The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by graphic, 2022-04-18 23:23:49

16310ebook

16310ebook

ภาพที่ 4 แสดงถงึ ภาพรวมของคุณลกั ษณะ 4V
ทม่ี า: https://www.ibmbigdatahub.com/infographic/extracting-business-value-4-vs-big-data

191

จากภาพท่ี 4 แสดงถงึ ภาพรวมของคณุ ลกั ษณะ 4V สามารถอธิบายได้ดงั น้ี
1.2.1 ปริมาณมหาศาลของข้อมูล หรือ V ตัวที่ 1 มาจากคำว่า Voloum ซึ่งในบริบทของ

ข้อมูลขนาดใหญ่ หมายถึง ข้อมูลที่มีขนาดมากกว่า Terabytes (TB) หรือเทราไบต์ เป็นหน่วยวัดขนาดของ
ข้อมลู ในคอมพวิ เตอร์ท่ีมีขนาด คอื 1,000,000,000,000 ไบต์ (หนึ่งล้านลา้ นไบต)์ 1012 ไบท์ ข้ึนไป

1.2.2 ความรวดเร็วต่อการเปลี่ยนแปลงของข้อมูล หรือ V ตัวที่ 2 มาจากคำว่า Velocity ซึ่ง
ในบริบทของข้อมูลขนาดใหญ่ หมายถึง ความรวดเร็วในเปลี่ยนแปลงในบริบทของข้อมูลขนาดใหญ่จะหมายถงึ
การเพมิ่ ข้ึนของขอ้ มลู อย่างรวดเรว็ เช่น ข้อมลู บนเว็บไซตห์ รอื โลกโซเชยี ล

1.2.3 ความหลากหลายของข้อมูล หรือ V ตัวที่ 3 มาจากคำว่า Variety ซึ่งในบริบทของ
ข้อมูลขนาดใหญ่ หมายถึง ข้อมูลที่มีความหลากหลายตามนิยามรูปแบบของข้อมูล อันประกอบด้วยข้อมูล
มโี ครงสรา้ ง ขอ้ มูลไมม่ ีโครงสร้างและข้อมลู กงึ่ โครงสรา้ ง

1.2.4 ความแม่นยําของข้อมูล หรือ V ตัวที่ 3 มาจากคำว่า Veracity ซึ่งในบริบทของข้อมูล
ขนาดใหญ่ หมายถงึ ความแมน่ ยำของเนอ้ื ขอ้ มูล รวมถงึ ความถกู ต้องทำให้ขอ้ มูลมคี ณุ ภาพ เรียกได้วา่ เปน็ หวั ใจ
สำคัญของการวิเคราะห์ข้อมูลเพราะแม้ข้อมูลที่มีปริมาณไม่มากหรือแม้ แต่จะมหาศาลแบบข้อมูลขนาดใหญ่
ถา้ ขอ้ มูลขาดความแม่นยำกจ็ ะสง่ ผลให้การวเิ คราะหผ์ ดิ พลาดและคลาดเคล่ือนตัง้ แต่ยงั ไมเ่ รม่ิ ตน้

เมือ่ ขอ้ มลู ขนาดใหญ่ มีคุณสมบัติท้ัง 4V ข้างต้นครบถ้วน ในบรบิ ทของขอ้ มลู ขนาดใหญ่จะจัดว่าข้อมูล
ดังกล่าวเป็นข้อมูลที่มีมูลค่า เพราะสามารถนำเข้าสู่กระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการสกัดเอาองค์ความรู้
หรือสารสนเทศที่มีประโยชน์ต่อการนำไปใช้ในการปรับปรุง พัฒนาหรือขับเคลื่อนให้องค์กรดีขึ้น ทั้งทางตรงที่
สามารถวดั หรือมองเหน็ ได้ชัดเจน เชน่ ผลประกอบการทด่ี ีขน้ึ ลดต้นทุนการผลติ เป็นต้น หรือแม้แตท่ างออ้ มที่
อาจไม่สามารถวดั หรือมองเห็นจับตอ้ งได้ชัดเจน แต่เจ้าขององค์กรสามารถทราบได้ เช่น การเพิ่มประสิทธิภาพ
ในการทำงาน การลดปัญหาหรอื ข้อจำกัดในการทำงาน เป็นตน้

2. การวิเคราะหข์ อ้ มูล

ข้อมูลที่ดีและมีคุณภาพ เป็นปัจจัยสำคัญที่ใช้ในการวิเคราะห์เพื่อออกแบบและวางแผนธุรกิจให้
เปน็ ไปในทิศทางที่สามารถนำพาให้ธรุ กิจให้ไปสู่การประสบความสำเร็จโดยเฉพาะในยคุ ของธุรกิจดจิ ทิ ัล ในทาง
ตรงกนั ขา้ มหากการออกแบบและวางแผนธรุ กจิ ถูกพฒั นาข้ึนจากข้อมลู ที่มีความคลาดเคล่ือนจากความเป็นจริง
หรือเป็นข้อมูลที่ขาดคุณภาพ การดำเนินการตามแผนธุรกิจนั้นก่อให้เกิดความเสี่ยงสูงในการประสบความ
ล้มเหลว ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลทางธุรกิจโดยภาพรวมนั้น มีเป้าหมายสำคัญ คือ การทำความเข้าใจธุรกิจท่ี
กำลังดำเนินอยู่ รวมถึงทำความเข้าใจกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย เนื่องจากเป้าหมายดังกล่าว คือ หัวใจสำคัญที่จะมี
ผลโดยตรงต่อการประสบความสำเร็จของธุรกิจ

2.1 ประเภทของการวิเคราะห์ข้อมลู ทางธรุ กจิ

การวิเคราะหข์ ้อมลู ทางธรุ กิจโดยส่วนใหญจ่ ะใช้ข้อมลู ที่ถูกรวบรวม เรียบเรยี งและจัดเก็บจากกิจกรรม
การดำเนนิ ธุรกจิ ในอดีต สามารถเลือกใช้ได้ทง้ั จากแหล่งข้อมูลภายในและภายนอกประกอบกันในการวิเคราะห์
ซึ่งขั้นตอนนี้ควรดำเนินการโดยทีมผู้เชี่ยวชาญที่ประกอบด้วย 2 ด้าน ได้แก่ 1) ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการ
วิเคราะห์ขอ้ มลู ซึง่ เป็นผ้ทู ต่ี ้องมคี วามรู้ในกระบวนการมาตรฐานเพ่อื การวเิ คราะห์ข้อมลู และ 2) ผูเ้ ช่ียวชาญใน
การดำเนินธุรกจิ เพ่อื ให้สามารถนำผลการวิเคราะหไ์ ปใช้ประโยชนไ์ ด้จรงิ โดยมคี วามเส่ียงตอ่ ความล้มเหลวน้อย
ที่สุด เพราะแปลผลหรือสรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลโดยผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการวิเคราะห์ข้อมูลโดย
ปราศจากมุมมองหรือแนวคิดรวมถึงประสบการณ์ของผู้เชี่ยวชาญในการดำเนินธุรกิจนั้น ๆ อาจทำให้ผลการ

192

วิเคราะห์ขาดความสมบูรณ์หรือเกิดความผิดพลาดในรายละเอียด จึงจำเป็นอย่างยิ่งจะต้องได้ผลที่เกิดจากการ
ทำงานร่วมกันระหว่างผู้เชี่ยวชาญอย่างน้อย 2 ด้าน ดังข้อมูลข้างต้นซึ่งการวิเคราะห์ข้อมูลต้องสามารถ
สนบั สนนุ การดำเนนิ ธรุ กิจได้ จึงจำเป็นตอ้ งกำหนดเป้าหมายการวิเคราะหใ์ หช้ ดั เจน

ประเภทของการวิเคราะห์ข้อมูลทางธุรกิจ ดังแสดงในภาพท่ี 5 ซึ่งก่อนเริ่มดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูล
เจ้าของธุรกิจหรือผู้ประกอบการ ตลอดจนทีมงานจะต้องร่วมกันกำหนดเป้าหมายของการวิเคราะห์ข้อมูล
อันจะนำไปสู่การเลือกประเภทการวิเคราะห์ที่มีความสอดคล้องกับเป้าหมายดังกล่าวและเพื่อให้สามารถนำ
ผลการวิเคราะหไ์ ปใชป้ ระโยชน์ไดจ้ รงิ

สามารถแบง่ ประเภทของการวคิ ราะหข์ ้อมลู เปน็ 4 ประเภท ได้แก่
2.1.1 การวิเคราะห์ข้อมูลแบบพื้่นฐาน (descriptive analytics) การวิเคราะห์ประเภทนี้

มงุ่ เนน้ การอธบิ ายและแสดงผลการเกดิ ข้นึ ของจากขอ้ มลู ในอดตี
2.1.2 การวิเคราะห์ข้อมูลแบบวินิจฉัย (diagnostic analytics) การวิเคราะห์ประเภทน้ี

มุ่งเนน้ การอธิบายสาเหตุการเกิดขึ้นของเหตุการณ์
2.1.3 วิเคราะห์ข้อมูลแบบพยากรณ์ (perdictive analytics) การวิเคราะห์ในกลุ่มนี้เน้นการ

ค้นหาแนวโน้มการเกิดขึน้ ของเหตกุ ารณห์ รือทีค่ าดว่านา่ จะเกดิ ขน้ึ ในอนาคต
2.1.4 การวิเคราะหข์ อ้ มลู แบบแนะนาํ ส่ิงท่คี วรจะทํา (perscriptive analytics) การวเิ คราะห์

ในกลุ่มนี้เน้นการวิเคราะห์ที่ผสมผสานทั้ง 3 กลุ่มการวิเคราะห์ข้างต้น เพื่อให้คําแนะนําหรือทางเลือกที่ควรจะ
ทําหรือดําเนินการบนผลการวเิ คราะหด์ ังกลา่ ว ดังภาพท่ี 5

ภาพท่ี 5 ประเภทการวเิ คราะห์ขอ้ มูล
ทีม่ า : https://www.techleer.com

193

2.2 ผู้เชย่ี วชาญดา้ นเทคโนโลยกี ารวเิ คราะห์ข้อมูล
ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการวิเคราะห์ข้อมูล หรือผู้เช่ียวชาญด้านข้อมูล (data expert) หมายถึง
บุคลากรในทีมวิเคราะห์ข้อมูลที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญในการใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูล และ
สามารถเลือกประเภทการวเิ คราะหไ์ ดส้ อดคล้องกลับเป้าหมายการวเิ คราะห์ข้อมลู ในแต่ละครัง้ ได้ รวมถึงต้องมี
ทักษะในการสื่อสารที่ดี เนอ่ื งจากตอ้ งทำงานรว่ มกับผู้เชี่ยวชาญในการดำเนนิ ธรุ กจิ เพื่อให้ได้ผลการวเิ คราะห์ที่
สามารถนำไปใชง้ านไดจ้ ริง
คุณสมบัตพิ ้ืนฐานของตำแหน่งงานด้านการวเิ คราะหข์ ้อมูล ส่งผลให้เกดิ ทิศทางและเป้าหมายทีช่ ัดเจน
ต่อการพัฒนาความรู้และทักษะของผู้เชี่ยวชาญด้านข้อมูลในแต่ละตำแหน่ง รวมถึงความชัดเจนต่อความ
ต้องการทมี งานวเิ คราะหใ์ นองคก์ รหรอื ธรุ กจิ ของผูจ้ ้างงาน
ปัจจุบันได้มีการแบ่งกลุ่มของตำแหน่งงานด้านการวิเคราะห์ข้อมูล ออกเป็น 4 กลุ่ม ดังแสดงในภาพท่ี
6 ได้แก่ 1) นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล 2) นักวิเคราะห์ข้อมูล 3) วิศวกรข้อมูล 4) นักวิเคราะห์ธุรกิจด้านข้อมูล
สามารถอธบิ ายรายละเอยี ดไดด้ งั น้ี

2.2.1 นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล (data scientist) เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านข้อมูลกลุ่มที่ต้องมีทักษะ
สำคัญ คือ การวิเคราะห์และค้นหาหรือสกัดข้อมูลที่ฝ่ังหรือแฝงอยู่ในข้อมูลปริมาณมากที่ถูกจัดเก็บตามที่
วิศวกรขอ้ มูลได้ทําการออกแบบไว้ โดยใช้วิธีการหรือเทคนิคทางคณิตศาสตร์ สถิติ การทําเหมืองข้อมูล หรือวิธี
ผสมผสาน ซึง่ ไม่มีรปู แบบตายตัว ข้ึนกับข้อมลู ท่ีมีและความต้องการอยากทราบของเจ้าของข้อมูล

2.2.2 นักวเิ คราะห์ข้อมูล (data analyst) เปน็ ผเู้ ชีย่ วชาญด้านขอ้ มลู กลุม่ ท่ีต้องมที กั ษะสำคญั
คือ การนําผลหรือข้อมูลที่นักวิทยาศาตร์ ข้อมูลสกัดออกมาได้มาทําการตีความหมายและแปลงให้สามารถ
นําไปประยุกต์ใช้งานหรือสนับสนุนการทํางาน หรือเปลี่ยนแปลงการทํางาน โดยเป้าหมายหลักสําคัญ คือ
เพ่อื ใหเ้ กดิ ประโยชน์สงู สดุ และตอบสนองความต้องการของเจ้าของขอ้ มูลได้

2.2.3 วิศวกรข้อมูล (data engineer) เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านข้อมูลกลุ่มที่ต้องมีทักษะสำคัญ
คือ การออกแบบโครงสร้างการจัดเก็บการไหลของข้อมูลและสถาปัตยกรรมในการจัดเก็บข้อมูล เน้นการ
ออกแบบทีส่ ามารถทําได้จรงิ มีประสิทธิภาพ

2.2.4 นักวิเคราะห์ธุรกิจ (business analyst) เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านข้อมูลกลุ่มที่ต้องมีทักษะ
สำคัญ คือ การวิเคราะห์กลไกการทํางานของธุรกิจตลอดจนข้อมูลที่เกิดขึ้นและเก่ียวข้อง เพื่อนําไปสู่การ
นาํ เสนอทิศทางหรอื ความต้องการที่มีต่อข้อมลู และส่ือสารให้คนอ่นื ทราบ และเมื่อได้ผลการสกดั ข้อมลู หรือองค์
ความรู้จากข้อมูลขององค์กรแล้วก็จะต้องมีหน้าที่ในการแปลผลเพ่ื อวิเคราะห์และปรับเปลี่ยนรูปแบบให้
สามารถนาํ ไปใชใ้ นการต่อยอดทางธุรกจิ หรือเพ่มิ มูลค่าใหก้ ับธรุ กิจ หรอื เพิม่ รายไดใ้ หก้ ับธรุ กิจ เป็นต้น

194

ภาพท่ี 6 ผเู้ ชย่ี วชาญดา้ นข้อมลู
ท่มี า: http://www.stepupanalytics.com

195

3. แนวโน้มและมาตรฐานการวิเคราะห์ข้อมลู

ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน การดำเนินการในหลากหลายธุรกิจและอุตสาหกรรมจะมีการออกแบบ
การเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องไว้แทบจะทุกขั้นตอนของการทำงาน ทำให้ปริมาณข้อมูลเพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดด
แต่สวนทางกับการนำข้อมูลเหล่านั้นมาพัฒนาให้เกิดประโยชน์ในเชิงต่อยอด จนกระทั่งกระแสเทคโนโลยีเพ่ือ
การวิเคราะห์ขอ้ มลู เริ่มเกิดขึ้นและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องอย่างไม่มีแนวโน้มจะชะลอตัวลง ในทางตรงขา้ มมี
แต่ความพยายามจะพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อสกัดเอาข้อมูลที่ซ่อนอยู่ในนั้นออกมาใช้ประโยชน์ให้ได้มากที่สุด
ปัจจุบันแนวโน้มของเทคโนโลยีเพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง อยู่ในกระแสการพัฒนา
และการใช้งานจากหลากหลายงานทางธุรกิจและงานทางด้านอื่น ๆ ที่มีความเกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กับข้อมูล
จำนวนมาก คือ การทำเหมืองขอ้ มลู (Data Mining: DM) หรอื ท่นี ิยมเรยี กว่าดาต้าไมนิ่ง

3.1 การทำเหมืองข้อมูล ในบริบทของการวิเคราะห์ข้อมูล จะหมายถึงกระบวนการในการค้นหาหรือ
สกัดความรู้หรือองค์ความรู้ที่แฝงหรือฝังอยู่ในฐานข้อมูลหรือระบบฐานข้อมูลที่มีทั้งทางตรงและทางอ้อม จาก
การเลือกใช้เทคนิคในการทำเหมืองข้อมูลอันเหมาะสมกับข้อมูลที่มีและเป้าหมายการทำเหมืองข้อมูล
โดยทั่วไปนิยมแบ่งเทคนิคการทำเหมืองข้อมูล (data mining techniques) กรณีพิจารณาจากเป้าหมายหรือ
ผลจากการการทำเหมืองข้อมูล เป็น 2 กลุ่มเทคนิค ได้แก่ 1) กลุ่มเทคนิคที่มีเป้าหมายเพื่อการอธิบาย และ 2)
กลมุ่ เทคนคิ ที่มีเปา้ หมายเพ่ือการพยากรณห์ รอื การทำนาย ดงั แสดงในภาพที่ 7 สามารถอธบิ ายไดด้ งั น้ี

ภาพท่ี 7 การวิเคราะหข์ ้อมลู ด้วยเทคนิคของการทำเหมืองขอ้ มูล
ท่ีมา: https://www.semanticscholar.org/paper/Popular-Decision-Tree-Algorithms-of-Data-
Mining-%3A-A-Alsagheer-Alharan/3664033a63765886ee87d19a0f7ad6d48f97d69e/figure/0

3.1.1 กลุ่มเทคนิคที่มีเป้าหมายเพื่อการอธิบาย (descriptive) คือ กลุ่มเทคนิคที่มีเป้าหมาย
การทำเหมืองข้อมลู เพือ่ การคน้ หารปู แบบความสมั พนั ธข์ อ้ มูลและค้นหาหรอื แบง่ กลมุ่ ขอ้ มูล

กล่มุ เทคนคิ ทมี่ ีเป้าหมายการทำเหมอื งข้อมลู การคน้ หารปู แบบความสมั พนั ธข์ อ้ มูล (association)
จะใช้ในกรณีที่ต้องการทราบว่าข้อมูลที่มีอยู่มีความสัมพันธ์กันหรือไม่อย่างไร ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน การ
ค้นหาพฤตกิ รรมผู้บรโิ ภค เชน่ ใช้ข้อมูลการซ้ือต่อใบเสร็จมาทำการคน้ หารปู แบบความสัมพนั ธก์ ารซอื้ สนิ ค้าที่มักถูก
ซื้อพรอ้ มกนั และมีจำนวนการเกดิ ซำ้ สงู จากนัน้ นำไปใชใ้ นการจดั โปรโมชั่นรว่ มกันเพอื่ กระต้นุ ยอดซ้ือเปน็ ต้น

196

กลุ่มเทคนิคที่มีเป้าหมายการทำเหมืองข้อมูลเพื่อการค้นหาหรือแบ่งกลุ่มของข้อมูล
(clustering) จะใช้ในกรณีที่ตอ้ งการทราบว่าข้อมูลที่มีอย่สู ามารถแบ่งเปน็ จำนวนกี่กลุ่ม ตวั อย่างการประยุกตใ์ ช้
ในงาน เช่น ด้านการตลาด นำไปใช้เพื่อค้นหาส่วนแบ่งส่วนตลาด (market Segmentation) เพื่อนำไปสู่การ
นำเสนอขายสินค้าให้ตรงกับกับกลุ่มลูกค้าที่แท้จริง ทำให้ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการสุ่มค้นหากลุ่มลูกค้า
ท่ีคาดวา่ จะมคี วามสนใจและซอ้ื สนิ คา้ ในทส่ี ุด

3.1.2 กลุ่มเทคนิคที่มีเป้าหมายเพื่อการพยากรณ์หรือการทำนาย (predictive) จะใช้ในกรณีที่
ต้องการทราบแนวโน้มการเกิดขึ้นของเหตุการณ์ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต โดยพิจารณาหรือค้นหารูปแบบ
จากข้อมูลที่มีอยู่หรือเกิดขึ้นในอดีต ตัวอย่างการประยุกต์ใช้ในงาน เช่น ด้านการแพทย์ นำไปใช้ในการช่วย
วิเคราะห์โรค จากการเอาลักษณะหรืออาการของคนไข้ในปจั จุบนั ไปเปรียบเทียบกับข้อมูลการเป็นโรคของคนไข้
ทจี่ บการรักษาแล้วในอดีต ทำให้ลดความเสย่ี งในการวนิ ิจฉัยผดิ พลาด

แนวโน้มของวิธีการหรือกระบวนการมาตรฐานสำหรับการทำเหมืองข้อมูล คือ กระบวนการมาตรฐาน
สำหรับการทำเหมืองข้อมูล CRoss-Industry Standard Process for Data Mining (CRISP-DM) ประกอบด้วย 6
ขั้นตอน ได้แก่ 1) การทำความเข้าใจทางธุรกิจ 2) การทำความเข้าใจข้อมูล 3) การเตรียมข้อมูล 4) การสร้าง
แบบจำลอง 5) การประเมินผล 6) การนำไปใช้งาน ดังแสดงในภาพที่ 8 ถูกพัฒนาเป็นแบบมาตรฐานเปิด (open
standard) ซึ่งเมื่อปี 1996 ได้ถูกพัฒนาเป็นโครงการของกลุ่มสหภาพยุโรป (European Union: EU) และในปี
1997 แหลง่ ทนุ European Strategic Program on Research in Information Technology (ESPRIT)

จากการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ในปี 1995 มีคู่มืออธิบายถึงการทำงานของกระบวนการ CRISP-
DM และเผยแพร่ให้ผู้ที่สนใจได้ศึกษาและใช้เป็นแนวทางประกอบการพัฒนาโครงการวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับ
การทำเหมืองข้อมูล ประกอบกับ CRISP-DM ถูกพัฒนาบนมาตรฐานเปิด ส่งผลให้บริษัทที่อยู่ในกลุ่มการทำ
เหมืองข้อมูลนำไปใช้งานและต่อยอดการพัฒนาในผลิตภัณฑ์ของตน ซึ่งบริษัท IBM หนึ่งในหลายบริษัทขนาด
ใหญ่ของอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ ก็ได้ทำการบรรจุกระบวนการ CRISP-DM เป็นกลไกหลักของซอฟต์แวร์ IBM
SPAA Modeler อันเป็นซอฟต์แวร์ที่ได้รับความนิยมและถูกใช้งานอย่างกว้างขวาง ในงานหรือโครงการที่
เกย่ี วกับการวเิ คราะห์ข้อมูลด้วยการทำเหมืองขอ้ มูล (data mining) และการทำเหมืองข้อความ (text mining)

