The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by AJ Wisut, 2023-05-25 23:48:09

หนังสือมอดไม้ยางพารา-Rubberwood Borers

หนังสือมอดไม้ยางพารา

Keywords: ้

ม อ ด ท า ล า ย ไ ม้ ย า ง พ า ร า ใ น ป ร ะ เ ท ศ ไ ท ย | 83 การกระจาย: แอฟริกาและเอเชีย แพร่กระจายทั่วโลก ในประเทศไทยพบได้ทั่วไป ทุกภาค Lyctus tomentosus Reitter, 1879 (แผ่นภาพ 5.20) ชื่อสามัญ: มอดขี้ขุยแท้ powderpost beetle ชื่อพ้อง: - ลักษณะเด่นที่ใช้ระบุชนิด: ล าตัวรูปทรงกระบอกยาว ล าตัวยาว 2.9-3.2 ซม. สีน้ าตาล มีขนยาวหนาสีเทาอมเขียวปกคลุมหนาแน่น หนวดปล้องที่ขยายใหญ่ปล้องแรก รูปครึ่งวงกลม ด้านหน้าตัด ปล้องที่ 2 ยาวกว่าปล้องแรก อกปล้องแรกด้านบน มีเส้น กึ่งกลางลากผ่านจากฐานจนถึงกึ่งกลางของปล้อง ล าตัวมีขนหนายาวปกคลุมทั้งตัว แตกต่างจากมอดชนิดอื่น ๆ ในสกุล Lyctus ที่ส่วนใหญ่มีขนปกคลุมประปราย


84 | บ ท ที่ 5 การกระจาย: ฟิลิปปินส์ ไทย กัวเตมาลา แม็กซิโก ในประเทศไทยพบบริเวณปากแม่น้ า แม่กลอง คาดว่าติดมากับสินค้าระหว่างประเทศ และประสบความส าเร็จในการ ขยายพันธุ์ในบริเวณดังกล่าว สกุล Lyctoxylon ลักษณะเด่นของสกุล: หนวดสองปล้องสุดท้ายที่ขยายใหญ่ขยายยาวกว่าปกติ (ยาว มากกว่ากว้าง) ปล้องที่สองเรียวเล็กกว่าปล้องแรก ส่วนหัวด้านหน้าบริเวณด้านบนของ กราม (clypeal lobes) และบริเวณเหนือตามีขนยาวปกคลุมหนาแน่น ปีกปกคลุมด้วย ขนหนาสั้น หนาแน่นและไม่เรียงตัวเป็นแถวตามความยาวปีก ขาคู่หน้าส่วน tibia ขยายใหญ่ทางด้านหน้า ปลายมีหนามขนาดใหญ่ (apical spine) คล้ายตะขอ Lyctoxylon dentatum Pascoe, 1866 (แผ่นภาพ 5.21) ชื่อสามัญ: มอดขี้ขุยแท้ oriental powderpost beetle ชื่อพ้อง: Minthea dentata Pascoe, 1866 Lyctoxylon japonum Reitter 1878


ม อ ด ท า ล า ย ไ ม้ ย า ง พ า ร า ใ น ป ร ะ เ ท ศ ไ ท ย | 85 ลักษณะเด่นที่ใช้ระบุชนิด: ล าตัวรูปทรงกระบอก ค่อนข้างแบน ยาว 1.5 - 3.5 มม. สีน้ าตาลอมแดง-สีน้ าตาลเข้ม ล าตัวปกคลุมด้วยขนสั้นเป็นกระจุกหนา สีน้ าตาลเทา ขน บนปีกหนาแน่นไม่เรียงเป็นแถว หนวด 2 ปล้องสุดท้ายขยายใหญ่ ปล้องแรกยาวกว่า ปล้องที่ 2 เล็กน้อย มุมด้านหน้าทั้ง 2 ด้านของปล้องอกแรกยื่นออกด้านข้างเล็กน้อย ท าให้ด้านหน้ากว้างกว่าด้านหลังเล็กน้อย ไม่ขนานกัน พืชอาหาร: มีความจ าเพาะต่อพืชอาหารต่ า ท าลายไม้ได้หลายวงศ์ รวมทั้ง Arecaceae, Combretaceae, Fagaceae, Lauraceae, Leguminosae, Magnoliaceae, Malvaceae, Fabaceae, Simaroubaceae, Poaceae รวมทั้งไม้ไผ่ชนิดต่าง ๆ การกระจาย: จีน ญี่ปุ่น อินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ น าเข้ายุโรป และสหรัฐอเมริกา (ผ่านการขนส่ง) สกุล Minthea ลักษณะเด่นของสกุล: ส่วนหัวแคบกว่าอกปล้องแรก ล าตัวรวมทั้งส่วนหัว อก ปีกและ หนวด ปกคลุมด้วยขนแบนยาวคล้ายเกล็ดรวมกันเป็นกระจุก หนวดปล้องที่ขยายใหญ่ ปล้องสุดท้ายยาวปลายเรียว ไม่กลม หรือเป็นรูปไข่ดังเช่นมอดสกุล Lyctus Minthea reticulata Lesne, 1931 (แผ่นภาพ 5.22) ชื่อสามัญ: มอดขี้ขุยแท้ hairy powderpost beetle ชื่อพ้อง: -


86 | บ ท ที่ 5 ลักษณะเด่นที่ใช้ระบุชนิด: ล าตัวรูปทรงกระบอก ค่อนข้างแบน ยาว 2.5 - 3.0 มม. สีน้ าตาลแดง-สีน้ าตาลอมแดงเข้ม หนวด 2 ปล้องสุดท้ายที่ขยายใหญ่ ทั้งสองปล้อง มีความยาวใกล้เคียงกัน อกปล้องแรกแคบกว่าปีก ปล้องอกด้านบนมีหลุมตื้นเรียงต่อกัน คล้ายตาข่าย (reticulate) หลุมลึกใกล้เคียงกันทั้งปล้อง รวมทั้งบริเวณเส้นกึ่งกลางของ อกปล้องแรกด้านบน ด้านข้างมีกลุ่มขนแบนยาวเรียงกัน 10 - 14 กลุ่ม (<14) ล าตัว โดยรวมปกคลุมด้วยขนหนาแน่นน้อยกว่า M. rugicollis พืชอาหาร: คาดว่ามีความจ าเพาะต่อพืชอาหารต่ าเช่นเดียวกับมอดขี้ขุยชนิดอื่น ๆ มักพบเข้าท าลาย Shorea eximia (Dipterocarpaceae) ไม้ Eusideroxylon zwageri และไม้ยางพาราแปรรูป การกระจาย: เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จีน น าเข้าสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร


ม อ ด ท า ล า ย ไ ม้ ย า ง พ า ร า ใ น ป ร ะ เ ท ศ ไ ท ย | 87 Minthea rugicollis Walker, 1858 (แผ่นภาพ 5.23) ชื่อสามัญ: มอดขี้ขุยแท้ hairy powderpost beetle ชื่อพ้อง: Ditoma rugicollis Walker, 1858 ลักษณะเด่นที่ใช้ระบุชนิด: ล าตัวรูปทรงกระบอก ค่อนข้างแบน ยาว 2.5 - 3.0 มม. สีน้ าตาลอมแดง-สีน้ าตาลอมแดงเข้ม หนวด 2 ปล้องสุดท้ายขยายใหญ่ ปล้องที่ 2 ยาว กว่าปล้องแรกเล็กน้อย อกปล้องแรกแคบกว่าปีก อกปล้องแรกด้านบนมีหลุมตื้นเรียง ต่อกันคล้ายตาข่าย หลุมลึกพบเฉพาะด้านข้างของอกปล้องแรก บริเวณเส้นกึ่งกลาง เป็นหลุมตื้นและไม่มีลักษณะเชื่อมโยงเป็นตาข่าย ปล้องอกด้านข้างมีกลุ่มขนแบนยาว เรียงกันมากกว่า 14 กลุ่ม ล าตัวโดยรวมปกคลุมด้วยขนหนาแน่นกว่า M. reticulata พืชอาหาร: มีความจ าเพาะต่อพืชอาหารต่ า มีรายงานการเข้าท าลายพืชหลายวงศ์ ได้แก่ Anacardiaceae, Apocynaceae, Burseraceae, Combretaceae, Dipterocarpaceae, Fabaceae, Malvaceae, Meliaceae, Moraceae, Phyllanthaceae, Proteaceae รวมทั้งหัวมันเทศ ไผ่ และหวาย การกระจาย: ทั่วโลก


88 | บ ท ที่ 5 เผ่า Cephalotomini สกุล Cephalotoma ลักษณะเด่นของสกุล: ล าตัวรูปทรงกระบอก แบนมาก แบนกว่ามอดสกุลอื่น ๆ ในวงศ์ย่อย Lyctinae หนวด 3 ปล้องสุดท้ายขยายใหญ่ หากขยายใหญ่เฉพาะ 2 ปล้อง สุดท้าย ปล้องที่ 3 จากปลายจะเล็กกว่าปล้องที่ 2 เล็กน้อย และใหญ่กว่าปล้องอื่น ๆ ที่เหลือ ล าตัวด้านหรือเป็นมันวาว มีขนปกคลุมประปราย ขนแนบกับล าตัว Cephalotoma coomani Lesne, 1932 (แผ่นภาพ 5.24) ชื่อสามัญ: มอดขี้ขุยแท้true powderpost beetle ชื่อพ้อง: Lyctoderma coomani Lesne, 1932 ลักษณะเด่นที่ใช้ระบุชนิด: ล าตัวรูปทรงกระบอก แบน ยาว 3.2-3.8 มม. สีน้ าตาลน้ าตาลอมแดง ปกคลุมด้วยขนสั้นบางและแนบกับล าตัว ปีกแบนราบไม่โค้ง หนวด ขยายใหญ่เพียง 2 ปล้อง ปล้องสุดท้ายรูปไข่ ส่วนหัวแบน ด้านหน้าหัวมีร่องลึกโค้งขึ้น


ม อ ด ท า ล า ย ไ ม้ ย า ง พ า ร า ใ น ป ร ะ เ ท ศ ไ ท ย | 89 ตัดขวางตลอดด้านหน้าชัดเจน อกปล้องแรกด้านบนแบนแต่ไม่บุ๋มลง ด้านข้างเป็นสัน ชัดเจน ขอบด้านข้างตรงไม่เว้าหรือนูนออก อกด้านหน้ากว้างกว่าด้านหลังอย่างชัดเจน ขอบปีกหน้านูนขึ้นเป็นสันชัดเจนโดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณกึ่งกลางใกล้ scutellum หลุมตื้นบนปีก (punctures) ขนาดเล็ก พืชอาหาร: พบในรังของมอดขี้ขุยชนิด Heterobostrychus hamatipennis (Lesne) ที่ท าลายไม้ไผ่ ในประเทศไทยพบในรังของ S. anale ที่เข้าท าลายไม้ยางพารา ในจังหวัดระยอง การกระจาย: จีน ไทย เวียดนาม Cephalotoma perdepressa Lesne, 1937 (แผ่นภาพ 5.25) ชื่อสามัญ: มอดขี้ขุยแท้true powderpost beetle ชื่อพ้อง: - ลักษณะเด่นที่ใช้ระบุชนิด: ล าตัวรูปทรงกระบอก ค่อนข้างแบน ยาว 3.1 มม. สีน้ าตาล-สีน้ าตาลอมแดง ปกคลุมด้วยขนบาง สั้นและตรง ปีกแบนราบไม่โค้ง หนวด ขยายใหญ่ 3 ปล้อง ปล้องสุดท้ายมีรูปร่างคล้ายรูปหยดน้ า ส่วนหน้าของหัวมีร่องตื้น ๆ อกปล้องแรกด้านบนแบนบุ๋มลงตื้น ๆ ด้านข้างเป็นสันชัดเจน ด้านข้างนูนออกเล็กน้อย


90 | บ ท ที่ 5 อกด้านหน้ากว้างกว่าด้านหลังเล็กน้อย ขอบปีกหน้ามน ไม่นูนขึ้นเป็นสัน หลุมบนปีก ตื้นและกว้าง เรียงกระจายหนาแน่น ไม่เรียงเป็นแถว พื ช อ า ห าร: พบใน รัง ข อง ม อ ด ช นิ ด Xylopsocus bicuspis ที่เ ข้ า ท า ล า ย Cinnamomum sp. (Lauraceae) ในประเทศพบในไม้ยางพาราที่เข้าท าลายโดย S. anale และ Lyctoxylon dentatum การกระจาย: ไทย มาเลเซีย เวียดนาม ฟิลิปปินส์ ไต้หวัน วงศ์ย่อย Dinoderinae (มอดขี้ขุยเทียม หรือมอดไม้ไผ่) ลักษณะเด่นของวงศ์ย่อย: ล าตัวอ้วนป้อมคล้ายแคปซูล ส่วนมากมีสีด าหรือสีน้ าตาล อมด า หนวด 3 ปล้องสุดท้ายด้านหน้าขยายใหญ่รูปทรงคล้ายสามเหลี่ยมด้านเท่า ส่วนอกขยายใหญ่ ด้านหน้าอกปล้องแรกมองจากด้านบนคล้ายรูปครึ่งวงกลม กว้าง มากกว่ายาว หรือแหลมในสกุล Prosthephanus ขอบหน้าสุดของอกปล้องแรกมี หนามสั้นรูปสามเหลี่ยมคล้ายฟันเลื่อย (serrations) จ านวน ต าแหน่งของหนาม สามารถน ามาระบุชนิดได้ในบางสกุล ลาดด้านหน้าของอกปล้องแรกมีหนามคล้ายเกล็ด ด้านข้างของปล้องอกมีสันประมาณครึ่งหนึ่งของปล้อง หัวอยู่ด้านล่างของปล้องอก มองไม่เห็นจากด้านบน ปีกโค้งมนรูปทรงกระบอกโค้งเกือบกลม ปีกสั้น ยาวกว่าปล้องอก เล็กน้อย ปลายปีกส่วนมากโค้ง ยกเว้นมอดในสกุล Prosthephanus สกุล Dinoderus ลักษณะเด่นของสกุล: ล าตัวอ้วนป้อม ยาว 2.2 - 4.5 มม. สีน้ าตาลอมด า-ด า ปล้องอก ขอบด้านหน้าโค้งมีหนามคล้ายเกล็ด ปีกสั้น ปีกยาวกว่าปล้องอกไม่เกิน 2 เท่า หนวด 3 ปล้องสุดท้ายขยายใหญ่ โป่งนูน หนวดปล้องที่ขยายใหญ่ปล้องที่ 2 สั้น กว้างกว่ายาวไม่ น้อยกว่า 2 เท่า


