The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by info abms, 2020-08-27 06:06:42

วิทยาการคำนวณ ม.1

คำอธิบายรายวิชา






วิทยาการคำนวณ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เวลาเรียน 20 ชั่วโมง




เข้าใจการออกแบบอัลกอริทึมที่ใช้แนวคิดเชิงนามธรรม ภาษาไพทอนกับการแก้ปัญหา การออกแบบ

และเขียนโปรแกรมอย่างง่าย ข้อมูลปฐมภูมิ และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัย

พัฒนาให้เกิดการเรียนรู้ ความเข้าใจหลักการการทำงานของโปรแกรม กระบวนการคิดแก้ปัญหาและ

การคิดอย่างเป็นขั้นตอน พร้อมกับฝึกฝนเพื่อให้เกิดทักษะสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี ซึ่งเป็นทักษะแห่ง


ศตวรรษที่ 21 ที่สำคัญ

















รหัสตัวชี้วัด

ว 4.2 ม.1/1, 2, 3, 4

ี้
รวมทั้งหมด 4 ตัวชวัด

โครงสร้างรายวิชา





โครงสร้างรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิทยาการคำนวณ

ี่
ชั้นมัธยมศึกษาปีท 1 เวลาเรียนรวม 20 ชั่วโมง


ลำดับ หน่วยการเรียนรู้ สาระการเรียนรู้ จำนวน น้ำหนัก

ที่ ชั่วโมง คะแนน

1 การออกแบบอัลกอริทึมที่ใช 1. ขั้นตอนการแก้ปัญหา 3 16

แนวคิดเชิงนามธรรม 2. การถ่ายทอดความคิดของการแก้ปัญหาอย่างมี
ขั้นตอน
3. การแก้ปัญหาด้วยกระบวนการทางเทคโนโลยี

สารสนเทศ
2 ภาษาไพทอนกับการแก้ปัญหา 1. ภาษาคอมพิวเตอร์ 4 20
2. เครื่องมือสำหรับพัฒนาโปรแกรมด้วย
ภาษาคอมพิวเตอร์

3 การออกแบบและเขียนโปรแกรม 1. การพิมพ์คำสั่งใน Editing Window 7 32
อย่างง่าย 2. ตัวอย่างการเขียนโปรแกรม

4 ข้อมูลปฐมภูมิ 1. การรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลปฐมภูมิ 3 16
2. การใช้บริการบนอินเทอร์เน็ตที่หลากหลายใน
การรวบรวมข้อมูล
5 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่าง 1. การใช้สารสนเทศอย่างปลอดภัย 3 16

ปลอดภัย 2. การปกป้องความเป็นส่วนตัวและอัตลักษณ์
3. การพิจารณาความเหมาะสมของเนื้อหา
4. ข้อตกลงและข้อกำหนดในการใช้สื่อหรือ

แหล่งข้อมูลต่างๆ
รวม 20 100



หมายเหต การสอบกลางภาคและปลายภาคใช้เวลารวม 4 ชั่วโมง

หน่วยการเรียนร ู้
การออกแบบอัลกอริทึมที่ใช้แนวคิดเชิงนามธรรม
ที่
1
รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ วิทยาการคำนวณ เวลา 3 ชั่วโมง


แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1/1 การออกแบบอัลกอริทึมที่ใช้แนวคิดเชิงนามธรรม 3

ชั่วโมง




สาระการเรียนรู้


1. การใช้เหตุผลเชิงตรรกะเป็นการนำกฎเกณฑ์ หรือเงื่อนไขที่ครอบคลุมทุกกรณีมาใช้พิจารณาในการ

แก้ปัญหา การอธิบายการทำงาน หรือการคาดการณ์ผลลัพธ์

2. สถานะเริ่มต้นของการทำงานที่แตกต่างกันจะให้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกัน

3. การเดินทางไปโรงเรียนโดยวิธีการต่าง ๆ





สมรรถนะสำคัญ/ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21



1. สมรรถนะสำคัญ

- ความสามารถในการสื่อสาร

- ความสามารถในการคิด

- ความสามารถในการหาเหตุผล


- ความสามารถในการแก้ปัญหา

- ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี

2. ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21

- ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ

- ทักษะการคิดแก้ปัญหา

- ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

- ทักษะการสื่อสาร

- ทักษะการทำงานร่วมกันเป็นทีมและความเข้าใจความแตกต่างของวัฒนธรรม
- ทักษะการคิดสร้างสรรค์และการแสวงหานวัตกรรม

คุณลักษณะอันพึงประสงค์


งง

1. ใฝ่เรียนรู้ : ความตั้งใจในการสืบค้นข้อมูลและการร่วมกิจกรรม
2. มุ่งมั่นในการทำงาน : ความตั้งใจในการทำงานให้เสร็จในเวลาที่กำหนดและมีคุณภาพตาม

เป้าหมาย

3. ซื่อสัตย์สุจริต : การทำงานด้วยความสามารถของตนเองและเป็นความจริง

การออกแบบการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 การออกแบบอัลกอริทึมที่ใช้แนวคิดเชิงนามธรรม



มาตรฐานการเรียนรู้


ตัวชี้วัดชั้นปี


ื่
ออกแบบอัลกอริทึมที่ใช้แนวคิดเชิงนามธรรมเพอแกปัญหาหรืออธิบายการทำงานที่พบในชีวิตจริง (มฐ.
ว 4.2 ม.1/1)

แนวคิดสำคัญ คำถามสำคัญ

1. การออกแบบอัลกอริทึมเป็นการออกแบบขั้นตอนการ 1. นามธรรมคืออะไร

ทำงานของชิ้นส่วนที่จะสร้างขึ้น 2. ปัญหาคืออะไร ขั้นตอนการแก้ปัญหามี

2. แนวคิดเชิงนามธรรม เป็นการคิดเพื่อค้นหาคำตอบของ อะไรบ้าง

ปัญหาที่มีตัวตนอย่างเป็นขั้นตอน ใช้เหตุผล รู้วิธีแบ่งแยก 3. คิดอย่างไรจึงเรียกว่าการคิดอย่างเป็น

และจัดหมวดหมู่สิ่งของ นำความรู้ที่ได้มาประกอบในการ ระบบ

คิดแก้ปัญหาหรืออธิบายการทำงานที่พบในชีวิตจริง 4. อัลกอริทึมมีไว้ใช้ประโยชน์อย่างไร

5. แผนงานกับโครงงานต่างกันอย่างไร

6. เทคโนโลยีสารสนเทศมีความจำเป็นใน

การแก้ปัญหาทุกปัญหาหรือไม่

7. ปัญหาชนิดใดที่ต้องใช้เทคโนโลยี

สารสนเทศช่วยแก้ปัญหา

8. นักเรียนถ่ายทอดความคิดของการ

แก้ปัญหาได้ด้วยวิธีใด


กิจกรรมการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล

1. ครูนำอภิปรายเพื่อสร้างความสนใจโดยการใช้คำถาม 1. การตอบคำถามท้ายหน่วยการเรียนรู้
กระตุ้นให้นักเรียนสังเกตคิดวิเคราะห์โดยการตั้งปัญหา 2. การสังเกตพฤติกรรมนักเรียน การใฝ่

และให้นักเรียนช่วยกันตอบ เรียนรู้ มุ่งมั่นในการทำงาน และซื่อสัตย์

2. บอกเป้าหมายการเรียนรู้ในหัวข้อเรื่องที่สอน ทั้งด้าน สุจริต
ความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 3. การเขียนสมุดบันทึกความรู้

3. ใช้เทคนิคการสอนแบบสืบสวน (ตั้งคำถาม-ตอบคำถาม)
เพื่อนำไปสู่ข้อสรุปหรือการสอนแบบ 5E

กิจกรรมการเรียนรู้ (ต่อ) การวัดและประเมินผล (ต่อ)

- ใช้เทคนิคการสอนแบบกระบวนการกลุ่ม โดยการ 4. แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ การมี

สืบค้นข้อมูลหรือทำกิจกรรมการทดลอง ส่วนร่วมในการอภิปราย ซักถาม และ
- นำเสนอผลงานหรือเขียนรายงานการทดลอง ตอบคำถามกิจกรรม

- สอนโดยใช้กิจกรรมเพื่อนคู่คิดเพื่อการเรียนรู้และ 5. แบบประเมินพฤติกรรมด้านทักษะปฏิบัติ
แลกเปลี่ยนเรียนรู้ 6. แบบประเมินการนำเสนอผลงานกลุ่ม

- ฝึกการประเมินตนเองและประเมินเพื่อน 7. แบบประเมินผลการเรียนรู้ด้วยตนเอง

- กิจกรรมตรวจสอบความรู้ความเข้าใจโดยการเขียน 8. แบบประเมินการเขียนรายงาน
ตอบ 9. แบบประเมินการเขียนผังมโนทัศน์

4. ประเมินผลการเรียนรู้ด้วยแบบทดสอบแบบเลือกตอบ 10. แบบประเมินทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่

ตรวจและเฉลยก่อนเรียนหน่วยต่อไป 21

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1/1




เรื่อง การออกแบบอัลกอริทึมที่ใช้แนวคิดเชิงนามธรรม เวลา 3 ชั่วโมง



1. มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด



มาตรฐาน ว 4.2 เข้าใจและใช้แนวคิดเชิงคำนวณในการแก้ปัญหาที่พบในชีวิตจริงอย่างเป็นขั้นตอน

และเป็นระบบ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการเรียนรู้ การทำงาน และการแก้ปัญหาได้อย่างมี

ประสิทธิภาพ รู้เท่าทัน และมีจริยธรรม

ตัวชี้วัดข้อ 1 ออกแบบอัลกอริทึมที่ใช้แนวคิดเชิงนามธรรมเพื่อแก้ปัญหาหรืออธิบายการทำงานที่พบ

ในชีวิตจริง



2. แนวคิด/หลักการสำคัญ


2.1 อัลกอริทึมหรือขั้นตอนวิธี (Algorithm) คือ การเขียนลำดับคำสั่งที่ชัดเจนซึ่งนำไปสู่การแก้ปัญหา

เพื่อให้ได้คำตอบที่ต้องการ จากข้อมูลที่นำเข้าสู่ระบบและทำการประมวลผลตามลำดับคำสั่งนั้น
2.2 แนวคิดเชิงนามธรรม (abstraction) เป็นกระบวนการคิดที่ไม่ได้เกิดจากวัตถุจริงหรือการปฏิบัติ

จริง ไม่มีรูปร่าง เป็นแนวคิดที่ใช้เหตุใช้ผลเข้าประกอบในการคิดแล้วประเมนความสำคัญของรายละเอียดต่าง ๆ

แยกแยะส่วนที่เป็นสาระสำคัญออกจากส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญ ก่อให้เกิดเป็นรูปธรรมหรือชิ้นงานขึ้นมา


