The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

รายงานวิจัย_ข้อเสนอเชิงนโยบายการจัดการศึ

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

รายงานวิจัย_ข้อเสนอเชิงนโยบายการจัดการศึ

รายงานวิจัย_ข้อเสนอเชิงนโยบายการจัดการศึ

รายงานการสังเคราะหผ์ ลการตรวจสอบและผลการประเมนิ คณุ ภาพภายในสถานศกึ ษา สพป. พษิ ณุโลก เขต 1

รายงานวิจัย

ข้อเสนอเชงิ นโยบายการจดั การศึกษาในสถานการณก์ ารแพร่ระบาด
ของโรคติดเชื้อไวรสั โคโรนา 2019 (COVID-19)
ปีการศึกษา 2564

เอกสารลาดับท่ี 29 /2564

สานกั งานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศกึ ษาพิษณโุ ลก เขต 1
สานักงานคณะกรรมการการศกึ ษาข้นั พน้ื ฐาน
กระทรวงศกึ ษาธกิ าร

ชอ่ื เรอ่ื ง ข้อเสนอเชงิ นโยบายการจัดการศึกษาในสถานการณ์การแพร่ระบาด
ของโรคตดิ เชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
ผู้รายงาน ดร. เบญจวรรณ อนิ ตะ๊ วงศ์ ตาแหน่ง ศึกษานเิ ทศก์
สานักงานเขตพน้ื ท่ีการศึกษาประถมศึกษาพิษณโุ ลก เขต 1
ปีทีท่ าการศกึ ษา ปกี ารศกึ ษา 2564
ผสู้ นับสนนุ ทุนวิจยั สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขนั้ พืน้ ฐาน

บทคัดยอ่

การวิจัยข้อเสนอเชิงนโยบายการจัดการศึกษาในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเช้ือ
ไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ปีการศึกษา 2564 ในคร้ังน้ี มีวัตถุประสงค์เพ่ือ 1) ศึกษาสภาพ
การจดั การศกึ ษาของโรงเรยี นลักษณะตา่ ง ๆ 2) ศึกษาแนวทางการจัดการศึกษาเพ่อื พัฒนาโรงเรียนทุก
ลักษณะ ในการบริหารจัดการการจัดการเรียนรู้ และการดูแลช่วยเหลือนักเรียน 3) จัดทาข้อเสนอ
เชิงนโยบายการจัดการศึกษาในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
(COVID-19) ในระดับเขตพ้ืนท่ีการศึกษา และระดับสานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
แหล่งข้อมูลในการวิจัย ได้แก่ โรงเรียนในสังกัดสานักงานเขตพ้ืนท่ีการศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก
เขต 1 จานวน 113 โรงเรียน โดยมขี อบเขตดา้ นเนอ้ื หา ไดแ้ ก่ การจัดการศกึ ษาในสถานการณ์การแพร่
ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จาแนกเป็น ด้านการดาเนินการบริหารจัดการ
ด้านการจัดการเรียนรู้ และด้านการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ท้ังระดับปฐมวัย ประถมศึกษาและ
มธั ยมศึกษา เก็บรวบรวมข้อมลู โดยสารวจ สอบถาม สัมภาษณ์เชิงลึก โดยใช้เครื่องมือวิจยั 3 รายการ
ได้แก่ ฉบับที่ 1 แบบสอบถามสภาพการจัดการศึกษาและแนวทางจัดการศึกษาในสถานการณ์
การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ฉบับที่ 2 แบบสัมภาษณ์เชิงลึกสภาพการจดั
การศึกษาและแนวทางการจัดการศึกษาในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
(COVID-19) ฉบับท่ี 3 แบบนเิ ทศเพ่ือการวจิ ัยข้อเสนอเชิงนโยบายการจัดการศึกษาในสถานการณ์การ
แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) สานักงานเขตพื้นท่ีการศึกษาประถมศึกษา
พิษณุโลก เขต 1 จากนั้นประชุมระดมความคิด (Brainstorming) ของคณะวิจัย นักวิชาการ ผู้บริหาร
ครู และผู้เก่ียวข้อง เพื่อวิเคราะห์สภาพและแนวทางการจัดการศึกษาของโรงเรียน และการสัมมนา
องิ ผู้เช่ียวชาญ (Connoisseurship) เพื่อจดั ทาข้อเสนอเชงิ นโยบาย

วิจยั ขอ้ เสนอเชงิ นโยบายการจดั การศึกษาในสถานการณ์ COVID-19 สพป.พษิ ณุโลก เขต 1

ผลการวจิ ัย พบว่า
ข้อเสนอเชิงนโยบายการจัดการศึกษาในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเช้ือไวรัส
โคโรนา 2019 (COVID-19) มรี ายละเอยี ด ดงั นี้
1. การพัฒนาระบบและกลไกส่งเสริมสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ของสถานศึกษา
ในสถานการณ์การแพรร่ ะบาดของโรคตดิ เชอื้ ไวรสั โคโรนา 2019 (COVID-19)

1.1 รัฐควรพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียน
การสอนในสถานการณก์ ารแพรร่ ะบาดของโรคติดเช้อื ไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

1.2 รัฐ/หน่วยงานต้นสังกัดควรจัดสรรอุปกรณ์เพ่ือให้โรงเรียนสามารถใช้ทีวีเพ่ือการศึกษา
ได้

1.3 หนว่ ยงานต้นสงั กดั /หนว่ ยงานระดับพน้ื ที่ควรสนับสนนุ ใหม้ ีการจัดต้ังศูนย์ ส่ือ อุปกรณ์
เทคโนโลยีทางการเรียนการสอนเพื่อสนับสนุนและช่วยเหลือการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียน
รวมทั้งจัดระบบการนเิ ทศ ติดตามการจัดการเรียนการสอนสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชอ้ื
ไวรสั โคโรนา 2019 (COVID-19)

1.4 หน่วยงานต้นสังกัด ควรสนับสนุนจัดทาแผนและนโยบาย ด้านการจัดการเรียนรู้แบบ
ผสมผสาน ทัง้ ในห้องและนอกหอ้ งตามความตอ้ งการของผูป้ กครองและนักเรียน ดังน้ี

1) กาหนดรปู แบบการจัดการเรยี นรู้ 6 ON ได้แก่ On Site, On Air, Online,
On Demand, On Hand และ Blended เพือ่ ให้โรงเรียนเลือกใชต้ ามบริบท

2) กาหนดแนวทางระดับเขตพื้นที่การศึกษา ด้านการบริหารจัดการ ด้านการจัดการ
เรยี นรู้ และด้านการชว่ ยเหลอื นกั เรยี น

3) จัดหา Software / คอมพิวเตอร์ยืมเรียน-ยืมสอน/บุคลากรท่ีรับผิดชอบโดยตรง/
คลนิ กิ ICT เพื่อสนบั สนุนการดาเนินงานทั้งระดับเขตพืน้ ท่ี และระดับสถานศึกษา

4) ควรพัฒนาโครงสร้างพ้ืนฐานเพื่อสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีเพื่อการจัดการเรียน
การสอนในสถานการณ์วกิ ฤติ

5) มีความยืดหยุ่นเรื่องระเบียบด้านการเงินและพัสดุ เพ่ือเอื้อต่อสถานศึกษาให้
สามารถจัดการเรียนการสอนในสถานการณโ์ ควิดได้เหมาะสมตามบรบิ ท

1.5 หน่วยงานต้นสังกัดควรประสานงานกับหน่วยงานอื่น ในการบูรณาการข้อมูลท่ีจาเป็น
และจัดทาเป็นฐานข้อมูลกลาง

1.6 หน่วยงานต้นสังกัดควรส่งเสริมให้สถานศึกษามีการดาเนินการประกันคุณภาพ
การศึกษาในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเช้ือไวรัสโคโรนา2019 (COVID-19) โดยการ
สนับสนุนสถานศึกษาในสังกัดสร้างความม่ันใจแกผ่ ปู้ กครองและผมู้ ีส่วนได้ส่วนเสีย

วจิ ัยขอ้ เสนอเชงิ นโยบายการจดั การศกึ ษาในสถานการณ์ COVID-19 สพป.พิษณโุ ลก เขต 1

1.7 หน่วยงานต้นสังกัดควรสนับสนุนด้านเทคโนโลยีทางการศึกษา สนับสนุน/จัดหา
คอมพวิ เตอร์ยมื เรยี น คอมพิวเตอรย์ ืมสอน อนิ เตอร์เน็ตเพอื่ การศึกษา Software เพอื่ การศกึ ษา ที่ไม่มี
ข้อจากดั คอมพวิ เตอร์เชา่ เพอ่ื การบริหารจดั การ จัดบริการคลนิ ิก ICT

2. การสนับสนุนช่วยเหลือให้สถานศึกษาดาเนินการจัดการเรียนรู้ได้ในสถานการณ์การแพร่
ระบาดของโรคติดเชอื้ ไวรสั โคโรนา 2019 (COVID-19)

2.1 หน่วยงานต้นสังกัดควรจัดสรรงบประมาณและสนับสนุนทรัพยากรการจัดการเรียนรู้
ให้เพียงพอเหมาะสมกับบรบิ ทความตอ้ งการจาเปน็ ของโรงเรียนให้ครอบคลมุ ถึงกลมุ่ ท่ีมีความต้องการ
เป็นพเิ ศษ เชน่ กลุ่มเดก็ พเิ ศษ หรือกลุ่มเดก็ ดอ้ ยโอกาส เพื่อลดความเหลอ่ื มล้าในการเขา้ ถงึ การศกึ ษา

2.2 หน่วยงานต้นสังกัดควรมีการคานวณค่าใช้จ่ายรายหัวของนักเรียน และค่าใช้จ่าย
เพิ่มเติมของผู้ปกครองของนักเรียน ซ่ึงจาเป็นต้องมีการเรียนรู้แบบOnline เพื่อจะสามารถจัดสรร
งบประมาณให้เพียงพอและสอดคล้องกบั ความต้องการแทจ้ รงิ

2.3 หน่วยงานต้นสังกัดควรมอบหมายหน่วยงานระดับพ้ืนที่ให้มีบทบาทหลักในการ
สนับสนุน อานวยความสะดวก และร่วมแก้ปัญหา กับโรงเรียนใหจ้ ัดการเรียนรู้ในสถานการณ์การแพร่
ระบาดของโรคติดเชอื้ ไวรสั โคโรนา 2019 (COVID-19) ได้

2.4 หน่วยงานต้นสังกัดควรมีนโยบายเสริมสร้างความเข้มแข็งให้โรงเรียนสามารถบริหาร
จัดการศึกษาในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
ได้ตามบริบท

2.5 หนว่ ยงานต้นสงั กัด/หนว่ ยงานระดับพ้ืนท่จี ัดทีมงานช่วยเหลือเชิงเทคนคิ ให้กับโรงเรียน
เพอื่ ชว่ ยให้นกั เรียนสามารถเข้าถึงการเรียนรไู้ ดอ้ ยา่ งเท่าเทียมกนั

2.6 หน่วยงานต้นสังกัดส่งเสริมสถานศึกษาให้เช่ือมโยงการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์โค
วิดกับการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ การสอนแบบบูรณาการเพื่อเน้นสมรรถนะผู้เรียน เปลี่ยน
วชิ าการเปน็ วชิ าชวี ติ และวิชาชีพ

3. การจัดหลักสูตร การจัดการเรียนรู้ และการวัดประเมินผลในสถานการณ์การแพร่ระบาด
ของโรคตดิ เชือ้ ไวรัสโคโรนา2019 (COVID-19)

3.1 หน่วยงานต้นสังกัดควรปรับหลักสูตรให้เป็นหลกั สูตรท่ีมีความยืดหยุ่น ปรับโครงสรา้ ง
เวลาเรียน ปรับลดเนื้อหาให้กระชับ และบูรณาการในการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์
เชื่อมโยงการจัดการเรียนรู้ ในสถานการณ์โควดิ กบั การจดั การเรียนรู้ฐานสมรรถนะ

3.2 หน่วยงานต้นสังกัดหรือหน่วยงานระดับพื้นที่ควรส่งเสริมสนับสนุนการรวบรวมส่ือ
นวัตกรรม และเทคโนโลยีเป็นศูนย์สื่อ นวัตกรรมการเรียนการสอนที่ครูสามารถนามาเผยแพร่ และ
นาไปแลกเปล่ียนและแบง่ ปันกันใช้ในการจดั การเรียนรูไ้ ดอ้ ย่างกว้างขวางตามบรบิ ทของโรงเรียน

วจิ ัยข้อเสนอเชงิ นโยบายการจัดการศกึ ษาในสถานการณ์ COVID-19 สพป.พิษณโุ ลก เขต 1

3.3 หน่วยงานต้นสังกัดกาหนดหลักเกณฑ์และวิธีการวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ ให้มี
ความยืดหยนุ่ และสอดคล้องกับวิธีการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์ โดยเนน้ การประเมินตามสภาพจริง
เน้นการใชผ้ ลงาน และการประเมนิ ผลระหว่างเรียนเป็นสาคญั

3.4 เปิดโอกาสให้ผู้บริหารมีอานาจในการบริหารแบบยืดหยุ่น เพ่ือแก้ปัญหา Learning
lost เช่น การชะลอการตัดสินผลการเรียนรายภาคเรียน เพื่อขยายเวลาและเติมเต็มสร้างการเรียนรู้
เพมิ่ เติมให้แกน่ ักเรียน

4. การพฒั นาและสง่ เสรมิ ศักยภาพครูสาหรับการจัดการเรียนร้ใู นสถานการณ์การแพรร่ ะบาด
ของโรคตดิ เชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

4.1 สถาบันผลิตครคู วรมุ่งเน้นการผลิตครูให้มีสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้วิถีใหม่และการ
จัดการเรียนรใู้ นยุคดจิ ทิ ัล

4.2 หน่วยงานต้นสังกัดควรมีมาตรการในการพัฒนาครูให้มีสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้
ในการใชส้ ่อื เทคโนโลยใี นยคุ ดจิ ิทัลไดอ้ ย่างมปี ระสิทธิภาพ

4.3 หน่วยงานในระดับพื้นท่ี และสถานศึกษาควรส่งเสริมให้ครูพัฒนาตนเองให้มีสมรรถนะ
ในการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเช้ือไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
และต้องเสริมสร้างเจตคตติ ่อการเรียนรู้แบบพ่งึ พาตนเอง

5. การสนบั สนนุ ช่วยเหลือนกั เรียนและผปู้ กครองเพ่ือการเรียนร้ขู องนักเรียนในสถานการณ์
การแพรร่ ะบาดของโรคติดเช้ือไวรสั โคโรนา 2019 (COVID-19)

5.1 โรงเรียนชี้แจงทาความเข้าใจกับผู้ปกครองในการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์การแพร่
ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และจัดทาคู่มือการเรียนและการปฏิบัติตน
สาหรับนักเรียน และผู้ปกครอง เพ่ือเป็นแนวทางในการปฏิบัติในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค
ติดเชือ้ ไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

5.2 โรงเรียนส่งเสริมให้นักเรียนมีวินัยในการเรียนรู้ด้วยตนเอง เสริมสร้างเจตคติต่อการ
เรียนรู้แบบพ่ึงพาตนเอง และนักเรียนมีอิสระทางความคิด สามารถออกแบบการจัดการเรียนรู้ได้ด้วย
ตนเอง

5.3 โรงเรียนส่งเสริมให้นักเรียนมีความฉลาดรู้ในการใช้สื่อเทคโนโลยี (Digital Literacy)
เพื่อการแสวงหาความรู้ให้เกิดประสิทธิภาพ โดยการสอนให้มีความรู้ความเข้าใจในการใช้และการ
เข้าถึงส่อื เทคโนโลยี รวมทง้ั สิทธิและความปลอดภยั ในการใชส้ อื่ เทคโนโลยี

วิจยั ข้อเสนอเชิงนโยบายการจดั การศกึ ษาในสถานการณ์ COVID-19 สพป.พิษณโุ ลก เขต 1

คานา

สืบเน่ืองจากตง้ั แต่ปี พ.ศ. 2562 เป็นต้นมา ส่งผลกระทบตอ่ การจัดการศึกษาทุกระดับ
ทกุ เขตพืน้ ท่ี โรงเรยี นไมส่ ามารถจดั การเรยี นการสอนได้ตามระบบปกติ ส่งผลใหก้ ารเรยี นรู้ การพัฒนา
ทักษะ การปฏิบัติกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามหลักสูตรรวมทั้งการวัดประเมินผลตามมาตรฐานตัวช้ีวัด
มขี ้อจากดั ในปี พ.ศ.2563กระทรวงศึกษาธกิ ารจงึ ได้กาหนดรูปแบบการเรียนรู้ของโรงเรยี น ไว้ 5 แบบ
คือ 1) On Site เรียนที่โรงเรียน โดยมีมาตรการเฝ้าระวังตามประกาศของศูนย์บริหารสถานการณ์การ
แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 2) On Air เรียนผ่านมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่าน
ดาวเทียม ในพระบรมราชูปถัมภ์ หรือ DLTV 3) On Demand) เรียนผ่านแอปพลิเคชันต่าง ๆ
4) Online เรียนผ่านอินเทอร์เน็ต และ 5) On Hand รับใบงานจากครูเพ่ือไปเรียนรู้ด้วยตนเองท่ีบ้าน
ในปีการศกึ ษา 2564 สถานศกึ ษาทกุ แห่ง ในสงั กัดสานกั งานเขตพืน้ ท่ีการศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก
เขต 1 ไม่สามารถจัดการศึกษาในรูปแบบ On Site หรือเรียนท่ีโรงเรียนได้ ตามประกาศของศูนย์
บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดต่อเช้ือไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) จังหวัดพิษณุโลก ดังนั้น
สถานศึกษาจึงต้องเลือกรูปแบบการจัดการเรียนการสอน 4 รูปแบบ ท่ีกระทรวงศึกษาธิการได้กาหนด
ไว้ตามความเหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษาและสอดคล้องกับความต้องการของนักเรียน
ผปู้ กครอง กลา่ วคือ On Air, On Demand, Online และ On Hand

สานักงานเขตพ้ืนที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1 ในฐานะต้นสังกัด
จึงได้จัดทาวิจัยข้อเสนอเชิงนโยบายการจัดการศึกษาในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเช้ือ
ไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ปีการศึกษา 2564 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการจัด
การศึกษาของโรงเรียนลักษณะต่าง ๆ ด้านข้อดี ข้อเสีย โอกาส อุปสรรค (SWOT) รวมถึงศึกษา
แนวทางการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาโรงเรียนทุกลักษณะในการบริหารจัดการ การจัดการเรียนรู้
และการดูแลชว่ ยเหลือนักเรยี น เพ่อื จดั ทาข้อเสนอเชงิ นโยบายการจัดการศึกษาในสถานการณ์การแพร่
ระบาดของโรคติดเช้ือไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เพื่อให้ได้สารสนเทศท่ีจะเป็นประโยชน์
ในวงกว้างทสี่ ง่ ผลตอ่ คุณภาพการศึกษาตอ่ ไป

สานักงานเขตพน้ื ท่ีการศึกษาประถมศึกษาพิษณโุ ลก เขต 1
12 ตลุ าคม 2564

วจิ ยั ข้อเสนอเชิงนโยบายการจดั การศึกษาในสถานการณ์ COVID-19 สพป.พษิ ณโุ ลก เขต 1

สารบัญ

รายการ หนา้

คานา -
บทที่ 1 บทนา 1
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจยั ที่เกี่ยวข้อง 12
บทท่ี 3 วธิ ีดาเนินการวจิ ยั 62
บทท่ี 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล 69
70
ตอนท่ี 1 ผลการศกึ ษาสภาพการจดั การศึกษา 112
ตอนที่ 2 ผลการศึกษาแนวทางการจดั การศกึ ษา
ตอนที่ 3 ผลการจดั ทาข้อเสนอเชิงนโยบายการจัดการศึกษาในสถานการณ์ 117
การแพร่ระบาดของโรคติดเชือ้ ไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) 121
บทที่ 5 134
บรรณานกุ รม 138
ภาคผนวก 139
ภาคผนวก ก ภาพกจิ กรรมการดาเนินงานของโรงเรยี นที่โดดเด่น 172
ภาคผนวก ข เคร่อื งมือเกบ็ รวบรวมขอ้ มูล 183
ภาคผนวก ค รายชอ่ื คณะกรรมการวิจัย

บทที่ 1

บทนำ

ควำมสำคญั และควำมเป็นมำของปญั หำ

สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562
เป็นต้นมา ได้ส่งผลกระทบต่อประชากรโลกเป็นวงกว้าง โดยมีจานวนผู้ป่วยติดเชื้อและผู้เสียชีวิต
เพ่ิมขึ้นเป็นจานวนมากในระยะเวลาอันรวดเร็ว องค์การอนามัยโลกจึงได้ประกาศให้โรคติดเช้ือไวรัส
โคโรนา 2019 เป็นโรคระบาดใหญ่ (Pandemic) ในวันท่ี 11 มีนาคม พุทธศักราช 2563
(องค์การอนามัยโลก(WHO), 2020) ส่งผลกระทบต่อการจัดการศึกษาทุกระดับทุกเขตพ้ืนที่โรงเรียน
ทุกโรงเรียนไม่สามารถจัดการเรียนการสอนได้ตามระบบปกติ ส่งผลให้การเรียนรู้ การพัฒนาทักษะ
การปฏิบัติกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามหลักสูตร รวมทั้งการวัดประเมินผลความรู้และทักษะตาม
มาตรฐานการเรียนรแู้ ละตัวชี้วัด มีข้อจากัด กระทรวงศึกษาธิการจึงได้จดั รูปแบบการเรียนร้เู พ่ือรับมือ
กับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยใช้เทคโนโลยีเพื่อ
การส่ือสารมาสนับสนุนการจัดการศึกษา กาหนดแนวทางการจัดการเรียนการสอน ภาคเรียนท่ี 1
ปการศึกษา 2564 ในสถานการณการแพรระบาดของโรคติดเช้ือไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19)
สาหรับโรงเรียนในสังกัด โดยมีแนวทางหลักในการจัดการเรียนการสอน 5 รูปแบบ ไดแก่ 1) รูปแบบ
On Site หมายถึง การเรียนการสอนท่ีเน้นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในโรงเรียนหรือในชั้นเรียน
เป็นหลักโดยครูผู้สอนสามารถนารูปแบบการเรียนการสอนอื่น ๆ มาบูรณาการใช้กับการเรียนในช้ัน
เรียนได้ เช่น การเรียนผ่านโทรทัศน์ (On Air) หรือ การเรียนผ่านอินเทอร์เน็ต (Online) เป็นต้น
โรงเรียนมีการปฏิบัติตามมาตรการด้านสาธารณสุข และมาตรการของกระทรวงศึกษาธิการมีแนว
ทางการวัดผลแนะประเมินผลให้สอดคล้องกับบริบทการจัดการเรียนการสอน 2) รูปแบบ On Air
หมายถึง การเรียนการสอนทางไกลผ่านโทรทัศน์ในระบบดิจิทัลและระบบดาวเทียม ผ่าน DLTV
(Distance Learning Television) โดยมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมในพระบรมราชูปถัมภ์
ท้ังการออกอากาศตามตาราง และการเรียนย้อนหลัง 3) รูปแบบ On Demand หมายถึง การจัดการ
เรียนการสอนผ านส่ืออิเล็กทรอนิกส สาหรับนักเรียนท่ีสามารถเรียนรู ผ านเว็บไซต DLTV
( www. dltv. ac. th) , Youtube ( DLTV 1 Channel – DLTV 1 2 Channels) , Application DLTV,
DLIT ( www. dlit. ac. th) , Application DLIT ห รื อ OBEC Content Center บ น Smart Phone
/Tablet 4) รูปแบบ Online หมายถึง การเรียนการสอนแบบออนไลน์ เป็นการศึกษาผ่านเครือข่าย
อินเทอร์เน็ตโดยผู้เรียนสามารถเลือกเรียนตามความสนใจ หรือครูอาจกาหนดเน้ือหาการเรียนรู้เพื่อให้

วิจยั ขอ้ เสนอเชงิ นโยบำยกำรจดั กำรศึกษำในสถำนกำรณ์ COVID-19 สพป.พิษณุโลก เขต 1 2

