ก
หลกั สตู รบูรณาการหลักปรชั ญาของเศรษฐกิจพอเพยี ง
ช้นั ประถมศึกษาปีที่ 6
หน่วยการเรยี นรู้ :
มหศั จรรยน์ มโรงเรยี น วถิ พี อเพียงชาวอนบุ าล
โรงเรียนอนบุ าลนครศรีธรรมราช “ณ นคร อทุ ศิ ”
สำนักงานเขตพื้นทีก่ ารศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1
สำนกั งานคณะกรรมการการศึกษาข้นั พนื้ ฐาน
ก
คำนำ
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุก
ระดับให้ดำเนินไปในทางสายกลาง เพื่อให้ก้าวทันต่ออโลกยุคโลกาภิวัฒน์ซึ่งภายใต้สภาวะการณ์ปัจจุบัน
หลายหน่วยงานทั้งของภาครัฐและเอกชน ได้น้อมนําหลักคิดของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้เป็นแนวทางแก๎ไข
ปัญหาและปรากฏความสำเรจ็ เป็นรูปธรรมมากขึ้น และจากความมุ่งหมายและหลักการของพระราชบัญญัติ
การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ในหมวด 1 มาตรา 6 ว่าด้วยการจัดการศึกษา ต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทย
ให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทัง้ ร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู๎และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการ
ดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่น ได้อย่างมีความสุข โรงเรียนอนุบาลนครศรีธรรมราช “ณ นคร อุทิศ”
จึงได้จัดทำหลักสูตรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งได้นําแนวทางของคณะกรรมการบริหาร
โครงการขับเคล่ือนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ มาปรับปรุงเข้ากบั
หลกั สตู รแกนกลางการศึกษาขัน้ พ้ืนฐาน พุทธศกั ราช 2551 และบูรณาการเข้ากับทุกกลุ่มสาระการเรียนรู๎ใน
ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ซึ่งในหลักสูตรจะประกอบด้วย การวิเคราะห์หลักสูตร มาตรฐานการเรียนรู้
รายปี ผังมโนทัศน์สำหรับการบูรณาการ หน่วยการเรียนรู้และตัวอย่างแผนการจัดการเรียนรู้เพื่อใช้
ประกอบการเรยี นการสอน
หน่วยการเรียนรู้ : มหัศจรรย์นมโรงเรียน วิถีพอเพียงชาวอนุบาล เป็นหน่วยการเรียนรู้ที่จัดทำ
ขึ้นเพื่อใช้ในการบูรณาการสอนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ซึ่งได้
บรู ณาการรว่ มกันระหว่างกลุ่มสาระการเรียนรตู้ ่างๆ และครูผูส้ อนแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ โดยดำเนินการ
จัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษาและ
ประสบการณข์ องผู้เรยี น
สายชนั้ ประถมศกึ ษาปที ี่ 6
ข
สารบัญ
คำนำ………………………………………………………………………………………….……………………………………………….. ก
สารบัญ………………………………………………………………..………………………………………………………………………. ข
สภาพและความสำคัญ……………………………………………………………………………………………………………………. 1
ปรัชญาของเศรษฐกจิ พอเพยี งคืออะไร……………………………………………………………………………………………… 2
ความเป็นมาของคำนิยาม “ปรชั ญาของเศรษฐกิจพอเพียง”……………………………………………………………….. 2
คิดและปฏบิ ัตติ นอย่างไรจงึ จะเรียกว่าพอเพียง………………………………………………………………………………….. 3
เง่ือนไขสรา้ งความพอเพียง……………………………………………………………………………………………………………… 3
เปา้ หมายของเศรษฐกิจพอเพียง………………………………………………………………………………………………………. 4
จุดม่งุ หมายของหลักสูตร………………………………………………………………………………………………………………… 7
จดุ ประสงค์ของหลักสูตร………………………………………………………………………………………………………………… 7
สมรรถนะสำคัญของนักเรยี น……………………………………………………………………………………………………………………………. 8
คุณลักษณะอันพึงประสงค์……………………………………………………………………………………………………………… 8
สมรรถนะของผู้เรยี นในศตวรรษท่ี 21………………………………………………………………………………………………. 9
แนวทางการจดั กจิ กรรม……………………………………………………………………………………………………………….. 10
สอ่ื และแหล่งเรียนรู้……………………………………………………………………………………………………………………… 10
แนวทางการดำเนนิ การจัดการเรียนร้บู รู ณาตามหลกั เศรษฐกิจพอเพยี ง
หน่วยการเรยี นรู้ : มหัศจรรยน์ มโรงเรียน วถิ ีพอเพียงชาวอนบุ าล ช้ันประถมศึกษาปีท่ี 6……….. 11
การวิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้และตัวช้วี ัด
หน่วยการเรยี นรบู้ ูรณาการหลักปรชั ญาของเศรษฐกจิ พอเพียง ของสายชน้ั ประถมศกึ ษาปีที่ 6…. 12
หน่วยการเรยี นร้บู รู ณาการหลักปรัชชญาของเศรษฐกิจพอเพยี งของสายชน้ั ประถมศึกษาปที ่ี 6…………….. 13
มาตรฐานการเรียนรแู้ ละตวั ช้ีวดั ช้นั ประถมศึกษาปที ่ี 6
หนว่ ยการเรยี นรู้ : มหัศจรรยน์ มโรงเรียน วถิ ีพอเพียงชาวอนบุ าล…………………………………………. 14
แผนการจดั การเรยี นรู้ บูรณาการหลกั ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพยี ง
หนว่ ยการเรียนรู้ : มหศั จรรย์นมโรงเรียน วถิ ีพอเพยี งชาวอนุบาล ชั้นประถมศึกษาปีท่ี 6………… 16
แผนการจดั การเรียนรู้ที่ 1 เรียนรผู้ า่ นนมโรงเรียน น้อมรับหลักพอเพียงดำเนินการ…………………….. 17
แผนการจดั การเรยี นรู้ที่ 2 มีทกั ษะคดิ คำนวณ ชวนคิดเร่ืองนม…………………………………………….. 29
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3 เรียงร้อยถ้อยคำ คดิ สรา้ งสรรค์เก่ยี วกบั นม…………………………………… 40
แผนการจัดการเรยี นรู้ท่ี 4 ยอดนกั วทิ ย์ฝึกสมอง คดิ ทดลองเร่ืองของนม……………………………….. 55
แผนการจดั การเรียนรู้ท่ี 5 (1) รู้องั กฤษ คิดส่ือสาร เรยี นรูผ้ ่าน เรอ่ื งของนม…………………………... 69
แผนการจดั การเรียนรู้ท่ี 5 (2) รอู้ ังกฤษ คิดสื่อสาร เรียนรู้ผา่ น เร่อื งของนม…………………………... 82
แผนการจดั การเรยี นรู้ท่ี 6 กว่าจะเป็นนมโรงเรียน มาแวะเวียนเรยี นประวัติ…………………………. 91
แผนการจดั การเรียนรู้ท่ี 7 รอ้ งเล่นรำเพลนิ เชญิ ชวนดื่มนม……………………………………………….. 104
แผนการจดั การเรยี นรู้ท่ี 8 ชวนคดิ สรา้ งสรรค์ มหัศจรรย์เร่ืองนม……………………………………….. 116
แผนการจัดการเรียนรู้ท่ี 9 ยอดนักประดิษฐ์ คดิ คน้ จากกล่องนม………………………………………… 129
แผนการจดั การเรียนรู้ที่ 10 ด่ืมนมทุกวัน สรา้ งสรรค์ผลงาน…….………………………………………… 142
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 11 แนะแนวคนดี ชวนนอ้ งพด่ี ืม่ นม………………………………………………. 153
รายช่ือผู้จัดทำหลักสตู ร………………………………………………………………………………………………………………. 163
1
สภาพและความสำคัญ
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และที่แก้ไข
เพิ่มเติม พ.ศ. 2553 มาตรา 27 กำหนดให้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีหน้าที่จัดทำสระของหลักสูตรในส่วนที่
เก่ยี วข้องกบั สภาพปัญหาในชุมชน และสงั คม ภูมปิ ญั ญาท้องถิ่น คุณลกั ษณะอนั พึงประสงค์ เพื่อเป็นสมาชิก
ที่ดีของครอบครัว ชุมชน สังคม เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ
และสถาบันสังคมอนื่ สง่ เสริมความเข้มแขง็ ของชมุ ชน โดยจัดการะบวนการเรียนร้ภู ายในชมุ ชนเพ่ือให้ชุมชน
มีการจัดการศึกษา อบรม มีการแสวงหาความรู้ ข้อมูล ข่าวสาร และรู้จักเลือกสรรภูมิปัญญาและวิทยาการ
ต่าง ๆ เพื่อพัฒนาชุมชนให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา และความต้องการ รวมทั้งวิธีการสนับสนุนให้มีการ
แลกเปลี่ยนประสบการณ์การพัฒนาชุมชนให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา และความต้องการ รวมทั้งวิธีการ
สนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การพัฒนาระหว่างชุมชน ดังนั้น สถานศึกษาจึงต้องพัฒนา
หลกั สูตรต่างๆ เชน่ หลักสตู รท้องถนิ่ หลกั สูตรเศรษฐกิจพอเพียง เปน็ ต้น โดยการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสม
กับบริบทของสถานศึกษา สภาพและความต้องการของท้องถิ่น เพื่อให้ผู้เรียนนำความรู้ ประสบการณ์ไป
พัฒนาตนเอง ครอบครัว ชุมชน และเพื่อนปลูกฝงั ใหผ้ ู้เรียนมีความรัก ความภูมิใจ ผูกพันกันท้องถิ่นของตน
มาตรา 7 ได้บัญญัติไว้ว่า “ในกระบวนการเรียนรู้ต้องปลูกฝังจิตสำนึกที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเมืองการ
ปกครองในระบอบประชาธปิ ไตยอนั มีพระมหากษัตรยิ ์ทรงเป็นประมุข รู้จักรกั ษาผลประโยชนส์ ว่ นรวม และ
ของประเทศชาติ รวมท้ังสง่ เสรมิ ศาสนา ศิลปวฒั นธรรมของชาติ การกฬี า ภมู ิปัญญาท้องถ่ิน ภูมิปัญญาไทย
และความรู้อันเป็นสากล ตลอดจนอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อง มีความสามารถในการ
ประกอบอาชพี รู้จกั พึง่ ตนเอง มีความคดิ ริเร่ิมสรา้ งสรรคใ์ ฝ่รู้ และเรยี นรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง”
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นแนวทางการดำเนินชีวิตและวิถีปฏิบัติที่พระบาทสมเด็จพระ
เจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสชี้แนะแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า 30 ปี และได้ทรงเน้นย้ำแนวทาง
พัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลางและความไม่ประมาท โดยคำนึงถึง ความพอประมาณ ความมี
เหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ และคุณธรรม เป็นพื้นฐานในการดำรงชีวติ การป้องกันให้
รอดพ้นจากวิกฤต และให้สามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความ
เปลีย่ นแปลงต่างๆ
โรงเรียนอนุบาลนครศรีธรรมราช “ณ นครอุทิศ” สถานที่ตั้งคือ ตำบลคลัง อำเภอเมือง จังหวัด
นครศรีธรรมราช และอยู่ในการปกครองของเทศบาลนครนครศรีธรรมราช เป็นองค์กรหนึ่งของสังคมที่ต้อง
ระดมทรัพยากรมาช่วยกันจัดการด้านการศึกษา เพื่อให้เกิดความเข้มแข็งของชุมชน โดยดึงศักยภาพของ
ชุมชนที่มีอยู่มาแบ่งปันช่วยเหลือการจัดการศึกษาให้ผู้เรียนเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ใกล้ตัว มีการพัฒนาหลักสูตร
สถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนจัดบูรณาการหลักสูตรต่างๆ ในการจัดการเรียนการสอน ให้มีความ
เหมาะสมกบั บรบิ ทของโรงเรียน และประสบการณ์ของผเู้ รยี น ให้ได้เรยี นรู้อยา่ งเต็มตามศกั ยภาพ
หน่วยการเรียนรู้ : มหัศจรรย์นมโรงเรียน วิถีพอเพียงชาวอนุบาล เป็นหน่วยการเรียนรู้ที่จัดทำ
ขน้ึ เพอ่ื ใชใ้ นการบูรณาการสอนหลักปรชั ญาเศรษฐกจิ พอเพยี งในระดบั ช้ันประถมศึกษาปที ี่ 6 ซง่ึ นมโรงเรียน
เป็นสิ่งที่ใกล้ตัวผู้เรียนและในชีวิตประจำวันของผู้เรียน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เป็นจำนวนมากเม่ือ
เข้าสู่วัยที่โตขึ้นมักจะแสดงทีท่าในการไม่ชอบดื่มนมโรงเรียน การดื่มนมก็จะน้อยลง บางครั้งนมก็จะเหลือ
ตลอดจนปัญหาดา้ นขยะที่เกิดจากการด่ืมนม มกี ารท้ิงกลอ่ งนมหรือถุงนมไมเ่ ป็นที่ ด้วยเหตุน้คี ณะครูสายช้ัน
ประถมศกึ ษาปที ่ี 6 จึงตระหนกั และเหน็ ความสำคญั จึงได้นำเรอื่ งนมโรงเรียนมาจดั ทำหน่วยการเรียนร้ใู ห้แก่
ผู้เรียน ได้มีการบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และบูรณาการร่วมกันในแต่ละกลุ่มสาระ
เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ และได้รับการพัฒนาให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามที่สถานศึกษากำหนด
ตลอดจนมคี วามรู้เกย่ี วกับหลกั ปรชั ญาเศรษฐกจิ พอเพยี ง สามารถนำไปใชใ้ นชีวติ ประจำวัน
2
ปรัชญาของเศรษฐกจิ พอเพียงคอื อะไร
เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ
ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทาง
สายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้กา้ วทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ ความพอเพียง หมายถึง ความ
พอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการมี
ผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้ จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความ
รอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุก
ขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ
นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับ ให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ท่ี
เหมาะสม ดำเนินชีวติ ดว้ ยความอดทน ความเพียร มสี ติ ปัญญา และความรอบคอบ เพอ่ื ให้สมดุลและพร้อม
ต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม
จากโลกภายนอกได้เป็นอยา่ งดี
กล่าวโดยสรุป ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นหลักคิด และหลักปฏิบัติในการดำเนินชีวิตเพื่อ
