The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทย เรื่อง ชนิดของคำ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐานร่วมกับบอร์ดเกม นางสาวอมรวรรณ กันทองสุข

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by aum2407amornwan, 2024-06-20 13:14:06

การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทย เรื่อง ชนิดของคำ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐานร่วมกับบอร์ดเกม นางสาวอมรวรรณ กันทองสุข

การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทย เรื่อง ชนิดของคำ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐานร่วมกับบอร์ดเกม นางสาวอมรวรรณ กันทองสุข

การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทย เรื่อง ชนิดของคำ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐานร่วมกับบอร์ดเกม อมรวรรณ กันทองสุข รายงานการวิจัยในชั้นเรียน เสนอเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย มีนาคม 2566 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร


รายงานการวิจัยในชั้นเรียน เรื่อง “การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทย เรื่อง ชนิดของคำ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐานร่วมกับบอร์ดเกม” ของ นางสาวอมรวรรณ กันทองสุข ได้รับการพิจารณาให้นับเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร ปริญญาการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย ……………………………….........………...........................… (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.ทรงภพ ขุนมธุรส) อาจารย์ที่ปรึกษาการวิจัย


ชื่อเรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทย เรื่อง ชนิดของคำ ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐานร่วมกับ บอร์ดเกม ผู้วิจัย อมรวรรณ กันทองสุข อาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทรงภพ ขุนมธุรส ประเภทสารนิพนธ์ คำสำคัญ ชนิดของคำ, การจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน, บอร์ดเกม บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระหว่างก่อนและ หลังเรียน เรื่อง ชนิดของคำ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็น ฐานร่วมกับบอร์ดเกม และ 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อด้วย การจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐานร่วมกับบอร์ดเกม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/1 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนผดุงราษฎร์ จำนวน 32 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่มด้วยวิธีการจับสลาก เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐานร่วมกับบอร์ดเกม เรื่อง ชนิดของคำ จำนวน 4 แผน รวม 8 ชั่วโมง 2) บอร์ดเกมภาษาไทย เรื่อง ชนิดของคำ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน เรื่อง ชนิดของคำ และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 4 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐานร่วมกับบอร์ดเกม สถิติที่ใช้ในการวิจเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบอิสระ ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการ เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนและหลังเรียน เรื่อง ชนิดของคำ ด้วยการจัดการ เรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐานร่วมกับบอร์ดเกม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หลังสูงกว่าก่อนเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการเรียนด้วยการ จัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐานร่วมกับบอร์ดเกม มีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ โดยใช้เกมเป็นฐานร่วมกับบอร์ดเกม อยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด


กิตติกรรมประกาศ งานวิจัยเรื่องการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทย เรื่อง ชนิดของคำ ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐานร่วมกับบอร์ดเกมฉบับนี้ สำเร็จได้ด้วยดี เนื่องจากได้รับความกรุณาอย่างยิ่งจากผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทรงภพ ขุนมธุรส ซึ่งเป็นอาจารย์ที่ ปรึกษาวิจัย ผู้ซึ่งเมตตาและให้ความอนุเคราะห์ในการให้คำปรึกษา คำแนะนำ เสนอแนวคิด ให้ความรู้ อันเป็นประโยชน์ต่องานวิจัยนี้ และตรวจสอบแก้ไขข้อบกพร่องต่าง ๆ เพื่อให้งานวิจัยสมบูรณ์ยิ่งขึ้น พร้อมทั้งยังช่วยพัฒนาการทำงานของผู้วิจัยให้เป็นไปอย่างมีคุณภาพ ทำให้ผู้วิจัยได้รับประสบการณ์ใน การทำงานวิจัยครั้งนี้จนสำเร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์ ผู้วิจัยรู้สึกซาบซึ้งถึงความกรุณาดังกล่าว และขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงไว้ ณ โอกาสนี้ ข อก ร า บ ข อ บ พ ร ะ ค ุ ณ อ า จ า ร ย์ภ ั ค พ ล ค ำ ห น ้ อ ย น า ย น พ ร ั ต น ์ ค ง ค อ น และนางชญานิษฐ์ คงสกุล ที่กรุณารับเป็นผู้เชี่ยวชาญ ตรวจสอบและแก้ไขเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ให้คำแนะนำอันมีค่า และชี้ให้เห็นมุมอมองใหม่สำหรับการทำวิจัยในครั้งนี้ให้ราบรื่นและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ขอขอบพระคุณผู้บริหาร คณะครูที่ให้ความกรุณา ความเอ็นดูต่อผู้วิจัยตลอดช่วงเวลาที่เก็บ ข้อมูล และขอขอบคุณนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนผดุงราษฎร์ที่ให้ความร่วมมือเป็นอย่าง ดีในกิจกรรมการเรียนรู้และตอบแบบสอบถามความพึงพอใจเพื่อการวิจัยครั้งนี้ ส่งผลให้ผู้วิจัยมี ความสุขอย่างยิ่งในช่วงเวลาที่ดำเนินการทำวิจัย จนสามารถดำเนินการวิจัยได้อย่างสำเร็จลุล่วงด้วยดี ท้ายที่สุดของความสำเร็จในครั้งนี้ผู้วิจัยขอขอบพระคุณทุกท่านที่มีส่วนร่วมในงานวิจัยจน สำเร็จไปได้ด้วยดี ทั้งบุคคลที่ได้กล่าวมาและยังไม่ได้กล่าวถึง ขอขอบพระคุณบิดามารดาผู้เป็นที่รักยิ่ง ของข้าพเจ้าที่ให้ชีวิตและสติปัญญา เป็นผู้มอบเส้นทางและวางรากฐานชีวิตให้ข้าพเจ้า ขอน้อมรำลึกใน พระคุณของบิดมารดา ขอขอบใจน้องชายคนเดียวของข้าพเจ้าและเพื่อน ๆ ทุกคนที่คอยให้กำลังใจ และความช่วยเหลือทุกอย่างด้วยดีเสมอมา คุณค่าและประโยชน์อื่นใดที่เกิดขึ้นจากการศึกษางานวิจัย ในครั้งนี้ ข้าพเจ้าขอน้อมบูชาให้บุพการีสมาชิกในครอบครัว ตลอดจนคณาจารย์ทุกท่านที่คอย สนับสนุน และให้กำลังใจแก่ผู้วิจัยมาตลอดจนประสบผลสำเร็จ หากมีสิ่งใดบกพร่องผู้วิจัยขอน้อมรับไว้ และขออภัยไว้ ณ โอกาสนี้ อมรวรรณ กันทองสุข


สารบัญ บทที่ 1 บทนำ.....................................................................................................................................1 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา ................................................................................1 วัตถุประสงค์ของการวิจัย.......................................................................................................3 สมมติฐานการวิจัย.................................................................................................................3 ขอบเขตของการวิจัย..............................................................................................................4 นิยามศัพท์เฉพาะ...................................................................................................................5 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ.....................................................................................................6 บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง..............................................................................................7 1. เอกสารเกี่ยวกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการ เรียนรู้ภาษาไทย.............................................................................................................................7 1.1 วิสัยทัศน์ หลักการ จุดมุ่งหมาย สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน และคุณลักษณะ อันพึงประสงค์...............................................................................................................................7 1.2 มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด..............................................................................10 1.3 หลักสูตรและเนื้อหากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย.................................................11 1.4 สาระและมาตรฐานการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย..................................13 1.5 ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย.......................14 2. เอกสารเกี่ยวกับหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนผดุงราษฎร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ....................................................................................................................................................15 1.1 วิสัยทัศน์ พันธกิจ จุดหมาย หลักการ สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน และคุณลักษณะอัน พึงประสงค์........................................................................................................................................15 1.2 หลักสูตรและเนื้อหากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย..................................................20 1.3 สาระและสมรรถนะเฉพาะรายวิชากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย...........................22 1.4 ผลลัพธ์การเรียนรู้และสมรรถนะเฉพาะรายวิชาภาษาไทย.......................................23 3. เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับชนิดของคำ................................................................25 3.1 เอกสารที่เกี่ยวข้องกับชนิดของคำ............................................................................25 3.2 งานวิจัยที่เกี่ยวกับชนิดของคำ..................................................................................34 4. เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน ..........................36 4.1 ความหมายของการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน................................................36 4.2 ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน............................................................37


4.3 บทบาทของครูผู้สอนในการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน ...................................40 4.4 ประเภทของเกมที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน ....................................41 4.5 ข้อดีและข้อจำกัดของการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน ......................................44 4.6 ทฤษฎีที่เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน ..............................................47 1. ทฤษฎีสรรคนิยมเชิงสังคม ....................................................................................47 2. ทฤษฎีสร้างแรงจูงใจ.............................................................................................47 3. ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง.........................................................................49 4.7 งานวิจัยที่เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน............................................49 5. เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับบอร์ดเกม...................................................................52 5.1 ความหมายของบอร์ดเกม ........................................................................................52 5.2 ประเภทของบอร์ดเกม.............................................................................................53 5.3 การออกแบบและพัฒนาบอร์ดเกมเพื่อการศึกษา.....................................................55 5.4 งานวิจัยที่เกี่ยวกับบอร์ดเกม..................................................................................................61 6. กรอบแนวคิดในการวิจัย..................................................................................................64 บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย.................................................................................................................65 แบบแผนการทดลอง............................................................................................................65 กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย.....................................................................................................65 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย......................................................................................................66 1. การสร้างและพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย........................................................66 2. การสร้างและพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล..................................74 ขั้นตอนการทดลองและเก็บรวบรวมข้อมูล...........................................................................79 การวิเคราะห์ข้อมูล..............................................................................................................80 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล.............................................................................................82 บทที่ 4 ผลการวิจัย...........................................................................................................................83 ตอนที่ 1 ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน เรื่อง ชนิดของคำ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐานร่วมกับบอร์ดเกม .........83 ตอนที่ 2 ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการเรียน ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐานร่วมกับบอร์ดเกม ................................................................84 บทที่ 5 สรุป อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ.......................................................................................88 สรุปผลการวิจัย....................................................................................................................88 อภิปรายผล..........................................................................................................................89


ข้อเสนอแนะ........................................................................................................................92 1. ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้...........................................................................92 2. ข้อเสนอแนะในการวิจัยหรือการวิจัยต่อไป .....................................................................92 บรรณานุกรม ....................................................................................................................................93 ภาคผนวก.........................................................................................................................................97 ภาคผนวก กรายชื่อผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย.............................98 ภาคผนวก ขเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย.............................................................................................100 ภาคผนวก คเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล.........................................................125 ภาคผนวก งการวิเคราะห์คุณภาพของเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย.......................................132 ภาคผนวก จการตรวจคุณภาพเครื่องมือวิจัยและคะแนนสอบ..........................................150 ประวัติผู้วิจัย..................................................................................................................................171


สารบัญตาราง ตาราง 1 ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ระดับชั้นประถมศึกษา ปีที่ 4 สาระที่ 4 หลักการใช้ภาษาไทย มาตรฐาน ท 4.1......................................................14 ตาราง 2 ความสัมพันธ์ระหว่างผลลัพธ์การเรียนรู้และสมรรถนะเฉพาะรายวิชาภาษาไทย ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 สาระที่ 4 หลักการใช้ภาษา สมรรถนะเฉพาะรายวิชา 4........23 ตารางที่ 3 โครงสร้างแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ชนิดของคำ โดยการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน ร่วมกับบอร์ดเกม....................................................................................................................67 ตารางที่ 4 เกณฑ์การแปลความหมายระดับค่าเฉลี่ยความคิดเห็น........................................................68 ตารางที่ 5 รูปภาพตัวอย่างอุปกรณ์ที่ใช้ในการเล่นเกม .........................................................................71 ตารางที่ 6 เกณฑ์การแปลความหมายระดับค่าเฉลี่ยความคิดเห็น........................................................73 ตารางที่ 7 ตารางวิเคราะห์แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ชนิดของคำ .....................75 ตารางที่ 8 เกณฑ์การแปลความหมายระดับค่าเฉลี่ยความพึงพอใจ......................................................78 ตารางที่ 9 ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง ชนิดของคำ ก่อนและหลังเรียนด้วย การจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐานร่วมกับบอร์ดเกม .........................................................84 ตารางที่ 10 ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการเรียนด้วย การจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐานร่วมกับบอร์ดเกม .........................................................85 ตารางที่ 11 ตารางผลการประเมินความเหมาะสมของบอร์ดเกมภาษาไทย เรื่อง ชนิดของคำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ของผู้เชี่ยวชาญ......................................................151 ตารางที่ 12 ตารางผลการประเมินความเหมาะสมความเหมาะสมของแผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้เกมเป็นฐานร่วมกับบอร์ดเกมเรื่อง คำนาม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 153 ตารางที่ 13 ตารางผลการประเมินความเหมาะสมความเหมาะสมของแผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้เกมเป็นฐานร่วมกับบอร์ดเกมเรื่อง คำสรรพนาม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 4 ของผู้เชี่ยวชาญ..........................................................................................................155 ตารางที่ 14 ตารางผลการประเมินความเหมาะสมความเหมาะสมของแผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้เกมเป็นฐานร่วมกับบอร์ดเกมเรื่อง คำกริยา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ของผู้เชี่ยวชาญ.....................................................................................................................157 ตารางที่ 15 ตารางผลการประเมินความเหมาะสมความเหมาะสมของแผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้เกมเป็นฐานร่วมกับบอร์ดเกมเรื่อง คำวิเศษณ์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ของผู้เชี่ยวชาญ.....................................................................................................................159


ตารางที่ 16 ตารางค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ของจุดประสงค์การเรียนรู้ที่มีต่อแบบทดสอบวัด ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ชนิดของคำ ของบผู้เชี่ยวชาญ.............................................161 ตารางที่ 17 ตารางแสดงผลการวิเคราะห์ค่าอำนาจจำแนก (r) และค่าความยากง่าย (p) ของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ชนิดของคำ..........................................163 ตารางที่ 18 ตารางการคำนวณการหาค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ชนิดของคำ ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐานร่วมกับบอร์ดเกม ...................165 ตารางที่ 19 ตารางแสดงผลการประเมินความเหมาะสมของแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐานร่วมกับบอร์ดเกม ของผู้เชี่ยวชาญ.....................................................................................................................167 ตารางที่ 20 ตารางคะแนนเปรียบเทียบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง ชนิดของคำของนักเรียน ชั้นประถมปีที่ 4 ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐานร่วมกับบอร์ด เกม .......................................................................................................................................169


สารบัญรูปภาพ รูปภาพที่ 1 กรอบแนวคิดในการวิจัย................................................................................................64 รูปภาพที่ 2 ภาพบอร์ดเกมภาษาไทย เรื่องชนิดของคำ......................................................................71 รูปภาพที่ 3 ภาพตัวอย่างการ์ดเกมภาษาไทย เรื่องชนิดของคำ (ด้านหน้า) ........................................71 รูปภาพที่ 4 ภาพตัวอย่างการ์ดเกมภาษาไทย เรื่องชนิดของคำ (ด้านหลัง).........................................71 รูปภาพที่ 5 ภาพแนะนำบอร์ดเกม .................................................................................................117 รูปภาพที่ 6 คำอธิบายวิธีการเล่นบอร์ดเกม....................................................................................118 รูปภาพที่ 7 คำอธิบายวิธีการเล่นบอร์ดเกม (ต่อ)............................................................................119 รูปภาพที่ 8 คำอธิบายวิธีการเล่นบอร์ดเกม (ต่อ)............................................................................119 รูปภาพที่ 9 ตัวอย่างการ์ดเกมลำดับที่ 1 คำนามสามัญ..................................................................120 รูปภาพที่ 10 ตัวอย่างการ์ดเกมลำดับที่ 2 คำนามวิสามัญ..............................................................121 รูปภาพที่ 11 ตัวอย่างการ์ดเกมลำดับที่ 3 คำสรรพนามบุรุษที่ 1....................................................121 รูปภาพที่ 12 ตัวอย่างการ์ดเกมลำดับที่ 4 คำสรรพนามบุรุษที่ 2 และ 3........................................122 รูปภาพที่ 13 ตัวอย่างการ์ดเกมลำดับที่ 5 คำกริยาอกรรม .............................................................122 รูปภาพที่ 14 ตัวอย่างการ์ดเกมลำดับที่ 6 คำกริยาสกรรม .............................................................123 รูปภาพที่ 15 ตัวอย่างการ์ดเกมลำดับที่ 7 คำวิเศษณ์.....................................................................123 รูปภาพที่ 16 ตัวอย่างการ์ดเกมลำดับที่ 8 คำวิเศษณ์.....................................................................124 รูปภาพที่ 17 ภาพผลการทดสอบค่าความเชื่อมั่นของบบสอบถามความพึงพอใจ............................168 รูปภาพที่ 18 ภาพผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางเรียน เรื่องชนิดของคำ...................................170 ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐานร่วมกับบอร์ดเกม ..................................170


