The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

เพลงและการละเล่นพื้นบ้าน ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันตก

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by ksranyu, 2021-05-23 12:39:10

เพลงและการละเล่นพื้นบ้าน ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันตก

เพลงและการละเล่นพื้นบ้าน ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันตก

สาขาวชิ านาฏยศิลป์ศึกษา
มหาวทิ ยาลยั ราชภฏั บา้ นสมเดจ็ เจา้ พระยา

เพลงและการละเลน่ พ้นื บา้ น
ภาคกลาง ภาคตะวนั ออก และภาคตะวนั ตก

เพลงและการละเลน่ พื้นบ้าน

ภาคกลาง ภาคตะวนั ออก และภาคตะวนั ตก

จดั ทาโดย
นกั ศึกษาชั้นปที ี่ 2 สาขานาฏยศลิ ปศ์ ึกษา (ค.บ. 4 ปี)

เสนอ
อาจารย์รณกฤต เพชรเกล้ยี ง
หนังสอื เลม่ น้ีเปน็ ส่วนหนึ่งของรายวชิ าศลิ ปะการแสดงท้องถ่นิ รหัสวิชา 2193204

มหาวิทยาลยั ราชภัฏบ้านสมเดจ็ เจ้าพระยา
ภาคเรียนท่ี 2 ปีการศกึ ษา 2563



คำนำ

หนังสือ เพลงและการละเล่นพื้นบ้านภาคกลาง ภาคตะวันตก และภาคตะวันออก เล่มนี้ได้แบ่งเนื้อหา
ออกเป็น 6 หัวข้อเรื่อง หนังสือเล่มนี้นี้มุ่งเน้นให้ผู้ที่สนใจมีความรู้ทั้งในด้านทฤษฎีและมีความสามารถ รู้จัก
ประยุกต์ใช้ในด้านปฏิบัติ เพื่อนําไปใช้ในชีวิตจริงได้ตามวาระโอกาสอันควร การศึกษา เพื่อให้ทราบประวัติที่มา
และวิธเี ล่นเพลงและการละเล่นของภาคต่างๆ จะทาํ ใหผ้ ทู้ ่สี นใจมี ความเขา้ ใจในวฒั นธรรมของการละเล่นของไทย
ทไ่ี ดส้ ืบทอดต่อๆ กันมา

เพลงพื้นบ้านและการละเล่นพื้นบ้านบางชนิดได้เลิกเล่นไปแล้ว เพราะขาดการ สืบทอด บางชนิดยังคงมี
เล่นกันอยู่และนับวันจะลดน้อยลงไป หนังสือเล่มนี้ได้รวบรวม เพลงและการละเล่นพื้นบ้านในภาคกลาง ภาค
ตะวันตก และภาคตะวันออก ไว้เพื่อเปน็ ประโยชน์ต่อการศกึ ษาค้นคว้า |

คณะผู้จดั ทําหวังว่าหนงั สือเลม่ นี้คงได้อํานวย ประโยชนต์ ่อการเรียนการสอนเพลงและการละเล่นพื้นบ้าน
หากทา่ นนาํ ไปใชแ้ ละมีขอ้ เสนอแนะ คณะผูจ้ ัดทํายนิ ดีรบั ฟงั และขอขอบคุณในความอนเุ คราะห์มา ณ โอกาสนี้

คณะผูจ้ ัดทํา

สำรบญั หนำ้

บทที่ 1 ควำมรู้ทัว่ ไปเกี่ยวกับเพลงและกำรละเลน่ พนื้ บำ้ น 1
1.1 เพลงพ้ืนบา้ น 2
1.1.1 ลกั ษณะเด่นของเพลงพื้นบา้ น 2
1.1.2 ประเภทเพลงพื้นบา้ น 3
(1) เพลงกลอ่ มเด็ก 3
(2) เพลงปฏิพากย์ 4
(3) เพลงในพธิ กี รรม 5
1.2 การละเล่นพื้นบ้าน 7
1.2.1 การละเลน่ พ้ืนบา้ นของเดก็ 7
1.2.2 การละเล่นพ้ืนบา้ นของผใู้ หญ่ 7
(1) การละเล่นเพ่ือความบันเทิง 7
(2) การละเลน่ ที่เปน็ พธิ ีกรรม 8
(3) การละเล่นที่เปน็ ศิลปะของการตอ่ สู้ 9
(4) กีฬาพนื้ บ้าน 10
11
สรปุ 12
เอกสารอา้ งอิง
13
บทท่ี 2 ปจั จัยอนั มีผลตอ่ เพลงและกำรละเลน่ พืน้ บ้ำน 14
2.1 สภาพทางภูมศิ าสตร์ 15
2.2 วฒั นธรรมและสังคม 15
2.3 การประกอบอาชีพ 15
2.4 วรรณกรรมท้องถ่นิ 16
2.7 ภาคกลาง 16
2.7.1 สภาพทางภมู ิศาสตร์ 17
2.7.2 วฒั นธรรมและสังคม 18
2.7.3 การประกอบอาชพี 18
2.7.4 วรรณกรรมทอ้ งถิ่น

2.8 ภาคตะวันออก 21
2.8.1 สภาพทางภมู ศิ าสตร์ 21
2.8.2 วัฒนธรรมและสงั คม 22
2.8.3 การประกอบอาชพี 22
2.8.4 วรรณกรรมทอ้ งถิ่น 23
24
2.9 ภาคตะวันตก 24
2.9.1 สภาพทางภมู ศิ าสตร์ 24
2.9.2 วัฒนธรรมและสังคม 25
2.9.3 การประกอบอาชพี 26
2.9.4 วรรณกรรมทอ้ งถิ่น 26
28
สรปุ
เอกสารอ้างอิง 29
30
บทท่ี 3 เพลงกลอ่ มเด็กและกำรละเล่นของเดก็ 34
3.1 เพลงกล่อมเด็ก 35
3.1.3 เพลงกลอ่ มเด็กภาคกลาง 37
3.1.4 เพลงกล่อมเดก็ ภาคตะวันออก 39
3.1.5 เพลงกลอ่ มเด็กภาคตะวนั ตก 42
3.2 การละเล่นของเด็ก 42
3.2.3 การละเล่นของเด็กภาคกลาง 43
(1) เล่นเสอื ไลห่ มู 45
(2) เลน่ งกู นิ หาง 46
(3) เลน่ ปริศนาคาํ ทาย 46
3.2.4 การละเล่นของเด็กภาคตะวนั ออก 47
(1) เล่นไม้ต้ัง 47
(2) เล่นข่มี า้ หลังโปก 48
(3) เล่นกระบอกโพละ 49
3.2.5 การละเล่นของเด็กภาคตะวนั ตก

เอกสารอ้างองิ

บทท่ี 6 เพลงและกำรละเล่นพน้ื บำ้ นภำคกลำง 52
6.1 เพลงพ้ืนบ้าน 53
6.1.1 เพลงท่ีใช้เลน่ เฉพาะเทศกาลและฤดูกาล 53
(1) เพลงเรือ 54
(2) เพลงคร่ึงทอ่ น 55
(3) เพลงหน้าใย 55
(4) เพลงรําภาขา้ วสาร 56
(5) เพลงเกีย่ วขา้ ว 57
(6) เพลงเตน้ กํา 58
(7) เพลงเต้นกาํ รําเคยี ว 58
(8) เพลงสงฟาง 60
(9) เพลงพานฟาง 60
(10) เพลงสงคอลําพวน 60
(11) เพลงชักกระดาน 60
(12) เพลงช้าเจ้าโลม 61
(13) เพลงระบําบ้านไร่ 62
(14) เพลงเข้าทรงผี 62
6.1.2 เพลงทีใ่ ช้เลน่ ได้ไมจ่ ํากัดเทศกาลและฤดกู าล 63
(1) เพลงพาดควาย 63
(2) เพลงโขลกแปง้ 64
(3) เพลงยั่ว 65
(4) เพลงอีแซว 66
(5) เพลงลาํ ตดั 67
6.2 การละเล่นพื้นบ้าน 68
6.2.1 การละเล่นเพ่ือความบันเทงิ 68
(1) ราํ โทน 68
(2) ราํ วง 70
(3) ราํ กลองยาว 72
(4) ละครพื้นบ้าน 73
(5) ลิก 76

(6) หนังใหญ่ 79
6.2.2 การละเล่นที่เปน็ พิธกี รรม 84
85
(1) รําถวายมือแก้บน 86
(2) ราํ มอญ 88
(3) รําเจ้า 88
(4) เชิดมังกร 90
6.2.3 การละเลน่ ท่เี ป็นศลิ ปะการตอ่ สู้ 90
(1) มวยไทย 92
(2) กระบี่กระบอง 94
6.2.4 กีฬาพนื้ บ้าน 94
(1) สะบา้ 95
(2) ตะกร้อ 96
(3) ว่าว 96
สรปุ 98
เอกสารอ้างองิ
100
บทที่ 7 เพลงและกำรละเล่นพืน้ บ้ำนภำคตะวนั ออก 101
7.1 เพลงพน้ื บา้ น 101
7.1.1 เพลงอาไย 101
7.1.2 เพลงซอง 102
7.1.3 เพลงไอ้เป๋ 103
7.1.4 เพลงระบาํ 104
7.1.5 หมอลํา 105
7.1.6 เจรียงกันตรมึ 105
7.1.7 ราํ พวน 105
7.1.8 ทะแยมอญ 105
7.1.9 เพลงเขา้ ทรง 106
7.2 การละเล่นพน้ื บ้าน 107
7.2.1 การละเลน่ เพ่ือความบันเทิง 107
(1) ราํ โทน

(2) เถดิ เทิง 108
(3) หนงั ตะลงุ 109
(4) หนงั ใหญ่ 109
7.2.2 การละเล่นทีเ่ ปน็ พธิ ธี รรม 111
(1) เซง้ิ บงั้ ไฟ เซิ้งแหน่ างแมว 111
(2) ราํ สวด 111
(3) ละครแก้บน 112
7.2.3 การละเล่นที่เป็นศิลปะการตอ่ สู้ 112
7.2.4 กฬี าพืน้ บ้าน 113
(1) ปนื เสานํา้ มัน 113
(2) ชนไก่ 113
(3) สะบ้า 113
(4) แขง่ เรอื ยาว 114
(5) ช่วงชัย 115
(6) มวยป่าจาก 116
(7) มวยทะเล 116
เอกสารอ้างองิ 117

บทท่ี 8 เพลงและกำรละเล่นพน้ื บำ้ นภำคตะวนั ตก 118
8.1 เพลงพน้ื บ้าน 119
8.1.1 จอ๊ ย 119
8.1.2 ละครซอ 119
8.1.3 เพลงฉอ่ ย 119
8.1.4 เหเ่ รือบก 120
8.1.5 เพลงปรบไก่ 121
8.1.6 เพลงพวงมาลยั 121
8.1.7 เพลงเหยอ่ ย 123
8.1.8 เพลงระบาํ ชาวไร่ 125
8.2 การละเลน่ พืน้ บ้าน 126
8.2.1 การละเลน่ เพื่อความบันเทิง 126

(1) ฟอ้ นแคนหรือรําแคน 126
(2) ราํ ของชาวไทยเช้ือสายกะเหร่ียงราชบุรี 127
(3) เต้นละครกะเหรี่ยง 128
(4) ราํ มอญ 128
(5) ราํ โทน 129
(6) ลเิ ก 132
(7) โขนสด 133
(8) หนังตะลุง 133
(9) หนงั ใหญ่ 134
8.2.2 การละเลน่ ท่ีเป็นพิธีกรร 136
(1) ราํ ตง 136
(2) เต้นแคน 137
(3) ละครชาตรเี มืองเพชร 137
8.2.3 การละเลน่ ท่เี ป็นศิลปะของการต่อสู้ 138
(1) ฟอ้ นเจิง 138
(2) กระบี่กระบอง 138
8.2.4 กีฬาพื้นบา้ น 139
(1) แข่งววั ลาน 139
(2) เลน่ ววั เทียมเกวียน 140
(3) แข่งเรอื ยาว 140
(4) ชักเย่อ 141
สรปุ 143
เอกสารอา้ งอิง 144

บรรณำนุกรม 145
รำยช่ือผจู้ ัดทำ 153

บทท่ี 1
ความรู้ท่วั ไปเกยี่ วกบั เพลงและการละเล่นพืน้ บ้าน

เพลงและการละเล่นพื้นบ้าน เป็นกิจกรรมที่ให้ความสนุกสนาน ให้ความเพลิดเพลินทั้งผู้เล่นและผู้ชม
เพลงและการละเลน่ พนื้ บา้ นเป็นสมบัติทางวัฒนธรรมชาวบ้าน ซงึ่ ส่วนใหญ่มวี ถิ ีชีวิตในแบบสังคมเกษตรกรรม ได้มี
การสืบทอดต่อกันมาในแต่ละท้องถิ่นทั่วภูมิภาคของประเทศไทย แต่ความนิยมเล่นแต่ละท้องถิ่นจะแตกต่างกัน
ออกไป เพลงและการละเล่นบางอย่างยังนิยมเล่นกันอยู่ตามท้องถิ่นแต่ละท้องถิ่นในปัจจุบัน ได้แก่ เพลงฉ่อย
เพลงเรอื เพลงซอ ฟ้อนเจงิ โนรา รองเข็ง หมอลา หนังปะโมทัย ลาตดั ลิเก และละครแกบ้ น เปน็ ต้น แตบ่ างอย่าง
เกือบจะสูญหายหรือเลิกเล่นไป เพราะขาดความต่อเนื่องและการเปลี่ยนแปลงสมัยนิยมไปตามกาลเวลา เช่น การ
เล่นเพลงพิษฐาน เพลงช้าเจา้ หงส์ เพลงปรบไก่ เพลงทรงเคร่อื ง และลเิ กทรงเคร่ือง เป็นต้น

หลงั จากไดศ้ กึ ษาในบทนแ้ี ล้ว นกั ศกึ ษาควรเกดิ แนวคิดตอ่ ไปน้ี
1. เพลงและการละเลน่ พ้นื บ้าน เป็นการเลน่ ท่ใี หค้ วามสนุกสนานและเพลิดเพลิน เลน่ สบื เนอ่ื งกันมาจนทา

ใหเ้ กิดเปน็ เอกลักษณข์ องท้องถน่ิ
2. เพลงและการละเล่นพื้นบ้านมีชื่อและวิธีเล่นแตกต่างกันไปแต่ละท้องถิ่น นอกจากให้ความบันเทิงแล้ว

ยังสามารถใช้เป็นส่ือในการศึกษาอบรมทาให้มีคณุ คา่ กบั วิถชี ีวิตและสังคมไทย

2

1.1. เพลงพ้ืนบา้ น
คาว่า "เพลง" เป็นคานาม หมายถึง ลานา ทานอง คาขับร้อง ทานองดนตรี ชื่อการร้องแก้กันมีชื่อต่าง ๆ

เช่น เพลงปรบไก่ เพลงฉ่อย เป็นต้น (ราชบัณฑิตยสถาน, 2546 : 799) คาว่า "พื้นบ้าน" เป็นคาวิเศษ หมายถึง
เฉพาะถ่ิน มกั ใช้คกู่ ับพืน้ เมือง เช่น พน้ื บา้ น (ราชบัณฑติ ยสถาน, 2546 : 794)

ดังนน้ั เพลงพ้นื บา้ นจงึ หมายถงึ เพลงท่เี ป็นวรรณกรรมของชาวบา้ น ทีไ่ ด้คิดรปู แบบการร้องและการเล่นขึ้น
สืบทอดกันมาในแบบมุขปาฐะ กล่าวคือ สืบทอดโดยใช้ความจา ไม่มีบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ไม่ปรากฏชื่อผู้
แตง่ เพลง ทมี่ าและระเบยี บวิธกี าร

เพลงพื้นบ้านไม่มีเนื้อร้องตายตัว เน้ือร้องอาจขยายหรือตัดทอนลงได้ การใช้ถ้อยคา สานวนเปรียบเทียบ
ง่าย ๆ เสริมในคาร้อง และไม่มีการจดบันทึกท่วงทานองไว้จึงทาใหเ้ พลงพื้นบ้านมีลีลาแตกแยกไปได้หลายทาง ใน
อดีตเพลพื้นบ้านมีบทบาทต่อสังคมหลายด้านโดยเฉพาะจะเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของชาวบ้านที่อยู่ในสังคม
เกษตรกรรม ทีส่ ่วนมากจะเลน่ เพลงพน้ื บา้ นเพอื่ ความบันเทิงสว่ นตัวและสว่ นรวมของสังคมในทอ้ งถน่ิ เพลงพน้ื บา้ น
จึงมีทั้งเพลงที่ร้องในพิธีกรรมและเพลงปฏิพากย์ร้องเล่นเพื่อการรื่นเริง ในโอกาสที่ชายหญิงจะได้มาพบกันในงาน
เทศกาลของทอ้ งถน่ิ และงานนกั ขัตฤกษต์ า่ งๆ เชน่

เพลงที่เล่นในเทศกาลตรุษสงกรานต์ เล่นเพื่อความสนุกสนานรื่นเริง เพลงช้าเจ้าหงส์ เพลงชักเย่อ เพลง
ระบา เพลงโม่งเจา้ กรรม เพลงช้าเจ้าโลม เพลงคลอ้ งช้าง เพลงพษิ ฐาน เพลงแหด่ อกไม้วนั สงกรานต์ เพลงเจรียงชัน
เพลงเหยอ่ ย เพลงชาวไร่ เพลงระบาบ้านนา เพลงพวงมาลัย และเพลงเขา้ ผชี นิดต่างๆ

เพลงท่ีเล่นหน้าน้า ในเทศกาลทอดกฐิน ผ้าป่า และเข้าพรรษา ออกพรรษา เช่น เพลงเรือ เพลงเรือแหลม
โพธิ์ เพลงหน้าใย เพลงครึง่ ทอ่ น เพลงราภาข้าวสาร เพลงพวงมาลัย และเพลงรอ่ ยพรรษา

เพลงที่เล่นในการประกอบการงานเกี่ยวข้าวนวดข้าว ได้แก่ เพลงเกี่ยวข้าว เพลงกา เพลงเต้นการาเคียว
เพลงสงฟาง เพลงพานฟาง เพลงสงคอลาพวน และเพลงชกั กระดาน

เพลงท่ีรอ้ งเฉพาะโอกาส โดยมีวตั ถุประสงคท์ เ่ี ป็นพิธีกรรม เชน่ เพลงแหน่ างแมว เพลงป้ันเมฆ กาบเซิ้งบั้ง
เพลงกนั ตรึม สวดมาลยั เพลงกาหลอ และเพลงตุม้ โมง เป็นตน้

การเลน่ เพลงพืน้ บ้าน ส่วนมากจะเลน่ กนั ตามลานวัด ในทอ้ งนา และตามลานา้

1.1.1. ลกั ษณะเดน่ ของเพลงพื้นบ้าน เพลงพื้นบ้านโดยทวั่ ไปมลี กั ษณะเด่น
(1) ความเรยี บง่ายของการใช้ถ้อยคา สานวน โวหาร ไม่มคี าศพั ท์มากนัก อาจจะมีนยั แฝงอยู่ซ่ึงเป็นท่ี
รจู้ ักกันในสงั คมท้องถ่นิ ถ้าผูฟ้ งั มปี ระสบการณจ์ ะสามารถเข้าใจนยั ได้ทนั ที
(2) มลี ักษณะตลกขบขนั การวา่ กระทบกระแทกเสียดดีสังคมท้องถน่ิ จนถงึ ระดับชาติ มีให้พบเห็นอยู่
ทัว่ ไปในเพลงพ้นื บา้ นทกุ ประเภท

3

(3) การสอดแทรกวิถีชีวติ ชาวบ้าน นับตั้งแต่ความเชื่อ ประเพณี ค่านิยม ภาษาถิ่น ที่ปรากฏในเพลง
พื้นบา้ นเป็นจานวนมาก

(4) ฉันทลักษณไ์ มแ่ น่นอน อาจจะใชค้ าตั้งแต่ 2 คา ถงึ 17 - 18 คา และเวลาร้องจะร้องช้าไปมาหรือ
แทรกการเอื้อนเสียง เวลาร้องใช้วิธีรวบคาเพื่อเล่นคา และมีลักษณะคล้องจองกันอยู่ในตัว แต่ก็
ไม่ใช่ตามฉันทลักษณ์ของกลอนหรือคาประพันธ์ชนิดใด เพลงพื้นบ้าน ประเภทเพลงปฏิพากย์
นิยมใช้กลอนหัวเดียว คือลงท้ายด้วยสระเดียวกัน เช่น กลอนไร ลงท้ายด้วยคาที่ใช้สระไอ
กลอนรี ลงท้ายด้วยคาท่ใี ชส้ ระอี กลอนรัว ลงทา้ ยดว้ ยคาทีใ่ ชส้ ระอวั กลอนรา ลงทา้ ยด้วยคาท่ีใช้
สระอา ซ่งึ งา่ ยตอ่ การนาไปใสท่ านองเพลงใดก็ได้

(5) การตัดเติมเสริมความในคาร้อง มีพบเห็นอยู่ทั่วไป เพราะบางทีเป็นการร้องโต้ตอบ (ปฏิพากย์)
ระหว่างผูเ้ ล่น 2 ข้าง ซึ่งต้องใช้ไหวพริบ (ปฏิภาณ) เพื่อความรวดเร็วและไม่ใหก้ ารเล่นหยุดชะงัก
จงึ อาจจะตัดความหรือเสริมความเขา้ ไปเพ่ือให้พอดีกับจังหวะ เวลา และโอกาส

(6) การใช้สานวนกลอน ส่วนมากใช้กลอนหลัก ยึดภาษาที่จดจาต่อกันมา และยังใช้กันแพร่หลาย
ทั่วไป เช่น ขึ้นต้นอย่างนี้ ต้องต่ออย่างนี้ ต้องลงอย่างนี้ สังเกตดูจะพ้องกัน ถึงแม้ท้องถิ่นที่เล่น
เพลงจะอยู่คนละที่ เชน่ ขึน้ ว่า “จะวา่ อะไรอย่าผิด” จะตอ้ งตอ่ ว่า “อยา่ งกบั ลิดตาไม้” “ขอให้ขึ้น
คล่องลงคล่อง” จะตอ้ งต่อว่า “อยา่ งกับชอ่ งน้าไหล” เปน็ ต้น