นำไปสู่ความพอเพียง เป็นปรัชญาที่ชี้ถึงแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตน ของคนไทย สังคมไทย เพื่อให้
กา้ วทนั ตอ่ ยคุ โลกาภวิ ตั น์ เพ่ือใหเ้ กิดความกา้ วหนา้ ไปพร้อมกับความสมดุลและพร้อมรับต่อการเปล่ียนแปลง
อย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ทั้งด้านวัตถุ ทางด้านสังคม ทางด้านส่ิงแวดล้อม และทางด้านวัฒนธรรม ถ้าใช้
หลักความพอเพียงเป็นหลักคิดและหลักปฏิบัติในการดำเนินชีวิตก็จะสามารถอยู่ได้อย่างรู้เท่าทันการ
เปลี่ยนแปลงตา่ งๆ ปรับตัวและพร้อมรบั ต่อการเปลี่ยนแปลงได้
ความเปน็ มาของคำนิยาม “ปรชั ญาของเศรษฐกจิ พอเพียง”
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในฐานะหน่วยงานหลักในการ
วางแผนของประเทศ ตระหนักถึงความสำคัญของแนวคิด ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประธาน
คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในขณะนั้น คือท่าน ดร. สิปปนนท์
เกตุทัต จึงได้ริเริ่มเชิญชวนผู้ทรงคุณวุฒิจากสาขาต่างๆ มาร่วมกันพิจารณากลั่นกรองพระราชดำรัสของ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจพอเพียง ในโอกาสต่างๆ และใช้เวลาประมาณ
6 เดือน สรุปออกมาเป็นนิยามความหมายปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และได้อัญเชิญ มาเป็นปรัชญา
นำทางในการจัดทำแผนพฒั นาฯ ฉบบั ที่ 9 และฉบบั ที่ 10 เพอ่ื สง่ เสรมิ ใหป้ ระชาชนทุกระดับ มีความเข้าใจใน
หลักปรัชญาฯ และนำไปเป็นพ้ืนฐานและแนวทางในการดำเนนิ ชวี ิต ซง่ึ ทรงพระกรุณาโปรดเกลา้ ฯ พระราชทาน
พระบรมราชานุญาต ตามทขี่ อพระมหากรุณา เม่อื วนั ที่ 29 พฤศจิกายน 2542 และตอ่ มา ในปี 2546 ก็ได้มี
การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการขับเคล่ือนเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งมีดร. จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา เป็นประธาน
โดยยดึ หลักคำนิยามน้ี ในการขบั เคลื่อน
หลักคิดของเศรษฐกิจพอเพียงที่พระองค์ท่านพระราชทานคำนี้เป็นครั้งแรกในปี 2540 นั้น แท้จริง
แล้ว ได้มีพระราชกระแสรับสั่งและพระราชดำรัสเกี่ยวกับเรื่องความพอเพียง พออยู่พอกิน การพึ่งตนเอง
การพัฒนาอย่างเปน็ ขัน้ ตอน การเสียสละแบ่งปันต่างๆ มาก่อนหน้านี้ ตั้งแต่ปี 2517 ทรงมีพระราชดำรัสว่า
“…การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐาน คือ ความพอดี พอกิน พอใช้ ของ
ประชาชนส่วนใหญ่เป็นเบื้องต้นก่อน...” และทรงมีพระราชดำรัสมาอย่างต่อเนื่องอีกหลายครั้ง หลายหน
กระทั่งในปี 2544 มีพระราชดำรัสว่า “มีความคิด-อันนี้ไม่ใช่เรื่องเศรษฐกิจ-มีความคิดว่าทำอะไรต้อง
พอเพียงหมายความว่า พอประมาณ ไม่สุดโต่ง ไม่โลภอย่างมาก คนเราก็อยู่เป็นสุข” จึงอาจกล่าวได้ว่า
ปรชั ญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นเรื่องเกี่ยวกบั ความคิดพอเพียง เพราะฉะนั้น การขบั เคล่ือนจึงเน้นที่การ
ทำให้เกิดการปฏิบตั ิทั้งกาย วาจา ใจ ท่อี ยู่บนหลกั ความพอเพียง”
3
บางคนยังเขา้ ใจว่าเศรษฐกิจพอเพยี งเป็นเรื่องปลูกพืชผักหรือการทำเกษตรผสมผสาน นค่ี อื ความเข้าใจที่
ไม่ถูกต้องนัก จากการทำการสำรวจความรู้ ความเข้าใจของสวนดุสิตโพลล์ ในปี 2548 พบวา่ มีคนเข้าใจผิดใน
ลักษณะนี้น้อยลง โดยคนไทยประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ รู้จักเศรษฐกิจพอเพียง และส่วนมากเริ่มเข้าใจแล้ววา่
ไมใ่ ชเ่ ร่อื งการแบง่ พ้ืนดิน 30 : 30 : 30 : 10 ไมใ่ ชเ่ ร่ืองการปลูกพชื ผกั สวนครัว และไม่ใช่เรื่องท่ีใช้ได้เฉพาะ
ภาคเกษตรหรือเป็นเรือ่ งที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจรากหญ้าเท่านั้น แต่เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเร่ืองการดำเนนิ ชีวติ
ของคนทัว่ ไป ส่วนการตีความและนำไปประยุกตใ์ ชน้ ั้น มีแนวคดิ ทห่ี ลากหลาย
คดิ และปฏบิ ัตติ นอยา่ งไรจึงจะเรยี กว่าพอเพียง
แล้วอย่างไรถงึ จะเรียกว่าพอเพียง มีพระราชดำรสั องค์หนี่งกล่าวไวว้ ่า “พูดจากพ็ อเพียง ปฏบิ ตั ติ นก็
พอเพียง”คำนิยามบอกหลกั การไว้วา่ ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตผุ ล และการ
สร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว จากผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากทั้งภายนอกและภายใน ภายนอกกระทบเข้ามา
ภายในก็เปล่ยี นแปลงดว้ ย จะพอเพียงไดต้ ้องคำนงึ ถึง ห่วงถงึ 3หลักการ คือคิดและทำอะไรอยา่ งพอประมาณ
มีเหตุมีผล และมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี ถ้าครบ 3 หลักการนี้ ถึงจะบอกได้ว่า พอเพียง ถ้าไม่ครบก็ไม่พอเพียง
และการจะสรา้ งความพอเพียงใหเ้ กิดข้ึนไดต้ ้องใช้ความรคู้ วบคู่ไปกับคณุ ธรรม
พอประมาณคือ การทำอะไรที่พอเหมาะ พอควร สมดุลกับอัตภาพ ศักยภาพของตนเอง และสภาวะ
แวดล้อมพอประมาณของแตล่ ะคน ในแต่ละช่วงเวลาก็ตา่ งกัน อยา่ งเช่น บางคนในบางวันทานข้าวจานเดียว
อิ่ม แต่บางวันก็ไม่อิ่ม ต้อง 2 จานถึงจะอิ่ม แล้วแต่เหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องในช่วงขณะเวลานั้นๆ ความ
พอประมาณสามารถพิจารณาได้จาก 2 ปัจจัย คือ ปัจจัยภายใน พอเหมาะกับความชอบ ศักยภาพและ
ความสามารถของแต่ละคนหรือไม่ และปัจจัยภายนอก คือพอประมาณกับ ภูมิสังคม สิ่งแวดล้อม และ
สถานการณ์ในแต่ละขณะหรือไม่ ในหลักสัปปุริสธรรม 7 สอนไว้ว่า จะสร้างความพอดีให้เกิดขึ้นได้จะต้อง
ร้เู หตุ ร้ผู ล รูต้ น ร้ปู ระมาณ รูก้ าล รูช้ มุ ชน ร้บู ุคคล ความพอประมาณ จึงครอบคลุมความพอเหมาะ พอควร
กบั ทกุ ๆ เรื่อง
แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าพอประมาณหรือไม่ ก็ต้องรอบรู้ในข้อมูล ปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง มีสติ และคิด
พิจารณาอย่างรอบคอบ ซื่อสัตย์ต่อตนเอง ต่อความจริง ต่อหน้าที่ ต่อผู้อื่น ต้องใช้หลักเหตุหลักผลในการ
ตัดสินใจ และตอ้ งคำนึงถึงการเปลยี่ นแปลงในมติ ิตา่ งๆ ทีจ่ ะทำลายความพอดี ความพอเพียงดว้ ย จึงต้องมีการ
สรา้ งภมู คิ ้มุ กนั ในตวั ทด่ี ใี หเ้ กดิ ข้นึ
แล้วทำไมเราต้องใช้ชีวิตอย่างพอเพียง หรือลองคิดในคำถามตรงกันข้ามว่า ถ้าเราใช้ชีวิตอย่างไม่
พอเพียงแล้วจะเป็นอย่างไร เช่น ใช้จ่ายไม่พอเพียง ดูแลสุขภาพอย่างไม่พอเพียง บริโภคอย่างไม่พอเพียง
ทำงานอย่างไม่พอเพียง มากไป น้อยไป หรือนักศึกษาดูหนังสืออย่างไม่พอเพียง การใช้ชีวิต การปฏิบัติตน
อย่างไมพ่ อเพียง น้อยเกนิ ไป มากเกินไป ไม่พอดี พอเหมาะ พอควรกบั ความสามารถของเรา กับสถานการณ์
สิ่งแวดล้อม มันส่งผลกระทบอะไรบ้างให้กับตัวเราเอง ส่งผลกระทบอะไรบ้างให้กับคนรอบข้าง กระทบกับ
สังคม กระทบกบั ส่ิงแวดลอ้ ม สง่ ผลถงึ อนาคตของตนเองและสังคม
เง่ือนไขสร้างความพอเพียง
เงื่อนไขและปัจจัยที่จะทำให้การวางแผน การตัดสินใจ การดำเนินการแต่ละอย่าง นำไปสู่ความ
พอเพียงหรอื ไม่พอเพียง ในคำนยิ ามซึ่งไดพ้ ระราชทานมากร็ ะบุชดั เจนวา่ ต้องอาศยั ความรคู้ ูก่ บั คุณธรรม
เงื่อนไขความรู้ คือความรอบรู้ ความรอบคอบและระมัดระวัง ในการนำเอาหลักวิชาการมาใช้
กล่าวคือ จะเอาหลักวิชาการมาใช้ ต้องรู้จริง รอบรู้ ไม่เอามาทดลองใช้อย่างงูๆ ปลาๆ เพราะจะมีโอกาสพลาด
สูง ถ้ารู้จริงแต่ไม่รอบคอบ ก็ไม่ได้อีก หลายครั้งที่เกิดปัญหาไม่พอเพียง มาจากความไม่รอบคอบ ยกตัวอย่าง
4
เช่น เรื่อง OTOP การวางแผนการผลิต ถ้าไม่รอบคอบตั้งแต่ต้นทางคือเรื่องวัตถุดิบ จนกระทั่งถึงปลายทาง
คอื การทำการตลาด และจดั สง่ สนิ ค้า มีโอกาสท่ีจะนำไปสูค่ วามไม่พอเพียงได้อย่างมาก
แต่ความรู้อย่างเดียวไม่พอที่จะสร้างความพอเพียงให้เกิดขึ้นได้ ต้องมีคุณธรรมด้วย คนที่คิดว่า
ตวั เองฉลาดแต่ไมม่ ีคุณธรรม ไม่ใช่คนท่ฉี ลาดจรงิ เพราะผลของการกระทำของเขาท่ีอาจจะเห็นแก่ตัว เอารัด
เอาเปรียบผู้อ่ืน คดโกง ไมซ่ อื่ สัตย์สุจริต ฉอ้ ราษฎร์บังหลวง เวลาทำการงานภารกจิ จิตแส่ส่ายไม่ต้ังมั่น ไม่มี
สมาธิ ทำอะไรก็ไม่รอบคอบ ไมใ่ ช้ปญั ญาคิดพิจารณาแยกแยะเหตแุ ละผลต่างๆ ใหถ้ ถี่ ว้ น สดุ ท้ายก็สง่ ผลทางลบ
กับตัวเขาเองในที่สุด เพราะฉะนั้นคนที่มีสติปัญญาจริง จะต้องเป็นคนที่มีคุณธรรม รู้ผิดถูกชอบชั่วดี
ไมเ่ บียดเบียนตนเองและผู้อื่น มกี ารแบง่ ปนั เอ้ือเฟอื้ เผือ่ แผ่ มศี ลี ท้ังทางกาย วาจา และทางความคดิ และจิต
ต้องตั้งมั่นเป็นหนึ่ง เป็นสมาธิจดจ่ออยู่กับภารกิจการงานที่ทำ งานจึงจะออกมามีคุณภาพ และนำไปสู่การ
สร้างความพอเพยี งได้อย่างแท้จริง
คุณธรรมนี้ มี 2 ช่วง เริ่มจากการต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจให้มีคุณธรรม แต่ละบุคคลจะต้องมี
สำนึกในคุณธรรม คิดละชั่ว ประพฤติดี ซื่อสัตย์สุจริต ซื่อสัตย์ต่อตนเอง ซื่อสัตย์ต่อผู้อื่น ซื่อสัตย์ต่อหน้าท่ี
ความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์สุจริตไม่ใช่หมายความแต่เพียงไม่คอรัปชั่นเท่านั้น ยกตัวอย่างเช่น เวลาจะซื้อของ
ถ้าซ่อื สัตยต์ ่อตัวเอง กจ็ ะรูว้ า่ จริงๆ แลว้ จำเปน็ หรือเปล่า มีรายได้เพยี งพอไหม จะซอ่ื สตั ย์ต่อตัวเองได้ ก็ต้อง
ร้จู กั ตัวเองก่อน รวู้ ่าเรามีรายได้แค่ไหน สถานะอยา่ งเราทำอะไรไดบ้ ้าง อนั นี้จำเป็นไหม แล้วก็มีความรอบรู้ท่ี
เหมาะสมเกี่ยวกบั สนิ ค้านัน้ ๆ
อย่างที่สอง คือการมีคุณธรรมเป็นหลักปฏิบัติและการดำเนินชีวิต คือต้องมีความอดทน ความเพียร
มีสติปัญญา และความรอบคอบคุณธรรมข้อน้ีเป็นขอ้ ยืนยันว่าเมือ่ นำหลักพอเพียงไปใช้ จะไม่เป็นการย่ำอยู่
กับที่ แต่กลับจะนำไปสู่ความก้าวหน้าพร้อมกับความสมดุลเป็นขั้นเป็นตอน เช่น ในการบริหารธุรกิจ ถ้ามี
ความขยันหมั่นเพียร อดทน พัฒนาองค์กร พฒั นาบคุ ลากรอย่างต่อเน่ือง มคี วามรอบคอบในการดำเนินการ
ธรุ กิจการงาน ชีวติ กจ็ ะก้าวหน้าอยา่ งเป็นขัน้ ตอน
เป้าหมายของเศรษฐกิจพอเพยี ง
เป้าหมายของเศรษฐกิจพอเพียงในคำนิยามคืออะไร พระปฐมบรมราชโองการ “เพื่อประโยชน์สุข
แห่งมหาชนชาวสยาม”การจะทำอะไรก็ตามประโยชน์ก็ต้องเกิด ความสุขก็ต้องมี แต่เวลาพูดถึงการที่จะ
สร้างประโยชน์ให้เกิดขึ้น จะสร้างความสุขให้เกิดขึ้น กับครอบครัว กับชุมชน กับองค์กร กับประเทศชาติ
บางครั้งคำนิยามก็อาจจะต่างกัน แล้วประโยชน์สุขตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง จะวัดได้จากที่ไหน ก็ต้อง
พจิ ารณาจากเป้าหมายของเศรษฐกจิ พอเพยี ง คอื มงุ่ ใหเ้ กิดความก้าวหนา้ ไปอย่างสมดุลและพร้อมรับต่อ
การเปล่ียนแปลงในด้านต่างๆ กลา่ วคอื ตอ้ งก้าวหน้าอยา่ งสมดลุ ม่นั คงและยง่ั ยืน
ทำไมเราจำเป็นต้องมีพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลง หรือมีภูมิคุ้มกัน หลักพุทธมองโลกว่า ทุกอย่าง
เป็นอนิจจัง มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา จะรู้ได้อย่างไรว่า ถ้าเราออกจากห้องนี้เดินออกไปข้างนอกจะไม่
ถกู รถชน ถา้ เราไม่มีเงนิ เก็บออมหรือการทำประกันสุขภาพเตรียมไว้ในยามจำเป็น กจ็ ะเกดิ ปัญหาจนถึงกับเกิด
วิกฤตในชีวิตได้ ฉะนั้นการสร้างภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี คือต้องพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลง ไม่ประมาท มีสติใน
การดำเนินชีวิต ใช้ปัญญาในการคาดการณ์ความเปลี่ยนแปลงต่างๆ เพื่อวางแผนรองรับ และรักษาสมดุลได้
ทั้งในปัจจุบันและในอนาคตด้วย สมดุลแปลว่าสมดุลทั้งปัจจุบันและอนาคต วันนี้พอเพียงยังไม่พอ พรุ่งน้ี
ตอ้ งพอเพยี งด้วย คอื ตอ้ งมีความเพียรอย่างต่อเน่ืองทีจ่ ะรักษาความสมดลุ ให้ได้อย่างสม่ำเสมอ ความเพียร
ในข้อปฏิบัติมรรค 8 นั้น หมายถึง ความเพียรที่จะแก้ไขข้อบกพร่อง เพียรที่จะละความชั่วที่เคยทำ หรือทำ
อยแู่ ล้ว หรอื ยังไม่เคยทำให้น้อยลงจนหมดไป เพียรทจ่ี ะทำความดีที่เคยทำ หรอื ทำอยู่แล้ว หรือยังไม่เคยทำ
ให้ดีย่งิ ๆ ขึน้
5
สมดุลในด้านไหนบ้าง คำนิยาม ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงบอกว่าต้องสมดุลทั้งทางด้านวัตถุ/
เศรษฐกิจ สังคมสิง่ แวดล้อม วฒั นธรรม/ค่านยิ ม ประโยชนส์ ุขของคนสว่ นใหญจ่ ะเกดิ ขึ้นได้อย่างแท้จริง หรือ
ความพอเพียงอย่างสมบูรณ์จริงๆ จะเกิดขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อเราสร้างความสมดุลและพร้อมรับต่อการ
