The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ปริญญาโท, เอกสารประกอบการบรรยาย

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

วิเคราะห์ปัญหาปัจจุบันเชิงปรัชญา

ปริญญาโท, เอกสารประกอบการบรรยาย

๑๑๑

๖.๒.๒ ปญั หาการทาแท้งในสงั คมไทย

๑) ความหมายของชวี ติ
คาว่า “ชีวิต” เป็นคานาม ตามความหมายทางภาษาศาสตร์ ส่วนในพุทธปรัชญาคาศัพท์
สาคัญที่หมายถึงชีวิต คือ คาว่า “ชีวิตะ” โดยที่คัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาได้กล่าวถึงคาว่า “ชีวะ”
หมายถึงปาณะ คือ ชีวิต ความเป็นอยู่จิต สัตว์๒๐ และสิ่งที่มีชีวิต อาตมัน อัตตา หรือชีวะ๒๑ และอีก
นยั หน่ึงหมายถึง ชีวะ คือ สตั วโ์ ลก ส่วนคาว่า “ชีวิตะ” วเิ คราะห์ความหมายไว้วา่ “ชีวนฺติ เยนาติ ชีว ,
ตสมสฺสตฺถีติ ชีโว” แปลว่า ผู้มีชีวะ (ชีว ธาตุ อ ปัจจัย)๒๒ จะเห็นได้ว่าในความหมายนี้ คาว่า “ชีวะ”
หรอื “ชีวติ ” หมายถงึ ชีวิต หรือความเปน็ อยู่ อนั เปน็ คณุ สมบัติของสตั วเ์ ทา่ น้นั
การเริ่มต้นชีวิตชีวิตในทัศนะพระพุทธศาสนาเกิดโดยอาศัยกระบวนการทางปฏิจจสมุป -
บาท คืออาศัยเหตุปัจจัยเช่ือมโยงกันโดยไม่ขาดสาย ในมหาสีหนาทสูตร พระพุทธองค์ได้จาแนกการ
เกิดสตั วโ์ ลก ตามลักษณะของการเกิดไว้ ๔๒๓ ประเภท คือ

๑) ชลาพชุ ะกาเนดิ คือ การเกิดในครรภ์ออกเป็นตัว
๒) อณั ฑะชะกาเนิด คือ การเกิดในฟองไข่
๓) สงั เสทชะกาเนิด คือ การเกิดจากเถ้าไคลของสิง่ สกปรก
๔) โอปปาตกิ ะกาเนิด คอื สัตวเ์ กดิ ผุดข้นึ
ส่วนการเกิดในโลกของมนุษย์ เช่น การเกิดของคนและสัตว์ ต้องอาศัยพ่อแม่เป็นเชื้อให้
ด้วยการผสมพันธุ์ อาศัยธรรมชาติ อาศัยอาหาร ตามนัยอภิธรรมกล่าวไว้ว่า การเกิดเป็นมนุษย์เริ่ม
ต้ังแต่มีปฏิสนธิวิญญาณ ซึ่งเกิดขึ้นต่อจากจุติจิต ในมรณาสันนวิถี อันเป็นดวงจิตสุดท้ายต่อจากชาติ
ก่อน ตายจากชาติก่อนแล้วเกิดทันที ไม่มีระหว่างคั่น ปฏิสนธิจิตน้ีแหละเป็นส่วนหนึ่งในการเริ่มต้น
ของชวี ิต ๓๒๔ ประการ คอื
๑) มารดาบิดาอยู่ร่วมกัน (มีเพศสัมพันธ์)
๒) มารดามฤี ดเู ป็นปกติ (อยู่ในวยั ที่มปี ระจาเดือน และไขส่ ุกพร้อมผสม)
๓) มีคันธัพพะเข้าไปตงั้ อยู่ (ปฏสิ นธวิ ญิ ญาณเกดิ ข้ึน)
การเกิดชีวิต ในทัศนะของพระพุทธศาสนาน้ัน เป็นการเกิดทางร่างกายและจิตใจ ซึ่งจิต
เดิมน้ันเป็นจิตบริสุทธิ์ ไม่มีเครื่องเศร้าหมอง ไม่มีกิเลส เป็นปัจจัยให้เกิด เป็นการเกิดความทุกข์
สาเหตมุ าจากเด็กมีสภาพจิตดอ้ ยด้วยคณุ ธรรม ขาดสติ ไม่มีปัญญารชู้ ัดตามความเป็นจริง (อวชิ ชา) ซ่ึง
เป็นปัจจัยให้เกิดเวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ ฯลฯ ซ่ึงเป็นกระบวนการเกิดความทุกข์ในจิตใจ

๒๐ พระอดุ รคณาธกิ าร (ชวินทร์ สระคา) และจาลอง สารพดั นกึ , พจนานกุ รมบาล-ี ไทย ฉบับนักศกึ ษา
, พมิ พ์ครง้ั ท่ี ๒, (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพม์ หามกุฏราชวทิ ยาลยั , ๒๕๓๐), หน้า ๔๐๘.

๒๑ พระธรรมกติ ติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช), พจนานกุ รมเพอ่ื การศึกษาพุทธศาสตร์ชุดศพั ทว์ ิเคราะห์,
พิมพ์ครง้ั ที่ ๒, (กรงุ เทพมหานคร : เลย่ี งเชียง, ๒๕๕๐), หนา้ ๒๗๐.

๒๒ พระธรรมกติ ติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช), พจนานกุ รมเพื่อการศกึ ษาพทุ ธศาสตร์ชดุ ศัพท์วเิ คราะห์,
หน้า ๒๗๐.

๒๓ ข.ุ ธ. (ไทย) ๒๕/๑๙/๓๑.
๒๔ ท.ี ปา. (ไทย) ๑๑/๓๑๒/๒๐๕.

๑๑๒

ความทุกข์จะเกิดดับ เกิดดับ สลับกันไปเป็นลูกโซ่ ประดุจสายฟ้าแลบ เป็นวงกลมหมุนเวียนเช่นน้ี
เรอ่ื ยไปตลอดชีวิต จนกว่าจะดบั ทกุ ข์ได้

หลักเบญจศีล การฆ่าสัตว์ ไม่ว่าจะเป็นใคร สัตว์เล็ก น้อยใหญ่ ฆ่าท่ีใด ที่ไหน เมื่อไหร่
เวลาใดก็จัดว่าเป็นการฆ่า ไม่มีข้อยกเว้น ถือว่าผิดศีล และมีผลเป็นบาปอย่างแน่นอน และการฆ่าชีวิต
มนษุ ยน์ ั้นถอื ว่าเป็นบาปตามกรณีว่าผถู้ ูกฆ่าน้ันมีคุณธรรมมากหรอื น้อย การฆ่าสัตว์ จะมีโทษมาก หรือ
โทษน้อย ย่อมข้ึนอยู่กับสัตว์ที่ถูกฆ่า และความพยายามของผู้ฆ่า ซึ่งต้องอาศัยหลักเกณฑ์ ในการ
พจิ ารณา ๓ ประการด้วยกัน คือ

๑) รา่ งกายของสตั ว์ทถี่ กู ฆา่ ถ้าเปน็ สัตว์ใหญ่ เช่น ช้าง ม้า โค กระบอื เปน็ ตน้ ก็มโี ทษมาก
เพราะชิวิตนวกกลาปของสัตว์พวกน้ี ถูกทาลายลงเป็นจานวนมาก แต่ถ้าสัตว์ท่ีถูกฆ่าเป็นสัตวเ์ ลก็ เช่น
มด ยงุ ริ้น ไร เป็นต้น ก็มีโทษนอ้ ย

๒) คุณธรรมของสัตว์ท่ีถูกฆ่า ในระหว่างสัตว์ดิรัจฉาน กับมนุษย์ ฆ่ามนุษย์มีโทษมากกว่า
สัตว์ดิรัจฉาน เพราะมนุษย์เป็นสัตว์ประเสริฐกว่าสัตว์ดิรัจฉาน สาหรับการฆ่ามนุษย์กับมนุษย์ด้วยกัน
ฆา่ ผู้ทงั้ มีศีลธรรม เช่า ภกิ ษุ สามเณร อุบาสก อบุ าสิกา เป็นต้น มีโทษมากกว่าผู้ไม่มศี ีลธรรม เช่น โจร
ผู้ร้าย เป็นต้น ย่อมมีโทษน้อยกว่า ถ้าผู้ถูกฆ่าเป็น บิดา มารดา พระอรหันต์ เป็นอนันตริยกรรม ยิ่งมี
โทษมากเป็นพเิ ศษ

๓) ความเพียรของผู้ฆ่า อาศัยตัดสินโดย ปโยคะ คือ ในขณะท่ีฆ่านั้น ได้ใช้ความเพียร
พยายาม มากหรือน้อย ถ้าใชค้ วามพยายามมาก ก็มีโทษมาก ถ้าใช้ความพยายามน้อยกม็ ีโทษนอ้ ยการ
ฆ่าชีวิตมนุษย์จัดเป็นความผิดท่ีอภัยไม่ได้ ตัวอย่าง การปรับความผิดแก่พระภิกษุผู้ฆ่ามนุษย์ไว้อย่าง
หนักท่ีสุดไม่ว่าจะฆ่าด้วยตนเอง หรือให้ผู้อื่นฆ่า จะด้วยด้วยศาสตรา หรือ เวทย์มนต์ ก็ต้องปาราชิก
ทงั้ นน้ั

๒) ปญั หาการทาแทง้ ในสงั คมไทย
การทาแท้งเป็นปัญหาวิกฤติทางสังคมไทย สะท้อนถึงสภาวะความเส่ือมทางศีลธรรมและ
จริยธรรม เป็นความอ่อนแอทางสังคม ความไม่เข้มแข็งด้านวัฒนธรรม และกฎหมาย ในปัจจุบันเป็น
ยุคของการสื่อสารที่ไร้พรมแดน การไหลบ่าจากวัฒนธรรมตะวันตก ความออ่ นแอของการปลูกฝงั เร่อื ง
ของศีลธรรม จริยธรรมที่ถูกต้องเหมาะสมของคนไทย เมื่อเกิดการตั้งครรภ์ขึ้นมาผู้ประสบปัญหาขาด
ประสบการณ์ในการแก้ปัญหา ทาให้แก้ไขปัญหาโดยขาดความยับย้ังช่ังคิด และไม่ปรึกษาหาข้อมูล
จากบุคคลอนื่ หรือหน่วยงานท่ีสามารถให้ความชว่ ยเหลอื
พบสถิติการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเป็นอับดับสองของโลก และส่วนหนึ่งจบลงด้วยการทาแท้ง
โดยบ่งบอกใหเ้ ห็นถึงสภาพสงั คมวัฒนธรรมที่เส่ือมโทรมทางด้านจิตใจ ขาดความรบั ผิดชอบต่อสิ่งที่ได้
กระทาข้ึน และทาให้เห็นถึงความมักง่าย ไม่ป้องกันมีเพศสัมพันธ์ รวมท้ังส่ือค่อนข้างตีแผ่เรื่องการทา
แท้ง ทาให้คนในสังคมตื่นตัวกันมากขึ้น และกระทบต่อสภาพจิตใจ ความรู้สึกของคนในสังคมในวง
กว้าง
การทาแท้งที่ไม่ปลอดภัย เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สาคัญของประเทศ เป็นสาเหตุการตาย
ของมารดา จากการตกเลือด ติดเชื้อหลังการทาแท้ง ในประเทศไทยถือว่าการทาแท้งเป็นเร่ืองผิด
กฎหมาย ผู้หญิงตั้งครรภ์ท่ีไม่ต้องการบุตร มักลักลอบทาแท้งโดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่น ยากที่จะทราบ

๑๑๓

จานวนท่ีแท้จริง การทาแท้งที่ไม่ปลอดภัย ก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพ อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
และคา่ ใช้จา่ ย คา่ รกั ษาพยาบาลท่ีเกดิ จากภาระแทรกซ้อนจากการทาแท้ง

ปจั จบุ ันประเทศไทยไมส่ ามารถแก้ไขปัญหาการทาแท้งเถอื่ นได้เลย เห็นว่าในอนาคตความ
เจริญทางด้านวัตถุมีมากข้ึน แต่การพัฒนาทางด้านจิตใจของคนเรากลับมีน้อยลง และ เนื่องจาก
กฎหมายไทย ยังไม่อนุญาตในการทาแท้ง ใครทาแท้งถือว่าผิดกฎหมาย จึงมีการลักลอบหรือแอบทา
สะท้อนถึงสังคมไทยท่ีเด็กและเยาวชนขาดการดูแลหรือเลี้ยงดูจากสถาบันครอบครัวที่ไม่ดี จึงทาให้
เด็กและเยาวชนหมกมนุ่ อยกู่ บั เรื่องเพศ ไมค่ ดิ สรา้ งสรรค์ ทาให้สังคมตกตา่ ไม่พัฒนา

ข้อเท็จจริง การทาแท้ง หรือการยุติการต้ังครรภ์ เป็นหัวข้อที่ถกเถียงกันอย่างมากท้ังฝ่าย
สนับสนุนและฝ่ายต่อต้าน ในฝ่ายสนับสนุน เห็นว่าควรเป็นสิทธิของผู้ต้ังครรภ์ ในการท่ีจะยุติการ
ต้ังครรภ์ได้ กรณีท่ีเป็นการต้ังครรภ์โดยไม่พึงประสงค์ เพราะหากปล่อยไว้จนคลอดออกมาจะเกิด
ปัญหาสังคมตามมา หรือไปทาแท้งกับหมอเถ่ือนท่ีไม่ใช่แพทย์จนเป็นอันตรายต่อชีวิตของหญิงที่
ต้งั ครรภ์ได้ แมก้ ารทาแท้งอย่างถูกต้องโดยแพทย์ก็เป็นอันตรายไดเ้ ช่นกนั ในฝ่ายต่อต้าน คานึงถึงด้าน
ศลี ธรรมในเร่ืองการทาลายชีวิตท่ีเกิดมาแล้วในครรภ์น้ัน ถือวา่ เป็นการฆ่าคนเช่นเดียวกัน ซ่ึงเป็นบาป
ข้ันร้ายแรง และคานึงถึงสิทธิของชีวิตที่ได้อุบัติขึ้นแล้วควรจะได้เกิดมาเป็นคนคนหน่ึงต่อไป ในทาง
การแพทยป์ ญั หาสุขภาพของผู้ตั้งครรภน์ ั้นคานึงถึงสุขภาพจิตร่วมดว้ ย การตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ และ
กรณีที่ทราบว่าทารกในครรภ์มีหรือมีความเสี่ยงสูงท่ีจะมีความพิการรุนแรง หรือเป็นโรคพันธุกรรม
รุนแรง แม้ไม่เป็นอันตรายต่อหญิงต้ังครรภ์ก็อาจทาแท้งได้ โดยอาศัยเหตุที่มีผลกระทบต่อสุขภาพจิต
ได้แก่ ความเครียดอย่างรุนแรง หรือเส่ียงสูงที่จะมีความพิการ หรือเป็นโรคพันธุกรรมรุนแรง แพทย์
อาจพิจารณาทาแท้งได้ ได้แก่ หญงิ ต้ังครรภป์ ว่ ยเป็นหัดเยอรมัน ในชว่ งแรกของการต้ังครรภซ์ ่ึงมีความ
เส่ียงสูงที่จะมีความพิการรุนแรง กรวดน้าคร่าพบว่า มีความผิดปกติทางพันธุกรรม ได้แก่ เป็นเด็ก
ปัญญาอ่อน ดาวน์ซินโดรม (Down’s syndrome) เป็นโรคเลือด เช่น ธาลัสซีเมียข้ันรุนแรง เป็นต้น
ขอถกเถียงจึงทาให้เกิดปัญหาท่ีไม่ได้รับข้อยุติที่ชัดเจนทางด้านกฎหมาย ทาให้เกิดปัญหาทางด้าน
สขุ ภาพตอ่ สตรีทที่ าแทง้ และการทาแท้งในประเทศไทยมีอตั ราเพิ่มมากข้นึ อกี ดว้ ย

๓) แนวทางการแกป้ ัญหาการทาแทง้ ในทัศนะพระพุทธศาสนา
ปัญหาทาแท้งเป็นปัญหาท่ีมีมาตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเม่ือสภาพสังคมเปล่ียนไปเป็น
สังคมที่ผู้หญิงกับผู้ชายเท่าเทียมกันมากข้ึน เกี่ยวกับปัญหาทาแท้ง พระพุทธศาสนาบอกไว้ชัดว่าการ
ฆ่าสัตว์ตัดชีวิตเป็นบาป และเนื่องจากการทาแท้งเป็นการฆ่าสัตว์ ดังนั้น การทาแท้งจึงเป็นบาปด้วย
การทาแท้งไม่จาเป็นว่าจะต้องเป็นความผิดเสมอไป เพราะความทุกข์ที่เกิดข้ึนจากการไม่ทาแท้ง
อาจจะมมี ากกวา่ ความทุกขท์ ่ีจะเกดิ ขน้ึ หากมีการทาแทง้ อย่างถูกต้อง
พระพุทธศาสนา ให้ความสาคัญกับชีวิตมนุษย์สูงสุด หลักจริยธรรมต่างเน้นให้รักษาชีวิต
ความเป็นมนุษย์ให้ได้ ใหน้ าน ใหเ้ ข้มแข็ง เพื่อการสร้างตบะ บาเพ็ญศีล สมาธิ ปัญญา สู่เปา้ หมายแห่ง
ความหลุดพ้นจากวัฏฎะ เมื่อหญิงใดที่สัตว์หย่ังลงสู่ครรภ์แล้ว สังคมชาวพุทธกาหนดให้เป็นแม่ กล้าลุ
แก่อานาจด้วยอกุศลกรรม ทาแท้งได้ลงคอ จัดว่าหญิงผู้นั้นตกอยู่ในภาวะจิตท่ีมีความบีบคั้น คับแคบ
ขัดข้อง ขัดเคือง ขุ่นมัว พร่าพราง มืดบอด มืดมัว ปิดบัง อย่างมาก มีจริยธรรมตกต่า หญิงที่ทาแท้ง
ชายทส่ี นบั สนุนให้ทาแท้ง ยอ่ มผิดศลี ผดิ ธรรม และผดิ กฎหมาย
แนวทางการแกป้ ญั หาการทาแท้งในสังคมไทย กล่าวโดยสรุปในแตล่ ะประเด็น ดังน้ี

๑๑๔

๑) ใชส้ ถาบันครอบครัวเป็นภมู ิคุม้ กนั สถาบันครอบครัวเป็นสถาบนั หลักของสังคม พ่อแม่
ต้องเปิดกว้าง แล้วสร้างบรรยากาศที่ดี ให้ครอบครัวได้รับความอบอุ่น ควรให้ความรู้และสร้าง
ภูมิคุ้มกันให้เยาวชนรู้เท่าทันโลกสมัยใหม่ ตลอดถึงการดารงชีวิตอยู่ในโลกยุคโลกาภิวัฒน์ได้อย่างมี
ความสขุ

๒) ปลูกฝังค่านิยมทางศีลธรรมจริยธรรม การจะป้องกันการทาแท้งอย่างได้ผล ต้องปรับ
โครงสร้างทางสังคมให้มีความคิดเห็นในแนวทางเดียวกันก่อน จากน้ันก็สอนบุตรหลานของตนให้
เป็นไปในทิศทางเดียวกันอย่างจริงจัง ควรสร้างค่านิยมที่ดีงามให้สังคม เช่น การรกั นวลสงวนตัว การ
เคารพในสิทธิของผู้อ่ืน การให้ความสาคัญของการได้เป็นพ่อแม่ และความงดงามของสถาบัน
ครอบครัว ตลอดถึงไม่ควรกาหนดกฎหมายทาแท้งเสรีเด็ดขาด แต่ควรเพ่ิมความเข้มข้นของกฎหมาย
บนวถิ แี ห่งคุณธรรม

๓) สังคมต้องร่วมมือกันแก้ปัญหา เมืองไทยเป็นเมืองพุทธ การฆ่าหรือทาลายส่ิงมีชีวิตถือ
ว่าเป็นบาป ซ่ึงความรู้สึกบาปมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับการเรียนรู้และเจตนาของแตล่ ะบุคคล ดังนั้น การ
ป้องกันไม่ให้เกิดการต้ังท้อง น่าจะเป็นวิธีท่ีดีกว่าการทาแท้ง แต่เมื่อเกิดการต้ังท้อง โดยไม่พร้อม
เกิดข้ึน สังคมควรหาทางออกหรือช่วยสังคมกลุ่มนี้ได้อย่างไร โดยที่จะผิดท้ังกฎหมายและศีลธรรม
ความแตกตา่ งทางความคดิ ในการทาแทง้ ของสังคมไทย คนในสงั คมควรประสานความคิดและร่วมมือ
กันระหว่างฝ่ายอนรุ ักษน์ ยิ มการทาแทง้ กับฝา่ ยกระทาแท้งโดยเสรี เพือ่ ให้ยอมรบั กนั ได้ โดยต้องอาศัย
ความร่วมมือร่วมใจของทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นคนในสังคม ภาครัฐ และศาสนาในการท่ีจะป้องกัน
และแกไ้ ขปัญหาร่วมกนั

๔) ออกกฎหมายและกาหนดบทลงโทษอย่างสูงสุด ตัวบทกฎหมาย ควรเพิ่มบทลงโทษสา
หรับผู้ชายที่ทาให้เกิดการตั้งครรภ์ด้วย การทาแท้งที่ปลอดภัย อยู่ในขอบเขตของกฎหมาย ควรเป็น
ทางเลือกหนึ่งของหญิงต้ังครรภ์ไม่พร้อม และหลังยุติการตั้งครรภ์ ควรมีบริการให้คาปรึกษาและ
วางแผนครอบครัว เลือกวิธีคุมกาเนิดท่ีได้ผล รวมถึงให้ผู้ชายร่วมรับผิดชอบในการคุมกาเนิด การเป็น
พอ่ เพื่อป้องกันตั้งครรภไ์ ม่พร้อมซา้ สถานที่การทาแท้ง มีท้ังเปิดเผย และไม่เปิดเผย ทาให้ไม่กลัวเม่ือ
ต้องทาแท้ง และการให้ความรู้เพศศึกษา ความรู้ในการป้องกันการตั้งครรภ์ ผลกระทบจากการ
ตัง้ ครรภ์ ในทุกกลุม่ ทั้งวัยเรียนและวัยทางาน จะช่วยลดการต้ังครรภ์ไม่พึงประสงค์ และอัตราการทา
แท้งจะลดลงตามมา

นักวิชาการด้านพระพุทธศาสนา ถือว่าการทาแท้งเป็นบาปและไม่ควรทาด้วยประการทั้ง
ปวง เพราะเป็นการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ขัดแย้งกับศีลข้อ ๑ ที่บอกว่าให้ละเว้นจากการฆ่า ความคิดนี้เป็น
รากฐานให้แก่บทบัญญัติในประมวลกฎหมายอาญาท่ีระบุว่าการทาแท้งทาได้เฉพาะในกรณีที่ชีวิตของ
แมอ่ ยใู่ นอันตราย หากปลอ่ ยให้ตั้งครรภต์ ่อไปภายใตค้ วามขัดแย้งของสงั คมไทยท่ีกาลังเปลย่ี นแปลงไป
ข้างหน้าอย่างรุนแรง การอ้างเหตุผลส่วนใหญ่ของฝ่ายที่ต่อต้านการทาแท้งนั้น มักจะมาจากหลักการ
ของพุทธศาสนาท่ีระบุว่าเน่ืองจากการทาแท้งเป็นการฆ่า และการฆ่าเป็นบาป จึงไม่ควรมีการทาแท้ง
อย่างไรก็ตาม หากถามว่าแล้วหลักของพุทธศาสนาจริงๆ เก่ียวกับการทาแท้งเป็นอย่างไร ดังน้ัน จึง
อา้ งไดเ้ ช่นเดียวกนั วา่ การทาแท้งเป็นความจาเปน็ เพราะสภาพสังคมได้เปล่ียนไปแล้ว หลกั พุทธศาสนา
ได้แก่ พรหมวิหาร ๔ อันประกอบด้วยเมตตา กรุณา มุทิตา กับอุเบกขา พรหมวิหาร ท่ีเกี่ยวข้องกับ

๑๑๕

ประเด็นการทาแท้ง ได้แก่ สองอย่างแรก คือเมตตากับกรุณา เมตตาคือปรารถนาให้ผู้อ่ืนมีความสุข
และกรุณาคือปรารถนาให้ผอู้ นื่ พน้ ทกุ ข์

