The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

เอกสารประกอบการสอน การพัฒนาหลักสูตร

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by thidarat.ta, 2021-01-17 22:21:04

เอกสารประกอบการสอน การพัฒนาหลักสูตร

เอกสารประกอบการสอน การพัฒนาหลักสูตร

95

2.1.2 ความเข้าใจ ได้แก่ ความสามารถแปล ตีความหมาย และคาดคะเนโดยอาศัยข้อมลู ทีม่ ีอยู่
เดิม เป็นตน้

2.1.3 การประยุกต์ใช้
2.1.4 การวิเคราะห์ ได้แก่ ความสามารถวิเคราะห์องค์ประกอบต่าง ๆ วิเคราะห์ความสัมพันธ์
ระหวา่ งสง่ิ ต่าง ๆ วิเคราะห์หลักในการจัดระบบโครงสร้าง เปน็ ต้น
2.1.5 การสังเคราะห์ ได้แก่ ความสามารถรวบรวมความคดิ มาถ่ายทอดไดอ้ ย่างชดั เจน สามารถ
นาโครงการต่าง ๆ มาจัดทาแผนได้ สามารถนาสิง่ ท่เี ปน็ นามธรรมมาจดั เป็นหมวดหม่ไู ด้ เป็นต้น
2.1.6 การประเมินผล ได้แก่ สามารถตัดสินใจโดยอาศัยขอมูลท่ีมีอยู่ในส่ิงท่ตี ้องการประเมินผล
สามารถตัดสินใจโดยใชเ้ กณฑ์การวดั จากภายนอก เป็นตน้
2.2 จติ พสิ ยั
บลูม แครทโฮล และมาเซีย (Bloom, Krathwohl and Masia) ได้ร่วมกันจัดระบบข้ึน โดยให้
นิยามของจิตพิสัยว่าเป็นจุดประสงค์การเรียนรู้ที่เก่ียวกับความเปลี่ยนแปลง ความสนใจเจตคติ ค่านิยม
และพฒั นาการของความพึงพอใจและการปรบั ตวั ซ่ึงจาแนกจุดประสงค์ดา้ นจิตพิสยั ออกเป็น 5 สว่ น ดังนี้
2.2.1 การรบั รู้ ไดแ้ ก่ การรับรวู้ า่ มอี ะไรเกิดข้ึน มีความเตม็ ใจทจ่ี ะรับรู้ การควบคมุ หรอื การเลือก
รับรเู้ ฉพาะส่ิงเฉพาะอยา่ ง
2.2.2 การตอบสนอง ได้แก่ การยอมตอบสนอง การมคี วามเต็มใจในการ ตอบสนอง การมคี วาม
พงึ พอใจในการตอบสนอง
2.2.3 การสรา้ งคา่ นิยม ได้แก่ การยอมรับคา่ นิยมอยา่ งใดอย่างหน่ึง การยึดม่ันในค่านิยม
2.2.4 การจัดระบบ ไดแ้ ก่ การสร้างมโนทัศน์เก่ียวกับค่านิยม การจัดระบบค่านยิ ม
2.2.5 การสรา้ งคุณลักษณะจากคา่ นิยม ไดแ้ ก่ การจาแนกคณุ ลักษณะออกเปน็ กลมุ่ ๆ การสร้าง
คุณลกั ษณะสว่ นรวม
2.3 ทกั ษะพสิ ยั
เดฟ (Dave) ได้ถือเอาลักษณะของการเคล่ือนไหวเป็นจุดประสงค์การเรียนรู้ ทักษะพิสัยนี้จึง
ประกอบด้วย จุดประสงค์ท่ีเก่ียวข้องกับทักษะท่ีกระทาด้วยมือและอวัยวะต่าง ๆ ซ่ึงจาแนกจุดประสงค์
ด้านทักษะพิสยั ตามแนวคดิ ของเดฟไดเ้ ป็น 5 ส่วน ดังน้ี
2.3.1 การเลียนแบบได้แก่ การกระทาอนั เกดิ จากแรงผลกั ดันภายใน การทาซา้
2.3.2 การใช้อิทธิพบควบคุมการกระทา ได้แก่ การกระทาตามข้อกาหนดในใบส่ังงาน การเลือกทา
การกระทาท่ีตายตวั โดยอาศยั การฝึกฝน
2.3.3 ความละเอียดในการกระทา ได้แก่ การผลติ การควบคุมคุณภาพ

96

2.3.4 การผสมผสาน ได้แก่ การจัดลาดบั การสร้างความสมั พันธ์
2.3.5 การปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การกระทาโดยอัตโนมัติ การกระทาอันเกิดจากใจ
หรอื ความรู้สกึ ภายใน

3. โครงสรา้ งความสัมพนั ธข์ องระบบจดุ ประสงค์
จากการวิเคราะห์ระบบจุดประสงค์ที่จาแนกเป็น 3 พิสัย ได้แก่ พุทธิพิสัย จิตพิสัย และทักษะ
พิสัย ทาให้เกิดความชัดเจนยิ่งข้ึนในการกาหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ แต่อย่างไรก็ตามในการกาหนด
จุดประสงค์อาจมีข้อบกพร่องได้ ตัวอย่างเช่น จุดประสงค์ที่ต้องการเน้นในพิสัยหนึ่งอาจไม่สัมพันธ์กับอีก
พิสัยหนึ่ง หรืออาจมีการเน้นจุดประสงค์ของพิสัยหน่ึงมากเกินไปหรือน้อยเกินไปทาให้พัฒนาการท่ี
ต้องการให้เกิดแก่ผู้เรียนขาดความสมดุลย์ไปได้ ดังนั้นเพื่อหลีกเลี่ยงข้อบกพร่องดังกล่าว จึงควรให้
นักพัฒนาหลักสูตรได้มองเห็นภาพของจุดประสงค์ โดยพิจารณาจากแผนภูมิโครงสร้างจุดประสงค์เป็น
เคร่อื งชว่ ยในการดาเนนิ การกาหนเจุดประสงคด์ ว้ ย ดังนี้

พทุ ธิพสิ ยั จติ พิสัย ทักษะพสิ ัย

การประเมนิ ผล การสร้างคุณลักษณะ การปรบั ส่ธู รรมชาติ

การสังเคราะห์ การจัดระบบ การผสมผสาน
การวเิ คราะห์ การสรา้ งค่านิยม การสร้างความละเอยี ด
การนาไปใช้
ความเข้าใจ การตอบสนอง การควบคุมการกระทา
ความรู้
การรบั รู้ การเลยี นแบบ

แผนภูมิที่ 4.1 แสดงโครงสร้างของระบบจุดประสงค์

97

ขน้ั ตอนที่ 5 การเลอื กเนอ้ื หาวิชา
การเลือกเนื้อหาวิชาเป็นข้ันตอนในการจัดทาหลักสูตรท่ีสืบเนื่องมาจากการกาหนด จุดประสงค์

ของวิชา ข้ันตอนการเลือกเนื้อหาวิชาเป็นข้ันตอนท่ีสาคัญในการกาหนดสิ่งท่ีผู้เรียน ไดเ้ รียนรู้ และเป็นส่ือ
ท่ีจะพาผู้เรียนไปสู่จุดหมายที่กาหนดไว้ ด้วยเหตุนี้นักพัฒนาหลักสูตรจะต้องทาความเข้าใจในเบ้ืองต้นใน
เรื่องเหลา่ นี้ ได้แก่ ความหมายของเน้อื หา ประเภทของเนื้อหาหลักเกณฑ์ในการเลือกเนื้อหา วิธกี ารเลือก
เนื้อหา และการจดั เน้ือหา ดงั น้ี

1. ความหมายของเน้ือหาวชิ า
ในเรอ่ื งของความหมายของเน้อื หาสาระนน้ั มนี ักการศกึ ษาไดใ้ ห้นยิ ามความหมายไวด้ ังน้ี
ใจทิพย์ เอ้ือรตั นพงษ์ (2539, หนา้ 78) ไดใ้ ห้ความหมายของคาวา่ เน้ือหาวิชาวา่ หมายถึง ความรู้
ทีด่ ัดแปลงมาจากศาสตร์ต่าง ๆ (Disciplines) เพื่อความเหมาะสมกับระดับการศึกษาและเป็นเครื่องมือท่ี
จะช่วยให้ผู้เรียนค้นพบความจริงได้ด้วยตนเอง และสามารถนาส่ิงที่ได้เรียนรู้มาประยุกต์ใช้ในชีวิตและ
สงั คม
ธารง บัวศรี (2542, หน้า 222) กล่าวถึงความหมายของคาว่า เนื้อหาว่า หมายถึง ข้อมูล ความรู้
หรือส่ิงอันเป็นสาระ ซ่ึงได้ถูกเลือกสรรจากวิชาต่าง ๆ ซึ่งเม่ือนามาให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ จะทาให้ผู้เรียนมี
ความรู้ ทักษะ และเปลีย่ นแปลงพฤติกรรมไปตามจุดหมายท่กี าหนดไวใ้ นหลักสตู ร
จากคาจากัดความดังกล่าว อาจสรุปได้ว่า เน้ือหาสาระ หมายถึง เนื้อหา ข้อมูล ทฤษฎีท่ีสาคัญท่ี
คัดสรรมาให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เพ่ือให้เกิดการเรียนรู้ และพัฒนาไปในทิศทางที่ต้องการตามลาดับขั้นสู่
จดุ หมายของหลักสูตรทีก่ าหนดไว้
อย่างไรก็ตาม ยังมีความสับสนและเข้าใจไม่ตรงกันว่า เน้ือหาสาระและประสบการณ์การเรียนรู้เป็น
เร่ืองเดียวกัน ซึ่งในเรื่องนี้หากพิจารณาคาจากัดความข้างต้น เน้ือหาอาจมีลักษณะเป็นข้อเท็จจริง
หลกั เกณฑ์ มโนทัศนข์ อ้ สรปุ เป็นต้น และถ้าพจิ ารณาตอ่ ไปวา่ ผูเ้ รียนจะเรียนรู้เนื้อหาวิชาเหลา่ น้ันอย่างไร
คาตอบคือ ในการเรียนรู้ผู้เรียนอาจใช้วิธีการหลาย ๆ อย่าง เช่น ท่องจา อภิปรายซักถาม ทาแบบฝึกหัด
ทารายงาน ทดลอง ค้นคว้า เป็นต้น ซึ่งวิธีการหรือกิจกรรมเหล่านี้คือกิจกรรมที่นาไปสู่ประสบการณ์การ
เรียนรู้ ดังน้ันจึงอาจสรุปได้ว่า ทั้งเนื้อหาและประสบการณ์ การเรียนรู้เป็นองค์ประกอบของหลักสูตร แต่
ทั้งสองไม่ใช่ส่งิ เดยี วกนั แต่มีความสมั พันธก์ นั อย่างใกลช้ ดิ ผู้เรียนจะเรียนเนอื้ หาได้ก็ตอ้ งอาศัยประสบการณ์
การเรียนรู้ ขณะเดยี วกนั การจัดประสบการณ์เรียนรู้จะนาไปสเู่ นอ้ื หาที่ตอ้ งการดว้ ยเช่นกนั

98

2. ประเภทของเนอ้ื หาวิชา
การพิจารณากาหนดเน้ือหาสาระในหลักสูตร เป็นกิจกรรมที่นักพัฒนาหลักสูตร จาเป็นต้องมี
ความเข้าใจเกี่ยวกับประเภทของเนื้อหาสาระก่อน ซ่ึงมีนักการศึกษาได้เสนอแนวคิด ในการแบ่งประเภท
ของเน้อื หาสาระไว้ ดงั น้ี
สมิธ สแตนเลย์ และชอร์ (Smith Stanlay and Shores, 1950, pp. 126 - 130) ได้แบ่ง
เนอื้ หาวชิ าออกเป็น 4 ประเภท ประกอบด้วย
1) เนื้อหาวชิ าทั่วไป (General Subject Matter) หมายถึง เนอื้ หาวิชาทผ่ี ู้เรียนในสงั คมต้องเรียน
ซ่งึ มที ม่ี าจากกิจกรรมทางเศรษฐกจิ สังคม ศาสนา และการปกครอง อันกอ่ ให้เกิดขนบธรรมเนยี มประเพณี
และระเบียบปฏิบัติต่าง ๆ ที่บุคคลนามาใช้ในครอบครัว การทางานและสังคม ส่ิงเหล่าน้ีแต่เดิมสอนกัน
อยา่ งไม่เป็นทางการในครอบครัวและวงสังคมแคบ ๆ ตอ่ มาภายหลังเมื่อสงั คมเจรญิ ข้ึนและมีความซบั ซ้อน
มากขน้ึ จึงจดั สอนในระบบโรงเรยี น
2) เนื้อหาวิชาท่ีต้องการความเชี่ยวชาญเฉพาะหรือเน้ือหาวิชาเฉพาะ (General Subject
Matter) หมายถึง เน้ือหาวิชาที่จาเป็นต่อชีวิตมนุษย์ เป็นเน้ือหาวิชาท่ีต้องการความเช่ียวชาญพิเศษ หรือ
เทคนิคเฉพาะเพือ่ การประกอบอาชีพท่วั ไป
3) เนื้อหาวิชาเชิงพรรณนา (Descriptive Subject Matter) หมายถึง เนื้อหาวิชา ท่ีเป็น
ขอ้ เท็จจริงและหลกั การ เช่น เนื้อหาวิชาในวิชาคณติ ศาสตร์ เปน็ ต้น
4) เนื้อหาวิชาเชิงค่านิยม (Normative Subject Matter) หมายถึง เนื้อหาวิชาที่ เก่ียวกับกฎ
กตกิ าตา่ ง ๆ คา่ นิยมหรอื มาตรฐานทส่ี งั คมยดึ ถืออยู่ เช่น ศีลธรรมจรรยาของคน เปน็ ตน้
ทาบา (Taba, 1962, pp.172 - 181) ได้เสนอแนวคิดในการแบ่งเนื้อหาสาระไว้เป็น 4 ประเภท
คือ
1) เนื้อหาวิชาที่เป็นข้อเท็จจริงและกระบวนการ (Specific Facts and Processes) เป็นเน้ือหา
ประเภทข้อมูลท่ีแสดงความเป็นจริงของธรรมชาติ รวมทั้งหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ท่ีมีผู้กาหนดขึ้น เช่น วิธีการคิด
เลขคณิต สูตรเคมี และขอ้ มูลเกย่ี วกับภมู ิศาสตร์ เปน็ ต้น
2) เน้อื หาวิชาทีเ่ ปน็ แนวคดิ พืน้ ฐาน (Basic Ideas) เปน็ เนื้อหาวิชาท่เี ก่ียวกบั ความสมั พนั ธ์ระหวา่ ง
ของสองส่ิง เน้ือหาวิชาในลักษณะน้ีเป็นข้อมูลท่ีแฝงความหมายอยู่ด้วย กล่าวคือ เมื่อผู้เรียนเข้าใจและ
เห็นความสัมพันธ์เก่ียวกับเรื่องใดเร่ืองหนึ่ง ก็สามารถนาความเข้าใจเก่ียวกับความคิดและหลักการนั้น ๆ
ไปอธิบายเหตุการณ์อ่ืน ๆ ได้ เช่น โลหะขยายตัวเมื่อถูก ความร้อน ผู้เรียนก็สามารถนาหลักการนี้ไปใช้
และเขา้ ใจได้วา่ ทาไมจงึ ตอ้ งเวน้ ช่องวา่ งไวเ้ ลก็ นอ้ ยตรงรอยต่อของรางรถไฟ เปน็ ต้น

99

3) เนื้อหาวิชาที่เป็นมโนทัศน์ (Concepts) เป็นเน้ือหาท่ีรวบรวมความคิดเบื้องต้น ซึ่งเป็น
ลกั ษณะร่วมหรอื โครงสรา้ งและสว่ นประกอบย่อย ๆ ทัง้ หมดของสงิ่ ต่าง ๆ ทง้ั ท่ีเป็นรูปธรรมและนามธรรม
มาสรุปเป็นความคิดรวบยอด เช่น มโนทัศน์เรื่องประชาธิปไตย มโนทัศน์เร่ือง ความแตกต่างระหว่าง
บุคคล เปน็ ต้น

4) เน้ือหาวิชาท่ีเป็นระบบความคิด (System of Thought) เป็นเนื้อหาวิชาประเภทสูงสุด เป็น
เน้ือหาท่ียากและซับซ้อนที่สุด กล่าวคือ เป็นเน้ือหาที่จะนาไปสู่ความเข้าใจในระบบความคิดของศาสตร์
น้ัน ๆ และสามารถศึกษาความรเู้ พม่ิ เติมได้ด้วยตนเองต่อไป

ส่วน กาเย่และบริกส์ (Gagne and Briggs, 1974, pp. 53 - 70) ได้แบ่งเนื้อหา ออกเป็น 3
ประเภท คือ

1) ข้อมูลทีเ่ ป็นความรู้ความเข้าใจ
2) ขอ้ มูลที่เป็นเจตคติ
3) ข้อมูลท่ีเปน็ ทักษะ
อย่างไรก็ตามการแบ่งเนื้อหาอาจทาได้อีกหลายวิธี ตามที่ผู้แบ่งจะยึดถือเกณฑ์ใดเป็นหลักในการ
แบ่ง แต่จากที่กล่าวมาข้างต้นแนวคิดในการแบ่งท่ีได้รับความนิยมมากท่ีสุด คือ แนวคิดของกาเย่และบ
ริกส์ เนื่องจากมีความสอดคล้องกับการจัดประเภทของความมุ่งหมายทาง การศึกษาในระดับต่าง ๆ ที่
แบ่งเป็น 3 ด้าน คือ ด้านความรู้และสติปัญญา (Cognitive Domain) ด้านเจตคติ (Affective Domain)
และด้านทักษะ (Psychomotor Domain)
3. หลักเกณฑ์ในการเลือกเน้ือหาวชิ า
หลกั เกณฑ์ในการเลือกเน้อื หาวชิ านั้น มนี กั การศกึ ษาหลายท่านได้กาหนด สรุปได้ดังนี้
ทาบา (Taba, 1962, pp. 267 - 284) นาเสนอหลักเกณฑก์ ารเลือกเน้ือหาวิชาวา่ ดังน้ี
1) ต้องเป็นแก่นสารและเชอ่ื ถือได้
2) ต้องมีความสาคัญตอ่ การเรยี นรู้
3) ต้องมคี วามสมดุลระหว่างความกวา้ งและความลกึ ของขอ้ มูล
4) ตอ้ งสามารถสนองจุดประสงค์ได้หลายอยา่ ง
5) ต้องสอดคลอ้ งกับวฒุ ิภาวะและประสบการณ์ของผูเ้ รียน
6) ต้องสอดคล้องกบั ความตอ้ งการและความสนใจของผเู้ รียน
วลี เลอร์ (Wheeler, 1974, pp. 218 - 226) ไดเ้ สนอแนวคดิ ในการเลือกเน้ือหาวิชาไว้ดังน้ี
1) ตอ้ งเป็นท่เี ชือ่ ถือได้
2) ต้องมคี วามสาคญั ตอ่ การเรียนรู้

100

3) ตอ้ งสอดคล้องกบั ความต้องการและความสนใจของผู้เรยี น
4) ต้องมีประโยชนต์ อ่ ชีวติ ประจาวัน
5) ต้องเป็นส่งิ ที่เรยี นรู้ได้
6) ต้องสอดคลอ้ งกบั สภาพความเปน็ จริงในสังคม
ใจทิพย์ เอือ้ รัตนพงษ์ (2539, หนา้ 82 - 83) ได้ให้หลักเกณฑใ์ นการเลือกเน้ือหาวิชา โดยให้คานึงถึง
ส่ิงต่อไปนี้
1) มคี วามสาคัญต่อการเรียนรู้
2) มคี วามถูกตอ้ งทันสมยั
3) มคี วามนา่ สนใจ
4) เปน็ สิง่ ที่เรียนรู้ได้
5) สอดคล้องกับจดุ ประสงค์
6) เป็นสิ่งทม่ี ีประโยชนต์ อ่ ผเู้ รียน
7) เป็นสง่ิ ทีส่ ามารถจัดใหผ้ ้เู รียนเรยี นได้
ธารง บัวศรี (2542, หน้า 231 - 233) กล่าวถงึ หลกั เกณฑใ์ นการเลือกเน้อื หาวิชา สรุปได้ว่า
1) มปี ระโยชนต์ อ่ ผูเ้ รยี นทั้งในปัจจบุ นั และอนาคต
2) สอดคล้องกบั วฒุ ภิ าวะและประสบการณ์ของผู้เรียน
3) มคี วามสาคญั ตอ่ การเรียนรขู้ องผเู้ รียนในระดบั การศึกษานน้ั ๆ
4) เชื่อถอื ไดแ้ ละเป็นแกน่ สารของความรใู้ นวิชาน้ัน ๆ
5) สอดคล้องกับปัญหาและความตอ้ งการของสงั คม
6) ครอบคลุมความรู้หลาย ๆ ด้าน
จากแนวความคิดดังกล่าวข้างต้น จะพบว่า หลักเกณฑ์ในการเลือกเนื้อหาวิชาท่ี นักการศึกษา
หลาย ๆ ท่านได้นาเสนอไว้นนั้ มปี ระเด็นสว่ นใหญ่ที่ใกล้เคียงกัน และมีบางส่วนทีแ่ ตกต่างกัน ซึง่ ในที่น้ีจะ
ได้สรุปเป็นแนวคดิ ในการเลือกเนอ้ื หาได้ ดงั นี้
1) มีความจาเป็นและเป็นพนื้ ฐานในการเรยี นรู้ เนอื้ หาวิชาทเี่ ลือกควรมีความสาคัญและจาเป็นต่อ
การเรียนรู้ในระดับนั้น ๆ โดยเป็นเนื้อหาท่เี ป็นพ้ืนฐานสาหรับการเรียนวิชาน้ัน ๆ หรอื วิชาอ่ืน ๆ ในระดับ
ทีส่ งู ขน้ึ
2) อานวยประโยชน์ท้ังต่อผเู้ รียน สงั คม และประเทศชาติ ทัง้ ในปัจจุบันและอนาคต
3) มคี วามสอดคลอ้ งกบั จุดหมายของหลักสตู ร
4) มีความครอบคลุมความร้หู ลาย ๆ ดา้ น และสนองจดุ ประสงคไ์ ด้หลายทาง

101

5) มีความถูกต้องเชอื่ ถือได้
6) มีความทันสมยั น่าสนใจ
7) มรี ะดบั ความยากงา่ ยสอดคลอ้ งกบั วุฒภิ าวะของผเู้ รียน
4. วธิ ีการเลอื กเนือ้ หาวิชา
ในการเลอื กเนือ้ หาวชิ าน้ันเก่ียวข้องกับบคุ คลหลายฝ่ายที่ร่วมกนั พิจารณาถงึ สาระที่จะนามาบรรจุ
ไว้ในหลักสูตร ซึ่งมีแนวทางปฏิบัติที่แตกต่างกันไปตามแนวคิดและข้อตกลงของคณะนักพัฒนาหลักสูตร
แต่ละคณะท่ีจะเลือกใช้วิธีการใด และข้ึนอยู่กับระดับวิชา และระดับ หลักสูตรอีกด้วย ในท่ีนี้จะนาเสนอ
วิธีการเลอื กเน้อื หาวชิ าทน่ี ักพัฒนาหลักสูตรมกั นาไปปฏิบัติเสมอ ๆ 4 วิธีการ ดงั นี้
4.1 วิธีใชค้ วามคดิ เหน็ ตัดสติ (Judgmental Procedure) วธิ กี ารน้ีใช้ความคดิ เหน็ ของผู้มีสว่ น
ร่วมในการพัฒนาหลักสูตร โดยบุคคลเหล่านีจ้ ะมาร่วมกันอภิปราย และใช้ความคิดเห็นของตนเป็นเกณฑ์
ในการตัดสินใจว่าควรนาเนื้อหาสาระใดมาบรรจุลงในหลักสูตร วิธีการน้ีนิยมใช้ ในการเลือกเนื้อหาวิชา
วชิ าเก่ยี วกับการปฏริ ูปสังคม หรือเน้ือหาที่เน้นความสัมพันธ์ระหว่าง ความสอดคลอ้ งของเนอ้ื หากับสภาพ
ของสงั คม
ข้อจากัดของวิธีการนี้ คือ คณะบุคคลท่ีร่วมแสดงความคิดเห็นจะต้องละทิ้ง ทัศนคติส่วนตัว
ผลประโยชน์ส่วนตัว และมุ่งเลือกเนื้อหาวิชาที่จะสนองความต้องการของสังคมมากที่สุด จึงจะทาให้
เนอ้ื หาท่ีคดั เลือกมีความสมบูรณ์และเทีย่ งตรง
4.2 วิธีใช้การทดลอง (Experimental Procedure) วิธีการนี้เป็นการทดลองเพ่ือทดสอบดูว่า
เน้ือหาวิชาสนองความต้องการตรงตามหลักเกณฑ์ของการเลือกเน้ือหาที่กาหนดไว้หรือไม่ นักพัฒนา
หลักสูตรมกั ใช้วิธกี ารเลือกแบบนเ้ี มอื่ งต้องการบรรจุเน้ือหาท่ีสอดคล้องกับ ความสนใจของผู้เรยี น เช่น ใน
วชิ าวรรณคดี ดนตรี และศลิ ปะ เป็นต้น
ข้อจากัดของวิธีการน้ี คือ ผู้ทาการทดลองไม่สามารถควบคุมปัจจัยทุกประการได้ เช่น
ความสามารถของครูท่ีอยู่ในโครงการทดลอง ภูมิหลังของผู้เรียน ฯลฯ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้อาจส่งผลให้ผู้
ทดลองไม่อาจหยง่ั รถู้ งึ ความสนใจทแ่ี ท้จริงของผูเ้ รียนได้
4.3 วิธีใช้การวิเคราะห์ (Analytical Procedure) วิธีการน้ีเป็นท่ีรู้จักกันแพร่หลายมาก
กระบวนการของวิธีการนี้ คือ การวิเคราะห์กิจกรรมและส่ิงต่าง ๆ ประกอบด้วยการวิเคราะห์ใน 3
ลกั ษณะ คอื
1) การวิเคราะห์กิจกรรม (Activity Analysis) การวิเคราะห์กิจกรรมในท่ีน้ี เป็นการวิเคราะห์
กจิ กรรมทคี่ นกลุ่มต่าง ๆ หรือคนในต่างถ่ิน ต่างชาติปฏิบัตกิ ัน เพ่ือการดารงชีวติ แล้วนาเนื้อหาทว่ี ิเคราะห์
ได้มากาหนดเปน็ เนื้อหาสาระของหลกั สูตร

