The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

เอกสารประกอบการสอน การพัฒนาหลักสูตร

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by thidarat.ta, 2021-01-17 22:21:04

เอกสารประกอบการสอน การพัฒนาหลักสูตร

เอกสารประกอบการสอน การพัฒนาหลักสูตร

195

2.1.6 ระบบสนับสนุนการศึกษาของศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วย มาตรฐานและการประเมิน
การพัฒนาหลกั สูตรและการสอน การพัฒนาทางวิชาชพี และสภาพแวดลอ้ ม การเรยี นรู้

ทักษะ ทักษะการเรยี นรูแ้ ละนวัตกรรม ทักษะดา้ น
ชีวติ และ วชิ าแกนและแนวคดิ สาคัญ สารสนเทศ
ในศตวรรษท่ี 21 สอ่ื และ
การ เทคโนโลยี
ทางาน มาตรฐานและการประเมิน

หลกั สตู รและการสอน

วชิ าแกน การพฒั นาทางวิชาชีพ
สภาพแวดลอ้ มการเรียนรู้

- ภาษาอังกฤษ การอ่าน - เศรษฐศาสตร์

หรือศลิ ปะการใช้ภาษา - วิทยาศาสตร์

- ภาษาสาคัญของโลก - ภมู ศิ าสตร์

- ศลิ ปะ - ประวัตศิ าสตร์

- คณิตศาสตร์ - การปกครองและหน้าท่ีพลเมอื ง

แนวคดิ สาคัญในศตวรรษที่ 21

- จิตสานึกต่อโลก

- ความรูพ้ ืน้ ฐานดา้ นการเงิน เศรษฐกิจ ธรุ กิจ และการเป็นผู้ประกอบการ

- ความรพู้ น้ื ฐานด้านพลเมือง

- ความรพู้ ืน้ ฐานดา้ นสขุ ภาพ

- ความรู้พื้นฐานดา้ นส่งิ แวดล้อม

196

ทักษะการเรียนร้แู ละนวัตกรรม
- ความคิดสรา้ งสรรคแ์ ละนวัตกรรม
- ความคดิ เชงิ วิพากษแ์ ละการแกไ้ ขปัญหา
- การส่ือสารและการรว่ มมือทางาน

ทกั ษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี
- ความรพู้ ้นื ฐานดา้ นสารสนเทศ
- ความรพู้ ้นื ฐานด้านส่อื
- ความร้พู นื้ ฐานทางเทคโนโลยสี ารสนเทศและการสอ่ื สาร (ICT)

ทักษะชวี ติ และการทางาน
- ความยดึ หยนุ่ และความสามารถในการปรับตวั
- ความคดิ ริเร่ิมและการช้ีนาตนเอง
- ทกั ษะทางสังคมและการเรียนรู้ข้ามวฒั นธรรม
- การเพม่ิ ผลผลิตและความรูร้ บั ผิด
- ความเปน็ ผนู้ าและความรับผดิ ชอบ

ระบบสนบั สนนุ การศกึ ษาของศตวรรษท่ี 21
- มาตรฐานและการประเมนิ ของศตวรรษที่ 21
- หลักสูตรและการสอนของศตวรรษท่ี 21
- การพฒั นาทางวชิ าชีพของศตวรรษที่ 21
- สภาพแวดลอ้ มการเรียนรู้ของศตวรรษที่ 21

แผนภูมทิ ี่ 9.1 กรอบความคิดแนวการจดั การศกึ ษาเพ่ือการเรยี นรูใ้ นศตวรรษท่ี 21 โดยภาคี
เพื่อทกั ษะแหง่ ศตวรรษท่ี 21

ทม่ี า (ภาคเี พอ่ื ทักษะแหง่ ศตวรรษท่ี 21, เบลลันกา และแบรนดท์ (Bellanca & Brandt), 2010, p.34)

2.2 กรอบแนวคดิ การจัดการศึกษาเรียนรู้ทีค่ รบวงจร และผลลัพธ์
ประเวศ วะสี (2549 อา้ งถึงใน ทิศนา แขมมณี, 2555, หนา้ 8-9) ได้นาเสนอความคิดเกย่ี วกับ

กระบวนการเรยี นรคู้ รบวงจร เพื่อคลี่คลายวกิ ฤตแห่งยุคสมยั ศตวรรษท่ี 21 โดยไดก้ าหนดทกั ษะการเรยี นรู้
6 ทักษะที่จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถอยู่ในสังคมในยุคศตวรรษที่ 21 ได้อย่างดี ทาให้เกิดสานึกใหม่ เกิด

197

ความเคารพศักด์ิศรี และคุณค่าความเป็นคน เกิดความเข้มแข็งของชุมชน ประชาสังคม เกิดเศรษฐกิจ

พอเพียง การอยู่ร่วมกันอย่างสันติ เพราะมีความสมดุลของสรรพส่ิง สาหรับทักษะการเรียน 6 ประการ

ประกอบด้วย

2.2.1 ทกั ษะการเรียนร้จู ากการทาจริง ปฏบิ ตั จิ ริง

2.2.2 ทกั ษะกระบวนการทางวทิ ยาศาสตร์

2.2.3 ทกั ษะในการสร้างความรู้

2.2.4 ทักษะการเรยี นรจู้ ากภายใน

2.2.5 ทกั ษะการจัดการ

2.2.6 ทักษะการจัดการความรู้

โดยนาเสนอเป็นแผนภูมิ ไดด้ ังนี้ 3

ความรหู้ รอื

5 2 ปัญญาท่สี ูงขน้ึ 6 4

การจดั การ กระบวนการ 1 กระบวนการ จติ ตปญั ญา
เป็นอทิ ธิ ศกึ ษา
ทางวทิ ยาศาสตร์ เรียนรจู้ ากการ จดั การความรู้

ทาจรงิ ปฏิบัติจริง

การเคารพศกั ดศิ์ รี ผล 5 จิตสานกึ ใหม่

และคณุ ค่าความเปน็ คน สนั ตสิ ขุ เศรษฐกจิ พอเพียง
และการอยรู่ ่วมกนั
ความเขม้ แขง็ ของชุมชน

และประชาสังคม

แผนภูมิที่ 9.2 ระบบการเรียนรู้ที่ครบวงจรและผลลพั ธ์
ทีม่ า (ทิศนา แขมมณี, 2550, หน้า 8 - 9 อ้างองิ จาก ประเวศ วะสี, 2549)

198

2.3 กรอบแนวคดิ เก่ยี วกับภาพการศึกษาไทยในอนาคต
พิณสุดา สิริธรังศรี (2552) ไดจ้ ัดทาวิจยั เรอ่ื ง ภาพการศึกษาไทยในอนาคต 10 - 20 ปี โดยได้

สรปุ ภาพอนาคตการศึกษาไทยทพี่ ึงประสงค์ ดงั น้ี
2.3.1 มุ่งพัฒนาปัจเจกบุคคลให้มีความรู้ ทักษะ สติปัญญา ความฉลาดทางอารมณ์ การ

ปรบั ตัวเพื่ออย่รู ่วมในสังคมไดอ้ ยา่ งมคี วามสุข มที ักษะชีวิต และมีภูมิคุ้มกัน ดารงตน เป็นพลเมืองไทยและ
พลโลกท่ีดี

2.3.2 มุ่งเน้นการพฒั นามันสมองและสติปัญญาของมนุษย์ต้ังแต่ก่อนวัยเรียนจนกระทัง่ ถงึ วัย
ผู้สูงอายุ เพ่ือใช้ปัญญาเป็นเคร่ืองมือในการพัฒนาคน สร้างโอกาสและเพ่ิมมูลค่าของชีวิต สังคมและ
ประเทศชาติ

2.3.3 ส่งเสริมสุขภาพกาย สุขภาพจิต สุขภาพสมองและสติปัญญาควบคู่กับสภาวะแห่ง
คณุ ธรรม จรยิ ธรรม ที่มคี วามสมบูรณ์อย่างเป็นองคร์ วม

2.3.4 ส่งเสริมใหเ้ กิดการเรียนรดู้ ้วยกระบวนการวจิ ัยอยา่ งต่อเนื่องตลอดชวี ิต ทุกเพศทุกวัย
มีการใชเ้ ทคโนโลยี นวตั กรรมเป็นเครือ่ งมือแสวงหาความรู้/การเรยี นรไู้ ดอ้ ย่างเทา่ กนั

2.3.5 ส่งเสริมสิทธิ เสรีภาพ และความเป็นมนุษย์ท่ีสามารถดารงชีวิตอยู่ในโลกของการ
แข่งขนั ได้อยา่ งรเู้ ทา่ ทนั และมีความสขุ

2.3.6 ก่อให้เกิดความเข้าใจตนเอง เข้าใจผู้อื่น มีจิตอาสา จิตสาธารณะ ส่งเสริมการใช้
ปัญญาอย่างมีเหตุผล ส่งเสริมความสามัคคีปรองดองในสังคม ขจัดความขัดแย้ง ทาให้คนมีความเป็น
มนษุ ย์และมีจติ ใจสงู

2.3.7 ส่งเสริมความเป็นผู้มีคุณธรรม โดยมีหลักสูตร กระบวนการเรียนการสอนและการ
ประเมินผลจะต้องเน้นท้ังความรแู้ ละคุณธรรมควบค่กู ันไปอย่างบูรณาการ

2.3.8 ส่งเสริมการอนุรักษ์และพัฒนาศิลปวัฒนธรรม ธรรมชาติและส่ิงแวดล้อมท่ีผ่าน
กระบวนการเรียนรอู้ ย่างเปน็ ระบบ ทงั้ ในระบบ นอกระบบ และตามอธั ยาศัย

2.3.9 เปน็ กลไกกอ่ ใหเ้ กิดความเจริญก้าวหน้า และการพัฒนาประเทศอย่างยง่ั ยืน
2.3.10 เปิดโอกาสให้คนทุกหมู่เหล่า ทุกเพศวัย ทุกเชื้อชาติ ทุกศาสนาได้ศึกษา ในทุก
สถานท่ี ทุกเวลา ทุกโอกาสอย่างเท่าเทียมและเป็นไปอย่างมีคุณภาพ เป็นการศึกษาที่เอ้ือต่อคนทุกคนใน
สังคม
2.3.11 ส่งเสริมให้มีการใช้เทคโนโลยีในการแสวงหาความรู้อย่างทั่วถึง ผู้เรียนทุกเพศทุกวัย
สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้ทุกเวลา ทุกที่ ทุกโอกาส รวดเร็ว ทันท่วงที ด้วยเทคโนโลยี ใหม่ ๆ ท่ีได้รับ
การพัฒนาอยา่ งตอ่ เนอ่ื งตลอดเวลา

199

2.3.12 สถานศึกษามีการแข่งขันกันเชิงคุณภาพมากย่ิงขึ้นเพื่อรองรับความต้องการการ
พฒั นาทางเศรษฐกิจ/สังคม ในยคุ เศรษฐกจิ สงั คมฐานความรู้

