The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

926 ชาดกศิษย์-อาจารย์114-3-62 เดี่ยว

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by ICT Banjongrat, 2021-06-16 23:35:03

926 ชาดกศิษย์-อาจารย์114-3-62 เดี่ยว

926 ชาดกศิษย์-อาจารย์114-3-62 เดี่ยว

บุคคลควรเรยี นวชิ าท่คี วรเรยี นทกุ อย่าง
ไมว่ ่าจะเลว ดี หรอื ปานกลาง
บคุ คลควรร้ปู ระโยชน์ของวชิ าทเี่ รียนทั้งหมด
แตไ่ มค่ วรประกอบใช้ท้งั หมด
ศลิ ปะทศี่ ึกษาแล้วน�ำประโยชนม์ าใหใ้ นเวลาใด
แมเ้ วลาเชน่ นัน้ ย่อมจะมีแท.้
ในกาลต่อมา เมื่อพระบิดาสวรรคตแล้ว พระกุมาร
กไ็ ดด้ ำ� รงอยูใ่ นราชสมบตั ิ.
ประชมุ ชาดก
อาจารยท์ ศิ าปาโมกขใ์ นครัง้ นัน้ ได้เปน็ เราตถาคต.

50 ศิษยอ์ าจารย์

www.kalyanamitra.org

ศิษย์ด้อื ไม่จ�ำคำ� เตือนของอาจารย์

๖) เวนสาขชาดก๑๙

ว่าด้วย ทำ� ดไี ด้ดี ทำ� ช่ัวได้ชั่ว

สถานที่ตรัส เภสกฬาวัน ต.สงุ สมุ ารคีรี
ในแขวงภคั คชนบท
ทรงปรารภ โพธิราชกมุ าร
สาเหตุทีต่ รัส

ครัง้ นน้ั พระโอรสของพระเจา้ อเุ ทนนามวา่ ‘โพธริ าช
กุมาร’ ประทับอยู่ ณ สุงสุมารคีรี รับส่ังให้เรียก ช่างไม้
ผชู้ ำ� นาญศลิ ปะ คนหนง่ึ มาใหส้ รา้ งปราสาทชอ่ื ‘โกกนทุ ’๒๐
โดยสรา้ งไม่ใหเ้ หมอื นกบั พระราชาอน่ื ๆ

ครน้ั ให้สร้างเสร็จแลว้ มพี ระทัยตระหนวี่ า่
‘ช่างไม้คนน้ีจะพึงสร้างปราสาทเช่นน้ีแก่พระราชา
องค์อื่น’ จงึ ใหค้ วกั นัยน์ตาทัง้ สองข้างของชา่ งไม้นน้ั เสยี

๑๙ ต้นฉบับ ชาตกัฏฐกถา อรรถกถาชาดก จตุกกนิบาตชาดก,
ล.๕๘, น.๗๒๑, มมร.
๒๐ ชอื่ ของดอกปทุม

๖. เวนสาข 51

www.kalyanamitra.org

52 ศิษยอ์ าจารย์

www.kalyanamitra.org

ความทพี่ ระโพธริ าชกมุ ารใหค้ วกั นยั นต์ าของชา่ งไมน้ นั้
กเ็ กิดปรากฏ ในหมภู่ ิกษสุ งฆ์ เพราะฉะนัน้ ภิกษทุ ั้งหลาย
จงึ นั่งสนทนากนั ในโรงธรรมสภาว่า

“ได้ยินว่า ‘โพธิราชกุมารรับส่ังให้ควักนัยน์ตา
ท้ังสองข้างของนายช่างไม้’ โอ ! ช่างกักขฬะ หยาบช้า
สาหสั นกั .”

พระศาสดาเสด็จมาแล้วตรสั ถามวา่
“ภิกษุท้ังหลาย บัดนี้ พวกเธอน่ังสนทนากันเร่ือง
อะไร ?”
เมื่อภิกษุเหล่าน้ันกราบทูลให้ทรงทราบถึงเรื่องท่ี
สนทนากัน จงึ ตรสั วา่
“ดกู อ่ นภกิ ษทุ งั้ หลาย มใิ ชบ่ ดั นเี้ ทา่ นน้ั แมใ้ นกาลกอ่ น
โพธริ าชกมุ ารนก้ี เ็ ปน็ ฃผกู้ กั ขฬะ หยาบชา้ สาหสั เหมอื นกนั
และในบดั นี้เท่าน้นั ยงั ไม่สนิ้ เชงิ
แม้ในกาลก่อน โพธิราชกุมารนี้ก็ให้ควักพระเนตร
ของกษัตริย์ ๑,๐๐๐ องค์ ให้ปลงพระชนม์ท�ำพลีกรรม
ด้วยเน้ือของกษตั ริย์ ๑,๐๐๐ องค์นั้น.”
แล้วทรงน�ำเอาเรอื่ งในอดีตมาสาธก ดังตอ่ ไปนี้

๖. เวนสาข 53

www.kalyanamitra.org

เนอ้ื หาชาดก
ในอดตี กาล เมอื่ พระเจา้ พรหมทตั ครองราชสมบตั อิ ยู่

ในนครพาราณสี พระโพธสิ ตั วไ์ ดเ้ ปน็ อาจารยท์ ศิ าปาโมกข์
อยู่ในเมืองตักกสิลา ขัตติยมาณพและพราหมณ์มาณพ
ในพนื้ ชมพทู วปี พากนั เรยี นศลิ ปะในสำ� นกั ของพระโพธสิ ตั ว์
นน้ั เอง

แมพ้ ระโอรสของพระเจา้ พาราณสี นามวา่ ‘พรหมทตั -
กมุ าร’ กเ็ รยี นพระเวท ทง้ั ๓ ในสำ� นกั ของพระโพธสิ ตั วน์ นั้

แต่ตามปกติ พรหมทัตกุมารน้ันได้เป็นผู้กักขฬะ
หยาบช้า ทารุณ พระโพธิสัตว์รู้ว่า ‘พรหมทัตกุมารนั้น
เปน็ ผู้กักขฬะ หยาบชา้ ทารุณ ด้วยอำ� นาจวชิ าดูอวัยวะ’
ไดก้ ล่าวสอนวา่

“ดูก่อนพ่อ เธอเป็นผู้กักขฬะ หยาบช้า ทารุณ
ความเป็นใหญ่ท่ีได้ด้วยความหยาบช้า ย่อมไม่ด�ำรง
อยู่นาน เม่ือความเป็นใหญ่พินาศไป คนผู้หยาบช้านั้น
ย่อมไม่ได้ที่พึ่งเหมือนคนเรือแตกไม่ได้ท่ีพึ่งพ�ำนัก
ในสมทุ รฉะนน้ั เพราะฉะนนั้ เธออยา่ ไดเ้ ปน็ เชน่ นน้ั .” ดงั น้ี

จึงได้กล่าวคาถา ๒ คาถาว่า :
ดูกรพรหมทัตตกุมาร ความเกษมส�ำราญ (๑)
ภกิ ษาหารหาไดง้ า่ ย (๑) และความเปน็ ผสู้ ำ� ราญกายนี้ (๑)
ไมพ่ ึงมตี ลอดกาลเป็นนิตย์

54 ศิษยอ์ าจารย์

www.kalyanamitra.org

เม่ือประโยชน์ของตนส้ินไป ท่านอย่าเป็นผู้ล่มจม
เสียเลย เหมือนเรือแตก คนไมไ่ ดท้ ่ีพง่ึ อาศัย ตอ้ งจมอยูใ่ น
ทา่ มกลางทะเล ฉะน้ัน.

บุคคลท�ำกรรมใด ยอ่ มมองเหน็ กรรมน้นั ในตน ผ้ทู ำ�
กรรมดี ย่อมได้ผลดี

ผู้ท�ำกรรมช่ัว ย่อมได้ผลช่ัว บุคคลหว่านพืชเช่นใด
ย่อมได้ผลเช่นนัน้ .

พรหมทัตกุมารน้ัน ไหว้อาจารย์แล้วไปถึงนคร
พาราณสี แสดงศลิ ปะแกพ่ ระบดิ า แลว้ ดำ� รงอยใู่ นตำ� แหนง่
อุปราช

เมื่อพระบิดาสวรรคตแล้ว ก็ได้เสวยราชสมบัติ
ทา้ วเธอมปี ุโรหติ ชือ่ วา่ ‘ปิงคยิ ะ’ เป็นคนกระด้างหยาบชา้
เพราะความโลภในยศ

เขาจึงคิดวา่
‘ถา้ กระไร เรายุใหพ้ ระราชาน้ี จบั พระราชาทุกองค์
ในชมพูทวีปทั้งส้ิน เม่ือเป็นอย่างนี้ พระราชาน้ีจักเป็น
พระราชาแต่พระองค์เดียว แม้เราก็จะได้เป็นปุโรหิตแต่
ผู้เดียว’
ปุโรหิตนั้นท�ำให้พระราชานั้นเชื่อถือถ้อยค�ำของตน
พระราชาจึงยกกองทัพใหญ่ออกล้อมนครของพระราชา

๖. เวนสาข 55

www.kalyanamitra.org

องคห์ นงึ่ แลว้ จบั พระราชาองคน์ น้ั พระราชานน้ั ยดึ ราชสมบตั ิ
ในชมพทู วปี ทง้ั สิ้นดว้ ยอบุ ายนน้ี ั่นแหละ

ต่อมาพระเจ้าพาราณสีซึ่งห้อมล้อมด้วยพระราชา
๑,๐๐๐ องค์ กย็ กกองทพั ไปดว้ ยหวงั วา่ ‘จกั ยึดราชสมบัติ
ในนครตักกสลิ า’

ในครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ก็ปฏิสังขรณ์ซ่อมแซม
พระนครกระท�ำให้เปน็ นคร ทม่ี นั่ คงแขง็ แรง คนอน่ื กำ� จดั
ไม่ได้

ฝ่ายพระเจ้าพาราณสีเมื่อยกทัพมาถึงก็ให้พักทัพ
โดยให้สร้างที่พักของพระองค์อยู่ที่โคนต้นไทรใหญ่
รมิ แมน่ ำ้� คงคา ทา้ วเธอแมจ้ ะพาเอาพระราชา ๑,๐๐๐ องค์
ในพ้ืนชมพูทวีปออกรบอยู่ ก็ไม่อาจยึดเมืองตักกสิลาได้
จงึ ตรัสถามปุโรหติ วา่

“ทา่ นอาจารย์ พวกเรามาพรอ้ มกับพระราชาเหล่านี้
ไมส่ ามารถยดึ เมืองตกั กสลิ าได้ควรจะทำ� อย่างไรดี ?”