102

2) การวิเคราะห์งาน (Job Analysis) การวิเคราะห์งานเป็นการวิเคราะห์ กิจกรรมในการ
ปฏิบัติงานทางด้านอาชพี

3) การวิเคราะห์ความรู้และทักษะท่ีเป็นประโยชน์ทั่วไป (Analysis of Generally Useful
Knowledge and Skills) การวิเคราะห์ความรู้และทักษะท่ีเป็นประโยชน์ซ่ึงอาจดาเนินการโดยการเก็บ
รวบรวมข้อมลู ด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น การสมั ภาษณ์ และการใช้แบบสอบถาม เปน็ ตน้

4.4 วิธีใช้ความคิดเห็นส่วนรวม (Consensual Procedure) วิธีการน้ีดาเนินการ โดยการ
รวบรวมความคดิ เห็นจากบคุ คลหลาย ๆ อาชพี หลายสาขาวิชาเกยี่ วกับเนื้อหาท่ีควรบรรจุไว้ในหลักสตู ร

ข้อจากัดของวิธีการนี้ คือ วิธีการใช้ความคิดเห็นส่วนรวมน้ีถ้าจะให้ได้ผลเป็นท่ีเชื่อถือได้มักจะใช้
ควบคู่กับวิธีใช้ความคิดเห็นตัดสิน และวิธีน้ีจะได้ผลดีหากใช้กับขอบเขตของ วิชาเล็ก ๆ หรือในขอบเขต
ของการสอนท่จี ากัด

จากท่ีกล่าวมา วิธีการเลือกเน้ือหาทั้ง 4 วิธีท่ีได้นาเสนอมาแล้วนั้น นักพัฒนาหลักสูตรควรพิจารณา
ให้รอบคอบก่อนว่า ควรใช้วิธีการใดสาหรับเน้ือหาประเภทใด อย่างไรก็ตามการเลือกเน้ือหาอาจปรับ
ประยกุ ตโ์ ดยใช้วธิ กี ารดงั กล่าวขา้ งตน้ ไปพรอ้ ม ๆ กนั ได้ ซ่ึงจะช่วยใหก้ ารเลอื กเป็นไปอยา่ งรดั กุมย่งิ ขึน้

5. การจดั เนื้อหาวิชา
เนื้อหาวิชาท่ีได้ผ่านการเลือกมาแล้วน้ัน จะต้องนามาจัดกระทาเพ่ือให้ผู้เรียน ได้เรียนรู้อย่างมี
ประสทิ ธิภาพ ซึ่งมแี นวทางในการจัดเน้ือหาวชิ า ดังนี้
5.1 การจัดเนื้อหาตามลาดับจากเน้ือหาท่ีง่ายไปสู่เนื้อหาท่ียาก (The Simple – to -
Complex Approach) เป็นการจัดเนื้อหาที่ไม่ซับซ้อนเข้าใจง่ายและมีลักษณะเป็นพ้ืนฐานให้ผู้เรียน
เรียนกอ่ นแลว้ จึงให้เรียนเน้ือหาท่ียากข้ึนไป
5.2 การจัดเนื้อหาตามความจาเป็นท่ีต้องเรียนก่อนหลัง (The Prerequisite Learning
Approach) เป็นการจัดเนื้อหาโดยมีการพิจารณาว่า ก่อนที่จะให้ผู้เรียนเข้าใจถึงเรื่องใดเรื่องหน่ึงน้ัน
ผ้เู รียนควรเรยี นรู้เรอ่ื งใดมาก่อนบ้าง เมื่อทราบแล้วให้นาเรื่องน้ัน ๆ มาสอนก่อนเพ่ือเปน็ การปูพื้น ฯลฯ
5.3 การจัดเน้ือหาตามลาดับของกาลเวลา (The Chronological Approach) เป็น การ
จัดลาดับก่อนหลังของเน้ือหาโดยใช้เวลาเป็นเกณฑ์ ได้แก่ การเรียงลาดับจากอดีตมาจนถึงปัจจุบัน หรือ
เรยี งจากปัจจบุ นั ไปหาอดีต ดังจะเห็นได้จากเนอ้ื หาวชิ าประวัตศิ าสตร์ เปน็ ตน้
5.4 การจัดเนื้อหาตามลาดับจากส่วนรวมไปสู่ส่วนย่อย (The Whole – to - Part
Approach) เป็นการจัดเนื้อหาในภาพรวมทั้งหมดก่อน แล้วจึงจัดเน้ือหาในส่วนย่อย เช่น ในวิชา
ภูมิศาสตรท์ ่ีใหผ้ ู้เรียนเรียนรเู้ รื่องโลกก่อนแลว้ จึงเรียนรเู้ รอื่ งทวปี และประเทศ เป็นตน้

103

5.5 การจัดเนื้อหาตามลาดับจากส่วนย่อยไปสู่ส่วนรวม (The Part – to - Whole
Approach) เป็นวิธีการจัดเน้ือหาจากส่วนย่อย ๆ แล้วค่อย ๆ พัฒนาความรู้ความเข้าใจไปยัง ส่วนรวม
เช่น ในวิชาวิทยาศาสตร์ กาหนดเนื้อหาให้ผู้เรียนมีความรู้เก่ียวกับการเดินทางของแสงก่อนที่จะไปสู่
ความร้เู ร่อื งการเกิดร้งุ กินนา้ เปน็ ตน้

5.6 การจัดเน้ือหาตามหัวข้อหรือเร่ือง (The Thematic Approach) เป็นวิธีการจัดท่ีต้องจัด
เนื้อหาออกเป็นหัวข้อหรือเร่ืองหนึ่ง ๆ ซ่ึงหัวข้อเหล่านี้อาจมีลักษณะ 2 ลักษณะ คือ เป็นอิสระ หรือมี
ความสมั พันธ์กับหัวข้ออื่น ๆ

5.7 การจัดเน้ือหาจากสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวไปสู่ส่ิงไกลตัวผู้เรียน (The Concentric Cycles) เป็น
วธิ กี ารจดั เนอื้ หาใหผ้ เู้ รียนได้เรียนในสิ่งทีใ่ กลต้ ัวกอ่ นและขยายขอบเขตออกไปสสู่ ิง่ ท่ีไกลตวั

5.8 การจัดเนื้อหาวิชาโดยยึดสาระค วามรู้ของแ ต่ละศ าสตร์เป็นหลัก (Logical
Organization) เป็นวิธีการจัดเน้ือหาตามขั้นตอนของโครงสร้างความรู้ในศาสตร์น้ัน ๆ เป็นหลัก คงท่ี
โดยไมใ่ ห้ความสาคญั กับเร่ืองความสนใจหรือความแตกตา่ งของผู้เรยี น

5.9 การจัดเนื้อหาโดยยึดจิตวิทยาเป็นหลัก (Psychological Organization) เป็นวิธีการจัด
เนื้อหาตามความต้องการและความสนใจของผู้เรียน เน้ือหาท่ีจัดนั้นจะไม่มีการกาหนด อย่างละเอียด
ตายตัว แต่จะกาหนดขอบเขตของเน้ือหาเป็นหัวข้ออย่างกว้าง ๆ เพื่อให้ผู้สอนและ ผู้เรียนมีเสรีภาพใน
การจัดเนือ้ หาและวธิ ีการเรียนการสอนตามความสนใจ

5.10 การจัดเน้ือหาโดยคานึงความสัมพันธ์ต่อเนื่องของหลักสูตร (Curriculum
Articulation) เป็นวิธกี ารจัดเนือ้ หาโดยคานงึ ถึงความสมั พนั ธข์ องเนอ้ื หาใน 2 ลกั ษณะ คือ

1) ความสัมพันธ์ของเน้ือหาในแนวนอน หมายถึง ความสัมพันธ์กันของเน้ือหาวิชาในแต่ละวิชา
ของหลักสูตรเดียวกนั ให้มีความสมั พนั ธก์ นั

2) ความสัมพันธ์ของเน้ือหาในแนวต้ัง หมายถึง การจัดลาดับเนื้อหา ในหลักสูตร ไม่ว่าจะ
ภายในหลักสูตรเดียวกัน หรือระหว่างหลักสูตรต่างระดับกัน ให้มีความต่อเนื่องสะสมกันไปจากระดับช้ัน
เร่มิ ตน้ ไปสูช่ นั้ สงู สุด

ขัน้ ตอนที่ 6 การกาหนดจุดประสงคก์ ารเรยี นรู้
ในขน้ั ตอนท่ีผา่ นมาได้กล่าวถึงการเลือกเนอ้ื หาวิชาเพือ่ บรรจุลงในหลักสูตร ซึ่งเป็นส่ิงที่นักพัฒนา

หลักสูตรต้องการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ เพื่อให้เกิดความชัดเจนในกาเรียนรู้ยิ่งข้ึน จึงจาเป็นต้องกาหนด
จุดประสงค์ของการเรยี นรู้เพอื่ กาหนดว่า ผสู้ อนและผู้เรียนจะตอ้ งทาอะไร และอยา่ งไรด้วย

104

1. ความสาคัญของจดุ ประสงคก์ ารเรยี นรู้ จุดประสงคก์ ารเรยี นรูม้ คี วามสาคญั สรุปได้ดังน้ี
1.1 ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจในจุดประสงค์ของวิชา (Subject Objectives) ที่จะสอน ทาให้
สามารถวางแผนในการจัดประสบการณ์ให้แกผ่ เู้ รียนได้อยา่ งมีประสิทธิภาพ
1.2 ช่วยให้ผู้เรียนได้ทราบขอบข่ายในบทเรียนน้ัน ๆ กล่าวคือ ทาให้ทราบว่าผู้เรียนจะต้อง
เรยี นร้อู ะไรบ้างและจะต้องทาอะไรบา้ ง ซึง่ จะสง่ ผลดีตอ่ การเรียนรู้ของผเู้ รยี น
1.3 ช่วยให้สะดวกในการวัดผลสัมฤทธ์ิของผู้เรียน เน่ืองจากได้กาหนดเกณฑ์ไว้อย่างชัดเจนใน
จุดประสงคก์ ารเรียนรู้แลว้
1.4 ชว่ ยให้เกิดความชดั เจนในการประเมินประสิทธิผลในการจัดการเรียนการสอนในบทเรียนนัน้ ๆ
2. หลักในการจดั ทาจดุ ประสงคก์ ารเรยี นรู้
จุดประสงค์การเรียนรู้ ประกอบด้วยส่วนประกอบ 3 ส่วน ในการกาหนด จุดประสงค์การเรียนรู้
ในแตล่ ะข้อ จงึ จาเปน็ ตอ้ งมสี ่วนประกอบท้ัง 3 สว่ นใหค้ รบถ้วน ดงั น้ี
2.1 ข้อความท่ีแสดงพฤติกรรมของผู้เรียน กล่าวคือ ในจุดประสงค์การเรียนรู้จะต้องกาหนด
พฤติกรรมที่คาดหวังหรือที่ต้องการให้เกิดแก่ผู้เรียน พฤติกรรมดังกล่าวต้องกาหนดด้วยคากริยาท่ีต้องมี
กรรมการรองรับดว้ ย เชน่ รวบรวม จาแนก สรา้ ง บอกตาแหน่ง แปลความหมาย เปน็ ต้น
2.2 สถานการณ์ที่ผู้เรียนจะต้องกระทา กล่าวคือ ในจุดประสงค์การเรียนรู้จะต้องแสดง
สถานการณ์การเรียนรู้เป็นเง่ือนไขไว้ด้วยว่า ผู้เรียนจะต้องเรียนรู้ในสถานการณ์อย่างไร โดยทั่วไป
สถานการณม์ ักจะหมายถึงสิ่งตอ่ ไปน้ี
2.2.1 วัสดุอปุ กรณ์อะไรทจ่ี ะนามาใช้เพือ่ การกระทานัน้ ๆ
2.2.2 การกระทาน้ัน ๆ จะสาเร็จได้ด้วยวิธใี ด เช่น ด้วยการหาข้อมลู จากหนังสอื หรอื ตาราเรียน
จากการบรรยายของครหู รือการปฏบิ ตั ิจริง
2.2.3 เวลาท่คี วรจะกระทาจนสาเรจ็ ผล
2.2.4 สถานท่หี รือตาแหน่งท่ีต้องการกระทาการ เชน่ ในช้ันเรียน ในหอ้ งสมดุ การใชแ้ ผนท่ี เป็นต้น
2.3 เกณฑ์ในการวัดหรือประเมินระดับการกระทา กล่าวคือ ในจุดประสงค์ การเรียนรู้จะต้อง
กาหนดเกณฑ์การวัดผลสัมฤทธ์ิของพฤติกรรมไว้ด้วย โดยยึดถือเกณฑ์อย่างต่าเป็นหลักหรือเป็นระดับที่
ยอมรับได้
การกาหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ จึงเป็นการกาหนดขอบเขตในเบ้ืองแรกก่อนท่ีจะดาเนินการ
เรียนการสอน โดยกาหนดว่าในการเรียนรู้เรอื่ งใดเร่ืองหนึ่งผเู้ รียนจะต้องทาอะไร และเมือ่ ทาแล้วจะได้ผล
ที่ต้องการด้วยตามเกณฑ์ท่กี าหนดไว้

105

ข้นั ตอนที่ 7 การกาหนดประสบการณ์การเรยี นรู้
ดังได้กล่าวไว้ในข้ันตอนท่ี 5 การเลือกเนื้อหาวิชา ถึงความสัมพันธ์ระหว่างเนื้อหาวิชาและ

ประสบการณ์การเรียนรู้ไว้แล้วว่า ผู้เรียนจะเรียนเน้ือหาวิชาได้ก็จาเป็นต้องอาศยั ประสบการณ์การเรียนรู้
ขณะเดียวกันการจัดประสบการณ์การเรียนรู้จะนาไปสู่เน้ือหาท่ีต้องการด้วยเช่นกัน ดังน้ันการกาหนด
ประสบการณก์ ารเรียนรู้จึงนับว่ามคี วามสาคญั ในการพัฒนาหลักสูตร ดังมี รายละเอยี ดดงั น้ี

1. ความหมายของประสบการณ์การเรยี นรู้
กอ่ นท่ีจะกลา่ วถึงความหมายของประสบการณ์การเรียนรู้น้นั จาเป็นตอ้ งทา ความเข้าใจให้ตรงกัน
เสียก่อนระหว่างคาว่า “กิจกรรมการเรียนรู้ (Learning Activities)” กับคาว่า “ประสบการณ์การเรียนรู้
(Learning Experiences)”
ธารง บวั ศรี (2542, หนา้ 241) ได้ให้ความหมายของกิจกรรมการเรียนรูว้ ่า หมายถึง การกระทา
ตา่ ง ๆ ที่นาไปสู่การเรียนรขู้ องผู้เรียนหรือทาให้ผู้เรียนเกดิ การเรียนรู้ กิจกรรมนี้เปน็ กิจกรรมที่ผูเ้ รียนและ
ผู้สอน ตวั อยา่ งเช่น การถาม การอธิบาย การนาผเู้ รียนออกไปศึกษา นอกสถานที่ เป็นตน้
ในขณะที่ อานาจ จันทร์แป้น (2532, หน้า 57) ได้อธิบายถึงคาว่า ประสบการณ์ การเรียนรู้ไว้
ดังนี้ คาว่าประสบการณ์การเรียนรู้น้ันไม่ใช่เน้ือหาสาระของวิชาต่าง ๆ และไม่ใช่ กิจกรรมท้ังหลายที่ครู
กระทา คาว่าประสบการณ์การเรียนรู้นั้นหมายถึง ปฏิสัมพันธ์ที่เกิดข้ึนระหว่างผู้เรียน และเง่ือนไข
ภายนอก ภายใต้ส่ิงแวดล้อมท่ีเข้าได้สัมผัส การเรียนรู้นน้ั เกิดข้ึนเม่อื นักเรียนไดม้ ีพฤติกรรมร่วม นั่นคือส่ิง
ใดกต็ ามทผ่ี ้เู รียนได้กระทา
จากแนวคิดของนักการศึกษาท่ีนามากล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่าประสบการณ์ การเรียนรู้น้ันมิได้
พิจารณาในแง่ของกิจกรรม แต่พิจารณาในแง่ “ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับ กิจกรรมน้ัน ๆ” กล่าวคือ
เมื่อเกิดปฏิสัมพันธ์ขึ้นพฤติกรรมของผู้เรียนจะเปล่ียนไป และเกิด การเรียนรู้ขึ้น เพ่ือให้เกิดความเข้าใจ
ยง่ิ ขึน้ ขอให้พิจารณาตัวอยา่ งดงั ตอ่ ไปน้ี
ในการสอนทผ่ี ู้สอนอ่านกลอนให้ผู้เรียนฟัง แล้วให้วิเคราะหบ์ ทกลอนดังกล่าว ในท่ีนี้การฟัง และ
การวเิ คราะห์เป็นกจิ กรรมการเรยี นรู้ เม่อื กจิ กรรมเสรจ็ สน้ิ ลงแลว้ ปรากฏวา่
1) ผูเ้ รียนรสู้ กึ วา่ บทกลอนนไ้ี พเราะมาก
2) ผู้เรยี นตระหนักว่าในการสรา้ งบรรยากาศเศร้าในบทกลอน ผู้ประพันธ์บทกลอนได้วางแนวทางได้
อยา่ งเหมาะสม
3) ผู้เรยี นเกิดความตระหนักว่า บทกลอนเร่อื งน้เี ปน็ วรรณคดีชิน้ เยยี่ มชน้ิ หนงึ่
4) ผูเ้ รยี นเกดิ ความซาบซ้ึงใจมาก จนไม่อาจจะกดกลัน้ ความรูส้ ึกไวไ้ ด้
จากตวั อย่างขา้ งต้น ความรู้สึก ความตระหนัก ความซาบซึ้ง ล้วนเป็นประสบการณ์การเรียนรู้ทง้ั ส้ิน

106

2. ประเภทของประสบการณก์ ารเรยี นรู้
ประสบการณก์ ารเรยี นรู้ แบง่ ประเภทได้ 2 แนวทาง ดังน้ี

2.1 ประสบการณ์เรียนรู้ที่แบ่งโดยแนวทางกว้าง ๆ จาแนกประสบการณ์การเรียนรู้ออกเป็น
2 ประเภท คอื

2.1.1 ประสบการณต์ รง หมายถึง ประสบการณ์ท่ีผ้เู รยี นไดร้ ับโดยตรงจากสัมผัสด้วยประสาท
สัมผัสทั้ง 5 กบั วตั ถุสิ่งของ หรือบางสง่ิ ทม่ี ิได้สมั ผสั โดยตรง ได้แก่ ความรู้สึกและความคดิ อย่างไรก็ตามใน
การกล่าวถึงประสบการณ์ตรงจะต้องใช้กิจกรรมในการส่ือให้เกิด การเรียนรู้ เช่น การเขียนภาพ การ
ทดลอง การอภปิ รายแสดงความคิดเหน็ เปน็ ต้น

2.1.2 ประสบการณ์รอง หมายถึง ประสบการณ์ท่ีผู้เรียนไม่ได้สัมผัสโดยตรง แต่เกิดจากการ
บอกเล่าของผู้อืน้ จากการอา่ นหนังสอื จากการดภู าพยนตร์ เปน็ ตน้

2.2 ประสบการณก์ ารเรียนรู้ทแี่ บง่ โดยยึดถือจุดประสงค์การเรียนรู้ จาแนกเป็น 4 ประเภท คือ
2.1.1 ประสบการณ์การเรียนรู้ท่ีพัฒนาทักษะในการคิด หมายถึง ประสบการณ์การเรียนรู้ท่ี

เป็นปฏสิ ัมพันธ์ระหว่างผเู้ รียนกับกิจกรรมประเภทคิดค้น สบื เสาะ อภิปราย และ การสรุปอยา่ งมีเหตุผลท่ี
มขี ้อมูลอา้ งองิ

2.1.2 ประสบการณ์การเรียนรู้ที่ก่อให้เกิดข้อเทจ็ จริง หมายถึง ประสบการณ์การเรียนรทู้ ี่เป็น
ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับกิจกรรมประเภทกระบวนการแก้ปัญหาต่าง ๆ ประสบการณ์การเรียนรู้
ประเภทนี้มีจุดประสงค์ที่จะต้องพัฒนาความรู้เกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ท่ัวไป กับความเข้าใจต่อสิ่งท่ี
เฉพาะเจาะจง

2.1.3 ประสบการณ์การเรียนรู้ท่ีช่วยในการพัฒนาทัศนคติทางสังคม หมายถึง ประสบการณ์
การเรียนรู้ท่ีเป็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับกิจกรรมทางสังคม เพ่ือส่งผลให้ผู้เรียนได้พัฒนาทัศนคติที่มี
ตอ่ สังคม

2.1.4 ประสบการณ์การเรียนรู้ที่ช่วยในการพัฒนาความสนใจ หมายถึง ประสบการณ์การ
เรียนรู้ท่ีเป็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับกิจกรรมที่เป็นส่ิงแปลกใหม่ ท้ังในด้านวิธีการ สถานการณ์ หรือ
วสั ดอุ ุปกรณ์เพอื่ ใหผ้ เู้ รียนพัฒนาความสนใจในสงิ่ ตา่ ง ๆ

3. ลกั ษณะของประสบการณก์ ารเรียนรูท้ ี่ดี
ในการจัดการเรียนการสอนควรจัดกิจกรรมการเรียนรู้หลายรูปแบบ เพ่ือให้ผู้เรียนได้รับ
ประสบการณ์การเรียนรู้ท่ีเหมาะสม ในท่ีน้ีจะได้นาเสนอลักษณะของประสบการณ์การเรียนรู้ท่ีดี สรุปได้
ดังน้ี

