฑ์เก็บสะสมของเก่าข้ึนภายในวัดศรีเรืองบุญ ทำให้วัดศรีเรืองบุญมีศักยภาพท้ังในด้านผู้มีความรู้
ด้านสิ่งก่อสร้างและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการท่องเที่ยวชุมชน กลุ่มผู้นำท่ีไม่เป็นทางการท่ีพบอีก
เชน่ กัน ได้แก่ ปราชญ์ชาวบ้านและผู้อาวุโส ซ่ึงเป็นกลไกในการขับเคลื่อนการท่องเท่ียวชุมชนนั้น ปราชญ์
ชาวบ้านในดา้ นการสอนทำอาหารและขนมโบราณ ได้แก่ คุณปา้ ประนอม ทรัพยา และ คุณปา้ นวลจนั ทร์
สังข์ป่า คุณป้าทั้ง 2 ได้ใช้เวลาว่างนอกจากวันท่ีไปค้าขายมาร่วมสอนสูตรและเทคนิคการทำอาหารและ
ขนมโบราณให้กับสมาชิกในกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสมุนไพรแปรรูปเทพประทานบ้าน 100 ปีท่ี และปราชญ์
ชาวบา้ นด้านเกษตรกรรม คอื คณุ ป้าลดั ดาวัลย์ คำสม คุณป้าอาสาเป็นวทิ ยากรในการบรรยายองคค์ วามรู้
ให้กับนักท่องเท่ียวด้วยตนเอง ในเรื่องของการเลี้ยงไส้เดือน การเลี้ยงไก่ การเลี้ยงผึ้งชันโรง การทำปุ๋ย
อินทรีย์ เป็นต้น ปราชญ์ชาวบ้านด้านการทำพวงมโหตรและพับดอกไม้จากใบเตย ได้แก่ คุณป้าสุพัตรา
อ้นสำราญ และ พ่ีณัฐพงษ์ภัทร เตชะสัตยา ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ปราชญ์ชาวบ้านทั้ง 2 ท่าน พบว่า
เป็นองค์ความรู้ท่ีได้รับการถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษ ได้แก่ คุณยาย ซึ่งในการดำรงชีวิตปัจจุบัน พบว่า
ไม่ได้ใช้องค์ความรู้ด้านนี้ทั้งในด้านการประกอบอาชีพหรือการส่งต่อให้กับลูกหลาน เพียงแต่จะนิยมใช้
เป็นบางครั้งคราวในงานประเพณีเท่านั้น เช่น งานบวช รวมถงึ ผอู้ าวโุ สภายในชมุ ชนที่เป็นกลุม่ ผ้นู ำภายใน
ชุมชนท่ีไม่เป็นทางการก็มีบทบาทสำคัญต่อการให้ข้อมูลเชิงประวัติศาสตร์แก่ชุมชน ได้แก่ คุณตาเสงี่ยม
ช่างชุน อายุ 70 ปีเศษ และคุณยายสำราญ หุ่นพยนต์ อายุ 82 ปี คุณตาและคุณยายมีส่วนสำคัญต่อ
การให้ข้อมูลในสถานท่ีของศาลเจ้าแม่ทับทิม และบ้านโบราณ 100 ปี ท้ังน้ีท่านท้ัง 2 ได้มีบทบาทใน
การให้ข้อมูลเชิงประวัติศาสตร์ท่ีสำคัญในช่วงของการท่ีกลุ่มผู้นำชุมชนท่ีเป็นทางการกำลังดำเนินการ
คน้ หาขอ้ มูลเชิงประวัตศิ าสตร์ของชุมชนดว้ ยการทท่ี ่านท้ัง 2 ถูกเชิญให้ไปร่วมเวทีประชุมร่วมกนั กลุ่มผูน้ ำ
และคนในชุมชน เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2560 ที่ผ่านมา นับว่าเป็นผู้อาวุโสท่ีมีส่วนสำคัญเป็นอย่างย่ิงต่อ
กลไกการขบั เคลอ่ื นการทอ่ งเทย่ี วชมุ ชนรมิ คลองมหาสวสั ดิ์

190 | สัมมนาผลงานวิชาการระดับบณั ฑติ ศกึ ษาสงั คมสงเคราะห์ศาสตร์และสวสั ดิการสังคมระดบั ชาติ ครัง้ ที่ 10 ประจำปกี ารศึกษา 2563

2. เครือข่ายจากภายในและภายนอกชุมชน
1) เครือข่ายภายในชุมชน ในส่วนของเครือข่ายภายในชุมชนที่มีการทำงานและประสาน

ความร่วมมือร่วมกัน แบ่งออกเป็น 3 ภาคส่วน ได้แก่ 1) ภาคส่วนอาสาสมัคร ได้แก่ กลุ่มของอาสาสมัคร
สาธารณสุขประจำหมู่บ้าน มีบทบาทด้วยการเป็นผู้ให้ความรู้ด้านการดูแลสุขภาพเบ้อื งต้นและการปฏิบัติ
ตนเบ้ืองต้นหากมีอาการเจ็บป่วยขณะท่องเที่ยว และเข้ามามีบทบาทสำคัญอีกครั้งในช่วงของ
วิกฤตโควิด-19 ในการตรวจคัดกรองสุขภาพเบ้ืองต้นของนักท่องเท่ียว ด้วยการวัดอุณหภูมิร่างกาย แจก
หน้ากากอนามัย และให้บริการเจลล้างมือ 2) ภาคส่วนความสัมพันธ์ของสมาชิกภายในชุมชน
ความสัมพันธ์ของสมาชิกภายในชุมชนในพื้นท่ีชุมชนแห่งนี้ มีลักษณะของความเป็นเครือญาติพี่น้อง
ลักษณะครอบครัวขยาย อีกทั้งจากการบอกเล่าของผู้สูงอายุภายในชุมชนในเร่ืองของความสัมพันธ์แบบ
เครือญาติ ก็แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ท่ีใกล้ชิดและมีความเอื้ออาทรต่อกัน 3) ภาคส่วนกลุ่มวิสาหกิจ
ชุมชน มีบทบาทและหน้าท่ีในการร่วมดำเนินกิจกรรมประจำแต่ละสถานท่ีท่องเที่ยวภายในชุมชน ดังนี้
กลุม่ วิสาหกิจชมุ ชนสมุนไพรแปรรปู เทพประทานบ้านร้อยปี ดำเนินกิจกรรมในดา้ นการสอนทำอาหารและ
ขนมโบราณ การสอนทำดอกไม้จากใบเตย การสอนทำพวงมโหตร กลุ่มวิสาหกิจชุมชนอาชีพสหกรณ์
ศาลากลางรักษ์พัฒนา ดำเนินกิจกรรมในด้านการห่อกระถางต้นไม้ด้วยกระดาษสา การทำสบู่สมุนไพร
การทำยาหม่องและยาดมสมุนไพร และกลุ่มวิสาหกิจชุมชนรักษ์ชา ดำเนินกิจกรรมในด้านการจัดเตรียม
อาหารมอื้ กลางวนั ด้วยสมุนไพรแปรรูป เช่น แกงข้ีเหลก็ ขาหมูผัดตะลงิ ปลิง เป็นตน้

2) เครือข่ายภายนอกชุมชน ในส่วนของเครือข่ายภายนอกชุมชนท่ีเข้ามามีบทบาทในการให้
การสนับสนุนและส่งเสริมในด้านต่างๆร่วมกันกับชุมชนมาจากหลากหลายภาคส่วนด้วยกัน ได้แก่
1) ภาครัฐ ท่ีมีส่วนสนับสนนุ ในด้านส่งเสริมการจดั การองค์ความรู้ใหก้ บั การท่องเท่ียวชมุ ชน ประกอบด้วย
สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดนนทบุรี สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนนทบุรี สำนักงานการท่องเท่ียวและ
กีฬาจังหวัดนนทบุรี สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานเกษตรจังหวัดนนทบุรี สำนักงานสลากกิน
แบ่งรัฐบาล 2) ภาคเอกชน ท่ีมีส่วนสนับสนุนกิจกรรมการท่องเที่ยวชุมชน ได้แก่ สโมสรโรตารี่นนทบุรี
หอการค้านนทบุรี 3) สถาบันการศึกษา ที่มีส่วนสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมของการทอ่ งเทีย่ วชุมชน คือ
มหาวิทยาลัยสวนดุสิต และมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาลัยเทคโนโลยี
ปญั ญาภวิ ฒั น์ และ วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลยั ธรรมศาสตร์