(7) ดนตรีประกอบการร้องเล่น ใช้วิธีตบมือ หรือใช้เครื่องกากับจังหวะ เช่น ฉิ่ง กรับ โทน กลอง
กากบั จังหวะ หรือใชเ้ ครือ่ งดนตรอี ืน่ ๆตามลกั ษณะของท้องถิน่

(8) การแต่งกาย แตง่ กายตามแบบพนื้ บ้านในทอ้ งถนิ่
(9) ไม่ทราบที่มาแนน่ อนของบทกลอนที่ร้องมาจากใครที่ไหน เมื่อไร เมื่อถามถึงทีม่ าจะได้รับคาตอบ

ว่า ได้มาจากครูพักลักจา คือจาสืบกันมา ข้อสังเกต จะพบเห็นได้จากบทร้องไหว้ครูพ่อเพลง
แม่เพลงจะร้องเวลาไหวค้ รวู า่ “ไหว้ครทู ีส่ งั่ ลอนมา” และ “ไหวค้ รพู ักลกั จา”

1.1.2. ประเภทของเพลงพนื้ บ้าน เพลงพ้นื บา้ นจาแนกออกได้เป็น 3 ประเภท คือ
เพลงกล่อมเด็ก เพลงปฏิพากย์ และเพลงท่ีใชใ้ นพธิ กี รรม

(1) เพลงกล่อมเดก็ คือ เพลงรอ้ งท่กี ลอ่ มใหเ้ ด็กนอนหลบั เร็วข้ึน เพอ่ื แสดงความรัก ความเอื้ออาทรท่ี
แมม่ ตี อ่ ลกู เนอื้ าของเพลงกลอ่ มเด็กทุกภมู ิภาคของไทยโดยทั่วไป จะมคี วามหมายคล้ายคลึงกัน เชน่ แสดงความรัก
ที่แม่มีต่อถูก ซึ่งจะเปรียบเกือบความน่ารักของเด็ก กับสัตว์ที่น่ารัก เช่น แมว นกต่าง ๆ หรือบางทีบทกล่อมก็ไม่
เก่ยี วขอ้ งกบั เด็ก เพลงกลอ่ มเด็ก จะเป็นเพลงที่มเี นือ้ หาสั้นบา้ งยาวบ้าง ผสมกบั การเออ้ื นเสยี ง ร้องชา้ ๆ ภาคกลาง
เรียกว่า “เพลงกล่อมเด็ก” ภาคใต้เรียกว่า “เพลงชาน้อง เพลงร้องเรือ หรือเพลงน้องนอน” ภาคเหนือเรียกว่า
“เพลงออ่ื ลูก” ภาคอสี านเรียก “เพลงกลอ่ มลูก หรอื เพลงนอนสาเด้อ”

4

ภาพท่ี 1.1 ร้องเพลงกลอ่ มเด็ก (ภาคกลาง)
(Minnie C, 2564)

(2) เพลงปฏิพากย์ เป็นเพลงโต้ตอบระหว่างชายและหญิง เนื้อหาเป็นการเก้ียวพาราสี มีการถาม
ตอบในเรื่องคดีโลก คดีธรรม ศาสนา หรือประวตั ิศาสตร์ ความสนุกสนานจะอยูท่ ่ีพ่อเพลงและแม่เพลงใช้โวหารชิง
ไหวพริบดันกลอนแก้กัน มีลูกคู่ร้องรับ กระทุ้งจังหวะ ทาให้ครื้นเครงยิ่งขึ้น สิ่งสาคัญในการว่าเพลงปฏิพากย์น้ัน
พ่อเพลงและแมเ่ พลงจะต้องไมท่ ้งิ "เพลงหลัก" และ "ความจริง" ในการวา่ เพลง (อมรา กลา่ เจริญ, 2538 : 26 - 27)
เพลงหลัก หมายถึง การว่ากลอนเพลงตามลาดับขั้นตอนและเนื้อหาของการเล่นเพลง ได้แก่ บทไหว้ครู บทปลอบ
บทประ บทเกี้ยวพาราสี บทผูกรัก ต่อด้วยการเล่นเพลงเข้า เรื่อง ซึ่งผู้เล่นจะพิจารณาว่าจะเล่นเรื่องอะไร ที่นิยม
เล่นกันได้แก่ บทลักหาพาหนี บทสู่ขอ บทชิงชู้ บทตีหมากผัว หรือเล่นเรื่องทางคดีโลกคดีธรรม อยู่ที่ความเก่งของ
พ่อเพลงแมเ่ พลง จบลงดว้ ยเพลงลา ซง่ึ พอ่ เพลงและแม่เพลงจะรอ้ งเพลงลาซ่ึงกันและกนั รอ้ งลาผู้ชม และ ร้องให้
พรเจ้าภาพ

ความจรงิ หมายถงึ ลกั ษณะของการว่าเพลงที่พ่อเพลงแมเ่ พลงต้องระมัดระวงั การ ใช้ถอ้ ยคาภาษาใน
การรอ้ งเพลงต้องเป็นเร่ืองจริง ไมค่ วรเอาเร่ืองที่ไม่จริงมาร้อง เช่น แมเ่ พลง รอ้ งเปรยี บพ่อเพลงว่ามีใบหน้าเหมือน
หมู เหมือนลิง เหมือนลา คาร้องเช่นนี้ไม่ควรนามารอ้ ง ว่ากันในเพลง เพราะความจริง “พ่อเพลง” เป็นคน ดังน้ัน
เมื่อว่าเพลงต้องยึดหลักความจริง พ่อเพลงและแม่เพลงจะเตรียมศึกษาหาข้อมูลต่างๆ ที่เป็นปมด้อยของคู่ต่อสู้
ข้นึ มาประคารม ใช้ถอ้ ยคาเปรียบเทยี บที่มนี ยั สะใจแกล้ ากัน ให้ผชู้ มคิดเปรียบเทียบตามไปดว้ ย และยงั ได้ รบั ความ
สนุกสนวนจากการขดุ คุ้ยเร่ืองราวมารอ้ งวา่ กันจนยอมแพ้กันไปข้างหนึ่ง การว่าเพลง โดยยึดหลักความจริงนี้ถอื ว่า
เปน็ ส่งิ สาคญั

5

เพลงปฏิพากย์ในแต่ละท้องถิ่นแตล่ ะภมู ิภาคมีช่ือเรียกและวิธีการแสดงที่แตกต่าง กันเช่น ภาคเหนอื เรียก
“เพลงซอ” ภาคอีสานเรียก “หมอลาคู่” “หมอลาชิงชู้” ภาคอีสานใต้เรียก “เจรียงตัว” “เจรียงเบริน” ภาคใต้
เรียก “เพลงเรอื ” “เพลงนา” ภาคกลางเรยี ก “เพลงเรอื ” “เพลงฉอ่ ย” “เพลงอแี ซว” เปน็ ตน้

ภาพที่ 1.2 การเลน่ เพลงพื้นบ้าน “เพลงเรือ”
(ชัญญา แจงศิรวิ ฒั นา, 2561)

(3) เพลงในพิธีกรรม เพลงในพิธีกรรมของชาวบ้าน คือการขับลานาเป็นท่วงทานอง ที่ชาวบ้านใช้
ประกอบในพิธีกรรมที่เกี่ยวกับวิถีชีวิตซึ่งได้แก่พิธีกรรมที่เกี่ยวกับชีวิต พิธีกรรมตามปฏิทิน
พิธกี รรมรักษาโรค
(1) เพลงที่ประกอบในพิธีกรรมที่เกี่ยวกับชีวิต วัฒนธรรมและประเพณีในการ ดาเนินชีวิต

ของคนไทย นับตัง้ แตเ่ กิดจนตาย มคี วามผูกพันอยู่กับทว่ งทานองกลอนเพลง เพราะมคี วามเชือ่ ว่าเพลงจะเป็นส่ือถึง
สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เพื่อบันดาลความสุข ปัดเป่าความทุกข์ให้ได้ เพลงในพิธีกรรมมีความสาคัญกับการเกิดของเด็ก เช่น
บทสวดแหล่เรียกขวัญในพิธีทาขวัญ พิธีโกนจุก พิธีบวชนาค พิธีแต่งงาน ในงานอวมงคล เช่น เพลงตุ้มโมง (อีสาน
ใต)้ เพลงสวด คฤหัสถ์ (ภาคกลาง) สวดมาลยั และเพลงกาหลอ (ภาคใต)้ ซึง่ ใช้ในงานศพ เปน็ ต้น

(2) เพลงประกอบพิธีกรรมตามปฏิทิน ได้แก่ เพลงที่มีบทบาทตามปฏิทิน ประเพณีราษฎร์
12 เดือนเช่นเพลงตรุษ ของชาวจังหวัดสรุ ินทร์ เพลงร่อยพรรษาของชาวอาเภอ พนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี ร้อง
ก่อนวันออกพรรษาเดือน 11 กาบเชิงบั้งไฟ ในงานบุญบั้งไฟ ของชาวอีสาน ในเดือน 6 ลาพระเวส ในงานบุญ
พระเวส เดือน 4 บทเพลงแห่นางแมวใน พิธีขอฝน หากฝนไมต่ กต้องตามฤดูกาลทาให้เกิดความแห้งแล้ง ประมาณ
เดือน 8 - 9 เพื่อให้ ฝนตกลงมาเพือ่ การเพาะปลูกและพชื ผลทางการเกษตร ในส่วนนจี้ ะมเี พลงในพธิ ีกรรม ตอ่ เน่ือง
ในเร่ืองของการเพาะปลูก เช่น พิธีสู่ขวัญข้าว สู่ขวัญลาน สู่ขวัญยัง ขอบคุณผีสางเทวดา ที่ให้ผลผลิตดี ส่วนใหญ่
ได้แก่ พวกเพลงปฏิพากย์ เช่น เพลงฉ่อย เพลงระบาบ้านไร่ เพลงเกี่ยวข้าว ซึ่งเพลงเหล่านี้ ถ้าร้องเป็นเพลง
พิธีกรรมจะเน้นเรือ่ ง “เพศ” เป็นสาคัญ โดยมีวิธีใช้ภาษาในบทสังวาส ที่เรียกว่า “กลอนแดง” หลีกเลี่ยงคาหยาบ

6

ไม่กล่าวโดยตรงแต่ใช้ วิธีเปลี่ยนสระเปลี่ยน หรือใช้การผวนคา เพราะมีความเชื่อว่าสิ่งเหล่านี้สามารถทาให้เกิด
ความอุดมสมบรู ณ์ทางการเกษตร เพลงพิธกี รรมในงานเทศกาลตรุษสงกรานต์ เชน่ เพลง เขา้ ทรงตา่ ง ๆ เขา้ ทรงแม่
ศรี เข้าทรงผีลิงลม ฯลฯ ซึ่งเพลงพิธีกรรมเกี่ยวกับการเพาะปลูก และเทศกาลตรุษสงกรานต์ดังกล่าวนอกจากจะ
เน้นในเรอ่ื งของความเชอื่ แล้วยงั ร้องเลน่ เพื่อ ความสนกุ สนานด้วย

(3) เพลงประกอบพิธีกรรมในการรักษาโรค เป็นพิธีกรรมที่เกิดขึ้นจากความเชื่อ ทางไสย
ศาสตร์ ศาสตร์ที่เร้นลับ ได้แก่ เวทมนตร์หรือคาถาอาคมต่าง ๆ อิทธิปาฏิหาริย์ ภูตผี ปีศาจ และวิญญาณ เพราะ
คนไทยส่วนใหญ่มีความเชื่อทางไสยศาสตร์กันมาเนิ่นนาน ถึงแม้ วิทยาการต่าง ๆ จะเจริญก้าวหน้าไปสู่โลกของ
เทคโนโลยีแล้ว ยังพบว่ามีการรักษาอาการเจ็บ ป่วย ด้วยเพลงในสังคมชนบท เช่น ลาผีฟ้า ลาผีไท้ ลาผีแถน ใน
ภาคอีสานเหนือ เป็นการ ขับร้องบทกลอน มีแคน เป็นดนตรีหลักประกอบการขับร้อง มีการใช้ท่าร่ายราประกอบ
กาะ ลาเพลงประเภทนเ้ี ป็นการลาบอกกล่าว และเชญิ วิญญาณบรรพบรุ ุษมาเพื่อรักษาอาการปว่ ย ไข้ พิธีกรรมของ
อีสานใต้ได้รับอิทธิพลมาจากเขมรที่เรียกว่า “บันโจลบองบ๊อด” เป็นการประทับทรงเพื่อเชิญเทพเทวดา และส่ิง
ศักด์สิ ิทธม์ิ ารกั ษาโรคภัยไข้เจ็บๆ การเคล่อื นไหวรา่ งกายเข้ากบั ทานองเพลงกนั ตรมึ 3 เพลง คือ เพลง เพลงกัญจัญ
เจก เพลงอาไยกัด และเพลงเขิ๊บจ๊ะส์ ในภาคใต้ มีพิธีกรรมถึงการละเล่นชนิดหนึ่ง คือ “ถือตรี” ผู้ทาพิธีจะร่าย
คาถาสลับไปกับทานองของดนตรี จนกระทั่งร่างทรงสั่นเพราะผีเข้า จึงมีการสนทนาโต้ตอบไต่ถามอาการคนป่วย
จากผีในร่างทรงเพื่อแก้ไขอาการเจ็บป่วย ภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาค ตะวันตก มีการทาพิธีกรรมในการ
รักษาโรคอยู่บ้างแต่พบเป็นส่วนน้อย เช่น พิธีตีคลี เพื่อ สะเดาะเคราะห์ ของชาวบ้านที่ตาบลหัวแหลม จังหวัด
พระนครศรีอยุธยา และพิธีกรรมของ ชนกลุ่มน้อยในพิธีทรงแม่มดรักษาคนไข้ของชาวดงน้อย จังหวัดฉะเชิงเทรา
เปน็ ต้น

ภาพท่ี 1.3 พิธตี ีคลี วัดสวา่ งอารมณ์ (แคแถว) จงั หวดั นครปฐม
(วัดสว่างอารมณ,์ 2558)

7

ปจั จบุ นั สถานศกึ ษาหลายแห่งได้พยายามอนุรักษร์ ปู แบบการใช้เพลงประกอบ พิธกี รรม ใน
การรกั ษาโรค และพัฒนารูปแบบจากขนั้ ตอนของการรักษามาเป็นกระบวนการจัด ลาดบั ขัน้ ตอนการใชอ้ ปุ กรณ์มา
เป็นท่าฟ้อนรา เช่น “ฟ้อนลาผีไท้” ของสถาบนั ราชภฏั อบุ ลราชธานี การแสดง “เรือมปันโจล” ของสถาบนั ราชภัฏ
บรุ ีรมั ย์ เป็นต้น

1.2. การละเล่นพน้ื บ้าน
ความหมายของ “การละเล่น” เป็นคานาม หมายถึงมหรสพต่าง ๆ การแสดงต่าง ๆ เพื่อความสนุกสนาน

ร่ืนเริง (ราชบัณฑติ ยสถาน, 2546 : 116)
การละเล่นพนื้ บ้าน ถ้ามองในภาพรวมของรูปศัพท์ จะมคี วามหมายถึงการละเล่น ทัง้ ที่เปน็ การละเล่นของ

เด็กและการละเลน่ ของผู้ใหญ่ ซึ่งการละเล่นทั้งสองอย่างนอ้ี าจจะคลา้ ย คลงึ กันหรอื แตกตา่ งกนั ไปเนอื่ งจากอิทธิพล
ของตัวแปรตา่ ง ๆ เช่น จุดประสงค์ของการเล่น อปุ กรณ์ในการเลน่ วาระโอกาสในการเลน่ เปน็ ต้น

1.2.1. การละเล่นพื้นบ้านของเด็ก การละเล่นของเด็กส่วนใหญ่จะมีรูปแบบการเล่นที่เรียบง่ายแต่มี
จุดประสงค์มุง่ เน้นให้ความบันเทิงให้ความสนุกสนานเป็นหลัก การเล่นจะมีทั้งการเล่นเดีย่ ว เล่นเป็นกลุ่ม เล่นเป็น
ฝ่ายและเป็นหมู่คณะ การเล่นแต่ละชนิดจะเล่นได้ในโอกาสแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับความพร้อมของผู้เล่น การเล่น
บางชนดิ ต้องมีอุปกรณ์ประกอบ และสถานท่ที ี่เหมาะสมกบั การละเล่นนนั้ ๆ การละเลน่ ของเด็กทุกชนิดจะมีผลต่อ
การพัฒนาด้านต่าง ๆ ทั้งเป็นการส่งเสริมการออกกาลังกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคมชุมชนแต่ละท้องถิ่นได้เป็น
อยา่ งดี

1.2.2. การละเล่นพื้นบ้านของผู้ใหญ่ มีขั้นตอนรูปแบบการเล่น มีกติกา มีขนบ ในการ เล่นมากกว่า
การละเล่นของเด็ก แต่ละประเภทจะต้องอาศัยผู้เล่นที่มีความสามารถเฉพาะ ตัว มีการฝึกฝน มีการศึกษาค้นคว้า
จนเกิดความรู้แจ้ง และมีทักษะ เป็นที่ยอมรับและเป็นที่ นิยมจนได้รับการยกย่องให้เป็นยอดศิลปินพื้นบ้านของ
ทอ้ งถนิ่ และเป็นศิลปินแห่งชาติ

การละเล่นพื้นบ้านของผู้ใหญ่ แบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท คือ การละเล่นเพื่อความ บันเทิง
การละเล่นทเี่ ป็นพธิ ีกรรม การละเลน่ ที่เป็นศลิ ปะการตอ่ สู้ และกฬี าพ้ืนบ้าน

(1) การละเล่นเพ่ือความบนั เทิง เปน็ รปู แบบของการแสดงท่ีมีจุดมุ่งหมายเพ่ือความ บันเทิง
การพักผ่อนหย่อนใจ การเฉลิมฉลองความสาเร็จ ความสมหวัง ที่ไม่เกี่ยวกับงาน ที่ไม่เป็นอวมงคล ซึ่งการละเล่น
เพือ่ ความบนั เทงิ นี้ บางครัง้ ก็นาเอาการแสดงท่ีเปน็ การ ละเลน่ ในพิธกี รรม มาเลน่ เป็นรปู แบบของความบันเทิงด้วย
การละเลน่ ทน่ี ิยมนามาเล่นเพื่อความบันเทิง เช่น

ภาคเหนือ นิยมเลน่ เพลงซอ เพลงจอ๊ ย เต้นโต ฟ้อนเลบ็ หรือฟ้อนเมือง ฟ้อนเทยี น ฟอ้ นกงิ กะหรา่ ฟ้อน
มา่ นมยุ่ เซยี งตา ฯลฯ

8
ภาคอสี าน อสี านเหนือ นยิ มเลน่ เซ้ิงบั้งไฟ หมอลา กลองยาวอีสาน เซ้ิงครกมอง อสี านใตน้ ิยมแสดง เรือม
จับกรบั เรอื มตล็อก เรือมอันเร ฯลฯ

ภาพที่ 1.4 การละเล่นเพอ่ื ความบันเทงิ “รากระบทไม้”
(กรมศิลปากร, 2542)

ภาคกลาง นยิ มเล่น กลองยาว ลเิ ก ละครพื้นบา้ น ลาตดั เต้นการาเคียว เหยอย อีแซว เพลงเรอื เพลงฉ่อย
รากระทบไม้ ราโทน เพลงระบาต่าง ๆ ฯลฯ

ภาคตะวันออก นิยมเล่นเซ้ิงบั้งไฟ แห่นางแมว ราพวน ราโทน ละครพื้นบ้าน หนังใหญ่ หนังตะลุง ราสวด
เจรยี งกนั ตรึม เพลงอาไย เพลงชอง ฯลฯ

ภาคตะวันตก นิยมเล่น หนังใหญ่ หนังตะลุง ลิเก ละครชาตรีเมืองเพชร ตงรามอญ กระบี่กระบอง เต้น
กะเหร่ยี ง เต้นแคน ฯลฯ

ภาคใต้ นยิ มเล่น โนรา หนงั ตะลงุ มะโย่ง รองเง็ง ซัมเปง็ ลเิ กฮูลู ฯลฯ
(2) การละเล่นที่เป็นพิธีกรรม เป็นรูปแบบของการเล่นพื้นบ้านที่มีทั้งระบาราฟ้อน และท่ี

เลน่ เปน็ เร่อื ง มคี วามเก่ียวเนือ่ งกบั พธิ กี รรมท่มี าจากความเชื่อของชุมชนเฉพาะแต่ ละท้องถ่ิน ในแตล่ ะภมู ิภาค
ภาคเหนอื จะมีความเชื่อในเรอื่ งผีบรรพบุรุษ มกี ารฟ้อนเป็นสว่ นหน่ึงของพิธีกรรม ไดแ้ ก่ ฟ้อนผเี ม็ง ฟ้อนผีมด
ภาคอีสาน อีสานเหนือและอีสานใต้ มีความเชื่อในเรื่องผีฟ้า มีการราผีฟ้ารักษาโรค เชิงบังไฟ เพื่อบูชา

พญาแถน มีตง้ั หวาย เรือมปนั โจล แสกเต้นสาก เพอ่ื บวงสรวงเทวดา ภูตผี วิญญาณบรรพบรุ ษุ เพ่ือเปน็ การขอขมา
ภาคกลาง จะพบการเล่นที่เป็นพิธีกรรมบ้างในเทศกาลงานประเพณีต่างๆ เช่น ตรุษ สงกรานต์ มีการเล่น

เข้าทรงต่าง ๆ เล่นเข้าทรงแม่ศรี เล่นเข้าทรงผีนางดัง มีการราถวายมือ มีละครแก้บน ตามศาลเจ้าพ่อหลักเมือง