ม อ ด ท า ล า ย ไ ม้ ย า ง พ า ร า ใ น ป ร ะ เ ท ศ ไ ท ย | 91 Dinoderus minutus Fabricius, 1775 (แผ่นภาพ 5.26) ชื่อสามัญ: มอดไม้ไผ่ bamboo powder-post beetle, bamboo shot-hole borer, ghoon borer ชื่อพ้อง: Apate minutus Fabricius, 1775 Dinoderus substriatus Stephens, 1830 Dinoderus siculus Baudi, 1873 ลักษณะเด่นที่ใช้ระบุชนิด: ล าตัวอ้วนป้อม ยาว 2.0-3.8 มม. สีน้ าตาลด า ปีกสั้น ขอบ หน้าของปล้องอกมีหนามรูปร่างคล้ายฝันเลื่อยขนาดใหญ่ 6-8 อัน หนามคู่กลางแยก ห่างจากกัน มีขนาดใหญ่กว่าหนามด้านข้างเล็กน้อย อาจมีหนามขนาดเล็กคั่นกลาง หนวดมี10 ปล้อง ปล้องอกด้านข้างค่อย ๆ ขยายใหญ่ขึ้นจากด้านหน้าสู่ฐาน มุมตรง ฐานปล้องอกโค้งมน ด้านบนของปล้องอกตรงกึ่งกลางใกล้ฐานมีหลุมเว้าลงกว้าง ๆ เป็น รอยบุ๋ม 1 คู่ ปีกมีหลุมเรียงตัวเกือบเป็นแถวตามความยาว ปีกยาวประมาณ 1.5 เท่า ของปล้องอกปล้องแรก ปลายปีกโค้ง ขนบริเวณส่วนลาดของปีกสั้น ตรงสีน้ าตาลอม เหลือง


92 | บ ท ที่ 5 พืชอาหาร: ไม้ไผ่ ผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่ หวายและผลิตภัณฑ์ ศัตรูส าคัญของผลผลิต หลังการเก็บเกี่ยว เช่น ข้าวเปลือก มันส าปะหลังแห้ง อ้อย ไม้สน และไม้ยางพารา การกระจาย: ทั่วโลก ทั้งในเขตร้อนชื้น และเขตอบอุ่น วงศ์ย่อย Dysidinae (มอดขี้ขุยเทียม) Apoleon edax Gorham, 1885 (แผ่นภาพ 5.27) ชื่อสามัญ: มอดขี้ขุยเทียม false powder-post beetle ชื่อพ้อง: Dysides spineus Chen and Yin, 2003 ลักษณะเด่นที่ใช้ระบุชนิด: ล าตัวรูปทรงกระบอกยาว ยาว 9.0 - 21.0 มม. ส่วนหัวยื่นออกไปด้านหน้าเฉียงลงเล็กน้อย สามารถมองเห็นได้ชัดเจนจากด้านบน ล าตั วสีน้ าต าลอมแดง-สีด า มีขนปกคลุมหนา แน่น โดยเฉพ าะปล้ อง อก อกปล้องแรกมองจากด้านบนรูปคนโททรงเตี้ย สั้น กว้างมากกว่ายาว ด้านข้างโค้ง มีหนามขนาดใหญ่ ฐานแคบกว่าเล็กน้อย อกด้านบนมีปุ่มหนามสั้นและหนามีขนสั้น


ม อ ด ท า ล า ย ไ ม้ ย า ง พ า ร า ใ น ป ร ะ เ ท ศ ไ ท ย | 93 ปกคลุม 4 ปุ่ม ปีกมีเส้นนูนเล็ก ๆ ยาวตลอดตามความยาวปีก ขาคู่หน้าส่วนปลายของ tibia มีหนามขนาดใหญ่ 3 อัน หนวด 10 ปล้อง 3 ปล้องสุดท้ายขยายใหญ่ พืชอาหาร: ไม้ยางพารา การกระจาย: เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ วงศ์ย่อย: Bostrichinae (มอดขี้ขุยเทียม) เผ่า Bostrichini ลักษณะเด่นของเผ่า: ทาร์ไซของขาคู่หน้า (protarsi) ปล้องแรกสั้นกว่าปล้องที่ 2 และ ปล้องที่ 3 สั้นกว่าปล้องที่ 2 ขอบด้านหน้าของอกปล้องแรกตัด (truncate) หรือเว้าเข้า (concave) หรือเป็นร่องลึก (deeply emarginated) มุมด้านหน้ามีหนามขนาด แตกต่างกัน บางชนิดมีขนาดใหญ่ โค้งคล้ายตะขอ สกุล Heterobostrychus ลักษณะเด่นของสกุล: ส่วนหัวเหนือตาไม่คอดกิ่ว ด้านข้างของหัวบริเวณแก้ม (gena) บริเวณด้านล่างของตาไม่มีหนามหรือเกล็ด หนวดขยายใหญ่ 3 ปล้อง ด้านหน้ามีต่อม รับความรู้สึก (sensory pits) ลักษณะกลมไม่มีขอบหนา บริเวณกึ่งกลางด้านหน้าของ ปล้องอกเป็นร่องหรือเว้าลง เพศเมียมีลักษณะแตกต่างจากเพศผู้ เพศเมียมีอกปล้อง แรกเล็กกว่าเล็กน้อย หนามบริเวณส่วนหน้าของอกปล้องแรกสั้นกว่ามีต าแหน่งห่างกัน มากกว่า และบริเวณส่วนลาดของปลายปีกไม่มีหนาม Heterobostrychus aequalis (Waterhouse, 1884) (แผ่นภาพ 5.28) ชื่อสามัญ: มอดขี้ขุยเทียม oriental wood borer, lesser auger beetle, oriental bostrichid, false powder-post beetle ชื่อพ้อง: Bostrychus aequalis Waterhouse, 1884 Heterobostrychus uncipennis Lesne, 1895


94 | บ ท ที่ 5 ลักษณะเด่นที่ใช้ระบุชนิด: ล าตัวรูปทรงกระบอกยาว ล าตัวยาว 6.0 - 13.0 มม. สี น้ าตาล-สีน้ าตาลเข้ม สีน้ าตาลอมด า ล าตัวเกลี้ยงเป็นมันวาว ส่วนหัวอยู่ใต้ปล้องอก ปล้องแรก ปล้องอกมองจากด้านบนโค้งนูนเป็นรูปสี่เหลี่ยม ลาดด้านหน้าเว้าลึกส่วน หน้าแบน มุมด้านหน้ามีหนามคล้ายตะขอขนาดใหญ่ หนามโค้งขึ้นถัดลงไปทางด้านหลัง มี ห น า ม รู ป ร่ าง ค ล้ า ย ฟั น เ ลื่ อ ย ห น า ข น า ดใ ห ญ่ 4 – 6 ห น า ม ด้ า น บ น ปกคลุมด้วยหนามรูปฟันเลื่อยคล้ายเกล็ดขนาดเล็กหนาแน่น มุมด้านหลังของปล้องอก มีหนามลักษณะกลมยื่นออกด้านข้าง ปีกยาวมีหลุมลึกเรียงเป็นแถว ส่วนลาดของปีก บริเวณกึ่งกลางของปีกทั้งสองข้างมีสันหนาและปลายสันมีหนามลักษณะเป็นตะขอโค้ง ขึ้นขนาดใหญ่ 1 คู่ ด้านข้างมีสันหนายื่นออกเลยขอบปีกตรงขนานกับพื้น พืชอาหาร: มีความจ าเพาะต่อพืชอาหารต่ า จัดเป็นศัตรูส าคัญของไม้แปรรูปและ ผลิตภัณฑ์จากไม้แปรรูป รวมทั้งไม้ยางพาราและผลิตภัณฑ์ การกระจาย: ทั่วโลก


ม อ ด ท า ล า ย ไ ม้ ย า ง พ า ร า ใ น ป ร ะ เ ท ศ ไ ท ย | 95 Heterobostrychus pileatus Lesne, 1899 (แผ่นภาพ 5.29) ชื่อสามัญ: มอดขี้ขุย มอดขี้ขุยเทียม false powder-post beetle ชื่อพ้อง: - ลักษณะเด่นที่ใช้ระบุชนิด: ล าตัวรูปทรงกระบอกยาว ล าตัวยาว 6.0 - 11.0 มม. สีน้ าตาล สีน้ าตาลเข้ม สีน้ าตาลด า ล าตัวเป็นมันวาว หัวอยู่ใต้ปล้องอก ลักษณะทั่วไป คล้าย H. aequalis แตกต่างกันดังนี้อกปล้องแรกยาวกว่า ปล้องอกรูปไข่ ต าแหน่ง ของหนามคู่หน้าอยู่ลึกเข้ามาด้านหน้า ท าให้มีต าแหน่งชิดกันมากกว่า ต่างจาก H. aequalis ที่หนามอยู่บริเวณมุมด้านหน้าแต่ละด้าน มุมของขอบด้านหลังของ ปล้องอกไม่มีหนามแหลมยื่นออกมา แต่กลมมน หลุมบนปีกมีขนาดเล็กกว่า ปลายปีก ส่วนลาดหนามมีขนาดใหญ่กว่า เมื่อเทียบกับขนาดล าตัว หนามงุ้มเข้าสู่ด้านในไม่โค้งขึ้น คล้ายตะขอ


96 | บ ท ที่ 5 พืชอาหาร : คาดว่าหลากหลาย มีรายงานเข้าท าลาย Acacia pennata ราชพฤกษ์ ( Cassia fistula), ต ะ ค ร้ า (Garuga pinnata), กุ๊ ก (Lannea coromandelica) , ค าแสด (Mallotus philippensis), มะม่วง (Mangifera indica), เข็มป่า (Pavetta indica), ไม้หอมอินเดีย (Santalum album), สาละอินเดีย (Shorea robusta), มะค่าแต้ (Sindora siamensis) และ Zizyphus sp. การกระจาย: เอเชียใต้และตะวันออกเฉียงใต้ Heterobostrychus unicornis (Waterhouse, 1879) ชื่อสามัญ: มอดขี้ขุยเทียม False powder-post beetle ชื่อพ้อง: Bostrichus unicornis Waterhouse, 1879 ลักษณะเด่นที่ใช้ระบุชนิด: ล าตัวรูปทรงกระบอกยาว ยาว 9.5 - 11.5 มม. สีน้ าตาลเข้ม ปีกมีหลุมลึกแต่ไม่เรียงเป็นแถวอย่างชัดเจน อกกว้างเท่ากับยาว อกด้านข้างกลม ด้านหน้าเรียวกว่าเล็กน้อย มุมด้านหน้าและด้านข้างมีหนามและเกล็ด แต่ขนาดไม่ใหญ่มากนัก มุมด้านหลังกลม ไม่มีหนามแหลม ปีกส่วนที่ลาดมีหนาม 2 คู่ หนามคู่แรกใหญ่และโค้งเข้าด้านใน พืชอาหาร: ไม้ยางพารา ไม้ไผ่ การกระจาย: อินเดีย ไทย เผ่า Sinoxylini สกุล Sinoxylon ลักษณะเด่นของสกุล: กรามสั้นและกว้าง ปลายตัด ล าตัวอ้วนป้อม ยาว 3.5-8.5 มม. ปลายปีกโค้งชันหรือตัด ปลายปีกส่วนที่ลาดมีหนามแหลม บริเวณรอยเชื่อมระหว่างปีก ทั้งสองข้าง (medial line หรือ medial suture) 1 คู่ หนวดสามปล้องขยายใหญ่


ม อ ด ท า ล า ย ไ ม้ ย า ง พ า ร า ใ น ป ร ะ เ ท ศ ไ ท ย | 97 เฉพาะด้านหน้า ปล้องที่ขยายใหญ่แบน ปล้องที่ 1 และ 2 หรือ 2 เป็นรูปสามเหลี่ยมมุม แหลมยาวมากกว่ากว้าง ปลายมน Sinoxylon anale Lesne, 1897 (แผ่นภาพ 5.30) ชื่อสามัญ: มอดขี้ขุย, มอดขี้ขุยเทียม, branch and twig borer, false powder-post beetle, auger beetle ชื่อพ้อง: - ลักษณะเด่นที่ใช้ระบุชนิด: ล าตัวอ้วนป้อม ปลายปีกตัด ยาว 3.5 - 6.0 มม. สีน้ าตาล ถึงน้ าตาลเข็ม หรือน้ าตาลอมด า ตัวที่สีเข้มมักมีสีจางกว่าอยู่ด้านข้างของปีกค่อนมาทาง ฐานปีก ส่วนลาดปลายปีก (declivity) มีขอบเป็นสันนูนเด่นชัด สันยาวตลอด ความยาวตั้งแต่ขอบปีกถึงกลางปีก บรรจบกันทั้ง 2 ด้าน ท าให้ส่วนที่ลาดมีลักษณะ ตัดเฉียง สันเชื่อมต่อกับขอบปีกด้านล่าง ปีกตรงกึ่งกลางส่วนลาดปลายปีกมีหนาม ขนาดใหญ่ 1 คู่ หนามมีลักษณะกลม ปลายแหลมชี้ตรงขนานกับพื้นหรือโค้งขึ้นด้านบน ต าแหน่งของหนามแยกห่างกัน


