The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

วิทยานิพนธ์ -เครือข่ายศีล ๕-พระครูทิพยบุญญ

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by kusol57210, 2022-09-04 08:33:00

วิทยานิพนธ์ -เครือข่ายศีล ๕-พระครูทิพยบุญญ

วิทยานิพนธ์ -เครือข่ายศีล ๕-พระครูทิพยบุญญ

การสรา้ งเครอื ข่ายหมบู่ า้ นรักษาศลี ๕ เพ่อื การพัฒนาคณุ ภาพชีวิต
ของประชาชน ในจังหวัดเชียงราย

ESTABLISHING A LOCAL NETWORK FOR OBSERVING THE FIVE
PRECEPTS TO IMPROVE THE QUALITY OF LIFE OF THE PEOPLE

OF CHIANG RAI PROVINCE.

พระครทู พิ ยบญุ ญากร (ต๊ิบ กตปญุ โฺ ญ)

วทิ ยานิพนธน์ เี้ ป็นส่วนหนึ่งของการศกึ ษา
ตามหลักสูตรปรญิ ญาพทุ ธศาสตรมหาบัณฑติ

สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
บัณฑิตวิทยาลยั

มหาวิทยาลยั มหาจฬุ าลงกรณราชวทิ ยาลัย
พุทธศกั ราช ๒๕๖๕

การสร้างเครือขา่ ยหมบู่ า้ นรกั ษาศีล ๕ เพ่ือการพัฒนาคณุ ภาพชีวิต
ของประชาชน ในจังหวัดเชียงราย

พระครทู ิพยบุญญากร (ต๊ิบ กตปญุ โฺ ญ)

วิทยานิพนธ์นเ้ี ปน็ สว่ นหน่ึงของการศึกษา
ตามหลักสูตรปรญิ ญาพุทธศาสตรมหาบัณฑติ

สาขาวิชาพระพทุ ธศาสนา
บัณฑิตวทิ ยาลัย

มหาวทิ ยาลัยมหาจฬุ าลงกรณราชวทิ ยาลัย
พทุ ธศกั ราช ๒๕๖๕

(ลิขสทิ ธิ์เป็นของมหาวิทยาลยั มหาจุฬาลงกรณราชวทิ ยาลัย)

Establishing a Local Network for Observing the Five Precps
to Improve the Quality of Life of the People of
Chiang Rai Province.

Pharakrutippayabunyakorn (Tip Katapuñño)

A Thesis Title Submitted in Partial Fulfillment of
the Requirements for the Degree of
Master of Arts (Buddhist Studies)
Graduate School

Mahachulalongkornrajavidyalaya University
C.E.2022

(Copyright by Mahachulalongkornrajavidyalaya University)

บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อนุมัติให้นับวิทยานิพนธ์เรื่อง
“การสร้างเครือข่ายหมูบ่ า้ นรักษาศีล ๕ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวติ ของประชาชน ในจังหวัดเชียงราย”
เปน็ สว่ นหน่ึงของการศกึ ษา ตามหลกั สูตรปริญญาพทุ ธศาสตรมหาบัณฑติ สาขาวชิ าพระพทุ ธศาสนา

........................................................
(พระมหาสมบรู ณ์ วฑุ ฺฒิกโร, รศ. ดร.)

คณบดีบณั ฑิตวทิ ยาลัย

คณะกรรมการตรวจสอบวิทยานพิ นธ์ .................................................. ประธานกรรมการ
(พระมหาสมบูรณ์ วุฑฺฒิกโร, รศ. ดร.)

........................................................ กรรมการ
(รศ. ดร.พนู ชัย ปันธยิ ะ)

........................................................ กรรมการ
(ผศ. ดร. สยาม ราชวัตร)

........................................................ กรรมการ
(ดร. เสพบัณฑติ โหน่งบัณฑิต)

คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ ……………………………………………….… กรรมการ
(พระมหาดวงทิพย์ ปริยตตฺ ิธารี ดร.)

ดร.เสพบัณฑิต โหน่งบัณฑิต ประธานกรรมการ
พระมหาดวงทิพย์ ปริยตฺติธารี ดร. กรรมการ

ชอื่ ผ้วู จิ ัย ........................................................
(พระครูทิพยบุญญากร)



ชื่อวิทยานิพนธ์ : การสรา้ งเครือขา่ ยหมู่บา้ นรกั ษาศลี ๕ เพอื่ การพฒั นาคุณภาพชวี ติ

ของประชาชน ในจงั หวดั เชยี งราย

ผวู้ จิ ัย : พระครูทิพยบุญญากร (ตบ๊ิ กตปุญฺโญ)

ปริญญา : พทุ ธศาสตรมหาบณั ฑิต (พระพทุ ธศาสนา)

คณะกรรมการควบคมุ วทิ ยานิพนธ์

: ดร.เสพบณั ฑิต โหน่งบณั ฑิต, พธ.บ. (บาลีพทุ ธศาสตร์),

รป.ม. (รฐั ประศาสนตร์), พธ.ด. (พระพุทธศาสนา)

: พระมหาดวงทพิ ย์ ปริยตตฺ ิธารี, ป.ธ. ๙, พธ.ม. (การพัฒนาสังคม),

พธ.ด. (สันติศกึ ษา)

วนั สำเร็จการศึกษา : ๒ กนั ยายน ๒๕๖๕

บทคดั ย่อ

การวิจัยครั้งนี้มวี ตั ถุประสงค์เพ่ือ ๑) เพื่อศึกษาการส่งเสรมิ การรักษาศีล ๕ ของคณะสงฆ์
จังหวัดเชียงราย ๒) เพื่อศึกษาการสร้างเครือข่ายของหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ของคณะสงฆ์ในจังหวัด
เชียงราย ๓)เพื่อวิเคราะห์เครือข่ายหมู่บ้านรักษาศีล ๕ กับพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน
ในจังหวดั เชียงราย การวจิ ัยคร้งั นีเ้ ป็นการวิจยั เชิงคณุ ภาพ (Qualitative Reserch) เคร่อื งมือท่ีใช้เก็บ
รวบรวมข้อมูล ได้แก่รวบรวมข้อมูลจากเอกสาร (Document) และจากการสัมภาษณ์ (In-depth
Interview) กบั ผูใ้ ห้ข้อมูลสำคัญ ๒๕ ทา่ น

ผลการวิจัยพบว่า ๑) ส่งเสริมสนับสนุนและสร้างความตระหนักให้พุทธศาสนิกชนนำ
หลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนา การปฏิบัติตามหลักศีล ๕ สู่ชีวิตประจำวัน ๒) ขยายผลของการ
รักษาศีล ๕ จากระดับบุคคลและครอบครัวสู่ชุมชนระดับหมู่บ้านโดยความร่วมมือของบ้าน วัด โรงเรียน
และส่วนราชการ ๓) ให้เกิดกระแสแห่งการรณรงค์ชักชวนกัน สร้างความดีในสังคมอันจะนำมาซึ่งความ
สงบร่มเย็นของประเทศชาติสืบไป ด้านการสร้างเครือข่ายของหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ของคณะสงฆ์ใน
จังหวัดเชียงราย มีการสร้างภาคีเครือข่ายดังนี้คือ เครือข่ายระดับจังหวัด ประกอบด้วย เจ้าคณะ
จงั หวดั รองเจ้าคณะจงั หวดั เครือข่ายระดับอำเภอ ประกอบดว้ ย เจา้ คณะอำเภอ รองเจ้าคณะอำเภอ
เครือข่ายในระดับวัด ประกอบด้วย เจ้าอาวาสวัดในหมู่บ้าน เครือข่ายหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ของ
หมู่บ้าน/ชุมชน และในด้านหมู่บ้านรักษาศีล ๕ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนนั้น เครือข่าย
การทำงานโครงหมู่บา้ นรกั ษาศีล ๕ จังหวัดเชียงราย มีการประสานงาน ทำความร่วมมือ แลกเปลี่ยน
การติดตามและประเมินผล ตลอดถึงการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนด้านปัจเจกและชุมชน ใน
ด้านต่าง ๆสอดคล้องกับภาวนา ๔ คือ ด้านร่างกาย มีโรคภัยไข้เจบ็ น้อย มีอายุยืน ชีวิตปราศจากการ



ทำร้ายทำลายกัน อยู่กันอยา่ งมีเมตตารักใค่รเก้ือกลู กันฉันพี่น้องมิตสหาย ด้านจติ ใจ มีความอดทนอด
กลั้นได้ดีขึ้น มีภูมิคุ้มกันยอมรับในสิ่งที่เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น อย่างสงบเย็น ไม่ตื่นเต้นกับสิ่งที่ได้ ไม่
กังวลกับสิ่งที่เสียไป ด้านความสัมพันธ์ทางสังคมมีความสามัคคีอยู่ร่วมกันได้อย่างเกื้อกูลกันมีการ
ทะเลาะและบาดหมางกันน้อยลง ทั้งพ่อแม่กับลูก สามีกับภรรยา รวมไปถึงบ้านใกล้เคียง ด้าน
สิ่งแวดลอ้ ม มีการรว่ มมอื มือกันทุกฝ่ายทั้งเครือข่ายภายในและภายนอก ในกนั จดั การบริหารบ้านของ
ตนชุมชน และสังคมอย่างเป็นมติ รกับธรรมชาติและ ด้านปัญญา ใช้ชีวิตไม่ประมาทและยอมรับความ
จริงมคี วามสขุ สงบกับปจั จุบัน



Thesis Title : Establishing a Local Network for Observing the Five

Precps to Improve the Quality of Life of the People of

Chiang Rai Province.

Researcher : Pharakrutippayabunyakorn (Tip Katapuñño)

Degree : Master of Arts (Buddhist studies)

Thesis Supervisory Committee

: Dr. Sepbandit Hnongbundit, B.A. (Pali Buddhism),

M.P.A. (Public Administration),

Ph.D. (Buddhist Studies)

: Phramaha Duangthip Pariyattidhari, Dr., Pali ix,

M.A. (Social Development), Ph.D. (Peace Studies)

Date of Graduation : September 2, 2022

Abstract

The objectives of this research are 1) to study the promotion of the five
precepts observing of the Sangha in Chiang Rai Province; 2) to study the network of
the villages of the observing the five Precepts of the Sangha in Chiang Rai Province; 3)
to analyze the village network of 5 precepts observing in order to improve the quality
of life of the people in Chiang Rai. This research is a qualitative research that conducts
from documents including gathering information from in-depth interviews with 25 key
informants.

The results show that there are promotions in several paths as follows:
1) supporting and cultivating awareness for Buddhists to apply the principles of
Buddhist teachings, the practice according to the five Precepts into daily life.
2) extending the fruition of the five Precepts observation from the individual and family
level toward the community and the village level through the cooperation of village,
temples, schools and government department; 3) creating goodness in a society that will
bring peace and tranquility to the nation continuously.

Moreover, the network of the villages of the observing the five Precepts has
been created as follows: the provincial network consists of the ecclesiastical Provincial
Governor and vice Governor; the district network consists of the ecclesiastical district
Governor and vice Governor; the network of the temple level consists of the abbot and
the network of the five Precepts observing village and community.



As far as to improve the quality of life of the people, the network of the
village of five precepts observing project in Chiang Rai province has coordination
Collaborate, exchange, follow up and evaluate as well as encouragement the quality of
life of the people in terms of individual and community in various aspects consistent
with the four developments (Bh2vanà), namely, the physical aspect, that consist fewer
diseases, longevity, and a life free from harm in order to live together with loving-
kindness, love and support each other like brotherhood; mental sector: people have
better patience, Immunity to accept the changes that occur calmly and not get excited
about what has happened, not worry about what's wasted; in terms of social relations,
there was harmony, coexistence with each other, there were minor quarrels and discords
between either parents and children, husband and wife, including immediate people; on
the environmental sector, there also is cooperation between all parties, both internal and
external networks by managing their own residence, communities and society
concordantly with nature; lastly with wisdom, they can live a conscious life and accept
the truth in order to be happy and peaceful in the present.



กิตติกรรมประกาศ

วิทยานิพนธ์ เรื่อง “การสร้างเครือข่ายหมู่บ้านรักษาศีล ๕ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต
ของประชาชน ในจังหวัดเชียงราย” ได้รับความอนุเคราะห์ ให้คำปรึกษาแนะนำ และช่วยเหลือจาก
บคุ คลหลายฝ่าย ซงึ่ ผวู้ จิ ัยขอเจรญิ พรขอบคณุ มา ณ ทน่ี ้ี

ขอขอบคุณ คณะกรรมการตรวจสอบและสอบป้องกันวิทยานิพนธ์ทุกท่าน โดยมี
พระมหาสมบูรณ์ วุฑฺฒิกโร,รศ. ดร., รศ.ดร.พูนชัย ปันธิยะ, ผศ.ดร.สยาม ราชวัตร, ดร.เสพบัณฑิต
โหน่งบัณฑิต, พระมหาดวงทิพย์ ปริยตฺติธารี ดร., ผู้ทรงคุณวุฒิทุกรูป/คนได้ให้ข้อเสนอแนะเพื่อให้
วทิ ยานิพนธ์ ฉบบั น้ี มคี วามถกู ต้องและสมบรู ณ์ยงิ่ ข้ึน

ขอขอบคุณ พระสุธีรัตนบัณฑิต,รศ.ดร. ที่ช่วยแนะนำตั้งแต่เริ่มต้นการศึกษาจนจบ
การศึกษา คณะกรรมการ เจ้าหน้าที่ทุกท่านที่ช่วยให้คำแนะนำในการจัดรูปแบบการทำวิทยานิพนธ์
และชว่ ยจดั เรียงข้อมูลการวจิ ัยซ่ึงถือเป็นกระบวนการที่สำคญั อย่างย่ิง

คุณคา่ และประโยชน์ท่ีเกิดจากวิทยานิพนธ์นี้ ขอยกคุณความดีนี้บชู าพระคณุ ของพระรัตน
ไตร ตลอดจนถึง มารดา บิดา ครู อุปัชฌาย์ อาจารย์ ผู้มีพระคุณทุก ๆ ท่าน ที่ได้อบรม สั่งสอน
แนะแนว เป็นที่ปรึกษาให้ความรู้ โดยเฉพาะญาติโยมที่อุปถัมภ์ทุนการศึกษาในครั้งนี้ ตลอดถึงเพื่อน
กัลยาณมิตรทุกท่านที่คอยให้กำลังใจ และส่งเสริมในการศึกษา ขอให้ทุกรูป/ท่าน จงมีความเจริญใน
พทุ ธศาสนาและในชีวิตตลอดไป

พระครทู ิพยบุญญากร (ตบ๊ิ กตปุญฺโญ)
๒ กันยายน ๒๕๖๕

สารบญั ฉ

เร่อื ง หนา้

บทคัดยอ่ ภาษาไทย ค

บทคัดย่อภาษาองั กฤษ ฉ

กติ ตกิ รรมประกาศ ฌ

สารบัญ ๑

สารบญั แผนภาพ ๓

คำอธบิ ายสญั ลักษณ์และคำยอ่ ๖

บทที่ ๑ บทนำ
๑.๑ ความเปน็ มาและความสำคัญของปญั หา ๗
๑.๒ คำถามวิจัย ๑๔
๑.๓ วตั ถุประสงค์ของการวจิ ัย ๒๕
๑.๔ ขอบเขตการวิจัย ๒๗
๑.๕ นิยามศพั ท์เฉพาะท่ีใช้ในการวจิ ัย ๓๕
๑.๖ ประโยชน์ทไ่ี ดร้ ับจากการวิจยั ๕๑
๕๕
บทที่ ๒ แนวคดิ ทฤษฎแี ละงานวจิ ยั ทเี่ กยี่ วข้อง ๕๘
๒.๑ แนวคิดศีล ๕ ในพระพุทธศาสนา ๕๙
๒.๒ แนวคดิ เก่ยี วกับโครงการรักษาศลี ๕ ๕๙
๒.๓ แนวคิดเกยี่ วกับการพฒั นา ๖๙
๒.๔ แนวคดิ และทฤษฎีเก่ียวกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต
๒.๕ แนวคดิ การมีส่วนร่วม
๒.๖ แนวคดิ เก่ยี วกับเครอื ข่ายทางสังคม
๒.๗ แนวคดิ และทฤษฎีเกี่ยวกับแรงจูงใจ
๒.๘ การสง่ เสรมิ การรกั ษาศลี ๕ ของคณะสงฆจ์ ังหวดั เชียงราย
๒.๙ การสร้างเครอื ข่ายของหมบู่ ้านรักษาศลี ๕ ของคณะสงฆใ์ นจงั หวดั เชยี งราย
๒.๑๐ งานวิจยั ทีเ่ กี่ยวข้อง
๒.๑๑ กรอบแนวคดิ ในการวจิ ัย



สารบัญ

เร่ือง หน้า

บทท่ี ๓ วธิ ีดำเนินการวิจยั ๗๐
๓.๑ รปู แบบการวิจัย ๗๑
๓.๒ พื้นทก่ี ารวิจัย ประชากรกลุม่ ตัวอยา่ ง ผู้ให้ขอ้ มลู ๗๓
๓.๓ เคร่ืองมือการวจิ ัย ๗๔
๓.๔ การเกบ็ รวบรวมข้อมลู ๗๕
๓.๕ การวเิ คราะหข์ อ้ มลู
๗๗
บทท่ี ๔ ผลการวเิ คราะห์ข้อมูล ๙๕
๔.๑ การส่งเสริมการรกั ษาศลี ๕ ของคณะสงฆ์จังหวดั เชยี งราย
๔.๒ การสร้างเครอื ข่ายของหมบู่ ้านรกั ษาศีล ๕ ของคณะสงฆใ์ นจังหวดั เชยี งราย ๑๐๒
๔.๓ วิเคราะห์เครือขา่ ยหมู่บ้านรกั ษาศลี ๕ เพ่ือพัฒนาคุณภาพชวี ติ ของประชาชน ๑๔๑
ในจงั หวดั เชยี งราย
๔.๔ องคค์ วามรู้ท่ีได้จากการวิจัย ๑๔๖
๑๔๘
บทท่ี ๕ สรุป อภปิ รายผลและข้อเสนอแนะ ๑๕๑
๕.๑ สรุปผลการวจิ ยั ๑๕๑
๕.๒ การอภิปรายผล ๑๕๑
๕.๓ ข้อเสนอแนะ ๑๕๑
๕.๓.๑ ข้อเสนอแนะเชงิ นโยบาย ๑๕๒
๕.๓.๒ ขอ้ เสนอแนะในการนำผลวิจัยไปใช้
๕.๓.๓ ขอ้ เสนอแนะสำหรบั การวจิ ยั ครง้ั ต่อไป ๑๕๙
๑๖๒
บรรณานุกรม ๑๖๖
๑๙๐
ภาคผนวก ๒๐๑
ภาคผนวก ก. แบบสัมภาษณ์
ภาคผนวก ข. รายนามผูใ้ หข้ ้อมลู เพอ่ื การวจิ ัย (สมั ภาษณ์)
ภาคผนวก ค. หนังสือขอความอนเุ คราะห์เกบ็ ข้อมูลเพื่อการวจิ ยั (สัมภาษณ)์
ภาคผนวก ง. ภาพการสัมภาษณ์

ประวัตผิ ู้วิจัย

สารบัญแผนภาพ ซ

แผนภาพที่ หน้า
แผนภาพท่ี ๒.๑ กรอบแนวคิดการวจิ ยั ๖๙
แผนภาพที่ ๔.๑ รปู แบบการสรา้ งเครือข่ายหมู่บา้ นรักษาศีล ๕ เชงิ อำนาจ ๙๗
แผนภาพที่ ๔.๒ รูปแบบการสร้างเครือข่ายหมบู่ า้ นรักษาศีล ๕ เชงิ หนา้ ที่ ๙๘
แผนภาพท่ี ๔.๓ รปู แบบการสร้างเครอื ข่ายหมู่บา้ นรักษาศีล ๕ เชิงประเดน็ ๑๐๒
แผนภาพที่ ๔.๔ โครงสร้างองค์กรชุมชน ๑๒๙
แผนภาพท่ี ๔.๕ กลมุ่ ต่าง ๆ ของชุมชนวัดปา่ ยาง ๑๓๐
แผนภาพท่ี ๔.๖ การเสรมิ สร้างเครอื ขา่ ยในพนื้ ที่ ๑๓๑



คำอธิบายสญั ลกั ษณ์และคำยอ่

อกั ษรย่อในวทิ ยานพิ นธฉ์ บบั น้ี ใชอ้ ้างอิงจากพระไตรปฎิ กภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณ
ราชวิทยาลัย ๒๕๓๙ โดยได้กล่าวถึงการใช้เลขหมายรหัสย่อ จะระบุเล่ม / ข้อที่ / หน้า ดังตัวอย่าง
ที.ปา. (ไทย) ๑๑/๓๑๒/๒๙๒. หมายถึง พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค (ภาษาไทย) เล่มที่
๑๑ ขอ้ ที่ ๓๑๒ หนา้ ๒๙๒.