๒.๒.๓ ปญั หายาเสพติด
๑) สภาพปัญหายาเสพติดในสังคมไทยในปัจจุบัน เร่ืองปัญหาสิ่งเสพติดให้โทษ
(Addiction) หรือบางครั้งก็เรียกสั้นๆ ว่า การติดส่ิงเสพติด หรือยาเสพติดนี้ ย่อมแตกต่างจากคาว่า
การติดเป็นนิสัย (Habituation) ซ่ึงหมายถึง สารใดๆ ก็ตามที่นามาเสพแล้วทาให้เกิดอาการติดข้ึน
เนื่องจากความเช่ือมั่นหรือ นิสัยความเคยชินของผู้เสพเอง โดยสารน้ันไม่มีฤทธ์ิทาให้ติด เช่น บุหรี่
หมาก ยานัตถ์ุ ยาถ่าย ยาดองสรุ า เป็นตน้
ดังน้ัน สังคมปัจจุบันมีปัญหายาเสพยาติดที่ปรากฏในหมู่คนไทยมีรูปแบบต่างๆ กันและ
ลกั ษณะปัญหาแตกต่างออกไป ชาวไทยภูเขาท่ีอาศัยอยูใ่ นภาคเหนือของประเทศไทย ส่วนหนึ่งมีอาชีพ
หลักในการปลูกฝิ่นและจานวนไม่น้อยทีjสูบและติดฝ่ินด้วย ในหมู่ชาวไทยในชนบทพื้นราบก็มีกาสูบ
ฝ่ินใช้ใบกระท่อม กัญชา ยาม้าหรือยาขยันและยาแก้ปวดอยู่อย่างแพร่หลายปัญหาท่ีร้ายแรงตามมา
คือ การแพร่ระบาดของการติดยาเสพติดหลายชนิดปนกันอยู่ในขณะน้ีท้ังในต่างจังหวัดและในเขต
กรุงเทพมหานครโดยเฉพาะยาม้าหรือยาบ้า ได้แพร่กระจายเข้าในแทบทุกชุมชนและหมู่บ้านซ่ึงนับว่า
เป็นปัญหาใหญใ่ นขณะน้ีทที่ ุกคนตอ้ งรว่ มกนั แก้ไข
๒) วธิ ีการแกป้ ัญหายาเสพยาติดของภาครฐั ภาคเอกชน และองค์กรทางพระพุทธศาสนา
วิธีแก้ปัญหายาเสพยาติดของภาครัฐคอื สานกั งาน ป.ป.ส. ในฐานะหน่วยงานกลางในการ
กาหนดนโยบายการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ให้ความสาคัญกับการมีส่วนร่วมใน
กระบวนการจดั ทายุทธศาสตร์ฯ ของภาคกี ารพัฒนาทกุ ภาคส่วน ตั้งแต่ระดับภาคและประเทศลงมามี
ส่วนรว่ มกันทางาน
ดังนั้น การจัดทายุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในระยะต่อไป ซึ่งอยู่
ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับท่ี ๑๑ (พ.ศ. ๒๕๕๕-๒๕๕๙) จาเป็นต้องอาศัย
การมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน จึงได้เปิดเวทีรับฟังความเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้เกี่ยวข้องทั้งภาค
ราชการ เอกชน องค์กรอิสระ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคประชาสังคม และภาคประชาชน
เพ่ือให้ได้ข้อมูล ข้อคิดเห็น ข้อเสนอ และกรอบทิศทางการดาเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพ
ติดและนาไปประกอบการยกร่างและจัดทายุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในส่วน
ตอ่ ไป
ด้านการสร้างพลังสังคมและชุมชนต้านยาเสพติด ให้ความสาคัญกับบทบาทของชุมชน
และภาคประชาสังคม โดยการสนับสนุนภาครัฐอย่างเพียงพอทั้งในด้านการพัฒนาองค์ความรู้ภูมิ
ปัญญาให้สามารถจัดการกับปัญหาในชุมชน การจดั ใหม้ ีกองทนุ เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
พลังสังคมและจะสามารถนาไปสู่การควบคุมลดจานวนของยาเสพติดลงได้ หรือไม่กระทรวงยุติธรรม
โดยหนว่ ยงานในสงั กดั ร่วมหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนจะต้องรว่ มกันเป็นภาคใี น
หุ้นส่วนยุทธศาสตร์ เพ่ือขับเคลื่อนนโยบาย ยุทธศาสตร์ให้บรรลุเป้าหมายและช่วยกันสร้างสังคมไทย
ให้เข้มแข็ง อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ด้วยความเสมอภาค เป็นธรรมและมีภูมิคุ้มกันต่อภัยยาเสพติด
ได้ในทjี สุด

๑๑๖

ปัญหายาเสพติดมีความรุนแรงมาก จานวนผู้เสพมีมาก การทาลายของยาเสพติดต่อ
คุณภาพของคนรุนแรงมาก จะต้องใช้ยุทธศาสตร์พลังแผ่นดิน จึงจะได้ผล กล่าวคือ ต้องให้คนท้ังชาติ
มาช่วยกันต้องให้ทุกคนรู้ว่าภัยของชาติในทุกด้านมันมีอยู่จริง ต้องปลุกเร้าให้เกิดความเป็นชาติความ
รักสามคั คี”

การท่ีบุคคลจะตัดสินใจเลือกที่จะใช้ยาเสพติดเป็นทางออกหรือไม่น้ัน มีองค์ประกอบอยู่
หลายอย่างในท่ีนี้ จะขอกลา่ วถึงบริบทโดยรวมทเ่ี ก่ยี วขอ้ ง ในการเออ้ื ให้เกิดปัญหายาเสพติด ดงั นี้ คอื

(๑) สภาวะของสังคม สภาพสังคมที่มีความปกติสุข ทุกคนในสังคมสามารถดาเนิน
ชีวิตอย่างปกติธรรมดาได้อย่างมีความสุข ไม่มีแรงผลักดันให้ต้องพ่ึงยาเสพติด และมีทางเลือกอื่นท่ี
ดีกวา่ การใชย้ าเสพติด การใชย้ าในทางท่ีผิดก็จะไม่เกิดขนึ้

(๒) ขนบธรรมเนียมและประเพณี มีส่วนสาคัญในฐานะปัจจัยเกื้อหนุนต่อการใช้ยา
เสพติดเช่น ครอบครวั ที่พอ่ แม่มอี าชพี ต้มเหล้าขาย หรอื เปดิ รา้ นขายเหลา้ บหุ ร่ี หรือครอบครวั ที่พ่อแม่
นิยมตั้งวงกินเหล้า เล่นไพ่ สูบบุหร่ี รวมท้ังธรรมเนียมพ้ืนบ้านของบางท้องถ่ินที่ชักชวนกันเสพสิ่งเสพ
ติดกันอย่างสนุกสนานในเทศการต่างๆ ย่อมเป็นองค์ประกอบท่ีชักจูงให้เด็กหันไปเสพส่ิงเสพติดตาม
อยา่ งไดอ้ ย่างง่ายดาย

(๓) อิทธิพลความฟุ้งเฟ้อ เป็นอีกปัจจัยหน่ึงท่ีทาให้คนในสังคมหันไปเสพส่ิงเสพติด
เช่น การเฉลิมฉลองในโอกาสต่างๆ การกระทาตามอย่างของวัยรุ่น ท่ีคิดว่ายาเสพติดเป็นส่ิงทีไม่น่า
กลัวและจาเป็น ต้องใช้เพื่อเพิ่มความสนุกสนานในการเที่ยวเตร่ เป็นต้น ความฟุ้งเฟ้อเหล่าน้ีเป็นเร่ือง
ของค่านยิ มทเี่ ราจะรณรงคช์ กั จงู ให้เลิกหรือขจดั ให้หมดไปไดย้ ากย่ิง

(๔) ขาดแคลนแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ การท่ีประชาชนในสังคมขาดแคลนแหล่ง
พักผอ่ นทั้งกายและใจ ทาให้ไม่มีชอ่ งทางผ่อนคลายความเครียดและความกดดนั ประชาชนบางส่วนจึง
หนั เข้าหาการพกั ผ่อนดว้ ยการดม่ื เหลา้

๓) การนาหลกั พทุ ธธรรมไปประยกุ ต์ใชใ้ นการแก้ไขปญั หายาเสพยาติดในสงั คมไทย
ในการหาทางออกจากปัญหายาเสพยาติดเพ่ือแก้ปัญหาสังคมไทยปัจจบุ ัน เป็นการร้จู ักใช้
หลักธรรมในทางพระพุทธศาสนา เพ่ือแก้ปัญหาอันเกิดขึ้นแก่ตัวบุคคลผู้เสพยาเสพติด ด้วยอาศัย
หลกั ธรรมทง้ั ๓ ประการ คือ

(๑) อบายมขุ ๖ เป็นเคร่ืองช้ีนาให้เหน็ โทษทัณฑ์ของการเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพยา
ติดว่ามีผลเป็นอย่างไร เช่น เสียทรัพย์ทันตา หรือเกิดโรคภัยต่างๆ เป็นต้น และมีรูปแบบอย่างไรท่ีจะ
เอื้อให้เขา้ ไปคลุกคลีกับยาเสพยาติดเช่น การคบคนช่ัวเปน็ มิตรซึ่งจะชักนาไปในทางฉิบหายต่างๆ อันมี
การเทยี่ วกลางคืน และตกผลึกท่ีการยาเสพยาตดิ แลว้ เกิดปญั หาในทส่ี ดุ

(๒) ส่วนเบญจศีล เป็นเสมือนตะปูท่ีตอกย้าให้รู้ว่าเมื่อเรารู้ภัยแล้วควรท่ีจะหยุดเสีย
แล้วด้วยหลักการที่มีอยู่ เป็นการงดเวน้ จากการยาเสพยาตดิ นั้นอยา่ งเดด็ ขาดและ

(๓) สมถะ-วิปัสสนากรรมฐานเป็นเสมือนยามรักษาการณ์ ที่คอยระแวดระวังภัย
ต่างๆ รอบตวั เราไม่ให้ผดิ พลาดพล้ังอกี ครั้งหน่ึง

หลกั พุทธธรรมท่ีเกย่ี วการแก้ปัญหาผลกระทบต่อสงั คมโดยรวม มี ๓ กลุ่มคือ

๑๑๗

(๑) หลักธรรมท่ีใช้ระงับ การยาเสพยาติด คือ มิตรแท้ มิตรเทียม เพราะการคบ
เพ่ือนท่ีดยี ่อมพาไปหาส่ิงทดี่ ีๆ ถ้าคบเพื่อนไม่ดกี ็อาจพาในสิ่งท่ีไม่ดี เช่นพาไปเกี่ยวข้องกับยาเสพยาติด
ก็ไดเ้ พราะฉะนั้นการคบเพื่อน เราควรเลอื กคบคนที่เป็นแท้ไม่ใชค่ นเทยี มมิตร

(๒) หลักธรรมที่ใช้ป้องกัน ไม่ให้คนรุ่นใหม่ หรือคนที่ยังไม่เคยใช้เสพยาติดเข้าไป
เกยี่ วขอ้ งกบั ยาเสพยาติด คอื เบญจธรรม เพราะเบญจธรรมนั้นเปน็ เสมือนรั้วทลี่ อ้ มไว้ป้องกนั ภยั ให้กับ
ประชากรทกุ วถิ ีทางและ

(๓) หลักธรรมที่ใช้ส่งเสริมคุณภาพชีวิตแก่ประชากรในสังคม คือการส่งเสริมให้เขา
รู้จักท่ีจะอยู่รอดด้วยธรรม ได้แก่ อริยสัจสี่ เป็นหลักธรรมเพ่ือรู้จักปัญหา สาเหตุ กาหนดเป้าหมาย
แนวทางการแก้ปัญหา มลี ะเอียดดงั น้ี

(๑) ช้ีปัญหา (ทุกข์) กลุ่มตัวอย่างให้ทัศนะว่า ปัญหายาเสพติดท่ีผ่านมามีความ
รุนแรงต่อทุกคนในสังคม ก่อให้เกิดปัญหาอื่นๆ เช่น ปัญหาการก่อคดีอาชญากรรม ทาให้ไดร้ ับทุกข์ท้ัง
ตนเอง ผอู้ นื่ และสังคม

(๒)หาสาเหตุ (สมุทัย) ทุกคนให้ทัศนะว่า ผู้เสพเสพยาเสพติดเพราะ เพ่ือนยุ อยาก
ลอง มีปัญหาครอบครัว และคุณสมบัติของยาเสพติด ส่วนผู้ค้าน้ันมีสาเหตุมาจากเป็นการค้าท่ีได้
ผลตอบแทนสูง ตราบใดท่ีมีผู้ซื้อก็ต้องมีผู้ค้า พื้นฐานปัญหามาจากความยากจน ถึงแม้จะมีบทลงโทษ
อย่างไรกต็ าม ถา้ ผ้ซู ื้อและผขู้ ายมคี วามตอ้ งการตรงกันปัญหายาเสพติดก็ครบองคป์ ระกอบ

(๓) กาหนดเป้าหมาย (นิโรธ) ทุกคนมีความเห็นตรงกันว่าไมต่ ้องการให้ครอบครัวไป
ยุ่งกบั ยาเสพติด ไม่อยากให้ยาเสพติดอยู่ในสังคมเรา อยากให้ยาเสพตดิ หมดไปจากสังคมเราดว้ ยความ
รว่ มมือของทุกฝา่ ยเป็นพลงั แผน่ ดนิ

(๔) แนวทางการแก้ปัญหา (มรรค) ส่วนใหญ่เห็นควรให้มีการจัดค่ายฝึกอบรมทา
ชมุ ชนให้เข้มแขง็ ร่วมกันเป็นพลังต่อแผ่นดิน ขจัดสิ้นยาเสพติดและดูแลลูกหลานไม่ให้ไปยุ่งเกี่ยว หาก
พบคนเสพก็นาไปบาบัดฟ้ืนฟู ส่วนข้อกฎหมายเกี่ยวกับการยึดทรัพย์และตัดตอนมีท้ังเห็นด้วยและไม่
เห็นดว้ ย การสร้างครอบครวั ใหอ้ บอ่นุ เปน็ พลงั ท่ีจะต่อต้านปัญหายาเสพตดิ ได้

๖.๒.๓ การทาดีแล้วไมไ่ ดด้ ี
ทฤษฎีการทาความดีของพระพุทธศาสนา มาตรฐานแห่งความดีความช่ัว ท่านอาจารย์
วศนิ อนิ ทสระ๒๕
อะไรคือความดี? อะไรคือความชั่ว? เป็น ปัญหาทางจริยศาสตร์ ซ่ึงนักปราชญ์ทางน้ีได้
ถกเถียงกันเป็นอันมากและตกลงกันไม่ค่อยได้ เพราะมีขอบเขตกว้างขวางมาก อะไรคือคุณธรรม? ก็
เป็นปัญหาที่ตอบยากเช่นเดียวกัน นักปราชญ์ทั้งหลาย แม้เป็นถึงศาสดาผู้ต้ังศาสนาที่มีคนนับถือท่ัว
โลกกย็ ังบัญญตั คิ ณุ ธรรมไว้ไม่ตรงกัน ยงิ่ หยอ่ น กว้างแคบกวา่ กัน
ความช่ัวกับความผิด เปน็ อันเดียวกนั หรือไม่ ความดีกับความถูกตอ้ ง เป็นอย่างเดียวกันหรือ
ต่างกัน หมายความว่า ความถูกต้องอาจไม่เป็น ความดีเสมอไปหรืออย่างไร? น่ีก็เป็นปัญหาทางจริย-
ศาสตรเ์ ช่นเดยี วกนั คนส่วนมากมักถือเอาความสุข ความสมปรารถนาในชีวิตปัจจบุ ันเป็นมาตรฐานวัด
ความดี คือความดีต้องมีผลออกมาเป็นความสุข ความสมปรารถนา เป็น ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ส่วน

๒๕ วศิน อินทสระ, จรยิ ศาสตร์, พิมพ์คร้ังที่ ๒, (กรงุ เทพมหานคร: บรรณาคาร, ๒๕๒๙), หน้า ๑๔๘.

๑๑๘

ความช่ัวตอ้ งมผี ลตรงกนั ข้าม แต่ในความเปน็ จริงแล้วไมแ่ น่เสมอไป ดังได้กล่าวไว้แล้วในตอนท่ีว่าด้วย
ผลภายในผลภายนอกท่ีว่านี้หมายถึงผลของกรรมน้ันโดยตรง ในแง่ของพระพุทธเจ้าทรงให้แนวคิดไว้
วา่ “กรรมใดทาแล้วไม่เดือดร้อนภายหลัง กรรมนั้นดี บุคคลทากรรมใดแล้ว เดือดร้อนภายหลังกรรม
น้นั ไม่ด”ี

ตามแง่น้ี เราจะมองเห็นความจริงอย่างหน่ึงว่า คนทาชั่วบางคนได้รับความสุข เพราะการ
ทาช่ัวนั้นในเบื้องต้น ถ้าเขาเพลิดเพลินในการทาช่ัวนั้นต่อไป ไม่รีบเลิกเสีย เขาจะต้องได้รับความทุกข์
ในตอนปลาย ส่วนคนทาความดบี างคน ได้รับความทกุ ขใ์ นเบอ้ื งต้น แต่ถ้าเขาม่นั อยู่ในความดนี ้ันตอ่ ไป
ไมย่ อมเลิกทาความดี เขายอ่ มต้องไดร้ บั ความสุขในเบอื้ งปลาย

ตัวอยา่ งท่ี ๑ . เช่น
นางสาว ก. เป็นเดก็ ต่างจังหวัด ฐานะยากจนมาก จึงตัดสินใจขายตัว แลว้ เอาเงนิ มาส่งเสีย

ตัวเองเรียนหนังสือ ทาให้มีฐานะทางเงินร่ารวยมากมาย เสวยสุขมีบ้านและรถยนต์ และส่งเสียทาง
บา้ นไดต้ ่อมา นางสาว ก. ติดโรคเอดส์จากลกู ค้า จนตัวเองตายดังน้ี

ให้ทา่ นวิเคราะห์ตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาว่า การกระทาของนายสาวเป็นกรรมดี
หรือไม่ เพยี งใด

ตามปัญหาวิเคราะห์จากหลกั พทุ ธธรรมต่อไปน้ี
พระพทุ ธเจ้าทรงใหแ้ นวคิดไวว้ า่ “กรรมใดทาแลว้ ไม่เดือดร้อนภายหลงั กรรมนั้นดี บคุ คล
ทากรรมใดแลว้ เดือดร้อนภายหลังกรรมนนั้ ไม่ดี”
การทีน่ างสาวก. ตดั สนิ ขายตวั เพือ่ เรียนหนังสอื และสง่ เสยี ทางบ้านแม้จะเป็นกรรมท่ีมี
เจตนาดีก็แต่ทาใหน้ างสาวก. เดือดร้อนภายหลังเพราะ เป็นโรคเอดส์
ดงั น้นั การกระทาของนางสาวก. เป็นกรรมไม่ดี ตรงกบั ขอ้ ความทีพ่ ระพุทธเจ้าตรสั ไว้วา่
“เมอื่ กรรมชั่วยังไม่ให้ผล คนช่วั อาจ เหน็ กรรมชว่ั เปน็ กรรมดี แตเ่ มอ่ื กรรมช่ัวให้ผล เขาย่อมเหน็ กรรม
ชัว่ วา่ เป็นกรรมชว่ั ส่วนคนดี อาจเห็นกรรมดีเป็นกรรมชั่ว เมื่อกรรมดยี งั ไมใ่ หผ้ ล แต่เมื่อใดกรรมดี
ใหผ้ ล เมอ่ื นนั้ เขาย่อมเห็นกรรมดีเป็นกรรมดี”โดยนัยดังกลา่ วนี้ ถา้ มองกรรมและผลของกรรมในสาย
ส้ัน อาจทาความไขวเ้ ขวบา้ งในบางเรอื่ ง แตถ่ ้ามองในสายยาว จะเห็นถูกต้องทุกเรอื่ งไป ความเปน็ ไป
ในชวี ิตคน เป็นปฏิกริ ยิ าแห่งกรรมของเขาทั้งสิน้ ถา้ มองในสายสน้ั กจ็ ะยงั ไม่เห็น แต่ถ้าเรามองเหตุผล
สายยาวก็จะเหน็
ตวั อยา่ งเช่น
นายก. มีอาชีพรับราชการมีตาแหน่งใหญ่โต ได้เงินมาจากการคอรัปชั่น มากมายท่ี
คู่สัญญามอบให้โดยเสน่หา จนสามารถซื้อบ้านหลายหลังและสามารถส่งลูกไปเรียนต่างประเทศได้ มี
งานทาทุกคน ต่อมาทางราชการจับได้ว่ามีเงินได้มาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย จะยึดทรัพย์คืน สู้คดี
เกอื บ ๑๐ ปแี ต่คดขี าดอายุความแลว้
ดงั นี้ ให้วิเคราะหว์ า่ การกระทาของนายก.เป็นการทาดหี รอื ไม่เพยี งใด
พระพุทธเจ้าตรสั ไว้วา่ “เมื่อกรรมช่ัวยังไมใ่ ห้ผล คนช่ัวอาจ เห็นกรรมชัว่ เป็นกรรมดี แต่เม่ือ
กรรมชั่วให้ผล เขาย่อมเห็นกรรมชวั่ ว่าเป็นกรรมช่ัว สว่ นคนดีอาจเห็นกรรมดเี ป็นกรรมช่ัว เม่ือกรรมดี
ยังไม่ใหผ้ ล แตเ่ ม่ือใดกรรมดใี ห้ผล เม่ือนน้ั เขาย่อมเห็นกรรมดเี ปน็ กรรมดี”

๑๑๙

ตัวอย่างที่ ๒. นายก. มีอาชีพรับราชการมีตาแหน่งใหญ่โต ได้เงินมาจากการคอรัปชั่น
มากมายที่คู่สัญญามอบให้โดยเสน่หาจนสามารถซื้อบ้านหลายหลังและสามารถส่งลูกไปเรียน
ต่างประเทศได้ มีงานทาทุกคน ต่อมาทางราชการจับได้ว่ามีเงินได้มาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย จะยึด
ทรพั ยค์ ืน สคู้ ดีเกอื บ ๑๐ ปีแต่คดีขาดอายคุ วามแล้ว

ให้ท่านวิเคราะห์การกระทาของนายก. เป็นกรรมดีหรือไม่เพียงใด “เม่ือกรรมชั่วยังไม่ให้ผล
คนชวั่ อาจ เห็นกรรมชวั่ เปน็ กรรมดี แต่เมอื่ กรรมช่ัวใหผ้ ล เขาย่อมเหน็ กรรมช่วั ว่าเป็นกรรมชั่ว สว่ นคน
ดีอาจเห็นกรรมดเี ปน็ กรรมชั่ว เม่ือกรรมดียังไม่ใหผ้ ล แต่เม่ือใดกรรมดีให้ผล เมื่อน้ันเขาย่อมเห็นกรรม
ดีเปน็ กรรมดี”

นายก. ได้เงินโดยเสน่หา แม้จะได้โดยหน้าที่กต็ าม แต่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จนถูกฟ้องคดี
เป็นกรรมทีท่ าไปแลว้ ทาให้เดอื ดรอ้ นในภายหลงั เพราะต้องต่อสู้คดี

ดงั นั้น การกระทาของนายก. เป็นกรรมไม่ดี ตามปญั หา นายก. ไดเ้ งินมาจากการคอรปั ชั่น
มากมายเป็นกรรมชั่วหรือกรรมไม่ดี แม้จะให้ผลช้า แต่ต้องต่อสคู้ ดีทาให้เดือดร้อนเพราะข้ึนศาลเกือบ
๑๐ ปี

