The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ปริญญาโท, เอกสารประกอบการบรรยาย

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

วิเคราะห์ปัญหาปัจจุบันเชิงปรัชญา

ปริญญาโท, เอกสารประกอบการบรรยาย

สารบัญ หน้า

เรอ่ื ง ๑

บทที่ ๑ บทนา ๙
บทท่ี ๒ ความรทู้ ่ัวไปเก่ยี วกับปรัชญาและจริยศาสตร์ ๑๐
๑๐
๒.๑ ความนา ๑๓
๒.๒ ความรูท้ ั่วไปเกี่ยวกบั ปรชั ญา ๑๕
๑๗
๒.๒.๑ ความหมายและขอบเขตของปรชั ญา ๑๘
๒.๒.๒ เครอื่ งมือของปรชั ญาและเหตุผล ๒๐
๒.๒.๓ ลกั ษณะของปรชั ญา ๒๒
๒.๒ ความรทู้ ่วั ไปเก่ียวกบั จริยศาสตร์ ๒๓
๒.๓.๑ วธิ ีการทางจรยิ ศาสตร์ ๒๔
๒.๓.๒ ปัญหาสาคญั ของจริยศาสตร์ ๒๖
๒.๓.๓ จรยิ ศาสตร์ในฐานะเป็นปรัชญาชวี ิตและสังคม ๒๗
๒.๓.๔ การประยุกต์ใช้หลักพ้ืนฐานทางความคิดจรยิ ศาสตร์ ๒๙
๒.๓.๕ ความหมายและความจาเป็นของคณุ ธรรม ๓๐
๒.๓.๖ สงั คมอดุ มคติ ๓๑
๒.๓ บทสรปุ ๓๒
คาถามทา้ ยบท ๓๒
เอกสารอา้ งองิ ประจาบท ๓๖
บทที่ ๓ ความหมายและลักษณะของปัญหาสังคม ๓๗
๓.๑ ความนา ๔๐
๓.๒ ความหมายของปญั หาสงั คม ๔๐
๓.๓ ความแตกต่างระหว่างปัญหาสังคมกับปัญหาสงั คมวทิ ยา ๔๓
๓.๔ ลักษณะของปัญหาสังคม ๔๖
๓.๕ ขอบเขตของปัญหาสังคม ๔๗
๓.๖ ทฤษฎเี กย่ี วกบั ปญั หาสงั คม ๔๘
๓.๗ ความเข้าใจผดิ เกีย่ วกับปัญหาสงั คม ๔๙
๓.๘ บทสรุป ๕๐
คาถามทา้ ยบท ๕๐
เอกสารอา้ งอิงประจาบท ๖๐
บทที่ ๔ สาเหตแุ ละประเภทของปญั หาสังคม ๖๑
๔.๑ ความนา
๔.๒ สาเหตขุ องปญั หา
๔.๓ หลกั สาคญั ในการศึกษาปญั หาสังคม
๔.๔ ประเภทของปัญหาสงั คม

๔.๕ ประเด็นปัญหาสงั คมทส่ี าคัญ ๖๖
๔.๖ จุดออ่ น จดุ แข็ง ของเยาวชนไทยในยคุ โลกาภวิ ัตน์ ๗๐
๔.๗ ปัญหาสังคมปจั จบุ นั ด้านต่างๆ ๗๒
๔.๘ การวดั ความรุนแรงของปญั หาสงั คม ๗๘
๔.๙ บทสรปุ ๘๐
คาถามท้ายบท ๘๑
เอกสารอ้างอิงประจาบท ๘๒
บทที่ ๕ ผลกระทบและแนวทางการปอ้ งกันแก้ไขปญั หาสังคม ๘๔
๕.๑ ความนา ๘๕
๕.๒ ผลกระทบของปญั หาสังคม ๘๕
๕.๓ การป้องกนั แก้ไขปัญหาสังคม ๘๖
๘๖
๕.๓.๑ การปอ้ งกันปัญหาสังคม ๙๐
๕.๓.๒ การแกไ้ ขปญั หาสงั คม ๙๐
๕.๔ กระบวนการในการแกป้ ญั หาสงั คมด้วยวิธกี ารทางวิทยาศาสตร์ ๙๒
๕.๕ วธิ ีการทใ่ี ช้ในการแก้ปญั หาสังคม ๙๒
๕.๖ กรณตี วั อยา่ งปัญหาสังคมไทยและแนวทางแก้ไข ๙๖
๕.๗ แนวทางการพัฒนาสังคม ๙๘
๕.๘ บทสรุป ๙๙
คาถามทา้ ยบท ๑๐๐
เอกสารอ้างองิ ประจาบท ๑๐๒
บทที่ ๖ วิเคราะห์ปัญหาปจั จุบนั เชงิ ปรัชญา ๑๐๓
๖.๑ ความนา ๑๐๔
๖.๒ วิเคราะห์ปัญหาปจั จบุ ันเชิงปรัชญา ๑๓๗
๖.๓ การแก้ไขปญั หาสังคมของเยาวชนไทยในปจั จบุ นั โดยใชห้ ลักอรยิ ะสจั ๔ ๑๔๕
๖.๔ บทสรุป ๑๔๗
คาถามท้ายบท ๑๔๘
บรรณานกุ รม ๑๕๐
บทที่ ๗ บทสรุป ๑๕๑
บรรณานุกรม



บทท่ี ๑
บทนำ

ชนทุกกลุ่มท่ีดำรงชีวิตอยู่ร่วมกัน โดยมีวัฒนธรรมไทยเป็นพื้นฐำนในกำรดำเนินชีวิต
สังคมไทยมิได้เน้นเฉพำะชนเชื้อชำติไทยเท่ำนั้น แต่รวมถึงชนกลุ่มน้อยอื่นๆ ซึ่งอำจมีเช้ือชำติ ศำสนำ
และวัฒนธรรมบำงอย่ำงแตกต่ำงกัน แต่ทุกกลุ่มยึดถือวัฒนธรรมไทยเป็นพ้ืนฐำนในกำรดำรงชีวิต
ร่วมกัน

ลกั ษณะทว่ั ไปของสงั คมไทย
๑. ยึดถอื พระมหำกษัตรยิ แ์ ละนับถือพระพทุ ธศำสนำ
๒. มีโครงสร้ำงแบบหลวมๆ ไม่ค่อยมีกำรรักษำกฎเกณฑ์ระเบียบอย่ำงเคร่งครัด มีกำร
ผอ่ นปรนในเรอื่ งตำ่ งๆ
๓. เป็นสังคมเกษตรกรรม ประชำกรมชี ีวิตอย่อู ยำ่ งง่ำยๆ
๔. ส่วนใหญ่ยดึ ถอื ขนบธรรมเนียมประเพณเี ป็นหลัก
๕. โครงสร้ำงของชนชั้นยึดสถำนภำพ ทรัพย์สมบัติ อำนำจ เกียรติยศ คุณงำมควำมดี
เป็นเกณฑก์ ำรแบ่งชนชน้ั
๖. มีควำมรกั ในถ่ินฐำนบำ้ นเกิดของตน

ปจั จยั ที่เปน็ ตัวกำหนดลักษณะของสงั คมไทย
๑. ส่งิ แวดล้อมทำงธรรมชำติ ได้แก่ ลักษณะภูมิประเทศ ภูมิอำกำศ ทรัพยำกรและพืช
พรรณธรรมชำติ ส่ิงแวดล้อมทำงธรรมชำติน้ีทำให้สังคมไทยเป็นสังคมเกษตรกรรมมำตั้งแต่อดีต มี
ขนบธรรมเนียมประเพณีหลำยอย่ำงที่เก่ียวข้องกับสิ่งแวดล้อมทำงธรรมชำติ เช่น ลักษณะกำรสร้ำง
บำ้ นเรือน ประเพณแี หน่ ำงแมว เป็นต้น
๒. สิ่งแวดล้อมทำงวัฒนธรรม ได้แก่ ส่ิงประดิษฐ์ ศิลปะ ภำษำและวรรณคดี ควำมเช่ือ
ตลอดจนคำ่ นยิ มทำงสังคม อิทธิพลของพระพุทธศำสนำในปัจจุบนั ยงั รับเทคโนโลยีสมยั ใหม่ จำกสงั คม
ตะวนั ตกทำใหเ้ กิดกำรเปลย่ี นแปลงวิถชี ีวติ ของสังคมไทยไปจำกอดตี
ส่งิ แวดล้อมทำงสงั คม หมำยถงึ แบบแผนควำมสัมพนั ธร์ ะหวำ่ งสมำชิกในสงั คม เช่น ควำม
เป็นไมตรีช่วยเหลือเกื้อกูลต่อกัน กำรให้ควำมเคำรพต่อผู้ใหญ่ กำรมีควำมสัมพันธ์ระหว่ำงสมำชิกใน
ครอบครัวอยำ่ งใกลช้ ิดสนิทสนม เปน็ ตน้ สงิ่ แวดล้อมทำงสังคมที่ยกตัวอยำ่ งมำนี้ บำงอย่ำงก็เปลย่ี นไป
จำกอดีต เน่ืองจำกโครงสร้ำงประชำกรของสังคมไทยเปลี่ยนแปลงไป และเนื่องจำกกำรท่ีได้ติดต่อ
สมั พันธก์ ับสังคมอื่นๆ โดยเฉพำะอิทธพิ ลจำกสังคมตะวันตก ทำให้สิ่งแวดล้อมทำงสังคมได้ขยำยกว้ำง
ออกไปกว่ำเดิม และมผี ลต่อรูปแบบควำมสัมพนั ธ์ในกำรดำเนินชีวิตของสังคมไทยปจั จุบัน
สถำนกำรณ์ของโลกปัจจุบันชุมชนทุกแห่ง ได้รับผลกระทบจำกำรเปลี่ยนแปลงทำงสังคม
และวัฒนธรรม ทำให้วิถีกำรดำเนินชีวิตของประชำกรในชุมชนมี กำรเปลี่ยนแปลงไปอย่ำงไม่หยุดนิ่ง
วิถีกำรดำเนินชีวิตของประชำกรในท้องถนิ่ มพี ัฒนำกำรไปสู่ควำมเป็นเมอื งมำกขึ้น แม้ชุมชนในชนบท
จะอยู่ห่ำงไกลเมืองแต่พวกเขำยังมีกำรติดต่อกับเมืองทั้งตรงและทำงอ้อม ทำงตรงคือกำรเดินทำง
ตดิ ตอ่ ทำธรุ ะหรือซื่อส่งิ ของจำเปน็ ในตวั เมือง และทำงอ้อมพวกเขำได้มีกำรติดตอ่ สอ่ื สำรต่ำงๆ ทำงส่ือ



ต่ำงๆ ทั้งวิทยุและโทรทัศน์ท่ีผ่ำนระบบต่ำงๆ ในชุมชนในกำรรับชม รับฟังเร่ืองรำวหรือวิถีชีวิตต่ำงๆ
ของเมือง จำกเทคโนโลยีต่ำงๆ เช่น ดำวเทยี ม วิทยุ โทรทัศน์ อนิ เตอร์เน็ต สถำบันครอบครัวตำ่ งๆ ใน
ชนบทจึงรับรู้เรื่องรำวและเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของชนบทสู่เมืองมำกข้ึน และนับวันจะมีกำร
เปล่ียนแปลงจำกสังคมชนบทสู่ควำมเป็นสังคมเมืองมำกข้ึน จนกระทั่งหำกรู้ไม่เท่ำทันกำร
เปล่ียนแปลงอำจลืมรำกเหง้ำควำมเป็นตัวตนของชุมชนบทมิอำจหลีกเลี่ยง กำรเปลี่ยนแปลงทำง
เศรษฐกิจสังคมและวัฒนธรรมจึงมีผลกระทบต่อสถำบันครอบครัวในชุมชนชนบทเป็นอย่ำงย่ิง หำก
ครอบครัวในชนบทขำดภูมิคุ้มกันทำงสังคม พวกเขำต้องตกเป็นผู้ได้รับผลกระทบจำกปัญหำต่ำงๆ ท่ี
เกิดข้ึน หำกมีภูมิคุ้มกันท่ีดีก็สำมำรถท่ีจะยืนหยัด และท้ำทำยสภำพปัญหำต่ำงๆ ได้อย่ำงเข้มแข็ง
ปัจจุบันท้ังสังคมเมืองและชนบทต่ำงก็คำนึงถึงผลกระทบจำกกำรเปลี่ยนแปลงทำงสังคมและ
วัฒนธรรมดังกล่ำวมีผลต่อครอบครัวของของทั้งทำงบวกและทำงลบ จึงได้มีกลไกของกำรมีส่วนร่วม
ต่ำงๆ มำกมำยเพื่อกระตุ้นแนวคิดสร้ำงจิตสำนึกของชุมชนให้เกิดกำรรับรู้ เรียนรู้เท่ำทันกับปัญหำ
ต่ำงๆ ที่ตำมมำกับควำมเจริญเติบโตของเมือง เพ่ือประชำกรในชุมชนสำมำรถยืนหยัดและรับมือกับ
ปัญหำต่ำงๆ ได้อย่ำงเข้มแข็ง เพ่ือให้เกิดควำมเข้มแข็งข้ึนในชุมชน เป็นกำรสร้ำงภูมิคุ้มกันทำงสังคม
ให้แก่ครอบครัว ชุมชนสงั คม ให้เกิดขึ้นอย่ำงย่ังยืน ปัจจบุ ันจึงมีแผนงำนโครงกำรต่ำงๆ ท่ีหลำกหลำย
ในระดับชุมชนท้องถิ่นที่เน้นควำมเข้มแข็งของครอบครัว ตัวอย่ำงเชน่ ผลวจิ ัยทเ่ี กิดจำกกำรมีส่วนร่วม
ของชมุ ชนในกำรสรำ้ งควำมเขม้ แขง็ แกส่ ถำบนั ครอบครัวในชมุ ชน เปน็ ตน้

ชุมชนเกิดควำมอ่อนแอ อันเน่ืองมำจำกกำรเปล่ียนแปลงทำงเศรษฐกิจสังคมและ
วัฒนธรรม บนกระแสโลกำภิวัฒน์ ทำให้สังคมมีกำรเปล่ียนแปลง ควำมรักควำมเอื้ออำทรที่มีต่อกันมี
น้อยลงวิถีชีวิตต่ำงคนต่ำงอยู่ไม่ใส่ใจกันมำกขึ้น หำกครอบครัวใดมีควำมรู้เท่ำทันกำรเปล่ียนแปลง ก็
สำมำรถรับมอื กับกำรเปล่ียนแปลงที่เกิดขนึ้ อย่ำงรเู้ ท่ำทนั และสำมำรถปรับตัวเข้ำกบั สถำนกำรณ์ต่ำงๆ
ได้ หำกครอบครัวใดขำดควำมรู้เท่ำทันก็จะทำให้ตกเป็นเหยื่อของกระแสโลกำภิวัฒน์ ทำให้สถำบัน
ครอบครัวเกิดควำมอ่อนแอสุดท้ำยกลำยเป็นครอบครัวท่ีแตกแยก เป็นต้นตอของปัญหำสังคมท่ี
ซับซ้อนในสังคมปัจจุบัน ซึ่งในสังคมสังคมไทยกำลังเผชิญกับปัญหำหลำยด้ำน เช่น ปัญหำสังคม
ปัญหำยำเสพติดให้โทษปัญหำเศรษฐกิจ และปัญหำกำรเมืองกำรปกครองเป็นต้น ซึ่งปัญหำเหล่ำน้ี
นับวันจะเพ่ิมมำกข้ึน โดยเฉพำะมีบุคคลประพฤติผิดศีลธรรมอันดีงำมของศำสนำข้ึนเรื่อยๆ ไม่ว่ำจะ
อยใู่ นวงกำรใด หรือสถำบนั ใดก็ตำม ดังปรำกฏเปน็ ข่ำวตำมหนำ้ หนังสอื พิมพแ์ ละส่ือตำ่ งๆ อยู่เสมอ ซ่ึง
ก่อให้เกิดผลเสียต่อสังคมและประเทศชำติเป็นอย่ำงมำก ในยุคโลกำภิวัตน์ (Globalization) เป็นยุค
แห่งเทคโนโลยีกำรส่ือสำรไร้พรมแดน เป็นเหตุให้ควำมเจริญทำงด้ำนเทคโนโลยีท่ีทันสมัย แผ่ขยำยไป
ทั่วทุกมุมโลกอย่ำงไร้พรมแดน ไม่มีค่ำย ไม่มีพรมแดนกีดกั้นในกำรติดต่อสัมพันธ์กันท้ังในด้ำน
เศรษฐกิจ กำรเมืองและกำรแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม เม่ือมีเหตุกำรณ์สำคัญเกิดขึ้นทไ่ี หนในโลก เรำรว่ มรู้
กันหมด ควำมโดดเด่นของวิทยำศำสตร์และเทคโนโลยี เป็นปรำกฏกำรณ์ท่ีมองเห็นผลทำงวัตถุอย่ำง
เด่นชัด จึงเป็นควำมนิยมของทุกคนในโลกชนิดที่หลงเช่ืออย่ำงไม่มีข้อยกเว้น ด้วยขีดควำมสำมำรถ
ของวิทยำศำสตร์และเทคโนโลยีนั้น ซ่ึงพิสูจน์ได้ด้วยประสำทสัมผัสทั้งห้ำอย่ำงเด่นชัด ทำให้กำรเห็น
คุณค่ำจำกสัมผัสที่หก (จิตใจ ธรรมำรมณ์) มีน้อย เพรำะเขำมองว่ำเม่ือวิทยำศำสตร์และเทคโนโลยี
เจริญมนุษย์คือผู้ที่ควบคมุ ธรรมชำติจึงทำให้เกิดกำรทำลำยล้ำงธรรมชำติอย่ำงมำกแต่ฝ่ำยเดียวตลอด



มำชนิดที่เรียกว่ำ แปรผันตรงกันข้ำมกับควำมเจริญทำงด้ำนวิทยำศำสตร์และเทคโนโลยี (วัตถุ)
กล่ำวคือย่ิงเจรญิ มำกย่ิงมกี ำรทำลำยลำ้ งธรรมชำตมิ ำก นั่นเอง๑

ปัญหำสังคมเป็นตัวสำคัญประกำรหน่ึงในกำรศึกษำสังคมมนุษย์กำรท่ีนักสังคมศำสตร์ให้
ควำมสนใจกบั หวั ข้อนกี้ เ็ พรำะเหตุหลำยประกำรเหตผุ ลที่สำคญั ๆ มี เช่น

ประกำรแรกสังคมมนุษย์ทุกสังคมมักจะต้องมีปัญหำสังคมอยู่บ้ำงไม่มำกก็น้อยถ้ำไม่
ตลอดเวลำก็จะต้องมีในบำงเวลำบำงปัญหำก็รุนแรงเป็นอันตรำยต่อสังคมมำก เช่น สงครำมหรอื กำร
แทรกซึมบ่อนทำลำยซึ่งลัทธิตรงข้ำมในบำงสังคมบำงปัญหำก็เบำบำงไมเ่ ป็นอันตรำยต่อนักสังคมมำก
นัก เช่น กำรติดสุรำเร้ือรัง กำรลักเล็กขโมยน้อย กำรฉกฉวยสิ่งของในร้ำนขำยของ กำรล้วงกระเป๋ำ
เป็นต้น นักสังคมศำสตร์จึงจำเป็นต้องศกึ ษำทำควำมเขำ้ ใจวำ่ เหตุใดปญั หำเหล่ำนจี้ ึงได้เกิดขน้ึ สภำพ
บำงอยำ่ งส่งเสริมหรือสนบั สนุนใหเ้ กิดปัญหำเหล่ำน้ี ลักษณะท่ีแทจ้ ริงโดยทวั่ ไปเป็นอย่ำงไร มลี ูท่ ำงท่ี
จะป้องกนั หรือแกไ้ ขให้หมดสิ้นไปได้อยำ่ งไร เปน็ ต้น

ประกำรที่สองหวั ขอ้ เร่อื งปัญหำสงั คมเปน็ ทสี นใจของนักสังคมศำสตร์ โดยเฉพำะนักสังคม
วทิ ยำ มำนุษยวทิ ยำ และจติ วิทยำสังคม เพรำะในกำรศกึ ษำภำพของสังคม โดยท่ัวไปจำเป็นอยู่เองท่ี
จะต้องให้ควำมสนใจหัวข้อน้ีควบคู่ไปกับสภำพสังคมท่ีเรียบร้อย สงบสุขเพรำะสังคมทุกสังคมมีทั้ง
สภำพทเ่ี ป็นระเบียบและไม่เปน็ ระเบียบ กำรที่จะเข้ำใจสังคมอย่ำงสมบูรณ์ กำรท่ีจะสร้ำงหลักทว่ั ไป
หรือทฤษฎีเกี่ยวกับสังคม ก็จำเป็นต้องศึกษำสังคมทุกด้ำนทุกสภำพ ประกำรสุดท้ำยนักสังคมศำสตร์
บำงสำลำ เชน่ สงั คมวิทยำ ศึกษำปญั หำสงั คมเพรำะกำเนิดของวิชำสังคมศำสตร์

กำรเปลี่ยนแปลงเป็นส่ิงที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลำ และมีผลกระทบต่อเนื่องกัน เม่ือมีกำร
เปล่ียนแปลงในเรื่องใดเร่ืองหน่ึง ย่อมส่งผลไปถึงสิ่งอื่นๆ ด้วย กำรเปลี่ยนแปลงบำงเร่ืองเป็นไปอย่ำง
ช้ำๆ บำงเร่ืองเป็นไปอย่ำงรวดเร็ว กำรเปลี่ยนแปลงดังกล่ำวน้ีส่งผลต่อสังคม ทำให้เกิดปัญหำสังคม
ในวงกวำ้ งทที่ ำใหต้ ้องแก้ไขอย่ำงเป็นกระบวนกำร

กำรท่ีระบบ สังคม กระบวนกำร แบ บอย่ำงห รือรูป แบ บท ำงสังคม เช่น
ขนบธรรมเนียมประเพณี ระบบครอบครวั ระบบกำรปกครองได้เปล่ียนแปลงไป ไมว่ ำ่ จะเปน็ ด้ำนใด
ก็ตำม กำรเปล่ียนแปลงทำงสังคมนี้ อำจจะเป็นไปในทำงก้ำวหน้ำ หรือถดถอย เป็นไปอย่ำงถำวร
หรือช่วั ครำว โดยวำงแผนให้เป็นไปหรือเปน็ ไปเอง และทเี่ ป็นประโยชน์ หรอื ใหโ้ ทษก็ได้ท้ังส้นิ

เน่ืองมำจำกปัญหำสงั คมที่เกิดขึน้ ในยุคน้ันในดินแดนกำเนิด คือ ในทวีปยุโรป โดยเฉพำะ
อังกฤษและฝรั่งเศส และแม้ดินแดนที่วิชำนี้ไปเจริญเติบโต คือ สหรัฐอเมริกำ กำรศึกษำปัญหำสังคม
จงึ เปน็ เสมือนประเพณขี องนกั วชิ ำกำรสำขำนนั้ ๆ ท่ตี ้องปฏบิ ตั ิสบื ต่อกนั มำจนยุคปัจจบุ นั

สังคมไทยปัจจุบัน เป็นสังคมที่เห็นคุณค่ำทำงวัตถุมำกกว่ำคุณค่ำทำงจิตใจ ยิ่งพัฒนำไป
เท่ำใด จะย่ิงเกิดปัญหำจำกกำรพัฒนำเท่ำนั้น ย่ิงมีวัตถุสนองควำมต้องกำรมำกเท่ำใดยิ่งไม่รู้จักอ่ิม ไม่
รู้จักพอ คนไทยในยุคโลกำภิวัตน์จึงมีปัญหำทำงจิตเกิดขึ้นมำกมำย เช่น มีพฤติกรรมกำรแสดงออกที่
รุนแรง ขำดเมตตำ ทั้งๆ ท่ีพระพุทธศำสนำสอนว่ำ เมตตำธรรมเป็นเครื่องค้ำจุนโลก ทำให้คนไทยยุค
ใหม่ตกเป็นทำสของประเทศทุนนิยมท่ีผลิตเคร่ืองอุปโภคบริโภคมำเป็นเหย่ือล่อ ทำให้มนุษยเ์ กิดกิเลส
อยำกมีอยำกได้ สนับสนุนให้เกิดค่ำนิยมบริโภคผ่ำนสอ่ื ต่ำงๆ โดยปรำศจำกกำรควบคุม เม่ือเกิดควำม

๑ ทัศนีย ์ ทองสว่ำง, สังคมไทย, (กรุงเทพมหำนคร: โอ.เอส.พริ้นต้ิง เฮำส์, ๒๕๓๗), หน้ำ ๒๓๔ –
๒๓๕.



อยำกมี อยำกได้ แต่ไม่มีเงินซ้ือจะกระทำทุจริต ลักเล็กขโมยน้อย ฉกชิงวิ่งรำวดังที่เป็นข่ำวอยู่เสมอ
สงั คมปัจจุบันจึงไร้ควำมมีน้ำใจ มนุษย์ชอบหมกมุ่นในกำมคุณ เป็นทีร่ วมส่ิงยั่วยุทำงเพศ ส่ือลำมกต่ำง
ๆ มำกมำย มสี ่ิงมอมเมำในรูปแบบกำรพนันต่ำงๆ อีกมำก เสพส่ิงเสพติด เช่น บุหร่ี ยำบำ้ ยำไอซ์ เม่ือ
สังคมไทยตกอยู่ในสภำพแวดล้อมทำงสงั คมเชน่ นี้ จงึ หมกมนุ่ จนถอนตวั ไม่ขน้ึ อีกทง้ั คนส่วนใหญค่ ดิ วำ่

กำรมีควำมพร้อมทำงวัตถุจะทำให้ชีวิตมีควำมสงบสุข จึงชอบวิ่งตำมวัตถุ ไขว่คว้ำหำมำ
บำรุงชีวิต ส่ิงใดท่ียังไม่มีเหมือนคนท่ัวไปจะพยำยำมด้ินรนหำมำ ส่ิงท่ีมีอยู่แล้วก็ให้มีมำกกว่ำเดิม
ถึงกับกู้หนี้ยืมสินมำซื้อหำ ท่ีถลำลึกอำจถึงข้ันทุจริตคิดมิชอบต่อหน้ำท่ีกำรงำน คนประเภทน้ีจะหำ
ควำมสงบสุขทำงใจไมไ่ ด้จนตลอดชีวิต

มนุษย์ในสังคมปัจจุบันชอบตรวจสอบคนอ่ืน ไม่ยอมหันมำตรวจสอบตนเอง ดังคำสอน
ท่ีวำ่ จงเตือนตนดว้ ยตนเอง หรือจงต้ังตนไว้ในคณุ ธรรมก่อน แล้วจึงสอนคนอื่น ทำได้เชน่ นจี้ ึงจะไม่มัว
หมอง ไม่ควรแต่คดิ หำควำมผิดของคนอ่ืนหรือธรุ ะที่เขำทำหรือยงั ไม่ทำ แต่ควรพิจำรณำตนว่ำ อะไรที่
ตนทำแล้วหรือยังไม่กระทำ ระบบกำรศึกษำอบรมของไทยในปัจจุบันได้รับอิทธิพลจำกประเทศทำง
ตะวันตก สอนให้รู้เร่ืองภำยนอกตัว มิได้เน้นว่ำเมื่อเรียนรู้เร่ืองของคนอ่ืนแล้ว ให้หันมำตรวจสอบ
ตนเองบ้ำง ระบบกำรศึกษำเช่นนี้เม่ือตนมีข้อบกพร่องอะไรกลับมองไม่เห็น หรือเห็นแต่แกล้งทำไม่
สนใจ พฤติกรรมของมนุษย์ประกำรสำคัญ คือ มีศรัทธำเลื่อนลอย คนไทยนับถือพระนับถือเจ้ำก็จริง
แต่ส่วนใหญ่ไม่ เล่ือมใสอย่ำงม่ันคง ชำวพุทธท่ีนับถือพระรัตนตรัยจึงควรพึ่งตนเอง ยึดเอำพระ
รัตนตรัยเป็นแรงบันดำลใจ ไม่ดูถูกควำมสำมำรถของตนเอง หันไปพึ่งผีสำงเทวดำหรือสิ่งท่ีเหลวไหล
หรืองมงำยต่ำงๆ เชน่ สัตวป์ ระหลำดหัวเป็นหมู หำงเป็นหมำ ปลำไหลเผอื ก เปน็ ตน้

คนไทยยุคใหม่ในปัจจุบัน ส่วนใหญ่นบั ถือพระรัตนตรัยเพียงลมปำกเทำ่ นั้น แต่มีพฤติกรรม
สวนทำงให้เลื่อมใสศรัทธำเป็นส่วนใหญ่ หลักสูตรวิชำพระพุทธศำสนำมีหัวข้อที่ทันสมัยอยู่ข้อหน่ึงคือ
ปัญหำทำงจิตของประชำชนไทย ท่ีว่ำทันสมัยเพรำะสังคมไทยเป็นสังคมที่มีควำมสงบสุข ไม่มีปัญหำ
ทำงจิต ไม่เหมือนกับประเทศที่เจริญหรือพัฒนำแล้วแต่มีคนเป็นโรคจิตหรือคนบ้ำเพ่ิมข้ึน แต่ปัจจุบัน
คนไทยตกอยู่ในสภำพไม่แตกต่ำงจำกประเทศท่ีเจริญหรือประเทศท่ีพัฒนำแล้วที่หมกมุ่น หลงใหลใน
วัตถุมำกว่ำสิ่งท่ีมีคุณค่ำทำงจิตใจ ทำให้เดินเข้ำสู่สิ่งที่เรียกว่ำ อบำยมุขได้ง่ำยมำกกว่ำกำรเดินทำงเข้ำ
สวู่ ัด เพือ่ บำเพ็ญบุญ บำเพ็ญทำนบำรมีเพอ่ื ให้ชีวติ ไดพ้ บกับควำมสขุ ควำมเจริญ

เมื่อโลกที่เจริญทำงด้ำนวัตถุถูกปกคลุมด้วยปัญหำและกำรทำลำยล้ำง เช่น ปัญหำกำร
ทำลำยล้ำงกนั ดว้ ยสงครำม ปัญหำส่ิงแวดลอ้ ม ปัญหำทำงดำ้ นจิตใจของคนในโลก ถ้ำทุกคนในโลกตำ่ ง
เข้ำถึงศำสนำของตนๆ แล้วโลกจะไม่เป็นอย่ำงน้ีจะเป็นโลกพระศรีอำริย์ขน้ึ มำพร้อมหมดท่ัวโลก และ
ศำสนำทุกศำสนำนั้นแตกต่ำงกันไป แต่จุดมุ่งหมำยน้ันเหมือนกันคือให้มนุษย์อยู่ร่วมกันอย่ำงมี
ควำมสุข๒ ทีนี้ก็มำถึงแก่นแท้ของพระพุทธศำสนำ คือ สำระท้ังหมดท่ีมีอยู่ในอริยสัจสี่ (ทุกข์ สมุทัย
นิโรธ มรรค) ท่ีครอบคลุมหลักกำรของพระพุทธศำสนำทั้งหมด ไม่ว่ำจะเป็น หลัก เว้นช่ัว ทำดี ทำใจ
ให้บริสุทธ์ิหลักธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือม่ันหลักเรำบัญญัติแต่ทุกข์และควำมดับทุกข์หรือหลัก อิ
ทัปปัจจยตำ / ปฏิจสมุปบำทกับนิพพำน ล้วนเป็นหลักธรรมที่อยู่ในอริยสัจส่ี ขอย่ำว่ำ อริยสัจส่ี คือ
หลักที่โยงควำมจริงในธรรมชำติมำสู่กำรใช้ประโยชน์ของมนุษย์หรือกล่ำวอีกนัยหนึ่ งคือธรรมที่เสนอ

๒ พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโฺ ต), แกน่ แท้ของพระพุทธศำสนำ, (กรุงเทพมหำนคร: ธรรมสำร, ๒๕๔๔),
หน้ำ ๓๑.