3. จุดประสงค์การเรียนรู้



3.1 บอกความหมายของอัลกอริทึมได้

3.2 บอกความหมายของแนวคิดเชิงนามธรรมได้

3.3 ใช้แนวคิดเชิงนามธรรมแก้ปัญหาได้

3.4 เขียนอัลกอริทึมในการแก้ปัญหาได้

3.5 ตรวจสอบการทำงาน วัดผล และประเมินผลของชิ้นงานได้

3.6 เขียนแผนงาน (Planning หรือ Program) ได้

3.7 ถ่ายทอดความคิดของการแก้ปัญหาอย่างมีขั้นตอนได้

3.8 ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการแก้ปัญหาได้ถูกต้อง

4. สาระการเรียนรู้



4.1 ขั้นตอนการแก้ปัญหา
4.2 การถ่ายทอดความคิดของการแก้ปัญหาอย่างมีขั้นตอน

4.3 การแก้ปัญหาด้วยกระบวนการทางเทคโนโลยีสารสนเทศ



5. ชิ้นงาน/ภาระงาน



5.1 ทำกิจกรรมฝึกทักษะตรวจสอบการเรียนรู้ที่ 1.1 หน้า 19

5.2 เขียนโครงงานในกิจกรรมตรวจสอบการเรียนรู้ที่ 1.2

5.3 ทำกิจกรรมเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ หน้า 27



6. คำถามสำคัญ



6.1 นามธรรมคืออะไร
6.2 ปัญหาคืออะไร ขั้นตอนการแก้ปัญหามีอะไรบ้าง


6.3 คิดอย่างไรจึงเรียกว่าการคิดอย่างเป็นระบบ

6.4 อัลกอริทึมมไว้ใช้ประโยชน์อย่างไร

6.5 แผนงานกับโครงงานต่างกันอย่างไร

6.6 เทคโนโลยีสารสนเทศมีความจำเป็นในการแก้ปัญหาทุกปัญหาหรือไม่

6.7 ปัญหาชนิดใดที่ต้องใช้เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยแก้ปัญกา


6.8 นักเรียนถ่ายทอดความคิดของการแกปัญหาได้ด้วยวิธีใด

7. กิจกรรมการจัดการเรียนรู้



7.1 ขั้นนำ (1 ชั่วโมง)

1. ครูนำอภิปรายความหมายของแนวคิดเชิงนามธรรมและให้นักเรียนช่วยกันยกตัวอย่าง

2. ครูยกตัวอย่างปัญหาให้นักเรียนบอกขั้นตอนการแก้ปัญหา

3. ครูซักถามนักเรียนว่าการคิดอย่างเป็นระบบคือการคิดอย่างไร

4. ครูนำเข้าสู่บทเรียนโดยยกตัวอย่างการเขียนขั้นตอนวิธีหรืออัลกอริทึมของการทำบะหมี่กึ่ง

สำเร็จรูป

5. การตรวจสอบ วัดผล ประเมินผล (Implement) ในทางคอมพิวเตอร์หมายถึงการทดสอบการ

ทำงานของโปรแกรม ในงานทั่วไปหมายถึงการทดสอบชิ้นงานว่าทำงานได้ตามเป้าหมายหรือไม่

6. การเขียนแผนงาน (Planning หรือ Program)

7. การถ่ายทอดความคิดของการแก้ปัญหาอย่างมีขั้นตอน

8. ครูซักถามนักเรียนเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการแก้ปัญหา

9. ครูแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้



7.2 ขั้นสอน (1 ชั่วโมง 30 นาที)

ชั่วโมงที่ 2

1. ให้นักเรียนศึกษาเรื่องแนวคิดเชิงนามธรรมตามตัวอย่างในแบบเรียน แล้วสรุปความรู้ที่ได้

2. ครูนำอภิปรายการใช้แนวคิดเชิงนามธรรมในการแก้ปัญหาที่พบในชีวิตประจำวัน

3. ให้นักเรียนทำกิจกรรมฝึกทักษะที่ 1.1

4. ให้นักเรียนศึกษาความหมายของการคิดอย่างเป็นระบบและให้นักเรียนช่วยกันยกตัวอย่าง

5. ให้นักเรียนเขียนขั้นตอนวิธีของการคิดอย่างเป็นระบบที่ยกตัวอย่างในข้อ 4

6. ให้นักเรียนสรุปความหมายของขั้นตอนวิธีต่อไปนี้

1. ขั้นตอนวิธีในการเก็บข้อมูล

2. ขั้นตอนวิธีในการค้นหา

3. ขั้นตอนวิธีในการเรียงลำดับ

7. ให้นักเรียนทำกิจกรรมฝึกทักษะที่ 1.2

8. ให้นักเรียนศึกษาและช่วยกันสรุปรูปแบบของอัลกอริทึม และวิธีอ่านผังงาน

9. ครูให้นักเรียนศึกษาเรื่องการดำเนินงานตามแผนและการบริหารโครงการ ถ้ามีผู้ร่วมงานหลายคน

ต้องเลือกหัวหน้าเพื่อทำหน้าที่บริหารโครงการคือแบ่งงานและกำหนดหน้าที่ให้แต่ละคน

10. ครูนำอภิปรายเรื่องการตรวจสอบ การวัดประเมินผล และการปรับปรุงโครงงานในตัวอย่างการ

ต่อแพ ต้องนำแพไปตรวจสอบว่าลอยน้ำและรับน้ำหนักได้กี่คน แพเอียงหรือไม่ ต้องแก้ไขอย่างไร

11. ให้นักเรียนทำกิจกรรมตรวจสอบการเรียนรู้ที่ 1.1



30 นาทีของชั่วโมงที่ 3

12. ครูอธิบายเรื่องการถ่ายทอดความคิดของการแก้ปัญหาอย่างมีขั้นตอน หมายถึงการเขียนขั้นตอน

การทำงานตามแผนงานโดยมีรายละเอียดหรือระยะเวลาในการดำเนินงานเป็นลำดับ ดังตัวอย่างในกิจกรรม

ตรวจสอบการเรียนรู้ที่ 1.2 หน้า 21 ในบทเรียน (ให้นักเรียนดูเป็นตัวอย่างไม่ต้องทำก็ได้เพราะเวลาเรียนอาจไม่

พอ)

13. ครูให้ความรู้เกี่ยวกับการแก้ปัญหาด้วยกระบวนการทางเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น ใช้สืบค้น

ข้อมูลที่ต้องการหาความรู้ ใช้ในงานที่มีการคำนวณที่ซับซ้อน ใช้เก็บข้อมูลจำนวนมาก เช่น งานทะเบียน

นักเรียนทั้งโรงเรียน ใช้ในงานที่ต้องการกระบวนการทำงานแบบอัตโนมัติ เช่น ร้านสะดวกซื้อ นอกจากขาย

สินค้าแล้วยังมีบริการเติมเงินโทรศัพท์มือถือ บริการชำระเงินต่าง ๆ เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า เมื่อผู้มาใช้บริการ เช่น

ซื้อสินค้าพนักงานขายจะใช้เครื่องอ่านรหัสแท่งทำการอ่านรหัสจากตัวสินค้า แล้วเครื่องรับเงินจะระบุชื่อสินค้า

และจำนวนเงินบนจอแสดงผล จากนั้นจะส่งข้อมูลออนไลน์ไปยังคลังสินค้าเพื่อตัดยอดสินค้าในคลัง พร้อมกับ

บันทึกการขายของร้านสาขานี้ รวมไปถึงการชำระค่าสาธารณูปโภคก็เช่นกัน จะส่งข้อมูลตรงไปยังหน่วยงานนั้น

ๆ เช่น ชำระค่าไฟฟ้า ข้อมูลจากร้านสะดวกซื้อจะส่งไปยังสำนักงานไฟฟ้าที่เชื่อมต่ออยู่ทันที

14. องค์ประกอบของการใช้เทคโนโลยีในการแก้ปัญหา ครูอธิบายความหมายขององค์ประกอบของ

ซอฟต์แวร์ในการแก้ปัญหา เช่น โทรศัพท์มือถือเดิมใช้ในการโทรศัพท์ติดต่อกันได้เท่านั้น แต่ในปัจจุบันสามารถ

ใช้อินเทอร์เน็ตได้ทั้งทางตรงคือซื้อบริการอินเทอร์เน็ตในโทรศัพท์ และทางอ้อมคือใช้อินเทอร์เน็ตผ่านระบบ

วายฟายตามจุดที่มีสัญญาณ และยังสามารถโทรศัพท์ผ่าน Line โดยไม่เสียค่าโทรศัพท์ได้อีกด้วย เทคโนโลยีใหม่

ๆ เหล่านี้ล้วนพัฒนามาจากองค์ประกอบสามส่วนคือ

1. ฮาร์ดแวร์ ในโทรศัพท์มือถือได้เพิ่มอุปกรณ์ที่เป็นตัวรับส่งสัญญาณอินเทอร์เน็ตรวมไว้ในเครื่อง

และมีกล้องที่ถ่ายภาพและวีดีโอได้ นอกจากนี้กล้องในโทรศัพท์มือถือยังใช้ถ่ายภาพคิวอาร์โค้ด (QR Code :

Quick Response code) แล้วแปลงเป็นข้อมูลได้ทันที (คิวอาร์โค้ดเป็นรหัสแท่งแบบสองมิติ Matrix barcode

คือเก็บข้อมูลได้ทั้งแนวนอนและแนวตั้ง ส่วนรหัสแท่งเก็บข้อมูลเป็นแนวนอนมิติเดียว)

ฮาร์ดแวร์อื่น ๆ เช่น เครื่องแสกนลายนิ้วมือ อุปกรณ์สมองกลฝังตัว (Embedded system) เป็น

อุปกรณ์ที่ใช้ไมโครโพรเซสเซอร์ฝังลงในอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ไม่ใช่คอมพิวเตอร์ เช่น ในโทรศัพท์มือถือ ในหุ่นยนต์

ในรถยนต์รุ่นใหม่ที่มีระบบอัตโนมัติ

2. ซอฟต์แวร์ เป็นโปรแกรมที่ใช้ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์และสมองกลฝังตัว

โปรแกรมที่เขียนขึ้นสามารถใช้งานกับโทรศัพท์มือถือเรียกว่า แอป (App : Application) ซึ่งซอฟต์แวร์เหล่านี้

พัฒนาด้วยภาษาคอมพิวเตอร์

3. ระบบเครือข่าย นอกจากระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและระบบแลนที่ใช้ในห้องเรียนแล้วยังมี

ระบบเครือข่ายอื่น ๆ เช่น เครือข่ายของระบบโทรศัพท์ค่ายต่าง ๆ เครือข่าย GPS ที่ใช้ควบคุมความเร็วในรถ