ผู้เรียนเข้าถึงเนื้อหาด้วยตนเองได้ทุกที่ทุกเวลา เนื้อหาอาจประกอบด้วย ข้อความ, รูปภาพ, เสียง,
วิดีโอ และส่ือมัลติมีเดียอ่ืน ๆ ซึ่งผู้เรียน ครู และเพ่ือนร่วมช้ันเรียนสามารถติดต่อ สื่อสาร ปรึกษา
หรือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นแบบเดียวกับการเรียนในช้ันเรียนท่ัวไป โดยใช้ช่องทางการสื่อสารผ่าน
E-mail, Chat, Social Network เป็นต้น และ 5) รูปแบบ On Hand หมายถึง การเรียนรู้โดยครูส่ง
มอบเอกสารให้ผู้เรียนทบทวนความรู้โดยตรง มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ด้วย
ตัวเอง โดยให้ความสาคัญกับการบูรณาการสาระสาคัญ กระบวนการเรียนรู้ และคุณลักษณะ
อันพงึ ประสงค์ของผู้เรยี นอย่างลงตัว (สานกั งานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน, 2564) โดยให้แต่
ละโรงเรียนได้เลือกรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามความเหมาะสมของแต่ละบริบทพื้นท่ีและของ
โรงเรียน อย่างไรก็ตาม ในการจัดการเรียนรู้แต่ละรูปแบบมีความแตกต่างในข้อดี ข้อด้อยของการจัด
องคค์ วามรู้ การพัฒนาทักษะคุณลกั ษณะ และการวดั ประเมนิ ผล ซึ่งข้อดีและข้อด้อยของแต่ละรูปแบบ
น้ียงั ต้องการการศกึ ษาวจิ ัยเพ่ือพฒั นาการจัดการเรียนรู้เพื่อผู้เรยี นเป็นสาคญั การเปล่ยี นแปลงดังกล่าว
สง่ ผลให้บุคคลต้องมีการเรยี นรู้ท่จี ะปรบั ตวั ให้ทันกับยุคและสมัย การทีบ่ ุคคลจะเรียนรู้และปรบั ตัวได้ดี
อันเน่อื งมาจากการได้รับการศึกษาท่มี ีคุณภาพ และการศึกษาท่ีมีคุณภาพจาเป็นต้องมรี ะบบการศึกษา
และการจัดการระบบท่ีดีมีคุณภาพและประสิทธิภาพในทุก ๆ ด้าน ท้ังทางด้านการบริหารจัดการ
หลักสูตรการเรียนการสอน การพัฒนาครู การพัฒนาส่ือ และแหล่งการเรียนรู้ ตลอดจนการสร้าง
ความร่วมมือและการประสานสัมพันธ์ระหว่างสถานศึกษา ผู้ปกครอง ชุมชน และองค์กรต่าง ๆ
(มหาวิทยาลยั เวสเทิรน์ , 2562 : ออนไลน์)

สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีนโยบายในการส่งเสริมให้นักวิจัยของ
สานักงานเขตพ้ืนที่การศึกษา จัดทาวิจัยเชิงพ้ืนที่ส่งเสริมวัฒนธรรมการมีส่วนร่วม และการใช้ข้อมูล
วิชาการหรือหลักฐานที่ได้จากการศึกษาเป็นส่วนสาคัญในการตัดสินใจเชิงนโยบาย จัดทานโยบาย
การจัดการเรียนรู้วิถีใหม่เพื่อให้การวิจัยแล ะการมีส่วนร่วมเป็นไปในทิศทาง ที่เป็นประโยชน์ต่อ
การกาหนดนโยบายท่ีตอบสนองต่อการจัดการเรียนรู้ในแต่ละเขตพื้นท่ีตามบริบทและความต้องการ
โดยการศึกษาสภาพการจัดการศึกษา แนวทางการจัดการศึกษาของโรงเรียนลักษณะต่าง ๆ ด้านข้อดี
ข้อเสีย โอกาส อุปสรรค (SWOT) ในการบริหารจัดการ การจัดการเรียนรู้ และการดูแลช่วยเหลือ
นักเรียน สอดคล้องกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเช้ือไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
และได้กาหนดแนวทางการบริหารการเรียนการสอน เน้นความปลอดภัยของคณะครูและบุคลากร
ทางการศึกษาและนักเรียน ให้สถานศกึ ษาเลือกรูปแบบการเรียนการสอนตามความพร้อมของนักเรียน
ผู้ปกครอง และครอบครัว รวมทงั้ อุปกรณ์ทจี่ าเป็นในการเข้าถึงการเรียนรู้แบบตา่ ง ๆ ของนักเรียนเป็น
สาคัญ ไม่ว่าจะเลือกรูปแบบใด ทุกโรงเรียนต้องตระหนักในความปลอดภัยด้านสุขภาพของนักเรียน
ครูและบุคลากรเป็นสาคัญ โดยต้องปฏิบัติตามมาตรการที่ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของ

วจิ ัยขอ้ เสนอเชิงนโยบำยกำรจัดกำรศกึ ษำในสถำนกำรณ์ COVID-19 สพป.พษิ ณุโลก เขต 1 3

โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) (ศบค.) กาหนดอย่างเคร่งครัด (สานักงานคณะกรรมการ
การศกึ ษาขนั้ พ้นื ฐาน, 2564)

สานักงานเขตพื้นท่ีการศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1 เป็นหน่วยงานทางการศึกษา
สังกัดสานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ มีภารกิจหลักในด้าน
การส่งเสริม สนับสนุนและบริหารจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในพ้ืนที่รับผิดชอบ 2 อาเภอ ประกอบด้วย
อาเภอเมืองพิษณุโลก และอาเภอบางระกา มีโรงเรียนในสังกัดจานวน 113 โรงเรียน ประกอบด้วย
โรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ จานวน 2 โรงเรียน โรงเรียนขนาดใหญ่ จานวน 4 โรงเรียน โรงเรียน
ขนาดกลาง จานวน 43 โรงเรียน และโรงเรียนขนาดเล็ก จานวน 64 โรงเรียน มีความตระหนักและ
ได้ดาเนินการวางแผนเตรียมความพร้อมรับมือกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเช้ือไวรัส
โคโรนา 2019 (COVID-19) ระลอกใหม่ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการบริหารจัดการและการจัดการเรียน
การสอนของโรงเรียนในสังกัด ประกอบกับจังหวัดพิษณุโลกได้มีคาส่ังจังหวัดพิษณุโลก ที่ 4762/2564
5544/2564 และ 6515/2564 เรอื่ ง มาตรการป้องกนั การแพรโ่ รคตดิ เชอื้ ไวรสั โคโรนา 2019 หรอื โรค
โควิด 19 (COVID-19) มาตรการปิดสถานท่ีชั่วคราว สาหรับโรงเรียน มหาวิทยาลัย สถาบันการศึกษา
สถาบันกวดวชิ า ให้ใช้การเรียนการสอนในระบบออนไลนห์ รือรูปแบบอื่น ๆ ทมี่ ิใช่การเรียนการสอนใน
ชั้นเรียน จนถึง 11 กรกฎาคม 2564 31 สิงหาคม 2564 และ 15 กันยายน 2564 ตามลาดับ ซ่ึงได้
ประกาศเปน็ ระยะ ๆ ให้สอดคล้องกบั สถานการณ์ (ศนู ย์บรหิ ารสถานการณ์ แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ
ไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จังหวัดพิษณุโลก, 2564 : ออนไลน์) สานักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1 ได้ปฏิบัติตามมติของศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชอ้ื
ไวรัสโคโรนา 2019 จังหวัดพิษณุโลก ไม่จัดการเรียนการสอนแบบ On Site มอบหมายให้สถานศึกษา
ในสังกัดได้วิเคราะหบ์ ริบท สารวจความพร้อมของสถานศึกษา ความพร้อมของผู้ปกครองและนกั เรยี น
กาหนดรูปแบบการบริหารการจัดการเรียนการสอน ออกแบบการบริหารงานและการดาเนินงานโดย
การนาเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการและมี การเว้นระยะห่าง โดยพ้ืนฐานแนวคิดเพื่อ
สร้างภูมิคุ้มกันในการทางานให้กับบุคลากร และขับเคลื่อนการดาเนินงานตามแผนงาน/โครงการ/
กิจกรรมของสานกั งานเขตพ้นื ท่กี ารศึกษาประถมศึกษาพษิ ณุโลก เขต 1 เพ่ือให้การดาเนินงานบรรลุผล
ตามเป้าหมาย เกิดผลสาเร็จตามวัตถุประสงค์ โดยได้แนวคิดมาจากการศึกษาสถานการณ์การแพร่
ระบาด ศึกษาหลักการ แนวคิด ทฤษฎีจากเอกสารและคู่มือของกระทรวงสาธารณสุขและ
กระทรวงศึกษาธิการ ตลอดจนพระราชบัญญัตินโยบายของรัฐบาล นโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ
และบริบทของสถานการณ์ในของจังหวัดพิษณุโลก โดยนาข้อมูลพื้นฐานท่ีได้มาวิเคราะห์และ
สงั เคราะหใ์ หเ้ ป็นแนวทางขบั เคลอ่ื นการดาเนนิ งานตามแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ของสานักงานเขต
พ้ืนที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1 ใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
(Professional Learning Community : PLC) ร่วมกบั ผู้บรหิ ารโรงเรียนทุกโรงเรียนในสงั กดั วางแผน

วจิ ยั ขอ้ เสนอเชิงนโยบำยกำรจดั กำรศึกษำในสถำนกำรณ์ COVID-19 สพป.พิษณุโลก เขต 1 4

กาหนดรูปแบบการจัดการเรียนการสอนและการวัดประเมินผลนักเรียน โดยนาข้อมูลในปีการศึกษา
2563 วางแผนการบริหารการจัดการเรียนการสอนในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเช้ือไวรัสโค
โรน่า 2019 (COVID-19) จัดในรปู แบบ On Air, Online, On Demand และ On Hand แต่นักเรยี นมี
ข้อจากัดในการเรียนตามเวลาของตารางเรียนในแต่ละวัน ไม่มีความพร้อมในการใช้อุปกรณ์
อิเล็กทรอนิกส์ ผู้ปกครองไม่มีเวลากากับติดตามนักเรียนตามเวลาเรียนท่ีกาหนดได้ จากสภาพปัญหา
ดังกลา่ ว ในปีการศึกษา 2564 โรงเรยี นในสังกัดทกุ โรงเรียนจึงไดก้ าหนดวิธกี ารจดั การเรยี นการสอนวิถี
ใหม่ ตามอัธยาศัยเน้นการปรับเปลี่ยนวิธีการให้สอดคล้องกับความพร้อมและความต้องการของ
นักเรียน ผู้ปกครองและครูผู้สอนใน 3 ประเด็น ประกอบด้วย 1) เวลาของนักเรียนและผู้ปกครอง
สามารถปฏิบัติกิจกรรมการเรียนประจาวนั ได้ตลอดทั้งวัน โดยไม่จากัดช่วงเวลา 2) รูปแบบการจดั การ
เรยี นการสอน เหมาะสมกบั นกั เรยี นและบรบิ ทของสถานศึกษา ใน 4 รูปแบบ คือ 2.1) Online สาหรับ
นักเรียนท่ีมีความพร้อมในด้านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และสัญญาณอินเทอร์เน็ตที่ใช้ ในการเรียน สามารถ
ออนไลน์ได้ตลอดเวลา ปฏิบัติกิจกรรมพร้อมครูผ้สู อน ผ่านแพลตฟอร์ม Line Meeting และ LINE Call
มีครูเป็นผู้จัดประสบการณ์ ให้นักเรียนได้เรียนรู้ร่วมกัน 2.2) On Demand สาหรับนักเรียนท่ีมีความ
พร้อมในด้านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และสัญญาณอินเตอร์เน็ตแต่มีข้อจากัดในเร่ืองเวลาเรียน ไม่
สามารถออนไลน์ได้ตลอดเวลา นักเรียนสามารถกลับมาดูส่ือการเรียนออนไลน์ย้อนหลังได้ในช่วงเวลา
ที่พร้อม ผ่าน Application LINE ประจาชั้นเรียน 2.3) ON Hand สาหรับนักเรยี นท่ีมีข้อจากัดในเรอื่ ง
อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ไม่สามารถใช้สาหรับการเรียนออนไลน์ได้ ครูผู้สอนได้จัดทาใบงานและใบ
ความรใู้ หน้ กั เรยี นสามารถนากลบั ไปเรยี นที่บ้านได้ โดยมตี ารางสอน และคาชีแ้ จงรายละเอยี ดทีช่ ัดเจน
นักเรียนสามารถปฏิบัติตามได้ 2.4) On-Air เรียนผ่านมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมในพระ
บรมราชูปถัมภ์ หรือ DLTV 3) เทคนิควิธีการสอนของครู ครูใช้เทคนิควิธีการจัดการเรียนรู้ที่
หลากหลายปรับเปลี่ยนกระบวนการจัดการเรยี นรใู้ ห้เหมาะสมกับบริบทของรายวชิ า ระดับของผู้เรยี น
และตามความพร้อมของนักเรียนท่ีจาเป็นในศตวรรษที่ 21 รู้จักคิด รักการเรียนรู้ มีสานึกพลเมือง มี
ความกล้าหาญทางจริยธรรมมีความสามารถ ในการแก้ปัญหา ปรับตัว ส่อื สาร และทางานรว่ มกับผู้อ่ืน
ได้ (สานักงานเขตพ้นื ทีก่ ารศึกษาประถมศกึ ษาพิษณุโลก เขต 1, 2564)

จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้น สานักงานเขตพ้ืนที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลกเขต 1 จึงได้
ดาเนินการวิจัย โดยวิเคราะห์สภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนลักษณะต่าง ๆ ในสังกัด พัฒนา
แนวทางการจัดการศึกษา และจัดทาข้อเสนอเชิงนโยบายการจัดการศึกษาในสถานการณ์การแพร่
ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เสนอสานักงานคณะกรรมการการศึกษา
ข้ันพ้ืนฐาน และใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนและพัฒนาโรงเรียนในสังกัดทุกโรงเรียน ทุกลักษณะให้มี
แนวทางการบริหาร การจดั การเรียนรู้ ไปในทิศทางท่ีถกู ตอ้ งตามแนวทางของกระทรวงศึกษาธกิ ารและ
การดแู ลชว่ ยเหลือนักเรียนใหไ้ ด้รับการส่งเสรมิ ในทกุ ดา้ นอยา่ งเต็มศักยภาพ

วจิ ยั ขอ้ เสนอเชิงนโยบำยกำรจดั กำรศกึ ษำในสถำนกำรณ์ COVID-19 สพป.พษิ ณโุ ลก เขต 1 5

วตั ถปุ ระสงค์
การวิจัยข้อเสนอเชิงนโยบายการจัดการศึกษาในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ

ไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ปกี ารศกึ ษา 2564 ในครัง้ นี้ มวี ตั ถปุ ระสงค์เพื่อ
1. เพ่ือศึกษาสภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนลักษณะต่าง ๆ ด้านข้อดี ข้อเสีย โอกาส

อปุ สรรค (SWOT) ในการบรหิ ารจดั การ การจดั การเรียนรู้ และการดูแลชว่ ยเหลือนกั เรยี น
2. ศึกษาแนวทางการจัดการศึกษาเพ่ือพัฒนาโรงเรียนทุกลักษณะ ในการบริหารจัดการ

การจดั การเรยี นรู้ และการดูแลช่วยเหลอื นกั เรยี น
3. จัดทาข้อเสนอเชิงนโยบายการจัดการศึกษาในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเช้ือ

ไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในระดับเขตพ้ืนที่การศึกษา และระดับสานักงานคณะกรรมการ
การศกึ ษาขั้นพน้ื ฐาน

คำถำมกำรวจิ ยั
คำถำมที่ 1 สานักงานเขตพ้ืนท่ีการศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลกเขต 1 มีจานวนโรงเรียนใน

สังกัดกี่โรงเรยี น และจัดการเรยี นการสอนระดับใด จาแนกเป็น
1. จานวนโรงเรียนขนาดเล็ก ขนาดกลาง ขนาดขนาดใหญ่ และขนาดใหญ่พิเศษ
2. จานวนโรงเรียนคุณภาพระดับประถมศึกษา โรงเรียนคุณภาพระดับมัธยมศึกษา และ

โรงเรยี นขนาดเล็กที่ดารงอยู่ไดด้ ้วยตนเอง (Stand Alone)
3. จานวนโรงเรียนที่ใช้พื้นที่เป็นโรงพยาบาลสนาม สถานที่กักตัว และสถานท่ีพักคอย
4. โรงเรียนท่ีจัดบรรเทาสถานการณ์ด้านอ่ืน ๆ เช่น ปลูกสมุนไพรทางเลือก

ผลติ แอลกอฮอล์ จติ อาสา
คำถำมท่ี 2 โรงเรียนแต่ละลักษณะในสังกัดสานักงานเขตพ้ืนที่การศึกษาประถมศึกษา

พิษณุโลกเขต 1 มีการดาเนินการบริหารจัดการ การจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการบริหารการจัดการ
เรียนการสอน 5 รูปแบบ ได้แก่ รูปแบบ On Site, On-Air, Online, On Demand และ On Hand
หรือรปู แบบอืน่ ๆ และการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ด้านการเรยี นรู้ ด้านการติดตามสง่ ตอ่ การเรยี นรู้จาก
ระดบั ประถมศึกษา ระดบั มธั ยมศกึ ษาตอนตน้ และระดบั มัธยมศกึ ษาตอนปลาย อย่างไร

คำถำมท่ี 3 สานักงานเขตพ้ืนท่ีการศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลกเขต 1 มีนโยบายการจัด
การศึกษาในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเช้ือไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และแนวทาง
การพฒั นาโรงเรยี นแต่ละลักษณะเป็นอยา่ งไร

วิจยั ขอ้ เสนอเชงิ นโยบำยกำรจดั กำรศกึ ษำในสถำนกำรณ์ COVID-19 สพป.พิษณโุ ลก เขต 1 6

ขอบเขตกำรวจิ ัย

1. ขอบเขตด้ำนแหลง่ ข้อมูล

ในการวิจยั ครง้ั น้ี ไดก้ าหนดแหล่งข้อมลู ในการวจิ ยั ดังน้ี

โรงเรียนในสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1 จานวน 113

โรงเรยี น ประกอบด้วย

1.1 ขนาดโรงเรียนในสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1

1.1.1 โรงเรียนขนาดเล็ก จานวน 64 โรงเรยี น

1.1.2 โรงเรยี นขนาดกลาง จานวน 43 โรงเรยี น

1.1.3 โรงเรียนขนาดใหญ่ จานวน 4 โรงเรียน

1.1.4 โรงเรยี นขนาดใหญ่พิเศษ จานวน 2 โรงเรียน

1.2 โรงเรียนคุณภาพระดับประถมศึกษา จานวน 1 โรงเรียน คือ โรงเรียนบ้านปลักแรด

1.3 โรงเรียนท่ใี ชพ้ ื้นที่เป็นศูนย์พักคอย (CI : Community Isolation) จานวน 4 โรงเรยี น

ประกอบด้วย

1.3.1 โรงเรียนนิคมบางระกา 2 (ราษฎร์บารุง) หมู่ที่ 2 บ้านบ้านผัง 3 ตาบลนิคมพัฒนา

อาเภอบางระกา จังหวัดพิษณุโลก 65140 จานวน 40 เตยี ง

1.3.2 โรงเรียนวัดดงโคกขาม หมู่ที่ 2 บ้านดงโคกขาม ตาบลปลักแรด อาเภอบาง

ระกา จังหวดั พิษณุโลก 65140 จานวน 12 เตียง

1.3.3 โรงเรยี นบ้านปลกั แรด หมูท่ 1ี่ บ้านปลกั แรด ตาบลปลักแรด อาเภอบางระกา

จังหวัดพิษณโุ ลก 65140 จานวน 52 เตยี ง

1.3.4 โรงเรยี นวัดบา้ นไร่ หม่ทู ี่ 12 บ้านบา้ นไร่ - บงึ กัง ตาบลดอนทอง อาเภอเมอื งพิษณโุ ลก

จังหวดั พษิ ณโุ ลก 65000 จานวน 2 เตียง

1.4 โรงเรียนท่ีใช้พ้ืนท่ีเป็นสถานท่ีกักตัวเพื่อสังเกตอาการเริ่มป่วย ( LQ : Local

Quarantine) จานวน 2 โรงเรียน ประกอบดว้ ย

1.4.1 โรงเรียนบ้านบางแก้ว หมู่ที่ 3 บ้านบางแก้ว ตาบลท่านางงาม อาเภอบางระกา

จังหวัดพษิ ณุโลก 65140 จานวน 2 ครอบครวั (ยุบเลกิ แล้ว)

1.4.2 โรงเรียนวัดดอนอภัย หมู่ที่ 10 บ้านหนองตาเขียว ตาบลบ่อทอง อาเภอ

บางระกา จงั หวัดพิษณุโลก 65140 จานวน 3 เตยี ง

1.5 โรงเรยี นทีจ่ ัดบรรเทาสถานการณด์ า้ นอืน่ ๆ ได้แก่

1.5.1 โรงเรียนวัดบา้ นดง

1.5.2 โรงเรยี นวดั สมอแข (พิณพลราษฎร์บารงุ )

วิจัยขอ้ เสนอเชิงนโยบำยกำรจดั กำรศกึ ษำในสถำนกำรณ์ COVID-19 สพป.พษิ ณโุ ลก เขต 1 7

1.6 โรงเรยี นท่ีจัดการศกึ ษาโดดเดน่ ได้แก่
1.6.1 โรงเรียนอนบุ าลพิษณโุ ลก
1.6.2 โรงเรยี นจ่าการบุญ
1.6.3 โรงเรยี นวัดยาง (มีมานะวิทยา)
1.6.4 โรงเรยี นวัดอรญั ญกิ
1.6.5 โรงเรียนวัดบงึ พระ(เหรยี ญ จัน่ อนุสรณ์)
1.6.6 โรงเรยี นบ้านปลกั แรด

2. ขอบเขตด้ำนเน้ือหำ
2.1 การจัดการศึกษาในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเช้ือไวรัสโคโรนา 2019

(COVID-19) จาแนกเป็น
2.1.1 ดา้ นการดาเนินการบริหารจดั การ
2.1.2 ดา้ นการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการบริหารการจัดการเรียนการสอน
2.1.3 ดา้ นการดูแลชว่ ยเหลือนกั เรียน

2.2 ข้อเสนอเชิงนโยบายการจัดการศึกษาในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเช้ือ
ไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในระดับเขตพื้นที่การศึกษา และระดับสานักงานคณะกรรมการ
การศึกษาขั้นพื้นฐาน

2.2.1 นโยบายและแนวทางการบรหิ ารจดั การการศกึ ษาของโรงเรียน
2.2.2 นโยบายและแนวทางการจดั การเรยี นร้เู พอื่ พัฒนาคุณภาพผ้เู รยี นรูปแบบต่าง ๆ
5 On หรือรปู แบบอ่ืน ๆ)
2.2.3 นโยบายและแนวทางการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ด้านการเรียนรู้ การส่งต่อ
นกั เรียนและความปลอดภยั จาแนกตามลกั ษณะโรงเรียน โดยแบ่งเปน็

1) นโยบายการจดั การศึกษาระดับปฐมวยั
2) นโยบายการจัดการศกึ ษาระดบั ประถมศึกษาตอนตน้
3) นโยบายการจัดการศึกษาระดับประถมศึกษาตอนปลาย
4) นโยบายการจดั การศกึ ษาระดับมัธยมศกึ ษาตอนต้น
5) นโยบายการจดั การศึกษาระดบั มัธยมศึกษาตอนปลาย

วจิ ัยข้อเสนอเชิงนโยบำยกำรจัดกำรศกึ ษำในสถำนกำรณ์ COVID-19 สพป.พษิ ณุโลก เขต 1 8

3. ขอบเขตด้ำนตวั แปร
3.1 การจัดการศึกษาในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเช้ือไวรัสโคโรนา 2019

(COVID-19) จาแนกเป็น
3.1.1 ดา้ นการดาเนนิ การบริหารจดั การ
3.1.2 ดา้ นการจดั การเรียนรตู้ ามรูปแบบการบริหารการจัดการเรยี นการสอน
3.1.3 ด้านการดแู ลชว่ ยเหลอื นกั เรยี น

3.2 ข้อเสนอเชิงนโยบายการจัดการศึกษาในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเช้ือ
ไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในระดับเขตพื้นที่การศึกษา และระดับสานักงานคณะกรรมการ
การศึกษาขน้ั พ้นื ฐาน

3.2.1 นโยบายและแนวทางการบริหารจัดการการศึกษาของโรงเรียน
3.2.2 นโยบายและแนวทางการจัดการเรยี นรู้เพื่อพฒั นาคุณภาพผเู้ รียนรูปแบบต่าง ๆ
(5 On หรือรปู แบบอื่นๆ)
3.2.3 นโยบายและแนวทางการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ด้านการเรียนรู้ การส่งต่อ
นกั เรียนและความปลอดภัย จาแนกตามลักษณะโรงเรยี น โดยแบ่งเปน็

1) นโยบายการจดั การศกึ ษาระดบั ปฐมวยั
2) นโยบายการจดั การศึกษาระดับประถมศึกษาตอนตน้
3) นโยบายการจดั การศึกษาระดบั ประถมศึกษาตอนปลาย
4) นโยบายการจัดการศกึ ษาระดับมธั ยมศกึ ษาตอนต้น
5) นโยบายการจดั การศึกษาระดบั มัธยมศึกษาตอนปลาย

4. ขอบเขตดำ้ นเวลำ
ระยะเวลาในการวิจัย ปีการศกึ ษา 2564

ประโยชน์ที่ได้รบั
ข้อเสนอเชิงนโยบายการจัดการศึกษาในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส

โคโรนา 2019 (COVID-19) ประกอบด้วย
1. นโยบายและแนวทางการบรหิ ารจดั การการศึกษาของโรงเรียน
2. นโยบายและแนวทางการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนรูปแบบต่าง ๆ (5 On

หรอื รูปแบบอน่ื ๆ)
3. นโยบายและแนวทางการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ด้านการเรียนรู้ การส่งต่อนักเรียนและ

ความปลอดภัย

วจิ ยั ข้อเสนอเชิงนโยบำยกำรจดั กำรศกึ ษำในสถำนกำรณ์ COVID-19 สพป.พษิ ณุโลก เขต 1 9

(โดยจาแนกตามลักษณะโรงเรียน โดยแบ่งเป็นนโยบายการจัดการศึกษาระดับปฐมวัย
ประถมศึกษาตอนต้น ประถมศึกษาตอนปลาย มธั ยมศึกษาตอนต้น มธั ยมศกึ ษาตอนปลาย)

