วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 86 ผู้ตอบแบบสอบได้รับความช่วยเหลือหรือแรงบันดาลใจจากหน่วยงานราชการในการใช้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม อยู่ในระดับน้อย จำนวน 266 คน (ร้อยละ 66.5) และระดับมาก จำนวน 134 คน (ร้อยละ 33.5) ผู้ตอบแบบสอบได้รับความช่วยเหลือหรือแรงบันดาลใจผ่านสื่อช่องทางโซเชียลมีเดีย อยู่ใน ระดับน้อย จำนวน 258 คน (ร้อยละ 64.5) และระดับมาก จำนวน 142 คน (ร้อยละ 35.5) ความรู้สึกชื่นชอบ (Emotion): หมายถึง ผู้สูงอายุรู้สึกหลงใหล ชื่นชอบ และมีความเชื่อ ส่วนตัวว่าเทคโนโลยีและนวัตกรรมเป็นสิ่งที่ดีสำหรับผู้สูงอายุ ผู้ตอบแบบสอบมีความรู้สึกหลงใหลและชื่นชอบในเทคโนโลยีและนวัตกรรม อยู่ในระดับน้อย จำนวน 275 คน (ร้อยละ 68.8) และระดับมาก จำนวน 125 คน (ร้อยละ 31.3) ผู้ตอบแบบสอบมีความรู้สึกว่าเทคโนโลยีและนวัตกรรมช่วยลดความเครียดและสร้างความสุข ให้แก่ผู้สูงอายุ อยู่ในระดับน้อย จำนวน 237 คน (ร้อยละ 59.3) และระดับมาก จำนวน 163 คน (ร้อยละ 40.8) ผู้ตอบแบบสอบใช้เวลานาน/หมกมุ่นในการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม อยู่ในระดับน้อย จำนวน 297 คน (ร้อยละ 74.3) และระดับมาก จำนวน 103 คน (ร้อยละ 25.8) ผู้ตอบแบบสอบต้องการซื้อ/เป็นเจ้าของเทคโนโลยีและนวัตกรรมรุ่นใหม่อยู่เสมอ อยู่ในระดับ น้อย จำนวน 306 คน (ร้อยละ 76.5) และระดับมาก จำนวน 94 คน (ร้อยละ 23.5) ผู้ตอบแบบสอบมีความรู้สึกว่าเทคโนโลยีและนวัตกรรมสร้างความสุขให้แก่ผู้สูงอายุ อยู่ใน ระดับน้อย จำนวน 246 คน (ร้อยละ 61.5) และระดับมาก จำนวน 154 คน (ร้อยละ 38.5) ความสามารถในการพึ่งตนเอง (Independence): หมายถึง ผู้สูงอายุมี (ภาพลักษณ์หรือ การถูกมองว่ามี) ความสามารถในการพึ่ง/ดูแลตนเองได้เมื่อใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม ผู้ตอบแบบสอบคิดว่าเทคโนโลยีและนวัตกรรมช่วยลดภาวะพึ่งพิงของผู้สูงอายุในการ ดำรงชีวิต อยู่ในระดับน้อย จำนวน 238 คน (ร้อยละ 59.5) และระดับมาก จำนวน 162 คน (ร้อยละ 40.5) ผู้ตอบแบบสอบคิดว่าเทคโนโลยีและนวัตกรรมช่วยให้ผู้สูงอายุลงทะเบียนเพื่อรับสวัสดิการได้ ด้วยตนเอง อยู่ในระดับน้อย จำนวน 241 คน (ร้อยละ 60.3) และระดับมาก จำนวน 159 คน (ร้อยละ 39.8) ผู้ตอบแบบสอบคิดว่าการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมทำให้ท่านมีภาพลักษณ์ที่ดีทันสมัย อยู่ ในจำนวนน้อย จำนวน 244 คน (ร้อยละ 61.0) และระดับมาก จำนวน156 คน (ร้อยละ 39.0) ผู้ตอบแบบสอบคิดว่าการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมทำให้เรียนรู้และเสริมสร้างสิ่งใหม่ ๆ เสมอ อยู่ในระดับน้อย จำนวน 231 คน (ร้อยละ 57.8) และระดับมาก จำนวน 169 คน (ร้อยละ 42.3) ผู้ตอบแบบสอบคิดว่าเทคโนโลยีและนวัตกรรมช่วยให้สามารถแบ่งปันประสบการณ์ให้แก่ ผู้อื่นได้อยู่ใยระดับน้อย จำนวน 227 คน (ร้อยละ 56.8) และระดับมาก จำนวน 173 คน (ร้อยละ 43.3)
วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 87 ทักษะและประสบการณ์ในอดีต (Experiences): หมายถึง ผู้สูงอายุมีประสบการณ์ ทักษะ พื้นฐานหรือคุ้นเคยกับการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม ผู้ตอบแบบสอบมีประสบการณ์ มีทักษะพื้นฐานกับการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม อยู่ใน ระดับน้อย จำนวน 264 คน (ร้อยละ 66.0) และระดับมาก จำนวน 136 คน (ร้อยละ 34.0) ผู้ตอบแบบสอบมีทักษะขั้นสูงในการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม อยู่ในระดับน้อย จำนวน 295 คน (ร้อยละ 73.8) และระดับมาก จำนวน 105 คน (ร้อยละ 26.3) ผู้ตอบแบบสอบสามารถเรียนรู้และเข้าใจวิธีการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมจากการฝึกหัดได้ ในครั้งแรก อยู่ฝนระดับน้อย จำนวน 289 คน (ร้อยละ 72.3) และระดับมาก จำนวน 111 คน (ร้อยละ 27.8) ผู้ตอบแบบสอบคุ้นเคยกับการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม อยู่ในระดับน้อย จำนวน 287 คน (ร้อยละ71.8) และระดับมาก จำนวน 113 คน (ร้อยละ 28.2) ผู้ตอบแบบสอบมีประสบการณ์ในการลงทะเบียนเพื่อรับสวัสดิการผ่านช่องทางออนไลน์ อยู่ในระดับน้อย จำนวน 284 คน (ร้อยละ 71.0) และระดับมาก จำนวน 116 คน (ร้อยละ 29.0) ความมั่นใจ (Confidence): หมายถึง ผู้สูงอายุได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนให้ใช้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยปราศจากการความวิตกกังวลหรือความกลัว ผู้ตอบแบบสอบวิตกกังวลว่าจะทำผิดหรือสร้างความเสียหายให้กับอุปกรณ์หรือผู้อื่น หากใช้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมตามลำพัง อยู่ในระดับน้อย จำนวน 211 คน (ร้อยละ 52.8) และระดับมาก จำนวน 189 คน (ร้อยละ 47.3) ผู้ตอบแบบสอบรู้สึกไม่มั่นใจในการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมก็ต่อเมื่อมีผู้ดูแลหรือคนที่ท่าน ไว้ใจอยู่ด้วย อยู่ในระดับน้อย จำนวน 219 คน (ร้อยละ 54.8) และระดับมาก จำนวน 181 คน (ร้อยละ 45.3) ผู้ตอบแบบสอบกลัวเสียงดัง (ลำโพง) อยู่ในระดับน้อย จำนวน 265 คน (ร้อยละ 66.3) และ ระดับมาก จำนวน 135 คน (ร้อยละ 33.8) ผู้ตอบแบบสอบกลัวสูญเสียความเป็นส่วนตัว เมื่อกรอกข้อมูลส่วนบุคคลในแพลตฟอร์มดิจิทัล อยู่ในระดับน้อย จำนวน 172 คน (ร้อยละ 43.0) และระดับมาก จำนวน 228 คน (ร้อยละ 57.0) ผู้ตอบแบบสอบรู้สึกไม่มั่นใจในการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมด้วยตนเองเพราะได้รับการ แนะนำ/สอนวิธีการใช้อย่างแม่นยำ อยู่ในระดับน้อย จำนวน 177 คน (ร้อยละ 44.3) และระดับมาก จำนวน 223 คน (ร้อยละ 55.8) โดยข้อมูลการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิผลต่อความต้องการสวัสดิการสังคมด้านเทคโนโลยีและ นวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุโดยใช้สถิติค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) มีรายละเอียดดังตาราง 4.5-4.14
วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 88 ตารางที่ 4.5 ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระดับความคิดเห็นเกี่ยวปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความต้องการการ จัดสวัสดิการด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุด้านคุณประโยชน์ (Value) ด้านคุณประโยชน์(Value): ค่าเฉลี่ย (x̅) ส่วน เบี่ยงเบน มาตรฐาน (SD) แปลผล 3.1.1) ท่านทราบถึงประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต และประโยชน์ต่อการ ทำกิจวัตรประจำวัน (เช่น ระบบติดตาม (Tracking service) นาฬิกา อัจฉริยะ (Smart watch) เครื่องมือทางการแพทย์อัจฉริยะ กล้อง CCTV Smart home ปลั๊กไฟฟ้าอัจฉริยะ ประตูอัจฉริยะ เป็นต้น) 3.12 1.464 สูง 3.1.2) ท่านทราบถึงประโยชน์ต่อสุขภาพ หรือสามารถแก้ไขปัญหา/ ลดอุปสรรคที่เกิดขึ้นจากความเจ็บป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ (เช่น ลดการเดินทางไปโรงพยาบาล/ธนาคาร/ร้านอาหาร หรือเพิ่มความ สะดวกในมิติอื่น ๆ เป็นต้น) 3.10 1.443 สูง 