วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมส าหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ก ค ำน ำ ส านักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 5 ได้ด าเนินการวิจัยเรื่อง “ความต้องการ การจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมส าหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ” โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม ส าหรับ ผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความต้องการ การจัด สวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมส าหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งได้รับ งบประมาณสนับสนุนจากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กองทุนส่งเสริม ววน.) ประจ าปี งบประมาณ พ.ศ.2565 โดยท าการศึกษาในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือในเขตการดูแลรับผิดชอบของ ส านักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 5 จ านวน 7 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดขอนแก่น จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดอุดรธานี จังหวัดหนองคาย จังหวัดเลย และจังหวัดหนองบัวล าภูโดยใช้ระเบียบ วิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method) ทั้งการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งผลการวิจัยสะท้อน ถึงความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมส าหรับผู้สูงอายุ น าไปสู่ข้อเสนอแนะ ทางนโยบายที่ส าคัญ ได้แก่ แนวทางการจัดการปกครองแบบเครือข่าย (Governance Approach) โดยดึง เครือข่ายหลายภาคส่วนที่มีความถนัดและทรัพยากรที่แตกต่างกันเข้ามาร่วมด้วยช่วยกันในการยกระดับ ศักยภาพของผู้สูงอายุให้สูงขึ้น และการพัฒนาต่อยอดจากกลไกและเครือข่ายความร่วมมือดั้งเดิมในระดับ ชุมชนที่มีประสิทธิภาพ เข้ามาเป็นฐานในการสื่อสารและจัดสวัสดิการสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม ส าหรับผู้สูงอายุต่อไปในอนาคต คณะผู้วิจัยขอขอบคุณส านักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดขอนแก่น จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดอุดรธานี จังหวัดหนองคาย จังหวัดเลย จังหวัดหนองบัวล าภูและ ภาคีเครือข่ายในเขตพื้นที่รับผิดชอบของส านักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 5 ที่อนุเคราะห์ข้อมูลการวิจัย คณะผู้วิจัยหวังเป็นอย่างยิ่งว่างานวิจัยนี้จะสร้างคุณประโยชน์ในทางวิชาการและเป็นข้อเสนอเชิงนโยบายใน อนาคต หากงานวิจัยนี้มีข้อผิดพลาดประการใด ทางคณะผู้วิจัยขออภัยไว้ ณ ที่นี้ คณะผู้วิจัย กันยายน 2566
วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ข บทคัดย่อ การศึกษาวิจัยเรื่อง “ความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม สำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ” มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความต้องการการจัดสวัสดิการทาง สังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มี ความสัมพันธ์กับความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ โดยทำการศึกษาในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือในเขตการดูแลรับผิดชอบของ สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 5 จำนวน 7 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดขอนแก่น จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดอุดรธานี จังหวัดหนองคาย จังหวัดเลย และจังหวัดหนองบัวลำภูโดยใช้ระเบียบ วิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method) ทั้งการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีหน่วยวิเคราะห์ (Unit of Analysis) เป็นหน่วยระดับปัจเจกบุคคล (Individual Unit) ซึ่งประกอบไปด้วย ผู้ให้ข้อมูลวิจัย 2 ประเภท ได้แก่ ผู้ตอบแบบสอบถามคือ ผู้สูงอายุ จำนวนทั้งสิน 400 คน ที่อาศัยอยู่ ในพื้นที่ 7 จังหวัด ในเขตรับผิดชอบของสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 5 และผู้ให้ข้อมูลสัมภาษณ์ คือ เจ้าหน้าที่รัฐสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ระดับบริหาร) จำนวน 3 คน, ผู้สูงอายุ (ตัวแทนประธานกลุ่มผู้สูงอายุ) จำนวน 1 คน, และอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงมนุษย์ จำนวน 9 คน ผู้ให้ข้อมูลทั้งหมดเป็นผู้ที่เข้าใจและสามารถให้ข้อมูลเชิงลึกซึ่งสะท้อนบริบทและสถานการณ์ ผู้สูงอายุเผชิญอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือทั้งในเขตเมืองและชนบทได้เป็นอย่างดี ผลการศึกษาเชิงปริมาณ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็น ร้อยละ 65 ส่วนใหญ่มีอายุต่ำกว่า 68 ปี คิดเป็นร้อยละ 34.5 จบการศึกษาระดับประถมศึกษา คิดเป็น ร้อยละ 43.3 มีสถานภาพสมรส คิดเป็นร้อยละ 44.5 มีจำนวนสมาชิกในครอบครัว 4 คน จำนวน 98 คน ไม่มี โรคประจำตัวจำนวน 230 คน คิดเป็นร้อยละ 57.5ไม่มีความพิการ จำนวน 369 คน คิดเป็นร้อยละ 92.3 ไม่ได้ ประกอบอาชีพ จำนวน 212 คน คิดเป็นร้อยละ 53.0 มีรายรับต่อเดือนของตนเองน้อยกว่า 1,500 บาท จำนวน 151 คน คิดเป็นร้อยละ 37.8มีแหล่งที่มาของรายรับส่วนใหญ่มาจากเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ จำนวน 330 คน คิดเป็นร้อยละ 34.3 จำนวนหนี้สินของตนเองมากกว่า 46,564 บาท จำนวน 324 คน คิดเป็นร้อยละ 81.0 มีหนี้สินของครอบครัวมากกว่า 78,261 บาท จำนวน 283 คน คิดเป็นร้อยละ 70.8 ส่วนใหญ่ไม่มีหนี้สินจำนวน 198 คน คิดเป็นร้อยละ 49.5 ผู้ตอบแบบสอบถามอาศัยอาศัยอยู่จังหวัดขอนแก่นมากที่สุด ไม่ได้เป็นสมาชิกใน ชมรมผู้สูงอายุ โรงเรียนผู้สูงอายุ หรือกลุ่มกิจกรรมทางสังคมอื่น จำนวน 230 คน คิดเป็นร้อยละ 57.5 มีผู้ดูแล จำนวน 291 คน คิดเป็นร้อยละ 72.8 และใช้เวลาในการใช้อุปกรณ์สื่อสาร/อินเตอร์เน็ต ส่วนใหญ่อยู่ที่ 2.65 - 40 นาที จำนวน 147 คน คิดเป็นร้อยละ 36.8 ในภาพรวมมีการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เกี่ยวข้อง กับสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุอยู่ในระดับน้อย โดยระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีและ นวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุ มีลักษณะพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่
วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ค เกี่ยวข้องกับสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุในภาพรวมอยู่ในระดับต่ำ โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.64 และเมื่อ ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิผลต่อความต้องการการจัดสวัสดิการด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุ มี3 ปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการของผู้สูงอายุโดดเด่นที่สุดเรียงไปตามลำดับ ได้แก่ ทักษะและประสบการณ์ใน อดีต (มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับตัวแปรตามในระดับ 0.349) รองมาคือ ความสามารถในการพึ่งพาตนเอง (เท่ากับ 0.182) และตามด้วยการเข้าถึง (เท่ากับ 0.117) ผลการศึกษาเชิงคุณภาพ พบว่า ทักษะและประสบการณ์ในอดีตมีส่วนสำคัญที่ช่วยให้ ผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือสามารถประยุกต์ใช้หรือสามารถเรียนรู้เทคโนโลยีและนวัตกรรมได้อย่าง รวดเร็ว เมื่อใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่หรือนวัตกรรมชิ้นใหม่ก็จะใช้เวลาปรับตัวไม่นาน ความสามารถในการพึ่งพา ตนเอง ถือเป็นส่วนสำคัญในการกำหนดความต้องการสวัสดิการด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมของผู้สูงอายุใน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ ผู้สูงอายุจะยอมรับในสวัสดิการด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม อันหนึ่งอันใด ก็ต่อเมื่อผู้สูงอายุสามารถ “สามารถทำได้ด้วยตนเอง” โดยไม่เป็นภาระแก่ผู้อื่นหรือตัวท่านเอง หากผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือสามารถเข้าถึงอุปกรณ์ โครงข่ายอินเตอร์เน็ต และองค์ความรู้และ ข้อมูลที่ถูกต้องเพียงพอเกี่ยวกับเทคโนโลยีและนวัตกรรมนั้น จะเป็นสิ่งที่สามารถช่วยยกระดับความต้องการ สวัสดิการด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม และที่สำคัญปัจจัยการเข้าถึงยังเชื่อมโยงกับปัจจัยทั้งสองตัวที่กล่าวมา และสำคัญไปยิ่งกว่า ผลการสัมภาษณ์สะท้อนให้เห็นว่า ภูมิลำเนาหรือแหล่งที่อยู่ของผู้สูงอายุ (เขตเทศบาล หรือนอกเขตเทศบาล) เป็นเงื่อนไขสำคัญที่กำหนดการเข้าถึงเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่สำคัญอีกด้วย ผู้ให้ ข้อมูลสัมภาษณ์ได้ให้ข้อมูลน่าสนใจเพิ่มเติมไปจากผลการวิเคราะห์เชิงปริมาณ เกี่ยวกับปัจจัยอีกตัวหนึ่งที่มี อิทธิพลต่อศักยภาพและความพร้อมของผู้สูงอายุ คือ การสนับสนุนทั้งทางสังคมและทางเทคนิคของคนรอบ ข้าง “คนในครอบครัว” “ลูก-หลาน” “เพื่อน” “ผู้นำ(ชุมชน)” และ “อาสาสมัครชุมชน” เป็นผู้ที่มีส่วนสำคัญ อย่างยิ่งในการช่วยให้ผู้สูงอายุเข้าถึงอุปกรณ์ ข้อมูล และทักษะที่จำเป็นในการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมได้ คนเหล่านี้ถือเป็นบุคคลที่มีความใกล้ชิดกับกลุ่มผู้สูงอายุเป็นอย่างมาก เจ้าหน้าที่รัฐ เป็นเพียงส่วนหนึ่งในการ เข้าไปให้ความช่วยเหลือและส่งต่อข้อมูลด้านสวัสดิการทางเทคโนโลยีที่จะเป็นประโยชน์แก่กลุ่มผู้สูงอายุได้รับรู้ และสามารถพึ่งพาตนเองได้ จากผลการวิจัย สะท้อนให้เห็นว่าผู้สูงอายุกำลังเผชิญความท้าทายในสังคมที่เทคโนโลยีมีการพัฒนา อย่างรวดเร็วและเข้ามามีบทบาทในการดำเนินในชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก เมื่อวิเคราะห์อย่างลึกซึ้งลงไปใน ข้อมูลวิจัยที่สะท้อนอุปสรรคปัญหาที่เป็นตัวขวางกั้นระหว่างผู้สูงอายุและเทคโนโลยีและนวัตกรรม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องค่าใช้จ่ายเพื่อเข้าถึงเทคโนโลยีที่สูงเกินไป หรือจุดให้บริการโครงข่ายอินเตอร์เน็ตไม่ครอบคลุม หรือการขาดความรู้ ความสามารถหรือโอกาสที่จะได้ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมทันสมัยเพื่อสร้างความคุ้นเคย และประสบการณ์ให้แก่ผู้สูงอายุ หรือแม้กระทั่งความกลัวที่จะทำธุรกรรมออนไลน์ ดังนั้นการศึกษาทำความ เข้าใจในความต้องการของผู้สูงอายุ จึงเป็นขั้นตอนแรกที่สำคัญเพื่อให้ได้ข้อมูลนำเข้าและปัญหาที่แท้จริงของ กลุ่มเป้าหมาย เพื่อภาครัฐจะสามารถนำไปใช้ออกแบบเครื่องมือทางนโยบายเพื่อจัดสวัสดิการสังคมและความ ช่วยเหลือที่เหมาะสมและตอบสนองต่อความต้องการของกลุ่มผู้สูงอายุให้ได้มากที่สุด
วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ง จากผลการศึกษา จะเห็นว่า ผู้สูงอายุยังต้องการให้มีการจัดสรรทั้งอุปกรณ์ เช่น สมาร์ทโฟน อินเตอร์เน็ต พร้อมกับการจัดอบรมให้องค์ความรู้และข้อมูลจำเป็นต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม การจัดสรรสิ่งต่าง ๆ ที่ เกี่ยวข้องกับสวัสดิการสังคมและบริการด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมต้องใช้ทรัพยากรจำนวนมาก ทั้งที่เป็นตัว เงินงบ และที่ไม่เป็นตัวเงิน ดังนั้น ผู้วิจัยจึงมีข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดสวัสดิการด้าน เทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาครัฐอาจต้องใช้แนวทางการจัดการ ปกครองแบบเครือข่าย (Governance Approach) โดยดึงเครือข่ายหลายภาคส่วนที่มีความถนัดและ ทรัพยากรที่แตกต่างกันเข้ามาร่วมด้วยช่วยกัน จึงจะสามารถยกระดับศักยภาพของผู้สูงอายุให้สูงขึ้นได้ เครือข่ายสำคัญ ประกอบด้วย ครอบครัว เอกชน ชุมชน และหน่วยงานภาครัฐ ที่มีส่วนได้ส่วนเสียจากการ จัดสรรสวัสดิการสังคมและบริการให้เหมาะกับลักษณะความต้องการตามระดับศักยภาพและความพร้อมของ ผู้สูงอายุในเขตเมืองและชนบท เช่น การอุดหนุนเงินจากภาครัฐสำหรับการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต ซึ่งไม่เพียง เกี่ยวข้องกับบริษัทเอกชนที่ให้บริการโครงข่ายสัญญาณอินเตอร์เน็ต แต่ยังต้องได้รับความร่วมมือจากบุคคล รอบข้างผู้สูงอายุที่มีส่วนสำคัญในการเพิ่มความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการสื่อสารสำหรับผู้สูงอายุ ร่วมกับการจัดอบรมของภาครัฐ อุปกรณ์อัจฉริยะทางด้านการแพทย์และเครื่องไฟฟ้าเพื่อการดูแลผู้สูงอายุก็ เช่นกัน หากเครื่องมีราคาสูง ภาครัฐต้องพึ่งพาการสนับสนุนจากภาคเอกชนมากขึ้น เพราะในปัจจุบัน รัฐยังคง ไม่มีงบประมาณมากพอที่จะจัดสรรด้วยตนเอง รัฐจัดสรรได้เพียงอุปกรณ์พื้นฐานเท่านั้น ซึ่งก็ยังคงมีจำนวนไม่ เพียงพอกับความต้องการของผู้สูงอายุอยู่ เช่น ไม้เท้า เครื่องช่วยฟัง และรถเข็น เป็นต้น การพัฒนาต่อยอดจาก กลไกและเครือข่ายความร่วมมือดั้งเดิมในระดับชุมชน ก็อาจเป็นแนวทางการจัดสวัสดิการด้านเทคโนโลยีและ นวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุที่เหมาะสมในช่วงเปลี่ยนผ่านไปสู่ยุคดิจิทัลนี้ได้ เช่น กองทุนสวัสดิการชุมชนในตำบล อาจใช้เป็นฐานในการพัฒนาเป็นระบบเพื่อการส่งเสริมสวัสดิการสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมให้แก่ ผู้สูงอายุ โดยเน้นให้ผู้สูงอายุมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการกองทุนให้เหมาะสมกับความจำเป็นความต้องการที่ แตกต่างกันตามถิ่นที่อยู่อาศัยของผู้สูงอายุเอง เราจะเห็นได้ว่า กองทุนนี้เป็นการสร้างหลักประกันให้ผู้สูงอายุ ตามรูปแบบระบบจ่ายเงินสมทบ (Contributory) ที่ผู้สูงอายุจ่ายเงินสมทบส่วนหนึ่ง และภาครัฐ รวมทั้งภาค ส่วนอื่น ๆ เช่น ภาคเอกชน สามารถร่วมสบทบเพิ่มเติมส่วนหนึ่งเพื่อเป็นการสนับสนุนและสร้างความยั่งยืน ให้แก่กองทุน ในการจัดสวัสดิการสังคมในรูปแบบนี้ รัฐไม่จำเป็นต้องจัดฝ่ายเดียวและมุ่งเน้นหลักการ "สวัสดิการการให้อย่างมีคุณค่า และรับอย่างมีศักดิ์ศรี" ค ำส ำคัญ ผู้สูงอายุ, สวัสดิการทางสังคม, เทคโนโลยีและนวัตกรรม
วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ ผลสรุปผู้บริหาร การเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างประชากรอย่างรวดเร็วทั่วโลก ส่งผลให้ประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป มีจำนวนมากขึ้นในเชิงปริมาณและสัดส่วนต่อประชากรทั้งหมด ในขณะที่สวนทางกับจำนวน ประชากรในวัยแรกเกิด ซึ่งลดลงอย่างเห็นได้ชัด โดยปัจจุบันโลกเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่า ร้อยละ 10.0) โดยมีจำนวนประชากรผู้สูงอายุประมาณ 990 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 13.0 และคาดการณ์ว่าจะ เพิ่มขึ้นด้วยอัตราร้อยละ 3.0 ต่อปี และโลกจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ (อายุ 60 ปีขึ้นไป มากถึงร้อย ละ 20.0) ในปี พ.ศ. 2587 (มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย, 2562) ดังนั้นจึงต้องความสำคัญกับกลุ่ม ประชากรดังกล่าว (ศศิพัฒน์ ยอดเพชร, 2548) เนื่องจากประชากรกลุ่มนี้มีความเสี่ยงหลากหลายด้านความ เสี่ยง (ศูนย์เฝ้าระวังและเตือนภัยทางสังคม, 2549 ทำให้ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ และคุณภาพ ชีวิตของผู้สูงอายุอย่างเห็นได้ชัด ขณะเดียวกันผู้สูงอายุก็มีความต้องการการจัดสวัสดิการสังคมที่แตกต่างกัน แต่สิ่งสำคัญที่ผู้สูงอายุมีความต้องการคล้ายกัน ได้แก่ การมีคุณภาพชีวิตที่ดี สังคมจึงควรให้ความตระหนักถึง ปัญหาและความต้องการดังกล่าว ภายหลังที่รัฐบาลไทยได้มีมติคณะรัฐมนตรี ให้ความเห็นชอบระเบียบวาระ แห่งชาติ เรื่อง “สังคมสูงอายุ” เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2561 เกี่ยวกับประเด็นการสร้างระบบคุ้มครอง และ สวัสดิการผู้สูงอายุ โดยต้องให้ความสำคัญกับการดูแลคุณภาพชีวิตโดยรวมให้ครอบคลุมผู้สูงอายุในเมือง และ ชนบทอย่างเท่าเทียม ทั่วถึง เพื่อให้ได้รับบริการสวัสดิการสังคมที่หลากหลายครบทุกมิติ รวมถึงต้องคุ้มครอง พิทักษ์สิทธิ และดูแลผู้สูงอายุทุกรูปแบบ โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่เปราะบาง และขาดโอกาส ให้สามารถเข้าถึง บริการ และสวัสดิการต่างๆ ที่รัฐจัดให้ได้อย่างถ้วนหน้า (คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ, 2561) และปัจจุบัน เทคโนโลยี และนวัตกรรมเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาควบคู่การเปลี่ยนแปลงทางประชากรผู้สูงอายุที่มีเพิ่มมากขึ้น และ ส่งผลต่อวิถีชีวิตของประชากรทุกกลุ่มเป้าหมาย อย่างไรก็ตามเทคโนโลยี และนวัตกรรม เป็นระบบคุ้มครอง ทางสังคมของผู้สูงอายุ เป็นหนึ่งด้านที่จะช่วยแก้ไขปัญหาความเสี่ยงต่างๆ เพื่อตอบสนองต่อผู้สูงอายุในการ จัดการความเสี่ยงที่ไม่พึงประสงค์ที่ผู้สูงอายุต้องเผชิญ (สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 1 – 12, 2558) ผู้วิจัยจึงสนใจในประเด็นดังกล่าว และหาคำตอบผ่านคำถามการวิจัยที่ว่า ความต้องการการจัดสวัสดิการทาง สังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นอย่างไร โดยศึกษาผ่านกลุ่ม ประชากรผู้สูงอายุภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งมีจำนวนผู้สูงอายุมากที่สุดในประเทศ เพื่อเป็นระบบการจัด สวัสดิการต้นแบบ สู่การปรับปรุง และส่งผลต่อนโยบายงานสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุที่เหมาะสมต่อไปใน ระยะยาว สู่สังคมดี ผู้สูงอายุมีความสุข เป็นพลังสำคัญของประเทศต่อไป” การศึกษาวิจัยเรื่อง “ความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม สำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ” มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความต้องการการจัดสวัสดิการทาง สังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มี
วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ฉ ความสัมพันธ์กับความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นการใช้วิธีระเบียบวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method) ใช้วิธีวิจัยทั้งเชิง ปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เครื่องมือวิจัยในการ โครงการวิจัยครั้งนี้มี 2 ประเภท ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ ซึ่งเป็นเครื่องมือวิจัยเชิงปริมาณและ เชิงคุณภาพ ตามลำดับ เครื่องมือวิจัยนี้ออกแบบและสร้างอ้างอิงกับข้อมูลและองค์ความรู้จากการทบทวน วรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง แบบสอบถามประกอบไปด้วย 5 ส่วน ได้แก่ ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับ คุณลักษณะสำคัญส่วนบุคคล ประเภทเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุ ปัจจัยที่มีอิทธิพลผลต่อความต้องการการจัดสวัสดิการด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุ ความพึง พอใจจากการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุ และข้อเสนอแนะ โดยแบบสอบถามที่ออกแบบมีเป้าหมายหลักเพื่อเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม สวัสดิการทางสังคม ได้แก่ ด้านคุณประโยชน์ (Value) ด้านการใช้งาน (Usability) ด้านการประหยัด (Affordability) ด้านการเข้าถึง (Accessibility) ด้านระบบสนับสนุนทางเทคนิค (Technical Support) ด้าน ระบบสนับสนุนทางสังคม (Social Support) ด้านความชอบส่วนบุคคล (Emotion) ด้านความสามารถ พึ่งตนเอง (Independence) ด้านทักษะและความประสบการณ์ในอดีต (Experiences) ด้านความมั่นใจ (Confidence) โดยสำรวจความคิดเห็นของผู้สูงอายุ จำนวนทั้งสิ้น 400 คน ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เขตเทศบาลและ นอกเทศบาลใน 7 จังหวัด ได้แก่ ร้อยเอ็ด ขอนแก่น มหาสารคาม อุดรธานี หนองบัวลำภูเลย และหนองคาย แบบสัมภาษณ์ที่ออกแบบจะมีส่วนประกอบทั้งหมด 3 ส่วนของข้อคำถาม ได้แก่ ข้อมูลทั่วไปของผู้ให้สัมภาษณ์ ความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่มีอิทธิผลโดดเด่นต่อการกำหนดความต้องการการจัดสวัสดิการสังคมด้าน เทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุ (จากผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณพบ 3 ตัวแปร คือ ทักษะและ ประสบการณ์ในอดีต ความสามารถในการพึ่งพาตนเอง และการเข้าถึง) และปัญหาอุปสรรคของผู้สูงอายุใน ปัจจุบัน โดยสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวนทั้งสิ้น 13 คน ประกอบได้ด้วย เจ้าหน้าที่รัฐสังกัดกระทรวงการ พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ระดับบริหาร) จำนวน 3 คน จากอำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม และอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น, ผู้สูงอายุ (ประธานกลุ่มผู้สูงอายุ ในฐานะตัวแทนของผู้สูงอายุในพื้นที่เขต เทศบาล) จำนวน 1 คน จากอำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม, และอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคง มนุษย์ (ในฐานะตัวแทนของผู้สูงอายุในพื้นที่นอกเขตเทศบาล) จำนวน 9 คน จากตำบลปากตม อำเภอเชียง คาน จังหวัดเลย และการวิจัยนี้ผ่านการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ จากสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เลขที่โครงการ ว.09/2566 ผลการศึกษา พบว่า 1.ปัจจัยหรือตัวแปรต้นทั้งหมดมีความสัมพันธ์กับตัวแปรตามหรือความต้องการการจัด สวัสดิการสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุ (ค่า p-value = 0.000 น้อยกว่า 0.050 ) ซึ่ง สะท้อนผ่านระดับความพึงพอใจด้านบริการและสวัสดิการสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ผู้สูงอายุใช้อยู่ อย่างไรก็ตาม ผลการทดสอบสมการเชิงทำนายโดยประยุกต์ใช้สถิติแบบการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ
วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ช (Multiple Regression Analysis: MRA) ระบุว่ามีตัวแปรต้นสามตัวที่มีผลต่อความต้องการของผู้สูงอายุโดด เด่นที่สุดเรียงไปตามลำดับ ได้แก่ ทักษะและประสบการณ์ในอดีต รองมาคือ ความสามารถในการพึ่งพาตนเอง และการเข้าถึง ทั้งสามตัวแปรต้นนี้ได้นำไปขยายผลและพูดคุยเพิ่มเติมในการสัมภาษณ์เชิงลึก 2. ผลการศึกษาเชิงคุณภาพสะท้อนผลการศึกษาที่สอดคล้องกับผลการศึกษาเชิงปริมาณ ผู้ให้ ข้อมูลทุกคนเห็นพ้องกันว่า ทักษะและประสบการณ์ในอดีตที่สั่งสมมาจากความคุ้นเคยกับการใช้เทคโนโลยี และได้ฝึกฝนทักษะดิจิทัลผ่านการใช้แพลตฟอร์มโชเชียลมีเดีย เช่น ไลน์ (Line) และเฟสบุ๊ค (Facebook) เพื่อ ความบันเทิงและหาข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพและอื่น ๆ นอกเหนือจากแพลตฟอร์มเพื่อการสื่อสารแล้ว ผู้สูงอายุ ในงานวิจัยนี้ยังได้ฝึกฝนและคุ้นเคยกับการใช้แอปพลิเคชันเพื่อรับสวัสดิการสังคม ทั้งในรูปแบบการรับข้อมูล ข่าวสาร และเงินช่วยเหลือแบบฉุกเฉินช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เช่น แอปพลิเคชันเป๋าตังและ หมอพร้อม เป็นต้น และที่สำคัญการเตรียมความพร้อมและฝึกฝนทักษะที่มีประสิทธิภาพควรทำ “ก่อนผู้สูงอายุ เข้าสู่วัยเกษียณ” เพราะเมื่อเข้าสู่วัยเกษียณจะเรียนรู้และใช้เครื่องมือใหม่ ๆ ได้ยากมากขึ้นเพราะข้อจำกัดด้าน การมองเห็น การเคลื่อนไหว และความจำ ปัจจัยด้านความสามารถในการพึ่งตนเอง พบว่าผู้สูงอายุให้ ความสำคัญแก่ “การทำเป็นด้วยตัวเอง” และต้องการเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ “ง่าย” “ไม่ซับซ้อน” “ราคา ถูก” และ “เท่าที่จำเป็น” ต่อการดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุเท่านั้น ดังนั้น การจัดสวัสดิการด้านเทคโนโลยีและ นวัตกรรมจำเป็นต้องทำให้ใช้งานได้ง่าย มีหน้าจอที่ใหญ่ มองเห็นง่าย มีเสียงดังฟังชัด สามารถเรียนรู้ได้ด้วย ตนเอง และที่สำคัญต้องมีราคาไม่สูงเกินไป ปัจจัยด้านการเข้าถึง หมายถึง การเข้าถึง “อุปกรณ์” “โครงข่าย อินเตอร์เน็ต” และ “ข้อมูลและองค์ความรู้ที่ถูกต้องและเพียงพอ” การเข้าถึงอุปกรณ์ถือเป็นปัจจัยที่สร้าง ทัศนคติที่ดีต่อการใช้งานอินเตอร์เน็ตและการยอมรับอินเตอร์เน็ตของผู้สูงอายุ และนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพ ชีวิตของผู้สูงอายุทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านกายภาพและจิตใจ ด้านความสัมพันธ์ทางสังคม และด้านการเข้าถึงข้อมูล ข่าวสาร นอกเหนือจากนี้ ผลการศึกษาในประเด็นปัจจัยการเข้าถึง ยังแสดงเห็นความแตกต่างระหว่างผู้สูงอายุ ในเขตเมืองและเขตชนบท ผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่นอกเขตเทศบาลหรือชนบทอีสานมักประสบปัญหาการเข้าถึง อุปกรณ์ และโครงข่ายอินเตอร์เน็ต และการสนับสนุนเชิงสังคมและเชิงเทคนิคหรือการดูแลและความช่วยเหลือ จากบุคคลรอบข้างผู้สูงอายุมีความสำคัญมากเช่นกัน ประกอบด้วย คนในครอบครัว ลูก หลาน เพื่อน ผู้นำ ชุมชน และอาสาสมัครในหมู่บ้าน การจัดสวัสดิการความช่วยเหลือและการดูแลด้วยมนุษย์ (Human Help) ยังคงมีความสำคัญอยู่ ไม่ว่าจะเป็นในการเข้าถึงอุปกรณ์ จัดหาเครื่องมือและข้อมูล ไปจนถึงการให้ความรู้และ ฝึกสอนในการใช้ ให้มีทักษะที่จำเป็นในการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมได้ บุคคลเหล่านี้เป็นบุคคลที่มีความ ใกล้ชิดกับกลุ่มผู้สูงอายุมากกว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐและนักสังคมสงเคราะห์ ซึ่งเจ้าหน้าที่รัฐ เป็นเพียงส่วนหนึ่งใน การจัดสวัสดิการสังคมร่วมกับคนรอบข้างอื่น ๆ ที่เข้าไปให้ความช่วยเหลือและส่งต่อข้อมูลด้านสวัสดิการทาง เทคโนโลยีที่จะเป็นประโยชน์แก่กลุ่มผู้สูงอายุได้รับรู้และสามารถพึ่งพาตนเองได้ 3.ข้อมูลวิจัยสะท้อนปัญหาและอุปสรรคที่เป็นตัวขวางกั้นระหว่างผู้สูงอายุและเทคโนโลยีและ นวัตกรรมในปัจจัยทั้งสี่ด้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องค่าใช้จ่ายเพื่อเข้าถึงเทคโนโลยีที่สูงเกินไป หรือจุดให้บริการ โครงข่ายอินเตอร์เน็ตไม่ครอบคลุม หรือการขาดความรู้ ความสามารถหรือโอกาสที่จะได้ใช้เทคโนโลยีและ นวัตกรรมทันสมัยเพื่อสร้างความคุ้นเคยและประสบการณ์ให้แก่ผู้สูงอายุ หรือแม้กระทั่งความกลัวที่จะทำ
วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซ ธุรกรรมออนไลน์ อุปสรรคปัญหาเหล่านี้ไม่เพียงสะท้อนให้เห็นระดับศักยภาพและความพร้อมของผู้สูงอายุ แต่แสดงให้เห็น เงื่อนไขหรือสาเหตุเบื้องหลังศักยภาพและความพร้อมที่แตกต่างของผู้สูงอายุ แบ่งออก เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ กลุ่มผู้สูงอายุที่มีศักยภาพ มักเป็นผู้สูงอายุที่มีรายได้อยู่ในระดับสูง หรือไม่อยู่ในสถานะ ที่ลำบาก เมื่อมีรายได้มากก็มีแนวโน้มว่ามีศักยภาพที่จะจัดหาหรือ เข้าถึงเครื่องมือและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ต่าง ๆ ได้ และเมื่อมีความคุ้นเคยกับการใช้อุปกรณ์ ก็จะมีองค์ความรู้ ทักษะ หรือความชำนาญการใช้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ไม่ว่าจะเป็นความรู้ด้านอุปกรณ์หรือด้านการเชื่อมต่อออนไลน์ ซึ่งเป็นความรู้พื้นฐาน ในการใช้เทคโนโลยีสื่อดิจิทัล กลุ่มผู้สูงอายุที่ไม่มีศักยภาพ มักเป็นผู้สูงอายุที่มีรายได้อยู่ในระดับต่ำ หรืออยู่ใน สถานะที่ลำบาก เมื่อมีรายได้น้อยก็มีแนวโน้มว่าไม่มีศักยภาพพอที่จะจัดหาหรือไม่สามารถเข้าถึงเครื่องมือ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ได้ และเมื่อไม่มีอุปกรณ์ หรือไม่มีความคุ้นเคยกับการใช้อุปกรณ์ ก็จะไม่มี องค์ความรู้ ทักษะ หรือความชำนาญการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมด้วย 4.จากผลการศึกษาจะเห็นว่า ผู้สูงอายุยังต้องการให้มีการจัดสรรทั้งอุปกรณ์ เช่น สมาร์ทโฟน อินเตอร์เน็ต พร้อมกับการจัดอบรมให้องค์ความรู้และข้อมูลจำเป็นต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม การจัดสรรสิ่งต่าง ๆ ที่ เกี่ยวข้องกับสวัสดิการสังคมและบริการด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมต้องใช้ทรัพยากรจำนวนมาก ทั้งที่เป็นตัว เงินงบ และที่ไม่เป็นตัวเงิน ดังนั้นแนวทางในการจัดสวัสดิการด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุใน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จึงขอเสนอดังนี้ 4.1 ภาครัฐอาจต้องใช้แนวทางการจัดการปกครองแบบเครือข่าย (Governance Approach) โดยดึงเครือข่ายหลายภาคส่วนที่มีความถนัดและทรัพยากรที่แตกต่างกันเข้ามาร่วมด้วยช่วยกัน จึงจะสามารถยกระดับศักยภาพของผู้สูงอายุให้สูงขึ้นได้ ข้อมูลวิจัยระบุว่า เครือข่ายสำคัญ ประกอบด้วย ครอบครัว เอกชน ชุมชน และหน่วยงานภาครัฐ ที่มีส่วนได้ส่วนเสียจากการจัดสรรสวัสดิการสังคมและบริการ ให้เหมาะกับลักษณะความต้องการตามระดับศักยภาพและความพร้อมของผู้สูงอายุในเขตเมืองและชนบท เช่น การอุดหนุนเงินจากภาครัฐสำหรับการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต ซึ่งไม่เพียงเกี่ยวข้องกับบริษัทเอกชนที่ให้บริการ โครงข่ายสัญญาณอินเตอร์เน็ต แต่ยังต้องได้รับความร่วมมือจากบุคคลรอบข้างผู้สูงอายุที่มีส่วนสำคัญในการ เพิ่มความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการสื่อสารสำหรับผู้สูงอายุร่วมกับการจัดอบรมของภาครัฐ อุปกรณ์ อัจฉริยะทางด้านการแพทย์และเครื่องไฟฟ้าเพื่อการดูแลผู้สูงอายุก็เช่นกันหากเครื่องมีราคาสูง ภาครัฐต้อง พึ่งพาการสนับสนุนจากภาคเอกชนมากขึ้น เพราะในปัจจุบัน รัฐยังคงไม่มีงบประมาณมากพอที่จะจัดสรรด้วย ตนเอง รัฐจัดสรรได้เพียงอุปกรณ์พื้นฐานเท่านั้น ซึ่งก็ยังคงมีจำนวนไม่เพียงพอกับความต้องการของผู้สูงอายุอยู่ เช่น ไม้เท้า เครื่องช่วยฟัง และรถเข็น เป็นต้น 4.2 การพัฒนาต่อยอดจากกลไกและเครือข่ายความร่วมมือดั้งเดิมในระดับชุมชนก็ อาจเป็นแนวทางการจัดสวัสดิการด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุที่เหมาะสมในช่วงเปลี่ยนผ่าน ไปสู่ยุคดิจิทัลนี้ได้ เช่น กองทุนสวัสดิการชุมชนในตำบล อาจใช้เป็นฐานในการพัฒนาเป็นระบบเพื่อการส่งเสริม สวัสดิการสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมให้แก่ผู้สูงอายุ โดยเน้นให้ผู้สูงอายุมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ กองทุนให้เหมาะสมกับความจำเป็นความต้องการที่แตกต่างกันตามถิ่นที่อยู่อาศัยของผู้สูงอายุเอง กองทุนนี้ เป็นการสร้างหลักประกันให้ผู้สูงอายุตามรูปแบบระบบจ่ายเงินสมทบ (Contributory) ที่ผู้สูงอายุจ่ายเงิน
วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ฌ สมทบส่วนหนึ่ง และภาครัฐ รวมทั้งภาคส่วนอื่น ๆ เช่น ภาคเอกชน สามารถร่วมสบทบเพิ่มเติมส่วนหนึ่งเพื่อ เป็นการสนับสนุนและสร้างความยั่งยืนให้แก่กองทุน ในการจัดสวัสดิการสังคมในรูปแบบนี้ รัฐไม่จำเป็นต้องจัด ฝ่ายเดียวและมุ่งเน้นหลักการ "สวัสดิการการให้อย่างมีคุณค่า และรับอย่างมีศักดิ์ศรี" 4.3 กลไกดั้งเดิมในระดับชุมชนในการประชาสัมพันธ์ เพื่อให้ความรู้ ข้อมูลที่ถูกต้องเพียงพอ แก่ผู้สูงอายุ ยังคงเป็นกลไกที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด ถึงแม้ว่าจะมีการพัฒนารูปแบบการประชาสัมพันธ์ใน หลากหลายช่องทางมากขึ้นก็ตาม ในสถานการณ์ปัจจุบันที่มีความสุ่มเสี่ยงจากภัยอาชญากรรมไซเบอร์ (Cyber Crime) ผู้สูงอายุยังคงเชื่อมั่นในรูปแบบการสื่อสารแบบดั้งเดิม ได้แก่ การประชาสัมพันธ์ผ่านหอกระจายข่าว ผ่านตัวแทนภาครัฐ อย่างเช่น ผู้นำชุมชน และอาสาสมัครชุมชนที่ทำงานร่วมกับหน่วยงานราชการ ซึ่งนับว่า เป็นผู้มีความน่าเชื่อถือและไว้ใจได้ ดังนั้น รูปแบบการประชาสัมพันธ์ที่มีเหมาะสมหรับกลุ่มผู้สูงอายุในช่วง เปลี่ยนผ่านไปสู่ยุคดิจิทัลนี้อาจไม่จำเป็นต้องเป็นสื่อดิจิทัลเพื่อความล้ำสมัย เพราะการเปิดรับข่าวสาร ไม่ว่าจะ จากสื่อวิทยุโทรทัศน์ สื่อวิทยุกระจายเสียง สื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออินเตอร์เน็ต สื่อกิจกรรม หรือสื่อบุคคล ก็สามารถ ช่วยเพิ่มความสามารถการพึ่งพาตนเองของผู้สูงอายุได้ทั้งในด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านสังคมและด้านการเงิน
วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมส าหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ญ สารบัญ หน้า ค าน า ก บทคัดย่อ ข บทสรุปผู้บริหาร จ สารบัญ ญ สารบัญตาราง ฏ สารบัญภาพ ฑ บทที่1 บทน า 1.1 ที่มาและความส าคัญของปัญหา 1 1.2 ปัญหาการวิจัย 3 1.3 วัตถุประสงค์ของการศึกษา 3 1.4 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 4 1.5 ขอบเขตการวิจัย 4 1.6 นิยามศัพท์ 4 บทที่2 แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2.1 แนวคิดเทคโนโลยี และนวัตกรรมผู้สูงอายุ 7 2.2 แนวคิดการเข้าถึงสวัสดิการของรัฐ 11 2.3 แนวคิด และทฤษฎีความต้องการ 14 2.4 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 19 2.5 ปัจจัยที่มีอิทธิพลผลต่อความต้องการการจัดสวัสดิการด้านเทคโนโลยี และนวัตกรรมส าหรับผู้สูงอายุ 30 2.6 กรอบแนวคิดการวิจัย 62 บทที่3 วิธีด าเนินการวิจัย 3.1 หน่วยในการวิเคราะห์ 63 3.2 พื้นที่ในการวิจัย 64 3.3 ประชากร และกลุ่มตัวอย่าง 64
วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมส าหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ฎ สารบัญ (ต่อ) หน้า 3.4 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 66 3.5 วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล 68 3.6 การตรวจสอบข้อมูล 69 3.7 การวิเคราะห์ข้อมูล 69 บทที่4 ผลการศึกษาเชิงปริมาณ ส่วนที่ 1 ข้อมูลคุณลักษณะส าคัญส่วนบุคคล 74 ส่วนที่ 2 ประเภทเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับสวัสดิการสังคม ส าหรับผู้สูงอายุ 75 ส่วนที่ 3 ปัจจัยที่มีอิทธิพลผลต่อความต้องการการจัดสวัสดิการด้าน เทคโนโลยีและนวัตกรรมส าหรับผู้สูงอายุ 79 ส่วนที่ 4 ความพึงพอใจจากการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับ สวัสดิการสังคมส าหรับผู้สูงอายุ 98 ส่วนที่ 5 ข้อเสนอแนะ 99 ส่วนที่ 6 ผลการทดสอบสมการเชิงท านายโดยประยุกต์ใช้สถิติแบบการ วิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis: MRA) 99 บทที่ 5 ผลการศึกษาเชิงคุณภาพ 5.1 ทักษะและประสบการณ์ในอดีต 5.2 ความสามารถในการพึ่งพาตนเอง 5.3 การเข้าถึง 5.4 การดูแลช่วยเหลือจากคนรอบข้าง 104 106 108 112 บทที่ 6 สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ 116 บรรณานุกรม 125 ภาคผนวก - เอกสารรับรองจริยธรรมวิจัย 131 - แบบสอบถาม (เชิงปริมาณ) 133 - ค าถามสัมภาษณ์ (เชิงคุณภาพ) 146
วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมส าหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ฏ สารบัญตาราง ตารางที่ หน้า 3.1 แสดงจ านวนประชากรในการวิจัย จ าแนกตามจังหวัด 64 3.2 แสดงจ านวนตัวอย่างในการเก็บข้อมูลการวิจัย จ าแนกตามจังหวัด 65 4.1 จ านวนและร้อยละของข้อมูลคุณลักษณะส าคัญส่วนบุคคล 74 4.2 แสดงระดับของการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับสวัสดิการ สังคมส าหรับผู้สูงอายุ 75 4.3 ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับสวัสดิการสังคมส าหรับผู้สูงอายุ 77 4.4 แสดงระดับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความต้องการการจัดสวัสดิการด้าน เทคโนโลยีและนวัตกรรมส าหรับผู้สูงอายุ 79 4.5 ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระดับความคิดเห็นเกี่ยวปัจจัยที่มีอิทธิพล ต่อความต้องการการจัดสวัสดิการด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมส าหรับผู้สูงอายุ ด้าน คุณประโยชน์ (Value) 88 4.6 ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระดับความคิดเห็นเกี่ยวปัจจัยที่มีอิทธิพล ต่อความต้องการการจัดสวัสดิการด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมส าหรับผู้สูงอายุ ด้าน การใช้งาน (Usability) 89 4.7 ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระดับความคิดเห็นเกี่ยวปัจจัยที่มีอิทธิพล ต่อความต้องการการจัดสวัสดิการด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมส าหรับผู้สูงอายุ ด้าน ความประหยัด (Affordability) 90 4.8 ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระดับความคิดเห็นเกี่ยวปัจจัยที่มี อิทธิพลต่อความต้องการการจัดสวัสดิการด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมส าหรับผู้สูงอายุ ด้านการเข้าถึง (Accessibility) 91 4.9 ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระดับความคิดเห็นเกี่ยวปัจจัยที่มี อิทธิพลต่อความต้องการการจัดสวัสดิการด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมส าหรับผู้สูงอายุ ด้านระบบสนับสนุนทางเทคนิค (Technical Support) 92
วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมส าหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ฐ สารบัญตาราง ตารางที่ หน้า 4.10 ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระดับความคิดเห็นเกี่ยวปัจจัยที่มี อิทธิพลต่อความต้องการการจัดสวัสดิการด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมส าหรับผู้สูงอายุ ด้านระบบสนับสนุนทางสังคม (Social Support) 93 4.11 ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระดับความคิดเห็นเกี่ยวปัจจัยที่มี อิทธิพลต่อความต้องการการจัดสวัสดิการด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมส าหรับผู้สูงอายุ ด้านความรู้สึกชื่นชอบ (Emotion) 94 4.12 ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระดับความคิดเห็นเกี่ยวปัจจัยที่มี อิทธิพลต่อความต้องการการจัดสวัสดิการด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมส าหรับผู้สูงอายุ ด้านความสามารถในการพึ่งตนเอง (Independence) 95 4.13 ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระดับความคิดเห็นเกี่ยวปัจจัยที่มี อิทธิพลต่อความต้องการการจัดสวัสดิการด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมส าหรับผู้สูงอายุ ด้านทักษะและประสบการณ์ในอดีต (Experiences) 96 4.14 ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระดับความคิดเห็นเกี่ยวปัจจัยที่มี อิทธิพลต่อความต้องการการจัดสวัสดิการด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมส าหรับผู้สูงอายุ ด้านความมั่นใจ (Confidence) 97 4.15 แสดงค่าร้อยละความพึงพอใจเมื่อรับบริการและสวัสดิการสังคมด้าน เทคโนโลยีและนวัตกรรมส าหรับผู้สูงอายุ 98 4.16 แสดงผลการวิเคราะห์ความแปรปรวน (Results of Analysis of Variance (ANOVA)) 99 4.17 แสดงผลการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยของตัวแปรอิสระแต่ละ ตัวที่จะน ามาพยากรณ์(Results of Standardized Coefficients (Beta)) 100 4.18 แสดงความสัมพันธ์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความต้องการการจัดสวัสดิการ ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมส าหรับผู้สูงอายุ 101 6.1 แสดงเงื่อนไขที่ก าหนดศักยภาพและความพร้อมของผู้สูงอายุในภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ 121
วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมส าหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ฑ สารบัญภาพ หน้า ภาพที่ 2.1 กรอบแนวคิดในการวิจัย 66
วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมส าหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1 บทที่ 1 บทน ำ การดูแลผู้สูงอายุเป็นวาระที่ทุกประเทศให้ความส าคัญ สาเหตุเพราะจ านวนประชากรผู้สูงอายุนับวัน ยิ่งเพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง บทนี้จะกล่าวถึงความเป็นมาและความส าคัญของ การวิจัยเรื่องความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมส าหรับผู้สูงอายุในภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งน าไปสู่ค าถามการวิจัย และวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1.1 ที่มำและควำมส ำคัญของปัญหำ การเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างประชากรอย่างรวดเร็วทั่วโลก ส่งผลให้ประชากรที่มีอายุตั้งแต่60 ปี ขึ้นไป มีจ านวนมากขึ้นในเชิงปริมาณและสัดส่วนต่อประชากรทั้งหมด ในขณะที่สวนทางกับจ านวนประชากร ในวัยแรกเกิด ซึ่งลดลงอย่างเห็นได้ชัด โดยปัจจุบันโลกเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 10.0) โดยมีจ านวนประชากรผู้สูงอายุประมาณ 990 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 13.0 และคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้น ด้วยอัตราร้อยละ 3.0 ต่อปี และโลกจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ (อายุ 60 ปีขึ้นไป มากถึงร้อยละ 20.0) ในปี พ.ศ. 2587 (มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย, 2562) เมื่อพิจารณาในปี พ.ศ. 2561 จ านวนประชากรผู้สูงอายุจ าแนกตามภูมิภาคต่างๆ ของโลก พบว่า ทวีป ยุโรป มีอัตราผู้สูงอายุสูงที่สุด คิดเป็นร้อยละ 25.0 รองลงมา คือ ทวีปอเมริกาเหนือ และเอเชีย คิดเป็นร้อยละ 22.2 และ 12.5 ตามล าดับ (มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย, 2562) โดยส่วนใหญ่ทุกประเทศได้เข้า สู่สังคมผู้สูงอายุเรียบร้อยแล้ว เป็นที่น่าสังเกตว่าในปี พ.ศ. 2561 โลกได้มีจ านวนประชากรผู้สูงอายุวัยปลาย (อายุตั้งแต่ 80 ปีขึ้นไป) สูงถึงจ านวน 142 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 1.9 ของประชากรทั้งหมด และจะเพิ่มขึ้น เป็น 188 ล้านคนในปี 10 ปีข้างหน้า และจากการคาดการณ์ด้วยวิธีการทางสถิติ พบว่าในปี พ.ศ. 2593 จ านวนผู้สูงอายุทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นเป็น 1,963 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 22.0 ของประชากรทั้งหมด สาเหตุส าคัญ ประการหนึ่งที่ส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของประชากรผู้สูงอายุสืบเนื่องมาจากความเจริญก้าวหน้าทางด้าน วิทยาศาสตร์ การแพทย์ และสาธารณสุข จึงท าให้ประชากรโลกมีอายุเฉลี่ยเพิ่มมากขึ้น (อัมราภรณ์ ภู่ระย้า และขนิษฐา นันทบุตร, 2562)
วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมส าหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 อาเซียนได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเป็นทางการ โดยจ านวนประชากรทั้งหมดใน อาเซียนมีจ านวน 654 ล้านคน คิดเป็นประชาการผู้สูงอายุถึง 67 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 10.2 และยัง พบว่า ประเทศสมาชิกที่เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ประกอบด้วย 4 ประเทศ ได้แก่ สิงคโปร์ ไทย เวียดนาม และมาเลเซีย คิด เป็นจ านวนผู้สูงอายุในประเทศ ร้อยละ 20.4 17.6 11.6 และ 10.0 ตามล าดับ (มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนา ผู้สูงอายุไทย, 2562) รายงานของสหประชาชาติมีทิศทางสอดคล้องกับรายงานของส านักงานสถิติแห่งชาติ (ส านักงานสถิติ แห่งชาติ, 2554) สรุปแนวโน้มจ านวนประชากรทั้งประเทศไทย พบว่า ประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) ตั้งแต่ปี พ.ศ.2548 ด้วยสัดส่วนของประชากรผู้สูงอายุถึงร้อยละ 10.0 ของประชากรทั้ง ประเทศ และคาดการณ์ว่าจะก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ (Aged Society) ในช่วงปี พ.ศ. 2564 และ เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุในระดับสุดยอด (Super-Aged Society) ในปี พ.ศ.2578 ขณะที่ปัจจุบันประเทศไทย มี จ านวนผู้สูงอายุ (อายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป) คิดเป็นร้อยละ 17.6 (สถาบันวิจัยประชากรและสังคม, 2561) ต่อ ประชากรทั้งหมดในประเทศไทย อย่างไรก็ตามมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (2562) พบว่า จ านวนประชากรผู้สูงอายุมากที่สุดในประเทศไทยส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คิดเป็นร้อย ละ 18.5 รองลงมาได้แก่ ภาคเหนือ คิดเป็นร้อยละ 11.2 จากการศึกษาวิจัย ในประเด็นการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนของประชากรผู้สูงอายุระหว่างปี พ.ศ. 2543 – 2573 ในประเทศไทย พบว่า สัดส่วนของประชากรผู้สูงอายุวัยต้นในกลุ่มอ ายุ 60 – 69 ปี มีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนแปลงอย่างช้าลง และมีแนวโน้มลดลงเล็กน้อย ขณะที่กลุ่มผู้สูงอายุวัยกลางที่ อายุ70 – 79 ปี มีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้น และเป็นที่น่าสังเกตว่าประชากรกลุ่มผู้สูงอายุวัยปลายที่มีอายุตั้งแต่ 80 ปีขึ้นไป มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน (ส านักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 1 – 12, 2558) สาเหตุหลักที่สนับสนุนการเพิ่มขึ้นของจ านวนประชากรผู้สูงอายุไทย ได้แก่ 1) จ านวนเด็กแรกเกิดในประเทศ ไทยลดลงอย่างรวดเร็ว โดยวิถีชีวิตของคนเปลี่ยนไปตามยุคสมัยที่ชายและหญิงยุคใหม่ มีแนวคิดและความ ต้องการที่จะมีลูกน้อยลง 2) คนไทยมีอายุยืนยาวมากขึ้น สังเกตได้จากอายุเฉลี่ยของคนไทยเท่ากับ 77 ปี และ 3) ประเด็นประชากรรุ่นเกิดล้าน (เกิดระหว่างปี พ.ศ. 2506 – 2527) เป็นคลื่นประชากรลูกใหญ่ที่จะเคลื่อนตัว เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุในอนาคต (มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย, 2562) จากข้อมูลดังกล่าวท าให้เห็นว่า สถานการณ์ทางโครงสร้างประชากรไทย ส่งผลให้จ านวนประชากร ผู้สูงอายุมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น ประเทศไทยจึงต้องตระหนักถึงการเพิ่มขึ้นของประชากรผู้สูงอายุ รวมถึงให้ ความส าคัญกับกลุ่มประชากรดังกล่าว (ศศิพัฒน์ ยอดเพชร, 2548) เนื่องจากประชากรกลุ่มนี้มีความเสี่ยง หลากหลายด้าน (ศูนย์เฝ้าระวังและเตือนภัยทางสังคม, 2549) เช่น ความเสี่ยงด้านสุขภาพกาย ความเสี่ยงด้าน ปัจจัยพื้นฐานการด ารงชีพ ความเสี่ยงด้านการถูกท าร้ายร่างกาย จิตใจ และการถูกละเมิดสิทธิความเสี่ยงด้าน การอยู่ในสภาวะยากล าบาก ความเสี่ยงด้านการเตรียมตัวเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ เป็นต้น
วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมส าหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3 จากความเสี่ยงหลากหลายด้านข้างต้น ท าให้ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ และคุณภาพชีวิต ของผู้สูงอายุอย่างเห็นได้ชัด ขณะเดียวกันผู้สูงอายุก็มีความต้องการการจัดสวัสดิการสังคมที่แตกต่างกัน แต่สิ่ง ส าคัญที่ผู้สูงอายุมีความต้องการคล้ายกัน ได้แก่ การมีคุณภาพชีวิตที่ดี สังคมจึงควรให้ความตระหนักถึงปัญหา และความต้องการดังกล่าว ภายหลังที่รัฐบาลไทยได้มีมติคณะรัฐมนตรี ให้ความเห็นชอบระเบียบวาระแห่งชาติ เรื่อง “สังคมสูงอายุ” เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2561 เกี่ยวกับประเด็นการสร้างระบบคุ้มครอง และสวัสดิการ ผู้สูงอายุ โดยต้องให้ความส าคัญกับการดูแลคุณภาพชีวิตโดยรวมให้ครอบคลุมผู้สูงอายุในเมือง และชนบท อย่างเท่าเทียม ทั่วถึง เพื่อให้ได้รับบริการสวัสดิการสังคมที่หลากหลายครบทุกมิติ รวมถึงต้องคุ้มครองพิทักษ์ สิทธิ และดูแลผู้สูงอายุทุกรูปแบบ โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่เปราะบาง และขาดโอกาส ให้สามารถเข้าถึงบริการ และสวัสดิการต่างๆ ที่รัฐจัดให้ได้อย่างถ้วนหน้า (คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ, 2561) ปัจจุบันเทคโนโลยี และนวัตกรรมเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาควบคู่การเปลี่ยนแปลงทางประชากรผู้สูงอายุที่มี เพิ่มมากขึ้น และส่งผลต่อวิถีชีวิตของประชากรทุกกลุ่มเป้าหมาย อย่างไรก็ตามเทคโนโลยี และนวัตกรรม เป็น ระบบคุ้มครองทางสังคมของผู้สูงอายุ เป็นหนึ่งด้านที่จะช่วยแก้ไขปัญหาความเสี่ยงต่างๆ เพื่อตอบสนองต่อ ผู้สูงอายุในการจัดการความเสี่ยงที่ไม่พึงประสงค์ที่ผู้สูงอายุต้องเผชิญ (ส านักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 1 – 12, 2558) ผู้วิจัยจึงสนใจในประเด็นดังกล่าว และหาค าตอบผ่านค าถามการวิจัยที่ว่า ความต้องการการจัด สวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมส าหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นอย่างไร โดย ศึกษาผ่านกลุ่มประชากรผู้สูงอายุภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งมีจ านวนผู้สูงอายุมากที่สุดในประเทศ เพื่อเป็น ระบบการจัดสวัสดิการต้นแบบ สู่การปรับปรุง และส่งผลต่อนโยบายงานสวัสดิการสังคมส าหรับผู้สูงอายุที่ เหมาะสมต่อไปในระยะยาว สู่สังคมดี ผู้สูงอายุมีความสุข เป็นพลังส าคัญของประเทศต่อไป 1.2 ปัญหำกำรวิจัย ความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมส าหรับผู้สูงอ ายุ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นอย่างไร 1.3 วัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมส าหรับผู้สูงอายุใน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและ นวัตกรรมส าหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมส าหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 4 1.4 ประโยชน์ที่คำดว่ำจะได้รับ ทราบถึงทัศนคติ ระดับความต้องการด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมส าหรับผู้สูงอายุในภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ และความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมส าหรับ ผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อน าไปใช้เป็นข้อเสนอเชิงนโยบายและเชิงปฏิบัติ ให้หน่วยงานที่ เกี่ยวข้องใช้เป็นแนวทางการจัดสวัสดิการให้ตรงกับความต้องการของผู้ดูแลผู้สูงอายุ เพื่อให้เกิดการพัฒนา คุณภาพชีวิต และก าหนดนโยบายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาสังคมสามารถน าไปใช้ ประโยชน์ได้ 1.5 ขอบเขตของกำรวิจัย 1.5.1 ขอบเขตด้ำนเนื้อหำ ท าการศึกษาแบบผสมผสาน โดยการศึกษาเชิงปริมาณมุ่งศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมของ ผู้สูงอายุในการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมและศึกษาความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยี และนวัตกรรมส าหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนการศึกษาเชิงคุณภาพ มุ่งศึกษาข้อมูลเชิงลึกใน ประเด็นก าหนดนโยบายเพื่อรองรับความต้องการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมส าหรับ ผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากผู้แทน/ผู้ทรงคุณวุฒิ/ผู้เชียวชาญในประเด็นข้างต้น 1.5.2 ขอบเขตด้ำนพื้นที่กำรศึกษำ พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งเป็นเขตการดูแลรับผิดชอบของส านักงานส่งเสริมและ สนับสนุนวิชาการ 5 จ านวน 7 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดขอนแก่น จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดอุดรธานี จังหวัดหนองคาย จังหวัดเลยและจังหวัดหนองบัวล าภู 1.5.3 ขอบเขตด้ำนประชำกรและกลุ่มตัวอย่ำง การศึกษาเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลกับกลุ่มผู้สูงอายุ โดยก าหนดขนาดกลุ่ม ตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้จ านวน 400 คนและการศึกษาเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) จากผู้แทน/ผู้ทรงคุณวุฒิ/ผู้เชียวชาญในประเด็นข้างต้น จ านวน 3 ท่าน 1.5.4 ขอบเขตด้ำนเขตด้ำนระยะเวลำ ตั้งแต่เดือนสิงหาคม พ.ศ.2565 ถึง กันยายน พ.ศ.2566 1.5 นิยำมศัพท์ ผู้สูงอายุ หมายถึง บุคคลที่มีสัญชาติไทยและมีอายุตั้งแต่ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป (กระทรวงการพัฒนา สังคมและความมั่นคงของมนุษย์, 2553)
วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมส าหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 5 สวัสดิการทางสังคม หมายถึง ระบบการจัดสรร และจัดการบริการสังคมในลักษณะของโครงการหรือ บริการต่างๆ ให้กับทุกคนในสังคม ภายใต้หลักสิทธิความเท่าเทียมกันความเสมอภาค และความเป็น ธรรมทาง สังคม เพื่อน าไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีของคนในสังคม การพัฒนาสังคมโดยรวม รวมทั้งการสร้างระบบ ความมั่นคงของมนุษย์ และสังคมในระยะยาว (ระพีพรรณ ค าหอม,2549 หน้า6-23) เทคโนโลยีหมายถึง วิทยาการที่เกี่ยวกับศิลปะที่น าเอาวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม หรือหมายถึงการประยุกต์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์มาใช้เพื่อแก้ปัญหาต่าง ๆ ซึ่งก่อให้เกิดเป็นวัสดุอุปกรณ์เครื่องมือ เครื่องจักร และองค์ความรู้นามธรรมใหม่ๆ เพื่อให้การด ารงชีวิตของ มนุษย์ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น (ราชบัณฑิตยสถาน,2556) นวัตกรรม หมายถึง การน าสิ่งใหม่ ๆ อาจเป็นแนวความคิด หรือ สิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มา ก่อนหรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงจากของเดิมที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัยและได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล สูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วยประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย (ราชบัณฑิตยสถาน,2556)
วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 6 บทที่ 2 แนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การศึกษาเรื่อง “ความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม สำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ” ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับประเด็น การวิจัยผ่านการศึกษาเอกสาร ตำรา บทความและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์และ สังเคราะห์ข้อมูล พร้อมทั้งเรียบเรียงข้อมูลตามโครงสร้างเนื้อหาและนำเสนอองค์ความรู้เพื่อเป็นแนวทาง ในการศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความต้องการการจัดสวัสดิการสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับ ผู้สูงอายุ โดยสามารถแบ่งเนื้อหาตามประเภทปัจจัยได้ดังนี้ 2.1 แนวคิดเทคโนโลยี และนวัตกรรมผู้สูงอายุ 2.2 แนวคิดการเข้าถึงสวัสดิการของรัฐ 2.3 แนวคิด และทฤษฎีความต้องการ 2.4 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2.5 ปัจจัยที่มีอิทธิพลผลต่อความต้องการการจัดสวัสดิการด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม สำหรับผู้สูงอายุ 2.5.1 ปัจจัยด้านคุณประโยชน์ (Value) ที่มีผลความต้องการการจัดสวัสดิการสังคม ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุ 2.5.2 ปัจจัยด้านการใช้งาน (Usability) ที่มีผลความต้องการการจัดสวัสดิการสังคม ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุ 2.5.3 ปัจจัยด้านการประหยัด (Affordability) ที่มีผลความต้องการการจัดสวัสดิการ สังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุ 2.5.4 ปัจจัยด้านการเข้าถึง (Accessibility) ที่มีผลความต้องการการจัดสวัสดิการ สังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุ 2.5.5 ปัจจัยด้านระบบสนับสนุนทางเทคนิค (Technical Support) ที่มีผลความ ต้องการการจัดสวัสดิการสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุ 2.5.6 ปัจจัยด้านระบบสนับสนุนทางสังคม (Social Support) ที่มีผลความต้องการ การจัดสวัสดิการสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุ 2.5.7 ปัจจัยด้านความชอบส่วนบุคคล (Emotion) ที่มีผลความต้องการการจัด สวัสดิการสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุ
วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 7 2.5.8 ปัจจัยด้านความสามารถพึ่งตนเอง (Independence) ที่มีผลความต้องการ การจัดสวัสดิการสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุ 25.9 ปัจจัยด้านทักษะและความประสบการณ์ในอดีต (Experiences) ที่มีผลความ ต้องการการจัดสวัสดิการสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุ 2.5.10 ปัจจัยด้านความมั่นใจ (Confidence) ที่มีผลความต้องการการจัดสวัสดิการ สังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุ 2.6 กรอบแนวคิดในการวิจัย 2.1 แนวคิดเทคโนโลยี และนวัตกรรมผู้สูงอายุ เทคโนโลยี หมายถึง สิ่งที่สามารถยอมรับและนำมาอธิบายได้โดยอาศัยทฤษฎีเนื่องจากเทคโนโลยีมี กระบวนการที่สามารถวิวัฒนาการมาด้วยลำดับแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการยอมรับนวัตกรรมและ เทคโนโลยีพื้นฐานมาจากทฤษฎีการกระทำที่มีเหตุมีผล ซึ่งเป็นรูปแบบที่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าและ อธิบายพฤติกรรมและการกระทำที่เกี่ยวข้องรวมถึงพื้นฐานสำคัญที่เกี่ยวข้องกับทฤษฎีการยอมรับเทคโนโลยี โดยตรง แนวคิดพื้นฐานของทฤษฎีการกระทำที่มีเหตุมีผล จะกำหนดให้มีการแยกแยะระหว่างความเชื่อเจตคติ และพฤติกรรมว่าพฤติกรรมที่เกิดมาของมนุษย์เป็นพฤติกรรมที่ก่อรูปขึ้นความเชื่อแบบแรกที่เกิดขึ้นเอง โดยมี ความคิดว่าพฤติกรรมที่ก่อรูปขึ้นความเชื่อแบบแรกที่เกิดขึ้นเองโดยมนุษย์เมื่อถูกทำให้ความมั่นคงโดยการ ประเมินแลด้วยตัวของมนุษย์เองและความเชื่อนั้นจะกลายเป็นเจตคติของแต่ละบุคคล (กวีพงษ์ เลิศวัชรา ,2555) เทคโนโลยีจะแบ่งออกเป็น 7 ประเภท คือ 1) เทคโนโลยีสารสนเทศ คือ การนำวิทยาการที่ก้าวหน้า ทางด้านคอมพิวเตอร์และ การสื่อสารมาสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสารสนเทศ ในการรวบรวม จัดเก็บ ใช้งาน ส่งต่อ หรือสื่อสารระหว่างกัน 2) เทคโนโลยีวัสดุ คือการผสมวัสดุตัวใหม่ๆ และนวัตกรรมใหม่ที่คิดค้นเรื่องวัสดุใหม่ ขึ้นมาเพื่อลดต้นทุน วัสดุเก่า หรือว่า เรื่องลดทรัพยากรสิ่งแวดล้อม 3) เทคโนโลยีอาหาร เป็นวิทยาศาสตร์การ อาหาร เกี่ยวกับการถนอมอาหาร การแปรรูปอาหาร บรรจุภัณฑ์ การจัดจำหน่ายอาหาร และหลักโภชนาการ ของอาหาร 4) เทคโนโลยีชีวภาพ วิชาการที่สามารถนำสิ่งมีชีวิต หรือ ผลผลิตจากสิ่งมีชีวิตมาใช้ หรือ มา ปรับเปลี่ยน และประยุกต์ เพื่อใช้ประโยชน์ เรารู้จักการใช้เทคโนโลยีชีวภาพมานานแล้ว 5) เทคโนโลยีสิ่งทอ เสื้อผ้า คือ สิ่งทอที่อยู่ในรูปของเสื้อผ้า รวมไปถึงวิทยาการและเทคโนโลยี ทางด้านสิ่งทอในการใช้ผลิต อุสาหกรรม 6) เทคโนโลยีการเกษตร คือความรู้ วิทยาการ เทคนิค วิธีการ เครื่องจักรกลและการคิดค้น นวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อการเกษตรที่เกษตรกรนำมาใช้ปรับปรุงหรือเพิ่มผลผลิตในการเกษตร และ7) เทคโนโลยี การศึกษา เน้นเรื่อง วิธีการ ระบบ และเครื่องมือ เพื่อนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน สร้างและคิดค้น นวัตกรรมเกี่ยวกับการศึกษา โดยคำนึงถึงคุณลักษณะของผู้เรียน ความเหมาะสมของสื่อที่สอดคล้องกับ ลักษณะเนื้อหาและความสนใจของผู้เรียน โดยผู้ศึกษาเน้นศึกษาที่เทคโนโลยีสารสนเทศที่มีความสอดคล้องกับ เทคโนโลยี และนวัตกรรมของผู้สูงอายุ (jantima,2555)
วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 8 มาร์ติน ไฮเดกเกอร์ (Martin Heidegger) นักปรัชญาผู้นำเสนอแนวคิดปรากฏการณ์นิยม (Phenomenology) จากผลงานเขียนหนังสือเรื่อง “Question Concerning Technology” (Heidegger, 1977) จากผลงานการเขียนได้มีเนื้อหาเกี่ยวกับการวิพากษ์เทคโนโลยีสมัยใหม่ คือเทคโนโลยีที่ที่สร้างขึ้นมาจา กกความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งมองว่าเทคโนโลยีสมัยใหม่มาพร้อมกับวิธีคิดที่มองว่าโลกนี้กลายเป็นวัตถุและ ทรัพยากรพร้อมใช้ ไฮเดกเกอร์เสนอแนวคิดที่ว่าเทคโนโลยีเป็นกรอบที่กำหนดแนวคิดความเข้าในของมนุษย์ที่ มีต่อโลก และเสนอว่ามนุษย์ไม่ควรมองเทคโนโลยีเป็นเพียงวัตถุ แต่เทคโนโลยีนั้นมีบทบาทมากกว่าที่ตัวมันเอง เป็นอยู่ ควรตระหนักถึงอิทธิพลของเทคโนโลยีที่มีต่อความสัมพันธ์และการสร้างความเข้าใจ สืบเนื่องจากแนวคิดของ ไฮเดกเกอร์ ได้รับการพัฒนาและต่อยอดจากนักคิด ไอเด (Ihde,2009), กัวเลนิ (Gualeni,2015), โรเซ็นเบอร์เกอร์ และเวอร์บีค (Rosenberger & Verbeek,2015) ได้ พูดถึงการศึกษาเทคโนโลยีในลักษณะที่คล้ายกันคือ เทคโนโลยีในมิติความสัมพันธ์กับการดำรงอยู่ของมนุษย์ ไม่สามารถตัดขาดเทคโนโลยีออกจากการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมของสังคมมนุษย์ในปัจจุบันได้ แม้ว่ามนุษย์ จะมองว่าเทคโนโลยีเป็นเพียงวัตถุ และเทคโนโลยีไม่สามารถควบคุมหรือหลอกลวงมนุษย์ได้แต่มนุษย์ก็ไม่ สามารถควบคุมเทคโนโลยีได้เช่นกัน จึงถือได้ว่ามนุษย์ไม่มีอิสระจากเทคโนโลยี ดังนั้นแล้ว แนวคิดของนักคิด เกี่ยวกับเทคโนโลยีคือ เทคโนโลยีเป็นสื่อกลางในการอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างโลกกับมนุษย์ สังคม หรือการ ที่มนุษย์สร้างความเข้าใจต่อโลกผ่านเทคโนโลยี นวัตกรรม หรือเครื่องมือต่าง ๆ (สุกมล มุ่งพัฒนสุนทร, 2563) เทคโนโลยีมีความหมายว่า การกระทำตามขั้นตอนอย่างมีระบบระเบียบ คือการนำเอา ความรู้ วิธีการที่เป็นระบบระเบียบ แนวความคิด ประสบการณ์ รวมทั้งผลิตผลด้าน วิทยาศาสตร์และ ผลิตผล ด้านวิศวกรรมมารวมกันอย่างมีกระบวนการ พจนานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ได้อธิบายไว้ ว่า เทคโนโลยี หมายถึง วิทยาการที่เกี่ยวกับศิลปะที่นำเอาวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ให้เกิด ประโยชน์ในทาง ปฏิบัติและอุตสาหกรรม หรือหมายถึงการประยุกต์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์มาใช้ เพื่อแก้ปัญหา ต่าง ๆ ซึ่งก่อให้เกิดเป็นวัสดุอุปกรณ์เครื่องมือ เครื่องจักร และองค์ความรู้นามธรรมใหม่ๆ เพื่อให้การดำรงชีวิตของ มนุษย์ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น (ราชบัณฑิตยสถาน,2556) สมาคมเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา สหรัฐอเมริกา (AECT,1994) ให้คำนิยาม ของ เทคโนโลยีการศึกษาไว้ ซึ่งเป็นที่ยอมรับ และเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายว่า เทคโนโลยีคือกระบวนการที่ซับซ้อน ซึ่งเกี่ยวข้องกับบุคคล วิธีการ ความคิด เครื่องมือ และองค์กร กระบวนการนี้จึงมีขึ้นเพื่อการวิเคราะห์ปัญหา และการวางแผน ซึ่งเป็นการนำมาใช้ประเมินผล และจัดการหาแนวทางการแก้ไขในปัญหาทุก ๆ อย่าง ที่เกิดขึ้น เกี่ยวพันกับการเรียนรู้ของมนุษย์ ซึ่งต่อมาสมาคมเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาสหรัฐอเมริกา ได้ให้ ความหมายใหม่ว่า เทคโนโลยีการศึกษา เป็นทฤษฎีและการปฏิบัติของ การออกแบบ การพัฒนา การใช้ การ จัดการ และการประเมิน ของกระบวนการและทรัพยากรสำหรับการเรียนรู้ดังนั้น โดยสรุปแล้วเทคโนโลยี การศึกษาจึงเป็นการประยุกต์เอา แนวความคิด หลักการ ทฤษฎีเทคนิค วิธีการ วัสดุ อุปกรณ์ต่าง ๆ เข้ามาใช้ ในวงการศึกษาอย่างเป็นระบบ เพื่อให้การศึกษามีประสิทธิภาพ (Efficiencey) ประหยัด (Economy) และ มีประสิทธิผล (Productivity)
วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 9 เทคโนโลยีสารสนเทศ คือ การนำวิทยาการที่ก้าวหน้าทางด้านคอมพิวเตอร์และ การสื่อสาร มาสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสารสนเทศ ทำให้สารสนเทศ มีประโยชน์และใช้งานได้กว้างขวางมากขึ้น เทคโนโลยี สารสนเทศ รวมถึงการใช้เทคโนโลยีด้านต่าง ๆ ในการรวบรวม จัดเก็บ ใช้งาน ส่งต่อ หรือสื่อสารระหว่างกัน เทคโนโลยีสารสนเทศเกี่ยวข้อง โดยตรงกับเครื่องมือเครื่องใช้ในการจัดการสารสนเทศ ได้แก่ เครื่อง คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์รอบข้าง ขั้นตอนวิธีการดำเนิน การซึ่งเกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์ เกี่ยวข้องกับตัวข้อมูล บุคลากร และกรรมวิธีการดำเนินงานเพื่อให้ข้อมูลเกิดประโยชน์สูงสุด เทคโนโลยีสารสนเทศจึงเป็นเทคโนโลยีที่ ครอบคลุมเรื่องเกี่ยวกับการประมวลผล ข้อมูล ซึ่งได้แก่การใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์การติดต่อสื่อสารระหว่าง กันด้วยความรวดเร็วการจัดการข้อมูล รวมถึงวิธีการที่จะใช้ข้อมูลให้เกิดประโยชน์สูงสุด ประเภทของเทคโนโลยีสารสนเทศ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท 1. เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์พื้นฐานขอเทคโนโลยีเป็นการ นำคอมพิวเตอร์ที่เป็นเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในการพัฒนาความรู้และนวัตกรรมโดยเฉพาะการทำมา ประยุกต์ใช้ในงานพัฒนาการจักการศึกษา และเทคโนโลยีการสื่อสาร 2. เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม ถูกใช้เป็น เครื่องมือในการสร้างวิวัฒนาการให้กับสังคมไทย ใช้ในการติดต่อสื่อสารรับ-ส่งข้อมูลจากที่ไกล ๆ เป็นการส่ง ของข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์หรือเครื่องมือที่อยู่ห่างไกลกัน ซึ่งจะช่วยให้การเผยแพร่ข้อมูลหรือสารสนเทศไป ยังผู้ใช้ในแหล่งต่าง ๆ เทคโนโลยีที่ใช้ในระบบโทรคมนาคมทั้งชนิดมีสายและไร้สาย เช่น ระบบโทรศัพท์, โมเด็ม, แฟกซ์, โทรเลข, วิทยุกระจายเสียง, วิทยุโทรทัศน์ เคเบิ้ลใยแก้วนำแสงคลื่นไมโครเวฟ และดาวเทียม เป็นต้น 3. เทคโนโลยีการสื่อสาร สิ่งที่มนุษย์พัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในการสื่อสารระหว่างกัน โดย การถ่ายทอด รับรู้ข่าวสารร่วมกัน ผ่านเครื่องมือเหล่านั้น ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็น เครื่องมือ อุปกรณ์ เครื่องจักร วัสดุ เพียงอย่างเดียว อาจหมายรวมถึงกระบวนการต่างๆ ที่เกิดจากการประยุกต์ทางวิทยาศาสตร์ด้วย โดย เทคโนโลยีในการสื่อสารยุคใหม่ 4 กลุ่ม ได้แก่ 3.1. เทคโนโลยีการแพร่ภาพและเสียง (Broadcast and Motion Picture Technology) 3.2. เทคโนโลยีการพิมพ์ (Print and Publishing Technology) 3.3. เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ (Computer Technology) 3.4. เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม (Telecommunication Technology) ประเภทของเทคโนโลยีการสื่อสาร แบ่งได้เป็น 2 รูปแบบ คือ 1. การสื่อสารทางเดียว (One – Way Communication) เป็นการส่งข่าวสารหรือ การสื่อความหมายไปยังผู้รับแต่เพียงฝ่ายเดียว โดยที่ผู้รับไม่สามารถมีการตอบสนองในทันที (immediate response) ให้ผู้ส่งทราบได้ แต่อาจจะมีปฏิกิริยาสนองกลับ (feedback) ไปยังผู้ส่งภายหลังได้ การสื่อสารใน รูปแบบนี้จึงเป็นการที่ผู้รับไม่สามารถมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันได้ทันที จึงมักเป็นการสื่อสารโดยอาศัยสื่อมวลชน เช่น การฟังวิทยุ หรือการชมโทรทัศน์ เหล่านี้เป็นต้น
วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 10 2. การสื่อสารสองทาง (Two-Way Communication) เป็นการสื่อสารหรือการสื่อ ความหมายที่ผู้รับมีโอกาสตอบสนองมายังผู้ส่งได้ในทันที โดยที่ผู้ส่งและผู้รับอาจจะอยู่ต่อหน้ากันหรืออาจอยู่ คนละสถานที่ก็ได้ แต่ทั้งสองฝ่ายจะสามารถมีการเจรจาหรือการโต้ตอบกันไปมา โดยที่ต่างฝ่ายต่างผลัดกันทำ หน้าที่เป็นทั้งผู้ส่งและผู้รับในเวลาเดียวกัน เช่น การพูดโทรศัพท์ การประชุม เป็นต้น อุปกรณ์โทรคมนาคม (Tele-communication Equipment) ใช้เพื่อประโยชน์ใน การค้นหาและเข้าถึงสารสนเทศ ได้แก่ โทรศัพท์ โทรสาร โมเด็ม และคอมพิวเตอร์ เป็นต้น (Supachok Kidmoh,2559) อย่างไรก็ตามคำว่า ข้อมูลและสารสนเทศ ความแตกต่างของคำว่า “ข้อมูล” และ “สารสนเทศ” คือ ข้อมูลเป็นข้อมูลดิบหรือข้อเท็จจริง ส่วนสารสนเทศเกิดจากข้อมูลสารสนเทศตั้งแต่ข้อมูล ทั้งหมดจัดว่าเป็นข้อมูลดิบ สารสนเทศจะต้องมีการวิเคราะห์ข้อมูล ข้อเท็จจริงหรือข่าวสารและมีการจัด ระเบียบให้เป็นความรู้ เนื่องจากข้อมูลดิบหรือข้อเท็จจริงไม่อาจทำเป็นข้อมูลสารสนเทศได้ทั้งหมดข้อมูลจะ แปรมาเป็นสารสนเทศได้ต้องผ่านผ่านกระบวนการการเปลี่ยนแปลง โดยต้องมีข้อกำหนดวัตถุประสงค์เพื่อใช้ ประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งข้อมูลจึงจะคงสภาพเป็นข้อมูลอยู่เสมอ และสารสนเทศเป็นข้อความรู้ที่สามารถ ประมวลได้จากข้อมูลที่เกี่ยวข้องแล้วออกมาเป็นความรู้ที่เป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้นั้น ๆ (สารัช สุธาทิพย์กุล, 2560) นวัตกรรมเป็นเรื่องที่ได้รับความสนใจ มานานตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งมีความสัมพันธ์ เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และ วัฒนธรรมของมนุษย์ และเป็นที่ยอมรับว่านวัตกรรมมีส่วนสำคัญ ในการเสริมสร้าง ขีดความสามารถในการแข่งขัน สร้างการพัฒนาในรูปแบบต่าง ๆ นวัตกรรมยังมีความสัมพันธ์ กับความคิดสร้างสรรค์และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ส่งผลต่อโครงสร้างอุตสาหกรรมการผลิตและการ บริการ ตลอดจน โครงสร้างทางสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปตามเทคโนโลยีความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นจาก นวัตกรรมใหม่ๆ ปรากฏการณ์ที่เห็นได้ชัดเจน ในยุคการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่หนึ่งและครั้งที่สอง กลุ่ม ประเทศที่มีการปฏิวัติอุตสาหกรรมได้ใช้นวัตกรรมในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ส่งผลให้เกิด การเปลี่ยนแปลง โครงสร้างทางเศรษฐกิจ สังคม การเมืองระดับโลกได้อย่างชัดเจน จนเป็นที่ยอมรับ กันทั่วไปว่านวัตกรรมมีส่วน สำคัญในการสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และเพิ่มพูน ความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (นภดล เหลืองภิรมย์,2550) นวัตกรรม พจนานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ได้อธิบายไว้ว่านวัตกรรม เป็นสิ่งที่ทำขึ้นใหม่หรือแปลกจากเดิมซึ่งอาจจะเป็นความคิด วิธีการ หรืออุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้น หรือ หมายถึง การนำสิ่งใหม่ ๆ อาจเป็นแนวความคิด หรือ สิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อนหรือเป็นการ พัฒนาดัดแปลงจากของเดิมที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัยและได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยัง ช่วยประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย (ราชบัณฑิตยสถาน,2556) โดยสรุป เทคโนโลยีหรือเทคนิควิทยา คือ การกระทำตามขั้นตอนด้วยวิธีทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งสามารถวิวัฒนาการมาด้วยลำดับแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการยอมรับนวัตกรรม เป็นรูปแบบที่สามารถ คาดการณ์ล่วงหน้าและอธิบายพฤติกรรมและการกระทำที่เกี่ยวข้องรวมถึงพื้นฐานสำคัญที่เกี่ยวข้องกับทฤษฎี
วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 11 การยอมรับเทคโนโลยีโดยตรง มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม หรือหมายถึงการ ประยุกต์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์มาใช้เพื่อแก้ปัญหา ต่าง ๆ อาจเกิดเป็นปัญญาประดิษฐ์ขึ้น อาทิเช่น วัสดุ อุปกรณ์เครื่องมือ เครื่องจักร หรืออาจมาในรูปแบบขององค์ความรู้นามธรรมใหม่ๆ เพื่อให้การดำรงชีวิตของ มนุษย์ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น แม้ว่ามนุษย์มองว่าเทคโนโลยีเป็นเพียงวัตถุ แต่ในปัจจุบันมนุษย์ไม่สามารถตัดขาด จากเทคโนโลยีได้ เทคโนโลยีส่งอิทธิพลต่อความสัมพันธ์ของสังคม ทั้งในโลกความเป็นจริงที่มีเครื่องมือ อิเล็กทรอนิกส์มากมายที่ถูกผลิตออกมาเพื่ออำนวยความสะดวก และในโลกอินเทอร์เน็ตที่โลกของเขาเข้าสู่ยุค โลกาภิวัตน์ ซึ่งในปัจจุบันเทคโนโลยีเป็นสื่อกลางในการอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างโลกกับมนุษย์ สังคม หรือ การที่มนุษย์สร้างความเข้าใจต่อโลกผ่านเทคโนโลยี นวัตกรรม หรือเครื่องมือต่าง ๆ เนื่องจากปัจจุบัน เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทอย่างมาก ในบุคคลหลายกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็น กลุ่มวัยรุ่น กลุ่มคนวัยทำงาน และกลุ่ม ผู้สูงอายุ โดยการศึกษาครั้งนี้เน้นการศึกษาไปที่กลุ่มของผู้สูงอายุ เทคโนโลยีที่อยู่ในชีวิตประจำวันของผู้สูงอายุ ในประเทศไทยคือ เทคโนโลยีสารสนเทศ คืออุปกรณ์โทรคมนาคม ใช้เพื่อประโยชน์ในการค้นหาและเข้าถึง สารสนเทศ เช่นการเรียนรู้การใช้อินเทอร์เน็ต การเรียนรู้การใช้โทรศัพท์มือถือ เป็นต้น นวัตกรรมคือ สิ่งที่ประดิษฐ์คิดค้นขึ้นใหม่ หรือการเปลี่ยนแปลงจากเดิมให้ดีขึ้น แม้กระทั่ง การออกแบบเพื่อตอบโจทย์ความต้องการให้กับผู้ที่มีปัญหา ซึ่งนวัตกรรมโดยส่วนใหญ่แล้วพัฒนามาจาก เทคโนโลยี ความคิด หรือผลิตภัณฑ์ มีความแยกแยะความความแตกต่างอย่างงชัดเจนระหว่าง การประดิษฐ์ คิดค้นกับความคิดริเริ่ม นอกจากนี้แล้วนวัตกรรมยังเป็นหัวข้อริเริ่มของหัวข้อในการศึกษาด้านต่าง ๆ อาทิเช่น เศรษฐศาสตร์ ธุรกิจ เทคโนโลยี สังคมศาสตร์ และวิศวกรรม 2.2 การเข้าถึงสวัสดิการของรัฐ หรือ บริการสาธารณะ ประเทศไทยมีการปกครองในรูปแบบประชาธิปไตย ซึ่งหลักการสำคัญคือ ความเท่าเทียม การจัดการบริการสาธารณะให้บุคคลในประเทศ ควรมีความเท่าเทียมและทั่วถึง หากรัฐไม่สามารถให้บริการ อย่างเท่าเทียม หรือเลือกปฏิบัติในการให้บริการของภาครัฐ อาจนำมาซึ่งความไม่พอใจ จนนำมาซึ่งการ สั่นคลอนของระบอบประชาธิปไตยในที่สุด เพราะระบอบการปกครองไม่สามารถตอบสนองความต้องการของ ประชาชน (วิชุดา สาธิตพร, สติธร ธนานิธิโชติ, ธนพันธ์ ไล่ประกอบทรัพย์, และ สุนิสา ช่อแก้ว,2560) รัฐบาลในประเทศได้ทำการดำเนินการ นโยบายสาธารณะเพื่อกระจายความช่วยเหลือ ไปยัง ภาคส่วนต่างๆโดยเฉพาะ ผู้ที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ผู้ด้อยโอกาส ผู้สูงอายุ อย่างไรก็ตามแม้ว่ารัฐได้ ดำเนินการนโยบายต่างๆมาเป็นระยะเวลานาน แต่ปัญหาเรื่องของการเข้าถึงบริการสาธารณะอย่างไม่เท่าเทียม ได้ปรากฏอยู่เสมอ พัฒนาการของการดำเนินสวัสดิการสังคมให้แก่ผู้สูงอายุ ได้สะท้อนปัญหาในการดำเนินการ เช่น ปัญหาของกระบวนการการดำเนินงานขององค์กรการปกครองท้องถิ่น การจัดสรรเงินเบี้ยยังชีพให้ ผู้สูงอายุไม่ทั่วถึง อัตราเบี้ยยังชีพไม่เหมาะสมและไม่เพียงพอต่อการดำเนินชีวิต (อภิญญา เวชยชัย,2544) งานวิจัยเกี่ยวกับการเข้าถึงสวัสดิการผู้สูงอายุ สามารถแบ่งออกได้เป็น สองกลุ่ม คือ กลุ่มที่หนึ่ง เป็นงานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับ ความเข้าใจของผู้สูงอายุและการเข้าถึงโครงการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุซึ่งค้นพบผล การศึกษาแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับแต่ละพื้นที่ โดย ปัจจัยค้นพบบางส่วน เกิดจากการประชาสัมพันธ์ และการ ดำเนินงานขององค์กรปกครองท้องถิ่น เช่น ธนพันธ์ ไล่ประกอบทรัพย์ (2562) ได้ศึกษาเรื่อง การเข้า(และไม่)
วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 12 ถึงโครงการช่วยเหลือรัฐบาลของประชาชน: ประสบการณ์ภาคสนามจากภาคเหนือและภาคใต้ ได้สนทนากลุ่ม กับชาวบ้านและเกษตรกรจำนวน 94 ราย ผู้วิจัยพบว่า ชาวบ้านและเกษตรกรได้รับข่าวสารจากทางองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นมากเป็นพิเศษ สำหรับโครงการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ และสวัสดิการสังคมอื่นๆ ชาวบ้านและ เกษตรกรมีความรู้เรื่องสวัสดิการของตนเป็นอย่างดี สามารถไปรับได้ที่ไหนอย่างไร ทราบขั้นตอนกระบวนการ ดำเนินโครงการ ทราบว่าการจ่ายเบี้ยยังชีพเป็นแบบขั้นบันได ในพื้นที่ดังกล่าว ยังไม่มีกรณีที่เทศบาลติดค้าง เบี้ยยังชีพ พึงพอใจในกระบวนการรับเบี้ยยังชีพที่ไม่ยุ่งยาก อย่างไรก็ตาม ชาวบ้านต้องการให้เพิ่มการจ่ายเบี้ย ยังชีพจากรูปแบบ “ขั้นบันได” เป็นการจ่ายแบบ “เท่าเทียมกันทุกระดับอายุและทุกพื้นที่”และเสนอว่ารัฐควร เพิ่มเบี้ยผู้สูงอายุเป็น 1,000 บาท สะท้อนค่านิยมของชาวบ้านในเรื่องความเท่าเทียมในสิทธิการเข้าถึงบริการ ของภาครัฐ งานวิจัยของวิชุดา สาธิตพร,สติธร ธนานิธิโชติ, ธนพันธ์ ไล่ประกอบ และสุนิสา ช่อแก้ว (2560) ได้ศึกษา การสร้างความเป็นธรรมทางสังคมผ่านนโยบายสวัสดิการสังคม : กรณีศึกษาการเข้าถึงและ ได้รับประโยชน์จากโครงการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ มุ่งเน้นวิเคราะห์และอธิบายปัจจัยและแบบแผนของความไม่ เท่าเทียมและความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงนโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ผลการวิจัยพบว่า ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่ซึ่ง เป็นผู้ได้รับประโยชน์จากเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจและสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร และการ ดำเนินการต่างๆที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างดี อาจมีบางกลุ่มที่ขาดความรู้ความเข้าใจอยู่บ้าง แต่ผู้วิจัยได้อภิปรายว่า ไม่เกี่ยวข้องกับการประชาสัมพันธ์ แต่อาจเกิดจากพัฒนาการของนโยบายการจ่ายเงินช่วยเหลือแก่ผู้สูงอายุของ รัฐไทยก็เป็นได้ เนื่องจากนโยบายเกณฑ์ในการรับสิทธิ และอัตราเบี้ยยังชีพของประเทศไทย มีการปรับเปลี่ยน ต่อเนื่องและบ่อยครั้ง ซึ่งอาจสร้างความสับสนและความเข้าใจผิดแก่ประชาชนได้ นอกจากนี้ยังไม่เห็นด้วยหาก มีการยกเลิกโครงการเบี้ยยังชีพ ได้เสนอให้ปรับเบี้ยเป็น 1,000 บาทต่อเดือน โดยไม่ต้องมีรูปแบบการจ่ายแบบ ขั้นบันได ในขณะที่งานวิจัยของทองปาน โตอ่อน (2551) ได้ศึกษาเรื่อง การศึกษาความรู้ ความเข้าใจ และความต้องการของผู้สูงอายุเกี่ยวกับการดำเนินงานจัดเบี้ยผู้สูงอายุ ขององค์การบริหารส่วนตำบลบางมัญ อำเภอเมือง จังหวัดสิงห์บุรี ได้ตั้งข้อสังเกตว่าผู้สูงอายุที่มีฐานะยากจนในพื้นที่ห่างไกล และผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือ ตัวเองไม่ได้ ไม่เข้าใจเรื่องเบี้ยยังชีพคนชรา ผลการศึกษา พบว่า ผู้สูงอายุมีการรับรู้ว่าผู้ที่มีฐานะยากจน ไม่มีผู้ อุปการะ ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ มีสิทธิได้รับเบี้ยยังชีพ แต่ผู้สูงอายุยังไม่เข้าใจวิธีการพิจารณาคัดเลือก ผู้มีสิทธิสมควรได้รับเบี้ยยังชีพ เหตุผลของขาดความรู้ความเข้าใจในกลุ่มพื้นที่ดังกล่าวนั้น เกิดจากการ ประชาสัมพันธ์ที่ไม่ดี และไม่ทั่วถึง จึงมีความต้องการให้เจ้าหน้าที่มาให้ความรู้ รวมทั้งข้อมูลข่าวสาร การจ่าย เบี้ยยังชีพ และต้องการให้ผู้สูงอายุ ที่มีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ได้รับเบี้ยยังชีพทุกๆคน โดยไม่คำนึงว่าฐานะ ยากจนหรือร่ำรวย นอกจากนี้อีกหนึ่งกลุ่มที่เป็นผู้สูงอายุเช่นกัน แต่ไม่สามารถพึ่งตนเองได้ นั่นคือ ผู้สูงอายุที่พิการ จากการศึกษาปัญหาของกลุ่มผู้สูงอายุที่พิการโดย สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุน 1-12 (2558) พบว่า ผู้สูงอายุกลุ่มนี้ยังไม่สามารถรับบริการอย่างครอบคลุมและทั่วถึง และปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่เป็นปัญหาสำหรับ ผู้สูงอายุกลุ่มนี้ คือ เรื่องของรายได้ เนื่องจากผู้สูงอายุที่พิการประสบกับปัญหาด้านการรักษาพยาบาล ปัญหา
วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 13 การขาดค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปโรงพยาบาล ด้านที่อยู่อาศัยที่ไม่เอื้อต่อการดำรงชีวิต รายได้ไม่เพียงพอต่อ การครองชีพ และขาดรายได้เนื่องจากไม่สามารถประกอบอาชีพ ดังนั้น ผู้สูงอายุจึงมีความต้องการให้รัฐ สนับสนุนค่าใช้จ่าย เช่น ค่ารถ ค่าอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ค่ารักษาพยาบาลเบื้องต้น และการอำนวยความสะดวก ในสถานที่รัฐ นอกจากนี้ยังมีข้อค้นพบจาก งานวิจัยของ ปัทมา ล้อพงค์พานิชย์ (25-26) ได้ศึกษาเรื่อง ผู้สูงอายุ ที่มีความพิการ: การเข้า (ไม่) ถึงสวัสดิการสังคม พบว่า ผู้สูงอายุร้อยละ 97.6 รับรู้และใช้สิทธิโครงการเบี้ยยัง ชีพ แต่สวัสดิการด้านอื่นๆยังมีการเข้าถึงค่อนข้างต่ำ เนื่องจากการดำเนินขอรับเงินจากกองทุนผู้สูงอายุ ค่อนข้างยาก และจัดเตรียมเอกสาร ดำเนินงานตามขั้นตอนหลายขั้นตอน ทำให้ผู้สูงอายุไม่สามารถเข้าถึง สวัสดิการของตน และมีความเหลื่อมล้ำ กล่าวคือ ผู้สูงอายุที่พิการโดยใช้สวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ มีโอกาสเข้าถึงสวัสดิการมากกว่าผู้สูงอายุที่พิการกลุ่มอื่นๆ ผู้สูงอายุพิการที่อาศัยอยู่ในเขตเมือง สามารถเข้าถึง สวัสดิการได้มากกว่า ผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ต่างจังหวัด นอกจากนี้ยังมีปัจจัยด้านการขาดการประชาสัมพันธ์อย่าง ทั่วถึง เกี่ยวกับสวัสดิการผู้สูงอายุที่พิการ จากงานวิจัยข้างต้น สะท้อนให้เห็นว่า การเข้าถึงสวัสดิการของผู้สูงอายุ มีปัจจัยที่ส่งผลต่อการ เข้าถึงหลายรูปแบบ โดยเฉพาะการประชาสัมพันธ์ การให้ความรู้ ความเข้าใจ แก่ผู้สูงอายุ ขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นแต่ละมีผลต่อการเข้าถึงสวัสดิการของผู้สูงอายุแตกต่างกัน กลุ่มที่สอง เป็นกลุ่มที่ศึกษาเพื่อประเมินผลการดำเนินงานโครงการของภาครัฐ โดยพิจารณา ปัจจัยกระบวนการทำงาน และความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ ผลการศึกษาของกลุ่มนี้แตกต่างกันไปในแต่ละ พื้นที่ แต่ส่วนใหญ่กลุ่มนี้ค้นพบสอดคล้องกันว่า กระบวนการทำงานของโครงการยังมีความล่าช้า เช่น ทวนธง ครุฑจ้อน (2018) ได้ศึกษาเรื่อง การพัฒนาระบบสนับสนุนการเข้าถึงสวัสดิการสุขภาวะผู้สูงอายุในองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น: กรณีศึกษาเทศบาลตำบลกำแพงแสน อำเภอละงู จังหวัดสตูล มุ่งเน้นศึกษา สภาพการ เข้าถึงสวัสดิการสุขภาวะของผู้สูงอายุในระดับการปกครองส่วนท้องถิ่น พบว่า ผู้สูงอายุในพื้นที่ส่วนใหญ่ สามารถช่วยเหลือตนเองได้ สวัสดิการที่ได้รับภายในพื้นที่มี 3 ลักษณะ คือ เงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ บัตรประกัน สุขภาพถ้วนหน้า การบริการตรวจสุขภาพแก่ผู้สูงอายุ หลังจากวิเคราะห์ข้อมูลที่รวบรวมได้พบว่า ผู้สูงอายุส่วน ใหญ่ยังไม่สามารถเข้าถึงบริการหรือสวัสดิการด้านสุขภาพจากเทศบาลตำบลกำแพงได้อย่างทั่วถึง เนื่องจาก กระบวนสนับสนุนการเข้าถึงสวัสดิการสุขภาวะอยู่ในระดับน้อย ผู้วิจัยจึงได้เสนอให้ เทศบาลตำบลกำแพงแสน สนับสนุน กระบวนการขึ้นทะเบียนผู้สูงอายุ กระบวนการตรวจสุขภาพประจำปี เร่งสำรวจจำนวนผู้สูงอายุที่ แน่นอน สร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้สูงอายุในการเข้ารับบริการที่ศูนย์บริการสาธารณะสุขประจำหมู่บ้าน งานวิจัยของ พิมพ์ฑักษอร แสงทองไชย (2558) ได้ศึกษาเรื่อง ผลการนำนโยบายเบี้ยยังชีพ ผู้สูงอายุ กรณีศึกษา เทศบาลระยอง พบว่า นโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เป็นนโยบายที่ดีและมีประโยชน์แต่ รัฐบาลควรตระหนักเรื่องงบประมาณที่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากที่ผ่านมา ภายในพื้นที่มีปัญหาเรื่องเงินจาก ส่วนกลางค่อนข้างล่าช้า ไม่เป็นตามกำหนด และไม่ตรงกับจำนวนผู้สูงอายุ ทำให้เทศบาลระยองต้อง ดำเนินการใช้เงินสำรองไปก่อน รัฐควรดำเนินการให้ทันต่อเวลาของการจ่ายเบี้ยยังชีพ และมีการเสนอแนะให้ จ่ายเงินให้แก่ผู้สูงอายุเท่าเทียมกัน ไม่เห็นด้วยกับการจ่ายแบบขั้นบันได เห็นสมควรให้จ่าย 1,000 บาท เท่ากัน ทุกคน
วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 14 ในขณะที่บางพื้นที่ ได้นำโครงการจ่ายเบี้ยผู้สูงอายุโดยตรงจากแนวคิดระบบการชำระเงินแบบ อิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ คือ งานวิจัยของ สุรวี คำมีแก่น และ ศิวัช ศรีโภศางกุล (2020) ได้ศึกษาเรื่อง การดำเนินโครงการบูรณาการฐานข้อมูลสวัสดิการสังคม ด้านการจ่ายเบี้ยผู้สูงอายุโดยตรงขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น อำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาการดำเนินโครงการบูรณาการ ฐานข้อมูลด้านสวัสดิการสังคมด้านการจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ พบว่า การจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุใน เดือน มกราคม 2563 เป็นเดือนแรกที่กรมบัญชีกลางโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารของผู้สูงอายุโดยตรงนั้น โดยกำหนด จ่ายเป็นวันที่ 10 ของทุกเดือนส่งผลกระทบด้านลบแก่ผู้สูงอายุ เนื่องจากก่อนหน้านี้ผู้สูงอายุได้รับเบี้ยยังชีพ ก่อนวันที่ 10 แต่เมื่อมีการกำหนดวันให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ทำให้ผู้สูงอายุเสียโอกาสในการรับเงินสวัสดิการ ไปใช้จ่ายในการดำรงชีพ แต่ระบบการเบิกจ่ายดังกล่าวนั้นมีความสะดวก ลดปัญหาความซ้ำซ้อนในการจ่ายเบี้ย ยังชีพผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุมีความเชื่อมั่นในระบบมากขึ้น สามารถจัดสรรงบประมาณได้อย่างเพียงพอต่อจำนวน ผู้สูงอายุ แต่การประมวลผลข้อมูลผ่านระบบยังมีความล่าช้าบ้าง ผู้วิจัยจึงได้เสนอให้ปรับปรุงและพัฒนาระบบ ให้เสถียรมากขึ้น 2.3 แนวคิด และทฤษฎีความต้องการ แนวคิดเกี่ยวกับความต้องการของมนุษย์ มนุษย์เป็นสัตว์สังคม ที่มีความต้องการไม่มีที่สิ้นสุด (Unlimited Needs) มักชอบแสวงหา และต้องการสิ่งที่อยากได้อยู่เสมอ แต่เมื่อความต้องการเกิดขึ้นได้รับการตอบสนองแล้วนั้น ความต้องการ ขั้นนั้นจะลดความสำคัญลงจนหมดความสำคัญไป แต่จะเกิดความต้องการสิ่งใหม่ โดยแบ่งความต้องการ พื้นฐานของมนุษย์เป็น 3 ด้าน (Rine & Montag, 1976 อ้างถึงใน มณฑิรา เขียวยิ่ง, 2540) ดังนี้ ความต้องการทางด้านร่างกาย (Physiological Needs) มีลักษณะเป็นความต้องการพื้นฐาน ที่ส่งผลต้องการดำรงชีวิต สอดคล้องกับ (Watson, 1985 อ้างถึงใน มณฑิรา เขียวยิ่ง, 2540) ว่าเป็นความ ต้องการขั้นต่ำสุดของมนุษย์ ได้แก่ ความต้องการอาหาร อากาศ น้ำดื่ม การพักผ่อนที่เพียงพอ การออกกำลัง กาย ความสะอาดของร่างกาย การมีเครื่องนุ่งห่ม และที่อยู่อาศัย รวมถึงความต้องการที่จะขับถ่าย เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์ (2546) ได้สนับสนุนแนวคิดนี้ ว่าความต้องการด้านร่างกาย หรือทาง กายภาพไม่จำเป็นต้องอาศัยประสบการณ์การเรียนรู้ เพราะเกิดขึ้นจากความต้องกลายเป็นสำคัญ เป็นแรงขับ จากภายในร่างกายที่กระตุ้นทำให้เกิดการรับรู้ กระฉับกระเฉง ตอบสนองต่อสิ่งเร้าได้อย่างว่องไว ได้แก่ 1) ความต้องการอาหาร 2) ความต้องการน้ำ 3) ความต้องการทางเพศ 4) ความต้องการอุณหภูมิที่เหมาะสม 5) ความต้องการหลีกเลี่ยงความเจ็บปวด (ความปลอดภัยของร่างกาย) 6) ความต้องการพักผ่อน และนอนหลับ 7) ความต้องการอากาศบริสุทธิ์ 8) ความต้องการการขับถ่าย
วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 15 ความต้องการด้านจิตใจ (Psychological Needs) มีลักษณะเป็นความต้องการ ความรัก ความเป็นเจ้าของ ต้องการความมั่นคง ความเป็นอิสระ ความสำเร็จ และการพึ่งพาอาศัยผู้อื่น โดยการศึกษา ของ Watson (1985 อ้างถึงใน มณฑิรา เขียวยิ่ง, 2540) กล่าวเพิ่มเติมว่าความอิสระนั้น หมายถึงการที่จะ สามารถกระทำกิจกรรมต่างๆ ได้อย่างอิสระ ซึ่งเป็นความต้องการขั้นต่ำสุดเช่นกัน ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์ (2546) ได้สนับสนุน และเพิ่มเติมแนวคิดนี้ โดยเรียกว่า ความต้องการด้านจิตใจและสังคม (Psychological and Social Needs) โดยความต้องการประเภทนี้มีความซับซ้อน และเกิดขึ้นจากสภาพสังคม วัฒนธรรม และการเรียนรู้จากประสบการณ์ของคนแต่ละบุคคล ดังนั้นความต้องการ ลักษณะนี้จะมีความแตกต่างกันใน แต่ละบุคคล สังคม และฐานทางสังคมของบุคคล รวมถึงเวลา และโอกาสที่แตกต่างกันด้วย จำแนกได้ดังนี้ 1) ความต้องการที่เกิดขึ้นจากสังคมที่เป็นมรดกตกทอดทางวัฒนธรรมและกลาย เป็นลักษณะนิสัยประจำตัวของบุคคล 2) ความต้องการทางสังคมที่เกิดจากการเรียนรู้ และประสบการณ์ 3) ความต้องการที่มีมากขึ้น เมื่ออยู่รวมกลุ่มมากกว่าอยู่คนเดียว 4) ความต้องการที่เปลี่ยนแปลงได้ขึ้นอยู่กับบุคคล 5) ความต้องการลักษณะนี้เป็นพฤติกรรมที่ปกปิดมากกว่าเปิดเผย 6) ความต้องการที่มองไม่เห็น หรือเป็นนามธรรมมากกว่ารูปธรรม 7) ความต้องการทางจิตใจและสังคม มีอิทธิพลที่จะผลักดันให้บุคคลสามารถกระทำ อะไรก็ได้ โดยปราศจากเหตุผล และคุณธรรม ความต้องการทางวิญญาณ (Spiritual Needs) ได้แก่ ความต้องการความเชื่อ ความหวัง ความมีศักดิ์ศรี ความมีเหตุผล การปลอบใจ และเสรีภาพ โดย การศึกษาของ Watson (1985 อ้างถึงใน มณฑิ รา เขียวยิ่ง, 2540) อธิบายเพิ่มเติมว่า ความต้องการลักษณะนี้รวมไปถึงการต้องการได้รับความรัก ความเอาใจ ใส่ และการเป็นที่ยอมรับของคนในสังคม ทฤษฎีเกี่ยวข้องกับความต้องการของมนุษย์ นักจิตวิทยาชาวอังกฤษ Maslow (1943, อ้างถึงไหน อนงค์นาฏ แก้วไพฑูรย์, 2554) ได้ คิดค้นทฤษฎีความต้องการตามลำดับขึ้นตามสมมติฐานอยู่ 2 ประการ ได้แก่ มนุษย์มีความต้องการอยู่ตลอดเวลาตราบใดที่ยังมีชีวิต และความต้องการที่ได้รับการ ตอบสนองแล้วจะไม่เป็นแรงจูงใจสำหรับพฤติกรรมนั้นอีกต่อไป ในทางกลับกันความต้องการที่ยังไม่ได้รับการ ตอบสนองเท่านั้นจึงจะมีอิทธิพลจูงใจต่อไป ความต้องการของมนุษย์มีลักษณะเป็นลำดับขั้นจากต่ำไปหาสูงตามลำดับความสำคัญ แบ่งเป็นลำดับความต้องการออกเป็น 5 ลำดับ ได้แก่ 1) ความต้องการทางด้านร่างกาย (Physiological Needs) ความต้องการทางด้าน ร่างกาย เป็นความต้องการพื้นฐาน เพื่อความอยู่รอดในการดำรงชีวิต เช่น ความต้องการในเรื่องอาหาร น้ำ ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่มห่ม ยากรักษาโรค ความต้องการพักผ่อน และความต้องการทางเพศ โดยที่ความต้องการ
วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 16 ด้านร่างกายจะมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของคนก็ต่อเมื่อความต้องการทางด้านร่างกายยังไม่ได้รับการตอบสนอง ในปกติองค์กรจะตอบสนองความต้องการด้านนี้ โดยวิธีการทางอ้อม คือการจ่ายเงินค่าจ้าง หรือเบี้ยต่างๆ 2) ความต้องการความปลอดภัยหรือความมั่นคง (Security or Safety Needs) เมื่อ ความต้องการด้านร่างกายได้รับการตอบสนองแล้ว ความต้องการของมนุษย์จะมีเพิ่มขึ้นตามลำดับในขั้นนี้คือ การต้องการความปลอดภัย หรือความมั่นคง ทั้งการป้องกันไม่ให้เกิดภัย หรืออันตรายใดๆที่จะส่งผลต่อร่างกาย ตลอดจนความสูญเสียทางเศรษฐกิจของบุคคล ในขณะที่ความมั่นคง หมายถึง ความต้องการความมั่นคงใน การดำรงชีพ เช่น ความมั่นคงในหน้าที่การงาน และสถานะทางสังคม 3) ความต้องการด้านสังคม (Social or Belongingness Needs) ภายหลังจากที่ ได้รับการตอบสนองทั้งสองขั้นแล้วนั้น ความต้องการต่อมาคือความต้องการด้านสังคม ที่เป็นตัวแปรสำคัญต่อ พฤติกรรมของบุคคล เช่น ความต้องการเกี่ยวกับการอยู่รวมกัน และการได้รับการยอมรับจากบุคคลอื่น และมี ความรู้สึกว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มทางสังคมอยู่เสมอ หรือมีคุณค่า เป็นต้น 4) ความต้องการที่จะมีฐานะเด่นในสังคม (Esteem or Status Needs) เป็นขั้นที่ ความต้องการสูงขึ้นมาอีก ประกอบไปด้วยเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ ความมั่นใจในตัวเอง ทั้งความสามารถ ความรู้ และความสำคัญในตัวบุคคล รวมทั้งความต้องการที่จะมีฐานะโดดเด่นเป็นที่ยอมรับจากบุคคลอื่น หรือต้องการ ให้บุคคลอื่นยกย่อง สรรเสริญในความรับผิดชอบในหน้าที่ การงาน หรือการดำรงตำแหน่งสำคัญๆ ในองค์กร 5) ความต้องการที่จะได้รับความสำเร็จในชีวิต (Self-actualization or Selfrealization) เป็นความต้องการสูงสุดของมนุษย์ ได้แก่ ความต้องการที่จะประสบความสำเร็จในสิ่งที่คาดหวัง ไว้ หรือเป็นความทะเยอะทะยานไปให้ถึงสิ่งที่ตั้งเอาไว้ในทัศนะของแต่ละบุคคล ซึ่งสอดคล้องกับ วรรณิภา สระศรี (2558) ได้กล่าวว่า แนวคิดในการจัดกิจกรรมของชมรม ผู้สูงอายุในลักษณะนี้ เป็นการจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการตอบสนองต่อความต้องการของ ตนเองในด้านต่าง ๆ อย่างเต็มที่ กล่าวคือเมื่อกิจกรรมใดเป็นกิจกรรมที่สอดคล้องกับความ ต้องการของ ผู้สูงอายุแล้วก็จะทำให้เกิดแรงจูงใจ (Motivation) ที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมนั้น ๆ ได้และรู้สึกพึงพอใจ ในการที่ได้เป็นผู้มีส่วนร่วมในกิจกรรมนั้นอีกทั้งยังสอดคล้องกับ หมัดเฟาซี รูบามา และ กฤษดา มงคลศรี (2562) กล่าวว่า แนวคิดทฤษฎีความต้องการของมาสโลว์ ที่กล่าวถึง 32 ความต้องการมนุษย์ โดยเฉพาะเรื่อง ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน โดยผู้สูงอายุต้องการความ ต้องการขั้นพื้นฐานเป็นความต้องการด้าน ร่างกายเพื่อความอยู่รอดของชีวิต เช่น ความต้องการอาหาร อากาศน้ำ และที่อยู่อาศัยสูงที่สุด และลำดับ สุดท้ายคือ ด้านความต้องการทางสังคม เนื่องจากมนุษย์ชอบอยู่เป็นกลุ่มคนมากกว่าอยู่คนเดียว โดยเฉพาะ ผู้สูงอายุ มักมีภาวะซึมเศร้าได้ง่ายเมื่อต้องอยู่คนเดียวหากไม่ได้รับการสนับสนุนจากคนรอบข้างและความสนใจ จากสังคม จึงทำให้การนำเอาทฤษฎีกิจกรรม (Activity Theory) อีกทั้ง ลัดดา บุญเกิด (2557) ที่ได้พูดถึง ทฤษฎีกิจกรรมนั้นมีความเชื่อว่ากิจกรรมเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับกลุ่มทุกช่วงวัยโดยเฉพาะอย่างยิ่งในวัยสูงอายุ การทำกิจกรรมเป็นสิ่ง ที่ทำให้สุขภาพของผู้สูงอายุดีทั้งทางร่างกายและจิตใจกิจกรรมจึงมีความสำคัญทำให้ ผู้สูงอายุมีความพึงพอใจในชีวิต ทำให้ผู้สูงอายุมีความรู้สึกว่าตนยังเป็นบุคคลที่มีคุณค่าและเป็นที่ยอมรับจาก สังคม ดังนั้นจึงสามารถสรุปได้ว่า ความต้องการของผู้สูงอายุนั้น มีทฤษฎีของมาสโลว์(Maslow) ได้จำแนก
วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 17 ความต้องการของมนุษย์จากพื้นฐานความต้องการต่ำสุดไปถึงสูงสุดตามลำดับขั้น ได้แก่ (1) ความต้องการ พื้นฐานทางร่างกายเช่นเดียวกับปัจจัยสี่ (2) ความต้องการความมั่นคงปลอดภัย (3) ความต้องการความรักและ เป็นส่วนหนึ่งของสังคม (4) ความต้องการความเคารพนับถือ และลำดับ สุดท้ายความต้องการความสมบูรณ์ ของชีวิต ดังนั้นผู้สูงอายุจึงมีความต้องการในเรื่องของการ สวัสดิการสังคมที่เจ้าหน้ามีส่วนในการให้ความ ช่วยเหลือ เพื่อให้เข้าใจถึงความต้องการของผู้สูงอายุ มากขึ้น จึงสามารถนำทฤษฎีของมาสโลว์(Maslow) มาใช้ ในการสนับสนุนในการศึกษาวิจัย และเพื่อ นำผลการศึกษามาเป็นแนวทางในการวางแผนและพัฒนาการแก้ไข ปัญหาเพื่อจัดสวัสดิการสังคมได้ตอบสนองตามความต้องการของผู้สูงอายุที่จะมีเพิ่มขึ้นสูงในอนาคตให้มี คุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป อย่างไรก็ตามทฤษฎีดังกล่าว ยังถูกสนับสนุนโดย Alderfer (1969, อ้างถึงในศิริวรรณ เสรี รัตน์ และคณะ, 2541) โดยทฤษฎีนี้ถูกเรียกว่า ทฤษฎี ERG หรือที่เรียกว่า Modification ซึ่ง Alderfer ได้นำ ทฤษฎีความต้องการ 5 ขั้นของ Maslow มาศึกษาวิจัย สรุปได้ 3 ประเด็น ดังนี้ 1) ความต้องการอยู่รอด (E : Existence) เป็นความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์ ทางกายภาพ และปรารถนาอยากมีสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ เช่น ความต้องการอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย เป็นต้น สำหรับในองค์กรนั้น ความต้องการในแง่ค่าจ้าง ผลประโยชน์ตอบแทน ตลอดจนสภาพเงื่อนไขการ ทำงานที่ดี ความมั่นคงในงานและอาชีพ ล้วนเป็นเครื่องมือตอบสนองสิ่งจูงใจด้านนี้ 2) ความสัมพันธ์ทางสังคม (R : Relatedness) เป็นความต้องการทุกชนิดที่มีนัยยะ เชิงมนุษยสัมพันธ์ เช่น ความต้องการมีเพื่อน ความต้องการมีครอบครัว เป็นต้น ในองค์กรนั้น ได้แก่ ความ ต้องการเป็นผู้นำ หรือผู้มียศ ฐานะที่เป็นหัวหน้างานต่างๆ ตลอดจนความต้องการเป็นผู้ตามและความต้องการ มิตรภาพกับบุคคลอื่น ความต้องการนี้ เปรียบได้กับความต้องการทางสังคม และความต้องการที่ได้รับการยก ย่อง สอดคล้องกับทฤษฎีของ Maslow 3) ความต้องการเจริญก้าวหน้า และเติบโต (G : Growth) เป็นความต้องการ เกี่ยวกับพัฒนาการเปลี่ยนแปลงฐานะ สภาพการทำงาน และการเติบโตก้าวหน้าของผู้ทำงาน สำหรับในองค์กร ความต้องการมีอำนาจและความรับผิดชอบเพิ่มขึ้น ความต้องการอยากทำกิจกรรมใหม่ๆ หรืองานใหม่ๆ ที่มี โอกาสได้ใช้ความรู้ คามสามารถ และศักยภาพ ทฤษฎีเกี่ยวข้องกับความต้องการของผู้สูงอายุ สำนักส่งเสริมคุณภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่ากลุ่มผู้สูงอายุเป็นวัยที่ สภาพร่างกาย จิตใจ และสถานภาพทางสังคมเปลี่ยนแปลงเสื่อมถอยลงตามธรรมชาติ จึงต้องการความเข้าใจ ความช่วยเหลือ การประคับประคองจากสังคม ซึ่งสำนักส่งเสริมสุขภาพฯได้แบ่งความต้องการของผู้สูงอายุไว้ 3 ลักษณะ คือ 1. ความต้องการทางด้านร่างกายของผู้สูงอายุ เมื่ออายุมากขึ้น สมรรถภาพทางร่างกายก็จะ เสื่อมถอยลง ดังนั้นผู้สูงอายุจึงต้องการการดูแลด้านร่างกายมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นความต้องการมีสุขภาพร่างกาย ที่แข็งแรง นอนหลับอย่างเพียงพอ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ มีผู้ช่วยเหลือดูแลอย่างใกล้ชิดเมื่อยาม
วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 18 เจ็บป่วย มีที่อยู่อาศัยที่สะอาด สิ่งแวดล้อมดี มีอาหารการกินที่ถูกสุขลักษณะตามวัย ได้รับการตรวจสุขภาพ และการรักษาพยาบาลอย่างเหมาะสม 2. ความต้องการทางด้านจิตใจของผู้สูงอายุผู้สูงอายุจะปรับจิตใจ และอารมณ์ไปตามการ เปลี่ยนแปลงของร่างกาย และสิ่งแวดล้อม ผู้สูงอายุส่วนใหญ่จะมีการปรับปรุง และพัฒนาจิตใจของตัวเอง ให้เป็นไปในทางที่ดีงามมากขึ้น สามารถควบคุมจิตใจได้ดีกว่าหนุ่มสาว แต่การแสดงออกจะขึ้นอยู่กับลักษณะ ของแต่ละบุคคล การศึกษา ประสบการณ์ และสิ่งแวดล้อมในชีวิตของคนคนนั้น โดยความเปลี่ยนแปลงที่ เกิดขึ้นในวัยสูงอายุ มีผลต่อจิตใจของผู้สูงอายุมากไม่ว่าจะเป็นด้านการรับรู้ ทีการรับรู้สิ่งใหม่ๆ ยากขึ้น ด้าน อารมณ์ ผู้สูงอายุจะรู้สึกท้อแท้ มีอารมณ์ไม่มั่นคง หงุดหงิดง่าย และสนใจสิ่งแวดล้อมเฉพาะที่ทำให้เกิดความ พึงพอใจต่อตนเอง หรือตรงกับความสนใจของตนเองเท่านั้น 3. ความต้องการทางด้านสังคม – เศรษฐกิจของผู้สูงอายุผู้สูงอายุต้องการได้รับความสนใจ จากผู้อื่น เป็นส่วนหนึ่งของครอบครัว สังคม ลดการพึ่งพาคนอื่นให้น้อยลง เข้าร่วมในกิจกรรมต่างๆ และ ช่วยเหลือสังคมตามความถนัด รวมทั้งต้องการ การสนับสนุน ช่วยเหลือจากครอบครัว และสังคมทั้งทางด้าน ความเป็นอยู่รายได้บริการจากรัฐ ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่า ความต้องการของผู้สูงอายุคือ ปัจจัยพื้นฐานของการ ดำรงชีวิตไม่ว่าจะเป็นที่อยู่ อาศัย รายได้ สุขภาพ ที่พึ่งพิงทางด้านจิตใจ เป็นกำลังใจ เพราะพวกเขาต้องเจอ กับการเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกาย และจิตใจ ต้องการการยอมรับจากสังคม ให้คนเห็นคุณค่าของ ผู้สูงอายุ พรทิพย์ เกยุรานนท์ (2551) ได้กล่าวถึงวิธีการสร้างความสุขให้กบผู้สูงอายุนั้น สามารถ สร้าง ได้จาก 2 ทางคือ จากตัวผู้สูงอายุเอง และคนรอบข้าง 1. การสร้างความสุขจากตัวผู้สูงอายุเอง 1.1 การปรับตัวของผู้สูงอายุ เป็นสิ่งแรกที่ผู้สูงอายุจะต้องทำยอมรับกับความ เปลี่ยนแปลงทั้งด้านร่างกาย จิตใจ ความคิด อารมณ์ และสภาพความเป็นอยู่ของตนเอง เพื่อให้สามารถดำเนิน ชีวิตได้อย่างมีความสุข 1.2 การดูแลสุขภาพกายและสุขภาพจิต ผู้สูงอายุจึงจำเป็นต้องหมั่นไปตรวจร่างกาย ประจำปี อย่างสม่ำเสมอ อีกทั้งคอยดูแลสุขอนามัยของตนเอง ทั้งการออกกำลังกาย อาหารและต้องดูแล สุขภาพจิตของตนเองด้วย โดยทำจิตใจให้เบิกบานอยู่เสมอ ไม่ให้ตนเองเกิด ความเครียด ด้วยการหากิจกรรม ที่ทำให้ตนเองได้พักผ่อนหย่อนใจ 1.3 การใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ด้วยการทำกิจกรรมต่างๆ ที่ชื่นชอบ เช่น การปลูกต้นไม้ การเลี้ยงสัตว์เลี้ยง การสวดมนต์ การท่องเที่ยว การทำกิจกรรมต่างๆ ของสมาคม หรือชมรม เพื่อคลายเหงา เกิดความเพลิดเพลิน ผ่อนคลายทั้งร่างกายและจิตใจ 1.4 การใช้ชีวิตที่เรียบง่าย การดำเนินชีวิตประจำวันที่เรียบง่าย เป็นวิถีชีวิตที่จะพา ไปสู่ความสุข
วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 19 1.5 การสร้างอารมณ์ขัน การที่ผู้สูงอายุได้หัวเราะและยิ้มจากใจเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึง ความสุขที่เกิดขึ้น ทำให้จิตใจและอารมณ์ของผู้สูงอายุดีขึ้น ช่วยทำให้อายุยืนยาวมีสัมพันธภาพที่ดีกับลูกหลาน และคนใกล้ชิด 2. การสร้างความสุขจากคนรอบข้าง ลูกหลาน ญาติพี่น้อง และผู้ดูแลผู้สูงอายุเป็นบุคคล ที่มี ส่วนสำคัญอย่างมากต่อผู้สูงอายุ ที่จะช่วยให้ผู้สูงอายุดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุขในบั้นปลายชีวิต วิธีทำให้ ผู้สูงอายุมีความสุข มีดังนี้ 2.1 การปรับตัวของลูกหลาน ญาติพี่น้อง และผู้ดูแลผู้สูงอายุที่ต้อง ยอมรับกับ สภาพการณ์ที่เปลี่ยนแปลงของผู้สูงอายุ 2.2 การเอาใจใส่ดูแลผู้สูงอายุด้วยความรัก การให้ความเคารพ ให้เกียรติกับผู้สูงอายุ 2.3 การสร้างอารมณ์ขันให้ผู้สูงอายุ พรชุลีย์ นิลวิเศษ (2551) แนะนำประเภทของกิจกรรมนันทนาการสำหรับผู้สูงอายุ เพื่อเป็น กิจกรรมยามว่างในการพักผ่อนหย่อนใจหรือเพื่อความบันเทิง ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นทั้งร่างกายและจิตใจอีก ทั้งช่วยให้ร่างกายมีความแข็งแรงสมบูรณ์อยู่ตลอดเวลาและยืดอายุการเจ็บป่วยออกไป 1. กิจกรรมทางสังคม ได้แก่ การร่วมในงานบุญ งานประเพณี งานเทศกาล หรือเข้าร่วม เป็นสมาชิกชมรมหรือกลุ่ม เช่น ชมรมผู้สูงอายุ กลุ่มศาสนา 2. กิจกรรมการออกกาลังกาย เป็นสิ่งที่มีประโยชน์แก่ผู้สูงอายุซึ่งมีการเปลี่ยนของ ร่างกาย จากความเสื่อมจึงจำเป็นต้องออกกำลังกายเพื่อป้องกันการเสื่อมสภาพและพิการของอวัยวะ ต่าง ๆ การออก กำลังกายยังช่วยให้ร่างกายคล่องตัว นอกจากนั้นยังช่วยให้ผู้สูงอายุได้ลดความเครียด 3. กิจกรรมการท่องเที่ยว ได้แก่การเดินท่องเที่ยว ไม่ว่าจะในประเทศหรือต่างประเทศ 4. กิจกรรมงานอดิเรก เช่น การทำงานฝีมือ งานเย็บปักถักร้อย ทำอาหาร งานวาดภาพ ร้องเพลง เป็นต้น สรุปได้ว่า นันทนาการสำหรับผู้สูงอายุ ควรเป็นกิจกรรมที่ไม่หักโหม แต่ควรเป็น กิจกรรมที สร้างความสนุกสนานรื่นเริง ผ่อนคลาย และเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุมีส่วนร่วมในกิจกรรม เพื่อสร้าง ความนับถือในตนเองของผู้สูงอายุ ไม่ว่าจะเป็น กิจกรรมทางสังคม กิจกรรมการออกกาลังกาย กิจกรรมการ ท่องเที่ยว หรือกิจกรรมงานอดิเรก โดยกิจกรรมต่างๆต้องตอบสนองต่อความต้องการทางด้านร่างกาย จิตใจ และสังคมของผู้สูงอายุอย่างเหมาะสม 2.4 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง จากการศึกษางานวิจัย พบว่าได้มีนักวิชาการหลายท่านศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องเรื่องความ ต้องการสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งสามารถอธิบายได้ดังนี้ งานวิจัยที่เกี่ยวข้องในประเทศ อารีย์ มยังพงษ์, เกื้อกูล ตาเย็น (2559) ทำการศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่ส่งผลต่อความต้องการ เรียนสื่อเทคโนโลยีของผู้สูงอายุในยุคหลอมรวมเทคโนโลยี ผู้วิจัยมุ่งเน้นที่จะศึกษาระดับของปัจจัยด้านการ
วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 20 ยอมรับเทคโนโลยีของผู้สูงอายุ ปัจจัยด้านการสนับสนุนเทคโนโลยีสำหรับผู้สูงอายุ และปัจจัยด้านคุณลักษณะ ส่วนบุคคล ที่ส่งผลต่อความต้องการเรียนรู้สื่อเทคโนโลยีของผู้สูงอายุในยุคหลอมรวมเทคโนโลยีโดยใช้วิธีวิจัย เชิงปริมาณ โดยใช้การสำรวจ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้เป็นผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 320 คน พบว่า ระดับปัจจัยด้านการยอมรับเทคโนโลยีของผู้สูงอายุ ระดับความคิดเห็นโดยเฉลี่ยรวมทุกประเด็นอยู่ ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.65) โดยประเด็นที่ให้ความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ อินเทอร์เน็ตช่วยให้ ผู้สูงอายุสามารถติดต่อสื่อสารมีความสัมพันธ์กับครอบครัว ที่ห่างไกลมีความสะดวกยิ่งขึ้น (ค่าเฉลี่ย 4.12) และ เป็นที่น่าสังเกตว่า ประเด็น ข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตซึ่งมีเว็บไซต์เกี่ยวกับข้อมูลสิ่งแวดล้อมสำหรับผู้สูงอายุ อยู่ใน ระดับน้อยที่สุด (ค่าเฉลี่ย 2.05) และระดับปัจจัยด้านการสนับสนุนเทคโนโลยีสำหรับผู้สูงอายุ ระดับความ คิดเห็นโดยเฉลี่ยรวมทุกประเด็นอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.55) ประเด็นที่ให้ความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ที่สุด ได้แก่การให้บริการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตตามห้องสมุด สถานที่พยาบาล ศูนย์บริการผู้สูงอายุ ต่างๆ โดยมีเจ้าหน้าที่ให้คำปรึกษาและแนะนำการใช้งาน (ค่าเฉลี่ย 3.78) และเป็นที่น่าสังเกตว่า ประเด็นใน เรื่อง การให้ความรู้ความเข้าใจแก่ผู้สูงอายุเกี่ยวกับ พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำความผิดทางกฎหมาย คอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด (ค่าเฉลี่ย 2.55) และปัจจัยที่ส่งผลต่อความต้องการเรียนรู้สื่อ เทคโนโลยีของผู้สูงอายุในยุคหลอมรวมเทคโนโลยี พบว่า คุณลักษณะส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อความต้องการเรียนรู้ สื่อเทคโนโลยีของผู้สูงอายุในยุคหลอมรวมเทคโนโลยี ได้แก่ ระดับการศึกษา อาชีพปัจจุบัน รายได้เฉลี่ยต่อ เดือน และประสบการณ์การใช้คอมพิวเตอร์ (ร้อยละ 24.6) และปัจจัยด้านการยอมรับเทคโนโลยีของผู้สูงอายุ และปัจจัยด้านการสนับสนุนเทคโนโลยีสำหรับผู้สูงอายุที่ส่งผลต่อความต้องการเรียนรู้สื่อเทคโนโลยีของ ผู้สูงอายุในยุคหลอมรวมเทคโนโลยี (ร้อยละ 39.7) อุทัย สุดสดและคณะ (2552) ได้ทำการศึกษาสถานการณ์ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตร ประจำวัน ความต้องการและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุจำนวน 1,000 คน จาก 5 จังหวัดซึ่ง รวมถึง กรุงเทพมหานครด้วย พบว่า ปัจจัยทีมีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโดยรวม คือ เพศ อายุ ระดับ การศึกษา สถานภาพสมรส ความพอเพียงของรายได้ ลักษณะชุมชน ลักษณะของที่อยู่อาศัย การสนับสนุน ทางสังคม ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน และภาวะสุขภาพจิต โดยจากการแบ่งกลุ่มผู้สูงอายุ ตามความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ กลุ่มที่สามารถช่วยเหลือตนเองได้บางส่วน และกลุ่มที่มีภาวะ พึ่งพา พบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพ ชีวิตของผู้สูงอายุ 2 ปัจจัยแรกในแต่ละกลุ่มมีความแตกต่างกันดังนี้กลุ่มที่สามารถช่วยเหลือตนเองได้มีปัจจัย สัมพันธ์ คือ ภาวะสุขภาพจิต และ จำนวน อาการที่ผิดปกติที่พบ กลุ่มที่สามารถช่วยเหลือตนเองได้บางส่วน มี ปัจจัยสัมพันธ์ คือ การสนับสนุนทาง สังคม และ ภาวะสุขภาพจิต กลุ่มที่มีภาวะพึ่งพา มีปัจจัยสัมพันธ์ คือ การ รับรู้ปัญหา และความรู้ด้านสุขภาพโดยใน เขตกรุงเทพมหานคร ผู้สูงอายุกลุ่มทีสามารถช่วยเหลือตนเองได้ใน การปฏิบัติกิจวัตรประจำวันมีระดับสูงที่สุด (ร้อยละ 71.5) รองลงมาคือ กลุ่มที่ช่วยเหลือตนเองได้บางส่วน (ร้อยละ 27.5) และกลุ่มภาวะพึ่งพา (ร้อยละ 1.0) ตามลำดับ อีกทั้งมีสัดส่วนผู้สูงอายุที่มีคุณภาพชีวิตระดับสูง มากที่สุด (ร้อยละ 40.5) และสัดส่วนของผู้สูงอายุที่มีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพอยู่ในระดับสูงที่สุด (ร้อยละ ่ 31.0) เช่นกัน
วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 21 สมพล นะวะกะ (2555) ได้ทำการศึกษาเรื่องความต้องการได้รับสวัสดิการของ ผู้สูงอายุใน เขตองค์การบริหารส่วนตำบลอ่าวลึกใต้ อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่ ผลการศึกษาพบว่า ระดับความต้องการ การได้รับสวัสดิการผู้สูงอายุ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ความต้องการ สวัสดิการด้านบริการสังคม ด้านที่อยู่อาศัย ด้านความมั่นคงทางสังคมอยู่ในระดับมาก ส่วนด้านนันทนาการ ด้านที่อยู่อาศัย ด้านการทำงานและมีรายได้ ด้านการศึกษา อยู่ในระดับปานกลาง นอกจากนี้ค่าใช้จ่ายใน การใช้บริการ ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบล ก็มีผลต่อความต้องการได้รับสวัสดิการของผู้สูงอายุ กล่าวคือหากมีค่าใช้จ่ายในการใช้บริการ ณ องค์การบริหารส่วนตำบลน้อย จะทำให้ผู้สูงอายุมีความต้องการ ได้รับสวัสดิการเพิ่มขึ้น ส่วนปัจจัยด้านอายุและรายได้ พบว่ากลุ่มผู้สูงอายุที่มีอายุน้อย และกลุ่มผู้สูงอายุที่มี รายได้น้อย มีความต้องการได้รับ สวัสดิการเพิ่มขึ้น ดังนั้นผู้เกี่ยวข้องในการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุ ควรพิจารณาถึงปัจจัยด้านค่าใช้จ่าย ในการใช้บริการ ด้านรายได้ และด้านอายุของผู้สูงอายุ เพื่อให้การจัด สวัสดิการสำหรับผู้สูงอายุใน เขตองค์การบริหารส่วนตำบลอ่าวลึกใต้ เหมาะสมตรงตามความต้องการของ ผู้สูงอายุอย่างแท้จริง ซึ่งจะส่งผลให้การจัดสวัสดิการสำหรับผู้สูงอายุมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น ภานุรุจ เดชวารี (2555) ได้ทำการศึกษาเรื่อง ความต้องการสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุใน เขตเทศบาลตำบลยายแย้มพัฒนา อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ การศึกษา ความต้องการสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลยายแย้มวัฒนา อำเภอ เฉลิมพระเกียรติ จังหวัด บุรีรัมย์ ใน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านนันทนาการ ด้านสุขภาพและการรักษาพยาบาล และด้านความมั่นคงทางสังคม กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้สูงอายุซึ่งได้จากการสุ่มจาก ประชากร โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางของทาโร่ ยามาเน่ ที่ระดับความเชื่อมั่น 95.5% และความคลาดเคลื่อน 5% ได้ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 286 คน แล้วทำการสุ่มให้กระจายไป ยังหมู่บ้านต่าง ๆ ตามสัดส่วน โดยวิธีสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บ รวบรวมข้อมูลเป็น แบบสอบถามมี 3 ลักษณะ คือแบบตรวจสอบรายการมาตราส่วนประมาณค่า 6 ระดับ และ แบบ ปลายเปิด โดยมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.9355 สถิติพื้นฐานที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลยายแย้ม วัฒนา อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมากเช่นกัน โดยเรียงลำดับจากด้านที่มีค่าสูงไปหาต่ำได้ดังนี้ คือ ด้านสุขภาพและการ รักษาพยาบาล ด้านนันทนาการ และด้านสังคมและความมั่นคง ตามลำดับ และ 2) ความคิดเห็นและ ข้อเสนอแนะอื่น ๆ พบว่า ต้องการส่งเสริมอาชีพให้มีรายได้เพิ่มเป็นลำดับ 36 มากที่สุด รองลงมาคือ ให้กองทุนฌาปนกิจสงเคราะห์ผู้สูงอายุดำเนินต่อไป และต้องการให้มีสวนสาธารณะ ตามลำดับ สุมิตรา จุตโน (2556) ได้ทำการศึกษาเรื่อง ความต้องการสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุในเขต องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยแคน อำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความ ต้องการสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยแคน อำเภอห้วยแถลง จังหวัด นครราชสีมา ใน 6 ด้าน คือ ด้านสุขภาพอนามัย ด้านการศึกษา ด้านนันทนาการ ด้านที่อยู่อาศัย ด้านการแก้ไข ปัญหาความยากจนและด้อยโอกาส และด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 22 ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุในเขตองค์การบริหารส่วน ตำบลห้วยแคน อำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็น รายด้าน พบว่า ด้านที่อยู่อาศัย และด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน อยู่ในระดับปานกลาง นอกนั้นอยู่ในระดับ มาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านสุขภาพอนามัย รองลงมาคือ ด้านการ แก้ปัญหาความยากจนและด้อย โอกาส ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ด้านที่อยู่อาศัย และ 2) ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะอื่น ๆ ที่มี จำนวนมากที่สุด คือ ผู้สูงอายุต้องการให้เจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้องเข้าไปดูแลให้ทั่วถึง รองลงมา คือ ผู้สูงอายุ ต้องการเบี้ยยังชีพเพิ่ม และอยากให้จัดกิจกรรม และตรวจสุขภาพให้กับผู้สูงอายุ ตามลำดับ อุทุมพร ศตะกูรมะ (2556) ได้ทำการศึกษาเรื่องความต้องการสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุ ตำบลบ่อโพธิ์ อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความต้องการ สวัสดิการ สังคมและเพื่อเปรียบเทียบความต้องการสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุตำบลบ่อโพธิ์ อำเภอนครไทย จังหวัด พิษณุโลก จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพการสมรส อาชีพ และ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ประชากร ได้แก่ ผู้สูงอายุตำบลบ่อโพธิ์ อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 848 คน ใช้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 272 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างมีระบบ (Systematic Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บ รวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม มีลักษณะเป็นแบบสำรวจ รายการ (Check List) และแบบประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ ประเด็นต่อไปนี้ คือ ความ ต้องการ สวัสดิการสังคม 7 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านสุขภาพ อนามัย 2) ด้านการศึกษา 3) ด้านที่อยู่อาศัย 4) ด้านการมีงานทำมีรายได้และสวัสดิการแรงงาน 5) ด้านความ มั่นคงทางรายได้6) ด้าน นันทนาการ และ 7) ด้านบริการสังคมทั่วไป การวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าความถี่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติt-test (Independent Sample t-test) และค่า F-test (One Way ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า ความต้องการสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุโดยรวมอยู่ ในระดับ มาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ผู้สูงอายุมีความต้องด้านการมีงานทำมีรายได้และสวัสดิการแรงงานมาก ที่สุด ด้านอื่นๆ นั้น ผู้สูงอายุมีความต้องการระดับมาก ส่วนผลการเปรียบเทียบ 37 พบว่า ผู้สูงอายุที่มีเพศ และสถานภาพการสมรสต่างกันมีความต้องการสวัสดิการสังคมไม่ แตกต่างกัน ส่วนผู้สูงอายุที่มีอายุ ระดับ การศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่างกัน มีความต้องการ สวัสดิการสังคมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 ลัดดา บุญเกิด (2557) ได้ทำการศึกษาเรื่องความต้องการด้านสวัสดิการของผู้สูงอายุในเขต เทศบาลตำบลเกาะจันทร์ อำเภอเกาะจันทร์ จังหวัดชลบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการด้าน สวัสดิการของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลเกาะจันทร์ อำเภอเกาะจันทร์ จังหวัดชลบุรี และเพื่อ เปรียบเทียบ ความต้องการด้านสวัสดิการของผู้สูงอายุในเทศบาลตำบลเกาะจันทร์ อำเภอเกาะจันทร์จังหวัดชลบุรี จำแนกตามเพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ และลักษณะที่พักอาศัยกลุ่มตัวอย่างในการ วิจัยครั้งนี้คือ ผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป เทศบาลตำบลเกาะจันทร์ อำเภอเกาะจันทร์ จังหวัดชลบุรี จำนวน 184 คน โดยผู้วิจัยใช้เครื่องมือในการวิจัย ผลการศึกษาพบว่า โดย ภาพรวมผู้สูงอายุมีความต้องการ ด้านสวัสดิการอยู่ในระดับมากเมื่อวิเคราะห์ตามรายด้าน พบว่า ด้าน สุขภาพและการรักษาพยาบาลผู้สูงอายุมี ความต้องการอยู่ในระดับมาก โดยให้ความสำคัญเป็นอันดับที่ 1 ด้านการสร้างบริการและเครือข่ายการ
วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 23 เกื้อหนุน ผู้สูงอายุมีความต้องการอยู่ในระดับมาก โดยให้ความสำคัญเป็นอันดับที่ 2 ด้านความมั่นคงทางสังคม ครอบครัว ผู้ดูแล และการคุ้มครอง ผู้สูงอายุมี ความต้องการอยู่ในระดับมาก โดยให้ความสำคัญเป็นอันดับ ที่ 3 ด้านรายได้ผู้สูงอายุมีความต้องการ อยู่ในระดับมาก โดยให้ความสำคัญเป็นอันดับที่ 4 ด้านนันทนาการ ผู้สูงอายุมีความต้องการอยู่ใน ระดับมากโดยให้ความสำคัญ เป็นอันดับที่ 5 ด้านที่พักอาศัยผู้สูงอายุมีความ ต้องการอยู่ในระดับมาก โดยให้ความสำคัญ เป็นอันดับที่ 6และผลการเปรียบเทียบความต้องการด้านสวัสดิการ ของผู้สูงอายุ พบว่า ผู้สูงอายุที่มีสถานภาพ สมรส ระดับการศึกษา ลักษณะที่พักอาศัยต่างกัน มีความต้องการ ด้าน สวัสดิการของผู้สูงอายุไม่แตกต่างกัน แต่ผู้สูงอายุที่มีเพศ อายุ อาชีพ รายได้ต่างกัน มีความต้องการ ด้าน สวัสดิการของผู้สูงอายุแตกต่างกัน อย่างนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ปานใจ จันทร์สีดา (2558) ได้ทำการศึกษาเรื่อง ความต้องการสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุใน เขตองค์การการบริหารส่วนตำบลทัพไทย อำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความ ต้องการด้านสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุในองค์การการบริหารส่วนตำบลทัพไทย อำเภอตาพระยา จังหวัด สระแก้ว ใน 3 ด้าน คือ ด้านสุขภาพและการรักษาพยาบาล ด้านที่พักอาศัย และด้านนันทนาการ ผลการวิจัย พบว่า 1) ความต้องการสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุในเขตองค์การการบริหารส่วนตำบลทัพไทย อำเภอตาพระ ยา จังหวัดสระแก้ว โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็น รายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก เช่นกัน โดยเรียงลำดับจากด้านที่มีความเฉลี่ยสูงไปหาต่ำ จะได้ดังนี้ ด้านสุขภาพและการรักษาพยาบาล ด้านที่ พักอาศัย และด้านนันทนาการ ตามลำดับ และ 2) ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะอื่น ๆ ที่มีจำนวนมากที่สุด คือ ผู้สูงอายุต้องการจัดกิจกรรมและ 38 ตรวจสุขภาพให้กับผู้สูงอายุ รองลงมา คือ ผู้สูงอายุต้องการเบี้ยยังชีพ และต้องการให้องค์การบริหาร ส่วนตำบลส่งเสริมอาชีพและภูมิปัญญา ตามความเหมาะสม ตามลำดับ สันติพันธ์ พุฒฤทธิ์ และคณะ (2562) ได้ทำการศึกษาเรื่อง ความต้องการสวัสดิการสังคมของ ผู้สูงอายุในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านยาง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาความต้องการสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล บ้านยาง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ผลการวิจัยพบว่า ความต้องการสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุในเขตตำบลบ้านยาง อำเภอ เมือง บุรีรัมย์จังหวัดบุรีรัมย์โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ ในระดับมาก เช่นกัน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านรายได้รองลงมา คือ ด้านการศึกษา และ ด้านที่อยู่อาศัย ส่วนด้าน ที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านสุขภาพและการรักษาพยาบาลตามลำดับสำหรับ ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะอื่น ๆ ที่มีจำนวนมากที่สุด คือ ควรเพิ่มเบี้ยยังชีพ ให้กับผู้สูงอายุ รองลงมา คือ ควรมีรถรับ-ส่ง ให้บริการผู้สูงอายุ ไปยังสถานพยาบาล โดยไม่คิดค่าบริการ และควรมีกิจกรรมต่าง ๆ เช่น จัดให้มีการท่องเที่ยว ให้กับผู้สูงอายุ ตามลำดับ สุมลพร ตะน่าน และ ปวิช เฉลิมวัฒน์ (2561) ได้ทำการศึกษาเรื่อง การจัดสวัสดิการและ ความต้องการของผู้สูงอายุกรณีศึกษาผู้สูงอายุ อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี โดยมีวัตถุประสงค์1) เพื่อศึกษา ความคิดเห็นกับความต้องการสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุ อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี2) เพื่อเปรียบเทียบ ความคิดเห็นและความต้องการสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุในอำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี
วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 24 ผลการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่า หัวหน้าส่วนหรือข้าราชการที่ทำงานเกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ มีความเห็นว่า ผู้สูงอายุนั้นต้องการให้หน่วยงานรัฐให้ความช่วยเหลือในด้านการจัดสวัสดิการให้ทั่วถึง และ รวดเร็ว โดยเฉพาะการส่งต่อในกรณีฉุกเฉิน แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของผู้สูงอายุอย่างแท้จริงสร้างความ เชื่อมั่นด้านมาตรฐานและคุณภาพการบริการ เพื่อให้สนองต่อความต้องการของผู้สูงอายุ หัวหน้าส่วนหรือ ข้าราชการที่ทำงานเกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ มีความคิดเห็นว่าควรมีการปรับปรุง ฐานข้อมูลเกี่ยวกับผู้สูงอายุให้ ทันสมัย ถูกต้อง และครบถ้วน มีการปรับปรุงและควบคุมคุณภาพของ โรงพยาบาลและสถานพยาบาล ทุกแห่ง ให้ได้มาตรฐาน เสริมสร้างสุขภาพอนามัย สร้างหลักประกัน ด้านรายได้ การออมเพื่อวัยหลังเกษียณ รวมถึง การขยายเกณฑ์กำหนดเกษียณอายุจาก 60 ปีเป็น 65 ปี เพื่อให้ผู้สูงอายุมีรายได้และได้ใช้ประสบการณ์ และ ศักยภาพอย่างเต็มที่ รวมถึงเป็น การแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน ผลการวิจัยเชิงปริมาณ พบว่า ผู้สูงอายุเพศชายและเพศหญิงมีสัดส่วนใกล้เคียงกัน มีอายุอยู่ ในช่วง 60–69 ปี มีสถานภาพสมรสมากที่สุด การศึกษาอยู่ในระดับประถมศึกษา หนึ่งในสามของ ผู้สูงอายุ ไม่ได้ประกอบอาชีพ มีรายได้ต่อเดือนอยู่ในช่วง 3,001–5,000 บาท ความคิดเห็นของ 39 ผู้สูงอายุจะให้ ความสำคัญกับการสร้างบริการและเครือข่ายการเกื้อหนุน ด้านความมั่นคงทาง ครอบครัว สังคม เมื่อ เปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้สูงอายุ พบว่า มีความคิดเห็นเกี่ยวกับสวัสดิการ สังคมของผู้สูงอายุไม่แตกต่าง รายได้ต่อเดือนของผู้สูงอายุไม่แตกต่างกัน ในขณะที่ด้านความมั่นคง ทางครอบครัว สังคม ผู้ดูแลและการ คุ้มครอง มีความแตกต่างกัน สำหรับความต้องการของผู้สูงอายุ เกี่ยวกับสวัสดิการสังคม ทั้งความต้องการ ภาพรวมและความต้องการรายด้าน อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณา เพศ อายุ และอาชีพที่ต่างกัน ผู้สูงอายุมี ความต้องการเกี่ยวกับสวัสดิการสังคม โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน ได้แก่ ด้านอาชีพและรายได้ ด้านการสร้าง บริการและเครือข่าย การเกื้อหนุน ด้านที่พักอาศัย ด้านความมั่นคงทางครอบครัว สังคม ผู้ดูแล และการ คุ้มครอง ยกเว้น ด้านสุขภาพอนามัยและการรักษาพยาบาล และด้านนันทนาการ ที่มีความต้องการที่แตกต่าง กัน จาตุรงค์ จันทะชารี และคณะ (2561) ได้ทำการศึกษาเรื่องความต้องการสวัสดิการสังคมของ ผู้สูงอายุ ในองค์การบริหารส่วนตำบลบางบัวทอง อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรีการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับความต้องการสวัสดิการสังคม ของผู้สูงอายุ และเปรียบเทียบความ ต้องการสวัสดิการสังคม ของผู้สูงอายุ ในองค์การบริหารส่วนตำบลบางบัวทอง อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี จำแนกตามปัจจัย ส่วนบุคคล โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย จากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 353 คน วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเปรียบเทียบ ได้แก่ การ วิเคราะห์ค่า t-test และการวิเคราะห์ความ แปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า ความต้องการสวัสดิการ สังคมของผู้สูงอายุ ด้านภาพรวม มีความต้องการอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการ แก้ไขปัญหาความยากจนและ ด้อยโอกาส อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านสุขภาพอนามัย และด้านที่ อยู่อาศัย ด้านความ ปลอดภัยในชีวิตด้านนันทนาการด้านการศึกษา อยู่ในระดับมากทุกด้าน ตามลำดับ เปรียบเทียบ ความต้องการสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุ ในองค์การบริหารส่วนตำบลบางบัวทอง อำเภอ บาง บัว ทอง จังหวัดนนทบุรี จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ผู้สูงอายุที่มีเพศ การศึกษา และรายได้ต่างกัน
วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 25 มีความต้องการสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุไม่แตกต่างกันในทุกด้าน ผู้สูงอายุที่มีอายุต่างกัน มีความต้องการ สวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ ในด้านที่อยู่อาศัย และด้านการแก้ไขปัญหาความยากจนและ ด้อยโอกาส แตกต่างกัน ผู้สูงอายุที่มีสถานภาพต่างกันมีความต้องการสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ ในด้าน ความปลอดภัยในชีวิต และ ภาพรวมแตกต่างกัน และผู้สูงอายุที่มีอาชีพต่างกันมีความต้องการ สวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ ในด้านการแก้ไข ปัญหาความยากจน และด้อยโอกาส และภาพรวมแตกต่าง กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 หมัดเฟาซี รูบามา และ กฤษดา มงคลศรี (2562) ได้ทำการศึกษาเรื่อง ความต้องการ สวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองควนลัง อำเภอหาดใหญ่จังหวัดสงขลา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาความต้องการสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุด้านร่างกายด้านความมั่นคง 40 ปลอดภัย และด้านสังคมเพื่อ พัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุรวมถึงเป็นแนวทางและข้อเสนอแนะใน การแก้ไขปัญหาได้ตรงกับความ ต้องการสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุที่อาศัยในเขตเทศบาลเมือง ควนลัง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิงร้อยละ 65.1 มีอายุระหว่าง 60-65 ปีมากที่สุดร้อยละ 83.1 จบการศึกษาระดับประถมศึกษามากที่สุดร้อยละ 59.2 และร้อยละ 54.4 ประกอบ อาชีพเกษตรกรมากที่สุด เมื่อวิเคราะห์ความต้องการสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุ พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความ ต้องการสวัสดิการสังคม ทั้ง 3 ด้านโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.80 เมื่อพิจารณาเป็นราย ด้าน เรียงตามลำดับจากมากไปน้อย พบว่า ผู้สูงอายุมีความต้องการด้าน ร่างกาย เท่ากับ 4.90 ด้านความ มั่นคงปลอดภัย เท่ากับ 4.87 และด้านความต้องการทางสังคม เท่ากับ 4.63 ตามลำดับ พรรณอร วันทอง และคณะ (2563) ได้ทำการศึกษาเรื่อง รูปแบบการจัดการสวัสดิการสังคม ผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสถานการณ์การ จัดการ 2) วิเคราะห์ปัจจัยยืนยันในแบบจำลองสมการโครงสร้าง 3) ศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของรูปแบบ การจัดการสวัสดิการ และ 4) เพื่อนำเสนอรูปแบบการจัดการสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุใน ประเทศไทย กลุ่ม ตัวอย่างทั้งสองกลุ่ม คือ ผู้สูงอายุที่อยู่ในเขตเทศบาลนครหลวงในประเทศไทยและ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับ งานสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ นอกจากนี้ยังใช้แบบสอบถามและการสนทนากลุ่มเป็นเครื่องมือในการวิจัย มีการ วิเคราะห์สถิติ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐานการทดสอบทีหนึ่งตัวอย่าง การวิเคราะห์ ปัจจัยยืนยัน และการวิเคราะห์เส้นทางด้วย โปรแกรมลิสเรล ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาพรวมการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในประเทศไทยกลุ่มผู้สูงอายุอยู่ในระดับปานกลาง และอยู่ในกลุ่มผู้บริหารและเจ้าหน้าที่อยู่ในระดับ มาก 2) ทุกองค์ประกอบที่ศึกษาเป็นปัจจัยยืนยันที่สำคัญของแต่ละด้านที่เลือกของการจัดการ สวัสดิการสังคม ผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย 3) ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุกับ แบบจำลองสมการ โครงสร้างของรูปแบบการจัดการสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นในประเทศไทย สำหรับกลุ่มผู้สูงอายุ พบว่า ประสิทธิผลขององค์กรได้รับผลโดยตรงจากการ จัดการเชิงกลยุทธ์มาตรฐานการ ช่วยเหลือผู้สูงอายุเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารภาวะผู้นำการ เปลี่ยนแปลงและความสามารถของ องค์กร
วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 26 จากการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องในประเทศสรุปได้ว่า หน่วยงานภาครัฐ หรือองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นจะนำนโยบายที่กำหนดไว้หรือภารกิจที่ได้รับการถ่ายโอนงานด้านผู้สูงอายุไปปฏิบัติให้เกิดเป็น รูปธรรม โดยจะจัดสวัสดิการที่เหมาะสม ทั่วถึง เสมอภาค และเป็นธรรมให้แก่ผู้สูงอายุที่อยู่ในพื้นที่ปกครอง โดยก่อนที่จะกำหนดนโยบายและแผนในแต่ละพื้นที่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 41 จะต้องทราบถึงความ ต้องการของผู้สูงอายุก่อนเพื่อที่จะนำไปสู่การปรับปรุงนโยบายบายและแผนให้มีรูปแบบสวัสดิการที่ตอบสนอง ความต้องการของผู้สูงอายุในพื้นที่ให้ได้มากที่สุด โดยผู้วิจัยสามารถนำ ผลจากการศึกษานี้ไปใช้ประโยชน์ใน การพัฒนาและปรับปรุงแบบสอบถามให้ตรงตามวัตถุประสงค์และเพื่อนำผลการศึกษามาเป็นแบบอย่างในการ วางแผนและพัฒนาการแก้ไขปัญหาของผู้สูงอายุเพื่อ จัดสวัสดิการสังคมได้ตอบสนองตามความต้องการของ ผู้สูงอายุที่จะมีเพิ่มขึ้นสูงในอนาคตให้มีคุณภาพ ชีวิตที่ดีต่อไป สิทธิชัย คูเจริญสิน (2559) ทำการศึกษาเรื่อง พฤติกรรมการใช้สื่อสังคมของผู้สูงอายุที่พัก อาศัยในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรีผู้วิจัยมุ่งเน้นศึกษาพฤติกรรมและเปรียบเทียบพฤติกรรมการใช้สื่อสังคม โดยจำแนกตามข้อมูลส่วนบุคล และศึกษาผลกระทบของการใช้สื่อสังคมต่อผู้สูงอายุทีพักอาศัยในเขตอำเภอ เมือง จังหวัดชลบุรีโดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ และกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเป็นผู้สูงอายุที่พักอาศัยในเขต อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี จำนวน 380 คน โดยการเลือกแบบเจาะจงจากผู้มีประสบการณ์การใช้สื่อสังคม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม พบว่า พฤติกรรมการใช้สื่อสังคม ในภาพรวม (ค่าเฉลี่ย 2.66) อยู่ในระดับปานกลาง และผู้สูงอายุส่วนใหญ่ใช้สื่อสังคมเพื่อติดต่อสื่อสารกับสมาชิกใน ครอบครัวหรือคนรู้จัก อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.20) และใช้สื่อสังคมต่างๆเพื่อความผ่อนคลาย ในด้าน ความเครียด/ความเหงา อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.03) และเป็นที่น่าสังเกตว่า อุปสรรคในการใช้สื่อสังคม ของผู้สูงอายุ คือ หน่วยงานของรัฐไม่มีการประชาสัมพันธ์ด้านประโยชน์ ของการใช้สื่อสังคมให้แก่ผู้สูงอายุ อยู่ ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 2.71) เมื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมโดยจำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคล พบว่า มีความแตกต่าง ได้แก่ เพศ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา รายได้ อาชีพ และผลกระทบจากการใช้ สื่อสังคม พบว่า ผู้สูงอายุได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ในด้านการดูแลสุขภาพทั่วไป (ร้อยละ 83.90) มีการสื่อสาร กับคนในครอบครัวเพิ่มขึ้น (ร้อยละ 77.1) คลายความเครียดจากกิจกรรมอื่น (ร้อยละ 73.9) และใช้เงินเป็น ค่าบริการโทรศัพท์หรืออินเทอร์เน็ต จำนวนมาก (ร้อยละ 37.6) สารัช สุธาทิพย์กุล, พิทักษ์ ศิริวงค์ (2560) ทำการศึกษาเรื่อง สภาพปัญหา และการเรียนรู้ การใช้เทคโนโลยีของผู้สูงอายุ กรณีศึกษา ผู้สูงอายุที่ใช้สมาร์ทโฟนในพื้นที่บริเวณโดยรอบพระปิ่นเกล้า เขตบางกอกน้อย จังหวัดกรุงเทพมหานครฯ ผู้วิจัยมุ่งเน้นศึกษาถึงสภาพการณ์การใช้งาน และสภาพปัญหา อุปสรรคในการใช้งานสมาร์ทโฟนของผู้สูงอายุ การวิจัยครั้งนี้ใช้แนวทางการวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากร ที่ใช้ใน การวิจัย คือ กลุ่มผู้สูงอายุในพื้นที่บริเวณโดยรอบพระปิ่นเกล้า เขตบางกอกน้อย จังหวัดกรุงเทพมหานครฯ จำนวน 7 คน รวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกและสังเกตพฤติกรรมการกระทำต่างๆ พบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ที่มีอายุมากกว่า 70 ปีขึ้นไป จะไม่ใช้สมาร์ทโฟนเข้ามาเกี่ยวข้องในการดำเนินชีวิตส่วนใหญ่ จะเป็นกลุ่มผู้สูงอายุที่มีอายุ 55-69 ปี สภาพการณ์ใช้งานของผู้สูงอายุที่ใช้งานสมาร์ทโฟน พบว่า ผู้สูงอายุที่ใช้ งานสมาร์ทโฟนมีมากพอสมควร และเริ่มตัดสินใจใช้งานสมาร์ทโฟน จากคำแนะนำ จากคนในครอบครัว
วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 27 เป็นหลัก และผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีความพึงพอใจกับเทคโนโลยีประเภทนี้เนื่องจากมีความสะดวกรวดเร็วและ ครอบคลุมในทุกๆด้าน รวมทั้งประหยัดค่าใช้จ่ายในการใช้โทรติดต่อสื่อสารที่ แตกต่างจากอดีต ในการเรียนรู้ การใช้งานสมาร์ทโฟน ผู้สูงอายุส่วนใหญ่จะเลือกสอบถามบุคคลในครอบครัวหรือเพื่อนบ้านที่พักอาศัยใกล้กัน มากกกว่าการสืบค้นจากสื่ออินเทอร์เน็ตหรือการเรียนรู้ด้วยตนเอง สภาพปัญหาและอุปสรรคในการใช้งานใช้ งานสมาร์ทโฟนของผู้สูงอายุ พบว่า มีปัญหาในเรื่องราคาของสมาร์ทโฟนที่มีราคาสูงขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งเกินความ จำเป็นและความต้องการของผู้สูงอายุ ทำให้สมาร์ทโฟนเข้าถึงกลุ่มผู้สูงอายุได้ยากยิ่งขึ้นและปัญหาในเรื่องการ ใช้งาน หรือระบบปฏิบัติการที่มีรายละเอียดที่ซับซ้อน รวมถึงฟังชั่นต่างๆที่เพิ่มเข้ามาในสมาร์ทโฟน ทำให้ยาก ต่อการใช้งานและการเข้าใจของผู้สูงอายุมากยิ่งขึ้น พัชนีเชยจรรยา (2558) ทำการศึกษาเรื่อง รูปแบบการใช้ประโยชน และปัจจัยที่ส่งผลต่อ การใช้เทคโนโลยีการสื่อสารของผู้สูงอายุไทย ผู้วิจัยมุ่งเน้น ศึกษารูปแบบการใช้ประโยชนจากเทคโนโลยีการ สื่อสารปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกที่ส่งผลต่อการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารของผู้สูงอายุ และผลที่เกิดจาก การนำเทคโนโลยีการสื่อสารมาใช้ในชีวิตประจำวันของกลุมผู้สูงอายุ การวิจัยครั้งนี้ใช้แนวทางการวิจัย เชิงคุณภาพ ประชากรที่ใช้ในครั้งนี้ เป็นผู้สูงอายุที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ซึ่งมีคุณสมบัติเช่นเดียวกับ “กลุ่มสูงวัยใจ ดิจิทัล” ทั้งหมด 35 คน รวมรวบข้อมูลด้วยวิธีการสนทนากลุ่ม 12 คนและการสัมภาษณ์ แบบเจาะลึก 23 คน พบว่า รูปแบบการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีการสื่อสารของผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุ ใช้ประโยชน์ที่สร้างตัวตนให้ดู ทันสมัย และมักมีปฏิสัมพันธ์หรือกิจกรรมทางสังคม การสื่อสารที่สร้างตัวตนให้ดูทันสมัยกว่าผู้สูงอายุที่อยู่ใน วัยเดียวกัน ใช้ประโยชน์เพื่อปฏิสัมพันธ์กับคนในครอบครัวและกลุ่มเพื่อนที่สูงอายุ และผู้สูงอายุส่วนใหญ่ นอกจากจะศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองในการใช้เทคโนโลยี ยังมีคนในครอบครัวที่ช่วยเหลือในการให้คำแนะนำใน การใช้เทคโนโลยีการสื่อสาร และยังใช้เทคโนโลยีเพื่อการพักผ่อน ในเวลาว่าง หาความเพลิดเพลิน มากกว่า เป็นเครื่องมือที่จะใช้ทำธุรกรรมการเงิน เนื่องจากส่วนใหญ่ยังไม่มีความไว้วางใจในเทคโนโลยี ปัจจัยภายในและ ภายนอกที่ส่งผลต่อการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารของผู้สูงอายุ มีดังนี้ ปัจจัยภายใน ในเรื่องของอาชีพ หาก ผู้สูงอายุเคยทำงานเกี่ยวเทคโนโลยีก็จะเป็นต้นทุนที่ทำให้ผู้สูงอายุมีความคุ้นชินในการใช้เทคโนโลยีสื่อสาร การ เข้าถึง ส่วนใหญ่แล้วผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เมืองจะมีความรู้ความสามารถและมีโอกาสเข้าถึงเทคโนโลยีได้ มากกว่าผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในชนบท ปัจจัยภายนอก เนื่องจากได้รับอิทธิพลการใช้งานเทคโนโลยีส่วนใหญ่มา จากกลุ่มคนที่ใกล้ชิด หรือเพื่อนของผู้สูงอายุ และนำความรู้ที่ได้มาจากคนในครอบครัวไปถ่ายทอดแก่กลุ่ม เพื่อนๆคนอื่นๆอีกด้วย ผลที่เกิดจากการนำเทคโนโลยีการสื่อสารมาใช้ในชีวิตประจำวัน ผู้สูงอายุได้รับความรู้ และเข้าถึงข้อมูลมากขึ้น และสามารถใช้ติดต่อสื่อสาร จนส่งผลให้สุขภาพกายและใจเข้มแข้งขึ้น รวมทั้งด้าน ความสัมพันธ์ทางสังคมที่ส่งผลให้ผู้สูงอายุมีบทบาทมากขึ้น ในการเปิดโอกาสทางช่องทางแอพลิเคชั่นต่างๆ ถือ ว่าเป็นช่องทางที่เข้ามาช่วยเสริมสร้างการแสดงบทบาทที่มีคุณค่าสำหรับผู้สูงอายุ ณัฐกฤตา ศิริโสภณ (2561) ทำการศึกษาเรื่อง ประสิทธิผลของนวัตกรรมที่ส่งเสริมพฤติกรรม การป้องกัน การหกล้มในผู้สูงอายุ ผู้วิจัยมุ่งเน้น การเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการป้องกันการหกล้ม ในผู้สูงอายุก่อนและหลังได้รับนวัตกรรมส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุการวิจัยในครั้งนี้ เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง ประชากรที่ใช้ในการวิจัย เป็นผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในเขต
วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 28 กรุงเทพมหานครฯ จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ นวัตกรรมส่งเสริมพฤติกรรมการ ป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น และแบบสอบถามข้อมูลทั่วไปทางชีวสังคม พบว่า ผู้สูงอายุกลุ่ม ตัวอย่างได้รับนวัตกรรมส่งเสริม พฤติกรรมการป้องกันการหกล้ม ก่อนการทดลอง (ค่าเฉลี่ย 1.64) และหลัง การทดลอง (ค่าเฉลี่ย 1.77) ผู้สูงอายุกลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการป้องกันการหกล้ม มีการเปลี่ยนแปลงค่าเฉลี่ย สูงขึ้นกว่าก่อนการทดลอง เกิดจากการที่ผู้สูงอายุได้รับความรู้เกี่ยวกับโอกาสของการเกิดความเสี่ยงและความ รุนแรงจากการหกล้มทำให้ผู้สูงอายุตระหนักถึงความสำคัญมากยิ่งขึ้น และผู้สูงอายุมีการให้ความร่วมมือเพื่อ ป้องกันตนเอง ส่งผลให้พฤติกรรมการป้องกันการหกล้มดีขึ้นมีสมรรถภาพทางกายดีขึ้น คัมภิรัตน์ แก้วสุวรรณะ (2560) ทำการศึกษาเรื่อง นวัตกรรมสังคมด้านพฤฒพลังในการ พึ่งตนเองของผู้สูงอายุในจังหวัดนครราชสีมา ผู้วิจัยมุ่งเน้น การศึกษานวัตกรรมสังคมเกี่ยวกับผู้สูงอายุ และ นำเสนอแบบจำลองเพื่อเป็นแนวทางในการจัดทำนวัตกรรมสังคมทางด้านพฤฒพลังของผู้สูงอายุในจังหวัด นครราชสีมา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากรในการวิจัย ทั้งหมด 40 คน ด้วยการสัมภาษณ์แบบ ไม่เป็นทางการ การสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม/ไม่มีส่วนร่วมและการสนทนากลุ่ม พบว่า นวัตกรรมสังคมทางด้านพฤฒพลังของผู้สูงอายมีรูปแบบและลักษณะต่างๆ ดังนี้ มีการเตรียมตัวเพื่อเป็น ผู้สูงอายุ ในเรื่องการเงิน ที่อยู่อาศัย และการสร้างจิตสำนึกในการดูแลผู้สูงอายุให้แก่ครอบครัวและชุมชน โดย เน้น ด้านสุขภาพอนามัย ด้านสวัสดิการสังคม ด้านเศรษฐกิจและด้านสังคม การเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม หลากหลายรูปแบบ มีความรู้ในการดูแลสุขภาพร่างกายและจิตใจของตนเอง และแนวทางในการจัดทำ นวัตกรรมสังคมทาง ด้านพฤฒพลังของผู้สูงอายุใน จังหวัดนครราชสีมา ดังนี้ ผู้สูงอายุในจังหวัดนครราชสีมา มี การเตรียมตัวเพื่อเป็นผู้สูงอายุอยู่ในระดับน้อย ในด้านที่อยู่อาศัย ภาครัฐควรมีการสนับสนุนและมีส่วนร่วมใน การแก้ปัญหานี้ ทุกฝ่ายควรเริ่มดำเนินการด้วยการจัดตั้ง โครงการภารกิจ งบประมาณที่ปรับเปลี่ยนสถานที่ใน บ้านเพื่อให้สอดคล้องกับการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้สูงอายุให้มีความสะดวกขึ้น และถ้าหากผู้สูงอายุไม่ สามารถช่วยเหลือตนเองได้ควรมีการเข้าไปดูแลอย่างทั่วถึงและอุปกรณ์ช่วยเหลือที่เทียบเท่ากับโรงพยาบาล รวมทั้งมีการส่งเสริมการเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมแบบใหม่ๆ เช่น การตั้งชมรม เพื่อให้ผู้สูงอายุได้มีเพื่อนในวัย เดียวกันเพิ่มมากขึ้นและไม่รู้สึกว่าถูกทอดทิ้งและผู้สูงอายุในจังหวัดนครราชสีมา มีความตระหนักถึงความ เปลี่ยนแปลงในการดูแลสุขภาพร่างกายและจิตใจน้อยลง เนื่องจากผู้สูงอายุมีความคิดว่าการแพทย์ในปัจจุบันนี้ มีความก้าวหน้ามากขึ้น ทำให้มีการรักษาที่ดีและรวดเร็วมากขึ้น ควรมีการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีความรู้ความ เข้าใจในการดูแลสุขภาพ หรือโครงการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ งานวิจัยที่เกี่ยวข้องต่างประเทศ Shen and Tanui (2012) ได้ทำการศึกษาเรื่อง คุณภาพชีวิตและระบบสวัสดิการสังคม ผู้สูงอายุในประเทศจีน จีนมีนโยบายเกี่ยวกับประกันสังคมชนบทใหม่ในปี 2552 เพื่อประกันการ ดำรงชีวิตขั้น พื้นฐานของผู้สูงอายุในชนบท การศึกษานี้จึงสำรวจคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชนบท ของจีน ในการสำรวจได้ จัดทำขึ้นในมณฑลเจียงซู โดยมีเนื้อหาที่สำคัญ 4 ประการ ได้แก่ ด้านสุขภาพ ร่างกาย ด้านฐานะทางเศรษฐกิจ ด้านการดูแลผู้สูงอายุ และด้านความเหงาของผู้สูงอายุ
วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 29 ผลการวิจัยพบว่า ผู้สูงอายุในชนบทส่วนหนึ่งร้อยละ 16.2 ยังคงมีสุขภาพที่ไม่ดี ผู้ที่มีอายุ มากกว่า 80 ปีมีความต้องการด้านค่ารักษาพยาบาลเป็นพิเศษ นอกจากนี้ผู้สูงอายุในชนบทส่วนใหญ่ ยังได้รับ การสนับสนุนทางการเงินเพียงเล็กน้อยและมาตรฐานการดำรงชีวิตของพวกเขาอยู่ในระดับต่ำ ค่าเลี้ยงดูบุตร รายได้ทางการเกษตร และเงินบำนาญในชนบทที่เป็นแหล่งทำมาหากินหลักมีไม่เพียงพอ ความสามารถในการ ทำงานของการดูแลตนเองลดลงเรื่อย ๆ ตามวัย แม้ว่าโดยพื้นฐานแล้วครอบครัว จะต้องการดูแล แต่ชุมชนใน พื้นที่ผู้สูงอายุในชนบทมีสัดส่วนที่มากขึ้นถึงร้อยละ 12.5% ผู้สูงอายุส่วน ใหญ่มักรู้สึกเหงาและขาดกิจกรรม บันเทิง ดังนั้นจากการศึกษาในครั้งนี้ควรให้ความสำคัญกับ สถานการณ์ความเป็นอยู่ของผู้สูงอายุในชนบท อย่างเพียงพอโดยการปรับปรุงระบบสวัสดิการสังคม ผู้สูงอายุในประเทศจีน Yusran and Sabri (2020) ได้ทำการศึกษาเรื่อง นโยบายการพัฒนาคุณภาพชีวิตและ สวัสดิภาพผู้สูงอายุในสถานพยาบาลในจังหวัดสุมาตราตะวันตก มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาคุณภาพ ชีวิตความ เป็นอยู่ของผู้สูงอายุ โดยโครงสร้างประชากรของประเทศอินโดนีเซียในปัจจุบันเป็น โครงสร้างแบบเก่า เนื่องจากเปอร์เซ็นต์ของผู้สูงอายุมีเพิ่มขึ้นร้อยละ 7 ของประชากรทั้งหมด เพื่อตอบสนองความต้องการของ ผู้สูงอายุที่ถูกทอดทิ้งและคุณภาพชีวิตสวัสดิการที่ลดลงของผู้สูงอายุ โดยหน่วยงานมีการกำกับดูแล และได้จัด ให้มีบ้านพักคนชรา เพื่อเป็นทางเลือกในการดูแลผู้สูงอายุ ผลการวิจัยพบว่า สิ่งที่ไม่เหมาะสมในการปรับปรุงคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีของ ผู้สูงอายุในสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ได้แก่ โครงการสถาบันสิ่งอำนวยความสะดวก และโครงสร้างพื้นฐาน และ ระบบจัดหาทรัพยากรเสริมที่ไม่เป็นไปตามความต้องการของผู้สูงอายุ จึงสรุปได้ว่า คุณภาพและ สวัสดิการของ ผู้สูงอายุยังมีข้อจำกัด และไม่ได้รับการสนับสนุนจากนโยบายการปกครองที่ครอบคลุม 42 ดังนั้นจึงจำเป็นต้อง มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายเพื่อสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสวัสดิการ ของผู้สูงอายุภายในประเทศอีก ต่อไป จากการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องต่างประเทศ ทำให้เห็นถึงปัญหาของระบบสวัสดิการสังคม ผู้สูงอายุในแต่ละประเทศว่าควรปรับปรุงระบบสวัสดิการในด้านไหนให้ตอบสนองความต้องการของ ผู้สูงอายุ ในแต่ละพื้นที่ โดยต้องคำนึงถึงปัจจัยที่เอื้ออำนวยในแต่ละประเทศนั้น ไม่ว่าจะเป็น นโยบาย ของรัฐบาล บทบาทของเอกชน สถาบันการศึกษา และความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน ว่าแต่ละ ภาคส่วนเตรียมความ พร้อมกับสังคมสูงอายุอย่างไร เพื่อแก้ไขปัญหาพื้นฐานของผู้สูงอายุให้ตอบสนอง กับความต้องการ ดังนั้นแต่ละ ภาคส่วนจึงจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายเพื่อสนับสนุนการ พัฒนาคุณภาพชีวิตและสวัสดิการของ ผู้สูงอายุภายในประเทศอีกต่อไป โดยงานวิจัยเหล่านี้สามารถ นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาและปรับปรุง แบบสอบถามให้ตรงตามวัตถุประสงค์และเพื่อนำผล การศึกษามาเป็นแบบอย่างในการวางแผนและพัฒนาการ แก้ไขปัญหาเพื่อจัดสวัสดิการสังคมให้ตอบสนองตามความต้องการของผู้สูงอายุที่จะมีเพิ่มขึ้นสูงในอนาคตให้มี คุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป
วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 30 2.5 ปัจจัยที่มีอิทธิพลผลต่อความต้องการการจัดสวัสดิการด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุ ในปัจจุบัน การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับความต้องการด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมของผู้สูงอายุได้รับความ สนใจมากขึ้นเรื่อย ๆ เหตุเพราะหลายประเทศกำลังเข้าสู่หรือกลายเป็นสังคมผู้สูงอายุแล้ว อย่างเช่น ประเทศ ไทย เป็นต้น เมื่อจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น สวัสดิการสังคมและการดูแลผู้สูงอายุก็ต้องเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน เทคโนโลยีและนวัตกรรมเป็นเครื่องมือสำคัญอันหนึ่งในการจัดสวัสดิการ (Welfare Technology) ที่เชื่อว่าจะ ช่วยลดภาระของผู้ดูแลผู้สูงอายุลดจำนวนผู้ดูแล ลดต้นทุนในการดูแล ช่วยให้ผู้สูงอายุพึ่งตนเองได้มีความ ปลอดภัย และมีอิสระในการใช้ชีวิตมากขึ้น อย่างไรก็ตาม การปรับเปลี่ยนรูปแบบหรือการริเริ่มนำเอาอุปกรณ์ และบริการใหม่ ๆ มาใช้กับกลุ่มผู้สูงอายุมีความท้าทายสูง ขึ้นอยู่กับบริบททางสังคม (Social contexts of use and delivery) ลักษณะเฉพาะของแต่ละบุคคล (Individual characteristics) คุณสมบัติทางเทคนิค (Technical features) และ ช่องทางการสื่อสารหรือนำส่ง (Communication channels) ดังนั้น การ ศึกษาวิจัยจึงให้ความสนใจกับตัวแปรภายใต้กรอบทั้งสี่ด้านข้างต้น เพื่อสร้างองค์ความรู้และความเข้าใจใน พฤติกรรมการใช้งานเทคโนโยลีและนวัตกรรม ข้อจำกัดและประโยชน์ของเทคโนโยลีและนวัตกรรม อุปสรรค ต่อการยอมรับและการใช้งานเทคโนโยลีและนวัตกรรม รวมถึงกลไกต่าง ๆ ที่จะช่วยสนับสนุนการยอมรับและ การใช้งานเทคโนโยลีและนวัตกรรม (Chaiwoo & Coughlin 2015; Kinni, Raatikainen, Johansson, & Skön, 2016; พนม คลี่ฉายา, 2563) ปัจจัยที่ทำการศึกษาประกอบไปด้วย 10 ปัจจัย (ได้แก่ ปัจจัยด้าน คุณประโยชน์(Value), ปัจจัยด้านการใช้งาน (Usability), ปัจจัยด้านการประหยัด (Affordability), ปัจจัยด้าน การเข้าถึง (Accessibility), ปัจจัยด้านระบบสนับสนุนทางเทคนิค (Technical Support), ปัจจัยด้านระบบ สนับสนุนทางสังคม (Social Support), ปัจจัยด้านความชอบส่วนบุคคล (Emotion), ปัจจัยด้านความสามารถ พึ่งตนเอง (Independence), ปัจจัยด้านทักษะและความประสบการณ์ในอดีต (Experiences), ปัจจัยด้าน ความมั่นใจ (Confidence)) ที่ไม่เพียงช่วยให้เราทำความเข้าใจในพฤติกรรมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมของ ผู้สูงอายุโดยทั่วไป แต่ยังน่าจะเป็นตัวแปรสำคัญที่มีผลต่อการกำหนดความต้องการสวัสดิการสังคมด้าน เทคโนโลยีด้านเทคโนโยลีและนวัตกรรมในกลุ่มผู้สูงอายุในประเทศไทยด้วย 2.5.1 ปัจจัยด้านคุณประโยชน์ (Value) ที่มีผลความต้องการการจัดสวัสดิการสังคมด้าน เทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุ งานวิจัยนี้ได้กำหนดความหมายของคำว่า ‘คุณประโยชน์’ตาม ชัยวู ลี และโจเซฟ คอฟลิน (Chaiwoo and Coughlin, 2015) ที่ว่า คุณประโยชน์ (Value) หมายถึง ผู้สูงอายุรับรู้ถึงคุณประโยชน์ที่ (อาจจะ)เกิดขึ้นจากการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม จากการทบทวนวรรณกรรมจะพบว่า คุณประโยชน์ (Value) ของเทคโนโลยีและนวัตกรรมมีมากมายในการยกระดับคุณภาพชีวิตในด้านสุขภาพกายและสุขภาพจิต ด้านสังคม ด้านการเรียนรู้ และด้านการสื่อสาร ตัวอย่างเช่น จุฑารัตน์ ประเสริฐ (2557) ได้ศึกษาเรื่อง พฤติกรรมการใช้แอพพลิเคชั่นไลน์กับการรับรู้ตนเองและการสร้างสัมพันธ์กับผู้อื่นของผู้สูงอายุไทย ผล การศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ใช้แอพพลิเคชั่นไลน์ เพื่อการสนทนาส่วนบุคคล และการติดต่อสื่อสาร
วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 31 กับครอบครัวหรือบุตรหลาน เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร เหตุการณ์ประจำวัน โดยกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มี การรับรู้ตนเองอยู่ในเชิงบวกสูง ซึ่งการรับรู้ตนเองเชิงบวกมีความสัมพันธ์กันกับพฤติกรรมการใช้แอพพลิเคชั่น ไลน์นอกเหนือจากนี้กลุ่มตัวอย่างที่มีการสร้างความสัมพันธ์เชิงบวกกับบุคคลภายในและภายนอกครอบครัว อยู่ในดับสูงทั้งสองกลุ่ม ส่งผลทำให้กลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มมีการรับรู้และเรียนรู้การใช้งานแอพพลิเคชั่นไลน์ อยู่ในระดับดีมาก โดยเกิดจากการใช้งานเป็นประจำและอยู่ในวิธีชีวิตของผู้สูงอายุอยู่แล้ว จึงส่งผลให้มี ศักยภาพในการใช้แอพพลิเคชั่นไลน์ ประสพชัย พสุนนท์ และ วิกันดา เดชตานนท์ (2560) ได้ศึกษาเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่าง พฤติกรรมและความพึงพอใจในการใช้เฟซบุ๊กของผู้สูงอายุ ผลการศึกษาพบว่า พฤติกรรมการใช้สื่อออนไลน์ อย่างเฟซบุ๊กของผู้สูงอายุที่พบมากที่สุดคือ พฤติกรรมด้านการใช้ประโยชน์ เช่น ในการติดตามข่าวสาร บ้านเมือง รวมถึงการติดต่อสื่อสารกับคนในครอบครัว ลูกหลาน หรือเพื่อนสนิท และผู้สูงอายุยังมีความพึง พอใจในด้านการติดติอสื่อสารมากที่สุด โดยมีความพึงพอใจในการได้ติดต่อสื่อสารกับครอบครัวและลูกหลานที่ สะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้นมากที่สุด เนื่องจากมีการติดต่อสื่อสารผ่านเฟซบุ๊กที่มีความสะดวกรวดเร็ว รวมถึงการ สร้างความสัมพันธ์เชิงบวกกับความพึงพอใจในด้านสังคม และด้านความบันเทิงมากยิ่งขึ้นด้วย Davis และ Arbor (1989 อ้างถึงใน ภัทราวดี วงศ์สุเมธ, 2556) อธิบายถึง การรับรู้ถึง คุณประโยชน์ที่ได้รับ คือ ระดับความเชื่อเฉพาะบุคคลต่อการใช้เทคโนโลยีนั้น ๆ ว่าจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพใน การทำงานของตนได้ ซึ่งคนที่จะใช้หรือไม่ใช้นั้นอยู่ที่ว่า สิ่งนั้นจะช่วยให้การทำงานของเขาดีขึ้นหรือไม่ และยัง รวมไปถึงความรวดเร็วและความถูกต้องที่ทำให้งานมีประสิทธิภาพ ซึ่งการรับรู้ถึงประโยชน์ที่ได้รับจาก เทคโนโลยี ถือได้ว่าเป็นปัจจัยที่กำหนดการรับรู้ในแต่ละบุคคลว่าเทคโนโลยีสารสนเทศมีส่วนช่วยพัฒนา ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานได้อย่างไร และเป็นปัจจัยที่ส่งผลโดยตรงต่อความตั้งใจแสดงพฤติกรรมการใช้ด้วย นอกจากนี้ ยังต้องดูถึงการรับรู้ถึงความง่ายในการใช้งานของแต่ละบุคคล ถ้าหากเทคโนโลยีที่มี การใช้งานที่ ยากเกินไปก็จะมีผลต่อประสิทธิภาพและประโยชน์ต่องานไปด้วย สุรีย์ โรบินสัน (อ้างอิงในทศพนธ์ นรทัศน์, 2552) ได้กล่าวถึง การใช้ประโยชน์จาก อินเทอร์เน็ตสำหรับผู้สูงอายุว่ามิใช่เรื่องยากที่จะศึกษาหาความรู้ โดยทำความรู้จักกับอินเทอร์เน็ต ผู้สูงอายุเอง สามารถเรียนรู้การใช้อินเทอร์เน็ตร่วมกับเด็กหรือลูกหลานในครอบครัว ทำให้เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างกัน ในครอบครัว เกิดความรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่าในขณะเดียวกันผู้สูงอายุก็จะได้เรียนรู้วิทยาการใหม่ ๆ ด้วย ช่วย ฝึกสมอง ฝึกความฉับไวให้กับผู้สูงอายุเป็นการป้องกันโรคอัลไซเมอร์ ผู้สูงอายุสามารถค้นหาข้อมูลที่ต้องการ จากเว็บโซต์ การสื่อสารผ่าน e-Mail รวมทั้งสามารถ รับชมรายการโทรทัศน์แบบออนไลน์ หรือคลิปวิดีโอ ของ รายการต่าง ๆ ย้อนหลัง การอ่าน หนังสือพิมพ์ออนไลน์ การส่งบัตรอวยพรทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยไม่เสีย ค่าใช้จ่ายใด ๆ จริยา ปันทวังกูร (2558) ได้ศึกษาเรื่อง แนวทางการใช้ประโยชน์และการได้รับความพึงพอใจ การใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผลการศึกษาพบว่า นักศึกษามีการใช้ประโยชน์และมีความพึงพอใจในการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์อยู่ในระดับมากที่สุด สามารถ รับรู้ความง่ายในการใช้งาน และการรับรู้การใช้ประโยชน์เครือข่ายสังคมออนไลน์ได้เป็นอย่างดีซึ่งการรับรู้ว่ามี
วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 32 คุณประโยชน์ในการติดต่อสื่อสารกับบุคคลอื่น ๆ ทําได้สะดวกกว้างขวางและรวดเร็ว ได้รับข่าวสารมากขึ้นหรือ ได้พบปะบุคคลอื่นเพิ่มมากขึ้น รับ-ส่งข่าวสารต่าง ๆ จึงส่งผลทำให้นักศึกษาโดยส่วนใหญ่เป็นความสำคัญและ การศึกษาเรียนรู้เครือข่ายสังคมออนไลน์ สมาน ลอยฟ้า (2554) ได้ศึกษาเรื่อง ผู้สูงอายุกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ผลการศึกษาพบว่า อายุมีส่วนสำคัญและสัมพันธ์กับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ โดยผู้สูงอายุส่วนใหญ่เป็นผู้ที่ยังไม่ได้เป็นผู้รู้ เทคโนโลยีการสื่อสารขั้นพื้นฐานอย่างคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบสมาร์ตโฟนซึ่งมีปัจจัยเป็น เพราะ โอกาสและความจำเป็นในการใช้งานนั้นน้อยกว่าประชากรในช่วงวัยอื่น ๆ และยังไม่คุ้นชินกับการใช้งานเพราะ เทคโนโลยีการ สื่อสารต่าง ๆ เกิดมาภายหลังผู้สูงอายุเหล่านี้ทั้งการไม่ได้รับประสบการณ์ในการใช้งาน รวมถึง ข้อจำกัดด้านสภาพทางร่างกาย และภาวะสุขภาพ ทำให้ผู้สูงอายุขาดโอกาสในการเข้าถึงการสื่อสารสมัยใหม่ ผู้สูงอายุจึงควรได้รับการส่งเสริมในการเพิ่มโอกาสเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศได้เท่าเทียมกับกลุ่มคนวัยอื่น ๆ สร้างเป้าหมายที่ต้องการนำไปสู่ความตั้งใจที่จะกระทำสิ่งนั้นให้บรรลุเป้าหมาย คือ การนำเอาศักยภาพที่ เกี่ยวข้องกับบริบทนั้น ๆ เพื่อสร้างความเข้าใจในการตัดสินใจในการยอมรับเทคโนโลยีของผู้สูงอายุจน ก่อให้เกิดความเข้าใจถึงวิธีการการยอมรับการใช้เทคโนโลยีใหม่ของแต่ละบุคคลได้ชัดเจนยิ่งขึ้น สามารถใช้ ประโยชน์เทคโนโลยีสารสนเทศทางการสื่อสารได้อย่างเต็มศักยภาพในการเรียนรู้และดูแลตนเองได้ ความสำคัญของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตต่อผู้สูงอายุ (สมาน ลอยฟ้า, 2554) เป็นสิ่งที่เอื้อประโยชน์ต่อผู้สูงอายุในหลายด้าน ดังนี้ 1. ด้านคุณภาพชีวิตและสุขภาพ 1.1 ช่วยปรับปรุงและส่งเสริมคุณภาพชีวิตและช่วยแก้ปัญหา โดยจะช่วยให้ สามารถเข้าถึงสารสนเทศได้รวดเร็วและได้ง่ายยิ่งขึ้น อาทิสารสนเทศด้านการดูแลสุขภาพ เป็นต้น ซึ่งผู้สูงอายุ ที่ไม่ใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตจะไม่ได้ใช้ทรัพยากรสารสนเทศเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตเฉก เช่นกับผู้ที่ มีโอกาสใช้ 1.2 ช่วยส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีความรู้สึกว่าตนเองมีประสิทธิภาพซึ่งจะทำให้ พึ่งพาผู้อื่น น้อยลง และการที่ผู้สูงอายุสามารถดูแลสุขภาพได้ด้วยตนเองอยู่ที่บ้าน นอกจากจะช่วยให้ผู้สูงอายุมี คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นแล้ว ยังช่วยลดค่าใช้จ่ายของครอบครัวและรัฐในการดูแลผู้สูงอายุลงอีกด้วย 1.3 ให้โอกาสแก่ผู้สูงอายุที่มีข้อจำกัดในการเคลื่อนไหวร่างกายได้ทำกิจกรรม ต่าง ๆ ได้ด้วยตนเอง เช่น การสื่อสาร การใช้บริการต่าง ๆ ของรัฐ กิจกรรมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ความ บันเทิง และบริการอื่น ๆ เป็นต้น 1.4 ช่วยในการฟื้นฟูสมรรถนะของผู้สูงอายุโดยการเคลื่อนไหวมือในขณะทำงาน กับแป้นพิมพ์และเม้าส์ 1.5 ช่วยให้ผู้สูงอายุยังคงรักษารูปแบบการดำรงชีวิตที่เป็นอิสระ 1.6 เป็นเครื่องมือเพื่อชดเชยความเสื่อมสภาพของร่างกาย และเงื่อนไขทาง สังคม
วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 33 2. ด้านการเรียนรู้ 2.1 ช่วยกระตุ้นความสามารถในการคิดการเรียนรู้การอ่านและการทำความ เข้าใจกับ สิ่งที่อ่านความจำและชะลออาการภาวะสมองเสื่อม 2.2 ช่วยให้เป็นผู้ที่มีความสามารถในการเรียนรู้ตลอดชีวิต และเป็นการขยาย โอกาสใน การศึกษาและการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ 2.3 ช่วยให้มองเห็นถึงคุณค่าและประโยชน์ของการใช้คอมพิวเตอร์ 3. ด้านการติดต่อสื่อสารและสังคม 3.1 ช่วยอำนวยความสะดวกในการสื่อสารสามารถติดต่อสัมพันธ์กับครอบครัว ญาติพี่ น้องและเพื่อน ๆ ที่อยูห่างไกลได้สะดวกและดีขึ้น เช่น โดยการใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์และการที่ ผู้สูงอายุมีปฏิสัมพันธ์กับสังคม โดยมีโอกาสติดต่อกับโลกภายนอกใหม่อีกครั้งนั้น ช่วยให้เกิดความรู้สึก เพลิดเพลิน และยังเป็นวิธีการเชื่อมช่องว่างระหว่างวัยอีกด้วย 3.2 ช่วยส่งเสริมให้ผู้สูงอายุเป็นสมาชิกที่มีคุณค่าต่อสังคม เพิ่มระดับการทำ กิจกรรม เพื่อสังคมความเกี่ยวข้องกับชุมชน และความเป็นพลเมืองที่ดีและที่กระตือรือร้น 4. ด้านจิตวิทยาและสุขภาพจิต 4.1 ช่วยให้ผู้สูงอายุมีความเข้าใจตนเองและสังคม 4.2 ช่วยลดความรู้สึกเหงา หดหู่และอาการซึมเศร้าลง และเพิ่มความมั่นใจใน ตนเอง มากขึ้นเนื่องจากมีเพื่อนและติดต่อกับเพื่อนบนอินเทอร์เน็ต จะช่วยให้มีจิตใจกระปรี้กระเปร่าขึ้น ซึ่ง อาจทำให้ลืมความเจ็บปวดจากการป่วยไข้รวมถึงการคิดฆ่าตัวตาย 4.3 ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการตัดสินใจส่งเสริมความมีอำนาจ และความเป็น ตัวของตัวเอง สุรสิงห์ สมบัติ สุรนาถวัชวงศ์ และสุภาภรณ์ สุดหนองบัว (2564) ได้ศึกษาเรื่อง การ ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลกับการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 ผลการศึกษาพบว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 แม้ หน่วยงานรัฐจะมีมาตรการและนโยบาย ในการป้องกันการแพร่ระบาด ทั้งการจำกัดออกนอกที่พักอาศัย จำกัด การเดินทาง การเว้นระยะห่างทางสังคม ตลอดจนการดูแล สุขภาพของผู้สูงอายุในมิติ กาย จิต และสังคม แต่ ผู้สูงอายุถือว่าเป็นกลุ่มเปราะบางที่จะได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์ดังกล่าวมากกว่ากลุ่มอื่น ๆ การ ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุจึงตอบสนองข้อจำกัดทางด้าน สาธารณสุขซึ่งมี ความเชื่อมโยงกับมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดที่มีการจำกัดการดำเนินชีวิตในสถานการณ์ปกติในด้านต่าง ๆ อย่างไรก็ตามการนำ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มาเป็นฐานในการทำนายและออกแบบรูปแบบ การป้องกันและ ดูแลสุขภาพเป็นวิธีที่ง่ายและได้ประสิทธิภาพดี ซึ่งนำ มาเป็นฐานสร้างนวัตกรรมทางการดูแล สุขภาพของผู้สูงอายุได้อย่างเหมาะสม เช่น กิจกรรมทางกาย การจัดการความเครียด การนอนหลับ การปฏิบัติ วิถีชีวิตอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับพฤติกรรมสุขภาพ รวมทั้งในแนวทางการดูแลสุขภาพในผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง ก็ สามารถใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการให้คำปรึกษาจากบุคลากรทางการแพทย์ ยารักษาโรค และด้านเวชศาสตร์
วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 34 ฟื้นฟู เป็นต้น ซึ่งการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เป็นการวางแผนระบบการให้บริการดูแลสุขภาพ สามารถทำนาย และวางแผนการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุให้สถานการณ์การแพร่ระบาดโรคอื่นในอนาคตได้ หฤษฎ์ หวังเสรี (2562) ได้ศึกษาเรื่อง พฤติกรรมและการใช้ประโยชน์จากการเปิดรับชม รายการข่าวภาคเช้าทางสถานีโทรทัศน์ดิจิทัลของผู้สูงอายุที่นับถือศาสนาอิสลามในเขตกรุงเทพมหานคร ผลการวิจัยพบว่า (1) พฤติกรรมการเปิดรับชมรายการข่าวภาคเช้าทางสถานีโทรทัศน์ดิจิทัลผ่านอุปกรณ์ โทรทัศน์คิดเป็นร้อยละ 83.0 มีการรับชมรายการข่าวภาคเช้าในรูปแบบรับชมแบบสดคิดเป็นร้อย ละ 94.0 มี การรับชมรายการข่าวภาคเช้าทางสถานีโทรทัศน์ดิจิทัลช่อง 3 HD (เรื่องเล่าเช้านี้) คิดเป็นร้อยละ40.0 มีการ รับชมรายการข่าวภาคเช้าทางสถานีโทรทัศน์ดิจิทัลทุกวัน คิดเป็นร้อยละ 61.0 ใช้เวลาในการรับชมข่าวภาคเช้า ทางโทรทัศน์ดิจิทัลโดยเฉลี่ยในแต่ละวันมากกว่า 1 ชั่วโมงคิดเป็นร้อยละ 61.0 มีลักษณะในการรับชมรายการ ข่าวภาคเช้าแบบตั้งใจชมเฉพาะช่วงที่มีเนื้อหาน่าสนใจคิดเป็นร้อยละ 50.0 และเลือกรับชมรายการข่าวภาค เช้าทางสถานีโทรทัศน์ดิจิทัลเพราะเหตุผลเพื่อติดตามข่าวสารประจำวัน คิดเป็นร้อยละ 58.0 (2) การใช้ ประโยชน์จากรายการข่าวภาคเช้าทางสถานีโทรทัศน์ดิจิทัล พบว่า การใช้ประโยชน์จากรายการข่าวภาคเช้า ทางสถานีโทรทัศน์ดิจิทัล โดยรวมอยู่ในระดับมากเมื่อจำแนกเป็นรายข้อแล้ว พบว่า อยู่ในระดับมากทุกข้อ (3) ผู้สูงอายุที่นับถือศาสนาอิสลามในเขตกรุงเทพมหานครที่มีเพศต่างกัน มีการใช้ประโยชน์จากการเปิดรับ รายการข่าวภาคเช้าทางสถานีโทรทัศน์ดิจิทัล ไม่แตกต่างกัน (4) ผู้สูงอายุที่นับถือศาสนาอิสลามที่มีสถานภาพ ต่างกัน มีการใช้ประโยชน์จากการเปิดรับรายการข่าวภาคเช้าทางสถานีโทรทัศน์ดิจิทัลแตกต่างกันอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 โดยพบว่า ผู้สูงอายุที่มีสถานภาพสมรสและสถานภาพหม้าย/หย่าร้าง มีการใช้ ประโยชน์จากการเปิดรับรายการข่าวภาคเช้าทางสถานีโทรทัศน์ดิจิทัลสูงกว่าผู้สูงอายุที่มีสถานภาพโสด (5) ผู้สูงอายุที่นับถือศาสนาอิสลามที่มีอายุต่างกัน มีการใช้ประโยชน์จากการเปิดรับรายการข่าวภาคเช้าทาง สถานีโทรทัศน์ดิจิทัลแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (6) ผู้สูงอายุที่นับถือศาสนาอิสลามที่มี ระดับการศึกษาต่างกัน มีการใช้ประโยชน์จากการเปิดรับรายการข่าวภาคเช้าทาแงสถานีโทรทัศน์ดิจิทัลไม่ แตกต่างกัน ธนะรัตน์ ธนากิจเจริญสุข และยงยุทธ ศรีแสงอ่อน (2565) ได้ศึกษาเรื่อง การพัฒนาอินโฟ กราฟิกแบบความจริงเสริมที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นเป็นแอปพลิเคชันแบบความ จริงเสริมที่เปิดผ่านโปรแกรม v-player สามารถ เปิดดูด้วยมือถือหรือแท็บเล็ตรองรับทั้งระบบปฏิบัติการ IOS และ Android ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับการมีสุขภาพที่ดีของผู้สูงอายุประกอบด้วยทานอย่างไรให้สมดุล สารอาหาร ในผู้สูงอายุ ท่าทางการออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุและคำแนะนำสำหรับการออกกำลังกาย ผลการวิจัยสรุป ได้ ดังนี้ 1. ความต้องการของผู้สูงอายุที่มีต่อแนว ทางการส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีสำหรับผู้สูงอายุ ได้แก่ การมี สุขภาพที่ดีมีร่างกายแข็งแรง มีความสัมพันธ์ทางสังคม มีสิ่งแวดล้อมที่ดีตามลำดับ 2. อินโฟกราฟิกแบบความ จริงเสริมที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่พัฒนาขึ้น มีระดับคุณภาพด้านเนื้อหาอยู่ในระดับดีและคุณภาพ ด้านสื่อ อยู่ในระดับดีมาก (ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.11 และ 4.21 ตามลำดับ) 3. ความพึงพอใจของผู้สูงอายุที่มีต่อ อินโฟกราฟิกแบบความจริงเสริมที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุอยู่ ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.12 )
วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 35 กฤษติศักดิ์ พูลสวัสดิ์และศักดิ์สิทธิ์ ราชรักษ์ (2565) ได้ศึกษาเรื่อง สื่อบันเทิงและบริการด้าน สุขภาพบนแพลตฟอร์มดิจิทัลสําหรับผู้สูงอายุ ผลของการวิจัยเชิงปริมาณพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง จํานวน 315 จาก 429 ราย คิดเป็นร้อยละ 73.4 อายุระหว่าง 50-74 ปีรายได้เฉลี่ยไม่เกิน 30,000 บาท/เดือน คุ้นเคยกับเทคโนโลยีและใช้โซเชียลมีเดียในชีวิตประจําวัน นิยมใช้ไลน์มากที่สุด และ เฟซบุ๊ก เป็นลําดับรองลงมา เพื่อค้นหาข้อมูลด้าน การท่องเที่ยว ด้านสุขภาพ และการพักผ่อนหย่อนใจ เฉพาะ อย่างยิ่งกิจกรรมทางด้านดนตรีและ บันเทิง ส่วนใหญ่ไม่นิยมใช้ แพลตฟอร์มดิจิทัล/แอปพลิเคชัน ที่เสียค่า สมาชิก อีกทั้งยังพบว่า ปัจจัยด้าน ผลิตภัณฑ์, ราคา, สถานที่, การส่งเสริมการขาย,คน, กระบวนการ, องค์ประกอบ ทางกายภาพ มีระดับความคิดเห็นด้านปัจจัยที่ส่งผลอยู่ในเกณฑ์ “มาก” ทุกปัจจัย โดย เพศ และ ระดับการศึกษา ที่แตกต่างกัน ไม่ส่งผล แต่ อายุ อาชีพ และรายได้ ที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้ แพลตฟอร์มดิจิทัล/แอปพลิเคชัน อย่างมีนัยสําคัญที่สถิติ 0.05 และจากการ วิจัยเชิงคุณภาพพบว่า แพลตฟอร์มดิจิทัล/แอปพลิเคชัน ที่เหมาะกับผู้สูงอายุ ควรออกแบบให้ใช้งานง่าย ไม่ซับซ้อน ใช้ตัวอักษรขนาด ใหญ่ สีสันไม่ฉูดฉาด เป็นมิตรต่อผู้สูงอายุ มีการจัดประเภทและหมวดหมู่ที่ชัดเจน ง่ายต่อการค้นหา สามารถใช้ งานได้กับโทรศัพท์มือถือแบบสมาร์ทโฟน และที่สําคัญอัตราค่าบริการต้องไม่สูงจนเกินไป ธิดารัตน์ สาระพล (2561) ได้ศึกษาเรื่อง ความต้องการสารสนเทศของผู้สูงอายุเพื่อพัฒนา คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ โรงเรียนผู้สูงอายุตำบลมะอึ อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด ผลการวิจัยพบว่า ผู้สูงอายุสามารถรับรู้สารสนเทศ ได้จากการฟัง มีคุณภาพชีวิตชีวิตด้านที่อยู่อาศัย และ มีความต้องการ สารสนเทศด้านเนื้อหาสารสนเทศ คือ คุณภาพชีวิต ที่เกี่ยวกับความต้องการเรื่องการดูแลสุขภาพในแต่ละโรค เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูงมากที่สุด ด้านเนื้อหาของสารสนเทศ ที่สำคัญ คือ เรื่องการศึกษา การเรียนรู้ที่ จัดให้กับผู้สูงอายุ ด้านรูปแบบของสารสนเทศ คือ สื่อโสตวัสดุ เช่น รายการวิทยุ เสียงตามสาย ด้านแหล่ง สารสนเทศ คือ มีบุคลากรเฉพาะประสานงานเกี่ยวกับผู้สูงอายุ และ ด้านอื่น ๆ คือ มีการจัดกิจกรรมที่ เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ ทั้งนี้จากการทบทวนผลการวิจัยที่ผ่านมาที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุและเทคโนโลยีการสื่อสาร ทั้งของนักวิชาการชาวไทยและต่างประเทศ พบว่า ผู้สูงอายุมักมีวัตถุประสงค์ในการใช้เทคโนโลยีการสื่อสาร เพื่อสร้างตัวตนให้ดูทันสมัย (กําจร หลุยยะพงศ์, 2553) เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างคนในครอบครัว ญาติพี่น้อง และเพื่อนฝูง ผ่านการปฏิสัมพันธ์ในโปรแกรม/แอพพลิเคชั่นต่าง ๆ (Smith, 2014) รวมทั้งการ แสวงหาข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับการดูแลรักษาสุขภาพ (Kobayashi, Wardle, & von Wagner, 2015) นอกจากนี้การใช้เทคโนโลยีการสื่อสารยังเกิดจากปัจจัยที่เกี่ยวกับอิทธิพลจากสังคม ครอบครัว และกลุ่มเพื่อน (นันทิช ฉลองโภคศิลชัย และหทัยชนก สุขเจริญ, 2555) ความสนใจในการเรียนรู้ ความเชื่อมั่นในศักยภาพการเรียนรู้ของตนรวมทั้งการคาดหวังถึงประโยชน์ที่จะได้รับจากเทคโนโลยีการสื่อสาร (Cheyjunya, 2016) สภาพแวดล้อมและโครงสร้างพื้นฐานที่เอื้ออํานวยและความคิดที่ว่าเทคโนโลยีการสื่อสาร จะนํามาซึ่งความสะดวกสบายในชีวิตมากขึ้น (Peek, Wouters, van Hoof, Luijkx, Boeije, & Vrijhoef, 2014) ในขณะที่ผลจากการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารของผู้สูงอายุ พบว่า ช่วยเสริมสร้างการปฏิสัมพันธ์ระหว่าง ครอบครัว และกลุ่มเพื่อนฝูง รวมทั้งช่วยในการแสวงหาข้อมูลข่าวสารที่ทันสมัยอยู่เสมอ (Roberto, Alice, &