The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by AJ Wisut, 2023-05-25 23:48:09

หนังสือมอดไม้ยางพารา-Rubberwood Borers

หนังสือมอดไม้ยางพารา

Keywords: ้

มอดไม้ยางพารา Rubberwood Borers ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิสุทธิ์ สิทธิฉายา สาขาวิชานวัตกรรมการเกษตรและการจัดการ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่


มอดไม้ยางพารา Rubberwood Borers เรียบเรียงโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิสุทธิ์ สิทธิฉายา Assistant Professor Dr. Wisut Sittichaya อาจารย์ประจ าสาขาวิชานวัตกรรมการเกษตรและการจัดการ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ พิมพ์ครั้งที่ 1 : 23 มกราคม 2563 ____________ จัดพิมพ์โดย ร้านไอดีไซน์ หาดใหญ่ 97/4 ม.11 ต.คลองแห อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110 โทร : 086-597-0234 , 082-435-4661 www.idesignhatyai.com สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ห้ามน าส่วนหนึ่งส่วนใดของหนังสือเล่มนี้ไปลอกเลียนแบบ ท าส าเนา ถ่ายเอกสาร หรือน าไปเผยแพร่บนอินเตอร์เน็ตและเครือข่ายต่าง ๆ ไม่ว่ารุปแบบใด ๆ นอกจากจะได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากผู้เขียนเท่านั้น


ค าน า หนังสือ “มอดไม้ยางพารา” มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับแมลง ศัตรูท าลายไม้ยางพาราและผลิตภัณฑ์ตั้งแต่ต้นน้ าเข้าท าลายต้นยางพารา ในแปลง บนลานไม้ตลอดจนในกระบวนการแปรรูปและท าเป็นผลิตภัณฑ์ซึ่งใน แต่ละระยะมีแมลงและมอดเข้าท าลายแตกต่างกัน หนังสือเล่มนี้ให้ข้อมูลทั่วไป เกี่ยวกับยางพาราและการใช้ไม้ยางพาราในอุตสาหกรรม (บทที่ 1) คุณสมบัติ เชิงกลและคุณสมบัติทางเคมีของไม้ยางพาราที่เกี่ยวข้องกับการเข้าท าลายของ แมลงและมอดเจาะไม้ ตลอดจนข้อจ ากัดในการใช้ไม้ยางพาราในอุตสาหกรรม (บทที่ 2) กลุ่มของแมลงที่เข้าท าลายไม้และไม้ยางพารา ได้แก่ มอดเจาะเปลือกไม้ มอดแอมโบรเซีย แมลงทับ ด้วงหนวดยาว และปลวก (บทที่ 3) มอดขี้ขุยในวงศ์ Bostrichidae จัดเป็นศัตรูส าคัญที่สุดที่เข้าท าลายไม้ยางพาราหลังกระบวนการ แปรรูปและระหว่างการใช้ประโยชน์ มีรายละเอียดและให้ข้อมูลความแตกต่าง ระหว่างกลุ่มย่อยของมอดขี้ขุยแต่ละกลุ่ม ตลอดจนชีววิทยาและพฤติกรรมการกิน อย่างละเอียด (บทที่ 4) ลักษณะเด่นที่ใช้ในการระบุชนิดมอดท าลายไม้ยางพารา ที่พบในประเทศไทย (บทที่ 5) กระบวนการในการป้องกันรักษาไม้ (บทที่ 6) การป้องกัน ก าจัดมอดท าลายไม้ที่อาจติดไปกับผลิตภัณฑ์ไม้ยางพาราระหว่าง ประเทศ ตามมาตรฐาน ISPM 15 (บทที่ 7) รวมทั้งแนวทางการจัดการในโรงงาน เพื่อลดการท าลายของมอดท าลายไม้ยางพารา (บทที่ 8) ผู้เขียนหวังว่าหนังสือเล่มนี้ จะให้ข้อมูลและเครื่องมือส าคัญส าหรับผู้ที่ท างานเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม ไม้ยางพารา ตลอดจนบุคคลทั่วไปตามสมควร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิสุทธิ์ สิทธิฉายา


ค าขอบคุณ ผู้เขียนขอขอบคุณ Prof. Dr. Roger A. Beaver อย่างสูงที่ส่งเสริมและ ช่วยเหลือผู้เขียนในการวิจัยทางอนุกรมวิธานแมลงกลุ่มมอดในประเทศไทยเสมอมา การช่วยเหลือดังกล่าวท าให้ผู้เขียนสามารถเพิ่มพูนความรู้ในสาขาวิชาดังกล่าวได้ เป็ น อย่ างดีข อ ข อบ คุณ Asst. Prof. Dr. Liu Lan-yu, National Pingtung University, Taiwan, Prof. Dr. Jerzy Borowski, Warsaw University of Life Sciences, Poland ที่ช่วยยืนยันการระบุชนิดมอดกลุ่มมอดขี้ขุยโดยไม่คิดมูลค่า รองศาสตราจารย์ ดร.ฉัตรชัย เงินแสงสรวย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รองศาสตราจารย์ ดร.ไสว บูรณพานิชพันธุ์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บัวผัน พวงศิลป์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่ช่วย ประเมินคุณภาพและปรับปรุงแก้ไขความถูกต้องของต้นฉบับ และผู้เขียนขอขอบคุณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะทรัพยากรธรรมชาติ ส านักงานคณะกรรมการ ส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (สกสว.) ที่มอบทุนให้กับผู้วิจัยท าวิจัย เกี่ยวกับมอดไม้ยางพาราและมอดขี้ขุยชนิดอื่น ๆ ที่พบในประเทศไทย มาอย่างต่อเนื่อง ท าให้ผู้เขียนมีข้อมูลและความรู้ใหม่ ๆ เกี่ยวกับแมลงกลุ่มนี้ เพิ่มเติมมากขึ้น หนังสือเล่มนี้จะไม่สามารถเสร็จสมบูรณ์ได้หากขาดทีมงาน สนับสนุนในการถ่ายภาพและการจัดรูปเล่ม ได้แก่ คุณนราสินี ถี่ถ้วน คุณจีรนันท์ พรหมแก้ว และคุณชนาธิป กาวิน ผู้เขียนขอขอบคุณทุก ๆ ท่านมา ณ โอกาสนี้ ด้วย


สารบัญ หน้า บทที่ 1 ยางพาราและอุตสาหกรรมไม้ยางพารา 1 บทที่ 2 คุณสมบัติของไม้ยางพารา 10 บทที่ 3 แมลงทาลายไม้และไม้ยางพารา 18 บทที่ 4 มอดขี้ขุย 38 บทที่ 5 มอดทาลายไม้ยางพาราในประเทศไทย 55 บทที่ 6 การป้องกันและรักษาเนื้อไม้ยางพารา 105 บทที่ 7 มาตรฐานไม้และวัสดุจากไม้เพื่อการส่งออก ISPM 15 121 บทที่ 8 การป้องกันและกาจัดมอดในโรงงาน 130


สารบัญภาพ หน้า แผ่นภาพที่ 1.1 ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของยางพารา 1 แผ่นภาพที่ 1.2 สิบอันดับประเทศที่ใช้น้ ายางพารามากที่สุดในปี พ.ศ. 2560 2 แผ่นภาพที่ 1.3 หกอันดับประเทศผู้ผลิตและส่งออกยางพารามาก ที่สุดในปี พ.ศ. 2560 2 แผ่นภาพที่ 1.4 พื้นที่ปลูกยางพาราในประเทศไทย 3 แผ่นภาพที่ 1.5 อุตสาหกรรมการผลิตและส่งออกยางของประเทศ ไทย 3 แผ่นภาพที่ 1.6 ประเทศผู้น าเข้าไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ของประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2560 5 แผ่นภาพที่ 1.7 มูลค่าไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ส่งออกของประเทศไทยใน ปี พ.ศ. 2560 6 แผ่นภาพที่ 1.8 ผลิตภัณฑ์ไม้ยางพาราส่งออกของประเทศไทย 7 แผ่นภาพที่ 2.1 ลักษณะเนื้อไม้ของไม้ยางพารา 10 แผ่นภาพที่ 2.2 องค์ประกอบทางเคมีของไม้ยางพารา 12 แผ่นภาพที่ 2.3 กลุ่มของราท าลายไม้ยางพารา 14 แผ่นภาพที่ 3.1 แมลงทับ metallic wood borers (วงศ์ Bupestidae) 21 แผ่นภาพที่ 3.2 ด้วงหนวดยาว longhorn beetles (วงศ์ Cerambycidae) 23 แผ่นภาพที่ 3.3 มอดเจาะเปลือกไม้ bark beetles (วงศ์ย่อย Scolytinae) 26 แผ่นภาพที่ 3.4 มอดแอมโบรเซีย Ambrosia beetles (วงศ์ Curculionidae) 29 แผ่นภาพที่ 3.5 มอดขี้ขุย Powderpost beetles (วงศ์ Bostrichidae) 31 แผ่นภาพที่ 3.6 ปลวก Termite (อันดับ Blattodea) 34


สารบัญภาพ หน้า แผ่นภาพที่ 4.1 ความแตกต่างระหว่างมอดขี้ขุยแท้ - มอดขี้ขุย เทียม 40 แผ่นภาพที่ 4.2 ลักษณะทั่วไปของมอดชนิด Dinoderus minutus และ Rhyzopertha dominica 46 แผ่นภาพที่ 4.3 การวางไข่ของมอดขี้ขุยเทียม 49 แผ่นภาพที่ 5.1 ลักษณะภายนอกที่ใช้จ าแนกชนิดของมอด 58 แผ่นภาพที่ 5.2 ลักษณะหนวดของมอดสกุล Hypothenemus 59 แผ่นภาพที่ 5.3 Hypothenemus areccae Hornung, 1842 60 แผ่นภาพที่ 5.4 Hypothenemus birmanus Eichhoff, 1878 62 แผ่นภาพที่ 5.5 Hypothenemus eruditus Westwood, 1836 64 แผ่นภาพที่ 5.6 Arixyleborus malayensis Schedl, 1954 65 แผ่นภาพที่ 5.7 Eccoptopterus spinosus Olivier, 1795 66 แผ่นภาพที่ 5.8 Euwallacea interjectus Blandford, 1894 67 แผ่นภาพที่ 5.9 Euwallacea similis Ferrari, 1867 69 แผ่นภาพที่ 5.10 Xyleborinus exiguus Walker, 1859 70 แผ่นภาพที่ 5.11 Xyleborus affinis Eichhoff, 1868 71 แผ่นภาพที่ 5.12 Xyleborus perforans Wollaston, 1878 72 แผ่นภาพที่ 5.13 Xylosandrus crassiusculus Motschulsky, 1866 73 แผ่นภาพที่ 5.14 Xylosandrus mancus (Blandford, 1984) 75 แผ่นภาพที่ 5.15 Crossotarsus externedentatus Fairmaire 76 แผ่นภาพที่ 5.16 Euplatypus parallelus Fabricius, 1801 78 แผ่นภาพที่ 5.17 Dinoplatypus cupulatus (Chapuis, 1865) 79 แผ่นภาพที่ 5.18 Dinoplatypus pseudocupulatus (Schedl, 1941) 80 แผ่นภาพที่ 5.19 Lyctus africanus Lesne, 1907 82 แผ่นภาพที่ 5.20 Lyctus tomentosus Reitter, 1879 83