๖.๒.๔ ปญั หาทางการเมอื ง
ปัญหาทางการเมืองมีจานวนมากมายหลายอย่างดังได้กล่าวมาแล้ว ในท่ีน้ีจะนาเอาปัญหา
คอรปั ช่ันมาแสดงไว้เปน็ ตวั อยา่ งในการวเิ คราะหป์ ัญหาสังคม ในการเสนอปัญหานี้และปัญหาอน่ื ต่อไป
จะได้ใชโ้ ครงสร้างการเสนอดังน้ี
(๑) นิยาม-ชั้นน้ีจะกล่าวถึงความหมายของเรื่องราวที่จะกล่าวถึง เช่น ภายใต้หัวข้อน้ีก็จะ
เป็นนิยามของคอรัปช่ัน ซึ่งจะเป็นการตอบปัญหาว่า “คอรปั ชั่น คืออะไร” อันเป็นการทาความเข้าใจ
ร่วมกันกอ่ นทจ่ี ะพูดถึงหัวขอ้ อื่นต่อไป
(๒) สาเหตุ-กล่าวถึงสาเหตุท้ังในแง่ทฤษฎีและผลจากการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับปัญหาน้ันว่า
อาจเกดิ จากสาเหตุใดบ้าง หวั ขอ้ นจ้ี ะประมวลเหตทุ ีอ่ าจเปน็ ท่มี าของปญั หาน้นั ทง้ั หมด
(๓) สภาพ-เป็นการกล่าวถึงหลักการท่ัวไปทางสังคมวิทยาเกี่ยวกับปัญหาสังคมนั้นๆ โดย
ช้ีให้เห็นสถานการณ์ท่ีปัญหาน้ันเกิดขึ้น การทาเช่นน้ีจะทาให้เข้าใจภูมิหลังการเกิดและวิวัฒนาการ
ของปัญหาน้ันว่าเป็นอย่างไร หลักท่ียึดเป็นเกณฑ์คือ การท่ีบุคคลต้องมีการกระทาระหว่างกัน หรือมี
สมั พนั ธก์ นั ทางสงั คมเสยี ก่อน แลว้ ปัญหาสังคมจึงจะเกดิ ตามมา
(๔) ผลกระทบ-ทุกปัญหาท่ีจะกล่าวถึงถือว่าจะก่อผลกระทบหรือภัยอันตรายให้แก่บุคคล
และความสัมพันธ์ทางสังคมท้ังส้ิน ผลกระทบน้ีมีอะไรบ้าง ในแต่ละปัญหาก็จะได้นามาพรรณนาไว้
ภายใต้หัวข้อน้ี ผลกระทบที่จะนามากล่าวไว้อาจเป็นทั้งสิ่งท่ีได้จากการค้นคว้าวิจัย หรือจากแนวคิด
ทฤษฎีทไ่ี ด้มผี ู้รูค้ ดิ ค้นไว้ตามหลกั เหตุผลท่นี า่ จะเป็นไปได้
(๕) แนวทางแก้ไข-ในข้ันสุดท้ายของการเสนอปัญหาแต่ละเรื่อง จะได้ประมวลแนวทาง
ปอ้ งกันและแก้ไขปัญหานั้นๆ ไว้ด้วยทกุ เรื่อง แนวทางที่จะเสนอในแต่ละปัญหาจะยดึ หลกั เหตุผลหลัก
วิชาเปน็ เกณฑ์

๖.๒.๕ ปญั หาคอรร์ ัปช่ัน

๑๒๐

(๑) นิยาม การคอรัปช่ัน หมายถึง การท่ีผู้อยู่ในตาแหน่งอานาจขององค์การสาธารณะ
และเอกชนใช้หรืองดเว้นการใช้ตาแหน่งหน้าท่ีเพื่อผลประโยชน์ของตน หรือพรรคพวก การกระทา
เช่นนั้นมักเป็นการผิดกฎหมาย หรือหลักศีลธรรมของบ้านเมืองจากคาจากัดความน้ีจะเห็นว่า
คอรัปช่ันเป็นเร่ืองของคนท่อี ยู่ในตาแหน่งอานาจไม่วา่ จะเป็นข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ องค์การ
สาธารณะ เช่น มูลนิธิ สมาคม เป็นต้น หรือหน่วยงานของเอกชน เช่น โรงงานอุตสาหกรรม บริษัท
ร้านค้า เป็นต้น ตาแหน่งอานาจคือ ตาแหน่งที่สามารถก่อผลกระทบต่อผู้อ่ืนได้มาก เช่น ตาแหน่งคุม
กาลัง ตาแหน่งท่ีควบคุมผลประโยชน์ขององค์กร ตาแหน่งท่ีควบคุมบุคลากร ตาแหน่งที่ดูแลเก่ียวกับ
ความสงบเรียบร้อยของสังคมเป็นต้น ส่วนคาว่า “ผลประโยชน์” นั้นส่วนใหญ่จะหมายถึง เงินทอง
ทรัพย์สิน หรือส่ิงอ่ืนท่ีควรค่าเป็นเงินได้ แต่ผลประโยชน์อาจมีรูปอื่นได้ เช่น การได้อานาจหรือรักษา
อานาจทางการเมืองเอาไว้ เป็นต้น ผลประโยชน์นี้อาจจะเป็นได้ทั้งทางตรง เช่น การใช้อานาจหน้าท่ี
บางอย่าง ชาวบ้านหรือบุคคลท่ัวไปเล็งเห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมแต่ผลประโยชน์นั้นตกแก่ผู้ใช้
อานาจภายหลัง ดังน้ี เป็นต้น ผลประโยชน์น้ีรวมทั้งผลประโยชน์แก่ผู้ใช้อานาจเองหรอื พวกพ้อง เช่น
เพ่ือน ญาติ สมาชิกพรรคการเมืองเดียวกัน ข้าราชการสานักเดียวกัน พนักงานรัฐวิสาหกิจเดียวกัน
เป็นตน้

ประการต่อมา การคอร์รัปช่ัน อาจเป็นได้ทั้งการใช้อานาจหน้าที่ เช่น จับกุมคุมขัง อนุมัติ
การซ้ือ-ขาย อนุญาตให้ใช้ประโยชน์ในที่ดิน เครื่องมือ เครื่องใช้หรือรับบุคคลเข้าทางาน เข้าโรงเรยี น
หรือเลื่อนขั้น หรอื เล่ือนตาแหนง่ หรอื โยกย้ายไปในที่ดีกว่า เป็นตน้ หรือการจงใจงดเว้นการใชอ้ านาจ
เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ตนหรือพรรคพวก ซ่ึงโดยอานาจหน้าท่ีจะต้องใช้อยู่โดยปกติแล้ว เช่น ตารวจ
จราจรไม่จับกุมปรับไหมแก่ผู้ฝ่าฝืนกฎจราจร เพราะได้ประโยชน์จากการงดเว้นอานาจนั้น พนักงาน
สรรพากรจงใจละเลยไม่เรียกเก็บภาษีบางอย่างบางจาพวกหรือบางคน การไม่เรียกเก็บค่าเช่าใน
ทรัพย์สินของทางราชการ การไม่เรียกเก็บหรือเรียกเก็บต่ากว่าอัตรา เรียกเก็บแต่บางส่วน
ค่าภาคหลวงทรัพยากรธรรมชาติของประเทศ ดังนี้เป็นต้น สาหรับในกรณีขององค์กรเอกชนจะเป็น
การกระทาเกี่ยวกับการกาหนดราคาสูงกว่าท่ีควร การลักลอบใช้ลิขสิทธิ์ของผู้อื่น การปลอมแปลง
สินค้า การยักยอกฉ้อฉล เป็นต้น ล้วนอยู่ในข่ายท่ีจะเป็นการคอร์รัปช่ัน ประการสุดท้าย การ
คอร์รัปช่ันเป็นการกระทาหรือการใช้อานาจในทางที่ผิดกฎหมาย หรือหลักศีลธรรมในกรณีที่ไม่มี
กฎหมายระบุไว้ กรณีที่กล่าวมาแล้วข้างต้นหากไม่เป็นการผิดกฎหมายหรือหลักศีลธรรมก็ไม่เข้าข่าย
เป็นการคอร์รัปชนั่

๒) สาเหตุ การคอร์รัปชั่นเกิดข้ึนได้อย่างไร การคอร์รัปช่ันอาจเกิดขึ้นเน่ืองจากสาเหตุ
หลายประการ ในแงว่ ิชาการอาจกล่าวได้ว่าสาเหตุใหญ่ท่ีทาให้เกิดคอร์รัปช่ันน้ันมี ๕ ประการด้วยกัน
คอื

(๒.๑) เกิดจากความชั่วของผู้กระทาคอร์รัปช่ัน พูดอย่างง่ายๆ การคอร์รัปช่ันเกิด
จากการที่มนุษย์บางคนมีความชั่วเป็นสันดาน เมื่อได้มาดารงตาแหน่งแห่งอานาจก็ได้โอกาสสนอง
สันดานชั่วของตน แม้จะถือว่าความช่ัวของมนุษย์อาจเป็นที่มาของคอร์รัปชั่น แต่ต้องตระหนักว่า
มนษุ ย์มไิ ดเ้ ป็นคนชั่วทุกคนและสาเหตุทท่ี าให้เกดิ คอร์รัปชน่ั มีอยา่ งอน่ื อีก

(๒.๒) การเสียระบบในสังคม สาเหตุข้อน้ีหมายความว่า การคอร์รัปชั่นอาจสืบ
เนื่องมาจากการท่ีสังคมขาดระเบียบขาดบรรทัดฐานทางสังคม เกิดการขัดแย้งในเชิงวัฒนธรรมหรือ

๑๒๑

เกิดจากแตกแยกในระบบสังคม เป็นต้น ทาให้ผู้อยู่ในตาแหน่งอานาจไม่ทราบจะปฏิบัติตามบรรทัด
ฐานใดหรือทาการคอร์รัปชั่น เพราะขาดบรรทัดฐานทาให้ไม่มีการควบคุมทางสังคม หรือการขัดแย้ง
เชิงวัฒนธรรม เช่น มีการทาดีทาช่ัวควบคู่กันไปในสังคม ผู้อยู่ในตาแหน่งอานาจจึงเลือกทาทางท่ีเป็น
ประโยชน์แก่ตน

(๒.๓) การขัดแย้งในค่านิยม คือ สิ่งที่ถือว่ามีค่าควรเป็น ควรแสวงหา การขัดแย้งใน
ค่านิยมคือการขัดแย้งในการท่ีจะถือว่าส่ิงใดมีค่าในกรณีของการคอร์รัปชั่นมักเป็นการขัดแย้งระหว่าง
คุณงามความดี ความซ่ือสัตย์ คุณธรรม ชื่อเสียงกับความสุขทางวัตถุ การเงิน มีบ้านหลังใหญ่หรือ
เครื่องอานวยความสะดวกอย่างอืน่ และผ้กู ระทาคอรร์ ัปชั่นเลือกเอาทางมเี งนิ สะดวกสบายทางวัตถุ

(๒.๔) พฤติกรรมเบี่ยงเบน คือการกระทาของมนุษย์ท่ีไม่ถูกต้องตามบรรทัดฐานท่ี
ยึดถือกันในสังคม การคอร์รัปช่ันอาจถือเป็นการเบ่ียงเบนจากบรรทัดฐานได้ ท้ังนี้เนื่องจากการที่
สงั คมเฝ้าสอนให้ผู้อ่นื ในสังคมพยายามสรา้ งตัว สรา้ งฐานะ แต่ขณะเดียวกันสังคมมิได้ให้วิธกี ารในการ
บรรลุเป้าหมายน้ันอย่างเพียงพอ ผู้ที่อยู่ในตาแหน่งอานาจจึงต้องคอร์รัปชั่นเพ่ือให้บรรลุเป้าหมาย
ดังท่ีสังคมปลูกฝังไว้

(๒.๕) เร่ืองของช่ือหรือมาตรฐานที่ตา่ งกัน สาเหตขุ องคอร์รัปช่ันประการสดุ ท้ายอาจ
ไม่เป็นสาเหตุอย่างแท้จริง เพราะเป็นการนาเอาข้อถกเถียงกันเกี่ยวกับพฤติกรรมท่ีเรียกว่าปัญหา
สังคมเบ่ียงเบน หรือคอร์รัปชั่นมากล่าวไว้กล่าวคือบางทีอาจมีการถกเถียงกันได้ว่า การกระทาเช่น
คอรัปช่ันเป็นปัญหาสังคม หรือเป็นการกระทาท่ีไม่ดีไม่งาม อาจถามได้ว่า เอามาตรฐานอะไรมาวัด
มาตรฐานของใคร การคอร์รัปชั่นเป็นการกระทาอย่างหนึ่งของมนุษย์ จะดีหรือไม่เป็นเร่ืองของ
ความคิดหรือการให้ชื่อเช่นน้ันเท่านั้น การกระทาอย่างเดียวกันโดยผู้อ่ืนหรือในสังคมอื่นก็ไม่ได้ถือว่า
เป็นการคอร์รัปชั่น

๓) สภาพการณ์ คอร์รัปช่นั อาจทาได้หลายรูปแบบ เช่น การใหค้ ่านา้ ร้อนน้าชา ค่าบรกิ าร
(ทิป) ค่าลัดคิว เก็บราคาเกินกว่าที่ระเบียบกาหนด การนาความลับของทางราชการไปแจ้งให้พรรค
พวกทราบ อนุญาตให้เอกชนใช้ประโยชน์จากสาธารณสมบัติ รับสินบน ข่มขู่ ขูดรีด ระบบอุปถัมภ์
งดเว้นไม่จบั กุมผู้กระทาผิด ไม่เก็บภาษี หรือค่าภาคหลวงหรือเกบ็ แต่น้อยไม่ครบจานวน แล้วเบียดบัง
เอาส่วนท่ีเหลือ เป็นต้น สภาพการณ์ทางสังคมที่ส่งเสริม หรือเอ้ืออานวยต่อการคอร์รัปช่ันส่วนใหญ่
จะเป็นช่วงท่ีสังคมขาดระเบียบ หรือมีระเบียบแต่ไม่มีการบังคับใช้อย่างเคร่งครัดรัดกุมเจ้าหน้าที่มี
อานาจมาก สามัญชนมอี านาจน้อย สงั คมดอ้ ยพฒั นา หรือกาลงั เปลย่ี นแปลงพฒั นา เปน็ ตน้

๔) ผลกระทบ การคอร์รัปชั่นส่วนใหญ่มักส่งผลกระทบทางลบแก่บุคคลและสังคม เช่น
ทาใหส้ ังคมเจรญิ ช้า ต้องเสียเงินทอง เวลา และวัตถุมากกว่าทีค่ วรจะเสีย บอ่ นทาลายความม่ันคง ทา
ให้ผูอ้ ื่นเสยี โอกาสหรือเสียประโยชน์ ตัวผู้กระทาเสยี ชื่อเสียงเกียรติยศ เปน็ ต้น แต่การคอร์รัปช่ันอาจมี
ผลทางบวกไดเ้ หมอื นกัน เช่น เป็นเคร่ืองกระต้นุ ให้ผอู้ ย่ใู นอานาจคิดหาช่องทางทจ่ี ะทาโครงการใช้เงิน
ขยายสานักงาน ปรับปรุงเปลี่ยนแปลง หรือพัฒนาสังคม เพ่ือตนจะได้เบียดบังเอาประโยชน์ เป็นต้น
คือ การคอรัปชั่นเป็นเครื่องกระตุ้นให้คนทางานมากข้ึน หรือกระตุ้นให้ผู้เสียประโยชน์มีความ
ระมัดระวังรกั ษาสทิ ธแิ ละโอกาสของตนเองมากขึ้น เป็นต้น

๕) แนวทางแก้ไข อาจทาไดห้ ลายทางดว้ ยกัน กลา่ วโดยสังเขปอาจแก้ไขได้ดงั น้ี

๑๒๒

(๕.๑) อบรมขัดเกลาข้าราชการหรือผู้อยู่ในตาแหน่งอานาจหน้าท่ีให้เป็นคนมี
“คุณธรรม” ใหแ้ สวงหาความสุขทางใจ หรอื ลดลัทธวิ ัตถุนยิ มลงเสยี บา้ ง

(๕.๒) ออกกฎหมายเอาโทษแก่ผู้คอร์รัปช่ันอย่างรุนแรง เช่น จาคุกตลอดชีวิต หรือ
ประหารชีวิต

(๕.๓) ให้การศึกษาแก่ประชาชนทั่วไปเพ่ือให้มีความรู้ ความฉลาดสูงข้ึน จะได้ไม่
เป็นเหย่ือของผู้มอี านาจ

(๕.๔) เร่งสร้างความเจริญทางเศรษฐกิจและการเมือง เพ่ือให้ประชาชนมีรายได้
สูงข้ึน มีฐานะดีข้ึน จะได้ลดการแสวงหาประโยชน์นอกเหนือจากสิ่งที่ตนพึงได้ ความเจริญทางการ
เมืองจะชว่ ยให้ประชาชนรู้ทัน เขา้ มสี ว่ นร่วมปอ้ งกันและขดั ขวางการคอร์รปั ชัน่ เปน็ ตน้

(๕.๕) ให้สวัสดิการและเงินเดือนแก่ผู้อยู่ในตาแหน่งอานาจ อย่างเพียงพอแก่การ
ครองชีพตามฐานะ

(๕.๖) อาจพิจารณาใชร้ ะบบหมนุ เวยี นเปล่ียนตวั ผู้ดารงตาแหน่งอานาจอย่เู สมอ
(๕.๗) อาจให้มีการเลือกต้ังตาแหน่งอานาจท้ังหมด เพ่ือให้ประชาชนได้ควบคุม
อานาจเหล่านัน้ ได้มากข้นึ
(๕.๘) ควรให้มีการแสดงทรัพย์สนิ กอ่ นและหลังการดารงตาแหน่งอานาจทุกคน

๖.๒.๖ ปญั หาความยากจน
๑) นิยาม โดยท่ัวไปมักเข้าใจกันว่า ความยากจนเป็นเร่ืองทางเศรษฐกิจ ดังนั้นจึงมี
เคร่ืองวัดเกี่ยวกับรายได้หรือการเป็นเจ้าของทรัพย์สินตามความเป็นจริง ความยากจนเป็นเครื่องวัด
ทางสังคมด้วยกล่าวคือ เราสามารถหาเครื่องช้ีเก่ียวกับคนและความสัมพันธ์ทางสังคมได้ด้วย เช่น
สภาพจิตใจหรอื ปัญหาสุขภาพอนามัย หรือสาธารณสุข ระดับการศึกษา ค่านิยม ความเชื่อ ทัศนคติ
หรือท่าทีจนบางครั้งนักวิชาการบางคนถึงกับกล่าวว่ามี “วัฒนธรรมแห่งความยากจน”(Culture of
Poverty) หรือวัฒนธรรมของคนชั้นยากจนเสียด้วยซ้า แต่อย่างไรก็ดี ปัจจัยทางเศรษฐกิจและ
เครอ่ื งชค้ี วามยากจนทางเศรษฐกิจกย็ ังคงมคี วามสาคญั อยู่ และตอ้ งนามาพิจารณารว่ มดว้ ยเสมอ
วิชาสาขาสังคมศาสตร์ท่ีได้ศึกษาเรื่องเก่ียวกับความยากจนมามากและนาน ได้แก่ วิชา
เศรษฐศาสตร์ นักเศรษฐศาสตร์ได้แยกความยากจนเป็น ๒ ระดับ หรือ ๒ ประเภทใหญ่ๆ คือ ความ
ยากจนอย่างทส่ี ุด (Absolute Poverty) และความยากจนโดยเปรยี บเทียบ (Relative Poverty) และ
ได้ให้ความหมายของความยากจนประเภทแรกวา่ ระดับการครองชีพท่ีต่าจนไม่สามารถจะบารุงรักษา
สุขภาพและชีวิตอยู่ได้ ซึ่งขยายความให้กว้างขวางออกไปได้ว่า คนท่ีเรียกได้ว่าเป็นคนจนน้ันจะต้องมี
ระดับการครองชีพ(วัดด้วยรายได้ หรือทรพั ย์ของผู้นั้นเป็นสาคัญ) ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ หรือรักษา
สุขภาพให้แข็งแรงพอที่จะสู้การงานได้ สาหรับในสังคมไทยธนาคารโลกได้เคยกาหนดไว้ในปี ๒๕๑๐
ว่า เส้นความยากจน (Poverty Line) ของคนไทยในเมืองคือเดือนละ ๒๐๐ บาท ต่อคน ซ่ึงเมื่อเวลา
ลว่ งเลยมาถึงปัจจุบัน(๒๕๒๔) เมื่อค่าน้ามันแพงข้นึ สนิ ค้าต่างๆ แพงขนึ้ จากปี ๒๕๑๐ ก็ย่งิ จะทาให้ผู้
มีรายได้เพียงเดือนละ ๒๐๐ บาทไม่อาจจะมีชีวิตอยู่ได้ ดังนั้น เส้นของความยากจนท่ีสูงก็คงจะสูงข้ึน
สาหรับความยากจนโดยเปรียบเทียบมีความหมายว่า ภาวการณ์ที่ส่ิงจาเป็นทางเศรษฐกิจยังมีไม่ครบ
หรือหายาก ดังน้ัน คนจนเชิงเปรียบเทียบจึงจนเมื่อเปรียบเทียบกับคนอ่ืนในสังคมของเขา แต่ระดับ
ความเป็นอยู่ของเขายังไม่ถึงขั้นคุกคามต่อชีวิตหรือสุขภาพอนามัยเสียทีเดียว กล่าวอีกนัยหนึ่งคนใน

๑๒๓

จาพวกน้ีคือ คนท่ไี ม่รวยน้ันเอง เพราะในการเปรียบเทียบเขาจะเปรยี บเทียบกับคนท่ีมีฐานะดกี ว่าเขา
สาหรับในสังคมไทยในปี ๒๕๑๐ นักเศรษฐศาสตรอ์ ้างว่า ผทู้ ม่ี ีรายได้เดือนละ๓๓๓ บาทต่อเดอื นเปน็ ผู้
ท่ีอยใู่ นเกณฑ์นคี้ ือ เป็นคนยากจนโดยเปรียบเทยี บ

สาหรับในแง่ของสงั คมวทิ ยาและมานุษยวทิ ยานนั้ นักวิชาการด้านน้ีมีแนวโน้มท่ีจะหาปัจจัย
ทางสังคมเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย กล่าวคือ ความยากจนจะเป็นเร่ืองสงั คมแต่ละสังคมท่ีจะกาหนด ดงั น้ัน
ความยากจนของสังคมหน่ึงไม่อาจจะนามาเปรยี บเทียบกบั อีกสังคมหนึ่ง เพราะสภาพของสังคมแต่ละ
แห่งต่างกัน ความยากจนของคนอเมริกันอาจเป็นคนรวยของไทยก็ได้ ในทานองเดียวกันระดับความ
จนในเมืองกับในชนบทก็จะต้องต่างกัน ความยากจนในทัศนะของสังคมเป็นเร่ืองของการไม่สามารถ
บาบัดความต้องการทางร่างกายและจิตใจ ความสัมพันธ์ทางสังคม ค่านิยม ความเช่ือและท่าทีของ
บุคคลกลุ่มใดกลุ่มหน่ึงท่ีหยิบยกข้ึนมาคานึง เครื่องชี้ความยากจนทางสังคม คือ สุขภาพอนามัยไม่
แข็งแรง มีโรคภัยไข้เจ็บ ความไม่กระฉับกระเฉง ไม่เข้าร่วมในกิจกรรมต่างๆ ของสังคม เช่น การค้า
อุตสาหกรรม การเมือง ความท้อถอย หมดอาลัยในชีวิต การนิยมความรุนแรงในการตัดสินปัญหา
อาชญากรรม ระดับการศึกษาตา่ ความระแวงในเพ่ือนบ้าน ความเช่ือถือโชคลาง เช่ือบุคคลบางคนแต่
ไม่เช่ือในความพยายามของตน ดังท่ี Oscar Lewis กล่าวถึงวัฒนธรรมของคนจน หรือ Banfield
บรรยายถงึ คนจนในอิตาลี เปน็ ตน้

๒) สาเหตุ ในการหาสาเหตุของความยากจนน้ันเราอาจอาศัยแนวอย่างเดียวกันท่ีใช้ในการ
บรรยายสาเหตุของคอร์รัปช่ันนั่นเอง ใช้หลักแนวในการเสนออย่างเดียวกนั แต่สาเหตุในรายละเอียด
จะต่างกนั สาเหตขุ องความยากจนอาจแบ่งได้เปน็ ๕ สาเหตใุ หญ่ คอื

(๒.๑) ความผิดปกติทางกายและจิตใจ เช่น ร่างกายพิการ ทุพพลภาพ ไม่แข็งแรง
เจ็บป่วย หรือชราภาพ จิตพิการ จิตทราม ระดับปัญญาต่า โรคประสาท เป็นต้น อาจเป็นสาเหตุของ
ความยากจนได้

(๒.๒) การเสียระเบียบทางสังคม ทาให้เกิดความยากจนได้ เช่น การแตกแยกของ
ครอบครัว การว่างงาน การผละงาน เกิดการจลาจลหรือสงคราม เกิดภัยธรรมชาติ โรคระบาด การ
เกดิ อุบตั ิเหตุ การเพิม่ ของประชากรอยา่ งรวดเร็ว เป็นตน้ อาจเป็นสาเหตุของความยากจนได้

(๒.๓) พฤติกรรมเบี่ยงเบน ความยากจนอาจเกิดจากการที่สังคมได้ให้โอกาสและ
วิธีการบรรลุเป้าหมาย คือ การสร้างฐานะให้พอกินพอใช้แก่คนทุกช้ันทุกกลุ่ม บุคคลที่ไม่อาจไขว่คว้า
หาโอกาสได้จนเกิดความท้อแท้ ทอดอาลยั หมดความพยายามทจ่ี ะทามาหากนิ หรือกระเสอื กกระสน
สร้างความมัง่ คั่งร่ารวยใหแ้ ก่ตนและครอบครัว

