วารสารการวจิ ัยการศกึ ษาขั้นพนื้ ฐาน
ปที ่ี 2 ฉบับท่ี 2 (กรกฎาคม – ธนั วาคม 2565)
สถานศึกษา เพื่อนาไปจัดทารายวิชาพื้นฐานหรือรายวิชาเพิ่มเติม จัดทาคาอธิบายรายวิชา หน่วยการเรียนรู้
แผนการจัดการเรียนรู้เพื่อจัดประสบการณ์ และจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้แก่ผู้เรียน ประเมินผล
และปรับปรุง รวมทั้งการมีหลักสูตรท้องถิ่นที่ได้รับการอนุมัติจากผู้บริหารสถานศึกษา และสอดคล้องกับ
งานวิจัยของ ภัทรสุดา เกิดแสง (2563) ได้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะของครูผู้สอนกับประสิทธิผล
การบริหารงานวิชาการในโรงเรียน สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 ผลการวิจัยพบวา่
ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรยี น ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้างานวิชาการ
และครูผู้สอน โดยรวมอยู่ในระดับมาก และด้านการพัฒนาหรือการดาเนินการเกี่ยวกับการให้ความเห็น
การพฒั นาสาระหลักสตู รทอ้ งถิ่น อย่ใู นระดับมาก
3. การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรแห่งการเรียนรู้กับการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา
ขั้นพ้ืนฐาน อาเภอแม่สรวย สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 โดยรวม
มีความสัมพันธ์กันทางบวกอยู่ในระดับต่า อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐาน
เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า องค์กรแห่งการเรียนรู้ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการบริหารงานวิชาการ
จานวน 10 ด้าน ซึ่งด้านที่มีค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์เรียงลาดับจากสูงที่สุด คือ การแนะแนว ทั้งนี้เนื่องจาก
ความเปน็ องคก์ รแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาขน้ั พนื้ ฐาน อาเภอแมส่ รวย สังกดั สานักงานเขตพ้ืนที่การศึกษา
ประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 ประกอบด้วย ด้านการเป็นบุคคลรอบรู้ ด้านการมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน ด้านการเรียนรู้
ร่วมกันเป็นทีม ด้านการคิดอย่างเป็นระบบ และด้านการจัดการความรู้ ส่งผลให้สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
อาเภอแม่สรวย สงั กดั สานกั งานเขตพ้นื ท่กี ารศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 มกี ารปฏบิ ัติงานของผู้บริหาร
ครู และบุคลากรทางการศึกษา ที่เกิดการบริหารงานวิชาการอย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับแนวคิดของ
ปีเตอร์ เอ็ม เซงเก้ (Peter M. Senge, 1990) ไดเ้ สนอแนวความคิดของการสรา้ งองคก์ รแห่งการเรียนรู้ออกเป็น
5 ประการ ซึ่งเป็นแนวทางหลักในการสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้ให้เกิดขึน้ ที่จะผลักดนั และสนับสนุนให้เกิด
องค์กรแห่งการเรียนรู้ขึ้น ประกอบด้วย ด้านการเป็นบุคคลรอบรู้ (Personal Mastery) ด้านการมีแบบแผน
ความคิด (Mental Model) ด้านการมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน (Shared Vision) ด้านการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม
(Team Learning) และด้านการคิดอย่างเป็นระบบ (Systems Thinking) และสอดคล้องกับแนวคิดองค์กร
แห่งการเรียนรู้ของ ไมเคิล เจ และเรโนลย์ (Michael J. Marquardt & Reynolds, 1994) ซึ่งประกอบกัน
ขึ้นเป็น 5 ระบบย่อย ที่มีความสัมพันธ์เชื่อมต่อและสนับสนุนซึ่งกันและกัน ประกอบด้วย ด้านการเรียนรู้
(Learning) หรือพลวัตการเรียนรู้ (Learning Dynamics) ด้านองค์กร (Organization) หรือการปรับเปลี่ยน
องค์กร (Organization Transformation) ด้านการเพิ่มอานาจแก่บุคคล (People Empowerment) หรือ
43
วารสารการวิจยั การศึกษาขน้ั พ้ืนฐาน
ปีท่ี 2 ฉบบั ท่ี 2 (กรกฎาคม – ธนั วาคม 2565)
การเสริมความรู้แก่บุคคล ด้านการจัดการความรู้ (Knowledge management) และด้านการใช้เทคโนโลยี
(Technology application) อนั จะนาไปสูค่ วามสาเร็จขององคก์ ร
เมื่อพิจารณาการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อาเภอแม่สรวย สังกัดสานักงาน
เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 พบว่า มีการดาเนินการบริหารงานวิชาการทั้ง 17 ด้าน
มีความซ้าซ้อนกัน ได้แก่ 1) ด้านการพัฒนาสาระหลักสูตรท้องถิ่น ซ้าซ้อนกับด้านการพัฒนาหลักสูตร
ของสถานศกึ ษา 2) ด้านการวางแผนงานด้านวิชาการ ซา้ ซ้อนกับด้านการจัดทาระเบียบและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับ
งานด้านวิชาการของสถานศึกษา 3) ด้านการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษา ซ้าซ้อนกับด้านการวัดผล
ประเมนิ ผล และดาเนินการเทยี บโอนผลการเรียน 4) ดา้ นการพฒั นากระบวนการเรยี นรู้ ซ้าซอ้ นกับด้านการวจิ ยั
เพื่อพัฒนาคณุ ภาพการศึกษาในสถานศึกษา และซ้าซอ้ นกบั การนิเทศการศึกษา 5) ด้านการส่งเสริมชุมชนให้มี
ความเข้มแข็งทางวิชาการ ซ้าซ้อนกับด้านการประสานความร่วมมือในการพัฒนาวิชาการกับสถานศึกษา
และองค์กรอ่ืน และซ้าซอ้ นกับด้านการส่งเสรมิ และสนับสนุนงานวชิ าการแกบ่ ุคคล ครอบครวั องคก์ รหนว่ ยงาน
สถานประกอบการ และสถาบันอน่ื ท่ีจัดการศึกษา และ 6) ดา้ นการพัฒนาและส่งเสริมใหม้ ีแหลง่ เรียนรู้ ซ้าซ้อน
กับด้านการพัฒนาและใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา จึงส่งผลให้ความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรแห่งการเรียนรู้
กับการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อาเภอแม่สรวย สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาเชยี งราย เขต 2 มคี วามสัมพันธก์ ันต่าตามไปด้วย
ข้อเสนอแนะ
ขอ้ เสนอแนะในการนาผลการวจิ ยั ไปใช้
จากการศึกษาความสัมพันธร์ ะหว่างองค์กรแห่งการเรียนรู้กับประสิทธิผลในการบริหารงานวิชาการ
ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อาเภอแม่สรวย สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2
มีข้อเสนอแนะ ดังนี้
1. จากผลการวจิ ยั องค์กรแห่งการเรยี นร้ขู องสถานศึกษาขั้นพ้นื ฐาน อาเภอแม่สรวย สังกัดสานักงาน
เขตพน้ื ทก่ี ารศกึ ษาประถมศกึ ษาเชยี งราย เขต 2 ดา้ นการเรียนรู้รว่ มกนั เปน็ ทีม มคี า่ เฉลย่ี ตา่ สุด ดงั นน้ั ผู้บริหาร
สถานศึกษาควรกาหนดนโยบายให้บุคลากรในองค์กรมีโอกาสแสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนความรู้ และประสบการณ์
จากการปฏบิ ัตงิ าน เพ่ือให้เกดิ ความรักสามัคคกี นั ให้ความช่วยเหลือเกอ้ื กลู โดยมีผ้บู รหิ ารคอยสนับสนนุ ส่งเสริม
ระบบการทางานเป็นทีม ใหบ้ คุ ลากรของหน่วยงานไดม้ โี อกาสพัฒนาขีดความสามารถของตนเองในการสร้างสรรค์งาน
รว่ มกบั ผู้อ่ืน ไดม้ โี อกาสเรียนรู้การทางานเป็นทีม ม่งุ พฒั นาวิธีการทางานท่ีใหเ้ กิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
พรอ้ มทง้ั มกี ารเผยแพรค่ วามรู้ วธิ กี าร และประสบการณใ์ นการทางานทส่ี ามารถทาให้งานประสบความสาเร็จต่อ
สมาชกิ คนอืน่ ๆ
44
วารสารการวิจยั การศึกษาขั้นพนื้ ฐาน
ปที ี่ 2 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม – ธนั วาคม 2565)
2. จากผลการวิจัย ประสิทธผิ ลในการบรหิ ารงานวิชาการของสถานศึกษาขน้ั พ้ืนฐาน อาเภอแม่สรวย
สังกัดสานักงานเขตพ้ืนที่การศึกษาประถมศกึ ษาเชียงราย เขต 2 ด้านการคัดเลือกหนังสือแบบเรียน เพื่อใช้ใน
สถานศึกษา มีค่าเฉลี่ยต่าสุด ดังนั้น ผู้บริหารสถานศึกษาควรกาหนดนโยบายให้ความสาคัญกับการคัดเลือก
หนังสือเรียน หนังสือเสริมประสบการณ์ หนังสืออ่านประกอบ แบบฝึกหัด ใบงาน ใบความรู้ ในกลุ่มสาระ
การเรยี นรตู้ า่ ง ๆ ที่มีคุณภาพ เพ่ือใช้ประกอบการเรยี นการสอนที่สอดคล้องกับหลกั สตู รสถานศกึ ษา
3. จากผลการวิจัย ความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรแห่งการเรียนรู้กับประสิทธิผลในการบริหารงาน
วิชาการของสถานศึกษาขัน้ พื้นฐาน อาเภอแม่สรวย สังกัดสานักงานเขตพื้นท่ีการศึกษาประถมศึกษาเชียงราย
เขต 2 โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกระดับต่า อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ด้านที่มี
ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์สูงสุด คือ ด้านการแนะแนว ทั้งนี้เนื่องจากผู้บริหารสถานศึกษามีการจัดระบบงาน
โครงสร้างองค์กร แนะแนวและดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษาที่ชัดเจน ส่งเสริมและพัฒนาให้ครูไดร้ ับ
ความรู้เพิ่มเติมในเรื่องจิตวิทยา การแนะแนว และระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ให้สามารถบูรณาการ
ในการจดั การเรียนรู้และเช่ือมโยงสกู่ ารดารงชีวติ ประจาวัน
4. ควรมีการสังเคราะห์ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ผลการวิจัยมีความ สอดคล้อง
กบั บริบทจริง
ขอ้ เสนอแนะในการวจิ ัยครง้ั ตอ่ ไป
1. ควรมกี ารวิจยั ที่เกีย่ วข้องกับปัจจยั ที่ส่งผลตอ่ การเปน็ องคก์ รแหง่ การเรยี นรู้
2. ควรมกี ารวิจัยท่เี ก่ียวขอ้ งกับปจั จัยทส่ี ่งผลตอ่ ประสทิ ธิผลในการบรหิ ารงานวิชาการ
3. ควรมกี ารวจิ ัยทเ่ี ก่ยี วข้องกบั ปจั จยั ขององค์กรแห่งการเรียนรทู้ ่ีส่งผลตอ่ ประสิทธิผล
ในการบริหารงานวชิ าการ
45
วารสารการวจิ ัยการศกึ ษาขัน้ พน้ื ฐาน
ปีท่ี 2 ฉบับท่ี 2 (กรกฎาคม – ธนั วาคม 2565)
เอกสารอา้ งอิง
กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). คู่มือการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล. กรุงเทพฯ:
องคก์ ารรับสง่ สินคา้ และพัสดุภณั ฑ์.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2556). คู่มือการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล. กรุงเทพฯ:
โรงพมิ พ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จากัด.
กฤติยา จันทรเสนา. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นากับองค์กรแห่งการเรียนรู้ของ สถานศึกษา
สังกัดสานกั งานเขตพ้นื ทก่ี ารศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต,
มหาวทิ ยาลยั ศลิ ปากร.
พรธิดา พูลถาวร. (2560). แนวทางการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาที่ได้คะแนน O-NET สูงสุด
ในสังกัดสานักงานเขตพืน้ ที่การศกึ ษาประถมศกึ ษาชลบุรีเขต 3: กรณีศึกษาโรงเรยี นบ้านสัตหีบ.
วทิ ยานพิ นธก์ ารศึกษามหาบัณฑติ , สาขาวชิ าการบริหารการศึกษา มหาวทิ ยาลัยบรู พา.
พิพัฒน์พงษ์ วิเศษ. (2560). ภาวะผู้นาทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อประสิทธิผล
การบริหารงานวิชาการในโรงเรียน สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3.
วิทยานพิ นธ์ปรญิ ญาครุศาสตร์บัณฑิต, สาขาวิชาการบรหิ ารการศกึ ษา มหาวทิ ยาลยั ราชภฏั สกลนคร.
ภาคภูมิ ทองลาด. (2561). ปจั จัยทางการบริหารท่ีส่งผลตอ่ ประสิทธิผลการบรหิ ารงานวชิ าการของโรงเรียน
ในสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์
มหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบรหิ ารการศกึ ษา มหาวิทยาลัยราชภฏั สกลนคร.
ภัทรสุดา เกิดแสง. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะของครูผู้สอนกับประสิทธิผลการบริหารงาน
วชิ าการในโรงเรียน สังกดั สานักงานเขตพื้นที่การศกึ ษามธั ยมศกึ ษา เขต 23. วิทยานพิ นั ธ์ปริญญา
ครศุ าสตร์มหาบณั ฑติ , สาขาวิชาการบริหารการศกึ ษา มหาวิทยาลยั ราชภัฏสกลนคร.
ยุกตนันท์ หวานฉ่า. (2555). การบริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของโรงเรียนในอาเภอคลองหลวง
สงั กัดสานกั งานเขตพน้ื ทก่ี ารศกึ ษาประถมศกึ ษาปทุมธานี เขต 1. วทิ ยานพิ นธ์ปรญิ ญามหาบัณฑิต,
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธญั บุร.ี
วรรณา เฟื่องฟู. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นาทางวิชการของผู้บริหารสถานศึกษากับการเป็น
องคก์ ารแห่งการเรยี นรขู้ องสถานศึกษา สังกัดสานักงานเขตพน้ื ท่กี ารศกึ ษาประถมศกึ ษาปทุมธานี
เขต 2. วิทยานิพนธ์ปรญิ ญามหาบณั ฑิต, มหาวทิ ยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบรุ .ี
46
วารสารการวิจยั การศึกษาข้ันพืน้ ฐาน
ปีท่ี 2 ฉบบั ที่ 2 (กรกฎาคม – ธนั วาคม 2565)
วิสุทธิ์ แว่นแก้ว. (2554). สภาพการพัฒนาอย่างยั่งยืนของการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
ในสถานศึกษา สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร
มหาบัณฑิต, สาขาวชิ าการบริหารการศกึ ษา. ปทมุ ธานี: มหาวิทยาลยั รังสิต.
วรี ะพล ไวยมติ รา. (2559). การบริหารงานวิชาการของโรงเรยี นวัดโพธิ์ สังกัดสานักงานเขตพื้นทีก่ ารศึกษา
ประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2. การค้นคว้าอิสระปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวชิ าการบรหิ ารการศกึ ษา บัณฑติ วทิ ยาลยั หมาวิทยาลัยศลิ ปกร.
ศุภลักษณ์ ศานติเธียร. (2557). การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนขยายโอกาศทางการศึกษา
กลุ่มโรงเรียนศรีราชา 1 สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3.
วทิ ยานพิ นธ์ปริญญามหาบัณฑติ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลยั บรู พา.
สานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2. (2563). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษา
ระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ปีการศึกษา 2562 ศูนย์สอบ สพป.เชียงราย เขต 2. เชียงราย:
สานักงานเขตพน้ื ท่กี ารศกึ ษาประถมศึกษาเชยี งราย เขต 2.
สานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2559). สภาวะการศึกษาไทย ปี 2557/2558 “จะปฏิรูปการศึกษาไทย
ใหท้ นั โลกในศตวรรษที่ 21 ได้อย่างไร”. กรุงเทพฯ: พมิ พ์ดีการพมิ พ์.
สานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2563). รายงานผลการดาเนินการประเมินคุณภาพผู้เรียน (NT)
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2562. เชียงราย: สานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
เชียงราย เขต 2.
อัศวรินทร์ แก่นจันทร์. (2562). การมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของครูโรงเรียนสังกัดองค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
บณั ฑิตวทิ ยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ.์
Marquardt, M. J. & Reynolds. (1994). The Global Learning Organization. New York: IRWIN.
Peter M. Senge. (1990). The Fifth Discipline: The Art and practice of the learning
Organization. New York: Doubleday.
47
วารสารการวิจัยการศกึ ษาข้นั พนื้ ฐาน
ปที ่ี 2 ฉบบั ที่ 2 (กรกฎาคม – ธันวาคม 2565)
ผลการจดั การเรียนรู้ เรือ่ ง รกั ษป์ ่านา่ น ดว้ ยกระบวนการทางภูมศิ าสตร์
ท่ีมตี ่อผลสมั ฤทธท์ิ างการเรียนและความสามารถในการคิดเชิงระบบ
ของนกั เรียนช้นั ประถมศกึ ษาปีท่ี 5 จงั หวดั น่าน
The Effect of Instructional Management with The use of Geographic Process
in The Topic of Conservation of Nan Forest on Learning Achievement
and Systematic Thinking Ability of Prathom Suksa V Student in Nan Province
นพดล สมใจ*
Noppadon Somjai
บทคดั ย่อ
การวจิ ยั ครัง้ นี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจยั เพ่ือ (1) เปรยี บเทียบผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนก่อนและหลังเรียน
เรื่อง “รักษ์ป่าน่าน” ด้วยกระบวนการทางภูมิศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จังหวัดน่าน
(2) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดเชิงระบบก่อนและหลงั เรียน เร่อื ง “รกั ษป์ า่ น่าน” ด้วยกระบวนการ
ทางภูมศิ าสตร์ ของนักเรยี นช้นั ประถมศกึ ษาปที ่ี 5 จังหวดั นา่ น
กลุ่มตวั อยา่ งเปน็ นักเรียนช้ันประถมศึกษาปที ี่ 5 โรงเรียนบ้านส้าน (คุรุราษฎร์รงั สรรค)์ ปีการศึกษา
2563 จานวน 28 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้
ด้วยกระบวนการทางภูมิศาสตร์ เรื่อง รักษ์ป่าน่าน แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน
เรื่อง รกั ษ์ปา่ น่าน และแบบวัดความสามารถในการคิดเชงิ ระบบก่อนและหลังเรียน สถติ ทิ ี่ใชใ้ นการวิเคราะห์
ขอ้ มูล คือ การทดสอบค่าที
ผลการวิจัยพบว่า (1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง รักษ์ป่าน่าน ของนักเรียนที่เรียนจากการจัด
การเรียนรู้ด้วยกระบวนการทางภูมิศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05
และ (2) คะแนนความสามารถในการคิดเชิงระบบ เรื่อง รักษ์ป่าน่าน ของนักเรียนที่เรียนจากการจัด
การเรยี นรดู้ ว้ ยกระบวนการทางภูมิศาสตรห์ ลังเรียนสูงกวา่ กอ่ นเรยี นอยา่ งมนี ัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05
คาสาคญั : ผลสมั ฤทธิ์ทางการเรยี น/ กระบวนการทางภูมิศาสตร์/ การคิดเชิงระบบ
* ครู, โรงเรยี นบ้านสา้ น (ครุ ุราษฎร์รงั สรรค์) , สานกั งานเขตพ้ืนที่การศกึ ษาประถมศกึ ษานา่ น เขต 2
Teacher, Bansan School (Kururatrangsan), Nan Primary Educational Service Area Office 2
48
วารสารการวจิ ัยการศึกษาขั้นพน้ื ฐาน
ปีที่ 2 ฉบบั ท่ี 2 (กรกฎาคม – ธันวาคม 2565)
Abstract
The purposes of this research were: (1) to compare the pre-post learning achievement
in the topic of Conservation of Nan Forest with the use of geographic process and;
(2) to compare the pre-post systematic thinking ability in the topic of Conservation of Nan
Forest with the use of geographic process.
The research sample consisted of 35 Prathom Suksa V students obtained by cluster
sampling. The employed research instruments were lesson plans in the topic of
Conservation of Nan Forest with the use of geographic process, pre-post achievement test
and pre-post systematic thinking ability test. The statistical procedure for data analysis was
dependent t-test.
The research findings were as follows: (1 ) post-learning achievement in the topic
of Conservation of Nan Forest with the use of geographic processes was significantly higher
than pre-learning counterpart at the .05 level of statistical significance.; and (2) post-learning
systematic thinking ability score in the topic of Conservation of Nan Forest with the use of
geographic processes was significantly higher than pre-learning counterpart at the .05 level
of statistical significance.