98 | บ ท ที่ 5 พืชอาหาร: หลากหลายชนิด ท าลายได้ทั้งไม้ที่มีความชื้นสูงและไม้แห้ง เป็นศัตรูส าคัญ ของไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์จากไม้แปรรูป การกระจาย: กระจายทั่วโลก ติดไปกับผลิตภัณฑ์จากไม้ รวมทั้งกล่องไม้ ลังไม้จากการ ขนส่งสินค้าทั่วโลก Sinoxylon crassum Lesne, 1897 (แผ่นภาพ 5.31) ชื่อสามัญ: มอดขี้ขุย, มอดขี้ขุยเทียม, branch and twig borer, false powder-post beetle, auger beetle ชื่อพ้อง: - ลักษณะเด่นที่ใช้ระบุชนิด: ล าตัวอ้วนป้อม ยาว 6.0 - 8.5 มม. มีขนาดใหญ่เมื่อเทียบ กับมอดขี้ขุยเทียมชนิดอื่น ๆ ในสกุล Sinoxylon ล าตัวปกคลุมด้วยขนบางสีน้ าตาลแดง ขอบของส่วนลาดปลายปีกมีหนามเป็นสันขนาดใหญ่ข้างละ 2 คู่ บริเวณด้านข้างของปีก หนามบริเวณกลางส่วนลาดปลายปีกชิดกัน ด้านนอกโค้งมน ด้านในแบน


ม อ ด ท า ล า ย ไ ม้ ย า ง พ า ร า ใ น ป ร ะ เ ท ศ ไ ท ย | 99 พืชอาหาร: หลากหลายชนิด โดยเฉพาะกระพี้ไม้ ไม้ยางพารา กิ่งล าไย และลิ้นจี่ การกระจาย: เอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Sinoxylon unidentatum (Fabricius, 1801) (แผ่นภาพ 5.32) ชื่อสามัญ: มอดขี้ขุยเทียม, branch and twig borer, false powder-post beetle, conifer auger beetle ชื่อพ้อง: Sinoxylon conigerum Gerstaecker, 1855 ลักษณะเด่นที่ใช้ระบุชนิด: ล าตัวอ้วนป้อม ปลายปีกโค้ง สีน้ าตาลเข้มถึงสีน้ าตาลด า หรือสีด า สีค่อนข้างสม่ าเสมอทั้งปีก ไม่มีแต้มสีจางอย่าง S. anale ล าตัวเป็นมันวาว มีขนปกคลุมน้อยมากปลายปีกโค้งลง ชัน ไม่มีขอบยกสูงบริเวณขอบของส่วนลาดของปีก หนามบริเวณกลางส่วนลาดโค้งออกไม่ชิดกัน หนามชี้ตรงหรือโค้งลง ไม่โค้งขึ้น ฐานของ หนามมีตุ่มเล็ก ๆ ล้อมรอบ พืชอาหาร: ท าลายพืชได้หลากหลายชนิด ส่วนมากเป็นไม้แห้ง จัดเป็นศัตรูส าคัญ ของไม้ยางพาราแปรรูปและผลิตภัณฑ์จากไม้ยางพาราแปรรูป รองลงมาจาก S. anale


100 | บ ท ที่ 5 เผ่า Xyloperthini Xylopsocus capucinus (Fabricius, 1781) (แผ่นภาพ 5.33) ชื่อสามัญ: มอดขี้ขุย false powder-post beetle ชื่อพ้อง: Apate capucinus Fabricius, 1781 Bostrichus eremita Olivier, 1790 Apate fuliginosa Dejean, 1833 Bostrichus eremitus Olivier, 1790 Apate infuscata Dejean, 1833 Enneadesmus nicobaricus Redtenbacher, 1868 Apate marginata Fabricius, 1801 ลักษณะเด่นที่ใช้ระบุชนิด: มอดขี้ขุยเทียมขนาดเล็ก รูปทรงกระบอก ค่อนข้างเรียว ยาว 3.0 - 5.5 มม. ล าตัวสองสีส่วนหัวและอกปล้องแรกสีเข้ม (น้ าตาลเข้ม-ด า) ปีกจางกว่า สีน้ าตาล-น้ าตาลแดง ปลายปีกตัด อกปล้องแรกป้อม กว้างมากกว่ายาว ด้านข้างมีสันยกขึ้นครึ่งหนึ่งของปล้อง หนวดมี9 ปล้อง 3 ปล้องสุดท้ายขยายใหญ่ หนา ปล้องที่ 1 และ 2 ทรงสามเหลี่ยมด้านเท่า กรามไม่สมมาตร กรามด้านขวา ปลายกลม ไม่แหลม ด้านซ้ายแหลม ปลายปีกตัด ชัน ขอบของปีกสวนที่ตัดนูนขึ้น


ม อ ด ท า ล า ย ไ ม้ ย า ง พ า ร า ใ น ป ร ะ เ ท ศ ไ ท ย | 101 เป็นสันชัดเจน สันนูนด้านบนเป็นหยักอาจนูนขึ้นแต่ไม่เป็นปลายแหลมหรือหนามขนาด เล็ก พืชอาหาร: หลากหลายชนิด รวมทั้งไม้ยางพาราแปรรูป การกระจาย: ทั่วโลก Xylothrips flavipes (Illiger, 1801) (แผ่นภาพ 5.34) ชื่อสามัญ: มอดขี้ขุย False powder-post beetle ชื่อพ้อง: Apate dominicana Fabricius, 1801 Apate sinuata Stephens, 1830 Apate flavipes Illiger, 1801 Bostrichus iracundusVollenhoven et Longchamps, 1869 Apate macrocera Latreille in Dejean, 1833 Bostrichus mutilatus Walker, 1858 ลักษณะเด่นที่ใช้ระบุชนิด: มอดขี้ขุยขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ล าตัวรูปทรงกระบอก ป้อม ยาว 6.0 - 8.0 มม. สีน้ าตาลอมแดง หนวดมี10 ปล้อง 3 ปล้องสุดท้ายขยายใหญ่ทั้ง 2 ด้านของหนวด ยาวมากกว่ากว้าง ปล้องอกป้อมกว้างมากกว่ายาว ฐานเกลี้ยง เป็นมันวาว


102 | บ ท ที่ 5 ด้านหน้ามีหนามคล้ายเกล็ดขนาดใหญ่ปกคลุมแยกจากส่วนที่ไม่มีหนามชัดเจน ปีกมีหลุม ขนาดเล็กมากปกคลุม ปีกมันวาวปลายปีกโค้งค่อนข้างชัน มีหนามเป็นสันหนา 3 คู่ ขอบส่วนลาดมีสันหนาลาดยาวเชื่อมกับขอบปีกล่าง เพศผู้ด้านหน้าของส่วนหัวมีกลุ่ม ขนยาวและตรงรวมเป็นกระจุก พืชอาหาร: มีรายงานว่าเข้าท าลายพืชมากกว่า 30 ชนิดคาดว่าสามารถท าลายพืช ได้หลากหลายชนิด รวมทั้งไม้ยางพาราสดบนลานไม้ ไม้ยางพาราแปรรูป รวมทั้งล าไย ลิ้นจี่ มะม่วง การกระจาย: ทั่วโลก ในประเทศไทย มีรายงานมอดท าลายไม้ยางพารา 33 ชนิด ประกอบด้วย มอด ขี้ขุย 17 ชนิด (มอดขี้ขุยแท้ 7 ชนิด และมอดขี้ขุยเทียม 10 ชนิด) มอดเจาะเปลือกไม้ 3 ชนิด มอดแอมโบรเซีย 9 ชนิด และมอดรูเข็ม 4 ชนิด มอดเหล่านี้สามารถจ าแนก โดยใช้ลักษณะเด่นของแต่ละกลุ่มได้ดังนี้ มอดเจาะเปลือกไม้(วงศ์ย่อย Scolytinae) มีหนวดแบบลูกตุ้ม หนวดสามปล้องสุดท้ายขยายใหญ่ ปล้องที่ขยายใหญ่ชิดติดกันแต่มี ร่องหรือสันคั่นสามารถมองเห็นทั้งสามปล้องได้ชัดเจน ล าตัวอ้วนป้อม มีขนาดเล็กมาก (ขนาด 1.0-2.1 มม.) มอดแอมโบรเซีย (วงศ์ย่อย Scolytinae) มีหนวดแบบลูกตุ้ม หนวดสามปล้องสุดท้ายขยายใหญ่ ปล้องที่ขยายใหญ่ปล้องแรกมีขนาดใหญ่ ปล้องที่ 2 และ 3 ลดรูปอยู่ภายในปล้องแรก เห็นเฉพาะด้านหน้าหรือเห็นเพียงบางส่วนจาก ด้านหลัง สันคั่นระหว่างปล้องที่ขยายปรากฏเพียงบางส่วนหรือลดรูปทั้งหมด ล าตัว อ้วนป้อม ขนาดกลาง (ขนาด 2.10-3.90 มม.) มอดรูเข็ม (วงย่อย Platypodinae) ล าตัวรูปทรงกระบอก เรียว ยาว-ยาวมาก หนวด 3 ปล้องสุดท้ายเชื่อมเป็นปล้อง เดียวกัน มองไม่เห็นร่องหรือสันระหว่างปล้อง หนวดแบน มีขนคล้ายก ามะหยี่ปกคลุม มอดขี้ขุยแท้ (วงศ์ย่อย Lyctinae) หนวดแบบลูกตุ้ม 2 ปล้องสุดท้ายขยายใหญ่ หนวดปล้องที่ขยายใหญ่แยกจากกัน มองเห็นแต่ละปล้องได้ชัดเจน ล าตัวแบน ยาว มองจากด้านบนเห็นทั้งส่วนหัวและอกปล้องแรกได้ชัดเจน ส่วนหัวยื่นไปด้านหน้า มอดขี้ขุยเทียม (วงศ์ย่อย Bostrichinae, Dysidinae และ Dinoderinae) หนวดแบบ ลูกตุ้ม สามปล้องสุดท้ายขยายใหญ่ ปล้องทั้งสามแยกออกจากกันชัดเจน ปล้องที่ขยายใหญ่


ม อ ด ท า ล า ย ไ ม้ ย า ง พ า ร า ใ น ป ร ะ เ ท ศ ไ ท ย | 103 มีขนาดรูปร่างแตกต่างกันในแต่ละสกุล เผ่าและวงศ์ย่อย ล าตัวขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มาก (2.0-21.0 มม.) ล าตัวรูปทรงกระบอก อ้วน ป้อมหรือยาว ปลายปีกโค้งหรือตัด มีรูปร่างหลากหลายตามสกุล เผ่าและวงศ์ย่อย


104 | บ ท ที่ 5 บรรณานุกรม Beaver, R.A., Sittichaya, W. and Liu, L.Y. 2011. A review of the powder-post beetles of Thailand (Coleoptera: Bostrichidae). Tropical Natural History 11: 135–158. Beaver, R A. and Liu, L-Y. 2013. A synopsis of the pin-hole borers of Thailand (Coleoptera: Curculionidae: Platypodinae). Zootaxa 3646 4: 447–486. Beaver, R.A., Sittichaya, W. and Liu, L-Y. 2014. A Synopsis of the Scolytine Ambrosia Beetles of Thailand (Coleoptera: Curculionidae: Scolytinae). Zootaxa 3875: 001–082. Borowski, J. and Wegrzynowicz, P. 2007. World Catalogue of Bostrichidae (Coleoptera). Mantis Publishing, Olsztyn. 247 pp. Fisher, R.C. 1929: Lyctus powder-post beetles. Forest Products Research. Bulletin 2: 1-46. Fisher, W. S. 1950. A revision of the North American species of beetles belonging to the family Bostrichidae. U.S. Dep. Agric., Misc. Publ. 698. 157 pp. Gerberg, E. J. 1957. A revision of the new world species of powder-post beetles belonging to the family Lyctidae. United States Department of Agriculture, Technical Bulletin 1157: 1–55. Ivie, M.A. 2002. Bostrichidae Latreille 1802. pp 233-244. In: Arnett, R.H. Jr., Thomas, M.C., Skelley, P.E. and Frank, J.H. eds. American Beetles, volume 2, CRC Press, Boca Raton, FL. Liu, L.Y. and Beaver, R.A. 2018. A synopsis of the powderpost beetles of the Himalayas with a key to the genera (Insecta: Coleoptera: Bostrichidae). pp. 407-422. In: Hartmann M., Barclay M. & Weipert J. eds. Biodiversität und Naturausstattung im Himalaya VI. Erfurt. Liu, L.-Y., Schonitzer, K. and Yang, J.-T. 2008. A review of the literature on the life history of Bostri chidae (Coleoptera). Mitteilungen der Münchner Entomologischen Gesellschaft 98: 91-97. Sittichaya, W., Beaver, R. A., Liu, L. Y. and Ngampongsai, A. 2009. An illustrated key to Powderpost beetles (Coleoptera, Bostrichidae) associated with rubberwood in Thailand, with new records and a checklist of species found in Southern Thailand. ZooKeys 26: 33–51. Stebbin, E.P.1914. Indian Forest Insects of Economic Importance. Coleoptera. Eyre & Spottiswoode. London. 648 pp.