ก. คำยอ่ ชอ่ื คมั ภีรพ์ ระไตรปฎิ ก

คำย่อ ช่อื คัมภีร์ ภาษา
ที.ปา. (ไทย) (ภาษาไทย)
พระสุตตนั ตปฎิ ก
= สตุ ตันตปฎิ ก ทีฆนกิ าย ปาฏิกวรรค

บทที่ ๑

บทนำ

๑.๑ ความเปน็ มาและความสำคัญของปัญหา

ศีลในทางพระพุทธศาสนา มีความผูกพันกับวิถีชีวิตของคนในสังคมมนุษย์ในทุกด้านของ
การดำรงชีวิต โดยฉพาะวิถีชีวิตของคนไทยนั้นมีความผูกพัน ประสานกลมกลืนกับหลักความเชือ่ การ
ประพฤติปฏิบัติ จนทำให้พระพุทธศาสนาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต ประชาชนส่วนมากนับถือ
พระพุทธศาสนาอย่างมั่นคง ตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจบุ ัน ต่างมีเมตตา ความเอื้อเฟื้อ ความอนุเคราะห์
ซึ่งกันและกัน ความเสียสละ เป็นที่ตั้งตลอดมา ด้วยคุณของพุทธธรรมคำสอนแห่งองค์สมเด็จพระ
สัมมาสัมพุทธเจ้า ท่ีทรงสงั่ สอนใหม้ ีอสิ ระจากปจั จัยท่เี ปน็ เหตุแห่งเครื่องเศร้าหมองท้งั ปวง ท้งั ทางกาย
และทางใจ ทางกาย หมายถึง การไม่สร้างความวิบัติเสียหายแก่บุคคลอื่น ส่วนทางใจ คือ อิสระจาก
กิเลสเครื่องเศร้าหมองทั้งหลายอันตัดรอนชีวิตความเป็นอยู่ของตน เพื่อนำสันติภาพและสันติสุขมาสู่
โลกมนุษย์ พระพุทธศาสนา จึงเป็นศาสนาของผู้รู้เท่าทันภาวะความเปลี่ยนแปลงของตน ของสังคม
โดยใช้ศาสนธรรมคำสอนของพระพุทธองคเ์ ปน็ หลักยึดถือประพฤตปิ ฏิบตั ิ ในส่วนของคำส่ังนั้น ได้แก่
ข้อปฏิบัตซิ ึ่งบังคับไว้เป็นขอ้ ห้ามมิให้กระทำ เรียกวา่ ศีล เป็นขอ้ ยกเว้นท่ีวางไวเ้ ปน็ กฎระเบยี บ ในส่วน
ของคำสอน ได้แก่ คำแนะนำ คำชี้แจง การศึกษาอบรมอันเป็นหลักที่ทรงวางไว้สำหรับการประพฤติ
ปฏบิ ตั ทิ ีเ่ รยี กว่า พระธรรม ถือวา่ เปน็ หนา้ ที่ ที่จะพงึ ประพฤติปฏิบัตเิ พ่ือความเจริญก้าวหน้า เปน็ ความ
ดงี ามแหง่ ชวี ิต ความเปน็ อยรู่ ่วมกันได้อยา่ งมีความสุขและปลอดภัย ทา้ งร่างกายและจิตใจ ได้ในสังคม
โดยรวม ในเรื่องของศีล ผู้ศึกษาได้ศึกษาจากเอกสารตำราวิชาการต่าง ๆ และได้มีผู้ให้ความหมายไว้
หลายท่านพอกล่าวได้สงั เขป๑

สําหรับสังคมไทยในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา แม้ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศนับถือ
พระพุทธศาสนา แต่ปัญหาต่างๆ ได้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและนับวันจะมีทวีความรุนแรงมากข้ึน
ตามลําดับ ไม่ว่าจะเป็น ปัญหาความขัดแย้งระหว่างประชาชนในประเทศ ปัญหาการแพร่ระบาดของ
ยาเสพติด ปัญหาอาชญากรรม ปัญหาการทุจริตคอรัปชั่น ความอ่อนแอของสถาบันครอบครัวก็ตาม

๑ กรมการศาสนา, ศีล, (กรงุ เทพมหานคร : พมิ พล์ ักษณ์, ๒๕๒๕), หน้า ๒๐.



มหาเถรสมาคม โดยเจ้าประคุณสมเด็จพระมหารัชชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ) สํานักงาน
พระพุทธศาสนาแห่งชาติ คณะสงฆ์ และทุกภาคส่วนต่างๆ ของสังคมไทย ได้ตระหนักถึงปัญหา
ดังกล่าวในสังคมไทย จึงได้ดําเนินการขับเคลื่อน “โครงการสร้างความปรองดองสมานฉันท์โดยใช้
หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา “หมู่บ้านรักษาศีล ๕” อย่างเป็นทางการ ตั้งแต่วันที่ ๑๘ มิถุนายน
พ.ศ. ๒๕๕๗ โดยมีวัตถุประสงค์ ๔ ประการด้วยกัน ได้แก่ (๑) เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล
แก่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ (๒) เพื่อเสริมสร้าง
ความปรองดองสมานฉันท์ ลดความขัดแย้ง สร้างความมั่นคง ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
ให้กับประชาชนในประเทศ (๓) เพื่อให้ประชาชนได้นําหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาใช้ในการ
ดําเนินชีวิตอย่างมีความสุข (๔) เพื่อปลูกฝังจิตสํานึกได้สํานึกและสร้างความตระหนัก รักและเชิดชู
สถาบนั ชาติ ศาสนา พระมหากษัตรยิ ์ ให้เป็นสถาบนั หลักของประเทศอยา่ งมัน่ คง

ประชาชนที่ได้ปฏิบัติตามหลักศีล ๕ จะช่วยเสริมสร้างความมั่นคงในชีวิต เพื่อเน้นให้
ประชาชนมีสุขภาวะ มคี วามม่ันคงในชีวิต และมีคุณภาพชีวิตท่ดี ีข้ึนกว่าในช่วงท่ผี ่านมา โดยมสี ุขภาวะ
ที่สมบูรณ์ ที่มุ่งเน้นการพัฒนาประชาชนให้มีคุณภาพชีวิตตามหลักศีล ๕ ซึ่งแนวทางการพัฒนาให้
ความสําคัญกับการเสริมสร้างความรู้และปรับเจตคติด้านสุขภาวะผ่านสถาบันครอบครัวและระบบ
การศึกษา ทั้งในระบบและนอกระบบโรงเรียน เกิดจากประชาชนนําหลักการของศีล ๕ มาปรับใช้
ในการดําเนินชีวิตประจําวัน ทําให้ชีวิตมีความสงบ ลดรายจ่าย ป้องกันปัญหา และผลกระทบที่เกิด
จากอบายมุข ส่งิ แวดล้อมทเ่ี กย่ี วข้องเกี่ยวกับอบายมุขของชมุ ชน

จังหวัดเชียงราย และคณะสงฆ์จังหวัดเชียงราย ร่วมกับสํานักงานพระพุทธศาสนา
จังหวัดเชียงราย ได้ทําโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ได้ดําเนินการเป็นรูปแบบเครือข่ายจัดตั้ง
โดยประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการทํางานขับเคลื่อนโครงการ หน่วยงานราชการ คณะสงฆ์ ภาครัฐ
สถานศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรภาคเอกชน กํานัน ผู้ใหญ่บ้าน องค์การเครือข่าย
ชาวพุทธ มีการลงบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ระหว่างผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย
เจ้าคณะจังหวัดนเชียงราย นายอําเภอทุกอําเภอ เจ้าคณะอําเภอทุกอําเภอ กํานันทุกตําบล
เจ้าคณะตําบลทุกตําบล ผู้ใหญ่บ้านทุกหมู่บ้าน เจ้าอาวาสทุกวัด ดําเนินการจัดทําโครงการอบรม
พระวิทยากรแกนนํา โครงการเผยแผ่ธรรมของพระธรรมทูต โครงการตรวจการคณะสงฆ์
เพ่ือขบั เคลื่อนโครงการหมบู่ ้านรกั ษาศีล ๕ ใหด้ าํ เนนิ การไปด้วยดี๒

๒ มหาเถรสมาคม,(ร่าง) ระเบียบมหาเถรสมาคม ว่าด้วยการดำเนินงานโครงการหมู่บ้านรักษาศีล
๕, พ.ศ. ๒๕๕๗, (คมู่ ือการดำเนนิ งานโครงการสรา้ งความปรองดอง:ในสำนักงานพระพทุ ธศาสนาแหง่ ชาติ), หน้า ๑.



การสร้างเครือขา่ ยความรว่ มมือบนพื้นฐานของความเขา้ ใจในวัตถุประสงค์ของการทํางาน
ร่วมกัน การแบ่งงานกันทํา การแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ร่วมกัน บทบาทของความร่วมมือจะ
ขยายออกไป นอกจากการให้ความร่วมมือทางด้านข้อมูลจะนําไปสู่ความร่วมมือในการสร้างความ
เขม้ แข็งในดา้ นอ่ืนๆ อกี ดว้ ย สมาชิกหม่บู ้านรกั ษาศลี ๕ สมควรจัดกล่มุ บคุ คลหรอื หน่วยงาน/องค์กรที่
สมัครใจ ที่จะทํากิจกรรมร่วมกัน ในลักษณะเครือข่ายความร่วมมือภายใต้หลักการกระจายอํานาจ
โดยมีผู้นําชุมชนทั้งท้องที่ ท้องถิ่น เพื่อให้เป็นไปได้อย่างเหมาะสม คล่องตัว สมบูรณ์ เรียบร้อย
มีคุณภาพและประสิทธิภาพตามเจตนารมณ์ของการโครงการ และควรคํานงึ ถงึ องค์ประกอบหลักของ
การสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ได้แก่ การมีสมาชิก ผู้นําเครือข่าย การมีส่วนร่วมของสมาชิก
การเรียนรู้ร่วมกัน การลงทุน การสื่อสาร การมีผลประโยชน์ร่วมกัน และความสนใจร่วมกัน รวมท้ัง
สมาชิกต้องพง่ึ พาซ่งึ กนั และกัน มคี วามเสมอภาค มีความสมคั รใจ

จากความสําคัญดังกล่าว จะเห็นได้ว่าโครงการฯ นี้ เป็นโครงการใหญ่ และเป็นโครงการ
ใหม่ มีความสําคัญที่มีผลต่อการดําเนินชีวิตของประชาชนทั่วทั้งประเทศ ผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะ
ศกึ ษาหลกั การทํางานของเครือข่ายหมู่บา้ นรักษาศีล ๕ วิเคราะห์ความสัมพันธเ์ ชิงเครือข่ายแบบบูรณา
การภารกจิ เพ่ือการพฒั นาคณุ ภาพชวี ิต และหารปู แบบการสร้างเครือขา่ ยหมู่บ้านรักษาศลี ๕ เพื่อการ
พฒั นาคุณภาพชีวิตที่ดขี องคนในสงั คมไทยอยา่ งเปน็ รูปธรรมต่อไป

๑.๒ คำถามวิจัย

๑.๒.๑ คณะสงฆจ์ งั หวัดเชียงราย มีรูปแบบ และวธิ กี าร ส่งเสริมการรักษาศีล ๕ อย่างไรบา้ ง

๑.๒.๒ การสร้างเครือข่ายของหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ของคณะสงฆ์ในจังหวัดเชียงราย
มคี วามสำคัญอยา่ งไรบ้าง

๑.๒.๓ ภาคีเครือข่ายหมู่บ้านรักษาศีล ๕ มีส่วนสำคัญอย่างไรบ้างในการพัฒนาคุณภาพ
ชีวติ ของประชาชนในจงั หวดั เชยี งราย

๑.๓ วตั ถุประสงค์ของการวจิ ยั

๑.๓.๑ เพือ่ ศกึ ษาแนวคดิ ทฤษฎีการส่งเสริมการรกั ษาศลี ๕ ของคณะสงฆจ์ ังหวดั เชยี งราย
๑.๓.๒ เพื่อศึกษาการสร้างเครือข่ายของหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ของคณะสงฆ์ในจังหวัด
เชยี งราย
๑.๓.๒ เพื่อวิเคราะห์เครือข่ายหมู่บ้านรกั ษาศีล ๕ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน
ในจงั หวัดเชียงราย



๑.๔ ขอบเขตการวจิ ัย

การวิจัยเรื่อง การสร้างเครือข่ายหมู่บ้านรักษาศีล ๕ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต
ของประชาชน ด้านร่างกาย จิตใจ ความสัมพันธ์ทางสังคม สิ่งแวดล้อม และ ปัญญา ในจังหวัด
เชียงราย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Reserch) โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร
(Document) และการเก็บข้อมูลภาคสนาม (Field Study) มรี ายละเอยี ดการวิจัยดงั ต่อไปนี้

๑.๔.๑ ขอบเขตด้านพ้ืนที่
๑. วัดบา้ นจ้อง อำเภอแมส่ าย จงั หวดั เชยี งราย
๒. วัดปา่ ยาง อำเภอแมจ่ นั จงั หวัดเชียงราย
๓. วัดหนองออ้ อำเภอแม่สาย จงั หวดั เชียงราย
๔. วดั ป่าแฝ อำเภอแมส่ าย จังหวัดเชียงราย

๑.๔.๓ ขอบเขตด้านประชาชนผูใ้ ห้ข้อมูล
บุคคลที่เกย่ี วข้องในการให้ข้อมลู ในการวจิ ัย ไดแ้ ก่

๑. เจ้าอาวาส จำนวน ๔ รูป
๑. พระครสู วุ ชิ านสตุ สนุ ทร เจา้ อาวาสวัดบ้านจ้อง อำเภอแมส่ าย
๒. พระครปู ระภาสพนารักษ์ เจ้าอาวาสวัดป่ายาง อำเภอแมจ่ ัน
๓. พระอธิการประเสรฐิ วรธมโฺ ม เจ้าอาวาสวดั หนองอ้อ อำเภอแมส่ าย
๔. พระอธิการเกยี รตดิ ุรงค์ ปภงกฺ โร เจ้าอาวาสวัดปา่ แฝ อำเภอแมส่ าย

๒. พระสงฆ์ผู้ปกครอง จำนวน ๕ รูป
๑. พระรตั นมนุ ,ี ผศ.ดร. ท่ีปรกึ ษาเจา้ คณะจงั หวัดเชยี งราย
๒. พระพทุ ธิญาณมนุ ี เจา้ คณะจังหวัดเชยี งราย
๓. พระพทุ ธวิ งศว์ วิ ัฒน์ ทป่ี รึกษาเจ้าคณะจังหวัดเชียงราย
๔. พระครูวิสุทธิธรรมภาณี เจ้าคณะอำเภอแมส่ าย
๕. พระครอู ปุ ถัมภว์ รการ เจา้ คณะอำเภอแมจ่ นั

๓. ผูน้ ำชุมชน จำนวน ๙ คน
๑. นายอาชัน สุภาวรรณ์ ผู้ใหญ่บ้าน บ้านจ้อง หมู่ที่ ๑ ตำบลโป่งผา

อำเภอแม่สาย จงั หวัดเชียงราย
๒. นายเสฎฐวุฒิ ปัญญาคำ ผ้ใู หญ่บ้าน บ้านหนองออ้ หมู่ท่ี ๒ ตำบลโป่งผา

อำเภอแมส่ าย จงั หวดั เชยี งราย



๓. นายสมคดิ มหาวงศนันท์ กำนันตำบลโป่งผา ตำบลโปง่ ผา อำเภอ
แมส่ าย จังหวดั เชียงราย

๔. นายเฉลมิ กุณาเลย ผู้ใหญบ่ า้ น บ้านน้ำจำ หมูท่ ่ี ๕ ตำบลโป่งผา อำเภอ
แมส่ าย จงั หวัดเชียงราย

๕. นายวีรากร ใจด้วง ผู้ใหญ่บ้าน บ้านสันทรายมูล หมู่ที่ ๖ ตำบลโป่งผา
อำเภอแม่สาย จงั หวดั เชียงราย

๖. นามสมผัด จันทาพูน ผู้ใหญ่บ้าน บ้านนาปง หมู่ที่ ๘ ตำบลโป่งผา
อำเภอแมส่ าย จังหวดั เชียงราย

๗. นางนภาสรณ์ ทาตุการ ผู้ใหญ่บ้าน บ้านจ้อง หมู่ที่ ๙ ตำบลโป่งผา
อำเภอแม่สาย จงั หวดั เชียงราย

๘. นายจรสั นนั ตาวาง ผ้ใู หญ่บา้ น บ้านจ้อง หมู่ท่ี ๑๐ ตำบลโปง่ ผา อำเภอ
แม่สาย จังหวดั เชียงราย

๙. นางทรงกมล กันทะดง ผู้ใหญ่บ้าน บ้านน้ำจำ หมู่ที่ ๑๒ ตำบลโป่งผา
อำเภอแมส่ าย จงั หวัดเชียงราย

๔. หน่วยงานภาครัฐ จำนวน ๗ คน
๑. สำนักงานพระพทุ ธศาสนาจังหวัดเชียงราย
๑. นางเกลียวพรรณ์ ขำโนนงิ้ว ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุททธศาสนา

จงั หวดั เชียงราย
๒. นางสาวหน่อแก้ว อตุ โน สำนักงานพระพุททธศาสนาจังหวัดเชียงราย
๓. นายพิสนั ต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย
๔. นางอทิตาธร วนั ไชยธนวงศ์ นายกองคก์ ารบริหารส่วนจังหวัดเชยี งราย
๕. นางณชั ชา กนั ทะดง นายกองคก์ ารบรหิ ารสว่ นตำบลโป่งผา
๖. เกยี รติยศ เลศิ วรรธน์ ปลัดองคการบริหารสว่ นตำบลโปง่ ผา
๗. นายเกียรตยิ ศ เลิศณวรรณธน์ ปลัด องคก์ ารบรหารส่วนตำบลโป่งผา
รวมทัง้ หมด จำนวน ๒๕ รปู /คน

๑.๔.๕ ขอบเขตด้านระยะเวลา
ในการศึกษาครั้งนี้ผู้ศึกษาเริ่มทำการศึกษาและใช้ข้อมูลตั้งแต่เดือน ตุลาคม ๒๕๖๔ –
กรกฏาคม ๒๕๖๕ รวมระยะเวลาทศ่ี ึกษา ๙ เดือน



๑.๕ นิยามศัพทเ์ ฉพาะที่ใชใ้ นการวจิ ัย

การวิจัยเรื่อง การสร้างเครือข่ายหมู่บ้านรักษาศีล ๕ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต
ของประชาชน ในจังหวัดเชยี งราย คร้ังน้ี ผู้วิจัยไดน้ ิยามศพั ท์สำหรับการวจิ ยั ไว้ดงั น้ี

๑.๕.๑ ศีล ๕ หมายถึง ความประพฤติดีงามสุจริตที่แสดงออกทางกายและวาจา
เปน็ คณุ สมบตั ิของคนประพฤตดิ ีและเก้ือกลู ให้เกิดขึ้นสำหรับมนษุ ย์ในสังคม คือ ขอ้ ปฏบิ ัติ ๕ ประการ
ในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท ได้แก่ การงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ รวมถึงการไม่เบียดเบียน
สัตว์, การงดเวน้ จากการลักทรัพย์ หรอื ฉอ้ โกงทรัพย์ส่ิงของ ๆ ผอู้ ืน่ มาเปน็ ของตน, การงดเว้นจากการ
ประพฤติล่วงเกินในบุตรธิดาและภรรยาผู้อื่น, การงดเว้นจากการพูดเท็จ, การงดเว้นจากการดื่มน้ำ
เมาคอื สุราและเมรยั อนั ทำใหข้ าดสติสมั ปชัญญะ

๑.๕.๒ หมบู่ ้านรกั ษาศลี ๕ หมายถงึ นโยบายสำคญั ของเจ้าประคณุ สมเด็จพระมหารัชมัง
คลาจารย์ ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช ที่ดำริให้กับคณะสงฆ์ทุกจังหวัด และสำนักงาน
พระพุทธศาสนาแห่งชาติได้ร่วมในการนำหลักของศีล ๕ ให้เข้าถึงประชาชนทุกระดับครอบคลุม
ทุกพื้นที่ โดยให้จัดทำในรูปของโครงการสร้างความปรองดองสมานฉันท์โดยใช้หลักธรรม
ทางพระพุทธศาสนา “หม่บู า้ นรกั ษาศลี ๕”

๑.๕.๓ การพัฒนาคุณภาพชีวติ หมายถึง การปรับปรงุ เปลี่ยนแปลงตนเองและผู้อืน่ ดา้ น
ทักษะ และ คุณภาพชีวิตทางด้านร่างกาย จิตใจ ความสัมพันธ์ทางสังคม สิ่งแวดล้อมและปัญญา
เพื่อเสริมสร้างชีวิตเต็มความสามารถและอยู่สงบเย็นในสังคมได้อย่างมีคณุ ภาพและประสิทธิภาพตาม
หลกั ศีล ๕

๑.๕.๔ การสร้างเครือข่าย หมายถึง การรวมตัวกันของกลุ่ม การมีส่วนร่วมของชุมชน
และส่วนต่างๆ เพื่อประสานงานและกระตุ้นให้เกิดการพัฒนางาน โดยวิธีการแลกเปลี่ยนข้อมูล
ข่าวสาร การทำกิจกรรมร่วมกัน การขยายกิจกรรมในด้านต่างๆ เช่น การมอบเกียรติคุณและยกย่อง
คนทำดีเปน็ ตัวอย่างใหช้ มุ ชนหมู่บ้านรกั ษาศลี ๕ ไดพ้ ัฒนายง่ิ ข้นึ อยา่ งยัง่ ยนื

๑.๕.๕ ประชาชน หมายถึง ประชาชนด้านพื้นที่ต้นแบบ ๕ วัด ซึ่งเป็นประชากรผู้อยู่
อาศยั ใน ชมุ ชนขอบเขตวจิ ยั ในจังหวัดเชียงราย

๑.๖ ประโยชน์ท่ีไดร้ ับจากการวจิ ัย

๑.๖.๑ ไดท้ ราบถงึ การส่งเสริมการรักษาศลี ๕ ของคณะสงฆ์จงั หวัดเชียงราย
๑.๖.๒ ไดม้ กี ารสร้างเครอื ขา่ ยของหมู่บา้ นรกั ษาศีล ๕ ของคณะสงฆ์ในจังหวัดเชยี งราย
๑.๖.๓ เครือข่ายหมู่บ้านรักษาศีล ๕ และชุมชน ได้มีส่วนร่วม ช่วยกันส่งเสริม สนับสนุน
การพฒั นาคณุ ภาพชวี ิต ของประชาชน ในจังหวัดเชยี งราย

บทท่ี ๒

แนวคิดและทฤษฎีงานวจิ ยั ทเ่ี กยี่ วข้อง

ในบทที่ ๒ นี้ได้นำเสนอเกี่ยวกับแนวคิดและทฤษฎีงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีรายละเอียด
ดงั นคี้ อื

๒.๑ แนวคดิ ศลี ๕ ในพระพุทธศาสนา
๒.๒ แนวคดิ เก่ยี วกบั โครงการรักษาศีล ๕
๒.๓ แนวคดิ เกีย่ วกบั การพัฒนา
๒.๔ แนวคดิ และทฤษฎเี กี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต
๒.๕ แนวคดิ การมสี ว่ นร่วม
๒.๖ แนวคดิ เกยี่ วกบั เครอื ขา่ ยทางสังคม
๒.๗ แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับแรงจงู ใจ
๒.๘ การส่งเสรมิ การรกั ษาศีล ๕ ของคณะสงฆจ์ ังหวัดเชยี งราย
๒.๙ การสรา้ งเครือข่ายของหม่บู า้ นรักษาศลี ๕ ของคณะสงฆ์ในจังหวัดเชยี งราย
๒.๑๐ งานวจิ ัยท่ีเกี่ยวขอ้ ง
๒.๑๑ กรอบแนวคิดในการวิจยั

๒.๑ แนวคิดศลี ๕ ในพระพทุ ธศาสนา

ศลี ๕ นับว่าเป็นหลักปฏบิ ัติท่ีสำคัญสำหรบั ผทู้ ่นี บั ถือศาสนาพุทธ ไม่ว่าจะในบา้ นเรา หรือ
แม้แต่ประเทศที่มีการนับถือศาสนาพุทธเป็นส่วนใหญ่ โดยที่ศีล ๕ นั้นถือเป็นหลักปฏิบัติขั้นพื้นฐาน
ที่สดุ ตามมาดว้ ย ศลี ๘ ศีล ๑๐ ไปจนถงึ ศีล ๒๒๗ ขอ้ สำหรับผทู้ ่ีถอื ครองสมณะเปน็ พระก่อนที่เราจะ
ไปอ่านรายละเอยี ดของศีลท้ัง ๕ ขอ้ เรายังมเี รื่องราวทีน่ ่าสนใจเก่ยี วกบั การกำเนิดหลักปฏิบัติดังกล่าว
ตั้งแต่เมื่อครั้งพุทธกาล ที่ถือว่าหลักปฏิบัตินี้มีความเชื่อมโยงกัน และครอบคลุมการดำเนินชีวิตของ
มนุษย์อยา่ งครบถ้วน๑

๑ ท.ี ปา.(ไทย) ๑๑/๒๘๖/๒๔๗.