เปลี่ยนแปลงใน 4 ด้าน คือทางด้านวัตถุหรือเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านวัฒนธรรม/
ค่านิยม/ความเชอ่ื การกา้ วหนา้ ไปพรอ้ มกับความสมดุลในแต่ละยา่ งก้าว จะทำให้เกิดความพอเพียงในทส่ี ดุ
สมดุลทางด้านเศรษฐกิจ ในระดับบุคคล ก็หมายถึงการดำรงชีวติ โดยรายได้สมดุลกับรายจ่าย เราจะ
ใชจ้ า่ ยอย่างพอเพยี งได้อย่างไร รายจ่ายพอประมาณกับรายได้ไหม มเี หตุมผี ลคือว่าใชข้ อง เพราะจำเป็น หรือ
ฟุ่มเฟือย การใช้เงินอย่างสมดุล ต้องมีภูมิคุ้มกันด้วยคือออมบ้าง การซื้อประกันชีวิต ประกันสุขภาพ หรือ
สวัสดิการในบริษัทก็เป็นภูมิคุ้มกันเพราะฉะนั้นสมดุลทางเศรษฐกิจคือทำอย่างไรจะรักษาสมดุลรายรับ
รายจ่าย มีเงินออม มีประกนั ด้วย เพราะฉะนัน้ อย่าง กทม. ธ.ก.ส. และองค์กรอืน่ ๆ อกี มากมายเขาสนับสนุน
การทำบัญชีรายรับรายจ่าย เขาบอกว่าเพื่อชีวิตที่พอเพียง อันนั้นเป็นเครื่องมือ การทำบัญชีรายรับรายจ่าย
คุณจะได้รู้ว่า แต่ละเดือนคุณใช้เงินอย่างไร พอเพียงไหม การทำบัญชีรายรับรายจ่าย เป็นเครื่องมือเพื่อใหค้ ุณ
ใชช้ วี ิตอย่างพอเพยี งหรือวา่ สมดุล
ยกตัวอย่าง การสร้างความสมดุลและพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในการใช้จ่าย ก็อาจจะต้องทำ
บันทึกรายรับรายจ่าย บัญชีรายรับรายจ่ายเป็นเครื่องมือ เพื่อให้ดูว่า การใช้จ่ายสมดุลไหม ใช้จ่ายมากเกิน
กว่ารายรับหรือไม่ และต้องคำนึงถึงความเปลี่ยนแปลงในอนาคตด้วย หมายความว่า ต้องมีเงินออม
มีหลักประกันต่างๆ ในหลายโรงเรียน ครูฝึกให้เด็กเริ่มทำบัญชีรายรับรายจ่าย เพราะอยากให้เด็กได้รู้ว่า
พอ่ แม่มรี ายได้มาจากไหน เวลาจะใชเ้ งินแตล่ ะบาท แตล่ ะสลึง จะไดต้ ระหนักถึงความเหนื่อยยากของพ่อแม่
ในการหาเงนิ มา เร่อื งนต้ี อ้ งปลกู ฝงั ตง้ั แต่เดก็
แต่ความสมดุลด้านเศรษฐกิจ ความพอเพียงในการใช้เงินทอง ไม่เพียงแต่ดูสมดุลของบัญชี รายรับ
รายจา่ ยเทา่ นน้ั การใช้จ่ายอย่างพอเพียง คือต้องค้มุ ค่า สร้างประโยชน์และความสุขให้เกิดข้ึน บางท่านบอก
ว่าพอเพียงคือประหยัด แต่ประหยัดไม่ได้บอกว่า ตระหนี่ถี่เหนียว คำว่า ทางสายกลาง หมายความว่า
ไม่ฟุ้งเฟอ้ ไม่ใชเ้ งินเกนิ ตัว แต่กไ็ ม่ใชว่ า่ ประหยดั จนไมใ่ ชจ้ ่ายเงนิ เลย ก็ไมถ่ ูกตอ้ งอีก การใชจ้ า่ ยแบบทางสาย
กลางก็คอื ว่า การใชเ้ งินอยา่ งเหมาะสมกับอัตภาพของเรา ศักยภาพของเรา รายไดข้ องเรา และเหมาะสมกับ
สถานการณ์ ความจำเปน็ สิง่ แวดล้อมดว้ ย
สมดุลทางด้านสังคมถ้าจะบอกได้ว่าเราใช้ชีวิตอย่างพอเพียง เราก็ต้องมีความสมดุลทางด้านสังคม
ด้วย เช่น ต้องไม่ใช่คนเห็นแก่ตัว เศรษฐกิจพอเพียงนำไปสู่ความรู้รักสามัคคี ความสามัคคีจะเกิดขึ้นได้ ใน
สังคมต้องไม่มีใครเอารัดเอาเปรียบกัน ทุกคนช่วยเหลือกัน แบ่งปันกันทั้งกำลังทรัพย์ กำลังกาย กำลังใจ
และกำลังความรู้ การใช้จ่ายเงินทองเมื่อสมดุลทางเศรษฐกิจ ก็ต้องคำนีงถึงการใช้จ่ายเพื่อสร้างสมดุลทาง
สังคมให้เกิดขี้นด้วย ถึงจะอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข ความสมดุลทางสังคมต้องเริ่มจากการให้ คนท่ี
พอแล้วจะรู้จักการให้ รู้จักเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ช่วยเหลือ มีน้ำใจ แบ่งปัน คนที่ได้รับการแบ่งปันก็จะนึกถึง
บุญคุณของผู้ให้ มีความรู้สึกเป็นมิตร หากขัดสนจนคิดจะแย่งชิงจากผูอ้ ื่นในสังคมกจ็ ะระงับยับยัง้ ชั่งใจไว้ได้
ผูใ้ หก้ จ็ ะมคี วามสขุ จากการให้ สงิ่ ตา่ งๆ เหลา่ นี้ สรา้ งความสมดุล ใหเ้ กดิ ขึ้นในสังคม สรา้ งภูมคิ มุ้ กนั ให้เกิดขึ้น
ได้ในสังคม ชมุ ชนเขม้ แขง็ จะเกิดขนึ้ ได้ ในชุมชนจงึ ต้องมีความสามัคคี ความสามัคคจี ะเกิดข้ึนได้ ชุมชนต้อง
มีการแบ่งปันกนั ช่วยเหลอื กันเวลาตกทุกขไ์ ด้ยาก
สมดุลด้านสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างไร การจัดการทรัพยากรทางธรรมชาติให้สามารถใข้ประโยชน์ได้
อย่างยัง่ ยนื เช่น ไม่ตัดไม้ทำลายป่า เราจำเป็นต้องรักษาสมดุลทางส่ิงแวดล้อม เพราะทกุ อยา่ งที่เราเป็น เรา
ใช้ เรามี มาจากธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ถ้าเราไม่รักษาไว้ให้ใช้ได้นานๆ เราจะอยู่อย่างไร เราต้องเห็นความ
จำเป็นของการอยู่ร่วมกับระบบนิเวศน์วิทยาอย่างสมดุล ไม่ทำร้าย ไม่ทำลาย ไม่เบียดเบียน องค์การ
สหประชาชาติรณรงค์ให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน หมายความว่าการพัฒนาต้องสามารถทำให้คนรุ่นต่อไป
6
ดำรงชวี ิตอยา่ งมีคุณภาพในระดับเดยี วกันกบั คนรุ่นปจั จุบัน แตใ่ นความเป็นจรงิ เราทำได้ไหมในปี พ.ศ.2504
ประเทศไทยเริ่มมีแผนพัฒนาฯ เรามีป่าไม้ครอบคลุมทั่วประเทศประมาณ 74 เปอร์เซ็นต์ในการประเมิน
แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 ตอนนั้นป่าไม้เหลือเพียง 23 เปอร์เซ็นต์ เขาทำลายป่าไปหมดแล้วประมาณ
50 เปอร์เซน็ ต์
หลักเศรษฐกิจพอเพียงชี้ให้คำนึงถึงว่า ในการใช้จ่ายหรือดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจในด้านต่างๆ
ของแตล่ ะคน แต่ละองคก์ รนั้น ให้พยายามรักษาสมดลุ ทางส่ิงแวดล้อม ให้เกดิ ขน้ึ ในคราวเดียวกนั ด้วย จึงจะ
เรียกได้ว่า พอประมาณกับทรัพยากรที่มีอยู่ บนพื้นฐานของความรอบคอบตามหลักวิชาการ และเป็นการ
สร้างภมู ิค้มุ กนั ดว้ ย ระหวา่ งการผลิต ถ้าทำลายส่งิ แวดลอ้ ม ก็ถือว่าไม่มกี ารผลติ อยา่ งพอเพียง จะรอบอกว่า
กำไรกอ่ น คอ่ ยคืนกำไรน้ันสู่การปลูกป่า อนรุ กั ษ์ส่งิ แวดล้อมไดไ้ หม ไมไ่ ด้ ระหว่างการผลติ ก็ต้องรักษาสมดุล
ดา้ นสงิ่ แวดลอ้ มไปพรอ้ มๆ กัน
ยกตัวอย่างในระดับบคุ คล ในชีวิตของเราจนกระทั่งเราเรียนจบหรอื แม้แต่ออกไปทำงานแล้ว เราเคย
คิดบ้างไหมว่า การใช้ชีวิตของเราใช้กระดาษจำนวนมาก กระดาษมาจากต้นไม้ เราใช้ต้นไม้ไปกี่ต้น
และในทางกลับกัน เราเคยปลูกต้นไม้กี่ต้นในชีวิตของเรา หลายองค์กร หลายโรงเรียนมีกิจกรรมปลูกต้นไม้
เพื่อพ่อ เพื่อร่วมรักษาดูแลสิ่งแวดล้อม แต่ที่สำคัญคือต้องสร้างจิตสำนึกให้รู้ก่อนว่าทำไมต้องปลูกต้นไม้
ตอ้ งเขา้ ใจก่อนว่า ต้นไม้ให้อะไรกับมนุษย์บา้ ง ออกซิเจนที่เราสูดอากาศ มาจากไหน เบื้องต้นก็มาจากต้นไม้
ทุกคนเคยเรยี นจากวชิ าชวี วิทยาเบื้องต้น
มีโฆษณาของหน่วยงานหนึ่ง เริ่มจากเด็กไปเก็บขวดน้ำเปล่า รวบรวมแล้วเอาไปขาย แล้วก็ได้เงินมา
ไปซื้ออาหาร ไปให้คณุ ปู่คณุ ย่า แล้วบอกวา่ เด็กใชช้ วี ิตพอเพยี ง กิจกรรมต่างๆ นเี้ สรมิ สรา้ งสมดลุ ในทุกด้าน
ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม เริ่มจากให้รู้จักการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนเร่ิม
จากการจัดการขยะ แม้แต่ขวดน้ำ ถ้าเรามองเป็นขยะ เราก็โยนทิ้ง ถ้าเรามองเป็นสิ่งที่มีคุณค่า เอามาล้าง
เอาไปเก็บรวบรวม เอาไปขาย ก็เป็นการเสริมรายได้ เพิ่มเงินค่าขนมให้กับเด็ก ทุกสรรพสิ่งมีค่าหมด อยู่ที่
การท่ีเรามองโลก
มีโรงเรียนหนึ่งเป็นเครือข่ายโรงเรียนเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนมกุฎเมืองราชวิทยาลัย อยู่ที่ระยอง
เขาทำกิจกรรมเสรมิ สรา้ งให้เดก็ รกั สง่ิ แวดล้อม โดยเร่ิมต้นทีเ่ ดก็ ก่อน ฝกึ ให้ใชส้ ่งิ ของอยา่ งใหเ้ ห็นคุณคา่ สรา้ ง
ความพอเพียงด้านสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนให้เกิดขึ้น มีการจัดการโดยให้เด็กนับชิ้นขยะที่ออกมาจาก
ห้องเรียนทุกวัน แล้วมีตารางเปรียบเทียบของทุกห้องเรียน ทุกชั้นเรียนในโรงเรียน แล้วแยกประเภทด้วย
เพราะฉะนั้น เด็กเขาก็จะเริ่มรู้ว่า เขาควรใช้กระดาษ 2 หน้า เสร็จแล้วเขาก็ฝึกเก็บกระดาษไปชั่งขาย
มีกิจกรรมในการรไี ซเคิลขยะต่างๆ การปลูกฝังจติ สำนึกรักษส์ ิ่งแวดล้อม ต้องเริ่มต้ังแต่เด็ก และผู้ใหญ่ก็ตอ้ ง
ทำเปน็ ตัวอยา่ ง
สมดุลด้านวัฒนธรรม หากศึกษาพระราชดำรัสและพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระ
เจ้าอยู่หัวในเรื่องวฒั นธรรมจะพบว่า พระองค์ทรงเน้นย้ำมาโดยตลอดให้ปลูกฝังเด็กและเยาวชนไทยใหเ้ ห็น
คุณค่าในความเป็นไทย เอกลักษณ์ไทย เห็นประโยชน์และคุณค่าของ ภูมิปัญญาไทย ภูมิปัญญาท้องถ่ิน
ที่เป็นองค์ความรู้ที่มีประโยชน์ที่สืบทอดต่อกันมา โดยเฉพาะในยุคปัจจุบันที่มีกระแสโลกาภิวัตน์ถาโถมเข้ามา
การเสริมสร้างความพอเพียงทางวัฒนธรรม จะเป็นเสมือนภูมิคุ้มกันทางวัฒนธรรม ที่จะทำให้เด็กไทย
คนไทย มจี ดุ ยืนในชวี ติ มีหลักคิด หลักปฏิบัตทิ ี่เปน็ ท่ียึดเหน่ียวจติ ใจ และพฒั นาตนเอง มีความแกรง่ ในความ
เปน็ ไทย เขา้ ใจในความเป็นสากล เพอ่ื ใหอ้ ยรู่ อดได้ในยุคโลกาภิวัตน์ ดำรงตนอยไู่ ด้อย่างมีศักด์ิศรี ท่ามกลาง
ความเปลีย่ นแปลงต่างๆ
การปลูกฝังให้เดก็ เยาวชน โดยเฉพาะเด็กรุ่นไหมๆ่ มีภูมิคมุ้ กนั ที่ดี และพรอ้ มรับการเปลีย่ นแปลงต่างๆ
ทางด้านวัฒนธรรม ภายใต้โลกยุคโลกาภิวัตน์ได้ มีความภูมิใจในความเป็นไทย เด็กควรจะต้องรู้จกั รากเหง้า
ประวัติศาสตร์ และความเป็นมาของตนเอง ของครอบครัว ของสงั คมไทย และของชาติ ของประเทศ รู้ท่ีมาท่ีไป
7
เหตุผลของการมีวัฒนธรรม ประเพณี ค่านิยมต่างๆ ที่ยึดเหนี่ยวจิตใจคนไทยใหม้ ีความสามัคคี จะได้รักชาติ
เห็นคุณค่าของวัฒนธรรมในชาติตน คิดถึงบุญคุณของผืนแผ่นดินไทย ตลอดจนรู้จักแยกแยะและเลือกรับ
วัฒนธรรมอื่นๆ ที่ไหลเข้ามาสู่ตนในยุคโลกาภิวัตน์ได้ว่าอะไรเป็นประโยชน์ อะไรเป็นโทษ อะไรเหมาะสม
พอประมาณกับการใชช้ ีวติ ของแตล่ ะคนในสงั คมไทย อะไรควรทำตาม อะไรควรละเว้น
หลักคิดเรือ่ งวัฒนธรรมพอเพียงจะทำให้คนไทย ชาติไทย สามารถยืนอยู่ได้อย่างมั่นคง ภายใต้กระแส
โลกาภิวัตน์ ที่มีสื่อข้อมูลต่างๆ ถาโถมเข้ามาอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงต่างๆ
ในโลกที่เกิดขึ้น เราจะอยู่ได้อย่างมีศักดิ์ศรี เราต้องมีรากเหง้า ต้นไม้ที่จะสามารถต้านรับลมที่พัดมาแรงๆ ได้
โดยไม่ล้ม รากแก้วต้องหยั่งรากลึกลงไป ถ้าเป็นต้นหญ้าต้นอ้อ ลมพัดมาแรงทีเดียวก็ล้มเลยเพราะมีแค่
รากฝอย ประเทศชาติจะอยู่ได้ เราต้องมีราก รากเหง้า รากแก้ว รากฝังลึกลงไป ซึ่งสิ่งนี้ก็คือความเป็นไทย
วฒั นธรรมไทย
จดุ มุ่งหมายของหลกั สูตร
1) เป็นหลักสูตรที่เสริมสร้างศักยภาพของผู้เรียนให้มีความรู้ความสามารถและมีทักษะในการ
พัฒนาตนเองไปสกู่ ารบรหิ ารจดั การท่เี ปน็ มาตรฐาน
2) เป็นไปตามหลักการทำงานในการวิเคราะห์สถานการณ์เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติงาน เพื่อให้เกิด
องค์ความรู้และทกั ษะการทำงาน โดยได้นำเอาความรู้ เรื่อง ประวัติสถานทท่ี างประวัติศาสตร์ บุคคลสำคัญ
และศิลปวัฒนธรรมในท้องถิ่น และใช้เทคนิคการเรียนรู้หลากหลายรูปแบบนำมาผสมผสานกัน ได้แก่
กระบวนการกลุ่ม การฝึกคิด การแก้ปัญหา การเน้นกระบวนการ และการเรียนแบบร่วมมือ ทั้งนี้มุ่งหวังให้
ผู้เรียนเรียนรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งจากความสนใจ อยากรู้อยากเรียน ของผู้เรียนเอง โดยใช้กระบวนการ
แกป้ ญั หา
3) เป็นหลักสูตรที่เสริมสร้างทักษะชีวิต หรือความสามารถของบุคคลที่จะจัดการกับปัญหาต่าง ๆ
รอบตัวในสภาพสังคมปัจจุบนั โดยยึดหลักปรชั ญาของเศรษฐกิจพอเพยี ง เพอื่ เตรยี มพรอ้ มสำหรับการปรับตัว
ในอนาคต ผ่านทางหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสาน ทำให้ผู้เรียนเกิดการตระหนักรู้
และเห็นคณุ คา่ ในตนเองและผู้อืน่ การคิดวิเคราะห์ ตัดสินใจและแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์
4) ผู้เรียนจะเป็นผู้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อค้นหาคำตอบด้วยตนเอง เป็นการเรียนรู้ท่ี
มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรงกับแหล่งความรู้เบื้องต้น โดยผู้สอนจะสนับสนุนให้ผู้เรียน
ศกึ ษาคน้ คว้าเพ่มิ เตมิ จากแหล่งเรียนรแู้ ละปรับปรุงความรู้ทไ่ี ดใ้ ห้สมบูรณ์
จดุ ประสงค์ของหลกั สูตร
1. นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตลอดจน
เข้าใจความสมั พนั ธ์ระหวา่ งหลกั ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพยี งกับชีวติ ชุมชน และสงั คม
2. นักเรียนมีคุณธรรมจริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ เห็นคุณค่าของตนเอง มีความอดทน
มวี ินัย ปฏบิ ัตติ นไดเ้ หมาะสมกับการเปน็ ผมู้ ีความรู้ในเรอื่ งหลกั ปรัชญาของเศรษฐกจิ พอเพียงและมเี จตคติที่ดี