เป็นระบบปฏิบัติกำรให้มนุษย์บริหำรประโยชน์จำกควำมจริงของธรรมชำติน่ันเองในฐำนะที่ชำวไทย
กว่ำ ร้อยละ ๙๐ เป็นพุทธศำสนิกชนโดยกำเนิดและตำมสำเนำทะเบียนบ้ำนควรท่ีจะนำเอำหลกั ธรรม
ซ่ึงเป็นคำสอนของพระศำสดำสัมมำสัมพุทธเจ้ำเข้ำมำสู่กำรปฏิบัติ เพื่อแก้ไขปัญหำ ซ่ึงถือว่ำเป็น
กระบวนกำรแกป้ ัญหำแบบองค์รวม เพรำะหลกั ธรรมเป็นเสมือนแก้วมณีซึ่งเจียระไนรศั มหี ลำยเหล่ียม
นักวิชำกำรสำมำรถจัดมุมมองให้เห็นประกำยเลื่อมรุ้งได้งดงำมหลำยวิธีกำร หลักธรรมเสนอหลักกำร
พัฒนำปัญญำที่มุ่งกำรฝึกอบรมตน ให้บรรลุอิสรภำพหลุดพ้นจำกปัญหำ เพรำะโดยทั่วไปแล้ว
พุทธศำสนิกชนจะเข้ำใจพระพุทธศำสนำในแง่ของ ทำน ศีล และพิธีกรรมเท่ำน้ัน แท้จริงแล้ว พระ
บรมศำสดำสัมมำสัมพุทธเจ้ำ ได้ทรงวำงหลักกำรพัฒนำมนุษย์และหลักกำรเรียนรู้ไว้อย่ำงครบ
กระบวนกำร มีองคป์ ระกอบและข้ันตอนตำมลำดับต่อเนือ่ งสมบรู ณ๓

จำกปัญหำสังคมดังกล่ำวข้ำงต้น หำกนำหลักปรัชญำมำวิเครำะห์ โดยใช้วิธีกำรทำง
จริยศำสตร์ ก็จะทำให้เห็นประเด็นปัญหำ ผลกระทบ ตลอดถึงแนวทำงกำรแก้ไขปัญหำ ซึ่งเป็น
ประเด็นท่ีน่ำสนใจศึกษำและทำควำมเข้ำใจอย่ำงถ่องแท้ เพรำะเก่ียวเน่ืองกับกำรดำเนิน
ชีวิตประจำวัน และสำมำรถท่ีจะนำมำปรับประยุกต์ใช้ เพ่ือที่จะรู้เท่ำทันควำมเปลี่ยนแปลงที่เป็น
ปัญหำสงั คม ตลอดจนสำมำรถดำเนินชวี ติ อยู่ในสงั คมไทยได้อยำ่ งเป็นปกตสิ ุข

ในกำรวิเครำะห์ปัญหำสังคมไทยในปัจจุบันเชิงปรัชญำ ซึ่งเป็นสำขำหน่ึงของปรัชญำ คือ
จริยศำสตร์ จึงจำเป็นต้องทำควำมเข้ำใจเบ้ืองต้นเก่ียวกับประเด็นต่ำงๆ ได้แก่ ปรัชญำเบื้องต้น หลัก
จริยศำสตร์ ปัญหำสังคมไทยในปัจจุบัน เป็นต้น ซ่ึงจะได้ศึกษำและทำควำมเข้ำใจในประเด็นต่ำงๆ
เหลำ่ น้ีในบทตอ่ ๆ ไป

๓ สุมน อมรวิวัฒน์, กำรพัฒนำกำรเรียนรู้ตำมแนวพุทธศำสตร์, (นนทบุรี: โรงพิมพ์หำวิทยำลัย
สุโขทยั -ธรรมำธิรำช, ๒๕๔๒), หนำ้ ๑.



เอกสำรอ้ำงอิงประจำบท

โกศล วงศ์สวรรค์ และสถติ วงศ์สวรรค์. ปัญหำสังคมไทย SOCHIAL PROBLEMS. กรงุ เทพมหำนคร:
อมรกำรพิมพ์, ๒๕๔๓.

จรญั พรหมอย.ู่ ควำมเข้ำใจเกี่ยวกบั สังคมไทย. กรงุ เทพมหำนคร: สำนกั พิมพโ์ อเดียน สโตร์,
๒๕๒๖.

จำนงค์ อดวิ ฒั นสิทธิ์. กำรศึกษำเพอื่ พัฒนำประเทศ. กรุงเทพมหำนคร: สำนักพมิ พ์โอเดียน สโตร,์
๒๕๓๒.

ณรงค์ เสง็ ประชำ. สงั คมวิทยำ. กรงุ เทพมหำนคร: สำนักพิมพพ์ ิทักษ์อักษร, ๒๕๓๗.
ทศั นยี ์ ทองสวำ่ ง. สงั คมไทย. กรุงเทพมหำนคร: โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮำส์, ๒๕๓๗.
ประสำท หลักศลิ ำ. ปญั หำสังคม. กรุงเทพมหำนคร: สำนักพิมพ์จุฬำลงกรณ์มหำวทิ ยำลัย, ๒๕๑๑.
พระธรรมปฎิ ก (ป.อ.ปยุตฺโต). แก่นแท้ของพระพุทธศำสนำ. กรุงเทพมหำนคร: ธรรมสำร, ๒๕๔๔.
พัทยำ สำยหู. กลไกของสังคม. กรงุ เทพมหำนคร: สำนักพิมพจ์ ฬุ ำลงกรณ์มหำวทิ ยำลยั , ๒๕๒๙.
สัญญำ สญั ญำววิ ัฒน์. ทฤษฎีสงั คมวิทยำ: เน้อื หำและกำรใชป้ ระโยชน์เบื้องตน้ . พมิ พ์ครงั้ ที่ ๑๐.

กรงุ เทพมหำนคร: สำนกั พมิ พ์จฬุ ำลงกรณ์มหำวทิ ยำลัย, ๒๕๒๖.
________. หลักสงั คมวทิ ยำ. กรงุ เทพมหำนคร: ไทยวัฒนำพำนชิ , ๒๕๒๓.
สพุ ัตรำ สุภำพ. ปญั หำสังคม. พมิ พ์ครั้งที่ ๑๙. กรงุ เทพมหำนคร: ไทยวฒั นำพำนิช, ๒๕๔๖.
สุพศิ วง ธรรมพันทำ. มนุษยก์ บั สงั คม. กรุงเทพมหำนคร: สถำบันรำชภัฏบ้ำนสมเดจ็ เจ้ำพระยำ,

๒๕๔๐.
สุมน อมรวิวฒั น์. กำรพฒั นำกำรเรียนรู้ตำมแนวพุทธศำสตร์. นนทบรุ :ี โรงพมิ พ์หำวิทยำลยั สุโขทยั -

ธรรมำธิรำช, ๒๕๔๒.
สุวทิ ย์ ร่งุ วสิ ัย. ลักษณะของผูต้ อ้ งขงั เกย่ี วกบั ยำเสพติดในเรอื นจำกลำงเชยี งใหม่. เชยี งใหม่:

ภำควิชำสังคมวิทยำและมำนษุ ยวิทยำ คณะสงั คมศำสตร์ มหำวทิ ยำลยั เชยี งใหม,่ ๒๕๓๒.
รำชบัณฑิตยสถำน. พจนำนกุ รมศพั ท์สงั คมวทิ ยำ องั กฤษ – ไทย ฉบับรำชบัณฑิตยสถำน.

กรุงเทพมหำนคร: บริษทั รุ่งศลิ ป์กำรพิมพ์ จำกัด, ๒๕๒๔.
อำนนท์ อำภำภิรม. ปญั หำสังคม. กรุงเทพมหำนคร: สำนกั พมิ พ์โอเดียน สโตร,์ ๒๕๑๗.



บทที่ ๒
ความรทู้ ่วั ไปเกี่ยวกับปรชั ญา และจริยศาสตร์

วัตถปุ ระสงคก์ ารเรียนประจาบท
เมอ่ื ได้ศึกษาเน้ือหาในบทแล้ว ผ้ศู ึกษาสามารถ
๑. บอกความหมายและขอบเขตของปรชั ญาได้
๒. บอกเครื่องมือและเหตุผลของปรชั ญาได้
๓. บอกลกั ษณะและประเภทของปรัชญาได้
๔. บอกวิธีการและปัญหาของจรยิ ศาสตร์ได้
๕. บอกฐานะการประยุกต์ใช้แนวคดิ ทางจริยศาสตรไ์ ด้

ขอบข่ายของเนื้อหา
 ความหมายและขอบเขตของปรชั ญา
 เคร่ืองมอื ของปรัชญาและเหตุผล
 ลกั ษณะของปรัชญา
 วธิ กี ารทางจรยิ ศาสตร์
 ปญั หาสาคญั ของจริยศาสตร์
 จริยศาสตร์ในฐานะเปน็ ปรชั ญาชวี ติ และสังคม
 การประยุกต์ใช้หลักพน้ื ฐานทางความคดิ จริยศาสตร์
 ความหมายและความจาเปน็ ของคุณธรรม
 สงั คมอุดมคติ

๒.๑ ความนา

การคิด หมายถึง พฤติกรรมภายในที่เกิดจากกระบวนการทางานของสมอง ในการ
รวบรวมจัดระบบข้อมูลและประสบการณต์ ่างๆ ทาใหเ้ กดิ เปน็ รูปรา่ งหรือมโนภาพที่เป็นเร่ืองราวขึ้นใน
ใจและส่ือสารออกมาโดยใช้คาพูดหรือแสดงออก การใช้ความคิดของมนุษย์เป็นส่ิงสาคัญและจาเป็น
อย่างมากต่อการดาเนินชีวิต ผู้ที่มีความคิดเฉียบแหลม ทันสมัย ไม่เหมือนใคร คิดได้ก่อนใครจะเป็นผู้



ท่ีได้เปรียบในทุกๆ ด้าน สามารถดาเนินชีวิตได้อย่างมีคุณภาพและประสบผลสาเร็จทั้งในชีวิตส่วนตัว
และการทางาน

ความคิดของมนุษย์เป็นผลท่ีเกิดจากกลไกของสมองซ่ึงเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา และเป็นไป
ตามธรรมชาติ ผลของการใช้ความคิดจะแสดงให้เห็นในลักษณะของการสรุปเป็นความคิดรวบยอด
การจาแนกความแตกต่าง การจัดกลุ่ม การจัดระบบการแปลความหมายของข้อมูล รวมทั้งการสรุป
อ้างอิง การเช่ือมโยงสัมพันธ์ของข้อมูลต่างๆ ท่ีได้รับข้อมูลท่ีได้มา อาจเป็นความจริงท่ีสัมผัสได้ หรือ
เป็นเพียงจินตนาการท่ีไม่อาจสัมผัสได้ ดังน้ัน สมองจึงควรได้รับการฝึกฝนและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
สม่าเสมอและคุณภาพของสมองมิได้อยู่ที่การมีสมองเท่านั้น แต่อยู่ท่ีการใช้สมองเป็นสาคัญ การฝึก
ทักษะกระบวนการคิดจึงเป็นสิ่งสาคัญอย่างย่ิงท่ีเยาวชนควรได้รับ การพัฒนาเพ่ือให้เกิดความ
เจริญเตบิ โตเปน็ บุคคลทีม่ คี ณุ ภาพและดารงตนอยู่ในสงั คมอยา่ งมคี วามสุข

ความคิดคืออะไร โดยทั่วไป ความคิด หมายถึง กิจกรรมทางจิตใจหรือทางปัญญา๑ ที่
เกี่ยวข้องกับจิตสานึกเฉพาะคน ความคิดยังอาจหมายถึงกระบวนการ คิดหรือลาดับแง่คิด ในทานอง
เดียวกัน กรอบความคิด หมายรวมถึง กระบวนการการรับรู้ การรับรคู้ วามรู้สึก ความมีจิตสานึก และ
จินตนาการ การทาความเข้าใจถึงจุดกาเนิดที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม กระบวนวิธี และผล ยังคง
เป็นเป้าหมายท่ีนักวิชาการจานวนมาก เช่น นักชีววิทยา นักปรัชญา นักจิตวิทยา และนักสังคมวิทยา
ตง้ั ไว้ เน่ืองมาจากความคดิ นั้นเปน็ หลักพนื้ ฐานรองรับการกระทาและปฏิกิรยิ าของมนุษย์

การคิดทาให้มนุษย์สามารถเข้าใจโลกหรือออกแบบชีวิตได้แตกต่างกัน ทั้งยังทาให้
นาเสนอหรอื แปลความหมายส่ิงตา่ งๆ ไปตามความหมายที่เขาเข้าใจ หรือเชื่อมโยงไปถึงความต้องการ
ความปรารถนา ขอ้ ผูกมัด วตั ถปุ ระสงค์ แผน และเปา้ หมายของเขาได้

ดังน้ัน จึงจาเป็นที่จะต้องศึกษาและทาความเข้าใจในเน้ือหาของปรัชญา และหลักจริย
ศาสตร์ ซึ่งช่วยให้เราเกิดความกระจ่างในคุณค่าหรืออุดมคติที่ตนเองควรยึดถือ คือ “จริยศาสตร์ของ
ปัจเจกบุคคล” เป็นจริยศาสตร์ที่ช่วยให้เกิดความเข้มแข็งของคุณธรรม จริยธรรมส่วนบุคคล ได้แก่
วชิ า จริยศาสตรท์ ่ีประมวลและวิเคราะห์ประเมินหลักปรชั ญาชวี ติ ท่ีคลอบคลมุ เป้าหมายสูงสดุ ของชีวิต
มนุษย์ทุกๆ ด้าน ซึ่งช่วยขยายโลกทัศน์และชีวิตทัศน์ทางคุณค่าของเราให้กว้างขึ้นชัดเจนเป็นระบบ
มากขึ้น เช่น ถ้าเรายึดถือว่าความสุขเป็นเป้าหมายสูงสุดของชีวิต จริยศาสตร์จะชวนให้เราหาความ
ชัดเจนว่า นิยามของความสุขคืออะไร ทาไมความสุขจงึ ควรเป็นเป้าหมายสูงสุดของชีวิต ความสุขเป็น
สิ่งมีค่าสูงสุดสาหรับชีวิตมนุษย์จริงหรือ มีส่ิงอื่นท่ีมีค่ามากกว่าความสุขที่เราควรยึดถือเป็นเป้าหมาย
สงู สุดของชีวติ หรอื ไม่ เปน็ ต้น

๒.๒ ความร้ทู ว่ั ไปเกีย่ วกับปรชั ญา

เม่ือได้ยินหรืออ่านพบคาว่า “ปรัชญา” คาถามแรกท่ีเกิดขึ้นคือ ปรัชญาคืออะไร? การตั้ง
คาถามนี้เป็นเร่ืองง่าย แต่เป็นเรื่องยากท่ีจะตอบให้ถูกต้อง แม้แต่นักปรัชญาเองก็ตอบคาถามนี้
แตกต่างกัน เช่นบางคนกล่าวว่าปรัชญาเป็นการมองดูโลกและชีวิตแบบลึกซึ้ง ในขณะที่หลายคน
อธิบายว่า ปรัชญาเป็นวิธีการคิดและแสวงหาความรู้โดยใช้เหตุผล นอกจากน้ันยังมีนักปรัชญาจานวน

๑ ปานทพิ ย์ ศภุ นคร และคณาจารยภ์ าควิชาปรัชญา, ปรัชญาเบอื้ งต้น, (กรงุ เทพมหานคร:
มหาวทิ ยาลยั รามคาแหง, ๒๕๔๒), หน้า ๑.

๑๐

ไม่น้อยทเี่ ข้าใจว่าปรัชญาเป็นวิธกี ารวิเคราะหค์ วามรูแ้ ละภาษาในศาสตร์ต่างๆ ให้กระจ่างแจง้ เพื่อช่วย
ให้เกิดความเข้าใจอย่างถอ่ งแท้ ถึงแม้ความคิดเห็นในเรือ่ งความหมายของ “ปรัชญา” แตกต่างกัน แต่
นักปรัชญาทุกคนก็ยอมรับว่าธรรมชาติของปรัชญาคือการใช้เหตุผลวิเคราะห์ วิพากษ์ และสังเคราะห์
ใหเ้ กิดความรู้ใหมๆ่ ข้ึนมาเพื่อตอบสนองความอยากรู้อยากเห็นของมนษุ ย์

ความอยากรู้อยากเห็นเกิดข้ึนเพราะมนุษย์สามารถตั้งคาถาม “ทาไม?” ได้ เนื่องจากเป็น
สัตวโ์ ลกประเภทเดยี วทม่ี ีเหตุผล ซ่งึ ทาให้อยากรอู้ ยากเขา้ ใจส่ิงต่างๆ รอบตัวท่ีเปน็ ปรศิ นาให้คิด ไม่ว่า
ส่งิ มีชีวิตหรอื ไม่มชี ีวิต เพราะทุกสงิ่ ทกุ อยา่ งทีม่ องเห็นล้วนแตน่ ่าฉงนสนเท่ห์ด้วยกันท้ังนัน้ แม้แต่ชีวิต
มนุษย์เองก็เป็นส่ิงน่ารู้น่าเห็นไม่น้อยกว่าโลกและจักรวาล ความอยากรู้อยากเห็น ความอยากหา
คาตอบในเรื่องต่างๆ ที่สงสัยไม่เข้าใจ เป็นแรงจูงใจสาคัญที่ทาให้มนุษย์ไม่ยอมอยู่เฉยมุ่งแสวงหา
ความรู้ ตราบใดท่ีมนุษย์ไม่ได้ความรู้ท่ีต้องการ จิตที่อยากรู้อยากเห็นก็จะไม่มีวันมีสงบและเป็นสุข
โดยเหตทุ ่ีความรู้เป็นสงิ่ ไม่มีขอบเขตจากัดและจับต้องไม่ได้ ดังน้ันมนุษยจ์ ึงตอ้ งแสวงหาความรูส้ ืบต่อ
กนั ไปเรอื่ ยๆ โดยไม่ส้ินสุด น่ีเปน็ ส่ิงทมี่ นุษย์ตอ้ งแลกกบั การเปน็ สัตว์โลกทม่ี ีเหตุผล

มนุษย์อาจมีร่างกายเล็กกว่าหรือมีพลังน้อยกว่าสัตว์ใหญ่ เช่นช้าง แต่มนุษย์ก็เป็นสิ่งมีชีวิต
ท่ีคิดเห็น ในเร่ืองเรี่ยวแรงแล้วมนุษย์อาจไม่แข็งแกร่งเช่นต้นอ้อท่ีต้องโอนเอนไปมาตามแรงลม แต่
มนษุ ยก์ เ็ ปน็ ตน้ อ้อที่คดิ

๒.๒.๑ ความหมายของและขอบเขตปรัชญา
มีคากล่าวของนักวิพากษ์วิจารณ์คนหนึ่ง กล่าวว่า Philosophy bakes no bread.
(ปรัชญากินไม่ได้) คาตอบของวิชาปรัชญาต่อคากล่าวน้ันมีอยู่ว่า ท่ีมนุษย์กินอยู่ทุกวันนี้ ควรถาม
ตนเองด้วยว่า “กิน” ไปเพื่ออะไร ถ้าตอบว่ากินเพ่ือความอยู่รอด ก็ต้องถามต่อไปอีกว่า “จะอยไู่ ปเพื่อ
อะไร”คาถามข้างตน้ สะท้อนวิถแี ห่งปรัชญา เพราะเกยี่ วข้องกับการดารงอยขู่ องมนุษย์ ตลอดจนความ
เข้าใจว่าชีวิตเป็นอย่างไร และชีวิตท่ีดีคืออะไรด้วย แม้ปรัชญาจะ “กิน” ไม่ได้ แต่ปรัชญาเกื้อหนุนให้
มนุษย์ได้ตริตรองถึงชีวิตของตนเองและผู้อ่ืนเพื่อให้เข้าใจวา่ จะกินไปเพื่ออะไร และ อาจส่งผลต่อแนว
ทางการดารงชวี ิต ซึง่ หมายถึงจะ “กนิ ” อย่างไรดว้ ย

๑. ความหมายของปรชั ญา
ความหมายของคา “Philosophy” ตามรากศัพท์ คาว่า “Philosophy” มาจากคาว่า
“Philosophia” (เป็นคาภาษากรีกโบราณ) ซึ่งมาจากคา “Philia” (แปลว่า “ผู้รัก”) และ “Sopia”
(แปลว่า“ความปราดเปร่ือง”)
ดังนั้น คาว่า “Philosophia” (Philosophy) จึงแปลว่า “ความรักในปรีชาญาณ” (Love
of wisdom) เน่ืองจากชาวกรีกโบราณมกั เรียกตัวพวกเขาว่า “Wise men” เช่น Pythagoras (ราวปี
๕๑๐ – ๕๐๐ ก่อน ค.ศ.) ต้องการให้เรียกท่านว่า “Lover of wisdom” หรือ “Philosopher” นี่จึง
เป็นที่มาของคา “Philosophy” ซ่ึงในสมัยต่อมา นักบุญโทมัส อาไควนัส (ค.ศ. ๑๒๒๕ – ๑๒๗๔) ก็
ใช้คาวา่ Philosophy มาแทนคาว่า “Wisdom”๒
สรุปแล้วคาว่า “Philosophy” ตามความหมายของภาษา คือ ความรักความปราดเปร่ือง
ความปรารถนาจะเปน็ ปราชญ์ นน่ั คือ การรู้ว่าตัวเองไม่ฉลาด แตอ่ ยากฉลาด

๒ สมคั ร บรุ าวาศ, วิชาปรชั ญา, (กรุงเทพมหานคร: ศยาม, ๒๕๔๔), หน้า ๑.

๑๑

ความหมายของคา “ปรัชญา” (ภาษาไทย) คาว่า “ปรัชญา” มีที่มาจากพระเจ้าวรวงศ์เธอ
กรมหม่ืนนราธิปพงศ์ประพันธ์ (พระองค์วรรณ) อดีตราชบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญา เป็นผู้แปลศัพท์คา
ว่า Philosophy เป็นคาว่า “ปรัชญา” โดยใช้รากศัพท์จากภาษาสันสกฤตว่า “ชฺญา” (รู้/เข้าใจ) เติม
อปุ สรรค ปรฺ เป็น ปรฺ ชฺญา รวมแปลว่า “ความปราดเปร่อื งหรอื ความรอบรู้”

ดังนั้น คาว่า “ปรัชญา” (ภาษาไทย) จึงแปลว่า “ความรอบรู้ปราดเปรื่อง” ซ่ึงเป็น
ความหมายในเชิงอวดตัว (ไม่เหมือนคา Philosophy ซ่ึงแสดงถึงความถ่อมตน) ความหมายของคา
“ปรชั ญา” จึงไมต่ รงกับภาษาองั กฤษ/กรกี (Philosophy/Philosopia) มากนกั

ปรัชญา คือ กิจกรรมทางปัญญาหรือการสร้างระบบความคิดเพ่ือการแสวงหาคาอธิบาย
ให้กบั คาถามทเี่ ป็นพน้ื ฐานที่สุดของชีวิต เช่น จดุ ประสงค์ของชวี ิตคืออะไร พระเจ้ามอี ยู่จรงิ หรอื ไม่ เรา
จะแยก “ถูก” กับ “ผิด” ออกจากกันได้อย่างไร สิ่งท่ีเรากระทาเป็นไปโดยอิสระของตัวเอง หรือเป็น
เพราะโชคชะตาลิขิต เปน็ ตน้

๒. คาถามทางปรชั ญา (philosophical questions)
คาถามทางปรัชญาต่างจากคาถามทางวิทยาศาสตร์หรอื คาถามที่ต้องการคาตอบท่ีแน่ชัด
และสามารถหาคาตอบได้ด้วยวิธีการ เชิงประจักษ์หรือการเลือกแหล่งอ้างอิงท่ีเหมาะสมกล่าวได้ว่า
คาถามทางปรัชญาเป็นคาถามท่ีเจาะลึกลงไปหาแนวความคิดพ้ืนฐาน หรือ “หลักการ” ดังน้ัน ความ
ท้าทายของการหาคาตอบทางปรัชญาคือการนาเอาหลักการ และแนวคิดพื้นฐานนั้นไปอธิบาย
สถานการณ์ท่ีเกย่ี วขอ้ งกับแนวคดิ นัน้ ๆ (เช่น ความจริง ถกู -ผดิ ยตุ ธิ รรม ฯลฯ)

๓. ขอบเขตของปรัชญา
ความเป็นจริง (Reality) เช่น ความเป็นจริงคืออะไร ความแตกต่างระหว่าง “ความเป็น
จริง” “ความไม่จริง”หรือ “สิ่งลวง” คอื อะไร สิ่งทเ่ี ราพบเหน็ เปน็ จริงหรือไม่ หรอื เพยี งใจเราคดิ ว่าจริง
กเ็ พียงพอแล้ว เป็นต้น ความเป็นมนุษย์ (Personhood) เช่น ธรรมชาติ หรือ ปัจจัยพื้นฐานใดที่ทาให้
มนุษย์แตกต่างจากวัตถุ และสิ่งมีชีวิตอื่น รวมถึงความแตกต่างของมนุษย์แต่ละคน ลักษณะพื้นฐาน
(basic characteristic) ของมนุษย์คืออะไร เป็นต้น เจตจานงเสรี (Free Will) เช่น มนุษย์สามารถ
ควบคุมการกระทาของตนเองได้ ดังนั้น การกระทาจึงไม่ใช่เพียงผลผลิตของสัญชาตญาณเท่านั้น
หรือไม่ การกระทาของมนุษย์ก็ยังเป็นผลมาจากการอบรมเล้ียงดู ค่านิยมและบรรทัดฐานของสังคม
หรืออาจจะเป็นเพราะลักษณะนิสัยท่ีถ่ายทอดทางพันธุกรรมก็ได้ ด้วยหรือไม่ ความกลัวโดยไร้เหตุผล
ส่งผลกระทบอย่างไรพลังของจิตไร้สานึก (unconscious mind) คืออะไร พระเจ้ากาหนดชะตาชีวิต
ของมนุษย์ หรือไม่ มนุษย์มี “เสรี” เพียงใด เป็นต้นความรู้ (Knowledge) เช่น ความรู้คืออะไร
ความรู้มีท่ีมาอย่างไรบ้าง ความรู้เชิงประจักษ์(ประสบการณ์ตรง) ความรู้จากการอบรมสั่งสอน และ
ความรู้ท่ีเป็นบทนิยาม (เช่น ความหมายของสามเหล่ียม ท่ีผลรวมของมุมภายในเท่ากับ ๑๘๐ องศา)
เป็นความรู้แบบเดียวกันหรือไม่ความรู้กับความรู้สึกหรือลางสังหรณ์แตกต่างกันอย่างไร “ความรู้”
ของคนทรงเจา้ เป็นความรเู้ กย่ี วกับอนาคตจริงหรอื ไม่ เป็นต้น
ความเป็นมนุษย์ (Personhood) เช่น ธรรมชาติ หรือ ปัจจัยพื้นฐานใดที่ทาให้มนุษย์
แตกต่างจากวัตถุ และสิ่งมีชีวิตอื่น รวมถึงความแตกต่างของมนุษย์แต่ละคน ลักษณะพื้นฐาน (basic
characteristic) ของมนษุ ย์คอื อะไร เปน็ ต้น

๑๒

เจตจานงเสรี (Free Will) เชน่ มนษุ ย์สามารถควบคมุ การกระทาของตนเองได้ ดงั น้นั การ
กระทาจึงไม่ใช่เพียงผลผลิตของสัญชาตญาณเท่านั้น หรือไม่ การกระทาของมนุษย์ก็ยังเป็นผลมาจาก
การอบรมเล้ียงดู ค่านิยมและบรรทัดฐานของสังคม หรอื อาจจะเป็นเพราะลกั ษณะนิสัยทถ่ี ่ายทอดทาง
พันธุกรรมก็ได้ ด้วยหรือไม่ ความกลัวโดยไร้เหตุผล ส่งผลกระทบอย่างไร พลังของจิตไร้สานึก
(unconscious mind) คืออะไร พระเจ้ากาหนดชะตาชีวิตของมนุษย์ หรือไม่–มนุษย์มี “เสรี”
เพยี งใด เป็นตน้

ความรู้ (Knowledge) เช่น ความรู้คืออะไร ความรู้มีที่มาอย่างไรบ้าง ความรู้เชิงประจักษ์
(ประสบการณ์ตรง) ความรู้จากการอบรมสั่งสอน และความรู้ที่เป็นบทนิยาม (เช่น ความหมายของ
สามเหล่ียม ท่ีผลรวมของมุมภายในเท่ากับ ๑๘๐ องศา) เป็นความรู้แบบเดียวกันหรือไม่ ความรู้ กับ
ความรสู้ ึก หรอื ลางสังหรณ์ แตกต่างกันอย่างไร “ความรู้” ของคนทรงเจ้าเป็นความรู้เก่ียวกบั อนาคต
จรงิ หรอื ไม่ เป็นตน้

