The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

หนังสือชุดฝึกทักษะภาษาไทยระดับพื้นฐาน ตามหลักสูตรภาษาไทยพื้นฐานสำหรับคนไทยในต่างแดน เขียนโดย สาลี่ ศิลปสธรรม สนับสนุนการจัดทำโดย สถานกงสุลใหญ่ ณ นครลอสแอนเจลิส

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by nitradee.pang, 2023-09-20 09:17:13

สวัสดี ๗

หนังสือชุดฝึกทักษะภาษาไทยระดับพื้นฐาน ตามหลักสูตรภาษาไทยพื้นฐานสำหรับคนไทยในต่างแดน เขียนโดย สาลี่ ศิลปสธรรม สนับสนุนการจัดทำโดย สถานกงสุลใหญ่ ณ นครลอสแอนเจลิส

หนังสือชุดฝึกทักษะภาษาไทยระดับพื้นฐาน ๗ ตามหลักสูตรภาษาไทยพื้นฐานสำ หรับคนไทยในต่างแดน เขียนโดย สาลี่ ศิลปสธรรม สนับสนุนการจัดทำ โดย สถานกงสุลใหญ่ ณ นครลอสแอนเจลิส


หนังสือชุดฝึกทักษะภาษาไทยระดับพื้นฐาน ๗ ตามหลักสูตรภาษาไทยพื้นฐานสำ หรับคนไทยในต่างแดน สนับสนุนการจัดทำ โดย สถานกงสุลใหญ่ ณ นครลอสแอนเจลิส เขียนโดย สาลี่ ศิลปสธรรม


คำ นำ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๖๔ สถานกงสุลใหญ่ ณ นครลอสแอนเจลิส ได้จัดทำ “สื่อการเรียน การสอน ชุดสวัสดี” ภายใต้โครงการผลิตหนังสือและสื่อการสอนภาษาไทยสำ หรับเยาวชนที่เกิด และเติบโตในสหรัฐอเมริกาในรูปแบบไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ครั้งแรก ระดับ ๑ - ๖ จำ นวน ๑๒ เล่ม โดยมี วัตถุประสงค์เพื่อให้ครูอาสาสมัครและเยาวชนไทยสามารถเข้าถึงหนังสือและสื่อการสอน ภาษาไทยได้สะดวกโดยไม่มีค่าใช้จ่าย โดยได้รับความอนุเคราะห์จากอาจารย์สาลี่ ศิลปสธรรม ครูแห่งชาติ ปี ๒๕๒๔ สาขาการสอนภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นผู้คิดค้นหลักสูตรการเรียนภาษาไทย สำ หรับเยาวชนไทยในต่างประเทศ ซึ่งใช้แพร่หลายในภูมิภาคยุโรป มาเป็นผู้จัดทำ หนังสือดังกล่าว “สื่อการเรียนการสอน ชุดสวัสดี” ระดับ ๑ - ๖ จำ นวน ๑๒ เล่ม ได้รับการตอบรับ อย่างดีจากครูอาสาสมัครและผู้ปกครองที่สอนภาษาไทยให้ลูกหลาน สถานกงสุลใหญ่ฯ จึงเล็งเห็น ว่า การจัดทำ หนังสือเรียนภาษาไทยในระดับที่สูงขึ้นน่าจะเป็นประโยชน์ต่อเยาวชนที่ประสงค์จะ เรียนรู้หลักภาษาไทยให้เข้มข้นและลึกซึ้งยิ่งขึ้น จึงได้ขอความอนุเคราะห์อาจารย์สาลี่ ศิลปสธรรม เพื่อจัดทำ “สื่อการเรียนการสอน ชุดสวัสดี” ระดับ ๗ - ๘ ซึ่งหนังสือเรียนชุดนี้เหมาะอย่างยิ่ง สำ หรับครูอาสาสมัครและผู้ปกครอง รวมทั้งชาวต่างชาติที่ประสงค์จะเรียนภาษาไทยในระดับที่สูงยิ่งขึ้น สถานกงสุลใหญ่ฯ ขอขอบคุณอาจารย์สาลี่ ศิลปสธรรม ที่ได้ให้ความอนุเคราะห์ ในการจัดทำ หนังสือเรียนภาษาไทยชุดนี้ และขอขอบคุณสมาคมไทยแห่งแคลิฟอร์เนีย ภาคใต้ที่ได้ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีในการจัดทำ หนังสือและประชาสัมพันธ์ไปยังชุมชนไทยใน รัฐแคลิฟอร์เนียและพื้นที่อื่น ๆ ในสหรัฐอเมริกา สถานกงสุลใหญ่ฯ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือเรียน ภาษาไทยชุดนี้จะเป็นประโยชน์ต่อครูอาสาสมัคร ผู้ปกครอง และเยาวชนไทยในสหรัฐอเมริกา ในการต่อยอดการเรียนการสอนภาษาไทยในระดับที่สูงขึ้น สุดท้ายนี้ สถานกงสุลใหญ่ฯ เชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่าการส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาไทยในต่างประเทศจะช่วย เสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนไทยและสานต่อคุณค่าความเป็นไทยและสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น อย่างยั่งยืนตลอดไป นายต่อ ศรลัมพ์ กงสุลใหญ่ ณ นครลอสแอนเจลิส ๒๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๖