3.2 CRISP-DM เป็นกระบวนที่ผ่านการคิดค้น การกลั่นกรองและสรุปแนวทางพื้นฐานครอบคลุม

วัฎจักรของการทำโครงการวิเคราะห์ข้อมูลตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุด ผลการวิเคราะห์ที่ได้สามารถนำไปใช้งานได้

จริง ปัจจุบันก็ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะการวิเคราะห์ข้อมูลในทางธุรกิจ แต่ยังถูกนำไปใช้วิเคราะห์ข้อมูลเพ่ือ

สนับสนุนการทำงานหรือการตัดสินใจในงานหลากหลายด้าน ตัวอย่างเช่น ทางการแพทย์ การศึกษา

วศิ วกรรมศาสตร์ และสงั คมศาสตร์ เปน็ ตน้

การทำงานร่วมกันภายในกระบวนการ CRISP-DM ดงั แสดงในภาพท่ี 8 วา่ ผลลัพธข์ องขั้นตอนปัจจุบนั
จะถูกส่งไปเป็นข้อมูลนำเข้าเพื่อใช้เป็นฐานให้การทำงานในขั้นตอนถัดไป โดยลำดับการทำงานพิจารณาจาก
ลูกศรแสดงทิศทางและจะเริ่มต้นจากขั้นตอนที่ 1 การทำความเข้าใจทางธุรกิจ ไปสิ้นสุดที่ขั้นตอนท่ี 6 หรือ
ขั้นตอนสุดท้าย หากพิจารณาลำดับการทำงานจากลูกศรที่แสดงทิศทาง จะเห็นว่าตั้งแต่ขัน้ ตอนท่ี 1 - 5 ลูกศร
แสดงทิศทางทั้งไปและกลับระหว่างขั้นตอนปัจุบันไปยังขั้นตอนถัดไปรวมถึงสามารถ กลับไปยังขั้นตอนก่อน
หน้าได้เช่นกัน แสดงให้เห็นถึงความยืดหยุ่นของการทำงานอันสอดคล้องกับการทำงานจริงในโครงการ
วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการทำเหมืองข้อมูล เพราะหากพบว่า ณ ขั้นตอนปัจจุบันมีความจำเป็นท่ีจะต้องการขอ้ มูล
เพิ่มหรือพบความผิดปกติในการทำงาน อันมีความเสี่ยงที่ก่อให้เกิดความคาดเคลื่อนหริือผิดพลาดต่อเป้าหมาย

197

หรือผลลัพธ์ของโครงการ ส่งผลต่อความถูกต้องเมื่อนำผลการวิเคราะห์ไปใช้งานจริง เพื่อลดโอกาสในการเกิด
ความเสย่ี งเหลา่ นั้น

ภาพท่ี 8 การทำงานหลักและผลลพั ธแ์ ต่ละข้นั ตอนของกระบวนการ CRISP-DM
ทม่ี า: ดัดแปลงจาก https://en.wikipedia.org และ

https://www.the-modeling-agency.com/crisp-dm.pdf
กระบวนการ CRISP-DM ถูกออกแบบให้ทมี พฒั นาโครงการสามารถย้อนกลบั ไปแก้ไขหรือเพ่ิมเติมการ
ทำงานในขั้นตอนก่อนหน้าได้ พบว่าขั้นตอนท่ี 1 - 3 ใช้เวลาในการทำงานมากถึงร้อยละ 60 - 80 ของเวลา
ทั้งหมด เพราะจุดเริ่มต้นที่มีผลต่อทิศทางการทำงานที่เหลือทั้งหมดส่งผลโดยตรงต่อการประสบความสำเร็จ

198

หรือล้มเหลวของโครงการ จึงต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจากทีมงานขององค์กรเจ้าของโครงการและทีมพัฒนา
โครงการ เพ่อื ความเขา้ ใจที่ตรงกนั อันจะนำไปสู่การกำหนดคำถามทถี่ กู ตอ้ งตรงประเด็น

การทำงานหลักและผลลัพธ์ที่ต้องการจากแต่ละขั้นตอนของกระบวนการ CRISP-DM สามารถอธิบาย
รายละเอยี ดดงั กล่าวตามลำดบั ได้ดังนี้

ขั้นตอนท่ี 1 การทำความเข้าใจทางธุรกิจ (business understanding) เป็นขั้นตอนแรกของ
กระบวนการ CRISP-DM มีเป้าหมาย คือ การทำความเขา้ ใจในเป้าหมาย ตลอดจนการดำเนนิ การหรือกิจกรรม
ต่าง ๆ และที่สำคัญที่สุด คือ ความต้องการทางธุรกิจของเจ้าของโครงการ อันเป็นงานที่ต้องทำร่วมกันระหว่าง
ทีมเจ้าของโครงการและทีมวิเคราะห์ข้อมูล เป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญมากเพราะมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน
หรือผิดพลาดไปจากข้อเท็จจริงในการดำเนินการของธุรกิจกับทุกทีมงานในโครงการ อาจส่งผลด้านลบกับ
ขั้นตอนที่เหลือและผลด้านลบที่รุนแรงที่สุดที่คาดว่าจะเกิดขึ้นได้ คือ ไม่สามารถนำผลการทำงานจากโครงการ
ไปใช้ประโยชน์กับธุรกิจนั้นได้จริง ไม่ว่าจะเพื่อการนำไปใชักับการวางแผน การแก้ไขหรือปรับปรุง หรือแม้แต่
การพัฒนาให้ธุรกิจเติบโตไปในทิศทางที่เหมาะสมกับสถานการณ์จริง โดยขั้นตอนนี้ประกอบด้วย 4 งานหลัก
ได้แก่

1) การทำความเขา้ ใจและกำหนดวัตถปุ ระสงคห์ รอื เป้าหมายของธรุ กิจ
2) การประเมนิ สถานการณป์ จั จุบนั ของธุรกจิ
3) การกำหนดเปา้ หมายของการทำเหมืองขอ้ มลู ที่สามารถสนับสนนุ การทำธุรกิจและ
4) การวางแผนการทำงานของโครงการ

ขั้นตอนที่ 2 การทำความเข้าใจข้อมูล (data understanding) มีเป้าหมายของขั้นตอนน้ี คือ การทำ
ความเข้าใจข้อมูลของธุรกิจ เป็นขั้นตอนที่ต้องดำเนินงานบนฐานความเข้าใจในธุรกิจหรือผลการทำงานของ
ขั้นตอนที่ 1 สำหรับขั้นตอนนี้จะทำการศึกษาและทำความเข้าใจกับข้อมูลของธุรกิจ จึงเป็นอีกขั้นตอนท่ี
จำเป็นต้องอาศัยความรู้และประสบการณ์ของทีมวิเคราะห์ข้อมูล เนื่องจากความหลากหลายของข้อมูลและ
รูปแบบ แหล่งข้อมูล ปริมาณข้อมูล ตลอดจนการวิเคราะห์หาข้อมูลแฝงที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานของธุรกิจ
เพราะปัญหา คือ ข้อมูลเหล่านี้อาจมีความสำคัญแต่ไม่ถูกจัดเก็บอย่างมีระบบระเบียบ แม้แต่ผู้ที่สร้างหรือผู้ท่ี
ทำงานกับข้อมูลเหล่านั้นก็มองข้ามความสำคัญไป อาจเพราะความเคยชินต่องานหรือความคุ้นเคยต่อข้อมูล
ดังกล่าว จัดเป็นความท้าทายของทีมวิเคราะห์ข้อมูลที่กลายเป็นตัวแปรสำคัญของการทำงานในขั้นตอนถัดไป
ดังนั้นผลการดำเนินงานในขั้นตอนนี้จำเป็นต้องทำเป็นรายงานสรุปรายละเอียดข้อมูลที่พบทั้งหมด เพื่อความ
เขา้ ใจทถ่ี กู ต้องตรงกนั ของทีมงานทงั้ โครงการ โดยขัน้ ตอนนี้ประกอบด้วย 4 งานหลกั ไดแ้ ก่

1) การรวบรวมขอ้ มูลที่เกี่ยวขอ้ งทง้ั หมดดว้ ยการเริ่มจากพจิ ารณาเอกสารรายงานทงั้ หมด
2) การทำเอกสารหรอื รายงานอธิบายรายละเอยี ดของขอ้ มลู ทัง้ หมดทร่ี วบรวมได้
3) การค้นหาและสำรวจข้อมูลเชิงลึกโดยพิจารณาถึงรูปแบบของข้อมูลทั้งหมดที่รวบรวมได้
และจัดทำเปน็ รายงานสรุป
4) การตรวจสอบคุณภาพของขอ้ มูลที่รวบรวมได้เพื่อเตรียมนำไปสู่การใชง้ านในขนั้ ตอนถัดไป

199

ขั้นตอนท่ี 3 การเตรียมข้อมูล (data preparation) เป้าหมายของขั้นตอนน้ี คือ การเตรียมความ
พรอ้ มใหก้ ับข้อมูลท่ีจะใช้ในขน้ั ตอนการสรา้ งต้นแบบ (model) หรือทน่ี ิยมเรยี กกนั วา่ โมเดล โดยจะพจิ ารณาใช้
ข้อมูลดิบ (raw data) ที่ถูกรวบรวมจากขั้นตอนที่ 2 มาทำการวิเคราะห์เพื่อคัดเลือกเฉพาะข้อมูลที่จะถูกใช้ใน
ขั้นตอนถัดไป และเน้นการทำให้ข้อมูลอยู่ในรูปแบบที่พร้อมนำเข้าสู่กระบวนการสร้างโมเดล ความยากในการ
ทำงานขั้นตอนนี้นอกจากการคัดเลอื กข้อมลู ทีต่ ้องการใช้งานแล้ว การทำใหข้ ้อมลู อยใู่ นรปู แบบพร้อมใช้งานนั้น
จัดเป็นงานที่ต้องใช้ทั้งความรู้ ประสบการณ์และความเชี่ยวชาญระดับสูงของทีมวิเคราะห์ข้อมูล รวมไปถึงการ
ใช้เวลาของการทำงานที่มากถึงร้อยละ 50 - 60 ของเวลาทำงานรวมทั้งหมดใน 3 ขั้นตอน เพราะหากข้อมูล
ขาดความถูกต้องหรือแม้แต่มีปริมาณที่ไม่เพียงพอและเหมาะสม ก็จะส่งผลต่อความถูกต้องในทุกขั้นตอนที่
เหลืออยู่ ซ่ึงหมายถงึ ความล้มเหลวของโครงการ โดยขัน้ ตอนนปี้ ระกอบด้วย 5 งานหลัก ไดแ้ ก่

1) การคดั เลอื กและสรา้ งชดุ ข้อมูล (data set) ทจ่ี ะถกู นำไปใช้ในข้ันตอนถัดไป
2) การทำความสะอาดข้อมูล ตัวอยา่ งที่อธิบายได้ชัดเจน คือ กรณีพบความซำ้ ซ้อนหรือความ
ผิดพลาดของข้อมูลบางส่วนจากชุดข้อมูลที่สร้างขึ้น ก็จะต้องดำเนินการพิจารณาและตรวจสอบตัดข้อมูลท่ี
ซ้ำซ้อนออกให้เหลือเพียงข้อมูลที่ถูกต้องหรือกรณีพบความผิดพลาด เช่น การป้อนข้อมูลตกหล่นหรือผิด
กจ็ ะตอ้ งทำการแก้ไขให้ถูกต้อง เปน็ ตน้
3) การสร้างโครงสร้างเพื่อการจัดเก็บข้อมูล ต้องคำนึงถึงรูปแบบและโครงสร้างที่เหมาะสม
กับลักษณะและปริมาณของข้อมูลสามารถรองรับการจัดเก็บข้อมูลทั้งหมดที่มีในธุรกิจได้ ผลจากการทำงานใน
ขั้นตอนนี้จะต้องให้ความสำคัญกับการทดลองใช้งาน ในแง่มุมของการจัดเก็บข้อมูลจริงด้วย เพื่อลดความเสี่ยง
ตอ่ การเกดิ ปัญหาเม่อื ต้องนำไปใชง้ านกบั ขอ้ มูลทีม่ ปี ริมาณมากในขั้นตอนถดั ไป
4) การนำข้อมูลจากหลายแหล่งข้อมูลมารวมกัน ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยี
ณ ปัจจุบัน ทำให้อุปกรณส์ ำหรับเก็บข้อมูลมรี าคาถูกลง หาซื้อไดง้ ่าย รวมถึงแหล่งเก็บขอ้ มลู ที่หลากหลายและ
การเก็บข้อมูลเป็นไปในทิศทางที่มักขาดการวางแผน ส่งผลให้ข้อมูลเดียวกันถูกจัดเก็บแยกกัน แต่ตราบเท่าที่
ต้องการให้ผลการวิเคราะห์ของโครงการสะท้อนความเป็นจริงของธุรกิจและสามารถนำผลการวิเคราะห์ไปใช้
งานไดจ้ รงิ การนำข้อมลู จากหลายแหลง่ ข้อมูลมารวมกนั ก็กลายเปน็ ส่งิ สำคญั และจำเป็นตอ้ งทำอยา่ งเล่ยี งไม่ได้
5) การปรับรูปแบบข้อมูล เมื่อมีการนำข้อมูลจากหลายแหล่งข้อมูลมารวมกันขัน้ ตอนสุดท้าย
ที่จำเป็นต้องทำ คือ การปรับรูปแบบของข้อมูลทั้งหมดให้อยู่ในรูปแบบเดียวกัน ด้วยเหตุผลของการนำไปใช้
งาน หากข้อมูลมีรูปแบบที่หลากหลายจะส่งผลให้การทำงานในขั้นตอนถัดไปเป็นไปอย่างยุ่งยากและซับซ้อน
หรืออาจไม่สามารถทำงานต่อได้ เพราะการสร้างโมเดลด้วยการทำเหมืองข้อมูลนั้น ในแต่ละเทคนิคก็มี
ข้อกำหนดพื้นฐานเกี่ยวกับข้อมูลที่ต่างกัน แต่หากจากวิเคราะห์ข้อมูลเดียวกันที่มาจากต่างแหล่งกันก็มีความ
จำเปน็ ทจ่ี ะต้องทำการปรบั ใหร้ ูปแบบขอ้ มูลอยใู่ นแบบเดียวกนั ก่อน

ขั้นตอนที่ 4 การสร้างแบบจำลอง (modeling) เป้าหมายของขั้นตอนนี้ คือ การเลือกเทคนิคสำหรับ
สร้างโมเดลที่สามารถตอบสนองเป้าหมายหรือสิ่งที่ถูกกำหนดไว้ในขั้นตอนที่ 1 ได้ สำหรับขั้นตอนนี้จะต้อง
อาศัยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเพราะเป็นขั้นตอนที่ต้องใช้ความรู้หลากหลายด้านแบบเชิงบูรณาการ เช่น ความรู้
ด้านข้อมูลเพราะต้องเข้าใจลักษณะและธรรมชาติของข้อมูลแต่ละรูปแบบแต่ละชนิด ความรู้ด้านการทำงาน
ของเทคนคิ ทีจ่ ะนำมาสรา้ งแบบจำลองเพราะจำเป็นจะต้องวิเคราะห์เพื่อค้นหาวิธีทีเ่ หมาะสมกับข้อมูลทีม่ ใี หไ้ ด้
ด้านการตีความผลการทำงานของโมเดลเพราะผลการทำงานของโมเดลร่วมกับข้อมูลจะสามารถ เกิดขึ้นได้
หลากหลายรูปแบบแต่ทุกรูปแบบก็จะต้องมีการแปลผลหรือการอธิบายถึงความหมายทั้งในเชิงเทคนิคและใน
เชิงการนำไปใช้งาน แตข่ ัน้ ตอนนก้ี ลบั เปน็ ขั้นตอนท่ีใช้เวลานอ้ ยเมอ่ื เทยี บกับขนั้ ตอนท่ี 1 2 หรอื 3 เพราะแตล่ ะ

200

เทคนิคก็จะมีการทำงานที่เฉพาะตัวรวมไปถึงทำงานได้กับเฉพาะข้อมูลบางแบบเท่านั้น โดยขั้นตอนน้ี
ประกอบด้วย 4 ดา้ นหลัก ไดแ้ ก่

1) การเลือกเทคนิคที่จะนำมาสร้างโมเดล โดยทีมวิเคราะห์ข้อมูลจำเป็นที่จะต้องเริ่ม
พิจารณาผลการทำงานในขั้นตอนท่ี 1 พิจารณาร่วมกับข้อมูลอันเป็นผลจากการทำงานในขั้นตอนที่ 3 เพราะ
โมเดลที่ดี คือ โมเดลท่ีถกู เลือกไดเ้ หมาะสมกับขอ้ มลู ทมี่ ี สามารถสะทอ้ นใหเ้ หน็ ถึงความสัมพันธห์ รือกลุ่มข้อมูล
ที่ซ่อนอยู่ภายใต้ข้อมูลที่มี และยากที่จะหาคำตอบได้ด้วยวิธีการคำนวณพื้นฐานทางคณิตศาสตร์หรือทางสถิติ
พื้นฐาน ฉะน้ันการเลือกวิธีการหรือเทคนิคที่จะนำมาสร้างโมเดลต้องสอดคล้องกับข้อมูลที่มี ประกอบกับต้อง
ไปในทิศทางที่จะต้องสามารถตอบสนองผลการทำงานในขั้นตอนที่ 1 ได้ ซึ่งผลการทำงานขั้นตอนน้ี คือ
ความสัมพันธ์หรือกลุ่มข้อมูล หรือค่าตัวเลขที่บ่งบอกถึงสถานการณ์หรือแนวโน้มในอนาคตจากข้อมูลในอดีต
หรือความสัมพันธ์ของข้อมูลที่อยู่ในกลุ่มเดียวกัน หรือการเปรียบเทียบข้อมูลข้ามกลุ่มโดยพิจารณาจาก
ความสัมพันธข์ องขอ้ มูลในแต่ละกลุ่ม เปน็ ตน้

2) การออกแบบการทดสอบการทำงานของโมเดลร่วมกับข้อมูลที่มีหมายความว่า เมื่อสร้าง
โมเดลเสร็จแล้วจะต้องมีขั้นตอนการทดสอบทั้งความถูกต้อง ความแม่นยำ ความเที่ยงตรงของผลที่ได้เพื่อลด
ความเสี่ยงเมื่อนำไปใช้งานจริง

3) สร้างโมเดล ในการทำงานหลักนี้ เป้าหมายสำคัญ คือการกำหนดตัวแปรหรือค่าต่าง ๆ
ตลอดจนตัวอย่างข้อมูลที่จะใช้ในการทำงานกับวิธีการและเทคนิคต่าง ๆ ไปจนถึงเอกสารอธิบายการทำงาน
ของโมเดล เพื่อความเข้าใจที่ตรงกันของทีมงานและสำหรับใช้เป็นเอกสารต้นแบบกรณีต้องการปรับปรุงหรือ
เปล่ียนแปลงการทำงานในอนาคต

4) การประเมินผลการทำงานของโมเดล การทำงานในส่วนนี้เปรียบเสมือนการทดสอบการ
ทำงานร่วมกันตามวิธีการหรือโมเดลและทดสอบตามแผนที่ได้วางไว้ รวมไปถึงการปรับในส่วนที่ทำให้ผลการ
ทำงานผิดพลาดหรือคลาดเคลื่อนให้มีความถูกต้อง แม่นยำ และเที่ยงตรง พร้อมนำไปใช้งานกับข้อมูลจริงใน
ขัน้ ตอนถดั ไป

ขัน้ ตอนที่ 5 การประเมนิ ผล (evaluation)
เป้าหมายของขั้นตอนน้ี คือ การทำงานจริงร่วมกันระหว่างแบบจำลองหรือโมเดลที่ถูกสร้างจาก
ขั้นตอนท่ี 4 กับข้อมูลที่ถูกเตรียมจากขั้นตอนที่ 3 และทำการประเมินผลการทำงาน โดยขั้นตอนน้ี
ประกอบดว้ ย 3 งานหลกั ไดแ้ ก่

1) การประเมินผลการทำงานของโมเดลที่สร้างขึ้นว่าผลที่ได้มีความถูกต้อง แม่นยำและ
เที่ยงตรง ตามที่ได้วางแผนไว้หรือไม่อย่างไร ส่วนที่สำคัญที่สุด คือ ผลการทำงานต้องสามารถตอบสนองหรือ
ตอบคำถามของข้ันตอนท่ี 1 ได้

2) การทบทวนกระบวนการทำงานตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุด เพื่อให้ทราบถึงความสอดคล้อง
ในการทำงานของทัง้ โครงการอันจะนำไปสู่การพฒั นาและปรบั ปรงุ ใหม้ ีประสทิ ธิภาพดีข้นึ

3) การกำหนดการทำงานถัดไป ในบริบทนี้จะหมายถึงการตีความหมายจากผลที่ได้จากการ
ทำงานของโมเดลในเชิงข้อมูลที่ค้นพบแล้วเป็นประโยชน์ต่อการนำไปใช้งานทางธุรกิจ เช่น กรณีธุรกิจขาย
ผลิตภัณฑ์ที่สามารถทราบถึงพฤติกรรมผู้บริโภคนำไปสู่การนำไปประยุกต์สร้างกลยุทธการขายหรือการทำ
รายการส่งเสริมการขาย กรณีทางการแพทย์ที่สามารถทำให้เห็นถึงแนวโน้มของการเป็นโรคนำไปสู่การ
ประยุกตช์ ่วยนำเสนอการวินฉิ ยั อาการปว่ ยของคนไขใ้ หแ้ ก่หมอ เป็นตน้