พระเจ้า (God) ชีวิตหลังความตาย (Life After Death) และเป้าหมายของชีวิต (the
Purpose of Life) เช่น โลกและจักรวาลเป็นผลจากกระบวนการทางธรรมชาติ หรือเป็นผลงานการ
“สร้าง” ของใคร พระเจ้ามีอยู่จริงหรือไม่ หากเราเช่ือว่ามีมิติแห่งวิญญาณอยู่จริง ก็แสดงว่าวิญญาณ
ของเราจะไปอยู่ในท่ีน้ันหลังจากเราตายไป อย่างน้ันหรือ ชีวิตหลังความตาย และการเวียนว่ายตาย
เกิด มีจริงหรือไม่ เปา้ หมายของการมชี วี ิตอยคู่ ืออะไร เป็นตน้

๔. ปรชั ญาเชงิ ปฏบิ ตั ิ
มาตรฐานการตัดสินการกระทา (ถูก หรอื ผดิ ) เช่น เราใชม้ าตรฐานหรือ ค่านิยมบางอยา่ ง
เป็นเคร่ืองนาทางในการเลือกทาบางส่ิงบางอย่าง และใช้เป็นเครื่องประเมินการกระทาของผู้อื่นด้วย
มาตรฐาน หรือค่านิยมเห็นได้ชัดในทุกสังคมได้แก่ กฎหมาย และจารีตประเพณี รวมถึงระเบียบ
กฎเกณฑ์ และแนวนโยบายต่างๆ แต่มีส่ิงที่ขัดแย้งกับหลักการดังกล่าวอยู่ เช่น การขับรถฝ่าไฟแดง
เพ่ือนาเพื่อนที่กาลังป่วยหนักโรงพยาบาล เป็นต้นแม้แต่เมื่อพิจารณาว่าเราต้องการมาตรฐานสากล
สาหรับตัดสินการกระทาต่างๆ แต่เราจะสามารถหาได้หรือไม่ เราจะอธิบายมาตรฐานการตัดสิน ถูก-
ผิด แก่คนท่ีไม่เห็นด้วยกับเราได้อย่างไร หากเรามี มาตรฐานในการแยกแยะระหว่างถูก-ผิด เหตุใด
เราจึงควรทาตามมาตรฐานน้ัน และเหตุใดเราจึงควรทาส่ิงท่ีถูก และเหตุใดเราจึงไม่ควรทาสิ่งท่ีผิด
เป็นต้น เมื่อเราพิจารณาชีวิตประจาวันของเราก็จะพบว่า มีคาถามมากมายเกี่ยวกับปัญหาการตัดสิน
การกระทาของ มนษุ ย์ท่ีมีตอ่ มาตรฐานหรือค่านิยมพน้ื ฐานบางประการ ซ่งึ เป็น คาถามทางปรัชญา ซึ่ง
รวมไปถึงคาถามท่ีว่า เราจะจัดการสังคมได้อย่างไร? คนจานวนมากในสังคมต้องร่วมกันออกเสียง
สาหรับเร่ืองเล็กๆ น้อยๆ หรือคนจานวนมากในสังคมต้องร่วมกันออกเสียงสาหรับเรื่องเล็กๆ น้อยๆ
หรือว่าเราควรจัดตง้ั รัฐบาลขึ้นมาดแู ลเร่ืองเหล่านนั้ ใครควรเปน็ ผู้กาหนดระเบียบ กฎเกณฑ์ที่คนอ่ืนๆ
ต้องปฏิบัตติ าม จะทาอย่างไรหากระเบียบ กฎเกณฑ์ที่สังคมตง้ั ขึ้นขัดแย้งกับมาตรฐานส่วนบุคคลของ
คน บางคนหรือบางกลุ่ม เขาสามารถไม่ปฏิบัติตามระเบียบ กฎเกณฑ์เหล่าน้ันได้หรือไม่ คุณมีวิธีการ
ตรวจสอบความยุติธรรมของกฎหมายอย่างไร ประชาธิปไตยเปน็ รูปแบบการปกครองที่ดี หรือไม่ เป็น
ตน้

๒.๒.๒ เครื่องมอื ของปรชั ญาและเหตุผล

๑๓

ความคิดทางปรัชญานักปรัชญาให้ความสนใจกับแนวคิดต่าง (เช่น ความเป็นมนุษย์
ความรู้ ถูก-ผิด โชคชะตา ฯลฯ) และพยายามจัดการกับแนวคิดนามธรรมเหล่าน้ันด้วยความคิดท่ี
เรยี กว่า “การวิเคราะหแ์ ละการวจิ ารณ์”

๑. การวิเคราะห์ (analytical thinking) พยายามค้นหาธรรมชาติหรือสภาวะของบาง
สิ่งบางอย่างด้วยคาถามเพื่อจาแนกองค์ประกอบต่างๆ ของเร่ืองน้ัน นักปรัชญาต้องการหาความ
กระจ่างของแนวคิดท่ีต้องการศึกษาด้วยการจาแนกให้เป็นแนวคิดย่อย เพื่อให้ง่ายต่อการวิเคราะห์
อาทิเช่นการวิเคราะห์ข้อโต้แย้งเกี่ยวข้องกับการทาแท้งที่ว่า ตัวอ่อนในครรภ์ของมารดาเป็นมนุษย์
หรือไม่? นักปรัชญาจะเร่ิมด้วยการวิเคราะห์แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับ “ความเป็นมนุษย์” เช่น แม้ว่า
หลักฐานทางวทิ ยาศาสตร์เกี่ยวกบั พฒั นาการของตัวอ่อนในครรภ์ของมารดาจะมีความสาคัญ แตย่ ังไม่
เก่ียวข้องโดยตรงในตอนนี้ เพราะต้องมีการวิเคราะห์และกาหนดความหมายของ “มนุษย์” เสียก่อน
วา่ องค์ประกอบของความเป็นมนุษย์ได้แก่อะไรบ้าง จาเป็นหรือไม่ที่จะต้องมีรูปแบบทางชีวภาพ หรือ
มีความรู้สึกตัว หรือมีความสามารถในการคิด หรือ ความรู้สึกนึกคิดเกิดข้ึนต้ังแต่เริ่มต้น หรือค่อยๆ
พัฒนาข้ึนมาในภายหลัง เป็นต้น ในการค้นหาคาตอบให้แก่แนวคิดใดๆ เราจาเป็นต้องแยกแยะส่ิงท่ี
เรียกว่า เงื่อนไขที่จาเป็นและเงื่อนไขท่ีเพียงพอเง่ือนไขที่จาเป็น (necessary conditions)
เป็นคุณสมบัติที่จาเป็นต้องมีสาหรับบางสิ่งบางอย่างเพ่ือเป็นแนวทางของคาถาม เง่ือนไขท่ีเพียงพอ
(sufficient conditions) เปน็ ชุดของเงื่อนไขท่จี าเป็นท่ีหากมีเพียงพอก็สามารถทาให้สิ่งใดส่ิงหน่ึงเป็น
ตัวอย่างของแนวคิดนั้นๆ ได้ นักปรัชญาจะแจกแจงรายการท้ังส่ิงท่ีเป็นเง่ือนไข จาเป็นและเง่ือนไขที่
พอเพียง เพ่ือการจัดทาลาดับความสาคัญของแนวคิด ให้สามารถอธิบายลักษณะท่ีจาเป็นต้องมีอยู่ใน
สงิ่ ใดสิง่ หนึ่ง

ตัวอย่าง เงื่อนไขท่ีจาเป็น และเงื่อนไขท่ีพอเพียง สาหรับการฟังเพลงด้วยเครื่องเล่นเทป
แบบ Walkman

๑. เป็นเครือ่ งเล่นเทปทที่ างานไดด้ ี
๒. แบตเตอรีมคี ุณภาพดี
๓. มสี เี หลอื ง
๔. กนั นา้ ได้
๕. มีหูฟงั ทถี่ อดแยกออกได้
๖. เลน่ เพลงหรือฟงั วทิ ยุได้
๗. สามารถควบคุมการทางานไดโ้ ดยตรง หรอื รโี มท
จะเห็นได้ว่า ๑, ๒, ๕,๖ และ ๗ เป็นเง่ือนไขท่ีจาเป็น ที่เม่ือรวมกันแล้วจะเป็นเง่ือนไขที่
เพียงพอ ส่วน ๓,๔ ไม่มีความสัมพันธ์กับคาถาม แต่บางครั้งเงื่อนไขท่ีจาเป็นและเง่ือนไขที่เพียงพอก็
กลายเป็นส่ิงเดียวกันเช่น การจะเรียนให้ได้เกรดในรายวิชาใดๆ สิ่งที่จาเป็นก็คือ การลงทะเบียนเรียน
ในรายวิชาน้ันๆ (เป็นท้ังเงื่อนไขท่ีจาเป็นและเง่ือนไขท่ีเพียงพอ) เพราะเรากาลังพูดถึงการเรียนให้ได้
เกรด ซึง่ มีได้ตั้งแต่ A - F, I, W (ส่วนเงือ่ นไขท่ีจาเป็นและเงื่อนไขที่เพียงพอของการเรียนให้ได้เกรดที่
ดีมีมากกว่าน้ัน)

๒. การวิจารณ์ (Critical Thinking)

๑๔

คือการต้ังข้อสังเกตหรือ ข้อสงสัยที่ดี และใช้ทักษะการวิเคราะห์ เพ่ือช่วยให้เราสามารถ
พิจารณาความน่าเชื่อถือด้วยการท่ีสิ่งที่วิจารณ์นั้นวางอยู่บนพ้ืนฐานของข้อเท็จจริง หรือมีเหตุผลท่ี
ดี การมีความเห็นคล้อยตาม หรือการอ้างคาพูดของผู้อื่นท่ีเคยกล่าวไว้ ไม่ใช่ความคิดท่ีเป็นการ
วิจารณ์ เช่น “การทาแท้งเป็นสิ่งที่ศีลธรรมควรยอมรับเพราะกฎหมายระบุว่าสามารถทาได้” หรือ
“การทาแท้งเป็นส่ิงที่ผิดศีลธรรมเพราะสันตะปาปาตรัสไว้” เป็นต้น สิ่งที่เราต้องทาเม่ือพบการใช้
เหตุผลแบบน้ีคือ ละทิ้งตาแหน่งของส่ิงที่เป็นข้ออ้าง(กฎหมาย, สันตะปาปา) แล้วพิจารณาว่าข้อสรุป
เป็นไปอย่างมีเหตุมีผลหรือไม่? เราสามารถใช้ความคิดท่ีเป็นการวิจารณ์ในชีวิตประจาวันได้ เพราะ
เราต้องอธิบายการกระทาหรือความคิดของเราให้แกผ่ ู้อน่ื อยู่เสมอๆ ยิ่งกว่าน้ัน เรามักจะพยายามสรา้ ง
ความเชือ่ ถือให้แกส่ ิง่ ทีเ่ ราอา้ งด้วย

๓. การอา้ งเหตผุ ล (Argumentation)
การอ้างเหตุผล ประกอบด้วย เหตุผล (reason) และข้อเสนอ(argument) หรือ ข้ออ้าง
(premise) ข้ออ้าง เป็นความพยายามพิสูจน์ด้วยเหตุผลหรือหลักฐาน แล้วนาไปสู่ข้อสรุป
(conclusion) บางประการ ข้ออ้างทางปรัชญาแตกต่างจากการใช้อารมณ์ หรือการใช้แนวคิดด้าน
เดียว เพราะข้ออ้างทางปรัชญาเป็นการใช้เหตุผล มีระบบระเบียบ และมีน้าหนักน่าเช่ือถือ หรืออย่าง
นอ้ ยท่ีสดุ ก็ต้อง “ฟงั ขนึ้ ” ตรรกะ (Logic)
ตรรกะ เป็นทั้งกระบวนการของการใช้เหตุผล และเป็นกฎเกณฑ์ในการจัดการกับ
กระบวนการดังกล่าว เราใช้ตรรกะในการจาแนกระหว่างข้อสรุปท่ีถูกต้องและข้อสรุปที่มีความ
บกพรอ่ ง รวมถึงการช่ังนา้ หนักความน่าเชอ่ื ถอื ของการอ้างเหตผุ ลด้วย
ในการอ้างเหตุผลครั้งหน่ึงๆ จะมีข้ออ้างที่อ้างส่ิงใดสิ่งหนึ่ง และเหตุผลท่ีใช้ประกอบ
ข้ออ้างน้ัน ส่วนข้อความท่ีอยู่ถัดจากข้ออ้างหรือเหตุผลสุดท้าย เราเรียกว่า ข้อสรุป ซ่ึงมักจะ
ประกอบดว้ ยคาหรอื วลี อย่างเชน่ “ดงั น้นั ” “ดว้ ยเหตุน้ี” “เพราะฉะนนั้ ” “เนื่องจากเหตุดงั นนั้ ”
โดยปกติการอ้างเหตุผลจะประกอบด้วย ข้ออ้างและข้อสรุป ซ่ึงเป็นรูปแบบปกติ แต่ใน
ชวี ิตจริงการอา้ งเหตผุ ลของเรามักจะไม่เป็นไปตามกฎข้างต้นเท่าใดนัก บอ่ ยครั้งทเี่ รามักจะปรับเปล่ียน
รูปแบบของขอ้ อา้ งเพอื่ สรา้ งความน่าเชอ่ื ถือใหแ้ ก่บางสิง่ บางอย่าง

๒.๒.๔ ลกั ษณะของปรชั ญา
ปรัชญามลี ักษณะ ๓ ประการ คอื
๑. ปรชั ญามีลักษณะวพิ ากษ์
เนื่องจากปรัชญาเกิดจากความอยากรู้อยากเห็นของมนุษย์ เพราะมนุษย์เป็นสัตว์รู้คิด แต่
บางคร้ังความอยากรู้อยากเห็นของมนุษย์ ก็เกิดขึน้ เพราะมนุษย์ต้องการหาความรู้ เพ่ือที่จะแก้ปัญหา
เฉพาะหน้า เช่น มนุษย์สมัยแรกเร่ิมอยากรู้ว่าทาอย่างไรจึงจะเก็บรักษาเนื้อสัตว์ที่ล่ามาได้ไว้กินนานๆ
โดยไม่บูดเน่า แต่บางครั้งความอยากรู้อยากเห็นของมนุษย์ ก็มิได้เกิดข้ึนจากสาเหตุดังกล่าวนี้
เชน่ ธาเลส บิดาแห่งปรัชญาอยากรู้อยากเหน็ เป็นธรรมชาตอิ ย่างหนึง่ ของมนุษย์ ในฐานะเป็นสัตว์รคู้ ิด
จงึ ทาให้เกิดการซักไซ้ไล่เลียงไปเร่อื ยๆ อย่างไม่มีสิ้นสุด จนทาให้เกิดปรัชญาขึน้ มา
ปรัชญาจะซักถามทุกอย่างท่ีจะซักได้ เหตุผลเป็นเครื่องมือของนักปรัชญาที่จะ
วิพากษ์วิจารณ์ทุกส่ิงทุกอย่าง เดส์การ์ตส (Descartes ๑๕๙๐-๑๖๕๐) นักปรัชญาชาวฝร่ังเศสเป็น

๑๕

ตัวอย่างที่ดีในการชี้ให้เห็นลักษณะวิพากษ์ของปรัชญา สาหรับ ฮูม (David Hume ๑๗๑๑-
๑๗๗๖) น้ัน การวิพากษ์วิจารณ์ของเขาได้ท้าทายวิทยาศาสตร์ เพราะวิทยาศาสตร์ตั้งอยู่บนพ้ืนฐาน
ของวิธีการอุปนัย (induction) ถ้าวิธีการน้ันเช่ือถือไม่ได้ วิทยาศาสตร์ก็มีไม่ได้ และฮูมเป็นผู้วิจารณ์
ความถูกตอ้ งของวิธีการอนั นี้

โดยทัว่ ไปเราเช่อื วา่ สง่ิ ที่เราเหน็ และจบั ตอ้ งไดเ้ ท่านนั้ ทเี่ ป็นจริง แต่ เพลโต (Plato ๔๒๗-
๓๔๗ B.C.) ได้วิพากษ์ความเชื่ออันน้ี เขาไม่มีเครื่องมืออันใดนอกจากเหตุผล แต่การนั้นก็มีผู้อ่าน
จานวนไม่น้อยท่ีอ่านทรรศนะของเพลโตแล้วเร่ิมสงสัยความเชื่อเดิมของตนว่าจะเป็นจริงหรือไม่ หรือ
ว่า โลกแห่งมโนคติ (World of Idea) ของเพลโตเป็นจรงิ กว่า เน่ืองจากปรชั ญามีลักษณะวพิ ากษ์ และ
ในการวิพากษ์วิจารณ์นั้นก็จาเป็นอยู่เองที่จะต้องทาให้เกิดการกระทบกระเทือนต่อความเช่ือ และ
ความรสู้ ึกดั่งเดิมของผู้อ่าน ทั้งน้ีมิได้หมายความว่าผู้อ่านจะต้องมารับความเชื่อใหม่ อาจจะยังคงไว้ซ่ึง
ความเชอ่ื เดิมแต่ในลกั ษณะทร่ี ดั กุมย่ิงข้นึ

๒. ปญั หาปรัชญาเปน็ ปัญหาพื้นฐาน
ถ้าเรากลา่ วว่าปัญหาที่หนึ่งเป็นปญั หาพ้ืนฐานระหว่างปัญหาทส่ี อง หมายความว่า มติหรือ
ทรรศนะที่เรามีต่อปัญหาท่ีหนึ่งนั้น ส่งผลกระทบกับปัญหาเร่ืองอ่ืนๆ มากกว่าปัญหาท่ีสอง สมมุติเรา
ถามปัญหาที่สองว่า คนเราควรแสวงหาอะไรให้ชีวิต ปญั หาน้ีเปน็ ปญั หาพื้นฐาน เพราะทรรศนะท่ีเรามี
ต่อปัญหานี้ จะเป็นตัวกาหนดการศึกษาของเรา แต่ปัญหานี้ยังมีลักษณะพื้นฐานน้อยกว่าปัญหาที่
หน่ึง เช่น ปัญหาว่าจิต หรือวิญญาณของมนุษย์มีหรือไม่ ปัญหาท่ีหนึ่งเป็นปัญหาพื้นฐานกว่า ก็
เพราะว่ามติที่มีต่อปัญหานี้จะเป็นตัวกาหนดมติของปัญหาที่สอง และยังเป็นตัวกาหนดเรื่องอื่น
ด้วย เช่น อิสรภาพของมนุษย์ ความแตกต่างระหว่างมนุษย์กับสัตว์ และส่ิงไร้ชีวิต และปัญหาเรื่อง
ความรู้ของมนุษย์ เป็นต้น ตัวอย่างเช่น สมมุติเราเช่ือว่าจิตหรือวิญญาณมีอยู่จริง และเป็นอีกอย่าง
หนึ่งท่ีแตกต่างจากร่างกาย ความเห็นของเราเกี่ยวกับความหมายของชีวิตก็จะออกมาในรูป ปัญญา
นิยม หรือ วิมุตินิยม หลักศีลธรรมของเราก็จะลักษณะเหมือนของ ค้านท์ (Immanuel Kant ๑๗๒๔-
๑๘๐๔) ทฤษฎีความรู้ของเราจะเป็นแบบเหตุผลนิยม (Rationalism) ถ้าเราไม่เห็นดว้ ยอยา่ งนี้เท่ากับ
ความเห็นของเราขัดแย้งกันเอง ปัญหาเร่ืองความจงใจ หรือ เจตจานงเสรี (free will) ก็เป็นปัญหา
พนื้ ฐานทรรศนะของเรา เก่ียวกับปัญหานี้จะโยงไปถึงทรรศนะของเราเกี่ยวกับศีลธรรม กฎหมาย การ
ลงโทษ การให้รางวัล ตลอดจนปัญหาสงั คม เชน่ ถ้าเราเช่อื วา่ มนษุ ย์ไม่มีเจตจานงเสรี เราก็ตอ้ งเห็นว่า
มนุษย์ไม่ต้องรับผดิ ชอบต่อการกระทาของตัวเขาเอง เราไม่ควรสรรเสริญหรือประณามเขา อาชญากร
เป็นคนพิการทางจิต มากกว่าที่จะเป็นคนเลว จึงควรส่งเขาไปโรงพยาบาลโรคจิต แทนที่จะส่งเขาเข้า
คุกตะราง ถ้าเราต้องการแก้ปญั หาสังคม เรากต็ ้องแก้ท่สี งิ่ แวดล้อมภายนอก เป็นต้น แต่

๓. ปรัชญาแสวงหาโลกทัศน์
การโต้แย้งกันเกี่ยวกับปัญหาพื้นฐานนั้น เราไม่สามารถจะตัดสินให้เด็ดขาดลงไปได้ ว่า
ฝ่ายใดผิด ฝ่ายใดถูก แต่ปัญหาเหล่านี้ก็เป็นปัญหาสาคัญ ทั้งน้ี เพราะว่าทรรศนะที่เรามีต่อปัญหา
เหล่านี้จะเปน็ ฐานท่ีทาให้ทรรศนะของเราในเรื่องโลก มนุษย์สังคม และความหมายของชีวิตเป็นไปใน
อีกแนวหนึ่ง เมื่อความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าทรรศนะใดถูก ทรรศนะใดผิด เรา
จึงจาต้องยึดอันใดอันหน่ึงด้วยความเชื่อ ความเชื่อของคนๆ หนึ่งน้ันมีมากมายหลายเร่ือง

๑๖

เช่น ศีลธรรม ค่าของชีวิต อุดมการณ์ทางการเมือง ศาสนา ศลิ ปะ ฯลฯ ในเร่ืองต่างๆ เหล่านี้บางทีเรา
พิสูจน์ไม่ได้เราจาต้องเชื่อตอนน้ีปรัชญาจะเข้ามามีส่วน คือ ปรัชญาจะช่วยทาใหค้ วามเชื่อของเราเป็น
ระบบ กล่าวคือ ช่วยทาให้เช่ือในเรื่องต่างๆ ของเรา สอดคล้องเป็นอันหน่ึงอันเดียวกัน ไม่ขัดแย้ง
กัน และความเชื่อของเราจะกลมกลืนกันได้ก็ต่อเมื่อมีหลักบางหลักเป็นจุดร่วมกันน้ัน คือเราจะต้อง
มี ทรรศนะเป็นพ้ืนฐานรองรบั ความเช่ือเหลา่ น้ัน วชิ าปรัชญาพยายามที่จะให้พื้นฐานอันนี้แก่เรา น่ันก็
หมายความว่า ปรัชญาช่วยให้เราแสวงหาโลกทัศน์

โลกทัศน์ คือ ความเชื่ออันเป็นระบบในวิถีชีวิตของคนๆ หน่ึง เขาอาจพูด คิดทาอะไรต่อ
อะไรหลายอย่าง แต่ถ้าเขาเป็นคนคงเส้นคงวา ความหลายหลากน้ีจะเป็นเพียงภาพสะท้อนของ
ทรรศนะพื้นฐานอันเดียวกัน ทรรศนะพ้ืนฐานน้ีแหละ คือ โลกทัศน์ของคนๆ น้ัน ทุกคนมีโลกทัศน์ ไม่
ว่าเจ้าตัวจะรู้หรือไม่ก็ตาม ปรัชญาจะช่วยให้เราเห็นโลกทัศน์ของเราชัดข้ึน ทั้งนี้ก็โดยการวิเคราะห์
วพิ ากษ์วิจารณ์ และการถกเถียงปัญหาอันเป็นพ้ืนฐาน โลกทัศน์ เป็นตัวกาหนดทิศทางของชีวิตแต่ละ
คน และเป็นตัวกาหนดทศิ ทางของสังคมมนุษยด์ ้วย ถ้าเราเห็นเรือลาหน่ึงกาลงั แล่นอยู่ในทะเล ปัจจัย
ทีอ่ ธบิ ายการแล่นของเรอื ลานมี้ สี องอย่าง คือ

๑. เครอื่ งยนต์ทาให้แลน่ ไปได้
๒. จดุ หมายปลายทางทีเ่ รอื ลาน้ันจะแล่นไป
ถ้าไม่มีสองอย่างน้ีพร้อมกัน การแล่นของเรือก็คงไม่เกิดข้ึน ชีวิตมนุษย์ก็เช่นกัน ในการ
เดินทางของนาวาชีวิตความรู้ทางวิทยาศาสตร์เปรียบเสมือนเคร่ืองยนต์ แต่สิ่งที่กาหนดทิศทาง คือ
โลกทัศน์ ซ่ึงจะเป็นตัวชท้ี างความรู้ เป็นแรงผลกั ดันให้เคลอื่ นไป ดังน้ันจงึ กล่าวได้ว่าไม่มีผใู้ ดที่ไมม่ ีโลก
ทศั น์

๒.๒ ความรู้ทัว่ ไปเก่ียวกบั จริยศาสตร์

ปรัชญาเมธีทั้งหลายมองว่า “มนุษย์เป็นสัตว์ท่ีมีเหตุผล” (Rational Being) หมายความ
ว่า ความมีเหตุผลหรือมีปัญหาเป็น “แก่นสาร” ของมนุษย์ ซึ่งทาให้มนุษย์ต่างจากสัตว์ชิดอ่ืนๆ เช่น
ทาให้มนุษย์รู้สึกพิศวงหรือเกิดความสงสัยใคร่รู้ ตั้งแต่ความสงสับใคร่รู้ส่ิงรอบๆ ตัว คนรอบข้าง
ต้องการรู้จักตนเองอย่างถ่องแท้ ปรารถนาที่จะรู้ความจริงของโลก จักรวาลและสรรพสิ่ง กล่าวอย่าง
รวมๆ เพราะมีเหตุผลหรือมีปัญญา มนุษย์จึงสามารถเรียนรู้และสร้างสรรค์อารยธรรมต่างๆ ทั้งทาง
วัตถุทางปญั ญา และทางจติ ใจใหเ้ จรญิ กา้ วหน้ามาโดยลาดับ

ในบรรดาความสงสัยใคร่รู้ต่างๆ นั้น “ความต้องการรู้จักตนเองอย่างท่องแท้” เป็นความ
ต้องการที่สาคัญอย่างยิ่งของมนุษย์ จากความต้องการนี้เองที่ผลักดันให้มนุษย์สร้างสรรค์ภูมิปัญญา
หรือองค์ความรู้ต่างๆ เช่น ปรัชญา ศาสนา ชีววิทยา ประวัติศาสตร์ สังคมวิทยา มานุษยวิทยา ฯลฯ
เพอ่ื ทาความเข้าใจตนเองในฐานที่เป็นมนุษย์ซ่ึงมีความจริงของชีวิตในหลากหลายมิติ และในความจริง
ของชีวิตท่ีหลากหลายมิติน้ัน “มิติความจริงของชีวิตในทางจริยธรรม” หรือมิติที่เกี่ยวกับการกระทา
ความประพฤติต่างๆ ท่ีมีความหมายในเชิง ดี ช่ัว ถูก ผิด ควร ไม่ควร และการมีชีวิตท่ีดีหรือมีคุณ
ค่าสูงสุดน้ัน ถือเป็นมิติความจริงของชีวิตท่ีสาคัญอย่างหนึ่งที่มนุษย์พยายามทาความเข้าใจมาตลอด
ประวตั ิศาสตรอ์ ันยาวนานของมนษุ ยชาติ และผลแห่งความพยายามนัน้ กก็ ลายมาเปน็ ภูมิปัญญาหรือ
องค์ความรอู้ ย่างหนึ่งทเ่ี ราเรียกว่า “วชิ าจริยศาสตร์” ซง่ึ เราจะทาความเข้าใจภาพรวมและสาระสาคัญ
ตอ่ ไปน้ี