2.3.13 บทบาทการจัดการศึกษาของรัฐลดลงและบทบาทขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น
และเอกชนเพิม่ มากขึ้น

2.3.14 กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมจะเข้ามามีส่วนส่งเสริมการ
จัดการศึกษามากข้ึน เกิดการวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ การพัฒนาสมองของมนุษย์ การรักษามันสมอง
ของผู้สงู วยั ใหม้ ีสุขภาพสมองยืนยาวดว้ ยกระบวนการทางการแพทย์ที่ทันสมัย

2.3.15 ผู้สูงวัยจะได้รับการเตรียมการด้วยการศึกษาตลอดชีวิตและการใช้ประโยชน์จาก
สมอง ภูมิปัญญา และประสบการณ์ของผู้สูงวัยมาใช้สนับสนุนการศึกษาท้ังในรูปของผู้ทรงคุณวุฒิ ครูภูมิ
ปญั ญา และแหลง่ เรยี นรู้ทเี่ ปน็ ทรัพยากรบุคคลอนั มคี ่าของชาติ

2.3.16 ครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศกึ ษา มีวิสยั ทัศน์ ความรู้ คุณธรรม ทกั ษะ และ
เจตคติท่ีดีต่อการศึกษา ผ่านกระบวนการเรียนรู้และประสบการณ์ในสาขาวิชาชีพอย่างเชี่ยวชาญ มีความ
รักและศรัทธาในวิชาชพี มีความรบั ผิดชอบต่อตนเอง สังคม และประเทศชาติ เปน็ ผู้ทันโลก ทันเหตุการณ์
เป็นท่ียอมรับและศรัทธาของหน่วยงาน วงการวชิ าชพี และสงั คม และมสี ถาบันผลิตครูทมี่ ีศาสตรข์ องการ
ผลติ ดาเนินการอยา่ งเข้มขน้

2.3.17 ผูเ้ รียน มีสขุ ภาพร่างกายแข็งแรง มีความรู้ และผ่านการขัดเลาสติปัญญาตามช่วงวัย
มภี ูมิคุ้มกันและความเข้มแข็งทางจิตใจและอารมณ์ มีทักษะการคิดวิเคราะห์ และเหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์
มคี วามสามารถในการสื่อสารไดห้ ลายภาษา มีทกั ษะในการใชเ้ ทคโนโลยใี นการแสวงหาความรู้ ใฝร่ ู้ใฝ่เรยี น
มีความสามารถในการจัดการตนเองและแก้ปัญหาตนเองได้อย่างรู้เท่าทนั มีความรับผดิ ชอบตอ่ ตนเองและ
สังคม และอย่ใู นโลกยคุ โลกาภิวัตน์ได้อยา่ งมคี วามสุข

2.4 กรอบแนวคิดการจัดการศึกษาในเชงิ สร้างสรรคแ์ ละผลติ ภาพ
ไพฑูรย์ สินลารัตน์ (2557ข, หน้า 25 - 29) ไดน้ าเสนอแนวคิดเก่ียวกบั “การจัดการศกึ ษาใน

เชิงสร้างสรรคแ์ ละผลิตภาพ” ซึง่ เป็นภาพรวมในการจัดการศกึ ษาในศตวรรษท่ี 21 ดังน้ี
2.4.1 การเรียนรูแ้ นวคดิ และลกั ษณะสงั คมไทยอยา่ งวเิ คราะห์วจิ ารณ์
ในช่วงศตวรรษที่ 21 ควรต้องศึกษาแนวคิดและวัฒนธรรมไทย อย่างเข้มข้น ลึกซึ้งและ

วิเคราะห์วิจารณ์มากยิ่งข้ึน เพ่ือให้สามารถเรียนรู้และอยู่ในสังคมใหม่ได้อย่างเท่าทันและสามารถคิดตาม
การเปลยี่ นแปลงไดอ้ ยา่ งเพยี งพอ

200

2.4.2 การเขา้ ใจวัฒนธรรมอาเซียนและวฒั นธรรมตะวันตกในเร่อื งทมี่ าและผลกระทบ
การศึกษาในช่วงศตวรรษท่ี 21 ต้องเรียนรู้การเปล่ียนแปลงสมัยใหม่อย่างลึกซ้ึงท้ังในเชิงที่มา
และผลกระทบ เพื่อจะไดเ้ ข้าใจการเปล่ยี นแปลงและมองเหน็ ผลกระทบของความเปล่ียนแปลงนั้น ๆ ได้
2.4.3 การรู้จักตนเองพร้อมมองเหน็ คณุ ค่าท่แี ทจ้ ริงของสิ่งของและนวตั กรรม
การสง่ เสรมิ ให้รจู้ ักตนเอง ทาใหส้ ามารถพัฒนาตนเองและอยู่รว่ มกับสงั คมไดอ้ ย่างเขา้ ใจควบคู่
ไปกบั การรจู้ กั คุณค่าทแ่ี ท้จรงิ ของสิ่งรอบตัว ดว้ ยการพฒั นาความสามารถในเชิงวิเคราะหว์ ิจารณ์
2.4.4 การตามทนั กระบวนการผลิตใหม่และสามารถผลิตเองได้อย่างกว้างขวาง
ในโลกยุคใหม่ท่ีมุ่งธุรกิจการค้าและมาพร้อมกับนวัตกรรมใหม่ ๆ จึงจาเป็นต้องตามให้ทันกับ
กระแสใหม่ และพร้อมที่จะคิดใหม่ มองสง่ิ รอบตัวใหม่ ขณะเดียวกัน ก็สามารถพัฒนาผลผลติ จากสิ่งใหม่
ได้ดว้ ย
2.4.5 การเข้าใจผู้อ่นื และร้วู ธิ ีการในการนาการเปลีย่ นแปลงรว่ มกัน
การส่งเสริมให้รู้จักผู้อื่นทั้งในสังคมของเราเองและสังคมอื่น ๆ เพราะในโลกยุคใหม่ทาให้โลกเล็ก
ลง ไม่สามารถหลีกเล่ียงการรู้จักผู้อ่ืน ดังน้ันเมื่อรู้จักแล้วต้องพร้อมท่ีจะช่วยกันคิดและพัฒนา
สภาพแวดลอ้ มไปพร้อมกัน จงึ จาเปน็ อย่างยงิ่ ที่จะปลกู ฝังนสิ ัยเชงิ รกุ (Productive) ใหม้ ขี นึ้ ในสงั คมด้วย
2.4.6 การออกแบบและร่วมพฒั นาทศิ ทางของสังคมท่เี หมาะสมได้
ในโลกแห่งศตวรรษท่ี 21 ความเปล่ียนแปลงเกิดขึ้นเสมอและเป็นไปอย่างรวดเร็ว ผู้คนใน
ศตวรรษน้ีจึงต้องพร้อมกับการเปล่ียนแปลงและร่วมมบี ทบาทในการเปล่ียนสังคมและโลกไปพร้อม ๆ กัน
(Futuristic Mind)
2.4.7 มคี วามเขม้ แข็งในจริยธรรม ความรับผดิ ชอบและความดีงาม
ความรู้ผิดชอบนับเป็นฐานหลัก เพราะความรับผิดชอบจะมาควบคู่กับสิทธิของผู้คนท่ีมีต่อ
สังคมและสิ่งแวดล้อม ในขณะเดียวกันความรับผดิ ชอบจะเป็นพืน้ ฐานของคุณธรรม จริยธรรม รวมถงึ การ
ไดเ้ ปรียบผู้อ่ืนและโลกอน่ื จงึ ตอ้ งได้รับการพัฒนาใหม้ ีอย่างพอดี
จากสาระท่ีนาเสนอกรอบแนวคิดการจัดการศึกษาในศตวรรษท่ี 21 ดังกล่าวข้างต้น จะเห็น
ได้ว่า การจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ต้องคานึงถึงการพัฒนาให้ประชากรของโลกมีความสามารถใน
การแข่งขัน โดยความสาเร็จของประชากรท่ีเกิดข้ึนมีปัจจัยมาจากการมีความรู้และทักษะท่ีสาคัญ และมี
การจดั การศึกษาท่ีม่งุ ผสมผสานวิชาแกนกับแนวคิดสาคัญตา่ ง ๆ ของศตวรรษที่ 21 และทกั ษะต่าง ๆ เพ่ือ
เตรียมความพร้อมใหผ้ ู้เรียนก่อนออกไปสโู่ ลกของการทางาน โดยทีผ่ ู้เรียนต้องได้รบั การส่งเสรมิ ให้มีความรู้
ในเน้ือหาและทักษะที่จะประยุกต์ใช้และปรับเปลี่ยนความรู้เหล่าน้ันให้เข้ากับเป้าหมายที่เป็นประโยชน์
และสร้างสรรค์ รวมทั้งส่งเสริมให้มีความต่อเนื่องตามเนื้อหาและสภาพการณ์ท่ีเปล่ียนแปลงไป จึงอาจ

201

กล่าวได้ว่า การจัดการศึกษาในศตวรรษท่ี 21 จึงมิใช่ห้องเรียนท่ีมีเทคโนโลยีสมัยใหม่ มีเนื้อหาวิชาท่ี
หลากหลาย แต่ยังต้องรวมถึงการสร้างจิตสานึกต่อโลก มีทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมในการใช้
เทคโนโลยีดีจิตลั มีความรู้ มีทักษะชีวิตและการทางาน นอกจากนั้นประชากรในโลกยุคศตวรรษท่ี 21 ยัง
ต้องสนใจเร่ืองของการประเมินหลักสูตร การพัฒนาทางวิชาชีพและสภาพแวดล้อมของการเรียนรู้ใน
ศตวรรษท่ี 21

5. การพฒั นาหลกั สูตรในศตวรรษที่ 21
จากท่ีได้กล่าวถึงแนวคิดหลัก กรอบแนวคิดต่าง ๆ และการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 แสดง

ให้เห็นถึงลักษณะเฉพาะของความเปล่ียนแปลงอย่างมากมาย ซ่ึงระบบการศึกษาจะเป็นปัจจัยที่
เอ้ืออานวยต่อความสาเร็จของการดารงชีวิตในศตวรรษท่ี 21 และดังท่ีได้กล่าวไว้แล้วในตอนต้นของบทนี้
ว่า ในระบบการจัดการศึกษาที่จะถ่ายทอดแนวคิด หลักการ สาระสาคัญของเน้ือหา คุณลักษณะของโลก
สังคม บุคคล รวมทง้ั องค์ประกอบอืน่ ๆ ของพัฒนาการในทกุ ๆ ดา้ น เพ่ือการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสังคม
และโลกภายใต้ความเปล่ยี นแปลงต่าง ๆ ท่ีเกิดข้นึ