ก า ร ป้ อ ง กั น แ ล ะ รั ก ษ า เ นื้ อ ไ ม้ ย า ง พ า ร า | 105 บทที่ 6 การป้องกันและรักษาเนื้อไม้ยางพารา Rubberwood Protection and Preservation ไม้ยางพาราเป็นไม้ที่ผุพังและเกิดความเสียหายหลังการตัดฟันง่าย จึง จ าเป็นต้องมีการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในทุกกระบวนการผลิตตั้งแต่การตัด ฟัน โค่น ขนย้าย แปรรูป การน าไปท าเป็นผลิตภัณฑ์และ การใช้ประโยชน์ไม้ยางพารา ที่โค่นใหม่ ๆ มีความชื้นสูง มีความเสี่ยงต่อการเข้าท าลายของราและแมลง โดยเฉพาะ อย่างยิ่งกลุ่มมอดแอมโบรเซีย รวมทั้งมอดรูเข็มชนิดต่าง ๆ ซึ่งมักเข้าท าลายไม้ที่มี ความชื้นสูงบริเวณหัวไม้ ตาไม้และบริเวณที่มีบาดแผลจากการตัดฟันและเคลื่อนย้าย มอดเข้าท าลายมากขึ้นเมื่อทิ้งไม้ท่อนไว้ในสวนยางพาราและลานไม้เป็นเวลานาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกองไม้ไว้ในฤดูฝน ไม้ที่มอดเข้าท าลายจะเกิดต าหนิจากการเจาะ และเกิดราย้อมสีที่มอดน าเข้าไปเลี้ยงในเนื้อไม้ ท าให้เนื้อไม้รอบๆ รูมอดเกิดเป็นสีน้ า เงินเข้มถึงสีด า การย้อมสีของราในเนื้อไม้ไม่สามารถตัดแต่งออกได้ เมื่อทิ้งไม้ท่อนไว้ เป็นเวลานานความชื้นบริเวณหัวไม้จะลดลงและเริ่มเหมาะสมต่อการเข้าท าลายของ มอดขี้ขุยเทียม ที่มักเข้าท าลายไม้ที่มีความชื้นต่ าหรือไม้แห้ง มอดขี้ขุยกัดกินเนื้อไม้ เป็นอาหาร สร้างความเสียหายต่อไม้ท่อนและไม้แปรรูป ท าให้สูญเสียเนื้อไม้ เกิดต าหนิ และยากต่อการตัดแต่งเพื่อน าไปแปรรูป แนวทางในการป้องกันและลดผลกระทบระยะ ก่อนการแปรรูปท าได้โดยการลดระยะเวลาในการกองไม้ในสวนยางพาราและ บนลานไม้ ควรมีการจัดการ น าไม้ท่อนไปแปรรูปตามล าดับการตัดฟันและพ่นสารป้องกัน รักษาเนื้อไม้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสารฆ่าแมลง รวมทั้งจัดการปริมาณไม้บนลาน ไม่ให้ ไม้ค้างเป็นเวลานาน นอกจากนั้นไม้ยางพาราเมื่อผ่านการแปรรูปง่ายต่อการเปลี่ยนสี (discoloration หรือ browning) จากสีขาวหลังการแปรรูปใหม่ ๆ สีเริ่มเข้มขึ้นเป็นสี น้ าตาลหรือสีน้ าตาลอมแดงอย่างรวดเร็ว กระบวนการเปลี่ยนสีของไม้แปรรูปอาจจะมา จากหลายสาเหตุ เช่น การท าปฏิกิริยากับแสงและรังสียูวีของสารเคมีในเนื้อไม้ การ


106 | บ ท ที่ 6 เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันระหว่างแป้ง น้ าตาล และสารแทรกในเนื้อไม้กับออกซิเจน โดย มีเอนไซม์เป็นตัวเร่ง เกิดจากเชื้อจุลินทรีย์ และการท าปฏิกิริยาระหว่างเหล็กและแทนนิน ในไม้ยางพาราแปรรูป การเปลี่ยนสีส่วนมากเกิดจากปฏิกริยาออกซิเดชันของแป้งและ น้ าตาลกับออกซิเจน การลดการเกิดสีน้ าตาลในไม้ยางพาราท าได้โดยการลดปฏิกิริยา ออกซิเดชันโดยการอบไม้ที่อุณภูมิ 100 องศาเซลเซียสก่อนกระบวนการรักษาเนื้อไม้ หรือน าไม้แปรรูปไปผ่านกระบวนการรักษาเนื้อไม้โดยเร็ว ไม้ยางพาราเมื่อผ่าน กระบวนการอบไม้แล้วไม้แห้งมีความชื้นต่ า อย่างไรก็ตามเนื่องจากไม้ยางพารามี ปริมาณแป้งสูง และมีลิกนินและสารแทรกต่ ากว่าไม้ชนิดอื่น ๆ ท าให้ง่ายต่อการ ถูกท าลายโดยปลวกและมอดขี้ขุย ประกอบกับไม้ยางพาราเมื่ออบแห้งแล้วสามารถ ดูดซับความชื้นกลับได้ดีจึงง่ายต่อการถูกท าลายจากรา ทั้งราพื้นผิว ราย้อมสีเนื้อไม้ และราสาเหตุของการผุพังของเนื้อไม้ ก่อนการน าไม้ยางพาราแปรรูปไปใช้งาน จึงต้อง น าไม้ไปผ่านกระบวนการป้องกันรักษาเนื้อไม้ก่อน การป้องกันรักษาเนื้อไม้ยางพารามีหลากหลายกระบวนการ ตั้งแต่วิธีการง่าย ไม่ยุ่งยาก ไม่ต้องใช้อุปกรณ์และค่าใช้จ่ายในการรักษาเนื้อไม้มากนัก เช่น การทา การพ่น การจุ่มไม้ในน้ ายารักษาเนื้อไม้ จนถึงกระบวนการอาบและอัดน้ ายาไม้ ในอุตสาหกรรมไม้แปรรูปที่มีกระบวนการและค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น ไม้ยางพารา เมื่อผ่านกระบวนการรักษาเนื้อไม้แล้วเมื่อน าไม้ไปผึ่งหรือน าไปอบให้แห้ง สามารถ ป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้และเพิ่มอายุการใช้งานของไม้ได้เพิ่มขึ้น กระบวนการรักษาเนื้อไม้ในอุตสหกรรมการแปรรูปไม้ขนาดใหญ่ (แผ่นภาพที่ 6.1) จะมี กระบวนการอัดน้ ายาไม้ เพื่อให้สารเคมีที่ใช้ในการป้องกันแมลงและเชื้อราแทรกซึม เข้าไปในเนื้อไม้ จากนั้นน าไม้เข้าสู่กระบวนการอบไม้เพื่อลดความชื้นของเนื้อไม้ ก่อนน าไม้เข้าสู่กระบวนการต่อไปส าหรับอุตสาหกรรมเครื่องเรือน ส่วนไม้แปรรูปที่ผ่านการอาบน้ ายาหลังการแปรรูปแล้ว เมื่อน าไปผลิต เครื่องเรือนมีการตัด ตกแต่งให้ได้ขนาดตามที่ต้องการ จากนั้นต้องน าไปอัดน้ ายาป้องกันมอด และเชื้อราอีกครั้ง เนื่องจากการอาบน้ ายาไม้เป็นการป้องกันเพียงพื้นผิวหรือซึมเข้าไป ในเนื้อไม้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ในกรณีที่ต้องการให้สารเคมีป้องกันรักษาเนื้อไม้ซึมเข้า ไปในเนื้อไม้มาก จึงจ าเป็นต้องใช้กรรมวิธีการป้องกันรักษาเนื้อไม้แบบใช้ก าลังอัดหรือ


ก า ร ป้ อ ง กั น แ ล ะ รั ก ษ า เ นื้ อ ไ ม้ ย า ง พ า ร า | 107 การอัดน้ ายาไม้ จึงจะได้เครื่องเรือนที่ปลอดภัยจากแมลงและเชื้อรา ในกระบวนการ รักษาเนื้อไม้เพื่อป้องกันการเข้าท าลายของราและแมลง สามารถใช้สารป้องกันรักษา เนื้อไม้ได้หลายกลุ่ม ทั้งสารเคมีสังเคราะห์ที่นิยมอย่างแพร่หลาย การใช้วิธีทางเลือก ที่ใช้สารจากธรรมชาติและกระบวนการอื่น ๆ ที่ไม่ใช้สารเคมี ทั้งนี้การเลือกใช้กรรมวิธี และประเภทของสารเคมีที่ใช้ ต้องค านึงถึงวิธีการ ความเหมาะสม และลักษณะการใช้ งานของไม้ในอุตสหกรรม เช่น ไม้ที่ใช้ส าหรับโครงสร้างภายนอก โครงสร้างภายใน ไม้เครื่องเรือนและเครื่องเรือน ของเล่นเด็ก รวมทั้งไม้ที่สัมผัสกับอาหารโดยตรง ซึ่งจ าเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพิจารณาถึงความปลอดภัยของผู้บริโภคเป็นพิเศษ สารเคมีที่ใช้ในการป้องกันรักษาเนื้อไม้ การใช้สารเคมีที่ใช้ในการป้องกันรักษาเนื้อไม้อาจใช้สารเคมีเพียงชนิดเดียว หรือผสมกันหลายชนิด ขึ้นอยู่กับลักษณะของไม้และความเหมาะสมของการใช้งานไม้ ก่


108 | บ ท ที่ 6 ในสภาพต่าง ๆ โดยสามารถแบ่งสารเคมีที่ใช้ป้องกันรักษาเนื้อไม้ออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ สารเคมีที่ละลายในน้ า (water-borne preservatives) และสารเคมีประเภทน้ ามัน หรือละลายในน้ ามัน (oil-borne preservatives) ❖ สารเคมีประเภทละลายในน้ า (Water-borne preservatives) เป็นสารเคมี ที่ละลายในน้ า ในรูปแบบของแข็งหรือในลักษณะของสารเข้มข้นที่สามารท าให้เจือจาง ลงได้โดยน้ า มีความสามารถป้องกันได้ทั้งเชื้อราและแมลง หรือออกฤทธิ์เฉพาะกลุ่มรา หรือแมลง หรือในรูปของสารผสมเพื่อให้สามารถป้องกันได้ทั้งราและแมลง สารกลุ่มนี้นิยมใช้เมื่อต้องการไม้ที่สะอาดและทาสีได้หลังผ่านกระบวนการรักษาเนื้อไม้ สารที่ใช้ภายนอกมีความคงทนสูง สารกลุ่มนี้นิยมใช้กับไม้แปรรูป ไม้ท่อน ไม้เสา ไม้ท่อนบนลานไม้ นิยมใช้กับไม้ส าหรับโครงสร้างของอาคารที่สัมผัสดิน เนื่องจาก มีความทนทานต่อเชื้อราสูง สารกลุ่มนี้เช่น โครเมตคอปเปอร์อาร์เซเนต (Chromated Copper Arsenate: CCA) มี ความทนทานสูงต่อการชะล้าง เหมาะส าหรับใช้ภายนอก เนื่องจากมีพิษสูงจึง ไม่นิยมใช้ส าหรับไม้ที่มนุษย์สัมผัสโดยตรง เช่น ไม้ก่อสร้างบ้านเรือน แต่สามารถ ใช้ได้ส าหรับไม้โครงสร้างอื่น ๆ เช่น เสาไฟฟ้า สะพาน เป็นต้น เอซิดคอปเปอร์โครเมต (Acid Copper Chromate: ACC) นิยมใช้ส าหรับ โครงสร้างภายนอก ทนทานต่อการผุจากเชื้อรา ปลวกและแมลงอื่น ๆ อุณหภูมิที่ เหมาะสมในกระบวนการอัดหรืออาบน้ ายารักษาเนื้อไม้อยู่ที่ 38-66 องศาเซลเซียส เนื่องจากไม่เสถียรที่อุณภูมิสูง แอมโมเนียคัลคอปเปอร์ซิงค์อาร์เซเนต (Ammoniacal Copper Zinc Arsenate: ACZA) มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับ CCA อัลคาไลน์คอปเปอร์ควอเทอร์นารี (Alkaline Copper Quaternary: ACQ) (quaternary = quaternary ammonium compound) ป ร ะกอบด้ ว ย ACQ-B, ACQ-C และ ACQ-D สารประกอบแอมโมเนียท าหน้าที่เป็นตัวพาน า


ก า ร ป้ อ ง กั น แ ล ะ รั ก ษ า เ นื้ อ ไ ม้ ย า ง พ า ร า | 109 สารเคมีแทรกซึมเข้าไปในเนื้อไม้ องค์ประกอบของสารประกอบแอมโมเนีย ที่แตกต่างกันสามารถน ามาปรับใช้ให้เหมาะสมกับชนิดของไม้แปรรูปแต่ละชนิด ท าให้การแทรกซึมของสารเคมีมีประสิทธิภาพมากขึ้น ปัจจุบันสารในกลุ่มนี้มีการใช้ อนุภาคขนาดเล็กของทองแดง (copper particles) แทนสารละลายทองแดง ในเอทาโนลามีน (copper solubilized in ethanolamine) อัลคาไลน์คอปเปอร์ดีซีโอไอ (Alkaline Copper DCOI: ACD) ใช้ 4,5- dichloro-2-N-octyl-4-isothiazolin-3-one (DCOI) เป็นสารออกฤทธิ์ร่วมกับ สารละลายทองแดงในเอทาโนลามีน (co-biocide) ซึ่งเป็นสารออกฤทธิ์หลักเพื่อ เพิ่มประสิทธิภาพ เนื่องจากมีราสาเหตการผุพังของไม้หลายชนิดสามารถต้านทาน ต่อสารละลายทองแดง สารกลุ่มนี้สามารถใช้กับไม้โครงสร้างภายนอกทั้งแบบสัมผัส และไม่สัมผัสดิน คอปเปอร์บิส [Copper Bis (Dimethyldithiocarbamate: CDDC)] กลุ่ม สารออกฤทธิ์คู่ ที่ออกวางตลาดล่าสุด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาเนื้อไม้ให้ ครอบคลุมราที่ต้านทานต่อสารป้องกันรักษาเนื้อไม้ที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย ในอดีตที่มีเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ใช้ได้ดีกับไม้โครงสร้างภายนอก คอปเปอร์อาโซล (Copper Azole: CA) สารละลายทองแดงในเอทาโนลามีนเป็นสารออกฤทธิ์หลัก ผสมกับสารออกฤทธิ์ร่วม (co-biocides) ชนิดและ อัตราส่วนต่างๆ เช่น CA-B ผสม tebuconazole 4%, CA-C ผสม tebuconazole 2% และ propiconazole 2% คอปเปอร์เฮชดีโอ (Copper HDO: CXA) ประกอบด้วยสารออกฤทธิ์3 กลุ่ม ได้แก่ คอปเปอ ร์ออกไซด์ ก รดบอ ริก แล ะคอปเปอ ร์เฮชดีโอ (bis-(Ncyclohexyldiazeniumdioxy copper) สารกลุ่มนี้ใช้ในยุโรป และเริ่มใช้ใน สหรัฐอเมริกา ใช้ส าหรับไม้ที่ไม่สัมผัสน้ าและดินโดยตรง