ปุโรหติ กราบทูลว่า
“ขา้ แต่มหาราชเจ้า เราท้ังหลายจงควักนัยน์ตาของ
พระราชา ๑,๐๐๐ พระองคแ์ ล้วปลงพระชนมเ์ สีย ผา่ ท้อง
ถือเอาเน้ืออร่อย ๕ ชนิด กระท�ำพลีกรรมแก่เทวดา
ผู้บังเกิดอยู่ที่ต้นไทรน้ี แล้ววงรอบต้นไทรด้วยเกลียว

56 ศิษยอ์ าจารย์

www.kalyanamitra.org

พระอันตะ๒๑ แล้วเจิมด้วยโลหิต ชัยชนะจักมีแก่พวกเรา
อยา่ งเรว็ พลันทเี ดยี ว ดว้ ยอุบายอยา่ งนี”้

พระราชาทรงรบั ว่า “ดลี ะ”
แลว้ วางคนปลำ้� ผมู้ กี ำ� ลงั มากไวภ้ ายในทพี่ กั ใหเ้ รยี ก
พระราชามาทีละองค์ แลว้ ท�ำใหส้ ลบดว้ ยการบบี รดั แลว้
ควกั เอานยั นต์ า แลว้ ฆา่ ใหต้ าย เอาแตเ่ นอื้ ไว้ ลอยซากศพ
ไปในแม่น้�ำคงคา ให้ท�ำพลีกรรมมีประการดังกล่าวแล้ว
ให้ตกี ลองบวงสรวงแลว้ เสดจ็ ไปรบ

ครั้งนั้น ยักษ์ตนหนึ่งชื่อ ‘อัชชิสกตะ’ มาควัก
พระเนตรเบื้องขวาของพระเจ้าพาราณสีนน้ั แลว้ ก็ไป

เวทนาใหญ่หลวงเกิดขึ้นแล้ว ท้าวเธอได้รับเวทนา
จึงเสดจ็ ไปบรรทมหงายบนอาสนะที่เขาปลู าดไว้ ณ โคน
ต้นไทร

ขณะนั้น แร้งตัวหนึ่ง คาบเอากระดูกช้ินหน่ึงซึ่งมี
ปลายคมกริบ มาจับอยู่บนยอดไม้ กินเนื้อหมดแล้วท้ิง
กระดูกลงมา ปลายกระดูกลอยมาตกลงที่พระเนตรซ้าย
ของพระราชา ท�ำพระเนตรให้แตกไปเหมือนหลาวเหล็ก
แทงฉะน้นั

๒๑ อนั ตะ ไสใ้ หญ่

๖. เวนสาข 57

www.kalyanamitra.org

ขณะนั้น ท้าวเธอจึงนึกได้ถึงถ้อยค�ำของพระโพธิ-
สัตว์ พระองคจ์ งึ ทรงบน่ เพ้อวา่

“อาจารย์ของเรากล่าวไว้ว่า สัตว์เหล่านี้ ย่อมเสวย
วบิ ากอนั สมควรแกก่ รรม เหมอื นบคุ คลเสวยผลอนั สมควร
แกพ่ ืช” ดังนี้ เห็นจะเป็นเหตนุ ี้จึงกลา่ วไว้

แล้วไดก้ ล่าวคาถา ๒ คาถาว่า :
ปาจารยใ์ นปางก่อนไดก้ ล่าวค�ำใดไว้วา่
ทา่ นอยา่ ไดท้ ำ� บาปกรรมทท่ี ำ� แลว้ จะทำ� ใหเ้ ดอื ดรอ้ น
ในภายหลงั เลย คำ� นัน้ เป็นคำ� สอนของอาจารยเ์ รา
ปิงคิยปุโรหิตนั้น ย่อมบ่นเพ้อแสดงต้นไทรว่า มีกิ่ง
แผไ่ พศาล (สามารถใหค้ วามชนะได)้ เราได้ใหฆ้ า่ กษตั รยิ ์
ผปู้ ระดบั ดว้ ยราชาลงั การ ลบู ไลด้ ว้ ยแกน่ จนั ทนแ์ ดง
ท้ังพนั พระองคเ์ สยี ทต่ี ้นไม้ใด ตน้ ไม้นัน้
บดั น้ี ไมอ่ าจทำ� การปอ้ งกนั อะไรแกเ่ ราได้ ความทกุ ข์
อนั นน้ั แหละกลับมาสนองเราแล้ว.

ท้าวเธอเมื่อทรงคร่�ำครวญอยู่อย่างน้ีแล ทรงหวน
ระลกึ ถงึ พระอคั รมเหสี จงึ กล่าวคาถาว่า :

พระนางอุพพรีอัครมเหสีของเรา มีพระฉวีวรรณ
งามดังทองค�ำ ลูบไล้ตัวด้วยแก่นจันทน์แดง ย่อมงาม

58 ศษิ ยอ์ าจารย์

www.kalyanamitra.org

เจริญตา เหมือนกับก่ิงไม้สิงคุอันข้ึนตรงไป ไหวสะเทือน
อยู่ ฉะน้ัน

เรามิได้เห็นพระนางอุพพรีแล้ว คงจักต้องตาย
เปน็ แน่ การทเ่ี ราไมไ่ ดเ้ หน็ พระนางอพุ พรนี น้ั จกั เปน็ ทกุ ข์
ยิ่งกว่ามรณทุกขน์ อ้ี ีก.

พระเจา้ พาราณสนี น้ั ทรงบน่ เพอ้ อยอู่ ยา่ งนี้ ตายแลว้
บงั เกิดในนรก

ปุโรหิตผู้อยากได้ความเป็นใหญ่ไม่อาจท�ำการ
ต้านทานพระเจ้าพาราณสีน้ัน ไม่อาจท�ำความเป็นใหญ่
แกต่ น พระเจ้าพาราณสีนัน้ พอสวรรคตเทา่ นน้ั พลนิกาย
ตา่ งพากนั แตกฉานซ่านเซ็นไป.

ประชุมชาดก
พระราชาในคร้ังน้นั ไดเ้ ปน็ โพธิราชกมุ าร
ปงิ คิยปโุ รหติ ได้เปน็ พระเทวทัต
อาจารยท์ ศิ าปาโมกข์ในคร้งั นนั้ ไดเ้ ป็น เราตถาคต

๖. เวนสาข 59

www.kalyanamitra.org

60 ศิษยอ์ าจารย์

www.kalyanamitra.org

ศิษย์คดิ ตีเสมอจารย์ จงึ ต้องพบกับความพนิ าศ ๑

๗) อุปาหนชาดก๒๒

ว่าดว้ ย อนารยชน ย่อมใช้ศิลปะในทางผดิ

สถานท่ีตรัส พระเชตวนั มหาวิหาร
ทรงปรารภ พระเทวทตั
สาเหตุทตี่ รัส

ความย่อมีว่า ภิกษุทั้งหลายสนทนากันในโรงธรรม
ว่า “อาวโุ สทงั้ หลาย พระเทวทัตบอกคืนอาจารยก์ ลับเป็น
ปฏปิ กั ษ์ เป็นศตั รตู ่อพระตถาคต ได้ถึงความพนิ าศใหญ่.”

พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามวา่
“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดน้ี พวกเธอน่ังสนทนากัน
ด้วยเร่ืองอะไร ?”
เมอื่ ภกิ ษทุ ง้ั หลายกราบทลู ใหท้ รงทราบแลว้ จงึ ตรสั
วา่
“ดูก่อนภิกษุท้ังหลาย เทวทัตมิใช่บอกคืนอาจารย์
เป็นปฏิปักษ์ต่อเรา ถึงความพินาศใหญ่ในบัดนี้เท่าน้ัน

๒๒ ต้นฉบับ ชาตกฏั ฐกถา อรรถกถาชาดก ทกุ นบิ าตชาดก,
ล.๕๗, น.๔๓๑, มมร

๗. อุปาหน 61

www.kalyanamitra.org

แม้เมื่อก่อนก็เป็นปฏิปักษ์ต่อเราเหมือนกัน” แล้วทรงน�ำ
เรอื่ งอดตี มาตรสั เล่า.

เนือ้ หาชาดก
ในอดีตกาล คร้ังพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติ

อยู่ในกรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลนาย
หัตถาจารย์๒๓ ครัน้ เจริญวยั แลว้ ก็ส�ำเร็จหัตถศี ิลปะ

ครง้ั นน้ั มมี าณพชาวกาสิคามผู้หนึง่ มาเรียนศิลปะ
ในส�ำนกั ของพระโพธสิ ตั ว์

ธรรมดาวา่ พระโพธิสตั วท์ ง้ั หลายเมอื่ จะบอกศลิ ปะ
ยอ่ มไมป่ ดิ บงั วชิ า ใหศ้ กึ ษาวชิ าตามทต่ี นรมู้ าโดยไมม่ เี หลอื

เพราะฉะน้ัน มาณพน้นั จงึ ได้เรียนศลิ ปะความรูข้ อง
พระโพธสิ ัตว์จนหมดส้ิน แลว้ กลา่ วกะพระโพธสิ ัตว์วา่

“ข้าแต่ท่านอาจารย์ ขา้ พเจา้ จกั รับราชการ.”
พระโพธิสัตว์กลา่ ววา่
“ดแี ล้วพอ่ ”
จงึ ไปเฝ้ากราบทลู พระราชาวา่
“ข้าแต่มหาราช ลูกศิษย์ของข้าพระองค์ปรารถนา
จะรบั ราชการสนองพระเดชพระคุณ.”

๒๓ หตั ถาจารย์ ผฝู้ กึ หดั ชา้ ง, ควาญชา้ ง, หมอชา้ ง.

