The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

แผนปฏิบัติการประจำปี 2564

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Information of Matthayom Watnairong School, 2023-05-08 03:29:23

แผนปฏิบัติการประจำปี 2564

แผนปฏิบัติการประจำปี 2564

การให้ความเห็นชอบ แผนปฏิบัติการประจำปีการศึกษา 256๔ ของโรงเรียนมัธยมวัดนายโรง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานครเขต 1 กระทรวงศึกษาธิการ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนมัธยมวัดนายโรง มีมติเห็นชอบในการประชุม ครั้งที่ ๖/๒๕๖๔ เมื่อวันที่ ๒๙ เดือน กันยายน พ.ศ.256๔ เห็นชอบในการแบ่งสัดส่วนงบประมาณ ดังนี้ เงินงบประมาณ ปีการศึกษา 256๔ เงินอุดหนุนรายหัว ๓,๙๖๐,๑00.๐๐ บาท เงินรายได้สถานศึกษา ๔๖,๑๕๕,๕20.๐๐ บาท รวมทั้งสิ้น 5๐,๑๑๕,๖๒๐.๐๐ บาท นำมาจัดสรร (จำแนกตามกรอบงบประมาณและสัดส่วนการใช้งบประมาณ) ดังนี้ งบสำรองจ่าย ๕ % ๒,๕๐๕,๗๘๑.๐๐ บาท งบบริหารทั่วไป ๒๕ % 1๒,๕๒๘,๙๐๕.๐๐ บาท งบพัฒนา (วิชาการ) ๗0 % 3๕,๐๘๐,๙๓๔.๐๐ บาท รวมทั้งสิ้น 5๐,๑๑๕,๖20.๐๐ บาท นำมาจัดสรร (จำแนกตามรายจ่ายของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ) ดังนี้ งบบุคลากร ๗.๙๘ % ๔,๐๐๐,๐๐๐.๐๐ บาท งบดำเนินการ ๔๑.๐๓ % ๒๐,๕๖๓,๘๔๓.๐๐ บาท งบลงทุน ๓๘.๐๘ % ๑๙,๐๘๕,๘๙๖.๐๐ บาท งบเงินอุดหนุน ๗.๙๐ % ๓,๙๖๐,๑๐๐.๐๐ บาท งบรายจ่ายอื่น ๕.๐๐ % ๒,๕๐๕,๗๘๑.๐๐ บาท รวมทั้งสิ้น 5๐,๑๑๕,๖20.๐๐ บาท เงินอุดหนุนตามนโยบายเรียนฟรี ๑๕ ปี อย่างมีคุณภาพ ค่าหนังสือเรียน ๑,๑๙๔,๖๙๙ บาท ค่าอุปกรณ์การเรียน ๔๗๗,๓๘๐ บาท ค่าเครื่องแบบนักเรียน ๕๑๕,๓๕๐ บาท ค่ากิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ๙๒๒,๗๔๐ บาท รวมทั้งสิ้น ๓,๑๘๐,๑๖๙ บาท เงินคงเหลือ ณ วันที่ ๓1 มีนาคม 256๔ เงินอุดหนุน ๖,๔๙๑,๕๖๐.๐๐ บาท เงินรายได้สถานศึกษา ๓0,๑๒๓,๑๓๓.๔๖ บาท รวมทั้งสิ้น ๓๖,๖๑๔,๖๙๓.๔๖ บาท เห็นชอบให้ดำเนินการตามแผนปฏิบัติการประจำปีการศึกษา 256๔ ได้ (ลงชื่อ) (ศาสตราจารย์ดร.พิชัย สนแจ้ง) ประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนมัธยมวัดนายโรง


โรงเรียนมัธยมวัดนายโรงได้จัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีการศึกษา 256๔ ตามนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน นโยบายสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานครเขต 1 และข้อเสนอแนะแนวทางพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาของคณะกรรมการ ประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษา (สมศ.) ครั้งที่ 3 มาใช้ในการวางแผน และกำหนดนโยบายการพัฒนาสถานศึกษา ให้เป็นโรงเรียนคุณภาพ แห่งศตวรรษที่ 21 บนฐานความรู้และความสามารถด้านภาษา วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยมีเป้าหมายในการพัฒนา ผู้เรียนมีทักษะที่สำคัญจำเป็น มีสมรรถนะ และมีคุณลักษณะตรงตาม ความต้องการของการพัฒนาประเทศ ครู และผู้เรียนมีความเชี่ยวชาญและเป็นเลิศด้านภาษา วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการวิจัย ผู้เรียน ครู และบุคลากร สามารถสร้างผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่มีมูลค่าเพิ่ม โรงเรียนมีแหล่งเรียนรู้ สื่อการเรียน และนวัตกรรมที่มีคุณภาพและมาตรฐาน สามารถเข้าถึงได้โดยไม่จำกัด เวลาและสถานที่ โรงเรียนมีภาพลักษณ์ที่ดี มีเครือข่าย ความร่วมมือกับสถาบันทั้งในและต่างประเทศ และ โรงเรียนมีการบริหารจัดการที่มีคุณภาพบนพื้นฐานของธรรมาภิบาล และหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนขอขอบคุณคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะผู้ประเมินคุณภาพภายนอก สถานศึกษา คณะกรรมการสมาคมสมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนมัธยมวัดนายโรง คณะกรรมการเครือข่าย ผู้ปกครอง คณะครูและบุคลากรของโรงเรียนที่มีส่วนช่วยในการจัดทำเอกสารฉบับนี้ให้สำเร็จลุล่วงด้วยดี และ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าแผนปฏิบัติการประจำปีการศึกษา 256๔ ฉบับนี้จะเป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพ การศึกษาของโรงเรียนอย่างแท้จริง (นายเจนการณ์ เพียงปราชญ์) ผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมวัดนายโรง


หน้า ส่วนที่ 1 ข้อมูลพื้นฐานของโรงเรียน 1 ส่วนที่ 2 ยุทธศาสตร์ วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย และกลยุทธ์ โรงเรียนมัธยมวัดนายโรง ๑๘ ส่วนที่ 3 รายละเอียดงบประมาณโรงเรียนมัธยมวัดนายโรง ปีการศึกษา 256๔ ๒๔ ส่วนที่ 4 สรุปงบประมาณปีการศึกษา 256๔ ตามยุทธศาสตร์ ๒๗ ส่วนที่ 5 การกำกับติดตามประเมินผล ๓๐ รหัส 1-1 โครงการพัฒนาศักยภาพผู้บริหารและครูที่ปฏิบัติหน้าที่ด้านการบริหาร ๓๒ รหัส 2-1 โครงการพัฒนาระบบการบริหารและการปฏิบัติงาน ๓๘ รหัส 3-1 โครงการเสริมสร้างความสัมพันธ์และภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กร ๔๘ รหัส 4-2 โครงการพัฒนาหลักสูตร กระบวนการจัดการเรียนรู้ ครูและบุคลากร สู่ศตวรรษที่ 21 ๕๔ รหัส 5-2 โครงการสร้างเครือข่ายและความร่วมมือในการพัฒนาสถานศึกษา ๖๕ รหัส 6-2 โครงการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนด้านวิชาการและทักษะกระบวนการเรียนรู้ ๗๔ รหัส 7-3 โครงการพัฒนาสุขภาพและสุนทรียภาพ ๘๓ รหัส 8-3 โครงการพัฒนา ทักษะ และคุณลักษณะ สำหรับการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 ๙๐ รหัส 9-4 โครงการพัฒนาระบบ ICT และระบบสารสนเทศ ๑๐๔ รหัส 10-4 โครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ อาคารสถานที่และภูมิทัศน์ 1๑๐ รหัส 11-4 โครงการพัฒนา สื่อ วัสดุ และอุปกรณ์ 1๑๙ รหัส 1๒-๒ โครงการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ครู และการบริหารจัดการในด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี 1๒๗ ภาคผนวก 1๔๐ คำสั่งโรงเรียนมัธยมวัดนายโรงที่ ๖8/256๔ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการทบทวนแผนปฏิบัติการ สถานศึกษา ปีการศึกษา ๒๕๖๓ และจัดทำแผนปฎิบัติการสถานศึกษา ปีการศึกษา 256๔ คำสั่งโรงเรียนมัธยมวัดนายโรงที่ ๑๓๖/256๔ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อน การดำเนินงานโครงการและกิจกรรมตามแผนปฏิบัติการ ประจำปีการศึกษา 256๔ ประกาศโรงเรียนมัธยมวัดนายโรง เรื่อง การกำหนดค่าเป้าหมายตามมาตรฐานการศึกษา ของสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา ใบลงชื่อประชุมคณะกรรมการทบทวนแผนปฏิบัติการประจำปีการศึกษา ๒๕๖๓ และจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีการศึกษา ๒๕๖๔ ใบลงทะเบียนคณะกรรมการพิจารณาแผนปฏิบัติการ กลั่นกลอง และพิจารณาเพื่อจัดสรรงบประมาณ โรงเรียนมัธยมวัดนายโรง ปีการศึกษา ๒๕๖๔ ใบลงทะเบียนรับทราบการจัดสรรงบประมาณ ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๔


แผนปฏิบัติการประจำปีการศึกษา ๒๕๖๔ โรงเรียนมัธยมวัดนายโรง 2 ข้อมูลพื้นฐานของโรงเรียน 1. ข้อมูลพื้นฐาน โรงเรียนวัดมัธยมวัดนายโรง ตั้งอยู่เลขที่ ๖๕๘/๒ ซอยบรมราชชนนี ๑๕ ถนนบรมราชชนนี แขวงอรุณอมรินทร์ เขตบางกอกน้อย จังหวัดกรุงเทพมหานคร รหัสไปรษณีย์ ๑๐๗๐๐ สังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานครเขต ๑ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ โทรศัพท์ ๐-๒๔๒๔-๑๘๒๖ และ ๐-๒๔๒๔-๙๗๐๗ โทรสาร ๐-๒๔๓๓-๖๗๓๕ E-mail: [email protected] Website: www.nairong.ac.th เปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ มีเนื้อที่ ๕ ไร่ ๑ งาน ๒๒ ตารางวา เขตพื้นที่บริการ เขตบางกอกน้อย แขวงอรุณอมรินทร์ แขวงศิริราช แขวงบางขุนนนท์ แขวงบางขุนศรี เขตบางพลัด แขวงบางพลัด แขวงบางบำหรุ แขวงบางยี่ขัน แขวงบางอ้อ เขตตลิ่งชัน แขวงตลิ่งชัน แขวงคลองชักพระ แผนที่โรงเรียน


3 แผนปฏิบัติการประจำปีการศึกษา ๒๕๖๔ โรงเรียนมัธยมวัดนายโรง ประวัติโรงเรียน โรงเรียนมัธยมวัดนายโรง ชื่อเดิมคือ “โรงเรียนวัดนายโรง” ซึ่งเป็นชื่อของวัดอันเป็นที่ตั้งของโรงเรียน ที่ได้ชื่อว่า “วัดนายโรง” เนื่องด้วย “เจ้ากรับ” ซึ่งเป็น “นายโรง” ละครนอกที่มีชื่อเสียงในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ จนถึงรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ต่อมาเจ้ากรับจึงเป็นผู้ บริจาคที่ดินเพื่อสร้างวัด จึงได้ชื่อว่าวัดนายโรงและเป็นชื่อของโรงเรียนสืบมา โรงเรียนมัธยมวัดนายโรง ก่อตั้งเมื่อวันที่ ๑๓ เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๙๘ โดยกรมวิสามัญศึกษา (ต่อมาเปลี่ยนเป็น กรมสามัญศึกษา) กระทรวงศึกษาธิการ ได้จัดสรรงบประมาณ จำนวนเงิน ๓๙๙,๙๘๐ บาท เพื่อสร้างอาคารเรียนเป็นอาคารไม้สองชั้น บันไดขึ้นลงตรงกลางมี ๘ ห้องเรียน อาคารเรียนหลังนี้ได้สร้างขึ้น ในที่ดินของวัดนายโรง โดยกรมวิสามัญศึกษาช่างกรมศาสนา ในเนื้อที่ ๖ ไร่ ๑ งาน ๗ ตารางวา และที่ดินของวัดบางบำหรุ อีก ๑ งาน ๑๙ ตารางวา โรงเรียนวัดนายโรง ในทะเบียนเดิมตั้งอยู่ที่อำเภอบางกอกน้อย จังหวัดธนบุรี พื้นที่เป็นไม้เบญจพรรณ การคมนาคมต้องใช้การสัญจรทางเรือ โดยใช้เส้นทางคลองบางกอกน้อยโดยคลองนี้เชื่อมกับแม่น้ำเจ้าพระยาและคลองอื่น ๆ อีกจำนวนมาก เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๘ โรงเรียนวัดนายโรงเปิดสอนเป็นปีแรกมีนักเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ จำนวน ๒ ห้อง มีนักเรียนชาย ๕๐ คน นักเรียนหญิง ๒๗ คน ครูใหญ่คนแรกชื่อ ครูใหญ่ธำรง โกมลบุตร และมีครูอีก ๓ คน คือ ครูประมวล นานาวัน ครูสุดจิตต์ รัตนพูล และครูประพจน์ พจนเทวิน