จากหลักฐานที่ถกู ค้นพบด้านประวัติศาสตร์ของพระพุทธศาสนานั้น พบว่า “ศีล” เกิดข้ึน
ครั้งแรกในสมัยพระเจ้าสมสติราช ซึ่งมิอาจระบุช่วงปีที่เกิดได้เนื่องจากเป็นระยะเวลาที่ยาวนานมาก
แล้ว โดยในครั้งนัน้ เป็นการเกดิ ขึน้ ของศีลข้อที่ ๒ คือ ห้ามลักทรัพย์ จากนั้นศีลข้อที่ ๓ จึงเกิดตามมา
คือ ห้ามประพฤติผิดในกาม ซึ่งเมื่อเกิดการประพฤติผิดในศีลทั้ง ๒ ข้อแล้วจึงเกิดเป็นการโกหก
หลอกลวง ไม่ยอมรับ ไมย่ อมสารภาพผิดต่อขนึ้ มา จงึ เกดิ เป็นศลี ข้อท่ี ๔ คอื หา้ มพดู เท็จ และเม่ือเกิด
ความขัดแย้งกันอย่างรุนแรงมากขึน้ ถึงกับมีการฆา่ แกงกัน จึงเป็นที่มาของศีลข้อท่ี ๑ คือ ห้ามฆ่าสัตว์
ส่วนศีลข้อที่ ๕ คือ ห้ามดื่มสุรา ตามตำนานเล่าว่าเป็นการประพฤติที่เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุ
ไดม้ คี นเดนิ ทางไปพบนำ้ ขังบรเิ วณตามง่ามไม้ เม่อื สงั เกตไปยงั นก นกได้ด่มื นำ้ น้ันเข้าไปแลว้ เกิดอาการ
เมา พยายามจะตะเกียกตะกายบินขึ้นบนฟ้าไปให้ได้ คนที่พบจึงทดลองดื่มดูรู้สึกว่าสนุกดี จึงได้น้ำที่
พบนั้นไปศึกษาส่วนประกอบ ต่อมาเมื่อศีลทั้ง ๕ ข้อก็ได้กลายมาเป็นบทบัญญัติของบ้านเมือง และ
ของเหลา่ บัณฑติ

เมื่อเวลาผ่านไปได้สักระยะ พระพุทธศาสนาได้อุบัติขึ้น พระพุทธเจ้าจงึ ทรงนำบทบัญญัติ
เหลา่ น้มี าเปน็ หลกั ในการประพฤติปฏบิ ตั ิของพุทธบริษัท โดยเรม่ิ ตน้ จากอบุ าสก อุบาสิกา นบั วา่ ศีล ๕
นั้นเป็นเรื่อง่ายที่ยากต่อการปฏิบัติในหมู่ชาวไทย อาจเป็นเพราะว่าคนไทยนั้นมีความคุ้นเคยกับการ
ปฏิบัติในทางตรงกันข้ามกับศีล ๕ ในชีวิตประจำวัน เป็นสิ่งที่ทำต่อเนื่องมาจนเป็นส่วนหนึ่งของการ
ดำเนินชีวิต ทำให้เมื่อมายดึ ถือศีล ๕ ก็ไม่สามารถทำไดท้ กุ ข้อ หรอื อาจทำไมไ่ ดเ้ ลย

๒.๑.๑ ความหมายของศลี ในทางพระพทุ ธศาสนา
ศีลในทางพระพุทธศาสนา มีความผูกพันกับวิถีชีวิตของคนในสังคมมนุษย์ในทุกด้านของ
การดำรงชีวิต โดยฉพาะวิถีชีวิตของคนไทยนั้นมีความผูกพัน ประสานกลมกลืนกับหลักความเชือ่ การ
ประพฤติปฏิบัติ จนทำให้พระพุทธศาสนาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต ประชาชนส่วนมากนับถือ
พระพุทธศาสนาอย่างมั่นคง ตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน ต่างมีเมตตา ความเอื้อเฟื้อ ความอนุเคราะห์
ซึ่งกันและกัน ความเสียสละ เป็นที่ตั้งตลอดมา ด้วยคุณของพุทธธรรมคำสอนแห่งองค์สมเด็จพระ
สัมมาสัมพุทธเจา้ ท่ีทรงส่งั สอนใหม้ ีอิสระจากปัจจัยทเ่ี ป็นเหตุแหง่ เครื่องเศร้าหมองทง้ั ปวง ทงั้ ทางกาย
และทางใจ ทางกาย หมายถึง การไม่สร้างความวิบัติเสียหายแก่บุคคลอื่น ส่วนทางใจ คือ อิสระจาก
กิเลสเครื่องเศร้าหมองทั้งหลายอันตัดรอนชีวิตความเป็นอยู่ของตน เพื่อนำสันติภาพและสันติสุขมาสู่
โลกมนุษย์ พระพุทธศาสนา จึงเป็นศาสนาของผู้รู้เท่าทันภาวะความเปลี่ยนแปลงของตน ของสังคม
โดยใช้ศาสนธรรมคำสอนของพระพุทธองค์เป็นหลักยดึ ถือประพฤติปฏบิ ตั ิ ในส่วนของคำส่ังนัน้ ได้แก่
ขอ้ ปฏิบตั ซิ ง่ึ บงั คับไวเ้ ป็นขอ้ หา้ มมิให้กระทำ เรยี กวา่ ศลี เปน็ ขอ้ ยกเว้นที่วางไว้เปน็ กฎระเบียบ ในส่วน
ของคำสอน ได้แก่ คำแนะนำ คำชี้แจง การศึกษาอบรมอันเป็นหลักที่ทรงวางไว้สำหรับการประพฤติ
ปฏิบตั ิทเ่ี รยี กว่า พระธรรม ถอื วา่ เป็นหนา้ ที่ ที่จะพงึ ประพฤตปิ ฏิบัติเพื่อความเจริญกา้ วหนา้ เปน็ ความ



ดงี ามแหง่ ชวี ิต ความเปน็ อยู่ร่วมกันได้อยา่ งมีความสุขและปลอดภยั ท้างร่างกายและจิตใจ ได้ในสังคม
โดยรวม ในเรื่องของศีล ผู้ศึกษาได้ศึกษาจากเอกสารตำราวิชาการต่าง ๆ และได้มีผู้ให้ความหมายไว้
หลายท่านพอกล่าวได้สงั เขป ดงั น้ี

กรมการศาสนา๒ ได้กล่าวว่า ศีล หมายถึง การประพฤติปฏิบัติของภุกษุเพื่อให้สำรวมใน
พระปาฏิโมกข์ ความถึงพร้อมด้วยอาจาระ และสารูป เห็นภัยในโทษทั้งหลาย แม้จะมีประมาณน้อย
สมาทานอย่ใู นสิกขาทั้งหลาย ความสำรวมระวงั ความไมก่ ้าวลว่ งในสกิ ขาบททง้ั หลาย ซง่ึ หมายถึง การ
สำรวมกาย วาจาและใจ ให้สงบเรยี บรอ้ ย

สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส๓ ทรงให้ความหมายของศีลไว้ว่า
ศลี คอื เจตนาทจ่ี ะระรังรักษาความประพฤตทิ างกาย วาจา ใจ ให้เรยี บร้อยปราศจากโทษ

พทุ ธทาสภิกขุ๔ ได้อธิบายว่า “ศลี ” หมายถงึ ความเป็นปกติ หรือปกติภาวะตามธรรมดา
หมายความว่า ทำทุกอย่างที่ควรทำ อยู่ในภาวะปกติ คือไม่เดือดร้อน ไม่กระวนกระวาย ไม่ระส่ำระ
สา่ ย ไมม่ คี วามสกปรก ไม่มคี วามเศร้าหมองให้เกดิ ข้ึน โดยเนอ้ื ความศีล หมายถงึ ระเบียบท่ีได้บัญญัติ
ข้ึนไว้สำหรับประพฤตปิ ฏิบตั ิ เพอ่ื ใหเ้ กดิ ภาวะปกติ เกดิ ขึน้ ทกี่ าย วาจา ใจ

ไชยวัฒน์ กปิลกาษจน์๕ ได้กล่าวว่า เจตนา คือ ความตั้งใจไม่ทำกรรมชั่ว มีการฆ่าสัตว์
เป็นต้น ความงดเว้นจากการทำกรรมช่ัวนัน้ ก็ดี สติเป็นเหตุท่ีเกิดขึ้น อันเป็นเหตุให้ยับยั้งการทำกรรม
ชั่วครั้งนั้น ๆ ได้ก็ดี ชื่อว่า “ศีล” เรียกว่า “ศีล” โดยความหมายว่า การตั้งกาย และวาจา โดยชอบ
ธรรม

พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ประยุตฺโต)๖ ได้กล่าวว่า “ศีล” หมายถึง การไม่เจตนาละเมิด
ระเบียบ ไม่เจตนาล่วงเกินเบียดเบียนผู้อื่น ถ้ามองแต่อาการการกระทำ ศีลก็คือความไม่ละเมิด ไม่
เบียดเบียน อีกอย่างหนึ่ง ศีลอยู่ที่ความสำรวมระวัง คอยปิดกั้นหลีกเว้นไม่ให้ความชั่วเกิดขึ้น ถ้ามอง
ให้ลกึ ที่สดุ สภาพจติ ของผู้ไม่คดิ จะละเมิด ไม่คิดจะเบียดเบียนคนอน่ื ดว้ ยกาย วาจา ใจ

๒ กรมการศาสนา, ศีล, (กรุงเทพมหานคร : พิมพ์ลกั ษณ,์ ๒๕๒๕), หนา้ ๒๐.
๓ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส, ศีล, (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ สุรวัฒน์,
๒๕๓๘), หน้า ๒๗๔.
๔ พทุ ธทาสภิกขุ, ศีล, (กรงุ เทพมหานคร : โรงพมิ พ์ พิมพ์ลกั ษณ,์ ๒๕๓๙), หนา้ ๕๒.
๕ ไชยวัฒน์ กปลิ กาษจน์, ศีล, (กรุงเทพมหานคร : พมิ พ์ลกั ษณ์, ๒๕๔๒), หน้า ๕๒.
๖ พระธรรมปฎิ ก, ศลี , (กรงุ เทพมหานคร : พมิ พล์ ักษณ,์ ๒๕๔๒), หน้า ๗๖๗.

๑๐

ไสว มาลาทอง๗ กล่าวว่า ศีล ๕ หรือเบญจศีล หมายถึง เจตนา หรือความตัง้ ใจประพฤติ
งดเวน้ จากความชั่วทางกาย วาจา ใจ เรียกโดยทวั่ ไปว่า “ศลี ๕” เรียกตามบญั ญตั วิ า่ “สิกขาบท ๕”

แกว้ ชดิ ตะขบ๘ ไดก้ ล่าวว่า คำว่า ศีล (สลี ํ) แปลไดห้ ลายนยั เช่น แปลวา่ ปกติ ธรรมชาติ
ความเคยชิน เยือกเย็น เกษมสุข ในที่นี้แปลว่า ปกติ การทำให้เป็นปกติ ธรรมชาติ ความประพฤติที่ดี
ความตั้งใจงดเว้น และความสำรวมระวังไม่ล่วงละเมิดบัญญัติอันชอบธรรม คือ การรักษา กาย วาจา
ใจ ให้เรียบร้อย ความประพฤติชอบทางกาย วาจา ใจ ให้ตั้งอยู่ในความดีงาม การักษาปกติ ระเบียบ
วนิ ยั ปกติ มารยาทดีปราศจากโทษ ขอ้ ปฏิบตั ิในการฝึกให้ดยี ง่ิ ขน้ึ ข้องปฏบิ ัตใิ นการควบคุมคนให้อยู่ใน
ความไม่เบียดเบียนกนั หรอื การควบคมุ พฤติกรรมส่วนตวั ของเรา

สรุปได้ว่า ศีล หมายถึง หลักประพฤติปฏิบัติในทางที่ดีงามให้เป็นไปโดยปกติชนส่งเสริม
มนุษย์ทุกคน สามารถดำเนินชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคม โดยปราศจากโทษภัยทั้งทางด้านร่างกาย และ
จิตใจ เข้าถึงจุดหมายท่ีดีงามตามลำดับของชีวิต ทำให้สังคมโดยรวมมีความสงบเรียบร้อย และทำให้
มนุษย์นั้นมีการสำรวมกาย และวาจาเรียบร้อย ทั้งในการพูด การคิด การทำ ในการแสดงออกอันเป็น
การยกระดับจติ ใจ เข้าถึงแกน่ แทใ้ นหลักธรรม อนั เป็นกุศลธรรมอันดีงามทงั้ ปวง อาจกลา่ วส้ัน ๆ ได้ว่า
ศลี คอื ขอ้ ห้ามไมใ่ หท้ ำความชัว่ ทุจรติ ของพระพุทธศาสนา นั้นเอง

๒.๑.๒ ประเภทของศลี ในพระพุทธศาสนา
แก้ว ชิดตะขบ กล่าวว่า ในทางพระพุทธศาสนาได้แบ่งประเภทของศีลไว้มีอยู่หลายช้ัน
หลายระดับ จดั แบ่งได้หลายประเภท เพือ่ ใหเ้ หมาะกับวถิ ีชวี ิตและสังคมปัจจุบนั แห่งบุคคล ศีลท่านจัด
ไว้ ๕ ประเภท ดังน้ี
๑. ศีล ๕ หรอื เบญจศลี เป็นศลี ขั้นพืน้ ฐานของศีลทั้งปวง กลา่ วคือ ศลี ทกุ ประเภทไม่ว่าจะ
เป็นศีลของอุบาสก อุบาสิกา พระภิกษุ สามเณร ตลอดจนศีลของพระภิกษุณี นั้นต้องอยู่บนพื้นฐาน
ของศีล ๕ สำหรับศีล ๕ นี้กำหนดเป็นศีลสำหรับฆราวาสผู้ครองเรือนทั่วไปที่ควรรักษามีชื่อเรียกว่า
นิจศีล ศีลที่ควรรักษาเป็นนิจ ปกติศีล ศีลที่ควรรักษาให้เป็นปกติบ้าง เรียกว่า มนุสสธรรม หรือ
มนุษยธรรม หรือ ธรรมของมนุษย์ หรอื ทำให้เปน็ มนุษย์
๒. ศีล ๘ (อัฐศีล) หรือศีอุโบสถ เป็นศีลที่มีพื้นฐานมาจากศีล ๕ โดยเน้นการไม่เสพกาม
การรู้จักรับประทานอาหารจำกัดเวลา การหัดลดละการหาความสุขจากสิ่งบันเทิง การงดใช้เครื่องน่ัง

๗ ไสว มาลาทอง, คู่มือการศึกษาจริยธรรม, (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ การศาสนา, ๒๕๔๒),
หน้า ๑๐๙.

๘ แกว้ ชดิ ตะขบ, กระบวนการส่งเสรมิ การรกั ษาศีล ๕ เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิต, (กรงุ เทพมหานคร
: โรงพมิ พ์ พระพุทธศาสนา แหง่ ชาติ, ๒๕๕๐), หนา้ ๒๐๓.

๑๑

เคร่อื งนอนฟหู หรหู รา เปน็ การฝึกตนใหร้ ู้จักใช้ชวี ิตที่เป็นอิสระได้มากขึ้น สามารถอยู่ท่ีดีมีสุขได้โดยไม่
ต้องพึ่งพาวัตถุภายนอกมากเกินไป ศีล ๘ นี้ เป็นเครื่องเสริมโอกาสในการพัฒนาชีวิตทางด้านจิตใจ
และปญั ญา เป็นศลี สำหรบั ฝึกตนใหด้ ีย่งิ ข้นึ ไปกว่าคฤหสั ถ์ปกติทัว่ ไป

๓. ศีล ๑๐ (ทศ ศีล) หรือสิกขาบท ๑๐ ประการ เป็นศีลสำหรับสามเณรสมาทานรักษา
คำว่าสามเณร แปลว่า เหล่ากอของสมณะ หมายถึง เด็กชายผู้ศีกษาอบรมตามหลักไตรสิกขาเพ่ือ
เตรยี มเป็นพระภิกษุ

๔. ศีล ๒๒๗ หรือสิกขาบท ๒๒๗ เรียกว่า ปฏิโมกข์สังวรศีล คือ การสำรวมระวังในพระ
ปาฏิโมกข์เว้นข้อที่พระพุทธเจ้าทรงห้าม ปฏิบัติตามข้อที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาต พุทธบัญญัติที่เป็น
ข้อห้ามสำหรบั พระภิกษุผอู้ ุปสมบทเปน็ พระภิกษใุ นพระพุทธศาสนา

๕. ศีล ๓๑๑ หรือสกิ ขาบท ๓๑๑ เป็นพุทธบัญญัติท่ีเปน็ ข้อห้ามสำหรับสตรี ผู้ที่ได้รับการ
อปุ สมบทเปน็ พระภกิ ษณุ ี ในพระพุทธศาสนา

สรุปได้ว่า ในพระพุทธศาสนาได้แบ่งประเภทของศีลเอาไว้ ๕ ประเภท คือ ศีล ๕ หรือ
เบญจศีล เป็นพื้นฐานของศีลทั้งปวง กำหนดเป็นศีลสำหรับฆราวาส ศีล ๘ หรือศีลอุโบสถเป็นศีล
สำหรับฝึกตนให้รู้จักใช้ชีวิตพัฒนาจิตใจ และปัญญาให้ดียิ่งขึ้นไป ศีล ๑๐ สำหรับสามเณรสมาทาน
รักษาเพ่ือเตรยี มเป็นภิกษุ ศลี ๒๒๗ เรยี กว่า ปาฏิโมกข์สังวรศลี เป็นพุทธบญั ญัติเพ่อื สำรวมในพระปาฏิ
โมกข์ สำหรับบุรุษผู้อุปสมบทในพระพุทธศาสนา ศีล ๓๑๑ เป็นพุทธบัญญัติ ในส่วนของสตรีที่บวช
เปน็ ภกิ ษุณี

นอกจากนี้ ศีลยังแบ่งตามจุดหมายของการรักษาได้ ๒ ประเภทสำคัญ ได้แก่ โลกิยศีล
และโลกุตตระศลี จุดมุ่งหมายใหผ้ ู้ปฏบิ ตั ิยกระดับชีวติ ใหพ้ ฒั นาดีขนึ้ และการอยอู่ ยา่ งมีความสุขในโลก
เรียกว่า โลกิยสุข (สุขในโลก) ศีลที่ผู้ปฏิบัติมุ่งถึงการปฏิบัติ เพื่อดับกิเลสอาสวะทั้งปวง ซึ่งเรียกว่า
โลกุตตระศีล ดังกลา่ วนี้

๒.๑.๓ จดุ มงุ่ หมายของการรกั ษาศลี ๕
ไสว มาลาทอง๙ กล่าวว่า เบญจศีลเป็นบทบัญญัติทางสังคมที่มนุษย์รุ่นก่อน ๆ ได้วางไว้
เป็นหลักข้อปฏิบัติสำหรับปกครองหมู่คณะ เพื่อให้หมู่คณะดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
ไมเ่ บยี ดเบยี นเอารัดเอาเปรยี บกนั เบญจศีลเปน็ เคร่ืองมือสำหรับวดั ความเปน็ มนุษย์เป็นเคร่ืองบ่งช้ีว่า
ผู้นั้นมีความเป็นมนุษย์สมบูรณ์หรือไม่ เป็นมนุษยธรรม คือ ธรรมที่เป็นเครื่องชี้วัดความเป็นมนุษย์
เพราะศีลแต่ละขอ้ นน้ั ท่านวางไวเ้ พือ่ ประโยชน์แกม่ นุษยใ์ นแตล่ ะทาง ดังน้ี

๙ ไสว มาลาทอง, คมู่ อื การศกึ ษาจรยิ ธรรม, (กรงุ เทพมหานคร : โรงพิมพ์ การศาสนา, ๒๕๔๒), หน้า ๑๑๗.