นิยำมศัพท์เฉพำะ
ขนำดโรงเรียน หมายถึง การแบ่งประเภทโรงเรียน โดยใช้เกณฑ์ตามจานวนผู้เรียนตาม

ภารกิจของการรายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเช้ือไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
ปกี ารศึกษา 2564 ดงั นี้

1. โรงเรยี นขนำดเลก็ หมายถึง โรงเรียนที่มีจานวนนักเรียนตงั้ แต่ 119 คนลงมา
2. โรงเรยี นขนำดกลำง หมายถึง โรงเรียนทมี่ จี านวนนกั เรยี นต้งั แต่ 120 - 719 คน
3. โรงเรียนขนำดใหญ่ หมายถึง โรงเรยี นท่ีมจี านวนนกั เรยี นตง้ั แต่ 720- 1,679 คน
4. โรงเรียนขนำดใหญพ่ เิ ศษ หมายถงึ โรงเรียนทม่ี ีจานวนนักเรยี นตัง้ แต่ 1,680 คนขึน้ ไป
สถำนท่ีพักคอย หมายถึง สถานที่ให้ผู้ป่วยโควิดระดับสีเขียวอยู่ระหว่างการรอส่งต่อ
โรงพยาบาลสนามหรือโรงพยาบาลหลัก ใชเ้ ป็นสถานท่ีสาหรบั ดแู ลรักษาเบ้ืองตน้ ระหวา่ งรอเตยี ง
สถำนที่กักตัว หมายถึงสถานท่ีให้ผู้ป่วยโควิดรท่ีผู้เดินทางมาจากจังหวัดควบคุมสูงสุด และ
จงั หวัดเสย่ี งสาหรบั บุคคลที่เขา้ ข่ายความเสี่ยงตดิ เช้อื ถึงจะเรม่ิ การกกั ตวั เอง 14 วนั เพื่อรอดอู าการ
โรงเรียนคุณภำพ หมำยถึง โรงเรียนที่ได้รับการคัดเลือกตามนโยบายของกระทรวง
ศึกษาธกิ ารตามโครงการโรงเรยี นคุณภาพของชุมชน โรงเรยี นมัธยมดีสม่ี ุมเมือง และโรงเรยี นขนาดเล็ก
ท่ีดารงอยู่ได้ด้วยตนเอง (Stand Alone) เพ่ือลดความเหลื่อมล้าและเพ่ิมโอกาสทางการศึกษา โดยได้
กาหนดให้มีการบูรณาการ ด้านการศึกษาและได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนในโครงการเป็น 3 รูปแบบ ได้แก่
โรงเรยี นคณุ ภาพระดับประถมศึกษา โรงเรียนคุณภาพระดับมัธยมศึกษา และโรงเรยี นขนาดเล็กที่ดารง
อยู่ได้ด้วยตนเอง (Stand Alone)
กำรจัดกำรเรียนรู้วิถีใหม่ (New normal Learning) หมายถึง การจัดการเรียนรู้เป็นความ
ปกติใหม่เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ผ่าน Platform และวิธีการเรียนรู้ที่หลากหลาย มีความพอเพียง และ
ตอบสนองความต้องการของผู้เรียนได้อย่างแท้จริง โดยครูผู้สอนเป็นบุคคลท่ีมีความสาคัญในการที่
จะออกแบบการเรียนรู้อย่างมืออาชีพ (Professional) เรียนรู้และปรับตัวให้สอดรับกับสถาพวิถีใหม่
(New normal) เพ่ือนามาใช้ในการจัดการเรียนรู้อย่างจริงจัง มุ่งเน้นการเปิดพื้นที่ ให้ผู้เรียนได้ใช้
ความสามารถของตนเองอย่างสูงสดุ ในการเรยี นรู้ และนาไปใช้ประโยชน์ต่อสว่ นรวม
ข้อเสนอเชิงนโยบำยกำรจัดกำรเรียนรู้วิถีใหม่ หมายถึง ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัยเชิง
พื้นท่ีของสานักงานเขตพ้ืนที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1 เพ่ือเสนอสานักงาน
คณะกรรมการการศึกษาข้ันพ้ืนฐาน ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเช้ือไวรัสโคโรนา 2019
(COVID-19) ประกอบด้วย

วิจยั ขอ้ เสนอเชงิ นโยบำยกำรจดั กำรศกึ ษำในสถำนกำรณ์ COVID-19 สพป.พษิ ณุโลก เขต 1 10

1. นโยบายและแนวทางการบริหารจัดการการศึกษาของโรงเรียนในสังกัด สานักงานเขต
พน้ื ทก่ี ารศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1

2. นโยบายและแนวทางการจัดการเรยี นรูเ้ พ่ือพฒั นาคณุ ภาพผูเ้ รียนรูปแบบต่าง ๆ (5 On
หรอื รปู แบบอน่ื ๆ)

3. นโยบายและแนวทางการดแู ลช่วยเหลอื นักเรียน ด้านการเรียนรู้ การส่งต่อนักเรียนและ
ความปลอดภัยโดยจาแนกตามลักษณะโรงเรียน โดยแบ่งเป็นนโยบายการจัดการศึกษาระดับปฐมวัย
ระดับประถมศึกษาตอนต้น ระดับประถมศึกษาตอนปลาย ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และระดับ
มัธยมศึกษาตอนปลาย

รูปแบบกำรบริหำรกำรจัดกำรเรียนกำรสอนในสถำนกำรณ์กำรแพร่ระบำดของเช้ือไวรัส
โคโรนำ 2019 (COVID-19) หมายถึง รูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามนโยบายของสานักงาน
คณะกรรมการการศกึ ษาขั้นพนื้ ฐาน ประกอบดว้ ย 5 รปู แบบ ได้แก่

1. รูปแบบ On Site หมายถึง การเรียนการสอนท่ีเน้นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ใน
โรงเรยี นหรอื ในชน้ั เรียนเป็นหลกั โดยครูผสู้ อนสามารถนารปู แบบการเรยี นการสอนอื่น ๆ มาบูรณาการ
ใช้กับการเรียนในชั้นเรียนได้ เช่น การเรียนผ่านโทรทัศน์ (On-Air) หรือ การเรียนผ่านอินเทอร์เน็ต
(Online) เป็นต้น โรงเรียนมีการปฏิบัติตามมาตรการด้านสาธารณสุข และมาตรการของ
กระทรวงศึกษาธิการมีแนวทางการวัดผลและประเมินผลให้สอดคล้องกับบริบทการจัดการเรียน
การสอน

2. รูปแบบ On Air หมายถึง การเรียนการสอนทางไกลผ่านโทรทัศน์ในระบบดิจิทัลและ
ระบบดาวเทียม ผ่าน DLTV (Distance Learning Television) โดยมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่าน
ดาวเทยี มในพระบรมราชปู ถัมภ์ ท้งั การออกอากาศตามตาราง และการเรยี นย้อนหลัง

3. รูปแบบ On Demand หมายถึง การจัดการเรียนการสอนผานสื่ออิเล็กทรอนิกส
สาหรับนักเรียนท่ีสามารถเรียนรู ผ านเว็บไซต DLTV (www.dltv.ac.th), Youtube (DLTV 1
Channel –DLTV 12 Channels), Application DLTV, DLIT (www.dlit.ac.th), Application DLIT
หรือ OBEC Content Center บน Smart Phone /Tablet

4. รูปแบบ Online หมายถึง การเรียนการสอนแบบออนไลน์ เป็นการศึกษาผ่าน
เครือข่ายอินเทอร์เน็ตโดยผู้เรียนสามารถเลือกเรียนตามความสนใจ หรือครูอาจกาหนดเน้ือหา
การเรียนรู้เพ่ือให้ผู้เรียนเข้าถึงเนื้อหาด้วยตนเองได้ทุกท่ีทุกเวลา เน้ือหาอาจประกอบด้วย ข้อความ,
รูปภาพ, เสียง, วิดีโอ และส่ือมัลติมีเดียอ่ืน ๆ ซึ่งผู้เรียน ครู และเพื่อนร่วมช้ันเรียนสามารถติดต่อ
สื่อสาร ปรึกษา หรือแลกเปล่ียนความคิดเห็นแบบเดียวกับการเรียนในชั้นเรียนทั่วไป โดยใช้ช่อง
ทางการส่อื สารผา่ น E-mail, Chat, Social Network เปน็ ต้น

วิจยั ข้อเสนอเชงิ นโยบำยกำรจดั กำรศึกษำในสถำนกำรณ์ COVID-19 สพป.พิษณโุ ลก เขต 1 11

5. รปู แบบ On Hand หมายถึง การเรียนรโู้ ดยครสู ง่ มอบเอกสารใหผ้ ้เู รียนทบทวนความรู้
โดยตรง มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยตัวเอง โดยให้ความสาคัญกับ
การบูรณาการสาระสาคัญ กระบวนการเรยี นรู้ และคณุ ลกั ษณะอันพึงประสงคข์ องผู้เรียนอย่างลงตวั

แนวทำงกำรจัดกำรศึกษำ หมายถึง การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน/ประสบการณการ
เรียนรู้เพ่ือให้ผู้เรียนไดรับประสบการณจนเกิดการเรียนรู้เพื่อใหผูเรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติ
ทส่ี อดคลองกบั ความถนัดและ ความสนใจ เหมาะสมแกวยั และศักยภาพของผูเรยี น เพอื่ ใหการเรียนรู
เกิดข้นึ ไดทุกเวลาทกุ สถานที่

กำรบริหำรจัดกำร หมายถึง กระบวนการในการทางานโดยมีผู้บริหารสถานศึกษาปฏิบัติ
ภารกิจอย่างเป็นระบบบริหารงานในสถานศึกษา ตามหลักการบรหิ ารดว้ ย 4M ประกอบด้วย

1. Man หรือคน หมายถึง การบริหารกาลังคน จะใช้คนอย่างไรให้เกิดประสิทธิภาพ
และประสทิ ธิผลกับงานใหม้ ากทสี่ ดุ

2. Money หรือเงิน หมายถึง การบริหารงบประมาณ จะจัดสรร ใช้บริหารอย่างไรให้เกดิ
ประสิทธภิ าพและประสิทธิผล

3. Materials หรือวัตถุดิบ หมายถึง การบริหารวัสดุในการดาเนินงาน ว่าจะทาอย่างไร
ให้สน้ิ เปลืองน้อยท่ีสดุ หรือเกดิ ประโยนส์ งู สดุ

4. Management หรือกำรจัดกำร หมายถึง กระบวนการบริหารจัดการจัด การควบคุม
เพื่อให้งานทงั้ หมดเปน็ ไปอยา่ งมปี ระสทิ ธิภาพ และเกดิ ประสิทธิผลอย่างเต็มท่ี

กำรจัดกำรเรียนรู้ หมายถึง กระบวนการท่ีมีระบบระเบียบคลอบคลุมการดาเนินการ ตั้งแต่
การวางแผน การจัดการเรียนรู้ จนถึงการประเมินผลการประเมินผลการเรียนรู้ (Evaluation)
หลังการเรียนการสอนและบุคคลได้ใช้ความรู้ของตนเองอย่างสร้างสรรค์เพ่ือสนับสนุนให้ผู้อื่นเกิด
การเรียนรู้ และมีความผาสุก

กำรดูแลช่วยเหลือนักเรียน หมายถึง กระบวนการดาเนินงานดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่าง
เป็นระบบ มีข้ันตอน มีครูที่ปรึกษาเป็นบุคลากรหลักในการดาเนินงานโดยการมีส่วนร่วมของบุคลากร
ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและนอกสถานศึกษา ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง ชุมชน
ผู้บริหารและครูทุกคน มีวิธีการและเคร่ืองมือที่ชัดเจน มีมาตรฐานคุณภาพและมีหลักฐานการทา งาน
ทตี่ รวจสอบได้

บทที่ 2

เอกสารและงานวิจยั ที่เก่ียวขอ้ ง

ในการวิจัยคร้ังน้ี ผู้วิจัยได้ศึกษาแนวคิดและความรู้พ้ืนฐานจากเอกสารและงานวิจัยต่าง ๆ
ท่ีเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
2019 (COVID-19) ท้ังในประเทศและต่างประเทศ และแนวคิดเก่ียวกับการจัดทาข้อเสนอเชิงนโยบาย
เพ่ือเป็นพ้ืนฐานในการสร้างความรู้ความเข้าใจและกาหนดกรอบเบ้ืองต้นของการวิจัย โดยศึกษา
สาระสาคัญในประเด็นตอ่ ไปน้ี

ตอนที่ 1 หลักการจัดการศึกษาในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเช้ือไวรัสโคโรนา
2019 (COVID-19)

1.1 ความหมาย หลกั การ และรูปแบบในการจัดการเรียนรู้
1.2 แนวคิดและรูปแบบการจัดการเรียนรู้ในในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติด
เชอ้ื ไวรสั โคโรนา 2019 (COVID-19)
ตอนท่ี 2 แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ในสถานการณก์ ารแพร่ระบาดของโรคติดเช้ือไวรสั
โคโรนา 2019 (COVID-19)
2.1 นโยบายและแนวทางการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติด
เชอ้ื ไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในประเทศไทย
2.2 นโยบายและแนวทางการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติด
เชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในต่างประเทศ
ตอนที่ 3 แนวคิดเก่ียวกบั การจดั ทาขอ้ เสนอเชงิ นโยบาย
3.1 ความหมาย ความสาคัญ
3.2 ลกั ษณะสาคัญข้อเสนอเชิงนโยบาย/องค์ประกอบของข้อเสนอเชงิ นโยบาย
3.3 กระบวนการจดั ทาขอ้ เสนอเชิงนโยบาย
ตอนท่ี 4 งานวจิ ัยทเ่ี กีย่ วขอ้ ง
4.1 งานวจิ ยั ในประเทศ
4.2 งานวจิ ยั ตา่ งประเทศ

วจิ ัยข้อเสนอเชิงนโยบายการจัดการศกึ ษาในสถานการณ์ COVID-19 สพป.พษิ ณโุ ลก เขต 1 13

ตอนที่ 1 หลักการจัดการศึกษาในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
(COVID-19)
1.1 ความหมาย หลกั การ และหลกั การการจัดการเรยี นรู้
1.1.1 ความหมายของการจดั การเรียนรู้
นกั วิชาการไดใ้ หค้ วามหมายของการจัดการเรียนรู้ ไวด้ ังนี้
วิชัย ประสิทธ์วุฒิเวชช์ (2552 : 255) ได้กล่าวว่า การจัดการเรียนรู้เป็นกระบวนการ

ท่ีมีระบบระเบียบครอบคลุมการดาเนินการ ตงั้ แต่การวางแผน การจัดการเรยี นรู้ จนถงึ การประเมินผล
สุวิทย์ มลู คา (2559 : 6) กลา่ วว่า การจัดการเรยี นรู้คือสภาพการเรียนรู้ท่ีกาหนดขึ้น

เพ่ือนาผู้เรียนไปสู่เป้าหมายหรือจุดประสงค์การเรียนการสอนท่ีกาหนด ซึ่งหมายความรวมไปถึงรูปแบบ
การสอน วธิ สี อน และเทคนิคการสอน

กระทรวงศกึ ษาธกิ าร (2561 : 5) สรุปไว้ว่าการจดั การเรียนรูเ้ ป็นกระบวนการสาคญั
ในการนาหลักสูตรสู่การปฏิบัติ หรือหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพ้ืนฐานเป็นหลักสูตรที่มีมาตรฐาน
การเรยี นรู้ สมรรถนะสาคญั และคุณลักษณะอนั พงึ ประสงค์ของผเู้ รียน เปน็ เปา้ หมายสาหรับพัฒนาเดก็ และ
เยาวชน ในการพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณสมบัติตามเป้าหมายหลักสูตร ผู้สอนพยายามคัดสรรกระบวนการ
เรียนรู้ จัดการเรียนรู้โดยช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ผ่านสาระที่กาหนดไว้ในหลักสูตร 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้
รวมท้งั ปลกู ฝงั เสริมสรา้ งคุณลกั ษณะอนั พึงประสงค์ พฒั นาทักษะต่าง ๆ อันเป็นสมรรถนะสาคญั ให้ผเู้ รยี น
บรรลตุ ามเป้าหมาย

Hough and Duncan (2012: 144) ได้อธิบายความหมายของการจัดการเรียนรู้
ว่าหมายถึง กิจกรรมที่บุคคลได้ใช้ความรู้ของตนเองอย่างสร้างสรรค์เพื่อสนับสนุนให้ผู้อ่ืนเกิดการเรียนรู้
และมีความสุข การจัดการเรียนรู้จึงเป็นกิจกรรมในแง่มุมต่าง ๆ 4 ด้านดังนี้ (1) ด้านหลักสูตร หมายถึง
การศึกษาถึงจุดมุ่งหมายของการเรียน มีความเข้าใจในจุดประสงค์รายวิชา และการต้ังจุดประสงค์
การเรียนรู้ท่ีชัดเจนและเลือกเน้ือหาได้เหมาะสมกับท้องถ่ิน (2) การจัดการเรียนรู้ หมายถึง การเลือกวิธี
สอนและวิธีจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสม เพ่ือช่วยให้ผู้เรียนบรรลุตามจุดประสงค์การเรียนรู้ท่ีกาหนดไว้
(3) การวัดผล หมายถึง การเลือกวิธีวัดผลและประเมินที่เหมาะสมและและสามารถวิเคราะห์ผลได้ และ
(4) การประเมินผลการจัดการเรียนรู้ หมายถึง ความสามารถในการประเมินผลหลงั การจัดการเรียนรู้

Hills (2012: 266) ให้ความหมายของการจัดการเรียนรู้ว่า หมายถึง กระบวนการ
ใหก้ ารศกึ ษาแก่ผ้เู รียน ซ่งึ จะต้องอาศัยปฏสิ มั พนั ธร์ ะหวา่ งผูส้ อนกับผู้เรยี น

สรุปได้ว่า การจัดการเรียนรู้ หมายถึง สภาพการเรียนรู้ที่กาหนดข้ึนเพื่อให้ผู้เรียน
ไปสู่เป้าหมายหรือจุดประสงค์การเรียนการสอนที่ได้มีการกาหนดไว้ มกี ารวางแผนการจัดการเรียนรู้ จนถึง

วิจัยขอ้ เสนอเชงิ นโยบายการจัดการศึกษาในสถานการณ์ COVID-19 สพป.พิษณโุ ลก เขต 1 14

การประเมินผล ซ่ึงในการจัดการเรียนรู้มีความสัมพันธ์และมีปฏิสัมพันธ์เกิดขึ้นระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน
ผู้เรียนกับผู้เรียน ผู้เรียนกับส่ิงแวดล้อม และผู้สอนกับสิ่งแวดล้อม ซ่ึงความสัมพันธ์และการมีปฏิสัมพันธ์
กอ่ ใหเ้ กิดการเรียนรู้และประสบการณ์ใหมท่ ผี่ ู้เรียนสามารถนาประสบการณ์ใหม่นนั้ ไปใชไ้ ด้

1.1.2 หลักการในการจดั การเรยี นรู้
กระทรวงศึกษาธิการ (2561 : 25) ไดใ้ หห้ ลักการในการจดั การเรยี นรู้ว่าตอ้ งให้ผเู้ รยี น

มีความรู้ความสามารถตามมาตรฐานการเรียนรู้ สมรรถนะสาคัญและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามที่
กาหนดไว้ในหลักสตู รแกนกลางการศึกษาขั้นพ้นื ฐาน โดยยดึ หลกั วา่ ผ้เู รยี นมีความสาคัญทสี่ ุดเช่ือว่าทุกคน
มีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ ยึดประโยชนท์ ่เี กิดข้ึนกับผู้เรียน กระบวนการจัดการเรียนรู้ต้อง
ส่งเสริมให้ผูเ้ รยี นสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ คานึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล
และพัฒนาการทางสมอง เน้นใหค้ วามสาคญั ทัง้ ความรู้ และคุณธรรม

จากหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 ได้ให้หลักการท่ีสาคัญ
ในการจัดการเรียนรไู้ ว้ ดังน้ี

1. การจัดการเรียนรู้ท่ีเน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ เป็นการจัดการเรียนรู้ที่ยึดหลักการว่า
ผูเ้ รยี นทกุ คนสามารถเรียนร้ไู ดโ้ ดยการจัดวธิ ีการเรยี นรู้ใหเ้ หมาะสมกับความสามารถของผู้เรียนแต่ละคนให้
สามารถพัฒนาตนเองได้ การจัดการเรียนรู้ควรเป็นส่ิงท่ีมีความหมายต่อผู้เรียน ให้ผู้เรียนมีความสุขใน
การเรียนรู้ ได้ลงมือศกึ ษาค้นคว้า คดิ แกป้ ัญหาและปฏิบัตงิ านเพ่ือสร้างความรู้ได้ด้วยตนเอง โดยมีครูผสู้ อน
เปน็ ผสู้ ง่ เสริมสนับสนนุ จัดสถานการณ์ให้เออื้ ต่อการเรยี นรู้

2. การจัดการเรียนรู้ที่คานึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล เป็นการให้ความสาคัญ
ของความแตกต่างระหว่างผู้เรียน เพื่อวางรากฐานชีวิตให้เจริญงอกงามอย่างสมบูรณ์ มีพัฒนาการสมวัย
อย่างสมดุล ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา การจัดการเรียนรู้ต้องส่งเสริมให้ผู้เรียน
ได้ค้นพบและแสดงออกถึงศักยภาพของตนเอง ครูผู้สอนจึงควรมีข้อมูลผู้เรียนเป็นรายบุคคลสาหรับใช้ใน
การวางแผนการจดั กจิ กรรมการเรียนรู้และนาไปพัฒนาผเู้ รียนให้เหมาะสมกบั ความแตกต่างของผู้เรียน

3. การจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับพัฒนาการทางสมอง โดยเป็นการจัดกิจกรรม
การเรียนรู้ที่มุ่งเน้นให้ผูเ้ รยี นได้รับการพัฒนาได้อย่างเหมาะสมกับการทางานของสมอง การเชื่อมโยงวงจร
สมอง พัฒนาการทางอารมณ์ ซ่ึงจะส่งผลให้ผู้เรียนมีจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ ทางาน และ
อยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข โดยใช้ประสบการณ์ตรงด้านร่างกายท่ีเป็นรูปธรรม ข้อเท็จจริงและทักษะ
ด้านต่าง ๆ ทป่ี รากฏในชวี ิตจริงตามธรรมชาติเปน็ เครื่องมือในการจดั การเรยี นรู้ใหส้ อดคล้องกบั พัฒนาการ
ทางสมอง

วิจยั ข้อเสนอเชิงนโยบายการจดั การศึกษาในสถานการณ์ COVID-19 สพป.พิษณโุ ลก เขต 1 15

4. การจัดการเรียนรู้ท่ีเน้นด้านคุณธรรม จริยธรรม เป็นการจัดการเรียนรู้ท่ีบูรณาการ
คณุ ธรรมจรยิ ธรรม ไดร้ ับรู้ เกิดการยอมรับ เห็นคณุ ค่าและพัฒนาอยา่ งต่อเนือ่ งจนเปน็ ลักษณะนิสัยทด่ี ี

สรุปหลักการในการจัดการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถตามมาตรฐาน
การเรียนรู้ สมรรถนะสาคัญและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามที่กาหนดไว้ในหลักสูตรแกนกลาง
การศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 โดยยึดหลักว่าผเู้ รยี นมคี วามสาคัญที่สุด และเชื่อว่าทุกคนสามารถ
เรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ โดยยึดประโยชน์ที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน ในกระบวนการจัดการเรียนรู้ต้องส่งเสริม
ให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ คานึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลและพัฒนาการ
ทางสมอง เน้นให้ความสาคญั ท้ังความรู้และคุณธรรมจริยธรรม

1.1.3 ความสาคญั ในการจัดการเรียนรู้
ประกาศิต อานุภาพแสนยากร (2562 : 2) ได้ระบุถึงความสาคัญในการจัดการเรียนรู้

ว่าเป็นกระบวนการพัฒนาผู้เรียนที่สอดคล้องกับความสนใจของผู้เรียน เพื่อพัฒนาผู้เรียนทั้งทางด้าน
ร่างกาย อารมณ์และสังคม การจัดการเรียนรู้และการเรียนรู้มีความสัมพันธ์กัน การจัดการเรียนรู้
มีความสาคญั ดังนี้

1. การจัดการเรียนรู้ช่วยให้ผู้เรียนเปล่ียนแปลงพฤติกรรมได้เร็วขึ้น จุดมุ่งหมายของ
การจัดการเรียนรู้มุ่งเนน้ ให้เกิดการเปลีย่ นแปลงพฤติกรรมในตวั ผู้เรยี น 3 ประการ คอื ความรู้ ทกั ษะ และ
เจตคติ ดังนั้น ในการสอนของผู้สอนท่ีมีการวางแผนไว้อย่างมีเป้าหมาย ย่อมจะช่วยให้ผู้เรียนเกิด
การเปล่ียนแปลงพฤตกิ รรมไดอ้ ย่างรวดเรว็ และมีประสิทธภิ าพ

2. การจัดการเรียนรู้ช่วยให้จุดมุ่งหมายการจัดการศึกษาบรรลุผล จุดมุ่งหมายของ
การจัดการศึกษาต้องการให้ผู้เรียนเป็นคนเก่ง คนดีและมีความสุข ดังน้ัน ในการสอนจึงต้องใช้วิธีการสอน
หลายรูปแบบผสมผสานกัน ใช้เทคนิคการสอน และใช้จิตวิทยา เพ่ือช่วยให้การเรียนการสอนนั้นบรรลุ
จุดมงุ่ หมายของการจดั การศึกษา