แผนปฏิบัติการประจำปีการศึกษา ๒๕๖๔ โรงเรียนมัธยมวัดนายโรง 4 ครูใหญ่ธำรง โกมลบุตร บริหารโรงเรียน อยู่ในช่วง พ.ศ.๒๔๙๘ – ๒๕๐๖ เป็นระยะเวลา ๘ ปี นับว่าเป็น ช่วงแห่งประวัติศาสตร์ มีจำนวนนักเรียนเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ จากนักเรียนรุ่นแรก ๗๗ คน ในช่วงเวลา ๘ ปีมีนักเรียน ประมาณ ๔๐๐ คน ต่อมา พ.ศ.๒๘๐๖ ครูใหญ่ธำรง โกมลบุตร ได้รับคำสั่งให้ย้ายไปดำรงตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนวัดบางปะกอก กระทรวงศึกษาธิการได้ส่งนายเสนอ สุนทรเนตร มาเป็น ครูใหญ่แทน ครูใหญ่เสนอ สุนทรเนตร บริหารโรงเรียน ในช่วง พ.ศ.๒๕๐๖ – ๒๕๑๓ เป็นเวลา ๗ ปี ช่วงเวลาดังกล่าวมีนักเรียน ประมาณ ๔๐๐ คน มีการติดตั้งระบบน้ำประปาครั้งแรก ในโรงเรียนเมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๖ โดยก่อนหน้านี้ใช้น้ำคลองในการบริโภค มีการสร้างอาคารเรียนเพิ่มหลังที่ ๒ อีก ๔ ห้องเรียน ได้รับ งบประมาณในการสร้าง ๑๗๐,๐๐๐ บาท ในปี พ.ศ.๒๕๐๗ และ ในปี พ.ศ.๒๕๐๘ มีการสร้างรั้วลวดหนามรอบโรงเรียน จากนั้น พ.ศ.๒๕๑๐ ได้รับงบประมาณสร้างหอประชุม ๑๘๐,๐๐๐ บาท ต่อมาครูใหญ่เสนอ สุนทรเนตร ได้รับคำสั่งย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่โรงเรียนวัดหนองแขมในปีพ.ศ.๒๕๑๓ กระทรวงศึกษาธิการได้ส่ง อาจารย์ใหญ่พีระ ดาวเรือง มาเป็นอาจารย์ใหญ่ มีห้องเรียน ๑๕ ห้องเรียน มีนักเรียน ๕๕๕ คน ครู ๒๔ คน ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๑๗ ได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียนชั่วคราว ๒ หลัง ในช่วงปีนี้มีนักเรียน ๑๙ ห้องเรียน นักเรียน ๗๒๐ คน ครู ๓๒ คน ภารโรง ๕ คน พ.ศ.๒๕๑๙ โรงเรียนได้รับงบประมาณ ๓,๐๐๐,๐๐๐ บาท สร้างอาคารเรียนพิเศษ ๑๖ ห้องเรียน คือ อาคารที่อยู่หน้าสวนหย่อม อาคารเรียนหลังแรกนี้สร้างแทน อาคารเรียนชั่วคราวหลังแรกของโรงเรียน ไม้ที่ได้จากการรื้ออาคารเรียนนำมา สร้างบ้านพักครูได้ ๑ หลัง เมื่ออาจารย์ใหญ่พีระ ดาวเรือง ได้รับคำสั่งย้ายให้ไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการวัดน้อยใน เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๙ และได้ส่งนายประจวบ วัจนะรัตน์ อาจารย์ใหญ่โรงเรียนบางบัวทองมาเป็นอาจารย์ใหญ่โรงเรียนวัดนายโรงแทน พ.ศ.๒๕๒๑ อาจารย์ใหญ่ประจวบ วัจนะรัตน์ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน นับเป็น ผู้อำนวยการคนแรกของโรงเรียนวัดนายโรง ในช่วงพ.ศ.๒๕๑๙ – ๒๕๒๒ เป็นยุคของผู้อำนวยการประจวบ วัจนะรัตน์ เป็นยุคแห่งความเปลี่ยนแปลง กล่าวคือ พ.ศ.๒๕๒๑ ได้รับงบประมาณต่อเติมอาคารเรียนเพิ่ม ๑ หลัง สร้างบ้านพักครู ๒ หลัง และมีการตัดถนนจากวัดยี่ส่าย เข้ามายังโรงเรียนเป็นครั้งแรก อีกทั้ง พ.ศ.๒๕๒๑ เป็นปีที่ โรงเรียนเปิดขยายให้มีระดับมัธยมศึกษาตอนปลายครั้งแรก มีห้องเรียน ๒๘ ห้องเรียน ครู ๖๒ คน มีนักเรียน ประมาณ ๑,๐๐๐ คน ผู้อำนวยการประจวบ วัจนะรัตน์ บริหารโรงเรียนวัดนายโรงประมาณ ๓ ปี ก็ได้รับคำสั่ง ไปดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้อำนวยการกองมัธยมศึกษากรมสามัญศึกษา เมื่อวันที่ ๒๗ ธันวาคม ๒๕๒๒


5 แผนปฏิบัติการประจำปีการศึกษา ๒๕๖๔ โรงเรียนมัธยมวัดนายโรง พ.ศ.๒๕๒๓ ผู้อำนวยการประยูร สระน้ำ ย้ายมาจากโรงเรียนมักกะสันพิทยา มาดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดนายโรง ซึ่งเป็นยุคที่ต้องจารึกไว้ในประวัติศาสตร์เพราะโรงเรียนได้รับรางวัลพระราชทาน เป็นครั้งแรก พ.ศ.๒๕๒๔ ผู้อำนวยการประยูร สระน้ำ ย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนวัดประสาท ต่อมา ปี พ.ศ.๒๕๒๘ ผู้อำนวยการจรัล แก้วเหล็ก มาเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนวัดนายโรง ซึ่งต้องจารึกประวัติศาสตร์ อีกวาระหนึ่งที่โรงเรียนวัดนายโรงได้รับรางวัลโรงเรียนพระราชทานปี พ.ศ.๒๕๓๔ และในช่วงที่ท่านบริหารโรงเรียน ได้รับคำชมเชยจากกรมสามัญศึกษาว่าเป็นโรงเรียนที่จัดการเรียนการสอนดีเด่นประจำปี พ.ศ.๒๕๓๐ และเป็นโรงเรียนดีเด่นปี พ.ศ.๒๕๓๔ โรงเรียนมัธยมวัดนายโรงได้รับความเมตตาจากเจ้าอาวาสวัดนายโรงและเจ้าอาวาสวัดบางบำหรุ การสนับสนุนของสมาคมผู้ปกครองและครู และการสนับสนุนของศิษย์เก่า คณะครูที่ได้รับนโยบายทำงานจริงจัง รวมทั้งนักเรียนได้รับรางวัลพระราชทานดีเด่นด้านวิทยาศาสตร์ปี พ.ศ.๒๕๒๘ และ พ.ศ.๒๕๓๐ และนักเรียนได้รับ รางวัลพระราชทานนักเรียนดีเด่นจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในปี พ.ศ.๒๕๓๑ ด้านเกษตรกรรม และในปี พ.ศ.๒๕๓๔ ผู้อำนวยการจรัล แก้วเหล็กได้รับคำสั่งย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ โรงเรียนมหรรณพาราม กรมสามัญศึกษาจึงได้ส่ง ผู้อำนวยการเกรียงศักดิ์ กำเนิดเหมาะ มาดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดนายโรง ผู้อำนวยการเกรียงศักดิ์ กำเนิดเหมาะ บริหารโรงเรียนอยู่ในช่วง พ.ศ.๒๕๓๔ – ๒๕๓๖ โรงเรียนได้รับ รางวัลโรงเรียนพระราชทานครั้งที่ ๒ ช่วงเวลาดังกล่าวโรงเรียนวัดนายโรง ได้รับโล่การจัดกิจกรรมวันแม่จากสภา สังคมสงเคราะห์และได้รับโล่เยาวชนดีเด่น ขณะนั้นมีนักเรียน ๑,๔๙๙ คน ผู้อำนวยการเกรียงศักดิ์ กำเนิดเหมาะ ได้รับ คำสั่งไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนเทพศิรินทร์ร่มเกล้า เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๖


แผนปฏิบัติการประจำปีการศึกษา ๒๕๖๔ โรงเรียนมัธยมวัดนายโรง 6 ต่อมาผู้อำนวยการดำรง เตชะศิริผู้อำนวยการโรงเรียน สุวรรณสุธารามมาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนวัดนายโรง การบริหารโรงเรียนมุ่งเน้นการพัฒนานักเรียนให้มีความสมบูรณ์ ๔ ด้าน ได้แก่ นักเรียนขยันไปหาความรู้โดยไม่สิ้นสุด พัฒนานักเรียนให้นำ ความรู้ไปประกอบอาชีพได้ พัฒนานักเรียนให้รู้จักแบ่งเวลา พักผ่อนเพื่อให้สุขภาพแข็งแรง และเรียนรู้เพื่ออยู่ร่วมกับผู้อื่น ในสังคม โรงเรียนได้พัฒนาทั้งด้านวิชาการและด้านอาคารสถานที่ นับว่าเป็นยุคของการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญได้ปรับปรุงสำนักงาน ห้องประชุม ห้องปฏิบัติการต่าง ๆ ให้สวยงาม เป็นห้องปรับอากาศทั้งหมด ได้แก่ ห้องประชาสัมพันธ์ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ห้องสมุด ห้องโสตทัศนศึกษา ห้องชฎามาศ ห้องแนะแนว และ ห้องนาฏศิลป์–ดนตรี ไทย ให้ชื่อว่า “ห้องเจ้ากรับ” ผู้อำนวยการดำรง เตชะศิริ มีแนวคิดการตั้งชื่อห้องต่าง ๆ ของโรงเรียนให้สอดคล้อง กับชื่อโรงเรียน สถานที่ต่าง ๆ ซึ่งมีชื่อดังนี้ ห้องชฎามาศ ห้องเจ้ากรับ ลานพระโรง ห้องพระนาง ต่อมาได้รับคำสั่ง จากกรมสามัญศึกษาให้ย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนวัดอินทราราม พ.ศ.๒๕๓๙ ผู้อำนวยการมณีพันธ์ ศรีสุพรรณดิฐ ได้มารับตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน วัดนายโรงในช่วงปีพ.ศ.๒๕๓๙ – ๒๕๔๐ นับเป็นผู้บริหารหญิงคนแรกของโรงเรียน มีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของโรงเรียน คือ เปลี่ยนชื่อจากโรงเรียนวัดนายโรง เป็น โรงเรียนมัธยมวัดนายโรง ในปี พ.ศ.๒๕๔๐ ต่อมามีผู้บริหารโรงเรียนอยู่ในช่วงสั้น ๆ ๒ ท่าน คือ ผู้อำนวยการสุรณี ทศิธร และ ผู้อำนวยการไพโรจน์ สุวรรณภักดี ขณะนั้นเป็นช่วงที่สภาพแวดล้อมมีการเปลี่ยนแปลง ทำให้นักเรียนลดลงอย่างต่อเนื่อง จนกระทั้งปี พ.ศ.๒๕๔๔ มีนักเรียนเหลือเพียง ๔๔๒ คน ผู้อำนวยการไพโรจน์ สุวรรณภักดี ได้รับแต่งตั้งให้ไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนวัดรางบัว เป็นจังหวะที่คณะกรรมการข้าราชการครูเห็นว่า จำนวนนักเรียนไม่สัมพันธ์กับตำแหน่งจึงปรับลดตำแหน่งผู้บริหารโรงเรียนจากผู้อำนวยการโรงเรียนเป็นอาจารย์ใหญ่ ในปี พ.ศ.๒๕๔๔ อาจารย์ใหญ่วีระ วงษ์ประดิษฐ์ มารับตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ปฎิบัติหน้าที่ผู้บริหาร เพียง ๙ เดือน แต่ว่าได้วางรากฐาน การเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ของมัธยมวัดนายโรง คือ ริเริ่มการจัดการเรียนการสอน ๒ ภาษา โดยเปิดสอนภาคภาษาอังกฤษ (English Program) และภาคภาษาอังกฤษฉบับย่อ (Mini English Program) นายวีระ วงษ์ประดิษฐ์ ได้ย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนชัยเกษม จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ นายพิศนุ ศรีพล ผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่จึงได้ดำเนินการจัดการเรียนการสอนภาคภาษาอังกฤษต่อไป ในปี พ.ศ.๒๕๔๕ อาจารย์ใหญ่ธวัช หมื่นศรีชัย มาดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ในช่วง พ.ศ.๒๕๔๔ เป็นยุค แห่งการก้าวกระโดด โรงเรียนเปิดโครงการภาคภาษาอังกฤษ (English Program) และภาคภาษาอังกฤษฉบับย่อ (Mini English Program) ประสบความสำเร็จเป็นแบบอย่างให้สถาบันต่าง ๆ เข้ามาดูงานเป็นจำนวนมาก ทั้งในประเทศและต่างประเทศ โรงเรียนได้พัฒนาด้านอาคารสถานที่ สื่อ และเทคโนโลยีที่ทันสมัย เป็นโรงเรียนที่ใช้ ระบบ E–School เต็มรูปแบบ มีห้องเรียนปรับอากาศและห้องศูนย์การเรียนรู้ของกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ ในรูปแบบของ E–Classroom มีศูนย์การเรียนรู้ด้วยตัวเอง ปรับปรุงสนามเป็นคอนกรีตฉาบยางสังเคราะห์เป็น สนามกีฬามาตรฐานสากล ห้องเรียนคอมพิวเตอร์ ห้องสืบค้นที่ทันสมัย อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง จัดหาโปรแกรม คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนรู้ต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์จำนวนมาก ปรับปรุงโรงอาหารเป็นลักษณะศูนย์อาหาร โดยได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากผู้ปกครองเครือข่าย นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ได้เป็นตัวแทนประเทศไทย ไปแข่งขันโอลิมปิกวิชาภาษาอังกฤษที่ประเทศเวียดนาม นักเรียนสอบชิงทุนไปต่างประเทศได้จำนวนมาก