๑๒

๑) เบญจศลี ข้อที่ ๑
- เพอ่ื ให้มเี มตตาธรรม ไมเ่ บยี ดเบยี นกนั
- เพอ่ื ใหช้ วี ติ มคี วามปลอดภัย ไมต่ ้องหวาดระแวงกนั และกนั
- เพื่อใหป้ ระกอบกจิ การงาน และพฤติธรรมไดโ้ ดยสะดวก
- เพอ่ื เปน็ พน้ื ฐานใหส้ ามารถช่วยเหลือเกื้อกูลกันไดต้ อ่ ไป
- เพอ่ื ให้อยู่ร่วมกันได้อยา่ งสงบสขุ
- เพอ่ื ให้กำจัดเวรภัยทั้งปัจจบุ นั และอนาคต
๒) เบญจศีลข้อที่ ๒
- เพื่อให้ประกอบอาชพี โดยความซ่ือสตั ยส์ จุ รติ
- เพื่อให้รกั และเคารพเกียรตขิ องตนเอง
- เพอ่ื ใหเ้ คาระกรรมสิทธ์ใิ นทรพั ยส์ ินของผู้อ่นื
- เพื่อให้เกดิ ความม่ันใจในทรัพยส์ นิ ของตนเองไมต่ ้องวติ กกังวล
- เพอ่ื ให้อย่รู ่วมกันได้อย่างสงบสขุ
- เพื่อกำจัดเวรภัยทัง้ ปัจจบุ นั และอนาคต
๓) เบญจศีลขอ้ ท่ี ๓
- เพื่อให้เกิดความซ้อื สตั ย์ จริงใจตอ่ กัน ไว้วางใจกนั ได้
- เพอ่ื ใหเ้ คารพสทิ ธิความเป็นสามภี รรยาของกันและกัน
- เพื่อป้องกันการหยา่ รา้ ง การแตกร้าว ภายในครอบครวั
- เพอ่ื สรา้ งความม่ันคงและความอบอุ่นภายในครอบครัว
- เพื่อให้อยูร่ ่วมกันอยา่ งมีความสขุ
๔) เบญจศีลขอ้ ที่ ๔
- เพอ่ื ใหม้ ีความซอ่ื สัตย์ มีความจริงใจและไว้วางใจกนั ได้
- เพอ่ื สร้างความรักความสามัคคีในหม่คู ณะ
- เพอ่ื ป้องกนั ผลประโยชนข์ องกันและกนั ไว้
- เพื่อใหใ้ ชว้ าจาประสานประโยชน์ของกนั และกัน ไม่ทำลายกนั ดว้ ยคำพดู
- เพอ่ื ใหอ้ ยูร่ ว่ มกันดว้ ยความสงบสขุ
- เพื่อกำจัดเวรภัยทงั้ ปจั จุบันและอนาคต

๑๓

๕) เบจศลี ขอ้ ที่ ๕
- เพอ่ื สนับสนุนการรักษาศีล ๔ ข้อข้างต้นใหเ้ กดิ มขี ้ึน
- เพือ่ ให้มีสตริ อบคอบสามารถควบคุมใจตัวเองได้
- เพอ่ื ปอ้ งกันมิให้เกดิ การทะเลาะวิวาทและทำลายกนั
- เพอ่ื ป้องกันสุขภาพทางกายและสุขภาพจติ มใิ ห้เส่ือม
- เพอ่ื ปอ้ งกนั อาชญากรรม มิจฉาชพี และการกระทำทุจรติ ตา่ ง ๆ
- เพื่อปอ้ งใหอ้ ย่รู ่วมกนั ได้อยา่ งมีความสงบสุข
- เพ่ือกำจดั เวรภัยท้งั ปจั จบุ ันและอนาคต
แก้ว ชิดตะขบ๑๐ ได้กล่าวไว้ว่า นักปราชญ์ในทางพระพุทธศาสนานั้นได้ชี้จุดสำคัญที่
คนเราต้องสร้างฐานไว้ให้มั่นคงเป็นพิเศษ ๕ จุด ซึ่งเป็นการปิดช่องทางที่จะทำให้ตนเองเสียหาย ๕
ทางด้วยกัน โดยวิธีท่ีท่านว่านี้ก็คือ การรักษาศีล ๕ คือ ศีลข้อที่ ๑ เว้นจากการฆา่ สัตว์มีชีวติ หรือห้าม
ฆ่าสตั ว์ เพ่อื ป้องกนั ทางทตี่ นจะเสยี หาย เพราะความโหดร้าย ไร้เมตตา ศีลข้อท่ี ๒ เวน้ จากการถือเอา
ส่ิงของทีเ่ จ้าของไมไ่ ด้ให้ ดว้ ยอาการท่เี ป็นโจรขโมย หรือหา้ มลกั ทรัพย์ เพ่ือปอ้ งกันทางทีต่ นจะเสียหาย
เพราะอาชีพทุจริต จิตคิดลักขโมย ศีลข้อที่ ๓ เว้นจากการประพฤติผิดในกาม หรือห้ามประพฤติผิด
ทางเพศ เพื่อป้องกันทางที่ตนจะเสียหายเพราะความเจ้าชู้ สำส่อนทางเพศ หรือมักมากในกาม ศีลข้อ
ที่ ๔ เว้นจากการกล่างคำเท็จ ห้ามพูดเท็จ เพื่อป้องกันทางที่ตนจะเสียหายเพราะคำพูดโกหก
หลอกลวง ศีลข้อที่ ๕ เว้นจากการดื่มน้ำเมา คือ สุรา เมรัย หรือห้ามดื่มน้ำเมา เพื่อป้องกันทางที่ตน
จะเสียหาย เพราะความมนึ เมา ประมาทขาดสติยบั ยัง้ ชัง่ ใจในการทำชว่ั
ตามท่ีกลา่ วมาน้ี จะเห็นไดว้ า่ เบญจศีลนี้มีความสำคัญยงิ่ สำหรับสงั คมมนุษย์ ถ้าหากคนใน
สังคมตงั้ ม้นั อยู่ในเบญจศีลโดยทว่ั ถึงกันแลว้ สังคมกม็ ีความมั่นคงสงบสุขอย่างแน่นอน ผู้ใดมีเบญจศีล
ผู้นั้นย่อมเป็นที่พึงปรารถนาของสังคม ไม่ว่าจะทำอะไรติดต่อประสานงานกับใครจะขอความร่วมมือ
จากใครก็ย่อมได้รับความรว่ มมือเป็นอย่างดี ด้วยเหตุนี้ เบญจศีลจึงมีความสำคัญยิง่ ต่อการเสริมสร้าง
การพฒั นาครอบครัว ซงึ่ เป็นส่วนย่อยของสงั คมให้มคี วามมั่นคงในการดำเนนิ ชีวิตต่อไป
สรุปได้ว่า ศีล ๕ เป็นพื้นฐานแห่งการประพฤติดีของคน นับว่าเป็นกุศลธรรมสำคัญที่เรา
ควรประพฤติ หากจะเปรียบศลี ๕ กบั ส่วนประกอบของบ้านก็เปรยี บได้กับส่วนของเสาบ้านน้นั เอง ศีล
๕ นั้นจัดเป็นมนุษยธรรมที่จะเป็นในสังคมมนุษย์ เพราะคนเรานั้นต้องอยู่ร่วมกันเป็นสังคมไม่

๑๐ แก้ว ชดิ ตะขบ, กระบวนการส่งเสรมิ การรักษาศีล ๕ เพอ่ื สง่ เสริมคณุ ภาพชวี ติ , (กรงุ เทพมหานคร
: โรงพิมพ์ พระพุทธศาสนา แหง่ ชาติ, ๒๕๕๐), หนา้ ๒๑๐.

๑๔

เบยี ดเบยี นกันไมว่ ่าเรื่องใด ๆ รวมทั้งไมเ่ บียดเบียนตนเองอีกด้วย เบญจศีลจงึ เป็นหลักการที่ประเสริฐ
ทจี่ ะทำใหบ้ คุ คล สงั คมอยอู่ ย่างเปน็ สขุ

๒.๑.๔ องค์ประกอบที่เปน็ ข้อปฏิบตั ขิ องเบญจศีล
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส๑๑ กล่าวว่า ศีล ๕ แปลว่า
สกิ ขาบท ทผ่ี ปู้ ระพฤติปฏิบัติ ศึกษา และงดเว้น องค์แห่งศีลแต่ละข้อนัน้ จดั เปน็ สิกขาบท ๕ ประการ
รวมเรียกว่า เบญจศีล ซ่ึงแผลงมาจาก คำว่า “ปญฺจ สีลานํ” ในคัมภีร์พระไตรปิฏกส่วนมากเรียกว่า
สิกขาบท ๕ คือ องค์แห่งศีลอย่างหนึ่ง ๆ ซึ่งเป็นข้อห้ามเพื่อการฝึกตนและฝึกฝนอบรม ของ
พุทธศาสนิกชนฝ่ายคฤหัสถ์ สำหรับการจัดระเบียบชีวิตและสังคมของมนุษย์ ให้อยู่ในสภาพที่เอื้อต่อ
การสรา้ งสรรคส์ ่ิงดงี ามแกช่ วี ติ สงั คม การดำเนนิ ชีวิตให้อยู่ได้ ศีล ๕ จึงเปน็ พื้นฐานของศีลทงั้ ปวง มี ๕
สกิ ขาบท ประกอบดว้ ย
๑. ศีล ๕ สกิ ขาบทที่ ๑ ปาณาติปาตา เวรมณี คือ เว้นจากการฆา่ สัตว์
๒. ศีล ๕ สิกขาบทท่ี ๒ อทนิ นาทานา เวรมณี คือ เว้นจากการลกั ทรัพย์
๓. ศีล ๕ สกิ ขาบทท่ี ๓ กาเมสมุ ิจฉาจารา เวรมณี คือ เวน้ จากการประพฤติผิดในกาม
๔. ศีล ๕ สกิ ขาบทที่ ๔ มสุ าวาทา เวรมณี คือ เวน้ จากการกล่าวเทจ็
๕. ศลี ๕ สกิ ขาบทที่ ๕ สุราเมรยมชั ชปมาทัฎฐานา เวรมณี คือ เวน้ จากการดืม่ น้ำเมา

๒.๒ แนวคดิ เก่ยี วกบั โครงการรักษาศีล ๕

โครงการสร้างความปรองดองสมานฉันท์ โดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา “หมู่บ้าน
รักษาศีล ๕” ของบ้านป่ายาง หมู่ที่ ๒ ตำบลศรีค้ำ อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย ได้มีแนวคิดมาจาก
การขับเคลื่อนโครงการ “หมู่บ้านรักษาศีล ๕” ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย และเพื่อเสนอรูปแบบการ
ขับเคลื่อนโครงการ “หมู่บ้านรักษาศีล ๕” ของคณะสงฆ์จังหวัดเชียงราย การวิจัยเรื่องนีเ้ ป็นการวจิ ยั
เชิงคุณภาพ โดยเน้นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ประกอบด้วย การวิจัยเอกสาร
(Documentary Research) เพื่อประมวลองค์ความรู้ ศึกษาแนวคิด รปู แบบหลักการดำเนินงาน และ
กลไกของการขับเคลื่อนโครงการ “หมู่บ้านรักษาศีล ๕” ของคณะสงฆ์ จากคัมภีร์ จากเอกสารที่
เกี่ยวข้อง รวมถึงการเกบ็ ข้อมลู เชิงปฏบิ ตั กิ าร (Workshop) เช่น การสมั ภาษณเ์ ชงิ ลกึ การประชมุ กลุ่ม
ยอ่ ย และการจดั เวทีวชิ าการของชุมชนต่าง ๆ และภาคส่วนท่เี กยี่ วข้อง เปน็ ต้น

๑๑ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส, ศีล, (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ สุรวัฒน์,
๒๕๓๘), หนา้ ๕.

๑๕

๑. แนวคิดทฤษฎีและรูปแบบการดำเนินงานขับเคลื่อนโครงการ “หมู่บ้าน รักษาศีล ๕”
พบว่า “ศีล” (Morality) หมายถึง ความประพฤติชอบทางกาย และวาจา หรือเรียกว่า ความเป็น
ปรกติ คือ ความมีระเบียบวินัยทางกาย และวาจา โดยอาศัยเจตนางดเวน้ จึงละบาป คือ อกุศลได้ คือ
กายทุจริต วจีทุจริต รูปแบบการดำเนินงานขับเคลื่อนโครงการ “หมู่บ้านรักษาศีล ๕” คือ รูปแบบ
ความสัมพันธ์ทางสังคมของปัจเจกบุคคล กลุ่มคน โดยการทำกิจกรรมร่วมกันตลอดจนมีเป้าหมาย
เดียวกัน หรือที่เรียกว่าเครือข่ายทางสังคมนั้น ซึ่งหมายถึงการดำเนินการเพื่อเชิญชวนให้คน ใน
หมู่บ้านมาร่วมกันรักษาศีล ๕ จะต้องมีการสร้างเครือข่าย เพื่อเชื่อมโยงกลุ่มคนที่สมัครใจจะร่วมกัน
รกั ษาศลี ๕ ภายใตพ้ ืน้ ฐานของความเคารพสทิ ธิ เชอื่ ถือ เออื้ อาทรซึ่งกนั และกัน เพ่ือนำไปส่จู ุดหมายที่
เหน็ พอ้ งต้องกัน

๒. การดำเนินงานและกลไกของการขับเคลื่อนโครงการ “หมู่บ้านรักษา ศีล ๕”
ในพื้นที่อำเภอแม่จัน พบว่า คณะสงฆ์อำเภอแม่จัน ได้ดำเนินการขับเคลื่อน หมู่บ้านรักษาศีล ๕ โดย
กรอบแนวคิดแบบวงจรคุณภาพ คือ Plan การวางแผน Do การปฏิบัติงานตามแผน Check การ
ตรวจสอบ และ Action การปรับปรุงแก้ไขในส่วนที่บกพร่อง (PDCA) สำนักงานพระพุทธศาสนา
จังหวัดเชียงราย เป็นแกนหลักในการประสานการขับเคลื่อน โดยความร่วมมือและให้การสนับสนุน
จากทางคณะสงฆ์จังหวัด ส่วนราชการ สถานศึกษา อำเภอ ท้องที่ ตลอดจนองค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่น ผู้นำชุมชนและภาคประชาชนร่วมขับเคลื่อนอย่างบูรณาการและเป็นภาคีเครือข่าย อีกทั้งมี
แผนการดำเนินงานและขับเคลื่อนอย่างเป็นระบบ ซึ่งเป็นการดำเนินงานในเชงิ คุณภาพควบคู่กับการ
ดำเนินงานเชิงปริมาณ โดยมีกรอบแนวทางการดำเนินกิจกรรมหลัก ๓ แนวทาง ได้แก่ กิจกรรม
ส่งเสริมการพัฒนาชีวิตตามหลักศีล ๕ กิจกรรมตามวิถีชาวพุทธ และกิจกรรมของหน่วยอบรม
ประชาชนประจำตำบล (อปต.)

๓. เพื่อเสนอรูปแบบการขับเคลื่อนโครงการ “หมู่บ้านรักษาศีล ๕” ของคณะสงฆ์จังหวดั
เชียงราย พบว่าคณะสงฆ์จังหวัดเชียงราย ร่วมกับสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัด และภาคี
เครอื ขา่ ยได้ดำเนนิ งานขบั เคล่ือนโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ โดยใช้ลำดับข้ันบันไดทั้งสาม คือ ปริยัติ
หรอื เข้าใจขอ้ มลู เชงิ ประจักษท์ ี่มอี ยแู่ ลว้ ปฏิบตั ิ หรือการเขา้ ถงึ เปน็ เรอื่ งการเข้าใจกลมุ่ เปา้ หมาย และ
ปฏิเวธ หรือการพัฒนาเริ่มต้นด้วยตัวเอง เป็นต้นแบบเผยแพร่ความรู้เพื่อจะทำให้ชุมชนมีความเป็น
เจ้าของท้องถิ่น และนำไปสู่การพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน ได้จัดกิจกรรมส่งเสริมการพัฒนาชีวิตตาม
หลักศีล ๕ กิจกรรมตามวิถีชาวพุทธ และกิจกรรมของหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล จำนวน ๘
โครงการ ซึ่งประสบผลสำเร็จทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพมีหน่วยงานราชการต้นแบบรักษาศีล ๕
สถานศึกษาต้นแบบรักษาศีล ๕ ที่ทำการกำนันต้นแบบรักษาศีล ๕ และที่ทำการผู้ใหญ่บ้านต้นแบบ
รักษาศีล ๕ ที่ผ่านการคัดเลือก ซึ่งการคัดเลือกหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ต้นแบบนั้น คณะสงฆ์จังหวัด

๑๖

เชียงราย ได้จัดโครงการเสริมสร้างความปรองดองสมานฉันท์โดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
“หม่บู า้ นรกั ษาศลี ๕” หนเหนอื มีเกณฑก์ ารคัดเลอื กตามทคี่ ณะกรรมการขับเคลอ่ื นโครงการ หมู่บ้าน
รักษาศีล ๕ หนแหนือ และส่วนราชการจากกรุงเทพมหานคร ได้พิจารณาคัดเลือกรายชื่อ หมู่บ้าน
รักษาศีล ๕ ต้นแบบ จังหวัดละ ๑ หมูบ่ ้าน และพิจารณาคัดเลือกให้เหลือเพียง ๑ หมบู่ า้ น ในเขตการ
ปกครองของคณะสงฆ์ภาค ๖ ที่มีภาระงานครบตามภาระงาน ๘ ด้าน ๔๐ ตัวชี้วัด เป็นตัวแทน ของ
เขตปกครองคณะสงฆ์ ซึ่งได้กำหนดให้ วัดป่ายาง หมู่ที่ ๒ ตำบลศรีค้ำ อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย
เป็นตัวแทนคณะสงฆ์ภาค ๖ ไปร่วมจัดนิทรรศการแสดงผลงานในงานมหกรรมหมู่บ้าน รักษาศีล ๕
ต้นแบบ ระดับประเทศประมาณเดือน พฤษภาคม ๒๕๖๔ ณ วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อำเภอสาม
พราน จังหวัดนครปฐม

การส่งเสริมหมู่บ้านรักษาศีล ๕ นั้นมีความสำคัญ เพราะเนื่องจากสภาพปัญหาต่างๆ
เนื่องจากความเจริญก้าวหน้าด้านต่าง ๆ ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างวดเร็ว ทั้งด้านเศรษฐกิจ
สังคม การเมืองการปกครอง และด้านเทคโนโลยีโดยเฉพาะสังคมไทยมีการรับคา่ นิยมจากต่างประเทศ
ทำให้เกดิ ความแตกตา่ งมากมาย เปน็ สาเหตุของปัญหาต่าง ๆ ตามมา ประเทศชาตเิ กดิ วกิ ฤตทางสังคม
เช่น ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคมที่เห็นได้ชัดเจนมากขึ้น ถือเป็นปัญหาหลักของสังคมไทย
ซึ่งความเหลื่อมล้ำด้านเศรษฐกิจและสังคม การเมือง ทำให้เกิดปัญหาของความแตกแยกเห็นแก่ตัว
ขาดความรักความสามัคคี เป็นประเด็นปัญหาต่อการที่จะพัฒนาชาติจึงต้องมีการส่ง เสริมให้สังคม
ต้องได้รับการแก้ไขสร้างภูมิคุ้มกันหรือขจัดปัญหาให้หมดไป เมื่อกล่าวถึงความ สำคัญของการรักษา
ศีล ๕ มาแล้วนั้น ย่อมเป็นหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา เช่น การไม่พยาบาทเบียดเบียนซึ่งกันและ
กัน ไม่ลักไม่ฉ้อของผู้อื่นด้วยตนเอง และไม่ใช้ให้ผู้อื่นลัก ฉ้อ ไม่ดื่มสุรา เมรัย เครื่องดองของท าใจให้
คลั่งไคล้ต่าง ๆ เว้นจากสิ่งเสพติดให้โทษ เป็นต้น อาจเป็นวิธีการหนึ่งที่จะสามารถเสริมสร้างความ
เปน็ อยู่อยา่ งสงบสุขของคนในสงั คมได้

ครอบครัวเป็นรากฐานที่สำคัญของสังคม แต่ด้วยความเปลี่ยนแปลงทางด้านวัฒนธรรม
และสภาพสังคมในปัจจุบันที่พ่อแม่ส่วนใหญ่ไม่มีเวลาให้กับลูก อีกทั้งสภาวะเศรษฐกิจการทำมาเลี้ยง
ชีพที่เต็มไปด้วยการแข่งขัน และความเจริญก้าวหน้าอย่างร วดเร็วทางเทคโนโลยี ล้วนก่อ
สภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อการสนับสนุนให้ครอบครัวเข้มแข็งมีเสถียรภาพ ก่อให้เกิดปัญหาสังคม
ตามมามากมาย สะท้อนออกมาด้วยข่าวร้ายในแต่ละวัน เช่นภาพอาชญากรรม การใช้ความรุนแรง
การโกหกหลอกลวง การใชย้ าเสพติดสิ่งของมนึ เมา การตงั้ ครรภ์ก่อนวัยอันควร ท่ีไต่ระดับสูงข้ึนอย่าง
เหน็ ได้ชัดเจน ผูค้ นเรม่ิ สูญเสียหลักการที่ถกู ต้อง หันไปเชิดชคู า่ นิยมทางสังคมแทน แรงเช่ียวกรากเชิง
วัฒนธรรมซัดกระหน่ำสำนึกเชิงศีลธรรม สำนึกแห่งความผิดชอบชั่วดี เรื่องถูกกลายเป็นผิด เรื่องผิด
กลายเป็นเรื่องถกู ต้องชอบธรรม