โดยสาร เป็นต้น

15. ครูอธิบายเรื่องการเลือกใช้ซอฟต์แวร์ ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการแก้ปัญหามีอยู่หลายโปรแกรม ใน

ระดับนักเรียนควรทำความรู้จักกับโปรแกรมชุดออฟฟิศที่มีโปรแกรมต่าง ๆ ให้เลือกใช้ตามลักษณะของงาน เช่น

โปรแกรมประมวลผลคำ (Word) ใช้พิมพ์เอกสาร โปรแกรมตารางคำนวณ (Excel) ใช้ในงานคำนวณและ

วิเคราะห์ผลทางสถิติ และคณิตศาสาสตร์ ซึ่งมีฟังก์ชันให้เลือกใช้มากมาย โปรแกรมนำเสนอ (PowerPoint) ใช้

นำเสนอผลงาน โปรแกรมฐานข้อมูล (Access) ใช้ในงานจัดการกับข้อมูลจำนวนมาก มีคำสั่งจัดการกับข้อมูล

โดยเฉพาะ โปรแกรมสำนักพิมพ์ (Publisher) ใช้ทำโปสเตอร์ สื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ตลอดจนการจัดทำนามบัตร

ด้วย



7.3 ขั้นสรุป (30 นาที)

1. นักเรียนสรุปความรู้ความเข้าใจตามจุดประสงค์การเรียนรู้

2. นักเรียนเขียนผังความคิดสรุปผลการเรียนรู้




8. สื่อการเรียนรู้และแหล่งการเรียนรู้



8.1 สื่อการเรียนรู้

1. หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิทยาการคำนวณ ชั้นมัธยมศึกษาปี

ที่ 1 ของบริษัท แม็คเอ็ดดูเคชั่น จำกัด

2. ซีดีรอมเว็บไซต์ความรู้ของบริษัท แม็คเอ็ดดูเคชั่น จำกัด



8.2 แหล่งการเรียนรู้

1. ห้องสมุดของโรงเรียน

2. เว็บไซต์ต่าง ๆ





9. การวัดและประเมินผลการเรียนรู้



9.1 ทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธ์ท้ายหน่วย

9.2 แบบประเมินด้านทักษะปฏิบัติ (ในกิจกรรม)

9.3 แบบประเมินการนำเสนอผลงานกลุ่ม โดยให้ครู เพื่อนกลุ่มอื่น และกลุ่มตนเองประเมิน

9.4 แบบประเมินผลการเรียนรู้ด้วยตนเอง (นักเรียนประเมินตนเองจากการเรียนรู้ ลงในแบบประเมิน

ข้อ 11 ซึ่งครูเป็นผู้จัดทำให้)

9.5 แบบประเมินการเขียนผังมโนทัศน์

9.6 แบบประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้

9.7 แบบประเมินทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21

9.8 แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์

10. ความคิดเห็นของผู้บริหาร/สถานศึกษา


……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………


……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………







ลงชื่อ ................................................... ผู้บริหาร

11. บันทึกการเรียนรู้สำหรับนักเรียน (Student’s Reflection)



11.1 ความรู้ความเข้าใจที่ได้จากการเรียนรู้

ด้านความรู้.........................................................................................................................................

……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

ด้านทักษะ..........................................................................................................................................

……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………


ด้านการพัฒนาคุณลักษณะอนพึงประสงค์.........................................................................................
..............................................................................................................................................................................

11.2 ปัญหา/อุปสรรคในการเรียนรู้ ...........................................................................................................

..............................................................................................................................................................................

11.3 แนวทางการปรับปรุงหรือพัฒนาตนเองครั้งต่อไป .............................................................................

..............................................................................................................................................................................







ลงชื่อ ................................................... ผู้เรียน

12. บันทึกการจัดการเรียนรู้สำหรับครู (Teacher’s Reflection)



12.1 ความสำเร็จในการจัดการเรียนรู้

ด้านผู้เรียน..........................................................................................................................................

……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

ด้านวิธีสอนการวัดผล.........................................................................................................................

……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

12.2 ปัญหา/อุปสรรคในการจัดการเรียนรู้ .................................................................................................

..............................................................................................................................................................................

12.3 สิ่งที่ไม่ได้ปฏิบัติตามแผน ..................................................................................................................

..............................................................................................................................................................................

เหตุผล................................................................................................................................................

..............................................................................................................................................................................

12.4 แนวทางการปรับปรุง/พัฒนาตนเองครั้งต่อไป

..............................................................................................................................................................................

..............................................................................................................................................................................

..............................................................................................................................................................................







ลงชื่อ ................................................... ผู้สอน

แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์



1. “ปัญหา” ในชีวิตประจำวัน กับ “ปัญหา” ในภาษาวิชาการเหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร จงอธิบาย

2. กระบวนการคิดอย่างเป็นระบบมีสาระสำคัญอย่างไร และมีประโยชน์อย่างไร

3. จงยกตัวอย่างการนำกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบมาใช้ในชีวิตประจำวันจากประสบการณ์ของนักเรียน

เอง

4. การแก้ปัญหาอย่างมีขั้นตอนอาศัยหลักการอะไรบ้าง จงอธิบาย

5. การแก้ปัญหาอย่างมีขั้นตอนมีขั้นตอนอะไรบ้าง จงอธิบาย

6. แผนงานคืออะไร มีความสำคัญและมีประโยชน์อย่างไร

7. การวางแผนมีหลักการและวิธีการอย่างไร

8. การจัดทำเอกสารหมายถึงอะไร และมความสำคัญอย่างไร


9. เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการแกปัญหาในทุกกรณีหรือไม่ เพราะเหตุใด
10. ประโยชน์ของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับการแก้ปัญหามีอะไรบ้าง จงอธิบาย

11. ข้อพิจารณาในการเลือกใช้ซอฟต์แวร์ในระดับองค์กรมีอะไรบ้าง จงอธิบาย

12. ข้อพิจารณาในการเลือกใช้ซอฟต์แวร์ในระดับหน่วยงานขนาดเล็กหรือระดับบุคคลมีอะไรบ้าง จงอธิบาย

เฉลยแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์




1. คำว่า “ปัญหา” ในชีวิตประจำวัน กับ คำว่า “ปัญหา” ในภาษาวิชาการเหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร จง
อธิบาย

ปัญหาในชีวิตประจำวันต่างกบปัญหาเชิงวิชาการดังนี้

ปัญหาในชีวิตประจำวัน
เป็นปัญหาที่พบเห็นทุกวันจากสิ่งที่อยู่รอบตัวของนักเรียน เช่น ปัญหาด้านการเรียน นักเรียนไม่เข้าใจ

ในการเรียนบางวิชาหรือหลายวิชา ปัญหาจากคำถามต่าง ๆ ปัญหาการติดเกมในโทรศัพท์มือถือ ปัญหา

ด้านสุขภาพและโภชนาการ ปัญหาในครอบครัว ปัญหาที่เกิดเป็นครั้งคราว เป็นต้น ปัญหาเหล่านี้สามารถ
แก้ได้โดยใช้หลักการแก้ปัญหาพื้นฐาน ได้แก่

1. การวิเคราะห์ปัญหาว่าอะไรเป็นสาเหตุของปัญหา

2. การเลือกเครื่องมือหรือวิธีการแก้ปัญหา
3. ดำเนินการแก้ปัญหา

4. วิเคราะห์และประเมินผล
ปัญหาในภาษาวิชาการ


เป็นปัญหาที่ต้องแก้ปัญหา ถ้าไม่แกอาจทำให้เกิดความเสียหายจนไม่อาจดำเนินการต่อไปได้ เช่น การ
จำหน่ายสินค้า เจ้าของสินค้า หรือผู้จัดจำหน่ายต้องวางแผนในการประชาสัมพันธ์สินค้า ทั้งระยะสั้นและ
ระยะยาว ปัญหาการบริหารงานในโรงเรียน เช่น การบริหารด้านวิชาการ การแก้ปัญหาจะมีขั้นตอนที่

ซับซ้อนมากกว่าปัญหาในชีวิตประจำวัน เช่น มีเครื่องมือในการวิจัยเพื่อหาสาเหตุและวิธีแก้ปัญหา เป็นต้น
2. กระบวนการคิดอย่างเป็นระบบมีสาระสำคัญอย่างไร และมีประโยชน์อย่างไร

การคิดอย่างเป็นระบบ เป็นวิธีคิดอย่างมีเหตุผล โดยมองปัญหาในภาพรวมทั้งระบบแล้วแบ่งแยกระบบ

ออกเป็นส่วนย่อย ๆ ที่มีความสัมพันธ์กัน นำส่วนย่อย ๆ มาโยงไปหาตัวระบบใหญ่

3. จงยกตัวอย่างการนำกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบมาใช้ในชีวิตประจำวันจากประสบการณ์ของนักเรียน

เอง
ตัวอย่างกระบวนการทำงานของตู้จำหน่ายเครื่องดื่มแบบหยอดเหรียญ

1. เมื่อมีการหยอดเหรียญเข้าตู้

2. มีการแสดงผลชนิดของน้ำในตู้ที่สามารถเลือกซอได้
ื้
3. ตรวจสอบจำนวนน้ำกระป๋องที่มอยู่ในตู้

4 .รับผลการเลือกชนิดน้ำ

5. ส่งน้ำที่เลือกออกมาจากช่อง
6. จัดเก็บเงินเข้าระบบ

7. หากมีเงินทอน ให้ทอนเงินที่เหลือที่ช่องรับเงินทอน

4. การแก้ปัญหาอย่างมีขั้นตอนอาศัยหลักการอะไรบ้าง จงอธิบาย

การแก้ปัญหาอย่างมีขั้นตอนอาศัยกระบวนการคิดอย่างเป็นนามธรรมซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในงาน
ต่าง ๆ ได้อย่างกว้างขวาง

5. การแก้ปัญหาอย่างมีขั้นตอนมีขั้นตอนอะไรบ้าง จงอธิบาย
ขั้นตอนในการแก้ปัญหามี 3 ขั้นตอนคือ

1. ปัจจัยนำเข้า (Input) ได้แก่ ต้นเหตุของปัญหา ต้นทุน หรือวัตถุดิบตั้งต้นของปรากฏการณ์นั้น ๆ

2. กระบวนการ (Process) หมายถึง การกระทำจากมนุษย์หรือจากปรากฏการณ์ธรรมชาติที่ทำให้เกิดการ
เปลี่ยนแปลงขึ้น

3. ปัจจัยส่งออก (Output) หมายถึง ผลผลิตหรือผลลัพธ์ที่เกิดจากปัจจัยนำเข้าที่ผ่านการกระทำหรือผ่าน
กระบวนการแล้ว