Keywords : Learning Achievement/ Geographic’s Process/ Systematic thinking
บทนา
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ได้มี
การพิจารณาปรับปรุงหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 ในส่วนของมาตรฐาน
การเรียนรู้และตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สาระเทคโนโลยี
และสาระภูมิศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ซึ่งได้ให้ความสาคัญกับ
การเรียนรู้เรื่องทางภูมิศาสตร์ ทักษะทางภูมิศาสตร์ ความสามารถทางภูมิศาสตร์ กระบวนการทางภูมิศาสตร์
และความสามารถในการคิดเชิงระบบ ขณะเดียวกันในปีการศึกษา 2561 สานักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศกึ ษานา่ นเขต 2 (2561) ไดร้ ายงานผลการประเมินระดบั เขตพ้นื ท่ีการศึกษาประถมศึกษาน่านเขต 2
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ประจาการศึกษา 2561 ของโรงเรียนบ้านส้าน
(คุรุราษฎร์รังสรรค์) ซึ่งปรากฏผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สาระที่ 1 ศาสนา ศีลธรรม และจริยธรรม นักเรียน
ได้ร้อยละ 58.25 สาระที่ 2 หน้าทีพ่ ลเมอื ง และการดาเนินชีวติ ในสงั คม นักเรยี นได้ร้อยละ 58.16 สาระท่ี 3
49
วารสารการวิจัยการศกึ ษาขั้นพน้ื ฐาน
ปีท่ี 2 ฉบบั ที่ 2 (กรกฎาคม – ธนั วาคม 2565)
เศรษฐศาสตร์ นักเรียนได้ร้อยละ 57.78 สาระที่ 4 ประวัติศาสตร์ นักเรียนได้ร้อยละ 58.75 และสาระที่ 5
ภูมิศาสตร์ นักเรียนได้ 56.25 จากข้อมูลนี้จะเห็นได้ว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในสาระที่ 5 ภูมิศาสตร์ของ
โรงเรียนบ้านส้าน (คุรุราษฎร์รังสรรค์) ปีการศึกษา 2561 ในระดับเขตพื้นที่การศึกษาอยู่ในระดับ 56.25
ซึ่งต่ากว่าทกุ สาระการเรียนรู้ของกลุ่มสาระการเรียนรู้สงั คมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมของกลุ่มโรงเรียน
ในระดับเดียวกัน และจากการบันทึกผลหลังการจัดการเรียนรู้ในวิชาสังคมศึกษา ส15101 สาระภูมิศาสตร์
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม พบว่า ในระดับโรงเรียนการทดสอบระหว่าง
ภาคเรียนเกี่ยวกับเรื่อง ลักษณะทางภูมิศาสตร์ การแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในท้องถิ่นหรือภูมิภาค
ที่เกิดขึ้นที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับการเข้าใจสถานการณ์ในภาพรวม การเข้าใจปฏิ สัมพันธ์ทางภูมิศาสตร์
และการแก้ปัญหาทางภูมิศาสตร์พบว่านักเรียนร้อยละ 75 ไม่สามารถผ่านการประเมินในกิจกรรมนี้
ร้อยละ 25 สามารถผ่านการประเมิน ประกอบกับผลการบันทึกการจัดการเรียนรู้พบนักเรียนไม่เข้าใจ
ความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่าง ๆ ซึ่งต้องอาศัยการคิดวิเคราะห์และการคิดสังเคราะห์ประกอบกัน
จึงจะทาให้เข้าใจสถานการณ์ได้ทั้งระบบได้ ไม่เข้าใจความปฏิสัมพันธ์ทางภูมศิ าสตร์ และไม่สามารถตดั สนิ
และปญั หาในทางภมู ิศาสตร์ได้
ผู้วิจัยจึงได้นาแนวทางการจัดการเรียนรู้รายวิชา สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สาระการเรียนรู้
ที่ 5 ภูมิศาสตร์ ที่มีความมุ่งหมายให้ผู้เรียนเกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับ ที่ตั้ง สถานที่บนผิวโลก สามารถ
วิเคราะห์ความสัมพันธร์ ะหว่างมนุษย์ สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สรา้ งขึ้น ภัยธรรมชาติ
รวมทั้งวัฒนธรรมความเป็นอยู่ของมนุษย์ (กระทรวงศึกษาธิการ, 2551: 132) และใช้ทางกระบวนการ
ทางภูมิศาสตรต์ ามแนวทางของสานักวชิ าการและมาตรฐานการศกึ ษา กระทรวงศกึ ษาธกิ าร ซงึ่ กระบวนการ
ทางภูมิศาสตร์ เป็นกระบวนการในการเรียนรู้เพื่อช่วยให้ผู้เรียนมองเห็นภาพรวมของสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
เข้าใจในความสัมพันธ์เชื่อมโยงปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์กับพื้นที่อย่างเป็นระบบ ได้นากระบวนการทาง
ภูมิศาสตร์ตามแนวทางของสานักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การตั้งคาถามเชิงภูมิศาสตร์ เป็นการระบุ
ประเด็นต่าง ๆ เพื่อนามาพิจารณาประกอบการหาคาตอบ ขั้นตอนที่ 2 การรวบรวมข้อมูล เป็นขั้นที่ต้อง
รวบรวมข้อเท็จจริง และข้อมูลที่เป็นประโยชน์และคาดว่าจะนาไปใช้ประกอบการศึกษา ขั้นตอนที่ 3
การจัดการข้อมูล เป็นการจัดระเบียบข้อมูลที่ได้จากการรวบรวมข้อมูล ขั้นตอนที่ 4 กาวิเคราะห์และ
แปลผลข้อมูล เป็นขั้นตอนสาคัญที่ต้องการวิเคราะห์ข้อมูลและอธิบายปัญหาที่ศึกษา และขั้นตอนที่ 5
การสรุปเพื่อตอบคาถาม เป็นการสรุปเนื้อหาให้ตรงคาถามอย่างถูกต้องและชัดเจน กระบวนการทาง
ภูมิศาสตร์ส่งเสริมพฤติกรรมการเรียนรู้ด้านความจา ความเข้าใจ ด้วยการตั้งคาถามเชิงภูมิศาสตร์และ
การรวบรวมข้อมูล ทาให้นักเรยี นมีพฤติกรรมการเรียนรูก้ ารนาไปใช้ การคดิ วเิ คราะห์ การรวบรวมข้อมูล
50
วารสารการวิจยั การศึกษาข้นั พนื้ ฐาน
ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม – ธนั วาคม 2565)
จัดการข้อมูล การวิเคราะห์และแปลผลข้อมูล ตลอดจนทาให้นักเรียนสามารถประเมินค่า สร้างสรรค์
ด้วยการสรุปและตอบคาถามเชิงภูมิศาสตร์ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงระดับความรู้ ความสามารถและพัฒนา
ผลสัมฤทธิ์ได้ เนื่องจากกระบวนการทางภูมิศาสตร์นั้นเป็นขั้นตอนท่ีเป็นวิทยาศาสตร์ เหมาะสมกับ
การจัดการเรียนรู้ในสาระภูมิศาสตร์ในศตวรรษที่ 21 สอดคล้องกับสานักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา
สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ (2560) ภากร อุปการแก้ว (2560)
และอรทัย สวุ ะพฒั น์ (2561)
กระบวนการพัฒนาการเรียนรู้ที่ต้องอาศัยความรู้ทางภูมิศาสตร์ กระบวนการการคิดวิเคราะห์
กระบวนการคิดสังเคราะห์ และการลงมือปฏิบัติทั้งภาคทฤษฏีและปฏิบัติ การพัฒนาความสามารถ
ในการคิดของผู้เรียน ควรเป็นงานสาคัญอันดับแรกที่ผู้สอนต้องตระหนักเมือ่ สอน การสอนกระบวนการคิด
ทาให้ชั้นเรียนเปลี่ยนไป จากชั้นเรียนทาแบบฝึกหัดและท่องจามาเป็นชั้นเรียนที่น่าตื่นเต้น ท้าทายและ
น่าสนใจทั้งการสอนและการเรียนรู้ สามารถทาให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนดีขึ้นได้ ทั้งนี้
กระบวนการสอนการคิดมีความสอดคล้องกับกรอบยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579) ซึ่งเป็น
แผนหลักของการพัฒนาประเทศ และเป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development
Goals: SDGs) ที่มุ่งโครงสร้างประเทศไปสู่ประเทศไทย 4.0 (ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี, 2558) ขณะเดียวกัน
กระบวนการทางภูมิศาสตร์สามารถพัฒนาความสามารถในการคิดเชิงระบบได้ และเป็นทักษะสาคัญ
ในศตวรรษที่ 21 สอดคล้องกับสานักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สานักงานคณะกรรมการการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ (2560) ดังนั้น จึงควรพัฒนาให้นักเรียนเกิดความสามารถในการคิดเชิงระบบ
โดยกระบวนการทางภูมิศาสตร์จะช่วยพัฒนาความสามารถในการคิดเชิงระบบได้ เนื่องจากกระบวนการ
ทางภูมิศาสตร์ในขั้นตอนที่ 1 และ 2 ของกระบวนการทางภูมิศาสตร์ ซึ่งมีการตั้งคาถามเชิงภูมิศาสตร์
การรวบรวมข้อมูล ช่วยทาให้เกิดการคิดในภาพรวมของปัญหา ขั้นตอนที่ 3 และ 4 มีการจัดการข้อมูล
และการวิเคราะห์และแปลผล ช่วยทาให้เกิดการคิดโดยเข้าใจปฏิสัมพันธ์ต่อกัน (Checkland: 1981)
และข้ันตอนท่ี 4 และ 5 การวเิ คราะห์และแปลผลและการสรปุ เพ่ือตอบคาถาม ชว่ ยทาใหเ้ กดิ กระบวนการคิด
เพื่อการตัดสินใจและแก้ปัญหา (Peter Senge, 2014) ซึ่งสอดคล้องกบั ลกั ษณะสาคัญของการคิดเชงิ ระบบ
ที่เป็นการคิดในองค์รวมเพื่อเข้าใจความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่าง ๆ ซึ่งต้องอาศัยการคิดวิเคราะห์
และการคดิ สังเคราะห์ประกอบกันจึงจะทาให้เข้าใจสถานการณ์ได้ท้ังระบบได้ มองเห็นภาพรวมของปัญหา
การวิเคราะห์เพื่อให้เชื่อมโยงปัญหาได้ และการตัดสินใจเพื่อการแก้ปัญหา ซึ่งเป็นองค์ประกอบสาคัญของ
ความสามารถในการคิดเชงิ ระบบอกี ดว้ ย
51
วารสารการวิจัยการศกึ ษาขั้นพนื้ ฐาน
ปีท่ี 2 ฉบบั ท่ี 2 (กรกฎาคม – ธนั วาคม 2565)
ในการวิจัยครั้งนี้ได้นาสาระที่ 5 ภูมิศาสตร์ที่มีเนื้อหาจากหลักสูตร “รักษ์ป่าน่าน” ซึ่งเป็นหลักสูตร
ที่สร้างขึ้นเพื่อต้องการให้เกิดความตระหนักถึงความสาคัญในการมีส่วนร่วมอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ ฟื้นฟู
และรกั ษาความสมบูรณ์ของทรัพยากรป่าไม้ของจงั หวัดน่านให้ยงั่ ยนื ตามแนวพระราชดารสิ มเด็จพระเทพ
รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีการขับเคลื่อนหลักสูตร “รักษ์ป่าน่าน” ร่วมกับหน่วยงานทางการศึกษา
สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในจังหวัดน่าน เพื่อให้ครูผู้สอนได้นาไปใช้เป็นแนวทางในการจัด
การเรียนการสอนให้นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และเยาวชนให้มีความรู้
ความเข้าใจในมิติทางภูมิศาสตร์ สังคม วัฒนธรรม การอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ในจังหวัดน่านให้ยั่งยืน
มีทักษะ กระบวนการ และมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ในจังหวัดน่าน มีความตระหนัก
เห็นคุณค่า และมีจิตสานึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ในจังหวัดน่าน และรักษาความสมบูรณ์ของ
ทรพั ยากรป่าไมข้ องจงั หวัดน่านใหย้ ่งั ยนื (สานักงานศึกษาธิการจงั หวัดนา่ น, 2561)
จากเหตุผลและความจาเป็นดังกล่าวมาแล้ว ผู้วิจัยจึงมีความสนใจศึกษาผลการจัดการเรียนรู้
เรื่อง รักษ์ป่าน่าน ด้วยกระบวนการทางภูมิศาสตร์ ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถ
ในการคิดเชงิ ระบบ ของนักเรยี นชน้ั ประถมศกึ ษาปที ่ี 5 จังหวัดนา่ น
วตั ถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพ่อื เปรียบเทยี บผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน เรื่อง รักษป์ า่ น่าน ด้วยกระบวนการ
ทางภมู ศิ าสตร์ ของนักเรยี นช้นั ประถมศกึ ษาปีท่ี 5 จงั หวดั นา่ น
2. เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดเชิงระบบก่อนและหลังเรียน เรื่อง รักษ์ป่าน่าน
ดว้ ยกระบวนการทางภมู ศิ าสตร์ ของนกั เรยี นช้นั ประถมศึกษาปีท่ี 5 จังหวดั นา่ น
ขอบเขตการวิจัย
ประชากรและกลุ่มตวั อย่าง
ประชากร ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ในสังกัด
สานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่านเขต 2 จานวน 27 ห้องเรียน ในปีการศึกษา 2563
จานวน 450 คน
กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านส้าน (คุรุราษฎร์รังสรรค์)
ปีการศกึ ษา 2563 จานวน 28 คน โดยการสมุ่ ตัวอยา่ งแบบกลุ่ม
เนื้อหาทใ่ี ชใ้ นการทดลองสอน เรื่อง รกั ษป์ า่ นา่ น
52
วารสารการวจิ ยั การศึกษาข้ันพน้ื ฐาน
ปที ่ี 2 ฉบบั ที่ 2 (กรกฎาคม – ธนั วาคม 2565)
ตวั แปรที่ใชใ้ นการวจิ ยั
ตวั แปรตน้ ไดแ้ ก่ วธิ กี ารจดั การเรยี นรดู้ ้วยกระบวนการทางภูมิศาสตร์
ตัวแปรตาม ได้แก่ ผลสมั ฤทธท์ิ างการเรียนรแู้ ละความสามารถในการคิดเชิงระบบ
ของนกั เรียนชัน้ ประถมศกึ ษาปีท่ี 5
ประโยชน์ท่คี าดว่าจะได้รับ
1. เพื่อให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ที่จัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการทางภูมิศาสตร์ เรื่อง รักษ์ป่าน่าน
สูงขนึ้
2. เพื่อให้ความสามารถในการคิดเชิงระบบของนักเรียนที่จัดการเรียนรู้ด้วยกระบว นการทาง
ภูมิศาสตร์ เร่ือง รักษป์ ่านา่ น สูงขน้ึ
3. เพื่อเป็นแนวทางสาหรับครูสังคมศึกษาในการจัดการเรียนรู้ เรื่อง รักษ์ป่าน่าน ด้วยกระบวนการ
ทางภูมศิ าสตร์
กรอบแนวคิดการวจิ ยั ตวั แปรตาม
ตัวแปรตน้ ผลสมั ฤทธทิ์ างการเรยี น
กระบวนการทางภูมิศาสตร์
ความสามารถ
ในการคดิ เชงิ ระบบ
สมมติฐานการวิจัย
1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของนักเรียนที่จัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการทางภูมิศาสตร์
หลังเรียนสงู กวา่ กอ่ นเรยี น
2. ความสามารถในการคดิ เชงิ ระบบของนกั เรียนท่ีจัดการเรียนรู้ดว้ ยกระบวนการทางภูมิศาสตร์
หลังเรียนสงู กว่าก่อนเรยี น
53
วารสารการวจิ ัยการศกึ ษาข้ันพน้ื ฐาน
ปีที่ 2 ฉบบั ที่ 2 (กรกฎาคม – ธนั วาคม 2565)
วธิ ดี าเนินการวิจยั
รปู แบบการทดลอง
การวจิ ัยในครัง้ นผี้ ้วู ิจัยไดใ้ ชก้ ารวจิ ัยแบบกลุ่มเดยี ว (One Group Pretest Posttest Design)
เครอ่ื งมือท่ใี ชใ้ นการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยกระบวนการทางภูมิศาสตร์
เรื่อง รักษ์ป่าน่าน รายวิชา ส15101 ชั้นประถมศึกษาปีท่ี 5 โรงเรียนบ้านสา้ น (คุรุราษฎร์รังสรรค์) จานวน
5 แผน รวม 20 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยกระบวนการทาง
ภูมิศาสตร์ ผู้วิจยั ไดด้ าเนนิ การสร้างและพฒั นาตามขน้ั ตอนดังต่อไปน้ี
1) ศกึ ษาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาข้นั พ้ืนฐาน พุทธศักราช 2551 และแก้ไขเพมิ่ เติม
พทุ ธศกั ราช 2560 กลมุ่ สาระการเรยี นรสู้ งั คมศึกษา ศาสนา และวฒั นธรรม
2) วิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดสาระที่ 5 ภูมิศาสตร์ เพื่อสร้างหน่วย
การเรียนรู้ เรอื่ ง รักษป์ ่าน่าน
3) ศึกษาขอบเขตเนื้อหาสาระแกนกลางประกอบกับเนื้อหาที่ได้จากการวิเคราะห์
มาตรฐานการเรยี นรู้ ตวั ชวี้ ดั เพอ่ื นามาสรา้ งแผนการจัดการเรยี นรู้ เรื่อง รักษ์ปา่ น่าน
4) วางแผนและเขียนแผนการจัดการเรียนรู้และสร้างสื่อการสอนตามแผนการจัด
การเรยี นรู้
5) แผนการจัดการเรียนรู้มีองค์ประกอบ ดังนี้ มาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด จุดประสงค์
การเรียนรู้ สาระสาคัญ/ความคิดรวบยอด สาระการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้และ
แหลง่ เรียนรู้ การวัดและประเมนิ ผล และบนั ทึกหลงั การจัดการเรียนรู้
6) การหาคณุ ภาพของแผนการจดั การเรียนรู้ที่ใชใ้ นการจดั การเรยี นรู้ ดว้ ยกระบวนการทาง
ภมู ิศาสตร์ ผู้วจิ ยั ได้ดาเนนิ การดังตอ่ ไปน้ี
(1) นาแผนการจดั การเรยี นร้ทู ่สี ร้างขนึ้ มานาเสนอให้ผู้ทรงคุณวุฒจิ านวน 3 ท่าน
ตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหา มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด จากนั้นนามาปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้อง
ในประเด็นการใช้คาในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ ซึ่งค่าความสอดคล้องเชิงเนื้อหา ( IOC) มีค่า
ความสอดคล้องตั้งแต่ 0.60-1.00
(2) นาแผนการจัดการเรียนรู้ที่ปรับปรุงแล้วไปใช้กับนักเรียนกลุ่มอื่นที่ไม่ใช่
กลุ่มทดลองเพอ่ื ดคู วามเหมาะสมของเวลากับกจิ กรรม ตลอดจนดาเนนิ กจิ กรรมตา่ ง ๆ
54
วารสารการวิจยั การศกึ ษาขน้ั พนื้ ฐาน
ปีที่ 2 ฉบับท่ี 2 (กรกฎาคม – ธนั วาคม 2565)
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ก่อนและ
หลงั เรียน เรื่อง รกั ษป์ า่ นา่ น รายวชิ า ส15101 ชัน้ ประถมศกึ ษาปีที่ 5 โรงเรยี นบา้ นสา้ น (ครุ รุ าษฎร์รงั สรรค์)
แบบปรนัย 4 ตัวเลือก จานวน 40 ข้อ และแบบวัดความสามารถในการคิดเชิงระบบก่อนและหลังเรียน
แบบปรนัย 4 ตวั เลือก จานวน 40 ข้อ
ผวู้ จิ ัยไดด้ าเนินการสรา้ งและพัฒนาแบบทดสอบวดั ผลสัมฤทธ์ทิ างการเรยี นตามขั้นตอนดงั ต่อไปน้ี
1) ศึกษาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขนั้ พ้ืนฐาน พทุ ธศักราช 2551 และแกไ้ ขเพิ่มเติม
พุทธศักราช 2560
2) ศึกษาเอกสารและวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับการวัดผลและประเมินผล แนวทาง
การเขียนขอ้ สอบ การวเิ คราะห์ขอ้ สอบตามแนวทางพฤติกรรมของบลูม
3) การสร้างข้อสอบตามแนววิเคราะห์ข้อสอบของบ ลูม (Revised Bloom’s
Taxonomy) แบบทดสอบแบบปรนัยชนดิ เลือกตอบ 4 ตวั เลอื ก จานวน 40 ขอ้
4) หาคุณภาพของแบบทดสอบวัดผลสมั ฤทธทิ์ างการเรียน
(1) นาแบบทดสอบที่สร้างและพัฒนาขึ้นเสนอให้ผู้ทรงคุณวุฒิจานวน 3 ท่าน
ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา ความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์การเรียนรู้ (Index of Item Objective: IOC)
โดยมคี ่าความสอดคล้องตง้ั แต่ 0.60-1.00
(2) นาแบบทดสอบที่ปรับปรุงแล้วไปทดลองสอบกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
เพอ่ื นาผลการทดสอบไปวเิ คราะห์ความยาก (p) และอานาจจาแนก (r) และค่าความเชื่อมนั่ ของแบบทดสอบ
(3) นาผลการทาแบบทดสอบที่ได้วิเคราะห์ความยาก (p) และอานาจจาแนก (r)
แล้วคัดเลอื กข้อสอบที่มีระดับความยากระหว่าง .20 ถึง .80 และค่าอานาจจาแนกต้ังแต่ .20 ข้นึ ไป จานวน
40 ข้อ เปน็ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนก่อนเรยี นและหลังเรียน มคี ่าความเชื่อมัน่ .75
(4) จากน้นั นาแบบทดสอบวดั ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ปรบั ปรุงแล้ว นาไปใช้ใน
การจัดการเรยี นร้กู ับนกั เรียนชน้ั ประถมศกึ ษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านสา้ น (ครุ รุ าษฎร์รังสรรค)์ จังหวัดน่าน
ผูว้ ิจัยได้ดาเนินการสรา้ งและพฒั นาแบบทดสอบวัดความสามารถในการคดิ เชงิ ระบบตามข้ันตอน
ดังต่อไปน้ี
1) กาหนดจุดมุ่งหมายในการวัดความสามารถในการคิดเชิงระบบ เพื่อพัฒนาเป็น
แบบทดสอบความสามารถในการคิดเชิงระบบของนกั เรียนชัน้ ประถมศึกษาปีท่ี 5 ประกอบด้วยความสามารถ
ในการคิดเชิงระบบ 3 ด้าน ได้แก่ การคิดในภาพรวมของปัญหา การคิดโดยเข้าใจปฏิสัมพันธ์ต่อกัน และ
การคดิ เพือ่ การตดั สินใจและแก้ปัญหา
55
วารสารการวจิ ยั การศึกษาข้ันพนื้ ฐาน
ปที ี่ 2 ฉบบั ท่ี 2 (กรกฎาคม – ธนั วาคม 2565)
2) กาหนดกรอบการวัดและนิยามเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับความสามารถในการคิด
เชิงระบบ โดยศึกษาจากเอกสาร แนวคดิ ทฤษฏีเก่ียวกับการคดิ เชิงระบบ
3) สร้างผังข้อสอบตามลักษณะของความสามารถในการคิดเชิงระบบ กาหนดน้าหนัก
คะแนน ความสาคัญของการคิดเชิงระบบทั้ง 3 ด้าน ซึ่งคานึงถึงสถานการณ์การจัดการเรียนรู้ ผู้สอน