1 บทที่ 1 บทนำ ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา ภาษาไทยเป็นภาษาประจำชาติ เป็นเอกลักษณ์ เป็นสมบัติทางวัฒนธรรมอันก่อให้เกิดความ เป็นเอกภาพและเสริมสร้างบุคลิกภาพของคนในชาติให้มีความเป็นไทย เป็นเครื่องมือในการ ติดต่อสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจและความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ทำให้สามารถประกอบกิจธุระ การงาน และดำรงชีวิตร่วมกันในสังคมประชาธิปไตยได้อย่างสันติสุข อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือในการแสวงหา ความรู้ประสบการณ์จากแหล่งข้อมูลสารสนเทศต่าง ๆ เพื่อพัฒนาความรู้ กระบวนการคิด วิเคราะห์ วิจารณ์และสร้างสรรค์ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและความก้าวหน้าทาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีตลอดจนนำไปใช้ในการพัฒนาอาชีพให้มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ยังเป็นสื่อ แสดงภูมิปัญญาของ บรรพบุรุษด้านวัฒนธรรม ประเพณี สุนทรียภาพ เป็นสมบัติล้ำค่าควรแก่การ เรียนรู้อนุรักษ์และสืบสานให้คงอยู่คู่ชาติไทยตลอดไป (กระทรวงศึกษาธิการ, 2551) กระทรวงศึกษาธิการได้ตระหนักถึงความสำคัญของภาษาไทยในฐานะที่เป็นภาษาประจำ ชาติและเป็นเครื่องมือสำคัญในการติดต่อสื่อสารกันของคนในสังคม มุ่งส่งเสริมให้นักเรียนมีความรู้ ความสามารถและมีทักษะในการใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง จึงได้กำหนดให้วิชาภาษาไทยเป็นวิชาที่ นักเรียนทุกคนต้องเรียน ซึ่งได้กำหนดไว้ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยกำหนดมาตรฐานการเรียนรู้ 5 สาระ ได้แก่ การอ่าน การเขียน การ ฟัง การดู และการพูด หลักการใช้ภาษาไทย และวรรณคดีและวรรณกรรม ซึ่งสาระการเรียนรู้ที่ 4 หลักการใช้ภาษาไทย มาตรฐาน ท.4.1 เข้าใจธรรมชาติของภาษาและหลักภาษาไทย การเปลี่ยนแปลง ของภาษาและพลังของภาษา ภูมิปัญญาทางภาษาและรักษาภาษาไทยไว้เป็นสมบัติของชาติ ได้กำหนด วิสัยทัศน์การจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทยไว้ในสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ในหัวข้อเรียนรู้อะไรในภาษาไทย ส่วนที่เกี่ยวข้องกับหลักภาษา ได้แก่ การศึกษาธรรมชาติและ กฎเกณฑ์ของภาษาไทย การใช้ภาษาให้ถูกต้องเหมาะสมกับโอกาสและบุคคล การแต่งคำประพันธ์ ประเภทต่าง ๆ และอิทธิพลของภาษาต่างประเทศในภาษาไทย (กระทรวงศึกษาธิการ, สำนักวิชาการ และมาตรฐานการศึกษา, 2551) หลักภาษา คือ ระเบียบแบบแผนของภาษาที่มีไว้เพื่อให้ผู้ที่ใช้ภาษา ยึดถือเป็นหลักในการใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง นอกจากนี้ยังเป็นกฎเกณฑ์ที่จะช่วยควบคุมให้คนไทยใช้ ภาษาไทยให้เป็นแบบแผนอันเป็นหนึ่งเดียวกันทั่วประเทศ การที่ผู้ใช้ภาษาพยายามใช้ภาษาให้ถูกต้อง ตามหลักภาษาจะเป็นการอนุรักษ์ภาษาไทยให้คงอยู่เป็นเอกลักษณ์ของชาติไทยสืบต่อไป


2 การสอนหลักภาษาไทยโดยทั่ว ๆ ไป ครูผู้สอนจะพยายามให้นักเรียนได้รู้จักและมีความเข้าใจแบบแผน ของภาษาและสามารถนำความรู้ทางหลักภาษาไปใช้ในชีวิตประจำวันได้โดยถูกต้อง แต่ผลปรากฏว่า วิชาหลักภาษาไทย กลับเป็นวิชาที่นักเรียนให้ความสนใจน้อยที่สุด (ทิพยฉัตร พละพล, 2562) จากความสำคัญของภาษาไทยและหลักภาษาแสดงให้เห็นว่าภาษาไทยมีความสำคัญใน ฐานะ ภาษาประจำชาติและเป็นเครื่องมือในการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งการมีความรู้ความ เข้าใจ ความสำคัญของภาษาไทยจะเป็นพื้นฐานของการใช้ภาษาไทยอย่างมีวิจารณญาณเพื่อการ สื่อสารที่ดีใน และความรู้ด้านหลักการใช้ภาษา เรื่อง ของคำในภาษาไทย มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย จะต้องค้นหาวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้รับองค์ ความรู้ จนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน และเป็นการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมให้ดำรง อยู่ตลอดไปอย่างถูกต้อง โดยผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปี การศึกษา 2565 คะแนนความสามารถด้านภาษาไทยของนักเรียนได้คุณภาพในระดับต่ำกว่าคะแนน เฉลี่ยระดับประเทศ และต่ำกว่าคะแนนเฉลี่ย ปีการศึกษา 2564 โดยหัวข้อที่มีคะแนนต่ำที่อยู่ในระดับ คุณภาพปรับปรุง คือ มาตรฐานที่ ท 4.1 เข้าใจธรรมชาติของภาษาและหลักภาษาไทย การเปลี่ยนแปลงของภาษาและพลังของภาษาภูมิปัญญาทางภาษา และรักษาภาษาไทยไว้เป็นสมบัติ ของชาติ ตัวชี้วัด ป.4/2 ระบุชนิดและหน้าที่ของคำในประโยค ซึ่งสอดคล้องกับการทดสอบหลังเรียน เรื่อง ชนิดของคำ ที่มีผลการทดสอบอยู่ในระดับต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ด้วยเหตุนี้จึงมีความจำเป็นที่ จะต้องพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ชนิดของคำ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความรู้และเข้าใจตลอดจน สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้อง การสอนหลักภาษาไทยให้กับผู้เรียนควรจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความสนุกสนาน มีชีวิตชีวา ควรสร้างบรรยากาศและสภาพแวดล้อมในการเรียนให้เหมาะสมกับการเรียนการสอน กระตุ้นให้ผู้เรียนกล้าแสดงออก และไม่ควรสอนในตำราเพียงอย่างเดียว ดังนั้นการเรียนรู้ผ่านเกม (Games Based Learning) เป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เป็นเกมที่มีลักษณะ การเล่นเพื่อการเรียนรู้ “Play to Learning” มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ในขณะที่ เล่นเกมพร้อมกับเรียนไปด้วย ทำให้ผู้เรียนเรียนรู้อย่างมีความหมาย (ฉัตรกมล ประจวบลาภ, 2559) สอดคล้องกับ ไพฑูรย์ อนันต์ทเขต (2560) กล่าวว่า Games-Based Learning (GBL) คือ การเรียนรู้ ผ่านเกม หรือเกมเพื่อการเรียนรู้ ซึ่งก็คือสื่อในการเรียนรู้แบบหนึ่ง ซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อให้มีความ สนุกสนานไปพร้อม ๆ กับการได้รับความรู้โดยสอดแทรกเนื้อหาทั้งหมด ของหลักสูตรนั้น ๆ เอาไว้ใน เกมและให้ผู้เรียนลงมือเล่นเกมโดยที่ผู้เรียนจะได้รับความรู้ต่าง ๆ ของเนื้อหาผ่านการเล่นเกมนั้นด้วย บอร์ดเกมเป็นเกมรูปแบบหนึ่งที่สามารถนำมาใช้ เป็นเครื่องมือในการพัฒนาทักษะและการ เรียนรู้สำหรับทุกช่วงวัย เพราะบอร์ดเกมจะช่วยสร้าง บรรยากาศในการเรียนรู้ ทำให้ผู้เล่นรู้สึกสนใจ เกิดความผ่อนคลายและสนุกสนาน นอกจากนี้บรรยากาศของการแข่งขันยังทำให้ผู้เล่นรู้สึก


3 กระตือรือร้น ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์เข้ากับการเรียนรู้บอร์ดเกมที่สามารถนำมาใช้ในกระบวนการ เรียนรู้นั้นจะต้องมีการจัดระบบข้อมูล และกรอบแนวคิด เพื่อทำให้บอร์ดเกมมีความเสถียร เกมเหล่านี้ จะเชื่อมโยงความรู้ใหม่ ข้อมูลใหม่ เมื่อผู้เล่นเล่น ร่วมกันเป็นทีม ก็จะได้เรียนรู้ร่วมกัน ไม่มีใครรู้สึก แปลกแยกจากการเรียนรู้หรือรู้สึกว่าเรียนไม่ทันเพื่อน ปัญหาที่เกิดขึ้นในเกมซึ่งผู้เล่นต้องเผชิญและ ค้นหาทางแก้ไข จะทำให้ผู้เล่นเกิดความเข้าใจมากกว่าการเรียนแบบที่ผู้เล่นไม่มีส่วนร่วม หรือกล่าวได้ ว่า เกมได้เปลี่ยนความคิดที่เป็นนามธรรมให้มองเห็นได้อย่างเป็นรูปธรรมผ่านการเล่นบอร์ดเกม นอกจากนี้บอร์ดเกมที่ต้องเล่นแบบเป็นทีมช่วยเสริมสร้างทักษะการสื่อสารและความสัมพันธ์ เนื่องจาก ผู้เล่นจะต้องเผชิญหน้ากันในการตอบคำถามหรือแก้ปัญหา และได้พบว่าพวกเขามักจะสามารถค้นพบ บางสิ่งบางอย่างที่ไม่คิดว่าจะค้นพบได้จากการร่วมมือ การสื่อสาร และการมีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน (ปริญธิดา โพธิ์พะนา, 2562) จากความสำคัญและความเป็นมาของปัญหาดังกล่าว ทำให้ผู้วิจัยมองเห็นภาพรวมได้ว่า การจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐานร่วมกับบอร์ดเกม จะทำให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลัก ภาษาไทย เรื่อง ชนิดของคำ เพิ่มมากยิ่งขึ้น ดังนั้นผู้วิจัยจึงสนใจที่จะพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ภาษาไทย เรื่อง ชนิดของคำ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็น ฐานร่วมกับบอร์ดเกมเพื่อเป็นการพัฒนาผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้ได้เต็มศักยภาพ รวมทั้งเป็นแนวทาง ในการพัฒนาการสอนภาษาและหลักการใช้ภาษาไทยสืบต่อไป วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระหว่างก่อนและหลังเรียน เรื่อง ชนิดของคำ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐานร่วมกับบอร์ดเกม 2. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อด้วยการจัดการเรียนรู้ โดยใช้เกมเป็นฐานร่วมกับบอร์ดเกม สมมติฐานการวิจัย 1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ชนิดของคำ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการ จัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐานร่วมกับบอร์ดเกม หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน 2. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากต่อการจัดการเรียนรู้โดย ใช้เกมเป็นฐานร่วมกับบอร์ดเกม


4 ขอบเขตของการวิจัย 1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 1.1 ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่กำลังศึกษา ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนผดุงราษฎร์ จำนวน 4 ห้องเรียน จำนวน 131 คน 2. กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/1 ที่กำลัง ศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนผดุงราษฎร์ จำนวน 32 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่ม อย่างง่าย โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่มด้วยวิธีการจับสลาก 1 ห้องเรียน จากทั้งหมด 4 ห้องเรียน 2. ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้วิเคราะห์หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 สาระการเรียนรู้ที่ 4 หลักการใช้ภาษาไทย มาตรฐาน ท 4.1 เข้าใจธรรมชาติของภาษาและหลักภาษาไทย การเปลี่ยนแปลงของภาษา และพลัง ของภาษา ภูมิปัญญาทางภาษา และรักษาภาษาไทยไว้เป็นสมบัติของชาติ ตัวชี้วัด ป. 4/2 ระบุชนิด และหน้าที่ของประโยค เรื่อง ชนิดของคำ ดังนี้ - หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 เรื่อง คำนาม...ใช้เรียกตามชื่อ - หน่วยการเรียนรู้ที่ 8 เรื่อง คำแทนชื่อ...นี้คือสรรพนาม - หน่วยการเรียนรู้ที่ 9 เรื่อง คำกริยา...สื่ออาการ - หน่วยการเรียนรู้ที่ 10 เรื่อง คำวิเศษณ์...ขยายคำจำให้แม่น 3. ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย 3.1 ตัวแปรต้น ได้แก่ การจัดการเรียนรู้ เรื่อง ชนิดของคำ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 4 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐานร่วมกับบอร์ดเกม โดยมีรายละเอียด ดังนี้ 1) การจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน 2) บอร์ดเกมชนิดของคำ จำนวน 4 บอร์ดเกม ได้แก่ คำนาม คำสรรพนาม คำกริยา และคำวิเศษณ์ 3.2 ตัวแปรตาม ได้แก่ 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ชนิดของคำ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 2) ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดย ใช้เกมเป็นฐานร่วมกับบอร์ดเกม 4. ระยะเวลาในการวิจัย การวิจัยครั้งนี้ดำเนินการตั้งแต่วันที่1 ธันวาคม 2566 ถึงวันที่29 กุมภาพันธ์ 2567 รวมเวลาที่ใช้ในการวิจัยทั้งหมด 730 ชั่วโมง


5 นิยามศัพท์เฉพาะ เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันในการวิจัย เรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ภาษาไทย เรื่อง ชนิดของคำ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็น ฐานร่วมกับบอร์ดเกม ผู้วิจัยจึงได้นิยามศัพท์เฉพาะในการวิจัย ดังนี้ 1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง ความสามารถด้านสติปัญญาของนักเรียนแต่ละบุคคลที่ เรียนด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐานร่วมกับบอร์ดเกม ซึ่งวัดได้จากการทำแบบทดสอบ วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นและผ่านการตรวจหาคุณภาพ โดยเป็นแบบทสอบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ 2. การจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน หมายถึง เทคนิคการสอนที่นำมาใช้ในการจัด กิจกรรมเรียนรู้รายวิชาภาษาไทย เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความสนใจในการเรียนรู้ภายใต้บรรยากาศการ ที่ท้าทายและสนุกสนาน กระตุ้นให้ผู้เรียนใช้ศักยภาพและบูรณาการความรู้เพื่อแสวงหาวิธีการจบเกม ตามเป้าหมายของเกม ฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ การสร้างกลยุทธ์เพื่อความสำเร็จ การสื่อสาร การทำงานร่วมกับผู้อื่น การเคารพกฎกติกาหรือผลแพ้ชนะอย่างมีเหตุผล ในขณะเดียวกันผู้เรียนได้ เรียนรู้เนื้อหาสาระที่สอดแทรกอยู่ภายในเกมด้วย ซึ่งขั้นตอนการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน ประกอบด้วย 1) ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน เป็นการใช้วิธีการตั้งคำถามหรือกล่าวนำถึงเนื้อหาที่เกี่ยวข้อกับ บทเรียนเพื่อกระตุ้นความสนใจของผู้เรียน 2) ขั้นดำเนินกิจกรรม เป็นขั้นตอนที่ให้ผู้เรียนได้ลงมือ ปฏิบัติกิจกรรมเกมตามกฎกติกาที่ครูผู้สอนจัดเตรียมไว้ 3) ขั้นอภิปรายผลหลังการเล่มเกม เป็นขั้นตอน ที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้อภิปรายและแสดงความคิดเห็น เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และความคิดเห็นที่ ได้รับจากกิจกรรม 4) ขั้นประเมินผล เป็นขั้นที่ครูผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันระบุและตรวจสอบสิ่งที่ได้ เรียนรู้จากกิจกรรม และประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรม 3. บอร์ดเกม หมายถึง บอร์ดเกมชนิดของคำ ซึ่งเป็นบอร์ดเกมประเภทครอบครัว ที่ผู้วิจัย พัฒนาขึ้นจากเกมคาริบา (Kariba) ที่มีที่กฎกติกาไม่ซับซ้อนและเหมาะกับการเล่นด้วยกันหลายคน โดยภายในเกมผู้เล่นจะต้องเก็บรักษาคำชนิดต่าง ๆ ให้ได้มากที่สุดจึงจะเป็นผู้ชนะ ซึ่งเป็นสื่อการสอนที่ ช่วยให้นักเรียนได้พัฒนาสติปัญญาด้านการคิด การสังเกต และการนำความรู้เรื่อง ชนิดของคำ มาประยุกต์ใช้ เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้สามารถแสวงหาความรู้ ประยุกต์ใช้ทักษะต่าง ๆ และสร้างความ เข้าใจด้วยตนเอง จนเกิดเป็นการเรียนรู้อย่างมีความหมาย โดยในงานวิจัยนี้ประกอบด้วยบอร์ดเกม ชนิดของคำ จำนวน 4 บอร์ดเกม ได้แก่ บอร์ดเกมชนิดของคำนาม บอร์ดเกมชนิดของคำสรรพนาม บอร์ดเกมชนิดของคำกริยา และบอร์ดเกมชนิดของคำวิเศษณ์ สำหรับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ใน รายวิชาภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง ชนิดของคำ 4. ความพึงพอใจของนักเรียน หมายถึง ความรู้สึกยินดี เจตคติและทัศนคติของนักเรียน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐานร่วมกับบอร์ดเกม 3 ด้าน


