เอกสารประกอบหลักสูตร โรงเรียนขุนตาลวิทยาคม พุทธศักราช 2566 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย ส านักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
ค าน า หลักสูตรกลุมสาระการเรียนรูสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ฉบับนี้เปนเอกสารประกอบ หลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนขุนตาลวิทยาคม พุทธศักราช 2566 จัดทําเพื่อเปนกรอบและทิศทางในการ จัดการเรียนการสอนในการพัฒนาคุณภาพผูเรียนใหตรงตามมาตรฐานตัวชี้วัด และสาระการเรียนรูของกลุมสาระ การเรียนรูสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม โดยพิจารณาตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) มีองคประกอบ ดังตอไปนี้ - วิสัยทัศน พันธกิจ และเปาประสงค - สมรรถนะสําคัญของผูเรียน และคุณลักษณะอันพึงประสงค - สาระและมาตรฐานการเรียนรู - คุณภาพผูเรียน - ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรูแกนกลาง - โครงสรางหลักสูตรกลุมสาระการเรียนรูกลุมสาระการเรียนรูสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม - คําอธิบายรายวิชา - โครงสรางรายวิชา - สื่อ/แหลงเรียนรู - การวัดและประเมินผลการเรียนรู คณะผูจัดทําขอขอบคุณผูที่มีสวนรวมในการพัฒนาและจัดทําหลักสูตรกลุมสาระการเรียนรู้สังคม ศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมฉบับนี้ จนสําเร็จลุลวงเปนอยางดี และหวังเปนอยางยิ่งวาจะเกิดประโยชนตอการ จัดการเรียนรูใหกับผูเรียนตอไป กลุมสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม คณะผูจัดทํา ก
สารบัญ หน้า คํานํา……………………………………………………………………………………………………………………….….…. ก สารบัญ…………………………………………………………………………………………………………………………… ข ความนํา.......................................................................................................................................... 1 วิสัยทัศน์ของหลักสูตรสถานศึกษา................................................................................................. 2 สมรรถนะสําคัญของผู้เรียน............................................................................................................ 2 คุณลักษณะอันพึงประสงค์............................................................................................................. 3 สาระและมาตรฐานการเรียนรู้....................................................................................................... 3 คุณภาพผู้เรียน............................................................................................................................... 5 ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง............................................................................................ 6 โครงสร้างหลักสูตรกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น......... 46 คําอธิบายรายวิชาและโครงสร้างรายวิชาพื้นฐาน ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น............................. 47 โครงสร้างหลักสูตรกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย..... 93 คําอธิบายรายวิชาและโครงสร้างรายวิชาพื้นฐาน ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย......................... 94 สื่อ/แหลงเรียนรู………………………………………………………………………………………………………………. 133 แนวทางการวัดและประเมินผลการเรียนรู้...................................................................................... 134 ข
เอกสารประกอบหลักสูตรโรงเรียนขุนตาลวิทยาคม พุทธศักราช 2566 | 1 ความน า หลักสูตรกลุมสาระการเรียนรูสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม โรงเรียนขุนตาลวิทยาคม พุทธศักราช 2566 มุงพัฒนาใหผูเรียนเกิดความเขาใจในตนเองและผูอื่น มีความอดทน อดกลั้น ยอมรับใน ความแตกตาง และมีคุณธรรม สามารถนําความรูไปปรับใชในการดําเนินชีวิต เปนพลเมืองดีมีความรู ทักษะ คุณธรรม และคานิยมที่เหมาะสมประกอบดวยสาระสําคัญ ดังนี้ 1. ศาสนา ศีลธรรมและจริยธรรม แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม หลักธรรมของพระพุทธศาสนาหรือศาสนาที่ตนนับถือ การนําหลักธรรมคําสอนไปปฏิบัติในการ พัฒนาตนเอง และการอยูรวมกันอยางสันติสุข เปนผูกระทําความดี มีคานิยมที่ดีงาม พัฒนาตนเองอยู เสมอรวมทั้งบําเพ็ญประโยชนตอสังคมและสวนรวม 2. หนาที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดําเนินชีวิต ระบบการเมืองการปกครองในสังคมปจจุบัน การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริยทรงเปนประมุข ลักษณะและความสําคัญ การเป นพลเมืองดี ความแตกตางและความหลากหลายทางวัฒนธรรม คานิยม ความเชื่อ ปลูกฝงคานิยมดานประ ชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริยทรงเปนประมุข สิทธิหนาที่ เสรีภาพการดําเนินชีวิตอยางสันติสุขใน สังคมไทยและสังคมโลก 3. เศรษฐศาสตร การผลิต การแจกจาย และการบริโภคสินคาและบริการ การบริหารจัดการ ทรัพยากรที่มีอยูอยางจํากัดอยางมีประสิทธิภาพ การดํารงชีวิตอยางมีดุลยภาพ และการนําหลักเศรษฐกิจ พอเพียงไปใชในชีวิตประจําวัน 4. ประวัติศาสตร เวลาและยุคสมัยทางประวัติศาสตร วิธีการทางประวัติศาสตร พัฒนาการของ มนุษยชาติจากอดีตถึงปจจุบัน ความสัมพันธและเปลี่ยนแปลงของเหตุการณตาง ๆ ผลกระทบที่เกิดจาก เหตุการณสําคัญในอดีต บุคคลสําคัญที่มีอิทธิพลตอการเปลี่ยนแปลงตาง ๆ ในอดีตความเปนมาของชาติ ไทย วัฒนธรรมและภูมิปญญาไทย แหลงอารยธรรมที่สําคัญของโลก 5. ภูมิศาสตร ลักษณะของโลกทางกายภาพ ลักษณะทางกายภาพ แหลงทรัพยากร และ ภูมิอากาศของประเทศไทย และภูมิภาคตาง ๆ ของโลก การใชแผนที่และเครื่องมือทางภูมิศาสตรความ สัมพันธกันของ สิ่งตาง ๆ ในระบบธรรมชาติ ความสัมพันธของมนุษยกับสภาพแวดลอมทางธรรมชาติ และ สิ่งที่มนุษยสรางขึ้น การนําเสนอขอมูลภูมิสารสนเทศ การอนุรักษสิ่งแวดลอมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
เอกสารประกอบหลักสูตรโรงเรียนขุนตาลวิทยาคม พุทธศักราช 2566 | 2 วิสัยทัศน์ จัดการเรียนรูมุงใหผูเรียนมีความรูคูคุณธรรม มีจิตสํานึกสาธารณะในความเปนพลเมืองดีตามวิถี ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริยทรงเปนประมุข สืบสานภูมิปญญาและวัฒนธรรมไทย นอมนําหลัก เศรษฐกิจพอเพียงเปนแนวทางในการดําเนินชีวิต จุดหมายของหลักสูตร หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนขุนตาลวิทยาคม มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี มีปัญญา มี ความสุข มีศักยภาพในการศึกษาต่อ และประกอบอาชีพ จึงกําหนดเป็นจุดหมายเพื่อให้เกิดกับผู้เรียน เมื่อจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดังนี้ 1. มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ เห็นคุณค่าของตนเอง มีวินัยและปฏิบัติตน ตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา หรือศาสนาที่ตนนับถือ ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2. มีความรู้ ความสามารถในการสื่อสาร การคิด การแก้ปัญหา การใช้เทคโนโลยี และมีทักษะ ชีวิต 3. มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี มีสุขนิสัย และรักการออกกําลังกาย 4. มีความรักชาติ มีจิตสํานึกในความเป็นพลเมืองไทยและพลโลก ยึดมั่นในวิถีชีวิตและ การปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 5. มีจิตสํานึกในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย การอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม มีจิตสาธารณะที่มุ่งทําประโยชน์และสร้างสิ่งที่ดีงามในสังคม และอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข สมรรถนะส าคัญของผู้เรียน หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนขุนตาลวิทยาคม มุ่งให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะสําคัญ 5 ประการ ดังนี้ 1. ความสามารถในการสื่อสาร เป็นความสามารถในการรับและส่งสาร มีวัฒนธรรมในการใช้ ภาษาถ่ายทอดความคิด ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึก และทัศนะของตนเองเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร และประสบการณ์อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเองและสังคม รวมทั้งการเจรจาต่อรองเพื่อขจัด และลดปัญหาความขัดแย้งต่าง ๆ การเลือกรับหรือไม่รับข้อมูลข่าวสารด้วยหลักเหตุผลและความถูกต้อง ตลอดจนการเลือกใช้วิธีการสื่อสาร ที่มีประสิทธิภาพโดยคํานึงถึงผลกระทบที่มีต่อตนเองและสังคม 2. ความสามารถในการคิด เป็นความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ การคิด อย่างสร้างสรรค์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดเป็นระบบ เพื่อนําไปสู่การสร้างองค์ความรู้หรือ สารสนเทศเพื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับตนเองและสังคมได้อย่างเหมาะสม 3. ความสามารถในการแก้ปัญหา เป็นความสามารถในการแก้ปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ที่เผชิญได้อย่างถูกต้องเหมาะสมบนพื้นฐานของหลักเหตุผล คุณธรรมและข้อมูลสารสนเทศ เข้าใจ ความสัมพันธ์และการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ต่าง ๆ ในสังคม แสวงหาความรู้ ประยุกต์ความรู้มาใช้ใน การปูองกันและแก้ไขปัญหา และมีการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพโดยคํานึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม 4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต เป็นความสามารถในการนํากระบวนการต่าง ๆ ไปใช้ใน การดําเนินชีวิตประจําวัน การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง การทํางาน และการอยู่ร่วมกัน ในสังคมด้วยการสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล การจัดการปัญหาและความขัดแย้งต่าง ๆ อย่าง
เอกสารประกอบหลักสูตรโรงเรียนขุนตาลวิทยาคม พุทธศักราช 2566 | 3 เหมาะสม การปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและสภาพแวดล้อม และการรู้จักหลีกเลี่ยง พฤติกรรมไม่พึงประสงค์ที่ส่งผลกระทบต่อตนเองและผู้อื่น 5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเป็นความสามารถในการเลือก และใช้ เทคโนโลยีด้านต่าง ๆ และมีทักษะกระบวนการทางเทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาตนเองและสังคม ในด้านการเรียนรู้ การสื่อสาร การ ทํางาน การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ถูกต้อง เหมาะสม และมีคุณธรรม คุณลักษณะอันพึงประสงค์ หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนขุนตาลวิทยาคม มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข ในฐานะเป็นพลเมืองไทยและพลโลก ดังนี้ 1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 2. ซื่อสัตย์สุจริต 3. มีวินัย 4. ใฝุเรียนรู้ 5. อยู่อย่างพอเพียง 6. มุ่งมั่นในการทํางาน 7. รักความเป็นไทย 8. มีจิตสาธารณะ สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ ท าไมต้องเรียนสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สังคมโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วตลอดเวลา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ช่วยให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจ ว่ามนุษย์ดํารงชีวิตอย่างไร ทั้งในฐานะปัจเจกบุคคล และการอยู่ร่วมกันในสังคม การปรับตัวตามสภาพแวดล้อม การจัดการทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจํากัด นอกจากนี้ ยังช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจถึงการพัฒนา เปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย กาลเวลา ตามเหตุปัจจัยต่างๆ ทําให้เกิดความเข้าใจในตนเอง และผู้อื่น มีความอดทน อดกลั้น ยอมรับในความแตกต่าง และมีคุณธรรม สามารถนําความรู้ไปปรับใช้ในการดําเนินชีวิต เป็นพลเมืองดีของประเทศชาติ และสังคมโลก เรียนรู้อะไรในสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมว่าด้วยการอยู่ร่วมกันในสังคม ที่มีความ เชื่อมสัมพันธ์กัน และมีความแตกต่างกันอย่างหลากหลาย เพื่อช่วยให้สามารถปรับตนเองกับบริบท สภาพแวดล้อม เป็นพลเมืองดี มีความรับผิดชอบ มีความรู้ ทักษะ คุณธรรม และค่านิยมที่เหมาะสม โดยได้กําหนดสาระต่างๆไว้ ดังนี้ ศาสนา ศีลธรรมและจริยธรรม แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม หลักธรรมของพระพุทธศาสนาหรือศาสนาที่ตนนับถือ การนําหลักธรรมคําสอนไปปฏิบัติในการพัฒนา ตนเอง และการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข เป็นผู้กระทําความดี มีค่านิยมที่ดีงาม พัฒนาตนเองอยู่เสมอ รวมทั้งบําเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมและส่วนรวม