นกั เรียน และความสอดคลอ้ งกบั บรบิ ททเ่ี อื้อตอ่ การคิดเชงิ ระบบ
4) เขียนข้อสอบตามผังที่ได้ออกแบบไว้โดยกาหนดรูปแบบการเขียนตัวคาถาม
ตัวคาตอบ และวิธีการตรวจให้คะแนน จากนั้นทบทวนข้อสอบที่สร้างขึ้นทั้งในแง่ของความเหมาะสมของ
สิ่งที่ต้องการวัด การใช้ภาษา ความชัดเจนของคาถาม โดยใช้ข้อสอบแบบปรนัย 4 ตัวเลือก จานวน 30 ข้อ
ครอบคลุม 3 คุณลกั ษณะของความสามารถในการคิดเชิงระบบ ดงั นี้
(1) การคิดในภาพรวมของปัญหา เป็นการสรุปภาพรวมของสถานการณ์
ทเ่ี กิดขนึ้ วา่ เปน็ สถานการณ์ใด อะไรเปน็ สาเหตุทแ่ี ท้จริงของปัญหาทเี่ กดิ ขน้ึ ในแบบทดสอบจะมีสถานการณ์
มาใหน้ ักเรียนเลือกตอบวา่ ส่วนใดคือภาพใหญข่ องปญั หาทง้ั หมด
(2) การคิดโดยเข้าใจปฏสิ มั พนั ธ์ตอ่ กนั เปน็ การคดิ เชื่อมโยงปัญหา สาเหตุ
ผลกระทบ และวิธีการแก้ไขปัญหาให้เป็นเรื่องเดียวกันสัมพันธ์กันในทุกมิติ ผลกระทบที่เกิดขึ้นอาจจะเป็น
สาเหตุให้เกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมา ขณะเดียวกันวิธีการแก้ปัญหาหนึ่งอาจจะส่งผลให้ช่วยลดปัญหาหน่ึง
ปญั หาใดอีกก็ได้ บนพื้นฐานของการวเิ คราะห์และสงั เคราะห์
(3) การคิดเพอื่ การตดั สนิ ใจและแก้ปญั หา เปน็ การคิดเพื่อการเลือกตัดสินใจ
หาวิธีการเลือกทางใดทางเลือกหนึ่งจากหลายวิธีการได้พิจารณาประเมินค่าไว้ว่า วิธีการที่ประหยัดที่สุด
สง่ ผลกระทบนอ้ ยท่ีสุด เกิดประโยชนม์ ากท่สี ุด และมีความย่งั ยนื ทีส่ ุด
5) นาแบบทดวัดความสามารถในการคิดเชิงระบบที่ให้ผู้ทรงคุณวุฒิจานวน 3 ท่าน
ตรวจสอบความตรงเชงิ เน้อื หา (Index of Item Objective: IOC) โดยค่าความสอดคล้องต้ังแต่ 0.60-1.00
6) นาแบบทดสอบความสามารถในการคิดเชิงระบบมาวิเคราะห์ความยาก (p) และ
อานาจจาแนก (r) ของแบบทดสอบ แล้วคัดเลือกข้อสอบที่มีระดับความยากระหว่าง .20 ถึง .80
และค่าอ านาจจ าแนกตั้งแต่ .20 ขึ้นไป ได้ข้อสอบทั้งหมด 30 ข้อ โดยมีค่าความเชื่อมั่นของ
แบบวัดความสามารถในการคดิ เชิงระบบเท่ากับ .74
7) นาแบบวัดความสามารถในการคิดเชิงระบบที่ตรวจสอบคุณภาพแล้วไปใช้
ในการทดลอง
56
วารสารการวิจยั การศึกษาขนั้ พนื้ ฐาน
ปีที่ 2 ฉบับท่ี 2 (กรกฎาคม – ธนั วาคม 2565)
การเกบ็ รวบรวมข้อมูล
การเก็บรวบรวมข้อมูลผู้วิจัยได้ดาเนนิ การดังนี้
1. ทาการทดสอบก่อนเรยี น ด้วยแบบทดสอบวัดผลสมั ฤทธิ์ทางการเรยี นและแบบวัดความสามารถ
ในการคิดเชงิ ระบบ ฉบับทดสอบก่อนเรียน
2. ดาเนนิ การจัดการเรียนรู้นกั เรียนช้ันประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรยี นบา้ นส้าน (คุรุราษฎร์รังสรรค์)
ตามแผนการจดั การเรียนรดู้ ว้ ยกระบวนการทางภูมิศาสตร์ จานวน 5 แผน รวม 20 ชวั่ โมง
3. ทาการทดสอบหลังเรียน ด้วยแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้และแบบวัด
ความสามารถในการคิดเชงิ ระบบ ฉบบั ทดสอบหลงั เรียน
4. ดาเนินการตรวจให้คะแนนจากแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้และแบบวัด
ความสามารถในการคิดเชิงระบบ ทั้งฉบับก่อนเรียนและหลังเรียน แล้วนาข้อมูลมาวิเคราะห์เปรียบเทีย บ
ทางสถติ ิ เพ่อื ทดสอบสมมตฐิ านและสรุปผลการวจิ ยั
การวิเคราะหข์ ้อมูล
1. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ผู้วิจัยได้การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้
ของกลุ่มตวั อย่างท่จี ัดการเรยี นรู้ด้วยกระบวนการทางภมู ิศาสตร์กอ่ นและหลงั เรยี น โดยใช้ t – test dependent
2. การเปรียบเทียบความสามารถในการคิดเชิงระบบ ผู้วิจัยได้ทำการเปรียบเทียบคะแนนจาก
แบบทดสอบวัดความสามารถในการคดิ เชิงระบบของนักเรียนก่อนและหลงั เรียน โดยใช้ t – test dependent
สถิตทิ ี่ใช้ในการหาคุณภาพเครือ่ งมือ
1. การวเิ คราะหค์ วามเที่ยงตามเน้ือหา (IOC)
2. หาความยาก (p) และอานาจจาแนก (r) ของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและ
แบบทดสอบวดั ความสามารถในการคิดเชงิ ระบบ โดยใชโ้ ปรแกรมสาเรจ็ รูป
3. หาค่าความเชอ่ื มนั่ ของแบบทดสอบวดั ผลสัมฤทธิ์ทางการเรยี นและแบบทดสอบวดั ความสามารถ
ในการคิดเชงิ ระบบ โดยใช้โปรแกรมสาเรจ็ รปู
สถติ ทิ ใ่ี ชใ้ นการวิเคราะหข์ ้อมูล
การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการเปรียบเทียบคะแนนจากแบบทดสอบ
วัดความสามารถในการคิดเชิงระบบของนักเรียนก่อนและหลังเรยี น โดยใชโ้ ปรแกรมสาเร็จรปู
57
วารสารการวิจัยการศกึ ษาขัน้ พนื้ ฐาน
ปที ่ี 2 ฉบบั ท่ี 2 (กรกฎาคม – ธันวาคม 2565)
ผลการวจิ ัย
การศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยได้ดาเนินการวิเคราะห์ผลการศึกษา ผลการจัดการเรียนรู้เรื่อง รักษ์ป่าน่าน
ด้วยกระบวนการทางภูมิศาสตร์ ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดเชิงระบบ
ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จังหวัดน่าน จานวน 28 คน ผู้วิจัยได้นาเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล
เป็น 2 ตอน ดังนี้
ตารางที่ 1 ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน เรื่อง รักษ์ป่าน่าน ด้วยกระบวนการ
ทางภมู ิศาสตร์ ของนกั เรียนชน้ั ประถมศกึ ษาปที ี่ 5
การทดสอบ n X S.D. t Sig
กอ่ นเรยี น 28 22.00 4.60 18.21 0.0000
หลงั เรียน 28 35.61 4.34
*P < .05
จากตารางที่ 1 พบว่าการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
มีคะแนนเฉลีย่ เท่ากับ 22.00 คะแนน และ 35.61 คะแนน ตามลาดบั และเมอื่ เปรยี บเทยี บระหวา่ งคะแนน
ก่อนเรียนและหลังเรียนจะพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่จัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ
ทางภูมิศาสตร์ หลังเรยี นสงู กว่ากอ่ นเรียนอยา่ งมีนัยสาคญั ทางสถิตทิ ี่ระดับ .05
ตารางที่ 2 ผลการเปรียบเทียบความสามารถในการคิดเชิงระบบก่อนและหลังเรียน เรื่อง รักษ์ป่าน่าน
ดว้ ยกระบวนการทางภูมิศาสตร์ ของนกั เรียนชน้ั ประถมศึกษาปีท่ี 5 โดยใช้แบบวัดความสามารถ
ในการคิดเชงิ ระบบท่ีผูว้ จิ ยั สรา้ งขนึ้
การทดสอบ n X S.D. t Sig
ก่อนเรียน 28 8.24 2.61 19.71 0.0000
หลงั เรียน 28 24.22 2.52
*P < .05
จากตารางที่ 2 พบว่าการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
มีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 8.24 คะแนน และ 24.22 คะแนน ตามลาดับและเมื่อเปรียบเทียบระหว่างคะแนน
ก่อนเรียนและหลงั เรียนจะพบว่า คะแนนความสามารถในการคิดเชงิ ระบบของนักเรียนที่จดั การเรียนร้ดู ้วย
กระบวนการทางภูมศิ าสตร์ หลงั เรียนสูงกวา่ ก่อนเรียนอย่างมนี ยั สาคญั ทางสถติ ทิ ่ีระดับ .05
58
วารสารการวิจัยการศึกษาขั้นพนื้ ฐาน
ปีท่ี 2 ฉบบั ที่ 2 (กรกฎาคม – ธนั วาคม 2565)
อภปิ รายผล
จากการศึกษาผลการจัดการเรียนรู้เรื่อง รักษ์ป่าน่าน ด้วยกระบวนการทางภูมิศาสตร์ ที่มีผลต่อ
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรยี นและความสามารถในการคดิ เชงิ ระบบ ของนกั เรียนช้ันประถมศกึ ษาปที ี่ 5
จังหวัดน่าน ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน เรื่อง รักษ์ป่าน่าน ด้วยกระบวนการ
ทางภูมิศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พบว่าการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียน
ชัน้ ประถมศึกษาปีที่ 5 มคี ะแนนเฉล่ยี เทา่ กบั 22.00 คะแนน และ 35.61 คะแนน ตามลาดบั และเมอ่ื เปรยี บเทียบ
ระหว่างคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนจะพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่จัดการเรียนรู้
ด้วยกระบวนการทางภูมิศาสตร์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ . 05 และ
ผลการเปรยี บเทียบความสามารถในการคิดเชิงระบบก่อนและหลงั เรียน เร่อื ง รกั ษป์ ่าน่าน ดว้ ยกระบวนการ
ทางภูมิศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีท่ี 5 โดยใช้แบบวัดความสามารถในการคิดเชิงระบบที่ผู้วิจัย
สร้างขึ้น พบว่าการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีคะแนนเฉล่ีย
เท่ากับ 8.24 คะแนน และ 24.22 คะแนน ตามลาดับและเมื่อเปรียบเทียบระหว่างคะแนนก่อนเรียนและ
หลังเรียนจะพบว่า คะแนนความสามารถในการคิดเชิงระบบของนักเรียนที่จัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ
ทางภูมิศาสตร์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในงานวิจัยนี้สามารถ
อภิปรายได้ 2 ด้าน ดังน้ี
1. การเปรยี บเทยี บผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนก่อนและหลังเรียน เร่ือง รักษป์ า่ นา่ น ดว้ ยกระบวนการ
ทางภูมิศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน
เรื่อง รกั ษ์ป่าน่าน ดว้ ยกระบวนการทางภูมิศาสตร์ ของนกั เรียนชน้ั ประถมศึกษาปีท่ี 5 พบวา่ การทดสอบ
ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 22.00 คะแนน และ 35.61
คะแนน ซึ่งสูงขึ้นตามสมมติฐานการวิจัย เนื่องจากการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการทางภูมิศาสตร์
ทม่ี ีขนั้ ตอนสาคญั ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 การตั้งคาถามเชิงภูมิศาสตร์ เป็นการระบุประเด็นต่างๆ เพื่อนามาพิจารณา
ประกอบการหาคาตอบ
ขั้นตอนที่ 2 การรวบรวมข้อมูล เป็นขั้นที่ต้องรวบรวมข้อเท็จจริง และข้อมูลที่เป็นประโยชน์และ
คาดวา่ จะนาไปใช้ประกอบการศกึ ษา
ขัน้ ตอนที่ 3 การจัดการขอ้ มูล เปน็ การจดั ระเบียบข้อมูลท่ไี ดจ้ ากการรวบรวมข้อมูล
ขั้นตอนที่ 4 การวิเคราะห์และแปลผลข้อมูล เป็นขั้นตอนสาคัญที่ต้องการวิเคราะห์ข้อมูล
และอธิบายปัญหาทศี่ กึ ษา
ขั้นตอนท่ี 5 การสรุปเพ่ือตอบคาถาม เป็นการสรปุ เน้ือหาให้ตรงคาถามอยา่ งถูกตอ้ งและชัดเจน
59
วารสารการวจิ ัยการศกึ ษาขัน้ พน้ื ฐาน
ปที ่ี 2 ฉบบั ท่ี 2 (กรกฎาคม – ธันวาคม 2565)
จึงแสดงให้เห็นว่ากระบวนการทางภูมิศาสตร์ช่วยพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาสังคมศึกษา
ส15101 สูงขึ้นได้ เนื่องจากแต่ละขั้นตอนของกระบวนการทางภูมิศาสตร์ทาให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้
เข้าใจ แสดงถงึ ความรู้ ทักษะ และคุณลกั ษณะท่ีพ่ึงประสงค์ผ่านกระบวนการทางภูมิศาสตร์ แสดงให้เห็นถึง
ระดับเน้ือหาความรู้ของนักเรยี น โดยในแต่ละกระบวนการทางภูมิศาสตร์พบว่า การตง้ั คาถามเชิงภูมิศาสตร์
ทาให้นักเรียนมีพฤติกรรมการเรียนรู้ด้านความจา ความเข้าใจ อีกทั้งการรวบรวมข้อมูล จัดการข้อมูล
วิเคราะหแ์ ละแปลผล ทาให้นักเรยี นสามารถนาความรูไ้ ปใช้ วิเคราะห์ได้ ตลอดจนการสรปุ และตอบคาถาม
เชิงภูมิศาสตร์ทาให้นักเรียนสามารถประเมินค่า สร้างสรรค์ความรู้ใหม่ได้ด้วยตนเอง ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึง
ระดับความรู้ ความสามารถของนักเรียน
นอกจากนผี้ ูว้ จิ ยั ไดส้ ังเกตพฤตกิ รรมการเรยี นรู้ของนักเรยี นและสอบถามนักเรียนปรากฏว่านักเรียน
สามารถต้ังคาถามทางภมู ศิ าสตร์และวิเคราะห์สถานการณท์ เี่ กดิ ขนึ้ ได้ตามลาดับ ในกจิ กรรมการเรียนรูต้ ้งั แต่
ครั้งกิจกรรมแรกจนถึงกจิ กรรมสดุ ท้าย เรม่ิ ต้นด้วยการท่ีครูตง้ั คาถามแล้วเปดิ โอกาสให้นักเรียนได้ต้ังคาถาม
และตอบคาถาม ซึ่งทาให้นักเรียนกล้าตั้งคาถามในครั้งต่อไป กล้าแสดงออก ให้ความร่วมมือในการ ทา
กจิ กรรมการเรียนรอู้ ย่างตอ่ เนื่อง
ดังนั้น นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการทางภูมิศาสตร์มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ .05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ ซึ่งสอดคล้องกบั
งานวิจัยของ ภากร อุปการแก้ว (2560) อรทัย สุวะพัฒน์ (2561) และชนิกานต์ ศรีทองสุข (2561) พบว่า
นักเรียนที่เรียนรู้ด้วยกระบวนการทางภูมิศาสตร์ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
และเป็นตามแนวทางการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ภูมิศาสตร์สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กระทรวงศึกษาธกิ าร (2560)
2. การเปรียบเทียบความสามารถในการคิดเชิงระบบก่อนและหลังเรียน เรื่อง รักษ์ป่าน่าน
ด้วยกระบวนการทางภูมิศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ผลการเปรียบเทียบความสามารถ
ในการคิดเชิงระบบก่อนและหลังเรียน เรื่อง รักษ์ป่าน่าน ด้วยกระบวนการทางภูมิศาสตร์
ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้แบบวัดความสามารถในการคิดเชิงระบบที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น พบว่า
การทดสอบกอ่ นเรียนและหลังเรียนของนักเรียนช้ันประถมศึกษาปีท่ี 5 มีคะแนนเฉลีย่ เท่ากับ 8.24 คะแนน
และ 24.22 คะแนน ตามลาดับและเมื่อเปรียบเทียบระหว่างคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนจะพบว่า
คะแนนความสามารถในการคิดเชิงระบบของนักเรียนที่จัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการทางภูมิศาสตร์
หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ซึ่งเป็นผลมาจาการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการทางภูมิศาสตร์ที่สามารถ
พฒั นาความสามารถในการคิดเชิงระบบใน 3 ดา้ น ดังนี้
60
วารสารการวิจัยการศกึ ษาขัน้ พน้ื ฐาน
ปีท่ี 2 ฉบบั ท่ี 2 (กรกฎาคม – ธันวาคม 2565)
การมองภาพรวมของปัญหา เป็นการสรุปภาพรวมของสถานการณ์ที่เกิดขึ้นว่าเป็นสถานการณ์ใด
อะไรเป็นสาเหตทุ ีแ่ ท้จรงิ ของปญั หาท่ีเกิดขึ้น
การเข้าใจปฏิสัมพันธ์ต่อกนั เปน็ การคดิ เช่ือมโยงปัญหา สาเหตุ ผลกระทบ และวิธีการแก้ไขปัญหา
ให้เป็นเรอ่ื งเดียวกันสัมพันธก์ นั ในทุกมิติ
การตัดสินใจและแก้ปัญหา เป็นการคิดเพื่อการเลือกตัดสินใจหาวิธีการทางเลือกใดทางเลือกหน่ึง
จากหลายวิธที ่ีเกิดประโยชน์มากทสี่ ุด และมีความย่งั ยนื ที่สุด
กระบวนการทางภูมิศาสตร์ส่งผลต่อการพัฒนาความสามารถในการคิดเชิงระบบได้ เนื่องจาก
กระบวนการทางภูมิศาสตร์มีส่วนความสาคัญที่ส่งเสริมการคิดเชิงระบบได้ โดยขั้นตอนที่ 1 การตั้งคาถาม
เชิงภูมิศาสตร์ ทาให้นักเรียนเป็นมองภาพรวมของปัญหาซึ่งเป็นลักษณะสาคัญของการคิดเชิงระบบ
กิจกรรมในขั้นตอนที่ 2 การรวบรวมข้อมูล ขั้นตอนที่ 3 การจัดการข้อมูล ขั้นตอนที่ 4 การวิเคราะห์
และแปลผล นักเรียนจะสืบค้นข้อมูล วิเคราะห์ สังเคราะห์ เชื่อมโยง เพื่อการเข้าใจปฏิสมั พันธ์ต่อกันที่เป็น
ลักษณะของคิดเชิงระบบ และกิจกรรมในขั้นตอนที่ 5 การสรุปเพื่อตอบคาถาม นักเรียนจะสรุป ข้อค้นพบ
ตัดสนิ เสนอแนวทางแกป้ ัญหา เพื่อการตดั สนิ ใจและแก้ปญั หาทีเ่ ป็นลกั ษณะของคิดเชิงระบบ
นอกจากนี้ผู้วิจัยได้สังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนปรากฏว่านักเรียนสามารถพัฒนา
ความสามารถในการคิดเชิงระบบตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงกิจกรรมสุดท้าย โดยนักเรียนมีพัฒนาการในการมอง
ภาพรวมของสถานการณ์ปัญหาได้ สังเกตได้จากการเขียนแผนภาพความคิดได้ดีขึ้นจากเขียนเป็นตัวอักษร
ธรรมดาพัฒนาการเขียนเป็นภาพประกอบการใช้ลูกศรได้ดีตามลาดับ และนักเรียนสามารถเชื่อมโยง
สังเกตได้จากการทากิจกรรมกลุ่มที่นักเรียนแลกเปลี่ยนความคิดเห็น แยกสาเหตุ ผลกระทบ และเชื่อมโยง
ปัญหา นักเรียนสามารถเสนอแนะแก้ปัญหาได้เนื่องการการตั้งคาถามและครูได้เปิดโอกาสให้นักเรียนได้
ตอบคาถาม มีความกระตือรือร้นในการเรยี นรู้มีส่วนร่วมในกจิ กรรมการเรียนรู้อย่างตอ่ เน่ือง จากการศึกษา
ผู้วิจยั พบว่าความสามารถในการคดิ เชิงระบบสามารถฝึกฝนให้กบั นกั เรยี นตัง้ แตร่ ะดบั ช้ันประถมศึกษาปีท่ี 3-6
ได้ด้วยการฝึกให้นักเรียนคิดผ่านสถานการณ์ต่าง ๆ ตามความเหมาะสมของเนื้อหา ดังนั้น นักเรียนที่ได้รับ
การจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการทางภูมิศาสตร์มีความสามารถในการคิดเชิงระบบหลังเรียนสูงกว่า
ก่อนเรียนอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ .05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ
Aderson and Johnson (1997), Orit Ben-Zvi Assaraf and Nir Orion. (2010 ที่ทาการศึกษากระบวนการ
ทางภูมศิ าสตรท์ ช่ี ่วยพฒั นาความสามารถในการคดิ เชิงระบบของผเู้ รยี นทพี่ ัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่องตามลาดบั
สรุปการวิจยั ครง้ั นไี้ ดข้ ้อคน้ พบใหม่การจดั การเรียนร้ดู ้วยกระบวนการทางภมู ิศาสตร์สามารถพัฒนา
ผลสมั ฤทธทิ์ างการเรียนและความสามารถในการคิดเชงิ ระบบเป็นไปตามสมมตฐิ านที่ตั้งไว้
61
วารสารการวิจัยการศกึ ษาข้นั พนื้ ฐาน
ปีท่ี 2 ฉบบั ท่ี 2 (กรกฎาคม – ธันวาคม 2565)
ขอ้ เสนอแนะ
ขอ้ เสนอแนะเพ่อื นาผลการวิจัยไปใช้
1. การจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการทางภูมิศาสตร์เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
และความสามารถในการคิดเชิงระบบ ครูต้องใช้คาถามทางภูมิศาสตร์กระตุ้นความความคิดเชิงระบบ
ในทุกขั้นตอนของกระบวนการทางภูมิศาสตร์ โดยเฉพาะขั้นตอนที่ 1 การตั้งคาถามทางภูมิศาสตร์
เพราะการตง้ั คาถามนาไปส่กู ารคิดวเิ คราะห์ สงั เคราะหแ์ ละนาไปสคู่ วามสามารถในการคิดเชงิ ระบบ
2. ครูควรจัดกิจกรรมที่หลากหลายในทุกขั้นตอนของกระบวนการทางภูมิศาสตร์ เช่น จัดลาดบั
ข้อมลู อภปิ ราย สารวจ สบื ค้นจากแหล่งเรยี นรู้ เขยี นแผนผัง เป็นต้น
3. การจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการทางภูมิศาสตร์ครูควรพิจารณาเนื้อหา เกี่ยวกับ
การตัดสินใจแก้ปัญหา เช่น ปัญหาสิ่งแวดล้อม สถานการณ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
ภมู ศิ าสตร์ ดว้ ยกระบวนการทางภูมิศาสตร์ กบั ตวั แปรอ่ืน ๆ เช่น การคดิ อยา่ งมีวิจารณญาณ ความสามารถ
ในการแก้ปญั หา ความสามารถในการคดิ อยา่ งสร้างสรรค์ เปน็ ต้น
ขอ้ เสนอแนะเพ่อื การวิจัยครั้งตอ่ ไป
ศึกษาผลการจดั การเรียนรู้เรือ่ งต่าง ๆ ในกลมุ่ สาระการเรยี นรสู้ ังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
สาระการเรียนรู้ที่ 5 ภูมิศาสตร์ ด้วยกระบวนการทางภูมิศาสตร์ กับตัวแปรอื่น ๆ เช่น การคิดอย่าง
มีวิจารณญาณ ความสามารถในการแก้ปญั หา ความสามารถในการคดิ อย่างสรา้ งสรรค์ เป็นตน้
เอกสารอ้างองิ
คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี พ.ศ. 2561-2580.