6 ได้แก่ ด้านกิจกรรมการสอน ด้านรูปแบบของบอร์ดเกม และด้านประโยชน์ที่ได้รับ โดยสามารถวัดได้ จากแบบสอบถามความพึงพอใจที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ซึ่งข้อคำถามเป็นแบบมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ตามหลักการของลิเคิร์ท ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1. ได้แนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ชนิด ของคำ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐานร่วมกับบอร์ดเกม 2. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ชนิดของคำ สูงขึ้น หลังจากจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐานร่วมกับบอร์ดเกม 3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เกม เป็นฐานร่วมกับบอร์ดเกม 4. นำผลการวิจัยไปพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพ และสามารถ ยกระดับคุณภาพการศึกษาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ได้


7 บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การวิจัย เรื่องการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทย เรื่อง ชนิดของคำ ของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐานร่วมกับบอร์ดเกม ผู้วิจัยได้ศึกษาค้นคว้าเอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะนำมาเสนอตามลำดับดังนี้ 1. เอกสารเกี่ยวกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระ การเรียนรู้ภาษาไทย 2. เอกสารเกี่ยวกับหลักสูตรสถานศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลายโรงเรียน ผดุงราษฎร์กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย 3. เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับชนิดของคำ 4. เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน 5. เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับบอร์ดเกม 6. กรอบแนวคิดในการวิจัย 1. เอกสารเกี่ยวกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการ เรียนรู้ภาษาไทย ผู้วิจัยได้ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ดังนี้ 1.1 วิสัยทัศน์ หลักการ จุดมุ่งหมาย สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน และคุณลักษณะ อันพึงประสงค์ วิสัยทัศน์ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มีวิสัยทัศน์มุ่งพัฒนาผู้เรียน ทุกคน ซึ่งเป็นกำลังของชาติให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมดุลทั้งด้านร่างกาย ความรู้ คุณธรรม มีจิตสำนึก ในความเป็นพลเมืองไทย และเป็นพลโลก ยึดมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีความรู้และทักษะพื้นฐาน รวมทั้งเจตคติที่จำเป็นต่อการศึกษา ต่อ การประกอบอาชีพ และการศึกษาตลอดชีวิต โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญบนพื้นฐานความเชื่อว่าทุก คนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ (กระทรวงศึกษาธิการ, 2551, น. 4)


8 หลักการ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มีหลักการที่สำคัญ ดังนี้ (กระทรวงศึกษาธิการ, 2551, น. 4) 1. เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อความเป็นเอกภาพของชาติ มีจุดหมายและมาตรฐาน การเรียนรู้ เป็นเป้าหมายสำหรับพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีความรู้ ทักษะ เจตคติ และคุณธรรม บนพื้นฐานของความเป็นไทยควบคู่กับความเป็นสากล 2. เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อปวงชน ที่ประชาชนทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษา อย่างเสมอภาคและมีคุณภาพ 3. เป็นหลักสูตรการศึกษาที่สนองการกระจายอำนาจ ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัด การศึกษาให้สอดคล้องกับสภาพและความต้องการของท้องถิ่น 4. เป็นหลักสูตรการศึกษาที่มีโครงสร้างยืดหยุ่นทั้งด้านสาระการเรียนรู้ เวลาและการ จัดการเรียนรู้ 5. เป็นหลักสูตรการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 6. เป็นหลักสูตรการศึกษาสำหรับการศึกษาในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย สามารถเทียบโอนผลการเรียนรู้ และประสบการณ์ จุดหมาย หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดีมีปัญญา มีความสุข มีศักยภาพในการศึกษาต่อ และประกอบอาชีพ จึงกำหนดเป็นจุดหมายเพื่อให้เกิดกับผู้เรียน เมื่อจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดังนี้(กระทรวงศึกษาธิการ, 2551, น. 5) 1. มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ เห็นคุณค่าของตนเอง มีวินัย และปฏิบัติตนตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา หรือศาสนาที่ตนนับถือ ยึดหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง 2. มีความรู้อันเป็นสากลและมีความสามารถในการสื่อสาร การคิด การแก้ปัญหา การใช้เทคโนโลยี และมีทักษะชีวิต 3. มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี มีสุขนิสัย และรักการออกกำลังกาย 4. มีความรักชาติ มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและพลโลก ยึดมั่นในวิถีชีวิต และการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 5. มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์วัฒนธรรมภูมิปัญญาไทย การอนุรักษ์พัฒนาสิ่งแวดล้อม มีจิตสาธารณะที่มุ่งทำประโยชน์ สร้างสิ่งที่ดีงามในสังคม และอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข


9 สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐาน การเรียนรู้ ซึ่งการพัฒนาผู้เรียนให้บรรลุมาตรฐานการเรียนรู้ที่กำหนดนั้น จะช่วยให้ผู้เรียนเกิด สมรรถนะสำคัญ 5 ประการ ดังนี้(กระทรวงศึกษาธิการ, 2551, น. 6) 1. ความสามารถในการสื่อสาร เป็นความสามารถในการรับและส่งสาร มีวัฒนธรรม ในการใช้ภาษาถ่ายทอดความคิด ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึก และทัศนะของตนเองเพื่อแลกเปลี่ยน ข้อมูลข่าวสาร และประสบการณ์อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเองและสังคม รวมทั้งการเจรจา ต่อรองเพื่อขจัดและลดปัญหาความขัดแย้งต่าง ๆ การเลือกรับหรือไม่รับข้อมูลข่าวสารด้วยหลักเหตุผล และความถูกต้อง ตลอดจนการเลือกใช้วิธีการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อ ตนเองและสังคม 2. ความสามารถในการคิด เป็นความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ การคิดอย่างสร้างสรรค์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดเป็นระบบ เพื่อนำไปสู่การสร้าง องค์ความรู้หรือสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับตนเองและสังคมได้อย่างเหมาะสม 3. ความสามารถในการแก้ปัญหา เป็นความสามารถในการแก้ปัญหาและอุปสรรค ที่เผชิญได้อย่างถูกต้องเหมาะสมบนพื้นฐานของหลักเหตุผล คุณธรรม และข้อมูลสารสนเทศ เข้าใจ ความสัมพันธ์และการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ต่าง ๆ ในสังคม แสวงหาความรู้ ประยุกต์ความรู้มา ใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหา และมีการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น ต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม 4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต เป็นความสามารถในการนำกระบวนการต่าง ๆ ไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง การทำงาน และการอยู่ร่วมกันในสังคมด้วยการสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล การจัดการปัญหาและ ความขัดแย้งต่าง ๆ อย่างเหมาะสม การปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและ สภาพแวดล้อม และการรู้จักหลีกเลี่ยงพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ที่ส่งผลกระทบต่อตนเองและผู้อื่น 5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี เป็นความสามารถในการเลือกและใช้เทคโนโลยี ด้านต่าง ๆ และมีทักษะกระบวนการทางเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาตนเองและสังคมในด้านการเรียนรู้ การสื่อสาร การทำงาน การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ถูกต้องเหมาะสม และมีคุณธรรม คุณลักษณะอันพึงประสงค์ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะ อันพึงประสงค์ เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข ในฐานะเป็นพลเมืองไทยและ พลโลก ดังนี้ (กระทรวงศึกษาธิการ, 2551, น. 7)


10 1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 2. ซื่อสัตย์สุจริต 3. มีวินัย 4. ใฝ่เรียนรู้ 5. อยู่อย่างพอเพียง 6. มุ่งมั่นในการทำงาน 7. รักความเป็นไทย 8. มีจิตสาธารณะ 1.2 มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด มาตรฐานการเรียนรู้ มาตรฐานการเรียนรู้ของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีการพัฒนาผู้เรียนให้ เกิดความสมดุล ต้องคำนึงถึงหลักพัฒนาการทางสมองและพหุปัญญา จึงกำหนดให้ผู้เรียนเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ดังนี้(กระทรวงศึกษาธิการ, 2551, น. 8) 1. ภาษาไทย 2. คณิตศาสตร์ 3. วิทยาศาสตร์ 4. สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม 5. สุขศึกษาและพลศึกษา 6. ศิลปะ 7. การงานอาชีพและเทคโนโลยี 8. ภาษาต่างประเทศ ในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ได้กำหนดมาตรฐานการเรียนรู้ เป็นเป้าหมายสำคัญของ การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน มาตรฐานการเรียนรู้ระบุสิ่งที่ผู้เรียนพึงรู้และปฏิบัติได้ มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ ที่ต้องการให้เกิดแก่ผู้เรียนเมื่อจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน นอกจากนั้นมาตรฐาน การเรียนรู้ยังเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนพัฒนาการศึกษาทั้งระบบ เพราะมาตรฐานการเรียนรู้จะ สะท้อนให้ทราบว่า ต้องการอะไร ต้องสอนอะไร จะสอนอย่างไร และประเมินอย่างไร รวมทั้งเป็น เครื่องมือในการตรวจสอบเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษา โดยใช้ระบบการประเมินคุณภาพภายใน และการประเมินคุณภาพภายนอก ซึ่งรวมถึงการทดสอบระดับเขตพื้นที่การศึกษา และการทดสอบ ระดับชาติ ระบบการตรวจสอบเพื่อประกันคุณภาพดังกล่าวเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยสะท้อนภาพการจัด การศึกษาว่าสามารถพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามที่มาตรฐานการเรียนรู้กำหนดเพียงใด


11 ตัวชี้วัด หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตัวชี้วัดต้องระบุสิ่งที่ผู้เรียนพึงรู้และปฏิบัติได้ รวมทั้งคุณลักษณะของผู้เรียนในแต่ละระดับชั้น ซึ่งสะท้อนถึงมาตรฐานการเรียนรู้ มีความ เฉพาะเจาะจงและมีความเป็นรูปธรรม นำไปใช้ในการกำหนดเนื้อหา จัดทำหน่วยการเรียนรู้ จัดการ เรียนการสอน และเป็นเกณฑ์สำคัญสำหรับการวัดประเมินผลเพื่อตรวจสอบคุณภาพผู้เรียน (กระทรวงศึกษาธิการ, 2551, น. 9) 1. ตัวชี้วัดชั้นปี เป็นเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียนแต่ละชั้นปีในระดับการศึกษา ภาคบังคับ (ประถมศึกษาปีที่ 1 - มัธยมศึกษาปีที่ 3) 2. ตัวชี้วัดช่วงชั้น เป็นเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (มัธยมศึกษาปีที่ 4 - 6) 1.3 หลักสูตรและเนื้อหากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย กระทรวงศึกษาธิการ (2551) ได้กล่าวถึงเหตุผลที่นักเรียนควรเรียนภาษาไทย ไว้ว่า ภาษาไทยเป็นเอกลักษณ์ของชาติเป็นสมบัติทางวัฒนธรรม อันก่อให้เกิดความเป็นเอกภาพและ เสริมสร้างบุคลิกภาพของคนในชาติให้มีความเป็นไทย เป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารเพื่อสร้างความ เข้าใจและความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ทำให้สามารถประกอบกิจธุระ การงาน และดำรงชีวิตร่วมกันใน สังคมประชาธิปไตยได้อย่างสันติสุข และเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ ประสบการณ์จาก แหล่งข้อมูลสารสนเทศต่าง ๆ เพื่อ พัฒนาความรู้ กระบวนการคิดวิเคราะห์ วิจารณ์ และสร้างสรรค์ ให้ ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ตลอดจนนำไปใช้ใน การพัฒนาอาชีพให้มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ยังเป็นสื่อแสดงภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ ด้านวัฒนธรรม ประเพณี สุนทรียภาพ เป็นสมบัติล้ำค่าควรแก่การเรียนรู้ อนุรักษ์ และสืบสานให้คงอยู่ คู่ชาติไทยตลอดไป ภาษาไทยเป็นทักษะที่ต้องฝึกฝนจนเกิดความชำนาญในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร การเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ และเพื่อนำไปใช้ในชีวิตจริง โดยกระทรวงศึกษาธิการ (2551) ได้กำหนดสิ่งที่ผู้เรียนต้องเรียนรู้ในรายวิชาภาษาไทยไว้ดังนี้ การอ่าน การอ่านออกเสียงคำ ประโยค การอ่านบทร้อยแก้ว คำประพันธ์ ชนิดต่าง ๆ การอ่านในใจเพื่อสร้างความเข้าใจ และการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ความรู้จาก สิ่งที่อ่าน เพื่อนำไป ปรับใช้ในชีวิตประจำวัน การเขียน การเขียนสะกดคำตามอักขรวิธี การเขียนสื่อสารรูปแบบต่าง ๆ การเขียน เรียงความ ย่อความ เขียนรายงานจากการศึกษาค้นคว้า เขียนตามจินตนาการ เขียนวิเคราะห์วิจารณ์ และเขียนเชิงสร้างสรรค์


12 การฟัง การดู และการพูด การฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณ การพูดแสดงความคิดเห็น ความรู้สึก พูดลำดับเรื่องราวต่าง ๆ อย่างเป็นเหตุเป็นผล การพูดในโอกาสต่าง ๆ ทั้งเป็นทางการและ ไม่เป็นทางการ และการพูดเพื่อโน้มน้าวใจ หลักการใช้ภาษาไทย ศึกษาธรรมชาติและกฎเกณฑ์ของภาษาไทย การใช้ภาษาให้ ถูกต้องเหมาะสมกับโอกาสและบุคคล การแต่งบทประพันธ์ประเภทต่าง ๆ และอิทธิพลของ ภาษาต่างประเทศในภาษาไทย วรรณคดีและวรรณกรรม วิเคราะห์วรรณคดีและวรรณกรรมเพื่อศึกษาข้อมูล แนวความคิด คุณค่าของงานประพันธ์ และเพื่อความเพลิดเพลิน การเรียนรู้และทำความเข้าใจ บทเห่ บทร้องเล่นของเด็ก เพลงพื้นบ้านที่เป็นภูมิปัญญาที่มีคุณค่าของไทย ซึ่งได้ถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิด ค่านิยม ขนบธรรมเนียมประเพณี เรื่องราวของสังคมในอดีต และความงดงามของภาษามาจนถึง ปัจจุบัน เพื่อให้เกิดความซาบซึ้งและภูมิใจในบรรพบุรุษที่ได้สั่งสมสืบทอด คุณภาพของผู้เรียน คุณภาพของผู้เรียนรายวิชาภาษาไทยที่เรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตามมาตรฐาน การเรียนรู้และตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กำหนดไว้ดังนี้(กระทรวงศึกษาธิการ, 2551, น. 4) 1. อ่านออกเสียงบทร้อยแก้วและบทร้อยกรองเป็นทำนองเสนาะได้ถูกต้อง อธิบาย ความหมายโดยตรงและความหมายโดยนัยของคำ ประโยค ข้อความ สำนวนโวหารจากเรื่องที่อ่าน เข้าใจคำแนะนำ คำอธิบายในคู่มือต่าง ๆ แยกแยะข้อเท็จจริงจับใจความสำคัญของเรื่องที่อ่าน และนำ ความรู้ความคิดจากเรื่องที่อ่านไปตัดสนใจแก้ปัญหาในการดำเนินชีวิต มีมารยาทและมีนิสัยรักการ อ่าน และเห็นคุณค่าสิ่งที่อ่าน 2. มีทักษะในการคัดลายมือเต็มบรรทัดและครึ่งบรรทัด เขียนสะกดคำ แต่งประโยค และเขียนข้อความตลอดจนเขียนสื่อสารโดยใช้ถ้อยคำชัดเจนเหมาะสม ใช้แผนภาพโครงเรื่อง และแผนภาพความคิด เพื่อพัฒนางานเขียน เขียนเรียงความ ย่อความ จดหมายส่วนตัว กรอกแบบ รายงานต่าง ๆ เขียนแสดงความรู้สึกและความคิดเห็น เขียนเรื่องตามจินตนาการอย่างสร้างสรรค์ และมีมารยาทในการเขียน 3. พูดแสดงความรู้ ความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องฟังและดู เล่าเรื่องย่อหรือสรุปจากที่ฟัง และดู ตั้งคำถาม ตอบคำถามจากเรื่องที่ฟังและดู รวทั้งประเมินความน่าเชื่อถือจากการฟังและดู โฆษณาอย่างมีเหตุผล พูดตามลำดับขั้นตอนเรื่องต่าง ๆ อย่างชัดเจน พูดรายงานเรื่องหรือประเด็น ค้นคว้าจากการฟัง การดู การสนทนา พูดโน้มน้าวอย่างมีเหตุผล รวมทั้งมีมารยาทในการฟัง ดูและพูด 4. สะกดคำและเข้าใจความหมายของคำ สำนวน คำพังเพย และสุภาษิต รู้และเข้าใจ ชนิดและหน้าที่ของคำในประโยค ชนิดของประโยค คำภาษาถิ่นและคำภาษาต่างประเทศในภาษาไทย