3. ทุนชมุ ชนภายในชมุ ชนรมิ คลองมหาสวัสดิ์
1) ทุนธรรมชาติ ทุนธรรมชาติเป็นทุนท่ีสำคัญต่อการการดำรงชีวิตของคนในชุมชนริมคลอง

มหาสวัสด์ิต้งั แตอ่ ดีตจนถึงปัจจบุ นั ทุนธรรมชาตทิ ่สี ำคัญ คอื นำ้ หรือคลอง ในอดีตสมาชกิ ภายในชุมชนใช้
คลองเป็นเส้นทางคมนาคมเป็นหลัก และยังมีการใช้น้ำจากคลองมหาสวัสดิ์ในด้านการอาชีพ ด้วยอาชีพ
ด้านเกษตรกรรมเป็นหลัก อีกท้ังยังมีการจับสัตว์น้ำจากคลองมหาสวัสดิ์เพ่ือเป็นอาหารดำรงชีพเป็น
ประจำ และในปัจจุบันสมาชิกภายในชุมชนได้มีการพัฒนานำประโยชน์ในด้านการคมนาคมทางเรือมา
ปรับใช้ให้เกดิ ประโยชน์กับชุมชนอีกครัง้ ในด้านการจัดการท่องเท่ียวชุมชน คือ การนำคลองมหาสวสั ดิ์มา

สัมมนาผลงานวิชาการระดับบณั ฑิตศกึ ษาสังคมสงเคราะหศ์ าสตรแ์ ละสวัสดิการสงั คมระดบั ชาติ คร้ังท่ี 10 ประจำปีการศึกษา 2563 | 191

เป็นเส้นทางหลักในการจัดการท่องเท่ียวชุมชน โดยมีการกำหนดเส้นทางพานักท่องเที่ยวเย่ียมชมสถานที่
ท่องเท่ยี วตา่ งๆผ่านการล่องเรอื ในเส้นทางของคลองมหาสวสั ดิ์

2) ทุนมนุษย์ ทุนมนุษย์หรือทุนบุคคลเป็นทุนที่มีส่วนสำคัญยิ่งในการผลักดันให้เกิด
การทอ่ งเที่ยวชมุ ชน ชุมชนริมคลองมหาสวัสดิ์มีบุคคลท่ีมีความรู้ความสามารถในหลากหลายด้านด้วยกัน
ได้แก่ ป้าประนอม ทรพั ยา (ปราชญ์ชาวบ้านด้านอาหารโบราณ) ป้านวลจันทร์ สังข์ป่า (ปราชญ์ชาวบ้าน
ด้านขนมโบราณ) ป้าลัดดาวัลย์ คำสม (ปราชญ์ชาวบ้านด้านเกษตรกรรม) ป้าสุพัตรา อ้นสำราญ และ
พีณ่ ฐั พงษ์ภัทร เตชะสัตยา (ปราชญ์ชาวบ้านด้านหตั ถกรรม พวงมโหตร พับดอกไมจ้ ากใบเตย) นอกจากนี้
ยังมีกลุ่มผู้นำชุมชนทั้งทางการและไม่ทางการที่เป็นทุนที่สำคัญที่ทำให้เกิดการท่องเที่ยวชุมชนข้ึน ได้แก่
นายสมเชาว์ กนกกาญจนะ อดีตกำนันตำบลมหาสวัสด์ิ ผู้ริเร่ิมการท่องเท่ียวชุมชน ร่วมกันกับกลุ่ม
ผู้ใหญ่บ้านและผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านในขณะน้ัน นายสันติ สิริรัตนพรหม ผู้นำกลุ่มท่องเท่ียวกลุ่มที่ 2
พระมหาสราวธุ เจ้าอาวาสวัดศรีเรืองบุญ ผู้ร่วมดำเนินการฟื้นฟูวัดศรีเรืองบุญและทำให้เกดิ กระบวนการ
มีส่วนร่วมของคนในชุมชนท่ีมากข้ึน ผู้อาวุโสภายในชุมชน ผู้ให้ข้อมูลเชิงประวัติศาสตร์ของสถานที่
ท่องเที่ยวภายในชุมชน

3) ทุนองค์ความรู้และภูมิปัญญา ชุมชนริมคลองมหาสวัสดิ์ได้นำองค์ความรู้ท้องถิ่นที่ได้รับ
การสืบทอดมาจากบรรพบุรษุ มาประยุกต์ใช้และตอ่ ยอดให้เกิดประโยชน์อย่างเหมาะสมกับการท่องเท่ียว
ชุมชนหลากหลายด้านด้วยกัน เช่น องค์ความรู้ด้านการทำขนมและอาหารโบราณ องค์ความรู้ด้าน
หตั ถกรรมการทำพวงมโหตรและพบั ดอกไมจ้ ากใบเตย องค์ความรูด้ ้านการแปรรูปสมนุ ไพร

4) ทุนวัฒนธรรม ทั้งในส่วนของวัฒนธรรมเชิงนามธรรมท่ีไม่มีรูป และวัฒนธรรมที่เป็น
รูปธรรมท่ีมีรูปลักษณ์เป็นส่ิงที่มีคุณค่า วัฒนธรรมเชิงนามธรรมเป็นส่ิงท่ีถูกสืบทอดมาจากบรรพบุรุษใน
ด้านวถิ ีชีวติ ต่างๆ เชน่ วถิ ีชีวติ คนริมคลองที่มักจะใช้ประโยชน์จากคลองมหาสวสั ด์เิ ป็นหลัก ความสมั พันธ์
แบบเครือญาติ ความคิดความเชื่อความศรทั ธาในพระพุทธศาสนา รวมถึงด้านความเชือ่ และพธิ ีกรรมท่ีมีมี
ศูนย์กลางในการยึดโยงจิตใจและร่วมทำกิจกรรมกัน คือ วัดศรีเรืองบุญ เป็นต้น ในส่วนวัฒนธรรมที่เป็น
รูปธรรม ได้แก่ องค์ความรู้และภูมิปัญญาในด้านต่างๆ เช่น การแปรรูปสมุนไพร การทำขนมและอาหาร
โบราณ เป็นต้น ทั้งนี้ด้วยฐานของทุนวัฒนธรรมของสมาชิกภายในชุมชนที่มีร่วมกันมาอย่างยาวนาน
ทำให้เปน็ สิ่งท่ียึดโยงคนในชุมชนใหม้ ีความรู้สึกถึงความเป็นเจ้าของชมุ ชนรว่ มกัน มีความรักความสามัคคี
ความภาคภูมิใจต่อชุมชนของตนเอง และนำไปสู่ความร่วมมือที่จะพัฒนา ฟื้นฟู และอนุรักษ์ชุมชน
เอานำไปสู่การจดั การทอ่ งเท่ยี วชมุ ชนข้นึ ได้จนถึงปัจจบุ ัน

กระบวนการปรับตวั ของแหลง่ ท่องเที่ยวชุมชนริมคลองมหาสวสั ด์ิ
ชมุ ชนริมคลองมหาสวัสดิ์ เดิมเปน็ ชุมชนเกษตรกรรม จากการท่ีมลี ักษณะภูมิศาสตร์ของชุมชนที่
เป็นพ้ืนที่ราบลุ่ม ติดคลองสายใหญ่มีน้ำใช้ตลอดปี คนในชุมชนมีอาชีพทำไร่ ทำสวน จับสัตว์น้ำเพ่ือ
การประกอบอาชีพและการดำรงชีพเป็นหลัก แต่เม่ือได้มีการเริ่มจัดการท่องเที่ยวชุมชน ทำให้ชุมชน
มกี ระบวนการปรับตัวใหก้ ลายเป็นชมุ ชนทอ่ งเท่ียวทม่ี ากยง่ิ ขน้ึ ในด้านต่างๆ ดงั จะอธบิ ายตอ่ ไปนี้

192 | สมั มนาผลงานวิชาการระดบั บณั ฑิตศกึ ษาสงั คมสงเคราะห์ศาสตร์และสวสั ดกิ ารสังคมระดบั ชาติ ครงั้ ที่ 10 ประจำปกี ารศกึ ษา 2563