3.1.3) ท่านทราบถึงประโยชน์ในการสร้างความใกล้ชิดกับครอบครัว ญาติและเพื่อน 3.11 1.493 สูง 3.1.4) ท่านทราบถึงประโยชน์ในการส่งเสริมกิจกรรมทางสังคม ศาสนพิธี/กิจกรรมทางความเชื่อ งานสังสรรค์ และงานประเพณี นันทนาการ เช่น การทำบุญตักบาตร 3.25 1.465 สูง 3.1.5) ท่านทราบถึงประโยชน์ในการทำให้รู้เท่าทันความเปลี่ยนแปลง ทางสังคม เช่น การติดตามข่าว สารบ้านเมือง การฉีดวัคซีนป้องกัน โรค Covid-19 3.33 1.499 สูง รวม 3.18 1.318 สูง จากตารางที่ 4.5 แสดงค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระดับความคิดเห็นเกี่ยวปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อ ความต้องการการจัดสวัสดิการด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุด้านคุณประโยชน์ (Value) หมายถึง ผู้สูงอายุรับรู้ถึงคุณประโยชน์ที่(อาจจะ)เกิดขึ้นจากการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม พบว่า ผู้ตอบ แบบสอบถามจำนวน 400 คน ในภาพรวมอยู่ในระดับสูง เมื่อพิจารณารายข้อสามารถเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจาก มากไปหาน้อย ดังนี้
วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 89 ลำดับที่ 1 ท่านทราบถึงประโยชน์ในการทำให้รู้เท่าทันความเปลี่ยนแปลงทางสังคม เช่น การติดตามข่าว สารบ้านเมือง การฉีดวัคซีนป้องกันโรค Covid-19 (Mean = 3.33) ลำดับที่ 2 ท่านทราบถึงประโยชน์ในการส่งเสริมกิจกรรมทางสังคม ศาสนพิธี/กิจกรรมทาง ความเชื่อ งานสังสรรค์ และงานประเพณี นันทนาการ เช่น การทำบุญตักบาตร (Mean = 3.25) ลำดับที่ 3 ท่านทราบถึงประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต และประโยชน์ต่อการทำกิจวัตรประจำวัน (เช่น (เช่น ระบบติดตาม (Tracking service) นาฬิกาอัจฉริยะ (Smart watch) เครื่องมือทางการแพทย์ อัจฉริยะ กล้อง CCTV Smart home ปลั๊กไฟฟ้าอัจฉริยะ ประตูอัจฉริยะ เป็นต้น) (Mean = 3.12) ลำดับที่ 4 ท่านทราบถึงประโยชน์ในการสร้างความใกล้ชิดกับครอบครัว ญาติและเพื่อน (Mean = 3.11) ลำดับที่ 5 ท่านทราบถึงประโยชน์ต่อสุขภาพ หรือสามารถแก้ไขปัญหา/ลดอุปสรรคที่เกิดขึ้น จากความเจ็บป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ (เช่น ลดการเดินทางไปโรงพยาบาล/ธนาคาร/ร้านอาหาร หรือเพิ่ม ความสะดวกในมิติอื่น ๆ เป็นต้น) (Mean = 3.10) ตารางที่ 4.6 ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระดับความคิดเห็นเกี่ยวปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความต้องการการ จัดสวัสดิการด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุด้านการใช้งาน (Usability) การใช้งาน (Usability) ค่าเฉลี่ย (x̅) ส่วน เบี่ยงเบน มาตรฐาน (SD) แปลผล 3.2.1) ท่านสามารถใช้งานได้ด้วยตนเอง 2.91 1.545 ต่ำ 3.2.2) ท่านสามารถใช้งานได้ ก็ต่อเมื่อมีคนช่วยแนะนำขณะใช้งาน เท่านั้น เช่น คนในครอบครัว ผู้ดูแล เพื่อน อาสาสมัคร เจ้าหน้าที่ ธนาคาร เจ้าหน้าที่องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น นักสังคมสงเคราะห์ เป็นต้น 3.04 1.504 สูง 3.2.3) ท่านสามารถเข้าใจการสื่อความหมายจากภาษาหรือรูปภาพ ในคู่มือการใช้งาน และท่านเลือกใช้ตัวอักษรแบบตัวหนา และ/หรือ ขนาดใหญ่ 3.03 1.483 สูง 3.2.4) ท่านสามารถใช้จอแบบสัมผัส (Touch screen) ได้ 2.96 1.545 ต่ำ 3.2.5) ท่านสามารถจดจำรหัสผ่านและขั้นตอนการใช้งานได้ เช่น รหัสบัตร ATM บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เครื่องตรวจโรคเบาหวาน 3.18 1.558 สูง รวม 3.02 1.299 สูง
วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 90 จากตารางที่ 4.6 แสดงค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระดับความคิดเห็นเกี่ยวปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อ ความต้องการการจัดสวัสดิการด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุด้านการใช้งาน (Usability) หมายถึง ผู้สูงอายุรับรู้ถึงฟังก์ชันการใช้งานที่ง่ายหรือระบบการทำงานของเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่สามารถ เรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 400 คน ในภาพรวมอยู่ในระดับสูง เมื่อพิจารณาราย ข้อสามารถเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ลำดับที่ 1 ท่านสามารถจดจำรหัสผ่านและขั้นตอนการใช้งานได้ เช่น รหัสบัตร ATM บัตร สวัสดิการแห่งรัฐ เครื่องตรวจโรคเบาหวาน (Mean = 3.18) ลำดับที่ 2 ท่านสามารถใช้งานได้ ก็ต่อเมื่อมีคนช่วยแนะนำขณะใช้งานเท่านั้น เช่น คนใน ครอบครัว ผู้ดูแล เพื่อน อาสาสมัคร เจ้าหน้าที่ธนาคาร เจ้าหน้าที่องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น นักสังคม สงเคราะห์ เป็นต้น (Mean = 3.04) ลำดับที่ 3 ท่านสามารถเข้าใจการสื่อความหมายจากภาษาหรือรูปภาพในคู่มือการใช้งาน และท่านเลือกใช้ตัวอักษรแบบตัวหนา และ/หรือ ขนาดใหญ่ (Mean = 3.03) ลำดับที่ 4 ท่านสามารถใช้จอแบบสัมผัส (Touch screen) ได้(Mean = 2.96) ลำดับที่ 5 ท่านสามารถใช้งานได้ด้วยตนเอง (Mean = 2.91) ตารางที่ 4.7 ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระดับความคิดเห็นเกี่ยวปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความต้องการการ จัดสวัสดิการด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุด้านความประหยัด (Affordability) ความประหยัด (Affordability) ค่าเฉลี่ย (x̅) ส่วน เบี่ยงเบน มาตรฐาน (SD) แปลผล 3.3.1) ท่านสามารถซื้อหรือจัดหาเทคโนโลยีและนวัตกรรม เช่น สมาร์ทโฟน ไอแพด แท็ปเล็ท นาฬิกาอัจฉริยะ รถเข็นอัจฉริยะ ลิฟท์ บันไดอัจฉริยะ เครื่องช่วยฟัง 2.84 1.540 ต่ำ 3.3.2) ท่านสามารถจ่ายค่าธรรมเนียมการใช้งานเทคโนโลยีและ นวัตกรรม เช่น ค่าธรรมเนียมรายปีบัตรเอทีเอ็ม ค่าบริการ อินเตอร์เน็ตรายเดือน เป็นต้น 2.88 1.517 ต่ำ 3.3.3) ท่านประหยัดเงินหรือลดค่าใช้จ่ายลง เมื่อใช้เทคโนโลยีและ นวัตกรรม เช่น ค่าเดินทาง ค่ารักษาพยาบาล เป็นต้น 2.93 1.565 ต่ำ 3.3.4) ท่านได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐ เพื่อใช้เทคโนโลยีและ นวัตกรรม เช่น เงินทุน เงินอุดหนุน เงินกู้ เป็นต้น และท่านได้รับเงิน สนับสนุนจากครอบครัว เพื่อใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม เช่น เงินค่า เลี้ยงดู เป็นต้น 2.58 1.421 ต่ำ 3.3.5) ท่านได้รับเงินกู้จากผู้อื่นหรือหน่วยงานเอกชน เพื่อใช้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เช่น เงินกู้ เงินผ่อน เป็นต้น 2.53 1.418 ต่ำ รวม 2.75 1.291 ต่ า
วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 91 จากตารางที่ 4.7 แสดงค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระดับความคิดเห็นเกี่ยวปัจจัยที่มี อิทธิพลต่อความต้องการการจัดสวัสดิการด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุด้านความประหยัด (Affordability) หมายถึง ผู้สูงอายุรับรู้ถึงราคาที่สามารถจ่ายได้ในการซื้อหรือจัดหาใช้งาน และความประหยัด หรือต้นทุนที่ลดลงเมื่อใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 400 คน ในภาพรวมอยู่ ในระดับต่ำ เมื่อพิจารณารายข้อสามารถเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ลำดับที่ 1 ท่านประหยัดเงินหรือลดค่าใช้จ่ายลง เมื่อใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม เช่น ค่า เดินทาง ค่ารักษาพยาบาล เป็นต้น (Mean = 2.93) ลำดับที่ 2 ท่านสามารถจ่ายค่าธรรมเนียมการใช้งานเทคโนโลยีและนวัตกรรม เช่น ค่าธรรมเนียมรายปีบัตรเอทีเอ็ม ค่าบริการอินเตอร์เน็ตรายเดือน เป็นต้น (Mean = 2.88) ลำดับที่ 3 ท่านสามารถซื้อหรือจัดหาเทคโนโลยีและนวัตกรรม เช่น สมาร์ทโฟน ไอแพด แท็ป เล็ท นาฬิกาอัจฉริยะ รถเข็นอัจฉริยะ ลิฟท์บันไดอัจฉริยะ เครื่องช่วยฟัง (Mean = 2.84) ลำดับที่ 4 ท่านได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐ เพื่อใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม เช่น เงินทุน เงิน อุดหนุน เงินกู้ เป็นต้น และท่านได้รับเงินสนับสนุนจากครอบครัว เพื่อใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม เช่น เงินค่า เลี้ยงดู เป็นต้น (Mean = 2.58) ลำดับที่ 5 ท่านได้รับเงินกู้จากผู้อื่นหรือหน่วยงานเอกชน เพื่อใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม เช่น เงินกู้ เงินผ่อน เป็นต้น (Mean = 2.53) ตารางที่ 4.8 ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระดับความคิดเห็นเกี่ยวปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความต้องการการ จัดสวัสดิการด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุด้านการเข้าถึง (Accessibility) ด้านการเข้าถึง (Accessibility) ค่าเฉลี่ย (x̅) ส่วน เบี่ยงเบน มาตรฐาน (SD) แปลผล 3.4.1) ท่านทราบข้อมูลเกี่ยวกับสวัสดิการที่ท่านพึงได้รับผ่านช่องทาง ดิจิทัล เช่น เว็ปไซต์ ไลน์ เฟสบุ๊ค เป็นต้น 2.92 1.567 ต่ำ 3.4.2) ตู้เอทีเอ็มและธนาคารตั้งอยู่ใกล้กับที่อยู่อาศัยของท่าน 3.31 1.586 สูง 3.4.3) ท่านสามารถใช้อินเตอร์เน็ตประชารัฐได้ 2.71 1.485 ต่ำ 3.4.4) ท่านสามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตของผู้ให้บริการภาคเอกชน ได้ เช่น True Ais Dtac เป็นต้น 2.81 1.555 ต่ำ 3.4.5) ท่านมีและสามารถใช้สมาร์ทโฟน หรืออุปกรณ์เทคโนโลยี สารสนเทศอื่น ๆ (เช่น คอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต นาฬิกาอัจฉริยะ เป็นต้น) ในการลงทะเบียนเพื่อรับสวัสดิการได้ 2.82 1.627 ต่ำ รวม 2.91 1.358 ต่ า
วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 92 จากตารางที่ 4.8 แสดงค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระดับความคิดเห็นเกี่ยวปัจจัยที่มี อิทธิพลต่อความต้องการการจัดสวัสดิการด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุด้านการเข้าถึง (Accessibility) หมายถึง ผู้สูงอายุมีข้อมูล ความรู้ และความสามารถในการเข้าถึงแหล่ง หรือมีระบบนำส่ง เทคโนโลยีและนวัตกรรม พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 400 คน ในภาพรวมอยู่ในระดับต่ำ เมื่อพิจารณา รายข้อสามารถเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ลำดับที่ 1 ตู้เอทีเอ็มและธนาคารตั้งอยู่ใกล้กับที่อยู่อาศัยของท่าน (Mean = 3.31) ลำดับที่ 2 ท่านทราบข้อมูลเกี่ยวกับสวัสดิการที่ท่านพึงได้รับผ่านช่องทางดิจิทัล เช่น เว็ปไซต์ ไลน์ เฟสบุ๊ค เป็นต้น (Mean = 2.92) ลำดับที่ 3 ท่านมีและสามารถใช้สมาร์ทโฟน หรืออุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศอื่น ๆ (เช่น คอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต นาฬิกาอัจฉริยะ เป็นต้น) ในการลงทะเบียนเพื่อรับสวัสดิการได้(Mean = 2.82) ลำดับที่ 4 ท่านสามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตของผู้ให้บริการภาคเอกชนได้ เช่น True AIS Dtac เป็นต้น (Mean = 2.81) ลำดับที่ 5 ท่านสามารถใช้อินเตอร์เน็ตประชารัฐได้(Mean = 2.71) ตารางที่ 4.9 ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระดับความคิดเห็นเกี่ยวปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความต้องการการ จัดสวัสดิการด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุด้านระบบสนับสนุนทางเทคนิค (Technical Support) ด้านระบบสนับสนุนทางเทคนิค (Technical Support) ค่าเฉลี่ย (x̅) ส่วน เบี่ยงเบน มาตรฐาน (SD) แปลผล 3.5.1) ท่านได้รับการอบรม การแนะนำ หรือความช่วยเหลือทาง เทคนิคหรือด้านดิจิทัล 2.91 1.568 ต่ำ 3.5.2) ท่านได้รับบริการติดตั้งสำหรับการใช้งาน 2.97 1.554 ต่ำ 3.5.3) ท่านได้รับบริการซ่อม/บำรุงรักษาระบบ 2.85 1.534 ต่ำ 3.5.4) ท่านเข้าใจคู่มือการใช้เกี่ยวกับเทคนิค 2.82 1.528 ต่ำ 3.5.5) ท่านมี (ศูนย์บริการ) ใกล้บ้าน หรือศูนย์ให้คำปรึกษาทาง โทรศัพท์ (Call Center) 2.94 1.546 ต่ำ รวม 2.87 1.484 ต่ า
วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 93 จากตารางที่ 4.9 แสดงค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระดับความคิดเห็นเกี่ยวปัจจัยที่มี อิทธิพลต่อความต้องการการจัดสวัสดิการด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุด้านระบบสนับสนุน ทางเทคนิค (Technical Support) หมายถึง ผู้สูงอายุได้รับความช่วยเหลือทางเทคนิคหรือด้านดิจิทัลที่ เพียงพอและมีคุณภาพ ตลอดระยะเวลาการครองครองเทคโนโลยีและนวัตกรรมพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 400 คน ในภาพรวมอยู่ในระดับต่ำ เมื่อพิจารณารายข้อสามารถเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ลำดับที่ 1 ท่านได้รับบริการติดตั้งสำหรับการใช้งาน (Mean = 2.97) ลำดับที่ 2 ท่านมี (ศูนย์บริการ) ใกล้บ้าน หรือศูนย์ให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์ (Call Center) (Mean = 2.94) ลำดับที่ 3 ท่านได้รับการอบรม การแนะนำ หรือความช่วยเหลือทางเทคนิคหรือด้านดิจิทัล (Mean = 2.91) ลำดับที่ 4 ท่านได้รับบริการซ่อม/บำรุงรักษาระบบ (Mean = 2.85) ลำดับที่ 5 ท่านเข้าใจคู่มือการใช้เกี่ยวกับเทคนิค (Mean = 2.82) ตารางที่ 4.10 ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระดับความคิดเห็นเกี่ยวปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความต้องการการ จัดสวัสดิการด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุด้านระบบสนับสนุนทางสังคม (Social Support) ด้านระบบสนับสนุนทางสังคม (Social Support) ค่าเฉลี่ย (x̅) ส่วน เบี่ยงเบน มาตรฐาน (SD) แปลผล 3.6.1) ท่านได้รับความช่วยเหลือหรือแรงบันดาลใจจากคนใน ครอบครัว/ผู้ดูแล ในการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม 3.07 1.579 สูง 3.6.2) ท่านได้รับความช่วยเหลือหรือแรงบันดาลใจจากเพื่อนในการ ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม 3.01 1.537 สูง 3.6.3) ท่านได้รับความช่วยเหลือหรือแรงบันดาลใจจากคนในชุมชน ในการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม เช่น ผู้นำ อพม. อาสาสมัครอื่น ๆ 3.01 1.602 สูง 3.6.4) ท่านได้รับความช่วยเหลือหรือแรงบันดาลใจจากหน่วยงาน ราชการในการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม เช่น พม. สาธารณสุข ปกครอง แรงงาน เป็นต้น 2.91 1.430 ต่ำ 3.6.5) ท่านได้รับความช่วยเหลือหรือแรงบันดาลใจผ่านสื่อช่องทาง โซเชียลมีเดีย 2.92 1.504 ต่ำ รวม 2.98 1.400 ต่ า
วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 94 จากตารางที่4.10 แสดงค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระดับความคิดเห็นเกี่ยวปัจจัยที่มี อิทธิพลต่อความต้องการการจัดสวัสดิการด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุด้านระบบสนับสนุน ทางสังคม (Social Support) หมายถึง ผู้สูงอายุได้รับความช่วยเหลือจากคนในครอบครัว เพื่อน และชุมชน ตลอดระยะเวลาการครองครองเทคโนโลยีและนวัตกรรม พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 400 คน ในภาพรวมอยู่ในระดับต่ำ เมื่อพิจารณารายข้อสามารถเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ลำดับที่ 1 ท่านได้รับความช่วยเหลือหรือแรงบันดาลใจจากคนในครอบครัว/ผู้ดูแล ในการใช้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (Mean = 3.07) ลำดับที่ 2 ท่านได้รับความช่วยเหลือหรือแรงบันดาลใจจากเพื่อนในการใช้เทคโนโลยีและ นวัตกรรม (Mean = 3.01) ลำดับที่ 3 ท่านได้รับความช่วยเหลือหรือแรงบันดาลใจจากคนในชุมชนในการใช้เทคโนโลยี และนวัตกรรม เช่น ผู้นำ อพม. อาสาสมัครอื่น ๆ (Mean = 3.01) ลำดับที่ 4 ท่านได้รับความช่วยเหลือหรือแรงบันดาลใจผ่านสื่อช่องทางโซเชียลมีเดีย (Mean = 2.92) ลำดับที่ 5 ท่านได้รับความช่วยเหลือหรือแรงบันดาลใจจากหน่วยงานราชการในการใช้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เช่น พม. สาธารณสุข ปกครอง แรงงาน เป็นต้น (Mean = 2.91) ตารางที่ 4.11 ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระดับความคิดเห็นเกี่ยวปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความต้องการการ จัดสวัสดิการด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุด้านความรู้สึกชื่นชอบ (Emotion) ด้านความรู้สึกชื่นชอบ (Emotion) ค่าเฉลี่ย (x̅) ส่วน เบี่ยงเบน มาตรฐาน (SD) แปลผล 3.7.1) ท่านมีความรู้สึกหลงใหลและชื่นชอบในเทคโนโลยีและ นวัตกรรม เช่น สมาร์ทโฟน ไลน์ เฟสบุ๊ค เป็นต้น 2.75 1.487 ต่ำ 3.7.2) ท่านมีความรู้สึกว่าเทคโนโลยีและนวัตกรรมช่วยลด ความเครียดและสร้างความสุขให้แก่ผู้สูงอายุ 3.07 1.505 สูง 3.7.3) ท่านใช้เวลานาน/หมกมุ่นในการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม 2.60 1.439 ต่ำ 3.7.4) ท่านต้องการซื้อ/เป็นเจ้าของเทคโนโลยีและนวัตกรรมรุ่นใหม่ อยู่เสมอ เช่น สมาร์ทโฟน 2.52 1.458 ต่ำ 3.7.5) ท่านมีความรู้สึกว่าเทคโนโลยีและนวัตกรรมสร้างความสุข ให้แก่ผู้สูงอายุ 3.05 1.555 สูง รวม 2.79 1.283 ต่ า
วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 95 จากตารางที่ 4.11 แสดงค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระดับความคิดเห็นเกี่ยวปัจจัยที่มี อิทธิพลต่อความต้องการการจัดสวัสดิการด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุด้านความรู้สึกชื่นชอบ (Emotion) หมายถึง ผู้สูงอายุรู้สึกหลงใหล ชื่นชอบ และมีความเชื่อส่วนตัวว่าเทคโนโลยีและนวัตกรรมเป็นสิ่ง ที่ดีสำหรับผู้สูงอายุ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 400 คน ในภาพรวมอยู่ในระดับต่ำ เมื่อพิจารณารายข้อ สามารถเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ลำดับที่ 