ชนิกานต์ ศรที องสุข. (2561). การพัฒนาความสามารถในการคดิ วเิ คราะห์และมโนทัศนท์ างภมู ิศาสตร์
ทวปี ยโุ รป ของนกั เรียนช้ันมัธยมศึกษาปีที่ 2 ด้วยกระบวนการเรยี นรู้ 5 ข้นั ตอน ร่วมกับ
อนิ โฟกราฟิก. มหาวทิ ยาลัยศิลปากร. นครปฐม.
สานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่านเขต 2. (2561). รายงานผลการประเมินระดับเขตพื้นท่ี
การศึกษาประถมศึกษาน่านเขต 2 ผลการจดั การเรียนรูใ้ นกลุ่มสาระการเรียนรู้สงั คมศกึ ษา ศาสนา
และวัฒนธรรม ประจาการศกึ ษา 2561.
สานักงานเขตพน้ื ที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 2. (2561). รายงานผลการประเมินคุณภาพผู้เรยี น
กลมุ่ โรงเรยี น. ชอกอ๊ ปป้ี.
สานกั งานศึกษาธิการ จังหวดั นา่ น. (2561). หลักสตู รรักษ์ปา่ นา่ น. สืบคน้ 2 กุมภาพันธ์ 2561 จาก
http://nan.learningobec.com/sas- %99/
62
วารสารการวจิ ัยการศึกษาขน้ั พน้ื ฐาน
ปที ี่ 2 ฉบบั ที่ 2 (กรกฎาคม – ธนั วาคม 2565)
สานกั วชิ าการและมาตรฐานการศกึ ษา. (2561). คมู่ อื การใชม้ าตรฐานการเรยี นรแู้ ละตัวช้ีวดั
สาระภมู ิศาสตร์ (ฉบบั ปรับปรงุ พ.ศ. 2560) ในกลุ่มสาระการเรยี นรสู้ งั คมศกึ ษา ศาสนาและ
วัฒนธรรม ตามหลกั สตู รแกนกลางการศึกษาข้ันพน้ื ฐาน พ.ศ. 2551. โรงพมิ พ์ชุมนุมสหกรณ์
การเกษตรแหง่ ประเทศไทย: กรงุ เทพมหานคร.
อรทัย สุวะพัฒน์. (2561). การจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการทางภูมิศาสตร์เพื่อเสริมสร้างการรู้
เรื่องภูมศิ าสตร์ (Geo-literacy) วิชาสังคมศกึ ษา 1 ของนักเรยี นชน้ั มัธยมศกึ ษาปีท่ี 1
โรงเรยี นสีคิ้ว (สวสั ด์ผิ ดุงวิทยา). วิทยานพิ นธม์ หาบัณฑติ . มหาวิทยาลัยศลิ ปากร. นครปฐม.
ภากร อุปการแกว้ . (2560). การจดั การเรียนรู้ด้วยรูปแบบกระบวนการทางภูมศิ าสตร์ และแอพพลเิ คชัน่
QR CODE เพอื่ พัฒนาผลสัมฤทธ์ทิ างการเรยี นวิชาภมู ศิ าสตรแ์ ละทกั ษะการทางานกลุ่ม
ของนกั เรยี นช้ันมธั ยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์มหาบณั ฑิต. มหาวทิ ยาลยั ศลิ ปากร. นครปฐม.
Anderson & Johnson. (1997). Stage of the Product life Cycle, Business Strategy and
Business Performance. Academy of Management Journal. Retrieved from
https://journals.aom.org/doi/abs/10.5465/255954
Checkland. (1981). Systems Thinking, Systems Practice. Chichester: John Wiley & Sons.
Retrieved from https://books.google.com/books?id=icXaAAAAMAAJ&q
Orit Ben-Zvi Assaraf and Nir Orion. (2010). The development of thinking skills in elementary
School. Retrieved from http://onlinelibrary.wiley.com/doi/abs/10.1002/tea.20351
Senge, P. M. (1990). The Fifth Discipline: The Art and Practice of the Learning Organization.
New York: Doubleday.
63
วารสารการวิจยั การศึกษาขัน้ พืน้ ฐาน
ปีที่ 2 ฉบบั ที่ 2 (กรกฎาคม – ธนั วาคม 2565)
การพัฒนารปู แบบการนเิ ทศภายในตามความต้องการจาเปน็ ในการพัฒนาระบบนิเทศภายใน
ของโรงเรยี นโคกลาพานวิทยา สานกั งานเขตพ้ืนที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 1
A Development Internal Supervision Model Base on Need of Internal
supervision system development in Koklamphan Wittaya School on
Lopburi Primary Educational Service Area Office 1
นนั ทิยา ทองหลอ่ *
Nanthiya Thonglor
บทคดั ยอ่
งานวิจยั นม้ี ีวตั ถุประสงค์เพื่อ (1) ประเมินความต้องการจาเปน็ ในการพฒั นาระบบนิเทศภายในโรงเรียน
(2) พัฒนารูปแบบการนิเทศภายใน และ (3) ศึกษาผลการใชร้ ูปแบบการนิเทศภายในตามความต้องการจาเปน็ ใน
การพัฒนาระบบนิเทศภายในโรงเรียนโคกลาพานวิทยา สานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 1
ประชากรท่ีใช้ในการวจิ ัยประกอบด้วยผู้บริหาร ครู และคณะกรรมการสถานศึกษา จานวน 20 คน เคร่อื งมอื ทีใ่ ช้
ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินความต้องการจาเป็น และแบบบันทึกผลการใช้รูปแบบการนิเทศภายในโรงเรยี น
การเก็บรวบรวมขอ้ มลู แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ไดแ้ ก่ ระยะที่ 1 การประเมนิ ความต้องการจาเปน็ เก็บรวบรวมข้อมูล
โดยใช้แบบสอบถาม ระยะที่ 2 การพฒั นารูปแบบการนเิ ทศภายในโรงเรยี น เก็บรวบรวมข้อมลู โดยใช้ผลการศึกษา
ของการศึกษาระยะท่ี 1 การศึกษาเอกสาร การสังเกต การสัมภาษณ์ และฐานข้อมูลของโรงเรยี น และระยะที่ 3
ผลการใช้รูปแบบการนิเทศภายใน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้วิธีการศึกษาเอกสาร การสังเกต การสัมภาษณ์
ฐานข้อมูลของโรงเรียน และการอภิปรายกลุ่ม สถิติท่ีใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วยค่าเฉล่ีย ค่าส่วน
เบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ในระยะท่ี 1 ผลการประเมินความต้องการจาเป็น
โดยรวมอยู่ในระดบั นอ้ ย และสภาพท่คี าดหวงั ของการดาเนินการนเิ ทศภายในโรงเรยี นโดยรวมอยู่ในระดบั มากท่สี ุด
สรุปได้ว่าโรงเรยี นโคกลาพานวิทยา มีความต้องการจาเป็นในการพัฒนาระบบนิเทศภายในโรงเรียน ในระยะท่ี 2
ได้รูปแบบการนิเทศภายในโรงเรียน ADVICE MODEL ประกอบด้วย (1) การวิเคราะห์สภาพและบริบทของ
สถานศึกษา (2) การออกแบบและวางแผนการนิเทศ (3) การสร้างคุณค่า (4) การยกระดับตนเองและการสร้าง
เครือข่าย (5) การตรวจสอบ และ (6) การเผยแพร่ และในระยะท่ี 3 ผลการใช้รูปแบบการนิเทศภายในโรงเรยี น
พบว่า ผลท่ีเกิดกับโรงเรยี น คือ โรงเรียนประสบความสาเร็จในการนิเทศภายในโรงเรียนจนเป็นแบบอย่างได้ผลท่ี
เกิดกับครู คือ ครูสามารถจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีคุณภาพและผลท่ีเกิดกบั นักเรยี น คอื นักเรียนมีคุณภาพตาม
มาตรฐานการเรียนรู้ ซ่ึงสอดคล้องกับปรัชญาของโรงเรียน “โรงเรยี นน่าอยู่ ครสู อนดี นักเรยี นมคี ณุ ภาพ”
คาสาคัญ : นิเทศภายใน/ ความตอ้ งการจาเปน็ / การพฒั นารูปแบบ
* ผ้อู านวยการโรงเรียน, โรงเรียนโคกลาพานวทิ ยา, สานักงานเขตพ้ืนทกี่ ารศกึ ษาประถมศึกษาลพบรุ ี เขต 1
School director, Koklamphan Wittaya School, Lopburi Primary Educational Service Area Office 1
64
วารสารการวิจยั การศึกษาขัน้ พน้ื ฐาน
ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม – ธนั วาคม 2565)
Abstract
The objectives of this research were (1) to assess the need for the development of
a supervisory system within a school, (2) to develop an internal supervision model, and
(3) to study the effect of the use of an internal supervision model as needed for development
of the Supervision system within Koklamphan Wittaya School, Lopburi Primary Educational
Service Area District Office 1. The research population consisted of executives, teachers
and the educational institute committee consisted of 20 people. The tools used in the
research were the needs assessment form. and a record form for using the form of
supervision within the school. Data collection was divided into three phases: Phase 1,
Needs Assessment. data were collected by using questionnaires, Phase 2, the development of
supervision models within schools, data were collected using the results of the Phase I study,
document studies, observations, interviews, and school databases, and Phase III, results of
the internal supervision model, data were collected using documented study methods,
observations, interviews, school databases, and group discussion. The statistics used to
analyze the data consisted of averages, standard deviation, and content analysis. The results
showed that in the Phase I, the overall necessity assessment results were at a low level,
and the expected condition of the school supervision as a whole was at the highest level.
It can be concluded that Koklamphan Wittaya School has a necessary need to develop
a supervision system within the school. In the Phase II, the ADVICE MODEL model of
school supervision consists of (1) Analysis of the state and context of the school
(2) Design and planning of supervision (3) Value creation (4) Improvement and building
Network (5) Checking and (6) Expanding. And in the Phase III, the results of using the
supervision model within the school found that the result of the school is that the school
is successful in supervising the school until it can be a role model. The result for teachers
is that teachers can manage learning with quality. And the result that the students have is
that the students have quality according to the learning standards which is in line with the
school's philosophy “Good school, good teachers, quality students”.
Key words: Internal Supervision/ Need A Development/ Model
65
วารสารการวิจัยการศึกษาขัน้ พ้นื ฐาน
ปีท่ี 2 ฉบบั ที่ 2 (กรกฎาคม – ธนั วาคม 2565)
บทนา
การศึกษาเป็นหัวใจสาคัญของการพัฒนาประเทศ เป็นกลไกหลักในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
ให้ก้าวทันกับการเปล่ียนแปลง และสามารถยืนหยัดได้อย่างสง่างามในประชาคมโลก การวางรากฐานของ
ระบบการศึกษา และโครงสร้างพื้นฐานทางการศกึ ษาอย่างมีคณุ ภาพ ม่ันคง ยง่ั ยืน จึงเป็นสิ่งสาคัญอยา่ งยิ่ง
ต่อการสร้างคนในอนาคตให้มีคุณภาพ มีความรู้ ความสามารถ มีอาชีพที่ม่ันคง กอปรด้วยสมรรถนะ
ที่สามารถแขง่ ขันได้ในประชาคมโลก (สานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, 2560: 108) การพฒั นาคุณภาพ
การศึกษาให้มีคณุ ภาพมีวธิ ีการพฒั นาท่ีหลากหลาย วิธกี ารหนง่ึ ในการพัฒนา คอื การนิเทศซ่ึงเปน็ หวั ใจของ
การพัฒนาครู อาจารย์ และบุคลากรในสถานศึกษา ดังนั้นการนิเทศภายในโรงเรียน จึงมีความสาคัญและ
จาเป็นอยา่ งย่ิงต่อการจัดการเรียนรู้ และการพัฒนาคุณภาพการศกึ ษาให้บรรลุตามเป้าหมาย ซ่ึงเป็นหนา้ ท่ี
ของผู้บรหิ ารสถานศกึ ษา และบคุ ลากรทกุ ฝา่ ยในสถานศึกษาจะต้องรว่ มมือร่วมใจกันดาเนินการพัฒนางาน
ทุกดา้ นในสถานศกึ ษา (กรองทอง จริ เดชากลุ , 2550: 3)
การนเิ ทศภายในสถานศกึ ษาเป็นกระบวนการทางานของผ้บู ริหารสถานศึกษาในการพฒั นาคณุ ภาพ
การทางานของครูและบุคลากรภายในสถานศึกษา เพ่ือให้ผู้เรยี นมีผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนสูงสดุ สภาพและ
ปัญหาการจัดการเรียนการสอนที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในระดับการศึกษาข้ันพ้ืนฐาน พบว่า
ปัญหาท่ีสาคัญคือ การขาดการนิเทศ ติดตามและประเมินผลการพัฒนา และสภาพปัญหาทางด้านการส่งเสริม
สนบั สนุน และการให้ความร่วมมือของผู้เกี่ยวขอ้ ง ดังน้ัน ระบบการนิเทศการศึกษาจงึ เปน็ กระบวนการหนึ่ง
ทม่ี ีความสาคัญต่อการศึกษาเป็นอยา่ งมาก เพราะระบบนิเทศการศึกษาจะช่วยปรบั ปรุงการเรยี นการสอน
ของครูให้มีประสิทธภิ าพสง่ เสริมให้ผู้เรียนได้เรยี นดีย่ิงขน้ึ ระบบการนิเทศภายในโรงเรียนเป็นส่วนหน่ึงของ
ระบบการนิเทศการศึกษาท่ีจะช่วยให้การพัฒนาคุณภาพการศึกษาประสบความสาเร็จได้มากและรวดเร็ว
การพัฒนาระบบการนิเทศภายในสถานศึกษาให้ประสบผลสาเร็จ ผู้บรหิ ารสถานศึกษานับวา่ เปน็ ผู้มีบทบาท
สาคัญยิ่งต่อการนิเทศภายในสถานศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษาจะต้องตระหนักในความสาคัญของการจัด
ให้มีระบบการนิเทศภายในสถานศึกษาขึ้น เพราะถือว่าเป็นกิจกรรมสาคัญท่ีมีผลโดยตรงต่อคุณภาพ
ทางการศึกษาของสถานศกึ ษา (สภุ าภรณ์ กติ ติรัชดานนท์, 2551: 143)
การนิเทศภายในโรงเรียนเป็นการปฏิบัติงานร่วมกันระหว่างผู้บริหารกับครูในการแก้ไข ปรับปรุง
และพัฒนา การทางานของครูให้มีประสิทธิภาพยิ่งข้ึนและส่งผลต่อคุณภาพของผู้เรียน (วัชรา เล่าเรียนดี,
2556: 27) ซ่ึง เดมมิ่ง (Demingin Mycoted, 2004: 4) ได้กล่าวว่า การจัดการอย่างมีคุณภาพเป็น
กระบวนการที่ดาเนินการต่อเน่ือง เพื่อให้เกิดผลผลิตและบริการท่ีมีคุณภาพโดยหลักการที่เรียกว่า
วงจรคุณภาพ (PDCA) ประกอบด้วย 4 ข้ันตอน คือ การวางแผนการปฏิบัติตามแผนการตรวจสอบ
และการปรับปรงุ แกไ้ ข การนาวงจรคุณภาพไปปฏิบัติอย่างจริงจงั และต่อเนอ่ื งในทกุ ระดบั ขององคก์ ร ทาให้
เราสามารถปรับปรุงและเพิ่มคณุ ภาพงานได้อยา่ งมปี ระสิทธภิ าพ และเหน็ ผลลพั ธท์ ่ชี ัดเจน ซ่งึ สอดคล้องกบั
66
วารสารการวิจัยการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ปที ่ี 2 ฉบับท่ี 2 (กรกฎาคม – ธันวาคม 2565)
แฮร์ริส (Harris,1985: 9) ได้กล่าวถึงกระบวนการนิเทศประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การวางแผน
2) การจัดองค์กร 3) การนำสู่การปฏิบัติ 4) การควบคุม และ 5) ขั้นการประเมินผล และสอดคล้องกับ
การศึกษาวิจัยของ อดุลย์ วงศก์ อม (Wongkorm, 2552: บทคัดย่อ) ซ่งึ ได้ศึกษารปู แบบการนเิ ทศการศึกษา
ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา พบว่า องค์ประกอบของรูปแบบการนิเทศการศึกษาของสำนักงาน
เขตพ้ืนที่การศึกษาประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การวางแผน 2) ดำเนินการนิเทศ
3) ส่อื และเทคโนโลยี 4) ประเมนิ ผล 5) การมสี ่วนร่วม และ 6) ปรบั ปรงุ และพฒั นา
โรงเรียนโคกลาพานวิทยา ต้ังอยู่หมู่ท่ี 3 ตาบลโคกลาพาน อาเภอเมือง สังกัดสานักงานเขตพื้นที่
การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 1 จัดการศึกษาระดับอนุบาลปีที่ 2 ถึง มัธยมศึกษาปีท่ี 3 การจัดการศึกษา
ยึดถือแนวนโยบายการจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาและหลกั สตู รแกนกลางการจดั การศึกษา
ข้ันพ้ืนฐาน มีการกาหนดแนวทางในการพัฒนาไว้อย่างมีทิศทางตามวิสัยทัศน์ของโรงเรียน คือ
“จัดการศึกษาให้นักเรียนมีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน สืบสานวัฒนธรรม ก้าวล้าเทคโนโลยี ชุมชนมีส่วนรว่ ม”
ซึ่งในสภาพปัจจุบันการจัดการศึกษาของโรงเรียนในภาพรวมมีมาตรฐานตามเกณฑ์มาตรฐาน ท่ีโรงเรียน
กาหนด อาจเน่ืองมาจากสถานศึกษาตั้งอยู่ในเขตอาเภอเมือง และปัจจุบันการสื่อสารสื่อเทคโนโลยีต่าง ๆ
มีความทนั สมัยมากยง่ิ ขน้ึ ทาให้ผูเ้ รียนมชี ่องทางในการเรียนร้เู พิ่มเตมิ มากขึน้ แตเ่ ม่ือเปรียบเทียบกับเกณฑ์
หรือมาตรฐานในระดับเขตพื้นที่การศึกษาและระดับชาติแล้ว ยังพบว่า มีบางกลุ่มสาระการเรียนรู้หรือ
บางชั้นเรียนยังมคี ะแนนเฉลยี่ ต่ากว่าคา่ มาตรฐานหรือค่าเฉลี่ยในระดับเขตพน้ื ท่ีการศกึ ษาและระดับประเทศ
ซึ่งเปน็ ประเด็นทคี่ วรนามาพิจารณาเพือ่ การพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาอย่างย่ิง
จากสภาพและความต้องการขา้ งต้น โรงเรยี นโคกลาพานวทิ ยา มีทิศทางในการบรหิ ารจัดการศึกษา
โดยบุคลากรทุกฝ่ายมีความมุ่งม่นั ทีจ่ ะพัฒนานักเรียนใหม้ คี ุณลกั ษณะทเ่ี หมาะสมและสอดคล้องกับวิสัยทัศน์
ของสถานศึกษา โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย ร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมปฏิบัติ ร่วมประเมินผล