62 ศิษย์อาจารย์

www.kalyanamitra.org

พระราชาตรสั วา่ “ดแี ล้ว”
“จงรบั ราชการเถิด.”
พระโพธสิ ตั วก์ ราบทลู ว่า
“ถ้าเชน่ นัน้ ขอพระองคท์ รงโปรดต้งั เบ้ยี หวัดแกเ่ ขา
เถิด.”
พระราชาตรสั วา่
“ลูกศิษย์ของท่านจะได้เบ้ียหวัดเท่ากับท่านไม่ได้
เมื่อท่านได้หนึ่งร้อย เขาก็ต้องได้ห้าสิบ เม่ือท่านได้
สองร้อย เขาก็ต้องได้หนึง่ รอ้ ย.”
พระโพธสิ ตั ว์กลบั มาบ้านบอกเรื่องนั้นแกล่ กู ศิษย.์
ลูกศิษยก์ ล่าวว่า
“ท่านอาจารย์ ขา้ พเจ้ารศู้ ลิ ปะเท่ากบั ท่าน ถ้าจะได้
เบี้ยหวัดเท่ากับท่านเหมือนกัน ข้าพเจ้าจะรับราชการ
ถา้ ไมไ่ ดจ้ ะไม่ขอรับราชการ.”
พระโพธิสตั วก์ ราบทูลใหพ้ ระราชาทรงทราบ.
พระราชาตรัสว่า
“ถ้าเขาทัดเทียมเท่ากับท่านทุกประการ สามารถ
แสดงศิลปะเท่ากับท่านทเี ดยี ว ก็จะไดเ้ ทา่ กัน.”
พระโพธสิ ตั วจ์ งึ บอกเร่ืองนนั้ แกล่ ูกศิษย์.

๗. อุปาหน 63

www.kalyanamitra.org

เม่อื ลูกศิษย์กลา่ ววา่
“ดแี ลว้ ข้าพเจา้ จะแสดง”
จงึ ไปกราบทลู แดพ่ ระราชา.
พระราชาตรัสวา่
“ถา้ เช่นน้ันจงแสดงศิลปะกนั พรงุ่ นี้เถดิ .”
พระโพธสิ ตั วก์ ราบทลู วา่
“ดแี ลว้ พระเจา้ ขา้ ขา้ พระองคจ์ กั แสดงกนั ขอพระองค์
โปรดให้ตีกลองปา่ วรอ้ งเถดิ พระเจา้ ขา้ .”
พระราชาไดใ้ ห้ตกี ลองป่าวร้องวา่
‘พรุ่งน้ี อาจารย์กับลูกศิษย์ท้ังสองจะแสดงศิลปะ
ผู้ประสงคจ์ ะดู จงพากันมาดูทสี่ นามหลวง.’
อาจารย์คดิ ว่า
‘ลกู ศิษยข์ องเรายังไม่รคู้ วามฉลาด ในอุบาย’ จงึ จบั
ช้างมาเชอื กหนง่ึ ฝึกให้จดจำ� กลับวธิ ีโดยคนื เดียวเท่าน้ัน
อาจารย์ใหช้ า้ งส�ำเหนียก๒๔ อยา่ งนี้ คอื
เมอื่ บอกใหเ้ ดนิ กใ็ หถ้ อย เมื่อบอกใหถ้ อยกใ็ หเ้ ดนิ
บอกให้เทา๒๕ กใ็ ห้ลุก เม่ือบอกใหล้ ุกก็ใหเ้ ทา

๒๔ สําเหฺนยี ก ก. ฟัง, คอยเอาใจใส่, กําหนดจดจาํ ,
เชน่ ผูใ้ หญส่ อนอะไรก็ใหส้ าํ เหนียกไว้ใหด้ ี
๒๕ ในทนี่ ใ้ี ชเ้ ป็น คาํ กริยา แปลว่า ยอบตวั ลง, หมอบ, คกุ เข่า.

64 ศษิ ย์อาจารย์

www.kalyanamitra.org

เมื่อบอกให้จับก็ใหว้ าง เมอ่ื บอกใหว้ างก็ให้จบั .
รงุ่ ขน้ึ จงึ ขน้ึ ชา้ งเชอื กนน้ั ไปทสี่ นามหลวง ฝา่ ยลกู ศษิ ย์
กข็ น้ึ ชา้ งที่ถกู ใจเชอื กหนง่ึ ไป
มหาชนประชุมกันแล้ว ท้ังสองคนได้แสดงศิลปะ
เท่าๆ กันแล้ว. พระโพธิสัตว์จึงให้ช้างของตนท�ำสิ่ง
ท่ีตรงกันข้ามอีก ช้างน้ันเม่ือบอกว่าจงไปก็ถอยกลับ
เมื่อบอกว่าจงถอยกลับได้วิ่งไปข้างหน้า เม่ือบอกว่า
จงยนื ขึ้นไดเ้ ทาลง เมือ่ บอกว่าจงเทากล็ ุกยืน เมอ่ื บอกวา่
จงหยิบก็ทง้ิ เสีย เมื่อบอกวา่ จงท้ิงก็ไดห้ ยบิ .
มหาชนกล่าวว่า
“แน่ะศิษย์ผู้ชั่วร้าย ท�ำการแข่งดีกับอาจารย์ ไม่รู้
ประมาณตน เข้าใจว่ารู้เสมอกบั อาจารย์”
ต่างก็เอาก้อนดินและท่อนไม้เป็นต้น ประหารให้
ถึงแก่ความตายในท่ีนน้ั เอง.
พระโพธิสัตว์ลงจากช้างเข้าเฝ้าพระราชากราบทูล
วา่
“ข้าแต่มหาราช ข้ึนชื่อว่า ‘ศิลปะ’ บุคคลย่อมเรียน
เพ่ือความสุขแก่ตน แต่ศิลปะท่ีบุคคลบางคนเรียนแล้ว
กลับน�ำความพินาศมาสู่ ดุจรองเทา้ ทท่ี �ำไมด่ ีฉะนัน้ .”

๗. อุปาหน 65

www.kalyanamitra.org

ไดก้ ลา่ วคาถาสองคาถานวี้ า่ :-
รองเท้าที่คนซื้อมาเพ่ือประโยชน์จะให้สบายเท้า
กลบั น�ำความทกุ ข์มาให้
รองเท้าน้ันถูกแดดเผาบ้าง ถูกพื้นเท้าครูดสีบ้าง
กก็ ลบั กดั เท้าของผู้น้นั นน่ั แหละ ฉันใด
ผู้ใดเกิดในตระกูลต�่ำไม่ใช่อารยชน เรียนวิชาและ
ศลิ ปะมาจากสำ� นกั อาจารยไ์ ดแ้ ลว้ ผนู้ นั้ ยอ่ มฆา่ ตนเองดว้ ย
ศลิ ปะท่ีเรียนมาในส�ำนักของอาจารย์น้ัน ฉนั น้นั
บุคคลนั้น บัณฑิตเรียกว่า ‘ไม่ใช่อารยชน’ เปรียบ
ด้วยรองเท้าท่ีท�ำไม่ดี ฉะนน้ั .
พระราชาทรงโปรดปราน ประทานยศย่ิงใหญ่แก่
พระโพธสิ ตั ว์.
ประชุมชาดก.
ลกู ศษิ ยใ์ นครง้ั น้ัน ได้เปน็ เทวทตั ในครงั้ นี้
สว่ นอาจารย์ คอื เราตถาคต นแ้ี ล.

66 ศิษย์อาจารย์

www.kalyanamitra.org

ศษิ ย์คิดตเี สมอจารย์ จึงตอ้ งพบกบั ความพินาศ ๒

๘) คตุ ตลิ ชาดก๒๖

วา่ ดว้ ย ลูกศิษย์คิดล้างครู

สถานทีต่ รัส เวฬุวนั มหาวหิ าร
ทรงปรารภ พระเทวทตั
สาเหตทุ ีต่ รัส

ครัง้ นัน้ ภกิ ษุท้ังหลายได้กลา่ วกบั พระเทวทัตวา่
“ดกู อ่ นพระเทวทตั พระสมั มาสมั พทุ ธเจา้ เปน็ อาจารย์
ของท่าน ท่านพึ่งพาอาศัยพระพุทธองค์ ศึกษาในธรรม
วินยั ที่พระพุทธองคต์ รัสสอน จนท�ำฌาน ๔ (สภาวะสงบ
อนั ประณตี ยงิ่ ๔ ขนั้ ) ใหเ้ กดิ ขน้ึ กแ็ ลว้ บดั นที้ า่ นจะมาทำ� ตวั
เป็นศตั รตู อ่ ผู้ที่ชื่อวา่ ‘เป็นอาจารย’์ นน้ั ไมส่ มควรเลย”
พระเทวทัตฟังแลว้ ก็กล่าวแก้เช่นนเ้ี สมอวา่
“ดูก่อน ท่านทั้งหลาย พระสมณโคดมเป็นอาจารย์
ของเราละหรอื ในเมอ่ื ธรรมวนิ ยั ทง้ั ปวง เราเรยี นดว้ ย กำ� ลงั

๒ ๖ ลต.้น๕ฉ๗บ,บั น.ช๔า๙ต๑ก,ฏั มฐมกรถ.า อรรถกถาชาดก ทุกนบิ าตชาดก,

๘. คตุ ติล 67

www.kalyanamitra.org

68 ศิษยอ์ าจารย์

www.kalyanamitra.org

ของตนเองทง้ั นัน้ มใิ ช่หรือ ฌานทัง้ ๔ เรากท็ �ำให้เกิดดว้ ย
ตนเองแทๆ้ ”

เหตกุ ารณเ์ ปน็ อยา่ งนี้ กระทง่ั วนั หนงึ่ ภกิ ษทุ งั้ หลาย
สนทนากันในโรงธรรมวา่

“พระเทวทตั ไดบ้ อกคนื ความเปน็ ลกู ศษิ ยแ์ กพ่ ระพทุ ธ-
องคเ์ สยี แลว้ หนอ มหิ นำ� ซำ�้ ยงั กลบั เปน็ ศตั รตู อ่ พระพทุ ธองค์
อกี ด้วย”

ขณะน้ันเอง พระศาสดาเสด็จผ่านมาพอดี ทรง
ปฏิสนั ถารว่า

“ดูก่อนภกิ ษทุ ง้ั หลาย พวกเธอกำ� ลงั สนทนากันดว้ ย
เรอ่ื งอะไรอยู่ ?”