เอกสารประกอบหลักสูตรโรงเรียนขุนตาลวิทยาคม พุทธศักราช 2566 | 4 หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการด าเนินชีวิต ระบบการเมืองการปกครองในสังคม ปัจจุบันการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ลักษณะและความสําคัญ การเป็นพลเมืองดี ความแตกต่างและความหลากหลายทางวัฒนธรรม ค่านิยม ความเชื่อ ปลูกฝังค่านิยม ด้านประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข สิทธิ หน้าที่ เสรีภาพการดําเนินชีวิตอย่างสันติสุข ในสังคมไทยและสังคมโลก เศรษฐศาสตร์ การผลิต การแจกจ่าย และการบริโภคสินค้าและบริการ การบริหารจัดการ ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจํากัดอย่างมีประสิทธิภาพ การดํารงชีวิตอย่างมีดุลยภาพ และการนําหลักเศรษฐกิจ พอเพียงไปใช้ในชีวิตประจําวัน ประวัติศาสตร์ เวลาและยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ วิธีการทางประวัติศาสตร์ พัฒนาการของ มนุษยชาติจากอดีตถึงปัจจุบัน ความสัมพันธ์และเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ต่างๆ ผลกระทบที่เกิดจาก เหตุการณ์สําคัญในอดีต บุคคลสําคัญที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงต่างๆในอดีต ความเป็นมาของชาติ ไทย วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย แหล่งอารยธรรมที่สําคัญของโลก ภูมิศาสตร์ ลักษณะของโลกทางกายภาพ ลักษณะทางกายภาพ แหล่งทรัพยากร และ ภูมิอากาศของประเทศไทย และภูมิภาคต่างๆ ของโลก การใช้แผนที่และเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ ความสัมพันธ์กันของสิ่งต่างๆ ในระบบธรรมชาติ ความสัมพันธ์ของมนุษย์กับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ และสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น การนําเสนอข้อมูลภูมิสารสนเทศ การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ สาระที่ 1 ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม มาตรฐาน ส 1.1 รู้ และเข้าใจประวัติ ความสําคัญ ศาสดา หลักธรรมของพระพุทธศาสนาหรือ ศาสนาที่ตนนับถือและศาสนาอื่น มีศรัทธาที่ถูกต้อง ยึดมั่น และปฏิบัติตาม หลักธรรม เพื่ออยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข มาตรฐาน ส 1.2 เข้าใจ ตระหนักและปฏิบัติตนเป็นศาสนิกชนที่ดี และธํารงรักษา พระพุทธศาสนาหรือศาสนาที่ตนนับถือ สาระที่ 2 หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการด าเนินชีวิตในสังคม มาตรฐาน ส 2.1 เข้าใจและปฏิบัติตนตามหน้าที่ของการเป็นพลเมืองดี มีค่านิยมที่ดีงาม และ ธํารงรักษาประเพณีและวัฒนธรรมไทย ดํารงชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคมไทย และ สังคมโลกอย่างสันติสุข มาตรฐาน ส 2.2 เข้าใจระบบการเมืองการปกครองในสังคมปัจจุบัน ยึดมั่น ศรัทธา และธํารง รักษาไว้ซึ่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น ประมุข สาระที่ 3 เศรษฐศาสตร์ มาตรฐาน ส.3.1 เข้าใจและสามารถบริหารจัดการทรัพยากรในการผลิตและการบริโภคการใช้ ทรัพยากรที่มีอยู่จํากัดได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า รวมทั้งเข้าใจ หลักการของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อการดํารงชีวิตอย่างมีดุลยภาพ มาตรฐาน ส.3.2 เข้าใจระบบ และสถาบันทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ และความจําเป็นของการร่วมมือกันทางเศรษฐกิจในสังคมโลก
เอกสารประกอบหลักสูตรโรงเรียนขุนตาลวิทยาคม พุทธศักราช 2566 | 5 สาระที่ 4 ประวัติศาสตร์ มาตรฐาน ส 4.1 เข้าใจความหมาย ความสําคัญของเวลาและยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ สามารถ ใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์มาวิเคราะห์เหตุการณ์ต่างๆ อย่างเป็นระบบ มาตรฐาน ส 4.2 เข้าใจพัฒนาการของมนุษยชาติจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ในด้านความสัมพันธ์และ การเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์อย่างต่อเนื่อง ตระหนักถึงความสําคัญและ สามารถ วิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดขึ้น มาตรฐาน ส 4.3 เข้าใจความเป็นมาของชาติไทย วัฒนธรรม ภูมิปัญญาไทย มีความรัก ความภูมิใจและธํารงความเป็นไทย สาระที่ 5 ภูมิศาสตร์ มาตรฐาน ส 5.1 เข้าใจลักษณะของโลกทางกายภาพ และความสัมพันธ์ของสรรพสิ่งซึ่งมีผล ต่อ กันใช้แผนที่และเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ ในการค้นหาวิเคราะห์ และสรุปข้อมูล ตามกระบวนการทางวิทยาคมศาสตร์ตลอดจนใช้ข้อมูลภูมิสารสนเทศอย่างมี ประสิทธิภาพ มาตรฐาน ส 5.2 เข้าใจปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่ก่อให้เกิดการ สร้างสรรค์วิถีการดําเนินชีวิต มีจิตสํานึก และมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากร และสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน คุณภาพผู้เรียน จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ได้เรียนรู้และศึกษาเกี่ยวกับความเป็นไปของโลก โดยการศึกษาประเทศไทยเปรียบเทียบ กับ ประเทศในภูมิภาคต่างๆในโลก เพื่อพัฒนาแนวคิด เรื่องการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ได้เรียนรู้และพัฒนาให้มีทักษะที่จําเป็นต่อการเป็นนักคิดอย่างมีวิจารณญาณได้รับการพัฒนา แนวคิด และขยายประสบการณ์ เปรียบเทียบระหว่างประเทศไทยกับประเทศในภูมิภาคต่าง ๆ ในโลก ได้แก่ เอเชีย โอเชียเนีย แอฟริกา ยุโรป อเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ ในด้านศาสนา คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม ความเชื่อ ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม การเมืองการปกครอง ประวัติศาสตร์และ ภูมิศาสตร์ ด้วยวิธีการทางประวัติศาสตร์ และสังคมศาสตร์ ได้รับการพัฒนาแนวคิดและวิเคราะห์เหตุการณ์ในอนาคต สามารถนํามาใช้เป็นประโยชน์ใน การดําเนินชีวิตและวางแผนการดําเนินงานได้อย่างเหมาะสม จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ได้เรียนรู้และศึกษาความเป็นไปของโลกอย่างกว้างขวางและลึกซึ้งยิ่งขึ้น ได้รับการส่งเสริมสนับสนุนให้พัฒนาตนเองเป็นพลเมืองที่ดี มีคุณธรรม จริยธรรม ปฏิบัติตาม หลักธรรมของศาสนาที่ตนนับถือ รวมทั้งมีค่านิยมอันพึงประสงค์ สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นและอยู่ในสังคม ได้อย่างมีความสุข รวมทั้งมีศักยภาพเพื่อการศึกษาต่อในชั้นสูงตามความประสงค์ได้
เอกสารประกอบหลักสูตรโรงเรียนขุนตาลวิทยาคม พุทธศักราช 2566 | 6 ได้เรียนรู้เรื่องภูมิปัญญาไทย ความภูมิใจในความเป็นไทย ประวัติศาสตร์ของชาติไทย ยึดมั่นในวิถีชีวิต และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้รับการส่งเสริมให้มีนิสัยที่ดีในการบริโภค เลือกและตัดสินใจบริโภคได้อย่างเหมาะสม มีจิตสํานึก และมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ ประเพณีวัฒนธรรมไทย และสิ่งแวดล้อม มีความรักท้องถิ่นและ ประเทศชาติ มุ่งทําประโยชน์ และสร้างสิ่งที่ดีงามให้กับสังคม เป็นผู้มีความรู้ความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของตนเอง ชี้นําตนเองได้ และสามารถ แสวงหาความรู้จากแหล่งการเรียนรู้ต่างๆในสังคมได้ตลอดชีวิต ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง สาระที่ 1 ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม มาตรฐาน ส 1.1 รู้ และเข้าใจประวัติ ความสําคัญ ศาสดา หลักธรรมของพระพุทธศาสนาหรือศาสนาที่ ตนนับถือและศาสนาอื่น มีศรัทธาที่ถูกต้อง ยึดมั่นและปฏิบัติตามหลักธรรมเพื่ออยู่ ร่วมกันอย่างสันติสุข ชั้น ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง ม.1 1. อธิบายการเผยแผ่พระพุทธศาสนา หรือ ศาสนาที่ตนนับถือสู่ประเทศไทย การสังคายนา การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศไทย 2. วิเคราะห์ความสําคัญของ พระพุทธศาสนา หรือศาสนาที่ตนนับถือ ที่ มีต่อสภาพแวดล้อมในสังคมไทย รวมทั้ง การพัฒนาตนและครอบครัว ความส าคัญของพระพุทธศาสนาต่อ สังคมไทยในฐานะเป็น ศาสนาประจําชาติ สถาบันหลักของสังคมไทย สภาพแวดล้อมที่กว้างขวาง และ ครอบคลุมสังคมไทย การพัฒนาตนและครอบครัว 3. วิเคราะห์พุทธประวัติตั้งแต่ประสูติจนถึง บําเพ็ญทุกรกิริยา หรือประวัติศาสดาที่ ตนนับถือตามที่กําหนด สรุปและวิเคราะห์ พุทธประวัติ ประสูติ เทวทูต 4 การแสวงหาความรู้ การบําเพ็ญทุกรกิริยา 4. วิเคราะห์และประพฤติตนตาม แบบอย่างการดําเนินชีวิตและข้อคิดจาก ประวัติสาวก ชาดก/เรื่องเล่า และศาสนิก ชนตัวอย่างตามที่กําหนด พุทธสาวก พุทธสาวิกา พระมหากัสสปะ พระอุบาลี อนาถบิณฑิกะ นางวิสาขา ชาดก อัมพชาดก ติตติรชาดก
เอกสารประกอบหลักสูตรโรงเรียนขุนตาลวิทยาคม พุทธศักราช 2566 | 7 ชั้น ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง 5. อธิบายพุทธคุณ และข้อธรรมสําคัญใน กรอบอริยสัจ 4 หรือหลักธรรมของ ศาสนาที่ตนนับถือ ตามที่กําหนด เห็น คุณค่าและนําไปพัฒนาแก้ปัญหาของ ตนเองและครอบครัว พระรัตนตรัย พุทธคุณ 9 อริยสัจ 4 ทุกข์ (ธรรมที่ควรรู้) o ขันธ์ 5 - ธาตุ 4 สมุทัย (ธรรมที่ควรละ) o หลักกรรม - ความหมายและคุณค่า o อบายมุข 6 นิโรธ (ธรรมที่ควรบรรลุ) o สุข 2 (กายิก, เจตสิก) o คิหิสุข มรรค (ธรรมที่ควรเจริญ) o ไตรสิกขา o กรรมฐาน 2 o ปธาน 4 o โกศล 3 o มงคล 38 -ไม่คบคนพาล - คบบัณฑิต - บูชาผู้ควรบูชา พุทธศาสนสุภาษิต ยํ เว เสวติ ตาทิโส คบคนเช่นใดเป็นคนเช่นนั้น อตฺตนา โจทยตฺตานํ จงเตือนตน ด้วยตน นิสมฺม กรณํ เสยฺโย ใคร่ครวญก่อนทําจึงดี ทุราวาสา ฆรา ทุกฺขา เรือนที่ครองไม่ดีนําทุกข์มาให้ 6. เห็นคุณค่าของการพัฒนาจิต เพื่อการ เรียนรู้และการดําเนินชีวิต ด้วยวิธีคิดแบบ โยนิโสมนสิการคือวิธีคิดแบบคุณค่าแท้ – คุณค่าเทียม และวิธีคิดแบบคุณ – โทษ และทางออก หรือการพัฒนาจิตตาม แนวทางของศาสนาที่ตนนับถือ โยนิโสมนสิการ วิธีคิดแบบคุณค่าแท้ – คุณค่าเทียม วิธีคิดแบบคุณ - โทษและทางออก
เอกสารประกอบหลักสูตรโรงเรียนขุนตาลวิทยาคม พุทธศักราช 2566 | 8 ชั้น ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง 7. สวดมนต์ แผ่เมตตา บริหารจิตและ เจริญปัญญาด้วยอานาปานสติ หรือตาม แนวทางของศาสนาที่ตนับถือตามที่ กําหนด สวดมนต์แปล และแผ่เมตตา วิธีปฏิบัติและประโยชน์ของการบริหารจิต และเจริญปัญญา การฝึกบริหารจิตและ เจริญปัญญาตามหลักสติปัฎฐานเน้น อานาปานสติ นําวิธีการบริหารจิตและเจริญปัญญาไปใช้ ในชีวิตประจําวัน 8. วิเคราะห์และปฏิบัติตนตามหลักธรรม ทางศาสนาที่ตนนับถือ ในการดํารงชีวิต แบบพอเพียง และดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม เพื่อการอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข หลักธรรม (ตามสาระการเรียนรู้ข้อ 5) 9. วิเคราะห์เหตุผลความจําเป็นที่ทุกคน ต้องศึกษาเรียนรู้ศาสนาอื่นๆ ศาสนิกชนของศาสนาต่าง ๆ มีการ ประพฤติปฏิบัติตนและวิถีการดําเนินชีวิต แตกต่างกันตามหลักความเชื่อและคําสอน ของศาสนาที่ตนนับถือ 10. ปฏิบัติตนต่อศาสนิกชนอื่นใน สถานการณ์ต่างๆได้อย่างเหมาะสม การปฏิบัติอย่างเหมาะสมต่อศาสนิกชนอื่น ในสถานการณ์ต่างๆ 11. วิเคราะห์การกระทําของบุคคลที่เป็น แบบอย่างด้านศาสนสัมพันธ์ และนําเสนอ แนวทางการปฏิบัติของตนเอง ตัวอย่างบุคคลในท้องถิ่นหรือประเทศที่ ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างด้านศาสนสัมพันธ์ หรือมีผลงานด้านศาสนสัมพันธ์ ม.2 1. อธิบายการเผยแผ่พระพุทธศาสนา หรือ ศาสนาที่ตนนับถือสู่ประเทศ เพื่อนบ้าน การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศ เพื่อนบ้านและการนับถือพระพุทธ -ศาสนา ของประเทศเพื่อนบ้านในปัจจุบัน 2. วิเคราะห์ความสําคัญของพระพุทธศาสนา หรือศาสนาที่ตนนับถือที่ช่วย เสริมสร้างความเข้าใจอันดีกับประเทศ เพื่อนบ้าน ความสําคัญของพระพุทธศาสนาที่ช่วย เสริมสร้างความเข้าใจอันดีกับประเทศ เพื่อนบ้าน 3. วิเคราะห์ความสําคัญของ พระพุทธศาสนา หรือศาสนาที่ตนนับถือใน ฐานะที่เป็นรากฐานของวัฒนธรรม เอกลักษณ์ของชาติและมรดกของชาติ ความสําคัญของพระพุทธศาสนาต่อ สังคมไทยในฐานะเป็น รากฐานของวัฒนธรรม เอกลักษณ์และ มรดกของชาติ 4. อภิปรายความสําคัญของพระพุทธ - ศาสนา หรือศาสนาที่ตนนับถือกับ การพัฒนาชุมชนและการจัดระเบียบสังคม ความสําคัญของพระพุทธศาสนากับ การพัฒนาชุมชนและการจัดระเบียบสังคม 5. วิเคราะห์พุทธประวัติหรือประวัติศาสดา ของศาสนาที่ตนนับถือตามที่กําหนด สรุปและวิเคราะห์ พุทธประวัติ การผจญมาร