1. กระบวนการปรับปรุงภูมิทัศน์ของศาลเจ้าแม่ทับทิม ในส่วนของกระบวนการปรับตัวของ
ศาลเจ้าแม่ทบั ทิม พบว่า ศาลเจา้ แม่ทับทิมยังคงเอกลกั ษณ์ความดงั้ เดิมเอาไวเ้ ปน็ หลัก ไม่เปล่ียนแปลงไป
จากอดีต มีเพียงกระบวนการปรับตัวด้วยการถูกปรับปรุงและซ่อมแซมในส่วนของตัวศาลที่สึกหรอ
ตามกาลเวลาบ้างเล็กน้อยจากความร่วมมือของคนในชุมชนท่ีมีบ้านเรือนพักอาศัยอยู่ใกล้เคียงกันกับ
ศาลเจ้าแม่ทับทิม เช่น หลังคากระเบื้องดินเผาที่แตก ผนังไม้สักที่เกิดการชำรุด อีกทั้งมีกระบวนการ
ปรับตัวในเรื่องของการปรับปรุงสภาพแวดล้อมโดยรอบเพ่ือเตรียมการท่องเที่ยวชุมชน ด้วยการเทพ้ืน
ปูนซีเมนต์ เพื่อประโยชน์ในการเข้าถึงพื้นที่ตัวศาลเจ้าได้อย่างสะดวก และมีการสร้างห้องน้ำข้ึนเพิ่มเติม
บริเวณดา้ นหลังของศาลเจา้ เพ่ืออำนวยความสะดวกให้แก่นกั ท่องเท่ียวท่เี ข้ามาเย่ียมชมศาลเจา้ แม่ทบั ทมิ

2. กระบวนการปรับตัวของสวนเกษตรลัดดาวัลย์ พื้นท่ีสวนเกษตรลัดดาวัลย์ถูกปรับเปลี่ยน
จากบริบทชาวไร่ชาวสวนธรรมดา จนกลายมาเป็นแหล่งเรียนรู้เชิงเกษตรผสมผสานได้ เนื่องมาจาก
ความคิดท่ีอยากจะส่งต่อความรู้ในด้านเกษตรผสมผสานให้กับผู้อื่นของคุณป้าลัดดาวัลย์ คำสม อีกทั้ง
กระบวนการปรับตัวคร้ังใหญ่ก็เกิดข้ึนอีกคร้ังในปีพ.ศ. 2554 เกิดน้ำท่วมใหญ่ ทำให้พ้ืนท่ีเกษตรกรรม
เสยี หายจนหมด ทำให้ในปพี .ศ. 2555 จงึ ไดเ้ กิดการบรู ณะและปรับปรงุ พ้ืนทีใ่ หม่ทงั้ หมด

3. กระบวนการปรับตัวของบ้านโบราณ 100 ปี ในสว่ นของกระบวนการปรบั ตวั ของบ้านร้อยปี
นี้ เกิดข้ึนในช่วงปี พ.ศ. 2554 ที่เกิดน้ำท่วมใหญ่ ทำให้บางส่วนของบ้านชำรุดและผุพังไปบ้าง แต่จาก
คำบอกกล่าวของเจ้าของบ้านคนปัจจุบัน คือ คุณลุงวันชัย ลิลา ให้ข้อมูลว่า เป็นเพียงการซ่อมแซมให้
กลับมาใช้ประโยชน์ได้เป็นเหมือนเดิมเพียงเท่าน้ัน และในส่วนของการดำเนินกิจกรรมของบ้านร้อยปี
ที่เกี่ยวข้องกับการท่องเท่ียวชุมชนคือ การทำพวงมโหตร พับดอกไม้จากใบเตย สอนทำขนมโบราณ
สอนทำอาหารไทยโบราณ ซ่ึงวัสดุอปุ กรณ์ที่นำมาใช้จะหาจากในพ้ืนที่ของชุมชน การดำเนินกิจกรรมเป็น
กลุ่มวิสาหกิจชุมชนสมุนไพรแปรรูปเทพประทานบ้านร้อยปีเป็นผู้ดำเนินกิจกรรม รวมถึงมีปราชญ์
ชาวบ้านมาเปน็ วทิ ยากรใหค้ วามรู้และการลงมอื ปฏบิ ัติในการทำกจิ กรรมต่างๆ

4. กระบวนการปรับตัวของวัดศรีเรืองบุญ ในส่วนของกระบวนการปรับตัวของวัดศรีเรืองบุญ
จากการศึกษาพบว่า เกิดขึ้นในช่วงขณะที่เจ้าอาวาสปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ท่ีได้มีการทำนุบำรุงฟ้ืนฟู
วัดและศาสนาพุทธให้กลับมาเฟื่องฟูอีกครั้ง รวมถึงทำให้คนในชุมชนกลับมาให้ความสำคัญและ
ความศรัทธากบั วัดศรีเรืองบุญอีกด้วย นอกจากนี้ยังมีการเข้าร่วมกับการท่องเที่ยวชมุ ชน เพื่อเป็นสถานท่ี
ที่สำคัญทางศาสนา และสำคัญต่อกิจกรรมทางศาสนาของนักท่องเท่ียวชาวพุทธและผู้ที่สนใจ กิจกรรมท่ี
เกดิ ขึ้นภายในวัดศรีเรืองบุญ เช่น การสักการะหลวงพ่อกลางสวน การเข้าชมพิพิธภัณฑ์เก็บสะสมของเก่า
การแวะชมโรงเรือคล่อมคลองโบราณ เป็นต้น อีกทั้งมีการดำเนินกิจกรรมที่เกิดข้ึนเป็นโครงการการสอน
ธรรมะให้กับเด็กและเยาวชนภายในชุมชนข้ึนทุกปี จะกำหนดปีละ 2 คร้ังด้วยกัน โดยการนำของ
เจ้าอาวาสวัดศรีเรืองบุญ ซ่ึงมีแนวคิดที่อยากจะเผยแพร่ความรู้และหลกั ปฏิบัติเก่ียวกับศาสนาพุทธให้กับ
เด็กรุ่นใหม่ รวมถึงมีแนวคิดที่อยากจะให้เด็กรุ่นใหม่ช่วยสานต่อ เผยแพร่ และรักษาวัฒนธรรมประเพณี
อนั ดงี ามของชาวพุทธไว้

สมั มนาผลงานวิชาการระดบั บัณฑิตศกึ ษาสงั คมสงเคราะห์ศาสตรแ์ ละสวัสดิการสังคมระดับชาติ ครั้งท่ี 10 ประจำปกี ารศึกษา 2563 | 193

5. กระบวนการมีส่วนร่วมของสวนสมุนไพรเฉลิมพระเกียรติ ในส่วนของกระบวนการปรับตัว
ของสวนสมุนไพรเฉลิมพระเกียรติแห่งน้ี เกิดข้ึนในช่วงปี พ.ศ. 2554 ที่เกิดน้ำท่วมใหญ่ ทำให้พืชพันธุ์
เสียหายท้ังหมด และได้กลับมาฟ้ืนฟูอีกครั้งในปี พ.ศ. 2555 จากความร่วมมือของคนในชุมชนเช่นเดิม
และสวนสมุนไพรเฉลิมพระเกยี รติได้เข้าร่วมเป็นสถานที่ท่องเท่ียวของชุมชนริมคลองมหาสวัสด์ิในปี พ.ศ.
2559 และได้ปรับเปลี่ยนบริบทของสวนสมุนไพรเฉลิมพระเกียรติ มาเป็นศูนย์การเรยี นทางด้านสมุนไพร
ร่วมด้วย การดำเนินกิจกรรมต่างๆในบริบทของศูนย์การเรียนรู้ด้านสมุนไพรและการท่องเที่ยวชุมชน
เกิดขึ้นจากการดำเนินการของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนรักษ์ชา ซึ่งเป็นกลุ่มวิสาหกิจภายในชุมชนท่ีดำเนินการ
ดา้ นการแปรรปู สมนุ ไพรเดิมอยู่แล้ว แตไ่ ด้มีกระบวนการปรับตวั ให้เข้ากับการท่องเท่ียวชุมชนด้วยการมา
ดำเนินกิจกรรมต่างๆให้กับนักท่องเที่ยวด้วย เช่น การให้องค์ความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรต่างๆ การสาธิต
แปรรปู หญา้ หวาน การทำอาหารจากสมนุ ไพร เปน็ ต้น