สาหรบั สาระในบทนไ้ี ด้น้อมนาแนวคดิ ของพระธรรมปฏิ ก (ป.อ.ปยตุ โต) ท่ีนาหลกั ธรรม คาส่งั สอน
ขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้ามากล่าวในแง่มุมทางการศึกษาได้อย่างน่าสนใจ พร้อมกันนี้ได้อัญเชิญพระ
ราชดารัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ที่สะท้อนถึงแนวพระราชดาริเก่ียวกับการ
พัฒนาหลักสูตรและการสอนมานาเสนอ รวมทง้ั ไดน้ าแนวคดิ เกย่ี วกบั ประเด็นสาระตา่ ง ๆ ท่ีนาไปเชือ่ มโยง
กับบริบทของการจัดการในปัจจุบันของศาสตราจารย์ ดร.วิจิตร ศรีสะอ้าน และศาสตราจารย์ ดร.เกรียง
ศกั ดิ์ เจรญิ วงศศ์ ักดิ์ มานาเสนอเพ่อื ประมวลเป็นแนวโน้มของการพัฒนาหลักสตู รในศตวรรษท่ี 21 วา่ ควร
เป็นไปในลักษณะเช่นไร ท้ังนี้องค์ผู้นาเสนอและผู้นาเสนอท่ีคัดเลือกมาครั้งนี้บางท่านอาจมิได้กล่าวอย่าง
ตรงไปตรงมาเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตร แต่อาจวิเคราะห์สังเคราะห์ให้เห็นแนวคิดจากข้อเสนอต่าง ๆ
ดงั กล่าว สรุปได้ดังนี้

แนวคดิ ในการพฒั นาหลกั สตู รและการสอนในอนาคตของพระธรรมปิฎก

แนวคดิ ของพระธรรมปฎิ ก (ป.อ. ปยุตฺโต) ท่ีนามากลา่ วในทน่ี ้ี ได้ตดั ตอนมาจากงานเขียนของท่าน
ในหนังสือ “การศึกษากับการวิจัยเพื่ออนาคตของประเทศไทย” โดยท่านกล่าวถึงแนวทางการให้
การศึกษา ซ่ึงพอจะอนมุ านมาใชเ้ ป็นแนวคดิ ในการพัฒนาหลักสูตรและการสอน ได้ดงั นี้

202

…คนเราจะมีชีวิตที่ดีงามได้ต้องเรียนรู้ เพราะคนเป็นสัตว์ที่ต้องฝึก
ฉะนั้นหัวใจของพุทธศาสนาในทางปฏิบัติจึงเรียกว่า สิกขา คือ การศึกษา ซึ่งมี 3
ด้าน คือ พฤติกรรม จิตใจ และปัญญา จึงเรียกว่า ไตรสิกขา (การศึกษา 3
ด้าน) ชีวิตมนุษย์ต้องอยู่ด้วยการศึกษา จึงจะเป็นชีวิตที่ดีได้ ศึกษาไป
จนกระทงั่ เก่งดมี ีสุขจรงิ …
(พระธรรมปิฎก 2542, หนา้ 90 - 91)

…เวลานี้สังคมไทยมีปัญหาเรื่องคุณภาพคนอย่างหนัก คนไทยมี
ลักษณะอย่างไรบ้าง อาจจะต้องมองในแง่ร้ายให้มาก เพื่อการช่วยกันแก้ไข
ปรับปรุง คนไทยปัจจบุ ันนีม้ ีลกั ษณะ
1. เป็นคนประมาท คือ เป็นคนท่ีหลงระเริง เพลิดเพลิน ปล่อยตัว ไม่รู้จักใช้
เวลาให้เป็นประโยชน์ ไม่เร่งรัดจัดทาเรื่องที่ควรทา เฉ่ือยชา ชอบผัดเพี้ยน
2. เป็นคนขาดความใฝร่ ู้
3. เปน็ คนออ่ นแอ อาจจะเรยี กว่า ไมส่ ู้สง่ิ ยากก็ได้ …
(พระธรรมปิฎก 2542, หน้า 87)

…คนในสังคมที่สร้างสรรคพ์ ัฒนามาบนฐานของความใฝ่รู้สู่สิ่งยาก จะ
มีลักษณะท่ีทุกข์ได้ยากแต่สุขได้ง่าย ส่วนคนท่ีได้รับการบารุงบาเรอเต็มท่ีจน
เคยตัวหรือจนกลายเป็นวัฒนธรรมก็จะเป็นคนท่ีมีลักษณะทุกข์ได้ง่ายและสุข
ได้ยาก เพราะว่าพอเกิดมาก็เจอกับสภาพบารุงบาเรอสะดวกสบาย จน
กลายเปน็ สภาพปกติ ดงั น้นั พอขาดอะไรนิดเดยี วกท็ กุ ขท์ ันที…
(พระธรรมปฎิ ก 2542, หนา้ 48)

…อนาคตของประเทศไทยที่พึงประสงค์จะเป็นอย่างไร ถ้าเรามี
แรงจูงใจถูกตอ้ งทเ่ี รียกว่า ฉนั ทะ คอื มุ่งจะหาความจรงิ ใหไ้ ด้และทาให้มันดีให้
ได้ อันนี้จะไม่ใช่เป็นเพียงเพ่ืออนาคตของประเทศไทยเท่านั้น แต่จะหมายถึง
อนาคตของประเทศไทยที่เป็นไปเพื่ออนาคตของมนุษย์ชาติทั้งหมด เราจะไม่
มองเพียงเพ่ืออนาคตของประเทศไทยด้วน ๆ แต่จะต้องมองถึงอนาคตของ
ประเทศไทยชนิดที่เอ้ือต่ออนาคตของมนุษยชาติ เพ่ือมนุษยชาติที่อยู่ร่วมเย็น
เปน็ สุข มีสนั ติสขุ ทว่ั กัน…
(พระธรรมปิฎก 2542, หน้า 51)

203

…อนาคตของประเทศไทย จะต้องถูกยกมาพิจารณาและมาตกลงกัน
ใหไ้ ด้ เราอาจจะตอ้ งแบ่งวา่ อนาคตของประเทศไทยน้ัน
1. เพ่ือเอาชนะการแข่งขันในเวทีโลก เช่น เพื่อชนะในภูมิภาคเอเชียตะวันออก
เฉยี งใต้ หรือในภาคเอเชียท้ังหมด ตลอดจนชนะในโลกทัง้ หมด
2. เพื่ออนาคตของประเทศไทยท่จี ะชว่ ยนาโลกไปสคู่ วามดีงาม และสนั ติสขุ …
(พระธรรมปิฎก 2542, หนา้ , 51 - 52)

…เม่ือจะเอาชนะก็ต้องหาทางท่ีจะตีผู้อื่นลงให้ได้ น่ีแหละคือ กระแส
ความคิดท่ีครอบงาโลกในปัจจุบัน ซ่ึงเป็นวัฒนธรรมแห่งความสาเร็จ เรา
จะต้องข้ามพ้นระบบแข่งขัน และวัฒนธรรมแห่งความสาเร็จนี้ไปโดยมุ่งสู่
จุดหมายว่า ทาอย่างไรจะให้ชีวิตดีงาม ให้สังคมดี และให้โลกน้ีดีด้วยเหตุนี้จึง
ตอ้ งวางจดุ หมาย 2 ขัน้ คอื
ข้ันให้สาเร็จ ได้แก่ ขนั้ ชนะการแข่งขันระหวา่ งประเทศหรือในเวทีโลก เปน็ ต้น
ขั้นให้ดี คือ ไม่ใช่เพียงให้สาเร็จ แต่ต้องให้เกิดความดีงามแก่ชีวิต และ
สร้างสรรค์โลกใหด้ งี ามมสี ันติสุขด้วย…
(พระธรรมปฎิ ก 2542, หน้า 52 - 53)
จะเห็นได้ว่าแนวคิดของพระธรรมปิฎกข้างต้น สะท้อนให้เห็นถึงการให้ความสาคัญของการศึกษา 3
ดา้ น คือ พฤติกรรม จิตใจ และปัญญา เพ่ือให้เกดิ คุณลักษณะ เก่ง ดี และมี ความสุข อย่างไรกต็ ามมีความน่า
ห่วงเกี่ยวกับคุณลักษณะของคนไทยในสังคมปัจจุบันท่ีเป็นไป ในด้านลบ 3 ประการ คือ ประมาท ขาด
ความใฝ่รู้ และอ่อนแอ ส่งผลให้บุคคลเหล่าน้ัน ดารงชีวิตอยู่ในความทุกข์ ซึ่งแนวทางแก้ปัญหาในเบื้องต้น
คือ ต้องมีแรงจูงใจทมี่ ุ่งจะหาความจริงและลงมือกระทา โดยอาจมีจุดหมายหลกั ใน 2 ประการ คือ การทา
ให้สาเร็จ และการทาให้ดงี ามแก่ชีวติ ในเชิงสร้างสรรคโ์ ลกให้มสี ันติสุขในเวลาเดียวกัน
จากสรุปแนวคิดของท่านพระธรรมปิฎกดังกล่าว อาจสังเคราะห์เป็นแนวทาง ในการพัฒนา
หลกั สูตรในศตวรรษท่ี 21 ได้ดังน้ี
1. ด้านการสรา้ งและปรบั ปรุงหลักสตู ร
ในการสร้างและปรับปรุงหลักสูตร ควรคานึงถึงการกาหนดกรอบของโครงสร้าง เน้ือหาที่ครอบคลุม
องค์ประกอบทางการศึกษา 3 ด้าน ที่เรียกว่า ไตรสิกขา ประกอบด้วยเนื้อหา ทางด้านการปฏิบัติ (พฤติกรรม)
ด้านคุณธรรมจริยธรรม (จิตใจ) และด้านสาระความรู้ (ปัญญา) ทั้งน้ี ควรเพิ่มจุดเน้นเนื้อหาสาระในเรื่อง
คุณลักษณะสาคัญ ๆ อาทิ ความใฝ่รู้ ความอดทน ความไม่ประมาท รวมท้ังความพอใจในสิ่งที่กระทา โดยให้
ผูเ้ รียนคานึงถงึ ความเจรญิ กา้ วหน้าในส่วนรวมระดับโลกมใิ ช่คานึงถึงประโยชนท์ ่ีจะเกิดในระดับบุคคล

204

2. ดา้ นการนาหลักสูตรไปใช้
ในการนาหลักสูตรไปสู่การจัดการเรียนการสอน ควรเน้นการสร้างความเข้าใจถึงการเรียนรู้

โดยการปฏิบัติจริง ในสถานการณ์ท่ีหลากหลายท้ังท่ีเอื้ออานวยและไม่เอ้ืออานวย เพ่ือสร้างพลเมืองที่มี
ความแขง็ แกรง่ อดทน อีกทั้งการจัดกิจกรรมใหเ้ กดิ การแข่งขันในสังคมและในระดับโลกในยคุ ศตวรรษท่ี 21 ที่
มเี ปา้ หมายใหเ้ กดิ ความดงี ามแก่ชวี ิต และ มสี นั ตสิ ุขต่อส่วนรวม