13 ใช้คำราชาศัพท์และคำสุภาพได้อย่างเหมาะสม แต่งประโยค แต่งบทร้อยกรองประเภทกลอนสี่ กลอนสุภาพ และกาพย์ยานี 11 5. เข้าใจและเห็นคุณค่าวรรณคดีและวรรณกรรมที่อ่าน เล่านิทานพื้นบ้าน ร้องเพลง พื้นบ้านของท้องถิ่น นำข้อคิดเห็นจากเรื่องที่อ่านไปประยุกต์ใช้นชีวิตจริง และท่องจำบทอาขยาน ตามที่กำหนดได้ 1.4 สาระและมาตรฐานการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ของรายวิชาภาษาไทยในหลักสูตรแกนกลางการศึกษา ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กำหนดไว้ 5 สาระ ดังนี้(กระทรวงศึกษาธิการ, 2551, น. 12) สาระที่ 1 การอ่าน มาตรฐาน ท 1.1 ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้และความคิด เพื่อนำไปใช้ตัดสินใจ แก้ปัญหาในการดำเนินชีวิตและมีนิสัยรักการอ่าน สาระที่ 2 การเขียน มาตรฐาน ท 2.1 ใช้กระบวนการเขียน เขียนสื่อสาร เขียน เรียงความ ย่อความ และเขียนเรื่องราวในรูปแบบต่าง ๆ เขียนรายงานข้อมูลสารสนเทศและ รายงาน การศึกษาค้นคว้าอย่างมีประสิทธิภาพ สาระที่ 3 การฟัง การดู และการพูด มาตรฐาน ท 3.1 สามารถเลือกฟังและดูอย่างมี วิจารณญาณ และพูดแสดงความรู้ ความคิด ความรู้สึกในโอกาสต่าง ๆ อย่างมีวิจารณญาณ และสร้างสรรค์ สาระที่ 4 หลักการใช้ภาษาไทย มาตรฐาน ท 4.1 เข้าใจธรรมชาติของภาษาและหลัก ภาษาไทย การเปลี่ยนแปลงของภาษาและพลังของภาษา ภูมิปัญญาทางภาษา และรักษาภาษาไทยไว้ เป็นสมบัติของชาติ สาระที่ 5 วรรณคดีและวรรณกรรม มาตรฐาน ท 5.1 เข้าใจและแสดงความคิดเห็น วิจารณ์วรรณคดี และวรรณกรรมไทยอย่างเห็นคุณค่าและนํามาประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทย เรื่อง ชนิดของคำ ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐานร่วมกับบอร์ดเกม เป็นการจัด การเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐานร่วมกับบอร์ดเกม เพื่อมุ่งพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทย เรื่อง ชนิดของคำ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ซึ่งอยู่ในสาระการเรียนรู้ที่ 4 หลักการ ใช้ภาษาไทย กระทรวงศึกษาธิการ (2551) ได้กล่าวถึงตัวชี้วัดชั้นปีของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ในสาระที่ 4 หลักการใช้ภาษาไทย มาตรฐาน ท 4.1 เข้าใจธรรมชาติของภาษาและหลักภาษาไทย การเปลี่ยนแปลงของภาษาและ พลังของภาษา ภูมิปัญญาทางภาษา และรักษาภาษาไทยไว้เป็นสมบัติ ของชาติ ไว้ดังนี้ 1. สะกดคำและบอกความหมายของคำในบริบทต่าง ๆ


14 2. ระบุชนิดและหน้าที่ของคำในประโยค 3. ใช้พจนานุกรมค้นหาความหมายของคำ 4. แต่งประโยคได้ถูกต้องตามหลักภาษา 5. แต่งบทร้อยกรองและคำขวัญ 6. บอกความหมายของสำนวน 7. เปรียบเทียบภาษาไทยมาตรฐานและภาษาถิ่นได้ 1.5 ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่ 4 สาระที่ 4 หลักการใช้ภาษาไทย มาตรฐาน ท 4.1 เข้าใจธรรมชาติของภาษาและ หลักภาษาไทย การเปลี่ยนแปลงของภาษาและพลังของภาษา ภูมิปัญญาทางภาษา และรักษา ภาษาไทยไว้เป็นสมบัติของชาติกำหนดไว้ ดังนี้ (กระทรวงศึกษาธิการ, 2551, น. 47-48) ตาราง 1 ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่ 4 สาระที่ 4 หลักการใช้ภาษาไทย มาตรฐาน ท 4.1 ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง 1. สะกดคำและบอกความหมายของคำใน บริบทต่าง ๆ • คำในแม่ ก กา • มาตราตัวสะกด • การผันอักษร • คำเป็นคำตาย • คำพ้อง 2. ระบุชนิดและหน้าที่ของคำในประโยค • ชนิดและหน้าที่ของคำ ได้แก่ - คำนาม - คำสรรพนาม - คำกริยา - คำวิเศษณ์ 3. ใช้พจนานุกรมค้นหาความหมายของคำ • การใช้พจนานุกรม 4. แต่งประโยคได้ถูกต้องตามหลักภาษา • ประโยคสามัญ - ส่วนประกอบของประโยค - ประโยค 2 ส่วน - ประโยค 3 ส่วน


15 ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง 5. แต่งบทร้อยกรองและคำขวัญ • กลอนสี่ • คำขวัญ 6. บอกความหมายของสำนวน • สำนวนที่เป็นคำพังเพยและสุภาษิต 7. เปรียบเทียบภาษาไทยมาตรฐานและภาษา ถิ่นได้ • ภาษาไทยมาตรฐาน • ภาษาถิ่น การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้เลือกใช้การจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐานร่วมกับบอร์ดเกมมา พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทย เรื่อง ชนิดของคำ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ในสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย 4 สาระที่ 4 หลักการใช้ภาษาไทย มาตรฐาน ท 4.1 ตัวชี้วัดที่ 2 ระบุชนิดและหน้าที่ของคำในประโยค สาระการเรียนรู้แกนกลาง คือ ชนิดและหน้าที่ของคำ ได้แก่คำนาม คำสรรพนาม คำกริยา และคำวิเศษณ์ 2. เอกสารเกี่ยวกับหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนผดุงราษฎร์กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย หลักสูตรตามแนวทางฐานสมรรถนะโรงเรียนผดุงราษฎร์ พุทธศักราช 2565 ตามหลักสูตร การศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นการพัฒนาผู้เรียนให้เกิด สมรรถนะที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต มีความเชื่อมโยงกับบริบทและชีวิตจริงของผู้เรียน โดยมีการ กำหนดสมรรถนะหลักที่เหมาะสมสำหรับแต่ละช่วงชั้น ให้ครูผู้สอนนำไปใช้เป็นหลักในการกำหนด จุดประสงค์ สาระการเรียนรู้ การจัดการเรียนการสอน และการวัดประเมินผล โดยผู้วิจัยได้ศึกษา ค้นคว้าเกี่ยวกับการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนผดุงราษฎร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ดังนี้ 1.1 วิสัยทัศน์พันธกิจ จุดหมาย หลักการ สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน และคุณลักษณะ อันพึงประสงค์ วิสัยทัศน์ หลักสูตรตามแนวทางฐานสมรรถนะโรงเรียนผดุงราษฎร์ พุทธศักราช 2565 ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) มีวิสัยทัศน์มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมี คุณธรรมจริยธรรมตามครรลองคริสต์ศาสนา มุ่งเน้นภาษา พัฒนาทักษะการคิด สร้างสรรค์นวัตกรรม ก้าวทันเทคโนโลยี(โรงเรียนผดุงราษฎร์, 2565, น. 3)


16 พันธกิจ หลักสูตรตามแนวทางฐานสมรรถนะโรงเรียนผดุงราษฎร์ พุทธศักราช 2565 ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) มีพันธกิจที่สำคัญ ดังนี้ (โรงเรียนผดุงราษฎร์, 2565, น. 3) 1. พัฒนาหลักสูตรบนพื้นฐานความเชื่อตามครรลองคริสต์ศาสนา 2. ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทักษะด้านภาษา ในชีวิตประจำวันและการประกอบอาชีพ 3. ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ด้วยทักษะกระบวนการคิดขั้นสูง ตามรูปแบบ CCT. Thinking School Model 4. พัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ที่จำเป็น เพื่อใช้ในการสร้างนวัตกรรมอย่างสร้างสรรค์ 5. พัฒนาผู้เรียนให้ก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก และรู้เท่าทัน หลักการ หลักสูตรตามแนวทางฐานสมรรถนะโรงเรียนผดุงราษฎร์ พุทธศักราช 2565 ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) มีหลักการที่สำคัญ ดังนี้ (โรงเรียนผดุงราษฎร์, 2565, น. 3) 1. เป็นหลักสูตรที่มุ่งพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมบนพื้นฐานความเชื่อตามครรลองของ คริสต์ศาสนา ให้ผู้เรียนมีความสมบูรณ์พร้อมทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ สังคม และจิตใจ ตามช่วงวัย 2. เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นพัฒนาสมรรถนะด้านภาษา ตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด 3. เป็นหลักสูตรที่มุ่งพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ทักษะการคิดขั้นสูงตาม รูปแบบ CCT. Thinking School Model ใช้สื่อและสถานการณ์การเรียนรู้ที่ร่วมสมัย มีการประเมิน เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ และสะท้อนทักษะการคิดของผู้เรียนตามศักยภาพ 4. เป็นหลักสูตรที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความสามารถ รู้เท่าทันสื่อ สร้างนวัตกรรม และประยุกต์ใช้เพื่อประโยชน์ในการดำเนินชีวิตอย่างมีประสิทธิภาพ จุดหมาย หลักสูตรตามแนวทางฐานสมรรถนะโรงเรียนผดุงราษฎร์ พุทธศักราช 2565 ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เกิดสมรรถนะ ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต มีความเชื่อมโยงกับบริบทและชีวิตจริงของผู้เรียน โดยมีการกำหนด สมรรถนะหลักที่เหมาะสมสำหรับผู้เรียนแต่ละช่วงชั้น จึงกำหนดจุดหมายเพื่อให้เกิดกับผู้เรียนเมื่อจบ การศึกษา ดังนี้ (โรงเรียนผดุงราษฎร์, 2565, น. 3) 1. เสริมสร้างผู้เรียนให้เป็นผู้มีคุณธรรมจริยธรรม ตามครรลองคริสต์ศาสนา มีพื้นฐาน มั่นคงทางกายจิต สังคม และอารมณ์


17 2. ส่งเสริม สนับสนุนผู้เรียนให้มีทักษะด้านภาษา สามารถสื่อสารได้อย่างมี ประสิทธิภาพ เพื่อประโยชน์ในชีวิตประจำวันและการประกอบอาชีพในอนาคต 3. พัฒนาการจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมีทักษะการคิดขั้นสูง ตามรูปแบบ CCT. Thinking School ใช้สื่อและสถานการณ์การเรียนรู้ที่ร่วมสมัย เน้นการประเมินผู้เรียนเพื่อพัฒนาและ สะท้อน ทักษะการคิดของผู้เรียนตามศักยภาพ 4. สร้างผู้เรียนให้เป็นผู้นำ มีทักษะการทำงานอย่างเป็นระบบ ใช้ความคิดสร้างสรรค์ ที่นำไปสู่การสร้างนวัตกรรม ทำงานร่วมกับผู้อื่นเพื่อพัฒนาตน สังคม และประเทศชาติ 5. เสริมสร้างผู้เรียนให้เข้าถึงและรู้เท่าทันสื่อ วิทยาการ และเพื่อการดำรงชีวิต สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน หลักสูตรตามแนวทางฐานสมรรถนะโรงเรียนผดุงราษฎร์ พุทธศักราช 2565 ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีสมรรถนะ สำคัญ 5 ประการ ดังนี้(โรงเรียนผดุงราษฎร์, 2565, น. 5-6) 1. ความสามารถในการสื่อสาร 1.1 มีความสามารถในการรับ - ส่งสาร ทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาอื่น 1.2 มีความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ ความคิด ความเข้าใจของตนเองโดยใช้ ภาษาอย่างเหมาะสม 1.3 ใช้วิธีการสื่อสารที่เหมาะสม 1.4 วิเคราะห์แสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล 1.5 เขียนบันทึกเหตุการณ์ประจำวันแล้วเล่าให้เพื่อนฟังได้ 1.6 มีความสามารถในการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ ทั้งฟัง พูด อ่าน เขียนให้มี มาตรฐานตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด 2. ความสามารถในการคิด 2.1 มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ 2.2 มีทักษะในการคิดนอกกรอบอย่างสร้างสรรค์ 2.3 สามารถคิดอย่างมีวิจารณญาณ 2.4 มีความสามารถในการคิดอย่างมีระบบ 2.5 ตัดสินใจแก้ปัญหาเกี่ยวกับตนเองได้โดยใช้ทักษะกระบวนการคิด 3. ความสามารถในการแก้ปัญหา 3.1 สามารถแก้ปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ที่เผชิญได้และคาดเดาผลที่จะเกิดขึ้น จากวิธีการแก้ไขปัญหาเหล่านั้น 3.2 ใช้เหตุผลในการแก้ปัญหา


18 3.3 เข้าใจความสัมพันธ์และการเปลี่ยนแปลงในสังคมไทยและสังคมโลก 3.4 แสวงหาความรู้ ประยุกต์ความรู้มาใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหา 3.5 สามารถตัดสินใจได้เหมาะสมตามวัย 4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต 4.1 เรียนรู้ด้วยตนเองได้เหมาะสมตามวัย 4.2 สามารถทำงานกลุ่มร่วมกับผู้อื่นได้ 4.3 นำความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน 4.4 จัดการปัญหาและความขัดแย้งได้เหมาะสม 4.5 หลีกเลี่ยงพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ที่ส่งผลกระทบต่อตนเองทั้งร่างกาย อารมณ์ สังคมโดยรอบ และไม่ละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้อื่น 4.6 มีเจตคติที่ดีต่อการประกอบสัมมาอาชีพ มีคุณลักษณะของความเป็น ผู้ประกอบการที่รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก 5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี 5.1 เลือกและใช้เทคโนโลยีได้เหมาะสมตามวัย 5.2 มีทักษะกระบวนการทางเทคโนโลยี 5.3 สามารถนำเทคโนโลยีไปใช้พัฒนาตนเอง 5.4 ใช้เทคโนโลยีในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ 5.5 ใช้เทคโนโลยีอย่างมีคุณธรรม จริยธรรมบนพื้นฐานความรักของพระเจ้า คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของหลักสูตรสถานศึกษา หลักสูตรตามแนวทางฐานสมรรถนะโรงเรียนผดุงราษฎร์ พุทธศักราช 2565 ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะ อันพึงประสงค์สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข ในฐานะเป็นพลเมืองไทยและพลโลก ดังนี้(โรงเรียนผดุงราษฎร์, 2565, น. 4-5) 1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์เป็นคุณลักษณะที่แสดงออกถึงการเป็นพลเมืองดีของชาติ มีทัศคติที่ถูกต้องต่อบ้านเมือง ปฏิบัติตนตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนาหรือศาสนาที่ตนนับถือ เคารพสถาบันพระมหากษัตริย์ และยึดมั่นในชีวิตและการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 2. ซื่อสัตย์สุจริต เป็นคุณลักษณะที่แสดงออกถึงการยึดมั่นในความถูกต้อง เที่ยงธรรม จริงใจ ประพฤติตรงตามความเป็นจริงต่อตนเองและผู้อื่นทั้งทางกาย วาจาและใจ ยึดหลักความจริง และความถูกต้องในการดำเนินชีวิตละอายและเกรงกลัวต่อการกระทำผิด


