คู่มือนิเทศระบบประกันค ุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ตามกฎกระทรวงการประกันค ุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 โดยใช้กระบวนการนิเทศแบบ APIDSE Model
คู่มือนิเทศระบบประกันค ุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ตามกฎกระทรวงการประกันค ุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 โดยใช้กระบวนการนิเทศแบบ APIDSE Model กลุ่มงานส่งเสริมพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 ก กฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 ได้กล่าวถึง การประกันคุณภาพการศึกษา ว่าเป็นการประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาแต ่ละ ระดับและประเภทการศึกษา โดยมีกลไกในการควบคุมตรวจสอบระบบการบริหารคุณภาพการศึกษาที่ สถานศึกษาดำเนินการพัฒนาขึ้น เพื่อให้เป็นสิ่งยืนยันและสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและ สาธารณชนว่า สถานศึกษานั้นสามารถจัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาและบรรลุ เป้าประสงค์ของหน่วยงานต้นสังกัด สถานศึกษาแต่ละแห่งต้องจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษา ภายในสถานศึกษาที่มีการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาให้เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษา แต่ละระดับและประเภทการศึกษา การจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่มุ่งคุณภาพตาม มาตรฐานการศึกษา การดำเนินการตามแผนที ่กำหนดไว้จัดให้มีการประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพ การศึกษาภายในสถานศึกษา การติดตามผลการดำเนินการเพื ่อพัฒนาสถานศึกษาให้มีคุณภาพตาม มาตรฐานการศึกษา และจัดส ่งรายงานผลการประเมินตนเองให้แก ่หน ่วยงานต้นสังกัดเป็นประจำทุกปี พร้อมทั้งกำหนดให้หน่วยงานต้นสังกัดมีหน้าที่ในการให้คำปรึกษา ช่วยเหลือ แนะนำสถานศึกษา ที่ส่งผลให้ การประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นการช่วยเหลือ สนับสนุน และเพิ่มความเข้มแข็งให้ระบบการประกันคุณภาพภายในของ สถานศึกษา กลุ่มงานส่งเสริมและพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 จึงได้จัดทำคู่มือนิเทศระบบประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาตาม กฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 โดยใช้กระบวนการนิเทศแบบ APIDSE Model เล ่มนี้ขึ้น เพื ่อเป็นแนวทางการนิเทศ ติดตาม การดำเนินการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา ตลอดจนผู้ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาให้ได้มาตรฐาน เป็นระบบ และมี คุณภาพอย่างต่อเนื่อง พร้อมรับการประเมิน คุณภาพภายนอกจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมิน คุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) ขอขอบคุณคณะทำงานและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ที่มีส่วนร่วมในการจัดทำคู่มือนิเทศระบบประกัน คุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาตามกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 โดยใช้ กระบวนการนิเทศแบบ APIDSE Model หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารเล่มนี้จะสามารถใช้เป็นแนวทางในการ พัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษาให้มีคุณภาพและบรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ นางสาวกาญจนา หนูผาสุข ตำแหน่งศึกษานิเทศก์วิทยฐานะศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 คำนำ
คู่มือนิเทศระบบประกันค ุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ตามกฎกระทรวงการประกันค ุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 โดยใช้กระบวนการนิเทศแบบ APIDSE Model กลุ่มงานส่งเสริมพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 ข หน้า คำนำ..................................................................................................................................................... ก สารบัญ…………………………………………………………………………………………………………………………………….. ข คำชี้แจงการใช้คู่มือ............................................................................................................................... ค ส่วนที่ 1 องค์ประกอบของรูปแบบการนิเทศ.................................................................................... 1 ความเป็นมาและความสำคัญ ……..………………….………………………….………………..…….…..………………. 1 องค์ประกอบของรูปแบบ ……..………………….……………………………….………………..…….…..………………. 3 หลักการ ……..…………………………………………………………………………….……………..…….…..………………. 3 วัตถุประสงค์……..…………………………………………………….……………………………………….…………………. 4 กระบวนการ ……..………………………………………..…………………………….……………..…….…..………………. 4 การวัดและประเมินผล ……..…………..…………………………………………….……………..…….…..………………. 7 เงื่อนไขสำคัญที่นำไปสู่ความสำเร็จ ……..……………………….……………….……………..…….…..………………. 7 โครงสร้างของรูปแบบ ……..……….…..…………………………………………….……………..…….…..………………. 7 แผนการดำเนินงาน …………………….……..……………………………………….……………..…….…..………………. 8 ส่วนที่ 2 เนื้อหาการนิเทศ................................................................................................................. 11 องค์ประกอบที่ 1 การวิเคราะห์สภาพสถานศึกษา ……..………………….……………..…….…..………………. 13 องค์ประกอบที่ 2 การกำหนดคุณภาพเป้าหมายความสำเร็จของสถานศึกษา ..………………….…..….... 14 องค์ประกอบที่ 3 การวางแผนพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษา ………………………..…..………..….…….... 28 องค์ประกอบที่ 4 การดำเนินการพัฒนาคุณภาพตามเป้าหมายของสถานศึกษา .………………..…….... 38 องค์ประกอบที่ 5 การกำกับติดตามตรวจสอบประเมินผลของสถานศึกษา .………………..……..…….... 43 องค์ประกอบที่ 6 การสรุปผลการดำเนินการ และจัดทำรายงานผลการประเมินตนเอง ของสถานศึกษา ..…….…………………………………………………………....………….…….... 48 ส่วนที่ 3 บทบาทของผู้ที่เกี่ยวข้อง.................................................................................................. 53 ส่วนที่ 4 เครื่องมือนิเทศ................................................................................................................. 60 ส่วนที่ 5 ใบกิจกรรม....................................................................................................................... 75 เอกสารอ้างอิง สารบัญ
คู่มือนิเทศระบบประกันค ุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ตามกฎกระทรวงการประกันค ุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 โดยใช้กระบวนการนิเทศแบบ APIDSE Model กลุ่มงานส่งเสริมพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 ค คู่มือนิเทศระบบประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาตามกฎกระทรวงการประกันคุณภาพ การศึกษา พ.ศ. 2561 โดยใช้กระบวนการนิเทศแบบ APIDSE Model เล่มนี้จัดทำขึ้นสำหรับศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารสถานศึกษา คณะครู เพื ่อใช้เป็นแนวทาง ในการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาของ สถานศึกษาตามกฎกระทรวงการประกันคุณภาพ พ.ศ. 2561 ให้มีความเข้มแข็งและสามารถวางแผนการ ดำเนินงานได้อย่างมีคุณภาพครบวงจร โดยมี ศึกษานิเทศก์ คอยให้คำแนะนำช่วยเหลือสนับสนุนเป็นพี่เลี้ยง คอยให้คำปรึกษาแนะนำวิธีการปฏิบัติงาน ติดตาม และประเมินผล สาระสำคัญของคู่มือ สาระสำคัญของทำคู่มือนิเทศระบบประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาตามกฎกระทรวงการ ประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 โดยใช้กระบวนการนิเทศแบบ APIDSE Model สำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 ประกอบด้วย ตอนที่ 1 องค์ประกอบของรูปแบบการนิเทศ ตอนที่ 2 เนื้อหาการนิเทศ ตอนที่ 3 บทบาทของผู้ที่เกี่ยวข้อง ตอนที่ 4 เครื่องมือนิเทศ กำกับ ติดตาม การจัดการศึกษา ตอนที่ 5 ใบกิจกรรม ในการใช้คู่มือนิเทศระบบประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาตามกฎกระทรวงการประกัน คุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 โดยใช้กระบวนการนิเทศแบบ APIDSE Model สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 สถานศึกษากลุ่มเป้าหมายมีแนวดำเนินการดังนี้ 1. ก่อนการดำเนินการผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา และผู้ที่เกี่ยวข้องใน โรงเรียนควรศึกษาทำความเข้าใจในคู่มือการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาตาม กฎกระทรวงการประกันคุณภาพ พ.ศ. 2561 2. ผู้บริหารสถานศึกษา ครูบุคลากรทางการศึกษาและผู้ที ่เกี ่ยวข้อง ประชุมเพื ่อสร้างความรู้ ความเข้าใจร่วมกัน และร่วมกันวางแผนในการดำเนินงาน 3. โรงเรียนกลุ่มเป้าหมายดำเนินการตามกิจกรรมและขั้นตอนในการดำเนินงานตามที่วางแผนไว้ คู่มือนิเทศระบบประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาตามกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 โดยใช้กระบวนการนิเทศแบบ APIDSE Model ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา มหาสารคาม เขต 2 โดยในระหว่างการดำเนินการจะมีศึกษานิเทศก์ คอยให้ความช่วยเหลือแนะนำและ ชี้แนะ เป็นระยะ ๆ ตลอดการดำเนินงาน คำชี้แจงการใช้คู่มือ
คู่มือนิเทศระบบประกันค ุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ตามกฎกระทรวงการประกันค ุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 โดยใช้กระบวนการนิเทศแบบ APIDSE Model กลุ่มงานส่งเสริมพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 ง 4. หลังจากดำเนินกิจกรรมเสร็จแล้ว จะมีการติดตาม สรุปและประเมินผล ร่วมกับคณะกรรมการที่ โรงเรียนแต่งตั้งขึ้น เพื่อร่วมกันสรุปผลการดำเนินงาน และเผยแพร่ผลการดำเนินงานต่อไป คู่มือนิเทศระบบประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาตามกฎกระทรวงการประกันคุณภาพ การศึกษา พ.ศ. 2561 โดยใช้กระบวนการนิเทศแบบ APIDSE Model ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 ฉบับนี้จะครอบคลุมถึงแนวปฏิบัติในการเตรียมการประเมินคุณภาพ การศึกษา การวางแผนการดำเนินงาน การตรวจสอบ การตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ตลอดจน การนำผลการประเมินไปพัฒนาปรับปรุงตลอดปีการศึกษาตามระบบวงจรคุณภาพ (PDCA) ของสถานศึกษา และเพื่อเตรียมพร้อมรับการประเมินคุณภาพภายนอก ซึ่งเป็นเพียงแนวทางเบื้องต้น หากขาดรายละเอียด หรือข้อมูลไม่เพียงพอต่อการดำเนินงาน ผู้เกี่ยวข้องสามารถปรับปรุง พัฒนาหรือเพิ่มเติมข้อมูลสำหรับใช้ใน การดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาตามกฎกระทรวงการประกันคุณภาพ พ.ศ. 2561 ได้ตามความเหมาะสม นางสาวกาญจนา หนูผาสุข ตำแหน่ง ศึกษานิเทศก์วิทยฐานะ ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2