แนวพระราชดาริของพระบาทสมเดจ็ พระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
ที่วเิ คราะหจ์ ากพระราชดารัสเก่ียวกับการศึกษา เนื้อหาสาระการเรียนรู้ และกระบวนการเรียนรู้

กระแสพระราชดารัสของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช
บรมนาถบพิตร ท่ีอัญเชิญมาเสนอในที่น้ีเป็นพระราชดารัสเก่ียวกับการศึกษา เน้ือหาสาระ การเรียนรู้ และ
กระบวนการเรียนรู้ท่ี ทรงพระราชทานเนื่องในวโรกาสต่าง ๆ ซึ่งแม้ว่าจะมีห้วงของเวลาที่แตกต่างกันก็ตาม
แต่สะท้อนให้เห็นถึงแนวพระราชดาริท่ีสุขุม ลึกซึ้ง กว้างไกล และมีความเป็นสากลที่สามารถน้อมนามา
พิจารณาไตร่ตรอง และนาไปปรับใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อวงการศึกษาของทั้งในส่วนตน สังคม ประเทศชาติ
และโลกในศตวรรษที่ 21 ได้อย่างดีย่ิง ดังจะได้นามาเสนอไว้ ณ ที่นี้ ดังนี้ (สานักงานคณะกรรมการ
การศึกษาแห่งชาติ, 2540)

…การแบ่งการศึกษาเป็นสองอย่าง คือ การศึกษาวิชาการอย่าง
หนึ่ง วิชาการนั้นจะเป็นประโยชน์แก่ตัวเองและแก่บ้านเมือง ถ้ามาใช้
ต่อไปเม่ือสาเร็จ การศึกษาแล้ว อีกอย่างหน่ึงขั้นที่สองก็คือ ความรู้ท่ีจะ
เรียกได้ว่า ธรรม คือ รู้ในการวางตัว ประพฤติและความคิด วิธีคิด วิธีที่
จะใช้สมองมาทาเป็นประโยชน์แก่ตัว ส่ิงท่ีเป็นธรรม หมายถึง วิธี
ประพฤติปฏบิ ัติ คนที่ศึกษาในทางวิชาการและศึกษาในทางธรรมก็ตอ้ งมี
ปัญญา แต่ผู้ใช้ความรู้ในทาง วิชาการทางเดียว และไม่ใช้ความรู้ในทาง
ธรรม จะนบั วา่ เป็นปัญญาชนไม่ได…้
(พระราชดารัส เมือ่ วนั ท่ี 18 ธันวาคม พ.ศ. 2513)

205

…ในการปฏิบัติงานใด ๆ ผปู้ ฏิบัติจะต้องทราบ ต้องเข้าใจแจ่มแจ้ง
ถึงปัญหาและวชิ าความรู้ท้งั ปวงอันเก่ียวขอ้ งกบั ชีวติ มนุษยอ์ ยา่ งท่ัวถงึ จึง
จะสามารถนาทฤษฎีมาดัดแปลงใช้ให้เหมาะกับสภาพการณ์ และ
สามารถเลือกแนวทางการปฏบิ ัตใิ ห้เกิดผลมากท่ีสดุ ได้…
(พระราชดารัส เมอ่ื วนั ท่ี 22 มกราคม พ.ศ. 2517)

…วิชาการทั้งปวงนั้นถงึ จะมปี ระเภทมากมายเพียงใดก็ตาม แต่เมื่อ
นามาใช้สร้างสรรค์สง่ิ ใดก็ตอ้ งใชด้ ้วยกัน หรอื ต้องนาประยุกต์เข้าด้วยกัน
เสมอ อย่างกับอาหารท่ีเรารับประทาน กว่าจะสาเร็จขึ้นมาให้
รับประทานได้ ต้องอาศัยวิชาประสมประสานกันหลายอย่าง และต้อง
ผ่านการปฏิบัตมิ ากมายหลายอยา่ งหลายตอน

ดังนั้นวิชาต่าง ๆ มีความสัมพันธ์ถึงกันและมอี ุปการะแก่กัน ท้ังฝ่าย
วิทยาศาสตร์ และฝ่ายศิลปศาสตร์ ไม่มีวิชาใดใช้ได้โดยลาพัง หรือเฉพาะ
อยา่ งไดเ้ ลย…
(พระราชดารัส เมื่อวนั ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2521)

…ความรู้ที่จะศึกษามี 3 ส่วน คือ ความรู้วิชาการ ความรู้
ปฏิบตั ิการ และความรู้คิดอา่ นตามเหตุผลความเป็นจรงิ อีกประการหน่ึง
ต้องมีความจริงใจและบริสุทธิ์ใจ ไม่ว่าในงาน ในผู้ร่วมงาน หรือในการ
รักษาระเบียบ แบบแผน ความดีงาม ความถูกต้องทุกอย่าง ประการท่ี
สามตอ้ งฝกึ ฝนให้มีความหนักแน่นทั้งภายในใจ ในคาพูด…
(พระราชดารสั เมอ่ื วันท่ี 24 มกราคม พ.ศ.2530)

จากพระราชดารัสข้างต้น หากวิเคราะห์ตามแนวทางการพัฒนาหลักสูตรแล้ว จะสะท้อนให้เห็นแนว
พระราชดารใิ น 2 ดา้ นใหญ่ ๆ ทนี่ าไปสกู่ ารพัฒนาหลกั สูตรและการสอนได้ดังนี้

1. ด้านการสรา้ งและปรับปรุงหลักสูตร
ในการสร้างและปรับปรุงหลักสูตรและการกาหนดเนื้อหาสาระความรู้ ควรประกอบด้วย 3 ส่วนคือ
ความรู้ทางวิชาการ ทักษะการคิด และคุณธรรม โดยความรู้นั้น ๆ ประกอบด้วย ความรู้ทางวิชาการ
ความรู้ปฏิบัติการ และความรู้คิดอ่านตามเหตุผล ความเป็นจริง ท้ังนี้สาระทั้ง 3 ส่วนจะต้องนามาบูรณา
การกนั และมีความสมดลุ ทงั้ ดา้ นทฤษฎแี ละการปฏิบัติ

206

2. ด้านการนาหลักสตู รไปใช้
ในการนาหลักสูตรไปใช้ในการสอน การท่ีจะถ่ายทอดสาระความรู้ไปยังผู้เรียนน้ันควรเน้น
กระบวนการเรียนรู้ที่ก่อให้เกิดปัญญา กล่าวคือ เป็นการเรียนรู้ท่ีอาศัยการขบคิดพิจารณา การเรียนรู้จาก
การปฏิบัติฝึกฝนจนเกิดความชานาญ โดยสามารถนาทฤษฎีมาดัดแปลงเพื่อใช้ในชีวิตจริงได้อย่าง
เหมาะสม

แนวคิดในการพัฒนาหลักสูตรในอนาคตของ ศาสตราจารย์ ดร.วิจติ ร ศรสี ะอ้าน
ศาสตราจารย์ ดร. วิจิตร ศรีสะอ้าน นักบริหารการศึกษา ที่นาระบบการศึกษาทางไกลมาใช้ใน

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จนได้รับการกาหนดจาก UNESCO ให้เป็นสถาบันที่เป็นต้นแบบของ
มหาวิทยาลัยท่ีใช้ระบบการสอนทางไกลโดยใช้สื่อประสมในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิค ได้แสดงความ
คดิ เหน็ เก่ียวกบั อนาคตการศกึ ษาไทยในสองทศวรรษ สรุปได้ ดงั น้ี (วิจิตร ศรีสะอ้าน, 2539, หนา้ 126 –
133)

1. ปจั จยั ท่มี ีอทิ ธิพลตอ่ การกาหนดทิศทางการศึกษา
จากการวิเคราะห์สภาพการณ์ต่าง ๆ ในช่วงปัจจุบัน วิจิตร ศรีสะอ้าน ได้ชี้ให้เหน็ ปัจจัยท่ีมผี ลต่อ
การกาหนดทศิ ทางการศกึ ษา 2 ประการคอื
1.1 กระแสโลกาภวิ ตั นท์ ม่ี อี ิทธพิ ลต่อสังคมโลกและสงั คมไทย
ในยุคทกี่ ระแสโลกาภิวตั น์กาลังมีอิทธิพลอยา่ งมากในสังคมโลก และสังคมไทย อาจมผี ลกระทบ
ต่อการดารงความเปน็ ไทย และเป็นคนในยุคโลกาภิวตั นไ์ ดด้ ้วย ซ่ึงเมื่อพิจารณาในแงก่ ารศึกษาแล้วเราถือ
วา่ กระแสโลกาภิวัตน์ มอี ิทธิพลตอ่ สังคมโลกและสงั คมไทยในศตวรรษใหม่
1.2 ความก้าวหนา้ ทางดา้ นเทคโนโลยสี ารสนเทศและการส่อื สารโทรคมนาคม
ความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการส่ือสารโทรคมนาคม จะมีอิทธิพลต่อชีวิต
ความเป็นอยู่ และทาให้สังคมไทยเป็นสังคมข่าวสาร เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ เป็นเรื่องที่ก่อให้เกิด
พฤติกรรม และค่านิยมสากลในด้านต่าง ๆ อาทิ ค่านิยมประชาธิปไตย ค่านิยมด้านสิทธิมนุษยชน และ
คา่ นยิ มด้านอนรุ ักษส์ ง่ิ แวดล้อม เปน็ ต้น
2. การเสรมิ สร้างปจั จยั เพ่ือการแข่งขันในระดบั โลก
ในสภาวะโลกที่มกี ารเปลีย่ นแปลงอย่างรวดเรว็ อันเน่ืองมาจากความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี
การสื่อสาร สง่ ผลใหน้ านาประเทศตอ้ งเสริมสร้างความพรอ้ มทจี่ ะเผชิญกบั การแข่งขันในทุกทางเพื่อให้คง
อย่ไู ด้ในสงั คมโลก ปจั จัยทีต่ อ้ งเสรมิ สรา้ งขน้ึ เพือ่ การแข่งขนั ดงั กล่าว ประกอบดว้ ย

207

2.1 การสร้างคุณภาพของประชากรและกาลังคน กล่าวคือ ถ้าชาติใด มีประชากรที่มี
คณุ ภาพสูง มีกาลังคนทเี่ พยี งพอและมีคุณภาพ เชน่ มีความสามารถในการแขง่ ขันสูง เปน็ ตน้