107

3.1 สอดคลอ้ งกบั จุดประสงค์การเรยี นการสอน
3.2 สนองความตอ้ งการของผเู้ รียน
3.3 มีความหมายตอ่ ผู้เรยี น
3.4 เหมาะสมกับวฒุ ภิ าวะของผเู้ รียน
3.5 สมั พันธก์ บั วิถชี วี ิตของผ้เู รียน
3.6 ส่งเสรมิ นิสยั ใฝร่ ูใ้ ฝ่เรียนใหแ้ ก่ผเู้ รียน
3.7 สง่ เสริมทาใหเ้ กดิ การเรยี นรไู้ ดเ้ รว็
3.8 มีความหลากหลายและทันสมยั
3.9 เปน็ ประสบการณท์ ีม่ พี ้นื ฐานอย่บู นประสบการณ์เดิมของผเู้ รยี น
3.10 สามารถจัดใหผ้ ูเ้ รยี นได้
4. หลกั ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้
การจัดประสบการณ์การเรียนรูท้ ี่มีประสิทธิภาพน้ัน ต้องคานึงถึงหลักการและ วิธีการดาเนินงาน
จดั ประสบการณ์การเรยี นร้ดู ้วย ซ่ึงสามารถสรปุ ไดด้ ังนี้
4.1 ต้องมีการวางแผนในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ (Plan) การจัดประสบการณ์การ
เรียนรู้ ควรมีการเตรียมการล่วงหน้า กล่าวคอื อาจมีการวางแผนร่วมกนั ระหว่างผสู้ อนและ ผู้เรยี น รวมท้ัง
การเลือกใชส้ ื่อการเรียนการสอนทเ่ี หมาะสม
4.2 มีความต่อเนื่องของประสบการณ์การเรียนรู้ (Continuity) โดยพิจารณาใน 2 กรณี คือ
(1) ประสบการณ์ที่จัดข้ึนต้องต่อเน่ืองจากประสบการณ์เดิม (2) การเรียนรู้จะเกิดข้ึนต้องได้รับการฝึก
อยา่ งตอ่ เนื่อง
4.3 มีการจัดลาดับขั้นตอนของการจัดประสบการณ์ (Sequence) โดยการจัดประสบการณ์
เริ่มต้นจากสิ่งที่ง่าย ๆ ไปสู่ประสบการณ์ซับซ้อน หรือเริ่มจากประสบการณ์ใกล้ตัว ผู้เรียนไปยัง
ประสบการณไ์ กลตัว
4.4 การบูรณาการประสบการณ์การเรียนรู้ (Integration) การจัดประสบการณ์ การเรียนรู้
ควรผสมผสานความรู้ในระหว่างวิชาต่าง ๆ นอกจากนี้ควรบูรณาการโดยคานึงถึงจุดมุ่งหมายด้านพุทธิพิสัย
จิตพิสัย และทกั ษะพสิ ยั รวมท้งั การบรู ณาการทั้งทางดา้ นร่างกายและจติ ใจของ ผูเ้ รยี นด้วย
4.5 ส่งเสริมพัฒนาการเดิม (Promotion) ประสบการณ์การเรียนรู้ใหม่ ต้องไม่ทาลายหรือ
บั่นทอนสง่ิ ท่มี อี ยเู่ ดิม ในทางตรงกนั ข้างประสบการณ์ใหมค่ วรมีสว่ นทส่ี ง่ เสรมิ ประสบการณ์เดิมด้วยอกี ทางหน่ึง

108

ขนั้ ตอนท่ี 8 การกาหนดกจิ กรรมการเรยี นการสอน
เมอ่ื นักพัฒนาหลักสูตรได้กาหนดประสบการณก์ ารเรยี นรู้แล้วในข้ันตอนต่อไป จาเป็นต้องกาหนด

กิจกรรมการเรียนการสอนให้เหมาะสมเพื่อให้ผูเ้ รียนผู้สอนได้ปฏิบตั ิอันจะส่งผลให้เกดิ ปฏิสมั พันธ์ระหว่าง
ผเู้ รยี นและกิจกรรมนั้น ๆ ซ่ึงจะนาไปสู่ประสบการณก์ ารเรียนรู้ทีก่ าหนดไว้

1. ความสาคญั ของกจิ กรรมการเรียนการสอน
กิจกรรมการเรียนการสอน เป็นองค์ประกอบสาคัญของการเรียนรู้ ท้ังนี้เพราะกิจกรรมท้ังของผู้สอน
และผู้เรียนท่ีเหมาะสม จะทาให้ผู้เรียนเกิดประสบการณ์การเรียนรู้อย่างแท้จริง ด้วยความสาคัญดังกล่าว
อาจสรปุ เป็นนยิ มให้เหน็ ความสาคญั ของกิจกรรมการเรียนการสอนได้ดงั นี้
กิจกรรมการเรียนการสอน หมายถึง การปฏิบัติต่าง ๆ ท่ีเก่ียวกับการเรียนการสอน เพื่อให้การ
สอนดาเนินไปอยา่ งมีประสทิ ธภิ าพ และการเรียนรู้ของผเู้ รียนบรรลจุ ุดประสงค์ท่ีกาหนดไว้
วารี ถิระจิตร (2530, หน้า 162 - 163) ไดก้ ล่าวถึงความสาคัญของกิจกรรมการเรียนการสอนท่ีมี
ต่อการสรา้ งประสบการณ์การเรยี นรูไ้ ว้หลายประการ ดงั นี้
1.1 กจิ กรรมช่วยเร้าความสนใจของผู้เรยี น
1.2 กิจกรรมจะเปิดโอกาสให้ผเู้ รียนประสบความสาเร็จ
1.3 กิจกรรมจะชว่ ยปลกู ฝงั ความเปน็ ประชาธปิ ไตย
1.4 กิจกรรมจะชว่ ยปลกู ฝังความรับผดิ ชอบ
1.5 กิจกรรมจะชว่ ยปลูกฝังและส่งเสริมความคิดรเิ ริ่มสรา้ งสรรค์
1.6 กิจกรรมจะชว่ ยใหผ้ ู้เรียนได้มคี วามเคลื่อนไหว
1.7 กิจกรรมจะช่วยใหผ้ ู้เรยี นได้ร้สู ึกสนุกสนาน
1.8 กจิ กรรมจะชว่ ยใหเ้ หน็ ความแตกต่างระหวา่ งบุคคล
1.9 กิจกรรมช่วยขยายความรูแ้ ละประสบการณข์ องเดก็ ให้กว้างขวาง
1.10 กิจกรรมจะช่วยส่งเสริมความงอกงามและพัฒนาการของเดก็
1.11 กจิ กรรมจะชว่ ยสง่ เสริมทักษะ
1.12 กิจกรรมจะช่วยส่งเสริมปลกู ฝงั เจตคตทิ ีด่ ี
1.13 กจิ กรรมจะชว่ ยใหผ้ เู้ รยี นรูจ้ ักทางานเปน็ หมู่
1.14 กิจกรรมจะชว่ ยใหผ้ ูเ้ รยี นเกดิ ความเข้าใจบทเรียน
1.15 กจิ กรรมจะชว่ ยให้ผเู้ รยี นเกิดความซาบซง้ึ ในความงามของเรอื่ งต่าง ๆ

109

ดังนั้น ผู้สอนจึงจาเป็นต้องจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้น่าสนใจ สอดคล้องกับวัย สติปัญญา
ความสามารถของผู้เรียน เนื้อหาของบทเรยี น และประสบการณ์การเรียนรู้ท่ีไดก้ าหนดไว้ โดยจัดกจิ กรรม
การเรียนการสอนภายใต้หลกั การจัดกิจกรรมการเรยี นการสอนอยา่ ง เคร่งครดั

2. หลกั การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
ด้วยความสาคัญของกิจกรรมการเรียนการสอนดังได้กล่าวแล้วข้างต้น ในการจัดกิจกรรมการ
เรียนการสอน จึงควรคานงึ ถงึ หลกั การดงั น้ี
2.1 จดั กจิ กรรมให้สอดคล้องกบั เจตนารมณ์ของหลักสตู ร
2.2 จดั กจิ กรรมใหส้ อดคลอ้ งกับจุดประสงคก์ ารเรียนการสอน
2.3 จัดกจิ กรรมให้สอดคลอ้ งกับลกั ษณะของเนื้อหาวชิ า
2.4 จัดกิจกรรมใหส้ อดคลอ้ งและเหมาะสมกับวยั ความสามารถและความสนใจของผู้เรียน
2.5 จัดกิจกรรมให้สนองความแตกต่างระหว่างบคุ คลของผู้เรยี น
2.6 จัดกิจกรรมให้เหมาะสมกบั สภาพแวดล้อมและสภาพความเปน็ อยูข่ องผเู้ รียน
2.7 จัดกิจกรรมให้มีลาดับข้ันตอนที่น่าสนใจ โดยใช้เทคนิควิธีการสอนท่ีหลากหลาย โดยใช้สื่อการ
สอนทเี่ หมาะสม
2.8 จัดกิจกรรมโดยให้ผ้เู รียนเปน็ ผกู้ ระทากจิ กรรม
2.9 จัดกจิ กรรมโดยใช้วธิ กี ารทีท่ ้าทายความคดิ ความสามารถของผู้เรยี น
2.10 จัดกจิ กรรมแลว้ ตอ้ งมีการวัดผลการใช้กิจกรรมทกุ คร้ัง
กล่าวโดยสรุปได้ว่า การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ควรดาเนินการเพ่ือประโยชน์แก่ผู้เรียนอย่าง
แทจ้ ริง โดยมงุ่ ให้ผเู้ รยี นได้รับประสบการณ์การเรียนรทู้ ี่ครอบคลมุ และมีประสทิ ธภิ าพ

3. รปู แบบการจดั กจิ กรรมการเรียนการสอน
การจดั กิจกรรมการเรียนการสอน โดยทว่ั ไปแบง่ ได้เปน็ 2 รปู แบบ ได้แก่
3.1 กิจกรรมการเรียนการสอนทเี่ น้นครูเป็นศูนย์กลาง เป็นกิจกรรมที่ครูเป็นศูนย์กลางของการ
ปฏบิ ัติกิจกรรม ครูเปน็ ผมู้ ีบทบาทในการเรยี นการสอนมากกว่าผู้เรียนโดยเริ่มจากเปน็ ผู้วางแผน ผถู้ ่ายทอด
ความรู้ และผู้นาปฏิบัติกิจกรรม การเรียนการสอนในช้ันเรียนเป็นการสื่อสารทางเดียว ผู้เรียนมีโอกาสร่วม
กจิ กรรมบา้ งภายใตก้ ารนาของครู
3.2 กจิ กรรมการเรียนการสอนท่ีเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางหรอื เปน็ สาคัญ เป็นกิจกรรมท่ีผู้สอนเปิด
โอกาสให้ผ้เู รยี นมสี ่วนรว่ มในการเรียนการสอนอยา่ งแท้จรงิ ซ่งึ มีนักการศึกษาได้ให้แนวคดิ ในเรื่องนีไ้ วด้ งั น้ี

110

วัฒนาพร ระงับทุกข์ (2542, หน้า 11) กล่าวว่า การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็น
ศูนย์กลาง หมายถึง การจัดการเรียนการสอนท่ีมุ่งเน้นการจัดกิจกรรมท่ีสอดคล้องกับการดารงชีวิต
เหมาะสมกับความสามารถและความสนใจของผู้เรียน โดยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมและลงมือปฏิบัติจริงทุก
ข้ันตอน จนเกดิ การเรยี นรู้ดว้ ยตนเอง

พิมพันธ์ เดชะคุปต์ (2544, หน้า 7) ได้ให้ความหมายไว้ว่า การเรียนการสอนท่ีเน้นผู้เรียนเป็น
สาคญั คือ แนวการจัดการเรียนการสอนท่ีเน้นให้ผเู้ รียนสร้างความรู้ใหม่ และ สิ่งประดิษฐใ์ หม่ โดยการใช้
กระบวนการทางปัญหา (การบวนการคิด) กระบวนการทางสังคม (กระบวนการกลุ่ม) และให้ผู้เรียนมี
ปฏิสัมพันธ์ และมีส่วนร่วมในการเรียน สามารถนาความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้ โดยครูมีบทบาทเป็นผู้อานวย
ความสะดวก จัดประสบการณ์การเรียนรู้ใหแ้ กผ่ ู้เรียน

จากความหมายของนักการศึกษาดังกล่าวข้างต้น สรุปได้ว่า การจัดกิจกรรม การเรียนการสอนที่
เนน้ ผเู้ รียนเป็นศูนย์กลาง หมายถงึ การจัดกิจกรรมโดยวิธตี า่ ง ๆ อยา่ ง หลากหลาย ท่ผี ูเ้ รียนมบี ทบาทหลัก
ในการเรียนรู้ ได้คิด ค้นคว้า ปฏิบัติ และมีปฏิสัมพันธ์กับกลุ่ม เพ่ือให้เกิดประสบการณ์การเรียนรู้อย่าง
แท้จริง จนสามารถนาไปปรบั ประยกุ ตใ์ ชใ้ นชีวิตจรงิ ได้

เมื่อพิจารณาตามนิยามความหมายของการจัดกิจกรรมที่เน้นผู้เรียนเป็น ศูนย์กลาง ได้มีนักการ
ศึกษาหลายทา่ นได้นาเสนอแนวคิดเกี่ยวกับลักษณะของกิจกรรมการเรียน การสอนและบทบาทของผู้สอน
สรปุ ได้ดงั น้ี

3.2.1 ลักษณะการจดั กจิ กรรมการเรยี นการสอนทเี่ นน้ ผ้เู รยี นเปน็ ศนู ย์กลางหรือเปน็ สาคัญ
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนท่ีเนน้ ผเู้ รียนเปน็ ศูนย์กลางหรือเป็นสาคัญ มีลักษณะสรปุ ได้เป็น
คาวา่ “CHART PIG” ดังนี้ (อาภรณ์ ใจเทย่ี ง, 2546, หน้า 85 - 87)
1) C = Construct หมายถึง การจดั กิจกรรมให้ผู้เรียนได้ค้นพบสาระสาคัญหรือความรู้ใหม่ด้วยตนเอง
2) H = Happiness หมายถึง การจดั กิจกรรมให้ผู้เรียนไดเ้ รยี นอยา่ งมีความสขุ
3) A = Active Learning หมายถงึ การจัดกจิ กรรมท่ีผเู้ รียนเป็น ผู้กระทา หรือปฏิบัติด้วยตนเอง
ดว้ ยความกระตือรอื ร้น
4) R = Resources หมายถึง การจัดกิจกรรมที่ผู้เรียนได้เรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ท่ี
หลากหลาย ทั้งบคุ คล และเครือ่ งมอื ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรยี น
5) T = Thinking หมายถึง การจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมกระบวนการคิด ผู้เรยี นได้ฝึกวิธีคิดในหลาย
ลักษณะ เช่น คิดคล่อง คิดหลากหลาย คิดละเอียด คิดชัดเจน คิดถูกทาง คิดกว้าง คิดลึกซ้ึง คิดไกล คิด
อย่างมเี หตุผล เปน็ ตน้

111

6) P = Participation หมายถึง การจัดกิจกรรมท่ีผู้เรียนมีส่วนร่วมในการวางแผนกาหนดงาน
วางเป้าหมายงานร่วมกัน และมีโอกาสเลือกทางานหรือศึกษาค้นคว้าในเรื่องท่ีตรงกับความถนัด
ความสามารถ และความสนใจของตนเอง

7) I = Individualization หมายถงึ การจัดกจิ กรรมทผี่ ูส้ อนให้ ความสาคัญแกผ่ ู้เรยี นในความเป็น
เอกตั บุคคล ผู้สอนยอมรบั ในความสามารถ ความคดิ เหน็ ความแตกตา่ งระหว่างบคุ คลของผ้เู รียน

8) G = Good Habit & Group Process หมายถึง การจัดกิจกรรมท่ี ผเู้ รยี นได้พฒั นาคุณลกั ษณะ
นิสยั ทด่ี ีงาม เชน่ ความรบั ผดิ ชอบ ความเมตตากรุณา ฯลฯ

3.2.2 บทบาทของผเู้ รียน
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางหรือเป็นสาคัญนั้น ผู้สอนจะ
เปลี่ยนบทบาทจากการเป็นผู้ชี้นา ผู้ถ่ายทอดความรู้ ไปเป็นผู้ช่วยเหลือ ส่งเสริมและสนับสนุนผู้เรียนใน
การแสวงหาความรู้จากส่ือและแหล่งการเรียนรู้ตา่ ง ๆ และให้ข้อมลู ท่ีถูกตอ้ งแก่ผู้เรียนเพื่อนาข้อมูลน้ันไป
สรา้ งสรรค์ความรู้ของตน จึงอาจกล่าวได้ว่า ผสู้ อนมีบทบาทหนา้ ทเ่ี ปน็ ผ้อู านวยความสะดวกในการเรียนร้ใู หแ้ ก่
ผ้เู รยี น ซ่ึงในการอานวยความสะดวกนี้ ชาติ แจม่ นชุ (อา้ งถึงใน อาภรณ์ ใจเท่ยี ง, 2546, หนา้ 84) ได้ดงั นี้
1) เปน็ ผ้จู ดั การ (Manager) โดยเป็นผกู้ าหนดบทบาทใหผ้ ู้เรียนทุกคนได้มีส่วนร่วมในการทากิจกรรม
2) เป็นผู้ร่วมทากิจกรรม (An active participant) โดยเข้าร่วมทา กิจกรรมในกลุ่มจรงิ ๆ พร้อม
ทง้ั ให้ความคดิ และความเห็น หรือเชือ่ มโยงประสบการณ์สว่ นตัวของนกั เรียนขณะทากจิ กรรม
3) เป็นผู้ช่วยเหลือและแหล่งวิทยาการ (Helper and resource) โดยคอยให้คาตอบเมื่อผู้เรียน
ต้องการความช่วยเหลือ
4) เป็นผู้สนับสนุนและเสริมแรง (Supporter and encourager) โดยช่วยสนับสนุนด้านส่ืออุปกรณ์
หรือให้คาแนะนาทีช่ ว่ ยกระตุน้ ใหน้ กั เรียนสนใจเขา้ ร่วมกิจกรรมหรือฝึกปฏิบตั ิดว้ ยตนเอง
5) เปน็ ผ้ตู ดิ ตามตรวจสอบ (Monitor) โดยคอยตรวจสอบผลงานที่ ผ้เู รียนผลิตขึน้

4. ข้ันตอนในการจัดกจิ กรรมการเรยี นการสอน
ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน จะมีขั้นตอนท่ีแตกต่างกันไปตามวิธีสอนต่าง ๆ ท่ีผู้สอนเลือก
นามาใช้ในการจัดกิจกรรมกาเรียนการสอนคร้ังน้ัน ๆ เช่น การอธิบาย การอภิปราย การทดลอง การสาธิต
เป็นต้น โดยผู้สอนจะต้องคัดเลือกวิธีสอนและเทคินิคการสอนท่ีเหมาะสมมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียน
การสอนเพ่ือให้ผู้เรียนเกิดประสบการณ์การเรียนรู้ตามที่ได้กาหนดไว้ อย่างไรก็ตามไม่ว่าจะใช้วิธีสอนแบบใด
กต็ ามมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ซ่ึงอาจมีขั้นตอนในการสอนน้นั ๆ ท่ีแตกต่างกันไป แตเ่ มือ่ จัด

112

กลุ่มของขั้นตอนเหล่าน้ันจะมีขั้นตอนที่เป็นกลุ่มคล้ายคลึงกันอยู่ 3 ข้ันตอน ได้แก่ (1) ขั้นนาเข้าสู่บทเรียน
(2) ขัน้ ปฏิบัตกิ จิ กรรม (ขนั้ สอน) และ (3) ข้นั สรปุ และวดั ผล ซง่ึ ในแตล่ ะขั้นตอนมหี ลักการจัด ดงั น้ี

4.1 ข้ันนาเข้าสู่บทเรียน เป็นข้ันเตรียมความพร้อมให้แก่ผู้เรียนและเร้าความสนใจให้ผู้เรียน
อยากรู้ อยากเห็น อยากคิด อยากทา เพอื่ เช่อื มโยงความรู้เดิมกบั ความรู้ใหมเ่ ข้าดว้ ยกัน

หลกั ในการนาเขา้ สูบ่ ทเรียน ควรดาเนินการภายใต้หลกั การ ดังนี้
4.1.1 มีความน่าสนใจ หมายถึง นาให้น่าสนใจ โดยใช้เทคนิควิธีการต่าง ๆ เช่น ใช้ปริศนาคา
ทาย เลา่ นทิ าน ใช้เพลง บทความ เรอ่ื งเล่า วดี ีทศั น์ เป็นตน้
4.1.2 มคี วามตรง หมายถึง นาให้ตรงเร่ืองท่ีสอน เช่น สอนเรอื่ งอาหาร หลัก 5 หมู่ ควรนาด้วย
การสนทนาซักถามเกี่ยวกับอาหารท่ีนักเรียนได้รับประทานในวันน้ีว่ามี อะไรบ้าง ซ่ึงเป็นเรื่องใกล้ตัวและ
ตรงเขา้ สเู่ ร่อื งทจ่ี ะเรียนด้วย
4.1.3 ไม่เปลอื งเวลา หมายถงึ ควรใชเ้ วลาไม่มากในการนาเขา้ สบู่ ทเรียน
4.2 ขั้นปฏิบัติกิจกรรม (ข้ันสอน) เป็นขั้นท่ีต่อจากข้ันนาเข้าสู่บทเรียน ถือว่าเป็นข้ันสาคัญที่จะ
ทาใหผ้ ้เู รยี นเกิดการเรยี นร้ตู ามจดุ ประสงคท์ ก่ี าหนดไว้
หลกั ในการปฏิบตั กิ จิ กรรม ควรดาเนนิ การภายใตห้ ลกั การ ดงั น้ี
4.2.1 เป็นกิจกรรมทส่ี อดคล้องกับจุดประสงคท์ ่ีกาหนดไว้
4.2.2 เป็นกจิ กรรมทีส่ ่งเสรมิ ความคิดแกป้ ัญหาและความคิดสร้างสรรค์
4.2.3 เปน็ กิจกรรมท่ีสนองความตอ้ งการ ความสนใจ และความถนดั ของ ผเู้ รยี น
4.2.4 เปน็ กิจกรรมที่สอดคลอ้ งกับวยั วฒุ ภิ าวะ และความพรอ้ มของผเู้ รียน
4.2.5 เปน็ กิจกรรมท่ีส่งเสริมพัฒนาการของผเู้ รียนทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สงั คม และสติปญั ญา
4.2.6 เปน็ กิจกรรมทเี่ หมาะสมกบั เวลาและสภาพแวดลอ้ ม
4.2.7 เป็นกิจกรรมที่ผเู้ รียนไดล้ งมือกระทาดว้ ยตนเอง
4.2.8 เป็นกิจกรรมท่ีมีขั้นตอนเป็นไปตามลาดับง่ายไปสู่ยาก รูปธรรมไปสู่นามธรรม เรียบง่ายไปสู่
ความซับซอ้ น
4.3 ข้ันสรุปและวัดผล เป็นขั้นการสรุปเน้ือหาที่เรียนผ่านมาแล้วทั้งหมด สรุปทั้งด้านความรู้
ความคิด เจตคติ และทักษะที่ผู้เรียนได้รับ รวมท้ังการนาไปปรับประยุกต์ใช้ในชีวิตประจาวัน ซึ่งการสรุป
อาจเป็นผู้สอน ผู้เรียน หรือท้ังผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันสรุปก็ได้ ภายหลัง จากน้ันผู้สอนจะต้องวัดผลการ
เรียนรู้ว่า ผู้เรียนได้มีประสบการณ์การเรียนรู้บรรลุตามจุดประสงค์ท่ีกาหนดไว้หรือไม่ โดยใช้วิธีวัดที่
กระทาไดอ้ ยา่ งหลากหลายตามทไี่ ดว้ างแผนไว้ ซึง่ รายละเอยี ดในข้นั นจ้ี ะได้นาเสนอในข้นั ตอนท่ี 9 ตอ่ ไป

113

ข้ันตอนท่ี 9 การประเมินผลการเรียนรู้
การประเมินผลการเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของการประเมินผลหลักสูตรท่ีกล่าวเช่นนี้ ก็เน่ืองจากว่า

ในการพัฒนาหลักสูตรซึ่งนักพัฒนาหลักสูตรได้กาหนดจุดหมาย รูปแบบโครงสร้างของหลักสูตร
จุดประสงค์ของวิชา เน้ือหาวิชา จุดประสงค์การเรียนรู้ ประสบการณ์การเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนการ
สอนไว้แล้ว และเมื่อนาไปทดลองใช้ก็จาเป็นที่จะต้องประเมินผลการจัด การเรียนการสอน เพ่ือประเมิน
การบรรลุจุดประสงค์การเรียนรู้ท่ีได้กาหนดไว้ การประเมินผล การเรียนรู้จึงมีความจาเป็นทั้งต่อการ
ทดลองใช้หลักสูตร และการประเมินหลักสูตรด้วย ในท่ีน้ีจะได้นาเสนอสาระเก่ียวกับการประเมินผลการ
เรยี นรู้ ดังนี้