เก่ียวกบั หลักปรัชญาของเศรษฐกจิ พอเพยี ง
3. นักเรียนมีสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ และมีทักษะจำเป็นใน
ศตวรรษท่ี 21 ทส่ี ำคัญตอ่ การนำไปใชใ้ นการดำเนนิ ชีวติ
8
สมรรถนะสำคัญของนกั เรยี น
1. ความสามารถในการสื่อสาร
เป็นความสามารถในการรับและส่งสาร มีวัฒนธรรมในการใช้ภาษาถา่ ยทอดความคิด ความรู้ความ
เข้าใจ ความรสู้ กึ และทศั นะของตนเองเพื่อแลกเปลย่ี นข้อมูลขา่ วสาร และประสบการณ์อนั จะเป็นประโยชน์
ต่อการพัฒนาตนเองและสงั คม รวมทั้งการเจรจาตอ่ รองเพื่อขจัดและลดปญั หาความขัดแย้งต่างๆ การเลือก
รับหรือไม่รับข้อมูลข่าวสารด้วยหลักเหตุผล และความถูกต้อง ตลอดจนการเลือกใช้วิธีการสื่อสารที่มี
ประสทิ ธิภาพโดยคำนงึ ผลกระทบท่มี ตี อ่ ตนเองและสังคม
2. ความสามารถในการคดิ
เป็นความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ การคิดอย่างสร้างสรรค์ การคิดอย่างมี
วิจารณญาณ และการคิดเป็นระบบ เพ่ือนำไปส่กู ารสรา้ งองคค์ วามร้หู รอื สารสนเทศเพ่ือการตัดสินใจเกี่ยวกับ
ตนเองและสงั คมได้อย่างเหมาะสม
3. ความสามารถในการแก้ปัญหา
เป็นความสามารถในการแก้ปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ที่เผชิญได้อย่างถูกต้องเหมาะสมบนพื้นฐาน
ของหลักเหตุผล คุณธรรมและข้อมูลสารสนเทศ เข้าใจความสัมพันธ์และการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์
ต่างๆ แสวงหาความรู้ ประยุกต์ความรู้มาใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาและมีการตัดสินใจที่ มี
ประสทิ ธิภาพโดยคำนงึ ถึงผลกระทบท่ีเกิดข้นึ ตอ่ ตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม
4. ความสามารถในการใชท้ ักษะชีวติ
เป็นความสามารถในการนำกระบวนการต่างๆ ไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ด้วย
ตนเอง การเรียนรูอ้ ยา่ งต่อเนอื่ ง การทำงาน และการอยรู่ ว่ มกนั ในสงั คมดว้ ยการสร้างเสริมความสมั พันธ์อันดี
ระหว่างบุคคล การจัดการปัญหาและความขัดแย้งต่างๆ อย่างเหมาะสม การปรับตัวให้ทันกับการ
เปล่ียนแปลงของสงั คมและสภาพแวดล้อม และการรู้จกั หลกี เลย่ี งพฤติกรรมไม่พึงประสงคท์ ี่ส่งผลกระทบต่อ
ตนเองและผอู้ ืน่
5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี
เป็นความสามารถในการเลือกและใช้เทคโนโลยีด้านต่างๆ และมีทักษะกระบวนการทางเทคโนโลยี
เพื่อการพัฒนาตนเองและสังคม ในด้านการเรียนรู้ การสื่อสาร การทำงาน การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์
ถูกตอ้ งเหมาะสม และมคี ุณธรรม
คณุ ลกั ษณะอันพึงประสงค์
ข้อที่ 1 รักชาติ ศาสน์ กษัตรยิ ์
ขอ้ ท่ี 2 ซ่ือสัตยส์ จุ ริต
ขอ้ ท่ี 3 มวี ินัย
ขอ้ ที่ 4 ใฝเ่ รียนรู้
ข้อที่ 5 อย่อู ย่างพอเพยี ง
ขอ้ ท่ี 6 มุ่งม่นั ในการทำงาน
ขอ้ ที่ 7 รักความเปน็ ไทย
ขอ้ ท่ี 8 มจี ติ สาธารณะ
9
สมรรถนะของผ้เู รียนในศตวรรษท่ี 21
สมรรถนะสำคญั ของผูเ้ รยี น ทกั ษะจำเปน็ ในศตวรรษท่ี 21
ความสามารถในการส่ือสาร
ความสามารถในการใชเ้ ทคโนโลยี ทักษะหลกั ทักษะย่อย
ความสามารถในการคดิ
ทักษะดา้ นข้อมลู ข่าวสาร สื่อเทคโนโลยี ทักษะการส่ือสาร
ความสามารถในการแก้ปัญหา
ความสามารถในการใชท้ ักษะชวี ติ สารสนเทศและการส่อื สาร (Communication Skills)
(Information, Media, Technology
and Communication Skills)
ทกั ษะเกีย่ วกับข้อมลู ข่าวสาร ส่อื
และเทคโนโลยสี ารสนเทศ
(Information, Media and
Technology Literacy Skills)
ทักษะการคิดและการ ทกั ษะการคดิ อย่างมวี จิ ารณญาณ
แก้ปัญหา (Thinking & Problem และคิดอย่างมีระบบ (Critical
solving Skills) Thinking and Systems
Thinking)
ทกั ษะการคดิ อย่าง
สรา้ งสรรค์ (Creativity and
Intellectual Curiosity)
ทักษะการวเิ คราะห์
ปญั หา (Problem Identification,
Formulation & Solution)
ทกั ษะระหวา่ งบุคคลและเข้าใจ ทักษะระหวา่ งบุคคลและการ
ตนเอง (Interpersonal & Self- รว่ มมือร่วมใจ (Interpersonal
Directional Skills) and Collaborative Skills)
ทกั ษะการเข้าใจและรทู้ ิศทางของ
ตนเอง (Self-Direction)
ทกั ษะในการ
ปรบั ตัว (Accountability and
Adaptability)
ทกั ษะในฐานะสมาชิกของ
สงั คม (Social Responsibility)
10
แนวทางการจดั กจิ กรรม
1. การจดั กิจกรรมใหย้ ืดหยุ่นตามสภาพความเหมาะสมของทอ้ งถ่นิ
2. การจดั กิจกรรมโดยการยดึ ผู้เรยี นเป็นสำคัญ ให้สอดคล้องกบั ความสนใจ และความถนัดของ
ผู้เรยี น ให้โอกาสนกั เรียนไดแ้ สดงความสามารถอยา่ งเทา่ เทียมกัน
3. ครูผสู้ อนเป็นผู้ใหค้ วามรู้เรื่องเนอื้ หา และภาคทฤษฎี สง่ เสริมนกั เรยี นไดส้ บื คน้ ข้อมูลเพิม่ เตมิ ด้วย
ตนเอง และเชญิ วทิ ยากรท้องถิ่นให้ความรู้ และความเข้าใจเพ่ิมเติม
4. การจดั ตารางเรยี นควรยดื หยุน่ ตามเนื้อหาท่ีกำหนดแตล่ ะครั้งเพือ่ ความสะดวกในการสอน
ภาคทฤษฎี และภาคปฏบิ ตั ิ
5. จัดกิจกรรมโดยเนน้ กระบวนการกล่มุ ให้นักเรยี นได้มที กั ษะในการทำงานรว่ มกบั ผู้อ่นื
6. การจัดกิจกรรมภาคปฏิบตั ิโดยวิธีการใหว้ ทิ ยากรในท้องถิ่นให้ความรู้ และให้นกั เรยี นเรียนรจู้ าก
สถานการณจ์ ริง หรือสถานท่ีจรงิ
7. การจัดกจิ กรรมควรจดั ใหผ้ เู้ รียนมีโอกาสเรยี นรู้และฝึกปฏบิ ัติอยา่ งต่อเน่อื งตามข้นั ตอน เม่อื
สิน้ สดุ กจิ กรรมใหน้ ักเรียนจดั แสดงผลงาน หรือนำเสนอผลงาน
สอ่ื และแหล่งเรยี นรู้
1. เอกสาร ตำรา หรอื แผ่นพับ
2. วิทยากรท้องถิน่ (แหล่งเรียนรปู้ ระเภทบคุ คล)
3. ใบความรู้ (ครจู ัดทำข้นึ เสริม)
4. ใบงาน / ใบกจิ กรรม
5. คอมพวิ เตอร์ (สืบค้นขอ้ มูลในอนิ เทอร์เนต็ )
6. สถานท่จี ริง หรือส่ิงของจริง เช่น นมโรงเรยี น
11
แนวทางการดำเนินการจดั การเรยี นร้บู รู ณาตามหลกั เศรษฐกจิ พอเพยี ง
หน่วยการเรยี นรู้ : มหัศจรรย์นมโรงเรยี น วถิ ีพอเพยี งชาวอนบุ าล
ช้นั ประถมศึกษาปที ี่ 6
1. วเิ คราะห์หลกั สูตรการศกึ ษาขั้นพน้ื ฐาน พทุ ธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนร้สู งั คมศึกษา
ศาสนาและวัฒนธรรม และหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนอนบุ าลนครศรธี รรมราช “ณ นคร อุทศิ ”
2. วเิ คราะห์ความสมั พนั ธ์ของสาระ มาตรฐานการเรยี นรู้ และตวั ชีว้ ัดในกลุ่มสาระการเรยี นรู้
สังคมศกึ ษาศาสนาและวัฒนธรรมทส่ี อดคล้องกบั หลกั แนวคดิ เศรษฐกิจพอเพยี ง ดงั นี้
สาระท่ี 2 หนา้ ท่ีพลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชวี ิตในสงั คม
มาตรฐาน ส 2.1 เขา้ ใจและปฏบิ ตั ติ นตามหนา้ ทข่ี องการเป็นพลเมอื งดี มีคา่ นิยมท่ดี ีงาม
และธำรงรักษาประเพณีและวัฒนธรรมไทย ดำรงชีวิตอยู่รว่ มกนั ในสังคมไทยและสังคมโลกอยา่ งสนั ตสิ ุข
ตัวช้วี ดั
ส 2.1 ป.6/5 ติดตามข้อมลู ข่าวสารเหตุการณ์ ต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน เลอื กรบั และใช้
ข้อมูลขา่ วสาร ในการเรียนรไู้ ดเ้ หมาะสม
สาระท่ี 3 เศรษฐศาสตร์
มาตรฐาน ส 3.1 เข้าใจและสามารถบริหารจัดการทรัพยากรในการผลิตและการบริโภค
การใชท้ รัพยากร ท่มี ีอยจู่ ำกัดได้อย่างมปี ระสิทธิภาพและคุ้มคา่ รวมทั้งเข้าใจหลักการของเศรษฐกิจพอเพียง
เพ่ือการดำรงชีวติ อยา่ งมีดลุ ยภาพ
ตวั ชี้วดั
ส 3.1 ป.6/2 อธิบายบทบาทของผบู้ รโิ ภคทีร่ ู้เท่าทนั
ส 3.1 ป.6/3 บอกวธิ แี ละประโยชนข์ องการใช้ทรพั ยากรอย่างยงั่ ยนื
3. วเิ คราะห์ความสัมพันธ์ของสาระ มาตรฐานการเรยี นรู้ และตวั ชว้ี ัดในแตล่ ะกลมุ่ สาระเพื่อนำมา
บูรณาการในการจดั การเรยี นรู้ร่วมกัน
4. จดั ทำหน่วยการเรียนรู้ทนี่ ำมาบูรณาการในการจดั การเรียนรรู้ ว่ มกัน
5. กำหนดตวั ชี้วัด จดุ ประสงค์การเรยี นรู้ในแตล่ ะกลุ่มสาระ
6. จดั ทำแผนการจดั การเรียนรทู้ ี่จะนำมาบูรณาการร่วมกนั ตามหลกั เศรษฐกิจพอเพียง
7. จดั กจิ กรรมการเรียนการสอนตามแผนการจดั การเรยี นรทู้ ก่ี ำหนด
8. ประเมนิ ผลและตดิ ตามผลหลังจากจดั กจิ กรรมการเรียนการสอนตามแผนการจดั การเรยี นรู้
12
การวิเคราะหม์ าตรฐานการเรียนรูแ้ ละตัวชว้ี ัด
หน่วยการเรยี นร้บู รู ณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพยี ง
ของสายชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
โรงเรียนอนบุ าลนครศรีธรรมราช “ณ นคร อทุ ศิ ”
ดื่มนมทกุ วัน ยอดนักวทิ ยฝ์ กึ สมอง เรยี นรู้ผ่านนมโรงเรยี น รอู้ งั กฤษ คิดสอ่ื สาร
สรา้ งสรรคผ์ ลงาน คดิ ทดลองเรอ่ื งของนม นอ้ มรบั หลกั พอเพยี ง เรียนรู้ผ่านเร่ืองของนม
(เทคโนโลยี) (วิทยาศาสตร์) ดำเนนิ การ (ภาษาอังกฤษ)
ว 4.2 ป.6/3 ว 1.2 ป.6/1 (สังคมศกึ ษา ศาสนา ต 1.1 ป.6/3
ว 4.2 ป.6/4 ว 2.1 ป.6/1 ต 1.2 ป.6/1
ว 4.2 ป.6/3 และวฒั นธรรม) ต 1.2 ป.6/4
ส 2.1 ป.6/5 ต 4.1 ป.6/1
ส 3.1 ป.6/2
ส 3.1 ป.6/3
แนะแนวคนดี มหศั จรรย์นมโรงเรยี น มีทกั ษะคดิ คำนวณ
ชวนนอ้ งพด่ี มื่ นม วิถีพอเพยี งชาวอนบุ าล ชวนคิดเรอื่ งนม
(คณติ ศาสตร์)
(แนะแนว) ค 1.1 ป.6/2
มฐ.1 ค 1.1 ป.6/3
มฐ.2 ค 1.1 ป.6/11
กวา่ จะเป็นนมโรงเรียน ยอดนกั ประดษิ ฐ์ เรียงร้อยถ้อยคำ
มาแวะเวียนเรียนประวัติ คิดค้นจากกลอ่ งนม คิดสรา้ งสรรคเ์ กีย่ วกับนม
(ประวตั ิศาสตร์) (การงานอาชีพ) (ภาษาไทย)
ส 4.1 ป.6/1 ง 1.1 ป.6/1 ท 2.1 ป.6/2
ส 4.1 ป.6/2 ง 1.1 ป.6/2 ท 2.1 ป.6/3
ท 2.1 ป.6/8
ชวนคิดสรา้ งสรรค์ ร้องเลน่ รำเพลนิ ท 2.1 ป.6/9
มหัศจรรยเ์ รือ่ งนม เชญิ ชวนดืม่ นม ท 4.1 ป.6/5
(ดนตรี – นาฎศลิ ป์)
(ทศั นศลิ ป์) ศ 2.1 ป.6/1
ศ 1.1 ป.6/4 ศ 3.1 ป.6/1
ศ 1.1 ป.6/7
13
หนว่ ยการเรยี นรบู้ รู ณาการหลกั ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ของสายชน้ั ประถมศกึ ษาปีที่ 6
โรงเรยี นอนบุ าลนครศรธี รรมราช “ณ นคร อทุ ิศ”
หนว่ ยการเรียนรู้ : มหศั จรรย์นมโรงเรียน วิถพี อเพียงชาวอนุบาล
แผนการจดั การเรยี นรู้ จำนวนชวั่ โมง ครผู สู้ อน
แผนการจัดการเรยี นรู้ที่ 1 3 นายนรุต สิทธฤิ ทธ์ิ
เรยี นรูผ้ ่านนมโรงเรียน น้อมรับหลักพอเพียงดำเนินการ
(กลุม่ สาระการเรียนรู้สงั คมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม) 3 นางอรทัย เดชเชียร
นางกุสาวดี เพชรศรี
แผนการจัดการเรยี นรู้ที่ 2
มีทกั ษะคดิ คำนวณ ชวนคิดเรือ่ งนม 4 นางฐติ พิ ร พลมาศ
(กลมุ่ สาระการเรยี นรู้คณติ ศาสตร์) นางณชิ กานต์ ขาวสมบรู ณ์
นางณัฐวดี รกั ษาธรรม
แผนการจัดการเรียนรทู้ ่ี 3
เรียงรอ้ ยถ้อยคำ คิดสรา้ งสรรคเ์ กีย่ วกบั นม 4 นายประเสริฐ ขนุ ชำนาญ
(กลมุ่ สาระการเรยี นรู้ภาษาไทย)
3 นางจิรา ไชยณรงค์
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4 นางกอบกุล สงสุวรรณ
ยอดนักวิทย์ฝึกสมอง คิดทดลองเรอ่ื งของนม
(กลุม่ สาระการเรียนรู้วทิ ยาศาสตร์) 2 นางสาวกาญจนา บุญถนอม
แผนการจัดการเรยี นรทู้ ่ี 5 4 นางสาวเพทาย บุบผัน
รู้อังกฤษ คิดสอื่ สาร เรียนร้ผู ่าน เรือ่ งของนม
(กล่มุ สาระการเรยี นรู้ภาษาองั กฤษ) 3 นางภาวนิ ี ทองนอ้ ย
แผนการจดั การเรยี นรทู้ ี่ 6 4 นางจินดาพร สขุ ยามผล
กว่าจะเป็นนมโรงเรียน มาแวะเวียนเรยี นประวตั ิ
(วชิ าประวัตศิ าสตร์) 5 นายณรงค์ เพช็ รเสง้
แผนการจดั การเรยี นรทู้ ่ี 7 2 นางลภัสรดา เกตสุ กลุ
รอ้ งเลน่ รำเพลิน เชญิ ชวนดื่มนม
(กลุ่มสาระการเรยี นรู้ศิลปะ วิชาดนตรี – นาฎศลิ ป์) 37 ช่ัวโมง
แผนการจัดการเรยี นรู้ที่ 8
ชวนคดิ สร้างสรรค์ มหศั จรรย์เรื่องนม
(กลุ่มสาระการเรียนรูศ้ ลิ ปะ วิชาทัศนศิลป์)
แผนการจัดการเรยี นรู้ที่ 9
ยอดนกั ประดิษฐ์ คดิ ค้นจากกลอ่ งนม
(กลมุ่ สาระการเรยี นรู้การงานอาชีพ)
แผนการจัดการเรยี นรู้ท่ี 10
มหัศจรรย์เร่อื งนม เชิญชมโครงงาน
(วชิ าเทคโนโลย)ี
แผนการจดั การเรียนรู้ท่ี 11
แนะแนวคนดี ชวนนอ้ งพด่ี ่ืมนม
(กจิ กรรมแนะแนว)
รวม
14
มาตรฐานการเรยี นรู้และตัวชี้วัด
ชน้ั ประถมศึกษาปีที่ 6
หนว่ ยการเรยี นรู้ : มหศั จรรยน์ มโรงเรยี น วถิ ีพอเพียงชาวอนุบาล
แผนการจดั การเรยี นรู้ มาตรฐานการเรยี นรู้/ตวั ช้ีวดั
แผนการจดั การเรียนรู้ท่ี 1
เรยี นรูผ้ ่านนมโรงเรียน น้อมรับหลักพอเพียงดำเนนิ การ ส 2.1 ป.6/5 ตดิ ตามข้อมูลข่าวสารเหตุการณ์ ตา่ ง ๆ ใน
(กลุ่มสาระการเรยี นรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวฒั นธรรม) ชวี ิตประจำวนั เลอื กรบั และใช้ข้อมูลขา่ วสาร ในการเรยี นรูไ้ ด้