2.2 การสรา้ งขีดความสามารถในการจดั การ
2.3 การมรี ะบบสารสนเทศทส่ี มบรู ณเ์ พียงพอในการตัดสนิ ใจ
2.4 การมีเทคโนโลยีท่ีเหมาะสม สามารถพ่ึงตนเองได้ กล่าวคือ มีความสามารถในการใช้
เทคโนโลยีเพื่อประโยชน์ของการพัฒนาไม่ว่าจะเป็นเกษตร อุตสาหกรรมหรือแม้แต่ในการดาเนิน
ชีวิตประจาวัน
3. แนวโนม้ ของการพัฒนาหลักสูตร
จากทัศนะของ วิจิตร ศรีสะอ้าน ดังกล่าวข้างต้น ช้ีให้เห็นว่าการจัดการศึกษา ในอนาคต ที่จะนา
ประเทศไทยขึ้นสู่เวทีโลก และดารงความเป็นไทยไว้ด้วยอย่างสมดุล และไม่ขัดกันในโลกแห่งศตวรรษท่ี 21
นนั้ ควรมแี นวโนม้ ในการดาเนนิ การพฒั นาหลักสูตรท่ีเออ้ื อานวยให้เกดิ การพัฒนาการศึกษา ดังนี้
3.1 การศึกษาจะต้องเป็นการศึกษาตลอดชีวิต กล่าวคือ บุคคลตั้งแต่เกิดจนจบชีวิต จะต้องการ
ปัจจัยทางการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและการงาน จนกล่าวได้ว่า “การศึกษาเป็นปัจจัยท่ี 5 ของการ
ดาเนนิ ชวี ิต”
3.2 การศึกษาเป็นการศึกษาสาหรับทุกคน จากท่ีกล่าวแล้วว่าสังคมและชาติต้องการให้คนมี
คุณภาพสูง บุคคลจึงให้ความสาคัญกับโอกาสทางการศึกษาและถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของสิทธิมนุษยชน
ดงั น้นั จึงเรยี กร้องต้องการโอกาสและความเสมอภาคในการรบั การศึกษา
3.3 การศึกษาเพ่ือพัฒนาค่านิยม ในยุคปัจจุบันจาเป็นต้องรู้เท่าทัน ซึ่งกันและกัน ดังน้ัน
การศึกษาจะต้องเน้นให้คนเข้าใจตนเอง เข้าในสังคมของตน เข้าในปรัชญาชีวิต ปรัชญาสังคม เข้าถึง
คณุ ธรรม จรยิ ธรรมของสังคม

แนวคดิ ในการพฒั นาหลกั สูตรในอนาคตของ ศาสตราจารย์ ดร.เกรยี งศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์
ศาสตราจารย์ ดร. เกรียงศักด์ิ เจริญวงศ์ศักดิ์ นักเศรษฐศาสตร์ ผู้มีปรัชญาชีวิตท่ีลึกซึ้ง และโลก

ทัศน์ท่ีกว้างไกล ได้แสดงวิสัยทัศน์เกี่ยวกับประเทศไทยในอนาคต ในด้านต่าง ๆ ไว้หลายด้าน อาทิ ด้าน
สงั คมไทย การเมืองไทย เศรษฐกิจไทย การศึกษาไทย และดา้ นวิทยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี สาหรับทัศนะท่ี
เก่ียวข้องกบั การศกึ ษาน้ัน สรุปได้วา่ (เกรียงศกั ด์ิ เจริญวงศ์ศักด์ิ, 2541, หนา้ 163 – 167) การศกึ ษาควร
ม่งุ สร้างสรรค์พฒั นาคน ผา่ นทางการยกระดับอุดมการณ์ทางการศึกษาของประชาชนใน 3 ขัน้ ดังน้ี

208

ข้นั ท่ี 1 การศึกษาเพอ่ื อัตตา
การศึกษาเพื่ออัตตา คือ การศึกษาเล่าเรียนวิชาเพ่ือใช้เป็นเครื่องมือในการประกอบอาชีพ ซ่ึงหาก
ผู้เรียนไดเ้ รียนรู้จนเกดิ ความซาบซึง้ และเห็นคุณค่าของวชิ าความรู้และนาความรมู้ าใช้ใหเ้ ปน็ ประโยชน์ต่อชีวิต
การงานของตนและสังคมส่วนรวมก็จะเป็นส่ิงดี แต่มักปรากฏว่า ผู้เรียนนาความรู้ความสามารถไปใช้เพ่ือ
ประโยชน์ของตนและเอาเปรียบคนที่ไม่มีความรู้มากขึ้น จึงกลายเป็นการศึกษาที่ส่งเสริมความเห็นแก่ตัว
ของคนในสังคม
ข้ันที่ 2 การศึกษาเพื่อชวี า
การศึกษาเพ่ือชวี า คือ การศกึ ษาท่ีม่งุ สร้างลกั ษณะชีวิตท่ีดีงาม และคนที่สมบรู ณแ์ บบ ต้ังมน่ั อยใู่ น
หลักคุณธรรม จริยธรรม และมีความเข้าใจในความเป็นมนุษย์อย่างถูกต้อง อยู่ร่วมกับผู้อ่ืนและสร้างสรรค์
ประโยชนร์ ว่ มกนั ไดอ้ ย่างมคี วามสุข
ขั้นท่ี 3 การศึกษาเพอ่ื ปวงชน
การศึกษาเพื่อปวงชน คือ การศึกษาเพ่ือยกระดับจิตใจผู้เรียนให้สูงข้ึน ปลดปล่อยความเห็นแก่ตัว
เสียสละ และสร้างประโยชน์ให้แก่ส่วนรวมมากขึ้น เป็นการศึกษาที่ขัดเกลาให้บุคคลสามารถเป็นผู้นาท่ีรับ
ใชป้ วงชนไดอ้ ยา่ งแทจ้ รงิ
จากทัศนะของเกรียงศักด์ิ เจริญวงศ์ศักดิ์ ดังกล่าวขา้ งต้น หากวเิ คราะห์ตามแนวทาง การพัฒนา
หลักสูตรแลว้ จะสะท้อนใหเ้ หน็ วา่ การพัฒนาหลักสูตรควรมีจดุ เนน้ ดงั น้ี
1. ด้านการสรา้ งและปรับปรงุ หลักสตู ร
ในการพัฒนาหลักสูตร ควรมีจุดหมาย เน้ือหาสาระ และการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่มุ่ง
สรา้ งคณุ ลกั ษณะอันพึงประสงคใ์ ห้คนมีลักษณะ “คิดเปน็ วิเคราะห์เป็น และ ประยุกต์ใชเ้ ปน็ ”
2. ด้านการนาหลกั สูตรไปใช้
ในด้านการนาหลักสูตรไปใช้ในการสอน ต้องบริหารจัดการให้หลักสูตรที่พัฒนาขึ้นน้ัน เป็น
หลักสูตรในลักษณะ “ปวงชน” กล่าวคือ ให้โอกาสและความเสมอภาคในการเข้ารับการศึกษา ได้ตาม
ความสามารถและศกั ยภาพของแต่ละคน เพื่อนาความรู้ท่ีได้รบั ไปพัฒนาตนและสงั คม

6. ขอ้ เสนอแนวทางการพัฒนาหลกั สูตรในศตวรรษท่ี 21
ด้วยแนวคิดของพระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต) แนวพระราชดาริในองค์พระบาทสมเด็จพระบรม

ชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ท่ีได้น้อมนาและอัญเชิญมา รวมท้ังแนวคิดของ
นักการศึกษาต่าง ๆ ดังได้กล่าวแล้ว ประกอบกับการพิจารณาสภาวการณ์ที่ผ่านมาและสภาพการณ์ใน
ปจั จุบนั สามารถนามาสรุปเป็นขอ้ เสนอแนวทางการพัฒนาหลักสตู รในอนาคต ได้ดังนี้

209

1. ในดา้ นการสรา้ ง และ/หรอื การปรับปรงุ หลกั สตู ร
ในสภาวะของโลกยุคโลกาภิวัตน์ที่เป็นโลกไร้พรมแดน การแพร่ขยายองค์ความรู้จากจุดหน่ึงของ
โลก สามารถทะลุผ่านพรมแดนไปยังภูมิภาคอื่นของโลกได้อย่างรวดเร็ว อันเป็นผลมาจากความก้าวหน้า
ของเทคโนโลยีสารสนเทศ หากพิจารณาบริบทของโลกในศตวรรษที่ 21 ในปัจจุบันอาจคาดการณ์ได้ว่า
หลักสูตรในอนาคตควรเป็น “หลักสูตรระยะส้ันและจบเร็ว เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้มาก รวดเร็ว
และลงทุนน้อย” โดยมปี ัจจัยทีเ่ กยี่ วข้องกับการสรา้ งและปรบั ปรุงหลักสตู ร ดงั น้ี
1.1 ปจั จยั พืน้ ฐานในการสร้างและปรับปรุงหลกั สตู รและการนาหลักสตู รไปใช้ ประกอบด้วย
1.1.1 บริบทโลก กล่าวคือ นักพัฒนาหลักสูตรและการสอนจะต้อง ทาความเข้าใจให้ถ่องแท้
เกี่ยวกับบริบทหรือส่ิงแวดล้อมของโลกในศตวรรษที่ 21 เป็นเบื้องแรก เพื่อศึกษาว่ามีส่ิงใดที่ต้องเรียนรู้
และเตมิ เต็มในสงิ่ ที่ขาด โดยให้มีความเชื่อมโยงกับบริบทใหม่ของโลกในยุคศตวรรษที่ 21 ทั้งในด้านเน้อื หา
สาระหลัก 9 วิชา ได้แก่ ภาษาอังกฤษและศิลปะการใช้ภาษา ภาษาสาคัญของโลก ศิลปะ คณิตศาสตร์
เศรษฐศาสตร์ วทิ ยาศาสตร์ ภูมศิ าสตร์ ประวตั ศิ าสตร์ และการปกครองและหนา้ ที่พลเมอื ง รวมทัง้ แนวคิด
สาคัญ 5 ด้าน ได้แก่ จิตสานึกต่อโลก ความรู้พื้นฐานด้านการเงิน เศรษฐกิจ ธุรกิจและการประกอบการ
ความรู้พ้ืนฐาน ด้านพลเมอื ง ความรู้พนื้ ฐานด้านสขุ ภาพ และความรูพ้ น้ื ฐานด้านสิ่งแวดลอ้ ม
1.1.2 แนวคิดพื้นฐานด้านการศึกษาของโลกตะวันตก และโลกตะวันออก กล่าวคือ นักพัฒนา
หลักสูตรควรบูรณาการพื้นฐาน แนวคิดในการจัดการศึกษาของอารยธรรมตะวันตกกับอารยธรรม
ตะวนั ออก ซึ่งควรอยูภ่ ายใต้ฐานคิด 5 ประการ คอื