คู่มือนิเทศระบบประกันค ุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ตามกฎกระทรวงการประกันค ุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 โดยใช้กระบวนการนิเทศแบบ APIDSE Model กลุ่มงานส่งเสริมพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 1 ความเป็นมาและความสำคัญ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2 ) พ.ศ. 2545 กำหนดให้ หน่วยงานต้นสังกัด และสถานศึกษาจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา อันนำไปสู่การ กำหนดให้มีมาตรฐานการศึกษาขึ้น ประกอบกับได้มีการประกาศใช้กฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 และกระทรวงศึกษาธิการประกาศให้ใช้มาตรฐานการศึกษาระดับปฐมวัย ระดับการศึกษาขั้น พื้นฐาน และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานศูนย์การศึกษาพิเศษ พ.ศ. 2561 ลงวันที่ 6 สิงหาคม 2561 สำหรับให้ สถานศึกษาใช้เป็นแนวทางดำเนินงานเพื่อการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ซึ่งจะทำให้เกิดความมั่นใจแก่ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายว่าการจัดการศึกษาของสถานศึกษามีคุณภาพได้มาตรฐานและคงรักษาไว้ซึ่งมาตรฐาน จากการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สถานศึกษามีบทบาทหน้าที่ในการจัดการศึกษาที่ยึด หลักว่า ผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด มุ่งพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนให้บรรลุเป้าหมายตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตร ด้วยการมีส่วนร่วมทั้งจากการบริหารจัดการของฝ่ายบริหาร การปฏิบัติหน้าที่ของครูและบุคลากรทุกคนใน สถานศึกษาและหน ่วยงานภายนอก ดังนั้น เพื ่อให้ผู้ที ่เกี ่ยวข้องกับการจัดการศึกษาของสถานศึกษาและ สาธารณชน เชื่อมั่นว่าสถานศึกษามีการดำเนินงานสำเร็จบรรลุเป้าหมายตามที่ระบุในมาตรฐานการศึกษาของ สถานศึกษา สถานศึกษาจึงต้องมีการประเมินตนเอง (Self-Assessment) ด้วยกระบวนการ วิธีการที่มีความ น่าเชื่อถือ และผู้ประเมินมีความรู้ความสามารถในการประเมิน ซึ่งผลจากการประเมินตนเองตามมาตรฐาน การศึกษาของสถานศึกษาจะเป็นการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาว ่า สถานศึกษาสามารถจัด การศึกษาได้อย ่างมีคุณภาพสำเร็จตามเป้าหมายที ่กำหนดหรือสูงกว ่าเป้าหมายในประเด็นใดบ้าง ผลการ ประเมินตนเองตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา จะเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนและพัฒนาคุณภาพ การศึกษาในปีการศึกษาต่อไป นอกจากนี้เพื่อให้ผู้ที่รับผิดชอบการจัดการศึกษาหรือผู้พัฒนาคุณภาพการศึกษา ผู้เกี่ยวข้องและสาธารณชนรับทราบผลการจัดการศึกษา สถานศึกษาจึงต้องจัดทำรายงานการประเมินตนเอง (Self - Assessment Report : SAR) และเผยแพร่ด้วยวิธีการหรือช่องทางการสื่อสารอย่างหลากหลาย กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 กำหนดให้การ ประกันคุณภาพการศึกษา เป็นการประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของ สถานศึกษาแต่ละระดับและประเภทการศึกษา โดยมีกลไกในการควบคุมตรวจสอบระบบการบริหารคุณภาพ การศึกษาที ่สถานศึกษาจัดขึ้น เพื ่อให้เกิดการพัฒนาและสร้างความเชื ่อมั ่นให้แก ่ผู้มีส ่วนเกี ่ยวข้องและ สาธารณชนว ่าสถานศึกษานั้นสามารถจัดการศึกษาได้อย ่างมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา และบรรลุ เป้าประสงค์ของหน ่วยงานต้นสังกัดหรือหน ่วยงานที่กำกับดูแล จากการเปลี่ยนแปลงข้อกำหนดดังกล ่าวนี้ กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดให้จัดทำแนวปฏิบัติสำหรับการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาและกรอบ มาตรฐาน เพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาที่สอดคล้องกับนโยบายและกฎกระทรวงการประกัน ส่วนที่ 1 องค์ประกอบของรูปแบบการนิเทศ
คู่มือนิเทศระบบประกันค ุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ตามกฎกระทรวงการประกันค ุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 โดยใช้กระบวนการนิเทศแบบ APIDSE Model กลุ่มงานส่งเสริมพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 2 คุณภาพการศึกษา พ.ศ.2561 ส่วนหน่วยงานต้นสังกัดและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามีหน้าที่ในการส่งเสริม สนับสนุน นิเทศ ติดตาม และช่วยเหลือสถานศึกษาในการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษา การประกันคุณภาพการศึกษา เป็นกระบวนการดำเนินงานตามภารกิจของสถานศึกษา เพื่อสร้างความ มั่นใจให้กับนักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชนและสังคมโดยรวมว่าการดำเนินงานของสถานศึกษาจะมีประสิทธิภาพ และทำให้ผู้เรียนมีคุณภาพ หรือคุณลักษณะพึงประสงค์ตามมาตรฐานการศึกษาที่ได้กำหนดไว้องค์ประกอบ ของระบบการประกันคุณภาพการศึกษา ประกอบด้วยการพัฒนาคุณภาพการศึกษา การติดตามตรวจสอบเพื่อ ควบคุมคุณภาพการศึกษา การประเมินคุณภาพการศึกษาซึ่งรวมถึงการใช้ผลประเมินเป็นฐานเพื่อการพัฒนา คุณภาพในวงจรการพัฒนาใหม ่ต ่อเนื ่อง การพัฒนาคุณภาพการศึกษา เป็นกระบวนการกำหนดมาตรฐาน คุณภาพของผู้เรียนที่เป็นเป้าหมาย รวมทั้งมาตรฐานกระบวนการการดำเนินงานและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการ จัดการศึกษาที ่เชื ่อว ่าจะสามารถส ่งผลให้การจัดการศึกษาบรรลุเป้าหมาย ทั้งนี้ในระหว ่างดำเนินงาน จัดการศึกษาสู ่เป้าหมาย สถานศึกษาและหน ่วยงานต้นสังกัด จำเป็นต้องมีการพัฒนากลไกในการติดตาม ตรวจสอบคุณภาพการศึกษาด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่ เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และด้านคุณภาพผู้เรียน โดยบุคคลภายในสถานศึกษาและภายนอกสถานศึกษาเพื่อให้ มั่นใจได้ว่าจะสามารถพัฒนาผู้เรียนที่มีคุณภาพตามเป้าหมายที่กำหนดได้อย่างมีประสิทธิภาพ สถานศึกษาต้อง พัฒนาการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาให้เป็นส่วนหนึ่งของการบริหารจัดการศึกษาปกติ ของสถานศึกษา โดยคำนึงถึงหลักการและกระบวนการสำคัญ ได้แก่ 1) หลักการมีส่วนร่วมแบบร่วมแรงร่วมใจ ในการปรับปรุงคุณภาพการศึกษาของทุกคนในสถานศึกษา 2) หลักการร ่วมรับผิดรับชอบในผลการจัด การศึกษาอย่างตรวจสอบได้ คือมีร่องรอยสารสนเทศสำหรับอธิบายคุณภาพต่อสาธารณชนที่สามารถรวจสอบ ได้ และ 3) หลักการประกันคุณภาพเป็นหน้าที ่ของทุกคนในสถานศึกษาที ่ต้องรับผิดชอบและร ่วมลงมือ ดำเนินการทุกขั้นตอนของการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ทั้งนี้โดยอาศัยกระบวนการ ดำเนินการพัฒนาคุณภาพด้วยวงจรคุณภาพแบบ PDCA คือ มีกระบวนการวางแผนกำหนดเป้าหมายคุณภาพ (Plan) ดำเนินการตามแผนควบคู ่กับการติดตามตรวจสอบและประเมินคุณภาพระหว่างดำเนินงาน (Do & Check) กระบวนการนำผลการประเมินมาเป็นฐานการตัดสินใจพัฒนาหรือยกระดับคุณภาพให้สูงขึ้นต่อเนื่อง ตามลำดับ (Act) จากการนิเทศติดตาม ระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา พบว ่า การกำหนดมาตรฐาน การศึกษาของสถานศึกษาเป็นไปตามมาตรฐานการศึกษาระดับการศึกษาปฐมวัยและระดับการศึกษาขั้น พื้นฐานที ่กระทรวงประกาศใช้ แต ่ยังไม ่สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา อีกทั้ง การกำหนดเป้าหมาย ความสำเร็จตามตามมาตรฐานของสถานศึกษายังไม่ชัดเจนและเหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษา ในด้านการ จัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา ยังไม่สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการจำเป็น ของสถานศึกษา ทั้งยังไม ่ตอบโจทย์เป้าหมายความสำเร็จตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา การ ประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพการศึกษายังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ขาดความชัดเจนในการติดตามผล การดำเนินการและนำผลการติดตามไปใช้ประโยชน์ ส ่งผลให้การจัดทำรายงานการประเมินตนเอง (SelfAssessment Report : SAR) ตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาไม่สามารถสะท้อนภาพความสำเร็จจาก
คู่มือนิเทศระบบประกันค ุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ตามกฎกระทรวงการประกันค ุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 โดยใช้กระบวนการนิเทศแบบ APIDSE Model กลุ่มงานส่งเสริมพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 3 การดำเนินงานทั้งหมดของสถานศึกษาได้อย่างถูกต้องชัดเจนและครอบคลุมทุกมาตรฐานการศึกษา ทั้งนี้อาจ เนื่องมาจากสถานศึกษาขาดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพ ภายในของสถานศึกษาตามกฎกระทรวง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 ได้ตระหนักและให้ความสำคัญต่อการ ส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา จึงได้จัดทำคู่มือนิเทศระบบประกัน คุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาตามกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 โดยใช้ กระบวนการนิเทศแบบ APIDSE Model ในการดำเนินงานนิเทศเพื ่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา และติดตาม ประเมินผล ระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา มหาสารคาม เขต 2 เพื่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง และเป็นวงจรการพัฒนาที่ยั่งยืน ต่อไปได้ องค์ประกอบของรูปแบบ กระบวนการนิเทศแบบ APIDSE Model ที ่พัฒนาขึ้นได้บูรณาการผสานเทคนิคการนิเทศแบบ พัฒนาการ การนิเทศแบบร ่วมพัฒนา และกระบวนการนิเทศแบบ APIDSE มีองค์ประกอบของรูปแบบ 6 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการ การวัดและประเมินผล ระบบสังคม และเงื่อนไข ความสำเร็จ ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 วิเคราะห์สภาพสถานศึกษา (Assessing) ขั้นที่ 2 วางแผน เตรียมการพัฒนา (Planning) ขั้นที ่ 3 นำพาให้ความรู้ (Informing) ขั้นที ่ 4 ประยุกต์สู่การปฏิบัติ(Doing) ขั้นที่ 5 ชี้ชัดแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Sharing) และขั้นที่ 6 นำสู่การประเมิน (Evaluating) หลักการ ผู้นิเทศ และผู้รับการนิเทศ ร ่วมกันพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาตาม กฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 ให้มีประสิทธิภาพ ทั้งด้านกระบวนการบริหารและการ จัดการ ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที ่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เพื ่อพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพและ ประสิทธิผลตามเป้าหมายของการเรียนรู้ ตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ด้วยการมีส่วนร่วม ผู้นิเทศ และผู้รับการนิเทศ มีการวางเผนอย่างเป็นระบบ กำกับ ติดตาม การดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและการขยายผล ต่อเพื่อนร่วมวิชาชีพเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้
คู่มือนิเทศระบบประกันค ุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ตามกฎกระทรวงการประกันค ุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 โดยใช้กระบวนการนิเทศแบบ APIDSE Model กลุ่มงานส่งเสริมพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 4 วัตถุประสงค์ 1. เพื่อพัฒนาความรู้ความเข้าใจในการดำเนินการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา 2. เพื ่อพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาตามกฎกระทรวงการประกันคุณภาพ การศึกษา พ.ศ.2561 ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 3. เพื ่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา การวิเคราะห์สภาพ สถานศึกษา การกำหนดคุณภาพเป้าหมายความสำเร็จของสถานศึกษา การวางแผนพัฒนาคุณภาพของ สถานศึกษา การดำเนินการพัฒนาคุณภาพตามเป้าหมายของสถานศึกษา การกำกับติดตามตรวจสอบ ประเมินผลของสถานศึกษา และ การสรุปผล จัดทำรายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา สังกัด สำนักงานพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 กระบวนการ ขั้นที่ 1 การวิเคราะห์สภาพสถานศึกษา (Assessing) การวิเคราะห์สภาพบริบทการประกันคุณภาพ ภายในสถานศึกษาเพื่อให้ได้ข้อมูลที่สอดคล้องกับสภาพปัจจุบันปัญหาและความต้องการของผู้รับการนิเทศ ขั้นที่ 2 วางแผนเตรียมการพัฒนา (Planning) 1) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี นวัตกรรมการนิเทศ กำหนดจุดมุ่งหมาย กำหนดทางเลือก ออกแบบ การนิเทศ 2) นำเสนอโครงการพัฒนา 3) จัดทำแผนการนิเทศ เครื่องมือในการนิเทศ และปฏิทินการนิเทศ 4) สร้างและพัฒนาชุดฝึกอบรมที่ส่งเสริมระบบประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาตาม กฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 ขั้นที่ 3 นำพาให้ความรู้ (Informing) การดำเนินการให้ความรู้แก ่ผู้บริหารสถานศึกษาและครู ผู้รับผิดชอบ โดยการจัดอบรม/ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบการประกัน คุณภาพการศึกษาตามกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ.2561 ตามชุดฝึกอบรมที่ส่งเสริมระบบ ประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาตามกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 จำนวน 5 เล่ม ดังนี้ เล่มที่ 1 การกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา เล่มที่ 2 การจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา เล่มที่ 3 การประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษา เล่มที่ 4 การจัดทำรายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา เล ่มที่ 5 การใช้งานระบบการรายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษาแบบ อิเล็กทรอนิกส์(e-SAR)