(๒.๔) การขัดแย้งในคา่ นยิ ม บคุ คลที่มีความยากจนอาจเป็นบุคคลท่ีเลือกเส้นทางหา
ความสขุ สงบทางใจ (จิตนิยม) จึงมิไดพ้ ยายามสร้างฐานะตามค่านิยมแบบวัตถนุ ิยม เมือ่ เปรียบคนสอง
กลุ่มจึงไดเ้ กดิ มคี นท่ียากจน (เพราะมเี งนิ ทองทรพั ย์สินนอ้ ยกว่าอีกกลุ่มหนง่ึ )

(๒.๕) การกาหนดมาตรฐานของสังคม บางทีคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งในสังคมใดสังคม
หนึ่งมิได้มีความยากจนข้นแค้นอย่างที่สุดไม่ แต่เม่ือสังคมกาหนดว่า คนท่ีมีรายได้หรือลักษณะ
บางอยา่ งเปน็ คนยากจน คนกลมุ่ น้ันกไ็ ด้ชอ่ื วา่ เปน็ คนยากจน

๓) สภาพการณ์ ความยากจนเป็นส่งิ ที่มีมาควบคู่กับสงั คม แตใ่ นสงั คมโบราณ ปญั หานี้มัก
ไม่มีความรุนแรง หรืออาจไม่ถือเป็นปัญหาเสียด้วยซ้าเพราะในสมัยโน้นความแตกต่างระหว่างกันใน

๑๒๔

สังคมยังมีไม่มาก บุคคลจึงไม่มีความเดือดร้อน แต่ในปัจจุบันความแตกต่างเช่นว่านั้นมีมาก ปัญหา
ความยากจนจึงมีอยู่ทั่วไป ทั้งในประเทศเจริญและประเทศด้อยพัฒนา ท้ังในเมืองและในชนบท
เพราะเมืองที่มีปัญหาความยากจนเรียกว่าแหล่งเส่ือมโทรม(Slum) ความยากจนน้ันนับว่าจะทวีมาก
ขึน้ แทนที่จะลดลงตามความเจริญทางวัตถุของโลก ท้ังน้ีเพราะปัจจัยหลายอย่างส่งเสรมิ ให้เกิดปัญหา
นี้

วัฏจกั รแหง่ ความชั่วร้าย

ความยากจนเป็นความช่ัวร้ายมีลักษณะเปน็ วงจรเชื่อมโยงเปน็ รปู วงกลมสบื เนื่องเป็นลกู โซ่
ดังน้ี

ความยากจน→ความเฉ่ือยชา→ความไม่รู้→ความเจ็บไข้ (แบบเวียนเป็นรูปวงกลม
ทางดา้ นซ้าย)

ความยากจน→ความเจ็บไข้→ความไม่รู้→ความเฉื่อยชา(แบบเวียนเป็นรูปวงกลม
ทางดา้ นขาว)

ดังได้กล่าวมาแล้ว ปัญหาต่าง ๆ เหล่าน้ีรวมทั้งปัญหาความยากจนก่อให้เกิดวัฏจักรแห่ง
ความชัว่ รา้ ย(Vicious Circle)ซึง่ หากผ้ใู ดตกอยูใ่ นวัฏจกั รนี้แล้วเปน็ การยากที่จะตีฝ่าวงลอ้ มออกมาได้

๔) ผลกระทบ ความยากจนก่อผลกระทบตอ่ ทงั้ บุคคลและสงั คมท้ังในแงบ่ วกและแง่ลบแต่
สว่ นใหญจ่ ะเปน็ ผลกระทบในแงล่ บ ซ่ึงเม่ือกลา่ วโดยส่วนรวมและโดยสังเขปดังน้ี

(๔.๑) ความยากจนท่ีได้กาหนดระดับหรือมาตรฐานแน่นอนแล้ว จะเป็นเครื่อง
ช้ีให้เห็นเส้นแบ่งระหว่างความรวยหรือความพอมีพอกิน กับความยากจน หรือใช้เป็นเครื่องแบ่ง
ประเทศรวยและประเทศจนได้

(๔.๒) แหล่งหรือชุมชนอันเป็นท่ีอยู่อาศัยของคนยากจน เป็นแหล่งสาหรับผู้มีใจบุญ
ได้มบี ทบาท ไดแ้ สดงมนษุ ยธรรม ทาบญุ ทาทาน ทาใหผ้ ูท้ าบุญทาทานเกิดความปีติใจ

(๔.๓) ความยากจนอาจเป็นเครื่องกระตุ้นใจให้บุคคลเกิดความมุมานะทุ่มเทความ
พยายามเพื่อไม่ให้คนต้องตกอยู่ในภาวะอันไม่พึงปรารถนาเช่นกัน หรืออาจใช้เป็นเคร่ืองมือกระตุ้นใจ
ลูกหลานศิษย์ให้มีมานะพยายามเพ่อื จะได้หนีหา่ งจากภาวะความยากจน

(๔.๔) ความยากจนอาจส่งผลให้บุคคลมีสุขภาพอนามัยไม่ดี ไม่แข็งแรงอันเป็นการ
ขัดขวางมิให้ประกอบการงาน หรือลดประสิทธิภาพในการทางานลง ซ่ึงจะส่งผลให้มีสภาพยากจนลง
ไปอีก

(๔.๕) ความยากจนอาจเป็นเหตุใหไ้ ม่ได้รับการศึกษาตามความสามารถท่ีมีอยู่ ทาให้
มีการศึกษาต่า(ดูวัฏจักรของความชั่วร้าย) ขาดความชานาญตามท่ีตลาดแรงงานต้องการ ทาให้ผู้
ยากจนไม่สามารถหางานที่ดี ค่าแรงสูงทาได้ ผลตามมาอีกก็คือ คนจนต้องทางานแบบใช้แรงงาน
รายไดต้ ่า เขาจึงไมม่ ีหรอื มีลูท่ างทจี่ ะรา่ รวยน้อย

(๔.๖) คนจนมีแนวโน้มที่จะไม่เห็นคุณค่าของการศึกษาสูง เพราะไม่เช่ือว่ากาลัง
การศึกษาจะช่วยทาให้ชวี ิตเขาดีขึ้นได้ เขาเชื่อว่า การติดต่อกับคนจน(คนรวย คนใหญ่มีอิทธิพล)คนที่
เอ็นดูเห็นใจเขา จะทาให้ชีวิตเขาสะดวกสบาย ได้งานทามากกว่าการศึกษา(อ่านรายละเอียดใน
วัฒนธรรมของคนจน)

๑๒๕

(๔.๗) ความยากจนเป็นสาเหตุประการหน่ึงที่ทาให้คนจนมีความท้อแท้เพลียใจหรือ
เฉ่ือยชา(ดูวัฏจักรแห่งความช่ัวร้าย) ท่ีเป็นดังนี้ อาจจะเป็นเพราะการท่ีเขาเกิดความยากจนข้ึนมา
เพราะความพยายามหลายหนของเขาล้มเหลวหรือขณะที่เป็นคนยากจนเขาได้พยายามสร้างฐานะ
ทางานลงทุนแต่ความพยายามท่ีมีอยู่จากัดและไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ ความพยายามของเขาล้มเหลว
เขาจึงเกดิ ความเฉื่อยชา

(๔.๘) สังคมที่มีคนยากจนเป็นจานวนมาก สังคมจะต้องใช้งบประมาณเป็นจานวน
มากช่วยเหลอื คนเหลา่ นี้ ทาให้สังคมไมส่ ามารถพฒั นาใหเ้ จรญิ ก้าวหน้าไปอย่างรวดเรว็ ได้

(๔.๙) คนจนมักมีครอบครัวใหญ่ เพราะคนจนมีโอกาสไปเปิดหูเปิดตา หรือหาความ
สนุกสนานนอกบา้ นไดน้ ้อย หรอื กลา่ วอกี นัยหนึ่งโลกภายนอกบ้านของคนจนไมส่ ดใสน่าสนกุ สนานเขา
จึงมักหาความสขุ ในบา้ น

(๔.๑๐) ความยากจนทาให้สังคมมีความอ่อนแอทางเศรษฐกิจและการเมืองด้วย
เพราะคนจนไม่สามารถมีส่วนร่วมอย่างมีประสิทธิภาพในการพัฒนาเศรษฐกิจ และคนจนไม่สามารถ
จะมีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างมปี ระสิทธภิ าพ บางทีอาจไม่สนใจใยดตี ่อการเมืองของประเทศเสียเลย
ก็ได้

(๕) แนวทางจัดการกับปัญหาความยากจน แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาความ
ยากจน อาจทาไดห้ ลายทาง กล่าวโดยสังเขปวธิ ตี ่างๆ มดี งั น้ี

(๕.๑) ด้านร่างกายและจิตใจ การป้องกัน หรือแก้ไขความยากจนอาจเกี่ยวข้องกับ
รา่ งกายของคนจนหรือคนที่อาจยากจนได้ต่อไป เช่น การให้สวัสดิการเก่ียวกับอาหารการกินไม่ให้อด
อยากส่งเสริมความรู้และการปฏิบัติเกี่ยวกับการรักษาสุขภาพอนามัย จัดระเบียบภายในสังคมหรือ
ชุมชนให้เรียบร้อย เพื่อให้บุคคลมีจิตใจดี ส่งเสริมการศึกษาให้ความรู้เพื่อพัฒนาปัญญา
ความสามารถ ปลูกฝังความเชื่อทัศนคติ ค่านยิ มทางวัตถุนิยม ใหม้ ุ่งความสาเร็จ ขยนั อดทน กล้าสูก้ ับ
ปญั หาและอปุ สรรค เป็นต้น

(๕.๒) ด้านการจัดระเบียบสังคม สังคมหรอื ประเทศชาติจะต้องพยายามจัดระเบียบ
ภายในสังคมให้มีความเป็นระเบียบเรียบรอ้ ยมกี ารจัดสรรมอบหมายตาแหน่งหน้าทค่ี วามรบั ผดิ ชอบให้
ชัดเจน สร้างกฎเกณฑ์การประพฤติปฏิบัติระหว่างกันให้มากและแจ่มชัดพร้อมท้ังมีการควบคุมกัน
อยา่ งเข้มงวดใหท้ ุกคนอยูใ่ นระเบียบวินัย เพ่ือใหท้ ุกคนได้ปฏิบัตหิ น้าทีค่ วามรบั ผดิ ชอบของตนได้อยา่ ง
สะดวก มีประสิทธิภาพ ไม่ต้องเป็นกังวลหรือกลัวเกรงความไม่สงบเรียบร้อย หรือการแตกแยกไม่
มนั่ คงของสังคมและมีความรักและผูกพันธ์ุต่อสังคม

(๕.๓) การให้โอกาสและวิธีการบรรลุเป้าหมายที่สังคมปลูกฝังอย่างเท่าเทียมกันใน
ขณะที่หัวข้อ(๕.๒) เป็นเร่ืองการจัดระเบียบหรือความเป็นปึกแผ่นของสังคม ในข้อน้ีเน้นเรื่องการให้
โอกาสในเรอื่ งการปฏบิ ัติหน้าท่ีตามบทบาท หรือสถานภาพให้บรรลุเป้าหมายท่สี งั คมปลูกฝังสมาชิกไว้
เป้าหมายทีท่ ุกสังคมมุ่งปลูกฝังมีหลายอย่าง เช่น ให้มีฐานะทางเศรษฐกิจดีพอควร เน้นให้พอมีพอกิน
ประสิทธิภาพในการประกอบการงาน มีการศกึ ษาสูง มีส่วนร่วมทางการเมือง ให้ข้อคิดในแนวปฏิบัติ
ในการทางานส่วนรวม ตัดสินใจเพือ่ สว่ นรวม เป็นต้น เมอื่ ปลูกฝงั คา่ นิยมเหลา่ นไี้ วแ้ ลว้ สังคมจะต้องให้
การศึกษาอย่างทั่วถึง มีบริการด้านนี้อย่างเพียงพอแก่ความต้องการของสมาชิกในสังคม มีอาชีพการ

๑๒๖

งานอย่างได้สัดส่วนกันกับจานวนสมาชิก มีหลักเกณฑ์ในการปันส่วนรายได้อย่างยุติธรรม ฯลฯ เพื่อ
ปอ้ งกนั หรือแกไ้ ขปัญหาความยากจน

(๕.๔) การขจัดความขัดแย้งในค่านิยม เร่อื งค่านิยมเป็นเรื่องทางวัฒนธรรมหรือแบบ
แผนในการคิด การกระทาของสมาชิกในสังคม หากสังคมมีแบบแผนในการคิดการกระทามากมาย
หลายแบบ บุคคลย่อมจะเกดิ ความสับสนไมท่ ราบจะเลือกเดินเลือกวธิ ีปฏิบตั ิทางใด ในกรณขี องความ
ยากจน การขัดกันในระบบค่านิยมเกี่ยวกับเศรษฐกิจ ซึ่งคา่ นิยมมีทั้งการส่งเสรมิ ให้เหน็ คุณคา่ ของเงิน
ทอง ความสะดวกสบายทางวัตถุ และการส่งเสริมให้เห็นคุณค่าของความสขุ สงบทางจติ ใจ สร้างความ
เจริญทางธรรมทางคุณธรรม เช่นน้ีแล้วย่อมจะมีสมาชิกเลือกถือปฏิบัติท้ังสองแนวทางมากบ้างน้อย
บ้าง กลุ่มคนท่ีเลือกเดินทางหลังและกลุ่มที่ไม่รู้จะเลือกทางใด ตัดสินใจไม่ได้ ย่อมจะยากจนจึงต้อง
พยายามไม่ใหม้ ีการขดั กันในคา่ นิยมน้ัน

(๕.๕) การพัฒนาชุมชน แนวทางป้องกันและแกไ้ ขความยากจนท่ีมีลักษณะรวมและ
กว้างขวางทางหนึ่ง คือ การพัฒนาชุมชน(Community Development) ซึ่งใช้วิธีให้การศึกษาและ
การทางานเป็นกลุ่มเป็นวิธีการหลักเพื่อมุ่งหมายพัฒนาท้ังคนและส่ิงแวดล้อมไปพร้อมกัน โดยอาศัย
หลักการมีส่วนร่วมของประชาชน หลักประชาธิปไตย หลักการช่วยตนเอง หลักการใช้ผู้นาท้องถิ่น
หลักการรู้จักวัฒนธรรมท้องถิ่น หลักการประเมินผลงาน และหลักการวางแผนล่วงหน้าในการ
ดาเนนิ งาน รายละเอียดมีมาก ขอใหอ้ า่ นหนังสอื ดา้ นนโี้ ดยเฉพาะ

๖.๒.๗ ปญั หาอาชญากรรม
๑) นิยาม อาชญากรรมเป็นพฤติกรรมเบี่ยงเบนอย่างหน่ึง อาชญากรรมจึงเป็นพฤติกรรม
ท่ีเบ่ียงเบนไปจากบรรทัดฐานของสังคม บรรทัดฐานทห่ี มายถึงในท่ีนี้คือ กฎหมายอาญา ซึ่งได้กาหนด
ไว้ชัดเจนว่า พฤติกรรมใดเป็นอาชญากรรมมีความผิดต้องได้รบั โทษ กล่าวอีกนัยหน่ึงอาชญากรรมทุก
อย่างน้ันเป็นพฤติกรรมเบี่ยงเบนเป็นประเภทของพฤติกรรมท่ีมีขอบเขตกว้างขวาง ครอบคลุม
พฤตกิ รรมหลายชนิดใหม้ าอย่ใู นหมวดหม่เู ดียวกัน
พฤติกรรมเบ่ียงเบน(Deviant Behavilor) หมายถึง พฤติกรรมท่ีไม่สอดคล้องกับมาตรฐาน
หรือความคาดหวังของสังคมใดสังคมหนึ่งหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ตัวอย่าง เช่น ฉ้อโกง อาชญากรรม
การตดิ ยาเสพตดิ โรคแอลกอฮอล์เรื้อรัง ความผิดศีลธรรม ความผิดปกติทางเพศ เปน็ ตน้ ซึ่งคาเหลา่ นี้
แสดงถึงพฤติกรรมของบุคคลท่ีผิดแปลกไปจากพฤติกรรมอันเป็นที่ยอมรับของกลุ่มหรือสังคม จาก
ความหมายและตัวอย่างเหลา่ นีจ้ ะเห็นว่า อาชญากรรมเป็นพฤติกรรมเบ่ยี งเบนอย่างหนึ่ง
สาหรับคาว่า อาชญากรรม (Crime) ในฐานะท่ีเป็นพฤติกรรมเบี่ยงเบนอย่างหนึ่ง มี
ความหมายโดยเฉพาะว่า เป็นการกระทาท่ีฝ่าฝืนกฎหมายอาญาที่ผู้กระทาจะต้องถูกลงโทษตาม
กระบวนการควบคุมทางการของเจา้ หน้าท่ีแหง่ รฐั อาชญากรรมเปน็ การกระทาผดิ ต่อสาธารณะหรอื รัฐ
ดงั นั้นจึงเป็นความผิดทางอาญาแตกตา่ งกับความผิดทางแพ่งซึ่งเป็นความผิดตอ่ บุคคลหรอื ทาใหบ้ ุคคล
เกิดความเสียหาย เช่น ความผิดฐานทาให้เกิดความเสียหายต่อช่ือเสียงหรือทรัพย์สิน (หมิ่นประมาท
เป็นชู้กับเมีย) ซึ่งรัฐเพียงแต่บังคับให้ขอขมาหรือชดใช้ค่าเสียหายเท่าน้ัน แต่ความผิดอาญา เช่น การ
ปลอมแปลงเอกสารของทางราชการ การจ้ีปล้น การตัดช่องย่องเบา การฆ่าคนตาย การทาลายของ
หลวง การบ่อนทาลายชาติ นาความลับของทางราชการไปให้ศัตรู การหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เป็น
ตน้ ไม่อาจล้างความผิดด้วยการชดใช้ค่าเสียหายได้ ผูก้ ระทาต้องได้รบั โทษหนัก (ประหารชวี ิต, จาคุก,

๑๒๗

กักขัง, ปรับ, ริบทรัพย์สิน) เพราะสังคมถือว่าเป็นการกระทบกระเทือนต่อสวัสดิภาพของสังคม อน่ึง
ควรสังเกตว่าความผิดอาญาน้ัน แม้ไม่ได้ก่อความเสียหายแก่ผู้อ่ืน เช่น การเล่นการพนัน การเสพยา
เสพติด การค้าประเวณี เป็นต้น ไม่ได้ทาให้ผู้อ่ืนเสียหาย ผู้กระทาเกิดความเสียหายเอง แต่ก็เป็น
ความผิดและความผิดอาญาน้ันให้รวมถึงการงดเว้นการกระทาที่กฎหมายระบุให้ทาด้วย เช่น การไม่
เปน็ ทหาร การไมเ่ สียภาษหี รือคา่ ภาคหลวง เป็นตน้

กล่าวโดยสรุป อาชญากรรมหมายถึง พฤติกรรมเบ่ียงเบนที่สังคมถือเป็นความผิดท่ีจะต้อง
ถกู ลงโทษโดยสถานใดสถานหน่ึงเมอ่ื ไดม้ กี ารพสิ จู น์วา่ ได้กระทาผิดจริง

๒) สาเหตุ อาศัยรูปแบบที่ได้เสนอไปตอนท่ีกล่าวถึงสาเหตุของปัญหาคอร์รัปช่ันและ
ปญั หาความยากจน เราอาจกล่าวไดว้ ่า อาชญากรรมมสี าเหตทุ ่ีสาคัญ ๕ ประการ ดงั ต่อไปน้ี

(๒.๑) ความบกพร่องทางร่างกายและจิตใจ สาเหตุของอาชญากรรมอย่างหนึ่งคือ
การที่บุคคลมีความบกพร่องทางร่างกายหรือจิตใจหรือทั้งสองอย่างรวมกัน ความบกพรอ่ งทางร่างกาย
เช่น รูปร่างหน้าตา แขนขา ศีรษะ ไม่สมประกอบหรือไดส้ ัดส่วนกับร่างกาย มีร่างกายพิกลพิการ เป็น
ตน้ อาจสง่ ผลผลักดนั ให้บุคคลประกอบอาชญากรรมต่างๆ ได้ ทั้งนี้เพราะบุคคลเหลา่ นน้ั ไม่ได้รับความ
สนใจจากผอู้ ื่น หรอื ถูกดูถูกเหยียดหยามเยาะเย้ย อันเป็นเหตุให้เกดิ ความนอ้ ยเน้อื ต่าใจ หรือต้องการ
เรียกร้องความสนใจหรือทาอาชญากรรมเป็นการพิสูจน์ความสามารถ แสดงความแก้แค้น เป็นต้น
บางทีการกระทาอาชญากรรมก็เกิดจากความบกพร่องทางจิตใจ สติปัญญา เช่น คนปัญญาอ่อน คน
ปัญญาทราม คนท่ีมีนิสัยก้าวร้าวดุดัน เป็นต้น สาเหตุเหล่าน้ีนักอาชญาวิทยารุ่นแรกๆ เช่น Cesare
Lombroso เช่ือถือมาก ปัจจุบันแม้ความเช่ือเหล่าน้ีจะถูกหักล้างขาดอิทธิพลไปมาก แต่ก็ยังนับได้ว่า
เป็นสาเหตุของอาชญากรรมไดท้ างหนง่ึ

(๒.๒) การเสียระเบียบทางสังคม ท่ีมาอีกอย่างหน่ึงของอาชญากรรม คือ การท่ี
สังคมขาดระเบียบ ขาดบรรทัดฐาน มีการขัดกันในเชิงวัฒนธรรม สังคมมีความวุ่นวายสับสนและ
ท้ายที่สุดเกิดการเสื่อมโทรมหรือการทาลายของสังคมในช่วงเวลาดังกล่าวน้ีมีแนวโน้มที่จะเกิด
อาชญากรรมได้มากเพราะการขาดระเบียบหรือบรรทัดฐานทาให้บุคคลไม่ทราบจะยึดถือ แนวปฏิบัติ
อย่างไร ผู้ท่ีเข้มแข็งกว่าฉลาดกว่าอาจฉวยโอกาสกระทาผดิ ผู้มักง่ายใจชัว่ อาจหยิบฉวยช่วงชิงส่ิงของ
ผูอ้ ่ืน เพราะในช่วงน้ีจะไม่มีการควบคุมทางสงั คมหรอื มีการควบคมุ แต่ไมเ่ ขม้ แข็งรัดกุม การขัดแยง้ เชิง
วัฒนธรรมทาให้มีแนวทางในการประพฤติปฏิบัติไดห้ ลายทาง บุคคลจึงอาจดาเนินชวี ิตประกอบอาชีพ
ตามปกติได้ บคุ คลอาจไมม่ ีทางเลอื กทีด่ ีกวา่ การประกอบอาชญากรรม ดังนเี้ ป็นต้น

(๒.๓) การขัดแย้งในค่านิยม อาจนับเป็นอีกสาเหตุหนึ่งท่ีทาให้เกิดการประกอบ
อาชญากรรมขนึ้ การขัดกันในค่านิยมหมายความว่า บุคคลในแต่ละกลุ่มแต่ละสังคมต่างมุ่งหมายในสิ่ง
ท่ีมีค่าซ่ึงมีอยู่จากัดอย่างเดียวกัน ดังน้ันจึงต้องแข่งขันต่อสู้กันเพื่อช่วงชิงส่ิงท่ีมีค่านี้เป็นของตน การ
ขัดแย้งในคุณค่าจึงอาจเป็นที่มาที่สาคัญอย่างหนึ่งของปัญหาอาชญากรรม เพราะของมีค่ามีอยู่จากัด
แต่ผู้ต้องการอยากได้มีมาก ดังน้ัน เม่ือมีความต้องการรุนแรงและไม่มีทางท่ีชอบธรรมจะได้มาซ้ึงสิ่งที่
ตนต้องการ ก็ต้องหันเข้าหาทางท่ีมิชอบ คือ ลักเอา ฉ้อโกง ช่วงชิงเอาซ่ึงหน้า ปล้นเอา ฯลฯ เหล่านี้
คือการประอาชญากรรม

(๒.๔) พฤติกรรมเบ่ียงเบน เน่ืองจากอาชญากรรมเป็นพฤติกรรมเบี่ยงเบนอย่างหนึ่ง
ดังน้ันคาอธบิ ายเกี่ยวกบั สาเหตขุ องการเกดิ พฤติกรรมเบยี่ งเบนจงึ อาจนามาใช้กับอาชญากรรมได้ในแง่

๑๒๘

น้ี อาชญากรรมเกิดจากการท่ีสังคมไม่สามารถจะใหว้ ิธีการอันชอบธรรมในการบรรลุเป้าหมายทสี่ ังคม
เฝ้าสอนสมาชิกให้ มุ่งประสงค์ได้อย่างเพียงพอ เช่น สังคมต้องการให้ทุกคนมีการศึกษาดี มีเงิน มี
เกียรติ แต่สังคมไม่สามารถสรา้ งสถานศึกษา อุปกรณ์และครูให้เพียงพอกับจานวน ผู้มีความต้องการ
เรียนได้ บุคคลจึงต้องช่วยตัวเอง การช่วยตัวเองในกรณีน้ี คือ การโกงในการสอน ติดสินบน รับ
สินบน ซึ่งเปน็ อาชญากรรม หรือเพื่อใหม้ เี งินตามท่ีสังคมคาดหวัง แต่สังคมไม่สามารถจะหาอาชพี ที่มี
รายได้ดี ใหแ้ กพ่ ลเมืองทกุ คนได้ บางคนจงึ ไดจ้ ี้ปลน้ ฉกชิงว่งิ ราวเขา ดังนีเ้ ป็นต้น