1.1.2.1 ชีวิตคอื การเรยี นรู้ โดยมีจดุ เน้นท่กี ารเรียนรูด้ ว้ ยตนเอง อยา่ งต่อเน่อื งตลอดชีวิต
1.1.2.2 การเรยี นรแู้ บบบูรณาการในลักษณะองคร์ วมของความรู้
1.1.2.3 การเรียนรู้มีลักษณะ “การเรียนรู้จากภายใน” ด้วยการควบคุมตนเอง ขัดเกลาตนเอง
และมที กั ษะในการตรวจสอบคณุ ธรรมของตนเองได้ตลอดเวลา
1.1.2.4 การกาหนดเปา้ หมายของการศกึ ษา คือ อิสรภาพแห่งชวี ติ โดยใชค้ วามรใู้ นการปลด
ทกุ ข์ ในวิถีทางที่ถกู ต้องและสรา้ งสรรค์
1.1.2.5 การสง่ เสริมแนวคิดในเชิงธรรมชาตินยิ ม
ทั้งน้ีมุ่งหวังให้ผู้เรียนที่เป็นผลผลิตของหลักสูตรและการสอนจะได้รับการขัดเกลา จิตใจให้
อ่อนโยน มแี นวคิดรว่ มกนั ในการสร้างสันตภิ าพ และสันติสุขในสังคมโลก

210

1.2 คุณลกั ษณะทตี่ อ้ งการเน้นใหเ้ กิดในผเู้ รียน

เพ่ือให้สอดรับกับบริบทของไทยและบริบทของโลกในศตวรรษท่ี 21 อย่างผสมกลมกลืนกันทั้งใน
ด้านอารยธรรมตะวันตกและตะวันออก อาจสรุปเป็นคุณลักษณะท่ีต้องการเน้นให้เกิดในผู้เรียนในภาพรวม
คือ มุ่งให้ผู้เรียนมีความเป็นตวั ของตัวเอง สามารถรับรู้ได้โดยไมจ่ ากัด ไม่ยืดติดกับทฤษฎีและมเี สรภี าพในการ
ตัดสินใจ มีความสามารถในการสร้างความรอบรู้ด้วยตนเอง โดยบูรณาการกับประสบการณ์ตรงท่ีได้รับ ทั้งน้ี
ผ้เู รยี นควรมีคณุ ลกั ษณะพน้ื ฐานแหง่ การเรยี นรู้ 5 ประการ คือ

1.2.1 เรยี นรูไ้ ด้ดว้ ยตนเอง
1.2.2 เรียนรไู้ ด้มากและรวดเร็ว
1.2.3 เรียนร้ดู ว้ ยรปู แบบทห่ี ลากหลาย
1.2.4 เรียนรไู้ ดต้ ลอดเวลาอย่างตอ่ เนอ่ื ง
1.2.5 สามารถเข้าถงึ บรกิ ารทางการศึกษาได้งา่ ยและท่ัวถงึ
2. ในด้านการบรหิ ารจดั การหลกั สตู ร
การบริหารจัดการหลักสูตร ต้องใช้เทคโนโลยีเป็นฐานในการสร้างองค์ความรู้ การถ่ายทอด
ความรู้ จัดเก็บความรู้ และสื่อสารความรู้ โดยคานึงถึงความแตกต่างขององค์ความรู้ ทั้งในการจัด
การศึกษาในระบบ นอกระบบ และการศกึ ษาตามอธั ยาศยั
3. ในด้านการประเมนิ หลักสูตร
ดังท่ีกล่าวไว้แล้วว่า การศึกษาในอนาคตมุ่งเน้นการสร้างปัญญาด้วยตนเองเป็นสาคัญ แต่อย่างไรก็
ตามหลักสูตรที่พัฒนาขึ้น ควรมีความสมดุลระหว่างความเป็นท้องถ่ิน และความเป็นสากล ดังนั้นกรอบ
แนวคิดในการประเมนิ หลักสูตรควรอยู่ภายใตข้ อบเขตการประเมนิ 3 ดา้ น คือ
3.1 การประเมินหลกั สูตรในขอบเขตด้านความรทู้ ่ีไดร้ ับ
3.2 การประเมนิ หลกั สูตรในขอบเขตดา้ นทักษะทเี่ กิดข้ึน
3.3 การประเมนิ หลกั สูตรในขอบเขตดา้ นคุณลกั ษณะเฉพาะหรอื คณุ ลกั ษณะชีวติ ทตี่ อ้ งการเนน้

211

บทสรุป

ในการพัฒนาหลักสูตรซ่ึงประกอบด้วยกระบวนการหลัก 3 ประการ คือ การสร้างหลักสูตร
การนาหลักสูตรไปใช้ และการประเมินหลกั สตู ร อาจเกิดปัญหาในกระบวนการพัฒนาหลักสูตรดงั กล่าวใน
4 ประเด็นหลักๆ ได้แก่ ปัญหาด้านงบประมาณในการดาเนินการ ปัญหาด้านบุคลากร ปัญหาด้านวัสดุ
อุปกรณ์ และปัญหาด้านการบริหารหลักสูตร ดังน้ันผู้ท่ีรับผิดชอบต่อกระบวนการในการพัฒนาหลักสูตร
จึงควรหาแนวทางขจัดปัญหา หาทางหลีกเล่ียง หรือหาทางป้องกันมิให้ปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้น รวมทั้ง
กาหนดกลไกในการการแก้ปญั หาดังกล่าวในกรณีท่ีปญั หาในการพัฒนาหลกั สูตรเกิดขนึ้

หลักสูตรเป็นปัจจัยสาคัญในการพัฒนาการศึกษา ในส่วนของการศึกษาน้ัน ควรวางแผนการ
จัดการศึกษาไว้เป็นการล่วงหน้า โดยการวางแผนดังกล่าวอาศัยข้อมูลในปัจจุบันและการคาดการณ์
แนวโนม้ ในอนาคต ดังน้ันหากพิจารณาในมมุ มองของศตวรรษที่ 21 ในการพัฒนาหลกั สูตร จงึ ควรกาหนด
แนวโน้มของหลักสูตรในช่วงศตวรรษท่ี 21 ด้วย โดยพิจารณาถึงลักษณะและแนวโน้มความเปล่ียนแปลง
ตา่ ง ๆ ในศตวรรษท่ี 21 สาหรบั แนวโน้มของหลักสตู รในศตวรรษท่ี 21 น้นั อาจมลี กั ษณะดงั น้ี

1. ด้านการสร้างและ/หรือการปรับปรุงหลักสูตร ในส่วนของลักษณะควรมีลักษณะเป็น
หลักสูตรระยะสั้น เอื้อให้ผู้เรยี นเรียนรู้ได้มาก รวดเร็ว และลงทุนน้อย ในการพฒั นาหลักสูตรดังกล่าวต้อง
คานึงถึงปัจจัยพ้ืนฐานด้านบริบทโลก แนวคิดพื้นฐานด้านการศึกษาของโลกตะวันตกและโลกตะวันออก
คณุ ลักษณะทีต่ ้องการเนน้ รวมทง้ั การกาหนดเนอ้ื หาสาระของหลักสูตรท่ีควรเป็นลักษณะสหวทิ ยาการ

2. การบรหิ ารจัดการหลกั สูตรดว้ ยการใชเ้ ทคโนโลยีสารสนเทศในศตวรรษที่ 21 เปน็ ฐาน
3. การประเมินหลักสูตรภายใต้ขอบเขต 3 ด้าน คือ ด้านความรู้ท่ีได้รับด้านทักษะที่เกิดข้ึน
และดา้ นคุณลักษณะชีวติ ท่ีตอ้ งการเนน้

212

เอกสารอา้ งองิ
เกรียงศกั ด์ิ เจรญิ วงศ์ศกั ดิ์. (2541). มองฝันวนั ข้างหน้า: วิสัยทัศน์ประเทศไทย ปี 2560. กรุงเทพฯ: ซัค

เซส มเี ดีย.
คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, สานักงาน. (2540). ทฤษฏีการเรียนรู้เพ่ือพัฒนากระบวนการคิด.

กรงุ เทพฯ: ไอเดีย สแควร์.
ทิศนา แขมมณี. (2555). “บัณฑิตศึกษาในศตวรรษท่ี 21: การปรับหลักสูตรและการสอน” เอกสาร

ประกอบการประชมุ เชิงวชิ าการของราชบัณฑิตยสถานรว่ มกับมหาวิทยาลยั ราชภัฏวไลยอลงกรณ์.
บุญเล้ียง ทุมทอง.(2553).การพัฒนาหลักสูตร. (พิมพ์คร้ังท่ี 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์

มหาวทิ ยาลัย.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโต). (2542). การศึกษากับการวิจัยเพื่ออนาคตของประเทศไทย. (พิมพ์คร้ังท่ี

2). กรุงเทพฯ: สหธรรมกิ .
พิณสุดา สิริธรังศรี. (2552). รายงานการวิจัยเรื่อง ภาพการศึกษาไทยในอนาคต 10-20 ปี. กรุงเทพฯ:

พมิ พ์ดีการพมิ พ.์
พมิ พนั ธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดสี ุข. (2558). รเู้ น้อื หากอ่ นสอนเกง่ การเปลีย่ นวฒั นธรรม

คุณภาพในศตวรรษที่ 21. (พิมพ์คร้งั ที่ 1). กรงุ เทพฯ: โรงพมิ พแ์ ห่งจฬุ าลงกรณ์มหาวทิ ยาลัย.
วิจารณ์ พานชิ . (2557). การสร้างการเรยี นรูส้ ู่ศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: เจริญการพิมพ์ จากดั .
วิจิตร ศรีสะอ้าน. (2539). อนาคตการศึกษาไทยในสองทศวรรษ. ใน เมืองไทยในปี 2560: อนาคต

เมืองไทยในสองทศวรรษหน้า. (หนา้ 126-133). กรงุ เทพฯ: ซคั เซส มีเดีย.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2557ก). เติบโตเต็มตามศักยภาพสู่ศตวรรษที่ 21 ของการศึกษาไทย. กรุงเทพฯ:

โรงพมิ พ์แห่งจฬุ าลงกรณ์มหาวทิ ยาลัย.
_________. (2557ข). ทักษะแห่งศตวรรษท่ี 21 ต้องก้าวให้พ้นกับดักของตะวันออก. กรุงเทพฯ:

มหาวทิ ยาลยั ธุรกิจบณั ฑติ .
สนุ ีย์ ภูพ่ นั ธ์.(2546).แนวคิดพืน้ ฐานการสรา้ งและการพฒั นาหลักสตู รยคุ ปฏิรปู การศึกษาไทย.

เชียงใหม่: โรงพมิ พ์แสงศิลป.์
Bellanca, James. (2010). Enriched Learning Projects: A Practical Pathway to 21st

Century Skills. Indiana: Solution Tree Press.
Bellanca, James and Brandt, Ron. (eds)., (2010). 21st Century Skills: Rethinking How

Students Learn. Indiana: Solution Tree Press.

213

North Central Regional Educational Laboratory & The Metiri Group. (2003). enGauge: 21st
Century Skills: Literacy in the Digital Age. [Online]. Available from:
http://www.pict.sdsu.edu/engauge 21st. pdf [accessed 2014 January 6].