รูปแบบสวัสดิการชมุ ชนของชุมชนรมิ คลองมหาสวัสดิ์
1. สวัสดิการชุมชนด้านเศรษฐกิจ จากการที่มีการจัดการท่องเท่ียวชุมชนขึ้นนั้น ทำให้คนใน
ชุมชนมีรายได้เสริมที่เพิ่มเติมขึ้นนอกเหนือจากรายได้หลัก รายได้เสริมจากการท่องเท่ียวชุมชนนั้นพอได้
จุนเจือค่าใช้จ่ายต่างๆภายในครอบครัว รายได้ได้จากค่าแพคเกจการท่องเท่ียว และค่าดำเนินกิจกรรมท่ี
จัดข้ึนให้กับนักท่องเท่ียว ซึ่งพบว่าจากการท่องเท่ียวชุมชนน้ัน ทำให้คนในชุมชนมีคุณภาพชีวิตในด้าน
เศรษฐกจิ ทีด่ ีขึ้น
2. สวสั ดิการชุมชนด้านการศกึ ษา หลังจากบรู ณะวัดเสร็จสมบรู ณ์แล้วนน้ั วดั ศรีเรอื งบญุ กไ็ ดร้ ับ
เลือกเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเท่ียวด้านศาสนาของชุมชนริมคลองมหาสวัสดิ์ พระมหาสราวุธจึงได้มี
แนวความคิดใหม่ท่ีอยากจะถ่ายทอดองค์ความรู้และปลูกฝังเร่ืองศาสนาพุทธให้กับเยาวชนในชุมชน
เพ่ือให้เยาวชนในชุมชนเติบโตและดำเนินชีวิตตามหลักคำสอนของศาสนาพุทธ ด้วยการจัดโครงการสอน
ธรรมะ อบรมคุณธรรมจริยธรรมให้กับเด็กและเยาวชนท่ีสนใจกำหนดการจัดกิจกรรมขึ้นปีละ 2 ครั้ง
ดว้ ยกัน โครงการเป็นในลักษณะคล้ายกับการเข้าค่าย มกี ารทำกจิ กรรมด้านศาสนาพุทธ และจดั การเรยี น
การสอนเกย่ี วกับศาสนาพุทธร่วมด้วย
3. สวัสดิการชุมชนด้านสิ่งแวดล้อม ทางผนู้ ำชุมชนมีแนวคิดที่จะบริหารจัดการกับปัญหาที่เกิด
ข้ึนกับคลอง เพื่อให้คลองมีสภาพที่สวยงามและสามารถให้สมาชิกในชุมชนใช้ประโยชน์จากคลองได้เป็น
อย่างดี และเพ่ือให้การท่องเท่ียวชุมชนเกิดการใช้ประโยชน์จากคลองอย่างดีที่สุด จึงเกิดการขอความ
รว่ มมอื กันภายในชุมชนเกิดขึน้ โดยมีการขอความร่วมมือ ไดแ้ ก่ หา้ มทง้ิ ขยะมูลฝอยลงคลอง และหากช่วง
ใดมีผักตบชวาหนาแน่น จะมาร่วมกันทำความสะอาดให้คลองมีสภาพท่ีดีข้ึน ท้ังน้ีทางชุมชนไม่ได้มีกฎ
และกติกาทเี่ ป็นทางการ ไมม่ บี ทลงโทษหรือสภาพบังคับท่ีชัดเจน

อภปิ รายผลการศึกษา
ผลการศกึ ษาทปี่ รากฎนำมาส่กู ารสังเคราะห์ถงึ แนวทางการพัฒนาแหล่งทอ่ งเทย่ี วชุมชนริมคลอง
มหาสวัสด์ิ และการจัดการรูปแบบสวสั ดิการชุมชนให้เกิดข้ึนได้อย่างมปี ระสทิ ธิภาพ ความเหมาะสม และ

194 | สัมมนาผลงานวิชาการระดบั บัณฑิตศกึ ษาสงั คมสงเคราะห์ศาสตร์และสวัสดิการสังคมระดบั ชาติ ครง้ั ท่ี 10 ประจำปกี ารศึกษา 2563

ความย่ังยืน ภายใต้บริบทชุมชนที่มีทุนชุมชนเป็นส่ิงสำคัญในการจุดเร่ิมต้นของการจัดต้ังแหล่งท่องเที่ยว
ชุมชน ดังนี้

1. กลไกของชุมชนสู่การสร้างเสรมิ ศกั ยภาพของแหล่งท่องเท่ยี วชุมชน
จากผลการศึกษา สามารถบ่งช้ีได้ว่า กลไกของชุมชนสู่การสร้างเสริมศักยภาพของแหล่ง

ท่องเที่ยวชุมชน พบว่ากลไกของชุมชนที่เสริมสร้างศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวชุมชนได้มากที่สุด คือ
กลไกของชมุ ชนในด้านทุนชุมชนภายในชมุ ชนริมคลองมหาสวสั ดิ์ (ทุนธรรมชาติ ทุนมนุษย์ ทุนองคค์ วามรู้
และภูมิปัญญา ทุนวัฒนธรรม) ลำดับต่อมา ได้แก่ กลุ่มผู้นำท่ีเป็นทางการและกลุ่มผู้นำไม่เป็นทางการ
ภายในชุมชน ลำดับท่ี 3 ได้แก่ เครือข่ายจากภายในและภายนอกชุมชน อย่างไรก็ตาม การจัดการ
ท่องเท่ียวชุมชนริมคลองมหาสวัสด์ิน้ันเป็นการจัดการท่องเท่ียวท่ีมุ่งเน้นหลักการในการพัฒนาชุมชนเป็น
หลัก โดยที่ใช้การดำเนินงานผ่านการนำทุนท่ีมีอยู่ในชุมชนมาใช้ผ่านการคิดริเริ่มและดำเนินงานท่ี
เก่ียวข้องกับการท่องเท่ียวชุมชนของกลุ่มผู้นำชุมชนเป็นทางการและกลุ่มผู้นำชุมชนที่ไม่เป็นทางการ
ตลอดจนการได้รับการประสานความร่วมมือและการให้การสนับสนุนจากเครือข่ายภายในชุมชนและ
เครือข่ายภายนอกชุมชน ซึ่งเป็นกลไกที่ทำให้การจัดการท่องเที่ยวชุมชนริมคลองมหาสวัสดิ์มี
การดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพมากย่ิงขึ้น อีกทั้งมีการอาศัยกลไกในด้านความเชื่อและพิธีกรรมท่ีคอย
หนุนเสริมใหค้ นในชุมชนและชุมชนมีพลงั ในตนเองและมีความเขม้ แข็ง รวมถึงการจดั การท่องเท่ียวชุมชน
ของชุมชนริมคลองมหาสวัสด์ิไม่เพียงแต่เป็นการพัฒนาชุมชนเพียงเท่านั้น แต่ยังทำให้คนในชุมชนมี
คุณภาพชีวิตท่ีดขี ึ้นในด้านของการมีรายได้เสรมิ ด้านการได้รับการศึกษาด้านธรรมะ และด้านการจัดการ
สิ่งแวดล้อม ท้ังนี้กลไกท้ังหมดนี้หรือท่ีเรียกว่า “ทุนชุมชน” ดังที่ Bourdieu (1986) ได้อธิบายไว้ว่า คือ
การรวมตัวกันของทรัพยากรท่ีมีอยู่หรือการมีศักยภาพท่ีมีความสัมพันธ์กับเครือข่าย ซึ่งถือว่าเป็น
ทรัพยากรอย่างหน่ึงที่เอื้อประโยชน์ให้ได้รับการอำนวยความสะดวกในสังคมในแง่มุมต่างๆ ทุนใดท่ีมี
ความสัมพันธ์ท่ีดีและแน่นแฟ้นต่อกนั เป็นทุนในลักษณะที่ยั่งยืน เช่นเดียวกับ Coleman (1990) ที่กล่าว
ไว้ว่า ทุนชุมชนถือเป็นทรัพยากรประเภทหน่ึงท่ีเป็นประโยชน์ มีองค์ประกอบสองอย่างด้วยกัน ได้แก่
โครงสร้างทางสังคมและโครงสร้างความสัมพันธ์ของบุคคลภายในโครงสร้างนั้น ดังนั้นจึงมีความสามารถ
ในการทำให้เกิดประสิทธิผลหรือความสำเร็จในบางสิ่งบางอย่างได้ ตามที่ชุมชนริมคลองมหาสวัสด์ิ
สามารถจัดการทอ่ งเท่ียวชมุ ชนไดอ้ ย่างประสบความสำเร็จจากการพัฒนานำเอาทุนท่ีมอี ยู่ในชุมขนมาเป็น
กลไกสำคัญในการขับเคลอ่ื นการท่องเท่ียวชุมชน