9
หรือสถานทส่ี ิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ ในฤดูแลง้ มีการแห่ นางแมวเพ่ือขอฝน มีการรักษาความเจ็บไข้ทางไสยศาสตร์ ตาม
ความเช่ืออยูบ่ า้ งในบางทอ้ งท่ี

ภาคตะวันออก มกี ารเล่นท่ีเปน็ พิธีกรรมตามความเช่ือของแตล่ ะกลุ่มชน เชน่ ละคร แกบ้ น การเล่นราสวด
เพ่ิงบั้งไฟ แห่นางแมว เป็นตน้

ภาคตะวันตก มีการเล่นที่เป็นพิธีกรรมตามความเชื่อของแต่ละกลุ่มชน เช่น ละคร แก้บน ตงของชาว
กะเหรย่ี ง เตน้ แคนของชาวมง้ การแห่นางแมว เป็นต้น

ภาคใต้ มีการแสดง มะโย่ง เป็นรูปแบบละครใช้แสดงเพื่อความสนุกสนานและใช้ แสดงเพื่อการสะเดาะ
เคราะห์ด้วย การเล่น กาหลอ โต๊ะครีม ใช้เพื่อการเซ่นไหว้ บวงสรวงบูชา เทวดาและวิญญาณบรรพบุรุษ และส่ิง
เหนอื ธรรมชาติ เพราะเชื่อวา่ สิ่งเหลา่ นั้นให้คุณและ ใหโ้ ทษแกม่ นษุ ย์ได้

ภาพท่ี 1.5 โตะ๊ ครมึ
(ปรางศักดิ์ แสงพรม, 2555)
(3) การละเล่นที่เป็นที่เป็นศิลปะของการต่อสู้ ศิลปะของการต่อสู้ที่เล่นสืบเนื่อง ในแต่ ละ
ภูมิภาคของไทย มีหลากหลายรูปแบบและมีชั้นเชิงของการต่อสู้ที่แตกต่างกัน การต่อสู้ บางชนิ ดใช้อาวุธเป็น
อุปกรณ์ในการต่อสู้ เช่น ฟ้อนดาบ ก้าลาย ก้าแลว กระบี่กระบอง บางชนิดใช้ศิลปะการต่อสู้แบบมือเปล่า เช่น
ฟอ้ นเจงิ ตบมะผาบ มวยโบราณ มวยไทย และ สลิ ะ เปน็ ต้น

10

ภาพที่ 1.6 การละเลน่ ท่เี ปน็ ศิลปะการต่อสู้ “มวยไทย” (ภาคกลาง)
(มวยไทย, 2561)

(4) กีฬาพื้นบ้าน มีวิธีการเล่นที่แตกต่างกับการละเล่นทั้ง 3 ประเภท ที่กล่าวมาเพราะ
การละเล่นประเภทนี้ จะมีการกาหนดกติกาการเล่นที่ชัดเจน การละเล่นประเภทนี้มีลักษณะ โน้มเอียงไปใน
ทางการพนันมีแพ้มีชนะเมื่อสิ้นสุดการเล่น กีฬาพื้นบ้าน ได้แก่ ชนไก่ กัดปลา ตะกร้อ แข่งเรือ สะบ้า ว่า ว กีฬา
ดังกลา่ วนี้จะมกี ารเล่นและมกี ารจดั การแข่งขันทวั่ ทุกภูมภิ าค ของประเทศไทย ยกเว้นกฬี าบางชนิดมแี ข่งขันเฉพาะ
ทางภาคใต้ เช่น การเลน่ ชนววั แข่งวง่ิ ควาย และบางชนดิ การละเล่นในรูปแบบของการบันเทิงหลายอย่าง สามารถ
นามาแขง่ ขนั เป็น รูปแบบของกฬี าได้ เชน่ แข่งขนั กลองยาวพน้ื บา้ น ประชนั เพลงพืน้ บา้ น แขง่ ขันตกี ลองสะบัดเชย
เป็นต้น

ภาพที่ 1.7 การเล่น “สะบา้ ”
(วารสารวัฒนธรรม, ม.ป.ป.)

11

สรุป

เพลงพื้นบ้าน จาแนกออกได้ 3 ประเภท ได้แก่ เพลงกล่อมเด็ก ใช้กล่อมให้เด็กนอน แสดงถึงความรัก
ความห่วงใยที่แม่มีต่อลูก เพลงปฏิพากย์เป็นเพลงท่ีใช้ร้องโตต้ อบกันของ หนุ่มสาวในเชิงเกี้ยวพาราสี การร้องจะมี
จุดมุ่งหมายเดียวกันทั่วทุกภูมิภาค มีความแตกต่าง กันบ้างในเรื่องของการใช้ภาษา ลีลาทานองของแต่ละท้องถ่ิน
เพลงในพิธีกรรม เป็นเพลง ทใี่ ชป้ ระกอบพธิ ีกรรมที่เกิดจากความเช่ือเก่ียวกับวิถชี วี ติ ของชุมชนในแต่ละท้องถิ่น

การละเล่นพื้นบ้าน มีความหมายรวมถึงการละเล่นของเด็กและการละเล่นของผู้ใหญ่ การละเล่นของเด็ก
จะมีรูปแบบเรียบง่าย จุดประสงค์มุ่งเน้นความบันเทิง และความสนุกสนาน การละเล่นของผู้ใหญ่จะมีรูปแบบการ
เล่น มีลาดบั ข้ันตอนและมีกติกามากกว่าการละเล่นของ เด็ก การละเล่นของผู้ใหญ่เล่นเพื่อความบันเทิงสนุกสนาน
เลน่ เพ่ือการแข่งขนั เอาแพช้ นะ และอาจจะมีเรอ่ื งของการพนนั เข้ามาเกย่ี วข้อง

เพลงและการละเล่นพื้นบ้านของไทยที่เล่นสืบเนื่องมาแต่โบราณ ในปัจจุบันบางชนิด ได้สาบสูญไม่มีการ
เล่นให้เห็นอีก บางชนิดเกือบจะเลิกเล่น และบางชนิดชนบางกลุ่มยังมีการเล่น อย่างต่อเนื่องแต่รูปแบบการเล่น
อาจจะมกี ารเปลยี่ นแปลงไปบา้ งตามยุคสมัย ตามแต่อิทธิพล ของการแสดงของชาวต่างชาติท่ีเข้ามามบี ทบาทในวิถี
ชีวิตของคนไทย บางชนิดยังพอมีให้พบเห็นอยู่ในรูปแบบจัดแสดงเพื่อการสาธิตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของรัฐ
และของเอกชน ที่ได้จัดให้มีขึ้น หากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สถานการศึกษาในทุกระดับมองเห็นความ สาคัญ
และช่วยกันฟื้นฟู อนุรักษ์ส่งเสริมการเล่นเพลงและการละเล่นพื้นบ้านของไทยให้คงไว้ เป็นเอกลักษณ์ของไทย
สบื ไป

12

เอกสารอ้างอิง

คณะกรรมการวฒั นธรรมแหง่ ชาต,ิ สานักงาน. (ม.ป.ป.). ศลิ ปะมวยไทย. กระทรวงศึกษาธิการ.
พรี ะพงศ์ บุญศริ ิ. (2536). การละเลน่ พนื้ บา้ นล้านนา. วทิ ยาลัยครูเชยี งใหม่.
ภญิ โญ จิตต์ธรรม. (2541). “โต๊ะครึม” ลกั ษณะไทย เลม่ 3. ไทยวฒั นาพานิช.
ราชบณั ฑติ ยสถาน. (2546). พจนานุกรม ฉบบั ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. นานมบี ุกสพ์ บั ลเิ คชน่ั ส์
ศลิ ปากร, กรม. (2542). วพิ ธิ ทัศนา. กรมศลิ ปากร.
ไศลรัตน์ ดลอารมณ์, นพวรรณ เลาหบุตร และพวริศรา เชนะโยธิน. (2543). งานวิจัยเรื่อง วัฒนธรรมพื้นบ้าน

ตาบลหวั สาโรง. สถาบนั ราชภัฏราชนครินทร.์
อมรา กลา่ เจริญ. (2538). งานวจิ ยั เร่ืองเพลงเรอื อยธุ ยา. สภาบันราชภฏั พระนครศรีอยทุ ธยา.

บทท่ี 2
ปัจจัยอนั มอี ทิ ธิพลตอ่ เพลง และการละเลน่ พ้ืนบา้ น

ปัจจยั หมายถึง เหตุอนั เปน็ ทางใหเ้ กิดผล (ราชบัณฑติ ยสถาน, 2546 : 686)
อทิ ธพิ ล หมายถงึ กาํ ลังทยี่ ังผลให้สําเร็จ, อาํ นาจทสี่ ามารถบนั ดาลให้เป็นไปได้ (ราชบณั ฑติ ยสถาน, 2546
: 1,373)
ปัจจัยอันมีอิทธิพลต่อเพลงและการละเล่นพื้นบ้าน จึงหมายถึงเหตุอันสําคัญที่มีผล ต่อการเกิดของเพลง
และการละเล่นเพลงพ้นื บา้ น ได้แก่ สภาพทางภูมศิ าสตร์ วัฒนธรรมและ สังคม การประกอบอาชีพ และวรรณกรรม
ท้องถิ่น

เมือ่ นักศกึ ษา ศกึ ษาบทที่ 2 จบแลว้ นักศกึ ษาควรเกดิ แนวคดิ ตอ่ ไปน้ี
1. เพลงและการละเลน่ พืน้ บา้ น มีความสาํ คัญต่อวถิ ีชีวิตของชาวบา้ นมลี ักษณะ สาํ คญั คือ การสืบทอดจาก

ปากตอ่ ปาก จากพฤตกิ รรมสู่พฤติกรรม การเลอ่ื นไหลของวัฒนธรรม การเปลี่ยนแปลงและการผสมผสาน สืบทอด
เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของสงั คมพ้นื บ้าน

2. ปจั จัยท่ีมีอิทธพิ ลต่อการสร้างสรรค์งานศลิ ปะ เพลงและการละเล่นพื้นบ้าน ได้แก่ สภาพภูมิศาสตร์ทาง
กายภาพวฒั นธรรมและสงั คม การประกอบอาชพี วรรณกรรมทอ้ งถนิ่

3. เพลงและการละเล่นพืน้ บา้ นของภาคต่าง ๆ มีความคล้ายคลึงกัน และต่างกันตาม ปริบทใน 6 ภูมิภาค
ของประเทศไทย

14

2.1 สภาพทางภูมศิ าสตร์
จากหนังสอื อักขรานกุ รมภมู ิศาสตร์ไทย ฉบบั ราชบัณฑิตยสถาน เล่ม 1 (2530 : 3 - 4) ไดก้ ล่าวถึงการแบ่ง

ภูมิภาคทางภูมิศาสตร์ของประเทศไทยว่า ประการที่หนึ่ง เป็นการ แบ่งพื้นที่หนึ่งออกจากพื้นที่หนึ่ง โดยนัก
ภูมิศาสตร์ได้พิจารณาจากองค์ประกอบต่าง ๆ ทั้ง ทางด้านกายภาพที่มองเห็นได้ชัดเจน อาทิเช่น ลักษณะภูมิ
ประเทศ ธรณีวิทยา ธรณีสัณฐาน วิทยา ภูมิอากาศ ดิน พืชพรรณธรรมชาติ รวมทั้งระบบการระบายนํ้าในบริเวณ
นน้ั สง่ิ เหลา่ น้ี จะปรากฏชัดเจน เช่น ภมู ิประเทศท่เี ปน็ ภูเขา ทร่ี าบสูงลูกเนนิ ทร่ี าบลูกฟูก ท่ีราบ ฯลฯ

นอกจากหลักเกณฑ์ดังกล่าว บางบริเวณในพื้นที่เดียวกันที่มีขนาดกว้างใหญ่ ไม่ สามารถใช้ลักษณะด้าน
กายภาพแบ่งได้ จึงจําเป็นต้องใช้หลักเกณฑ์ประการที่สองช่วยในการ พิจารณาคือ สภาพความแตกต่างทาง
วัฒนธรรม ซึ่งได้แก่สิ่งต่าง ๆ ที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้นมาเช่น ประชากร (เชื้อชาติ ภาษา วัฒนธรรม ความหนาแน่น
และสิ่งอื่น ๆ) ลักษณะสังคม เศรษฐกิจ ขนบธรรมเนียมประเพณีแบบแผนในการประกอบอาชีพ ลักษณะการใช้
ท่ีดิน การต้งั บ้านเรอื น การดาํ รงชวี ิตประจําวนั นิสัยการบรโิ ภคตลอดจนสงิ่ อื่น ๆ ท่สี ะท้อนใหเ้ ห็นถึงความแตกต่าง
ของประชากรท้ังสองบรเิ วณได้

จากหลกั เกณฑ์ทัง้ สองประการ ทใ่ี ช้พจิ ารณาประกอบกัน ยงั ใช้การพจิ ารณาจาก ผลงานการศึกษาของนัก
ภมู ศิ าสตร์อนื่ ๆ ประกอบ ทาํ ใหส้ ามารถแบง่ ภาคของประเทศไทย ในทางภูมิศาสตรอ์ อกได้เปน็ 6 ภาค ดว้ ยกนั คอื
ภาคเหนอื ภาคกลาง ภาคตะวันตก ภาค ตะวันออกหรือตะวันออกเฉยี งใต้ ภาคตะวนั ออกเฉียงเหนอื และภาคใต้

สวาท เสนาณรงค์ และวิไลเฉิด ทวีสิน (2524 : 4 - 6) กล่าวว่า การแบ่งภาค ภูมิศาสตร์ของประเทศไทย
ได้กําหนดใช้กันตั้งแต่ปี พ.ศ. 2521 โดยคณะกรรมการภูมิศาสตร์ แห่งชาติ สํานักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
ได้แบ่งภาคภูมิศาสตร์ออกเป็น 6 ภาค คือ ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาค
ตะวันตก และภาคใต้ โดยใช้หลกั เกณฑท์ างภมู ิศาสตร์ 4 ประการ เป็นหลกั ในการพจิ ารณา ดังนี้

ประการที่ 1 ทางด้านกายภาพ (Physical Features) ได้แก่ ลักษณะทั่วไปของ ภูมิประเทศ เช่น
ภูมอิ ากาศ ดิน พชื พรรณ และสตั ว์ประจําทอ้ งถนิ่ เป็นตน้

ประการที่ 2 ทางด้านวัฒนธรรม (Cultural Features) ได้แก่ ลักษณะทั่วไปขอ ประชากร คือ เชื้อสาย
ภาษา ศาสนา และขนบธรรมเนียมประเพณี เปน็ ตน้

ประการที่ 3 ทางด้านธรณีวิทยา (Geography) ได้ทางด้านธรณีวิทยา (Geography) ได้แก่ ความเป็นมา
ทางด้านธรณี วิทยา คอื ลกั ษณะทวั่ ไปของชน้ั หนิ และชน้ั ดนิ เปน็ ต้น

ประการที่ 4 ทางด้านเอกสารวิชาภูมิศาสตร์ (Geological Features) และหลักฐาน อื่นๆ ที่นํามาใช้
ประกอบ เช่น จากเขตการปกครอง หรอื จากเขตจงั หวัด เปน็ ตน้

ตามหลักเกณฑ์ทางภูมิศาสตร์ 4 ประการ ที่คณะกรรมการภูมิศาสตร์แห่งชาติ สํานักคณะกรรมการวิจัย
แห่งชาติ แบ่งภาคภูมิศาสตร์ของประเทศไทย พ.ศ. 2521 ออกเป็น 6 ภาค ทําให้มีการผสมผสานทางวัฒนธรรม
ความคิดสร้างสรรค์ศิลปะของกลุ่มประชากร ในแต่ละท้องถิ่น ซึ่งในเอกสารคําสอนเล่มนี้จะขอกล่าวถึงเฉพาะ

15

ภูมิศาสตร์ทางกายภาพ วัฒนธรรมและสังคม การประกอบอาชีพ และวรรณกรรมท้องถิ่น ซึ่งเป็นปัจจัยอันมี
อทิ ธพิ ล สาํ คัญย่ิงตอ่ การเล่นเพลงและการละเลน่ พื้นบา้ น
2.2 วฒั นธรรมและสงั คม

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 (2546 : 1,058) ให้ความหมาย คําว่า “วัฒนธรรม” คือ
สิ่งที่ทําความเจริญงอกงามแก่หมู่คณะ วิถีชีวิตของหมู่คณะ ในพระราช พิ่บัญญัติวัฒนธรรม พุทธศักราช 2485
หมายถึงลักษณะที่แสดงถึงความเจริญงอกงาม ความ เป็นระเบียบเรียบร้อย ความกลมเกลียวของชาติ และ
ศีลธรรมอันดีของประชาชน ทางวิทยาการ หมายถึง พฤติกรรมและสิ่งที่คนในหมู่คณะผลิตและสร้างขึ้น ด้วยการ
เรียนรู้จากกันและกัน และร่วมใช้อยู่ในหมู่พวกของตน ส่วน “สังคม” (ราชบัณฑิตยสถาน, 2546 : 1,959)
หมายความว่า คนจาํ นวนหนง่ึ ท่ีมคี วามสัมพันธต์ ่อเน่ืองกัน ตามระเบยี บกฎเกณฑ์โดยมี วัตถุประสงคร์ ่วมกัน กลุ่ม
ประชากรทางด้านวัฒนธรรมและสังคม ได้แก่ เชื้อชาติ ศาสนา ความเชื่อ และภาษา กลุ่มประชากรทางด้าน
วัฒนธรรม และสังคมใน 6 ภูมิภาคของประเทศไทย มีบทบาทสําคัญทําใหว้ ัฒนธรรมรูปแบบของการละเล่นต่าง ๆ
มคี วามเหมอื นและแตกตา่ ง ไปตามกลมุ่ ของสังคมประชากร
2.3 การประกอบอาชีพ

สังคมพื้นบา้ นของประเทศไทยส่วนใหญ่ เป็นสังคมท่ีเกี่ยวกับการทํามาหาเลี้ยงชีพ แบบพึ่งตัวเอง ในพื้นที่
ราบลุ่มท่ีกลุ่มประชากรทําอาชีพเกษตรกรรม ทําการประมงนํา้ จืด ชาวบ้านก็จะสรา้ งสรรคง์ านศิลปะ ทําเครื่องมอื
เครือ่ งใช้ในการประกอบอาชีพเพ่ือการดํารง ในวถิ ีชีวติ เช่น เกวียน ลอ้ เล่อื น เคยี ว แกระ คราด เครอ่ื งสขี ้าว เครอื่ ง
จักสาน เครื่องมือในการ จับสัตว์นํ้า เช่น ลอบ ไซ อีชู้ ชะนาง ยอ และเครื่องหัตถกรรมอื่น ๆ ที่สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อ
การเลี้ยงชีพอีกมากมาย ทําให้การละเล่นต่างๆ ตลอดจนเพลงพื้นบ้าน ได้รับอิทธิพลมา จากการประกอบอาชีพ
ด้วย ได้แก่ การละเล่นที่เป็นพิธีกรรมเกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพ เช่น ถ้าฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล ทํานาไม่ได้
ชาวนาทางภาคอีสานจะมีพิธีกรรมบูชาพญา แถนด้วยการจุดบั้งไฟ มีขบวนดนตรี มีผู้เซ็ง ผู้ฟ้อน บูชาพญาแถน
หรอื ในภาคกลางจะมี พิธีกรรมเก่ียวกับการทาํ นา มพี ธิ สี ขู่ วญั นา ขวญั ลาน จนถึงขวัญยัง ทําให้เกิดการเลน่ เพลงที่

เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพน้ัน ๆ ขึ้น จุดประสงคก์ ็เพื่อความอุดมสมบรู ณ์ในการประกอบ อาชีพและ
การดาํ เนนิ ชีวติ น่นั เอง
2.4 วรรณกรรมท้องถิน่

วรรณกรรม (ราชบัณฑติ ยสถาน, 2546 : 1,054) หมายถึง งานหนังสือ งานนิพนธ์ ทที่ าํ ขึน้ ทุกชนิดไม่ว่าจะ
ออกมาในรูปใด เชน่ หนังสอื จุลสาร สงิ่ เขยี น สิ่งพมิ พ์ ปาฐกถา เทศนา คําปราศรยั สนุ ทรพจน์ สง่ิ บันทกึ เสียงภาพ
ท้องถิ่น (ราชบัณฑิตยสถาน, 2546 : 511) หมายถึง ท้องที่ใดท้องที่หนึ่งโดยเฉพาะ เช่น เวลาท้องถิ่น ประเพณี
ทอ้ งถิน่

วรรณกรรมท้องถิ่น จึงเป็นวรรณกรรมที่ชาวบ้านในแต่ละท้องถิ่นแต่งข้ึน หรือเล่าต่อ กันมา อาศัยการฟัง
และการจดจํา จึงทําใหม้ ีการแต่งเติมเสริมต่อกันมาเรื่อยๆ รูปแบบวรรณ กรรมจึงไม่แน่นอน วรรณกรรมท้องถ่นิ ท่ี

16

พบ ได้แก่ วรรณกรรมสําหรับการขับร้อง ที่เรียกว่า เพลง วรรณกรรมที่นํามาใช้เล่นละคร ได้แก่ ตํานานพื้นบ้าน
นิทานต่าง ๆ เช่น มโนห์รา ผาแดงนางไอ่ สังข์ทอง เป็นต้น วรรณกรรมอีกประเภทหนึ่งคือ วรรณกรรมที่เกี่ยวกับ
ศาสนา และความเชื่อ วรรณกรรมท้องถิ่นจึงมีบทบาทต่อการละเล่นของไทย ทั้งเพื่อความบันเทิง และที่เป็น
พธิ กี รรม เกยี่ วขอ้ งกับการดําเนินชีวิตของคนไทยในทุกภมู ิภาค