1. ความหมายของการประเมนิ ผลการเรยี นรู้
ในการประเมินผลมักมีผู้เข้าใจสับสนไปว่าเป็นเร่ืองเดียวกับการวัดผล ทั้งน้ีอาจเป็นเพราะว่าใน
การประเมนิ ผลต้องมีการวัดผลควบคกู่ ันไปดว้ ย และมักกล่าวอย่างต่อเน่อื งว่า “วดั ผลประเมินผล” ดังน้ัน
จะได้นาเสนอนิยามความหมายของคาที่เกี่ยวข้องได้แก่ การวัดผล การประเมินค่า และการประเมินผล
เพื่อใหเ้ กิดความเข้าใจที่ชัดเจน ดังนี้
การวัดผล (Measure) หมายถึง การวัดคุณสมบัติของส่ิงใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งอาจเป็น การวัดในด้าน
ปรมิ าณหรือคุณภาพก็ได้ ตวั อยา่ งการวดั ดา้ นปริมาณ ได้แก่ การวัดความยาว ความกวา้ ง ความสงู นา้ หนัก
เป็นต้น ส่วนตัวอย่างการวัดด้านคุณภาพ ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์การเรียน ระดับเชาวน์ปัญญา พฤติกรรม
เจตคติ เปน็ ต้น
การประเมินค่า (Assessment) หมายถงึ การนาคา่ ของการวัดผลมาเปรยี บเทยี บกับมาตรฐานที่
กาหนดขึ้นโดยเฉพาะหรือท่ีมีอยู่แล้ว เพ่ือพิจารณาว่าเหมือนกันหรือแตกต่างกันอย่างไร เช่น เท่ากัน
สูงกว่า ต่ากวา่ เป็นต้น
การประเมินผล (Evaluation) หมายถึง กระบวนการในการรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ทจี่ าเป็น ท่ีได้
จากการวัดผล และประเมินค่า เพอื่ การตกลงใจหรือตดั สนิ ใจวา่ ส่ิงทน่ี ามาประเมนิ ผลนน้ั เปน็ อย่างไร
ดังนั้น อาจสรุปความหมายของการประเมินผลการเรียนรู้ได้ว่า หมายถึง กระบวนการในการ
รวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ที่เก่ียวกับการเรียนรู้ของผู้เรียนที่ได้จากการวัดผลและประเมินค่า เพ่ือตัดสินใจว่า
ผู้เรียนเกิดการเรยี นร้หู รือไม่ อยา่ งไร
2. ขน้ั ตอนของการประเมนิ ผลการเรยี นรู้

ในการประเมนิ ผลการเรียนรคู้ วรดาเนนิ การอย่างเป็นระบบ มีขั้นตอนท่ีชัดเจน เพอ่ื ใหผ้ ล
ทไ่ี ดม้ ีความเช่อื ถือได้ ซึง่ โดยท่วั ไปข้ันตอนของการประเมินผลการเรียนรแู้ บง่ ออกไดเ้ ป็น 5 ขั้น คอื

114

2.1 การกาหนดจดุ ประสงค์ของการประเมินผล
2.2 การเลือกเคร่ืองมอื สาหรับวดั สิง่ ท่ีต้องการประเมนิ
2.3 การวดั ผลการเรยี นรูด้ ว้ ยเคร่ืองมอื ท่ไี ด้เลอื กไว้
2.4 การเปรียบเทียบผลท่ีวดั ไดก้ บั มาตรฐานทกี่ าหนดไว้
2.5 การประเมินผล
3. เคร่อื งมอื ท่ใี ช้ในการประเมินผลการเรียนรู้
ในการวดั ผลจาเป็นต้องใช้เครอื่ งมือหลายอย่างเพื่อใหส้ อดคลอ้ งเหมาะสมกบั จุดประสงคข์ องการ
ประเมินผลที่ตั้งไว้ ดังน้ัน ผู้ประเมินจาเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจในเคร่ืองมือวัดผลต่าง ๆ ท่ีเลือก
นามาใช้เพ่ือให้ได้ข้อมูลที่เช่ือถือได้ในการตัดสินผลการประเมินในครั้งน้ัน ๆ ด้วยเหตุผลนี้ผู้ประเมินควรมี
ความรู้ความเข้าใจเก่ียวกับคณุ ลักษณะของเครื่องมือประเมินผล การเรียนรู้ที่ดี และประเภทของเคร่อื งมือ
วัดผลตา่ ง ๆ ดงั นี้
3.1 ลกั ษณะของเครอื่ งมือวดั ผลทด่ี ี
เป็นที่ยอมรับในกลุ่มนักวิจัยและวัดผลว่า เคร่ืองมือวัดผลที่ดีนั้น ต้องมีลักษณะสาคัญ 3 ประการ
คอื ความเทย่ี ง (Reliability) ความแม่นตรง (Validity) และใชง้ านได้สะดวก (Usability) ซึ่งสรุปได้ดงั น้ี
3.1.1 ความเที่ยง หมายถึง ความสม่าเสมอของคะแนนการทดสอบหรือของ ผลการประเมินผล
ในเมอ่ื นาเครอื่ งมอื ทดสอบไปใชใ้ นโอกาสตา่ ง ๆ ทงั้ นี้ความสม่าเสมอดังกลา่ ว เปน็ ความสม่าเสมอของผลท่ี
ได้จากการประเมนิ ผลในแง่ของ “คะแนน” หรือในแงข่ อง “การวัดผล” มิใช่ความสม่าเสมอของเครื่องมือ
วดั ผล นอกจากน้ันค่าความสม่าเสมอที่วัดได้น้ันใช้ได้เฉพาะช่วงเวลาหน่ึง และโดยผ้ใู ห้คะแนนคนหน่ึง ถ้า
ผิดไปจากน้ีผลก็อาจเปลี่ยนแปลงได้ และที่สาคัญคือ ความเท่ียงเป็นเรื่องท่ีเก่ียวกับสถิติ การวิเคราะห์
เพียงคร้ังเดียวยังไม่สามารถบอกได้ว่าน่าเช่ือถือ หรือไม่ จาเป็นต้องทาหลาย ๆ คร้ังกับกลุ่มตัวอย่าง
เดยี วกนั เพอ่ื ตรวจสอบดูว่าผลที่ไดร้ ับมี ความสมา่ เสมอหรอื ไม่
3.1.2 ความแม่นตรง หมายถงึ เมื่อตั้งจุดประสงค์ไวว้ ่าจะวดั อะไร ก็สามารถวดั สิ่งน้นั ไดจ้ รงิ ความ
แม่นตรงนี้อาจแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท คือ ความแม่นตรงของเนื้อหา ความแม่นตรงในการคาดคะเน
ความแม่นตรงในปจั จุบนั และความแม่นตรงในระบบความคดิ
ทงั้ นอี้ งค์ประกอบท่สี ง่ ผลใหเ้ กดิ ความแมน่ ตรงประกอบด้วยปัจจยั 5 ประการ คือ
1) สภาพของเคร่ืองมือ กล่าวคือ ตัวเครื่องมือเองมีความแม่นตรง เช่น คาแนะนาและคาชี้แจง
ชดั เจน ขอ้ สอบไมย่ ากหรอื ง่ายเกินไป ข้อสอบถูกตอ้ งตามหลักวิชา เปน็ ตน้
2) การทาหน้าท่ีของเคร่ืองมือ กล่าวคือ เครื่องมือวัดผลทาหน้าที่ครบถ้วน เช่น การทดสอบเพื่อวัด
การใชเ้ หตผุ ลทางเลขคณิต แบบทดสอบกจ็ ะต้องวัดการใชเ้ หตุผลทางเลขคณติ มิใช่วัดความจาเป็น เป็นต้น

115

3) การจัดการทดสอบ และการให้คะแนน กล่าวคือ มีการจัดการท่ีดีในการทดสอบ เช่น
การกาหนดเวลาสอนที่เหมาะสม การให้คะแนนอยา่ งรอบคอบ เปน็ ต้น

4) ความพร้อมของผู้ถูกทดสอบ กล่าวคือ ผู้ถูกทดสอบผู้ในสภาวะพร้อมรับการทดสอบ
ไมห่ วาดกลัว ตกใจ หรือเครง่ เครียด เป็นต้น

5) ลักษณะของผู้ถูกทดสอบและเกณฑ์ที่กาหนดไว้ในเครื่องมือทดสอบ กล่าวคือ ความแม่นตรง
เป็นเร่ืองจาเพาะของกลุ่มผู้ถูกทดสอบ ดังนั้นเครื่องมือจะต้องสอดคล้อง และเหมาะสมกับลักษณะต่าง ๆ
ของผ้ถู ูกทดสอบดว้ ย ได้แก่ อายุ เพศ ระดบั ความสามารถ พื้นฐานการศกึ ษา ฯลฯ

3.1.3 การใช้งานสะดวก หมายถึง เคร่ืองมือวัดผลมีความสะดวกในการนาไปใช้ ได้แก่ ความสะดวก
ในการบริหาร การทดสอบ การให้คะแนน การตีความผลการสอบ การจัดหาแบบทดสอบท่ีมีลักษณะ
คลา้ ยคลึงกันได้ และค่าใช้จา่ ยในการทดสอบไม่แพงเกนิ ไป เปน็ ต้น

3.2 ประเภทของเครอื่ งมือวดั ผล
เคร่ืองมือสาหรับวัดผลมีหลายชนิด ผู้ใช้จึงจาเป็นต้องศึกษาเคร่ืองมือเหล่าน้ัน โดยคานึงถึง
จุดประสงค์ในการใช้เครื่องมือนั้น พร้อมทั้งใช้แนวทางในการพิจารณาคุณลักษณะของเคร่ืองมือท่ีดี
ประกอบไปด้วย สาหรับเครื่องมือวัดผลน้ันได้มีการแบ่งประเภทของเคร่ืองมือ ออกเป็น 3 ประเภทตาม
วธิ กี ารใช้ ดงั น้ี
3.2.1 ประเภทท่ีใช้เทคนิคการทดสอบ (Testing Techniques) ได้แก่ แบบทดสอบผลสัมฤทธ์ิ การ
ทดสอบเพอ่ื วนิ ิจฉัยสถานภาพ การทดสอบเชาวน์ปญั ญา แบบทดสอบความถนดั เป็นต้น
3.2.2 ประเภทที่ใช้เทคนิคการสังเกตพิจารณา (Observational Techniques) ได้แก่ การ
ทดสอบแบบมาตรประมาณค่า การทดสอบด้วยบันทึกเรื่องราว การทดสอบด้วย การตรวจสอบรายการ
แบบทดสอบดว้ ยเทคนคิ สังคมมิติ เปน็ ต้น
3.2.3 ประเภทที่ใช้เทคนิคการรายงาน (Self - reporting Techniques) ได้แก่ การสัมภาษณ์
การใช้แบบสอบถาม เป็นต้น

ขนั้ ตอนท่ี 10 การจดั ทาวัสดุหลกั สตู รและส่ือการเรยี นการสอน
ดังที่ได้กล่าวแล้วถึงการจัดทาหลักสูตรซ่ึงประกอบด้วยจุดหมาย จุดประสงค์ เน้ือหาวิชา เป็นต้น

ข้ันตอนท่ีสาคัญมากประการหน่ึงคือ การจัดทาวัสดุหลักสูตรและสื่อการเรียนการสอน เพื่อให้หลักสูตรที่
จัดทาขึ้นพร้อมท่ีจะนาไปทดสอบ ปรับปรุงแก้ไข และนาไปใช้จริงต่อไป สาหรับในท่ีนี้จะนาเสนอสาระท่ี
เก่ียวข้องกับการจัดทาวสั ดหุ ลกั สตู รและสื่อการเรียนการสอน ดงั นี้

116

1. นยิ ามความหมายของวสั ดุหลกั สตู ร
วสั ดุหลักสตู ร หมายถึง ส่ิงท่ีช่วยใหผ้ ู้ใช้หลักสูตรสามารถใช้หลกั สูตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ อาทิ
การทาความเข้าใจหลักสูตร ช่วยในการสอน ในการประเมิน การบริหารงานหลักสูตร และการนิเทศ
การศกึ ษา เป็นต้น
สาหรับตัวอย่างของวัสดุหลักสูตร ได้แก่ ส่ิงพิมพ์ต่าง ๆ ที่เก่ียวข้องกับหลักสูตร อาทิ คู่มือ
หลกั สตู ร คาแนะนาในการสอน คู่มือการประเมนิ ผลการเรียนรู้ เป็นต้น นอกจากนีว้ สั ดหุ ลักสูตรอาจอยูใ่ น
รูปของแผนภมู ิ แผนภาพ แถบบนั ทึกเสยี งและภาพ สไลด์ และภาพยนตร์ เปน็ ตน้
2. นยิ ามความหมายของสื่อการเรียนการสอน
สื่อการเรียนการสอน หมายถึง สิ่งที่เป็นพาหะหรือส่ือท่ีจะช่วยให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาความรู้
ทกั ษะ และเจตคติ ตามจดุ ประสงคก์ ารเรียนรูแ้ ละตามจุดหมายของหลกั สูตร
3. ประเภทของสื่อการเรียนการสอน
สอ่ื การเรยี นการสอนอาจแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ
3.1 ประเภทวัสดุ ได้แก่ ชอล์ก สี แผน่ ภาพ แผนภมู ิ ภาพถา่ ย สไลด์ แถบบันทึกภาพ ฯลฯ
3.2 ประเภทอุปกรณ์ ได้แก่ กลอ้ งถ่ายรปู เครือ่ งฉายภาพข้ามศีรษะ เครอื่ งฉายภาพยนตร์ เป็นตน้
3.3 ประเภทระบบ กระบวนการและวิธีการ ได้แก่ ระบบการสอนแบบโปรแกรม การสอนเป็น
คณะ การสอนแบบจลุ ภาค เปน็ ต้น
4. หลกั ในการเลือกสอื่ การเรียนการสอน
ในการเลือกส่ือเพื่อนามาใช้ในการจัดกาเรียนการสอนได้อย่างเหมาะสมและมี ประสิทธิภาพน้ัน
นกั การศกึ ษาท่เี ชี่ยวชาญในด้านนี้ไดใ้ หห้ ลักเกณฑ์ไว้ดังต่อไปนี้

4.1 ต้องตอบสนองจดุ ประสงคก์ ารเรยี นรู้
4.2 ตอ้ งเหมาะสมกบั วยั และพืน้ ฐานประสบการณข์ องผเู้ รยี น
4.3 ตอ้ งเหมาะสมกบั สภาพของผู้เรียน
4.4 ตอ้ งเหมาะสมทงั้ ในดา้ นคา่ ใช้จา่ ยและการปฏิบัติ
4.5 ตอ้ งจดั หาได้ง่าย
5. หลักในการใชส้ ่อื การเรียนการสอน
การนาสื่อการเรียนการสอนมาใช้เพื่ออานวยประโยชน์ให้การเรียนการสอนบรรลตุ ามจุดประสงค์
นัน้ มีปจั จัยหลายประการ อาทิ การเลอื กสอ่ื ท่ีจะนามาสอนได้ถูกตอ้ งเหมาะสมตามหลักเกณฑ์ในการเลือก
สื่อดังได้กล่าวแล้ว นอกจากนี้วิธีการใช้ส่ือท่ีถูกต้องก็นับว่าเป็นปัจจัยสาคัญมากประการหนึ่ง ท้ังน้ีเพราะ
การใช้สื่ออาจกระทาในโอกาสและจุดประสงค์ที่แตกต่างกัน เช่น เพื่อนาเข้าสู่บทเรียน เพ่ือเสนอเน้ือหาใหม่

117

เพื่อขยายความรู้เดิม และเพื่อสนับสนุนการนาความรู้ ไปใช้ เป็นต้น ดังน้ันการใช้ส่ือจึงต้องอาศัยการฝึกฝน
จนเกดิ เปน็ ทักษะในการใชท้ ม่ี ีประสิทธิภาพ ซึง่ มหี ลกั ในการใชส้ ่ือที่จะนาเสนอเปน็ แนวทางกว้าง ๆ ดังนี้

5.1 ขั้นท่ี 1 ตรวจสอบ ในข้ันนี้เป็นการตรวจสอบและศึกษาให้แจ่มแจ้งว่า ส่ือน้ันประกอบด้วย
อะไรบ้าง มคี ุณสมบตั อิ ย่างไร มีวิธใี ช้อย่างไร มขี ้อควรระวังใดบ้าง

5.2 ข้ันท่ี 2 เตรียมส่ือ ในข้ันน้ีเป็นการเตรียมสื่อท่ีจะใช้ให้พร้อม รวมท้ังสถานท่ีและอุปกรณ์
ประกอบการใช้

5.3 ขั้นที่ 3 แนะนาส่ือ ในขั้นนี้เป็นการอธิบายให้ผู้เรียนเข้าใจเสียก่อนว่า มีความจาเป็นใดท่ีจะต้อง
ใช้สื่อนั้น ๆ โดยเฉพาะให้ผู้เรียนมองเห็นว่าส่ือน้ันจะช่วยให้เข้าใจเร่ืองอะไรหรือตอบปัญหาใด และมีส่ิง
ใดบ้างท่ีผเู้ รยี นจะตอ้ งให้ความสนใจเป็นพเิ ศษเกยี่ วกบั การใช้สื่อน้ัน อาจกล่าวไดว้ า่ ในขน้ั น้ีเป็นการกระตุ้นให้
ผู้เรียนเกิดความสนใจในคุณคา่ ของสอ่ื นนั่ เอง

5.4 ขั้นท่ี 4 ใช้ส่ือ ในขั้นน้ีเป็นการใช้สื่อ โดยต้องคานึงถึงการใช้ตามลาดับข้ันตอนท่ีถูกต้อง
เหมาะสมกบั เวลา

5.5 ข้ันที่ 5 ประเมินผลการใช้สื่อ ในข้ันน้ีเป็นการทบทวนและสารวจดูว่า ผู้เรียนได้รับข้อมูล
ความรู้ และเกดิ ความคดิ ใหม่ ๆ ตามท่คี าดหวังไว้หรือไม่ เพือ่ การซ่อมเสรมิ ด้วย สอื่ เดิมหรือสอื่ ใหม่ตอ่ ไป

บทสรปุ

ในการพัฒนาหลักสูตรมีความเชื่อมโยงกับกระบวนการหลัก 3 กระบวนการ ประกอบด้วย การสร้าง
หลักสูตร การนาหลักสูตรไปใช้ และการประเมินผลหลักสูตร สาหรับในการสร้างหลักสูตรนั้นดาเนินการ
ใน 2 ลักษณะ คอื การสรา้ งหลักสตู รขน้ึ ใหม่ และการปรับปรุง แก้ไขหลักสูตรท่ีมอี ยู่แลว้

ในส่วนของข้ันตอนการสร้างหลักสูตรน้ัน ประกอบด้วย ขั้นตอนสาคัญ ๆ 10 ข้ันตอน ได้แก่ การ
วเิ คราะห์ขอ้ มูลพ้ืนฐาน การกาหนดจุดหมายของหลักสูตร การกาหนดรูปแบบและโครงสร้างของหลกั สูตร
การกาหนดจุดประสงค์ของวิชา การคัดเลือกเนื้อหาวิชา การกาหนด จุดประสงค์การเรียนรู้ การกาหนด
กิจกรรมการเรียนการสอน การกาหนดวิธีการประเมินผล การเรียนรู้ และการจัดทาวัสดุหลักสูตรและส่ือ
การเรียนการสอน ซึ่งเมื่อได้ดาเนินการครบท้ัง 10 ขั้นตอน แล้วจะได้หลักสูตรต้นฉบับ ที่จะนาไปทดลอง
ใช้เพื่อปรับปรุงแก้ไขให้สมบูรณ์ย่ิงข้ึน ภายหลังจากน้ันจึงนาหลักสูตรไปสู่กระบวนการใช้หลักสูตรและ
ประเมนิ ผลหลกั สตู รต่อไป

118

รายการอา้ งองิ
ใจทพิ ย์ เชือ้ รตั นพงษ์. (2539). การพัฒนาหลกั สตู ร: หลกั การและแนวปฏบิ ตั ิ. กรุงเทพฯ: อลนี เพลส.
ธารง บัวศรี. (2542). ทฤษฎีหลักสูตร การออกแบบและพัฒนา (พิมพ์คร้ังท่ี 2). กรุงเทพฯ: พัฒนา

ศึกษา.
พิมพนั ธ์ เดชะคปุ ต์. (2544). การเรียนการสอนทีเ่ นน้ ผู้เรียนเปน็ สาคัญ: แนวคิดวิธีและเทคนคิ

การสอน. กรงุ เทพฯ: เดอะมาสเตอร์กรุ๊ป แมเนจเมนท์.
วารี ถิระจิตร. (2530). การพัฒนาการสอนสังคมศึกษาระดับประถมศึกษา. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์

จุฬาลงกรณ์มหาวทิ ยาลยั .
วัฒนาพร ระงับทกุ ข์. (2542). แนวการสอนท่ีเนน้ ผเู้ รยี นเป็นสาคัญ. กรงุ เทพฯ: ม.ป.ท.
อาภรณ์ ใจเที่ยง. (2546). หลกั การสอน (พิมพค์ รั้งท3่ี ). กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
อานาจ จนั ทร์แป้น. (2532). การพฒั นาหลกั สูตร ทฤษฎสี กู่ ารปฏบิ ัติ. เชียงใหม่: ส.ทรัพยก์ ารพิมพ์.

Gagné, R.M. & Briggs, L. (1974). Principles of Instructional Design. New York: Holt, Rinehart
and Winston.

Smith, B.,Stanly, W., & Shores, H. (1950). Fudamentals of Curriculum Development.
New York: Harcount Brace.

Taba, H. (1962). Curriculum Development: Theory and Practice. New York: Harcourt,
Brace & World.

Wheeler, D.K. (1974). Curriculum Process. London: University of London Press.

