The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

แผนการจัดการเรียนรู้ เทอม 1 ม.2

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by สุทธิราช วงศ์คำ, 2024-01-30 05:17:18

แผนการจัดการเรียนรู้ เทอม 1 ม.2

แผนการจัดการเรียนรู้ เทอม 1 ม.2

มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด สาระที่ 2 วิทยาศาสตร์กายภาพ มาตรฐาน ว 2.1 เข้าใจสมบัติของสสาร องค์ประกอบของสสาร ความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของสสารกับ โครงสร้างและแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค หลักและธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลงสถานะของสสาร การเกิดสารละลายและการเกิดปฏิกิริยาเคมี ตัวชี้วัด 1. ม.2/4 ออกแบบการทดลองและทดลองในการอธิบายผลของชนิดตัวละลาย ชนิดตัวทำละลาย อุณหภูมิที่มีต่อสภาพละลายได้ของสาร รวมทั้งอธิบายผลของความดันที่มีต่อสภาพละลายได้ของสารโดยใช้สารสนเทศ 2. ม.2/5 ระบุปริมาณตัวละลายในสารละลายในหน่วยความเข้มข้นเป็นร้อยละ ปริมาตรต่อปริมาตร มวลต่อมวล และมวลต่อปริมาตร 3. ม.2/6 ตระหนักถึงความสำคัญของการนำความรู้เรื่องความเข้มข้นของสารไปใช้ โดยยกตัวอย่าง การใช้สารละลายในชีวิตประจำวันอย่างถูกต้องและปลอดภัย สาระที่ 1 วิทยาศาสตร์ชีวภาพ มาตรฐาน ว 1.2 เข้าใจสมบัติของสิ่งมีชีวิต หน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต การลำเลียงสารเข้าและออกจากเซลล์ ความสัมพันธ์ของโครงสร้างและหน้าที่ของระบบต่าง ๆ ของสัตว์และมนุษย์ที่ทำงานสัมพันธ์กัน สัมพันธ์ของโครงสร้าง และหน้าที่ของอวัยวะต่างๆ ของพืชที่ทำงานสัมพันธ์กัน รวมทั้งนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ ตัวชี้วัด 4. ม.2/1 ระบุอวัยวะและบรรยายหน้าที่ของอวัยวะที่เกี่ยวข้องในระบบหายใจ 5. ม.2/2 อธิบายกลไกการหายใจเข้าและออก โดยใช้แบบจำลอง รวมทั้งอธิบายกระบวนการ แลกเปลี่ยนแก๊ส 6. ม.2/3 ตระหนักถึงความสำคัญของระบบหายใจ โดยการบอกแนวทางในการดูแลรักษาอวัยวะใน ระบบหายใจให้ทำงานเป็นปกติ 7. ม.2/4 ระบุอวัยวะและบรรยายหน้าที่ของอวัยวะในระบบขับถ่ายในการกำจัดของเสียทางไต 8. ม.2/5 ตระหนักถึงความสำคัญของระบบขับถ่ายในการกำจัดของเสียทางไต โดยการบอกแนวทาง ในการปฏิบัติตนที่ช่วยให้ระบบขับถ่ายทำหน้าที่ได้อย่างปกติ


9. ม.2/6 บรรยายโครงสร้างและหน้าที่ของหัวใจ หลอดเลือด และเลือด 10. ม.2/7 อธิบายการทำงานของระบบหมุนเวียนเลือด โดยใช้แบบจำลอง 11. ม.2/8 ออกแบบการทดลองและทดลอง ในการเปรียบเทียบอัตราการเต้นของหัวใจขณะปกติและ หลังทำกิจกรรม 12. ม.2/9 ตระหนักถึงความสำคัญของระบบหมุนเวียนเลือด โดยการบอกแนวทางในการดูแลรักษา อวัยวะในระบบหมุนเวียนเลือดให้ทำงานเป็นปกติ 13. ม.2/10 ระบุอวัยวะและบรรยายหน้าที่ของอวัยวะในระบบประสาทส่วนกลาง ในการควบคุมการ ทำงานต่าง ๆ ของร่างกาย 14. ม.2/11 ตระหนักถึงความสำคัญของระบบประสาท โดยการบอกแนวทางในการดูแลรักษา รวมถึงการป้องกันการกระทบกระเทือนและอันตรายต่อสมองและไขสันหลัง 15. ม.2/12 ระบุอวัยวะและบรรยายหน้าที่ของอวัยวะในระบบสืบพันธุ์ของเพศชายและเพศหญิง โดย ใช้แบบจำลอง 16. ม.2/13 อธิบายผลของฮอร์โมนเพศชายและเพศหญิงที่ควบคุมการเปลี่ยนแปลงของร่างกายเมื่อ เข้าสู่วัยหนุ่มสาว 17. ม.2/14 ตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงของร่างกายเมื่อเข้าสู่วัยหนุ่มสาวโดยการดูแลรักษาร่างกาย และจิตใจของตนเองในช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลง 18. ม.2/15 อธิบายการตกไข่ การมีประจำเดือน การปฏิสนธิ และการพัฒนาของไซโกต จนคลอดเป็น ทารก 19. ม.2/16 เลือกวิธีการคุมกำเนิดที่เหมาะสมกับสถานการณ์ที่กำหนด 20. ม.2/17 ตระหนักถึงผลกระทบของการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร โดยการประพฤติตนให้เหมาะสม สาระที่ 2 วิทยาศาสตร์กายภาพ มาตรฐาน ว 2.2 เข้าใจธรรมชาติของแรงในชีวิตประจำวัน ผลของแรงที่กระทำต่อวัตถุ ลักษณะการเคลื่อนที่ แบบต่าง ๆ ของวัตถุ รวมทั้งนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ ตัวชี้วัด 21. ม.2/14 อธิบายและคำนวณอัตราเร็วและความเร็วของการเคลื่อนที่ของวัตถุโดยใช้สมการ จากหลักฐานเชิงประจักษ์


22. ม.2/15 เขียนแผนภาพแสดงการกระจัดและความเร็ว 23. ม.2/1 พยากรณ์การเคลื่อนที่ของวัตถุที่เป็นผลของแรงลัพธ์ที่เกิดจากแรงหลายแรงที่กระทำต่อ วัตถุในแนวเดียวกันจากหลักฐานเชิงประจักษ์ 24. ม.2/2 เขียนแผนภาพแสดงแรงและแรงลัพธ์ที่เกิดจากแรงหลายแรงที่กระทำต่อวัตถุในแนว เดียวกัน 25. ม.2/3 ออกแบบการทดลองและทดลองด้วยวิธีที่เหมาะสมในการอธิบายปัจจัยที่มีผลต่อความดัน ของของเหลว 26. ม.2/4 วิเคราะห์แรงพยุงและการจม การลอยของวัตถุในของเหลวจากหลักฐานเชิงประจักษ์ 27. ม.2/5 เขียนแผนภาพแสดงแรงที่กระทำต่อวัตถุในของเหลว 28. ม.2/6 อธิบายแรงเสียดทานสถิตและแรงเสียดทานจลน์จากหลักฐานเชิงประจักษ์ 29. ม.2/7 ออกแบบการทดลองและทดลองด้วยวิธีที่เหมาะสมในการอธิบายปัจจัยที่มีผลต่อขนาดของ แรงเสียดทาน 30. ม.2/8 เขียนแผนภาพแสดงแรงเสียดทานและแรงอื่นๆ ที่กระทำต่อวัตถุ 31. ม.2/9 ตระหนักถึงประโยชน์ของความรู้เรื่องแรงเสียดทานโดยวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาและ เสนอแนะวิธีการลดหรือเพิ่มแรงเสียดทานที่เป็นประโยชน์ต่อการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน 32. ม.2/10 ออกแบบการทดลองและทดลองด้วยวิธีที่เหมาะสมในการอธิบายโมเมนต์ของแรงเมื่อวัตถุ อยู่ในสภาพสมดุลต่อการหมุนและคำนวณโดยใช้สมการ M = Fl 33. ม.2/11 เปรียบเทียบแหล่งของสนามแม่เหล็ก สนามไฟฟ้า และสนามโน้มถ่วง และทิศทางของ แรงที่กระทำต่อวัตถุที่อยู่ในแต่ละสนามจากข้อมูลที่รวบรวมได้ 34. ม.2/12 เขียนแผนภาพแสดงแรงแม่เหล็ก แรงไฟฟ้าและแรงโน้มถ่วงที่กระทำต่อวัตถุ 35. ม.2/13 วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างขนาดของแรงแม่เหล็ก แรงไฟฟ้าและแรงโน้มถ่วงที่กระทำ ต่อวัตถุที่อยู่ในสนามนั้นๆ กับระยะห่างจากแหล่งของสนามถึงวัตถุจากข้อมูลที่รวบรวมได้


แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 (รายวิชาพื้นฐาน) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 รหัสวิชา ว22101 รายวิชาวิทยาศาสตร์3 หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง สารละลาย จำนวน 13 ชั่วโมง เรื่องชนิดของสารละลายและการนำไปใช้ประโยชน์ จำนวน 2 ชั่วโมง สอนโดย นายสุทธิราช วงศ์คำ สาระที่ 2 วิทยาศาสตร์กายภาพ 1.มาตรฐาน ว 2.1 เข้าใจสมบัติของสสาร องค์ประกอบของสสาร ความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของสสารกับโครงสร้างและ แรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค หลักและธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลงสถานะของสสาร การเกิดสารละลาย และการ เกิดปฏิกิริยาเคมี 2.ตัวชี้วัด ม.2/4 ออกแบบการทดลองและทดลองในการอธิบายผลของชนิดตัวละลาย ชนิดตัวทำละลายอุณหภูมิที่มี ต่อสภาพละลายได้ของสาร รวมทั้งอธิบายผลของความดันที่มีต่อสภาพละลายได้ของสาร โดยใช้สารสนเทศ 3.สาระสำคัญ สารละลายเป็นสารผสมเนื้อเดียวที่ประกอบด้วยตัวทำละลายมีทั้งสถานะแก๊ส ของเหลว และของแข็ง ซึ่งนำ ความรู้เกี่ยวกับสารละลายมาใช้ประโยชน์มากมายในชีวิตประจำวัน 4.จุดประสงค์การเรียนรู้ 1.นักเรียนสามารถอธิบายความหมายและชนิดของสารละลายได้ (K) 2.นักเรียนสามารถจำแนกตัวทำละลายและตัวละลายละลายได้(P) 3.นักเรียนมีความสนใจ ใฝ่เรียนรู้ มุ่งมั่นในการทำงาน มีวินัย รับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย (A)


5.สาระการเรียนรู้ ความรู้ -ความหมายของสารละลาย -สารละลายที่มีสถานะเป็นแก๊ส -สารละลายที่มีสถานะเป็นของเหลว -สาละลายที่มีสถานะเป็นของแข็ง -ประโยชน์ของสารละลาย ทักษะ/กระบวนการ -การจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล -การลงความเห็นจากข้อมูล -การสังเกต -การจำแนกประเภท คุณลักษณะอันพึงประสงค์ -ใฝ่เรียนรู้ -มีวินัย -มุ่งมั่นในการทำงาน 6.กิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบ 5 E ขั้นที่ 1 ขั้นสร้างความสนใจ (Engagement) 1.ครูถามนักเรียนโดยใช้คำถามเปิดหน่วยการเรียนรู้ “เครื่องดื่มต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันจัดเป็น สารละลาย เครื่องดื่ม เช่น น้ำโซดา น้ำมะนาว ประกอบไปด้วยตัวทำละลายและตัวละลายอะไรบ้าง” ครูให้นักเรียน ตอบโดยที่ไม่ต้องการคำตอบที่ถูกต้อง แต่นักเรียนต้องตอบได้เมื่อจบหน่วยการเรียนรู้ 2.ครูถามคำถามนักเรียน โดยมีคำถาม ดังนี้ -นักเรียนคิดว่าสารละลายคืออะไร (แนวคำตอบสารที่ตัวละลายละลายอยู่ในตัวทำละลาย เป็นเนื้อเดียวกัน สมบัติของสารละลายจึงขึ้นอยู่กับชนิดและปริมาณของตัวละลายกับตัวทำละลาย) -นักคิดว่าถ้าตัวถูกละลายชนิดเดียวกันในสภาพคัวทำละลายต่างกันจะเกิดอะไรขึ้น(ไม่ คาดหวังแนวคำตอบเพื่อเป็นปัญหาให้นักเรียนสงสัยในการเรียนเรื่องถัดไป) ขั้นที่ 2 ขั้นสำรวจและค้นหา (Exploration) 1.นักเรียนแบ่งกลุ่ม 6 กลุ่มคละนักเรียนเรียนดีกับนักเรียนเท่าไป 2.นักเรียนทำการทดลอง เรื่องสารละลาย พร้อมกับครูเป็นผู้คอยให้คำแนะนำ


ขั้นที่ 3 ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป (Explanation) 1.นักเรียนสรุปผลการทดลองในกลุ่มของตัวเอง 2.นักเรียนตอบคำถามที่คุณครูสุ่มถาม 3.นักเรียนถามในประเด็นที่ตัวเองสงสัย ขั้นที่ 4 ขั้นขยายความรู้ (Elaboration) 1.นักเรียนศึกษาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับประโยชน์ของสารละลายโดยมีครูเป็นผู้ที่คอยแนะนำ ขั้นที่ 5 ขั้นประเมิน (Evaluation) 1.นักเรียนร่วมกันสรุปองค์ความรู้ที่ได้เรียนในวันนี้ 2.นักเรียนส่งใบงานการทดลอง 7.สื่อการเรียนรู้ 1.รูปภาพสารละลาย 2.ใบรายงานผลการทดลอง


8.การวัดและประเมินผล จุดประสงค์การเรียนรู้ วิธีการวัด เครื่องมือการวัด เกณฑ์การประเมิน 1.นักเรียนสามารถอธิบาย ความหมายและชนิดของ สารละลายได้ (K) 1.ผลการทดลอง เรื่อง สารละลาย -ใบงานผลการทดลอง เรื่อง สารละลาย ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 2.นักเรียนสามารถจำแนก ตัวทำละลายและตัว ละลายได้ (P) 1.นักเรียนตอบคำถามที่ คุณครูสุ่มถาม -คำตอบที่ นร ตอบจากการ ตอบคำถาม ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 3.นักเรียนมีความสนใจ ใฝ่ เรียนรู้ มุ่งมั่นในการทำงาน มีวินัย รับผิดชอบต่องานที่ ได้รับมอบหมาย (A) สังเกตพฤติกรรมระหว่าง เรียนของนักเรียน -แบบประเมินคุณลักษณะอัน พึงประสงค์ ระดับคุณภาพดี ผ่าน เกณฑ์


ใบงาน เรื่อง องค์ประกอบของสารละลาย คำชี้แจง ให้นักเรียนเขียนคำตอบลงในช่องว่างให้ถูกต้อง จำนวน 10 สารละลาย องค์ประกอบของสารละลาย ตัวทำละลาย ตัวละลาย 1.ทองเหลือง ประกอบด้วยทองแดง 60 % สังกะสี 40 % 2.น้ำโซดา ประกอบด้วย น้ำ แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ 3.น้ำยาล้างตา ประกอบด้วย น้ำ ยาล้างตา 4.ฟิวส์ไฟฟ้า ประกอบด้วย บิสมัท 50 % ตะกั่ว 25 % ดีบุก 25 % 5.นาก ประกอบด้วย ทองแดง 60 % ทองคำ 35 % เงิน 5 % 6.เหล็กกล้าไร้สนิท ประกอบด้วย เหล็ก 74 % โคเมียม 18 % นิกเกิล 8 % 7.น้ำเกลือ ประกอบด้วย น้ำ เกลือ 8.น้ำเชื่อม ประกอบด้วย น้ำ น้ำตาล 9.น้ำส้มสายชู ประกอบด้วย น้ำ 80 % กรดน้ำส้ม 20 % 10.อากาศ ประกอบด้วย


ไนโตรเจน 78 % ออกซิเจน 21 % แก๊สอื่น ๆ 1 %


ความคิดเห็นของครูพี่เลี้ยง .................................................................................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................ (ลงชื่อ)…………………………………………………………….. (นางสาวภัทรจิตติบุรีเพีย) ครูพี่เลี้ยง ........./......../......... ความคิดเห็นของผู้บริหาร .................................................................................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................ (ลงชื่อ)…………………………………………………………….. (..................................................) ผู้บริหารสถานศึกษา ........./......../.........


แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2 (รายวิชาพื้นฐาน) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 รหัสวิชา ว22101 รายวิชาวิทยาศาสตร์3 หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง สารละลาย จำนวน 13 ชั่วโมง เรื่อง สภาพละลายได้ของสารและปัจจัยที่มีผลต่อการละลาย จำนวน 3 ชั่วโมงสอนโดย นายสุทธิราช วงศ์คำ สาระที่ 2 วิทยาศาสตร์กายภาพ 1.มาตรฐาน ว 2.1 เข้าใจสมบัติของสสาร องค์ประกอบของสสาร ความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติ ของสสารกับโครงสร้างและ แรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค หลักและธรรมชาติ ของการเปลี่ยนแปลงสถานะของสสาร การเกิดสารละลาย และการ เกิดปฏิกิริยาเคมี 2.ตัวชี้วัด ม.2/4 ออกแบบการทดลองและทดลองในการอธิบาย ผลของชนิดตัวละลาย ชนิดตัวทำละลาย อุณหภูมิที่มี ต่อสภาพละลายได้ของสาร รวมทั้ง อธิบายผลของความดันที่มีต่อสภาพละลายได้ ของสาร โดยใช้สารสนเทศ 3.สาระสำคัญ สภาพละลายได้ของสารเป็นการบอกปริมาณตัวละลายที่ละลายได้มากที่สุดในตัวทำละลายชนิดหนึ่งที่มีมวล 100 กรัม ณ อุณหภูมิและความดันหนึ่ง ปริมาณตัวทำละลาย ชนิดของสาร ชนิดของตัวทำละลาย อุณหภูมิ เป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้สารละลาย ได้มากหรือน้อย กรณีที่สารมีสถานะแก๊สความดันจะมีผลต่อการละลายด้วย 4.จุดประสงค์การเรียนรู้ 1.นักเรียนอธิบายสภาพการละลายของสารได้ (K) 2.นักเรียนบอกปัจจัยที่มีผลต่อการละลายของสารได้ (K) 3.นักเรียนสามารถสังเกตผลการทดลองการละลายของสารในตัวทำละลายได้ (P) 4.นักเรียนมีความสนใจ ใฝ่เรียนรู้ มีวินัย มุ่งมั่นในการทำงาน รับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย (A)


5.สาระการเรียนรู้ ความรู้ -สภาพละลายได้ของสาร -ปัจจัยที่มีผลต่อการละลาย ทักษะ/กระบวนการ -การจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล -การลงความเห็นจากข้อมูล -การสังเกต คุณลักษณะอันพึงประสงค์ -ใฝ่เรียนรู้ -มีวินัย -มุ่งมั่นในการทำงาน 6.กิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบ 5 E ขั้นที่ 1 ขั้นสร้างความสนใจ (Engagement) 1.ครูทบทวนความรู้เดิมเกี่ยวกับชนิดของสารละลายและการนำไปใช้ประโยชน์ที่นักเรียนได้เรียนใน คาบที่แล้ว เพื่อเชื่อมโยงเข้ากับบทเรียนที่จะทำการสอน 2.ครูใช้คำถามถามนักเรียนว่า -สารจะละลายได้มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปัจจัยอะไรบ้าง (แนวคำตอบ ชนิดของสาร ปริมาฯ ตัวทำละลาย ความเข้มข้นของตัวทำละลาย ความดัน อุณหภูมิ) -นักเรียนคิดว่าวันนี้ เราจะมาเรียนเรื่องอะไร (แนวคำตอบ ขึ้นอยู่กับคำตอบของนักเรียน) ขั้นที่ 2 ขั้นสำรวจและค้นหา (Exploration) 1.นักเรียนออกเป็น 6 กลุ่ม กลุ่มละเท่า ๆ กันโดยคละชายหญิง 2.นักเรียนศึกษาวิธีปฏิบัติกิจกรรมการทดลอง กิจกรรม ปัจจัยที่มีผลต่อการละลาย 3.นักเรียนทำกิจกรรมการทดลอง โดยที่ครูผู้สอนจะคอยให้คำแนะนำและช่วยเหลือเมื่อนักเรียนเกิด ปัญหาหรือข้อสงสัย ขั้นที่ 3 ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป (Explanation) 1.นักเรียนร่วมกันสรุปผลการทดลองดังนี้


“ปัจจัยที่มีผลต่อการละลายมีดังนี้ ปริมาณตัวทำละลาย ชนิดของสาร ชนิดตัวทำละลาย อุณหภูมิ พลังงานจลน์ ความดัน” 2.นักเรียนตอบคำถามท้ายกิจกรรมการทดลอง ขั้นที่ 4 ขั้นขยายความรู้ (Elaboration) 1.นักเรียนศึกษาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่อง สารละลายอิ่มตัว จากใบความรู้ 2.นักเรียนตอบคำถามจากการสุ่มถามของครู ขั้นที่ 5 ขั้นประเมิน (Evaluation) 1.นักเรียนร่วมกันสรุปองค์ความรู้ที่ได้เรียนในวันนี้ 2.ตรวจสอบและประเมินผลจากการตอบคำถามท้ายกิจกรรมการเรียนรู้ 7.สื่อการเรียนรู้ 1.Power Point เรื่อง สภาพละลายได้ของสารและปัจจัยที่มีผลต่อการละลาย 2.หลอดทดลองขนาดกลาง 4 หลอด 3.ใบความรู้ เรื่อง สภาพละลายได้ของสารและปัจจัยที่มีผลต่อการละลาย


8.การวัดและประเมินผล จุดประสงค์การเรียนรู้ วิธีการวัด เครื่องมือการวัด เกณฑ์การประเมิน 1.นักเรียนอธิบายสภาพ การละลายของสารได้ (K) 1.นักเรียนตอบคำถามท้าย กิจกรรมการทดลอง 2.นักเรียนตอบคำถาม กิจกรรมตรวจสอบการ เรียนรู้ -คำถามท้ายกิจกรรมการ ทดลอง -กิจกรรมตรวจสอบการเรียนรู้ ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 2.นักเรียนบอกปัจจัยที่มี ผลต่อการละลายของสาร ได้ (K) 1.นักเรียนตอบคำถามท้าย กิจกรรมการทดลอง 2.นักเรียนตอบคำถาม กิจกรรมตรวจสอบการ เรียนรู้ -คำถามท้ายกิจกรรมการ ทดลอง -กิจกรรมตรวจสอบการเรียนรู้ ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 3.นักเรียนสามารถสังเกต ผลการทดลองการละลาย ของสารในตัวทำละลายได้ (P) 1.นักเรียนทำกิจกรรมการ ทดลอง ปัจจัยที่มีผลต่อการ ละลาย -กิจกรรมการทดลอง ปัจจัยที่ มีผลต่อการละลาย ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 4.นักเรียนมีความสนใจ ใฝ่ เรียนรู้ มีวินัย มุ่งมั่นในการ ทำงาน รับผิดชอบต่องาน ที่ได้รับมอบหมาย (A) สังเกตพฤติกรรมระหว่าง เรียนของนักเรียน -แบบประเมินคุณลักษณะอัน พึง ประสงค์ ระดับคุณภาพดี ผ่าน เกณฑ์


ความคิดเห็นของครูพี่เลี้ยง .................................................................................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................ (ลงชื่อ)…………………………………………………………….. (นางสาวภัทรจิตติ บุรีเพีย) ครูพี่เลี้ยง ........./......../......... ความคิดเห็นของผู้บริหาร .................................................................................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................ (ลงชื่อ)…………………………………………………………….. (..................................................) ผู้บริหารสถานศึกษา ........./......../.........


แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3 (รายวิชาพื้นฐาน) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 รหัสวิชา ว22101 รายวิชาวิทยาศาสตร์3 หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง สารละลาย จำนวน 13 ชั่วโมง เรื่อง ร้อยละความเข้มข้นของสารละลาย จำนวน 3 ชั่วโมง สอนโดย นายสุทธิราช วงศ์คำ สาระที่ 2 วิทยาศาสตร์กายภาพ 1.มาตรฐาน ว 2.1 เข้าใจสมบัติของสสาร องค์ประกอบของสสาร ความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติ ของสสารกับโครงสร้างและ แรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค หลักและธรรมชาติ ของการเปลี่ยนแปลงสถานะของสสาร การเกิดสารละลาย และการ เกิดปฏิกิริยาเคมี 2.ตัวชี้วัด ม.2/5 ระบุปริมาณตัวละลายในสารละลาย ในหน่วยความเข้มข้นเป็นร้อยละ ปริมาตรต่อปริมาตร มวลต่อ มวล และมวลต่อปริมาตร 3.สาระสำคัญ ความเข้มข้นของสารละลายเป็นการระบุปริมาณของตัวละลายในสารลายจำนวนหนึ่ง การระบุความเข้มข้น ของสารละลายมีหลายหน่วย นิยมระบุเป็นหน่วย ร้อยละมวลต่อมวล ร้อยละปริมาตรต่อปริมาตร และร้อยละมวลต่อ ปริมาตร 4.จุดประสงค์การเรียนรู้ 1.นักเรียนสามารถระบุปริมาณตัวละลายในสารละลายในหน่วยความเข้มข้นเป็นร้อยละปริมาตรต่อปริมาตร ร้อยละมวลต่อมวล และร้อยมวลต่อปริมาตรได้ (K) 2.นักเรียนสามารถคำนวณความเข้มข้นของสารในหน่วยความเข้มข้นเป็นร้อยละปริมาตรต่อปริมาตร ร้อยละ มวลต่อมวล และร้อยมวลต่อปริมาตรได้ (P) 3.นักเรียนมีความสนใจ ใฝ่เรียนรู้ มุ่งมั่นในการทำงาน มีวินัย รับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย (A)