ครั้นภิกษุกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว พระพุทธองค์
จงึ ตรสั วา่

“เทวทตั มใิ ช่บอกคนื อาจารย์ แล้วมาเปน็ ศัตรูต่อเรา
ในบัดนีเ้ ทา่ น้ัน แมเ้ ม่อื ก่อนกเ็ คยทำ� เชน่ นีม้ าแลว้ ”

จากน้นั ทรงน�ำเร่อื งในอดตี มาตรัสเล่า

เนือ้ หาชาดก
ในอดีตกาล คร้ังเมื่อพระเจ้าพรหมทัตเสวยราช-

สมบัติอยู่ในกรุงพาราณสี ปรากฏทารกน้อยคนหนึ่ง

๘. คตุ ติล 69

www.kalyanamitra.org

เกิดในตระกูลนักขับร้อง มารดาและบิดาได้ต้ังชื่อให้ว่า
‘คุตติลกมุ าร’

เมื่อกุมารเจริญวัยขึ้น ได้ศึกษาเล่าเรียนทางดนตรี
การดีดสีตีเป่าอย่างช�่ำชอง จนกระทั่งได้ส�ำเร็จศิลปะ
การดนตรแี ละขบั รอ้ ง ไดเ้ ปน็ ศลิ ปนิ เพลงชน้ั ยอด มชี อ่ื เสยี ง
กระจายกอ้ งไปทวั่ ชมพทู วปี จนไดร้ บั ขนานนามวา่ ‘คตุ ตลิ -
คนธรรพ’์ ๒๗

คตุ ตลิ ะนนั้ ใชช้ วี ติ อยอู่ ยา่ งเรยี บงา่ ย ประพฤตติ นเปน็
คนโสด ไม่ยอมแต่งงานกับหญิงใด และมีความกตัญญู
กตเวทีต่อพ่อแม่ยิ่งนัก แม้ภายหลังเมื่อพ่อแม่ล้มป่วย
กระทั่งตาบอด คุตติละก็ยังเล้ียงดูพ่อแม่อย่างเอาใจใส่
เปน็ อยา่ งดี

ในกาลนั้นเอง เหลา่ พอ่ ค้าชาวพาราณสี ได้เดนิ ทาง
ไปคา้ ขายสนิ คา้ ทีเ่ มอื งอุชเชนี ซ่ึงก�ำลงั จะจดั ใหม้ มี หรสพ
การละเล่นตา่ งๆ ขน้ึ จึงเรยี่ ไรกันหาดอกไม้ของหอมและ
เคร่ืองลูบไล้ ตลอดจนของขบเคี้ยวเป็นอันมาก โดยมา
ประชุมกัน ณ ลานกว้าง แล้วให้จัดหาว่าจ้างนักดนตรี
ชั้นยอดมาแสดงสกั คน

๒๗ คนธรรพ์คอื ชาวสวรรค์ผู้ชํานาญการดนตรแี ละขบั รอ้ ง

70 ศิษย์อาจารย์

www.kalyanamitra.org

ณ เมืองอุชเชนีนี้เอง ก็มีเด็กหนุ่มนักร้องชั้นน�ำ
คนหนงึ่ ชอ่ื ‘มสุ ลิ ะ’ ดงั นน้ั พวกพอ่ คา้ จงึ จา้ งเขาใหม้ าขบั รอ้ ง
และเล่นดนตรใี ห้ฟัง

ในงานน้ี แม้มุสิละจะพยายามดีดพิณ ให้มีความ
ไพเราะสุดฝีมือปานใดก็ตาม เสียงพิณท่ีมากระทบหู
ของเหล่าพ่อค้านั้น ก็ปรากฏดุจดังเสียงเกาเส่ือร�ำแพน
ฉะนน้ั เพราะพอ่ คา้ ชาวพาราณสที ง้ั หมด เคยไดฟ้ งั ดนตรี
อันไพเราะจับจิตจับใจ จากการดีดสีของคุตติลคนธรรพ์
มาก่อนแล้ว แม้สักคนเดียว จึงไม่ได้แสดงอาการชื่นชม
หรือชอบใจเสียงพณิ ของมุสิละเลย

มุสิละเมื่อเห็นบรรดาพ่อค้าเฉยเมย มิได้ยินดีกับ
เสียงพณิ ของตน จงึ คิดว่า

‘เราคงจะดีดพิณท่ีขันสายตึงเกินไป พวกพ่อค้าน้ี
จงึ ไมส่ นใจเปน็ แน่ เราจะลดลงมาใหเ้ หลอื ระดบั ปานกลาง’

แม้มุสิละดีดพิณเสียงกลางแล้ว พวกพ่อค้าก็ยังน่ัง
ฟงั เฉยอยู่ เขาจงึ คิดเอาเองว่า

‘พวกนคี้ งฟงั ดนตรไี มเ่ ปน็ ไมร่ จู้ กั ความไพเราะของ
เสยี งพณิ ’

คิดดังนั้นแล้ว มุสิละจึงแกล้งท�ำสายพิณให้หย่อน
แล้วดีดพิณไปอย่างท�ำเป็นไม่รู้เรื่องอะไร แต่พวกพ่อค้า
กย็ ังคงเฉยเมยดังเดิม มิได้วา่ กลา่ วอยา่ งใดเลย

๘. คตุ ติล 71

www.kalyanamitra.org

ในที่สดุ มุสิละกอ็ ดทนต่อไปไมไ่ ด้ ต้องกลา่ วขึน้ วา่
“ดูก่อนพ่อค้าผู้เจริญ ข้าพเจ้าได้ดีดพิณให้ฟังแล้ว
แตพ่ วกท่านก็นง่ั นิง่ เฉย ไมเ่ ป็นท่พี อใจล่ะหรือ ?”
พวกพ่อคา้ จึงพากนั ตอบวา่
“ก็ท่านดีดพิณประสาอะไรของท่านเล่า พวกเราฟัง
แลว้ มเิ ขา้ ใจเลยวา่ ท่านข้นึ เสียงพณิ ดดี สีอะไรอย”ู่
มุสิละโดนหม่นิ เชน่ นนั้ ก็สวนคำ� ออกไปทนั ที
“พวกทา่ น ไมย่ นิ ดใี นเสยี งพณิ เพราะไมร่ จู้ กั ฟงั หรอื
เพราะวา่ ได้เคยฟังอาจารย์ที่เก่งกวา่ ขา้ พเจา้ มาแล้ว”
พวกพอ่ ค้ากต็ อบตามตรงว่า
“เสยี งพณิ ของทา่ นนนั้ ฟงั แลว้ เหมอื นสตรกี ลอ่ มเดก็
เมื่อเทียบกับที่พวกเราได้เคยฟังเสียงพิณของคุตติล
คนธรรพ์แห่งพาราณสี”
มสุ ลิ ะไดฟ้ งั ดงั นนั้ ถงึ กบั ชะงกั งนั สกั ครู่ แลว้ กลา่ ววา่
“ถ้าเช่นนั้น พวกท่านจงรับเอาค่าจ้างที่ให้มาคืนไป
ขา้ พเจา้ ไมต่ อ้ งการคา่ จา้ งน้ี กแ็ ตว่ า่ หากพวกทา่ นจะเดนิ ทาง
กลบั พาราณสีเมือ่ ใด ชว่ ยพาขา้ พเจา้ ไปดว้ ย”
ดงั นน้ั เอง ในเวลากลบั พวกพอ่ คา้ จงึ พามสุ ลิ ะไปดว้ ย
แล้วช่วยพาไปถึงท่ีอยู่ของคุตติลคนธรรพ์ จากน้ันพวก
พ่อค้าจงึ คอ่ ยแยกยา้ ยกลบั บา้ นของตน

72 ศิษยอ์ าจารย์

www.kalyanamitra.org

มสุ ลิ ะกา้ วเขา้ ไปในบา้ นของคตุ ตลิ คนธรรพ์ แตไ่ มพ่ บ
ใคร เห็นเพียงพิณคู่มือของคุตติละวางอยู่ จึงยกข้ึนมา
ลองดีดดู เสียงพิณจึงดังกังวานข้ึน เป็นเหตุให้พ่อแม่
ผู้ตาบอดของคุตติลคนธรรพ์ กล่าวเสียงดังออกมาจาก
ในหอ้ งว่า

“สงสัยพวกหนู จะมากัดสายพิณเลน่ ซะแล้ว”
มุสิละได้ยินดังนั้น จึงวางพิณลง แล้วเข้าไปไหว้
ท่านท้ังสอง ทักทายแนะน�ำตัวเอง บอกจุดประสงค์
ในการมาให้รู้ว่า ‘ต้องการจะขอเรียนศิลปะการดนตรี
จากคุตติลคนธรรพ์’ ซ่ึงขณะนั้นคุตติละ ออกไปท�ำธุระ
นอกบา้ นอยู่
มุสิละจึงนั่งรอ ด้วยการพูดคุยเอาใจเป็นอย่างดี
ต่อผู้เฒ่าท้ังสอง จนกระทั่งคุตติลคนธรรพ์กลับมาแล้ว
จึงปฏิสันถารบอกเหตผุ ลท่ีตนตอ้ งการใหร้ บั รู้
ฝา่ ยคุตตลิ ะนน้ั ได้สังเกตบุคลกิ ท่าทาง ลีลาอาการ
จริตนิสัยของมสุ ลิ ะแล้ว ใหม้ ีความรู้สกึ วา่ ‘มุสลิ ะ เปน็ คน
ไมด่ นี กั ไมน่ า่ ไวว้ างใจ’ เมอ่ื คดิ เช่นนจ้ี งึ กลา่ วว่า
“อย่าเลยนะ เจา้ จงไปหาอาจารยอ์ ่นื เถดิ ศิลปะของ
เรานี้ ไมเ่ หมาะสมแก่เจ้าดอก”

๘. คุตตลิ 73

www.kalyanamitra.org

มุสิละได้ยินอย่างนั้น เห็นว่าคุตติละไม่ยอมรับตน
เป็นศิษย์แน่ จึงรีบคลานไปจับเท้าพ่อแม่ทั้งสองของ
คตุ ตลิ ะ ใช้มือลบู ไล้ใหส้ งสารตน แลว้ ออ้ นวอนว่า