คู่มือนิเทศระบบประกันค ุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ตามกฎกระทรวงการประกันค ุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 โดยใช้กระบวนการนิเทศแบบ APIDSE Model กลุ่มงานส่งเสริมพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 5 ขั้นที่ 4 ประยุกต์สู่การปฏิบัติ (Doing) การนิเทศติดตามการดำเนินงานพัฒนาระบบประกันคุณภาพ ภายในสถานศึกษา โดยดำเนินการ ดังนี้ 1. ชี้แจงขั้นตอนการนิเทศ 2. การนิเทศ ติดตาม ให้ความช ่วยเหลือ แนะนำ ให้คำปรึกษา ชี้แนะ เป็นพี ่เลี้ยง ทั้งใน รูปแบบ Online และ Onsite แบ่งเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 นิเทศ ติดตาม ผลการดำเนินงานระหว่างการดำเนินงานพัฒนาการจัดการศึกษา เพื ่อตรวจสอบประกาศมาตรฐาน และเป้าหมายความสำเร็จของสถานศึกษา ตรวจสอบแผนพัฒนาการจัด การศึกษาของสถานศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปี และปฏิทินการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายใน สถานศึกษา การพัฒนาคุณภาพการศึกษา ปีการศึกษา 2566 ระยะที่ 2 นิเทศ ติดตาม ผลการดำเนินงานพัฒนาการจัดการศึกษา เพื่อนิเทศติดตามการ ดำเนินงานพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ประกอบไปด้วยเนื้อหา 5 องค์ประกอบได้แก่ 1) การกำหนดคุณภาพเป้าหมายความสำเร็จของสถานศึกษา 2) การวางแผนพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษา 3) การดำเนินการพัฒนาคุณภาพตามเป้าหมายของสถานศึกษา 4) การกำกับติดตามตรวจสอบประเมินผลของสถานศึกษา 5) การสรุปผลการดำเนินการ และจัดทำรายงานผลการประเมินตนเองของ สถานศึกษา 3. สะท้อนผลการนิเทศ ขั้นที่ 5 ชี้ชัดแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Sharing) 1. จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาสร้าง ความยั่งยืนมีความเข้มแข็งและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อค้นหา Best Practice การดำเนินงานระบบ ประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา และคัดเลือกสถานศึกษาที่มีระบบคุณภาพและกลไกการขับเคลื่อนจนเป็น วัฒนธรรมของการทำงานเป็นแบบอย่างได้ 2. จัดกิจกรรมยกย่อง เชิดชูเกียรติ มอบโล่/เกียรติบัตร ให้กับสถานศึกษาที่ได้รับรางวัล ขั้นที่ 6 นำสู่การประเมิน (Evaluating) 1. ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ดังนี้ 1) ความรู้ความเข้าใจในการดำเนินการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายใน สถานศึกษา 2) กระบวนการดำเนินการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา และการนำเข้า SAR ในระบบ E-SAR ของสถานศึกษา 3) การแลกเปลี ่ยนเรียนรู้ การดำเนินงานระบบการประกันคุณภาพภายใน สถานศึกษา เพื่อค้นหาแบบอย่างที่ดี (Best Practice)
คู่มือนิเทศระบบประกันค ุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ตามกฎกระทรวงการประกันค ุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 โดยใช้กระบวนการนิเทศแบบ APIDSE Model กลุ่มงานส่งเสริมพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 6 2. สรุปและจัดทำรายงานผลการนิเทศติดตามการดำเนินงานพัฒนาระบบประกันคุณภาพ ภายในสถานศึกษา 3. เผยแพร ่กิจกรรมและผลงานของสถานศึกษาผ ่านช ่องทางออนไลน์ เช ่น ในกลุ ่มไลน์, เว็บไซต์ของกลุ ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา สพป.มหาสารคาม เขต 2, เว็บไซต์ของ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 และห้องถ่ายทอดสด MKM2 channel กระบวนการของรูปแบบการนิเทศระบบประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาตามกฎกระทรวง การประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 โดยใช้กระบวนการนิเทศแบบ APIDSER Model ในการดำเนินงาน นิเทศเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา และติดตามประเมินผล ระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 มี 6 ขั้นตอน ดังภาพที่ 1 ภาพที่ 1 กระบวนการของรูปแบบการนิเทศระบบประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาตามกฎกระทรวง การประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2
คู่มือนิเทศระบบประกันค ุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ตามกฎกระทรวงการประกันค ุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 โดยใช้กระบวนการนิเทศแบบ APIDSE Model กลุ่มงานส่งเสริมพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 7 การวัดและประเมินผล 1. ความรู้ความเข้าใจในการดำเนินการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา 2. กระบวนการดำเนินการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ตามมาตรฐาน การศึกษาของสถานศึกษา 3. การแลกเปลี ่ยนเรียนรู้การดำเนินงานระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา เพื ่อค้นหา แบบอย่างที่ดี (Best Practice) เงื่อนไขสำคัญที่นำไปสู่ความสำเร็จ 1. มีการเชื่อมโยงประเด็นการนิเทศและมาตรฐานการศึกษาให้เป็นหนึ่งเดียวกัน 2. มีการสร้างความรู้ ความเข้าใจร่วมกัน 3. มีการกำกับ ติดตาม อย่างต่อเนื่อง 4. มีการช่วยเหลือ แนะนำ ให้คำปรึกษา 5. มีการให้ขวัญกำลังใจ โครงสร้างของรูปแบบ ภาพที่ 2 รูปแบบการนิเทศระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาตามกฎกระทรวงการประกันคุณภาพ การศึกษา พ.ศ. 2561 ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2
คู่มือนิเทศระบบประกันค ุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ตามกฎกระทรวงการประกันค ุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 โดยใช้กระบวนการนิเทศแบบ APIDSE Model กลุ่มงานส่งเสริมพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 8 แผนการดำเนินงาน รูปแบบการนิเทศเพื่อพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาตามกฎกระทรวงการ ประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 โดยใช้กระบวนการนิเทศแบบ APIDSE Model มีโครงสร้างการ ดำเนินการ 6 ขั้นตอน ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ดังนี้ ที่ ระยะเวลา ดำเนินงาน กิจกรรม สื่อ/เครื่องมือ กลุ่มเป้าหมาย/ ผู้ให้ข้อมูล การวิเคราะห์สภาพสถานศึกษา (Assessing) 1 เดือนเมษายน - พฤษภาคม 2566 วิเคราะห์สภาพบริบทการประกัน คุณภาพภายในสถานศึกษา ใบกิจกรรม การ วิเคราะห์สภาพ สถานศึกษา โดยการนำ ผลการประเมินมาใช้ใน การพัฒนาคุณภาพ 1. ศึกษานิเทศก์ 2. ผู้บริหาร สถานศึกษา 3. ครูผู้รับผิดชอบ งานประกันฯ วางแผนเตรียมการพัฒนา (Planning) 2 เดือนพฤษภาคม 2566 1.ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี นวัตกรรมการนิเทศ กำหนด จุดมุ่งหมาย กำหนดทางเลือก ออกแบบการนิเทศ 2. จัดทำแผนการนิเทศ เครื่องมือ ในการนิเทศ และปฏิทินการนิเทศ 3. สร้างและพัฒนาชุดฝึกอบรมที่ ส่งเสริมระบบประกันคุณภาพ การศึกษาของสถานศึกษาตาม กฎกระทรวงการประกันคุณภาพ การศึกษา พ.ศ. 2561 1. แผนการนิเทศ 2. คู่มือนิเทศ 3. เครื่องมือในการนิเทศ 4. ชุดฝึกอบรมฯ 1. ผู้เชี่ยวชาญ/ ผู้ทรงคุณวุฒิ 2. ศึกษานิเทศก์ นำพาให้ความรู้ (Informing) 3 เดือนมิถุนายน 2566 1. ประชุมชี้แจงทำความเข้าใจ 2. อบรม/ประชุมเชิงปฏิบัติ การให้ความรู้ 1. หนังสือราชการ 2. Power Point 3. ชุดฝึกอบรมฯ 4. ใบกิจกรรม 1. ศึกษานิเทศก์ 2. ผู้บริหาร สถานศึกษา 3. ครูผู้รับผิดชอบ งานประกันฯ
คู่มือนิเทศระบบประกันค ุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ตามกฎกระทรวงการประกันค ุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 โดยใช้กระบวนการนิเทศแบบ APIDSE Model กลุ่มงานส่งเสริมพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 9 ที่ ระยะเวลา ดำเนินงาน กิจกรรม สื่อ/เครื่องมือ กลุ่มเป้าหมาย/ ผู้ให้ข้อมูล ประยุกต์สู่การปฏิบัติ (Doing) 4 เดือนกรกฎาคม 2566 ระยะที่ 1 1. ชี้แจงขั้นตอนการนิเทศ 2. นิเทศ ติดตาม ให้ความ ช่วยเหลือ แนะนำ ให้คำปรึกษา ชี้แนะ เป็นพี่เลี้ยง ในรูปแบบ Online 3. สะท้อนผลการนิเทศ 1. หนังสือราชการ 2. Power Point ประชุมชี้แจง 3. แบบนิเทศ ติดตามผล การดำเนินงานระหว่าง การดำเนินงาน พัฒนาการจัดการศึกษา 1. ศึกษานิเทศก์ 2. ผู้บริหาร สถานศึกษา 3. ครูผู้รับผิดชอบ งานประกันฯ 5 เดือนกรกฎาคม – สิงหาคม 2566 ระยะที่ 2 1. ชี้แจงขั้นตอนการนิเทศ 2. นิเทศ ติดตาม ให้ความ ช่วยเหลือ แนะนำ ให้คำปรึกษา ชี้แนะ เป็นพี่เลี้ยง ในรูปแบบ Onsite 3. สะท้อนผลการนิเทศ 1. หนังสือราชการ 2. ปฏิทินการนิเทศ 3. Power Point ประชุมชี้แจง 4. แบบนิเทศ ติดตาม การดำเนินงานตาม ระบบการประกัน คุณภาพการศึกษา ภายในสถานศึกษา ปีการศึกษา 2566 1. ศึกษานิเทศก์ 2. ผู้บริหาร สถานศึกษา 3. ครูผู้รับผิดชอบ งานประกันฯ
คู่มือนิเทศระบบประกันค ุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ตามกฎกระทรวงการประกันค ุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 โดยใช้กระบวนการนิเทศแบบ APIDSE Model กลุ่มงานส่งเสริมพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 10 ที่ ระยะเวลา ดำเนินงาน กิจกรรม สื่อ/เครื่องมือ กลุ่มเป้าหมาย/ ผู้ให้ข้อมูล ชี้ชัดแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Sharing) 6 เดือนสิงหาคม - กันยายน 2566 1. จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ นำเสนอนวัตกรรม (Innovation) หรือการปฏิบัติที่เป็นเลิศ/ แบบอย่างที่ดี (Best Practice) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการ ปฏิบัติงานที่สะท้อนประสิทธิผล ตามมาตรฐานการศึกษาของ สถานศึกษา 2. ค้นหา Best Practice 3. จัดกิจกรรมยกย่อง เชิดชูเกียรติ มอบโล ่/เกีย รติบัต ร ให้กับ สถานศึกษาที่ได้รับรางวัล 1. หนังสือราชการ 2. Google form 3. กรอบการนำเสนอ ผลงานและเกณฑ์การ คัดเลือกสถานศึกษาที่มี การดำเนินงานระบบ ประกันคุณภาพภายใน สถานศึกษาที่เป็นเลิศ 1. คณะกรรมการ คัดเลือก Best Practice 2. ศึกษานิเทศก์ 2. ผู้บริหาร สถานศึกษา 3. ครูผู้รับผิดชอบ งานประกันฯ นำสู่การประเมินผล (Evaluating) 7 เดือนกันยายน 2566 1. สรุปและจัดทำรายงานผลการ นิเทศติดตามการดำเนินงาน พัฒนาระบบประกันค ุณภาพ ภายในสถานศึกษา 2. เผยแพร ่กิจกรรมและผลงาน ของสถานศึกษาผ ่านช ่องทาง ออนไลน ์ เช ่น ในกล ุ ่มไลน์ , เว็บไซต์ของกลุ ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา สพป.มหาสารคาม เขต 2, เว็บไซต์ ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 และห้องถ ่ ายทอดสด MKM2 channel 1. รายงานผลการนิเทศ ติดตามการดำเนินงาน พัฒนาระบบประกัน คุณภาพภายใน สถานศึกษา ศึกษานิเทศก์
คู่มือนิเทศระบบประกันค ุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ตามกฎกระทรวงการประกันค ุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 โดยใช้กระบวนการนิเทศแบบ APIDSE Model กลุ่มงานส่งเสริมพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 11 แนวทางการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ประกอบไปด้วยเนื้อหา 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การวิเคราะห์สภาพสถานศึกษา 2) การกำหนดคุณภาพเป้าหมายความสำเร็จของสถานศึกษา 3) การวางแผนพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษา 4) การดำเนินการพัฒนาคุณภาพตามเป้าหมายของสถานศึกษา 5) การกำกับติดตามตรวจสอบประเมินผลของสถานศึกษา 6) การสรุปผลการดำเนินการ และจัดทำรายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา การประกันคุณภาพการศึกษา เป็นกระบวนการดำเนินงานตามภารกิจ ของสถานศึกษา เพื่อสร้าง ความมั ่นใจให้กับนักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชนและสังคม โดยรวมว ่าการดำเนินงานของสถานศึกษาจะมี ประสิทธิภาพและทำให้ผู้เรียน มีคุณภาพ หรือคุณลักษณะพึงประสงค์ตามมาตรฐานการศึกษาที่ได้กำหนดไว้ องค์ประกอบของระบบการประกันคุณภาพการศึกษาประกอบด้วยการพัฒนาคุณภาพการศึกษา การติดตาม ตรวจสอบเพื่อควบคุมคุณภาพการศึกษาการประเมินคุณภาพการศึกษาซึ่งรวมถึงการใช้ผลประเมินเป็นฐานเพื่อ การพัฒนาคุณภาพในวงจรการพัฒนาใหม่ต่อเนื่อง ดังแสดงในภาพที่ 3 ภาพที่ 3 แสดงองค์ประกอบของระบบการประกันคุณภาพการศึกษา (ที่มา: แนวทางการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษา ตามกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561) ส่วนที่ 2 เนื้อหาการนิเทศ