3. การจัดการเรียนรู้ช่วยพัฒนาหลักสูตร การจัดการเรียนรู้เป็นข้ันตอนสาคัญข้ันหน่ึง
ของกระบวนการพัฒนาหลักสูตร คือ ในขั้นการนาไปใช้ ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงหลักสูตรและการจัด
การเรียนรู้ท่ีสาคัญท่ีสุด คือ การเปล่ียนแปลงตัวผู้สอนจากเปน็ ผู้สอนมาเป็นผู้ช้ีนาผู้เรียนใหเ้ ปน็ คนดีเข้าถึง
องค์ความรู้มีความสามารถในการคิด นาความรู้มาแก้ปัญหา เม่ือพฤติกรรมการสอนของผู้สอนและ
พฤตกิ รรมการเรยี นของผู้เรียนเปลยี่ นกน็ ับไดว้ า่ การเรยี นการสอนได้ชว่ ยพฒั นาหลักสตู ร

4. การจัดการเรียนรู้เป็นการสร้างแบบอย่างให้กับผู้เรียนในการคิดและการกระทา
ผู้สอนมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของผู้เรียนเป็นอย่างมาก ทั้งด้านวาจา ความคิด บุคลิกภาพและ
ความประพฤติ การกระทาของผู้สอนจะอยู่ในสายตาผู้เรียนตลอดเวลา ผู้เรียนจะเลียนแบบผู้สอนโดย

วจิ ัยขอ้ เสนอเชิงนโยบายการจัดการศกึ ษาในสถานการณ์ COVID-19 สพป.พษิ ณุโลก เขต 1 16

ไม่รู้สึกตัว ดังนั้น ผู้สอนจึงต้องพัฒนาตนเองอยู่เสมอเพื่อให้ลูกศิษยซ์ ึมซับส่ิงที่ดีจากตัวผสู้ อน เช่น การตรง
ตอ่ เวลา การพดู จาชดั เจน การแสดงความคดิ เห็นทีต่ รงไปตรงมา สภุ าพเรียบร้อย เปน็ ตน้

5. การจัดการเรียนรู้เป็นการเสริมสร้างความรู้ ผู้สอนเป็นผู้ชี้นาหรือแนะแนวทางให้
ผู้เรียนได้ค้นคว้าหาความรู้โดยการสังเกต สารวจ ทดลอง วิเคราะห์จนพบคาตอบ ซ่ึงเป็นวิธีการให้ผู้เรียน
สร้างความรูด้ ้วยตนเอง

6. การจัดการเรียนรู้พัฒนาความเป็นมนุษยท์ ุกด้าน พระราชบัญญัติการศึกษาแหง่ ชาติ
พ.ศ.2542 ได้เน้นให้การจัดการเรียนรู้ต้องพัฒนาคุณภาพมนุษย์ทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกาย จิตใจ
สติปัญญา คุณธรรม จริยธรรม วัฒนธรรม ค่านิยม การประพฤติปฏิบัติ ฯลฯ เพ่ือพัฒนาบุคคลให้เป็น
“มนุษย์ที่สมบูรณ์” โดยคาดหวังว่า คนท่ีมีคุณภาพน้ีจะทาให้สังคมมีความม่ันคง สงบสุข มีความเท่าเทียม
กัน เจริญก้าวหน้าทันโลก แข่งขันกับสังคมอ่ืนในเวทีระหว่างประเทศได้ คนในสังคมมีความสุขมีงานทา
รวมถงึ สามารถประกอบอาชีพการงานอย่างมปี ระสิทธภิ าพ

มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ (2562 : 2) ระบุความสาคัญของการจัดการเรียนรู้
ว่าเปรียบเสมือนเครื่องมือท่ีสง่ เสรมิ ให้ผูเ้ รียนรักการเรียน ต้ังใจเรียน และ เกิดการเรียนรู้ขึ้น การเรียนของ
ผเู้ รยี นจะไปสจู่ ดุ หมายปลายทาง คอื ความสาเรจ็ ในชวี ิตหรอื ไมน่ ้ัน ย่อมขึน้ อย่กู ับการจัดการเรียนรู้ท่ีดีของ
ผู้สอน หรือผู้สอนด้วยเช่นกัน หากผู้สอนรู้จักเลือกใช้วิธีการจัดการเรียนรู้ท่ีดีและเหมาะสมแล้วย่อมจะมี
ผลดีต่อการเรียนของผู้เรียนดังนี้คือ 1) มีความรู้และความเข้าใจในเนื้อหาวิชา หรือกิจกรรมท่ีเรียนรู้
2) เกิดทักษะหรือมีความชานาญในเนื้อหาวิชา หรือกิจกรรมที่เรียนรู้ 3) เกิดทัศนคติที่ดีต่อสิ่งที่เรียน
4) สามารถนาความรู้ท่ีได้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจาวันได้ 5) สามารถนาความรู้ไปศึกษาหาความรู้
เพิ่มเติมต่อไปอีกได้ อนึ่ง การที่ผู้สอนจะส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความเจริญงอกงามในทุก ๆ ด้าน ท้ังทางด้าน
ร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญานั้น การส่งเสริมที่ดีที่สุด ก็คือ การให้การศึกษา ซึ่งจากท่ีกล่าวมา
จะเห็นไดว้ ่าการจัดการเรียนรเู้ ปน็ สิ่งสาคัญในการให้การศกึ ษาแก่ผู้เรียนเป็นอย่างมาก

1.1.4 รปู แบบการจดั การเรียนรู้
มีนักวิชาการทางการศึกษาได้ให้ความหมายของรูปแบบการสอนหรือรูปแบบ

การจัดการเรยี นรู้ หรอื รปู แบบการจดั กิจกรรมการเรียนการสอน ไวด้ งั น้ี
กาญจนา คณุ ารักษ์ (2559 : 7) สรุปวา่ รปู แบบการสอน หมายถงึ แผนแสดงการเรียน

การสอนสาหรับนาไปใช้สอนในห้องเรียน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายที่กาหนดไว้ให้มาก
ท่ีสุด แผนดังกล่าวจะแสดงถึงลาดับความสอดคล้องกันภายใต้หลักการของแนวคิดพ้ืนฐานเดียวกัน
องค์ประกอบท้ังหลายได้แก่ หลักการ จุดมุ่งหมาย เน้ือหา และทักษะที่ต้องการสอน ยุทธศาสตร์การสอน
วิธีการสอน กระบวนการสอน ข้ันตอนและกิจกรรรมการสอนและการวัดและประเมนิ ผล

วิจยั ข้อเสนอเชงิ นโยบายการจัดการศกึ ษาในสถานการณ์ COVID-19 สพป.พษิ ณุโลก เขต 1 17

ประภาพรรณ เอี่ยมสุภาษิต (2560 : 12-13) ได้ให้ความหมายของรูปแบบการสอน
คือ แบบแผนการดาเนินการสอนที่ได้รับการจัดเป็นระบบ อย่างสัมพันธ์สอดคล้องกับทฤษฎี/หลักการ
เรียนรู้หรือการสอนท่ีรูปแบบน้ันยึดถือ และได้รับการพิสูจน์ ทดสอบว่ามีประสิทธิภาพ สามารถช่วยให้
ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายเฉพาะของรูปแบบนั้น ๆ โดยท่ัวไป แบบแผนการดาเนินการสอน
ดังกล่าว มักประกอบด้วย ทฤษฎี/หลักการที่รูปแบบน้ันยึดถือและกระบวนการสอนที่มีลักษณะเฉพาะ
อันจะนาผู้เรียนไปสู่จุดมุ่งหมายเฉพาะท่ีรูปแบบน้ันกาหนด ซึ่งผู้สอนสามารถนาไปใช้เป็นแบบแผนหรือ
แบบอย่างในการจดั และดาเนินการสอนอน่ื ๆ ท่มี ีจุดมุ่งหมายเฉพาะเช่นเดียวกนั ได้

ทิศนา แขมมณี (2560 : 220) ไดใ้ หค้ านิยามของรปู แบบการเรยี นการสอน คอื สภาพ
ของลักษณะของการเรียนการสอนท่ีครอบคลุมองค์ประกอบสาคัญ ซ่ึงได้รับการจัดไว้อย่างเป็นระเบียบ
ตามหลักปรัชญา ทฤษฎี หลกั การ แนวคดิ หรอื ความเชื่อต่าง ๆ โดยประกอบดว้ ยกระบวนการหรือขั้นตอน
สาคัญในการเรียนการสอน รวมทั้งวิธีสอนและเทคนิคการสอนต่าง ๆ ท่ีสามารถช่วยให้สภาพการเรียน
การสอนน้ันเป็นไปตามทฤษฎี หลักการหรือแนวคิดท่ียึดถือ รูปแบบจะต้องได้รับการพิสูจน์ ทดสอบ หรือ
ยอมรับว่ามีประสิทธิภาพสามารถใช้เป็นแบบแผนในการเรียนการสอนให้บรรลุวัตถุประสงค์เฉพาะของ
รปู แบบนน้ั ๆ

ประกาศิต อานุภาพแสนยากร (2562 :108) ได้สรุปไว้ว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้
หมายถึง แบบแผนของการจัดการเรียนการสอนที่จัดขึ้นอย่างเป็นระบบสัมพันธ์สอดคล้องกับทฤษฎี
หลักการ แนวคิด หรือความเชื่อต่าง ๆ ที่รูปแบบน้ันยึดถือและได้รับการพิสูจน์ทดสอบว่ามีประสิทธิภาพ
สามารถช่วยใหผ้ ู้เรียนเกิดการเรยี นรู้ตามจดุ มุ่งหมายเฉพาะของรปู แบบน้ัน ๆ ซ่ึงรูปแบบการจัดการเรียนรู้
มักประกอบด้วย ปรัชญา ทฤษฎี หลักการ แนวคิด หรือความเชื่อท่ีเป็นพื้นฐานหรือเป็นหลักของรูปแบบ
การจัดการเรียนรู้นั้น ๆ มีจุดมุ่งหมายสาคัญเฉพาะรูปแบบน้ัน มีการบรรยาย กระบวนการหรือขั้นตอน
สาคัญ และอธิบายสภาพหรือลักษณะของการจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับหลักการท่ียึดถือหรอื ให้
ข้อมูลเก่ียวกับวิธีสอนและเทคนิคการสอนต่าง ๆ อันจะช่วยให้กระบวนการเรียนการสอนน้ัน ๆ
เกิดประสิทธิภาพสูง ซึ่งผู้สอนสามารถนาไปใช้เป็นแบบแผนหรือแบบอย่างในการดาเนินการเสนอท่ีมี
จุดมุ่งหมายเฉพาะตามที่รปู แบบนั้นยึดถือได้

สรุปรูปแบบการสอนคือ สภาพของการจัดการเรียนการสอนซ่ึงได้รับการจัดไว้อย่าง
เปน็ ระเบียบ ตามหลกั ปรชั ญา ทฤษฎี หลักการ แนวคิดหรือความเชอื่ ต่าง ๆ โดยประกอบด้วยกระบวนการ
หรือข้ันตอนสาคัญในการเรียนการสอน รวมทั้งวิธีสอนและเทคนิคการสอนต่าง ๆ ท่ีช่วยให้นักเรียนบรรลุ
วตั ถปุ ระสงค์ตามท่ีรูปแบบนั้น ๆ

วิจยั ขอ้ เสนอเชงิ นโยบายการจัดการศึกษาในสถานการณ์ COVID-19 สพป.พิษณุโลก เขต 1 18

1.2 แนวคิดและรูปแบบการจัดการเรียนรู้ในในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเช้ือ
ไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

ผู้วิจัยได้ยึดแนวทางการจัดการเรียนรู้ในในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส
โคโรนา 2019 (COVID-19) ของสานักงานคณะกรรมการการศึกษาข้ันพน้ื ฐาน (2563 : 25 - 26) ดังนี้

การจดั การศกึ ษาแบบ On Site Education
ประเสริฐ บุญเรือง (2563 : 5) กล่าวถึงการเรียนการสอน On Site Education เป็นการเรียนใน
โรงเรียนพื้นที่ปลอดภัย ภายใต้เง่ือนไขของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส
โคโรนา 2019 (COVID-19) จงั หวดั
วิทยา วาโย (2563 : 25) กล่าวถึงการเรียนการสอน On Site Education เป็นการจัดการเรียน
การสอนให้นักเรียนท่ีมีความต้องการพิเศษ โดยจะมีการนัดหมายเป็นระยะ เพ่ือให้ครูมาสอนเป็นกรณี
พิเศษ ซง่ึ อาจจะเปน็ การจดั กล่มุ นกั เรยี นขนาดเล็กท่โี รงเรยี น หรือให้ครไู ปสอนนกั เรยี นท่ีบา้ น
อัมพร พินะสา (2563 : 35) กล่าวถึงการเรียนการสอน On Site Education หมายถึงการมา
เรียนตามปกติได้ในพ้ืนที่ที่ไม่ใช่สีแดง แต่ต้องเว้นระยะหรือลดจานวนนักเรียนต่อห้องลง สาหรับจังหวัด
พืน้ ทสี่ เี ขยี ว สามารถจดั การเรียนการสอนในโรงเรียนไดต้ ามปกติ
ปิยะวรรณ ปานโต (2564 : 14) กล่าวถึงการเรียนการสอน On Site Education หมายถึง
การดาเนินการได้ในกรณีท่ีโรงเรียนอยู่ในพื้นท่ีปลอดภัย โดยมีมาตรการรองรับเว้นระยะห่างทางสังคม
(Social Distancing) และได้รบั การอนุมัตจิ ากศูนย์บรหิ ารสถานการณ์การแพรร่ ะบาดของโรคติดเช้ือไวรัสโค
โรนา 2019 (COVID-19) จงั หวัด
การจดั การศึกษาแบบ On-Air Education
กวินเกียรติ นนท์พละ (2563 : 5) กล่าวถึง การเรียนการสอน On-Air Education เป็นการเรยี น
ท่ีบ้าน ซึ่งแบ่งออกเป็นระดับชั้นอนุบาล-มัธยมศึกษาปีท่ี 3 ใช้สื่อของ DLTV และระดับชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 4 - มัธยมศกึ ษาปีท่ี 6 โดยใชส้ อ่ื ของสานกั งานคณะกรรมการการศึกษาข้นั พื้นฐาน
ประเสริฐ บุญเรือง (2563 : 10 - 11) กล่าวถึงการเรียนการสอน On-Air Education ว่าเป็น
การจัดการเรียนการสอนแบบทางเดียว ผ่านระบบสื่อสารช่องทางหลักโดยส่งสัญญาณครูผู้สอนต้นทางมา
จากปโรงเรียนวังไกลกงั วล
อัมพร พินะสา (2563 : 35) กล่าวถึงรูปแบบการเรียนการสอน On-Air Education จะถ่ายทอด
สัญญาณผ่าน DLTV เป็นตัวหลักในการกระจายการสอน โดยให้โรงเรียนวังไกลกังวลเป็นฐานในการจัด
การเรยี นการสอน นกั เรียนสามารถดูไดท้ ั้งรายการทอี่ อกตามตารางและรายการทดี่ ยู ้อนหลัง

วิจยั ข้อเสนอเชงิ นโยบายการจดั การศกึ ษาในสถานการณ์ COVID-19 สพป.พษิ ณโุ ลก เขต 1 19

ปยิ ะวรรณ ปานโต (2564 : 15) กลา่ วถงึ การเรียนการสอน On-Air Education วา่ เปน็ การจัดการ
เรียนการสอนแบบทางเดียว ผ่านระบบส่ือสารช่องทางหลักโดยส่งสัญญาณ ครูผู้สอนต้นทางมาจาก
โรงเรยี นวงั ไกลกังวล อาเภอหวั หิน จังหวดั ประจวบคีรีขนั ธ์ ช่องทางส่ือสารหลกั มีดงั นี้

1) ส่งสัญญาณผ่านดาวเทยี ม (DLTV) ออกอากาศส่งสญั ญาณผา่ นดาวเทียมไทยคม
1.1) แบบ KU-BAND (จานทีบ 75 เซนตเิ มตร) ระดับชน้ั ม.1-ม.6 CH-186-CH-200
1.2) แบบ C-BAND HD (จานตะแกรง 6 ฟุต)(งดออกอากาศ)ระดับช้ัน ม.1-ม.3

CH-337-CH-348 (ทดลอง)
- อุปกรณ์ปลายทางที่ต้องเตรียม : จานรับ+LNB+สายนาสัญญาณ+กล่องรับสัญญาณ+

เครือ่ งรับโทรทศั น์
2) ส่งสัญญาณผ่านทีีวิดิจิตอล (DLTV)(งดออกอากาศ) ออกอากาศส่งสัญญาณผ่านระบบ

ทีวภี าคพน้ื ดนิ
- อุปกรณ์ปลายทางที่ต้องเตรียม : กล่องรับสัญญาณ+แผงรับสัญยาณ+เสาติดตั้งแผง+

สายนาสัญญาณ+เคร่ืองรับโทรทัศน์ (ระยะทางจากเสารับถึงเสาส่งไม่เกิน 100 กิโลเมตร) ระดับช้ัน ม.1 -
ม.3 CH-37-CH+51

การจดั การศึกษาแบบ Online Education
กวินเกียรติ นนท์พละ (2563 : 5) กล่าวถึง การเรียนการสอนออนไลน์ Online Education
เป็นการเรียนผ่านอินเทอร์เน็ตและแอพลิเคชั่น แบ่งเป็น ผ่าน DLTV www.dltv.ac.th ในระดับชั้น
อนุบาล-ช้ันมธั ยมศกึ ษาปีที่ 3 และ DEEP – www.deep.go.th ระดบั มธั ยมศึกษาปที ี่ 1-มธั ยมศึกษาปที ี่ 6
ประเสริฐ บุญเรือง. (2563 : 25) กล่าวถึงการเรียนการสอนออนไลน์ (Online learning) จัดเป็น
นวัตกรรมทางการศึกษาในอีกรูปแบบหนึ่ง ซ่ึงสามารถเปล่ียนแปลงวิธีเรียนในรูปแบบเดิม ๆ ให้เป็น
การเรียนใหม่ ที่ใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยทาการสอน นอกจากน้ีความหมายอีกในหนึ่งยังหมายถึงการเรียน
ทางไกล หรอื การเรียนผ่านเวบ็ ไซต์อกี ดว้ ย
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (2563 : 65 – 67) กล่าวว่า การเรียนการสอนออนไลน์เป็นการเรียนรู้
แบบเปิด คอื การเรยี นรู้ตามเวลา ตามความตอ้ งการ และสถานทีข่ องตนเอง พร้อมทัง้ ได้นาเสนอปัญหาและ
อุปสรรคของการจัดการเรยี นการสอนออนไลนใ์ นการปฏิบัติจรงิ ดังตอ่ ไปนี้

1) ทัศนคติของผู้สอน ถึงแม้ว่าจะมีการอบรมการจัดการเรียนการสอนในศตวรรษท่ี 21
มาระยะหน่ึงแล้ว และบางสถานที่มีการอบรมการจัดการเรียนการสอนออนไลน์แล้ว แต่เมื่อได้ปฏิบัติจริง
ยังมีผู้สอนบางท่านท่ียังเข้าใจในแนวคิด หรือการเปลี่ยนแปลงในกระบวนทัศน์การเรียนการสอนใน
ศตวรรษที่ 21 รวมทั้งการจัดการเรียนการสอนออนไลน์การจัดการห้องเรียนท่ีบางครั้งอาจารย์บางท่าน

วิจยั ข้อเสนอเชิงนโยบายการจัดการศกึ ษาในสถานการณ์ COVID-19 สพป.พษิ ณุโลก เขต 1 20

ยังถนัดการบรรยายอย่างเดียว น่ังบรรยายตาม Power Point ตลอด 3 ชั่วโมง การวัดผลประเมินผล
การเรยี นการสอนยังคงยดึ ตดิ การสอบแบบเดมิ เป็นหลกั

2) ความชานาญในเทคโนโลยี การเรียนการสอนออนไลน์เป็นการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์
อาจารย์ผู้สอนที่บางคนอายุมากแล้ว ยังไม่สามารถปรับตัวในการใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอน
ดงั นนั้ มีผลต่อการเรยี นการสอนออนไลน์

3) การผลิตสื่อเพื่อใช้ในการเรียนการสอน โดยเฉพาะการผลิตสื่อวิดีโอในการเรียนการสอน
ให้เกิดความนา่ สนใจ ที่อาจารย์ผ้สู อนโดยส่วนมากยังไม่มีความร้แู ละความสามารถผลิตส่ือเองได้

4) ขาดบคุ ลากรฝ่ายสนบั สนุน การจัดการเรียนการสอนออนไลน์ต้องมีบุคลากรฝ่ายสนับสนุน
ดา้ นเทคโนโลยไี วค้ อยสนบั สนุนอาจารยผ์ ู้สอนท่ไี ม่ค่อยชานาญในการใช้ รวมทัง้ ช่วยในการผลิตสอื่ การสอน
ด้วย

5) ปัญหาด้านเทคนิค ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเร่ืองไฟฟ้าดับ คอมพิวเตอร์มีปัญหา ระบบ
อนิ เตอรเ์ นต็ ล่ม ล้วนก่อให้เกดิ ผลกระทบในการจดั การเรียนการสอนออนไลน์ทั้งสน้ิ

6) ความพรอ้ มของผู้เรียน การขาดเครอ่ื งไม้เครื่องมือในการเรยี น ขาดสญั ญาณเน็ต ซึง่ ผ้เู รียน
บางคนมปี ัญหาอยู่ในสถานท่หี ่างไกล

7) การเพ่ิมข้ึนของต้นทุนในการจัดการเรียนการสอน การจัดการเรียนการสอนออนไลน์
ก่อให้เกิดต้นทุนสาหรับการจัดการเรียนการสอนเพ่ิมขึ้น โดยเฉพาะการลงทุนในระบบฮาร์ดแวร์ และค่า
ไฟฟา้ ท่ีสงู ขนึ้

วันเพ็ญ พุทธานนท์ (2563 : 47) กล่าวว่า จากการเฝ้าดูและประเมินการเรียนออนไลน์พบ
ขอ้ สังเกตและข้อสรปุ ดังน้ี

1) การเรียนออนไลน์เป็นเรื่องการปรับตัวของครูและนักเรียนคร้ังใหญ่ โรงเรียนอินเตอร์ใน
ไทยถือว่าสามารถปรับพฤติกรรมเร็วมาก มีการซ้ือโปรแกรมและอบรมครูให้จัดการเรียนการสอนแบบ
ออนไลน์ได้อย่างรวดเร็วภายใน 1-4 สัปดาห์ โรงเรียนท่ีปรับตัวช้าหน่อยถึงกับหยุดเรียนเพ่ืออบรมครูและ
จัดวางระบบการเรียนออนไลนไ์ ดอ้ ยา่ งรวดเร็วก่อนท่จี ะถูกส่งั ปดิ โรงเรยี น เหตุเพราะโรงเรียนเหลา่ น้มี ีความ
พร้อม แต่การปรับตัวท่ียากท่ีสุดคือระบบการเรียนของระบบฝร่ัง (ขอใช้คารวม) จะเป็นการเรียนการสอน
แบบบูรณาการ เน้นการคิดวิเคราะห์ เน้นการพูดคุย เน้นการสื่อสาร ทาให้การเรียนออนไลน์เป็นเร่ืองท่ี
ต้องปรับตัวสูงมากสาหรับครูและเด็ก การเรียกเด็กตอบหรือยกมือผ่านคอมพิวเตอร์ หรือสังเกตว่า เด็ก
กาลังเบื่อเป็นเร่ืองยากมากสาหรับครูฝรั่ง เด็กเองก็มีความเศร้าที่ไม่ได้มีปฏิสัมพันธ์กับเพ่ือน การทางาน
กลุ่ม การปรึกษากัน การเปิดเพลงเต้นระหว่างทางานกลุ่มในห้องกลายเป็นอดีตท่ีน่าเศร้า แม้แต่การเชียร์
เพื่อนในทมี ในการเลน่ วชิ าพละศกึ ษา กไ็ มเ่ กิดขึน้ ในการเรยี นออนไลน์

วจิ ัยขอ้ เสนอเชงิ นโยบายการจัดการศึกษาในสถานการณ์ COVID-19 สพป.พษิ ณุโลก เขต 1 21

2) การเรียนออนไลน์เป็นเร่ือง “น่าเบ่ือและเครียด” สาหรับทุกคน ถ้าเราต้ังต้นว่า การไป
โรงเรียนควรเป็นเร่ืองสนุก เร่ืองน่าเบื่อท่ีเกิดขึ้นของการเรียนออนไลน์ก็คือ เมื่อเราต้องทาตามตาราง
การเรียน มีเวลาตามคาบเรียน มีเวลาพักเบรกที่เด็กไม่ได้พักจริงเพราะต้องตามงานที่ทาไม่เสร็จ จนเกิด
ความเครียด การคาดหวังให้เด็กเล็กมีวินัย ดูนาฬิกาเป็น ทางานส่งตามตารางเป็นเรื่องท่ีเป็นไปแทบไม่ได้
ไม่รวมกับที่พ่อแม่บางคนต้องเสยี เวลามากไปกับการช่วยเหลือลูกเรื่องการเรียน ท้งั ยงั ต้องเตรียมอาหารให้
ลกู 3 มือ้ ทกุ วนั และอกี 2 เบรกตามตารางโรงเรยี น