19 3. มีวินัย เป็นคุณลักษณะที่แสดงออกถึงการยึดมั่นในข้อตกลง กฎเกณฑ์และ ระเบียบข้อบังคับ ทั้งของตนเอง ห้องเรียน ครอบครัว โรงเรียนและสังคมเป็นปกติวิสัย รักษาสิทธิของ ตนเอง และไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น รับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย และเป็นผู้มีความรับผิดชอบ ต่อหน้าที่การกระทำและคำพูด มุ่งมั่นและยืนหยัดการทำความดี 4. ใฝ่เรียนรู้ตลอดชีวิต เป็นคุณลักษณะที่แสดงออกถึงความเป็นผู้ที่มีทักษะการคิด แสวงหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ผ่านเทคโนโลยีสร้างสรรค์นวัตกรรม มีความกระตือรือร้นและเปิดใจใน การพัฒนาตนเองให้มีคุณค่าอยู่เสมอ มีสติรอบคอบ มีไหวพริบและมีเหตุผล์ในการตัดสินใจ มีความ เชื่อมั่น มีคุณค่าในตนเอง รู้จักประหยัด อดออม กล้าหาญ อดทนอดกลั้น 5. อยู่อย่างพอเพียง เป็นคุณลักษณะที่แสดงออกถึงการดำเนินชีวิตอย่างพอประมาณ มีเหตุผล รอบคอบ มีคุณธรรม อยู่ร่วมกับผู้อื่นด้วยความรับผิดชอบไม่เบียดเบียนผู้อื่น เห็นคุณค่าของ ทรัพยากรต่าง ๆ มีการวางแผนป้องกันความเสี่ยงและพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง มีภูมิคุ้มกันในบุคคลที่ ดีและปรับตัว เพื่ออยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข รวมทั้งเห็นคุณค่าของธรรมชาติ มีจิตสำนึกในการ อนุรักษ์และใช้ทรัพยากรธรรมชาติตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างสมดุล มีความมุ่งมั่น พัฒนาสิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืน และเข้าใจในหลักความเป็นจริงของธรรมชาติและอยู่อย่างพอเพียง 6. มุ่งมั่นในการทำงาน เป็นคุณลักษณะซึ่งแสดงออกถึงความตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ ที่ได้รับมอบหมายด้วยความเพียรพยายาม ทุ่มเทกำลังกาย กำลังใจ ในการปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ให้สำเร็จลุล่วงตามเป้าหมายที่กำหนด รับผิดขอบ และมีความภาคภูมิใจในผลงาน 7. รักความเป็นไทย มีน้ำใจ ใฝ่สันติสุข เป็นคุณลักษณะที่แสดงออกถึงความภาคภูมิใจ เห็นคุณค่า ชื่นชม มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ สืบทอด เผยแพร่ภูมิปัญญาไทย ขนบธรรมเนียมประเพณี ศิลปะและวัฒนธรรมไทย ใช้ภาษาในการสื่อสาร ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม มีความรับผิดชอบต่อ ส่วนรวม รักสันติสุขเสียสละ ความสุภาพอ่อนโยน เคารพในอาวุโส และให้เกียรติผู้อื่น มีความกตัญญู กตเวที มีน้ำใจเอื้อเฟื้อต่อผู้อื่น รู้รักสามัคคี 8. มีจิตสาธารณะ เป็นคุณลักษณะที่แสดงออกถึงการเป็นผู้ให้และมีน้ำใจช่วยเหลือ ผู้อื่น แบ่งปันความสุขส่วนตนเพื่อทำประโยชน์แก่ส่วนรวม เข้าใจ เห็นใจผู้ที่มีความเดือดร้อน อาสา ช่วยเหลือสังคม การมีส่วนร่วมในกิจกรรมหรือสถานการณ์ที่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้อื่น ชุมชน และสังคม ด้วยความเต็มใจและกระตือรือร้นโดยไม่หวังผลตอบแทน


20 1.2 หลักสูตรและเนื้อหากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สมรรถนะเฉพาะรายวิชา สมรรถนะเฉพาะรายวิชาภาษาไทย ตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดกลุ่มสาระ การเรียนรู้ภาษาไทย ตามหลักสูตรฐานสมรรถนะโรงเรียนผดุงราษฎร์ พุทธศักราช 2565 กำหนดไว้ ดังนี้ (โรงเรียนผดุงราษฎร์, 2565, น. 7) 1. ฟัง ดู และพูดด้วยความเข้าใจ 1.1 ฟังและดูเพื่อทำความเข้าใจข้อความหรือเรื่องที่ได้ฟัง และดู หรือมีผู้อ่านให้ฟัง 1.2 พูดสื่อสารให้ผู้ฟังได้ยินและเข้าใจ 1.3 ส่วนร่วมในการสนทนาแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และประสบการณ์กับ ผู้อื่นในสถานการณ์ต่าง ๆ ด้วยความเข้าใจ และเคารพในความแตกต่าง 1.4 สะท้อนการพูดของตนเองตามความเป็นจริงอย่างเหมาะสม 2. อ่านด้วยความเข้าใจ 2.1 อ่านออกเสียงคำ คำคล้องจอง ข้อความ เรื่องสั้น ๆ และบทร้อยกรองง่าย ๆ อย่างคล่องแคล่ว 2.2 เข้าใจความหมายของคำและข้อความที่อ่าน 2.3 ฝึกฝนการอ่านจากสื่อต่าง ๆ 2.4 ตั้งคำถามและตอบคำถามเพื่อตรวจสอบความเข้าใจในการอ่าน 2.5 สรุปความรู้และข้อคิดจากการอ่าน 3. เขียนแสดงความเข้าใจ 3.1 คัดลายมือตามรูปแบบ และคัดลอกคำ หรือข้อความอย่างถูกต้อง 3.2 เขียนสื่อสารด้วยคำและประโยคง่าย ๆ 3.3 เขียนเรื่องจากประสบการณ์ หรือจินตนาการและปรับปรุงแก้ไขให้สมบูรณ์ 4. เข้าใจธรรมชาติของภาษาและการใช้ภาษาไทย 4.1 เข้าใจและใช้ภาษาพูดและภาษาเขียนเหมาะสมกับบุคคลและกาลเทศะ 4.2 สะกดคำ เข้าใจความหมาย และนำไปใช้ในบริบทต่าง ๆ 4.3 ระบุชนิดและหน้าที่ของคำในประโยค และนำคำไปแต่งประโยคง่าย ๆ ในบริบทและสถานการณ์ต่าง ๆ 4.4 เลือกใช้ภาษาไทยมาตรฐานและภาษาถิ่นได้เหมาะสมกับกาลเทศะ


21 คุณภาพผู้เรียน คุณภาพของผู้เรียนรายวิชาภาษาไทยที่เรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตามมาตรฐาน การเรียนรู้และตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ตามหลักสูตรฐานสมรรถนะโรงเรียนผดุงราษฎร์ พุทธศักราช 2565 กำหนดไว้ ดังนี้ (โรงเรียนผดุงราษฎร์, 2565, น. 29-30) 1. อ่านออกเสียงบทร้อยแก้วและบทร้อยกรองเป็นทำนองเสนาะได้ถูกต้อง อธิบาย ความหมายโดยตรงและความหมายโดยนัยของคำ ประโยค ข้อความ สำนวนโวหาร จากเรื่องที่อ่าน เข้าใจคำแนะนำคำอธิบายในคู่มือต่าง ๆ แยกแยะข้อคิดเห็นและข้อเท็จจริง รวมทั้งจับใจความสำคัญ ของเรื่องที่อ่าน และนำความรู้ความคิดจากเรื่องที่อ่านไปตัดสินใจแก้ปัญหาในการดำเนินชีวิตได้ มีมารยาทและมีนิสัยรักการอ่าน และเห็นคุณค่าสิ่งที่อ่าน 2. มีทักษะในการคัดลายมือเต็มบรรทัดและครึ่งบรรทัด เขียนสะกดคำ แต่งประโยค และเขียนข้อความตลอดจนเขียนสื่อสารโดยใช้ถ้อยคำชัดเจนเหมาะสม ใช้แผนภาพโครงเรื่อง และ แผนภาพความคิด เพื่อพัฒนางานเขียน เขียนเรียงความ ย่อความ จดหมายส่วนตัว กรอกแบบรายงาน ต่าง ๆ เขียนแสดงความรู้สึกและความคิดเห็น เขียนเรื่องตามจินตนาการอย่างสร้างสรรค์ และมี มารยาทในการเขียน 3. พูดแสดงความรู้ ความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องฟังและดู เล่าเรื่องย่อหรือสรุปจากที่ฟัง และดู ตั้งคำถาม ตอบคำถามจากเรื่องที่ฟังและดู รวทั้งประเมินความน่าเชื่อถือจากการฟังและดู โฆษณาอย่างมีเหตุผล พูดตามลำดับขั้นตอนเรื่องต่าง ๆ อย่างชัดเจน พูดรายงานเรื่องหรือประเด็น ค้นคว้าจากการฟัง การดู การสนทนา พูดโน้มน้าวอย่างมีเหตุผล รวมทั้งมีมารยาทในการฟัง ดูและพูด 4. สะกดคำและเข้าใจความหมายของคำ สำนวน คำพังเพย และสุภาษิต รู้และเข้าใจ ชนิดและหน้าที่ของคำในประโยค ชนิดของประโยค คำภาษาถิ่นและคำภาษาต่างประเทศในภาษาไทย ใช้คำราชาศัพท์และคำสุภาพได้อย่างเหมาะสม แต่งประโยค แต่งบทร้อยกรองประเภทกลอนสี่ กลอน สุภาพ และกาพย์ยานี 11 5. เข้าใจและเห็นคุณค่าวรรณคดีและวรรณกรรมที่อ่าน เล่านิทานพื้นบ้าน ร้องเพลง พื้นบ้านของท้องถิ่น นำข้อคิดเห็นจากเรื่องที่อ่านไปประยุกต์ใช้นชีวิตจริง และท่องจำบทอาขยาน ตามที่กำหนดได้ ผลลัพธ์การเรียนรู้ ผลลัพธ์การเรียนรู้รายวิชาภาษาไทย เมื่อจบช่วงชั้นประถมศึกษาตอนปลาย ตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย หลักสูตรตามแนวทางฐาน สมรรถนะโรงเรียนผดุงราษฎร์ พุทธศักราช 2565 กำหนดไว้ ดังนี้ (โรงเรียนผดุงราษฎร์, 2565, น. 29-30)


22 1. อ่านออกเสียงบหร้อยแก้วและบทร้อยกรองเป็นทำนองเสนาะได้ถูกต้อง อธิบาย ความหมายโดยตรงและความหมายโดยนัยของคำประโยค ข้อความ สำนวนโวหาร จากเรื่องที่อ่าน เข้าใจคำแนะนำคำอธิบายในคู่มือต่าง ๆ แยกแยะข้อคิดเห็นและข้อเท็จจริง อ่านจับใจความสำคัญของ เรื่องที่อ่าน นำความความคิดจากเรื่องที่อ่านไปตัดสินใจแก้ปัญหาในการดำเนินชีวิตได้แยกแยะ ข้อคิดเห็นและข้อเท็จจริง จับใจความสำคัญของเรื่องที่อ่าน นำความรู้ความคิดจากเรื่องที่อ่านไป ตัดสินใจแก้ปัญหาในการดำเนินชีวิตได้มีมารยาทและมีนิสัยรักการอ่าน และเห็นคุณค่าสิ่งที่อ่าน 2. มีทักษะในการคัดลายมือตัวบรรจงเต็มบรรทัดและครึ่งบรรทัดเขียนสะกดคำ แต่งประโยคและเขียนข้อความเขียนสื่อสาโดยใช้ถ้อยคำชัดเจนเหมาะสม ใช้แผนภาพโครงเรื่องและ แผนภาพความคิดเพื่อพัฒนางานเขียน เขียนเรียงความ เขียนย่อความ เขียนจดหมายส่วนตัว เขียนแสดงความรู้สึกและความคิดเห็น เขียนเรื่องตามจินตนาการอย่างสร้างสรรค์กรอกแบบรายการ ต่าง ๆ มีมารยาทในการเขียน 3. พูดแสดงความรู้ ความคิดเกี่ยวกับเรื่องที่ฟังและดูเล่าเรื่องย่อหรือสรุปจากเรื่องที่ ฟังและดูตั้งคำถาม ตอบคำถามจากเรื่องที่ฟังและดูประเมินความน่าเชื่อถือจากการฟังและดูโฆษณา อย่างมีเหตุผล พูดรายงานหรือประเด็นค้นคว้าจาก การฟัง การดูการสนทนา พูดตามลำดับขั้นตอน เรื่องต่างๆ อย่างชัดเจนและพูดโน้มน้าวได้อย่างมีเหตุผล มีมารยาทในการดูและพูด 4. อ่านสะกดคำ เข้าใจและบอกความหมายของคำ สำนวน คำพังเพยและสุภาษิต รู้และเข้าใจชนิดและหน้าที่ของคำในประโยค ชนิดของประโยค และคำภาษาต่างประเทศในภาษาไทย ใช้คำราชาศัพท์และคำสุภาพได้อย่างเหมาะสม แต่งประโยค แต่งบทร้อยกรองประเภทกลอนสี่ กลอน สุภาพ และกาพย์ยานี 11 5. ท่องจำบทอาขยานตามที่กำหนดได้เล่านิทานพื้นบ้าน ร้องเพลงพื้นบ้านของ ท้องถิ่นนำข้อคิดเห็นจากเรื่องที่อ่านไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง เข้าใจและเห็นคุณค่าวรรณคดีและ วรรณกรรมที่อ่าน 1.3 สาระและสมรรถนะเฉพาะรายวิชากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ของรายวิชาภาษาไทยตามหลักสูตรฐานสมรรถนะ โรงเรียนผดุงราษฎร์ พุทธศักราช 2565 กำหนดไว้ 5 สาระ ดังนี้(โรงเรียนผดุงราษฎร์, 2565, น. 29) สาระที่ 1 การอ่าน สมรรถนะเฉพาะรายวิชา 2 อ่านด้วยความเข้าใจ สาระที่ 2 การเขียน สมรรถนะเฉพาะรายวิชา 3 เขียนแสดงความเข้าใจ สาระที่ 3 การฟัง การดูและการพูด สมรรถนะเฉพาะรายวิชา 1 การฟัง การดูและ การพูดเพื่อพัฒนาการคิด


23 สาระที่ 4 หลักการใช้ภาษา สมรรถนะเฉพาะรายวิชา 4 เข้าใจธรรมชาติของภาษา และการใช้ภาษาไทย สาระที่ 5 วรรณคดีและวรรณกรรม มาตรฐาน ท 2 อ่านด้วยความเข้าใจ การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทย เรื่อง ชนิดของคำ ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐานร่วมกับบอร์ดเกม เป็นการจัด การเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐานร่วมกับบอร์ดเกม เพื่อมุ่งพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทย เรื่อง ชนิดของคำ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ซึ่งอยู่ในสาระการเรียนรู้ที่ 4 หลักการ ใช้ภาษา โรงเรียนผดุงราษฎร์(2565) ได้กล่าวถึงผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ในสาระที่ 4 หลักการใช้ภาษา สมรรถนะเฉพาะรายวิชา 4 เข้าใจธรรมชาติของภาษาและการใช้ ภาษาไทย ไว้ดังนี้ 1. สะกดคำพื้นฐานชั้น ป.4 และบอกความหมายของคำในบริบทต่าง ๆ 2. ระบุชนิดและหน้าที่ของคำนาม คำสรรพนาม คำกริยา คำวิเศษณ์ ในประโยค 3. ใช้พจนานุกรมค้นหาความหมายของคำ 4. แต่งประโยคได้ถูกต้องตามหลักภาษา 5. แต่งบทร้อยกรองประเภทกลอนสี่และคำขวัญ 6. บอกความหมายของสำนวนที่เป็นคำพังเพยและสุภาษิต 7. เปรียบเทียบภาษาไทยมาตรฐานและภาษาถิ่นได้ 1.4 ผลลัพธ์การเรียนรู้และสมรรถนะเฉพาะรายวิชาภาษาไทย ผลลัพธ์การเรียนรู้และสมรรถนะเฉพาะรายวิชาภาษาไทย ระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่ 4 สาระที่ 4 หลักการใช้ภาษา สมรรถนะเฉพาะรายวิชา 4 เข้าใจธรรมชาติของภาษาและการใช้ ภาษาไทย กำหนดไว้ดังนี้(โรงเรียนผดุงราษฎร์, 2565, น. 63-64) ตาราง 2 ความสัมพันธ์ระหว่างผลลัพธ์การเรียนรู้และสมรรถนะเฉพาะรายวิชาภาษาไทย ระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่ 4 สาระที่ 4 หลักการใช้ภาษา สมรรถนะเฉพาะรายวิชา 4 ผลลัพธ์การเรียนรู้ สมรรถนะเฉพาพรายวิชา 1. สะกดคำพื ้นฐ านช ั ้น ป.4 และ บ อ ก ความหมายของคำในบริบทต่าง ๆ 4. เข้าใจธรรมชาติของภาษาและการใช้ภาษาไทย 4.2 สะกดคำ เข้าใจความหมายและนำไปใช้ใน บริบทต่าง ๆ 2. ระบุชนิดและหน้าที่ของคำนาม คำสรรพนาม คำกริยา คำวิเศษณ์ ในประโยค 4. เข้าใจธรรมชาติของภาษาและการใช้ภาษาไทย


24 ผลลัพธ์การเรียนรู้ สมรรถนะเฉพาพรายวิชา 4.3 แต่งประโยคง่าย ๆ ตามชนิดและหน้าที่ของ คำในบริบทและสถานการณ์ต่าง ๆ 3. ใช้พจนานุกรมค้นหาความหมายของคำ 4. เข้าใจธรรมชาติของภาษาและการใช้ภาษาไทย 4.2 สะกดคำ เข้าใจความหมายและนำไปใช้ใน บริบทต่าง ๆ 4. แต่งประโยคได้ถูกต้องตามหลักภาษา 4. เข้าใจธรรมชาติของภาษาและการใช้ภาษาไทย 4.3 แต่งประโยคง่าย ๆ ตามชนิดและหน้าที่ของ คำในบริบทและสถานการณ์ต่าง ๆ 5. แต่งบทร้อยกรองประเภทกลอนสี่และ คำขวัญ 4. เข้าใจธรรมชาติของภาษาและการใช้ ภาษาไทย 4.3 แต่งประโยคง่าย ๆ ตามชนิดและหน้าที่ของ คำในบริบทและสถานการณ์ต่าง ๆ 6. บอกความหมายของสำนวนที่เป็นคำพังเพย และสุภาษิต 4. เข้าใจธรรมชาติของภาษาและการใช้ภาษาไทย 4.2 สะกดคำ เข้าใจความหมายและนำไปใช้ใน บริบทต่าง ๆ 7. เปรียบเทียบภาษาไทยมาตรฐานและภาษา ถิ่นได้ 4. เข้าใจธรรมชาติของภาษาและการใช้ ภาษาไทย 4.4 เลือกใช้ภาษาไทยมาตรฐานและภาษาถิ่นได้ เหมาะสมกับกาลเทศะ การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้เลือกใช้การจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐานร่วมกับบอร์ดเกมมา พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทย เรื่อง ชนิดของคำ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ตามหลักสูตรฐานสมรรถนะ โรงเรียนผุงราษฎร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สาระที่ 4 หลักการใช้ ภาษา สมรรถนะเฉพาะรายวิชา 4 เข้าใจธรรมชาติของภาษาและการใช้ภาษาไทย ผลลัพธ์การเรียนรู้ ที่ 2 ระบุชนิดและหน้าที่ของคำนาม คำสรรพนาม คำกริยา คำวิเศษณ์ ในประโยค สมรรถนะเฉพาะ รายวิชา คือ แต่งประโยคง่าย ๆ ตามชนิดและหน้าที่ของคำในบริบทและสถานการณ์ต่าง ๆ


