The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by AJ Wisut, 2023-05-25 23:48:09

หนังสือมอดไม้ยางพารา-Rubberwood Borers

หนังสือมอดไม้ยางพารา

Keywords: ้

ก า ร ป้ อ ง กั น แ ล ะ ก า จั ด ม อ ด ใ น โ ร ง ง า น | 133 โรงงานเอง ยิ่งเก็บไม้และวัสดุที่ท าจากไม้ไว้นานขึ้นก็ยิ่งสะสมมอดมากขึ้น เพื่อตัด วัฏจักรจึงต้องใช้ไม้ตามล าดับก่อนหลัง มาก่อนใช้ก่อน มาหลังใช้หลัง แนวปฏิบัติ 1. ท าบัญชีบันทึกวันที่ ความชื้นไม้ท่อนในการรับไม้เข้า เจ้าหน้าที่รับไม้เข้า และใช้ไม้ ตามล าดับ ยกเว้นไม้ท่อนที่มีความชื้นต่ าให้น าไปแปรรูปก่อน 2. ท าบัญชีบันทึกล าดับ จ านวน วันผลิต ผู้ผลิตรับช่วงและน าไม้และชิ้นส่วนใช้ ตามล าดับการผลิต 3. ตรวจสอบการเข้าท าลายของมอด วิธีการใช้ไม้ที่มอดเริ่มเข้าท าลายและไม้ที่อยู่ โดยรอบก่อน หรือน าไม้ดังกล่าวไปก าจัดมอด (ดูเพิ่มเติมในบทที่ 6) “Monitoring and Report” การควบคุมมอดให้ได้ผลต้องอาศัยความร่วมมือของทุกฝ่าย สมาชิกในโรงงาน ทุกคนสามารถมีส่วนช่วยในการลดปัญหาได้ หากสมาชิกเฝ้าสังเกตการเข้าท าลาย จด บันทึกพื้นที่ที่มีปัญหา รายงานและมีผู้รับผิดชอบหลักในการด าเนินการ ควบคุมมอด อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ มีการสรุปและปรับปรุงแก้ไขกระบวนการท างาน เพื่อให้การควบคุมมอดมีประสิทธิภาพอยู่เสมอ แนวปฏิบัติ 1. มีการสื่อสารกับพนักงานทุกคนถึงความส าคัญของบุคลากรในการช่วยลดปัญหาที่ เกิดจากมอด 2. ให้ข้อมูลลักษณะการเข้าท าลายของมอดชนิดต่าง ๆ ในรูปแบบที่เข้าใจง่าย แก่พนักงานอย่างทั่วถึง 3. ก าหนดให้การสังเกต ตรวจสอบการเข้าท าลายของมอดในกระบวนการผลิตเป็น หน้าที่ของพนักงานทุกคน 4. ก าหนดให้มีฝ่ายหรือผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการป้องกันและก าจัดมอดโดยตรงและ สื่อสารให้พนักงานทุกคนทราบ