๑๗

๒.๒.๑ วิธีการศึกษาทางจริยศาสตร์
เน่ืองจากจริยศาสตรเ์ ป็นสาขาหน่ึงของปรัชญา วธิ ีการศึกษาทางจริยศาสตร์ จึงเปน็ วิธีทาง
ปรัชญา คือ “วิธีคิดเชิงวิพากษ์วิจารณ์” เพื่อหานิยามท่ีชัดเจนของชีวิตที่ดี ความดี หรือเกณฑ์การ
ตดั สินถกู ผิด ทางศีลธรรม ส่งิ ทจี่ ริยศาสตรม์ งุ่ ศึกษาจงึ เป็นเร่อื งเก่ียวกับ “คณุ ค่า”
ในการดาเนินชีวิตประจาวัน หรือในการศึกษาเรียนรู้สิ่งต่างๆ เรามักเข้าไปเก่ียวข้องกัน
เร่ือง ๒ เรื่องเสมอ คือ เร่ืองของ “ข้อเท็จจริง” กับ “คุณค่า” ข้อเท็จจริง คือ สิ่ง เรื่องราว เหตุการณ์
สถานการณ์ หรือปรากฏการณ์ต่างๆ ท่ีมีอยู่จริงในโลก ซ่ึงเราสามารถตรวจสอบหรือตัดสินความมีอยู่
จริงได้ด้วยประสาทสัมผัส คาถามเกี่ยวกับข้อเท็จจริงคือคาถามที่ว่า คืออะไร? หรือเป็นอยา่ งไร? ส่วน
“คณุ คา่ ” คอื ส่งิ ที่พึงปรารถนา หรือพงึ ประสงค์ มีลักษณะเป็นนามธรรม เช่นความดี ความงาม ความ
เหมาะสม คาถามเก่ียวกับคุณค่าคือคาถามท่ีว่า ควรเป็นอย่างไร? ทาไมจึงควรเป็นอย่างนั้น? กล่าว
ง่ายๆ ข้อเท็จจริง คือ “ส่ิงท่ีมีอยู่ หรอื เป็นอยู่” ส่วนคณุ ค่า คอื “สงิ่ ท่คี วรจะเป็น” เช่น ตามขอ้ เท็จจริง
ชีวิตเป็นทุกข์แต่ชีวิตท่ีควรจะเป็นหรือชีวิตที่ดี คือ ชีวิตที่พ้นทุกข์ เป็นต้น การศึกษาเกี่ยวกับ
ข้อเท็จจริงหรอื คุณค่ามวี ธิ ีแตกต่างกนั กลา่ วคอื
๑. การศึกษาเก่ียวกับข้อเท็จจริง เพื่อหาคาตอบว่า ส่ิง เรื่องราว เหตุการณ์ สถานการณ์
ปรากฏการณ์ต่างๆ ท้ังทางธรรมชาติ และทางสังคมวัฒนธรรมอย่างไรน้ัน อาศัย “วิธีการทาง
วิทยาศาสตร์” คือ การกาหนดปัญหา ต้ังสมมติฐาน รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล สรุปและรายงาน
ผล การศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์หรือศาสตร์อื่นๆ เช่น สังคมศาสตร์ ประวัติศาสตร์ก็ใช้วิธีการทาง
วิทยาศาสตรด์ ังกลา่ วน้ี
๒. การศกึ ษาเก่ียวกับคุณคา่ เพ่ือหาคาตอบว่า ชีวิตทดี่ ีควรเป็นอย่างไร การกระทาท่ีดคี วร
เป็นอย่างไร อุดมคติหรือจุดมุ่งหมายสูงสุดของชีวิตควรเป็นอย่างไร เป็นการศึกษาในเชิง “ประเมิน
ค่า” ของสิ่งที่ถูกศึกษา นักจริยศาสตร์อาจสนใจข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ เช่น ข้อมูลทางด้านชีววิทยา
จิตวิทยา หรือข้อมูลทางด้านสังคมวิทยามานุษยวิทยา เป็นต้น แต่ไม่ได้สนใจข้อมูลเหล่านั้นเพียงเพ่ือ
ต้องการทราบข้อเท็จจริงว่าธรรมชาติของชีวิตทางชีววิทยา จิตวิทยา หรือสถานะของมนุษย์ในทาง
สังคม วัฒนธรรมเป็นอย่างไร ดังที่ศาสตร์เหล่าน้ันต้องการหาคาตอบ และนักจริยศาสตรส์ นใจที่จะนา
ขอ้ มลู หรือข้อเท็จจริงจากศาสตร์ต่างๆ เหล่าน้ันมาเพื่อประกอบการประเมินค่า กาหนดหลักการ หรือ
มาตรฐานทางศลี ธรรมบางอยา่ ง
เมื่อการศึกษาทางจริยศาสตร์เป็นเร่ืองของการประเมินค่า การหาบรรทัดฐานหรือเกณฑ์
กาหนดว่าอย่างไร ที่ควรจะเป็น การศึกษาทางจริยศาสตร์จึงต้องอาศัยวิธีการทางปรัชญา คือ วิธีคิด
เชงิ วิพากษว์ ิจารณ์ เคร่ืองมอื ของนักจรยิ ศาสตร์ คอื การใช้เหตุผลอย่างถูกต้องรัดกมุ นักจริยศาสตรจ์ ึง
ต้องมีความรู้เรือ่ งการใช้เหตผุ ลตามหลกั ตรรกะวทิ ยาเป็นอย่างดี
อีกอย่างหน่ึง การศึกษาทางจริยศาสตร์ไม่ได้มุ่งสอนศีลธรรมให้เราเกิดศรัทธา เลื่อมใส
เหมือนการสอนศาสนา แต่มุ่งวิเคราะห์ปัญหาพื้นฐานเกี่ยวกับการมีชีวิตท่ีดี ชีวิตที่มีคุณค่า อุดมคติ
หรือจุดหมายสูงสุดของชีวิต การกระทา ความประพฤติท่ีมีคุณค่าถูก ผิด ทางศีลธรรม โดยอาจ
วิเคราะห์ปัญหาพื้นฐานเหล่าน้ีจากทฤษฎีต่างๆ ทางจริยศาสตร์เอง หรือจากคาสอนของศาสนาต่างๆ
รวมท้ังค่านิยมหรือวัฒนธรรมทางสังคม วิธีการศึกษาทางจริยศาสตร์ จึงเป็นการทาความเข้าใจ
ความหมาย หรือคุณค่าของชีวิตอย่างเป็นระบบ โดยการกาหนดประเด็นการศึกษาอย่างเป็นองค์รวม

๑๘

ว่า ธรรมชาติของชีวิตคืออะไร อุดมคติหรือจุดหมายสูงสุดของชีวิตคืออะไร มีวิธีปฏิบัติหรือวิถีการ
ดาเนินชีวิตอยา่ งไรจึงจะบรรลุจุดหมายน้ัน พร้อมกับวเิ คราะห์เหตุผลสนับสนุน และเหตุผลโต้แย้ง ให้
เห็นขอบเขต ขอบจากัด ข้อดี ข้อเสีย ของทฤษฎีต่างๆ อย่างเป็นระบบ เช่น เมอื่ นาวิธีทางจริยศาสตร์
ไปศกึ ษาคาสอนของพระพุทธศาสนา ก็จะกาหนดประเด็นการศึกษาว่า ธรรมชาตขิ องชีวติ ตามมุมมอง
ของพระพุทธศาสนาคืออะไร จุดมุ่งหมายสูงสุดของชีวิตคืออะไร วีธีการปฏิบัติหรือวิถีในการดาเนิน
ชวี ติ เพ่ือบรรลุจดุ หมายนนั้ คืออะไร มีเหตผุ ลสนับสนุนอย่างไรจงึ ถือว่าสิ่งนั้นสมควรเป็นจุดหมายสูงสุด
ของชวี ติ พรอ้ มกบั วพิ ากษว์ จิ ารณ์หรือประเมนิ เหตผุ ลนั้น เปน็ ตน้

ด้วยวธิ กี ารศึกษาดังกล่าวน้ี จะช่วยใหเ้ ราเข้าใจทฤษฎีเก่ยี วกับคณุ คา่ ชีวิต และคาสอนของ
ศาสนาต่างๆ อย่างเป็นระบบ ท่ีสาคัญกว่านั้น คือ ทาให้เราเข้าใจชีวิตโดยองค์รวม คือ รู้ว่าชีวิตคือ
อะไร ชีวิตควรเป็นอย่างไร คุณค่าของชีวิตคืออะไร การกระทา ความประพฤติหรือการดาเนินชีวิตที่ดี
งามคืออะไร ผ่านมุมมองหลากหลาย และผ่านการวิเคราะห์เหตุผลสนับสนุนและข้อโต้แย้งต่างๆ ที่
แหลมคม ซ่ึงจะช่วยเปิดโลกทัศน์ของเราให้กว้างขวาง ลึกซ้ึง ชัดเจนขึ้น และส่งเสริมความสามารถใน
การคิดวิพากษ์วิจารณ์ให้รู้จักเลือกยอมรับ ปฏิเสธ หรือสร้างทางเลือกใหม่ด้วยตนเองอย่างมีเหตุผล
มากขน้ึ

๒.๒.๒ ปญั หาสาคญั ของจรยิ ศาสตร์ (The main problem Ethics)๓
เมอื่ กล่าวโดยทั่วไปแล้ววิทยาการของสาขาต่างๆ ย่อมมปี ัญหาด้วยกันทั้งน้ัน จริยศาสตร์ก็
เช่นเดยี วกนั ยอ่ มมปี ัญหาท่ีสาคัญท่คี วรศึกษา ดงั ต่อไปนี้
๑. ปญั หาทางจติ วิทยา
จริยศาสตร์ในฐานทีเ่ ป็นศาสตร์นามธรรม ได้กลา่ วถึงอดมุ คตทิ างจริยศาสตร์ และอะไรเล่า
คืออุดมคติสูงสุดของจริยศาสตร์ อุกมการณ์อันสูงสุดก็คือความดีสูงสุด ซ่ึงเราแสวงหาและพัฒนา
ตนเองเพื่อให้เข้าถึงอุดมคติอันสูงสุด ดังกล่าว แต่การแสวงหาความดีสูงสุดนี้จาเป็นอย่างย่ิงท่ีจะต้อง
กล่าวถึงความประพฤติ อุปนิสัย เจตจานง ความปรารถนา ฯลฯ เพราะถ้าเราไม่มีความรู้เก่ียวกับสิ่ง
เหลา่ น้ี ก็เป็นการลาบากท่จี ะเข้าถึงความดีสงู สุด
อุดมคติทางจริยศาสตร์แสดงออกมาในรูปแบบของความประพฤติ ความประพฤติเป็น
กระจกส่องให้เราเห็นอุปนิสัย เรารู้อุปนิสัยไดจ้ ากนิสัยก็ก่อให้เกิดเจตนาทางปฏิบัติ เราทราบว่าเจตนา
นั้นมแี รงจูงใจและความตัง้ ใจแฝงอยู่ เบื้องหลงั การกระทาน้นั อาจเปน็ ไปโดยเจตนาหรือถกู บังคับก็ได้
โดยนยั นี้ การศกึ ษาข้อเท็จจริงทางจติ วิทยาเหล่าน้ี ก็อยใู่ นขอบเขตของจรยิ ศาสตร์น่ันเอง
๒. ปัญหาการตดั สินทางจริยธรรม
ปัญหาข้ันมูลฐานของจริยศาสตร์ก็คือ การตัดสินทางศีลธรรม การตัดสินเหล่านี้ก็เป็น
ประโยชน์ในการศึกษาทางจิตวิทยาดังกล่าวข้างต้นแล้ว ดังน้ัน ปัญหาทางจริยศาสตร์ก็คือการรู้
ลกั ษณะของการตัดสนิ เหล่าน้ีซ่ึงได้แก้เนื้อหาและมาตรฐานทางศลี ธรรม
การตัดสินทางศีลธรรมคืออะไร? การตัดสินทางศีลธรรมเป็นพฤติกรรมของจิตซ่ึงบอกให้
เรารู้ว่าอะไรผิดอะไรถูก ตัดสินที่การกระทาและเจตนามีอุดมคติทางศีลธรรมเป็นปทัฏฐาน คือการ
นาเอาการกระทาไปเทียบกับมาตรฐานทางศีลธรรม หรือนาเอามาตรฐานทางศีลธรรมมาเป็นเคร่อื งวัด

๓ ชัยวัฒ น์ อัตพัฒ น์, จริยศาสตร์ ETHICS (MORAL PHILOSOPHY), (กรุงเทพมหานคร:
มหาวิทยาลยั รามคาแหง, ๒๕๔๓), หน้า ๑๕ – ๑๘.

๑๙

การกระทา แล้วตัดสินว่าถูกหรือผิด และต้องวินิจฉัยเป็นเรื่องๆ ไป เช่น กรณีการมีภรรยาหลายคน
หรือการมีสามีหลายคนซง่ึ อาจเป็นการดีกไ็ ด้ หรอื ไม่ดกี ไ็ ด้สดุ แล้วแตก่ รณแี วดลอ้ มอนื่ ๆ

การตัดสินทางศีลธรรม ประกอบด้วยผู้ตัดสิน เร่ืองที่ถูกตัดสินและมาตรฐานการตัดสิน ซึ่ง
ถือเอามาตรฐานทางศีลธรรมน่ันเองเป็นเกณฑ์พิจารณา การตัดสินทางศีลธรรมน้ันแตกต่างจากการ
ตัดสินทางตรรกวิทยาและสุนทรียศาสตร์ การตัดสินทางตรรกวทิ ยา มุ่งไปที่อุดมคติทางความจริง การ
ตัดสินทางสุนทรียศาสตร์มุ่งไปที่อุดมคติทางความงาม ส่วนการตัดสินทางศีลธรรมมุ่งไปท่ีอุดมคติ คือ
ความดรอันสูงสุด

นอกจากนี้ การตัดสินทางศีลธรรมต้องควบคู่ไปกับความรับผิดชอบทางศีลธรรม และ
ความรู้สึกทางศีลธรรม ความรักผิดชอบทางศีลธรรมคืออะไร? ความรับผิดชอบทางศีลธรรม คือ
ความรู้สึกต่อหน้าท่ีที่ควรกระทา การตัดสินทางศีลธรรม คือ ความรู้สึกรับผิดชอบอันมีประจาอยู่ใน
อปุ นสิ ัย และควบคู่ไปกับความร้สู กึ ทางศีลธรรม

เม่ือเราตัดสินการกระทาว่าถูก เรามีความรู้สึกสบายใจ พอใจ แต่เม่ือเราตัดสินว่าการ
กระทานั้นผิด เรามีความรู้สึกภายใต้ความรับผิดชอบทางศีลธรรมเหมือนกับว่าไม่ควรทาเช่นน้ัน และ
ความรู้สกึ ไมส่ บายใจ ความร้สู ึกสบายใจ ไมส่ บายใจ อ่ิมใจและความทุกข์ใจเป็นตน้ นี้เรยี กวา่ ความรู้สึก
ทางศลี ธรรม

๓. ใครเปน็ ผู้ตดั สินศีลธรรม
ปัญหาการตัดสินทางศีลธรรมก็เกิดขึ้นมาว่า ใครเป็นผู้ตัดสินการกระทาต่างๆ ของคนเรา
น้ันถูกหรือผิด ดีหรือชั่ว ถ้าจะตอบโดยอาศัยหลักจริยศาสตร์ท่ัวไปแล้ว ก็พอจะตอบไดว่า ผู้ตัดสินทาง
ศลี ธรรมนัน้ คอื บคุ คลผ้ชู านาญทางศลี ธรรม และตวั เราเอง
นอกจากนี้ ความผิดหรือความถูกทางศีลธรรม ย่อมได้รับการตัดสินจากตัวบุคคลผู้ทา
นัน้ เอง ซ่ึงบคุ คลนนั้ ต้องเป็นผู้มเี หตผุ ล และอุดมคติทางศีลธรรมอันสงู สง่ จึงจะสามารถเปน็ ผู้ตัดสินทาง
ศีลธรรมได้ เกี่ยวกับเรื่องน้ี เราต้องแบง่ บุคคลออกเป็น ๒ กลุ่ม คือ คนหนึ่งเป็นผู้ตัดสิน อีกคนหนึ่งเป็น
ผู้ถูกตัดสิน ถ้าเราสามารถพิจารณาตนเองได้เหมือนกับที่เราพิจารณาคนอื่น ความยุติธรรมในการ
ตัดสินตนเองกเ็ กดิ ขน้ึ ผูพ้ ิพากษาตนเองโดยยตุ ิธรรม เปน็ ผ้พู พิ ากษาท่ีดีทสี่ ุด ถกู ตอ้ งและยุตธิ รรมทสี่ ดุ
สรุปว่า ผู้ตัดสินทางศีลธรรมน้ันคือ บุคคลผู้มีเหตุผล มีอุดมคติทางศีลธรรมสูงส่ง และมี
ความยุตธิ รรมเป็นท่ีตง้ั
๔. ปัญหาเก่ียวกบั ความคิดทางศีลธรรม
ปัญหาความคิดทางศีลธรรมกาหนดปัญหาว่าดี หรือเลว ความดีคือสิ่งท่ีตอบสนองความ
ปรารถนาของเราได้ หรือคือสิ่งท่ีเกิดขึ้นเพื่อเป็นมาตรฐานของชีวิตที่ดีงาม ส่วนความชั่วน้ันมีลักษณะ
ตรงกันข้าม ความดีคือความถูกต้องเป็นสิ่งท่ีควรทา ส่วนความชั่วคือความผิดเป็นสิ่งท่ีไมค่ วรทา ความ
ดเี ปน็ วถิ ีทางนาไปสูค่ วามดสี ูงสุด วธิ ีการและจดุ มงุ่ หมายเป็นดุจลกู โซน่ าไปสูค่ วามดสี ูงสุดในทสี่ ุด
ปัญหาสาคัญของการศึกษาจริยศาสตร์ ก็คือว่าอะไร? เป็นความดีสูงสุดและอะไร? เป็น
ความชั่ว อะไร? ถูก และผิด อะไร? คือหน้าท่ีและสิ่งท่ีไม่ใช่หน้าท่ี ในฐานะที่เป็นแนวความคิดข้ันมูล
ฐาน ปัญหาอีกอย่างหน่ึงของจริยศาสตร์ก็คือ การแสวงหาธรรมชาติที่แท้จริงแห่งแนวความคิดขั้นมูล
ฐานเหล่าน้ัน

๒๐

๕. พนั ธะกรณีทางศลี ธรรม
เมื่อการตัดสินทางศีลธรรม ได้รับการโจมตีทั้งในแง่ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย การตัดสิน
ทางจรยิ ธรรม ความรสู้ กึ ตอ้ หนา้ ที่ พนั ธะกรณที างศีลธรรมกไ็ ด้รับการโจมตเี ชน่ เดยี วกัน
การศึกษาจริยศาสตร์อีกประเด็นหนึ่งก็คือ การทาความเข้าใจถึงธรรมชาติ ต้นตอบ่อเกิด
และรากฐานของพันธะกรณีทางศลี ธรรม
๖. เสรีภาพและการรับผิดชอบ
การตัดสินใจทางจริยธรรมข้ึงอยูก่ ับการกระทาแบบจงใจของมนุษย์ จิยศาสตรไ์ ด้อธบิ ายถึง
ธรรมชาติแห่งเสรีภาพของมนุษย์ เสรีภาพนั้นต้องประกอบด้วยความรับผิดชอบ และความรบั ผิดชอบ
นั้นเองเป็นเหตุให้มีการให้รางวัลสาหรับการกระทาความดี และการลงโทษสาหรับการกระทาความช่ัว
เพราะวา่ จรยิ ศาสตร์ได้อธิบายถึงความรับผิดชอบและไดแ้ สดงมาตรฐานการลงโทษไวด้ ว้ ย
กิจกรรมต่างๆ ทางจริยศาสตร์ประกอบด้วยความรู้สึกท่ีเป็นฝ่ายดีและเป็นฝ่ายชั่ว จริย
ศาสตร์ได้แสดงถึงมาตรฐานสาหรบั ความดี และความช่ัวไว้ให้เราทราบขอบเขตของจริยศาสตร์ รวมถึง
การพรรณนาคุณภาพท่ีดีและเลวด้วย เนื่องจากความดีและความชั่วมีความสัมพันธ์อยู่กับกิจกรรม
ตา่ งๆ ของมนษุ ย์
โดยทานองนป้ี ัญหาต่างๆ ทางจิตวิทยา, รฐั ศาสตร์, เศรษฐศาสตร์, สังคมวิทยาและปรัชญา
เหล่าน้ีทัง้ หมดก็อยู่ในขอบเขตของจริยศาสตร์และปญั หาต่างๆ ทางปรชั ญา เชน่ รปู แบบท่ีแท้จริง แห่ง
บุคลิกลักษณะของมนุษย์ อิสรเสรีภาพของเจตจานง อมฤตภาพของวิญญาณ ความมีอยู่ของพระเจ้า
ความมีเอกภาพแลระเบียบทางศีลธรรม ในจักรวาลนี้ทั้งหมดรวมอยู่ในของเขตของจริยศาสตร์ท้ังส้ิน
ปญั หาทางสังคมวิทยาที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างปจั เจกชนและสังคมก็เป็นปัญหาทางจริยศาสตร์
ด้วยเหมอื นกัน
โดยสรุปแล้ว เราอาจกล่าวได้ว่า ท่ีใดมีความประพฤติของมนุษย์และเจตนาของมนุษย์ ที่
นัน้ ก็มีขอบเขตของจรยิ ศาสตรด์ ้วย

๒.๒.๓ จริยศาสตร์ในฐานะเป็นปรชั ญาชวี ิตและสังคม
๑. จรยิ ศาสตรใ์ นฐานะเป็นปรัชญาชวี ติ
ปรัชญาชีวิตสะท้อนโลกทัศน์และชีวทัศน์ ของคนแต่ละคนว่า “กรอบ” การมองโลกและ
ชวี ิตหรือ “กรอบ” ความหมายของโลกและชีวติ ตามความเขา้ ใจของแตล่ ะคนน่นั เอง เป็นสงิ่ กาหนดวิถี
การดาเนินชีวิตท้ังหมดของเขา โลกทัศน์และชีวทัศน์ของคนเราอาจเปลี่ยนแปลงไปตามการเรียนรู้
ประสบการณ์ และระดบั พฒั นาการทางปัญญาของแตล่ ะคน
จริยศาสตร์ที่ช่วยให้เราเกิดความกระจ่างในคุณค่าหรืออุดมคติที่ตนเองควรยึดถือ คือ
“จรยิ ศาสตรข์ องปัจเจกบคุ คล” เป็นจริยศาสตรท์ ี่ช่วยให้เกดิ ความเข้มแขง็ ของคุณธรรม จริยธรรมสว่ น
บคุ คล ได้แก่ วิชา จริยศาสตร์ท่ปี ระมวลและวิเคราะห์ประเมนิ หลกั ปรชั ญาชีวิตที่คลอบคลมุ เป้าหมาย
สูงสุดของชีวิตมนุษย์ทุกๆ ด้าน ซ่ึงช่วยขยายโลกทัศน์และชีวิตทัศน์ทางคุณค่าของเราให้กว้างข้ึน
ชดั เจนเป็นระบบมากขึ้น เช่น ถ้าเรายึดถือวา่ ความสุขเป็นเป้าหมายสูงสุดของชีวิต จริยศาสตร์จะชวน
ใหเ้ ราหาความชัดเจนว่า นิยามของความสุขคืออะไร ทาไมความสขุ จงึ ควรเป็นเป้าหมายสงู สดุ ของชีวิต
ความสุขเป็นส่ิงมีค่าสูงสุดสาหรับชีวิตมนุษย์จริงหรือ มีส่ิงอ่ืนที่มีค่ามากกว่าความสุขท่ีเราควรยึดถือ
เปน็ เป้าหมายสงู สดุ ของชวี ติ หรือไม่ เป็นต้น

๒๑

นอกจากนี้ จริยศาสตร์ยังชี้ชวนให้เราตรวจสอบตนเองว่า ถ้าเรายึดส่ิงใดสิ่งหนึ่งเป็น
เป้าหมายสูงสุดของชีวิต เราควรจะมีคุณธรรมหรือหลักจริยธรรมอะไรเป็นแนวทางในการดาเนินชีวิต
ที่สอดคล้องกับเป้าหมายน้ันๆ ถ้าป้าหมายกับวิถีไม่สอดคล้องกัน การบรรลุเป้าหมายก็ไม่อาจเกิดข้ึน
ได้ เชน่ ถ้าเรายึดถือว่า คุณค่าทางจิตใจสาคญั กว่าส่ิงภายนอก และความสงบทางจิตใจ คือ เปา้ หมาย
สูงสุดของชีวิต แต่เรากลับใช้ชีวิตติดความสะดวกสบายหรือบรโิ ภคนิยม น่แี สดงว่าเรามรี ะบบความคิด
ท่ีขัดแย้งในตัวเอง ทาให้ความเช่ือกับพฤติกรรกมการดาเนินชีวิตขัดแย้งกัน ถ้าไม่แก้ไขความขัดแย้ง
เช่นนก้ี ็ยอ่ มไม่มีทางท่ีชวี ติ เราจะบรรลเุ ป้าหมายได้ เป็นต้น

๒. จริยศาสตรใ์ นฐานะปรัชญาสังคม๔
ยังมีจริยศาสตร์อีกความหมายหนึ่ง คือ จริยศาสตร์สังคม (Social Ethics) ที่เสนอ
หลักการท่ีควรยึดถือเป็น “พันธะทางจริยธรรม” ที่ทุกคนควรยึดถอื ปฏิบัติร่วมกัน เพื่อการอยู่ร่วมกัน
ในสังคมอยา่ งสนั ตภิ าพ เช่น หลักสิทธิ หนา้ ที่ เสรีภาพ ภารดรภาพ ความยุติธรรม
จริยศาสตรข์ องปัจเจกบุคคล ให้พ้ืนฐานปรัชญาจริยธรรมเพื่อการมีชีวิตที่ดีงามของเราแต่
ละคน ส่วนจริยศาสตร์สังคมให้พื้นฐานจริยธรรมทางสังคมหรือ “จริยธรรมภาคสาธารณะ” และเป็น
พนื้ ฐานของทฤษฎปี รชั ญาทางสงั คมและการเมือง

๒.๒.๔ การประยกุ ตใ์ ช้หลักพ้นื ฐานทางความคดิ จรยิ ศาสตร์
เน่ืองจากปัจจุบันเราดาเนินชีวิตอยู่ในยุคโลกาภิวัตน์ ซึ่งเป็นยุคไร้พรหมแดนทาง
วัฒนธรรม มีการปะทะสังสรรค์ทางความคิด ความเช่ือ ค่านิยม ขนบจารีตประเพณี และวิธีคิดที่
หลากหลาย การรู้ถึงพื้นฐานที่มาของความคิดทางจริยศาสตร์ตะวันตก – ตะวันออก จะทาให้เรา
สามารถประยุกตใ์ ชใ้ นการดาเนินชวี ติ ในเรอ่ื งหลกั ๆ ดังนี้
๑. ทาให้เรารู้จักว่า “ท่าที” อย่างถูกต้อง คือ ท่าทีที่เคารพในความคิดความเชื่อของคน
อนื่ ๆ ท่ีนับถือศาสนาตา่ งจากเรา ยึดปรัชญาในการดาเนินชีวิตต่างจากเรา เพราะเข้าใจตามความเป็น
จรงิ วา่ ทกุ คนต่างมีเสรีภาพในการนับถือศาสนาหรือแสวงหาปรัชญาชวี ติ ที่เหมาะสมกบั คนเอง
๒. ทาให้เรารู้จักเรียนรู้สิง่ ดีงามจากกันและกัน ชาวพุทธก็สามารถเรียนรู้สิ่งท่ีดงี ามจากคา
สอนของศาสนาคริสต์ อิสลาม หรือจริยธรรมสากลจากหลักปรัชญาตะวันตกได้ และคนอ่ืนๆ ก็
สามารถเรียนรู้ส่ิงดีงามจากคาสอนของพุทธศาสนาได้ การท่ีคนต่างศาสนาต่างวัฒนธรรม มีท่าทีที่
เคารพความเชื่อของกันและกัน และรู้จักเรียนรู้จากกันและกัน จะทาให้เราสามารถอยู่ร่วมกันอย่าง
สันติ รักท่ีจะแสวงหาความร่วมมือในทางท่ีสร้างสรรค์ ท่ามกลางโลกที่เต็มไปด้วยความแตกต่าง
หลากหลายทางวัฒนธรรม ความคดิ ความเช่ือ และวิถีชีวติ
๓. ทาให้เรารู้จักเปิดใจกว้างรับฟังความคิด ที่มาจากเหตุผล หรือพื้นฐานความคิด ความ
เชอ่ื ทแ่ี ตกตา่ งจากเรา รู้จกั ปรับทศั นคติเข้าหากัน มองเห็นความเป็นไปได้ในการแก้ปัญหาความขดั แย้ง
ระหว่างศาสนาและวัฒนธรรม เพราะทุกศาสนา ทุกความคิดทางจริยศาสตร์ ไม่ว่าจะเน้นเหตุผล
ศรัทธา หรือปัญญา ต่างก็มี “จุดร่วม” เดียวกัน คือ การมุ่งพัฒนาคนให้เป็นคนดี มุ่งใช่เหตุผลในการ

๔ สรรเสรญิ อินทรัตน์, จริยศาสตร์, (กรุงเทพมหานคร: หมาวิทยาลัยราชภัฏสวดดสุ ิต, ๒๕๕๒), หน้า
๒.