จากข้อความดังกล่าว จะเห็นได้ว่า สภาพแวดล้อมทางกายภาพ วัฒนธรรมและสังคม การประกอบอาชีพ
วรรณกรรม มที ้งั ความเหมือนกันและแตกต่างกนั เป็นปจั จัยสําคญั มีอทิ ธิพลต่อแนวคิดทตี่ ้องปรับตัวเพื่อการดํารง
อยู่ของกลุ่มประชากรและยังเป็นปัจจัยสําคัญ ที่มีอิทธิพลต่อการสร้างงานทางศิลปะให้แตกต่างกันไปอีกด้วย
เช่นเดียวกับรูปแบบการเล่น เพลงและการละเล่นของไทย มีความคล้ายคลึงกันบ้างแตกต่างกันไปบ้าง ตามความ
เป็นอยู่ ของแต่ละท้องถิ่น วัฒนธรรมในรูปแบบของการละเล่นนี้ เป็นวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมา จากรุ่นหนึ่งสู่รุ่น
หนึ่ง ด้วยวิธีจดจํา และถ่ายทอดจากปากต่อปาก จากพฤติกรรมสู่พฤติกรรม ไม่มีการจดบันทึกเป็นลายลักษณ์
อักษร ดังนั้นวัฒนธรรมในการเล่นเพลง ละคร ระบํารําฟ้อน การละเล่นที่เป็นศิลปะ ป้องกันตัว และกีฬาพื้นบ้าน
ย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามความสามารถ ของผู้รับการถ่ายทอด

บริบทอันเป็นปัจจัยสําคัญที่กําหนดทําให้รูปแบบของเพลงและการละเล่นพื้นบ้าน มีความเหมือนและมี
ความแตกต่างกันคือ สภาพภูมิศาสตร์ทางกายภาพ วัฒนธรรมและสังคม การประกอบอาชีพ และวรรณกรรม
ทอ้ งถนิ่

2.7 ภาคกลาง

2.7.1 สภาพภมู ิศาสตร์ทางกายภาพ ภาคกลางเปน็ ภาคทีต่ ง้ั อยู่บริเวณทร่ี าบตอน กลางของประเทศไทย
ทศิ เหนือ จดภาคเหนอื และติดต่อกับประเทศสาธารณรฐั ประชาธปิ ไตย ประชาชนลาวที่จงั หวัดพษิ ณโุ ลก
ทิศตะวันออก จดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวนั ออก
ทิศตะวันตก จดภาคตะวันตก
ทศิ ใต้ จดอ่าวไทย
ภาคกลาง เป็นภาคที่มีจํานวนจังหวัดมาก ถึง 21 จังหวัด แบ่งออกเป็น ภาคกลาง ตอนบน มี 7 จังหวัด
ได้แก่ สุโขทัย พิษณุโลก กําแพงเพชร พิจิตร เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ อุทัยธานี ภาคกลางตอนล่าง มี 14 จังหวัด
ได้แก่ ชัยนาท สิงห์บุรี ลพบุรี สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา สระบุรี นครนายก ปทุมธานี นครปฐม นนทบุรี
สมุทรสาคร สมุทรสงคราม สมุทรปราการ และกรุงเทพมหานคร แต่กรุงเทพมหานครไม่นับเป็นจังหวัดเนื่องจาก
เป็น เขตการปกครองพิเศษ
ลักษณะภูมิประเทศของภาคกลาง โดยทั่วไปเป็นที่ราษลุ่มนํ้า และที่ราบดินดอน สามเหลี่ยมมีแม่นํ้าที่มี
เนื้อที่กว้างขวางที่สุดในประเทศ มีแม่นํ้าสําคัญหลายสาย ได้แก่ แม่นํ้าเจ้าพระยา แม่นํ้าท่าจีน แม่นํ้าน้อย แม่นํ้า
สะแกกรัง แม่นํ้าลพบุรี และแม่นํ้าป่าสัก มีทิวเขา ทางด้านตะวันออกและตะวันตก ลักษณะของพื้นที่ค่อยๆ ลาด
ตํ่าลงมาจากทางเหนือ จนถึง บริเวณอ่าวไทย มีดินตะกอนอุดมสมบูรณ์ เหมาะแก่การเพาะปลูก ทั้งการทํานา ทํา

17

สวน ทําไร่ รวมทั้งการตัง้ ถิ่นฐานที่อยูอ่ าศัย จึงเป็นปัจจัยสง่ เสริมท่ีทําใหภ้ าคกลาง กลายเป็นแหล่ง ศูนย์กลางทาง
วัฒนธรรม เศรษฐกิจและการเมืองของไทย มีประชากรจากภาคอื่น ๆ อพยพ เข้ามาทํางานมากที่สุด โดยเฉพาะ
กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นเมืองหลวง และเป็นศูนย์กลาง กิจกรรมต่าง ๆ ของประเทศ ภาคกลางเป็นศนู ย์กลางของ
คมนาคม ทั้งทางบก ทางนํ้า และ ทางอากาศ ภาคกลางเป็นที่รวมความเจริญทุก ๆ ด้านไว้ครบถ้วน รวมทั้งเป็น
ศูนยก์ ลางของ ประเพณี พธิ ีกรรม ทง้ั พิธหี ลวงและพิธรี าษฎร์ มากมาย ทสี่ มควรศึกษาเป็นอยา่ งย่ิง

2.7.2 วัฒนธรรมและสงั คม
(1) เชื้อชาติ ชาวไทยภาคกลางประกอบด้วยกลุ่มชนที่มีเชื้อสายไทยดั้งเดิม ที่ปะปน กับเชื้อสายไทยเดิม
สมยั แรก ๆ ทเ่ี ข้ามาอยู่อาศัยในบริเวณทีร่ าบ ภาคกลาง เช่น ชาวมอญ เขมร ลาว และเชอื้ สายจนี ท่เี ข้ามาภายหลัง
ภาคกลางเป็นดินแดนที่อุดมสมบูรณ์เป็นแหล่ง อารยธรรมเก่าแก่มานาน เป็นศูนย์กลางทางการค้า การเมือง การ
ปกครอง เศรษฐกจิ และศิลปวทิ ยาการแขนงตา่ ง ๆ สบื เนือ่ งมาตง้ั แตส่ มยั
ทวาราวดี ลพบุรี สุโขทัย อยุธยา จนถึง รัตนโกสินทร์ และยังเป็นที่ตั้งของเมืองสําคัญหลายเมืองทั้งเมือง
หลวงและเมอื งท่ารมิ ฝ่ัง แม่นํา้ และริมฝง่ั ทะเล จงึ ทําใหภ้ าคกลางเปน็ บริเวณที่ประชากรมาอาศัยอยู่เป็นจํานวนมาก
และหนาแนน่ ทส่ี ุดในประเทศ
(2) ศาสนาและความเชื่อ ประชากรส่วนใหญ่ของภาคกลาง นับถือศาสนาพุทธ ซึ่งเป็น ศาสนาประจํา
ชาติ แต่ก็มีประชากรบางส่วนที่นับถือศาสนาอ่ืน ๆ เชน่ ศาสนาอสิ ลาม ศาสนา ครสิ ต์ ทง้ั นกิ ายโรมนั คาทอลิก และ
นกิ ายโปรเตสแตนต์
" เกี่ยวกับเรื่องความเชื่อ ชาวไทยภาคกลางมีความเชื่อในเรือ่ งของพิธีกรรมที่เกี่ยวกับ ศาสนาที่ตนเคารพ
นับถือ บางกลุ่มของชาวไทยดั้งเดิมจะมีความเชื่อทางคติพราหมณ์ เช่น การทําพิธีไหว้ครู พิธีปลูกศาลพระภูมิ
พิธีกรรมแก้บนต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เชื่อว่าสามารถบันดาล สิ่งที่ต้องการได้ และนอกจากนี้ยังมีความเชื่อเกี่ยวกับ
พธิ กี รรมต่าง ๆ ของชนกลุ่มน้อย เช่น งานตรษุ สงกรานต์ของชาวมอญ งานประเพณกี าํ ฟา้ ของลาวพวน งานตรุษจนี
ของชาวจีน งาน บชู าเทพของชาวอินเดยี ซึ่งพิธกี รรมเหลา่ น้ยี งั มีอยู่ และถือเป็นเอกลกั ษณข์ องชมุ ชนน้นั ๆ
(3) ภาษา ภาษาไทยที่ใช้ในภาคกลาง ซึ่งเป็นภาษาไทยที่เรียกว่าภาษามาตรฐาน ทั้งภาษาพูดและภาษา
เขียน ภาคกลางยังมีภาษาถิ่นที่มีสําเนียงภาษาใช้เฉพาะแต่ละชุมชน ในท้องถิ่นภาคกลาง มีภาษาใช้หลายตระกูล
ภาษา เช่น ตระกูลภาษาไทย ลาว มอญ เขมร กะเหรี่ยง การใช้ภาษาเหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่า มีประชากรเข้ามา
อาศัยอยู่ในภาคกลางหลาย เผ่าพันธุ์ การใช้ภาษาจะใช้เฉพาะกลุม่ ในชีวิตประจาํ วนั อาจเป็นเพราะระบบภาษาไม่
แตกต่างจากภาษาไทยมาตรฐานมากนัก นอกจากจะมีสําเนียงเหน่อและเพียนออกไปบ้าง เช่น สําเนียงภาษาของ
อยธุ ยา สุพรรณบุรี นครปฐม เป็นต้น
วัฒนธรรมและสังคมของประชากรภาคกลาง ภาคกลางเป็นแหล่งอารยธรรมเก่าแก่ นับแต่สมัยทวาราวดี
ลพบุรี สุโขทัย อยุธยา ถึงรัตนโกสินทร์ ความเชื่อในศาสนาพุทธ ได้ สร้างสรรค์งานประเพณีทางศาสนามากมาย
เช่น ประเพณีทําบุญเข้าพรรษาและออกพรรษา การทําบุญตักบาตรเทโว ประเพณีรับบัวโยนบัว พิธีกรรมท่ี

18

เกี่ยวข้องกับความเชื่อ เช่น เชื่อใน ตํานานพระภูมิเจ้าที่ ประเพณีทิ้งกระจาด ประเพณีกําฟ้า ประเพณีสวดมนต์
เลี้ยงพระเพราะ ความเชื่อของวันมงคลและวันอวมงคล จากความเชื่อในศาสนาและวิญญาณบรรพบุรุษมี ผลต่อ
การเกิดการละเลน่ ทีเ่ รียกว่า มหรสพ และการละเล่นพื้นบ้าน เช่น ลิเก โขน ละคร การเล่นเพลงพื้นบ้าน เพลงเรือ
ลําตดั อีแซว ระบาํ รําฟอ้ นต่าง ๆ ตามประเพณีนิยมของ ชมุ ชนภาคกลางแตล่ ะท้องถ่นิ

2.1.3 การประกอบอาชีพ อาชีพสําคัญของประชากรในกลุ่มภาคกลาง มีหลายอาชีพตามสภาพแวดล้อม
ของท้องถิ่น ดงั นี้

(1) อาชีพด้านการเกษตร จากลักษณะสภาพแวดล้อมทางกายภาพของภาค เป็นพื้นดินอุดมสมบูรณ์
เหมาะแกก่ ารทํานา ปลูกพชื สวน การทาํ สวนผลไม้ ไมด้ อก และ ปลูกพืชไรไ่ ด้แก่ ออ้ ย ขา้ วโพด มันสาํ ปะหลัง เป็น
ต้น

(2) อาชพี การเลยี้ งสตั ว์ อาชีพการเลยี้ งสัตว์ของประชากรในภาคกลางแต่เดิม จะเลีย้ ง โค กระบือ ควบคู่
กับการทาํ นา แตต่ อ่ มามีความเจริญทางดา้ นเทคโนโลยี การทาํ นา ได้เปลี่ยนไปใช้เคร่ืองจักรกลแทน โคและกระบือ
ที่เคยเลี้ยงไว้ใช้งานได้เปลี่ยนเป็นเลี้ยงไว้ เป็นอาหาร เช่นเดียวกับ สุกร เป็ด ไก่ จึงมีการส่งเสริมการทําฟาร์ม
รูปแบบอาหารต่าง ๆ มากขน้ึ

(3) อาชีพการประมง ภาคกลาง มีแม่นํ้าลําคลองหนองบึงอยู่ทั่วไป และอยู่ใกล้ อ่าวไทยตอนบน อาชีพ
การประมงจงึ มีการทําทัง้ ประมงจดื ประมงน้ํากรอ่ ย และประมงน้ําเค็ม

(4) อาชีพการทําอุตสาหกรรม การทําอาชีพอุตสาหกรรมในกลุ่มภาคกลาง มีการ ประกอบอาชีพ
อุตสาหกรรม 3 ประเภท อาชีพอุตสาหกรรมพื้นเมือง ได้แก่ เครื่องจักสาน เครื่องปั้นดินเผา ของเด็กเล่น
เช่นเดียวกบั ภาคอ่ืน ๆ อาชีพอุตสาหกรรมโรงงาน ไดแ้ ก่ อตุ สาหกรรมปูนซีเมนต์ อตุ สาหกรรมส่งิ ทอ อุตสาหกรรม
เครือ่ งไฟฟา้ อุตสาหกรรมเก่ียวกับ อาหาร และการเกษตร เป็นต้น อาชพี อตุ สาหกรรมการท่องเท่ียวซ่ึงเป็นอาชีพท่ี
กําลังได้รับความนิยม ปัจจุบันได้รับการส่งเสริมทั้งภาคเอกชนและภาครัฐบาล ก่อให้เกิดการท่องเที่ยว
ภายในประเทศมากขนึ้

เพลงและการละเล่นพื้นบ้าน ในกลุ่มประชากรภาคกลางที่เกิดขึ้นจากประเพณี ความเชื่อ และความ
ศรัทธาในศาสนาต่าง ๆ เช่น ศาสนาพุทธ ศาสนาพราหมณ์ และความ เชื่อในวิญญาณบรรพบุรุษเพื่อการประกอบ
อาชีพการทํามาหากิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่ม เกษตรกร เช่น ฤดูกาลทํานาจะมีการทําขวัญนา ประเพณีกําฟ้า
เพื่อให้เกิดผลผลิตการทาํ นา ได้ผลอุดมสมบูรณ์ มีการละเล่นพื้นบา้ น เช่น กีฬาพื้นบ้าน การเล่นทรงเจ้าเข้าผี การ
เล่นเพลง พื้นบ้านและการละเล่นพื้นบ้านต่าง ๆ เพื่อเฉลิมฉลอง ความสนุกสนานที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิต ของ
เกษตรกร ได้แก่ เพลงเกยี่ วข้าว เพลงเต้นกําราํ เคยี ว ราํ เหยอ่ ย ซึง่ เนอ้ื หาของบทเพลง การแต่งกาย และอุปกรณ์ใน
การเล่นเพลง บ่งบอกถึงวถิ ชี ีวิตในการทํานา และใหค้ วามบันเทิง ไปพร้อม ๆ กนั

2.7.4 วรรณกรรมท้องถิ่น วรรณกรรมพื้นบ้านภาคกลาง และวรรณกรรมหลวงได้ เจริญคู่ขนานกันมา
เช่นเดียวกับประเพณีหลวงและประเพณีราษฎร์ วรรณกรรมเรือ่ งเดยี วกัน อาจจะมีหลายสํานวนหลายฉนั ทลักษณ์

19

เช่น วรรณกรรมเรื่องสังข์ทอง ซึ่งเป็นวรรณกรรม พื้นบ้านปรากฏอยู่ในปัญญาสชาดก ชื่อว่า “สุวัณสังข์ชาดก”
ประพันธโ์ ดยพระภกิ ษภุ าคเหนอื เปน็ วรรณกรรมพ้นื บ้านท่ีแพรห่ ลายทางภาคเหนือและภาคอีสานมาก่อน ต่อมาได้
แพร่หลาย เข้ามาสู่ภาคกลางเป็นนิทานพื้นบ้าน นํามาแต่งบทละครนอกเล่นในสมัยกรุงศรีอยุธยาเมื่อมาถึงกรุง
รตั นโกสินทร์ ในสมัยพระบาทสมเดจ็ พระพุทธเลิศหล้านภาลยั ไดท้ รงพระราชนิพนธเ์ ป็นกลอนละครข้ึนอีกสํานวน
หน่งึ

จะเป็นวรรณกรรมพื้นบ้าน หรือวรรณกรรมหลวง เราสามารถจะพิจารณาได้จากลักษณะของ “ฉันท
ลักษณ์” ไดบ้ ้าง กลา่ วคอื ถา้ ฉันทลกั ษณท์ ่เี จริญรุ่งเรืองใช้ในกลุม่ ชาว บ้านชาววัด ก็ถือได้ว่าเป็นวรรณกรรมพื้นบ้าน
ซึ่งได้แก่ กลอนสวด วรรณกรรมกลอนบทละครวรรณกรรมกลอนนิทาน วรรณกรรมพื้นบ้านประเภทกลอนแหล่
ดังนี้

(1) กลอนสวด มีฉันทลักษณ์ เป็น กาพย์ยานี กาพย์ฉบัง และกาพย์สุรางคนางค์มภี าษาในฉันทลกั ษณ์ไม่
ซับซ้อน นิยมนํามาสวดให้อุบาสก อุบาสิกาฟัง เพื่อความเพลิดเพลินและสอนคติธรรมไปดว้ ย เช่น กาพย์เรื่องพระ
สุบิน กาพย์เรื่องพระไชยสุริยา กาพย์เรื่องพระมาลัย กาพย์เรื่องพระมโหสถ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการสวดเป็น
พิธีกรรม เช่น การสวดพระมาลัย และสวดคฤหัสถ์ในงานศพชาวพื้นบ้านภาคกลาง เชื่อว่านิทานจักรๆ วงศ์ๆ เป็น
นิทานคติธรรมใช้สอนหลักธรรมและจริยธรรมในสังคมพื้นบ้าน ฉะนั้นในอดีตจึงนิยมสร้างหนังสือประเภทกลอน
สวด ถวายเปน็ สมบตั ขิ องวัดเช่อื วา่ จะได้กุศลมีปญั ญาเฉลียวฉลาด เม่อื เกดิ ในชาตหิ น้าอกี ด้วย

(2) วรรณกรรมกลอนบทละคร เป็นวรรณกรรมพื้นบ้านที่ชาวบ้านใช้เล่นละคร มาตั้งแต่สมัยกรุงศรี
อยุธยา คือบทละครที่ใช้เล่นละครชาตรี และละครนอก ละครชาตรีนิยมเล่นเรื่องมโนห์รา และเรื่องรถเสน
วรรณกรรมที่ใช้แสดงละครนอก มีหลายเรือ่ ง เช่น สังข์ทอง มโนห์รา คาวี ไชยทัต พิกุลทอง มณีพิชัย สังข์ศิลป์ชยั
สุวรรณหงส์ โสวัตร ไกรทอง ไชยเชษฐ์พระรถเมรี ฯลฯ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้ทรงนําบท
ละครนอกพนื้ บ้านมาพระราชนิพนธ์ สาํ นวนกลอนบทละครนอก ขึน้ ใหม่ 6 เรื่อง คือ คาวี สังข์ทอง สังขศ์ ิลปช์ ัยมณี
พชิ ัย ไชยเชษฐ์ และไกรทอง

(3) วรรณกรรมกลอนนิทาน เป็นวรรณกรรมพื้นบ้านภาคกลางที่แพร่หลายมากในสมัยรัชกาลที่ 5 - 6
แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เพราะมีกิจการโรงพิมพ์เจริญรุ่งเรือง และชาวไทยช่วงนั้นสามารถอ่านหนงั สือเองได้มากข้นึ
จงึ นยิ มซ้ือหนังสอื กลอนนทิ านมาอ่านเล่าสู่กนั ฟังวรรณกรรมกลอนนทิ านที่รู้จักในสมัยน้ัน ไดแ้ ก่ โสนน้อยเรือนงาม
ปลาบ่ทู อง นางสิบสอง(พระรถเมรี) โคบตุ ร จันทโครพ การะเกด โม่งปา่ พกิ ุลทอง ฯลฯ

20

ข้อสงั เกตและข้อแตกต่างของวรรณกรรมกลอนนิทานสว่ นใหญ่ จะมีเนอื้ เร่ืองอย่างเดียวกับกลอนบทละคร
ถ้าเป็นวรรณกรรมกลอนบทละคร ส่วนใหญ่จะมีเป็นตอนๆ แต่ถ้าเป็นวรรณกรรมกลอนนิทานจะประพันธ์จนจบ
เร่ืองบรบิ รู ณ์

(4) วรรณกรรมพนื้ บา้ นประเภทกลอนแหล่ การแหล่เป็นล่าท่ีมีท่วงทาํ นองอยา่ งเดียวที่พระภิกษุแหล่
เทศนไ์ ดโ้ ดยไมถ่ ือว่าผิดศีล การแหล่เป็นการอ่านทาํ นองเสนาะชนิดหน่ึงการเนน้ เสยี งขน้ึ ๆ ลงๆ จงึ ทาํ ใหฟ้ งั เหมอื น
เป็นการร้องเพลง การแหล่ประกอบการเทศน์ มหาชาติโดย พระภกิ ษุเร่ืองพระเวสสนั ดรแต่ละกัณฑ์นั้นใช้เวลานาน
จงึ มกี ารเปลย่ี นบรรยากาศ โดยนําเอาการแหลเ่ ขา้ ไปแทรกสลบั การเทศน์ หรอื บางทเี จ้าของกัณฑม์ คี วามประสงค์
ใหแ้ หล่ ถา้ ทราบวา่ มีพระเปน็ นกั เทศน์แหล่ ฉะน้ันนอกจากเน้อื เรื่องในการแหลจ่ ะมีทัง้ การหยอกลอ้ เจา้ ภาพ ให้พร
สร้างความศรัทธาแก่เจา้ ภาพ และผมู้ าฟงั ใหท้ าํ บุญติดกัณฑเ์ ทศน์

การแหล่มีลักษณะเป็นการเล่าหรือการบรรยาย ดังนั้น กลอนแหล่ทั่วไปมักจะนําเอาตอนหนึ่งตอนใดใน
เรื่องพระเวสสันดร การซมบายศรี จากนิทานและชาดก นํามาแต่งเป็นกลอนแหล่ เละกลอนแหล่อื่นๆ เช่น กลอน
แหลท่ ําขวัญนาค กลอนแหลเ่ พือ่ การให้พร เปน็ ต้น