5.สาระการเรียนรู้ ความรู้ -ความหมายความเข้มข้น -หน่วยความเข้มข้นของสารละลาย -ร้อยละปริมาตรต่อปริมาตร -ร้อยละมวลต่อมวล -ร้อยละมวลต่อปริมาตร ทักษะ/กระบวนการ -การจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล -การลงความเห็นจากข้อมูล -การใช้จำนวน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ -ใฝ่เรียนรู้ -มีวินัย -มุ่งมั่นในการทำงาน 6.กิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบ 5 E ขั้นที่ 1 ขั้นสร้างความสนใจ (Engagement) 1.นักเรียนทบทวนความรู้เดิมที่ได้เรียนในคาบที่ผ่านมาเกี่ยวกับสภาพละลายได้ของสารและปัจจัยที่มี ผลต่อการละลาย 2.นักเรียนดูฉลากเครื่องดื่มที่มีเปอร์เซ็นส่วนผสมที่ครูเตรียมให้ 3.ครูถามคำถามนักเรียน โดยมีคำถาม ดังนี้ -สารละลายสามารถระบุความเข้มข้นได้อย่างไร (แนวคำตอบ ความเข้มข้นของสารละลาย สามารถระบุได้จากปริมาณตัวละลายและตัวทำละลายของสารละลาย) -ถ้าอยากทราบปริมาณตัวถุกละลายอย่าง เช่น น้ำตาลในปริมาตรร้อยละจะทำได้อย่างไร (แนวคำตอบตวงสาร ดูจากเปอร์เซ็นในฉลาก)


X100 X100 X100 ขั้นที่ 2 ขั้นสำรวจและค้นหา (Exploration) 1.นักเรียนศึกษาการหาความเข้มข้นของสารละลายโดยแบ่งเป็นร้อยละมวลต่อมวล ร้อยละปริมาตร ต่อปริมาตร ร้อยละมวลต่อปริมาตร จากpower point 2.นักเรียนดูตัวอย่างโจทย์การคำนวณร้อยละมวลต่อมวล ร้อยละปริมาตรต่อปริมาตร และร้อยละ มวลต่อปริมาตรโดยมีครูอธิบายประกอบ 3.นักเรียนลองทำโจทย์ที่ครูตั้งให้ ขั้นที่ 3 ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป (Explanation) 1.นักเรียนฟังครูอธิบายเกี่ยวกับการคำนวณหาความเข้มข้นของสารละลายแต่ละข้อ 2.นักเรียนร่วมกันสรุปสูตรที่ในใช้ในการคำนวณหาความเข้มข้นทั้ง 3 หน่วย ดังนี้ -ร้อยละมวลต่อมวล = มวลของตัวละลาย (g) มวลของสารละลาย (g) -ร้อยละปริมาตรต่อปริมาตร = ปริมาตรตัวละลาย(cm3 ) ปริมาตรของสารละลาย (cm3 ) -ร้อยละมวลต่อปริมาตร = มวลของตัวละลาย (g) ปริมาตรของสารละลาย (cm3 ) ขั้นที่ 4 ขั้นขยายความรู้ (Elaboration) 1.ครูให้นักเรียนทำใบงาน เรื่อง ความเข้มข้นของสารละลายจากโจทย์ที่ครูกำหนดให้เพิ่มเติมจาก หนังสือเรียนเป็นการบ้าน ขั้นที่ 5 ขั้นประเมิน (Evaluation) 1.นักเรียนร่วมกันสรุปองค์ความรู้ที่ได้เรียนในวันนี้ 2.ตรวจสอบและประเมินผลจากแบบฝึกหัดที่ให้นักเรียนทำระหว่างการจัดการเรียนรู้และใบงานเรื่อง ความเข้มข้นของสารละลาย ที่ให้นักเรียนทำเป็นการบ้าน 7.สื่อการเรียนรู้ 1.Power Point เรื่อง ร้อยละความเข้มข้นของสารละลาย 2.ฉลากเครื่องดื่ม 3.ใบงานร้อยละความเข้มข้นของสารละลาย


8.การวัดและประเมินผล จุดประสงค์การเรียนรู้ วิธีการวัด เครื่องมือการวัด เกณฑ์การประเมิน 1.นักเรียนสามารถอธิบาย ความหมายและชนิดของ สารละลายได้ (K) 1.การทำโจทย์ในใบงานร้อย ละความเข้มข้นของ สารละลาย -ใบงานร้อยละความเข้มข้น ของสารละลาย ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 2.นักเรียนสามารถจำแนก ตัวทำละลายและตัว ละลายได้ (P) 1.นักเรียนตอบคำถามที่ คุณครูสุ่มถาม -คำตอบที่ นร ตอบจากการ ตอบคำถาม ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 3.นักเรียนมีความสนใจ ใฝ่ เรียนรู้ มุ่งมั่นในการทำงาน มีวินัย รับผิดชอบต่องานที่ ได้รับมอบหมาย (A) สังเกตพฤติกรรมระหว่าง เรียนของนักเรียน -แบบประเมินคุณลักษณะอัน พึงประสงค์ ระดับคุณภาพดี ผ่าน เกณฑ์


ใบงาน เรื่อง ความเข้มข้นของสารละลาย คำชี้แจง ให้นักเรียนคำนวณหาความเข้มข้นในหน่วยร้อยละให้ถูกต้อง 1.ถ้านำทองเหลือง 5 กรัมมาแยกองค์ประกอบ พบว่าทองเหลืองชิ้นนี้มีสังกะสีเป็นองค์ประกอบ 1.2 กรัม ทองเหลืองชิ้นนี้มีความเข้มข้นของสังกะสีในหน่วยร้อยละโดยมวลต่อมวลเป็นเท่าใด ............................................................................................................................. ................................................... ................................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................. ................................................... ............................................................................................................................. ................................................... ................................................................................................................................................................................ ........................................................................................................ 2.น้ำส้มสายชูมีความเข้มข้นของกรดน้ำส้มร้อยละ 5 โดยปริมาตรต่อปริมาตร ทั้งหมด 300 ลูกบาศก์เซนติเมตร จะมีกรดน้ำส้มผสมอยู่กี่ลูกบาศก์เซนติเมตร ............................................................................................................................. ................................................... ................................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................. ................................................... ............................................................................................................................. ................................................... ................................................................................................................................................................................ ........................................................................................................ 3.มีด่างทับทิม 2 กรัมในสารละลายปริมาตร 250 ลูกบาศก์เซนติเมตร สารละลายนี้มีความเข้มข้นร้อยละเท่าใด โดยมวลต่อปริมาตร ............................................................................................................................. ................................................... ................................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................. ................................................... ............................................................................................................................. ................................................... ................................................................................................................................................................................ ........................................................................................................


4.สารละลาย A ประกอบด้วยทองคำ 20 กรัม ละลายอยู่ในทองแดง 480 กรัม สารละลาย A มีความเข้มข้นร้อย ละเท่าใด ............................................................................................................................. ................................................... ................................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................. ................................................... ............................................................................................................................. ................................................... ................................................................................................................................................................................ ........................................................................................................


ความคิดเห็นของครูพี่เลี้ยง .................................................................................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................ (ลงชื่อ)…………………………………………………………….. (นางสาวภัทรจิตติ บุรีเพีย) ครูพี่เลี้ยง ........./......../......... ความคิดเห็นของผู้บริหาร .................................................................................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................ (ลงชื่อ)…………………………………………………………….. (..................................................) ผู้บริหารสถานศึกษา ........./......../.........


แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4 (รายวิชาพื้นฐาน) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 รหัสวิชา ว22101 รายวิชาวิทยาศาสตร์3 หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง สารละลาย จำนวน 13 ชั่วโมง เรื่อง การนำความรู้เรื่องสารละลายไปใช้ประโยชน์ จำนวน 3 ชั่วโมง สอนโดย นายสุทธิราช วงศ์คำ สาระที่ 2 วิทยาศาสตร์กายภาพ 1.มาตรฐาน ว 2.1 เข้าใจสมบัติของสสาร องค์ประกอบของสสาร ความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติ ของสสารกับโครงสร้างและ แรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค หลักและธรรมชาติ ของการเปลี่ยนแปลงสถานะของสสาร การเกิดสารละลาย และการ เกิดปฏิกิริยาเคมี 2.ตัวชี้วัด ม.2/6 ตระหนักถึงความสำคัญของการนำความรู้เรื่องความเข้มข้นของสารไปใช้ โดยยกตัวอย่าง การใช้สารละลายในชีวิตประจำวันอย่างถูกต้องและปลอดภัย 4.สาระสำคัญ การใช้สารละลายในชีวิตประจำวันควรคำนึงถึงความเข้มข้นของสารละลาย และผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม 5.จุดประสงค์ 1.นักเรียนสามารถยกตัวอย่างและบอกประโยชน์ความเข้มข้นของสารละลายได้(K) 2.นักเรียนบอกประโยชน์และโทษของสารละลายได้(P) 3.นักเรียนสามารถนำความรู้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้(A) ทักษะ/กระบวนการ -การจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล -การลงความเห็นจากข้อมูล -การใช้จำนวน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ -ใฝ่เรียนรู้ -มีวินัย


-มุ่งมั่นในการทำงาน 6.กิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบ 5 E ขั้นที่ 1 ขั้นสร้างความสนใจ (Engagement) 1.นักเรียนดูคริปวิดีโอ เกี่ยวกับการกัดกรอนจักความเข้มข้นของสาร 2.นักเรียนตอบคำถาม เห็นอะไรในคริปวิดีโอ 3.นำนักเข้าสู่เนื้อหาการนำความรู้เรื่องสารละลายไปใช้ประโยชน์ ขั้นที่ 2 ขั้นสำรวจและค้นหา (Exploration) 1.นักเรียนแบ่งกลุ่ม 6 กลุ่มคละชายหญิง 2.นักเรียนศึกษาใบความรู้ที่คุณครูให้ ขั้นที่ 3 ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป (Explanation) 1.นักเรียนส่งตัวแทนกลุ่มละ 2 คนออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียนตามที่กลุ่มตัวเองสุ่มจับหมายเลขได้ 2.นักเรียนตอบคำถามที่คุณครูสุ่มถามเกี่ยวกับความรู้เรื่องสารละลายไปใช้ประโยชน์ ขั้นที่ 4 ขั้นขยายความรู้ (Elaboration) 1.นักเรียนยกตัวอย่างสารละลายที่พบในชีวิตประจำวัน 2.นักเรียนถามครูในประเด็นที่สงสัย ขั้นที่ 5 ขั้นประเมิน (Evaluation) 1.นักเรียนร่วมกันอภิปรายประโยชน์และโทษของสารละลาย 7.สื่อการเรียนรู้ 1.ดูคริปวิดีโอ เกี่ยวกับการกัดกรอนจักความเข้มข้นของสาร 2.ใบความรู้ตัวอย่างสารละลายในชีวิตประจำวัน


8.การวัดและประเมินผล จุดประสงค์การเรียนรู้ วิธีการวัด เครื่องมือการวัด เกณฑ์การประเมิน 1 . น ั ก เ ร ี ย น ส า ม า ร ถ ย ก ต ั ว อ ย ่ า ง แ ล ะ บ อ ก ประโยชน์ความเข้มข้นของ สารละลายได้(K) 1.การนำเสนอหน้าชั้นเรียน -ครูตรวจข้อมูลที่นักเรียน นำเสนอ ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 2.นักเรียนบอกประโยชน์ และโทษของสารละลายได้ (P) 1.นักเรียนตอบคำถามจาก การสุ่มถามของครู -คำตอบที่ นร ตอบจากการ ตอบคำถาม ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 3.นักเรียนสามารถนำ ความรู้ไปปรับใช้ใน ชีวิตประจำวันได้(A) สังเกตพฤติกรรมระหว่าง เรียนของนักเรียน -แบบประเมินคุณลักษณะอัน พึงประสงค์ ระดับคุณภาพดี ผ่าน เกณฑ์


ความคิดเห็นของครูพี่เลี้ยง .................................................................................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................ (ลงชื่อ)…………………………………………………………….. (นางสาวภัทรจิตติ บุรีเพีย) ครูพี่เลี้ยง ........./......../......... ความคิดเห็นของผู้บริหาร .................................................................................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................ (ลงชื่อ)…………………………………………………………….. (..................................................) ผู้บริหารสถานศึกษา ........./......../.........


แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 5 (รายวิชาพื้นฐาน) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 รหัสวิชา ว22101 รายวิชาวิทยาศาสตร์3 หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง ระบบต่าง ๆ ของมนุษย์ จำนวน 21 ชั่วโมง เรื่อง ระบบหมุนเวียนเลือด จำนวน 3 ชั่วโมง แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ระบบหมุนเวียนเลือด จำนวน 2 ชั่วโมง สอนโดย นาสุทธิราช วงศ์คำ สาระที่ 1 วิทยาศาสตร์ชีวภาพ 1.มาตรฐาน ว 1.2 เข้าใจสมบัติของสิ่งมีชีวิต หน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต การลำเลียงสารเข้า และออกจากเซลล์ ความสัมพันธ์ของโครงสร้างและหน้าที่ของระบบต่าง ๆ ของสัตว์และมนุษย์ที่ทำงานสัมพันธ์กัน ความสัมพันธ์ของ โครงสร้างและหน้าที่ของอวัยวะต่าง ๆ ของพืชที่ทำงานสัมพันธ์กัน รวมทั้งนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ 2.ตัวชี้วัด ม.2/6 บรรยายโครงสร้างและหน้าที่ของหัวใจ หลอดเลือด และเลือด ม.2/7 อธิบายการทำงานของระบบหมุนเวียนเลือด โดยใช้แบบจำลอง 3.สาระสำคัญ ระบบหมุนเวียนเลือดประกอบด้วยหัวใจ หลอดเลือด และเลือด การบีบและคลายตัวของหัวใจทำให้เลือด หมุนเวียนและลำเลียงสารอาหาร แก๊ส ของเสีย และสารอื่น ๆ ไปยังอวัยวะและเซลล์ต่าง ๆ ทั่วร่างกาย อัตราการเต้น ของหัวใจมีความต่างกันในแต่ละบุคคลและขึ้นอยู่กับกิจกรรมที่ทำและอารมณ์ ซึ่งจังหวะการเต้นของหัวใจวัดจาก อัตราการเต้นของชีพจร 4.จุดประสงค์การเรียนรู้ 1.นักเรียนสามารถบรรยายโครงสร้างและหน้าที่ของหัวใจ หลอดเลือด และเลือดได้ (K) 2.นักเรียนสามารถอธิบายการทำงานของระบบหมุนเวียนเลือด โดยใช้แบบจำลอง (K) 3.นักเรียนมีความสนใจ ใฝ่เรียนรู้ มุ่งมั่นในการทำงาน มีวินัย รับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย (A)


5.สาระการเรียนรู้ ความรู้ -หัวใจ -หลอดเลือด -เลือด -การทำงานของระบบหมุนเวียนเลือด ทักษะ/กระบวนการ -การจัดกระทำและสื่อความหมายของข้อมูล -การลงความเห็นจากข้อมูล คุณลักษณะอันพึงประสงค์ -มีวินัย -ใฝ่เรียนรู้ -มุ่งมั่นในการทำงาน 6.กิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบ 5 E ขั้นที่ 1 ขั้นสร้างความสนใจ (Engagement) 1.นักเรียนดูวิดีโอ How Your Heart Works? – The Dr.Binocs Show | Best Learning Videos For Kids | Peekaboo Kidz จาก Youtube 2.หลังจากดูวิดีโอจบ นักเรียนตอบโดยมีคำถาม ดังนี้ -จากวิดีโอระบบหมุนเวียนเลือดประกอบด้วยอะไรบ้าง (แนวคำตอบ หัวใจ หลอดเลือด และ เลือด) -ระบบหมุนเวียนเลือดมีกลไกอย่างไร (แนวคำตอบ เลือดจากทั่วร่างกายจะผ่านหัวใจไปยัง ปอดเพื่อแลกเปลี่ยนแก๊ส และจากปอดไปยังหัวใจเพื่อสูบฉีดเลือดไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย) -หัวใจมีส่วนประกอบอะไรบ้าง (แนวคำตอบ หัวใจมี 4 ห้อง ลิ้นหัวใจ หลอดเลือดจาก ร่างกาย และหลอดเลือดไปยังปอด)