คำ ชี้แจง หนังสือชุดฝึกทักษะภาษาไทยระดับพื้นฐาน สวัสดี ๗ เป็นสื่อที่สร้างขึ้นเพื่อพัฒนาเด็ก และเยาวชนไทยในต่างแดนให้มีความรู้ความสามารถด้านภาษาไทย เทียบเท่าเด็กที่เรียนในระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่ ๑ - ๖ ในประเทศไทย และเป็นสื่อที่จัดทำ ในรูปแบบไฟล์อิเล็คทรอนิกส์ (E-Book) หนังสือชุดฝึกทักษะภาษาไทยระดับพื้นฐาน สวัสดี ๗ เป็นสื่อที่นำ ไปใช้กับผู้เรียนที่เรียน ด้วยสื่อการเรียนการสอนชุดสวัสดี ๑ - ๖ จำ นวน ๑๘ เล่มมาแล้ว หนังสือชุดฝึกทักษะภาษาไทยระดับพื้นฐาน สวัสดี ๗ รูปแบบการนำ เสนอจะมีความ แตกต่างกับชุดสวัสดี ๑ - ๖ สำ หรับเนื้อหาต่าง ๆ ในหนังสือสวัสดี ๗ จะเป็นการสรุปรวบรวมหลัก ไวยกรณ์ที่จำ เป็น ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ - ๖ และนำ เสนอในรูปแบบของการอ่านเรื่องการ ศึกษาใบความรู้ การศึกษาใบงาน และการทำแบบทดสอบ เพื่อให้ง่ายต่อการจัดการเรียนการสอน ไทยสำ หรับเด็กและเยาวชนในต่างแดน เป็นการเรียนทีละน้อย จากง่ายไปหายาก ที่สำ คัญมากในการ จัดการเรียนการสอนคือ เมื่อนักเรียนศึกษาใบความรู้แล้ว ครูและนักเรียนต้องร่วมกันสรุปบทเรียน จากใบความรู้ทุกครั้ง เพื่อช่วยให้นักเรียนเข้าใจบทเรียนมากยิ่งขึ้น และใบความรู้ควรศึกษาทีละใบ ใบความรู้ บางเรื่องอาจต้องใช้เวลาการเรียน ๕ - ๖ ครั้ง เพราะเนื้อหามาก นอกจากนี้ ชุดฝึกทักษะ เล่มนี้ จะต้องนำ ไปใช้ประกอบการสอนทักษะ การฟัง พูด อ่าน หรือเขียน เนื่องจากชุดฝึกทักษะเล่ม นี้เป็นเรื่องหลักภาษาไทย ขอยํ้าเตือนอีกครั้งว่าเด็กและเยาวชนที่จะเรียนด้วยสื่อสวัสดี ๗ จะต้องมีความรู้ด้านการ ฟัง พูด อ่านและเขียนภาษาไทย ตามที่หลักสูตรการเรียนภาษาไทยพื้นฐานสำ หรับคนไทยในต่างแดน กำ หนดและเรียนจบสื่อชุดสวัสดี ๑ - ๖ มาแล้ว จึงจะสามารถเรียนด้วยสื่อชุดสวัสดี ๗ ได้ ซึ่งแน่นอน การเรียนของเด็กและเยาวชนไทยต้องเรียนอย่างค่อยเป็นค่อยไป เรียนทีละน้อยๆ และเรียนอย่างเข้าใจ จึงจะทำ ให้การเรียนการสอนภาษาไทยสำ หรับเด็กและเยาวชนไทยในต่างแดนมีความรู้ความสามารถ ด้านภาษาไทยเทียบเท่ากับเด็กที่เรียนภาษาไทยในระดับประถมศึกษาปีที่ ๑ - ๖ ของเมืองไทย สาลี่ ศิลปสธรรม


๑ พยัญชนะและสระ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๒๓ ๕๒ ๗๖ ๑๑๔ ๑๓๔ ๑๕๖ สารบัญ หน้า วรรณยุกต์และมาตราตัวสะกด คำ ควบกล ํ้า สระคงรูป สระเปลี่ยนรูป และสระลดรูป คำ พยางค์ และชนิดคำ ลักษณะนาม คำ มูล และคำ ประสม วลี และประโยค การใช้สระใอ การใช้ รร ตัวการันต์ และคำ พ้อง บทที่


๑ พยัญชนะและสระ


๒ นักเรียนทำ ความเคารพ และสวัสดีครูดารา ครูดารา : สวัสดีค่ะ นักเรียนทุกคน วันนี้เรามีนักเรียน จากต่างประเทศ มาร่วมเรียนกับเราเป็นเวลา ๑ เดือน ครูจะให้เขาแนะนำตัวเองนะคะ โอลิเวีย : สวัสดีค่ะ ฉันชื่อโอลิเวีย นามสกุล โธมัส ฉันเป็น ลูกครึ่งไทย-อเมริกัน แม่เป็นคนไทย พ่อ เป็นคนอเมริกัน ฉันอยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา แม่สอนให้ฉันพูดภาษาไทย และทุกวันเสาร์ แม่ให้ฉันไปเรียนภาษาไทยที่โรงเรียนสอนภาษา และวัฒนธรรมไทย ตอนนี้โรงเรียนปิดเทอม ๒ เดือน ฉันจึงกลับมาเมืองไทย มาอยู่บ้าน ไชยา มาริสา ซึ่งเป็นญาติของฉัน แม่ต้องการ ให้ฉันอ่านและเขียนภาษาไทยได้ดีขึ้น จึงให้ฉัน มาเรียนที่โรงเรียนไทย ถ้าฉันทำอะไรไม่ถูกต้อง คุณครูดาราและเพื่อนๆ ช่วยแนะนำด้วยนะคะ ขอบคุณมากค่ะ นักเรียนทุกคนยิ้มดีใจและปรบมือต้อนรับ