“ขอคุณพ่อคุณแม่ช่วยมีเมตตากรุณา ให้ลูกชาย
ของท่านรับข้าพเจ้าเป็นศิษย์ ถ่ายทอดศิลปะ การดนตรี
ให้ดว้ ยเถดิ ”

เม่ือเป็นเช่นนี้ คุตติลคนธรรพ์จึงถูกพ่อแม่รบเร้า
โดยการช่วยพูดจาให้แก่มุสิละ ซ่ึงในท่ีสุด ก็ไม่อาจทน
ขดั ใจทา่ นทงั้ สองได้ จงึ จำ� ตอ้ งยอมรบั สอนศลิ ปะการดนตรี
ให้แกม่ สุ ิละ

ต้ังแต่นั้นมา คุตติลคนธรรพ์ก็ถ่ายทอดวิชาดนตรี
ตลอดจนน�ำพามุสิละติดตามไปในพระราชวังด้วย ท�ำให้
มุสิละพลอยคุ้นเคยกับพระเจ้าพรมหมทัตมากข้ึน และ
ในการอบรม สง่ั สอนนน้ั คตุ ตลิ ะสอนวชิ า ใหท้ กุ อยา่ งทตี่ น
มคี วามรูอ้ ย่ทู ั้งหมด โดยไมป่ ิดบงั อ�ำพรางสิ่งใดไวเ้ ลย

จนกระทั่ง วันหนึง่ กลา่ วกับลูกศษิ ยว์ า่
“นี่แน่ะมุสิละ เจ้าได้เรียนศิลปะการดนตรีของเรา
จนจบหมดสิ้นแล้ว อย่างช�่ำชอง บัดน้ีเจ้าจะท�ำอย่างไร
ตอ่ ไป”
มสุ ลิ ะคดิ ขน้ึ มาในใจทันที

74 ศษิ ย์อาจารย์

www.kalyanamitra.org

‘ตอนน้ีเราเก่งมากแล้ว กรุงพาราณสีนี้ ก็เป็น
เมืองใหญ่เลอเลิศในชมพูทวีป ขณะน้ีอาจารย์ก็เริ่มมี
วยั ชราภาพแลว้ ฉะนัน้ เราควรจะอยใู่ นเมอื งน้ีแหละ’

จึงบอกกบั อาจารย์ว่า
“ข้าพเจ้าจะรบั ราชการอย่ใู นเมอื งน”้ี

คุตติลคนธรรพ์รับรู้ดังนั้น จึงไปเข้าเฝ้าพระราชา
แล้วกราบทลู ให้ทรงทราบวา่

“ลูกศิษย์ของข้าพระองค์ มีใจปรารถนาจะเข้ารับ
ราชการ เพ่ือสนองพระคุณแด่พระองค์ ขอพระองค์ทรง
โปรดพระกรณุ าพจิ ารณาเบย้ี หวดั ใหแ้ กเ่ ขาดว้ ย พระเจา้ ขา้ ”

พระราชาทรงอนเุ คราะห์ รับสง่ั วา่
“ดแี ลว้ เราจะใหเ้ ขาไดค้ รง่ึ หนงึ่ ของเบยี้ หวดั ทท่ี า่ นได”้
คตุ ตลิ ะจงึ นำ� เรอ่ื งนก้ี ลบั มาบอก แตม่ สุ ลิ ะกลบั กลา่ ว
วา่
“ข้าพเจ้าจะเข้ารับราชการ ก็ต่อเมื่อได้รับเบี้ยหวัด
เทา่ กบั อาจารย์เท่านัน้ ถา้ หากไมไ่ ด้รบั เบีย้ หวัดเท่า ก็จะ
ไม่ขอรับราชการเลย”
“อ้าว! เพราะเหตุใดกันเลา่ ?”
“ก็เพราะข้าพเจ้าได้เรียนรู้ศิลปะต่างๆ เท่าที่ท่าน
อาจารยม์ ีอยู่จนหมดสิ้นแล้ว มิใช่หรือ ?”

๘. คุตตลิ 75

www.kalyanamitra.org

“อืม! ถูกแล้ว ความรู้ของเจ้า รู้เท่าเทียมท่ีเรารู้
ทง้ั หมด”

มสุ ิละจึงย้�ำคำ� หนักแน่นวา่
“ก็ในเมื่อเป็นเช่นนั้นแล้ว เหตุใดพระราชาจึง
พระราชทานเบี้ยหวัดให้แก่ข้าพเจ้าเพียงคร่ึงหน่ึงของ
อาจารยเ์ ล่า ?”
คุตติลคนธรรพ์จึงต้องน�ำความน้ี ไปกราบทูลแด่
พระราชาอกี ครงั้ พระเจา้ พรหมทตั ไดส้ ดบั ดงั นนั้ กต็ รสั วา่
“ถ้าหากเขาสามารถแสดงศิลปะการดนตรี มีฝีมือ
ทัดเทียมกับท่านได้ เราก็จะให้เบ้ียหวัดแก่เขา เท่ากับ
ทา่ น”
เมื่อมุสิละได้รับการแจ้งบอกดังนั้นจากอาจารย์แล้ว
กเ็ ขา้ เฝ้าพระราชาเพ่อื กราบทลู
“ข้าพระองค์จะแสดงฝีมือ ให้พระองค์ได้ทรงทอด
พระเนตรพระเจ้าข้า โดยจะขอแข่งขันกับอาจารย์ ให้ชม
ในวันท่ี ๗ นับแต่วนั น้ีไป”
พระเจ้าพรหมทัตทรงทัดทานต�ำหนวิ า่
“อันการแข่งขันชิงดีชิงเด่นกับอาจารย์นั้น ไม่ดี
ไมส่ มควรเลย เจา้ คิดจะทำ� เชน่ นั้นจรงิ ๆ หรือ ?”

76 ศิษย์อาจารย์

www.kalyanamitra.org

มุสลิ ะยงั คงยนื ยันอยา่ งเดิมอกี
“ขา้ แตพ่ ระองค์ โปรดจดั ใหข้ า้ พระองคไ์ ดแ้ สดงฝมี อื
แขง่ เทยี บกับอาจารย์ ในวันที่ ๗ น้นั เถิด พระองค์ จะได้
ทรงทราบความจรงิ ว่า ‘ฝีมือใครจะยอดเยี่ยมกวา่ กนั ’ ”
เมอื่ เปน็ เชน่ น้ี พระเจา้ พรหมทตั จงึ รบั สงั่ ใหป้ ระกาศ
ทวั่ พระนครวา่
‘ในวนั ทเี่ จด็ นบั แตว่ นั นไี้ ป คตุ ตลิ คนธรรพก์ บั ลกู ศษิ ย์
จะแสดงศิลปะการดนตรี แข่งขันกันที่ประตูวัง ชาวเมือง
ทั้งหลายผูส้ นใจ จงมาประชมุ ฟงั การประชันดนตรเี ถดิ ’
ฝา่ ยคตุ ตลิ ะเมอ่ื ทราบขา่ วแลว้ กบ็ งั เกดิ วติ กกงั วลวา่
‘ลกู ศษิ ยข์ องเราคนนี้ ยงั หนมุ่ แนน่ มกี ำ� ลงั แขง็ แรงอยู่
ส่วนตวั เราสแิ กช่ ราลง ก�ำลังกายกถ็ ดถอย กริ ยิ า อาการ
ก็ไมก่ ระฉบั กระเฉงเหมือนเก่ากอ่ น
ในการแข่งขนั นัน้ หากลูกศษิ ยแ์ พอ้ าจารย์ ย่อมไม่
แปลกประหลาดอะไร แต่ถ้าอาจารย์เกิดพ่ายแพ้ลูกศิษย์
เข้า ก็นา่ ละอายขายหน้าย่งิ นัก เหน็ ทเี ราจะต้องหลบหนา้
หนไี ปเสยี ในปา่ คงจะดีกวา่ ’
ท่ามกลางความคิดลังเลสับสนนั้น คุตติลคนธรรพ์
กลัวว่า อาจจะพ่ายแพ้ต้องอับอาย จึงหลบเข้าไปพักอยู่
ในป่า

๘. คตุ ตลิ 77

www.kalyanamitra.org

ครั้นอยู่ในป่า ก็เกรงกลัวการท�ำผิดต่อพระกระแส
รบั สงั่ ของพระราชาทไี่ ดป้ ระกาศ แลว้ จงึ กลบั มาพกั ทบ่ี า้ นอกี
ซงึ่ กระทำ� การกลบั ไปกลบั มาดงั นที้ กุ วนั จนยา่ งเขา้ วนั ที่ ๖
ด้วยอาการเรา่ ร้อน กระวน กระวายใจ

ตอนนั้นเอง ขณะได้รับทุกข์ใหญ่หลวงอยู่ในป่า
ทา้ วสกั กะจอมเทพทรงรบั รู้ เหตกุ ารณน์ น้ั แลว้ จงึ เสดจ็ มา
ปรากฏให้เห็นเป็นรัศมีเรืองรองสว่างไสว ตรัสกับคุตติล-
คนธรรพ์ว่า

“เราคือเทวดาผู้เป็นใหญ่ จะเป็นท่ีพึ่งให้แก่ท่าน
ท่าน จงบอกความทุกขใ์ หเ้ ราฟัง แลว้ เราจะชว่ ยทา่ นได”้

คุตติละยนิ ดยี ่ิงนัก รับกม้ ลงกราบแลว้ เอย่ วา่
“ข้าพระองค์ได้สอนศิษย์ชื่อ ‘มุสิละ’ ให้เรียนวิชา
ดดี พณิ ๗ สาย จนกระท่ังเขาสามารถดีดพณิ ให้มเี สยี ง
ไพเราะ จบั จติ จับใจคนฟงั แต่แล้วเขากลบั มาขันดดี พิณ
แข่งสู้กับข้าพระองค์ ข้าแต่ท่านจอมเทพ พระองค์โปรด
เปน็ ทพ่ี ่งึ ใหแ้ กข่ า้ พระองคด์ ้วยเถิด”
ทา้ วสกั กะทรงสดบั แลว้ ชว่ ยตรสั ปลอบประโลมใจวา่
“อยา่ กลวั ไปเลย เราจะเปน็ ทพ่ี งึ่ ของทา่ น จะชว่ ยเหลอื
ท่านเอง เพราะเราเป็นผู้บูชาคุณของอาจารย์ ฉะน้ัน
ศิษย์จะไมช่ นะท่านได้หรอก แตท่ า่ นจะชนะศิษย”์