110 | บ ท ที่ 6 สารกลุ่มโบรอนอนินทรีย์ (Inorganic Boron: Borax–Boric Acid) มีสาร อ อ ก ฤ ท ธิ์ ได้ แ ก่ sodium octaborate, sodium tetraborate, sodium pentaborate และ boric acid จัดเป็นกลุ่มสารที่มีประสิทธิภาพสูงในการป้องกัน การเข้าท าลายของรา ปลวก ด้วง และแมลงภู่ แต่เนื่องจากสารกลุ่มนี้ละลายในน้ า ได้ดีมากจึงง่ายต่อการชะล้าง แต่สามารถลดการชะล้างได้โดยการใช้สารเคมีกันน้ า เคลือบภายนอก สารกลุ่มโบรอนอนินทรีย์สามารถใช้ได้ทั้งการรักษาเนื้อไม้ด้วยวิธี อัดน้ ายา อาบน้ ายา ใช้แปรงทาผิว หรือใช้วิธีฉีดพ่น เนื่องจากเป็นกลุ่มสารที่มีพิษต่อ มนุษย์ต่ า จึงนิยมใช้กับไม้ที่ใช้ส าหรับไม้พื้นและไม้โครงสร้างภายในอาคาร อีแอล-2 (EL-2) ประกอบด้วยสารออกฤทธิ์2 ชนิด ได้แก่ สารฆ่ารา 4,5- dichloro-2-N-octyl-4-isothiazolin-3-one (DCOI) สารฆ่าแมลงอิมิดาโคลพริด (imidacloprid) ใช้ส าหรับไม้ในร่ม ไม่สัมผัสดินโดยตรง คลอร์ไพริฟอส (Chlorpyrifos: CPF) สารออกฤทธิ์ที่ใช้ทั่วไปทางการเกษตรใน การป้องกันก าจัดแมลง ใช้ป้องกันปลวกและแมลงท าลายไม้ ไม่สามารถฆ่าราได้ ใช้ได้ทั่วไปส าหรับการฉีดพ่น แต่ไม่สามารถใช้ร่วมกับกระบวนการอัดน้ ายา ไบเฟนทริน (Bifenthrin) สารกลุ่มไพรีทรอยด์สังเคราะห์ล่าสุดที่น ามาใช้ ในการป้องกันปลวกและแมลงท าลายไม้ทดแทนเดลทาเมทริน (deltamethrin) เพอร์เมทริน (permethrin) และคลอร์ไพริฟอส (chlorpyrifos) ออกฤทธิ์ได้ดี ที่ระดับความเข้มข้นต่ า ออกฤทธิ์ยาวนาน (5-6 ปี) มีพิษต่อมนุษย์และสัตว์เลี้ยงลูก ด้วยน้ านมต่ า เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมต่ า ใช้พ่นหรือทาบนพื้นผิวทั้งภายนอกและ ภายใน รวมทั้งไม้ท่อนบนลานไม้ สารเคมีประเภทเกลือเคมีละลายในน้ าชนิดอื่น ๆ เช่น คอปเปอร์โครมโบรอน (Copper Chrome Boron: CCB) ฟลูออร์-โครม-อาร์เซเนตฟีนอล (fluor Chrome Arsenate Phenol: FCAP) โบ ร อนฟลูโ อไ ร ด์อเ ซนิค (Boron Fluoride Arsenic (BFCA)) คอปเปอร์ซัลเฟตโซลูชั่น (Copper Sulphate Solution) ทานาไลท์-ซี


ก า ร ป้ อ ง กั น แ ล ะ รั ก ษ า เ นื้ อ ไ ม้ ย า ง พ า ร า | 111 (Tanalith-C) คูนิเลท-2174 (Cunilate-2174) โพรพิโคนาโซล (Propiconazole) (ป้องกันรา) และเทบูโคนาโซล (Tebuconazole) (ป้องกันรา) ❖ ส า ร เ ค มี ป ร ะ เ ภ ท น้ า มั น ห รื อ ล ะ ล า ยใ น น้ า มั น ( Oil/Oil-borne preservatives): มีความเป็นพิษต่อราและแมลงท าลายไม้สูง คงทนอยู่ในเนื้อไม้ได้ นาน แต่ท าให้ไม้เปลี่ยนสี มีกลิ่นฉุน และไม่สามารถทาสีหรือสารเคลือบไม้โดยใช้ สารเคมีประเภทน้ ามันจึงเหมาะสมกับไม้ที่ใช้ภายนอกอาคาร สารเคมีประเภทน้ ามัน และสารเคมีที่ละลายในน้ ามันที่ใช้อาบน้ ายาไม้ เช่น ครีโอโซต (Creosote) น้ ามันสีด าหรือสีน้ าตาลอมด า มีความเป็นพิษสูงต่อรา และแมลง ทนทานทุกสภาพอากาศ คงทนอยู่นานและราคาถูก คอปเปอร์แนฟทีเนต (Copper Naphthenate) เกลือทองแดงของกรด แนฟทีนิก ผลพลอยได้จากกระบวนการกลั่นน้ ามันดิบ สีเขียวเข้มแล้วเปลี่ยนเป็นสี น้ าตาล เมื่อผ่านกระบวนการอัดน้ ายาหรือทิ้งไม้ไว้เป็นเวลานาน มีประสิทธิภาพสูง ในการป้องกันราและแมลง นิยมใช้ในกระบวนการอัดน้ ายามากกว่าการน ามาทา พื้นผิว ออคซีนคอปเปอร์[Oxine Copper (copper-8-quinolinolate)] กลุ่ม เคมีโลหะอินทรีย์ สีน้ าตาลถึงสีเขียว ไม่มีกลิ่น ใช้ส าหรับไม้ภายในอาคาร เป็นพิษ ต่อราและแมลง เป็นพิษต่อมนุษย์และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ านมต่ าสามารถน ามาใช้กับ ไม้ภายในรวมทั้งเครื่องครัวที่สัมผัสอาหารโดยตรงได้ ไอพีบีซี-เพอร์เมทริน [IPBC-Permethrin (IPBC-PER)] สารออกฤทธิ์2 ชนิด ได้แก่ (IPBC) 3-iodo-2-propynyl butyl carbamate และ เพอร์เมทริน เป็น สารป้องกันปลวกและแมลง ใช้ส าหรับไม้ที่ไม่สัมผัสดินโดยตรง สารประกอบอัลคิลแอมโมเนียม (Alkyl Ammonium Compounds) เช่น didecyldimethylammonium chloride (DDAC) ห รื อ dodecyl dimethyl-


112 | บ ท ที่ 6 ammonium carbonate (DDAC) หรือ bicarbonate (DDABC) ที่มีพิษทั้งต่อรา และแมลง ละลายได้ทั้งในน้ าและตัวท าละลายอินทรีย์ ใช้รักษาเนื้อไม้ทั้งไม้ภายใน และไม้สัมผัสดินโดยตรง มีความคงทนสูง ปัจจุบันสารกลุ่มนี้น าไปใช้เป็น องค์ประกอบของสารป้องกันรักษาเนื้อไม้กลุ่มอัลคาไลน์คอปเปอร์ควอเทอร์นารี (ACQ) วิธีการป้องกันรักษาเนื้อไม้ ในการป้องกันรักษาเนื้อไม้นอกจากการเลือกใช้สารเคมีป้องกันรักษาเนื้อไม้ที่ เหมาะสมแล้ว ยังต้องค านึงถึงวัตถุประสงค์และลักษณะการน าไม้ไปใช้ประโยชน์ รวมทั้งการเลือกวิธีการรักษาเนื้อไม้ให้เหมาะสม ซึ่งโดยทั่วไปสามารถแบ่งวิธีการรักษา เนื้อไม้หรืออาบน้ ายาไม้ได้ดังนี้ ❖ การอาบน้ ายาไม้แบบไม่ใช้แรงดัน (non-pressure impregnation) เป็น การอาบน้ ายาไม้ด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งโดยไม่อาศัยแรงดันเพื่อให้สารเคมีกระจายครอบคลุม เนื้อไม้ ได้แก่ การทาหรือพ่น (brushing or spraying) เป็นการใช้สารเคมีป้องกันรักษาเนื้อไม้ โดย การทาหรือพ่นลงบนผิวไม้มักใช้สารเคมีพวก น้ ามันหรือเกลือเคมีละลายในสารละลายอื่น และถ้าต้องการให้น้ ายาซึมเข้าไปในไม้มาก ๆ ต้องท าซ้ าหลาย ๆ ครั้ง หรือควรต้มน้ ายาให้ร้อนเสียก่อน ไม้ที่น ามาอาบน้ ายา โดยวิธีนี้ควรเป็นไม้ที่แห้งดีแล้วหรือมีความชื้นในไม้ไม่เกินร้อยละ 12 วิธีการนี้ มักใช้กับการป้องกันเนื้อไม้ระยะสั้น ไม่เหมาะสมกับการใช้งานภายนอกที่มี การชะล้างสูง วิธีการนี้ยังสามารถใช้กับสารฆ่าแมลงละลายน้ าเพื่อใช้ป้องกัน มอดและปลวกในไม้ท่อนและไม้อื่น ๆ การจุ่มไม้ในสารป้องกันรักษาเนื้อไม้ (dipping) เป็นการน าไม้มาจุ่มหรือชุบ น้ ายาป้องกันรักษาเนื้อไม้เพื่อให้น้ ายาซึมเข้าสู่เนื้อไม้ ระยะเวลาการจุ่มไม่เกิน


ก า ร ป้ อ ง กั น แ ล ะ รั ก ษ า เ นื้ อ ไ ม้ ย า ง พ า ร า | 113 1 นาที การซึมของสารเคมีรักษาเนื้อไม้ใกล้เคียงกับวิธีแรก เหมาะส าหรับ การอาบน้ ายาไม้จ านวนมาก เนื่องจากต้องใช้สารเคมีปริมาณมากในแต่ละครั้ง การอาบน้ ายาไม้ในลักษณะนี้ใช้ส าหรับไม้ที่ใช้งานในร่ม เช่น กรอบประตูและ หน้าต่างที่ต้องการการตกแต่งบนผิวไม้ ไม้ที่จะอาบน้ ายาต้องเป็นไม้ที่แห้งหรือ มีความชื้นในไม้ไม่เกินร้อยละ 12 การแช่ (steeping) เป็นการแช่ไม้ในน้ ายาป้องกันรักษาเนื้อไม้ ซึ่งอาจใช้ เวลานานหลายชั่วโมง หลายวัน หรืออาจเป็น สัปดาห์ ใช้ได้ทั้งกับไม้แห้งและไม้สด ในไม้สดใช้ เวลานานกว่าและสารเคมีที่มีความเข้มข้นมากกว่า ใ น ไ ม้ แ ห้ง ช นิ ด ข อง น้ า ย า ที่ ใ ช้ ใ น ไ ม้ ส ด มักใช้สารพวกเกลือเคมีละลายในน้ า หรือน้ ามันที่มี ความหนืดต่ า ส่วนไม้แห้งนั้นใช้น้ ายาประเภทใดก็ได้ แต่ถ้าใช้น้ ายาพวกน้ ามัน ที่ไม่ได้ต้มเรียกกรรมวิธีนั้นว่า cold soaking สารเคมีแทรกซึมเข้าไป ในเนื้อไม้ 5-10 มิลลิเมตร เนื่องจากการแทรกซึมของสารเคมีมีน้อยกว่า การอัดน้ ายา สารเคมีที่ใช้ต้องมีความเข้มข้นมากกว่าความเข้มข้นที่ใช้ใน กระบวนการอัดน้ ายา ไม้ที่ผ่านกระบวนการแช่ด้วยสารป้องกันรักษาเนื้อไม้ ที่เหมาะสมกับงานภายนอกอาคาร สามารถยืดอายุการใช้งานไม้ได้ 15 - 20 ปี หรือมากกว่า การต้มในน้ ายาร้อนและแช่น้ ายาเย็น (hot and cold bath) เป็นการต้ม ไม้ในถังเปิดที่บรรจุน้ ายาป้องกันรักษาเนื้อไม้ ที่ให้ความร้อน เสร็จแล้วทิ้งไว้ให้เย็นจนถึง อุณหภูมิปกติ หรือน าไม้ที่ต้มนั้นไปแช่ในน้ ายาที่ อุณหภูมิปกติในถังอีกใบหนึ่ง ระยะเวลาที่ใช้ใน การต้มและแช่ในน้ ายาเย็นนี้ประมาณ 1-12 ชั่วโมง และแช่น้ าเย็นไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมง น้ ายาป้องกันรักษาเนื้อไม้ที่ใช้เป็นสารเคมีพวกน้ ามัน เช่น ครีโอโสต เนื่องจาก สามารถต้มได้ที่อุณหภูมิถึง 100 องศาเซลเซียส