เอกสารประกอบหลักสูตรโรงเรียนขุนตาลวิทยาคม พุทธศักราช 2566 | 9 ชั้น ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง การตรัสรู้ การสั่งสอน 6. วิเคราะห์และประพฤติตนตาม แบบอย่างการดําเนินชีวิตและข้อคิดจาก ประวัติสาวก ชาดก/เรื่องเล่าและ ศาสนิกชนตัวอย่างตามที่กําหนด พระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ นางขุชชุตตรา พระเจ้าพิมพิสาร มิตตวินทุกชาดก ราโชวาทชาดก 7. อธิบายโครงสร้าง และสาระสังเขปของ พระไตรปิฎก หรือคัมภีร์ของศาสนาที่ตน นับถือ โครงสร้าง และสาระสังเขปของ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก และพระอภิธรรมปิฎก 8. อธิบายธรรมคุณ และข้อธรรมสําคัญใน กรอบอริยสัจ 4 หรือหลักธรรมของศาสนา ที่ตนนับถือ ตามที่กําหนด เห็นคุณค่า และนําไปพัฒนา แก้ปัญหาของ พระรัตนตรัย ธรรมคุณ 6 อริยสัจ 4 ทุกข์ (ธรรมที่ควรรู้) o ขันธ์ 5 ชุมชนและสังคม - อายตนะ สมุทัย (ธรรมที่ควรละ) o หลักกรรม - สมบัติ 4 - วิบัติ 4 o อกุศลกรรมบถ 10 o อบายมุข 6 นิโรธ (ธรรมที่ควรบรรลุ) o สุข 2 (สามิส, นิรามิส) มรรค (ธรรมที่ควรเจริญ) o บุพพนิมิตของมัชฌิมาปฏิปทา o ดรุณธรรม 6 o กุลจิรัฏฐิติธรรม 4 o กุศลกรรมบถ 10 o สติปัฏฐาน 4 o มงคล 38 - ประพฤติธรรม - เว้นจากความชั่ว - เว้นจากการดื่มน้ําเมา
เอกสารประกอบหลักสูตรโรงเรียนขุนตาลวิทยาคม พุทธศักราช 2566 | 10 ชั้น ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง พุทธศาสนสุภาษิต กมฺมุนา วตฺตตี โลโก สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม กลฺยาณการี กลฺยาณํ ปาปการีจ ปาปกํ ทําดีได้ดี ทําชั่ว ได้ชั่ว สุโข ปุญฺญสฺส อุจฺจโย การสั่งสม บุญนําสุขมาให้ ปูชโก ลภเต ปูชํ วนฺทโก ปฏิวนฺทนํ ผู้บูชาเขา ย่อมได้รับการบูชา ตอบ ผู้ไหว้เขาย่อมได้รับการไหว้ตอบ 9. เห็นคุณค่าของการพัฒนาจิตเพื่อการ เรียนรู้และดําเนินชีวิต ด้วยวิธีคิดแบบ โยนิโสมนสิการคือ วิธีคิดแบบอุบายปลุก เร้าคุณธรรม และวิธีคิดแบบอรรถธรรม สัมพันธ์ หรือการพัฒนาจิตตามแนวทาง ของศาสนาที่ตนนับถือ พัฒนาการเรียนรู้ด้วยวิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการ 2 วิธี คือ วิธีคิดแบบอุบายปลุก เร้าคุณธรรม และวิธีคิดแบบอรรถธรรม สัมพันธ์ 10. สวดมนต์ แผ่เมตตา บริหารจิตและ เจริญปัญญาด้วยอานาปานสติ หรือตาม แนวทางของศาสนาที่ตนนับถือ สวดมนต์แปล และแผ่เมตตา รู้และเข้าใจวิธีปฏิบัติและประโยชน์ของ การบริหารจิตและเจริญปัญญา ฝึกการบริหารจิตและเจริญปัญญาตามหลัก สติปัฎฐาน เน้นอานาปานสติ นําวิธีการบริหารจิตและเจริญปัญญา ไปใช้ ในชีวิตประจําวัน 11.วิเคราะห์การปฏิบัติตนตามหลักธรรม ทางศาสนาที่ตนนับถือ เพื่อการดํารงตน อย่างเหมาะสมในกระแสความเปลี่ยนแปลง ของโลก และการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข การปฏิบัติตนตามหลักธรรม (ตามสาระ การเรียนรู้ ข้อ 8.) ม. 3 1. อธิบายการเผยแผ่พระพุทธศาสนา หรือ ศาสนาที่ตนนับถือสู่ประเทศต่างๆ ทั่วโลก การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศ ต่าง ๆ ทั่วโลก และการนับถือ พระพุทธศาสนาของประเทศเหล่านั้น ในปัจจุบัน 2. วิเคราะห์ความสําคัญของ พระพุทธศาสนา หรือศาสนาที่ตนนับถือใน ฐานะที่ช่วยสร้างสรรค์อารยธรรม และ ความสงบสุขแก่โลก ความสําคัญของพระพุทธศาสนาในฐานะที่ ช่วยสร้างสรรค์อารยธรรมและความสงบสุข ให้แก่โลก
เอกสารประกอบหลักสูตรโรงเรียนขุนตาลวิทยาคม พุทธศักราช 2566 | 11 ชั้น ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง 3. อภิปรายความสําคัญของ พระพุทธศาสนา หรือศาสนาที่ตนนับถือ กับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและ การพัฒนาอย่างยั่งยืน สัมมนาพระพุทธศาสนากับปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียงและการพัฒนาอย่าง ยั่งยืน (ที่สอดคล้องกับหลักธรรมในสาระ การเรียนรู้ ข้อ 6 ) 4. วิเคราะห์พุทธประวัติจากพระพุทธรูป ปางต่างๆ หรือประวัติศาสดาที่ตนนับถือ ตามที่กําหนด ศึกษาพุทธประวัติจากพระพุทธรูปปาง ต่าง ๆ เช่น o ปางมารวิชัย o ปางปฐมเทศนา o ปางลีลา o ปางประจําวันเกิด สรุปและวิเคราะห์พุทธประวัติ ปฐมเทศนา โอวาทปาฏิโมกข์ 5. วิเคราะห์และประพฤติตนตาม แบบอย่างการดําเนินชีวิตและข้อคิดจาก ประวัติสาวก ชาดก/เรื่องเล่าและ ศาสนิกชนตัวอย่าง ตามที่กําหนด พระอัญญาโกณฑัญญะ พระมหาปชาบดีเถรี พระเขมาเถรี พระเจ้าปเสนทิโกศล นันทิวิสาลชาดก สุวัณณหังสชาดก 6. อธิบายสังฆคุณ และข้อธรรมสําคัญใน กรอบอริยสัจ 4 หรือหลักธรรมของ ศาสนาที่ตนนับถือตามที่กําหนด พระรัตนตรัย สังฆคุณ 9 อริยสัจ 4 ทุกข์ (ธรรมที่ควรรู้) o ขันธ์ 5 -ไตรลักษณ์ สมุทัย (ธรรมที่ควรละ) o หลักกรรม -วัฏฏะ 3 -ปปัญจธรรม 3 (ตัณหา มานะ ทิฎฐิ) นิโรธ (ธรรมที่ควรบรรลุ) o อัตถะ 3 มรรค (ธรรมที่ควรเจริญ) o มรรคมีองค์ 8 o ปัญญา 3 o สัปปุริสธรรม 7
เอกสารประกอบหลักสูตรโรงเรียนขุนตาลวิทยาคม พุทธศักราช 2566 | 12 ชั้น ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง o บุญกิริยาวัตถุ 10 o อุบาสกธรรม 7 o มงคล 38 - มีศิลปวิทยา - พบสมณะ - ฟังธรรมตามกาล - สนทนาธรรมตามกาล พุทธศาสนสุภาษิต อตฺตา หเว ชิตํ เสยฺโย ชนะตนนั่นแลดีกว่า ธมฺมจารี สุขํ เสติ ผู้ประพฤติธรรมย่อมอยู่เป็นสุข ปมาโท มจฺจุโน ปทํ ความประมาทเป็นทางแห่งความตาย สุสฺสูสํ ลภเต ปญฺญํ ผู้ฟังด้วยดีย่อมได้ปัญญา เรื่องน่ารู้จากพระไตรปิฎก : พุทธ ปณิธาน 4 ในมหาปรินิพพานสูตร 7. เห็นคุณค่า และวิเคราะห์การปฏิบัติตน ตามหลักธรรมในการพัฒนาตน เพื่อเตรียมพร้อมสําหรับการทํางาน และการมีครอบครัว การปฏิบัติตนตามหลักธรรม (ตามสาระ การเรียนรู้ ข้อ 6.) 8. เห็นคุณค่าของการพัฒนาจิตเพื่อการ เรียนรู้และดําเนินชีวิต ด้วยวิธีคิดแบบ โยนิโสมนสิการคือ วิธีคิดแบบอริยสัจ และ วิธีคิดแบบสืบสาวเหตุปัจจัย หรือ การพัฒนาจิตตามแนวทางของศาสนาที่ตน นับถือ พัฒนาการเรียนรู้ด้วยวิธีคิดแบบ โยนิโสมนสิการ 2 วิธี คือ วิธีคิดแบบ อริยสัจ และวิธีคิดแบบสืบสาวเหตุปัจจัย 9. สวดมนต์ แผ่เมตตา บริหารจิตและ เจริญปัญญาด้วยอานาปานสติ หรือตาม แนวทางของศาสนาที่ตนนับถือ สวดมนต์แปล และแผ่เมตตา รู้และเข้าใจวิธีปฏิบัติและประโยชน์ของการ บริหารจิตและเจริญปัญญา ฝึกการบริหารจิตและเจริญปัญญาตามหลัก สติปัฎฐานเน้นอานาปานสติ นําวิธีการบริหารจิตและเจริญปัญญา ไปใช้ในชีวิตประจําวัน
เอกสารประกอบหลักสูตรโรงเรียนขุนตาลวิทยาคม พุทธศักราช 2566 | 13 ชั้น ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง 10. วิเคราะห์ความแตกต่างและยอมรับวิถี การดําเนินชีวิตของศาสนิกชนในศาสนา อื่นๆ วิถีการดําเนินชีวิตของศาสนิกชนศาสนา อื่นๆ ม.4-ม.6 1.วิเคราะห์สังคมชมพูทวีป และคติความ เชื่อทางศาสนาสมัยก่อนพระพุทธเจ้า หรือสังคมสมัยของศาสดาที่ตนนับถือ ลักษณะของสังคมชมพูทวีป และคติความ เชื่อทางศาสนาสมัยก่อนพระพุทธเจ้า 2. วิเคราะห์ พระพุทธเจ้าในฐานะเป็น มนุษย์ผู้ฝึกตนได้อย่างสูงสุดในการตรัสรู้ การก่อตั้ง วิธีการสอนและการเผยแผ่ พระพุทธศาสนา หรือวิเคราะห์ประวัติ ศาสดาที่ตนนับถือ ตามที่กําหนด พระพุทธเจ้าในฐานะเป็นมนุษย์ ผู้ฝึกตนได้ อย่างสูงสุด (การตรัสรู้) การก่อตั้งพระพุทธศาสนา วิธีการสอน และการเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามแนว พุทธจริยา 3.วิเคราะห์พุทธประวัติด้านการบริหาร และการธํารงรักษาศาสนา หรือ วิเคราะห์ ประวัติศาสดาที่ตนนับถือ ตามที่กําหนด พุทธประวัติด้านการบริหารและการธํารง รักษาพระพุทธศาสนา 4. วิเคราะห์ข้อปฏิบัติทางสายกลางใน พระพุทธศาสนา หรือแนวคิดของศาสนาที่ ตนนับถือ ตามที่กําหนด พระพุทธศาสนามีทฤษฎีและวิธีการที่เป็น สากลและมีข้อปฏิบัติที่ยึดทางสายกลาง 5. วิเคราะห์การพัฒนาศรัทธา และปัญญาที่ ถูกต้องในพระพุทธศาสนา หรือแนวคิดของ ศาสนาที่ตนนับถือ ตามที่กําหนด พระพุทธศาสนาเน้นการพัฒนาศรัทธาและ ปัญญาที่ถูกต้อง 6. วิเคราะห์ลักษณะประชาธิปไตยใน พระพุทธศาสนา หรือแนวคิดของศาสนาที่ ตนนับถือตามที่กําหนด ลักษณะประชาธิปไตยในพระพุทธ- ศาสนา 7. วิเคราะห์หลักการของพระพุทธศาสนา กับหลักวิทยาศาสตร์ หรือแนวคิดของ ศาสนาที่ตนนับถือ ตามที่กําหนด หลักการของพระพุทธศาสนากับหลัก วิทยาศาสตร์ การคิดตามนัยแห่งพระพุทธศาสนาและ การคิดแบบวิทยาศาสตร์ 8. วิเคราะห์การฝึกฝนและพัฒนาตนเอง การพึ่งตนเอง และการมุ่งอิสรภาพใน พระพุทธศาสนา หรือแนวคิดของศาสนาที่ ตนนับถือตามที่กําหนด พระพุทธศาสนาเน้นการฝึกหัดอบรมตน การพึ่งตนเอง และการมุ่งอิสรภาพ 9. วิเคราะห์พระพุทธศาสนาว่า เป็นศาสตร์แห่งการศึกษาซึ่งเน้น พระพุทธศาสนาเป็นศาสตร์แห่งการศึกษา พระพุทธศาสนาเน้นความสัมพันธ์
เอกสารประกอบหลักสูตรโรงเรียนขุนตาลวิทยาคม พุทธศักราช 2566 | 14 ชั้น ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง ความสัมพันธ์ของเหตุปัจจัยกับ วิธีการแก้ปัญหา หรือแนวคิดของศาสนาที่ ตนนับถือตามที่กําหนด ของเหตุปัจจัยและวิธีการแก้ปัญหา 10. วิเคราะห์พระพุทธศาสนาในการฝึกตน ไม่ให้ประมาท มุ่งประโยชน์และสันติภาพ บุคคล สังคมและโลก หรือแนวคิดของ ศาสนาที่ตนนับถือตามที่กําหนด พระพุทธศาสนาฝึกตนไม่ให้ประมาท พระพุทธศาสนามุ่งประโยชน์สุขและ สันติภาพแก่บุคคล สังคมและโลก 11. วิเคราะห์พระพุทธศาสนากับปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียงและการพัฒนา ประเทศแบบยั่งยืน หรือแนวคิดของ ศาสนาที่ตนนับถือตามที่กําหนด พระพุทธศาสนากับปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียงและการพัฒนาแบบยั่งยืน 12. วิเคราะห์ความสําคัญของ พระพุทธศาสนาเกี่ยวกับการศึกษา ที่สมบูรณ์ การเมืองและสันติภาพ หรือแนวคิดของศาสนาที่ตนนับถือ ตามที่กําหนด ความสําคัญของพระพุทธศาสนากับ การศึกษาที่สมบูรณ์ ความสําคัญของพระพุทธศาสนากับ การเมือง ความสําคัญของพระพุทธศาสนากับ สันติภาพ 13. วิเคราะห์หลักธรรมในกรอบ อริยสัจ 4 หรือหลักคําสอนของศาสนา ที่ตนนับถือ พระรัตนตรัย วิเคราะห์ความหมายและคุณค่าของ พุทธะ ธรรมะ สังฆะ อริยสัจ 4 ทุกข์ (ธรรมที่ควรรู้) o ขันธ์ 5 - นามรูป - โลกธรรม 8 - จิต, เจตสิก สมุทัย (ธรรมที่ควรละ) o หลักกรรม - นิยาม 5 - กรรมนิยาม ( กรรม 12) - ธรรมนิยาม(ปฏิจจสมุปบาท) o วิตก 3 o มิจฉาวณิชชา 5 o นิวรณ์ 5 o อุปาทาน 4
เอกสารประกอบหลักสูตรโรงเรียนขุนตาลวิทยาคม พุทธศักราช 2566 | 15 ชั้น ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง นิโรธ (ธรรมที่ควรบรรลุ) o ภาวนา 4 o วิมุตติ 5 o นิพพาน มรรค (ธรรมที่ควรเจริญ) o พระสัทธรรม 3 o ปัญญาวุฒิธรรม 4 o พละ 5 o อุบาสกธรรม 5 o อปริหานิยธรรม 7 o ปาปณิกธรรม 3 o ทิฏฐธัมมิกัตถสังวัตตนิกธรรม 4 o โภคอาทิยะ 5 o อริยวัฑฒิ 5 o อธิปไตย 3 o สาราณียธรรม 6 o ทศพิธราชธรรม 10 o วิปัสสนาญาณ 9 o มงคล 38 - สงเคราะห์บุตร - สงเคราะห์ภรรยา - สันโดษ - ถูกโลกธรรมจิตไม่หวั่นไหว - จิตไม่เศร้าโศก - จิตไม่มัวหมอง - จิตเกษม - ความเพียรเผากิเลส - ประพฤติพรหมจรรย์ - เห็นอริยสัจ - บรรลุนิพพาน พุทธศาสนสุภาษิต จิตฺตํ ทนฺตํ สุขาวหํ จิตที่ฝึกดีแล้วนําสุขมาให้ นอุจฺจาวจํ ปณฺฑิตา ทสฺสยนฺติ บัณฑิตย่อมไม่แสดงอาการขึ้น ๆ ลง ๆ นตฺถิ โลเก อนินฺทิโต
เอกสารประกอบหลักสูตรโรงเรียนขุนตาลวิทยาคม พุทธศักราช 2566 | 16 ชั้น ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง คนที่ไม่ถูกนินทา ไม่มีในโลก โกธํ ฆตฺวา สุขํ เสติ ฆ่าความโกรธได้ย่อมอยู่เป็นสุข ปฏิรูปการี ธุรวา อุฎฺฐาตา วินฺทเต ธนํ คนขยันเอาการเอางาน กระทํา เหมาะสม ย่อมหาทรัพย์ได้ วายเมถว ปุริโส ยาว อตฺถสฺส นิปฺปทา เกิดเป็นคนควรจะพยายามจนกว่าจะ ประสบความสําเร็จ สนฺตฎฺฐี ปรมํ ธนํ ความสันโดษเป็นทรัพย์อย่างยิ่ง อิณาทานํ ทุกฺขํ โลเก การเป็นหนี้เป็นทุกข์ในโลก ราชา มุขํ มนุสฺสานํ พระราชาเป็นประมุขของประชาชน สติ โลกสฺมิ ชาคโร สติเป็นเครื่องตื่นในโลก นตฺถิ สนฺติปรํ สุขํ สุขอื่นยิ่งกว่าความสงบไม่มี นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ นิพพานเป็นสุข อย่างยิ่ง 14. วิเคราะห์ข้อคิดและแบบอย่าง การดําเนินชีวิตจากประวัติสาวก ชาดก เรื่องเล่า และศาสนิกชนตัวอย่าง ตามที่ กําหนด พุทธสาวก พุทธสาวิก พระอัสสชิ พระกีสาโคตมีเถรี พระนางมัลลิกา หมอชีวก โกมารภัจ พระอนุรุทธะ พระองคุลิมาล พระธัมมทินนาเถรี จิตตคหบดี พระอานนท์ พระปฏาจาราเถรี จูฬสุภัททา สุมนมาลาการ ชาดก เวสสันดรชาดก