78 ศษิ ย์อาจารย์

www.kalyanamitra.org

แลว้ ทา้ วสักกะกท็ รงแนะน�ำวิธีการต่างๆ ทัง้ ยงั มอบ
ห่วงทองค�ำให้อีก ๓ ห่วง เพื่อใช้ในการแข่งขัน ก่อนจะ
เสดจ็ จากไป ได้ตรสั ยำ้� ไวอ้ ีก

“ท่านจงกลับไปพกั ที่บา้ นเถิด ทำ� ใจให้สงบ อย่าได้
กังวลหวั่นเกรงใดๆ อีกเลย”

คร้ันถึงเวลาเช้าวันรุ่งข้ึน พระราชาเสด็จลงจาก
ปราสาท แลว้ ประทบั นง่ั กลางบลั ลงั ก์ ณ มณฑป ทปี่ ระดบั
ประดาไว้ใกล้ประตูพระราชวัง เหล่าอ�ำมาตย์และสตรี
อีกหน่งึ หมื่นนาง พราหมณ์ ชาวเมอื ง ตา่ งมารว่ มชมุ นุม
กนั คบั ค่ัง

เช้าน้ีคุตติลคนธรรพ์อาบน�้ำลูบไล้กายแล้ว บริโภค
อาหารรสเลิศต่างๆ จากนั้นก็ถือพิณคู่มือ ออกจากบ้าน
ตรงไปยังทีน่ ่งั ของตนท่เี ขาจัดไว้

สว่ นมสุ ลิ ะนน้ั ไดม้ านง่ั รออยกู่ อ่ นแลว้ โดยมหี มมู่ หาชน
ทงั้ มวลแวดล้อมมงุ ดแู นน่ ขนัด

พอถงึ เวลา ทง้ั สองก็ประชนั ดีดพิณทนั ที แสดงฝมี อื
อย่างทัดเทียมกัน จนท�ำให้มหาชนโห่ร้อง ยินดีกับการ
บรรเลงอนั ไพเราะน้นั

เม่ือฝีมือเสมอกัน คุตติลคนธรรพ์จึงท�ำตามท่ีท้าว
สักกะจอมเทพทรงบอกได้ โดยเด็ดพณิ สายที่ ๑ ทิง้ ไป

๘. คตุ ตลิ 79

www.kalyanamitra.org

เม่ือมุสิละเห็นดังน้ัน จึงปลดสายพิณสายท่ี ๑
ของตนออกไปบ้าง แล้วทำ� การบรรเลงพณิ แข่งกนั อีก

ครานี้ เสยี งพณิ ของคตุ ตลิ ะยงั คงเหมอื นเดมิ แตเ่ สยี ง
พิณของมสุ ลิ ะเรม่ิ ลดหายไป

ตอนนเ้ี องคุตติละก็เดด็ สายพณิ สายที่ ๒, ๓, ๔, ๕,
๖, ๗ ทงิ้ ไปอกี เป็นลำ� ดับ ซ่งึ มสุ ิละกท็ ำ� ตามเช่นกัน

แต่เสียงพิณของคุตติละนั้น แม้เหลือเพียงคันพิณ
เปล่าๆ กย็ ังคงดงั กังวานกอ้ งไปท่ัวพระนคร

ส่วนเสียงพิณของมุสิละค่อยๆ มีเสียงลดน้อยลง
จนเม่ือเหลือคันพิณเปลา่ ก็ไรเ้ สียงโดยส้นิ เชิง

และแลว้ เสยี งโหร่ อ้ งและธงกโ็ บกสะบดั ขนึ้ ทกุ ทศิ ทาง
คตุ ตลิ คนธรรพเ์ หน็ เปน็ โอกาสเหมาะแลว้ จงึ โยนหว่ งทอง
ที่ ๑ ข้ึนไปในอากาศ ทันใดน้ัน นางอัปสร ๓๐๐ นาง
กป็ รากฏ ออกมาขบั ฟ้อน

เมอื่ โยนหว่ งทองที่ ๒ นางอปั สรอกี ๓๐๐ นาง กล็ อย
มาฟ้อนร�ำเบื้องหน้า พิณของคุตตลิ คนธรรพ์

คร้ันโยนห่วงท่ี ๓ นางอปั สรอกี ๓๐๐ นาง ก็ลงมา
ฟอ้ นร�ำ ตอ่ หนา้ ผ้คู นท้งั หลาย บนลานแขง่ ขนั น้นั นั่นคอื
ความพ่ายแพต้ กอยู่กบั มสุ ิละ อยา่ งเดด็ ขาดชัดเจนแล้ว

เมอ่ื ผลออกมาเชน่ น้ี ฝงู ชนกพ็ ากนั ลกุ ฮอื ขน้ึ สง่ เสยี ง
ดุดา่ คกุ คามมุสลิ ะอย่างรุนแรง

80 ศิษย์อาจารย์

www.kalyanamitra.org

“เจ้ากล้าแข็งข้อกับอาจารย์ อวดเก่งท�ำตัวตีเสมอ
อาจารย์ ไม่เคารพอาจารย์ ไมร่ ู้จักประมาณตน”

จากนั้นก็ขว้างก้อนดิน ก้อนหิน ท่อนไม้ ใส่มุสิละ
มากมายท�ำใหถ้ งึ ตายได้

ส่วนคุตติลคนธรรพ์น้ัน ทั้งพระราชาและชาวเมือง
พากนั โยนทรพั ยใ์ หม้ ากมาย ดจุ ฝนลกู เหบ็ โปรยปรายลงมา
แลว้ พากันยกย่องสรรเสริญในฝีมือดนตรขี องคตุ ติละว่า

‘เป็นเลิศยอดเย่ียมกว่าใครๆ ในชมพูทวีป อีกท้ัง
พรรณนาถงึ ศลี และคณุ ธรรมอนั ดงี ามของคตุ ตลิ คนธรรพ์
ท่ีมีความกตัญญูกตเวทตี ่อพอ่ แม่ ผ้มู พี ระคุณด้วย’

ประชุมชาดก

มสุ ิละในครัง้ นน้ั คือ พระเทวทัตในบัดนี้
ท้าวสกั กะ คือ พระอนรุ ุธในบัดนี้
พระเจา้ พรหมทัต คอื พระอานนทใ์ นบัดนี้
สว่ นคตุ ติลคนธรรพ์ คือ เราตถาคต

๘. คุตติล 81

www.kalyanamitra.org

82 ศิษยอ์ าจารย์

www.kalyanamitra.org

วิธีสอนศษิ ยถ์ อื ดีอวดตวั

๙) มลู ปรยิ ายชาดก๒๘

วา่ ดว้ ย กาลเวลากนิ สตั วพ์ รอ้ มท้งั ตัวเอง

สถานท่ตี รัส ณ สภุ ควัน อาศัยอุกกฏั ฐธานี
ทรงปรารภ มลู ปริยายสตู ร
สาเหตุท่ตี รสั

ไดย้ นิ วา่ ในกาลนน้ั มพี ราหมณ์ ๕๐๐ จบไตรเพทแลว้
ออกบวชในพระศาสดา เรียนพระไตรปิฎก เป็นผู้มัวเมา
ด้วยความทะนงตน คิดว่า ‘พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงรู้
พระไตรปิฎก แม้เราก็รู้พระไตรปิฎก เม่ือเป็นอย่างนี้
เรากบั พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะตา่ งกันอยา่ งไร ?’

จงึ ไม่ไปเฝา้ พระพุทธเจา้ ต้งั ตนเปน็ ปฏิปกั ษ.์
อยู่มาวันหน่ึง พระศาสดา เมื่อภิกษุเหล่านั้น
ประชุมกันในส�ำนักของพระองค์ ตรัสมูลปริยายสูตร
ประดับด้วยภูมิ ๘.

๒ ๘ ลต.น้ ๕ฉ๗บ,ับน.ช๕า๐ต๒ก,ฏั มฐกมถร.า อรรถกถาชาดก ทกุ นิบาตชาดก,

๙. มูลปริยาย 83

www.kalyanamitra.org

ภกิ ษุเหล่าน้นั ก�ำหนดอะไรไม่ได้ จึงมคี วามคิดว่า
‘พวกเราทะนงตนว่า ไม่มีใครฉลาดเท่ากับพวกเรา
แต่บัดนี้พวกเราไม่รู้อะไรเลย ชื่อว่าผู้ฉลาดเช่นกับ
พระพทุ ธเจา้ ย่อมไมม่ ี ชอื่ ว่าพระพทุ ธคุณน่าอัศจรรย์.’
ต้ังแต่น้ันมา ภิกษุเหล่าน้ันก็หมดความทะนงตน
ส้ินความหลงผิด ดังงูพษิ ท่ีถูกถอนเข้ียวแล้วฉะนนั้ .
พระศาสดาประทบั อยู่ ณ อกุ กฏั ฐธานี ตามพระสำ� ราญ
แล้วเสด็จไปกรุงเวสาลี ตรัสโคตมกสูตรท่ีโคตมกเจดีย์
ทง้ั หมนื่ โลกธาตหุ วน่ั ไหวแลว้ ภกิ ษเุ หลา่ นนั้ ฟงั โคตมกสตู ร
นั้นแล้ว ได้บรรลุพระอรหัต. เมื่อจบมูลปริยายสูตร
พระศาสดายงั ประทับอยู่ ณ อุกกฏั ฐธานีนั่นเอง
ภิกษทุ ั้งหลายประชุมสนทนากันในโรงธรรมว่า
“อาวโุ สทงั้ หลาย น่าอัศจรรย์ พระพุทธานภุ าพ พระ
ผู้มีพระภาคเจ้าทรงท�ำให้ภิกษุเหล่านั้น เป็นพราหมณ์
ออกบวช มวั เมาดว้ ยความทะนงตนอย่างนัน้ หมดความ
ทะนงตน ด้วยมูลปริยายเทศนา.”
พระศาสดาเสดจ็ มาตรสั ถามวา่
“ดูก่อนภิกษุท้ังหลาย บัดน้ี พวกเธอน่ังสนทนากัน
ด้วยเรื่องอะไร ?”
เมอ่ื ภกิ ษเุ หลา่ นนั้ กราบทลู ใหท้ รงทราบแลว้ จงึ ตรสั วา่

84 ศษิ ย์อาจารย์

www.kalyanamitra.org

“ดกู อ่ นภกิ ษทุ งั้ หลาย มใิ ชใ่ นบดั นเ้ี ทา่ นน้ั แมเ้ มอื่ กอ่ น
เราก็ได้ท�ำภิกษุเหล่านั้นผู้มีหัวรุนแรงด้วยความทะนงตน
ใหห้ มดความทะนงตนแล้ว.”