114 | บ ท ที่ 6 กรรมวิธีบูเชอรี่ (boucherie process) เป็นการอาบน้ ายาป้องกันรักษาไม้ โดยเฉพาะไม้สดหรือไม้ท่อนทั้งเปลือก กรรมวิธีนี้ใช้ อุปกรณ์ที่ประกอบด้วย ถุงหรือถังบรรจุน้ ายา ท่อ ปล่อยน้ ายา สายยาง และอุปกรณ์ส าหรับสวมเข้ากับ โคนท่อนไม้ (cap) น้ ายาที่ใช้ต้องเป็นยาประเภทเกลือ เคมีละลายในน้ าเท่านั้น การอาบน้ ายาไม้วิธีนี้ต้องตั้ง ถังบรรจุน้ ายาให้สูงจากพื้นดินประมาณ 5 เมตร แล้ว ปล่อยน้ ายาตามท่อมายังอุปกรณ์ที่สวมเข้ากับหัวไม้ ด้านโคน โดยวางไม้ให้ด้านโคนสูงกว่าด้านปลายไม้ เล็กน้อย อาศัยน้ าหนักของน้ ายาเป็นก าลังช่วยดันน้ ายาผ่านท่อนไม้ เข้าไป แทนที่น้ าเลี้ยงของไม้ ไม้ที่อาบน้ ายาโดยวิธีนี้ควรมีความยาว 1.5-2 เมตร ถ้ามี ความยาวมากอาจต้องใช้แรงดันช่วยอัดน้ ายา กรรมวิธีนี้ถ้าใช้ยางในของ รถยนต์เรียกว่า tire-tube process หรือ capping process ❖ การอัดน้ ายาไม้ (pressure impregnation) เป็นกระบวนการรักษาเนื้อไม้ ที่ใช้อย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมไม้แปรรูปในปัจจุบัน เนื่องจากมีข้อดีมากกว่า กระบวนการที่ไม่ใช้ความดันหลายประการ เป็นวิธีการที่รักษาสภาพเนื้อไม้ได้ยาวนาน ที่สุด สารเคมีรักษาเนื้อไม้สามารถแทรกซึมเข้าไปในเนื้อไม้ได้ลึกและทั่วถึง เนื้อไม้ สามารถดูดซับสารเคมีได้ดี เป็นกระบวนการที่ควบคุมคุณภาพได้ง่ายและใช้ได้กับไม้ จ านวนมากในคราวเดียวกัน การอัดน้ ายาไม้ท าได้โดยน าไม้เข้าสู่ถังอัดน้ ายา (impregnating cylinder หรือ tank) หลังจากนั้นสูบอากาศออกด้วยปั้มสูญญากาศ (vacuum pump) และใช้เครื่องอัดน้ ายา (hydraulic pump) เพิ่มแรงดันและ อัดน้ ายาเข้าสู่เนื้อไม้ (แผ่นภาพที่ 6.2) ข้อส าคัญของการอาบน้ ายาไม้คือ การเลือกใช้ ชนิดของน้ ายาให้เหมาะสมกับการใช้งานของไม้และลักษณะเฉพาะตัวของไม้ โดยการ อัดน้ ายาสามารถแบ่งออกได้ 3 รูปแบบ ได้แก่ แบบเต็มเซลล์ (full cell process หรือ bethell process) แบบเต็มเซลล์ดัดแปลง (modified full cell process) แล ะ แบบไม่เต็มเซลล์ (empty cell processes หรือ lowry and rueping)


ก า ร ป้ อ ง กั น แ ล ะ รั ก ษ า เ นื้ อ ไ ม้ ย า ง พ า ร า | 115 การอัดน้ ายาแบบเต็มเซลล์ (full cell process หรือ Bethell process) เป็นวิธีที่ง่ายและใช้กันอย่างแพร่หลายที่สุด พัฒนาขึ้นโดย John Bethell ในปี ค.ศ. 1838 กระบวนการเริ่มจากการโหลดไม้เข้าไปในถังอัดน้ ายา ดูดอากาศ ออกจากเนื้อไม้และถังอัดน้ ายาทั้งหมด เติมสารรักษาเนื้อไม้ให้เต็ม จากนั้นอัด เ พิ่ ม แ ร ง ดั น ใ ห้ สู ง ขึ้ น เ ข้ า ไ ป ใ น ถั ง เ พื่ อ ใ ห้ ส า ร ป้ อ ง กั น รั ก ษ า เนื้อไม้แทรกซึมเข้าไปในเนื้อไม้ ดูดสารป้องกันรักษาเนื้อไม้ที่เหลือออกจากถัง และน าไม้ที่ผ่านการอัดสารเคมีไปอบเป็นขั้นตอนสุดท้าย ด้วยกระบวนการ อาบน้ ายาแบบเต็มเซลล์สารป้องกันรักษาเนื้อไม้สามารถแทรกซึมได้ดีที่สุด และมีปริมาณสารเคมีในเนื้อไม้มากที่สุด (เต็มช่องว่างของเซลล์) โดยการแทรกซึมของสารเคมีขึ้นอยู่กับคุณสมบัติในการแทรกซึมของเหลว (permeability) ในไม้แต่ละชนิด เพื่อประสิทธิภาพในการอัดน้ ายาไม้ในไม้ บางชนิดอาจต้องมีกระบวนการอื่น ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ เช่น การท ารอย ตื้น ๆ ทั่วทั้งผิวไม้ (incising) การอบด้วยไอน้ า (steaming) หรือให้ความร้อน ด้วยของเหลวภายในถังอัดน้ ายา ก่


116 | บ ท ที่ 6 การอัดน้ ายาแบบเต็มเซลล์ดัดแปลง (modified full cell process) เป็นการดัดแปลงการอัดน้ ายาแบบเต็มเซลล์เพื่อลดน้ าหนักของไม้โดยลด ปริมาณน้ าในเนื้อไม้ ใช้กับไม้ที่ขนส่งในทันทีเพื่อลดน้ าหนักและค่าใช้จ่ายใน การขนส่ง วิธีการนี้ใช้เวลาหรือระดับของความเป็นสูญญากาศน้อยกว่าการอัด แบบเต็มเซลล์ ท าให้มีปริมาณอากาศหลงเหลืออยู่ในเซลล์เพื่อลดปริมาณสาร ป้องกันรักษาเนื้อไม้ในเซลล์ไม้ การอัดน้ ายาแบบไม่เต็มเซลล์ (empty cell processes หรือ lowry and rueping) กระบวนการที่ออกแบบเพื่อให้สารป้องกันรักษาเนื้อไม้แทรก ซึมเข้าไปในเนื้อไม้แต่ปริมาณสารเคมีไม่มากเท่าการอัดแบบเต็มเซลล์ กระบวนการเริ่มจากปั๊มอากาศภายใต้ความดันสูงเข้าไปในถังที่มีไม้เพื่อให้ อากาศแทรกซึมเข้าไปในเนื้อไม้ ระยะเวลาในการปั๊มอากาศและรักษาความ ดันอาจมีระยะเวลาเพิ่มขึ้นในไม้ที่มีอัตราการแทรกซึมต่ า หลังจากนั้นปล่อย สารเคมีป้องกันรักษาเนื้อไม้เข้าไปในถังด้วยความดันสูงแทนที่อากาศในถัง จนเต็ม เพิ่มความดันเพื่อให้สารเคมีแทรกซึมได้ดีขึ้น จากนั้นดูดสารเคมีออก จากถัง เพื่อก าจัดสารเคมีส่วนเกินท าให้ถังอยู่ภายใต้สภาวะสุญญากาศ การรักษาเนื้อไม้โดยไม่ใช้สารเคมีป้องกันรักษาเนื้อไม้ ❖ อีพ็อกซี่เรซิ่น (epoxy resins) อีพ็อกซี่เรซิ่นสามารถน ามาใช้ทั้งการรักษาเนื้อไม้และใช้เป็นฉนวนในการป้องกัน ความชื้นให้กับไม้ นอกจากนี้ยังสามารถน ามาใช้ในการซ่อมแซมโครงสร้างที่ผุพัง บางส่วนจากการใช้งาน โดยการน าส่วนที่ผุพังออกและใช้อีพ็อกซี่เรซิ่นทาทับหรือใช้ ชนิดที่มีความหนืดสูงเติมส่วนที่ผุพังให้เต็ม และตกแต่งหรือทาสีให้พร้อมใช้งานได้ เช่นเดิม


ก า ร ป้ อ ง กั น แ ล ะ รั ก ษ า เ นื้ อ ไ ม้ ย า ง พ า ร า | 117 ❖ การอัดน้ ายาไม้ด้วยไบโอพอลิเมอร์ (biological modified timber) การอัดไบโอพอลิเมอร์ที่ผลิตจากเศษเหลือจากอุตสาหกรรมการผลิตน้ าตาลทราย หรือขยะชีวภาพอื่น ๆ ภายใต้ความดันเข้าไปในเนื้อไม้ ไบโอพอลิเมอร์ผลิตโดยการใช้ ชานอ้อยหรือเศษเหลือจากการเกษตรอื่นๆ น ามาหมักเพื่อผลิตเฟอร์ฟิวริลแอลกอฮอล์ (furfuryl alcohol) เมื่อผ่านกระบวนการควบแน่น เฟอร์ฟิวริลแอลกอฮอล์จะจับตัวกัน เป็นสายยาวขึ้น (pre-polymers) สารดังกล่าวจะถูกน ามาใช้ในกระบวนการอัดน้ ายา ด้วยความดัน ไม้เนื้ออ่อนหรือไม้โตเร็วที่ผ่านการอัดน้ ายาด้วยเฟอร์ฟิวริลแอลกอฮอล์พ รี โ พ ลิ เ ม อ ร์ จ ะ ถู ก น า ม าอ บ แ ห้ง ที่ ค ว า ม ร้ อ น เ พื่ อใ ห้ เ กิ ด ก า ร จั บ ตั ว ข อง พรีโพลิเมอร์กับเซลล์เนื้อไม้จนเกิดปฏิกิริยาโพลิเมอร์ไรเซชั่น (polymerisation) ท าให้ ไม้มีสี(แผ่นภาพที่ 6.3) และทนทานต่อการเข้าท าลายของจุลินทรีย์และความคงทน ใกล้เคียงกับไม้เนื้อแข็งชนิดอื่น ๆ ❖ การรักษาเนื้อไม้ด้วยปฏิกริยาอะซิติลเลชั่น (wood acetylation) ปฏิกริยาอะซิติลเลชั่นเป็นปฏิกริยาที่เปลี่ยนสารไฮดรอกซิลอิสระ ( free hydroxyls) ที่จับตัวกับน้ าได้ดีในเนื้อไม้ เป็นสาเหตุของการบิด โก่ง ของเนื้อไม้และ การผุพังของไม้แปรรูปด้วยอะซิติกแอนไฮไดรด์เป็นสารหมู่อะซิติล (acetyl groups) เมื่อสารไฮดรอกซิลอิสระในเนื้อไม้เปลี่ยนเป็นสารหมู่อะซิติล เนื้อไม้จะลดอัตราการดูด ซับน้ าลง ท าให้ไม้ไม่เสียรูปง่ายและลดการถูกย่อยสลายของไม้ไม้ไม่ผุพังง่าย มีความ ทนทานต่อการเข้าท าลายของไม้ของราและแมลงท าลายไม้ ก่


118 | บ ท ที่ 6 ❖ การอบไม้ด้วยอุณภูมิสูง (thermally modified wood) เป็นกระบวนการอบไม้ที่อุณภูมิสูง 180 - 230 องศาเซลเซียส ภายใต้สภาพ ที่ไม่มีออกซิเจน เพื่อป้องกันการไหม้ ความร้อนสูงท าให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง ทางเคมีของผนังเซลล์ในเนื้อไม้ (ลิกนิน เซลลูโลส เฮมิเซลลูโลส) ไม้ที่ได้มีสีเข้มขึ้น มีความทนทานตามธรรมชาติเพิ่มขึ้นและลดการเข้าท าลายของแมลง ไม้ที่ผ่าน กระบวนการดังกล่าวมีอัตราการดูดและเสียความชื้นลดลง มีการเสียรูป โก่งตัว หดตัว ลดลง สามารถใช้งานได้ดีทั้งภายนอกและภายในอาคาร แต่ไม้มีความแข็งแรงลดลง ปัจจุบันการอบไม้ด้วยความร้อนสูงมีกระบวนการในการผลิต 6 กระบวนการด้วยกัน ได้แก่ Westwood Process, Plato Process, Retification, Les Bois Perdure, Oil Heat Treatment และ Thermo Wood ในแง่ของวัสดุ ไม้ยางพารามีคุณสมบัติโดดเด่นหลายประการ ทั้งคุณสมบัติ ทางกายภาพและเชิงกล รวมทั้งกระบวนการปลูกเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และถึงแม้ว่า ไม้ยางพาราจะมีข้อด้อยในแง่ของความทนทานตามธรรมชาติ แต่ข้อด้อยนี้สามารถ ปรับปรุงได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยกระบวนการต่าง ๆ ทั้งกระบวนการที่ใช้สารเคมี และไม่ใช้เคมีดังได้กล่าวมาแล้วข้างต้น วิธีการที่เหมาะสมขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ของการ ใช้งานและขนาดการผลิต ปัจจุบันในอุตสาหกรรมไม้ยางพาราแปรรูป ซึ่งใช้เป็นวัสดุ ก่อสร้างและเป็นวัสดุในการผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ กระบวนการรักษาเนื้อไม้ส่วนใหญ่ ใช้วิธีการอัดน้ ายารักษาเนื้อไม้ในกลุ่มโบรอนอนินทรีย์โดยใช้ความดัน เนื่องจากสาร กลุ่มดังกล่าวมีความปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่าสารกลุ่มอื่น ๆ กรรมวิธีการอัดและความเข้มข้นขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการใช้ไม้ เช่น เครื่องครัว ของเล่นเด็ก ของใช้ภายในบ้านเรือนใช้ความเข้มข้นต่ ากว่าการใช้งานในงานก่อสร้าง อย่างไรก็ตาม สารกลุ่มนี้ละลายน้ าดีท าให้มีข้อจ ากัดส าหรับไม้ยางพาราที่ใช้งาน ภายนอกอาคาร ไม้ยางพาราส าหรับใช้งานภายนอกยังมีความจ าเป็นในการใช้สารเคมี ในกลุ่มอื่นที่เป็นมิตรน้อยกว่า การรักษาเนื้อไม้โดยกรรมวิธีอื่น ๆ ที่ไม่ใช้สารเคมี ปัจจุบันยังคงเป็นวิธีการทางเลือกเนื่องจากมีต้นทุนสูง หรือกระบวนการท าให้คุณสมบัติ เชิงกลของไม้ลดลง