และร่วมปรับปรุงพฒั นาในรปู แบบการบูรณาการการจดั การเรียนรู้กลุม่ สาระการเรียนรตู้ า่ ง ๆ และกิจกรรม
พัฒนาผู้เรียน ระบบนิเทศภายในเป็นรูปแบบการดาเนินงานเพื่อการพัฒนาการจัดการศึกษาท่ีสาคัญ
เป็นการปฏิบัติงานร่วมกันระหว่างผู้บริหารสถานศึกษาและครู มุ่งเน้นการปรับปรุงพัฒนาระบบการจัด
การศึกษาให้เกิดคณุ ภาพ โดยการใชท้ รพั ยากรมนุษยใ์ นโรงเรียนใหเ้ กดิ ประโยชน์สูงสุด
ผู้วิจัยในฐานะผู้บริหารสถานศึกษา จึงมีแนวคิดในการพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในให้เป็นระบบ
โดยอาศัยกระบวนการดาเนินการอย่างเป็นระบบของวงจรเดมม่ิงร่วมกับการคิดสร้างสรรค์กระบวนการ
นิเทศภายในท่ีสอดคล้องกับบริบทของครูและนักเรียน เป็นกระบวนการสาคัญในการพัฒนาคุณภาพ
การศึกษาท่ีมีประสิทธิภาพ โดยการประเมินความต้องการจาเป็นในการพัฒนาระบบนิเทศภายในสถานศึกษา
ซึ่งเป็นกระบวนการท่ีจะทาให้ทราบว่าประเด็นใดมีความต้องการจาเป็นท่ีต้องได้รับการพัฒนาตามลาดับ
ความสาคญั โดยพิจารณาจากผลตา่ งระหวา่ งสภาพปัจจุบนั กบั สภาพที่คาดหวงั เกีย่ วกบั การนเิ ทศภายใน
67
วารสารการวิจยั การศกึ ษาขั้นพ้ืนฐาน
ปที ่ี 2 ฉบบั ที่ 2 (กรกฎาคม – ธนั วาคม 2565)
เพ่ือหาแนวทางในการพัฒนารูปแบบการนิเทศ ภายในตามความต้องการจาเป็นจากผู้ที่มีส่วนเก่ียวข้อง
เพื่อให้เกิดรูปแบบที่เป็นฉันทามติและได้ข้อมูลท่ีชัดเจนตรงประเด็น สามารถนามาใช้ในการดาเนินการ
พัฒนาระบบนิเทศภายใน เพ่ือให้เกิดการพัฒนางานวิชาการอันจะส่งผลต่อการเรียนรู้และคุณภาพของ
ผูเ้ รยี นไดอ้ ย่างแทจ้ รงิ โดยมจี ุดเนน้ ทีส่ าคญั คอื โรงเรยี นนา่ อยู่ ครสู อนดี นักเรียนมคี ุณภาพ
วัตถุประสงคก์ ารวิจัย
1. เพือ่ ประเมนิ ความต้องการจาเป็นในการพัฒนาระบบนเิ ทศภายในของโรงเรียนโคกลาพานวิทยา
สานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 1
2. เพื่อพฒั นารปู แบบการนิเทศภายในตามความตอ้ งการจาเป็นในการพัฒนาระบบนิเทศภายใน
ของโรงเรียนโคกลาพานวิทยา สานกั งานเขตพน้ื ที่การศึกษาประถมศึกษาลพบรุ ี เขต 1
3. เพือ่ ศกึ ษาผลการใชร้ ูปแบบการนิเทศภายในตามความต้องการจาเปน็ ในการพัฒนาระบบนิเทศ
ภายในของโรงเรียนโคกลาพานวิทยา สานักงานเขตพื้นท่กี ารศกึ ษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 1
วิธีการดาเนินการวจิ ยั
ระยะที่ 1 การประเมนิ ความตอ้ งการจาเปน็ ในการพฒั นาระบบนิเทศภายในของโรงเรียน
โคกลาพานวทิ ยา สานักงานเขตพืน้ ทกี่ ารศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 1 (Need Assessment)
1.1 กลมุ่ เป้าหมายในการวิจยั จานวน 20 คน ประกอบด้วย
1.1.1 ครแู ละผูบ้ ริหารสถานศกึ ษา ปกี ารศึกษา 2563 จานวน 13 คน
1.1.2 คณะกรรมการสถานศกึ ษาขน้ั พ้นื ฐาน ปีการศึกษา 2563 จานวน 7 คน
1.2 เครื่องมือท่ีใช้ในการประเมิน คือ แบบประเมินความต้องการจาเป็นในการพัฒนา
ระบบนเิ ทศภายในของโรงเรยี นโคกลาพานวิทยา โดยกาหนดรูปแบบการประเมินเปน็ แบบตอบสนองแบบคู่
คือ สภาพปัจจุบันและสภาพท่ีคาดหวัง มีลักษณะเป็นมาตรประมาณค่า 5 ระดับ คือ มีการดาเนินการ
มากทสี่ ดุ มาก ปานกลาง นอ้ ย น้อยทส่ี ดุ
1.3 การหาคุณภาพของแบบประเมินความต้องการจาเป็น ผู้วิจัยนาแบบประเมินความ
ต้องการจาเป็นในการพัฒนาระบบนิเทศภายในของโรงเรียนโคกลาพานวิทยา เสนอต่อผู้เช่ียวชาญเพื่อให้
ผู้เชยี่ วชาญตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาสาระการประเมนิ (Content Validity) จานวน 5 คน และนาผล
การตรวจสอบความตรงของผู้เชี่ยวชาญแต่ละท่านมาหาค่าดัชนีความสอดคล้องของการวัด (IOC)
โดยพิจารณาประเด็นและข้อคาถามการประเมินที่มคี า่ มากกว่า 0.8 เปน็ ขอ้ คาถามในการประเมนิ ผลการหา
คา่ ดัชนีความสอดคลอ้ งมีค่า 1.00
68
วารสารการวิจัยการศกึ ษาข้นั พ้นื ฐาน
ปีท่ี 2 ฉบบั ท่ี 2 (กรกฎาคม – ธนั วาคม 2565)
1.4 การเกบ็ รวบรวมขอ้ มลู ดาเนนิ การดังนี้
1.4.1 ดาเนินการจัดการประชุมคณะครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
ชว่ งเตรยี มการกอ่ นเปดิ ภาคเรยี นที่ 1 ปกี ารศึกษา 2563 (10 พฤษภาคม 2563)
1.4.2 นาแบบประเมินความต้องการจาเป็นในการพัฒนาระบบนิเทศภายในของ
โรงเรียนโคกลาพานวิทยาให้กลุ่มเป้าหมาย คือ ครู จานวน 20 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพ้ืนฐาน
จานวน 7 คน ประเมินระบบการนเิ ทศในสภาพปัจจุบันและสภาพที่คาดหวังของการดาเนนิ การนเิ ทศภายใน
ของโรงเรียน โดยได้รับแบบประเมินกลบั มาครบถ้วนทกุ ฉบบั
1.4.3 ตรวจสอบความถูกต้อง ครบถ้วน ของแบบประเมินความต้องการจาเป็น
ในการพัฒนาระบบนเิ ทศภายในของโรงเรยี นโคกลาพานวิทยา เพื่อนาไปสู่ขนั้ ตอนการวิเคราะห์ข้อมลู ต่อไป
1.5 สถิติทใี่ ช้ในการวเิ คราะหข์ อ้ มูล
1.5.1 ค่าเฉลีย่ ( ) และสว่ นเบี่ยงเบนมาตรฐาน () ของสภาพปจั จุบันและสภาพ
ที่คาดหวงั ของการนิเทศภายในสถานศกึ ษา
1.5.2 ผลต่าง (Gap) ของคา่ เฉลย่ี สภาพท่ีคาดหวังและสภาพปจั จบุ ันของการนเิ ทศ
ภายในสถานศึกษา และดาเนินการวิเคราะห์ข้อมูลผลต่างตามขั้นตอนดังนี้
1) ศึกษาผลตา่ งระหว่างสภาพปัจจบุ นั กบั สภาพทคี่ าดหวงั ในการนิเทศภายในของ
โรงเรียนโคกลาพานวิทยา ประเมินความต้องการจาเป็น จากการให้ข้อมูลของครู และคณะกรรมการสถานศึกษา
โดยใช้แบบประเมินความต้องการจาเป็นที่ต้องพิจารณาท้ังสภาพปัจจุบันและสภาพที่คาดหวังของผู้ตอบ
เพ่อื นาขอ้ มูลทั้ง 2 ส่วนมาวิเคราะหผ์ ลต่างหรอื ช่องว่าง (GAP) ท่ีเปน็ ความต้องการจาเป็น
2) จัดลาดับความสาคัญความต้องการจาเปน็ ในการพัฒนาระบบนเิ ทศภายในของ
โรงเรียนโคกลาพานวิทยา พจิ ารณาจดั ลาดบั ความสาคญั ของประเด็นที่มีความต้องการจาเป็นในการพัฒนา
ก่อนหลังของประเด็นที่เป็นความต้องการจาเป็นในระดับสาคัญ โดยพิจารณาจากค่าผลต่างหรือช่องว่าง (GAP)
ที่เป็นความต้องการจาเป็นจากมากไปหาน้อย มีข้อใดบ้างท่ีมีผลต่างของคะแนนเฉล่ียต้ังแต่ 1.01 ขึ้นไป
ซึ่งมีความต้องการจาเป็นในระดับสาคัญ ควรได้รับการแก้ไขให้เสร็จภายใน 2 ปี และนามาพิจารณาเป็น
แนวทางในการพัฒนารปู แบบการนิเทศภายในต่อไป
ระยะท่ี 2 พัฒนารปู แบบการนิเทศภายในตามความต้องการจาเป็นในการพฒั นาระบบนิเทศ
ภายในของโรงเรียนโคกลาพานวิทยา สานักงานเขตพื้นทีก่ ารศึกษาประถมศึกษาลพบรุ ี เขต 1
2.1 ผู้วิจัยได้นาข้อมูลจากการประเมินความต้องการจาเป็นในการพัฒนาระบบนิเทศ
ภายในของโรงเรียนโคกลาพานวิทยา (Need Assessment) ในระยะท่ี 1 มาพัฒนารูปแบบการนิเทศ
ภายในของโรงเรยี น โดยพจิ ารณาจากผลต่างของการประเมินสภาพทค่ี าดหวังและสภาพปจั จบุ นั
69
วารสารการวิจยั การศกึ ษาข้ันพ้ืนฐาน
ปที ี่ 2 ฉบับท่ี 2 (กรกฎาคม – ธนั วาคม 2565)
ร่วมกับการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) นาไปสู่รูปแบบของการนิเทศภายในตามความต้องการ
จาเปน็ ทพี่ ัฒนาข้นึ ดังน้ี
ตาราง 1 ความสอดคล้องของรูปแบบการนิเทศภายในของโรงเรียนกับการประเมินความต้องการจาเป็นใน
การพฒั นาระบบนิเทศภายในของโรงเรยี นโคกลาพานวิทยา สานักงานเขตพ้ืนที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 1
รูปแบบการนิเทศภายในตาม ทม่ี าของขั้นตอนของรูปแบบการนิเทศภายใน
ความต้องการจาเป็นที่พัฒนาขึ้น
ข้ันที่ 1 การวิเคราะห์สภาพและ จากผลการประเมินความต้องการจาเปน็
บรบิ ทของสถานศกึ ษา (Analysis ข้อ 3 รว่ มประชุมวางแผนกับคณะครูในโรงเรียน
of the state and context of ขอ้ 7 เปิดโอกาสให้คณะครมู ีส่วนร่วมในการดาเนินงานนเิ ทศภายในโรงเรียน
the school: A) ข้อ 9 แตง่ ตง้ั คณะทางานตามความถนัดและเปิดโอกาสใหแ้ สดง
ความสามารถอย่างเตม็ ที่
ขัน้ ที่ 2 การออกแบบและการวาง จากผลการประเมนิ ความตอ้ งการจาเปน็
แผนการนเิ ทศ (Design and ข้อ 2 กาหนดนโยบายของการนิเทศในโรงเรียน
planning of supervision: D) ข้อ 3 ร่วมประชมุ วางแผนกบั คณะครใู นโรงเรียนเพ่อื พฒั นาคุณภาพ
การเรยี นการสอน
ขน้ั ที่ 3 การสรา้ งคุณคา่ จากผลการประเมนิ ความตอ้ งการจาเปน็
(Value creation: V) ข้อ 2 ส่งเสรมิ ให้ครูมีความรู้ความเข้าใจเก่ียวกบั การนิเทศภายในและ
หลกั สตู รท่คี รูมคี วามต้องการในการพฒั นา
ข้นั ที่ 4 การยกระดับและ ขอ้ 5 กระตนุ้ ใหค้ รูเกดิ การตน่ื ตัวอยูเ่ สมอในดา้ นวิชาการ
การสรา้ งเครือข่าย(Improvement ข้อ 8 สร้างขวัญและกาลังใจแก่ผู้ปฏิบัติงานดว้ ยวิธกี ารต่าง ๆ เช่น ยกย่องชมเชย
and building Network: I) ในที่ประชุม นาผลสาเรจ็ ของการปฏิบัติงานมาแสดงให้ปรากฏแก่บคุ คลอืน่
จากผลการประเมนิ ความต้องการจาเปน็
ขน้ั ที่ 5 การตรวจสอบ (Checking) ขอ้ 6 ปฏิบตั กิ ารนิเทศภายในโรงเรียนตามแผนการนเิ ทศของสถานศึกษา
ข้อ 9 แตง่ ตั้งคณะทางานตามความถนัดและเปดิ โอกาสใหแ้ สดง
ขั้นท่ี 6 การเผยแพร่ ความสามารถอย่างเตม็ ท่ี
(Expanding: E) ขอ้ 4 สนับสนุนด้านงบประมาณ วัสดุ อุปกรณ์
จากผลการประเมินความตอ้ งการจาเปน็
ข้อ 10 ติดตาม ประเมนิ ผลและพฒั นาการดาเนนิ การนิเทศภายในโรงเรยี น
จากผลการประเมินความต้องการจาเปน็
ขอ้ 8 สร้างขวญั และกาลงั ใจแกผ่ ้ปู ฏบิ ตั ิงานด้วยวธิ ีการต่างๆ เช่น ยกยอ่ ง
ชมเชยในท่ีประชมุ นาผลสาเร็จของการปฏิบตั ิงานมาแสดงให้ปรากฏแก่บคุ คลอ่ืน
70
วารสารการวิจัยการศกึ ษาขั้นพนื้ ฐาน
ปที ี่ 2 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม – ธันวาคม 2565)
2.2 ระดมความคิดในการหาแนวทางในการพัฒนาระบบนิเทศภายในแต่ละประเด็น
พจิ ารณาใหส้ อดคล้องกับกระบวนดาเนนิ งานอยา่ งเปน็ ระบบตามวงจรเดมม่ิง
2.3 กาหนดกระบวนการดาเนินการนิเทศภายในอยา่ งเป็นระบบตามวงจรเดมม่ิง ดังภาพที่ 2
ข้ันท่ี 1 การวิเคราะหส์ ภาพและ 1. วิเคราะหส์ ภาพแวดลอ้ ม และ - แนวทางการบูรณาการ
บริบทของสถานศึกษา บริบทของโรงเรียน การพฒั นาคณุ ภาพนกั เรียน
2.วเิ คราะห์แผนฯและนโยบาย ตามนโยบาย วิสัยทศั น์
P การพฒั นาคุณภาพการศึกษา ของสถานศกึ ษา
- รูปแบบการนเิ ทศภายใน
ขั้นท่ี 2 การออกแบบและ 1. แต่งตัง้ คณะกรรมการ - กระบวนการนิเทศภายใน
วางแผนการดาเนินงาน 2. ประชมุ คณะกรรมการ
3. จัดทาข้อมูลสารสนเทศ - เขา้ ใจปญั หาและจุดท่ีควร
ขน้ั ที่ 3 การสรา้ งคุณค่า พฒั นาของตนเอง
1. มองตนเอง - เกิดความรู้ความเข้าใจในการ
D 2. เหน็ ตนเอง พฒั นาการจดั การเรียนการสอน
3. เขา้ ใจตนเอง - พฒั นาการจดั การเรียนการ
ขั้นที่ 4 การยกระดับตนเองและ 4. พฒั นาตนเอง สอนจากการนเิ ทศรปู แบบต่างๆ
การสร้างเครอื ขา่ ย - เกดิ เครอื ข่ายในการพัฒนา
1. สรา้ งเสริมทกั ษะจากการ วชิ าชีพ
C ขั้นท่ี 5 การตรวจสอบ นิเทศรูปแบบต่างๆ
2. สรา้ งเครือข่ายเพอื่ การ - ผลการดาเนินงานเพอ่ื การ
พฒั นาการจดั การเรียน พฒั นาคุณภาพการศกึ ษา
- ประเดน็ ในการพัฒนาในระยะ
การสอน ตอ่ ไป
1. ตรวจสอบ ทบทวนและ
ประเมินผลการดาเนินงาน
2. วิเคราะหป์ ระเด็นทตี่ ้อง
พัฒนา
A ข้นั ที่ 6 การเผยแพร่ 1. สังเคราะห์ผลการดาเนินงาน - ผลการดาเนนิ การนเิ ทศภายใน
E 2. รายงานผลการดาเนินการ รูปแบบต่างๆ
- ผลการดาเนนิ งานตามวัตถุประสงค์
และเผยแพรง่ านสู่สาธารณะ
โรงเรียนน่าอยู่ ครสู อนดี นกั เรียนมคี ุณภาพ
ภาพท่ี 1 แผนการดำเนินการนิเทศภายใน
71
วารสารการวิจัยการศกึ ษาขนั้ พนื้ ฐาน
ปที ี่ 2 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม – ธันวาคม 2565)
2.4 กาหนดรูปแบบการนิเทศภายในตามความต้องการจาเป็นในการพัฒนาระบบนิเทศ
ภายในของโรงเรยี นโคกลาพานวิทยา ตามกระบวนการทรี่ ่วมการระดมความคดิ
2.5 นาเสนอกระบวนการดาเนินการนิเทศภายในต่อคณะกรรมการสถานศึกษาเพอื่ พิจารณา
เห็นชอบเพอ่ื การดาเนนิ การในปีการศกึ ษา 2563
2.6 นารูปแบบการนิเทศภายในตามความต้องการจาเป็นในการพฒั นาระบบนิเทศภายใน
ของโรงเรียนโคกลาพานวิทยา ไปใช้ในการดาเนินการนิเทศภายในตามกระบวนท่ีกาหนดไว้ตลอดปี
การศกึ ษา 2563
ระยะท่ี 3 ศึกษาผลการใช้รูปแบบการนิเทศภายในตามความต้องการจาเป็นในการพัฒนา
ระบบนเิ ทศภายในของโรงเรียนโคกลาพานวิทยา สานกั งานเขตพืน้ ท่กี ารศกึ ษาประถมศึกษาลพบรุ ี เขต 1
ผ้วู ิจัยได้ดาเนินการศึกษาผลการใช้รูปแบบการนิเทศภายในตามความตอ้ งการจาเป็นใน
การพัฒนาระบบนิเทศภายในของโรงเรียนโคกลาพานวิทยา สานักงานเขตพ้ืนที่การศึกษาประถมศึกษา
ลพบุรี เขต 1 จากการเกบ็ รวบรวมขอ้ มูลดว้ ยวธิ กี ารตา่ งๆ ได้แก่
3.1 การศึกษาเอกสาร (Document Review)
3.2 การสังเกตการสอน (Observation)
3.3 การศึกษาข้อมูลที่เก่ียวข้องกับการปฏิบัติงานของโรงเรียน (Archival Data) ได้แก่
แผนการจัดการเรียนรู้ (Course outline) ผลการตรวจและประเมินแผนการจัดการเรียนรู้ (Course evaluation)
ฐานข้อมูลระดับผลการเรียนของนักเรียน (Student grades) รายงานผลการใช้หลักสูตรรายกลุ่มสาระ
การเรียนรูป้ ีการศึกษา 2564 (Past curriculum reports) และรายงานการนิเทศภายในโรงเรียน ฯลฯ
3.4 ผู้วิจัยดาเนนิ การวเิ คราะหข์ ้อมลู โดยใชว้ ิธกี ารวเิ คราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ประกอบการสัมภาษณ์ (Interview) และการสงั เกต (Observation) จากการศกึ ษาเอกสาร การสงั เกตการสอน
และศกึ ษาขอ้ มูลทเ่ี ก่ยี วข้องกับการปฏบิ ตั ิงานของโรงเรยี น
72
วารสารการวิจยั การศกึ ษาข้ันพน้ื ฐาน
ปที ่ี 2 ฉบับท่ี 2 (กรกฎาคม – ธันวาคม 2565)
ผลการวิเคราะห์
1. การประเมินความต้องการจาเป็นในการพัฒนาระบบนิเทศภายในของโรงเรยี นโคกลาพานวทิ ยา
ผลปรากฏดงั ตาราง 2
ตาราง 2 สภาพปจั จุบนั สภาพทีค่ าดหวงั และความต้องการจาเป็นในการพฒั นาระบบนเิ ทศภายใน
รายการ สภาพปัจจุบนั สภาพท่คี าดหวงั ผลต่าง
(Need)
1. กำหนดนโยบายของการนเิ ทศภายใน
โรงเรยี น ระดับ ระดบั GAP ลำดบั
2. สง่ เสรมิ ให้ครูมคี วามร้คู วามเข้าใจ
เกีย่ วกบั การนเิ ทศภายในและหลักสูตร 2.75 0.44 ปาน 4.30 0.47 มาก 1.55 10
ทค่ี รูมีความต้องการในการพัฒนา กลาง
3. ร่วมประชมุ วางแผนกบั คณะครูใน
โรงเรียนเพือ่ พฒั นาคณุ ภาพการเรยี น 2.15 0.75 นอ้ ย 4.60 0.50 มาก 2.45 3
การสอน ที่สดุ
4. สนบั สนุนด้านงบประมาณ วสั ดุ
อปุ กรณ์ 2.30 0.65 น้อย 4.85 0.36 มาก 2.55 2
5. กระต้นุ ใหค้ รูเกิดการต่นื ตัวอยูเ่ สมอใน ทส่ี ุด
ด้านวชิ าการ 6
6. ปฏบิ ตั ิการนเิ ทศภายในโรงเรยี นตาม 2.75 0.72 ปาน 4.65 0.49 มาก 1.90 4
แผนการนิเทศของสถานศึกษา กลาง ที่สุด 1
7. เปิดโอกาสให้คณะครมู สี ว่ นร่วมในการ 4
ดำเนินงานนิเทศภายในโรงเรยี น 2.80 0.62 ปาน 4.75 0.44 มาก 1.95
8. สรา้ งขวัญและกำลังใจแกผ่ ู้ปฏิบตั งิ าน กลาง ที่สุด
ด้วยวิธกี ารตา่ งๆ เชน่ ยกย่องชมเชยใน
ท่ีประชมุ นำผลสำเร็จของการปฏบิ ัตงิ าน 2.05 0.60 นอ้ ย 4.80 0.41 มาก 2.75
มาแสดงใหป้ รากฏแกบ่ คุ คลอืน่ ทส่ี ุด
9. แต่งตง้ั คณะทำงานตามความถนัดและ
เปดิ โอกาสให้แสดงความสามารถอยา่ ง 3.05 0.69 ปาน 5.00 0.00 มาก 1.95
เต็มที่ กลาง ทส่ี ดุ
10.ติดตามประเมนิ ผลและพัฒนาการ
ดำเนินการนิเทศภายในโรงเรยี น 2.90 0.64 ปาน 4.45 0.51 มาก 1.55 9
รวม กลาง
3.00 0.64 ปาน 4.70 0.47 มาก 1.7 7
กลาง ทส่ี ดุ
3.20 0.61 ปาน 4.90 0.31 มาก 1.7 7
กลาง ท่สี ุด
2.70 0.39 ปาน 4.70 0.21 มาก Gap = 2.00
กลาง ที่สุด
73
วารสารการวิจยั การศกึ ษาข้นั พน้ื ฐาน
ปที ่ี 2 ฉบับท่ี 2 (กรกฎาคม – ธนั วาคม 2565)
จากตาราง 2 การประเมินความต้องการจาเป็นในการพัฒนาระบบนิเทศภายในของโรงเรียน
โคกลาพานวิทยา พบว่า
1. สภาพปจั จุบันของการดาเนินการนเิ ทศภายใน อยใู่ นระดบั นอ้ ยถงึ ปานกลาง
2. สภาพท่คี าดหวังของการดาเนินการนิเทศภายใน อยใู่ นระดบั มากทสี่ ดุ