25 3. เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับชนิดของคำ 3.1 เอกสารที่เกี่ยวข้องกับชนิดของคำ หนังสือเรียนวิชาหลักภาษาไทยของกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ ยึดตำรา วจีวิภาคของพระยาอุปกิตศิลปสารเป็นหลัก โดยปรับปรุงชื่อเฉพาะหรือศัพท์เทคนิคต่างๆ ให้เป็น คำไทยสามัญ เพื่อง่ายหรือสะดวกในการเรียนรู้ จดจำ และทำความเข้าใจของนักเรียน ดังนั้น เพื่อเป็น พื้นฐานในการศึกษาหลักภาษาไทย ในที่นี้จึงยึดการจำแนกคำตามแนวของนักไวยากรณ์ดั้งเดิม กล่าวคือ ตำราไวยากรณ์ไทยของพระยาอุปกิตศิลปสารเป็นหลัก ซึ่งจำแนกชนิดของคำไทย ออกเป็น 7 ชนิด คือ คำนาม คำสรรพนาม คำกริยา คำวิเศษณ์ คำบุพบท คำสันธาน และคำอุทาน (พระยาอุปกิต ศิลปสาร, 2546 น. 70) การศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับชนิดของคำในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ ศึกษา เอกสารและงานวิจัย ตามสาระการเรียนรู้แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง ชนิดของคำ ได้แก่ คำนาม คำสรรพนาม คำกริยา และคำวิเศษณ์(พระยาอุปกิต ศิลปสาร, 2546 น. 70-96) โดยมีรายละเอียด ดังนี้ คำนาม คำนาม คือ คำที่ใช้เรียกชื่อของคน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ สภาพ และกิริยาอาการต่าง ๆ ในภาษา เช่น ปากกา โต๊ะ เตียง กุหลาบ กล้วยไม้ เป็นต้น คำนามแบ่งออกได้เป็น 5 ชนิด คือ (พระยาอุปกิต ศิลปสาร, 2546 น. 70-78) 1. สามานยนามหรือนามทั่วไป คือ คำที่เป็นชื่อ หรือใช้เรียกชื่อทั่วไปของคน สัตว์ สิ่งของ ฯลฯ เช่น นก คน หนู กุหลาบ บ้าน เป็นต้น 2. วิสามานยนามหรือคำนามชี้เฉพาะ คือ คำที่เป็นชื่อหรือใช้เรียกชื่อเฉพาะเจาะจง ของคม สัตว์ สิ่งของ เช่น มหาวิทยาลัยนเรศวร ช้างเอราวัณ วัดนางพญา คุณครูอรวรรณ เป็นต้น 3. สมุหนามหรือคำนามรวมหมู่ คือ คำนามที่เป็นชื่อคน สัตว์ สิ่งของที่อยู่รวมกัน เป็นหมู่ เป็นพวก เช่น ฝูง กลุ่ม คณะ เหล่า พวก กอง เป็นต้น ตัวอย่าง - สงฆ์ ใช้เรียกพระภิกษุตั้งแต่ 4 รูปขึ้นไป - ฝูง ใช้เรียกสัตว์พวกเดียวกันจำนวนมากที่ไปด้วยกัน - คณะ ใช้เรียกคนที่อยู่รวมกันเพื่อทำการอย่างหนึ่ง หรืออยู่ในที่หนึ่ง - กอง ใช้เรียกคน สิ่งของที่อยู่รวมกัน - ตับ ใช้เรียกของที่ทำให้ติดเรียงกันเป็นพืด


26 ข้อสังเกต คำนามที่เป็นชื่อสถานที่หรือชื่อองค์กรต่าง ๆ แต่ใช้ในความหมายถึง กลุ่มคนหรือผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในถานที่หรือองค์กรนั้น ๆ ไม่ได้หมายถึงสถานที่หรือองค์กร คำนาม นั้นถือเป็นสมุหนาม เช่น บริษัท ในประโยคว่า บริษัทขอขอบคุณท่านผู้มีอุปการะคุณอย่างสูง ศาล ในประโยคว่า ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่าควรสั่งให้ยกฟ้อง 4. ลักษณะนามหรือนามบอกลักษณะ คือ คนามที่ทำหน้าที่ประกอบนามอื่น เพื่อแสดงรูปลักษณะ ขนาด หรือประมาณของคำนามนั้นให้ชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น - กระบอก ใช้กับ ปืน ข้าวหลาม - กอ ใช้กับ ไผ่ พืชที่ขึ้นเป็นกอ - กอง ใช้กับ ทัพ ทหาร คนที่ทำงานรวมกัน ใช้กับ ของที่รวมกันไว้ หรืออิฐ ฯลฯ - กำ ใช้กับ ของที่ทำเป็นกำ ผัก หญ้า รวงข้าว ฯลฯ - โขลง ใช้กับ ช้างป่าอยู่รวมกันหลายตัว - คัน ใช้กับ ของที่มีส่วนสำหรับถือและลาก เช่น รถ ร่ม ฉัตร คันนฉัตร คันกระสุน แร้ว ช้อนส้อม เบ็ด ไถ - จับ ใช้กับ ขนมจีน (ใช้หัวก็ได้ ส.) - ชิ้น ใช้กับ ชิ้นเนื้อ ชิ้นผ้า ฯลฯ - ชุด ใช้กับ การเล่นต่าง ๆ เช่น ละคร เป็นต้น ลักษณะนามถือเป็นความนิยมอย่างหนึ่งของภาษาไทยคำนาแต่ละชนิดมี คำลักษณะนามเฉพาะ จะใช้สับสนกันไม่ได้ และลักษณะนามมักปรากฏในตำแหน่งหลังคำวิเศษณ์บอก จำนวนเสมอ ยกเว้นคำวิเศษณ์ที่บอกจำนวนนับเป็นหนึ่ง ลักษณะนามอาจอยู่ในตำแหน่งข้างหน้า คำวิเศษณ์ได้เช่น คนหนึ่ง ชั้นหนึ่ง แถวหนึ่ง เป็นต้น 5. อาการนามหรือคำนามบอกอาการ เป็นคำนามซึ่งตามปกติเป็นคำกริยาและ คำวิเศษณ์ เมื่อมีคำ "การ" หรือ "ความ" มานำหน้าคำกริยาและคำวิเศษณ์นั้น 1 และอยู่ในตำแหน่งของ คำนาม เรียกว่า อาการนาม เช่น - การวิ่งเป็นการออกกำลังกายที่ดีอย่างหนึ่ง - ความงามของหล่อนทำให้ชายตะลึง - ความสัตย์ซื่อเป็นคุณธรรมของมนุษย์ผู้มีความละอายต่อบาป - การประชุมในวันนี้หาข้อยุติไม่ได้


27 ข้อสังเกต คำว่า "การ" และ "ความ" ถ้ามิได้นำหน้าคำกริยาและดำวิเศษณ์ ก็มิใช่ อาการนาม เช่น การบ้าน การเรือน การสงคราม การประ ปา การพาณิชย์ ความวัว ความควาย ความ แพ่ง เป็นต้น คำเหล่านี้เป็นคำนามชนิดที่เรียกว่า สามานยนาม คำสรรพนาม สรรพนาม คือ คำที่ใช้แทนคำนาม กล่าวคือ เป็นคำที่ใช้แทนชื่อ คน สัตว์ สิ่งของต่าง ๆ ทั้งปวง ทั้งนี้เพื่อหลีกเสี่ยงการเรียกชื่อนั้นซ้ำ ๆ กัน และหลีกเลี่ยงการเรียกชื่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งตรง ๆ คำสรรพนามแบ่งออกเป็น 6 ชนิด ดังนี้(พระยาอุปกิต ศิลปสาร, 2546 น. 78-83) 1. บุรุษสรรพนาม คือ สรรพนามที่ใช้แทนชื่อบุคคล แบ่งเป็น 3 พวกดังนี้ 1.1 บุรุษสรรพนามที่ 1 หมายถึงสรรพนามที่ใช้แทนตัวผู้พูด ได้แก่คำว่า ฉัน ข้าพเจ้า กู ดูเรา ผม กระผม ฯลฯ 1.2 บุรุษสรรพนามที่ 2 หมาขถึงสรรพนามที่ใช้แทนตัวผู้ฟัง ได้แก่คำว่า มึง แก สู เอ็ง ใต้เท้า ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ฯลฯ 1.3 บุรุษสรรพนามที่ 3 สรรพนามที่ใช้แทนชื่อผู้ที่จะกล่าวถึง ได้แก่คำว่า เขา ท่าน มัน พระองค์ ฯลฯ ข้อสังเกต 1. เนื่องจากบุรุษสรรพนามบางคำเป็นได้หลายบุรุษ การจะพิจารณาว่าเป็น บุรุษสรรพนามที่เท่าใดนั้น ต้องพิจารณาที่ความหมาย และเจตนาที่ผู้ใช้ภามามุ่งในการสื่อสาร เช่น - เราจะไปหอสมุดแห่งชาติวันพรุ่งนี้ (เราเป็นสรรพนามบุรุมที่ 1) - เราอยากจะบอกอะไรกับฉันก็บอกมา (เราเป็นสรรพนามบุรุษที่ 2) - เขาจากไปแล้วตั้งแต่เมื่อวาน (เขาเป็นสรรพนามบุรุษที่ 3 - เขาไม่อยากพูดกับตัวแล้วล่ะ (เขาเป็นสรรพนามบุรุษที่ 1 เชื่อพูดคุยกันมัก ออกเสียงเป็น“เค้า”) 2. คำนามบางคำใช้เป็นบุรุษสรรพนามได้ เช่น - ไปไหนกันมาละพ่อ พ่อในประโยคนี้เป็นสรรพนามบุรุษที่ 2 ไม่ได้หมายถึงพ่อที่แปลว่าชายผู้ให้ กำเนิด - ผมไม่อยากคุยกับหมอนั่นเลย หมอเป็นสรรพนามบุรุยที่ 3 แทนผู้ที่ถูกกล่าวถึง 2. วิภาคสรรพนาม คือ สรรพนามที่ใช้แทนนามข้างหน้า เพื่อจำแนกนามนั้นออกเป็น ส่วน ๆ บางคำใช้แทนนามบอกความช้ำกัน ในหนังสือหลักภาษาไทยกระทรวงศึกษาธิการ เรียกว่า สรรพนามบอกความขี้ซ้ำ ได้แก่ บ้าง ต่าง กัน


28 ดังตัวอย่าง - นักศึกษาห้องนี้ บ้างฟังครูสอน บ้างอ่านหนังสือ และบ้างคุยกัน "บ้าง" ใช้แทนนักศึกษาที่แบ่งออกเป็นกลุ่ม ๆ และทำกริยาต่างกัน ส่วน "กัน" แทนนักศึกษาที่ทำกริยาเกี่ยวข้องกัน หรือทำกริยาอย่างเดียวกัน - คณาจารย์ของสถาบันต่างมุ่งทำวิจัยเชิงคุณภาพมากขึ้นโดยลำคับ "ต่าง" ใช้แทนคณาจารย์ เพื่อให้รู้ว่าแบ่งเป็นคน ๆ และแต่ละคนทำกริยาอย่าง เดียวกัน คือ มุ่งทำวิจัยเชิงคุณภาพ 3. นิยมสรรพนาม คือ สรรพนามที่ใช้แทนนาม เพื่อบ่งบอกระยะทางหรือตำแหน่ง ของนามนั้นอย่างชัดเจนแน่นอนกำหนดให้รู้ความใกล้ ไกล ของนามที่กล่าวถึง ในหนังสือหลัก ภาษาไทยของกระทรวงศึกษาธิการเรียกว่า สรรพนามบอกความชี้เฉพาะเจาะจง ได้แก่ นี่ นั่น โน่น นู้น ดังตัวอย่าง - นี่ของใคร - นั่นครูของผม - นู้นเป็นเขตแดนระหว่างไทยกับพม่า 4. อนิยมสรรพนาม คือ สรรพนามที่ใช้แทนนามแล้วบอกความกำหนดไม่แน่นอนลง ไปว่าสิ่งนั้น สิ่งนี้ หนังสือเรียนหลักภาษาไทยของกระทรวงศึกษาธิการ เรียกว่า สรรพนามบอกความไม่ เจาะจง ได้แก่ ใคร อะไร ไหน ใด ๆ อื่น ๆ ผู้หนึ่งผู้ใด ชาวไหน ดังตัวอย่าง - ใครจะเข้ามาในบ้านของผมก็เข้ามา - อะไรก็ได้ที่คุณอยากจะให้ - เขาอยู่ไหน ฉันก็ขออยู่ด้วย - ใด ๆ ล้วนเป็นสิ่งที่อนาคตพิสูจน์ 5. ปฤจฉาสรรพนาม คือ สรรพนามที่ใช้แทนนามแล้วมีเนื้อความเป็นคำถาม หนังสือ เรียนหลักภาษาไทยกระทรวงศึกษาธิการ เรียกว่า สรรพนามใช้ถามได้แก่ ใคร อะไร ไหน ผู้ใด ดังตัวอย่าง - ไหนคือตึกสำนักงานอธิการบดี - คุณจะมาหาใคร - คุณเห็นอะไรเมื่อเช้านี้ - ผู้ใดเห็นฝนดาวตกบ้าง


29 ข้อสังเกต คำว่า ไหน ใคร อะไร ผู้ใด ใด ๆ ฯลฯ เหล่านี้ถ้าปรากฏในประโยคที่มี เนื้อความเป็นคำถาม เป็นปฤจฉาสรรพนาม แต่ถ้าปรากฎในประโยคแล้ว มิได้มีเนื้อความเป็นประโยค คำถาม หรือประโขคที่ต้องการคำตอบ คำนั้นเป็นอนิยมสรรพนาม ดังตัวอย่าง - อะไรอยู่ในกระเป๋าของคุณ (เป็นปฤจฉาสรรพนาม) - อะไรก็ได้ที่อยู่ในกระเป๋าของคุณ (เป็นอนิยมสรรพนาม) - ใครมาพบคุณ (เป็นปฤจฉาสรรพนาม) - ใครมาพบคุณก็ได้ (เป็นอนิยมสรรพนาม) 6. ประพันธสรรพนาม คือ สรรพนามที่ใช้แทนคำนาม หรือสรรพนามที่อยู่ข้างหน้า หนังสือเรียนหลักภาษาไทยกระทรวงศึกษาธิการ เรียกว่าสรรพนามเชื่อมประโขค ได้แก่ คำต่อไปนี้ ผู้ ที่ ซึ่ง อัน หรืออาจเป็นคำประสมกับลักษณนาม เช่น ผู้ที่ อันที่ ตัวที่ ลูกที่ นัดที่ ฯลฯ ตัวอย่าง - ลูกหนูตัวที่ออกเป็นตัวแรกจะมีน้ำหนักมาก - คนที่ฉันรักมักเป็นคนขยันขันแข็ง - ฉันเก็บกระสุนนัดที่ตำรวจกำลังคั่นหาได้ ข้อสังเกต 1. ประพันธสรรพนามใช้เชื่อมประโยคในประโยคชนิดคุณานุประโยคเสมอ 2. การวางตำแหน่งประพันธสรรพนาม สามารถวางอยู่ใน 2 ตำแหน่ง คือ 2.1 หลังประธานเมื่ออนุประโขคขยายประธาน (ของมุขยประโยค) เช่น - คนที่มีจิตใจสงบย่อมเบิกบาน 2.2 หลังกรรม เมื่ออนุประโยคขยายกรรม เช่น - ฉันชื่นชมคนที่มีจิตใจสงบเยือกเย็น กริยา กริยา คือ คำที่แสดงกิริยาอาการของนามหรือสรรพนามหรือแสดงการกระทำของ ประธานในประโยค คำกริยาแบ่งเป็น 4 ชนิด คือ (พระยาอุปกิต ศิลปสาร, 2546 น. 83-87) 1. อกรรมกริยาหรือกริยาไม่ต้องมีกรรม เป็นกริยาที่มีใจความสมบูรณ์ในตัว ไม่ต้องมี คำที่เป็นกรรมมารับ ถ้ามีคำมาข้างท้ายต้องเป็นคำวิเศษณ์ มิใช่กรรม อกรรมกริยาได้แก่ นั่ง ยืน เดิน นอน ไป หลับ กระโดด ล้ม เป็นต้น ดังตัวอย่าง - สมนึกไปเมืองกาญจน์ - เขาหัวเราะเสียงดังสนั่น - นักเรียนเดินเก่งมาก