201

ขั้นตอนท่ี 6 การนำไปใช้งาน (deployment)
เป้าหมายของขั้นตอนนี้ คือ การนำผลจากการวิเคราะห์ตลอดจนการทดลองใช้งาน จนถึงการนำ
โมเดลที่สร้างไปทำงานร่วมกับข้อมูลจริงหรือการทำงานร่วมกันระหว่างขั้นตอนที่ 1 - 5 มาทำการพัฒนาเป็น
ระบบหรือนำไปใช้งานจรงิ โดยข้นั ตอนนปี้ ระกอบดว้ ย 4 งานหลัก ได้แก่

1) การสร้างแผนการพัฒนา ซึ่งจะหมายถึง การนำผลที่ได้ตลอดจนโมเดลหรือกลไกการ
ทำงาน หรือโปรแกรมทีถ่ กู สรา้ งขึ้นมาออกแบบแผนทีจ่ ะนำไปพัฒนาเป็นระบบเพอื่ นำไปใชง้ านจริง

2) การสร้างแผนการดูแลการทำงานและบำรุงรักษา เมื่อมีการนำระบบก็ดี โปรแกรมก็ดี ไป
ใช้จริงสิ่งที่จะขาดไม่ได้เสมอ คือการติดตามและตรวจสอบผลการทำงานรวมไปถึงการบำรุงรักษาให้ระบบหรือ
โปรแกรมที่พัฒนาสามารถทำงานได้ตรงตามที่ออกแบบ พัฒนา และทดสอบไว้อยู่เสมอ เพื่อลดโอกาสเกิดการ
ทำงานที่ผดิ พลาดอนั จะนำไปส่คู วามเสียหายต่อธรุ กิจ

3) การจัดทำรายงานสรุปโครงการ ซึ่งโดยปกติจะแบ่งเป็น 2 รายงานหลัก ได้แก่ รายงาน
ฉบับสมบูรณ์ที่กล่าวรวมถึงการทำงานในทุกขั้นตอนรวมไปถึงข้อเสนอแนะหรือส่วนที่ควรพัฒนาต่อในอนาคต
และเอกสารเพือ่ การนำเสนอผลการทำงานของโครงการซึ่งกจ็ ะตอ้ งอาศยั ข้อมูลจากรายงานฉบบั แรก

4) การจัดทำคู่มือการใช้งานหรือการทำงานร่วมกับผลการทำงานของโครงการ ในส่วนนี้จะ
เป็นส่วนที่เน้นการใช้งานผลการทำงานของโครงการเป็นหลักซึ่งจะมีประโยนช์มากสำหรับผู้ใช้ผลการทำงาน
ของโครงการเทยี บได้กับคมู่ ือการใชง้ านโปรแกรม

4. ตัวอยา่ งการวิเคราะหข์ ้อมูลทางธรุ กจิ

4.1 ตัวอย่างที่ 1
ภาพรวมตัวอย่างการวิเคราะห์ข้อมูลทางธุรกิจจากข้อมูลขนาดใหญ่กับการใช้งานในสถานการณ์จริง
(big data use cases with real business world)
ปัจจุบันมีความพยายามนำเทคนิคหรือเทคโนโลยีต่าง ๆ เกี่ยวกับการวิเคราะห์และการนำผลที่ได้จาก
การวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ไปเป็นหนึ่งในกลไกหรือการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ หรือโปรแกรม
คอมพิวเตอร์หรือเว็บไซต์มีเป้าหมาย คือ ความได้เปรียบในการแข่งขันทางธุรกิจทั้งทางตรงและทางอ้อมใน
หลากหลายกลมุ่ ธรุ กจิ และอุตสาหกรรม
ตัวอย่างของการนำข้อมูลขนาดใหญ่ไปใช้ในหลากหลายกลุ่มธุรกิจและอุตสาหกรรม ดังแสดงในภาพ
ท่ี 9 เน้นการแสดงให้เห็นถึงรูปแบบการทำธุรกิจร่วมกับคู่ค้า 2 รูปแบบ ได้แก่ 1) รูปแบบการทำธุรกิจแบบ
ธุรกิจกับธุรกิจ (Bussiness to Bussiness: B2B) และ 2) รูปแบบการทำแบบธุรกิจกับลูกค้า (Bussiness to
Customer: B2C) ซ่ึงประกอบด้วยหลากหลายกล่มุ ธุรกจิ เชน่ ธรุ กจิ ลูกค้าสมั พนั ธ์ (customer service) ธรุ กิจ
ด้านการเงิน (finance) ธุรกิจด้านความปลอดภัย (security) ธุรกิจประกันภัย (insurance) ธุรกิจด้านสุขภาพ
(healthcare) อุสาหกรรมการเกษตรกรรม (agriculture) เปน็ ตน้

202

ภาพที่ 9 ตวั อยา่ งโปรแกรมคอมพวิ เตอรห์ รอื ระบบคอมพวิ เตอร์จากผลการวเิ คราะห์ขอ้ มูล
ทม่ี า: ดดั แปลงจาก http://mattturck.com/

ซง่ึ ในแต่ละกลมุ่ ธรุ กจิ ก็จะมีลักษณะเฉพาะของความต้องการข้อมลู เชน่ ธรุ กจิ ด้านการเงิน โดยมากจะ
ต้องการผลการวิเคราะห์ข้อมูลแบบพยากรณ์ มุ่งเน้นการค้นหาแนวโน้มการเกิดขึ้นของเหตุการณ์ที่คาดว่า
น่าจะเกิดขึ้นในอนาคต เช่น ลูกค้าที่มีหนี้บัตรเครดิตสูงส่วนมากมักจะมีความต้องการผลิตภัณฑ์ทางการเงิน
ด้านสินเชื่อ หรือลูกค้าท่ีมียอดเงินฝากสูงสว่ นมากมักจะมีความต้องการผลติ ภณั ฑ์ทางการออมหรือการลงทุนท่ี
ก่อให้เกิดผลตอบแทนมากกว่าดอกเบี้ยเงินฝาก หรือธุรกิจด้านสุขภาพโดยมากจะต้องการผลการวิเคราะห์
ข้อมูลแบบพยากรณ์เช่นกัน เช่น ผู้ป่วยที่มีประวัติป่วยโรค A มักจะมีการป่วยด้วยโรค B ผลที่ได้รับ คือ
การตรวจแบบเชงิ ปอ้ งกัน เป็นต้น

203

4.2 ตวั อย่างท่ี 2

การวิเคราะห์ข้อมูลทางธุรกิจด้วยกระบวนการมาตรฐานสำหรับการทำเหมืองข้อมูล CRISP-DM กับ
ธุรกจิ ด้านการท่องเที่ยว กรณีสถานประกอบการทพ่ี ักสำหรับนักทอ่ งเท่ียว

ข้อมูลที่สถานประกอบการจัดเก็บไว้ คือ ข้อมูลการเข้าพัก ข้อมูลเชิงประชากรศาตร์ การสั่งอาหาร
จากร้านอาหาร และการเช่าอุปกรณ์เครื่องเล่นในสถานประกอบการ ซึ่งข้อมูลดังกล่าวถูกจัดเก็บอยู่ใน
โปรแกรมสำเร็จรูปบนคอมพิวเตอร์หรือเป็นข้อมูลที่มีโครงสร้าง ถูกจัดเก็บอย่างมีระบบระเบียบในฐานข้อมูล
และระยะเวลาจัดเก็บ 5 ปี โดยประมาณ

ความต้องการของเจ้าของสถานประกอบการ คือ ข้อมูลใด ๆ ที่สามารถสนับสนุนการดำเนินกิจกรรม
เพอ่ื เพม่ิ ยอดเข้าพักของนักท่องเที่ยวและหรอื การใช้เงนิ ในทกุ บริการและกจิ กรรมภายในสถานประกอบการ

เนื่องด้วยการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลตามที่สถานประกอบการจัดเก็บไว้ จะถูกดำเนินการตาม
มาตรฐานกระบวนการ CRISP-DM อันสามารถแสดงตัวอย่างการวิเคราะห์ข้อมูลโดยสังเขปในแต่ละขั้นตอน
ตามลำดับ เฉพาะในขั้นตอนที่เนื่องด้วยเป็นขั้นตอนที่เหมาะสมกับฐานความรู้และวัตถุประสงค์โดยรวมของ
รายวิชา

ขั้นตอนที่ 1 ทำความเข้าใจทางธุรกิจ การดำเนินการหลักของขั้นตอนนี้แบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่ 1)
กำหนดเปา้ หมายทางธรุ กจิ และ 2) กำหนดเป้าหมายการทำเหมืองข้อมูล

1) กำหนดเป้าหมายทางธรุ กจิ
จากความต้องการของเจ้าของสถานประกอบการ ทำให้ผลการวิเคราะห์และกำหนดเป้าหมายทาง
ธุรกิจ คือ การหาส่วนแบ่งการตลาดของนักท่องเที่ยวที่เขา้ พักในสถานประกอบการ มุ่งเน้นการพิจารณาข้อมูล
คุณสมบัติและพฤติกรรมนักท่องเที่ยวจากข้อมูลที่สถานประกอบการจัดเก็บ พบว่า แนวโน้มการนำผลการ
ดำเนินการไปประยุกต์ใช้งาน คือ การจัดทำแผนกลยุทธ์ทางการตลาดที่เน้นการนำเสนอห้องพักรวมถึงบริการ
และกิจกรรมให้ตรงกับกลุ่มลูกค้าในแต่ละส่วนการตลาดที่หาได้ คาดว่าจะส่งผลต่อการเพิ่มของจำนวนการเข้า
พัก รวมถึงการซื้อบริการและกิจกรรมในสถานประกอบการของนักท่องเที่ยวในแต่ละกลุ่มของส่วนตลาดได้
นำไปสู่การเพิ่มรายได้ทางตรง คือ จากการเช่าห้องพัก รวมถึงการซื้อบริการและกิจกรรมของสถาน
ประกอบการทางอ้อม คือ สามารถใช้ในการวางแผนลดต้นทุนการประชาสัมพันธ์หรือการทำการตลาดกับ
นักทอ่ งเทีย่ วที่ไมไ่ ด้อยใู่ นส่วนการตลาดใด ๆ ของสถานประกอบการ
2) กำหนดเปา้ หมายการทำเหมอื งขอ้ มลู
จากเป้าหมายทางธุรกิจที่กำหนด คือ การหาส่วนแบ่งการตลาดของนักท่องเที่ยวที่เข้าพัก มุ่งเน้นการ
พิจารณาข้อมูลคุณสมบัติและพฤติกรรมนักท่องเที่ยวจากข้อมูลที่สถานประกอบการจัดเก็บ พบว่า แนวโน้ม
การพจิ ารณากำหนดเทคนคิ การทำเหมอื งข้อมูลที่สอดคล้องและสามารถใช้ในการคน้ หาคำตอบให้กับเป้าหมาย
ทางธุรกิจ โดยวิธีการหรือเทคนิคการทำเหมืองข้อมูลแบบผสมผสานระหว่างเทคนิคการแบ่งกลุ่ม (clustering)
และเทคนิคการหาความสัมพันธ์ (association) กล่าวคือ เริ่มต้นด้วยการหาส่วนแบ่งการตลาดหรือกลุ่ม
นักทอ่ งเท่ยี ว โดยใช้เทคนคิ การแบง่ กลุ่ม เม่ือได้สว่ นการตลาดหรอื กลุ่มนักทอ่ งเทย่ี วทั้งหมดแล้ว กจ็ ะทำการหา
ความสัมพันธ์ในบริบทของพฤติกรรมการซื้อบริการและกิจกรรมภายในสถานประกอบการโดยแยกตามแต่ละ
ส่วนการตลาด โดยใชเ้ ทคนคิ การหาความสัมพนั ธ์
ผลที่คาดว่าจะได้รับหากดำเนินการในขั้นตอนถัดไป ตามแนวโน้มหรือแนวทางที่สรุปจากขั้นตอนที่ 1
คือ การนำเสนอผลิตภัณฑ์ของสถานประกอบการในรูปแบบของกลุ่มผลิตภัณฑ์หรือที่เรียกกันอย่างคุ้นเคยวา่
แพคเกจ ซึ่งเน้นการจัดให้สอดคล้องกับแต่ละส่วนการตลาดหรือแต่ละกลุ่มนักท่องเที่ยว หมายถึง การจัด

204

ห้องพัก รวมถึงบริการและกิจกรรมภายในสถานประกอบการ ให้สอดคล้องกับพฤติกรรมของแต่ละส่วน
การตลาดหรือแต่ละกลุ่มนักท่องเที่ยว เช่น พบว่ามีส่วนการตลาดหรือกลุ่มนักท่องเที่ยวที่เข้าพักในห้องพัก
ระดับดีที่สุดของสถานประกอบการ มีพฤติกรรมไม่ชอบทำกิจกรรมใด ๆ ของสถานประกอบการ แต่ชอบ
สั่งอาหารจากครัวของสถานประกอบการ ตัวอย่างการนำผลการค้นพบนี้ไปดำเนินการให้เกิดประโยชน์ คือ
การจัดแพคเกจห้องระดับดีที่สุดพร้อมด้วยส่วนลดค่าอาหาร เนื่องจากสอดคล้องกับผลการค้นพบ แต่เพ่ือ
กระตุ้นการเพิ่มรายได้ด้วยการแถมการบริการหรือกิจกรรมอื่น ๆ ไปในแพคเกจหรือให้ส่วนลดพิเศษ เพื่อสร้าง
โอกาสในการทดลองใช้บริการ อันอาจนำไปสู่การสร้างประสบการณ์ใหม่ ส่งผลให้พฤติกรรมการท่องเที่ยว
เปล่ยี นแปลงไปในทิศทางท่มี กี ารซื้อผลิตภัณฑ์ของสถานประกอบการเพม่ิ ในอนาคต

5. บทสรุป

ข้อมูลและการตัดสินในทางธุรกิจ เป็นอีกองค์ประกอบที่สำคัญมากเพื่อการสร้างความได้เปรียบ
สำหรับการพัฒนาหรือสร้างกลยุทธใ์ นการดำเนินงานและนำพาธรุ กจิ ไปส่กู ารประสบความสำเร็จ ซงึ่ ควรเริม่ ต้น
ด้วยการทำความเข้าใจกรอบความหมายของข้อมูล เพราะด้วยความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
ในปัจจุบันส่งผลให้เกิดข้อมูลในรูปแบบที่หลากหลาย โดยทั่วไปจะพิจารณาแบ่งข้อมูลและอธิบายข้อมูลผ่าน
2 มุมมอง ได้แก่ แหล่งที่มาของข้อมูล (data source) และรูปแบบข้อมูล (data format) สามารถแบ่งข้อมูล
ได้เป็น 2 แหล่งของข้อมูล ได้แก่ 1) ข้อมูลที่ได้จากแหล่งที่มาภายใน (external source) และ 2) ข้อมูลที่ได้
จากแหล่งที่มาจากภายนอก (external source) ซึ่งข้อมูลจากทั้ง 2 แหล่งข้อมูลข้างต้น เมื่อพิจารณารูปแบบ
ของข้อมูล สามารถแบ่งข้อมูลเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่ 1) ข้อมูลที่มีโครงสร้าง (structured data) และ 2) ข้อมูล
ที่ไม่มีโครงสร้าง (unstructured data) โดยวิธีการและขั้นตอน ตลอดจนสื่อที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูลจะ
แตกต่างกันไปขึ้นกับรูปแบบของข้อมูลเป็นสำคัญและพบว่ากิจกรรมที่ทำให้เกิดข้อมูลขนาดใหญ่ โดยเฉพาะ
ในช่วงเวลา 15 ปีที่ผ่านมา ได้แก่ ระบบ Enterprise Resource Planning (ERP) หรือระบบที่ใช้สำหรับการ
วางแผนทรัพยากรทางธุรกิจขององค์กรโดยรวม ระบบ Customer Relationship Management (CRM)
ระบบบริหารความสัมพันธ์ลูกค้า ระบบข้อมูลที่อยู่บนระบบเว็บไซต์ ลักษณะของข้อมูลขนาดใหญ่ หมายถึง
การนำข้อมูลที่เกี่ยวข้องกันหรือต้องการนำมาวิเคราะห์ร่วมกันเพื่อค้นหาหรือสกัดข้อมูลหรือองค์ความรู้สำคัญ
ที่ฝังหรือแฝงอยู่ในข้อมูลขนาดใหญ่ ให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์หรือต่อยอดการทำงานหรือ
ธุรกิจเจ้าของข้อมูลได้ ซึ่งข้อมูลจะต้องมีปริมาณมาก มีความหลากหลาย มีการเคลื่อนไหวที่รวดเร็วแง่ปริมาณ
และรายละเอียด และต้องมีความแม่นยำและถูกต้องเมื่อถูกใช้งาน คุณลักษณะของข้อมูลขนาดใหญ่
ประกอบด้วย 4 ข้อ ได้แก่ 1) ปริมาณมหาศาลของข้อมูล (Volume) 2) ความรวดเร็วต่อการเปลี่ยนแปลงของ
ข้อมูล (Velocity) 3) ความหลากหลายของข้อมูล (Variety) และ 4) ความแม่นยำของข้อมูล (Veracity) หรือ
เมื่อข้อมูลขนาดใหญ่ใดมีคุณสมบัติครบ 4V ข้างต้น จะส่งผลให้ข้อมูลดังกล่าวมีมูลค่า (Value) สูงทวีคูณขึ้น
เมื่อข้อมูลดังกล่าวถูกนำเข้าสู่กระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลตลอดไป จนถึงนำผลการวิเคราะห์ไปใช้ประโยชน์ได้
จริงทั้งทางตรงและทางอ้อม การวิเคราะห์ข้อมูลจะถูกทำโดยทีมผูเ้ ชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการวิเคราะห์ข้อมูล
(data expert) อันหมายถึง บุคลากรในทีมวิเคราะห์ข้อมูลที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญในการใช้เครื่องมือใน
การวิเคราะห์ข้อมูล และสามารถเลือกประเภทการวิเคราะห์ได้สอดคล้องกลับเป้าหมายการวิเคราะห์ข้อมูลใน

205

แต่ละครั้งได้ ปัจจุบันมีการแบ่งกลุ่มของตำแหน่งงานด้านการวิเคราะห์ข้อมูลออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ 1)
นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล (data scientis) 2) นักวิเคราะห์ข้อมูล (data analyst) 3) วิศวกรข้อมูล (data
engineer) และ 4) นกั วเิ คราะห์ธุรกิจ (business analyst) จงึ จำเป็นอย่างยิ่งทภี่ ายในบุคลากรในทีมวเิ คราะห์
ข้อมูลจะตอ้ งมีทักษะในการสอ่ื สารที่ดีเพื่อสามารถทำการวิเคราะห์ขอ้ มลู รว่ มกนั ไดท้ ส่ี ามารถนำไปใชง้ านได้จริง
จากการวิเคราะห์ข้อมูลที่ปัจจุบันแบ่งการวิเคราะห์ ข้อมูลเป็น 4 ประเภท ได้แก่ 1) ประเภทการวิเคราะห์
ข้อมูลแบบพื้่นฐาน (descriptive analytics) 2) ประเภทการวิเคราะห์ข้อมูลแบบวินิจฉัย (diagnostic
analytics) 3) ประเภทการวิเคราะห์ข้อมูลแบบพยากรณ์ (perdictive analytics) และ 4) ประเภทการ
วเิ คราะหข์ อ้ มูลแบบแนะนำสิ่งที่ควรจะทำ (perscriptive analytics) แนวโนม้ ของเทคโนโลยีเพ่ือการวิเคราะห์
ข้อมูลตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน การดำเนินการในหลากหลายธุรกิจและอุตสาหกรรมจะมีการออกแบบการเก็บ
ขอ้ มลู ที่เกย่ี วขอ้ งไว้แทบทุกขนั้ ตอนของการทำงาน ทำใหป้ ริมาณข้อมูลเพ่มิ ข้ึนแบบก้าวกระโดด แตส่ วนทางกับ
การนำข้อมูลเหล่านั้นมาพัฒนาให้เกิดประโยชน์ในเชิงต่อยอด จนกระทั่งกระแสเทคโนโลยีเพื่อการวิเคราะห์
ข้อมูลเริ่มเกิดขึ้นและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องอย่างไม่มีแนวโน้มจะชะลอตัวลง ในทางตรงข้ามมีแต่ความ
พยายามจะพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อสกัดเอาข้อมูลที่ซ่อนอยู่ในนั้นออกมาใช้ประโยชน์ให้ได้มากที่สุด ซ่ึง
ณ ปัจจุบันแนวโน้มของเทคโนโลยีเพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องติดต่อกันมายาวนาน
กว่า 10 ปี และยังคงอยู่ในกระแสการพัฒนาและการใช้งานจากหลากหลายงานทางธุรกิจและงานทางด้าน
อ่ืน ๆ ทม่ี คี วามเกีย่ วข้องหรอื สมั พนั ธ์กับขอ้ มลู จำนวนมาก คือ การทำเหมอื งขอ้ มูล (Data Mining: DM) หรือที่
นิยมเรียกกันว่าดาต้าไมนิ่ง โดยทั่วไปนิยมแบ่งเทคนิคการทำเหมืองข้อมูล (data mining techniques) ตาม
เป้าหมายหรือผลจากการการทำเหมืองข้อมูล เป็น 2 กลุ่มเทคนิค ได้แก่ 1) กลุ่ม เทคนิคที่มีเป้าหมายเพื่อการ
อธิบาย และ 2) กลุ่มเทคนิคที่มีเป้าหมายเพื่อการพยากรณ์หรือการทำนาย แต่เพื่อต้องการลดความ
คลาดเคลื่อนหรือความผิดพลาดในการวิเคราะห์ข้อมูลจำเป็นต้องมีการออกแบบการดำเนินการหรือการ
ดำเนินการอย่างมีระบบระเบียบ ส่งผลให้เกิดการพัฒนามาตรฐานการวิเคราะห์ข้อมูลขึ้น โดยแนวโน้มของ
วิธีการหรือกระบวนการที่ได้รับการยอมรับและถูกเลือกใช้เป็นมาตรฐานสำหรับการทำเหมืองข้อมูล คือ
กระบวนการมาตรฐานสำหรับการทำเหมืองข้อมูล CRoss- Industry Standard Process for Data Mining
(CRISP-DM) อันเป็นรูปแบบมาตรฐานเปิด (open standard) เริ่มต้นพัฒนาเมื่อปี 1996 จากโครงการของ
กลุ่มสหภาพยุโรป (European Union: EU) และในปี 1997 แหล่งทุน European Strategic Program on
Research in Information Technology (ESPRIT) ประกอบด้วย 6 ขนั้ ตอน ได้แก่ 1) การทำความเข้าใจทาง
ธุรกิจ (business understanding) 2) การทำความเข้าใจข้อมูล (data understanding) 3) การเตรียมข้อมูล
(data preparation) 4 การสร้างแบบจำลอง (modeling) 5) การประเมินผล (evaluation) และ 6) การ
นำไปใชง้ าน (deployment)