เอกสารประกอบหลักสูตรโรงเรียนขุนตาลวิทยาคม พุทธศักราช 2566 | 17 ชั้น ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง มโหสธชาดก มหาชนกชาดก ชาวพุทธตัวอย่าง พระนาคเสน - พระยามิลินท์ สมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี) พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต สุชีพ ปุญญานุภาพ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) พระพรหมมังคลาจารย์ (ปัญญานันท ภิกขุ) ดร.เอ็มเบดการ์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว พระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท) พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต) อนาคาริก ธรรมปาละ 15. วิเคราะห์คุณค่าและความสําคัญของ การสังคายนา พระไตรปิฎก หรือคัมภีร์ ของศาสนาที่ตนนับถือ และการเผยแผ่ วิธีการศึกษาและค้นคว้าพระไตรปิฏก และ คัมภีร์ของศาสนาอื่น ๆ การสังคายนาและ การเผยแผ่พระไตรปิฏก ความสําคัญและคุณค่าของพระไตรปิฏก 16. เชื่อมั่นต่อผลของการทําความดี ความ ชั่ว สามารถวิเคราะห์สถานการณ์ที่ต้อง เผชิญ และตัดสินใจเลือกดําเนินการหรือ ปฏิบัติตนได้อย่างมีเหตุผลถูกต้องตาม หลักธรรม จริยธรรม และกําหนด เปูาหมาย บทบาทการดําเนินชีวิตเพื่อการ อยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข และอยู่ร่วมกัน เป็นชาติอย่างสมานฉันท์ ตัวอย่างผลที่เกิดจากการทําความดี ความชั่ว โยนิโสมนสิการด้วยวิธีคิดแบบอริยสัจ หลักธรรมตามสาระการเรียนรู้ข้อ 13 17. อธิบายประวัติศาสดาของศาสนาอื่นๆ โดยสังเขป ประวัติพระพุทธเจ้า มุฮัมมัด พระเยซู 18.ตระหนักในคุณค่าและความสําคัญของ ค่านิยม จริยธรรมที่เป็นตัวกําหนดความ เชื่อและพฤติกรรมที่แตกต่างกันของศา สนิกชนศาสนาต่างๆ เพื่อขจัดความขัดแย้ง และอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสันติสุข คุณค่าและความสําคัญของค่านิยมและ จริยธรรม การขจัดความขัดแย้งเพื่ออยู่ร่วมกันอย่าง สันติสุข
เอกสารประกอบหลักสูตรโรงเรียนขุนตาลวิทยาคม พุทธศักราช 2566 | 18 ชั้น ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง 19. เห็นคุณค่า เชื่อมั่น และมุ่งมั่นพัฒนา ชีวิตด้วยการพัฒนาจิตและพัฒนาการ เรียนรู้ด้วยวิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการ หรือการพัฒนาจิตตามแนวทางของศาสนา ที่ตนนับถือ พัฒนาการเรียนรู้ด้วยวิธีคิดแบบโยนิโส มนสิการ 10 วิธี (เน้น วิธีคิดแบบแยกแยะ ส่วนประกอบ แบบสามัญญลักษณะ แบบเป็นอยู่ในขณะปัจจุบัน และแบบ วิภัชชวาท ) 1) วิธีคิดแบบสืบสาวเหตุปัจจัย 2) วิธีคิดแบบแยกแยะส่วนประกอบ 3) วิธีคิดแบบสามัญลักษณะ 4) วิธีคิดแบบอริยสัจ 5) วิธีคิดแบบอรรถธรรมสัมพันธ์ 6) วิธีคิดแบบคุณค่าแท้- คุณค่าเทียม 7) วิธีคิดแบบคุณ-โทษ และทางออก 8) วิธีคิดแบบอุบาย ปลุกเร้าคุณธรรม 9) วิธีคิดแบบเป็นอยู่ในขณะปัจจุบัน 10) วิธีคิดแบบวิภัชชวาท 20. สวดมนต์ แผ่เมตตา และบริหารจิต และเจริญปัญญาตามหลักสติปัฏฐาน หรือ ตามแนวทางของศาสนาที่ตนนับถือ สวดมนต์แปล และแผ่เมตตา รู้และเข้าใจวิธีปฏิบัติและประโยชน์ของการ บริหารจิตและเจริญปัญญา ฝึกการบริหารจิตและเจริญปัญญาตาม หลักสติปัฎฐาน นําวิธีการบริหารจิตและเจริญปัญญา ไปใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ คุณภาพ ชีวิตและสังคม 21. วิเคราะห์หลักธรรมสําคัญในการอยู่ ร่วมกันอย่างสันติสุขของศาสนาอื่นๆ และ ชักชวน ส่งเสริม สนับสนุนให้บุคคลอื่นเห็น ความสําคัญของการทําความดี ต่อกัน หลักธรรมสําคัญในการอยู่ร่วมกันอย่าง สันติสุข o หลักธรรมในพระพุทธศาสนา เช่น สาราณียธรรม 6 อธิปไตย 3 มิจฉาวณิชชา 5 อริยวัฑฆิ 5 โภคอาทิยะ 5 คริสต์ศาสนา ได้แก่ บัญญัติ 10 ประการ (เฉพาะที่เกี่ยวข้อง) ศาสนาอิสลาม ได้แก่ หลักจริยธรรม (เฉพาะที่เกี่ยวข้อง) 22. เสนอแนวทางการจัดกิจกรรม ความ ร่วมมือของทุกศาสนาในการแก้ปัญหาและ พัฒนาสังคม สภาพปัญหาในชุมชน และสังคม
เอกสารประกอบหลักสูตรโรงเรียนขุนตาลวิทยาคม พุทธศักราช 2566 | 19 สาระที่ 1 ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม มาตรฐาน ส 1.2 เข้าใจ ตระหนักและปฏิบัติตนเป็นศาสนิกชนที่ดี และธํารงรักษาพระพุทธศาสนา หรือ ศาสนาที่ตนนับถือ ชั้น ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง ม.1 ม.2 1. บําเพ็ญประโยชน์ต่อศาสนสถานของ ศาสนาที่ตนนับถือ การบําเพ็ญประโยชน์ และการบํารุงรักษาวัด 2. อธิบายจริยวัตรของสาวกเพื่อเป็น แบบอย่างในการประพฤติปฏิบัติ และ ปฏิบัติตนอย่างเหมาะสมต่อสาวกของ ศาสนาที่ตนนับถือ วิถีชีวิตของพระภิกษุ บทบาทของพระภิกษุในการเผยแผ่ พระพุทธศาสนา เช่น การแสดงธรรม ปาฐกถา ธรรม การประพฤติตนให้เป็นแบบอย่าง การเข้าพบพระภิกษุ การแสดงความเคารพ การประนมมือ การไหว้ การกราบ การเคารพพระรัตนตรัย การฟังเจริญ พระพุทธมนต์ การฟังสวด พระอภิธรรม การฟัง พระธรรมเทศนา 3. ปฏิบัติตนอย่างเหมาะสมต่อบุคคล ต่างๆ ตามหลักศาสนาที่ตนนับถือตามที่ กําหนด ปฏิบัติตนอย่างเหมาะสมต่อเพื่อนตามหลัก พระพุทธศาสนา หรือศาสนาที่ตนนับถือ 4. จัดพิธีกรรม และปฏิบัติตนในศาสนพิธี พิธีกรรมได้ถูกต้อง การจัดโต๊ะหมู่บูชา แบบ หมู่4 หมู่ 5 หมู่ 7 หมู่9 การจุดธูปเทียน การจัดเครื่องประกอบโต๊ะหมู่ บูชา คําอาราธนาต่างๆ 5. อธิบายประวัติ ความสําคัญ และ ปฏิบัติตนในวันสําคัญทางศาสนาที่ตนนับ ถือ ตามที่กําหนด ได้ถูกต้อง ประวัติและความสําคัญของวันธรรมสวนะ วัน เข้าพรรษา วันออกพรรษา วันเทโวโรหณะ ระเบียบพิธี พิธีเวียนเทียน การปฏิบัติตนในวัน มาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอัฏฐมีบูชา วัน อาสาฬหบูชา วันธรรมสวนะและเทศกาลสําคัญ 1. ปฏิบัติตนอย่างเหมาะสมต่อบุคคลต่าง ๆ ตามหลักศาสนาที่ตนนับถือ ตามที่ กําหนด การเป็นลูกที่ดี ตามหลักทิศเบื้องหน้าใน ทิศ 6 2. มีมรรยาทของความเป็นศาสนิกชนที่ดี ตามที่กําหนด การต้อนรับ (ปฏิสันถาร) มรรยาทของผู้เป็นแขก ฝึกปฏิบัติระเบียบพิธี ปฏิบัติต่อพระภิกษุ การ ยืน การให้ที่นั่ง การเดินสวนการสนทนา การ รับสิ่งของ การแต่งกายไปวัด การแต่งกายไปงานมงคล งาน อวมงคล
เอกสารประกอบหลักสูตรโรงเรียนขุนตาลวิทยาคม พุทธศักราช 2566 | 20 ชั้น ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง 3. วิเคราะห์คุณค่าของศาสนพิธี และ ปฏิบัติตนได้ถูกต้อง การทําบุญตักบาตร การถวายภัตตาหารสิ่งของที่ควรถวายและสิ่งของ ต้องห้ามสําหรับพระภิกษุ การถวายสังฆทาน เครื่องสังฆทาน การถวายผ้าอาบน้ําฝน การจัดเครื่องไทยธรรม เครื่องไทยทาน การกรวดน้ํา การทอดกฐิน การทอดผ้าปุา 4. อธิบายคําสอนที่เกี่ยวเนื่องกับ วันสําคัญทางศาสนา และปฏิบัติตน ได้ถูกต้อง หลักธรรมเบื้องต้นที่เกี่ยวเนื่องในวันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอัฏฐมีบูชา วันอาสาฬหบูชา วันธรรมสวนะและเทศกาลสําคัญ ระเบียบพิธีและการปฏิบัติตน ในวันธรรมสวนะ วันเข้าพรรษา วันออกพรรษา วันเทโวโรหณะ 5. อธิบายความแตกต่างของศาสนพิธี พิธีกรรม ตาม แนวปฏิบัติของศาสนา อื่น ๆ เพื่อนําไปสู่การยอมรับ และความ เข้าใจซึ่งกันและกัน ศาสนพิธี/พิธีกรรม แนวปฏิบัติของศาสนาอื่น ๆ ม.3 1. วิเคราะห์หน้าที่และบทบาทของสาวก และปฏิบัติตนต่อสาวก ตามที่กําหนดได้ ถูกต้อง หน้าที่ของพระภิกษุในการปฏิบัติตามหลักพระ ธรรมวินัย และจริยวัตรอย่างเหมาะสม การปฏิบัติตนต่อพระภิกษุในงานศาสนพิธีที่บ้าน การสนทนา การแต่งกาย มรรยาทการพูดกับ พระภิกษุตามฐานะ 2. ปฏิบัติตนอย่างเหมาะสมต่อบุคคล ต่างๆ ตามหลักศาสนา ตามที่กําหนด การเป็นศิษย์ที่ดี ตามหลักทิศเบื้องขวา ในทิศ 6 ของพระพุทธศาสนา 3. ปฏิบัติหน้าที่ของศาสนิกชนที่ดี การปฏิบัติหน้าที่ชาวพุทธตามพุทธปณิธาน 4 ใน มหาปรินิพพานสูตร 4. ปฏิบัติตนในศาสนพิธีพิธีกรรมได้ ถูกต้อง พิธีทําบุญ งานมงคล งานอวมงคล การนิมนต์พระภิกษุ การเตรียมที่ตั้งพระพุทธรูป และเครื่องบูชา การวงด้ายสายสิญจน์ การปูลาด อาสนะ การเตรียมเครื่องรับรอง การจุดธูปเทียน ข้อปฏิบัติในวันเลี้ยงพระ การถวายข้าวพระพุทธ การถวายไทยธรรมการกรวดน้ํา 5. อธิบายประวัติวันสําคัญทางศาสนา ตามที่กําหนดและปฏิบัติตนได้ถูกต้อง ประวัติวันสําคัญทางพระพุทธศาสนาในประเทศ ไทย วันวิสาขบูชา (วันสําคัญสากล) วันธรรมสวนะและเทศกาลสําคัญ หลักปฏิบัติตน : การฟังพระธรรมเทศนา การ
เอกสารประกอบหลักสูตรโรงเรียนขุนตาลวิทยาคม พุทธศักราช 2566 | 21 ชั้น ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง แต่งกายในการประกอบ ศาสนพิธีที่วัด การงด เว้นอบายมุข การประพฤติปฏิบัติในวันธรรมสวนะและเทศกาล สําคัญ 6. แสดงตนเป็นพุทธมามกะ หรือ แสดงตนเป็นศาสนิกชนของศาสนา ที่ตนนับถือ การแสดงตนเป็นพุทธมามกะ ขั้นเตรียมการ ขั้นพิธีการ 7. นําเสนอแนวทางในการธํารงรักษา ศาสนาที่ตนนับถือ การศึกษาเรียนรู้เรื่ององค์ประกอบของ พระพุทธศาสนา นําไปปฏิบัติและเผยแผ่ตาม โอกาส การศึกษาการรวมตัวขององค์กรชาวพุทธ การปลูกจิตสํานึกในด้านการบํารุงรักษาวัดและ พุทธสถานให้เกิดประโยชน์ ม.4-ม.6 1. ปฏิบัติตนเป็นศาสนิกชนที่ดีต่อสาวก สมาชิกในครอบครัว และคนรอบข้าง ปฏิบัติตนเป็นชาวพุทธที่ดีต่อพระภิกษุ การเข้าใจในกิจของพระภิกษุ เช่น การศึกษา การปฏิบัติธรรม และการเป็น นักบวชที่ดี คุณสมบัติทายกและปฏิคาหก หน้าที่และบทบาทของพระภิกษุ ในฐานะ พระนักเทศก์พระธรรมทูต พระธรรม จาริก พระวิทยากร พระวิปัสสนาจารย์ และ พระนักพัฒนา การปกปูองคุ้มครอง พระพุทธศาสนาของ พุทธบริษัทในสังคมไทย การปฏิบัติตนต่อพระภิกษุทางกาย วาจา และใจ ที่ประกอบด้วยเมตตา การปฏิสันถารที่เหมาะสมต่อพระภิกษุ ในโอกาสต่าง ๆ ปฏิบัติตนเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัวและสังคม การรักษาศีล 8 การเข้าร่วมกิจกรรมและเป็นสมาชิกขององค์กร ชาวพุทธ การเป็นชาวพุทธที่ดี ตามหลักทิศเบื้องบน ในทิศ 6 การปฏิบัติตนที่เหมาะสมในฐานะผู้ปกครอง และ ผู้อยู่ในปกครอง ตามหลักทิศเบื้องล่าง ในทิศ 6
เอกสารประกอบหลักสูตรโรงเรียนขุนตาลวิทยาคม พุทธศักราช 2566 | 22 ชั้น ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง การปฏิสันถารตามหลักปฏิสันถาร 2 หน้าที่และบทบาทของอุบาสก อุบาสิกาที่มี ต่อสังคมไทยในปัจจุบัน การปฏิบัติตนเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว ตามหลักทิศเบื้องหลังในทิศ 6 การบําเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อ ครอบครัว ชุมชน ประเทศชาติและโลก 2. ปฏิบัติตนถูกต้องตามศาสนพิธี พิธีกรรมตามหลักศาสนาที่ตนนับถือ ประเภทของศาสนพิธีในพระพุทธศาสนา ศาสนพิธีเนื่องด้วยพุทธบัญญัติ เช่น พิธี แสดงตนเป็นพุทธมามกะ พิธีเวียนเทียน ถวายสังฆทาน ถวายผ้าอาบน้ําฝน พิธี ทอดกฐิน พิธีปวารณา เป็นต้น ศาสนพิธีที่นําพระพุทธศาสนา เข้าไป เกี่ยวเนื่อง เช่น การทําบุญเลี้ยงพระใน โอกาสต่างๆ ความหมาย ความสําคัญ คติธรรมในพิธีกรรม บทสวดมนต์ของนักเรียน งานพิธี คุณค่าและ ประโยชน์ พิธีบรรพชาอุปสมบท คุณสมบัติของผู้ขอ บรรพชาอุปสมบท เครื่องอัฏฐบริขาร ประโยชน์ ของการ บรรพชาอุปสมบท บุญพิธี ทานพิธี กุศลพิธี คุณค่าและประโยชน์ของศาสนพิธี 3. แสดงตนเป็นพุทธมามกะหรือ แสดงตนเป็นศาสนิกชนของศาสนา ที่ตนนับถือ การแสดงตนเป็นพุทธมามกะ ขั้นเตรียมการ ขั้นพิธีการ 4. วิเคราะห์หลักธรรม คติธรรมที่ เกี่ยวเนื่องกับวันสําคัญทางศาสนา และ เทศกาลที่สําคัญ ของศาสนาที่ตนนับถือ และปฏิบัติตนได้ถูกต้อง หลักธรรม/คติธรรมที่เกี่ยวเนื่องกับวันสําคัญ และ เทศกาลที่สําคัญในพระพุทธศาสนาหรือศาสนาอื่น การปฏิบัติตนที่ถูกต้องในวันสําคัญและเทศกาลที่ สําคัญในพระพุทธศาสนา หรือศาสนาอื่น 5. สัมมนาและเสนอแนะแนวทางในการ ธํารงรักษาศาสนาที่ตนนับถือ อันส่งผล ถึงการพัฒนาตน พัฒนาชาติและโลก การปกปูอง คุ้มครอง ธํารงรักษาพระพุทธศาสนา ของพุทธบริษัทในสังคมไทย การปลูกจิตสํานึก และการมีส่วนร่วมในสังคมพุทธ
เอกสารประกอบหลักสูตรโรงเรียนขุนตาลวิทยาคม พุทธศักราช 2566 | 23 สาระที่ 2 หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการด าเนินชีวิตในสังคม มาตรฐาน ส 2.1 เข้าใจและปฏิบัติตนตามหน้าที่ของการเป็นพลเมืองดี มีค่านิยมที่ดีงามและธํารงรักษา ประเพณีและวัฒนธรรมไทย ดํารงชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคมไทยและสังคมโลกอย่างสันติสุข ชั้น ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง ม.1 1. ปฏิบัติตามกฎหมายในการคุ้มครองสิทธิ ของบุคคล กฎหมายในการคุ้มครองสิทธิของบุคคล - กฎหมายการคุ้มครองเด็ก - กฎหมายการศึกษา - กฎหมายการคุ้มครองผู้บริโภค - กฎหมายลิขสิทธิ์ ประโยชน์ของการปฏิบัติตนตามกฎหมาย การคุ้มครองสิทธิของบุคคล 2. ระบุความสามารถของตนเอง ในการทําประโยชน์ต่อสังคมและ ประเทศชาติ บทบาทและหน้าที่ของเยาวชนที่มีต่อสังคม และประเทศชาติ โดยเน้นจิตสาธารณะ เช่น เคารพกติกาสังคม ปฏิบัติตนตามกฎหมาย มีส่วนร่วมและ รับผิดชอบในกิจกรรมทางสังคม อนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติ รักษา สาธารณประโยชน์ 3. อภิปรายเกี่ยวกับคุณค่าทางวัฒนธรรมที่ เป็นปัจจัยในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีหรือ อาจนําไปสู่ความเข้าใจผิดต่อกัน ความคล้ายคลึงและความแตกต่างระหว่าง วัฒนธรรมไทยกับวัฒนธรรมของประเทศใน ภูมิภาคเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ วัฒนธรรมที่เป็นปัจจัยในการสร้าง ความสัมพันธ์ที่ดี หรืออาจนําไปสู่ความ เข้าใจผิดต่อกัน 4. แสดงออกถึงการเคารพในสิทธิของ ตนเองและผู้อื่น วิธีปฏิบัติตนในการเคารพในสิทธิของ ตนเองและผู้อื่น ผลที่ได้จากการเคารพในสิทธิของตนเอง และผู้อื่น