30 2. สกรรมกริยาหรือกริยามีกรรม เป็นกริยาที่ต้องมีกรรมมารับข้างท้ายจึงจะได้ ใจความสมบูรณ์ สกรรมกริยา เช่น ยิง เล่น กิน ขาย ถีบ หยิบ คาดคั้น พัฒนา ประชาสัมพันธ์เป็นต้น ดังตัวอย่าง - ตำรวจยิงผู้ร้าย - เด็กเล่นขายของ - นักเรียนกินข้าว ข้อสังเกต คำกริยาบางคำเป็นได้ทั้งอกรรมกริยาและสกรรมกริยา เช่น คำว่า หอม พัด เปิด พูด เป็นดัน การพิจารณากริยาเหล่านี้ว่าเป็นกริยาชนิดใด ให้ดูที่การปรากฏในประโยค หากเมื่อพูดหรืออ่านถึงคำกริยาแล้วได้ความสมบูรณ์ คำที่ตามมาเป็นส่วนขยายเพื่อความชัดเจบขึ้น ไม่ต้องตั้งคำถามว่า"อะไร” อีก กริตานั้นเป็นอกรรมกริยา แต่ประโยคที่พูดหรืออ่านถึงคำกริยาแล้ว ต้องถามว่า "อะไร" จึงจะได้ความสมบูรณ์ เป็นสกรรมกริยา ดังตัวอย่าง - ลมพัดยามเช้า (พัดเป็นอกรรมกริยา เพราะเมื่อพูดเพียงแค่ลมพัดก็เป็นที่เข้าใจ ไม่ต้องถามว่า ลมพัดอะไรอีก ยามเช้าใส่เข้ามาเพื่อความชัดเจนยิ่งขึ้นเท่านั้น) - ลมพัดกระดาษ (ความในประโยคนี้เมื่ออ่านถึงคำกริยา "พัด" ต้องถามว่าพัด อะไร ความจึงจะสมบูรณ์ จึงเป็นสกรรมกริยา) - คุณพ่อพูดเสียงคัง (พูดเป็นอกรรมกริยา) - คุณพ่อพูดภายาอังกฤษ (พูดเป็นสกรรมกริยา) 3. วิกตรรถกริยาหรือกริยาส่วนเติมเต็ม เป็นกริยาที่มีเนื้อความไม่สมบูรณ์ ต้อง อาศัยคำนาม คำสรรพนาม หรือคำวิเศษณ์มาขยายข้างหลังเนื้อความจึงจะเต็ม คือ สื่อความหมายได้ ชัดเจน กริยาพวกนี้ได้แก่คำว่า เป็น เหมือน คล้าย คือ เสมือน ดุจ ประดุจ ราวกับ เพียงดัง เปรียบ เหมือน เป็นต้น ดังตัวอย่าง - ฉันเป็นครู - แดงคล้ายดำ - เขาเหมือนพ่อของผมเหมือนกัน - งูคือสัตว์เลื้อยคลานชนิดหนึ่ง ข้อสังเกต วิกตรรถกริยา (นอกจากคำ "คือ") ถ้าใช้เชื่อมประโยค เป็นคำสันธาน ชนิดแสดงความเปรียบเทียบ เช่น - เขาทำงานประดุจเครื่องจักร - อันเตะฟุตบอลเก่งคล้ายกับบิดาของเขา


31 4. กริยานุเคราะห์หรือคำช่วยกริยา เป็นกริยาประกอบหรือช่วยกริยาหลักใน ประโยคให้แสดงความหมายได้ชัดเจนครบถ้วน คำช่วยกริยาที่จะมีความหมายก็ต่อเมื่อ ได้ช่วยคำกริยา ชนิดอื่นเท่านั้น ได้แก่ อาจ ต้อง คง น่าจะ คงต้อง จง โปรด ช่วย แล้ว ควร ได้ ได้แล้ว เคย เคยแล้ว ฯลฯ ดังตัวอย่าง - เขาอาจมาวันนี้ - เขาต้องมาวันนี้ - เขาคงมาวันนี้ - เขาน่าจะมาวันนี้ - เขาคงต้องตาย - เธอช่วยดูแลเขา - เขามาแล้ว - เขาควรมา - เขาได้มา - เขาได้มาแล้ว คำวิเศษณ์ วิเศษณ์ คือ คำที่ใช้ประกอบคำอื่น ได้แก่ คำนาม คำสรรพนาม คำกริยา และคำวิเศษณ์ ด้วยกันเอง เพื่อให้คำต่าง ๆ ดังกล่าวมีความหมายชัดเจนมากยิ่งขึ้น (พระยาอุปกิต ศิลปสาร, 2546 น. 87-96) ตัวอย่าง คำวิเศษณ์ประกอบคำนาม เช่น คนอ้วน จานกระเบื้อง หนุ่มหล่อ สีแดง คำวิเศษณ์ประกอบคำสรรพนาม เช่น เราทั้งสอง ใครบ้าง เขาทั้งหมด คำวิเศษณ์ประกอบคำกริยา เช่น พูดเพราะ วิ่งเร็ว เขียนหวัด บินว่อน คำวิเศษณ์ประกอบคำวิเศษณ์ เช่น จุมาก ใหญ่โตมโหฬาร อ้วนตุ๊ต๊ะ คำวิเศษณ์ในภาษาไทยแบ่งออกเป็น 10 ชนิด ดังนี้ 1. ลักษณะวิเศษณ์คือ คำวิเศษณ์ที่ประกอบคำอื่นเพื่อบอกลักษณะต่าง ๆ ว่าเป็น อย่างไร เช่น บอกสี บอกชนิด บอกสัณฐาน บอกขนาด บอกเสียง บอกอาการ บอกกลิ่น บอกรส บอก ความรู้สึกจากการสัมผัส เช่น ชั่ว ดี ดำ ขาว กลม แบน เล็ก ใหญ่ เปรี้ยง เพล้ง เร็ว ช้า หอม เหม็น หวาน เย็น ร้อน เป็นต้น ดังตัวอย่าง - สัตว์ร้ายมักอาศัยในป่าลึก - คนจีนเดินทางเข้ามาในประเทศไทยนานแล้ว - เด็กดีย่อมเป็นที่รักของผู้อื่น - เขาทำตัวเป็นน้องเล็กเสมอ - พ่อวางกระเป๋าที่โต๊ะเหลี่ยม - คำพูดไพเราะใครได้ยินก็ชื่นชม


32 2. กาลวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์ที่ประกอบคำอื่นเพื่อบอกเวลา เช่น เช้า สาย บ่าย ค่ำ อดีต ปัจจุบัน อนาคต เป็นต้น ดังตัวอย่าง - คนรุ่นใหม่ห่างไกลยาเสพติด - วันก่อนเขาเอากระเป๋าไปให้ฉัน - เวลากลางคืนไม่ใช่เวลาจะออกไปข้างนอก - เด็ก ๆ ไม่ควรนอนดึกเพราะต้องตื่นเช้า - เขาเดินทางมาหลังจากฉันไม่นาน 3. สถานวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์ที่ประกอบคำอื่นเพื่อบอกสถานที่ แสดงที่อยู่ ระยะทางหรือทิศทาง เช่น ใกล้ ไกล เหนือ บน ใต้ บ้าน ป่า เป็นต้น ดังตัวอย่าง - บ้านใกล้โรงเรียนนิดเดียว - ลูกเสือต้องเดินทางไกล - บ้านของเขาอยู่ทิศเหนือ - คนอีสานชอบทานข้าวเหนียว - สัตว์น้ำให้คุณค่าทางอาหารสูง ข้อสังเกต คำวิเศษณ์บอกสถานที่บางคำ เช่น ใกล้ ใต้ เหนือ เป็นต้น อาจใช้เป็น คำบุพบทได้ แต่จะปรากฏในตำแหน่งที่แตกต่างกัน ดังตัวอย่าง - คนอยู่ไกล (คำวิเศษณ์) - บ้านอยู่ไกลชุมชน (คำบุพบท) - นกอยู่ชั้นบน (คำวิเศษณ์) - นกเกาะอยู่บนหลังคา (คำบุพบท) 4. ประมาณวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์ที่ประกอบคำอื่นเพื่อบอกจำนวนหรือปริมาณ เช่น หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า ที่หนึ่ง ที่สอง ที่สาม มาก น้อย หลาย ทั้งหลาย ทั้งหมด บรรดา คนละ ต่าง บาง บ้าง กัน ฯลฯ ดังตัวอย่าง - บรรดาคนที่มาล้วนแต่กินจุทั้งสิ้น - ต่างคนต่างทำไปกันคนละอย่าง - บางคนก็ทำบ้างกินบ้าง


33 5. นิยมวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์ที่ใช้ประกอบคำอื่นเพื่อความชี้เฉพาะ ความแน่นอน หรือความชัดเจนว่าสิ่งนั้น สิ่งนี้ เป็นเช่นนั้นเช่นนี้ (ลักษณธเดียวกับนิยมสรรพนาม) ได้แก่คำว่า นี้ นั้น โน้น ทีเดียว เทียว ดอก เอง แท้ ดังตัวอย่าง - คนนี้เป็นเพื่อนที่มหาวิทยาลัย - ที่นั่นฉันเคยไปมาแล้ว - บ้านโน้นฉันไม่ไปอีกแล้ว - เพราะเขาไม่พูดความจริงเรื่องจึงเป็นเช่นนี้ - ฉันเองเป็นคนหยิบสมุดไป ข้อสังเกต นิยมสรรพนามเป็นคำที่ใช้แทนคำอื่นจึงใช้อย่างอิสระ ส่วนนิยมวิเศษณ์ ต้องใช้เพื่อประกอบหรือขยายคำอื่นจึงต้องมีคำใดคำหนึ่งนำหน้า ดังตัวอย่าง - นี้เป็นของฉัน (นิยมสรรพนาม) - บ้านนี้เป็นของฉัน (นิยมวิเศษณ์) 6. อนิยมวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์ที่ประกอบคำอื่นเพื่อบอกความไม่ชี้เฉพาะเจาะจง หรือไม่แน่นอนว่าเป็นสิ่งนั้น สิ่งนี้ หรือเช่นนั้น เช่นนี้ (ลักษณะเดียวกับอนิยมสรรพนาม) ได้แก่คำว่า ใด ไร ไหน กี่ อะไร ฉันใด อื่น อื่นใด ดังตัวอย่าง - คุณจะไปไหนก็ได้ - ทำอะไรก็ทำเถิด - จำมากี่คนฉันก็ไม่ว่า - คนอื่นฉันไม่บอกนะ 7. ปฤจฉาวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์ที่ประกอบคำอื่นเพื่อแสดงความสงสัยใช้ในการถาม เพื่อให้ได้คำตอบ ได้แก่คำว่า อันใด ไหน อะไร เท่าไร อย่างไร ใย เป็นต้น ดังตัวอย่าง - มีของอะไรอยู่ในกระเป๋าเสื้อ - บ้านไหนมีต้นไม้ขายบ้าง - เธออายุเท่าไรแล้ว 8. ประติชญาวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์ที่ประกอบคำอื่นเพื่อการขานรับหรือรับรองใน การเรียกขานและโต้ตอบกัน ได้แก่คำว่า จ๋า ขอรับ โว้ย ค่ะ ขา ครับ เป็นต้น ดังตัวอย่าง


34 - ครูครับ ผมมาแล้วครับ - แม่จ๋า เดี๋ยวหนูกลับมานะ 9. ประติเษธวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์ที่ประกอบคำอื่นเพื่อบอกความปฏิเสธหรือห้าม ได้แก่คำว่า ไม่ ไม่ใช่ มิได้ ไม่ได้ บ่ บ่มิ หามิได้ หาไม่ เป็นต้น ดังตัวอย่าง - เขาไม่ทำงาน เพราะเขามิใช่ลูกจ้าง - เงินทองไม่ได้หากันได้ง่าย ๆ 10. ประพันธวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์ที่ประกอบคำกริยาหรือคำวิเศษณ์ เพื่อเชื่อม ความให้มีความเกี่ยวข้องกัน ได้แก่คำว่า ที่ ซึ่ง อัน เพื่อ เพื่อว่า คือ เพราะ เป็นต้น ดังตัวอย่าง - เด็ก ๆ มักเสียคนเพราะพ่อแม่ชอบตามใจ - เขาเป็นคนเก่งที่ใคร ๆ ก็ต้องยกนิ้วให้ สรุปว่า ในการวิจัย เรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทย เรื่อง ชนิดของคำ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ผู้วิจัยได้กำหนดขอบเขตเนื้อหา เรื่อง ชนิดของคำ ไว้ 4 ชนิด ได้แก่ 1) คำนาม คือ คำที่ใช้เรียกชื่อคน พืช สัตว์ สิ่งของ สถานที่ และสิ่งทั่ว ๆ ไป แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ คำนามสามัญที่ใช้เรียกชื่อทั่ว ๆ ไป ไม่ชี้เฉพาะเจาะจง และ คำนามวิสามัญที่ใช้เรียกชื่อที่ชี้ เฉพาะเจาะจง 2) คำสรรพนาม คือ คำที่ใช้แทนคำนาม ในการวิจัยครั้งจะใช้คำสรรพนามที่ใช้ในการ สนทนากัน เรียกว่า คำบุรุษสรรพนาม ซึ่งแบ่งเป็น 3 ชนิด ดังนี้ คำสสรรพนามบุรุษที่ 1 ใช้แทนผู้พูด หรือผู้เขียน คำสสรรพนามบุรุษที่ 2 ใช้แทนผู้ฟังหรือผู้อ่าน และคำสสรรพนามบุรุษที่ 3 ใช้แทนผู้ที่ กล่าวถึง 3) คำกริยา คือ คำที่ใช้แสดงอาการ แสดงภาพ หรือการกระทำของคำนามและคำสรรพนาม ซึ่งเป็นประธานในประโยค แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ คำกริยาอกรรม เป็นคำกริยาที่มีใจความสมบูรณ์ ในตัว ไม่ต้องมีกรรมมารองรับ และคำกริยาสกรรม เป็นคำกริยาที่มีใจความไม่สมบูรณ์ในตัวต้องมีกรรม มารับ และ 4) คำวิเศษณ์ คือ คำที่ทำหน้าที่ขยายคำกริยา มักจะอยู่หลังคำกริยาที่ขยาย ถ้าเป็น คำกริยาสกรรม คำวิเศษณ์มักจะอยู่หลังคำนามที่ทำหน้าที่เป็นกรรมของกริยานั้น 3.2 งานวิจัยที่เกี่ยวกับชนิดของคำ สรัญญพัชร์ แก้วศรีไตร (2563) ได้ศึกษาการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย เพื่อการสื่อสาร เรื่องคำและหน้าที่ของคำ โดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุก สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและตรวจสอบประสิทธิภาพของชุดกิจกรรม การเรียนรู้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร เรื่องคำและหน้าที่ของคำ โดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุก สำหรับ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน


35 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น 3) ศึกษาทักษะการแสวงหา ความรู้ด้วยตนเองของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น และ 4) ศึกษาความ พึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 โรงเรียนเทศบาลเมืองท่าบ่อ สังกัดกองการศึกษาเทศบาลเมืองท่าบ่อ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 31 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ใน การวิจัย ได้แก่ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบประเมินทักษะ การแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีชนิดกลุ่มไม่อิสระกัน ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุดกิจกรรมการเรียรู้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร เรื่องคำและหน้าที่ของคำ โดยใช้การจัดการเรียนรู้ เชิงรุก สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.56/80.65 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ ที่ตั้งไว้ 80/80 2)นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นสูง กว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนมีทักษะการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง หลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น คิดเป็นร้อยละ 90.16 อยู่นระดับมากที่สุด และ 4) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนขึ้นอยู่ในระดับมาก (̅= 4.18 S.D. = 0.56) อัจฉรา แซ่หว้า และทรงภพ ขุนมธุรส (2563) ได้ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องชนิดและหน้าที่ของคำในประโยค โดยใช้ชุดแบบฝึก สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนอุดมดรุณี ซึ่งมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของชุดแบบฝึกเรื่องชนิดและ หน้าที่ของคำในประโยคให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 และ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนเรื่องชนิดและหน้าที่ของคำในประโยคของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนอุดม ดรุณีก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้ชุดแบบฝึก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/4 โรงเรียนอุดมดรุณีที่กำลังศึกษาในปีการศึกษา 2562 จำนวน 44 คน โดยการ เลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้2) ชุดแบบฝึกเรื่อง ชนิดและหน้าที่ของคำในประโยค จำนวน 8 แบบฝึกหัด และ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียน จำนวน 20 ข้อ และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ค่า t-test ผลการวิจัยพบว่า ชุดแบบฝึกเรื่องชนิดและหน้าที่ของคำในประโยคมีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.60/81.16 แสดงให้เห็นว่าชุดแบบฝึกเรื่องชนิดและหน้าที่ของคำในประโยคมีประสิทธิภาพตาม เกณฑ์มาตรฐาน 80/80 การเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่า คะแนนหลังเรียนสูง กว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทักษพร แจ่มศรี(2564) ได้ศึกษาการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยเรื่อง ชนิดของคำ ตามรูปแบบการสอนแบบสร้างองค์ความรู้ร่วมกับสื่อบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (E-Book)