เหมาะสม
แผนการจดั การเรยี นรทู้ ี่ 2 ส 3.1 ป.6/2 อธิบายบทบาทของผ้บู รโิ ภคท่รี เู้ ท่าทนั
มที ักษะคิดคำนวณ ชวนคิดเรอ่ื งนม ส 3.1 ป.6/3 บอกวธิ แี ละประโยชนข์ องการใชท้ รพั ยากรอย่าง
(กลุ่มสาระการเรียนรู้คณติ ศาสตร์) ย่งั ยืน
แผนการจัดการเรยี นรู้ท่ี 3 ค 1.1 ป.6/2 เขยี นอัตราส่วนแสดงการเปรียบเทยี บปรมิ าณ 2
เรียงรอ้ ยถ้อยคำ คดิ สร้างสรรคเ์ กย่ี วกบั นม ปริมาณจากข้อความหรอื สถานการณ์ โดยท่ปี รมิ าณแต่ละ
(กลุม่ สาระการเรยี นรู้ภาษาไทย) ปรมิ าณเปน็ จำนวนนบั
ค 1.1 ป.6/3 หาอตั ราส่วนที่เท่ากบั อตั ราสว่ นท่ีกำหนดให้
แผนการจัดการเรยี นรู้ที่ 4 ค 1.1 ป.6/11 แสดงวิธีหาคำตอบของโจทยป์ ญั หาอตั ราสว่ น
ยอดนักวิทย์ฝึกสมอง คิดทดลองเร่ืองของนม และศึกษาสืบคน้ ขอ้ มูลพร้อมปฏบิ ัติจรงิ เก่ียวกับการทำอาหาร
(กลมุ่ สาระการเรียนรู้วทิ ยาศาสตร์และเทคโนโลยี) หรือเครอ่ื งด่มื ท่ีมีส่วนผสมของนมโรงเรยี น โดยใชห้ ลกั ปรชั ญา
ของเศรษฐกจิ พอเพียง
ท 2.1 ป.6/2 เขียนสอื่ สารโดยใช้คำได้ถูกต้องชัดเจน และ
เหมาะสม
ท 2.1 ป.6/3 เขยี นแผนภาพโครงเรื่องและแผน ภาพความคดิ
เพอื่ ใชพ้ ฒั นางานเขียน
ท 2.1 ป.6/8 เขียนเรอื่ งตามจินตนาการ และสร้างสรรค์
ท 2.1 ป.6/9 มีมารยาทในการเขยี น
ท 4.1 ป.6/5 แต่งบทร้อยกรอง
ว 1.2 ป.6/1 ระบุสารอาหารและบอกประโยชนข์ อง
สารอาหารแต่ละประเภทจากอาหาหารทต่ี นเองรบั ประทาน
ว 2.1 ป.6/1 อธบิ ายและเปรียบเทยี บการแยกสารผสมโดยการ
หยิบออก การร่อน การใช้แม่เหลก็ ดึงดดู การรินออก การกรอง
และการตกตะกอน โดยใชห้ ลักเชงิ ประจักษ์
ว 4.2 ป.6/3 ใช้อินเทอรเ์ นต็ ในการค้นข้อมูลอย่างมี
ประสทิ ธิภาพ
แผนการจัดการเรยี นรู้ 15
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 5
รูอ้ งั กฤษ คดิ สอื่ สาร เรียนร้ผู ่าน เรื่องของนม มาตรฐานการเรียนร้/ู ตัวช้วี ัด
(กลุม่ สาระการเรยี นรู้ภาษาอังกฤษ) ต 1.1 ป.6/3 เลือก/ระบุประโยค หรอื ข้อความ สัน้ ๆ ตรงตาม
ภาพ สญั ลักษณ์ หรือเคร่ืองหมายท่ีอ่าน
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 6 ต 1.2 ป.6/1 พูด/เขียนโต้ตอบในการสอ่ื สารระหวา่ งบุคคล
กว่าจะเป็นนมโรงเรียน มาแวะเวียนเรยี นประวตั ิ ต 1.2 ป.6/4 พดู และเขียนเพื่อขอและให้ขอ้ มลู เกี่ยวกับตนเอง
(วิชาประวตั ศิ าสตร์) เพ่อื น ครอบครวั และเรอื่ งใกลต้ วั
ต 4.1 ป.6/1 ใชภ้ าษาสอื่ สารในสถานการณต์ ่าง ๆ ที่เกิดขึ้นใน
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 7 หอ้ งเรยี นและสถานศึกษา
รอ้ งเล่นรำเพลิน เชิญชวนดื่มนม
(กลุม่ สาระการเรียนรูศ้ ลิ ปะ วิชาดนตรี – นาฎศิลป์) ส 4.1 ป.6/1 อธิบายความสำคญั ของวิธีการทางประวตั ศิ าสตร์
ใน การศกึ ษาเรื่องราวทางประวัตศิ าสตร์อย่างงา่ ย ๆ
แผนการจดั การเรียนรู้ท่ี 8 ส 4.1 ป.6/2 นำเสนอข้อมูลจากหลกั ฐานท่หี ลากหลายในการ
ชวนคดิ สร้างสรรค์ มหศั จรรย์เรื่องนม ทำความเข้าใจเรือ่ งราวสำคัญในอดีต
(กล่มุ สาระการเรียนรู้ศิลปะ วชิ าทัศนศิลป์) ศ 2.1 ป.6/1 บรรยายเพลงที่ฟัง โดยอาศยั องคป์ ระกอบดนตรี
และศัพทส์ งั คีต
แผนการจัดการเรยี นร้ทู ่ี 9 ศ 3.1 ป.6/1 สร้างสรรค์การเคลอ่ื นไหว และการแสดง โดยเนน้
ยอดนักประดิษฐ์ คิดคน้ จากกลอ่ งนม การถ่ายทอดลีลา หรอื อารมณ์
(กลุ่มสาระการเรยี นรู้การงานอาชพี ) ศ 1.1 ป.6/4 สรา้ งสรรค์งานปั้นโดยใช้หลักการเพิ่มและลด
ศ 1.1 ป.6/7 สร้างงานทัศนศิลป์เป็นแผนภาพ แผนผงั และ
แผนการจัดการเรียนรทู้ ี่ 10 ภาพประกอบ เพื่อถา่ ยทอดความคิดหรือเรื่องราว เกย่ี วกับ
ดืม่ นมทุกวนั สร้างสรรคผ์ ลงาน เหตุการณ์ตา่ ง ๆ
(วชิ าเทคโนโลยี) ง 1.1 ป.6/1 อภปิ รายแนวทางในการทำงานและปรบั ปรุงการ
ทำงานแต่ละข้ันตอน
แผนการจัดการเรยี นรทู้ ี่ 11 ง 1.1 ป.6/2 ใช้ทักษะการจัดการในการทำงานและมีทักษะ
แนะแนวคนดี ชวนน้องพีด่ ื่มนม การทำงานร่วมกัน
(กจิ กรรมแนะแนว) ว 4.2 ป.6/3 ใช้อนิ เทอรเ์ นต็ ในการค้นหาข้อมลู อย่าง
ประสิทธภิ าพ
• ว 4.2 ป.6/4 ใช้เทคโนโลยสี ารสนเทศทำงานรว่ มกนั อย่าง
ปลอดภยั เขา้ ใจสิทธิและหน้าที่ของตน เคารพในสทิ ธิของผู้อ่นื
แจง้ ผ้เู ก่ียวขอ้ งเมื่อพบขอ้ มูลหรอื บุคคลทไี่ มเ่ หมาะสม
มฐ.1 การรจู้ ักตนเอง ควบคมุ ตนเอง และสมารถปรบั ตวั ได้
มฐ.2 สามารถเลือกและตดั สินใจการวางแผนการจดั การชีวิต
การเรียน การงานและอาชพี อย่างมคี ุณคา่
16
แผนการจัดการเรียนรู้
บรู ณาการหลกั ปรชั ญาของเศรษฐกิจพอเพยี ง
หนว่ ยการเรยี นรู้ : มหัศจรรยน์ มโรงเรยี น วิถีพอเพยี งชาวอนบุ าล
ชั้นประถมศึกษาปที ี่ 6
17
แผนการจัดการเรยี นร้ทู ี่ 1
กลมุ่ สาระการเรียนรู้สงั คมศกึ ษา ศาสนา และวฒั นธรรม ชั้นประถมศกึ ษาปีท่ี 6
หนว่ ยการเรียนรู้ มหศั จรรย์นมโรงเรียน วถิ ีพอเพยี งชาวอนุบาล เวลา 3 ช่ัวโมง
เร่ือง เรียนรู้ผ่านนมโรงเรยี น นอ้ มรับหลักพอเพียงดำเนินการ
วัน เดือน ปีท่ีสอน................................................................................
ครูผสู้ อน นายนรุต สทิ ธฤิ ทธิ์
1. มาตรฐานการเรียนรู/้ ตวั ชวี้ ดั
ส 2.1 ป.6/5 ติดตามข้อมลู ข่าวสารเหตุการณ์ ตา่ ง ๆ ในชีวติ ประจำวนั เลอื กรบั และใช้ขอ้ มูล
ขา่ วสาร ในการเรียนร้ไู ดเ้ หมาะสม
ส 3.1 ป.6/2 อธิบายบทบาทของผู้บริโภคท่รี ู้เท่าทนั
ส 3.1 ป.6/3 บอกวิธีและประโยชน์ของการใชท้ รัพยากรอยา่ งยั่งยนื
2. สาระการเรียนรู้
- หลกั ปรชั ญาของเศรษฐกจิ พอเพียง
3. สาระสำคญั
เศรษฐกิจพอเพยี ง เป็นหลักการดำเนินชวี ติ ใหร้ ู้จักความพอประมาณ พ่งึ พาตนเอง ให้มเี หตุผลและ
มีภูมิคุ้มกันในการวางแผนอย่างรอบคอบ เพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรที่มีให้เกิดประโยชน์คุ้มค่าสูงสุด
การพง่ึ พากันทางเศรษฐกจิ ของคนในชุมชน ทำใหเ้ กดิ ความเข้มแข็ง
4. สมรรถนะสำคญั ท่ีเกิดกบั ผเู้ รยี น
(1) ความสามารถในการคดิ
(2) ความสามารถในการแกป้ ัญหา
(3) ความสามารถในการใชท้ ักษะชีวิต
(4) ความสามารถในการใชเ้ ทคโนโลยี
5. จุดประสงค์การเรยี นรู้
5.1 ด้านความรคู้ วามเข้าใจ ( K )
(1) อธบิ ายหลักพน้ื ฐานของปรัชญาของเศรษฐกจิ พอเพียง
(2) ถอดบทเรียนจากหลกั ปรัชญาของเศรษฐกจิ พอเพยี งมาประยกุ ต์ใชใ้ นการดมื่ นม
โรงเรียน
5.2 ดา้ นทักษะกระบวนการ ( P )
(1) จดั ทำแผนผังสรุปผลการสืบคน้ ข้อมูลเกี่ยวกบั หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
(2) จดั ทำแผนผังสามมติ สิ รุปหลกั ปรชั ญาของเศรษฐกจิ พอเพยี ง
(3) สืบค้นข้อมลู โดยใช้อินเทอร์เนต็ มาประกอบการทำงานไดอ้ ย่างมปี ระสทิ ธิภาพ
18
5.3 ด้านเจตคติ/คณุ ลกั ษณะ ( A )
(1) ซ่ือสตั ย์สุจรติ
(2) มวี นิ ัย
(3) อยู่อย่างพอเพยี ง
(4) มุง่ มั่นในการทำงาน
6. สอดคล้อง/สนองนโยบาย
6.1 คุณลกั ษณะของผู้เรยี นในศตวรรษที่ 21
(1) ทักษะการคิดอย่างมวี ิจารณญาณ และคดิ อยา่ งมีระบบ (Critical Thinking and
Systems Thinking)
(2) ทักษะการวิเคราะหป์ ญั หา (Problem Identification, Formulation & Solution)
(3) ทักษะระหว่างบุคคลและการร่วมมือรว่ มใจ (Interpersonal and Collaborative Skills)
6.2 การบรู ณาการกบั หลักปรชั ญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ความรู้ คุณธรรม
- มคี วามรเู้ กยี่ วกบั หลักปรชั ญาของเศษฐกิจพอเพียง - ความซอ่ื สัตยเ์ กย่ี วกับ การบันทึกข้อมูล และการนำเสนอ
- มคี วามรู้เก่ยี วกับการทำแผนผังสรุปข้อมลู ข้อมลู
- รขู้ นั้ ตอนและวธิ ีการทำแผนผังสามมติ ิ - มีความขยนั อดทนในการทำงาน และใหก้ ารรว่ มมอื กัน
- มคี วามรู้ในการนำหลักปรชั ญาของเศรษฐกจิ พอเพียงมา - การใช้สติปญั ญาในการแกป้ ัญหาในระหว่างเรยี น การทำ
ถอดบทเรียนในการดื่มนมโรงเรียนใหไ้ ดป้ ระโยชน์ท่ีสุด โครงงาน และการสรปุ องคค์ วามรู้
- มีความสามคั คี แบ่งปัน การแลกเปลีย่ นเรยี นรู้
พอประมาณ มเี หตุผล มีภมู คิ มุ้ กนั
- รูจ้ ักแบ่งหน้าทก่ี ารทำงานในกลมุ่ ได้ - คดิ วเิ คราะห์ในประเด็นที่ศกึ ษาได้ - มกี ารวางแผนการทำงานอย่าง
เหมาะสมกบั ความสามารถของแต่ละคน อย่างมีเหตุผล รอบคอบใหท้ ันตามกำหนดเวลา
- ใชเ้ วลในการศึกษาและปฏิบัติงานได้ - นำความรูท้ ไ่ี ด้ไปประยุกตใ์ ช้ใน - ระมัดระวังรอบคอบในการใชว้ สั ดุ
เหมาะกับเวลาทีก่ ำหนด ชวี ติ ประจำวัน อปุ กรณ์
- ใช้วัสดุ อปุ กรณใ์ หค้ ุ้มคา่ และเกดิ - รบั ผดิ ชอบตอ่ หน้าทีท่ ี่ได้รับ
ประโยชนส์ งู สดุ มอบหมาย มีวนิ ยั ในการรักษาเวลา
ดา้ นวัตถุ ดา้ นสังคม ดา้ นส่งิ แวดลอ้ ม ด้านวฒั นธรรม
- ใช้วสั ดุ อุปกรณอ์ ยา่ ง - การทำงานร่วมกบั ผู้อน่ื - การใชว้ ัสดุอปุ กรณ์อยา่ ง - การปฏิบตั ิตาม
ระมัดระวงั คมุ้ คา่ และ - การแบ่งหน้าทีค่ วาม ค้มุ คา่ และถูกวิธี ไม่ก่อเกิดเป็น ขนบธรรมเนยี มของสังคม
ประหยดั เหมาะสมกบั การ รบั ผิดชอบในการทำงาน ขยะท่สี รา้ งปัญหาต่อ ไดอ้ ยา่ งเหมาะสม
ทำงาน - ทกั ษะการคิดแกป้ ัญหาโดย ส่ิงแวดล้อม - เหน็ คุณค่าและตระหนัก
- การดมื่ นมโรงเรียนอยา่ ง นำหลกั ปรชั ญาของเศรษฐกจิ ถึงการอนุรกั ษภ์ ูมิปัญญาใน
ร้คู ณุ ค่า พอเพียงมาปรบั ใชใ้ นชีวติ ชมุ ชน และแหล่งเรยี รภู้ มู ิ
ปัญญาในชมุ ชน
19
7. กจิ กรรมการเรียนรู้
ชัว่ โมงท่ี 1 - 2
ขนั้ นำเข้าสบู่ ทเรยี น
1. ครเู ปิดคลปิ จาก You tube เร่อื งความเปน็ มาและความสำคัญของหลกั ปรชั ญาของเศรษฐกจิ
พอเพยี งให้นักเรียนดู
ข้ันสอน
2. ครูสนทนาซักถามเกีย่ วกับความเป็นมา และความสำคญั ของหลกั ปรชั ญาของเศรษฐกิจพอเพยี ง
3. แบ่งกลมุ่ นกั เรยี น 5 – 6 คน ทำกจิ กรรมสรุปผงั ความคิดเกย่ี วกบั หลักปรชั ญาของเศรษฐกจิ
พอเพียง
4. กำหนดเวลา 15 – 20 นาทีให้นักเรยี นสืบคน้ ข้อมูลและวางแผนการทำแผ่นภาพ 3 มิติ เรื่อง
หลกั ปรชั ญาของเศรษฐกิจพอเพียง
5. แต่ละกลมุ่ ร่วมกันปรกึ ษา และวางกำหนดบทบาทหนา้ ที่ของสมาชิกแตล่ ะคนในกล่มุ
6. ครมู อบหมายแต่ละกล่มุ ไปสบื คน้ ข้อมลู และทำชนิ้ งานแผนภาพ 3 มติ ิ เกย่ี วกบั เร่ืองหลักปรัชญา
ของเศรษฐกจิ พอเพียง
7. แต่ละกลุ่มนำเสนอผลงานกกลมุ่ และแลกเปลีย่ นเรยี นรู้กัน
ขั้นสรปุ
7. ครแู ละนักเรยี นร่วมกันสรุปเก่ียวกบั ที่มาและความสำคัญของหลักปรัชญาของเศรษฐกจิ
พอเพยี งอกี ครง้ั
ช่วั โมงท่ี 3
ขน้ั นำเขา้ สบู่ ทเรียน
1. ครทู บทวนความสำคญั ของหลกั ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจากงานในชวั่ โมงท่ีผา่ นมา
ขั้นสอน
2. ครนู ำปัญหาที่เกิดขึ้นเกีย่ วกับการด่ืมนมโรงเรยี นในโรงเรยี นของเรามาให้นักเรยี นวเิ คราะห์
และอภิปราย
3. ให้แต่ละกลุม่ รว่ มกนั คิดและสรุปปญั หาทเี่ กดิ จากการดืม่ นมโรงเรยี นในโรงเรยี นเราอยา่ งไรมี
อะไรบ้าง และร่วมกนั คิดแนวทางแก้ไข
ขัน้ สรปุ
4. ครแู ละนกั เรียนร่วมสรปุ ปัญหาท่เี กดิ จากการดม่ื นมโรงเรยี นร่วมดนั
5. นักเรียนสรปุ การนำหลกั ปรชั ญาของเศรษฐกิจพอเพยี งมาใช้ในการด่ืมนมโรงเรยี นให้เกิด
ประโยชน์สงู สดุ (ถอดบทเรียน)
8. ส่ือ/แหล่งการเรียนรู้
1. คลปิ จาก You tube
2. ใบความรู้ / ใบกิจกรรม
3. นมโรงเรยี น
4. วสั ดุ / อปุ กรณ์อนื่ ๆ ในการทำผลงาน
9. การวดั และประเมินผล 20
วธิ กี าร เคร่ืองมอื เกณฑ์
1. สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม 1. แบบประเมนิ พฤติกรรมการทำงานกลุม่ ผา่ นเกณฑ์การประเมิน
ระดบั 2 ข้ึนไป
2. การตรวจผลงาน 2. แบบบนั ทึกคะแนนผลงาน ผ่านเกณฑ์การประเมิน
ระดับพอใช้ ขึ้นไป
3. สงั เกตพฤติกรรมด้าน 3. แบบประเมินคณุ ลกั ษณะอันพึงประสงค์ ผา่ นเกณฑ์การประเมนิ
คุณลกั ษณะอันพงึ ประสงค์ ระดับ 2 ข้ึนไป
21
หลงั สอน
ดา้ นความรคู้ วามเขา้ ใจ ( K )
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
5.2 ด้านทักษะกระบวนการ ( P )
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
5.2 ด้านเจตคต/ิ คณุ ลักษณะ ( A )
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
ปัญหาและอปุ สรรค
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
แนวทางแกไ้ ข
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
ลงชอ่ื
( นายนรุต สทิ ธิฤทธิ์ )
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ
โรงเรียนอนบุ าลนครศรธี รรมราช “ณ นคร อุทศิ ”
........../.............../...........