3) การเรียนออนไลน์เปน็ เรือ่ งของความพร้อมของครูการเรียนออนไลนเ์ ป็นการวางแผนของครู
ท่ีจะนาบทเรียนมาประยุกต์ให้สามารถเรยี นโดยที่ไม่มีปฏิสมั พันธ์ 1 ต่อ 1 ได้ ครูต้องสรรหาบทเรียน คลิป
เอกสารการสอนท่ีเหมือนในห้องเรยี น หาอปุ กรณ์จริง ทดลองจริงให้ดู และต้องหาบทเรียนเพิ่มเติมสาหรับ
เรือ่ งท่ีทดแทนดว้ ยการทางานหนา้ คอมพวิ เตอร์ไมไ่ ด้ ครตู อ้ งพรอ้ มมาก ๆ

4) การเรียนออนไลน์เป็นเรื่องของความพร้อมของเด็ก ความพร้อมของเด็กในท่ีน้ีคือ ความมี
วินัย ความพร้อมด้านไอที ความกล้าแสดงออกและโต้ตอบในการถามคาถาม ซ่ึงมีความแตกต่างกันมาก
ในเด็กโรงเรียนไทยและโรงเรียนฝร่ัง รวมถึงระดับความเครียดที่เด็กจะรับได้ในเรื่องการแข่งขัน ในการ
เรยี นออนไลน์ของฝร่งั เด็กจะมีการสอื่ สารกนั ตลอดเวลา ไมม่ กี ารเปรียบเทียบคะแนนกัน ไม่กลัวเพอ่ื นลอก
ไม่กลัวการแสดงความคิดเห็นแล้วเสียหน้า หากเด็กโรงเรียนไทยไม่พร้อมก็จะมีความเสี่ยงที่จะเกิดหายนะ
ทางดา้ นจิตใจหากต้องมกี ารเรียนออนไลน์กับระบบไทยท่ีเราคุ้นเคย

5) การเรียนออนไลน์ไม่เหมาะกับเด็กทุกคน เราค้นพบว่า การเรียนออนไลน์ (หรือการสอน
ออนไลน์) ไม่ได้เหมาะกับเด็กทุกคน สาหรับเด็กบางคนที่วินัยสูงและเป็นกลมุ่ ท่ีเก็บตัวก็ไม่น่ากังวล แต่เด็ก
บางคนที่ต้องการสังคม มีความสุขกับการพบเพ่ือนและครูจะเป็นเด็กที่ได้รับผลกระทบในเชิงลบท่ีสุด เรา
ยงั พบว่า เด็กทไี่ มช่ อบออกกาลงั กายจะไมม่ ีทางบังคบั ตัวเองให้ทาตามวีดีโอที่ครสู ง่ มาให้ได้ครบ หรือ เดก็ ท่ี
ห่วงคะแนนก็จะไม่มีทางซ่ือสัตย์ในการสอบออนไลน์ได้ ฯลฯ น่ียังไม่ได้พูดถึงปัญหาความเหลื่อมล้าทาง
การศึกษาท่ีเด็กยากจนที่ไม่สามารถเข้าถึงการมีคอมพิวเตอร์ส่วนตัว การมีห้องเงียบ ๆ ไว้เรียนคนเดียว
หรอื การเขา้ ถงึ สัญญาณอินเตอรเ์ นต็ ซ่งึ หมายความว่าการแจกแท็ปเล็ตไม่ไดช้ ว่ ยอะไรได้เลย ซงึ่ เร่อื งนี้เรามี
ประเดน็ ให้ขบคดิ มากมายในเชงิ นโยบาย

6) การเรียนออนไลน์เป็นแค่ Second-best ไม่ใช่ First-best ถึงจุดน้ี เราและนักวิชาการบาง
กลุ่มประเมินกันมาผิดตลอดว่า การเรียนออนไลน์จะมาแทนการเรียนการสอนในทุกระดับ แม้แต่ใน
มหาวิทยาลัยที่น่าจะทาได้ง่ายที่สุด ประสบการณ์ 6 สัปดาห์สอนเราว่า ตราบใดที่โครงสร้างและปรัชญา
การเรียนรู้ของสังคมยังไม่นิ่ง การเรียนออนไลน์ไม่สามารถเป็น First-best ในประชากรเฉล่ียได้เลย
ซึง่ หมายความวา่ การเรยี นออนไลนเ์ ป็นเพยี งเครอ่ื งมือรองไมใ่ ชเ่ คร่ืองมือหลกั ท่ีครูจะใช้ในการศึกษา

วิจยั ขอ้ เสนอเชิงนโยบายการจดั การศึกษาในสถานการณ์ COVID-19 สพป.พษิ ณุโลก เขต 1 22

7) การเรียนออนไลน์ให้ได้ผลเป็นเรื่องของการปรับปรัชญาการสอนท่ีกระทรวงศึกษาธิการ
ต้องคิดหนัก การสอนออนไลน์ของไทยเป็นแบบ Traditional หรือแบบอนุรักษ์นิยม ที่ผู้สอนเป็นใหญ่ใน
ปฏิสัมพันธ์ของการเรียนรู้และมีการเน้นผลสัมฤทธ์ิทางการศึกษาที่คะแนน หากใช้ปรัชญาการเรียน
ออนไลน์แบบอนุรักษ์นิยม การเรียนการสอนจะง่ายมากสาหรับผู้สอน แต่จะเป็นความน่าเบื่อและ
ความเครยี ดสาหรบั เด็กและผูป้ กครอง เพราะหน้าทีข่ องคนจัดทาระบบออนไลน์ก็จะเป็นเพียงแค่การหาครู
ดี ๆ มาสร้างสื่อการเรียน และให้นักเรียนเปิดคลิปดูตามตารางเรียน สั่งการบ้าน และสอบ (ออนไลน์)
หากเราจะทาเร่ืองน้ีเป็นการเฉพาะหน้า เราก็คงไม่ต้องเตรียมการ อะไรมากไปกว่าน้ีมากนัก ยกเว้น
การจดั หา Facility ให้เกดิ การเรยี นออนไลนไ์ ดเ้ ท่านัน้

อัมพร พินะสา (2563 : 35) ช้ีว่าการเรียนการสอนออนไลน์ Online Education น้ันครูจะเป็น
ผู้จัดการเรียนการสอนผ่านเคร่ืองมือท่ีทางโรงเรียนกระจายไปสู่นักเรียน เป็นรูปแบบที่ถูกใช้ในการจัดการ
เรียนการสอนจานวนมากท่ีสุด โดยหลังจากท่ีสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
(COVID-19) ไม่มีทีท่าที่จะยุติการแพร่ระบาดง่าย ๆ ผลกระทบที่เกิดข้ึนตามมาการจัดการเรียนการสอน
ออนไลน์ และแนวทางการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ ที่พัฒนาจาก Application การประชุมออนไลน์
ในแพลตฟอร์มต่าง ๆ เช่น Google Meet, Zoom และ Microsoft Team เป็นต้น แต่ละ Application
มีรายละเอียดดงั นี้

1) Google Meet เปน็ โปรแกรมประชุมออนไลนใ์ นรูปแบบของ VDO Conference สามารถ
นาเสนองานหรือประชุมทางไกลได้ง่าย ๆ เพียงแค่ตั้งค่า Google Meet ใน Google Calendar และเมื่อ
ถึงเวลาประชุมก็เพียงกดตาม Link ท่ีสร้างข้ึนใน Google Calendar ก็สามารถเข้าร่วมประชุมได้ทันที
ไมต่ อ้ งเชอื่ มตอ่ ใหย้ ุง่ ยาก เป็นการประชมุ ออนไลนใ์ นรปู แบบที่เรียบง่าย

2) Zoom เป็นโปรแกรมการประชุมผ่านระบบคลาวด์ในรูปแบบของการ VDO Conference
สามารถเปดิ วีดโี อคอลเพ่ือสือ่ สารกันได้ อกี ทัง้ ยังสามารถแชรห์ นา้ จอเพื่อการอธบิ ายรปู แบบงานให้เขา้ ใจได้
ง่ายขึ้นสามารถรองรับผู้ใชง้ านได้พร้อมกนั สูงสุดถงึ 500 คน ซึ่งนอกจากการประชุมแล้วกย็ งั สามารถใช้เพื่อ
การเปดิ คอรส์ สอนออนไลน์ หรอื การอบรมสมั มนาก็ไดด้ ว้ ยเชน่ กัน

3) Microsoft Team เป็นบริการสนทนาแบบกลุ่มทางานร่วมกับ Office 365 สาหรับ
องค์กรลักษณะคล้ายกับ Slack สามารถเชื่อมต่อกับ Office ได้ทั้งหมด รองรับการคุยด้วยเสียง วิดีโอผ่าน
Skype ในตัว มีหน้าติดตามการทางานของคนในทีม รองรับการสร้างบ็อตด้วย Microsoft Bot
Framework ท้ังยังสามารถเช่ือมต่อได้กับหลายแพล็ตฟอร์มท้ัง Windows Mac Android ทั้งยังสามารถ
ใช้งานบน web browser ได้อีกดว้ ย

วจิ ัยขอ้ เสนอเชงิ นโยบายการจดั การศึกษาในสถานการณ์ COVID-19 สพป.พษิ ณุโลก เขต 1 23

นอกจากนี้ยังไดก้ ล่าวถึงการวดั ผลประเมนิ ผลการเรยี นการสอนแบบออนไลน์ซง่ึ แตกต่างจาก
การจัดการเรียนการสอนท่ัวไป ทั้งนี้เพราะการจัดการเรียนการสอนออนไลน์นั้นจะมีความคาดหวังในการ
ปรับเปล่ียนพฤติกรรมกรรมของผู้เรียนที่เด่นชัด โดยเฉพาะด้านทักษะ การวัดผลและประเมินผล
การเรียนจึงไมค่ วรเนน้ การสอบโดยวธิ ที วั่ ไป ในการดาเนินการวดั ผลและประเมินผลการเรียนแบบออนไลน์
แบง่ เปน็ 2 ระดบั ดงั น้ี

1) ระดับรายวิชา ควรมีการวัดผลและประเมินผลแบบ 360 องศา คือ นาความสนใจใส่ใจ
ในการเรียนการสอน การส่งงานสม่าเสมอ การเข้าเรียนสม่าเสมอ การร่วมทางานกลุ่มกับเพื่อน
การประเมินจากเพื่อร่วมห้องเข้ามาช่วยในการประเมิน ดังนั้น การเก็บคะแนนในแต่ละคร้ังในการเรียนจงึ
ถือว่าเป็นหัวใจสาคญั ของการประเมิน

2) ระดับชั้นเรียน ระดับชั้นเรียน หมายถึง อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร ควรมีการวางแผน
ในการประเมินอย่างเป็นระบบ โดยดูว่า ในระดับชั้นเรียนน้ันมีการจัดการเรียนการสอนก่ีรายวิชา มีวิชา
อะไรบ้าง เมื่อทราบแล้วควรมีการจัดทาการวัดประเมินร่วม ในเชิงการทา Project Based Learning
โดยการวางแผนรวมรายวชิ าเพื่อทาการประเมินร่วมกนั ซ่งึ จะเปน็ ประโยชนส์ าหรับผเู้ รียนในการลดงานลง
และเป็นการประเมนิ ผลเชิงทกั ษะของผู้เรียน

Taylor (2014 : 25) การเรยี นการสอนออนไลน์ (Online learning) เหมอื นกับการเรียนการสอน
ในช้ันเรียนตรงท่ีครูผู้สอนจะต้องจัดเตรียมกิจกรรมและประสบการณ์เรียนให้กับผู้เรียนโดยคานึงถึง และ
การเรียนการสอนท่ีดีน้นั ผู้เรยี นและผู้สอนควรต้องปฏิสมั พันธร์ ะหวา่ งกัน ดงั นน้ั การเรยี นการสอนออนไลน์
จึงไม่ได้เป็นเพียงแค่การสร้างบทเรียนบนเว็บ เพื่อให้ผู้เรียนเข้ามาศึกษาเนื้อหาบทเรียนเท่าน้ัน หากแต่ยัง
ต้องมกี ารจัดกจิ กรรมการเรยี นการสอนโดยคานึงถงึ ผูเ้ รยี นเปน็ สาคญั

Worathan Technology (2015 : 6) ได้อธิบายไว้ว่า การเรียนการสอนออนไลน์ (Online
learning) จัดเปน็ นวตั กรรมทางการศึกษาในอีกรูปแบบหนึ่ง ทส่ี ามารถเปลย่ี นแปลงวิธีเรียนในรูปแบบเดิม
ให้เป็นการเรียนใหม่ ท่ีใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยทาการสอน นอกจากน้ีความหมายอีกนัยหน่ึงยังหมายถึง
การเรียนทางไกล, การเรียนผา่ นเว็บไซต์ อีกด้วย

Calder & McCollum (2016 : 12) กลา่ วว่า การเรยี นการสอนแบบออนไลน์ (Online learning)
จะเป็นเรียนทางผ่านทางอินเทอร์เน็ต โดยอยู่ในรูปแบบของคอมพิวเตอร์ เป็นการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่
บวกเข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สร้างการศึกษาท่ีมีปฏิสัมพันธ์คุณภาพสูง โดยไม่จาเป็นต้องเดินทาง
เกิดความสะดวกและเข้าถึงได้อย่างรวดเร็ว ทุกสถานที่ ทุกเวลา เป็นการสร้างการศึกษาตลอดชีวิตให้กับ
ประชากร

วิจยั ขอ้ เสนอเชงิ นโยบายการจดั การศึกษาในสถานการณ์ COVID-19 สพป.พิษณุโลก เขต 1 24

Ritchie & Hoffman (2017: 254) การเรียนการสอนแบบออนไลน์ เป็นการศึกษาผ่านเครือข่าย
อินเทอร์เน็ต ด้วยตนเอง ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนตามความชอบของตนเอง ในส่วนของเนื้อหาของเรียน
ประกอบด้วย ข้อความ, รูปภาพ, เสียง, VDO และMultimedia อื่น ๆ ส่ิงเหล่านี้จะถูกส่งตรงไปยังผู้เรียน
ผ่าน Web Browser ทั้งผู้เรียน ผู้สอน เพื่อนร่วมชั้นทุกคน สามารถติดต่อ ส่ือสาร ปรึกษา แลกเปลี่ยน
ความคิดเห็นแบบเดียวกับการเรียนในชั้นเรียนทั่วไป โดยการใช้ E-mail, Chat, Social Network เป็นต้น
ด้วยเหตุนกี้ ารเรียนร้แู บบออนไลน์ จงึ เหมาะสาหรับทกุ คนเรียนได้ทุกเวลา

Morrison & Khan (2017 : 52 – 55) กล่าวว่า การเรียนการสอนแบบออนไลน์มีแนวโน้มที่จะมี
ความหมายต่อผู้เรียนก็ต่อเมื่อสามารถเข้าถึงได้ง่ายมีการจัดการและการนาเสนอที่ดี ยึดผู้เรียนเป็น
ศูนย์กลาง มีประสิทธิภาพ มีความยืดหยุ่น และมีการสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ท่ีดีท่ีสามารถอานวยความ
สะดวกแก่ผู้เรียนได้ เมื่อผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้และบรรลุหรือประสบความสาเร็จใน
การเรียนตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้และเป้าหมายของการเรียนในรายวิชา โดยนักการศึกษาส่วนใหญ่
จะมีการจัดการเรียนการสอนตามกระบวนการ 9 ข้ันตอนของกาเย่ มีรายละเอยี ดดังต่อไปนี้

ขั้นตอนท่ี 1 การกระตุ้นหรือเร้าให้ผู้เรียนเกิดความสนใจกับบทเรียนและเนื้อหาท่ีจะเรียน
(Motivate the Learner) การเร้าความสนใจผู้เรียนนี้อาจทาได้โดย การจัดสภาพแวดล้อมให้ดึงดูดความ
สนใจ เช่น การใชภ้ าพกราฟกิ ภาพเคลื่อนไหว และ/หรือการใชเ้ สยี งประกอบบทเรยี นในสว่ นบทนา

ข้นั ตอนท่ี 2 บอกให้ผู้เรยี นทราบถงึ จดุ ประสงค์ของบทเรียน (Inform Learners of Learning
Objectives) การบอกให้ผู้เรียนทราบถึงจุดประสงค์ของบทเรียนนี้มีความสาคัญเป็นอย่างย่ิง โดยเฉพาะ
การเรียนการสอนบนเว็บที่ผู้เรียนสามารถควบคุมการเรียนของตนเองได้ โดยการเลือกศึกษาเนื้อหาที่
ต้องการศึกษาได้เอง ดังนั้นการที่ผู้เรียนได้ทราบถึงจุดประสงค์ของบทเรียนล่วงหน้าทาให้ผู้เรียน สามารถ
มุ่งความสนใจไปที่เน้ือหาบทเรียนที่เก่ียวข้อง อีกทั้งยังสามารถเลือกศึกษาเน้ือหาเฉพาะที่ตนยังขาดความ
เขา้ ใจท่ีจะชว่ ยทาใหผ้ ู้เรยี นมีความรคู้ วามสามารถตรงตามจดุ ประสงค์ของบทเรียนท่ีได้กาหนดไว้

ข้ันตอนที่ 3 ทบทวนความรู้เดิมที่เก่ียวข้องกับเนื้อหาบทเรียน ( Recall Previous
Knowledge) การทบทวนความรู้เดิมช่วยกระตุ้นให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้เน้ือหาใหม่ได้รวดเร็วย่ิงขึ้น
รูปแบบการทบทวนความรู้เดิมในบทเรียนบนเว็บทาได้หลายวิธี เช่น กิจกรรมการถาม-ตอบคาถาม หรือ
การแบง่ กลุม่ ใหผ้ ูเ้ รยี นอภปิ รายหรอื สรปุ เนื้อหาทไี่ ดเ้ คยเรยี นมาแล้ว เป็นตน้

ข้ันตอนที่ 4 นาเสนอบทเรยี น (Present the Material to be Learned) การนาเสนอบทเรยี น
บนเว็บสามารถทาได้หลายรูปแบบด้วยกันคือ การนาเสนอด้วยข้อความ รูปภาพ เสียง หรือแม้กระท่ัง วีดิ
ทัศน์ อย่างไร กต็ ามสิ่งสาคญั ท่ีผสู้ อนควรให้ความสาคัญกค็ ือผเู้ รยี น ผสู้ อนควรพจิ ารณาลักษณะของผู้เรียน
เป็นสาคัญเพ่ือใหก้ ารนาเสนอบทเรียนเหมาะสมกับผูเ้ รียนมากท่สี ุด

วิจยั ข้อเสนอเชิงนโยบายการจดั การศกึ ษาในสถานการณ์ COVID-19 สพป.พษิ ณุโลก เขต 1 25

ขั้นตอนท่ี 5 การชี้แนวทางการเรียนรู้ (Provide Guidance for Learning) การชี้แนวทาง
การเรียนรู้หมายถึงการช้ีแนะให้ผู้เรียนสามารถนาความรู้ที่ได้ เรียนใหม่ผสมผสานกับความรู้เก่าท่ีเคยได้
เรยี นไปแล้วเพอ่ื ให้ผู้เรยี นเกิดการเรยี นรูท้ ี่รวดเรว็ และมีความแมน่ ยามากยงิ่ ข้ึน

ขนั้ ตอนที่ 6 ให้ผู้เรยี นมีสว่ นร่วมในการเรียน (Active Involvement) นกั การศึกษาตา่ งทราบดี
ว่าการเรียนรู้เกิดข้ึนจากการที่ผู้เรียนได้มีโอกาสมี ส่วนร่วมในกระบวนการเรียนการสอนโดยตรง ดังน้ัน
ในการจัดการเรียนการสอนบนเวบ็ จึงควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนซ่ึงอาจทาได้
โดยการจดั กจิ กรรมการสนทนาออนไลนร์ ูปแบบ Synchronous หรอื การแลกเปล่ียนความคิดเหน็ ผ่านเว็บ
บอร์ดในรปู แบบ Asynchronous เป็นต้น

ขั้นตอนท่ี 7 การให้ผลยอ้ นกลบั (Provide Feedback) ลกั ษณะเดน่ ประการหน่งึ ของการเรียน
การสอนบนเว็บก็คือ การที่ผู้สอนสามารถติดต่อสือ่ สารกับผู้เรียนได้โดยตรงอย่างใกล้ชดิ เนื่องจากบทบาท
ของผู้สอนนั้นเปล่ียนจากการเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้แต่เพียงผู้เดียว มาเป็นผู้ให้คาแนะนาและช่วยกากับ
การเรียนของผู้เรียนรายบุคคล และด้วยความสามารถของอินเทอร์เน็ตที่ทาให้ผู้เรียนและผู้สอนสามารถ
ติดต่อกันได้ตลอดเวลา ทาให้ผู้สอนสามารถติดตามความก้าวหน้าและสามารถให้ผลย้อนกลับแก่ผเู้ รียนแต่
ละคนได้ด้วยความสะดวก

ข้ันตอนที่ 8 ทดสอบความรู้ (Testing) การทดสอบความรู้ความสามารถผู้เรียนเป็นข้ันตอน
ท่ีสาคัญอีกข้ันตอนหน่ึง เพราะทาให้ท้ังผู้เรียนและผู้สอนได้ทราบถึงระดับความรู้ความเข้าใจที่ผู้เรียนมีต่อ
เน้ือหาในบทเรียนน้ัน ๆ การทดสอบความรู้ในบทเรียนบนเว็บสามารถทาได้หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น
ข้อสอบแบบปรนัยหรืออัตนัย การจัดทากิจกรรมการอภิปรายกลุ่มใหญ่หรือกลุ่มย่อยเป็นต้น ซ่ึง
การทดสอบนี้ ผูเ้ รยี นสามารถทาการทดสอบบนเวบ็ ผา่ นระบบเครือขา่ ยได้

ขั้นตอนที่ 9 การจาและการนาไปใช้ (Providing Enrichment or Remediation) สามารถทาได้
โดยการกาหนดตัวเช่ือม (Links) ท่ีอนุญาตให้ผู้เรียนเลือกเข้าไปศึกษาเนื้อหาเพิ่มเติมในส่ิงท่ีน่าจะเป็น
ประโยชนใ์ นการนาองคค์ วามรู้ท่ีได้รบั มาไปใช้

การจัดการศกึ ษาแบบ On Hands Education
ประเสริฐ บุญเรือง (2563 : 25) กล่าวว่าการจัดการศึกษาแบบ On Hands Education มุ่งเน้น
การให้แบบฝึกหัด ให้การบ้านไปทาท่ีบ้าน อาจใช้ร่วมกับรูปแบบอื่น ๆ ตามบริบทของท้องถิ่น ในกรณีที่
นักเรยี นมีทรพั ยากรไมพ่ รอ้ มในการจัดการเรยี นการสอนในรปู แบบแรก ๆ
อัมพร พินะสา (2563 : 35) กล่าวถึงการเรียนการสอน On Hands Education คือการเน้นจัด
ใบงานให้กับนักเรียนเป็นลักษณะแบบเรียนสาเร็จรูป ให้นักเรียนรับไปเป็นชุดไปเรียนด้วยตัวเองที่บ้าน

วจิ ัยข้อเสนอเชิงนโยบายการจัดการศกึ ษาในสถานการณ์ COVID-19 สพป.พษิ ณุโลก เขต 1 26

โดยมีครูออกไปเย่ียมเป็นคร้ังคราว หรือให้ผู้ปกครองทาหน้าท่ีเป็นครูคอยช่วยเหลือ เพื่อให้นักเรียน
สามารถเรียนได้อย่างต่อเนื่อง ถึงแม้โรงเรียนจะปิดแตต่ อ้ งไมห่ ยดุ การเรยี นรู้

วันเพ็ญ พุทธานนท์ (2563 : 50) กล่าวถึงการเรียนการสอน On Hands Education ว่าเป็น
การเรียนรู้ท่ีบ้านโดยครูจัดทาเอกสาร หรือใบงานให้กับนักเรียน ซึ่งอาจเป็นลักษณะแบบเรียนสาเร็จรูป
โดยมีครูออกไปเยี่ยมบ้านนักเรียนเป็นครั้งคราว หรือให้ผู้ปกครองทาหน้าท่ีเป็นครูคอยช่วยเหลือ เพื่อให้
นกั เรียนสามารถเรียนได้อย่างต่อเนือ่ ง

ภูมิศรัณย์ ทองเลี่ยมนาค (2563 : 35) กล่าวถึงการเรียนการสอน On Hands Education ว่า
เป็นการจัดการเรียนการสอนสาหรับนักเรียนที่ไม่มีความพร้อมด้านอุปกรณ์การรับชม โดยการนาหนังสือ
แบบฝกึ หัด ใบงาน ไปเรียนรทู้ ีบ่ า้ นภายใตค้ วามช่วยเหลอื ของผ้ปู กครอง

Taylor (2014 : 26 - 27) กล่าวถึงการเรียนการสอน On Hands Education ว่าเป็นการให้
แบบฝึกหัด ให้การบ้านไปทาที่บ้าน อาจใช้ร่วมกับรปู แบบอื่น ๆ ตามบริบทของท้องถ่ิน ในกรณีท่ีนักเรยี น
มที รพั ยากรไมพ่ รอ้ มในการจัดการเรยี นการสอนในรูปแบบแรก ๆ

ตอนท่ี 2 แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการศึกษาในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
2019 (COVID-19)
2.1 นโยบายและแนวทางการจัดการศึกษาในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ

ไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในประเทศไทย
2.1.1 นโยบาย แนวคดิ หลกั การในการจัดการศกึ ษาในสถานการณก์ ารแพร่ระบาดของ