206

เอกสารอา้ งองิ

Hayes, B. (2014). The What and Where of Big Data: A Data Definition Framework, May 18,
2019, from B.O.B: Business Over Broadway Website:
https://businessoverbroadway.com/2014/07/30/the-what-and-where-of-big-data-a-
data-definition-framework/

Hilbert, M., & Lopez, P. (2011), The World’s Technological Capacity to Store, Communicate,
and Compute information, May 18, 2019, Website:
http://www.martinhilbert.net/WorldInfoCapacity.html

Wiideman, S. (2013). Using Big Data to Get Big SEO Results, May 18, 2019, from Wildeman
Consulting Group Website: https://www.wiideman.com/blog/tools-software/using-
big-data-to-get-big-seo-results

The Big Data & Analytics Hub (2018). Extracting business value from the 4 V's of big data, May
18, 2019, from IBM Big Data & Analytics Hub Website:
https://www.ibmbigdatahub.com/infographic/extracting-business-value-4-vs-big-data

Matteson, A., (2014). The 4 Types of Data Analytics, May 18, 2019, from Data Science Center
Website: https://www.datasciencecentral.com/profiles/blogs/the-4-types-of-data-
analytics

StepUp Analytics., (2018). Data-Driven Careers: A succinct introduction to key roles in data
science, May 18, 2019, from StepUp Analytics Website: https://stepupanalytics.com

Turck, M., & Obayomi, D. (2019) Big data & AI landscape 2018, May 18, 2019, from Mattturck
Website: http://mattturck.com

Wikipedia, (2019). Cross-industry standard process for data mining, May 18, 2019, from
Wikipedia Website: https://en.wikipedia.org/wiki/Cross-
industry_standard_process_for_data_mining

SPSS Inc. (2000). CRISP-DM 1.0 Step-by-step data mining guide, 2000, May 18, 2019, from
SPSS Inc. Website: https://www.the-modeling-agency.com/crisp-dm.pdf

207

คำถามทา้ ยบทท่ี 7

ส่วนท่ี 1 เปน็ คำถามปรนัย
คำสั่ง จงกากบาท (X) คำตอบทีถ่ กู ต้อง

1. ข้อใดต่อไปนค้ี ือลูกค้าหลักของธุรกจิ ดจิ ทิ ลั

ก. คนวยั ทำงานทีม่ ีอายอุ ยู่ในช่วง X generation ข. คนวยั ทำงานที่มอี ายุอยูใ่ นชว่ ง Y generation

ค. คนวัยทำงานท่มี อี ายุอย่ใู นช่วง Z generation ง. ถกู ทุกข้อ

2. ข้อใดตอ่ ไปนี้ไม่ใชค่ ณุ สมบตั ิหรือคณุ ลักษณะของข้อมลู แบบมีโครงสรา้ ง

ก. วิดีโอแนะนำผสู้ อนไวยากรณภ์ าษาองั กฤษ

ข. สามารถถูกสรา้ งโดยมนษุ ย์และเครือ่ งจักรก็ได้

ค. รายชอ่ื ผู้สอนไวทยากรณ์ภาษาองั กฤษ

ง. ตารางสอนผู้สอนไวทยากรณภ์ าษาองั กฤษรายบคุ คล

3. กิจกรรมจากโปรแกรมหรือระบบคอมพวิ เตอร์แบบใดก่อใหเ้ กดิ ขอ้ มูลขนาดใหญ่ได้ในเวลารวดเรว็ ทส่ี ุด

ก. ระบบ POS ข. ระบบทะเบยี นราษฏร์

ค. ระบบ ERP ง. ถกู ทุกขอ้

4. ขอ้ ใดตอ่ ไปน้ไี ม่ใชค่ ณุ สมบตั หิ รือคุณลักษณะของขอ้ มูลขนาดใหญ่ (big data)

ก. volume ข. variety

ค. veracity ง. value

5. ขอ้ ใดตอ่ ไปนค้ี ือคุณลกั ษณะหรือจุดมงุ่ เน้นของการวเิ คราะหข์ อ้ มูลแบบ descriptive analytic

ก. ม่งุ เน้นการอธิบายสาเหตกุ ารเกิดข้ึนของเหตุการณ์

ข. มุ่งเน้นการอธบิ ายและแสดงผลการเกิดขน้ึ ของจากข้อมูลในอดตี

ค. มุง่ เน้นการคน้ หาแนวโนม้ การเกิดขนึ้ ของเหตกุ ารณ์ทคี่ าดว่าน่าจะเกิดขึ้นในอนาคต

ง. ผดิ ทกุ ข้อ

6. ข้อใดตอ่ ไปนี้คือคุณลกั ษณะหรือจุดมุ่งเนน้ ของการวิเคราะหข์ ้อมูลแบบ diagnostic analytics

ก. มงุ่ เนน้ การอธิบายสาเหตกุ ารเกดิ ขึ้นของเหตกุ ารณ์

ข. มงุ่ เนน้ การอธิบายและแสดงผลการเกิดขนึ้ ของจากข้อมูลในอดตี

ค. มุ่งเนน้ การคน้ หาแนวโน้มการเกิดข้ึนของเหตกุ ารณ์ที่คาดวา่ นา่ จะเกิดขึ้นในอนาคต

ง. ผิดทุกข้อ

7. ขอ้ ใดตอ่ ไปน้คี ือคุณสมบตั หิ รอื ความรู้เฉพาะทางที่สำคัญของนกั วเิ คราะห์ข้อมลู (data analyst)

ก. cloud computing ข. Machine learning technique and tools

ค. data mining technique and tools ง. Natural technique and tools

208

8. ขั้นตอนใดของกระบวนการ CRISP-DM ทใี่ ชเ้ วลาดำเนินการมากท่ีสดุ

ก. ขัน้ ตอนที่ 4 - 6 ข. ขั้นตอนท่ี 1 - 3

ค. ขนั้ ตอนท่ี 5 - 6 ง. ข้ันตอนที่ 4

9. กลุ่มเทคนิคใดจากกระบวนการทำเหมืองข้อมูลที่เหมาะกับการนำไปใช้ในการวิเคราะห์หาส่วนแบ่ง

การตลาด (market segmentation)

ก. กลุ่มเทคนคิ association ข. กลุ่มเทคนิค regression

ค. กล่มุ เทคนคิ clustering ง. กลุม่ เทคนิค clssification

10. กลุ่มเทคนิคใดจากกระบวนการทำเหมืองข้อมูลที่เหมาะกับการนำไปใช้ในการวิเคราะห์หาพฤติกรรม

ผบู้ ริโภค

ก. กลมุ่ เทคนคิ association ข. กลุ่มเทคนิค regression

ค. กลุม่ เทคนคิ clustering ง. ผิดทุกข้อ

ส่วนที่ 2 เปน็ คำถามอตั นัย
คำสั่ง จงตอบคำถามตอ่ ไปน้ใี หถ้ กู ต้อง

1. ให้อธิบายแหล่งที่มาของข้อมูล (data source) และรูปแบบข้อมูล (data format) แต่ละประเภทพร้อม
ยกตวั อย่างเชิงการประยุกตใ์ ช้งานประกอบการอธบิ าย

2. ให้อธบิ ายคณุ สมบตั ิ 4V แตล่ ะประเภทของขอ้ มลู ขนาดใหญ่

209

3. ใหอ้ ธบิ ายลกั ษณะงานผเู้ ชยี่ วชาญด้านเทคโนโลยกี ารวิเคราะห์ขอ้ มลู (data expert) แต่ละกลุ่ม

4. ใหอ้ ธิบายแนวทางและคุณลักษณะของของการวิเคราะหข์ ้อมูลแตล่ ะประเภท

5. ให้อธิบายกลุ่มเทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูล (data mining techniques) ตามแนวทางการวิเคราะห์ข้อมูล
ดว้ ยการทำเหมอื งข้อมูล

6. ให้อธิบายมาตรฐานการวิเคราะห์ข้อมูลแบบ CRoss-Industry Standard Process for Data Mining
(CRISP-DM) แตล่ ะขั้นตอนพร้อมยกตัวอยา่ งประกอบการอธบิ าย

210

7. ใหค้ น้ คว้าและเลือกตัวอยา่ งธรุ กจิ ทีน่ ำเทคนคิ การวิเคราะห์ข้อมลู ดว้ ยเทคนคิ การทำเหมอื งขอ้ มูล จำนวน 3
ธุรกิจ จากแหล่งข้อมูลอินเทอร์เน็ตและให้นำมาเขียนรายงานสรุปที่กำหนดให้ ประกอบด้วยรายละเอียด
ข้ันตำ่ 3 สว่ น ไดแ้ ก่
7.1 รูปแบบและลกั ษณะการดำเนนิ ธุรกจิ
7.2 เป้าหมายและความตอ้ งการหรอื เป้าหมายในการวิเคราะหข์ อ้ มลู
7.3 การนำผลการการวิเคราะห์ไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินธุรกิจรวมถึงการเปลี่ยนแปลงที่คาดว่า

หรอื เกดิ ขน้ึ จากการประยุกตใ์ ช้งาน
7.4 วธิ กี ารวิเคราะห์ขอ้ มลู ด้วยเทคนคิ การทำเหมอื งข้อมลู
7.5 ความคิดเห็น ข้อสังเกตหรือข้อเสนอแนะของนักศึกษาที่มีกับทัง้ 3 ตัวอย่างธุรกิจ ที่ค้นคว้าและ

เลือกมาทำรายงานสรุป

211

บทที่ 8

ระบบการชำระเงนิ และภาษที ี่เกย่ี วขอ้ งกับการอเิ ล็กทรอนกิ ส์
(Payment and Taxation System for E-Commerce)

จุดประสงคก์ ารเรียนรู้
1. อธิบายว่าเงินมสี ว่ นสำคญั ในการนำมาใชส้ ร้างธุรกจิ ได้
2. อธิบายการโอนเงนิ ผ่านระบบอเิ ลก็ ทรอนิกสไ์ ด้
3. อธบิ ายวธิ ีการชำระเงินที่นา่ สนใจสำหรับการทำพาณิชยอ์ ิเลก็ ทรอนิกสไ์ ด้
4. อธบิ ายความหมายและบทบาทของสถาบนั การเงนิ และผู้ให้บริการดา้ นการรบั ชำระเงนิ ในการชำระเงินได้
5. อธบิ ายความเหมาะสมของระบบเงนิ อเิ ล็กทรอนิกส์สำหรบั การทำธุรกรรมในรูปแบบพาณิชย์อเิ ล็กทรอนิกส์ได้
6. อธิบายระบบภาษีท่เี กย่ี วขอ้ งกบั พาณชิ ยอ์ เิ ลก็ ทรอนกิ สไ์ ด้

212

1. ธรุ กิจและเงิน

มีคำกล่าวที่กล่าวไว้ว่า เงินคือสิ่งที่ทำให้โลกเศรษฐกิจหมุน เนื่องจากเงินทำหน้าเป็นสารหล่อลื่นที่มี
ประสิทธิภาพมากในทุกพื้นที่เศรษฐกิจ ซึ่งพื้นที่เศรษฐกิจไม่มีความแตกต่างอะไรกับระบบเว็บ หากสงสัยว่า
ทำไมระบบเว็บถึงไม่แตกต่างกับพ้ืนที่เศรษฐกิจ คำตอบ คือ สำหรับผู้ทำธุรกิจแล้วระบบเว็บในปัจจุบันมีสภาพ
ไม่แตกต่างจากพื้นที่เศรษฐกิจ เป็นหนึ่งพื้นที่ที่ผู้ทำธุรกิจใช้ในการประกอบธุรกิจของตน ระบบเว็บจึงสามารถ
ถูกกล่าวได้ว่าเป็นพื้นที่เศรษฐกิจเช่นเดียวกับพื้นที่เศรษฐกิจอื่น ๆ ทำไมระบบเว็บจึงเป็นระบบที่มีความ
ต้องการเงนิ เช่นกัน

อย่างไรก็ตามหลายคนอาจจะไม่เห็นด้วยกับคำกลา่ วว่า เงินคือสิ่งที่ทำให้โลกเศรษฐกิจหมุน ที่กล่าวไว้
ข้างต้นนี้ โดยอาจจะเถียงว่าสำหรับโลกใบนี้ในบางพื้นที่หรือในบางส่วนของโลกอาจจะมีระบบเศรษฐกิจบาง
ระบบที่ไม่จำเป็นที่จะต้องใช้เงินเป็นตัวขับเคลื่อน พื้นที่ดังกล่าวนั้นอาจจะเป็นพื้นที่เศรษฐกิจของสังคมเล็ก ๆ
แห่งใดแห่งหน่ึงในโลกใบน้ี เป็นสังคมเล็ก ๆ ที่ทุกคนท่ีอาศยั อยู่ภายในสังคมนั้นรู้จักกันเปน็ อย่างดี สังคมทีม่ ีวิถี
ชีวิตที่เรียบง่ายการได้มาของสิ่งของต่าง ๆ ไม่ได้ใช้กลไกของการซื้อขายสินค้า แต่ใช้กลไกในการแลกเปลี่ยน
สิ่งของแทนการแลกเปลี่ยนสิ่งของต่าง ๆ เกิดขึ้นตามความต้องการหรือตามความจำเป็น สังคมในรูปแบบนี้จึง
ไมจ่ ำเป็นและไมต่ อ้ งการระบบซื้อขายสินคา้ ในการใช้ชีวิตในแต่ละวนั

แม้ว่าในสังคมที่กล่าวมาข้างต้นนี้จะดูเหมือนกับว่าเป็นสังคมที่ปราศจากระบบเงินเนื่องจากไม่ได้
กำหนดระบบเงินตราขึ้นมาใช้งานในสังคม ไม่มีเงินทางด้านกายภาพ ไม่มีเหรียญกษาปณ์ ไม่มีธนบัตร แต่หาก
พิจารณาสังคมนี้อย่างละเอียดแล้วก็จะพบว่าในสังคมนี้ในคงจะต้องมีระบบการตีมูลค่า ซึ่งระบบดังกล่าวนี้มี
ความใกล้เคียงกับระบบเงินตรา เพียงแต่การตีราคานั้นไม่ได้กำหนดขึ้นมาในรูปแบบของเงิน ไม่มีเหรียญ ไม่มี
ธนบัตรเหมือนระบบเงินตรามาตรฐานเท่านั้นเอง จึงอาจสรุปได้ว่าสังคมดังกล่าวนี้ยังมีระบบเศรษฐกิจที่ใช้
มลู คา่ แทนเงินตราเทา่ น้ันเอง

คำถามที่สำคัญ คือ ทำไมสังคมจึงไม่สามารถขาดระบบเงินได้ คำตอบที่สมเหตุสมผลเหมาะสมที่สุด
คือ เงินถูกใช้เป็นเครื่องมือเพื่อแสดงคุณค่าในช่วงเวลา และโดยธรรมชาติของตัวเงินเองนั้น ตัวมันเองจะแสดง
บทบาทในวงจรพื้นฐานทางเศรษฐกิจ ซึ่งหากพิจารณากระบวนการทางด้านธุรกิจต่อไปนี้ ก็จะพบบทบาทท่ี
สำคญั ของเงนิ ซึ่งจะพบว่าหากขาดเงินไปแลว้ วงจรเศรษฐกิจจะต้องสะดดุ หยุดลง

กระบวนการขายสินค้า กระบวนการซื้อสนิ ค้า

เมอื่ เกิดการส่งมอบสินคา้ หรอื บรกิ าร  การนำเสนอเงินเพอื่ ให้ไดส้ ินคา้ หรอื บรกิ าร
 

 ผขู้ ายได้รบั เงนิ เป็นคา่ ตอบแทน  ผู้ซ้ือได้รับสนิ คา้ และบริการ


 ผู้ซอ้ื จ่ายเงนิ หลังการสง่ มอบสนิ ค้าหรอื บรกิ าร

213

ภาพที่ 1 เงนิ แบบกายภาพ
ทม่ี า : https://i.ytimg.com/vi/P1eOwErmZG8/maxresdefault.jpg

โดยปกติในระบบเงินนั้น รูปลักษณ์ทางกายภาพของเงินที่ถูกนำมาใช้ในปัจจุบัน ได้แก่ เงินที่ผลิตจาก
กระดาษ/โพลีเมอร์ เรียกว่า ธนบัตรและเงินที่เป็นโลหะ เรียกว่าเหรียญกษาปณ์ โดยกายภาพของเงินทั้งสอง
รูปแบบนี้คือรูปลักษณ์ทางกายภาพของเงินที่พบเห็นได้โดยทั่วไป ข้อดีของเงินในรูปลักษณ์กายภาพ คื อ
สามารถแสดงความเป็นเจ้าของได้อย่างชัดเจน เช่น นาย กอไก่ มีธนบัตรที่มูลค่า 20 บาท จำนวนหนึ่งใบและ
เหรียญกษาปณ์มูลค่า 5 บาท จำนวน 3 เหรียญ แสดงว่านาย กอไก่ มีเงินที่มีมูลค่า 35 บาท ซึ่งการใช้ธนบัตร
และเหรียญกษาปณ์นี้เป็นรูปลักษณ์ทางกายภาพที่เหมาะสมกับการจัดการเงินที่มีขนาดและจำนวนไม่มาก
อยา่ งไรก็ตามปัญหาสำคญั ของการถือครองเงนิ ตราทเี่ ปน็ กายภาพน้ี คือ การโดนโกง และการทำเงนิ หาย

ในการใช้เงินที่มีรูปลักษณ์แบบกายภาพนั้น ผู้ใช้ควรทราบว่ามูลค่าของสิ่งที่นำมาใช้สร้างลักษณะทาง
กายภาพของเงินที่อยู่ในรูปแบบธนบัตรหรือเหรียญกษาปณ์นั้นจะต้องต่ำกว่ามูลค่าทางธุรกิจของเงินตราจริง
เช่น เหรียญกษาปณ์มูลค่า 10 บาท มูลค่าของโลหะท่ีนำมาใช้สร้างเป็นเหรียญกษาปณ์ คือ มูลค่าทางกายภาพ
ของเหรียญจะต้องมีมูลค่าน้อยกว่า 10 บาท แต่มูลค่าของเหรียญกษาปณ์นี้เมื่อนำไปใช้ทำธุรกรรมสามารถทำ
ธุรกรรมได้ในมูลค่า 10 บาท การกำหนดมูลค่าของเงินขึ้นอยู่กับผู้ที่ทำหน้าที่ผลิตเงินหรือผู้จัดทำเงิน สำหรับ
ประเทศไทย ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้รับผิดชอบในการพิมพ์และสร้าง/ผลิตเงิน จึงเป็นผู้กำหนดมูลค่า
ทางธุรกิจของเงิน ระบบเศรษฐกิจที่ใช้ระบบเงินตราในรูปลักษณ์กายภาพ เป็นระบบเศรษฐกิจที่ดำเนินการ
ได้ง่าย มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการที่ไมส่ ูงมากและสามารถดำเนินการได้โดยตรงระหว่างผู้ซื้อ/ผูข้ าย ทั้งนี้การ
ดำเนนิ การดังกล่าวจะต้องสอดคลอ้ งเป็นไปตามทก่ี ฎหมายกำหนด

1.1 ในระบบเศรษฐกิจจริง การใช้เงินในการทำธุรกรรมสามารถทำได้สองรูปแบบ ได้แก่ 1) ใช้ใน
รปู แบบเงินสด และ 2) ใช้ในรูปแบบบัญชเี งินธุรกรรมการค้าตา่ ง ๆ ทีใ่ ช้เงินในรปู แบบของเงินสด จะดำเนนิ การ
ซ้อื ขายตามข้นั ตอนดงั ต่อไปน้ี

214

ข้อตกลงกอ่ นกระบวนการซอื้ ขาย การดำเนนิ การ

- ผูซ้ อ้ื เชอื่ วา่ ผ้ขู ายเปน็ เจา้ ของสนิ ค้า/บรกิ ารตาม - ผูซ้ อื้ และผ้ขู าย จะตอ้ งอยู่ในพน้ื ที่หรือระบบ
กฎหมาย เศรษฐกจิ เดยี วกัน

- ผู้ขาย เชื่อว่า ผู้ซื้อเป็นเจ้าของเงินตามกฎหมาย - ผขู้ าย ทำหน้าท่ีในการนำเสนอ สนิ ค้า/บรกิ าร
เชน่ เดยี วกนั ผซู้ ้ือ ทำหน้าทีช่ ำระค่าใช้จ่าย ซึง่ การชำระ
ค่าใชจ้ ่ายนจ้ี ะกระทำเปน็ เงินสดในรูปแบบ
- ผู้ซื้อทำหน้าที่ในการตรวจสอบสินค้า ในขณะท่ี ธนบัตรหรือเหรยี ญกษาปณ์
ผขู้ ายทำหนา้ ทตี่ รวจสอบเงินที่นำมาซ้ือ
- ท้ังผซู้ ื้อและผขู้ าย ทำการแลกเปลยี่ น สนิ คา้ /
- ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายไม่จำเป็นที่จะต้องรู้จักกันมา บริการ กับ เงนิ ในมูลคา่ ทีเ่ ท่าเทียมกนั
กอ่ น

ปญั หาทพ่ี บจากการซอื้ ขายสินค้า/บริการ

- ธนบัตรและเหรียญกษาปณท์ ีน่ ำมาใช้ในกระบวนการจะต้องทเ่ี ป็นยอมรบั ของทัง้ สองฝา่ ย
- ธนบัตรและเหรยี ญกษาปณจ์ ะต้องเปน็ ของจริง
- ขอ้ ควรระวัง คือ ธนบัตรและเหรยี ญกษาปณอ์ าจจะสญู หาย หรือ อาจจะถูกขโมยได้