134 | บ ท ที่ 8 5. รายงานและบันทึกการพบมอดไปที่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง โดยรายงานข้อมูลต่อไปนี้ วันที่ ชนิดไม้ พื้นที่ จ านวนของมอดที่พบ รวมทั้งผู้รับผิดชอบ 6. สรุปผลการเข้าท าลายของมอด มาตรการการด าเนินการและประสิทธิภาพของการ ด าเนินการทุก 6 เดือน เพื่อปรับปรุงการท างานตามมาตรการป้องกันและก าจัดมอด 7. พนักงานจะตระหนักต่อการป้องกันและก าจัดมอดท าลายไม้มากขึ้น หากหัวหน้า งานให้ความส าคัญ ไม้ยางพาราท่อนและวัตถุดิบบนลานไม้ ไม้ยางพาราท่อนและวัตถุดิบบนลานไม้ หากมีความชื้นสูงจะเสี่ยงต่อการถูก ท าลายโดยมอดแอมโบรเซียและมอดรูเข็ม โดยพบการเข้าท าลายมากขึ้นเมื่อไม้อยู่บน ลานนานขึ้น มักพบมอดเข้าท าลายมากเฉพาะในฤดูฝน เนื่องจากความชื้นในอากาศสูง ท าให้ไม้ไม่สูญเสียความชื้นเหมาะสมต่อการเข้าท าลายของมอดกลุ่มนี้ พบน้อยลงในฤดู ร้อนหรือช่วงที่ฝนทิ้งช่วง ในฤดูร้อนหรือช่วงที่ฝนทิ้งช่วง ไม้สูญเสียความชื้นเร็ว โดยเฉพาะบริเวณหัวไม้ ท าให้ไม้ยางพารามีความเสี่ยงต่อการเข้าท าลายของมอดขี้ขุย เทียม มอดขี้ขุยเริ่มเข้าท าลายเมื่อหัวไม้มีความชื้นร้อยละ 22 - 30 นอกจากนี้ความ เสี่ยงการเข้าท าลายของมอดยังขึ้นอยู่กับแหล่งที่มาของไม้ ไม้จากภาคเหนือและภาค ตะวันออกเฉียงเหนือจะมีความเสี่ยงในการถูกมอดท าลายยมากกว่า เนื่องจากปริมาณ ไม้มีน้อย ลานไม้ต้องสะสมไม้ระยะหนึ่งก่อนการขนส่ง ท าให้ไม้แห้ง หรือมีมอด เข้าท าลายก่อนเข้าโรงงาน แนวทางการจัดการ: ตรวจสอบและบันทึกความชื้นไม้ท่อนรับเข้า เพื่อใช้เป็น ข้อมูลส าหรับจัดล าดับการน าไม้ไปใช้ หากพบมอดและยังไม่สามารถน าไม้ไปแปรรูปได้ ให้ใช้สารฆ่าแมลงที่ใช้ก าจัดปลวกและมอดฉีดพ่น (รายละเอียดในบทที่6) โดยสารฆ่า แมลงที่แนะน า ได้แก่ สารฆ่าแมลงที่มีสารออกฤทธิ์เป็นสารไบเฟนทริน (bifenthrin) หรือ เพอร์เมทริน (permethrin) (ที่ใช้ก าจัดปลวกและมอดหรือใช้กับไม้แปรรูป ห้ามใช้เพอร์เมทรินทางการเกษตร) และเพื่อการควบคุมมอดอย่างมีประสิทธิภาพ ควรใช้ในอัตราแนะน าอย่างเคร่งครัด