วรรณกรรมพื้นบ้านภาคกลาง มีหลายรูปแบบ แต่ละรูปแบบก็เหมาะกับการแสดงและใช้ในพิธีกรรม
สืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน วรรณกรรมต่างๆ มีบทบาทต่อการเล่นเพลงและการละเล่นพื้นบ้าน เช่น การเล่นละคร
พ้นื บ้านละครชาตรี ละครนอก ลิเก สวดโอ้เอว้ หิ ารราย หุ่นกระบอก เพลงทรงเคร่อื ง เสา เพลงเรอื
เปน็ ต้น

21

2.8 ภาคตะวันออก
2.8.1 สภาพภูมิศาสตรท์ างกายภาพ
ทิศเหนือ จดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีเทือกเขาสันกําแพงกัน โดยมีจังหวัดปราจีนบุรี และจังหวัด

สระแก้ว ติดกับจังหวัดนครราชสีมาและจังหวัดบุรีรัมย์ มีช่องตะโก เป็นทางติดต่อระหว่างจังหวัดสระแก้วและ
จังหวัดบุรีรัมย์

ทศิ ตะวนั ออก จดประเทศกัมพูชาประชาธิปไตย มีพรมแดนผา่ นพน้ื ทีร่ าบในเขต จงั หวัดปราจีนบุรีและ
จังหวัดสระแก้ว บริเวณดังกล่าว เรยี กว่า ฉนวนไทย

ทศิ ตะวันตก จดภาคกลางโดยมีจังหวดั ปราจนี บุรี ตดิ กบั จังหวัดนครนายก และจังหวัดฉะเชงิ เทรา ติดกับ
กรุงเทพมหานคร จังหวดั สมุทรปราการ และจงั หวดั ชลบรุ ี ตดิ ต่อกบั ทะเลดา้ นอา่ วไทย

ทิศใต้ จดทะเลด้านอ่าวไทย
ภาคตะวนั ออก ประกอบดว้ ยจงั หวัดต่างๆ 7 จังหวดั เปน็ จงั หวดั ท่ีไมม่ ฝี ่งั ทะเล 2 จังหวดั คือ
จังหวัดสระแก้ว และจังหวัดปราจีนบุรี เป็นจังหวัดที่มีฝั่งทะเล 5 จังหวัด คือ จังหวัดฉะเชิงเทรา จันทบุรี ระยอง
ชลบุรี และตราด
สภาพภูมิศาสตร์ ของภาคตะวันออก จะเป็นที่ราบแคบเฉพาะชายฝั่งทะเล และในพื้นที่ราบจะมีภูเขา
ลกู ฟูกมีลกั ษณะเหมือนท่ีราบลูกคลื่น ถดั ขึน้ ไปตอนบนจะกลายเปน็ ทร่ี าบลูกคลื่นสูง และมีแนวภูเขาสูงอยู่ตอนบน
สูง ซึง่ เปน็ ขอบของอาณาเขตของเทือกเขา จันทบุรี ทอดยาวตลอดตะวันออกถึงตะวันตกไปจดกับเทือกเขาพนมดง
รัก เป็นเส้นแบ่งเขต ไทยกับประเทศกัมพูชาประชาธิปไตย เขตภูมิประเทศแบบลูกฟูกบริเวณชายฝั่งทะเล
ตะวันออก ได้แก่ จังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด มีแม่นํ้าสายสั้น ๆ และไหลลงสู่อ่าวไทย ได้แก่ แม่นํ้า
ตราด แม่นํ้าระยอง แม่นํ้าเวฬุ แม่นํ้าจันทบุรี และแม่นํ้าประแส ชายฝั่งทะเลมี ลักษณะเว้าแหว่ง เต็มไปด้วยเกาะ
ใหญ่น้อย เกาะที่สําคัญ ได้แก่ เกาะกูด เกาะเสม็ด เกาะช้าง และเกาะหมาก ตามบริเวณชายฝั่งปากแม่นํ้าเกดิ การ
ทับถมของโคลนตมทําให้เกิดเป็นป่า ชายเลนที่อุดมสมบูรณ์ พื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทราเป็นที่ราบลุ่ม มีแม่นํ้าและลํา
คลองเลก็ ๆ หลายสายทีเ่ ป็นสายของแม่นา้ํ บางปะกง ส่วนพื้นทีจ่ ังหวดั ปราจีนบุรี และจงั หวดั สระแก้วจะมี เทอื กเขา
และพน้ื ที่ลาด
สภาพพื้นที่ในภาคตะวันออกมีลักษณะผสมผสานทุกภาคของไทย ทั้งที่เป็นเทือกเขา เช่นเดียวกับ
ภาคเหนือ ที่ราบลุม่ แมน่ าํ้ คลา้ ยภาคกลาง ท่ีราบสูงของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และพ้นื ทีช่ ายฝ่ังของภาคใต้ จาก
สภาพทางภูมิศาสตร์ดังกล่าว จึงมีส่วนที่ทําให้การเล่นเพลง และการละเล่นพื้นบ้านของกลุ่มประชากรชาว
ตะวันออก มีลักษณะแตกต่างไปตามชนกลุ่ม น้อย ที่อยู่ตามแนวเขตแดน และกลุ่มการตั้งรกรากของคนหลายเชอื้
ชาติ กอ่ ใหเ้ กดิ การผสม ผสานด้านประเพณี วัฒนธรรมอนั เป็นเอกลกั ษณ์ของทอ้ งถ่นิ ภาคตะวนั ออก

22

2.8.2 วฒั นธรรมและสังคม
(1) เชื้อชาติ ประชากรในภาคตะวันออก มีลักษณะปะปนเช่นเดียวกับประชากรใน ภาคอื่นของไทย
จังหวัดที่อยู่ใกล้ภาคกลางมีลักษณะเหมือนไทยกลาง อาณาเขตที่ติดชาย ฝั่งทะเลเป็นพวกเชื้อสายจีนเขา้ มาอยู่ใน
แถบจงั หวัดชลบรุ ี ระยอง การที่ภาคตะวันออกติด กับชายฝ่งั และติดต่อกับประเทศใกล้เคียง ทําให้มีกลุ่มชาวเขมร
เข้ามาอยู่ในจังหวัดตราด จันทบุรี สระแก้ว และในส่วนจังหวัดฉะเชิงเทรา นอกจากจะมีคนไทยแล้วยังมีชาวมอญ
เขมร ลาวเวียง ลาวพวน อพยพมาอยู่กว่าศตวรรษ ในปัจจุบันชาวไทยจากภาคกลาง และจาก ภาค
ตะวนั ออกเฉยี งเหนือ ได้มกี ารอพยพยา้ ยถนิ่ ฐานเขา้ ไปทํางานทําให้ภาคตะวันออกมี ประชากรมากย่ิงขึน้
(2) ศาสนาและความเชื่อ ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ จังหวัดจันทบุรี ตราด มีประชากรส่วน
หนึ่งนับถือศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิกปะปนอยู่บ้าง เพราะ เคยเป็นดินแดนที่ฝรั่งเศสเข้ามายึดครองอยู่
ระยะหนึ่ง ความหลากหลายเช้อื ชาติ ความเช่ือ แตล่ ะกลมุ่ ชน ยงั คงมอี ิทธิพลอยู่ ความเช่อื ในพุทธศาสนา ความเชื่อ
ในเทวดา และวิญญาณ ของบรรพบุรุษ ทําให้เกิดผสมผสานทางด้านประเพณีวัฒนธรรมเป็นเอกลักษณ์ เฉพาะตัว
ของ ทอ้ งถ่นิ
(3) ภาษา การใชภ้ าษาของกลมุ่ ประชากรราจะวันออก เป็นภาษาไทยาลาง หรอื ใชภ้ าษาทางราชการเป็น
หลัก แต่จะมีเรื่องเพี้ยนไปตามท้องถิ่น มีภาษาเขมรใช้ในกลุ่มเขมรโดยเฉพาะชายแดนแถบติดกับจังหวัดสระแก้ว
จนั ทบุรี และตราด ถงึ แมจ้ ะใช้ภาษาไทยกลางเปน็ หลักในการสื่อสาร แต่จะมีสาํ เนยี งการพดู และภาษาทอ้ งถ่ินมีคํา
สร้อยท้ายคาํ เป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น
วัฒนธรรมและสังคมของกลุงประชากรในภาคตะวันออก ถึงแม้มีหลายเชื้อชาติแต่มีศาสนาพุทธ ซึ่ง
เป็นศาสนาที่กลุ่มประชากรส่วนใหญ่ มีความเชื่อทางศาสนา มีการทําบุญในวันสําคัญทางศาสนา มีงานเทศกาล
ประเพณีสําคัญเกี่ยวกับคาสนา เช่น เทศกาลนมัสการหลวงพ่อโสธร จังหวัดฉะเชิงเทรา งานประเพณีวิ่งควายใน
เทศกาลออกพรรษาของจังหวัดชลบุรี งานสมโภชต้นศรีมหาโพธิ์ จังหวัดปราจีนบุรี การเล่นเพลงพื้นบ้าน และ
การละเล่นพื้นบ้านต่างๆ อันเกิดจากความเชื่อในเรื่องของพญาแถนและวิญญาณบรรพบุรุษเป็นเอกลักษณ์ ของ
ท้องถ่นิ เช่น ละครแกบ้ น จงั หวดั ฉะเชงิ เทรา ละครเท่งตุก๊ ทจ่ี งั หวดั จนั ทบรุ ีประเพณีกําฟ้าของชาวลาวพวน เพลงไอ้
เป๋ การแสดงหนังใหญ่ ที่จังหวัดระยอง การเล่นทรงเจ้าเข้าผี ในงานเทศกาลตรุษสงกรานต์ ซึ่งชาวบ้านเล่นกันใน
ทกุ จงั หวัดของภาคตะวนั ออก เปน็ ต้น
2.8.3 การประกอบอาชีพ การประกอบอาชีพสําคัญของกลุ่มประชากรภาคตะวันออก ใหแ้ ก่
(1) การเพาะปลูก แม้ภาคตะวันออกมีการขยายตัวทางด้านอุตสาหกรรมและการบริการค่อนข้างสูง แต่
อาชีพการเพาะปลูกยังเป็นยาชีพสําคัญของประชากรส่วนใหญ่ พืชที่สําคัญนิยมปลูก ได้แก่ ข้าวเจ้า ผลไม่ เงาะ
ทุเรียน มังคุด สันเขียวหวานม ระกํา สละ มะม่วง เครื่องเทศ เช่น พริกไทย กระวาน พวกพืช ไร่ เช่น มัน
สาํ ปะหลงั ออ้ ย ไม่อง ยางพารา สะตอ

23

(2) การประมง มีการทําประมง อีก ประมงชายฝั่ง และประมงนํ้ากร่อย มีการเลี้ยงปลาในกระชัง ทํา
ฟาร์มหอยนางรม ฟาร์มหอยมุก ฟาร์มปูทะเล และผลิตภัณฑ์จากสัตว์นํ้า ได้แก่ นํ้าปลา กะปี กุ้งแห้ง ปลาเค็ม
เปน็ ต้น

(3) การทําเหมืองแร่ แร่สําคัญที่มีในภูมิภาคนี้ มีทั้งแร่โลหะ และแร่อโลหะ แร่โลหะ ได้แก่ เหล็ก
แมงกานีส ทองคํา นกเป็ด และโครเมียม ส่วนแร่อโลหะ ได้แก่ อัญมณี แบไรยาว ทรายแก้ว ดินบอลเคลย์ สําหรับ
ทาํ ถว้ ยชาม แร่เช้ือเพลงิ ได้แก่ กา๊ ซธรรมชาติทขี่ ุดพบในอา่ วไทยเป็นแร่สําคัญทางเศรษฐกิจ ทีใ่ ช้ เช่ือเพลิงของ
โรงงานอุตสาหกรรมบรเิ วณฝ่งั ตะวันออก และใช้เปน็ เช้ือเพลิงของโรงไฟฟ้าบางปะกง เป็นต้น

(4) อาชีพอุตสาหกรรม ได้แก่ อุตสาหกรรมพื้นเมือง ส่วนมากเป็นอุตสาหกรรม ในครัวเรือน เช่น ทํา
เครอ่ื งจักสานจากไม้ไผ่ จากต้นกก ครา และโมห่ ิน ท่ีสกดั จากหนิ แกรนิต อตุ สาหกรรมสมัยใหม่ รัฐบาลได้สร้างเขต
อุตสาหกรรมฝั่งทะเลตะวันออก เพื่อเป็นการส่งเสริม อุตสาหกรรมหนัก ได้แก่ เขตอุตสาหกรรมแหลมฉบัง และ
มาบตาพุด อุตสาหกรรมผลิตไม้อัด ศรีราชา อุตสาหกรรมแบบท่องเท่ียวภาคตะวันออก มีทรัพยากรการท่องเที่ยว
อยู่มาก เพราะ มีชายทะเลและหมู่เกาะทีส่ วยงามในจังหวัดทีต่ ิดชายทะเล มีภูเขาและนํ้าตก ในจังหวัด ปราจีนบุรี
และจงั หวัดจนั ทบรุ ี

เพลงและการละเล่นพืน้ บา้ นของกลุ่มชาวตะวันออก ส่วนใหญ่เป็นการละเล่น ประกอบในพิธีกรรม ความ
เชอื่ ทางศาสนาและความเช่อื ในวิญญาณบรรพบุรุษทําเปน็ ประเพณี สืบตอ่ กันมา โดยเฉพาะในเร่ืองการทาํ มาหากิน
ในกลุ่มประชากรเกษตรกรรมมีพิธีทําบุญ กองลาน ของชาวจังหวัดระยอง ประเพณีกองข้าวบวงสรวงของจังหวัด
ชลบุรี เมื่อเสร็จพิธี จะมีการละเล่นพื้นบ้าน เช่น รําวงกลองยาว หนังตะลุง เพื่อเป็นการเฉลิมฉลอง มีละครแก้บน
ละครเท่งตุ๊ก เพื่อเป็นเครื่องยึดเหนีย่ วทางจติ ใจกราบไหว้และบนบานขอสิ่งที่ตนปรารถนา ให้มีความเจริญรุ่งเรือง
ในความเปน็ อยูแ่ ละความมน่ั คงในการทํามาหากนิ ต่อการดาํ รงชีวติ เป็นตน้

2.8.4 วรรณกรรมท้องถิ่น วรรณกรรมพื้นบ้านของกลุ่มประชากรภาคตะวันออก จะไม่แตกต่าง
วรรณกรรมของภาคกลางเท่าใดนัก เพราะจังหวัดอยู่ใกล้กัน โดยเฉพาะวรรณ กรรมที่เกี่ยวข้องกับประเพณีคว าม
เชื่อทางศาสนา ได้มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรไว้ วรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับประเพณีความเชื่อในเทวดาและ
วิญญาณของบรรพบุรุษ ใช้วิธีจดจํา เล่า และร้องเล่น สืบต่อๆ กันมา ยังคงมีเล่นอยู่ในกลุ่มชนต่างๆ ที่อาศัยอยู่ใน
ภูมิภาคตะวันออก มีความคล้ายคลึงกันบ้าง ผิดเพี้ยนไปบ้าง เช่น นิทานพื้นบ้านที่เกี่ยวกับความศักดิ์สิทธิ์ และ
ความเชื่อที่ชุมชนในท้องถิ่นนับถือ นิทานเกี่ยวกับชื่อสถานที่ในนิทานเรื่องเทพเทวดา วรรณกรรมของการละเล่น
เพลงพ้ืนบา้ น เช่น เพลงกล่อมเดก็ เพลงไอ้เป๋ เพลงเกย่ี วขา้ ว บทเพลงรอ้ ง คือการแห่นางแมว การทําขวัญนา ขวัญ
ข้าว และวรรณกรรมทเ่ี ปน็ เร่อื งราว นาํ มาแสดงละครเท่งตุ๊ก (ละครแกบ้ น) หนังใหญ่ ลิเก เปน็ ต้น

24

2.9 ภาคตะวันตก

2.9.1 สภาพภูมิศาสตรท์ างกายภาพ
ทิศเหนอื จดภาคเหนอื (จังหวัดแมฮ่ ่องสอน เชยี งใหม่ ลําพนู ลาํ ปาง)
ทิศตะวนั ออก จดภาคกลาง (จงั หวดั สโุ ขทยั กําแพงเพชร นครสวรรค์ อทุ ยั ธานี สพุ รรณบรุ ี นครปฐม
สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม)
ทิศตะวนั ตก จดประเทศสหภาพพม่า
ทศิ ใต้ จุดจงั หวดั ชมุ พร
ภาคตะวันตก ประกอบด้วย 5 จังหวัด เรียงจากเหนือลงมา คือ จังหวัดตาก กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี
และประจวบคีรขี ันธ์ ลักษณะภมู ิประเทศภาคตะวันตก มีลกั ษณะ ภมู ปิ ระเทศเปน็ ทวิ เขา ทางดา้ นตะวนั ตกมที วิ เขา
สลับกับหุบเขาแคบ ๆ เป็นพรมแดนติดกับ ประเทศสหภาพพม่า นับแต่อาณาเขตที่ต่อจากภาคเหนือ คือ (ตั้งแต่
จังหวัดตาก มาจนถึง บริเวณแนวปากแม่นํ้าจัน่ จังหวัดระนอง ผ่านพื้นที่ด้านตะวันตกของจังหวัดตาก กาญจนบุรี
ราชบุรี เพชรบรุ ี ประจวบคีรีขันธ์ สว่ นมากเป็นเสน้ พรมแดนผา่ นสันปันขน้ึ ของทิวเขาถนน ธงชยั ตะนาวศรี ทอดไป
ตามร่องลึกของแม่นํ้าสาละวิน แม่นํ้าเมย และแม่นํ้าปากจั่น ในเขต ภาคใต้ ทางด้านตะวันออก มีที่ราบลุ่มแม่นํา้ ที่
สําคัญ ได้แก่ ที่ราบลุ่มแม่นํ้าแม่กลอง ในจังหวัด กาญจนบุรี ราชบุรี ที่ราบลุ่มแม่นํ้าเพชรบุรี และมีที่ราบริมฝัง่
ทะเลอา่ วไทย ท่ีจงั หวดั เพชรบุรี และประจวบครี ขี ันธ์
สภาพทางภูมิศาสตร์ ทางตอนเหนือของภาคตะวันตก จะติดกับภาคเหนือ โดยเฉพาะ จังหวัดตาก ย่อม
ได้รับอิทธิพลประเพณีวฒั นธรรมทางภาคเหนือผสมผสานบ้าง นอกจากน้ี ยงั ชนมหี ลายเผ่า ได้แก่ กลุ่มชาวเขา
ชนเชื้อสายพมา่ มอญ ดังนั้น นอกจากเชื้อสายไทยแล้ว วัฒนธรรมประเพณี ย่อมมีความหลากหลายตามกลุม่ ชนที่
อาศัย วัฒนธรรมในการเล่นเพลง และการละเล่นพื้นบ้าน จึงต้องมีความแตกต่างไปตามชุมชนเชื้อสายต่างๆ ตาม
กลมุ่ ของประชากรของภาคตะวันตกเชน่ กนั
2.9.2 วัฒนธรรมและสังคม
(1) เชื้อชาติ วัฒนธรรมและสังคม ประชากรส่วนใหญ่ของภาคตะวันตกมีเชื้อสายไทย ภาคกลาง มอญ
พม่า และชาวเขาเผา่ กะเหรยี ญ ละ 1 ขา ข้ึน โดยมภี าษาพดู คลา้ ยกบั ไทย ภาคกลางเป็นสว่ นใหญ่ บริเวณพื้นท่ีของ
จังหวัดท่ีอยู่ตดิ เขตพรมแดนประเทศสหภาพพมา่ เชน่ ทอี่ ําเภอทองผาภมู ิ และสังขละบรุ ี จังหวัดกาญจนบุรี รวมทง้ั
หมูบ่ ้านชายแดนมีลักษณะ ภูมิประเทศเป็นภูเขา ป่าไม้ และทุรกนั ดาร จะมชี าวไทยและกลมุ่ ขนเชอื่ สายต่าง ๆ เชน่
ไทยใหญ่ กะเหรี่ยง มอญ ละว้า ซึ่งเป็นพวกเชื่อสายตั้งเดิมอาศัยอยู่ในบริเวณนี้ จังหวัดตาก ซึ่งเป็น จังหวัดคาบ
เกี่ยวกับภาคเหนือและภาคตะวนั ตก ซึ่งยัง มปี ระชากรบางพวกมีวฒั นธรรม ประเพณีแบบชาวเหนอื ปะปนอยู่
(2) ศาสนา ศาสนาของประชากรชาวไทยภาคตะวันตก คือศาสนาพุทธนิกายหีนยาน ชาวไทยเชื้อสาย
มอญ พม่า กะเหรี่ยง เคารพนับถือพุทธศาสนาอย่างเคร่งครัด เนื่องจากอยู่ติด กับพรมแดนพม่า มีกลุ่มชนหลาย

25

เผ่าพันธ์จึงมีผู้นับถือศาสนาอื่นปะปนกัน เช่น ศาสนาคริสต์ อิสลาม และมีความเชื่อผีปีศาจนางไม้ ควบคู่ไปกับ
ความเช่อื ในศาสนาดว้ ย

(3) ภาษา ภาษาของกลุ่มประชากรภาคตะวันตก ส่วนใหญ่ใช้ภาษาไทยกลาง แต่จะ มีสําเนียงแต่ละ
ท้องถิ่นเพี้ยนไปบ้าง จนถึงเขตจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ทางภาคใต้เข้าเขต จังหวัดชุมพร ภาษาไทยกลางจะมี
สําเนียงชาวใต้ ส่วนชนกลุ่มน้อยที่อยู่ติดพรมแดนพม่าก็ ใช้ภาษาของตนเอง ภาษาของชนเชื้อสายพม่า มอญ ลาว
เขมร ยังคงใชภ้ าษาเดมิ ในกลุ่มของ ตนเองแต่ปัจจุบันจะมีการใชภ้ าษาเหล่านน้ี ้อยลง เพราะจําเปน็ ตอ้ งใชภ้ าษาไทย
กลางเป็น ภาษาติดต่อสื่อสารในการทํามาหากินและติดต่อค้าขาย ชาวไทยที่อยู่แถบทิวเขาตะนาวศรี มีภาษาพูด
สําเนียง ครึง่ ไทยคร่งึ พมา่ และมีวฒั นธรรมประเพณีคอ่ นข้างไปทางพมา่