(๒.๕) การให้ช่ือการกระทาเป็นอาชญากรรม ตามแนวความคิดน้ี อาชญากรรมคือ
การกระทาทั่งๆ ไปน้ันเอง แต่เม่ือกฎหมายกาหนดว่า การกระทานั้นๆ เป็นอาชญากรรม เป็นการ
กระทาผิดการกระทาเช่นน้ันก็เป็น อาชญากรรม เช่น การฆ่าคนตาย หากเป็นการท่ีทหารฆ่าศัตรูของ
ประเทศ ตารวจฆา่ ผู้รา้ ยฉกรรจ์ นักมวยชกคู่ต่อสู้ตายคาเวที การฆ่าคนตายเช่นน้ีมิได้เป็นความผิด ไม่
ผิดกฎหมายอาญา การทีเ่ ด็กลักสตางคพ์ ่อแม่ สามลี กั สตางค์ภรรยา การเล่นไพ่ระหว่างเพ่ือนฝงู (ไมเ่ อา
สตางค์) ก็ไม่ถือเป็นอาชญากรรม แต่การกระทาอยา่ งเดียวกันนั้นในบางสังคมกฎหมายกาหนดว่าเป็น
อาชญากรรม ข้อน้ีจงึ อยทู่ ก่ี ารกาหนดของกฎหมายหรือของสงั คมว่าการกระทาใดเปน็ อาชญากรรม

๓) สภาพการณ์ การศึกษาเรื่องอาชญากรรมได้ทามาเป็นเวลาช้านาน จนกลายเป็น
สาขาวิชาท่ีสาคัญของสังคมวิทยาเรียกว่า อาชญาวิทยา (Criminology) หน้าที่สาคัญอย่างหนึ่งของ
วิชาเชิงวิทยาศาสตร์ท้ังหลายคือการจัดหมวดหมู่เรื่องราวที่ตนศึกษาในกรณีนี้ นักอาชญาวิทยาก็ได้
พยายาม จดั หมวดหมอู่ าชญากรรมประเภทต่างๆ เช่น บางท่านแบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ อาชญากรรม
เป็นครั้งคราว(ประกอบอาชญากรรมเมื่อโอกาสอานวย) และอาชญากรรมเป็นนิสัย(ประกอบ
อาชญากรรมเป็นประจาไม่มีโอกาสก็สร้างโอกาสข้ึนมา) เคยแบ่งอาชญากรรมเป็นประเภท คนบ้า
อาชญากรรมเน่ืองจากความผูกพันทางอารมณ์และอาชญากรรมเป็นคร้ังคราว เป็นต้น ถัดมามีการ
แบ่งอาชญากรรมออกเป็น ๓ ประเภทคือ (๑) อาชญากรรมต่อทรัพย์สิน (๒) อาชญากรรมต่อบุคคล
และ (๓) อาชญากรรมตอ่ ส่วนรวมและต่อศีลธรรม อาจารย์สุพัตรา สุภาพ แบ่งอาชญากร ๖ ประเภท
คือ (๑) อาชญากรเป็นครั้งคราว (๒) อาชญากรเป็นนิสัย (๓) อาชญากรคอเชิ้ตขาว (๔) อาชญากร
อาชีพ (๕) อาชญากรจิตผิดปกติ และ (๖) องค์กรอาชญากร(Organised Crime) ซ่ึงเป็นอาชญากร
โดยกลุ่มคนท่ีมีการจัดระเบียบภายในกลุ่มอย่างเรียบร้อยมีแผนงานมีการแบ่งงานระหว่างสมาชิก
เป็นตน้ แต่นักอาชญาวทิ ยาสมยั ใหม่ได้พยายามปรับปรงุ แนวการจดั ประเภทอาชญากรรมให้ดีขึน้ โดย
ได้นาเอาแง่คิดทางกฎหมาย แนวการดาเนินชีวิตของผู้กระทาผิด การสนับสนุนหรือไม่สนับสนุนของ
กลุ่ม และปฏิกิริยาของสังคม เป็นต้น เข้ามาประกอบการพิจารณาด้วย นักอาชญาวทิ ยาสมัยใหม่ราย
หน่ึงได้แบ่งอาชญ ากรออกเป็น ๙ ประเภท คือ (๑) อาชญ ากรรมต่อบุคคลอย่างรุนแรง
(๒) อาชญากรรมต่อทรัพย์สินเปน็ ครงั้ คราว (๓) อาชญากรรมต่อความเป็นระเบียบเรียบรอ้ ยสาธารณะ
(๔) อาชญากรรมตามประเพณี (๕) อาชญากรรมทางการเมือง (๖) อาชญากรรมทางอาชีพ
(๗) อาชญากรรมเปน็ กลุ่ม (๘) อาชญากรรมทีม่ ีการจัดระเบยี บ และ (๙) อาชญากรรมอาชีพ อย่างไร
ก็ดี การแบ่งประเภทเหล่านี้ยังไม่เป็นที่พอใจของนักวิชาการจะต้องมีการปรับปรุงแก้ไขกันต่อไป
เพราะประเภทต่างๆ เหล่านี้ยังไม่ช่วยให้เข้าใจเร่ืองอาชญากรรมอย่างแจ่มแจ้ง และยังไม่สามารถรวม
อาชญากรรมทุกอย่างไวท้ ั้งหมด กระน้ันก็ดี การสามารถแบ่งประเภทของอาชญากรรมได้ ๙ ประเภท
กน็ ับได้ว่าวชิ าการสาขาน้ีไดก้ า้ วหน้าไปพอควร

๑๒๙

ปัญหาที่เราศึกษาต่อไปคือ เท่าท่ีได้มีการศึกษากันมาแล้ว อาชญากรรมเกี่ยวข้องกับปัจจัย
อะไรบา้ ง ซ่ึงเรอ่ื งน้มี หี ลกั ฐานพอจะยนื ยนั ได้ ดงั น้ี

(๓.๑) ปัจจัยเก่ียวกับอายุ อาชญากรรมมีส่วนเกี่ยวข้องกับอายุในแง่ท่ีว่าผู้ประกอบ
อาชญากรรมประเภทต่างๆ ส่วนใหญ่เป็นผู้ท่มี ีอายุนอ้ ยกวา่ ผู้มอี ายมุ าก จากสถิตขิ องอเมรกิ า ผู้กระทา
ผิดอาญาส่วนใหญ่อยู่ในวัย ๑๖–๒๔ ปี กระน้ันก็ดีอายุของผู้กระทาผิดจะผันแปรไปตามประเภทของ
อาชญากรรม เพศ และปัจจัยอื่นด้วย เช่น คนอายุ ๑๕–๑๙ ปี มักจะทาผิดลักขโมยรถยนต์และตัด
ช่องยอ่ งเบา สว่ นการฆาตกรรม การฉ้อฉล การพนนั มักเป็นเรอื่ งของคนทม่ี อี ายมุ ากข้นึ

(๓.๒) ปจั จัยเก่ียวกบั เพศ ปรากฏตามสถิตแิ หล่งเดียวกนั ที่เพิ่งอา้ งมาและคิดว่าคงจะ
ได้ใช้เป็นหลักกว้างๆ ใช้กับสังคมทั่วไปได้ด้วย คือ ชายมักทาผิดมากกว่าหญิง โดยแยกเอาความผิดที่
เป็นของหญิงโดยเฉพาะ เช่น การค้าประเวณี การทาแทง้ เป็นต้น ออกเสีย หลกั ฐานแหล่งเดยี วกันยัง
กล่าวต่อไปด้วยว่า ยิ่งบทบาทของหญิงและชายเพิ่มความเหมือนกันมากข้ึนเท่าไร อัตราการทาผิด
อาชญากรรมระหว่างชายกับหญิงก็ใกล้เคียงกนั มากข้ึนเท่านั้น แนวโนม้ ในปัจจุบันจึงเป็นไปในทิศทาง
ทว่ี า่ อัตราการกระทาผดิ อาญาระหว่างหญิงกับชายจะเทา่ เทยี มกันมากขึ้น

(๓.๓) แหล่งกาเนิดของผู้กระทาผิด อาศัยข้อมูลจากแหล่งเดียวกัน ทาให้เราได้
ข้อคิดเพิ่มเติมว่าพลเมืองด้ังเดิมมีอัตราการทาผิดมากกว่าผู้มีต้นกาเนิดในต่างประเทศ (ผู้อพยพ) ซ่ึง
ความเชอ่ื สมยั ก่อนเปน็ ไปในทางตรงกันข้าม คอื เชอื่ ว่าพวกที่อพยพมาจากประเทศอื่น มาต้ังรกรากใน
ประเทศใหม่มักมีอัตราการประกอบอาชญากรรมสูงกว่า ประเภทของอาชญากรรมท่ีตนอพยพมัก
ประกอบน้ันจะเหมือนหรือคล้ายกับท่ีมักประกอบในถิ่นกาเนิด เช่น มักอิตาเลียนในอเมริกา มัก
ประกอบอาชญากรรม ประเภทฆาตกรรมเชน่ เดียวกัน อิตาเลยี นในประเทศอิตาเลียน ทานองเดยี วกัน
พวกไอริชมักชอบเมาเหล้าเปะปะตามท้องถิ่นเชน่ เดียวกบั พรรคพวกในประเทศไอร์แลนด์

(๓.๔) ปัจจัยเกี่ยวกับภูมิภาค ขนาดและที่ต้ังของชุมชนมีส่วนเกี่ยวพันกับอัตราการ
ประกอบอาชญากรรมเหมอื นกัน กล่าวคือ ชมุ ชนขนาดใหญ่และชุมชนเมืองมักมีอัตราอาชญากรรมสูง
กว่าชุมชนขนาดเล็กและชุมชนชนบท นอกจากนน้ั แหลง่ ขอ้ มูลเดียวกนั ยังกลา่ วดว้ ยวา่ สาหรับในสหรัฐ
น้นั ปรากฏว่า ภูมิภาคแถบนวิ อิงแลนด์ (รัฐตา่ งๆ ชายฝัง่ มหาสมุทรแอตแลนติก คนสว่ นใหญ่อพยพมา
จากอังกฤษและประเทศยุโรปอื่นๆ บ้าง) มีชอ่ื เสียง (หรือชื่อเสีย) ทางอาชญากรรมประเภทฆาตกรรม
การบังคับข่มขนื การปลน้ การจู่โจมอย่างรุนแรง ตัดช่องยอ่ งเบา ลักขโมย และการลกั ลอบ (เขา้ ไปตัด
ไม้พชื ผกั หรือเขา้ ไปทากนิ ในที่สาธารณะเขตหวงห้ามของทางราชการ)

(๓.๕) ปัจจัยเกี่ยวกับสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคม แหล่งข้อมูลแห่งเดียวกัน
ยืนยันด้วยว่า ผู้มีสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมต่า (วัดจากรายได้ การศึกษา อาชีพ) มักละเมิด
กฎหมายอาญามากกว่าผู้มีสถานภาพเช่นว่าน้ันสูงกว่า แต่ก็ต้องตระหนักว่าคนส่วนใหญ่ของชนชั้นต่า
หรือช้ันล่าง(Lower Class) ไม่ได้เป็นอาชญากร และอาชญากรรมเฉพาะอย่าง เช่น อาชญากรรมท่ี
เรียกว่า คอเชิ้ตขาว หรืออาชญากรรมผู้ดี (White Collar Crime) มักเป็นฝีมือของคนที่มีสถานภาพ
ทางเศรษฐกิจและสังคมสูง อย่างไรก็ดี ความสัมพันธ์ระหว่างอาชญากรรมและระดับชนช้ันของเร่ือง
ซับซอ้ น ปัจจัยทางเศรษฐกิจอย่างเดียวคงใช้คาอธิบายไมไ่ ด้พอ

๑๓๐

(๓.๖) ปัจจัยอ่ืนๆ เช่น เชื้อชาติ สถานการณ์ทางเศรษฐกจิ และสังคม สภาพแวดล้อม
ภัยธรรมชาติ อาจเป็นส่ิงซึ่งผลักดันให้บุคคลต้องทาอาชญากรรมบ้างก็ได้ เช่น ในอเมริกา ปรากฏว่า
อเมริกนั ดา (นิโกรอเมริกนั ) มกั มอี ัตราประกอบอาชญากรรมสงู กวา่ คนอเมรกิ นั ขาว ดงั นี้เปน็ ตน้

๔) ผลกระทบ อาชญากรรมส่งผลกระทบท้ังบุคคลและสังคม ก่อผลทั้งทางบวกและทาง
ลบ แตส่ ว่ นใหญม่ ักจะเป็นไปในทางลบอยา่ งที่เข้าใจกนั พอสรปุ เปน็ ข้อๆ ได้ดังนี้

(๔.๑) อาชญากรรมท่ีชัดเเจ้งอาจใช้เป็นแบบอย่างของความช่ัว ความไม่ถูกต้องหรือ
ความลม้ เหลวของบคุ คล เป็นสิ่งไม่ดีไม่งาม คนดจี งึ ไม่ควรเอาอย่าง

(๔.๒) อาชญากรรมสูง อาจใช้เป็นสัญญาณหรือลักษณะของความล้มเหลวในสังคม
สงั คมควรต้องมกี ารปรับปรุงแกไ้ ขระเบยี บสังคมให้ดีข้ึน เพอ่ื ความสุขสงบของสังคม

(๔.๓) ผลทางบวกอีกประการหนึ่ง ทาให้กลุ่มต่อต้านสามารถรวมตัวกันเหนียวแน่น
ขึน้ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการป้องกัน หรือขจัดปัญหาอาชญากรรมให้หมดไป หรือให้อัตรา
การกระทาแบบนี้ลดลง

(๔.๔) ผลร้ายต่อบุคคลประการหนึ่ง คือ อาชญากรรมทาให้ผู้ถูกกระทาเสียหาย ท้ัง
ในแง่ทรพั ยส์ นิ เงินทอง ชื่อเสยี ง จติ ใจและร่างกาย

(๔.๕) อาชญากรรมบางอย่าง เช่น การจี้ปล้น การฆาตกรรม หากทาบ่อย ๆ จะ
ทาให้ผู้กระทามจี ติ ใจดุร้าย ก้าวรา้ ว เหีย้ มโหดมากยิ่งขน้ึ

(๔.๖) อาชญากรรมที่ทาซ้าซากอาจทาให้ผกู้ ระทาเกิดเปน็ นิสยั ช่วั ไมพ่ ยายามหาทาง
แก้ปัญหาในทางทถี่ กู ทานองคลองธรรม เช่น การลกั ขโมย จปี้ ล้น ตดั ชอ่ งยอ่ งเบา

(๔.๗) การมอี าชกรรมและอาชญากรในสังคม โดยไมไ่ ด้ทาการปราบปรามให้หมดไป
ทาให้อาชญากรยงั ลอยนวลอย่ไู ด้ อาจเป็นเหตุให้ผ้ปู ฏิบัติถูกทานองคลองธรรมเสียกาลังใจไม่อยากทา
ดตี อ่ ไปอกี

(๔.๘) สาหรับในสังคมสมัยใหม่ท่ีมีความก้าวหน้าทางสื่อสารมวลชน ข่าวคราว
เกี่ยวกับอาชญากรรม อาจเป็นแบบให้ผู้อ่นื ใชเ้ ปน็ แบบอย่างได้ ทาให้เปน็ การส่งเสริมอาชญากรรมได้
ทางหนงึ่

(๔.๙) สังคมต้องเสยี งบประมาณคา่ ใช้จ่าย ค่าจ้างเจ้าหน้าท่ีและเสียเวลาเป็นจานวน
มากในการปอ้ งกนั และปราบปรามอาชญากรรม

(๔.๑๐) อาชญากรรมอาจเป็นอุปสรรคขัดขวางการปรับปรุงเปล่ียนแปลงสังคมให้
เจริญก้าวหน้า เพราะสังคมต้องใช้งบประมาณ คน และเวลาไปในการป้องกันปราบปราม
อาชญากรรมหรือ อาชญากรรมบางอย่างคอยขัดขวาง ทาลายความพยายามพัฒนาหรือทาลายส่ิงที่
ได้สร้างขึ้นแลว้ เป็นต้น

๕) แนวทางแก้ไข แนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาอาชญากรรมอาจทาได้หลายวิธี ซ่ึง
กลา่ วโดยสงั เขปไดด้ ังนี้

(๕.๑) ด้านความบกพร่องทางร่างกายและจิตใจ ดังได้กล่าวมาแล้วว่า สาเหตุสาคัญ
ประการหนึ่งท่ที าให้เกิดอาชญากรรมข้ึนคือ การบกพร่องทางร่างกายและจติ ใจ ดังนั้นการปอ้ งกนั หรือ
แก้ไขอาชญากรรมก็ควรต้องเร่ิมด้วยการป้องกันหรือแก้ไขสาเหตุ ซึ่งอาจทาได้หลายอย่างอีกเช่นกัน
อาทิ การให้การศกึ ษาและอบรมให้ผู้มคี วามบกพร่องเหล่านี้เตรยี มรับสภาพความเป็นจริง และหาทาง

๑๓๑

ออกท่ีดีล่วงหน้าไว้ เช่น เวลาไม่มีผู้ใดสนใจหรือเอาใจใส่ก็อาจทางานหรอื พักผอ่ นใจตามลาพัง หรือพา
คนพิการด้วยกันมาเป็นเพื่อน การให้การศึกษาวิชาชีพที่คนเหล่านี้พอทาได้เพื่อให้เกิดความพอใจรัก
งานของตน รวมท้ังการช้ีให้เห็นความสามารถพิเศษของตน ซึ่งทุกคนมักจะต้องมีแต่ผู้อื่นไม่เห็น และ
การช้ีให้เห็นวา่ การมีชีวิตอยู่เป็นของมีค่าแต่จะมีค่าขึ้นหากได้ประกอบคุณงามความดีอีกประการหน่ึง
ควรชี้ให้บุคคลเหล่านี้ได้ประจักษ์ว่า บุคคลแต่ละคนมีลักษณะต่างกันออกไป บุคคลเลือกบุคลิกเอง
ไม่ได้ เลือกเกิดไม่ได้ ทุกคนจึงต้องยอมรับสภาพและพยายามปรับปรุงบุคลิกของตนให้ดีที่สุด
ดารงชีวิตด้วยการทาดีให้มากท่ีสุด เป็นส่ิงที่มีคุณค่าของมนุษย์หรืออีกอย่างหน่ึงค่าของคนอยู่ที่ใจ
มากกว่ากาย (แน่นอนจะเปน็ บางกรณีท่แี ก้ไขหรือป้องกนั ไม่ได้ซึง่ สังคมก็ต้องยอมรบั )

นอกจากนั้นความต้องให้การศึกษาอบรมแก่บุคคลท่ีจะต้องเกี่ยวข้องสัมพันธ์โดยตรงกับผู้
บกพร่องเหลา่ นี้และบุคคลทั่วไปด้วย ให้รู้จกั และเข้าใจผบู้ กพร่องเหล่านี้ ซ่ึงควรให้ความรักความเห็น
ใจ เพราะพวกเขาอยู่ในฐานะเสียเปรียบ ควรรู้ว่าเขามีปมด้อยเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว การติดต่อสัมพันธ์
กับบุคคลเหล่าน้ีจึงต้องระมัดระวังต้องเอาใจใส่เป็นพิเศษ เพื่อป้องกันอาชญากรรมและลดปัญหา
อาชญากรรมลง

(๕.๒) ด้านการเสียระเบียบทางสังคม การป้องกันหรอื แก้ไขอาชญากรรมอีกทางหนึ่ง
คือการสรา้ งความเป็นระเบียบในสังคม เพราะการเสียระเบียบจะเปน็ สาเหตุอย่างหนง่ึ ในการทาใหเ้ กิด
อาชญากรรมข้ึน เร่ืองการจัดระเบียบทางสังคมได้กล่าวมาแล้วโดยละเอียด จึงไม่จาเป็นต้องกล่าวซ้า
อีกเพียงขอย้าว่า หากมีอัตราอาชญากรรมสูงข้ึนในสังคมแล้ว สังคมควรต้องตระหนักได้ว่าถึงแล้วท่ี
ควรจะต้องย้าเร่ืองระเบียบวินัยหรือควรต้องปรับปรุงเปล่ียนแปลงระเบียบเก่าเสียบ้าง การทาเช่นนี้
อาจเป็นทางหน่งึ ทจี่ ะชว่ ยป้องกันหรอื แก้ไขปัญหาอาชญากรรมไดท้ างหนึ่ง

(๕.๓) การขัดแย้งในค่านิยม อีกทางหน่ึงในการป้องกันหรือแก้ไขปัญหา
อาชญากรรมคือการลดหรือขจัดความขัดแย้งในระบบคุณค่าหรอื ค่านิยมและอาจเลยไปถึงอุดมการณ์
ดว้ ย การลดหรือขจัดความขัดแย้งในคุณค่าอาจทาได้โดยการเสียสละของ ผู้ที่มีส่ิงมีค่าอยู่มากแบ่งปัน
ให้แก่ผู้อื่นบ้าง ลดความอยาก ตัณหาลงบ้างและการไม่ใฝ่ฝันหรือทะเยอทะยานอยากได้ส่ิงมีค่า เช่น
เงิน ทอง อานาจ ช่ือเสียงเกียรติยศ แนวทางนี้เป็นแนวทางท่ีปฏิบัติได้ยาก บางทีจึงต้องมีการปฏิวัติ
มีการเปล่ียนแปลงอย่างรุนแรงหักโค่นและรวดเร็ว ดังนั้นหากบุคคลต้องการป้องกันหรือแก้ไขไม่ให้
เกิดความรุนแรงอาชญากรรม หรือเพียงให้อาชญากรรมลดลงจึงต้องพยายามและอดทนดาเนินการ
ตามแนวนี้ ซึ่งจะเปน็ ทางแกไ้ ขปัญหาทสี่ าคัญได้ทางหน่ึง

(๕.๔) พฤติกรรมเบ่ียงเบน อาศัยแนวความคิดเร่ืองพฤติกรรมเบ่ียงเบน เราอาจ
หาทางแก้หรือป้องกันอาชญากรรมได้อีกทางหนึ่ง ทางน้ีก็คือการท่ีสังคมจะต้องหาทางไม่ให้มีการเอา
แบบเอาอย่างกันในเร่ืองอาชญากรรมและการท่ีสังคมจะต้องให้วิธีการบรรลุถึงเป้าหมายซ่ึงสังคม
ปลูกฝังไว้ให้แก่สมาชิกของสังคมอย่างเพียงพอ ในส่วนแรกอาจทาได้โดยการงดเว้นการแพร่ข่าว
อาชญากรรมโดยเฉพาะท่ีรุนแรง โหดร้าย วิธีการแพร่ข่าวนี้มีท้ังผ่านสื่อมวลชน (หนังสือพิมพ์ วิทยุ
โทรทัศน์ หนังสือประเภทอ่ืน) ภาพยนตร์และการบอกกล่าวกันต่อๆ ไปด้วยวาจา รัฐจะต้องห้ามการ
เสนอข่าวประเภทน้ีหรืออย่างน้อยที่สุดให้งดเว้นการเสนอรายละเอียดของอาชญากรรม อีกทางหน่ึง
คือ การพยายามแยกไม่ให้อาชญากรได้มีโอกาสสัมพันธ์กับคนดีโดยท่ัวไป เพ่ือไม่ให้ผู้อ่ืนมีโอกาส
ลอกเลียนแบบจากอาชญากรและกลายเป็นอาชญากรในโอกาสต่อมา ในส่วนหลังอาจทาได้โดยการ

๑๓๒

วางแผนและการลงทุนของรัฐ การวางแผนในท่ีนี้ให้รวมถึงการคัดเลือกอุดมการณ์ ระบบค่านิยม
จานวนค่านิยมที่จะปลูกฝงั ใหก้ ับประชาชน ตลอดจนปริมาณความต้องการในการสนองความต้องการ
ของสังคมใหส้ อดคล้องกัน แล้วทุ่มเททุนรอนไปในการดาเนินการตามแผนนน้ั