22
ความคดิ เห็นของรองผ้อู ำนวยการกลุ่มบรหิ ารวชิ าการ
.................................................................................................... ......................................................................
............................................................................................................... ...........................................................
...................................................................................... ....................................................................................
ลงชอ่ื
(นางสุภาวดี เพง่ พินจิ )
รองผอู้ ำนวยการกล่มุ บรหิ ารวชิ าการ
ความคิดเห็นของผูอ้ ำนวยการโรงเรียน
.............................................................................................................................................. ............................
...................................................................................................... ....................................................................
............................................................................................................... ...........................................................
ลงช่อื
(นางนวลใย สุทธิพทิ ักษ์)
ผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลนครศรธี รรมราช “ณ นคร อุทิศ”
1 ท่ี ชอ่ื – สกุล แบบประเมนิ พฤติกรรมการทำงานกลุม่
2 *****************************************************************************
3
4
5
6
7
8
9
10
เกณฑ์การประเมิน
ระดับ 4 ดีเย่ียม
ระดับ 3 ดี
ระดบั 2 ผ่าน
ระดบั 1 ไมผ่ ่าน
คะแนน 17 – 20 คะแนน ความสนใจในการทำงาน ( 2 คะแนน ) รายการประเมนิ
คะแนน 14 – 16 คะแนน การแบง่ หน้าทง่ี านทีท่ ำ ( 2 คะแนน )
คะแนน 11 – 13 คะแนน การรบั ฟังความคดิ เห็น ( 2 คะแนน )
คะแนน 0 – 10 คะแนน การตัดสนิ ใจรว่ มกัน ( 2 คะแนน )
บรรยากาศในการทำงาน ( 2 คะแนน )
การใหค้ วามชว่ ยเหลือ ( 2 คะแนน )
การเคารพขอ้ ตกลงของกล่มุ ( 2 คะแนน )
การทำตามหน้าท่ที ่ีไดร้ ับมอบหมาย ( 2 คะแนน )
การปรบั ปรงุ แก้ไขด้วยความเตม็ ใจ ( 2 คะแนน )
ความพอใจกบั ความสำเร็จของงาน ( 2 คะแนน )
รวมคะแนน ( 20 คะแนน )
4321 ผลการประเมนิ 23
24
ประเมินคณุ ลักษณะอันพงึ ประสงค์
*****************************************************************************
รายการประเมิน ผลการประเมิน
ที่ ชื่อ – สกลุ ซื่อสัตย์สุจริต (5 คะแนน) 4321
ีม ิวนัย (5 คะแนน)
อยู่อย่างพอเ ีพยง (5 คะแนน)
มุ่ง ั่มนในการทำงาน (5 คะแนน)
รวมคะแนน (20 คะแนน)
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
25
เกณฑก์ ารให้คะแนน
รายการประเมิน 4 – 5 คะแนน 3 คะแนน 1 – 2 คะแนน
1. ซื่อสตั ยส์ จุ ริต ทำงานดว้ ยตนเองทุกคร้งั ทำงานดว้ ยตนเองเกือบ
ทุกคร้งั ทำงานดว้ ยตนเอง
2. มีวนิ ยั ปฏิบัติตามข้อตกลงทุกคร้ัง ปฏบิ ัติตามข้อตกลงเกือบ เป็นบางครั้ง
ทกุ ครัง้ ปฏิบตั ิตามข้อตกลง
3. อยู่อยา่ งพอเพยี ง ปฏิบัติงานครบทุกคร้งั ปฏิบตั งิ านครบเกือบทุกครงั้ เป็นบางครงั้
4. มงุ่ มั่นในการทำงาน ทำงานด้วยความต้ังใจทุกคร้งั ทำงานด้วยความตั้งใจเกือบ ปฏิบตั งิ านครบ
ทุกครง้ั เปน็ บางครัง้
ทำงานด้วยความตั้งใจเปน็
บางคร้งั
เกณฑ์การประเมิน คะแนน 17 – 20 คะแนน
ระดบั 4 ดีเยย่ี ม คะแนน 14 – 16 คะแนน
ระดับ 3 ดี คะแนน 11 – 13 คะแนน
ระดับ 2 ผ่าน คะแนน 0 – 10 คะแนน
ระดบั 1 ไมผ่ า่ น
26
แบบบันทึกการตรวจผลงาน
*****************************************************************************
คำชแี้ จง แบบประเมนิ ฉบับน้ี เป็นการประเมินเกีย่ วกับพฤตกิ รรมการทำงานการปฏิบัตงิ านของนักเรยี น
โดยผสู้ อนตรวจผลงานให้คะแนนตามเกณฑท์ ่ีกำหนด
รายการประเมนิ สรุป
ชือ่ – สกลุเลขที่ รวม ผ่าน ไม่ผ่าน ระดบั
ความถูก ้ตอง (3 คะแนน) (10)
ความ ิคดสร้างสรรค์ (3 คะแนน)
ความเป็นระเบียบ (2 คะแนน)
ัทนเวลา ่ทีกำหนด (2 คะแนน)
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
เกณฑ์การประเมิน
8 -10 คะแนน ดี
6 - 7 คะแนน พอใช้
1 - 5 คะแนน ปรบั ปรงุ
นักเรียนตอ้ งมีคะแนนรวม 6 คะแนน ขึ้นไป ผา่ นเกณฑ์การประเมนิ
27
ชือ่ .........................................................................ชั้น..............................เลขท.ี่ .......................
ใบงานที่ 1
กลมุ่ สาระการเรียนรู้สังคมศกึ ษา ศาสนา และวฒั นธรรม ชน้ั ประถมศกึ ษาปีท่ี 6
เรื่อง เรียนรูผ้ ่านนมโรงเรยี น น้อมรับหลักพอเพียงดำเนินการ
*************************************************************
คำสั่ง ให้นักเรียนศกึ ษาในใบความรู้และคน้ คว้าเพิ่มเติมจากอินเทอรเ์ น็ต และสรปุ แผนผงั
ความคดิ เรือ่ ง หลกั ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
28
ช่อื .........................................................................ชน้ั ..............................เลขท.่ี .......................
ใบงานที่ 2
กลมุ่ สาระการเรยี นรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชน้ั ประถมศึกษาปีท่ี 6
เรื่อง เรียนรผู้ ่านนมโรงเรียน น้อมรับหลกั พอเพียงดำเนนิ การ
จดุ ประสงค์ 1) รว่ มอภปิ รายหาปัญหาท่ีเกดิ จากการด่มื นมโรงเรยี น และแนวทางแกป้ ัญหา
2) อภิปรายการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่นำมาใชใ้ นการดมื่ นมโรงเรียนให้เกิด
ประโยชนส์ งู สุด
ปญั หาที่เกดิ จากการดื่มนมโรงเรียน
ปญั หา แนวทางแก้ไข
……………………………………………………………………... ……………………………………………………………………….
…………………………………………………………………….... ………………………………………………………………..…….
…………………………………………………………………….... ……………………………………………………………………....
…………………………………………………………………….... ……………………………………………………………………....
…………………………………………………………………….... ……………………………………………………………………....
…………………………………………………………………….... ……………………………………………………………………....
…………………………………………………………………….... ……………………………………………………………………....
…………………………………………………………………….... ……………………………………………………………………....
ตารางบนั ทึกผลการทำกิจกรรม
ความรู้ คุณธรรม
……………………………………………………………………... ……………………………………………………………………….
…………………………………………………………………….... ………………………………………………………………..…….
…………………………………………………………………….... ……………………………………………………………………....
พอประมาณ มเี หตุผล มีภมู คิ ุ้มกันทด่ี ี
………………………………………………….. ……………………………………………………. …………………………………………………………
………………………………………………….. ……………………………………………………. …………………………………………………………
………………………………………………….. ……………………………………………………. …………………………………………………………
………………………………………………….. ……………………………………………………. …………………………………………………………
ดา้ นวัตถุ ดา้ นสังคม ด้านสงิ่ แวดลอ้ ม ดา้ นวฒั นธรรม
………………………………………… ………………………………………… ………………………………………… …………………………………………
………………………………………… ………………………………………… ………………………………………… …………………………………………
………………………………………… ………………………………………… ………………………………………… …………………………………………
………………………………………… ………………………………………… ………………………………………… …………………………………………
29
แผนการจัดการเรียนรทู้ ี่ 2
กลมุ่ สาระการเรียนรคู้ ณิตศาสตร์ ชัน้ ประถมศกึ ษาปที ี่ 6
หนว่ ยการเรียนรู้ มหศั จรรย์นมโรงเรียน วถิ พี อเพียงชาวอนุบาล เวลา 3 ชั่วโมง
เร่ือง เรยี นคณิตคดิ อตั ราส่วนทำอาหารและเครอ่ื งดม่ื จากนมโรงเรยี น
วัน เดือน ปีท่ีสอน ................................................................................
ครผู สู้ อน นางอรทัย เดชเชียร , นางกุสาวดี เพชรศรี
1. มาตรฐานการเรยี นรู้/ตวั ช้ีวดั
มาตรฐานการเรยี นรู้ ค 1.1 เข้าใจความหลากหลายของการแสดงจำนวน ระบบจำนวน การดำเนินการ
ของจำนวน ผลที่เกิดขึน้ จากการดำเนนิ การ สมบตั ิของการดำเนินการ และการนำไปใช้
ตัวช้ีวัด
ค 1.1 ป.6/2 เขยี นอตั ราสว่ นแสดงการเปรียบเทียบปรมิ าณ 2 ปริมาณจากขอ้ ความหรือสถานการณ์
โดยทป่ี ริมาณแตล่ ะปริมาณเป็นจำนวนนับ
ค 1.1 ป.6/3 หาอตั ราส่วนทเ่ี ท่ากับอตั ราส่วนท่ีกำหนดให้
ค 1.1 ป.6/11 แสดงวธิ ีหาคำตอบของโจทย์ปญั หาอตั ราสว่ น และศึกษาสบื ค้นข้อมลู พร้อมปฏบิ ตั ิจรงิ
เกยี่ วกบั การทำอาหารหรือเครอื่ งดื่มท่ีมีสว่ นผสมของนมโรงเรียน โดยใช้หลกั ปรชั ญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2. สาระการเรียนรู้
- อตั ราส่วน และอัตราส่วนทเี่ ทา่ กนั
- โจทย์ปญั หาเกีย่ วกบั อตั ราส่วนและสถานการณเ์ กี่ยวกับการนำนมโรงเรียนไปใชใ้ นการทำอาหารและ
เคร่ืองด่ืม
- การศึกษาสืบค้นข้อมูลและปฏิบัตจิ รงิ เกย่ี วกับการทำอาหารหรือเครื่องดื่มที่มสี ่วนผสมของนมโรงเรียน
โดยใช้หลกั ปรชั ญาของเศรษฐกิจพอเพียง
3. สาระสำคัญ
- ความสัมพนั ธ์ท่ีแสดงการเปรยี บเทยี บปรมิ าณต้ังแต่ 2 ปริมาณขึ้นไป ซ่งึ อาจมหี น่วยเดยี วกันหรือ
หน่วยตา่ งกนั เรยี กวา่ อัตราสว่ น
- การเขียนแสดงการเปรียบเทียบปริมาณในรูปอัตราส่วน ถ้ามีหน่วยเดียวกัน จะไม่นิยมเขียนหน่วย
กำกบั ไว้ ถา้ มีหน่วยตา่ งกนั จะเขยี นหน่วยกำกบั ไว้
- การหาอัตราส่วนที่เท่ากับอัตราส่วนที่กำหนด อาจทำได้โดย คูณหรือหารแต่ละจำนวนในอัตราส่วน
ดว้ ยจำนวนนบั จำนวนเดยี วกันท่มี ากกวา่ 1
- การแกโ้ จทย์ปญั หาหรอื สถานการณท์ ี่เก่ียวกบั อตั ราสว่ น ในการนำนมโรงเรยี นไปใชใ้ นการทำอาหาร
หรือเครื่องดื่ม โดยเริ่มจากทำความเข้าใจปัญหาหรือสถานการณ์ วางแผนแก้ปัญหา ดำเนินการตามแผน และ
ตรวจสอบ
4. สมรรถนะสำคัญท่เี กดิ กบั ผ้เู รียน
4.1 ความสามารถในการคิด
4.2 ความสามารถในการแก้ปัญหา
4.3 ความสามารถในการใชเ้ ทคโนโลยี
30
5. จดุ ประสงค์การเรยี นรู้
5.1 ดา้ นความรคู้ วามเข้าใจ ( K )
1. เขยี นอตั ราส่วนแสดงการเปรียบเทยี บปริมาณ 2 ปรมิ าณ
2. หาอตั ราสว่ นท่ีเท่ากับอัตราสว่ นท่ีกำหนด
3. แก้โจทยป์ ัญหาหรือสถานการเ์ ก่ียวกบั อัตราส่วนทม่ี ีการนำนมโรงเรยี นไปใช้ในการทำอาหารและ
เครือ่ งด่ืมอย่างหลากหลาย
5.2 ดา้ นทักษะกระบวนการ ( P )
1. มีความสามารถในการสอ่ื สารและการส่ือความหมายทางคณิตศาสตร์
2. มคี วามสามารถในเชื่อมโยงความร้ทู างคณิตศาสตร์
3. มีความสามารถในการใหเ้ หตผุ ล
4. มคี วามสามารถในการแกป้ ัญหา
5.3 ดา้ นเจตคต/ิ คณุ ลกั ษณะ ( A )
1. ซ่ือสัตย์สุจริต
2. มีวนิ ยั
3. ใฝ่เรียนรู้
4. ม่งุ ม่นั ในการทำงาน
6. สอดคล้อง/สนองนโยบาย
6.1 คณุ ลักษณะของผเู้ รยี นในศตวรรษท่ี 21
1. ทักษะการคดิ อยา่ งมวี จิ ารณญาณ และคดิ อยา่ งมีระบบ (Critical Thinking and Systems
Thinking)
2. ทักษะการวิเคราะห์ปญั หา (Problem Identification, Formulation & Solution)
3. ทกั ษะระหว่างบุคคลและการร่วมมือรว่ มใจ (Interpersonal and Collaborative Skills)
6.2 การบูรณาการกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ความรู้ คุณธรรม
- มคี วามรูเ้ กี่ยวกบั อตั ราสว่ นทีเ่ ท่ากนั ในการทำอาหารและ - การใช้สตปิ ัญญาในการแก้ปัญหาในระหว่างเรยี น และการ
เคร่อื งด่ืมจากนมโรงเรยี น สรุปองคค์ วามรู้
- มีความรูเ้ ก่ยี วกบั การแกโ้ จทย์ปญั หาหรือสถานการณ์ - มคี วามขยนั อดทนในการทำงาน และให้การรว่ มมือกนั
เกี่ยวกบั อัตราส่วนทีม่ ีการนำนมโรงเรียนไปใช้ในการ - การแบง่ ปนั การแลกเปลี่ยนเรยี นรู้
ทำอาหารและเครื่องด่ืมอย่างหลากหลาย
พอประมาณ มีเหตผุ ล มภี มู คิ มุ้ กัน
- ร้จู กั ประหยัดโดยการนำนมโรงเรยี นไป - การร่วมกันคดิ วเิ คราะหอ์ ย่างเป็น - การร้จู กั ผลติ อาหารหรือเคร่ืองดืม่ ท่มี ี
นมเปน็ ส่วนผสม ซงึ่ สามารถต่อยอดเปน็
ทำอาหารหรือเคร่ืองด่ืมอยา่ งหลาก เหตุเป็นผลในการปฏบิ ตั ิงานกลมุ่ อาชีพได้
หลายให้สามารถรบั ประทานไดม้ ากข้ึน
ด้านวตั ถุ ดา้ นสงั คม ดา้ นสง่ิ แวดลอ้ ม 31
- การด่ืมนมโรงเรียนอย่าง - การทำงานร่วมกับผู้อ่นื - การนำนมโรงเรียนมาเป็น ดา้ นวัฒนธรรม
สว่ นผสมของอาหารและ - การทำอาหารและ
รู้คุณคา่ ช่วยลดภาระด้าน - การแบ่งหน้าท่คี วาม เครือ่ งดื่มเพ่ือเพมิ่ ประโยชน์ เครือ่ งด่ืมรับประทานใน
ครอบครวั