2. กระบวนการของชมุ ชนสู่การสร้างเสรมิ ศกั ยภาพของแหล่งท่องเทีย่ วชุมชน
จากผลการศึกษา กระบวนการของชุมชนที่สร้างเสริมศักยภาพแหล่งท่องเท่ียวชุมชนมี 3

กระบวนการ คือ 1) กระบวนการปรับปรุงภูมิทัศน์เกิดข้ึนในสถานท่ีท่องเที่ยวชุมชนริมคลองมหาสวัสดิ์
คือ ศาลเจ้าแม่ทับทิม 2) กระบวนการของชุมชนท่ีสร้างเสริมศักยภาพแหล่งท่องเท่ียวชุมชน คือ
กระบวนการปรับตัว ประกอบด้วย สวนเกษตรลัดดาวัลย์ บ้านโบราณร้อยปี และวัดศรีเรืองบุญ
3) กระบวนการของชุมชนท่ีสร้างเสริมศักยภาพแหล่งท่องเท่ี ยวชุมชนกระบวนการสุดท้าย คือ
กระบวนการมีส่วนร่วม โดยเกิดขึ้นในพนื้ ท่ีของสวนสมนุ ไพรเฉลิมพระเกียรติ อย่างไรก็ตาม กระบวนการ

สมั มนาผลงานวชิ าการระดับบณั ฑิตศกึ ษาสังคมสงเคราะหศ์ าสตรแ์ ละสวสั ดกิ ารสังคมระดับชาติ คร้ังท่ี 10 ประจำปีการศกึ ษา 2563 | 195

ของชมุ ชนที่สร้างเสริมศักยภาพแหล่งท่องเทีย่ วชุมชนท้ัง 3 น้ันสอดคล้องกับแนวคิดการปรับตัวของ Roy
(2003) ได้ให้ความหมายการปรับตัวไว้ว่า การเปล่ียนแปลงที่เกิดข้ึนเป็นตัวกระตุ้นให้ส่ิงแวดล้อม
อนั ได้แก่ บุคคล ครอบครวั ชมุ ชน และสังคม เกิดการปรับตวั และที่เกิดความเปลย่ี นแปลงก็เพราะจะเพื่อ
รักษาความมั่นคงของตนเอง รวมถึง มูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ย่ังยืน (2560) ได้กล่าวถึงการกระบวนการ
เปลี่ยนแปลงของชุมชนไว้ว่า กระบวนการเปลี่ยนแปลงท่ีเกิดขึ้นในชุมชนทั้งในด้านโครงสร้างและวิถีชีวิต
น้ัน ต้องอาศัยการคำนึงถึงผลกระทบของบริบทชุมชนอย่างรอบด้านที่เข้ามาส่งผลกระทบในปัจจุบันและ
อนาคต ซึ่งกระบวนการท่ีเกิดภายในชุมชนริมคลองมหาสวัสด์ินำไปสู่การเกิดข้ึนของการท่องเที่ยวชุมชน
และสรา้ งเสริมศกั ยภาพของแหล่งทอ่ งเทย่ี วชมุ ชนใหไ้ ด้รบั การพัฒนาและประสบความสำเร็จ

3. รปู แบบสวสั ดิการชุมชนที่เกิดขนึ้ จากการทอ่ งเท่ียวชุมชนและหนนุ เสรมิ การพัฒนาชุมชน
จากการศึกษาสามารถบ่งชี้ได้ว่า รูปแบบสวัสดิการชุมชนที่เกิดขึ้นจากการท่องเท่ียวชุมชน

และหนุนเสริมการพัฒนาชุมชนของชุมชนริมคลองมหาสวัสดิ์ อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี รูปแบบ
สวัสดิการชมุ ชนที่เกิดขึ้นจากการท่องเที่ยวชุมชนและหนุนเสริมการพัฒนาชุมชนมี 3 รูปแบบด้วยกนั คือ
1) สวัสดิการชุมชนด้านเศรษฐกิจ 2) สวัสดิการชุมชนด้านการศึกษา 3) สวัสดิการชุมชนด้านส่ิงแวดล้อม
อย่างไรก็ตามรูปแบบสวัสดิการชุมชนที่เกิดขึ้นจากการท่องเท่ียวชุมชนและหนุนเสริมการพัฒนาชุมชน
ของชุมชนริมคลองมหาสวัสด์ิ อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี รปู แบบสวัสดิการชุมชนที่เกิดข้ึนจากการ
ทอ่ งเที่ยวชมุ ชนและหนนุ เสริมการพัฒนาชุมชนมี 3 รปู แบบด้วยกนั คอื 1) สวัสดิการชุมชนด้านเศรษฐกิจ
2) สวัสดิการชุมชนด้านการศกึ ษา 3) สวสั ดกิ ารชุมชนด้านส่ิงแวดล้อม ซึง่ สอดคลอ้ งกับ อภิญญา เวชยชัย
และ ศิริพร ยอดกมลศาสตร์ (2550) ได้จำแนกรูปแบบสวัสดิการชุมชนออกเป็น 3 ฐาน ได้แก่ ฐาน
ทรัพยากร ฐานวัฒนธรรม และฐานงานพัฒนา ดังนี้ ฐานทรัพยากร เป็นการใช้ประโยชน์จากทรัพยากร
เป็นการหารายได้และวัตถุดิบ ฐานวัฒนธรรม ได้แก่ การเก้ือกูลของกลุ่มเครือญาติ การเก้ือกูลของระบบ
อปุ ถมั ภ์ การจดั การของศาสนา ฐานงานพฒั นา ได้แก่ การจดั กลุ่มฌาปนกิจ

ขอ้ เสนอแนะ
1. ข้อเสนอแนะจากผลการศึกษา

1) กลไกขับเคล่ือนการท่องเท่ียวชุมชนของชุมชนริมคลองมหาสวัสดิ์ ควรที่จะดึงคนในชุมชน
ทกุ ช่วงวัยเข้ามามีสว่ นร่วมหนง่ึ ในกลไกขับเคล่ือนการทอ่ งเทยี่ วชมุ ชน เน่อื งจากในปัจจุบันพบเพียงแต่คน
ในชุมชนในกลุ่มของผู้นำทั้งท่ีเป็นทางการและไม่เป็นทางการ และผู้อาวุโสในชุมชน การที่มีคนในชุมชน
ทกุ ช่วงวัยมาเปน็ สว่ นรว่ มในกลไกการขับเคลื่อนการทอ่ งเที่ยวชมุ ชนน้ันเพื่อที่จะทำให้การทอ่ งเที่ยวชุมชน
สามารถขบั เคลื่อนไปได้ในอนาคตอย่างย่งั ยืน

2) กระบวนการปรับตัวของแหล่งท่องเที่ยวชุมชนริมคลองมหาสวัสด์ิ ควรมีการสร้างรายได้
เข้าสู่ชุมชนในหลากหลายช่องทางมากยิ่งขึ้นด้วยการมีกระบวนการปรับตัวใหม่ๆเพ่ือรองรับและดึงดูดให้
นกั ทอ่ งเทีย่ วเข้ามาทอ่ งเที่ยวภายในชุมชน เช่น การทำผลิตภัณฑ์ชุมชนเพ่ิมเติมจากทรพั ยากรท่ีหาไดจ้ าก

196 | สัมมนาผลงานวิชาการระดบั บณั ฑิตศกึ ษาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และสวัสดกิ ารสังคมระดับชาติ ครง้ั ท่ี 10 ประจำปีการศึกษา 2563

ในชุมชน เพ่ือสร้างรายได้เข้าสู่ชุมชนมากข้ึนและเป็นการยกระดับการท่องเที่ยวชุมชนเพื่อนำไปสู่
การไดร้ ับการพฒั นาในดา้ นอืน่ ๆ ต่อไปในอนาคต

3) รูปแบบสวัสดิการชุมชนของชุมชนริมคลองมหาสวัสด์ิ ควรมีสวัสดิการชุมชนด้าน
ส่ิงแวดล้อมท่ีเกี่ยวกับการทิ้งขยะลงสู่ลำคลองท่ีเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น ด้วยการออกเป็นกฎระเบียบของ
ชุมชนหรือกฎข้อบังคับระหว่างการอยู่ร่วมกันของสมาชิกภายในชุมชน และมีการกำหนดบทลงโทษท่ี
เข้มงวดชัดเจน เพ่ือให้สมาชิกภายในชุมชนมีบรรทัดฐานในการดำเนินชีวิตเดียวกัน และเกิดเป็นการรับรู้
และความสามัคคใี นการปฏิบัติตนภายในชมุ ชน