(๕.๕) เกี่ยวกับการกาหนดความหมายของอาชญากรรม เราได้ทราบมาแล้วว่า
อาชญากรรมมีสาเหตุสาคัญอีกอย่างหน่ึงมาจากการที่สังคมกาหนดว่า การกระทาอย่างหน่ึงอย่างใด
เป็นอาชญากรรม ดังนั้น ทางแก้หรือป้องกันปัญหามีอีกทางหน่ึง ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงคาจากัด
ความเกี่ยวกับอาชญากรรมเสียโดยให้สังคมถือว่าการกระทาที่เรียกว่าอาชญากรรมเป็นการกระทา
ปกติธรรมดา ผลของการทาเช่นนี้จะทาให้บคุ คลท่ีเรียกว่าอาชญากรรมไม่รู้สึกว่าตนผดิ แปลกจากผู้อ่ืน
ไม่เกิดความน้อยเนื้อต่าใจ ไม่ถูกผู้อื่นรังเกียจ ทาให้มีโอกาสกลับตัวมาเป็นคนดี กระทาดีอย่างปกติได้
ง่ายข้ึน ความจริงการกระทาที่เรียกว่าอาชญากรรมนั้นก็ยังอยู่แต่ไม่เรียกวา่ เป็นอาชญากรรม เป็นการ
กระทาโดยท่ัวไป เม่ือการกระทาใดก่อความเสียหายต่อส่วนรวมต่อผู้อื่นหรือต่อตนเองผู้กระทาควร
สานึกผิดและไม่ทาซ้าอีก ในแง่นี้สังคมมีหน้าที่ปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมให้แก่สมาชิกของสังคม
ป้องกันมิให้บุคคลกระทาความเสียหายขึ้น หากมีการกระทาท่ีเกิดความเสียหายข้ึนก็อาจมีการ
ตกั เตอื นอบรมแล้วให้กลับไป หากมีการกระทาความเสยี หายซ้าอีกอาจต้องมกี ารกักสถานท่ี โดยใหอ้ ยู่
กบั ผู้มีหน้าที่อบรมส่ังสอนชั่วเวลาหนง่ึ แล้วให้กลับออกไปใหม่ หากยังคงทาความเสียหายซ้าอีกโดยไม่
มีเหตุผลอันสมควรก็จะต้องกาจัดเสียจากสังคม

เท่าท่ีกล่าวมาทั้งหมดคงจะทาให้พอเข้าใจเน้ือหาของปัญหาท่ัวไปของสังคมโดยเฉพาะ
บางอย่างพอสงั เขป และแนวในการวิเคราะหป์ ญั หาเหล่าน้ี พอท่ีจะเป็นพน้ื ฐานสาหรบั การศกึ ษาเรอ่ื ง
น้ีโดยละเอยี ด

๖.๓ การแกไ้ ขปญั หาสังคมของเยาวชนไทยในปัจจุบัน โดยใชห้ ลกั อรยิ ะสจั ๔

๖.๓.๑ ปัญหาสังคมและสาเหตขุ องการเกดิ ปญั หาสงั คม
ปัญหาสังคม หมายถึง สภาวการณ์ที่มีผลกระทบกระเทือนต่อคนจานวนมากในสังคมและเห็นว่าควร
ร่วม กันแก้ปญั หาน้นั ใหด้ ขี ึ้น Horton และ Leslie ให้ความหมายไว้ว่าปญั หาสังคมเปน็ สภาวการณท์ ี่มี
ผลต่อคนส่วนใหญ่ซ่ึงเป็นสิ่งท่ีพึงปรารถนาและมีความรู้สึกว่าจะต้องร่วมกันแก้ไข Raab และ
Selznick เสนอสรุปได้ว่า ปัญหาสังคมคือปัญหาในส่วนท่ีเก่ียวกับความสัมพันธ์ของคนในสังคมใน
ลกั ษณะที่ขดั ต่อระเบียบของสังคม

๑) สาเหตุของการเกิดปัญหาสงั คม
จากการศึกษาสาเหตุของปัญหาสังคมของนักสังคมวิทยาหลายท่านปรากฏว่าผู้ศึกษาได้เสนอสาเหตุ
ปัญหาสงั คมไว้ดังต่อไปน้ี

(๑.๑) ลักษณะของปัญหาสังคมท่ีสบื เนื่องมาจากการเปลยี่ นแปลงทางสงั คม (Social
Change) มดี ังนี้

- การเปลย่ี นแปลงจากสงั คมชนบทเป็นสังคมเมอื ง
- การเปลย่ี นแปลงจากสังคมเกษตรกรรมไปเป็นสงั คมอุตสาหกรรม
- การเพิ่มประชากร
- การอพยพ

๑๓๓

- การเปลี่ยนแปลงทางดา้ นเทคโนโลยี
- การขยายตัวของเมอื งอย่างรวดเร็ว ยอ่ มกอ่ ให้เกิดปัญหา
- การเปล่ียนบรรทดั ฐานของสงั คม
(๑.๒) ลักษณะของปัญหาสังคมท่ีสืบเนื่องมาจากความไม่เป็นระเบียบของสังคม
หมายถึง ภาวะท่ีสังคมหรือสถาบันพ้ืนฐานทางสังคม ไม่สามารถจะควบคุมสมาชิกของสังคมให้ปฏิบัติ
ตามระเบยี บ ซ่ึงอาจกอ่ ให้เกดิ ปัญหาสังคมทีส่ าคัญ ๔ ประการ กล่าวคือ
- ความลม้ เหลวของกลมุ่ จารตี ประเพณีหรือสถาบันพนื้ ฐาน
- ผลประโยชน์ของกลมุ่ ชนขัดกนั
- หนา้ ที่ตามสถานภาพและบทบาทที่ขดั แยง้ กัน
- ความผิดพลาดในการอบรมให้เรยี นรูร้ ะเบียบแผนของสังคม
(๑.๓) ลักษณะของปัญหาสังคมที่สบื เนื่องมาจากพฤติกรรมทีเ่ บ่ียงเบนไปจากบรรทัด
ของสังคมพฤติกรรมท่ีเบี่ยงเบนไปจากบรรทัดฐานของสังคมเป็นพฤติกรรมที่สังคมไม่ยอมรับและไม่
อาจทนได้ สังคมเห็นว่าเป็นความรับผิดชอบของสังคมและมีผลกระทบต่อสังคมโดยส่วนร่วม เช่น ผู้
เสพติดให้โทษ การท่ีคนเรามีพฤติกรรมเบ่ียงเบนนั้น เกิดจากปัจจัยหลายประการ เช่น ปัจจัยทาง
ชี ว วิ ท ย า (Biological Factor) ปั จ จั ย ท า ง จิ ต (Mental factor) ปั จ จั ย ท า ง ส่ิ ง แ ว ด ล้ อ ม
(Environmental Factor) ปัจจัยค่านิยมทางสังคม (Social Value) ปัจจัยโครงสร้างทางสังคม
(social structure factor) เป็นต้น

๖.๒.๒ หลักอริยสัจ ๔
อริยสัจ หรือจตุราริยสัจ หรืออริยสัจ ๔ เป็นหลักคาสอนหน่ึงของพระโคตมพุทธเจ้า
แปลว่า ความจริงอันประเสริฐ ความจริงของพระอริยะ หรือความจริงท่ีทาให้ผู้เข้าถึงกลายเป็นอริยะ
มอี ยู่ ๔ ประการ คอื

๑. ทุกข์ คือ สภาพทที่ นได้ยาก ภาวะทท่ี นอยู่ในสภาพเดมิ ไม่ได้ สภาพที่บีบค้ัน
๒. สมุทยั คอื สาเหตทุ ท่ี าใหเ้ กดิ ทกุ ข์
๓. นโิ รธ คือ ความดบั ทุกข์ ได้แก่ ดับสาเหตทุ ท่ี าใหเ้ กดิ ทุกข์
๔. มรรค คอื แนวปฏบิ ัตทิ ี่นาไปสู่หรอื นาไปถึงความดบั ทุกข์

๖.๒.๓ การประยุกตใ์ ช้ อริยสจั ๔ ในการแก้ปัญหาสงั คมของเยาวชนไทยในปจั จบุ ัน
ปญั หาทางสังคมของเยาวชนไทยมีทางแก้ไขอยู่หลายทางด้วยด้วยกันเพราะบางปัญหาน้ัน
ล้วนจะมีความสัมพันธ์กันท้ังส้ิน และการแก้ไขปัญหาด้วยวิธีทางพระพุทธศาสนาด้วยแนวทางการ
แกไ้ ขปัญหาดว้ ยหลักอรยิ สัจ ๔ น้ันมอี ยูด่ ว้ ยกนั ๔ วธิ ีคอื ทุกข์ สมทุ ยั นโิ รธ และมรรค
หลักอริยสัจ ๔ เป็นวิธีการแห่งปัญญา ซ่ึงดาเนินการแก้ปัญหาตามเหตุผลตามเหตุปัจจัย
คือ การแก้ปัญหาของบุคคลหรือกลุ่มบุคคล เป็นสัจธรรมความจริงที่เกี่ยวกับชีวิตของคนทุกคน ไม่ว่า
จะอยู่ในสถานที่ใด อยู่ในเพศหรือภาวะใด จะต้องประสบด้วยกันทั้งสิ้น เพื่อยืนยันถึงหลักอริยสัจว่า
เป็นกระบวนการแก้ปัญหาทุกอย่างโดยเฉพาะในการ แก้ปัญหาชีวิตในสังคม จึงขอเสนอแนะนาหลัก
อรยิ สัจ ๔ มาประยกุ ต์ใชใ้ นการแก้ไขปญั หาทางสงั คมของเยาวชนไทยไดต้ ามลาดบั ข้นั ตอน ดังน้ี
๑) ขนั้ ท่ี ๑ ทกุ ข์ ขนั้ ตัวปญั หา (Case)

๑๓๔

จัดเป็นข้ันแถลงหรือแสดงปัญหาทางสังคมของเยาวชนไทยท่ีเกิดข้ึนที่จะต้องทาความ
เข้าใจและรู้รอบเขต กล่าวคือ ต้องรู้สภาพปัญหา โดยต้องทาใจยอมรับ ทาความเข้าใจปัญหาของ
เยาวชนท่ีพบมากในปัจจบุ ันท่ียกมาเป็นตวั อย่างในการศกึ ษาครั้งนี้ คือ ปัญหาการต้ังครรภ์ก่อนวัยอัน
ควร ปัญหายาเสพติด และปัญหาการติดเกมส์ปัญหาการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร ปัญหายาเสพติด
กาลังระบาดในหมู่เยาวชน ปัจจุบันนี้ประเทศไทยมีคนติดสิ่งเสพติดมากกว่าสองล้านคน ส่วนใหญ่
เป็นกลุ่มเยาวชน และปัญหาการติดเกมส์ เป็นปัญหาที่ถือว่าสาคัญเป็นอย่างมากเพราะเด็กสมัยนี้
เป็นสมัยนิยมเกมส์ และเป็นตัวที่ดึงเยาวชนออกจากการศึกษา ออกจากคุณธรรมจริยธรรม เด็กและ
เยาวชนบางคนใชเ้ วลาอยู่ในร้านเกมส์มากกว่าอยู่โรงเรียนและอยูบ่ ้าน จนทาให้เยาวชนเกดิ พฤติกรรม
เบ่ียงเบน หรอื ถึงข้ันเปลยี่ นพฤติกรรมเป็นคนละคนกันเลยก็มี และการเบ่ียงเบนไปในทางที่เลียนแบบ
ตัวละคร จนกระท่ังถงึ การกอ่ อาชญากรรมตามเกมส์นัน้ ได้อยา่ งง่ายดาย

๒) ข้ันท่ี ๒ สมทุ ัย ข้ันสาเหตขุ องปัญหา (Cause)
จัดเป็นข้ันวิเคราะห์และวินิจฉัยมูลเหตุของปัญหาซึ่งจะต้องแก้ไขกาจัดให้หมด สิ้นไป
กล่าวคือ ต้องแสวงหาสาเหตุปัจจัยต่างๆ ที่เป็นตัวก่อให้เกิดปัญหาปัญหาทางสังคมของเยาวชน โดย
ให้เฟน้ หาสาเหตแุ หง่ ปัญหาหรือความทุกขต์ ่างๆ ให้ถูกตอ้ งชดั เจน และต้องเป็นสาเหตตุ น้ ตอจริงๆ
แน่นอนว่าปัญหาทุกปัญหานั้นย่อมมีท่ีมาและจุดมุ่งหมายและหลายปัญหานั้นจะมี
ความสัมพันธ์กันอย่างท่ีเล่ียงไม่ได้ เพราะบางปัญหาน้ันมีสาเหตุมาจากที่เดียวกัน และแยกออกมา
มากมาย เช่น ปัญหาครอบครัวซ่ึงบางครอบครัวท่ีมีปัญหาอาจจะมีสาเหตุมากจากพิษเศรษฐกิจ ที่ทา
ให้หารายได้มาไม่พอกับรายจ่ายจนทาให้เกิดการทะเลาะภายในครอบครัว และพิษเศรษฐกิจท่ีว่านี้
อาจจะทาให้คนที่ตกงานไม่มีงานไม่มีเงินต้องด้ินรนหาทางเอาตัวรอดด้วยการปล้นบ้าง ว่ิงราวบ้าง
หรอื ทาการฆ่าตัวตายหนีปญั หาหนสี้ นิ รงุ รังกไ็ ด้
(๒.๑) ปัญหาต้ังครรภ์ก่อนวัยอันควร นับว่าเป็นปัญหาสังคมระดับชาติปัญหาหน่ึงท่ี
จะต้องเรง่ แกไ้ ข ซ่ึงจะเป็นปัญหาทางสังคมของเยาวชนไทยตลอดมา เพราะการขาดการปอ้ งกันในการ
มีเพศสมั พันธ์ ซึ่งจะโทษตวั เยาวชนเองกไ็ มไ่ ดว้ า่ การมีเพศสัมพนั ธ์กอ่ นวยั อันควรหรือการมีเพศสมั พนั ธ์
โดยไม่ได้ป้องกันน้ันจะเป็นการกระทาของตัวเยาวชนเอง แต่ก็มีเหมือนกันที่เยาวชนจะโดนมอมยา
หรือถูกกระทาชาเรา รวมทั้งการถกู ข่มขนื
ปัญหาเร่ืองการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรของเยาวชนอาจจะมีเหตุผลมาจากยุคสมัยท่ี
เปลี่ยนแปลงไปเป็นโลกของยคุ โลกาภิวัตน์ มีเทคโนโลยีท่ีกา้ วไกล แต่ในขณะเดียวกันคนในสังคมกลับ
ไม่ยกระดับของตนเองให้สูงเหมือนกับเทคโนโลยีทาให้มีการนาเทคโนโลยีมาใช้ในทางท่ีผิดๆ โดยไม่
คานึงถึงคุณธรรมและจริยธรรม แต่กลับนามาสร้างผลประโยชน์ให้กับตนเอง เช่น การทาส่ือลามก
อนาจาร การเผยแพร่รูปลามกต่างๆ เป็นต้น การกระทาดังกล่าวเป็นการเปิดช่องทางให้เด็กและ
เยาวชนรับข้อมูลที่ผิดและไม่เกิดประโยชน์ ทาให้มองว่าการแสดงออกทางเพศและการมีเพศสัมพันธ์
ก่อนวัยอันควรเป็นเร่ืองปกติและการรับวัฒนธรรมจากต่างชาติเข้ามาจนทาให้วัยรุ่นส่วนใหญ่ว่า การ
แสดงออกทางเพศในทีส่ าธารณะเปน็ เร่ืองปกติ ไม่ได้นา่ อายแตอ่ ย่างใด
การขาดความดแู ลเอาใจใส่จากครอบครวั ก็เป็นประเดน็ เหมือนกนั เพราะบางครอบครัวมี
การดูแลอย่างปล่อยปละละเลย ให้อิสระมากเกินไป เกินความเหมาะสม และส่วนใหญ่อาจจะได้รับ
ความรู้ในเรื่องเพศอย่างไม่ถูกต้อง ที่จริงแล้ว พ่อ แม่ สามารถเป็นผู้ให้ความรู้เร่ืองเพศศึกษาได้เป็น

๑๓๕

คนแรก สื่อสารความคาดหวังและค่านิยมเรื่องเพศจะช่วยสนับสนุนและเป็นกาลังใจให้สามารถ
ตดั สนิ ใจในสิ่งท่จี ะเปน็ ผลดีได้

(๒.๒) ปัญหายาเสพติด รวมทั้งปัญหาเรื่องบุหร่ี เหล้า การพนัน การกินเหล้า สูบบุหรี่
เลน่ การพนัน เป็นสิ่งท่ีผใู้ หญ่สร้างขึ้นมาทาข้ึนมา และผู้ใหญ่กป็ ฏิบตั ิกนั อยู่แลว้ เยาวชนเห็นตัวอย่างก็
กนิ สบู และเสพเหมอื นผใู้ หญ่

๑. การถูกชักจูงก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทาให้เด็กและเยาวชนหันมาเสพติดยาเหล่าน้ีคือ
ถูกชักชวนให้ทดลองเสพยาโดยเพื่อนผู้ท่ีใช้และติดยาเสพติด และส่วนใหญ่รู้จักยาจากเพ่ือน ได้รับยา
คร้ังแรกจากเพื่อน ใช้ยาครั้งแรกท่ีบ้านเพื่อน และเป็นผู้ท่ีมักจะหันไปปรึกษาเพ่ือนเมื่อมีปัญหาเพ่ือน
จึงเป็นปจั จยั สาคัญในการชักนาใชย้ าเสพติดในการแกไ้ ขปัญหาหรือหนปี ญั หาของตนเอง

๒. สภาพแวดล้อมท่ีมีความกดดันต่อจิตใจ ความกดดันต่อจิตใจจากสภาพแวดล้อม
จะเป็นแรงดันให้เยาวชนหันไปใช้ยาเสพติดเป็นทางออกหรือทางหนี สภาพในครอบครัวย่อมเป็นเหตุ
ของความกดดันของเด็กได้ เช่น เด็กที่ไม่มีความสุขท่ีบ้าน พ่อแม่แตกแยกกัน พ่อหรือแม่เป็นผู้มี
บุคลิกภาพหรืออุปนิสัยไม่ดี ติดสุราหรือยาเสพติด เด็กที่ขาดความรัก เป็นต้น หลายคนไม่มีความสุข
เขารู้สึกเศร้าใจ รู้สึกทุกข์ใจ มีปัญหาต่างๆ รอบตัวโดยเฉพาะเรื่องในครอบครัว ความไม่ลงรอยกันใน
ครอบครัว ความขัดแย้งกันของคุณพ่อคุณแม่ การทะเลาะเบาะแว้งกันที่บางทีถึงขนาดทาร้ายร่างกาย
กัน ทาให้รู้สึกไม่มีความสุข กลัดกลุ้มใจ ทุกข์ใจ ก็ทาให้จมอยู่กับยาเสพติด บางคนอาจลองด้วยความ
ตั้งใจ เพราะรู้สึกว่าในขณะที่ชีวิตไม่มีความสุขนั้น มีบางส่ิงบางอย่างที่ให้ความสุขได้ ทาให้ลืมความ
ทกุ ขต์ า่ งๆ เหล่านี้ไปได้

๓. ความอยากรู้และอยากทดลอง ในสังคมที่ยาเสพติดหาได้ง่าย โอกาสที่จะหันไป
ลองใช้ยาเสพติดในการแก้ไขปัญหาที่เยาวชนแก้ไขปัญหาไม่ได้ใช้ในการแก้ไขปัญหาของตนและทาให้
ติดยาก็มีมากข้ึน ในสภาพแวดล้อมบางแห่งมีการลักลอบค้ายาเสพติดกันมาก ยาน้ันก็หาได้ง่าย มีผล
ใหเ้ กิดปญั หายาเสพติดรนุ แรงและกว้างขวางขึ้นผู้ท่ีเคยใช้หรอื ตดิ ยาเสพติด เป็นผทู้ ี่ร้แู หล่งท่ีอาจหายา
เสพติดได้ ย่อมชักนาเพื่อนไปใช้ยาเสพติดได้บางคนอาจชักนาไปเพื่อตนเองได้มีส่วนได้รับยาเสพติด
ดว้ ย

๔. สภาวะแวดล้อมไม่ดีในสภาพสังคมท่ีเสื่อม มีประชากรมาก แต่มีเครื่องอุปโภค
บริโภค และเคร่ืองอานวยความสะดวกต่างๆ ขาดแคลน ต้องแย่งกันใช้ ผู้คนต้องวุ่นวายอยู่กับการ
แก้ปัญหาเฉพาะหน้า ขาดการดาเนินงานในระยะยาว ความหวงั สาหรับอนาคตรางเลือนไป เยาวชนก็
ขาดการแนะนาชักจงู ไปในทางทด่ี ใี นทางที่เสรมิ สร้างกิจกรรมด้านเสริมสรา้ งมีน้อย เยาวชนจงึ หนั ไปใช้
เวลาว่างไปในทางเส่ือม การท่ีเยาวชนมีเวลาว่าง และไม่มีส่ิงใดที่เพลิดเพลินและพอใจให้ทาในเวลา
วา่ ง ทาให้เยาวชนไปมั่วสุมกันในท่ตี า่ งๆ เป็นก๊วน หรือแกง๊ ข้นึ และชกั จูงกันไปทาสิ่งต่างๆ ถ้ามเี พ่ือนท่ี
ไม่ดีอยู่ร่วมในกลุ่ม ก็อาจชักนาไปในทางอบายมุขต่างๆ เช่น การพนัน การม่ัวสุมทางเพศ ตลอดจน
การใชบ้ ุหร่ี เหลา้ และยาเสพติดตา่ งๆ

(๒.๓) ปัญหาการติดเกมส์ การติดเกมส์ก็เป็นปัญหาอย่างมาก บางทีท่ีเด็กหรือเยาวชน
เล่นเกมส์ก็ไม่ได้มีใครเอาใจใส่สักเท่าไหร่ เพราะคิดว่าอยู่ตรงนี้แล้วไม่ไปไหน แต่ในด้านสภาพจิดใจท่ี
เกิดการหมกมุ่นอยู่แต่ในส่ิงท่ีตนกาลังทา กาลังค้นหา การเล่นเกมส์น้ันเล่นเพื่อชนะ เมื่อชนะแล้วก้
ไม่อยาดแพ้ เม่ือชนะนั่นย่อมทาใหเ้ กิดความภูมิใจ และอยากเปน็ เหมอื นตัวละครในเกมส์จนก่อให้เกิด

๑๓๖

พฤติกรรมเลียนแบบ เมื่อเกิดพฤติกรรมเลียนแบบแค่น้ันยังไม่พอก็ยังมีการกระทาเลียนแบบตัวละคร
จนทาให้เด็กตดิ เกมส์ใชพ้ ฤตกิ รรมเลียนแบบน้ันในชีวติ จริงขึ้นมา จนทาใหเ้ กิดอาชญากรรม หรอื บางที
เด็กเล่นเกมส์มากๆ และนานจนทาให้เด็กขาดการพักผ่อนผลที่สุดอาจจะทาให้เดก้ ซ็อกหรือจนกระทั่ง
เสียชีวิตในร้านเกมส์ก็มี จากการสารวจเด็กและเยาวชน ๑๑-๒๔ ปี พบว่า ๓ ล้านคนเล่นเกมส์ และมี
สถิติท่ีสูงข้ึนเรอ่ื ยๆ ในการใช้คอมพิวเตอร์เพ่ือเล่นเกมส์ ทั้งน้ีเปน็ การออนไลน์ท่ีไม่ได้ประโยชน์ โดยใช้
ออนไลน์เพ่ือเล่นมากกว่าการคน้ ควา้ และทางาน ซ่ึงเปน็ ทั่วทงั้ โลก ส่งิ ทน่ี ่าห่วงคอื เลน่ เกมส์มากเกนิ ไป
จนติดเกมส์

สาเหตุหลักๆ คือ เป็นเพราะขาดการปลูกฝังเร่ืองวินัยและความรับผิดชอบ บ่อยคร้ังเกิด
จากพ่อแม่รักลูกมากเกินไป เน้นเร่ืองเรียนอย่างเดียว ขาดการพัฒนาทางอารมณ์ และไม่ได้รับ
ความสุขใจจากการมีกิจกรรมสร้างสรรค์อืน่ ๆ หรือมโี อกาสประสบความสาเรจ็ ทางดา้ นใดเลย จึงทาให้
ยึดติดกับความสุขที่ได้รับจากเกม หรือขาดแม้แต่ความสุขในบ้าน ไม่มีบรรยากาศอบอุ่นในครอบครัว
พ่อแม่ทะเลาะกัน ขาดการทากิจกรรมร่วมกัน การมีเวลาว่างมากเกินไปจนทาให้เด็กและเยาวชน
เหล่านี้เล่นเกมสแ์ ทนเวลาวา่ งทีม่ ี และการใชเ้ วลาว่างน้ีในการเล่นเกมส์เวลาอนื่ ๆ ย่อมจะเปน็ เวลาเล่น
เกมส์ด้วยเหมือนกัน การขาดการดูแลเอาใจใส่จากครอบครัวก็เหมือนกัน ก็ส่งผลให้เด็กเล่นเกมส์
แทนที่จะอ่านหนังสือ ทบทวนตารา แต่การท่ีพ่อแม่ผู้ปกครองไม่เอาใจใส่ดูแลจนก่อให้เกิดการติด
เกมส์นี้ทวีความรุนแรงขึ้นเร่ือยๆ จากเล่นวันละนิดละหน่อยก็กลายเป็นเล่นเกือบทุกเวลา จนกระทั่ง
ถึงขัน้ เสพติดเกมส์