7 แผนปฏิบัติการประจำปีการศึกษา ๒๕๖๔ โรงเรียนมัธยมวัดนายโรง และนักเรียนสอบแข่งขันชนะเลิศในระดับจังหวัดและระดับประเทศในสาขาวิชาต่าง ๆ นับเป็นปีแห่งความเปลี่ยนแปลง ก้าวไกลไม่หยุดยั้ง บุคลากรทุกคนทำงานหนักเพื่อพัฒนาโรงเรียนให้เป็นที่ประจักษ์ จนกระทั้งปี พ.ศ.๒๕๔๗ ได้ปรับตำแหน่งผู้บริหารเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมวัดนายโรง จนกระทั่งเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๐ ผู้อำนวยการธวัช หมื่นศรีชัย ได้รับคำสั่งย้ายไปปฏิบัติงานที่โรงเรียนโพธิสารพิทยากร ในปี พ.ศ.๒๕๕๐ ผู้อำนวยการเบญญาภา คงรอด มารับงานโรงเรียนในโครงการพิเศษต่อเนื่อง นักเรียน โครงการภาคภาษาอังกฤษรุ่นแรกสำเร็จการศึกษา สามารถสอบเข้ามหาวิทยาลัยมหิดลภาคภาษาอังกฤษ เป็นจำนวนมาก รวมทั้งมหาวิทยาลัยต่าง ๆ โรงเรียน ผ่านการประเมินจากคณะกรรมการประเมิน สมศ. รอบ ๒ ได้ดีและดีมาก ได้มีการเปลี่ยนแปลงบรรยากาศ ห้องโสตทัศนศึกษา ห้องชฎามาศ ห้องวิทยาศาสตร์ ห้องปฏบัติการและห้องเรียนทุกห้อง เน้นบรรยากาศ ส่งเสริมผู้เรียนให้กล้าแสดงความสามารถทางภาษา ได้อย่างดียิ่ง คณะครูได้รับการเลื่อนวิทยฐานะเป็นครูชำนาญการพิเศษเพิ่มมากขึ้น นักเรียนมีผลการสอบ O–NET NT และ Top Test อยู่ในอันดับต้นของประเทศ และอันดับ ๑ ของเขตพื้นที่การศึกษาเขต ๓ เป็นที่ชื่นชม ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง และชุมชน ผู้อำนวยการเบญญาภา คงรอด ส่งเสริม สนับสนุนทุกด้าน โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีโรงเรียนเครือข่ายแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นไม่ว่าจะเป็น ประเทศอังกฤษหรือประเทศสิงคโปร์ สืบเนื่องจากการพัฒนาเน้นคุณภาพเชิงประจักษ์ทำให้โรงเรียนได้รับเลือก เป็นโรงเรียนต้นแบบและนำร่องโครงการ เช่น SAS curriculum pathway และ MOE Plaza เป็นโรงเรียนที่ได้รับเลือก เข้าโครงการ World–Class Standard School รุ่นที่ ๑ ของ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นหนึ่งใน ๖๖ โรงเรียน จากโรงเรียนในส่วนกลาง ๕๐๐ โรงเรียนทั่วประเทศ ในปี พ.ศ.๒๕๕๔ ผู้อำนวยการสุรพงศ์ งามสม ได้เข้ามา ดำรงตำแหน่ง และได้พัฒนาโรงเรียนให้ก้าวกระโดดอีกครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านภาษาอังกฤษและด้านเทคโนโลยี สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับสมาคม EIS แห่งประเทศไทย และ ความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาชั้นนำระดับโลกจำนวนมาก ตลอดจนเป็นผู้นำในการจัดการเรียนรู้ผ่านระบบออนไลน์และ Cloud Technology วางรากฐานให้ครูและนักเรียนมีทักษะและ สรรถนะที่สำคัญในศตวรรษที่ 21 มีนักเรียนสนใจเข้าศึกษา จำนวนมาก ทำให้โรงเรียนเป็นโรงเรีนยอัตราการแข่งขันสูงอย่างต่อเนื่อง มีผู้เรียนประสบความสำเร็จในการเรียน ได้รับรางวัลต่าง ๆ จำนวนมาก รวมถึงครู บุคลากร และสถานศึกษาก็ได้เป็นผู้นำในการเผยแพร่แนวทาง การจัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษโดยใช้เทคโนโลยีให้กับหลายภาคส่วนทั่วประเทศ มีการวางแผนในระยะยาว สำหรับอนาคตโดยการจัดทำแผนยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาโรงเรียนมัธยมวัดนายโรง ระยะเวลา 12 ปี (พ.ศ.2560 – 2572) ซึ่งต่อมาเมื่อผู้อำนวยการสุรพงศ์ งามสม ได้เกษียณอายุราชการ ผู้อำนวยการวันทนา ชูช่วย ได้เข้ามาสืบสาน ต่อยอดแนวคิดและความสำเร็จ ทำให้ในปีการศึกษา ๒๕๖๑ และ ๒๕๖๒ โรงเรียนมัธยมวัดนายโรงได้รับรางวัล สถานศึกษาที่มีระบบและกลไกการบริหารจัดการคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา เพื่อการประกันคุณภาพ (IQA AWARD) ระดับยอดเยี่ยม ประเภทสถานศึกษาขนาดใหญ่ อีกทั้งเป็นแกนนำในสถานศึกษาแกนนำเครือข่ายนวัตกรรม คุณภาพสถานศึกษา 1 ช่วย 3


แผนปฏิบัติการประจำปีการศึกษา ๒๕๖๔ โรงเรียนมัธยมวัดนายโรง 8 ยุทธศาสตร์ การผลิตและพัฒนาผู้เรียนให้มีศักยภาพในการเพิ่มขีดความสามารถ ในการแข่งขันของประเทศ และรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก วิสัยทัศน์ โรงเรียนคุณภาพแห่งศตวรรษที่ ๒๑ บนฐานความรู้และความสามารถ ด้านภาษา วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี อัตลักษณ์ สื่อสารสองภาษา ล้ำหน้าเทคโนโลยี มีจิตสาธารณะ คติพจน์ เลิศด้วยคุณธรรม ล้ำหน้าวิชา กล้าในทางที่ถูก ลูกนายโรง คำขวัญ ศิษย์และครูรู้หน้าที่ เป็นศักดิ์ศรีของนายโรง ปรัชญา ปญฺญา โลกสฺมิ ปชฺโชโต “ปัญญาเป็นแสงสว่างในโลก” พระพุทธรูปประจำโรงเรียน พระพุทธภูมินารถ บรมศาสดาประภากร สุนทรวรรณมงคล ต้นไม้ประจำโรงเรียน ต้นเฟื่องฟ้า สีประจำโรงเรียน สีฟ้า หมายถึง ความสงบเยือกเย็น สีเหลือง หมายถึง คุณธรรม สีเขียว หมายถึง ความเจริญงอกงาม


9 แผนปฏิบัติการประจำปีการศึกษา ๒๕๖๔ โรงเรียนมัธยมวัดนายโรง 2. ข้อมูลด้านการบริหาร 2.1 ผู้อำนวยการสถานศึกษา ผู้อำนวยการโรงเรียน นายเจนการณ์ เพียงปราชญ์ ตำแหน่ง: ผู้อำนวยการ วิทยฐานะ: ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ โทรศัพท์: ๐๘3–377–8571 Email: [email protected] วุฒิการศึกษาสูงสุด: ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต การบริหารการศึกษา ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ วันที่ 22 ตุลาคม 2563 จนถึงปัจจุบันเป็นเวลา ๗ เดือน ประสบการณ์การทำงาน พ.ศ.๒๕๓๗ อาจารย์ 1 ระดับ ๓ โรงเรียนบ้านหญ้าคา อำเภอแวงน้อย จังหวัดขอนแก่น พ.ศ.๒๕๔๙ รองผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมด่านขุนทด อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา พ.ศ.๒๕๕1 ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านโคกหนองไผ่ อำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา พ.ศ.๒๕๕๔ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านสระตะเฆ่ อำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา พ.ศ.๒๕๕๗ ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดหนองราง อำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา พ.ศ.๒๕๕๙ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านชาด อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา พ.ศ.2561 ผู้อำนวยการโรงเรียนโยธินบูรณะ 2 (สุวรรณสุทราราม) จังหวัดกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2563 ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดมัธยมวัดนายโรง จังหวัดกรุงเทพมหานคร 2.2 รองผู้อำนวยการสถานศึกษา รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงบประมาณ นางสาวมณฑกาญจน์ ทองคำ ตำแหน่ง: รองผู้อำนวยการ วิทยฐานะ: รองผู้อำนวยการชำนาญการ โทรศัพท์: 091–415–2452 Email: [email protected] วุฒิการศึกษาสูงสุด: ครุศาสตรมหาบัณฑิต การบริหารการศึกษา ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ วันที่ 30 ตุลาคม 2563 จนถึงปัจจุบันเป็นเวลา ๗ เดือน รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารทั่วไปและงานธุรการ นายอิทธิภพ ทิมวิภาค ตำแหน่ง: รองผู้อำนวยการ วิทยฐานะ: รองผู้อำนวยการชำนาญการ โทรศัพท์: 084-118-1921 Email: [email protected] วุฒิการศึกษาสูงสุด: การศึกษามหาบัณฑิต การบริหารการศึกษา ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ วันที่ 30 ตุลาคม 2563 จนถึงปัจจุบันเป็นเวลา ๗ เดือน รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารอาคารและยานพาหนะ นายอภิชาติ ศรีวะรมย์ ตำแหน่ง: รองผู้อำนวยการ วิทยฐานะ: รองผู้อำนวยการชำนาญการ โทรศัพท์: 085–688–3226 Email: [email protected] วุฒิการศึกษาสูงสุด: ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต การบริหารการศึกษา ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ วันที่ 30 ตุลาคม 2563 จนถึงปัจจุบันเป็นเวลา ๗ เดือน


แผนปฏิบัติการประจำปีการศึกษา ๒๕๖๔ โรงเรียนมัธยมวัดนายโรง 10 2.๓ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสถานศึกษา ผู้ช่วยผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงานบุคคล นายสิทธิเจตน์ กิตติพงศ์โภคิน ตำแหน่ง: ครู วิทยฐานะ: ครูชำนาญการ โทรศัพท์: ๐๘๖–๔๕๙–๔๕๙๓ Email: [email protected] วุฒิการศึกษาสูงสุด: การศึกษาบัณฑิต สาขาคณิตศาสตร์ เริ่มปฏิบัติหน้าที่ วันที่ 2 ธันวาคม 2563 จนถึงปัจจุบันเป็นเวลา ๕ เดือน ผู้ช่วยผู้อำนวยการกลุ่มบริหารกิจการนักเรียนและภาคีเครือข่าย นายธีรวี สำราญศิลป์ ตำแหน่ง: ครู วิทยฐานะ: ครูชำนาญการ โทรศัพท์: ๐๘๖–๘๓๕–๖๖๐๖ Email: [email protected] วุฒิการศึกษาสูงสุด ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาภาษาอังกฤษ เริ่มปฏิบัติหน้าที่ วันที่ 2 ธันวาคม 2563 จนถึงปัจจุบันเป็นเวลา ๕ เดือน ผู้ช่วยผู้อำนวยการกลุ่มบริหารวิชาการ นายสมโภช พ่วงเจริญ ตำแหน่ง: ครู วิทยฐานะ: ครูชำนาญการ โทรศัพท์: ๐๙๕–๐๐๔–๓๒๘๙ Email: [email protected] วุฒิการศึกษาสูงสุด: วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเคมี เริ่มปฏิบัติหน้าที่ วันที่ 2 ธันวาคม 2563 จนถึงปัจจุบันเป็นเวลา ๕ เดือน 2.๔ โครงสร้างการบริหาร


11 แผนปฏิบัติการประจำปีการศึกษา ๒๕๖๔ โรงเรียนมัธยมวัดนายโรง โรงเรียนมัธยมวัดนายโรง แบ่งโครงสร้างการบริหารงานออกเป็น 6 กลุ่มบริหาร ได้แก่ กลุ่มบริหารงบประมาณ ประกอบด้วย งานพัสดุและสินทรัพย์ งานแผนงาน งานประกันคุณภาพ การศึกษา (ภายในและภายนอก) งานบัญชีและการเงิน งานตรวจสอบภายใน งานโรงเรียนสุจริต งานตามนโยบาย เรียนฟรี 15 ปี อย่างมีคุณภาพ และสำนักงานกลุ่มบริหารงบประมาณ กลุ่มบริหารวิชาการ ประกอบด้วย งานหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้งานกลุ่มสาระการเรียนรู้ งานรับนักเรียน งานทะเบียน งานผลิตสื่อเพื่อสนับสนุนการเรียนการสอน งานวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา และพัฒนาสื่อนวัตกรรม งานวัดผลและประเมินผล งานนิเทศการสอนงานกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน งานห้องสมุด และงานสร้างชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพ (PLC) กลุ่มบริหารกิจการนักเรียนและภาคีเครือข่าย ประกอบด้วย งานพัฒนาวินัยและควบคุมความประพฤติ นักเรียน งานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน งานระดับชั้น งานป้องกันยาเสพติด เอดส์และอบายมุข งานส่งเสริม ประชาธิปไตย งานโภชนาการ งานอนามัย งานเครือข่ายผู้ปกครอง งานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน งานสมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนมัธยมวัดนายโรง งานสัมพันธ์ชุมชน งานสมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนมัธยมวัดนายโรง งานชมรมน้องพี่นายโรง และสำนักงานกิจการนักเรียนและภาคีเครือข่าย กลุ่มบริหารงานบุคคล ประกอบด้วย งานส่งเสริมวินัย งานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และทะเบียนประวัติ งานพัฒนาบุคลากร/งานอบรม/ศึกษาดูงาน งานส่งเสริมวิทยฐานะและอัตรากำลัง งานประเมินผลการปฏิบัติงาน (ประเมินประสิทธิภาพ ประสิทธิผล) งานขวัญและกำลังใจ งานวินัยและการรักษาวินัยของครูและบุคลากรทางการศึกษา และสำนักงานกลุ่มบริหารงานบุคคล กลุ่มบริหารทั่วไปและงานธุรการ ประกอบด้วย งานเทคโนโลยี งานประสานงานต่างประเทศ งานประสานงานภายในประเทศ งานสารสนเทศ งานพิธีกรและต้อนรับผู้มาเยี่ยมโรงเรียน งานเผยแพร่ข่าวสาร กิจกรรมของโรงเรียนผ่านช่องทางออนไลน์ งานจัดเสียงตามสายและกิจกรรมหน้าเสาธง งานวารสารโรงเรียน งานการจัดการเรียนรู้โครงการภาคภาษาอังกฤษ งานปฏิคม งานการจัดทำเอกสารประชาสัมพันธ์และรายงานผล การดำเนินงาน งานสารบรรณ โครงการโรงเรียนคุณภาพวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี (SMT) สำนักงานผู้อำนวยการ และสำนักงานกลุ่มบริหารทั่วไปและงานธุรการ กลุ่มบริหารอาคารและยานพาหนะ ประกอบด้วย งานอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อม งานยานพาหนะ งานรักษาความปลอดภัย งานจัดทำป้ายนิเทศป้ายประกาศเผยแพร่ผลงาน และสำนักงานอาคารสถานที่และ ยานพาหนะ


แผนปฏิบัติการประจำปีการศึกษา ๒๕๖๔ โรงเรียนมัธยมวัดนายโรง 12 ๓. ข้อมูลบุคลากรงานแผนงานของสถานศึกษา นางสาวมาลัย เกื้อกิจ หัวหน้างานแผนงาน / ครูรับผิดชอบงานประกันคุณภาพการศึกษา วุฒิการศึกษาสูงสุด: ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิจัยและประเมินผลการศึกษา โทรศัพท์: 0๘๑–๘๖๙–๕๑๗๖ Email: [email protected] นายวีรภาส บุญทอง หัวหน้างานประกันคุณภาพการศึกษา / ครูรับผิดชอบงานแผนงาน วุฒิการศึกษาสูงสุด: วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาคณิตศาสตร์ โทรศัพท์: 0๘๖–0๗๓–๙๙๑๙ Email: [email protected] นางสาวเหมสุดา คุมโสระ ครู รับผิดชอบงานแผนงานและงานประกันคุณภาพการศึกษา วุฒิการศึกษาสูงสุด: วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเคมี โทรศัพท์: ๐๙๔–๕๑๕–๓๙๙๑ Email: [email protected] นายวราพจน์ ดุริยานนท์ ครู รับผิดชอบงานแผนงาน วุฒิการศึกษาสูงสุด: ศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาภาษาฝรั่งเศส โทรศัพท์: 082–914–6590 Email: [email protected] นางกมลณภัทร์ ดวงเจริญอนันต์ เจ้าหน้าที่ รับผิดชอบงานแผนงานและงานประกันคุณภาพการศึกษา วุฒิการศึกษาสูงสุด: ครุศาสตรบัณฑิต สาขา การศึกษา (บรรณารักษศาสตร์) โทรศัพท์: ๐๙๕–๓๖๒–๖๖๙๔ Email: [email protected] นางสาวปาจารี แสนบุญ เจ้าหน้าที่ รับผิดชอบงานแผนงานและงานประกันคุณภาพการศึกษา วุฒิการศึกษาสูงสุด: รัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์ โทรศัพท์: ๐๘๓–๙๙๐–๓๗๙๕ Email: [email protected]