วัฒนธรรมและสังคม ของภูมิภาคนี้ มีความหลากหลายในกลุ่มชาติพันธุ์ ทําให้ทั้งเพลง และการละเล่น
พื้นบ้านเป็นไปตามกลุ่มชาติพันธุ์ มีการละเล่นพื้นบ้านแบบไทยภาคกลาง เช่น ลิเก หนังใหญ่ ละครแก้บน เพลง
เกี่ยวข้าว เพลงปรบไก่ มีเพลงและการละเล่นพื้นบ้าน ของชนกลุ่มอื่นๆ เช่น การเล่นเปา่ แคนแอ่วสาวของชาวไทย
ยวน การฟ้อนแคนของลาวโซ่ง การเล่นสะบา้ มอญ และสะบ้ากะเหรีย่ ง เปน็ ตน้

2.9.3 การประกอบอาชีพ อาชีพของประชากรภาคตะวันตก คือการทําเกษตรกรรม และการเพาะปลูก
เปน็ หลกั มที รพั ยากรทางธรรมชาติท่ีมีอย่างอดุ มสมบรู ณ์ อาชีพท่ีสาํ คัญ ไดแ้ ก่

(1) การเพาะปลูก มกี ารปลกู ขา้ วอยู่ทางด้านตะวันออกของภาค ประเภทพืชไร่ ได้แก่ อ้อย มันสําปะหลัง
ฝ้าย ขา้ วโพด หน่อไม้ฝรั่ง และปลูกพชื ผักผลไม้ ในพ้นื ทที่ ไ่ี ด้รับ การชลประทาน มีการเล้ียงสัตว์ ได้แก่ โคนม สุกร
และไก่ เป็นตน้

(2) การประมง มีการจบั ปลาในอ่าวไทย และการเลี้ยงปลาในกระชงั ในบรเิ วณอา่ ง เก็บน้าํ และแม่นํ้า
(3) การทําเหมืองแร่ ได้แก่ แร่ วุลแฟรม สังกะสี ตะก่ัว รัตนชาติ ฟลอู อไรต์ หนิ ปนู เปน็ ตน้
(4) อตุ สาหกรรม ได้แก่ การทําอุตสาหกรรมพื้นเมอื ง ทําเครอ่ื งจกั สานจากไมไ้ ผ่ เน่อื งจากมไี มไ้ ผม่ าก การ
ทําโอ่งราชบุรี อุตสาหกรรมสมัยใหม่เกี่ยวกับการแปรสภาพผลิตผล ทางเกษตร เช่น สับปะรดกระป๋อง หน่อไม้
กระป๋อง นมสด นํ้าตาล เป็นต้น และอุตสาหกรรม การท่องเที่ยว ซึ่งได้รับความนิยมมากเพราะอยู่ใกล้กับ
กรุงเทพมหานคร มีสภาพธรรมชาติ บริสุทธิ์สวยงาม มีนํ้าตก ภูเขา ห้วย อ่างเก็บนํ้า เขื่อน โบราณสถาน และ
สถานที่ประวัติศาสตร์ หลายแห่งในจังหวัดกาญจนบุรี มีสถานที่พักตากอากาศที่มีชื่อเสียง ในจังหวัด
ประจวบคีรีขันธ์ และจังหวดั เพชรบรุ ี เป็นต้น
เพลงและการละเล่นพื้นบ้านของประชากรภาคตะวันตก ที่เกี่ยวข้องกับการเพาะปลูก ที่เห็นได้ คือ การ
เล่นเพลงเก่ียวข้าว ตงของชนชาวกะเหรี่ยง รกระทบไม้ไผ่ของชาวกะเหร่ยี ง และการละเล่นพนื้ บา้ นท่ีหามาแสดงแก้
บน จากความเชือ่ ทเี่ กี่ยวกับความสาํ เรจ็ ในการทาํ มาหากนิ เช่น ลเิ ก ละครชาตรี หนังใหญ่ เปน็ ต้น

26

2.9.4 วรรณกรรมท้องถ่นิ วรรณกรรมพืน้ บา้ นของกลุ่มประชากรตะวนั ตก ส่วนใหญ่ จะคล้ายคลึงกับภาค
กลาง ในส่วนจังหวดั ติดทางภาคเหนือ คือ จังหวัดตาก ยังคงมีวรรณกรรม พื้นบ้านของภาคเหนือบ้าง วรรณกรรม
พื้นบ้านในภมู ิภาคนี้ มีทั้งวรรณกรรมที่เป็นมุขปาฐะ และวรรณกรรมทีบ่ ันทึกเป็นลายลกั ษณ์อักษร วรรณกรรมมุข
ปาฐะ คือการเล่าสืบต่อ ๆ กนั มา เช่น นิทานพื้นบา้ น ปริศนาคาํ ทาย คาํ สอนในการดํารงชีวติ นทิ านพวกนี้จะพบได้
ในกลุ่มชน ทั้งที่เป็นไทย กะเหรี่ยง ลาว มอญ จีน นิทานคติธรรม นิทานมุขตลก นิทานเกี่ยวกับความ เป็นมาของ
สถานท่ี นทิ านศาสนา และความเชือ่ ในเรือ่ งเทวดา และภตู ผีวิญญาณ เป็นต้น

ส่วนวรรณกรรมที่บันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร เช่น วรรณกรรมที่เกี่ยวกับศาสนา ส่วนมากเป็นคัมภีร์
โบราณ สมุดไทยที่เป็นเรื่องราวทางพุทธศาสนา ตํารายา กฎหมาย ไสย ศาสตร์ โหราศาสตร์ และวรรณกรรมซ่ึง
ส่วนใหญ่ เป็นเรื่องราวคล้ายกับวรรณกรรมภาคกลาง เช่น เรื่องลักษณวงศ์ พระอภัยมณี สังข์ศิลป์ชัย พระ
เวสสันดร สุวรรณกุมาร และนิทาน อิงประวัติศาสตร์ของแต่ละจังหวัดในกลุ่มชนต่างๆ เช่น ชาวจีน ชาวรามญั
และวรรณกรรม ที่เปน็ ประวตั ศิ าสตร์ของแต่ละจังหวดั ในกลมุ่ ภาคตะวนั ตก เป็นตน้

วรรณกรรมท้องถิ่นมีอิทธิพลต่อการนําเรื่องราวมาทําบทใช้ร้องเล่นในเพลงพื้นบ้าน ละครพื้นบ้าน ลิเกงวิ้
หนังใหญ่ สามารถสื่อสารเรือ่ งราว ทั้งที่เป็นกลุ่มผู้เลน่ และกลุ่มผู้ดูผู้ชม ได้รับรู้เรื่องวรรณกรรมของท้องถิ่น พร้อม
ทัง้ อรรถรสในการชมการละเลน่ ไปด้วย

สรปุ ไทยและประเทศมาเลเซยี คอื เขตนา่ นน้าํ ระหวา่ งเกาะ ตะรุเตาของไทย และเกาะลงั กาวีของมาเลเซยี
ปจั จัยอนั มีอิทธพิ ลต่อการเล่นเพลง และการละเลน่ พน้ื บา้ น ใน 5 ภูมภิ าคของ ประเทศไทย ที่สาํ คัญได้แก่

สภาพทางภูมิศาสตร์ทางกายภาพ ความสําคัญของสภาพภูมิศาสตร์ทางกายภาพ ของประเทศไทย มี
อาณาเขตติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน ใน 2 ภูมิภาคภาคเหนือ และบางส่วน ของภาคตะวันตกติดกับประเทศ
สหภาพพมา่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนอื ตอนบนติดกบั ประเทศ าธารณรฐั ประชาธิปไตยประชาชนลาว และตอนล่าง
ติดกับประเทศกัมพูชาประชาธิปไตย วนใต้สุดของประเทศไทยติดกับประเทศมาเลเซีย การที่มีเขตแดนติดต่อกับ
ประเทศ เพื่อนบ้านทําให้เห็นถึงการเลื่อนไหลผสมผสานทางวัฒนธรรม ศิลปะ ของการละเล่นพื้นบ้าน มีต่อกัน
เขา้ ใจถงึ รกรากรปู แบบของการละเลน่ ของแตล่ ะภูมิภาค เอกลกั ษณ์ของการแตง่ กาย เรตตา่ งเห็นไดช้ ดั เจนสามารถ
บอกไดว้ า่ เปน็ การป้อนของจงั หวดั ภูมภิ าคใด เชน่ การแตง่ กายฟ้อนไต ของจงั หวัดแม่ฮ่องสอน จะแตกต่างกับการ
แต่งกายการไอนเมือง ของจังหวัด เชียงใหม่ และย่อมมีความแตกต่างกับการแต่งกายของฟ้อนไทย ของจังหวัด
สกลนคร เปน็ ตน้

วฒั นธรรมและสังคม วัฒนธรรมและสังคมเปน็ ส่ิงท่คี ู่กนั วฒั นธรรมเป็นผลรวมของ งามคดิ มนษุ ย์ในสังคม
เพลงและการละเล่นพื้นบ้าน เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมที่กลุ่ม ประชากรในสังคมนั้นสรรค์สร้างขึ้น เป็นผลิตผล
หรือการแสดงออกในลักษณะพิเศษส่วนหนึ่ง ของการเล่นเพลงและการละเล่นพื้นบ้านเป็นวัฒนธรรมเพื่อการ

27

พักผ่อนหย่อนใจ ในขณะเดียว คนบางครั้งก็เป็นส่วนหนึ่งของการประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อทางศาสนา
เทวดา และ วิญญาณของบรรพบุรุษ การเล่นกีฬาพื้นบ้าน เพลงพื้นบ้าน การเข้าทรง ละคร ฟ้อนรํา การแสดง
มหรสพชนิดต่างๆ จึงเป็นวัฒนธรรมที่สนองความต้องการทางร่างกาย สังคม จิตใจ พนฐานทางสุนทรียภาพ และ
ภาษาไปพร้อม ๆ กัน ดังนัน้ เพลงและการละเล่นพน้ื บา้ นจึง เปน็ วฒั นธรรมทม่ี ีความสําคญั ต่อปัจเจกบคุ คล และต่อ
กลมุ่ คนในสังคม

การประกอบอาชีพ เพลงและการละเลน่ พ้ืนบ้านของไทย มคี วามเกีย่ วข้องสมั พันธ์ อยกู่ บั วิถชี วี ิตในการทํา
มาหากินในทุกอาชีพ กลุ่มประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพทางเกษตรกรรม จึงพบศิลปะของการละเล่นที่เกี่ยวข้องกับ
อาชพี เกษตรกรรม ท้งั ทเี่ ป็นพิธีกรรม เพ่อื ให้พชื ผล อุดมสมบูรณ์ เพอ่ื ให้เศรษฐกิจดี และเพื่อความบันเทิง ในส่วนท่ี
เป็นหัตถกรรมพื้นบ้านจะพบ การแสดงที่เกี่ยวข้องกับอาชีพของท้องถิ่น เช่น การจักสาน การทําเครื่องปั้นดินเผา
การทอผ้า นําขั้นตอนของการผลิต แสดงออกในลีลาของการฟ้อนรํา ระบําต่าง ๆ เป็นเอกลักษณ์สื่อถึง อาชีพ
พื้นบ้านที่มีชื่อเสียงของท้องถิ่น นอกจากนี้อาชีพอุตสาหกรรมการทอ่ งเท่ียว เป็นอาชีพ สําคัญในปัจจุบันมีบทบาท
ทําให้เพลงและการละเล่นพื้นบ้าน มีโอกาสออกแสดงตามประเพณี เป็นอย่างดี ราษฎร์ ตอบสนองนโยบาย
ทอ่ งเทย่ี วทั่วไทยไปได้ทุกเดือน นาํ รายไดส้ ูท่ อ้ งถิ่นและประเทศไทย

วรรณกรรมท้องถิ่น หรือวรรณกรรมพื้นบ้านของทุกภูมิภาค จะเป็นวรรณกรรมที่ สืบทอดกันมาด้วยการ
บอกเล่าอาศัยการฟัง การจดจํา และมีการแต่งเติมเสริมต่อกันมาเรื่อย ๆ วรรณกรรมท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับเพลง
และการละเล่นพื้นบ้าน ถ้าเป็นเรื่องราวมักจะเป็น นิทานพื้นบ้านที่เชื่อว่าเป็นชาดก ชาดกนอกนิบาต) ซึ่งมีมากใน
ภาคเหนือและภาคอีสาน เผยแพร่ไปยังภูมิภาคต่าง ๆ เช่น เรื่องพระรถเมรี มโนห์รา ผาแดงนางไอ่ สังข์ทอง ฯลฯ
ถ้าเปน็ วรรณกรรมประเภทเพลง จะมีลักษณะเป็นคําประพนั ธ์ส่งสัมผัสแบบกลอน ได้แก่ เพลงเรอื เพลงฉอ่ ย เพลง
เกี่ยวข้าว หมอลํา เพลงโคราช เพลงจ้อย เพลงนา เพลงบอก ฯลฯ นอกจากนี้ คําภาษิต คําพังเพย สํานวนโวหาร
ต่าง ๆ แต่ละภูมิภาคมีอยู่มาก นิยมนํามาใช้กล่าวแทรกใน บทละคร ลิเก และในเพลงพื้นบ้าน ซึ่งได้ทั้งข้อสอนใจ
และความสนุกสนานไปด้วย วรรณกรรม ท้องถิ่นอีกประเภทหนึ่งคือ วรรณกรรมที่เป็นคําสวด บทสู่ขวัญต่าง ๆ
วรรณกรรมประเภทนี้ เม่นิยมนํามาแสดง จะใช้ในพิธกี รรมเก่ียวกับความเช่ือต่าง ๆ ผู้ที่มบี ทบาทเกี่ยวข้องโดยตรง
คือพระภิกษุ และผู้ที่มีความรู้ในพิธีกรรมในท้องถิ่น เนื้อหาในวรรณกรรมประเภทนี้จะไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลง
ถอื วา่ เป็นสง่ิ ศกั ดส์ิ ิทธ์มิ ีอทิ ธิพลตอ่ ความเชื่อในการดําเนินวิถีชวี ติ

28

เอกสารอา้ งองิ

ธวัช ปุณโณทก. (2542). “วรรณกรรมพื้นบ้านไทยกับศิลปะการละเล่น และการแสดงพื้นบ้านของไทย” ศิลปะ
การละเล่นและการแสดงพน้ื บ้านไทย หน่วยที่ 9. (พมิ พค์ รัง้ ที่ 3). มหาวทิ ยาลยั สุโขทัยธรรมาธิราช.

บรุ ีรัตน์ สามตั ถิยะ. (2542). ชดุ ” ร้เู ร่ืองเมอื งไทย” ภาคกลาง. ไทยวฒั นาพานิช.
__________. (2542). ชุด” รู้เรอ่ื งเมืองไทย” ภาคตะวนั ออก. ไทยวฒั นาพานิช.
__________. (2542). ชุด” รู้เร่ืองเมืองไทย” ภาคตนั ออกเฉยี งเหนอื . ไทยวัฒนาพานชิ .
__________. (2542). ชุด” รู้เรื่องเมอื งไทย” ภาคใต้. ไทยวฒั นาพานชิ .
__________. (2542). ชดุ ” รูเ้ รือ่ งเมอื งไทย” ภาคเหนอื . ไทยวฒั นาพานิช.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2530). อักขรานุกรมภูมิศาสตร์ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เล่ม 1. (พิมพ์ครั้งที่ 2).

ราชบณั ฑติ ยสถาน
สมพงษ์ เกรียงไกร. (2537). บนั ทึกประเพณีไทย ภาคเหนอื . ดอกหญ้า.
สวาท เสราณรงค์ และวไิ ลเฉดิ ทวีสิน. (2542). รายวชิ า ส 503 สังคมศึกษา. (พิมพค์ รง้ั ท่ี 8). อกั ษรเจริญทัศน์.
อุดม รุ่งเรืองศรี, ชวน เพชรแก้ว, ธิดา โมสิกรัตน์ และจารุวรรณ ธรรมวัตร. (2542). “ภาษาถิ่นพื้นบ้าน”

ศิลปะการละเลน่ และการแสดงพนื้ บา้ นไทย หนว่ ยท่ี 11. (พมิ พ์ครั้งท่ี 3). มหาวทิ ยาลัยสุขัยธรรมาธริ าช.

บทท่ี 3
เพลงกล่อมเด็ก และการละเล่นของเดก็

เพลงกลอ่ มเด็ก ทีป่ รากฏในทุกภมู ิภาคของประเทศไทย มีเน้ือร้องและทํานองที่ เรยี บง่ายบ่งบอกถงึ
ธรรมชาตแิ ละวถิ ีชวี ิตในแต่ละทอ้ งถิ่น เพลงกล่อมเด็กความแตกตา่ งกนั บ้างกเ็ พยี งสําเนยี งและภาษาถ่ิน แต่มี
จุดประสงค์เดยี วกันคอื ต้องการกลอ่ มให้เดก็ นอนหลับ ผกั ผอ่ นดว้ ยความรักความผกู พนั ความเอ้ืออาทรของแมท่ ีม่ ี
ต่อลกู บทเพลงกล่อมเด็กบาง เพลงสะท้อนสภาพสังคมในท้องถ่ิน ค่านิยมในการครองเรอื น ขนบธรรมเนียม
ประเพณี และเหตุการณ์บา้ นเมอื ง

การละเลน่ ของเด็ก มีรปู แบบการเลน่ แบบงา่ ยๆ ไม่ซับซอ้ น มีทัง้ รูปแบบท่หี ้องไห้ 2 ปกรณห์ รือไมต่ อ้ งใช้
อุปกรณ์ประกอบการเลน่ หรือบางชนดิ จะมีบทร้อง หรือใช้ถอ้ ยคํารอ้ ง สนั้ ๆ ง่าย ๆ ประกอบการเลน่ การเล่นมีทั้ง
การเล่นเดีย่ ว การเล่นเป็นฝ่าย และการเลน่ เปน็ หมู่ รูปแบบการละเลน่ ของเด็กในแตล่ ะภมู ิภาคอาจจะคล้ายคลงึ กนั
หรืออาจจะแตกต่างกนั ข้นึ อยู่กับวิธกี ารเลน่ อปุ กรณ์การเล่น การรอ้ ง และถ้อยคาํ ประกอบการเตน้

เม่ือนักศึกษา ศกึ ษาบทที่ 3 จบ นกั ศกึ ษาควรเกดิ แนวคดิ ตอ่ ไปน้ี
1. เพลงกล่อมเดก็ เปน็ เพลงพนื้ บ้านทแี่ สดงใหเ้ ห็นถงึ ความรักของแม่ท่มี ีต่อลูก และถ่ายทอดความรสู้ กึ นึกคดิ
ความเชื่อ คา่ นิยงสังคมพ้ืนบา้ น ประเพณวี ฒั นธรรมของ ในแตล่ ะท้องถน่ิ ถือเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่
ควรม การสบื ทอดเจ อนุรกั ษ์
2. การละเล่นของเดก็ นอกจากจะไดร้ ับความสนุกสนานแลว้ การเลน่ ของเดก็ ยังมี ผลต่อการพฒั นาการใน
ดา้ นต่างๆ สง่ เสริมการออกกาํ ลงั กาย การฝึกใช้อวัยวะตา่ ง ๆ ของ รา่ งกาย ทาํ ให้มีการพัฒนาสมรรถภาพ
ของร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และการเล่นยงั เปน็ กิจกรรมท่แี ฝงด้วยสัญลกั ษณ์ สามารถแสดงออกถึง
วฒั นธรรมของสงั คมนน้ั ๆ ได้อยา่ งชดั เจน

30

3.1 เพลงกล่อมเดก็

เพลงกล่อมเด็ก คือ เพลงที่ใช้ขับร้องสําหรับกล่อมเด็กให้ได้รับความเพลิดเพลิน ในเวลานอน ต้องการให้

เดก็ หยดุ ออ้ น บางครง้ั เพลงกล่อมเด็กจะช่วยผ่อนคลายความเหนือ่ ย หน่ายของผู้เลย้ี ง อีกทงั้ เป็นการใช้เพลงระบาย

ความในใจของผรู้ ้องด้วย เพลงกลอ่ มเด็กจะ มชี อื่ เรยี กแตกตา่ งกนั ไป เช่น เพลงเห่กล่อมพระเจ้าลูกเธอหรือพระเจ้า

ลูกยาเธอ เรียกว่า เพลงเห่กล่อมพระบรรทม ทางภาคใต้ เรียกว่า เพลงร้องเรือหรือเพลงชาน้อง ภาคเหนือเรียก

เพลงอ่อื หรอื เพลงออื่ ลกู ภาคอสี านเรียก เพลงนอนสาเด้อ เปน็ ตน้

เพลงกล่อมเด็กของไทยทุกภูมิภาคไม่ปรากฏหลักฐานผู้แต่ง มีเพียงข้อสันนิษฐาน (สุมามาลย์ เรืองเดช,

2520 : 1) ว่า คงสืบทอดกันมายาวนานหลงั จากมีภาษาพูด ไม่นานนัก บทเพลงกล่อมเด็กของไทยมที ั้งเนื้อร้องสน้ั

เนื้อร้องยาว และใช้ถ้อยคําในการร้องที่ แตกตา่ งกนั ไปด้วยสาเหตทุ ่ีอาศยั การจดจําสบื ทอดต่อๆ กนั มาโดยไม่มีการ

บันทึกไว้เป็น ลายลักษณ์อักษร ในทางภาษาศาสตร์ถือว่า เพลงกล่อมเด็กเป็นวรรณกรรมปากเปล่า หรือ

วรรณกรรมล่องลอย เพราะบทเพลงเหล่าน้ียังลอ่ งลอยอยู่ท่ัวไป ไมส่ ามารถเกบ็ รวบรวม ไวไ้ ด้หมด