๒๒

แสวงหาหลักการหรือกฎจริยธรรมท่ีถูกต้องเพ่ือยึดถือปฏิบัติร่วมกัน เพ่ือประโยชน์สุขแห่งมวลมนุษย์
และสันติภาพของโลก

๒.๒.๕ ความหมายและความจาเป็นของคุณธรรม
คนเราบางคร้ังแค่รู้ว่าสิ่งไหนถูกสิ่งไหนผิดเท่านั้นยังไม่พอ เพราะบ่อยคร้ัง ท้ังท่ีเรารู้ว่าไม่
ควรทาส่งิ ใด แตเ่ รากท็ าไปบา้ งเหมอื นกัน พิจารณากรณีศึกษาต่อไปน้ี
คุณสัญญากับคนรักว่าจะไม่สนใจใครอีกต่อไป แต่วันหน่ึงก็มีอีกคนหนึ่งท่ีมีเสน่ห์เย้ายวน
ดึงดูดความสนใจของคุณมากจนอยากทาความรู้จัก แต่คุณก็เกิดความรู้สึก “รักพี่เสียดายน้อง” ...คุณ
กาลังคดิ หาทางสรา้ งเรอ่ื งโกหกบางอยา่ งข้นึ ... อย่างน้ีถือว่าเปน็ เรอ่ื งสมควรหรือไม่ ?
กรณีศึกษาข้างต้น เราไม่ต้องสงสัยเลยว่าการโกหกสาหรับสถานการณ์ดังกล่าวเป็นส่ิงผิด
เพราะคุณกาลังผิดคาสัญญาและสร้างเร่ืองโกหกหลอกลวงขึ้นมา แต่บางคนกลับคิดว่าทั้งที่การโกหก
เป็นไมด่ ี แต่ถา้ โกหกแล้วทาใหค้ ณุ มีความสขุ เพม่ิ ขึน้ ทาไมเราไมโ่ กหกกันบ้าง?
ดังน้ัน คาถามของเราจึงไม่ได้อยู่เพียงแค่ ถูกหรือผิดเท่าน้ัน ในเมื่อความปรารถนาอันแรง
กล้าดึงดูดเราไปในทิศทางที่ตรงกันข้ามกันความรู้สึกที่ว่าเราต้องทาดีน้ัน นับเป็นการยากย่ิงท่ีจะทาส่ิง
ท่ีเปน็ คุณธรรม – จรยิ ธรรม
เม่ือคนส่วนหน่ึงต้องเผชิญกับวิกฤตการณ์ทางจริยธรรม มักเกิดคาถามว่า “ถ้าฉันทาส่ิงท่ี
เป็นความถูกต้อง ฉันจะได้อะไรตอบแทน?” บางคร้ังการทาส่ิงที่ถูกต้องอาจจะไม่ได้ส่งผลให้คุณมี
ชื่อเสียง หรือมีความก้าวหน้าทันตาเห็น แต่ก็เป็นความรู้สึกดีๆ ของเรา มิใช่หรือ? แต่ในทางปรัชญา
เราตอ้ งการเหตุผลที่ดีสาหรบั การทาความดี มากกวา่ เร่ืองของความรู้สึก
พลาโตเสนอว่า หากคุณรู้ว่าคุณมีอานาจทาสิ่งใดๆ ก็ได้ตามต้องการ ท้ังที่เป็นเร่ืองไม่
ถูกต้อง เขาอยากทราบว่าคณุ จะมคี ณุ ธรรมในการกระทาเพียงใด ?
พลาโตสร้างกลูคอนข้ึนมาให้เป็นตัวแทนของความคิดท่ีวา่ ไม่มีคุณธรรมใดๆ ทั้งส้ิน ซ่งึ เป็น
แนวคิดที่คนส่วนมากมักจะเช่ือเช่นนั้น เพราะปัจจุบันไม่ได้ต่างจากอดีตมากนัก บางคร้ังเราจะเห็นว่า
คนทาความผดิ แมจ้ ะถกู จบั กไ็ มต่ ้องรบั โทษ...ลองพจิ ารณาดู พลาโตอาจพดู ถูกกไ็ ด้
นอกจากนี้ โสคราตีส (Socrates) เองก็มแี นวคิดเชน่ เดียวกบั พลาโต คอื จิตใจของคนเรามี
ส่วนหน่ึงท่ีได้รับการส่งเสริมจากการทาดี และจิตใจก็จะได้รับการลงโทษจากการทาไม่ดีด้วย ดังนั้น
บุคลิกภาพหรือวิญญาณท่ีมีพลานามัยดี จึงถูกกาหนดโดยความมีอิสระ (freedom) เจตจานง (will)
และพลงั (power) ทจ่ี ะดารงชวี ิตซงึ่ เกี่ยวข้องกบั ศลี ธรรมภายในของมนุษย์
โสคราตีสเห็นว่า มนุษย์ทุกคนต้องการใช้ชีวิตอย่างมีคุณธรรมและจริยธรรมเพื่อให้ตนมี
ความสุข แม้ว่าเราจะต้องพบกับความเจ็บปวดจากความทุกข์ยาก ความอยุติธรรม ความป่วยไข้ หรือ
แม้แต่ความผิดหวังต่างๆ แต่ชีวิตที่มีคุณธรรมก็เพียงพอท่ีจะยืนยันความสุขให้กับเราได้ ดังคาพูดที่ว่า
“แมเ้ ราจะต้องตาย แตไ่ ม่มผี ูใ้ ดประทษุ รา้ ยต่อคุณธรรมของเราได้”
หากเราทาร้ายผู้อ่ืนและรอดพ้นจากการลงโทษได้ แต่เรากลับทาร้าย(จิตใจ)ตัวเราเองยิ่ง
กว่าทเี่ ราทารา้ ยผูอ้ ื่นดว้ ยซา้
ลองพิจารณาดูว่า ผู้คนในปัจจุบันส่วนมากเห็นว่าความสาเร็จ ความร่ารวย อานาจและ
ช่ือเสียง เป็นเคร่ืองแสดงถึงความสุข หาใช่การใช้ชีวติ อย่างมีคุณธรรม-จริยธรรมไม่ ทัศนคติต่อ “ชีวิต
ท่ีดี” (good life) เช่นน้ีไม่เคยเปลี่ยนไปแม้เวลาจะล่วงไปกว่าสองพันปีแล้วก็ตาม แต่ลองคิดดูว่า

๒๓

โสคราตีสเสนออย่างจริงจังว่า คุณธรรมเป็นสิง่ จาเปน็ อย่างยิ่งสาหรับความสุข หากเราทาผิด ก็เท่ากับ
เราถูกสง่ิ นนั้ ทารา้ ย

“คุณธรรม” ในฐานะเคร่ืองแสดงพลานามัยของจิตวิญญาณ ไม่ใช่ความหมายเชิง
เปรยี บเทียบ แตเ่ ปน็ ความหมายตรงตัวทีเดยี ว เพราะไมม่ ีใครจะมีความสขุ เต็มที่ หากไม่มีคณุ ธรรม

พลาโต เสนอแนวคิดเก่ียวกับวิญญาณท่ีมีพลานามัยดี บนพื้นฐานการกระทา ๓ ด้านของ
มนุษย์ คือ ด้านกายภาพ (the physical) ด้านจิตวิญญาณ (the spirited) และ ด้านปัญญา (the
intellectual) ท้งั น้ีเขาเสนอว่าสาหรบั วิญญาณทีม่ ีพลานามัยดนี ้ัน จะต้องมีความสมดุลกันทงั้ สามดา้ น
เมอื่ สามารถควบคุมจติ ใจได้ อารมณ์กจ็ ะเป็นสงิ่ ทชี่ ่วยใหเ้ ราทาในสิ่งทตี่ ัดสนิ ใจได้

ในทางกลับกนั วญิ ญาณทม่ี ีพลานามัยไมด่ ีนน้ั จะถูกแรงขับเคลื่อนจากความปรารถนาทาง
กายภาพ หรือทางอารมณ์ ซึ่งทาให้การตัดสินระหว่างความถูกต้อง และความผิด มีลักษณะคลุมเครือ
ไม่กระจ่างชัดเท่าท่ีควร โสกราตีสเสนอวา่ การกระทาที่ไม่มีจริยธรรมนั้น ย่อมมีให้ผลร้ายต่อผู้กระทา
การนั้นอยู่แล้ว ซึ่งก็เท่ากับ มนุษย์ได้สร้างความอ่อนแอให้กับปัญญาของตน และทาให้การควบคุม
ความปรารถนาของตนลดนอ้ ยลงไปดว้ ย เราควรพจิ ารณาวา่ ส่ิงท่ีโสกราตีสกลา่ วนนั้ หมายถึงวา่ เมอ่ื เรา
ทาสิ่งผิดพลาดลงไป เราทาให้เจตจานงของเราลดความกล้าแข็งลงไป พร้อมกับทาให้มุมมองทาง
ศลี ธรรมของเราถดถอยไปดว้ ย

โสคราตสี เสนอว่า ความช่วั รา้ ย (vice) ทาร้ายผู้กระทาใน ๒ ลักษณะ คือ
ประการแรก เม่ือเราทาความชั่วร้าย เราได้ทาลายกลไกแห่งเสถียรภาพทางอารมณ์ และ
ความสุขใจของเราลงไปแล้ว กล่าวได้ว่าเม่ือเราทาความชั่วร้าย เราย่อมสูญเสียการควบคุมอารมณ์
หรือความปรารถนาของเราลงไป เราจะไมม่ วี นั พบความสุขไดอ้ กี เรามแี ต่จะตอ้ งการมากข้นึ เรื่อย ๆ
ประการท่ีสอง เมื่อเราตกเป็นทาสของความปรารถนา สติปัญญาของเราก็จะอยู่ในภาวะ
เซื่องซึม เราจะไม่ “ไว” ต่อพฤติกรรมด้านลบของเรา อีกทั้งแรงกดดันในใจจะใช้ร่างกายของเราเป็น
เคร่ืองมือในการทาสงิ่ ต่าง ๆ ตามใจปรารถนา ดงั น้ัน เราก็จะอธบิ ายแก่คนอืน่ ๆ (เรม่ิ ต้นจากตัวเราเอง
กอ่ น) ว่า การกระทาน้ันมเี หตมุ ผี ล เป็นเรื่องดแี ละเหมาะสมด้วยประการทั้งปวง
การหาเหตุผลใหก้ ับการทาความชวั่ ดูจะน้าหนักอยู่มาก เพราะคนส่วนมากรอู้ ยแู่ ลว้ ว่าการ
ทาความชั่วน้ันเปน็ เร่อื งง่าย ทงั้ ยังยากต่อการต้านทาน แต่คนทที่ าความชั่วไม่เคยคิดว่าตัวเองผิด คนที่
โกงข้อสอบ เหน็ วา่ เมอื่ ทาสาเรจ็ ก็มกั อยากจะทาอกี คนที่บังคับกดขี่คนอื่น เช่ือว่าเขาทาดีท่ีสุดเพอ่ื ตัว
เขา หรือเพื่อธุรกิจของเขาเอง แม้แต่มหาเศรษฐีที่หลีกเล่ียงไม่ยอมจ่ายภาษีเม่ือซ้ือเครื่องเพชรราคา
มหาศาล…ก็ไมเ่ ห็นว่าตนทาในสง่ิ เสยี

๒.๒.๖ สังคมอุดมคติ
หากลองพิจารณาขา่ วสารที่เราได้รับจากสอ่ื ตา่ ง ๆ จะพบว่า สว่ นใหญ่เปน็ ข่าว “ด้านลบ”
แทบทั้งส้ิน ไม่ว่าจะเป็น อาชญากรรมต่างๆ สงคราม ความยากจน การคดโกง การเอารัดเอาเปรียบ
ยาเสพติด การทาทารณุ เด็ก ฯลฯ
บางคนที่ไวต่อการรับข่าวสารเหล่านั้น อาจเกิดความคิดว่า “น่าจะมีหนทางท่ีดีกว่านี้”
หรอื บางคนอาจจะอยากจดั การทุกอย่างดว้ ยตนเองตาม “สงั คมอุดมคติ” เขาคดิ ว่าจะทาใหเ้ กิดขึ้นได้
แม้ว่าเราจะไม่สามารถจัดการทุกอย่างให้เป็นไปได้อย่างที่เราต้องการในเพียงชั่วข้ามคืน
แต่ “สังคมอุดมคติ” (Ideal Societies) ก็ยังคงมีความสาคัญ เพราะอย่างน้อยมันก็เป็นส่ิงท่ีทาให้เรา

๒๔

รจู้ ักโลกรอบตัวเราดขี ้ึน โดยเฉพาะในแง่ความเปน็ ไปได้ (possibilities) ย่ิงเรารู้จกั ความเปน็ ไปไดข้ อง
ส่ิงต่างๆ มากเพียงใด ก็ย่อมเป็นการง่ายสาหรับเราในการประเมิน (evaluate) จุดยืนของเรามาก
เพยี งนั้น

การคิดคานึงถึงสังคมอุดมคติ เป็นแนวทางท่ีดีในการพัฒนาหนทางในการประเมินสังคม
ของเราเอง มีนักคิดมากมายท่ีพูดถึงสังคมอุดมคติ แต่ในบทนี้เราจะพูดถึงความคิดของนักคิดสองคน
คือ B.F. Skinner และ Sir Thomas More แม้แนวคิดของคนทั้งสองจะแตกต่างกันอยู่บ้าง แต่โดย
พื้นฐานสังคมอุดมคติของท้ังคู่ล้วนสร้างขึ้นมาบนพ้ืนฐานความเข้าใจเก่ียวกับ ธรรมชาติมนุษย์
(human nature) และ ความสุขของมนุษย์ (human happiness) ดังน้ันเราอาจกล่าวได้ว่า สังคม
อุดมคติ เป็นผลลัพธ์จากทฤษฎีธรรมชาติมนุษย์และความสุขของมนุษย์ของนักคิดคนน้ันๆ น่ันเอง ที่
สาคัญ ก็คือ สังคมอุดมคติยังคงเป็น อุดมคติ อยู่เสมอไป เพราะเป็นสังคมที่เปิดโอกาสให้สมาชิกใน
สงั คมนน้ั ๆ ทาทุกสิง่ ทุกอย่างได้ตามท่ีนกั คิดผสู้ รา้ งสังคมน้นั วางโครงสรา้ งหรือออกแบบ (design) ตาม
สง่ิ ที่ตนคิดว่าประชาชนต้องการเพอื่ สรา้ งความสุขใหเ้ กิดขนึ้

สรุปแล้ว สังคมในจินตนาการใดๆ ก็ตาม ล้วนแต่ท้าทายเราให้หันมาสนใจสังคมใน
ปัจจุบันมากขึ้น เราควรต้องหันมาสนใจวา่ สังคมของเราเหมือนหรอื แตกต่างจากสังคมอุดมคติเพียงใด
การศึกษาเรือ่ งสังคมอุดมคติ จงึ เปน็ การบอกถงึ จุดยืนของเรา รวมถงึ แนวทางในการประเมินสังคมของ
เราอีกด้วย แมว้ ่าบางคนจะมีแนวโน้มยอมรับโดยไมเ่ คยตั้งคาถามว่า สังคมเราในปัจจุบัน “ไม่สมบูรณ์
แบบ แต่ก็ไม่ถึงกับแย่เกินไป” ทัศนะเช่นน้ีได้รับการสนับสนุนจากผู้นาในทุกสังคมอยู่เสมอ กล่าวคือ
ผู้นาเหล่าน้ันมักจะบอกแก่ประชาชนของตนว่า พวกเขาโชคดีเพียงใดที่ได้อาศัยอยู่ในสังคมเช่นนั้น
แต่แนวคิดเร่ืองสังคมอุดมคติ ดูเหมือนจะเป็น “ก้าง” ช้ินไม่โตนักที่คอยทิ่มตาความคิดที่ยอมเชื่อโดย
ไม่คิดไตร่ตรองให้รอบคอบ ความพึงพอใจ(หรือยอมจานน)ต่อสภาพชีวิตท่ีเป็นอยู่ และยังเป็นการ
ตรวจสอบความคิดกระแสหลกั ในปจั จบุ นั ดว้ ย

๒.๓ บทสรุป

ปรัชญามีลักษณะเป็น “ศาสตร์” และ “ศิลป์” กล่าวคือ เป็นทั้งการศึกษาหลัก/ความคิด
ของนักปรัชญา และการนามาเป็นแนวคิด/หลักของเราเอง ความหมายของปรัชญาจึงมีสองทาง คือ
ปรัชญาในฐานะท่ีเป็นความรู้และปรัชญาในฐานะท่ีเป็นวิถีชีวิต” ปรัชญาจึงเป็นวิถีทางที่สาคัญ อัน
ประกอบด้วยการมีชวี ิตอยใู่ ห้เป็นไปตามความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกบั คุณค่าและความหมายชีวิตนั่นเอง

แม้ปรัชญาจะแบ่งย่อยได้สองประเภทคือ ปรัชญาบริสุทธ์ิและปรัชญาประยุกต์ โดย
ปรัชญาบริสุทธ์ิ แบ่งได้สามสาขา/แขนง คือ อภิปรัชญา ญาณวิทยาและคุณวิทยา/อัคฆวทิ ยา ล้วนแต่
มีความสัมพันธ์สืบเนื่องกันในการหาคาตอบเก่ียวกับความจริงตามธรรมชาติของปรัชญา กล่าวคือ
ก่อนที่เราจะไปศกึ ษาในรายละเอียดเกีย่ วกับสงิ่ นั้นวา่ เปน็ อย่างไร เราตอ้ งรู้ความจริงกอ่ นว่า ความจริง
ของสิ่งน้ัน คืออะไร (อภิปรัชญา) เมือ่ เรารู้ว่าสิ่งนั้นเป็นอะไร เพือ่ ว่าส่ิงที่เรารู้น้นั เป็นส่งิ ท่ีสอดคล้องกับ
ความจริงหรือไม่ เราย่อมตอ้ งมีวิธกี าร และหลักการรับรู้และตัดสินสิ่งที่เรารับร้นู ั้นๆ (ญาณวิทยา) และ
ที่สุด เรามกี ารนาหลกั การของสิ่งนนั้ ไปตัดสินคุณค่าของส่งิ ต่างๆ (คุณวิทยา)

การศึกษาวิชาปรัชญาเชิงปรัชญาหรือให้สอดคล้องกับธรรมชาติของวิชาปรัชญาไม่ใช่การ
จดจาความคิดของนักปรัชญาแต่ละคนหรือการนาความคิดดังกล่าวมาตอบคาถามต่างๆ เก่ียวกับชีวิต

๒๕

ถึงแม้ว่าวิชาปรัชญาจะมีระบบความคิดเก่ียวกับชีวิตหลายระบบ แต่วิชาปรัชญาก็ไม่ได้มุ่งที่จะให้
คาตอบสาเรจ็ รูปเกยี่ วกับชวี ิต วตั ถุประสงค์สาคญั ท่ีสุดของวชิ าปรัชญา คือการจุดประกายไฟให้เกดิ ขึ้น
ในความคิดของผู้ศึกษา และการกระตุ้นให้ผู้ศึกษาแสวงหาคาตอบเร่ืองชีวิตด้วยสติปัญญาของตัวเอง
ไม่ใช่ด้วยการจดจาจากผู้ใดหรือจากหนังสือปรัชญา หรืออีกนัยหนึ่ง การเรียนวิชาปรัชญาไมใ่ ช่การหา
คาตอบ (สาเร็จรูป) ของคาถามเกี่ยวกับชีวิต แต่เป็นการเรียนรู้วิธีการใช้เหตุผลและแนวทางแสวงหา
คาตอบเกี่ยวกับชีวิตให้ตนเอง วิธีการศึกษาวิชาปรัชญาให้ได้รับประโยชน์มากท่ีสุด คือ การศึกษา
ระบบความคิดของนักปรัชญาด้วยเหตุผลเพ่ือสร้างปญั ญาให้เกิดขึ้นในตัวผู้ศึกษาจะไดม้ องเห็นหนทาง
หรอื แนวทางท่ีจะได้ความร้หู รือคาตอบท่ีต้องการ

การจะวิเคราะห์ปัญหาภาพรวมของปัญหาปัจจุบัน และเสนอว่าจากหลักจริยศาสตร์ท่ี
ศึกษามาแล้ว มีคุณธรรมจริยธรรมพ้ืนฐานอะไรบ้างที่ควรนามาประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับสภาพ
ปัญหาที่เป็นจริง โดยคุณธรรมจริยธรรมพ้ืนฐานที่นี้ หมายถึง “คุณธรรมจริยธรรมพ้ืนฐานทางสังคม”
ตามหลกั จริยศาสตร์สังคม ไดแ้ ก่ คุณธรรมและจรยิ ธรรมพ้ืนฐานในสังคมประชาธิปไตย คือ จริยธรรม
ภาคสาธารณะ คุณธรรมของผู้ปกครอง และ “คุณธรรมและจริยธรรมพ้ืนฐานส่วนบุคคล” ตามหลัก
จริยศาสตร์ปัจเจกบุคคล ได้แก่ คุณธรรมในสัมพันธภาพระหว่างบุคคล และคุณธรรมในการดาเนิน
ชวี ติ ของปัจเจกบุคคล

๒๖

คาถามทา้ ยบท

๑. จงอธิบายความหมายและขอบเขตของปรัชญา มาโดยละเอียด
๒. จงอธิบายเครือ่ งมือและเหตผุ ลของปรชั ญา มาโดยละเอียด
๓. จงอธิบายลกั ษณะของปรชั ญา มาโดยละเอียด
๔. จงอธิบายประเภทและสาขาของปรัชญา มาโดยละเอียด

เอกสารอา้ งองิ ประจาบท

กีรติ บญุ เจอื . ปรชั ญาเบ้ืองต้น. กรงุ เทพมหานคร: สานักพิมพไ์ ทยวัฒนาพานชิ , ๒๕๑๘.
ชยั วัฒน์ อัตพฒั น์. จรยิ ศาสตร์ ETHICS (MORAL PHILOSOPHY). กรุงเทพมหานคร:

มหาวทิ ยาลยั รามคาแหง, ๒๕๔๓.

๒๗

ปานทิพย์ ศภุ นคร และคณาจารย์ภาควิชาปรชั ญา. ปรัชญาเบือ้ งต้น. กรงุ เทพมหานคร:
มหาวทิ ยาลัยรามคาแหง, ๒๕๔๒.

สรรเสริญ อินทรตั น์. จริยศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: หมาวิทยาลยั ราชภัฏสวดดสุ ติ , ๒๕๕๒.
สมัคร บรุ าวาศ. วิชาปรชั ญา. กรุงเทพมหานคร: ศยาม, ๒๕๔๔.
วศิน อินทรสระ. จริยศาสตร์. พิมพ์ครงั้ ท่ี ๔. กรงุ เทพมหานคร: บรรณกจิ ๑๙๙๑, ๒๕๔๔.
วิทย์ วิศทเวทย์. ปรัชญาท่วั ไป. กรงุ เทพมหานคร: อักษรเจรญิ ทศั น,์ ๒๕๒๐.
อดศิ กั ดิ์ ทองบญุ . ปรัชญาอนิ เดีย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพป์ ระยรู วงศ์, ๒๕๒๔.
อมร โสภณวเิ ชษฐวงศ.์ ปรัชญาเบอื้ งตน้ . กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลยั รามคาแหง, ๒๕๒๓.

๓๑

บทที่ ๓
ความหมายและลักษณะของปัญหาสังคม

วัตถปุ ระสงค์การเรียนประจาบท
เมื่อไดศ้ ึกษาเนื้อหาในบทแล้ว ผูศ้ ึกษาสามารถ
๑. บอกความหมายและลักษณะของปญั หาสงั คมได้
๒. บอกขอบเขตและการศึกษาปัญหาสังคมได้
๓. บอกทฤษฎแี ละความเขา้ ใจผดิ เก่ียวกบั ปญั หาสังคมได้

ขอบข่ายของเนอ้ื หา
 ความหมายปญั หาสังคม
 ความแตกต่างระหวา่ งปัญหาสังคมกับสังคมวิทยา
 ลักษณะของปญั หาสงั คม
 ขอบเขตของปญั หาสงั คม
 ทฤษฎีเกี่ยวกับปัญหาสงั คม
 ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับปัญหาสงั คม

๓.๑ ความนา

สังคมมนุษย์แห่งใดจะดารงอยู่ได้มั่นคงและมีการพัฒนาการต่อๆ ไปได้นั้น สังคมมนุษย์
แห่งนั้นจะต้องมีการจดั ระเบยี บทางสงั คมท่ีแนน่ อน เข้ากันได้กับส่ิงแวดล้อมทางธรรมชาติ และบรรดา
สมาชิกทั้งหลายของสังคมแห่งน้ันสามารถปฏิบัติงานหรือภารกิจต่อไปได้โดยสมบูรณ์ ไม่มีเหตุขัดข้อง
หรือก่อให้เกิดความยุ่งข้ึน สภาพสังคมปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงจากเดิมมาก โดยเฉพาะการ

๓๒

เปล่ียนแปลงจากสังคมเกษตรกรรมไปสู่ระบบอุตสาหกรรมแบบใหม่ ที่เป็นการแข่งขันทางวัตถุและ
เทคโนโลยีชั้นสูง เพื่อผลทางการค้าได้เป็นแรงจูงใจให้ผู้คนใช้ความสามารถและเวลาทุ่มเทให้กับงาน
เพื่อความอยู่รอดทางสังคม ทาให้วิถีชีวิตของสมาชิกในสังคมซ่ึงเคยสัมพันธ์กับสถาบันหลักของสังคม
เกิดติดขัดดาเนินไปไม่สอดคล้องระหว่างส่วนต่างๆ ในที่สุด ทาให้เกิดความขัดแย้งระหว่างสถาบัน
ต่างๆ ความขัดแยง้ ระหว่างบทบาทและหน้าทท่ี ี่เรยี กว่า “ปญั หาทางสงั คม (Social Problems)”๑

ปัญหาสังคมควรได้รับความสนใจจากผู้ได้รับผลกระทบจากปัญหา สมาชิกในสังคม
ผู้เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหาท้ังในระดับนโยบายและผู้ปฏิบัติงาน ตลอดจนกลุ่มนักวิชาการให้มากๆ
ปัญหาสังคมน้ันเป็นเรื่องที่มีขอบเขตกว้างขวางและเก่ียวข้องกับทุกคนในสังคม และการท่ีจะแก้ไขให้
สาเร็จหรือเบาบางลงไปก็เป็นเรื่องยุ่งยากซับซ้อนเพราะเกี่ยวข้องกับปัจจัยหลายๆ อย่าง ดังนั้น
การศึกษาและทาความเข้าใจถึงความหมายของสังคมได้ย่างถูกต้อง จึงเป็นพ้ืนฐานสาคัญต่อการ
กาหนดปัญหาที่นาไปสู่การแกไ้ ขไดอ้ ยา่ งมปี ระสทิ ธิภาพต่อไป

๓.๒ ความหมายของปัญหาสังคม (Social Problems)

ปญั หาท่ีจะจัดวา่ เป็นปญั หาสังคมนั้น จะต้องเป็นปัญหาที่มีผลกระทบต่อผู้คนส่วนใหญ่ใน
สังคม มีผู้คนจานวนมากเดือดร้อน ผลกระทบน้ันเป็นไปในทางที่ไม่ดี หรือในทางลบต่อชีวิตคาม
เป็นอยู่ของมนุษย์ ผู้คนจานวนมากคิดวิธีทางท่ีจะแก้ปัญหาได้ และเป็นปัญหาของส่วนรวม ไม่ใช่
ปัญหาของบุคคล๒ นักสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ให้คาจากัดความของคาว่า “ปัญหาสังคม” ไว้
มากมายและที่นา่ สนใจ มีดังน้ี

พจนานุกรมศัพท์สังคมวิทยา๓ ได้ให้ความหมายของคา ปัญหาสังคม (Social Problems)
ไวด้ งั น้ี ปญั หาสังคม หมายถึง ภาวะใดๆ ในสังคมที่คนจานวนมากถือว่าเปน็ สิ่งผิดปกติ ไม่พึงปรารถนา
และรู้สึกไม่สบายใจและต้องการมีการแก้ไขให้กลับคืนสู่ภาวะปกติ เช่น ปัญหาอาชญากรรม ปัญหา
การทุจรติ ในวงราชการ ปญั หายาเสพติด

จานงค์ อดวิ ัฒนสทิ ธิ์๔ ให้ความหมายไว้วา่ ปัญหาสงั คม หมายถึง สภาพหรือสถานการณ์ที่
มีผลกระทบกระเทือนต่อคนจานวนหน่ึง ซึ่งเป็นคนจานวนมากพอท่ีจะมีความเห็นว่าไม่อาจทนอยู่ใน
สภาพเช่นนั้นต่อไปได้ ต้องมีการเปล่ียนแปลงและแก้ไขสภาพสังคมดังกล่าวร่วมกัน เช่น ในกรณีที่
สังคมมีแต่การข่มขืนแล้วฆ่า ปล้น จี้ ชิงทรัพย์กันอยู่ประจา คนส่วนใหญ่ไม่สามารถทนอยู่ในสภาพ
เช่นน้ีได้ตลอดไป ต้องหาทางแก้ปัญหาน้ันให้หมดไป รวมทั้งหาแนวทางในการป้องกันปัญหาน้ันๆ
ไมใ่ หเ้ กิดข้ึนอีก

๑ โกศล วงศ์ สวรรค์ แล ะสถิต วงศ์ สวรรค์, ปั ญ ห าสังค ม ไท ย SOCHIAL PROBLEMS,
(กรงุ เทพมหานคร: อมรการพมิ พ,์ ๒๕๔๓), หนา้ ๑๕

๒ สุพิศวง ธรรมพันทา, มนุษย์กับสังคม, (กรุงเทพมหานคร: สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา,
๒๕๔๐), หนา้ ๑๑๓.

๓ ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์สังคมวิทยา อังกฤษ – ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน,
(กรุงเทพมหานคร: บรษิ ทั รุ่งศิลปก์ ารพิมพ์ จากัด, ๒๕๒๔), หน้า ๓๕๘.

๔ จานงค์ อดิวฒั นสิทธ์,ิ การศึกษาเพ่อื พัฒนาประเทศ, (กรุงเทพมหานคร: สานกั พมิ พ์โอเดียน สโตร,์
๒๕๓๒), หน้า ๑๗๗.

๓๓

ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์๕ กล่าวว่า ปัญหาสังคมเป็นสภาวการณ์ที่เกิดข้ึนแล้วส่งผล
กระทบกระเทือนต่อกลุ่มคนใหญ่ในสังคม หรือสภาวการณ์ที่คนในสังคมส่วนใหญ่เห็นว่าเป็นปัญหา
และสมาชิกเหล่านั้นของสังคมเห็นพ้องต้องกันว่าควรจะต้องมีการดาเนินการแก้ไขสภาวการณ์น้ันใน
รูปของการกระทาร่วมกันเพื่อแก้ไขปัญหาน้ันให้หมดไปหรือบรรเทาลง และปัญหาสังคมจะ
เปลยี่ นแปลงไปตามความเห็นของกลุ่มคนในแตล่ ะชว่ งเวลา

ประสาท หลักศิลา๖ ได้ให้คานิยามไว้ว่า ปัญหาสังคม (Social Problems) เป็น
สถานการณ์ท่ีเกิดข้ึนแลว้ และเข้าใจกันว่า หรือเช่ือกันว่าสถานการณ์เช่นน้ัน เป็นอันตรายต่อคุณธรรม
ทางสังคม และต้องหาทางแก้ไขสถานการณ์น้ันให้ดีข้ึนได้ด้วยการร่วมมือกันทางสังคม ส่วนประกอบ
ของปัญหาสังคม ได้แก่ สถานการณ์ทางสังคม การพิจารณาในด้านคุณธรรมทางสังคม และการ
ร่วมมือกันเพ่ือหาทางแก้ไข ปัญหาสังคมจะเกิดข้ึนเมื่อผู้คนส่วนใหญ่มีส่วนเกี่ยวข้องกัน พฤติกรรมซ่ึง
เป็นที่เชื่อกันว่าพฤติกรรมเช่นน้ันไม่ถูกต้อง และเป็นอันตรายต่อคุณธรรมของสังคม เป็นคุณธรรมที่
เห็นว่าสาคัญ ผู้คนในสังคมมีความเห็นพ้องกันว่าน่าจะต้องมีการร่วมมือกันเพื่อกาจัด หรือปรับ
สถานการณเ์ ชน่ น้ันเสีย

พัทยา สายหู๗ กลา่ ววา่ ประเดน็ สาคัญของปญั หาสงั คมจะอยู่ท่ีลกั ษณะ ๒ ประการ คอื
๑. สมาชกิ ส่วนใหญ่ของสังคมรสู้ กึ เดอื ดรอ้ นเพราะปรากฏการณ์นัน้
๒. ต้องการและพยายามหาทางแกไ้ ขขจดั ปรากฏการณท์ ี่ไม่พงึ ปรารถนานั้น
สุพัตรา สุภาพ๘ ได้ให้คานิยามไว้ว่า ปัญหาสังคมเป็นสภาวการณ์ที่กระทบกระเทือนต่อ
บุคคลจานวนหนึ่งซ่ึงมากพอสมควร และมีความรู้สึกว่าควรจะแก้ไขในรูปการกระทาร่วมกัน เพื่อให้
ปญั หานน้ั บรรเทาเบาบางลงหรือใหด้ ขี ้ึน
สัญญา สัญญาวิวัฒน์๙ ได้กล่าวโดยสรุปไว้ว่า ปัญหาสังคม คือสถานการณ์อย่างใดอย่าง
หนึง่ ท่ไี ม่สอดคล้องกับค่านยิ มของคนเป็นจานวนมากของกล่มุ หรือของสังคมหนงึ่ จนเป็นเหตุให้เขาตก
ลงใจ ที่จะกระทาการแกไ้ ขสถานการณ์นัน้ เมอื่ เขาตระหนกั วา่ อยู่ในวิสัยทจ่ี ะทาได้
อานนท์ อาภาภิรม๑๐ ได้ให้คานิยามไว้ว่า ปัญหาสังคม คือ ปัญหาในส่วนท่ีเกี่ยวกับ
ความสัมพันธ์ระหว่างหมู่ประชาชน ด้วยเหตุน้ีปัญหาสังคม จึงเป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับกฎหรือ
ระเบียบท้ังที่เป็นทางการ และไม่เป็นทางการ ซึ่งประชาชนเป็นผู้สร้างกันขึ้นมา การพิจารณาว่าอะไร
เป็นปัญหาสังคมหรือไม่นั้น น่าจะดูว่าพฤติกรรมน้ันๆ ขัดต่อวัฒนธรรมและปทัสถานทางสังคม

๕ ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์, ปัญหาสังคมเมืองไทยปัจจุบัน หน่วยท่ี ๑ – ๖, พิมพ์ครั้งที่ ๑๐,
(กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลยั สุโขทัยธรรมาธิราช, ๒๕๔๐)

๖ ประสาท หลกั ศลิ า, ปัญหาสงั คม, (กรงุ เทพมหานคร: สานักพิมพ์จฬุ าลงกรณ์มหาวทิ ยาลัย, ๒๕๑๑),
หน้า ๓๐๗.