2. ขอ้ เสนอแนะเชิงนโยบาย
1) ภาครฐั ควรส่งเสริมและสนับสนุนชุมชนในด้านของการประชาสัมพันธก์ ารท่องเท่ียวชุมชน

หรือการจัดใหม้ ีการใช้ชุมชนท่องเท่ียวเป็นชุมชนตัวอยา่ งในดา้ นการจัดการทรัพยากร เพือ่ ใหน้ กั ท่องเท่ยี ว
หรือผู้ทส่ี นใจการทอ่ งเท่ียวชมุ ชน ได้รูจ้ ักชมุ ชนมากขึน้ และเขา้ มาทอ่ งเทย่ี วภายในชุมชน

2) การสรา้ งรายไดจ้ ากการท่องเท่ียวชมุ ชนทีม่ ากข้ึนให้กบั ชุมชน ภาครัฐควรส่งเสรมิ ให้ชุมชน
มีการทำให้การท่องเที่ยวชมุ ชนเป็นแหล่งรายไดเ้ สริมท่ีคนในชุมชนสามารถนำไปใช้จ่ายภายในครัวเรือนที่
มากข้ึน เช่น การเข้ามามีบทบาทในการเพิ่มองค์ความรู้และการบริหารจัดการด้านการท่องเที่ยวและ
การสร้างรายได้ท่ีเหมาะสม เป็นต้น เพ่ือเป็นการสร้างความม่ันคงจากระบบเศรษฐกิจฐานรากอย่าง
แท้จริงและเพ่ือให้ชุมชนมีรายได้หลักท่ีแน่นอนสามารถจุนเจือครอบครัวได้โดยใช้ต้นทุนจากส่ิงที่มีอยู่
ภายในชมุ ชน

รายการอา้ งอิง
กรมการทอ่ งเทยี่ ว. (2561). สถิตดิ า้ นการทอ่ งเทย่ี วปี 2561. สบื ค้นจาก

https://www.mots.go.th/more_news_new.php?cid=411
การทอ่ งเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2559). การสำรวจพฤติกรรมนักท่องเทย่ี วชาวไทย. สืบค้นจาก

https://intelligencecenter.tat.or.th/articles/8612
กระทรวงการท่องเทีย่ วและกีฬา. (2556). ชุมชนปลายบาง. สบื คน้ จาก

https://thailandtourismdirectory.go.th/th/info/attraction/detail/itemid/23307
โกวิทย์ พวงงาม. (2553). การจัดการตนเองของชุมชนและท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: บพิธการพิมพ์
คะนอง พลิ ุน. (2560). การจัดสวสั ดกิ ารโดยชุมชน กรณศี ึกษา บ้านฮ่องฮี ตำบลยางตลาด อำเภอยางตลาด

จงั หวัดกาฬสนิ ธุ์. มหาวทิ ยาลัยมหาสารคาม.
ชยั วัชน์ หน่อรัตน.์ (2556). เศรษฐกจิ และสวสั ดกิ ารชุมชน การบรหิ ารที่ใชช้ ุมชนเป็นฐาน. กรงุ เทพฯ:

สำนักพมิ พ์สรา้ งสรรค.์
ชูกลิ่น อนุ วจิ ติ ร. (2553). การบรหิ ารจดั การการทอ่ งเท่ยี วเพ่ือการพฒั นาเศรษฐกจิ และสังคม. กรุงเทพฯ:

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาต.ิ
ปัทมาวดี โพชนกุ ูล ซซู ูกิ. (2552). สวัสดกิ ารชมุ ชนในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: พิสษิ ฐ์ ไทย ออฟเชต.

สมั มนาผลงานวิชาการระดบั บัณฑิตศกึ ษาสงั คมสงเคราะห์ศาสตร์และสวัสดกิ ารสังคมระดับชาติ ครั้งท่ี 10 ประจำปีการศึกษา 2563 | 197

พมิ พ์ลภัส พงศกรรังศลิ ป.์ (2557). การจัดการท่องเทยี่ วชุมชนอย่างยงั่ ยนื กรณีศกึ ษาบา้ นโคกไคร
จังหวัดพงั งา. วารสารวชิ าการ Veridian E-Journal, 7(3).

มูลนธิ เิ พ่ือการพัฒนาทยี่ ง่ั ยืน. (2560). การต้ังรับปรบั ตัวของชมุ ชน. สบื ค้นจาก
http://www.sdfthai.org/public/ex-disater.pdf

ระพีพรรณ คำหอม. (2551). รายงานการศึกษาการสงั เคราะห์องคค์ วามรู้การพฒั นารูปแบบการบูรณา
การเครือขา่ ยกองทุนสวัสดกิ ารชุมชนระดับอำเภอ 12 พ้นื ท่ี. กรุงเทพฯ: เทพเพ็ญวานิสย.์

วรวฒุ ิ โรมรัตนพันธ.์ (2548). ทุนทางสังคม. กรุงเทพฯ: โครงการเสริมสรา้ งการเรยี นรเู้ พื่อชุมชนเป็นสุข
วรุฒม์ บุญมากมี. (2558). การเตรียมความพรอ้ มเขา้ สปู่ ระชาคมอาเซียนของพนักงานรฐั วิสาหกิจ

กรณีศึกษา สำนกั งานกลางการไฟฟา้ ฝา่ ยผลติ แห่งประเทศไทย จงั หวดั นนทบุร.ี (วิทยานพิ นธ์
ปริญญามหาบณั ฑิต). มหาวทิ ยาลัยเทคโนโลยรี าชมงคลธญั บุรี, คณะบริหารธุรกิจ.
สถาบนั การท่องเทย่ี วโดยชมุ ชน. (2552). รู้จักการทอ่ งเทย่ี วโดยชมุ ชน. สบื ค้นจาก
https://cbtyouth.wordpress.com/cbt-youth/cbt/
สถาบนั พัฒนาองค์กรชุมชน. (2562). สวัสดกิ ารชมุ ชน. สบื คน้ เม่อื วนั ที่ 20 กรกฎาคม 2563, จาก
https://web.codi.or.th/faq/20190425-844/
สินธ์ุ สโรบล. (2559). การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน. สบื ค้นเม่อื วนั ท่ี 25 กรกฎาคม 2563, จาก
http://rescom.trf.or.th/display/keydefault.aspx?id_colum=276
สุถี เสริฐศรี. (2557). แนวทางการจดั การทอ่ งเทีย่ วอยา่ งยง่ั ยืนในชุมชนคลองโคน อำเภอเมอื ง
จงั หวัดสมุทรสงคราม. (วิทยานพิ นธ์ปริญญามหาบัณฑติ ). มหาวทิ ยาลัยกรุงเทพ, บณั ฑติ วิทยาลยั ,
สาขาวิชาการจดั การอุตสาหกรรมการบริการและการทอ่ งเทีย่ ว.
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ. (2562). การท่องเทยี่ วไทยอยู่อันดับไหนในเวทีท่องเทีย่ วโลก. สืบค้นจาก
https://www.nia.or.th/WEF2019
อรทัย ไพยรตั น์. (2552). การปรบั ตวั ของชุมชนบ้านโคกวดั อนั เนอ่ื งมาจากการพัฒนากระแสหลกั .
(วทิ ยานพิ นธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวทิ ยาลัยสงขลานครินทร์, บณั ฑติ วทิ ยาลยั ,
สาขาวชิ าพฒั นามนุษย์และสงั คม.
อภญิ ญา เวชยชัย และ ศิริพร ยอดกมลศาสตร.์ (2550). สวัสดกิ ารสังคม ฉบบั ชาวบ้าน (พิมพค์ รั้งท่ี 2).
กรุงเทพฯ: เอดสิ นั เพรส โปรดักส์.
อทุ ัย ปรญิ ญาสทุ ธนิ นั ท์. (2561). การจัดการชุมชน. กรงุ เทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Aldridge, Stephen, David, Halpern, and Sarah, Fitzpatrick. (2002). Social Capital:
A Discussion Paper. London. England: Performance and Innovation Unit.
Anheier, Helmut, and Jeremy, Kendall. (2002). Interpersonal Trust and Voluntary
Associations. British Journal of Sociology 53.
Bourdieu, P. (1986). The forms of capital. In J. Richardson (Ed.) Handbook of Theory and
Research for the Sociology of Education. New York: Greenwood.