๑๗

ในสภาวการณ์เช่นนี้ โรงเรียนจึงเป็นสถานีเพาะบ่มและฟื้นฟูศีลธรรมได้ดีที่สุด
เป็นทางออกของปัญหาทั้งในปัจจุบัน และเตรียมความพร้อมเพื่อแก้ไขปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
ก่อนที่เยาวชนเหล่านั้นจะเติบใหญ่ ก้าวเข้าสู่สังคมของการทำงาน และร่วมกันก่อปัญหารอบใหม่จน
อาจเปน็ วฏั จักรท่ีทำให้ปัญหาสังคมพอกพูนเพิ่มมากยง่ิ ข้ึน กรอบความคิดเรื่อง ๗ กจิ วัตรความดี เป็น
กระบวนการรณรงคใ์ ห้เกดิ การนำธรรมะไปสูภ่ าคปฏิบัติ โดยเริ่มต้นจากสิง่ เล็ก ๆ ที่เรียกวา่ “กิจวัตร”
เมื่อมีการฝึกฝนพัฒนาบ่อย ๆ จนเกิดเป็นนิสัยที่ดีขึ้นในแต่ละบุคคล คือ “คิดดี พูดดี ทำดี” อย่าง
ต่อเนื่องสม่ำเสมอ ก็จะเป็นรากฐานสำคัญของการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ครอบครัวอบอุ่น และ
เป็นจุดเร่ิมต้นของการสร้างสังคมทส่ี งบสุข โดยยดึ หลกั การที่ว่า “เปลยี่ นแปลงจากภายในสู่ภายนอก”
คอื ไม่วา่ จะเกิดปญั หาใดขนึ้ ทุกคนสามารถชว่ ยแกป้ ัญหาได้ โดยเรม่ิ ตน้ จากการปรบั เปลี่ยนตนเองก่อน
ทำอย่างมีความสุข ทำด้วยความเข้าใจ เมื่อทำซ้ำ ๆ บ่อย ๆ ก็จะเป็นแรงบันดาลใจให้ผู้อื่นได้
ปรับเปลี่ยนตาม นอกจากนี้ยังเป็นพื้นฐานที่สำคัญที่นำไปสู่คุณธรรมอื่น ๆ ที่สูงยิ่งขึ้นไป เช่นความ
เคารพ ความกตญั ญู ความอดทนเสียสละ เป็นตันโครงการโรงเรยี นรักษาศีล ๕ เชงิ คณุ ภาพ ครอบครัว
อบอุ่น ด้วย ๗ กิจวัตรความดี มีรูปแบบ กิจกรรมและตัวชี้วัดความสำเร็จที่สอดคล้องกับแผนพัฒนา
คณุ ภาพการศึกษาของชาติ และสนับสนุน สง่ เสรมิ พฒั นาทกั ษะการเรยี นรใู้ นศตวรรษท่ี ๒๑

อย่างไรก็ตาม ๗ กจิ วัตรความดี เป็นเพยี งกรอบแนวทางปฏบิ ตั ิ ทีม่ คี วามยดึ หยุน่ ผบู้ ริหาร
สถานศึกษาและคุณครูสามารถวางแผนออกแบบกิจกรรมให้เหมาะสมกับบริบทของโรงเรียนได้ และ
หากมกี ารดำเนินการและปรับปรงุ อย่างต่อเน่ืองจนเปน็ ระบบท่ยี งั่ ยืน กจ็ ะเปน็ การสร้างสภาพแวดล้อม
สงั คมท่ีดีให้เกิดขนึ้ ในสถานศึกษา ที่บา้ น และส่งผลไปถึงชุมชนในที่สุด

ก. คณะสงฆ์
คณะสงฆ์คือกลไกสำคัญในการเป็นผู้นำการขับเคลื่อนการดำเนินงานโครงการ ตั้งแต่
ระดับองค์กรปกครองคณะสงฆ์ คือมหาเถรสมาคม เจ้าคณะพระสังฆาธิการทุกระดับตลอดท้ัง
พระภกิ ษุสามเณรทุกรปู โดยขยายผลการดำเนินงานตอ่ ยอดจากภารกิจของหน่วยงานอบรมประชาชน
ประจำ ตำบล (อ.ป.ต.) ซึ่งเป็นภาระกิจทีส่ านักงานพระพุทธศาสนาแหง่ ชาติ ดำเนินการร่วมกับคณะ
สงฆ์ ตามระเบียบมหาเถรสมาคม ว่าด้วยการจัดตั้งหน่วยอบรม ประชาชนประจำตำบล พ.ศ. ๒๕๔๖
ใหเ้ ข้าถึงประชาชนทกุ ระดบั ครอบคลุมทกุ พนื้ ที่ คณะสงฆค์ วรมีบทบาทและหนา้ ทใ่ี นการสง่ เสรมิ และ
สนบั สนุนการดำเนินงาน ดงั น้ี๑๒

๑๒ สำนักงานพระพุทธศาสนาแหง่ ชาติ, คมู่ ือการดำเนนิ งานโครงการสร้างความปรองดองสมานฉันท์
โดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา “หมู่บ้านรักษาศีล ๕”, (กรุงเทพมหานคร : สำนักงานโครงการสร้าง
ความปรองดองสมานฉนั ทโ์ ดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา “หมู่บา้ นรักษาศีล ๕”, ๒๕๕๘), หนา้ ๒๕.

๑๘

๑. ดำเนินโครงการสร้างความปรองดองสมานฉันท์โดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
“หมบู่ ้านรักษาศลี ๕” ร่วมกับส านกั งานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ส านกั งานพระพทุ ธศาสนาจงั หวัด
สว่ นราชการที่เก่ียวขอ้ ง และหน่วยงานภาคีเครือขา่ ย เพ่อื ให้บรรลเุ ปา้ หมายตามวัตถปุ ระสงค์

๒. ส่งเสริมและสนับสนุนบุคลากรและทรัพยากรที่จ าเป็นในการขับเคลื่อนงาน ตามมติ
มหาเถรสมาคมและระเบียบมหาเถรสมาคม ว่าด้วยการดำเนินโครงการหมบู่ า้ นรักษาศีล ๕

๓. ประสาน อำนวยความสะดวกในการใช้พื้นที่ของวัด หรือสถานที่ที่ได้รับจัดตั้งเป็น
หน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล (อ.ป.ต.) เพอ่ื ประสานงานการดำเนนิ โครงการ รวมถงึ การอำนวย
ความสะดวกดา้ นอ่นื ๆ ตามสมควร

๔. รับสมัครอาสาสมัครปกป้องพระพุทธศาสนาและมีองค์กรเครือข่ายปกป้อง
พระพุทธศาสนาเกดิ ขึน้ ทุกหมูบ่ า้ น/ชุมชน

๕. ประชาสัมพันธ์ รณรงค์ และเชิญชวนพุทธศาสนกิ ชน ใหเ้ ห็นความส าคญั ของการ
รักษาศีล ๕ ตามรูปแบบและวิธกี ารทเี่ หมาะสมโดยเนน้ การจัดกจิ กรรมการพัฒนาตน ตามหลกั ศีล ๕
การจัดกิจกรรมตามวถิ ชี าวพทุ ธ และอ่ืน ๆ

๖. ให้คำปรึกษาแนะน าแก่คณะกรรมการโครงการ หรือพิจารณาด าเนินการอื่น ๆ
ตามสมควร

ข. แนวทางการมีส่วนร่วมของหน่วยงานราชการทม่ี ีส่วนเกย่ี วข้อง
๑. ส่งเสริม สนับสนุนโครงการ โดยร่วมเป็นคณะกรรมการโครงการ ตามที่ได้รับการ
ประสานจากจังหวัด อำเภอ ตำบล หรือหมู่บ้าน และร่วมเป็นเจ้าภาพในการจัดโครงการกิจกรรมเพ่อื
รณรงค์ สร้างกระแส และอื่น ๆ ตามความเหมาะสม
๒. ส่งเสริม สนับสนุนกำลังคน เจ้าหน้าที่ บุคลากร หรือนุญาตให้เจ้าหน้าที่จัดกลุ่ม
รวมเปน็ หมูค่ ณะไปร่วมเปน็ จิตอาสาช่วยวัด ชมุ ชน หรอื หม่บู ้านจดั กิจกรรมรณรงค์
๓. ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการดำเนินโครงการ ในฐานะที่เป็นหน่วยงานของภาครัฐที่มี
สว่ นร่วมเกย่ี วขอ้ งกับศาสนา เพื่อสรา้ งสรรค์กจิ กรรมท่หี ลากหลายใหเ้ ขา้ ถึงประชาชนทุกกลุ่ม
๔. รณรงค์ ประชาสัมพันธ์ เชิญชวนข้าราชการในสังกัดทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค
เข้าร่วมเป็นสมาชิกครอบครัวศีล ๕ และสมัครเป็นอาสาสมัครปกป้องพระพุทธศาสนา
ประจำหนว่ ยงาน
๕. ในฐานะกระทรวงทบวงกรมขอความร่วมมือให้กชับส่วนราชการในสังกัดที่อยู่ในส่วน
ภูมภิ าค ให้การสนบั สนนุ สง่ เสรมิ ทกุ กลุม่ เปา้ หมาย ที่อยใู่ นความรบั ผดิ ชอบตามอำนาจหน้าที่ โดยใน
สว่ นภูมิภาคประสานงานติดตอ่ สำนักงานพระพุทธศาสนาจงั หวัด หรอื วัดทกุ แห่ง เพ่อื สอบถามข้อมลู
รายละเอยี ดโครงการ

๑๙

๖. สอดแทรกสาระความรู้เกี่ยวกับหลักการของศีล ๕ ในกิจกรรมต่าง ๆ ของหน่วยงาน
ผ่านช่องทางของหน่วยงาน เช่น การประชุมผู้บริหารส่วนการและส่วนภูมิถาค การประชุมสั มมนา
บคุ ลากรในหน่วยงาน เปน็ ต้น

๗. ร่วมสนับสนุนในการจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ โดยดำเนินการหรือร่วมกับ
หน่วยงานเครือข่าย พรอ้ มทงั้ นำไปตดิ ตง้ั ในสถานที่ทเี่ หมาะสม

๘. รณรงค์ ประชาสัมพันธ์โครงการดังกล่าวผ่านสื่อต่าง ๆ ที่อยู่ในอำนาจของกระทรวง
กรม และหนว่ ยงาน เชน่ วารสาร รายการวิทยุ รายการทวี ี

ค. สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวดั
สำนักงานพระพุทธศาสนาจงั หวัด ขับเคล่ือนดำเนนิ การในภาพรวมของจังหวัด ดังน้ี
๑. แต่งตั้งคณะกรรมการในระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน ตามโครงสร้างท่ี
กำหนด
๒. เป็นเลขานุการจัดประชุมคณะกรรมการ ระดับจังหวัด เพื่อวางแผนสร้างความเข้าใจ
ในการขับเคลอื่ นโครงการ รณรงคเ์ ชญิ ชวนประชาชนใหเ้ ขา้ ร่วมโครงการ และตดิ ตามความคบื หน้าใน
การดำเนนิ งานในภาพรวมของจังหวดั
๓. ประสานงานกับคณะกรรมการทุกระดับ เพื่อร่วมมือในการดำเนินงานตามโครงการ
ทกุ ขนั้ ตอน
๔. จัดประชุมชี้แจงหรือประสานงานให้มีการชี้แจงคณะสงฆ์ หน่วยงาน กลุ่มบุคคล และ
บคุ คลท่เี ก่ียวขอ้ งในจังหวดั เพือ่ สร้างความเขา้ ใจเก่ยี วกบั การขบั เคล่ือนโครงการกิจกรรม
๕. ขอความอนุเคราะห์ให้หน่วยงาน กลุ่มบุคคล และบุคคลที่ร่วมดำเนินงาน ให้จัดทำ
รายงานผลการดำเนินงาน สง่ ให้จงั หวัดตามขัน้ ตอนและกรอบระยะเวลา
๖. สนับสนุนส่งเสริม และรณรงค์ให้มีการจัดกิจกรรมพัฒนาตนตามหลักศีล ๕
การจัดกิจกรรมตามวถิ ีชาวพุทธ ในเรื่องอันเกี่ยวข้องกับการนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาปรบั
ใช้ในชีวิตและสงั คม เพอ่ื สร้างความปรองดองสมานฉันท์ใหก้ ับประชาชนในชาตอิ ยา่ งต่อเนื่อง
๗. รับสมัครอาสาสมัครปกป้องพระพุทธศาสนาและมีองค์กรเครือข่ายปกป้อง
พระพทุ ธศาสนา เกิดขึ้นทกุ หมู่บา้ น/ชุมชน
๘. ส่งเสริม สนับสนุน ให้มีการประกาศยกย่อง โดยการมอบใบประกาศเกียรติคุณบุคคล
ครอบครวั หมบู่ ้าน ผู้นำชุมชน สถานศึกษา ส่วนราชการ และหน่วยงานเอกชน ท่ีมผี ลการดำเนินงาน
ผา่ นเกณฑ์
๙. สนับสนุนหน่วยงานอื่นที่มีส่วนร่วมดำเนินการ และให้คอยดูแลช่วยเหลือแก่หมู่บ้าน
ตำบล และอำเภอทเี่ ขา้ ร่วมโครงการ เพ่ือใหก้ ารดำเนินโครงการเป็นไปอยา่ งย่งั ยนื

๒๐

๑๐. ติดตามประเมินผลและรวบรวมผลการดำเนินงานในทุกระดับภายในจังหวัด
รายงานเป็นรายเดือนและรายปีให้สำนักนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติทราบ ตามแบบรายงาน
ที่กำหนด หรอื ตามความเหมาะสมของแต่ละหนว่ ยงาน

๑๑. ประชาสัมพันธ์รณรงค์เชิญชวนให้ภาคส่วนต่าง ๆ ในจังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน
ใหก้ ารสนับสนุนและมีส่วนรว่ มในการดำเนินโครงการ๑๓

ค. แนวทางการมสี ่วนรว่ มของสถานศกึ ษา
๑. สถาบันการศึกษาร่วมสนับสนุนการจัดท าข้อมูลสารสนเทศและฐานข้อมูลให้กับ
หมู่บ้าน ชุมชนหรือหน่วยงานที่ร่วมด าเนินงานโครงการที่ประสานขอความร่วมมือ ให้เป็นระเบียบ
ถูกตอ้ ง เป็นหมวดหมู่
๒. ร่วมรณรงค์ ประชาสัมพันธ์โครงการดังกล่าว ผ่านการเรียนรู้โดยประยุกต์ใช้กับ
กิจกรรมที่ด าเนินการอยู่แล้ว เช่น กิจกรรมไหว้พระสวดมนต์หน้าเสาธงหลังเคารพธงชาติทกุ วัน เพ่ือ
เชิญชวนนักเรียนให้สมัครเป็นสมาชิกผู้รักษาศีล ๕ กิจกรรมอบรมธรรมะ โดยพระวิทยากรใน
สถานศึกษา กจิ กรรมแสดงตนเป็นพทุ ธมามกะหรอื กิจกรรมอ่นื ๆ ตามท่ีเห็นสมควร
๓. ร่วมสนับสนุนดำเนินโครงการ ด้วยการเผยแพร่ข้อมูลโครงการผ่านเว็บไซต์
ของสถานศึกษา จัดนิทรรศการเผยแพร่ผลงานกิจกรรม สถานศึกษา/โรงเรียนรักษาศีล ๕ ในโอกาส
ต่าง ๆ ตามความเหมาะสม
๔. เชิญชวนผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาให้เข้าร่วมโครงการ โดยใช้นักเรียน
นักศึกษา เป็นสื่อในการรณรงค์เชิญชวน และขยายผลไปยังภาคส่วนต่าง ๆ และเชิญชวนสมัครเป็น
อาสาสมัครปกปอ้ งพระพทุ ธศาสนาเกิดขนึ้ ประจ าหนว่ ยงาน/สถานศกึ ษา
๕. อำนวยความสะดวกให้กบั หมู่บ้าน ชมุ ชน ทอ่ี ยใู่ นเขตบรกิ ารสถานศึกษาท่ีเข้ามามีส่วน
ร่วมในการขับเคลื่อนโครงการ เช่น ออกแบบแผ่นพับ ออกแบบป้ายประชาสัมพันธ์ โครงการ ตาม
ความประสงคข์ องวัด ชมุ ชน หรอื หมูบ่ ้าน
๖. จัดกิจกรรมเดินรณรงค์ ประชาสัมพันธ์รอบชุมชน หมู่บ้าน เพื่อเผยแพร่โครงการและ
เชญิ ชวนประชาชนเขา้ รว่ มโครงการ

๑๓ สฐียรพงษ์ วรรณปก, คำบรรยายพระไตรปิฎก, (กรงุ เทพมหานคร : ธรรมสภาและสถาบนั บนั ลอื
ธรรม, ๒๕๔๓), หนา้ ๓๗.

๒๑

ง. แนวทางการมสี ว่ นรว่ มของภาคเอกชนทีเ่ ก่ียวข้อง
๑. ส่งเสริม สนับสนุนโครงการ โดยร่วมเป็นคณะกรรมการโครงการ ตามที่ได้รับการ
ประสานจากจังหวดั อำเภอ ตำบล หรือหมู่บ้าน และร่วมเป็นเจ้าภาพในการจัดโครงการกิจกรรมเพื่อ
รณรงค์สรา้ งกระแส และอน่ื ๆ ตามความเหมาะสม
๒. อนุญาตและเปิดโอกาสให้พนักงาน คนงาน ลูกจ้างในหน่วยของตน ได้จัดตั้งกลุ่มหรอื
รวมเป็นหม่คู ณะ ไปรว่ มเปน็ จิตอาสาชว่ ยวดั ชมุ ชน หรือหมู่บา้ นจดั กจิ กรรมรณรงค์
๓. รณรงค์ ประชาสัมพันธ์ เชิญชวนให้พนักงานในหน่วยงานได้รับทราบ และเข้าร่วม
โครงการ โดยผา่ นชอ่ งทางส่อื ส่ิงพมิ พ์ สอ่ื วิทยุ สือ่ โทรทัศน์ กิจกรรมฝกึ อบรมพนกั งาน หรือดำเนินการ
อ่นื ๆ ตามทีเ่ หน็ สมควร
๔. จัดกิจกรรมด้านพฒั นาจติ โดยการนมิ นต์พระวิทยากรมาใหข้ อ้ ธรรมะ ในโอกาสสำคญั
๕. รับสมัครอาสาสมัครปกป้องพระพุทธศาสนาและมีการจัดตั้งองค์กรเครือข่ายอาสา
ปกป้องพระพุทธศาสนาในหนว่ ยงาน/สถานประกอบการ
จ. หมบู่ ้าน/ชุมชน
๑. ประสานงานกับวัด สำนกั งานพระพทุ ธศาสนาจังหวัด หรือหน่วยงาน องคก์ ร ที่
เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการโครงการ ฯ ประจำหมู่บ้าน เพื่อขับเคลื่อนการ
ดำเนินงาน และรายงานผลการแตง่ ต้ังให้อำเภอและสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดทราบ
๒. จัดประชุมคณะกรรมการประจำหมู่บ้านเพื่อกำหนดกิจกรรม และรณรงค์เผยแผ่ให้
ประชาชนในหมู่บ้านหรือชุมชนเห็นคุณค่าของการรักษาศีล ๕ และการนำหลักธรรมทาง
พระพุทธศาสนามาปรับใช้ในชวี ติ และสังคม๗๔ เพ่อื สรา้ งความปรองดองสมานฉนั ท์ใหก้ ับประชาชนใน
ชุมชน หมบู่ า้ น อย่างต่อเน่อื ง โดยประสานการดำเนินงานกับวดั หรือสำนักงานพระพทุ ธศาสนจังหวัด
๓. เชิญชวนคนในชุมชนให้เข้ามามีส่วนร่วม และสนับสนุนการจัดกิจกรรมพัฒนาตนตาม
หลักศีล ๕ การจัดกิจกรรมตามวิถชี าวพุทธ และกิจกรรมอืน่ ๆ ตามความเหมาะสม
๔. ตรวจติดตามการดำเนินการโครงการ ของหมู่บ้านที่รับผิดชอบ โดยใช้รูปแบบท่ี
หมู่บ้านหรือชุมชนรว่ มกนั กำหนด เช่น ประชาคมหมบู่ า้ น เป็นต้น
๕. ให้วัด ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน หรือศาลาประชาคมหมู่บ้าน ชุมชน เป็นศูนย์กลางในการ
ประสานงานหรือรับใบสมัครของชาวบ้านที่เข้าร่วมโครงการ และแจ้งรายงานผลการดำเนินงานรอบ
๑๕ วนั และรอบ ๑ เดือน ใหน้ ายอำเภอ หรอื ส านกั งานพระพทุ ธศาสนาจงั หวัดทราบ
๖. ประสานงานกับสื่อต่าง ๆ ภายในหมู่บ้าน เช่น สถานีวิทยุชุมชน หอกระจายข่าวเสียง
ตามสายหรือหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น เหื่อทำการประชาสัมพันธ์โครงการให้คนในหมู่บ้านหรือชุมชนได้
รับทราบอยา่ งตอ่ เนอื่ ง

๒๒

๗. จัดทำแผ่นป้ายประชาสัมพันธร์ ณรงค์เชิญชวนประชาชนในหมูบ่ ้านหรือชุมชนเข้ารว่ ม
โครงการ ณ บริเวณหน้าวัด หรือหนา้ ทท่ี ำการผูใ้ หญบ่ า้ น ผู้น าชมุ ชน หรือศาลาประชาคมหมู่บ้าน

๘. เผยแพร่โครงการเครือข่าย สถานศึกษา หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน หรือผ่าน
เครือขา่ ยสอ่ื มวลชน ในหมบู่ า้ นหรอื ชุมชนได้ทราบ และเชญิ ชวนใหไ้ ปเขา้ โครงการ

๙. รับสมัครอาสาสมัครปกป้องพระพุทธศาสนาและมีการจัดตั้งองค์กรเครือข่ายอาสา
ปกป้องพระพทุ ธศาสนาในหมบู่ ้าน/ชุมชน โดยพิจารณาถึง

๑. ดา้ นยทุ ธศาสตร์การขบั เคลือ่ น ได้แก่
๑.๑ จัดทำแผนยทุ ธศาสตร์การขับเคลือ่ นโครงการ
๑.๒ มกี ารกำหนดตัวช้วี ดั การดำเนนิ งานท่ชี ัดเจนและสามารถวดั ผลการ

ดำเนินงานได้
๑.๓ แผนงาน/โครงการ/กจิ กรรม ในแผนยุทธศาสตร์มคี วามสอดคล้องกบั

วตั ถปุ ระสงค์
๑.๔ การสรุปผลและรายงานผลการขับเคล่ือนโครงการและกจิ กรรม
๑.๕ มีการวิเคราะห์และปรับปรุงแผนยุทธศาสตร์ โครงการและกิจกรรม ให้มีประ

สทิ ธิภาสมั ฤทธ์ิผลมคี วามทันสมยั และทันเหตุการณอ์ ยู่เสมอ๑๔
๒. ดา้ นกจิ กรรมสง่ เสรมิ การพฒั นาชวี ิตตามหลกั ศลี ๕
๒.๑ การจดั กจิ กรรมส่งเสรมิ ใหป้ ระชาชนรกั ษาศีลขอ้ ที่ ๑
๒.๒ การจัดกิจกรรมส่งเสริมให้ประชาชนรกั ษาศีลข้อที่ ๒
๒.๓ การจดั กิจกรรมสง่ เสรมิ ใหป้ ระชาชนรักษาศลี ข้อท่ี ๓
๒.๔ การจดั กจิ กรรมส่งเสริมใหป้ ระชาชนรกั ษาศลี ข้อที่ ๔
๒.๕ การจัดกจิ กรรมส่งเสริมให้ประชาชนรกั ษาศีลข้อท่ี ๕
๒.๖ ประชาชนในหมู่บา้ นไมม่ คี ดที าร้ายร่างกาย และ/หรอื คดีฆ่าคนตาย
๒.๗ ประชาชนในหมบู่ า้ นไมม่ ีคดเี กี่ยวกบั การละเมดิ ทรพั ย์สนิ
๒.๘ ประชาชนในหมบู่ ้านไม่มีคดเี ก่ียวกบั พฤตกิ รรมผดิ ทางเพศ
๒.๙ ประชาชนในหมู่บา้ นไมม่ คี ดหี ลอกลวง ดูหม่นิ
๒.๑๐ ประชาชนในหมบู่ า้ นไม่มีคดเี ก่ียวกบั สงิ่ เสพติดใหโ้ ทษ
๒.๑๑ การรณรงคใ์ หส้ มาชกิ ในครอบครัวสมัครเปน็ ครอบครัวรกั ษาศลี ๕

๑๔ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต), หยาดเพชรหยาดธรรม : ภูมิปัญญาเพื่อการศึกษาไทย,
(กรงุ เทพมหานคร : เฟ่ืองฟา้ การพิมพ์, ๒๕๔๗), หน้า ๓๔-๓๖.