โรคติดเชอื้ ไวรสั โคโรนา 2019 (COVID-19)
จากการที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เม่ือวันอังคารท่ี 7 เมษายน 2563 ได้มีมติรับทราบ

การเล่ือนเปิดเทอมจากวนั ท่ี 16 พฤษภาคม เป็นวันที่ 1 กรกฎาคม 2563 จึงจาเป็นต้องมีการวางแนวทาง
การจัดการเรียนการสอนภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเช้ือไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
ในทุกระดับชั้นและทุกประเภท โดยกระทรวงศึกษาธิการได้กาหนดแนวนโยบาย เพื่อให้การจัดการเรียน
การสอนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ให้สามารถเกิดขึ้นได้
อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดเท่าที่สภาพแวดล้อมจะอานวยให้บนพ้ืนฐาน 6 ข้อ ดังนี้ (กระทรวงศึกษาธิการ,
2563 : 26)

1) จัดการเรียนการสอน โดยคานึงถึงความปลอดภัยสูงสุดของทุกคนที่เก่ียวข้อง
“การเปิดเทอม” หมายถึง การเรียนที่โรงเรียนหรือการเรียนที่บ้าน ทั้งนี้การตัดสินใจจะข้ึนอยู่กับผล
การประเมนิ สถานการณอ์ ย่างใกลช้ ิด

วิจัยข้อเสนอเชิงนโยบายการจัดการศกึ ษาในสถานการณ์ COVID-19 สพป.พษิ ณโุ ลก เขต 1 27

2) อานวยการใหน้ กั เรยี นทกุ คน สามารถเขา้ ถงึ การเรียนการสอนได้ แม้จะไม่สามารถ
ไปโรงเรียนได้

3) ใช้สิ่งท่ีมีอยู่แล้วให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น การเสนอขอช่องดิจิทัล TV จาก
กสทช. ท้ังหมด 17 ช่อง เพื่อให้นักเรียนทุกระดับช้ัน สามารถเรียนผ่าน DLTV ได้ ท้ังน้ี ไม่มีการลงทุนเพ่ือ
จัดซื้ออุปกรณ์ใด ๆ เพ่ิมเติมโดยไม่จาเป็น ซ่ึง กสทช.อนุมัติแล้วให้เริ่มออกอากาศ 16 พฤษภาคมนี้
เป็นเวลาไม่เกิน 6 เดือน หรือถ้าสามารถกลับมาดาเนินการสอนได้ตามปกติก็ให้หยุดทดลองออกอากาศ
แบ่งเป็นของสานักงานคณะกรรมการการศึกษาพ้ืนฐาน (สพฐ.) จานวน 15 ช่อง เป็นของสานักงาน
คณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) จานวน 1 ช่อง และเป็นของสานักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบ
และการศึกษาตามอัธยาศยั (กศน.) จานวน 1 ชอ่ ง โดยให้ออกอากาศแบบความคมชดั ปกติ (SD)

4) ตัดสินใจนโยบายต่าง ๆ บนพ้ืนฐานของการสารวจความต้องการ ทั้งจากนักเรียน
ครู และโรงเรียน ไม่คิดเอง โดยให้การจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพสูงสุดเป็นที่ตั้ง และกระทรวง
จะสนับสนนุ เครื่องมือและอุปกรณ์ตามความเหมาะสมของแต่ละพน้ื ที่

5) ปรับปฏิทินการศึกษาของไทยให้เอ้ือต่อการ “เรียนเพ่ือรู้” ของเด็กมากขึ้น รวมทั้ง
มีการปรับตารางเรียนตามความเหมาะสม โดยเวลาท่ีชดเชยจะคานึงถึงภาระของทุกคนและการได้รับ
ความรู้ครบตามช่วงวยั ของเดก็

6) บุคลากรทางการศกึ ษาทุกท่าน จะไดร้ ับการดแู ลอย่างต่อเนื่อง และทาใหท้ ่านไดร้ บั
ผลกระทบเชิงลบจากการเปล่ยี นแปลงนอ้ ยทสี่ ดุ

2.1.2 แนวทาง วิธีการและรูปแบบ/สภาพการจัดการศึกษาในสถานการณ์การแพร่
ระบาดของโรคติดเชื้อไวรสั โคโรนา 2019 (COVID-19)

กระทรวงศึกษาธิการ (2563 : 14) ได้ออกแบบการเรียนการสอนในช่วง COVID-19
โดยมีรายละเอียดในภาพรวม ดังน้ี

1) รูปแบบการเรียนการสอนออกแบบให้สอดคล้องกับความปลอดภัยของพื้นท่ี โดย
มีการเรียนรู้แบบ On Site ในพื้นที่ที่มีความปลอดภัยสามารถไปโรงเรียนได้ ขณะท่ีพื้นที่ไม่ปลอดภัยจะมี
การเรียนรู้หลักผ่านทางการ On-Air ของมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ในพระบรมราชูปถัมภ์
และมีการเรียนรเู้ สริมผ่านระบบ Online

2) นโยบายหลักทนี่ ามาใช้ คอื เพ่ิมเวลาพกั ลดการประเมินและงดกจิ กรรมต่าง ๆ ท่ี
ไม่จาเป็น โดยเน้นเรียนเฉพาะวิชากลุ่มสาระหลัก เพื่อให้นักเรียนผ่อนคลายลง ซึ่งนักเรียนมีเวลาพักใน
ภาคเรียนที่ 1/2563 จานวน 17 วัน และในภาคเรียนท่ี 2/2563 จานวน 37 วัน รวมทั้งสิ้น 54 วัน ฉะน้ัน
ภาคเรียนท่ี 1/2563 เรียนตั้งแต่ 1 กรกฎาคม -13 พฤศจิกายน 2563 เป็นเวลา 93 วัน แล้วปิดภาคเรียน

วจิ ัยข้อเสนอเชงิ นโยบายการจดั การศกึ ษาในสถานการณ์ COVID-19 สพป.พษิ ณโุ ลก เขต 1 28

17 วัน ส่วนภาคเรียนท่ี 2/2563 เรียนตั้งแต่ 1 ธันวาคม 2563 - 9 เมษายน 2564 เป็นเวลา 88 วัน แล้ว
ปิดภาคเรียน 37 วัน ต้ังแต่วันที่ 10 เมษายน 2564 ซ่ึงจะมีเวลาเรียนรวมทั้งส้ิน 181 วัน ส่วนเวลาท่ีขาด
หายไป 19 วัน จาก 200 วัน ใหแ้ ต่ละโรงเรยี นสอนชดเชย ดังนน้ั การเปิดเทอมปีการศึกษาหน้าจะกลับมา
ปกติในวันจนั ทรท์ ี่ 17 พฤษภาคม 2564

3) การเตรียมพร้อมในด้านระบบการเรียนรู้ทางไกลและระบบออนไลน์ จะเร่ิม
ทดสอบตั้งแต่วันท่ี 18 พฤษภาคมน้ีเป็นต้นไป เพ่ือเตรียมความพร้อมให้มากท่ีสุด ในกรณีท่ีวันที่ 1
กรกฎาคม 2563 ไม่สามารถเปดิ เทอมทโี่ รงเรียนได้

4) กระทรวงศึกษาธิการจะเปน็ ผู้สนบั สนุนการเรยี นการสอนทางไกล ในสัดส่วน 80%
เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงการเรียนข้ันพ้ืนฐานได้ อีกร้อยละ 20 หรือมากกว่า ให้ทางโรงเรียนและคุณครู
ในแตล่ ะพน้ื ทพี่ จิ ารณาออกแบบตามความเหมาะสม

5) การเรียนผ่านการสอนทางไกล จะใช้ทีวีดิจิทัล และ DLTV เป็นหลัก ซ่ึงได้รับการ
อนุเคราะห์ส่ือจากมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยมีดิจิทัลแพลตฟอร์ม
ของกระทรวงศกึ ษาธกิ าร หรือ DEEP และการเรยี นการสอนแบบโต้ตอบออนไลน์เปน็ ส่อื เสริม

ทั้งนี้ กระทรวงศึกษาธิการได้มีการกาหนดแนวทางการจัดการเรียนการสอนระบบ
ทางไกลโดยแบง่ เปน็ 4 ระยะ คือ

ระยะท่ี 1 การเตรียมความพรอ้ ม (7 เมษายน – 17 พฤษภาคม 2563)
สารวจความพร้อมในด้านอปุ กรณก์ ารเขา้ ถึงอินเทอรเ์ น็ต ของนกั เรยี น ผปู้ กครอง ครู
และระบบการบริหารจัดการการเรียนการสอน รวมถงึ ขออนุมัติใช้ช่องรายการโทรทัศน์ในระบบดิจิทัลจาก
สานักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)
เพ่ือจัดการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับปฐมวัยถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย พร้อมขออนุมัติเผยแพร่
การเรียนการสอนจากห้องเรียนต้นทาง ในระดับปฐมวัยถึงระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ของสถานีวิทยุ
โทรทัศน์การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) จากมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมในพระบรม
ราชูปถัมภ์ จัดทาส่ือวีดิทัศน์การสอน โดยครูต้นแบบ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จานวน 8 กลุ่มสาระ
การเรียนรู้ และรวบรวมส่ือการเรียนรู้ออนไลน์ใน OBEC Content Center ชุดโปรแกรมและแพลตฟอรม์
การเรียนรู้ครบวงจรของกระทรวงศึกษาธิการ เช่น Tutor ติวฟรี.com, e-Book เป็นต้น รวมถึงเตรียม
โครงสร้างพื้นฐานด้านระบบเครือข่าย เพ่ือรองรับการให้บริการ แพลตฟอร์มการเรียนรู้ ให้เชื่อมโยงกับ
ระบบ Digital e-Learning ของกระทรวงศึกษาธกิ าร

วจิ ัยขอ้ เสนอเชงิ นโยบายการจัดการศกึ ษาในสถานการณ์ COVID-19 สพป.พษิ ณุโลก เขต 1 29

ระยะท่ี 2 การทดลองจัดการเรียนการสอนทางไกล (18 พฤษภาคม – 30
มิถนุ ายน 2563)

จะทดลองจดั การเรียนการสอนทางไกล ในระดับปฐมวัยถึงระดบั มธั ยมศึกษาตอนต้น
ผ่านช่องรายการโทรทัศน์ในระบบดิจิทัล โดยการเผยแพร่สัญญาณจากมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่าน
ดาวเทียม ในพระบรมราชูปถัมภ์ (DLTV) ในระดับปฐมวัยเน้นกิจกรรมเตรียมความพร้อมเด็ก และ
ระดับประถมศึกษาถึงระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จานวน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ และในระดับมัธยมศึกษา
ตอนปลาย ผ่านช่องรายการโทรทัศน์ในระบบดิจิทัลและระบบออนไลน์โดยครูต้นแบบ ด้วยเคร่ืองมือ
การเรียนรู้ตามความเหมาะสมและบริบทของสถานศึกษา รวมท้ังเปิดศูนย์รับฟังความคิดเห็นการเรียน
การสอนทางไกล จากผ้ปู กครอง ประชาชน และผู้เกีย่ วข้อง เพอ่ื เปน็ แนวทางการปรับปรุงและพฒั นา และ
ประชาสมั พันธ์ สร้างการรบั รู้ ความเขา้ ใจ แนะนาชอ่ งทางการเรยี นทางไกลให้กบั ผ้ปู กครองและผูเ้ กยี่ วข้อง

ระยะท่ี 3 การจัดการเรียนการสอน (1 กรกฎาคม 2563 – 30 เมษายน 2564)
ได้วางแผนไว้สาหรับ 2 สถานการณ์ น่ันคือ สถานการณ์ท่ี 1 กรณีที่สถานการณ์การ
แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ยังไม่คล่ีคลาย จะจัดการเรียนการสอนระดับ
ปฐมวัยถึงระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ด้วยระบบทางไกลผ่าน DLTV และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ด้วย
วีดทิ ัศนก์ ารสอนโดยครูต้นแบบ และระบบออนไลน์ดว้ ยเคร่ืองมือการเรยี นรู้ตามความเหมาะสมและบริบท
ของสถานศึกษา และสถานการณ์ท่ี 2 กรณีที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
(COVID-19) คล่ีคลาย จะจัดการเรียนการสอนปกติในโรงเรียน โดยให้เว้นระยะห่างทางสังคม (Social
Distancing) และมีแผนเตรียมการเพื่อรองรับสถานการณ์ฉุกเฉินต่าง ๆ โดยจะต้องได้รับการอนุมัติจาก
คณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด ซง่ึ มีผ้วู า่ ราชการจังหวัดเป็นประธาน
ระยะที่ 4 การทดสอบและการศกึ ษาต่อ (1 เมษายน – 15 พฤษภาคม 2564)
ประสานงานกับหน่วยงานท่ีเก่ียวข้องกับการทดสอบและคัดเลือกเข้าศึกษาต่อ คือ
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเก่ียวกับระบบการคัดเลือกเข้าศึกษาต่อใน
สถาบันอุดมศึกษา (TCAS GAT PAT) และ สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ เก่ียวกับการทดสอบ
O-NET ชน้ั ประถมศกึ ษาปีท่ี 6 ชั้นมัธยมศึกษาปีท่ี 3 และชน้ั มัธยมศกึ ษาปีที่ 6
สาหรับการจัดการศึกษาสาหรับคนพิการและผู้ด้อยโอกาส ซ่ึง รัฐมนตรีช่วยว่าการ
กระทรวงศึกษาธิการ ดูแลรับผิดชอบ จัดทาแพลตฟอร์มของกระทรวงศึกษาธิการเพื่อเป็นเวทีเชื่อม 176
หนว่ ยงาน และโยงคนพิการทง้ั ประเทศ ใหส้ ามารถเขา้ ถึงโอกาสทางการศึกษา การพฒั นาตนเองได้มากขึ้น
ตามแนวทาง “ปรับบ้านเป็นหอ้ งเรยี น เปลยี่ นพอ่ แมเ่ ป็นครู”

วจิ ยั ขอ้ เสนอเชิงนโยบายการจัดการศกึ ษาในสถานการณ์ COVID-19 สพป.พษิ ณโุ ลก เขต 1 30

โดยแพลตฟอร์มนี้จะสามารถทาให้พ่อแม่ ผู้ปกครองเรียนรวู้ ิธีการดูแล พัฒนาผเู้ รียน
ที่พิการ ตามแบบต่าง ๆ ต่อไปได้ ท้ังยังสามารถบรรจุส่ือการเรียนการสอนออนไลน์ การให้คาปรึกษา
แนะนา และเรอื่ งอนื่ ๆ ไปยังหน่วยงาน สถานศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธกิ ารไดด้ ว้ ย

ท้ังน้ีแพลตฟอร์มของโรงเรียนที่จัดการศึกษาพิเศษ คือ เม่ือค้นหาเข้าไปก็จะทราบ
ข้อมลู ว่า จงั หวัดนม้ี คี นพกิ ารประเภทใดบ้าง มีกี่คน บ้านอยทู่ ีไ่ หน เปน็ ตน้ โดยดาเนินการไดแ้ ลว้ 3 จังหวัด
และจะขยายผลใหค้ รบทุกจงั หวัด

2.1.3 ผลกระทบจากการเรียนรู้ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเช้ือไวรัส
โคโรนา 2019 (COVID-19)

องค์การทุนเพ่ือเด็กแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูนิเซฟ (United Nations Children's
Fund - UNICEF) (2563 : 102) ได้ทาการสารวจผลกระทบโควิด-19 ต่อเด็กและเยาวชนในประเทศไทย
พบว่า เด็กและเยาวชนกว่า 8 ใน 10 คน มีความวิตกกังวลเก่ียวกับปัญหาการเงินของครอบครัว ซ่ึงเป็น
ประเด็นท่ีเด็กและเยาวชนกังวลมากที่สุด เน่ืองจากพ่อแม่ผู้ปกครองไม่สามารถทางานได้ตามปกติ อันเป็น
ผลมาจากการปดิ ตัวของธรุ กิจต่าง ๆ ตลอดจนการถูกเลกิ จา้ ง การสารวจนจ้ี ัดทาโดยองคก์ ารยูนเิ ซฟรว่ มกับ
สภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทย โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ และกองทุนประชากรแห่ง
สหประชาชาติ โดยเป็นการสารวจคร้ังแรกท่ีมุ่งศึกษาผลกระทบของวิกฤติโควิด-19 ต่อเด็กและเยาวชนใน
ประเทศไทย และทาความเข้าใจเกี่ยวกับความต้องการที่แท้จริงของพวกเขา โดยเก็บข้อมูลผ่าน
แบบสอบถามออนไลน์ระหว่างวันที่ 27 มีนาคม ถึง 6 เมษายน จากเด็กและเยาวชนจานวน 6,771 คนท่ัว
ประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่อายุ 15-19 ปี ผลสารวจยังพบว่า เด็กและเยาวชนกว่า 7 ใน 10 คน กล่าวว่า วิกฤติ
โควิด-19 ส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจ โดยพวกเขามีความเครียด วิตกกังวลและเบ่ือหน่าย นอกจากน้ี
เด็กและเยาวชนเกินครึ่งรู้สึกกังวลด้านการเรียน การสอบ และโอกาสในการศึกษาต่อ เนื่องจากการปิด
โรงเรียนเป็นระยะ เวลานาน ในขณะที่ร้อยละ 7 รู้สึกกังวลเก่ียวกับปัญหาความรุนแรงในครอบครัว เช่น
การทะเลาะกันของผู้ปกครองและการทาร้ายรา่ งกาย

ทั้งน้ี ดร.วาสนา อ่ิมเอม รักษาการหัวหน้าสานักงานกองทุนประชากรแห่ง
สหประชาชาติ ประจาประเทศไทย กลา่ ววา่ “การสารวจแสดงให้เหน็ ว่าร้อยละ 36 ของเยาวชนและวัยรุ่น
กว่า 6,700 คนท่ีตอบแบบสอบถามระบุว่ามีผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 60 ปีอยู่ที่บ้าน น่ีเป็นโอกาสท่ีดีที่จะ
ให้เยาวชนและวัยรุ่นเป็นผู้พลิกวิกฤติให้เป็นโอกาสผ่านกิจกรรมแบบ เว้นระยะห่างทางสังคมที่สนับสนุน
ดา้ นสขุ ภาพและจติ ใจให้แกผ่ สู้ ูงอายุซ่ึงเป็นกลุ่มคนที่อยใู่ นภาวะทเี่ สยี่ งทส่ี ดุ ในชว่ งการระบาดของโควิด -19
ผ่านทางการสร้างความรู้และการตระหนักรู้ในเรื่องการดูแลสุขภาพของตนเองและป้องกันการเป็นพาหะ
ในช่วงนี้”

วิจยั ขอ้ เสนอเชิงนโยบายการจดั การศกึ ษาในสถานการณ์ COVID-19 สพป.พษิ ณโุ ลก เขต 1 31

ผลสารวจยังสะท้อนให้เห็นถึงความต้องการของเด็กและเยาวชนในด้านความ
ต้องการเรียนรู้ออนไลน์เพื่อเสริมความรู้และทักษะระหว่างที่โรงเรียนปิดและต้องอยู่แต่ในบ้าน โดยพบว่า
สง่ิ ทเี่ ด็กและเยาวชนอยากเรียนเพ่มิ เติมมากทส่ี ดุ คอื ภาษาอังกฤษ รองลงมาคอื ความรู้เสริมในวิชาท่กี าลัง
เรียนอยู่ในปัจจุบัน ในขณะท่ี เด็ก 1 ใน 4 คนระบุว่าอยากเรียนรู้เพิ่มเติมเก่ียวกับการจัดการกับ
ความเครียดและโรคซึมเศร้า

ทั้งน้ี องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติได้เรียกร้องให้รัฐบาลในประเทศต่าง ๆ
เสรมิ มาตรการคมุ้ ครองทางสังคมเพื่อชว่ ยเหลือกลุ่มประชากรท่ีเปราะบางเพือ่ บรรเทาผลกระทบของวิกฤติ
โควิด-19 ที่มีต่อเด็กและครอบครัว พร้อมส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนสามารถเข้าถึงการเรียนรู้ออนไลน์
การศกึ ษาทางไกล ตลอดจนบริการให้คาปรึกษาเยยี วยาจติ ใจและบริการทางสุขภาพจิตสาหรบั วยั รุน่

นอกจากนี้ ภมู ศิ รัณย์ ทองเลย่ี มนาค (2563 : 45) ไดก้ ลา่ วถึงผลกระทบของ COVID-
19 ต่อระบบการศึกษาของโลกและประเทศไทยในมุมมองทางเศรษฐศาสตร์ จากสถานการณ์การแพร่
ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ซ่ึงทาให้เด็กนักเรียนจานวนกว่า 1.57 พันล้านคน
จากกว่า 188 ประเทศ หรือคิดเป็น91.3% ของผู้เรียนจากทั่วโลก จาต้องออกนอกโรงเรียนและหันไปสู่
การศึกษานอกห้องเรียนในรูปแบบต่าง ๆ รวมถึงนักเรียนในประเทศไทยจานวน 13 ล้านคน ตั้งแต่ระดับ
ปฐมวัยจนถึงอุดมศึกษา ซ่ึงว่ากันว่าเป็นปรากฏการณ์ท่ีไม่เคยเกิดข้ึนมาก่อนนับตั้งแต่สงครามโลกคร้ังที่
สองเป็นต้นมา ทาให้เกิดผลกระทบทางการศึกษาและพัฒนาการของนักเรียนจากการปิดโรงเรียน รวมไป
ถึงผลกระทบทางเศรษฐกิจท่ีเกิดขึ้นกับครอบครัวของนักเรียน และอาจรวมถึงผลกระทบทางสุขภาพของ
ครอบครัวท้ังทางกายและจติ ใจดว้ ย โดยผลกระทบคงเกิดกับเด็กทุกกลุ่ม แตน่ า่ จะมีความรุนแรงเปน็ พิเศษ
ต่อนักเรียนในกลุ่มยากจน ครอบครัวเปราะบาง มีปัญหาความรุนแรง ยาเสพติด นักเรียนกลุ่มการศึกษา
พิเศษ นักเรียน ผู้พิการ ผู้มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ในด้านต่าง ๆ ท่ีต้องการการดูแลจากครูอย่าง
ใกล้ชิด เด็กที่ต้องพึ่งพาอาหารม้ือเช้าหรือกลางวันจากโรงเรียน สาหรับเด็กกลุ่มนี้ในประเทศไทยพบว่ามี
ร้อยละ 21.5 หรือประมาณ 2.4 ล้านคนที่ตกอยู่ภายใต้สภาวะความยากจนหลายมิติ โดยผลกระทบของ
COVID-19 ตอ่ ระบบการศกึ ษาของโลกและประเทศไทยในมุมมองทางเศรษฐศาสตร์ พบวา่ มผี ลกระทบต่อ
ผเู้ รียน ดงั นี้

1) ผลกระทบของการปิดเรียนท่ียาวนาน งานวิจัยที่ผ่านมาได้เคยทาการศึกษาถึง
ผลกระทบของการที่ต้องปดิ โรงเรียน หรอื เปดิ เรียนลา่ ชา้ พบวา่ การที่นกั เรยี นตอ้ งอยูบ่ า้ นนาน ๆ จะส่งผล
ทาให้การเรียนรู้ของนักเรียนถดถอยลง โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กยากจนท่ีไม่มีโอกาสเข้าถึงแหล่งเรียนรู้นอก
โรงเรยี น และการที่เดก็ ต้องออกจากโรงเรียนประมาณ 6 สปั ดาห์ อาจจะทาให้ความรขู้ องเขาหายไปถึงครึ่ง

วิจยั ข้อเสนอเชิงนโยบายการจัดการศกึ ษาในสถานการณ์ COVID-19 สพป.พษิ ณุโลก เขต 1 32

ปีการศึกษา ซึ่งสภาวะการถดถอยของทุนมนุษย์ (human capital) อาจจะนาไปสู่การถดถอยของ
การเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศได้

นอกจากน้ันยังมีงานวิจัยในลักษณะของการวิเคราะห์ผลกระทบของต้นทุนและ
ประโยชน์จากการปิดโรงเรียน เช่น การท่ีพ่อแม่ต้องมาอยู่บ้านดูแลบุตร โดยเฉพาะพ่อแม่ที่เป็นบุคลากร
ทางการแพทย์ ซึ่งอาจจะส่งผลต่ออุปทานของกาลังคนท่ีจาเป็น นอกจากน้ียังมีงานวิจัยท่ีพบว่าการปิด
โรงเรียนในสหรฐั อเมรกิ า 1 เดือน ส่งผลกระทบตอ่ GDP ของประเทศ ถงึ รอ้ ยละ 0.1- รอ้ ยละ 0.3