ปัจจุบันการทำธุรกรรมทางการเงินแตกต่างไปจากการดำเนินการในอดีต การทำธุรกรรมการเงิน

ในปัจจุบันนี้สามารถกระทำได้โดยไม่จำเป็นที่จะต้องใช้ธนบัตร และเหรียญกษาปณ์อีกต่อไป รูปแบบการ

ทำธุรกรรมทางการเงินในปัจจุบันจะใช้ระบบบัญชี การทำธุรกรรมด้วยระบบบัญชี ดำเนินการตามขั้ นตอน

ตอ่ ไปน้ี

- ผู้ขาย และผู้ซื้อ จำเป็นที่จะมีบัญชีธนาคารที่จะต้องเปิดไว้กับธนาคาร และด้วยสาเหตุนี้ทำให้ใน
การทำธรุ กรรมของผูข้ าย/ผซู้ อ้ื จะตอ้ งเก่ยี วขอ้ งกับบุคคลทสี่ าม คอื ธนาคารผ้ดู ูแลบญั ชีของผู้ซ้ือ/ผ้ขู ายเสมอ

- ธนาคารผู้รับผิดชอบทำหน้าที่ดูแลบัญชีของผู้ซื้อจะต้องทำหน้าที่รับประกันว่า ผู้ซื้อมียอดเงินใน
บัญชีเพียงพอ และจะต้องทำหน้าที่เป็นผู้โอน/ย้ายเงินตามการร้องขอของผู้ซื้อที่เป็นเจ้าของบัญชีไปยังผู้ขาย
ส่วนธนาคารผู้รับผิดชอบดูแลบัญชีของผู้ขายจะเป็นผู้รับประกันว่า ผู้ขายที่เป็นเจ้าของบัญชีปลายทางสามารถ
เปลีย่ นยอดเงินท่ีปรากฏในบัญชีให้กลายเป็นธนบัตร และ/หรอื เหรียญกษาปณ์ได้ในทนั ทที ีร่ ้องขอ

- ธนาคารเจ้าของบัญชีต้องทำการเชื่อมระหว่างหมายเลขบัญชี กับเจ้าของบัญชี โดยเมื่อไรก็ตามท่ี
เกิดการทำธุรกรรมต่าง ๆ แล้ว เจ้าของบัญชีจะต้องสามารถรับรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงของบัญชีของตนเองได้
ตลอดเวลา

- ไม่ว่าจะเป็นผู้ซื้อ/ผู้ขาย ทุกคนที่เป็นเจ้าของบัญชีจะต้องทำหน้าที่ในการจ่ายค่าธรรมเนียมในการ
ทำรายการต่าง ๆ ให้กบั ธนาคารเจ้าของบญั ชี ตามรูปแบบธรุ กรรมตามท่ธี นาคารกำหนด

- การทำธุรกรรมผ่านระบบการหกั บัญชีจะเปน็ วธิ ีการทำธุรกรรมท่ีช่วยปกปอ้ งการถูกหลอกลวงหรือ
การสญู หายไปของเงนิ ไดบ้ างสว่ น แต่อย่างไรกต็ ามการทำธุรกรรมในรปู แบบนี้ยังไม่ใช่รปู แบบทีส่ มบรู ณ์ที่สดุ

จากที่ขั้นตอนข้างต้น แสดงให้ทราบถึงคำตอบสำคัญสำหรับคำถาม จะทำให้เกิดการโอนย้ายเงินใน

ระบบเศรษฐกิจจรงิ ของโลกเขา้ มาในระบบเศรษฐกิจบนเว็บไดอ้ ยา่ งไร

215

2. การโอนเงนิ ทางอิเล็กทรอนกิ ส์

ธนาคารกลางของยุโรป ได้ให้คำนิยามของการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ( Electronic Fund
Transfer: EFT) ไว้ว่า การโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง รายการธุรกรรมที่เกิดขึ้นบนระบบเครือข่าย
คอมพิวเตอร์ โดยรายการธุรกรรมนี้อาจจะเกี่ยวข้องกับบัญชีหลายบัญชีในธนาคารเดียวกันหรืออาจจะ
เกย่ี วขอ้ งกบั บัญชที ่อี ยตู่ า่ งสถาบนั การเงนิ

ในประเทศสหรัฐอเมริกา การดำเนินการตามกระบวนการโอนเงินทางอิเลก็ ทรอนกิ สน์ ัน้ มีความหมาย
รวมถึงการทำธุรกรรมในการหักบัญชีโดยตรง (direct-debit transactions) การโอนเงินผ่านระบบเครือข่าย
แบบมีสาย (wire transfers) การฝากเงินโดยตรง (direct deposits) การถอนเงินผ่านตู้จ่ายเงินอัตโนมัติ
(ATM withdrawals) การให้บริการชำระค่าสินค้าและบริการ (bill payment) ตามนิยามของธนาคารกลาง
ของยุโรป กล่าวว่าธุรกรรมต่าง ๆ นี้จะดำเนินการผ่านเครือข่ายสำหรับการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์
(Automated Clearing House: ACH) ซึ่งเครอื ข่ายดงั กลา่ วน้ี เป็นระบบท่ีทำรายการเคล่อื นย้ายเงนิ ดว้ ยความ
มั่นคง เป็นระบบของธนาคารกลางของสหรัฐอเมริกา (Federal Reserve) อีกทั้งระบบดังกล่าวยังเป็นระบบที่
ทำการเชื่อมต่อธนาคารทง้ั หมดในประเทศสหรัฐอเมริกา บรษิ ัทเครดิตยูเนย่ี น และสถาบนั การเงินอนื่ ๆ

ตวั อย่างของการทำงานของการโอนเงินทางอเิ ล็กทรอนิกส์ คือ เมื่อผู้ซื้อสินค้ารายหนึง่ ไดท้ ำการใช้บัตร
เดบิตในการสั่งซื้อสินค้าจากร้านค้าหรือทำการสั่งซื้อผ่านระบบออนไลน์ จะเกิดธุรกรรมทางการเงินข้ึน
โดยธุรกรรมที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการครั้งนี้จะต้องใช้การโอนเงินทางอิเล็ก ทรอนิกส์เป็นกลไกหลักในการ
ทำงาน ธุรกรรมข้างต้น การทำงานนี้จะมีลักษณะทำงานที่ไม่แตกต่างไปจากการที่ผู้ซื้อทำการถอนเงินจาก
ตู้เอทีเอม็ เพียงแต่เปล่ียนเป็นการจ่ายเงินใหก้ ับผู้ขายด้วยระบบหักบัญชีเช็คของผู้ซื้อแทน อีกหนึ่งตัวอยา่ งของ
การโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ท่ีพบกันโดยทั่วไป คือ การจ่ายเงินเดือนพนักงาน เป็นการโอนเงินจากบัญชี
นายจ้างไปยังบัญชีลูกจ้างของนายจ้าง การดำเนินการนี้กระทำได้โดยไม่จำเป็นต้องใช้กระดาษในการ
ประมวลผลอีกต่อไป

ปัจจุบันมีการนำการโอนเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้งานเพิ่มมากขึ้น ธุรกรรมหลัก คือ นำไปใช้
เพื่อชำระค่าสินค้าออนไลน์ การซื้อและกระบวนการชำระเงิน ซึ่งการดำเนินการทั้งหมดนี้จะนำไปสู่ระบบ
ธนาคารที่ไม่ใช้กระดาษ การแจ้งหน้ี การชำระค่าสินค้าและบริการจำนวนมากที่เกิดขึ้นนี้จะทำผ่านเครือข่าย
ดิจิทัล ระบบการโอนเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์จะเข้ามามีบทบาทสำคัญในอนาคต ด้วยความเร็วในการ
ประมวลผล การรับประกันความปลอดภัยในการทำธุรกรรมภายในสถาบันเงินเดียวกัน และระหว่างสถาบัน
การเงิน ธุรกรรมการโอนเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ รู้จักกันอย่างแพร่หลายภายใต้ชื่อ ธุรกรรมออนไลน์
(online transaction) หรือ ธุรกรรมเดบิตด้วยพิน (PIN-debit transaction) ซึ่งเป็นธุรกรรมทางเลือกที่
สามารถนำมาใช้ทดแทนการทำธุรกรรมที่ใช้ลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ และรูปแบบธุรกรรมที่ถูกนำไปใช้ในระบบ
การชำระเงินของบริษัทให้บริการบัตรเครดิตขนาดใหญ่จำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็น วีซ่า (Visa) มาสเตอร์การ์ด
(MasterCard) และ ดสี ครอฟเวอรร์ ่ี (Discovery) โดยมกี ารกำหนดค่าธรรมเนยี มในการดำเนินการอย่ทู ร่ี ้อยละ
สามของมูลค่ายอดสั่งซื้อ แต่จะมีการคิดค่าธรรมเนียมเพียงร้อยละหนึ่งของยอดการสั่งซื้อสินค้าหากการสั่งซ้ือ
สนิ ค้าครง้ั น้ันดำเนนิ การผ่านบัตรเดบิต

216

3. ระบบบาทเนต

สำหรับประเทศไทยนั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยได้มีการกำหนดระบบบาทเนต (Bank of Thailand
Automated High-value Transfer NETwork: BAHTNET) ซึ่งให้นิยามว่า ระบบบาทเนต เป็น โครงสร้าง
พื้นฐานทางการเงินเพื่อรองรับการโอนเงินมูลค่าสูงระหว่างสถาบันการเงินและสถาบันที่มีบัญชี เงินฝากกับ
ธปท. ในลักษณะ Real-Time Gross Settlement (RTGS) และเริ่มให้บริการมาต้ังแต่ปี 24 พฤษภาคม 2538
โดยกำหนดวัตถปุ ระสงค์เพ่ือชว่ ยลดความเสย่ี งในการชำระดุลระหวา่ งสถาบนั การเงินที่มีบัญชีเงนิ ฝากกับ ธปท.
และเพื่อให้การโอนเงินสำหรับบุคคลที่สามมีประสิทธิภาพ รวดเร็วและปลอดภัย โดยทั้งนี้ก่อนที่จะมีบริการ
ระบบบาทเนต การชำระเงินระหว่างสถาบนั การเงินส่วนใหญจ่ ะดำเนินการโดยการใชร้ ะบบเชค็ ซึ่งผู้รับโอนเงิน
จะไมไ่ ด้รับเงินทนั ทีเนอื่ งจากต้องผ่านกระบวนการเรยี กเกบ็ และการชำระเงินระหว่างธนาคารผู้ส่ังจ่ายและผู้รับ
โอนกอ่ น ผู้รบั โอนเงินจึงมคี วามเสี่ยงเน่ืองจากการชำระเงนิ ไมไ่ ดม้ ีผลสน้ิ สดุ ทันที (finality) ซงึ่ อาจนำไปสู่ความ
เส่ียงของระบบการชำระเงนิ โดยรวมได้

ระบบบาทเนตเปดิ ให้บริการทุกวันทำการของธนาคาร ตั้งแต่เวลา 08.30 ถึง 17.30 น. สำหรับบริการ
ทีม่ ีในระบบบาทเนตน้ัน ประกอบด้วย

3.1 การโอนเงิน (Funds Transfer) ผู้ใช้บริการสามารถสั่งโอนเงินจากบัญชีเงินฝากของตนที่
ธนาคารแห่งประเทศไทยไปเข้าบัญชีของผู้ใช้บริการอื่นหรือโอนเงินระหว่างบัญชีของตนเองที่อยู่กับธนาคาร
แห่งประเทศไทย

3.2 การโอนเงินเพื่อบุคคลที่สาม (Third Party Funds Transfer) เป็นการโอนเงินตามคำสั่งของ
ลูกคา้ ที่ร้องขอใหธ้ นาคารของตนโอนเงนิ เขา้ บัญชขี องผู้รับ ซ่งึ ดำเนนิ การภายในวันเดียวกนั (same day basis)

3.3 การสอบถามข้อมูล (Inquiry) คือ การที่ผู้ใช้บริการร้องขอดูข้อมูลที่เกี่ยวกับบัญชีเงินฝากของ
ตนเองทีธ่ นาคารแห่งประเทศไทย

3.4 การสือ่ สารระหวา่ งกัน (Bilateral Communication) เปน็ บรกิ ารทย่ี อมใหผ้ ้ใู ช้บริการสามารถ
สง่ ขา่ วสารผา่ นระบบบาทเนตไปยังผใู้ ชบ้ ริการรายอน่ื ๆ

3.5 การกระจายข้อความ (Message Broadcast) เป็นกระจายข้อความจากธนาคารแห่งประเทศ
ไทยไปยังผู้ใช้บริการทั้งหมดหรืออาจได้รับการร้องขอจากผู้ใช้บริการให้ดำเนินการกระจายข้อความให้
ผู้ใช้บรกิ ารรายอืน่ ๆ

3.6 การชำระดลุ (Multilateral Funds Transfer: MFT) เป็นกระบวนการโอนเงินพรอ้ มกันหลาย
ฝา่ ยทธ่ี นาคารแหง่ ประเทศไทยใช้ในการชำระดลุ การหกั บญั ชีของผ้ใู ชบ้ ริการ

4. ความท้าทายของการชำระเงิน

จากส่วนแรกพบว่า การชำระเงินทำได้สามรูปแบบ ได้แก่ ชำระเป็นเงินสด ชำระผ่านระบบบัญชี และ
สุดท้ายการชำระเงินผ่านเงินอิเล็กทรอนิกส์ เกิดวิธีการชำระเงินสี่วิธี ได้แก่ จ่ายเงินสด (Cash payment) โอน
ผา่ นธนาคาร (Bank Transfer) การหักบญั ชี (Debit note) และจ่ายด้วยกระเป๋าเงนิ (Wallet payment) สว่ น
วิธีการเรียกเกบ็ เงนิ ทำไดห้ ลายลกั ษณะ ได้แก่ การเรยี กเก็บหน้ผี ่านการวางใบแจ้งหน้ี ชำระหนี้โดยการจ่ายเช็ค
ชำระเงินผ่านระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ ชำระเงินผ่านระบบบัตรเครดิตหรือบัตรเดบิต ชำระเงินผ่านอีเมล ชำระ
ผ่านระบบบตั รจ่ายเงนิ ลว่ งหนา้

217

การระบุว่าวิธีการชำระเงินแบบใดเป็นแบบที่ดี ขึ้นอยู่กับการประเมินของผู้ใช้บริการว่าผู้ใช้บริการจะ
ประเมินผลออกมาอย่างไร ซึ่งสำหรับผู้ขายแล้วการประเมินวิธีการชำระเงินจะอาศัยสามเหลี่ยมมหัศจรรย์
ดงั ภาพท่ี 2 ต่อไปน้ี

การยอมรบั ของลูกคา้

สามารถปกปอ้ งผ้ขู ายจากปัญหา คา่ ใชจ้ า่ ยในการ
เรื่องการเรยี กเกบ็ ชำระเงนิ

ภาพท่ี 2 สามเหล่ียมสำหรบั การประเมนิ เพือ่ เลอื กรปู แบบการชำระเงนิ

เงอ่ื นไขการประเมนิ วธิ กี ารเรยี กชาระเงิน
จํานวนคร้ังของการดําเนนิ การ (คร้ังเดยี ว/แบง่ ชาํ ระเป็นงวด)
ความเปน็ สากลของธุรกิจท่ีทําหน้าทเ่ี ปน็ ตวั กลางรบั ชําระเงนิ
คามสามารถในการทํางานได้ โดยท่สี ามารถปกปดิ ชื่อลกู คา้ ได้

ระดบั ของการประกันการชาํ ระเงนิ
ความแพรห่ ลายและการได้รบั การยอมรับของวิธกี ารชาํ ระเงนิ

อย่างไรก็ตามในการพิจารณาวิธีการเรียกเก็บเงินนี้ ผู้ประกอบการยังคงจะต้องพิจารณาถึงโครงสร้างด้าน
ต้นทุนทีเ่ กดิ จากการกระบวนการชำระเงิน และจำนวนเงนิ ที่ชำระ ซง่ึ ได้แก่

จานวนยอดเงนิ คา่ ธรรมเนียมของบรษิ ทั จานวนครงั้ /งวดทที่ าการ
ตัวกลาง ชาระ
• ยอดเงินท่ีปรากฏในอย่ใู บแจ้ง
หน้ี • คา่ ธรรมเนยี มในรปู แบบท่ผี นั • ค่าใช้จ่ายคร้ังเดียว เช่น คา่
แปรกับจํานวนยอดเงนิ ตดิ ตง้ั คา่ สนิ ค้า/และบริการ

• เปน็ คา่ ธรรมเนยี มที่เรยี กเก็บ • ค่าใช้จ่ายรายงวดทีเ่ รยี กเกบ็
แบบคงท่ี เพมิ่ เติม เชน่ การให้บริการ
เป็นรายไตรมาส ฯลฯ

218

นอกจากโครงสร้างด้านต้นทุนของการรับชำระเงินแล้ว ความต้องการด้านความมั่นคงก็ยังคงเป็นอีก
หนึ่งปัจจัยที่ส่งผลโดยตรงกับการเลือกรูปแบบของการชำระเงิน ซึ่งความมั่นคงเกี่ยวกับการชำระเงิน
ที่ผปู้ ระกอบกจิ การพาณชิ ย์อเิ ลก็ ทรอนิกสจ์ ะตอ้ งนำมาพิจารณาวา่ ควรจะเลือกวธิ กี ารชำระเงนิ วิธกี ารใด ไดแ้ ก่

การควบคุม การแสดงตน ความรับผดิ ชอบ
• มกี ารจัดทําระบบเพือ่ ใชใ้ น • มกี ารจดั ทาํ ระบบใหม้ กี าร • มกี ารกาํ หนดขอบเขตการ

การควบคุมและตดิ ตาม แสดงตนของผูเ้ ขา้ ใช้งาน ทั้งน้ี รบั ผิดชอบทเี่ หมาะสมแลว้
ธรุ กรรมการชาํ ระเงินหรอื ไม่ เพือ่ สรา้ งความมนั่ ใจในการ หรอื ไม่ แคไ่ หน อย่างไร
เขา้ ถงึ และใช้งาน

5. กระบวนการชำระเงิน

กระบวนการชำระเงินจะดำเนินการแตกต่างกันออกไปตามรูปแบบและวิธีการชำระเงินที่นำมาใช้
ในระบบพาณชิ ยอ์ ิเลก็ ทรอนิกส์ ดงั ต่อไปนี้

5.1 การชำระเงนิ ตามใบแจง้ หน้ี

ผซู้ ือ้ ผู้ขาย ผขู้ าย ผู้ซอื้ ผ้ขู าย
ส่งั ซ้ือ จดั ส่ง ส่งใบแจ้งหน้ี ชําระเงิน ยนื ยนั การชําระ

เงิน

ภาพท่ี 3 ข้ันตอนการชำระเงินตามใบแจ้งหนี้

ปญั หา สงิ่ ทตี่ ้องพจิ ารณา
ขอ้ ควรรเู้ กี่ยวกับรปู แบบการชาํ ระเงนิ แบบนี้
ส่งของโดยไมม่ กี ารสง่ ใบแจง้ หน้ี คือ การชาํ ระเงินรูปแบบนไ้ี มไ่ ด้เปน็ สว่ นหน่ึง
สง่ ใบแจง้ หนีโ้ ดยไม่มีการส่งของ ของระบบพาณิชยอ์ เิ ล็กทรอนกิ ส์ และ ความ
ยอดทีส่ ่ง กบั ใบแจง้ หนี้ใมต่ รงกัน เส่ยี งของกระบวนการชําระเงินตกอยูท่ ่ีผู้ขาย
เนอ่ื งจากผูซ้ ือ้ ได้รับสนิ คา้ /บรกิ ารไปกอ่ นแลว้
ลูกคา้ ไมย่ อมชาํ ระเงนิ
ลกู ค้าชําระเงนิ ล่าชา้ จงึ ชําระเงินตามภายหลงั

219

5.2 การชำระเงินก่อนส่งสนิ ค้า

ผู้ซือ้ ผ้ขู าย ผู้ซ้อื ผขู้ าย
สั่งซือ้ ส่งใบแจ้งหน้ี ชําระเงนิ ส่งสนิ คา้ หลงั รบั

เงนิ

ภาพท่ี 4 วิธีการจา่ ยเงนิ ก่อน

ปญั หา สงิ่ ทต่ี อ้ งพจิ ารณา
ช่วงห่างระหวา่ งการชาํ ระเงินกบั การส่งสนิ คา้ การชาํ ระเงินรปู แบบนไี้ มไ่ ด้เปน็ สว่ นหนึ่งของ
จาํ นวนเงิน กับ จํานวนสนิ คา้ ไม่สอดคล้องกนั ระบบพาณชิ ยอ์ ิเล็กทรอนกิ ส์ และความเสี่ยงของ
การชาํ ระเงนิ ตกอยู่ทลี่ ูกค้า เนื่องจากลกู คา้ ทําการ
การยืนยนั การชาํ ระเงิน ชาํ ระเงนิ ก่อน ผขู้ ายอาจจะเบี้ยวไมด่ ําเนนิ การ

ส่งมอบสินค้า/บริการได้

5.3 การชำระเงนิ แบบเก็บเงนิ ปลายทาง

ผซู้ ือ้ ผใู้ ห้บริการ ผซู้ อ้ื ผู้ใหบ้ รกิ าร ผู้ซ้อื ผู้ซ้ือ
สง่ั ซ้ือพรอ้ ม จัดส่ง ชําระเงนิ รับแจ้งการ ชาํ ระเงนิ ให้ ยนื ยันการ
ระบุท่ีอยู่ ชําระเงนิ ผใู้ หบ้ รกิ าร ชําระเงิน
พร้อมใบแจ้งหนี้

ภาพที่ 5 ขั้นตอนการชำระเงินแบบเก็บเงนิ ปลายทาง

220

ปญั หา ส่ิงที่ตอ้ งพิจารณา
รปู แบบการชําระเงนิ แบบนี้
ทีอ่ ยไู่ มถ่ กู ตอ้ ง ส่งสนิ คา้ ไม่ได้ ประกอบดว้ ย การชําระเงินไม่ไดเ้ ป็น
ยอดสนิ ค้าจรงิ กบั ยอดในใบแจ้งหนไ้ี มต่ รงกนั สว่ นหน่ึงของระบบพาณชิ ย์
อเิ ล็กทรอนิกส์ และระดับของความเส่ียง
ลูกค้าเตรยี มเงนิ ไวไ้ มพ่ อ
ปัญหาเร่ืองการทอนเงนิ อยใู่ นระดบั ปานกลาง