เอกสารประกอบหลักสูตรโรงเรียนขุนตาลวิทยาคม พุทธศักราช 2566 | 24 ชั้น ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง ม.2 1. อธิบายและปฏิบัติตนตามกฎหมายที่ เกี่ยวข้องกับตนเอง ครอบครัว ชุมชนและ ประเทศ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับตนเอง ครอบครัว เช่น - กฎหมายเกี่ยวกับความสามารถของ ผู้เยาว์ - กฎหมายบัตรประจําตัวประชาชน - กฎหมายเพ่งเกี่ยวกับครอบครัวและ มรดก เช่น การหมั้น การสมรส การรับรองบุตร การรับบุตรบุญธรรม และมรดก กฎหมายที่เกี่ยวกับชุมชนและประเทศ - กฎหมายเกี่ยวกับการอนุรักษ์ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม - กฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากร และกรอก แบบแสดงรายการ ภาษีเงินได้บุคคล ธรรมดา - กฎหมายแรงงาน 2. เห็นคุณค่าในการปฏิบัติตนตาม สถานภาพ บทบาท สิทธิ เสรีภาพ หน้าที่ใน ฐานะพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย สถานภาพ บทบาท สิทธิ เสรีภาพ หน้าที่ ในฐานะพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย แนวทางส่งเสริมให้ปฏิบัติตนเป็นพลเมือง ดีตามวิถีประชาธิปไตย 3. วิเคราะห์บทบาท ความสําคัญ และ ความสัมพันธ์ของสถาบันทางสังคม บทบาท ความสําคัญและความสัมพันธ์ ของสถาบันทางสังคม เช่น สถาบัน ครอบครัว สถาบันการศึกษา สถาบัน ศาสนา สถาบันเศรษฐกิจ สถาบัน ทางการเมืองการปกครอง 4.อธิบายความคล้ายคลึงและความแตกต่าง ของวัฒนธรรมไทย และวัฒนธรรมของ ประเทศในภูมิภาคเอเชีย เพื่อนําไปสู่ความ เข้าใจอันดีระหว่างกัน ความคล้ายคลึงและความแตกต่างของ วัฒนธรรมไทย และวัฒนธรรมของประเทศ ในภูมิภาคเอเชียวัฒนธรรม เป็น ปัจจัยสําคัญในการสร้างความเข้าใจอันดี ระหว่างกัน
เอกสารประกอบหลักสูตรโรงเรียนขุนตาลวิทยาคม พุทธศักราช 2566 | 25 ชั้น ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง ม.3 1. อธิบายความแตกต่างของการกระทํา ความผิดระหว่างคดีอาญาและคดีแพ่ง ลักษณะการกระทําความผิดทางอาญา และ โทษ ลักษณะการกระทําความผิดทางแพ่ง และ โทษ ตัวอย่างการกระทําความผิดทางอาญา เช่น ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ ตัวอย่างการทําความผิดทางแพ่ง เช่น การ ทําผิดสัญญา การทําละเมิด 2. มีส่วนร่วมในการปกปูองคุ้มครองผู้อื่น ตามหลักสิทธิมนุษยชน ความหมาย และความสําคัญของสิทธิ มนุษยชน การมีส่วนร่วมคุ้มครองสิทธิมนุษยชนตาม รัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทยตาม วาระและโอกาสที่เหมาะสม 3. อนุรักษ์วัฒนธรรมไทยและเลือกรับ วัฒนธรรมสากลที่เหมาะสม ความสําคัญของวัฒนธรรมไทย ภูมิปัญญาไทยและวัฒนธรรมสากล การอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยและ ภูมิปัญญาไทยที่เหมาะสม การเลือกรับวัฒนธรรมสากลที่เหมาะสม 4. วิเคราะห์ปัจจัยที่ก่อให้เกิดปัญหาความ ขัดแย้งในประเทศ และเสนอแนวคิดในการ ลดความขัดแย้ง ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความขัดแย้ง เช่น การเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ สังคม ความเชื่อ สาเหตุปัญหาทางสังคม เช่น ปัญหา สิ่งแวดล้อม ปัญหายาเสพติด ปัญหา การทุจริต ปัญหาอาชญากรรม ฯลฯ แนวทางความร่วมมือในการลดความ ขัดแย้งและการสร้างความสมานฉันท์ 5. เสนอแนวคิดในการดํารงชีวิตอย่างมี ความสุขในประเทศและสังคมโลก ปัจจัยที่ส่งเสริมการดํารงชีวิตให้มีความสุข เช่น การอยู่ร่วมกันอย่างมี ขันติธรรม หลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง เห็นคุณค่าในตนเอง รุ้จักมอง โลกในแง่ดี สร้างทักษะทางอารมณ์ รู้จัก บริโภคด้วยปัญญา เลือกรับ-ปฏิเสธข่าว และวัตถุต่างๆ ปรับปรุงตนเองและสิ่ง ต่างๆให้ดีขึ้นอยู่เสมอ
เอกสารประกอบหลักสูตรโรงเรียนขุนตาลวิทยาคม พุทธศักราช 2566 | 26 ชั้น ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง ม.4-ม.6 1. วิเคราะห์และปฏิบัติตนตามกฎหมายที่ เกี่ยวข้องกับตนเอง ครอบครัว ชุมชน ประเทศชาติ และสังคมโลก กฎหมายเพ่งเกี่ยวกับนิติกรรมสัญญา เช่น ซื้อขาย ขายฝาก เช่าทรัพย์ เช่าซื้อ กู้ยืม เงิน จํานํา จํานอง กฎหมายอาญา เช่น ความผิดเกี่ยวกับ ทรัพย์ความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย กฎหมายอื่นที่สําคัญ เช่น รัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบัน กฎหมาย การรับราชการทหาร กฎหมายภาษีอากร กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค ข้อตกลงระหว่างประเทศ เช่น ปฏิญญา สากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน กฎหมาย มนุษยธรรมระหว่างประเทศ 2. วิเคราะห์ความสําคัญของโครงสร้างทาง สังคม การขัดเกลาทางสังคม และ การ เปลี่ยนแปลงทางสังคม โครงสร้างทางสังคม - การจัดระเบียบทางสังคม - สถาบันทางสังคม การขัดเกลาทางสังคม การเปลี่ยนแปลงทางสังคม การแก้ปัญหาและแนวทางการพัฒนาทาง สังคม 3. ปฏิบัติตนและมีส่วนสนับสนุนให้ผู้อื่น ประพฤติปฏิบัติเพื่อเป็นพลเมืองดีของ ประเทศชาติ และสังคมโลก คุณลักษณะพลเมืองดีของประเทศชาติ และสังคมโลก เช่น - เคารพกฎหมาย และกติกาสังคม - เคารพสิทธิ เสรีภาพของตนเองและ บุคคลอื่น - มีเหตุผล รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น - มีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม ชุมชน ประเทศชาติและสังคม - เข้าร่วมกิจกรรมทางการเมือง การปกครอง - มีส่วนร่วมในการปูองกัน แก้ไขปัญหา เศรษฐกิจ สังคม การเมืองการ ปกครอง สิ่งแวดล้อม - มีคุณธรรมจริยธรรม ใช้เป็น ตัวกําหนดความคิด
เอกสารประกอบหลักสูตรโรงเรียนขุนตาลวิทยาคม พุทธศักราช 2566 | 27 ชั้น ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง 4. ประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนใน ประเทศไทย และเสนอแนวทางพัฒนา ความหมาย ความสําคัญ แนวคิดและ หลักการของสิทธิมนุษยชน บทบาทขององค์กรระหว่างประเทศ ในเวทีโลกที่มีผลต่อประทศไทย สาระสําคัญของปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิ มนุษยชน บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับปัจจุบัน เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน ปัญหาสิทธิมนุษยชนในประเทศ และแนวทางแก้ปัญหาและพัฒนา 5. วิเคราะห์ความจําเป็นที่ต้องมีการ ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงและอนุรักษ์ วัฒนธรรมไทยและเลือกรับวัฒนธรรมสากล ความหมายและความสําคัญของวัฒนธรรม ลักษณะและ ความสําคัญของวัฒนธรรมไทยที่ สําคัญ การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงและอนุรักษ์ วัฒนธรรมไทย ความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรมไทยกับ วัฒนธรรมสากล แนวทางการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย ที่ดีงาม วิธีการเลือกรับวัฒนธรรมสากล สาระที่ 2 หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการด าเนินชีวิตในสังคม มาตรฐาน ส 2.2 เข้าใจระบบการเมืองการปกครองในสังคมปัจจุบัน ยึดมั่น ศรัทธาและธํารงรักษา ไว้ซึ่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ชั้น ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง ม.1 1. อธิบายหลักการ เจตนารมณ์ โครงสร้าง และสาระสําคัญของรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย ฉบับปัจจุบัน โดยสังเขป หลักการ เจตนารมณ์ โครงสร้าง และ สาระสําคัญของรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย ฉบับปัจจุบัน 2. วิเคราะห์บทบาทการถ่วงดุลของอํานาจ อธิปไตยในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร ไทย ฉบับปัจจุบัน การแบ่งอํานาจ และการถ่วงดุลอํานาจ อธิปไตยทั้ง 3 ฝุาย คือนิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ ตามที่ระบุในรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบัน 3. ปฏิบัติตนตามบทบัญญัติของ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับ ปัจจุบันที่เกี่ยวข้องกับตนเอง การปฏิบัติตนตามบทบัญญัติของ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับ ปัจจุบัน เกี่ยวกับสิทธิ เสรีภาพและหน้าที่
เอกสารประกอบหลักสูตรโรงเรียนขุนตาลวิทยาคม พุทธศักราช 2566 | 28 ชั้น ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง ม.2 1. อธิบายกระบวนการในการตรา กฎหมาย กระบวนการในการตรากฎหมาย - ผู้มีสิทธิเสนอร่างกฎหมาย - ขั้นตอนการตรากฎหมาย - การมีส่วนร่วมของประชาชนใน กระบวนการตรากฎหมาย 2. วิเคราะห์ข้อมูล ข่าวสารทางการเมือง การปกครองที่มีผลกระทบต่อสังคมไทย สมัยปัจจุบัน เหตุการณ์ และการเปลี่ยนแปลงสําคัญของ ระบอบการปกครองของไทย หลักการเลือกข้อมูล ข่าวสาร ม.3 1. อธิบายระบอบการปกครองแบบต่างๆ ที่ใช้ในยุคปัจจุบัน ระบอบการปกครอง แบบต่างๆ ที่ใช้ในยุค ปัจจุบัน เช่น การปกครองแบบ เผด็จการ การปกครองแบบประชาธิปไตย เกณฑ์การตัดสินใจ 2. วิเคราะห์ เปรียบเทียบระบอบการ ปกครองของไทยกับประเทศอื่นๆ ที่มีการ ปกครองระบอบประชาธิปไตย ความแตกต่าง ความคล้ายคลึงของการ ปกครองของไทย กับประเทศอื่นๆ ที่มี การปกครองระบอบประชาธิปไตย 3. วิเคราะห์รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันใน มาตราต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง การมีส่วนร่วม และการตรวจสอบการใช้ อํานาจรัฐ บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญในมาตราต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง การมีส่วนร่วม และการตรวจสอบการใช้อํานาจรัฐ อํานาจหน้าที่ของรัฐบาล บทบาทสําคัญของรัฐบาลในการบริหาร ราชการแผ่นดิน ความจําเป็นในการมีรัฐบาลตามระบอบ ประชาธิปไตย 4. วิเคราะห์ประเด็น ปัญหาที่เป็น อุปสรรคต่อการพัฒนาประชาธิปไตยของ ประเทศไทยและเสนอแนวทางแก้ไข ประเด็น ปัญหาและผลกระทบที่เป็น อุปสรรคต่อการพัฒนาประชาธิปไตยของ ประเทศไทย แนวทางการแก้ไขปัญหา
เอกสารประกอบหลักสูตรโรงเรียนขุนตาลวิทยาคม พุทธศักราช 2566 | 29 ชั้น ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง ม.4-ม.6 1. วิเคราะห์ปัญหาการเมืองที่สําคัญใน ประเทศ จากแหล่งข้อมูลต่างๆ พร้อมทั้ง เสนอแนวทางแก้ไข ปัญหาการเมืองสําคัญที่เกิดขึ้น ภายในประเทศ สถานการณ์การเมืองการปกครอง ของสังคมไทย และสังคมโลก และ การประสานประโยชน์ร่วมกัน อิทธิพลของระบบการเมืองการปกครอง ที่มีผลต่อการดําเนินชีวิตและความสัมพันธ์ ระหว่างประเทศ 2. เสนอแนวทาง ทางการเมืองการ ปกครองที่นําไปสู่ความเข้าใจ และ การประสานประโยชน์ร่วมกันระหว่าง ประเทศ การประสานประโยชน์ร่วมกันระหว่าง ประเทศ เช่น การสร้างความสัมพันธ์ ระหว่างไทยกับประเทศต่าง ๆ การแลกเปลี่ยนเพื่อช่วยเหลือ และส่งเสริม ด้านวัฒนธรรม การศึกษา เศรษฐกิจ สังคม 3. วิเคราะห์ความสําคัญและ ความจําเป็น ที่ต้องธํารงรักษาไว้ซึ่งการปกครองตาม ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข การปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข - รูปแบบของรัฐ - ฐานะและพระราชอํานาจของ พระมหากษัตริย์ 4. เสนอแนวทางและมีส่วนร่วมในการ ตรวจสอบการใช้อํานาจรัฐ การตรวจสอบการใช้อํานาจรัฐ ตาม รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับ ปัจจุบัน ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทาง สังคม เช่น การตรวจสอบโดยองค์กรอิสระ การตรวจสอบโดยประชาชน สาระที่ 3 เศรษฐศาสตร์ มาตรฐาน ส 3.1 เข้าใจและสามารถบริหารจัดการทรัพยากรในการผลิตและการบริโภค การใช้ ทรัพยากร ที่มีอยู่จํากัดได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า รวมทั้งเข้าใจหลักการของ เศรษฐกิจพอเพียง เพื่อการดํารงชีวิตอย่างมีดุลยภาพ ชั้น ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง ม.1 1. อธิบายความหมายและความสําคัญของ เศรษฐศาสตร์ ความหมายและความสําคัญของ เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น ความหมายของคําว่าทรัพยากรมีจํากัดกับ ความต้องการมีไม่จํากัด ความขาดแคลน การเลือกและค่าเสียโอกาส 2. วิเคราะห์ค่านิยมและพฤติกรรมการ บริโภคของคนในสังคมซึ่งส่งผลต่อ ความหมายและความสําคัญของการบริโภค อย่างมีประสิทธิภาพ