3. การจัดลาดับผลต่างของสภาพท่ีคาดหวังกับสภาพปัจจุบัน พบว่า การนิเทศภายในมีความ
ตอ้ งการจาเปน็ ในการพฒั นาตามลาดบั ดังนี้
ลาดบั ท่ี 1 ปฏิบัติการนเิ ทศภายในโรงเรยี นตามแผนการนิเทศของสถานศึกษา
ลาดบั ท่ี 2 ร่วมประชมุ วางแผนกับคณะครใู นโรงเรียนเพ่อื พฒั นาคุณภาพการเรียนการสอน
ลาดบั ที่ 3 ส่งเสรมิ ให้ครูมีความร้คู วามเข้าใจเกย่ี วกับการนิเทศภายในและหลักสูตรทค่ี รู
มีความต้องการในการพฒั นา
ลาดบั ที่ 4 กระตุ้นใหค้ รเู กิดการต่ืนตวั อยู่เสมอในดา้ นวชิ าการ
ลาดบั ที่ 5 เปดิ โอกาสใหค้ ณะครูมีสว่ นร่วมในการดาเนินงานนิเทศภายในโรงเรียน
ลาดับท่ี 6 สนบั สนนุ ดา้ นงบประมาณ วสั ดอุ ปุ กรณ์
ลาดบั ท่ี 7 แตง่ ตัง้ คณะทางานตามความถนัดและเปิดโอกาสใหแ้ สดงความสามารถอย่างเตม็ ที่
ลาดับท่ี 8 ติดตามประเมนิ ผลและพฒั นาการดาเนนิ การนิเทศภายในโรงเรยี น
. ลาดบั ที่ 9 สร้างขวัญและกาลงั ใจแก่ผ้ปู ฏบิ ัติงานด้วยวธิ ีการต่าง ๆ เช่น ยกย่องชมเชยในท่ีประชุม
นาผลสาเรจ็ ของการปฏิบัติงานมาแสดงให้ปรากฏแก่บุคคลอ่นื
. ลาดบั ที่ 10 กาหนดนโยบายของการนิเทศภายในโรงเรยี น
4. เมื่อพิจารณาโดยรวมพบว่า สภาพปัจจุบันของการดาเนินการนิเทศภายใน อยู่ในระดับ
ปานกลาง สภาพท่ีคาดหวงั ของการดาเนินการนิเทศภายใน อยู่ในระดบั มากที่สุด และเม่อื พิจารณาผลต่างของ
สภาพท่ีคาดหวังกับสภาพปัจจุบัน พบว่า มีความต้องการจาเป็นในระดับสาคัญ ควรได้รับการแก้ไขให้เสร็จ
ภายใน 2 ปี
2. การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในตามความต้องการจาเป็นในการพัฒนาระบบนิเทศภายในของ
โรงเรยี นโคกลาพานวทิ ยา พบวา่
2.1 รปู แบบการนิเทศภายในทพ่ี ัฒนาขึน้ มีองค์ประกอบดงั นี้
ขั้นที่ 1 Analysis of the state and context of the school (Analysis) การวิเคราะห์
สภาพและบริบทของสถานศึกษา
ขน้ั ท่ี 2 Design and planning of supervision (Design) การออกแบบและวางแผนการนิเทศ
ขน้ั ท่ี 3 Value Creation การสรา้ งคุณค่า
ขั้นท่ี 4 Improvement and building Network (Improve) การยกระดับตนเองและการสร้างเครือขา่ ย
74
วารสารการวิจยั การศกึ ษาข้นั พืน้ ฐาน
ปที ่ี 2 ฉบับท่ี 2 (กรกฎาคม – ธันวาคม 2565)
ขัน้ ท่ี 5 Checking (Check) การตรวจสอบ
ขน้ั ที่ 6 Expanding (Expand) การเผยแพร่
ADVICE VALUE CREATION
MODEL
สร้างคณุ คา่
V
ภาพท่ี 2 ADVICE MODEL : ระบบการนเิ ทศภายในของโรงเรียนโคกลาพานวิทยา
2.2 การขับเคลือ่ นระบบการนิเทศภายในของโรงเรียนโคกลาพานวิทยา ซ่ึงเป็นกลยทุ ธ์หน่ึงที่สาคญั
ในการพัฒนาคณุ ภาพการศกึ ษา มขี น้ั ตอนการดาเนินงานดงั น้ี
ขั้นท่ี 1 Analysis การวเิ คราะหส์ ภาพและบริบทของสถานศกึ ษา
1.1 ผู้บริหารและครรู ่วมกันวเิ คราะหส์ ภาพและปัญหาการดาเนินงานในสถานศึกษา
1.2 วเิ คราะห์แผนฯ และนโยบายการพัฒนาคุณภาพการศกึ ษา และปรับปรุงแผนระยะยาว
แผนระยะส้นั หลกั สูตรสถานศกึ ษา
ข้ันท่ี 2 Design การออกแบบและวางแผนการนิเทศ
2.1 แต่งต้งั คณะกรรมการและร่วมประชุมออกแบบการนเิ ทศภายใน
2.2 จัดทาข้อมลู สารสนเทศ ออกแบบ วางแผน กาหนดการ กาหนดรปู แบบการนเิ ทศ
ขั้นท่ี 3 Value Creation การสร้างคณุ ค่า
ขน้ั ท่ี 1 มองตนเอง ครูประเมนิ ตนเองเกี่ยวกบั การดาเนนิ งานในสถานศึกษาทั้งในสว่ นของ
การบรหิ ารจัดการชัน้ เรยี นและการจดั การเรียนรู้ (การประชุมก่อนเปิดเรียน)
ขั้นท่ี 2 เห็นตนเอง ผู้บรหิ าร/ครูวิชาการร่วมประเมินครูทุกคนในโรงเรียนเก่ียวกบั การดาเนินงาน
ในสถานศกึ ษาท้ังในสว่ นของการบริหารจัดการชน้ั เรยี นและการจัดการเรียนรู้ (การประชุมวิชาการทุกเดือน)
75
วารสารการวิจัยการศึกษาขน้ั พื้นฐาน
ปที ี่ 2 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม – ธนั วาคม 2565)
ขั้นท่ี 3 เข้าใจตนเอง ครูทาความเขา้ ใจเก่ยี วกับการดาเนินงานและการพฒั นาตนเอง
โดยพจิ ารณาจากผลการประเมินตนเองและผลการประเมนิ จากกล่มุ งานวชิ าการ
ขัน้ ท่ี 4 พัฒนาตนเอง เรยี นรแู้ ละพฒั นาทกั ษะตนเองตามความสามารถและเน้ือหาสาระ
ท่ีรับผิดชอบในการจัดการเรียนรู้ ผ่านการฝึกอบรม การโค้ชของเพ่ือนร่วมกลุ่มสาระ คาแนะนาของผู้บริหาร
หรือครูวิชาการ และการศกึ ษาจากส่ือออนไลน์
ขน้ั ที่ 4 Improve การยกระดบั ตนเองและการสร้างเครือข่าย
4.1 ดาเนินการนเิ ทศภายในโดยใช้วิธีการหลากหลายรปู แบบไดแ้ ก่
4.1.1 เย่ียมช้ันเรยี น (โดยผบู้ ริหารสถานศกึ ษา/ครวู ิชาการ/เพือ่ นคร)ู
4.1.2 การสงั เกตการสอน (โดยผูบ้ ริหารและเพือ่ นครู)
4.1.3 การรายงานผลการจัดการเรยี นรู้/กิจกรรม (หัวหน้ากลมุ่ งาน/กิจกรรม)
4.1.4 การนิเทศบูรณาการรว่ มกบั กิจกรรมPLC (กลุ่มPLC)
4.1.5 การนิเทศผ่านการประชมุ ประจาเดือน (รายงานผลการจัดการเรียนการสอน)
4.1.6 การนิเทศออนไลน์ (ภายใต้สถานการณแ์ พร่ระบาดของโรคตดิ เชือ้ โควิด19)
4.2 สรา้ งกลมุ่ เครอื ขา่ ยของการพัฒนาคุณภาพผ้เู รียน ดังนี้
4.2.1 กลมุ่ วิชาการชว่ งช้ัน ได้แก่ วชิ าการปฐมวัย วชิ าการชว่ งช้นั ที่ 1 วชิ าการ
ช่วงชัน้ ท่ี 2 วิชาการช่วงช้ันที่ 3 โดยมีหวั หน้าช่วงชั้นเป็นผู้นาในการพัฒนาและการนิเทศภายในช่วงชั้นตนเอง
4.2.2 กลมุ่ PLC ได้แก่ PLC ปฐมวัยและช่วงชั้นท่ี 1, PLC ช่วงชั้นที่ 2, PLC
ชว่ งชนั้ ที่ 3, PLC งานวิชาการ และ PLC วิทยฐานะ (เครือขา่ ยนอกสถานศึกษา) โดยมีหัวหนา้ กล่มุ เปน็ ผนู้ า
ในการพัฒนาและการนเิ ทศภายในกลมุ่ ตนเอง
ขน้ั ท่ี 5 Check การตรวจสอบ
5.1 ผ้รู ับการนิเทศ สรุป/รายงานผลการรับการนเิ ทศ ตอ่ ผบู้ ริหารสถานศกึ ษา
เพอื่ การตรวจตรวจสอบ ทบทวน และวิเคราะหภ์ าพรวมของสถานศึกษา
5.2 ร่วมกันวิเคราะห์ประเด็นที่ตอ้ งพฒั นาตอ่ ไป ปัญหา/อุปสรรคท่ีตอ้ งได้รับการแก้ไข
เพือ่ การพัฒนาปรบั ปรงุ ในระยะต่อไป
5.3 กากบั ติดตาม ประเมนิ ผลและรายงานผล การนเิ ทศภายในโดยใช้ ADVICE MODEL
มีการกากับตดิ ตามและประเมินผลทุกระยะของการดาเนนิ งาน ดงั ตารางการนเิ ทศดงั นี้
76
วารสารการวิจยั การศึกษาขั้นพืน้ ฐาน
ปที ่ี 2 ฉบับท่ี 2 (กรกฎาคม – ธนั วาคม 2565)
ตาราง 3 ปฏทิ นิ การนเิ ทศภายใน กากับตดิ ตามและประเมนิ ผล โดยใช้ ADVICE MODEL
ที่ รายการ ดาเนนิ การ การติดตาม ผู้นเิ ทศ/ตดิ ตาม
1 วิเคราะห์สภาพแวดลอ้ ม และบรบิ ทของโรงเรียน 11-16 พ.ค. 63 11-16 พ.ค. 63 ผู้บริหาร
2 วเิ คราะห์แผนฯและนโยบายการพัฒนาคุณภาพ 11-16 ต.ค. 63 11-16 ต.ค. 63 ผบู้ รหิ าร
การศกึ ษา และปรับปรงุ แผนระยะยาว 16-30 พ.ค. 63 16-30 พ.ค. 63 ผบู้ รหิ าร/
แผนระยะสน้ั หลักสตู รสถานศึกษา 16-30 พ.ค. 63 16-31พ.ค. 63 ครวู ิชาการ
3 แต่งต้ังคณะกรรมการและร่วมประชมุ ออกแบบการ ผบู้ ริหาร/
นเิ ทศภายใน ครวู ิชาการ
4 จัดทาขอ้ มลู สารสนเทศ ออกแบบ วางแผน
กาหนดการ กาหนดรูปแบบการนิเทศ 31 พ.ค. 63 31 พ.ค. 63 ผูบ้ ริหาร/
5 การสร้างคณุ คา่ 1-30 ม.ิ ย.63 1-30 มิ.ย.63 ครูวิชาการ
1. มองตนเอง 1-30 ม.ิ ย.63 1-30 ม.ิ ย.63
2. เหน็ ตนเอง 1 มยิ .-10 ตค.63 1มิ.ย.-10 ต.ค.63
3. เขา้ ใจตนเอง
4. พัฒนาตนเอง ทุกเดอื น 1 ครั้ง/ภาคเรียน ผบู้ ริหาร/
6 ดาเนนิ การนเิ ทศภายในโดยใชว้ ธิ กี ารหลากหลาย 2 ครั้ง/ภาคเรียน 2 คร้ัง/ภาคเรียน ครวู ชิ าการ
รูปแบบได้แก่ เสรจ็ กิจกรรม
1 เยย่ี มชั้นเรียน เสร็จกจิ กรรม 1 ครงั้ /เดอื น
2 การสังเกตการสอน 1 ครงั้ /สปั ดาห์
3 การรายงานผลการจดั การเรียนรู/้ กิจกรรม ทกุ เดอื น
4 การนเิ ทศบูรณาการรว่ มกบั กจิ กรรม PLC ทุกเดอื น ทุกสปั ดาห์
5 การนเิ ทศผา่ นการประชุมประจาเดือน ทกุ สัปดาห์
6 การนิเทศออนไลน์
7 สร้างกลุ่มเครือข่ายของการพัฒนาคุณภาพผเู้ รยี น ทุกสปั ดาห์ ทุกเดอื น ผ้บู รหิ าร/
1. กลมุ่ วชิ าการชว่ งช้นั ทุกสัปดาห์ ทุกเดือน ครูวชิ าการ
2. กลุม่ PLC ส้นิ สุดกจิ กรรม สนิ้ สุดกจิ กรรม ผบู้ รหิ าร
8 ผรู้ ับการนิเทศ สรปุ /รายงานผลการรับการนเิ ทศ 1 คร้ัง/ภาคเรียน 1 คร้ัง/ภาคเรียน คณะครู
9 ร่วมกนั วเิ คราะหป์ ระเดน็ ที่ต้องพัฒนาต่อไป 1 ครั้ง/ภาคเรยี น 1 คร้งั /ภาคเรียน คณะครู
10 ครแู ละผู้บรหิ ารรว่ มสังเคราะหร์ ายงานผล
การปฏิบัติงาน 1 ครง้ั /ภาคเรียน 1 ครั้ง/ภาคเรียน คณะครู
11 นาเสนอผลการดาเนินงานผา่ นช่องทางตา่ ง ๆ
77
วารสารการวิจัยการศกึ ษาขนั้ พ้นื ฐาน
ปที ี่ 2 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม – ธันวาคม 2565)
ขัน้ ที่ 6 Expand การเผยแพร่
6.1 ครูและผ้บู รหิ ารร่วมสังเคราะหร์ ายงานผลการปฏิบตั งิ าน นาเสนอผลการดาเนนิ งาน
ในรูปแบบต่าง ๆ ได้แก่ รายงานผลการดาเนินงาน ผลการนิเทศ ผลการสงั เกตการสอน รายงานผลการพัฒนา
บันทกึ ผลหลังสอน รายงานผลการจัดการเรยี นการสอน รายงานการประเมนิ ฯลฯ เม่อื ดาเนนิ การกจิ กรรม/
โครงการต่าง ๆ เสรจ็ สน้ิ
6.2 นาเสนอผลการดาเนินงานต่อคณะกรรมการสถานศึกษาและเผยแพร่ผ่านช่องทางต่าง ๆ
เช่น กลมุ่ line ผู้ปกครอง Facebook โรงเรียนโคกลาพานวทิ ยา และหนว่ ยงานตน้ สงั กดั เปน็ ตน้
1.3 ผลการใช้รปู แบบการนเิ ทศภายในตามความต้องการจาเปน็ ในการพัฒนาระบบนิเทศภายใน
ของโรงเรยี นโคกลาพานวทิ ยา พบวา่ โรงเรียนนา่ อยู่ ครูสอนดี นักเรยี นมคี ุณภาพ ดังน้ี
1.3.1 ผลท่ีเกดิ กบั โรงเรียน ดงั น้ี
รางวลั ชนะเลิศ รปู แบบการนิเทศภายในของสถานศึกษา ใหเ้ ปน็ สถานศึกษาที่มี
รปู แบบการนิเทศภายในของสถานศึกษา ประสบผลสาเรจ็ เปน็ แบบอย่างได้ ประจาปกี ารศึกษา 2564
1.3.2 ผลทีเ่ กิดกบั ครู ดังนี้
1) ครูวางแผนการจดั การเรียนรูแ้ ละจดั ทาแผนการเรียนรสู้ อดคล้องกับการเรียนรู้
ตามแนว Active learning ได้อย่างมคี ุณภาพ
2) ครูมที กั ษะและเทคนคิ การจัดการเรียนการสอนทีท่ ันสมัย สามารถใช้ ICT
ในการจัดการเรียนรู้และตรงตามความต้องการของผู้เรียน ได้แก่ การใช้แอพพลิเคช่ันต่างๆ ในการสร้าง
บทเรียน การสร้างสื่อการสอนผ่านกลุ่ม Line, ZOOM, GOOGLE MEET เปน็ ต้น
1.3.3 ผลที่เกดิ กบั ผู้เรยี น ดงั น้ี
1) นักเรยี นมคี ุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ ดังน้ี
1.1) ร้อยละ 53.38 ของนักเรียนที่มีคะแนนเฉล่ียผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
แต่ละรายวชิ าในระดบั 3 ขนึ้ ไป
1.2) ร้อยละ 70.28 ของนกั เรียนมีผลการประเมินการอา่ น คิดวิเคราะห์และเขียน
ระดบั ดีขนึ้ ไปในระดบั ชัน้ ประถมศึกษาปที ี่ 1 ถึงระดับชัน้ มธั ยมศึกษาปีท่ี 3 ปีการศึกษา 2563
1.3) รอ้ ยละ 100 ของนักเรียน มีผลการประเมินคณุ ลกั ษณะอันพงึ ประสงคใ์ น
ระดบั ดีข้ึนไประดบั ช้ันประถมศึกษาปที ี่ 1 ถงึ ระดบั ช้ันมธั ยมศึกษาปีที่ 3 ปกี ารศกึ ษา 2563
1.4) ร้อยละ100 ของนกั เรยี นมผี ลการประเมินสมรรถนะสาคัญตามหลกั สูตรแกนกลาง
การศึกษาขน้ั พน้ื ฐานพุทธศกั ราช 2551 ปีการศึกษา 2563 ของผู้เรียนชน้ั ประถมศึกษาปีท่ี 6 ในระดับผ่านขน้ึ ไป
1.5) ร้อยละ 100 ของนักเรียนมีผลการประเมนิ สมรรถนะสาคญั ตามหลักสูตรแกนกลาง
การศกึ ษาขั้นพนื้ ฐานพุทธศักราช 2551 ปีการศึกษา 2563 ของผูเ้ รียนชั้นมัธยมศึกษาปีท่ี 3 ในระดับผ่านขน้ึ ไป
78
วารสารการวิจยั การศึกษาขน้ั พน้ื ฐาน
ปีท่ี 2 ฉบับท่ี 2 (กรกฎาคม – ธันวาคม 2565)
1.6) ร้อยละ100 ของเดก็ ปฐมวัยมีผลการประเมินพฒั นาการแตล่ ะด้านในระดับ 3
หรอื ระดับดี
1.7) ผลการประเมนิ การทดสอบความสามารถพ้นื ฐานของผเู้ รียนระดับชาติ (NT)
ปกี ารศึกษา 2563 มีคะแนนเฉล่ยี รวมสงู กวา่ ระดับชาติ และมพี ัฒนาการสงู กว่าปีการศกึ ษา 2562
1.8) ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติข้ันพื้นฐาน (O-NET) ระดับช้ัน
ประถมศึกษาปีที่ 6 และมัธยมศึกษาปีท่ี 3 วิชาภาษาไทยและภาษาอังกฤษมีคะแนนเฉลี่ยปีการศึกษา
2563 สูงกวา่ ปกี ารศึกษา 2562
สรุปผลการวิจยั
1. การประเมนิ ความตอ้ งการจาเป็นในการพัฒนาระบบนเิ ทศภายในของโรงเรียนโคกลาพานวทิ ยา
พบว่า สภาพปัจจุบันของการดาเนินการนิเทศภายใน อยู่ในระดับ น้อยถึงปานกลาง สภาพที่คาดหวังของ
การดาเนินการนิเทศภายใน อยู่ในระดับ มากท่ีสุด และโรงเรียนโคกลาพานวิทยามีความต้องการจาเป็น
ในการพัฒนาระบบนิเทศภายใน คือ ปฏิบัติการนิเทศภายในโรงเรียนตามแผนการนิเทศของสถานศึกษา
รว่ มประชมุ วางแผนกับคณะครใู นโรงเรียนเพ่อื พัฒนาคณุ ภาพการเรยี นการสอน สง่ เสรมิ ให้ครูมีความรู้ความ
เข้าใจเก่ียวกับการนิเทศภายในและ หลกั สตู รทค่ี รมู ีความต้องการในการพัฒนา กระตุ้นใหค้ รูเกดิ การตืน่ ตัว
อยู่เสมอในด้านวิชาการ เปดิ โอกาสให้คณะครมู สี ่วนรว่ มในการดาเนินงานนิเทศภายในโรงเรียน สนับสนุน
ด้านงบประมาณ วัสดอุ ุปกรณ์ แต่งต้งั คณะทางานตามความถนดั และเปดิ โอกาสใหแ้ สดงความสามารถอย่าง
เต็มท่ี ติดตามประเมินผลและพัฒนาการดาเนินการนิเทศภายในโรงเรียน สร้างขวัญและกาลังใจแก่
ผู้ปฏิบัติงานด้วยวิธีการต่างๆ เช่น ยกย่องชมเชยในที่ประชุม นาผลสาเร็จของการปฏิบัติงานมาแสดงให้
ปรากฏแก่บุคคลอ่ืน กาหนดนโยบายของการนิเทศภายในโรงเรยี น
2. การพฒั นารปู แบบการนิเทศภายในตามความต้องการจาเป็นในการพัฒนาระบบนิเทศภายใน
ของโรงเรียนโคกลาพานวิทยา มีการขับเคลื่อนระบบการนิเทศภายในสถานศกึ ษาซ่ึงเป็นกลยุทธ์หน่งึ ที่สาคัญ
ในการพฒั นาคุณภาพการศกึ ษา โดยใชร้ ูปแบบ ADVICE MODEL ดังนี้
ขั้นท่ี 1 Analysis of the state and context of the school (Analysis) การวิเคราะห์
สภาพและบริบทของสถานศึกษา
ขัน้ ท่ี 2 Design and planning of supervision (Design) การออกแบบและวางแผน
การนิเทศ
ขนั้ ท่ี 3 Value Creation การสร้างคุณคา่
ขั้นที่ 4 Improvement and building Network (Improve) การยกระดับตนเองและ
การสรา้ งเครอื ขา่ ย
79
วารสารการวิจัยการศึกษาขนั้ พืน้ ฐาน
ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม – ธันวาคม 2565)
ข้ันท่ี 5 Checking (Check) การตรวจสอบ
ขนั้ ที่ 6 Expanding (Expand) การเผยแพร่
3 ผลการใชร้ ปู แบบการนเิ ทศภายในตามความตอ้ งการจาเปน็ ในการพฒั นาระบบนิเทศ
ภายในของโรงเรียนโคกลาพานวิทยา พบวา่ โรงเรยี นนา่ อยู่ ครูสอนดี นักเรียนมีคณุ ภาพ ดงั นี้
3.1 โรงเรียนเป็นสถานศกึ ษาท่มี ีรปู แบบการนเิ ทศภายในของสถานศกึ ษา ประสบ
ผลสาเรจ็
เป็นแบบอย่างได้
3.2 ครวู างแผนการและมที กั ษะและเทคนิคการจัดการเรยี นการสอนทีท่ ันสมยั สามารถ
ใช้ ICT ในการจดั การเรยี นรแู้ ละตรงตามความต้องการของผูเ้ รยี น จดั การเรยี นรู้ได้อย่างมคี ุณภาพ
3.3 นักเรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้
อภปิ รายผลการวิจยั
1. การประเมินความต้องการจาเป็นในการพัฒนาระบบนิเทศภายในของโรงเรียนโคกลาพานวิทยา
พบว่า สภาพปัจจุบันของการดาเนินการนิเทศภายใน อยู่ในระดับน้อยถึงปานกลาง สภาพที่คาดหวังของ
การดาเนินการนิเทศภายใน อยู่ในระดับมากท่ีสุด และโรงเรียนโคกลาพานวิทยามีความต้องการจาเป็น
ในการพัฒนาระบบนิเทศภายใน 3 ลาดับแรก คือ ปฏิบัติการนิเทศภายในโรงเรียนตามแผนการนิเทศของ
สถานศึกษา ร่วมประชุมวางแผนกับคณะครูในโรงเรยี นเพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน ส่งเสริมให้ครู
มีความรู้ความเข้าใจเก่ียวกับการนิเทศภายในและหลักสูตรที่ครูมคี วามต้องการในการพัฒนา ซ่ึงเป็นความ
ต้องการจาเป็นต้องได้รับการพัฒนาตามลาดับ ท้ังนี้อาจเน่ืองมาจากกระบวนการนิเทศภายใน
มีความจาเป็นต้องมีการวางแผนการดาเนินงานไว้และเมื่อวางแผนในการดาเนินการอย่างใด ควรจะ
ดาเนินการตามแผนท่ีวางไว้ เพ่ือให้การดาเนินการระยะต่อไปสามารถดาเนินได้อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้