ก า ร ป้ อ ง กั น แ ล ะ รั ก ษ า เ นื้ อ ไ ม้ ย า ง พ า ร า | 119 บรรณานุกรม จารุณี วงศ์ข้าหลวง และไพวรรณ เล็กอุทัย. 2524. การใช้สารเคมีในการป้องกันมอดท าลายไม้. หนังสือประชุม วิชาการป่าไม้, กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ. ธีระ วีณิน. 2549. การรักษาคุณภาพไม้. ส านักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. กรุงเทพฯ. 38 หน้า. ไพวรรณ เล็กอุทัย. 2524. มอดชนิดต่าง ๆ ที่ท าลายไม้. การประชุมการป่าไม้ปี 2524 สาขาวนผลิตภัณฑ์, กรมป่า ไม้, กรุงเทพฯ. วิสุทธิ์ สิทธิฉายา และ อรัญ งามผ่องใส. 2552. การส ารวจและศึกษาผลของพันธุ์ยางพาราต่อชีววิทยาการสืบพันธุ์ ของมอดท าลายไม้ยางพาราในภาคใต้. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. มหาวิทญาลัยสงขลานครินทร์. 96 หน้า. Archer, K. and Lebow, S.T. 2006. Wood preservation. pp 297-338. In. Walker, J.C.F. ed. Primary wood processing, Principles and Practice. Springer, Dordrecht. Barnes, M.H. 2007. Wood protection 2006. Publication No. 7229. Forest Products Society, Madison, WI. 388 pp. Cookson, L.J. 2004. Treatment Methods for the Protection of Hardwood Sapwood from Lyctine Borers. Forest and Wood Products Research and Development Corporation, Australia. 24 pp. Creffield, J.W. 1991. Wood Destroying Insects, Wood Borers and Termites. CSIRO Publications, East Melbourne. 44 pp. Eaton, R.A. and Hale, M.D.C. 1993. Wood: Decay, Pests and Protection. Chapman and Hall, New York. 546 pp. Sandberg, D. and Kutnar, A. 2016. Thermally modified timber: Recent developments in Europe and North America. Wood and Fiber Science: Journal of the Society of Wood Science and Technology 48: 28-39. Sittichaya, S. and Beaver, R. 2009. Rubberwood-destroying beetles in the eastern and gulf areas of Thailand (Coleoptera: Bostrichidae, Curculionidae: Scolytinae and Platypodinae). Songklanakarin Journal of Science and Technology 31: 381-387.


120 | บ ท ที่ 6 Thomasson, G., Capizzi, J., Dost, F., Morrell, J. and Miller, D. 2015. Wood Preservation and Wood Products Treatment: Training Manual. Oregon State University Extention Service, Oregon. 24 pp. United States Department of Agriculture Forest Service. 2010. Wood Handbook: Wood as an Engineering Material. General Technical Report FPL-GTR-190. Wisconsin. 508 pp. Wong, A.H.H., Kim, Y.S., Singh, A.P. and Ling, W.C. 2005. Natural durability of tropical species with emphasis on Malaysian hardwoods - Variations and prospects. The International Research Group on Wood Preservation. Paper prepared for the 36th Annual Meetig Bangalore, India. 24 - 28 April 2005.


ม า ต ร ฐ า น ไ ม้ แ ล ะ วั ส ดุ จ า ก ไ ม้ เ พื่ อ ก า ร ส่ ง อ อ ก I S P M 1 5 | 121 บทที่ 7 มาตรฐานไม้และวัสดุจากไม้เพื่อการส่งออก ISPM 15 International Standards for Phytosanitary Measures No. 15 มาตรฐานไม้และวัสดุจากไม้เพื่อการส่งออกเป็นมาตรฐานที่ก าหนดขึ้นตาม อนุสัญญา IPPC (International Plant Protection Convention) ซึ่งมีภาคีสมาชิก แล้ว 183 ประเทศ จาก 7 ภูมิภาคทั่วโลก เป็นข้อตกลงระหว่างประเทศด้านสุขอนามัย พืช ก าหนดขึ้นเพื่อป้องกันไม่ให้มีการแพร่กระจายของโรคและแมลงศัตรูพืชที่อาจติด มากับสินค้าขนส่งระหว่างประเทศ มาตรฐาน ISPM 15 (International Standards for Phytosanitary Measures No. 15: Guidelines for Regulating Wood Packing Material in International Trade) เป็นมาตรฐานระหว่างประเทศว่าด้วยแนวปฏิบัติ และการขอใบรับรองและขอประทับตราเครื่องหมายรับรองส าหรับควบคุมวัสดุบรรจุ ภัณฑ์ที่เป็นเนื้อไม้ในการค้าระหว่างประเทศ ก าหนดให้ไม้หรือบรรจุภัณฑ์จากไม้ที่หนา กว่า 6 มิลลิเมตรขึ้นไปต้องท าตามมาตรฐาน เพื่อป้องกันแมลงท าลายไม้ เช่น มอดขี้ขุย (Bostrichidae) แมลงทับ (Buprestidae) ด้วงหนวดยาว (Cerambycidae) ด้วงงวง (Curculionidae) มอดเจาะเปลือกไม้ (Scolytinae) ปลวก (Isoptera) และแมลงอื่น ๆ (ตารางที่ 7.1) ติดไปกับไม้และเกิดผลกระทบต่อพรรณพืชและระบบนิเวศ ภายในประเทศผู้น าเข้าวัสดุหรือบรรจุภัณฑ์ที่ท าจากไม้ วั ส ดุบ ร ร จุภัณฑ์ไ ม้ (wood packing material) ห ม า ย ถึง วั ส ดุห รื อ ส่วนประกอบที่ใช้บรรจุสินค้าที่ท าจากไม้ (ไม่รวมผลิตภัณฑ์กระดาษ) เป็นบรรจุภัณฑ์ หรืออุปกรณ์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการขนส่งสินค้าไปต่างประเทศ ได้แก่ ลังไม้แบบโปร่ง (crating) กล่องไม้ (packing block) ถังไม้ (drums) ไม้รองรับสินค้า (pallet) วัสดุไม้ กันกระแทก (dunnage) ลังไม้แบบทึบ (case) ไม้รองมุมกันกระแทก (pallet collars) ไม้รองลาก (skids) แท่นรองยก (load boards) ไม้ท่อนสั้นบรรจุหีบห่อ ไม้แผ่น รับน้ าหนัก และไม้ลูกระนาด ต้องผ่านวิธีการควบคุมก าจัดศัตรูพืชและประทับตรา เครื่องหมายรับรอง ยกเว้น วัสดุบรรจุภัณฑ์ที่ผลิตจากไม้แปรรูป หรือผลิตภัณฑ์ไม้


122 | บ ท ที่ 7 ที่ผ่านการแปรสภาพโดยใช้กาว ความร้อน ความดันหรือวิธีข้างต้นร่วมกัน ได้แก่ ไม้อัด (plywood) แผ่นชิ้นไม้อัด (particleboard) แผ่นแถบไม้อัดเรียงเสี้ยน (oriented stand board) ไม้แผ่นบาง (veneer) ถังไวน์หรือถังหมักสุราที่ได้รับความร้อนใน กระบวนการผลิต กล่องของขวัญไม้ส าหรับใส่ไวน์ ซิการ์ หรือสินค้าอื่น ๆ ที่ผ่าน กระบวนการหรือผลิตด้วยวิธีที่ปลอดศัตรูพืช ขี้เลื่อย (sawdust) ขี้กบ (wood shaving) ฝอยไม้ (wood wool) และไม้ที่เป็นส่วนประกอบแบบถาวรบนพาหนะที่ใช้ ขนส่งสินค้าและตู้สินค้า ตารางที่ 7.1 ศัตรูพืชส าคัญในวัสดุบรรจุภัณฑ์ไม้ มาตรการควบคุมก าจัดศัตรูพืชบนวัสดุบรรจุภัณฑ์ไม้ตามมาตรฐาน ISPM 15 ข้อก าหนด: ใช้ไม้ที่ก าจัดเปลือกออก(use of debarked wood) วัสดุบรรจุภัณฑ์ ไม้ต้องท ามาจากไม้ที่ผ่านกระบวนการก าจัดเปลือกออก เปลือกชิ้นเล็ก ๆ สามารถ หลงเหลืออยู่ได้หากมีขนาดกว้างไม่เกิน 3 ซม. (ไม่ก าหนดความยาว) หรือมีขนาดความ กว้างมากกว่า 3 ซม. ได้แต่พื้นที่ของเปลือกชิ้นนั้นทั้งหมดต้องไม่เกิน 50 ซม3 การรม


ม า ต ร ฐ า น ไ ม้ แ ล ะ วั ส ดุ จ า ก ไ ม้ เ พื่ อ ก า ร ส่ ง อ อ ก I S P M 1 5 | 123 ด้วยเมทิลโบรไมด์ต้องก าจัดเปลือกออกก่อน เนื่องจากมีผลต่อประสิทธิภาพของ เมทิลโบรไมด์ ส่วนการอบด้วยความร้อนอาจก าจัดเปลือกออกก่อนหรือหลังการอบ ❖ วิธีการอบไม้ด้วยความร้อน (heat treatment) เป็นกระบวนการก าจัด แมลงและศัตรูท าลายไม้อื่น ๆ โดยน าไม้ที่จะประกอบเป็นวัสดุหรือบรรจุภัณฑ์ไม้ไปผ่าน ความร้อนด้วยวิธีต่าง ๆ จนกระทั่งทุกส่วนของชิ้นไม้รวมทั้งแกนกลางของไม้ได้รับความ ร้อนไม่น้อยกว่า 56 องศาเซลเซียส เป็นระยะเวลาต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 30 นาที ซึ่งท า ได้หลายวิธีการ เช่น การอบด้วยไอน้ า (conventional steam heating) เป็นการอบไม้ที่นิยมใช้ กับไม้ยางพาราในปัจจุบัน เป็นการท าให้ไม้แห้งด้วยการดึงความชื้นออกจากเนื้อไม้ โดยใช้ไอร้อนจากการต้มน้ าให้เดือดปรับสมดุลความชื้นสัมพัทธ์ภายในเตาท าให้ไม้ คายความชื้นออกมา แล้วไล่ความชื้นออกจากเตาอบไม้จนไม้แห้ง ปัจจุบันมีการ พัฒนาวิธีการอบไม้ด้วยไอน้ าหลากหลายวิธี เช่น การอบไม้แบบดูดความชื้น การอบไม้ด้วยไอน้ าแบบต่อเนื่อง โดยพลังงานหลักที่ให้ความร้อนกับเตาอบไม้ ประเภทนี้ ได้แก่ เศษไม้หรือขี้เลื่อย ที่ได้จากกระบวนการแปรรูปไม้ การอบแห้ง (kiln drying) เป็นการท าให้ไม้แห้งด้วยการดึงความชื้นออกมา จากเนื้อไม้ โดยใช้ความร้อนหรือลมร้อนเป็นตัวเร่งท าให้ความชื้นในเนื้อไม้แห้ง ตามความชื้นที่ต้องการ มีหลายวิธีการ เช่น การอบไม้ด้วยพลังงานความร้อนจาก แสงอาทิตย์ (solar kilns) ซึ่งมักพบในระดับครัวเรือนและอุตสาหกรรมไม้ขนาดเล็ก หรือการอบไม้โดยควบคุมอุณหภูมิความร้อนในระดับอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ซึ่งมัก พบในอุตสาหกรรมไม้ในต่างประเทศ (แผ่นภาพที่ 7.1) การอัดน้ ายาไม้โดยอาศัยความร้อน (heat-enabled chemical pressure impregnation) เป็นการอบไม้โดยใช้ความร้อนเป็นตัวเร่งความชื้นในเนื้อไม้ แล้วใช้ สารเคมีรักษาเนื้อไม้และแรงดันในการผลักโมเลกุลของสารเคมีเข้าสู่เนื้อไม้แทนที่ ความชื้นในเนื้อไม้ และใช้ลมร้อนในการท าให้ไม้แห้ง


124 | บ ท ที่ 7 การอบด้วยคลื่นความร้อน [dielectric heating (microwave)] เป็นการอบ ไม้ให้แห้งโดยอาศัยคลื่นไมโครเวฟ เนื่องจากเมื่อคลื่นไมโครเวฟเข้าไปในไม้ที่มี ความชื้น ซึ่งประกอบด้วยโมเลกุลของน้ าที่มีขั้ว เคลื่อนไมโครเวฟท าให้โมเลกุล เหล่านั้นเคลื่อนที่สลับขั้วไปมาอย่างรวดเร็วจากแรงกระท าของสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ของคลื่นไมโครเวฟ และเกิดการชนกันระหว่างโมเลกุลจนเกิดเป็นความร้อนขึ้น ภายในวัสดุ เรียกว่า dielectric heating การให้ความร้อนด้วยเคลื่อนไมโครเวฟ ใช้ กับไม้ที่มีปริมาตรไม่เกิน 20 ลูกบาศก์เซนติเมตร ทุกส่วนของไม้ต้องร้อนอย่างน้อย 60 องศาเซลเซียส ต่อเนื่องอย่างน้อย 1 นาที (การให้ความร้อนด้วยวิธีนี้บริเวณแกน ไม้มีอุณภูมิสูงสุดซึ่งตรงข้ามกับการอบด้วยความร้อนที่บริเวณผิวมีอุณหภูมิสูงสุด) ไม้ที่หนากว่า 5 เซนติเมตรต้องใช้ความร้อนอย่างน้อย 2.45 GHz มีต้นก าเนิดคลื่น 2 ทาง หรือมีท่อน าคลื่น (waveguide) หลายท่อในการให้ความร้อนแก่ไม้ เพื่อให้ไม้มี อุณหภูมิที่ก าหนดทั่วถึงสม่ าเสมอทั้งชิ้นไม้ ❖ วิธีการรมไม้ด้วยเมทิลโบรไมด์ (methyl bromide fumigation) การใช้ สารเคมีกลุ่มเมทิลโบรไมด์รมให้สารเคมีเข้าสู่แกนกลางไม้ให้ได้ค่าระยะเวลาที่สารมี ความเข้มข้นในผลิตภัณฑ์ (concentration-time product) ตามที่ก าหนดดังตารางที่ 2 แต่เนื่องจากเมทิลโบรไมด์สลายตัวอย่างรวดเร็วจึงต้องตรวจวัดคาความเข้มข้น ทุก ๆ 2 4 12 และ 24 ชั่วโมง ทั้งนี้สารเมทิลโบรไมด์เป็นสารพิษ นอกจากส่งผลกระทบต่อ ศัตรูเป้าหมายแล้ว ยังส่งผลต่อสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ รวมถึงต่อมนุษย์ด้วย การใช้สารเคมีชนิด นี้จึงเป็นการเสี่ยงอันตรายและต้องใช้ความระมัดระวังในการใช้งาน นอกจากนั้นเมทิล โบรไมด์ยังมีส่วนส าคัญต่อการท าลายชั้นโอโซน สาเหตุภาวะโลกร้อนในปัจจุบัน ท าให้ หลายประเทศพยายามลดการใช้วิธีรมไม้ด้วยเมทิลโบรไมด์ และหันไปใช้วิธีการอบไม้ ด้วยความร้อนและหาทางเลือกอื่นทดแทน (ตารางที่ 7.2)