ขั้นที่ 2 ขั้นสำรวจและค้นหา (Exploration) 1.ครูวาดวงจรการไหลของเลือดบนกระดาน โดยไม่เติมลูกศรหรือคำอธิบายในรูป 2.ครูให้นักเรียนร่วมกันเขียนลูกศรเพื่ออธิบายทิศทางการไหลของเลือด และเติมคำอธิบาย อื่น ๆ 3.ครูให้นักเรียนศึกษาวงจรการไหลเวียนของเลือดจากผ้ากันเปื้อนแบบจำลองการไหลเวียนของเลือด ที่ครูนำมา 4.ครูให้นักเรียนวาดวงจรการไหลของเลือดลงในสมุดของตนเอง ขั้นที่ 3 ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป (Explanation) 1.ครูอธิบายการไหลเวียนของเลือดโดยใช้ผ้ากันเปื้อนเกี่ยวกับการหมุนเวียนของเลือดประกอบ คำอธิบาย ขั้นที่ 4 ขั้นขยายความรู้ (Elaboration) 1.ครูนำแบบจำลองหัวใจให้นักเรียนดู เพื่อให้นักเรียนดูส่วนประกอบของหัวใจ และให้นักเรียนสังเกต ตำแหน่งของหลอดเลือดและลิ้นหัวใจ เพื่อเชื่อมโยงไปถึงส่วนต่อไปที่เกี่ยวข้องกับระบบหมุนเวียนเลือดคือ หลอดเลือด 2.นักเรียนดูรูปหลอดเลือดในร่างกาย 3.นักเรียนตอบคำถาม โดยมีคำถาม ดังนี้ -จากรูปหลอดเลือดแบ่งออกเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง (แนวคำตอบ 3 ประเภท หลอดเลือด แดง หลอดเลือดดำ และหลอดเลือดฝอย) -หลอดเลือดแดงและหลอดเลือดดำแตกต่างกันอย่างไร (แนวคำตอบ หลอดเลือดดำจะมีลิ้น กั้นภายใน) -ลิ้นในหลอดเลือดดำมีหน้าที่อะไร (แนวคำตอบ ป้องกันไม่ให้เลือดไหลย้อนกลับ เนื่องจาก เลือดในหลอดเลือดดำมีความดันต่ำ) ขั้นที่ 5 ขั้นประเมิน (Evaluation) 1.ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปวงจรการไหลของเลือด ส่วนประกอบและหน้าที่แต่ละส่วนประกอบใน ระบบหมุนเวียนเลือดซึ่งประกอบด้วย หัวใจ หลอดเลือด และเลือด 2.นักเรียนทำใบงานที่ 2 เรื่อง การหมุนเวียนเลือด


7.สื่อการเรียนรู้ 1.วิดีโอ How Your Heart Works? – The Dr.Binocs Show | Best Learning Videos For Kids | Peekaboo Kidz จาก Youtube 2.แบบจำลองหัวใจ 3.ใบงานที่ 2 เรื่อง การหมุนเวียนเลือด 4.ผ้ากันเปื้อนแบบจำลองการไหลเวียนของเลือด


8.การวัดและประเมินผล จุดประสงค์การเรียนรู้ วิธีการวัด เครื่องมือการวัด เกณฑ์การประเมิน 1.นักเรียนสามารถ บรรยายโครงสร้างและ หน้าที่ของหัวใจ หลอด เลือด และเลือดได้ (K) 1.การตอบคำถาม ระหว่างการจัดกิจกรรม การเรียนรู้ -คำถามเกี่ยวกับโครงสร้างและ หน้าที่ของหัวใจ หลอดเลือด และเลือด ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 2.นักเรียนสามารถอธิบาย การทำงานของระบบ หมุนเวียนเลือด โดยใช้ แบบจำลอง (K) 1.การตอบคำถาม ระหว่างการจัดกิจกรรม การเรียนรู้ 2.การวาดแผนภาพวงจร การไหลของเลือด 3.ใบงานที่ 2 เรื่อง การ หมุนเวียนเลือด -คำถามเกี่ยวกับการทำงานของ ระบบหมุนเวียนเลือด -แผนภาพวงจรการไหลของ เลือด -ใบงานที่ 2 เรื่อง การหมุนเวียน เลือด ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 3.นักเรียนมีความสนใจ ใฝ่ เรียนรู้ มุ่งมั่นในการทำงาน มีวินัย รับผิดชอบต่องานที่ ได้รับมอบหมาย (A) สังเกตพฤติกรรมระหว่าง เรียนของนักเรียน -แบบประเมินคุณลักษณะอันพึง ประสงค์ ระดับคุณภาพดี ผ่าน เกณฑ์


ใบงาน เรื่องระบบหมุนเวียนเลือด ชื่อ-นามสกุล.....................................................เลขที่...............ชั้นม.2/............... วันที่.......เดือน.................พ.ศ............. คำชี้แจง ให้นักเรียนอธิบายการหมุนเวียนเลือดพร้อมวาดวงจรการหมุนเวียน ............................................................................................................................. ............................................................ ......................................................................................................................................................................................... ............................................................................................................................. ............................................................ ............................................................................................................................. ............................................................ ......................................................................................................................................................... ................................ ................................................................................................... ....................


ความคิดเห็นของครูพี่เลี้ยง .................................................................................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................ (ลงชื่อ)…………………………………………………………….. (นางสาวภัทรจิตติ บุรีเพีย) ครูพี่เลี้ยง ........./......../......... ความคิดเห็นของผู้บริหาร .................................................................................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................ (ลงชื่อ)…………………………………………………………….. (..................................................) ผู้บริหารสถานศึกษา ........./......../.........


แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 6 (รายวิชาพื้นฐาน) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 รหัสวิชา ว22101 รายวิชาวิทยาศาสตร์3 หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง ระบบต่าง ๆ ของมนุษย์ จำนวน 21 ชั่วโมง เรื่อง ระบบหมุนเวียนเลือด จำนวน 3 ชั่วโมง แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ระบบหมุนเวียนเลือด (ต่อ) จำนวน 1 ชั่วโมง สอนโดย นายสุทธิราช วงศ์คำ สาระที่ 1 วิทยาศาสตร์ชีวภาพ 1.มาตรฐาน ว 1.2 เข้าใจสมบัติของสิ่งมีชีวิต หน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต การลำเลียงสารเข้า และออกจากเซลล์ ความสัมพันธ์ของโครงสร้างและหน้าที่ของระบบต่าง ๆ ของสัตว์และมนุษย์ที่ทำงานสัมพันธ์กัน ความสัมพันธ์ของ โครงสร้างและหน้าที่ของอวัยวะต่าง ๆ ของพืชที่ทำงานสัมพันธ์กัน รวมทั้งนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ 2.ตัวชี้วัด ม.2/8 ออกแบบการทดลองและทดลอง ในการเปรียบเทียบอัตราการเต้นของหัวใจ ขณะปกติและหลังทำ กิจกรรม ม.2/9 ตระหนักถึงความสำคัญของระบบหมุนเวียนเลือด โดยการบอกแนวทางในการดูแลรักษาอวัยวะ ใน ระบบหมุนเวียนเลือดให้ทำงานเป็นปกติ 3.สาระสำคัญ ระบบหมุนเวียนเลือดประกอบด้วยหัวใจ หลอดเลือด และเลือด การบีบและคลายตัวของหัวใจทำให้เลือด หมุนเวียนและลำเลียงสารอาหาร แก๊ส ของเสีย และสารอื่น ๆ ไปยังอวัยวะและเซลล์ต่าง ๆ ทั่วร่างกาย อัตราการเต้น ของหัวใจมีความต่างกันในแต่ละบุคคลและขึ้นอยู่กับกิจกรรมที่ทำและอารมณ์ ซึ่งจังหวะการเต้นของหัวใจวัดจาก อัตราการเต้นของชีพจร