๓ ครูดาราดีใจที่นักเรียนทุกคนต้อนรับโอลิเวีย ครูดารา : วันนี้ครูจะทบทวนเรื่องเกี่ยวกับพยัญชนะและ สระในภาษาไทย ครูจะแบ่งนักเรียนเป็น ๔ กลุ่ม แต่ละกลุ่ม ส่งตัวแทนมารับบัตรพยัญชนะไทย จากครู ครูจะให้นักเรียน แต่ละกลุ่มเล่นเกมเรียง พยัญชนะไทย กลุ่มไหนเรียงได้ถูกต้อง และเร็ว จะเป็นผู้ชนะ นักเรียนเล่นเกมเรียงพยัญชนะไทย ทุกคน สนุกสนานเมื่อนักเรียนเรียงพยัญชนะไทยเสร็จ ครู ดาราให้นักเรียนอ่านตัวพยัญชนะไทยทั้ง ๔๔ ตัว ครูดารา : ภาษาไทย มีทักษะการฟัง การพูด การอ่าน และ การเขียน การเรียนภาษาต้องฝึกบ่อยๆจนเกิด ความชำ นาญ และที่สำคัญนักเรียนจำ เป็นต้อง เรียนเรื่อง หลักภาษาไทย เพื่อนักเรียนจะได้ฟัง พูด อ่าน และเขียนภาษาไทยได้ถูกต้อง ดังนั้น วันนี้เราจะมาทบทวนหลักภาษา เกี่ยวกับเรื่อง พยัญชนะและสระจากใบความรู้ที่ ๑ – ๒


๔ ครูดารา : ครูจะให้นักเรียนศึกษาใบความรู้ทีละใบ และให้ นักเรียน ทำ ใบงาน แล้วเรามาช่วยกันสรุปเรื่องที่ เรียน ครูดาราให้นักเรียนศึกษาใบความรู้ที่ ๑ และทำ ใบงาน ที่ ๑.๑ – ๑.๔ และศึกษาใบความรู้ที่ ๒ ทำ ใบงานที่ ๒.๑ – ๒.๓ ครูดาราและนักเรียนร่วมกันสรุปในแต่ละ เรื่อง จากนั้นนักเรียนทำแบบทดสอบท้ายบท เรื่อง สระภาษาไทย จะยังคงใช้หลักของท่านพระยาอุปกิตศิลปสาร แม้ในปัจจุบัน ทางราชบัณฑิตได้กำ หนดให้ สระมี ๒๑ รูป ๒๑ เสียง สระเดี่ยว มี ๑๘ เสียง สระประสม มี ๓ เสียง คือ เอีย เอือ อัว ส่วนสระเกิน ไม่นับเป็นเสียงสระเพราะมีเสียงพยัญชนะแทรกอยู่


๕ ใบความรู้ที่ ๑ พยัญชนะไทย มี ๔๔ ตัว ก ฆ ซ ฐ ต บ ฟ ล ห ข ง ฌ ฑ ถ ป ภ ว ฬ ฃ จ ญ ฒ ท ผ ม ศ อ ค ฉ ฎ ณ ธ ฝ ย ษ ฮ ฅ ช ฏ ด น พ ร ส


๖ รูปพยัญชนะ ๔๔ รูป ๒๑ เสียง รูปพยัญชนะ ๔๔ รูป เสียงพยัญชนะ ๒๑ เสียง ก ข ฃ ค ฅ ฆ ง จ ช ฌ ฉ ซ ศ ษ ส ฎ ด ฏ ต ท ธ ฑ ฒ ถ ฐ น ณ บ ป พ ผ ภ ฟ ฝ ม ย ญ ร ล ฬ ว ฮ ห อ ก ค ง จ ช ซ ด ต ท น บ ป พ ฟ ม ย ร ล ว ฮ อ


๗ พยัญชนะไทย ๔๔ รูป แบ่งตามระดับเสียงออก เป็นอักษร ๓ หมู่ เรียกว่า ไตรยางค์ ได้แก่ อักษรสูง มี ๑๑ ตัว คือ ข ฃ ฉ ฐ ถ ผ ฝ ศ ษ ส ห ผี ฝาก ถุง ข้าว สาร ให้ ฉัน อักษรกลาง มี ๙ ตัว คือ ก จ ฎ ฏ ด ต บ ป อ ไก่ จิก เด็ก ตาย บน ปาก โอ่ง อักษรตํ่า มี ๒๔ ตัว คือ ค ฅ ฆ ง ช ซ ฌ ญ ฑ ฒ ณ ท ธ น พ ฟ ภ ม ย ร ล ว ฬ