ทรงนำ� เรอื่ งอดีตมาตรัสเลา่ .

เนอื้ หาชาดก
ในอดตี กาล ครง้ั พระเจา้ พรหมทตั เสวยราชสมบตั อิ ยู่

ในกรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลพราหมณ์
คร้ันเจริญวัยส�ำเร็จไตรเพท เป็นอาจารย์ทิศาปาโมกข์
สอนมนต์ แก่มาณพ ๕๐๐.

มาณพท้ัง ๕๐๐ นั้น ครั้นเรียนจบศิลปะ ผ่านการ
ซักซ้อมสอบทานในศิลปะท้ังหลายแล้ว เกิดกระด้างด้วย
ความทะนงตนว่า ‘พวกเรารเู้ ท่าใด แม้อาจารย์กร็ เู้ ท่านนั้
เหมือนกัน ไม่มีความพิเศษกว่ากัน’ ไม่ไปส�ำนักอาจารย์
ไม่กระท�ำวตั รปฏิบัติ.

ครน้ั วนั หนง่ึ เมอื่ อาจารยน์ ง่ั อยโู่ คนตน้ พทุ รา มาณพ
เหล่านั้น ประสงค์จะดูหม่ินอาจารย์ จึงเอาเล็บมือเคาะ
ตน้ พทุ ราพดู วา่

“ตน้ ไมน้ ไ่ี มม่ ีแกน่ .”
พระโพธสิ ตั วก์ ร็ วู้ า่ ‘ดหู มนิ่ ตน’ จงึ กลา่ วกะอนั เตวาสกิ วา่
“เราจกั ถามปัญหาพวกทา่ นข้อหนึ่ง.”

๙. มูลปริยาย 85

www.kalyanamitra.org

มาณพเหล่านั้นต่างดีอกดใี จกล่าววา่
“จงถามมาเถิด พวกผมจักแก.้ ”
อาจารย์ เมอื่ จะถามปัญหา ได้กล่าวคาถาแรกวา่ :-
กาลยอ่ มกินสัตว์ทง้ั ปวงกับทัง้ ตัวเองด้วย
ก็ผใู้ ดกนิ กาล ผูน้ ั้นเผาตณั หาทีเ่ ผาสัตว์ไดแ้ ล้ว.
พวกมาณพเหล่าน้ันฟงั ปัญหานแ้ี ลว้ ไมม่ ผี สู้ ามารถ
จะรูไ้ ดแ้ ม้คนเดยี ว.
ลำ� ดบั นน้ั พระโพธสิ ตั วจ์ งึ กลา่ วกะมาณพเหลา่ นนั้ วา่
“พวกท่านอย่าได้เข้าใจว่า ปัญหานี้มีอยู่ในไตรเพท
พวกท่านส�ำคัญว่า ‘อาจารย์รู้ส่ิงใด เราก็รู้ส่ิงนั้นทั้งหมด’
จึงได้เปรียบเราเช่นกับด้วยต้นพุทรา พวกท่านมิได้รู้ว่า
‘เรารู้สิ่งที่พวกท่านยังไม่รู้อีกมาก’ จงไปเถิด เราให้เวลา
๗ วัน จงชว่ ยกนั คิดปัญหาน้ตี ามกาลกำ� หนด.”
มาณพเหล่าน้ันไหว้พระโพธิสัตว์ แล้วกลับไปยัง
ท่ีอยู่ของตน แม้คิดกนั ตลอด ๗ วัน ก็มิไดเ้ หน็ ทสี่ ุด มิได้
เห็นเง่อื นง�ำแหง่ ปัญหา.

ครั้นวนั ที่ ๗ จึงพากนั มาหาอาจารย์ไหว้แลว้ น่งั ลง
เมื่ออาจารยถ์ ามวา่

86 ศิษยอ์ าจารย์

www.kalyanamitra.org

“พวกทา่ นมีหน้าตาเบิกบาน รปู้ ัญหานหี้ รือ ?”
กล่าววา่ “ยังไม่รู้.”
พระโพธิสัตว์ เมื่อจะต�ำหนิมาณพเหล่าน้ันอีก
จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-
ศีรษะของนรชนปรากฏว่า มีมาก มีผมด�ำ ยาว
ปกคลุมถงึ คอ
บรรดาคนท้ังหลายนี้ จะหาคนท่ีมีปัญญาสักคน
กไ็ ม่ได.้
พระโพธิสัตวต์ เิ ตียนพวกมาณพเหลา่ นนั้ วา่
“พวกทา่ นเปน็ คนโง่ มีแตช่ ่องหเู ท่านัน้ ไมม่ ีปัญญา”
ฉะน้ีแลว้ จงึ แกป้ ัญหา
มาณพเหลา่ น้นั ฟังแล้วกล่าวว่า
“ธรรมดาอาจารย์เป็นผยู้ ิง่ ใหญอ่ ย่างน่าอัศจรรย์”
ขอขมาอาจารย์แล้ว ต่างก็หมดความทะนงตน
ปรนนบิ ตั พิ ระโพธสิ ัตว์ตามเดมิ .

ประชุมชาดก.
มาณพท้ัง ๕๐๐ ในคร้งั นัน้ ไดเ้ ป็นภกิ ษเุ หล่านี้
สว่ นอาจารย์ คอื เราตถาคต.

๙. มูลปริยาย 87

www.kalyanamitra.org

88 ศิษยอ์ าจารย์

www.kalyanamitra.org

อาจารย์สอนวิธพี ิจารณาให้ลูกศิษย์
เหมอื นกนั ทงั้ อดตี และปัจจบุ นั

๑๐) สาธศุ ีลชาดก๒๙

วา่ ดว้ ย เลอื กเอาผูม้ ีศลี

สถานท่ีตรสั พระเชตวันมหาวิหาร
ทรงปรารภ พราหมณค์ นหนึง่
สาเหตุทีต่ รัส

ได้ยินว่า พราหมณ์น้ันมีลูกสาวสี่คน. มีชายสี่คน
ต้องการลูกสาวเหล่านัน้ . ในชายสคี่ นนน้ั คนหน่งึ รปู งาม
ร่างกายสมบูรณ์ คนหนึ่งอายุมากเป็นผู้ใหญ่ คนหนึ่ง
สมบรู ณด์ ้วยชาติ คนหนึ่งมศี ลี .

พราหมณค์ ิดวา่ ‘เม่อื จะปลกู ฝังลูกสาว ควรจะใหแ้ ก่
ใครหนอ ? ควรใหแ้ กค่ นรปู งามหรอื คนมอี ายุ คนสมบรู ณ์
ด้วยชาติ และคนมศี ีล คนใดคนหนงึ่ ด’ี

๒๙ ชาตกฏั ฐกถา อรรถกถาชาดก ทกุ นิบาตชาดก, 89
ล.๕๗, น.๒๗๑, มมร.

๑๐. สาธศุ ีล

www.kalyanamitra.org

แมเ้ ขาจะพยายามคิด กไ็ มร่ ้แู น่ จงึ คิดวา่
‘พระสัมมาสัมพทุ ธเจา้ จักทรงทราบเหตนุ ้ี เราจักทูล
ถามพระองค์ แล้วยกลูกสาวให้แก่ผู้ท่ีสมควร ในระหว่าง
คนเหลา่ นั้น’
จึงได้ถือของหอมดอกไม้เป็นต้น ไปวิหาร ถวาย
บังคมพระศาสดา น่ัง ณ ส่วนหน่ึง กราบทูลความน้ัน
แด่พระผ้มู ีพระภาคเจา้ ตง้ั แตต่ น้ แลว้ ทลู ถามวา่
“ขา้ แตพ่ ระองค์ ควรจะใหแ้ กใ่ ครในชายทงั้ สเ่ี หลา่ น.ี้ ”
พระศาสดาตรัสว่า
“แต่ปางก่อน บัณฑิตทั้งหลายก็ยังถามปัญหาน้ี
แก่พระองค์ แต่เพราะยังอยู่ในหัวเลี้ยวหัวต่อของภพ
จงึ ไม่อาจจดจ�ำได”้
เมื่อพราหมณ์ทูลอาราธนา จึงทรงน�ำเรื่องอดีตมา
ตรสั เล่า.

เนื้อหาชาดก
ในอดตี กาล ครง้ั พระเจา้ พรหมทตั เสวยราชสมบตั อิ ยู่

ในกรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์อุบัติในตระกูลพราหมณ์
เรียนศิลปะในเมืองตักกสิลา แล้วได้มาเป็นอาจารย์ทิศา-
ปาโมกข์ในกรงุ ตกั กสิลา.

90 ศษิ ยอ์ าจารย์

www.kalyanamitra.org

ครง้ั นัน้ พราหมณ์มลี กู สาวส่คี น มชี ายสค่ี นต้องการ
ลูกสาวเหลา่ นั้น พราหมณ์ร�ำพึงว่า ‘จะควรใหแ้ กใ่ คร ?’