๗ พทั ยา สายหู, กลไกของสงั คม, (กรุงเทพมหานคร: สานกั พมิ พจ์ ฬุ าลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๒๙),
หนา้ ๑๘๙.

๘ สพุ ัตรา สภุ าพ, ปัญหาสงั คม พมิ พ์คร้งั ที่ ๑๙, (กรงุ เทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานชื , ๒๕๔๖), หนา้
๒.

๙ สัญญา สัญญาวิวัฒน์, ทฤษฎีสังคมวิทยา: เน้ือหาและการใช้ประโยชน์เบ้ืองต้น, พิมพ์คร้ังที่ ๑๐,
(กรงุ เทพมหานคร: สานักพิมพจ์ ฬุ าลงกรณม์ หาวทิ ยาลัย, ๒๕๒๖), หนา้ ๕.

๑๐ อานนท์ อาภาภริ ม, ปญั หาสงั คม, (กรงุ เทพมหานคร: สานักพมิ พโ์ อเดยี น สโตร,์ ๒๕๑๗), หนา้ ๑.

๓๔

แตกต่างกันออกไป ปัญหาสังคมหนึ่งจึงอาจไม่ใช่ปัญหาอีกสังคมหน่ึง ตัวอย่างเช่น การหย่าร้าง และ
การท่ีชาย – หญิง มีภรรยา – สามีหลายคน ถือเป็นเรอื่ งใหญ่ และเป็นปัญหาสังคมของสังคมไทย แต่
ในสังคมตะวันตกถือว่าเร่ืองเหล่าน้ีเป็นเร่ืองเล็กมาก ไม่เป็นผลให้เกิดปัญหาสังคมเหล่านี้ เป็นต้น
ฉะน้ัน การจะมองว่าอะไรเป็นปัญหาสังคมหรือไม่จึงต้องย้อนไปมองสังคมวัฒนธรรมของสังคมน้ันๆ
ด้วย

James M. Henslin๑๑ (เจมส์ เฮนสลิน) กล่าวว่า ปัญหาสังคมเป็นเร่ืองเก่ียวกับปัญหาท่ี
เกิดขึ้นในสังคมซ่ึงสมาชิกในสังคมนั้นอยากจะมีการเปล่ียนแปลง ปัญหาสังคมจะเปล่ียนแปลงไปตาม
ภาวการณ์ ข้ึนอยูก่ ับความเห็นในแต่ละช่วงเวลาของกลุ่มคนในสังคมน้ัน เช่น ในอดตี มีการแก้ไขปญั หา
การทาแท้งให้เป็นเรื่องถูกกฎหมายของสหรัฐอเมริกาใน ค.ศ. 1973 เพราะในชว่ งเวลาน้ัน มีแนวคิดว่า
จะเป็นการช่วยชีวิตหญิงจานวนมากที่ตายเนื่องจากไปทาแท้งกับหมอเถ่ือน แต่ในปัจจุบันได้มีกลุ่ม
บุคคลหลายกลุ่มออกมาต่อต้านการทาแท้งอย่างเสรีว่าเป็นเรื่องของการฆาตกรรมเด็ก จึงได้มีการ
รณรงคใ์ หแ้ กก้ ฎหมายใหม่ เป็นตน้

Jonathan H. Turner๑๒ กล่าวว่า ปัญหาสังคม คือ สภาวะเสียสมดุลของสังคมท่ีเกิดจาก
ความบกพร่องในหน้าท่ี หรือความขัดแย้งของหน้าที่ของส่วนต่างๆ ในสังคม บุคคลหรือองค์กรต่างๆ
ประสบความสับสนดา้ นความคดิ ตลอดจนการกระทาทางสงั คม เพราะสภาพทางโครงสรา้ งและหน้าที่
ของสังคมได้เปล่ียนไป

กล่าวโดยสรุป ปัญหาสังคม คือ สภาวการณ์ท่ีเลวร้าย มีพิษ เป็นภัย ไม่สอดคล้องกับ
ค่านิยม เป็นไปในทางไม่ดี ไม่พึงปรารถนา เบี่ยงเบนไปจากภาวะปกติ และปทัสถานสังคม มี
ผลกระทบต่อบุคคลจานวนมากพอสมควร คุกคามแก่อันตรายเสียหายแก่สังคม คนจานวนมาก
เดือดร้อนเกิดความร้สู ึกไมพ่ อใจ และคนเหลา่ น้นั คิดวา่ ปัญหานน้ั มีวถิ ีทางทจ่ี ะแก้ไขได้ พิจารณาเหน็ ว่า
ควรจะมีการกระทาสิ่งใดสิ่งหนึ่งร่วมกันในอันที่จะทาให้สถานการณ์นั้นบรรเทาเบาบางลง หรือมี
สถานการณ์ทด่ี ขี นึ้

จากคานิยามศัพท์ที่นักสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ให้ความหมายไว้นั้น ทาให้เห็น
แนวคิดที่ที่สอดคล้องกันบางอย่าง เช่น เป็นสถานการณ์อย่างหน่ึง อาจเป็นมนุษย์ สัตว์ และสิ่งของ
หรือเหตุการณ์อยา่ งใดอย่างหนึ่งก็ได้ เช่น อุทกภัย วาตภัย สงคราม น้าท่วม เงินเฟ้อ ฯลฯ และท่ีแน่ๆ
อีกประการหน่ึง คือปัญหาสังคม เป็นส่ิงที่คุกคาม หรืออาจก่ออันตรายและเสียหายให้แก่สังคม แก่
ค่านิยมของคนกลุ่มหน่ึง “ค่านิยม” หมายถงึ สิง่ ทีค่ นยดึ ถือเป็นบรรทดั ฐานในการวัดคณุ ค่าของส่ิงของ
ต่างๆ หรือหมายถึงส่ิงที่เขาเห็นว่ามีคุณค่า เขาจึงรัก หวงแหน อยากมี อยากได้ อยากเป็น อยากเป็น
เจ้าของ อีกประการหนึ่งคือ ผู้ได้รับคุกคามมีจานวนมาก สถานการณ์บางอย่างมีความรุนแรงเกิดอยู่
ยาวนาน แม้ตอนแรกไม่กระทบกระเทือนคนมากทันที แต่ก็อาจลุกลามต่อไปในภายหลังและการ
กระทบบุคคลบางประการ เช่น นักเรียน นักเขียน ข้าราชการ นักหนังสือพิมพ์ นักการเมือง นักกีฬา
ฯลฯ แม้มีจานวนไม่มาก แต่ก็คุกคามสวัสดิภาพก็ถือเป็นปัญหาสังคมได้ สิ่งท่ีเป็นปัญหาสังคม จะต้อง
มีการตกลงใจร่วมกันในหมู่คนจานวนมากที่ได้รับการคุกคามจากปัญหาสังคมในการท่ีจะกระทาส่ิง

๑๑ James M. Henslin, Social Problems, (New Jersey: Prentice Hall, Inc., 1990), P. 4.
๑๒ Jonathan H. Turner, The Sturcture of Sociologial Theory 4 ed, (Chicago: The
Dorsey, 1986), p. 418.

๓๕

หน่ึงสิ่งใดเพื่อแก้ไข หรอื จากดั สถานการณ์น้ันเสีย สรุปเปน็ สงิ่ ท่ีเปน็ ปัญหาสงั คมมีลักษณะสาคัญคือ มี
การกระทาฝ่าฝืนกฎเกิดขึ้น การฝ่าฝืนมีความถ่ีมาก จนทาให้คนเป็นจานวนมากเกิดความรู้สึก
เดือดร้อน เม่ือเกิดความถ่ีต่อการฝ่าฝืนนั้นเพียงพอแล้ว บุคคลเหล่านั้นจะลุกขึ้นเรียกร้องให้มีการ
จากัดหรือแกไ้ ขเหตุการณ์นนั้ เสยี

๓.๓ ความแตกตา่ งระหว่างปญั หาสงั คมกบั ปญั หาสังคมวิทยา

เพ่ือวิเคราะห์อย่างละเอียดถ่ีถ้วนแล้วจะพบว่า มีความแตกต่างบางประการระหว่าง
ปรากฏการณท์ างสังคมท่เี รยี กว่า “ปัญหาสงั คม” กับ “ปัญหาสงั คมวิทยา”๑๓

ปัญหาสังคม (Social Problems) หมายถึง กิจกรรมท่ีมีเงื่อนไขและสถานการณ์บางอยา่ ง
กาหนดว่าเป็นปัญหา รวมทั้งการพูดคุยกันเป็นส่วนตัวหรือท่ามกลางกลุ่มคนท่ัวไปในท่ีสาธารณะว่า
กิจกรรมนั้นเป็นปัญหา และเกิดความประสงค์จะให้มีการเปล่ียนแปลง แก้ไขปัญหาน้ันๆ โดยผู้ท่ี
กาหนดว่ากิจกรรมใดเป็นปัญหาสังคม คือ รัฐบาล ส่ือมวลชน หน่วยงานเอกชนและหน่วยงาน
สวัสดกิ ารสงั คมตา่ งๆ

ดังนั้น ปัญหาสังคมจึงสะท้อนว่าบุคคลเช่นไรเก่ียวข้องกับปัญหาสังคมในสมัยนั้น เขา
เหล่านั้นอา้ งว่าควรทาอย่างไร และผู้คนตอ้ งการความร้ใู นเรือ่ งเหล่านั้นอยา่ งไร ปัญหาเหล่าน้นั ขึ้นอยู่
กับบริบทเวลาและสถานที่ท่ีเปลี่ยนแปลงไป และมีความหมากหลายตั้งแต่ปัญหาของสังคมขนาดเล็ก
ที่สุด คือ ครอบครัว ในเรื่องของความรุนแรงในครอบครัวไปจนกระท่ังปัญหาการไม่รู้หนังสือ ปัญหา
การเลือกปฏิบัติอย่างสุดขั้ว ไปจนกระทั่งปัญหาการสร้างมลพิษต่อส่ิงแวดล้อมท่ีเป็นอันตรายร้ายแรง
ปัญหาสุรายาเสพติดและการทาแท้งไปจนกกระทั่งอาชญากรรมทางเพศและปัญหาความไม่เท่าเทียม
กันทางเพศไปจนถึงการกระทาผิดของเด็กและเยาวชน โดยสังคมพ่ึงเร่ิมจะตระหนักว่า “ปัญหาการ
ล่วงละเมิดต่อเด็ก” เป็นปัญหาสังคมท่ีควรได้รับการแก้ไขตั้งแต่ปีคริสต์ทศวรรษท่ี ๑๘๖๐ เป็นต้นมา
ซ่ึงก่อนหน้าน้ีแม้ว่าเด็กจะถูกทุบตีและกระทาทารุณกรรมต่างๆ ก็ไม่เคยเป็นประเด็นปัญหาที่
สาธารณชนให้ความสนใจแตอ่ ยา่ งใด เรอื่ งดงั กลา่ วจึงกลายเปน็ ปญั หาสงั คม

ขณะที่ ปัญหาทางสังคมวิทยา (Sociological Problems) เป็นปัญหาท่ีเกิดมาจากความ
เป็นห่วงเป็นใยที่กระตุ้นให้เกิดการสืบค้นเสาะหาองค์ความรู้ทางสังคมวิทยาขึ้น ความกังวลเหล่าน้ี
สะท้อนให้เห็นมุมมองทางทฤษฎีท่นี ักสังคมวิทยานามาใช้แตกต่างกนั อาจเป็นไปได้ว่าหลักการพน้ื ฐาน
ท่ีควรคานึงถึงเหล่าน้ีท่ีจริงแล้วคือปัญหาระเบียบสังคมท่ีว่าสังคมน้ันๆ มีการกระทาผิดระเบียบสังคม
เกิดขึ้นได้อย่างไร ความห่วงใยของนักสังคมวิทยา รวมไปถึงความพยายามทาความเข้าใจกับการ
กระทาทางสังคม การกาหนดวฒั นธรรมและวธิ ีปฏิบัตทิ างสังคมซ่ึงเปลย่ี นแปลงไป ความเปลีย่ นแปลง
ของสิง่ แวดลอ้ ม และการอธบิ ายกระบวนการทางสังคม รวมทั้งพื้นฐานอัตลักษณท์ างสังคม นอกจากนี้

๑๓ จุฑารัตน์ เออื้ อานวย, อาชญากรรม, (กรุงเทพมหานคร: สานกั พมิ พ์จฬุ าลงกรณ์มหาวทิ ยาลัย,
๒๕๕๑), ๓ – ๕.

๓๖

ยังรวมถึงระเบียบวิธีการถกเถียงเก่ียวกับปัญหาของทฤษฎีและการปฏิบัติ โครงสร้าง และหน่วยงาน
รวมท้งั วัตถุประสงค์และความหมายท่เี ปลี่ยนแปลงไปของกลไกกฎเกณฑ์ต่างๆ ทสี่ ังคมสร้างข้นึ อกี ด้วย

๓.๔ ลักษณะของปญั หาสังคม

จากความหมายของปัญหาสังคมท่ีนักสังคมวิทยาหลายท่าน ได้กล่าวไว้สรุปได้ว่า ปัญหา
สังคมมีลกั ษณะสาคญั ดังน้ี

๑. เป็นสภาวการณ์ท่ีมีผลกระทบกระเทือนต่อคนเป็นจานวนมาก หรือสภาวการณ์ท่ี
เกิดข้ึนในขนาดมากพอทีจ่ ะกระตนุ้ คนจานวนมากให้เกดิ ความรสู้ ึกเดือดรอ้ น

๒. เป็นสิ่งท่ีคนส่วนใหญ่พิจารณาว่าเป็นสภาวการณ์ที่ไม่พึงปรารถนา หรือเห็นว่าจะเป็น
อันตรายต่อสมาชิกถ้าปล่อยทิ้งไว้อย่างน้ัน เป็นส่ิงที่คนส่วนใหญ่พิจารณาเห็นว่าเป็นสภาวะท่ีไม่
ตอ้ งการใหป้ รากฏ ไม่อยากใหม้ ี

๓. เป็นสภาวการณ์อย่างใดอย่างหน่ึง ท่ีไม่สอดคล้องกับค่านิยมของคนจานวนมาก จน
เป็นเหตุให้เขาตกลงใจท่ีจะกระทาการแก้ไขสถานการณ์นั้น เป็นสภาวการณ์ซึ่งคนจานวนมาก
พอสมควร เหน็ วา่ เบ่ียงเบนไปจากบรรทดั ฐานของสังคมบางประการท่ีเขายึดมั่น

๔. เป็นสภาวการณ์ท่ีสังคมเห็นว่าสามารถจะปรับปรุงแก้ไขให้หมดไป หรือบรรเทาลงได้
เปน็ สภาวการณ์ท่ีจะตอ้ งมกี ารกระทาการบางสิง่ บางอย่างเพื่อแกไ้ ข

๕. มีการร่วมมือกันในหมู่สมาชิกของสังคม ในท่ีจะขจัดแก้ไขป้องกัน มีการแสดงออกใน
รปู ของการกระทาร่วมกนั

๖. ปัญหาสังคมย่อมมีผลมาจากนโยบายของรัฐ หรือจากพฤติกรรมที่สังคมมิได้คาดคิด
ลว่ งหน้าไวก้ อ่ น

๗. บุคคลมีชนช้ันทางสังคมท่ีแตกต่างกัน ย่อมมีความคิดเห็นการแก้ปัญหาสังคมท่ี
แตกต่างกนั ทุกคนยอมรับการแกป้ ญั หาสงั คมทีเ่ ป็นประโยชน์แก่ตวั เองมากทีส่ ุด

๘. เป็นสภาวการณ์ที่ซับซ้อน เป็นเรื่องผู้คนพากันห่วงใย และนามาวิพากษ์วิจารณ์
อภิปราย และการแก้ไขปญั หานั้นตอ้ งอาศยั ความรว่ มมือจากบุคคลหลายฝา่ ยในสังคม

๙. เป็นสภาวการณ์ที่มีอยู่จริงและคนในสังคมน้ันกาหนดให้เป็นปัญหาสังคม อาจเป็น
ปัญหาทเี่ กย่ี วขอ้ งกับความต้องการขั้นมูลฐานของประชาชนในสงั คม

ลักษณะของปรากฏการณ์ทางสังคมท่ีจัดว่าเป็นปัญหาสังคม ยกตัวอย่างให้เห็นได้ เช่น
การค้าประเวณี ผู้คนในสังคมต่างก็เห็นวา่ เป็นพฤติกรรมท่ีเบ่ยี งเบนไปจากบรรทัดฐานของสังคมและมี
ผลกระทบกระเทือนไปถึงสังคมโดยส่วนรวม เช่น โรคภัยไข้เจ็บ ซ่ึงอาจจะติดต่อไปถึงผู้อื่นท่ีไม่ได้ไป
เก่ียวข้องกับโสเภณีโดยตรง ผลกระทบต่อชื่อเสียงของสังคมส่วนรวม เช่น ได้ช่ือว่าเป็นเมืองโสเภณี
ผลกระทบตอ่ สุขภาพอนามยั ของลกู หลาน เช่น กามโรค ร่างกายพิการ ผลกระทบตอ่ สังคม เชน่ ความ
ไม่เป็นธรรมในสังคม การหลอกลวง การรีดไถ คอร์รัปชั่น การบังคบั ให้ต้องขายตัว ซ่ึงมีลักษณะคล้าย
ทาส สภาวะดังกล่าวเปน็ ส่ิงท่ีผคู้ นจานวนมากไม่พงึ ปรารถนาให้เกิดหรือมีขึ้นในสงั คม ตา่ งกห็ าวธิ ีการ
ต่างๆ มาปรับปรุงแก้ไข โดยที่เห็นว่าปัญหานี้ สามารถท่ีจะแก้ไขให้หมดไป หรือให้บรรเทาลงได้ ถ้า
หลายๆ ฝ่ายได้ช่วยกัน เช่น มีการร่วมมือกันท้ังในฝ่ายของประชาชน องค์การอาสาสมัครต่างๆ

๓๗

องค์การของรัฐบาล เจ้าหน้าที่ของรัฐบาลตลอดจนตัวโสเภณีและลูกค้าท่ีไปหาความสาราญจากหญิง
โสเภณีเลิกเทย่ี วเลิกอาชีพน้ีเปลย่ี นไปประกอบอาชพี ใหม่

โกศล วงศ์สวรรค์ และสถิต วงศ์สวรรค์ ได้กล่าวว่า ปัญหาสังคม มีลักษณะสาคัญๆ๑๔
ดงั น้ี

๑. ปัญหาสังคมเป็นสภาวการณ์ท่ีสมาชิกของสังคมไม่พึงปรารถนา หรือเห็นว้าจะเป็น
อันตรายต่อสมาชิกถ้าปล่อยท้ิงไว้อย่างน้ัน เป็นสิ่งที่คนส่วนใหญ่พิจารณาเห็นว่าเป็นสภาวะที่ไม่
ตอ้ งการให้ปรากฏ ไม่อยากให้มี

๒. เป็นสภาวการณ์อย่างหน่ึงอ่างใด ที่ไม่สอดคล้องกับค่านิยมของคนจานวนมากจนเป็น
เหตุให้เขาตกลงใจท่ีจะกระทาการแก้ไขสถานการณ์น้ัน เป็นสภาการณ์ซึ่งคนจานวนมากพอสมควร
เห็นว่าเบี่ยงเบนไปจากบรรทัดฐานของสังคม บางประการท่ีพวกเขายึดม่ัน สภาวการณ์ที่เกิดขึ้นน้ันไม่
เป็นท่ีน่าปรารถนาของคนส่วนใหญ่ เพราะอาจมีผลกระทบกระเทือนต่อสวัสดิภาพหรือชีวิตความ
เปน็ อยขู่ องประชาชน

๓. ปัญหาสังคม เป็นสภาวการณ์ที่มีผลกระทบกระเทือนต่อคนจานวนมาก หรือเป็น
สภาวการณท์ เ่ี กดิ ขนึ้ ในขนาดมากพอท่จี ะกระตุน้ คนจานวนมากให้เกิดความร้สู กึ เดือดร้อน

สภาวการณ์นั้นจะต้องกระทบกระเทือนบุคคลจานวนหน่ึง ซ่ึงมากพอสมควร ปกติสัตว์
เลี้ยงท่ีใครเลี้ยงก็ตาม แม้จะดุร้ายเพียงไร ก็จะไม่เป็นปัญหาสังคม เว้นแต่จะก่อความเดือดรอ้ นกับคน
หมู่มาก และมากขนาดถึงจะเป็นปัญหาสังคม ซึ่งเป็นตัวเลขที่แน่นอนพอท่ีจะชี้ลงไป แต่ถ้า
สภาวการณ์น้ันมีผลทาให้คนกลุ่มหน่ึงเร่ิมต้ังข้อสังเกต เขียนหรือทักท้วงถึงก็ถือได้ว่าเป็นปัญหาสังคม
และวิธีหน่ึงพอจะวัดได้ว่าสภาวการณ์นั้น กระทบกระเทือนส่วนรวมแค่ไหน ซ่ึงก็ดูได้จากความถ่ีของ
บทความในนติ ยสารทีก่ ล่าวถึงในแต่ละปี ถา้ ออกมาในรูปบทความมากก็แสดงวา่ สภาวการณ์น้ันเป็นท่ี
น่าสนใจอย่างกว้างขวาง และกลายเป็นปัญหาสังคม สภาวการณ์ที่มีการละเมิดระเบียบสังคมท่ีมีอยู่
และการละเมิดนี้กวา้ งขวางจนสงั คมส่วนใหญไ่ ม่สามารถควบคุมปราบปรามไดท้ ันทที ุกครั้งที่มีผลู้ ะเมิด
เช่นนี้ขึ้น การลักขโมยก็ไม่ถึงกับทาให้ระเบียบสังคมโดยท่ัวไปต้องเสียหาย และไม่มีใครรู้สึกว่าเป็น
ปัญหาของสังคม แต่ถ้าการลักขโมยมีแพร่หลายขึ้น และเลยเถิดไปจนเป็นการชิงทรัพย์ ปล้นระดมฆ่า
เจ้าทรัพย์ทุกแห่งหน และเจ้าหน้าท่ีซ่ึงสังคมมอบหมายอานาจหน้าท่ีไว้ให้คอยควบคุมปราบปรามผู้
ละเมิดระเบียบสังคมเหล่านี้ไม่สามารถควบคุมปราบปรามได้สาเร็จ ความวุ่นวายที่เกิดจากการลัก
ขโมยปลน้ สะดมนี้เปน็ ทีร่ ู้สกึ อึดอดั ใจของคนส่วนใหญข่ องสงั คมก็กลายเป็นปัญหาสังคม

๔. เป็นสภาวการณ์ท่ีสังคมเห็นว่า สามารถจะปรับปรุงและแก้ไขให้หมดไป หรือบรรเทา
ลงไดเ้ ปน็ สภาวการณ์ที่จะต้องกระทาการบางสิ่งบางอย่างเพ่อื แกไ้ ข จะปล่อยท้ิงไว้ไม่ได้ เกิดความรสู้ ึก
ว่าควรจะได้มีการปรับปรุงแก้ไข เมื่อบุคคลจานวนมากในสังคมรู้สึกว่าควรจะมีการกระทาบางอย่าง
เพ่ือท่ีจะได้มีการแก้ไขปรับปรุงให้ดีขึ้น เช่น ปัญหาการทาลายส่ิงแวดล้อม และทรัพยากรธรรมชาติ
ปัจจุบันคนมีความรูส้ ึกต่นื ตัวกนั มากท่ีจะดาเนินการแกไ้ ขปรับปรงุ ให้มีการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
ที่มีอยู่ให้ใช้ประโยชน์ได้อย่างสูงสุก เป็นความรู้สึกร่วมของคนในสังคมทั่วไป ต้ังแต่ระดับโลก

๑๔ โกศล วงศส์ วรรค์ และสถติ วงศส์ วรรค,์ ปญั หาสังคมไทย SOCHIAL PROBLEMS, หน้า ๒๓ –

๒๔.

๓๘

ระดับประเทศ จนถึงระดับชุมชนท้องถิ่น ว่าควรจะมีแก้ไขปรับปรุงจากผู้ที่เก่ียวข้อง ท้ังจากภาครัฐ
และภาคเอกชนตง้ั แต่ระดับนโยบายจนถึงระดบั เจ้าหน้าทผี่ ู้ปฏิบัติงาน เปน็ ตน้

๕. มีการร่วมกันในหมู่สมาชิกของสังคม ในอันท่ีจะขจัดแก้ไข ป้องกัน มีการแสดงออกใน
รูปของการกระทาร่วมกัน เมื่อมีปัญหาเกิดข้ึนในสังคมแล้ว สมาชิกส่วนใหญ่ของสังคมที่มีส่วนได้ส่วน
เสียกับปัญหาดังกล่าว ได้พากันแสดงความคิดเห็นเสนอแนะเลือกหาวิธีแก้ไข หรือการรวมกลุ่มเพ่ือ
กาจัดปัญหาดังกล่าว เช่น ผู้ผลิตสินค้าเพ่ือบริโภคไม่ได้ดาเนินการตามมาตรฐานที่ได้แจ้งหรือโฆษณา
ไว้ หรอื มีการต้ังช่ือคล้ายสินค้าที่ไดม้ าตรฐาน เป็นการล่อลวงให้ผู้ซ้ือเข้าใจผิด หรอื ปลอมปนวัตถุดิบท่ี
ถูกกว่าแต่ลักษณะคล้ายกันในสินค้า ซึ่งอาจจะกระทาเพื่อลดต้นทุนการผลิตทาให้ได้กาไรมากข้ึน ถือ
ได้ว่าผู้ผลิตเอาเปรียบผู้บริโภค ดังนั้น สมาชิกในสังคมส่วนใหญ่ ซึ่งผู้บริโภคอาจตั้งชมผู้บริโภค โดยมี
วัตถุประสงค์ท่จี ะชี้แจงทาความเขา้ ใจให้สมาชิกในสังคมทราบถึงวิธีการเลือกซื้อสินค้าที่ถูกต้องร่วมมือ
กนั สอดส่องตรวจตราคณุ ภาพของสนิ คา้ เพ่อื ป้องกนั การเอารัดเอาเปรียบของผูผ้ ลติ

๖. เป็นสภาวการณ์ท่ีซับซ้อน เป็นเร่ืองท่ีผู้คนพากันห่วงใยและนามาวิพากษ์วิจารณ์
อภิปรายกัน และการแก้ไขนั้นต้องอาศัยความร่วมมอื จากบุคคลหลายฝ่ายในสงั คมช่วยกันถา้ เป็นผ้ใู ดผู้
หนง่ึ เช่น พ่อคา้ ขายของส่งเสียงรบกวนชาวบ้าน เพียงตารวจจับกมุ พอ่ ค้าปลงโทษตามกฎหมายกห็ มด
ปญั หา ลักษณะเช่นนไี้ มเ่ ปน็ ปัญหาสงั คม

๗. เปน็ สภาวการณ์ท่มี ีอย่จู รงิ ในสงั คม และคนในสังคมนนั้ กาหนดให้เป็นปัญหาสังคม อาจ
เป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับความต้องการข้ันมูลฐานของประชาชนในสังคมไทย คือ ปัจจัย ๔ อาหาร ที่
อยู่อาศัย เครือ่ งนุ่งห่ม ยารกั ษาโรค ถ้าประชาชนสว่ นใหญ่ขาดรายได้ ขาดแคลนส่งิ ปรารถนาเบื้องต้น
เกิดปัญหาชุมชนแออดั ปัญหาอาชญากรรมก็ถือวา่ เกิด อาจเป็นปัญหาท่ีเกี่ยวพันกับกบฏ ระเบียบของ
สังคม ในกรณีที่มีการละเมิด จนหมดความหมาย หันไปใช้กฎหมู่แทน ลักษณะเช่นนี้ถือว่าเป็น
“ปญั หาสังคม”

๓.๕ ขอบเขตของปัญหาสังคม

นักสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ให้แนวพิจารณาว่าสถานการณ์นั้นอยู่ในขอบเขต
ปญั หาสังคมหรือไม่ มีหลกั เกณฑ์๑๕ ดงั น้ี

๓.๔.๑ ค่านิยมความเสมอภาคทางสังคม (Social equality) ย่อมแตกตา่ งกันไปในแต่
ละสังคม เช่น อคติต่อสีผิว เช้ือชาติ เผ่าชน ลัทธิศาสนา และลัทธิการเมือง ต่อชนกลุ่มน้อยใน
สังคม ในสหรัฐอเมริกา คนผวิ ขาวเหยยี ดพวกผิวดา เป็นตน้

๓.๔.๒ การยกย่องคณุ ค่าและศักดิศ์ รขี องความเป็นมนุษย์ (Value and dignity) ความ
ไมย่ ตุ ิธรรมในสังคมและการเสยี ดุลของสังคมมาจากพลงั บางประการ อาจมาจากความเชื่อสมยั โบราณ
และการคิดค้นพบเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น คนบางกลุ่มได้ลดคุณค่าของผู้อื่น เพราะ ยึดถือวัตถุนิยมจึง

๑๕ เรอื่ งเดยี วกนั , หน้า ๓๓ – ๓๔.