เศรษฐกิจของครอบครัวได้ รับผิดชอบในการงานรว่ มกนั - การใช้ภูมิปญั ญาจากผูร้ ู้ใน
การประกอบอาหารที่มี
- การผลิตอาหารท่มี นี ม ส่วนผสมมาจากนมโรงเรียน
เปน็ สว่ นผสมสามารถทำ
เป็นอาชพี สรา้ งรายได้แก่
ตนเองและครอบครวั
7. กิจกรรมการเรยี นรู้
ชั่วโมงท่ี 1
ข้ันนำ
1. ครสู นทนาซกั ถามเกย่ี วกบั การด่มื นมของนกั เรียน นมแต่ละประเภททน่ี ักเรยี นรจู้ ักและชอบดม่ื และ
เชอื่ มโยงส่นู มโรงเรยี น โดยครซู ักถามนักเรยี น เชน่ ประโยชน์ของนม ปญั หาที่พบจากการแจกนม เปน็ ต้น
2. ให้นักเรยี นสงั เกตและอา่ นส่วนประกอบของนมโรงเรียน ทเ่ี ป็นรอ้ ยละหรือเปอร์เซนต์ (%) และศึกษา
ข้อมลู โภชนาการ รอ้ ยละของปริมาณทแ่ี นะนำต่อวนั
ขน้ั สอน
3. ครเู ช่อื มโยงการอา่ นข้อมูลโภชนาการของนม ไปส่กู ารเขียนขอ้ มูลในรปู ของอตั ราส่วน โดยใช้
สถานการณ์ท่ีเกิดข้นึ ในชวี ิตจรงิ มานำสนทนา เพ่ือทำใหก้ ารเรียนรู้เรอ่ื งอตั ราส่วนเป็นไปอย่างมีความหมาย
4. ครูใช้สถานการณ์ในเร่ืองนมโรงเรียนอธบิ ายความหมายและการเขยี นอัตราส่วนแสดงการ
เปรียบเทยี บปรมิ าณ 2 ปรมิ าณ ท่มี หี น่วยเดยี วกนั และหน่วยตา่ งกัน
5. ครยู กตัวอยา่ งสถานการณ์อ่ืนเพิ่มเติม ให้นักเรียนบอกอัตราส่วนจากสถานการณท์ ี่กำหนด หรือให้
นักเรียนยกตวั อย่างสถานการณท์ ี่ใช้อตั ราสว่ น แล้วร่วมกนั อภิปรายเพ่ือนำไปสู่ขอ้ สรปุ ว่า การเปรยี บเทียบ
ปรมิ าณท่ีแสดงในรูปอัตราสว่ น ถา้ มหี นว่ ยเดยี วกันจะไมน่ ิยมเขยี นหนว่ ยกำกบั ไว้ ถา้ มีหนว่ ยตา่ งกันจะเขียน
หน่วยกำกบั ไว้
6. ครูแนะนำการหาอัตราสว่ นทเ่ี ท่ากับอตั ราส่วนท่ีกำหนด โดยใชก้ ารถามตอบประกอบการอธบิ าย
และใหน้ ักเรียนฝึกทกั ษะการหาอตั ราส่วนทีเ่ ทา่ กนั จากแบบฝึกหัดในหนงั สอื แบบฝึกหัด
32
ขั้นสรุป
7. ครูและนกั เรยี นรว่ มกนั สรปุ การเปรยี บเทยี บปริมาณ ท่ีแสดงในรปู อัตราส่วน ถา้ มหี นว่ ยเดียวกนั
จะไม่นยิ มเขยี นหนว่ ยกำกับไว้ ถา้ มหี น่วยต่างกันจะเขียนหนว่ ยกำกบั ไว้
8. ครใู ห้นกั เรียนร่วมกันสรุป เกยี่ วกบั การหาอัตราสว่ นท่เี ท่ากบั อัตราสว่ นที่กำหนดให้ ซ่งึ จะได้ว่า
คณู หรือหารแต่ละจำนวนในอัตราสว่ น ดว้ ยจำนวนนับจำนวนเดยี วกนั ที่มากกวา่ 1
ชวั่ โมงท่ี 2
ขน้ั นำ
1. ครูทบทวนเรือ่ งอตั ราส่วน และอตั ราส่วนทเ่ี ทา่ กนั โดยใช้การถามตอบ
2. นกั เรียนฝกึ หาอตั ราสว่ นท่เี ท่ากัน โดยครูกำหนดอัตราสว่ นให้ และให้นักเรียนแสดงวิธหี า
อัตราส่วนทีเ่ ท่ากับอตั ราส่วนท่ีครกู ำหนดใหบ้ นกระดาน 5 ขอ้
ขนั้ สอน
3. ครูยกตัวอย่างโจทย์ปญั หาหรือสถานการณก์ ารทำอาหารหรือเครอ่ื งดื่มที่มีส่วนผสมของนม ให้
นักเรยี นร่วมกนั แก้ปญั หาและหาคำตอบ เชน่
- สูตรในการทำขนมปัง มีอตั ราส่วนของนำ้ หนกั ของแปง้ ขนมปงั ต่อน้ำหนักของน้ำ เป็น 10 : 3
และอตั ราส่วนของน้ำหนักของนมรสจืดตอ่ น้ำหนักของน้ำเปน็ 8 : 5 ถ้านกั เรียนต้องการทำขนมปงั โดยใชแ้ ป้ง
500 กรัม จะตอ้ งใชน้ มรสจืดก่ีกรมั
4. ครูใหน้ กั เรยี นสืบค้นการทำอาหารและเครื่องดม่ื ท่ีมีนมจืดเปน็ ส่วนผสม พรอ้ มยกตวั อย่างชอ่ื อาหาร
และเครื่องด่มื
5. ครูให้นักเรยี นแบง่ กลุ่มตามความสนใจ ในการนำความร้เู รือ่ งอตั ราสว่ นมาใชใ้ นการทำอาหารหรอื
เครอ่ื งด่ืมทมี่ สี ว่ นผสมของนมรสจืดโดยใช้นมโรงเรยี น และเชอ่ื มโยงสกู่ ารนำหลักปรชั ญาของเศรษฐกจิ พอเพยี ง
มาใชใ้ นการทำงานกลมุ่
6. นักเรียนแตล่ ะกลุ่มรว่ มกันศึกษา สืบค้นข้อมลู วางแผนการทำอาหารหรือเครื่องดม่ื ทมี่ ีส่วนผสมของ
นมรสจดื เขยี นข้ันตอนการทำ บอกสว่ นผสมโดยใช้ความรูเ้ รื่องอัตราสว่ น
7. นักเรยี นแตล่ ะกลุ่มนำเสนอผลการศึกษาและการวางแผนการทำอาหารหรือเครอื่ งดืม่ ของกลมุ่ ใน
รูปแบบของการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการปฏบิ ตั ิจรงิ
ขัน้ สรุป
8. ครูและนกั เรียนรว่ มกันสรุปการวางแผนการทำงานกลมุ่ นัดหมายการเตรยี มวัสดุอุปกรณ์ วตั ถุดบิ ใน
การทำอาหารหรือเคร่ืองดม่ื
9. นักเรียนสง่ บันทึกการวางแผนการทำงานกล่มุ ครตู รวจสอบความถกู ต้อง พร้อมเสนอแนะสิง่ ทต่ี ้อง
ปรับปรุงแก้ไข หรือต้องระมัดระวงั ในการปฏิบตั งิ านกลมุ่
ชัว่ โมงท่ี 3
ขั้นนำ
1. ครใู หน้ กั เรียนตรวจสอบการนำวัสดอุ ปุ กรณ์และวตั ถุดิบในการทำอาหารหรือเครื่องดื่มที่กลุ่มวางแผน
พรอ้ มทบทวนขั้นตอนการทำ
ข้นั สอน
2. ครูใหน้ ักเรียนแตล่ ะกลุ่มลงมือปฏบิ ตั งิ านการทำอาหารหรือเครื่องดมื่ โดยใช้อัตราส่วนของวตั ถุดิบ
ตามทีก่ ำหนด และปรุงอาหารตามขน้ั ตอน ครคู อยดูแลให้คำแนะนำจนงานสำเรจ็
3. ใหแ้ ต่ละกล่มุ นำเสนอผลงานการทำอาหารของกลุ่มตนเอง ให้ครูและเพอื่ นชิมรสชาติอาหารหรอื
เครอ่ื งด่ืมน้ัน แล้วประเมินการทำอาหารของกลุ่มตนเอง และสลบั กนั ประเมินกับกลุ่มของเพื่อน
33
ขั้นสรปุ
4. ครแู ละนักเรียนร่วมกันสรปุ ความรู้ ในเร่อื งการทำอาหารหรอื เครื่องดมื่ ที่มีสว่ นผสมของวตั ถุดิบหลาย
อยา่ ง โดยใช้ความร้เู รือ่ งอตั ราส่วนที่เทา่ กนั เพ่ือให้ทุกคนสามารถนำความรู้และประสบการณ์ที่ปฏิบตั ิจรงิ ไป
ทำอาหารหรือเคร่ืองดม่ื เพ่ือรับประทานท่ีบ้านได้
5. นักเรียนร่วมกนั สรปุ การนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพยี งมาใช้ในการเรียนรู้และการปฏิบัตจิ ริง
น่นั คอื การยึดหลักปฏิบตั ิ
- 3 ห่วง คือ ความพอประมาณ ความมีเหตผุ ล และการมีภูมคิ ุ้มกัน
- 2 เงือ่ นไข คือ ความรู้ และ คุณธรรม
- 4 มิติ คือ ด้านวตั ถุ ด้านสงั คม ด้านสง่ิ แวดลอ้ ม และดา้ นวัฒนธรรม
8. สอ่ื /แหล่งการเรียนรู้
1. การสบื ค้นขอ้ มลู จากอนิ เทอร์เน็ต
2. หนังสอื คณติ ศาสตร์ ชั้นประถมศกึ ษาปที ่ี 6
3. นมโรงเรยี น
4. วัสดุ/อุปกรณ์ และวตั ถุดิบอื่น ๆ ในการทำอาหารหรอื เครือ่ งดืม่
9. การวดั และประเมนิ ผล
วิธกี าร เครือ่ งมอื เกณฑ์
1. สงั เกตพฤติกรรมการทำงานกล่มุ 1. แบบประเมินพฤติกรรมการทำงานกลมุ่
ผ่านเกณฑ์การประเมิน
2. การตรวจผลงาน 2. แบบบันทกึ คะแนนผลงาน ระดับ 2 ขึ้นไป
ผ่านเกณฑ์การประเมนิ
3. สังเกตพฤติกรรมด้านคณุ ลักษณะ 3. แบบประเมนิ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ระดบั พอใช้ ขึ้นไป
อันพึงประสงค์ ผ่านเกณฑ์การประเมนิ
ระดบั 2 ขึ้นไป
34
บนั ทึกหลังสอน
ด้านความร้คู วามเขา้ ใจ ( K )
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
5.2 ด้านทกั ษะกระบวนการ ( P )
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
5.2 ดา้ นเจตคต/ิ คณุ ลกั ษณะ ( A )
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
ปัญหาและอปุ สรรค
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
แนวทางแก้ไข
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
ลงชอ่ื
()
ตำแหน่ง …………………………………………………
โรงเรียนอนุบาลนครศรธี รรมราช “ณ นคร อทุ ิศ”
........../.............../...........
35
ความคดิ เหน็ ของรองผอู้ ำนวยการกลุม่ บริหารวชิ าการ
.......................................................................................................................... ........................................................
............................................................................................................... ...................................................................
..................................................................................................................................................................................
............................................................................................................... ...................................................................
....................................................................................................... ...........................................................................
ลงช่ือ
(นางสุภาวดี เพ่งพนิ จิ )
รองผ้อู ำนวยการกลุ่มบรหิ ารวชิ าการ
ความคดิ เหน็ ของผู้อำนวยการโรงเรยี น
............................................................................................................... ...................................................................
..................................................................................................................................................................................
............................................................................................................... ...................................................................
....................................................................................................... ...........................................................................
ลงช่ือ
(นางนวลใย สุทธพิ ิทักษ์)
ผอู้ ำนวยการโรงเรยี นอนุบาลนครศรีธรรมราช “ณ นคร อุทิศ”
1 ที่ ชือ่ – สกุล แบบประเมนิ พฤติกรรมการทำงานกลุม่
2 *****************************************************************************
3
4
5
6
7
8
9
10
เกณฑก์ ารประเมิน
ระดบั 4 ดเี ยย่ี ม
ระดบั 3 ดี
ระดบั 2 ผ่าน
ระดบั 1 ไมผ่ า่ น
คะแนน 17 – 20 คะแนน ความสนใจในการทำงาน ( 2 คะแนน ) รายการประเมิน
คะแนน 14 – 16 คะแนน การแบง่ หน้าทง่ี านทีท่ ำ ( 2 คะแนน )
คะแนน 11 – 13 คะแนน การรบั ฟังความคดิ เห็น ( 2 คะแนน )
คะแนน 0 – 10 คะแนน การตัดสนิ ใจรว่ มกัน ( 2 คะแนน )
บรรยากาศในการทำงาน ( 2 คะแนน )
การใหค้ วามชว่ ยเหลือ ( 2 คะแนน )
การเคารพขอ้ ตกลงของกล่มุ ( 2 คะแนน )
การทำตามหน้าท่ที ่ีไดร้ ับมอบหมาย ( 2 คะแนน )
การปรบั ปรงุ แก้ไขด้วยความเตม็ ใจ ( 2 คะแนน )
ความพอใจกบั ความสำเร็จของงาน ( 2 คะแนน )
รวมคะแนน ( 20 คะแนน )
4321 ผลการประเมนิ 36
37
แบบประเมนิ คณุ ลักษณะอนั พงึ ประสงค์
*****************************************************************************
รายการประเมนิ ผลการประเมิน
ท่ี ชอ่ื – สกลุ ซ่ือสัตย์สุจริต ( 5 คะแนน ) 4321
ีม ิวนัย ( 5 คะแนน )
ใฝ่เรียนรู้ ( 5 คะแนน )
ุ่มง ั่มนในการทำงาน ( 5
รควะมแคนะนแ)นน ( 20 คะแนน )
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
38
เกณฑ์การใหค้ ะแนน
รายการประเมนิ 4 – 5 คะแนน 3 คะแนน 1 – 2 คะแนน
1. ซ่อื สัตยส์ ุจรติ ทำงานดว้ ยตนเองทกุ ครั้ง ทำงานดว้ ยตนเองเกือบ
ทกุ ครงั้ ทำงานดว้ ยตนเอง
2. มวี นิ ยั ปฏิบตั ิตามข้อตกลงทุกครั้ง ปฏิบตั ติ ามข้อตกลงเกือบ เป็นบางครง้ั
ทุกครง้ั ปฏบิ ตั ติ ามข้อตกลง
3. ใฝ่เรยี นรู้ ปฏบิ ัติงานครบทุกครัง้ ปฏิบตั งิ านครบเกือบทุกครงั้ เป็นบางครั้ง
4. มุง่ มั่นในการทำงาน ทำงานดว้ ยความตั้งใจทุกครงั้ ทำงานดว้ ยความตั้งใจเกือบ ปฏบิ ตั ิงานครบ
ทกุ คร้งั เป็นบางครงั้
ทำงานด้วยความตั้งใจเปน็
บางครง้ั
เกณฑก์ ารประเมิน คะแนน 17 – 20 คะแนน
ระดับ 4 ดเี ยี่ยม คะแนน 14 – 16 คะแนน
ระดบั 3 ดี คะแนน 11 – 13 คะแนน
ระดับ 2 ผา่ น คะแนน 0 – 10 คะแนน
ระดับ 1 ไม่ผา่ น
39
แบบบันทกึ การตรวจผลงาน
*****************************************************************************
คำชแ้ี จง แบบประเมนิ ฉบับนี้ เปน็ การประเมินเกยี่ วกับพฤตกิ รรมการทำงานการปฏบิ ัตงิ านของนักเรียน
โดยผู้สอนตรวจผลงานให้คะแนนตามเกณฑ์ที่กำหนด
รายการประเมิน สรุป
ช่อื – สกลุเลขที่ รวม ผา่ น ไมผ่ า่ น ระดับ
ความถูก ้ตอง (3 คะแนน) (10)
ความ ิคดสร้างสรรค์ (3 คะแนน)
ความเป็นระเบียบ (2 คะแนน)
ัทนเวลา ่ทีกำหนด (2 คะแนน)
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
เกณฑ์การประเมิน
8 -10 คะแนน ดี
6 - 7 คะแนน พอใช้
1 - 5 คะแนน ปรับปรุง
นกั เรียนต้องมคี ะแนนรวม 6 คะแนน ขึ้นไป ผา่ นเกณฑ์การประเมิน
40
แผนการจัดการเรยี นรทู้ ่ี 3
กลุ่มสาระการเรยี นรู้ภาษาไทย ชัน้ ประถมศกึ ษาปที ี่ 6
หน่วยการเรยี นรู้ มหศั จรรย์นมโรงเรียน วถิ ีพอเพยี งชาวอนบุ าล
เรอ่ื ง เรียงร้อยถ้อยคำ คิดสร้างสรรคเ์ ก่ียวกบั นม
วัน เดอื น ปที ี่สอน............................................................. เวลา 4 ชั่วโมง