๘ อักษรตํ่า แบ่งออกเป็น ๒ พวก คือ คือ อักษรตํ่าที่มีเสียงคู่อักษรสูง มี ๑๔ ตัว ได้แก่ ค ฅ ฆ ช ซ ฌ ฑ ฒ ท ธ พ ฟ ภ ฮ ดังนี้ ๑. อักษรคู่ อักษรตํ่า อักษรสูง ค ฅ ฆ ช ฌ ซ ฑ ฒ ท ธ พ ภ ฟ ฮ ข ฃ ฉ ศ ษ ส ฐ ถ ผ ฝ ห คือ อักษรที่ไม่มีเสียงคู่กับอักษรสูงมี ๑๐ ตัว คือ ง ญ ณ น ม ย ร ล ว ฬ ๒. อักษรเดี่ยว พยัญชนะไทย ๔๔ รูป ปัจจุบันเลิกใช้ ๒ รูป คือ ฃ ฅ ที่เหลือทำ หน้าที่ ดังนี้ ๑. เป็นพยัญชนะต้น เช่น นก กราบ พริก หญิง ๒. เป็นตัวสะกด เช่น งาม ข้าว ลาภ ตำ รวจ ๓. เป็นตัวการันต์ เช่น ศุกร์ ภาพยนตร์ บริสุทธิ์ งู ใหญ่ นอน อยู่ ณ ริม วัด โม ฬี โลก


๙ ใบความรู้ที่ ๒ สระในภาษาไทยมี ๒๑ รูป ๓๒ เสียง วิสรรชนีย์ ไม้ผัด, ไม้หันอากาศ ไม้ไต่คู้ ลากข้าง พินทุอิ ฝนทอง ฟันหนู นิคหิต, หยาดนํ้าค้าง ตีนเหยียด ตีนคู้ ไม้หน้า ะ –ั –็ า -ิ ‘ ‘‘ ํ –ุ –ู เ ไม้ม้วน ไม้มลาย ไม้โอ ตัวยอ ตัววอ ตัวออ ตัวรึ ตัวรือ ตัวลึ ** ตัวลือ ** ใ ไ โ ย ว อ ฤ ฤๅ ฦ ฦๅ ๑๒ ๑๓ ๑๔ ๑๕ ๑๖ ๑๗ ๑๘ ๑๙ ๒๐ ๒๑ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙ ๑๐ ๑๑ รูปสระ ๒๑ รูป ** หมายเหตุ รูปสระนี้ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว


๑๐ อะ อา อิ อี อึ อื อุ อู เอะ เอ แอะ แอ โอะ โอ เอาะ ออ ( ะ ) ( า ) ( -ิ ) ( –ี ) ( –ึ ) ( –ื ) ( –ุ ) ( –ู ) ( เ-ะ ) ( เ- ) ( แ-ะ ) ( แ- ) ( โ-ะ ) ( โ- ) ( เ-าะ ) ( -อ ) ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙ ๑๐ ๑๑ ๑๒ ๑๓ ๑๔ ๑๕ ๑๖ เออะ เออ เอียะ เอีย เอือะ เอือ อัวะ อัว อำ ใอ ไอ เอา ฤ ฤๅ ฦ** ฦๅ** (เ-อะ) (เ-อ) (เ–ียะ) (เ–ีย) (เ –ื อะ) (เ –ื อ) (–ัวะ) (–ัว) (-˚า) ( ใ- ) ( ไ- ) ( เ-า ) ฤ ฤๅ ฦ ฦๅ ๑๗ ๑๘ ๑๙ ๒๐ ๒๑ ๒๒ ๒๓ ๒๔ ๒๕ ๒๖ ๒๗ ๒๘ ๒๙ ๓๐ ๓๑ ๓๒ เสียงสระ ๓๒ เสียง


๑๑ ชนิดของเสียงสระ ๑. สระแท้หรือสระเดี่ยว คือ สระที่เปล่งออกมาเป็นเสียงเดียว อะ อิ อึ อุ เอะ แอะ โอะ เอาะ เออะ สระเสียงสั้น สระเสียงยาว อา อี อือ อู เอ แอ โอ ออ เออ เอียะ(อิ + อะ) เอือะ(อึ + อะ) อัวะ(อุ + อะ) สระเสียงสั้น สระเสียงยาว เอีย(อี + อา) เอือ(อือ + อา) อัว(อู + อา) ๒. สระประสม คือ สระที่ประกอบด้วย สระเดี่ยวสองเสียง ฤ,ฦ(ร,ล + อึ) อำ (อะ + ม) ใอ,ไอ(อะ + ย) เอา(อะ + ว) สระเสียงสั้น สระเสียงยาว ฤๅ ฦๅ (ร , ล + อือ) ๓. สระเกิน คือ สระที่มีเสียงพยัญชนะท้ายคำ ประสมกับสระ


๑๒ ใบงานที่ ๑.๑ จงนำ พยัญชนะมาเติมในช่องว่างโดยเรียงลำ ดับให้ถูกต้อง ก ฃ ฅ จ ช ฌ ญ ฐ ด ต ธ น ป ฝ ภ ย ล ว ษ ฬ


๑๓ ใบงานที่ ๑.๒ นำ พยัญชนะไทยใส่ให้ถูกต้องตามหมู่ อักษรสูง อักษรกลาง อักษรตํ่า


๑๔ ใบงานที่ ๑.๓ ๑. นำอักษรสูงที่มีเสียงคู่กับอักษรตํ่ามาใส่ให้ถูกต้อง ข ฃ ฉ ศ ษ ส ฐ ถ ผ ฝ ห อักษรตํ่า อักษรสูง ค ฅ ฆ ช ฌ ซ ฑ ฒ ท ธ พ ภ ฟ ฮ ๒. โยงเส้นจับคู่อักษรตํ่าที่มีเสียงคู่กับอักษรสูง ฮ ฝ ผ ช ข ห ซ ผ พ ส ฉ ท ถ ค