198 | สมั มนาผลงานวชิ าการระดับบัณฑิตศึกษาสงั คมสงเคราะห์ศาสตร์และสวัสดกิ ารสังคมระดบั ชาติ ครงั้ ที่ 10 ประจำปีการศึกษา 2563

Coleman, James S. (1990). Foundations of social theory. Cambridge: Harvard University
Press.

Pantoja, E. (1999). Exploring the concept of social capital and its relevance for
community based development: the case of minin areas in Orissa, India. South
Asia Infrastructure Unit: World Bank.

Putnam, Robert D. (1995). Bowling alone: America’s declining social capital. Journal of
Democracy.

Roy, C. (2003). Reflections on Nursing Research and the Roy Adaptation Model.
Igajusyoin Japanese Journal.

สมั มนาผลงานวชิ าการระดบั บัณฑิตศกึ ษาสงั คมสงเคราะหศ์ าสตรแ์ ละสวัสดิการสังคมระดบั ชาติ คร้ังท่ี 10 ประจำปีการศกึ ษา 2563 | 199

ภาคผนวก

200 | สมั มนาผลงานวชิ าการระดบั บัณฑติ ศกึ ษาสงั คมสงเคราะห์ศาสตรแ์ ละสวัสดกิ ารสังคมระดับชาติ คร้งั ท่ี 10 ประจำปกี ารศึกษา 2563

สมั มนาผลงานวิชาการระดับบัณฑิตศึกษาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และสวสั ดิการสังคมระดบั ชาติ คร้ังท่ี 10 ประจำปีการศกึ ษา 2563 | 201

Prof. Dr.Tan Ngoh Tiong

International Association of Schools of Social Work (IASSW)
and Singapore University of Social

“Social Work Contribution of the Key Value Bases
for Social Transformation in the New Era”

202 | สมั มนาผลงานวิชาการระดับบัณฑิตศึกษาสงั คมสงเคราะห์ศาสตร์และสวัสดกิ ารสังคมระดับชาติ ครง้ั ที่ 10 ประจำปกี ารศึกษา 2563

10th National Seminar of Graduate Studies in Social Work and Social Welfare
Immunity in the New Normal for Social Work and Social Welfare towards

Sustainable Development
Saturday, 25th September 2021
Department Social Work and Social Policy, Development and Community Development,
Faculty of Social Administration, Thammasat University in Collaboration with Thai
Association of Social Work and Social Welfare Education and
Thailand Association of Social Workers

Social Work Contribution of the Key Value Bases for Social Transformation in the New Era

Professor Tan Ngoh Tiong
Singapore University of Social Sciences
Chair, Global Institute of Social Work

Social Disruptions and Social Transformation
World is disrupted like never before and things cannot return to as before. The key
contribution of social work to social change is in the undergirding values and ethical
principles vital to direct the change process (IFSW, 2021). The basis for effective
social work intervention as well as social transformation, lies in its value bases.
The goals and objectives of social transformation should be in the direction for a fairer,
more equitable and just world. Social work is about social change that incorporates the
key social values as the underlying foundation of society. There are the universal values
as well as communitarian values that guides the directions and values of social work
practice.

Values Propelling Social Change
The values that propel change can be categorized as universal values, communitarian
values and specific social work values:

สมั มนาผลงานวิชาการระดบั บัณฑิตศกึ ษาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และสวสั ดกิ ารสังคมระดับชาติ คร้ังที่ 10 ประจำปีการศกึ ษา 2563 | 203

Universal Values
Human values impact the direction of the dynamics of change and guides the social
transformation process. The universal values are akin to the social work values and
principles, includes that of social justice, compassion and care, human ethics as well as
civility.

The new era promises to “rebuild better” and the expected outcome is for a healthier
and wealthier world for all (WEF, 2021, WEF, 2021a).

Communitarian Values
Underlying the values of social solidarity and community participation are the
communitarian values of capacity building, cohesion and social resilience. Society as
comprised of social blocks that are bounded together in social solidarity.

Social Work Values
The key principles of social work are based on the values of life and liberty, individual
worth and rights, social inclusion of diversity, respect for each other and for differences,
empowerment of people and communities, as well as freedom and self-determination,
as exemplified in Figure 1.

The direction for social work change is guided by the values of creativity and innovation
and based on parsimony, ethical suitability, appropriateness for the intervention.
Capacity building and the reinforcement of social resilience are key goals and values for
the new normal of social work practice.

204 | สมั มนาผลงานวชิ าการระดบั บัณฑิตศกึ ษาสงั คมสงเคราะห์ศาสตร์และสวสั ดกิ ารสังคมระดบั ชาติ ครัง้ ที่ 10 ประจำปกี ารศึกษา 2563

Figure1: Paradigm for Social Work and Great Reset

Social work advocates for a redistributive approach. The underlying values are
universality and social justice, towards a world that is greener, with more appropriate
use of technology and more sustainable world on every sense of the word.
Social Work in New Era
Introducing the role of social work to deal with the new normal towards the goal of
common good. Besides the values are the technologies, skills and knowledge of social
work. Social Work approaches are essentially that of collaboration and capacity building.
The proposed paradigm views intervention systemically involving local state, federal
and global levels and the vital participation of NGOs, businesses, market forces and civil
society.
Social Work Disrupting Society
Social work can also be a disruptive force in the new era. Social work as a versatile
profession will find new niches and forge new territories for social action such as social
research and development of cutting-edge practice.

สมั มนาผลงานวชิ าการระดบั บัณฑิตศกึ ษาสงั คมสงเคราะห์ศาสตรแ์ ละสวสั ดิการสังคมระดับชาติ คร้ังท่ี 10 ประจำปกี ารศกึ ษา 2563 | 205

Social work must reinvent new ways including the use of technology, online training and
community action, effectively tackling both the old as well as the new problems (Tan,
2021).

Building Social Resilience
There is no immunity even with vaccination everyone is susceptible to Covid19 virus. It
is vital for social work and social welfare to build social resilience. Resilience is
multifaceted with both individual and interpersonal level as well as societal level. An
integrative approach deals with social strengths and connections to place (Obrist,
Pfeiffer & Henley 2010). Social resilience and social work include the building social and
human capital, capacity building, networking for both formal as well as informal
support.

Community resilience is based on social solidarity. Resilience is seen as the ability of a
system to absorb the crisis and still retain its processes and structures. Resilient can
“adapt to change without losing the qualities that define what it is and what it does”.

Social Work intervention is aimed at personal, community and societal resilience.
Relationships are key in building social resilience in the “new normal”. Building
community resilience is important for long-term strategy in dealing with disasters and
conflicts. Community resilience-building efforts to “connect, provide mutual aid, and
learn from each other; collecting and disseminating key resources to build and support
national network” (Resilience, 2021).

Sustainable environment for food security and crisis preparedness is essential. Thus the
resilient community and society needs to deal with its environment: ecology including
energy, economy and livelihood and equity the value for redistribution of resources
(Resilience, 2021). Sustainability and resilience are intertwined.

Conclusions

The proposed paradigm of social work for the new normal includes understanding of
the key issues and problems propelling the social change, and developing social work
strategies. Social work seeks to develop social resilience, social cohesion and social
solidarity through capacity building and social development. However, it is the universal,
communitarian and social work values and principles that are important to direct
change.