ครูต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับระบบการนิเทศ และการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตร เพื่อให้การดาเนินการ
มีความถูกต้องและมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับแนวคิดของ เก็จกนก เอ้ือวงศ์ (Urwongse, 2557: 3)
ไดก้ ล่าวถึง องคป์ ระกอบของการนเิ ทศการศกึ ษาไว้วา่ ระบบการนิเทศเป็นองค์ประกอบที่แสดงถงึ กลไกหรือ
กระบวนการในการปฏบิ ัติงานร่วมกันระหว่างผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศ องค์ประกอบของระบบการนิเทศ
ได้แก่ 1) ปัจจัยนาเข้าครอบคลุมเก่ียวกับหลักการนิเทศ บุคลากรการนิเทศ และปัจจัยสนับสนุน
2) กระบวนการนิเทศ 3) ผลผลิตคือ เจตคติความรู้ ความเข้าใจ และทักษะของครู 4) ข้อมูลย้อนกลับ
เพอ่ื การปรับปรุงการนเิ ทศ และ 5) สภาพแวดลอ้ มภายนอกของระบบผบู้ ริหารมีบทบาทการจัดการระบบ
80
วารสารการวิจยั การศกึ ษาขน้ั พืน้ ฐาน
ปที ี่ 2 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม – ธนั วาคม 2565)
การนิเทศโดยกาหนดนโยบายและแผนการนิเทศจัดเตรียมปัจจัยที่เก่ียวข้องและให้ความสาคัญกับ
การดาเนินการตามระบบ นอกจากน้ีความต้องการจาเป็นในการพัฒนาระบบนิเทศยังพบว่า ต้องมี
การกระตุ้นให้ครูเกิดการตื่นตัวอยู่เสมอในด้านวิชาการ เปิดโอกาสให้คณะครูมีส่วนร่วมในการดาเนินงาน
นิเทศภายในโรงเรียน สนับสนุนด้านงบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ แต่งต้ังคณะทางานตามความถนัดและ
เปิดโอกาสให้แสดงความสามารถอย่างเต็มที่ ติดตามประเมินผลและพัฒนาการดาเนินการนิเทศภายใน
โรงเรียน สร้างขวัญและกาลังใจแก่ผู้ปฏิบัติงานด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น ยกย่องชมเชยในที่ประชุม นาผลสาเร็จ
ของการปฏิบัติงานมาแสดงให้ปรากฏแก่บุคคลอื่น และกาหนดนโยบายของการนิเทศภายในโรงเรียน
ซ่ึงสอดคล้องกับงานวิจัยของ ณัฐพงศ์ ทับสุลิ (Thapsul, 2559: 387) ได้ทาการศึกษาวิจัยเรอื่ งการพัฒนา
ระบบการนิเทศภายในโดยใช้ทีมงานเป็นฐานของโรงเรียน สังกัดสานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน
พบว่า องค์ประกอบของระบบการนิเทศภายในโดยใช้ทีมงานเป็นฐานสาหรับโรงเรียนประถมศึกษา
สังกัดสานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน ประกอบด้วย 1) ปัจจัยนาเข้า (Input) มีองค์ประกอบย่อย
ไดแ้ ก่ ผนู้ ิเทศภายใน สมรรถนะผู้นเิ ทศภายใน ผู้ไดร้ ับการนิเทศภายใน ทรัพยากรสนับสนนุ การนิเทศภายใน
สภาพแวดล้อมสนับสนุนการนิเทศภายใน และการจัดการภายในทีมงาน 2) กระบวนการ (Process)
มอี งคป์ ระกอบยอ่ ย ไดแ้ ก่ การสรา้ งทมี งานนิเทศภายในโดยใชท้ ีมงานเป็นฐานการวางแผนการนิเทศภายใน
ร่วมกันกับทีมงาน การกาหนดกลยุทธ์ในการนิเทศภายในร่วมกันกับทีมงาน การดาเนินการนิเทศภายใน
ร่วมกันกับทีมงาน การกากับติดตามการนิเทศภายในร่วมกันกับทีมงาน และการประเมินผลการนิเทศ
ภายในร่วมกันกับทีมงาน 3) ผลผลิต (Output) และ 4) ผลลัพธ์ (Outcome) มีองค์ประกอบย่อย ได้แก่
ความรู้และความสามารถของทีมงานนิเทศภายใน ความรแู้ ละความสามารถในการจัดการเรยี นการสอนของ
ครูผู้ได้รับการนิเทศภายใน พฤติกรรมการจัดการเรยี นการสอนของครูผูไ้ ด้รับการนิเทศภายใน และความพึงพอใจ
ในระบบการนิเทศภายในโดยใช้ทีมงานเป็นฐาน และ 5) ข้อมูลย้อนกลับ (Feedback) มีองค์ประกอบย่อย
ได้แก่ การรายงานผล และการปรบั ปรงุ แกไ้ ขและพฒั นา
2. การพฒั นารูปแบบการนิเทศภายในตามความต้องการจาเปน็ ในการพัฒนาระบบนเิ ทศภายใน
ของโรงเรียนโคกลาพานวิทยา มีการขับเคล่ือนระบบการนิเทศภายในสถานศึกษา ซ่ึงเป็นกลยุทธ์หนึ่ง
ทสี่ าคญั ในการพฒั นาคุณภาพการศกึ ษา โดยใช้รปู แบบ ADVICE MODEL ซึ่งผวู้ ิจัยพัฒนาขนึ้ มกี ระบวนการ
เกิดจากการมีส่วนร่วมของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบ และเป็นไปตามขั้นตอนการดาเนินงานอย่าง
เป็นระบบตามแนวคิดของเดมม่ิง สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา เกิดกระบวนการ 6 ข้ันตอน คือ
การวิเคราะห์สภาพและบริบทของสถานศึกษา (Analysis) การออกแบบและวางแผนการนิเทศ (Design)
การสร้างคณุ ค่า (Value Creation) การยกระดบั ตนเองและการสรา้ งเครอื ข่าย (Improve) การตรวจสอบ
(Check) และ การเผยแพร่ (Expand) ซึ่งเป็นกระบวนการท่ีสาคัญอย่างหนึ่งในการบริหารงานของ
สถานศึกษาท่ีมผี ลต่อการพัฒนาคุณภาพนักเรียน ทง้ั น้เี พราะเปน็ กจิ กรรมท่ีชว่ ยให้ครูผู้สอนสามารถ
81
วารสารการวิจยั การศกึ ษาข้ันพ้นื ฐาน
ปีท่ี 2 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม – ธันวาคม 2565)
ปฏิบัติงานที่ตนเองรับผิดชอบและประสบผลสาเร็จเป็นไปตามเป้าหมายการดาเนินงานท่ีกาหนดไว้
จงึ จาเป็นที่ผู้บริหาร จะตอ้ งอาศัยกระบวนการข้นั ตอนของการนิเทศในการดาเนินงานที่ดี เพ่ือใหก้ ารนิเทศ
ภายในบรรลุวัตถุประสงค์และตรงกับเป้าหมายที่กาหนดไว้ ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของ Harris (1985: 9)
ได้กลา่ วถงึ กระบวนการนิเทศ ประกอบด้วยกระบวนการ 5 ข้นั ตอน ไดแ้ ก่ 1) ขนั้ การวางแผน 2) ข้ันการจัด
องค์การ 3) ขั้นการนาสู่การปฏิบัติ 4) ข้ันการควบคุม และ 5) ขั้นการประเมินผล และสอดคล้องกับ
งานวิจัยของ อดุลย์ วงศ์กอม (Wongkorm, 2552: บทคัดย่อ) ซึ่งได้ศึกษารูปแบบการนิเทศการศึกษาของ
สานักงานเขตพื้นท่ีการศึกษา พบว่า องค์ประกอบของรูปแบบการนิเทศการศึกษาของสานักงานเขตพ้ืนที่
การศึกษาประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การวางแผน 2) ดาเนินการนเิ ทศ 3) ส่ือและเทคโนโลยี
4) ประเมินผล 5) การมีสว่ นร่วม และ 6) ปรับปรงุ และพัฒนา องค์ประกอบรูปแบบการนิเทศการศึกษาของ
สานักงานเขตพื้นที่การศึกษา เป็นรูปแบบท่ีประกอบด้วย องค์ประกอบสาคัญ 6 องค์ประกอบที่มี
ความถูกตอ้ ง เหมาะสม เป็นไปไดแ้ ละสามารถนาไปใช้ประโยชน์ได้
ขอ้ เสนอแนะ
ข้อเสนอแนะในการนาผลการวิจยั ไปใช้
1. ผูบ้ ริหารสถานศึกษาควรมีการวางแผนการนเิ ทศภายในและปฏบิ ตั ติ ามแผนการนเิ ทศ
ของสถานศึกษาอย่างเปน็ ระบบ
2. ผู้บริหารสถานศึกษาควรสนับสนุนใหค้ รูมีส่วนรว่ มในการกาหนดรูปแบบและรว่ มวางแผน
การนิเทศภายในสถานศึกษา
3. ผู้บริหารสถานศกึ ษาสง่ เสริม สนบั สนุน ให้ครไู ดพ้ ฒั นาตนเอง จดั หาส่ือเทคโนโลยี
เพ่ือการดาเนนิ งาน และสรา้ งขวญั และกาลงั ใจแก่ผูป้ ฏิบัตงิ านด้วยวธิ ีการตา่ ง ๆ
4. ดาเนนิ การพฒั นาค่มู อื การนเิ ทศภายในตามรปู แบบการนเิ ทศภายใน เพ่ือใช้เปน็ แนวทาง
ในการดาเนินการในระยะต่อไป
ขอ้ เสนอแนะเพ่ือการทาวิจยั ครงั้ ต่อไป
1. ควรมกี ารประเมินผลการใชร้ ูปแบบการนิเทศภายในสถานศกึ ษา เพอ่ื พิจารณาความเปน็ ประโยชน์
ความเปน็ ไปได้ ความถกู ตอ้ ง และความเหมาะสมของการดาเนินการนเิ ทศภายใน
2. ควรมีการประเมินโครงการนิเทศภายในสถานศึกษาตามแผนปฏิบัติการประจาปี เพื่อศึกษา
ความสาเร็จของการดาเนินการในเชิงปริมาณควบคูก่ บั การพฒั นารปู แบบการนิเทศภายใน
3. ควรมีการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการนิเทศภายในสถานศึกษา เพื่อพิจารณาแก้ปัญหาประเด็น
ทีส่ ่งผลให้ระบบนเิ ทศไมป่ ระสบผลสาเร็จ
82
วารสารการวิจยั การศึกษาข้ันพื้นฐาน
ปที ี่ 2 ฉบบั ที่ 2 (กรกฎาคม – ธนั วาคม 2565)
เอกสารอ้างองิ
กรองทอง จริ เดชากุล. (2550). คูม่ อื การนิเทศภายในโรงเรยี น. กรงุ เทพฯ: ธารอักษร จากดั .
เก็จกนก เอื้อวงศ์. (2557). การนเิ ทศในสถานศกึ ษา. นนทบุรี: มหาวทิ ยาลยั สโุ ขทยั ธรรมาธริ าช,
[ระบบออนไลน]์ . แหล่งท่ีมา https://mystou.files.wordpress.com/2012/02/23503-8-t.pdf.
สืบคน้ ณ วนั ที่ 30 พฤษภาคม 2563.
ณัฐพงศ์ ทับสุลิ. (2559). การพัฒนาระบบการนิเทศภายในโดยใชท้ ีมงานเป็นฐานสาหรบั โรงเรยี น
ประถมศึกษา สังกดั สานักงานคณะกรรมการการศกึ ษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปรญิ ญา
การศึกษาดษุ ฎีบัณฑติ สาขาบรหิ าร และพัฒนาการศกึ ษา, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
มหาสารคาม.
วชั รา เล่าเรยี นด.ี (2556). ศาสตรก์ ารนิเทศการสอนและการโค้ช.พมิ พค์ ร้งั ที่ 12. นครปฐม:
โรงพมิ พ์มหาวทิ ยาลยั ศลิ ปากร วทิ ยาเขตพระราชวังสนามจนั ทร์ นครปฐม.
สุภาภรณ์ กติ ติรัชดานนท.์ (2551). การพฒั นารปู แบบการนเิ ทศการจัดการเรียนการสอนในสถานศกึ ษา
ระดับการศึกษาขนั้ พน้ื ฐาน. วทิ ยานิพนธ์การศกึ ษาดษุ ฎีบณั ฑติ , มหาวทิ ยาลัยนเรศวร. พษิ ณุโลก.
สานกั งานเลขาธิการสภาการศกึ ษา. (2560). แผนการศึกษาแหง่ ชาติ พ.ศ.2560-2579. กรุงเทพฯ:
พรกิ หวานกราฟฟคิ จากดั .
อดลุ ย์ วงศ์ก้อม. (2552). รปู แบบการนเิ ทศการศึกษาของสานักงานเขตพื้นทกี่ ารศึกษา. วิทยานพิ นธ์
ปริญญาดษุ ฎบี ัณฑิต, มหาวิทยาลัยศลิ ปากร. นครปฐม.
Deming in Mycoted. (2004). Plan Do Check Act (PDCA) (Online) Available
http://www.mycoted.com/creativity/techniques/pdca.phpHarris, 30 May 2020.
B.M. (1985). Supervisory Behavior in Education. Englewood Cliffs, New Jersey:
Prentice-Hall.
83
วารสารการวจิ ัยการศกึ ษาขนั้ พ้นื ฐาน
ปีท่ี 2 ฉบบั ท่ี 2 (กรกฎาคม – ธันวาคม 2565)
คณุ ลกั ษณะของผู้บริหารมืออาชพี ในสถานศกึ ษาข้ันพ้นื ฐาน ตามความคดิ เหน็ ของข้าราชการครู
สังกัดสานักงานเขตพ้นื ทกี่ ารศกึ ษาประถมศึกษาศรสี ะเกษ เขต 4
The Opinion of Administrators and Teachers About The Trait of Professional
Administrors in Sisaket Educational Service Area Office 4
ปัญญา ตรีเลศิ พจนก์ ลุ *
Panya Treetertpojkul
บทคัดยอ่
คุณลักษณะของผู้บริหารมืออาชีพในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามความคิดเห็นของข้าราชการครู
สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 4 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะของ
ผู้บริหารมืออาชีพในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามความคิดเห็นของข้าราชการครู สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศกึ ษาศรีสะเกษ เขต 4 และเพ่ือเปรยี บเทียบความคิดเหน็ ของข้าราชการครูต่อคุณลักษณะของผู้บริหาร
มืออาชีพในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 4
จาแนกตามตาแหน่ง ประสบการณใ์ นการทางาน และขนาดสถานศึกษา ประชากรทใี่ ช้การศกึ ษาวิจัยคร้ังนี้ คือ
ขา้ ราชการครูสังกดั สานักงานเขตพ้นื ที่การศกึ ษาประถมศกึ ษาศรสี ะเกษ เขต 4 จานวน 2,265 คน ประกอบด้วย
ผบู้ ริหารสถานศกึ ษา จานวน 231 คน และครู จานวน 2,034 คน กลมุ่ ตวั อย่างที่ใชใ้ นการวิจยั คอื ข้าราชการครู
สังกดั สานักงานเขตพ้ืนทก่ี ารศกึ ษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 4 จานวน 331 คน ประกอบดว้ ย ผูบ้ ริหารสถานศึกษา
จานวน 34 คน และครู จานวน 297 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น โดยใช้ขนาดของสถานศกึ ษาเปน็ ชั้น
และกาหนดขนาดตวั อย่างโดยใช้ตารางสาเร็จรูปของ Krejcie and Morgan เคร่ืองมอื ทีใ่ ชใ้ นการรวบรวมข้อมูล
เป็นแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
ไดแ้ ก่ ร้อยละ ค่าเฉลยี่ สว่ นเบ่ยี งเบนมาตรฐาน การทดสอบคา่ t และการทดสอบค่า F ผลการวจิ ยั พบวา่
*ศึกษานเิ ทศกช์ านาญการพเิ ศษ ดร., สานักงานเขตพน้ื ท่ีการศกึ ษาประถมศกึ ษาอุบลราชธานี เขต 1
Senior Professional Level Supervisor Dr., Ubon Ratchathani Primary Educational Service Area Office 1
84
วารสารการวจิ ยั การศึกษาขั้นพน้ื ฐาน
ปีที่ 2 ฉบบั ที่ 2 (กรกฎาคม – ธันวาคม 2565)
1. คุณลักษณะของผู้บริหารมืออาชีพในสถานศกึ ษาขั้นพื้นฐาน ตามความคิดเห็นของข้าราชการครู
สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 4 โดยภาพรวม ด้านความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติงาน
ในหน้าที่ ด้านทักษะการบริหาร ด้านความเป็นผู้นา ด้านบุคลิกภาพ ด้านมนุษยสัมพันธ์ และด้านคุณธรรม
จรยิ ธรรม อยู่ในระดบั มาก
2. การเปรียบเทียบความคิดเห็นของข้าราชการครูต่อคุณลักษณะของผู้บริหารมืออาชีพ
ในสถานศึกษาข้ันพ้ืนฐาน สงั กัดสานักงานเขตพ้ืนที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 4 จาแนกตามตาแหน่ง
ประสบการณ์ในการทางาน และขนาดสถานศึกษา โดยภาพรวม ด้านความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติงานในหน้าท่ี
ด้านทักษะการบริหาร ด้านความเป็นผู้นา ด้านบุคลิกภาพ ด้านมนุษยสัมพันธ์ ด้านคุณธรรมจริยธรรม
ไม่แตกตา่ งกนั
คาสาคญั : คณุ ลักษณะ / ผู้บรหิ ารมอื อาชีพ
ABSTRACT
Characteristics of professional administrators in basic education institutions According
to the opinions of government teachers Under the Office of Sisaket Primary Educational Service
Area 4 The objective of this study was to study the characteristics of professional administrators
in basic education institutions. According to the opinions of government teachers Under the
Office of Sisaket Primary Educational Service Area 4 and to compare the opinions of government
teachers on the characteristics of professional administrators in basic education institutions.
Under the Office of Sisaket Primary Educational Service Area 4, classified by position work
experience and school size. The population used in this research was 2,265 government
teachers under the Sisaket Primary Educational Service Area Office 4, totaling 2,265 people. It
consists of 231 school administrators and 2,034 teachers. The sample group used in this research
was 331 civil servant teachers under the Office of Sisaket Primary Educational Service Area 4,
consisting of 34 school administrators and 297 teachers. which was obtained by randomly
stratified by using the size of the school as a class and the sample size was determined using
85
วารสารการวจิ ยั การศึกษาขนั้ พืน้ ฐาน
ปีที่ 2 ฉบบั ที่ 2 (กรกฎาคม – ธันวาคม 2565)
the ready-made tables of Krejcie and Morgan. The instrument used to collect the data was a 5-level
estimation questionnaire with a confidence value of .96 for the whole issue. The statistics used
to analyze the data were percentage, mean, standard deviation, t-test, and F-test. The results
of the research found that
1. Characteristics of professional administrators in basic education institutions According
to the opinions of government teachers Under the Office of Sisaket Elementary Education
Service Area 4, as a whole, in terms of knowledge about the performance of duties management
skills Leadership personality human relations and morality and ethics are at a high level
2. Comparison of the opinions of government teachers towards the characteristics of
professional administrators in basic education institutions Under the Office of Sisaket Primary
Educational Service Area 4, classified by position work experience and the size of the educational
institutes overall; management skills Leadership personality human relations morality no different.