13 แผนปฏิบัติการประจำปีการศึกษา ๒๕๖๔ โรงเรียนมัธยมวัดนายโรง ๔. ข้อมูลนักเรียน ปัจจุบันโรงเรียนมัธยมวัดนายโรงมีข้อมูลเกี่ยวกับนักเรียนดังนี้ (ข้อมูลวันที่ 1๖ กรกฎาคม 256๓) จำนวนนักเรียน รวมทั้งหมด 1,1๑๒ คน และจำนวนนักเรียนจำแนกตามระดับชั้นที่เปิดสอน ตารางที่ 1 จำนวนนักเรียนจำแนกตามระดับชั้นที่เปิดสอนและเพศ ระดับชั้น จำนวนนักเรียน (คน) จำนวนห้องเรียน (ห้อง) จำนวนนักเรียน ชาย หญิง รวม เฉลี่ยต่อห้อง (คน) มัธยมศึกษาปีที่ ๑ 112 77 189 ๖ ๓๒ มัธยมศึกษาปีที่ ๒ 109 77 186 ๖ ๓๑ มัธยมศึกษาปีที่ ๓ 110 79 189 ๖ ๓๒ รวมระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 331 233 564 ๑๘ ๓๑ มัธยมศึกษาปีที่ ๔ 93 92 185 ๖ ๓๑ มัธยมศึกษาปีที่ ๕ 102 82 184 ๖ ๓๑ มัธยมศึกษาปีที่ ๖ 84 95 179 ๖ ๓๐ รวมระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 279 269 548 ๑๘ ๓๑ รวมทั้งหมด 610 502 1,112 ๓๖ ๓๑ แผนภูมิรูปวงกลมแสดงข้อมูลจำนวนนักเรียนโรงเรียนมัธยมวัดนายโรง จำแนกตามเพศ ตารางที่ ๒ จำนวนนักเรียนปีการศึกษา ๒๕๖1 – ๒๕๖3 จำแนกตามระดับชั้นที่เปิดสอน ระดับชั้น จำนวนนักเรียน (คน) ปีการศึกษา ๒๕๖๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๒ ปีการศึกษา ๒๕๖3 มัธยมศึกษาปีที่ ๑ ๑๘๖ ๑๘๖ 189 มัธยมศึกษาปีที่ ๒ 191 189 186 มัธยมศึกษาปีที่ ๓ 193 192 189 มัธยมศึกษาปีที่ ๔ 190 186 185 มัธยมศึกษาปีที่ ๕ 185 190 184 มัธยมศึกษาปีที่ ๖ 190 181 179 รวม 1,135 1,124 1,112


แผนปฏิบัติการประจำปีการศึกษา ๒๕๖๔ โรงเรียนมัธยมวัดนายโรง 14 ๕. ข้อมูลบุคลากร ตารางที่ ๓ จำนวนข้าราชการครูจำแนกตามตามสายงาน/กลุ่มสาระการเรียนรู้และระดับการศึกษา สายงาน/กลุ่มสาระการเรียนรู้ จำนวนตามระดับการศึกษา (คน) ปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก รวม ชาย หญิง รวม ชาย หญิง รวม ชาย หญิง รวม ผู้อำนวยการ – – – – – – 1 – 1 1 รองผู้อำนวยการ – – – 2 1 3 – – – 3 ภาษาไทย 2 3 5 1 – 1 – – – 6 คณิตศาสตร์ 2 – 2 – 3 3 1 - 1 6 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 7 5 12 1 3 4 – – – 16 สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม 2 2 4 3 – 3 – – – 7 สุขศึกษาและพลศึกษา 3 1 4 1 – 1 – – – 5 ศิลปะ 1 2 3 1 1 2 – – – 5 การงานอาชีพ 1 2 3 – – – – – – 3 ภาษาต่างประเทศ 5 2 7 1 1 2 – – – 9 กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน – 2 ๒ – – – – – – 2 รวม 23 19 4๒ 10 9 19 2 – ๒ 6๓ หมายเหตุ: รวมครูที่ปฏิบัติหน้าที่ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงเรียนตามโครงสร้างการบริหารงานของสถานศึกษา แผนภูมิแท่งแสดงข้อมูลจำนวนข้าราชการครูโรงเรียนมัธยมวัดนายโรง จำแนกสายงาน/กลุ่มสาระการเรียนครูและระดับการศึกษา


15 แผนปฏิบัติการประจำปีการศึกษา ๒๕๖๔ โรงเรียนมัธยมวัดนายโรง ๖. สภาพชุมชน สภาพชุมชนรอบบริเวณโรงเรียนมัธยมวัดนายโรง มีลักษณะผสมผสาน ทั้งสวนไม้ดอก ไม้ประดับ ร้านค้า และ อาคารพาณิชย์ มีประชากรประมาณ ๑๙,๘๘๒ คน บริเวณใกล้เคียง โดยรอบโรงเรียน ได้แก่ วัดนายโรง วัดบางบำหรุ ที่พักอาศัย ห้องเช่า ห้างสรรพสินค้า หมู่บ้านจัดสรร คอนโดมิเนียม สวนไม้ดอก สวนไม้ประดับ ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธศิลปวัฒนธรรม ท้องถิ่นที่เป็นที่รู้จักโดยทั่วไป คือ จิตรกรรมฝาผนังวัดนายโรง หุ่นกระบอก รวมถึงมีประเพณีต่าง ๆ ของชาวพุทธ เช่น การทำบุญตักบาตรการเวียนเทียนในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนางานลอยกระทง งานปิดทองหลวงปู่รอดวัดนายโรง เป็นต้น ผู้ปกครองส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับสูงกว่าปริญญาตรี ประกอบอาชีพธุรกิจส่วนตัวและรับจ้างประมาณร้อยละ ๗๕ และ รับราชการประมาณร้อยละ ๒๕ ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธคิดเป็น ประมาณร้อยละ ๙๘ ฐานะทางเศรษฐกิจ/รายได้โดยเฉลี่ย ต่อครอบครัวมากกว่า ๕๐๐,๐๐๐ บาทต่อปี จำนวนสมาชิก ในครอบครัวเฉลี่ย ๔ คนต่อครอบครัว แนวโน้มความต้องการของ ผู้ปกครองและชุมชน คือ ต้องการให้โรงเรียนมีการประชาสัมพันธ์ เกี่ยวกับกิจกรรมของโรงเรียนให้ผู้ปกครองและชุมชนรับทราบมากขึ้น และเพิ่มเติมกิจกรรมบริการวิชาการให้สมาชิกในชุมชน โรงเรียนมัธยมวัดนายโรงตั้งอยู่บนพื้นที่ของวัด ๒ วัด คือ วัดนายโรงและวัดบางบำหรุ ไม่ติดถนนใหญ่ ด้านทิศตะวันตกติดคลองบางกอกน้อย บรรยากาศจึงเงียบสงบไม่มีเสียงรถยนต์รบกวน ไม่มีมลภาวะทางอากาศ จากไอเสียรถยนต์ และฝุ่นละอองน้อย เหมาะสำหรับการเรียนการสอน อีกทั้งได้รับความเมตตาอย่างดียิ่งจากเจ้าอาวาส ทั้ง ๒ วัด ให้ใช้วัดเป็นแหล่งเรียนรู้และทำกิจกรรมทางศาสนา รวมถึงถนนบรมราชชนนีซึ่งเป็นที่ตั้งของสถานศึกษา ยังเป็นที่ตั้งของห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลพลาซาปิ่นเกล้า เดอะเซ้นส์ปิ่นเกล้า และเทสโก้โลตัสปิ่นเกล้า ตลอดจน โรงเรียนสอนเสริมต่าง ๆ ทั้งด้านวิชาการและด้านอื่น ๆ เช่น โรงเรียนกวดวิชา โรงเรียนสอนภาษาอังกฤษ โรงเรียน สอนภาษาจีน โรงเรียนสอนศิลปะวัฒนธรรม นอกจากนี้ฝั่งธนบุรียังมีแหล่งเรียนรู้สำหรับนักเรียนอีกจำนวนมาก เช่น พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร พระบรมมหาราชวัง ขันลงหินบ้านบุ วัดระฆังโฆสิตาราม โรงพยาบาลศิริราช แหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น สวนเฟิร์น คุณสุวรรณ แสงสุดใจเป็นต้น โรงเรียนมี ทางเข้าออกได้ ๓ ทาง คือ ซอยบรมราชชนนี ๑๑ ซอยบรมราชชนนี ๑๕ และซอยจรัญสนิทวงศ์ ๔๕ เส้นทางเดินรถทางเดียว สำหรับออกจากโรงเรียนเข้าสู่ถนนจรัญสนิทวงศ์ โรงเรียนได้จัดรถบริการรับ–ส่งนักเรียน ทั้งเช้าและเย็น อีกทั้งเจ้าอาวาส วัดนายโรงและวัดบางบำหรุได้ให้ความอนุเคราะห์จัดสถานที่จอดรถสำหรับผู้ปกครองที่ต้องการรับ–ส่ง บุตรหลานด้วยตนเอง


แผนปฏิบัติการประจำปีการศึกษา ๒๕๖๔ โรงเรียนมัธยมวัดนายโรง 16 ๗. การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของโรงเรียน ๗.1 จุดแข็ง (STRENGTHS) ๑. โรงเรียนเป็นต้นแบบในการจัดการเรียนการสอนและการบริหารจัดการโรงการภาคภาษาอังกฤษ (English Program / Mini English Program / Integrated English Program) ๒. โรงเรียนมีการแบ่งหน้าที่ตามโครงสร้างอย่างชัดเจนและเหมาะสมกับบริบทของโรงเรียน ๓. โรงเรียนมีโครงการและกิจกรรมที่หลากหลายและสอดคล้องกับบริบทและยุทธศาสตร์ของโรงเรียน ๔. โรงเรียนมีการบูรณาการเทคโนโลยีในการบริหารจัดการ ๕. โรงเรียนมีสื่อการเรียนรู้และเทคโนโลยีเพื่อการจัดการเรียนรู้ที่ทันสมัย ๖. ครูมีทักษะในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านสื่อเทคโนโลยีโดยใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร ๗. ครูและบุคลากรทางการศึกษามีความรู้ความสามารถตรงตามสาขาวิชาที่สอนและสายงาน ๘. ครูและบุคลากรมีความสามารถในระดับการเป็นผู้นำหรือวิทยากรในการอบรมและเป็นที่ยอมรับ ๙. นักเรียนมีความรู้ ความสามารถ กล้าแสดงออก มีภาวะผู้นำ สื่อสารภาษาอังกฤษได้ดี และมีทักษะในการเรียนรู้ ๑๐. โรงเรียนมีอัตราการแข่งขันสูงทำให้ได้สอบคัดเลือกในการรับนักเรียนเข้าศึกษา ๑๑. โรงเรียนมีองค์กรสนับสนุนที่เข้มแข็ง ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สมาคม ผู้ปกครองและครู เครือข่ายผู้ปกครอง สมาคมศิษย์เก่า และชมรมน้องพี่นายโรง ๑๒. โรงเรียนมีนวัตกรรมในการบริหารจัดการการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาตามวงจรคุณภาพ บนพื้นฐานหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ที่ได้รับการยอมรับในระดับชาติ ๗.2 จุดอ่อน (WEAKNESS) 1. โรงเรียนมีพื้นที่จำกัด 2. คณะกรรมการบริหารโรงเรียนมีประสบการณ์ในการบริหารไม่มาก 3. ข้าราชการครูส่วนใหญ่มีอายุราชการและประสบการณ์ในการทำงานน้อย ๗.3 โอกาส (OPPORTUNITY) 1. นโยบายกระทรวงศึกษาธิการที่มีการกระจายอำนาจการบริหารจัดการศึกษาสู่เขตพื้นที่การศึกษาและโรงเรียน ๒. โรงเรียนมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของนักเรียนและบุคลากร ตลอดจนมีความร่วมมือทางวิชาการ ในการจัดการศึกษากับสถาบันด้านการศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศจำนวนมาก ๓. ครูผู้สอนได้รับการพัฒนาการใช้และการสื่อสารภาษาอังกฤษ ภาษาต่างประเทศอื่น ๆ และการใช้เทคโนโลยี เพื่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และการบริหารงาน ตลอดจนมีความพร้อมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ผ่านระบบออนไลน์เต็มรูปแบบ ๔. โรงเรียนตั้งอยู่บนพื้นที่ของวัดนายโรงและวัดบางบำหรุ ซึ่งเป็นแหล่งอบรมคุณธรรม จริยธรรม ๕. โรงเรียนตั้งอยู่ใกล้ห้างสรรพสินค้าและสถาบันสอนเสริมทั้งด้านวิชาการ ศิลปะ ดนตรี กีฬา ๗.๔ อุปสรรค (THREATS) 1. การเปลี่ยนแปลงผู้บริหารและนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการบ่อยครั้ง ทำให้เกิดความคลาดเคลื่อน และสับสนในการนำนโยบายมาปฏิบัติ รวมถึงขาดความต่อเนื่องในการปฏิบัติงาน ๒. กฎระเบียบและข้อบังคับตามระบบราชการบางข้อ ไม่เอื้อต่อการปฏิบัติงานและการดำเนินงาน ๓. การบรรจุแต่งตั้งข้าราชการครูและผู้บริหารสถานศึกษาจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา บ่อยครั้ง ไม่สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน เช่น มีทักษะการใช้ภาษาอังกฤษและการใช้เทคโนโลยี ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ไม่ดีเท่าที่ควร เป็นต้น ๔. โรงเรียนตั้งอยู่ในซอยแคบและลึก การคมนาคมไม่สะดวก