๓) ขัน้ ที่ ๓ นิโรธ ขั้นดับปญั หาหรอื หมดปญั หา (Clear)
จัดเป็นขั้นชี้บอกภาวะปราศจากปัญหาซ่ึงเป็นจุดหมายที่ต้องการ ให้เห็นว่าการแก้ปัญหา
นั้นเป็นไปได้ โดยกาหนดจุดหมายปลายทางท่ีแน่นอน พร้อมท้ังกาหนดจุดหมายและเป้าหมายรองไว้
ด้วยว่าแต่ละขน้ั ตอนนั้นมจี ุดหมาย และเป้าหมายเพยี งใดแคไ่ หน
(๓.๑) ปัญหาการต้ังครรภ์กอ่ นวยั อันควร
การต้ังครรภก์ อ่ นวยั อนั ควรเริม่ ลดลงจากการไดร้ บั ความรู้เรื่องการป้องกันรวมถึงความรใู้ น
เรอ่ื งคุณและโทษของการมีเพศสมั พันธ์โดยทไ่ี ม่รบั การป้องกนั และการตดิ ตามผลดูแลเอาใจใส่แนะนา
แกไ้ ขในเรอื่ งของพฤติกรรมเสีย่ ง
(๓.๒) ปญั หายาเสพติด
เยาวชนท่ีติดยารวมท้ังที่กาลังจะติดยาลดน้อยลง และได้รับการบาบัด การยอมรับใน
สังคม จากการดูแลเอาใจใส่ในระดับต่างๆ ของสังคม
(๓.๓) ปญั หาการตดิ เกมส์
การเล่นเกมของเยาวชนเริ่มลดระดับความรุนแรงลงในเรื่องของการเล่นท่ีเริ่มจะเล่นอย่างเป็นเวลา
โดยไม่เสียการเรียน หรือกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่าง แต่เป็นการเล่นเพ่ือคลายเครียดทางหน่ึง และ
ปัญหาตา่ งๆ ทช่ี ักนาไปสกู่ ารเล่นเกมสเ์ พือ่ หนีปญั หาได้รบั การแก้ไขและการทาความเขา้ ใจ
๔) ข้ันท่ี ๔ มรรค ข้ันลงมือแกป้ ญั หา (Crack)
จัดเป็นข้ันกาหนดวิธีการและรายละเอียดที่จะต้องปฏิบัติในการลงมือแก้ปัญหา กล่าวคือ การลงมือ
ปฏิบัติหรือดาเนินการตามวิธีการอย่างละเอียดเพื่อแก้ปัญหาไปตามข้ันตอน โดยกาหนดวางวิธีการ
วางแผนงานและรายการทีจ่ ะต้องทาให้ละเอยี ด เปน็ ต้น

๑๓๗

(๔.๑) การให้ความรู้แก่เยาวชน การให้ความรูแ้ ก่เยาวชนนั้นเป็นเร่ืองที่สาคัญอย่างมาก
ที่พอจะป้องกันเยาวชนจากปัญหาทางสังคมเหล่าน้ีได้ เพราะการให้ความรู้แก่เยาวชนอย่างน้อยก็
พอที่จะทาให้เยาวชนโดยส่วนมากมีความรู้ในเรื่องผลกระทบของปัญหาดังกล่าว และหาทางป้องกัน
ด้วยตนเองได้อย่างถูกวิธีและเหมาะสมท่ีสุด ตามท่ีเยาวชนได้เรียนรู้มาจาก ครอบครัวหรือ
สถาบันการศึกษารวมทง้ั องค์กรทีเ่ กย่ี วข้องทรี่ ณรงค์ในเร่ืองดังกลา่ ว

๑) ปัญหาการต้งั ครรภก์ อ่ นวยั อนั ควร เพราะหา้ มเร่อื งการมีเพศสมั พนั ธ์ไมไ่ ดแ้ น่นอน
อยู่แล้ว มันเป็นพัฒนาการด้านหน่ึง ในวัยเจริญพันธุ์ แต่ต้องแนะนาหรือรณรงค์ให้เด็กรับรู้ถึงปัญหา
การเรียนรูแ้ ละรู้วิธีป้องกันตัวเอง โดยการบอกว่าควรทาอย่างไรถึงจะเหมาะสม พร้อมต้องให้ความรู้ท่ี
เหมาะสมด้วย เหมาะสมในท่ีนี้ก็คือ มีเพศสัมพันธ์ในเวลาท่ีเหมาะสมไม่ได้ห้ามเด็กมีเพศสัมพันธ์กัน
และเพ่ือให้เด็กเข้าใจมากข้ึน ผู้ปกครองหรือครอบครัวจะต้องให้ความใกล้ชิดและความรู้ในเรื่องของ
การมีเพศสัมพนั ธร์ วมถึงวิธีการป้องกันท้ังก่อนมีเพศสัมพันธแ์ ละหลังมีเพศสัมพันธ์ เมอื่ เยาวชนรับรู้ถึง
ผลกระทบที่ตามมานั้นย่อมทาให้เยาวชนมีความเกรงกลัวที่จะหลีกเล่ียงจากสิ่งเหล่านั้น หรือทาการ
ป้องกันตัวเองจากการมีเพศสัมพันธุท้ังท่ียังไม่มีความพร้อมท่ีจะมีการต้ังครรภ์ และปัญหาการต้ังท้อง
กอ่ นวยั อันควรยอ่ มจะลดลงตามลาดับ

๒) การให้ความรู้เรื่องโทษของยาเสพย์ติด ไม่จาเป็นจะต้องเป็นสถาบันการศึกษา
หรือหนว่ ยงานที่เกยี่ วข้องอยา่ งเดียว เพราะการท่ีจะให้ความรู้เรอื่ งผลกระทบหรอื โทษของยาเสพติดนี้
จะต้องเร่ิมจากบุคคลต้นแบบหรือบุคคลตัวอย่างท่ีใกล้ชิดของเด็กเอง น่ันก็คือครอบครัว พ่อแม่ ของ
เด็กและเยาวชนน่ันเอง เพราะครอบครัว คือส่ิงท่ีเยาวชนเรียนรู้ เช่ือฟัง และยอมรับเป็นอันดับแรก
และครอบครัวนี้เองทเ่ี ป็นตัวอย่างของเยาวชนในการดาเนินชวี ิต หากครอบครัวของเยาวชนหรือคนใน
ครอบครัวติดยา ติดสิ่งเสพติด น่ันย่อมทาให้เกิดการเลียนแบบ เพราะคิดว่าส่ิงเหล่าน้ีนั้นมันเป็นเร่ือง
ธรรมดาท่ีใครๆ เขากท็ ากัน เม่ือคิดเช่นน้ีเป็นอนั ว่าจบ แต่สามารถท่จี ะแก้ไขได้ ด้วยการให้ความรโู้ ดย
เร่ิมต้นจากครอบครัวที่จะให้การสนับสนุน ในเร่ืองการให้ความรู้เร่ืองโทษของสิ่งเสพติด ที่จะแนะนา
ใหเ้ ยาวชนไปในทางที่ถูกตอ้ งตาม มติของสังคมทดี่ งี าม

เมื่อเด็กได้รับการอบรมได้รับการช้ีให้เห็นโทษของยาเสพติดเยาวชนก็ย่อมท่ีจะเกิดความ
เกรงกลัวในผลกระทบท่ีจะตามมานั้น

๓) พ่อแม่ควรมีความรู้เร่ืองเกมส์ ช่วยลูกเลือกเกมส์ที่ควรเล่นไม่ควรเล่น จัดวินัยใน
การเล่นเกมสเ์ ป็นเวลา สาคัญมากเป็นการปูพืน้ ข้อตกลงกัน ซ่งึ ถ้าละเมดิ สามารถลงโทษโดยลดเวลาใน
การเล่นเกมส์ ถ้าทาได้อาจเพ่ิมเวลาให้บ้าง สาหรับวัยรุ่นในปัจจุบันต้องเลี่ยงการตาหนิหรืออบรมส่ัง
สอนโดยตรง แต่ให้กระตุ้นให้พูดถงึ ผลกระทบของการเล่นเกมสท์ ่ีมผี ลเสียต่อตนเองและครอบครัว

(๓.๔) การสอดส่องดูแลความประพฤติของเยาวชนอย่างใกล้ชิด จัดได้ว่าสาคัญมาก
เพราะเป็นการตดิ ตามผลท่ีไดใ้ หค้ วามรู้แกเ่ ยาวชน วา่ เยาวชนทไ่ี ดร้ ับความรนู้ ้ันจะนาความรู้ทีว่ ่าน้ันไป
ใช้ในทางที่ดีไหมอย่างไร หรือมีการใช้ประโยชน์จากความรู้ท่ีได้หรือไม่ เพราะบางทีเยาวชนท่ียังอ่อน
ตอ่ โลกภายนอกหรอื ขาดการตัดสนิ ใจท่ีไม่เดด็ ขาดยอ่ มจะถูกชักจงู ได้งา่ ยๆ มาก

๑) การที่เยาวชนจะมีเพศสัมพันธ์น้ันเป็นไปได้ง่ายมาก เพราะบางทีเยาวชนก็เป็น
เด็กท่ีมีปัญหามาก่อน การมีแนวคิดทางตะวันตกอย่างการฟรีเซ็กส์ท่ีมีกันอย่างแพร่หลายหรือกระทั่ง
การล่าแต้มท่ีกาลังเป็นท่ีนิยมกัน และการคบเพ่ือนหมู่มาก การขาดการตัดสินใจ หรือกระทั่งการขาด

๑๓๘

ประสบการณ์ในส่ิงเหล่าน้ีทาให้เยาวชนเกิดความอยากรู้อยากลองในส่ิงผิด ดังนั้นการดูแลหรือการ
สังเกตการณ์อย่างใกล้ชิด และคอยแนะนาเยาวชนในบางกรณีท่ีเด็กขาดการยับยั้งช่ังใจ หรือกาลัง
ลังเลทจ่ี ะตัดสนิ ใจ และพอจะทาให้เด็กเกิดความร้สู ึกตัวได้บ้าง

๒) กลุ่มเพื่อนก็เป็นเร่ืองสาคัญ ถ้าผู้ปกครองหรือพ่อแม่ยอมรับเพ่ือนของลูก ก็ทาให้
สามารถติดตามได้ว่าเขาไปทาอะไรกันท่ีไหนบ้าง แตถ่ ้าปฏิเสธไม่ยอมรับ เด็กก็จะเร่ิมไม่บอกความจริง
อย่างตรงไปตรงมา อาจยังแอบคบหาสมาคมกันโดยที่ไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรข้ึนบ้าง ซ่ึงข้อนี้จ ะเป็น
อันตรายมากกว่า เพราะไม่มีทางทราบว่าตัวเยาวชนเองนั้นไปทาอะไร ที่ไหน เมื่อไรบ้าง แต่ถ้าเปิดใจ
รับให้เพื่อนของลูกเข้ามาในบ้าน เข้ามาพูดคุยกัน ทากิจกรรมบางอย่างร่วมกันท่ีบ้าน ซ่ึงดูแล้วอยู่ใน
ขอบเขตท่ีเหมาะสม จะได้เห็นลูกกับเพ่ือนในสายตาอยู่เกือบตลอดเวลา ซ่ึงจะช่วยได้มากทีเดียวว่า
ขณะนี้เขาไปทาอะไรท่ีไหนบ้าง และการท่ีเราเปิดเผย การยอมรับในเรื่องต่างๆ เช่นน้ี จะทาให้ตัว
เยาวชนเองก็พร้อมที่จะเปิดเผยกับพ่อแม่ด้วยเช่นกัน เพราะฉะน้ันการร่วมมือกันอย่างน้ีก็เป็นการ
ชว่ ยกันไมใ่ หเ้ ยาวชนหนั เข้าไปหายาเสพตดิ กันได้

๓) การดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิดในเยาวชนที่ติดเกมส์ เพราะเกมส์คือจินตนาการที่
เยาวชนยอมรับและซึมซับเข้าไปในอารมณ์ เม่ือเริ่มเล่นก็ยากท่ีจะเลิกเล่นเม่ือยังไม่ชนะ พ่อแม่หรือ
ผปู้ กครองต้องดุและเอาใจใส่อย่างใกลช้ ิดด้วย เพราะการขาดวินัยในการเล่นเกมส์นี้มักจะทาให้เด็กใช้
เวลาในการเล่นอยา่ งเดียว แต่ความจะหาเวลาให้เด็กได้พักผ่อน ได้ทากิจกรรมนันทนาการ เพราะการ
ทากิจกรรมเหล่าน้ีจะทาให้เยาวชนเบ่ียงเบนความสนใจจากหน้าจอ มาเป็นสนใจในกิจกรรมท่ีทาอยู่
น้ัน และเป็นการฝกึ เรอ่ื งวินยั ไปในตวั อกี ด้วย

(๔.๓) การบาบดั และรกั ษาทางจติ ใจของเยาวชน
การพูดคยุ ก็เป็นเร่อื งจาเปน็ แต่วา่ จะพูดอยา่ งไรจงึ จะพอเหมาะ ดว้ ยความกังวลใจ กลวั ว่า
อาจจะเข้าไปวุ่นวายกับชีวิตของเยาวชนที่มีปัญหามากขึ้น เข้าไปควบคุม เข้าไปกากับดูแล ลักษณะ
เช่นน้ีตอ้ งระวงั เขาไม่ชอบให้เขา้ ไปว่นุ วายกับชีวิตของเขา การใช้วิธีพดู คุยกันในทานองของการไถ่ถาม
ถึงเร่ืองราวท่ัวๆ ไป เปิดโอกาสให้มีโอกาสได้ปรึกษาหารือ และพร้อมท่ีจะรับฟังปัญหา จะทาให้
ความรู้สึกต่อต้านของเด็กลดลง เมื่อเด็กเห็นว่ามีความไว้วางใจ ตัวเด็กก็จะยินดีให้ข้อมูลอย่าง
ตรงไปตรงมาวา่ เวลาน้ี เขาคดิ อยา่ งไร เขารสู้ ึกอยา่ งไร

๑) ในบางครั้งเม่ือเยาวชนต้ังครรภ์ มักจะไม่กล้าเข้าหาพ่อแม่ หรือผู้ปกครอง แต่
มักจะเข้าหาเพอ่ื น หาอะไรทีค่ ลายทุกข์ในสิง่ ท่ตี นเองคิดวา่ สิ่งนี้ใชเ่ ลย แตห่ ารไู้ มว่ า่ พอ่ แมน่ ั้นย่อมรักลูก
และจะรักลูกในทอ้ งอีกด้วย เพราะพ่อแม่นัน้ ยอ่ มใหอ้ ภยั ในการกระทาของลูกอยู่เสมอ ในเมอื่ ลุกไมเ่ ข้า
หา ฉะนั้นจึงเป็นทีของพ่อแม่จะเป็นฝ่ายเข้าหาเยาวชนเองบ้าง ไปคลุกคลีบ้าง เพื่อท่ีจะทาให้เยาวชน
เกิดความไว้เน้ือเชื่อใจกว่าท่ีเป็นอยู่ เพราะปัญหาบางปัญหาน้ันเป็นเร่ืองละเอียดอ่อนมากและมี
ผลกระทบไปในทางจิตใจขอเยาวชนเอง ในกรณีที่เด็กหรือเยาวชนท่ีต้ังครรภ์ น่ันก็หมายความว่า
เยาวชนท่ีต้ังครรภ์น้ันต้องคิดหนัก ปัญหาหลายอย่างน้ันโถมเข้ามาอย่างหนัก หรือบางคนอาจจะ
แกป้ ญั หาไมต่ ก และไม่กล้าท่ีจะปรึกษาใครผลสดุ ท้ายอาจถึงขนั้ ฆ่าตัวตายเพือ่ หนปี ัญหาเลยกไ็ ด้ ดงั น้ัน
พ่อแม่ผู้ปกครองจะต้องเข้าหาเยาวชนในเชิงรุกรับอย่างม่ันคง เป็นท่ีแน่นอนว่าเด็กย่อมอยากที่จะมีที่
ระบายเพ่อื ความสบายใจ อยากแกป้ ัญหาให้ตก การให้คาปรึกษาก็เป็นวิธกี ารหนึง่ ในการแก้ปญั หาทาง
จติ ใจของเยาวชนทีต่ ้ังครรภก์ อ่ นวัยอันควรได้

๑๓๙

๒) การที่เด็กท่ีมีปัญหาการติดยานั้นมักจะเกิดจากหลายปัญหาด้วยกัน บ้างก็เกิด
จากเพื่อน เกิดจากสภาพแวดล้อม เกิดจากสถานการณ์พาไปแต่ในบางกรณีเหมือนกันท่ีเยาวชนนั้น
เสพยาเพราะสภาพบีบคั้นทางจิตใจหาทางออกไม่ได้จนต้องพึ่งยาเสพติดเพ่ือหนีจากสภาพปัญหา
เหล่าน้ันหรือบางทีท่ีเยาวชนมีปัญหาย่อมหาทางออกไม่ได้แน่ๆอยู่แล้วเพราะถ้าหาทางออกได้ คงไม่
ต้องไปพ่ึงยาให้เสียเวลา การที่ต้องเจอสภาพบีบค้ันมากๆ มักจะทาให้ตัดสินใจอะไรไม่ค่อยได้และถูก
ชักจูงได้งา่ ยมาก และการบาบัดนี้จาเป็นอยา่ งมากสาหรับผู้ที่เคยเสพยามากอ่ น และมคี วามต้องการท่ี
จะเลิกเสพยา กาลังใจจึงจาเป็นอย่างมากในการยกระดับจิตใจในการเอาชนะใจของตนเองในการ
พยายามเลกิ เสพยาเสพติด หรือบางทีอาจไม่ได้รบั การยอมรบั จากสังคมอีก จนทาใหห้ ันกลับมาเสพอีก
เหมอื นเดิมไดเ้ หมือนกนั

๓) เยาวชนบางกลุ่มมักจะเลือกหนีโลกความเป็นจริงไปพึ่งเกมส์เพ่ือบาบัดจิตใจของ
ตนเอง ด้วยการระบายอารมณ์ใส่เกมส์ท่ีเล่นน้ัน หรือบางที่ก็ได้รับแรงบันดาลใจจากเกมส์นั้นจน
กลายเป็นอาชกรไปก็มี เพราะเยาวชนมีปญั หาจงึ พง่ึ เกมส์ การทเี่ ยาวชนเหลา่ น

๖.๔ บทสรปุ

ประเทศไทยมีความเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็วทางด้านวัตถุ แต่เกิดความเสื่อมทางด้าน
จิตใจ ค่านิยมและสังคมคนไทยประพฤติปฏิบัติที่แสดงถึงความเส่ือมทางจิตใจอย่างเห็นได้ชัดเจน
หลายประการ เช่น นยิ มวตั ถุ นยิ มความหรูหราฟุม่ เฟือย ยกย่องคนรวย โดยไม่คานงึ ถึงว่าจะร่ารวยมา
ไดโ้ ดยวิธใี ด เกิดการแข่งขันเอารัดเอาเปรยี บ ไม่คานึงถึงคณุ ธรรม จริยธรรม การเบียดเบียนเอารัดเอา
เปรียบน้ีนอกจากจะเบียดเบียนกันเองแล้ว ยังเบียดเบียนรุกรานธรรมชาติและส่ิงแวดล้อมอีกด้วย
ท่ีดิน ป่าไม้ แม่น้า สภาพธรรมชาติ ถูกรุกราน ยึดครอง ถูกทาลาย สภาพน้าเน่าเสีย สภาพคนจนอยู่
ใน สลัมท่ามกลางตึกสูงอันหรูหราใหญ่โต สภาพความยากจนแร้นแค้นของคนในชนบท และสภาพ
เส่ือมโทรมทางสังคม อันเกิดจากความเสื่อมทางจิตใจมีมากย่ิงข้ึน จะเห็นได้จากปัญหายาเสพติด
โสเภณี โรคเอดส์และปญั หาอ่ืนๆ รวมถึงการละเลยด้านศาสนา และประเพณีเป็นต้น

จากปัญหาต่างๆ ดังท่ีกล่าวมาแล้วน้ัน หากพิจารณามุมมองทางจริยศาสตร์ เราอาจแยก
เปน็ ๒ ประเภทหลกั ๆ คือ

๑. ปัญหาที่ต้องการใช้หลักจริยศาสตร์ทางสังคม หรือหลักจริยธรรมภาคสาธารณะ จิต
สาธารณะ ขันติธรรมทางสังคม และสันติวิธี ได้แก่ ปัญหาที่เป็นกระแสโลกาภิวัตน์ เช่น กระแส
ประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน การเรียกร้องสิทธิเท่าเทยี มของกลุ่มตา่ งๆ ความขัดแยง้ ในความแตกต่าง
ทางศาสนา ชาติพันธุ์ วัฒนธรรม วถิ ีชีวิต และกระแสการอนรุ ักษส์ ิ่งแวดล้อม

๒. ปัญหาที่ต้องการใช้หลักจริยศาสตร์ปัจเจกบุคคล หรือหลักจริยธรรมเพ่ือการมีชีวิตที่ดี
ส่วนบุคคล ได้แก่ ปญั หาระบบค่านิยม เช่น คา่ นิยมเกี่ยวกับบคุ คลในอุดมคติ การมีชีวิตท่ีดี การเผชิญ
กบั กระแสวตั ถุนิยม บริโภคนิยม ปัจเจกชนนิยมเสรีสุดโต่ง และอิทธิพลความคิดแบบหลังสมยั ใหม่ ซ่ึง
เราแตล่ ะคนควรเรียนรู้จะทาใหเ้ กดิ ความกระจา่ งในคา่ นยิ ม และมจี ดุ ยืนท่ีถูกต้องของตนเอง

เน่ืองจากในยุคปัจจุบัน ปัญหาความขัดแย้งและความรุนแรงทางสังคมมีแนวโน้นหนัก
หน่วงขึน้ กระแสวัตถุนิยม บริโภคนิยม ปัจเจกชนเสรีนิยมสุดโต่ง วิธีคิดหลังสมัยใหม่กเ็ ปน็ ปัญหาใหญ่
ของยุคปัจจุบันด้วยเช่นกัน ดังน้ัน แนวทางการเผชิญปัญหาเหล่าน้ีด้วยขันติธรรม สันติวิธี และการมี
อิสรภาพจากการครอบงาของวัฒนธรรมทางความคิดดงั กลา่ ว

๑๔๐

คาถามท้ายบท

๑. อธิบายปญั หาสงั คมปัจจุบันเชิงปรชั ญาของประเทศไทยมาพอเขา้ ใจ
๒. อธบิ ายวธิ กี ารแกป้ ัญหาของปัญหาสงั คมปจั จบุ ันเชงิ ปรชั ญาของประเทศไทยมาพอเข้าใจ
๓. จงวิเคราะห์ปญั หาสงั คมปัจจบุ ันของเยาวชนปัจจบุ นั โดยใชห้ ลกั อรยิ สจั ๔ มาพอเข้าใจ

๑๔๑

เอกสารอา้ งองิ ประจาบท

โกศล วงศส์ วรรค์ และสถติ วงศ์สวรรค์. ปญั หาสงั คมไทย SOCHIAL PROBLEMS. กรุงเทพมหานคร:
อมรการพิมพ์, ๒๕๔๓.

จรัญ พรหมอย.ู่ ความเข้าใจเก่ียวกับสงั คมไทย. กรงุ เทพมหานคร: สานกั พิมพโ์ อเดียน สโตร์,
๒๕๒๖.

จานงค์ อดิวัฒนสิทธ์ิ. การศึกษาเพ่อื พัฒนาประเทศ. กรงุ เทพมหานคร: สานกั พมิ พโ์ อเดียน สโตร,์
๒๕๓๒.

จฑุ ารตั น์ เอื้ออานวย. อาชญากรรม. กรุงเทพมหานคร: สานักพมิ พจ์ ุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,
๒๕๕๑.

ณรงค์ เสง็ ประชา. สงั คมวิทยา. กรุงเทพมหานคร: สานกั พมิ พพ์ ทิ ักษ์อักษร, ๒๕๓๗.
ดนยั จันทร์เจา้ ฉาย. ในหลวงในรอยธรรม. กรุงเทพมหานคร: บรษิ ัท อัมรนิ ทรพ์ ริน้ ติ้ง แอนดพ์ ลับลชิ -

ชิ่งจากัด (มหาชน), ๒๕๕๐.
ดิเรก ชัยนาม. ความสัมพันธ์ระว่างประเทศ เล่ม ๒. กรุงเทพมหานคร: สมาคมสงั คมศาสตรแ์ หง่

ประเทศไทย, ๒๕๐๙.
ธีรภัทร์ เสรีรงั สรรค์. ปญั หาสังคมเมืองไทยปัจจบุ ัน หนว่ ยท่ี ๑ – ๖. พิมพค์ รง้ั ที่ ๑๐.