6. แผนงานคืออะไร มีความสำคัญและมีประโยชน์อย่างไร

แผนงาน คือ เอกสารที่จัดทำขึ้นล่วงหน้าเพื่อใช้เป็นเครื่องมือนำทางในการทำงานและช่วยให้การทำงานมี

ประสิทธิภาพ

7. การวางแผนมีหลักการและวิธีการอย่างไร
หลักการวางแผนมี 4 ประการ คือ วางแผน (Plan) ดำเนินการ (Do) ตรวจสอบและประเมินผล (Check)

แก้ไขปรับปรุง (Act)

8. การจัดทำเอกสาร (Documentation) หมายถึงอะไร และมีความสำคัญอย่างไร
ื่
การจัดทำเอกสาร หมายถึงการเขียนลำดับขั้นตอนในการแก้ปัญหาตามแผนงานที่ได้กำหนดไว้เพอป้องกัน
การผิดพลาดจากการลืม หรือทำงานข้ามขั้นตอน นอกจากเอกสารของแผนงานแล้วยังรวมถึงคู่มือต่าง ๆ


ได้แก่ คู่มอการปฏิบัติงาน คู่มอการบำรุงรักษา

9. เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการแกปัญหาในทุกกรณีหรือไม่ เพราะเหตุใด

เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเพียงเครื่องมือที่นำมาช่วยให้การแก้ปัญหาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นในบางกรณี
เท่านั้น เทคโนโลยีสารสนเทศไม่ใช่เครื่องมือสำหรับการแก้ปัญหาโดยตรงและไม่ใช่เครื่องมือที่จำเป็น

สำหรับการแก้ปัญหาเสมอไป

10. ประโยชน์ของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับการแก้ปัญหามีอะไรบ้าง จงอธิบาย
1. ใช้เป็นเครื่องมือค้นหาข้อมูล เช่น ใช้คอมพิวเตอร์ค้นหาข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตหรือซีดีรอม ใช้

โทรศัพท์เคลื่อนที่สอบถามข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ

2. ใช้ในงานแก้ปัญหาที่ต้องมีการคำนวณทางคณิตศาสตร์หรือสถิติ เช่น งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์และ
สังคมศาสตร์

3. ใช้ในงานแก้ปัญหาที่ต้องมีการเก็บข้อมูลและการเรียกใช้ข้อมูลปริมาณมาก ๆ เช่น งานทะเบียนราษฎร์

งานสำมะโนประชากร งานตรวจสอบสิทธิการรักษาพยาบาล

4. ใช้ในงานแก้ปัญหาที่มีกระบวนการที่ต้องทำซ้ำมาก ๆ หากทำด้วยมือจะเกิดความผิดพลาดได้ง่าย

โปรแกรมคอมพิวเตอร์จะช่วยทำงานประเภทนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การรวมคะแนนและการตัด
เกรด

5. ใช้ในงานที่ต้องการกระบวนการทำงานแบบอัตโนมัติ เช่น เครื่องเอทีเอ็ม เครื่อง POS (Point Of Sale)
เครื่องบันทึกการรับเงินสดที่ออกใบเสร็จและตัดสต๊อกโดยอัตโนมัติ



6. ใช้ในงานที่มีผู้ปฏิบัติหลายคนต้องทำงานประสานสัมพนธ์กัน หากใช้ระบบงานที่มีการประสานสัมพนธ์
ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์จะมีประสิทธิภาพและลดข้อผิดพลาดลงได้มาก
11. ข้อพิจารณาในการเลือกใช้ซอฟต์แวร์ในระดับองค์กรมีอะไรบ้าง จงอธิบาย

การพิจารณาเลือกใช้ซอฟต์แวร์ระดับองค์กรได้แก่
1. ความคุ้มค่าในการลงทุน

2. ความเหมาะสมกับงานที่ต้องการใช้

3. ขนาดหรือปริมาณขอมูลทั้งระยะสั้นและระยะยาว

12. ข้อพิจารณาในการเลือกใช้ซอฟต์แวร์ในระดับหน่วยงานขนาดเล็กหรือระดับบุคคลมีอะไรบ้าง จงอธิบาย

หน่วยงานขนาดเล็กหรือระดับบุคคลควรเลือกใช้ซอฟต์แวร์สำเร็จที่มีจำหน่ายทั่วไปตามงานที่ใช้ เช่น

โปรแกรมชุดสำนักงานอัติโนมัติที่ใช้กับแต่ละระบบปฏิบัติการ หรือโปรแกรมกราฟิกสำหรับงานออกแบบ
สื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ

แบบทดสอบก่อนเรียน



หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 การออกแบบอัลกอริทึมที่ใช้ความคิดเชิงนามธรรม



จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว



1. คำว่านามธรรมหมายถึงข้อใด

1. สิ่งที่ไม่มีชีวิต 2. สิ่งที่ไม่มีตัวตน

3. ความไม่เที่ยงแท้ 4. ความไม่คงที่

2. ความคิดเชิงนามธรรมหมายถึงข้อใด

1. ความคิดที่จะบวชเณร

2. ความคิดในนามของธรรมะ

3. ความคิดในการแก้ปัญหาจากสิ่งที่ไม่มีตัวตน


4. ความคิดในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
3.ข้ อใดคือการแก้ปัญหาด้วยความคิดเชิงนามธรรม


1. การคำนวณหาแผ่นหญ้าในการปูสนาม
2. การแข่งขันหุ่นยนต์


3. การตอบเล่นรูบิก
4. การเล่นเกมเขาวงกต


4. ข้อใดเป็นการแก้ปัญหาเชิงรูปธรรม
1. การตอบปัญหาทางวิทยาศาสตร์


2. เกมทายตัวเลข

3. การทำโจทย์วิชาคณิตศาสตร์

4. การคัดขนาดของไข่

5. อัลกอริทึม (Algorithm) หมายถึงอะไร

1. การออกแบบ 2. การเขียนลำดับการทำงาน

3. แนวคิดเชิงนามธรรม 4. การแก้ปัญหา

6. ข้อใดคือการเขียนอัลกอริทึม

1. การเขียนรหัสเทียม 2. การเขียนผังงาน

3. การบรรยายการทำงาน 4. ถูกต้องทุกข้อ


7. ข้อใดเป็นอลกอริทึม
1. การแข่งขันเล่นเกม 2. วิธีทำไก่ทอด

3. นิทานเวตาล 4. การจัดตารางสอน

8. คลาวด์ (Cloud) หมายถึงข้อใด

1. ภาพกลุ่มเมฆบนเดสก์ทอป 2. บริการฝากข้อมูลออนไลน์

3. บริการส่งข้อมูลด่วน 4. บริการส่งข้อมูลออนไลน์

9. ถ้านักเรียนถ่ายภาพด้วยโทรศัพท์สมาร์ตโฟนและต้องการนำภาพไปใช้ในคอมพิวเตอร์ต้องทำอย่างไร

1. ส่งภาพทางไลน์ไปที่คอมพิวเตอร์ 2. เชื่อมต่อด้วยสายยูเอสบี

3. ส่งภาพไปเก็บไว้ในคลาวด์ 4. ถูกต้องทุกข้อ

10. ถ้าส่งภาพจากไอโฟนไปยังคอมพิวเตอร์และยังไม่ได้ลงทะเบียนคลาวด์ต้องทำอย่างไร

1. ส่งอีเมลแนบภาพให้ตัวเอง 2. ส่งข้อความไปที่คอมพิวเตอร์

3. เชื่อมต่อด้วยสายยูเอสบี 4. ส่งไม่ได้เพราะต่างระบบกัน

11. ภาพเกี่ยวข้องกับการออกแบบอัลกอริทึมอย่างไร

1. ใช้ประกอบในอัลกอริทึม 2. ใช้อ้างอิงในอัลกอริทึม

3. ใช้เขียนอัลกอริทึมโดยตรง 4. ไม่เกี่ยวกัน

12. การออกแบบอัลกอริทึมนำไปใช้กับอะไร

1. การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ 2. สูตรการทำอาหาร

3. คู่มือการใช้สมาร์ตโฟน 4. ถูกต้องทุกข้อ

13. ข้อใดไม่ใช่นามธรรม

1. นักเรียนทำแบบฝึกหัดวิชาคณิตศาสตร์ 2. นักเรียนออกแบบยานในฝัน

3. นักเรียนช่วยกันทำความสะอาดห้องเรียน 4. นักเรียนวาดภาพวัวนม

14. สนามหญ้าแห่งหนึ่ง กว้าง 12 เมตร ยาว 21 เมตร ต้องใช้หญ้าขนาด 25x25 เซนติเมตร จำนวนกี่แผ่นใน

การปูสนาม

1. โจทย์ข้อนี้ให้หาพื้นที่สนาม 2. โจทย์ข้อนี้เป็นแนวคิดเชิงนามธรรม

3. โจทย์ข้อนี้เป็นแนวคิดเชิงรูปธรรม 4. โจทย์ข้อนี้เป็นแนวคิดเชิงคณิตศาสตร์

15. ขั้นตอนในการแก้ปัญหาคือ

1. ปัจจัยนำเข้า 2. กระบวนการ

3. ปัจจัยส่งออก 4. ถูกต้องทุกข้อ






เฉลยแบบทดสอบก่อนเรียน




1. 2 2. 3 3. 1 4. 4 5. 2

6. 4 7. 2 8. 2 9. 4 10. 1

11. 2 12. 4 13. 3 14. 2 15. 4

แบบทดสอบหลังเรียน




หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 การออกแบบอัลกอริทึมที่ใช้ความคิดเชิงนามธรรม




จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว



1. ปัญหาหมายถึงข้อใด

1. ข้อสงสัย อุปสรรคที่ต้องหาวิธีแก้ไข 2. คำถามต่าง ๆ ที่พบทุกวัน

3. คำถามก่อนทะเลาะกัน 4. ถูกต้องทุกข้อ

2. เอกสารที่จัดทำไว้เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพคืออะไร

1. ขั้นตอนวิธี 2. แผนงาน

3. การประเมินผล 4. การตรวจสอบการทำงาน

3. ขั้นตอนในการแก้ปัญหาคือข้อใด

1. ปัจจัยนำเข้า 2. กระบวนการ

3. ปัจจัยส่งออก 4. ถูกต้องทุกข้อ

4. ข้อใดเป็นการกำหนดตัวแปรแบบแถวลำดับ

1. x=1, y=2, z=3 2. 1=x, 2=y, 3=z

3. x(1)=1, x(2) =2, x(3)=3 4. X1=1, x2=2, x3=3



พิจารณาข้อมูลต่อไปนี้ แล้วตอบคำถามข้อ 5-7


แฟ้มทะเบียนนักเรียน แฟ้มระเบียนการเรียน

เลขประจำตัว .................................. เลขประจำตัว ..................................

ชื่อ .............. นามสกุล ................... วิชาที่ 1 .......... ได้คะแนน ..............