119

บทที่ 5
การนาหลักสตู รไปใช้

ภิญญาพัชญ์ ปลากดั ทอง

บทนา

การนาหลักสูตรไปใช้เกิดข้ึนภายหลังจากการพัฒนาหลักสูตรเสร็จเรียบร้อยแล้ว สาหรับการ
จัดการเรียนรู้ในสถานการณ์จริง เป็นการแปลงหลักสูตรสู่การปฏิบัติจริงในห้องเรียน ซ่ึงความสาเร็จหรือ
ความล้มเหลวของหลักสูตรท่ีพัฒนาขึ้นจะอยู่ในข้ันตอนน้ี ทั้งนี้งานหลักท่ีเกี่ยวข้องกับการใช้หลักสูตรที่
ผ้เู กยี่ วขอ้ งในการใช้หลักสูตรควรทาความเขา้ ใจสาหรบั นาไปปฏิบตั ิน้ันมี 3 งานสาคัญ คอื งานบรหิ ารและ
บริการหลักสูตร งานดาเนนิ การเรียนการสอนตามหลักสูตร และงานสนับสนุนและสง่ เสริมการใช้หลักสตู ร
หากดาเนนิ การไมค่ รบทกุ งานจะทาให้เกิดปัญหาในการใชห้ ลกั สตู รอยา่ งมปี ระสทิ ธภิ าพได้

1. หลักการนาหลักสูตรไปใช้
การนาหลักสูตรไปใช้เป็นกระบวนการอย่างหนึ่งท่ีจาเป็นต้องคานึงถึงหลักการต่างๆ ดังนี้ (ฆนัท

ธาตุทอง. 2556 น.271-272)
1. การนาหลักสูตรไปใช้ เป็นกระบวนการต่อเน่ือง ท้ังระยะส้ันและระยะยาว ต้องมีการ

ประสานงานกับหนว่ ยงานตา่ งๆ อยูเ่ สมอ
2. ตลอดระยะเวลาของการาหลักสูตรไปใช้จะมีการปรับปรุงพัฒนา เพ่ือให้เกิดประสิทธิภาพที่ดี

ยิ่งขนึ้ กวา่ เดมิ ถา้ มีการติดตามผลและประเมนิ ผลเป็นระยะๆ
3. การนาหลักสูตรไปใช้ มีความสัมพันธ์กับพัฒนาการทางด้านวิชาชีพครู การพัฒนาเพียงด้านใด

ดา้ นหนึ่งย่อมไมเ่ กดิ ผล
4. การนาหลักสูตรไปใช้ ต้องมีปฏิสัมพันธ์กับบุคลากรในระดับต่างๆ และมีหน่วยงานที่พร้อมจะ

ใหค้ วามชว่ ยเหลอื ในด้านเทคนิควธิ ี
5. เมื่อพบปัญหาในการนาหลักสูตรไปใช้ ควรดาเนินการแก้ไขปัญหาท่ีเกิดจากการใช้หลักสูตร

โดยการวิเคราะห์ปัญหาและสาเหตุทั้งในส่วนของบุคลากรท่ีเกี่ยวข้องกับการใช้หลักสูตร เช่น ผู้บริหาร
สถานศึกษา ผ้สู อน นักเรยี น และในส่วนของปจั จัยอืน่ ๆ ทีเ่ ก่ียวขอ้ ง เชน่ งบประมาณ

120

6. การสร้างแผนงานที่จะนาหลักสตู รไปใช้ ต้องอาศัยการเรียนรูใ้ นเร่ืองวธิ ีการวางแผน ซึ่งต้องใช้
เวลาพอสมควร

7. ผลงานของการนาหลักสูตราไปใชต้ ้องพิจารณาถงึ ความก้าวหน้าและประโยชนท์ ี่ไดร้ ับจะทาให้
เกิดกาลังใจในการปฏบิ ตั งิ าน

จากข้างต้นหลักการนาหลักสูตรไปใช้จาเป็นที่จะต้องดาเนินการอย่างเป็นระบบ ด้วยการ
กาหนดให้มกี ารวางแผนและขั้นตอนทีช่ ัดเจน มีการมอบหมายหนา้ ทใ่ี นการดาเนินงาน และรวบรวมข้อมูล
เพอ่ื นาไปใชป้ รบั ปรุง พัฒนาไดอ้ ย่างทันทว่ งที

2. ภาระงานสาคัญในการนาหลักสูตรไปใช้
การนาหลักสูตรไปใช้เป็นขั้นตอนที่นาไปสู่การปฏิบัติ ซ่ึงมีภาระงานสาคัญที่นักพัฒนาหลักสูตร

ตอ้ งทาความเข้าใจ ได้แก่ งานบริหารและบริการหลักสูตร งานดาเนินการเรียนการสอนตามหลักสตู ร และ
งานสนับสนุนและสง่ เสริมการใชห้ ลกั สูตร มรี ายละเอยี ดดงั น้ี (สงดั อทุ รานนั ท,์ 2532. น.263-267)

1. งานบรหิ ารและบริการหลักสูตร ขอบเขตของงานมีดงั นี้
1.1 งานเตรียมบคุ ลากรผูใ้ ช้หลักสตู ร เพอ่ื ให้เข้าใจจุดมุ่งหมาย หลกั การ โครงสร้าง แนวการจัด
กจิ กรรมการเรียนการสอนและวธิ ีการวัดและประเมินผลของหลักสตู ร การเตรียมบุคลากรอาจทาได้หลาย
วิธี เช่น การอบรมสัมมนา การเผยแพร่ประชาสัมพนั ธ์ การประสานงานกับหนว่ ยงานผลิตครูในการเตรียม
นักศึกษาครู การอบรมครูประจาการ การประชมุ ชีแ้ จงหลักสูตรตอ่ ชุมชนและผปู้ กครองนักเรียน ตลอดจน
เผยแพรเ่ อกสารทางวชิ าการต่างๆ ในทอ้ งทท่ี ี่รบั ผิดชอบ
1.2 การจัดครูเข้าสอนตามหลักสูตร โดยจะต้องพิจารณาใน 2 ประเด็น คือ การคัดเลือก
บุคลากรที่เหมาะสม โดยพิจารณาความรู้ความสามารถ ความถนัด อารมณ์ และนิสัย หากจัดผู้สอนท่ีจบ
ในสาขาวิชาท่ีตรงกับวิชาท่ีสอนจะเป็นผลดีท่ีสุดต่อผู้เรียน ซ่ึงต้องมีการเตรียมบุคลากรก่อนทาการสอน
โดยการประชุมอบรมเชิงปฏิบัติการเพ่ือชี้แจงให้เข้าใจในหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนท่ีถูกต้อง
ก่อนเปดิ ภาคเรียน
1.3 การบริหารและบริการวัสดุหลักสูตร เป็นภารกิจของหน่วยงานส่วนกลางและสถานศึกษา
เองท่ีจะต้องดาเนินการบรหิ ารและบริการส่ือหลักสูตร ได้แก่ เอกสารหลักสูตร ส่ือการเรียนการสอน และ
เครื่องมือวัดและประเมินผล รวมทั้งจัดเตรียมงบประมาณสนับสนุนการผลิตส่ือต่างๆ แก่ผู้สอนให้ไปถึง
ผใู้ ชห้ ลักสตู รหรอื ผ้สู อนให้ครบและทันตามกาหนดเวลาของแตล่ ะภาคเรยี น

121

1.4 การบริการหลักสูตรภายในโรงเรียน ได้แก่ การจัดส่ิงอานวยความสะดวกให้แก่ผู้เรียน เช่น
การให้บริการห้องเรียนเฉพาะวิชา อาทิ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์
ห้องปฏิบัติการภาษา ห้องเรียนพุทธศาสนา ห้องแนะแนว ห้องปฏิบัติการวิชาชีพ ห้องสมุด สื่อการเรียน
การสอน เครื่องมือวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นหน้าท่ีของผู้บริหารสถานศึกษาท่ีจะต้องพยายามจัดให้มีข้ึน
รวมท้งั ช้ีแนะแหล่งวิชาการจากบคุ คลและหนว่ ยงานตา่ งๆ ภายนอกโรงเรียนดว้ ย

นอกจากน้ี รุจีร์ ภู่สาระ และจันทรานี สงวนนาม (2545) ได้เสนอแนะเพ่ิมเติมเก่ียวกับการ
บริหารหลักสูตรโดยท่ัวไปว่า ผู้บริหารนอกจากจะมีหน้าที่ในการบริการด้านวิชาการแล้วยังต้องเป็นผู้
ให้บริการดา้ นการนาหลักสูตรไปใช้ ดงั นี้

1. การบริการจัดการห้องสมุดให้เป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าท่ีสาคัญของโรงเรียน โดยจัดหา
เอกสารอ้างอิง หนังสือและใช้วธิ ีการสืบค้นท่ีทันสมัย ส่งเสริมให้มีการจัดกิจกรรมการอ่านเพื่อเชิญชวนให้
ผเู้ รียนมนี ิสัยรักการอา่ น รูจ้ ักคน้ คว้าหาความรดู้ ้วยตนเอง

2. การจัดหาแหล่งเรียนรู้อ่ืนๆ ภายนอกสถานศึกษา เช่น สื่อธรรมชาติแทนการใช้อุปกรณ์ราคา
แพง จัดหาภูมิปัญญาท้องถ่ินด้วยการจัดทาทาเนียบรายช่ือไว้สาหรับช่วยผู้สอนให้ได้มีโอกาสนาบุคลากร
อันทรงคณุ คา่ ของทอ้ งถ่นิ มาเสรมิ สร้างความรู้ให้กับผ้เู รยี นเก่ยี วกับท้องถนิ่ ของตนเอง

3. การจัดสภาพแวดล้อมของโรงเรียนทั้งภายในและภายนอกให้เป็นโรงเรียนที่สวยงาม สะอาด
น่าอยู่ ปลอดภยั และปราศจากอบายมุข

4. การจัดให้มีการประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาและผู้ปกครองเป็นประจา เพื่อรับฟังความ
คดิ เหน็ เกยี่ วกับผลของการนาหลักสูตรไปใช้ ไดแ้ ก่ พฤติกรรมและการปฏิบัตติ นของผเู้ รียนที่เปล่ียนแปลง
ไป ผลการเรียนรู้ของผ้เู รยี นท่มี ีการพฒั นาข้ึน เป็นต้น

5. การจัดให้มีอาคารสถานท่ี ได้แก่ ห้องเรียนเฉพาะเท่าที่จะมีโอกาสจัดได้ เพ่ือสนับสนุนการจัด
กิจกรรมการเรียนการสอนด้วยวธิ กี ารท่ีเน้นผู้เรยี นเปน็ สาคัญ

6. การจัดทาและจัดหาส่ือหรืออุปกรณ์การเรียนการสอน โดยมีการจัดทาหรือจัดหาให้เหมาะสม
ตามท่ีกาหนดไวใ้ นหลักสูตร

7. การจัดสรรงบประมาณ คานึงถึงการใช้หลักสูตรเป็นสาคัญไม่ย่ิงหย่อนไปกว่าเร่ืองของอาคาร
สถานท่ี

8. การจัดโครงการในการพัฒนาบุคลากรในโรงเรียนตั้งแต่ผู้สอน ผู้เรียน เจ้าหน้าท่ี นักการภารโรง
รวมท้ังผู้เกี่ยวข้อง ได้แก่ บุคคลในชุมชน หน่วยงานทางราชการและเอกชนท่ีเกี่ยวข้อง และผู้ปกครอง
นกั เรียน ให้เข้าใจการเปล่ียนแปลงการจัดการศกึ ษาในยุคปฏริ ปู การศกึ ษา

122

2. งานดาเนินการเรียนการสอนตามหลกั สตู ร ขอบเขตของงานมีดงั นี้
2.1 การปรับปรุงหลักสูตรให้เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น เพื่อให้หลักสูตรมีความสอดคล้องกับ
สภาพท้องถิ่นและสามารถตอบสนองความต้องการของผู้เรียน จึงควรได้รับการปรับปรุงหลักสูตรให้มี
ความเหมาะสมกับสภาพของท้องถิ่นด้วย
2.2 การบริหารงานวิชาการ รุจีร์ ภู่สาระ และจันทรานี สงวนนาม (2545. น.154-172)
เสนอแนะการบรหิ ารงานวชิ าการไว้ดังน้ี
2.2.1 การจัดชั้นเรียนหรือการจัดกลุ่มผู้เรียน สามารถทาได้หลายลักษณะข้ึนอยู่กับกิจกรรมที่
กาหนดไว้ในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรูแ้ ละนโยบายของโรงเรียน มแี นวทางในการจดั ชน้ั เรียนดังน้ี

2.2.1.1 จดั กลุ่มผู้เรียนเป็นชั้น การจัดกลุ่มผ้เู รียนลักษณะน้ีงา่ ยและสะดวก ทุกฝ่ายเข้าใจ
ตรงกนั จงึ เป็นท่ีนยิ มนามาใชใ้ นจดั การเรยี นการสอนมาก

2.2.1.2 จัดกลุ่มผู้เรียนตามความสามารถ วิธีการจัดการแบบนี้ไม่คานึงถึงอายุของผู้เรียน
แต่คานึงถึงความสามารถที่ใกล้เคียงกันของผู้เรียน โดยจัดผู้เรียนท่ีมีความสามารถใกล้เคียงกันให้อยู่ใน
กลุ่มเดียวกัน วิธีการคัดเลือกอาจทดสอบด้วยการใช้แบบทดสอบคัดเลือก หรือการพิจารณาจากแฟ้ม
สะสมงาน (Portfolio) ของผู้เรียน

2.2.1.3 จัดกลุ่มผ้เู รียนตามความสนใจ การจัดกลุ่มแบบน้ีเป็นการจัดผู้เรียนทม่ี ีความสนใจ
ในวิชาใดก็นามาจัดรวมกลุ่มกันเพ่ือให้โรงเรียนจัดประสบการณ์การเรียนให้ เป็นการจัดกลุ่มที่คานึงถึง
หลักจิตวทิ ยาท่ีว่า ผเู้ รียนย่อมเรียนได้ดถี ้ามคี วามสนใจที่จะเรียน การจดั กลุ่มวิชาให้ผู้เรียนเลือกเรียนตาม
ความสนใจนบั วา่ เป็นการจดั ท่ตี อบสนองตอ่ ความถนดั และความสนใจของบคุ คล

2.2.2 การจดั ครเู ขา้ สอน มีแนวทางในการจัดครูเขา้ สอนดังนี้
2.2.2.1 การจัดครูประจาชนั้ เปน็ การจดั ที่ทามานานค่กู ับการจัดกลมุ่ ผู้เรียนแบบมชี ้ัน โดย
ปกติการบรรจุครูมักจะยึดเกณฑ์ให้พอดีกับจานวนนักเรียนและช้ันเรียน ซึ่งในแต่ละช้ันเรียนจะกาหนด
จานวนของนกั เรยี นไว้ดว้ ยเช่นกนั
2.2.2.2 การจัดครูแนะแนว สาหรับให้คาแนะนาในการจัดกลุ่มสาระการเรียนรู้ การเลือก
วิชาที่สนใจ และการซ่อมเสริมนักเรียน อีกท้ังยังช่วยช้ีเสนอแนะการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมคุณธรรม
จริยธรรม รว่ มมือกับครูประจาชัน้ ในการจดั กจิ กรรมวิชาการนอกห้องเรียน การประสานงานกับผู้ปกครอง
และภารกิจอืน่ ๆ ทีค่ รูแนะแนวจะปฏบิ ัติไดต้ ามของเขตความรับผิดชอบ
2.2.2.3 การจดั ครปู ระจากลมุ่ สาระการเรียนรู้ ครูประจากลมุ่ สาระการเรยี นรู้นี้มักจะเป็นผู้
ที่มีความรู้และมีประสบการณ์ในการจัดการเรยี นการสอนในกล่มุ วชิ านั้นๆ การจัดครูประจากลุ่มสาระการ
เรียนรู้ที่ดีจะทาให้ผู้เรียนได้เรียนรู้สาระการเรียนรู้ ประสบการณ์และแนวคิดจากครูอย่างลึกซ้ึงมากกว่า

123

ทั้งนี้อาจจัดให้ผู้สอนในแต่ละวิชาไดว้ างแผนสาหรับการจัดการเรียนรู้ร่วมกัน ก็จะสามารถผสมผสานและ
คัดเลอื กเนือ้ หาใหม้ คี วามเหมาะสมและเปน็ ไปตามทห่ี ลักสตู รต้องการได้

2.2.2.4 การจัดครูสอนเป็นคณะ เป็นการจัดครูต้ังแต่ 2 คนขึ้นไปทาหน้าท่ีวางแผนการ
เรียนรู้ร่วมกัน สอนร่วมกัน วัดและประเมินผลร่วมกัน รับผิดชอบผลการปฏิบัติและพฤติกรรมของผู้เรียน
ร่วมกนั

2.2.2.5 การจัดตารางสอนหรือตารางเรียน ตารางสอนหรือตารางเรียน หมายถึง ตาราง
กาหนดวชิ าและเวลาทเ่ี รียนในแต่ละวันตลอดสัปดาห์ เพอ่ื นาไปใช้เปน็ แนวทางในการจดั การเรียนการสอน
ให้กบั ผู้เรียน ซึ่งตารางสอนหรือตารางเรยี นมี 2 ประเภท ดงั น้ี

1) ตารางสอนแบบตายตวั (Block Schedule or Traditional Schedule) เป็นตารางท่ีมี
ช่วงเวลาเรยี นเทา่ กนั หมด ไม่ว่าจะเรียนวชิ าใด การจัดชว่ งเวลาเรยี นอาจเรียนเปน็ คาบหรอื ชวั่ โมง ถ้าเรียก
เปน็ คาบจะต้องกาหนดใหช้ ัดเจนวา่ ใชเ้ วลากีน่ าทหี รอื ก่ชี ่ัวโมง ทง้ั นี้ข้นึ อย่กู ับวยั และความพร้อมของผู้เรียน

2) ตารางสอนแบบยืดหยุ่น (Flexible Schedule) เป็นการจัดตารางสอนที่ไม่กาหนด
ตายตัวว่าจะใช้เวลาในการจัดการเรียนคร้ังนั้นๆ กี่คาบ คาบละกน่ี าทหี รอื กี่ชว่ั โมง การจดั ตารางสอนแบบ
นี้มาจากแนวคิดที่ว่า เนื้อหาวิชา กิจกรรมต่างๆ ใช้เวลาและความพยายามในการเรียนรู้แตกต่างกัน เป็น
การจัดตารางสอนท่ีเน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ โดยยึดหลักจิตวิทยาการเรียนรู้และจิตวิทยาพัฒนาการของ
ผูเ้ รยี น

2.3 การจัดทาแผนการจัดการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรเู้ ป็นเอกสารสาคัญสาหรับผู้สอนที่จะ
นาไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ให้เกิดประสิทธิผลตามที่หลักสูตรกาหนด เนื่องจากแผนการจัดการเรียนรู้จะ
บอกถึงจุดประสงค์การเรียนรู้ สาระการเรียนรู้ กิจกรรมหรือกระบวนการจัดการเรียนรู้ สื่อหรือแหล่งการ
เรียนรู้ การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ และเวลาท่ีใช้ในการจัดการเรียนรู้ไว้อย่างสมบูรณ์ ในการจัดทา
แผนการจดั การเรยี นรู้จาเป็นทผี่ ู้สอนจะต้องทาการวเิ คราะหห์ ลักสูตรสถานศึกษา สาหรับนามาจัดทาเป็น
คาอธิบายรายวิชา หน่วยการจัดการเรียนรู้ และแผนการจัดการเรียนรู้ เพ่ือให้ผู้เรียนมีผลการเรียนรู้และ
พฤติกรรมบรรลุตามจดุ มุง่ หมายทีก่ าหนดในหลกั สูตร

2.4 การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เป็นงานสาคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจเน้ือหาสาระที่
เรียน ในการจัดกิจกรรมแต่ละคร้ังจะต้องพิจารณาถึงจุดประสงค์การเรียนรู้ท่ีกาหนดไว้ในแผนการจัดการ
เรียนรู้ว่าหากต้องการให้ผู้เรียนบรรลุตามจุดประสงค์การเรียนรู้นั้น จะต้องจัดกิจกรรมหรือให้ผู้เรียนปฏิบัติ
กิจกรรมใดบ้าง ในบางครั้งการที่จะให้ผู้เรียนบรรลุจุดประสงค์ใดๆ นั้นอาจจะต้องจัดกิจกรรมในหลากหลาย
รปู แบบทแี่ ตกตา่ งกัน ซึง่ จะมสี ง่ิ ทเ่ี กย่ี วข้องคือ เวลา ทรัพยากรและงบประมาณ ท่ีใช้ในการดาเนินการ

124

3. งานสนับสนนุ และสง่ เสรมิ การใชห้ ลกั สูตร
การนิเทศและการติดตามผลการใช้หลักสูตรในระหว่างการใช้หลักสูตรน้ัน หน่วยงาน

ส่วนกลางในฐานะผู้พัฒนาหลักสูตร จะเปน็ ผู้จัดส่งเจ้าหนา้ ที่ไปให้คาแนะนาเกี่ยวกับการใช้หลักสูตร และ
ติดตามผลการใช้หลักสูตรในโรงเรียนว่าได้ดาเนินการอย่างถูกต้องหรือไม่ และมีปัญหาในการดาเนินการ
อะไรบ้าง พร้อมทั้งหาทางแก้ไข ซึง่ ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์ (2556. น.260-267) สรุปหลักการในการนิเทศการ
ใช้หลกั สตู รไว้ดงั นี้

3.1 ชว่ ยให้ผสู้ อนและบุคลากรที่เก่ียวข้องเข้าใจหลักการและจุดหมายที่แท้จรงิ ของหลักสูตร
วธิ กี ารนิเทศใชก้ ารประชมุ ชี้แจง ปรกึ ษาหารือ เพื่อใหท้ ุกฝ่ายได้มสี ว่ นร่วมในการแสดงความคิดเหน็ ต่อการ
ใช้หลักสูตร

3.2 กระตุ้นผู้สอนใหเ้ ปน็ ผนู้ าทางวชิ าการแกผ่ เู้ รยี นและชุมชนทอี่ ยู่ใกล้เคียง
3.3 ชว่ ยใหผ้ ู้สอนกลา้ แสดงออกในการอภิปรายปัญหาต่างๆ ที่เกดิ จากการนาหลกั สูตรไปใช้
3.4 ช่วยทาใหก้ ารพัฒนาหลกั สูตรสถานศกึ ษาเป็นไปอยา่ งมีประสิทธิภาพ
3.5 จัดกิจกรรมอ่นื ๆ ทส่ี ง่ เสรมิ งานวิชาการ ไดแ้ ก่
3.5.1 การให้รางวัลชมเชยแก่ผู้มีพฤติกรรมดีเด่นหรือมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไป
ในทางทดี่ ีขึ้น
3.5.2 กาหนดนโยบายการให้การบ้านผู้เรียนให้ชัดเจนว่า ควรจัดทาหรือไม่ ถ้าจัดทาควร
จัดในรูปแบบใดที่จะทาให้ผู้เรียนรักในการเรียนรู้ ศึกษาค้นคว้ามากกว่าจะเป็นภาระทั้งของผู้เรียนและ
ผปู้ กครอง
3.5.3 จัดกิจกรรมส่งเสริมด้านคุณธรรมจริยธรรม นอกเหนือจากกิจกรรมท่ีผสู้ อนจัดในช้ัน
เรียน
3.5.4 จัดสรา้ งเครือข่ายวชิ าการภายในสถานศึกษา โดยอาจใชร้ ะบบทางเทคโนโลยีเข้ามา
ใหผ้ ้เู รียนได้รู้จกั และใชง้ าน
ท้ังน้ีวัชรี บูรณสิงห์ (2544. น.125-134) เสนอแนะว่า วิธีการท่ีจะช่วยให้ผู้บริหารม่ันใจได้ว่า
ผู้สอนในโรงเรียนสามารถแปลงหลักสูตรสถานศึกษาสู่การสอนได้ และสามารถนาแผนการจัดการเรียนรู
ไปใช้ไดอ้ ย่างมปี ระสิทธภิ าพก็คือ การนิเทศการใช้หลักสตู รและการสอน ซ่ึงมรี ายละเอียดดงั น้ี
1. ความจาเป็นในการนิเทศการใชห้ ลกั สตู ร
เป็นท่ียอมรับกันแล้วว่า ความสาเร็จของการใช้หลักสูตรน้ันข้ึนกับผู้สอน ซึ่งผู้สอนต้องทาความ
เข้าใจหลักสูตร ใช้หลักสูตรเป็น และสามารถแปลงหลักสูตรสู่การสอนได้ แต่ในความเป็นจริงแล้วพบว่า
หลักสูตรและเอกสารประกอบหลักสตู รมกั จะถกู นามาใชใ้ นวงจากัด ผสู้ อนมักจะใช้หลกั สูตรน้อยหรือไมใ่ ช้

125

เลย หรอื ผสู้ อนบางคนอาจจะไม่เคยเห็นหลักสูตรเลยแม้แต่ครั้งเดยี ว และคิดว่าแบบเรยี นนั้นเป็นหลักสูตร
หากสอนจบตามแบบเรียน คือ สอนได้จบตามหลักสูตร ดังน้ันผู้บริหารจึงจาเป็นต้องจัดให้มีและ
ดาเนินการนิเทศการใชห้ ลักสตู ร เปน็ ผนู้ าในการใชห้ ลักสตู ร ควบคมุ ดแู ล และสง่ เสรมิ ใหผ้ ู้สอนใชห้ ลกั สตู ร
ใหถ้ กู ต้อง เพ่อื ใหผ้ ู้เรียนมีผลการเรยี นบรรลุตามทีจ่ ุดมุง่ หมายของหลกั สตู รกาหนดไว้

2. บทบาทของผบู้ ริหารในการนเิ ทศการใชห้ ลักสตู ร
ผบู้ ริหารสถานศึกษาเป็นบุคคลท่ีมีความสาคัญท่ีสุดในการเป็นผู้นาการใช้หลักสูตร จงึ มีบทบาท
ท่สี าคญั ในการดาเนินการใชห้ ลักสูตร ดงั น้ี
2.1 แนะนาและส่งเสรมิ ให้ผสู้ อนทกุ คนในโรงเรียนได้รู้จัก เข้าใจและนาหลักสตู รไปใช้ ดว้ ยการ
จัดประชมุ ชแ้ี จง และปฏิบัตกิ ารตามหลกั สูตรอยา่ งน้อยปีละ 1 ครง้ั
2.2 จัดให้มีเอกสารหลักสูตรให้ครบถ้วนและมีเพียงพอที่จะให้ผู้สอนได้นาไปใช้ได้อย่างสะดวก
เอกสารหลักสูตรต่างๆ น้ัน ควรได้รับการตรวจสอบทุกปีการศึกษาเพื่อสถานศึกษาจะได้จัดหา เพ่ิมเติม
และปรับปรุงแก้ไขส่วนท่ีไม่ทันสมัยออกไป นอกจากน้ีหากเป็นไปได้ควรจัดให้มีบริการให้คาปรึกษา
เกีย่ วกบั การใช้หลกั สตู รสาหรบั ผู้สอนทีต่ ้องการความชว่ ยเหลือ
2.3 จัดให้มีการประชุมเชิงปฏิบัติการเก่ียวกับการทาแผนการจัดการเรียนรูใ้ ห้ผู้สอนได้มีความรู้
และทาได้อยา่ งถกู ต้อง
2.4 ควบคุมและตรวจสอบการทาแผนการจดั การเรียนรขู้ องผู้สอนทุกคนและทุกรายวชิ า
2.5 ให้ผสู้ อนเขา้ สอนตามเวลา
2.6 กากับ ติดตาม และส่งเสริมให้ผู้สอนดาเนินการจัดการเรียนการสอนให้เปน็ ไปตามแผนการ
จดั การเรียนรู้
2.7 จัดระบบการนิเทศการใช้หลกั สูตรและการนิเทศอย่างสมา่ เสมอ
2.8 คดิ คน้ เทคนิคและเคร่ืองมอื ในการนเิ ทศให้เกดิ ประสทิ ธภิ าพ
2.9 ประเมินผลการนเิ ทศการใชห้ ลักสูตรของผูส้ อนและพยายามหาทางปรบั ปรุงงานอย่เู สมอ
3. วิธกี ารนิเทศการใชห้ ลักสูตร
เป้าหมายของการนิเทศการใช้หลักสูตร คือ การดูแลให้ผู้สอนสามารถนาหลักสูตรไปใชไ้ ด้อย่าง
เหมาะสมถูกต้อง การนิเทศติดตามดูแลการใช้หลักสูตรของผู้สอนอย่างสม่าเสมอจะช่วยให้ผู้บริหาร
สามารถแก้ไขปัญหาการใช้หลักสูตรได้อย่างทันท่วงที และช่วยทาให้นาไปสู่การพัฒนาวิธีปฏิบัติที่
เหมาะสมต่อไป วธิ กี ารนเิ ทศและตดิ ตามการใชห้ ลักสตู รมีหลากหลายวธิ ี ดงั นี้