5.4 การชำระเงนิ ผา่ นระบบหกั บัญชธี นาคาร

ผซู้ ้อื ธนาคาร ผ้ขู าย ผู้ขาย
สั่งซอ้ื จัดการเรอ่ื งการ ส่งสนิ ค้า ส่งใบเสร็จ

ชําระเงนิ

ภาพที่ 6 ขนั้ ตอนการชำระเงินด้วยระบบหักบัญชีธนาคาร

สิ่งที่ต้องพิจารณาเพิ่มเติมในรูปแบบการชำระเงินแบบนี้ คือ ทั้งผู้ซื้อ/ผู้ขายจะต้องมีระบบบัญชีกับ
ธนาคาร และธนาคารของผูซ้ ้อื กบั ธนาคารของผขู้ ายจะตอ้ งมรี ะบบโอนเงินรว่ มกนั ได้

ปัญหา สิ่งที่ต้องพิจารณา

เกบ็ เงินไมไ่ ด้ เนอื่ งจากบัญชีของลูกคา้ มีปญั หา จะตอ้ งมโี ปรแกรมประยุกตเ์ ข้ามาใชใ้ นการทาํ งาน
ไม่มกี ารสง่ ของ ต้องพิจารณาความนา่ เช่อื ถอื ของธนาคาร
ความเส่ียงส่วนใหญจ่ ะอยทู่ ่ีลกู ค้า
ยอดไม่ตรงกันระหว่างสนิ คา้ ท่ีสง่ กับใบเสรจ็ /
ใบสง่ ของ ประเด็นด้านความมัน่ คงของระบบขายสนิ คา้ เรอ่ื ง
บัญชีของลกู ค้า

221

5.6 การชำระเงินผ่านบัตรเครดิต

ผู้ซ้อื ผู้ขาย ผซู้ อ้ื ผู้ขาย ผูข้ าย
ส่ังซือ้ ส่งใบแจ้งหน้ี ชาํ ระดว้ ย สง่ สินคา้ ส่งใบเสร็จ
บตั รเครดิต ใบส่งของ

ภาพที่ 7 ขน้ั ตอนการชำระเงินผา่ นบัตรเครดติ

ปัญหา สิ่งที่ต้องพิจารณา
การชาํ ระเงนิ จะต้องได้รบั การรับประกัน
ไม่มีการส่งของเกดิ ขึน้
ยอดไมต่ รงกนั ระหว่างสินค้าท่สี ่ง กบั จากบรษิ ทั ผใู้ หบ้ ริการบัตรเครดติ

ใบเสรจ็ /ใบส่งของ
การทาํ งานของฟังกช์ นั ชาํ ระเงินผดิ พลาด

เงื่อนไขเพิ่มเติมของการชำระเงินรูปแบบนี้ คือ ลูกค้าจะต้องมีบัตรเครดิตที่มีวงเงินพร้อมใช้งาน และ
ผู้ขายจะต้องมีสัญญากับผู้ให้บริการบัตรเครดิตเพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมชำระเงิน นอกจากนี้แล้วผู้ขาย
จะต้องมีระบบงานท่ีเชือ่ มโยงกบั ผูใ้ ห้บรกิ ารบตั รเครดติ ทสี่ ามารถทำงานร่วมกนั ไดอ้ ยา่ งมีประสิทธภิ าพ

5.7 การชำระเงินผา่ นระบบชำระเงินอิเลก็ ทรอนกิ ส์
วิธีการชำระเงินผ่านระบบชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ได้ถูกพัฒนาโดยเฉพาะเพื่อให้สามารถใช้งานกับ
ระบบพาณชิ ยอ์ เิ ล็กทรอนิกส์ และยังเปน็ ระบบที่สามารถนำไปใชง้ านกบั ระบบการซ้ือ/ขายสินค้าแบบเดิมได้อีก
ด้วย สำหรับขั้นตอนในการดำเนินการจะต้องเกี่ยวข้องกับผู้ให้บริการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ โดยจะต้องไม่ใช่
ผู้ขายสินค้า โดยมีลำดับข้นั ตอนการดำเนนิ การดงั ต่อไปน้ี

222

ลูกค้าดาเนินการสงั่ ซอื้ และแจ้งการชาระเงินบนเว็บไซต์ของผูข้ าย

ผ้ขู ายสนิ ค้าจะสง่ การร้องขอการชาระเงินของลกู คา้ ไปยังผใู้ ห้บรกิ ารชาระเงินอเิ ล็กทรอนกิ ส์

ผ้ใู หบ้ ริการชาระเงินอิเลก็ ทรอนกิ สจ์ ะนาลูกคา้ ไปยังเวบ็ ไซตข์ องผใู้ หบ้ ริการ

ลกู คา้ ดาเนนิ การเพื่อยืนยนั การชาระเงิน

ผใู้ หบ้ รกิ ารชาระเงนิ อิเลก็ ทรอนกิ ส์จะสง่ การยืนยันการชาระเงนิ ไปยงั ผขู้ าย

ผใู้ ห้บรกิ ารชาระเงนิ อิเลก็ ทรอนิกสท์ าการเรยี กเก็บค่าใช้จา่ ยในการดาเนินการจากธนาคารทลี่ กู คา้
เปดิ บัญชีอยู่

ผใู้ หบ้ รกิ ารชาระเงนิ อเิ ล็กทรอนิกส์นาสง่ เงินไปยังบัญชธี นาคารของผูข้ าย

ภาพที่ 8 ขนั้ ตอนการชำระเงินผ่านระบบชำระเงนิ อเิ ล็กทรอนิกส์

6. การจัดการกบั การรับชำระเงิน

ในการเรียกเก็บหนี้ หรือการชำระเงินค่าสินค้า/บริการของลูกค้านั้นสาเหตุหลักที่ทำให้การเรียกเก็บ
หน้ีจากการขายสนิ คา้ ไม่ประสบความสำเร็จ ได้แก่

- การที่บรษิ ัทเจา้ ของบัตรเครดติ ปฏิเสธการชำระเงิน
- การท่ธี นาคารเจา้ ของบญั ชปี ฏเิ สธการชำระเงินจากการหักเงนิ ในบญั ชี
- การทลี่ ูกค้าจา่ ยเงนิ ลา่ ชา้ จากระยะเวลาทกี่ ำหนดไวใ้ นรายการจา่ ยเงนิ ตามใบแจ้งหนี้
เจ้าของกิจการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์จึงจำเป็นที่จะต้องใช้วิธีการต่าง ๆ เพื่อให้สามารถเก็บเงินได้
ซึ่งได้แก่ การออกจดหมายทวงถามหนี้ การทวงถามหนี้ผ่านระบบโทรศัพท์ การไปติดตามหนี้ด้วยตนเอง
การขึ้นบัญชีลูกหนี้ทีม่ ีปัญหา ซึ่งหากเกิดปัญหาในเร่ืองการเรยี กชำระเงนิ ซึ่งอาจจะเป็นการทีล่ ูกคา้ ไม่ชำระหนี้
หรือการที่ลูกค้าชำระหนี้ไม่เต็มจำนวน สิ่งที่ดำเนินการได้ คือ การมอบหมายให้ทนายทำให้หน้าท่ี
แจ้งดำเนินการตามกฎหมาย แจ้งคำพิพากษาที่เกิดขึ้น สำนักคำตัดสินให้กับลูกค้า แต่หากกิจกรรมดังกล่าว
ยังไมป่ ระสบความสำคญั จะต้องเขา้ สกู่ ระบวนการในชั้นศาลเพือ่ ทำการฟอ้ งรอ้ งดำเนินการตามคดตี ่อไป

223

7. ระบบเงนิ อเิ ลก็ ทรอนกิ ส์

จากการเปลี่ยนแปลงด้านนวัตกรรมทางการเงิน ประกอบการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยี
ในหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ส่งผลต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคให้มีความเกี่ยวข้องกับระบบดิจิทัล ทำให้
บทบาทของเงินสดเริ่มลดน้อยถอยลง ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงรูปแบบเทคโนโลยีทางด้านการเงินแบบใหม่
ได้แก่ การใช้จ่ายผ่านอิเล็กทรอนิกส์ (e-payment) การจ่ายเงินผ่านระบบ QR-Code ทั้งหมดนี้คือ ทางเลือก
ในการทำธุรกรรมการเงินโดยไม่ใช่เงินสด ทำได้ง่ายขึ้น เร็วขึ้นและสะดวกขึ้น อีกทั้งต้นทุนในการดำเนินการ
ต่ำกว่าและรูปแบบของเงินเริ่มเปลี่ยนแปลงสภาพจากเงินสดเป็นเงินดิจิทัล (e-money or digital money)
มีการใช้จ่ายในรูปแบบกระเป๋าอิเล็กทรอนิกส์ (e-wallet) หรือแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์พกพา (mobile
wallet)

ระบบเงินอิเล็กทรอนิกส์ (Cyber money or digital currency or cryptocurrency ) เป็นอีกหน่ึง
รูปลักษณ์ของเงินที่ถูกสร้างขึ้นและถูกนำมาใช้งาน เงินอิเล็กทรอนิกส์ คือ เงินที่อยู่ในรูปลักษณ์อิเล็กทรอนิกส์
โดยมีวัตถุประสงค์การใช้งาน คือ เพื่อให้เกิดความสะดวกในการทำงานบนระบบอินเทอร์เน็ต การจัดเก็บและ
การแลกเปลยี่ นจงึ ดำเนินการในรูปแบบอเิ ลก็ ทรอนิกส์

ธนาคารกลางแห่งยุโรป (European Central Bank) ได้มีการกำหนดความหมายของเงินเสมือน
(virtual currency) ขึ้นในปี พ.ศ. 2555 ว่าเงินดิจิทัลเป็นสิ่งที่ปราศจากการควบคุม ที่มีการกำหนดมูลค่าและ
ควบคุมการใช้งานโดยผู้พัฒนาเอง เงินดิจิทัลจึงถูกนำมาใช้และได้รับการยอมรับด้วยสมาชิกของกลุ่มสังคม
เสมือน สำหรับกระทรวงทรัพย์สินของสหรัฐอเมริกาก็ได้มีการให้ความหมายของเงินเสมือนไว้ในปี พ.ศ. 2556
ว่าสื่อกลางของการแลกเปลี่ยนที่ทำหน้าที่เหมือนกับเงินในบางสภาพแวดล้อม แต่ไม่มีคุณสมบัติของเงินท่ี
แท้จรงิ

คำนิยามของทั้งสองหน่วยงานมีความสอดคล้องกัน แต่ความสำคัญที่แท้จริงของเงินเสมือนนั้นไม่ใช่
นิยามความหมายของเงินเสมอื น แต่คือความถกู ต้องและสามารถใช้งานไดต้ ามกฎหมาย

8. รูปแบบของเงนิ อเิ ลก็ ทรอนกิ ส์

เนื่องจากเงินอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic money: e-money) มีนิยามที่กว้าง ๆ คือ เป็นการเก็บ
มูลค่าทางการเงินในรูปแบบอเิ ลก็ ทรอนิกส์ ที่อาจจะบรรจไุ ว้ในอุปกรณ์จำเพาะ โดยมูลค่าที่จัดเก็บไว้นี้สามารถ
นำมาใช้ในการชำระหนใี้ ห้กบั บุคคลอื่น นอกเหนือไปจากผ้ทู ีก่ ำหนดเงินอเิ ลก็ ทรอนิกส์ อปุ กรณ์จำเพาะดงั กลา่ ว
นี้ทำหน้าที่เป็นผู้จัดเก็บ/ครอบครองมูลค่าท่ีใช้ชำระหนี้และมูลค่าที่จัดเก็บไว้ในอุปกรณ์จำเพาะนี้ก็ไม่ได้ผูกพัน
กับบัญชีของธนาคารใดธนาคารหนึ่ง ผลิตภัณฑ์ของเงินอิเล็กทรอนิกส์จึงสามารถมีไว้ในรูปแบบของฮาร์ดแวร์
หรอื ซอฟตแ์ วร์ ทง้ั น้ีจะขนึ้ อยูก่ ับรปู แบบและวธิ ีการจัดเก็บและใช้งานเงนิ อเิ ลก็ ทรอนิกส์

8.1 เงินอิเล็กทรอนิกส์ที่จัดเก็บในรูปแบบฮาร์ดแวร์ จะสามารถนำมาใช้ในการสั่งซื้อสินค้าได้ด้วย
ลักษณะทางกายภาพของอุปกรณ์ที่จัดเก็บ ไม่ว่าจะเป็น ชิพการ์ด (chip card) และด้วยลักษณะความมั่นคง
ทางด้านฮาร์ดแวร์ ทำให้การเคลื่อนย้ายมูลค่าจะต้องดำเนินการผ่านเครื่องอ่านอุปกรณ์ ซึ่งจะต้องมีระบบ
เครอื ขา่ ยสนับสนนุ การทำงาน เพ่อื ทำใหส้ ามารถเขา้ ถงึ เครอื่ งให้บริการ

8.2 เงนิ อเิ ล็กทรอนกิ สท์ ่จี ดั เกบ็ ในรูปแบบซอฟต์แวร์ จะใช้ซอฟตแ์ วรเ์ ฉพาะทที่ ำงานบนอุปกรณ์ส่วน
บุคคล ไม่ว่าจะเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหรือแท็บเล็ต ด้วยการใช้งานซอฟต์แวร์ผ่านอุปกรณ์ส่วน

224

บุคคลนั้นเอง ทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายมูลค่าของเงินและเช่นเดียวกับการใช้เงินอิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบ
ฮาร์ดแวร์นั้นคือ ในการทำงานของซอฟต์แวร์จะต้องมีระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในการสนับสนุนการทำงาน
เพอื่ เชื่อมต่อกบั เครื่องใหบ้ รกิ ารเสมอ

9. เงินเขา้ รหัส (Cryptocurrency)

คือ กลุ่มรหัสดิจิทัล (ตัวเลขศูนย์กับหนึ่ง) ที่เกิดขึ้นจากกระบวนการเข้ารหัส ที่ข้อมูลที่นำมาเข้ารหัส
จะต้องประกอบด้วยลายเซ็นดิจิทัล ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความเหมาะสมในการเคลื่อนย้ายผ่านระบบเครือข่ายแบบ
กระจายที่เท่าเทียมกัน โดยก่อนการเคลื่อนย้ายหรือใช้งานอาจจะต้องมีการพิสูจน์ทราบถึงโครงสร้างก่อนที่จะ
ทำการสร้างหรอื บรหิ ารจัดการเงนิ ในลักษณะน้ี

9.1 บติ คอยด์ (Bitcoin)

บญั ชรี ายการ นาย ก บัญชรี ายการ นาย ข
Debit Credit
Debit Credit
5
2 บัญชีรายการสาธารณะ 5
9
นาย ก นาย ข 2 10
10 -5 5 9
2 -2

9 -9

-10 10

ภาพท่ี 9 การลงบัญชสี ามเล่ม
ที่มา : ดดั แปลงจาก: https://i0.wp.com/blockchain-review.co.th/wp-

content/uploads/2018/12/triple-entry-accounting-a-blockchain-

use-case-for-banks-with-r3-corda-6-638-1.jpg

บิตคอยด์ คือ สกุลเงินเข้ารหัสที่ได้รับการรู้จักและมีการใช้งานในวงกว้าง เงินเข้ารหัสที่มีใช้อยู่
ส่วนมากจะมีพื้นฐานมาจากบติ คอยด์ ตงั้ แต่เร่มิ ต้นของการใช้งานบิตคอยดน์ ั้น ระบบบิตคอยดจ์ ะเป็นระบบเงิน
ที่ทำงานอยู่บนเครือขา่ ยแบบกระจายที่เท่าเทยี มกันและมมี ลู ค่าของเงนิ จากกล่มุ ผใู้ ชง้ าน ซ่ึงแตกต่างจากระบบ
เงินตราโดยทั่วไปที่มูลค่าของเงินจะกำหนดจากหน่วยงานกลางของภาครัฐ ระบบบิตคอยด์จึงเป็นสกุลเงินตรา
เข้ารหัสที่ถูกนำมาใช้จริงเป็นระบบแรก มีความโดดเด่นมากที่สุดในปัจจุบันด้วยระบบบัญชีสามเล่ม (triple
entry bookkeeping system) โดยเป็นระบบที่จะประกอบขึ้นจากการลงบัญชีจำนวนสามเล่ม สองเล่ม
เปน็ ของค่คู ้า สว่ นอกี หน่ึงเปน็ บญั ชีรายการสาธารณะ เพอื่ ป้องกนั การเปล่ียนแปลงรายการ ภาพท่ี 9 น้ีเป็นการ
ลงบัญชขี องระบบบัญชสี ามเล่ม

225

ภายใต้ความสำเร็จและชื่อเสียงของบิตคอยด์นั้น ประเด็นที่ทำให้ระบบบิตคอยด์สามารถทำได้ภายใต้
เครอื ข่ายมหึมาได้ คอื บัญชีรายการสาธารณะ (public ledger) ท่ีมชี อ่ื วา่ block chain โดยตวั บัญชีรายการนี้
จะทำหน้าที่จัดเก็บทุกรายการประมวลผลที่ได้ผ่านการประมวลผลไว้ ส่งผลให้ผู้ใช้ คอมพิวเตอร์สามารถ
ดำเนนิ การทวนสอบและตรวจสอบความถูกตอ้ ง ความเท่ียงตรงของรายการประมวลผลท่เี กิดขึน้ ได้ ทกุ รายการ
ประมวลผลที่เกิดขึ้นจะต้องได้รับการปกป้องด้วยลายเซ็นดิจิทัลที่มีความสอดคล้องกับตำแหน่งที่อยู่ของผู้ส่ง
ก่อนที่จะยอมให้ผู้ใช้งานทุกคนควบคุมการส่งบิตคอยด์ได้อย่างเต็มที่ ด้วยเหตุนี้เองทำให้สามารถจะเกิดการ
ฉ้อโกงจากระบบน้ไี ด้ ไมส่ ามารถปฏิเสธการชำระเงินและจะไม่มีข้อต่อรองว่ารายการท่ีเกิดขึ้นน้ไี มไ่ ด้เกิดจากตัว
ผู้ดำเนนิ การแตเ่ กดิ จากการขโมยตัวตนไปใช้งาน

ภาพท่ี 10 บิตคอยด์

9.2 บลอ็ กเชนทำงานอย่างไร
ในส่วนต่อไปนี้จะกล่าวการนำบล็อกเชนมาทำงานร่วมกับบิตคอยด์ โดยเริ่มต้นตั้งแต่ผู้ใช้งานรายใหม่
ทไ่ี ม่เคยรู้สึกบิตคอยดม์ ากอ่ นและกระบวนการตา่ ง ๆ ของบล็อกเชนทที่ ำให้เกิดการโอนย้ายบิตคอยด์
ผู้ใช้งานรายใหม่ สำหรับผู้ใช้งานใหม่ สามารถเริ่มต้นใช้งานบิตคอยด์ได้โดยที่ไม่จำเป็นที่จะต้องทำ
ความเข้าใจกลไกภายใต้ของบิตคอยด์ การใช้งานเริ่มต้นได้ตั้งแต่ที่ผู้ใช้ทำการติดตั้งกระเป๋าเงินบิตคอยด์
(Bitcoin wallet) บนเครื่องคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยหลังจากทำการติดตั้งกระเป๋าเงินของบิต
คอยด์เรียบร้อยแล้ว โปรแกรมจะทำการสรา้ งที่อยู่ของบิตคอยด์ (Bitcoin address) จากนั้นผู้ใช้สามารถนำสง่
ที่อยู่นีใ้ หก้ ับคนอื่น ๆ เพื่อนหรือคู่ค้า เพื่อให้เขาเหล่าน้ันจา่ ยเงินใหผ้ ู้ใชห้ รอื ในทางกลับกนั การทำงานของที่อยู่
ของบิตคอยด์เหมือนกับการทีอ่ ยู่ของอีเมล เพียงแต่ที่อยู่ของบิตคอยด์จะต้องมีเพียงตำแหน่งเดยี วไมเ่ หมือนกบั
ที่อยูอ่ ีเมลทีส่ ามารถสร้างใหม่ไดต้ ลอด

ภาพที่ 11 ผู้ใชร้ ายใหม่

226

9.3 ยอดเงนิ ในบญั ชี
บล็อกเชน คือ สมุดรายการสาธารณะที่ใช้ร่วมกัน (shared public ledger) ที่จะเก็บแต่ละรายการ
ของเครือข่ายบิตคอยด์ โดยทุกรายการที่ผ่านการยืนยันจะถูกนำมาจัดเก็บไว้ในสมุดรายการนี้ และด้วยสมุด
รายการนี้ทำให้กระเป๋าเงินของบิตคอยด์จะถูกคำนวณยอดเงินในบัญชี และรายการธุรกรรมนี้จะถูกตรวจสอบ
เพอ่ื ใหแ้ นใ่ จว่า ผู้ทำธุรกรรมคอื เจา้ ของบิตคอยดต์ วั จริง ข้อมลู ตา่ งๆ ทถ่ี ูกบนั ทกึ ในสมดุ รายการจะต้องผ่านการ
เขา้ รหสั

ภาพที่ 12 สมุดรายการจะต้องผ่านการเขา้ รหัส
9.4 รายการธรุ กรรม
รายการธรุ กรรม คือ การเคลื่อนย้ายมูลค่าระหวา่ งกระเป๋าเงนิ ของบิตคอยด์และถูกบนั ทกึ ลงบล็อกเชน
ภายในกระเป๋าเงนิ ของบิตคอยด์จะมสี ่วนท่เี ป็นความลบั เกบ็ ไว้ สว่ นน้คี อื กญุ แจ

ภาพที่ 13 สมุดรายการจะตอ้ งผ่านการเขา้ รหัส

227

ส่วนบุคคล (private key) และนำไปใช้ในการลงนามธุรกรรมเป็นข้อพิสูจน์ทางคณิตศาสตร์ที่ทำให้
ทราบว่าธุรกรรมนี้ดำเนนิ การด้วยเจ้าของด้วยลายเซ็น (signature) จะทำให้ธุรกรรมได้รับการป้องกันไม่ให้เกิด
การเปลี่ยนแปลงจากบุคคลอื่น ทุกธุรกรรมจะถูกประกาศออกไปในเครือข่ายและใช้เวลาประมาณ 10 – 20
นาที ก่อนท่ีจะไดร้ ับการยืนยัน สว่ นกระบวนการท่ียืนยนั นีค้ ือ mining