17 แผนปฏิบัติการประจำปีการศึกษา ๒๕๖๔ โรงเรียนมัธยมวัดนายโรง ๘. ผลงานที่ประสบความสำเร็จ ๑. ได้รับการพิจารณาคัดเลือกจากสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานให้เป็นสถานศึกษาแกนนําของ เครือข่ายนวัตกรรมคุณภาพ ๑ ช่วย ๓ สถานศึกษาต้นแบบรางวัล IQA AWARD ระดับยอดเยี่ยม ประจําปีการศึกษา ๒๕๖๑ – ๒๕๖๒ 2. สถานศึกษาที่มีระบบและกลไกการบริหารจัดการคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา เพื่อการประกันคุณภาพ การศึกษายอดเยี่ยม ให้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติและรับรางวัล IQA AWARD ในปีการศึกษา 2561 และปีการศึกษา ๒๕๖๒ 3. รางวัลชนะเลิศ ระดับประเทศ โรงเรียนสุจริตพระราชทานด้านความโปร่งใส ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และโรงเรียนต้นแบบในการดําเนินการวิจัยและพัฒนา สู่การเป็นโรงเรียนสุจริต ในปีการศึกษา ๒๕๖๐ 4. สถานศึกษาแบบอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) ในปีการศึกษา ๒๕๕๙ 5. โรงเรียนต้นแบบการพัฒนาครูโดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อ สอนด้วยรูปแบบห้องเรียนดิจิทัลของสมาคม EIS แห่งประเทศไทย ในปีการศึกษา ๒๕๕๙ 6. ได้รับรางวัลยอดเยี่ยมการจัดบอร์ดนิทรรศการ ของสมาคมครูภาษาฝรั่งเศสแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ ปีการศึกษา 2558 2559 และ 2562 7 ได้รับการคัดเลือกรายงานประจําปีของสถานศึกษา ปีการศึกษา 2558 ได้มีคุณภาพและมาตรฐานระดับดีเยี่ยม 8. ได้รับการคัดเลือกสถานศึกษาที่มีระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาระดับดีเยี่ยม พ.ศ.2558 9 โรงเรียน Best Practice ของกระทรวงศึกษ าธิการด้านการเรียนการสอน ภาษาอังกฤษในปีการศึกษา 2550 10. โรงเรียนนําร่องการสอนแบบ CLIL Content and language integrated learning พ.ศ.2550 11. ได้รับรางวัลเหรียญทองแดง ผลงงาน หนึ่งโรงเรียน หนึ่งนวัตกรรม ระดับประเทศ ชื่อผลงาน รูปแบบการวัดและประเมินผลราย 2 สัปดาห์ ปีการศึกษา 2557 12. โรงเรียนได้รับรางวัลพระราชทานของกระทรวงศึกษาธิการ ในปีการศึกษา 2524 และ 2534


แผนปฏิบัติการประจำปีการศึกษา ๒๕๖๔ โรงเรียนมัธยมวัดนายโรง 19 ยุทธศาสตร์ วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย และกลยุทธ์ โรงเรียนมัธยมวัดนายโรง ยุทธศาสตร์ / Strategy การผลิตและพัฒนาผู้เรียนให้มีศักยภาพในการเพิ่มขีดความสามารถ ในการแข่งขันของประเทศและรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก It is imperative to develop students into mature individuals with potential in order to enhance the competitiveness of the country and cope with world citizenship. วิสัยทัศน์ / Vision โรงเรียนคุณภาพแห่งศตวรรษที่ ๒๑ บนฐานความรู้และความสามารถ ด้านภาษา วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี The ๒๑st Century Quality School Based on Knowledge and Literacy in Language, Culture, Science and Technology พันธกิจ / Missions ๑. จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้มีคุณภาพและได้มาตรฐานสากล ๒. จัดการเรียนการสอน เน้นพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะในศตวรรษที่ ๒๑ (21st Century Skills) มุ่งสู่ สังคมเศรษฐกิจบนฐานการเพิ่มมูลค่า โดยใช้นวัตกรรมเป็นเครื่องมือ ๓. พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาสู่ความเป็นมืออาชีพ (Professional) ที่มีทักษะในศตวรรษที่ ๒๑ ๔. ระดมและจัดสรรทรัพยากร สื่อ และสิ่งอำนวยความสะดวกต่อการเรียนรู้ สู่การเรียนรู้ด้วยวิธี ที่หลากหลาย การเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self–Study) และการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life–Long Learning) ๕. สร้างเครือข่ายและความร่วมมือในการจัดการศึกษาและการเรียนการสอนกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ ๖. บริหารการจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพ ทันสมัย สะดวก รวดเร็ว คล่องตัวยืดหยุ่น โปร่งใส โดยมีส่วนร่วมระหว่างโรงเรียนกับวัด ชุมชน ผู้ปกครอง หน่วยงาน และสถาบันต่าง ๆ


20 แผนปฏิบัติการประจำปีการศึกษา ๒๕๖๔ โรงเรียนมัธยมวัดนายโรง วัตถุประสงค์ / Objectives ๑. เพื่อผลิตและพัฒนาผู้เรียนที่มีสมรรถนะ ทักษะ และคุณลักษณะที่สำคัญจำเป็นในศตวรรษ ที่ ๒๑ มุ่งสู่สังคมเศรษฐกิจบนฐานการเพิ่มมูลค่า โดยใช้นวัตกรรมเป็นเครื่องมือ ตรงกับความต้องการ ของการพัฒนาประเทศ ๒. เพื่อพัฒนาครูและผู้เรียนให้มีความสามารถพิเศษหรือความเชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านภาษา วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการวิจัย ๓. เพื่อพัฒนาแหล่งเรียนรู้ สื่อการเรียน และนวัตกรรมให้มีคุณภาพและมาตรฐาน สามารถเข้าถึงได้ โดยไม่จำกัดเวลาและสถานที่ ๔. เพื่อสร้างเครือข่ายและความร่วมมือในการจัดการเรียนรู้และการวิจัยกับสถาบันทั้งในและ ต่างประเทศ ๕. เพื่อบริหารจัดการโรงเรียนอย่างมีคุณภาพ ทันสมัย สะดวก รวดเร็ว คล่องตัวยืดหยุ่น โปร่งใส บน พื้นฐานของหลักธรรมาภิบาลและหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นองค์กรกำกับและดูแล ตนเองที่ดี เป้าหมาย / Goals ๑. เรียนมีทักษะที่สำคัญจำเป็น มีสมรรถนะ และมีคุณลักษณะตรงตามความต้องการของการพัฒนาประเทศ ๒. ครูและผู้เรียนมีความเชี่ยวชาญและเป็นเลิศด้านภาษา วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการวิจัย ๓. ผู้เรียน ครู และบุคลากร สามารถสร้างผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่มีมูลค่าเพิ่ม ๔. โรงเรียนมีแหล่งเรียนรู้ สื่อการเรียน และนวัตกรรมที่มีคุณภาพและมาตรฐาน สามารถเข้าถึงได้ โดยไม่จำกัดเวลาและสถานที่ ๕. โรงเรียนมีภาพลักษณ์ที่ดี มีเครือข่าย ความร่วมมือกับสถาบันทั้งในและต่างประเทศ ๖. โรงเรียนมีการบริหารจัดการที่มีคุณภาพบนพื้นฐานของธรรมาภิบาล และหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประเด็นยุทธศาสตร์ ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๑ ปฏิรูปการบริหารจัดการ (Reinventing) ทรัพยากรสถานศึกษา ให้มีคุณภาพ ทันสมัย สะดวก (Convenience) รวดเร็ว (Speed) คล่องตัวยืดหยุ่น (Flexible) โปร่งใส ด้วยหลักแห่งความพอเพียง เป็นองค์กร กำกับและดูแลตนเองที่ดี ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๒ การปฏิรูปรูปแบบและกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Child–Centered) มุ่งสู่ สังคมเศรษฐกิจบนฐานการเพิ่มมูลค่า โดยใช้นวัตกรรมเป็นเครื่องมือให้ผู้เรียนดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 อย่างมีความสุข ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๓ ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนแบบบูรณาการให้สมบูรณ์ทั้งร่างกาย สติปัญญา และจิตใจ ทั้งในและนอกห้องเรียน ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๔ พัฒนา ปรับปรุงและจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สิ่งอำนวยความสะดวก สื่อและทรัพยากรการเรียนรู้ ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ การบริหารจัดการโรงเรียนและการสร้างสรรค์นวัตกรรม


แผนปฏิบัติการประจำปีการศึกษา ๒๕๖๔ โรงเรียนมัธยมวัดนายโรง 21 คุณลักษณะผู้เรียนที่พึงประสงค์ จิตอาสาสาธารณะ กตัญญูรู้คุณ ขยันหมั่นเพียร รู้เวลาและหน้าที่ สามารถสื่อสารสู่มาตรฐานสากล Public Minded Faithful Diligent Time and Duty Conscious International Communicative Competency Standard งานที่เน้น ๑. เน้นพัฒนาผู้เรียนให้มีความเป็นเลิศทางด้านภาษาอังกฤษ ภาษาต่างประเทศที่ ๒ และการใช้ เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ สร้างสรรค์ ปลอดภัย และมีจิตสำนึก ในระดับสากล ๒. เน้นพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะที่สำคัญจำเป็นในศตวรรษที่ 21 (21st century skills) มีความพร้อมใน การรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก มุ่งสู่สังคมเศรษฐกิจบนฐานการเพิ่มมูลค่า โดยใช้ นวัตกรรมเป็นเครื่องมือ ๓. พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา สู่ความเป็นมืออาชีพ (professional) ที่มีทักษะที่สำคัญจำเป็นต่อ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และมีความพร้อมในการรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก ๔. บริหารการจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพ ทันสมัย สะดวก รวดเร็ว คล่องตัวยืดหยุ่น โปร่งใส ตรวจสอบได้ ภายใต้การมีส่วนร่วมระหว่างโรงเรียนกับวัด ชุมชน ผู้ปกครอง หน่วยงาน และสถาบันต่าง ๆ ๕. สร้างเครือข่ายและความร่วมมือในการจัดการศึกษาและการเรียนการสอนกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ๕. ริเริ่มพัฒนาผู้เรียนให้มีความเป็นเลิศทางด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์


22 แผนปฏิบัติการประจำปีการศึกษา ๒๕๖๔ โรงเรียนมัธยมวัดนายโรง มาตรฐานการศึกษา มาตรฐานการศึกษาโรงเรียนมัธยมวัดนายโรง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานครเขต 1 เพื่อการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ประกอบด้วย มาตรฐานการศึกษา จำนวน ๔ มาตรฐาน ดังนี้ ตารางแสดงมาตรฐานการศึกษาโรงเรียนมัธยมวัดนายโรงและสัดส่วนคะแนน มาตรฐาน / ประเด็นการพิจารณา คะแนน มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน 40 1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน 28 1) มีความสามารถในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร และการคิดคำนวณ 4 2) ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและแก้ปัญหา 6 3) มีความสามารถในการสร้างนวัตกรรม 4 4) ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 6 5) มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา 4 6) มีความรู้ ทักษะพื้นฐาน และเจตคติที่ดีต่องานอาชีพ 4 1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน 12 1) การมีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนด 3 2) ความภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย 3 3) การยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย 3 4) สุขภาวะทางร่างกาย และจิตสังคม 3 มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหาร การจัดการ และการประกันคุณภาพภายใน 20 2.1 กระบวนการบริหารและการจัดการ 15 1) มีเป้าหมายวิสัยทัศน์และพันธกิจที่สถานศึกษากำหนดชัดเจน 3 2) มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา 2 3) ดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาและทุกกลุ่มเป้าหมาย 3 4) พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ 2 5) จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ 2 6) จัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้ 3 2.2 ระบบการประกันคุณภาพภายในที่มีประสิทธิผล 5 1) การใช้ระบบการประกันคุณภาพภายในเพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาให้ดียิ่งขึ้น 5 มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 20 1) จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตได้ 5 2) ใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ และแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ 4 3) มีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก 4 4) ตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบ และนำผลมาพัฒนาผู้เรียน 4 5) มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ 3 มาตรฐานที่ 4 จุดเน้นของสถานศึกษา (ภาษา เทคโนโลยี คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์) 20 4.1 ผู้นำชุมชนแห่งความเป็นเลิศทางด้านภาษาและเทคโนโลยีในระดับสากล 10 1) ผลการทดสอบทางด้านภาษาเทียบเคียงมาตรฐานสากล 2 2) ผลการทดสอบทางด้านเทคโนโลยีเทียบเคียงมาตรฐานสากล 2 3) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างประเทศ 3 4) การเป็นต้นแบบในการจัดการศึกษาบนพื้นฐานภาษา และเทคโนโลยี 3 4.2 การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ครู และการบริหารจัดการในด้านคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ 10 1) ทักษะ กระบวนการ และสมรรถนะ ในการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ของผู้เรียน 3 2) เจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ของผู้เรียน 3 3) การพัฒนาทักษะ และสมรรถนะ ในการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ของครู 2 4) การส่งเสริม และสนับสนุนการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ 2 สรุปภาพรวม 100


แผนปฏิบัติการประจำปีการศึกษา ๒๕๖๔ โรงเรียนมัธยมวัดนายโรง 23 โครงการที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ที่ ชื่อโครงการ ความสอดคล้อง ยุทธศาสตร์ สถานศึกษา กลยุทธ์ สถานศึกษา มาตรฐาน สถานศึกษา กลยุทธ์ สพฐ. พระบรมราโชบาย ด้านการศึกษา ๑ การพัฒนาศักยภาพผู้บริหาร และครูที่ปฏิบัติหน้าที่ด้านการบริหาร ๑ ๑ ๒ (ข้อ ๑) ๖.๑ ๖.๒ ๖.๕ ๒ (ข้อ ๑ – ๔) ๒ พัฒนาระบบการบริหาร และการปฏิบัติงาน ๑ ๑ ๒ ๓ ๒ (ข้อ ๑ – ๒) ๔.๓ ๕.๑ ๖.๑ ๖.๒ ๖.๔ ๖.๕ ๒ (ข้อ ๑ – ๔) ๓ เสริมสร้างความสัมพันธ์ และภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กร ๑ ๔ ๒ (ข้อ ๑ – ๒) ๔.๓ ๖.๑ ๖.๒ ๖.๓ ๖.๕ ๑ (ข้อ ๔) ๔ พัฒนาหลักสูตร กระบวนการ จัดการเรียนรู้ ครูและบุคลากร สู่ศตวรรษที่ ๒๑ ๒ ๑ ๒ ๑ (ข้อ ๑ – ๒) ๒ (ข้อ ๑) ๓ (ข้อ ๑ – ๓) ๔ (ข้อ ๑ – ๒) ๑.๒ ๓.๗ ๔.๓ ๖.๑ ๖.๒ ๖.๕ ๓ (ข้อ ๑ – ๓) ๕ สร้างเครือข่ายและความร่วมมือ ในการพัฒนาสถานศึกษา ๒ ๔ ๑ (ข้อ ๑ – ๒) ๒ (ข้อ ๑) ๔ (ข้อ ๑ – ๒) ๓.๗ ๔.๑ ๕.๑ ๒ (ข้อ ๔) ๖ พัฒนาศักยภาพผู้เรียนด้าน วิชาการและทักษะกระบวนการ เรียนรู้ ๒ ๓ ๑ (ข้อ ๑ – ๒) ๔ (ข้อ ๑ – ๒) ๑.๓ ๓.๒ ๔.๑ ๓.๑ ๓.๒ ๓.๓ ๓.๔ ๓.๕ ๔.๒ ๕.๒ ๑ (ข้อ ๑) ๓ (ข้อ ๑ – ๓) ๗ พัฒนาสุขภาพและสุนทรียภาพ ๓ ๑ ๑ (ข้อ ๑ – ๒) ๑.๓ ๕.๑ ๒ (ข้อ ๑ – ๔) ๔ (ข้อ ๑ – ๓) ๘ พัฒนาทักษะ และคุณลักษณะ สำหรับการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ ๒๑ ๓ ๒ ๓ ๔ ๑ (ข้อ ๑ – ๒) ๑.๓ ๒.๕ ๔.๑ ๔.๒ ๕.๑ ๕.๒ ๑ (ข้อ ๑ – ๔) ๒ (ข้อ ๑ – ๔) ๓ (ข้อ ๑) ๔ (ข้อ ๑ – ๓) ๙ พัฒนาระบบ ICT และระบบ สารสนเทศ ๔ ๑ ๓ ๒ (ข้อ ๑) ๑.๓ ๓.๑ ๓.๒ ๓.๓ ๓.๔ ๓.๕ ๔.๑ ๔.๒ ๕.๒ ๓ (ข้อ ๒ – ๓) ๑๐ พัฒนาแหล่งเรียนรู้ อาคารสถานที่ และภูมิทัศน์ ๔ ๒ ๒ (ข้อ ๑) ๓.๔ ๔.๑ ๔.๒ ๓ (ข้อ ๓) ๑๑ พัฒนา สื่อ วัสดุ และอุปกรณ์ ๔ ๓ ๑ (ข้อ ๑ – ๒) ๒ (ข้อ ๑) ๓ (ข้อ ๑ – ๓) ๑.๓ ๓.๒ ๔.๑ ๔.๒ ๔.๓ ๕.๒ ๖.๑ ๖.๒ ๖.๕ ๓ (ข้อ ๑ – ๓) ๑๒ พัฒนาคุณภาพผู้เรียน ครู และ การบริหารจัดการในด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ๒ ๓ ๔ ๑ (ข้อ ๑ – ๒) ๔ (ข้อ ๑ – ๒) ๑.๓ ๓.๒ ๔.๑ ๓.๑ ๓.๒ ๓.๓ ๓.๔ ๓.๕ ๔.๒ ๕.๒ ๑ (ข้อ ๑) ๓ (ข้อ ๑ – ๓)