๓๙

เกิดปัญหาสังคมบางประการ เช่น การทาลายสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง ความยากจนยากไร้ของผู้ไม่มี
ทุน ผลผลิตเกษตรถกู กดราคา

๓.๔.๓ ความเช่ือบางประการ (Social beliefs) ความนิยม – ความสนใจไม่คงที่
เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอจึงเกิดปัญหาช่องว่างทางวัฒนธรรม ปรับตัวเข้ากับกลุ่มไม่ได้ เกิดปัญหาวัยรุ่น
อัตวนิ ิบาตกรรม ผ้สู งู อายถุ กู ทอดท้งิ เปน็ ต้น

๓.๔.๔ การส่งเสริมมนุษยธรรม (Humanity) ของสังคม ให้บุคคลมีจิตสานึกในความ
ยุติธรรม ไม่เบียดเปรียบเอารัดเอาเปรียบกัน มีความรับผิดชอบเสียสละ แต่ดูเหมือนมนุษยธรรมใน
สังคมจะเป็นปฏิภาคส่วนกลับกับปัญหาสังคม เช่น ผู้คนพอใจต่อการแสวงหาความสุขจากวัตถุเพ่ือ
อานวยความสะดวก จึงสามารถก่ออาชญากรรม ทาร้ายชีวิตมนุษย์เพ่ือให้ได้มาซ่ึงความสุขสบายใน
สงั คมวตั ถุนิยม

๓.๖ ทฤษฎเี ก่ียวกับปัญหาสงั คม

นักสังคมวิทยาได้พยายามหาแนวทางศึกษาปัญหาสังคมและได้พยายามสร้างทฤษฎีท่ีจะ
ใช้อธิบายพฤติกรรมทางสังคมของมนุษย์ ข้อสรุปของทฤษฎีหรือกฎเกณฑ์ต่างๆ ได้มาจากการสังเกต
พฤติกรรมท่ีเกิดขึ้นซ้าซากหลายๆ ครั้ง ตัวอย่างเช่น เยาวชนท่ีทาผิดกฎหมาย ติดยาเสพติด ลักเล็ก
ขโมยน้อย มักจะเป็นเด็กที่มากจากครอบครัวที่มีปัญหา ฐานะค่อนข้างยากจน นักสังคมวิทยาจะได้
ขอ้ สรุปเช่นนี้จากการศึกษา วิจัย ทดสอบ ข้อสรุปดงั กล่าวในสถานกานที่ต่างๆ เมื่อทาการทดสอบจน
เป็นที่แน่ใจแล้ว นักสังคมวทิ ยากจ็ ะไดพ้ ยายามเสนอแนะกฎเกณฑ์และหลักการท่ัวไปเพ่ือนามาอธบิ าย
ให้เข้าใจถึงปัจจัยที่ก่อให้เกิดปัญหาสังคมได้ลึกซ้ึงย่ิงขึ้นเพื่อประโยชน์ในการหาแนวทางป้องกันและ
แก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถึงแม้ว่าจะไม่อาจตั้งเป็นเกณฑ์แน่นอนเหมือนทางด้าน
วทิ ยาศาสตร์ แตก่ พ็ ยายามให้แนวทางสาคญั ของการศึกษาปัญหาสงั คมข้ึนไว้

นักสังคมวิทยา พยายามท่ีจะเสนอแนะกฎเกณฑ์และหลักการท่ัวๆ ไปในการอธิบาย
สาเหตุของปัญหาสังคม และได้พยายามให้แนวทางสาคัญของการศึกษาสังคม ๕ ประการ เป็นการ
ชีใ้ ห้เห็นถงึ ปัญหาสังคมว่าเกิดจากเหตใุ ดบ้าง และควรจะแก้ไขอย่างไร โดยแต่ละทฤษฎีได้เนน้ ลักษณะ
สาคัญบางประการนี้แตกตา่ งกันออกไป ทัง้ ในแง่สาเหตขุ องปัญหาสังคมและวธิ กี ารแกไ้ ข๑๖ ดงั นี้

๓.๖.๑ ทฤษฎีเกี่ยวกับพยาธิวิทยาทางสังคม(The Social Pathology Perspective)
สมมติฐานในระยะเร่ิมแรกของนกั สังคมวิทยา เป็นการเปรียบเทียบหรือการศึกษาหาความรจู้ ากสิง่ ที่มี
ชวี ิต โดยถือว่าสังคมมนุษยเ์ ปรียบเสมือนร่างกายมนุษย์ ซึ่งเป็นส่ิงท่ีมีชีวิตขนาดใหญ่ ประกอบด้วยส่ิง
ต่างๆ ที่มีความเกี่ยวข้องและต้องทาหน้าท่ีร่วมกันเพ่ือเกิดดุลยภาพ ด้วยเหตุน้ีปัญหาสังคมที่เกิดจาก
ปัจเจกชนก็ดี หรือสถาบันทางสังคมก็ดี ก็เป็นเร่ืองของการไม่สามารถจะทาหน้าท่ีให้ทั นกับการ
เปลี่ยนแปลงของสภาวการณ์ อวยั วะทางสังคมจึงต้องหยุดชะงกั หรือมีอาการเจ็บป่วยขึ้น ฉะนั้น เมื่อ
ส่วนใดของสังคม “ป่วย” จะเรียกว่า พยาธิทางสังคม เช่น สมัยท่ีชาวยุโรปอพยพเข้าสู่อเมริกา ไม่
สามารถจะปรับตัวเข้ากับชีวิตในเมืองของอเมริกาได้ นับเป็นความป่วยทางสังคม สภาพในสังคม
โดยทั่วไปจึงพลอยเสื่อมโทรมไปด้วย พน้ื ฐานของความป่วยไข้ทางสังคมน้ัน ถ้าจะวิเคราะห์ให้ลกึ ซ้ึงลง

๑๖ สพุ ตั รา สภุ าพ, ปัญหาสังคม พิมพค์ รง้ั ท่ี ๑๙, หนา้ ๗ – ๑๐.

๔๐

ไปก็ได้แก่ แนวความคิดในเรื่องศีลธรรม เพราะปัญหาสังคมก็คือ การละเมิดกฎเกณฑ์ทางศีลธรรมอัน
เปน็ หลกั สาคัญของความเปน็ ระเบียบและความเจรญิ กา้ วหนา้ ทางสงั คม

นักพยาธิทางสังคมในระยะแรก มุ่งศึกษาปัจเจกชนเป็นต้นเหตุของปัญหาสังคม ซ่ึงได้แก่
บุคคลท่ีไม่อาจจะเรียนรู้ระเบียบของสังคมได้ถูกต้อง หรือผู้ที่ต่อต้านคุณค่าทางสังคม หรือ/และความ
เชือ่ ทางสังคม เนื่องจากบุคคลน้นั มขี อ้ บกพร่องในตัวเอง ส่วนนักพยาธทิ างสังคมรนุ่ ใหม่ใหค้ วามสาคัญ
ในเรื่องความบกพร่องของสังคม และสถาบันสังคมมากกว่าตัวบุคคล โดยถือว่าสังคมท่ีไร้ศีลธรรมจะ
ทาให้มีบุคคลท่ไี ม่มศี ีลธรรม และบุคคลเหลา่ นจ้ี ะเป็นต้นเหตุของปญั หาสังคม

นกั พยาธิทางสังคมในยุคเรมิ่ แรก จงึ ได้มีการเสนอโครงการบางอยา่ งเพือ่ ปอ้ งกันมิให้ความ
บกพร่องดังกล่าว ถ่ายทอดไปยังเยาวชนรุ่นหลัง แต่นักพยาธิทางสังคมรุ่นใหม่ถือว่า การแก้ปัญหา
จะตอ้ งใหก้ ารศึกษาแกบ่ คุ คลในสังคมเพอื่ จะได้มคี ุณธรรมมากขนึ้

๓.๖.๒ ทฤษฎีการเสียระเบียบ หรือความไม่เป็นระเบียบในสังคม (The Social
Disorganization Perspective) ภายหลังสงครามโลกคร้ังที่ ๑ มีการอพยพสู่ตัวเมือง การมีเมือง
เกิดข้ึน และมีการอุตสาหกรรม สิ่งเหล่าน้ีได้ทวีจานวนมากขึ้น โดยคนอพยพเข้ามาใหม่ไม่สามารถจะ
ปรับตัวเข้ากับชีวิตในท่ีผิดแผกจากที่ตนเคยประสบ เช่น เมืองจะเป็นที่ท่ีมีประชากรหลายจาพวก
ทฤษฎีทางพยาธิทางสังคมไม่อาจจะอธิบายถึงสาเหตุของปัญหาสังคมน้ีได้ และได้สร้างแนวความคิด
ใหม่ จนในที่สุดกลายเป็นแนวความคิดที่เป็นทฤษฎีการเสียระเบียบของสังคม หรือความไม่เป็น
ระเบยี บในสงั คม ทฤษฎีนถี้ ือว่าสังคมได้เกิดจากการรวมตวั อย่างมีระเบียบกฎเกณฑ์แนน่ อนท่ีคาดหวัง
ให้สมาชิกต้องปฏิบัติ การเสียระเบียบทางสังคมเกิดจากกฎเกณฑ์เหล่าน้ีล้มเหลว ทาให้ไม่มีผู้ปฏิบัติ
ตามหรือละเมิดดังกล่าว ความล้มเหลวของกฎเกณฑ์การละเมิดดังกล่าวอาจจะมีสาเหตุ ๓ ประการ
คือ

(๑) การใชก้ ฎเกณฑ์ เป็นภาวะทคี่ นเราไมม่ กี ฎเกณฑ์คอยบอกว่าจะต้องทาอยา่ งไร
(๒) ความขัดแย้งของกฎเกณฑ์ เป็นภาวะที่คนเรารู้สึกถกู บีบหรือถูกบังคับให้กระทา
ตามบรรทัดฐานท่ตี รงกันข้ามหรอื ขัดแย้งกัน
(๓) การฝ่าฝืน เป็นภาวะที่คนเรารู้สึกว่า การเช่ือกฎเกณฑ์ที่กาหนดไว้ก็ไม่ได้ทาให้
ตนได้รับประโยชน์หรือได้รับโทษอะไร เช่น การเปล่ียนแปลงทางสังคมอย่างรวดเร็ว อาจจะทาให้
มาตรฐานของความประพฤติที่เคยปฏิบัติมาจนเป็นประเพณี กลายเป็นสิ่งท่ีล้าสมัย และสังคมก็ไม่มี
มาตรฐานใหมใ่ หส้ มาชกิ ปฏบิ ตั ิ
บุคคลท่ีรับผลจากการเสียระเบียบทางสังคมน้ี อาจจะทาให้กลายเป็นไม่สนใจจะทาตาม
ระเบียบ เช่น ติดยาเสพติด หรือประกอบอาชญากรรม และสังคมเองก็จะรู้สึกได้รับแรงกระทบจาก
ความไร้ระเบียบนั้น อาจจะแก้ไขด้วยการเปลี่ยนกฎเกณฑ์บางอย่าง หรืออาจะรักษากฎเกณฑ์ที่
ขดั แยง้ น้ันไว้ หรอื ไม่ก็เลิกกฎเกณฑด์ งั กล่าวเสยี
๓.๖.๓. ทฤษฎีเก่ียวกับความขัดแย้งในคุณค่า (The Value Conflict Perspective)
ตามทฤษฎีน้ีถือว่า พฤติกรรมที่เบี่ยงเบนของบุคคลจากกฎเกณฑ์ท่ีได้กาหนดไว้นั้น ไม่จาเป็นต้องเกิด
จากการท่ีบุคคลนั้นบกพร่อง หรือกฎเกณฑ์ของสังคมนั้นบกพร่อง แต่เป็นเพียงสภาวการณ์ท่ีไม่
สอดคล้องกับคุณค่าท่ีกลุ่มยึดถือ สภาวการณ์น้ีเองก่อให้เกิดปัญหา ซึ่งก็เป็นปกติวิสัยในสังคมที่
ซบั ซอ้ นที่มีกลมุ่ ตา่ งๆ กนั มากมาย ซึง่ มีคุณค่าหรอื ผลประโยชน์แตกต่างกันออกไป

๔๑

ส่วนปัญหาสงั คมในกรณีนี้ จะเกิดข้ึนกต็ ่อเม่อื กลมุ่ ต่างๆ นาส่ิงทยี่ ึดถือต่างกันมาขัดแยง้ กัน
เช่น เจ้าของบ้านก็อยากได้ค่าเช่าบ้านในราคาสูง ผู้เช่าก็อยากเสียค่าเช่าบ้านในราคาต่าท่ีสุดเท่าท่ีจะ
เป็นไปได้ ถ้าเจ้าของบ้านพยายามขึ้นค่าเช่าให้สูง การขัดแย้งย่อมเกิดข้ึนแน่ การขัดแย้งอาจจะมีผล
นานาประการ ซงึ่ ก็แล้วแต่ว่าจะขัดแยง้ มากน้อยเพยี งไร หากพอพดู กันได้กจ็ ะประนีประนอมกันได้ ถ้า
รุนแรงก็คงจะประนีประนอมกันยาก เพราะต่างฝ่ายมุ่งจะเอาชนะอีกฝ่ายหนึ่ง การแก้ไขความขัดแย้ง
อาจจะดาเนินไปได้ ๓ วิธี คือ การเห็นพ้องต้องกัน การต่อรอง หรือการใช้อานาจ คือทาตามที่ตน
เห็นสมควร ไมว่ า่ ฝา่ ยหน่งึ ฝา่ ยใดจะพอใจหรอื ไม่

๓ .๖ .๔ . ท ฤ ษ ฎี พ ฤ ติ ก ร ร ม เบ่ี ย ง เบ น (The Deviant Behavior Perspective)
แนวความคิดของทฤษฎีน้ีเชื่อวา่ พฤติกรรมหรือสภาวการณ์ใดๆ ทีม่ ีการเบ่ียงเบนจากบรรทัดฐานของ
สังคมน้ัน อาจจะเกิดจากวิธกี ารอันชอบธรรมทีใ่ ชก้ ันอยู่ มีลักษณะเป็นอปุ สรรคต่อเป้าหมายของบุคคล
หรือกลุ่มบุคคล เช่น เด็กยากจนโอกาสที่จะได้รับการว่าจ้างในการทางานน้อยเพราะด้อยการศึกษา
ด้อยทักษะ เป็นต้น พวกเหล่านี้อาจจะมารวมตัวกันเป็นกลุ่มวัฒนธรรมย่อยของตน ยอมทาตาม
กฎเกณฑ์ของกลุ่มตนเพราะอยากเป็นพวกเดียวกับกลุ่ม เช่น เสพยาเสพติด ลักขโมย เป็นต้น แต่ก็
ไม่ได้หมายความว่าคนที่มีโอกาสจากัดทุกคนในการประกอบอาชีพจะต้องกลายเป็นผู้ทาผิดเสมอไป
เพราะจะต้องมีแรงจูงใจบางอย่าง เช่น หากกลุ่มยกย่องคนทาผิดหรือเพ่ือนเป็นพวกมิจฉาชีพ บุคคล
นน้ั ก็มบี รรยากาศทจ่ี งู ใจไมน่ ้อยใหก้ ระทาผิด

๓.๕.๕ ทฤษฎีตีตรา (The labeling Perspective) ทฤษฎีนี้เช่ือว่า การกระทาใดจะ
เป็นการเบี่ยงเบนหรือไม่เพียงไร ข้ึนอยู่กับสังคมท่ีบุคคลน้ันเป็นสมาชิกอยู่ เช่น สังคมจะระบุว่าการ
กระทานั้นๆ เบี่ยงเบนหรือไม่เบ่ียงเบน ผิดหรือถูก ซ่ึงเป็นเร่ืองของความรู้สึกของสังคมต่อพฤติกรรม
บางอย่าง หรือสภาพการณบ์ างอยา่ งหากมีสภาวการณ์เชน่ นี้เกิดขึ้น จะทาให้ ประการแรก กลุ่มบุคคล
หนึ่งจะมีอานาจเหนือหรือได้เปรียบกลุ่มอ่ืน โอกาสของคนกลุ่มนั้นจึงมีน้อย จนในที่สุดอาจจะถูกกีด
กันหรือถูกลงโทษ ประการที่สอง บุคคลท่ีถูกตีตราอาจจะยอมรับว่าการกระทาน้ันๆ เป็นความผิด ซ่ึง
อาจจะทาให้บคุ คลนน้ั อยากเปน็ คนไมด่ ีโดยสมบรู ณ์แบบใหห้ มดเรือ่ งหมดราวไป เช่น คนท่ีถกู ตราหน้า
ว่าเป็นติดยาเสพติด ก็อาจจะใช้ชีวิตแบบคนติดยาอย่างเต็มท่ีด้วยการไม่ทางาน ใช้ชีวิตสบายๆ ไม่
อยากรักษาตัว ทาตามอาเภอใจ รวมทั้งประกอบอาชญากรรม เช่น ลักเล็กขโมยน้อย จี้ ปล้น ฆา่ เป็น
ตน้

๓.๗ ความเข้าใจผดิ เกี่ยวกับปญั หาสังคม

บุคคลไมน่ อ้ ยไม่ค่อยมีความรเู้ ร่ืองปญั หาสงั คม และมักจะรู้อยา่ งผิดๆ๑๗ ดงั ตอ่ ไปนี้
๑. เป็นสิ่งท่ีประชาชนเห็นว่าเป็นปัญหา เป็นการมองผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นมากกว่าพูดถึง
สภาวะว่าทาไมเป็นอย่างน้ัน เท่ากบั คนมองผลเป็นปัญหาแทนท่ีจะมองสภาวะเป็นปัญหา เชน่ ปัญหา
คนว่างงานเป็นปัญหา แต่ในสายตาของคนบางคน เช่น นายจ้างอาจจะเห็นว่ามีว่างงานไว้บ้างก็ดี
คนงานท่ีหัวแข็งจะได้ไม่กล้าแข็งข้อ หรือปัญหาการขาดแคลนที่อยู่อาศัย พวก นักจัดสรรหมู่บ้าน
อาจจะเห็นว่าดี เขาจะได้ขายบ้านของเขาได้ เป็นต้น มนุษย์เราจึงมักมองอะไรไม่เหมือนกัน แม้จะมี

๑๗ สุพัตรา สภุ าพ, ปญั หาสงั คม พิมพ์คร้ังที่ ๑๙, หน้า ๕ – ๗.

๔๒

คนจานวนมากเห็นปญั หา แตใ่ นขณะเดียวกันคนอกี จานวนหนึ่งอาจจะไม่เห็นด้วย จึงเป็นข้อขดั แยง้ ไม่
มที สี่ นิ้ สุด

๒. ปัญหาสังคมเป็นสิ่งท่ีเป็นไปตามธรรมชาติเล่ียงไม่ได้ เป็นการมองปัญหาสังคมในแง่
ของกฎธรรมชาติ ท่วี า่ คนแขง็ แรงท่ีสุดเท่าน้ันจึงอยู่รอด คนอ่อนแอจะต้องพ่ายแพไ้ ป ซึ่งกฎของการอยู่
รอดเหมาะท่ีจะใช้กับสัตว์ แต่ไม่เหมาะที่จะใช้กับมนุษย์ เพราะคนท่ีแข็งแรงอาจจะมีอานาจน้อยกว่า
คนอ่อนแอ ประเทศท่ีเจริญใหญ่โตไม่จาเป็นจะต้องชนะหรือมีอานาจเหนือประเทศที่เล็กกว่าเสมอไป
เช่น สหรัฐอเมริกากับเวียดนาม ท่ีเป็นเช่นน้ีเพราะมนุษย์มีเร่ืองวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี
สถาบัน ฯลฯ เข้ามาเก่ียวข้องในกระบวนการอยู่รอด การใช้กฎธรรมชาติจึงใช้ได้ยากหรือใช้ไม่ได้เลย
เพราะการอยู่รอดในปัจจุบัน คือ การทาตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม และยิ่งมนุษย์ฉลาดมากเท่าไร
กระบวนการอยูร่ อดจะสับสนมากขน้ึ เทา่ น้นั

๓. ปัญหาสังคมเป็นเร่ืองของความผิดปกติ อันที่จริงเป็นเรื่องธรรมดาสาหรับสังคมต่างๆ
เช่น เร่ืองชุมชนแออัด เป็นของธรรมดาหรือเป็นผลิตผลของการเป็นเมืองที่ต้องมีศูนย์การค้า
สวนสาธารณะ มกี ารแยง่ กันทามาหากิน หรือการติดยาเสพตดิ พษิ สรุ าเรอ้ื รงั โรคจิต เป็นของธรรมดา
ในสังคมที่มีความกดดัน แข่งขัน เห็นแก่ตัว ขาดความมั่นคง ความหวังสูง มนุษย์จึงเกิดความกระวน
กระวาย หาทางออกด้วยวิธีการท่ีกล่าวมาไม่มากก็น้อย จะเห็นได้ว่าสังคมย่ิงซับซ้อน อัตราการหย่า
รา้ งย่งิ สูงขึน้ เทา่ นนั้

ปัญหาสังคมจึงเป็นเรื่องของเหตุผลพอจะเข้าใจได้ เป็นผลิตผลท่ีหลีกเลี่ยงไม่ได้ของ
ค่านยิ มและการปฏบิ ตั ใิ นสังคมปจั จบุ นั บางทเี ราแมจ้ ะเข้าใจ แต่กอ็ าจจะทาอะไรไม่ได้

๔. ปัญหาสังคมเกิดจากคนเลว เป็นการเข้าใจผิดอย่างมาก หากคนเรามองปัญหาในแง่
ของความดีกับความเลว เป็นการมองอาการหรือผลมากกว่ามองสาเหตุ เช่น คนมันเลวถึงได้เป็นโจร
คนมันไม่ดีถึงได้สอบตก เป็นต้น ถ้าเป็นนิทาน พระเอกก็ต้องชนะผู้ร้าย จึงทาให้คนเรามองแต่ความดี
กับความเลว ซ่ึงเป็นผลควรดูสาเหตุมากกว่าและแก้ที่สาเหตุ อย่าสรุปท่ีผล เช่น คนเมาเหล้าและตก
งาน บางคนอาจจะคิดว่าเพราะด่ืมเหล้าถึงได้ตกงาน แทนที่จะคิดว่าเพราะเขาว่างงานเขาถึงได้ด่ืม
เหลา้

นอกจากน้ี ปัญหาอาจจะไม่เกิดกับคนเลวเสมอไป ปัญหาอาจจะเกิดขึ้นโดยไมต่ ั้งใจ และผู้
ท่ีมีส่วนก็ไม่จาเป็นจะต้องเป็นคนเลว เช่น ปัญหาชุมชนแออัดของไทย บางครั้งเป็นเพราะผู้ที่ดูแล
รักษาเห็นว่าที่ดินยังไม่ได้ใช้ จึงให้คนยากจนปลูกอาศัยไปก่อน พอจานวนคนมากขึ้น จึงกลายเป็น
ชมุ ชนแออัด ซ่งึ ไมไ่ ด้ตง้ั ใจให้เกดิ แหลง่ เสอ่ื มโทรมขึน้ มา เปน็ ตน้

๕. ปัญหาเกิดจากการพูดถึง ปัญหาสังคมเป็นเรื่องจริง ไม่ใช่เกิดจากการพูดลอยๆ เช่น
ปัญหาความยากจน โสเภณี มลพษิ เป็นต้น การพดู เรือ่ ยๆ มกั จะเกิดผลเสียมากกวา่ ผลดี เพราะคนเรา
มกั จะชอบพูดอะไรเกนิ ความเปน็ จริง ทาให้เกดิ ความตนื่ เต้น

ปกตมิ นุษย์มีสัญชาตญาณที่จะสนใจเรื่องบันเทิงมากกว่าปัญหาสังคม หรือความยากแค้น
ต่างๆ และพูดลอยๆ ให้ใครเชื่อได้น้ันยากมาก นอกจากปัญหาน้ันจะกระทบกระเทือนบุคคลอย่าง
จริงจังหรือขัดความเชื่อ หรือค่านิยมของเขาหรือกลุ่ม เร่ืองน้ันจะกลายเป็นท่ีน่าสนใจของคนท่ัวไป
เพราะคนส่วนใหญไ่ ม่สนใจปัญหาสังคมเทา่ ไรนกั จงึ ไมอ่ ยากจะพูดอะไรท่ีไมเ่ กี่ยวกบั ตัว หรือบางคนไม่

๔๓

อยากพูดแม้รู้ว่าเป็นปัญหา ก็เพราะไม่อยากให้มีการเปล่ียนแปลง ไม่อยากให้มีการแก้ปัญหา เพราะ
ตนไดร้ บั ประโยชน์อยู่แล้วจงึ วางเฉย

๖. ทุกคนอยากให้มีการแก้ปัญหา ซึ่งเป็นไปไม่ได้ท่ีทุกคนจะเห็นเหมือนกัน จึงต้องดู
จานวนมากที่ต้องการให้แก้ปัญหา และปัญหาบางอย่างถ้าดูกันให้ถ่องแท้แล้ว จะมีคนจานวนน้อยที่
อยากให้แก้ปัญหา ไม่พอใจท่ีจะแก้ปัญหานั้น เพราะตนได้หรือเสียประโยชน์ เช่น ปัญหารถเมล์ไม่พอ
คนบางกลุ่มอยากให้มีสภาพเชน่ นี้ เพราะตนไดร้ ายได้โดยไมต่ อ้ งเสียภาษหี รอื ขอสมั ปทาน เปน็ ต้น

๗. ปัญหานั้นจะแก้ได้ด้วยตัวเอง ปัญหาส่วนใหญ่จะแก้ด้วยตัวเองไม่ได้ เป็นการให้รู้จัก
อดทน หรือเป็นข้ออ้างเพื่อจะได้ไม่ต้องทาอะไร หรือปลอบจิตตัวเอง เป็นการเชื่อว่าทุกสิ่งทุกอย่างจะ
ดีขึ้นเองโดยอัตโนมัติ ซ่ึงเป็นหลักท่ีนักวิทยาศาสตร์ไม่ยอมรับ เช่น ปัญหา การขาดดุลการค้าระหว่าง
ประเทศไทย หากไม่มีมาตรการแก้ไขดุลการค้าจะได้ดุลในตัวของ มันเองยาก เราก็คงจะเสียเปรียบ
มากข้ึน หรือปัญหาการจราจรติดขัด ถ้าปล่อยให้มกี ารแก้ด้วยตัวของมันเอง การจราจรกจ็ ะติดขัดมาก
ขึน้ หากไม่มีการสร้างถนนให้พอกับจานวนรถ

การคิดว่าปัญหาแก้ได้ด้วยตนเอง จึงเป็นการมองปัญหาแบบไม่ยอมรับ ความเป็นจริง
และไม่บังเกิดผล ซ่ึงหากบางปัญหาปล่อยไว้โดยไม่แก้ไข นานๆ อาจจะทาให้ปัญหาน้ันเลวร้ายลงได้
เช่น ปญั หาการเพิ่มประชากร มลพษิ อาชญากรรม เปน็ ตน้

๘. การได้ข้อเท็จจริงจะช่วยแก้ปัญหา การได้ข้อเท็จจริงไม่ได้เป็นหลักประกันว่าจะ
แกป้ ัญหาได้ ถึงแก้ได้กน็ อ้ ยมาก เพราะแตล่ ะคนยดึ ค่านยิ มคนละอยา่ ง และไดผ้ ลประโยชนต์ า่ งกนั
เราต้องยอมรับว่า ถ้าไม่มีข้อเท็จจริงก็แก้ปัญหาได้ยาก และข้อเท็จจริงจะมีความหมายต่อเม่ือมีการ
แปลให้ตรงกับค่านิยม ถ้าค่านิยมตรงกันเหมือนกัน ข้อเท็จจริงก็อาจจะช่วยแก้ปัญหาได้ แต่สังคมท่ีมี
ค่านยิ มต่างกนั หรือขดั กนั ขอ้ เท็จจริงกไ็ มม่ ีความหมาย

สรปุ แล้ว การได้ข้อเท็จจริงมีประโยชน์ เพราะช่วยให้เข้าใจปัญหาดีข้ึนหรือช่วยแก้ปัญหา
ได้ หากเรามีการรวบรวมข้อเท็จจริงอย่างระมัดระวัง เช่น การรวบรวมสถิติเก่ียวกับนักเรียนไม่มี
อาหารกลางวันกิน สถิติการให้ความช่วยเหลือของกรมประชาสงเคราะห์ สภาสงเคราะห์ ฯลฯ จะทา
ให้ไดข้ ้อเทจ็ จรงิ ว่า คนยากจนมไี ม่น้อยในกรุงเทพฯ และรัฐควรจะช่วยเหลอื อยา่ งไร เป็นต้น

๙. ปัญหาน้ันขจัดได้โดยไม่ต้องมีการเปลี่ยนแปลงสถาบันบางอย่าง ปัญหาสังคมจะไม่มี
การเปลีย่ นแปลงเป็นอันขาด ถ้าไม่มกี ารเปลี่ยนแปลงสถาบันสังคมบางอย่าง หรือมีการเปล่ียนในด้าน
การปฏิบัติ ถ้าเราเช่ือว่าการแก้ปัญหาไม่มีการเปลี่ยนแปลงสถาบัน ก็เสมือนกับว่าเราอยากไปเมือง
นอก แต่ไม่เคยออกนอกประเทศเลย อยากอ้วนแต่ไม่อยากกิน อยากมงี านทาแต่ไม่ยอมทางาน ฉะนั้น
การแก้ปัญหาจึงต้องมีการเปล่ียนแปลงสถาบัน เปล่ียนการปฏิบัติในปัจจุบัน เช่น การแก้ปัญหา
คอร์รัปชัน จะต้องแก้เรื่องค่านิยมเงินเดือน ฯลฯการแก้ปัญหาการว่างงานจะต้องแก้เร่ืองบรรยากาศ
ในการลงทุน การผลิตคนให้ตรงกับความต้องการของตลาด ฯลฯ การแก้ปัญหาความมกั ง่ายเห็นแก่ตัว
ต้องแกท้ ่ีสถาบันการศกึ ษา ครอบครัว เปน็ ตน้

เราต้องยอมรับว่า ไม่ใช่ทุกปัญหาจะแก้ไขได้ แต่มีมาตรการบางอย่างท่ีช่วยลดการกดดัน
ให้น้อยลง เพ่ือสนองความต้องการของสังคมให้มากข้ึน เช่น ปัญหานักเรียนเข้ามหาวิทยาลัยมาก แต่
มหาวทิ ยาลัยรบั ได้นอ้ ย ก็ช่วยด้วยการให้เปิดวทิ ยาลัยใหม่ หรือให้มีวทิ ยาลัยเอกชนเพ่ิมมากขึ้น มีภาค
สมทบ เปน็ ตน้

๔๔

๓.๘ บทสรปุ

ปัญหาสงั คมเป็นปรากฏการณ์ทางสงั คมท่เี กดิ ขนึ้ ในทกุ สังคม ไม่ว่าสงั คมนนั้ จะเปน็ สังคมที่
เจริญแล้ว หรือยังเป็นสังคมท่ีล้าหลังก็ตาม ปัญหาสังคมส่วนใหญ่ท่ีเกิดขึ้นเนื่องมาจากคนเป็นผู้ทาให้
มันเกิดขึ้นมา และเม่ือเกิดข้ึนมาแล้วก็ทาให้เกิดผลเสียหายแก่ทั้งสังคมและส่วนบุคคล ดังน้ัน จึงควร
ช่วยกันระวังป้องกันเพ่ือมิให้เกิดข้ึน แต่ถ้าเกิดขึ้นแล้วก็ต้องช่วยกันแก้ไข ในสังคมไทยปัญหาสังคมที่
เกิดขึ้นและมีผลกระทบต่อคนจานวนมาก ได้แก่ ปัญหาความยากจน ปัญหาอาชญากรรม ปัญหา
สุขภาพอนามัย ปัญหาการใช้อานาจโดยพลการ ข้าวยากหมากแพง เคร่ืองอุปโภคบริโภคราคาสูง
เศรษฐกิจตกต่า ผู้คนอดอยาก โจรผู้ร้ายชุกชุม เจ้าหน้าที่ราชการไม่อานวยความสะดวก โสเภณี การ
เพิ่มของประชากร แรงงานอพยพ ต่างชาติลอบเข้าเมือง ครอบครัวแตกแยก เยาวชนเกเร อันธพาล
นักการเมือง คอรัปช่ันและใช้อานาจทุจริตกอบโกย โกงกินบ้านเมือง ตารวจรังแกประชาชน ปัญหา
การว่างงาน ยาเสพย์ติด โรคเอดส์ อบายมุข หารหย่าร้าง ส่ิงแวดล้อมเป็นพิษ ปัญหาแงงานเด็ก ขาก
ทรัพยากรธรรมชาติ การจราจร ฯลฯ ปัญหาเหล่านี้เป็นปัญหาเร้ือรัง ควรจะได้รับการปรับปรุงแก้ไข
แนวทางการแก้ไขปัญหากว้างๆ ก็คือ ทังภาครัฐและประชาชนต้องให้ความสาคัญกับปัญหาและ
รว่ มมือช่วยกันแก้ไขปัญหานั้นๆ โดยการกาหนดปทัสถานของสังคมให้แน่ชัด การทาตวั เป็นแบบอย่าง
ท่ีดี การให้การศึกษาอบรม การให้เจ้าหน้าท่ีปฏิบัติงานอย่างเอาจริงเอาจัง และใช้กฎหมายอย่างมี
ประสทิ ธภิ าพ ถ้าปญั หาสังคมตา่ งๆ สามารถจะลดหรือขจดั ลงไปได้สังคมยอ่ มสันติสขุ

คาถามท้ายบท

๑. จงอธิบายความหมายและลักษณะของปญั หาสังคม
๒. ขอบเขตและการศกึ ษาปญั หาสงั คมมีอยา่ งไรบ้าง
๓. จงอธบิ ายทฤษฎีและความเขา้ ใจผิดเกย่ี วกับปัญหาสงั คม

๔๕

เอกสารอา้ งอิงประจาบท

โกศล วงศ์สวรรค์ และสถติ วงศ์สวรรค์. ปัญหาสังคมไทย SOCHIAL PROBLEMS. กรุงเทพมหานคร:
อมรการพิมพ์, ๒๕๔๓.