สารบัญภาพ หน้า แผ่นภาพที่ 5.21 Lyctoxylon dentatum Pascoe, 1866 84 แผ่นภาพที่ 5.22 Minthea reticulata Lesne, 1931 86 แผ่นภาพที่ 5.23 Minthea rugicollis Walker, 1858 87 แผ่นภาพที่ 5.24 Cephalotoma coomani Lesne, 1932 88 แผ่นภาพที่ 5.25 Cephalotoma perdepressa Lesne, 1937 89 แผ่นภาพที่ 5.26 Dinoderus minutus Fabricius, 1775 91 แผ่นภาพที่ 5.27 Apoleon edax Gorham, 1885 92 แผ่นภาพที่ 5.28 Heterobostrychus aequalis (Waterhouse, 1884) 94 แผ่นภาพที่ 5.29 Heterobostrychus pileatus Lesne, 1899 95 แผ่นภาพที่ 5.30 Sinoxylon anale Lesne, 1897 97 แผ่นภาพที่ 5.31 Sinoxylon crassum Lesne, 1897 98 แผ่นภาพที่ 5.32 Sinoxylon unidentatum (Fabricius, 1801) 99 แผ่นภาพที่ 5.33 Xylopsocus capucinus (Fabricius, 1781) 100 แผ่นภาพที่ 5.34 Xylothrips flavipes (Illiger, 1801) 101 แผ่นภาพที่ 6.1 กระบวนการหลังการตัดฟันของไม้ยางพาราใน อุตสาหกรรมไม้แปรรูป 107 แผ่นภาพที่ 6.2 กระบวนการอัดน้ ายาไม้ด้วยความดัน 115 แผ่นภาพที่ 6.3 ลักษณะไม้ที่ผ่านกระบวนการรักษาเนื้อไม้แบบไม่ ใช้สารเคมี 117 แผ่นภาพที่ 7.1 วิธีการอบไม้ด้วยความร้อนเพื่อควบคุมก าจัด ศัตรูพืชบนวัสดุบรรจุภัณฑ์ไม้ด้วยความร้อนตาม มาตรฐาน ISPM 15 125 แผ่นภาพที่7.2 ตัวอย่างเครื่องหมายรับรองมาตรฐานไม้และวัสดุ จากไม้เพื่อการส่งออก ISPM 15 127


สารบัญตาราง หน้า ตารางที่ 1.1 พื้นที่ปลูกยางพารารายจังหวัดแบ่งตามภูมิภาคใน ประเทศไทย ปี พ.ศ. 2561 4 ตารางที่ 2.1 คุณสมบัติไม้ของไม้ยางพารา 4 พันธุ์ เปรียบเทียบกับ ไม้สัก 11 ตารางที่ 4.1 วัฏจักรชีวิตของมอดขี้ขุยบางชนิด 50 ตารางที่ 5.1 ชนิดของมอดและลักษณะการท าลายไม้ยางพาราของ มอดแต่ละกลุ่ม 56 ตารางที่ 7.1 ศัตรูพืชสาคัญในวัสดุบรรจุภัณฑ์ไม้ 122 ตารางที่ 7.2 ค่า Concentration-time product (CT) แกนกลาง ไม้ที่ผ่านมาตรฐาน 126


ย า ง พ า ร า แ ล ะ อุ ต ส า ห ก ร ร ม ไ ม้ ย า ง พ า ร า | 1 บทที่ 1 ยางพาราและอุตสาหกรรมไม้ยางพารา Rubber and Rubberwood Industry ยางพาราเป็นไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบ ล าต้นกลมในภาคตัดขวาง เปลือกมีน้ ายางสีขาวขุ่น เนื้อไม้สีขาวอมเหลือง ใบประกอบแบบนิ้วมือ เรียงเวียน มีใบ ย่อย 3 ใบ รูปรี ก้านใบยาวได้ถึง 15 ซม. ก้านใบย่อยยาว 0.5-1.0 ซม. ดอกแยกเพศ ร่วมต้นร่วมช่อ ช่อดอกแบบช่อกระจุกแยกแขนง ออกตามซอกใบ ยาวได้ถึง 31 ซม. มีดอกเพศผู้ออกเป็นช่อกระจุก และดอกเพศเมียออกตามปลายแขนง ดอกสีเหลืองอ่อน มีกลิ่นหอม กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็น 5 แฉก ไม่มีกลีบดอก ดอกเพศผู้ เส้นผ่านศูนย์กลาง 4.5-5.0 มม. เกสรเผศผู้ 10 เกสรเชื่อมติดกัน เรียง 2 ชั้น ชั้นละ 5 เกสร มีก้านชูเกสรเพศผู้ มีเกสรเพศเมียเป็นหมัน ดอกเพศเมียเส้นผ่านศูนย์กลาง ประมาณ 5 มม. รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ มักมี 3 ช่อง แต่ละช่องมีออวูล 1 เม็ด ผลแบบ ผลแยกแล้วแตก มี 3 พู สูงประมาณ 5 ซม. เมล็ดรูปทรงรี มีลายคล้ายเมล็ดละหุ่ง แต่ ละพูมี 1 เมล็ด (แผ่นภาพที่ 1) ยางพารามีถิ่นก าเนิดบริเวณลุ่มน้ าอะเมซอน ทวีป อเมริกาใต้ น าเข้ามาปลูกในเขตร้อนทั่วโลก เปลือกต้นผลิตน้ ายางสีขาวขุ่น ที่มีสาร "เคาท์ ชุค" (caoutchouc) 4 0 - 6 0 % ซึ่งเป็น องค์ประกอบส าคัญของยางธรรมชาติ การใช้ ประโยชน์จากน้ ายางของต้นยางพาราค้นพบ ครั้งแรกโดยชาวพื้นเมืองบริเวณลุ่มน้ าอะเมซอน ประเทศบราซิล ถึงช่วงปลายของยุคล่าอาณานิคม ชาวยุโรปพบว่ายางของต้นยางพารามี คุณสมบัติยืดหยุ่น กันน้ า และ เป็นฉนวนไฟฟ้า ที่ดี จึงท าให้ยางพาราเป็นที่รู้จักและเป็นที่ ต้องการ จนเกิดการแปรรูปยางเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ กลายเป็นศูนย์กลางของการ เพาะปลูกและซื้อขายยางในอเมริกาใต้ที่รัฐปารา (Pará) ท าให้ยางธรรมชาติชนิดนี้มีชื่อ


2 | บ ท ที่ 1 เรียกว่า ยางพารา ปัจจุบันในแต่ละปีอุตสาหกรรมทั่วโลกมีการใช้ยางพาราหรือยาง ธรรมชาติ (natural rubber) ในกระบวนการผลิตมากกว่า 10 ล้านตันต่อปี (แผ่นภาพ ที่ 1.2) ยางพาราถือเป็นพืชเศรษฐกิจที่สร้างรายได้ส าคัญแก่ภูมิภาคเอเชีย ซึ่งเป็นแหล่งผลิต ยางพาราที่ส าคัญของโลก คิดเป็นร้อยละ 90 ของผลผลิตยางพาราทั้งหมด โดยมี ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตยางพาราสูงสุด (แผ่นภาพที่ 1.3) คิดเป็นร้อยละ 35.9 ของผลผลิต โลกในปี 2560 หรือประมาณ 4.56 ล้านตัน รองลงมา ได้แก่ อินโดนีเซีย เวียดนาม จีน มาเลเซีย และอินเดีย


ย า ง พ า ร า แ ล ะ อุ ต ส า ห ก ร ร ม ไ ม้ ย า ง พ า ร า | 3 เนื่องจากประเทศไทยมีปริมาณน้ าฝนและสภาพอากาศที่ เหมาะสม ท าให้ยางพาราเจริญเติบโตและให้ผลผลิตได้ดี ปัจจุบันมีการปลูกยางพาราทั่วทุกภาคของประเทศ (แผ่นภาพที่ 1.4) จากข้อมูลทะเบียนเกษตรกรและ ส ามะโนเกษตร โดยส านักงานสถิติแห่งชาติในปี 2559 แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกยางพารา ประมาณ 20 ล้านไร่ และให้ผลผลิตเข้าสู่อุตสาหกรรม การผลิตและส่งออกยางของไทยประมาณ 5 ล้านตันต่อปี (ตารางที่ 1.4) ในกระบวนการผลิตและแปรรูปยาง สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ระดับ ได้แก่ อุตสาหกรรมต้นน้ า อุตสาหกรรมกลางน้ าหรือ อุตสาหกรรมยางพาราแปรรูป และอุตสาหกรรมปลายน้ าหรืออุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง (แผ่นภาพที่ 1.5) ซึ่งผลิตภัณฑ์ยางพาราในแต่ละขั้นของการแปรรูปสามารถสร้างรายได้ ให้แก่ประเทศรวมกันมากกว่า 200,000 ล้านบาทต่อปี


4 | บ ท ที่ 1 ตารางที่ 1.1 พื้นที่ปลูกยางพารารายจังหวัดแบ่งตามภูมิภาคในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2561 พื้นที่ปลูกยางพารา พื้นที่ปลูก (ไร่) พื้นที่กรีด (ไร่) ผลผลิต (ตัน) ภาคเหนือ เชียงราย 299,615 212,727 41,148 เชียงใหม่ 161,359 107,102 18,678 น่าน 251,958 108,553 15,276 จังหวัด อื่น ๆ 120,718 44,832 5,425 รวมภาคเหนือ 833,650 473,214 80,527 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บึงกาฬ 808,872 692,099 159,693 เลย 702,259 505,096 112,677 อุดรธานี 531,454 372,836 77,825 จังหวัด อื่น ๆ 3,103,051 2,294,446 458,237 รวมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 5,145,636 3,864,477 808,432 ภาคตะวันตก กาญจนบุรี 139,021 76,091 16,013 ประจวบคีรีขันธ์ 226,994 148,670 31,582 ราชบุรี 29,219 7,161 1,228 จังหวัด อื่น ๆ 29,819 12,030 2,008 รวมภาคตะวันตก 425,0530 243,9520 508,310 ภาคกลาง พิษณุโลก 173,914 120,580 16,601 เพชรบูรณ์ 70,263 27,188 3,680 สุโขทัย 41,796 21,175 2,739 จังหวัด อื่นๆ 92,403 48,193 7,647 รวมภาคกลาง 378,376 217,136 30,667 ภาคตะวันออก ระยอง 617,784 497,428 101,763 ตราด 341,917 293,409 62,334 จันทบุรี 600,196 536,917 100,603 จังหวัด อื่นๆ 517,095 390,840 67,169 รวมภาคตะวันออก 2,076,992 1,718,594 331,869 ภาคใต้ นครศรีธรรมราช 1,825,706 1,578,719 399,088 สงขลา 1,973,754 1,676,199 450,224 สุราษฎร์ธานี 2,567,166 2,265,055 572,472 จังหวัด อื่นๆ 7,706,764 6,429,143 1,618,825 รวมภาคใต้ 14,073,390 11,949,116 3,040,609 รวมประเทศไทย 22,933,097 18,466,489 4,342,935 ที่มา : การยางแห่งประเทศไทย (2561) และ ส านักงานเศรษฐกิจการเกษตร (2561)


ย า ง พ า ร า แ ล ะ อุ ต ส า ห ก ร ร ม ไ ม้ ย า ง พ า ร า | 5 นอกจากผลผลิตน้ ายางแล้ว ยางพารายังมีเนื้อไม้คุณภาพดีที่สามารถน ามาใช้ ในการผลิตไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์ต่อเนื่องชนิดต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี จากข้อมูลของ การยางแห่งประเทศไทย แสดงให้เห็นว่ามีสวนยางที่หมดอายุการกรีดหรือครบวัฏจักร อายุมากกว่า 25 ปี ประมาณปีละ 3.5 แสนไร่ โดยมีการโค่นเพื่อปลูกทดแทน คิดเป็น เนื้อไม้ประมาณปีละ 14 ล้านลูกบาศก์เมตร สอดคล้องกับความต้องการไม้ที่มีเพิ่มมาก ขึ้น เนื่องจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของการส่งออกสินค้ากลุ่มไม้แปรรูป เครื่องเรือน และ ชิ้นส่วนไม้ในต่างประเทศ ท าให้ประเทศไทยมีมูลค่าการส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้ มากกว่า 2,800 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา โดยมีจีนเป็นประเทศผู้น าเข้าไม้และ ผลิตภัณฑ์จากไม้ที่ส าคัญของไทย คิดเป็นร้อยละ 57.69 ของมูลค่าการส่งออกไม้และ ผลิตภัณฑ์จากไม้ในปี 2560 หรือ ประมาณ 1,657 ล้านเหรียญสหรัฐฯ รองลงมา ได้แก่ เกาหลีใต้ร้อยละ 7.30 ญี่ปุ่นร้อยละ 4.73 สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ร้อยละ 4.33 เวียดนามร้อยละ 3.34 มาเลเซียร้อยละ 3.27 ซาอุดิอาระเบียร้อยละ 2.87 สหรัฐอเมริการ้อยละ 2.52 อิหร่านร้อยละ 2.49 และอินเดียร้อยละ 1.26 ตามล าดับ (แผ่นภาพที่ 1.6)


6 | บ ท ที่ 1 จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ส านักงานปลัดกระทรวง พาณิชย์ แสดงให้เห็นว่า การส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้ของไทยมีอัตราการ ขยายตัวเพิ่มขึ้น ถึงแม้ว่าประเทศในเขตภูมิภาคเอเชียจะมีมูลค่าการน าเข้าไม้และ ผลิตภัณฑ์จากไม้ของไทยลดลง แต่ประเทศในเขตตะวันออกกลาง เช่น สหรัฐอาหรับ เอมิเรตส์และซาอุดิอาระเบียกลับมีมูลค่าการน าเข้าไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้ของไทย ในอัตราการที่เพิ่มขึ้น (ข้อมูลตลาดส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ ในปี 2558 – 2561 ส านักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์) อีกทั้งการขยายตัวของอสังหาริมทรัพย์ในหัวเมือง ชั้นรองของจีน ท าให้ตลาดอุตสาหกรรมไม้แปรรูปและเครื่องเรือนไม้ของจีนมีความ ต้องการไม้เพิ่มขึ้น จึงส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมไม้ยางพาราในประเทศไทย เนื่องจาก ไม้ยางพารามีคุณสมบัติหลายประการใกล้เคียงกับไม้ที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรม เครื่องเรือนและอุตสาหกรรมไม้แปรรูป ปัจจุบันมีสัดส่วนการใช้ไม้ยางพารา ในอุตสาหกรรมไม้ต่าง ๆ คิดเป็นร้อยละ 77 ของมูลค่าการส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์จาก ไม้ทั้งหมดในปี 2560 (แผ่นภาพที่ 1.7) โดยในแต่ละขั้นของกระบวนการแปรรูปไม้ยาง สามารถส่งออกผลิตภัณฑ์จากไม้ยางพาราชนิดต่าง ๆ (แผ่นภาพที่ 1.8) สร้างรายได้ ให้แก่ประเทศรวมกันมากกว่า 2,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี แสดงให้เห็นว่าไม้ ยางพาราไทยมีศักยภาพมากพอที่จะพัฒนาต่อไปได้ในอุตสาหกรรมไม้แปรรูปและ ผลิตภัณฑ์จากไม้เพื่อการส่งออก


ย า ง พ า ร า แ ล ะ อุ ต ส า ห ก ร ร ม ไ ม้ ย า ง พ า ร า | 7 ยางพาราเป็นไม้ต้นที่นิยมปลูกเป็นพืชเศรษฐกิจ เนื่องจากสามารถผลิตยาง ธรรมชาติที่สามารถน ามาใช้ประโยชน์และแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ได้หลากหลาย นอกจากนี้ส่วนของต้นยังสามารถน ามาใช้ประโยชน์ได้เกือบทุกส่วน ทั้ง ราก (เชื้อเพลิง) ล าต้น (ไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์) และกิ่ง (เชื้อเพลิง) รวมทั้งใบที่อาจน ามาใช้ในงาน หัตกรรมต่าง ๆ ยางพารามีศูนย์กลางการเพาะปลูกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยมี ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตอันดับหนึ่ง ในประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกในทุกภูมิภาครวมกัน มากกว่า 20 ล้านไร่ สามารถส่งออกผลิตภัณฑ์ทั้งจากยางพาราและไม้ยางพารา สร้าง รายได้ให้แก่ประเทศรวมกันมากกว่า 200,000 ล้านบาทต่อปีโดยมีประเทศน าเข้าหลัก จากภูมิภาคเอเชียตะวันออก กลุ่มประเทศอาหรับและสหรัฐอเมริกา แนวโน้ม การส่งออกไม้ยางพาราในปี พ.ศ. 2560-2561 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างไร ก็ตาม เนื่องจากการส่งออกไม้ยางพาราแปรรูปของไทยมีตลาดหลักเพียงตลาดเดียว คือ ประเทศจีน หากเกิดการเปลี่ยนแปลงของมาตรการการน าเข้า การเจริญเติบโตทาง


8 | บ ท ที่ 1 เศรษฐกิจ หรือการบริโภคภายในประเทศของจีนที่เปลี่ยนแปลงไป อาจส่งผลเสียต่อ การส่งออกไม้ยางพาราแปรรูปของไทยได้ดังนั้นการเพิ่มสัดส่วนของตลาดใหม่ ๆ หรือ การเพิ่มมูลค่าไม้แปรรูปโดยการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ จะช่วยสร้างความเข้มเข็ง ของอุตสาหกรรมไม้ยางพาราของไทยได้มากขึ้น


ย า ง พ า ร า แ ล ะ อุ ต ส า ห ก ร ร ม ไ ม้ ย า ง พ า ร า | 9 บรรณานุกรม การยางแห่งประเทศไทย. 2559. ระบบฐานข้อมูลยางพารา, สืบค้นเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2562. จาก http://emarket .raot.co.th/rdu/#il_14_133_0. การยางแห่งประเทศไทย. 2561. ระบบฐานข้อมูลยางพารา, สืบค้นเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2562. จาก http://emarket.raot.co.th/rdu/#il_16_163_170. พิชิตพล แกวงาม. 2565. อุตสาหกรรมไมยางพาราไทยจะเดินตออยางไร ภายหลังวิกฤตโควิด 19. สืบค้นเมื่อ 06 มิถุนายน 2565. จาก https://www.oie.go.th/assets/portals/1/fileups/2/files/ArticlesAnalysis/ rubber2020.pdf ศูนย์บริการข้อมูลสารสนเทศ ส านักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์. 2561. ข้อมูลสถิติมูลค่าการส่งออกสินค้า, สืบค้นเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2562. จาก http://www.ops3.moc.go.th/infor/menucomth/stru1_ export/export_topn_re/ default.asp. ศูนย์บริการข้อมูลสารสนเทศ ส านักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์. 2561. สถิติการค้าระหว่างประเทศของประเทศไทย, สืบค้นเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2562. จาก http://tradereport.moc.go.th/TradeThai.aspx. สมาคมธุรกิจไม้ยางพาราไทย. 2561. ข้อมูลสถานการณ์ตลาดไม้ยางพารา, สืบค้นเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2562. จาก http://www.tpa-rubberwood.org/articles.php. ส านักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม. 2561. อุตสาหกรรมไม้ยาพาราและผลิตภัณฑ์, สืบค้นเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2562. จาก http://www.thaifta.com/trade/study/imtgt_chap5-2.pdf. ส านักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม. Rubber Intelligence Unit. คนเมื่อ 19พฤษภาคม 2563, จากhttp://rubber.oie.go.th. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. 2561. ข้อมูลวิชาการ ยางพารา, สืบค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2562. จาก http://ebook.lib. ku.ac.th/ebook 27/ebook/2011- 004-0018/#p=1. International trade center. 2016. Trade map. สืบค้นเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2562. จาก https://www. trademap.org/Country_SelProduct_TS.aspx.


10 | บ ท ที่ 2 บทที่ 2 คุณสมบัติของไม้ยางพารา Rubberwood Properties ไม้ยางพาราจัดอยู่ในกลุ่มไม้เนื้อแข็งปานกลาง ย้อมติดสีได้ดี จึงง่ายต่อการ แปรรูป เมื่อเป็นไม้สดมีเนื้อไม้สีขาวอมเหลือง เนื้อไม้แห้งเปลี่ยนเป็นสีขาวจาง เป็นไม้ที่ ไม่มีแก่น วงปีไม่ชัดเจน (แผ่นภาพที่ 2.1) เนื้อไม้ลักษณะหยาบปานกลาง เสี้ยนตรง มี คุณสมบัติเชิงกายภาพ (physical property) ได้แก่ ความชื้น ความหนาแน่น ความ ถ่วงจ าเพาะ และ คุณสมบัติเชิงกล (strength property) ได้แก่ ความเค้นอัดตั้งฉาก เสี้ยน ความเค้นอัดขนานเสี้ยน ความเค้นเฉือนขนานเสี้ยน และมีค่าความต้านแรงตัด [modulus of rupture (MOR)] และ ค่ามอดุลัสยืดหยุ่น [modulus of elasticity (MOE)] ใกล้เคียงกับไม้สัก (Teak; Tectona grandis L. f.) (ตารางที่ 2.1) และ ไม้ต่างประเทศชนิดอื่น ๆ เช่น ไม้บีช (Beech; Fagus spp.) ไม้โอ๊ค (Oak; Quercus spp.) ไม้สยา (Meranti; Shorea spp.) และไม้กลุ่ม เมเปิล [soft Maple (Acer spp.)]


คุ ณ ส ม บั ติ ข อ ง ไ ม้ย า ง พ า ร า | 11 คุณสมบัติเชิงกายภาพและคุณสมบัติเชิงกลของไม้ยางพารามีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบทางเคมี อายุความสูงจากโคนต้น และชนิดพันธุ์ของยางพารา ความแข็งแรงต่อแรงดึงของไม้ยางพาราจะลดลงเมื่ออายุของไม้เพิ่มมากขึ้น และความ แข็งแรงต่อแรงดึงของล าต้นด้านล่างมักมีสูงกว่าล าต้นด้านบน ตารางที่ 2.1 คุณสมบัติไม้ของไม้ยางพารา 4 พันธุ์ เปรียบเทียบกับไม้สัก ค่าทดสอบ ไม้ยางพารา ไม้สัก PRIM 600 BPM 24 RRIT 215 PB 235 คุณสมบัติเชิงกายภาพ (physical property) ความชื้น (%) 21.2 18.4 17.8 21.1 - ความหนาแน่น (ก./ซ.ม.3 ) 0.67 0.57 0.68 0.67 0.65 ความถ่วงจ าเพาะ 0.55 0.70 0.53 0.52 - คุณสมบัติเชิงกล (strength property) ความเค้นอัดตั้งฉากเสี้ยน (MPa) 21.4 22.7 17.4 21.8 - ความเค้นอัดขนานเสี้ยน (MPa) 39.9 42.4 32.6 42.8 49.0 ความเค้นอัดเฉือนขนานเสี้ยน (MPa) 17.7 14.0 14.0 18.2 16.4 การต้านความแตกหัก (MOR) 89.9 93.1 73.1 75.6 100.0 การต้านการโก่ง (MOE) 8,020 7,782 7,135 7,081 10,089 ความแข็งแรง (N) 4,488 4,120 3,640 3,870 4,864 ที่มา : ศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย (2561) องค์ประกอบทางเคมีของไม้ยางพารา เมื่อคิดเป็นร้อยละของน้ าหนักอบแห้ง ประกอบด้วย แอลฟาเซลลูโลส (alpha cellulose) ร้อยละ 38.3-42.0 (เฉลี่ยร้อยละ 40.2) เฮมิเซลลูโลส (hemi cellulose) ร้อยละ 30-32 (เฉลี่ยร้อยละ 31.0) ลิกนิน (lignin) ร้อยละ19–21 (เฉลี่ยร้อยละ 19.9) สารแทรก (extractives) ร้อยละ 2-3 (เฉลี่ยร้อยละ 2.4) และเถ้า (Ash) ร้อยละ 0.7-1.1 (เฉลี่ยร้อยละ 0.8) (แผ่นภาพที่ 2.2) ทั้งนี้สัดส่วนขององค์ประกอบทางเคมีของไม้มีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับพันธุ์ อายุ และส่วนของล าต้นยางพารา


12 | บ ท ที่ 2 คุณสมบัติทางเคมีของไม้เป็นคุณสมบัติหนึ่งที่มีประโยชน์ในการออกแบบการ ใช้ประโยชน์ของไม้แต่ละชนิด เนื่องจากองค์ประกอบทางเคมีมีผลต่อความแข็งแรง ความทนทาน สีและกลิ่นของไม้ โดยเซลลูโลสมีหน้าที่สร้างความแข็งแรงและมี ความสัมพันธ์กับคุณสมบัติเชิงกลของไม้ ไม้ที่มีสัดส่วนองค์ประกอบของเซลลูโลสสูง ส่งผลให้มีค่าความแข็งแรงเชิงกลสูง และมีผลต่อแรงดึง (tensile stress) ท าให้ โครงสร้างของไมโครไฟบริล (microfibril) มีแรงต้านการดึงสูง ไม่ท าให้ไม้เสียรูปง่าย ส่วนลิกนิน ช่วยในการป้องกันคุณภาพเนื้อไม้และมีความสัมพันธ์กับคุณสมบัติเชิงกล ของไม้ นอกจากนั้นสารแทรกยังมีผลต่อความทนทานของเนื้อไม้ต่อราและแมลง ปัญหาและอุปสรรคในการใช้ไม้ยางพารา ถึงแม้ว่าไม้ยางพาราจะเป็นวัตถุดิบที่มีคุณสมบัติหลายประการเหมาะสมต่อ การใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมไม้ แต่ไม้ยางพาราก็มีข้อจ ากัดบางประการ เนื่องจาก ไม้ยางพารามีความทนทานตามธรรมชาติต่ ากว่า 2 ปี มีคุณสมบัติหลายประการที่ ส่งเสริมต่อการท าลายของราและแมลง ไม้ยางพารามีปริมาณแป้งและน้ าตาลในเนื้อไม้สูง มีปริมาณลิกนินและสารแทรกต่ า จึงเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของมอดขี้ขุย เนื่องจาก แมลงกลุ่มนี้กินแป้งในเนื้อไม้เป็นอาหาร และจากการมีปริมาณลิกนินและสารแทรก ก่


คุ ณ ส ม บั ติ ข อ ง ไ ม้ย า ง พ า ร า | 13 ในเนื้อไม้ต่ า จึงท าให้ไม่ทนทานต่อเชื้อราและมอดท าลายเนื้อไม้นอกจากนี้ไม้ยางพารา ยังมีอัตราการดูดความชื้นกลับหลังจากไม้แห้งสูง ท าให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต ของรา ปัจจัยต่าง ๆ ที่กล่าวมาข้างต้นส่งผลให้ไม้ยางพาราไม่ทนทานต่อการใช้งานจึง จ าเป็นต้องผ่านกระบวนการรักษาเนื้อไม้ก่อนน าไปใช้ในรูปแบบต่าง ๆ ราและแมลงที่ท าลายและสร้างความเสียหายให้แก่ไม้ยางพารามีหลากหลายกลุ่ม เนื่องจากหนังสือเล่มนี้มุ่งเน้นแมลงท าลายไม้ยางพาราที่ใช้งานทั่วไปไม่ใช่ไม้ที่ใช้ใกล้ แหล่งน้ า ดังนั้น ผู้เขียนจะกล่าวถึงแมลงกลุ่มต่าง ๆ ยกเว้นเพรียงท าลายไม้ในบทถัดไป ในบทนี้กล่าวถึงเฉพาะราท าลายเนื้อไม้ ราที่สร้างความเสียหายให้แก่ไม้ยางพารา แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ ราพื้นผิว (mold) ราย้อมสีเนื้อไม้ (wood staining fungi) และราสาเหตุการผุพังของเนื้อไม้(wood rots fungi) ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มย่อย ได้แก่ ราผุขาว ราผุน้ าตาล และราผุอ่อน (แผ่นภาพที่ 2.3) ❖ ราพื้นผิว (mold): เป็นเชื้อรากลุ่มเดียวกับราขนมปังหรือราที่ขึ้นบนอาหาร จ าพวกที่มีแป้งและน้ าตาลสูงเช่น ราสกุล Aspergillus, Penicillium, Rhizopus และ Trichoderma เป็นต้น รากลุ่มนี้เจริญเติบโตเฉพาะบนผิวของไม้ยางพารา ใช้แป้งและ น้ าตาลจากเซลล์เนื้อไม้ที่ถูกเปิดออก เส้นใยไม่เจริญเติบโตลึกเข้าไปในเนื้อไม้ ไม่ท าให้ ไม้ผุ สามารถไสออกได้ รามีสีต่าง ๆ ตามสีของสปอร์และเส้นใยของเชื้อรา เช่น สีด า สีเขียว สีฟ้า สีส้ม สีน้ าตาล เป็นต้น รากลุ่มนี้เข้าท าลายไม้ที่มีความชื้นสูง เช่น ไม้ที่แปร รูปใหม่ๆ ไม่ได้ผึ่งให้แห้ง และไม้ที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีความชื้นสูง ❖ ร า ย้ อ ม สี เ นื้ อ ไ ม้ ( wood staining fungi): ร า 100-200 ช นิ ด ก ลุ่ ม Ascomycetes และ Deuteromycetes เป็นสาเหตุการย้อมสีเข้มในเนื้อไม้ (สีน้ าเงินสีเทา-สีด า) ส่วนมากท าลายไม้ท่อนที่ตัดฟันใหม่ ๆ ไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์จากไม้ ยางพาราที่มีความชื้นสูง ราใช้แป้งและน้ าตาลในเนื้อไม้เป็นอาหาร ไม่ท าให้ความ แข็งแรงของเนื้อไม้ลดลง สีในเนื้อไม้ที่เกิดขึ้นไม่สามารถไสออกได้ รากลุ่มนี้รวมถึงราที่ น าโดยแมลงกลุ่มมอดเจาะเปลือกไม้และมอดแอมโบรเซีย เช่น มอดรูเข็มชนิดต่าง ๆ


14 | บ ท ที่ 2 ❖ ราผุขาว (white-rot fungi): กลุ่มราและเห็ดที่ย่อยสลายลิกนินซึ่งมีสีเข้ม ในเนื้อไม้เหลือไว้เฉพาะเซลลูโลสที่มีสีอ่อน ราบางชนิดย่อยลิกนินและเซลลูโลสท าให้ไม้ ที่ถูกท าลายมีสีอ่อนลงเป็นสีเหลืองหรือสีขาว ผุ ยุ่ย และย่อยสลายในที่สุด ❖ ราผุน้ าตาล (brown-rot fungi): กลุ่มราที่ย่อยสลายเซลลูโลสและเฮมิ- เซลลูโลสซึ่งสะสมอยู่ตามผนังเซลล์ของไม้ เมื่อเชื้อราชนิดนี้เข้าท าลายไม้แล้วเนื้อไม้ เปลี่ยนเป็นสีน้ าตาล เนื้อไม้ยุบตัวลงและหักง่ายในทางขนานเสี้ยน รากลุ่มนี้พบมาก ในเขตที่มีอากาศเย็นมากกว่าในเขตร้อนชื้นอย่างในประเทศไทย ❖ ราผุอ่อน (soft-rot fungi): ไม้ที่ถูกท าลายมีลักษณะการผุคล้ายคลึงกับการผุ น้ าตาล สาเหตุเกิดจากเชื้อรากลุ่มแอสโคไมซีส (Class Ascomycetes) เชื้อราย่อยเนื้อ ไม้เพียงบางส่วน ส่วนที่ถูกย่อยเนื้อไม้จะยุ่ย ส่วนที่ไม่ถูกย่อยจะแข็ง ขอบเขตของส่วนที่ ถูกท าลายมีขอบเขตแยกจากส่วนปกติเห็นชัดเจน


คุ ณ ส ม บั ติ ข อ ง ไ ม้ย า ง พ า ร า | 15 ไม้ยางพารามีคุณสมบัติที่ดีเหมาะส าหรับใช้งานได้หลากหลาย จัดอยู่ในกลุ่ม ไม้เนื้อแข็งปานกลาง มีความอ่อนตัวสูง ง่ายต่อการแปรรูป เลื่อย ตัด ย้อมสี อัดประสาน และทาน้ ายาเคลือบ มีน้ าหนัก ความยืดหยุ่น และความแข็งแรงในการรับน้ าหนัก ใกล้เคียงกับไม้สัก มีลวดลายอันเป็นเอกลักษณ์ตามธรรมชาติ มีสีขาวถึงเหลืองอ่อน ย้อมติดสีได้ดีจึงง่ายต่อการแปรรูป นอกจากนี้ไม้ยางพารายังเป็นไม้จากการปลูก ท าให้ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ถึงแม้ว่าไม้ยางพาราจะมีข้อด้อยที่มีความทนทานตามธรรมชาติต่ า ไม่ทนทานต่อการเข้าท าลายของรา และแมลงท าลายไม้ แต่ข้อด้อยเหล่านี้สามารถ ปรับปรุงได้โดยใช้กรรมวิธีต่าง ๆ ดังจะได้กล่าวในบทต่อ ๆ ไป


16 | บ ท ที่ 2 บรรณานุกรม ฐิตาภรณ์ ภูมิไชย์, กฤษดา สังข์สิงห์และ เฉลิมพล ภูมิไชย์2558. คุณสมบัติทางเคมีและเชิงกลของไม้ยางพารา วารสารวิชาการเกษตร 33: 144-158. ไตรรัตน์ เนียมสุวรรณ และ นิคม แหลมสัก. 2553. คุณสมบัติทางเคมีของไม้ตะกู. วารสารวนศาสตร์ 29: 64-72. ไพวรรณ เล็กอุทัย. 2524. มอดชนิดต่าง ๆ ที่ท าลายไม้. การประชุมวิชาการป่าไม้ปี 2524 สาขาวนผลิตภัณฑ์, กรม ป่าไม้, กรุงเทพ. ยศนันท์ พรหมโชติกุล และ อรุณี วีณิน.2049. เห็ดราท าลายไม้. ส านักวิจัยการจัดการป่าไม้และผลิตผลป่าไม้ กรม ป่าไม้ กรุงเทพ. 29 หน้า ศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. 2561. อุตสาหกรรมไม้ยางพารา และผลิตภัณฑ์, สืบค้นเมื่อ 5 มีนาคม 2562. จาก http://www.thaifta.com/trade/study/imtgt_chap 5-2.pdf. Akhter, K. 2005. Preservative treatment of rubber wood (Hevea brasiliensis) to increase it’s service life. The International Research Group on Wood Protection, the 36th Annual Meeting. Stockholm. Creffield, J.W. 1991. Wood Destroying Insects, Wood Borers and Termites. CSIRO Publications, East Melbourne. Fengel, D. and. Wegener, G. 2003. Wood Chemistry, Ultrastructure and Reactions. Walter de Gruyter, Berlin, Germany 613 pp. Genet, M., Stokes, A., Salin, F., Mickovski, S.B., Fourcaud, T., Dumail, J.F. and Van Beek, R. 2005. The influence of cellulose content on tensile strength in tree roots. Plant Soil 278: 1-9. Harmatha, J. and Nawrot, J. 2002. Insect feeding deterrent activity of lignans and related phenylpropanoids with a ethylenedioxyphenyl (piperonyl) structure moiety. Entomologia Experimentalis et Applicata 104: 51-60. Lim, S.C., Gan, K.S and Choo, K.T. 2003. The characteristics, prOP-CH-35-erties and ures of plantation timbers-rubberwood and Acacia mangium. Timber Technol. Centre 26: 1-11. Nerg, A.M., Heijari, J., NoldtT, U., Viitanen, H., Vuorinen, M., Kainulainen, P. and Holopainen, J. K. 2003. Significance of wood terpenoids in the resistance of scots pine provenance against the old house borer, Hylotrupes bajulus, and brown-rot fungi, Coniophora puteana. Journal of Chemical Ecology 30: 125-141. Okahisa, Y., Yoshimura, T. and Imamura, Y. 2006. Seasonal and height-dependent fluctuation of starch and free glucose contents in moso bamboo (Phyllostachys pubescens) and its relation to attack by termites and decay fungi. Journal of Wood Science 52: 445-451.


คุ ณ ส ม บั ติ ข อ ง ไ ม้ย า ง พ า ร า | 17 Riyaphana, J., Phumichaib, T., Neimsuwanc, T., Witayakrand, S., Sungsinge, K., Kaveetaa, R. and Phumichaia, C. 2015. Variability in chemical and mechanical properties of Pará rubber (Hevea brasiliensis) trees. ScienceAsia 41: 251–258. Sjostrom, E. 1993. Wood Chemistry Fundamentals and Applications. 2nd. Academic Press Inc., San Diego. 223 pp. Smook, G.A. 1992. Handbook for Pulp and Paper Technologists. 2nded. Angus Wilde Publication, Inc., Canada. 754 pp. Takahashi, M. and Kishima, T. 1973. Decay resistance of sixty-five Southeast Asian timber specimens in accelerated laboratory tests. Tonan Ajia Kenkyu 10: 525–541. Wise, L.E. and Jahn, E.C. 1952. Wood Chemistry. Reinhold Publishing, New York. 617 pp. Zaki, J.A., Muhammed, S., Shafie, A. and Daud, W.R.W. 2012. Chemical prOP-CH-35-erties of juvenile latex timber clone rubberwood trees. The Malaysian Journal of Analytical Sciences 16: 228-234.


18 | บ ท ที่ 3 บทที่ 3 แมลงท าลายไม้และไม้ยางพารา Wood and Rubberwood Boring Beetles แมลงท าลายไม้ เนื้อไม้เป็นส่วนของพืชที่มีคุณค่าทางอาหารต่ าที่สุดเมื่อเทียบกับส่วนอื่น ๆ ของพืช เช่น เมล็ด ผล ดอก และใบ เนื้อไม้มีโปรตีนต่ า ส่วนมากประกอบด้วยโครงสร้าง หรือสารเคมีที่ย่อยยาก ขัดขวางการย่อยและดูดซับสารอาหารหรือเป็นพิษต่อแมลง อย่างไรก็ตามมีแมลงหลากหลายกลุ่มที่ปรับตัวเพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์เนื้อไม้ที่มี คุณค่าทางโภชนาการต่ าได้แมลงสามารถเข้าท าลายไม้ทั้งไม้ต้นที่ยังมีชีวิตก่อนการตัด ฟัน ไม้ท่อน ไม้ซุงบนกองและลานไม้ รวมทั้งไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์จากไม้แปรรูป รวมทั้งไม้ประดิษฐ์อื่น ๆ แมลงกลุ่มนี้ส่วนมากเป็นแมลงปีกแข็งหรือด้วง (อันดับ Coleoptera) ได้แก่ ด้วงหนวดยาว แมลงทับ มอดเจาะเปลือกไม้ มอดแอม-โบรเซีย มอดขี้ขุย เป็นต้น แมลงกลุ่มอื่น ๆ พบบ้างแต่ไม่มากนัก เช่น กลุ่มผีเสื้อ (อันดับ Lepidoptera) ได้แก่ ผีเสื้อหนอนเจาะไม้วงศ์ Cossidae กลุ่มผึ้ง ต่อ แตน มด (อันดับ Hymenoptera) ได้แก่ มดไม้ (สกุล Camponotus) แต่มีสัดส่วนไม่มากนักเมื่อเทียบ กับด้วง แมลงท าลายไม้เหล่านี้สามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ตามรูปแบบการกิน หรือได้รับสารอาหารจากไม้ 4 กลุ่มด้วยกัน ได้แก่ ❖ กลุ่มกัดกินเปลือกไม้(phloemo-phagous insects หรือ bark borers) ได้แก่ มอดเจาะเปลือกไม้ (bark beetles) สมาชิกในวงย่อย Scolytinae ของวงศ์ Curculionidae (วงศ์ด้วงงวง) แมลงกลุ่มนี้กัดกินและสร้างรังภายในเปลือกซึ่งมีคุณค่า ทางอาหารสูงกว่าเนื้อไม้ มอดอาจเจาะท าลายเปลือกไม้ลึกลงไปถึงชั้นกระพี้เป็นรอยตื้น ๆ มอดเจาะเปลือกไม้น าราย้อมสีเนื้อไม้ (wood staining fungi) เข้าท าลายเนื้อไม้ ความเสียหายจากแมลงกลุ่มนี้ส่วนมากมาจากราย้อมสีไม้


แ ม ล ง ท า ล า ย ไ ม้ แ ล ะ ไ ม้ ย า ง พ า ร า | 19 ❖ กลุ่มกินราที่เจริญเติบโตในเนื้อไม้ (xylo-mycetophagous insects) ได้แก่ มอดแอมโบรเซีย (ambrosia beetles หรือ shot hole borers) ในวงศ์ย่อย Scolytinae มอดรูเข็ม (pin hole borers) ในวงศ์ย่อย Platypodinae ของวงศ์ Curculionidae และด้วงเจ าะไม้ (timber beetles ห รือ ship-timber beetles) ในวงศ์ Lymexylidae แมลงกลุ่มนี้อยู่ร่วมกับราแบบพึ่งพาอาศัย แมลงมีอวัยวะพิเศษ ในการเก็บราเป็นการเฉพาะ มีความจ าเพาะต่อชนิดของราและน าราเข้ามาเลี้ยงในเนื้อ ไม้และกินราเป็นอาหาร แมลงกลุ่มนี้เข้าท าลายไม้ที่มีความชื้นสูง ก่อนการตัดฟัน ไม้ท่อนหลังการตัดฟันและไม้แปรรูปใหม่ ๆ ที่ยังไม่ผ่านการอบ แต่ไม่เข้าท าลายไม้แห้ง ❖ ก ลุ่ ม แ ม ล ง กั ด กิ น เ นื้ อไ ม้ (xylophagous insects) แ ม ลง ก ลุ่ ม นี้ มีหลากหลายกลุ่มย่อย แมลงกัดกินเนื้อไม้โดยตรงสามารถย่อยสลายเซลลูโลส โครงสร้างหลักของเนื้อไม้ได้เองหรือมีสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ที่อยู่ร่วมกันแบบพึ่งพาอาศัยช่วย ย่อยเพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของสารอาหารหรือกินแป้งในเนื้อไม้แมลงกลุ่มนี้มี สมาชิกมากที่สุดในบรรดาแมลงท าลายไม้ สมาชิกส่วนมาก ได้แก่ ด้วงหนวดยาว (วงศ์ Cerambycidae) แมลงทับ (วงศ์ Buprestidae) ปลวก (อันดับย่อย Isoptera ) มอดขี้ขุย (วงศ์ Bostrichidae) มอดเจาะเปลือกไม้ (wood boring bark beetles) บางชนิด มอดเครื่องเรือน (วงศ์ย่อย Anobiidae) ด้วงดีดเทียม (วงศ์ Eucnemidae) ด้วงงวงเจาะไม้ (วงศ์ Brentidae) ด้วงงวงแท้บางชนิด (วงศ์ Curculionidae) ผีเสื้อ วงศ์ Cossidae และผีเสื้อบางชนิดในวงศ์ Hepialidae วงศ์ Tortricidae และวงศ์ Sesiidae ต่อไม้วงศ์ Siricidae เป็นต้น แมลงกลุ่มกัดกินเนื้อไม้ส่วนมากเริ่มเข้าท าลาย บริเวณเปลือกไม้แมลงตัวเต็มวัยวางไข่บริเวณเปลือกไม้ หนอนเมื่อฟักระยะแรกกัดกิน ภายในเปลือกไม้เมื่อตัวหนอนเจริญเติบโตมากขึ้น เข้าท าลายกระพี้และเข้าสู่แก่นไม้ใน ที่สุด มักท าลายไม้ก่อนการตัดฟันและไม้ซุงหลังการตัดฟัน ยกเว้นปลวกที่เข้าท าลายทุก ระยะทั้งก่อนและหลังการตัดฟัน จนถึงไม้แปรรูป และมอดขี้ขุยที่ส่วนมากมักชอบเข้า ท าลายไม้หลังการแปรรูป นอกจากแมลงที่กัดกินเนื้อไม้โดยตรงแล้วยังมีมดไม้ (carpenter ants) ซึ่งเป็นมดในสกุล Camponotus (วงศ์ Formicidae) ที่สามารถ เข้าท าลายเนื้อไม้แต่ไม่ได้กินเนื้อไม้เป็นอาหาร มดท ารังในเนื้อไม้โดยการกัดเนื้อไม้เพื่อ ขยายรัง แต่กินอาหารเช่นเดียวกับมดกลุ่มอื่น ๆ


20 | บ ท ที่ 3 ❖ กลุ่มกินซากผุพังของไม้ (saproxylic insects) แมลงกลุ่มนี้เจริญเติบโต และกินไม้ผุพัง หรือซากพืช รวมทั้งซากอินทรีย์วัตถุอื่นที่มีระดับการผุพังแตกต่างกัน ได้แก่ ด้วงหนวดยาวบางชนิด (วงศ์ Cerambycidae) แมลงอีนูน (วงศ์Scarabaeidae) ด้วงเขี้ยวสั้น (วงศ์ Passalidae) และด้วงเขี้ยวกาง (วงศ์ Lucanidae) รวมทั้งแมลงใน อันดับ Diptera ที่เข้าท าลายเปลือกไม้ที่เน่าเปื่อย รวมทั้งไม้ที่ผุพังภายใต้สภาพที่มี ความชื้นสูง (วงศ์ Aulacigastridae, Axymyiidae, Canthyloscelidae, Xylomyidae, Xylophagidae, Syrphidae และบางชนิดในวงศ์ Tipulidae, วงศ์ย่อย Milesiinae เป็น ต้น) แมลงท าลายไม้ยางพารา แมลงท าลายไม้ที่สร้างความเสียหายให้กับไม้ยางพาราและไม้ยางพาราแปรรูป มากที่สุดมี 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 มอดแอมโบรเซีย (ambrosia beetles หรือ shot hole borers) ท าลายไม้ยางพาราที่มีความชื้นสูงเนื่องจากราอาหารหลักของแมลง ต้องการความชื้นในการเจริญเติบโต มักเข้าท าลายต้นยางพาราที่เป็นโรคหรือโทรมใกล้ ตาย ไม้ท่อนในแปลงก่อนการขนย้ายหรือบนลานไม้ก่อนน าไปแปรรูป และไม้แปรรูปที่ มีความชื้นสูง กลุ่มที่ 2 มอดขี้ขุย วงศ์ Bostrichidae ชอบท าลายไม้แห้งที่มีปริมาณแป้ง ในเนื้อไม้สูง กลุ่มที่ 3 ปลวกชนิดต่าง ๆ และแมลงกลุ่มอื่น ๆ ที่อาจเข้าท าลาย ไม้ยางพาราบ้าง แต่มีรายงานไม่มาก ได้แก่ มอดเจาะเปลือกไม้ ด้วงหนวดยาว และ แมลงทับ โดยแมลงในแต่ละกลุ่มมีลักษณะโดยทั่วไป ชีววิทยา และการเข้าท าลายไม้ ดังนี้ แมลงทับ Metallic wood borers, Jewel wood borers, Flatheaded wood borers ด้วงในวงศ์ Bupestidae (แผ่นภาพที่ 3.1) ทั่วโลกพบประมาณ 15,000 ชนิด ส่วนมาก กระจายในเขตร้อนชื้นทั่วโลก มีขนาดเล็กถึงขนาดกลาง (6 - 80 มม. ส่วนมากมีขนาด ประมาณ 20 มม.) ตัวเต็มวัยมีรูปร่างป้อม คล้ายกระสวย มีปีกโค้งนูน ในกลุ่มที่มีขนาด เล็กอาจมีรูปร่างเป็นทรงกระบอกยาว ปีกแบนราบหรือโค้งเล็กน้อย บางชนิดล าตัวและ ปีกมีสีสันฉูดฉาดสดใส เป็นมันวาวแบบโลหะ ท าให้มีชื่อเรียกว่า metallic wood