๑๕ ใบงานที่ ๑.๔ ทำ เครื่องหมาย X ทับตัวอักษรตํ่าที่เป็นอักษรเดี่ยว อ ร บ ภ ญ ช น ฑ ก ม ล ศ ง ท ต ด น ว ย ซ ฬ


๑๖ ใบงานที่ ๑.๕ ๑. โยงเส้นรูปสระกับชื่อ วิสรรชนีย์ ไม้ผัด ไม้หันอากาศ ไม้ไต่คู้ ลากข้าง พินทุอิ ฝนทอง ฟันหนู นิคหิต หยาดนํ้าค้าง ตีนเหยียด ตีคู้ ไม้หน้า ไม้ม้วน ไม้มลาย ไม้โอ ตัวยอ ตัววอ ตัวออ ตัวรึ ตัวรือ ตัวลึ ตัวลือ -ิ ” า –ัะํเ –ุ –็ –ุ ‘ วฤๅ ฦๅฤฦไย โ อ ใ


ใบงานที่ ๒.๒ นำสระทั้ง ๓๒ เสียง ใส่ให้ถูกต้องตามชนิด สระเดี่ยว สระประสม สระเกิน ๑๗


๑๘ ใบงานที่ ๒.๓ ๑. เขียนคำ ที่ใช้สระเดี่ยวที่มีตัวสะกดและไม่มีตัวสะกด ไม่มีตัวสะกด มีตัวสะกด ๒. เขียนคำ ที่ใช้สระประสมที่มีตัวสะกดและไม่มีตัวสะกด ไม่มีตัวสะกด มีตัวสะกด


๓. เขียนคำ ที่ใช้สระเกิน สระเกิน ๑๙


๒๐ แบบทดสอบบทที่ ๑ คำชี้แจง : ให้นักเรียนทำ เครื่องหมาย X ทับข้อที่มีคำตอบที่ถูกต้อง เรื่องพยัญชนะและสระ พยัญชนะไทยมีกี่ตัว ก. ๒๑ ข. ๓๒ ค. ๔๐ ง. ๔๔ พยัญชนะไทยในข้อใดเลิก ใช้แล้ว ก. ฃ ค ข. ฑ ฆ ค. ฅ ฃ ง. ค ฑ พยัญชนะไทยมีกี่เสียง ก. ๒๔ ข. ๒๑ ค. ๓๒ ง. ๓๑ อักษรเดี่ยวมีทั้งหมดมีกี่ตัว ก. ๑๐ ข. ๑๕ ค. ๑๔ ง. ๒๑ อักษรคู่ คือ ก. อักษรตํ่าที่มีเสียงคู่กับอักษร สูง ข. อักษรตํ่าที่มีเสียงคู่กับอักษร กลาง ค. อักษรกลางที่มีเสียงคู่กับ อักษรสูง ง. อักษรตํ่าที่มีเสียงคู่กับอักษรสูง และอักษรกลาง ข้อใดไม่ถูกต้อง ก. ค ฅ คู่กับ ข ฃ ข. ท ฒ คู่กับ ฐ ถ ค. ห คู่กับ ฮ ง. ช คู่กับ ย ๑. ๒. ๓. ๔. ๕. ๖.


ข้อใดเป็นหน้าที่ของพยัญชนะไทย ก. เป็นพยัญชนะต้น ข. เป็นตัวสะกด ค. เป็นตัวการันต์ ง. ถูกทุกข้อ ๗. สระมีกี่รูปและมีกี่เสียง ก. ๓๒ เสียง ๒๑ รูป ข. ๒๑ เสียง ๓๒ รูป ค. ๔๔ เสียง ๒๑ รูป ง. ๓๒ เสียง ๓๒ รูป ๘. า เรียกชื่อว่าอะไร ก. พินทุอิ ข. ฝนทอง ค. ตีนคู้ ง. ลากข้าง ๙. วิสรรชนีย์คือสระตัวใด ก. ะ ข. า ค. เ ง. -ิ ๑๐. ตัวใดไม่ใช่สระเดี่ยว ก. อือ ข. แอะ ค. เอือ ง. โอะ ๑๑. ข้อใดเป็นสระประสม ก. เอะ ข. เออะ ค. เอาะ ง. อัว ๑๒. ข้อใดเป็นสระเกิน ก. เอีย ข. เออ ค. เอือะ ง. เอา ๑๓. สระข้อใดปัจจุบันเลิกใช้ ก. อัวะ ข. เออะ ค. ฦ ฦๅ ง. ฤ ฤๅ ๑๔. ๒๑