เมอื่ ไมแ่ นใ่ จจงึ คดิ วา่ ‘เราจะตอ้ งถามอาจารย์ แลว้ ให้
แก่ผู้ท่ีควรให้’ จึงไปหาอาจารย์ เม่ือจะถามเร่ืองนั้น
จึงกลา่ วคาถาแรกว่า :-

เราขอถามทา่ นพราหมณว์ า่
๑. คนมรี ปู งาม ๒. คนอายมุ าก
๓. คนมีชาติสงู ๔. คนมศี ลี
ส่ีคนนน้ั ทา่ นจะเลอื กเอาคนไหน ?
อาจารยฟ์ ังพราหมณ์นั้นแล้ว จงึ ตอบวา่
“คนมีศีลวิบัติแล้ว แม้เม่ือมีรูปสมบัติก็น่าต�ำหนิ
เพราะฉะนั้น รูปสมบัติหาเป็นประมาณไม่ เราชอบ
ความเปน็ ผมู้ ีศีล.”
เม่ือจะประกาศความนี้ จงึ กล่าวคาถาที่ ๒ วา่ :-
ประโยชน์ในร่างกายกม็ อี ยู่
ข้าพเจา้ ขอทำ� ความนอบน้อมต่อทา่ นผเู้ จรญิ วยั
ประโยชนใ์ นชาตดิ ีกม็ อี ยู่ แตเ่ ราชอบใจศลี .

๑๐. สาธุศีล 91

www.kalyanamitra.org

พราหมณ์ฟังค�ำของอาจารย์แล้ว ก็ยกลูกสาวให้แก่
คนมศี ีลอยา่ งเดียว.

พระศาสดานำ� พระธรรมเทศนานม้ี าแลว้ ทรงประกาศ
สจั ธรรม เมื่อจบสัจธรรม พราหมณต์ ้ังอย่ใู นโสดาปตั ตผิ ล.
ประชมุ ชาดก.

พราหมณ์ในครง้ั น้นั ได้เปน็ พราหมณ์ผูน้ ีแ้ หละ
ส่วนอาจารย์ทิศาปาโมกข์ คอื เราตถาคต.

92 ศษิ ย์อาจารย์

www.kalyanamitra.org

อาจารย์สอนวิธีแก้ปัญหาในครอบครวั ๑

๑๑) อนภริ ติชาดก๓๐

ว่าดว้ ย จิตข่นุ มัว-ไมข่ ุ่นมัว

สถานที่ตรสั พระเชตวันมหาวหิ าร
ทรงปรารภ กุมารพราหมณ์คนหน่งึ
สาเหตทุ ีต่ รัส

ในกรุงสาวัตถี มีกุมารพราหมณ์คนหน่ึงเรียนจบ
ไตรเพท สอนมนต์พวกกมุ าร กษัตริยแ์ ละกมุ ารพราหมณ์
เปน็ อันมาก.

ตอ่ มาเขาอยคู่ รอบครองเรอื น ตกอยใู่ นอำ� นาจราคะ
โทสะ โมหะ คิดแต่เร่ืองผ้า เครื่องประดับ ทาส ทาสี
นา สวน โค กระบอื บุตรและภรรยาเปน็ ตน้ จงึ มจี ติ ขุ่นมวั
ไมอ่ าจสอบทานมนตโ์ ดยลำ� ดบั ได้ มนตท์ ง้ั หลายเลอะเลอื น
ไปท้ังขา้ งหนา้ ข้างหลงั .

วันหน่ึง เขาถือของหอมและดอกไม้ เป็นต้น
หลายอย่างไปพระเชตวัน บูชาพระศาสดา ถวายบังคม
แลว้ น่งั ณ สว่ นหนงึ่ .

๓๐ ลต.้น๕ฉ๗บ,บั น.ช๑า๙ต๖ก,ฏั มฐมกรถ.า อรรถกถาชาดก ทกุ นบิ าตชาดก,

๑๑. อนภริ ติ 93

www.kalyanamitra.org

94 ศิษยอ์ าจารย์

www.kalyanamitra.org

พระศาสดาทรงทำ� ปฏสิ นั ถารกบั เขา แลว้ ตรสั ถามวา่
“ดกู อ่ นมาณพ เธอยงั สอนมนตอ์ ยหู่ รอื มนตข์ องเธอ
ยังคลอ่ งอยหู่ รอื ?”
กราบทลู ว่า
“ขา้ แตพ่ ระองค์ เมอื่ กอ่ นมนตข์ องขา้ พระองคย์ งั คลอ่ ง
ดีอยู่ ต้ังแต่ข้าพระองค์ครองฆราวาส จิตของข้าพระองค์
ขนุ่ มวั ดว้ ยเหตนุ น้ั มนตข์ องขา้ พระองคจ์ งึ ไมค่ ลอ่ งแคลว่ .”
ล�ำดับนัน้ พระศาสดาตรัสกะเขาว่า
“ดูก่อนมาณพ มิใช่แต่เวลาน้ีเท่าน้ัน แม้เม่ือก่อน
มนต์ของเธอคล่องแคล่ว ในเวลาจิตของเธอไม่ขุ่นมัว
แต่ในเวลาที่จิตขุ่นมัวด้วยราคะเป็นต้น มนต์ของเธอ
ก็เลอะเลือน.”
เม่ือเขาทูลอาราธนา จงึ ทรงนำ� เร่ืองอดตี มาตรสั เล่า.

เน้อื หาชาดก
ในอดตี กาล ครงั้ พระเจา้ พรหมทตั เสวยราชสมบตั อิ ยู่

ในกรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลพราหมณ์
มหาศาล ครั้นเจริญวัย ได้ไปเรียนมนต์ในเมืองตักกสิลา
เป็นอาจารย์ทิศาปาโมกข์ สอนมนต์กะขัตติยกุมารและ
พรหมณกมุ ารเป็นอันมากในกรุงพาราณส.ี

๑๑. อนภริ ติ 95

www.kalyanamitra.org

พราหมณม์ าณพคนหนงึ่ ในสำ� นกั ของพระโพธสิ ตั วน์ น้ั
ได้ศึกษาไตรเพทจนช�ำนาญ แม้แต่บทเดียวก็ไม่มีสงสัย
ได้เป็นอาจารย์สอนมนต์.

ตอ่ มา พราหมณ์มาณพอยู่ครองฆราวาส กลับมจี ิต
ขนุ่ มวั ไมส่ ามารถรา่ ยมนตไ์ ด้ เพราะคดิ แตก่ ารครองเรอื น.

ครัน้ อาจารย์ถามวา่
“มาณพ มนต์ของท่านยังคล่องแคลว่ อยหู่ รือ ?”
เมือ่ เขาตอบว่า
“ตงั้ แตค่ รองฆราวาส จติ ของขา้ พเจา้ ขนุ่ มวั ไมส่ ามารถ
รา่ ยมนต์ได”้
จงึ กลา่ วว่า
“เมอ่ื จติ ขนุ่ มวั แลว้ มนตท์ เ่ี รยี นแมเ้ ชยี่ วชาญกเ็ ลอื นได้
แตเ่ มอื่ จติ ไม่ขนุ่ มัว จะไม่มเี ลอะเลอื นเลย”
แล้วกลา่ วคาถาสองคาถาวา่ :-

เมื่อน้�ำขุ่นมัว ไม่ใส บุคคลย่อมไม่แลเห็นหอยกาบ
หอยโขง่ กรวด ทราย และฝูงปลาฉันใด

เมื่อจิตขุ่นมัว บุคคลก็ย่อมไม่เห็นประโยชน์ตนและ
ประโยชนผ์ อู้ นื่ ฉันน้ัน.

เมื่อน�้ำไม่ขุ่น ใสบริสุทธ์ิ บุคคลย่อมเห็นหอยกาบ
หอยโข่ง กรวด ทรายและฝูงปลาฉันใด

96 ศษิ ย์อาจารย์

www.kalyanamitra.org

เมื่อจิตไม่ขุ่นมัว บุคคลย่อมเห็นประโยชน์ตนและ
ประโยชนผ์ ู้อื่นฉันน้นั .

พระศาสดาทรงน�ำพระธรรมเทศนาน้ีมาแล้ว ทรง
ประกาศอรยิ สจั ทรงประชุมชาดก

เมอ่ื จบอรยิ สจั พราหมณก์ มุ ารตงั้ อยใู่ นโสดาปตั ตผิ ล.

ประชุมชาดก
มาณพในครงั้ น้ัน ไดเ้ ป็น มาณพนี้แล ในคร้งั นี้
สว่ นอาจารย ์ คือ เราตถาคต นี้แล.

๑๑. อนภิรติ 97

www.kalyanamitra.org

98 ศิษยอ์ าจารย์

www.kalyanamitra.org

อาจารย์สอนวิธีแกป้ ญั หาในครอบครัว ๒

๑๒) อนภริ ติชาดก๓๑

วา่ ดว้ ย เปรียบหญงิ เหมอื นของ ๕ อยา่ ง

สถานทีต่ รสั พระเชตวนั มหาวิหาร
ทรงปรารภ อุบาสกอีกคนหนง่ึ ท่มี ภี รรยาคบชู้
สาเหตุท่ตี รัส

มีเร่ืองเล่ามาว่า อุบาสกคนน้ันเห็นพฤติกรรมของ
ภรรยาเปล่ียนไปไม่เหมือนเดิม เขาจึงเฝ้าคอยจับตา
สงั เกตจนทราบวา่ ‘ภรรยาคบช’ู้ ทำ� ใหเ้ กดิ ความรสู้ กึ ทง้ั แคน้
และเสียใจอย่างย่ิง สภาพจิตใจของเขามีทั้งความอึดอัด
เศร้าหมอง วิตกกงั วลและขุ่นมวั อย่ตู ลอดเวลา

เพราะความทุกข์ดังกล่าว เขาจึงไม่ได้ไปเข้าเฝ้า
พระพุทธเจา้ นานถึง ๑ สปั ดาห์

วันหนึ่ง เขาไมส่ ามารถทนตอ่ ความทุกข์ทมี่ ากดดนั
จงึ ถอื เครอ่ื งสกั การะมขี องหอมและดอกไมเ้ ปน็ ตน้ ไปถวาย
บงั คมพระพทุ ธเจา้ แลว้ น่งั อยู่ ณ ท่ีใกล้

๓ ๑ ลต.น้ ๕ฉ๖บ, บั นช.๑า๔ตก๒ัฏ, ฐมกมถรา. อรรถกถาชาดก เอกนบิ าตชาดก,

๑๒. อนภิรติ 99

www.kalyanamitra.org


Click to View FlipBook Version