ชั้น .................................................. วิชาที่ 2 ........... ได้คะแนน

ที่อยู่ ............................................... ................

วิชาที่ 3 .............. ได้คะแนน ...........

5. ข้อมูลที่เป็นรายการโยงในแฟ้มทั้งสองนี้คือ

1. เลขประจำตัว 2. ชื่อ

3. วิชาสอบ 4. ชั้น

6. ถ้าสร้างแฟ้มข้อมูลย่อยเพิ่มต่อไปอีกเช่น แฟ้มบันทึกประวัติการมาเรียนและความประพฤติ ต้องใช้ข้อมูล

ใดเป็นรายการโยงเพิ่มเติม

1. เลขประจำตัว 2. ชื่อ

3. วิชาสอบ 4. ชั้น

7. ในแฟ้มระเบียนการเรียน เมื่อป้อนข้อมูลเลขประจำตัวแล้ว จะเรียกดู ชื่อ นามสกุลได้หรือไม่

1. ไม่ได้เพราะข้อมูลอยู่ต่างแฟ้มกัน 2. ไม่ได้เพราะในแฟ้มระเบียนไม่มีชื่อ นามสกุล

3. ได้เพราะเปิดสองแฟ้มไว้แล้ว 4. ได้เพราะมีตัวเชื่อมโยงถึงกัน

8. ทำไมจึงต้องเขียนคำสั่งให้เรียงลำดับข้อมูล จะป้อนข้อมูลตามลำดับก่อนหลังไม่ได้หรือ

1. การป้อนข้อมูลเรียงตามลำดับจะต้องทำงานเพียงเครื่องเดียวทำให้ล่าช้า


2. ข้อมูลจำนวนมากต้องป้อนข้อมูลหลายเครื่องทำให้เรียงลำดับขณะป้อนไมได้
3. ในระเบียนข้อมูลต้องมีข้อมูลที่เป็นดัชนีข้อมูล เช่น เลขที่ ชั้น สำหรับเรียงลำดับได้

4. ถูกต้องทุกข้อ

9. ข้อใดเป็นคำสั่งเรียงลำดับจากน้อยไปมาก

1. Sort Descending 2. Sort Ascending

3. Bobble Sort 4. Quick Sort

10 ข้อใดเป็นผังงานแสดงการเริ่มต้นและสิ้นสุดการทำงาน

1. 2.





3. 4.



11. ข้อใดหมายถึงการประมวลผลของคอมพิวเตอร์

1. รับค่า A แสดงผล A 2. รับค่า A นำไปเปรียบเทียบกับ B

3. รับค่า A ส่งไปประมวลผล 4. รับค่า A ส่งไปหน่วยความจำ

12. การตรวจสอบว่าหมดข้อมูลแล้วทางแป้นพิมพ์อย่างง่ายที่สุดคือข้อใด

1. ป้อนข้อความ End 2. พิมพ์คำว่า จบ

3. ไม่ป้อนข้อมูลใน 30 วินาที 4. ผู้ใช้กดแป้น Enter โดยไม่ป้อนข้อมูล

13. IDE (Integrated Development Environment) มีลักษณะอย่างไร

1. ใช้พิมพ์ข้อความเช่นเดียวกับโปรแกรมประมวลคำ

2. ใช้เขียนโปรแกรมภาษา

3. เป็นเครื่องมืออำนวยความสะดวกในการเขียนเว็บเพจ

4. เหมือนโปรแกรม Note Pad


14. การคำนวณที่ซับซ้อนและมีการคำนวณบ่อย ๆ จะเขียนเป็นโปรแกรมย่อย ๆ ไว้ เมื่อต้องการคำนวณกส่ง
ข้อมูลเข้าไปในโปรแกรมย่อยนี้ แล้วคืนค่าที่ได้กลับไป โปรแกรมย่อยนี้มีชื่อเรียกว่าอย่างไร

1. กระบวนงานรอง 2. สูตร

3. แผนงาน 4. ฟังก์ชัน

15. คำว่าซอฟต์แวร์ระบบ ซอฟต์แวร์ฝังตัว หรือสมองกลฝังตัวกำลังเป็นที่นิยมมากขึ้น คำนี้หมายถึงอะไร

1. มีคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กฝังอยู่ในอุปกรณ์นั้น

2. เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ฉลาด

3. หุ่นยนต์กู้ภัย

4. โดรน





เฉลยแบบทดสอบหลังเรียน




1. 1 2. 2 3. 4 4. 3 5. 1

6. 1 7. 4 8. 4 9. 2 10. 3

11. 2 12. 4 13. 2 14. 4 15. 1

แบบประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้



วิชา วิทยาการคำนวณ ม.1 เรื่อง ...............................................................ชั้น ม.1/.......

ความ การตั้ง การทำ ส่งงานใน มาเรียน รวม ปรับ

ตั้งใจ คำถาม กิจกรรม เวลาที่ สม่ำเสมอ คะแนน คะแนน
เลขที่ ชื่อ-นามสกุล มุ่งมั่น ตอบ กลุ่ม กำหนด (4) (20) (10)

(4) คำถาม (4) (4)

(4)
1

2


3

4

5



7

8

9

10

11

12

13

14

15



หมายเหตุ 1. แบบประเมินนี้ใช้ได้ตลอดภาคเรียน


2. บันทึกพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมในแต่ละช่อง แล้วจึงสรุปคะแนนที่ได้ในแต่ละช่อง ซึ่งต้อง
ตกลงกับนักเรียนว่าไม่ถูกต้องกี่ครั้งซึ่งจะถูกหัก 1 คะแนน


ผู้ประเมิน ........................................................
( )

แบบประเมินทักษะปฏิบัติแบบรูบิค




วิชา วิทยาการคำนวณ ม.1 เรื่อง ...............................................................ชั้น ม.1/.......

กลุ่มที่/
รายการประเมิน ระดับ 4 ระดับ 3 ระดับ 2 ระดับ 1 คะแนนที่ได้
สมาชิก

กลุ่มที่ 1 1. จัดอุปกรณ์ได้มั่นคง ปฏิบัติได้ ปฏิบัติได้ ปฏิบัติได้ ปฏิบัติได้

.................... ปลอดภัย ถูกต้อง ถูกต้อง ถูกต้อง ถูกต้อง

.................... 2. วางแผนการทำงาน 9-10 7-8 5-6 ต่ำกว่า

.................... ร่วมกัน รายการ รายการ รายการ 5 รายการ

.................... 3. แบ่งหน้าที่ในกลุ่ม

.................... เหมาะสม

กลุ่มที่ 2 4. ใช้อุปกรณ์ได้ถูกต้อง

.................... 5. ใช้สารเคมีได้เหมาะสม

.................... ถูกต้อง

.................... 6. ดำเนินการทดลองตาม

.................... ขั้นตอนได้ถูกต้อง

.................... 7. ผลการทดลองถูกต้อง


กลุ่มที่ 3 ตามวัตถุประสงค์
.................... 8. ทำงานได้เสร็จในเวลา


.................... ที่กำหนด
.................... 9. จัดเก็บอุปกรณ์ได้


.................... สะอาดเรียบร้อย
.................... 10. มีความคล่องแคล่ว


(ตามจำนวน และมั่นใจ

กลุ่ม)



ผู้ประเมิน ........................................................

( )

แบบประเมินชิ้นงาน




การให้คะแนน/ระดับคะแนน

ปรับปรุง (1) พอใช้ (2) ดี (3) ดีมาก (4)

ผลงานมีข้อมูลไมถูกต้อง ผลงานมีข้อมูลแต่ยังไม่ ผลงานมีความถกต้อง ผลงานมีความถกต้อง



ตามจุดประสงค์ของ ครบถ้วนสมบูรณ์ตาม สมบูรณ์พอสมควรตาม ชัดเจนครบถ้วนสมบูรณ์
กิจกรรม ขาดความคิด จุดประสงค์ของกิจกรรม จุดประสงค์ของกิจกรรม ตามจุดประสงค์ของ

สร้างสรรค์ ไม่ม ี ผลงานมีความคิด ผลงานมีความคิด กิจกรรม ผลงานมี
ภาพประกอบ สร้างสรรค์เล็กน้อย สร้างสรรค์ ความคิดสร้างสรรค์

มีภาพประกอบ แต่ขาด มีภาพประกอบ สวยงาม มีภาพประกอบ สวยงาม

ความสอดคล้องกับ สอดคล้องกับข้อมูล สอดคล้องกับข้อมูล
ข้อมูล ชัดเจน ชัดเจน

แบบประเมินการนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน




กลุ่มที่......... เรื่อง..................................................... ชั้น ......./........



คำชี้แจง : ให้ผู้สอนสังเกตพฤติกรรมของนักเรียนในระหว่างเรียนและนอกเวลาเรียน แล้วขีด ✓ ลงใน
ช่องว่างที่ตรงกับระดับคะแนน



ระดับคะแนน
ลำดับที่ รายการประเมิน
4 3 2 1

1 ความถูกต้องของเนื้อหา

2 ความคิดสร้างสรรค์
3 วิธีการนำเสนอผลงาน

4 การนำไปใช้ประโยชน์

5 การตรงต่อเวลา
รวม



ลงชื่อ...................................................ผู้ประเมิน
............../.................../................



เกณฑ์การให้คะแนน
ปฏิบัติหรือแสดงผลงานสมบูรณ์ชัดเจน ให้ 4 คะแนน

ปฏิบัติหรือแสดงผลงานมีข้อบกพร่องบางส่วน ให้ 3 คะแนน

ปฏิบัติหรือแสดงผลงานมีข้อบกพร่องเป็นส่วนใหญ่ ให้ 2 คะแนน
ปฏิบัติหรือแสดงผลงานมีข้อบกพร่องมาก ให้ 1 คะแนน


เกณฑ์การตัดสินคุณภาพ



ระดับคะแนน ระดับคุณภาพ
18-20 ดีมาก

14-17 ดี

10-13 พอใช้
ต่ำกว่า 10 ปรับปรุง

แบบประเมินผลการเรียนรู้ด้วยตนเอง


ชื่อ .........................................................ชั้น ม.1/.........เลขที่ ...........คะแนนที่ได้ ...............




ให้นักเรียนประเมินตนเองจากผลที่ได้จากการเรียนรู้ในวิชาวิทยาศาสตร์ โดยทำเครื่องหมาย  ลงในช่อง

ที่ตรงกับระดับความพึงพอใจของนักเรียนที่มีในแต่ละหวข้อ


ระดับความรู้ความเข้าใจ ทักษะ บันทึก
สัปดาห์ที่ เรื่อง/หัวข้อย่อย/กิจกรรม
มาก ปานกลาง น้อย เพิ่มเติม
1


2

3

4

5



หมายเหตุ 1. ทำให้ครบทุกสัปดาห์

2. ให้นักเรียนประเมินตนเองจากคะแนนเต็ม 10 คะแนน

แบบประเมินการเขียนรายงานการทดลอง



วิชา วิทยาการคำนวณ ม.1 เรื่อง ...............................................................ชั้น ม.1/.......