จรญั พรหมอยู.่ ความเข้าใจเกี่ยวกบั สังคมไทย. กรุงเทพมหานคร: สานักพิมพโ์ อเดยี น สโตร์,
๒๕๒๖.

จานงค์ อดวิ ัฒนสทิ ธิ์. การศึกษาเพอื่ พัฒนาประเทศ. กรุงเทพมหานคร: สานกั พิมพ์โอเดียน สโตร,์
๒๕๓๒.

จฑุ ารัตน์ เอื้ออานวย. อาชญากรรม. กรุงเทพมหานคร: สานักพมิ พจ์ ฬุ าลงกรณ์มหาวิทยาลยั ,
๒๕๕๑.

ณรงค์ เสง็ ประชา. สงั คมวิทยา. กรงุ เทพมหานคร: สานกั พิมพพ์ ทิ ักษ์อกั ษร, ๒๕๓๗.

๔๖

ธรี ภทั ร์ เสรรี งั สรรค์. ปญั หาสังคมเมืองไทยปัจจุบัน หน่วยที่ ๑ – ๖. พิมพ์ครงั้ ที่ ๑๐.
กรงุ เทพมหานคร: มหาวทิ ยาลยั สุโขทยั ธรรมาธิราช, ๒๕๔๐.

ประสาท หลักศิลา. ปัญหาสังคม. กรงุ เทพมหานคร: สานกั พิมพ์จฬุ าลงกรณ์มหาวทิ ยาลยั , ๒๕๑๑.
พัทยา สายหู. กลไกของสังคม. กรงุ เทพมหานคร: สานักพิมพจ์ ฬุ าลงกรณ์มหาวทิ ยาลยั , ๒๕๒๙.
สัญญา สญั ญาววิ ัฒน์. ทฤษฎีสังคมวิทยา: เนื้อหาและการใชป้ ระโยชนเ์ บอ้ื งต้น. พมิ พค์ รง้ั ที่ ๑๐.

กรุงเทพมหานคร: สานักพิมพ์จฬุ าลงกรณ์มหาวิทยาลยั , ๒๕๒๖.
________. หลักสังคมวิทยา. กรงุ เทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช, ๒๕๒๓.
สพุ ตั รา สุภาพ. ปญั หาสงั คม. พมิ พ์ครั้งที่ ๑๙. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช, ๒๕๔๖.
สุพิศวง ธรรมพันทา. มนษุ ยก์ บั สังคม. กรุงเทพมหานคร: สถาบันราชภัฏบ้านสมเดจ็ เจา้ พระยา,

๒๕๔๐.
ราชบณั ฑิตยสถาน. พจนานกุ รมศัพทส์ งั คมวทิ ยา อังกฤษ – ไทย ฉบบั ราชบัณฑติ ยสถาน.

กรุงเทพมหานคร: บริษทั รงุ่ ศลิ ปก์ ารพมิ พ์ จากดั , ๒๕๒๔.
อานนท์ อาภาภิรม. ปัญหาสังคม. กรุงเทพมหานคร: สานักพิมพโ์ อเดยี น สโตร,์ ๒๕๑๗.
James M. Henslin. Social Problems. New Jersey: Prentice Hall, Inc., 1990.
Jonathan H. Turner. The Sturcture of Sociologial Theory 4 ed. Chicago: The Dorsey,

1986.

๔๙

บทที่ ๔
สาเหตุและประเภทของปญั หาสังคม

วัตถปุ ระสงค์การเรียนประจาบท
เมอ่ื ได้ศึกษาเนื้อหาในบทแล้ว ผู้ศกึ ษาสามารถ
๑. บอกสาเหตุของปญั หาสังคมได้
๒. บอกหลกั สาคญั ในการศึกษาปัญหาสงั คมได้
๓. บอกประเภทของปัญหาสังคมได้
๔. บอกตัวอย่างของปญั หาสังคมได้
๕. บอกการวดั ความรุนแรงของปัญหาสงั คมได้

ขอบข่ายของเนือ้ หา
 ความนา
 สาเหตขุ องปัญหาสงั คม
 หลกั สาคัญในการศกึ ษาปญั หาสังคม
 ประเภทของปัญหาสงั คม
 ประเดน็ ปญั หาสงั คมท่สี าคญั
 จดุ อ่อน จุดแข็ง ของเยาวชนไทยในยุคโลกาภวิ ัตน์
 ปัญหาสังคมปจั จบุ นั ด้านต่างๆ
 การวดั ความรุนแรงของปัญหาสงั คมไทย

๔.๑ ความนา

ทุกสังคมย่อมต้องมีปัญหาไม่มากก็น้อย บางปัญหารุนแรงและเป็นอันตรายต่อสังคมมาก
เช่น นกั การเมืองผู้บรหิ ารประเทศกุมอานาจโกงกินบา้ นเมือง สูบเลือดเนื้อประชาชนโดยอาศยั อานาจ
หน้าท่ีสงคราม การแทรกซมึ ประชาชนอดอยาก ยาเสพย์ติด เอดส์ ตารวจรดี ไถรงั แกประชาชน ฯลฯ

๕๐

ในบางสังคมบางปัญหาก็เบาบางไม่เป็นอันตรายต่อสังคมมากนัก เช่น การติดบุหร่ี การลักเล็กขโมย
น้อย เป็นต้น ฉะน้ัน บุคคลทุกคนไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่นักศึกษานักเรียนควรให้ความสนใจ ในฐานะท่ี
ทุกคนต่างก็เป็นสมาชิกคนหนึ่งของสังคม มีส่วนที่จะได้รับคุณหรือโทษ ประโยชน์และพิษภัยด้วย จึง
ต้องมีหน้าท่ีรับผิดชอบสร้างสรรค์จรรโลงสังคมของตนเอง พึงควรศึกษาทาความเข้าใจว่าอะไรเป็น
สาเหตุใหป้ ัญหาเหล่านเี้ กิดขึ้น สภาพบางอย่างที่เป็นปัจจัยสนับสนุน ส่งเสริม เป็นตัวเร่งให้เกิดปัญหา
เหล่านั้น ลักษณะท่ีแท้จริงโดยทั่วไปเป็นอย่างไร มีแนวโน้มอย่างไร มีวถิ ีทางป้องกันแก้ไขยับย้ังให้เบา
บางลงหรอื หมดส้ินไปไดอ้ ยา่ งไร

ปัจจุบันสังคมไทยได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมาก เพราะผลเกิดจากความเจริญของระบบ
อุตสาหกรรม พาณิชยกรรมและเกษตรกรรมได้พัฒนาข้ึน ซึ่งกระตุ้นให้บุคคลต่อสู้แข่งขันเพ่ือรักษา
สถานภาพทางสังคมของตนเองไว้ และในขณะเดียวกันแต่ละบุคคลต่างพยายามยกฐานะทางสังคม
ของตนให้สูงขึ้นโดยไม่คานึงถึงวิธีการ เพียงแต่ขอให้ตนได้สิ่งท่ีต้องประสงค์มาเท่าน้ัน ส่วนใหญ่มุ่ง
ความสาเร็จทางวัตถุเป็นจุดหมายปลายทางของชีวิต ซึ่งได้แก่ เคร่ืองประดับ เคร่ืองแต่กายราคาแพง
บา้ นใหญ่โต รถยนตค์ ันงาม บางคนประสบความสาเร็จด้วยวิธีการสุจริต ตามครรลองขนบธรรมเนียม
ประเพณี วัฒนธรรม ระเบียบกฎหมาย แต่บางคนทุจริตคิดชั่ว เพียงได้มาซ่ึงเคร่ืองอุปโภคบริโภคที่
ปรารถนาเท่านั้น ไม่คานึงว่าถูกหรือผิด ปรากฏการณ์ทางสังคมเหล่าน้ี จึงเป็นสาเหตุของปัญหา ซึ่ง
เป็นปญั หาที่มคี วามซบั ซ้อน มีองคป์ ระกอบมารว่ มหลายประการ

๔.๒ สาเหตขุ องปญั หาสงั คม

ปัญหาสังคม อาจเกิดจากสาเหตุต่างๆ เช่น อาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมใน
ลักษณะท่ีผู้คนในสังคมยอมรับไม่ได้ อาจเกิดจากความบกพร่องทางร่างกายและจิตใจของมนุษย์หรือ
อาจเกิดจากปัจจัยทางสภาวะแวดล้อมทางธรรมชาติท่ีไม่เหมาะสม เป็นต้นว่า ความแห้งแล้ง ภัย
ธรรมชาติ มีนักวิชาการและนักมานุษยวิทยาได้ให้แนวคิดเกี่ยวกับสาเหตุของปัญหาสังคมไว้น่าสนใจ
ดงั น้ี

๔.๒.๑ จรัญ พรหมอย๑ู่ ได้กล่าวถงึ สาเหตุท่ีทาใหเ้ กดิ ปัญหาสงั คม ๓ ประการ คือ
๑) ปัญหาสังคมที่เกิดจากมนุษย์ จากการท่ีผู้คนในสังคมนั้นสร้างขึ้นหรือกาหนดขึ้น เนื่อง
ความผิดปกติในองค์ประกอบของร่างกาย เช่น โครโมโซมเพศผิดปกติ ต่อมไร้ท่อทางานผิดปกติ
ความคิดความเช่ือของมนุษยบ์ างประการท่ีอาจก่อให้เกิดปัญหาได้ เช่น เชื่อว่าการตายเพ่ือพระเจ้าจะ
ได้บุญอย่างย่ิง ตัวอย่างของปัญหาสังคมที่เกิดจากมนุษย์ เช่น โสเภณี ปัญหาอาชญากรรม ปัญหา
สขุ ภาพจิต ปญั หาสงครามและปัญหาสิง่ แวดล้อมเปน็ พษิ
๒) ปัญหาสังคมมนุษย์ท่ีเกิดจากสภาพแวดล้อม โดยทั่วไปแล้วสภาพธรรมชาติมักจะเป็น
สาเหตุทางอ้อม หรือเป็นปัจจัยที่จะก่อให้เกิดปัญหาสังคมมากกว่าท่ีจะเป็นสาเหตุโดยตรงของปัญหา
สังคม เช่น ความแห้งแล้ง ทาให้เกิดปัญหาความยากจน ปัญหาอพยพ ปัญหาทางการเมืองการ

๑ จรัญ พรหมอยู่, การศึกษาปัญหาสังคม, (กรุงเทพมหานคร: สานักพิมพ์โอเดียน สโตร์, ๒๕๔๘),
หน้า ๖.

๕๑

ปกครอง หรือฝนตกหนักทาให้เกิดปัญหาน้าท่วมและมีผลสืบเน่ืองถึงปัญหาจราจร ปัญหาโรคระบาด
ฯลฯ

สภาพแวดล้อมทางสังคม ก็อาจก่อให้เกิดปญั หาสังคมได้ ตัวอย่างเช่น ถ้าชุมชนมีแหล่งสูบ
กัญชา โรงยาฝิ่น ก็อาจทาให้อาณาบริเวณนั้นมีผู้ติดยาเสพติดมากขึ้น เพราะเห็นคนเขาสูบกัญชาเป็น
เร่อื งธรรมดา จงึ เปน็ เหตุให้เกดิ ปัญหายาเสพติด ฯลฯ

๓) ปัญหาสังคมท่ีเกิดจากมนุษย์และสภาพธรรมชาติ ปัญหาสังคมบางปัญหามีสาเหตุมา
จากท้ังมนุษย์และธรรมชาติเป็นต้นเหตุประกอบกัน เช่น ปัญหาน้าท่วม อาจเกิดจากฝนตกหนัก
ประกอบมีผคู้ นสร้างสิ่งกดี ขวางทางระบายน้า หรือสรา้ งเขื่อนก้ันนา้ ทาใหน้ า้ ทว่ มบริเวณทดี่ ินทามาหา
กนิ ของผู้คนท่ีอยู่เหนือเขื่อน

ปัญหาสังคมใดปัญหาหน่ึง มักจะไม่ได้เกิดจากสาเหตุใดสาเหตุหนึ่งเท่านั้น เช่น ถ้าเราจะ
วิเคราะห์สาเหตุของปัญหายาเสพติด เราอาจพบว่าปัญหานี้อาจเกิดจากความอยากทดลอง อาจเกิด
จากสาเหตขุ าดความรกั ความอบอุ่นจากครอบครวั อาจเกดิ จากในบรเิ วณท่อี ยู่

๔.๒.๒ ประสาท หลักศลิ า๒ จาแนกสาเหตทุ ท่ี าใหเ้ กดิ ปญั หาสงั คมเปน็ ๒ อยา่ งคือ
๑) ความไม่เปน็ ระเบยี บในสงั คม (Social Disorganization)
ความไม่เป็นระเบียบในสังคม (Social Disorganization) ความไม่เป็นระเบียบทางสังคม
หมายถึง ความบกพร่องหรือกระทาหน้าที่ได้อย่างไม่สมบูรณ์ของระบบสังคม ตัวอย่างเช่น การทา
หน้าที่อย่างไม่สมบูรณ์ในสถาบันต่างๆ กอ่ ให้เกิดความไม่เป็นระเบียบเกิดข้ึนได้ เช่น ปัญหาการศึกษา
ปญั หาประชากร ปญั หาความยากจน เป็นตน้
สาเหตุของความไมเ่ ป็นระเบยี บของสงั คม อาจเกิดขน้ึ จาก

(๑.๑) อุดมการณ์ของประชาธิปไตย แนวความคิดในเรื่องความเสมอภาค และ
เสรีภาพตามอุดมการณ์ของลัทธิประชาธิปไตยของคนในสังคมหน่ึงๆ น้ันแตกต่างกันตามสถานภาพ
และบทบาทท่ีแตกตา่ งกันของบุคคลในสงั คม

(๑.๒) ความล้มเหลวในการควบคุมพฤติกรรมของสมาชิกของสังคม ปัจจัยท่ีมีส่วน
สาคัญในการควบคุมพฤติกรรมของสมาชิกของสังคมอย่างหน่ึง ก็คือ ปทัสถานทางสังคม แต่เพราะ
สงั คมเปลยี่ นแปลงอยู่ตลอดเวลา ปทสั ถานทางสังคมอย่างหนง่ึ ซึ่งเคยควบคุมสังคมอย่างได้ผล กลบั ถูก
ลดบทบาทลง เช่น ศาสนา ซ่ึงทางสังคมวิทยาถือว่าเป็นเครื่องมือในการควบคุมสังคมท่ีดีท่ีสุดนั้น ไม่
สามารถโน้มน้าวจิตใจสมาชิกของสงั คมให้สนใจในคุณธรรมจริยธรรมได้มากเท่าทีค่ วร ท้ังนอี้ าจจะเป็น
ผลมาจากสมาชิกในสังคมต้องต่อสู้ดิ้นรนกับการครองชีพ จนทาให้ต้องห่างเหินจากศาสนาไปหรือ
แม้กระท่ังกฎหมายซึ่งถือว่ามีความศักดส์ิ ิทธ์ิ เพราะได้กาหนดบทลงโทษไว้แต่ก็กลบั พบว่า ปัจจบุ ันคน
กลับกลวั กฎหมายน้อยลง ซึ่งอาจจะมีปจั จยั หลายประการทที่ าใหค้ นกลัวกฎหมายน้อยลง เช่น เพราะ
ความยากจนบังคับ หรือเพราะมีอิทธิพลเกินกว่ากฎหมายจะแตะต้องได้ เม่ือการควบคุมพฤติกรรม
ของสมาชิกของสังคมล้มเหลว ก็ย่อมส่งผลกระทบถึงโครงสร้างของสถาบันทางสังคมต่างๆ ผลท่ี
ตามมาก็คือ ความไมเ่ ป็นระเบยี บของสงั คม

๒ ประสาท หลกั ศลิ า, ปญั หาสงั คม, (กรุงเทพมหานคร: สานกั พมิ พ์จุฬาลงกรณ์มหาวทิ ยาลยั , ๒๕๑๑),
หน้า ๑๓.

๕๒

(๑.๓) ค่านิยมใหม่ ต่อสภาพสังคมวัฒนธรรมท่ีเปล่ียนแปลงอยู่ตลอดเวลา ทาให้
คา่ นิยมของบุคคลในสังคมพลอยเปล่ียนแปลงไปด้วย ตัวอย่างเช่น ค่านิยมเกี่ยวกับสตรี ค่านิยมตั้งแต่
เดิมนั้น หญิงจะต้องอยู่กับเหย้าเฝ้ากับเรือน เล้ียงดูลูกหลานให้ได้รับความอบอุ่น หญิงไม่ควรมีมากชู้
หลายผัว หญิงควรเป็นช้างเท้าหลัง หญิงควรต่ืนก่อนนอนทีหลัง ปรนนิบัติรับใช้สามี แต่ปัจจุบัน
ค่านิยมเหล่าน้ีได้เปล่ียนไปอย่างมากมาย และบางอย่างผลของการเปลี่ยนแปลงนี้ได้ก่อให้เกิดความ
ขัดแย้งทางค่านิยมข้ึนระหว่างค่านิยมเก่ากับค่านิยมใหม่ เช่น ปัจจุบันเห็นว่าการที่หญิงจะหย่าร้าง
หรือมีสามีใหม่ไม่ใช่เร่ืองเสียหาย หรือหญิงควรมีสทิ ธิเสรภี าพเท่าเทียมชายได้ ความขัดแยง้ เหลา่ น้ีอาจ
ก่อให้เกดิ ความไมเ่ ป็นระเบยี บทางสงั คมได้

(๑.๔) การล้าหลังทางวัฒนธรรม เป็นผลมาจากการปรับตัวไม่ทันกันในวัฒนธรรม
น้ันๆ อันเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงทางวัตถุเปล่ียนแปลงอย่างรวดเร็ว จนกระท่ังวัฒนธรรมทาง
จิตใจตามไม่ทัน การตามไม่ทันนี้หากไม่ก่อให้เกิดปัญหาตามมา เรายังไม่ถือว่าเป็นการล้าหลังทาง
วฒั นธรรม

๒) พฤติกรรมเบี่ยงเบนไปจากปกติ (Deviant Behavior)
พฤติกรรมเบ่ียงเบนไปจากปกติ หมายถึง พฤติกรรมที่ไม่สอดคล้องกับระเบียบประเพณี
หรือบรรทัดฐานทางสังคม ซึ่งในบางคร้ังจะต้องสัมพันธ์กับสถานภาพทางสังคมของคนในสังคมน้ันๆ
ด้วยตัวอย่างเช่น อาชญากรรม การกระทาความผิดของเด็กและเยาวชน การเสพยาเสพติด การ
กระทาอัตวินิบาตกรรม โสเภณี เปน็ ตน้
สาเหตุของการมีพฤตกิ รรมเบ่ียงเบนไปจากปกติ

(๒.๑) ทฤษฎีพฤติกรรมเบี่ยงเบน Robert Merton อธิบายพฤติกรรมเบ่ียงเบนว่ามี
ตัวแปร ๒ อย่างท่ีก่อให้เกิดการขัดกันในตัวบุคคล คือ จุดมุ่งหมาย (Cultural Goals) และวิธีการท่ีจะ
นาบุคคลไปสู่ความสาเร็จ (Institutionalized Means) ซ่ึงจากตัวแปรทั้งสองลักษณะนี้เอง ก่อให้เกิด
ประเภทของการปรับตัว (Modes of Adaptation) ดงั ต่อไปน้ี

(๒.๑.๑) พวกปฏิบัติตาม (Conformity) คือ วิธีการที่บุคคลยอมรับจุดหมาย
ปลายทางและวธิ ีการปฏิบัติทางสังคมกาหนด เพราะเห็นวา่ ส่ิงที่เป็นอยู่ในสังคมมีความเหมาะสมดแี ล้ว
บุคคลประเภทนค้ี ือ พวกมองโลกในแง่ดี การปรับตัวในลักษณะนไ้ี มก่ ่อใหเ้ กดิ ปัญหาสงั คมอยา่ งไร

(๒.๑.๒) พวกแหวกแนว (Innovation) คือ กลุ่มบุคคลท่ีต้องการความสาเร็จแต่
ไม่ปฏิบัติตามวิถีทาง หรือกฎเกณฑ์ที่สังคมได้ให้ปฏิบัติ แต่จะใช้วิธีการต่างๆ แม้จะผิดกฎหมาย
ระเบียบประเพณี และศลี ธรรมเพื่อความสาเร็จของตนเอง

(๒.๑.๓) พวกเจ้าระเบียบพิธี (Ritualism) คือ กลุ่มบุคคลซ่ึงจะปฏิบัติตาม
ระเบียบวินัยเข้มงวด ซื่อสัตย์สุจริต ไม่หว่ันไหวต่ออานาจเงิน พฤติกรรมเช่นนี้อาจก่อให้เกิดความ
ลา่ ช้าในการทางานและขาดความคิดริเร่ิมที่ดี เมื่อสังคมมีการเปล่ียนแปลงพวกน้ีจะรู้สึกอึดอัดใจ แต่ก็
ยงั เครง่ ครัดอยู่กบั ระเบียบแบบแผน พวกน้มี กั ไม่กอ่ ให้เกิดปัญหาสังคม

(๒.๑.๔) พวกหนีโลก (Retreatism) คือ กลุ่มบุคคลซ่ึงจะไม่ยอมรับความหวัง
และวิธีการท่ีจะนาไปสู่ความสาเร็จตามความหวัง พวกนี้จะเบ่ือชีวิต ขาดกาลังใจในการทางาน ตามที่
สังคมต้องการและจุดหมายปลายทางของชีวิต การท่ีบุคคลเหล่านี้มีพฤติกรรมดังกล่าว อาจเกิดจาก

๕๓

การประสบความผิดหวังในชีวิตในอดีต เสียเปรียบในการแข่งขัน และอาจหาทางออกโดยการดื่มสุรา
สบู – เสพ ยาเสพติดเพอ่ื ปลอบใจตนเอง

(๒.๑.๕) พวกท้าทาย (Rebellion) คือ กลุ่มบุคคลท่ีไม่เห็นด้วยกับวิธีปฏิบัติหรือ
จุดหมายปลายทางท่ีสังคมยอมรับ ไม่เห็นด้วยกับการแข่งขันในเร่ืองทรัพย์สิน และไม่พอใจใน
โครงสร้างของสังคมที่เขาเห็นว่าไม่ยุติธรรม คิดจะสร้างวิธีการและจุดหมายเป็นอุดมคติข้ึนมาใหม่ ซ่ึง
ตรงข้ามกับสิ่งที่สังคมกาหนดไว้ แล้วชักชวนหรือบังคับให้ผู้อ่ืนทาตามความเชื่อม่ันของตนเอง โดย
แสดงออกในลักษณะการกระทาท่ีฝืนสังคม บุคคลที่มีพฤติกรรมเช่นน้ี ต้องการจะเปลี่ยนโครงสร้าง
ของสังคม และวางระเบียบใหม่ให้สังคมปฏิบัติเพื่อให้ทุกคนมีโอกาสเท่าเทียมกัน จึงอาจมีการปฏิบัติ
ในด้านมีความรนุ แรง วนุ่ วาย หรือบางคร้ังกใ็ ช้ในรปู การปฏิรปู (reform)

(๒.๒) การขัดกันของสถานภาพ และบรรทัดฐานทางสังคม (Status Conflict and
Norm Conflict) สาเหตุของพฤติกรรมเบ่ียงเบนไปจากปกตินั้น เกิดจากการขัดแย้งกันทาง บรรทัด
ฐานทางสังคม (norm conflict) และสถานภาพที่ขัดกัน (status conflict) ตัวอย่างเช่น ในบางคร้ัง
บุคคลจะประสบความยากลาบากในการปฏิบัตติ ามบรรทัดฐานทางสังคม ตัวอย่างท่ีปรากฏอยู่เนืองๆ
ได้แก่ การท่แี ม่ต้องขโมยทรัพย์สนิ ของบุคคลอ่นื เพื่อนาไปแลกเปลี่ยนเปน็ อาหารเพือ่ เลย้ี งดลู ูก ซ่งึ เป็น
บรรทัดฐานอย่างหน่ึงซึ่งกาหนดให้แม่มีหน้าท่ีต้องเลี้ยงลูก ในขณะเดียวกันก็เป็นการละเมิดบรรทัด
ฐานอ่ืนของสังคม เพราะการขโมยทรัพย์สินของผู้อื่น ก็เป็นความผิดตามกฎหมาย นอกจากน้ัน ใน
บางคร้งั บคุ คลอาจมีสถานภาพหรอื ตาแหน่งหลายอยา่ งในขณะเดยี วกัน และบรรทัดฐาน

๔.๒.๓ สุพัตรา สุภาพ๓ ได้กล่าวถงึ สาเหตุของการเกิดปัญหาสงั คมว่า อาจพิจารณาได้ ๓
ทางดว้ ยกนั คอื

๑) การเปลี่ยนแปลงทางสังคม (Social Change) การเปลี่ยนแปลงทางสังคม มี
ความหมายเฉพาะการเปล่ียนแปลงที่เกิดขึ้นในสงั คมที่มีการจัดระเบยี บการเปล่ียนแปลงของโครงสรา้ ง
ท้ังหมด รวมท้ังมีผลต่อกลุ่มคนและบุคคล และถ้าประชาชนส่วนใหญ่ไม่สามารถเปล่ียนแปลง หรือ
ปรับตัวได้ภายในเวลาท่ีต้องการ ก็จะเกิดปัญหาการปรับตัวเข้ากับสังคมไม่ได้ และจากการปรับตัว
ไม่ได้น้ีเองทาให้เกดิ ปญั หาสังคม

(๑.๑) การเปลี่ยนเป็นอุตสาหกรรม ประมาณ ค.ศ. ๑๗๖๐ อุตสาหกรรมยังอยูใ่ นรูป
ของการหัตถกรรมเท่าน้ัน มีเคร่ืองมือง่ายๆ หรือเคร่อื งจักรเล็กๆ ในการผลติ ส่วนใหญ่จะใช้มือในการ
ผลิต ลกู จ้างมีสภาพความเป็นอยู่เหมือนๆ กัน ได้รับส่วนแบ่งจากนายจา้ งเท่ากัน ลูกจ้างกับนายจ้างมี
ความสัมพันธ์กนั อย่างใกลช้ ิด ไม่ค่อยมีข้อโต้แย้งกนั การปฏิวัติอุตสาหกรรมเริ่มข้ึนตอนปลายศตวรรษ
ที่ ๑๘ หรือศตวรรษที่ ๑๙ ซึ่งอาจเรียกได้ว่าเป็นยุคเคร่ืองจักร โดยในระยะแรกจะมีลักษณะเปลี่ยน
จากการใช้เครื่องมือแบบง่ายๆ มาใช้เครื่องจักรแทน เครอ่ื งจักรกล จะช่วยในการเพม่ิ ผลผลิตและชนิด
ของสนิ คา้ ทอ่ี อกจาหนา่ ย การเปลยี่ นแปลงน้มี ีลักษณะสาคัญ ๒ ประการคือ

(๑.๑.๑) การเปล่ียนกระบวนการและวิธกี ารในการผลิต เนอื่ งจากระบบโรงงานน้ี
ไม่ต้องอาศัยนายช่างท่ีชานาญและคนงานเป็นจานวนมาก เพราะมีเพียงผู้ดาเนินการและผู้ควบคุม
เครื่องจักรเท่านั้นก็พอ คนงานไม่ได้เป็นผู้ทาสิ่งของนั้นๆ เองทั้งหมด เพียงแต่ทาเป็นบางส่วน คนงาน

๓ สพุ ัตร สภุ าพ, ปญั หาสังคม, (กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานชิ , ๒๕๔๕), หน้า ๑๐ – ๑๔.


Click to View FlipBook Version