เพลงกล่อมเด็กน่าจะมีวิวัฒนาการเริ่มแรกมาจากผู้เลี้ยงซ่ึงส่วนใหญค่ ือ “แม่” แมจ่ ึงมี ความผูกพันใกล้ชิด

กับลูก และเป็นผู้ขับกล่อมลูกเพื่อต้องการให้ลูกนอนหลับ ตามบทเพลงที่ เคยได้ยินได้ฟังมา เนื้อเพลงที่กล่อมจึง

อาจมขี าดเกินไปบ้าง เพลงเดยี วกันอาจจะมเี น้ือร้อง สนั้ หรอื ยาวตา่ งกัน เน่อื งมาจากการจดจําต่อ ๆ กันมา โดยไม่

มีการจดบนั ทกึ

ประโยชน์ของเพลงกล่อมเด็ก มี 2 ประการ คอื

1. ประโยชน์โดยตรง นาํ ไปใช้ในการขับกล่อมให้เดก็ เกิดความเพลดิ เพลนิ และ หลบั สบาย ดังน้ัน เนือ้

เพลงสว่ นมากจงึ เปน็ การปลอบ ยกยอ หรือบางคร้งั ก็ข่เู พื่อให้เดก็ กลัว เด็กจะไดห้ ลบั เร็ว ๆ เช่น

บทปลอบ (เยาวเรศ สริ ิเกียรติ, 2521 : 184)

โอละเห่เอย นอนน่งิ น่ิงในเปลแมจ่ ะไกว

ทองดเี จา้ อยา่ ขี้ร้องให้ นอนไปเถิดนะพ่อคุณเอย

บทยกยอ (เยาวเรศ สิริเกียรติ, 2521 : 30)

เจ้าเนอื้ ละมนุ เอย เจา้ เนือ้ อนุ่ เหมือนสาํ ลี

แมม่ ใิ หผ้ ูใ้ ดต้อง เน้อื เจา้ จะหมองศรี

ทองดีเจา้ คนเดยี วเอย

บทขู่ (เยาวเรศ สริ เิ กียรติ, 2521 : 100)

ตุก๊ แกเอย ตัวลายพร้อยพร้อย

งเู ขยี วตัวน้อย หอ้ ยหัวลงมา

เดก็ เด็กนอนไม่หลับ กินตับเสยี เถิดวา

31

2. ประโยชน์ทางอ้อม คอื เพลงกล่อมเด็กที่มีเน้ือหาสะท้อนให้เห็นสภาพของสังคม ความเชื่อ คา่ นยิ ม

ความเปน็ อยดู่ ้านต่าง ๆ ของคนในแตล่ ะท้องถนิ่ ดังนนั้ เนอ้ื เพลงจงึ มี หลายแนว เช่น สะท้อนให้เหน็ สภาพของ

ครอบครวั สะทอ้ นใหเ้ หน็ ถงึ การทํามาหากิน ให้ ความรู้เรอื่ งธรรมชาตวิ ทิ ยา สะท้อนให้เห็นวฒั นธรรมประเพณีของ

ทอ้ งถ่นิ เป็นตน้ ตัวอยา่ งเชน่

สะทอ้ นใหเ้ ห็นสภาพครอบครัว (ภาคกลาง) (เยาวเรศ เกียรติ, 2521:180 -181)

วัดเอยวัดโบสถ์ ปลกู ข้าวโพดสาลี

ลูกเขยตกยาก แมย่ ายก็พรากลูกสาวหนี

ตน้ ข้าวโพดสาลี ป่านฉะน้ีจะโรยรา

สะทอ้ นใหเ้ หน็ การทํามาหากิน (ภาคใต้) (เยาวเรศ สิรเิ กยี รติ, 2521 : 91 )

ฮาอ้อนกแอน่ เหอ ช่ือนนางแอ่น

บินไดส้ งู บนิ แสน ทํารังเกาะสีเ่ กาะห้า

ตแี มม่ นั ให้ตาย เอารงั ไปขายเปน็ สินค้า

ทํารงั เกาะส่เี กาะหา้ สนิ คา้ นกนางแอ่นเหอแอน่

จากผลงานการวิจัยของเยาวเรศ สิริเกียรติ ( 2521 : 375 – 378 ) ได้รวมบทเพลง กลองเด็กและแยก
ประเภทเนื้อหาของเพลงกล่อมเด็กได้ 11 ประเภทคือ บทกลอ่ ม เก่ียวกับสัตว์ บทกล่อมเกี่ยวกับนิทานพ้ืนบา้ น บท
กล่อมเรื่องเสียดสีนินทา บทกล่อมที่แสดง ถึงความรักของแม่ที่มีต่อลูก บทกล่อมที่เกี่ยวกับธรรมชาติ บทกลอนท่ี
เกี่ยวกับความรักของหนุ่มสาว บทกล่อมที่บันทึกเรื่องราวเหตุการณ์ต่าง ๆ บทกล่อมเด็กที่เกี่ยวกับประเทศ
“วัฒนธรรม บทุกลอ่ มเก่ยี วกับความเช่อื บทกลอ่ มเก่ียวกบั ค่านิยม และบทกล่อมท่เี ปน็ คําด่า คาํ หยาบโลน

ท่วงทํานองบทกล่อมเด็ก บทกล่อมเด็กไม่ว่าจะมีเน้ือหาแบบใด กล็ ้วนแตใ่ ช้เปน็ บท ขับกล่อม เพ่ือกล่อม
ใหเ้ ดก็ นอนหลับ ท่วงทาํ นองที่เรยี กว่า “กลอ่ ม” จะมีทาํ นองค่อนข้างชา้ แตจ่ ะช้าเพียงใดน้ัน อยู่ที่การวางเสยี ง
เออ้ื นกับคาํ ร้อง และขน้ึ อยู่กบั อารมณ์ของผ้ขู บั กล่อม ด้วย เช่น เพลงนกเขา (จากประสบการณข์ องผู้เรยี บเรียงท่ใี ห้
การฝึกปฏบิ ัติแก่นักศึกษา) จะตอ้ งใช้เสยี งเอ้ือนนาํ ก่อน แล้วจึงแทรกคาํ ลงระหวา่ งการใชเ้ สยี งเอื้อน

ตัวอย่าง (ผเู้ รียบเรยี ง)
เอ.่ .. เอ.๊ ซือ้ ออ.. เอย. นกเขา... เฮอ้ ... เอย
ขัน... ซอื้ ออ... แตเ่ ชา้ จวน... ซอ้ื ออ... เย็น
ขนั ฮือฮือ.. ไปเถดิ ... แม่จะฟงั อื้อฮือ... เสยี งเลน่ … เอย
เสยี ง... ออ้ื ฮอื ... เย็น.. นะ พ่อ ฮอื ฮือ...คณุ

32

การใช้ทว่ งทาํ นอง “กลอ่ ม” สว่ นใหญเ่ ม่อื เด็กจะลงเปลเด็กมกั จะมอี าการทเ่ี รียกว่า งอแงไม่ยอมนอน แม่

หรอื ผู้เลย้ี งเด็กจะอุ้มไวเ้ ตรียมจะเอาเดก็ ลงเปล กจ็ ะมีการปลอบบ้าง ขบู่ ้าง โดยใชบ้ ทกล่อม บทกลอ่ มจะมีทาํ นอง

กระชับเหมือนกบั การโยนเสียงเป็นชว่ งๆ เป็น จงั หวะส้นั ๆ พรอ้ มกบั โยกตวั หรือแกวง่ ไกวเดก็ ในวงแขนให้เด็กยอม

ลงเปล

กล่าวโดยสรุปคือ ทว่ งทาํ นอง เพลงกล่อมเด็กโดยสว่ นใหญ่ จะมี 2 ท่วงทํานอง คือ ทว่ งทํานองกระชบั

เพอ่ื ปลอบเด็กก่อนลงเปล และหรอื ลงเปลใหม่ ๆ ขบั บทปลอบบ้าง ขู่บ้าง เพ่ือใหเ้ ด็กกลัวจะได้รีบหลบั ตา แลว้ จงึ

เริม่ ร้องกลอ่ มทว่ งทาํ นองชา้ ๆ เพือ่ ให้เด็กไดห้ ลบั สนทิ

ฉนั ทลักษณ์บทเพลงกล่อมเด็ก เพลงกล่อมเด็กทุกภาคแต่งเปน็ ถอ้ ยคาํ งา่ ย ๆ ใช้คํา คลอ้ งจองกัน

เชน่ เดียวกบั กลอน มลี ักษณะคลา้ ยคาํ พูดธรรมดามาเรียงต่อกัน เพม่ิ ความ คลอ้ งจองให้ไพเราะ โดยเนน้ สัมผัสนอก

ถ้าจะพิจารณาจดั ประเภทกันแลว้ เพลงกล่อมเดก็ จะคลา้ ยคลงึ กบั บทกลอนดอกสร้อย

ฉันทลกั ษณ์ของบทดอกสรอ้ ย (สมุ ามาลย์ เรืองเดช, 2520 : 19)

O เอย๋ 0 0 00000000

00000000 00000000

00000000 00000000

00000000 00000000

ตัวอยา่ ง บทกล่อมเด็กทคี่ ล้ายบทดอกสร้อย (สมุ ามาลย์ เรืองเดช, 2520 : 19)

วัดเอยวดั สิงห์ มีต้นกระทิงแท่นแก้ว

ดอกบวั น้ันบานแล้ว อยู่ใต้นํา้ อรชร

สาวน้อยเอื้อมมือเด็ก สาระเห็ดเจ้ายงั อ่อน

เด็ดได้แตเ่ กสร มาโรยท่นี อนอแุ มน่ า

ถา้ พจิ ารณาฉันทลักษณจ์ ะเหน็ ว่าคล้ายกัน ผิดกนั ตรงที่จาํ นวนคาํ ในแตล่ ะวรรคน้อย กว่าบทดอกสร้อย บท
ดอกสร้อย 1 วรรคจะมี 8 คาํ แต่เพลงกลอ่ มเด็กมคี าํ ในแต่ละวรรคไม่ แนน่ อน และมักจะไม่ลงท้ายว่า เอย

ความยาวของเพลงกล่อมเด็กทุกภาคกําหนดไม่ได้ มีความยาวไม่เท่ากัน สั้นที่สุด มีเพียง 2 คํากลอน ยาว
ที่สุดอาจจะถึง 10 - 13 คํากลอน แต่ส่วนมากเพลงกล่อมเด็กไม่ นิยมให้ยืดยาวนัก เพราะร้องง่าย จําง่าย ยกเว้น
บทเห่กล่อมตามเรื่องนิทาน การที่เพลง กล่อมเด็กยังเป็นที่จดจําได้ทุกวันนี้ สาเหตุคงเป็นเพราะการแต่งเป็นบท
สั้น ๆ นั่นเอง เพราะถ้า เป็นเพลงยาวๆ ก็ยากท่ีจะจดจําและยิ่งถ่ายทอดกันด้วยปากต่อปากโอกาสในการจดจําทาํ
ใหม้ กี ารคลาดเคลือ่ นมากข้นึ

33

คําข้ึนต้นเพลงกลอ่ มเดก็ ในทุกภาค จะข้นึ คล้ายคลึงกัน ดังนี้

1. ภาคกลาง ขึ้นต้นโดยใช้คําว่า เอ๊ยหรือเอย แทรกระหว่างกลางหรือท้ายคํา เช่น แมวเอ๋ย แมวเหมียว

ตุ๊กแกเอย ในภาคอื่น ๆ เช่น ภาคใต้ใช้คํา เออ เหอ เช่น เอ้อเหอ ลมพัดเหอ ภาคเหนือใช้คํา เทีย เน้อ เช่น

นอนเท่ียลกู เน้อ ภาคอสี าน ใช้คาํ วา่ เด้อ เชน่ นอนสาเดอ๊ เป็นตน้

2. ขึ้นต้นด้วยทํานองกล่อม เช่น ภาคกลาง ขึ้นด้วยเสียงเอื้อน... เอเอ็เอย หรือ โอละเห่เอย ภาคเหนือข้ึน

ดว้ ยเสียง อ่ือฮอื จาจา ภาคตะวนั ออก ข้นึ ด้วยเสยี ง เลเ่ หลเอย เปน็ ต้น

3. ใช้สิ่งที่อยู่รอบตัว ที่พบเห็นในชีวิตประจําวัน ธรรมชาติ สัตว์ พฤติกรรมของมนุษย์ ผสมกับความในใจ

ถ่ายทอดออกมาเปน็ เพลง เช่น พระจนั ทร์ นก แมว ดอกไม้ ตน้ ไม้

4. คําลงทา้ ย บางบทจะลงดว้ ยคาํ ว่า เอย อุแมน่ า บางบทกจ็ บความลงเฉย ๆ ภาคใต้จะลงวา่ ... เหอ..ใหญ่

หรอื จบลงดว้ ยการเอื้อน เช่น อือ้ ฮอื จาจา เป็นต้น

ตวั อย่าง กล่อมเด็กภาคอีสานเหนอื (เยาวเรศ สริ เิ กียรต,ิ 2521 : 123 - 132)

นอนซะหล่าหลับตาแมส่ ิก่อม นอนอู่ผ่าสามว้าแม่เจ้าตาํ

นอนอู่ไมส้ ามปล้องพอ่ เจ้าสาน นอนซะหลา่ หลับตาแม่สกิ ่อม

นอนอู่แก้วนอนแลง้ เจา้ อยา่ ตงิ แม่ซิไปไฮซ่ เิ ก็บไข่มาหา

แมไ่ ปนาซิเกบ็ ปลามาป้อน แม่เลี้ยงนอนไวใ้ นสวนมอน

หลบั ตานอนแมงชอนกดั แก้ม นอนอู่แกว้ นอนแล้งเจา้ อยา่ ติง

นอนสนาหล่าแมส่ ดี าบุญมาเอย ตน่ื ม้ือเช้าเหงาง่วง แมส่ ติ ิบุญมเี อย

นอนเสยี เด้อลูกน้อยพ่อนอน เจ้าบ่นอนแมวโพงสิขบแกม้

เจ้าบแ่ ง้มไก่น้อยสตอดตา เจา้ อย่าพะโลฮ้องแอ่ว

พ่อเว้าแล้วใหเ้ วา้ นอนชะเด้อ

นอนสาเยอลกู นอนสาเยอ นอนอู่แกว้ หลบั แล้วแมส่ กิ วย

เจา้ บห่ ลับตบั แกสิกัดไส้ เจา้ ฮอ้ งไห่ตบั แกสิจกตา

พ่อเพ่นิ ไปไร่เพิน่ ยังฮจุ่ ักมา พอ่ เขาไปนายังสู้จกั กลับคนื

บาดวา่ พ่อเจ้าค้านาํ้ อ้อย ไปจ้อยโลดบ่มา

ลกั ษณะฉนั ทลกั ษณ์เพลงกล่อมลูกภาคอสี านเหนือ ความสน้ั ยาวไม่แน่นอน สว่ นใหญ่ ขาด
การใชค้ ําสมั ผสั นอกสมั ผสั ใน อาศัยความไพเราะของภาษา และการใชเ้ สียงขบั เป็นทาํ นอง ขบั กลอ่ ม การจัดต้ัง
ฉันทลกั ษณ์คงจดั ไม่ได้ เชน่ เดียวกับเพลงกล่อมลูกทางภาคเหนือ

34

3.1.3 เพลงกลอ่ มเด็กภาคกลาง มชี อ่ื เรียกวา่ เพลงกล่อมเด็กหรอื เพลงกลอ่ มลูก เน้ือหาของ

เพลงกล่อมจะเหมือนกบั เพลงในภูมภิ าคอ่ืน ๆ บทขบั กล่อมแสดงความรกั ที่แม่มี ต่อลกู มีบทปลอบ บทขู่ สลับขับ

กล่อม เพื่อให้ลกู นอนหลบั เนื้อหาเพลงกล่อมเดก็ ภาคกลาง มีความหลากหลายมเี สียดสีบ้าง แต่ก็ไมถ่ งึ กับวา่ เสียดสี

รนุ แรง ตัวอย่าง เพลงกลอ่ มเด็กภาคกลาง (เยาวเรศ สริ ิเกียรติ, 2521 : 169 172)

เพลงกาเหว่าเอย

กาเหว่าเอย ใข่ให้แม่กาฟกั

แม่กาก็หลงรกั คดิ วา่ ลูกในอุทร

คาบเอาข้าวมาเผื่อ คบเขาเหยยี่ มป้อน

ถนอมไวใ้ นรังนอน แมก่ าพาลูกหากนิ

ตนี ก็เหยียบสาหรา่ ย กนิ กงุ้ กินท้งั

ท้อแทจ้ ะสอนบนิ ฝงั่ แม่นา้ํ แม่คงคา

ปากก็ไซร้หาปลา กินหอยตะพังแมงดา

จับตน้ หวา้ โพธิท์ อง เที่ยวดอ้ มด้อมมองมอง

จอ้ งเอาแม่กาดาํ กนิ แลว้ โผมา

ยังมีนายพราน ยกปืนขน้ึ สอ่ ง

ตวั หนงึ่ วา่ จะตม้ กินนางแม่กาดาํ

ตวั หนง่ึ วา่ จะ คํ่าวันนอ้ี ุแม่นา

เพลงนาฬเิ กต้นเดียว

โอละเหเ่ อย นาฬิเกต้นเดยี ว

แมก่ าแม่เหย่ียว โฉบเฉยี วทํารัง

แมก่ าบินไปก่อน แม่เหยี่ยวร่อนไปทห่ี ลงั

ใครจะเปน็ เจ้าของรัง ร้อยชงั่ แมค่ นเดยี ว

เพลงนางสาํ มะนกั ขา

มาข้าจะขอกล่าว ถงึ เรือ่ งราวนางสํามะนักขา

ติดตามพระรามมา มารยาไปบอกกับพี่ชาย

วา่ สดาทรงโฉม งามประโลมเฉิดฉาย

นางสวรรค์ช้นั นารายณ์ ไม่ไดข้ ้ใี ช้นางสีดา

ทศกัณฐ์ได้ฟงั ให้คลุ้มคลงั ในวิญญาณ์

โลดโผนโจนมา มาตอ้ งศรนารายณ์เอย

35

เพลงแมวหงา่ ว

อ้ายแมวหงา่ วเอย ตวั มนั ยาวไมน่ ้อย
เดก็ มันนอนไม่หลับ มากนิ ตบั เสียสักหน่อย
หนึง่ เกดิ อ้าย แมวหงา่ วเอย

ฉันทลักษณ์ของเพลงกล่อมเด็กภาคกลางไม่ค่อยจะคงที่ เช่น ความยาวของเนื้อเพลง เพทากัน สันที่สุดมี
เพียง 2 คํากลอน ยาวที่สุดมี 14 คํากลอน ( ยกเว้นเพลงกล่อมเด็กที่เกี่ยวกับนิทานและวรรณคดีซึ่งจะมีความยาว
ตามเนื้อเรื่อง) ในดา้ นสมั ผสั ไมค่ งทแี่ ต่พอทีจ่ ะจับ ลกั ษณะเด่นของฉนั ทลักษณ์ของเพลงกล่อมเด็กภาคกลางได้ดังน้ี

ใน 1 บท มีตั้งแต่ 4 - 28 วรรค แต่ละวรรคใช้คําตั้งแต่ 4 9 คํา คําสุดท้ายของวรรค ที่ 2 สัมผัสกับคํา
สดุ ทา้ ยของวรรคท่ี 3 คาํ สุดทา้ ยของวรรคท่ี 3 สง่ สัมผัสไปคาํ ท่ี 1 - 5 ของ วรรคที่ 4 (บางบทก็ไม่มสี ง่ สมั ผัสระหว่าง
วรรค 3 และ 4 ) ถ้าบทใดมีความยาวมากกว่านี้ ก็มีสัมผัสเพิ่มคือ คําสุดท้ายของวรรคที่ 4 จะส่งสัมผัสไปยังคํา
สดุ ท้ายของวรรคที่ 6 เชน่ เดยี ว กับการสัมผัสระหว่างบทของกลอนสุภาพ

การขึน้ ต้น มีหลายแบบ เชน่
ขึ้นต้นแบบบทดอกสร้อย คือใช้คําว่าเอย หรือ เอ๋ย แทรกตรงกลางสิ่งที่จะกล่าว เช่น วันเอ๊ยวันนี้ เรือเอย
เรือแลน่ วัดเอย๊ วดั โบสถ์
ขึ้นตน้ ด้วยทํานองกลอ่ ม เชน่ โอละเหเ่ อย. เอเอ็ ... ฮอื ฮอื .... เอ
การลงท้าย มักจะจบลงด้วยคําว่าเอย เช่น เจ้าขุนทะเลละลอกเอย เจ้านกกระทุง ก็บินไปเอย เลี้ยงน้อง
เถิดพอ่ คณุ เอย แต่บางบทไมจ่ บลงด้วยคาํ ว่าเอย แต่จบดว้ ยคาํ สร้อย คือเมือ่ เวลารอ้ งผู้ร้องจะเอ้ือนเสยี งตอนท้ายให้
อ่อนลงเพ่อื ใหร้ ้วู า่ เป็นการจบเพลง เชน่ คา่ํ วันนอี้ ุแม่นา ปลงศพเจา้ พอ่ นา เปน็ ตน้
3.1.4 เพลงกล่อมเด็กภาคตะวันออก การใช้คําส่วนใหญ่ของเพลงกล่อมในภาคนี้ ใช้ภาษาภาคกลาง บท
กล่อมคลา้ ยกับเพลงกล่อมเด็กภาคกลาง ท่ตี า่ งกนั ก็ตรงทชี่ ่วงข้นึ ต้น เช่น เพลงเรอื เล่น บทเพลงกล่อมเด็กของภาค
กลางขึ้นว่า “เรือเอยเรือเล่น” บทเพลงกล่อม เด็กของภาคตะวันออก ที่จังหวัดระยอง จะขึ้นต้นว่า “เรือเอยเรือ
เล่น” เป็นต้น ในภาค ตะวันออก มีชนกลมุ่ น้อยอยู่มาก จงึ ใครข่ อยกตัวอย่างเพลงกล่อมเด็กของชนกลุ่มน้อย เช่น
กลุ่มชาวเขมร และกลุ่มชาวลาวเวียง ในจังหวัดสระแก้ว เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาใน เนื้อหาของบทเพลง
กลอ่ มเดก็ สว่ นใหญ่คล้ายกบั เพลงกล่อมเดก็ ภาคกลาง เพลงกล่อมเด็ก ของชนกล่มุ น้อย ชาวเขมรเรียกเพลงกล่อม
ลูกวา ว่าเปย หรือเพลงกล่อมนอน กลุ่มชาว ลาวเวียงเรียกเพลงก่อม บทกล่อมเป็นเรื่องเกี่ยวกับการทํามาหากิน
ขับกลอ่ มให้เดก็ นอน ด้วยความรกั มที ง้ั บทปลอบและบทขู่ แฝงอยใู่ นการขับกลอ่ มเช่นเดียวกัน