เอกสารประกอบหลักสูตรโรงเรียนขุนตาลวิทยาคม พุทธศักราช 2566 | 30 ชั้น ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง เศรษฐกิจของชุมชนและประเทศ หลักการในการบริโภคที่ดี ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการบริโภค ค่านิยมและพฤติกรรมของการบริโภคของคน ในสังคมปัจจุบัน รวมทั้งผลดีและผลเสียของ พฤติกรรมดังกล่าว 3. อธิบายความเป็นมาหลักการและ ความสําคัญของปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียงต่อสังคมไทย ความหมายและความเป็นมาของปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง ความเป็นมาของเศรษฐกิจพอเพียง และ หลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวรวมทั้งโครงการตาม พระราชดําริ หลักการของเศรษฐกิจพอเพียง การประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ใน การดํารงชีวิต ความสําคัญ คุณค่าและประโยชน์ของปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียงต่อสังคมไทย ม.2 1. วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการลงทุนและ การออม ความหมายและความสําคัญของการลงทุน และการออมต่อระบบเศรษฐกิจ การบริหารจัดการเงินออมและการลงทุน ภาคครัวเรือน ปัจจัยของการลงทุนและการออมคือ อัตรา ดอกเบี้ย รวมทั้งปัจจัยอื่น ๆ เช่น ค่าของเงิน เทคโนโลยี การคาดเดาเกี่ยวกับอนาคต ปัญหาของการลงทุนและการออมใน สังคมไทย 2. อธิบายปัจจัยการผลิตสินค้าและบริการ และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการผลิตสินค้า และบริการ ความหมาย ความสําคัญ และหลักการผลิต สินค้าและบริการอย่างมีประสิทธิภาพ สํารวจการผลิตสินค้าในท้องถิ่น ว่ามีการผลิต อะไรบ้าง ใช้วิธีการผลิตอย่างไร มีปัญหา ด้านใดบ้าง มีการนําเทคโนโลยีอะไรมาใช้ที่มีผลต่อ การผลิตสินค้าและบริการ นําหลักการผลิตมาวิเคราะห์การผลิตสินค้า และบริการในท้องถิ่นทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม 3. เสนอแนวทางการพัฒนาการผลิตใน หลักการและเปูาหมายปรัชญาของเศรษฐกิจ
เอกสารประกอบหลักสูตรโรงเรียนขุนตาลวิทยาคม พุทธศักราช 2566 | 31 ชั้น ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง ท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พอเพียง สํารวจและวิเคราะห์ปัญหาการผลิตสินค้า และบริการในท้องถิ่น ประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงใน การผลิตสินค้าและบริการในท้องถิ่น 4. อภิปรายแนวทางการคุ้มครองสิทธิของ ตนเองในฐานะผู้บริโภค การรักษาและคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของ ผู้บริโภค กฎหมายคุ้มครองสิทธิผุ้บริโภคและหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง การดําเนินกิจกรรมพิทักษ์สิทธิและ ผลประโยชน์ตามกฎหมายในฐานะผู้บริโภค แนวทางการปกปูองสิทธิของผู้บริโภค ม.3 1. อธิบายกลไกราคาในระบบเศรษฐกิจ ความหมายและประเภทของตลาด ความหมายและตัวอย่างของอุปสงค์และอุปทาน ความหมายและความสําคัญของกลไกราคา และการกําหนดราคาในระบบเศรษฐกิจ หลักการปรับและเปลี่ยนแปลงราคาสินค้า และบริการ 2. มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาและ พัฒนาท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง สํารวจสภาพปัจจุบันปัญหาท้องถิ่นทั้ง ทางด้านสังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม วิเคราะห์ปัญหาของท้องถิ่นโดยใช้ปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง แนวทางการแก้ไขและพัฒนาท้องถิ่นตาม ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 3. วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างแนวคิด เศรษฐกิจพอเพียงกับระบบสหกรณ์ แนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาใน ระดับต่าง ๆ หลักการสําคัญของระบบสหกรณ์ ความสัมพันธ์ระหว่างแนวคิดเศรษฐกิ พอเพียงกับหลักการและระบบของสหกรณ์เพื่อ ประยุกต์ใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน ม.4–ม.6 1. อภิปรายการกําหนดราคาและค่าจ้างใน ระบบเศรษฐกิจ ระบบเศรษฐกิจของโลกในปัจจุบัน ผลดีและ ผลเสียของระบบเศรษฐกิจแบบต่างๆ ตลาดและประเภทของตลาด ข้อดีและ ข้อเสียของตลาดประเภทต่าง ๆ การกําหนดราคาตามอุปสงค์ และอุปทาน การกําหนดราคาในเชิงกลยุทธ์ที่มีในสังคมไทย การกําหนดค่าจ้าง กฎหมายที่เกี่ยวข้องและ
เอกสารประกอบหลักสูตรโรงเรียนขุนตาลวิทยาคม พุทธศักราช 2566 | 32 ชั้น ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง อัตราค่าจ้างแรงงานในสังคมไทย บทบาทของรัฐในการแทรกแซงราคา และการ ควบคุมราคาเพื่อการแจกจ่าย และจัดสรรในทาง เศรษฐกิจ 2. ตระหนักถึงความสําคัญของปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียงที่มีต่อเศรษฐกิจ สังคมของประเทศ การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียง ในการดําเนินชีวิตของตนเอง และครอบครัว การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงใน ภาคเกษตร อุตสาหกรรม การค้าและบริการ ปัญหาการพัฒนาประเทศที่ผ่านมา โดย การศึกษาวิเคราะห์แผนพัฒนาเศรษฐกิจ และ สังคมฉบับที่ผ่านมา การพัฒนาประเทศที่นําปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียงมาใช้ ในการวางแผนพัฒนา เศรษฐกิจ และสังคมฉบับปัจจุบัน 3. ตระหนักถึงความสําคัญของระบบ สหกรณ์ในการพัฒนาเศรษฐกิจในระดับ ชุมชนและประเทศ วิวัฒนาการของสหกรณ์ในประเทศไทย ความหมายความสําคัญ และหลักการของระบบ สหกรณ์ ตัวอย่างและประเภทของสหกรณ์ในประเทศไทย ความสําคัญของระบบสหกรณ์ในการพัฒนา เศรษฐกิจในชุมชนและประเทศ 4. วิเคราะห์ปัญหาทางเศรษฐกิจ ในชุมชนและเสนอแนวทางแก้ไข ปัญหาทางเศรษฐกิจในชุมชน แนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชน ตัวอย่างของการรวมกลุ่มที่ประสบ ความสําเร็จในการแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจ ของชุมชน สาระที่ 3 เศรษฐศาสตร์ มาตรฐาน ส 3.2 เข้าใจระบบและสถาบันทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและความ จําเป็นของการร่วมมือกันทางเศรษฐกิจในสังคมโลก ชั้น ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง ม.1 1. วิเคราะห์บทบาทหน้าที่และความ แตกต่างของสถาบันการเงินแต่ละ ประเภทและธนาคารกลาง ความหมาย ประเภท และความสําคัญของ สถาบันการเงินที่มีต่อระบบเศรษฐกิจ บทบาทหน้าที่และความสําคัญของธนาคาร กลาง การหารายได้ รายจ่าย การออม การลงทุน ซึ่ง แสดงความสัมพันธ์ระหว่างผู้ผลิต ผู้บริโภค และสถาบันการเงิน
เอกสารประกอบหลักสูตรโรงเรียนขุนตาลวิทยาคม พุทธศักราช 2566 | 33 ชั้น ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง 2. ยกตัวอย่างที่สะท้อนให้เห็นการ พึ่งพาอาศัยกัน และการแข่งขันกัน ทางเศรษฐกิจในประเทศ ยกตัวอย่างที่สะท้อนให้เห็นการพึ่งพาอาศัยกัน และกัน การแข่งขันกันทางเศรษฐกิจในประเทศ ปัญหาเศรษฐกิจในชุมชน ประเทศ และเสนอ แนวทางแก้ไข 3. ระบุปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกําหนด อุปสงค์และอุปทาน ความหมายและกฎอุปสงค์ อุปทาน ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกําหนดอุปสงค์และ อุปทาน 4. อภิปรายผลของการมีกฎหมาย เกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา ความหมายและความสําคัญของทรัพย์สินทาง ปัญญา กฎหมายที่เกี่ยวกับการคุ้มครองทรัพย์สินทาง ปัญญาพอสังเขป ตัวอย่างการละเมิดแห่งทรัพย์สินทางปัญญา แต่ละประเภท ม.2 1. อภิปรายระบบเศรษฐกิจแบบต่างๆ ระบบเศรษฐกิจแบบต่างๆ 2. ยกตัวอย่างที่สะท้อนให้เห็น การพึ่งพาอาศัยกัน และการแข่งขัน กันทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย หลักการและผลกระทบการพึ่งพาอาศัยกัน และการแข่งขันกันทางเศรษฐกิจในภูมิภาค เอเชีย 3. วิเคราะห์การกระจายของ ทรัพยากร ในโลกที่ส่งผลต่อ ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่าง ประเทศ การกระจายของทรัพยากรในโลกที่ส่งผลต่อ ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ เช่น น้ํามัน ปุาไม้ ทองคํา ถ่านหิน แร่ เป็น ต้น 4. วิเคราะห์การแข่งขันทางการค้า ในประเทศและต่างประเทศส่งผลต่อ คุณภาพสินค้า ปริมาณการผลิต และ ราคาสินค้า การแข่งขันทางการค้าในประเทศและ ต่างประเทศ ม.3 1. อธิบายบทบาทหน้าที่ของรัฐบาล ในระบบเศรษฐกิจ บทบาทหน้าที่ของรัฐบาลในการพัฒนา ประเทศในด้านต่าง ๆ บทบาทและกิจกรรมทางเศรษฐกิจของรัฐบาล เช่นการผลิตสินค้าและบริการสาธารณะที่ เอกชนไม่ดําเนินการ เช่นไฟฟูา ถนน โรงเรียน - บทบาทการเก็บภาษีเพื่อพัฒนาประเทศ ของรัฐในระดับต่าง ๆ - บทบาทการแทรกแซงราคาและ การควบคุมราคาเพื่อการแจกจ่ายและการ จัดสรรในทางเศรษฐกิจ บทบาทอื่นของรัฐบาลในระบบเศรษฐกิจใน สังคมไทย 2. แสดงความคิดเห็นต่อนโยบาย นโยบาย และกิจกรรมทางเศรษฐกิจของ
เอกสารประกอบหลักสูตรโรงเรียนขุนตาลวิทยาคม พุทธศักราช 2566 | 34 ชั้น ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง และกิจกรรมทาง เศรษฐกิจของ รัฐบาลที่มีต่อบุคคล กลุ่มคน และ ประเทศชาติ รัฐบาล 3. อภิปรายบทบาทความสําคัญของ การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจระหว่าง ประเทศ บทบาทความสําคัญของการรวมกลุ่มทาง เศรษฐกิจระหว่างประเทศ ลักษณะของการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ กลุ่มทางเศรษฐกิจในภูมิภาคต่างๆ 4. อภิปรายผลกระทบที่เกิดจากภาวะ เงินเฟูอ เงินฝืด ผลกระทบที่เกิดจากภาวะเงินเฟูอ เงินฝืด ความหมายสาเหตุและแนวทางแก้ไขภาวะเงิน เฟูอ เงินฝืด 5. วิเคราะห์ผลเสียจากการว่างงาน และแนวทางแก้ปัญหา สภาพและสาเหตุปัญหาการว่างงาน ผลกระทบจากปัญหาการว่างงาน แนวทางการแก้ไขปัญหาการว่างงาน 6. วิเคราะห์สาเหตุและวิธีการกีดกัน ทางการค้าในการค้าระหว่างประเทศ การค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ สาเหตุและวิธีการกีดกันทางการค้าในการค้า ระหว่างประเทศ ม.4–ม.6 1. อธิบายบทบาทของรัฐบาลด้าน นโยบายการเงิน การคลังในการ พัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ บทบาทของนโยบายการเงินและการคลังของ รัฐบาลในด้าน - การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ - การสร้างการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ - การรักษาดุลการค้าระหว่างประเทศ - การแทรกแซงราคาและการควบคุม ราคา รายรับและรายจ่ายของรัฐที่มีผลต่อ งบประมาณ หนี้สาธารณะ การพัฒนาทาง เศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตของประชาชน - นโยบายการเก็บภาษีประเภทต่าง ๆ และการใช้จ่ายของรัฐ - แนวทางการแก้ปัญหาการว่างงาน ความหมาย สาเหตุ และผลกระทบที่เกิดจาก ภาวะทางเศรษฐกิจ เช่น เงินเฟูอ เงินฝืด ตัวชี้วัดความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ เช่น GDP , GNP รายได้เฉลี่ยต่อบุคคล แนวทางการแก้ปัญหาของนโยบายการเงินการ คลัง 2. วิเคราะห์ผลกระทบของการเปิด เสรีทางเศรษฐกิจในยุคโลกาภิวัตน์ที่มี ผลต่อสังคมไทย วิวัฒนาการของการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจใน ยุคโลกาภิวัตน์ของไทย ปัจจัยทางเศรษฐกิจที่มีผลต่อการเปิดเสรีทาง เศรษฐกิจของประเทศ
เอกสารประกอบหลักสูตรโรงเรียนขุนตาลวิทยาคม พุทธศักราช 2566 | 35 ชั้น ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง ผลกระทบของการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจของ ประเทศที่มีต่อภาคการเกษตร ภาคอุตสาหกรรม ภาคการค้าและบริการ การค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ บทบาทขององค์กรระหว่างประเทศในเวที การเงินโลกที่มีผลกับประเทศไทย 3. วิเคราะห์ผลดี ผลเสียของความ ร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ในรูปแบบต่าง ๆ แนวคิดพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับการค้าระหว่าง ประเทศ บทบาทขององค์การความร่วมมือทาง เศรษฐกิจที่สําคัญในภูมิภาคต่าง ๆ ของโลก เช่น WTO , NAFTA , EU , IMF , ADB , OPEC , FTA , APECในระดับต่าง ๆ เขตสี่เหลี่ยม เศรษฐกิจ ปัจจัยต่าง ๆ ที่นําไปสู่การพึ่งพา การแข่งขัน การขัดแย้ง และการประสานประโยชน์ทาง เศรษฐกิจ ตัวอย่างเหตุการณ์ที่นําไปสู่การพึงพาทาง เศรษฐกิจ ผลกระทบจากการดําเนินกิจกรรมทาง เศรษฐกิจระหว่างประเทศ ปัจจัยต่าง ๆ ที่นําไปสู่การพึ่งพาการแข่งขัน การขัดแย้ง และการประสารประโยชน์ทาง เศรษฐกิจวิธีการกีดกันทางการค้าในการค้า ระหว่างประเทศ สาระที่ 4 ประวัติศาสตร์ มาตรฐาน ส 4.1 เข้าใจความหมาย ความสําคัญของเวลา และยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ สามารถใช้ วิธีการทางประวัติศาสตร์มาวิเคราะห์เหตุการณ์ต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ ชั้น ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง ม.1 1. วิเคราะห์ความสําคัญของเวลาใน การศึกษาประวัติศาสตร์ ตัวอย่างการใช้เวลา ช่วงเวลาและยุคสมัย ที่ปรากฏในเอกสารประวัติศาสตร์ไทย ความสําคัญของเวลา และช่วงเวลาสําหรับ การศึกษาประวัติศาสตร์ ความสัมพันธ์และความสําคัญของอดีตที่มีต่อ ปัจจุบันและอนาคต 2. เทียบศักราชตามระบบต่างๆที่ใช้ศึกษา ประวัติศาสตร์ ที่มาของศักราชที่ปรากฏในเอกสาร ประวัติศาสตร์ไทย ได้แก่ จ.ศ. / ม.ศ. /ร.ศ./