ก า ร ป้ อ ง กั น แ ล ะ ก า จั ด ม อ ด ใ น โ ร ง ง า น | 135 หมายเหตุ 1 สารเคมีที่ใช้ฉีดท าให้มอดตายเมื่อฉีดพ่นโดนมอดโดยตรงหรือมอดเดินมา สัมผัสสาร สารเคมีไม่แทรกซึมเข้าสู่เนื้อไม้ ดังนั้นหากปล่อยให้มอดเข้าท าลาย หลายวันมอดจะเจาะลึกเข้าไปในเนื้อไม้ท าให้ก าจัดได้ยาก หมายเหตุ 2 การใช้สารฆ่าแมลงเป็นอันตรายต่อผู้ใช้ ผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม มีต้นทุนสูงจึงควรใช้เฉพาะที่จ าเป็น ปฏิบัติตามขั้นตอนและค าแนะน า ตามอัตราการใช้ ที่ก าหนด หมายเหตุ 3 สินค้าไม้ส่งออกมีมาตรฐานแตกต่างกันตามชนิดสินค้าและประเทศน าเข้า และมีมาตรฐานระหว่างประเทศมาควบคุม การเลือกใช้สารฆ่าแมลงและวิธีการใช้สาร ฆ่าแมลงต้องค านึงถึงมาตรฐานดังกล่าวด้วย ไม้แปรรูป ชิ้นส่วน และผลิตภัณฑ์ในคลังสินค้า ไม้ยางพาราแปรรูป ชิ้นส่วนและผลิตภัณฑ์ไม้ในคลังสินค้ามีความชื้นต่ า ทั้ง มอดขี้ขุยแท้และมอดขี้ขุยเทียมสามารถเข้าท าลายไม้เหล่านี้ได้ ส่วนมากมอดเข้าท าลาย ไม้ที่เก็บไว้นาน บริเวณที่มีการเคลื่อนย้ายไม้และวัตถุดิบค่อนข้างน้อย มอดมักท าลาย ไม้บริเวณช่องว่างหรือร่องของไม้ที่วางซ้อนกันหรือบริเวณหัวไม้ มอดชอบท าลายไม้ที่มี ผิวขรุขระมากกว่าไม้แปรรูปที่มีผิวเรียบ ชอบท าลายไม้ดิบที่ไม่ผ่านการท าสีหรือใช้สาร เคลือบมากกว่าไม้ที่มีสารเคลือบ ชอบท าลายบริเวณมุมและขอบไม้มากกว่าบริเวณหน้า ไม้ มาตรการในการลดความเสียหายในขั้นตอนนี้ได้แก่ การใช้ไม้ตามล าดับการผลิต การหมั่นตรวจสอบการเข้าท าลายของแมลง โดยเฉพาะส่วนที่เป็นมุมอับหรือเข้าถึงได้ ยากและมีการเคลื่อนไหวของวัสดุน้อย สิ่งส าคัญอย่างหนึ่งในการน าไม้ในขั้นตอนนี้ไปใช้ คือความเสียหายมักตรวจพบเมื่อสินค้าไปอยู่ในมือผู้บริโรคแล้ว ซึ่งจะสร้างความ เสียหายต่อภาพลักษณ์ของสินค้า ผู้ผลิตและเครื่องหมายทางการค้า ดังนั้นมาตรการ ก าจัดการปนเปื้อนที่ใช้ได้ดีวิธีการหนึ่งในขั้นตอนนี้คือการให้ความร้อนแก่ผลิตภัณฑ์ (รายละเอียดในบทที่ 6) ผู้เขียนแนะน าให้ใช้วิธีการรมด้วยเมทิลโบรไมด์เป็นวิธีทางเลือก เนื่องจากปัจจุบันเป็นวิธีที่ยังมีความเสี่ยงในการปนเปื้อนของแมลงได้ เนื่องจาก กระบวนการรมยังไม่มีการควบคุมมาตรฐานการรมที่ดีพอ


136 | บ ท ที่ 8 ความเสี่ยงจากผู้รับเหมาช่วงการผลิต ในบางโรงงานมีการจ้างเหมาหรือซื้อชิ้นส่วน หรือชิ้นไม้จากผู้ผลิตรายอื่น หรือ ผู้รับเหมาช่วงการผลิต ไม้เหล่านี้มักมีความเสี่ยงสูงที่จะถูกมอดเข้าท าลายและเป็น แหล่งแพร่กระจายของมอดขี้ขุย เนื่องจากโรงงานเหล่านี้มักเป็นโรงงานขนาดเล็กหรือ โรงงานในครัวเรือน มีมาตรฐานและกระบวนการท างานที่น ามาใช้บังคับน้อยกว่าและ ไม่รัดกุม นอกจากนี้เนื่องจากผู้ผลิตเหล่านี้ไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อภาพลักษณ์ของ สินค้าและเครื่องหมายทางการค้า ดังนั้นการรับรู้หรือการห่วงใยต่อภาพลักษณ์จึงมีน้อย กว่า ท าให้วัตถุดิบไม้ที่น ามาใช้มีความเสี่ยงสูงมากกว่าไม้ที่ผลิตเอง มาตรการที่สามารถ น ามาลดปัญหาที่เกิดขึ้นได้ ได้แก่ การบันทึกรายละเอียดของวัตถุดิบ (ผู้ผลิต วันที่ จ านวน) ให้ชัดเจน ตรวจสอบกลับได้ และการตรวจเยี่ยมผู้รับช่วงผลิตสม่ าเสมอและ สื่อสารความส าคัญของการผลิตเพื่อลดการเข้าท าลายของมอดให้ผู้รับช่วงผลิตเข้าใจ และมีมาตรการลงโทษที่เหมาะสมตามข้อตกลงให้ชัดเจน