รายการประเมินความถูกต้อง

แบบฟอร์ม กำหนด การ วิธีทดลอง การบันทึก การ
ชื่อ/เลขที่
รายงาน จุดประสงค ์ ตั้งสมมติฐาน ถูกต้องตาม ผลการ วิเคราะห์ รวมคะแนน
หรือ
ถูกต้อง ได้ถูกต้อง และกำหนด ขั้นตอน ทดลอง และสรุป (10)
กลุ่มที่/สมาชิก
สะอาด (2) ตัวแปร (2) (2) (1)
(1) (2)

1

2

3

4

5


6
7


8

9

10



ผู้ประเมิน ........................................................

( )



หมายเหตุ 1. ชื่อ/เลขที่อาจเปลี่ยนเป็นกลุ่มที่/สมาชิกก็ได้ ขึ้นอยู่กับครูว่าจะให้รายงานเป็นรายบุคคลหรือ

รายงานกลุ่ม

2. วิธีประเมินให้ทำเครื่องหมาย  แสดงข้อบกพร่องในแต่ละช่อง แล้วพิจารณาว่าควรได้

คะแนนเท่าไร จึงลงคะแนนจริงในแต่ละช่อง


แบบประเมินการเขียนผังมโนทัศน



วิชา วิทยาการคำนวณ ม.1 เรื่อง ...............................................................ชั้น ม.1/.......



รายการประเมิน/คะแนน
รวม
ความคิด จัดพื้นที่ เนื้อหาสาระ ความสะอาด
เลขที่ ชื่อ-นามสกุล คะแนน
สร้างสรรค์ เหมาะสม ครบถ้วนสมบูรณ์ สวยงาม
(10)
(3) (3) (3) (1)

1

2

3

4

5

6

7

8

9

10


11
12


13

14

15



ผู้ประเมิน ........................................................


( )

แบบประเมินสมุดบันทึกความรู้




การให้คะแนน/ระดับคะแนน

ปรับปรุง (1) พอใช้ (2) ดี (3) ดีมาก (4)





บันทึกมข้อมูลแต่ยังไม่ บันทึกมความถูกต้อง บันทึกมความถูกต้อง

บันทึกขอมูลไม่ถกต้อง

ครบถ้วนสมบูรณ์ สมบูรณ์พอสมควร ชัดเจนครบถ้วนสมบูรณ์

แบบประเมินทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21




วิชา วิทยาการคำนวณ ม.1 เรื่อง ...............................................................ชั้น ม.1/.......



การ
การ
รู้ศัพท์ รู้ รู้ การคิดแบบม ี การ คิด สรุป
เลขที่ ชื่อ-นามสกุล ทำงาน
รู้ภาษา คณิตศาสตร์ ICT วิจารณญาณ สื่อสาร สร้าง ผล
ร่วมกัน
สรรค์

























ลงชื่อผู้ประเมิน...............................................

(.............................................)

คำชี้แจง 1. เกณฑ์การให้ระดับคุณภาพ
3 = ดีเยี่ยม 2 = ดี 1 = ผ่าน

2. ให้ทำเครื่องหมาย  ลงในช่อง เมื่อนักเรียนแสดงพฤติกรรมตามหัวข้อประเมิน แล้วสรุปผลใน

แต่ละช่องว่าควรได้ระดับคุณภาพใด โดยทำให้ครบทุกช่อง
3. การสรุปผลการประเมินให้สรุปโดยใช้เกณฑ์ถ้าได้ระดับใดมากที่สุด ผลการประเมินโดยสรุป

ใช้ระดับคุณภาพนั้น เช่น ถ้าได้ 3 = 3 รายการ ได้ 2 = 6 รายการ สรุปผลได้ = 2
4. แบบประเมินนี้ใช้ได้ตลอดทั้งภาคเรียนแล้วจึงสรุปผล

แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์




วิชา วิทยาการคำนวณ ม.1 เรื่อง ...............................................................ชั้น ม.1/.......



รักชาติ มุ่งมั่นใน
ซื่อสัตย์ มี ใฝ่ รักความ มีจิต มีจิต
เลขที่ ชื่อ-นามสกุล ศาสน์ การ สรุป
สุจริต วินัย เรียนรู้ เป็นไทย สาธารณะ วิทยาศาสตร ์
กษัตริย์ ทำงาน
































คำชี้แจง 1. แบบประเมินนี้ใช้ตลอดภาคเรียน ประเมินให้ครบทุกรายการ

2. เกณฑ์การให้คะแนน 3 = ดีเยี่ยม 2 = ดี 1 = ผ่าน

3. สรุปผลการประเมินอาจใช้ค่าเฉลี่ย ถ้ามีจุดทศนิยมตั้งแต่ 0.5 ให้ปัดขึ้น หรือประเมินโดยใช้

เกณฑ์ถ้ามีระดับคุณภาพใดมากที่สุด สรุปผลการประเมินจะเป็นระดับนั้น เช่น ถ้าได้ 3 = 3 รายการ ได้ 2 = 6

รายการ สรุปผลได้ = 2

หน่วยการเรียนร ู้
ภาษาไพทอนกับการแก้ปัญหา
ที่
2
รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ วิทยาการคำนวณ เวลา 4 ชั่วโมง


แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2/1 ภาษาไพทอนกับการแก้ปัญหา 4

ชั่วโมง




สาระการเรียนรู้


1. การออกแบบและเขียนโปรแกรมที่มีการใช้ตัวแปรเงื่อนไขวนซ้ำ

2. การออกแบบอัลกอริทึม เพื่อแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์อย่างง่าย อาจใช้แนวคิด

เชิงนามธรรมในการออกแบบเพื่อให้การแก้ปัญหามีประสิทธิภาพ

3. การแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอนจะช่วยให้แก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ




สมรรถนะสำคัญ/ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21



1. สมรรถนะสำคัญ

- ความสามารถในการสื่อสาร

- ความสามารถในการคิด

- ความสามารถในการหาเหตุผล


- ความสามารถในการแก้ปัญหา

- ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี

2. ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21

- ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ

- ทักษะการคิดแก้ปัญหา

- ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

- ทักษะการสื่อสาร

- ทักษะการทำงานร่วมกันเป็นทีมและความเข้าใจความแตกต่างของวัฒนธรรม
- ทักษะการคิดสร้างสรรค์และการแสวงหานวัตกรรม

คุณลักษณะอันพึงประสงค์


งง

1. ใฝ่เรียนรู้ : ความตั้งใจในการสืบค้นข้อมูลและการร่วมกิจกรรม
2. มุ่งมั่นในการทำงาน : ความตั้งใจในการทำงานให้เสร็จในเวลาที่กำหนดและมีคุณภาพตาม

เป้าหมาย

3. ซื่อสัตย์สุจริต : การทำงานด้วยความสามารถของตนเองและเป็นความจริง

การออกแบบการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 ภาษาไพทอนกับการแก้ปัญหา



มาตรฐานการเรียนรู้


ตัวชี้วัดชั้นปี

ออกแบบและเขียนโปรแกรมอย่างง่ายเพอแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ หรือวิทยาศาสตร์ (มฐ. ว 4.2 ม.1/2)
ื่
แนวคิดสำคัญ คำถามสำคัญ

1. ภาษาคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการออกแบบและ 1. ภาษาคอมพิวเตอร์หมายถึงอะไร ทำไม

เขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหาต่าง ๆ เช่น การคำนวณทาง จึงต้องใช้ภาษาไพทอน

คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ การแก้สมการต่าง ๆ การพัฒนา 2. ภาษาที่คอมพิวเตอร์รับรู้ได้ทันทีคือ

โปรแกรมบัญชีและธุรกรรมทางการเงิน ออกแบบและ ภาษาอะไร

เชื่อมโยงกับระบบฐานข้อมูล เช่น ทะเบียนนักเรียน และ 3. ภาษาที่ใช้แสดงผลบนเว็บเพจคือภาษา

ระเบียนการเรียนต่าง ๆ อะไร

2. การเขียนโปรแกรมนอกจากเขียนเป็นคำสั่งตาม 4. ภาษาสอบถามในโปรแกรมสำนักงาน
วากยสัมพันธ์ของภาษาแล้ว ยังมีองค์ประกอบต่าง ๆ ที่ใช้ คือโปรแกรมชื่ออะไร

ในการเขียนโปรแกรม เช่น ตัวดำเนินการ ฟังก์ชัน และ 5. ตัวอย่างส่วนต่อประสานกับผู้ใช้บน

โมดูล เดสก์ท็อปคืออะไร
3. การพัฒนาโปรแกรมสามารถนำไปใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์
6. จอภาพแรกเมื่อเข้าสู่โปรแกรมภาษา
อื่น ๆ ทั้งในระบบปฏิบัติการเดียวกันและระบบปฏิบัติการ
ไพทอนเรียกว่าอะไร
อื่น ๆ โปรแกรมทใช้ในโทรศัพท์มือถือเรียกว่า แอป
ี่
7. เมื่อพิมพ์คำว่า สวัสดี แล้วกดแป้น
(Application)
Enter ในไพทอนเชลล์เรียกว่าการ

ทำงานแบบใด

8. ยกตัวอย่างคำสั่งแสดงผลบนจอภาพ

9. เขียนคำสั่งให้พิมพ์คำว่า สวัสดี

10. เขียนคำสั่งให้คำนวณค่า 17*8/2

11. จากคำสั่ง ตัวแปร = Input (

“ข้อความ” ) คำว่าตัวแปรต้องแทน

ค่าด้วยอะไร คำว่า “ข้อความ”

หมายถึงอะไร

12. ข้อมูลจากการประกาศตัวแปรต่างกับ

ข้อมูลจากคำสั่ง Input อย่างไร

13. จากคำสั่ง ตัวแปร = Input (

“ข้อความ” ) ต้องการให้รับข้อมูลเป็น

ตัวเลข ต้องทำอย่างไร

14. ต้องการทราบประเภทของตัวแปรชื่อ

var1 ต้องใช้คำสั่งอะไร

15. name01=[สมศักดิ์,วิชิต,พีระยุทธ์,พันธ

กานต์,นาโม] ต้องการให้แสดง ชื่อ พีระ

ยุทธ์และนาโมต้องทำอย่างไร

16. ฟังก์ชันคืออะไร

17. จากตัวเลข 1.41459 ต้องการให้แสดง

ค่าเป็นทศนิยม 2 ตำแหน่งต้องทำ

อย่างไร

18. ให้นักเรียนตรวจสอบและหา

ข้อผิดพลาดจากคำสั่ง if a = 7 :