126

3.1 การเยี่ยมชั้นเรียน การตรวจดูสภาพการจัดการเรียนการสอนของผู้สอนในห้องเรียนนั้น
ผบู้ ริหารสามารถทาไดง้ ่าย เป็นปกติและทาได้อยา่ งสม่าเสมอ ผบู้ รหิ ารส่วนใหญ่ที่มีประสบการณ์ในการบริหาร
มานานย่อมทราบถึงข้อเท็จจริงและสภาพการณ์ต่างๆ ในห้องเรียนได้เป็นอย่างดี แม้แต่เพียงเดินผ่านหน้า
ห้องเรยี นสภาพต่างๆ เหล่านน้ั จะช่วยใหผ้ ูบ้ รหิ ารเข้าใจไดท้ ันทวี ่า ผสู้ อนใชห้ ลกั สูตรได้ถูกต้องหรือไม่

3.2 การสังเกตพฤติกรรมของผู้สอน พฤติกรรมของผู้สอนหรือการแสดงออกของผู้สอนทั้งใน
และนอกหอ้ งเรยี นสามารถใช้เป็นเครือ่ งบง่ บอกถึงการใชห้ ลักสูตรของผสู้ อนได้

3.3 การสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียน พฤติกรรมของผู้เรียนท้ังในและนอกห้องเรียนจะเป็นตัว
บ่งช้ีท่ีชัดเจนว่า การจัดการเรียนการสอนของผู้สอนเป็นอย่างไร การใช้หลักสูตรของโรงเรียนบรรลุ
จุดหมายตามที่ได้ตั้งไว้หรือไม่ หากพฤติกรรมของผู้เรียนไม่เป็นไปตามจุดหมายของหลักสูตร ผู้บริหาร
จะต้องปรับพฤติกรรมการบริหารหลักสูตรของตนและปรบั พฤติกรรมการสอนของผู้สอนด้วยวธิ กี ารตา่ งๆ

3.4 ตรวจสอบแผนการจัดการเรียนรู้ของผู้สอนล่วงหน้าก่อนท่ีผู้สอนจะนาไปใช้สอนจริงว่า
วางแผนได้ถูกต้อง เหมาะสม สอดคล้องตามหลักสูตรหรือไม่ และติดตามผลว่า ผู้สอนได้จัดกิจกรรมการ
เรียนการสอนตามท่บี นั ทึกไวห้ รือไม่

3.5 การรับฟังข้อมูลจากบุคคลอ่ืนๆ เช่น ผู้ปกครอง ศึกษานิเทศก์หรือแม้แต่บุคคลอื่นๆ ใน
โรงเรยี น การรบั ฟังข้อมูลต่างๆ เหลา่ น้ันจะชว่ ยให้เห็นปัญหาหรอื ข้อเทจ็ จริงเกี่ยวกับการจัดการศึกษาของ
โรงเรียน ซึง่ จะเปน็ ทางหนึ่งทีท่ าใหท้ ราบถงึ การใช้หลกั สูตรวา่ มีประสทิ ธภิ าพหรอื ไม่

3.6 สังเกตจากผลการปฏิบัติงานของผู้สอน รวมตลอดถึงการจัดกิจกรรมต่างๆ ของโรงเรียนว่า
จะนาไปสูจ่ ดุ หมายของหลักสตู รมากน้อยเพยี งใด

4. การจัดตั้งศูนย์วิชาการเพ่ือสนับสนุนและส่งเสริมการใช้หลักสูตร ภารกิจที่สาคัญอีกอย่างหนึ่ง
ของหน่วยงานส่วนกลาง ซึ่งเป็นผู้พัฒนาหลักสูตรก็คือ การจัดต้ังศูนย์วิชาการที่จะช่วยส่งเสริมสนับสนุน
ผู้ใช้หลักสูตรให้ดาเนินการใช้หลักสูตรด้วยความม่ันใจ ศูนย์วิชาการดังกล่าวน้ี อาจจัดเป็นลักษณะของ
ศูนย์ให้บริการ แนะนา ชว่ ยเหลอื หรอื จัดตัง้ โรงเรยี นตัวอย่าง

จากข้างต้นจะเห็นได้ว่า งานหลักทั้ง 3 ของการนาหลักสูตรไปใช้คือ งานบริหารและบริการ
หลกั สูตร งานดาเนินการเรียนการสอนตามหลักสตู ร และงานสนับสนุนและส่งเสริมการใชห้ ลักสูตรน้นั เป็น
งานที่ครอบคลุมขอบข่ายท้ังหมดของการใช้หลักสูตร การนาหลักสูตรไปใช้จึงนับว่าเป็นองค์ประกอบที่
สาคัญ เพราะเป็นกระบวนการที่นาหลักสูตรสู่การปฏิบัติ กิจกรรมการเรียนการสอนนับเป็นหัวใจสาคัญ
ของการนาหลักสูตรไปใช้ หลักสูตรจะสัมฤทธ์ิผลตามจุดมุ่งหมายของผู้สร้างหลักสูตรมากน้องเพียงใด
ข้นึ อยู่กับการสอนของครู ขณะเดยี วกัน การสอนของครตู ้องยึดจุดหมายของหลักสูตรเพอ่ื พัฒนาให้ผู้เรียน
มีคุณลักษณะตามท่ีหลักสูตรกาหนด

127

3. ข้นั ตอนการนาหลกั สตู รสู่การปฏิบัติ
ไพฑูรย์ สินลารัตน์ (2554. น.31-34) กล่าวถึงการนาหลักสูตรไปใช้โดยท่ัวไปน้ันมี 3 ขั้นตอน

ดังน้ี
1. การวางแผน
การวางแผนเป็นการจัดเตรียมความพร้อมก่อนการนาหลักสูตรไปใช้ โดยต้องคานึงถึงปัจจัย

ตา่ งๆ ดงั น้ี
1.1 ต้องสร้างความเข้าใจให้ตรงกันท้ังสถานศึกษา โดยการทาความเข้าใจว่า หลักสูตรที่จะใช้

เป็นหลักสูตรลักษณะไหน อย่างไร หลักสูตรนาไปสู่จุดมุ่งหมายหรือเป้าหมายอย่างไร ภาพรวมของ
หลักสูตรมคี วามเกี่ยวข้องสัมพนั ธ์มากน้อยเพยี งไร ในการทาความเข้าใจให้ตรงกนั ทั้งโรงเรียนหรือสถาบัน
ในกรณีท่ีเป็นหลักสูตรใหม่ จาเป็นต้องให้กลุ่มคนที่ไม่อยู่ในกระบวนการพัฒนาหลักสูตรหรือกลุ่มคนท่ีอยู่
ในกระบวนการเพยี ง 50-60 % เขา้ ใจตรงกันว่า หลักสูตรทพ่ี ฒั นาขน้ึ นัน้ มลี ักษณะอยา่ งไร ทีส่ าคัญท่ีสดุ ใน
การทาความเข้าใจคอื การสร้างความเข้าใจให้เห็นแนวคิดพนื้ ฐาน ปรัชญา ความเช่ือของหลักสูตร รวมไป
ถึงการทาความเข้าใจในบทบาท ภาระหน้าที่และข้ันตอนต่างๆ การทาให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันนั้น
โรงเรยี นตอ้ งมีแผนการท่ีชัดเจน

1.2 มกี ารวางแผนท่ีชัดเจนในเรื่องของคนและทรัพยากร โดยจัดวางคนตามกรอบและโครงสรา้ ง
ของหลักสูตรนั้นๆ การจะใช้หลักสูตรได้ต้องจัดวางตาแหน่งงานที่ชัดเจน ในทางปฏิบัติ มักเป็นตาแหน่ง
รองจากผู้บริหารหรือผู้ช่วยมีหน้าที่ที่จะตัดสินใจและดูแลแทนในกรณีท่ีผู้บริหารไม่อยู่ ในขณะเดียวกัน
การวางตาแหน่งบุคลากรอาจเป็นคณะกรรมการหรือบุคคลที่สามารถประสานงานให้หลักสูตรดาเนินไปได้
โดยทวั่ ไปกรรมการบริหารหลกั สตู รจะอย่ภู ายใต้กรอบของฝ่ายวชิ าการโดยตรง โดยมผี ู้บรหิ ารเปน็ ประธาน
และมกี รรมการ จนกระทั่งจัดบุคลากรลงสอนในรายวิชา สว่ นเรื่องทรัพยากรนั้น รวมถึงวัสดุ อุปกรณ์ทจ่ี ะ
ทาให้การเรียนการสอนดาเนินไปได้ “ของ” ท่ีสาคัญอีกประการหน่ึงคือ เอกสาร ซึ่งการวางแผนนั้น
เอกสารจาเป็นต้องมีผู้ดูแลตั้งแต่หลักสูตร หนังสือ แบบฝึกหัด รวมไปถึงคู่มือและแบบฟอร์มต่างๆ ท่ี
จะตอ้ งเตรียมการใหม้ ีและพร้อมใช้งานได้

1.3 มีการวางแผน “ด้านกิจกรรมที่เก่ียวข้อง” นับตั้งแต่กิจกรรมแนะแนว กิจกรรมนอกหลักสูตร
กิจกรรมเกี่ยวกับการพัฒนาบุคลิกภาพ กิจกรรมพัฒนาลักษณะนิสัย กิจกรรมทางด้านลูกเสือ-เนตรนารี และ
กิจกรรมอืน่ ๆ นอกชั้นเรียน ล้วนเป็นกิจกรรมที่ต้องมีแผนดาเนินการที่ชัดเจน แต่ละปีและแต่ละภาคการศึกษา
จะมีกิจกรรมอะไรเกิดข้ึนนอกช้ันเรียน เป็นกิจกรรมท่ีระบุในหลักสูตรใหม่ ในฐานะเป็นกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
โดยระบุว่าต้องมีแผนระยะยาวตลอดท้ังปีของการศึกษาในระดับน้ันๆ กิจกรรมนอกห้องเรียนน้ีเป็นการ
วางแผนท่ตี ้องใชห้ ลายส่งิ หลายอย่าง รวมถงึ บคุ ลากร วัสดหุ รอื อปุ กรณ์ และงบประมาณ

128

1.4 การวางแผนการให้บริการและการประชาสัมพันธ์ งานส่วนใหญ่ของการให้บริการนักเรียน
จะเกี่ยวข้องกับงานบริหาร เช่น การจัดอาคารสถานที่ ห้องอาหาร เป็นต้น ดังน้ันการวางแผนการใช้
หลักสูตรจึงเกี่ยวข้องกับการวางแผนด้านการบริหารจัดการด้วย ซ่ึงการบริหารงานนั้นจะมีผู้มีส่วน
เกี่ยวข้องหลายฝา่ ย แตท่ ้ายท่ีสุดแล้วการตัดสินใจจะขึน้ อยู่กับการจัดโครงสรา้ งการบริหารของสถานศึกษา
นั้นๆ เนื่องจากการนาหลักสตู รไปใช้เกีย่ วข้องกับการเปล่ียนแปลง ซ่ึงมผี ลกระทบต่อผูท้ ่ีเก่ียวข้องมากน้อย
แตกต่างกันไป ดังน้ันจึงมีความจาเป็นที่จะต้องประชาสัมพันธ์ให้ผู้ที่เก่ียวข้องได้ทราบว่า จะมีการ
เปลยี่ นแปลงอันใดเกดิ ข้ึน โดยควรมกี ารวางแผนประชาสัมพันธ์ให้ผู้เก่ียวขอ้ งทราบเปน็ ระยะๆ ซ่ึงสามารถ
ทาได้หลากหลายรปู แบบ เชน่ การประชุม การสมั มนา หรอื ประชาสัมพันธใ์ นรูปแบบต่างๆ

2. การเตรยี มการ
การเตรียมการคือ การจัดระบบ วางระเบียบ บุคลากร งบประมาณ ให้อยู่ในฐานะที่จะใช้ได้
ทันที คือ ต้องประกาศรายชื่อบุคลากรที่จะดูแลงานเพ่ือให้รู้ล่วงหน้า การจัดซ้ือ จัดหาวัสดุอุปกรณ์ให้
พร้อมที่จะดาเนินการ การจัดเตรียมหลักฐานเอกสาร ข้อมูล ฟอร์มต่างๆ ให้พร้อมใช้ทันที การจัดส่ิง
อานวยความสะดวกสาหรับกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน พฒั นาคุณภาพ ตามข้ันตอนและความจาเป็นท่ีจะมีอยู่
การเตรียมการบริหารท้ังหลายสาหรับความเป็นอยู่ของคนในสถานที่อย่างครบถ้วน สิ่งสาคัญคือ การ
ทดสอบความพร้อมของสิ่งทั้งหลายนน้ั ใหช้ ัดเจน
3. การดาเนินงาน
การดาเนินงานการใช้หลักสูตรเกย่ี วข้องกับเรอื่ งของ “เวลา” คือ การดาเนินงานตามเวลาที่วาง
ไว้ทุกข้นั ตอน กระบวนการของหลักสูตรจะเร่ิมตั้งแต่ กระบวนการรบั นักเรียน การจดั นักเรียนเข้าช้ัน การ
ปฐมนิเทศ ไปจนถึงการเข้าช้ันเรียน การดาเนินการน้ีทาตั้งแต่ในชั้นเรียน ด้านวัสดุอุปกรณ์ ครูอาจารย์
จนถึงนอกชั้นเรียน เช่น การรับประทานอาหาร และการดูแลเวลาท่ีนักเรียนอยู่ในโรงเรียนแต่อยู่นอกช้ัน
เรียน รวมถึงการติดตามนักเรียนเมื่อออกนอกโรงเรียนไปแล้วด้วย สิ่งที่ควรพิจารณา คือ ชั่วโมงแรก วัน
แรก สัปดาห์แรก เดือนแรก เทอมแรก ถ้าส่ิงที่เป็นครั้งแรกดาเนินการไปได้แล้วเรื่องอ่ืนๆ ก็จะดาเนินไป
ตามขั้นตอนไดต้ ามระบบ
ในระหว่างดาเนินการใช้หลักสูตรน้ัน หน่วยงานต่างๆ หรือผู้บริหารควรจะได้จัดให้มีการ
สนับสนุนและส่งเสริมการใช้หลักสูตร เพ่ือรับทราบปัญหาและหาแนวทางแก้ปัญหา ซึ่งสามารถใช้การ
นิเทศและติดตามผลการใช้หลักสูตรนั้น ด้วยการให้คาแนะนาและช่วยเหลือแก่ผู้สอน เพ่ือให้สามารถ
ดาเนินการใชห้ ลักสตู รไดอ้ ยา่ งถูกต้อง

129

4. บทบาทของบคุ คลท่เี กี่ยวข้องในการนาหลกั สตู รไปใช้
จากงานท่ีเกี่ยวข้องกับการใช้หลักสูตรท่ีกล่าวมาแล้ว จะเห็นว่างานเหล่าน้ันเก่ียวข้องกับบุคคล

ตา่ งๆ ในหลายส่วน ซง่ึ แต่ละบคุ คลจะมีบทบาทในการนาหลักสตู รไปใช้แตกตา่ งกัน ดงั นี้
1. นกั วิชาการ
นักวิชาการและศึกษานิเทศก์เป็นบุคคลที่ให้การสนับสนุนอีกฝ่ายหนึ่ง ซ่ึงมาจากภายนอก

โรงเรียน มีบทบาทในการประสานงาน ให้ความช่วยเหลือ ให้การนะนาแก่ผู้สอน จึงมีบทบาทดังนี้ (ฆนัท
ธาตุทอง. 2556. น.272)

1.1 ช่วยพัฒนาครูให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้หลักสูตรและดาเนินงานการเรียนการ
สอนตามเจตนารมณ์ของหลักสูตร

1.2 ทาการนิเทศติดตามผลการใช้หลักสูตรในหน่วยงานที่ใช้หลักสูตร รวมท้ังทาหน้าที่
ประเมินผลหลักสูตรอกี ดว้ ย

1.3 ให้การสนับสนุนและสง่ เสริมการดาเนนิ การใชห้ ลักสตู ร โดยการให้บริการวัสดุหลกั สูตรและ
ใหก้ าลังใจแก่ผูน้ าหลักสูตรไปใช้

2. ผู้บริหารสถานศกึ ษา
ผู้บริหารสถานศึกษาต้องคานึงถึงการควบคุมและการใช้หลักสูตรให้มีประสิทธิภาพบรรลุตาม
จุดมุ่งหมายของหลักสูตร ดงั นี้ (อมรา เล็กเริงสทิ ธุ์, 2540. น.150-152)
2.1 การส่งเสริมให้เกิดความเข้าใจ ผู้บริหารจาเป็นจะต้องเป็นผู้นาในการใช้หลักสูตร จะต้อง
จัดใหม้ ีการประชุมชแี้ จง ทบทวนการปฏิบัตติ ามหลักการ จดุ หมายของหลักสตู ร และจุดมุ่งหมายของกลุ่ม
สาระการเรียนรูต้ ่างๆ โดยผู้บริหารต้องมีการประชุมชี้แจงและปฏิบัตกิ ารเตรียมการใช้หลักสูตรอย่างน้อย
ปีละ 1 คร้ัง กอ่ นเร่มิ ปกี ารศกึ ษา รวมทั้งประชาสัมพนั ธ์หลกั สตู รใหม่ใหผ้ ู้ปกครองและผู้เรียนทราบ เพอื่ จะ
ไดส้ ง่ เสรมิ ใหก้ ารใชห้ ลกั สตู รเกิดผลดยี ิง่ ข้นึ
2.2 การบริการเก่ียวกับหลักสูตร เอกสารหลักสูตรประกอบด้วย เอกสารหลักสูตร คู่มอื การใช้
หลักสูตร คมู่ ือการวดั ผลประเมนิ ผล จุดประสงค์การเรียนรูร้ ายวชิ าต่างๆ และเอกสารอืน่ ๆ ควรจดั ไวใ้ นที่ท่ี
ผสู้ อนทุกคนสามารถหยิบไปใช้ได้สะดวก ซึง่ วชั รี บูรณสงิ ห์. (2544. น.47-49) เสนอว่า การให้บรกิ ารและ
จัดทาวัสดุหลักสูตรน้ัน ผู้บริหารในฐานะผู้นาการใช้หลักสูตร ซึ่งนอกจากจะต้องทาความเข้าใจเก่ียวกับ
หลักสูตรแล้วยังต้องทาหน้าที่ในการบริหารหลักสตู รด้วย ในหน้าที่นี้งานแรกและเป็นงานที่สาคัญก่อนเริ่ม
งานอื่นๆ ก็คือ การหาวิธีการที่จะทาให้ผู้สอนและผู้เก่ียวข้องมีความรู้ความเข้าใจในหลักสูตร กิจกรรมท่ี
สามารถทาได้มีหลายวิธี เช่น อาจใช้วิธีช้ีแจงให้ทราบเป็นลายลักษณ์อักษร อาจเรียกประชุมช้ีแจงหรือจัด

130

บรรยาย อบรมหรอื สัมมนาเก่ียวกับความรู้ทางด้านหลักสูตรและแนวทางปฏิบัติ รวมตลอดทงั้ การประชุม
เชิงปฏบิ ตั ิการเพ่ือแปลงหลกั สตู รสูก่ ารสอนดว้ ย

2.3 การบริหารเก่ียวกับอาคารสถานที่ เม่ือผู้สอนมีความเข้าใจหลักสูตรชัดเจนแล้ว ผู้บริการ
และกรรมการวชิ าการของสถานศึกษาจะต้องร่วมกันพจิ ารณาถงึ สิง่ ท่คี วรปรบั ปรงุ เชน่ อาคารสถานทแี่ ละ
กาหนดการใช้ให้เหมาะสม การเรียนการสอนในบางรายวิชาอาจต้องมีห้องพิเศษ เช่น ห้องเรียนศิลปะ
ห้องปฏิบัติการการงานอาชีพและเทคโนโลยี ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ ห้องปฏิบัติการทางภาษา ห้อง
พุทธศาสนา เปน็ ตน้ ซ่ึงการเตรยี มสถานที่ท่ดี จี ะชว่ ยให้การจดั การเรยี นการสอนมปี ระสิทธภิ าพยิ่งขึ้น

2.4 การสนบั สนนุ ด้านวัสดุอุปกรณ์และเอกสารประกอบการสอน หัวหน้ากลุ่มสาระการเรยี นรู้
และผู้สอนแต่ละรายวิชาจะต้องช่วยกันคิดทารายการเสนอผู้ช่วยฝ่ายวิช าการพิจารณาขอต้ังงบประมาณ
กรรมการงบประมาณจะช่วยกันพิจารณาจัดให้ตามความเหมาะสมและจาเป็น ผู้อานวยการสถานศึกษา
ผู้ช่วยฝ่ายวิชาการและหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้จะต้องคอยควบคุมดูแลให้การใช้วัสดุอุปกรณ์ในการ
เรียนการสอนเป็นไปอยา่ งมปี ระสทิ ธภิ าพตรงตามโครงการท่ีวางแผนไว้

2.5 การนิเทศการสอน กระบวนการนาหลักสูตรไปใช้น้ัน จุดสาคญั อย่างหนึ่งอยู่ท่ีการเรยี นการ
สอน การปรับปรุงวิธีสอนของผู้สอนให้ก้าวทันและสอดคล้องกับหลักสูตร เป็นวิธีการท่ีค่อนข้างซับซ้อน
และต้องใช้เวลาในการนิเทศกันเองภายในโรงเรียน ซึ่งอาจได้ผลในระดับหนึ่ง ผู้บริหารจึงควรส่งเสริมให้
ผู้สอนได้เข้ารับการอบรมทางวิชาการในเร่ืองต่างๆ เช่น การพัฒนาหลักสูตรท้องถ่ิน การจัดการเรียนรู้ที่
เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ การวิจัยในช้ันเรียน การสอนซ่อมเสริม การจัดการช้ันเรียน จิตวิทยาในการจัดการ
เรยี นรู้ เปน็ ต้น ซ่ึงผู้บรหิ ารงานวชิ าการจะต้องรู้จกั การกระตนุ้ สง่ เสรมิ สนบั สนนุ และให้กาลงั เพ่ือใหผ้ ู้สอน
เกิดความรสู้ ึกอยากปรับปรงุ การสอนของตน

3. หัวหน้าหมวดหรือหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ ควรดาเนินการส่งเสริมการใช้หลักสูตร ดังนี้
(ฆนทั ธาตทุ อง. 2556 น.273)

3.1 ศึกษารายละเอยี ดและทาความเข้าใจเกยี่ วกบั หลกั สตู รที่ตนเองรบั ผดิ ชอบ
3.2 พัฒนาครใู นกล่มุ สาระการเรียนรู้น้นั ๆ ให้มีความรู้ ความเขา้ ใจในการใชห้ ลกั สตู ร
3.3 ช่วยวางแผนและจัดทาแผนการจัดการเรียนรูท้ ี่สอนคล้องกบั หลักสูตร
3.4 กากบั ดูแลให้ครใู ช้หลักสูตรตามทก่ี าหนด รวมทง้ั การใช้สอ่ื อปุ กรณ์ท่เี ก่ียวข้องกบั หลกั สูตร
3.5 จัดหาวสั ดุ สื่อการเรยี นการสอนใหบ้ รกิ ารแก่ครทู อ่ี ยภู่ ายในระดบั ช้นั เรยี นเดยี วกัน
3.6 ดาเนินการนิเทศ ประเมินผลหลักสูตร และติดตามผลการใช้หลักสูตรของครูภายใน
ระดับชน้ั เรียนอยา่ งสมา่ เสมอ
3.7 ทาการประสานงานการใช้หลักสูตรกับกลุม่ สาระการเรียนรูอ้ นื่ หรือระดับชัน้ อน่ื ๆ