2) การวิเคราะห์เร่ืองความเหล่ือมล้าของการเข้าถึงทรัพยากรทางการศึกษา รวมถึง
ผลลพั ธ์ของการเรียนรูแ้ บบออนไลน์ พบว่าการเรียนรูท้ เี่ ปน็ ท่ีนยิ มของสถานศึกษาในยุค COVID-19 คอื การ
เรียนผ่านระบบออนไลน์ แต่ก็มีปัญหาในบางมิติ ในด้านของความเหล่ือมล้าดิจิทัล (digital divide) ไม่ว่า
จะเป็นการเข้าถึงอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ สัญญาณอินเทอร์เน็ต ทักษะความรู้ของครูและผู้ปกครองในการ
ช่วยสนับสนุน ปัญหาการใช้เวลาหน้าจอมากเกินไป ข้อมูลจากการสารวจของ OECD ต่อเด็กกลุ่มอายุ 15
ปี ทั่วโลกในปี 2018 พบว่า ในประเทศไทย นักเรียนอายุ 15 ปีมากกว่าร้อยละ 30 ไม่มีห้องส่วนตัวหรือ
พ้นื ทเี่ งียบ ๆ ในการทาการบ้าน (ประเทศพฒั นาแลว้ มีเด็กท่ีขาดแคลนพ้ืนท่ีเรียนนอ้ ยกว่าร้อยละ 15) ทงั้ นี้
นกั เรยี นไทยเพยี งร้อยละ 59 มีเครอื่ งคอมพวิ เตอรส์ าหรบั ใช้ในบ้าน (ขณะท่สี หรัฐฯ ยุโรป นกั เรยี นมากกว่า
ร้อยละ 85 มีคอมพิวเตอร์) โดยเฉพาะเด็กไทยท่ีอยู่ในที่มีฐานะยากจน มีเพียงร้อยละ 55 ที่มีพื้นท่ีทางาน
ในบ้าน และเพียงแค่ร้อยละ 17 มีคอมพิวเตอร์ไว้ใช้งาน แต่อย่างไรก็ตาม ร้อยละ 86 ของเด็กไทยมี
โทรศัพท์สมาร์ตโฟน ดังน้ัน การถ่ายทอดความรู้ผ่านทางมือถืออาจจะเป็นอีกช่องทางที่เหมาะสมกับ
เดก็ ไทย อย่างไรก็ตาม ไม่ควรคาดหวังว่าการเรียนแบบออนไลน์จะสามารถมาช่วยเติมเต็มได้อย่างสมบูรณ์
มากนัก เพราะมีงานวิจัยว่าแม้แต่โรงเรียนที่เน้นเฉพาะทางออนไลน์ในสหรัฐอเมริกา (virtual charter
school) ยงั มีผลลพั ธข์ องการจัดการศึกษาท่ีไม่น่าพอใจเท่าไรนักหากเทยี บกับการเรียนแบบผสมผสานหรือ
ใช้ห้องเรียนเปน็ หลัก ในกรณีของไทยอาจจะใช้ชอ่ งทางอ่ืน ๆ เช่น โทรทัศน์การศึกษา วิทยุการศึกษา การ
จัดสรรวสั ดุอุปกรณ์เพ่อื การเรียน (Box Set) เป็นทางเลอื กทอ่ี าจจะสามารถเขา้ ถงึ เด็กกลมุ่ ดอ้ ยโอกาส
ไดเ้ ชน่ กนั

3) การใหเ้ งินอุดหนุนทส่ี ถานศึกษา ศูนย์เดก็ เลก็ และแนวทางการชว่ ยเหลืออ่นื ๆ ใน
ปัจจุบันหลายประเทศได้เร่งบรรเทาความเดือดร้อนของนักเรียนและผู้ปกครองในด้านต่าง ๆ เช่น การให้
เงินอดุ หนนุ เงินลงไปท่ีศูนย์พัฒนาเดก็ เล็กในระดับปฐมวัย โรงเรียน หรอื มหาวทิ ยาลัย การดแู ลเรื่องอาหาร
และโภชนาการแก่เด็กที่ต้องการ การแจกหรือให้ยืมอุปกรณ์ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์มือถือ เคร่ืองส่ง
สัญญาณ WiFi แบบมือถือ ให้แก่นักเรียนในกลุ่มยากจนท่ีไม่มีอุปกรณ์การศึกษา การให้ความช่วยเหลือใน

วิจยั ข้อเสนอเชิงนโยบายการจดั การศึกษาในสถานการณ์ COVID-19 สพป.พษิ ณโุ ลก เขต 1 33

เรื่องของการให้คาปรึกษาต่าง ๆ แก่เด็กหรือพ่อแม่ การประสานความร่วมมือกับสถานีโทรทัศน์ วิทยุ
ไปรษณยี ์ ในเรอื่ งของการสง่ ผา่ นบทเรียนหรอื อปุ กรณ์การเรยี นตา่ ง ๆ

ในขณะเดียวกัน เสาวณี จันทะพงษ์ และทศพล ต้องหุ้ย (2020 : 27) ได้เสนอ
บทความเรื่อง “ผลกระทบวิกฤติ COVID-19 กับเศรษฐกิจโลก: This Time is Different.” ในเว็บไซต์ของ
ธนาคารแห่งประเทศไทย โดยให้ข้อมูลว่าสาขาธุรกิจของไทยท่ีจะได้รับผลกระทบมากท่ีสุดคือสาขาด้าน
การท่องเที่ยว โดยจะสูญเสียรายได้ในรอบ 6 เดือนของการระบาดไม่น้อยกว่า 2.5 แสนล้านบาท
นอกจากน้ีผู้เขียนยังได้อ้างถึงรายงานของ World Economic Forum (2020 : 16 - 17) ที่นาเสนอ
กรณีศึกษาของจนี ที่พบว่า การระบาดของโควิด-19 ทาให้เห็นพัฒนาการหลายอย่าง อาทิ 1) ความร่วมมือ
ระหว่างรัฐบาลและเอกชนในการจัดการวิกฤติ โควิด-19 ท่ีมีความโปร่งใส รับฟังความคิดเห็นของ
ประชาชนผา่ น Social Media 2) การดาเนินมาตรการทางเศรษฐกิจ การเงินและการคลงั ทร่ี วดเร็วเพื่อลด
ผลกระทบ และ 3) โอกาสใหม่ๆ ของภาคธุรกิจ โดยวิกฤติคร้ังนี้ช่วยให้เกิดการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี
มีการใหบ้ ริการแกผ่ บู้ รโิ ภคทางออนไลน์มากขน้ึ ทงั้ การค้า การศึกษาและธุรกิจบันเทิง

นอกจากน้ี Di Pietro and Others (2020 : 21) ไดส้ ังเคราะห์วรรณกรรมและข้อมูล
ท่ีอยู่ในฐานของคณะกรรมาธิการยุโรป เสนอเป็นรายงานเชิงเทคนิคของศูนย์วิจัยร่วม เรื่อง “The likely
impact of COVID-19 on education: Reflections based on the existing literature and recent
international datasets.” ได้ผลการวิจัยที่สรุปใหเ้ หน็ ถึงผลกระทบหลัก 2 ประการ คอื 1) ผลกระทบต่อ
ความสูญเสียต่อการเรียนรู้ ซ่ึงมีเหตุปัจจัยมาจากการมีเวลาในการเรียนรู้ท่ีไม่เพียงพอ ความเครียดในการ
เรียนรู้ วิถีการสร้างปฏิสัมพันธ์ของผู้เรียนท่ีเปล่ียนแปลงไป และการขาดแรงจูงใจในการเรียน และ 2)
สภาวะทางเศรษฐกิจและสังคมที่ก่อให้เกิดความไม่เท่าเทียมกันในการเรียนรู้ ซ่ึงจาแนกเป็น 2.1) ปัจจัยที่
เกิดการสนับสนุนจากผู้ปกครองท่ีไม่ใช่เร่ืองการเงิน ซึ่งได้แก่ ทักษะการเรียนรู้ของผู้ปกครอง ทักษะของ
ผู้ปกครองที่ไม่เก่ียวกับการเรียนรู้ การมีเวลาให้กับลูกๆ 2.2) ปัจจัยเกี่ยวกับทรัพยากรทางการเงินของ
ผปู้ กครอง ซง่ึ ไดแ้ ก่ การมีอุปกรณ์ดจิ ิทลั ที่บ้าน การจัดใหบ้ ้านมีบรรยากาศของการเรียน การให้โภชนาการ
ท่ีเหมาะสมและการสนับสนุนกิจกรรมที่นอกเหนือจากการเรียนของโรงเรียน 2.3) ปัจจัยเก่ียวกับการเข้า
ร่วมของโรงเรียน ซ่ึงได้แก่ ความพร้อมเร่ืองอุปกรณ์ดิจิทัลของโรงเรียน และทักษะด้านดิจิทัลของครู และ
2.4) ทักษะดา้ นดจิ ิทลั ของนักเรยี น

วจิ ยั ข้อเสนอเชงิ นโยบายการจัดการศึกษาในสถานการณ์ COVID-19 สพป.พษิ ณุโลก เขต 1 34

2.2 นโยบายและแนวทางการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ
ไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของตา่ งประเทศ

2.2.1 นโยบายและแนวทางการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติด
เชือ้ ไวรสั โคโรนา 2019 (COVID-19) ของสาธารณรฐั ประชาชนจีน

สาหรับการจัดการเรียนรู้ของสาธารณรัฐประชาชนจีนในสถานการณ์โควิด ได้มีการ
ดาเนินการเป็นระดบั ประกอบดว้ ย การดาเนินการระดับรฐั บาล การดาเนินการระดบั มณฑล แนวนโยบาย
และแนวการปฏิบัติของภาคสังคมและองค์กรภาคเอกชน และการจัดทาแผนปฏิบัติการและแนวปฏิบัติ
สาหรับการศึกษาระดับปฐมวัยในระดับโรงเรียน ดังน้ี (United Nations Educational, Scientific and
Cultural Organization, 2020 : 24 )

1. การดาเนนิ การของรัฐบาลต่อการจัดการกบั สถานการณ์โควดิ -19
1.1 รัฐบาลได้มีการจัดตั้งสานักงานผู้นาแห่งชาติกระทรวงศึกษาธิการทันที

เพ่ือตอบสนองต่อการระบาดของ COVID-19 โดย Dengfeng Wang ผู้อานวยการฝ่ายกีฬาสุขภาพ และ
ศิลปะการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการและเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาคลินิก สานักงานผู้นาแห่งชาติ
กระทรวงศึกษาธกิ ารได้รบั มอบหมายภารกจิ ที่เกยี่ วกับการดูแลเรื่องการป้องกนั ไวรัสโดยรวมทเี่ ก่ยี วขอ้ งกบั
การศกึ ษาทั้งหมด รวมถึงการออกแบบและกาหนดแนวทางการจัดการดา้ นสุขภาพ การจัดระเบยี บสาหรบั
ภาคการศึกษาใหม่ และเสริมสร้างให้มีการตรวจสอบและกากับดูแลด้านสุขศึกษาและการป้องกันโรค
ในขณะเดียวกัน รัฐบาลในระดับภูมิภาคและระดับท้องถ่ินก็ได้มีการจัดตั้งหน่วยงานที่เก่ียวข้องเพ่ือ
การประสานงานกับสานกั งานผู้นาแห่งชาตกิ ระทรวงศกึ ษาธิการ

1.2 การสร้างกรอบนโยบายเพ่ือควบคุมและป้องกันการแพร่กระจายของ COVID-
19 โดยศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนได้ประกาศและกาหนดนโยบายที่
เก่ียวขอ้ งกับมาตรการเฉพาะเกีย่ วกบั กระบวนการกากับดูแลและกลไกการทางาน เมอ่ื วันที่ 24 กมุ ภาพันธ์
2563 โดยมีเอกสารท้ังส้ิน 15 ฉบับ ซึ่งมีเอกสาร 2 ฉบับเก่ียวข้องโดยตรงกับการป้องกันและควบคุม
COVID-19 สาหรบั ผู้ตั้งครรภแ์ ละเด็ก เมือ่ วันท่ี 19 กมุ ภาพนั ธ์ 2020

1.3 การเผยแพร่แนวทางการป้องกันและควบคุม COVID-19 ในโรงเรียนอนุบาล
โดยสานกั งานการศึกษาแห่งชาติ กระทรวงศกึ ษาธกิ ารเพื่อตอบสนองต่อ COVID-19 ซง่ึ มหาวทิ ยาลยั ปักกิ่ง
ได้จัดผู้เชี่ยวชาญ 29 คน ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพและความเป็นอยู่ของการศึกษาระดับอนุบาล
(ซ่งึ ใหบ้ ริการเดก็ อายุ 3-6 ป)ี และผ้เู ชยี่ วชาญจากสถาบันควบคุมและป้องกันโรคทุกระดับการศกึ ษารวมทั้ง
ผู้เช่ียวชาญระดับวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยได้ร่วมกันกาหนดแนวทางการป้องกันและควบคุม COVID-19
ในโรงเรียนอนุบาล ซึ่งเผยแพร่เมื่อวันท่ี 2 มีนาคม 2020 เน้ือหาในเอกสารดังกล่าวสามารถดาวน์โหลด

วิจยั ขอ้ เสนอเชงิ นโยบายการจดั การศกึ ษาในสถานการณ์ COVID-19 สพป.พิษณโุ ลก เขต 1 35

เน้ือหาบน WeChat ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มเครือข่ายโซเชียลท่ีใหญ่ที่สุดในสาธารณรัฐประชาชนจีน เพ่ือให้
ผู้คนที่เกี่ยวข้องสามารถเข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลา สาหรับเน้ือหาในเอกสารประกอบด้วย 1) หลักการสาหรับ
การควบคุมและป้องกันโรค 2) เป้าหมายและการนาไปใช้ 3) ข้อมูลพ้ืนฐานเกี่ยวกับโรค 4) การเตรียม
ความพร้อมสาหรับโรงเรียน ประกอบด้วย ความรับผิดชอบของครูและบุคลากร และการจัดการชั้นเรียน
และ 5) การกาหนดการเปิดเรียนใหม่ ประกอบด้วย ความรับผิดชอบของครูและบุคลากรการจัดการช้ัน
เรียน และประเดน็ สาคญั ทเ่ี กีย่ วขอ้ งกบั ผปู้ กครอง

1.4 การเผยแพร่คู่มือการป้องกันและควบคมุ COVID-19 ในภาษาต่างประเทศเพื่อ
อานวยความสะดวกในการส่ือสารกับผู้ป่วยที่พูดเฉพาะภาษามณฑลหูเป่ย กระทรวงศึกษาธิการร่วมกับ
คณะกรรมการกิจการภาษาแห่งรัฐและมหาวิทยาลัยหลายแห่ง ได้ร่วมมือกันในการพัฒนาคู่มือการป้องกัน
และควบคุม COVID-19 เป็นภาษามณฑลหูเป่ย และกระทรวงศึกษาธิการได้พัฒนาคู่มือดังกล่าวเป็น
ภาษาตา่ งประเทศ โดยแปลเป็นภาษาต่างประเทศถงึ 8 ภาษา ไดแ้ ก่ ภาษาเกาหลี ภาษาญี่ปุน่ ภาษาฟารซ์ ี
ภาษาอิตาเลียน ภาษาอารบิค ภาษาสเปน ภาษาโปรตุเกส และภาษาอังกฤษ และยังมีประโยคอีก 50
ประโยคท่ีเป็นภาษาท่ีใช้กันโดยทั่วไปในชีวิตประจาวันท่ีศุลกากรสาหรับผู้เดินทางระหว่างประเทศ และท่ี
ใช้ในโรงพยาบาลสาหรับผูม้ ีปัญหาด้านสุขภาพ

2. การดาเนินการระดับมณฑลต่อการจัดการกับสถานการณ์โควิด-19 (กรณีตัวอย่าง
มณฑลเซย่ี งไฮ)้

2.1 การจดั ต้ังกล่มุ ผู้นาทส่ี อดคล้องกับสานกั งานผนู้ าแห่งชาติ
กระทรวงศึกษาธิการในการตอบสนองต่อ COVID-19 มณฑลเซ่ียงไฮ้ ได้จัดต้ัง
สานักงานผู้นาเพื่อตอบสนองต่อ COVID-19 ซ่ึงเป็นส่วนที่เก่ียวข้องในระดับมณฑล โดยมีภารกิจ
รับผิดชอบการจัดการศึกษาโดยรวมของมณฑล
2.2 การเผยแพรก่ ฎระเบยี บในการป้องกนั และควบคมุ COVID-19
คณะกรรมการการศึกษาเซี่ยงไฮ้ได้ออกข้อบังคับเกี่ยวกับการป้องกันและควบคุม
COVID-19 และได้เผยแพร่กฎระเบียบดังกล่าวทั้งทางเว็บไซต์และแพลตฟอร์ม WeChat ซ่ึงกฎระเบียบท่ี
กาหนดไว้จะเป็นหลักการโดยทั่วไป รวมถึงมาตรการที่เป็นรูปธรรม เช่น การเผยแพร่ข้อมูลท่ีสาคัญ
เกี่ยวกับการเสริมสร้างการป้องกันและการควบคุมการดาเนินงานในโรงเรียนระดับปฐมวัย การสื่อสาร
ระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครองในการให้คาแนะนาและแนวทางการจัดการเรียนการสอน การใช้ประโยชน์
จากแหลง่ ขอ้ มลู ทางการศึกษา และการจัดฝึกอบรมออนไลน์เกีย่ วกับการปอ้ งกนั และจดั การกับ COVID-19
และที่สาคัญ การจัดการเรียนการสอนสดแบบออนไลน์ห้ามมิให้ใช้กับเด็กตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 6 ขวบ
เนื่องจากอาจเกดิ ปัญหาในดา้ นสุขภาพ

วจิ ยั ขอ้ เสนอเชิงนโยบายการจดั การศึกษาในสถานการณ์ COVID-19 สพป.พิษณโุ ลก เขต 1 36

2.3 การสนับสนนุ ใหผ้ ปู้ กครองมีสว่ นรว่ มในการจดั การเรยี นรูโ้ ดยการผนวกการเล่น
กบั การใหค้ วามรดู้ ว้ ยวิธีการทางวิทยาศาสตรท์ ีบ่ ้าน

2.3.1 การส่งมอบ “ชุดกิจกรรมท่ีมีคุณค่าสาหรับการเล่นและการเรียนรู้
ท่ีบ้าน” โดยคณะกรรมการการศึกษาปฐมวัยของสมาคมการศึกษาเซ่ียงไฮ้ ได้นาเสนอชุดของกิจกรรมและ
วสั ดทุ เี่ รยี กวา่ "ชดุ กจิ กรรมท่มี ีคณุ ค่าสาหรับการเล่นและการเรยี นรู้ท่บี ้าน" ชดุ ของกิจกรรมน้ี ประกอบดว้ ย
สุขภาพ กีฬา กิจกรรมการเล่น และกิจกรรมการศึกษาเพ่ือการศึกษาต่อและเตรียมความพร้อมสาหรับ
การเปิดโรงเรียนใหม่ พร้อมกับคาแนะนาจากผู้เช่ียวชาญการจัดกิจกรรม เคล็ดลับในแต่ละคอลัมน์ใน
รูปแบบของภาพ วดิ โี อ และคาแนะนาง่าย ๆ ท่ีเหมาะสาหรบั เด็กและสาหรับผปู้ กครองในการจัดการเรียนรู้
ใหก้ ับบุตรหลานท่ีบา้ น

2.3.2 การให้ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญท่ีเน้นประเด็นพิเศษ โดยผู้เช่ียวชาญ
ด้านการจัดการเรียนรู้จะแสดงความคิดเห็นทางวิชาชีพในหัวข้อพิเศษ เช่น “จะเผชิญหน้ากับสถานการณ์
วิกฤติอยา่ งไรกบั บตุ รหลานของคุณ” ท้ังนี้ เพือ่ จะไดน้ าความคิดเห็นทเี่ ปน็ ประโยชนส์ ื่อสารกบั ผ้ปู กครองใน
การจัดการเรยี นรู้ใหก้ ับบุตรหลานที่บา้ น

2.3.3 การรวบรวมแนวความคิดและกรณีตัวอย่างจากผู้ปกครอง ได้มีการ
รวบรวมแนวความคิดและกรณีตัวอย่างท่ีดีและกิจกรรมอ่ืน ๆ ท่ีเป็นแนวปฏิบัติที่ดีของการเลน่ และการทา
กิจกรรมระหว่างผู้ปกครองกับนักเรียน ซ่ึงจากกรณีดังกล่าว สามารถรวบรวมแนวคิดได้มากกว่า 3,500
แนวคิด ภายใน 4 วนั และได้มกี ารคดั เลือกแนวคิดท่สี ามารถก่อใหเ้ กดิ การเรียนร้แู ก่เด็กได้เปน็ อยา่ งดีนามา
จัดพิมพ์โดยแบ่งออกเป็น 8 หัวข้อสาคัญ ประกอบด้วย ด้านกีฬา การละเล่น การทดลองทางวิทยาศาสตร์
การใชช้ ีวิตประจาวัน ศลิ ปะ การสรา้ งสรรค์ การอา่ น และกิจกรรมการเรยี นรู้ที่มีลกั ษณะเฉพาะ

3. นโยบายและแนวการปฏิบตั ขิ องภาคสงั คมและองค์กรภาคเอกชน
3.1 การจัดโครงการ 0-6 หรือ “0-6 Program of “Morning Babies, Kangkang

is Coming!” ซง่ึ เปน็ โครงการทรี่ เิ รมิ่ โดย องคก์ าร UNICEF China รว่ มกบั การศึกษาระดับปฐมวยั แห่งชาติ
สาธารณรัฐประชาชนจีน และศูนย์เด็กแห่งชาติสาธารณรัฐประชาชนจีน ได้พัฒนาโครงการท่ีช่ือว่า
“Morning Babies, Kangkang is Coming!” เป็นการพัฒนาชุดทรัพยากรทางการศึกษาสาหรับเด็กอายุ
0-3 ขวบ และ 3-6 ขวบ ซึง่ จะมีการปรบั เน้ือหาให้ทนั สมัยในทุกสปั ดาห์ผ่านแอปพลิเคชัน WeChat ซ่งึ ชดุ
ทรพั ยากรทางการศกึ ษา ประกอบดว้ ย กจิ กรรม 4 กจิ กรรม ประกอบดว้ ย การเรียนรทู้ างอารมณ์ในการอยู่
ในสังคม การกีฬา ศิลปะ และการพฒั นาทางปัญญา

3.2 แนวทางปฏิบัติสาหรับการศึกษาปฐมวัยของสังคมแห่งชาติสาธารณรัฐ
ประชาชนจนี

วจิ ัยขอ้ เสนอเชงิ นโยบายการจัดการศกึ ษาในสถานการณ์ COVID-19 สพป.พษิ ณโุ ลก เขต 1 37

3.2.1 สังคมแห่งชาติสาธารณรฐั ประชาชนจีนสาหรบั การศึกษาปฐมวยั ไดเ้ ชิญ
ผ้เู ชยี่ วชาญจากคณะกรรมการและสาขาทีเ่ กีย่ วขอ้ งหลายแหง่ เพื่อเขียนบทความสน้ั ๆ เกีย่ วกบั หัวขอ้ สาคัญ
ในสถานการณ์ปัจจุบัน หัวข้อเหล่าน้ัน ประกอบด้วย กลยุทธ์สาหรับความร่วมมือระหว่างครอบครัวและ
โรงเรียนอนุบาล การศึกษาสาหรับชีวิตประจาวนั เช่น การรักษาคุณค่าของชีวิตประจาวัน การพัฒนานิสัย
ที่ดี การเรียนรู้ท่ีจะจัดการชีวิตของตนเอง การศึกษาระบบนิเวศ การติดต่อสื่อสารด้วยความเข้าใจกับเด็ก
การสนับสนุนและการป้องกันสุขภาพทางกายและสุขภาพจิตของครู การกีฬาและวิธีการดูแลตนเอง
การอ่านหนังสือร่วมกันกับผู้ปกครอง การเตรียมความพร้อมมาโรงเรียนของเด็ก การป้องกันและควบคุม
ความปลอดภัยสาหรับเดก็ อนุบาล การปรบั หลกั สูตรอนุบาล และสร้างนสิ ยั สขุ อนามยั ทีด่ ใี หก้ บั เดก็

3.2.2 การเผยแพร่แนวทางต่อต้านไวรัส โดยคณะกรรมการสุขภาพเด็กได้
จัดทาข้อเสนอแนะและแนวทางในการปกป้องสุขภาพของเด็ก ซึ่งประกอบด้วย รวมถึงกลยุทธ์สาหรับ
โรงเรียนอนุบาลและครอบครัว รวมท้ังคณะกรรมการที่ส่งเสริมการเล่นสาหรับเด็ก ได้จัดทาแนวทางและ
คาแนะนาในการเล่นที่บา้ นสาหรับเดก็ อายุ 0-6 ปี ซ่ึงเป็นประโยชนส์ าหรับผู้ปกครองเป็นอยา่ งมาก

3.2.3 การรวบรวมคาถามและคาตอบสาหรับผู้บริหารและครู สังคมแห่งชาติ
สาธารณรัฐประชาชนจีนได้รวบรวมคาถามสาหรับผู้บริหารโรงเรียนอนุบาลและครูจากจังหวัด 9 จังหวัด
แ ล ะจั ด ห า ผู้ เ ช่ี ย วชา ญ ใน แต่ ล ะด้ าน มา จัด เ ต รีย มคา ต อบ แ ละให้ กา รแ น ะน า แล ะคา ป รึกษา ท่ีเ กี่ยวกับ
การจดั การเรยี นการสอน