๒๑ ๒๒ ข้อใดเป็นอักษรสูงทั้งหมด ก. ส ถ บ ต ง ร ข. ข ฃ ถ ผ ฝ ห ค. ง ร อ ฐ ศ ษ ง. ศ ษ ส ห ฉ จ ข้อใดเป็นอักษรตํ่าทั้งหมด ก. ฑ ฟ ฆ ค ธ อ พ ภ ข. ภ พ ฟ ผ ซ ช ห ษ ค. ช ฮ น ม ย ร ว ท ง. ค ฅ ญ ณ ฒ ต ฬ พ ข้อใดเป็นอักษรเดี่ยว ก. ย ช ซ ภ ม ฌ ข. น ม ช พ ภ ค ค. ร ล ว พ ฬ ช ง. ง ญ ณ น ม ย คำ ในข้อใดประสมด้วย สระเดี่ยวทั้งหมด ก. กินข้าว ข. เสาไฟ ค. มะเขือ ง. เรือใบ คำ ในข้อใดประสมด้วย สระเกินทั้งหมด ก. จำ ไว้อย่าไอใส่หน้า ข. เอานํ้าใส่ไว้ในไห ค. เขาบอกให้ไปหาใบบัว ง. รำ ไม่สวยอย่าไปรำ ๑๙. คำว่า “เดินทาง” มีเสียง สระใดประสมอยู่ ก. สระออ , สระอัว ข. สระอำ , สระเออ ค. สระอา , สระเอือ ง. สระเออ , สระอา ๒๐. ๒๒ ๑๕. ๑๖. ๑๗. ๑๘.


๒๓ วรรณยุกต์และ มาตราตัวสะกด


ครูดาราให้นักเรียนร้องเพลงอักษรกลาง ก จ ฎ ฏ ด ต บ ป และ อ เพลง อักษรกลาง ครูดารา : ครั้งที่แล้วนักเรียนได้เรียนเรื่องพยัญชนะไทย และสระ วันนี้ครูมีภาพและคำ มาให้นักเรียนดู และให้นักเรียนอ่านคำ พร้อมกัน นักเรียน : ปา ป่า ป้า ป๊า ป๋า ปา ป่า ป้า ป๊า ป๋า ๒๔


ครูดารา : วรรณยุกต์เป็นเครื่องหมายที่กำ หนดเสียงสูง ตํ่า ของคำ และทำ ให้คำ มีความหมายเปลี่ยนไป ไชยา : ผมจำ ได้ว่าผมเคยเรียนเรื่องวรรณยุกต์มาแล้ว ครูดารา : ดีมากค่ะ ไชยา ครูดารา : เก่งมาก นักเรียนอ่านได้ถูกต้อง และนักเรียนควรจะ เขียนคำ ให้ถูกต้องด้วยนะคะ นักเรียน : เขียนถูกครับ / เขียนถูกค่ะ ครูดารา : การที่นักเรียนอ่านเขียนได้ถูกต้องนั้น เพราะว่า นักเรียนรู้จักคำ พวกนี้ และนักเรียนก็เคยเรียนมา แล้ว พอนักเรียนเห็นอีกครั้งนักเรียนก็จำ ได้ เรื่อง วรรณยุกต์ แม้จะเป็นเรื่องยาก แต่ถ้านักเรียนเข้าใจ หลักเกณฑ์แล้วนักเรียนฝึกพูด ฝึกอ่านเขียนบ่อย ๆ ก็จะจำ ได้ คนไทยอ่าน เขียนคำ ที่ใช้วรรณยุกต์ได้ถูก ต้อง เพราะเคยเรียนมาแล้ว แต่พอถามถึงหลักเกณฑ์ การใช้ หลายคนก็จำ ไม่ได้เหมือนกัน เก้าอี้ นิ้วเท้า ๒๕ นักเรียนช่วยกันอ่านคำ นี้


ครูดารา : ดังนั้น เรื่องที่ครูจะทบทวนในวันนี้ก็จะช่วยให้นักเรียน จำ ได้ และช่วยให้นักเรียนอ่านและเขียนได้ถูกต้องยิ่งขึ้น ครูดาราให้นักเรียนศึกษาใบความรู้ที่ ๓ และทำ ใบงานที่ ๓.๑ - ๓.๓ ครูดาราและนักเรียนช่วยกันสรุปบทเรียนและ ทำ ใบงาน ครูดาราให้นักเรียนอ่านคำ กางเกง น ํ้าตาล ยาพิษ อาชีพ เมฆ โชคลาภ สุขภาพ ไข่เจียว ครูดารา : คำ เหล่านี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับมาตราตัวสะกด ซึ่งเป็นเรื่อง สำคัญที่นักเรียนต้องเรียนอีกครั้ง เพื่อจะได้เข้าใจยิ่งขึ้น ครูดาราให้นักเรียนศึกษาใบความรู้ที่ ๔ และทำ ใบงาน ที่ ๔.๑- ๔.๔ ครูดาราและนักเรียนช่วยกันสรุป ในแต่ละเรื่อง จากนั้นนักเรียนทำแบบทดสอบท้ายบท ๒๖


ใบความรู้ที่ ๓ วรรณยุกต์ คือ เครื่องหมายที่ทำ ให้เสียงและความหมายของ คำ เปลี่ยนไปจากเดิม มี ๔ รูป ๕ เสียง วรรณยุกต์ วรรณยุกต์ ชื่อวรรณยุกต์ รูปวรรณยุกต์ เสียงวรรณยุกต์ - ไม้เอก ไม้โท ไม้ตรี ไม้จัตวา - -่ -้ –๊ –๋ สามัญ เอก โท ตรี จัตวา ๒๗