206 | สมั มนาผลงานวิชาการระดับบณั ฑติ ศกึ ษาสังคมสงเคราะห์ศาสตรแ์ ละสวสั ดิการสังคมระดับชาติ ครง้ั ที่ 10 ประจำปีการศกึ ษา 2563

References

IFSW (2021). Global Definition of Social Work. Retrieved on 8 August, 2021 from
https://www.ifsw.org/what-is-social-work/global-definition-of-social-work/

Obrist, P., Pfeiffer, C. & Henley, R. (2010). Social Resilience and Disaster Management
Readings. UNDP: Developing countries vulnerable in pandemic #World#Coronavirus

Resilience (2021) Building Community Resilience: Before, During, and After. Resilience
retrieved from: www.resilience.org

WEF (2021) Great Reset. Retrieved on 5 Aug 2012, from: https://www.weforum.org/great-
reset

WEF (2021a). How governments can shape markets towards green and inclusive growth.
Retrieved on 2 August, 2021 from: https://www.weforum.org/agenda/2021/06/how-
governments-can-shape-markets-towards-green-and-inclusive-growth/

สมั มนาผลงานวชิ าการระดับบณั ฑิตศกึ ษาสังคมสงเคราะหศ์ าสตรแ์ ละสวสั ดกิ ารสงั คมระดบั ชาติ คร้ังท่ี 10 ประจำปกี ารศกึ ษา 2563 | 207

208 | สมั มนาผลงานวชิ าการระดบั บัณฑติ ศกึ ษาสงั คมสงเคราะห์ศาสตรแ์ ละสวัสดกิ ารสังคมระดับชาติ คร้งั ท่ี 10 ประจำปกี ารศึกษา 2563

สมั มนาผลงานวชิ าการระดับบณั ฑิตศกึ ษาสังคมสงเคราะหศ์ าสตรแ์ ละสวสั ดกิ ารสงั คมระดบั ชาติ คร้ังท่ี 10 ประจำปกี ารศกึ ษา 2563 | 209

210 | สมั มนาผลงานวชิ าการระดบั บัณฑติ ศกึ ษาสงั คมสงเคราะห์ศาสตรแ์ ละสวัสดกิ ารสังคมระดับชาติ คร้งั ท่ี 10 ประจำปกี ารศึกษา 2563

สมั มนาผลงานวชิ าการระดับบณั ฑิตศกึ ษาสังคมสงเคราะหศ์ าสตรแ์ ละสวสั ดกิ ารสงั คมระดบั ชาติ คร้ังท่ี 10 ประจำปกี ารศกึ ษา 2563 | 211

212 | สมั มนาผลงานวชิ าการระดบั บัณฑติ ศกึ ษาสงั คมสงเคราะห์ศาสตรแ์ ละสวัสดกิ ารสังคมระดับชาติ คร้งั ท่ี 10 ประจำปกี ารศึกษา 2563

สมั มนาผลงานวชิ าการระดับบณั ฑิตศกึ ษาสังคมสงเคราะหศ์ าสตรแ์ ละสวสั ดกิ ารสงั คมระดบั ชาติ คร้ังท่ี 10 ประจำปกี ารศกึ ษา 2563 | 213

214 | สมั มนาผลงานวชิ าการระดบั บัณฑติ ศกึ ษาสงั คมสงเคราะห์ศาสตรแ์ ละสวัสดกิ ารสังคมระดับชาติ คร้งั ท่ี 10 ประจำปกี ารศึกษา 2563

สมั มนาผลงานวิชาการระดับบณั ฑิตศกึ ษาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และสวัสดิการสังคมระดับชาติ ครั้งที่ 10 ประจำปีการศกึ ษา 2563 | 215

Prof. Le Chi An

Institution of Social Security and Community Development

“Vietnam prepared for New Normal and for
Sustainable Development”

216 | สมั มนาผลงานวชิ าการระดบั บัณฑติ ศกึ ษาสงั คมสงเคราะห์ศาสตรแ์ ละสวัสดกิ ารสังคมระดับชาติ คร้งั ท่ี 10 ประจำปกี ารศึกษา 2563

สมั มนาผลงานวชิ าการระดับบณั ฑิตศกึ ษาสังคมสงเคราะหศ์ าสตรแ์ ละสวสั ดกิ ารสงั คมระดบั ชาติ คร้ังท่ี 10 ประจำปกี ารศกึ ษา 2563 | 217

218 | สมั มนาผลงานวชิ าการระดบั บัณฑติ ศกึ ษาสงั คมสงเคราะห์ศาสตรแ์ ละสวัสดกิ ารสังคมระดับชาติ คร้งั ท่ี 10 ประจำปกี ารศึกษา 2563

สมั มนาผลงานวชิ าการระดับบณั ฑิตศกึ ษาสังคมสงเคราะหศ์ าสตรแ์ ละสวสั ดกิ ารสงั คมระดบั ชาติ คร้ังท่ี 10 ประจำปกี ารศกึ ษา 2563 | 219

220 | สมั มนาผลงานวชิ าการระดบั บัณฑติ ศกึ ษาสงั คมสงเคราะห์ศาสตรแ์ ละสวัสดกิ ารสังคมระดับชาติ คร้งั ท่ี 10 ประจำปกี ารศึกษา 2563

สมั มนาผลงานวชิ าการระดับบณั ฑิตศกึ ษาสังคมสงเคราะหศ์ าสตรแ์ ละสวสั ดกิ ารสงั คมระดบั ชาติ คร้ังท่ี 10 ประจำปกี ารศกึ ษา 2563 | 221

222 | สมั มนาผลงานวชิ าการระดบั บัณฑติ ศกึ ษาสงั คมสงเคราะห์ศาสตรแ์ ละสวัสดกิ ารสังคมระดับชาติ คร้งั ท่ี 10 ประจำปกี ารศึกษา 2563

สมั มนาผลงานวชิ าการระดับบณั ฑิตศกึ ษาสังคมสงเคราะหศ์ าสตรแ์ ละสวสั ดกิ ารสงั คมระดบั ชาติ คร้ังท่ี 10 ประจำปกี ารศกึ ษา 2563 | 223

224 | สมั มนาผลงานวชิ าการระดบั บัณฑติ ศกึ ษาสงั คมสงเคราะห์ศาสตรแ์ ละสวัสดกิ ารสังคมระดับชาติ คร้งั ท่ี 10 ประจำปกี ารศึกษา 2563

สมั มนาผลงานวชิ าการระดับบณั ฑิตศกึ ษาสังคมสงเคราะหศ์ าสตรแ์ ละสวสั ดกิ ารสงั คมระดบั ชาติ คร้ังท่ี 10 ประจำปกี ารศกึ ษา 2563 | 225

226 | สมั มนาผลงานวชิ าการระดบั บัณฑติ ศกึ ษาสงั คมสงเคราะห์ศาสตรแ์ ละสวัสดกิ ารสังคมระดับชาติ คร้งั ท่ี 10 ประจำปกี ารศึกษา 2563

สมั มนาผลงานวิชาการระดบั บณั ฑิตศกึ ษาสังคมสงเคราะห์ศาสตรแ์ ละสวสั ดิการสังคมระดับชาติ คร้ังที่ 10 ประจำปีการศึกษา 2563 | 227

Prof. Dr. Sakthi Prabha

Dean and head of School of Humanities,
Hindusthan College of Arts and Sciences, India

“Responding to COVID-19 Pandemic Challenge and
Efforts towards Sustainable Development in India”

228 | สมั มนาผลงานวชิ าการระดบั บัณฑติ ศกึ ษาสงั คมสงเคราะห์ศาสตรแ์ ละสวัสดกิ ารสังคมระดับชาติ คร้งั ท่ี 10 ประจำปกี ารศึกษา 2563

สมั มนาผลงานวชิ าการระดับบณั ฑิตศกึ ษาสังคมสงเคราะหศ์ าสตรแ์ ละสวสั ดกิ ารสงั คมระดบั ชาติ คร้ังท่ี 10 ประจำปกี ารศกึ ษา 2563 | 229

230 | สมั มนาผลงานวชิ าการระดบั บัณฑติ ศกึ ษาสงั คมสงเคราะห์ศาสตรแ์ ละสวัสดกิ ารสังคมระดับชาติ คร้งั ท่ี 10 ประจำปกี ารศึกษา 2563

สมั มนาผลงานวชิ าการระดับบณั ฑิตศกึ ษาสังคมสงเคราะหศ์ าสตรแ์ ละสวสั ดกิ ารสงั คมระดบั ชาติ คร้ังท่ี 10 ประจำปกี ารศกึ ษา 2563 | 231

232 | สมั มนาผลงานวชิ าการระดบั บัณฑติ ศกึ ษาสงั คมสงเคราะห์ศาสตรแ์ ละสวัสดกิ ารสังคมระดับชาติ คร้งั ท่ี 10 ประจำปกี ารศึกษา 2563

สมั มนาผลงานวชิ าการระดับบณั ฑิตศกึ ษาสังคมสงเคราะหศ์ าสตรแ์ ละสวสั ดกิ ารสงั คมระดบั ชาติ คร้ังท่ี 10 ประจำปกี ารศกึ ษา 2563 | 233

234 | สมั มนาผลงานวชิ าการระดบั บัณฑติ ศกึ ษาสงั คมสงเคราะห์ศาสตรแ์ ละสวัสดกิ ารสังคมระดับชาติ คร้งั ท่ี 10 ประจำปกี ารศึกษา 2563


Click to View FlipBook Version