214

บรรณานุกรม

กนิษณ์ฐา ทองดี. (2553). สรุปพัฒนาการหลักของหลักสูตรการศึกษาไทย. (ข้อมูลออนไลน์). เข้าถึงได้
จาก: http://www.learners.in.th/blogs/posts/410600.

สืบค้นเมอ่ื 24 กันยายน 2556.
กรมวิชาการ, กระทรวงศึกษาธิการ. (2544). หลักสูตรการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน พุทธศักราช 2544.

กรงุ เทพฯ: องคก์ ารรับส่งสินคา้ และพัสดุภณั ฑ์ (รสพ.).
เกรียงศักด์ิ เจริญวงศ์ศักด์ิ. (2541). มองฝันวันข้างหน้า: วิสัยทัศน์ประเทศไทย ปี 2560. กรุงเทพฯ:

ซัคเซส มีเดยี .
คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, สานักงาน. (2540). ทฤษฏีการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิด.

กรุงเทพฯ: ไอเดยี สแควร์.
_____. (2547). แนวทางการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาแบบอิงมาตรฐาน. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่ง

สนิ ค้าและพัสดภุ ณั ฑ์ (ร.ส.พ.).
_____. (2547). แนวปฏบิ ัตเิ กีย่ วกบั การใชห้ ลักสูตรการศกึ ษาขั้นพ้ืนฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ:

องคก์ ารรับส่งสนิ คา้ และพัสดภุ ณั ฑ์ (ร.ส.พ.).
ฆนัท ธาตทุ อง. 2556. การพัฒนาหลกั สตู รสถานศกึ ษา ตามหลกั สตู รแกนกลางการศึกษาข้ันพนื้ ฐาน
ใจทิพย์ เชอ้ื รัตนพงษ์. (2539). การพัฒนาหลกั สูตร: หลกั การและแนวปฏิบตั ิ. กรุงเทพฯ: อลีน เพลส.
ชมพันธ์ กุญชร ณ อยุธยา. 2541. เอกสารเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตร. กรุงเทพฯ: โรงเรียนครูทหาร

กองการศึกษา, กรมยุทธศึกษาทหารอากาศ กองบญั ชาการฝึกศึกษาทหารอากาศ.
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2546). รายงานวิจัย สภาพและปัญหาการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาใน

สถานศกึ ษาสังกัด สานกั งานเขตพ้ืนทกี่ ารศึกษาพิษณโุ ลก เขต1. พิษณุโลก: กลุ่มนิเทศติดตาม
และประเมินผลการจดั การศึกษา สานักงานเขตพนื้ ท่ีการศึกษาพิษณุโลก เขต1.
_____. (2556). การพฒั นาหลักสูตร ทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: วพี รนิ ท.์
_____. (2559). การพัฒนาหลกั สตู ร ทฤษฎีส่กู ารปฏิบตั ิ. (พมิ พ์ครงั้ ท่ี 5). กรุงเทพฯ: วพี รินท์.
ชัยอนันทร์ นวลสุวรรณ์. (2555). ประวัติหลักสูตรและการศึกษาไทย. (ข้อมูลออนไลน์). เข้าถึงได้จาก:
http://chainan1.blogspot.com/2012/01/blog-post_11. Html. สืบค้นเม่ือ 20 กันยายน
2556.

215

ชาญเจริญ ซ่ือชวกรกลุ . 2550. การดาเนินงานประกันคณภาพภายในเพ่ือรองรับการประเมิน ภายนอก
รอบท่ีสองของโรงเรียนโปงหลวงวิทยารัชมังคลาภิเษก จังหวัดลาปาง. การคนควาแบบอิสระ
ศึกษาศาสตรมหาบัณฑติ บัณฑติ วทิ ยาลยั มหาวิทยาลัยเชยี งใหม.่

ชูศักด์ิ ติวุตานนท์. 2546. การศึกษาสภาพและปัญหาการนาภูมิปัญญาท้องถ่ินมาใช้ในการจัด
กิจกรรมการเรียนการสอนตามหลักสูตรสถานศึกษา: ศึกษากรณีเฉพาะโรงเรียนนาร่องและ
โรงเรยี นเครือขา่ ยในสังกดั สานักงานการประถมศกึ ษาจงั หวัดพิษณุโลก. การศกึ ษาค้นควา้ ดว้ ย
ตนเอง การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร. พิษณุโลก:
มหาวทิ ยาลัยนเรศวร.

ฐีระ ประวาลพฤกษ์. 2538. การพัฒนาบุคคลและการฝึกอบรม. กรุงเทพฯ: สานักงานสภาสถาบันราช
ภฎั .

ดาราวรรณ สุวรรณชฎ. 2540. ความคิดเห็นของนายทหารสัญญาบัตรเหล่าสารบรรณที่มีต่อการ
ฝึกอบรมหลักสูตรชั้นนายร้อยเหล่าสารบรรณ กองบัญชาการทหารสูงสุด. กรุงเทพฯ: ปริญญา
นพิ นธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ถาวร คาทะแจ่ม. 2545. การบริหารจัดการหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ของ
โรงเรียนเครือข่ายการใช้หลักสูตร จังหวัดลาพูน. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต
สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวทิ ยาลยั เชยี งใหม.่ เชยี งใหม่: มหาวทิ ยาลัยเชียงใหม่.

ทัศนยี ์ ชาตไิ ทย และคณะ (2557). แก่นการศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวทิ ยาลัยธรุ กจิ บณั ฑิตย์
ทศิ นา แขมมณี. (2540). “ การประเมินหลักสูตร ” . รวมบทความทางการประเมินโครงการ. (พิมพค์ รั้ง

ท่ี 4 ). กรงุ เทพฯ: สานักพิมพ์จุฬาลงการณม์ หาวิทยาลยั .
_____. (2550). รปู แบบการเรยี นการสอนทางเลอื กทห่ี ลากหลาย. กรุงเทพฯ: จฬุ าลงกรณม์ หาวิทยาลัย.
_____. (2555). “บัณฑิตศึกษาในศตวรรษที่ 21: การปรับหลักสูตรและการสอน” เอกสารประกอบการ

ประชมุ เชงิ วชิ าการของราชบัณฑิตยสถานรว่ มกับมหาวทิ ยาลัยราชภฏั วไลยอลงกรณ์.
_____. (2556). ศาสตร์การสอน: องค์ความรเู้ พอ่ื การจดั กระบวนการเรยี นรทู้ ี่มปี ระสิทธภิ าพ. (พิมพค์ ร้ัง

ที่ 15). กรุงเทพฯ: จฬุ าลงกรณม์ หาวิทยาลัย.
ธนภัทร จันทร์เจริญ. (2557). พิพัฒนาการหลักสูตรและการศึกษา. ใน แก่นการศึกษา. หน้า 27-51.

กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลยั ธรุ กจิ บัณฑติ ย์
_____. (2561). การพัฒนาหลักสูตร. ในเอกสารประกอบการสอนรายวิชาการพัฒนาหลักสูตร คณะ

ครุศาสตร์ มหาวทิ ยาลัยราชภัฏบา้ นสมเดจ็ เจ้าพระยา. กรงุ เทพฯ: สหธรรมมิก จากดั .
ธารง บวั ศรี. (2532). ทฤษฎีหลักสตู ร (พมิ พค์ ร้ังที่ 2). กรงุ เทพฯ: ครุ สุ ภาลาดพรา้ ว.

216

_____. (2542). ทฤษฎหี ลักสูตร การออกแบบและพัฒนา (พมิ พ์ครัง้ ท่ี 2). กรุงเทพฯ: พฒั นาศึกษา.
บญุ ชม ศรีสะอาด. (2546). การพฒั นาหลกั สตู รและการวจิ ัยเก่ยี วกบั หลักสตู ร. กรุงเทพฯ: สวุ รี ิยาสาสน์ .
บุญเล้ียง ทุมทอง.(2553).การพัฒนาหลักสูตร. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์

มหาวิทยาลยั .
เบญจลักษณ์ น้าฟ้า.. (2552). เอกสารประกอบการอบรมการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ตาม

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑. สานักนวัตกรรมการศึกษา
กระทรวงศกึ ษาธกิ าร.
ประสิทธ์ิ บรรณศิลป์. 2545. การศึกษาความพร้อมในการใช้หลักสูตรการศึกษาข้ันพ้ืนฐานของ
ผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดพิจิตร. การศึกษา
ค้นคว้าด้วยตนเอง การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร.
พษิ ณุโลก: มหาวทิ ยาลัยนเรศวร.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโต). (2542). การศึกษากับการวิจัยเพ่ืออนาคตของประเทศไทย. (พิมพ์คร้ังที่
2). กรงุ เทพฯ: สหธรรมิก.
พิณสุดา สิริธรังศรี. (2552). รายงานการวิจัยเร่ือง ภาพการศึกษาไทยในอนาคต 10-20 ปี. กรุงเทพฯ:
พมิ พ์ดกี ารพิมพ์.
พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข. (2558). รู้เนื้อหาก่อนสอนเก่ง การเปล่ียนวัฒนธรรม
คณุ ภาพในศตวรรษท่ี 21. กรุงเทพฯ: โรงพิมพแ์ ห่งจฬุ าลงกรณ์มหาวิทยาลยั .
พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2544). การเรียนการสอนที่เนน้ ผู้เรียนเปน็ สาคญั : แนวคดิ วิธแี ละเทคนิคการสอน.
กรุงเทพฯ: เดอะมาสเตอร์กรุ๊ป แมเนจเมนท์.
พุทธศกั ราช 2551. กรงุ เทพฯ: เพชรเกษมการพมิ พ์.
ไพฑูรย์ สินลารัตน.์ (2553). CCPR กรอบคดิ ใหม่ทางการศึกษา. กรงุ เทพฯ: มหาวทิ ยาลยั ธรุ กจิ บัณฑติ ย์.
_____. (2554). การจัดการหลักสตู รและการสอน. พมิ พ์ครัง้ ที่ 3. กรุงเทพฯ: โรงพิมพแ์ ห่งจุฬาลงกรณ์
มหาวทิ ยาลยั .
_____. (2557ก). เตบิ โตเต็มตามศักยภาพสศู่ ตวรรษท่ี 21 ของการศกึ ษาไทย. กรุงเทพฯ: โรงพมิ พ์แห่ง
จุฬาลงกรณ์มหาวทิ ยาลยั .
_____. (2557ข). ทักษะแห่งศตวรรษท่ี 21 ต้องก้าวให้พ้นกับดักของตะวันออก. กรุงเทพฯ:
มหาวิทยาลัยธรุ กิจบณั ฑิต.
_____. (2559). คดิ เพอื่ คร.ู กรุงเทพฯ.: วทิ ยาลัยครุศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั ธุรกจิ บัณฑิตย์.