คู่มือนิเทศระบบประกันค ุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ตามกฎกระทรวงการประกันค ุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 โดยใช้กระบวนการนิเทศแบบ APIDSE Model กลุ่มงานส่งเสริมพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 12 จากภาพที่ 3 จะเห็นได้ว่า การพัฒนาคุณภาพการศึกษา เป็นกระบวนการกำหนดมาตรฐานคุณภาพ ของผู้เรียนที ่เป็นเป้าหมาย รวมทั้งมาตรฐาน กระบวนการการดำเนินงานและปัจจัยที ่เกี่ยวข้องกับการจัด การศึกษาที ่เชื ่ออว ่า จะสามารถส ่งผลให้การจัดการศึกษาบรรลุเป้าหมาย ทั้งนี้ในระหว ่างดำเนินงาน จัด การศึกษาสู่เป้าหมาย สถาศึกษาและหน่วยงานต้นสังกัด จำเป็นต้องมีการพัฒนากลไกในการติดตาม ตรวจสอบ คุณภาพการศึกษาด้านกระบวนการบริหาร และการจัดการด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียน เป็นสำคัญ และด้านคุณภาพผู้เรียน โดยบุคคลภายในสถานศึกษา และภายนอกสถานศึกษา เพื่อให้มั่นใจได้ว่า จะสามารถพัฒนาผู้เรียนที่มีคุณภาพตามเป้าหมายที่กำหนดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้สถานศึกษาต้องมีการประเมินคุณภาพการศึกษา เพื่อรวบรวมข้อมูล ผลการดำเนินงานที่สะท้อน คุณภาพของผู้เรียนและกระบวนการบริหารและการจัดการและนำผลไปเปรียบเทียบกับเป้าหมายที่กำหนดไว้ นำไปสู่การปรับปรุง พัฒนาคุณภาพการศึกษาให้ยั่งยืนต่อไป ในส่วนของการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา หลังจากสถานศึกษาดำเนินการประเมินคุณภาพ ตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา โดยบุคลากรภายในสถานศึกษาที่มีหน้าที่กำกับดูแลสถานศึกษานั้น และนำผลการประเมินคุณภาพภายในดังกล ่าวมาใช้เป็นฐานในการวางแผนพัฒนามาตรฐานหรือพัฒนา เป้าหมาย และปรับเปลี่ยนแนวทางการดำเนินงานปกติ ของสถานศึกษาคือกระบวนการบริหารและการจัดการ และกระบวนการจัดการเรียนการสอนที ่เน้นผู้เรียนี้เป็นสำคัญ เพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียนแล้วดำเนินงาน ตามแผนที่ว่างไว้ควบคู่ไปกับการติดตามตรวจสอบกระบวนการดำเนินงาน ระหว่างการปฏิบัติ และประเมิน คุณภาพเปรียบเทียบกับเป้าหมายที่กำหนด พร้อมกับใช้ผลการประเมินเป็นฐานการยกระดับคุณภาพการศึกษา ในวงจร การพัฒนาให้คุณภาพสถานศึกษาสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตามลำดับ ทั้งนี้ทุกสถานศึกษาต้องพัฒนาการ ดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาให้เป็นส ่วนหนึ ่ง ของการบริหารจัดการศึกษาปกติของ สถานศึกษา โดยคำนึงถึงหลักการและกระบนการสำคัญ ได้แก่ 1) หลักการมีส่วนร่วมแบบร่วมแรงร่วมใจ ใน การปรับปรุงคุณภาพการศึกษาของทุกคนในสถานศึกษา 2) หลักการร่วมรับผิดรับชอบในผลการจัดการศึกษา อย่างตรวจสอบได้ คือมีร่องรอย สารสนเทศสำหรับอธิบายคุณภาพต่อสาธารณชนที่สามารถตรวจสอบได้ และ 3) หลักการประกันคุณภาพเป็นหน้าที่ของทุกคนในสถานศึกษาที่ต้องรับผิดชอบ และร่วมลงมือดำเนินการทุก ขั้นตอนของการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ทั้งนี้โดยอาศัยกระบวนการดำเนินการพัฒนา คุณภาพด้วยวงจร คุณภาพแบบ PDCA คือมีกระบวนการวางแผนกำหนดเป้าหมายคุณภาพ (Plan) ดำเนินการ ตามแผนควบคู่กับการติดตามตรวจสอบและประเมินคุณภาพระหว่างดำเนินงาน (Do & Check) กระบวนการ นำผลการประเมินมาเป็นฐานการตัดสินใจ พัฒนาหรือยกระดับคุณภาพให้สูงขึ้นต่อเนื่องตามลำดับ (Act) ส่วนการประเมินคุณภาพภายนอก เป็นบทบาทหน้าที่ของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมิน คุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) ทำหน้าที่ติดตามตรวจสอบและให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อพัฒนาคุณภาพ สถานศึกษาดังนั้น ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาและการประเมินคุณภาพภายนอก จึงเป็นกลไกที่มีเป้าหมายเพื่อทำให้สถานศึกษามีความเข้มแข็งและสร้างความเชื่อมั่นต่อสังคม
คู่มือนิเทศระบบประกันค ุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ตามกฎกระทรวงการประกันค ุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 โดยใช้กระบวนการนิเทศแบบ APIDSE Model กลุ่มงานส่งเสริมพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 13 องค์ประกอบที่ 1 การวิเคราะห์สภาพสถานศึกษา แนวคิด การวิเคราะห์สภาพสถานศึกษาเป็นการใช้ผลการประเมิน (Evaluation utilization) การนำ ผล (Finding) หรือสารสนเทศ (Information) ที ่ได้จากการประเมินมาก ่อให้เกิดการเปลี ่ยนแปลงในการ ปฏิบัติงาน หรือนโยบายในการทำงาน ช ่วยให้ผู้บริหารหรือผู้ตัดสินใจมีการวางแผน ติดตามหรือตัดสินใจ อย่างใดอย่างหนึ่งในการดำเนินงาน กล่าวได้ว่าการใช้ผลการประเมินก่อให้เกิดการพัฒนาปรับปรุงคุณภาพของ หน่วยงาน ดังนั้น สถานศึกษาควรนำผลการประเมินทั้งผลการประกันคุณภาพภายในที่สถานศึกษาดำเนินการ เองและผลการประเมินคุณภาพภายนอกที่ได้จากหน่วยงานกลาง ซึ่งเป็น กลไกการตรวจสอบ ติดตาม และ เชื ่อถือได้มาพัฒนาปรับปรุงการบริหาร การจัดการเรียนการสอน เพื ่อให้สถานศึกษาเกิดการพัฒนาอย ่าง ต่อเนื่อง การนำผลการประเมินไปใช้ในการตัดสินใจนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายด้านด้วยกัน และการนำข้อมูล สารสนเทศที ่ได้จากการประเมินคุณภาพภายนอกไปใช้ปรับปรุงพัฒนาสถานศึกษาขึ้นอยู ่กับผู้บริหารของ สถานศึกษาเป็นหลักว่าจะมีความสนใจและเห็นความสำคัญหรือไม่เพียงใด หากผู้บริหารโรงเรียนให้ความสำคัญ ก็จะทำให้การขับเคลื ่อนเป็นไปได้ดี รวมทั้งหากได้รับการสนับสนุน ส ่งเสริม จากปัจจัยด้านบริบทของ สถานศึกษาจะส่งผลให้การนำผลการประเมินคุณภาพการศึกษาไปใช้ปรับปรุงคุณภาพของสถานศึกษาประสบ ความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้และเกิดประสิทธิภาพสูงสุด แนวทางการดำเนินงาน 1. สถานศึกษาควรมีการวิเคราะห์ นโยบาย แผนการศึกษาแห ่งชาติ มาตรฐานการศึกษา ขั้นพื้นฐาน มาตรฐานสำนักงานเขตพื้นที ่การศึกษา เพื ่อนำมาจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของ สถานศึกษา 2. วิเคราะห์สภาพการดำเนินงาน ปัญหา ความต้องการจำเป็นของสถานศึกษา นักเรียนและ ชุมชน 3. วิเคราะห์ผลการประเมินระดับชั้นเรียน ระดับสถานศึกษา ผลการประเมินภายใน ภายนอก การประเมินผลสัมฤทธิ์ระดับชาติ และการประเมินอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 4. นำผลการประเมินในปีที ่ผ่านมามาวิเคราะห์ มาสร้างความรู้ความเข้าใจเกี ่ยวกับสภาพ การดำเนินงานที่เกิดขึ้นแก่ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย 5. จัดทำข้อมูลสารสนเทศผลการดำเนินงานของสถานศึกษา ในการกำหนดกรอบ แนวความคิดหรือการตัดสินใจในการดำเนินงานของสถานศึกษา 6. นำข้อมูลสารสนเทศมาใช้ในการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา นำผลการ ประเมินในปีที ่ผ ่านมามาวิเคราะห์ และสนับสนุนการตัดสินใจในการจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีจัดทำ แผนการกำกับ ติดตาม การดำเนินงาน ควบคุมภายในเพื่อป้องกันความเสี่ยง และแก้ไขปรับปรุงการดำเนินงาน อย่างต่อเนื่อง
คู่มือนิเทศระบบประกันค ุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ตามกฎกระทรวงการประกันค ุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 โดยใช้กระบวนการนิเทศแบบ APIDSE Model กลุ่มงานส่งเสริมพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 14 ร่วมกันพิจารณาสภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียน ข้อมูลสารสนเทศในการจัดการศึกษามีจำนวนมาก หลากหลายรูปแบบ ผู้มีส ่วนเกี ่ยวข้อง จะต้องร ่วมกันศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์สภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนที ่ส ่งผลต ่อคุณภาพผู้เรียน เป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธ์กิจ บริบทของสถานศึกษา ความต้องการของชุมชน ท้องถิ่น วัตถุประสงค์ของ แผนการศึกษาแห่งชาติ นโยบายของรัฐบาลและของต้นสังกัดรวมทั้งต้องทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมและ เทคโนโลยี การมีส่วนร่วมเป็นพฤติกรรมที่สำคัญที่ส่งผลให้การปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ประสบผลสำเร็จได้ โดยง ่าย การมีส่วนร ่วมจึงมีความสำคัญต ่อการพัฒนาคุณภาฬการศึกษาของโรงเรียน โดยให้ทุกฝ ่ายได้มี ส่วนร่วมในการวิเคราะห์สภาพปัญหา การคิดวางแผน การปฏิบัติ การประเมินผล ซึ่งผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต้องร่วม ดำเนินการเป็นกระบวนการทุกขั้นตอนด้วยความรับผิดขอบ การร่วมกันในการพิจารณาปัญหาความต้องการใน การพัฒนาคุณภาพการศึกษา จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน โรงเรียนจึง ต้องมีระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาที่ดำเนินการอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง องค์ประกอบที่ 2 การกำหนดคุณภาพเป้าหมายความสำเร็จของสถานศึกษา แนวคิดและหลักการ การกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา การดำเนินการตามระบบการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาเป็นเรื่องจำเป็นในการ พัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาที ่ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาต้องมี ความรู้ความเข้าใจ แนวคิดและหลักการพื้นฐานเกี่ยวกับมาตรฐานการศึกษา ความหมาย ความสำคัญ แนวคิด และประโยชน์ของมาตรฐานการศึกษา รายละเอียดและความสัมพันธ์ ของมาตรฐานการศึกษาระดับต่าง ๆ แนวทางและขั้นตอนการจัดทำมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา การประยุกต์แนวคิดสู่การปฏิบัติซึ่งจะเป็น ประโยชน์ ต่อผู้บริหารสถานศึกษา ครูหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาที่ สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นและบริบท ความหมายของมาตรฐานการศึกษา พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ให้นิยามมาตรฐานการศึกษาว่าเป็นข้อกำหนด เกี่ยวกับคุณลักษณะ คุณภาพที่พึงประสงค์ และมาตรฐานที่ต้องการให้เกิดขึ้นในสถานศึกษาทุกแห่ง และเพื่อใช้ เป็นหลักในการเทียบเคียงสำหรับการส่งเสริมและกำกับดูแล การตรวจสอบ การประเมินผลและการประกัน คุณภาพทางการศึกษา โดยให้แนวทางการจัดการศึกษาไว้ว่า การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมี ความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษา ต้อง ส ่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพเน้นความสำคัญทั้งความรู้คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้ และบูรณาการตามความเหมาะสม ให้สถานศึกษาพัฒนากระบวนการเรียนการสอนที่มี ประสิทธิภาพรวมทั้งการส่งเสริมให้ผู้สอนสามารถวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียนในแต่ละระดับ การศึกษา ดังนั้น มาตรฐานการศึกษาสำคัญที ่ต้องการให้เกิดขึ้นในสถานศึกษาจึงเกี ่ยวข้องกับปัจจัย กระบวนการและผลผลิตจากการจัดการศึกษา เพื่อการกำกับ ติดตาม ดูแล ตรวจสอบ และประกันคุณภาพของ
คู่มือนิเทศระบบประกันค ุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ตามกฎกระทรวงการประกันค ุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 โดยใช้กระบวนการนิเทศแบบ APIDSE Model กลุ่มงานส่งเสริมพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 15 สถานศึกษา มาตรฐานการศึกษาจึงไม่ได้หมายถึงคุณภาพด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น แต่หมายความรวมถึงผลผลิต ทางการศึกษาที่เกิดกับตัวผู้เรียนรอบด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนของครูและกระบวนการบริหารจัด การศึกษา ความสำคัญของมาตฐานการศึกษา ผลจากการปฏิรูปการศึกษาที่ผ่านมาทำให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษามากขึ้น ทั้งทางตรงในรูปแบบของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและทางอ้อมในรูปแบบของสมาคมผู้ปกครอง ศิษย์เก่า หน่วยงานองค์กรภาครัฐภาคเอกชน รวมทั้งสถานประกอบการต่าง ๆ สิ่งที่เห็นได้ชัดคือ สถานศึกษา เป็นผู้จัดทำหลักสูตรเพื่อจัดการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนให้มีคุณภาพตามเป้าหมายวิสัยทัศน์ความต้องการและ บริบทของท้องถิ่น โดยมีคณะกรรมการสถานศึกษาพิจารณาให้ความเห็นชอบ การที่สถานศึกษามีอิสระในการ บริหารจัดการการศึกษาด้วยตนเอง ย่อมทำให้คุณภาพผู้เรียน คุณภาพการบริหารจัดการการศึกษาแตกต่างกัน ไป ดังนั้น การพัฒนาการจัดการศึกษาอย่างเป็นระบบและมีคุณภาพก้าวหน้าอย ่างต ่อเนื่อง ต้องอาศัยการ ทำงานเชิงระบบ (System Approach) การประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาโดยมีมาตรฐานการศึกษา ของสถานศึกษาเป็นเป้าหมายความสำเร็จจึงมีความสำคัญในการที่ผู้บริหารสถานศึกษาจะใช้เป็นกลไกในการ ขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา นอกจากนี้ การกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษายังมีความสำคัญต ่อการ วางรากฐานในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา การวางนโยบายการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ ในการพัฒนาการจัด การศึกษาทั้งในปัจจุบันและอนาคตตามสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วอีกทั้งยังมีความสำคัญใน การใช้เป็นฐานข้อมูลสนับสนุนการกำหนดคุณภาพที่ต้องการเพื่อการวางแผนระยะสั้น ระยะกลาง และระยะ ยาวได้ ดังนั้น มาตรฐานที่สถานศึกษากำหนดขึ้นต้องครอบคลุมทั้งด้านคุณภาพผู้เรียน คุณภาพการบริหารและ การจัดการและคุณภาพการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญที่สะท้อนคุณภาพ ของการจัดการศึกษาที่แท้จริง ประโยชน์ของมาตรฐานการศึกษา การกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา มีประโยชน์ดังนี้ 1. ช่วยให้สามารถกำหนดเป้าหมาย นโยบายและแนวทางในการพัฒนาการจัดการศึกษาของ สถานศึกษาได้ชัดเจน 2. สามารถกำหนดยุทธศาสตร์ และแนวทางในการจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาได้ตรง ตามความต้องการของสถานศึกษา 3. ใช้เป็นเครื่องมือในการกำกับ การตรวจสอบ การนิเทศ การติดตามและประเมินผส เพื่อให้ ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาเข้มแข็ง 4. มีข้อมูลสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับสถานภาพและความก้าวหน้าของการจัดการศึกษา