4.จุดประสงค์การเรียนรู้ 1.นักเรียนสามารถบอกแนวทางในการดูแลรักษาอวัยวะ ในระบบหมุนเวียนเลือดให้ทำงานเป็นปกติ ได้ (K) 2.นักเรียนสามารถออกแบบการทดลองและทดลอง ในการเปรียบเทียบอัตราการเต้นของหัวใจ ขณะปกติและ หลังทำกิจกรรม (P) 3.นักเรียนตระหนักถึงความสำคัญของระบบหมุนเวียนเลือด มีความสนใจใฝ่เรียนรู้ มีความมุ่งมั่นในการ ทำงาน (A) 5.สาระการเรียนรู้ ความรู้ -ความดันเลือด -การดูแลรักษาอวัยวะในระบบหมุนเวียนเลือด ทักษะ/กระบวนการ -การวัด -การใช้จำนวน -การจัดกระทำและสื่อความหมายของข้อมูล -การลงความเห็นจากข้อมูล -การจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล -การทดลอง -การตีความหมายและลงข้อสรุป คุณลักษณะอันพึงประสงค์ -มีวินัย -ใฝ่เรียนรู้ -มุ่งมั่นในการทำงาน 6.กิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบ 5 E ขั้นที่ 1 ขั้นสร้างความสนใจ (Engagement) 1.นักเรียนทบทวนความรู้ที่ได้เรียนในคาบที่แล้ว เกี่ยวกับเรื่องส่วนประกอบของระบบหมุนเวียน เลือดได้แก่ หัวใจ หลอดเลือด เลือด และทบทวนเกี่ยวกับวงจรการไหลเวียนเลือด ขั้นที่ 2 ขั้นสำรวจและค้นหา (Exploration) 1.นักเรียนศึกษาความรู้เกี่ยวกับความดัน ชีพจร และปัจจัยที่มีผลต่อความดันเพื่อเชื่อมโยงไปถึง กิจกรรมการทดลองที่ 1.2


2.นักเรียนศึกษากิจกรรมการทดลองการวัดอัตราการเต้นของหัวใจ กิจกรรมที่ 1.2 3.นักเรียนทำกิจกรรมการทดลองที่ 1.2 โดยให้นักเรียนวัดอัตราการเต้นของชีพจรตนเองในสภาพ ปกติและเดินไปมา 5 ครั้ง ภายในเวลา 1 นาที 3 ครั้งและหาค่าเฉลี่ย 4.นักเรียนแต่ละคนบันทึกผลการทดลองลงในสมุดของตนเอง พร้อมกับตอบคำถามท้ายกิจกรรม ขั้นที่ 3 ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป (Explanation) 1.ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปผลการทดลอง 2.ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปองค์ความรู้ ดังนี้ “ร่างกายของแต่ละคนมีอัตราการเต้นของหัวใจไม่เท่ากัน ถ้าร่างกายปกติอัตราการเต้นของชีพจรจะ ประมาณ 72 ครั้งต่อนาที เพศชายจะมีอัตราการเต้นของชีพจรสูงกว่าเพศหญิง และหลังการเดินเร็ว ๆ หรือการออก กำลังกายอัตราการเต้นของชีพจรจะเร็วกว่าปกติ” ขั้นที่ 4 ขั้นขยายความรู้ (Elaboration) 1.ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับการดูแลรักษาอวัยวะในระบบหมุนเวียนเลือด โดยจะมี คำถามประกอบการอภิปราย ดังนี้ -ถ้าระบบหมุนเวียนเลือดไม่ปกติ คิดว่าจะทำให้เกิดโรคอะไรได้บ้าง (แนวคำตอบ โรคความ ดันเลือดสูง โรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดในสมอง) -การดูแลรักษาระบบหมุนเวียนเลือดทำได้อย่างไร (แนวคำตอบ ออกกำลังอย่างสม่ำเสมอ เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และไม่มีไขมันมากเกินไป) ขั้นที่ 5 ขั้นประเมิน (Evaluation) 1.ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปองค์ความรู้ทั้งหมดที่เรียนมาเกี่ยวกับระบบหมุนเวียนเลือด เริ่มตั้งแต่ ส่วนประกอบของระบบหมุนเวียนเลือด วงจรการไหลเวียนเลือด ความดันเลือด และการดูแลรักษาอวัยวะ 2.นักเรียนทำกิจกรรมตรวจสอบการเรียนรู้ที่ 1.2 ในหนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ เพื่อตรวจและ ประเมินผล 3.นักเรียนทำผังมโนทัศน์สรุปเกี่ยวกับระบบหมุนเวียนเพื่อส่งในชั่วโมงถัดไป 7.สื่อการเรียนรู้ -


8.การวัดและประเมินผล จุดประสงค์การเรียนรู้ วิธีการวัด เครื่องมือการวัด เกณฑ์การประเมิน 1.นักเรียนสามารถบอก แนวทางในการดูแลรักษา อวัยวะ ในระบบหมุนเวียน เลือดให้ทำงานเป็นปกติ ได้ (K) -คำถามระหว่างการจัด กิจกรรมการเรียนรู้ 1.คำถามเกี่ยวกับแนวทางใน การดูแลรักษาอวัยวะในระบบ หมุนเวียนเลือด ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 2.นักเรียนสามารถ ออกแบบการทดลองและ ทดลอง ในการ เปรียบเทียบอัตราการเต้น ของหัวใจ ขณะปกติและ หลังทำกิจกรรม (P) -ทำกิจกรรมการวัดอัตรา การเต้นของหัวใจ 1.กิจกรรมการวัดอัตราการเต้น ของหัวใจ ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 3.นักเรียนตระหนักถึง ความสำคัญของระบบ หมุนเวียนเลือด มีความ สนใจใฝ่เรียนรู้ มีความ มุ่งมั่นในการทำงาน (A) สังเกตพฤติกรรมระหว่าง เรียนของนักเรียน -แบบประเมินคุณลักษณะอันพึง ประสงค์ ระดับคุณภาพดี ผ่าน เกณฑ์


ความคิดเห็นของครูพี่เลี้ยง .................................................................................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................ (ลงชื่อ)…………………………………………………………….. (นางสาวภัทรจิตติ บุรีเพีย) ครูพี่เลี้ยง ........./......../......... ความคิดเห็นของผู้บริหาร .................................................................................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................ (ลงชื่อ)…………………………………………………………….. (..................................................) ผู้บริหารสถานศึกษา ........./......../.........


แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 7 (รายวิชาพื้นฐาน) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 รหัสวิชา ว22101 รายวิชาวิทยาศาสตร์3 หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง ระบบต่าง ๆ ของมนุษย์ จำนวน 21 ชั่วโมง เรื่อง ระบบหายใจ จำนวน 3 ชั่วโมง แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ระบบหายใจ จำนวน 2 ชั่วโมง สอนโดย นายสุทธิราช วงศ์คำ สาระที่ 1 วิทยาศาสตร์ชีวภาพ 1.มาตรฐาน ว 1.2 เข้าใจสมบัติของสิ่งมีชีวิต หน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต การลำเลียงสารเข้า และออกจากเซลล์ ความสัมพันธ์ของโครงสร้างและหน้าที่ของระบบต่าง ๆของสัตว์และมนุษย์ที่ทำงานสัมพันธ์กัน ความสัมพันธ์ของ โครงสร้างและหน้าที่ของอวัยวะต่าง ๆ ของพืชที่ทำงานสัมพันธ์กัน รวมทั้งนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ 2.ตัวชี้วัด ม.2/1 ระบุอวัยวะและบรรยายหน้าที่ของอวัยวะที่ เกี่ยวข้องในระบบหายใจ ม.2/2 อธิบายกลไกการหายใจเข้าและออก โดยใช้แบบจำลอง รวมทั้งอธิบายกระบวนการแลกเปลี่ยนแก๊ส 3.สาระสำคัญ ระบบหายใจของมนุษย์มีอวัยวะต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ จมูก ท่อลม ปอด กะบังลม และกระดูกซี่โครง การ หายใจเข้าเป็นการนำแก๊สออกซิเจนในอากาศเข้าสู่ร่างกายเพื่อนำไปใช้ในการเผาผลาญสารอาหารที่อยู่ภายในเซลล์ได้ เป็นพลังงาน แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ และไอน้ำการหายใจออกเป็นการกำจัดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ไอน้ำ และ อากาศออกจากปอด การหายใจเข้าและหายใจออกจะมีการเปลี่ยนแปลงความดันและปริมาตรของอากาศภายในช่อง อกซึ่งเกี่ยวข้องกับกะบังลมและกระดูกซี่โครงที่จะทำให้อากาศเคลื่อนที่เข้าและออกจากปอดได้ ในระบบหายใจจะมี การแลกเปลี่ยนแก๊สออกซิเจนกับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ 4.จุดประสงค์การเรียนรู้ 1.นักเรียนสามารถอธิบายโครงสร้างและการทํางานของระบบหายใจได้(K) 2.นักเรียนสามารถระบุอวัยวะและบรรยายหน้าที่ของอวัยวะที่ เกี่ยวข้องในระบบหายใจ (P) 3.นักเรียนสามารถอธิบายกลไกการหายใจเข้าและออก โดยใช้แบบจำลอง รวมทั้งอธิบายกระบวนการ แลกเปลี่ยนแก๊สได้(K, P)