๒๘ การผันวรรรณยุกต์ การผันวรรณยุกต์ อักษรกลาง อักษรกลาง มี ๙ ตัว คือ ก จ ฎ ฏ ด ต บ ป อ เมื่อประสม ด้วยสระเสียงยาว จะผันได้ ๕ เสียง ดังนี้ รูปวรรณยุกต์ - -่ -้ –๊ –๋ เสียงวรรณยุกต์ สามัญ เสียงเอก เสียงโท เสียงตรี เสียงจัตวา กา ปี จำ โอ ตู เบีย ดำ กา ปี จำ โอ ตู เบีย ดำ ก่า ปี่ จ ํ่า โอ่ ตู่ เบี่ย ด ํ่า ก้า ปี้ จ ํ้า โอ้ ตู้ เบี้ย ด ํ้า ก๊า ปี๊ จ ํ๊า โอ๊ ตู๊ เบี๊ย ด ํ๊า ก๋า ปี๋ จ ํ๋า โอ๋ ตู๋ เบี๋ย ด ํ๋า


การผันวรรณยุกต์ อักษรสูง อักษรสูง มี ๑๑ ตัว คือ ข ฃ ฉ ฐ ถ ผ ฝ ศ ษ ส ห เมื่อ ประสมด้วยสระเสียงยาว จะผันได้ ๓ เสียง ดังนี้ รูปวรรณยุกต์ - -่ -้ –๊ –๋ เสียงวรรณยุกต์ สามัญ เสียงเอก เสียงโท เสียงตรี เสียงจัตวา ขา ฉำ ถี หา เสือ เฝา หู - - - - - - - ข่า ฉ ํ่า ถี่ ห่า เสื่อ เฝ่า หู่ ข้า ฉ ํ้า ถี้ ห้า เสื้อ เฝ้า หู้ - - - - - - - ขา ฉำ ถี หา เสือ เฝา หู ๒๙


การผันวรรณยุกต์ อักษรตํ่า อักษรตํ่า มี ๒๔ ตัว คือ ค ฅ ฆ ง ช ซ ฌ ญ ฑ ฒ ณ ท ธ น พ ฟ ภ ม ย ร ล ว ฬ อ เมื่อประสมด้วยสระ เสียงยาว จะผันได้ ๓ เสียง ดังนี้ รูปวรรณยุกต์ - -่ -้ –๊ –๋ คา ชา เงา ทำ นี รำ เลีย คา ชา เงา ทำ นี รำ เลีย - - - - - - - ค่า ช่า เง่า ท ํ่า นี่ ร ํ่า เลี่ย ค้า ช้า เง้า ท ํ้า นี้ ร ํ้า เลี้ย - - - - - - - เสียงวรรณยุกต์ สามัญ เสียงเอก เสียงโท เสียงตรี เสียงจัตวา ๓๐


อักษรตํ่าอาจผันได้ครบทุกเสียง โดยใช้อักษรกลางหรือ อักษรสูงมาช่วย ยา ชี นำ มี สามัญ ยา ชี นำ มี เอก อย่า ฉี่ หนํ่า หมี่ โท ย่า ชี่ นํ่า มี่ ตรี ย้า ชี้ นํ้า มี้ จัตวา อย๋า ฉี หนำ หมี ใช้อักษรกลาง อ ช่วย ใช้อักษรสูง ฉ ช่วย ใช้อักษรสูง ห นำ ใช้อักษรสูง ห นำ คำ เสียงวรรณยุกต์ หมายเหตุ การผันคำ ตายสระเสียงสั้น เอก กะ ขะ - โท ก้ะ ข้ะ ค่ะ ตรี ก๊ะ - คะ จัตวา ก๋ะ - ค๋ะ การผันคำ ตายสระเสียงยาว เอก กาก ขาก - โท ก้าก ข้าก คาก ตรี ก๊าก - ค้าก จัตวา ก๋าก - ค๋าก ๓๑


ใบความรู้ที่ ๔ มาตราตัวสะกด มาตราไทย มี ๙ มาตรา มาตราที่มีตัวสะกด มี ๘ มาตรา มาตราที่ไม่มีตัวสะกด มี ๑ มาตรา มาตรา แม่ ก กา มาตรา แม่ กง มาตรา แม่ กน มาตรา แม่ กม มาตรา แม่ เกย มาตรา แม่ เกอว มาตรา แม่ กก มาตรา แม่ กด มาตรา แม่ กบ เสือ นา ไม่ ดี เสียง นั่ง กางเกง นาน พาล กาฬ บุญ คุณ แก้ม ลม ยอม อ้อย ขาย น้อย เนย ว่าว สาว แก้ว หิว มาก สุข โรค เมฆ เห็ด พืช เสร็จ ปรากฏ ครุฑ โทษ ก๊าซ บาป ภาพ กราฟ ลาภ - ง น ญ ณ ร ล ฬ ม ย ว ก ข ค ฆ ด จ ช ซ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ต ถ ท ธ ศ ษ ส บ ป พ ฟ ภ มาตรา ตัวสะกด คำ ๓๒


๓๓ มาตราแม่ ก กา มาตรา แม่ ก กา คือ มาตราที่ไม่มีตัวสะกด แม่ไก่อยู่ในตะกร้า ไข่ไข่มาสี่ห้าใบ อีแม่กาก็มาไล่ อีแม่ไก่ไล่ตีกา หมาใหญ่ก็ไล่เห่า หมูในเล้าแลดูหมา ปูแสมแลปูนา กะปูม้าปูทะเล เต่านาและเต่าดำ อยู่ในนํ้ากะจระเข้ ปลาทูอยู่ทะเล ปลาขี้เหร่ไม่สู้ดี