คู่มือนิเทศระบบประกันค ุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ตามกฎกระทรวงการประกันค ุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 โดยใช้กระบวนการนิเทศแบบ APIDSE Model กลุ่มงานส่งเสริมพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 16 แนวทางการดำเนินงานกำหนดมาตรฐานของสถานศึกษา ภาพที่ 4 การกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา (ที่มา: การกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา สำนักทดสอบทางการศึกษา) เพื่อให้มาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษานำสู่การปฏิบัติได้อย ่างแท้จริงและได้รับความ ร ่วมมือจากผู้เกี ่ยวข้องทุกฝ ่าย สถานศึกษาควรดำเนินการที ่เน้นการมีส ่วนร ่วม โดยเชิญคณะกรรมการ สถานศึกษาผู้แทนครูผู้แทนผู้ปกครองชุมชน สถานประกอบการู้องค์กรที ่สนับสนุนสถานศึกษา ตามความ เหมาะสมร่วมดำเนินการตามขั้นตอนต่อไปนี้ ขั้นตอนที่ 1 เตรียมความพร้อมการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา 1. แต่งตั้งคณะกรรมการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ประกอบด้วย ผู้บริหาร สถานศึกษา คณะครูคณะกรรมการสถานศึกษา ตัวแทนผู้ปกครอง ชุมชน และผู้เกี่ยวข้องอื่น ๆ 2. สร้างความรู้ความเข้าใจและความตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา เห็นความสำคัญและความเชื่อมโยงของมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน มาตรฐานการศึกษาของชาติ ซึ่งจะนำไปสู่เป้หมายของยุทธศาสตร์ชาติในการที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตและสร้าง สังคมไทยให้มีความมั่นคง เสมอภาค และเป็นธรรม ขั้นตอนที่ 2 วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของมาตรฐานการศึกษา การกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาต้องมีข้อมูลสารสนเทศหลายส่วนประกอบ การพิจารณา เช่น บริบท ความพร้อมและศักยภาพของสถานศึกษา อัตลักษณ์และเอกลักษณ์ของสถานศึกษา ความต้องการของท้องถิ่นและชุมชน นโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด จุดหมายของแผนพัฒนาการศึกษาชาติ เป็นต้น สถานศึกษานำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ความสัมพันธ์ในสาระและประเด็นสำคัญต่าง ๆ เชื่อมโยงไปสู่ มาตรฐานการศึกษาระดับต่าง ๆ แล้วสรุปเป็นเป้าหมายที่สถานศึกษาต้องการ ขั้นตอนที่ 3 กำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา จากภาพเป้าหมายที่สถานศึกษาต้องการ สถานศึกษากำหนดมาตรฐานการศึกษาที่ครอบคลุม คุณภาพสำคัญ 3 ด้าน คือ คุณภาพผู้เรียน คุณภาพการบริหารและการจัดการ และคุณภาพการจัดการเรียน การสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาแต่ละแห่ง ควรสะท้อนถึงเป้าหมายหรือ
คู่มือนิเทศระบบประกันค ุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ตามกฎกระทรวงการประกันค ุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 โดยใช้กระบวนการนิเทศแบบ APIDSE Model กลุ่มงานส่งเสริมพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 17 ภาพความสำเร็จที่เด่นชัด เป็นรูปธรรม สถานศึกษาที่มีวัตถุประสงค์พิเศษอาจกำหนดมาตรฐานเพิ่มเติมเพื่อให้ เห็นความโดดเด่นเฉพาะทางได้มาตรฐานการศึกษาของสถาศึกษาไม่จำเป็นต้องมีจำนวนมาก และสามารถ ปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสมกับยุคสมัยหรือความต้องการยกระดับให้สูงขึ้นอีก ขั้นตอนที่ 4 พิจารณาให้ความเห็นชอบมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา สถานศึกษาเสนอร ่างมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาให้ผู้เกี ่ยวข้องทุกฝ่ายตรวจสอบ ทบทวนเพื ่อพิจารณาความครอบคลุม ความเหมาะสม ความสอดคล้อง และนำสู ่การปฏิบัติสามารถบรรลุ เป้าหมายได้จริง แล้วจึงเสนอคณะกรรมการสถานศึกษาพิจารณาให้ความเห็นชอบ ขั้นตอนที่ 5 ประกาศใช้มาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา สถานศึกษาประกาศใช้มาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาที ่ผ ่านความเห็นชอบจาก คณะกรรมการสถานศึกษาแล้ว สถานศึกษาควรเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายทราบ ทั้งนี้ เพื่อให้ทุกฝ่ายร่วมกันขับเคลื่อน และยกระดับคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการ การประชาสัมพันธ์ทำได้หลายช่องทาง เช่น แจ้งในที่ประชุม แจ้งในเว็บไซต์ของโรงเรียน ติดประกาศ เป็นต้น
คู่มือนิเทศระบบประกันค ุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ตามกฎกระทรวงการประกันค ุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 โดยใช้กระบวนการนิเทศแบบ APIDSE Model กลุ่มงานส่งเสริมพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 18 ภาพที่ 5 กระบวนการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา (ที่มา: การกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา สำนักทดสอบทางการศึกษา)
คู่มือนิเทศระบบประกันค ุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ตามกฎกระทรวงการประกันค ุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 โดยใช้กระบวนการนิเทศแบบ APIDSE Model กลุ่มงานส่งเสริมพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 19 แนวทางการกำหนดเป้าหมายตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา การกำหนดเป้าหมายตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษามีแนวทาง ดังนี้ 1. สถานศึกษาวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของสถานศึกษา (SWOT Analysis) และประเมิน บริบทต ่าง ๆ ของสถานศึกษาด้วยความรอบคอบ โดยพิจารณาร ่วมกับข้อมูลสารสนเทศ ความสำเร็จของ สถานศึกษาย้อนหลังอย่างน้อย ๓ ปี จนได้มาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา 2. สถานศึกษาและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องร่วมกันกำหนดเป้าหมายความสำเร็จที่ท้าทายตาม มาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาให้ครอบคลุมและสอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา โดยลักษณะของ เป้าหมายที่ดี ควรมีลักษณะ SMART ดังนี้ 1) Specific เป้าหมายต้องมีลักษณะเฉพาะเจาะจง สอดคล้องกับบริบทของ สถานศึกษา ไม่ควรระบุให้กว้างจนเกินไป และไม่ใช้คำที่ต้องตีความ 2) Measurable เป้าหมายควรวัดได้เป็นตัวเลข ประเมินค่าเปรียบเทียบได้ และใช้ ติดตามประเมินผลได้ 3) Action oriented เป้าหมายต้องระบุถึงสิ่งที่สถานศึกษาจะดำเนินการและนำไปสู่ การกำหนดโครงการและกิจกรรมได้อย่างชัดเจน 4) Realistic เป้าหมายต้องเป็นจริงได้ แต่ไม่ง่ายจนเกินไป เป้าหมายที่ดีต้องมีความ ท้าทาย (Challenge) เพื่อนำไปสู่การคิดค้น ริเริ่มวิธีการใหม่ ๆ อยู่เสมอ 5) Timely เป้าหมายต้องมีกรอบระยะเวลาที่แน่นอน ชัดเจน ซึ่งอาจจะเป็นรายวัน สัปดาห์ เดือน ไตรมาส ครึ่งปี หรือ 1 ปี ไม่ควรตั้งเป้าหมายที่ยาวนานเกินกว่า 1 ปี เมื่อดำเนินโครงการจน บรรลุเป้าหมายในปีนั้น ๆ ในปีถัดไป สถานศึกษาก็จะตั้งเป้าหมายที่สูงขึ้นและท้าทายยิ่งขึ้นได้ การกำหนดเป้าหมายความสำเร็จที่ท้าทาย สถานศึกษาต้องพิจารณาข้อมูลเชิงเปรียบเทียบ ประกอบด้วย (Benchmark) โดยสถานศึกษาสามารถกำหนดเป้าหมายเชิงเปรียบเทียบได้ดังนี้ 1) กำหนดเป้าหมายโดยเปรียบเทียบกับผลการดำเนินงานที่ผ่านมาของสถานศึกษา ซึ่งเป็นวิธี ที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน เช่น ดูผลการประเมินคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาในปีที่ผ่าน ๆ มา เพื่อดูแนวโน้ม ความสำเร็จแล้วกำหนดเป้าหมายให้สูงขึ้น 2) กำหนดเป้าหมายโดยเปรียบเทียบกับผลการดำเนินงานของสถานศึกษาในกลุ่มเดียวกัน เพื่อสร้างความท้าทายในการพัฒนาสถานศึกษาสู่ความสำเร็จที่ก้าวหน้ายิ่งขึ้น 3) กำหนดเป้าหมายโดยเปรียบเทียบกับเป้าหมายของสถานศึกษาในระดับที่เหนือกว่ากลุ่ม เดียวกัน หรือเปรียบเทียบกับเกณฑ์รางวัลที่ได้รับการยอมรับระดับชาติหรือนานาชาติ ทั้งนี้ สถานศึกษาเลือกกำหนดเป้าหมายด้วยวิธีใดก็ตามต้องคำนึงถึงศักยภาพและบริบทของ สถานศึกษาด้วย เป้าหมายที่ดีต้องท้าทายให้ลงมือทำแต่ต้องมีความเป็นไปได้โดยอาศัยการริเริ่มและความคิด สร้างสรรค์
คู่มือนิเทศระบบประกันค ุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ตามกฎกระทรวงการประกันค ุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 โดยใช้กระบวนการนิเทศแบบ APIDSE Model กลุ่มงานส่งเสริมพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 20 3. ระบุเป้าหมายเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพให้ชัดเจน ดังนี้ 1) ระบุเป้าหมายเชิงปริมาณเป็นจำนวน ร้อยละ หรือค ่าเฉลี ่ย โดยใช้ข้อมูล สารสนเทศที่ผ่านมาเป็นฐาน (Baseline) ในการกำหนดเป้าหมายที่ท้าทาย เช่น ร้อยละของจำนวนนักเรียนที่ ได้รับรางวัล ค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวนครูที่ผ่านการอบรมการวิจัย จำนวนนักเรียนกลุ่มเสี่ยง จำนวนกิจกรรมเสริมหลักสูตร เป็นต้น 2) ระบุเป้าหมายเชิงคุณภาพ เช่น เพิ่มขึ้น สูงขึ้น ดีเลิศ ดีเยี่ยม ชัดเจน ก้าวหน้าขึ้น มีแนวโน้มที่ดีขึ้น ซึ่งจะต้องมีเกณฑ์ระดับคุณภาพกำกับด้วย อย่างไรก็ดี สถานศึกษาสามารถกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาได้หลายลักษณะ อาจกำหนดเป็นภาพรวม เป็นรายข้อ เป็นข้อความ เป็นความเรียงหรือกำหนดในลักษณะอื่นที่สามารถสื่อสาร ให้ผู้เกี่ยวข้องเข้าใจได้ว่าเป้าหมายที่สถานศึกษามุ่งที่จะพัฒนาเน้นไปในทิศทางใด
คู่มือนิเทศระบบประกันค ุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ตามกฎกระทรวงการประกันค ุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 โดยใช้กระบวนการนิเทศแบบ APIDSE Model กลุ่มงานส่งเสริมพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 21 ตัวอย่าง
คู่มือนิเทศระบบประกันค ุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ตามกฎกระทรวงการประกันค ุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 โดยใช้กระบวนการนิเทศแบบ APIDSE Model กลุ่มงานส่งเสริมพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 22
คู่มือนิเทศระบบประกันค ุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ตามกฎกระทรวงการประกันค ุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 โดยใช้กระบวนการนิเทศแบบ APIDSE Model กลุ่มงานส่งเสริมพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 23
คู่มือนิเทศระบบประกันค ุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ตามกฎกระทรวงการประกันค ุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 โดยใช้กระบวนการนิเทศแบบ APIDSE Model กลุ่มงานส่งเสริมพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 24
คู่มือนิเทศระบบประกันค ุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ตามกฎกระทรวงการประกันค ุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 โดยใช้กระบวนการนิเทศแบบ APIDSE Model กลุ่มงานส่งเสริมพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 25 ตัวอย่าง
คู่มือนิเทศระบบประกันค ุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ตามกฎกระทรวงการประกันค ุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 โดยใช้กระบวนการนิเทศแบบ APIDSE Model กลุ่มงานส่งเสริมพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 26
คู่มือนิเทศระบบประกันค ุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ตามกฎกระทรวงการประกันค ุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 โดยใช้กระบวนการนิเทศแบบ APIDSE Model กลุ่มงานส่งเสริมพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 27
คู่มือนิเทศระบบประกันค ุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ตามกฎกระทรวงการประกันค ุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 โดยใช้กระบวนการนิเทศแบบ APIDSE Model กลุ่มงานส่งเสริมพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 28 องค์ประกอบที่ 3 การวางแผนพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษา แนวคิด ตามที่กระทรวงศึกษาธิการได้ออกกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 และได้มีการ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2561 และได้กำหนดไว้ชัดเจนให้สถานศึกษาแต่ละแห่ง “...จัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่มุ่งคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาและดำเนินการ ตามแผนพัฒนาที่กำหนดไว้...” ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ทบทวนการดำเนินการ เรื่องการประกันคุณภาพการศึกษาและได้จัดทำแนวทางปฏิบัติการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษา เพื่อให้ หน ่วยงานต้นสังกัด ได้แก ่ สำนักเขตพื้นที ่การศึกษา ทั้งประถมศึกษาและมัธยมศึกษา สำนักงานบริหาร การศึกษาพิเศษ ได้ดำเนินการได้อย ่างถูกต้อง เหมาะสม เป็นไปในทิศทางเดียวกับประกาศสำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เรื่อง แนวปฏิบัติการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา ระดับการศึกษา ขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2561 กำหนดให้สถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานดำเนินการ โดยในข้อ 2 ต้องจัดให้มี ระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา (2.2) จัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาให้ สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการจำเป็นของสถานศึกษาอย ่างเป็นระบบ โดยสะท้อนคุณภาพ ความสำเร็จอย่างชัดเจนตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา การพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาตาม บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของสถานศึกษาจึงต้องขับเคลื่อนให้สอดคล้องเหมาะสมกับพื้นฐานของ แนวคิด หลักการและความสำคัญของการวิเคราะห์ ใช้และพัฒนาที่อิงต่อการวางแผนพัฒนาเชิงกลยุทธ์โดยใช้ แผนพัฒนาการจัดการศึกษาสู่ความมีคุณภาพตามมาตรฐานของสถานศึกษาเป็นสำคัญตอบสนองต่อการพัฒนา อย ่างถูกต้อง เหมาะสมและเป็นไปตามเจตนาของการสร้างระบบการประกันคุณภาพทางการศึกษาที ่มี ประสิทธิภาพ ดังแสดงในภาพที่ 6 ภาพที่ 6 กรอบแนวคิดการจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาและแผนปฏิบัติการประจำปีของสถานศึกษาและ สาระสำคัญที่เกี่ยวข้อง (ที่มา: การจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา สำนักทดสอบทางการศึกษา)