ก า ร ป้ อ ง กั น แ ล ะ ก า จั ด ม อ ด ใ น โ ร ง ง า น | 137 บรรณานุกรม Beaver, R.A., Sittichaya, W. and Liu, L.-Y. 2011. A Review of the Powder-Post Beetles of Thailand (Coleoptera: Bostrichidae). Tropical Natural History 11: 135-158. Kangkamanee, T., Sittichaya, W., Ngampongsai, A., Permkam, S. and Beaver R.A.. 2010. Wood boring beetles (Coleoptera: Bostrichidae, Curculionidae; Platypodinae and Scolytinae) infesting rubberwood sawn timber in Southern Thailand. Journal of Forest Research 16: 302-308. Sittichaya, W. and Beaver, R.A. 2009. Rubberwood-destroying beetles in the eastern and gulf areas of Thailand (Coleoptera: Bostrichidae, Curculionidae: Scolytinae and Platypodinae). Songklanakarin Journal of Science and Technology 3: 381-387. Sittichaya, W., Ngampongsai, A., Permkam, S. and Puangsin, B. 2012. The feeding preference and reproductivity of the false Powderpost beetle, Sinoxylon anale Lesne on two rubberwood clones. Kasetsart Journal of Natural Science 46: 181 – 189.


ประวัติผู้แต่ง ประวัติผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิสุทธิ์ สิทธิฉายา Assistant Professor Dr. Wisut Sittichaya อาจารย์ประจ าสาขาวิชานวัตกรรมการเกษตร และก า รจัดกา ร คณะทรัพย าก รธ รรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ การศึกษา ปริญญาตรี: วิทยาศาสตรบัณทิต (วนศาสตร์) คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปริญญาโท: Master of Forest Science (Forest Protection) Universität für Bodenkultur, Wien (Vienna, Austria) ปริญญาเอก: ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (การจัดการ ทรัพยากรเกษตรเขตร้อน) คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ประสบการณ์วิจัย ผู้เขียนเริ่มท างานวิจัยเกี่ยวกับแมลงกลุ่มมอดเจาะไม้ตั้งแต่เรียนระดับปริญญาโท ที่มหาวิทยาลัย Universität für Bodenkultur ประเทศออสเตรีย ในปี พ.ศ. 2547 โดยท าวิจัยทางชีววิทยาและนิเวศวิทยาของมอดเจาะ เปลือกไม้ในวงศ์ย่อย Scolytinae เมื่อมีโอกาสได้มาท างานที่ภาควิชาการจัดการศัตรูพืช คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในปี พ.ศ. 2549 ได้ท าวิจัยเกี่ยวกับแมลงกลุ่มมอดต่อเนื่องจากงานวิจัยระดับปริญญาโท และขยายขอบเขตงานวิจัยครอบคลุมในทุกแง่มุม ทั้งทางด้านชีววิทยา ความหลากหลายทางชีวภาพและ อนุกรมวิธานของแมลงกลุ่มดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง ครอบคลุมทั้ง มอดเจาะเปลือกไม้ มอดแอมโบรเซีย และมอดขี้ขุย ทั้งในพื้นที่ป่า ไม้ผล ไม้ต้น และไม้ยางพาราแปรรูป จนถึงปัจจุบัน โดยมีโครงการวิจัยและมีผลงานตีพิมพ์ ในวารสารวิชาการที่เกี่ยวข้องกับแมลงกลุ่มมอดมากกว่า 25 ผลงาน


Click to View FlipBook Version