๒๓

๓. ด้านกจิ กรรมตามวถิ ีชาวพทุ ธ
๓.๑ การจดั กิจกรรมวันสำคัญทางพระพทุ ธศาสนา๑๕
๓.๒ การจดั กิจกรรมตามขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมไทย
๓.๓ การจัดกจิ กรรมเฉลิมพระเกยี รติ สถาบนั พระมหากษตั ริย์ และพระบรมวงศานุ-วงศ์
๓.๔ การจัดกจิ กรรมสง่ เสรมิ ทำนบุ ำรงุ พระพทุ ธศาสนา
๓.๕ การจัดกจิ กรรมรณรงคก์ ารลด ละ เลกิ อบายมุขและสิง่ เสพตดิ ใหโ้ ทษ
๓.๖ การจัดกิจกรรมทำบุญตกั บาตรประจำวัน/วันธรรมสวนะ/ ทำบุญกลางบา้ น
๓.๗ การจดั กิจกรรมสง่ เสริมความปรองดอง สมานฉันท์
๓.๘ การจัดกจิ กรรมสง่ เสรมิ ค่านิยมหลัก ๑๒ ประการ
๓.๙ การจัดกิจกรรมเขา้ วดั วนั เสาร์/อาทติ ย์ ใกล้ชดิ พระพุทธศาสนา๑๖
๓.๑๐ การจดั กจิ กรรมอนรุ ักษ์ศลิ ปะ ขนบธรรมเนยี ม ประเพณี และวฒั นธรรม

๔. ด้านการจัดกิจกรรมส่งเสริมงานของหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล (อ.ป.ต.)
ทัง้ ๘ ดา้ น

๔.๑ ด้านศีลธรรมและวัฒนธรรม
๔.๒ ดา้ นสขุ ภาพอนามยั
๔.๓ ดา้ นสมั มาชีพ
๔.๔ ดา้ นสันตสิ ขุ
๔.๕ ด้านศกึ ษาสงเคราะห์
๔.๖ ดา้ นสาธารณสงเคราะห์
๔.๗ ดา้ นกตัญญกู ตเวทิตาธรรม
๔.๘ ดา้ นสามคั คี
รวมทั้งมีการบันทึกกิจกรรมดีเด่น และบันทึกข้อเสนอแนะ และมีแบบประเมินผล
โครงการสร้างความปรองดองสมานฉันทโ์ ดยใช้หลักธรรมทางพระพทุ ธศาสนา “หมบู่ า้ นรักษาศลี ๕”
๕. ระดับอำเภอ ดำเนนิ การดงั นี้
๕.๑ นายอำเภอประกาศนโยบายตามโครงการสร้างความปรองดองสมานฉันท์โดย
ใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา “หมู่บ้านรักษาศีล ๕” ของจังหวัด ในที่ประชุม ประจำเดือน

๑๕ วศิน อินทสระ, ไตรลักษณ,์ (กรงุ เทพมหานคร : โรงพิมพม์ หามกฏุ ราชวทิ ยาลัย, ๒๕๔๙), หนา้ ๖๔.
๑๖ พระพรหมคณุ าภรณ์ (ป.อ. ปยตุ โฺ ต), “ลักษณะแหง่ พุทธศาสนา (๑๗) ลักษณะท่ี ๑๒ ”, ขา่ วสด,
(๒๑ กมุ ภาพนั ธ์ พ.ศ. ๒๕๕๓) : ๓๑.

๒๔

ของนายกองค์การบริหารส่วนตำบล กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และหัวหน้าส่วนราชการของอำเภอ
และกำหนดเป็นนโยบายของอำเภอ

๕.๒ นายอำเภอมอบหมายผู้รับผิดชอบ ดำเนินการจัดทำโครงการ/กิจกรรมรองรับ
แล ะป ร ะกาศแต่งตั้งคณะกร ร มการ ดำเนิน งาน ตาม โคร งการส ร้างความป รองดองส มานฉันท์
โดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา “หมู่บ้านรักษาศีล ๕” โดยมีนายอำเภอ เป็นประธาน
นายกองค์การบริหารส่วนตำบล และกำนัน เป็นรองประธาน หัวหน้าส่วนราชการของอำเภอและ
ผ้เู กี่ยวข้องเปน็ คณะกรรมการ ผู้ใหญ่บา้ นเปน็ คณะกรรมการและเลขานุการ

๕.๓ นายอำเภอดำเนินการแจ้งรายชื่อหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ต้นแบบ ระยะที่ ๑, ๒
และระยะที่ ๓ (ระยะยาว) รวมทั้งหมู่บ้านที่เหลือที่เข้าร่วมโครงการเพิ่มเติม ส่งสำนักงาน
พระพทุ ธศาสนาจังหวดั

๕.๔ ดำเนินการจัดประชุมคณะกรรมการด าเนินการ ตามโครงการสร้างความ
ปรองดองสมานฉันท์ โดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา “หมู่บ้านรักษาศลี ๕” ของอำเภอร่วมกับ
ตำบล และหมู่บ้าน เพื่อวางแผนดำเนินงาน กำหนดกิจกรรมรักษาศีล ๕ ในหมู่บ้านและจัดทำปฏิทิน
ปฏิบัติงานของอำเภอ ให้มคี วามสอดคลอ้ งกบั โครงการและกจิ กรรมของจงั หวัด

๕.๕ ประสานขอความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หรือผู้มีจิตศรัทธาด้าน
งบประมาณ และดำเนินการจัดกิจกรรมรักษาศีล ๕ ในหมู่บ้าน ร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบล
กำนนั และผใู้ หญ่บ้าน

๕.๖ คณะกรรมการดำเนนิ โครงการสร้างความปรองดองสมานฉันท์ โดยใชห้ ลักธรรม
ทางพระพทุ ธศาสนา “หมบู ้านรักษาศลี ๕” ของอำเภอ ดำเนินการประเมินผลและคัดเลือก “หมูบ้าน
รักษาศีล ๕” ต้นแบบระดับต าบล ที่คณะกรรมการดำเนินงานโครงการ สร้างความปรองดอง
สมานฉันท์ ฯ ระดับตำบล ดำเนินการประเมินผลและคัดเลอื กส่งใหแ้ ล้วนั้น ให้เลือกหมู่บ้านรักษาศลี
๕ ต้นแบบ ระดบั อ าเภอ ๆ ละ ๑ หมูบ่ า้ น สง่ สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวดั

๕.๗ ดำเนนิ การติดตามและประเมินผลการดำเนนิ งาน พรอ้ มทง้ั สรุปและรายงานผล
การดำเนิน การจดั กจิ กรรมเปน็ ภาพรวมของอำเภอ รายงานใหจ้ งั หวัดและหน่วยงานทีเ่ กี่ยวขอ้ งทราบ

๖. ระดบั ตำบล ดำเนินการดังนี้
๖.๑ นายกองค์การบริหารส่วนตำบล กำนัน และผู้ใหญ่บ้าน ร่วมกันประกาศ

นโยบายตามโครงการสร้างความปรองดองสมานฉนั ท์โดยใชห้ ลักธรรมทางพระพุทธศาสนา “หมู่บ้าน
รักษาศลี ๕” ของจงั หวดั ในท่ปี ระชมุ ประจำเดอื นของคณะกรรมการองค์การบริหารสว่ นตำบล กำนัน
ผ้ใู หญบ่ ้าน หวั หนา้ สว่ นราชการของตำบล และรว่ มกำหนดเปน็ นโยบายของตำบล

๒๕

๖.๒ นายกองค์การบริหารส่วนตำบล มอบหมายผู้รับผิดชอบ ดำเนินการจัดทำ
โครงการ/กิจกรรม รับรอง และประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานตามโครงการสร้างความ
ปรองดองสมานฉันท์ โดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา “หมู่บ้านรักษาศีล ๕” ของตำบล โดยมี
นายกองคก์ ารบรหิ ารส่วนตำบลหรือกำนัน ตามทีน่ ายอำเภอมอบหมาย เป็นประธาน รองนายก
องค์การบริหารส่วนตำบล เป็นรองประธาน และฝ่ายท่ีเกี่ยวข้อง ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล
เปน็ คณะกรรมการและเลขานุการ๑๗

๖.๓ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหรือกำนัน รวบรวมรายชื่อหมู่บ้านรักษาศีล ๕
ต้นแบบ ระยะท่ี ๑,๒ และระยะที่ ๓ (ระยะยาว) รวมทงั้ หมู่บ้านทเ่ี หลือที่เข้ารว่ มโครงการเพิ่มเติมไว้ที่
องค์การบรหิ ารสว่ นตำบลหรือกำนนั และส่งให้อำเภอทราบ

การดำเนินการหมู่บ้านศีล ๕ ในครั้งแรกเริ่มตั้งแต่ปี ๒๕๕๕ ที่จังหวัดสระบุรีโดยผู้ว่า
ราชการจังหวัดสระบุรีได้รับเมตตาให้การชี้แนะจากเจ้าประคุณสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ และ
ได้รับความเมตตาจากพระธรรมปิฎก เจ้าคณะจังหวัดสระบุรี จึงเกิดโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕
จังหวัดสระบุรี ด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจของผู้นำทั้งฝ่ายศาสนาจักรและอาณาจักรที่ร่วมกันทุ่มเทสรรพ
กำลัง เพื่อทำให้สระบุรีร่มเย็นด้วยศีลธรรม จนปัจจุบันประสบความสำเร็จมีหมู่บ้านรักษาศีล ๕
ที่ ผ่านเกณฑ์ คือ มีคนในครอบครัวร้อยละ ๕๐ และคนในหมู่บ้านร้อยละ ๕๐ รักษาศีล ๕ รวม ๘๑
หมู่บ้าน ๑๐,๒๖๒ ครอบครัว จากทุกอำเภอของจังหวัดสระบุรี พร้อมกันนี้ ยังมีการต่อยอดไปยัง
โรงเรียนรักษาศีล ๕ อีก ๑๒ โรงเรียน ซึ่งมีการมอบป้ายประกาศอย่างเป็นทางการที่จังหวัดสระบุรี
เป็นแห่งแรก เมื่อวันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๗ ที่ผ่านมา และได้ขยายไปยังจังหวัดต่างๆ เช่น ลพบุรี
สระแกว้ แพร่ นครสวรรค์ ตาก อทุ ยั ธานี อุตรดติ ถ์ สุโขทยั รวมถงึ เชยี งใหม่ ขณะเดยี วกนั คณะสงฆ์ใน
แต่ละจังหวัด ได้นำไปปฏิบัติ โดยเริ่มจากร้อยละ ๕๐ ของแต่ละหมู่บ้าน โดยมีหลักแนวคิดว่าการ
ดำเนินการโครงการนี้หากจังหวัดใดสามารถดำเนินการได้จนประสบความสำเร็จ ก็จะส่งผลให้เกิด
ความสงบสขุ ในจงั หวัดนั้นและสุดท้ายจะสง่ ผลทำให้ประเทศชาติสงบสขุ ดว้ ย

๒.๓ แนวคิดเก่ียวกับการพฒั นา

การพัฒนาสังคมไทย จึงเป็นเรื่องจำเป็นและสิ่งที่สำคัญยิ่งต่อสังคมความเป็นอยู่ของคน
ในทุกยุคทุกสมัยและทุกระดับช้ัน จึงต้องมีการพัฒนาสังคมคนควบคูก่ ันไป เพื่อให้คนในสงั คมมีความ
เข้มแข็งทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา โดยการพัฒนาด้วยการประพฤติ

๑๗ แก้ว ชิดตะขบ, รวมวิชาธรรมศึกษาชั้นตรี (ตามหลักสูตรของสนามหลวงแผนกธรรม
พ.ศ. ๒๕๔๖, (กรุงเทพมหานคร : โรงพมิ พ์การศาสนา, ๒๕๔๗), หน้า ๙๓-๙๔.

๒๖

ปฏิบัติอยู่ในกรอบของศีลธรรม คุณธรรม และจริยธรรมอันดีงามของสังคม และดำรงชีวิตอยู่บน
พื้นฐานแห่งสัจจะธรรมหรือความจริงใจ ไม่หลงงมงาย มีความเพียงพอ รู้จักช่วยเหลือเกื้อกูล
เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน ไม่เอารัดเอาเปรียบกัน มีความสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
มคี วามเป็นปกึ แผ่น และให้มีความสามารถพึง่ ตนเอง และดำรงตนอยูใ่ นสงั คมไดด้ ีอย่างมีความสขุ และ
ร่มเยน็ สืบไป

คำว่า “พัฒนา” (Development) ในทางพระพุทธศาสนา หมายถึง การพัฒนาคนให้มี
ความสุข มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม การพัฒนาจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อขบวนการต่างๆ
เพราะการพัฒนานน้ั ไปสู่ความเจริญก้าวหน้าของสังคมในระดบั ตา่ งๆ ของประเทศ ทุกประเทศจึงเน้น
ท่ีการพฒั นาเปน็ สำคญั การพฒั นาสงั คมตามหลกั พทุ ธศาสนา

พระธรรมปิฏก (ป.อ.ปยุตโต) ได้กล่าวว่า การพัฒนาสังคมไทยนั้น จะต้องมีการพัฒนา
คนก่อน เพอื่ สรา้ งคนใหม้ ีความเขม้ แขง็ ๓ ประการ๑๘ คือ

๑) ความเข้มแขง็ ทางพฤตกิ รรม ได้แก่ ความขยนั ขนั แขง็ และจรงิ จังในการทำงานในสังคม
๒) ความเข้มแข็งทางจิตใจ ได้แก่ ความพยายามทำด้วยตนเอง ใช้ปัญญาเป็นเครื่องมือ
ในการแก้ปัญหา ก่อให้เกิดภาวะผู้นำทางปัญญา ซึ่งเป็นผู้นำที่แท้จริงนั่นเอง เมื่อสร้างคนให้มีความ
เข้มแข็งแล้ว ก็จะสามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมได้ อีกทั้งยังส่งผลให้ชุมชนเข็มแข็งอีกด้วย
โดยการยึดหลกั ธรรมเปน็ แนวทางในการพฒั นา
๓) ถือหลกั การให้สำเรจ็ ด้วยความเพียรพยายามที่เรยี กว่า หลกั ธรรม ถอื หลกั เรียนรู้ฝึกฝน
พัฒนาชีวิตให้ดียิ่งขึ้นไปเรื่อยๆ ทั้งทางพฤติกรรม ทางจิตใจ และปัญญาที่เรียกว่า ไตรสิกขา คือ
ศลี สมาธิ และปญั ญา เป็นหลกั การพัฒนาสงั คมตามแนวพระพุทธศาสนา
การที่หลักพุทธธรรมเน้นการสร้างความเข้าใจเป็นพื้นฐานต้ังแต่ต้นนั้น ก่อให้เกิดผลดี
หลายประการ คือ การทำใหค้ นดำรงชีวิตอยู่บนรากฐานแห่งสจั จะธรรมหรือความเป็นจริง ไม่หลงเชื่อ
แบบงมงายและแบบไร้เหตุผล เรียนรู้ด้วยตนเอง จะทำให้คนรู้จักการพึ่งพาตนเอง เพราะองค์สมเด็จ
พระบรมศาสนาสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ทรงย้ำว่า อตฺตาหิ อตฺตโน นาโถ ตนแลเป็นที่พึ่งของตน
และความเข้าใจจะเป็นรากฐานแห่งศรัทธาที่มั่นคง เชื่อมั่นและความชัดเจนถึงแนวทางการพัฒนา
ตนเองและสังคมไปสู่ชีวิตที่ลด ละ เลิกความทุกข์ ศรัทธาที่มั่นคงนี้จะก่อให้เกิดความวิริยะอุตสาหะ
ที่จะพัฒนาไปให้ถึงเป้าหมายอย่างไม่ย่อท้อ และมีความปิติในการพัฒนานั้น ฉะนั้น จึงให้คนในสังคม

๑๘ พระธรรมปิฏก (ป.อ.ปยุตโต), แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนา, (กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์เสมาธรรม,
๒๕๖๑),หน้า ๖๓.

๒๗

เป็นคนมคี วามกระตือรือร้นท่ีจะพฒั นาความดีงามท้ังแกต่ นเองและสงั คมส่วนรวมให้มากขึ้นแล้วความ
สงบสุขก็จะเกดิ ข้ึนในสังคมสืบไป

๒.๔ แนวคดิ และทฤษฎีเกย่ี วกบั การพัฒนาคณุ ภาพชีวิต

จากการศึกษาเกี่ยวกับแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยมี
รายละเอยี ด ดังนค้ี อื

ทฤษฎีมนุษยนิยมมีวิวัฒนาการมาจากทฤษฎีกลุ่มปรัชญาที่เน้นการพัฒนาการตาม
ธรรมชาติ แต่การพัฒนาการก็จะมีความเป็นวิทยาศาสตร์คือพัฒนาการเป็นกระบวนการ กลุ่มทฤษฎี
มนุษยนิยมนี้เป็นกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยกับการทดลองที่เกี่ยวกับพฤ ติกรรมของสัตว์แล้วมาใช้อ้างอิงกับ
มนษุ ย์และปฏเิ สธทจ่ี ะใช้คนเป็นเคร่ืองทดลองแทนสตั ว์เพราะเหน็ ว่ามนุษย์มีความคิด มีสมอง อารมณ์
และมอี สิ รภาพในการกระทำ

ดังนั้นหากองค์กรใดมกี ารจัดการอบรมเพ่ือพัฒนาชีวติ มนุษยต์ ามแนวทฤษฎนี ้ี บุคคลากร
ที่จะเขา้ อบรมจะต้องเปน็ ศูนย์กลางของการอบรม ผนู้ ำการอบรมเป็นเพียงผู้คอยสนับสนุนและอำนวย
ความสะดวกในกระบวนการอบรมและจัดมวลประสบการณเ์ อื้อที่ให้ผู้เรียนเกดิ การเรยี นรูม้ ากทีส่ ุด๑๙
และบรรยากาศในการอบรมควรสร้างอบอุน่ เปน็ แบบรว่ มมือกนั มากกว่าการแขง่ ขนั กนั

๒.๔.๑ ความหมายของการพัฒนาศักยภาพของมนษุ ย์
สังคมมนุษย์เปน็ สังคมที่ต้องการความเจริญก้าวหน้า ต้องการชื่อเสียง เกียรติยศ เงินทอง
การยอมรับจากวงสังคมและประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานซึ่งไม่มีใครเลยจะสามารถปฏิเสธได้
ว่าในแต่ละวันนั้นมนุษย์ต้องดิ้นรนขวนขวายไขว่คว้าหาสิ่งที่ตนพึงปรารถนาเพื่อให้ได้มา ดังนั้นการ
พฒั นาคุณภาพชวี ิตมนุษยจ์ งึ เป็นการพฒั นาตนเองเพื่อให้มชี วี ติ ความเปน็ อยูท่ ่ีดีขึ้นปรบั ปรุงการดำเนิน
ชีวติ ใหส้ อดคล้องและรองรับกับการเปลี่ยนแปลงท่จี ะเกดิ ข้ึนในอนาคต
เติมศักด์ิ ทองอินทร์๒๐ ได้กล่าวถงึ “แนวคิดการพัฒนาทรพั ยากรมนษุ ย์เร่ืององค์ประกอบ
ของระบบ เดวิด อีสตัน” ว่า ระบบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์มีองค์ประกอบสำคัญ คือปัจจัยนำเข้า

๑๙ A.H. Maslow, A Theory of Human Motivation, Psychological Review ๕๐, (London :
Blackie Academic & Professional, ๑๙๙๓), p. ๒๐.