คู่มือนิเทศระบบประกันค ุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ตามกฎกระทรวงการประกันค ุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 โดยใช้กระบวนการนิเทศแบบ APIDSE Model กลุ่มงานส่งเสริมพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 29 จากภาพที ่ 6 สามารถอธิบายเพื ่อชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของ สถานศึกษาและแผนปฏิบัติการประจำปีที ่เป็นเครื่องมือจำเป็นของสถานศึกษาในการสื ่อสารกระบวนการ ดำเนินการให้กับบุคลากรที่เกี่ยวข้องภายในสถานศึกษาได้ยึดเป็นแนวทางที่ชัดเจนสำหรับการปฏิบัติงานตาม บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบในองคาพยพของการจัดการศึกษาของสถานศึกษา โดยแผนพัฒนาการจัด การศึกษาสะท้อนการขับเคลื ่อนกระบวนการดำเนินการตามวิสัยทัศน์และพันธกิจที ่เป็นฉันทามติของผู้ที่ รับผิดชอบการจัดการศึกษาของสถานศึกษา ผู้รับโอกาสของการจัดการศึกษาและผู้ส่งเสริมสนับสนุนการจัด การศึกษาให้มีคุณภาพตามเจตนารมณ์ ที่กำหนดไว้ตามกฎหมายทางการศึกษาที่เกี่ยวข้อง การนำแผนพัฒนา การจัดการศึกษาไปสู ่การจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีเพื ่อการดำเนินการตามโครงการ กิจกรรมและ วัตถุประสงค์ จนกระทั่งได้ข้อมูลสารสนเทศในการจัดทำรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปีของสถานศึกษา ซึ่ง มีกระบวนการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผล การบรรลุป้าหมายคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของ สถานศึกษา บุคลากรผู้ทำหน้าที่ดังกล่าว จึงจำเป็นที่จะต้องมีความรู้ความเข้าใจ ความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่าง แผนพัฒนาการจัดการศึกษาและแผนปฏิบัติการประจำปีเพื่อนำไปสู่การพัฒนาที ่มีประสิทธิภาพ กระทั่งได้ ข้อมูลสารสนเทศจากการประเมินผลการปฏิบัติประจำปี ในการนำไปประยุกต์ใช้ สำหรับการพัฒนาคุณภาพ การศึกษาที ่หมุนเวียนใช้ประโยชน์จากข้อมูลสารสนเทศ โดยสถานศึกษาจัดทำเป็นเอกสารสรุปผลการ ดำเนินการที่เป็นรายงานผลการปฏิบัติการประจำปีของสถานศึกษา และสถานศึกษาจะได้ประโยชน์จากการใช้ เพื่อการจัดทำรายงานผลการประเมินตนเอง (SAR: Self - Assessment Report) ได้ต่อไป การขับเคลื่อนคุณภาพการจัดการศึกษา เน้นการใช้แผนพัฒนาการจัดการศึกษาและการบริหารจัดการ สถานศึกษาเชิงกลยุทธ์ควบคู่กัน เพื่อให้เกิดความชัดเจน เหมาะสม และสามารถดำเนินการพัฒนาสู่อนาคต ได้อย ่างเป็นระบบและมีการบริหารจัดการสถานศึกษาซึ ่งเน้นความเป็นระบบ มีความเป็นเหตุเป็นผล ยึดกระบวนการเชิงกลยุทธ์เพื ่อการดำเนินการ จึงต้องเชื่อมโยงและมีความสัมพันธ์ระหว ่างกัน ซึ่งสามารถ อธิบายดังแสดงในภาพที่ 7
คู่มือนิเทศระบบประกันค ุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ตามกฎกระทรวงการประกันค ุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 โดยใช้กระบวนการนิเทศแบบ APIDSE Model กลุ่มงานส่งเสริมพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 30 ภาพที่ 7 ความสัมพันธ์ระหว่างคำถามเชิงกลยุทธ์ กระบวนการบริหารและรายละเอียดของกระบวนการบริหาร (ที่มา: การจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา สำนักทดสอบทางการศึกษา)
คู่มือนิเทศระบบประกันค ุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ตามกฎกระทรวงการประกันค ุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 โดยใช้กระบวนการนิเทศแบบ APIDSE Model กลุ่มงานส่งเสริมพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 31 การบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์ของสถานศึกษาเป็นกระบวนการศึกษาวิเคราะห์ สังเคราะห์ ออกแบบ และวางแผนดำเนินการที่ให้เห็นความสำคัญกับการมองความสำเร็จของปัจจุบันสู่อนาค ภายใต้การพิจารณาถึง ความเป็นไปได้ในการใช้ความสามารถของบุคลากรในสถานศึกษาด้วยการระดมทรัพยากรมาใช้และการ พิจารณาถึงทางเลือกต่าง ๆ อย่างรอบคอบและชัดเจนว่าจะสามารถนำพาสถานศึกษาไปสู่เป้าหมายตามภารกิจ ที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจและเป้าประสงค์หลักที่วางไว้ นอกจากนั้น การวางแผนกลยุทธ์เกี่ยวข้องกับ การวิเคราะห์ทุกปัจจัยที่คาดว่าจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในอนาคตและที่จะมีผลกระทบต่อสถานศึกษา ทั้งในแง่ของโอกาสและอุปสรรค เพื่อจะบอกทิศทางที่สถานศึกษากำหนดขึ้นอย่างชัดเจนในการดำเนินการสู่ อนาคตได้อย่างเป็นระบบดังแสดงในภาพที่ 8 ภาพที่ 8 การบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์ (ที่มา: การจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา สำนักทดสอบทางการศึกษา) วงจรคุณภาพการบริหารเชิงระบบ (PDCA) การพัฒนาระบบการจัดการศึกษาของสถานศึกษา จะต้องออกแบบการดำเนินการภายในสถานศึกษา ที ่เน้นการสร้างความเข้าใจสำหรับบุคลากรที ่เกี ่ยวข้องให้ตรงกันในทุกขั้นตอนการดำเนินการ เข้าใจ ความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างขั้นตอนของการดำเนินการ และสถานศึกษาส่วนใหญ่จะยึดขั้นตอนของวงจร คุณภาพการบริหารงานเชิงระบบ (PDCA) เพื่อขับเคลื่อนคุณภาพทั้งขับเคลื่อนคุณภาพของสถานศึกษา ทั้ง ขับเคลื่อนคุณภาพงานของกลุ่มงาน ทั้งขับเคลื่อนคุณภาพของบุคคลที่มีบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ เฉพาะตนภายใต้ 4 ขั้นตอนสำคัญ ประกอบด้วย P: Planning การวางแผนพัฒนาคุณภาพ D: Doing การปฏิบัติงานตามแผนพัฒนาคุณภาพ C: Checking การตรวจสอบ ประเมินผลการพัฒนาคุณภาพ A: Action การปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพ
คู่มือนิเทศระบบประกันค ุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ตามกฎกระทรวงการประกันค ุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 โดยใช้กระบวนการนิเทศแบบ APIDSE Model กลุ่มงานส่งเสริมพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 32 การขับเคลื่อนวงจรคุณภาพการบริหารเชิงระบบ (PDCA) ดังแสดงในภาพที่ 9 ภาพที่ 9 วงจรคุณภาพการบริหารงานเชิงระบบ (PDCA) (ที่มา: การจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา สำนักทดสอบทางการศึกษา) ขั้นตอนการดำเนินงานตามวงจรคุณภาพการบริหารงานเชิงระบบ (PDCA) สถานศึกษาจะต้องประยุกต์ใช้วงจรคุณภาพ เพื่อให้สอดคล้องเหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษา โดยยึดการพัฒนาคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาที่เกิดจากการประยุกต์ใช้ข้อมูลสารสนเทศ มาออกแบบ วางแผนการบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์ ซึ่งบุคลากรที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมต่อการขับ เคลื่อนการ พัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาจนเกิดเป็นวัฒนธรรมคุณภาพในสถานศึกษาโดยทุกคนยึดมั่นที่จะดำเนินการ อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ มีรายละเอียด ประกอบด้วย 4 ขั้น ดังนี้ คือ ขั้นการวางแผนพัฒนาคุณภาพ P : Planning เป็นขั้นการกำหนดกรอบรายละเอียดของการดำเนินการ พัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา ผ่านการศึกษาวิเคราะห์ สังเคราะห์ สำหรับการวางแนวทาง เพื่อพัฒนาด้วย การพิจารณาคัดเลือกแนวทางที ่มีความเหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษาที ่สุดในการแก้ไข ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง และพัฒนาคุณภาพโดยจะช่วยส่งเสริมให้การคาดการณ์สิ่งที่จะเป็นผลสำเร็จในอนาคต มีความ ชัดเจนมากที่สุด ขั้นการปฏิบัติงานตามแผนพัฒนาคุณภาพ D : Doing เป็นขั้นการนำแนวทางที่ผ ่านการวางแผนไว้ อย่างชัดเจน มาสู่การปฏิบัติตามกิจกรรม ซึ่งกำหนดไว้ในแนวทางดังกล่าว เพื่อสร้างความสำเร็จให้บรรลุตาม วัตถุประสงค์ ทั้งการแก้ไขปรับปรุง เปลี่ยนแปลง และพัฒนาคุณภาพจนเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ขั้นการตรวจสอบประเมินผลการพัฒนาคุณภาพ C : Checking เป็นขั้นการเลือกใช้วิธีการและ เครื่องมือเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลสารสนเทศจากการดำเนินการแก้ไข ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง และพัฒนาคุณภาพ สำหรับนำมาวิเคราะห์ แปลผล และเปรียบเทียบกับวัตถุประสงค์และเงื ่อนไขของความสำเร็จจากการ ดำเนินการว่าบรรลุผลสำเร็จหรือไม่ อย่างไร
คู่มือนิเทศระบบประกันค ุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ตามกฎกระทรวงการประกันค ุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 โดยใช้กระบวนการนิเทศแบบ APIDSE Model กลุ่มงานส่งเสริมพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 33 ขั้นการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพ A : Action เป็นขั้นการนำผลการประเมินมาพิจารณาอย ่าง ละเอียดรอบคอบ และตัดสินในการพิจารณาแนวทางสำหรับการแก้ไข ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง และพัฒนา คุณภาพไปประยุกต์ใช้เพื่อสร้างกระบวนการสนับสนุนความก้าวหน้าอย่างเป็นระบบและมีความต่อเนื่อง สถานศึกษาวางแผนและออกแบบการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา โดยการ ประยุกต์ใช้วงจรคุณภาพการบริหารงานเชิงระบบ (PDCA)สำหรับการกำกับ วางแผ่น และออกแบบขับเคลื่อน วงจรให้เกิดความเป็นพลวัตร (Dynamic ซึ ่งจะทำให้วงจรดำเนินไปอย ่างเป็นระบบและมีความต ่อเนื ่อง ดังแสดงในภาพที่ 10 ภาพที่ 10 วงจรคุณภาพกับการพัฒนาคุณภาพอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง (ที่มา: การจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา สำนักทดสอบทางการศึกษา) การจัดทำและนำไปสู่การใช้แผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา เป้าหมายการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา ซึ่งต้องกำหนดไว้ในแผนพัฒนาการจัด การศึกษาของสถานศึกษาที ่มีความสอดคล้องกับมาตรฐานของการประกันคุณภาพภายใน ประกอบด้วย มาตรฐานด้านผลลัพธ์ (มาตรฐานคุณภาพผู้เรียน ที ่จำแนกเป็นผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียนและ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน) กับมาตรฐานด้านกระบวนการ (มาตรฐานด้านกระบวนการบริหารและ การจัดการ กับมาตรฐานด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยสถานศึกษาดำเนิน การศึกษา วิเคราะห์สังเคราะห์ นโยบายทางการจัดการศึกษา แนวทางการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา ของหน ่วยงานต้นสังกัด จุดเน้นการพัฒนากลุ่มเป้าหมายของการศึกษาผลที ่เกิดจากการสังเคราะห์ผลการ ประเมินในรอบปีที ่ผ ่านมา ที ่เน้นเป้าหมายคุณภาพตามมาตรฐานซึ ่งบุคลากรที ่เกี ่ยวข้องมีส ่วนร ่วมตลอด กระบวนการดำเนินการพัฒนาคุณภาพ ตอบสนองต่อความต้องการพัฒนาคุณภาพของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียด้วย
คู่มือนิเทศระบบประกันค ุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ตามกฎกระทรวงการประกันค ุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 โดยใช้กระบวนการนิเทศแบบ APIDSE Model กลุ่มงานส่งเสริมพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 34 การตรวจสอบความสอดคล้องกับข้อมูลสารสนเทศที ่ถูกต้อง เหมาะสม เพียงพอ ชัดเจน ซึ ่งจะก ่อให้เกิด ประสิทธิภาพของการดำเนินการพัฒนา สำหรับการบริหารสถานศึกษาเชิงกลยุทธ์ผ ่านแผนพัฒนาการจัด การศึกษา และแผนปฏิบัติการประจำปีของสถานศึกษาที่ได้จัดสร้างขึ้นและนำไปสู่การใช้อย่างเป็นระบบ บุคลากรในสถานศึกษาควรศึกษาความสัมพันธ์ ความเชื่อมโยงและความเป็นเหตุเป็นผลของการนำ แผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาและแผนปฏิบัติการประจำปีของสถานศึกษา ซึ ่งสามารถสรุป สาระสำคัญที่แสดงให้เห็นความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างการใช้แผนทั้ง 2 ลักษณะ ดังแสดงในภาพที่ 11 ภาพที่ 11 ความสัมพันธ์ ความเชื่อมโยง และความเป็นเหตุเป็นผลของการนำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของ สถานศึกษาและแผนปฏิบัติการประจำปีของสถานศึกษา (ที่มา: การจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา สำนักทดสอบทางการศึกษา)