131

4. ครูผู้สอน เป็นจักรกลสาคัญท่ีสุดในการนาหลักสูตรไปใช้ ดังน้ันผู้สอนจึงตอ้ งพัฒนาตนเองให้
มีศักยภาพที่เหมาะสมสอดคล้องกับหลักการ จุดมุ่งหมายของหลักสูตร เพ่ือให้การใช้หลักสูตรประสบ
ผลสาเร็จ โดยมีหน้าที่ในการนาหลักสูตรไปสู่การปฏิบัติ ดังนี้ (ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. 2556. น.271-272
และฆนทั ธาตทุ อง. 2556. น.273-274)

4.1 มีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตรท้ังในทางตรงและทางอ้อม โดยทางตรงครูจะเข้าร่วมใน
การพัฒนาหลักสูตรทั้งท่ีเป็นส่วนกลางหรือส่วนภูมิภาคจัดทาข้ึน ส่วนในทางอ้อมครูจะเป็นผู้ติดตามผล
การใช้หลักสูตรอย่างใกลช้ ิด และเสนอให้นักพฒั นาหลักสตู รดาเนนิ การพัฒนาหลกั สูตรต่อไป

4.2 ศึกษาทาความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ จุดมุ่งหมาย โครงสร้าง และแนวการดาเนินการของ
หลักสตู รใหม่ รวมท้ังรว่ มการประชุมสมั มนา เร่ืองการนาหลักสตู รไปใช้

4.3 วิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด ศึกษาทาความเข้าใจและเลือกวิธีสอนท่ีเอ้ือต่อ
หลักสูตรและสอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้ ใช้เทคนิควิธีสอน กระบวนการเรียนรู้อย่างหลากหลาย
และเหมาะสม มีการวัดและประเมินผลเป็นระยะๆ สาหรับการนามาปรับปรุงแก้ไข นอกจากนี้
ประสิทธิภาพส่วนหนึ่งขึ้นอยูก่ บั การเอาใจใส่ และความต้ังใจตอ่ การสอนของผูส้ อนเอง

4.4 ศึกษา ค้นควา้ และแสวงหาแนวทางและวิธีการใหมๆ่ มาใช้จดั การเรยี นการสอน
4.5 ออกแบบและวางแผนการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับกาลสมัย และก้าวทันต่อการ
เปลย่ี นแปลงของวทิ ยาการใหม่ๆ
4.6 ศึกษาแผนการจัดการเรียนรู้ คูม่ ือครู และเตรยี มการสอน โดยจดั กิจกรรมการเรยี นการสอน
ตามแนวทางท่ีหลักสูตรกาหนด และตอ้ งถอื วา่ หลักสูตรเปน็ แม่บททค่ี รูจะต้องนาเอาไปใช้
4.7 ใช้แหล่งเรียนรู้ท่ีมีอยู่ในโรงเรียนและในท้องถ่ิน ให้เป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอนให้
มากทส่ี ดุ
4.8 ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความเข้าใจในชุมชนของตน และชุมชนอ่ืนๆ และเข้าไปมีส่วนร่วมและ
ร่วมมือในกิจกรรมตา่ งๆ อนั เปน็ ประโยชน์ตอ่ สังคมและชมุ ชนของตน
4.9 ประเมินผลหลกั สูตรทุกบทเรียนและทุกคร้ังเมื่อได้ทาการสอน เพื่อจะได้นาผลการประเมิน
มาใชใ้ นการพฒั นาหลกั สูตรตอ่ ไป
4.10 ประสานงานกับครูในรายวิชาเดียวกัน เพ่ือร่วมมือในการสร้างสรรค์เน้ือหาและกิจกรรม
การเรยี นการสอนใหเ้ หมาะสมกลมกลนื เป็นมาตรฐานที่ใกลเ้ คยี งกนั
4.11 รายงานผลการใช้หลกั สูตรต่อผู้มีอานาจ ซึ่งได้แก่ ผู้บริหารโรงเรยี นอยา่ งสม่าเสมอ รวมท้ัง
ประชมุ ปรกึ ษาหารอื เพื่อการพัฒนาหลกั สตู รร่วมกันท้ังฝา่ ยบรหิ ารและเพ่ือนครู

132

4.12 พยายามคิดค้นหาวิธีการท่ีเหมาะสมหรือวิธีการท่ีมีประสิทธิภาพที่จะทาให้หลักสูตรที่
นามาใช้บงั เกิดผลดตี ่อผู้เรยี นให้มากทีส่ ดุ

4.13 การพัฒนาหลักสูตรระดับห้องเรียน เป็นการแปลงหลักสูตรสู่การสอนด้วยการวิเคราะห์
หลักสูตร การวางแผนการสอนให้สอดคล้องกับสภาพท้องถิ่น ได้ผลงานเป็นเอกสารประกอบหลักสูตรต่างๆ
เช่น โครงสร้างการสอน แนวการสอน แผนการสอน ค่มู อื ครู สื่อการเรยี นการสอน เครอ่ื งมือวดั และประเมินผล

4.14 การจัดสภาพและบรรยากาศในห้องเรียน เป็นส่ิงที่ช่วยเสริมให้มีแรงจูงใจภายนอกแก่
ผเู้ รียน แม้ว่าการเรยี นรใู้ นแตล่ ะรายวิชาจะมีความแตกต่าง แตใ่ นภาพรวมยังมีสิ่งอ่ืนๆ ท่ชี ่วยเก้ือหนนุ ให้มี
ประสิทธิภาพดีขึ้นได้ เช่น การตกแต่งห้องเรียนอย่างเหมาะสม การใช้สื่อการเรียนการสอน การจัดมุม
ประสบการณ์ การจัดปา้ ยนิเทศ และการจัดแสดงผลงานผเู้ รียน เปน็ ตน้

5. บุคลากรอื่น บุคคลท่ีเกี่ยวข้องกับการศึกษา มีทั้งบุคคลภายในสถานศึกษา เช่น บรรณารักษ์
นักเทคโนโลยีทางการศึกษา นักวัดผลการศึกษา นายทะเบียน นักแนะแนวการศึกษา เป็นต้น และ
บุคคลภายนอกสถานศึกษา เช่น ผู้ปกครองนกั เรียน วิทยากรท้องถ่นิ และภูมิปัญญาทอ้ งถิ่น เป็นต้น บคุ คล
เหลา่ นีม้ บี ทบาทหนา้ ทีเ่ ก่ยี วขอ้ งกับการใชห้ ลกั สูตร ดงั น้ี (ฆนัท ธาตุทอง. 2556. น.274-275)

5.1 บคุ คลภายในสถานศกึ ษา บทบาทหนา้ ท่ีของแตล่ ะบคุ คลในสถานศึกษามีความแตกตา่ งกัน
ไปตามลักษณะงาน แตโ่ ดยสรุปแลว้ จะมีหนา้ ทเี่ ก่ียวข้องกบั การใช้หลกั สตู ร ดังน้ี

5.1.1 ช่วยเหลือผู้บริหารโรงเรียนและครูในการอานวยความสะดวกและจัดเตรียมส่ือ
อปุ กรณ์ทีเ่ ก่ียวข้องกบั การใชห้ ลกั สตู ร

5.1.2 แนะนาผู้บริหาร ครู และนกั เรียนให้เกิดความเข้าใจและมีความพร้อมในการใช้หลักสูตร
5.2 บุคคลภายนอกสถานศกึ ษา มบี ทบาทหน้าท่เี ก่ียวข้องกบั การใช้หลักสตู ร ดังนี้

5.2.1 ให้ความร่วมมือกับโรงเรียนในทุกๆ ด้าน เพื่อการตรวจสอบหลักสูตรท่ีนามาใช้กับ
ผูเ้ รยี นในความปกครอง

5.2.2 ใหค้ วามสนใจหลักสูตรท่นี ามาใช้และเสนอปัญหาและข้อควรแก้ไขให้กับโรงเรยี นและ
หน่วยงานท่เี กยี่ วข้องกบั หลักสูตร

5.2.3 ให้การสนับสนุนการนาหลกั สูตรไปใช้ เช่น การให้ความช่วยเหลือเก่ียวกับวัสดุ แหล่ง
วทิ ยาการ สถานประกอบการ การเปน็ วทิ ยากรพิเศษ เป็นตน้

จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นได้ว่า มีบุคคลหลายฝ่ายที่มีบทบาทในการนาหลักสูตรไปใช้ หากบุคคล
ทุกฝ่ายท่ีกล่าวมาได้ปฏิบัติหน้าท่ีของตนอย่างสมบูรณ์ ก็พอจะเป็นที่คาดการณ์ได้ว่า การใช้หลักสูตรจะ
เปน็ ไปอย่างมีประสิทธิภาพและมีปัญหาเกดิ ขึ้นน้อย อันจะช่วยใหก้ ารนาหลกั สูตรไปใช้ประสบความสาเร็จ
ตามจุดมุ่งหมายท่ตี ง้ั ไวไ้ ดม้ ากท่สี ุด

133

5. ปัญหาการนาหลกั สูตรไปใช้
ปัญ หา ก าร น าห ลั ก สู ตร ไ ปใ ช้มี ม าก ก มา ยซึ่ ง เป็ น อุป ส ร ร คต่ อ กา รจั ด กา ร เรี ยน ก าร ส อน ท่ี มี

ประสิทธิภาพ ซึง่ ขอนาเสนอทั้งในมมุ มองของนักวิชาการและผลงานวจิ ยั ดงั น้ี

ประเดน็ มมุ มองของนักวิชาการ
ใจทิพย์ เช้ือรัตนพงษ์ (2539. น.157-158) กล่าวถึงปัญหาในการนาหลักสูตรไปใช้ในโรงเรียน
เก่ยี วกับบคุ คลหลายฝา่ ยดังน้ี

1. ปญั หาด้านผู้บรหิ ารโรงเรียน
1.1 ผบู้ ริหารมคี วามรู้ความเข้าใจในหลกั สูตรนอ้ ยทาใหไ้ มส่ ามารถสนับสนุน การจัดกจิ กรรม

การเรียนการสอนไดด้ เี ท่าทค่ี วร
1.2 ผู้บริหารไม่มีความรคู้ วามสามารถในการนิเทศและให้คาแนะนาเก่ยี วกับการใช้หลักสูตร

แกค่ รหู รอื นิเทศน้อยไม่ทวั่ ถึงและไม่ต่อเน่ือง
1.3 ผู้บริหารไม่ได้ให้การสนับสนุนการใช้หลักสูตรของคณะครู เช่น จัดครูเข้าสอนไม่

เหมาะสม ไม่ไดส้ นับสนุนการพัฒนาบุคลากรในโรงเรียน

2. ปัญหาดา้ นครู
2.1 ครูขาดความร้คู วามเข้าใจเกยี่ วกับตวั หลักสตู ร
2.2 ครูไม่ยอมเปลี่ยนพฤตกิ รรมการสอนให้สอดคล้องกับหลักสูตร ยังคงยึดวิธีการสอนแบบ

ครูเปน็ ศูนยก์ ลาง
2.3 ครไู ม่มีเวลาศึกษาหลกั สตู รกอ่ นสอน

3. ปญั หาดา้ นศกึ ษานิเทศก์
3.1 ดาเนนิ การนเิ ทศการใช้หลกั สูตรไมท่ ่ัวถึง
3.2 ศึกษานิเทศก์ไม่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตรอย่างถ่องแท้ และไม่มีความรู้

ความสามารถในการนเิ ทศและให้คาปรึกษาแก่ครูเทา่ ที่ควร

134

4. ปัญหาด้านหน่วยงานส่วนกลาง หน่วยงานส่วนกลางในท่ีน้ีหมายถึงหน่วยงานในระดับ
จงั หวัดและระดบั อาเภอ

4.1 ส่งเอกสารหลักสูตรและเอกสารประกอบล่าช้า และไม่เพียงพอต่อความต้องการของ
โรงเรียน

4.2 ขาดการประชาสมั พันธ์หลกั สูตร
4.3 ขาดงบประมาณท่จี ะสนับสนนุ การใชห้ ลกั สูตร
4.4 การฝึกอบรมให้ความรู้และทักษะเก่ียวกับการนาหลักสูตรไปใช้แก่ครูและบุคลาการที่
เกีย่ วข้องไม่ท่วั ถงึ

นอกจากนี้วิชัย วงษ์ใหญ่ (2542. น.125-126) ให้ข้อคิดเกี่ยวกับสภาพปัญหาการนาหลักสูตร
ทอ้ งถนิ่ ไปใช้ ในกรณีที่ไม่กล่าวถงึ งบประมาณ สรุปได้ดังนี้

1. ปัญหาด้านบุคลากร ได้แก่ ศึกษานิเทศก์ ซ่ึงมีบทบาทส่วนใหญ่มักจะเป็นการนิเทศ
การศึกษาและติดตามประเมินผล มีการดาเนินงานด้านพัฒนาหลักสูตรบ้างแต่ไม่เน้นเร่ืองของท้องถิ่น
นกั วิชาการในท้องถิ่นมีจานวนนอ้ ย ผู้บรหิ ารโรงเรียนส่วนใหญไ่ มเ่ ข้าใจในหลกั การ ผสู้ อนใช้เวลาส่วนใหญ่
อยใู่ นชั้นเรียน เม่อื มีเวลาว่างตอ้ งรีบทางานธุรการในชั้นเรียน ตรวจงานและทางานอื่นๆ ที่ได้รบั มอบหมาย
จึงมเี วลาค่อนขา้ งน้อย นอกจากน้ีไม่มีการสารวจและจดั เกบ็ ในแฟ้มขอ้ มลู เกี่ยวกับภมู ิปญั ญาท้องถ่นิ จงึ ทา
ให้บางครั้งเมอื่ ไปติดตอ่ หรอื เชญิ อาจตดิ ภารกิจที่เป็นงานอาชพี ของตนเอง

2. ปัญหาด้านกระบวนการดาเนินงาน ในสภาพความเป็นจริงบุคลากรภายในท้องถิ่นจานวน
นอ้ ยทีม่ ีความรู้ความเข้าใจอย่างแท้จรงิ จึงมักเกิดปัญหาว่าจะทางานอย่างไรหรือทางานด้วยความไม่มั่นใจ
เกรงว่าจะมขี ้อบกพรอ้ มหรอื ทางานผดิ พลาด

3. ปัญหาด้านความคดิ สรา้ งสรรค์ บคุ ลากรทางการศึกษาหรือผนู้ าหลกั สูตรไปใช้โดยสว่ นใหญ่
แล้วยังคุ้นเคยกับการรับความช่วยเหลือจากผู้ท่ีเก่ียวข้องหรือผู้อื่น ถ้าปฏิบัติมักจะทาตามต้นแบบหรือ
ดัดแปลงจากต้นแบบ

135

ประเด็นผลงานวจิ ัยที่เก่ยี วขอ้ งกบั ปัญหาการนาหลักสตู รไปใช้
1. ปัญหาการเตรียมความพรอ้ มในการนาหลักสตู รไปใช้

1.1 ปัญหาการเตรียมความพร้อมให้กับผู้บริหาร ประสิทธ์ิ บรรณศิลป์ (2545. บทคัดย่อ)
วิจัยความพร้อมในการใช้หลักสูตรการศึกษาข้ันพ้ืนฐานของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษา
สังกัดกรมสามัญศึกษา พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาโดยรวมมีความพร้อมในการนาหลักสูตรไปใช้ในระดับ
ปลานกลางท้ัง 3 ด้าน คือ ด้านการบริหารหลักสูตร ด้านการนาหลักสูตรไปใช้ และด้านการสนับสนุน
ส่งเสริมการใช้หลักสูตร และทุกกิจกรรมมีความพร้อมในระดับปานกลาง โดยผู้บริหารในสถานศึกษาที่มี
ระดับการศึกษาต่างกัน มีอายุราชการต่างกันและโรงเรียนขนาดต่างกัน มีความพร้อมในการใช้หลักสูตร
ต่างกัน และกรมวิชาการ (2546) ทาการวิจัยพบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาในระดับประถมศึกษา มีความรู้
ความตระหนักในการจัดการหลักสูตร ความเป็นผู้นาทางวิชาการ และทักษะในการบริหารหลักสูตรอยู่ใน
ระดับปานกลาง

1.2 ปัญหาการเตรียมผู้สอนและส่ือการเรียนรู้ กรมวิชาการ (2546) ได้วิจัยติดตาม และ
ประเมินผลการใช้หลักสูตรระดับมัธยมศึกษา พบว่า ผู้สอนมีความรู้ความเข้าใจในหลักสูตรไม่ชัดเจน มี
ภาระงานพเิ ศษมาก ขาดแคลนผู้สอนในวิชาหลกั ได้แก่ คณติ ศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสถานศกึ ษานาร่อง
และเครือขา่ ยเพียงร้อยละ 43 เทา่ นน้ั ท่มี สี อ่ื การเรียนร้ตู ามหลกั สตู รอยา่ งเพยี งพอ

2. ปัญหาระหว่างการนาหลกั สูตรไปใช้
2.1 ปัญหาการนาภูมิปัญญาท้องถ่ินมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ ชูศักด์ิ ติวุตานนท์ (2546.

บทคดั ย่อ) ศกึ ษาปัญหาการนาภูมิปัญญาท้องถ่ินมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ พบว่า การนาภูมิปญั ญาทอ้ งถ่ิน
เขา้ มามสี ่วนรว่ มในการจัดการเรียนรมู้ ีการปฏิบัตใิ นระดบั ตา่ สุด และมปี ัญหามากท่ีสดุ ในการนาภูมิปัญญา
ท้องถิ่นไปใช้ในชีวิตประจาวนั ซ่ึงถาวร คาทะแจ่ม (2545. บทคดั ยอ่ ) ใหข้ ้อเสนอแนะจากการวจิ ยั ว่า ควร
สรา้ งความตระหนกั ให้ผู้เกยี่ วข้องทุกฝ่ายและมีการจัดทาข้อมูลทางการศึกษาภมู ิปัญญาทอ้ งถนิ่ และแหล่ง
เรยี นรตู้ า่ งๆ

2.2 ปญั หาการจัดการเรียนรู้และการวัดและประเมนิ ผล ชัยวฒั น์ สทุ ธริ ัตน์ (2546. น.172-
174) ศึกษาปัญหาการนาหลักสูตรสถานศึกษาไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ พบว่า ปญั หาในโรงเรยี นทุกขนาด
ผู้สอนไม่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการสอน ขาดส่อื และแหล่งเรียนรู้ ขาดเอกสารประกอบการเรียนรู้ ผ้สู อน
ไมเ่ ขา้ ใจการวดั และประเมนิ ผลการเรยี นรู้ทีถ่ ูกตอ้ ง จึงควรมกี ารพฒั นาทักษะการจดั การเรยี นรใู้ หแ้ กผ่ ้สู อน
มีการนิเทศติดตามการจัดการเรียนรู้ จดั ทาเส่ือการเรียนรู้และอบรมการเขียนแผนการจัดการเรยี นร้ใู ห้แก่
ผูส้ อนในโรงเรียน โดยเฉพาะโรงเรียนขนาดเล็ก อีกทั้งถาวร คาทะแจ่ม (2545. บทคัดย่อ) วจิ ัยพบว่า ครู

136

ไม่มีความมั่นใจในการนาหลักสูตรไปใช้ ผู้เข้าร่วมทุกฝ่ายยังขาดความเข้าใจในวิธีการ กระบวนการและ
ข้นั ตอนการดาเนินงาน เช่นเดียวกับที่กรมวิชากร (2545) วิจยั พบว่า บคุ ลากรในโรงเรียนมีความเข้าใจใน
เรื่องการใช้กระบวนการวิจัยในการเรียนรู้และการออกหน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการในระดับน้อย
และมณนิภา ชุติบุตร (2546) วิจัยพบว่า ปัญหาสาคัญของการนาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พทุ ธศักราช 2544 ไปใช้ คือ ครูขาดความรู้ ความเข้าใจเก่ียวกับหลักสตู ร เอกสารบางกลมุ่ สาระการเรียนรู้
ยังไม่มีประสิทธิภาพ สื่อการสอนที่ใช้ยังไม่ทันสมัยและดึงดูดความสนใจของผู้เรียน ผู้เรียนแต่ละห้องมี
จานวนมากทาใหด้ ูแลไดไ้ ม่ท่ัวถึง และการประชาสัมพันธ์ยังมีนอ้ ย

2.3 ปัญหาการนิเทศติดตามการใช้หลักสูตร กรมวิชาการ (2546) ทาการวิจัยเพื่อติดตาม
และประเมินผลการใช้หลักสูตร พบว่า สถานศึกษาในระดับมัธยมศึกษา ขาดผู้นิเทศที่มีความรู้ ความ
ชานาญ และมปี ระสบการณใ์ นการนิเทศ ซึ่งถาวร คาทะแจ่ม (2545. บทคัดยอ่ ) วิจัยพบวา่ โรงเรียนขาด
การวางแผนการนิเทศ กากับ ติดตามโรงเรียนระหว่างการนาหลักสูตรไปใช้ อีกทั้งมณนิภา ชุติบุตร
(2546) วจิ ยั พบว่าศกึ ษานเิ ทศกใ์ หก้ ารนเิ ทศคอ่ นขา้ งน้อย

กล่าวโดยสรุปแล้ว ปัญหาในการนาหลักสูตรไปใช้นั้นมีในทุกข้ันตอนของการใช้หลักสูตร
โดยเฉพาะขั้นการเตรียมความพร้อมในการนาหลักสูตรไปใช้ ซ่ึงมีปัญหาในการเตรียมความพร้อมให้กับ
ผู้บริหารและผู้สอน รวมท้ังการเตรียมส่ือการเรียนรู้ และแหล่งเรียนรู้ต่างๆ และปัญหาในระหว่างการนา
หลักสูตรไปใช้ ได้แก่ ปัญหาการนาภูมิปัญญาท้องถ่ินมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ ปัญหาการจัดการเรียนรู้
ปัญหาการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ และปัญหาใหญ่อีกประการหน่ึงคือ การนิเทศติดตามการใช้
หลกั สตู รท่ไี ม่เปน็ ปจั จุบนั และตอ่ เน่อื ง

6. รปู แบบการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้หลกั สูตร
จากปัญหาการนาหลักสูตรไปใช้ที่ได้กล่าวมากแล้วนัน้ ผู้เกี่ยวข้องกับการใช้หลักสูตรควรตระหนัก

และหาแนวทางแก้ไข ซึ่งแม็กนีล (McNeil, 1981. P.138-143) เสนอรูปแบบการเปล่ียนแปลงพฤติกรรม
ในการใชห้ ลกั สูตร ดังนี้

1. รูปแบบการวิจัยพัฒนา (Research and Development Model) เป็นรูปแบบท่ีนิยมกันมาก
รูปแบบการเปลี่ยนแปลงแบบน้ี เปน็ การพัฒนาและการวิจัยเกี่ยวกับหลกั สูตรหรือโปรแกรมการเรยี นต่างๆ
จากมหาวิทยาลัยหรือหน่วยงานต่างๆ เม่ือมีการตรวจสอบคุณภาพแล้วจึงทาการเผยแพร่ไปยังหน่วยงาน
ตอ่ ไป โดยการฝึกอบรมใหก้ ับบคุ คลอ่ืนต่อๆ กันไป รปู แบบนมี้ ีจุดอ่อนทผี่ ้ใู ชห้ ลักสตู รอาจไมเ่ ขา้ ใจชดั เจน

137

2. รูปแบบการพัฒนาแบบผสมผสาน (Integrative development Model) รูปแบบการพัฒนา
น้ีดาเนินการกับผู้สอนภายในห้องเรียนหลังจากนั้นจึงออกไปสู่สังคมภายนอก โดยผู้สอนร่วมวิเคราะห์
สภาพปัญหา จากนั้นผู้นาในการพัฒนาหลักสูตรจะเสนอแนะให้ผู้สอนเห็นแนวทางการแก้ปัญหาน้ัน ซ่ึง
เป็นการผสมผสานความคิดต่างๆ ท่ีจะนาไปสู่การปฏิบัติต่อไป จุดอ่อนของรูปแบบนี้คือ การสิ้นเปลือง
เวลาในการดาเนินการ และการเปลี่ยนแปลงเจตคติ ทักษะของผู้สอน และการสร้างความสัมพันธ์ในการ
ทางานรว่ มกนั อีกด้วย

3. รูปแบบการใช้ตัวกลางสาหรับการเปล่ียนแปลง (The change agent Model) เป็นรูปแบบที่
ใช้บุคคลเป็นตัวกลางในการเปล่ียนแปลง เช่น การให้ผู้บริหารโรงเรียน ผู้อานวยการศูนย์พัฒนาหลักสูตร
หรือกลุ่มคณะทางาน เป็นตัวกลางในการนาการเปล่ียนแปลง แต่รูปแบบนี้ยังมีข้อถกเถียงว่า ใครจะเป็น
ตวั กลางทก่ี อ่ ใหเ้ กิดการเปล่ียนแปลงทีด่ ที ี่สดุ