แผนปฏิบัติการประจำปีการศึกษา ๒๕๖๔ โรงเรียนมัธยมวัดนายโรง 25 รายละเอียดงบประมาณโรงเรียนมัธยมวัดนายโรง ปีการศึกษา 256๔ โรงเรียนมัธยมวัดนายโรงมีรายได้หลักเพื่อการบริหารจัดการศึกษา ดังนี้ รายการ จำนวน (คน) จำนวน (บาท) 1. รายได้จากเงินงบประมาณอุดหนุนรายหัว - ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น - ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 5๔๓ 5๔๒ 1,9๐๐,๕00.๐๐ 2,0๕๙,๖00.๐๐ รวมเงินอุดหนุนรายหัว 1,๐๘๕ ๓,๙๖๐,๑00.๐๐ 2. เงินรายได้สถานศึกษาซึ่งเก็บจากนักเรียน ตามที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 2.1 โครงการภาคภาษาอังกฤษ EP - ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น - ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 2.2 โครงการภาคภาษาอังกฤษ ฉบับย่อ MEP - ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น - ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 2.3 โครงการภาคภาษาอังกฤษ แบบบูรณาการ IEP - ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น - ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 1๖๗ 1๕๔ 26๕ 26๘ 11๑ 12๐ 1๑,๖๙0,000.๐๐ 11,๓๙๖,000.๐๐ 9,๒๗๕,000.๐๐ 9,๙๑๖,000.๐๐ 1,๔๗๘,๕20.๐๐ 2,๔๐0,000.๐๐ รวมเงินรายได้สถานศึกษา 1,๐๘๕ 4๖,๑๕๕,๕20.๐๐ 3. เงินอุดหนุนตามนโยบายเรียนฟรี 15 ปี 3.1 ค่าหนังสือแบบเรียน 3.2 ค่าอุปกรณ์การเรียน 3.3 ค่าเครื่องแบบนักเรียน 3.4 ค่ากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 1,๐๘๕ 1,๐๘๕ 1,๐๘๕ 1,๐๘๕ 1,1๙๔,๖๙๙.๐๐ 4๗๗,๓๘0.๐๐ 5๑๕,๓๕0.๐๐ ๙๙2,๗40.๐๐ รวมเงินอุดหนุนตามนโยบายเรียนฟรี 15 ปี 1,๐๘๕ ๓,๒๑๒,๗๘๕.๐๐ 4. ยอดคงเหลือ ณ วันที่ ๓1 มีนาคม 256๔ 4.1 เงินอุดหนุนของสถานศึกษา 4.2 เงินรายได้สถานศึกษา - - ๖,๔๙๑,๕๖๐.๐๐ ๓0,๑๒๓,๑๓๓.๔๖ รวมเงินคงเหลือ - ๓๖,๖๑๔,๖๙๓.๔๖ รวม - ๘๙,๙๑0,๔๘๒.๔๖


26 แผนปฏิบัติการประจำปีการศึกษา ๒๕๖๔ โรงเรียนมัธยมวัดนายโรง เงินงบประมาณ ปีการศึกษา 256๔ เงินอุดหนุนรายหัว ๓,๙๖๐,๑00.๐๐ บาท เงินรายได้สถานศึกษา ๔๖,๑๕๕,๕20.๐๐ บาท รวมทั้งสิ้น 5๐,๑๑๕,๖๒๐.๐๐ บาท นำมาจัดสรร (จำแนกตามกรอบงบประมาณและสัดส่วนการใช้งบประมาณ) ดังนี้ งบสำรองจ่าย ๕ % ๒,๕๐๕,๗๘๑.๐๐ บาท งบบริหารทั่วไป ๒๕ % 1๒,๕๒๘,๙๐๕.๐๐ บาท งบพัฒนา (วิชาการ) ๗0 % 3๕,๐๘๐,๙๓๔.๐๐ บาท รวมทั้งสิ้น 5๐,๑๑๕,๖20.๐๐ บาท นำมาจัดสรร (จำแนกตามรายจ่ายของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ) ดังนี้ งบบุคลากร ๗.๙๘ % ๔,๐๐๐,๐๐๐.๐๐ บาท งบดำเนินการ ๔๑.๐๓ % ๒๐,๕๖๓,๘๔๓.๐๐ บาท งบลงทุน ๓๘.๐๘ % ๑๙,๐๘๕,๘๙๖.๐๐ บาท งบเงินอุดหนุน ๗.๙๐ % ๓,๙๖๐,๑๐๐.๐๐ บาท งบรายจ่ายอื่น ๕.๐๐ % ๒,๕๐๕,๗๘๑.๐๐ บาท รวมทั้งสิ้น 5๐,๑๑๕,๖20.๐๐ บาท เงินอุดหนุนตามนโยบายเรียนฟรี ๑๕ ปี อย่างมีคุณภาพ ค่าหนังสือเรียน ๑,๑๙๔,๖๙๙ บาท ค่าอุปกรณ์การเรียน ๔๗๗,๓๘๐ บาท ค่าเครื่องแบบนักเรียน ๕๑๕,๓๕๐ บาท ค่ากิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ๙๒๒,๗๔๐ บาท รวมทั้งสิ้น ๓,๑๘๐,๑๖๙ บาท เงินคงเหลือ ณ วันที่ ๓1 มีนาคม 256๔ เงินอุดหนุน ๖,๔๙๑,๕๖๐.๐๐ บาท เงินรายได้สถานศึกษา ๓0,๑๒๓,๑๓๓.๔๖ บาท รวมทั้งสิ้น ๓๖,๖๑๔,๖๙๓.๔๖ บาท แผนภูมิรูปวงกลมแสดงการจัดสรรเงินงบประมาณ ปีการศึกษา 256๔


แผนปฏิบัติการประจำปีการศึกษา ๒๕๖๔ โรงเรียนมัธยมวัดนายโรง 28 สรุปงบประมาณปีการศึกษา 256๔ ตามยุทธศาสตร์ ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 ปฏิรูปการบริหารจัดการ (Reinventing) ทรัพยากรสถานศึกษา ให้มีคุณภาพ ทันสมัย สะดวก (Convenience) รวดเร็ว (Speed) คล่องตัวยืดหยุ่น (Flexible) โปร่งใส ด้วยหลักแห่งความพอเพียง เป็นองค์กรกำกับและดูแลตนเองที่ดี ลำดับ โครงการและกิจกรรม จำนวน กิจกรรม จำนวน งาน เงินรายได้ เงินเรียนฟรี เงินอุดหนุน รายหัว รวม เงินอื่น ๆ ๑ การพัฒนาศักยภาพผู้บริหารและ ครูที่ปฏิบัติหน้าที่ด้านการบริหาร ๗ ๑ ๑,๙๑๕,000 – – ๑,๙๑๕,000 ๔๐,๐๐๐ ๒ พัฒนาระบบการบริหารและ การปฏิบัติงาน ๙ ๑๘ 30,169,800 2,187,429 2,200,000 3๔,๕๕๗,๒๒๙ ๓๘๐,๐๐๐ ๓ เสริมสร้างความสัมพันธ์และ ภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กร ๗ ๑ 4๗๐,๐๐๐ – – 4๗๐,๐๐๐ ๘๐,๐๐๐ รวมเงินประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 ๒๓ ๒๐ 32,๕๕4,800 2,187,429 2,200,000 3๖,๙๔๒,๒๒๙ ๕๐๐,๐๐0 3๗,๔๔๒,๒๒๙ ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 การปฏิรูปรูปแบบและกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Child–Centered) มุ่งสู่สังคม เศรษฐกิจบนฐานการเพิ่มมูลค่า โดยใช้นวัตกรรมเป็นเครื่องมือให้ผู้เรียนดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 อย่างมีความสุข ลำดับ โครงการและกิจกรรม จำนวน กิจกรรม จำนวน งาน เงินรายได้ เงินเรียนฟรี เงินอุดหนุน รายหัว รวม เงินอื่น ๆ ๔ พัฒนาหลักสูตร กระบวนการ จัดการเรียนรู้ ครูและบุคลากร สู่ศตวรรษที่ 21 ๑๘ – 526,000 – 89,250 ๖๑๕,๒๕0 ๑๐๐,๐๐๐ ๕ สร้างเครือข่ายและความร่วมมือ ในการพัฒนาสถานศึกษา ๑๔ ๑ ๕๕๐,000 – – ๕๕๐,000 ๓,๖๖๐,๐๐๐ ๖ พัฒนาศักยภาพผู้เรียนด้านวิชาการ และทักษะกระบวนการเรียนรู้ ๒๔ ๒ ๘,๒๓๕,๒60 110,200 1,304,745 ๙,๖๕๐,๒๐๕ ๒๗๒,๐๐๐ ๑๒ พัฒนาคุณภาพผู้เรียน ครู และ การบริหารจัดการในด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ๒๒ – ๑,๑๙7,400 233,700 208,000 ๑,๖๓9,100 ๔,๖๒๒,๐๐๐ รวมเงินประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 ๗๘ ๒ ๑๐,๕๐๘,๖60 343,900 1,601,995 ๑๒,๔๕๔,๕55 ๘,๖๕๔,๐๐๐ ๒๑,๑๐๘,๕๕๕


29 แผนปฏิบัติการประจำปีการศึกษา ๒๕๖๔ โรงเรียนมัธยมวัดนายโรง ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนแบบบูรณาการให้สมบูรณ์ทั้งร่างกาย สติปัญญา และจิตใจ ทั้งในและนอกห้องเรียน ลำดับ โครงการและกิจกรรม จำนวน กิจกรรม จำนวน งาน เงินรายได้ เงินเรียนฟรี เงินอุดหนุน รายหัว รวม เงินอื่น ๆ ๗ พัฒนาสุขภาพและสุนทรียภาพ ๙ ๔ 950,000 – 1,144,000 2,0๙๔,๐00 – ๘ พัฒนา ทักษะ และคุณลักษณะ สำหรับการดำรงชีวิตใน ศตวรรษที่ 21 ๔๕ – ๔77,000 648,840 1,678,500 ๒,๘04,340 ๒,๓๐๗,๑๐๐ รวมเงินประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 ๕๔ ๔ ๑,๔27,000 648,840 2,822,500 ๔,๘98,340 ๒,๓๐๗,๑๐๐ 7,๒๐๕,๔40 ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนา ปรับปรุงและจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สิ่งอำนวยความสะดวก สื่อและทรัพยากรการเรียนรู้ ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ การบริหารจัดการโรงเรียนและการสร้างสรรค์นวัตกรรม ลำดับ โครงการและกิจกรรม จำนวน กิจกรรม จำนวน งาน เงินรายได้ เงินเรียนฟรี เงินอุดหนุน รายหัว รวม เงินอื่น ๆ ๙ พัฒนาระบบ ICT และระบบ สารสนเทศ ๑ ๔ ๔,050,000 – ๒,0๐0,000 ๖,๐๕๐,000 – ๑๐ พัฒนาแหล่งเรียนรู้ อาคาร สถานที่และภูมิทัศน์ – 12 2๓,๒๕๗,๔๑๒.46 . – 1,827,165 2๕,๐๘๔,๕๗๗.46 . – ๑๑ พัฒนา สื่อ วัสดุ และอุปกรณ์ – 1๑ ๑,๙๗๕,๐00 – – ๑,๙๗5,000 – รวมเงินประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๔ ๑ 27 2๙,๒๘๒,๔๑๒.46 . 0 3,827,165 3๓,๑๐๙,๕๗๗.46 . 0 3๓,๑๐๙,๕๗๗.46 แผนภูมิรูปวงกลมแสดงงบประมาณปีการศึกษา 256๔ (ไม่รวมเงินอื่น ๆ ) จำแนกตามยุทธศาสตร์