9.5 การประมวลผล
Mining คือ ระบบกระจายที่ใช้หาฉันทามติที่ใช้เพื่อยืนยันธุรกรรมที่ถูกนำมารวมกันไว้ในบล็อกเชน
โดยจะมีการเก็บข้อมูลเรียงตามลำดับเวลาในบล็อก ทั้งนี้เพื่อความเป็นกลางของเครือข่าย อีก ทั้งช่วยให้
คอมพิวเตอร์ต่าง ๆ สามารถเห็นสถานะของระบบ การที่ข้อมูลจะถูกจัดเก็บในบล็อกได้ข้อมูลนั้นจะต้อง
ถูกเขา้ รหสั ลบั ที่มีความเขม้ งวดและเปน็ เหตุผลท่ีทำให้การแกไ้ ขบลอ็ กต่าง ๆ เปน็ ไปไดย้ ากมาก

ภาพท่ี 14 การประมวลผล
9.6 การหาข้อมลู เพ่ิมเตมิ
ท่กี ล่าวมาทงั้ หมดนีค้ ือ บทสรปุ ส้นั ๆ ของการทำงานบล็อกเชนกับบติ คอยด์ หากต้องการเรียนรู้ข้อมูล
เพิม่ เตมิ สามารถจะศึกษาหาอ่านได้จากบทความตอ่ ไปนี้
ต้นกำเนดิ ของบติ คอยด์ ดาวน์โหลด https://bitcoin.org/en/bitcoin-paper
คู่มอื การพัฒนา อ่านไดจ้ ากเว็บไซต์ https://bitcoin.org/en/developer-documentation
วิกิพเี ดียของบิตคอยด์ https://en.bitcoin.it/wiki/Main_Page

228

ภาพท่ี 15 การหาขอ้ มลู เพมิ่ เติม

10. ลิบร้า (Libra)

จากบทความ Libra กับอนาคตการเป็นสกุลเงินระดับโลก? และบทความต่างได้กล่าวถึง การปรากฏ
ของสกุลเงินดิจิทัลสกุลใหม่ที่มีการประกาศใช้งาน เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2562 โดย เฟซบุ๊ก ภายใต้ชื่อ ลิบร้า
(Libra) เป้าหมายสำคัญของลิบร้า คือ เพื่อจะให้เป็นสกุลเงินที่สามารถใช้ร่วมกันทั้งโลก (Global Currency)
และคาดวา่ ลิบรา้ จะถกู นำมาใชไ้ ดต้ ง้ั แตป่ ี 2563 เป็นตน้ ไป

ในด้านสถิตปิ จั จบุ ันมีผู้ใชบ้ ญั ชเี ฟซบุ๊กทว่ั โลกมากกว่า 2 พนั ล้านบัญชี ประมาณ 51 ล้านบัญชเี ปน็ ของ
คนไทย (อันดบั 8 ของโลก) การเปิดตัวลบิ รา้ จึงอาจสง่ ผลกระทบตอ่ การเปลยี่ นแปลงภมู ทิ ศั นก์ ารเงนิ ของโลก

ภาพท่ี 16 ลบิ รา้

229

ภาพที่ 17 พันธมิตรผู้มีสว่ นรว่ มในการก่อตงั้ ลิบร้า

ลิบร้า ถูกออกแบบให้เป็น คริปโตเคอร์เรนซี เช่นเดียวกับ บิทคอยน์ และมีการใช้เทคโนโลยี ดีแอลที
(Distributed ledger Technology: DLT) ทใี่ ชก้ นั อย่างแพร่หลายอย่าง บล๊อกเชน ในการดำเนินการคำถามท่ี
น่าสนใจคือ แล้วลิบร้าแตกต่างจากคริปโตเคอร์เรนซีสกุลอื่นอย่างไร? ลิบร้าแตกต่างจากบิทคอยน์หรือเงิน
ดิจิทัลที่ถูกนำมาใช้ก่อนหน้านี้หรือไม่? สิ่งที่ลิบร้าแตกต่างจากสกุลเงินดิจิทัลก่อนหน้านี้ คือ ลิบร้าเป็นระบบ
เงินที่จะมีการผันผวนต่ำ เนื่องจากวิธีการบริหารสกุลเงินของลิบร้าใช้หลักการบริหารสกุลเงินแบบเดียวกันกับ
การบรหิ ารสกุลเงินของแต่ละประเทศทีมรี ะบบเงนิ ตรา ทำใหท้ ุกหนึง่ เหรยี ญลิบร้าจะถูกสนับสนนุ ด้วยทรพั ยส์ นิ
ที่แท้จริงมีอยู่จริงและทุกจำนวนเงินลิบร้าจะต้องมีทรัพย์สินที่มีราคาเท่ากับจำนวนเงินอยู่ครบทุกเหรียญ

เพื่อให้การดำเนินการของลิบร้าสามารถทำได้อย่างสมบูรณ์ ทำให้ต้องมีการก่อตั้งองค์การสำคัญขึ้น
จำนวน 2 องค์การ ไดแ้ ก่ Libra Asscociation องคก์ ารนีป้ ระกอบด้วยพัทธมิตรทีจ่ บั มือกันเป็นผกู้ อ่ ตง้ั สมาชกิ
จะประกอบด้วย 28 องค์การ เช่น Visa Mastercard PayPal นอกจากกลุ่มการเงินยังมีเจ้าของกิจการที่
ให้บริการด้านรูปแบบการดำเนินชีวิตต่าง ๆ ได้แก่ Spotify Uber eBay Booking สำนักงานขององค์การนี้จะ
ตั้งอยู่ที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ องค์การนี้จะทำหน้าที่ดูแลด้านเงินตราเหมือนกับเป็นประเทศใหม่
หนึ่งประเทศ

ส่วนองค์การที่สองที่เกิดขึ้นชื่อ Calibra ทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลระบบกระเป๋าเงินดิจิทัล แต่ว่าในช่วงแรก
ลิบร้าจะฝากระบบกระเป๋าเงินดิจิทัลนี้ไว้กับแอปพลิเคชันของ เฟซบุ๊กกับวอลท์แอพ การจัดตั้งองค์การ
Calibar แยกออกมานี้เพื่อเป็นการแยกการบริหารข้อมูลระหว่าง เฟซบุ๊กกับลิบร้าออกจากกันอย่างชัดเจน
ไม่ใหเ้ กิดการปะปนที่จะนำไปสู่การร่ัวไหลของขอ้ มลู

การที่ลิบร้าถูกสร้างและกำกับดูแลโดยหน่วยงานกลาง (คือ Libra Association ซึ่งเปรียบเสมือน
ธนาคารกลางในประเทศต่าง ๆ ที่ออกใช้เงินแต่ละสกุลของตน) มีระบบสินทรัพย์หนุนหลัง (ในที่นี้คือตะกร้า
ของสินทรัพย์ในสกุลเงินต่าง ๆ ที่มีความเสี่ยงต่ำ) เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือ ซึ่งจะทำให้ลิบร้ามีมูลค่าในตัวเอง
(intrinsic value) และมีจุดประสงค์ในการสร้างและออกใช้ที่ชัดเจนโดยเฉพาะ นั่นคือการมุ่งเป็นสกุลเงินของ

230

โลก แต่การที่ลิบร้าจะถูกนับว่าเป็น “เงิน” ที่สามารถใช้ได้อย่างแพร่หลายตามวัตถุประสงค์นั้น ผู้เชี่ยวชาญ
ดา้ นการเงนิ ของธนาคารกลางใหค้ วามเหน็ วา่ ลิบร้าจะตอ้ งมคี ณุ สมบตั ิท้ังหมด 3 ประการ คือ

- การเป็นสอื่ กลางในการแลกเปล่ียน ลิบร้าจะต้องเป็นท่ียอมรับในวงกวา้ งเพอื่ เปน็ สอ่ื กลางในการซื้อ
ขายแลกเปล่ยี นสนิ คา้ และบริการ และจะต้องสามารถใชช้ ำระหน้ีได้จริงตามกฎหมายหรือไม่

- การเก็บรักษามูลค่า ลิบร้าจะต้องมีมูลค่าไม่ผันผวนจนเกินไป จึงจะสามารถเก็บรักษามูลค่าหรือ
ความมัง่ ค่งั (wealth) ของผ้ถู ือลิบรา้ ได้

- การเป็นหนว่ ยวดั มลู ค่า สามารถทำการต้ังราคาสินค้าและบรกิ ารโดยใช้ลิบร้าเปน็ หนว่ ยวัดมูลคา่ ได้
อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้บริโภคการประกาศตัวของลิบร้านั้นยังให้ประโยชน์ต่อผู้บริโภคในการทำ
ธุรกรรมทางการเงิน เนื่องจากมีการคิดอัตราค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมต่ำกว่าการทำธุรกรรมปกติ อีกท้ัง
จะมีความเร็วในการดำเนินการตามธุรกรรมเร็วกว่าระบบเดิม ซึ่งประกาศไว้ที่ 1,000 ธุรกรรมต่อนาที ในขณะ
ที่บิตคอยดม์ คี วามเร็วในการทำธรุ กรรมอยู่ที่ 7 วนิ าทตี อ่ หนึง่ ธุรกรรม
แม้ว่าลิบร้าเหมือนจะเป็นอนาคตที่สดใสในการดำเนินธุรกรรมทางระบบเงินดิจิทัล แต่ปัญหาและ
อุปสรรค์ของลิบร้าก็ได้เกิดขึ้นแล้ว ได้แก่ การที่ประเทศสหรัฐอเมริกาขอให้ชะลอการดำเนินการไปก่อน
เนื่องจากระบบของลิบร้ายังมีรายละเอียดในการดำเนินการที่ไม่ชัดเจน อาจจะเปิดโอกาสให้เกิดปัญหาด้าน
ความเสี่ยงในการกำกับดูแลหรืออาจนำไปสู่การฟอกเงินได้ จึงทำให้ลิบร้าได้รับแรงต้านทานมหาศาลจาก
ภาครัฐและหน่วยงานกำกับดูแลในแต่ละประเทศ สำหรับด้านพันธมิตรผู้ก่อตั้งทั้ง 28 หน่วยงานตั้งแต่วัน
เปิดตัวลิบร้ากลับพากันถอนตัวออกไป นำโดยบริษัทบริการชำระเงินระดับโลกอย่าง Paypal ได้ขอถอนตัวไป
ตั้งแต่ช่วงเดือน ต.ค. พ.ศ. 2562 ต่อด้วยการถอนตัวของพันธมิตรสำคัญอย่าง Visa, Mastercard, eBay,
Stripe และ Mercado Pago ทง้ั นี้ นายมาร์ค ซกั เกอรเ์ บกิ ก็ยังไมส่ ามารถใหค้ ำตอบที่ชดั เจนได้วา่ เพราะเหตใุ ด
บริษทั เหล่านจ้ี งึ ถอนตวั

11. ดิจทิ ลั หยวน (Digital Yuan)

ดิจิทัลหยวน ไม่ได้เป็นสกุลเงินใหม่ แต่เป็นสกุลเงินเดิมในร่างใหม่ คือ เปลี่ยนรูปแบบจากเงินแบบ
กายภาพเป็นเงินอิเล็กทรอนิกส์ กล่าวให้ง่ายคือ แทนที่ธนาคารกลางของจีนจะทำการพิมพ์ธนบัตรออกมาใช้
งานตามปกติ ให้เปล่ยี นมาเป็นการใชโ้ ปรแกรมคอมพวิ เตอร์สร้างเงินในรูปแบบดิจิทัลแทน

ภาพท่ี 18 ดิจทิ ลั หยวน

231

สกุลเงินดังเดิมของประเทศจีนมีชื่อว่า เหรินหมินปี้ (Renminbi) และมีหน่วยนับของเงิน คือ หยวน
(Yuan) หากเทียบกับประเทศไทยแล้ว หยวน คือ บาทของประเทศไทย ทำให้ชื่อทางการของสกุลเงินดิจิทัล
ของจีนไม่ใช่ดิจิทัลหยวน (Digital Yuan) แต่เป็น e-Renminbi (e-RMB) แต่อย่างไรก็ตามชื่อที่เรียกกันทั่วไป
จะใชค้ ำว่าดิจทิ ลั หยวนมากกวา่

คุณลักษณะสำคัญที่มีการกล่าวถึงของดิจิทัลหยวน คือ 1) เป็นสกุลเงินที่มีกฎหมายรองรับ 2)
มีลักษณะรวมศูนย์อยู่ที่ธนาคารกลางประเทศไทยมากกว่าการใช้ระบบบล็อกเชน และ 3) มีการจ่ายดอกเบ้ีย
โดยธนาคารกลางของจนี สามารถกำหนดอัตราดอกเบี้ยให้กับเงนิ ดดิจิทลั หยวนไดโ้ ดยตรง

หากพิจารณาความแตกต่างระหว่างดิจิทัลหยวนกับบิตคอยด์ พบว่า ดิจิทัลหยวนสร้างโดยธนาคาร
กลางของจีน (People’s Bank of China: PBoC) มูลค่า คือ หนึ่งดิจิทัลหยวน จะมีมูลค่าเท่ากับหยวนแบบ
กระดาษ 1 หยวน และถ้าธนาคารกลางของจีนผลิตเงนิ ดิจทิ ัลหยวนออกมา หนง่ึ ดิจทิ ัลหยวน ธนาคารกลางของ
จีนจะต้องมีทรัพยสินที่มีมูลค่าหนึ่งหยวนเข้าไปเก็บไว้ในคลัง ทำให้เงินดิจิทัลหยวนมีเสถียรภาพสูง มีความผัน
ผวนตำ่ ไมเ่ หมือนกับบิตคอยดท์ ี่ไมไ่ ดผ้ กู ผันกับทรัพยส์ ินใดท่มี ีมูลค่าทำให้มคี วามผนั ผวนสงู มาก

ปัจจุบันประเทศจีนได้เริ่มนำดิจิทัลหยวนมาทดลองใช้งานตั้งแต่ปี 2557 ในเมืองเสิ่นเจิ้น ซูโจว เฉิงตู
และสงอัน หากพิจารณาประชากรจะพบว่า เฉพาะเมืองเสิ่นเจิ้น ซูโจวและเฉิงตู ก็มีประชากรรวมกันไม่น้อย
กว่า 38 ล้านคน อีกทั้งเมืองทั้งสามนี้สามารถกล่าวว่าเป็นเมืองที่มีการพัฒนาแบบก้าวกระโดดทางด้าน
เทคโนโลยี ส่วนเมืองสงอันเป็นเมืองที่ตั้งอยู่ไม่ไกลจากเมืองปักกิ่งและได้รับการส่งเสริมให้เป็นเขตเศรษฐกิจ
ใหม่ของจีน ซึ่งในการดำเนินการทดลองใช้ดิจิทัลหยวนได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจ ากห้างและร้านค้า
ท้องถน่ิ และร้านคา้ ขา้ มชาติ เช่น สตารบ์ ัคส์ แมคโดนลั ดแ์ ละซบั เวย์ และหลังจากได้รับความร่วมมือจากร้านค้า
ต่าง ๆ ทางการจีนจึงดำเนินการส่งดิจิทัลหยวนเข้าสู่ตลาดผ่านช่องทางการจ่ายเงินเดือนให้กับข้าราชการ โดย
ข้าราชการของจีนจะได้รับเงินเดือนเป็นเงินหยวนแบบกระดาษจำนวนครึ่งหนึ่งของเงินเดือน ส่วนอีกครึ่งหนึ่ง
ของเงินเดอื นจะไดร้ บั เป็นเงนิ ดจิ ิทลั หยวน

จุดเด่นที่สำคัญของดิจิทัลหยวน คือ ความสามารถโอนข้ามค่ายผู้ให้บริการกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์
ไดท้ ันที ส่ิงน้คี ือข้อแตกตา่ งของดจิ ทิ ัลหยวน จากระบบกระเป๋าเงินระบบอื่นของผใู้ หบ้ รกิ ารเฉพาะราย ตัวอย่าง
หากผู้บริโภคมีกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ของอาลีเพย์ ผู้บริโภคจะไม่สามารถไปชำระค่าใช้จ่ายในร้านที่รับ
กระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์แบบทรูมันนี่ได้ หากผู้บริโภคต้องการจะชำระให้ได้ ผู้บริโภคจะต้องทำการโอนเงิน
จากระบบกระเป๋าอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ผ่านไปยังบัญชีธนาคารก่อน จากนั้นให้ระบบธนาคารเป็นผู้ชำระให้
แต่หากผู้บริโภคใช้ระบบดิจิทัลหยวนปัญหานี้จะไม่เกิดขึ้น ผู้บริโภคสามารถทำการโอนเงินจากอาลีเพย์ไปยัง
ทรูมันนี่ของร้านค้าได้โดยตรงและการโอนเงินก็สามารถทำได้โดยไม่จำเป็นต้องมีระบบอินเทอร์เน็ต โดยอาจ
กระทำโดยใช้เครือข่ายระยะใกล้ เชน่ Near Field Communication (NFC) แทนได้

ด้านความปลอดภัยสามารถกล่าวได้ว่า ดิจิทัลหยวนถูกดูแลด้วยธนาคารกลางของจีน ดังนั้น
การเคลื่อนย้ายเงินทุกรายการจะต้องผ่านธนาคารกลางของจีน ได้รับการดูแลอย่างเข้มข้น ซึ่งทำให้ สามารถ
แกป้ ัญหาเร่อื งการหนภี าษแี ละการฟอกเงินได้เป็นอยา่ งดี

232

12. โครงการอนิ ทนนท์

ภาพท่ี 19 โครงข่ายพันธ์มติ รในโครงการอินทนนท์
โครงการอินทนนท์ เป็นโครงการด้านเทคโนโลยีภาคการเงิน (Financial Technology: FinTech)
เป็นรูปแบบเงินดิจิทัลที่ใช้เทคโนโลยี ดีแอลที (DLT) แปลว่า เทคโนโลยีการจัดเก็บข้อมูลแบบกระจายศูนย์
เพื่อทำให้สมาชิกในเครือขา่ ยทำการแลกเปลีย่ นข้อมูลและทำธุรกรรมได้โดยตรงไม่ผ่านตัวกลางคนกลาง มีการ
ประยุกต์ใช้สัญญาอัจฉริยะ (Smart Contact) ในการกำหนดเงื่อนไขที่ต้องปฏิบัติตามโครงการนี้จึงมีลักษณะ
เช่นเดียวกับเงินคริปโตเคอรเรนซีที่ปรากฏขึ้นของธนาคารกลางในเกือบทุกประเทศ เช่น Project LionRock
ของธนาคารกลางฮ่องกง และ Project Ubin ของธนาคารกลางสิงคโปร์ ที่ทดสอบการโอนสกุลเงินดิจิทัล
ระหว่างผู้เลน่ รายใหญใ่ นรปู แบบตา่ ง ๆ
โครงการอนิ ทนนท์ คือ โครงการทีธ่ นาคารแหง่ ประเทศไทยเป็นผู้เริ่มต้น ทำงานรว่ มกับสถาบันการเงิน
8 แห่ง และบริษัท R3 (ผู้พัฒนา DLT ใน Corda Platform) ในการทดสอบความเป็นไปได้ในการประยุกต์ใช้
DLT กับระบบการชำระเงินของประเทศ ในลักษณะ "ลองเพื่อรู้ ดูว่าทำได้" ( Proof of Concept)1
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยและสถาบันการเงินมีความเข้าใจและเท่าทัน
เทคโนโลยีผ่านการลงมือพัฒนาและจำลองระบบต้นแบบ โดยผู้เข้าร่วมโครงการทั้งสถาบันการเงินและ ธปท.
ได้ร่วมกันออกแบบโครงสร้างพื้นฐานทางการเงิน โดยใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking)
รวมทงั้ ยังให้นกั พฒั นาระบบ (System Developer) จากสถาบนั การเงนิ ทเ่ี ขา้ รว่ มโครงการร่วมกันพัฒนาระบบ
การชำระเงินต้นแบบเพื่อเป็นรากฐานสำหรับการพัฒนาระบบการเงินของไทยในอนาคต ซึ่งแบ่งขอบเขตของ
โครงการแบง่ ออกเปน็ 3 ระยะไดแ้ ก่

233

ระยะท่ี 1 สร้างระบบการชำระเงินต้นแบบ โดยใช้ DLT ในการรองรับการโอนเงินในประเทศระหว่าง
สถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการ โดยเริ่มจากการแปลงเงินฝากของสถาบันการเงินที่นำมาฝากไว้ที่ ธปท.
(Reserve) ให้อยู่ในรูปสกุลเงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลาง (Central Bank Digital Currency: CBDC)
เพอื่ ใช้เปน็ ส่ือกลางในการแลกเปล่ียนและโอนชำระเงินระหว่างกนั นอกจากนย้ี ังไดอ้ อกแบบกลไกการให้สภาพ
คล่องแก่สถาบันการเงินระหว่างวันแบบอัตโนมัติ (Automated Liquidity Provision) เพื่อช่วยสนับสนุนให้
ระบบการชำระเงินทำงานได้โดยไม่ติดขัด โดยโครงการในระยะที่ 1 ได้ดำเนินการแล้วเสร็จในเดือนมกราคม
2562 และได้เผยแพรร่ ายงานสรุปโครงการอนิ ทนนทร์ ะยะที่ 1 ตอ่ สาธารณชนเรียบร้อยแลว้