4. การจัดทาแผนปฏิบัติการและแนวปฏิบัติสาหรับการศึกษาระดับปฐมวัยในระดับ
โรงเรยี น

ในระดับการปฏิบัติท่ีโรงเรียนน้ัน ผู้บริหารโรงเรียนและครูท่ีปฏิบัติหน้าที่ผู้ช่วย
ผู้บริหารได้จัดตั้งกลุ่ม WeChat เพ่ือรวบรวมสถานะของเด็กแต่ละคน รวมท้ังใช้เป็นเครื่องมือใน
การประกาศแนวทางหรือการเปลี่ยนแปลงนโยบาย รวมท้ังใช้ในการส่ือสารเก่ียวกับการเรียนการสอนกับ
เด็กในกลุ่มเช่น การสนทนากับเด็กภายในเวลา 30 นาทีเก่ียวกับวิธีการป้องกันตนเองจากเช้ือไวรัส ตาราง
การใช้ชีวิตในแต่ละวันของเด็ก กิจกรรมท่ีเด็กชอบมากท่ีสุด และเพราะเหตุใดจึงชอบกิจกรรมเหล่านั้น
เป็นต้น นอกจากน้ี ตามแผนปฏิบัติการยังได้มีหลักสูตรพิเศษ หรือ “Special Curriculum” ในแต่ละ
สัปดาห์สาหรับการตอบขอ้ ซักถามจากผปู้ กครอง

สรุปได้ว่า การจัดการเรียนรู้ให้แก่นักเรียนของสาธารณรัฐประชาชนจีนใน
สถานการณ์โควดิ ไดถ้ ูกจัดอย่างเป็นระบบ นับตั้งแต่ การดาเนินการระดับรัฐบาล ซ่ึงจะมีหน่วยงานที่ตั้งข้นึ
ใหม่ เพื่อจัดการกับสถานการณ์ COVID -19 โดยได้มีการสร้างกรอบนโยบายเพื่อควบคุมและป้องกัน
การแพร่กระจายของ COVID-19 การเผยแพร่แนวทางการป้องกันและควบคุม COVID-19 การเผยแพร่

วิจัยขอ้ เสนอเชงิ นโยบายการจดั การศึกษาในสถานการณ์ COVID-19 สพป.พษิ ณุโลก เขต 1 38

คมู่ ือการปอ้ งกนั และควบคมุ COVID-19 ในภาษาตา่ งประเทศ ซึ่งการดาเนนิ การในระดับรัฐบาลจะส่งผ่าน
ไปยังการดาเนินการในระดับมณฑล โดยมีการจัดตั้งกลุ่มผู้นาที่สอดคล้องกับสานักงานผู้นาแห่งชาติ
มีการเผยแพร่กฎระเบียบในการป้องกันและควบคุม COVID-19 การสนับสนุนให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมใน
การจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ท่ีบ้าน การให้ความคิดเห็นของผู้เช่ียวชาญที่เน้นประเด็น
พิเศษและการรวบรวมแนวความคิดและกรณีตัวอย่างจากผู้ปกครองเพ่ือการแลกเปลี่ยนเ รียนรู้ร่วมกัน
นอกจากน้ีมี การกาหนดนโยบายและแนวการปฏิบัติของภาคสังคมและองค์กรภาคเอกชน โดยมีการจัด
โครงการท่ีริเริ่มโดย องค์การ UNICEF China ในการพัฒนาชุดทรัพยากรทางการศึกษา และกาหนด
แนวทางปฏิบัติสาหรับการศึกษาปฐมวัยของสังคมแห่งชาติสาธารณรัฐประชาชนจีน และ การจัดทา
แผนปฏิบัติการและแนวปฏิบัติสาหรับการศึกษาระดับปฐมวัยในระดับโรงเรียน โดยการจัดตั้งกลุ่ม
WeChat เพือ่ รวบรวมสถานะของเด็กแตล่ ะคน รวมทง้ั ใช้เป็นเคร่ืองมือในการส่ือสารเก่ียวกบั การเรียนการ
สอนกับเด็กในกลุม่ และมหี ลกั สตู รพเิ ศษสาหรบั การตอบข้อซักถามจากผปู้ กครองอีกด้วย

2.2.2 นโยบายและแนวทางการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติด
เชือ้ ไวรสั โคโรนา 2019 (COVID-19) ของประเทศฟินแลนด์

ในระหว่างการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 เป็นสิ่งที่สาคัญและจาเป็นมาก
สาหรับรัฐบาลประเทศฟินแลนด์ ท่ีจะต้องมุ่งเน้นท่ีการป้องกันการติดเช้ือและการแพร่กระจายของเชื้อ
ไวรัส Finnish National Agency for Education (2020:14) ได้กล่าวว่า รัฐบาลฟินแลนด์ได้ตัดสินใจ
ท่ีจะดาเนินการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ด้านการศึกษาจากการประเมินของหน่วยงานด้านสุขภาพ ซึ่งการ
ตัดสินใจได้ถูกยกระดับในการแก้ไขปัญหาต้ังแต่ปลายเดือนเมษายน โดยเริ่มดาเนินการในระดับปฐมวัย
และในระดับประถมศึกษา ต่อมาเมื่อต้นเดือนพฤษภาคม จึงยกระดับการแก้ไขปัญหาในระดับมัธยมศึกษา
ตอนตน้ มัธยมศึกษาตอนปลาย สถานศกึ ษาระดับอาชีวศึกษา สถาบันอุดมศกึ ษา และการศึกษาแบบเสรี

ส่วนหนึ่งของการแก้ไขปัญหา คือ รัฐบาลประเทศฟินแลนด์ได้ให้คาแนะนาแก่โรงเรียน
ในการจัดการศึกษาทางไกลจนกว่าจะสิ้นสุดภาคการศึกษา รวมทั้งคาแนะนาสาหรับโรงเรียนเกี่ยวกับ
วิธีการทางานโดยคานงึ ถึงความปลอดภัยเปน็ สาคัญ แม้ว่าในขณะน้ันยังมีโรงเรยี นบางแห่งท่ียังคงเปิดสอน
อยู่ และจากการแถลงข่าวของรัฐบาลที่ระบุว่า ประสบการณ์ท่ีเกิดขึ้นทั้งในระดับนานาชาติและระดับ
ประเทศแสดงให้เห็นว่า การเผยแพร่การติดเช้ือ Coronavirus ในหมู่เด็กด้วยกันจะไม่รุนแรงเท่าระดับ
ผู้ใหญ่ และเด็กไม่ใช่แหล่งที่มาของการติดเชื้อ จากข้อมูลดังกล่าว โรงเรียนยังคงเปิดเรียนโดยยึดความ
ปลอดภยั สาหรบั เด็กและบคุ ลากรของโรงเรยี นเป็นสาคญั และไม่มีเหตผุ ลท่ีจะบงั คับใช้พระราชบญั ญัติ การ
ใช้อานาจฉุกเฉินที่เก่ียวข้องกับการศึกษาในระยะน้ัน ดังน้ัน การจัดการศึกษาระดับปฐมวัย รวมถึงระดับ
ประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้น ยังคงมีการจัดการเรียนการสอนอย่างต่อเน่ือง ในลักษณะท่ีควบคุม

วิจัยขอ้ เสนอเชงิ นโยบายการจดั การศึกษาในสถานการณ์ COVID-19 สพป.พิษณุโลก เขต 1 39

และค่อยเปน็ คอ่ ยไป อยา่ งไรก็ตาม รัฐบาลแนะนาว่า ในระดับมหาวิทยาลัย โรงเรยี นมธั ยมศกึ ษาตอนปลาย
สถาบันฝึกอบรมวิชาชีพ การศึกษาผู้ใหญ่และสถาบันการศึกษาข้ันพื้นฐานสาหรับผู้ใหญ่ ยังคงเปิดสอน
ต่อไปได้จนกว่าจะสิ้นสุดภาคการศึกษา และโรงเรียนสามารถตัดสินใจด้วยตนเองในการจัดการเรียนการ
สอนตามความจาเป็น

การจัดการเรยี นการสอนและแนวทางในการสนับสนนุ การจดั การศึกษาของโรงเรยี น
กระทรวงการศึกษาและวัฒนธรรม และสถาบันเพื่อสุขภาพและสวัสดิการของประเทศ
ฟินแลนด์ได้ทาความเข้าใจและให้คาแนะนาสาหรับผู้ให้บริการการศึกษา โดยระบุว่า นักเรียนในทุกระดับ
รวมถึงบคุ ลากรในโรงเรยี นไม่ควรจะไปโรงเรยี นหากมีอาการที่แสดงถึงความเปน็ ไปได้ท่จี ะเจ็บป่วย รวมทั้ง
คาแนะนาเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับการหลีกเล่ียงการสัมผัสทางกายที่ไม่จาเป็น การจัดสถานที่สอนให้
กว้างขวางกว่าปกติ เวลาหยุดพักของนักเรียนและมื้ออาหารของโรงเรียนจะต้องจัดให้ภายในบริเวณ
ห้องเรียน หรือกลุ่มของนักเรียนเอง บุคลากรจะถูกจัดให้สอนเฉพาะกลุ่ม ไม่มีการสอนข้ามกลุ่ม รวมทั้ง
จะต้องมีข้อปฏิบัติและแนวทางด้านสุขอนามัยอย่างเคร่งครัด ซ่ึงโรงเรียนแต่ละแห่งสามารถตัดสินใจใน
การจดั การทเ่ี ป็นกรณพี ิเศษนอกเหนือจากน้ีดว้ ยตนเอง
นอกจากนี้ หน่วยงานเพื่อการศึกษาแห่งชาติของฟินแลนด์ (EDUFI) ได้ออกแนวทางปฏิบัติ
ส า ห รั บ ก า ร เ รี ย น ไ ป จ น ถึ ง ส้ิ น สุ ด ภ า ค เ รี ย น แ ล ะ ส า ห รั บ ใ น ภ า ค เ รี ย น ถั ด ไ ป ห า ก ส ถ า น ก า ร ณ์ ยั ง ค งอยู่
ซึ่งแนวทางปฏิบัติของ EDUFI จะเป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับการประเมินนักเรียน การสนับสนุนการเรียนรู้
และบริการสวัสดิการนักเรียน รวมทั้งมีการให้คาแนะนาเก่ียวกับวิธีจัดการกับสถานการณ์ที่นักเรียนขาด
เรยี นนอกจากน้ี ยังมแี นวปฏิบตั ิเพ่ิมเติมสาหรบั การมาเรียนของนกั เรยี น ดังน้ี
1) การหลีกเลี่ยงการสัมผัสทางร่างกาย โรงเรียนได้กาหนดให้มีการหลีกเลี่ยงการสัมผัส
ทางกาย ซึ่งหมายความว่าไม่ควรจัดกิจกรรมใหญ่ที่มีคนร่วมกิจกรรมจานวนมาก และนอกเหนือจากเด็ก
และบุคลากรครูแล้ว ห้ามมิให้บุคคลภายนอกเข้ามาใช้สถานที่ภายในโรงเรียนและศูนย์การศึกษาปฐมวัย
และพ้ืนที่โดยรอบ ซ่ึงแต่ละโรงเรียนจะกาหนดแนวทางปฏิบัติท่ีเหมาะสมกับสถานการณ์ของตนเองและ
มีการให้คาแนะนาแก่ผู้ปกครอง โดยบุคลากรในโรงเรียนต้องหลีกเล่ียงการอยู่รวมกันในระยะใกล้
ซ่ึงหมายความวา่ ครูควรจัดการประชุมทางไกลเปน็ หลัก
2) การปฏิบัติกิจกรรมในพ้ืนที่ท่ีมีบริเวณกว้างขวาง ครูและบุคลากรควรจัดพื้นท่ีในการ
ทากิจกรรมกับนักเรียนระดับปฐมวัย และระดับ ประถมศึกษาโดยให้จัดพื้นที่ท่ีมีบริเวณระยะห่างเพียงพอ
และกว้างขวางเพ่ือป้องกันการสัมผัสและการติดเชื้อได้โดยง่าย และไม่ควรมีการเปลี่ยนกลุ่มในการจัดการ
เรียนการสอน ควรทางานกับกลุ่มเดิม ตามกฎเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของการติดเช้ือ ในระดับ

วิจัยข้อเสนอเชิงนโยบายการจดั การศึกษาในสถานการณ์ COVID-19 สพป.พิษณโุ ลก เขต 1 40

มัธยมศึกษาตอนต้นและในวิชาเลือก หากมีความจาเป็นท่ีจะต้องจัดการเรียนการสอนเป็นกลุ่ม ครูจะต้อง
จดั ระยะหา่ งให้มากพอและต้องจัดในบรเิ วณท่ีมีความกวา้ งขวางมากพอเท่าทจ่ี ะเป็นไปได้

3) กรณีท่ีเด็กป่วย จะถูกห้ามไม่ให้ไปโรงเรียนและได้รับการตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่
ท่ีเก่ียวข้องสิ่งสาคัญท่ีรัฐบาลให้ความสาคัญ คือ ในกรณีท่ีมีนักเรียนหรือบุคลากรของโรงเรียนเจ็บป่วย
จะต้องถือเป็นมาตรการท่ีจะต้องแยกนักเรียนหรือบุคลากรออกจากพื้นที่ของโรงเรียน หากนักเรียน
เจ็บป่วยระหว่างวัน จะต้องติดต่อผู้ปกครองมารับกลับบ้าน รวมทั้งจะต้องหลีกเล่ียงการสัมผัสใกล้ชิดกับ
นักเรียนท่ีป่วยโดยรักษาระยะห่างทางกายภาพให้เพียงพอ ผู้ที่ติดเช้ือ COVID-19 จะต้องอยู่ห่างจาก
โรงเรียนและได้รับการดูแลอย่างน้อยเจ็ดวันนับจากเร่ิมมีอาการ และดูแลอย่างต่อเน่ืองจนกว่าจะไม่มีการ
แสดงอาการอย่างน้อยสองวันก่อนกลับเข้ามาเรียนตามปกติ นอกจากนี้ แพทย์ที่รับผิดชอบโรคติดเช้ือใน
เขตเทศบาลหรือโรงพยาบาลจะมีหน้าที่คอยดูแลและตรวจสอบวงจรของการมีโอกาสในการติดเชื้อ
หากพบวา่ มนี ักเรยี นหรือบคุ ลากรในโรงเรียนได้รับการวนิ ิจฉยั วา่ เป็น COVID-19 จะมกี ารตรวจสอบวา่ จะมี
ผอู้ ่นื ไดร้ บั การสัมผัสจากผปู้ ว่ ยหรือไม่และจะต้องถกู ตดิ ตามและกักกนั เป็นเวลา 14 วนั นับจากการปรากฏ
ของอาการป่วย

คาแนะนาสาหรบั การศึกษาการจดั การศึกษาในระดับตา่ ง ๆ
1) การดูแลเดก็ ปฐมวัยและการศึกษาระดบั กอ่ นประถมศกึ ษา

โรงเรียนที่ทาหน้าที่ในการจัดการศึกษาและการดูแลเด็กปฐมวัยและการศึกษาระดับก่อน
ประถมศึกษาทจี่ ัดขนึ้ จะต้องมแี นวปฏบิ ัติท่ีให้ผู้ปกครองเกดิ ความมัน่ ใจในการจดั การเรียนการสอน อย่างไร
กต็ าม รฐั บาลฟินแลนดไ์ ด้แนะนาวา่ หากเป็นไปได้เดก็ ๆ ควรจะได้รบั การดแู ลทีบ่ ้าน

2) การศกึ ษาระดบั ประถมศกึ ษาและมัธยมศกึ ษาตอนต้น
สถานท่ีเรียนจะทาการปิดทาการจนถึง 13 เมษายน 2020 และจะไม่มีการจัดการเรียน

การสอนท่ีโรงเรียน การจัดการเรียนการสอนและการให้คาแนะนาจะถูกปรับเปลี่ยนโดยใช้วิธีการเฉพาะ
ซ่ึงโรงเรียนจะสามารถตัดสินใจในการปรับเปลี่ยนการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับนักเรียนแต่ละคน
แต่อย่างไรก็ตาม มีข้อยกเว้นสาหรับการจัดศึกษาระดับก่อนระดับประถมศึกษาที่สามารถจัดในโรงเรียน
สาหรบั นกั เรยี นในเกรด 1 ถงึ เกรด 3 ทีม่ ผี ปู้ กครองทีท่ างานในภาคที่สาคญั ตอ่ การทางานของสงั คม รวมถงึ
นักเรียนท่ีจะต้องให้ความดูแลเป็นพิเศษอาจได้รับการสอนท่ีโรงเรียนในกรณีที่มีความ จาเป็น
ซ่ึงรัฐบาลแนะนาว่าหากเป็นไปได้ นักเรียนควรได้รับการดูแลที่บ้าน ซึ่งข้อตกลงเหล่าน้ีจะมีผลบังคับใช้ใน
วนั พุธท่ี 18 มนี าคม 2563

3) การศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายท่ัวไป ระดับอาชีวศึกษา ระดับมหาวิทยาลัย และ
การศกึ ษาแบบเสรี

วิจัยข้อเสนอเชงิ นโยบายการจดั การศึกษาในสถานการณ์ COVID-19 สพป.พิษณโุ ลก เขต 1 41

สาหรับโรงเรียนและสถาบันการศึกษาในระดับดังกล่าว จะถูกปิดทาการจนถึง 13
เมษายน 2563 และการเรียนการสอนจะถูกระงับ และมีข้อแนะนาว่า การเรียนการสอนและการให้
คาปรึกษาสามารถจัดได้อย่างหลากหลายวิธี เช่น รูปแบบการจัดการศึกษาทางไกล การจัดการศึกษาใน
สภาพแวดล้อมที่ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลท่ีหลากหลาย รวมถึงการเรียนรู้แบบอิสระ ทั้งน้ีต้องอยู่ใน
การควบคุมดูแลจากโรงเรยี นและสถาบันการศึกษาในแต่ละระดบั ซ่งึ ข้อตกลงเหล่านีจ้ ะมผี ลบงั คบั ใช้ในวัน
พธุ ที่ 18 มนี าคม 2563

4) การกาหนดการสอบเพ่อื เข้าศึกษาตอ่ ในมหาวิทยาลัย
คณะกรรมการสอบเพื่อเข้าศึกษาต่อระดับมหาวิทยาลัย และกระทรวงการศึกษาและ

วฒั นธรรมของฟินแลนด์ ได้จดั ทากาหนดการเกยี่ วกับสอบเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลยั เม่อื วนั ท่ี 13
มีนาคม 2020 ซ่ึงยังคงมีการสอบเหมือนเดิม ไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ทั้งน้ี คณะกรรมการสอบเพ่ือเข้า
ศึกษาต่อระดับมหาวิทยาลัยได้ให้คาแนะนาที่ทาให้มั่นใจว่าการสอบจะถูกจัดข้ึนในสภาพแวดล้อมที่
ปลอดภัย

5) การอานวยความสะดวกเก่ยี วกับการศกึ ษาด้านอน่ื ๆ
ในส่วนของการจัดการเรียนรู้นอกระบบโรงเรียน เช่น พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ท้องถิ่น

พิพิธภัณฑสถาน โรงละคร โรงอุปรากรแห่งชาติ สถานที่ทางวัฒนธรรม ห้องสมุดเคลื่อนท่ีหอจดหมายเหตุ
แห่งชาติ ศูนย์พักผ่อน สระว่ายน้า ส่ิงอานวยความสะดวกด้านการกีฬา ศูนย์เยาวชน สโมสร การประชุม
ขององค์กร ห้องบริการดูแลผสู้ ูงอายุ และสถานท่ีจัดประชมุ จะปิดการทาการจนถงึ 13 เมษายน

อาจกล่าวไดว้ ่า การดาเนนิ การแก้ไขปญั หาสถานการณ์ด้านการศึกษาในระหว่างการแพร่
ระบาดของเช้ือไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของรัฐบาลประเทศฟินแลนด์ในช่วงต้น ๆ จะเป็นการให้
คาปรึกษาแนะนาในการจัดการศึกษาทางไกล รวมท้ังแนวปฏิบัติเพ่ือความปลอดภัยจากการติดเช้ือทั้ง
นักเรียนและบุคลากรในโรงเรียน แต่อย่างไรก็ตาม ยังคงมีโรงเรียนท่ีเปิดสอนในระหว่างสถานการณ์ด้วย
ความระมัดระวัง จึงทาให้รัฐบาลจึงต้องสร้างแนวปฏิบัติที่รัดกุมให้กับโรงเรียน เช่น การหลีกเลี่ยงการ
สัมผสั ทางร่างกาย การปฏบิ ัตกิ ิจกรรมในพนื้ ท่ีทีม่ ีบรเิ วณกว้างขวาง กรณีหากมีเดก็ เจ็บป่วยจะถูกห้ามไม่ให้
ไปโรงเรียนและได้รับการตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่ที่เก่ียวข้อง รวมท้ังกาหนดคาแนะนาสาหรับการศึกษา
การจัดการศึกษาในระดับต่าง ๆ ท้ังการดูแลเด็กปฐมวัยและการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา การศึกษา
ระดับประถมศึกษาและมธั ยมศกึ ษาตอนตน้ การศึกษาระดบั มธั ยมศึกษาตอนปลายท่วั ไป ระดบั อาชวี ศึกษา
ระดับมหาวทิ ยาลยั และการศกึ ษาแบบเสรี และการอานวยความสะดวกเก่ียวกบั การศกึ ษาด้านอนื่ ๆ

วิจยั ข้อเสนอเชิงนโยบายการจดั การศึกษาในสถานการณ์ COVID-19 สพป.พิษณุโลก เขต 1 42

2.2.3 นโยบายและแนวทางการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติด
เชอื้ ไวรสั โคโรนา 2019 (COVID-19) ของประเทศสิงคโปร์

การจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์โควิด-19 ของประเทศสิงคโปร์ จะมีการปรับเปลี่ยน
เพอื่ ใหเ้ หมาะสมกบั สถานการณ์ ดงั น้ี (Ministry of Education, Singapore, 2020 :25)

1) โรงเรียนและสถาบันการเรียนรู้ระดับสูงปรับเปล่ียนการจัดการเรียนรู้โดยการใช้
การเรียนรู้ที่บ้านเปน็ หลักแบบเต็มรปู แบบ (HBL) ในขณะที่โรงเรียนอนุบาลและศูนย์ดูแลเด็กได้ปิดทาการ

1.1) กระทรวงศึกษาธิการ (MOE) และกระทรวงการพัฒนาสังคมและครอบครัว
(MSF) ได้ดาเนินมาตรการป้องกันที่จาเป็นเพื่อดูแลความเป็นอยู่ที่ดีของนักเรียนและบุคลากรทุกคนของ
โรงเรียน รวมทง้ั ได้มีความพยายามในการบรู ณาการของหลายกระทรวงในการท่จี ะเพมิ่ มาตรการดา้ นความ
ปลอดภัยในการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียน สถาบันการเรียนรู้ระดับสูง (IHL) และโรงเรียนอนุบาล
โดยเฉพาะอย่างย่งิ การจดั การสอนทางไกล

1.2) การจัดการเรียนรูโ้ ดยการใชก้ ารเรียนรู้ท่ีบ้านเป็นหลักแบบเต็มรูปแบบ (HBL)
ได้เร่ิมต้ังแต่วันท่ี 8 เมษายน 2020 นักเรียนระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา การเตรียมเข้ามหาวิทยาลัย
และสถาบันการเรยี นรู้ระดับสูง (IHL) รวมถงึ นักเรยี นจากโรงเรียนการศึกษาพิเศษ (SPED) จะเปล่ียนไปใช้
การเรียนรู้ที่บ้านเป็นหลักเต็มรูปแบบ (HBL) จนถึงวันท่ี 4 พฤษภาคม 2020 นอกจากน้ี โรงเรียนอนุบาล
ท้ังหมดและศูนย์ดูแลเด็ก รวมถึงศูนย์ดูแลนักเรียนพิเศษจะระงับการให้บริการทั่วไป ในช่วงเวลานี้
สถาบันการศึกษาเอกชนได้รับคาแนะนาให้จัดการเรียนรู้ที่บ้านเป็นหลักแบบเต็มรูปแบบ (HBL) หรือ
ไม่เช่นนั้นก็ทาการปิดโรงเรียนช่ัวคราว ช้ันเรียนจะเริ่มดาเนินการอีกครั้ง ในวันท่ี 5 พฤษภาคม 2563
กระทรวงศึกษาธิการและ MSF จะติดตามสถานการณ์ COVID-19 อย่างใกล้ชิดเพื่อประเมินว่าจะต้องมี
การต่อชว่ งเวลาในการจดั การในลกั ษณะน้ีตอ่ ไปอกี หรือไม่

2) โรงเรียนประถมศกึ ษาและมัธยมศกึ ษา โรงเรียนเตรียมอุดมศกึ ษา สถาบนั การศึกษา
พิเศษและสถาบันการเรยี นรูท้ สี่ ูงขนึ้

2.1) การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ท่ีบ้านเป็นหลักแบบเต็มรูปแบบ (HBL)
โรงเรียนได้มีการจัดเตรียมนักเรียน ผู้ปกครอง และครูสาหรับการทางานแบบ HBL โดยโรงเรียนจะให้
คาแนะนาและการสนับสนุนสาหรับนักเรียน โดยการจัดหาวัสดุอุปกรณ์เพ่ือประกอบการเรียนรู้ท่ีบ้านทั้ง
การใช้ออนไลน์และวัสดุที่เป็นชิ้นงานเพ่ือให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง โรงเรียนจะช่วยเหลือนักเรียนที่
อาจต้องการใช้อุปกรณ์ดิจิตอลหรือการใช้สัญญาณอินเทอร์เน็ต ซึ่งหน่วยงานท่ีช่ือว่าแพลต ฟอร์ม
การเรียนรู้ของนักเรียนสิงคโปร์ (SLS) จะเปิดให้นักเรียนเข้าชมได้อย่างต่อเนื่องในช่วงเวลาวิกฤตินี้ ตลอด
ระยะเวลาของการเรียน HBL แบบเต็มรูปน้ี นักเรียนจะได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มท่ีจากครูและบุคลากร


Click to View FlipBook Version