มาตราตัวสะกด แม่ กง มาตราตัวสะกด แม่ กง คือ คำ ที่มี ง สะกด กางเกง บาง ลุง ยุง ร้องเพลง เสียง แพง แกง มอง ลอง น้อง กุ้ง โอ่ง สูง ดัง โทงเทง ๓๔


๓๕ มาตราตัวสะกด แม่ กน มาตราตัวสะกด แม่ กน คือ คำ ที่มี น สะกด บาน เทียน แทน อ่าน เต้น ตื่น ดิน เพื่อน ร้อน หุ่น ถ่าน เขียน * คำ ที่มี ญ ณ ร ล ฬ สะกดอยู่ในมาตราแม่ กน บุญ คูณ การ พาล รางวัล ละคร อาหาร ปัญญา พยาบาล ธนาคาร จราจร ปลาวาฬ


มาตราตัวสะกด แม่ กม มาตราตัวสะกด แม่ กม คือ คำ ที่มี ม สะกด แก้ม ดื่ม ผอม สาม งาม ยิ้ม ยอม ป้อน ห้าม ชม ลม เยี่ยม ๓๖


๓๗ มาตราตัวสะกด แม่ เกย มาตราตัวสะกด แม่ เกย คือ คำ ที่มี ย สะกด ชาย หอย โดย ลอย ร้าย สาย ป้าย ต่อย ด้าย


๓๘ มาตราตัวสะกด แม่ เกอว มาตราตัวสะกด แม่ เกอว คือ คำ ที่มี ว สะกด ดาว ว่าว สิว เอว แมว แก้ว เกี่ยว เขียว แห้ว หิว


๓๙ มาตราตัวสะกด แม่ กก มาตราตัวสะกด แม่ กก คือ คำ ที่มี ก สะกด ปีก มาก โบก ฝาก ฉีก จาก ปาก เปียก ตาก เรียก ลูก โลก * คำ ที่มี ข ค ฆ สะกดอยู่ในมาตราตัวสะกด แม่ กก เลข โรค เมฆ โชค สุนัข บริจาค วิหค ประโยค สุข จักร พรรค สมัคร


๔๐ มาตราตัวสะกด แม่ กด มาตราตัวสะกด แม่ กด คือ คำ ที่มี ด สะกด กอด คิด แดด วาด เลือด ถอด บิด ติด มีด มืด โดด ขาด จอด ปอด แปด ฝาด * คำ ที่มี จ ช ซ ฎ ฏ ฐ ฑ ต ถ ท ธ ศ ษ ส สะกดอยู่ในมาตราแม่ กด กระดาษ เสร็จ โอกาส ญาติ คณิต พืช ชาติ ศาสนา เพชร โกรธ อาจ พิเศษ ยาพิษ อากาศ รถ อิฐ


๔๑ มาตราตัวสะกด แม่ กบ มาตราตัวสะกด แม่ กบ คือ คำ ที่มี บ สะกด ตบ สิบ ตอบ เรียบ เงียบ จูบ สูบ จีบ รีบ ลูบ โอบ ตะเกียบ * คำ ที่มี ป พ ฟ ภ สะกดอยู่ในมาตราตัวสะกด แม่ กบ กราฟ บาป ลาภ รูปภาพ สัปดาห์ เคารพ อาชีพ ทัพพี รูป ทวีป ยีราฟ โลภ


ใบงานที่ ๓.๑ วรรณยุกต์ รูปวรรณยุกต์ ๔ รูป เสียงวรรณยุกต์ ๕ รูป ๑. จงเติมคำ ให้ถูกต้อง ๔๒


๔๓ ใบงานที่ ๓.๒ ๑. นำ คำ ที่กำ หนดให้ไปเติมให้ถูกต้อง อักษรสูง อักษรกลาง อักษรตํ่า ไก่ป่า หอยโข่ง เลี้ยงน้อง ขึ้นเขา เล่นว่าว ไม้เท้า ผีเสื้อ แม่ค้า ม้านํ้า ตัวเตี้ย หัวเข่า เสื้อผ้า เก้าอี้ ตู้เก่า จู้จี้ เป่าปี่


ใบงานที่ ๓.๓ แม่บอกมาริสาว่าทุกวันเสาร์ต้องซัก ___________ ใน ___________ ของไชยามีเงิน ๑๐ บาท __________ ขายมะเขืออยู่ที่ตลาด โอลิเวียชอบกินส้มตำ ใส่ ___________ __________ มีสีดำและแผ่แม่เบี้ยได้ ครูไปหยิบยาแก้ไอใน __________ มาให้มาลี เพราะมาลีไม่สบาย มาริสาบอกโอลิเวียว่ามาริสาชอบกิน ___________ ทอด พ่อบอกไชยาว่าหมาชอบกินกระดูก แต่แมวชอบกิน __________ ครูดาราบอกว่าผู้ชายบางคนมีนิสัย ___________ โอลิเวียบอกไชยาและมาริสาว่าอยากไปทะเล เพื่อไป ___________ แม่บอกให้มาริสาไปตลาด เพื่อซื้อ ___________ ๑๐ ฟอง โอลิเวียบอกครูดาราว่า บางครั้งรู้สึก ___________ กับการเรียน ภาษาไทย ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙ ๑๐ ๑๑ ๑๒ เจ้าชู้ ปลาย่าง ตู้ยา ปูม้า งูเห่า ไข่ไก่ เต้าหู้ ดำ น ํ้า ท้อแท้ เสื้อผ้า แม่ค้า กระเป๋า ๔๔


Click to View FlipBook Version