19. เขียนรูปแบบกำหนดเงื่อนไขแบบ

ทางเลือกเดียว

20. เขียนรูปแบบกำหนดเงื่อนไขแบบสอง

ทางเลือก

21. ครูให้นักเรียนทดสอบโปรแกรมเงื่อนไข

แบบ Chain ในแบบเรียนหน้า 50

22. ครูให้นักเรียนทดสอบโปรแกรมเงื่อนไข

แบบ Nested ในแบบเรียนหน้า 51

23. คำสั่ง for Loop มีการทำงานอย่างไร

24. คำสั่ง While Statement ใช้กำหนด

อะไร

25. คำสั่ง Import module ใช้ทำอะไร

การใช้คำสั่ง Save As มีประโยขน์อย่างไร


กิจกรรมการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล

1. ครูนำอภิปรายเพื่อสร้างความสนใจโดยการใช้คำถาม 1. การตอบคำถามท้ายหน่วยการเรียนรู้
กระตุ้นให้นักเรียนสังเกต คิดวิเคราะห์โดยการตั้งปัญหาให้ 2. การสังเกตพฤติกรรมนักเรียน การใฝ่

นักเรียนช่วยกันตอบ เรียนรู้ มุ่งมั่นในการทำงาน และซื่อสัตย์

2. บอกเป้าหมายการเรียนรู้ในหัวข้อเรื่องที่สอนทั้งด้านความรู้ สุจริต
ทักษะ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 3. การเขียนสมุดบันทึกความรู้

3. ใช้เทคนิคการสอนแบบสืบสวน (ตั้งคำถาม-ตอบคำถาม) 4. แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ การมี

เพื่อนำไปสู่ข้อสรุปหรือการสอนแบบ 5E ส่วนร่วมในการอภิปราย ซักถาม และ
- ใช้เทคนิคการสอนแบบกระบวนการกลุ่มโดยการสืบค้น ตอบคำถามกิจกรรม

ข้อมูลหรือทำกิจกรรมการทดลอง 5. แบบประเมินพฤติกรรมด้านทักษะปฏิบัติ

- นำเสนอผลงานหรือเขียนรายงานการทดลอง 6. แบบประเมินการนำเสนอผลงานกลุ่ม
- สอนโดยใช้กิจกรรมเพื่อนคู่คิดเพื่อการเรียนรู้และ 7. แบบประเมินผลการเรียนรู้ด้วยตนเอง

แลกเปลี่ยนเรียนรู้ 8. แบบประเมินการเขียนรายงาน
- ฝึกการประเมินตนเองและประเมินเพื่อน 9. แบบประเมินการเขียนผังมโนทัศน์

- กิจกรรมตรวจสอบความรู้ความเข้าใจโดยการเขียนตอบ 10. แบบประเมินทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่

4. ประเมินผลการเรียนรู้ด้วยแบบทดสอบแบบเลือกตอบ 21
ตรวจและเฉลยก่อนเรียนหน่วยต่อไป

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2/1




เรื่อง ภาษาไพทอนกับการแก้ปัญหา เวลา 4 ชั่วโมง



1. มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด



มาตรฐาน ว 4.2 เข้าใจและใช้แนวคิดเชิงคำนวณในการแก้ปัญหาที่พบในชีวิตจริงอย่างเป็นขั้นตอน

และเป็นระบบ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการเรียนรู้ การทำงาน และการแก้ปัญหาได้อย่างมี

ประสิทธิภาพ รู้เท่าทัน และมีจริยธรรม

ื่
ตัวชี้วัดข้อ 2 ออกแบบและเขียนโปรแกรมอย่างง่ายเพอแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ หรือวิทยาศาสตร์

2. แนวคิด/หลักการสำคัญ



การเขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์นอกจากเรียนรู้คำสั่งต่าง ๆ แล้วยังต้องรู้จักเครื่องมือที่ช่วยอำนวย

ความสะดวกในการเขียนโปรแกรม เช่น ตัวแปร (Variables) ฟังก์ชั่น (Function) ตัวดำเนินการ (Operator)

คำสั่งทำซ้ำ (Loop) คำสั่งตรวจสอบเงื่อนไข (Decision)


3. จุดประสงค์การเรียนรู้



3.1 รู้ความหมายของภาษาคอมพิวเตอร์และภาษาชนิดต่าง ๆ

3.2 รู้จักส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ (User interface)


3.3 ใช้เครื่องมอเขียนโปรแกรมภาษาไพทอนได้
3.4 ใช้คำสั่งรับและแสดงผลบนจอภาพได้

3.5 ปรับรูปแบบข้อความได้

3.6 รู้ชนิดของตัวแปรและการประกาศตัวแปร

3.7 รู้จักและเลือกใช้ฟังก์ชันของภาษาไพทอนได้

3.8 รู้จักและใช้ตัวดำเนินการของภาษาไพทอนได้

3.9 ใช้คำสั่งตรวจสอบเงื่อนไขได้ถูกวิธี

3.10 ใช้คำสั่งให้ทำงานแบบวนซ้ำได้

3.11 บันทึกแฟ้มได้ถูกวิธี

4. สาระการเรียนรู้



4.1 ความเป็นมาของภาษาไพทอน
4.2 การเข้าสู่โปรแกรม

4.3 คำสั่งแสดงผลบนจอภาพ

4.4 คำสั่งรับข้อมูลทางแป้นพิมพ ์
4.5 การปรับแบบอักษร

4.6 ตัวแปร

4.7 ฟังก์ชันของไพทอน
4.8 ตัวดำเนินการของไพทอน

4.9 การใช้คำสั่งตัวดำเนินการตรรกะ
4.10 การใช้คำสั่งให้ทำงานวนซ้ำ

4.11 การบันทึกแฟ้ม


5. ชิ้นงาน/ภาระงาน



5.1 ทำกิจกรรมฝึกทักษะตรวจสอบการเรียนรู้ที่ 1.1 หน้า 19

5.2 เขียนโครงงานในกิจกรรมตรวจสอบการเรียนรู้ที่ 1.2

5.3 ทำกิจกรรมเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ หน้า 27

6. คำถามสำคัญ



6.1 ภาษาคอมพิวเตอร์หมายถึงอะไร

6.2 ทำไมจึงต้องใช้ภาษาไพทอน (ภาษาไพทอนพัฒนาโดย Guido van Rossum ในประเทศเนเธอ

แลนด์ และเผยแพร่ในปี 1991 เป็นโปรแกรมประเภท Open source แจกให้ใช้โดยไม่คิดมูลค่า ภาษาที่ใช้

เข้าใจง่าย และสามารถทำงานได้บนทุกแฟลทฟอร์ม)

6.3 ภาษาที่คอมพิวเตอร์รับรู้ได้ทันทีคือภาษาอะไร

6.4 ภาษาที่ใช้แสดงผลบนเว็บเพจคือภาษาอะไร

6.5 ภาษาสอบถามในโปรแกรมสำนักงานคือโปรแกรมชื่ออะไร

6.6 ตัวอย่างส่วนต่อประสานกับผู้ใช้บนเดสก์ท็อปคืออะไร

6.7 จอภาพแรกเมื่อเข้าสู่โปรแกรมภาษาไพทอนเรียกว่าอะไร

6.8 เมื่อพิมพ์คำว่า สวัสดี แล้วกดแป้น Enter ในไพทอนเชลล์เรียกว่าการทำงานแบบใด

6.9 ยกตัวอย่างคำสั่งแสดงผลบนจอภาพ

6.10 เขียนคำสั่งให้พิมพ์คำว่า สวัสดี

6.11 เขียนคำสั่งให้คำนวณค่า 17*8/2

6.12 จากคำสั่ง ตัวแปร = Input ( “ข้อความ” ) คำว่าตัวแปรต้องแทนค่าด้วยอะไร คำว่า

“ข้อความ” หมายถึงอะไร


6.13 ข้อมูลจากการประกาศตัวแปรต่างกับขอมูลจากคำสั่ง Input อย่างไร
6.14 จากคำสั่ง ตัวแปร = Input ( “ข้อความ” ) ต้องการให้รับข้อมูลเป็นตัวเลข ต้องทำอย่างไร

6.15 ต้องการทราบประเภทของตัวแปรชื่อ var1 ต้องใช้คำสั่งอะไร

6.16 name01=[สมศักดิ์,วิชิต,พีระยุทธ์,พันธกานต์,นาโม] ต้องการให้แสดงชื่อพีระยุทธ์และนาโมต้อง

ทำอย่างไร

6.17 ฟังก์ชันคืออะไร

6.18 จากตัวเลข 1.41459 ต้องการให้แสดงค่าเป็นทศนิยม 2 ตำแหน่งต้องทำอย่างไร

6.19 ให้นักเรียนตรวจสอบและหาข้อผิดพลาดจากจากคำสั่ง if a = 7 :

6.20 เขียนรูปแบบกำหนดเงื่อนไขแบบทางเลือกเดียว

6.21 เขียนรูปแบบกำหนดเงื่อนไขแบบสองทางเลือก

6.22 ครูให้นักเรียนทดสอบโปรแกรมเงื่อนไขแบบ Chain ในแบบเรียนหน้า 50

6.23 ครูให้นักเรียนทดสอบโปรแกรมเงื่อนไขแบบ Nested ในแบบเรียนหน้า 51

6.24 คำสั่ง for Loop มีการทำงานอย่างไร

6.25 คำสั่ง While Statement ใช้กำหนดอะไร

6.26 คำสั่ง Import module ใช้ทำอะไร

6.27 การใช้คำสั่ง Save As มีประโยขน์อย่างไร (เปลี่ยนชื่อเพื่อสำรองโปรแกรมไว้กันการบันทึกทับเมื่อ

ทดลองแก้ไขโปรแกรม)

7. กิจกรรมการจัดการเรียนรู้



7.1 ขั้นนำ (1 ชั่วโมง)

1. ครูนำอภิปรายความหมายของภาษาคอมพิวเตอร์และภาษาชนิดต่าง ๆ

2. ครูให้ความรู้เรื่องส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ (User interface) และ UI ของภาษาไพทอน

3. ครูให้นักเรียนทดลองเขียนคำสั่งรับและแสดงผลบนจอภาพ

4. ครูให้ความรู้เรื่องตัวแปร ฟังก์ชัน และตัวดำเนินการ

5. ครูแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้



7.2 ขั้นสอน (2 ชั่วโมง 30 นาที)

ชั่วโมงที่ 2

1. ครูให้ความรู้เรื่องภาษาคอมพิวเตอร์
2. ครูยกตัวอย่างชนิดของภาษาคอมพิวเตอร์


3. ครูให้ความรู้เพิ่มเติมเรื่อง บิต ไบต์ Unicode และการเขียนโปรแกรมแบบ OOP (อ่านว่าโอโอพี)
4. ครูให้นักเรียนทดลองสร้างภาษาสคริปต์อย่างง่ายโดยพิมพ์ข้อความ “สวัสดี นี่คือภาษาสคริปต์ “