36

ตวั อยา่ ง เพลงกลอ่ มเดก็ ภาคตะวนั ออก (ทศั นยี ์ ทานตวณิช, 2523 : 213 219)

เพลงเรอื เล่น

เลเ่ หลเอย เล่เพลเรือเล่น

ยาวสามเส้น สบิ ห้าวา

จอดไว้ทีร่ มิ ทา่ สาวนอ้ ยก็ลงเตม็ ลํา

พายดําพายแดงพาย พายสแี สงแมงทับ

พายกลน่ อยูห่ ยบั หยบั กลับมารับนางสิบสอง

เรือลม่ จมควํา่ ทีป่ ากน้ําแมก่ ลอง

เสยี เงินเสยี ทอง ตัวพี่ชายมไิ ด้ผิด

เพลงออระชอน ออระชอน
โอละเหเ่ อย หมากละครฝาดแท้
หมากดินเสีย้ อ่อน สาวน้อยก็แลไปดู
เสียงละครไหนแน่ น้องก็ห่มสีชมพู
เจ้างามคม จะแต่งไปให้ใครดู
มีผัวแล้ว เขาก็รู้อแุ มน่ า
แตง่ ไปล่อชู้

เพลงรําเปย

เพลงกล่อมลูกนอน ภาษาเขมร (นายลี ดวงสมั ฤทธ์ิ, สัมภาษณ์, 2546 : 20)

โกนเอยนะ เดกตู แมม่ ินนูไลตสู ะตูงสะเรา

โกนเอยนะ เดกตู โกนคลายตุกแก เวยี โมคํา

โกนเอยนะ เดกตู แมบ่ านตสู ะตูง มะนองเตียด

(ถอดความว่า)

ลกู เอ๋ย นอนไป แม่ไม่อยู่กาํ ลังจะไปดํานาขา้ ว

ลูกเอ๋ย นอนไป ลกู กลัวต๊กุ แกเด๋ยี วจะมากดั

ลูกเอย๋ นอนไป แม่จะไดก้ ลบั ไปดาํ นา

37

เพลงกอ่ ม

เพลงกล่อมลูกนอนภาษาลาวเวยี ง (นางน้อย เพ็งบุญสม, สัมภาษณ์, 2546 : 20)

นอนเสยี เด๊อหลบั ตาแมส่ กิ ่อม นอนสาหล่าแม่สิเอย

แม่ไปนาชหิ มกปลามาป้อน แม่เลีย้ งมอนในปา่ สวนมอน

นอนเสียหลา่ แมส่ กิ ่อม นอนเสียเด๊อหลับตาสวยสวย

บน่ อนไก่น้อยจิ๊กตา ไผซมิ าขายกวยแมจ่ ะซ้ือใหก้ น๋ิ

เพลงเรือเล่น ที่ยกตัวอย่างมามีฉันทลักษณ์แบบเพลงกล่อมเด็กภาคกลาง ส่วนเพลงกล่อมของชาวเขมรท่ี

ยกมา รูปแบบเพลงกล่อมจะขึ้นวรรคว่า โกนเอยเดกตู ซึ่งแปลเป็นไทยว่าลูกเอ๋ยนอนไป ก่อนเสมอ แล้วต่อเนื้อหา

ตามแตผ่ ู้กล่อมจะนึกถึงเรื่องอะไรก็ได้ กล่อมไปจนจบทว่ งทาํ นองเพลงตามตัวอย่าง และลักษณะของเพลงก่อมชาว

ลาวเวยี งมีรปู แบบฉันทลักษณ์ แบบเดียวกับเพลงกล่อมของอีสานเหนอื

3.1.5 เพลงกล่อมเด็กภาคตะวันตก บทเพลงกล่อมเด็กภาคตะวันตก ในกลุ่มชนที่ใช้ภาษากลางรูปแบบ

เพลงกลอ่ มเด็กจะเหมือนกบั กลุ่มทางภาลกลาง จะผดิ ไปบา้ งในเรื่องราวความสั้นยาวของบทขบั กล่อม แต่ทางภาค

ตะวันตกมีกลุ่มชนหลายเชื้อขาติอาศัยอยู่ เช่น ชาวกะเหรี่ยง ไทยทรงดํา จึงใคร่ขอยกเพลงกล่อมเด็กในขมุ ชนบาง

เชื้อชาติในท้องที่ เพื่อให้เห็นว่า บทบาทของเพลงกล่อมเด็ก มีอยู่ในชนทุกหมู่เหล่าและเนื้อหาของเพลงกล่อมเด็ก

จะมลี ักษณะเช่นเดียวกับภูมภิ าคอืน่ ๆ ท่ไี ด้กล่าวมาแลว้

ตวั อย่าง เพลงกลอ่ มเดก็ ภาคตะวันตก (สุมามาลย์ เรอื งเดช, 2520 : 34)

เพลงวดั โบสถ์

วัดเอย๋ วัดโบสถ์ มตี าลโตนดอย่เู จ็ดต้น

พอ่ ขนุ ทองเขาไปปล้น ป่านฉะน้ีไมเ่ หน็ มา

เมียคดข้าวใส่ห่อ ถอ่ เรือไปหา

เขากร็ ํ่าลือมา ว่าพอ่ ขุนทองเขาตายแลว้

เหลอื แต่กระดกู แกว้ เมยี รักจะไปปลง

ยกขุนศรีถือฉัตร ยกกระบตั รถือธง

ถอื ท้ายพายเรือหงส์ เอาไปปลงศพนะพ่อนา

เพลงกาเหว่าลวย (วีระวัชร์ ป่ินเขียน, 2525 : 200)

โอโอล้ ะเห่ กาเหวา่ ลายเอย ไขใ่ ห้แมก่ าฟัก

แมก่ าหลงรัก คิดว่าลูกในอุทร

คาบเอาขา้ วมาเผื่อ คาบเอาเหยื่อมาปอ้ น

38

ปีกหางเจ้ายงั อ่อนท้อแท้ เจ้าบนิ ตามแม่ถงึ ยงั ฝัง่ คงคา
คืนหนึง่ เจ้ากเ็ หยยี บลาหรา่ ย ปากก็ไซร้กนิ กังปลา
กนิ หอยแมงดากินแล้วกลบั มาจับอยทู่ โ่ี พธท์ิ อง
นายพรานเขาเห็น ก็ต้อมด้อมมองมอง
ยกเอาปนื ขนึ้ ส่อง เขาก็จ้องแม่กาฟกั
ถกู ด้วยหัวปกี แมก่ าบนิ หลกี ลงนํา้

เพลงทั่วมิโพน

เพลงกล่อมลกู ชองชาวกะเหร่ียง (บุษบา รอดอน้ , 2545 : 154)

พี่ลกี ฮุ า พีลกี ฮุ า

มลู กู กายจืออาพซุ าวีอาพุ โมเตอะพาอุเลาะฮเี ลอะคอ

ซาวีอาพุคูอวีดีอี ชากลกี ลเู ตอะกลูดุ

ซากลกี กลเู ตอะกลูดุ คาวตาโต คาวตาโต

ชาพแุ นะนอพุเจ ชาพุแนะแกะนอพเุ จคลอแกละ

โมแอะเวเวโมแอะเว พพี ีกอนอมีมอพีคอกอคอกาฮือ

เซอเกอะต่อบ่าลีเลอะ มีอบเกอะทุ

มีพมุ ือนอโมแตะมีเลอะอุอยู่ มีโมโมเกอะทวู ายา

มเี ลอะจืออู้อู้อาปู้ จืออุอุอาปลมี ีทู

มีเลอะจือออู้ ู้อาปู จืออู้ออู้ าปลมี ีจี

(ถอดความว่า)

แม่เล่นกับลกู ร้องเพลงให้ลกู ฟัง ผเู้ ป็นแมท่ กุ คนอยู่ทีบ่ ้าน
ร้องเพลงใหล้ กู แล้วเล่านิทานให้ฟัง ดาวตาโตดาวตัวเลก็ ดาวตวั เล็ก
แมร่ กั ลูก แมร่ กั ลูก ปูฝนั ฝนั เห็นยักษ์
ถึงเวลาใกลเ้ ทย่ี งแลว้ นอนเถอะลูกนอน
แมใ่ หน้ อนในเปล นอนแม่จะกล่อมลกู นอน
นอนในเปล เชือกเปลเป็นทอง
นอนในเปล เชอื กเปลเปน็ เงิน

39

เพลงกล่อมเด็กในกลุ่มชนภาคตะวันตก มีฉันทลักษณ์เหมอื นเพลงกล่อมเด็กภาคกลาง ในส่วนเพลงกล่อม
ของชนกลุ่มน้อยที่ยกมาเป็นตัวอย่าง เป็นชุมซนกะเหรี่ยงคริสต์ บ้านบําเต็ง จังหวัดเพชรบุรี เป็นการเอื้อนทํานอง
ร้องพร้อมกับใจความเพือ่ รอ้ งกล่อมพจิ ารณาตามเนื้อเพลงแล้วคงไม่เน้นในเรื่องการสัมผสั
3.2 การละเลน่ ของเดก็

การละเล่นของเด็กไทย เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมพื้นบ้านที่มีอยู่ในท้องถิ่นต่าง ๆของประเทศไทย และ
สืบทอดกันมาในวิถีชวี ิตของคนไทยต้ังแต่อดีตถึงปัจจุบัน

การละเล่นเปน็ การส่งเสริมใหเ้ ด็กรู้จักใช้เวลาว่างให้เปน็ ประโยชน์ การเล่นกีฬาต่างๆทําให้เด็กมีสุขภาพ มี
นํ้าใจเป็นนักกีฬา ทําให้จิตใจเบิกบาน สามารถเข้ากับเพื่อนได้ นอกจากนี้การเล่นบางอย่างทําให้เด็กได้ฝึกสมอง
และความวอ่ งไว ตลอดจนเสริมสรา้ งสมรรถภาพทางกายและทางอารมณ์ให้มั่นคงย่ิงขึน้

การเล่นมีบทบาทต่อพัฒนาการทัง้ 4 ด้านของเด็ก คอื พัฒนาการทางกายทางอารมณ์ ทางสงั คม และทาง
สติปัญญา นอกจากนี้ การเล่นของเด็กมีลักษณะเป็นการทดลองใช้ความรู้ที่ตนมีต่อสิ่งแวดล้อมทางสังคมหรือ
ส่งิ แวดล้อมทเ่ี ปน็ รูปธรรมอน่ื ๆ ด้วยความสามารถเฉพาะตวั ของเด็กเอง เป็นการทดลองปฏิบัติการด้วยตนเองอย่าง
อสิ ระและสนุกสนานเพลดิ เพลิน การเล่นจึงเป็นสงิ่ สาํ คญั ต่อการเรยี นรขู้ องเด็ก

การเลน่ เป็นกิจกรรมที่แฝงไวด้ ้วยสัญลักษณ์ เช่นเดียวกบั สญั ลักษณ์ท่แี ฝงอยู่ในวฒั นธรรม ฉะนน้ั ถ้าหากจะ
ศึกษาการเลน่ ของเด็กในสังคม เท่ากับไดศ้ ึกษาวัฒนธรรมของสังคมในท้องถน่ิ น้ันๆ ด้วยเด็กได้เรียนรู้ส่งิ ต่าง ๆ จาก
ธรรมชาติ โดยการนําวัตถุดิบที่ได้จากสิ่งรอบ ๆ ตัวนํามาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการเล่น เช่น พีช สัตว์ หรือส่ิง
ประกอบอ่ืน ๆ ท่ีหาไดง้ ่ายและการเล่นของเด็กเปน็ การใช้พลังงานส่วนเกินไปในทางสร้างสรรค์ใหเ้ กิดประโยชน์แก่
ตนเองและสงั คมทง้ั นี้การเล่นของเดก็ เป็นไปตามสัญชาตญาณท่ีต้องการเคล่ือนไหว และผอ่ นคลายความ
ตึงเครียดด้วยการเสาะแสวงหาวิธีการ ที่จะทําให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน (ผะอบ โปษะกฤษณะ และคน
อ่ืนๆ, 2522 : 1)

การเล่นของเด็กนั้นจะเริ่มหัดเล่นตั้งแต่อยูใ่ นวัยทารก โดยมีผู้ใหญ่หรือผู้ท่ีมีอายุมากกว่าฝึกหัดให้เด็กเล่น
เช่น จับปูดําขยําปูนา เล่นจ๊ะเอ๋ โยกเยก แมงมุม จํ้าจี้ เมื่อเด็กโตขึ้นเด็กจะเล่นกับเพื่อนในวัยเดียวกัน เช่น รีรี
ขา้ วสาร งูกินหาง ชอ่ นหา เสอื ขา้ มหัวย ตีไกต่ จ่ี ับ ลิงชงิ หลัก และโพงพาง เป็นต้น

สถานที่เล่น การเล่นของเด็กนน้ั เลน่ ได้ทงั้ ในร่มและกลางแจง้ แต่โดยธรรมชาติเดก็ ต้องการเล่นนอกบ้าน
มากกว่าในบ้าน ดังน้นั ในร่มจงึ หมายถงึ ในบริเวณบ้านมีหลังคากันแดดกันฝน เลน่ ใต้ถนุ บา้ นและเล่นในบริเวณอนื่ ๆ
ทีม่ ีรม่ เชน่ ใต้ตน้ ไม้ ซ่ึงรูปแบบการเล่นเช่นน้ีเปน็ การเล่นที่ไม่ต้องใช้คนเล่นมาก เช่น หมากเก็บ ลงิ ชิงหลกั เล่นอีตัก
เปน็ ต้นถ้าเป็นการเลน่ กลางแจ้ง ส่วนใหญ่เปน็ การเลน่ รปู แบบทีม่ ีการแข่งขัน แยกเป็นฝา่ ย ใช้จํานวนผูเ้ ล่นมาก เช่น
การเล่นลกู ช่วง ข่มี า้ ชงิ เมือง ว่งิ เป้ยี ว และไม้หึง่ เปน็ ต้น

ลักษณะของการเล่น การเล่นของเด็กถ้าแบ่งตามลักษณะของการเล่น จะมี 3 รูปแบบ คือ การเล่นเดี่ยว
การเลน่ แยกเป็นฝ่าย และการเล่นที่เป็นหมู่

40

การเลน่ เดย่ี ว เปน็ การเลน่ ทีม่ ีผเู้ ล่นคนเดียว เชน่ เลน่ หมากเกบ็ เป่าใบไม้ กระโดดเชือก เล่นตุ๊กตา วาดรูป
ปนั้ ของเล่น ตวี งล้อ เดินกะลา ขี่มา้ กา้ นกลัวย ลกู ดง่ิ ปนี กา้ นกล้วย ว่าว อโี บะ๊ หรอื อีโพละ ตุก๊ ตาลกู ตาล ยิงหนงั สตกิ๊
รถหลอดต้าย สานตะกรอ้ สานปลาตะเพยี น ปั้นดิน กงั หันหมุน เป่าปชี่ ังข้าว ควายกล่อม (ป้นั ควายเล่น ) เป็นตัน

การเล่นเป็นฝ่าย เป็นการเล่นที่มีผู้เล่น 2 ฝ่าย อาจมีจํานวนเท่ากันหรือไม่เท่ากันก็ได้ ผลัดกันเล่นตาม
กติกา เช่น เล่นเตย ตาเขย่ง ตี่จับ ลูกช่วง ตีไก่ ไม้หึ่ง ไม้จ่า เป่ากบชนแมงกว่าง กังหันแมงทับ ตีไก่ ตบแผละ ตะ
แล้บแก๊ป และเสอื ตกถัง เปน็ ตน้

การเลน่ เปน็ หมู่ เปน็ การเลน่ ทม่ี ีผู้เล่นหลายคนไมจ่ าํ กัดจํานวนมากบา้ งน้อยบ้าง เช่น กาฟกั ไข่ ไอ้เข้ไอ้โขง
มอญซ่อนผ้า ลิงชิงหลัก งูกินหาง รีรีข้าวสาร ขี่ม้าส่งเมือง ซ่อนแอบไม้โก๋งเก๋ง ทอยกอง ลูกข่าง เช่นสะบ้า หยอด
หลุม ก๋อยตอ๊ ก อตี กั เสือข้ามหว้ ย กระโดดยาง โป้งแปะ เล่นชายของ โพงพาง พ่งุ จรวด ตะกรอ้ ปดิ ตาควานหา กํา
ทาย วหิ คสายฟา้ และลกู ดดี เปน็ ตน้

องคป์ ระกอบในการเล่นของเด็ก ความแตกตา่ งคล้ายกันหรือเหมือนกันของการละเลน่ ของเด็กในภาคต่าง
ๆ นั้น ขึ้นอย่กู บั องค์ประกอบท่สี ําคัญ 3 ประการ คอื การเล่นท่ตี อ้ งใชอ้ ปุ กรณ์ การเล่นท่ไี มต่ ้องใช้อปุ กรณ์ และการ
เลน่ ท่ตี ้องใช้บทร้องหรอื ถ้อยคําประกอบ

การเล่นที่ต้องใช้อุปกรณ์ อุปกรณ์ประกอบการเล่นของเด็กขึ้นอยู่กับวัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น การเล่นใน
รูปแบบเดียวกันอาจจะใช้อุปกรณ์ต่างกัน และชื่อเรียกต่างกันก็มี เช่น เล่นกาฬกไข่ของภาคกลาง บางแห่งก็เรียก
จระเขฟ้ าดหาง มีจํานวนผู้เล่นตง้ั แต่ 5 - 6 คน ขน้ึ ไปจงึ จะสนุก ขดี เปน็ วงกลมระยะรัศมีขนาดให้คนนอกวงกลมว่ิง
เขา้ มาลกั ไข่ และคนทีอ่ ยูใ่ นวงกลม เม่อื ก้มตัวลงสองมือเท้าคร่อมไข่ไว้ แลว้ ใช้เทา้ ข้างใดข้างหนง่ึ ไล่เตะผู้ท่ีจะเข้ามา
ลักไช่ ไขค่ วรจะมีจํานวนเท่ากับผู้เลน่ ท่อี ยนู่ อกวง อปุ กรณท์ ่นี าํ มาเปน็ ไข่ อาจจะใชก้ ้อนหินหรือผลไม้หรือวัสดุอะไร
ก็ได้ที่มีลักษณะกลม ขนาดที่พอจะหยิบคว้าได้ถนัด เล่นอีตัก ใช้ผู้เล่นตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป อุปกรณ์ที่ใช้ตักจะใช้
กระดาษหรือใบไม้แล้วแต่จะตกลงกนั อปุ กรณท์ ี่ใชโ้ ปรยเพื่อตัก สว่ นมากใช้เม็ดมะขามเทศ เมด็ น้อยหน่า หรือบาง
ทใี ชห้ อยทบั ทิม ตัวเล็ก ๆ จะตอ้ งลง (ทุน) เทา่ ๆ กัน คนละ 20 หรือ 30 เม็ด เล่นลกู ช่วง เล่นช่วงชยั และเล่นห่วง
ยาง มีรูปแบบและกติกาการเล่นคล้ายคลึงกันแต่ใช้อุปกรณ์การเล่นต่างกัน เล่นมอญซ่อนผ้าในท้องถิ่นต่าง ๆ
อาจจะมีกติกาและรายละเอยี ดของรูปแบบต่างกันไปบา้ ง แต่รูปแบบหลกั ของการเล่นจะตรงกัน

อปุ กรณก์ ารละเลน่ ของเด็กของทุกภูมิภาค ลักษณะทเี่ ห็นได้ชัดคือ อุปกรณ์เปน็ ของทีห่ าได้ใกล้ ๆ ตัว เป็น
ของในท้องถิ่นไม่ต้องซื้อหา อุปกรณ์ที่เล่นบางครั้งเมื่อได้วสั ดุมาแล้วต้องใช้ความพยายามในการทําเพื่อให้อุปกรณ์
นั้นเลน่ ได้ บางทตี อ้ งอาศัย พ่อแม่ พี่ หรอื ผทู้ ี่อาวุโสกวา่ ชว่ ยประดษิ ฐ์ตกแตง่ ใหบ้ ้าง กรรมวธิ ีในการทาํ ไม่ยุ่งยากชับ
ซอ้ นมาก เมอ่ื เลน่ แตกหักสียหายแล้ว สามารถหาใหมห่ รือทาํ ใหม่ได้ไมย่ าก หรือของเลน่ บางอย่าง เม่ือเลิกเล่นแล้ว
กส็ ามารถทง้ิ ไปได้ เมอ่ื ต้องการจะเล่นอีกก็ทําเอาใหม่ หรือหาเอาใหม่ไดก้ ารละเลน่ ที่ไม่ต้องใช้อปุ กรณ์ ลักษณะของ
การละเล่นแบบนี้ หมายถึงการเล่นโดยที่ไม่ต้องมีวสั ดุอุปกรณ์อะไรทั้งสิ้นก็สามารถเล่นได้ จะใช้เฉพาะอวัยวะของ
วา่ งกายเคลือ่ นไหว ส่วนมากเปน็ กจิ กรรมการเลน่ ท่ตี ้องการ การตัดสินใจ การออกกําลงั กาย ความอดทน เชน่ การ


Click to View FlipBook Version