เอกสารประกอบหลักสูตรโรงเรียนขุนตาลวิทยาคม พุทธศักราช 2566 | 36 ชั้น ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง พ.ศ. / ค.ศ. และ ฮ.ศ. วิธีการเทียบศักราชต่างๆ และตัวอย่าง การเทียบ ตัวอย่างการใช้ศักราชต่าง ๆ ที่ปรากฏใน เอกสารประวัติศาสตร์ไทย 3. นําวิธีการทางประวัติศาสตร์มาใช้ศึกษา เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ ความหมายและความสําคัญของประวัติศาสตร์ และวิธีการทางประวัติศาสตร์ที่มีความ สัมพันธ์ เชื่อมโยงกัน ตัวอย่างหลักฐานในการศึกษาประวัติศาสตร์ ไทยสมัยสุโขทัย ทั้งหลักฐานชั้นต้น และ หลักฐานชั้นรอง ( เชื่อมโยงกับ มฐ.ส 4.3) เช่น ข้อความในศิลาจารึกสมัยสุโขทัย เป็นต้น นําวิธีการทางประวัติศาสตร์ไปใช้ศึกษา เรื่องราวของประวัติศาสตร์ไทยที่มีอยู่ใน ท้องถิ่นตนเองในสมัยใดก็ได้ (สมัยก่อน ประวัติศาสตร์ สมัยก่อนสุโขทัย สมัยสุโขทัย สมัยอยุธยา สมัยธนบุรี สมัยรัตนโกสินทร์ ) และเหตุการณ์สําคัญใน สมัยสุโขทัย ม.2 1. ประเมินความน่าเชื่อถือของหลักฐาน ทางประวัติศาสตร์ในลักษณะต่าง ๆ วิธีการประเมินความน่าเชื่อถือของหลักฐาน ทางประวัติศาสตร์ในลักษณะ ต่าง ๆ อย่าง ง่าย ๆ เช่น การศึกษาภูมิหลังของผู้ทํา หรือ ผู้เกี่ยวข้อง สาเหตุ ช่วงระยะเวลา รูปลักษณ์ ของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ เป็นต้น ตัวอย่างการประเมินความน่าเชื่อถือของ หลักฐานทางประวัติศาสตร์ไทยที่อยู่ในท้องถิ่น ของตนเอง หรือหลักฐาน สมัยอยุธยา ( เชื่อมโยงกับ มฐ. ส 4.3 ) 2. วิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างความจริง กับข้อเท็จจริงของเหตุการณ์ทาง ประวัติศาสตร์ ตัวอย่างการวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสารต่าง ๆ ในสมัยอยุธยา และธนบุรี ( เชื่อมโยงกับ มฐ. ส 4.3 ) เช่น ข้อความบางตอน ในพระราช พงศาวดารอยุธยา / จดหมายเหตุชาวต่างชาติ ตัวอย่างการตีความข้อมูลจากหลักฐานที่ แสดงเหตุการณ์สําคัญในสมัยอยุธยาและธนบุรี การแยกแยะระหว่างข้อมูลกับความคิดเห็น รวมทั้งความจริงกับข้อเท็จจริงจากหลักฐาน ทางประวัติศาสตร์ 3. เห็นความสําคัญของการตีความหลักฐาน ทางประวัติศาสตร์ที่น่าเชื่อถือ
เอกสารประกอบหลักสูตรโรงเรียนขุนตาลวิทยาคม พุทธศักราช 2566 | 37 ชั้น ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง ความสําคัญของการวิเคราะห์ข้อมูล และการ ตีความทางประวัติศาสตร์ ม.3 1. วิเคราะห์เรื่องราวเหตุการณ์สําคัญทาง ประวัติศาสตร์ได้อย่างมีเหตุผลตามวิธีการ ทางประวัติศาสตร์ ขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์สําหรับ การศึกษาเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่ เกิดขึ้นในท้องถิ่นตนเอง วิเคราะห์เหตุการณ์สําคัญในสมัย รัตนโกสินทร์ โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ นําวิธีการทางประวัติศาสตร์มาใช้ใน การศึกษาเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับตนเอง ครอบครัว และท้องถิ่นของตน 2. ใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ในการศึกษา เรื่องราวต่าง ๆ ที่ตนสนใจ ม.4 –ม. 6 1. ตระหนักถึงความสําคัญของเวลาและ ยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ที่แสดงถึงการ เปลี่ยนแปลงของมนุษยชาติ เวลาและยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ที่ปรากฏ ในหลักฐานทางประวัติศาสตร์ไทยและ ประวัติศาสตร์สากล ตัวอย่างเวลาและยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ ของสังคมมนุษย์ที่มีปรากฏในหลักฐานทาง ประวัติศาสตร์ (เชื่อมโยงกับ มฐ. ส 4.3) ความสําคัญของเวลาและยุคสมัยทาง ประวัติศาสตร์ 2. สร้างองค์ความรู้ใหม่ทางประวัติศาสตร์ โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์อย่างเป็น ระบบ ขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์ โดย นําเสนอตัวอย่างทีละขั้นตอนอย่างชัดเจน คุณค่าและประโยชน์ของวิธีการทาง ประวัติศาสตร์ที่มีต่อการศึกษาทาง ประวัติศาสตร์ ผลการศึกษาหรือโครงงานทาง ประวัติศาสตร์ สาระที่ 4 ประวัติศาสตร์ มาตรฐาน ส 4.2 เข้าใจพัฒนาการของมนุษยชาติจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ในด้านความสัมพันธ์และ การเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์อย่างต่อเนื่อง ตระหนักถึงความสําคัญและสามารถ วิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดขึ้น ชั้น ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง ม.1 1. อธิบายพัฒนาการทางสังคม เศรษฐกิจและการเมืองของ ประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ ที่ตั้งและสภาพทางภูมิศาสตร์ของประเทศต่าง ๆ ใน ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มีผลต่อพัฒนาการ ทางด้านต่างๆ พัฒนาการทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองของ ประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 2. ระบุความสําคัญของแหล่งอารย ที่ตั้งและความสําคัญของแหล่งอารยธรรมในภูมิภาค
เอกสารประกอบหลักสูตรโรงเรียนขุนตาลวิทยาคม พุทธศักราช 2566 | 38 ชั้น ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง ธรรมในภูมิภาคเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่นแหล่งมรดกโลกในประเทศ ต่าง ๆของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อิทธิพลของอารยธรรมโบราณในดินแดนไทยที่มีต่อ พัฒนาการของสังคมไทยในปัจจุบัน ม.2 1. อธิบายพัฒนาการทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองของ ภูมิภาคเอเชีย ที่ตั้งและสภาพทางภูมิศาสตร์ของภูมิภาคต่างๆในทวีป เอเชีย (ยกเว้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้) ที่มีผลต่อ พัฒนาการโดยสังเขป พัฒนาการทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองของ ภูมิภาคเอเชีย (ยกเว้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้) 2. ระบุความสําคัญของแหล่งอารย ธรรมโบราณในภูมิภาคเอเชีย ที่ตั้งและความสําคัญของแหล่งอารยธรรมโบราณใน ภูมิภาคเอเชีย เช่น แหล่งมรดกโลกในประเทศต่างๆ ใน ภูมิภาคเอเชีย อิทธิพลของอารยธรรมโบราณที่มีต่อภูมิภาคเอเชียใน ปัจจุบัน ม.3 1. อธิบายพัฒนาการทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองของ ภูมิภาคต่างๆ ในโลกโดยสังเขป ที่ตั้งและสภาพทางภูมิศาสตร์ของภูมิภาคต่างๆของโลก (ยกเว้นเอเชีย) ที่มีผลต่อพัฒนาการโดยสังเขป พัฒนาการทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองของภูมิภาค ต่างๆของโลก (ยกเว้นเอเชีย)โดยสังเขป อิทธิพลของอารยธรรมตะวันตกที่มีผลต่อพัฒนาการและ การเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก ความร่วมมือและความขัดแย้งในคริสต์ศตวรรษที่ 20 เช่น สงครามโลกครั้งที่ 1 ครั้งที่ 2 องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศ 2. วิเคราะห์ผลของการ เปลี่ยนแปลงที่นําไปสู่ความร่วมมือ และความขัดแย้ง ใน คริสต์ศตวรรษที่ 20 ตลอดจน ความพยายามในการขจัดปัญหา ความขัดแย้ง ม.4-ม.6 1.วิเคราะห์อิทธิพลของอารย ธรรรมโบราณ และการติดต่อ ระหว่างโลกตะวันออกกับโลก ตะวันตกที่มีผลต่อพัฒนาการและ การเปลี่ยนแปลงของโลก2. วิเคราะห์เหตุการณ์สําคัญต่างๆที่ ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทาง สังคม เศรษฐกิจและการเมือง เข้า สู่โลกสมัยปัจจุบัน อารยธรรมของโลกยุคโบราณ ได้แก่ อารยธรรมลุ่มแม่น้ํา ไทกรีส-ยูเฟรตีส ไนล์ ฮวงโห สินธุ และอารยธรรมกรีกโรมัน การติดต่อระหว่างโลกตะวันออกกับโลกตะวันตก และ อิทธิพลทางวัฒนธรรมที่มีต่อกันและกัน เหตุการณ์สําคัญต่างๆที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของ โลกในปัจจุบัน เช่นระบอบฟิวดัส การฟื้นฟู ศิลป วิทยาการสงครามครูเสด การสํารวจทางทะเล การ ปฏิรูปศาสนา การปฏิวัติทาง 3. วิเคราะห์ผลกระทบของการ วิทยาศาสตร์ การปฏิวัติอุตสาหกรรม จักรวรรดินิยม
เอกสารประกอบหลักสูตรโรงเรียนขุนตาลวิทยาคม พุทธศักราช 2566 | 39 ชั้น ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง ขยายอิทธิพลของประเทศใน ยุโรปไปยังทวีปอเมริกา แอฟริกา และเอเชีย 4. วิเคราะห์สถานการณ์ของโลก ในคริสต์ศตวรรษที่ 21 ลัทธิชาตินิยม เป็นต้น ความร่วมมือ และความขัดแย้งของมนุษยชาติในโลก สถานการณ์สําคัญของโลกในคริสต์ศตวรรษที่ 21 เช่น - เหตุการณ์ 11 กันยายน 2001 (Nine Eleven) - การขาดแคลนทรัพยากร - การก่อการร้าย - ความขัดแย้งทางศาสนา ฯลฯ สาระที่ 4 ประวัติศาสตร์ มาตรฐาน ส 4.3 เข้าใจความเป็นมาของชาติไทย วัฒนธรรม ภูมิปัญญาไทย มีความรัก ความภูมิใจและ ธํารงความเป็นไทย ชั้น ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง ม.1 1. อธิบายเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ สมัยก่อนสุโขทัยในดินแดนไทย โดยสังเขป สมัยก่อนประวัติศาสตร์ในดินแดนไทย โดยสังเขป รัฐโบราณในดินแดนไทย เช่น ศรีวิชัยตามพร ลิงค์ ทวารวดี เป็นต้น รัฐไทย ในดินแดนไทย เช่น ล้านนา นครศรีธรรมราช สุพรรณภูมิ เป็นต้น การสถาปนาอาณาจักรสุโขทัย และปัจจัยที่ เกี่ยวข้อง (ปัจจัยภายในและ ปัจจัยภายนอก ) พัฒนาการของอาณาจักรสุโขทัย ในด้าน การเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ สังคม และ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ วัฒนธรรมสมัยสุโขทัย เช่น ภาษาไทย วรรณกรรม ประเพณีสําคัญ ศิลปกรรมไทย ภูมิปัญญาไทยในสมัยสุโขทัย เช่น การชลประทาน เครื่องสังคมโลก ความเสื่อมของอาณาจักรสุโขทัย 2. วิเคราะห์พัฒนาการของอาณาจักร สุโขทัยในด้านต่าง ๆ 3. วิเคราะห์อิทธิพลของวัฒนธรรม และ ภูมิปัญญาไทยสมัยสุโขทัยและสังคมไทย ในปัจจุบัน ม.2 1. วิเคราะห์พัฒนาการของอาณาจักร อยุธยา และธนบุรีในด้านต่างๆ การสถาปนาอาณาจักรอยุธยา ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเจริญรุ่งเรืองของ อาณาจักรอยุธยา พัฒนาการของอาณาจักรอยุธยาในด้าน การเมืองการปกครอง สังคม เศรษฐกิจ และ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 1 และการกู้เอก ราช ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยอยุธยา เช่น 2. วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความ มั่นคงและความเจริญรุ่งเรืองของ อาณาจักรอยุธยา 3. ระบุภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทย สมัยอยุธยาและธนบุรี และอิทธิพลของ ภูมิปัญญาดังกล่าว ต่อการพัฒนาชาติ ไทยในยุคต่อมา
เอกสารประกอบหลักสูตรโรงเรียนขุนตาลวิทยาคม พุทธศักราช 2566 | 40 ชั้น ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง การควบคุมกําลังคน และศิลปวัฒนธรรม การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 การกู้เอกราช และการสถาปนาอาณาจักรธนบุรี ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยธนบุรี วีรกรรมของบรรพบุรุษไทย ผลงานของบุคคล สําคัญของไทยและต่างชาติที่มีส่วนสร้างสรรค์ ชาติไทย ม.3 1. วิเคราะห์พัฒนาการของไทย สมัยรัตนโกสินทร์ในด้านต่างๆ การสถาปนากรุงเทพมหานครเป็นราชธานี ของไทย ปัจจัยที่ส่งผลต่อความมั่นคงและ ความเจริญรุ่งเรืองของไทยในสมัย รัตนโกสินทร์ บทบาทของพระมหากษัตริย์ไทยในราชวงศ์ จักรีในการสร้างสรรค์ความเจริญและความ มั่นคงของชาติ พัฒนาการของไทยในสมัยรัตนโกสินทร์ ทางด้านการเมือง การปกครอง สังคม เศรษฐกิจ และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ตามช่วงสมัยต่างๆ เหตุการณ์สําคัญสมัยรัตนโกสินทร์ที่มี ผลต่อการพัฒนาชาติไทย เช่น การทํา สนธิสัญญาเบาว์ริงในสมัยรัชกาลที่ 4 การ ปฏิรูปประเทศในสมัยรัชกาลที่ 5 การเข้าร่วม สงครามโลกครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 โดย วิเคราะห์สาเหตุปัจจัย และผลของเหตุการณ์ ต่าง ๆ ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยในสมัย รัตนโกสินทร์ บทบาทของไทยตั้งแต่เปลี่ยนแปลง การปกครองจนถึงปัจจุบันในสังคมโลก 2. วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความ มั่นคงและความเจริญรุ่งเรืองของไทย ในสมัยรัตนโกสินทร์ 3.วิเคราะห์ภูมิปัญญาและวัฒนธรรม ไทยสมัยรัตนโกสินทร์ และอิทธิพลต่อ การพัฒนาชาติไทย 4.วิเคราะห์บทบาทของไทยในสมัย ประชาธิปไตย ม.4 – ม.6 1.วิเคราะห์ประเด็นสําคัญของ ประวัติศาสตร์ไทย ประเด็นสําคัญของประวัติศาสตร์ไทย เช่น แนวคิดเกี่ยวกับความเป็นมาของชาติไทย อาณาจักรโบราณในดินแดนไทย และอิทธิพล ที่มีต่อสังคมไทย ปัจจัยที่มีผลต่อการสถาปนา อาณาจักรไทยในช่วงเวลาต่างๆ สาเหตุและ ผลของการปฏิรูป ฯลฯ 2. วิเคราะห์ความสําคัญของสถาบัน พระมหากษัตริย์ต่อชาติไทย 3. วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งเสริมความ สร้างสรรค์ภูมิปัญญาไทย และ