Keywords : attribute / professional executive
บทนา
ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศสามารถเชื่อมโยงข่าวสารถึงกันได้อย่างรวดเร็วเกิดเป็น
เครือข่ายที่ไร้พรมแดนเหตุการณ์สาคัญที่เกิดขึ้น ณ ที่หนึ่งย่อมที่จะต้องส่งผลกระทบต่อกันทันทีในวงกว้าง
จากกระแสของพลวตั รดังกลา่ ว ทาใหโ้ ลกเขา้ ส่มู ิติสมั พันธร์ ูปแบบใหม่ ซ่ึงทาใหเ้ กิดความพยายามในการที่จะจัด
ระเบียบโลกภายใต้มาตรฐานอันเป็นที่ยอมรับร่วมกัน ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และการศึกษา
ที่ก่อให้เกิดผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบในด้านของการเป็นโอกาสและเป็นภัยคุกคามในเวลาเดียวกัน
ต่อมาการพัฒนาของทุกประเทศทั่วโลก ภายใตก้ ระแสการเปล่ียนแปลงดังกล่าว เพ่อื เป็นการเพ่ิมขีดความสามารถของ
ประเทศ และเปิดกว้างออกสู่นานาชาติมากขึ้น จึงมีความจาเป็นที่จะต้องปฏิรูประบบราชการ และปฏิรูป
การศึกษา เพื่อพัฒนาศักยภาพของประเทศสู่การแข่งขันบนเวทีนานาชาติ และการพัฒนาที่นาไปสู่ยุคสังคม
เศรษฐกิจฐานความรู้ (Knowledge-based economy society) ที่ประชาชนสามารถที่จะเรยี นรู้ สร้างความรู้
และสามารถที่จะใช้ความรู้ในการผลิตเพื่อการแบ่งปันได้อย่างมีมาตรฐาน ในขณะเดียวกั นก็สามารถรักษา
เอกลกั ษณข์ องความเปน็ ไทยได้ เพราะฉะนนั้ จึงมคี วามจาเป็นท่จี ะตอ้ งมกี ารปฏริ ูประบบการศกึ ษา เพอ่ื เพมิ่ ขดี
86
วารสารการวิจัยการศึกษาข้ันพนื้ ฐาน
ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม – ธนั วาคม 2565)
ความสามารถ และโอกาสในการเรียนรู้เพ่ือการพฒั นาทรัพยากรมนษุ ย์ให้สามารถเรยี นรู้ สืบคน้ ความรู้ จัดเก็บ
ความรู้ และสามารถใช้ความรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ (ศิรชิ ยั กาญจนวาสี, 2555: 1) ในชว่ งการเปล่ียนแปลงตาม
พระราชบัญญัตกิ ารศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ผบู้ รหิ ารสถานศึกษาต้องเปน็ ผูน้ าการเปลย่ี นแปลงในการปฏิรูป
การศกึ ษา เพ่อื พัฒนาผ้เู รียนใหม้ ีคุณภาพและเป็นผู้นาในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ มรี ูปแบบกระบวนการบริหาร
ทีเ่ ปดิ โอกาสให้ทกุ คนมีสว่ นร่วมรับผิดชอบ ผบู้ รหิ ารในยุคปัจจุบนั ต้องเป็นผู้บรหิ ารมอื อาชีพ และขณะเดียวกัน
จาเป็นต้องมวี ิสัยทัศน์ มคี ณุ ธรรม จริยธรรม มีความคิด มีวจิ ารณญาณ และคดิ สร้างงาน (เสรมิ ศักดิ์ วิศาลาภรณ์,
2541: 1) กระทรวงศึกษาธิการได้มีประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่อง เกณฑ์มาตรฐานผู้บริหารการศึกษา
เมื่อวันท่ี 20 เมษายน 2541 เพื่อให้ยึดถอื เป็นแนวทางในการปฏบิ ัติตนและปฏบิ ัตงิ านในหน้าทีไ่ ด้อยา่ งถูกตอ้ ง
เหมาะสมตามภารกิจและอานาจหน้าที่ของผู้บริหารการศึกษา โดยเฉพาะในเรื่องการเป็นผู้นาและสร้างผู้นา
ในระดับผู้บริหารมืออาชีพ ซึ่งสามารถสร้างวัฒนธรรมขององค์กร ด้วยการคิด พูด และปฏิบัติ และจัดระบบ
ใหส้ อดคลอ้ งกับวัฒนธรรม โดยการใหร้ างวัลแก่ผู้ทางานได้สาเร็จ จนนาไปสกู่ ารพฒั นาตนเอง คิดได้เอง ตัดสิน
ไดเ้ อง พฒั นาได้เองของผู้ร่วมงานทุกคน ผูบ้ รหิ ารมืออาชพี จงึ ตอ้ งแสดงออกอย่างชัดเจน และสม่าเสมอเกี่ยวกับ
วัฒนธรรมขององค์กร เพื่อให้ผู้ร่วมงานมีความมั่นใจในการปฏิบัติ จนสามารถเลือกการกระทาที่สอดคล้องกับ
วัฒนธรรม ผู้บริหารจึงต้องสร้างความรู้สึกประสบผลสาเร็จให้แก่บุคลากรแต่ละคนและทุกคน จนเกิดภาพ
ความเปน็ ผู้นาในทกุ ระดบั นาไปส่อู งคก์ รแหง่ การเรยี นรอู้ ย่างแทจ้ รงิ
ดังนน้ั ผ้บู ริหารสถานศกึ ษาจาเป็นตอ้ งมีคณุ ลกั ษณะ มคี วามรู้ ความสามารถ มวี สิ ยั ทัศน์มีคุณธรรม
จริยธรรม มีความเป็นผู้นา โดยเฉพาะเป็นผู้นาทางด้านวิชาการ มีความสามารถทางการบริหาร ตามพระราชบัญญัติ
การศึกษาแหง่ ชาติ พ.ศ. 2542 และทแ่ี กไ้ ขเพ่มิ เติม (ฉบับท่ี 2) พ.ศ. 2545 มาตรา 53กาหนดใหม้ ีองคก์ รวิชาชีพ
ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษาให้มีฐานะเป็นองค์กรอิสระภายใต้การบริหารของ สภาวิชาชีพ
มีอานาจหน้าที่กาหนดมาตรฐานและจรรยาบรรณของวิชาชีพ ออกและเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
รวมทง้ั การพัฒนาวิชาชพี ครูผูบ้ ริหารสถานศึกษา และผู้บริหารการศกึ ษา ดว้ ยหลักการดังกล่าวขา้ งตน้ ผู้บริหาร
สถานศึกษาต้องเป็นผู้บริหารการศึกษามืออาชีพ จึงจะบริหารและจัดการศึกษาประสบความสาเร็จตามจุดมุ่งหมาย
ทก่ี าหนดไว้ ซึ่งหนา้ ที่ความรับผดิ ชอบของผ้บู ริหารการศึกษาและผ้บู ริหารสถานศกึ ษาตามแนวปฏิรูปการศึกษา
ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 มีหลักการจัด
การศึกษาใหเ้ ป็นไปตามจุดมุ่งหมาย หลักการแนวทาง รปู แบบการจดั การศึกษา หลกั สูตร และกระบวนการ การ
จัดการเรียนการสอน การบริหารการศึกษาให้เป็นไปตามแนวทางการบริหารที่กาหนดไว้ในพระราชบัญญัติ
การศกึ ษาแหง่ ชาติ พ.ศ. 2542 โดยเน้นการบริหารแบบมสี ่วนร่วมของหลายฝา่ ย รวมทงั้ บดิ า มารดา ผปู้ กครอง
87
วารสารการวจิ ยั การศกึ ษาขนั้ พ้ืนฐาน
ปที ี่ 2 ฉบับท่ี 2 (กรกฎาคม – ธันวาคม 2565)
องคก์ รของรฐั และเอกชน ตลอดทง้ั ชมรมสมาคมในสงั คม สานกั งานปฏิรูปการศกึ ษาได้สรุปผลที่คาดว่าจะได้รับ
จากการปฏิรูปการศึกษา เพื่อนาไปสู่การพัฒนาการท่ีชัดเจนในสงั คมไทยประการ ดงั นี้ 1) จะเพิม่ คุณภาพของคนไทย
เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ 2) จะทาให้เกิดความเสมอภาคและสิทธิทางการศึกษา 3) จะทาให้สังคม
เกิดศรัทธาต่อความสามารถของครแู ละบุคลากรทางการศึกษา 4) จะเพิ่มความเข้มแข็งให้สถานศกึ ษา ซึ่งเปน็
กลไกหลกั ของการเปล่ียนแปลง 5) จะทาให้เกิดการกระจายอานาจในการบริหารการศึกษาสู่เขตพนื้ ที่การศึกษา
สถานศึกษาและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 6) จะทาให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการศึกษา
ตามหลักการคนทั้งมวลเพื่อการศึกษา (All for education) จะทาให้เกิดเอกภาพ ประสิทธิภาพและประสิทธิผล
ของระบบการบริหารการศึกษา 7) จะทาให้ชุมชนเข้มแข็งและสังคมก้าวหน้า 8) จะส่งผลให้เกิดการพัฒนา
ทางการเมืองและจะส่งผลให้กระบวนการปฏริ ูปการเมอื งสัมฤทธิ์ผลได้ (สานักงานปฏิรูปการศึกษา, 2544: 5)
โดยผู้บริหารสถานศึกษาเป็นบุคลากรวิชาชีพที่รับผิดชอบการบริหารสถานศึกษาในยุคโลกาภิวัตน์นั้น
การบริหารภารกิจใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสาธารณะต้องอาศัยผู้บริหารมืออาชีพจึงจะทาให้การดาเนินการ
เป็นไปด้วยดีและบรรลุจุดหมายที่กาหนดไว้ เพราะการเปล่ียนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคมและความเจริญก้าวหน้า
ทางเทคโนโลยีเป็นไปอย่างรวดเร็วและไร้พรมแดนการบรหิ ารจดั การศึกษามีความจาเป็นที่จะต้องปรับเปลี่ยน
แนวทางในการดาเนินการที่จะทาให้การศึกษาบรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่ได้กาหนดไว้ ซึ่งผู้บริหาร
สถานศึกษาจะตอ้ งมคี วามเป็นมืออาชีพในฐานะเป็นบคุ ลากรหลักทีส่ าคัญของสถานศึกษาเป็นผู้นาทางวิชาชีพ
ซึ่งจะเป็นแนวทางในการกาหนดนโยบาย วางแผนการปฏิบัติงาน การพัฒนาตนเองของบุคลากรและ
ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ซึ่งจะส่งผลให้การจัดการศึกษามีคุณภาพมาตรฐานสอดคล้องกบั ความต้องการของผูเ้ รียน
ชุมชน สังคม และบรรลผุ ลตามเป้าหมายของการจัดการศึกษาทีก่ าหนดไวอ้ ย่างมปี ระสทิ ธภิ าพตอ่ ไป
วตั ถุประสงค์การวิจยั
1. เพื่อศึกษาคุณลักษณะของผู้บริหารมืออาชีพในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามความคิดเห็นของ
ข้าราชการครู สงั กดั สานกั งานเขตพ้ืนท่กี ารศกึ ษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 4
2. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของข้าราชการครู ตอ่ คุณลกั ษณะของผู้บริหารมืออาชีพในสถานศึกษา
ขน้ั พ้นื ฐาน สงั กัดสานักงานเขตพน้ื ทีก่ ารศกึ ษาประถมศกึ ษาศรีสะเกษ เขต 4 จาแนกตามตาแหน่ง ประสบการณ์ใน
การทางาน ขนาดสถานศึกษา
88
วารสารการวิจัยการศึกษาขนั้ พืน้ ฐาน
ปีท่ี 2 ฉบบั ท่ี 2 (กรกฎาคม – ธันวาคม 2565)
ขอบเขตของการวจิ ยั
ประชากรที่ใช้การศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ ข้าราชการครู สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
ศรสี ะเกษ เขต 4 จานวน 2,265 คน ประกอบดว้ ย ผู้บรหิ ารสถานศกึ ษา จานวน 231 คน และ ครู จานวน 2,034 คน
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ข้าราชการครู สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
ศรสี ะเกษ เขต 4 จานวน 331 คน ประกอบด้วย ผูบ้ รหิ ารสถานศกึ ษา จานวน 34 คน และ ครู จานวน 297 คน
ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น โดยใช้ขนาดของสถานศึกษาเป็นชั้นและกาหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้ตาราง
สาเรจ็ รูปของ Krejcie and Morgan (1970: 608-610)
ตัวแปรทีศ่ ึกษา
ตวั แปรอิสระ ไดแ้ ก่
1. ตาแหนง่ จาแนกเปน็
- ผู้บรหิ ารสถานศกึ ษา
- ครู
2. ประสบการณ์ในการทางาน จาแนกเป็น
- ตา่ กว่า 10 ปี
- 10-15 ปี
- มากกวา่ 15 ปี
3. ขนาดของสถานศึกษา
- ขนาดเล็ก (จานวนนกั เรยี นไม่เกิน 120 คน)
- ขนาดกลาง (จานวนนักเรยี น 121- 300 คน)
- ขนาดใหญ่ (จานวนนกั เรยี น 301 คนขน้ึ ไป)
ตัวแปรตาม ได้แก่ คุณลักษณะของผู้บริหารมืออาชีพตามความคิดเห็นของข้าราชการครูในสถานศึกษา
ขน้ั พน้ื ฐาน สงั กัดสานักงานเขตพ้นื ทีก่ ารศกึ ษาประถมศกึ ษาศรสี ะเกษ เขต 4 แบง่ ออกเปน็ 6 ดา้ น ดังนี้
1. ดา้ นความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัตงิ านในหนา้ ท่ี
2. ดา้ นทักษะการบรหิ าร
3. ดา้ นความเป็นผนู้ า
4. ด้านบคุ ลิกภาพ
5. ด้านมนุษยสมั พนั ธ์
6. ด้านคุณธรรม จรยิ ธรรม
89
วารสารการวจิ ัยการศึกษาขนั้ พน้ื ฐาน
ปที ่ี 2 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม – ธนั วาคม 2565)
ประโยชนข์ องการวิจยั
1. ทาให้ทราบคุณลักษณะของผู้บริหารมืออาชีพของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตาม
ความคิดเห็นของข้าราชการครู สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 4 ซึ่งเป็น
ประโยชน์ต่อการเสริมสรา้ งในเชงิ วชิ าการทางการบริหารการศึกษาและสามารถนาไปประยุกต์ใชใ้ นการพัฒนา
ผู้บรหิ ารสถานศกึ ษา โดยเฉพาะในสานักงานเขตพืน้ ท่ีการศึกษาประถมศึกษาศรสี ะเกษ เขต 4
2. เกิดประโยชน์ในเชิงวิชาการ ได้หลักและวิธีการพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษา เป็นการเพิ่มพูน
องค์ความรู้ทางการบริหารงานพัฒนาบุคลากร (Staff Development) ซึ่งเป็นส่วนสาคัญของการบริหารการศึกษา
เพือ่ จะได้เปน็ พืน้ ฐานและแนวทางในการศึกษาวจิ ยั อยา่ งกวา้ งขวางตอ่ ไป
3. ได้แนวทางสาหรับการพัฒนาสู่ความเป็นผู้บริหารมืออาชีพ เพื่อนาไปใช้พัฒนาบุคลากรหรือ
นาไปประกอบการจัดทาแผนพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
ศรีสะเกษ เขต 4 ใหม้ ีประสทิ ธิภาพมากขน้ึ
การดาเนนิ การวจิ ยั
1. เคร่อื งมือทใ่ี ช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
- แบบสอบถามเรื่องคุณลักษณะของผู้บริหารมืออาชีพตามความคิดเห็นของข้าราชการครู
ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสานกั งานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรสี ะเกษ เขต 4 เป็นแบบสอบถาม
ประมาณค่า 5 ระดบั จานวน 50 ข้อ
2. การสร้างและหาคุณภาพของเครื่องมือ ศึกษาแนวความคิด ทฤษฎี เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
กับการสร้างแบบสอบถาม ตามกรอบเนื้อหาเสนอต่อผู้เชี่ยวชาญ เพื่อตรวจสอบค่าดัชนีความสอดคล้องเชิงเนื้อหา
ภาษา และความถูกต้อง (IOC) นามาวิเคราะห์โดยใช้หลักเกณฑ์ IOC ตั้งแต่ 0.5 ขึ้นไป นาแบบสอบถาม
ที่ปรับปรุงตามคาแนะนาของผู้เชี่ยวชาญไปทดลองใช้ (Try Out) กับกลุ่มที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง จานวน 50 ชุด
นามาวเิ คราะหค์ ่าความเชื่อม่นั ของแบบสอบถาม โดยใช้สูตรสมั ประสิทธ์ิแอลฟาของครอนบคั มคี ่าความเชื่อม่ัน
ท้ังฉบบั เท่ากับ 0.96
3. การเกบ็ รวบรวมข้อมูล
- ขอความรว่ มมอื จากผูบ้ ริหารสถานศกึ ษาและครูผู้สอนทเ่ี ปน็ กลมุ่ ตวั อยา่ ง จานวน 331 คน
4. การวิเคราะห์และการนาเสนอข้อมูล การวิจัยครั้งน้ี ผู้วิจัยได้ทาการวิเคราะห์ข้อมูลด้วย
โปรแกรมสาเรจ็ รูป นาเสนอในรปู แบบการบรรยายเชงิ พรรณนา
90
วารสารการวจิ ัยการศึกษาขน้ั พื้นฐาน
ปที ี่ 2 ฉบับท่ี 2 (กรกฎาคม – ธันวาคม 2565)
5. สถติ ทิ ี่ใชใ้ นการวิเคราะห์ข้อมูล สถิตทิ ่ใี ช้ในการวิเคราะหข์ อ้ มูล ประกอบดว้ ย ร้อยละ, ค่าเฉล่ีย,
สว่ นเบยี่ งเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t การทดสอบคา่ F และการวเิ คราะห์ข้อมลู เชิงเนื้อหา
สรุปผลการวจิ ัย
การวจิ ยั เรื่องคุณลกั ษณะของผบู้ ริหารมืออาชพี ในสถานศกึ ษาขนั้ พืน้ ฐาน ตามความคิดเหน็ ของ
ข้าราชการครู สงั กัดสานกั งานเขตพ้ืนทีก่ ารศกึ ษาประถมศกึ ษาศรีสะเกษ เขต 4 สามารถสรุปผลการวิจัยตาม
วัตถปุ ระสงคข์ องการวิจยั ดังน้ี
1. คุณลกั ษณะของผู้บริหารมืออาชพี ในสถานศึกษาขน้ั พน้ื ฐาน ตามความคิดเห็นของข้าราชการครู
สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 4 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณา
เป็นรายดา้ น
1) ด้านความเปน็ ผนู้ า มีค่าเฉลีย่ สงู สุด อยใู่ นระดับมาก โดยผบู้ รหิ ารมีความคดิ ริเรมิ่ ในการนาแนวคิด
หลักการใหม่ ๆ มาใช้ในการกาหนดวิสัยทัศน์ และนโยบายในการจัดการศึกษา และผูบ้ ริหารสง่ เสริมให้ครพู ฒั นา
ศกั ยภาพของตนเองอย่างต่อเนอ่ื ง 2) ด้านทกั ษะการบรหิ าร อยใู่ นระดบั มาก โดยผูบ้ ริหารมีความสามารถในการ
วางแผนกลยุทธ์ของสถานศึกษา และผู้บริหารใช้การบริหารแบบมีส่วนร่วมในการบริหารงานโรงเรียน
3) ดา้ นความร้เู กี่ยวกับการปฏิบตั ิงานในหน้าที่ อยใู่ นระดบั มาก โดยผูบ้ ริหารใชว้ ิธีท่ีหลากหลายเพ่ือปรับเปลี่ยน
วิธีการทางานของบุคลากรให้มีประสิทธิภาพ และผู้บริหารนาเทคนิคการบริหารจัดการแนวใหม่ มาใช้เพื่อรองรับ
การเปลี่ยนแปลง 4) ด้านมนุษยสัมพันธ์ อยู่ในระดับมาก โดยผู้บริหารสามารถสร้างความเข้าใจบทบาทและหน้าที่
ให้กบั คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพืน้ ฐานได้อยา่ งถูกตอ้ ง ชัดเจน 5) ด้านคุณธรรม จรยิ ธรรม อยใู่ นระดับมาก
โดยผู้บริหารมอบหมายงานตรงกับความรู้ความสามารถเหมาะสม และยุติธรรม และผู้บริหารมีความซื่อสัตย์
สุจริต และเสียสละเพื่องานในหน้าที่ 6) ด้านบุคลิกภาพ อยู่ในระดับมาก โดยผู้บริหารมีสุขภาพจิตดี มีอารมณ์ขัน
มองโลกในแงด่ ี และผูบ้ ริหารยืดหยุ่นและสามารถปรับตวั ใหเ้ ข้ากับสถานการณไ์ ดด้ ี ตามลาดบั
2. การเปรียบเทียบความคิดเห็นของข้าราชการครูต่อคุณลักษณะของผู้บริหารมืออาชีพในสถานศึกษา
ขั้นพื้นฐาน สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 4 จาแนกตามตาแหน่ง ประสบการณ์
ในการทางาน ขนาดสถานศกึ ษา ดังนี้
2.1 ข้าราชการครูที่มีตาแหน่งต่างกันมีความคิดเห็นต่อคุณลักษณะของผู้บริหารมืออาชีพ
ในสถานศึกษาขนั้ พื้นฐาน สงั กัดสานกั งานเขตพน้ื ทก่ี ารศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 4 โดยภาพรวมและ
91
วารสารการวิจัยการศึกษาขน้ั พนื้ ฐาน
ปีท่ี 2 ฉบบั ท่ี 2 (กรกฎาคม – ธันวาคม 2565)
รายด้านแต่ละด้านคือ ด้านความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติงานในหน้าที่ ด้านทักษะการบริหาร ด้านความเป็นผู้นา
ดา้ นบุคลิกภาพ ด้านมนุษยสัมพนั ธ์ ด้านคุณธรรม จรยิ ธรรม ไม่แตกต่างกนั
2.2 ข้าราชการครูที่มีประสบการณ์ในการทางานต่างกันมีความคิดเห็นต่อคุณลักษณะของ
ผู้บริหารมืออาชีพในสถานศึกษาขั้นพืน้ ฐาน สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศกึ ษาศรีสะเกษ เขต 4
โดยภาพรวมและรายด้านแต่ละด้านคือ ด้านความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติงานในหน้าที่ ด้านทักษะการบริหาร
ด้านความเปน็ ผู้นา ดา้ นบุคลกิ ภาพ ด้านมนุษยสมั พันธ์ ด้านคณุ ธรรม จรยิ ธรรม ไม่แตกต่างกัน
2.3 ข้าราชการครูท่ีปฏบิ ตั ิหน้าทีใ่ นขนาดสถานศกึ ษาทีต่ ่างกนั มคี วามคดิ เหน็ ตอ่ คณุ ลกั ษณะของ
ผู้บริหารมืออาชีพในสถานศึกษาข้ันพื้นฐาน สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 4
โดยภาพรวมและรายด้านแต่ละด้านคือ ด้านความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติงานในหน้าที่ ด้านทักษะการบริหาร
ด้านความเป็นผู้นา ดา้ นบคุ ลกิ ภาพ ด้านมนษุ ยสมั พันธ์ ด้านคณุ ธรรม จริยธรรม ไมแ่ ตกต่างกนั
อภปิ รายผลการวจิ ัย
การวิจัยเรื่องคุณลักษณะของผู้บริหารมืออาชีพในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามความคิดเห็นของ
ข้าราชการครู สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 4 มีประเด็นที่สามารถนามา
อภิปรายผลการวิจัยดังนี้
1. คณุ ลกั ษณะของผู้บริหารมืออาชีพในสถานศึกษาขน้ั พ้นื ฐาน ตามความคดิ เห็นของข้าราชการครู
สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 4 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณา
เป็นรายด้านทกุ ดา้ นอย่ใู นระดบั มาก โดยมีด้านความเป็นผ้นู า มคี า่ เฉล่ยี สูงสดุ ด้านทกั ษะการบริหาร ด้านความรู้
เกี่ยวกับการปฏิบัติงานในหน้าที่ ด้านมนุษยสัมพันธ์ ด้านคุณธรรม จริยธรรม และด้านบุคลิกภาพ ตามลาดับ
ซึ่งอาจเป็นเพราะวา่ สานักงานคณะกรรมการการศึกษาข้ันพ้ืนฐานมีนโยบายให้มีการพัฒนาทักษะการบริหาร
ของผู้บริหารในโรงเรียน โดยมีวัตถุประสงค์เพ่ือพัฒนาทักษะความสามารถ เจตคติ ด้านการบริหารสาหรับ
ผบู้ ริหารโรงเรียน โดยผบู้ รหิ ารท่ีจะเข้าสู่ตาแหนง่ ต้องมกี ารสอบคัดเลือก เพ่ือให้ได้คนที่มีความรู้ ความสามารถ
ในการปฏิบัติงาน ต้องผ่านการอบรมหลักสูตรผู้บริหารเพ่ือเข้าสู่ตาแหน่งผู้อานวยการโรงเรียน และต้องผ่าน
เกณฑ์ตามที่กระทรวงศึกษาธิการกาหนด ซึ่งในหลักสูตรประกอบด้วยภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ เป็นการเสริมสร้าง
ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ในการบริหารงาน ท้ังดา้ นบุคลิกภาพ ดา้ นคุณธรรม จริยธรรม ด้านความรู้
ความสามารถด้านมนุษยสัมพันธ์ และด้านความเป็นผู้นา นอกจากน้ีในปัจจุบันผู้บริหารไม่ว่าจะอยู่องค์กรใด
92