คู่มือนิเทศระบบประกันค ุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ตามกฎกระทรวงการประกันค ุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 โดยใช้กระบวนการนิเทศแบบ APIDSE Model กลุ่มงานส่งเสริมพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 35 กระบวนการจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา กระบวนการจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาเป็นขั้นตอนของการกำหนดเป้าหมาย และแนวทางในการพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาในช่วงระยะเวลาที่กำหนด (3 - 5 ปี) โดยจัดทำไว้ เป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าสถานศึกษาจะดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนดร่วมกัน โดยอาศัย หลักการและแนวคิดการบริหารจัดการโดยใช้วงจรคุณภาพดังแสดงในภาพที่ 12 ภาพที่ 12 หลักการและแนวคิดการบริหารจัดการโดยใช้วงจรคุณภาพกับการจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษา ของสถานศึกษา (ที่มา: การจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา สำนักทดสอบทางการศึกษา)
คู่มือนิเทศระบบประกันค ุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ตามกฎกระทรวงการประกันค ุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 โดยใช้กระบวนการนิเทศแบบ APIDSE Model กลุ่มงานส่งเสริมพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 36 ขั้นตอนการจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา (ระยะ 3 - 5 ปี) การจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่มุ่งคุณภาพสถานศึกษาทั้งระบบตามมาตรฐาน การศึกษาของสถานศึกษา (ระยะ 3 - 5 ปี) สถานศึกษาสามารถดำเนินการได้ตามขั้นตอนดังแสดงในแผนภาพที่ 13 ภาพที่ 13 ขั้นตอนการจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา (ระยะ 3 – 5 ปี) (ที่มา: การจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา สำนักทดสอบทางการศึกษา) กรอบการเขียนแผนพัฒนาการจัดกรศึกษาของสถานศึกษา แผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่มุ่งคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา (ระยะ 3-5 ปี) ซึ่งมีองค์ประกอบ ดังนี้ ส่วนที่ 1 บริบทของโรงเรียน ประกอบด้วย ข้อมูลทั ่วไปของโรงเรียน (ประวัติความเป็นมาของ สถานศึกษา, ภารกิจ, โครงสร้างการบริหาร) ข้อมูลพื้นฐานการจัดการศึกษา (ข้อมูลประชากรวัยเรียนในเขต บริการ, ข้อมูลนักเรียน, ข้อมูลครูและบุคลากรทางการศึกษา, ข้อมูลที่ดินและสิ่งก่อสร้าง) ข้อมูลสภาพชุมชน (การปกครอง, การประกอบอาชีพ, ลักษณะความเป็นอยู ่ของชุมชน) ข้อมูลผลการดำเนินงาน (ผลสัมฤทธิ์
คู่มือนิเทศระบบประกันค ุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ตามกฎกระทรวงการประกันค ุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 โดยใช้กระบวนการนิเทศแบบ APIDSE Model กลุ่มงานส่งเสริมพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 37 ทางการเรียน ผลการทดสอบระดับชาติ, ผลการประเมินคุณภาพการศึกษา (SAR), ข้อมูลอื่น ๆ ) นโยบายสำคัญ ที่เกี่ยวข้องข้อง (ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี, นโยบาย จุดเน้นของหน่วยงานทางการศึกษา ฯลฯ) ส่วนที่ 2 ผลการวิเคราะห์ศักยภาพสถานศึกษา ประกอบด้วย ผลการการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม ภายในและภายนอก (SWOT) กลยุทธ์การพัฒนาตามศักยภาพ ส่วนที่ 3 ทิศทางการจัดการศึกษา ประกอบด้วย วิสัยทัศน์พันธกิจ เป้าประสงค์ประเด็นกลยุทธ์ ส่วนที่ 4 กรอบกลยุทธ์การพัฒนาคุณภาพการศึกษา ส่วนที่ 5 โครงการและกิจกรรมตามกลยุทธ์ระดับองค์กรพร้อมเป้าหมายและ งบประมาณ (แสดงเป็น 3-5 ปี) ส่วนที่ 6 การบริหารแผนไปสู่การปฏิบัติระบุหลักการและแนวทางของสถานศึกษาในการควบคุม ประเมินผลและรายงานผลการดำเนินงานตามแผนกลยุทธ์โดยคำนึงถึงการมีส่วนร่วม ภาคผนวก เป็นเอกสารที่สถานศึกษาต้องการแสดงรายละเอียดหรือระบุข้อมูลสำคัญอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ แผน เพื่อประโยชน์ในการอ้างอิง - ตารางข้อมูลพื้นฐาน - คณะกรรมการ/คณะทำงานจัดทำแผน - อื่นๆ
คู่มือนิเทศระบบประกันค ุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ตามกฎกระทรวงการประกันค ุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 โดยใช้กระบวนการนิเทศแบบ APIDSE Model กลุ่มงานส่งเสริมพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 38 องค์ประกอบที่ 4 การดำเนินการพัฒนาคุณภาพตามเป้าหมายของสถานศึกษา แนวคิด เป็นกิจกรรมที่กำหนดในแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปี เป็นกิจกรรมที่ร่วมกัน กำหนดเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน ดังนั้นผู้รับผิดขอบ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกคนต้อง ดำเนินงานตามแผนงานที่กำหนด สอดคล้องกับแผนพัฒนาคุณภาพ การศึกษา และสภาพปัญหาและความ ต้องการจำเป็นในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างเป็น ระบบ โดยสะท้อนคุณภาพความสำเร็จอย่างชัดเจน ตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา รวมทั้งการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้มีคุณภาพตาม มาตรฐาน การดำเนินงานตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษา หมายถึง การนำแผนพัฒนาคุณภาพไปสู่การปฏิบัติ โดยจัดทำเป็นแผนปฏิบัติการประจำปี เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาซึ่งในการจัด แผนปฏิบัติการประจำปีให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา ควรดำเนินการดังนี้ 1. แต่งตั้งคณะทำงานจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีโดยประกอบด้วยจากผู้เกี่ยวข้องหลาย ๆ ฝ่าย 2. ศึกษาและวิเคราะห์แผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา 3. วิเคราะห์และจัดทำรายละเอียดโครงการ/กิจกรรม 4. การติดตามประเมินผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติราชการประจำปี แผนปฏิบัติการประจำปี เป็นการดำเนินงานตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา ที่สอดคล้องกับสภาพ ปัญหาและความต้องการจำเป็นในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย ่างเป็น ระบบ โดยสะท้อนคุณภาพ ความสำเร็จอย่างชัดเจนตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาโดยมี ผู้รับผิดชอบ และผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายได้ ปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ ตามที่กำหนดไวให้เกิดประสิทธิภาพ และเกิดผลสูงสุดต่อคุณภาพผู้เรียน โดยการ ปฏิบัติตามกรอบระยะเวลา กิจกรรมที่กำหนด กระบวนการวางแผนพัฒนาการศึกษาของสถานศึกษา โดยใช้กระบวนการวางแผนกยุทธ์ ในกระบวนการที่ 2 เป็นการนำกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติในกระบวนการนี้ต้องอาศัยแผนปฏิบัติการประจำปี เป็น เครื่องมือสำหรับใช้เป็นแนวทางปฏิบัติสำหรับส่วนต่าง ๆ ให้เป็นไปอย่างสอดประสานกันทั้งในแง่ทิศทางและ จังหวะเวลา โดยสรุปแผนปฏิบัติการประจำปี เป็นแผนที ่ทำขึ้นสำหรับใช้ในการบริหารหน ่วยงานให้เกิด ความสำเร็จและมีประสิทธิภาพ ตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายตามที่หน่วยงานกำหนด มีระบบการทำงานที่ ชัดเจนและเป็นขั้นตอน มีการใช้งบประมาณอย่างคุ้มค่าและมีการตรวจสอบผลการทำงาน วัตถุประสงค์ของการจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี 1. เพื่อกำหนดแนวทางในการปฏิบัติงานตามโครงการ / กิจกรรมให้บรรลุตามเป้าหมายของ โครงการ 2. เพื่อระบุรายการใช้จ่ายงบประมาณสำหรับการพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษา 3. เพื ่อจัดลำดับความสำคัญของการดำเนินโครงการ / กิจกรรมการพัฒนาคุณภาพของ สถานศึกษา
คู่มือนิเทศระบบประกันค ุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ตามกฎกระทรวงการประกันค ุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 โดยใช้กระบวนการนิเทศแบบ APIDSE Model กลุ่มงานส่งเสริมพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 39 4. เพื่อกำกับ ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของ สถานศึกษา ประโยชน์ที่ได้รับจากแผนปฏิบัติการประจำปี 1. สถานศึกษามีทิศทางและแนวทางในการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพการศึกษาในแต ่ละ ปีงบประมาณ ที่สอดคล้องกับงบประมาณที่ได้รับจัดสรรในแต่ละปีงบประมาณ 2. ผู้บริหารสถานศึกษา ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาและผู้เกี ่ยวข้อง ใช้เป็น เครื่องมือในการควบคุมกำกับติดตามในการใช้งบประมาณให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล 3. สถานศึกษามีเครื่องมือสำคัญในการบริหารจัดการระบบคุณภาพตามแนวทางการพัฒนา ระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ขั้นตอนการจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี ในการจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีของสถานศึกษา มีขั้นตอนการจัดทำ ดังนี้ ภาพที่ 14 ขั้นตอนการจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีของสถานศึกษา (ที่มา: การจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา สำนักทดสอบทางการศึกษา) ขั้นที่ 1 วิเคราะห์แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาระยะ 3 - 5 ปีในขั้นนี้เป็นการวิเคราะห์เพื่อยืนยันทิศ ทางการจัดการศึกษา (วิสัยทัศน์พันธกิจ เป้าประสงค์) วัตถุประสงค์ ตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย ระยะ 3 - 5 ปีเพื่อ กำหนดทิศทางและกรอบกลยุทธ์การพัฒนาประจำปี ขั้นที่ 2 ประมาณการงบประมาณรายรับของโรงเรียนการประมาณการรายรับ เป็นการดำเนินการเพื่อ ทราบวงเงินที่คาดว่าจะได้รับ และเพื่อใช้เป็นกรอบในการกำหนดวงเงินรายจ่ายที่จะเกิดขึ้นในปีงบประมาณ นั้นๆ ให้ใกล้เคียงกับวงเงินที่ประมาณการไว้ หรือไม่เกินที่คาดไว้มากเกินไป ประกอบด้วย
คู่มือนิเทศระบบประกันค ุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ตามกฎกระทรวงการประกันค ุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 โดยใช้กระบวนการนิเทศแบบ APIDSE Model กลุ่มงานส่งเสริมพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 40 งบประมาณแผ่นดิน - งบบุคลากร (เงินเดือน เงินประจำตำแหน่งและค่าจ้าง) - งบดำเนินการ (ค่าตอบแทน, ใช้สอยวัสดุ, สาธารณูปโภค) - งบลงทุน (ค่าครุภัณฑ์ ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง) - งบอุดหนุน (ค่าหนังสือเรียน / ค่าเครื่องแบบนักเรียน / ค่าอุปกรณ์การเรียน / ค่ากิจกรรม พัฒนาผู้เรียน / ค่าจัดกิจกรรมการเรียนการสอน / ปัจจัยพื้นฐาน) เงินนอกงบประมาณ - รายได้สถานศึกษา - เงินบริจาค - อื่น ๆ ขั้นที่ 3 ประมาณการรายจ่ายงบประมาณ การประมาณการรายจ่ายของโรงเรียนเป็นการวิเคราะห์ รายจ่ายที่เกิดขึ้นในการพัฒนาโรงเรียนซึ่งรายจ่ายของสถานศึกษาแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ งานประจำตาม โครงสร้าง โครงการตามกลยุทธ์ และงบกลางสำรองจ่าย ขั้นที ่ 4 การวิเคราะห์กำหนดโครงการตามแผนกลยุทธ์ในขั้นตอนการวิเคราะห์โครงการบรรจุใน แผนปฏิบัติการประจำปีเป็นการคัดเลือกโครงการเพื่อบรรจุในแผนปฏิบัติการประจำปี มีกระบวนการในการ คัดเลือกโครงการดังนี้ 1) วิเคราะห์คัดเลือกโครงการที่กำหนดไว้ในแผนพัฒนาการจัดการศึกษา ระยะ 3 - 5 ปี 2) จัดทำรายละเอียดโครงการตามรูปแบบฟอร์มโครงการ 3) ประเมินความความสมบูรณ์โครงการบรรจุในแผนปฏิบัติการประจำปี ขั้นที่ 5 การจัดทำร่างแผนปฏิบัติการ นำข้อมูลจากการวิเคราะห์ขั้นตอนที่ 1 – 4 มาสังเคราะห์ลงใน เอกสารแผนปฏิบัติการประจำปีของสถานศึกษา ซึ่งมีเค้าโครงแผนปฏิบัติการ