กรุงเทพมหานคร: มหาวทิ ยาลยั สุโขทยั ธรรมาธิราช, ๒๕๔๐.
ธีระวัส บาเพญ็ บุญบารมี. รปู้ ัญหาสังคม. โครงการธรรมวิจัย. มหาบณั ฑิตสาขาวิชาพุทธศาสน์

ศึกษา: มหาวทิ ยาลยั มหามกฏุ ราชวทิ ยาลัย, ๒๕๕๐.
ประสาท หลกั ศลิ า. ปญั หาสังคม. กรุงเทพมหานคร: สานักพิมพจ์ ฬุ าลงกรณ์มหาวิทยาลยั , ๒๕๑๑.
พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช). พจนานกุ รมเพ่ือการศกึ ษาพุทธศาสตรช์ ุดศพั ท์วเิ คราะห์.

พมิ พ์ครั้งที่ ๒. กรงุ เทพมหานคร: เล่ียงเชียง, ๒๕๕๐.
พระธรรมปฎิ ก (ป.อ.ปยุตโฺ ต). มรณกถา. พิมพ์ครั้งที่ ๓. กรุงเทพมหานคร: บริษัทสื่อตะวัน จากัด,

๒๕๓๙.

๑๔๒

________ . พจนานุกรมพทุ ธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. กรงุ เทพมหานคร: บริษทั เอส.อารพ์ ริน้ ต้ิง
แมส โปรดักส,์ ๒๕๔๖.

________ . มรณกถา. พมิ พ์ครัง้ ที่ ๓. กรงุ เทพมหานคร: บริษทั สอ่ื ตะวัน จากดั , ๒๕๓๙.
พระราชวรมุนี (ประยทุ ธ ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์. กรุงเทพมหานคร:

มหาจฬุ าลงกรณราชวทิ ยาลยั , ๒๕๒๘.
พระอุดรคณาธกิ าร (ชวนิ ทร์ สระคา) และจาลอง สารพดั นึก. พจนานกุ รมบาลี-ไทย ฉบับนกั ศกึ ษา.

พิมพค์ ร้งั ท่ี ๒ กรุงเทพมหานคร: โรงพมิ พ์มหามกุฏราชวทิ ยาลัย, ๒๕๓๐.
พทั ยา สายหู. กลไกของสงั คม. กรงุ เทพมหานคร: สานักพิมพจ์ ฬุ าลงกรณ์มหาวิทยาลยั , ๒๕๒๙.
พิเชฐ จันทรเ์ จนจบ และคณะ. “ปัญหาและความตอ้ งการการสนบั สนุนทางสังคมของผู้เข้ารับการ

ฟื้นฟสู มรรถภาพยาเสพติดแบบควบคมุ ตัวไมเ่ ข้มงวดของสถานบาบดั รักษายาเสพติด
ในสงั กัดกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสขุ ”. สถาบันบาบัดรักษาและฟนื้ ฟูผู้ติดยา
เสพตดิ แหง่ ชาติบรมราชชนนีกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๕๕.
มหาจฬุ าลงกรณราชวทิ ยาลยั . พระไตรปฎิ กภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
กรุงเทพมหานคร: โรงพมิ พ์มหาจุฬาลงกรณราชวทิ ยาลัย, ๒๕๓๙.
สญั ญา สญั ญาววิ ฒั น์. ทฤษฎีสังคมวิทยา: เนื้อหาและการใชป้ ระโยชนเ์ บอ้ื งต้น. พมิ พค์ รงั้ ท่ี ๑๐.
กรงุ เทพมหานคร: สานักพิมพ์จุฬาลงกรณม์ หาวิทยาลยั , ๒๕๒๖.
________. หลกั สังคมวิทยา. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช, ๒๕๒๓.

สพุ ัตรา สภุ าพ. ปญั หาสงั คม. พิมพ์ครัง้ ที่ ๑๙. กรงุ เทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช, ๒๕๔๖.
สุพิศวง ธรรมพนั ทา. มนุษย์กับสังคม. กรงุ เทพมหานคร: สถาบนั ราชภัฏบา้ นสมเด็จเจา้ พระยา,

๒๕๔๐.
สวุ ทิ ย์ รุ่งวิสยั . ลกั ษณะของผู้ตอ้ งขงั เกี่ยวกบั ยาเสพติดในเรอื นจากลางเชยี งใหม่. เชยี งใหม่:

ภาควิชาสงั คมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวทิ ยาลัยเชยี งใหม,่ ๒๕๓๒.
โสภา ชปลิ มนั ส์. ปญั หาสงั คม. กรุงเทพมหานคร: อมรการพมิ พ์, ๒๕๔๑.
ราชบณั ฑติ ยสถาน. พจนานุกรมศัพทส์ ังคมวทิ ยา องั กฤษ – ไทย ฉบบั ราชบัณฑิตยสถาน.

กรงุ เทพมหานคร: บริษทั รงุ่ ศลิ ป์การพมิ พ์ จากัด, ๒๕๒๔.
อภชิ ัย พนั ธเสน. พุทธเศรษฐศาสตร์. พมิ พค์ รงั้ ที่ ๓. กรุงเทพมหานคร: บริษทั อมั รินทร์พริ้นต้ิง แอนด์

พลบั ลชิ ช่งิ จากดั (มหาชน), ๒๕๔๗.
อานนท์ อาภาภิรม. ปัญหาสังคม. กรงุ เทพมหานคร: สานักพมิ พ์โอเดียน สโตร,์ ๒๕๑๗.
James M. Henslin. Social Problems. New Jersey: Prentice Hall, Inc., 1990.
Jonathan H. Turner. The Sturcture of Sociologial Theory 4 ed. Chicago: The Dorsey,

1986.

๑๔๓

๑๕๐

บทที่ ๗
บทสรุป

สังคมไทยในปัจจุบันนั้นมีความซับซ้อนมากข้ึน และความเป็นอยู่สภาพปัญหาทางสังคม
ย่อมมีความซับซ้อนขึ้นเป็นเงาตามตัว เพราะพฤติกรรมบางอย่างของเยาวชนน้ันไม่ได้รับการดุแลเอา
ใจใส่จากสังคมอย่างเต็มท่ีหรือสังคมน้ันเลือกที่จะละเลยสภาพปัญหาน้ันๆ เอง จากการที่เยาวชนน้ัน
พัฒนาทางด้านกายภาพ พัฒนาทางด้านอารมณ์ พัฒนาทางด้านความคิด อยา่ งรวดเร็วทาให้ความคิด
ความอ่านของเยาวชนน้ันเป็นอาการที่ต่อต้านผู้ใหญ่ทางด้านความคิด ความเข้าใจ จนทาให้ผู้ใหญ่
สว่ นมากคดิ ว่าเยาวชนเหล่าน้ันเอาตัวรอดเองได้ แต่เยาวชนเหล่านัน้ มักขาดสงิ่ ทเ่ี รยี กว่า ประสบการณ์
ทกุ สังคมทุกชนชั้นย่อมมปี ัญหาเสมอโดยเฉพาะปญั หาทางสังคมของเยาวชนไทย ท่ีต้องเข้าใจในสภาพ
ปัญหาและจาเป็นตอ้ งหาวิธีแก้ไขอย่างเร่งดว่ น เพราะเยาวชนไทยในวันนี้คือ อนาคตของชาติที่จะต้อง
สืบทอดเจตนารมณ์ของคนรุ่นหลังเพ่ือที่จะพัฒนาประเทศชาติให้เจริญย่ิงกว่าท่ีเป็นอยู่ ด้วยแนวคิด
พัฒนาของคนรุ่นใหม่ท่ีจะต้องเร่งสร้างหรือปลูกฝังความคิดที่ดีให้แก่ประชาชน ในการพัฒนา
ประเทศชาตใิ นทางท่ดี ี

ดังน้ัน จึงจาเป็นอย่างมากที่จะต้องแก้ไขสถานการณ์หรือปัญหาทางสังคมของเยาวชนใน
ปัจจุบนั เพราะความไมเ่ สมอภาคทางสังคมท่ีเปน็ ปัจจัยท่ีทาให้เกิดปัญหาสังคมของเยาวชน จากปัญหา
นี้จึงก่อให้เกิดรอยแยกระหว่างสังคม และเป็นปัญหาและอุปสรรคที่จะต้องเร่งแก้ไขอย่างให้ทันท่วงที
ปัญหาทางเศรษฐกิจก็เป็นตัวหรือปัจจัยท่ีทาให้เกิดปัญหาทางสังคมอย่างแรกๆ คือสภาพทางสังคม
ทางเศรษฐกจิ ท่ีเป็นตวั บบี ค้ันให้เกิดการดน้ิ รนเอาตัวรอดและการหารายไดใ้ ห้พอกับรายจ่ายน้ัน จงึ ทา
ให้เวลาท่ีจะดูแลปรึกษาปัญหาในครอบครัวมีน้อยลงหรือบางครอบครัวแทบจะไม่มีเลยและเรื่องน้ีจึง
เป็นหน่ึงในตัวทาให้เกิดปัญหาทางสังคมของเยาวชน เพราะการไม่ใสใ่ จหรือไมม่ ีเวลาปรึกษาลูกเวลามี
ปญั หา นั่นย่อมทาให้ลูกหันไปปรึกษาเพื่อนๆ หรอื บุคคลอน่ื ที่ชักจูงไปในทางท่ีผดิ และเพ่ือนบางกลุ่ม
ท่ีไปปรึกษาน้ันก็จัดอยู่ในกลุ่มที่เกเร หรือเป็นพวกที่มีปัญหาทางสังคมอยู่แล้ว และแน่นอนว่าพวกที่มี
ปัญหาอยู่แล้วน้ันย่อมเป็นพวกท่ีมีอิสระในการดาเนินชีวติ ประจาวัน ซ่ึงตรงกบั ความต้องการของเด็กท่ี
มีปัญหาเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว และเด็กบางกลุ่มท่ีมีปัญหาเวลามีปัญหาย่อมหาทางที่จะแก้ปัญหาที่ตน
ประสบน้ัน และเด็กอีกกลุ่มเม่ือมีปัญหาย่อมหาทางท่ีจะหนีปัญหา ไม่ต้องการท่ีจะเผชิญกับปัญหาที่
ตนประสบและกลายเป็นว่าเด็กกลุ่มท่ีหนีปัญหานี้ต้องการอิสระท่ีตนเลือกที่จะหนีปัญหาน้ัน จน
กลายเปน็ ปญั หาทางสังคม

๑๕๑

บรรณานุกรม

โกศล วงศ์สวรรค์, สุชาลี ตลุ ยะเสถยี ร, รศ. สถติ วงสรรค์. ปัญหาสงั คม. กรุงเทพมหานคร:
กกกกกกกกอมรการพิมพ์, ๒๕๓๗.
กรมสุขภาพจติ กระทรวงสาธารณสขุ . แนวทางการนาเสนอข่าวเชิงป้องกันการฆ่าตัวตาย. กกกก
กกกกกกกกกกรุงเทพมหานคร: บรษิ ทั วงศ์กมล โปรดกั ช่นั จากัด, ๒๕๔๑.
________ . กรอบการวิจยั สุขภาพจติ . พระนคร: ห้างหนุ้ สว่ นจากดั กอุดมศึกษา, ๒๕๔๓.
กองสถิตสิ าธารณสขุ กระทรวงสาธารณสุข. สถิตสิ าธารณสุข. กรุงเทพมหานคร, ๒๕๒๘.
โกศล วงศ์สวรรค์.และคณะ. ปญั หาสังคม. กรงุ เทพฯ :พมิ พ์ท่ี อมรการพมิ พ์. ๒๕๓๗.
ขนุ สรรพกจิ โกศล. คมู่ ือการศกึ ษาพระอภิธัมมตั ถสังคหะปริเฉจท่ี ๖. กรงุ เทพมหานคร: กกกกกกกก
กกกกกกกคณะธรรมสากัจฉา วดั มหาธาตุ, ๒๕๑๒.
คณาจารย์แหง่ โรงพมิ พ์เลย่ี งเซียง. พุทธศาสนสุภาษติ เลม่ ๑ ฉบับมาตรฐาน. พิมพ์ครงั้ ที่ ๒.
กกกกกกกกกรงุ เทพมหานคร: โรงพมิ พเ์ ลย่ี งเซียง, ๒๕๓๕.
จานงค์ ทองประเสริฐ. พุทธศาสนากับสงั คมและการเมือง. กรงุ เทพมหานคร: สานกั พิมพ์ต้นอ้อ

แกรมมี่ จากดั , ๒๕๓๙.
จาลอง ดษิ ยวณิช. วิปัสสนากรรมฐานและเชาว์อารมณ์. เชยี งใหม่: โรงพิมพแ์ สงศลิ ป์, ๒๕๔๓.
จติ ติ ตงิ ศภัทยิ ์. คาอธบิ ายประมวลกฎหมายอาญา ภาค ๒ ตอน ๒ และภาค ๓. พมิ พค์ ร้ังท่ี๕.
กกกกกกกกกรุงเทพมหานคร: กรุงสยามพร้นิ ต้ิงกรุ๊พ จากดั , ๒๕๓๙.
ฉววี รรณ สตุ บุตร.การพยาบาลจิตเวชพ้นื ฐาน. นนทบรุ ี: วทิ ยาลัยพยาบาลศรีธัญญา, ๒๕๒๗.
ชาย เสวิกลุ . อาชญาวิทยาและทณั ฑวทิ ยา. กรงุ เทพมหานคร: โรงพมิ พ์มหาวิทยาลยั ธรรมศาสตร์,

มปป.
ดนัย จนั ทร์เจ้าฉาย. ในหลวงในรอยธรรม. กรงุ เทพมหานคร: บริษทั อัมรินทร์พร้ินติ้งแอนด์

พลับลิชชง่ิ จากัด (มหาชน), ๒๕๕๐.
ดาเนนิ การเด่น, เสฐยี รพงษ์ วรรณปก. พจนานุกรมไทย-องั กฤษ. กรงุ เทพมหานคร: สานักพมิ พ์

มติชนก,,๒๕๔๙.
ดิเรก ชยั นาม. ความสมั พนั ธร์ ะว่างประเทศ เลม่ ๒. พมิ พ์คร้งั ที่ ๑. กรงุ เทพมหานคร: สมาคม

สงั คมศาสตร์แห่งประเทศไทย, ๒๕๐๙.
ทองหล่อ วงษธ์ รรมา. ดร. ปรัชญาอนิ เดยี . กรุงเทพมหานคร: โอ.เอส. พรนิ้ ติง้ เฮ้าส์, ๒๕๓๕.
เนอ่ื งนอ้ ย บุณยเนตร. จรยิ ศาสตรต์ ะวนั ตก : ค้านท์ มิลล์ ฮอบส์ รอลส์ ซาร์ทร์. พิมพค์ ร้ังที่ ๒.
กกกกกกกกกรงุ เทพมหานคร: โรงพิมพแ์ หง่ จุฬาลงกรณม์ หาวทิ ยาลยั , ๒๕๔๔.

บุญมี แท่นแก้ว, ผศ. พระพุทธศาสนากบั ปรัชญา. กรงุ เทพมหานคร: บริษัท ว. เพ็ชรสกุล จากดั ,
กกกกกกกก๒๕๔๐.
ปฐม ทรพั ยเ์ จรญิ . ปญั หาสังคม. กรงุ เทพมหานคร: สานกั พิมพม์ หาวทิ ยาลัยรามคาแหง, ๒๕๔๖.
ประธาน วฒั นวาณชิ ย์. ความรู้เบอ้ื งต้นเกีย่ วกับอาชญาวิทยา. กรุงเทพมหานคร: สานกั พิมพ์
กกกกกกกกประกายพรึก, ๒๕๔๖.

๑๕๒

แปลก สนธิรกั ษ์. พจนานุกรมบาลี-ไทย. กรงุ เทพมหานคร: อัมรินทร์พรนิ้ ต้ิงกรพุ๊ จากัด, ๒๕๓๒.
ปิ่น มุทกุ นั ต์. พันเอก. แนวสอนธรรมะตามหลกั สตู รนักธรรมตรี. พิมพ์คร้ังท่ี ๒. กรุงเทพมหานคร:
กกกกกกกกโรงพิมพ์มหามกุฏราชวทยาลยั , ๒๕๓๙.
พระธรรมปฎิ ก (ป.อ.ปยตุ โฺ ต). พจนานุกรมพทุ ธศาสนฉ์ บับประมวลศัพท์. พิมพ์คร้งั ที่ ๙.
กกกกกกกกกรงุ เทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลยั , ๒๕๔๓.
________ . พุทธธรรม ฉบับขยายความ. พิมพ์ครง้ั ท่ี ๙. กรุงเทพมหานคร: โรงพมิ พ์
กกกกกกกกมหาจุฬาลงกรณราชวทิ ยาลยั , ๒๕๔๓.
________ . พุทธธรรม (ฉบับเดมิ ). พมิ พ์คร้งั ท่ี ๑๖. กรงุ เทพมหานคร: โรงพิมพ์บริษทั
กกกกกกกกสหธรรมกิ จากดั , ๒๕๔๔.
________ . พทุ ธวิธแี กป้ ัญหา. พิมพ์คร้งั ที่ ๑๓. กรุงเทพมหานคร: บริษัทพิมพ์สวย จากัด, ๒๕๔๔.
________ . มรณกถา. พมิ พ์คร้งั ที่ ๓. กรุงเทพมหานคร: บริษทั สอ่ื ตะวนั จากดั , ๒๕๓๙.
________ . ระลึกถงึ ความตายและวธิ ปี ฏิบตั ใิ ห้ถูกตอ้ งต่อความตาย. กรงุ เทพมหานคร:
กกกกกกกก ธรรมสภา, ๒๕๓๙.
________ . ลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา. พิมพค์ รั้งท่ี ๔. กรุงเทพมหานคร: สหธรรมกิ จากดั ,

๒๕๓๙.
พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ. ปยุตโฺ ต). พจนานกุ รมพทุ ธศาสตร์ ฉบบั ประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ ๑๓.
กกกกกกกกกรุงเทพมหานคร: บริษทั เอส.อาร์. พร้ินต้ิง แมส โปรดักส์ จากัด, ๒๕๔๘.
พระราชวรมนุ ี(ประยุทธป์ ยตุ โฺ ต). สถาบนั สงฆ์กับสงั คมปัจจุบนั /พระราชวรมนุ ี
กกกกกกกก(ประยุทธ์ ปยตุ ฺโต). กรุงเทพมหานคร: จรญุ การพมิ พ์, ๒๕๒๙.
พระสัทธรรมโชติกะ. ธมั มาจริย, ปรมตั ถโชตกิ ะ มหาอภธิ รรมสงั คหฎีกา ปริเฉทที่๕ เลม่ ๒.
กกกกกกกกกรงุ เทพมหานคร: โรงพิมพส์ ทุ ธสิ ารการพมิ พ์, ๒๕๒๕.
พทุ ธทาสภิกขุ. ธรรมะเลม่ เดยี วจบ. กรงุ เทพมหานคร: หจก. สามลดา, ๒๕๔๙.
________ . ธรรมะสาหรบั คนเจบ็ ไข้. กรงุ เทพมหานคร: สขุ ภาพใจ, ๒๕๓๙.
มหามกุฏราชวทิ ยาลัย ในพระบรมราชูปถมั ภ์. ปฐมสมนั ตปสาทิกา แปล. กรุงเทพมหานคร:

โรงพิมพ์มหามกุฏราชวทิ ยาลัย, ๒๕๕๐.
________ . มงฺคลตฺถทีปนี ปฐโม ภาโค. กรุงเทพมหานคร: โรงพมิ พ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๓๒.
ระวี ภาวิไล. อภิธรรมสาหรบั คนรุ่นใหม่. กรุงเทพมหานคร: สานกั พมิ พ์ดอกหญา้ , ๒๕๓๖.
ราชบณั ฑิตยสถาน. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒. กรุงเทพมหานคร: นานมีบุคส์
กกกกกกกกพับลเิ คช่ันส์, ๒๕๔๖.
วิจติ ร เกิดวสิ ษิ ฐ์. คนในทัศนะของพระพุทธศาสนา อิสลามและครสิ ตศ์ าสนา. กรงุ เทพมหานคร:
กกกกกกกกสภาคาทอลกิ แห่งประเทศไทย เพ่ือการพัฒนา, ๒๕๒๔.
วิทย์ วิศทเวทย์. จรยิ ศาสตรเ์ บ้อื งต้น มนุษย์กับปัญหาจริยธรรม. พิมพ์ครั้งที่ ๘. กรุงเทพมหานคร:

บรษิ ทั อักษรเจรญิ ทัศน์ จากัด, ๒๕๓๕.
วิศิน อนิ ทสระ. จริยศาสตร์. กรงุ เทพมหานคร: มปป.
________ . ชวี ติ กบั ครอบครัว. กรงุ เทพมหานคร: โอเดียนสโตร,์ ๒๕๔๗.
________ . ธรรมบททางแห่งความดี ๑. พมิ พค์ ร้ังที่ ๔. กรงุ เทพมหานคร: สานักพิมพ์ธรรมดา,

๑๕๓

๒๕๔๖.
ว.วชิรเมธี. คล่นื นอก - คลน่ื ใน : พุทธวิธรี บั มือมหันตภัยสึนามิ. พมิ พ์ครง้ั ท่ี ๒. กรุงเทพมหานคร:

บริษทั ฐานการพมิ พ์ จากัด, ๒๕๔๘.
ศภุ วรรณ พิพัฒพรรณวงศ์ กรนี . คมู่ ือชีวิตภาคกฎแห่งกรรม. พมิ พ์ครงั้ ท่ี ๒. กรงุ เทพมหานคร:
กกกกกกกกสกายปุ๊กส์, ๒๕๔๗.
สมภาร พรมทา. พทุ ธปรัชญา มนุษย์ สังคม และปัญหาจรยิ ธรรม. พิมพค์ ร้ังท่ี ๒. กรงุ เทพมหานคร:
กกกกกกกกกกสานกั พมิ พศ์ ยาม, ๒๕๔๘.
สงา่ ลีนะสมติ . อาชญาวิทยา. พระนคร: โรงพมิ พ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์, ๒๕๑๔.
สดุ สงวน สุธีสร. อาชญาวทิ ยาและงานสงั คมสงเคราะห์. กรงุ เทพมหานคร: สานกั พิมพ์
กกกกกกกกมหาวทิ ยาลยั ธรรมศาสตร์, ๒๕๔๖.
สนทิ ศรสี าแดง. ความรูเ้ บอ้ื งต้นเกี่ยวกบั ปรัชญาและศาสนา. กรุงเทพมหานคร: ๑๔ ตลุ าการพมิ พ์,
กกกกกกกก๒๕๒๖.
สมพงษ์ ชมู าก. กฎหมายระหวา่ งประเทศแผนกคดีเมือง. พมิ พ์ครั้งที่ ๑. กรุงเทพมหานคร:

สานักพิมพ์ จุฬาลงกรณ์มหาวทิ ยาลัย. ๒๕๔๒.
สมัคร บุราวาศ. พฒั นาการแหง่ พทุ ธปรชั ญา. กรุงเทพมหานคร: โรงพมิ พร์ งุ่ เรืองรตั น์, มปป.
สรจักร ศิรบิ รริ ักษ์. เลย้ี งลูกอยา่ งไรไม่ใหเ้ ปน็ ฆาตกร. กรุงเทพมหานคร: สานักพมิ พ์มติชน,
กกกกกกกก๒๕๔๑.
โสภา ชปลิ มนั ส์. ปัญหาสังคม. กรงุ เทพมหานคร: อมรการพมิ พ์, ๒๕๔๑.
โสรจั จ์ หงศ์ลดารมภ์(บรรณาธกิ าร). ความตายกับการตาย : มุมมองจากศาสนาและวิทยาศาสตร์.
กกกกกกกกกรงุ เทพมหานคร: สานักพิมพแ์ ห่งจุฬาลงกรณ์มหาวทิ ยาลัย, ๒๕๔๙.

อภิชัย พนั ธเสน. ดร. พุทธเศรษฐศาสตร์. พิมพ์คร้ังท๓่ี . กรงุ เทพมหานคร: บ. อมั รินทร์พริน้ ต้งิ แอนด์
กกกกกกกกพลบั ลชิ ชิ่ง จากดั (มหาชน), ๒๕๔๗.
อุดมศลี ป์ ศรีแสงนาม. ตาราจติ เวชศาสตร์. กรงุ เทพมหานคร: โรงพมิ พ์อักษรไทย, ๒๕๒๐.


Click to View FlipBook Version