ม า ต ร ฐ า น ไ ม้ แ ล ะ วั ส ดุ จ า ก ไ ม้ เ พื่ อ ก า ร ส่ ง อ อ ก I S P M 1 5 | 125 ก่


126 | บ ท ที่ 7 ตารางที่7.2 ค่า Concentration-time product (CT) แกนกลางไม้ที่ผ่านมาตรฐาน อุณหภูมิ ค่า CT (g·h/m3 ) ในระยะเวลา 24 ชั่วโมง ความเขมขนสุดทายต่ าสุด (g/m3) 2 ชม. 4 ชม. 12 ชม. 24 ชม. 21o C หรือสูงกว่า 650 36 31 28 24 16o C หรือสูงกว่า 800 42 36 32 28 11o C หรือสูงกว่า 900 48 42 36 32 ดัดแปลงจาก: IPPC, ISPM 15 เครื่องหมายรับรองบนวัสดุบรรจุภัณฑ์ไม้ วัสดุบรรจุภัณฑ์ไม้ที่ผ่านวิธีควบคุมก าจัดศัตรูพืช และผ่านการประทับตรา สัญลักษณ์ IPPC (แผ่นภาพที่7.2) ลงบนไม้เพื่อยืนยันว่าได้ผ่านกระบวนการถูกต้อง ตามมาตรฐานแล้ว ต้องมีการเก็บรักษาและต้องขนส่งภายในระยะเวลาที่เหมาะสม คือ ต้องเก็บวัสดุบรรจุภัณฑ์ไม้ไว้ในโกงดังที่มิดชิด ไม่มีรอยแตกร้าว ไม่วางบรรจุภัณฑ์ไว้ ปะปนกับไม้สดหรือสินค้าอื่นที่เปียกชื้น และควรใช้วัสดุบรรจุภัณฑ์ไม้ในการบรรจุสินค้า ส่งไปต่างประเทศทันที หรือไม่ควรเกิน 2-3 สัปดาห์ หลังผ่านการรับรองว่าปราศจาก ศัตรูพืช ส าหรับประเทศไทย ก าหนดให้กรมวิชาการเกษตร และ กระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ ท าหน้าที่เป็นองค์กรอารักขาพืชแห่งชาติ (National Plant Protection Organization (NPPO)) ของประเทศไทย ภายใต้พระราชบัญญัติกักพืช ปี พ.ศ.2507 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ 2) ปี พ.ศ. 2542 และพระราชบัญญัติ กักพืช (ฉบับที่ 3) ปี พ.ศ. 2551 การควบคุมการน าเข้าส่งออกวัสดุบรรจุภัณฑ์พืช ตรวจสอบและออกใบรับรองสุขอนามัยพืชระหว่างประเทศ รวมทั้งศึกษา วิจัย พัฒนา งานด้านศัตรูพืช และถ่ายโอนเทคโนโลยีงานอารักขาพืชให้กับเกษตรกร หน่วยงาน ราชการที่เกี่ยวข้อง และภาคเอกชน


ม า ต ร ฐ า น ไ ม้ แ ล ะ วั ส ดุ จ า ก ไ ม้ เ พื่ อ ก า ร ส่ ง อ อ ก I S P M 1 5 | 127 ในกระบวนการผลิตไม้ยางพาราแปรรูปเพื่อใช้เป็นวัสดุพื้นฐานต่าง ๆ (ยกเว้น ไม้ที่ใช้งานชั่วคราวซึ่งส่วนใหญ่ใช้ไม้ตกเกรด) ต้องผ่านกระบวนการอัดน้ ายาไม้และ อบไม้ที่ความร้อนสูง หรือผ่านกระบวนการที่ใช้ความร้อนสูงเกินกว่ามาตรฐานไม้และ วัสดุจากไม้เพื่อการส่งออก ISPM 15 ท าให้ไม้เหล่านี้ได้รับยกเว้นไม่ต้องผ่าน กระบวนการการตามมาตรฐาน ISPM 15 วัสดุไม้ยางพาราอื่น ๆ ที่ไม่ผ่านกระบวนการ อัดน้ ายาและอบแห้ง ต้องผ่านกระบวนการตามมาตรฐาน ISPM 15 โดยข้อที่ควร ระมัดระวังที่ส าคัญในกระบวนการตามมาตรฐานดังกล่าว ได้แก่ การน าเปลือกไม้ออก ตามมาตรฐาน เนื่องจากมีผลต่อประสิทธิภาพทั้งของการอบด้วยความร้อนและการรม ด้วยสารรม ในการอบด้วยความร้อนต้องระมัดระวังให้ระดับอุณหภูมิระหว่างการให้ ความร้อนไม่ต่ ากว่าค่าที่ก าหนดตลอดช่วงระยะเวลาการให้ความร้อน และการรมด้วย สารรมต้องค านึงถึงวัสดุไม้แต่ละชนิด เนื่องจากมีความสามารถให้สารรมแทรกผ่าน ไม่เท่ากัน กระบวนการรมโดยเฉพาะระดับความเข้มข้นของสารรมต้องไม่ต่ ากว่าระดับ ที่แนะน าตลอดระยะเวลาของการรมที่ก าหนด การรั่วซึมของสารจากวัสดุคลุม หรือ โรงเรือนในการรมที่ไม่ได้มาตรฐานจะท าให้ประสิทธิภาพลดลง ชนิดของแมลง ระยะ การเจริญเติบโต และพื้นที่กระจายของแมลง (แมลงชนิดเดียวกันแต่พื้นที่ ก่


128 | บ ท ที่ 7 การแพร่กระจายต่างกัน อาจมีความต้านทานต่อสารรมแตกต่างกัน) เป็นอีกปัจจัยที่ ต้องค านึงถึง เนื่องจากปัจจัยเหล่านี้มีผลต่อความทนทานและต้านทานของแมลงต่อสาร รม


ม า ต ร ฐ า น ไ ม้ แ ล ะ วั ส ดุ จ า ก ไ ม้ เ พื่ อ ก า ร ส่ ง อ อ ก I S P M 1 5 | 129 บรรณานุกรม ISPM No. 15, Guidelines for regulating for packaging material in international trade (2006) ส านักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ. 2561. เครือข่ายข้อมูลด้านสุขอนามัยพืชของประเทศไทย (IPPC Thailand), สืบค้นเมื่อ 2 เมษายน 2562. จาก http://ippc.acfs.go.th/ippc.php.


130 | บ ท ที่ 8 บทที่ 8 การป้องกันและก าจัดมอดในโรงงาน Wood Borers Managment ในอุตสาหกรรมแปรรูปไม้ยางพาราและอุตสาหกรรมที่ต่อเนื่องที่ต้องการ ลดต้นทุนหรือเพื่อความปลอดภัยต่อผู้บริโภคตามมาตรฐานสินค้าระหว่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช้สารป้องกันรักษาไม้หรือใช้ในอัตราต่ า เช่น อุตสาหกรรมไม้เทียม อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไม้ในครัวเรือนและของเล่นเด็กจากไม้ ยางพารา มีความเสี่ยงสูงที่มอดขี้ขุยจะเข้าท าลาย ส่วนมากในอุตสาหกรรมเหล่านี้ จะ ส ารองวัตถุดิบ ชิ้นส่วนผลิตภัณฑ์ และจัดเก็บผลิตภัณฑ์เป็นระยะเวลาหนึ่งด้วยสาเหตุ ต่าง ๆ ในขั้นตอนนี้มักเสี่ยงต่อการถูกท าลายโดยมอดขี้ขุย มอดขี้ขุยเทียมอาจเข้า ท าลายในขั้นตอนนี้และอาจพบการเข้าท าลายของมอดก่อนน าไม้หรือชิ้นส่วนไป ประกอบเป็นผลิตภัณฑ์แต่หากในกระบวนการผลิตไม่ระวังมากพอมอดอาจติดไปกับ ผลิตภัณฑ์และมักพบความเสียหายเมื่อสินค้าอยู่ในมือของผู้บริโภค และมีความเสี่ยง มากขึ้นหากมอดขี้ขุยแท้เข้าท าลาย เนื่องจากมอดไม่ท าลายเนื้อไม้แต่จะวางไข่เท่านั้น ท าให้สังเกตเห็นได้ยากมาก รวมทั้งการป้องกันท าได้ยากเช่นเดียวกัน ในกระบวนการแปรรูปไม้ยางพาราและผลิตผลิตภัณฑ์จากไม้ยางพารา ทุกกระบวนการ ตั้งแต่การกองและส ารองไม้ท่อนบนลานไม้ การแปรรูปและการผลิตไม้ เทียม การเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ชิ้นส่วน และการใช้พาเลทไม้ยางพาราที่ไม่อัดน้ ายา รักษาเนื้อไม้ในกระบวนการผลิตมีความเสี่ยงต่อการถูกมอดเข้าท าลาย ความเสียหายเหล่านี้ สะสมทวีความรุนแรงมากขึ้นเมื่อเวลาผ่านไปเนื่องจากมอดสามารถเพิ่มจ านวนและ สะสมประชากรในโรงงานได้มากขึ้นและกระจายตามแหล่งต่าง ๆ ภายในโรงงาน ความ เสี่ยงจะเพิ่มมากขึ้นเมื่อระยะเวลาในการเก็บไม้และผลิตภัณฑ์หรือชิ้นส่วนนานมากขึ้น นอกจากนี้การจัดการวัตถุดิบภายในโรงงานที่ไม่ดีหรือการประเมินสภาวะการตลาด ผิ ด พ ล า ด ก า ร กั ก ตุ น วั ต ถุ ดิบ ชิ้ น ส่ ว น แ ล ะ ผ ลิ ต ภั ณฑ์ ม า ก เ กิ นไ ป ก็ เ พิ่ ม ความเสี่ยงในการถูกท าลายมากขึ้น


ก า ร ป้ อ ง กั น แ ล ะ ก า จั ด ม อ ด ใ น โ ร ง ง า น | 131


132 | บ ท ที่ 8 ในการป้องกันและลดผลกระทบจากมอดท าลายไม้ยางพาราในระดับโรงงาน มีหลักการส าคัญอยู่ 3 ประการด้วยกัน ได้แก่ “สะอาด-ป้องกันดีกว่าแก้ไข” “First in First out” และ “Monitoring and Report” “สะอาด - ป้องกันดีกว่าแก้ไข” ตรวจไม้ก่อนเข้าโรงงาน ก าจัดแหล่งวัสดุไม้แหล่งอาหารของมอดสาเหตุหลัก ของการระบาดของมอดในโรงงาน จัดเรียงวัสดุให้เป็นระเบียบเข้าถึงง่ายสะดวกแก่การ สังเกตเมื่อมอดเข้าท าลาย แนวปฏิบัติ 1. ตรวจสอบและบันทึกไม้ที่เข้าโรงงานว่ามีมอดเข้าท าลายหรือไม่ เพื่อป้องกันมอดเข้า มาแพร่ระบาดภายในโรงงาน 2. ไม้ท่อน ไม้แปรรูป ชิ้นส่วนจากผู้รับผลิตภายนอกควรตรวจสอบการปนเปื้อน อย่างละเอียดก่อนรับสินค้า ก่อนรับไม้เข้าโรงงานให้ตรวจความชื้นบริเวณหัวไม้ เพื่อ ประเมินความเสี่ยงในการเข้าท าลายของมอดไม้ท่อน หากไม้มีความชื้นต่ ากว่าร้อย ละ 30 ให้น าไปใช้ในล าดับต้น ๆ เพื่อป้องกันการเข้าท าลายของมอด 3. เศษไม้ ปลายไม้ ไม้เสีย ให้จัดเก็บในพื้นที่เฉพาะแยกจากไม้ปกติ และไม่สะสมไว้ เป็นเวลานาน ยิ่งนานก็ยิ่งเสี่ยงต่อการเข้าท าลายของมอด และเป็นแหล่งการระบาด ของมอดไปยังบริเวณอื่น ๆ ในโรงงาน 4. จัดเรียงวัตถุดิบ ไม้แปรรูป ไม้บาง เศษไม้ ชิ้นส่วนและผลิตภัณฑ์ให้เป็นระเบียบ ตามล าดับการผลิต เพื่อง่ายต่อการสังเกตเมื่อมอดเข้าท าลาย และลดความเสี่ยงใน การเข้าท าลายของมอด “First in First out” การบริหารวัตถุดิบไม้และผลผลิตในคลังสินค้าเพื่อลดการเข้าท าลายและเพิ่ม จ านวนของมอด ปัญหาการเข้าท าลายของมอดในโรงงานแปรรูปไม้ยางพาราและ อุตสาหกรรมต่อเนื่องอื่น ๆ ส่วนมากเกิดจากการสะสมและเพิ่มจ านวนของมอดภายใน


Click to View FlipBook Version