คู่มือนิเทศระบบประกันค ุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ตามกฎกระทรวงการประกันค ุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 โดยใช้กระบวนการนิเทศแบบ APIDSE Model กลุ่มงานส่งเสริมพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 41 ตัวอย่างแผนปฏิบัติการประจำปีการศึกษา/งบประมาณ…………………….. โรงเรียน………………………………………………………………….. คำนำ สารบัญ คำอนุมัติ/เห็นชอบการใช้แผนปฏิบัติการประจำปี ส่วนที่ 1 บทนำ : เป็นส่วนของการแนะนำสถานศึกษาในภาพรวมโดยสรุป โดยอาจระบุประวัติความเป็นมา ภารกิจ และปริมาณงานในปัจจุบัน พร้อมทั้งผลการทบทิวนสภาพแวดล้อมของสถานศึกษาประกอบด้วย - ประวัติความเป็นมาและข้อมูลสถานศึกษาโดยย่อ - สภาพปัจจุบันของสถานศึกษา - สรุปผลการดำเนินงานในรอบปีที่ผ่านมา - ผลงานที่ประสบผลสำเร็จ - ผลการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกและผลการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน ส่วนที่ 2 ทิศทางและกลยุทธ์การจัดการศึกษา : เป็นการนำข้อมูลจากทิศทางการจัดการศึกษา ระยะ 4 ปี มากำหนดทิศทางการจัดการศึกษาและ เป้าหมาย ในระยะ 1 ปี - วิสัยทัศน์ /คำอธิบายวิสัยทัศน์ - พันธกิจ - เป้าประสงค์ - ประเด็นกลยุทธ์ ส่วนที่ 3 ประมาณการงบประมาณรายรับ-รายจ่าย : เป็นการระบุงบประมาณที่สถานศึกษา ได้รับและใช้จ่ายการบริหารจัดการศึกษาทั้งเงินงบประมาณ และเงินนอกงบประมาณ 3.1 การประมาณการรายรับ ตามแผนปฏิบัติการประจำปีการศึกษา... 3.2 ประมาณการรายจ่ายประจำปีการศึกษา .... 3.2.1 รายจ่ายประจำตามโครงสร้าง 3.2.2 รายจ่ายพัฒนาคุณภาพตามประเด็นกลยุทธ์ 3.2.3 งบกลางสำรองจ่าย ส่วนที่ 4 รายละเอียดโครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีการศึกษา.. ส่วนนี้เป็นการวิเคราะห์นำโครงการตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษา ระยะ 5 ปี ของแต่ละปีการศึกษา มาจัดทำรายละเอียดโครงการตามรูปแบบโครงการ
คู่มือนิเทศระบบประกันค ุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ตามกฎกระทรวงการประกันค ุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 โดยใช้กระบวนการนิเทศแบบ APIDSE Model กลุ่มงานส่งเสริมพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 42 ส่วนที่ 5 การกำกับ ติดตาม ประเมินผลและรายงาน ระบุข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับการติดตาม ประเมินผล และการรายงานผลการดำเนินงานตาม แผนพัฒนาการจัดการศึกษาโดยคำนึงถึง การมีส่วนร่วม 1. ปฏิทินการติดตาม ประเมินผล โครงการและรายงานผลการดำเนินโครงการ 2. แบบรายงานผลโครงการการดำเนินโครงการ ภาคผนวก เป็นเอกสารที่สถานศึกษาต้องการแสดงรายละเอียดีหรือระบุข้อมูลสำคัญอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับแผนเพื่อ ประโยชน์ในการอ้างอิง - ตารางข้อมูลพื้นฐาน - คณะกรรมการ/คณะทำงานจัดทำแผน - อื่น ๆ ทั้งนี้อาจพิจารณาปรับได้ตามความเหมาะสม
คู่มือนิเทศระบบประกันค ุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ตามกฎกระทรวงการประกันค ุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 โดยใช้กระบวนการนิเทศแบบ APIDSE Model กลุ่มงานส่งเสริมพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 43 องค์ประกอบที่ 5 การกำกับติดตามตรวจสอบประเมินผลของสถานศึกษา แนวคิด การประเมินผล และตรวจสอบคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา เพื่อติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลความก้าวหน้าของการพัฒนาคุณภาพการศึกษาตามโครงการ กิจกรรม การจัดการเรียนรู้ที่กำหนด ไว้ในแผนพัฒนาการศึกษา และการนำผลการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล มาใช้ในการปรับปรุงพัฒนา กิจกรรมให้มีประสิทธิภาพสามารถพัฒนาผู้เรียน การจัดการเรียนรู้ได้ตรงตามเป้าหมายของการพัฒนา การวางแผนจึงต้องสอดคล้องกับกิจกรรม และเป้าหมายของการพัฒนา หลักการและวิธีการประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษา การประเมินคุณภพภายในของสถานศึกษา (Internal Quality Assessment) เป็นขั้นตอน ของการประกันคุณภาพภายในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานตามกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 ซึ่งควรดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพราะเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารจัดการเนื่องจากเป็นระบบและ กลไกในการควบคุม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินงานของสถานศึกษาให้เป็นไปตามนโยบายที่กำหนด โดยสถานศึกษาและ/หรือหน่วยงานต้นสังกัด โดยผลการประเมินสามารถทำให้สถานศึกษา หน่วยงานต้นสังกัด ผู้ที่เกี่ยวข้องและสาธารณชนรับทราบว่าสถานศึกษาสามารถจัดการศึกษาได้บรรลุตามเป้าหมายหรือมาตรฐาน การศึกษาตามที่สถานศึกษาแต่ละแห่งกำหนดไว้หรือไม่ นอกจากนี้สถานศึกษาสามารถใช้ข้อมูลผลการประเมิน เพื่อแก้ไขข้อบกพร่องในการดำเนินงานได้ทันกับความต้องการและปรับปรุงพัฒนาการดำเนินงานของตนเองให้ บรรลุเป้าหมายตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา อีกทั้งรายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษายัง เป็นสารสนเทศสำคัญในการสนับสนุนการประเมินคุณภาพภายนอกต่อไป การประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษาควรดำเนินการอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง โดยสามารถ กำหนด ระยะเวลาในการประเมินได้ตามความเหมาะสมแต ่ต้องสอดคล้องกับสภาพและบริบทของการ ดำเนินงานของสถานศึกษาของตน เพื่อความสะดวกในการเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ผล โดยการประเมิน คุณภาพภายในของสถานศึกษาเป็นหน้าที่ของบุคลากรทุกคนในสถานศึกษาและผู้ที่มีส่วนเกี ่ยวข้อง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้เรียน ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษา ชุมชน เขตพื้นที่การศึกษาหรือหน่วยงาน อื่นที่เกี่ยวข้อง เข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดเป้าหมาย วางแผน ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของ สถานศึกษา พัฒนาและปรับปรุงคุณภาพการจัดการศึกษาเพื่อให้ผู้เรียนได้รับการศึกษาที่ดีมีคุณภาพ เป็นไป ตามความต้องการของผู้ปกครอง ชุมชนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ตลอดจนสังคมและประเทศชาติการประเมิน คุณภาพภายในของสถานศึกษาเป็นการประเมินตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาที่แต่ละสถานศึกษา กำหนดขึ้น โดยมีความสอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ประกาศโดยสำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ดังนั้นผู้มีส่วนร่วมในการประเมินต้องศึกษาประเด็นพิจารณาที่ กำหนดไว้ในมาตรฐานของสถานศึกษา และระดับคุณภาพให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ก่อนดำเนินการประเมินคุณภาพ ภายในของสถานศึกษา และควรมีความรู้ลึกและเข้าใจบริบทของการจัดการศึกษาของสถานศึกษาทั้งในแง่มุม ของภาระงาน โครงสร้างเทคนิคต่าง ๆ ที่ใช้ในการบริหาร การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ และมีประสบการณ์ เพียงพอและความรู้เกี่ยวกับความเคลื่อนไหวของการพัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการ
คู่มือนิเทศระบบประกันค ุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ตามกฎกระทรวงการประกันค ุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 โดยใช้กระบวนการนิเทศแบบ APIDSE Model กลุ่มงานส่งเสริมพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 44 พัฒนาการเรียนการสอนเพื่อการช่วยเสนอแนะการปรับปรุงพัฒนาสถานศึกษาได้อย่างชัดเจนและตรงกับความ ต้องการของสถานศึกษาเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสถานศึกษาอย่างแท้จริง การประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษาเน้นการประเมินตามหลักฐานเชิงประจักษ์ (Evidence Based Assessment) ที่เกิดจากการปฏิบัติงานตามสภาพจริงของสถานศึกษา เป็นการประเมิน จากสภาพจริง ไม่สร้างเครื่องมือเพื่อการประเมินเพิ่มเติมหรือสร้างเอกสารเพิ่มเติมนอกเหนือจากร่องรอยที่เกิด จากการทำงานปกติของสถานศึกษา ข้อมูลหลักฐานต ่าง ๆ เกิดจากวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลที ่เหมาะสม เป็นผลงานอันเกิดจากการเรียนรู้ตามปกติของนักเรียน รวมทั้งผลงานที่เกิดขึ้นจากการออกแบบการจัดการ เรียนรู้ของครูผู้สอนในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื ่อพัฒนาผู้เรียน การบริหารจัดการศึกษาที ่มีคุณภาพ เชิงประจักษ์ที่สถานศึกษาเนินการอยู่แล้ว เพื่อแสดงข้อมูลและได้ผลประเมินที่สะท้อนคุณภาพที่แท้จริงของ สถานศึกษาจากการดำเนินงานตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาได้อย่างถูกต้อง น่าเชื่อถือ ชัดเจนและ ครบถ้วน สามารถตรวจสอบผลการประเมินได้ตามสภาพบริบทของสถานศึกษานั้น ๆ ทั้งนี้การประเมินคุณภาพ ภายในของสถานศึกษาและการตัดสินระดับคุณภาพตามมาตรฐานเป็นไปตามหลักการตัดสินโดยอาศัยความ เชี ่ยวชาญ (Expert Judgment) และมีการตรวจทานผลการประเมินโดยคณะกรรมการประเมินในระดับ เดียวกัน (Peer Review) โดยเทียบกับเกณฑ์หรือมาตรฐานที่กำหนดไว้ดังนั้นคณะทำงานที่รับผิดชอบในการ ประเมินต้องมีความรู้อย่างรอบด้าน และสามารถวิเคราะห์ข้อมูลร่วมกันในการตัดสินเพื่อให้ระดับคุณภาพตาม เกณฑ์ที่กำหนดซึ่งจะไม่ใช้การให้คะแนนตามความคิดเห็นของคนใดคนหนึ่ง มีการให้ข้อมูลแบบตรงไปตรงมา จริงใจ ปราศจากอคติ และคณะกรรมการประเมินภายในต้องมั่นใจว่าตนเองในฐานะผู้ประเมินมีความสามารถ ในการประเมินจริง ที่สำคัญคือต้องมีความเข้าใจบริบทของสถานศึกษา เพื่อจะได้ให้คำแนะนำที่หมาะสม นำไป ปฏิบัติให้เกิดผลดีต่อการพัฒนาคุณภาพภายในสถานศึกษานั้น ๆ ใด้ ทั้งนี้ ต้องให้ความสำคัญกับการรับฟังความ คิดเห็นของผู้ถูกประเมินด้วย ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินการเพื่อพัฒนาสถานศึกษา การติดตามตรวจสอบคุณภาพ และประเมินคุณภาพการศึกษา เพื ่อติดตาม ตรวจสอบ ความก้าวหน้าของการพัฒนาคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานของสถานศึกษา ตามโครงการ กิจกรรม การจัดการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ในแผนพัฒนาการศึกษา และการนำผลการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลมาใช้ ในการปรับปรุง พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา ได้ตามเป้าหมายของการพัฒนาคุณภาพ ทั้งด้าน คุณภาพผู้เรียน กระบวนการบริหารและการจัดการ การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ แนวทางการดำเนินงานของสถานศึกษา การประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา หมายถึง การควบคุมการ ประเมินผล และตรวจสอบการดำเนินงานของสถานศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาที่สถานศึกษาประกาศและ กำหนด เป็นการดำเนินงานโดยสถานศึกษาอย่างน้อยภาคเรียนละ 1 ครั้ง เพื่อนำข้อมูลมาใช้ในการวางแผน พัฒนาต่อไป ควรมีแนวทางการดำเนินงานดังนี้ ขั้นตอนและแนวทางการประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา โดยแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้
คู่มือนิเทศระบบประกันค ุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ตามกฎกระทรวงการประกันค ุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 โดยใช้กระบวนการนิเทศแบบ APIDSE Model กลุ่มงานส่งเสริมพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 45 ขั้นที่ 1 ขั้นเตรียมการ 1.1 การสร้างความตระหนักและความสำคัญของการประเมินคุณภาพภายในตาม มาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาให้กับบุคลากรที่เกี่ยวข้องทราบ 1.2 พัฒนาความรู้ และทักษะเกี ่ยวกับการประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐาน การศึกษาของสถานศึกษา 1.3 ทำความเข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบการเขียนรายงานการประเมินตนเองและวิธีการ ประเมินคุณภาพแนวใหม่ ได้แก่ 1.3.1 การประเมินแบบองค์รวม (Holistic Assessment) มีลักษณะที่สำคัญ ดังนี้ 1) มุ่งประเมินงานกิจกรรมในภาพรวมมากกว่าจะประเมินองค์ประกอบ ย่อย ๆ 2) การให้คะแนนสิ่งที่ต้องการวัดประเมินแบบกว้าง ๆ โดยรวม 1 ค่า 3) ใช้ประเมินผลงาน หรือกี่ระบวนการปฏิบัติงานที่เรียบง่าย ไม่ซับซ้อน 4) มีความรวดเร็วในการประเมิน 5) ผู้ประเมินจำเป็นต้องมีทักษะและความรู้รอบตัว 1.3.2 การตัดสินโดยผู้เชี ่ยวชาญ (Expert Judgment) การประเมินจาก หลักฐานเชิงประจักษ์ (Evidence Based) โดยผู้เชี่ยวชาญต้องมีทักษะหรือได้รับการฝึกอบรมมีประสบการณ์ เกี่ยวกับสิ่งที่จะประเมิน โดยผู้เชี่ยวชาญอาจใช้ 3- 5 คน หรือมากกว่านี้ตามความเหมาะสม ขึ้นอยู่กับประเด็น และบริบทที่เกี่ยวข้อง 1.3.3. การประเมินโดยบ ุคคลระดับเดียวกัน (Peer Review) เป็น กระบวนการตรวจเยี ่ยม ติดตาม ประเมิน โดยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที ่มีความรู้ ความสามารถ และ ประสบการณ์ในการปฏิบัติหน้าที่คล้ายกัน เพื่อร่วมกันวิเคราะห์ และให้ข้อสังเกต ข้อเสนอแนะ 1.4 แต่งตั้งคณะกรรมการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ซึ่งจะต้องประกอบด้วยผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ขั้นที่ 2 ขั้นดำเนินการ 2.1 การวางแผนการปฏิบัติงาน ประกอบด้วยวัตถุประสงค์ เป้าหมายของการ ประเมิน นำกรอบมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษามาเป็นแนวทางในการดำเนินงาน กำหนดวิธีการประเมิน แต่ละมาตรฐาน การเก็บรวบรวมข้อมูล การสรุปและรายงานผลการประเมิน 2.2 การดำเนินการตามแผน ประกอบด้วย การสร้างเครื ่องมือที ่สอดคล้องกับ มาตรฐาน การศึกษาและกำหนดเกณฑ์การประเมิน โดยเน้นหลักฐานเชิงประจักษ์ที่หลากหลาย 2.3 การตรวจสอบผลการดำเนินงานตามมาตรฐานการศึกษา สรุปผล การตรวจสอบ การดำเนินงานตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา