The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by AJ Wisut, 2023-05-25 23:48:09

หนังสือมอดไม้ยางพารา-Rubberwood Borers

หนังสือมอดไม้ยางพารา

Keywords: ้

แ ม ล ง ท า ล า ย ไ ม้ แ ล ะ ไ ม้ ย า ง พ า ร า | 33 ปลวกไม้แห้ง (dry-wood termites) อาศัยและกัดกินอยู่ในไม้ที่แห้งหรือไม้ ที่มีความชื้นต่ า เช่น ปลวกในสกุล Cryptotermes (C. bengalensis, C. domesticus, C. thailandis) ปลวกไม้ชื้น (damp-wood termites) อาศัยและกัดกินไม้อยู่ในต้นไม้หรือ ไม้ที่มีความชื้นสูง เช่น สกุล Neotermes (N. gardneri, N. tectonae) ❖ ปลวกที่อาศัยอยู่ในดิน: เป็นปลวกที่อาศัยอยู่ในดิน แต่หาอาหารบนผิวดิน โดยการสร้างทางเดินเพื่อป้องกันอันตรายจากแสงแดดและศัตรู สามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มย่อย ได้แก่ ปลวกใต้ดิน (subterranean termites) อาศัยและท ารังอยู่ใต้ดิน แต่หา อาหารบนพื้นดิน เช่น สกุล Coptotermes (C. curvignathus, C. gestroi) ปลวกที่อาศัยอยู่ในจอมปลวก (mound-building termites) เป็นปลวกที่ สร้างรังขนาดกลางถึงขนาดใหญ่บนพื้นดิน เช่น สกุล Globitermes (G. sulphureus) สกุล Macrotermes (M. gilvus, M. pakistanicus) และ สกุล Odontotermes ปลวกที่อาศัยอยู่ในรังขนาดเล็ก (carton-nest building termites) เป็น ปลวกที่สร้างรังขนาดเล็กอยู่บนดินหรือเหนือพื้นดิน ตามกิ่งไม้ ต้นไม้ เสาไฟฟ้า หรือโครงสร้างอื่น ๆ ภายในอาคาร เช่น ปลวกในสกุล Microtermes, Nasutitermes และสกุล Schedorhinotermes เนื่องจากปลวกต้องการเซลลูโลสในการด ารงชีวิต จึงไม่มีความจ าเพาะต่อชนิด ของพืชอาหารท าให้สามารถเข้าท าลายไม้ได้หลายชนิด และสามารถเข้าท าลายไม้ได้ ในขณะยืนต้น หลังการตัดฟัน ขณะรอการน าไปใช้ และระหว่างการใช้งาน จึงเป็นศัตรู โดยตรงต่อไม้ที่มนุษย์น ามาใช้ประโยชน์ ในประเทศไทยปลวกที่เข้าท าลายโครงสร้าง ภายในอาคารบ้านเรือน และวัสดุสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ ที่ท ามาจากไม้มากที่สุดและมี ความส าคัญทางเศรษฐกิจสูงที่สุด คือ ปลวกสกุล Coptotermes รองลงมา คือ ปลวก ส กุ ล Microcerotermes น อ ก จ า กนั้ น ยัง มีป ล ว กใน ส กุ ล Globitermes แ ล ะ Macrotermes ซึ่งมีรายงานว่าอาศัยและสร้างรัง (จอมปลวก) อยู่บริเวณโคน


34 | บ ท ที่ 3 ต้นยางพารา ปลวกจึงเป็นแมลงศัตรูที่ส าคัญชนิดหนึ่งของไม้ยางพาราและอุตสาหกรรม ไม้แปรรูป


แ ม ล ง ท า ล า ย ไ ม้ แ ล ะ ไ ม้ ย า ง พ า ร า | 35 ไม้ยางพารามีความทนทานตามธรรมชาติต่ า ไม่ทนทานต่อการเข้าท าลาย ของราและแมลงท าลายไม้โดยแมลงสามารถเข้าท าลายไม้ยางพาราได้ทุกระยะ ตั้งแต่ ก่อนการตัดฟัน การแปรรูปและผลิตเป็นผลิตภัณฑ์แล้ว แมลงกลุ่มส าคัญที่ท าลาย ไม้ยางพาราสามารถแบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ๆ ได้แก่ กลุ่มที่ 1 มอดเจาะเปลือกไม้และ มอดแอมโบรเซีย แมลงกลุ่มนี้เข้าท าลายไม้ที่มีความชื้นสูง ท าลายไม้ในแปลงก่อนและ หลังการตัดฟัน ไม้ท่อนบนลานไม้ และไม้แปรรูปก่อนอบ กลุ่มที่ 2 ได้แก่ มอดขี้ขุย แมลงกลุ่มนี้เข้าท าลายไม้ที่มีความชื้นต่ า ไม้แปรรูปหลังการอบและผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ และกลุ่มที่ 3 ได้แก่ ปลวกกลุ่มต่าง ๆ ที่สามารถท าลายไม้ยางพาราได้ทุกระยะ ตั้งแต่ ในแปลงจนถึงหลังผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ แมลงกลุ่มอื่น ๆ เช่น ด้วงหนวดยาว และแมลงทับ อาจเข้าท าลายไม้ยางพาราได้ แต่พบน้อย ไม่มีความส าคัญทางเศรษฐกิจมากนัก เมื่อเทียบกับแมลงสามกลุ่มแรก


36 | บ ท ที่ 3 บรรณานุกรม ธีระ วีณิน. 2549. การรักษาคุณภาพไม้. ส านักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. กรุงเทพ. 38 หน้า. พายัพ ก าเนิดรัตน์, สมนึก ผ่องอ าไพ และสุวิทย์ แสงทองพราว. 2513. การศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับแมลงที่ท าลายไม้ ซุงในประเทศไทย. เอกสารงานวิจัย, ภาควิชาชีววิทยา คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพ. 30 หน้า. ไพวรรณ เล็กอุทัย. 2524. มอดชนิดต่างๆ ที่ท าลายไม้. การประชุมการป่าไม้ปี 2524 สาขาวนผลิตภัณฑ์, กรมป่า ไม้. กรุงเทพ. วีรยุทธ ทองคง, สุรไกร เพิ่มค า และ อรัญ งามผ่องใส. 2552. ปลวกในระบบนิเวศสวนยางพารา. วารสาร มหาวิทยาลัยทักษิณ 12: 34-42. Cranshaw, W.S., Leatherman, D.A., Jacobi, W.R. and Mannix L. 2000. Insects and diseases of woody plants of the central Rockies. Bulletin 506A. CO: Colorado State University, Cooperative Extension. Fort Collins, Colorado. 284 pp. Creffield, J.W. 1991. Wood Destroying Insects, Wood Borers and Termites. CSIRO Publications, East Melbourne. 44 pp. Dajoz, R. 2000. Insect and Forests: the Role and Diversity of Insects in the Forest Environment. Intercept Limited, London. 668 pp. Gnanaharan R. and Mathew, G. 1982. Preservative reservation of rubberwood (Hevea brasiliensis). KFRI Research Report 15. 14 pp. Kariyanna, B., Mohan, M. and Gupta, R. 2017. Biology, ecology and significance of longhorn beetles (Coleoptera: Cerambycidae). Journal of Entomology and Zoology Studies 5: 1207- 1212. Peters, B.C., Creffield, J.W., and Eldridge, R.H. 2002. Lyctine (Coleoptera: Bostrichidae) pests of timber in Australia: a literature review and susceptibility testing protocol. Australian Forestry 65: 107-119. Raffa, K.F., Gregoire, J.-C. and Lindgren, B.S. 2015. Natural history and ecology of bark beetles. pp.1-40. In Vega, F. and Hofstetter, R. eds. Bark Beetles: Biology and Ecology of Native and Invasive Species. Academic Press, London.


แ ม ล ง ท า ล า ย ไ ม้ แ ล ะ ไ ม้ ย า ง พ า ร า | 37 Schühli, G.S., Penteado, S.C., Barbosa, L.R., Filho, W.R. and TadeuIede, E. 2016. A review of the introduced forest pests in Brazil. Pesq. agropec. bras. Brasília 51: 397-406. Sittichaya, S. and Beaver, R. 2009. Rubberwood-destroying beetles in the eastern and gulf areas of Thailand (Coleoptera: Bostrichidae, Curculionidae: Scolytinae and Platypodinae). Songklanakarin Journal of Science and Technology 31: 381-387. Ulyshen, M.D. 2018. Saproxylic Insects: Diversity, Ecology and Conservation. Zoological Monographs. Springer-Verlag. Heidelberg. Wang, Q. 2017. Cerambycidae of the World: Biology and Pest Management. CRC Press, Boca Raton, FL. 904 pp. Youke, Z. 2008. Promotion of Rubberwood Processing Technology in the Asia-Pacific Region. Proceedings of the ITTO/CFC International Rubberwood Workshop. Haikou, China. 149 pp.


38 | บ ท ที่ 4 บทที่ 4 มอดขี้ขุย Powderpost Beetles มอดขี้ขุย (Powderpost beetles) จัดเป็นแมลงศัตรูที่ส าคัญที่สุดของไม้ ยางพาราแปรรูปและผลิตภัณฑ์จากไม้ยางพาราแปรรูป ดังนั้น ในบทนี้ผู้เขียนจะลง รายละเอียดลักษณะทั่วไป การแบ่งกลุ่มตามลักษณะภายนอก การแบ่งกลุ่มจาก ความชอบในการเข้าท าลาย ตลอดจนชีววิทยาและแพร่กระจายของแมลงกลุ่มนี้ให้มาก ขึ้น เพื่อเป็นประโยชน์ในการจัดการมอดขี้ขุยแมลงศัตรูไม้ยางพาราให้มีประสิทธิภาพ มากที่สุด “มอดขี้ขุย” ชื่อของแมลงกลุ่มนี้ตั้งจากลักษณะการท าลายของมอดตัวเต็มวัย ที่กัดกินเนื้อไม้จนเป็นผงและขับออกมาภายนอกเป็นขุยเนื้อละเอียดคล้ายแป้ง ชื่อ ภาษาอังกฤษ Powderpost beetles มาจากลักษณะการท าลายของตัวหนอนและตัว เต็มวัยที่กัดกินเนื้อไม้โดยเฉพาะส่วนกระพี้จนเป็นผงละเอียดคล้ายแป้ง มอดขี้ขุย ส่วนมากคล่องแคล่วเคลื่อนไหวรวดเร็ว ส่วนมากมีกิจกรรมมากในเวลากลางคืนและมี พฤติกรรมเล่นไฟ ความแตกต่างของมอดขี้ขุยแท้และมอดขี้ขุยเทียม ❖ มอดขี้ขุยแท้ (true powderpost beetles) ได้แก่ มอดขี้ขุยในวงศ์ย่อย Lyctinae ทั่ วโ ล กพบ 6 8 ชนิ ด ใน 3 เ ผ่ า ได้ แก่ Lyctini, Trogoxylini แ ล ะ Cephalotomini มอดขี้ขุยแท้มีลักษณะล าตัวรูปทรงกระบอกยาว ล าตัวแบน ยาว 1.5 - 8.0 มม. โดยทั่วไปมีขนาดเฉลี่ย 2.5 - 5.5 มม. ปลายปีกโค้งมนไม่ตัด ส่วนอกแบนไม่ คลุมส่วนหัว ส่วนมากมีสีน้ าตาล สีน้ าตาลเข้มถึงสีน้ าตาลด า มีเพียงส่วนน้อยที่มีสีเข้ม ล าตัวมีขนสั้นขนาดแตกต่างกันปกคลุม มีเพียงส่วนน้อยที่มีขนปกคลุมหนาแน่น เช่น มอดขี้ขุย Lyctus tomentosus และ Loranthophila acanthacollis หรือมอดสกุล Minthea ที่มีขนลักษณะคล้ายเกล็ด ปลายแบน แผ่ออกคล้ายใบไม้ปกคลุมหนาแน่น (แผ่นภาพที่ 4.1) หนวดแบบลูกตุ้มมี11 ปล้อง 2 ปล้องสุดท้ายขยายใหญ่ทั้ง 2 ข้าง ในลักษณะสมมาตรหรือกึ่งสมมาตร มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้น เช่น สกุล Cephalotoma


ม อ ด ขี้ ขุ ย | 39 ที่ 3 ปล้องสุดท้ายขยายใหญ่ ส่วนหัวยื่นไปด้านหน้ามองเห็นจากด้านบนได้ชัดเจน กรามใหญ่ แข็งแรง ยื่นไปด้านหน้า อกปล้องแรกแบน ด้านข้างกลมโค้งออกหรือขนาน ท าให้ปล้องอกเมื่อมองจากด้านบนเป็นสี่เหลี่ยม หรือด้านหน้ากลม ด้านหลังเว้าเข้า หรือคอดบริเวณกึ่งกลาง มองจากด้านบนปล้องอกรูปร่างคล้ายสี่เหลียมคางหมู ด้านหน้ามีขนาดใหญ่กว่าด้านหลัง ปีกยาว ขอบด้านข้างขนานกับล าตัว ปีกด้านบน ค่อนข้างแบน มีขนขนาดและรูปร่างแตกต่างกัน เช่น บางคล้ายเส้นขน แบนและสั้น คล้ายเกล็ด แบนและปลายขยายออกหรือยาว หนาคล้ายเกล็ด เรียงเป็นแถวตามความ ยาวล าตัว ปลายปีกโค้งลง ไม่ตัด ในประเทศไทยมีรายงานมอดกลุ่มนี้ 12 ชนิด ใน 6 สกุล ❖ มอดขี้ขุยเทียม (false หรือ horned powderpost beetles) เป็นมอด วงศ์ย่อยอื่น ๆ ที่เหลือทั้งหมดของวงศ์ Bostrichidae ได้แก่ วงศ์ย่อย Bostrichinae, Dinoderinae, Dysidinae, Euderiinae, Polycaoninae และ Psoinae ทั่วโลกพบ ประมาณ 510 ชนิด กระจายทั่วโลกโดยเฉพาะในเขตร้อนชื้นและกึ่งร้อนชื้น มอดขี้ขุย เทียมล าตัวรูปทรงกระบอก อ้วนป้อม ไม่แบนอย่างมอดขี้ขุยแท้ ส่วนมากสีน้ าตาลแดง สีน้ าตาลอมด าถึงสีด า มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่สีเทาหรือสีสันสดใส เช่น มอดในสกุล Lichenophanes, Psoa และ Stenomera ส่วนมากล าตัวเกลี้ยง เป็นมันวาว มีเส้นขน ขนาดเล็กบาง มีเพียงส่วนน้อยที่ปกคลุมด้วยเส้นขนหนาแน่น เช่น มอดในวงย่อย Psoinae ห รือขนปกคลุมเป็นกลุ่มกระจัดกระจ ายทั่วปีก เช่น มอดในสกุล Lichenophanes ลักษณะของอกปล้องแรกมีขนาดใหญ่ กลม โค้งงุ้ม คลุมส่วนหัวมิด มองจากด้านบนไม่เห็นส่วนหัว (ยกเว้นวงศ์ย่อย Dysidinae และ Psoinae ที่เห็นส่วน หัวจากด้านบน) อกปล้องแรกเรียบหรือเป็นหลุมตื้น ๆ หรือเป็นเกล็ดฟันเลื่อย ด้านหน้า ของปล้องอกปล้องแรกอาจมีหนามยื่นคล้ายเขา หัวชี้ลงด้านล่างมีกรามขนาดใหญ่ หนวดมี8 - 11 ปล้อง 3 ปล้องสุดท้ายขยายใหญ่ ยกเว้น มอดสกุล Stenomera มี หนวด 4 ปล้องสุดท้ายขยายใหญ่ หนวดมีทั้งขยายใหญ่ทั้ง 2 ด้านของแกนหนวดหรือ ขยายใหญ่เพียงด้านหน้าด้านเดียว เช่น มอดในสกุล Sinoxylon ปล้องที่ขยายใหญ่ มีลักษณะแบนยาวคล้ายหนวดแบบซี่หวี (แผ่นภาพที่ 4.1) ปีกมีรูปร่างหลากหลาย


40 | บ ท ที่ 4 ส่วนมากมีหลุมเรียงเป็นแถว ปลายปีกตัดและมักมีหนามรูปร่างต่าง ๆ แตกต่างกัน ลักษณะตัดของปีก จ านวนและรูปร่างของหนามใช้ในการระบุชนิดได้ ความจ าเพาะต่อพืชอาหาร มอดขี้ขุยจัดเป็นด้วงที่ปรับตัวเพื่อใช้ไม้เป็นแหล่งอาหาร ทั้งระยะตัวหนอนและ ตัวเต็มวัยท าลายไม้และใช้สารอาหารในไม้ได้แก่ แป้งและน้ าตาล รวมทั้งโปรตีน บางส่วนเป็นแหล่งอาหาร แต่เนื่องจากเนื้อไม้มีคุณค่าทางอาหารโดยเฉพาะอย่างยิ่งมี


ม อ ด ขี้ ขุ ย | 41 ปริมาณโปรตีนต่ า มอดกลุ่มนี้ส่วนมากจึงมีจุลชีพในระบบทางเดินอาหารเพื่อเพิ่มหรือ ทดแทนสารอาหารกลุ่มอื่น ๆ ที่ขาดแคลน มอดขี้ขุยมีความจ าเพาะต่อพืชอาหารต่ า ความชอบในการเข้าท าลายขึ้นอยู่กับปริมาณแป้งในเนื้อไม้ ในประเทศออสเตรเลีย มอดขี้ขุยแท้สามารถเข้าท าลายไม้แปรรูปมากกว่า 500 ชนิด ในขณะที่ในประเทศจีน มีรายงานพืชที่ถูกมอดขี้ขุยแท้เข้าท าลายมากกว่า 8 วงศ์ 168 ชนิด เช่นเดียวกับ ประเทศอินเดียพบมอดขี้ขุยในวงศ์ Bostrichidae เข้าท าลายพืชมากกว่า 42 วงศ์ 226 ชนิด ส่วนมากเป็นไม้เนื้ออ่อนที่มีปริมาณแป้งและน้ าตาลสูง หรือเป็นไม้เนื้อแข็งที่มี ปริมาณน้ าตาลสูง เช่น ไม้ในวงศ์ย่อยราชพฤกษ์และสีเสียด (Caesalpinioideae) วงศ์ย่อยประดู่ (Papilionoideae) วงศ์มะม่วง (Anacardiaceae) วงศ์ยางพารา (Euphorbiaceae) และวงศ์ยาง (Dipterocarpaceae) ในประเทศไทยพื้นที่ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบมอดขี้ขุยมักชอบเข้าท าลายไม้ในวงศ์ก่อ (Fagaceae) วงศ์ส าโรง (Malvaceae) วงศ์อบเชย (Lauraceae) และวงศ์เงาะ (Sapindaceae) ในพื้นที่ภาคใต้พบเข้าท าลายพืชในวงศ์ลางสาด (Meliaceae) วงศ์มะม่วงและวงศ์ ยางพารา มอดขี้ขุยบางกลุ่มปรับตัวเพื่อใช้ประโยชน์จากพืชอาหารเฉพาะ เช่น มอดวงศ์ย่อย Dinoderinae สกุล Dinoderus มักท าลายไม้ไผ่และหวาย โดยเฉพาะไม้ไผ่ที่ตัด ก่อนไม้จะแก่เต็มที่ หรือตัดในบางฤดูกาลที่มีปริมาณแป้งสูง มอดสกุล Dinoderus, Prostephanus และสกุล Rhyzopertha มักท าลายธัญพืชหลังการเก็บเกี่ยวและ จัดเป็นศัตรูส าคัญของผลผลิตในโ รงเก็บผลผลิตท างก ารเกษต ร ม อดสกุล Stephanopachys ท าลายเฉพาะไม้วงศ์สน (Pinaceae) แต่ไม่จ าเพาะต่อชนิดของพืช อาหาร ท าลายพืชวงศ์สนได้หลายสกุล มอดขี้ขุยชนิด Dinapate wrightii ท าลาย เฉพาะพืชวงศ์ปาล์ม (Arecacae) มอดขี้ขุยบางกลุ่มอาจปรับตัวและมักเข้าท าลายพืช อาหารเฉพาะ อย่างไรก็ตาม พบว่ามอดเหล่านี้สามารถเข้าท าลายไม้ป่าอื่น ๆ นอกกลุ่ม พืชอาหารหลักได้กว้างขวาง เช่น มอดขี้ขุยชนิด P. truncatus หนึ่งในแมลงศัตรู ผลผลิตหลังการเก็บเกี่ยวที่ส าคัญที่สุดชนิดหนึ่ง สามารถเข้าท าลายและสืบพันธุ์ในพืช ป่าและส่วนของพืชป่า (ราก หัว เหง้า) มากถึง 63 ชนิด โดยทั่วไปพบว่ามอดชนิดนี้มัก เข้าท าลายไม้ที่มีปริมาณแป้งและน้ าตาลอิสระสูง ในไม้ยางพาราแปรรูปพบว่า


42 | บ ท ที่ 4 ความชอบในการเข้าท าลายของมอดขี้ขุยเทียมขึ้นอยู่กับปริมาณแป้งในเนื้อไม้ ยางพารา พันธุ์ที่มีปริมาณแป้งสูงกว่า เช่น PB 235 มอดจะชอบเข้าท าลายมากกว่าพันธุ์ที่มี ปริมาณแป้งน้อยกว่าอย่างพันธุ์ยางพื้นเมือง และพันธุ์ RRIM 600 ในพืชอาหารที่มี ปริมาณแป้งใกล้เคียงกันอย่างข้าวเปลือกพันธุ์ต่าง ๆ พบว่าความชอบในการเข้าท าลาย ขึ้นอยู่กับความยากง่ายในการเข้าท าลาย มอดชอบเข้าท าลายข้าวที่มีเปลือกบาง มากกว่าเปลือกหนา ในไม้ยางพาราแปรรูปมอดชอบท าลายไม้ที่มีผิวขรุขระมากกว่า ผิวเรียบ และชอบท าลายบริเวณสัน ขอบ มุม มากกว่าส่วนหน้าไม้ชอบไม้ไม่ทาสี มากกว่าไม้ที่ทาสีหรือเคลือบผิว การแบ่งกลุ่มตามพฤติกรรมการกิน มอดขี้ขุยแบ่งตามลักษณะภายนอกและอนุกรมวิธานได้เป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ มอดขี้ขุยแท้และมอดขี้ขุยเทียม ดังได้กล่าวมาแล้วในบทที่ 3 นอกจากการแบ่งกลุ่มตาม หลักอนุกรมวิธานแล้ว ในแง่ของพฤติกรรมการท าลายและความชอบในการกินสามารถ แบ่งมอดขี้ขุยได้เป็น 5 กลุ่มย่อย ได้แก่ กลุ่มที่ชอบท าลายไม้แห้ง กลุ่มที่อาศัยในรัง ของมอดและแมลงเจาะไม้ชนิดอื่น ๆ กลุ่มที่ชอบท าลายไม้สดและไม้แห้ง กลุ่มที่ชอบ ท าลายไม้ไผ่ และกลุ่มที่ชอบท าลายผลผลิตทางการเกษตรหลังการเก็บเกี่ยว ❖ กลุ่มท าลายไม้แห้ง (drywood borers) ได้แก่ มอดขี้ขุยแท้ในวงศ์ย่อย Lyctinae [ยกเว้นมอดขี้ขุยแท้ในเผ่า Cephalotomini (สกุล Cephalotoma)] มอด กลุ่มนี้เข้าท าลายเฉพาะไม้แห้งความชื้นร้อยละ 12-15 (อาจพบเข้าท าลายไม้ที่มี ความชื้นร้อยละ 10-20 แต่ไม่ท าลายไม้สด) ท าลายพืชใบกว้าง จ าพวกไม้เนื้ออ่อน ไม้ที่ มีอายุน้อย ไม่มีแก่น หรือส่วนกระพี้ของไม้เนื้อแข็งซึ่งเป็นส่วนที่มีปริมาณแป้งและ น้ าตาลอิสระสูงกว่า รวมถึงไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์ของไม้แปรรูปจากไม้เหล่านี้ บาง ชนิดท าลายไม้ไผ่แห้ง หวายแห้ง รวมทั้งผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่และหวายที่มีความชื้นต่ า พบเข้าท าลายไม้สนบ้างเป็นครั้งคราวเมื่อมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการวางไข่และ เจริญเติบโต เช่น ไม้สนที่มีเปลือกติดอยู่ ไม้สนที่ช ารุดมีรอยแผลและมีปริมาณแป้งใน เนื้อไม้สูงเพียงพอต่อการเจริญเติบโตของตัวหนอน มอดมักวางไข่ในท่อนซุง ไม้แปรรูป แห้ง และโรงเก็บไม้ตั้งแต่ไม้อยู่ในโรงเลื่อย คลังชิ้นส่วนและสินค้า แต่ความเสียหาย


ม อ ด ขี้ ขุ ย | 43 มักปรากฏเมื่อไม้เหล่านั้นถูกใช้งานและอยู่ในมือผู้บริโภคแล้ว โดยการท าลายมีการ ตรวจพบเมื่อตัวเต็มวัยเริ่มฟักออกมาจากผลิตภัณฑ์ ความเสียหายส่วนมากเกิดจากการ ท าลายในระยะตัวหนอน ตัวเต็มวัยท าลายไม้น้อยอาจพบแทะไม้เป็นรอยตื้น ๆ เนื่องจากมอดขี้ขุยแท้วางไข่ในท่อล าเลียงน้ า (xylem) ดังนั้น ไม้ที่มีท่อล าเลียงน้ าขนาด เล็กจึงไม่ถูกท าลายโดยมอดกลุ่มนี้ สกุลที่มีปริมาณมากและจัดเป็นศัตรูส าคัญของไม้ แห้ง ได้แก่ สกุล Lyctus และ Minthea ชนิดที่มีความส าคัญ ได้แก่ Lyctus brunneus มอดกลุ่มนี้กระจายทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตร้อนชื้นและกึ่งร้อนชื้น ในไม้ ยางพาราพบตัวเต็มวัยของมอดไม้แห้งแทะผิวไม้เป็นรอยตื้น ๆ โดยเฉพาะบริเวณไม้ที่ วางซ้อนทับกัน มอดวางไข่ภายในท่อล าเลียงน้ าและเข้าท าลายอยู่ภายในไม้ยางพารา แปรรูปตลอดจนผลิตภัณฑ์จากไม้ยางพาราแปรรูป โดยทั่วไปมักพบมอดกลุ่มนี้ท าลาย ไม้ยางพาราซ้ า (วางไข่ต่อเนื่องหลายรุ่น) จนกว่าไม้จะถูกท าลายกลายเป็นผงคล้ายแป้ง ทั้งหมด ชนิดที่พบเข้าท าลายไม้ยางพาราแปรรูปในประเทศไทยมากที่สุด ได้แก่ มอดใน สกุล Lyctus, Lyctoxylon และ Minthea ❖ กลุ่มที่อาศัยในรังของแมลงท าลายไม้อื่น (inquilines หรือ nest dwellers) ได้แก่ มอดขี้ขุยแท้เผ่า Cephalotomini (วงศ์ย่อย Lyctinae) 7 ชนิด ใน สกุล Cephalotoma มอดกลุ่มนี้เป็นมอดขี้ขุยขนาดเล็ก ล าตัวแบนกว่ามอดขี้ขุยแท้ กลุ่มหลักค่อนข้างมาก มอดอาศัยอยู่ภายในรังของมอดขี้ขุยชนิดอื่น ๆ รวมทั้งในไม้ที่ ด้วงหนวดยาวและแมลงทับ เข้าท าลาย ชีววิทยาของแมลงกลุ่มนี้ยังไม่มีการศึกษาแน่ ชัด คาดว่ามอดมีฟันกรามไม่แข็งแรง ไม่สามารถเจาะไม้เพื่อหาอาหารและวางไข่เองได้ จึงต้องอาศัยรังของแมลงท าลายไม้ชนิดอื่น ๆ เป็นแหล่งอาศัย คาดว่ามอดกลุ่มนี้กินเศษ ขี้ขุย เศษแป้ง และเชื้อราภายในรูของแมลงท าลายไม้ชนิดที่อยู่อาศัยเป็นอาหาร และ วางไข่ภายในรังของแมลงอาศัยด้วยเช่นเดียวกัน มอดล าตัวแบน เคลื่อนไหวว่องไว มัก พบเกาะแนบผนังรังใต้ล าตัวของแมลงเจ้าบ้าน ในประเทศไทยพบมอดกลุ่มนี้อาศัยในไม้ ยางพาราที่ถูกท าลายมากแล้วหรือท าลายซ้ า ในไม้ยางพาราแปรรูปพื้นที่ภาคใต้พบมอด สกุล Cephalotoma 2 ชนิด ในไม้ชนิดอื่นๆ พบมอดอาศัยในรูของมอดขี้ขุยชนิด Heterobostrychus pileatus (Lesne) , Bostrycopsis parallela (Lesne) แ ล ะ Xylothrips flavipes (Illiger) ในระยะต้นของการเจาะรูยังไม่พบการวางไข่หรือระยะ


44 | บ ท ที่ 4 ตัวหนอนของรุ่นลูกของมอดเจ้าบ้าน โดยในรูของมอด X. flavipes พบตัวเต็มวัยมอด กลุ่มนี้ 2 - 8 ตัวต่อรัง ในรูของมอด B. parallela พบ 6 - 14 ตัวต่อรัง ❖ กลุ่มท าลายไม้ไผ่ (bamboo borers) ในเอเชียพบมอดขี้ขุยท าลายไม้ไผ่ ทั้งมอดขี้ขุยแท้และมอดขี้ขุยเทียม 16 ชนิด แต่มอดขี้ขุยสกุลที่จัดเป็นศัตรูส าคัญของ ไม้ไผ่มีเพียงสกุลเดียว ได้แก่ มอดขี้ขุย สกุล Dinoderus มอดท าลายไม้ไผ่ทุกระยะ หลังการตัดฟัน ในขั้นตอนการเก็บรักษา ไปจนถึงการใช้ประโยชน์ทั้งในรูปของไม้ไผ่ และผลิตภัณฑ์จากไม่ไผ่ มอดสกุล Dinoderus มี 27 ชนิด ชนิดที่พบบ่อยและกระจาย กว้างขวางทั่วโลกและเป็นศัตรูส าคัญที่สุดของไม้ไผ่ ได้แก่ D. minutus (แผ่นภาพที่ 4.2) รองลงมา ได้แก่ D. brevis และ D. ocellaris ในส่วนของมอด D. ocellaris เป็น ชนิดที่มีขนาดใหญ่กว่ามอดท าลายไม้ไผ่ชนิดอื่น ๆ ในสกุลเดียวกัน จึงมักพบท าลายไม้ ไผ่ที่มีความหนามากกว่าหรือบริเวณข้อของไม้ไผ่ มอดท าลายไม้ไผ่เฉพาะส่วนชั้นในถัด จากชั้นเปลือกแข็งด้านนอกซึ่งเป็นบริเวณที่มีปริมาณสารอาหารสูงกว่าและมีความแข็ง น้อยกว่า ลักษณะการท าลายมอดตัวเต็มวัยเจาะรูขนานกับข้อและวางไข่ด้านบนและ ด้านล่างของรู หนอนเมื่อฟักออกมาเจาะกินเนื้อไม้ขนานแนวเสี้ยน มอดกลุ่มนี้วางไข่ซ้ า หลายวัฏจักรท าให้ไม้ไผ่ที่ถูกท าลายเสียหายรุนแรงจนเนื้อไม้ทั้งหมดถูกท าลายเป็นผง เหลือเฉพาะผิวด้านนอกที่แข็งยากต่อการกัดท าลาย โดยปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเข้า ท าลายของมอดขี้ขุยมากที่สุด ได้แก่ ปริมาณแป้งและน้ าตาลอิสระ และโปรตีนในเนื้อ ไม้ ในเขตร้อนชื้นมอดกลุ่มนี้มีวัฏจักรชีวิต 2 เดือนและมีจ านวนวัฏจักรชีวิต 3 - 4 รุ่น ต่อปีซ้อนทับกัน มอดขี้ขุยชนิดอื่น ๆ ที่พบท าลายไม้ไผ่แต่ไม่รุนแรงมากนัก ได้แก่ Lyctus africanus, Trogoxylon spinifrons, Heterobostrychus aequalis, Bostrychopsis parallela, Sinoxylon anale, Octodesmus episternalis, Minthea rugicollis ในประเทศไทยมอดขี้ขุยชนิดที่เป็นศัตรูส าคัญ ได้แก่ D. minutus, D. brevis และ D. ocellaris ตามล าดับ ❖ กลุ่มท าลายทั้งไม้สดและไม้แห้ง (wood and trees borers) มอดขี้ขุย เทียมเกือบทุกชนิดจัดอยู่ในกลุ่มนี้ ส่วนมากเข้าท าลายและวางไข่ในไม้แห้งที่มีปริมาณ แป้งและน้ าตาลอิสระสูง มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่วางไข่ในไม้สด มอดกลุ่มนี้มักเข้า ท าลายไม้สดที่ตายใหม่ ๆ หรือต้นไม้ที่ยังมีชีวิตชั่วคราวระยะสั้น ๆ หลังจากฟักเป็นตัว


ม อ ด ขี้ ขุ ย | 45 เต็มวัยและบินออกจากรังเพื่อผสมพันธุ์และวางไข่ในแหล่งอาหารใหม่ มอดหาแหล่ง อาหารและกัดกินเพื่อให้เจริญเติบโตพร้อมในการขยายพันธุ์ หลังจากเจริญเติบโตเต็มที่ พร้อมที่จะผสมพันธุ์วางไข่ ตัวเต็มวัยจะหาแหล่งวางไข่ในไม้อื่น ๆ โดยเฉพาะไม้แห้งที่มี ปริมาณแป้งและน้ าตาลอิสระสูงเพื่อใช้สร้างรังวางไข่ต่อไป มอดขี้ขุยเทียมส่วนมากจะมี พฤติกรรมนี้ มีเพียงมอดไม่กี่ชนิดเท่านั้นที่วางไข่ในไม้สดหรือไม้ที่ยังมีชีวิต เช่น Sinoxylon perforans เข้าท าลายและวางไข่ในเถาองุ่น เชอร์รี่ป่า และต้นแพร์ S. japonicum เข้าท าลายและวางไข่ในต้น Koelreuteria integrifolia มอดกลุ่มท าลาย ไม้สดและไม้แห้งมีความยืดหยุ่นต่อระดับความชื้นของไม้ที่เข้าท าลายได้มากกว่ากลุ่มที่ เข้าท าลายไม้แห้งอย่างมอดขี้ขุยแท้ มอดกลุ่มนี้สามารถเข้าท าลายไม้ที่มีความชื้น ร้อยละ 12 - 30 หรือมากกว่าได้ มอดจะท าลายไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้ทั้งระยะตัวเต็ม วัยและระยะตัวหนอนทั้งก่อนและหลังวางไข่ ตัวเต็มวัยมีอายุขัย 1 - 2 เดือน ท าให้เกิด ความเสียหายค่อนข้างมาก มอดเจาะเข้าไปในเนื้อไม้เพื่อวางไข่ หนอนเมื่อฟักกัดกิน เนื้อไม้มีรูปแบบไม่แน่นอน (ไม่ท าลายเฉพาะตามแนวเสี้ยน) มอดท าลายไม้ซ้ าและ วางไข่หลายรุ่นในไม้ชิ้นเดียวกัน มอดกลุ่มนี้มีความจ าเพาะต่อพืชอาหารต่ าสามารถ ท าลายทั้งไม้ใบกว้าง ไม้สน รวมทั้งสามารถเข้าท าลายเถาวัลย์ที่มีเนื้อไม้ได้ด้วย เช่นเดียวกัน ในไม้ยางพารามอดกลุ่มนี้เข้าท าลายทั้งไม้ท่อนบนลานไม้ที่เก็บไว้นาน หัวไม้ค่อนข้างแห้งแต่พบไม่บ่อยนัก มักพบในฤดูร้อนมากกว่าฤดูฝน สกุลที่จัดเป็นศัตรู ส าคัญของไม้ยางพารา ได้แก่ สกุล Sinoxylon, Heterobostrychus, Xylopsocus และ Xylothripsตามล าดับ มอดชนิด H. aqualis, S. anale และ S. unidentatum เป็นศัตรูส าคัญของไม้ยางพาราและพบกระจายทั่วโลกผ่านการขนส่งสินค้า ❖ กลุ่มท าลายผลผลิตทางการเกษตร (stored products pests) เป็นกลุ่ม มอดขี้ขุยที่ท าลายไม้เดิมแต่ปรับตัวเข้าท าลายผลผลิตทางการเกษตรที่มีแป้งเป็น องค์ประกอบหลัก ได้แก่ ธัญพืช พืชวงศ์ถั่ว รากพืชและส่วนสะสมอาหารของพืช เช่น มันส าปะหลัง มันเทศ รวมทั้งพืชหัวอื่น ๆ ทั้งในระดับแปลง โรงเก็บผลผลิตและ ผลิตภัณฑ์จากผลผลิตเหล่านี้ มอดกลุ่มนี้สามารถเคลื่อนย้ายจากพื้นที่การเกษตรเข้าสู่ พื้นที่ป่าและใช้พืชป่าเป็นแหล่งอาหารได้ในช่วงฤดูที่ผลผลิตทางการเกษตรลดลงหรือ ระหว่างฤดูการผลิต ชนิดที่เป็นศัตรูส าคัญและสร้างความเสียหายรุนแรง ได้แก่ มอด


46 | บ ท ที่ 4 ช นิ ด Prostephanus truncatus, Rhyzopertha dominica แ ล ะ Dinoderus minutus (แผ่นภาพที่ 4.2) มอดเหล่านี้สร้างความเสียหายแก่ผลผลิตได้รุนแรงสามารถ ท าลายผลผลิตในโรงเก็บได้กว้างขวางหลากหลายกลุ่ม รวมทั้งผลผลิตที่เป็นโปรตีน วัฏจักรชีวิตในผลผลิตทางการเกษตรสั้นและมีอัตราการขยายพันธุ์สูงกว่าในไม้ป่า มอดทั้ง 3 ชนิดมีการกระจายทั่วโลกและปรับตัวได้ดีทั้งในเขตร้อนและเขตอบอุ่น ลักษณะทางชีววิทยาและวัฏจักรชีวิต ลักษณะทางชีววิทยาของแมลงกลุ่มมอดมีการศึกษาค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับ แมลงศัตรูส าคัญทางเศรษฐกิจอื่น ๆ มีเพียงแมลงศัตรูผลผลิตหลังการเก็บเกี่ยวบางชนิด เท่านั้น (เช่น P. truncatus) ที่มีการศึกษาอย่างรอบด้านเกือบทุกแง่มุม ในกลุ่มแมลง ท าลายไม้มีเพียง Lyctus brunneus เท่านั้นที่มีการศึกษาค่อนข้างมาก แต่ก็ยังไม่มาก นักเมื่อเทียบกับแมลงศัตรูผลผลิตหลังการเก็บเกี่ยว (ผลผลิตในโรงเก็บ) ❖ การกินเพื่อความพร้อมในการสืบพันธุ์(maturation feeding) มอดขี้ขุย ส่วนมากเมื่อฟักออกจากดักแด้ร่างกายภายนอกมีการเจริญเติบโตเต็มที่เหมือน ตัวเต็มวัยทุกประการ (สีอาจจางกว่าเล็กน้อย) แต่บางครั้งระบบสืบพันธุ์ยังไม่ เจริญเติบโตเต็มที่ ยังไม่พร้อมที่จะผสมพันธุ์และวางไข่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมอดที่ เจริญเติบโตในไม้ที่มีจ านวนมอดหนาแน่นหรือไม้ที่มีสารอาหารต่ า ไม่ส่งเสริมการ


ม อ ด ขี้ ขุ ย | 47 เจริญเติบโต ท าให้มอดเหล่านี้เจาะออกมาจากเนื้อไม้ก่อนที่จะพร้อมสืบพันธุ์ มอด กลุ่มนี้ต้องกินอาหารเพื่อให้ระบบสืบพันธุ์เจริญเติบโตเต็มที่พร้อมผสมพันธุ์และ วางไข่ โดยเรียกการกินเพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าวว่า maturation feeding ตัวเต็ม วัยของมอดขี้ขุยเทียมมักกัดกินไม้สด ไม้ที่ตายใหม่ ๆ เพื่อความพร้อมในการสืบพันธุ์ บางครั้งมอดเจาะเข้าไปในเนื้อไม้ตื้น ๆ เพื่อทดสอบปริมาณสารอาหารในเนื้อไม้ หากไม้มีปริมาณอาหารต่ ามอดจะไม่เจาะเข้าไปในเนื้อไม้อีก โดยพฤติกรรมการกัด เพื่อทดสอบปริมาณสารอาหารพบทั้งในการกินเพื่อพร้อมสืบพันธุ์และการเลือก แหล่งสร้างรังวางไข่ โดยในมอดขี้ขุยเทียมมอดเจาะไม้เป็นรูตื้น ๆ ในขณะที่ในมอด ขี้ขุยแท้มอดจะแทะไม้เป็นรอยตื้น ๆ ยาวตามแนวเสี้ยนไม้ การศึกษาความพร้อมใน การสืบพันธุ์ของมอด S. anale ในห้องทดลองพบว่า ส่วนมากเมื่อมอดฟักออกมา มอดยังไม่พร้อมที่จะผสมพันธุ์วางไข่ ตัวเต็มวัยเหล่านี้ต้องกินอาหารอีกระยะหนึ่ง จากการศึกษาโดยน ามอดเพศเมียที่เจาะออกมาจากรังใหม่ ๆ จ านวน 15 ตัว จาก ชิ้นไม้ที่แตกต่างกัน ดูพัฒนาการของรังไข่ พบว่าพัฒนาการของรังไข่มีความแตกต่าง กันอย่างมาก ตั้งแต่รังไข่ที่มีขนาดเล็กพัฒนาน้อยมากจนถึงรังไข่ที่มีไข่แก่เต็มที่ เมื่อ น ามอดที่เจาะออกมาจากรังใหม่ ๆ มาเลี้ยงในกล่องพลาสติกใสที่มีชิ้นไม้ยางพารา เป็นอาหารนาน 7 วัน เพื่อดูพัฒนาการของรังไข่เพิ่มเติม พบว่า รังไข่ยังมีพัฒนาการ ที่แตกต่างกันมาก แสดงให้เห็นว่าหลังจากมอดฟักเป็นตัวเต็มวัยแล้ว มอดเหล่านี้ยัง ต้องกินอาหารเพื่อให้มอดโตเต็มที่พร้อมที่จะผสมพันธุ์ และต้องใช้ระยะเวลาอีก ระยะหนึ่ง หรือมากกว่า 7 วัน โดยระยะเวลาดังกล่าวขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่มอดบิน ออกจากรังหลังจากเป็นตัวเต็มวัย (ระยะเวลาในการกินเพื่อพร้อมผสมพันธุ์ภายใน รังเดิม) ❖ พฤติกรรมการเกี้ยวพาราสี (courtship behavior) และการผสมพันธุ์ (copulation) ในการผสมพันธุ์มอดขี้ขุยมีพฤติกรรมในการเกี้ยวพาราสี โดย เพศผู้ใช้หนวด รยางค์ปากและขาคู่หน้าสัมผัสส่วนท้องของเพศเมียก่อนผสมพันธุ์ มอดขี้ขุย S. anale มีพฤติกรรมการเกี้ยวพาราสีเช่นเดียวกับมอดขี้ขุยชนิดอื่น ๆ ใน วงศ์เดียวกัน เมื่อปล่อยมอด S. anale บนไม้ยางพารา พบว่าทั้งมอดเพศผู้และเพศ เมียส ารวจไม้ยางพาราทั้งชิ้น เมื่อมอดต่างเพศมาพบกัน มอดทั้ง 2 ตัวจะใช้ขาคู่หน้า และหนวดมาสัมผัสกัน โดยขาและหนวดเคลื่อนที่อย่างรวดเร็วเมื่อถึงขั้นตอนนี้


48 | บ ท ที่ 4 หากมอดเพศเมียยอมรับและยอมให้ผสมพันธุ์ มอดทั้ง 2 เพศจะกลับหลังเอาส่วน ของท้อง (abdomen) มาชนกันหลังจากนั้นเพศผู้ใช้ขาคู่หลังสัมผัสบริเวณปลายท้อง ของเพศเมียเพื่อกระตุ้นเพศเมีย เมื่อเพศเมียพร้อมเพศผู้จะสอดอวัยวะเพศ (genitalia) คล้ายท่อเข้าสู่ท้องของเพศเมีย การผสมพันธุ์จะใช้เวลาสั้น ๆ 5 - 6 วินาที ไม่รวมระยะเวลาเกี้ยวพาราสี ในกรณีที่มอดเพศเมียไม่พร้อมที่จะผสมพันธุ์ มอดเพศเมียจะปฏิเสธการผสมพันธุ์ โดยงัดหรือผลักเพศผู้ออกไป การผสมพันธุ์ของ มอดเมื่อมอดเพศเมียเจาะรูเข้าไประยะหนึ่งสามารถท าได้เช่นเดียวกัน โดยมอดจะ ใช้การกระตุ้นเช่นเดียวกับในกรณีที่อยู่ภายนอกรูมอดเพศผู้จะใช้ขาคู่หน้าสัมผัสกับ ท้องของเพศเมียเมื่อเพศเมียยอมให้ผสมพันธุ์เพศผู้จะกลับหลังและผสมพันธุ์ พฤติกรรมการเกี้ยวพาราสีของมอด S. anale โดยทั่วไปเหมือนกับพฤติกรรมการ เกี้ยวพาราสีของมอดชนิดอื่น ๆ ได้แก่ H. aequalis, Xylodectus ornatus, Xylothrips flavipes, Xylopsocus capucinus แ ล ะ Xylopsocu redula แ ต่ แตกต่างกับมอด P. truncatus และมอดขี้ขุยแท้ ซึ่งเป็นมอดขนาดเล็ก ในขั้นตอน การผสมพันธุ์ มอดเพศผู้จะขึ้นขี่หลังเพศเมีย โดยพฤติกรรมการขึ้นคร่อมหลังจะพบ ได้ทั่วไปในมอดขี้ขุยแท้และมอดขี้ขุยเทียมขนาดเล็ก ❖ การวางไข่ (oviposition) เมื่อฟักออกจากไม้มอดมีระยะเวลาก่อนการ วางไข่ 3 - 7 วัน หรือมากกว่า ขึ้นอยู่กับความพร้อมในการสืบพันธุ์ของมอด มอดจะ วางไข่ 2 - 3 วันหลังผสมพันธุ์ และส่วนมากวางไข่ภายใน 8 วัน มากสุด-น้อยสุดอยู่ ระหว่าง 2 - 20 วัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิที่อุณหภูมิต่ ามอดใช้เวลาวางไข่ทั้งหมด นานกว่า ในมอดขี้ขุยแท้ตัวเต็มวัยไม่เจาะเนื้อไม้เพื่อวางไข่ แต่ใช้อวัยวะวางไข่ (ovipositor) สอดเข้าไปในท่อล าเลียงน้ าในด้านหน้าตัดของไม้แปรรูป หรือบริเวณ แผลของไม้ที่ช ารุดเสียหาย ในมอดขี้ขุยเทียมมอดเจาะเข้าไปในเนื้อไม้เพื่อวางไข่ มอด S. anale เพศเมียเป็นฝ่ายเจาะรูเข้าไปในเนื้อไม้ โดยก่อนเจาะรูมอดจะแทะเนื้อไม้ เป็นจุดเล็ก ๆ ก่อน คาดว่าเป็นการกัดเพื่อวัดปริมาณสารอาหารในเนื้อไม้ก่อนเจาะ เข้าไปท ารังในเนื้อไม้การกัดหรือเจาะรูเข้าไปในเนื้อไม้เพื่อทดสอบปริมาณ สารอาหารพบได้ทั่วไปในมอดขี้ขุย มอดขี้ขุยเทียมจะเจาะเข้าไปในเนื้อไม้ในลักษณะ ขวางเสี้ยนตัดท่อล าเลียงน้ า (xylems) ท าให้ท่อล าเลียงน้ าเปิดออกภายในรูทางเดิน


ม อ ด ขี้ ขุ ย | 49 เพื่อวางไข่ ความยาวของรูทางเดินระยะทาง 5 - 8 ซม. และเริ่มวางไข่ทันทีหลังจาก เจาะทางเดินส าหรับวางไข่ลึกประมาณ 2 - 3 ซม. (แผ่นภาพที่ 4.3) ส่วนมากมอดที่สร้างรังลักษณะนี้เป็นมอดที่ได้รับการผสมพันธุ์และพร้อมที่จะวางไข่ ลักษณะการวางไข่ของมอดเพศเมีย จะใช้อวัยวะวางไข่สอดเข้าไปในท่อล าเลียงน้ า และวางไข่เดี่ยว ๆ รอบรูทางเดิน ไข่สีข่าวขุ่นรูปทรงกระบอกปลายมน กว้าง 0.2 มม. ยาว 0.5 มม. เมื่อวางไข่เรียบร้อยแล้วเพศเมียปิดท่อล าเลียงน้ าที่มอด วางไข่ไว้โดยการกัดไม้เพื่อปิดรูหรือใช้ขี้ขุยปิดรูยังไม่ทราบแน่ชัดว่ามอดขี้ขุย ที่ท าลายไม้มีอัตราวางไข่มากน้อยเพียงใด เนื่องจากการสังเกตการวางไข่ท าได้ยาก ในมอด S. anale ที่มอดรุ่นพ่อแม่เจริญเติบโตในไม้ยางพารา มอดมีอัตรา การสืบพันธุ์ในรุ่นลูก 26 - 40 ตัว ในแมลงศัตรูผลผลิตทางการเกษตร P. truncatus และ R. dominica มีอัตราการวางไข่เฉลี่ย 50 ฟอง แต่อาจมีอัตราวางไข่สูงสุด มากกว่าค่าดังกล่าวถึง 3 เท่า ❖ วัฏจักรชีวิต (life cycle) เนื่องจากมอดเป็นสัตว์เลือดเย็น อุณหภูมิภายใน ล าตัวเปลี่ยนแปลงตามอุณหภูมิภายนอก ท าให้อุณภูมิเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อ วัฏจักรชีวิตของแมลง ในเขตร้อนอุณภูมิเฉลี่ยสูงตลอดปีท าให้วัฏจักรชีวิตของมอด สั้นกว่าเขตอบอุ่นที่มีอุณหภูมิเฉลี่ยต่ ากว่าและมีช่วงฤดูหนาวที่แมลงไม่สามารถ เจริญเติบโตได้ต้องจ าศีล (hibernation) ในเขตอบอุ่นวัฏจักรชีวิตของมอดส่วนมาก มีระยะเวลามากกว่าในเขตร้อน 2 เท่าหรือมากกว่า โดยมอดขี้ขุยแท้ในสกุล Lyctus ในเขตอบอุ่นมีวัฏจักรชีวิตมากกว่า 1 ปี ในขณะที่ในเขตร้อนชื้นมีวัฏจักรชีวิต ก่


50 | บ ท ที่ 4 ประมาณ 6 เดือน ในเขตอบอุ่นมอดขี้ขุยส่วนมากสามารถสืบพันธุ์ 1 รุ่น ต่อปี (ตารางที่ 4.1) ในขณะที่มอดชนิดเดียวกันในเขตร้อนชื้นสามารถสืบพันธุ์ได้ 3 - 4 รุ่นต่อปี ในมอดสกุล Dinoderus สามารถสืบพันธุ์ได้ 6-7 รุ่นต่อปี นอกจาก อุณหภูมิแล้วปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อวัฏจักรชีวิตของมอดได้แก่ ปริมาณและคุณค่าทาง อาหารของไม้ ปกติมอดขี้ขุยมีระยะตัวหนอน 4 ระยะ แต่อาจมากกว่าหากคุณภาพ อาหารต่ า ตารางที่ 4.1 วัฏจักรชีวิตของมอดขี้ขุยบางชนิด ❖ อัตราส่วนระหว่างเพศผู้และเพศเมีย (sex ratio) อัตราส่วนระหว่างเพศผู้ ต่อเพศเมียของแมลงทั่วไปที่มีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศมักมีอัตราส่วนเพศ 1:1 หรือใกล้เคียง 1:1 ในส่วนของมอดชนิด S. anale ในไม้ยางพารามีอัตราส่วนเฉลี่ย 1:1.07±0.36 (n=13 รัง) หรือมีค่าประมาณ 1:1 โดยในบางรังอาจมีอัตราส่วน ระหว่างเพศแตกต่างไปจากนี้ แต่ไม่มีแนวโน้มว่าจะมีเพศใดเพศหนึ่งมากกว่าอีกเพศ หนึ่งเป็นพิเศษ และไม่มีความแตกต่างระหว่างอัตราส่วนระหว่างเพศผู้ต่อเพศเมียใน ไม้ยางพาราแต่ละพันธุ์ หรือในรังที่มีความหนาแน่นสูงมากหรือต่ ามาก ในแมลงศัตรู ผลผลิตทางการเกษตรพบว่ามีอัตราส่วนระหว่างเพศ 1:1 และปัจจัยอุณภูมิและ ความชื้นไม่มีผลต่อสัดส่วนเพศของมอดขี้ขุย ❖ อายุของตัวเต็มวัย (adult longevity) สภาพแวดล้อมในห้องทดลอง มอด S. anale เพศเมียมีอายุขัยเฉลี่ย 50.70±22.68 วัน มอดที่มีอายุสั้นที่สุดมีอายุ 13 วัน


ม อ ด ขี้ ขุ ย | 51 และมอดที่มีอายุยืนยาวที่สุดมีอายุ 89 วัน เพศผู้มีอายุขัยเฉลี่ยน้อยกว่าเพศเมีย เล็กน้อย โดยมีอายุขัยเฉลี่ย 45.80±23.61 วัน มีช่วงอายุสั้นที่สุด 9 วัน และยืนยาว ที่สุด 76 วัน ❖ ความส าเร็จในการสร้างรังวางไข่ (breeding success) ความส าเร็จใน การสร้างรังวางไข่ของมอดขี้ขุยมีค่อนข้างต่ า ผู้เขียนทดสอบความส าเร็จในการสร้าง รังวางไข่ของมอด S. anale ในไม้ยางพาราแปรรูปความชื้นร้อยละ 12 - 15 โดยใช้ มอดเพศเมียทั้งหมด 450 ตัว พบว่ามีมอด 257 ตัว (ร้อยละ 57.11) เจาะเข้าไปใน เนื้อไม้ และมีเพียง 102 ตัว (ร้อยละ 39.69) ของแมลงที่เจาะเข้าไปในไม้ร้อยละ 22.67 ของแมลงที่น ามาทดสอบประสบความส าเร็จในการสร้างรังวางไข่ ❖ พฤติกรรมการปกป้องถิ่นที่อยู่อาศัย (territory defense) มอดขี้ขุยชนิด ที่เคลื่อนไหวคล่องแคล่วว่องไวมักมีพฤติกรรมการปกป้องถิ่นที่อยู่อาศัย เช่น มอด S. anale มีพฤติกรรมหวงถิ่น โดยมอดบางตัวเดินรอบบริเวณชิ้นไม้และต่อสู้เพื่อ ผลักดันมอดเพศเดียวกันออกจากชิ้นไม้โดยการใช้ส่วนหัวดันหรือขวิดฝ่ายตรงข้าม ให้ตกจากชิ้นไม้ มอดบางตัวอาจไม่มีพฤติกรรมหวงถิ่นในระยะก่อนการเจาะเข้าไป ในเนื้อไม้แต่เริ่มต่อสู้ป้องกันถิ่นเมื่อมอดเริ่มเจาะรูเข้าไปในเนื้อไม้แล้ว โดยใน ระยะแรกจะต่อสู้ป้องกันบริเวณที่มอดเจาะเข้าท าลาย เมื่อมีมอดตัวอื่นเข้ามาใกล้ มอดจะออกจากรูและเข้าต่อสู้ เมื่อมอดเจาะรูลึกพอสมควรแล้วมอดจะไม่ออกมา ต่อสู้แต่จะใช้บริเวณปลายปีกที่มีลักษณะตัดซึ่งปิดปากรูได้พอดีมาปิดปากรู เมื่อมี มอดตัวอื่นมาบุกรุกโดยพฤติกรรมการหวงถิ่นนี้ในเพศผู้จะมีความรุนแรงกว่าใน เพศเมีย จากการสังเกตในห้องทดลองพฤติกรรมการป้องกันถิ่นอาศัยของมอด S. anale มีความรุนแรงใกล้เคียงกับมอดในสกุลเดียวกัน คือ S. unidentatum และมีความรุนแรงกว่ามอดชนิดอื่นในวงศ์เดียวกัน ได้แก่ H. aequalis, Xylodectus ornatus, Xylothrips flavipes, Xylopsocus capucinus และ X. redula ตามล าดับ


52 | บ ท ที่ 4 การแพร่กระจาย มอดขี้ขุยส่วนมากแพร่กระจายในเขตร้อนชื้นและกึ่งร้อนชื้น และมักมีแหล่ง แพร่กระจายเฉพาะทวีป ตามเขตสัตวภูมิศาสตร์(zoogeography) อย่างไรก็ตามแมลง กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่ติดไปกับการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศมากที่สุดกลุ่มหนึ่งจากสินค้า ไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้มากมายหลายชนิด รวมทั้งจากไม้ลังและกรอบไม้ป้องกันความ เสียหายที่ใช้ในการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ โดยเฉพาะการขนส่งสินค้าทางเรือ ใน ประเทศออสเตรเลียพบมอดมากกว่า 100 ชนิด ที่ติดไปกับการขนส่งและสามารถ ขยายพันธุ์ในแหล่งที่อยู่ใหม่ได้อย่างดียกตัวอย่างเช่น S. anale, S. unidentatum, H. aqualis, L. africanus, R. dominica, P. truncatus, D. minutus เป็นต้น มอดขี้ขุยวงศ์ Bostrichidae จัดเป็นแมลงศัตรูไม้ยางพาราแปรรูปและ ผลิตภัณฑ์ที่ส าคัญที่สุด แมลงกลุ่มนี้มีความจ าเพาะต่อพืชอาหารต่ า ชอบเข้าท าลายไม้ แห้งที่มีปริมาณแป้งสูง มอดขี้ขุยชนิดที่เป็นศัตรูส าคัญของไม้ยางพาราแบ่งเป็นกลุ่ม ใหญ่ๆ ได้ 2 กลุ่ม ได้แก่ มอดขี้ขุยแท้ในวงศ์ย่อย Lytinae มอดกลุ่มนี้มีขนาดเล็ก ล าตัวแบน สีน้ าตาล-น้ าตาลด า ท าลายไม้ยางพาราได้เฉพาะระยะตัวหนอน ตัวเต็มวัย สร้างความเสียหายให้กับไม้ยางพาราน้อยมาก มักเข้าท าลายไม้ยางพาราที่มีความชื้นต่ า ระหว่าง 8-15% กลุ่มที่ 2 ได้แก่ มอดขี้ขุยเทียม สมาชิกที่เหลือของวงศ์ Bostrichidae มอดกลุ่มนี้มีขนาดใหญ่ ล าตัวอ้วน ทรงกระบอก สั้น-ยาวแตกต่างกัน ปีกมักตัดและ มีหนาม สามารถเข้าท าลายไม้ที่มีความชื้นหลายระดับแต่มักพบมากในไม้แห้ง สามารถ ท าลายไม้ยางพาราได้ทั้งระยะตัวหนอนและตัวเต็มวัย มอดขี้ขุยท ารังในไม้ยางพารา มีวงจรชีวิตประมาณ 3-6 เดือน ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิและคุณภาพอาหาร มีอัตรา การสืบพันธุ์26 - 40 ตัว ตัวเต็มวัยเพศเมียมีอายุเฉลี่ย 50.70±22.68 วัน เพศผู้เฉลี่ย 45.80±23.61 วัน มอดศัตรูไม้ยางพาราส่วนใหญ่มีการกระจายทั่วโลกจากการขนส่ง สินค้าไม้และวัสดุไม้ระหว่างประเทศ


ม อ ด ขี้ ขุ ย | 53 บรรณานุกรม Beaver, R., Sittichaya, W. and Liu, L-Y. 2011. A review of the powder-post beetles of Thailand (Coleoptera: Bostrichidae). Tropical Natural History 11: 135-158. Beeson, C.F.C. and Bhatia, B.M. 1937: On the biology of the Bostrychidae (Coleopt.). – Indian Forest Recorded (N.S.) Entomology 2: 222-323. Chanbang, Y., Arthur, F.H., Wilde, G.E. and Throne, J.E. 2008. Hull characteristics as related to susceptibility of different varieties of rough rice to Rhyzopertha dominica (F.) (Coleoptera: Bostrichidae). Journal of Stored Products Research 44: 205-212. Chougourou, D.C., Togola, A., Nwilene, F.E., Adeliossi, J., Bachabi, F. and Oyetunji, O.E. 2013. Resistance of some rice varieties to the lesser grain borer, Rhyzopertha dominica Fabricius (Coleoptera, Bostrichidae). Journal of Applied Science 13: 173-177. Cummins, J.E. and Wilson, H.B. 1934. The pore size (vessel diameter) of some Australian timbers and their susceptibility to attack by the Powderpost borer (Lyctus brunneus Stephens). Journal of CSIRO 7: 225–233. Cummins, J.E. and Wilson, H.B. 1935. The starch content of some Australian hardwoods in relation to their susceptibility to attack by the Powderpost borer, Lyctus brunneus Stephens. Journal of CSIRO 8: 101–110. Edde, P.A. 2012. A review of the biology and control of Rhyzopertha dominica (F.) the lesser grain borer. Journal of Stored Products Research 48: 1-18. Fisher, R.C. 1929: Lyctus powder-post beetles. Forest Products Research Bulletin 2: 1-46. Hander, R. and Bhargava, M.C. 2006. Development of lesser grain borer, Rhizopertha dominica (FAB.) on different hosts. Journal of Insect Science 19: 13-15. Liu, L.-Y., Schonitzer, K. and Yang J.-T. 2008. A review of the literature on the life history of Bostrichidae (Coleoptera). Mitteilungen der Münchner Entomologischen Gesellschaft 98: 91- 97. Nansen, C., Meikle, W.G., Tigar, B., Harding, S. and Tchabi, A. 2004. Nonagricultural hosts of Prostephanus truncatus (Coleoptera: Bostrichidae) in a West African forest. Annals of the Entomological Society of America 97: 481-491.


54 | บ ท ที่ 4 Peters, B.C., Creffield, J.W. and Eldridge, R.H. 2002. Lyctine pests of timber in Australia. Australian Forestry 65: 107–119. Stebbing, E.P. 1914. Indian forest insects of economic importance. Coleoptera. Eyre & Spottiswoode, London. 648 pp. Varma, R.V. and Sajeev, T.V. 1988. Insect Pests of Bamboos in India. Forest Research Institute (FRI), Dehradun, Uttarakhand. 246 pp.


ม อ ด ท า ล า ย ไ ม้ ย า ง พ า ร า ใ น ป ร ะ เ ท ศ ไ ท ย | 55 บทที่ 5 มอดท าลายไม้ยางพาราในประเทศไทย Rubberwood Borers in Thailand ในประเทศไทย มีรายงานมอดท าลายไม้ยางพารา 33 ชนิด ประกอบด้วยมอด ขี้ขุย 17 ชนิด มอดเจาะเปลือกไม้ 3 ชนิด มอดแอมโบรเซีย 9 ชนิด และมอดรูเข็ม 4 ชนิด (ตารางที่ 5.1) วงศ์ Curculionidae (วงศ์ด้วงงวง) วงศ์ย่อย Scolytinae (มอดเจาะเปลือกไม้และมอดแอมโบรเซีย) ลักษณะเด่นของวงศ์ย่อย: ล าตัวรูปทรงกระบอก ป้อม อกปล้องแรก (prothorax) ขยายใหญ่ ต าแหน่งของหัวอยู่ใต้ปล้องอก มองไม่เห็นจากด้านบน ล าตัวส่วนมากอ้วน ป้อม ยาว 0.5 - 7.0 มม. หนวด 3 ปล้องสุดท้ายอัดแน่นติดกันเป็นรูปลูกตุ้ม กลุ่มมอด เจาะเปลือกไม้ (bark beetles) ส่วนมากมีขนาดเล็กมาก ล าตัวอ้วนกลม มีขนยาวหนาเรียง เป็นแถวปกคลุมล าตัวหนาแน่น ส่วนมากมีสีเทาถึงสีเทาอมเขียวและสีน้ าตาลอ่อน หนวด 3 ปล้องสุดท้ายแต่ละปล้องมีขนาดใกล้เคียงกัน กลุ่มมอดแอมโบรเซียเผ่า Xyleborini ขนาดเฉลี่ยยาวกว่ามอดเจาะเปลือกไม้เล็กน้อย (0.9 - 7.0 มม.) ล าตัวอ้วน ป้อม ส่วนมากปลายปีกตัด มีหนามรูปทรงต่าง ๆ บริเวนส่วนลาดของปีก (declivity) ส่วนมากล าตัวมีขนปกคลุมน้อย แวววาว หนวด 3 ปล้องสุดท้ายที่ขยายใหญ่ (club) ปล้องแรกมีขนาดใหญ่ที่สุด ปล้องที่ 2 และ 3 ลดรูปอยู่ภายในปล้องแรก เห็นเฉพาะ ด้านหน้าหรือเห็นเพียงบางส่วนจากด้านหลัง (แผ่นภาพที่ 5.1)


56 | บ ท ที่ 5


ม อ ด ท า ล า ย ไ ม้ ย า ง พ า ร า ใ น ป ร ะ เ ท ศ ไ ท ย | 57


58 | บ ท ที่ 5


ม อ ด ท า ล า ย ไ ม้ ย า ง พ า ร า ใ น ป ร ะ เ ท ศ ไ ท ย | 59 เผ่า Cryphalini (มอดเจาะเปลือกไม้) สกุล Hypothenemus ลักษณะเด่นของสกุล: ล าตัวรูปทรงกระบอก ขนาดเล็ก มีขนปกคลุมหนาแน่น ปลาย ปีกโค้งมน หนวดแบบลูกตุ้ม มี3 - 5 ปล้อง 3 ปล้องสุดท้ายขยายใหญ่ รูปลูกตุ้ม (club) แต่ละปล้องคั่นด้วยร่องโค้งขึ้นและมีขนยาวเรียงเป็นแถวตามแนวโค้ง ฐานของหนวด ปล้องแรกที่ขยายใหญ่มีบั้ง (septum) ขีดเป็นร่องสีเข้มครึ่งหนึ่งของหนวด อกปล้องแรกด้านบน (pronotum) ด้านหน้าเริ่มลาดลงจากบริเวณกึ่งกลาง ขอบ ด้านหน้าของอกปล้องแรก (prothorax) มีหนามขนาดเล็กคล้ายฟันเลื่อย (serrations) มากว่า 10 หนาม ล าตัวปกคลุมด้วยขนหนาและแข็ง หรือแบนและยาว ปีกขรุขระเป็น หลุมและขนยาวและหนา เรียงตามความยาวปีก ปลายปีกโค้งลง ไม่มีหนาม ส่วนมากมี สีเทา เทาอมเขียว และน้ าตาล (แผ่นภาพที่ 5.2)


60 | บ ท ที่ 5 Hypothenemus areccae Hornung, 1842 (แผ่นภาพ 5.3) ชื่อสามัญ: มอดเจาะเปลือกไม้ oriental bark beetle ชื่อพ้อง: Bostrichus arrecae Hornung 1842 Stephanoderes depressus Eichhoff 1878 Hypothenemus bauhaniae Schedl 1950 Stephanoderes fungicola Eggers 1908 Hypothenemus capitalis Beeson 1935 Stephanoderes hispidus Eggers 1925 Hypothenemus eupolyphagus Beeson 1940 Stephanoderes martiniquensis Eggers 1941 Hypothenemus heterolepsis Costa Lima 1928 Stephanoderes obscurus Eichhoff 1872 Hypothenemus oahuensis Schedl 1941 Stephanoderes occidentalis Schedl 1954 Hypothenemus subglabratus Schedl 1942 Stephanoderes polyphagus Eggers 1924 Hypothenemus vafer Blandford 1898 Stephanoderes subvestitus Eggers 1940 Stephanoderes bambesanus Eggers 1940 ลักษณะเด่นที่ใช้ระบุชนิด: ล าตัวรูปทรงกระบอก สีน้ าตาลอมแดง อวบอ้วนกว่า H. eruditus แต่น้อยกว่า H. birmanus ด้านหลังของปีกมองจากด้านข้างโค้งขึ้นเล็กน้อย ล าตัวยาว 1.2 - 1.4 มม. ขนาดใหญ่กว่า H. eruditus เล็กน้อย ขอบหน้าของอกปล้อง แรกมีหนามขนาดเล็กเรียงกัน 8 อัน ลาดด้านหน้าของอกปล้องแรกด้านบนมีหนาม


ม อ ด ท า ล า ย ไ ม้ ย า ง พ า ร า ใ น ป ร ะ เ ท ศ ไ ท ย | 61 ขนาดกลางเรียงตามแนวโค้ง ด้านหน้ามีขนยาวและบางปกคลุม ด้านหลังปกคลุมด้วย ขนลักษณะแบนกว้าง ด้านหน้าของหัวส่วนบนโค้งกว้าง ส่วนล่างเว้าตื้น ๆ พืชอาหาร: มีความจ าเพาะต่อพืชอาหารต่ า (polyphagous) เข้าท าลายพืชหลากหลาย ชนิด ท าลายกล้าไม้ในโรงเพาะช าเป็นครั้งคราว มีรายงานว่าเข้าท าลายหมาก (ผล), กระท้อนป่า (ผล) และ kola nut รวมทั้งพืชในวงศ์ Anacardiaceae, Asteraceae, Caesalpinoioideae (Fabeaceae), Compositae, Malvaceae, Moraceae, Malvaceae และ Verbenaceae การกระจาย: เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ น าเข้าและกระจายทุกทวีปทั่วโลก โดยเฉพาะ อย่างยิ่งในเขตร้อนชื้นและกึ่งร้อนชื้น ผ่านการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ Hypothenemus birmanus Eichhoff, 1878 (แผ่นภาพ 5.4) ชื่อสามัญ: มอดเจาะเปลือกไม้ bark beetles, kiawe scolytid ชื่อพ้อง: Hypothenemus dubius Schedl 1971 Stephanoderes nibarani Beeson 1933 Hypothenemus farinosus Blandford 1904 Stephanoderes pacificus Beeson 1940 Hypothenemus maculicollis Sharp 1879 Stephanoderes perkinsi Hopkins 1915 Hypothenemus peritus Blandford 1894 Stephanoderes psidii Hopkins 1915 Hypothenemus validus valens Sampson 1914 Stephanoderes sterculiae Hopkins 1915 Stephanoderes alter Eggers 1923 Stephanoderes uter Eggers 1923 Stephanoderes ampliatus Eggers 1936 Stylolentus dubius Schedl 1971 Stephanoderes birmanus Eichhoff 1878 Triarmocerus birmanus Eichhoff 1878 Stephanoderes castaneus Wood 1954


62 | บ ท ที่ 5 ลักษณะเด่นที่ใช้ระบุชนิด: ล าตัวรูปทรงกระบอก ล าตัวยาว 1.5 - 2.1 มม. อ้วนป้อม กว่ามอดเจาะเปลือกไม้ที่พบท าลายไม้ยางพาราอีก 2 ชนิดมาก ส่วนหลังของปีก มองจากด้านข้างโค้งนูน ขนาดใหญ่ที่สุดในกลุ่มมอดเจาะเปลือกไม้ที่ท าลายไม้ยางพารา ขอบหน้าของอกปล้องแรกมีหนามขนาดเล็กเรียงกัน 4 อัน ด้านลาดส่วนหน้าของปล้อง อกมีหนามลักษณะคล้ายเกล็ดขนาดใหญ่ พืชอาหาร: เข้าท าลายพืชหลากหลายชนิด มีความจ าเพาะต่อพืชอาหารต่ า มีรายงาน ว่าท าลายไม้ในวงศ์ต่าง ๆ มากกว่า 27 วงศ์ การกระจาย: เอเชีย กระจายทุกทวีปทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตร้อนชื้นและ กึ่งร้อนชื้นทั่วโลก ผ่านการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ


ม อ ด ท า ล า ย ไ ม้ ย า ง พ า ร า ใ น ป ร ะ เ ท ศ ไ ท ย | 63 Hypothenemus eruditus Westwood, 1836 (แผ่นภาพ 5.5) ชื่อสามัญ: มอดเจาะเปลือกไม้bark beetles ชื่อพ้อง: Archeophalus ealensis Eggers 1944 Hypothenemus mali Hopkins 1915 Bostrichus boieldieui Perroud 1864 Hypothenemus mauiensis Schedl 1941 Cosmoderes schwarzii Hopkins 1915 Hypothenemus mesoleius Schedl 1959 Cryphalus aspericollis Wollaston 1860 Hypothenemus minutulus Schedl 1972 Cryphalus basjoo Niisima 1910 Hypothenemus myristicae Hopkins 1915 Cryphalus minutus Schedl 1978 Hypothenemus nigricollis Hopkins 1915 Cryphalus obscurus Ferrari 1867 Hypothenemus nigripennis Hopkins 1915 Cryphalus striatopunctatus Lea 1910 Hypothenemus parcilus Schedl 1957 Cryphalus tantillus Lea 1910 Hypothenemus parilis Schedl 1951 Cryphalus tectonae Stebbing 1903 Hypothenemus parvus Hopkins 1915 Hypothenemus argentinensis Schedl 1939 Hypothenemus pruni Hopkins 1915 Hypothenemus asaroensis Beeson 1940 Hypothenemus punctifrons Hopkins 1915 Hypothenemus asiminae Hopkins 1915 Hypothenemus punctipennis Hopkins 1915 Hypothenemus bicolor Eggers 1919 Hypothenemus pusillus Eggers 1927 Hypothenemus bicolor Schedl 1939 Hypothenemus rumseyi Hopkins 1915 Hypothenemus bradfordi Hopkins 1915 Hypothenemus sacchari Hopkins 1915 Hypothenemus citri Ebling 1935 Hypothenemus tenuis Hopkins 1915 Hypothenemus cylindricus Schedl 1939 Hypothenemus tuberculosus Hagedorn 1912 Hypothenemus cylindripennis Schedl 1957 Hypothenemus vianai Schedl 1958 Hypothenemus dubiosus Schedl 1940 Hypothenemus webbi Hopkins 1915 Hypothenemus ehlersi rotroui Peyerimhoff 1919 Stephanoderes ehlersii Eichhoff 1878 Hypothenemus erythrinae Eggers 1936 Stephanoderes elongatus Hopkins 1915 Hypothenemus ferrugineus Hopkins 1915 Stephanoderes evonymi Hopkins 1915 Hypothenemus flavipes Hopkins 1915 Stephanoderes flavicollis Hopkins 1915 Hypothenemus flavosquamosus Hopkins 1915 Stephanoderes germari Eichhoff 1878 Hypothenemus germari Eichhoff 1878 Stephanoderes gracilis Eggers 1929 Hypothenemus glabratellus Schedl 1953 Stephanoderes intersetosus Eggers 1928 Hypothenemus glabratus Schedl 1942 Stephanoderes myrmedon Eichhoff 1878 Hypothenemus hamamelidis Hopkins 1915 Stephanoderes obscuriceps Schedl 1952 Hypothenemus heathi Hopkins 1915 Stephanoderes pygmaeus Hopkins 1915 Hypothenemus hirtipennis Schedl 1952 Stephanoderes subconcentralis Hopkins 1915 Hypothenemus insularis Perkins 1900 Stephanoderes subcylindricus Eggers 1940 Hypothenemus juglandis Blackman 1922 Stephanoderes tigrensis Schedl 1952 Hypothenemus koebelei Hopkins 1915 Stephanoderes unicolor Hopkins 1915 Hypothenemus lezhavai Pjatinsky 1929 Stephanopodius communis Schaufuss 1891


64 | บ ท ที่ 5 Hypothenemus lineatifrons Hopkins 1915 Stephanopodius annulus Schedl 1949 Hypothenemus longipilis Schedl 1952 ลักษณะเด่นที่ใช้ระบุชนิด: ล าตัวยาว 1.0-1.5 มม. สีน้ าตาล - น้ าตาลเข้ม ขนาดเล็ก ที่สุดในกลุ่มมอดเจาะเปลือกที่เข้าท าลายไม้ยางพารา ปล้องอกอาจมีสีอ่อนกว่าปีกและ ล าตัว ขอบหน้าของอกปล้องแรกมีหนามขนาดเล็กเรียงกัน 6 อัน หนามคู่หน้าชิดกัน หรือเกือบชิดกัน พืชอาหาร: เข้าท าลายพืชหลากหลายชนิด มีความจ าเพาะต่อพืชอาหารต่ า มีรายงาน ท าลายไม้ในวงศ์ต่าง ๆ มากกว่า 61 วงศ์ การกระจาย: ทั่วโลก


ม อ ด ท า ล า ย ไ ม้ ย า ง พ า ร า ใ น ป ร ะ เ ท ศ ไ ท ย | 65 เผ่า Xyleborini (มอดแอมโบรเซีย) ลักษณะเด่นของเผ่า: ส่วนมากล าตัวอ้วนป้อม สีน้ าตาล น้ าตาลอมแดง-น้ าตาลอมด า สี ด า ล าตัวเป็นมันวาว ล าตัวมีขนปกคลุมเบาบาง ปลายปีกโค้งหรือตัด มีหนามขนาด ใหญ่ หรือมีโครงสร้างพิเศษ เช่น เป็นสันนูนหรือเป็นร่อง หรือปลายปีกเป็นร่องลึก มีขอบล้อมรอบส่วนลาดของปลายปีก (declivity) หนวด 3 ปล้องสุดท้ายขยายใหญ่ ปล้องแรกมีขนาดใหญ่ที่สุดและใหญ่กว่าปล้องที่ 2 และ 3 มาก ปล้องที่ 2 และ 3 ลดรูป อยู่ภายในปล้องแรกเห็นเฉพาะด้านหน้าของหนวดหรือเห็นเพียงบางส่วนจากด้านหลัง Arixyleborus malayensis Schedl, 1954 (แผ่นภาพ 5.6) ชื่อสามัญ: มอดแอมโบรเซีย ambrosia beetle, shot hole borer ชื่อพ้อง: Xyleboricus malayensis Schedl, 1954 ลักษณะเด่นที่ใช้ระบุชนิด: ล าตัวรูปทรงกระบอก สั้น ยาว 2.10 - 2.15 มม. อัตราส่วน ความยาว:ความกว้างของล าตัวเท่ากับ 1:2.63 สีน้ าตาลด าถึงสีด า เป็นมันวาว หนวด และขาสีน้ าตาล ขอบหน้าของอกปล้องแรกแหลม ปีกด้านหน้าเป็นมันวาว ปลายปีกโค้งลง


66 | บ ท ที่ 5 ค่อนข้างชัน ส่วนลาดของปีกมีลักษณะเป็นร่องลึกเฉพาะส่วนลาดของปีกและสันสูงคม สลับกัน ส่วนบนของสันมีลักษณะเป็นฟันเลื่อย ส่วนปีกเป็นร่องไม่ขยายต่อเนื่องสู่ ด้านบนของปีก พืชอาหาร: มีความจ าเพาะต่อพืชอาหารต่ า การกระจาย: จีน (ยูนนาน) ศรีลังกา เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย Eccoptopterus spinosus Olivier, 1795 (แผ่นภาพ 5.7) ชื่อสามัญ: มอดแอมโบรเซีย ambrosia beetle, shot – hole borer ชื่อพ้อง: Eccoptopterus gracilipes Eichhoff 1923 Scolytus spinosus Olivier 1795 Eccoptopterus sagittarius Schedl 1939 Xyleborus abnormis Eichhoff 1869 Eccoptopterus sexspinosus Motschulsky 1863 Xyleborus collaris Eggers 1923 Platydactylus gracilipes Eichhoff 1886 Xyleborus eccoptopterus Schedl 1951


ม อ ด ท า ล า ย ไ ม้ ย า ง พ า ร า ใ น ป ร ะ เ ท ศ ไ ท ย | 67 ลักษณะเด่นที่ใช้ระบุชนิด: ล าตัวอ้วนป้อม ยาว 2.50 - 3.70 มม. ขนาดล าตัวแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับอาหารและฤดูกาล สีด า-สีน้ าตาลอมด า ปีกมีหนามขนาดใหญ่ 3 คู่ สีน้ าตาลอมด า-สีด า หนามมีขนาดลดหลั่นกันจากกลางปีกสู่ปลายปีก ขาหลังมีขนาด ใหญ่มากเมื่อเทียบกับขาคู่หน้าและคู่กลาง และเมื่อเทียบกับมอดแอมโบรเซียชนิดอื่น ๆ พืชอาหาร: มีความจ าเพาะต่อพืชอาหารต่ า มีรายงานว่าเข้าท าลายพืชมากมาย หลายชนิด การกระจาย: เขตร้อนชื้นและกึ่งร้อนชื้นในทวีปเอเชียและแอฟริกา Euwallacea interjectus Blandford, 1894 (แผ่นภาพ 5.8) ชื่อสามัญ: มอดแอมโบรเซีย ambrosia beetle, shot hole borer ชื่อพ้อง: Xyleborus interjectus Blandford, 1894 Xyleborus pseudovalidus Eggers, 1925


68 | บ ท ที่ 5 ลักษณะเด่นที่ใช้ระบุชนิด: มอดแอมโบรเซียขนาดใหญ่ ล าตัวอ้วน ป้อม มองจาก ด้านบนค่อนข้างกว้างแบน ยาว 3.50 - 3.90 มม. สีน้ าตาลอมแดง น้ าตาลอมด า-สีด า อกปล้องแรกค่อนข้างใหญ่ มองจากด้านบนเป็นรูปสี่เหลี่ยม ปีกโค้งนูนเล็กน้อยด้านบน แบนและกว้าง ปีกค่อย ๆ ลาดสู่ด้านหลัง ปีกเป็นร่องตื้น ๆ สลับกับส่วนที่นูนและมีตุ่ม ขนาดเล็กเรียงกันเป็นแถวขนานตามความยาวของล าตัว ปีกส่วนลาดปลายปีกแบนราบ เล็กน้อยใกล้ขอบ พืชอาหาร: มีความจ าเพาะต่อพืชอาหารต่ า มีรายงานว่าเข้าท าลายพืชมากมายหลาย ชนิด การกระจาย: เอเชีย กระจายทุกทวีปทั่วโลกผ่านการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ Euwallacea similis Ferrari, 1867 (แผ่นภาพ 5.9) ชื่อสามัญ: มอดแอมโบรเซีย ambrosia beetle, shot-hole borer ชื่อพ้อง: Bostrichus ferrugineus Bohemann, 1859 Xyleborus dilatatus Eichhoff, 1878 Wallacellus similis (Ferrari, 1867) Xyleborus novaguineanuus Schedl, 1936 Xyleborus bucco Schaufuss, 1897 Xyleborus parvulus Eichhoff, 1868 Xyleborus capito Schaufuss, 1897 Xyleborus similis Ferrari, 1867 Xyleborus dilatatulus Schedl, 1953 Xyleborus submarginatus Blandford, 1896


ม อ ด ท า ล า ย ไ ม้ ย า ง พ า ร า ใ น ป ร ะ เ ท ศ ไ ท ย | 69 ลักษณะเด่นที่ใช้ระบุชนิด: ล าตัวรูปทรงกระบอกยาว ขนาดล าตัวยาว 2.30 - 2.50 มม. สีน้ าตาล-น้ าตาลเข้ม เป็นมอดสกุล Euwallacea ที่มีขนาดเล็กที่สุดชนิดหนึ่ง ลักษณะทั่วไปคล้ายมอดสกุล Xyleborus รวมทั้ง X. affinis และ X. perforans ที่พบ เข้าท าลายไม้ยางพารา แตกต่างกันที่อกปล้องแรกของมอด E. similis มองจากด้านบน มีรูปร่างค่อนไปทางรูปสี่เหลี่ยม ด้านหน้าป้าน กว้าง ไม่โค้งเป็นรูปครึ่งวงกลม และ บริเวณกึ่งกลางของปลายปีกส่วนลาดปลายปีกมีตุ่มหนามขนาดกลาง 1 คู่ หนามทั้ง 2 ข้างมีต าแหน่งตรงกัน พืชอาหาร: มีความจ าเพาะต่อพืชอาหารต่ ามาก (strongly polyphagous) มีรายงาน เข้าท าลายพืชมากมายหลายชนิด การกระจาย: เขตร้อนชื้นและกึ่งร้อนชื้นทั่วโลก


70 | บ ท ที่ 5 Xyleborinus exiguus Walker, 1859 (แผ่นภาพ 5.10) ชื่อสามัญ: มอดแอมโบรเซีย ambrosia beetle, shot-hole borer ชื่อพ้อง: Bostrichus exiguus Walker, 1859 Xyleborus muriceus Eichhoff, 1878 Xyleborus ankius Schedl, 1975 Xyleborus perexiguus Schedl, 1971 ลักษณะเด่นที่ใช้ระบุชนิด: ล าตัวรูปทรงกระบอก มีสีน้ าตาลเข้ม ยาว 1.80 − 2.00 มม. scutellum บริเวณฐานปีกมีลักษณะเป็นปุ่มขนาดเล็กมีเส้นขนยาวล้อมรอบหนาแน่น ขอบหน้าของอกปล้องแรกโค้งมน ปลายปีกทั้ง 2 ข้างเรียวเข้า ปลายปีกแหลม บริเวณ ปลายปีกทั้ง 2 ด้านมีหนามขนาดเล็กแบนด้านละ 3 อัน ส่วนลาดปลายปีกแบน ใกล้เส้นกึ่งกลางปีกไม่มีตุ่มหนามขนาดเล็ก พืชอาหาร: มีความจ าเพาะต่อพืชอาหารต่ า มีรายงานเข้าท าลายพืชมากมายหลาย ชนิด การกระจาย: เอเชียและโอเชียเนีย


ม อ ด ท า ล า ย ไ ม้ ย า ง พ า ร า ใ น ป ร ะ เ ท ศ ไ ท ย | 71 Xyleborus affinis Eichhoff, 1868 (แผ่นภาพ 5.11) ชื่อสามัญ: มอดแอมโบรเซีย ambrosia beetle, sugarcane shot-hole borer ชื่อพ้อง: - Xyleborus sacchari Hopkins, 1915 Xyleborus subaffinis Eggers, 1933 Xyleborus societatis Beeson, 1935 ลักษณะเด่นที่ใช้ระบุชนิด: ล าตัวรูปทรงกระบอก เรียว สีน้ าตาล-สีน้ าตาลอมแดง ยาว 2.20 - 2.50 มม. ลักษณะคล้าย X. perforans มาก แตกต่างที่ X. affinis ปลายปีก บริเวณส่วนลาดปลายปีกมีลักษณะด้านไม่มันวาว แต่จะเห็นได้เฉพาะ เมื่อตัวอย่างแห้งเท่านั้น พืชอาหาร: มีความจ าเพาะต่อพืชอาหารต่ ามาก มีรายงานว่าเข้าท าลายพืชมากมาย หลายชนิด การกระจาย: คาดว่ามีถิ่นก าเนิดในทวีปอเมริกาใต้ กระจายทั่วโลกโดยเฉพาะเขตร้อน ชื้นและกึ่งร้อนชื้นของเอเชีย


72 | บ ท ที่ 5 Xyleborus perforans Wollaston, 1878 (แผ่นภาพ 5.12) ชื่อสามัญ: มอดแอมโบรเซีย ambrosia beetle, shot-hole borer, island-pinhole borer ชื่อพ้อง: Anodius denticulus Motschulsky, 1863 Xyleborus immaturus Blackburn, 1885 Anodius tuberculatus Motschulsky, 1863 Xyleborus kraatzii Eichhoff, 1868 Bostrichus testaceus Walker, 1859 Xyleborus kraatzii philippinensis Eichhoff, 1878 Tomicus perforans Wollaston, 1857 Xyleborus minimus Schedl, 1955 Xyleborus apertus Schedl, 1939 Xyleborus shionomisakiensis Murayama, 1951 Xyleborus criticus Schedl, 1950 Xylopertha hirtsutus Lea, 1893 Xyleborus cylindrus Schedl, 1951 Xyleborus whitteni Beeson, 1935 Xyleborus duponti Montrouzier, 1861 ลักษณะเด่นที่ใช้ระบุชนิด: ล าตัวรูปทรงกระบอก ยาว 2.30-2.60 มม. สีน้ าตาล-สี น้ าตาลอมแดง ลักษณะคล้าย X. affinis มาก แตกต่างตรงที่ X. perforans ส่วนลาด ปลายปีกมีลักษณะมันวาว ไม่ด้าน และตุ่มหนามบริเวณส่วนลาดปลายปีกมีขนาดใหญ่ กว่า X. affinis เล็กน้อย


ม อ ด ท า ล า ย ไ ม้ ย า ง พ า ร า ใ น ป ร ะ เ ท ศ ไ ท ย | 73 พืชอาหาร: มีความจ าเพาะต่อพืชอาหารต่ ามาก มีรายงานว่าเข้าท าลายพืชมากมาย หลายชนิด การกระจาย: เขตร้อนชื้นและกึ่งร้อนชื้นของทวีปเอเชีย แอฟริกา และโอเชียเนีย Xylosandrus crassiusculus Motschulsky, 1866 (แผ่นภาพ 5.13) ชื่อสามัญ: มอดแอมโบรเซีย ambrosia beetle, shot-hole borer, asian ambrosia beetle, granulate ambrosia beetle ชื่อพ้อง: Dryocoetes bengalensis Stebbing, 1908 Xyleborus mascarenus Hagedorn, 1908 Phloeotrogus crassiusculus Motschulsky, 1866 Xyleborus okoumeensis Schedl, 1935 Xyleborus declivigranulatus Schedl, 1936 Xyleborus semigranosus Blandford, 1896 Xyleborus ebriosus Niijima, 1909 Xyleborus semiopacus Eichhoff, 1878 ลักษณะเด่นที่ใช้ระบุชนิด: มอดแอมโบรเซียขนาดกลาง ล าตัวอ้วนป้อม มองจาก ด้านบนค่อนข้างกว้าง ยาว 2.30 − 2.90 มม. สีน้ าตาล-สีน้ าตาลอมแดง ปีกด้านบนโค้ง นูน ส่วนลาดปลายปีกโค้งชันค่อนข้างมาก ด้านไม่มันวาว มีปุ่มเล็ก ๆ และมีขนบางและ


74 | บ ท ที่ 5 ยาวปกคลุมหนาแน่น ขนไม่เรียงเป็นแถว ด้านข้างของปีกมีขอบเป็นสันบาง ๆ เห็นเด่นชัด ปล้องอกกลม ขอบหน้าของอกปล้องแรกโค้งเป็นรูปครึ่งวงกลม กึ่งกลาง ของฐานอกปล้องแรกด้านบนมีกลุ่มขน (tuft of setae) ขึ้นเป็นจุกหนาแน่น ฐานของ ขาคู่หน้า (coxae) ห่าง ไม่แนบชิดติดกัน (coxae ห่างเป็นลักษณะเฉพาะของมอดแอม โบรเซียสกุล Xylosandrus) พืชอาหาร: มีความจ าเพาะต่อพืชอาหารต่ ามาก มีรายงานว่าเข้าท าลายพืชมากมาย หลายชนิด เป็นศัตรูของไม้ผลและไม้ต้นทางการเกษตรหลายชนิด การกระจาย: เขตร้อนชื้นและกึ่งร้อนชื้นทั่วโลก Xylosandrus mancus Blandford, 1984 (แผ่นภาพ 5.14) ชื่อสามัญ: มอดแอมโบรเซีย ambrosia beetle, shot-hole borer ชื่อพ้อง: Apoxyleborus mancus (Blandford, 1984) Xyleborus abruptus Sampson, 1914 Xyleborus mancus Blandford, 1898 Xyleborus mancus formosanus Eggers, 1930


ม อ ด ท า ล า ย ไ ม้ ย า ง พ า ร า ใ น ป ร ะ เ ท ศ ไ ท ย | 75 ลักษณะเด่นที่ใช้ระบุชนิด: มอดแอมโบรเซียขนาดกลาง ล าตัวอ้วนป้อม ยาว 3.20 - 3.60 มม. ปีกตัด สีน้ าตาล น้ าตาลแดง-น้ าตาลเข้ม ส่วนลาดปลายปีกลาดตัดเฉียง ล้อมรอบด้วยขอบหนาล้อมเป็นวงกลม พื้นผิวของด้านตัดด้านเป็นหลุมตื้น ๆ ขนาด ใหญ่ ส่วนกึ่งกลางที่ปีกสองด้านมาประกบกัน (medial suture) นูนขึ้นตั้งแต่ จุดกึ่งกลางลงไปถึงปลายปีก บริเวณที่นูนมีหลุมตื้น ๆ จ านวนมาก ปล้องอกกลม กึ่งกลางของฐานอกปล้องแรกด้านบนมีกลุ่มขนขึ้นเป็นกระจุกปกคลุมหนาแน่น ฐาน ของขาคู่หน้า (coxae) ห่าง ไม่แนบชิดติดกัน ตาเว้าเข้าจากด้านหน้าส่วนบนและ ส่วนล่างมีขนาดเท่ากัน พืชอาหาร: มีความจ าเพาะต่อพืชอาหารต่ า การกระจาย: เอเชีย


76 | บ ท ที่ 5 วงศ์ย่อย Platypodinae (มอดรูเข็ม) เผ่า Platypodini ลักษณะเด่นของเผ่า: ล าตัวรูปทรงกระบอก เรียว ยาว-ยาวมาก เพศผู้และเพศเมีย มีลักษณะแตกต่างกัน ปลายปีกมีรูปร่างแตกต่างกันตามสกุลและชนิด หนวด 3 ปล้อง สุดท้ายเชื่อมเป็นปล้องเดียวกัน แบน มีขนคล้ายก ามะหยี่ปกคลุม ปล้องอก รูปทรงกระบอกยาว ด้านข้างของอกปล้องแรกอาจมีส่วนคอดเว้า ด้านบนบริเวณ กึ่งกลางของอกปล้องแรกมีหลุมจ านวนมากรวมกันหนาแน่น มีรูปร่างแตกต่างกัน ตามเพศและสกุล ส่วนหัวอยู่ด้านหน้าส่วนอกสามารถมองเห็นจากด้านบน ปีกรูป ทรงกระบอกยาว ส่วนมากยาวมากกว่า 2 เท่าของปล้องอก ส่วนด้านลาดปลายปีก (declivity) มีความแตกต่างกันมาก Crossotarsus externedentatus (Fairmaire, 1849) (แผ่นภาพ 5.15) ชื่อสามัญ: มอดรูเข็ม pin-hole borer, exotic pin-hole borer ชื่อพ้อง: Platypus externedentatus Fairmaire, 1849


ม อ ด ท า ล า ย ไ ม้ ย า ง พ า ร า ใ น ป ร ะ เ ท ศ ไ ท ย | 77 ลักษณะเด่นที่ใช้ระบุชนิด: มอดรูเข็มขนาดกลาง-ขนาดใหญ่ ล าตัวค่อนข้างป้อม เมื่อเทียบกับมอดรูเข็มชนิดอื่น ๆ ยาว 3.5 - 4.2 มม. สีน้ าตาล-สีน้ าตาลเข้ม เพศผู้และ เพศเมียมีลักษณะแตกต่างกันเล็กน้อย อกปล้องแรกมองจากด้านบนด้านข้างเว้าตื้น ๆ บริเวณกึ่งกลางคั่นแบ่งส่วนหน้าและส่วนหลังเท่า ๆ กัน ฐานของอกปล้องแรกด้านบน เว้าขึ้น กว้างสุดบริเวณจุดกึ่งกลาง ส่วนที่เว้ามีลักษณะเป็นรอยบุ๋มลง ส่วนที่บุ๋มไม่มีขน หนาปกคลุม ปีกเป็นมันวาว มีร่องตื่น ๆ ขนาดเล็กตามความยาวของล าตัว ร่องตื้น มีขนาดแคบกว่าส่วนที่นูน ปลายปีกโค้งส่วนที่โค้งลง (declivity) มีลักษณะเป็นร่องลึก 8 - 9 ร่อง ส่วนที่เป็นสันของร่องมีลักษณะเป็นฟันเลื่อยและมีขนยาวปกคลุม ส่วนปลายสุดของปีกด้านข้างมีหนามยื่นออกมาทั้ง 2 ด้าน หนามขนาดใหญ่โค้งเข้า ด้านในตามรัศมีความโค้งของปีก เพศเมียสีจางกว่าเพศผู้เล็กน้อย ปลายปีกไม่เป็นร่อง และไม่มีหนาม พืชอาหาร: มีความจ าเพาะต่อพืชอาหารต่ ามาก มีรายงานเข้าท าลายพืชมากมายหลาย ชนิด การกระจาย: เขตร้อนชื้นและกึ่งร้อนชื้นของเอเชีย และโอเชียเนีย Euplatypus parallelus Fabricius, 1801 (แผ่นภาพ 5.16) ชื่อสามัญ: มอดรูเข็ม pin-hole borer ชื่อพ้อง: Bostrichus parallelus Fabricius, 1801 Platypus parallelus Fabricius,1801 Platypus bellus Schedl, 1933 Platypus poeyi Guerin –Meneville, 1825 Platypus compressus Chapuis, 1865 Platypus praeustus Dejean, 1837 Platypus congoanus Duvivier, 1891 Platypus praevius Chapuis, 1865 Platypus dejeani Chapuis, 1865 Platypus proximus Chapuis, 1865 Platypus difficilis Chapuis, 1865 Platypus punctulatus Chapuis, 1865 Platypus emarginatus Chapuis, 1865 Platypus regularis Chapuis, 1865 Platypus erichsoni Chapuis, 1865 Platypus reticulatus Chapuis, 1865 Platypus kraatzi Chapuis, 1865 Platypus rotundatus Chapuis, 1865 Platypus laevicollis Chapuis, 1865 Platypus rugulosus Chapuis, 1865 Platypus lebasi Chapuis, 1865 Platypus subaequalis Chapuis, 1865 Platypus linearis Stephens, 1830 Platypus subcostatus Jacquelin –Duval, 1857 Platypus maeklini Chapuis, 1865 Platypus testaceus Dejean, 1837


78 | บ ท ที่ 5 Platypus marseuli Chapuis, 1865 Platypus triquetus Brethes, 1909 Platypus matai Brethes, 1919 Platypus wesmaeli Chapuis, 1865 Platypus oblongus Chapuis, 1865 ลักษณะเด่นที่ใช้ระบุชนิด: มอดรูเข็มขนาดกลาง ล าตัว ยาว 4.0 – 4.3 มม. ค่อนข้าง เรียว สีน้ าตาล-สีน้ าตาลเข้ม ด้านข้างของอกปล้องแรกมองจากด้านบนเว้าตื้น ๆ ใกล้ ฐานปล้องอก อกหลังส่วนที่เว้า ใหญ่กว่าส่วนหน้าอย่างชัดเจน ฐานของอกปล้องแรก ด้านบนเว้าโค้งขึ้น เว้าลึกสุดใกล้เส้นกึ่งกลาง บริเวณส่วนเว้ามีลักษณะเป็นรอยบุ๋มลง ตื้น ๆ ส่วนที่บุ๋มลงมีขนบาง ๆ ปกคลุม ปีกมีร่องและสันตามความยาวล าตัว ร่องลึก กว้างใกล้คียงกับสัน ส่วนสันตรงบริเวณส่วนลาดปลายปีกยกขึ้นคล้ายฟันเลื่อยและ สิ้นสุดก่อนถึงปลายปีก ปีกบริเวณส่วนลาดปลายปีกคอดเข้าค่อนข้างมากทั้ง 2 ด้าน ท า ให้มองจากด้านบนมีลักษณะแหลมเป็นสี่เหลี่ยมคางหมู ปลายปีกตัด 2 ข้างของปลายปีก มีหนามทู่ๆ ยื่นออกมาในแนวตรงขนานกับปีก เพศเมียสีจางกว่าเพศผู้เล็กน้อย ปลาย ปีกไม่เป็นร่องและไม่มีหนาม พืชอาหาร: มีความจ าเพาะต่อพืชอาหารต่ ามาก มีรายงานว่าเข้าท าลายพืชมากมาย หลายชนิด เป็นศัตรูส าคัญของประดู่บ้าน


ม อ ด ท า ล า ย ไ ม้ ย า ง พ า ร า ใ น ป ร ะ เ ท ศ ไ ท ย | 79 การกระจาย: ถิ่นก าเนิดในทวีปอเมริกาใต้ ปัจจุบันกระจายทั่วโลกทั้งในเขตร้อนและ เขตอบอุ่น พบระบาดแพร่หลายในประเทศไทย จัดเป็นมอดที่พบได้มากที่สุดในแหล่งที่ อยู่อาศัยทุกประเภท Dinoplatypus cupulatus (Chapuis, 1865) (แผ่นภาพ 5.17) ชื่อสามัญ: มอดรูเข็ม pin-hole borer ชื่อพ้อง: Platypus cupulatus Chapuis, 1865 ลักษณะเด่นที่ใช้ระบุชนิด: มอดรูเข็มขนาดกลาง ยาว 4.2 - 4.5 มม. ล าตัวรูป ทรงกระบอกตรงค่อนข้างเรียว สีน้ าตาล-สีน้ าตาลเข้ม ด้านข้างของอกปล้องแรก มองจากด้านบนเว้าเข้าตื้น ๆ บริเวณกึ่งกลางปล้องแบ่งส่วนหลังยาวกว่าส่วนหน้าเล็กน้อย ฐานของอกปล้องแรกด้านบนที่ติดกับปีกเว้าขึ้นเล็กน้อยมีลักษณะเป็นรูปวงเล็บปีกกา ไม่ มีรอยบุ๋มลง ปีกยาวกว่าปล้องอก 2 เท่า ปลายปีกตัด ส่วนปลายปีกโป่งออก ท าให้ส่วน ตัดของปีกขยายใหญ่กว่าส่วนอื่นของปีก ปีกส่วนที่ตัดด้านหน้าตัดมีลักษณะรูปเกือกม้า สันแคบและคม ปลายแหลมโค้งชี้ไปทางหลังของล าตัว ส่วนปลายที่แหลมและแคบห่าง กันไม่มาก เพศเมียสีอ่อนกว่า ปลายปีกโค้ง ไม่ตัด


80 | บ ท ที่ 5 พืชอาหาร: ความจ าเพาะต่อพืชอาหารต่ า มีรายงานเข้าท าลายพืชมากมายหลายชนิด การกระจาย: เอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Dinoplatypus pseudocupulatus (Schedl, 1941) (แผ่นภาพ 5.18) ชื่อสามัญ: มอดรูเข็ม pin-hole borer ชื่อพ้อง: Platypus pseudocupulatus Schedl, 1941 ลักษณะเด่นที่ใช้ระบุชนิด: ลักษณะโดยทั่วไปคล้าย D. cupulatus แต่มีขนาดเล็กกว่า ล าตัวรูปทรงกระบอกยาว ยาว 3.0 - 3.2 มม. เพศผู้และเพศเมียมีลักษณะแตกต่างกัน ด้านข้างของอกปล้องแรกมองจากด้านบนเว้าตื้น ๆ บริเวณกึ่งกลางปล้องลึกกว่า D. cupulatus เล็กน้อย ส่วนหลังยาวเท่ากับส่วนหน้า ปีกยาวกว่าปล้องอก 2 เท่า ปลายปีกตัด ส่วนปลายปีกโป่งออก ท าให้ส่วนตัดของปีกขยายใหญ่กว่าส่วนอื่นของปีก ปีกส่วนที่ตัดด้านหน้าตัดมีลักษณะรูปเกือกม้า สันแคบและคม ปลายแหลมโค้งชี้ไป ด้านหลังของล าตัว ส่วนปลายที่แหลมและแคบเว้าออกด้านข้าง ท าให้ปลายสุดห่างกัน มากกว่าใน D. cupulatus เพศเมียสีอ่อนกว่า ปลายปีกโค้ง ไม่ตัด พืชอาหาร: มีความจ าเพาะต่อพืชอาหารต่ า การกระจาย: เอเชียใต้และตะวันออกเฉียงใต้ โอเชียเนียและหมู่เกาะทะเลใต้


ม อ ด ท า ล า ย ไ ม้ ย า ง พ า ร า ใ น ป ร ะ เ ท ศ ไ ท ย | 81 วงศ์Bostrichidae (วงศ์มอดขี้ขุย) วงศ์ย่อย Lyctinae (มอดขี้ขุยแท้) ลักษณะเด่นของวงศ์ย่อย: ล าตัวแบน ยาว มองจากด้านบนเห็นทั้งส่วนหัวและอก ปล้องแรกชัดเจน ส่วนหัวยื่นไปด้านหน้า หนวด 2 ปล้องสุดท้ายขยายใหญ่แบบลูกตุ้ม สมมาตรหรือกึ่งสมมาตรทั้ง 2 ด้าน ด้านข้างของอกมีสันตลอดทั้งความยาว เผ่า Lyctini ลักษณะเด่นของเผ่า: ขอบด้านหน้าของอกปล้องแรกไม่มีหนาม หรือเกล็ด หรือมี ลักษณะเป็นร่องหรือแฉก ปีกมีหลุมและเส้นขนเรียงเป็นแถว อย่างละ 1 แถวสลับกัน ฐานของขาคู่หลัง (hind coxae) ไม่ชิดแยกออกจากกัน ขาคู่หลังส่วนต้นขา (hind femur) เรียว รูปกระบอง ไม่แบน สกุล Lyctus ลักษณะเด่นของสกุล: ยาว 1.5-8.0 มม. หนวด 2 ปล้องสุดท้ายขยายใหญ่ ทั้ง 2 ปล้อง ยาวเท่ากันหรือปล้องที่ 2 ยาวกว่า ปล้องที่ขยายใหญ่ปล้องแรกกว้างกว่าปล้องที่ 2 มี รูปร่างแตกต่างกัน มีทั้ง รูปไข่ รูปรี รูปกรวย หรือรูปชมพู่


82 | บ ท ที่ 5 Lyctus africanus Lesne, 1907 (แผ่นภาพ 5.19) ชื่อสามัญ: มอดขี้ขุยแท้ African powderpost beetle ชื่อพ้อง: - ลักษณะเด่นที่ใช้ระบุชนิด: ล าตัวรูปทรงกระบอกยาว ล าตัวยาว 1.7 - 5.0 มม. สีน้ าตาล-สีน้ าตาลอมแดง ล าตัวมีขนบางปกคลุมประปราย ปีกมีหลุมตื้น (punctures) เรียงเป็นแถวตามความยาว หลุมตื้นมี 2 ขนาด ด้านบนใกล้เส้นกึ่งกลางปีก (1 ส่วน 4 ของความกว้างปีก) มีขนาดเล็ก หลุมตื้นบริเวณส่วนขอบที่เหลือ ลึก รูปรียาว หรือรูป ขอบขนานยาว ปลายมน ส่วนที่กว้างที่สุดของอกปล้องแรกด้านบนกว้างเท่ากับความ กว้างของปีก ด้านข้างของปล้องอกขนานหรือเว้าเข้าเล็กน้อย มีปุ่มหนามขนาดเล็กเรียง ตลอดแนว ส่วนหัวด้านหน้าเหนือกรามและริมฝีปากบน (clypeus) มีร่องตื้น ๆ พืชอาหาร: ไม้แห้ง มีความจ าเพาะต่อพืชอาหารต่ า เข้าท าลายไม้ฟืนแห้ง ไม้ก่อ ไม้ยางพารา ไม้มะฮอกกานี รากของสมุนไพรและเครื่องเทศแห้ง


Click to View FlipBook Version