217

_____. (2559). ปรัชญาการศึกษาเชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพ. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยครุศาสตร์
มหาวทิ ยาลัยธุรกจิ บณั ฑติ ย์.

มณนภิ า ชตุ บิ ุตร. (2538). แนวทางการใช้ภูมปิ ัญญาท้องถิ่นในการจดั การเรยี นการสอน. หมบู่ ้าน, 7(87): 5.
_____. (2546). สรุปการประเมินหลักสูตรการศึกษาข้ันพื้นฐาน พุทธศักราช 2544: กระบวนการนา

หลักสตู รไปใช้. กรุงเทพฯ: หน่วยศึกษานเิ ทศก์ สานกั งานการประถมศึกษากรุงเทพฯ
มนสิช สิทธสิ มบูรณ.์ (ม.ป.ป.). ศาสตรห์ ลกั สตู ร. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
รุจีร์ ภู่สาระ และจันทรานี สงวนนาม. 2545. การบริหารหลักสูตรในสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: บุ๊ค

พอยท.์
วัชรี บูรณสิงห์. 2544. การบริหารหลักสูตร. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์มหาวิทยาลัย

รามคาแหง.
วัฒนาพร ระงับทกุ ข์. (2542). แนวการสอนท่ีเนน้ ผเู้ รียนเป็นสาคัญ. กรงุ เทพฯ: ม.ป.ท.
วารี ถิระจิตร. (2530). การพัฒนาการสอนสังคมศึกษาระดับประถมศึกษา. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์

จุฬาลงกรณ์มหาวทิ ยาลยั .
วิจารณ์ พานิชย์. (2555). การเรียนรู้เพื่อศษิ ยใ์ นศตวรรษท่ี 21. กรงุ เทพฯ: มูลนธิ ิสดศรี-สฤษด์วิ งศ.์
_____. (2557). การสรา้ งการเรียนรสู้ ูศ่ ตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: เจริญการพมิ พ์ จากดั .
วิจิตร ศรีสะอ้าน. (2539). อนาคตการศึกษาไทยในสองทศวรรษ. ใน เมืองไทยในปี 2560: อนาคต

เมอื งไทยในสองทศวรรษหน้า. (หน้า 126-133). กรุงเทพฯ: ซัคเซส มีเดีย.
วิชยั วงษใ์ หญ.่ (2523). พฒั นาหลักสูตรและการสอน: มติ ิใหม่. กรุงเทพฯ: รุ่งเรืองธรรม.
_____. (2537). กระบวนการพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอนภาคปฏิบัติ. กรุงเทพฯ:

สุวีรยิ าสาส์น.
_____. (2542). พลังเรียนรู้ในกระบวนทัศน์ใหม่. กรุงเทพฯ: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนค

รนิ ทรวิโรฒ.
_____. (2554). การพัฒนาหลักสูตรอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ: บริษัท อาร์ แอนด์ ปริ้นส์ จากัด.

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2555). ประมวลสาระชุดวิชาการประเมินผลหลักสูตรและ
การเรียน การสอนสาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. นนทบุรี: สุโขทัย
ธรรมาธริ าช.
วิชาการ,กรม. (2546). รายงานการศึกษาความพร้อมการใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน
พทุ ธศกั ราช 2544 ปีการศึกษา 2546. กรุงเทพฯ: องคก์ ารรับสง่ สินคา้ และพัสดภุ ัณฑ์ (ร.ส.พ.).

218

วิทวัฒน์ ขัตติยะมาน และอมลวรรณ วีระธรรมโม. (2554). การพัฒนาหลักสูตร. สงขลา: คณะ
ศกึ ษาศาสตร์ มหาวทิ ยาลัยทักษณิ .

วิโฬฏฐ์ วัฒนานิมิตกูล. (2559). การพัฒนาหลักสูตรและการสอน ปัจจัยความสาเร็จของการจัด
การศึกษา. กรุงเทพฯ: สหธรรมมกิ จากดั .

ศักด์ิศรี ปาณะกุล และคณะ. (2556). หลักสูตรและการจัดการเรียนรู้. (พิมพ์คร้ังที่ 3). กรุงเทพฯ:
มหาวทิ ยาลัยรามคาแหง.

สงดั อุทรานนั ท์. (2532). พ้ืนฐานและการพัฒนาหลกั สูตร (พิมพค์ รัง้ ท่ี 3). กรงุ เทพฯ: มติ รสยาม.
สันต์ ธรรมบารุง. (2527). หลักสตู รและการบริหารหลกั สูตร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพก์ ารศาสนา.
สาโรช บัวศรี. (2514). ข้อคิดเก่ียวกับปรัชญาการศึกษาไทย: ความคิดบางประการทางการศึกษา.

กรุงเทพฯ: กรมการฝึกหัดครู.
_____. (2532). วัฒนธรรมประจาชาติ. กรุงเทพฯ: อมรนิ ทร์พร้ินติ้ง.
สานักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542

และทแ่ี กไ้ ขเพ่ิมเตมิ (ฉบบั ท่ี 3) พ.ศ. 2553. กรงุ เทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
สานักวิช าการและมาตรฐ านการศึกษา สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพ้ืนฐ าน

กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
และมาตรฐานการเรียนรู้และตัวช้ีวัดฯ (ฉบับปรับปรุง พ. ศ. 2560). 6 ก.ค. 2562
http://academic.obec.go.th/newsdetail.php?id=75
สิริพัชร์ เจษฏาวิโรจน์. (2559). การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา. (ฉบับปรับปรุงใหม่). กรุงเทพฯ:
มหาวทิ ยาลยั รามคาแหง.
สนุ ทร โคตรบรรเทา. (2553). การพฒั นาหลกั สตู รและการนาไปใช้. กรุงเทพฯ: ปัญญาชน.
สุนีย์ ภู่พนั ธ์. (2546). แนวคดิ พ้นื ฐานการสรา้ งและพัฒนาหลกั สูตร. เชียงใหม่: โรงพมิ พ์เชยี งใหม่.
_____. (2546).แนวคิดพ้ืนฐานการสร้างและการพัฒนาหลักสูตรยุคปฏิรูปการศึกษาไทย. เชียงใหม่:
แสงศลิ ป.์
สุมติ ร คุณานุกร. (2533). หลักสูตรและการสอน .กรงุ เทพ ฯ: ชวนพิมพ์ .
อมรา เล็กเริงสิทธุ์. (2540). หลักสูตรและการจัดการมัธยมศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ฝ่าย
เอกสารและตารา สถาบันราชภักสวนดุสติ .
อาภรณ์ ใจเท่ยี ง. (2546). หลกั การสอน (พมิ พ์คร้งั ท3ี่ ). กรงุ เทพฯ: โอเดยี นสโตร์.
อานาจ จันทรแ์ ปน้ . (2532). การพัฒนาหลกั สูตร ทฤษฎีสู่การปฏบิ ัติ. เชียงใหม่: ส.ทรัพยก์ ารพิมพ์.

219

Alexander, W.M. (1981). Curriculum planning for better teaching and learning. (4 th ed.)
New York: holt, Rinehart and Winston.

Amstrong, D.G. (1989). Developing and documenting the curriculum. Boston: Allyn and
Bacon.

Beauchamp, G. A. (1981). Curriculum Theory. (4th ed). Liiinois: F. E. Peacock Publisher.
Bellanca, James and Brandt, Ron. (eds)., (2010). 21st Century Skills: Rethinking How

Students Learn. Indiana: Solution Tree Press.
Bellanca, James. (2010). Enriched Learning Projects: A Practical Pathway to 21st Century

Skills. Indiana: Solution Tree Press.
Bigge, M.L. (1982). Learning theories for teachers (4th ed.). New York: Harper & Row,

Publishers.
Conbach. (1971). Essentials of Psychological Testing 3rdcd. New York: Harper&Row.P161.
Eisner, E.W. & Vallance, E. (1974). Conflicting conceptions of curriculum. Berkeley CA:

McCutchan.
Gagné, R.M. & Briggs, L. (1974). Principles of Instructional Design. New York: Holt, Rinehart

and Winston.
Good, C.V. ( 1973) . Dictionary of Education. ( 3rd. ed) . New York: McGraw - Hill Book

Company. Washington, D.C.: Office of Vocational and Adult Education ( ED ).
Hass. G. (1977). Curriculum Planning: A New Approach. Boston: Allyn and Bacon.
Lall. G.R. and Lall, B.M. (1983). Ways children learn. Illinois: Charles C. Thomas Publishers.
McNeil, John D. 1981. Curriculum: A Comprehensive Introduction. Boston: Little,

Brown and Company.
Moore, A. (2015). Understanding the school curriculum: theory, politics and principles.

London: Routledge.
North Central Regional Educational Laboratory & The Metiri Group. (2003). enGauge: 21st

Century Skills: Literacy in the Digital Age. [Online]. Available from:
http://www.pict.sdsu.edu/engauge 21st. pdf [accessed 2014 January 6].
Oliva. P.F. (1982). Developing the curriculum. New York: Harper Collins.

220

Ornstein. A. C. (1993). Curriculum Foundations, Principles and lssues (2nd ed.). Boston:
Allyn and Bacon.

_____. (2013). Curriculum: foundations, principles, and issues. Boston: Pearson.
Pavlov. I. P. (1926). Lectures on Conditioned Reflexes. New York: International Publishers.
Pinar, W. (1974). Curere: Toward reconceptualization. In Jelinek (Ed). Basic problems in

modern education. Tempe, AZ: Arizona.
Saylor, J. G., & Alexander, W. M. (1974). Planning Curriculum for Schools. New York: Holt,

inehart and Winston: Inc.)
Saylor. J. G., & Oliva, P. F. (2013). Developing the curriculum. Boston: Ma: Pearson.)
Shiman David A. and Ann Lieberman. (May, 1974). “A Non-Model for School Change.”

The Education Forum. Vol.38. No.4. p.441.
Smith, B.,Stanly, W., & Shores, H. (1950). Fudamentals of Curriculum Development.

New York: Harcount Brace.
Stake, R.E. ( 1967) . “The Countenence of Education Evaluation”. Teacher College

Record. 68 (April1967).
Stufflebeam, D.L., Madaus, G.F. and Scriven, M.S. ( 1971) . Educational Evaluation And

Dicision-Marking. Itaca, Illinois: Peacock.
Taba H. ( 1962A) . Curriculum Development Theory and Practice. New York: Harcourt,

Brace & World.
_____. (1962B). Curriculum: Theory and Practice. Javanovich: Harcourt, Brace.
Tyler. R. (1949). Basic Principle of Curriculum and Instruction: Syllabus for Education

305. Chicago: The University of Chicago Press.
_____. (1969). Basic principle of curriculum and instruction. University of Chicago press.
Wheeler, D.K. (1974). Curriculum Process. London: University of London Press.
Wood G.H. (1990). Teaching for Democracy educational Leadership 48 (3rd ed.). 32 -37.


Click to View FlipBook Version