ครผู สู้ อน นางฐติ ิพร พลมาศ ,นางณชิ กานต์ ขาวสมบรู ณ์, นางณฐั วดี รักษาธรรม
1. มาตรฐานการเรยี นรู้/ตวั ชวี้ ัด
ท 2.1 ป.6/2 เขียนสื่อสารโดยใช้คำได้ถูกต้องชดั เจน และเหมาะสม
ท 2.1 ป.6/3 เขยี นแผนภาพโครงเรอ่ื งและแผนภาพความคิดเพอ่ื ใช้พัฒนางานเขียน
ท 2.1 ป.6/8 เขยี นเรอื่ งตามจินตนาการ และสร้างสรรค์
ท 2.1 ป.6/9 มมี ารยาทในการเขยี น
ท 4.1 ป.6/5 แต่งบทร้อยกรอง
2. สาระการเรียนรู้
- การเขยี นสื่อสาร
- การเขยี นแผนภาพความคิด
- การเขยี นเร่อื งจากภาพตามจินตนาการ
- การแต่งบทร้อยกรอง (กาพยย์ านี 11)
3. สาระสำคัญ
การเขียนสือ่ สาร เป็นการเขยี นถอ้ ยคำหรือข้อความเพื่อถา่ ยทอดความรู้ ความคดิ ตลอดจนอารมณ์
ความรูส้ ึก และประสบการณ์
แผนภาพความคดิ (Mind Map) เปน็ แผนผังเพื่อแสดงคำ ขอ้ ความหรือแนวคิดของผู้เขียน ทำให้
เหน็ โครงเรอื่ งโดยรวมท้งั เร่ือง การเขียนแผนภาพความคดิ ตามหลกั ทถี่ ูกต้องช่วยให้จับใจความสำคญั ของ
เรอื่ ง สรุปเรอื่ ง ย่อเรื่องที่อา่ นไดด้ ยี งิ่ ข้นึ และยังสามารถนำไปพฒั นางานเขยี นได้ด้วย
การเขียนเรื่องตามจินตนาการ เป็นการเขียนเรื่องตามความรู้สึก นึกคิดของผู้เขียน เป็นการเขียน
อิสระ การดำเนนิ เร่ืองต้องมีตวั ละคร สถานท่ีหรอื เหตกุ ารณเ์ รื่องราว ท่จี ัดลำดับความคิด ลำดับเหตกุ ารณ์ให้
ตอ่ เน่อื ง ใช้ภาษาและเรียบเรียงประโยค แลว้ ถา่ ยทอดออกมาเป็นตวั อักษร เร่ืองตามจนิ ตนาการ การเขียน
เรอ่ื งตามจินตนาการจากคำหรอื จากภาพ ต้องเรยี บเรียงเรอ่ื งราวต่าง ๆ ให้มีความเกีย่ วเน่ือง สมั พนั ธ์กนั
การแต่งกาพย์ยานี ๑๑ นิยมใช้ในการพรรณนาเรื่องราวต่าง ๆ ควรเข้าใจฉันทลักษณ์ของคำ
ประพันธ์ เพื่อให้การแต่งมีความถูกต้อง สำนวนภาษาไพเราะงดงามสละสลวย จดจำได้ง่าย และเกิด
จินตนาการ
41
4. สมรรถนะสำคัญทเ่ี กิดกบั ผเู้ รียน
(1) ความสามารถในการสือ่ สาร
- มคี วามรคู้ วามเขา้ ใจและสามารถสื่อสารกับครูและเพ่ือนได้อยา่ งถกู ต้องเหมาะสม
(2) ความสามารถในการคิด
- คิดวิเคราะห์ คิดสงั เคราะห์ คดิ สรา้ งสรรค์ สร้างองค์ความรดู้ ้วยตนเอง
(3) ความสามารถในการแก้ปัญหา
- ใช้ทกั ษะกระบวนการทางภาษาไทยตัดสนิ ใจแกป้ ญั หา
(4) ความสามารถในการใชท้ ักษะชวี ติ
- นำกระบวนการตา่ ง ๆ ไปใช้ในชวี ิตประจำวนั ได้อย่างเหมาะสม
(5) ความสามารถในการใชเ้ ทคโนโลยี
- เลือกใชเ้ ทคโนโลยีในการสบื ค้นข้อมูลเพื่อพัฒนาตนเองดา้ นการเรียนรู้
5. จุดประสงค์การเรยี นรู้
5.1 ดา้ นความรคู้ วามเข้าใจ ( K )
(1) บอกหลกั การเขยี นแผนภาพความคดิ ได้
(2) บอกหลักการเขยี นเรื่องจากภาพตามจนิ ตนาการได้
(3) บอกหลกั การแต่งกาพย์ยานี 11 ได้
5.2 ดา้ นทกั ษะกระบวนการ ( P )
(1) เขยี นสื่อสารโดยใชค้ ำได้ถูกตอ้ ง
(2) เขยี นแผนภาพความคดิ ประโยชน์ของนมโรงเรยี นได้
(3) เขียนเรื่องจากภาพตามจินตนาการได้
(4) แตง่ คำประพนั ธ์ประเภทกาพย์ยานี 11 ทเี่ กย่ี วกบั นมโรงเรยี นได้
5.3 ด้านเจตคต/ิ คุณลักษณะ ( A )
(1) มีวินยั
(2) ใฝ่เรยี นรู้
(3) มงุ่ มัน่ ในการทำงาน
6. สอดคล้อง/สนองนโยบาย
6.1 คณุ ลกั ษณะของผเู้ รียนในศตวรรษที่ 21
(1) ทักษะการคิดอยา่ งมีวจิ ารณญาณ และคิดอยา่ งมรี ะบบ (Critical Thinking and
Systems Thinking)
(2) ทักษะการวเิ คราะห์ปัญหา (Problem Identification, Formulation & Solution)
(3) ทักษะระหวา่ งบุคคลและการร่วมมือรว่ มใจ (Interpersonal and Collaborative
Skills)
42
6.2 การบูรณาการกับหลักปรัชญาของเศรษฐกจิ พอเพียง
ความรู้ คณุ ธรรม
- มคี วามรู้เรอื่ งนมโรงเรยี น ประโยชนข์ องนมโรงเรยี น
- มีความรู้เร่ืองหลกั การเขยี นแผนภาพความคดิ - มีความขยันอดทนในการทำงาน ใฝเ่ รยี นรู้
และใหก้ ารรว่ มมอื กนั
- มคี วามรเู้ รอ่ื งหลักการเขยี นเร่ืองจากภาพ - การใชส้ ตปิ ัญญาในการแกป้ ัญหาในระหวา่ งเรียน
ตามจินตนาการ การทำใบงาน และการสรุปองค์ความรู้
- มีความรู้เร่ืองการแตง่ บทรอ้ ยกรอง (กาพย์ยานี 11) - การแบง่ ปัน การแลกเปลีย่ นเรียนรู้
พอประมาณ มีเหตุผล มีภมู ิคมุ้ กนั
- เนื้อหามคี วามเหมาะสม - การแก้ปัญหาระหวา่ งการทำ - การวางแผนการทำงานกลมุ่
- ตรวจสอบเขยี นเรื่องถูกต้อง
กบั นกั เรยี นไมง่ า่ ยและไม่ยากจนเกินไป กจิ กรรม การทำใบงาน ตามหลกั การหรือไม่
- ตรวจสอบเขียนเรอื่ ง
- เข้าใจและอธิบายความรู้ได้เหมาะสม - การแบง่ งานกันทำตาม และแต่งคำประพันธ์เก่ียวกับนมโรงเรยี น
หรอื ไม่
กบั เวลา การเรียนมีความเหมาะสม ความสามารถของแต่ละคน
กบั เนอื้ หา
- นกั เรยี นทำกิจกรรมเหมาะสมกบั เวลา
- เรียนร้ทู รพั ยากรท่ีมีอย่ภู ายในโรงเรยี น
คอื นมโรงเรยี น
ด้านวัตถุ ดา้ นสงั คม ดา้ นสิง่ แวดลอ้ ม ดา้ นวฒั นธรรม
- เลอื กเร่ืองในการเขยี น - การทำงานรว่ มกับผู้อน่ื - แตง่ บทร้อยกรอง (กาพยย์ านี - มีความรับผิดชอบ
- ใช้ส่ือเทคโนโลยี - การแบ่งหนา้ ทค่ี วาม
อยา่ งถูกวิธี รบั ผิดชอบในการทำผลงาน 11) เกี่ยวกับทรพั ยากรท่มี ีอยู่ ตอ่ ตนเองและผู้อ่นื
- รบั ฟงั ความคดิ เห็นผู้อืน่
- สร้างความสัมพันธภาพท่ีดี ภายในโรงเรียน คอื นม - มีความเปน็ ระเบียบ
ในการทำกจิ กรรมกล่มุ
โรงเรียน เรียบรอ้ ยในการทำงาน
- การใชว้ าจาสภุ าพ
- การร้จู ักแบ่งปัน
7. กจิ กรรมการเรียนรู้
ชวั่ โมงที่ 1
ขน้ั นำเขา้ สู่บทเรยี น
1. ครนู ำเขา้ สู่บทเรยี น โดยให้ความรู้นักเรยี นเรื่องวันดม่ื นมโลก ได้แก่ วันที่ 1 มิถนุ ายน ซึง่ เปน็ วัน
ด่มื นมโลก มีการรณรงค์ใหด้ ืม่ นมกันเยอะ ๆ นมดีมีประโยชนต์ ่อสขุ ภาพ เปน็ อาหารแรกเกดิ ของมนุษยแ์ ละ
สตั ว์เลยี้ งลกู ด้วยนม
ข้ันสอน
2. ครสู นทนาซกั ถามนักเรยี นถงึ ความเขา้ ใจต่อข้อความ นำ้ นมสร้างโลก โดยใหน้ กั เรยี นร่วมกนั
แสดงความคิดเหน็
3. ครูซักถามนกั เรยี นถึงประโยชนข์ องนมโรงเรยี น
4. นักเรียนค้นคว้าประโยชน์ของนมโรงเรียนจากส่ือออนไลน์ แล้วนำมาเขียนเปน็ แผนภาพความคิด
43
ตัวอยา่ ง ชว่ ยทำให้มีสุขภาพ น้ำนมมสี ารอาหารครบ 5 หมู่
สมบรู ณแ์ ขง็ แรง จึงช่วยในการเจริญเติบโต
ซ่อมแซมสว่ นทส่ี กึ ของร่างกาย
หรอของร่างกาย
ชว่ ยใหก้ ระดกู เจรญิ เติบโต ลดความเสยี่ งการ
และแข็งแรง เกดิ โรคกระดูกพรนุ
ชว่ ยเสริมสรา้ งภูมิตา้ นทานโรค ไขมันจากนม ช่วยเพิ่มพลงั งาน
ในรา่ งกาย ปกติเราจะเรยี กว่า
มนั เนย
ประโยชน์ของนมโรงเรยี น
5. ครูสุ่มนกั เรียนออกมาพูดนำเสนอผลงานประโยชนข์ องนมโรงเรยี นจากแผนภาพความคดิ ที่
นักเรยี นเขยี นเกี่ยวกบั ประโยชนข์ องนม
ขน้ั สรุป
6. ครแู ละนักเรยี นร่วมกนั สรุปผลการนำเสนอผลงาน และเกบ็ รวบรวมใบงานตรวจสอบความ
ถกู ต้องต่อไป พรอ้ มทั้งปลกู ฝังใหน้ กั เรียนดูแลรกั ษาสุขภาพของตนเองให้แข็งแรง ปราศจากโรคภยั
ชว่ั โมงท่ี 2
ข้นั นำเขา้ สู่บทเรยี น
1. ครนู ำภาพให้นกั เรยี นดู แล้วให้นักเรียนแต่งประโยคปากเปล่าจากส่งิ ทเ่ี ห็นจากภาพ ตัวอยา่ งเชน่
เดก็ ผชู้ ายดืม่ นม เด็กผู้หญงิ ดมื่ นม ทเ่ี นนิ เขามวี วั หลายตัว เด็กทุกคนด่ืมนมวัว
44
ขน้ั สอน
2. ครูอธิบายความรู้การเขียนเรื่องจากภาพตามจินตนาการ “การเขียนเร่ืองจากภาพตามจินตนาการ
เป็นการเขียนเร่ืองราวทเ่ี กดิ จากความคิด ความรู้สกึ จากจินตนาการ เป็นงานเขียนอสิ ระท่ีผู้เขียน
ต้องหม่ันฝึกคิด สังเกต คดิ สร้างสรรค์ สามารถลำดับความคิดและถ่ายทอดออกมาเป็นงานเขียนท่ีน่าสนใจได้”
3. ครูอธิบายเพม่ิ เตมิ ถึงเทคนิค วธิ กี ารเขยี นเรื่องจากภาพตามจนิ ตนาการ อาทิ การวางโครงเรือ่ ง
เป็นต้น
4. นกั เรยี นเขียนเรือ่ งตามจนิ ตนาการจากภาพที่ครกู ำหนด โดยมคี วามยาวไม่น้อยกว่า 10 บรรทัด
5. ครูสุม่ นักเรียนออกมาพูดนำเสนอผลงานการเขียนเรื่องจากภาพตามจินตนาการ
ข้นั สรุป
6. ครแู ละนกั เรียนร่วมกันสรุปการเขยี นเร่ืองจากภาพตามจินตนาการ ปลกู ฝงั การทำงานท่ีเป็น
ระเบยี บเรยี บรอ้ ย มีความรอบคอบ ตลอดจนใชภ้ าษาทีส่ ละสลวย น่าอา่ น
ชัว่ โมงที่ 3 - 4
ขน้ั นำเขา้ สบู่ ทเรียน
1. ครูนำเข้าส่บู ทเรยี น โดยการนำเสนอบทรอ้ ยกรอง ดงั น้ี
นำ้ นมสนี วลผอ่ ง หนูล้ิมลองตอ้ งชอบใจ
เดก็ เล็กไม่เป็นไร เปน็ ผใู้ หญ่ก็ด่ืมดี
กระดูกจะแข็งแรง กลา้ มหนูแกร่งโตเต็มที่
มาเถอะหนูคนดี ดื่มนมน้กี นั ทุกวนั
นมแพะหรอื นมวัว ประโยชน์ทั่วคา่ อนันต์
โปรตีนแคลเซยี มนัน้ เสริมสรา้ งสารให้หนูโต
2. ครูและนกั เรียนร่วมกันอ่านออกเสยี งบทร้อยกรองพรอ้ มกัน
ข้ันสอน
3. ครูซกั ถามนกั เรียนถึงใจความทไ่ี ดจ้ ากบทร้อยกรองข้างต้น กล่าวถงึ สิง่ ใดบ้าง
4. นกั เรียนและครูรว่ มกนั พจิ ารณาลกั ษณะคำประพันธ์ของบทร้อยกรอง ว่าเป็นคำประพนั ธ์
ประเภทใด
5. ครนู ำเสนอแผนผังหรอื ฉันทลักษณ์คำประพนั ธ์ประเภทกาพย์ยานี 11
บาทเอก 1 บท
สัมผัสระหวา่ งบท
บาทโท
บาทเอก 1 บท
บาทโท
6. ครูอธบิ ายลกั ษณะแผนผังหรือฉันทลกั ษณ์ คำสมั ผัส ของกาพย์ยานี 11
7. นักเรยี นแบง่ กลุม่ กล่มุ ละ 8 คน ร่วมกันแต่งคำประพนั ธ์ประเภทกาพย์ยานี 11 จำนวน 4 บท
ในหวั ขอ้ ท่เี กยี่ วกบั “นมโรงเรียน” โดยใหแ้ ตล่ ะกลุ่มตั้งช่อื ใหส้ อดคล้องกบั คำประพนั ธ์ที่แตง่ ขึ้น
45
ตัวอย่าง
นำ้ นมสรา้ งโลก นมดีมีประโยชน์ เรามาดื่มนมกนั เถอะ ฯลฯ
8. ครใู ห้คำแนะนำเรอ่ื งการใช้คำ ในขณะที่นักเรียนร่วมกันแตง่ คำประพันธ์และสงั เกตพฤตกิ รรมใน
การทำงานกลุม่ ร่วมกบั ผู้อน่ื
ข้ันสรุป
9. นักเรยี นสง่ ตวั แทนกลุม่ นำเสนอคำประพันธ์ที่แต่ง พร้อมท้ังอธิบายใจความสำคญั
10. ครเู กบ็ รวบรวมผลงานของแต่ละกลุ่ม ตรวจสอบความถูกตอ้ ง และใหค้ ะแนนในลำดับต่อไป
8. สอ่ื /แหล่งการเรียนรู้
1. ตวั อย่างภาพตามจินตนาการ
2. ใบงานเขยี นเรือ่ งจากภาพตามจินตนาการ
3. ตัวอย่างบทรอ้ ยกรองประเภทกาพยย์ านี 11
4. แผนผงั หรอื ฉันทลักษณค์ ำประพนั ธป์ ระเภทกาพย์ยานี 11
5. ส่อื ออนไลน์
9. การวดั และประเมนิ ผล
วิธกี าร เครือ่ งมอื เกณฑ์
1. สงั เกตพฤติกรรมการทำงานกล่มุ 1. แบบประเมินพฤติกรรมการทำงานกลมุ่
ผา่ นเกณฑ์การประเมนิ
2. การตรวจผลงาน 2. แบบบันทึกคะแนนผลงาน ระดับ 2 ข้ึนไป
ผ่านเกณฑ์การประเมิน
3. สังเกตพฤติกรรมด้าน 3. แบบประเมนิ คณุ ลกั ษณะอันพงึ ประสงค์ ระดบั พอใช้ ขึ้นไป
คณุ ลักษณะอันพงึ ประสงค์ ผ่านเกณฑ์การประเมนิ
ระดบั 2 ขึ้นไป
46
บนั ทึกหลังสอน
ด้านความรู้ความเข้าใจ ( K )
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
5.2 ดา้ นทกั ษะกระบวนการ ( P )
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
5.2 ด้านเจตคต/ิ คณุ ลักษณะ ( A )
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
ปญั หาและอุปสรรค
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
แนวทางแกไ้ ข
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
ลงชอ่ื
()
ตำแหน่ง …………………………….……………………
โรงเรียนอนุบาลนครศรีธรรมราช “ณ นคร อทุ ศิ ”
........../.............../...........
47
ความคดิ เห็นของรองผู้อำนวยการกลมุ่ บรหิ ารวิชาการ
.......................................................................................................................... ................................................
..........................................................................................................................................................................
............................................................................................................... ...........................................................
ลงช่ือ
(นางสภุ าวดี เพ่งพินจิ )
รองผู้อำนวยการกลุ่มบรหิ ารวชิ าการ
ความคิดเหน็ ของผู้อำนวยการโรงเรยี น
............................................................................................................................. .............................................
..........................................................................................................................................................................
............................................................................................................... ...........................................................
ลงชื่อ
(นางนวลใย สทุ ธพิ ทิ กั ษ์)
นวยการโรงเรียนอนบุ าลนครศรธี รรมราช “ณ นคร อุทิศ”