36 สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ซึ่งมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อหาประสิทธิภาพของบทเรียน อิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรยบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยเรื่องชนิดของคำ สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนได้รับการจัดการเรียนรู้และหลังได้รับการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการ สอนแบบสร้างองค์ความรู้ร่วมกับสื่อบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) และ 3) เพื่อศึกษาความ พึงพอใจของนักเรียนของนักเรียนหลังได้รับการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการสอนแบบสร้างองค์ ความรู้ร่วมกับสื่อบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2563 ภาคเรียนที่ 2 โรงเรียนบ้านบุรีรัมย์ จำนวน 16 คน คัดเลือก โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง โดยเครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบ การสอนแบบสร้างองค์ความรู้ 2) สื่อบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนภาษาไทย และ 4) แบบประเมินความพึงพอใจหลังได้รับการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบสร้างองค์ ความรู้ร่วมกับสื่อบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า 1) ผลการหาประสิทธิภาพของสื่อบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า จากวิธีการจัดการเรียนรู้ตามแผนการจัดการ เรียนรู้ 7 แผน ตามรูปแบบการสร้างองค์ความรู้ มีประสิทธิภาพ 89.00/84.79 ซึ่งเป็นปตามที่เกณฑ์ กำหนดไว้ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทย เรื่องชนิดของคำ ตามรูปแบบการสอนแบบสร้าง องค์ความรู้ร่วมกับสื่อบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนรู้สูงกว่าก่อนการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 และ 3) ความพึงพอใจของนักเรียนหลังได้รับการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการสอนแบบสร้างองค์ความรู้ ร่วมกับสื่อบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) โดยภาพรวมมีความเหมาะสมมาก (̅= 4.44, S.D. = 0.25) 4. เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน ผู้วิจัยได้ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับความหมาย จุดมุ่งหมาย ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ บทบาท ของครูผู้สอน ประเภทของเกม ข้อดีและข้อจำกัด แนวคิดและทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวกับ การจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน ดังนี้ 4.1 ความหมายของการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน การศึกษาความหมายของการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐานในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัย ได้ศึกษาเอกสาร และบทความของนักวิชาการทางการศึกษาหลายท่าน โดยสรุปความหมาย ไว้ดังนี้ Franco-Mariscal (อ้างถึงใน ปาริชาต ชิ้นเจริญ, 2564) ให้ความหมายของการจัดการ เรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน หมายถึง การเรียนรู้ผ่านการเล่นเกมที่มีกฎกติกาไม่ยุ่งยากซับซ้อน มีความ


37 สนุกสนาน มีจุดประสงค์ การเรียนรู้ โดยผู้สอนใช้คำถามเพื่อนำสู่การอภิปรายเกี่ยวกับวิธีการเล่น กติการการเล่น และผลของการเล่นเกม เพื่อเชื่อมโยงถึงสาระการเรียนรู้ และจุดประสงค์การเรียนรู้ ฉัตรกมล ประจวบลาภ (2559) ให้ความหมายของการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน หมายถึง การเรียนรู้ผ่านเกมซึ่งเป็นนวัตกรรมสื่อการเรียนรู้ที่ออกแบบโดยแทรกเนื้อหาบทเรียนลงไป ในเกมให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการเรียนรู้ลงมือเล่นและฝึกปฏิบัติในการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยในขณะ ที่ลงมือเล่นผู้เรียนจะได้รับทักษะและความรู้จากเนื้อหาบทเรียนไปด้วย ทำให้ผู้เรียนได้รับทั้งความรู้ และความเพลิดเพลินไปพร้อม ๆ กัน นรรัชต์ฝันเชียร (2563) ให้ความหมายของการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน หมายถึง แนวทางการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นสื่อ ซึ่งออกแบบมาเพื่อให้เกิดการเรียนรู้โดยผสมผสาน ความสนุกสนานจากการเล่นเกมไปพร้อม ๆ กัน ซึ่งช่วยดึงดูดความสนใจของผู้เรียน วรัตต์อินทสระ (2562) ให้ความหมายของการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน หมายถึง สื่อในการเรียนรู้รูปแบบหนึ่ง ซึ่งออกแบบมาเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความสนุกสนานไปพร้อม ๆ กับ การได้รับความรู้ โดยสอดแทรกเนื้อหาทั้งหมดในการเรียนรู้นั้น ๆ เอาไว้ภายในเกมให้ผู้เรียนได้ลงมือ เล่นเกม สุรศักดิ์ แซ่ลิ้ม (2564) ให้ความหมายของการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน หมายถึง การสอนผ่านเกม เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนโดยผสมผสานระหว่างเกมกับเนื้อหาสาระอย่างลงตัว ทิศนา แขมมณี (2564) ให้ความหมายของการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน หมายถึง วิธีสอนโดยใช้เกม คือ กระบวนการที่ผู้สอนใช้ในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตาม วัตถุประสงค์ที่กำหนด โดยการให้ผู้เรียนเล่นเกมตามกติกา และนำเนื้อหาและข้อมูลของเกม พฤติกรรมการเล่น วิธีการเล่น และผลการเล่นเกมของผู้เรียนมาใช้ในการอภิปรายเพื่อสรุปการเรียนรู้ จากการศึกษาความหมายของการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน ผู้วิจัยสรุปได้ว่า การจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน เป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนโดยใช้เกมเป็นสื่อการเรียนรู้ ซึ่งมีการออกแบบให้สนุกสนานและสอดคล้องกับเนื้อหาของบทเรียน เพื่อกระตุ้นความสนใจของ ผู้เรียนให้มีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้จนกระทั่งเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง และเพื่อพัฒนาทักษะใน ด้านต่าง ๆ ของผู้เรียน 4.2 ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน การศึกษาขั้นตอนการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐานในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ศึกษา เอกสาร และบทความของนักวิชาการทางการศึกษาหลายท่าน โดยสรุปขั้นตอนของการจัดการเรียนรู้ โดยใช้เกมเป็นฐาน ไว้ดังนี้


38 วัฒนาพร ระงับทุกข์ (2552) ได้เสนอขั้นตอนของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เกม เป็นฐาน ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ดังนี้ 1. ขั้นนำเสนอเกม หมายถึง ขั้นชี้แจงวิธีการเล่นเกม และกติกาการเล่นเกม โดย ผู้สอนจำเป็นต้องศึกษาเกมให้เข้าใจ ทดลองเล่มก่อน เพื่อให้เห็นถึงประเด็นและข้อขัดข้องต่าง ๆ ที่อาจ เกิดขึ้น เพื่อเป็นการเตรียมการป้อง และแก้ไขปัญหาล่วงหน้า ซึ่งในการนำเสนอเกม ควรจัดลำดับ ขั้นตอนการเล่น และชี้แจงรายละเอียดกติกาการเล่นอย่างชัดเจนโดยอาจต้องใช้สื่อเข้าช่วย หรืออาจมี การให้ผู้เรียนได้ซ้อมเล่นเกมก่อน 2. ขั้นเล่นเกม หมายถึง ขั้นที่ผู้เรียนจะเล่นตามกติกา โดยการเล่นควรเป็นไป ตามลำดับขั้นตอน และอาจต้องมีการควบคุมเวลาในการเล่นเกม ขณะที่ผู้เรียนเล่นเกม ผู้สอนควร ติดตามพฤติกรรม จดบันทึกข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน เพื่อนำไปใช้ในการอภิปราย หลังการเล่นเกม หรืออาจมอบหมายให้ผู้เรียนบางคนทำหน้าที่สังเกต และจดบันทึก หรือควบคุมกติกา การเล่น และผู้สอนควรตรวจสภาพแวดล้อมของการเล่นให้อยู่ในสภาพที่เอื้อต่อการเล่นเกม เช่น การจัดโต๊ะเรียน เก้าอี้ ไม่เช่นนั้นอาจทำให้เกิดการติดขัด และเสียเวลาในขณะที่นักเรียนกำลังเล่นเกม 3. ขั้นอภิปรายหลังการเล่นเกม หมายถึง ขั้นที่ผู้สอนมีการใช้คำถามเพื่อนำไปสู่ การอภิปรายเกี่ยวกับความรู้หรือสาระที่นักเรียนได้รับ และต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของเกม เอ็ดการ์และครูซ (Cruz Manuel Cano, Edgar Juan Gabriel Ruiz) (อ้างถึงใน อธิป อนันต์กิต, 2564) ได้กว่าวว่า กระบวนการสอนโดยใช้เกมเป็นฐาน จะต้องใช้เกมที่ออกแบบมา เฉพาะเพื่อให้สอดคล้องกับเนื้อหาในการจัดการเรียนรู้โดยขั้นตอนของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้เกมเป็นฐาน ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ดังนี้ 1. ขั้นการชี้แจง ในชั่วโมงแรก จุดประสงค์การเรียนรู้และกิจกรรมได้ถูกออกแบบไว้ เพื่อรับการตอบกลับจากชั้นเรียน และมีการอธิบายเกมเพื่อขจัดความคลุมเครือในการใช้เกม 2. ขั้นการสะท้อนหลังจบคาบแรก ผมที่ได้จากการใช้เกมของแต่ละกลุ่มจะมีการ รวบรวมและเปรียบเทียบเพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์ 3. ขั้นกิจกรรม เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ออกแบบไว้ร่วมกับการใช้เกม 4. ขั้นอภิปรายผล เป็นขั้นตอนที่ผู้เรียนและผู้สอนจะร่วมกันประเมินผลที่ได้รับจากการ เรียนรู้ โดยระหว่างกิจกรรมทั้ง 4 ขั้นตอน ผู้เรียนจะมีการทำกิจกรรมกลุ่ม และสื่อสารกันระหว่างกลุ่ม ภายในห้องเรียน ทิศนา แขมมณี (2558) ได้เสนอขั้นตอนของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เกม เป็นฐาน ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ดังนี้ 1. ผู้สอนนำเสนอเกม ชี้แจงวิธีการเล่น และกติกาการเล่น 2. ผู้เรียนเล่นเกมตามกติกา


39 3. ผู้สอนและผู้เรียนอภิปรายเกี่ยวกับผลการเล่นและวิธีการหรือพฤติกรรมการเล่น ของผู้เรียน 4. ผู้สอนประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน กุลิสรา จิตรชญาวณิช และเกศราพรรณ พันธ์ศรีเกศ คงเจริญ (2563) ได้อธิบาย ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ด้วยเกม ดังนี้ 1. ขั้นเตรียมความพร้อม ครูชี้แจงจุดประสงค์ในการเล่นเกมให้นักเรียนทราบ 2. ขั้นอธิบาย ครูอธิบายกฎกติกาที่สำคัญในการเล่นเกมและวิธีการเล่นเกมให้ นักเรียนทราบโดยภาพรวม 3. ขั้นสาธิตการเล่นเกม ครูสาธิตวิธีการเล่นเกมทีละขั้นให้นักเรียนดู โดยทำการสาธิต อย่างช้า ๆ เพื่อให้นักเรียนสามารถจดจำรายละเอียดได้ 4. ขั้นลงมือเล่นเกม นักเรียนเล่นเกมตามกติกาที่กำหนด โดยกำหนดเวลาในการเล่น เกมให้ชัดเจนเพื่อไม่ให้กระทบกับกิจกรรมอื่นที่จะทำต่อไปหลังจากเล่นเกมเสร็จสิ้น 5. ขั้นวิเคราะห์วิจารณ์หลังการเล่นเกม หลังสิ้นสุดการเล่นเกม ครูให้นักเรียนร่วมกัน พูดคุยเกี่ยวกับข้อคิดหรือสิ่งที่ได้รับจากการเล่นเกม อธิป อนันต์กิตติกุล (2564) ได้เสนอขั้นตอนของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เกม เป็นฐาน ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ดังนี้ 1. ขั้นนำเข้าสู่บทเรียนซึ่งเป็นขั้นที่กระตุ้นการเรียนรู้ของผู้เรียนอธิบายกติกา วิธีการ เล่นเกม และเตรียมผู้เรียน 2. ขั้นดำเนินกิจกรรม เป็นการให้ผู้เรียนดำเนินกิจกรรมตามที่วางแผนเอาไว้ 3. ขั้นอภิปรายผล เป็นขั้นตอนที่ครูและผู้เรียนร่วมกันสรุปประเด็นที่เกิดขึ้นใน ระหว่างกิจกรรม ร่วมกันหาคำตอบและครูผู้สอนเสริมข้อมูลความรู้ให้สมบูรณ์ 4. ขั้นการประเมินผล เป็นขั้นตอนที่ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันประเมินผลจากการ ดำเนินกิจกรรมในคาบเรียนว่าบรรลุจุดประสงค์ตามที่กำหนดไว้หรือไม่ จากการศึกษาขั้นตอนการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน ผู้วิจัยสรุปได้ว่า ขั้นตอนการ จัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน ประกอบด้วย 1) ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน เป็นการใช้วิธีการตั้งคำถามหรือ กล่าวนำถึงเนื้อหาที่เกี่ยวข้อกับบทเรียนเพื่อกระตุ้นความสนใจของผู้เรียน 2) ขั้นดำเนินกิจกรรม เป็นขั้นตอนที่ให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมเกมตามกฎกติกาที่ครูผู้สอนจัดเตรียมไว้ 3) ขั้นอภิปราย ผลหลังการเล่มเกม เป็นขั้นตอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้อภิปรายและแสดงความคิดเห็น เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และความคิดเห็นที่ได้รับจากกิจกรรม 4) ขั้นประเมินผล เป็นขั้นที่ครูผู้สอนและ ผู้เรียนร่วมกันระบุและตรวจสอบสิ่งที่ได้เรียนรู้จากกิจกรรม และประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนที่มี ต่อการจัดกิจกรรม


40 4.3 บทบาทของครูผู้สอนในการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน การศึกษาบทบาทของครูผู้สอนในการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐานในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสาร และบทความของนักวิชาการทางการศึกษาหลายท่าน โดยสรุปบทบาทของ ครูผู้สอนในการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน ไว้ดังนี้ วรัตต์ อินทสระ (2562) บทบาทของผู้สอนในการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้เกมเป็นฐานจะเปลี่ยนจากผู้สอนไปเป็นหลากหลายบทบาทตลอดการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ดังนี้ 1. ผู้กระตุ้น (Motivator) ต้องรับบทบาทเป็นผู้ที่คอยกระตุ้นให้ผู้เรียนได้ทดลองทำ ได้ฝึกฝน และชมเชย เมื่อผู้เรียนทำถูกต้อง เพื่อเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้กับผู้เรียน 2. ผู้ควบคุมการเรียนรู้ (Content Structurer) ต้องเป็นผู้ควบคุมให้การเรียนนั้นมี เนื้อหาตามที่วางหัวข้อไว้ และไปถึงจุด Learning Point ตามที่ตั้งใจ 3. ผู้ให้ความรู้ (Debriefed) ต้องเป็นผู้ให้ความรู้ สรุปประเด็นต่าง ๆ ที่สำคัญ และ เป็นผู้ถ่ายทอดให้แก่ผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจมากยิ่งขึ้น 4. ผู้อำนวยความสะดวก (Facilitator) ต้องเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ สามารถแนะนำ บอกกฎกติกาการเล่น และข้อคิดต่าง ๆ ได้ เพื่อให้กระบวนการเรียนรู้ผ่านไปได้อย่าง ราบรื่น แต่จะต้องไม่บอกถึงวิธีการเล่นทั้งหมด ต้องเน้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง รัชกร ประสีระเตสัง (2565) บทบาทของผู้สอนในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เกม เป็นฐาน แบ่งออกเป็นก่อนการใช้กิจกรรมเกม ระหว่างเล่นเกม และ หลังการใช้กิจกรรมเกม ดังนี้ 1. ก่อนการใช้กิจกรรมเกม 1) ผู้สอนเตรียมเอกสารความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่จะสอน 2) ผู้สอนศึกษาเกี่ยวกับวิธีการเล่น 3) ผู้เล่นเตรียมอุปกรณ์ต่าง ๆ เท่ากับจำนวนนักเรียน 2. ระหว่างเล่นเกม 1) ผู้สอนแจกเอกสารความรู้และเกม 2) ผู้สอนอธิบายกติกา และวิธีการเล่นแก่ผู้เรียน 3) ให้กลุ่มผู้เรียนเล่นเกมในเวลาที่กำหนด 3. หลังการใช้กิจกรรมเกม 1) ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันสรุปเนื้อหาความรู้ที่ได้จากการเล่นเกม 2) ผู้สอนประเมินตนเองในการจัดกิจกรรมการสอนโดยใช้เกม สรุปว่า บทบาทของครูผู้สอนในการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน 1. เป็นผู้กระตุ้น ให้ผู้เรียนได้ทดลองทำ ฝึกฝน และชมเชยเมื่อผู้เรียนทำถูกต้อง เพื่อเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจ


Click to View FlipBook Version