เอกสารประกอบหลักสูตรโรงเรียนขุนตาลวิทยาคม พุทธศักราช 2566 | 41 ชั้น ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง วัฒนธรรมไทย ซึ่งมีผลต่อสังคมไทยใน ยุคปัจจุบัน บทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย์ในการ พัฒนาชาติไทยในด้านต่างๆ เช่น การปูองกัน และรักษาเอกราชของชาติ การสร้างสรรค์ วัฒนธรรมไทย อิทธิพลของวัฒนธรรมตะวันตก และ ตะวันออกที่มีต่อสังคมไทย ผลงานของบุคคลสําคัญทั้งชาวไทยและ ต่างประเทศ ที่มีส่วนสร้างสรรค์ วัฒนธรรม ไทย และประวัติศาสตร์ไทย ปัจจัยที่ส่งเสริมความสร้างสรรค์ภูมิปัญญา ไทย และวัฒนธรรมไทย ซึ่งมีผลต่อสังคมไทย ในยุคปัจจุบัน 4. วิเคราะห์ผลงานของบุคคลสําคัญทั้ง ชาวไทยและต่างประเทศ ที่มีส่วน สร้างสรรค์วัฒนธรรมไทย และ ประวัติศาสตร์ไทย 5. วางแผนกําหนดแนวทางและการมี ส่วนร่วมการอนุรักษ์ภูมิปัญญาไทยและ วัฒนธรรมไทย สภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการสร้างสรรค์ภูมิ ปัญญาและวัฒนธรรมไทย วิถีชีวิตของคนไทยในสมัยต่างๆ การสืบทอดและเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรม ไทย แนวทางการอนุรักษ์ภูมิปัญญาและวัฒนธรรม ไทยและการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ วิธีการมีส่วนร่วมอนุรักษ์ภูมิปัญญาและ วัฒนธรรมไทย สาระที่ 5 ภูมิศาสตร์ มาตรฐาน ส 5.1 เข้าใจลักษณะของโลกทางกายภาพ และความสัมพันธ์ของสรรพสิ่งซึ่งมีผล ต่อกันและ กันในระบบของธรรมชาติ ใช้แผนที่และเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ ในการค้นหา วิเคราะห์ สรุป และใช้ข้อมูลภูมิสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ ชั้น ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง ม.1 1. วิเคราะห์ลักษณะทางกายภาพของ ทวีปเอเชีย ทวีปออสเตรเลีย และโอเชีย เนีย โดยใช้เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ สืบค้นข้อมูล ลักษณะทางกายภาพ ของทวีปเอเชีย ทวีปออสเตรเลีย และโอเชียเนีย 2. อธิบายพิกัดภูมิศาสตร์ (ละติจูด และ ลองจิจูด) เส้นแบ่งเวลาและเปรียบเทียบ วัน เวลาของ โลก พิกัดภูมิศาสตร์ (ละติจูด และลองจิจูด) เส้นแบ่งเวลา เปรียบเทียบวัน เวลาของโลก 3. วิเคราะห์สาเหตุการเกิดภัยพิบัติของ ทวีปเอเชีย ทวีปออสเตรเลียและโอเชียเนีย ภัยพิบัติของทวีปเอเชีย ทวีปออสเตรเลีย และโอเชียเนีย
เอกสารประกอบหลักสูตรโรงเรียนขุนตาลวิทยาคม พุทธศักราช 2566 | 42 ม.2 1. วิเคราะห์ลักษณะทางกายภาพของ ทวีปยุโรป และทวีปแอฟริกา โดยใช้ เครื่องมือทาง ภูมิศาสตร์สืบค้นข้อมูล ลักษณะทางกายภาพของทวีปยุโรป และ ทวีปแอฟริกา 2. อธิบายมาตราส่วน ทิศ และ สัญลักษณ์ มาตราส่วน ทิศ และสัญลักษณ์ 3. วิเคราะห์สาเหตุการเกิดภัยพิบัติของ ทวีปยุโรป และทวีปแอฟริกา ภัยพิบัติของทวีปยุโรป และทวีปแอฟริกา ชั้น ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง ม.3 1. วิเคราะห์ลักษณะทางกายภาพของ ทวีปอเมริกา เหนือ และทวีปอเมริกาใต้ โดยเลือกใช้แผนที่ เฉพาะเรื่องและ เครื่องมือทางภูมิศาสตร์สืบค้น ข้อมูล ลักษณะทางกายภาพของทวีปอเมริกา เหนือ และทวีปอเมริกาใต้ การเลือกใช้แผนที่เฉพาะเรื่องและ เครื่องมือทางภูมิศาสตร์สืบค้นข้อมูล 2. วิเคราะห์สาเหตุการเกิดภัยพิบัติของ ทวีป อเมริกาเหนือ และทวีปอเมริกาใต้ ภัยพิบัติของทวีปอเมริกาเหนือ และ ทวีปอเมริกาใต้ ม.4 – ม.6 1. วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงทาง กายภาพของพื้นที่ใน ประเทศไทยและ ภูมิภาคต่างๆ ของโลก ซึ่งได้รับ อิทธิพล จากปัจจัยทางภูมิศาสตร์ การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ (ประกอบด้วย 1. ธรณีภาค 2. บรรยากาศภาค 3. อุทกภาค 4. ชีวภาค) ของพื้นที่ในประเทศไทย และภูมิภาค ต่างๆ ของโลก ซึ่งได้รับ อิทธิพลจาก ปัจจัย ทางภูมิศาสตร์ ความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนแปลงทาง กายภาพที่ส่งผลต่อภูมิประเทศ ภูมิอากาศ และทรัพยากรธรรมชาติ 2. วิเคราะห์ลักษณะทางกายภาพซึ่งทํา ให้เกิดปัญหา หรือภัยพิบัติทางธรรมชาติ ในประเทศไทยและ ภูมิภาคต่างๆ ของ โลก ปัญหาทางกายภาพหรือภัยพิบัติทาง ธรรมชาติในประเทศและภูมิภาค ต่างๆ ของโลก 3. ใช้แผนที่และเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ ในการค้นหา วิเคราะห์ และสรุปข้อมูล ตามกระบวนการทาง ภูมิศาสตร์และนํา ภูมิสารสนเทศมาใช้ประโยชน์ใน ชีวิตประจําวัน แผนที่และองค์ประกอบ การอ่านแผนที่เฉพาะเรื่อง การแปลความหมายรูปถ่ายทางอากาศ และภาพจากดาวเทียม การนําภูมิสารสนเทศไปใช้ใน ชีวิตประจําวัน
เอกสารประกอบหลักสูตรโรงเรียนขุนตาลวิทยาคม พุทธศักราช 2566 | 43 สาระที่ 5 ภูมิศาสตร์ มาตรฐาน ส 5.2 เข้าใจปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่ก่อให้เกิดการ สร้างสรรค์วิถีการดําเนินชีวิต มีจิตสํานึก และมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากร และสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ชั้น ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง ม.1 1. สํารวจและระบุทําเลที่ตั้งของกิจกรรม ทางเศรษฐกิจ และสังคมในทวีปเอเชีย ทวีปออสเตรเลีย และโอ เชียเนีย ทําเลที่ตั้งของกิจกรรมทางเศรษฐกิจและ สังคมในทวีปเอเชีย ทวีปออสเตรเลีย และ โอเชียเนีย 2. วิเคราะห์ปัจจัยทางกายภาพและ ปัจจัยทางสังคมที่มีผลต่อทําเลที่ตั้งของ กิจกรรมทางเศรษฐกิจและ สังคมในทวีป เอเชีย ทวีปออสเตรเลีย และโอเชียเนีย การเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง ทางประชากร สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ สังคมและ วัฒนธรรมในทวีปเอเชีย ทวีปออสเตรเลีย และโอเชียเนีย 3. สืบค้น อภิปรายประเด็นปัญหาจาก ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมทาง กายภาพกับมนุษย์ที่ เกิดขึ้นในทวีป เอเชีย ทวีปออสเตรเลีย และโอเชีย เนีย ประเด็นปัญหาจากปฏิสัมพันธ์ระหว่าง สภาพแวดล้อมทางกายภาพกับมนุษย์ที่ เกิดขึ้นในทวีปเอเชีย ทวีปออสเตรเลีย และ โอเชียเนีย 4. วิเคราะห์แนวทางการจัดการภัยพิบัติ และการ จัดการทรัพยากรและ สิ่งแวดล้อมในทวีปเอเชีย ทวีป ออสเตรเลีย และโอเชียเนีย อย่างยั่งยืน แนวทางการจัดการภัยพิบัติและการ จัดการการจัดการทรัพยากรและ สิ่งแวดล้อมในทวีปเอเชีย ทวีป ออสเตรเลีย และโอเชียเนีย อย่างยั่งยืน ม.2 1. สํารวจและระบุทําเลที่ตั้งของกิจกรรม ทางเศรษฐกิจ และสังคมในทวีปยุโรป และทวีปแอฟริกา ทําเลที่ตั้งของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ และ สังคมในทวีปยุโรป และทวีป แอฟริกา 2. วิเคราะห์ปัจจัยทางกายภาพและปัจจัย ทางสังคมที่มีผลต่อท าเลที่ตั้งของ กิจกรรมทางเศรษฐกิจและ สังคมในทวีป ยุโรป และทวีปแอฟริกา การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทาง ประชากร สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ สังคม และ วัฒนธรรมในทวีปยุโรป และทวีป แอฟริกา 3. สืบค้น อภิปรายประเด็นปัญหาจาก ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมทาง กายภาพกับมนุษย์ที่ เกิดขึ้นในทวีปยุโรป และทวีปแอฟริกา ประเด็นปัญหาจากปฏิสัมพันธ์ระหว่าง สภาพแวดล้อมทางกายภาพกับมนุษย์ที่ เกิดขึ้นในทวีปยุโรป และทวีปแอฟริกา 4. วิเคราะห์แนวทางการจัดการภัยพิบัติ และการจัดการ ทรัพยากรและ สิ่งแวดล้อมในทวีปยุโรป และทวีป แอฟริกา อย่างยั่งยืน แนวทางการจัดการภัยพิบัติและ การ จัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ในทวีป ยุโรป และทวีปแอฟริกา อย่างยั่งยืน
เอกสารประกอบหลักสูตรโรงเรียนขุนตาลวิทยาคม พุทธศักราช 2566 | 44 ชั้น ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง ม.3 1. สํารวจและระบุทําเลที่ตั้งของกิจกรรม ทางเศรษฐกิจ และสังคมในทวีปอเมริกา เหนือ และทวีปอเมริกาใต้ ทําเลที่ตั้งของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ และ สังคมในทวีปอเมริกาเหนือ และ ทวีป อเมริกาใต้ 2. วิเคราะห์ปัจจัยทางกายภาพและ ปัจจัยทางสังคมที่มีผลต่อทําเลที่ตั้งของ กิจกรรมทางเศรษฐกิจและ สังคมในทวีป อเมริกาเหนือ และทวีปอเมริกาใต้ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทาง ประชากร สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ สังคม และ วัฒนธรรมทวีปอเมริกาเหนือ และ ทวีป อเมริกาใต้ 3. สืบค้น อภิปรายประเด็นปัญหาจาก ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมทาง กายภาพกับมนุษย์ที่ เกิดขึ้นในทวีป อเมริกาเหนือ และทวีปอเมริกาใต้ ประเด็นปัญหาจากปฏิสัมพันธ์ระหว่าง สภาพแวดล้อมทางกายภาพกับมนุษย์ที่ เกิดขึ้นในทวีปอเมริกาเหนือ และทวีป อเมริกาใต้ 4. วิเคราะห์แนวทางการจัดการภัยพิบัติ และการจัดการ ทรัพยากรและ สิ่งแวดล้อมในทวีปอเมริกาเหนือ และ ทวีปอเมริกาใต้ อย่างยั่งยืน แนวทางการจัดการภัยพิบัติและการ จัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมใน ทวีป อเมริกาเหนือ และทวีปอเมริกาใต้อย่าง ยั่งยืน 5. ระบุความร่วมมือระหว่างประเทศที่มี ผลต่อการ จัดการทรัพยากรและ สิ่งแวดล้อม เปูาหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของโลก ความร่วมมือระหว่างประเทศที่มีผลต่อ การจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ม.4 –ม.6 1.วิเคราะห์ปฏิสัมพันธ์ระหว่าง สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ กับกิจกรรม ของมนุษย์ในการสร้างสรรค์วิถีการ ดําเนินชีวิตของท้องถิ่น ทั้งในประเทศ ไทยและ ภูมิภาคต่างๆ ของโลกและเห็น ความสําคัญของ สิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อ การดํารงชีวิตของมนุษย์ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมทาง กายภาพกับกิจกรรมของมนุษย์ภายใต้ กระแสโลกาภิวัฒน์ ได้แก่ - ประชากรและการตั้งถิ่นฐาน (การ กระจายและการเปลี่ยนแปลง ประชากร ชุมชนเมืองและชนบท และการ กลายเป็นเมือง - ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อม ทาง กายภาพกับวิถีชีวิต - การกระจายตัวของกิจกรรม ทาง เศรษฐกิจ (เกษตรกรรม อุตสาหกรรม การผลิต การบริการ และการ ท่องเที่ยว)
เอกสารประกอบหลักสูตรโรงเรียนขุนตาลวิทยาคม พุทธศักราช 2566 | 45 ชั้น ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง 2. วิเคราะห์สถานการณ์ สาเหตุ และ ผลกระทบของ การเปลี่ยนแปลง ด้าน ทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมของ ประเทศไทยและภูมิภาคต่างๆ ของ โลก สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงด้าน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความ เสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม ความ หลากหลาย ทางชีวภาพ และภัยพิบัติ สาเหตุ และผลกระทบของการ เปลี่ยนแปลงด้านทรัพยากร ธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมของประเทศไทยและ ภูมิภาค ต่างๆ ของโลก การจัดการภัยพิบัติ 3. ระบุมาตรการปูองกันและแก้ไขปัญหา กฎหมายและ นโยบายด้าน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม บทบาทขององค์การที่เกี่ยวข้อง และการ ประสาน ความร่วมมือทั้งในประเทศและ ระหว่างประเทศ มาตรการปูองกันและแก้ไขปัญหา ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ใน ประเทศและระหว่างประเทศ ตามแนวทาง การพัฒนาที่ยั่งยืน ความมั่นคงของมนุษย์ และการบริโภค อย่างรับผิดชอบ กฎหมายและนโยบายด้าน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งใน ประเทศและระหว่างประเทศ บทบาทขององค์การ และการประสาน ความร่วมมือทั้งในประเทศและระหว่าง ประเทศ 4. วิเคราะห์แนวทางและมีส่วนร่วมใน การจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนา ที่ยั่งยืน แนวทางการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม การมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาและการ ดําเนินชีวิตตามแนวทาง การจัดการ ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม เพื่อการพัฒนา ที่ยั่งยืน
เอกสารประกอบหลักสูตรโรงเรียนขุนตาลวิทยาคม พุทธศักราช 2566 | 46 โครงสร้างหลักสูตรกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม โครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ระดับชั้น/ ภาคเรียนที่ รหัสวิชา / ชื่อรายวิชา เวลาเรียน รายวิชาพื้นฐาน หน่วยกิต/ชม. ม. 1/1 ส 21101 สังคมศึกษา 1 1.5 / 60 ม. 1/1 ส 21102 ประวัติศาสตร์1 0.5 / 20 ม. 1/2 ส 21103 สังคมศึกษา 2 1.5 / 60 ม. 1/2 ส 21104 ประวัติศาสตร์ 2 0.5 / 20 ม. 2/1 ส 22101 สังคมศึกษา 3 1.5 / 60 ม. 2/1 ส 22102 ประวัติศาสตร์ 3 0.5 / 20 ม. 2/2 ส 22103 สังคมศึกษา 4 1.5 / 60 ม. 2/2 ส 22104 ประวัติศาสตร์ 4 0.5 / 20 ม. 3/1 ส 23101 สังคมศึกษา 5 1.5 / 60 ม. 3/1 ส 23102 ประวัติศาสตร์ 5 0.5 / 20 ม. 3/2 ส 23103 สังคมศึกษา 6 1.5 / 60 ม. 3/2 ส 23104 ประวัติศาสตร์ 6 0.5 / 20 รายวิชาเพิ่มเติม ม.ต้น ส 20237 ท้องถิ่นของเรา 1 0.5 / 20 ม.ต้น IS 1 1.0 / 40 ม.ต้น IS 2 1.0 / 40 ม.ต้น IS 3 1.0 / 40