4.นักเรียนมีความสนใจ ใฝ่เรียนรู้ มุ่งมั่นในการทำงาน มีวินัย รับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย (A) 5.สาระการเรียนรู้ ความรู้ -อวัยวะที่เกี่ยวข้องในระบบหายใจ -หน้าที่ของอวัยวะที่เกี่ยวข้องในระบบหายใจ -กลไกการหายใจเข้าและการหายใจออก -การหมุนเวียนของแก๊ส ทักษะ/กระบวนการ -การสังเกต -การจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล -การลงความเห็นจากข้อมูล -การตีความหมายและลงข้อสรุป -การสร้างแบบจำลอง คุณลักษณะอันพึงประสงค์ -มีวินัย -ใฝ่เรียนรู้ -มุ่งมั่นในการทำงาน 6.กิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบ 5 E ขั้นที่ 1 ขั้นสร้างความสนใจ (Engagement) 1.นักเรียนอ่านจุดประสงค์ในการเรียนรู้ 2.นักเรียนตอบคำถามจากรูปภาพในหนังสือเรียนหน้าเปิดหน่วยการเรียนรู้ โดยใช้คำถามต่อไปนี้ -การวิ่งออกกำลังกายระบบใดของร่างกายที่มีส่วนเกี่ยวข้องบ้าง ครูให้นักเรียนตอบโดยไม่ต้องการคำตอบที่ถูกต้อง 3.ครูถามคำถามนักเรียน โดยใช้คำถามต่อไปนี้ -นักเรียนคิดว่าระบบหายใจเกี่ยวข้องกับอวัยวะใดบ้าง (แนวคำตอบ จมูก หลอดลมในคอ หลอดลม ปอด ถุงลม หลอดลมฝอย กะบังลม กระดูกซี่โครง) -นักเรียนคิดว่าการหายใจเกิดขึ้นได้อย่างไร (แนวคำตอบ เกิดจากการทำงานร่วมกันของ กะบังลมและกระดูกซี่โครงทำให้ปริมาตรช่องอกมีการเปลี่ยนแปลง จึงเกิดการหมุนเวียนของอากาศในปอด)


ขั้นที่ 2 ขั้นสำรวจและค้นหา (Exploration) 1.นักเรียนลองสูดลมหายใจเข้าและออก และสังเกตว่ามีการเปลี่ยนแปลงอวัยวะต่าง ๆ แล้วถาม คำถามนักเรียนว่า เมื่อหายใจเข้าและออกจะมีการเปลี่ยนแปลงของอวัยวะใดบ้าง (แนวคำตอบ กระดูกซี่โครง กะบัง ลม และปอด) 2.นักเรียนดูรูปภาพอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับระบบหายใจ ติดบนกระดาน 3.นักเรียนตอบคำถามเพื่อให้นักเรียนอธิบายตามความเข้าใจ โดยมีคำถามว่า -นักเรียนคิดว่าทางเดินของลมหายใจเข้าและหายใจออกต้องผ่านอวัยวะใดบ้าง 4.นักเรียนทำใบกิจกรรมที่ 1 เรื่องอวัยวะต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบหายใจ ขั้นที่ 3 ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป (Explanation) 1.ครูอธิบายเกี่ยวกับอวัยวะต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบหายใจ และหน้าที่ของอวัยวะต่าง ๆ โดยให้ นักเรียนจดลงในสมุดของตนเอง ขั้นที่ 4 ขั้นขยายความรู้ (Elaboration) 1.นักเรียนศึกษาเกี่ยวกับรูปภาพการหายใจเข้าและการหายใจออกจากหนังสือเรียน หน้าที่ 4 และ 5 และให้นักเรียนลองหายใจเข้าและหายใจออก พร้อมกับสังเกตการเปลี่ยนแปลง 2.ครูสุ่มถามคำถามนักเรียนเกี่ยวกับรูปภาพการหายใจเข้าและหายใจออกที่ให้นักเรียนได้ศึกษา โดย มีคำถามดังต่อไปนี้ -การหายใจเข้าและการหายใจออกแตกต่างกันอย่างไร -นักเรียนคิดว่าการที่เราหายใจเข้าและออกเกิดการแลกเปลี่ยนแก๊สอะไรบ้าง 3.ครูให้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับความหมายการหายใจ ลักษณะของการหายใจเข้า หายใจออก และ การหมุนเวียนของแก๊ส 4.นักเรียนทำกิจกรรมแบบจำลองระบบการหายใจ โดยให้นักเรียนสังเกตและตอบคำถามในตาราง บันทึกผลการทดลอง และตอบคำถามท้ายกิจกรรม โดยให้นักเรียนจดลงในสมุดของตนเอง การทดลอง การเปลี่ยนแปลงภายในกล่อง ผลการทดลอง ปริมาตร ความดัน 1.ดึงแผ่นยางลง 2.ปล่อยแผ่นยางปกติ 3.ดันแผ่นยางเข้าไปข้าง ใน


คำถามท้ายกิจกรรม 1.จากการทดลอง หลอดรูปตัว Y ลูกโป่ง และแผ่นยางมีการทำงานคล้ายอวัยวะใดในร่างกาย 2.เมื่อดึงแผ่นยางลง มีการเปลี่ยนแปลงปริมาตรและความภายในกล่องอย่างไร 3.เมื่อดันแผ่นยางขึ้น มีการเปลี่ยนแปลงปริมาตรและความดันภายในกล่องอย่างไร 4.สิ่งใดที่มีผลต่ออัตราการหายใจเข้าและออก ขั้นที่ 5 ขั้นประเมิน (Evaluation) 1.ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเนื้อหาที่ได้เรียนในวันนี้ 2.ใบงานที่ 1 เรื่อง อวัยวะต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบหายใจ 3.ตารางบันทึกผลการทดลองและคำถามท้ายการทดลองกิจกรรมแบบจำลองระบบหายใจ 4.ครูและนักเรียนร่วมกันเฉลยใบงานที่ 1 เรื่อง อวัยวะต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบหายใจ และผล การทดลอง คำถามท้ายกิจกรรมการทดลอง 7.สื่อการเรียนรู้ 1.หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ของบริษัท แม็คเอ็ดดูเคชั่น 2.ใบงานที่ 1 เรื่อง อวัยวะต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบหายใจ 3.รูปภาพอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับระบบหายใจ 4.แบบจำลองระบบหายใจ ประกอบด้วย แก้วพลาสติก,หลอดรูปตัว Y,ดินน้ำมัน,ลูกโป่งเล็ก,ลูกโป่งใหญ่,เทปใส 8.การวัดและประเมินผล จุดประสงค์การเรียนรู้ วิธีการวัด เครื่องมือการวัด เกณฑ์การประเมิน 1.นักเรียนสามารถอธิบาย โครงสร้างและการทํางาน ของระบบหายใจได้(K) 1.การตอบคำถาม ระหว่างการจัดกิจกรรม การเรียนรู้ -คำถามเกี่ยวกับโครงสร้างของ อวัยวะต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ ระบบหายใจ -ใบงานที่ 1 เรื่อง อวัยวะต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบหายใจ ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 2.นักเรียนสามารถระบุ อวัยวะและบรรยายหน้าที่ ของอวัยวะที่ เกี่ยวข้องใน ระบบหายใจ (P) 1.การตอบคำถาม ระหว่างการจัดกิจกรรม การเรียนรู้ 2.ตรวจใบงานเรื่อง อวัยวะต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง กับระบบหายใจ -คำถามเกี่ยวกับอวัยวะต่าง ๆ ที่ เกี่ยวข้องกับระบบหายใจ -คำถามเกี่ยวกับหน้าที่ของ อวัยวะต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ ระบบหายใจ ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70


-ใบงานที่ 1 เรื่อง อวัยวะต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบหายใจ 3.นักเรียนสามารถอธิบาย กลไกการหายใจเข้าและ ออก โดยใช้แบบจำลอง รวมทั้งอธิบาย กระบวนการแลกเปลี่ยน แก๊สได้(K, P) 1.การตอบคำถาม ระหว่างการจัดกิจกรรม การเรียนรู้ 2.การตอบคำถามใน ตารางบันทึกผลการ ทดลองและคำถามท้าย กิจกรรม -คำถามเกี่ยวกับกลไกการ หายใจเข้าและออก -คำถามเกี่ยวกับกระบวนการ แลกเปลี่ยนแก๊ส -ตารางบันทึกผลการทดลอง -คำถามท้ายกิจกรรมการ ทดลอง ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 4.นักเรียนมีความสนใจ ใฝ่ เรียนรู้ มุ่งมั่นในการทำงาน มีวินัย รับผิดชอบต่องานที่ ได้รับมอบหมาย (A) สังเกตพฤติกรรมระหว่าง เรียนของนักเรียน -แบบประเมินคุณลักษณะอันพึง ประสงค์ ระดับคุณภาพดี ผ่าน เกณฑ์


Click to View FlipBook Version