ลงในโปรแกรม Word และ Excel แล้วบันทึกเป็น Webpage หลังบันทึกให้คลิกขวาที่ชื่อแฟ้มแล้วเลือก Open

with และคลิกที่ Internet Explorer หรือ Google ทดสอบโปรแกรม

5. ครูให้นักเรียนเข้าสู่โปรแกรมภาษาไพทอน และแนะนำส่วนต่าง ๆ

6. ให้นักเรียนพิมพ์คำว่า สวัสดี ลงใน Python Shell แล้วกดแป้น Enter สังเกตผล บรรทัดสุดท้าย

จะแจ้งว่ามีการผิดพลาดคือ Name error: ชื่อที่พิมพ์ผิดพลาดเพราะไม่ได้กำหนดค่าไว้ก่อน

7. การให้คอมพิวเตอร์ทำตามคำสั่งต้องใช้คำสั่งให้ถูกต้องตรงตามวากยสัมพันธ์ของภาษา (Syntax)

เช่น ต้องการให้แสดงคำว่า สวัสดี ต้องใช้คำสั่ง print (“สวัสดี”) ข้อมูลต้องอยู่ในวงเล็บ ถ้าเป็นข้อมูลสตริง

ต้องอยู่ในเครื่องหมายคำพูด

8. ให้นักเรียนคลิกที่เมนู File และ New จอภาพใหม่นี้ เรียกว่า Editing window ให้นักเรียนพิมพ ์

ข้อความแล้วกดแป้น Enter สังเกตว่าต่างกับ Shell อย่างไร

9. ให้นักเรียนทำกิจกรรมฝึกทักษะที่ 2.1 ในบทเรียนหน้า 35


ชั่วโมงที่ 3

10. ครูให้ความรู้เรื่องคำสั่งรับข้อมูลทางแป้นพิมพ ์

11. ให้นักเรียนทำกิจกรรมฝึกทักษะที่ 2.2

12. ครูแนะนำให้นักเรียนปรับแบบอักษรใน Configure IDE

13. ครูให้นักเรียนศึกษาเรื่องตัวแปรและการแสดงชนิดของตัวแปรในบทเรียน
14. ให้นักเรียนทำกิจกรรมฝึกทักษะที่ 2.3

15. ครูสรุปชนิดของตัวเลข ได้แก่ เลขจำนวนเต็ม (Integer) ใช้ตัวย่อ int เป็นเลขจำนวนเต็มบวกหรือ

ลบไม่มีทศนิยม เลขจำนวนเต็มที่มีจำนวนมากใช้อกษร L กำกับหลัง เลขจำนวนจริง (Float) เป็นตัวเลขที่มี
ทศนิยม เลขจำนวนเชิงซ้อน (Complex) ใช้อักษร j กำกับท้ายเป็นจำนวนของเซ็ตที่ใช้ในวิชาคณิตศาสตร์ ใน

บทเรียนนี้จะใช้เพียงจำนวนเต็มและจำนวนจริงเท่านั้น


16. ครูสรุปเรื่องตัวแปร การตั้งชื่อตัวแปรต้องเป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษ ตัวพมพใหญ่ หรือตัวเขียน

เล็กก็ได้ เมื่อกำหนดชื่อตัวแปรไว้อย่างไรต้องใช้รูปแบบนั้นตลอด หรือกำหนดเป็นตัวอกษรแล้วต่อท้ายด้วย
ตัวเลขก็ได้ ค่าของตัวแปรจะขึ้นอยู่กับการกำหนด เช่น A1=5 ค่าของ A1 เป็นเลขจำนวนเต็ม A1=7.4 ค่าของ

A1 เป็นเลขจำนวนจริง A1 =”สวัสดี” ค่าของ A1 เป็น String (ใช้ “ หรือ ‘ ก็ได้)

17. ครูให้นักเรียนศึกษาตัวแปรชนิดต่าง ๆ ในบทเรียนแล้วทดลองพมพ์ตามตัวอย่าง

18. ครูอธิบายเรื่องฟังก์ชันในโปรแกรม ฟงก์ชันเป็นการรวมกลุ่มคำสั่งที่ซับซ้อนเข้าไว้เป็นฟังก์ชัน


เดียวเพื่อสะดวกในการใช้งาน เช่น ฟังก์ชัน Sort() ที่นักเรียนได้ศกษาในหน่วยการเรียนรู้ที่ 1 สามารถจัดลำดับ
ตัวเลขหรือตัวอักษรจำนวนมากได้ในเวลาอันรวดเร็ว ถ้าเขียนเป็นโปรแกรมเองต้องเขียนคำสั่งหลายบรรทัด
19. ให้นักเรียนทำกิจกรรมฝึกทักษะที่ 2.4

20. ครูอธิบายความหมายของตัวดำเนินการ (Operators) คือสัญลักษณ์ที่ใช้ในการคำนวณและ
เปรียบเทียบ ดังตารางที่ 2.4 และ 2.5

21. การตรวจสอบเงื่อนไขท้ายคำสั่งตรวจสอบต้องปิดด้วยเครื่องหมายทวิภาค (Colon) การ

เปรียบเทียบใช้สัญลักษณ์ ==
22. ให้นักเรียนทำกิจกรรมฝึกทักษะที่ 2.5


ั่
30 นาทีของชวโมงที่ 4
23. เงื่อนไขแบบสองทางเลือกใช้ else: เปิดทางเลือกที่สอง ไม่ต้องปิดด้วย endif

24. เงื่อนไขแบบหลายทางเลือก (Chain) ใช้ elif ไม่ใช่ elseif และปิดด้วยทวิภาคทกครั้งจนถึง

ทางเลือกสุดท้ายปิดด้วย else: ให้นักเรียนทดลองพิมพ์คำสั่งในตัวอย่างหน้า 50

25. ครูอธิบายรูปแบบการทำงานแบบวนซ้ำ (for Loop อ่านว่า หลูบ) หน้า 52 แล้วทดสอบโปรแกรม

ตัวอย่างที่ 1-3
26. การวนซ้ำด้วย while ให้ทำไปจนกว่าเงื่อนไขจะสมบูรณ์ ต้องใช้ตัวแปรจำนวนนับในการเพิ่ม

จำนวนรอบ เช่น VA_Count = 0 กำหนดค่าเริ่มต้น ใน Loop ต้องเพิ่มค่าจำนวนนับเป็น VA_Count =

VA_Count + 1 ให้เพิ่มค่าตัวเองรอบละ 1
27. ให้นักเรียนทดสอบโปรแกรมเกมทายตัวเลขในตัวอย่างที่ 2 หน้า 55

28. การบันทึกแฟม เมื่อรันโปรแกรมครั้งแรกจะมีกรอบแจ้งให้บันทึกโปรแกรมไว้ก่อน นักเรียนต้องตั้ง

ชื่อโปรแกรมให้ตรงกับการทำงานของโปรแกรมเพื่อให้เรียกใช้ได้ถูกต้อง และเมื่อมีการแก้ไขโปรแกรมแล้วรัน

ใหม่ก็จะมีกรอบแจ้งให้บันทึกทุกครั้ง บางครั้งต้องการทดสอบคำสั่งโดยไม่ให้บันทึกทับโปรแกรมชื่อเดิมต้องใช้

ื่
คำสั่ง Save As แล้วเปลี่ยนชื่อโปรแกรมก่อนเพอเก็บโปรแกรมต้นฉบับแรกไว้


7.3 ขั้นสรุป (30 นาที)

1. นักเรียนสรุปความรู้ความเข้าใจตามจุดประสงค์การเรียนรู้
2. นักเรียนเขียนผังความคิดสรุปผลการเรียนรู้



8. สื่อการเรียนรู้และแหล่งการเรียนรู้



8.1 สื่อการเรียนรู้
1. หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิทยาการคำนวณ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่


1 ของบริษัท แม็คเอ็ดดูเคชั่น จำกัด

2. ซีดีรอมเว็บไซต์ความรู้ของบริษัท แม็คเอ็ดดูเคชั่น จำกัด

8.2 แหล่งการเรียนรู้

1. ห้องสมุดของโรงเรียน

2. เว็บไซต์ www.python.org



9. การวัดและประเมินผลการเรียนรู้



9.1 ทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธ์ท้ายหน่วย

9.2 แบบประเมินด้านทักษะปฏิบัติ (ในกิจกรรม)

9.3 แบบประเมินการนำเสนอผลงานกลุ่ม โดยให้ครู เพื่อนกลุ่มอื่น และกลุ่มตนเองประเมิน

9.4 แบบประเมินผลการเรียนรู้ด้วยตนเอง (นักเรียนประเมินตนเองจากการเรียนรู้ ลงในแบบประเมิน

ข้อ 11 ซึ่งครูเป็นผู้จัดทำให้)

9.5 แบบประเมินการเขียนผังมโนทัศน์

9.6 แบบประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้

9.7 แบบประเมินทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21

9.8 แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์

10. ความคิดเห็นของผู้บริหาร/สถานศึกษา


……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………


……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………







ลงชื่อ ................................................... ผู้บริหาร

11. บันทึกการเรียนรู้สำหรับนักเรียน (Student’s Reflection)



11.1 ความรู้ความเข้าใจที่ได้จากการเรียนรู้

ด้านความรู้.........................................................................................................................................

……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

ด้านทักษะ..........................................................................................................................................

……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………


ด้านการพัฒนาคุณลักษณะอนพึงประสงค์.........................................................................................
..............................................................................................................................................................................

11.2 ปัญหา/อุปสรรคในการเรียนรู้ ...........................................................................................................

..............................................................................................................................................................................

11.3 แนวทางการปรับปรุงหรือพัฒนาตนเองครั้งต่อไป .............................................................................

..............................................................................................................................................................................







ลงชื่อ ................................................... ผู้เรียน

12. บันทึกการจัดการเรียนรู้สำหรับครู (Teacher’s Reflection)



12.1 ความสำเร็จในการจัดการเรียนรู้

ด้านผู้เรียน..........................................................................................................................................

……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

ด้านวิธีสอนการวัดผล.........................................................................................................................

……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

12.2 ปัญหา/อุปสรรคในการจัดการเรียนรู้ .................................................................................................

..............................................................................................................................................................................

12.3 สิ่งที่ไม่ได้ปฏิบัติตามแผน ..................................................................................................................

..............................................................................................................................................................................

เหตุผล................................................................................................................................................

..............................................................................................................................................................................

12.4 แนวทางการปรับปรุง/พัฒนาตนเองครั้งต่อไป

..............................................................................................................................................................................

..............................................................................................................................................................................

..............................................................................................................................................................................







ลงชื่อ ................................................... ผู้สอน


Click to View FlipBook Version