๒๐ เติมศักดิ์ ทองอินทร,์ เอกสารประกอบสอน : การพฒั นาทรัพยากรมนุษย,์ (ภาควิชารัฐศาสตร์คณะ
สงั คมศาสตร์ : มหาวทิ ยาลยั มหาจฬุ าลงกรณราชวิทยาลยั , ๒๕๔๗), หน้า ๒.

๒๘

ซึ่งได้แก่ คน เงิน และวิทยากร กระบวนการแปรสภาพ ซึ่งได้แก่ การศึกษา ฝึกอบรม พัฒนา และ
ปัจจัยนำออกซึ่งได้แก่ คนที่มีคุณภาพความสำเร็จในการพัฒนามนุษย์ถือได้ว่าสามารถเปลี่ยนแปลง
ค่านิยม ทัศนคติ ความต้องการ และพฤติกรรมของมนุษย์จากเดิมมาสู่ภาวะใหม่ เป็นการกระตุ้นให้
เกิดความต้องการโครงการใหม่ ๆ และในองค์การต่าง ๆ เมื่อทรัพยากรมนุษย์ในองค์การได้รับการ
พัฒนาสงู ขึ้น มีความรคู้ วามชำนาญมากขึน้ ก็มกั ท่ีจะเกิดความตอ้ งการโครงการใหม่ ๆ ทางการบรหิ าร
ซึ่งจะเรียกร้องให้ฝ่ายบริหารหรือฝ่ายจัดการดำเนินการให้มีขึ้น เช่น ในระยะหลังองค์การเกือบทุก
แห่งถูกแรกร้องให้มีการจัดระบบเกี่ยวกับความมั่งคงปลอดภัยในการทำงาน ระบบการประกันชีวิต
และสุขภาพ และในระดบั ชาตกิ เ็ ช่นเดยี วกัน การทท่ี รพั ยากรมนุษย์ของชาติไดร้ บั การพัฒนามีคุณภาพ
ดขี ้นึ กย็ ่อมจะมีความต้องการโครงการใหม่ ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเรื่องการได้รับบริการจากภาครัฐ
อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ดังจะเห็นได้ว่าภารกิจต่าง ๆ ของหน่วยงานภาครัฐเพิ่มมากขึ้น
เมื่อระดับของการพัฒนาประเทศสูงขึ้น เป็นต้นแนวคิดการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ว่าเป็นภารกิจท่ี
สำคญั อยา่ งหนึง่ ทอี่ งค์การทกุ องค์การตอ้ งการปฏบิ ัตมิ ากบ้างน้อยบ้าง ตามนโยบายของแต่ละองค์การ
ในเรือ่ งนม้ี แี นวคิดทแี่ ตกต่างกนั

ดนัย เทียนพุฒ ๒๑ ได้กล่าวถึง การพัฒนาศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์ว่า ในยุคโลกาภิ
วัตน์นี้ว่าทรัพยากรมนุษย์เป็นกุญแจไขสู่ความสำเร็จของชาติ ถ้าหากประเทศใดประเทศหนึ่งมี
ทรัพยากรมนุษย์ที่มีศักยภาพ คุณภาพ และจริยธรรมสูง เชื่อว่าเราคงก้าวเข้าไปแข่งขันในโลกไร้
พรมแดนได้อย่างไม่ยากเย็นนัก มุมมองใหม่ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามกรอบแนวคิดการ
พัฒนาศักยภาพของมน ุษย์เ พื่ อให ้ธุรกิจสา มาร ถนำไปเป็นร ูปแบบ เพื ่อพัฒน าองค์ การ ที่น ำ ไป สู่
ความสำเร็จได้ทงั้ องค์การและประเทศชาติ

สุคนธ์ ภูริเวทย์๒๒ได้กล่าวถึง “การพัฒนาชีวิตมนุษย์ที่เป็นทรัพยากร”ว่า การจะพัฒนา
ชีวิตมนุษย์ให้ได้ใช้ความรู้ความสามารถในการพัฒนาตนเอง พัฒนาองค์กรและพัฒนาประเทศให้มี
ความเจรญิ ก้าวหนา้ ในดา้ นตา่ งๆนั้น จะต้องดำเนินการ ดงั น้ี

๑. พัฒนามนุษย์ให้เป็นคนคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น มีคุณธรรม จริยธรรม มีเหตุผล
มคี วามรบั ผดิ ชอบในหนา้ ทกี่ ารงาน ตนเองและสงั คม

๒๑ ดนัย เทยี นพุฒ , ส่องโลกทรรศนน์ ักบรหิ าร, (กรุงเทพมหานคร : โรงพมิ พจ์ ุฬาลงกรณร์ าชวทิ ยาลัย,
๒๕๔๒), หน้า๕๕.

๒๒ สุคนธ์ ภูรเิ วทย,์ หลกั สูตรเพื่อพฒั นาทรัพยากรมนุษยแ์ ละชมุ ชน, (กรงุ เทพมหานคร:มหาวิทยาลัย
รามคำแหง, ๒๕๔๓), หนา้ ๔.

๒๙

๒. พัฒนาทรพั ยากรมนุษย์ โดยการให้ประชาชนอันเป็นทรัพยากรมนุษย์ให้มคี ุณภาพชวี ติ ทีด่ ี

จิตติมา อัครธิติพงศ์๒๓ ได้กล่าวว่า ทฤษฎีจิตวิทยา หากนำมาใช้ในการบริหารจัดการ
ตนเอง และกลุ่มคนทั้งที่อยู่ในหน่วยงานเดียวกันและหรือต่างหน่วยงานกัน โดยมีเป้าหมายเพื่อการ
ปรับปรุง และการพัฒนาผลการดำเนินงาน (Performance) ทั้งในระดับองค์การ หน่วยงาน และตัว
บุคคลให้ดีและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยที่นักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จะต้องทำความเข้าใจถึง
กระบวนการเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจและการแสดงออกของมนุษย์ ซึ่งการออกแบบโปรแกรมการ
พัฒนาบุคลากรจงึ ถูกกำหนดข้ึนมาเพือ่ การปรับเปล่ียนการรับรู้ อารมณ์ ที่นำไปสู่การเปล่ียนแปลงใน
ด้านทัศนคติ โดยมีเป้าหมายก็คือ พฤติกรรมการแสดงออกที่เกินกว่าหรือเป็นไปตามความต้องการ
หรอื ความคาดหวงั ขององค์การ และผู้บงั คับบญั ชาโดยมคี วามเช่ือว่า เม่อื พฤติกรรมการทำงานเปลี่ยน
ผลการดำเนินงานย่อมไดร้ บั การปรบั ปรุงและการพัฒนาให้มีประสทิ ธิภาพมากขน้ึ ด้วยเชน่ กนั

สรุปว่า ทรัพยากรมนุษย์เมื่อเกิดมาทุกคนต้องได้รับการศึกษาเล่าเรียน เมื่อจบการศึกษา
แล้วต้องประกอบอาชีพเพอ่ื การดำรงชวี ติ ให้อยู่รอด การประกอบอาชีพของมนษุ ยจ์ ะต้องใชท้ ้ังแรงงาน
และแรงสมองควบคู่กันไป เพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพยากรมนุษย์ที่เป็นรูปธรรม แต่ถ้ามนุษย์ราได้ใช้ทั้ง
แรงงานและแรงสมองอย่างเต็มที่และชาญฉลาดก็จะทำให้เป็นผู้ที่มีคุณค่าได้รับการยกย่องและผลที่
ตามมาก็คือ มนุษย์เราจะได้ปรับเปลี่ยนและพัฒนาตนองให้สอดคล้องกับสังคมที่เปลี่ยนไปให้เป็น
รปู ธรรมทีท่ ำใหต้ นเองอยใู่ นสังคมอย่างมีความสขุ ตลอดไป

๒.๔.๒ ความสำคญั ในการพัฒนาศักยภาพของมนุษย์

การพัฒนาชีวิตมนุษย์ เป็นการสร้างรากฐานของระดับการดำรงชีวิตของคนให้ดีข้ึน
โดยการให้ความรู้ การฝึกด้านคุณธรรม การส่งเสริมสุขภาพอนามัยการประกอบอาชีพ รวมกันอยู่
ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข ในประเทศไทยได้มีการสร้างเกณฑ์มาตรฐานของคุณภาพชีวิตสังคม
มนุษย์เป็นสังคมที่ต้องการความเจริญก้าวหน้า ต้องการชื่อเสียง เกียรติยศ เงินทอง การยอมรับ
จากวงสังคม และประสบความสำเร็จในหนา้ ที่การงานซ่ึงไม่มีใครเลยจะสามารถปฏิเสธได้ว่าในแต่ละ
วันนนั้ มนุษย์ต้องดนิ้ รนขวนขวายไขวค่ ว้าหาสิ่งท่ีตนพึงปรารถนา

ดังนั้นการพฒั นาคณุ ภาพชีวิตจึงเปน็ การพฒั นาตนเองเพื่อใหม้ ีชวี ติ ความเป็นอยู่ท่ีดีข้ึนโดย
การปรับปรุงการดำเนินชีวิตให้สอดคล้องและรองรับกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
เป้าหมายหลักในการพัฒนาคุณภาพชีวิต คือ การให้มีความสามารถในการพึ่งพาตนเอง การที่จะ

๒๓ เรอ่ื งเดยี วกัน.หนา้ ๕๙.

๓๐

พัฒนาชีวิตให้มีคุณภาพได้สำเร็จนั้นต้องพัฒนาหลายๆ ด้านประกอบกัน การมุ่งพัฒนาชีวิตด้วย
กระบวนการศึกษาเพื่อหวังสรา้ งโอกาสหางานทำง่าย มีรายไดม้ าใช้จา่ ยบำรงุ ชีวติ ให้อยดู่ ีกนิ ดี มีความ
สะดวกสบายสามารถยกระดับชีวิตได้สูงขึ้นในสังคมว่าเป็นชีวิตที่มีคุณภาพนั้น.๒๔ การมีคุณภาพชีวิต
ในลักษณะนี้อาจไม่ยั่งยืนมั่นคงพออาจจะมีปัญหาที่อาจก่อตัวขึ้นมาช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิตไ ด้หาก
ท่าทขี องจิตใจซึ่งเป็นตัวบงการชีวติ ยังไม่ไดร้ บั การพฒั นา

การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือมนุษย์เราจะต้องรีบพัฒนา
ด้านมนุษยสมั พนั ธ์ควบคู่กนั ไปด้วย เพราะวา่ การดำรงชวี ิตอยูใ่ นสังคมจำเปน็ ตอ้ งมกี ารคบหาเกี่ยวพัน
ระหว่างบุคคลรอบด้าน พฤติกรรมที่เราแสดงออกย่อมไปกระทบอารมณ์ความรูส้ ึกระหว่างบุคคลแลว้
สะท้อนกลับมาเกี่ยวพันตัวเราด้วย ผลของการสะท้อนกลับมามีอิทธิพลต่อการพัฒนาชีวิตเช่นกัน
ถ้าสะท้อนกลับมาในทางบวกก็จะช่วยเสรมิ สรา้ งกำลังใจและมีส่วนช่วยผลักดันการพัฒนาชีวิตตนเอง
ได้สะดวกขึน้ สะท้อนกลบั ในทางลบความเก่ียวพันนนั้ จะกลายเปน็ ตัวหนว่ งเหน่ียวการพัฒนาตนคล้าย
กับตัวเองหน่วงเหนี่ยวตัวเอง การจะสะท้อนกลับเป็นบวกหรือลบนั้นขึ้นอยู่กับพฤติกรรมของเราเป็น
ตน้ เหตผุ สมอยู่ดว้ ย ฉะน้ันจึงจำเป็นตอ้ งพฒั นาชวี ิตในดา้ นนใ้ี ห้มีคุณภาพยิ่งขึน้ ผูท้ ่ีสามารถพัฒนาชีวิต
ได้จนมคี ุณภาพสูงกจ็ ะสามารถจัดการและรับผิดชอบชีวติ ตนได้

๒.๔.๓ จุดม่งุ หมายในการพัฒนาศกั ยภาพของมนษุ ย์
สังคมมนุษย์เป็นสังคมท่ีตอ้ งการความเจริญก้าวหนา้ ต้องการชื่อเสียง เกียรติยศ เงินทอง
การยอมรับจากวงสังคมและประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานซึ่งไม่มีใครเลยจะสามารถปฏิเสธได้
ว่าในแต่ละวันนั้น มนุษย์ต้องดิ้นรนขวนขวายไขว่คว้าหาสิ่งที่ตนพึงปรารถนาเพื่อให้ได้มา ดังนั้นการ
พัฒนาชีวิตจึงเป็นการพัฒนาตนเองเพื่อให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นปรับปรุ งการดำเนินชีวิตให้
สอดคล้องและรองรับกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยมีจุดมุ่งหมายในการพัฒนาชีวิต
มนษุ ย์ ๔ มติ ิ ๒๕ดังน้ี

๒๔ บทความนี้เป็นการสรุปสาระสำคญั จากการสัมมนาเร่ือง “พ่งึ ตนเอง ... ทางเลือกแหง่ ทางรอดของ
สงั คมไทย” วนั ท่ี ๘ ตลุ าคม ๒๕๔๘ ณ หอ้ งประชุมช้นั ๔ อาคารอเนกประสงค์ ๑ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จดั โดย
นักศกึ ษาปรญิ ญาโทสาขาชนบทศกึ ษาและการพฒั นา รุ่นท่ี ๕ สำนกั บณั ฑิตอาสาสมคั ร.

๒๕ สงวน สุทธิเลิศอรุณ, พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน, (กรุงเทพมหานคร : อักษราพิพัฒน์,
๒๕๔๓), หน้า ๒๓.

๓๑

๑. การพัฒนาชีวิตทางด้านร่างกาย ได้แก่ การให้ความสำคัญกับสุขภาพ รู้จักบริโภค
อาหารอย่างถูก สุขลักษณะและครบ ๕ หมู่ หาเวลาพักผ่อนและออกกำลังเป็นประจำ เพื่อสุขภาพ
รา่ งกายท่แี ขง็ แรงสมบูรณ์

๒. การพัฒนาชีวิตทางด้านอารมณ์เป็นการสร้างเสริมสุขภาพจิตที่ดี รู้จักควบคุมอารมณ์
โดยการหมั่นฝึกให้ทาน การทำงานอดิเรกที่ชื่นชอบ การเข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการ การฝึกสมาธิ
เป็นต้น

๓. การพัฒนาชีวติ ทางดา้ นสังคมเปน็ การสรา้ งการยอมรับและยกยอ่ งจากสังคม อันได้แก่
การเข้ารว่ มกจิ กรรมกบั เพ่ือน ๆหรอื จากหนว่ ยงานต่างๆ ท่จี ัดข้ึน การใช้เวลาวา่ งบำเพ็ญประโยชนเ์ พ่ือ
ชุมชน และการปฏิบัตติ น โดยยึดหลกั คุณธรรม จรยิ ธรรม เป็นตน้

๔.) การพัฒนาชีวิตทางด้านสติปัญญา เป็นการเพิ่มทักษะทางด้านความรู้ให้กับตนเอง
อาทเิ ช่น การอ่านหนังสอื การเข้ารบั การอบรมเพ่ือเพิ่มพูนความรู้ ทกั ษะและประสบการณ์ในด้านต่าง
ๆ การศึกษา ข้อมูลด้วยตนเองจากสื่อสารสนเทศ วิทยุ โทรทัศน์ ฯลฯรวมไปถึงการหัดสังเกตและ
ตดิ ตามการเปล่ียน แปลงของสง่ิ แวดล้อม เป็นต้น

๒.๔.๔ หลกั การพฒั นาศกั ยภาพของมนษุ ย์

การพัฒนาชีวิตของมนุษย์มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ไม่ว่าจะเกิดเป็นคนเชื้อชาติใด
เผ่าพันธุ์วรรณะใด ภาษาใด ถ้ามีการฝึกฝนอบรมตนด้วยกระบวนการที่ถูกต้อง ก็จะกลายเป็นผู้
ประเสริฐสูงสุดกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายได้ ดังนั้น การพัฒนาชีวิตมนุษย์ที่ดีที่สุดของมนุษย์ คือ
การพัฒนาชีวิตมนษุ ย์ดว้ ยการศึกษา โดยมจี ุดมงุ่ หมายหลกั ๒ ประการ๒๖คือ

๑. การศกึ ษาสร้างคนให้เป็นมนุษย์ทส่ี มบูรณเ์ ป็นผู้มชี วี ติ ท่ีดีงาม ดำเนินชีวิตที่ถูกต้องและ
เกื้อกูลแก่สงั คม ตัง้ แต่ระดับพืน้ ฐาน คือ การอยูร่ ว่ มกนั ในสังคมได้อยา่ งมีความสุขจนถึงสามารถกำจัด
ราคะ โทสะ โมหะ ได้อย่างสิ้นเชิง นี้เป็นอัตตัตถะ คือ ประโยชน์ส่วนตัว ข้อนี้มิใช่หวังให้มนุษย์ได้
เรียนรูเ้ พยี งอย่างเดยี ว แต่หวังให้มนษุ ย์เรียนรู้เพอ่ื การปฏบิ ตั ิอย่างเปน็ รูปธรรม และควรปลูกมโนธรรม
สำนึกของตน พรอ้ มท้งั ปฏิบตั ติ นเพ่ือให้เป็นตวั อย่าง

๒. การศึกษาให้เครื่องมือแก่มนุษย์ เพื่อนำไปใช้ในการดำเนินชีวิต และบำเพ็ญกิจเกื้อกลู
แก่สังคมโลก นี่เป็นหลักปรัตถะคือประโยชน์ที่บำเพ็ญแก่ผู้อื่นเพราะในสังคมมีทั้งคนดีและคนไม่ดี

๒๖ เรือ่ งเดียวกัน, หน้า ๓๒.

๓๒

มนุษย์ทฝี่ ึกตนแล้วควรอนุเคราะหผ์ ู้อื่นด้วยคุณธรรมทต่ี นฝึกแลว้ ขอ้ นี้เปน็ จดุ ประสงค์สืบเน่ืองจากข้อ
แรก เพราะผลลัพธ์ที่ได้จากการพัฒนาคือการได้บุคคลให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพ สามารถช่วย
เก้อื กูลใหเ้ กิดประโยชนแ์ กส่ งั คมโลกได้

๒.๔.๕ ลักษณะสำคญั ในการพัฒนาศักยภาพของมนุษย์
บุคคลล้วนต้องการเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ หรืออย่างน้อยก็ต้องการมีชีวิตที่เป็นสุขในสังคม
ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายและความต้องการของตนเอง พัฒนาตนเองได้ทันต่อการ
เปลีย่ นแปลงทเี่ กิดข้ึนในสงั คมโลกการพฒั นาตนจงึ มีลักษณะความสำคญั ๒๗ ดังนี้
ก. ความสำคัญตอ่ ตนเอง จำแนกไดด้ ังน้ี
๑. เป็นการเตรียมตนให้พร้อมในด้านต่างๆ เพื่อรับกับสถานการณ์ทั้งหลายได้ด้วย
ความร้สู ึกทดี่ ตี อ่ ตนเอง
๒. เปน็ การปรับปรงุ สง่ิ ท่ีบกพรอ่ ง และพฒั นาพฤติกรรมใหเ้ หมาะสม ขจัดคุณลกั ษณะท่ีไม่
ตอ้ งการออกจากตวั เอง และเสริมสร้างคณุ ลกั ษณะทีส่ งั คมต้องการ
๓. เป็นการวางแนวทางใหต้ นเองสามารถพัฒนาไปส่เู ปา้ หมายในชวี ิตไดอ้ ยา่ งมั่นใจ
๔. ส่งเสรมิ ความรู้สกึ ในคุณค่าแห่งตนสูงใหข้ ้ึน มีความเขา้ ใจตนเอง สามารถทำหน้าท่ีตาม
บทบาทของตนได้เตม็ ศักยภาพ
ข. ความสำคญั ตอ่ บุคคลอืน่
เน่อื งจากบุคคลย่อมต้องเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน การพฒั นาในบุคคลหนึ่งย่อมส่งผลต่อบุคคล
อื่นด้วย การปรับปรุงและพัฒนาตนเองจึงเป็นการเตรียมตนให้เป็นสิ่งแวดล้อมที่ดีของผู้อื่น ทั้งบุคคล
ในครอบครัวและเพื่อนในทีท่ ำงาน สามารถเป็นตัวอยา่ งหรือเปน็ ท่ีอ้างอิงให้เกิดการพัฒนาในคนอื่นๆ
ต่อไป เป็นประโยชนร์ ่วมกนั ทั้งชีวิตส่วนตัวและการทำงานและการอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุขในชุมชน ท่ี
จะส่งผลใหช้ ุมชนมีความเขม้ แขง็ และพฒั นาอย่างต่อเนอ่ื ง
ค. ความสำคัญตอ่ สังคมโดยรวม
ภารกิจที่แต่ละหน่วยงานในสังคมต้องรับผิดชอบ ล้วนต้องอาศัยทรัพยากรบุคคลเป็น
ผู้ปฏิบัติงาน การที่ผู้ปฏิบัติงานแต่ละคนได้พัฒนาและปรับปรุงตนเองให้ทันต่อพฒั นาการของรูปแบบ
การทำงานหรือเทคโนโลยี การพัฒนาเทคนิควิธี หรือวิธีคิดและทักษะใหม่ๆ ที่จำเป็นต่อการเพ่ิม
ประสิทธิภาพการทำงานและคุณภาพของผลผลิต ทำให้หน่วยงานนั้นสามารถแข่งขันในเชิงคุณภาพ
และประสิทธิภาพกบั สังคมอื่นได้สงู ขึ้น ส่งผลใหเ้ กิดความม่นั คงทางเศรษฐกจิ ของประเทศโดยรวมได้

๒๗ วินัย เพชรชว่ ย, หลกั การพฒั นาตน, (กรงุ เทพมหานคร : โรงพมิ พ์เลย่ี งเชยี ง, ๒๕๓๒), หน้า ๒๒.