แ ม ล ง ท า ล า ย ไ ม้ แ ล ะ ไ ม้ ย า ง พ า ร า | 21 borers หรือ jewel wood borers หนอนของแมลงทับเรียกว่า flatheaded wood borers เนื่องจากบริเวณปล้องอกมีลักษณะแบน เรียบคล้ายถูกทับ ลักษณะดังกล่าวอาจ เป็นที่มาของชื่อภาษาไทยว่าแมลงทับ หนอนมีลักษณะสีขาว-ขาวนวล กรามแข็งแรง ขนาดใหญ่ หัวเล็กกว่าปล้องอก อกมี3 ปล้อง ด้านข้างโค้งมนกลม ด้านบนแบนราบ หนอนไม่มีขา ส่วนท้องกลมเรียวเล็กกว่าปล้องอกอย่างชัดเจน แมลงทับเข้าท าลายทั้งไม้ ใบกว้างและไม้สน มักท าลายต้นไม้ในสภาวะเครียด โทรมใกล้ตาย ไม้ที่ตายใหม่ ๆ ไม้ยืนต้นตาย รวมทั้งไม้ซุง ไม้ท่อนบนกองหรือลานไม้ และไม้แปรรูปที่มีความชื้นสูง แมลงทับเพศเมียตัวเต็มวัยกัดเปลือกไม้เป็นรอยตื้น ๆ เพื่อวางไข่หรือวางไข่บริเวณ


22 | บ ท ที่ 3 เปลือกที่มีแผล เมื่อไข่ฟัก ตัวหนอนกัดกินภายในเปลือกเป็นรูคดเคี้ยวไปมา ไม่มีรูปแบบ ที่แน่นอน พื้นที่หน้าตัดของรูเป็นรูปวงรี เมื่อโตขึ้นหนอนเริ่มเจาะเข้าไปในกระพี้และ แก่น รูทางเดินของตัวหนอนมีขี้ขุยหยาบ ๆ คล้ายขี้เลื่อยอัดแน่นเต็มรู หนอนเข้าดักแด้ ภายในกระพี้ใกล้เปลือกหรือหากต้นไม้มีเปลือกหนาอาจเข้าดักแด้ในเปลือก ตัวเต็มวัย เมื่อฟักออกจากดักแด้กัดไม้หรือเปลือกไม้ออกมา รูที่แมลงเจาะมีลักษณะเป็นรูปวงรี หรือครึ่งวงกลม วัฏจักรชีวิตนาน 3 - 6 เดือน แต่อาจยาวนาน 1 - 2 ปีในแมลงทับ ขนาดใหญ่ ตัวเต็มวัยอายุสั้น บินได้ดีมาก ไม้ที่ถูกแมลงทับเข้าท าลายมีลักษณะเป็น โพรงกลวงตามแนวเสี้ยน ส่งผลให้ต้องตัดแต่งไม้ในส่วนนั้นออกไป ท าให้ได้ไม้ที่มีขนาด เล็กลงหรือสูญเสียมูลค่าของไม้ ในไม้ยางพารายังไม่มีรายงานแมลงทับเข้าท าลายอย่าง เป็นทางการ แต่เนื่องจากแมลงกลุ่มนี้มีความจ าเพาะต่อพืชอาหารน้อยและจากการ สังเกตบริเวณกองไม้และโรงเลื่อยไม้ยางพารา พบแมลงทับบ้างเป็นครั้งคราว เป็นไปได้ ว่าแมลงเหล่านี้อาจเข้าท าลายไม้ยางพาราได้ ข้อมูลส่วนนี้ยังต้องศึกษาในอนาคต ส่วน ในต่างประเทศแมลงทับหลายชนิดเป็นศัตรูส าคัญทางป่าไม้ ไม้ฟืนและไม้โครงสร้าง บ้านเรือน เช่น แมลงทับต้นแอช (emerald ash borer, Agrilus planipennis) ซึ่ง เป็นแมลงท้องถิ่นในเอเชีย แต่กลายเป็นแมลงศัตรูส าคัญของไม้แอช (Fraxinus spp.) ในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา สร้างความเสียหายหลายร้อยล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อปี ด้วงหนวดยาว Longhorn beetles, Long-horned, Longicorns ด้วงในวงศ์ Cerambycidae (แผ่นภาพที่ 3.2) ทั่วโลกพบมากกว่า 25,000 ชนิด กระจายกว้างขวางทั่วโลก มีขนาดแตกต่างกันมากตั้งแต่ขนาดเล็ก 2.5 มม. ถึงขนาด ใหญ่สุดยาวมากกว่า 16 ซม. ตัวเต็มวัยมีหนวดขนาดใหญ่ ยาวมากว่าครึ่งหนึ่งของล าตัว ส่วนมากยาวเท่ากับหรือยาวกว่าล าตัว บางชนิดอาจยาวมากกว่า 2 เท่าของล าตัว หนวดอาจมีกลุ่มขนสีด าคล้ายพู่ หนวดยาว แข็งแรงมีลักษณะคล้ายเขา จึงได้ชื่อว่า ด้วง เขายาวในภาษาอังกฤษ (longhorn beetles) ตัวเต็มวัยรูปทรงกระบอกยาว ด้านท้าย เรียวเล็กน้อย ปีกด้านหลังโค้งเล็กน้อยในด้วงที่มีล าตัวขนาดใหญ่และแบนราบในแมลง ขนาดกลางและขนาดเล็กบางชนิด ล าตัวมีสีสันลายแตกต่างกันมาก แมลงที่มีกิจกรรมใน เวลากลางวันมักมีสีสันสดใส บางกลุ่มมีสีและลายเลียนแบบแมลงผู้ล่า เช่น มด ต่อ และ


แ ม ล ง ท า ล า ย ไ ม้ แ ล ะ ไ ม้ ย า ง พ า ร า | 23 ด้วงกระดูกสัตว์ ด้วงที่มีกิจกรรมในเวลากลางคืนมักมีสีน้ าตาล ไม่เป็นมันวาว กรามมี ขนาดใหญ่ส าหรับกัดหรือเจาะไม้ อาจยื่นลงด้านล่าง เฉียงลง หรือยื่นไปด้านหน้าของ หัว ตามีขนาดใหญ่ใช้ส าหรับการมองเห็น หนอนมีสีขาว สีขาวนวล สีเหลือง ขึ้นอยู่กับ ชนิดและอายุของหนอน ไม่มีขา กราม 1 คู่ขนาดใหญ่ แข็งแรง หัวเล็ก ปล้องอกกลม ขยายออกจากส่วนหัวน้อยกว่าแมลงทับ ท าให้มีชื่อเรียก ภาษาอังกฤษแตกต่างจากแมลง ทับว่า “roundheaded wood borers” ส่วนท้องทรงกระบอกเรียวยาว มีขนาด เท่ากับปล้องอก แตกต่างจากหนอนของแมลงทับที่มักเล็กกว่าปล้องอก หนอนของด้วง หนวดยาวที่กัดกินเฉพาะชั้นของเปลือกไม้มีล าตัวแบน ส่วนหนอนที่กัดกินเนื้อไม้มี ลักษณะล าตัวรูปทรงกระบอก ตัวเต็มวัยวางไข่บริเวณรอยแตกของเปลือกหรือกัดเข้าไป


24 | บ ท ที่ 3 ในเปลือกไม้เพื่อวางไข่ ด้วงหนวดยาวบางกลุ่มอาจกัดลึกลงไปถึงชั้นกระพี้เพื่อวางไข่ หนอนฟักออกมาระยะแรก ๆ กัดกินเปลือก อายุมากขึ้นกัดกินเนื้อไม้ขับเศษไม้และสิ่ง ขับถ่าย (frass) มีลักษณะคล้ายขี้เลื่อยหยาบ ๆ อัดแน่นรูทางเดิน ด้วงหนวดยาวเข้า ดักแด้ในรังที่ท าจากเส้นใยของเนื้อไม้บริเวณใกล้ผิว ตัวเต็มวัยเมื่อฟักออกมาจะกัดออก จากไม้ที่เข้าท าลาย รูเจาะออกกลม ด้วงหนวดยาวส่วนมากเข้าท าลายต้นไม้ในสภาวะ เครียด โทรมใกล้ตาย ไม้ที่ตายใหม่ ๆ ไม้ยืนต้นตายรวมทั้งไม้ซุงไม้ท่อนบนกองหรือลาน ไม้ ไม้แปรรูปที่มีความชื้นสูง รวมทั้งไม้โครงสร้างบ้านเรือน หรือไม้ที่เริ่มผุ ส่วนมากมี วัฏจักรชีวิต 1 ปี ตัวเต็มวัยกินน้ าหวานและเกสรดอกไม้ อายุสั้น บินได้ดี เพศเมียวางไข่ เฉลี่ย 25 - 100 ฟอง ในต้นยางพาราและไม้ยางพารามีรายงานด้วงหนวดยาว 1 ชนิด ได้แก่ Gnatholea eburifera อย่างไรก็ตามด้วงหนวดยาวมีความหลากหลายสูง และ มีความจ าเพาะต่อพืชอาหารต่ า หากมีการส ารวจที่เพียงพออาจพบชนิดด้วงหนวดยาว เข้าท าลายไม้ยางพารามากขึ้น มอดเจาะเปลือกไม้ Bark beetles มอดในวงศ์ย่อย Scolytinae วงศ์ด้วงงวง (Curculionidae) (แผ่นภาพที่ 3.3) ทั่วโลก พบประมาณ 6,000 ชนิด มีขนาดเล็กถึงเล็กมาก (0.5 - 4 มม.) ตัวเต็มวัยมีขนาดเล็ก อ้วนป้อม ส่วนมากมีสีเทาหรือน้ าตาล มีขนสั้นแข็งปกคลุมหนาแน่น หนวดรูปลูกตุ้ม สามปล้องสุดท้ายขยายใหญ่ เดิมมอดเจาะเปลือกไม้จัดเป็นกลุ่มเฉพาะในวงศ์ Scolytidae แต่จากการศึกษาโดยละเอียดพบว่าแมลงกลุ่มนี้จัดอยู่ในกลุ่มด้วงงวงที่ วิวัฒนาการเฉพาะเพื่อเข้าไปอาศัยและสร้างรังภายในเปลือกไม้และเนื้อไม้ ปัจจุบันจึง จัดมอดเจาะเปลือกไม้อยู่ในวงศ์ย่อยหนึ่งของวงศ์ด้วงงวง (วงศ์ Curculionidae) มอด เจาะเปลือกไม้จัดเป็นแมลงกลุ่ม phloemo- phagous insects กัดกินและท ารังใน เปลือกและชั้นบาง ๆ ของกระพี้ มอดได้รับสารอาหารส่วนมากจากเปลือกและได้รับ โปรตีนบางส่วนจากราที่เจริญเติบโตในรังของมอด โดยมอดน าสปอร์ของราติดไปกับ ล าตัวเมื่อบินออกจากรัง บางชนิดอาจมีอวัยวะเฉพาะเพื่อเก็บเชื้อรา (mycangium) มอดเจาะเปลือกไม้มีความจ าเพาะต่อพืชอาหารมากกว่ามอดกลุ่มอื่น ๆ เข้าท าลายไม้ที่ มีชีวิต โทรมใกล้ตาย หรือตายใหม่ๆ ไม้ซุงและไม้ท่อนที่มีความชื้นสูง บางชนิดเป็นศัตรู


แ ม ล ง ท า ล า ย ไ ม้ แ ล ะ ไ ม้ ย า ง พ า ร า | 25 ส าคัญของไม้สน รวมทั้งไม้ใบกว้างหลายชนิด ในเขตร้อนชื้น มอดกลุ่มนี้ส่วนมากเข้า ท าลายไม้ที่ตายใหม่ๆ และมีความจ าเพาะต่อพืชอาหารต่ ากว่ากลุ่มที่ท าลายไม้สน มอด เพศเมียเจาะเข้าไปในเปลือกไม้และเนื้อเยื่อเจริญเป็นทางยาวเพื่อวางไข่ ไข่รูปทรงรีใส หรือสีขาวขุ่น มอดวางไข่ทั้ง 2 ข้างของทางเดินที่ตัวเต็มวัยเจาะเข้าไปในเปลือกไม้ตัว หนอนรูปคล้ายตัวซีสีขาว ส่วนอกป้อมส่วนท้องเรียวไม่มีขา เมื่อฟักออกมาหนอนกัด กินเปลือกไม้ในแนวรัศมีออกจากจุดที่วางไข่ขนานกันไปกับหนอนตัวใกล้เคียง ทิ้งขี้ขุยสี เข้มอุดเต็มรูทางเดินไว้ด้านหลัง หนอนเข้าดักแด้บริเวณปลายสุดของทางเดิน ตัวโตเต็ม วัยเจาะเปลือกไม้บริเวณที่เข้าดักแด้ออกมา ท าให้เห็นรูเจาะกลมเล็ก ๆ จ านวนมาก บริเวณเปลือกไม้ วัฏจักรชีวิตในเขตร้อนชื้นสั้น ใช้เวลาประมาณ 30 - 45 วัน ในเขต อบอุ่นหรือเขตหนาวใช้เวลา 3 เดือน ถึง 1 ปี มอดกัดกินเฉพาะส่วนของเปลือกไม้และ ชั้นบางๆ ของกระพี้ ท าให้ไม่เกิดความเสียหายโดยตรงกับเนื้อไม้แต่มอดกลุ่มนี้ ส่วนมากน าสปอร์ของรา Ascomycetes fungi สกุล Ceratocystis, Ophiostoma, Ceratocystiopsis และ Grosmannia ที่อาจติดบริเวณล าตัวด้านนอก หรือบางชนิด อาจมีอวัยวะส าหรับเก็บสปอร์ของราโดยเฉพาะเข้าไปเจริญเติบโตในรัง มอดกินสปอร์ หรือเนื้อไม้ที่ราย่อยสลายเพื่อเพิ่มคุณค่าทางอาหารโดยเฉพาะอย่างยิ่งโปรตีน ราเหล่านี้ เมื่อเจริญเติบโตในเนื้อไม้ ท าให้เกิดการย้อมสีในเนื้อไม้และท าให้ไม้มีต าหนิถาวร ไม่ สามารถตัดแต่งหรือขัดออกได้ท าให้ไม้ที่ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องเรือน ของใช้ใน ครัวเรือนและของเล่นเด็กเสียหาย ในยางพารายังไม่มีการส ารวจชนิดของมอดเจาะ เปลือกไม้ที่เข้าท าลายต้นยางพาราภายในแปลง ก่อนการตัดฟันและไม้ท่อนก่อนการ แปรรูปมาก่อน ท าให้ไม่มีข้อมูลชนิดมอดเจาะเปลือกไม้ที่เข้าท าลายไม้ยางพาราและไม้ ยางพาราแปรรูป ประกอบกับต้นยางพารามีระบบท่อน้ ายางช่วยป้องกันการเข้าท าลาย ของแมลง มอดกลุ่มนี้จึงไม่เข้าท าลายต้นยางพาราที่มีสุขภาพดี แต่เมื่อต้นยางพารา โทรมหรือเครียดจากสาเหตุทั้งกายภาพและชีวภาพ มอดกลุ่มนี้ก็จะสามารถเข้าท าลาย ได้ ในพื้นที่ภาคใต้ยางพาราที่เป็นโรครากขาว (Rigidoporus microporus) โรคราก น้ าตาล (Phellinus noxius) และ โรครากแดง (Ganoderma pseudoferreum) รวมทั้งโรครากเน่าจากเชื้อสาเหตุของโรคอื่น ๆ หรือโรคเส้นด า (Phytophthora spp.) มักพบมอดเจาะเปลือกไม้ และ แมลงกลุ่มอื่น ๆ เช่น มอดรูเข็ม มอดแอมโบรเซีย ด้วง หนวดยาวและแมลงทับเข้าท าลายซ้ า ในประเทศไทยมีรายงานมอดเจาะเปลือกไม้เผ่า


26 | บ ท ที่ 3 Cryphalini เข้าท าลายต้นยางพาราและไม้ยางพาร าแปรรูป 3 ชนิด ได้แก่ Hypothenemus areccae, H. birmanus และ H. eruditus โดยมอดทั้ง 3 ชนิดเข้า ท าลายไม้ยางพาราแปรรูปที่มีความชื้นปานกลาง มีความชื้นต่ ากว่าร้อยละ 60 และมอด เจาะเปลือกไม้ H. eruditus อาจอยู่ร่วมกับราและกินราที่เจริญในเนื้อไม้ยางพาราเป็น อาหาร (มอดเจาะเปลือกไม้ที่มีลักษณะชีววิทยาแบบมอดแอมโบรเซีย) ในประเทศ มาเลเซียมีรายงานมอดในวงศ์ย่อย Scolytinae 51 ชนิด เข้าท าลายไม้ยางพารา (ไม่ได้ ระบุกลุ่มของแมลงว่าเป็นมอดเจาะเปลือกไม้หรือมอดแอมโบรเซีย)


แ ม ล ง ท า ล า ย ไ ม้ แ ล ะ ไ ม้ ย า ง พ า ร า | 27 มอดแอมโบรเซีย Ambrosia beetles มอดในเผ่า Xyleborini และ สมาชิกในวงศ์ย่อย Scolytinae (shot hole borers) และ วงศ์ย่อย Platypodinae (pin hole borers) ของวงศ์ด้วงงวง (Curculionidae) (แผ่นภาพที่ 3.4) รวมทั้งด้วงเจาะไม้ (timber beetles) ในวงศ์ Lymexylidae มีขนาด เล็กถึงขนาดกลาง ทั่วโลกพบมากกว่า 3,000 ชนิด ส่วนมากกระจายในเอเชียตะวันออก เฉียงใต้และเขตร้อนชื้นของแอฟริกา มอดแอมโบรเซียในวงศ์ย่อย Scolytinae ส่วนมากล าตัวอ้วนป้อม สีน้ าตาลอมแดง สีน้ าตาลอมด า หรือสีด า ส่วนอกขยายใหญ่ คลุมส่วนหัวมิดมองไม่เห็นจากด้านบน ปีกตัดเพื่อใช้ในการอุดรูทางเข้าของรัง หนวดรูป ลูกตุ้ม 3 ปล้องสุดท้ายขยายใหญ่และเชื่อมติดกันคล้ายลูกตุ้ม ส่วนมอดรูเข็มในวงศ์ย่อย Platypodinae มีลักษณะล าตัวเป็นรูปทรงกระบอกยาวเรียว หัวและอกมีขนาด ใกล้เคียงกัน สามารถมองเห็นส่วนหัวจากด้านบนได้ชัดเจน หนวดแบบลูกตุ้ม 3 ปล้อง สุดท้ายเชื่อมติดเป็นปล้องเดียวกัน ด้วงเจาะไม้วงศ์ Lymexylidae ล าตัวรูป ทรงกระบอก ยาวเรียว ส่วนท้องเรียวแหลม ส่วนมากปีกคู่หน้าลดรูปมีขนาดเล็กปีกคู่ หลังบางใสสั้นกว่าส่วนท้อง ชนิดที่ปีกคู่หน้ายาวมีลักษณะคล้ายด้วงปีกนิ่มหรือหิ่งห้อยที่ มีล าตั วเ รี ย วย า ว มอด แอมโบ รเ ซี ยใน วงศ์ ย่อย Scolytinae แ ล ะ วงศ์ ย่อย Platypodinae จัดเป็นด้วงงวงที่วิวัฒนาการเฉพาะเพื่อใช้เนื้อไม้เป็นอาหาร เนื่องจาก เนื้อไม้เป็นเส้นใยแข็ง ยากต่อการย่อย มีคุณค่าทางโภชนาการต่ า และมักสะสมของเสีย จากกระบวนการหายใจของเซลล์พืชซึ่งเป็นพิษ แต่มีข้อได้เปรียบ คือ มีกลไกในการ ป้องกันการเข้าท าลายของแมลงต่ ากว่าส่วนอื่น ๆ มอดแอมโบรเซียที่ใช้ส่วนของไม้เป็น อาหารจึงต้องวิวัฒนาการปรับตัวเพื่ออยู่ร่วมกับราและกินราซึ่งสามารถย่อยเนื้อไม้และ ให้คุณค่าทางอาหารโดยเฉพาะโปรตีนสูง ท าให้แมลงกลุ่มนี้โตเร็วและมีวัฏจักรชีวิตสั้น เพิ่มปริมาณได้รวดเร็ว มอดแอมโบรเซียจัดเป็นมอดเจาะไม้ (wood borers) แต่ไม่ได้ กินเนื้อไม้หรือแป้งในเนื้อไม้เป็นอาหารโดยตรง แต่มอดอาศัยอยู่ร่วมกับราแบบพึ่งพา อาศัย เมื่อแมลงเจาะเข้าไปในเนื้อไม้เพื่อสร้างรังก็จะน าราในกลุ่ม Ophiostomatoid fungi ในสกุล Ophiostoma, Ceratocystis, Raffaelea, Trichosporium และสกุลอื่น ๆ


28 | บ ท ที่ 3 เข้าไปเลี้ยงภายในผนังทางเดินของรังเพื่อใช้เป็นอาหาร เนื่องจากแมลงกินรา ที่เจริญเติบโตในเนื้อไม้จึงจัดเป็นแมลงในกลุ่ม Xylo-mycetophagy มอดแอมโบรเซีย ส่วนมากเจาะเข้าท าลายต้นไม้ที่โทรมใกล้ตาย ต้นไม้ที่ตายใหม่ ๆ และต้นไม้ที่อยู่ภายใต้ สภาวะเครียดจากสภาวะแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม หรือโรคและแมลงชนิดอื่น ๆ เข้าท าลาย อาจเข้าท าลายต้นไม้ที่สมบูรณ์แข็งแรงเมื่อมีประชากรสูงมาก มอดตัวเต็ม วัยเจาะลึกเข้าไปในเนื้อไม้ที่มีความชื้นเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเชื้อรา และ วางไข่อิสระในรังหรือช่องเฉพาะที่ตัวเต็มวัยเจาะส าหรับวางไข่ ไข่รูปทรงรีใสหรือขาว ขุ่น มอดอาจวางไข่ในช่วงระยะเวลาที่ห่างกันมาก เพื่อลดการแก่งแย่งราที่อาจ เจริญเติบโตไม่เพียงพอต่อจ านวนตัวหนอน หนอนเข้าดักแด้ภายในทางเดินของตัวแม่ และบินออกจากรังจากรูทางเข้าที่รุ่นพ่อแม่สร้างขึ้น รังของมอดกลุ่มนี้ทางเดินไม่มีขุย อุดตัน มอดเจาะไม้เข้าท ารังและขับเศษไม้ออกจากรัง มีลักษณะเป็นเกล็ดหรือเส้นใย หัวท้ายเรียวคล้ายไม้จิ้มฟันสั้น ๆ ออกจากรู เนื่องจากไม้ที่มอดกลุ่มนี้เข้าท าลายมี ความชื้นสูง ขุยที่มอดขับออกมาอาจติดกันแน่นลักษณะคล้ายหลอดต่อกันจากรู รู ทางเดินของมอดมีลักษณะเป็นอุโมงค์เกลี้ยง ไม่มีขุยอุดตัน และผนังของอุโมงค์ มีรา ย้อมสีสีน้ าเงินเข้มหรือสีด าที่ผิวไม้ลึกเข้าไปในเนื้อไม้เล็กน้อย เมื่อแมลงทิ้งรังราเหล่านี้ จะเจริญต่อไปในเนื้อไม้ ท าให้ไม้เสียคุณภาพจากการย้อมสี มอดแอมโบรเซียมี ความจ าเพาะต่อพืชอาหารต่ า มอดเข้าท าลายต้นไม้ได้เกือบทุกชนิดที่ราสามารถ เจริญเติบโตได้ ดังนั้นต้นไม้ที่อ่อนแอ ไม้ซุงหรือไม้ท่อนที่ตัดฟันใหม่ ๆ เกือบทุกชนิด มอดกลุ่มนี้สามารถเข้าท าลายได้ หรือในไม้เนื้อแข็งบางชนิดที่มีส่วนของแก่นเป็นพิษ มอดกลุ่มนี้จะเข้าท าลายส่วนกระพี้ซึ่งมีสีอ่อนและมีสารเคมีที่เป็นพิษสะสมน้อยกว่า ส่วนด้วงเจาะไม้ในวงศ์ Lymexylidae เป็นแมลงที่วิวัฒนาการอยู่ร่วมกับราแยก ต่างหาก ไม่ได้มีความสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการร่วมกับมอดแอมโบรเซียในวงศ์ด้วงงวง ทั่วโลกพบเพียง 60 ชนิด และในธรรมชาติมีจ านวนประชากรไม่มากนัก ดังนั้นแมลง กลุ่มนี้พบไม่บ่อยนักในไม้ยางพารา