แผนปฏิบัติการประจำปีการศึกษา ๒๕๖๔ โรงเรียนมัธยมวัดนายโรง 31 การกำกับติดตามประเมินผล วิธีการการกำกับติดตาม ประเมินผล และรายงาน วิธีการ 1. ผู้บริหารสถานศึกษากำกับ ดูแลความถูกต้องและประสิทธิภาพของการดำเนินงาน 2. ผู้รับผิดชอบในแต่ละงานเก็บข้อมูล และรายงานผลเสนอให้ผู้บริหารสถานศึกษารับทราบเป็นลำดับขั้น ตามสายงาน หากเป็นข้อมูลเร่งด่วนให้เสนอต่อผู้บริหารสถานศึกษาโดยตรง 3. ผู้รับผิดชอบสรุปรายงานผลการดำเนินงาน เสนอต่อผู้บริหารสถานศึกษาทุกสิ้นภาคเรียน 4. ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้รับผิดชอบงาน ร่วมวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อวางแผนการปฏิบัติงานในภาค เรียนต่อไป โดยนำผลที่ได้รับจากการดำเนินงานเปรียบเทียบกับดัชนีชี้วัดความสำเร็จของโรงเรียน การติดตามและประเมินผลแผนปฏิบัติการ ติดตามความก้าวหน้าและประเมินผลการดำเนินงาน ดังนี้ 1. วิธีติดตามกำกับและการประเมินผล 1.1 ติดตามความก้าวหน้าของการดำเนินงานและวิเคราะห์เป็น รายเดือน 1.2 ประเมินผลผลิต กิจกรรมหลัก ทุก 3 เดือน / 6 เดือน / 9 เดือน / 12 เดือน 2. การจัดทำรายงานและข้อเสนอแนะ 2.1 รายงานผลการดำเนินงานตามผลผลิต 3. การจัดทำรายงานประจำปี 3.1 บทสรุปสำหรับผู้บริหาร 3.2 จัดทำรายงานเพื่อเผยแพร่ ผู้มีส่วนร่วมในการติดตาม และประเมินโครงการ 1. นายเจนการณ์ เพียงปราชญ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมวัดนายโรง 2. นางสาวมณฑกาญจน์ ทองคำ รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงบประมาณ 3. นายอิทธิภพ ทิมวิภาค รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารทั่วไปและงานธุรการ 4. นายอภิชาติ ศรีวะรมย์ รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารอาคารและยานพาหนะ 5. นายสิทธิเจตน์ กิตติพงศ์โภคิน ผู้ช่วยผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงานบุคคล 6. นายธีรวี สำราญศิลป์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการกลุ่มบริหารกิจการนักเรียนและภาคีเครือข่าย 7. นายสมโภช พ่วงเจริญ ผู้ช่วยผู้อำนวยการกลุ่มบริหารวิชาการ 8. นางสาวมาลัย เกื้อกิจ หัวหน้างานแผนงาน 9. นายวีรภาส บุญทอง หัวหน้างานประกันคุณภาพการศึกษา 10.นางสาวเหมสุดา คุมโสระ งานแผนงานและงานประกันคุณภาพการศึกษา 11.นายวราพจน์ ดุริยานนท์ งานแผนงาน


แผนปฏิบัติการประจำปีการศึกษา ๒๕๖๔ โรงเรียนมัธยมวัดนายโรง 33 รหัส 1–1 โครงการตามแผนยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาโรงเรียนมัธยมวัดนายโรง ระยะเวลา ๑๒ ปี (พ.ศ.๒๕๖๑ – ๒๕๗๒) โครงการที่ ๑ ประจำปีการศึกษา 256๔ โครงการ พัฒนาศักยภาพผู้บริหารและครูที่ปฏิบัติหน้าที่ด้านการบริหาร สอดคล้องประเด็นยุทธศาสตร์โรงเรียนมัธยมวัดนายโรง ข้อที่ ๑ สนองกลยุทธ์ตามแผนยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาโรงเรียนมัธยมวัดนายโรง ข้อที่ ๑ สอดคล้องมาตรฐานการศึกษาโรงเรียนมัธยมวัดนายโรง มาตรฐานที่ ๒ ข้อที่ ๒.๑ สนองกลยุทธ์ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ข้อที่ 6.1 6.2 6.5 สนองพระบรมราโชบายด้านการศึกษา ด้านที่ ๒ ข้อที่ 1 – 4 ผู้รับผิดชอบ นายสิทธิเจตน์ กิตติพงศ์โภคิน (ผู้ช่วยผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงานบุคคล) กลุ่มบริหารที่รับผิดชอบ กลุ่มบริหารงานบุคคล ระยะเวลาดำเนินการ เมษายน 2564 – มีนาคม 2565 ___________________________________________________________________________________________ 1. หลักการและเหตุผล การบริหารจัดการจัดการสถานศึกษาถือเป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาโรงเรียนให้เจริญก้าวทันการเปลี่ยนแปลง ในยุคปัจจุบัน การบริหารที่ส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิต เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตและสังคมที่บูรณาการอย่างสมดุลระหว่าง ปัญญาธรรม คุณธรรม และวัฒนธรรม โดยทุกคนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาที่มีคุณค่า เต็มตามศักยภาพ ตรงตาม ความต้องการตามแผนยุทธศาสตร์ของสถานศึกษาและพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้มีคุณภาพโดยให้สังคมมีส่วนร่วม ในการดำเนินการและตรวจสอบได้อย่างมั่นใจว่าการศึกษาเป็นกระบวนการพัฒนาชีวิตและสังคม เป็นปัจจัยสำคัญ ในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน ให้สามารถแข่งขันได้ในระดับนานาชาติ ภายใต้การบริหารจัดการของโรงเรียน ที่มีคณะกรรมการสถานศึกษาให้ความเห็นชอบและอนุมัติ จึงจำเป็นต้องพัฒนาศักยภาพผู้บริหารและครูที่ปฏิบัติหน้าที่ ด้านการบริหาร เพื่อให้โรงเรียนพัฒนาอย่างมีคุณภาพ เกิดประสิทธิภาพประสิทธิผลต่อราชการรวมถึงด้านความโปร่งใส และมีธรรมาภิบาล 2. วัตถุประสงค์ของโครงการ 1. เพื่อส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนาศักยภาพผู้บริหารและครูที่ปฏิบัติหน้าที่ด้านการบริหาร 2. เพื่อส่งเสริมการบริหารจัดการและเสริมสร้างความเข้มแข็งของโรงเรียนในการพัฒนาคุณภาพการ ศึกษา โดยความร่วมมือ จากคณะกรรมการสถานศึกษา คณะกรรมการนักเรียน ครู และบุคลากร ทางการศึกษา ตลอดจนองค์กรของรัฐ และเอกชนในชุมชน 3. เพื่อพัฒนาการบริหารงานให้มีคุณภาพ ทันสมัย สะดวก รวดเร็ว คล่องตัวยืดหยุ่น โปร่งใส บนหลักแห่งความพอเพียง


34 แผนปฏิบัติการประจำปีการศึกษา ๒๕๖๔ โรงเรียนมัธยมวัดนายโรง 3. เป้าหมายของโครงการ เป้าหมายเชิงปริมาณ (ผลผลิต (Outputs)) 1. ร้อยละ 100 ของผู้บริหาร หัวหน้างาน และบุคลากรมีความรู้ทักษะและสมรรถนะการปฎิบัติงานที่ดี 2. มีมาตรฐานตำแหน่งและการปฎิบัติงาน 3. มีการบริหารจัดการที่มีความคล่องตัว รวดเร็ว ทันสมัย ยืดหยุ่น โปร่งใส ด้วยหลักธรรมาภิบาล ให้บริการที่ดีและมีคุณภาพ และคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 4. ร้อยละ 90 ของครู บุคลากร และผู้รับบริการ ที่มีระดับความพึงพอใจต่อการบริหารจัดการโรงเรียน ในระดับมากขึ้นไป 5. จำนวนโรงเรียนที่มาศึกษาดูงาน 80 โรงเรียน 6. มีเอกสารคู่มือการบริหารงานสถานศึกษา ๙ กลุ่มงาน เป้าหมายเชิงคุณภาพ (ผลลัพธ์ (Outcomes)) 1. การบริหารงานของกลุ่มงานในสถานศึกษามีประสิทธิภาพ คล่องตัว ยืดหยุ่น โปร่งใสบนหลักแห่งความพอเพียง และใช้ หลักการมีส่วนร่วมในการบริหารสถานศึกษา 2. ระดับความพึงพอใจของครู บุคลากร และผู้รับบริการ อยู่ในระดับมาก 3. มีการกำหนดมาตรฐานการปฏิบัติงาน ๙ กลุ่มงาน ทำให้เกิดประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียน


แผนปฏิบัติการประจำปีการศึกษา ๒๕๖๔ โรงเรียนมัธยมวัดนายโรง 4. กิจกรรมและงบประมาณ กิจกรรม/งาน รูปแบบ งบประมาณ ค่า ตอบแทน ค่า ใช้สอย ค่า วัสดุ ค่า ครุภัณฑ์ 1.1 กิจกรรมพัฒนาภาวะผู้นำ บริหารจัดการเชิงยุทธศาสตร์ทุกระดับ 1.1.1 กิจกรรมการฝึกอบรมและประชุม เชิงปฏิบัติการ เพื่อให้ผู้บริหาร พัฒนาภาวะผู้นำบริหารจัดการเชิงระบบ มีความรู้ และทักษะกระบวนการ ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารสถานศึกษา กิจกรรม ๘๐๐,๐๐๐ ๘ 1.๒ กิจกรรมพัฒนาความรู้ ทักษะการจัดการงาน การปฏิบัติงาน การให้บริการแก่บุคลากร 1.๒.1 กิจกรรมส่งเสริมสนับสนุนข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษาเพื่อให้ มีและเลื่อนวิทยฐานะ กิจกรรม ๑๕,๐๐๐ ๕,๐๐๐ 1.๒.๒ กิจกรรมการศึกษาดูงานของครู และบุคลากรทางการศึกษา กิจกรรม ๖๕๐,๐๐๐ ๖ 1.๒.๓ กิจกรรมการอบรมพัฒนา ยกระดับ สมรรถนะสายการสอน บุคลากร ทางการศึกษา กิจกรรม ๔๐๐,๐๐๐ ๔


35 แหล่งงบประมาณ ระยะเวลา ดำเนินการ ผู้รับผิดชอบ รวม อุดหนุน รายหัว เรียนฟรี รายได้ อื่น ๆ รวม ๐๐,๐๐๐ ๘๐๐,๐๐๐ ๘๐๐,๐๐๐ พ.ค. 64 – มี.ค. 65 - นายสิทธิเจตน์ กิตติพงศ์โภคิน - งานพัฒนาบุคลากร/ งานอบรม/ ศึกษาดูงาน - กลุ่มบริหารงานบุคคล ๒๐,๐๐๐ ๒๐,๐๐๐ ๒๐,๐๐๐ พ.ค. 64 – มี.ค. 65 - นางสาวอัจฉรา สารผล - งานส่งเสริมวิทยฐานะ และวางแผน อัตรากำลัง - กลุ่มบริหารงานบุคคล ๕๐,๐๐๐ ๖๕๐,๐๐๐ ๖๕๐,๐๐๐ ก.พ. 6๕ – มี.ค. 65 - นายณัฐนันท์ ชานนท์ - งานพัฒนาบุคลากร/ งานอบรม/ ศึกษาดูงาน - กลุ่มบริหารงานบุคคล ๔๐๐,๐๐๐ ๔๐๐,๐๐๐ ๔๐๐,๐๐๐ พ.ค. 64 – มี.ค. 65 - นางสาวอัจฉรา สารผล - งานพัฒนาบุคลากร/ งานอบรม/ ศึกษาดูงาน - กลุ่มบริหารงานบุคคล


36 กิจกรรม/งาน รูปแบบ งบประมาณ ค่า ตอบแทน ค่า ใช้สอย ค่า วัสดุ ค่า ครุภัณฑ์ 1.๒.๔ กิจกรรมสรรหา คัดเลือกข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษาดีเด่น กิจกรรม ๒๐,๐๐๐ 1.๒.๕ กิจกรรมการพัฒนาการส่งเสริม ประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน ของลูกจ้างประจำและลูกจ้างชั่วคราว กิจกรรม ๑๐,๐๐๐ 1.๒.๖ งานสร้างขวัญและกำลังใจแก่ครู และบุคลากรทางการศึกษา งาน (ใช้เิ 1.๒.๗ กิจกรรมการอบรมครูแกนนำ การอพยพภัยพิบัติ กิจกรรม ๕,๐๐๐ ๑๐,๐๐๐ รวม ๕,๐๐๐ ๑,๙๐๕,๐๐๐ ๕,๐๐๐ – ๑,๙


แผนปฏิบัติการประจำปีการศึกษา ๒๕๖๔ โรงเรียนมัธยมวัดนายโรง แหล่งงบประมาณ ระยะเวลา ดำเนินการ ผู้รับผิดชอบ รวม อุดหนุน รายหัว เรียนฟรี รายได้ อื่น ๆ รวม ๒๐,๐๐๐ ๒๐,๐๐๐ ๒๐,๐๐๐ ก.พ. 6๕ – มี.ค. 65 - นางสาวละลิตา วรจารุ - งานขวัญและกำลังใจ - กลุ่มบริหารงานบุคคล ๑๐,๐๐๐ ๑๐,๐๐๐ ๑๐,๐๐๐ พ.ค. 64 – มี.ค. 65 - นายธัญเทพ กองสุข - งานพัฒนาบุคลากร/ งานอบรม/ ศึกษาดูงาน - กลุ่มบริหารงานบุคคล ๐ เงินอื่น ๆ) ๔๐,๐๐๐ ๔๐,๐๐๐ พ.ค. 64 – มี.ค. 65 - นางสาวละลิตา วรจารุ - งานขวัญและกำลังใจ - กลุ่มบริหารงานบุคคล ๑๕,๐๐๐ ๑๕,๐๐๐ ๑๕,๐๐๐ ต.ค. 64 – พ.ย. 6๔ - นางสาวศิริรัตนา สกุลเสริมไกรศรี - สำนักงาน กิจการนักเรียน และภาคีเครือข่าย - กลุ่มบริหาร กิจการนักเรียน และภาคีเครือข่าย ๙๑๕,๐๐๐ – – ๑,๙๑๕,๐๐๐ ๔๐,๐๐๐ ๑,๙๕๕,๐๐๐ ๑,๙๑๕,๐๐๐


แผนปฏิบัติการประจำปีการศึกษา ๒๕๖๔ โรงเรียนมัธยมวัดนายโรง 37 ๕. สถานที่ดำเนินการ โรงเรียนมัธยมวัดนายโรง สถานที่จัดอบรม สถานที่ศึกษาดูงาน และแพลตฟอร์มออนไลน์ ๖. หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โรงเรียนมัธยมวัดนายโรง กลุ่มโรงเรียนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 กลุ่ม ๓ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานครเขต 1 สำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนมัธยมวัดนายโรง หน่วยงานผู้จัดอบรม และหน่วยงานที่ไปศึกษาดูงาน ๗. การวัดและประเมินผลโครงการ ตัวชี้วัดความสำเร็จ เกณฑ์ เครื่องมือ ผลผลิต (Outputs) 1. ร้อยละของผู้บริหาร หัวหน้างาน และบุคลากร มีความรู้ทักษะ และสมรรถนะการปฎิบัติงานที่ดี ร้อยละ 100 – แบบสังเกต – แบบตรวจสอบรายการ 2. มาตรฐานตำแหน่งและการปฎิบัติงาน มี – แบบตรวจสอบรายการ 3. การบริหารจัดการที่มีความคล่องตัว รวดเร็ว ทันสมัย ยืดหยุ่น โปร่งใส ด้วยหลักธรรมาภิบาล ให้บริการที่ดีและมีคุณภาพ และคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มี – แบบสังเกต – แบบตรวจสอบรายการ – แบบประเมินความพึงพอใจ 4. ร้อยละของครู บุคลากร และผู้รับบริการ ที่มีระดับความพึงพอใจ ต่อการบริหารจัดการโรงเรียนในระดับมากขึ้นไป ร้อยละ 90 – แบบประเมินความพึงพอใจ 5. จำนวนโรงเรียนที่มาศึกษาดูงาน 80 โรงเรียน – สมุดเยี่ยม 6. เอกสารคู่มือการบริหารงานสถานศึกษา ๖ กลุ่มบริหาร มี – แบบตรวจสอบรายการ ผลลัพธ์(Outcomes) 1. การบริหารงานของกลุ่มงานในสถานศึกษามีประสิทธิภาพ คล่องตัวยืดหยุ่น โปร่งใส บนหลักแห่งความพอเพียง และใช้หลักการมีส่วนร่วมในการบริหารสถานศึกษา มี – แบบสังเกต – แบบตรวจสอบรายการ 2. ระดับความพึงพอใจของครู บุคลากร และผู้รับบริการ มาก – แบบประเมินความพึงพอใจ 3. โรงเรียนมีการกำหนดมาตรฐานการปฏิบัติงาน ๖ กลุ่มบริหาร ทำให้เกิดประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน เกิดประโยชน์สูงสุด แก่ผู้เรียน มี – แบบสังเกต – แบบตรวจสอบรายการ ลงชื่อ………………………..............……ผู้เสนอโครงการ ลงชื่อ…………………..........…………….……ผู้ขออนุมัติ (นางสาวละลิตา วรจารุ) (นายสิทธิเจตน์ กิตติพงศ์โภคิน) หัวหน้างานขวัญและกำลังใจ ผู้ช่วยผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงานบุคคล ลงชื่อ………………………......………………..ผู้อนุมัติโครงการ (นายเจนการณ์ เพียงปราชญ์) ผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมวัดนายโรง


แผนปฏิบัติการประจำปีการศึกษา ๒๕๖๔ โรงเรียนมัธยมวัดนายโรง 39 รหัส ๒–1 โครงการตามแผนยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาโรงเรียนมัธยมวัดนายโรง ระยะเวลา ๑๒ ปี (พ.ศ.๒๕๖๑ – ๒๕๗๒) โครงการที่ ๒ ประจำปีการศึกษา 256๔ โครงการ พัฒนาระบบการบริหารและการปฏิบัติงาน สอดคล้องประเด็นยุทธศาสตร์โรงเรียนมัธยมวัดนายโรง ข้อที่ ๑ สนองกลยุทธ์ตามแผนยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาโรงเรียนมัธยมวัดนายโรง ข้อที่ ๑ – ๓ สอดคล้องมาตรฐานการศึกษาโรงเรียนมัธยมวัดนายโรง มาตรฐานที่ ๒ ข้อที่ ๒.๑ – ๒.๒ สนองกลยุทธ์ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ข้อที่ 4.3 5.1 6.1 6.2 6.4 6.5 สนองพระบรมราโชบายด้านการศึกษา ด้านที่ ๒ ข้อที่ 1 – 4 ผู้รับผิดชอบ นางสาวมณฑกาญจน์ ทองคำ (รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงบประมาณ) กลุ่มบริหารที่รับผิดชอบ กลุ่มบริหารงบประมาณ ระยะเวลาดำเนินการ เมษายน 2564 – มีนาคม 2565 ___________________________________________________________________________________________ 1. หลักการและเหตุผล โลกยุคปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว ประเทศไทยจึงมีความจำเป็นในการพัฒนาการศึกษา ให้กับประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเยาวชน เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ และรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง สามารถ ดำรงตนอยู่ในสังคมโลกได้อย่างมีคุณค่า “การศึกษา” เป็นกลไกในการพัฒนา ส่งเสริมและปลูกฝังแนวความคิดให้กับพลเมือง และเยาวชนของชาติ ซึ่งเป็นตัวแปรสำคัญของสมรรถนะและความสามารถในการแข่งขันระยะยาว (Long Term Competitiveness) ดังนั้นรูปแบบและวิธีการสอนจึงมีความจำเป็นต้องมุ่งให้ผู้เรียนสร้างสรรค์ความรู้ (Create Knowledge) จากกระบวนการได้รับความรู้ (Knowledge Acquisition) และการลงลึกในความรู้ (Knowledge Deepening) เป็นการสร้างสรรค์ ความรู้จากกระบวนการเรียนรู้ด้วยการกระทำ (Learning by Doing) จากงานหรือกิจกรรมในบริบทกระบวนการเรียนรู้ จะนำไปสู่การพฒันาทักษะการคิด (Thinking Skills) ให้สอดคล้องกับการพัฒนาระบบการบริหารและกาปฏิบัติงานที่ดี ตลอดจนการสื่อสารสารสนเทศในองค์กร ซึ่งมุ่งพัฒนาโครงสร้างและระบบการทำงานให้สอดคล้องกัน ยืดหยุ่นได้ตามลักษณะงาน ลดการซ้ำซ้อน ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า และมีการยึดประสิทธิภาพของการพัฒนาระบบการบริหารขององค์กรในทุกฝ่าย ของการทำงาน ตลอดจนส่งเสริมให้บุคลากรทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการพัฒนา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้กำหนดนโยบายเพื่อพัฒนาการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ไปในทิศทาง ที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติระยะ ๒๐ ปี (พ.ศ.๒๕๖๐ – ๒๕๗๙) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ.๒๕๖๐ – ๒๕๖๔) แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๖๐ – ๒๕๗๙ และยุทธศาสตร์ที่ ๑ ของโรงเรียนมัธยมวัดนายโรง มุ่งเน้นการพัฒนาระบบบริหารและการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพ สร้างประสิทธิผลจากการบริหารจัดการทรัพยากรอย่างมีระบบ โดยโรงเรียนมัธยมวดนายโรงได้จัดโครงการพัฒนาประสิทธิภาพของการบริหารจัดการของโรงเรียน จึงประกอบด้วย การพัฒนากิจกรรมฝ่ายบริหารทั้ง ๖ กลุ่มบริหาร ประกอบด้วย กลุ่มบริหารวิชาการ กลุ่มบริหารงบประมาณ กลุ่มบริหารงานบุคคล กลุ่มบริหารกิจการนักเรียนและภาคีเครือข่าย กลุ่มบริหารอาคารสถานที่และยานพาหนะ และกลุ่มบริหารทั่วไปและงานธุรการ


40 แผนปฏิบัติการประจำปีการศึกษา ๒๕๖๔ โรงเรียนมัธยมวัดนายโรง 2. วัตถุประสงค์ของโครงการ 1. เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของผู้บริหาร หัวหน้างานและบุคลากร ให้มีความรู้ ทักษะและสมรรถนะการปฏิบัติงานที่ดี 2. เพื่อสร้างมาตรฐานของตำแหน่งและการปฏิบัติงานที่ดี 3. เพื่อยกระดับมาตรฐานการปฏิบัติงานด้านความโปร่งใส 4. เพื่อส่งเสริมให้มีการบริหารจัดการที่มีความคล่องตัว รวดเร็ว ทันสมัย ยืดหยุ่น โปร่งใส ด้วยหลักธรรมาภิบาล ให้บริการที่ดี และมีคุณภาพ และคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 5. เพื่อส่งเสริมให้มีการบริหารจัดการทรัพยากรเชื่อมโยงกันทั้งระบบ 6. เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูและบุคลากร 7. เพื่อเพิ่มความพึงพอใจของผู้รับบริการ 3. เป้าหมายของโครงการ เป้าหมายเชิงปริมาณ (ผลผลิต (Outputs)) 1. ร้อยละ 100 ของผู้บริหาร หัวหน้างานและบุคลากร มีความรู้ ทักษะและสมรรถนะการปฏิบัติงานที่ดี 2. มีมาตรฐานของตำแหน่งและการปฏิบัติงานที่ดี 3. มีมาตรฐานการปฏิบัติงานด้านความโปร่งใส 4. มีการบริหารจัดการที่มีความคล่องตัว รวดเร็ว ทันสมัย ยืดหยุ่น โปร่งใส ด้วยหลักธรรมาภิบาล ให้บริการที่ดีและมีคุณภาพ และคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 5. มีการบริหารจัดการทรัพยากรเชื่อมโยงกันทั้งระบบ เป้าหมายเชิงคุณภาพ (ผลลัพธ์ (Outcomes)) 1. ระดับความพึงพอใจของครู บุคลากร และผู้รับบริการ อยู่ในระดับมาก


แผนปฏิบัติการประจำปีการศึกษา ๒๕๖๔ โรงเรียนมัธยมวัดนายโรง 4. กิจกรรมและงบประมาณ กิจกรรม/งาน รูปแบบ งบประมาณ ค่า ตอบแทน ค่า ใช้สอย ค่า วัสดุ ค่า ครุภัณฑ์ ๒.1 กิจกรรมพัฒนาปรับปรุงกระบวนการกระจายงาน ทรัพยากร สู่ทุกระดับ ๒.1.1 กิจกรรมพัฒนาปรับปรุงกระบวนการ กระจายงาน ทรัพยากร สู่ทุกระดับ (คู่มือการปฏิบัติของกลุ่มบริหารงาน และบุคคล) กิจกรรม (ดำ งบป ๒.๒ กิจกรรมปรับปรุงการปฏิบัติงานให้มีความรวดเร็ว ยืดหยุ่น คล่องตัว ๒.๒.1 งานค่าหนังสือแบบเรียน งาน ๑,๑๙๔,๖๙๙ ๑, ๒.๒.๒ งานทะเบียนและวัดผล งาน ๕๐,๐๐๐ ๒.๒.๓ งานรับนักเรียน งาน ๑๐๐,๐๐๐ ๑ ๒.๒.๔ กิจกรรมพัฒนาระบบ Face scan การมาปฏิบัติราชการ กิจกรรม (ดำ งบป


41 แหล่งงบประมาณ ระยะเวลา ดำเนินการ ผู้รับผิดชอบ รวม อุดหนุน รายหัว เรียนฟรี รายได้ อื่น ๆ รวม ๐ ำเนินการ โดยไม่ใช้ ประมาณ) ๐ (ดำเนินการ โดยไม่ใช้ งบประมาณ) เม.ย. 64 – ก.ย.6๔ - นางสาวรัตนาภรณ์ แก่นจันทร์ - สำนักงาน กลุ่มบริหารงานบุคคล - กลุ่มบริหารงานบุคคล ๑๙๔,๖๙๙ ๑,๑๙๔,๖๙๙ ๑,๑๙๔,๖๙๙ เม.ย. 64 – ธ.ค. 64 - นายอร่าม คนสิน - งานตามนโยบาย เรียนฟรี ๑๕ ปี อย่างมีคุณภาพ - กลุ่มบริหารงบประมาณ ๕๐,๐๐๐ ๕๐,๐๐๐ ๕๐,๐๐๐ เม.ย. 64 – มี.ค.65 - นายจักรภพ เมืองสุวรรณ์ - งานทะเบียน - กลุ่มบริหารงวิชาการ ๐๐,๐๐๐ ๑๐๐,๐๐๐ ๑๐๐,๐๐๐ ธ.ค. 64 – มี.ค. 65 - นายสมโภช พ่วงเจริญ - งานรับนักเรียน - กลุ่มบริหารงวิชาการ ๐ ำเนินการ โดยไม่ใช้ ประมาณ) ๐ (ดำเนินการ โดยไม่ใช้ งบประมาณ) เม.ย. 64 – มิ.ย. 64 - นางสาวละลิตา วรจารุ - งานวินัยและการรักษา วินัยของครูและ บุคลากรทางการศึกษา - กลุ่มบริหารงานบุคคล


42 กิจกรรม/งาน รูปแบบ งบประมาณ ค่า ตอบแทน ค่า ใช้สอย ค่า วัสดุ ค่า ครุภัณฑ์ ๒.๒.๕ กิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อให้ เจ้าหน้าที่สำนักงานพัฒนาการทำงาน ที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์โรงเรียน จัดการเชิงระบบ มีความรู้และทักษะ กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน กิจกรรม ๑๐,๐๐๐ ๒.๒.๖ งานพัฒนาระเบียบวิธีการดำเนินงาน ทางพัสดุ การจัดซื้อ และการจัดจ้าง งาน (ดำ งบป ๒.๒.๗ งานค่าอุปกรณ์การเรียน งาน ๔๗๗,๓๘๐ ๔ ๒.๒.๘ งานค่าเครื่องแบบนักเรียน งาน ๕๑๕,๓๕๐ ๕ ๒.๒.๙ งานค่าตอบแทนครูและบุคลากร ที่ปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ และค่ายตามโครงการเรียนฟรี งาน ๓๐๐,๐๐๐ ๓ ๒.๒.๑๐ งานค่าสาธารณูปโภค งาน ๕,๐๐๐,๐๐๐ ๕,


แผนปฏิบัติการประจำปีการศึกษา ๒๕๖๔ โรงเรียนมัธยมวัดนายโรง แหล่งงบประมาณ ระยะเวลา ดำเนินการ ผู้รับผิดชอบ รวม อุดหนุน รายหัว เรียนฟรี รายได้ อื่น ๆ รวม ๑๐,๐๐๐ ๑๐,๐๐๐ ๑๐,๐๐๐ เม.ย. 64 – มี.ค. 65 - นางสาวอัจฉรา สารผล - งานพัฒนาบุคลากร/ งานอบรม/ ศึกษาดูงาน - กลุ่มบริหารงานบุคคล ๐ ำเนินการ โดยไม่ใช้ ประมาณ) ๐ (ดำเนินการ โดยไม่ใช้ งบประมาณ) เม.ย. 64 – มี.ค. 65 - นายอร่าม คนสิน - งานพัสดุและ สินทรัพย์ - กลุ่มบริหารงบประมาณ ๔๗๗,๓๘๐ ๔๗๗,๓๘๐ ๔๗๗,๓๘๐ เม.ย. 64 – ก.ค. 6๔, ต.ค. 64 – พ.ย. 6๔ - นายอร่าม คนสิน - งานตามนโยบาย เรียนฟรี ๑๕ ปี อย่างมีคุณภาพ - กลุ่มบริหารงบประมาณ ๕๑๕,๓๕๐ ๕๑๕,๓๕๐ ๕๑๕,๓๕๐ เม.ย. 64 – ก.ค. 65 - นายอร่าม คนสิน - งานตามนโยบาย เรียนฟรี ๑๕ ปี อย่างมีคุณภาพ - กลุ่มบริหารงบประมาณ ๐๐,๐๐๐ ๓๐๐,๐๐๐ ๓๐๐,๐๐๐ เม.ย. 64 – มี.ค. 65 - นางสาวสุพรรณดา แสนบุญ - งานบัญชีและการเงิน - กลุ่มบริหารงบประมาณ ๐๐๐,๐๐๐ ๒,๐๐๐,๐๐๐ ๓,๐๐๐,๐๐๐ ๕,๐๐๐,๐๐๐ เม.ย. 64 – มี.ค. 65 - นางสาวสุพรรณดา แสนบุญ - งานบัญชีและการเงิน - กลุ่มบริหารงบประมาณ


Click to View FlipBook Version