๓๓

๒.๔.๖ กระบวนการพัฒนาศกั ยภาพของมนษุ ย์
ปัจจุบนั สงั คมโลกกำลงั เผชิญกับสภาพความเปลีย่ นแปลงในทุกๆ ด้าน ท้ังเศรษฐกจิ สังคม
การเมือง เทคโนโลยีที่ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ซึ่งล้วนส่งผลถึงวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ของทุกคนใน
สังคม ดังนั้น การพัฒนามนุษย์ให้มีศักยภาพและรู้เท่าทันกระแสการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้สามารถอยู่
ร่วมกันในสังคมได้อย่างมีความสุข จึงเป็นสิ่งสำคัญและมีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะหากสังคมหรือ
องค์กรใดมีคนที่มีศักยภาพสูงย่อมได้เปรียบในการที่จะช่วยกันขับเคลื่อนสังคมหรือองค์กรไปสู่
ความสำเรจ็ ตามเป้าหมาย
การพฒั นาชวี ิตมนุษย์ หรอื ทรัพยากรมนุษยเ์ ป็นการพัฒนาทส่ี ำคญั ท่สี ุดเพราะถือเป็นการ
ลงทุนมนุษย์ที่คุ้มค่าและยั่งยนื เมื่อเปรียบเทียบกับการลงทุนด้านอื่นๆ ซึ่งการพัฒนาอืน่ ใดกต็ ามย่อม
ยากทีจ่ ะนำไปสคู่ วามสำเรจ็ อย่างยั่งยืนไดห้ ากไม่ได้มกี ารพฒั นาคนให้มีศักยภาพ มคี ณุ ธรรม จริยธรรม
และ มกี ารศึกษาอย่างเปน็ กระบวนการ สังคมกย็ อ่ มจะไม่มีมนุษย์ท่ดี ที ่ีมคี ณุ ภาพ หรือ มคี วามสามารถ
เต็มตามศักยภาพ ทั้งด้านปัญญา จิตใจ ร่างกาย และสังคมอันเป็นปัจจัยหลักของการพัฒนาทั้งปวง
ดังนั้น การศึกษาจึงเป็นหนทางหนึ่งแห่งการพัฒนาชีวิตและสร้างความมั่นคงต่อชีวิตไม่ว่าจะเป็น
การศกึ ษาในระบบโรงเรียน นอกระบบโรงเรียนหรือการศึกษาตามอัธยาศัยก็ตาม เพราะการศึกษาจะ
ชว่ ยเพม่ิ พนู ทักษะ ความร้คู วามสามารถใหแ้ ก่ตนเอง องคก์ ร สังคมและประเทศชาตติ อ่ ไป
จึงกล่าวได้ว่า สังคมการศึกษาจะต้องไม่สิ้นสุดเพียงแค่จบจากโรงเรียน วิทยาลัย
มหาวิทยาลัย หรือสถาบันการศึกษาต่าง ๆ แต่จะต้องส่งเสริมให้มนุษย์ทุกคนได้เรียนอยู่ตลอดเวลา
แม้ว่าจะจบการศึกษาในระบบไปแล้วก็ตามโดยโรงเรยี นจะต้องทำหน้าทีเ่ ป็นผู้เตรียมความพรอ้ มด้าน
ความรู้ ความสามารถ และปลูกฝังแนวคิดเกี่ยวกับการศึกษาตลอดชีวิตให้แก่ผู้เรียนเพื่อให้มีทัศนคติ
แรงจูงใจใฝ่เรียนรู้ และสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองได้อย่างต่อเนื่องตลอดเวลา๒๘ประเทศไทยเล็งเห็น
ความสำคัญของการพัฒนาชีวิตคนไทยทุกช่วงวัยให้มีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนา
ประเทศในอนาคต และส่งเสริมการศกึ ษาตลอดชวี ิต
ดงั ที่ปรากฏชดั ในยุทธศาสตร์การพัฒนาคนส่สู ังคมแหง่ การเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน๒๙
ของแผนพฒั นาเศรษฐกิจและสงั คมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๑ (พ.ศ. ๒๕๕๕-๒๕๕๙) ที่มงุ่ เนน้ การพัฒนาคน
ไทยทุกกลุ่มวัยให้มีศักยภาพโดยการสร้างโอกาสการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องให้คนทุกกลุ่มวัยให้สามารถ

๒๘ ฟาฏินา วงศ์เลขา, “พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน”, (กรุงเทพมหานคร : อักษราพิพัฒน์,
๒๕๔๓), หน้า ๓๒.

๒๙ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, สรุปสาระสำคัญแผนพัฒนา
เศรษฐกิจและสังคมแหง่ ชาติ, (กรงุ เทพมหานคร: สำนักนายกรัฐมนตร,ี ๒๕๕๕-๒๕๕๙), หน้า ๑๑.

๓๔

เขา้ ถงึ แหลง่ เรียนรูแ้ ละองค์ความรู้ทหี่ ลากหลาย ทัง้ นด้ี ว้ ยการสรา้ งวฒั นธรรมการเรยี นรูใ้ ห้ตระหนักถึง
ประโยชนแ์ ละความสำคญั ของการเรยี นรูต้ ลอดชวี ติ ที่จะนำไปสู่การยกระดบั คณุ ภาพชวี ิต และ
ความสามารถในการดำรงชีวิตได้อย่างรู้เท่าทัน การเสริมสร้างและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ทั้งในระดับ
ท้องถิ่น ชุมชน และประเทศ การสร้างปัจจัยสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต การสร้างโอกาส
อย่างเป็นธรรมให้คนทกุ กลุ่มสามารถเข้าถึงบริการทางสังคมที่มีคุณภาพได้อย่างทั่วถึงรวมถึงสามารถ
เข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ โดยไม่ถูกกีดกันและแบ่งแยกและการจัดระบบความสัมพันธ์ของ
สวสั ดกิ ารทางสงั คมทจี่ ัดโดยระดับชาติ ระดบั ท้องถ่ินและชุมชนอย่างเช่ือมโยงและเก้ือกูล ควบคู่กับ
การกระจายอำนาจให้ชมุ ชนสามารถจัดการกบั ปัญหาของชมุ ชนด้วยตนเอง

เพราะฉะนั้น การที่จะส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวติ ของมนุษย์นั้นต้องเปดิ โอกาสให้ทกุ คน
ได้รับการศึกษาตามรูปแบบที่ต้องการ มีความยืดหยุ่นหลากหลายตามโอกาสและสถานการณท์ ุกภาค
ส่วนในสังคมที่ต้องมีบทบาทร่วมกันในการจัดการศึกษา เช่น บ้าน วัด ที่ทำงาน สถานประกอบการ
ห้องสมุด พิพธิ ภัณฑ์ สวนสตั ว์ สโมสร ศาลาประชาคม เปน็ ตน้ หรอื อาจเปน็ เครือข่ายการเรียนรู้ของ
สถาบันการศึกษาซึ่งถือได้ว่าเป็นการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน เช่น บริการข่าวสาร
ข้อมูลต่างๆ เพื่อเป็นแหล่งความรู้ให้ผู้เรียนสามารถศึกษาเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ส่วนกิจกรรมการ
เรียนรู้สามารถจัดได้อย่างหลากหลายโดยอาจใช้สื่อประเภทต่างๆ เช่น เรียนรู้จากครูผู้สอน วิทยุ
โทรทัศน์ วดี ีทศั น์ คอมพิวเตอร์ แบบเรยี นสำเรจ็ รูป หนงั สือพิมพ์ การประชมุ การอบรม เป็นต้น ทั้งน้ี
จะต้องสอดคล้องกับวิถีชีวิตของผู้เรียนเป็นสำคัญ รัฐบาลจะต้องปฏิรูปการศึกษาและการเรียนรู้ของ
คนไทยอย่างเป็นระบบ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา การเพิ่มโอกาสทาง
การศึกษาและการเรียนรู้ โดยเฉพาะการส่งเสริมทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมเพื่อให้คนไทยได้เรียนรู้ตลอด
ชวี ติ ท้ังการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอธั ยาศยั อย่างมีคุณภาพ ทุกระดับ
และทุกประเภทการศึกษา เพื่อขับเคลื่อนผลักดันให้คนไทยได้มีการศึกษาตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ
และเติมเต็มใหส้ ังคมไทยเป็นสงั คมแห่งการเรียนรู้อย่างแทจ้ รงิ

๒.๔.๗ ประโยชนข์ องการพฒั นาศกั ยภาพของมนษุ ย์
บุคคลที่จะพัฒนาชีวิตตนเองได้ จะต้องเป็นผู้มุ่งมั่นที่จะเปลี่ยนแปลงหรือปรับปรุงตัวเอง
โดยมคี วามเช่ือ หรอื แนวคิดพนื้ ฐานในการพฒั นาตนที่ถูกต้อง ซึ่งจะเปน็ ส่งิ ทีช่ ่วยสง่ เสริมให้การพัฒนา
ตนเองประสบความสำเร็จ ในชวี ติ และการงาน ดงั น้ี
๑. มนษุ ยท์ ุกคนมีศักยภาพท่ีมีคุณค่าอยู่ในตัวเอง ทำใหส้ ามารถฝึกหดั และพัฒนาตนได้ใน
เกือบทุกเรอ่ื ง
๒. มีการเตรียมตนใหพ้ ร้อมในด้านต่างๆ เพื่อรับกับสถานการณ์ทัง้ หลายไดด้ ้วยความรู้สกึ
ทด่ี ตี อ่ ตนเอง

๓๕

๓. มีการวางแนวทางให้ตนเองสามารถพฒั นาไปสู่เป้าหมายในชีวิตได้อย่างมน่ั ใจ
๔. บุคคลมีความรู้สึกในคุณค่าแห่งตน ทำให้มีความเข้าใจตนเอง สามารถทำหน้าที่ตาม
บทบาทของตนไดเ้ ตม็ ศักยภาพ
๕. ปรับปรุงตนเองให้ทันต่อพัฒนาการของรูปแบบการทำงานหรือเทคโนโลยี การพัฒนา
เทคนิควิธี หรือวิธีคิดและทักษะใหม่ๆ ที่จำเป็นต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและคุณภาพของ
ผลผลิต
๖. มีการการควบคุมความคิด ความรู้สึก และการกระทำของตนเองก่อนพบปะกับสังคม
ภายนอก
๗. มีการปรับปรุงและพัฒนาตนเอง สามารถดำเนินการได้ทุกเวลาและอย่างต่อเนื่อง
เมือ่ พบปัญหาหรอื ข้อบกพรอ่ งเกย่ี วกบั ตนเอง
๙. บคุ คลมคี ณุ ธรรม จรยิ ธรรม มีสติปญั ญาและศักยภาพในการประกอบอาชพี การศึกษา
ต่อ และสามารถดารงชีวติ อยใู่ นครอบครัว ชมุ ชน สังคมไดอ้ ย่างมคี วามสขุ
๑๐. รวู้ ธิ กี าร วเิ คราะหข์ ้อมูลด้วยวธิ ีการที่หลากหลาย และการเผยแพรข่ ้อมูลท่ีดีต่อสังคม
และหนว่ ยงาน
๑๑. เข้าใจบทบาทหน้าท่ขี องผนู้ ำชมุ ชน ในฐานะผ้นู ำ และผู้ตามในการจัดทำ และ
ขับเคลอื่ น แผนพฒั นาตนเอง ชมุ ชนและสงั คม

๒.๕ แนวคิดการมีส่วนร่วม

จากการศกึ ษาเกีย่ วกับแนวคิดการมีสว่ นร่วมของประชาชน โดยมีรายละเอยี ด ดังนี้คือ
๒.๕.๑ ความสำคญั และความหมายของการมีสว่ นรว่ ม
ยุพาพร รูปงาม ได้กล่าวถึงการมีส่วนร่วม (Participation) เป็นกระบวนการสื่อสารใน
ระบบเปิดซึ่งเป็นการสื่อสารสองทางระหว่างบุคคลกลุ่มบุคคลชุมชนหรือองค์การในการดำเนิน
กิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งหรือหลายกิจกรรมทั้งเป็นทางการและไม่เป็นทางการ ซึ่งการมีส่วนร่วมจะ
เกี่ยวข้องกับกระบวนการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินงานพัฒนาร่วมคิด ร่วม
ตัดสินใจ ร่วมการดำเนินการและร่วมรับผลประโยชน์ โดยมีเป้าหมายเพือ่ ให้บรรลจุ ุดมุ่งหมายร่วมกัน
ของกลุ่ม และเปน็ การเสรมิ สร้างความสามัคคคี วามรสู้ กึ รว่ มรบั ผดิ ชอบกับกล่มุ ด้วย
ไพรัตน์ เดชะรินทร์ ให้ความหมายคำจำกัดความการมีส่วนร่วม มีมากมายหลายทัศนะ
มีทั้งความหมายกว้างและความหมายแคบ ในบริบทของลักษณะงาน ในแง่มุมประเด็นต่างๆ
แต่ก็เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ในแง่ของการพัฒนา “การมีส่วนร่วม” (Participation) หมายถึง
กระบวนการที่รัฐบาลทำการส่งเสริมชักนำและสร้างโอกาสให้กับประชาชนทั้งส่วนบุคคล กลุ่มชน

๓๖

ชมรม สมาคม มลู นธิ ิและองคก์ รอาสาสมัคร เข้ามามีบทบาทในการดำเนนิ การในเรื่องใดเรื่องหน่ึงหรือ
หลายๆเร่อื งแล้วแตก่ รณี๓๐

ยวุ ัฒน์ วุฒิเมธี ให้ความหมายวา่ เปน็ กจิ กรรมในการเปิดโอกาสใหป้ ระชาชนได้มีส่วนร่วม
ในการคิดริเริ่ม การพิจารณา การตัดสินใจ การร่วมปฏิบัติและร่วมรับผิดชอบ ในเรื่องต่างๆอันเป็น
ผลกระทบมาถงึ ตน๓๑

ปรชั ญา เวสารัชช์ ได้สรุปความหมายดา้ นการดำเนินงานโครงการการมสี ่วนรว่ มหมายถึง
การทำงานรว่ มกนั กับกล่มุ เพ่ือใหบ้ รรลวุ ตั ถปุ ระสงค์ด้วยความต้ังใจ โดยกระทำการงานดังกล่าวในห้วง
เวลาและลาดับเหตุการณ์ที่ทรงประสิทธิภาพโดยให้ผู้เข้าร่วมได้ใช้ความคิดความรู้ความสามารถ
แรงงานสนบั สนุนหรอื จัดการทรพั ยากรเชน่ เงนิ ทนุ วสั ดุในกิจกรรมการพัฒนา๓๒

ส่วนความหมายในดา้ นการจดั การ หมายถึง การทีก่ ลุ่มของประชาชนก่อให้เกดิ การรวมตัว
ที่สามารถจะกระทำการตัดสินใจใช้ทรัพยากรและมีความรับผิดชอบในกิจกรรมที่กระทำโดยกลุ่มใน
ประเด็นการตัดสินใจ หมายถึงเป็นการเข้าร่วมอย่างแข็งขันของประชาชนในการดำเนินการตัดสินใจ
ในทุกระดับและทุกรูปแบบของกิจกรรมต่างๆทางด้านเศรษฐกิจสังคมและการเมืองและโดยเฉพาะใน
บริบทของกระบวนการวางแผนที่มีการกำหนดรปู แบบ

นิรันดร์ จงวุฒิเวศย์ ได้สรุปความหมายของการมีส่วนร่วมว่า การมีส่วนร่วม หมายถึง
การเกี่ยวข้องทางด้านจิตใจและอารมณ์ของบุคคลหนึ่งในสถานการณ์กลุ่มซึ่งผลของการเกี่ยวข้อง
ดังกล่าวเป็นเหตุเร้าใจให้กระทำการให้บรรลุจุดมุ่งหมายของกลุ่มนั้นกับทั้งทำให้เกิดความส่วนร่วม
รับผดิ ชอบกับกล่มุ ดงั กลา่ วด้วย๓๓

นรินทรช์ ยั พัฒนพงศา ได้สรุปความหมายของการมสี ่วนร่วมวา่ การมสี ่วนร่วม คือ การที่
ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดที่ไม่เคยได้เข้าร่วมในกิจกรรมต่างๆ หรือเข้าร่วมการตัดสินใจหรือเคยมาเข้าร่วมด้วย

๓๐ ไพรัตน์ เดชะรินทร์, แนวคิดการมีส่วนร่วมของประชาชน, (กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์เสมาธรรม,
๒๕๖๑), หน้า ๗๑.

๓๑ ยุวัฒน์ วุฒิเมธี, แนวคิดการมีส่วนร่วมของประชาชน, (กรุงเทพฯ : มหาวิทยาทักษิณ, ๒๕๖๑),
หนา้ ๑๘.

๓๒ ปรัชญา เวสารัชช์, แนวคิดการมีส่วนร่วมของประชาชน, (กรุงเทพฯ : มหาวิทยาทักษิณ, ๒๕๖๑),
หน้า ๑๐.

๓๓ นิรันดร์ จงวุฒิเวศย์, แนวคิดการมีส่วนร่วมของประชาชน, (กรุงเทพฯ สํานักอนามัยสิ่งแวดล้อม,
๒๕๖๑), หนา้ ๑๒.

๓๗

เล็กน้อยได้เข้าร่วมด้วยมากขึ้นเป็นไปอย่างมีอิสรภาพ เสมอภาค มิใช่มีส่วนร่วมอย่างผิวเผิน แต่เข้า
รว่ มดว้ ยอย่างแท้จรงิ ยง่ิ ขนึ้ และการเขา้ รว่ มนั้นตอ้ งเรม่ิ ต้งั แต่ขน้ั แรกจนถงึ ขน้ั สดุ ท้ายของโครงการ๓๔

วันรักษ์ มิ่งมณีนาคิน ได้สรุปว่า การมีส่วนร่วมหมายถึง การเข้าร่วมอย่างแข็งขันและ
อย่างเต็มที่ของกลุ่มบุคคลผู้มีส่วนได้เสียในทุกขั้นตอนของโครงการหรืองานพัฒนาชนบท โดยเฉพาะ
อย่างยิ่งการมีส่วนร่วมในอำนาจการตัดสินใจและหน้าที่ความรับผิดชอบ การมีส่วนเข้าร่วมจะเป็น
เครอ่ื งประกันว่า ส่ิงทีผ่ ู้มสี ว่ นได้เสยี ต้องการท่สี ุดนัน้ จักได้รับการตอบสนองและทำให้มีความเป็นไปได้
มากขนึ้ วา่ สิ่งท่ีทำไปนน้ั จะตรงกบั ความต้องการที่แท้จริงและม่ันใจมากข้นึ ว่าผู้เข้าร่วม ทุกคนจะได้รับ
ประโยชน์เสมอหน้ากนั ๓๕

สฤษดิ์ ธัญกิจจานุกิจ ได้ให้ความหมายของการมีส่วนร่วมหมายถึง กระบวนการที่เปิด
โอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานพัฒนาในลักษณะของการเข้าร่วมการจัดการ
ตั้งแตก่ ารเขา้ รว่ มตัดสนิ ใจ รว่ มปฏบิ ัติ ร่วมรับผลประโยชน์ และรว่ มติดตามการประเมินผล ในรูปของ
ชุมชนทไี่ ดป้ ระโยชน์หรือผลกระทบโดยตรงจากการพฒั นา๓๖

จากการศึกษาคำจำกัดความและแนวคิดข้างต้น สามารถสรุปความหมายการมีส่วนร่วม
ของประชาชนในความหมายกว้าง หมายถึงการทำงานร่วมกันกับกลุ่มเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์โดย
เปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมกระทำการตัดสินใจใช้ทรัพยากรและมีความรับผิดชอบใน
กจิ กรรมท่ีกระทำโดยกลุ่มใหม้ ีสว่ นร่วมในการคดิ ริเรม่ิ การพจิ ารณา การตัดสนิ ใจ การร่วมปฏิบัติและ
ร่วมรับผิดชอบในเรื่องต่างๆ อันมีผลกระทบถึงตัวประชาชนเอง การมีส่วนร่วมจึงเป็นหัวใจของการ
เสริมสร้างพลังการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มและเป็นการเสริมสร้างความสามัคคีความรู้สึกร่วม
รับผิดชอบกับกลุ่มด้วยสำหรับการศึกษาครั้งนี้ ขอนิยามคำว่า การมีส่วนร่วมของประชาชนในการ
พัฒนาท้องถิ่นขององค์การหมายถึง การส่งเสริมสนับสนุนและเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้ามามี
บทบาทหรือมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมโครงการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งที่เป็น
ทางการและไม่เป็นทางการ ในการร่วมคิด ร่วมวิเคราะห์ปัญหา ร่วมวางแผน ร่วมดำเนินการ ร่วม

๓๔ นรินทร์ชัย พัฒนพงศา, แนวคิดการมีส่วนร่วมของประชาชน, (กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา
ลาดพร้าว, ๒๕๖๑), หนา้ ๑๓.

๓๕ วันรักษ์ มิ่งมณีนาคิน, แนวคิดการมีส่วนร่วมของประชาชน, (กรุงเทพฯ : กระทรวงวิทยาศาสตร,
๒๕๖๑), หนา้ ๑๐.

๓๖ สฤษดิ์ ธัญกิจจานุกิจ, แนวคิดการมีส่วนร่วมของประชาชน, (กรุงเทพฯ : มหาวิทยาทักษิณ,
๒๕๖๑), หนา้ ๒๑.


Click to View FlipBook Version