ระยะท่ี 2 พัฒนาขีดความสามารถของระบบการชำระเงินต้นแบบ โดยต่อยอดจากโครงการในระยะ
ที่ 1 ให้ครอบคลุมถึงการใช้ประโยชน์จาก Smart Contract มาจำลองวงจรชีวิตของพันธบัตร ตั้งแต่การแปลง
พันธบัตรให้อยใู่ นรปู Token การส่งมอบพันธบัตรและชำระเงินคา่ พนั ธบัตรในเวลาเดียวกัน (Delivery Versus
Payment: DVP) การจ่ายดอกเบ้ียจนถงึ การจา่ ยคนื เงินต้นในวันที่พนั ธบตั รครบกำหนด รวมท้ังออกแบบระบบ
ให้รองรับการซื้อขายพันธบัตรในตลาดรองหรือนำพันธบัตรมาใช้เป็นหลักประกันสำหรับธุรกรรมซื้อคืน
(Repurchase Agreement) ซึ่งการต่อยอดดังกล่าวจะช่วยให้ระบบต้นแบบรองรับธุรกรรมที่ใกล้เคียงกับโลก
ความเป็นจรงิ มากขน้ึ นอกจากนี้ ระบบต้นแบบในระยะที่ 2 นี้ยังมีกลไกท่ีช่วยตรวจสอบขอ้ มลู เพอ่ื ช่วยป้องกัน
ธุรกรรมการชำระเงินที่ต้องสงสัย (Fraud Prevention) รวมถึงตรวจสอบข้อมูลการทำธุรกรรมทางการเงินที่
เกี่ยวข้องกับนักลงทุนต่างชาติ เพื่อลดกระบวนการของสถาบันการเงินในการปฏิบัติตามมาตรการป้องปราม
การเก็งกำไรค่าเงินบาทของ ธปท. ซง่ึ โครงการในระยะท่ี 2 คาดวา่ จะแล้วเสรจ็ ประมาณกลางปี 2562

ระยะที่ 3 เชื่อมต่อกับระบบการชำระเงินในต่างประเทศผ่านการใช้ CBDC ซึ่งเป็นการขยายขอบเขต
ไปสู่การชำระเงินข้ามประเทศระหว่างสถาบันการเงิน โดยมุ่งหวังที่จะลดกระบวนการในปัจจุบันที่ต้องทำผ่าน
ตัวกลางหลายรายและพัฒนาไปสู่การโอนและชำระเงินโดยตรงถึงกัน ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำ
ธุรกรรมชำระเงินระหว่างประเทศให้มีความรวดเร็ว มีต้นทุนที่ถูกลงแต่ยังคงมีความปลอดภัยสูง ซึ่งคาดว่าจะ
เรมิ่ ดำเนินการระยะท่ี 3 ไดภ้ ายในไตรมาส 3 ปี 2562

13. ตวั อย่างระบบชำระเงนิ

ปัจจุบันมีระบบชำระเงินที่ผู้ซื้อสามารถใช้ไดจ้ ำนวนมาก ต่อไปนี้จะเป็นตัวอย่างของระบบรับชำระเงิน
ท่ีมีการใชง้ านจรงิ

13.1 ระบบเพยพ์ าว
เพย์พาว คือ การโอนเงินผ่านอิเล็กทรอนิกส์ระบบหนึ่ง โดยเพย์พาวได้เตรียมการร้องขอและการส่ง
เงินในรปู แบบของระบบออนไลน์ท่ีง่ายและรวดเร็วไวใ้ หก้ ับผ้ใู ช้บริการของเพยพ์ าว ผ้ใู ช้บรกิ ารเพย์พาวสามารถ
โอนเงินข้ามประเทศไปให้กับคนในครอบครัว เพื่อน ร้านค้าแบบออนไลน์หรือแม้แต่จะนำมาใช้ในการประมูล
สนิ คา้ แบบที่มีในอเี บย์
การจา่ ยเงินแบบออนไลน์
เมื่อต้องการโอนเงินไปยังครอบครัว เพื่อนหรือร้านคา้ สิ่งที่ผู้รับเงินจะต้องมี คือ อีเมล ผู้ส่งเงินจะตอ้ ง
ทำการลงทะเบียนบัตรเครดิตหรือบัญชีธนาคารกับบัญชีของเพย์พาว การส่งเงินสามารถกระทำได้ผ่านรายการ

234

Send and Request Money หลังจากเสร็จการทำรายการ เงินจะถูกนำเข้าในบัญชีผู้รับปลายทางเพื่อส่งให้
หรอื เพื่อชำระคา่ สนิ ค้า

การรบั เงนิ แบบออนไลน์
เมอ่ื มคี นชำระคา่ บริการใหผ้ ูข้ ายโดยใชอ้ เี มล ซง่ึ อเี มลของผู้ขายจะตอ้ งจะเชอื่ มต่อกบั บัญชขี องเพย์พาว
ผขู้ ายจะได้รับอีเมลเพ่ือแจง้ ใหท้ ราบการรบั โอนเงนิ และเงนิ จะถูกนำเข้าบัญชีของผขู้ าย
ค่าธรรมเนยี ม
สำหรบั การเปิดบัญชีกบั เพย์พาว ผเู้ ปิดบญั ชจี ะไมม่ กี ารเสียค่าธรรมเนยี มใด ๆ ท้ังสิ้น ค่าธรรมเนียมจะ
ถูกคิดเมื่อมีการชำระเงินเกิดขึ้น โดยจะไม่มีการคิดค่าธรรมเนียมสำหรับการชำระเงินส่วนบุคคล หากการโอน
เงินผูกอยกู่ บั บัตรเครดติ อาจจะมีการคิดค่าธรรมเนยี มจากบัตรเครดติ สำหรบั การชำระเงนิ แบบธุรกิจ ผู้รับเงิน
จะเป็นผู้ทถ่ี กู คิดคา่ ธรรมเนียม ดังภาพท่ี 20

ภาพท่ี 20 เพยพ์ าว

13.2 อาลีเพย์
อาลีเพย์เป็นรูปแบบการชำระเงิน โดยเป็นแผนชำระเงินของบริษัท เถาเปา (Taobao) ในรูปแบบ
ธุรกิจกับธุรกิจของอาลีบาบากรุ๊ป (Alibaba Group) พัฒนาขึ้นในปี พ.ศ. 2547 เพื่อเสริมสร้างการแข่งขันของ
บริษัทเถาเปา สร้างความน่าเชื่อถือให้ผู้ซื้อและผู้ขายในตลาด อาลีเพย์ถูกสร้างขึ้นมาเป็นบุคคลที่สาม กลไก
สำคัญ คือ อาลีเพย์ทำหน้าที่ชะลอเงินที่ได้รับจากผู้ซื้อไว้ยังไม่โอนให้ผู้ขายจนกว่าผู้ซื้อจะสามารถยืนยันได้วา่
ผู้ขายได้นำส่งสินค้าไปยังผูซ้ ื้อเรียบร้อยแล้ว สินค้ามีคุณภาพดี หลังจากพัฒนาจนได้รับความเชื่อถือแล้ว ระบบ
อาลีเพย์ได้ถูกนำไปใช้นอกอาลีบาบากรุ๊ป กล่าวได้ว่า วิธีการของอาลีเพย์คือ การพัฒนาระบบอนุมัติการชำระ
เงินเพื่อรับประกันว่าผู้ใช้จะได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุด จากนั้นอาลีเพย์ก็ได้รับการพัฒนาเพิ่มเติมโดยใช้กลไก
ของโมบายคอมเมิร์ททำให้อาลีเพย์กลายเป็นวิธีการชำระเงินวิธีหนึ่ง และเพื่อส่งเสริมการใช้ของอาลีเพย์ จึงได้
มีการสร้างบริการ Yu’EBao ซึ่งเป็นเงินฝากสำหรับการซื้อของผู้ซื้อสามารถฝากเงินกับบริการนี้ผ่านบัญชีของ
อาลีเพย์ และได้รับดอกเบี้ยที่จะสูงกว่าดอกเบี้ยเงินออมเล็กน้อย ทำให้ผู้ซื้อจำนวนมากสนใจในการใช้บริการ
Yu’EBao เปน็ กระเปา๋ เงนิ อเิ ล็กทรอนกิ ส์มากกว่า ปจั จุบนั มผี ูใ้ ช้งานระบบอาลเี พยม์ ากกวา่ หกรอ้ ยล้านผใู้ ชง้ าน
ดังภาพท่ี 21

235

ภาพที่ 21 อาลีเพย์

13.3 วีแชทเพย์
วีแชทเพย์เป็นบริการชำระเงินของโปรแกรมพูดคุยจากค่ายประเทศจีน คือ โปรแกรมวีแชท ซึ่งได้รับ
การพฒั นามาจาก คุณ tencent ที่เดิมคอื ผู้พัฒนาโปรแกรม QQ ท่เี ป็นโปรแกรมการส่งขอ้ ความในประเทศจีน
ที่เป็นคู่แข่งสำคัญของโปรแกรม MSN สำหรับต้นแบบของโปรแกรมวีแซท คือ Kik Messenger โปรแกรม
วแี ชทเร่มิ ต้นเมอ่ื ปี พ.ศ. 2553 ในปี พ.ศ. 2555 ไดอ้ อกรุ่น 4.0 และในปี พ.ศ. 2556 ไดอ้ อกรุ่น 5.0 ทีม่ าพร้อม
กับคุณสมบัติที่สามารถรับชำระเงินได้ บริการของวีแชทเพย์คลอบคลุมการโอนผ่านระบบเท่าเทียม การสั่งซื้อ
สินค้าจากภายในแอพ แต่จากสถานการณ์ด้านการเงินในปัจจุบันทำให้วีแชทเพย์ได้ทำการพัฒนาศักยภาพของ
ตนเองเพื่อต่อสู้กับคู่แข่งสำคัญของอาลีเพย์น่ันเอง โดยปัจจุบันนี้มีจำนวนผู้ใช้วีแชทเพย์น้อยกว่าอาลีเพย์
คือ สี่ร้อยล้านคน (ณ. ปี พ.ศ. 2561) ในขณะที่มีผู้ใช้บริการวีแซทอยู่ประมาณแปดร้อยล้านคน น่ันก็คือโอกาส
ท่ียังมอี ย่อู ีกจำนวนมากสำหรับวแี ชทเอง ดงั ภาพท่ี 22

ภาพที่ 22 วแี ชทเพย์

14. ระบบภาษีทเี่ กีย่ วขอ้ งกบั พาณิชยอ์ ิเล็กทรอนกิ ส์

ในการดำเนินการกิจการแบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ผู้ประกอบการจะต้องดำเนินการเสียภาษี
ใหถ้ กู ต้องเพอื่ ทีจ่ ะไมเ่ กิดปัญหาตามมาในภายหลงั โดยนยิ ามความหมายที่สำคญั ทจี่ ะต้องรู้ ได้แก่

ภาษี “สิ่งที่รัฐบาลบงั คับเกบ็ จากราษฎรเพื่อใช้เปน็ ประโยชนส์ ่วนรวม โดยไม่ได้มีสิง่ ตอบแทนโดยตรง
แกผ่ เู้ สยี ภาษี”

การประกอบกิจการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ “การขายสินค้าหรือให้บริการผ่านเครือข่าย
คอมพวิ เตอร์และระบบสอ่ื สารโทรคมนาคมหรอื สอื่ อิเลก็ ทรอนิกส”์

236

ผ้ปู ระกอบการพาณชิ ยอ์ ิเลก็ ทรอนิกส์ คอื “ผู้ประกอบการท่ีดำเนนิ ธุรกิจเกย่ี วข้องกับการซื้อขายสินค้า
และบริการโดยผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารโทรคมนาคมหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ มีสิทธิ
และหน้าที่ในการเสยี ภาษีเช่นเดียวกับผู้ประกอบการค้าขายมีหนา้ ร้านทั่วไป ที่ต้องนำรายได้นั้นมารวมคำนวณ
ยืน่ แบบการแสดงรายการภาษเี งินได้และมีหนา้ ทีจ่ ดทะเบยี นเสยี ภาษมี ลู คา่ เพ่มิ ตามเง่ือนไขของกฎหมาย”

กฎหมายได้กำหนดให้กิจการค้าที่เป็นพาณิชย์กิจจะต้องดำเนินการจดทะเบียนตามประกาศของ
กระทรวงพาณชิ ย์ ซึง่ ได้แบ่งกล่มุ ผู้ดำเนินกิจการทางดา้ นพาณิชยอ์ ิเลก็ ทรอนกิ ส์ออกเป็นสี่กลุ่ม ไดแ้ ก่ กลุ่มผู้ซื้อ
ขายสินค้าผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (Internet Service Provider: ISP) กลุ่มผู้
ให้บริการเชา่ พ้นื ทขี่ องเครือ่ งคอมพิวเตอรแ์ ม่ข่าย (Web Hosting) และกลุ่มของผู้ทใี่ ห้บรกิ ารตลาดกลางในการ
ซอื้ ขายสนิ คา้ หรอื บริการ (E- Marketplace)

ผู้ประกอบการมีหน้าท่ีในการนำรายได้ที่เกิดจากการดำเนินกิจการนำรวมเข้ากับรายได้อื่น ๆ จากน้ัน
นำไปคำนวณเพื่อทำการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือภาษีเงินได้นิติบุคคล หากในการ
ดำเนินกิจการมีรายรับมากกว่า 1,800,000 บาท ต่อปี หรือต่อรอบระยะเวลาบัญชี จะต้องทำการยื่นคำขอจด
ทะเบียนภาษีมลู ค่าเพิ่ม ทำให้ในการเสียภาษีน้ันผู้ประกอบการมที างเลือกในการเสียภาษีในสองลักษณะ ไดแ้ ก่
ลักษณะที่หนึ่งเสียภาษีเงินได้แบบบุคคลทั่วไป และลักษณะที่สองเสียภาษีเงินได้แบบนิติบุคคล ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ
รายได้และรปู แบบการดำเนินกจิ การ

14.1 การเสยี ภาษีมูลค่าเพิ่ม
กฎหมายกำหนดว่าหากผู้ประกอบการมรี ายได้นอ้ ยกว่า 1,800,000 บาท ผปู้ ระกอบการสามารถเลือก
จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพ่ิมหรอื ไมก่ ็ได้ แตห่ ากมรี ายไดม้ ากกวา่ 1,800,000 บาท ผู้ประกอบการตอ้ งจดทะเบยี น
ภาษีมูลค่าเพิ่มและเมื่อผู้ประกอบการทำการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว ผู้ประกอบการจะมีหน้าที่ทาง
กฎหมาย คือ เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ ออกใบกำกับภาษี จัดทำรายงานตามท่ี
กฎหมายกำหนดและยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยสำหรับการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มนั้น ปัจจุบัน
ภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นภาษีที่จัดเก็บจากการขายสินค้า/บริการ/การนำเข้า ในอัตราร้อยละ 7 และจัดเก็บในอัตรา
รอ้ ย 0 ในกรณีทีส่ ง่ ออก โดยใช้สูตรในการคำนวณง่าย ๆ ดังนี้

ภาษีมูลคา่ เพม่ิ ตอ้ งชำระ = ภาษีขาย – ภาษซี ้ือ

ในกรณีที่ภาษีของการซื้อมากกว่าภาษีของการขาย ผู้ประกอบการสามารถขอคืนภาษีได้หรือหากไม่
ต้องการขอคืนภาษีสามารถนำยอดที่เกินนี้ไปหักออกจากการชำระภาษีมูลค่าเพิ่มในเดือนถัด ๆ ไปได้ สำหรับ
ผู้ประกอบการรายใดก็ตามที่อยู่ในบังคบั ภาษีธุรกิจเฉพาะจะต้องนำรายรับมาเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ และจะต้อง
ยน่ื แบบ ภ.ธ. 40 ภายในวนั ท่ี 15 ของเดอื นถัดไป ไม่วา่ จะมรี ายรับหรือไมก่ ็ตามและในกรณีที่มีการทำนิตกิ รรม
สัญญาตา่ ง ๆ ผปู้ ระกอบการจะต้องไมล่ ืมการติดอากรแสตมป์ใหค้ รบถว้ นตามมลู คา่ ทกี่ ฎหมายกำหนดไว้

237

15. บทสรุป

ในบทนีไ้ ด้กล่าวถึงรปู แบบของการชำระเงินและภาษที ่ีเกย่ี วข้อง โดยเรมิ่ ต้นจากความหมายเงิน วา่ เป็น
กลไกที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาใช้ในการแลกเปลี่ยน เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการดำเนินธุรกิจ เงินมีได้สอง
ลักษณะคือ เงินในลักษณะกายภาพ อยู่ในรูปแบบเหรียญกษาปณ์และธนบัตร และเงินที่อยู่ในรูปแบบ
อิเล็กทรอนิกส์ รูปแบบการชำระมีทั้งการใช้เงินสด การโอนเงิน การตัดบัญชีธนาคารและการใช้กระเป๋าเงิน
อิเล็กทรอนิกส์ ปัจจัยที่ใช้ประเมินเลือกรูปแบบการชำระเงิน ได้แก่ ความสามารถในการปกป้องผู้ขายจากการ
เรียกเก็บเงิน ค่าใช้จ่ายในการใช้บริการและการยอมรับของลูกค้า วิวัฒนาการของการใช้เงินผ่านระบบ
อิเล็กทรอนิกส์พัฒนาจากการโอนเงินผ่านธนาคารแห่งประเทศ เรียกว่าระบบบาทเนต และโครงการอินทนนท์
ที่เกิดขึ้นในปี 2562 เมื่อเริ่มมีเงินอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งได้แก่ บิตคอยด์ และจากการนำเทคโนโลยีบล็อกเชน
มาใช้ทำให้เกิดรูปแบบการชำระที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์จึงได้ดำเนินการอย่างเต็มตัว เหตุการณ์สำคัญที่เกิดกับ
ระบบเงินอิเล็กทรอนิกส์คือการเกิดขึ้นของ ลิบร้าของเฟซบุ๊ก การเกิดขึ้นของเงินดิจิทัลหยวนที่พยายามสร้าง
จุดเด่นที่เป็นเงินที่จะไม่ผันผวนเหมือนบิตคอยด์ และใช้รูปแบบการบริหารเงินเหมือนกับเงินกายภาพ รูปแบบ
การชำระเงินที่เป็นกระเป๋าได้กล่าวถึง Paypal alipay wechat-pay ส่วนระบบภาษีปัจจุบันประเทศไทยยงั ไม่
มภี าษเี ฉพาะของระบบอิเล็กทรอนกิ ส์ ผูป้ ระกอบจะต้องนำภาษมี ูลคา่ เพม่ิ ในใช้งาน

238

เอกสารอา้ งองิ

กรมสรรพากร. (2558). คมู่ อื ภาษสี ำหรับผปู้ ระกอบการพาณิชย์อิเล็กกทรอนกิ ส์, จาก http://download.rd.
go.th/fileadmin/download/insight_pasi/Art%20Book%20E-comALL.pdf

ธนาคารแหง่ ประเทศไทย. ระบบบาทเนต (BAHTNET - Bank of Thailand Automated High-value
Transfer Network), จาก https://www.bot.or.th/Thai/PaymentSystems/PSServices/
bahtnet/Pages/default.aspx

Bitcoin: A Peer-to-Peer Electronic Cash System, from https://bitcoin.org/bitcoin.pdf
Charlie Liu. (2017). Everything You Need to Know about Alipay and WeChat Pay, from

https://medium.com/@charliecliu/everything-you-need-to-know-about-alipay-and-
wechat-pay-2e5e6686d6dc
Electronic Funds Transfer (EFT), from https://investinganswers.com/financial-
dictionary/personal-finance/electronic-funds-transfer-eft-2328
European Center Bank. Electronic Money, from https://www.ecb.europa.eu/stats/
money_credit_banking/electronic_money/html/index.en.html
Getting started with Bitcoin, from https://bitcoin.org/en/getting-started
How does Bitcoin work?. from https://bitcoin.org/en/how-it-works
What is PayPal and how does it work?, from https://www.paypal.com/be/smarthelp/article/
what-is-paypal-and-how-does-it-work-faq1655
สมติ า เอ้อื ฤดีพร “การชำระเงนิ ” เรอ่ื งไม่เลก็ ทธี่ รุ กจิ มองข้าม ตอนที่ 1 เข้าถงึ จาก https://www.bot.or.th/
Thai/ResearchAndPublications/articles/Pages/Article_11Jun2018.aspx
สมติ า เอือ้ ฤดีพร “การชำระเงิน” เรื่องไม่เล็กที่ธรุ กิจมองขา้ ม: บรกิ ารตอบโจทยภ์ าคธุรกจิ บนระบบพรอ้ มเพย์
(ตอนที่ 2/2) เขา้ ถงึ จาก https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/articles/
Pages/Article_27June2018.aspx
อนุชิต ศริ ริ ัชนกี าร Nation e-Payment:พลกิ โฉมประเทศไทย สกู่ ารใช้ digital payment เขา้ ถึงจาก
https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/articles/Pages/Article_24Jan201
9.aspx
สพุ รศิ ร์ สุวรรณิก “Libra” เงินสกลุ ใหมข่ องโลก? เข้าถึงจาก https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAnd
Publications/articles/Pages/Article_24Jun2019.aspx
สพุ รศิ ร์ สุวรรณิก “Libra” จะไปต่อหรอื พอแค่นี้? เข้าถงึ จาก https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAnd
Publications/articles/Pages/Article_06Jan2020.aspx
ฐติ มิ า ชเู ชิด เมื่อคนเรมิ่ ไม่ใชเ่ งนิ สด นโยบายการเงนิ จะได้รบั ผลกระทบอยา่ งไร? เขา้ ถึงจาก
https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/articles/Pages/Article_04Jan201
9.aspx

239

ฐติ ิมา ชูเชิด ‘สกุลเงินดิจิทัล’ ใกลต้ ัวเราแคไ่ หน? เขา้ ถึงจากhttps://www.bot.or.th/Thai/Research
AndPublications/articles/Pages/Article_01Feb2019.aspx?ControlMode=Edit&DisplayM
ode=Design#_ftnref1

โครงการอินทนนท์ เข้าถงึ จากhttps://www.bot.or.th/Thai/BOTMagazine/Pages/256203
TheKnowledge_ProjectInthanon.aspx

เมอ่ื แบงกช์ าตอิ อกสกลุ ดิจทิ ลั “อนิ ทนนท”์ เขา้ ถงึ จาก
https://www.moneyandbanking.co.th/article/topjirayus11052563

ธนาคารแหง่ ประเทศไทย. Libra กับอนาคตการเป็นสกลุ เงินดิจทิ ัลระดับโลก? BOT-Magazine เขา้ ถงึ จาก
https://www.bot.or.th/Thai/BOTMagazine/Pages/256204Knowledge04.aspx

พีรภัทร ฝอยทอง ดจิ ิคอลหนวน อนาคตอนั ใกลข้ องสังคมไรเ้ งนิ สด เข้าถงึ จาก http://asean.dla.go.th/
public/knowledgeArticle.do?cmd=article&category=2&nid=792&lang=th&random=159
0929530167

240


Click to View FlipBook Version