4. การเปล่ียนแปลงโดยไม่มีรูปแบบ (The non model for change) ไชแมนและไลเบอร์แมน
(Shiman and Lieberman. 1974) วิจัยสรุปว่า การเปล่ียนแปลงภายในโรงเรียนไม่มีรูปแบบแต่อย่างใด
ซ่ึงเขาได้เสนอแนะว่า การเปล่ียนแปลงไม่ควรเริ่มจากเป้าหมาย ความสาคัญ การจูงใจ หรือการ
ประเมินผล แต่ควรจะดาเนินการตามสภาพท่ีเป็นอยู่อย่างแท้จริงของโรงเรียนแต่ละแห่ง โดยมีการ
ประเมนิ ทางเลอื กต่างๆ ให้เหมาะสมกบั สภาพปญั หาและความต้องการของโรงเรียนแตล่ ะแหง่ ดว้ ย

ท้ังนี้การเปล่ียนแปลงพฤติกรรมการใช้หลักสูตรท่ีมีหลายรูปแบบน้ี นักพัฒนาหลักสูตรต้อง
พิจารณาจเุ ด่นและจดุ ด้อยของแตล่ ะรูปแบบท่ีแตกต่างกัน แต่โดยรวมแล้วโรงเรียนส่วนใหญ่มักใช้รูปแบบ
การเปล่ียนแปลงโดยไม่มีรูปแบบ ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงภายในโรงเรียนท่ีไม่มีรูปแบบตายตัว แต่จะเป็น
การดาเนนิ การตามสภาพของโรงเรียนแตล่ ะแหง่ น้ันเอง

138

บทสรปุ

การนาหลักสตู รไปใช้นั้นจาเป็นต้องดาเนินการอย่างเป็นระบบ มีการวางแผนและกาหนดขั้นตอน
ท่ีชัดเจน มอบหมายหน้าท่ีในการดาเนินงาน และรวบรวมข้อมูลเพ่ือนาไปใช้ปรับปรุง พัฒนาได้อย่าง
ทนั ท่วงที การนาหลักสูตรไปใช้มีภาระงานท่ีสาคัญ 3 ประการด้วยกนั คอื งานบริหารและบริการหลักสตู ร
งานดาเนนิ การเรยี นการสอนตามหลักสตู ร และงานสนับสนุนและส่งเสรมิ การใชห้ ลักสูตร ซ่งึ จะชว่ ยให้การ
นาหลักสตู รไปใชป้ ระสบความสาเร็จตามจดุ มุ่งหมายท่ีกาหนดไว้ หากแต่ปัญหาในการนาหลักสตู รไปใชก้ ็มี
หลายประการด้วยเช่นกันไม่ว่าจะเป็นปัญหาเชิงระบบการดาเนินการ หรือปัญหาบุคลากรท่ีเกี่ยวข้อง
หากแต่บุคคลทุกฝ่ายท่ีมีบทบาทหน้าที่ในการนาหลักสูตรไปใช้ต้องปฏิบัติหน้าท่ีของตนเองอย่างเข้มแข็ง
และสมบูรณ์แล้ว ย่อมส่งผลให้การใช้หลักสูตรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีปัญหาน้อยทีส่ ุด และประสบ
ความสาเร็จอยา่ งแทจ้ รงิ ได้

139

เอกสารอา้ งอิง
ใจทิพย์ เชื้อรัตนพงษ์. (2539). การพัฒนาหลักสูตร: หลักการและแนวปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: ภาควิชา

บริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จฬุ าลงกรณม์ หาวิทยาลยั .
ฆนทั ธาตุทอง. (2556). การพัฒนาหลักสตู รสถานศกึ ษา ตามหลกั สูตรแกนกลางการศึกษาขน้ั พ้ืนฐาน

พุทธศักราช 2551. กรงุ เทพฯ: เพชรเกษมการพมิ พ.์
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2546). รายงานวิจัย สภาพและปัญหาการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาใน

สถานศกึ ษาสังกัด สานกั งานเขตพื้นที่การศึกษาพิษณโุ ลก เขต1. พิษณุโลก: กลุ่มนิเทศติดตาม
และประเมินผลการจัดการศึกษา สานกั งานเขตพ้ืนทีก่ ารศกึ ษาพิษณุโลก เขต1.
ชยั วฒั น์ สทุ ธิรัตน์. (2556). การพัฒนาหลักสูตร ทฤษฎีสกู่ ารปฏิบตั ิ. กรงุ เทพฯ: วีพรินท์.
ชูศักด์ิ ติวุตานนท์. (2546). การศึกษาสภาพและปัญหาการนาภูมิปัญญาท้องถ่ินมาใช้ในการจัด
กิจกรรมการเรียนการสอนตามหลักสูตรสถานศึกษา: ศึกษากรณีเฉพาะโรงเรียนนาร่องและ
โรงเรยี นเครอื ขา่ ยในสังกัดสานักงานการประถมศกึ ษาจังหวัดพิษณุโลก. การศึกษาคน้ คว้าดว้ ย
ตนเอง การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร. พิษณุโลก:
มหาวทิ ยาลัยนเรศวร.
ถาวร คาทะแจ่ม. (2545). การบรหิ ารจัดการหลักสูตรการศึกษาข้ันพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ของ
โรงเรียนเครือข่ายการใช้หลักสูตร จังหวัดลาพูน. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต
สาขาวิชาการบรหิ ารการศกึ ษา มหาวิทยาลัยเชยี งใหม.่ เชยี งใหม่: มหาวิทยาลัยเชยี งใหม่.
ประสิทธ์ิ บรรณศิลป์. (2545). การศึกษาความพร้อมในการใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพ้ืนฐานของ
ผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดพิจิตร. การศึกษา
คน้ ควา้ ด้วยตนเอง การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร.
พษิ ณุโลก: มหาวทิ ยาลัยนเรศวร.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2554). การจัดการหลักสูตรและการสอน. (พิมพ์คร้ังท่ี 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์
แห่งจฬุ าลงกรณ์มหาวทิ ยาลัย.
มณนิภา ชุติบุตร. (2546). สรุปการประเมินหลักสูตรการศึกษาข้ันพ้ืนฐาน พุทธศักราช 2544:
กระบวนการนาหลักสูตรไปใช้. กรุงเทพฯ: หน่วยศึกษานิเทศก์ สานักงานการประถมศึกษา
กรงุ เทพมหานคร
รุจีร์ ภู่สาระ และจันทรานี สงวนนาม. (2545). การบริหารหลักสูตรในสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: บุ๊ค
พอยท์.

140

วัชรี บูรณสิงห์. (2544). การบริหารหลักสูตร. (พิมพ์ครั้งท่ี 2). กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์มหาวิทยาลัย
รามคาแหง.

วิชาการ,กรม. (2546). รายงานการศึกษาความพร้อมการใช้หลักสูตรการศึกษาข้ันพ้ืนฐาน
พทุ ธศักราช 2544 ปีการศึกษา 2546. กรงุ เทพฯ: องคก์ ารรับสง่ สนิ คา้ และพสั ดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).

วิชยั วงษใ์ หญ่. (2542). พลงั เรยี นรู้ในกระบวนทัศน์ใหม่. กรงุ เทพฯ: คณะศกึ ษาศาสตร์ มหาวทิ ยาลัย
ศรนี ครนิ ทรวิโรฒ.

สงัด อทุ รานันท์. (2532). พื้นฐานและการพฒั นาหลักสูตร. (พมิ พค์ รัง้ ท่ี 3). กรุงเทพฯ: มิตรสยาม.
อมรา เล็กเริงสิทธุ์. (2540). หลักสูตรและการจัดการมัธยมศึกษา. (พิมพ์คร้ังท่ี 3). กรุงเทพฯ: ฝ่าย

เอกสารและตารา สถาบนั ราชภักสวนดุสิต.
McNeil, John D. (1981). Curriculum: A Comprehensive Introduction. Boston: Little,

Brown and Company.
Shiman David A. and Ann Lieberman. ( May, 1974) . “A Non-Model for School Change.”

The Education Forum. 38.(4), 441.

141

บทท่ี 6
การประเมินและปรับปรงุ หลกั สตู ร

จิตตวสิ ทุ ธ์ิ วิมุตติปัญญา

บทนา

การประเมินหลักสูตรเป็นข้ันตอนในการศึกษาคุณคา่ ของหลักสตู รว่าดหี รอื ไม่อย่างไร บกพรอ่ งใน
ส่วนไหน เพ่ือนาผลการประเมินไปปรับปรุงหลักสูตรในโอกาสต่อไป การประเมินหลักสูตรน้ันมีขอบเขต
และระยะการประเมินแตกต่างกันออกไป แล้วแต่จุดประสงค์ของการประเมิน เช่น การประเมินเอกสาร
หลักสูตรในระยะก่อนนาหลักสูตรไปใช้ การประเมินการใช้หลักสูตรในขณะที่ดาเนินการใช้หลักสูตร หรือ
ประเมินสัมฤทธ์ิผลของหลักสตู ร และประเมินระบบหลักสตู รหลงั จากการใช้หลักสูตรแล้ว การประเมินผล
หลักสูตรน้ันต้องกาหนดลงไปให้แน่ชัดว่าต้องการประเมินอะไร ข้อมูลที่นามาประเมินต้องเชื่อถือได้ การ
วิเคราะห์ผลการประเมินตอ้ งทาอยา่ งรอบคอบและเปน็ ระบบเพ่ือใหเ้ กิดประสิทธภิ าพสงู สดุ ตามเปา้ หมาย
1.ความหมายของการประเมินหลกั สตู ร

การประเมินหลักสูตรเป็นกระบวนการรวมรวมข้อมูลสารสนเทศตลอดจนกิจกรรมตา่ งๆ เกี่ยวกับ
หลักสูตรเพื่อนามาตัดสินคุณค่าหรือคุณภาพของหลักสูตรนั้น นักการศึกษาหลายท่านได้ให้ความหมาย
ของการประเมนิ หลกั สูตรไว้ตา่ งๆ กัน ดังนี้คอื

กู๊ด (Good. 1973: 209) ได้ให้ความหมายไว้ว่า การประเมินหลักสูตรคือการประเมินผลของ
กิจกรรมการเรียนภายในขอบข่ายของการสอนท่ีเน้นเฉพาะจุดประสงค์ของการตัดสินใจใจความถูกต้อง
ของจุดมุ่งหมาย ความสัมพันธ์และความต่อเน่ืองของเน้ือหาและผลสัมฤทธ์ิของวัตถุประสงค์เฉพาะ ซ่ึง
นาไปสู่การตัดสินใจในการวางแผนการจัดโครงการต่อเน่ืองและการหมุนเวียนของกิจกรรมโครงการต่างๆ
ทจ่ี ะจัดใหม้ ีข้ึน

ลี ครอนบาช (Lee J. Cronbach. 1971: 231) ให้ความหมายว่า การประเมินหลักสูตรคือการ
รวบรวมขอ้ มูล และการใช้ขอ้ มลู เพือ่ ตดั สินใจเร่อื งโปรแกรมหรือหลักสูตรการศึกษา

142

สตัฟเฟิลบีม และคณะ (Stufflebeam et.al. 1971: 128) ให้ความหมายของการประเมิน
หลักสูตรว่า การประเมินหลักสูตรคือ กระบวนการหาข้อมูล เก็บข้อมูล เพื่อนาไปใช้ประโยชน์ในการ
ตดั สนิ ใจหาทางเลือกทด่ี ีกว่าเดิม

สุมิตร คุณานุกร (2533: 198) กล่าวถึงการประเมินหลักสูตรไว้ว่า การประเมินผลหลักสูตรคือ
การหาคาตอบว่าหลักสูตรสัมฤทธิผลตามท่ีกาหนดไว้ในความมุ่งหมายหรือไม่มากน้อยเพียงใด และอะไร
เป็นสาเหตุ การประเมินหลักสูตรเพื่อตัดสนิ สมั ฤทธิผลของหลักสูตรน้นั มีขอบเขตรวมถึง (1) การวิเคราะห์
ตัวหลักสูตร (2) การวิเคราะห์กระบวนการของการนาหลักสูตรไปใช้ (3) การวิเคราะห์สัมฤทธิผลในการ
เรียนของนักเรยี น (4) การวิเคราะห์โครงการประเมินหลักสตู ร

วิชัย วงษ์ใหญ่ (2523: 192) ให้ความหมายของประเมินหลักสูตรไว้ว่า การประเมินหลักสูตรเป็น
การพิจารณาเกี่ยวกับคุณค่าของหลักสูตรโดยใช้ผลจากการวัดในแง่มุมต่างๆ ของสิ่งท่ีประเมิน เพ่ือนามา
พิจารณาร่วมกัน และสรุปว่าจะให้คุณค่าของหลักสูตรท่ีพัฒนาขึ้นมานั้นว่าอย่างไร มีคุณภาพดีหรือไม่
เพยี งใด หรือไดผ้ ลตรงตามวตั ถปุ ระสงค์ที่กาหนดหรือไม่ มีสว่ นใดท่จี ะตอ้ งปรบั ปรงุ แกไ้ ข

สันต์ ธรรมบารุง (2527: 138-139) ได้อธิบายสรุปว่า การประเมินหลักสูตรเป็นการพิจารณา
คุณค่าของหลักสูตร โดยอาศยั การรวบรวมข้อมูล และใชข้ ้อมลู จากการวัดผลในแง่ต่างๆ ของสิ่งทปี่ ระเมิน
เพ่ือนามาพิจารณาร่วมกันและสรุปว่าหลักสูตรท่ีสร้างข้ึนมานั้นมีคุณค่าประการใด มีคุณภาพดีขึ้นหรือไม่
เพียงไร หรือได้รับผลตามจุดมุ่งหมายท่ีต้ังไว้หรือมีส่วนใดท่ีจะต้องปรับปรุงแก้ไขต่อไป และนาเสนอ
ผู้บริหารผู้มีอานาจวินิจฉัยสั่งการดาเนินต่อไป หรือการประเมินหลักสูตร หมายถึง กระบวนการใน
การศกึ ษาส่วนประกอบตา่ งๆ ของหลกั สตู รอันไดแ้ กห่ ลักสตู ร จุดมุง่ หมาย โครงสร้างจุดประสงคก์ ารเรยี นรู้
เนอื้ หา กจิ กรรม สื่อการเรยี นการสอน วธิ สี อนและการจดั ผลวา่ จะสมั พันธก์ ันหรอื ไม่

สุจริต เพียรชอบ (2548: 64) กล่าวถึงการประเมินหลักสูตรไว้ว่าเป็นกระบวนการที่สาคัญเพราะ
เป็นการหาคาตอบว่าหลักสูตรสัมฤทธิผลตามที่ได้ต้ังจุดมุ่งหมายไว้หรือไม่ มากน้อยเพียงใด อะไรเป็น
สาเหตุ ผปู้ ระเมินหลักสูตรจะต้องเปน็ ผู้ท่ีมคี วามรูด้ ีท้ังทางด้านหลกั สูตรและด้านการประเมินผลซึ่งจะต้อง
เน้นการประเมินท้ังโปรแกรมการศึกษา มิใช่แต่เพียงผลการเรียนปีสุดท้ายเท่าน้ัน แต่ควรประเมินผลการ
เปลยี่ นแปลงพฤตกิ รรมของผ้เู รยี นด้วย

จากความหมายของการประเมินหลักสูตรที่กล่าวมาข้างต้นสรุปได้ว่า การประเมินหลักสูตรคือ
กระบวนการในการพจิ ารณาตัดสนิ คุณค่าของหลักสูตรว่าหลักสตู รน้ันๆ มีประสิทธิภาพแค่ไน เมื่อนาไปใช้
แล้วบรรลุจุดมุ่งหมายท่ีกาหนดไว้หรือไม่ มีอะไรท่ีต้องแก้ไขเพื่อนาผลท่ีได้มาใช้ให้เป็นประโยชน์ในการ
ตดั สินใจหาทางเลอื กทดี่ กี วา่ ตอ่ ไป

143

2. ความจาเป็นของการประเมินหลักสตู ร
หลังจากที่ได้จัดทาหลักสูตรแล้วนาหลักสูตรไปใช้จัดการเรียนการสอนแล้ว จะต้องมีการติดตาม

ผลว่าหลักสูตรที่นาไปใช้แล้วได้ผลประการใด มีปัญหา ข้อบกพร่อง และอุปสรรคในการใช้อย่างไร แม้ว่า
ก่อนท่ีจะนาหลักสูตรไปใช้จะได้ทาการตรวจสอบคุณภาพแล้วก็ตาม แต่ในการตรวจสอบคุณภาพน้ัน
บางคร้งั ไม่ได้ดาเนินการในสภาพการณจ์ ริงอยา่ งครบถ้วน ดังน้ันเม่อื นาหลักสตู รไปใช้จริงอาจจะพบปัญหา
ขอ้ บกพร่องและอุปสรรคอีกได้ ซ่ึงจาเป็นต้องมีการประเมินหลักสูตรหลงั การใช้เพอ่ื จะได้แก้ไขปรับปรงุ ส่ิง
ทเ่ี ป็นปญั หา ข้อบกพรอ่ ง และอุปสรรคเหล่านั้น และทาให้หลักสูตรนั้นเปน็ หลกั สูตรทดี่ ตี ่อไป

การวัดและประเมินผลการเรียนรู้นับว่าเป็นองค์ประกอบของหลักสูตรท่ีสาคัญอีกประการหน่ึง
เนื่องจากการวัดและประเมินผลการเรียนรู้จะมีประโยชน์สาหรับครูในการนาผลการประเมนิ การเรียนรู้ไป
ปรับปรงุ การเรยี นการสอน หรอื อาจใช้ประโยชน์ในการวิจัย และพฒั นาการเรียนการสอนใหม้ ีคุณภาพมาก
ยิ่งข้ึน หรือเพื่อใช้ผลการประเมินการเรียนไปกระตุ้นความพร้อมและแรงจูงใจในการเรียนให้แก่ผู้เรียน
หรืออาจจะเป็นประโยชน์สาหรับผู้บริหารในการใช้เพ่ือตัดสินใจเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล เช่น การ
ประเมนิ ความดคี วามชอบหรือการเล่ือนตาแหน่งของผ้สู อน เปน็ ตน้

ดังนั้นการกาหนดแนวทางการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ไว้ในหลักสูตรจึงต้องกาหนดไว้ให้
ชดั เจนเพอ่ื เป็นแนวทางสาหรบั ผู้สอนและผู้เก่ียวข้องในการวางแผนการประเมินผู้เรียนอย่างมีหลักการ มี
ระบบ รวมทง้ั ชว่ ยใหผ้ เู้ รยี นสามารถทราบล่วงหนา้ เพอ่ื ใชเ้ ปน็ แนวทางในการวางแผนการเรยี นได้อกี ด้วย

หลักการในการดาเนินการวัดและประเมินผลน้ันต้องทาอย่างเป็นระบบ มีความเช่ือมั่นเป็นกลาง
และมีความยุติธรรม ด้วยเคร่ืองมือท่ีเหมาะสมกับการประเมิน สามารถวัดพฤติกรรมได้ ประเมินในส่ิงท่ี
ปฏิบัติจริงได้ ใช้ข้อมูลจากหลายแหล่งประกอบกัน และให้ผู้เกี่ยวข้องให้เข้ามามีส่วนร่วมในการประเมิน
รวมทัง้ มีการนาผลที่ไดม้ าสะท้อนและปรับปรุงการเรยี นการสอนให้มปี ระสทิ ธภิ าพมากย่ิงขน้ึ

การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ในปัจจุบันเน้นที่จะประเมินตามสภาพจริง ซึ่งเป็นการ
ประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนที่ใช้วิธีการที่หลากหลาย โดยเน้นการประเมินทักษะการคิดท่ีซับซ้อน
ทักษะการทางาน ความสามารถในการแก้ปัญหาและการแสดงออกที่เกิดจากการปฏิบัติในสภาพจรงิ โดย
มีผเู้ ก่ยี วข้องในการประเมินจากหลายฝา่ ย

3. จดุ มงุ่ หมายของการประเมนิ หลักสูตร
การประเมนิ หลกั สูตร มีจดุ มุ่งหมายเพอ่ื
1. หาคุณค่าของหลักสูตร: หลักสูตรนั้นสนองจุดมุ่งหมายของหลักสูตรไว้หรือไม่ และสนองความ

ต้องการของสงั คมเพยี งใด

144

2. ตัดสินเก่ียวกับรูปแบบ การสอนและการบริหารหลักสูตร: การวางเค้าโครงและรูปแบบของ
หลักสูตร การสอนตามหลกั สูตร และการบริหารงานเกย่ี วกับหลกั สตู ร เปน็ ไปในทางท่ีถูกตอ้ งหรือไม่

3. วัดคณุ ภาพผลผลิต: ผู้ท่เี รียนจบตามหลกั สูตรมีคุณภาพเพยี งใด
4. ปรับปรุงหลักสูตร: หลักสูตรมีข้อบกพร่องทั้งหมดอะไรบ้าง และระหว่างการดาเนินการใช้
หลักสูตรมีปัญหาอุปสรรคในแต่ละส่วนของหลักสูตรอะไรบ้าง นาข้อมูลท่ีได้จากการประเมินมาปรับปรุง
แก้ไขหลกั สตู ร หรือพิจารณาว่าควรจะใช้หลักสูตรต่อไปอกี หรอื ไม่

4. ขอบเขตของการประเมนิ หลักสตู ร
ในการประเมนิ หลกั สตู รจะต้องประเมนิ ให้ครบทั้งระบบของหลักสูตร ซึ่งประกอบด้วย
1. การประเมินเอกสารหลักสูตร ตรวจสอบความสอดคล้องระหว่าง หลักการ จุดมุ่งหมาย

โครงสร้าง เน้ือหา ประสบการณ์เรียนรู้ กิจกรรมการเรียนการสอน การวัดผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนและ
เกณฑ์การจบหลักสูตร ตรวจสอบการใช้ภาษาในเอกสารหลักสูตรว่าสื่อสารได้ตรงกันหรือไม่ ข้อกาหนด
หรือแนวทางการใช้หลักสูตรมีความชัดเจนเพียงใด วางแผนการจัดการศึกษาตามหลักสูตรน้ีเหมาะสมกับ
กลมุ่ เปา้ หมายและระดบั การศึกษาเพยี งใด

2. การประเมนิ ผลระบบของหลักสตู ร
2.1) ประเมินจุดมงุ่ หมายในระดับต่างๆ คือจุดมุ่งหมายของหลักสูตร จุดประสงค์ของกลุ่มวิชา

จุดประสงค์รายวิชา จุดประสงค์การเรียนรู้ในระดับการสอน เพ่ือตรวจสอบความเหมาะสมกับผู้เรียน กับ
สภาพแวดล้อม ระดบั ความพอเของความคาดหวัง

2.2) ประเมินการจัดเน้ือหาหลักสูตร คือความเหมาะสมของสัดส่วนเน้ือหาความรู้และ
ประสบการณ์การเรียนรู้ ความเหมาะสมในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพ่ือช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้
เนอ้ื หาความรู้และได้รับประสบการณ์

2.3) ประเมินการสอนของผู้สอน คือ ความสามารถและความถูกต้องในการปรับหลักสูตรมา
ใช้ในชั้นเรยี น ความรูค้ วามสามารถในเนื้อหาวิชาท่ีสอน การเตรียมการสอน การใช้เทคนิคการสอนการใช้
สื่อการสอนและใช้เทคนิคการวัดผลและประเมินผล สอนตามแนวทางของหลักสูตรหรือไม่ ความสัมพันธ์
กับผู้เรียนและการสร้างบรรยากาศในชั้นเรียนเป็นอย่างไร รับผิดชอบ และการจัดกิจกรรมการเรียนการ
สอนทช่ี ว่ ยใหผ้ เู้ รยี นบรรลุจุดประสงค์การเรียนรู้ จุดประสงค์ของวิชาและจุดมงุ่ หมายของหลักสูตร

2.4) ประเมินระบบการบริหารและการจัดการหลักสูตร คือ ประเมินความพร้อมในการใช้
หลักสตู ร โครงสร้างและระบบของสถาบัน การดาเนินงานของสถาบัน การจัดอาคารสถานที่ งบประมาณ
หน่วยบรกิ ารการศึกษา เชน่ หอ้ งสมดุ งานแนะแนว โรงฝกึ งาน ฯลฯ และการจัดเวลา


Click to View FlipBook Version