แ ม ล ง ท า ล า ย ไ ม้ แ ล ะ ไ ม้ ย า ง พ า ร า | 29 มอดแอมโบรเซียมักเข้าท าลายต้นยางพาราที่อ่อนแอจากปัจจัยทั้งกายภาพและชีวภาพ เช่น สภาพอากาศที่ไม่เหมาะสม อุณภูมิสูง การขาดน้ า เป็นโรคในระบบราก ล าต้น หรือเข้าท าลายต้นยางพาราหลังการตัดฟัน ท าลายไม้ท่อนบนกองไม้ภายในสวน ยางพาราและลานไม้ในโรงเลื่อย มอดมักเจาะบริเวณหัวไม้ ตาไม้หรือบริเวณที่เกิดแผล มากกว่าส่วนอื่น ๆ และสามารถเข้าท าลายไม้ก่อนการอบหรือผึ่งให้แห้ง ไม้ที่มีความชื้น สูงหลังการอบ หรือไม้แปรรูปที่มีความชื้นสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูฝน ซึ่งเป็นช่วงที่ ประชากรของมอดแอมโบรเซียในพื้นที่เกษตรมีระดับประชากรสูง ในประเทศไทย มีรายงานมอดแอมโบรเซียที่เข้าท าลายไม้แปรรูปและไม้ท่อนบนลานไม้ 11 ชนิด แบ่งออกเป็น มอดในวงศ์ย่อย Scolytinae 5 ชนิด และวงศ์ย่อย Platypodinae 6 ชนิด


30 | บ ท ที่ 3 อย่างไรก็ตาม เนื่องจากมอดไม่มีความจ าเพาะต่อพืชอาหาร ดังนั้นมอดแอมโบรเซีย ที่พบในประเทศไทยที่มีมากกว่า 200 ชนิด สามารถเข้าท าลายไม้ยางพาราได้ แต่อาจมี โอกาสพบได้แตกต่างกัน โดยชนิดที่สามารถปรับตัวให้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ร้อนและ แห้งได้ดี พบเข้าท าลายไม้ยางพาราได้มากกว่า หรือไม้ยางพาราที่ตัดฟันจากสวน ยางพาราที่ปลูกติดกับพื้นที่ป่าสามารถพบมอดแอมโบรเซียชนิดต่าง ๆ ได้มากกว่า เนื่องจากในพื้นที่ป่ามีจ านวนชนิดของมอดที่พบมากกว่าในพื้นที่เกษตร มอดขี้ขุย Powderpost beetles แมลงขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ในวงศ์ Bostrichidae (แผ่นภาพที่ 3.5) มอดขี้ขุยแบ่ง ออกเป็น 2 กลุ่มย่อย ได้แก่ กลุ่มที่ 1 มอดขี้ขุยแท้ ในวงศ์ย่อย Lyctinae มีลักษณะ ล าตัวรูปทรงกระบอกยาว ล าตัวแบน ปล้องอกแบน ส่วนหัวสามารถมองเห็นจาก ด้านบนได้ชัดเจน หนวด 2 ปล้องสุดท้ายขยายใหญ่ ส่วนมากมีสีน้ าตาลอมแดงถึงสี น้ าตาลอมด า ทั่วโลกพบประมาณ 60 ชนิด เดิมมอดขี้ขุยแท้จัดอยู่ในวงศ์ Lyctidae แต่ การศึกษาลักษณะภายนอกและลักษณะของตัวหนอนเพิ่มเติม พบว่ามีลักษณะใกล้ชิด กับมอดขี้ขุยเทียมและจัดมอดขี้ขุยแท้ เป็นวงศ์ย่อยหนึ่งของมอดขี้ขุยเทียม กลุ่มที่ 2 ได้แก่ มอดขี้ขุยเทียม ได้แก่ มอดชนิด เ ดิ มทั้งห ม ด ข อง วง ศ์ Bostrichidae ไ ด้ แ ก่ ม อ ดใน วง ศ์ ย่ อ ย Bostrichinae, Dinoderinae, Dysidinae, Euderiinae, Polycaoninae แ ล ะ Psoinae ม อ ด ขี้ ขุ ย เทียมส่วนมากมีขนาดใหญ่กว่ามอดขี้ขุยแท้ ล าตัวอ้วนป้อม อกปล้องแรกขยายใหญ่โค้ง งุ้มปกคลุมส่วนหัว ท าให้ไม่สามารถมองเห็นส่วนหัวจากด้านบน หนวด 3 ปล้องสุดท้าย ขยายใหญ่และมีรูปร่างแตกต่างกันหลายแบบ มอดสองกลุ่มนี้มีสมาชิกรวมกันประมาณ 700 ชนิด ส่วนมากกระจายในเขตร้อนและกึ่งเขตร้อน มีเพียงส่วนน้อยที่กระจายทั่วโลก ในประเทศไทยพบมอดขี้ขุย 66 ชนิด โดยแบ่งเป็นมอดขี้ขุยแท้ 12 ชนิด และมอดขี้ขุยเทียม 49 ชนิด มอดกลุ่มนี้กินแป้งในเนื้อไม้เป็นอาหาร มักท าลายไม้แห้ง จึงถือเป็นแมลงศัตรู ส าคัญของไม้ยางพาราและอุตสาหกรรมไม้ยางพาราแปรรูป ทั่วโลกมีรายงานมอดขี้ขุย


แ ม ล ง ท า ล า ย ไ ม้ แ ล ะ ไ ม้ ย า ง พ า ร า | 31 เข้าท าลายไม้ยางพารา 17 ชนิด รายละเอียดทางชีววิทยา นิเวศวิทยา การท าลายของ มอดขี้ขุยจะกล่าวในบทที่ 4 ต่อไป มอดเครื่องเรือน (furniture beetles) ในวงศ์ย่อย Anobiinae (วงศ์ Ptinidae) มอด ในวงศ์ย่อยนี้บางชนิดท าลายไม้ และอาจถูกเรียกรวมกันว่ามอดขี้ขุย มีความสัมพันธ์ ทางวิวัฒนาการใกล้ชิดกับมอดขี้ขุย ลักษณะตัวหนอนคล้ายมอดขี้ขุยมาก มอดกัดกิน เนื้อไม้และขับถ่ายขุยเป็นผงคล้ายแป้งออกมา มอดกลุ่มนี้มีวัฏจักรชีวิตยาว อาจใช้เวลา มากกว่า 1 ปี หรืออาจนานถึง 3 - 4 ปี ชนิดที่พบเข้าท าลายไม้ในบ้านเรือนในเขตร้อน ชื้นของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากที่สุด ได้แก่ มอดยาสูบ [cigarette beetle,


32 | บ ท ที่ 3 Lasioderma serricorne (Fabricius)] ซึ่งเป็นศัตรูส าคัญของธัญพืช มอดชนิดนี้ที่เข้า ท าลายธัญพืชจะมีวัฏจักรชีวิตสั้น 40 - 45 วัน เนื่องจากธัญพืชมีคุณค่าทางโภชนาการสูง ในไม้มอดยาสูบมีวัฏจักรชีวิตมากกว่า 1 ปี ปลวก Termites แมลงในอินฟราออเดอร์ (อันดับย่อย Isoptera) ในอันดับแมลงสาบ (Order Blattodea) จัดเป็นแมลงที่ด ารงชีวิตอยู่ร่วมกันแบบสังคมแท้ (eusocial insects) ใน รังมีการแบ่งเป็นหลายวรรณะ(castes) (แผ่นภาพที่ 3.6) และแต่ละวรรณะ ท าหน้าที่ เฉพาะ ได้แก่ วรรณะสืบพันธุ์[(ราชา (king) นางพญาปลวก (queen) ตัวอ่อนที่จะ พัฒนาไปเป็นวรรณะสืบพันธุ์ (Nymphs)] ท าหน้าที่ขยายพันธุ์ นางพญานอกจากท า หน้าที่ขยายพันธุ์แล้วยังท าหน้าที่ควบคุมรังอีกด้วย วรรณะทหาร (soldier) ท าหน้าที่ ป้องกันศัตรูที่เข้ามารบกวนรัง และวรรณะกรรมกร (worker) ท าหน้าที่อื่น ๆ ทั้งหมด ภายในรัง ได้แก่ หาอาหาร ย่อยสลายเซลลูโลส สะสมอาหาร รักษาความสะอาด สร้าง และบ ารุงรักษารังรวมทั้งหน้าที่อื่นๆ ที่ส่งเสริมให้รังด ารงอยู่ได้เป็นอย่างดี ในธรรมชาติ ปลวกมีหน้าที่เป็นผู้ย่อยสลายเศษไม้ ใบไม้ และซากพืชที่มีเซลลูโลสเป็นองค์ประกอบ ทั้งนี้ในการย่อยเซลลูโลสปลวกแต่ละชนิดต้องพึ่งพาจุลินทรีย์ต่างชนิดกัน เช่น โปรโตซัว (protozoa) ในระบบย่อยอาหารของปลวกชั้นต่ า หรือเชื้อรา (fungi) ซึ่งถูกเพาะเลี้ยง ด้วยเซลลูโลสจากพืช ภายในรังของปลวกชั้นสูง หรือปลวกบางกลุ่มในวงศ์ Termitidae สามารถสร้างเอนไซม์เซลลูเลส (cellulase) ย่อยเซลลูโลสเองได้ ปลวกกระจายในเขต ร้อนชื้นและกึ่งร้อนชื้น ทั่วโลกพบปลวกมากกว่า 3,000 ชนิด ปัจจุบันมีรายงานการพบ ปลวกในประเทศไทยมากกว่า 200 ชนิด สามารถแบ่งกลุ่มโดยใช้ลักษณะการด ารงชีวิต และการเข้าท าลายไม้ได้ ดังนี้ ❖ ปลวกที่อาศัยอยู่ในไม้: เป็นปลวกที่อาศัยและกัดกินอยู่ภายในเนื้อไม้ตลอด ชีวิต โดยสร้างทางเดินระหว่างไม้กับพื้นดิน สามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มย่อย ได้แก่


Click to View FlipBook Version