1 ท่านมีความรู้สึกว่าเทคโนโลยีและนวัตกรรมช่วยลดความเครียดและสร้างความสุข ให้แก่ผู้สูงอายุ (Mean = 3.07) ลำดับที่ 2 ท่านมีความรู้สึกว่าเทคโนโลยีและนวัตกรรมสร้างความสุขให้แก่ผู้สูงอายุ (Mean = 3.05) ลำดับที่ 3 ท่านมีความรู้สึกหลงใหลและชื่นชอบในเทคโนโลยีและนวัตกรรม เช่น สมาร์ทโฟน ไลน์ เฟสบุ๊ค เป็นต้น (Mean = 2.75) ลำดับที่ 4 ท่านใช้เวลานาน/หมกมุ่นในการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม (Mean = 2.60) ลำดับที่ 5 ท่านต้องการซื้อ/เป็นเจ้าของเทคโนโลยีและนวัตกรรมรุ่นใหม่อยู่เสมอ เช่น สมาร์ท โฟน (Mean = 2.52) ตารางที่ 4.12 ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระดับความคิดเห็นเกี่ยวปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความต้องการการ จัดสวัสดิการด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุ ด้านความสามารถในการพึ่งตนเอง (Independence) ด้านความสามารถในการพึ่งตนเอง (Independence) ค่าเฉลี่ย (x̅) ส่วน เบี่ยงเบน มาตรฐาน (SD) แปลผล 3.8.1)ท่านคิดว่าเทคโนโลยีและนวัตกรรมช่วยลดภาวะพึ่งพิงของ ผู้สูงอายุในการดำรงชีวิต เช่น การส่งสินค้าอุปโภค บริโภค ยารักษา โรค 3.11 1.482 สูง 3.8.2) ท่านคิดว่าเทคโนโลยีและนวัตกรรมช่วยให้ผู้สูงอายุลงทะเบียน เพื่อรับสวัสดิการได้ด้วยตนเอง 3.01 1.494 สูง 3.8.3) ท่านคิดว่าการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมทำให้ท่านมี ภาพลักษณ์ที่ดีทันสมัย 3.15 1.436 สูง 3.8.4) ท่านคิดว่าการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมทำให้เรียนรู้และ เสริมสร้างสิ่งใหม่ ๆ เสมอ 3.15 1.539 สูง 3.8.5) ท่านคิดว่าเทคโนโลยีและนวัตกรรมช่วยให้สามารถแบ่งปัน ประสบการณ์ให้แก่ผู้อื่นได้ 3.24 1.486 สูง รวม 3.12 1.382 สูง
วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 96 จากตารางที่ 4.12 แสดงค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระดับความคิดเห็นเกี่ยวปัจจัยที่มี อิทธิพลต่อความต้องการการจัดสวัสดิการด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุด้านความสามารถใน การพึ่งตนเอง (Independence) หมายถึง ผู้สูงอายุรับรู้ถึงภาพลักษณ์หรือการถูกมองว่ามีความสามารถในการ พึ่ง/ดูแลตนเองได้เมื่อใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 400 คน ในภาพรวมอยู่ ในระดับสูง เมื่อพิจารณารายข้อสามารถเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ลำดับที่ 1 ท่านคิดว่าเทคโนโลยีและนวัตกรรมช่วยให้สามารถแบ่งปันประสบการณ์ให้แก่ผู้อื่น ได้(Mean = 3.24) ลำดับที่ 2 ท่านคิดว่าการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมทำให้ท่านมีภาพลักษณ์ที่ดีทันสมัย (Mean = 3.15) ลำดับที่ 3 ท่านคิดว่าการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมทำให้เรียนรู้และเสริมสร้างสิ่งใหม่ ๆ เสมอ (Mean = 3.15) ลำดับที่ 4 ท่านคิดว่าเทคโนโลยีและนวัตกรรมช่วยลดภาวะพึ่งพิงของผู้สูงอายุในการ ดำรงชีวิต เช่น การส่งสินค้าอุปโภค บริโภค ยารักษาโรค (Mean = 3.11) ลำดับที่ 5 ท่านคิดว่าเทคโนโลยีและนวัตกรรมช่วยให้ผู้สูงอายุลงทะเบียนเพื่อรับสวัสดิการได้ ด้วยตนเอง (Mean = 3.01) ตารางที่ 4.13 ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระดับความคิดเห็นเกี่ยวปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความต้องการการ จัดสวัสดิการด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุ ด้านทักษะและประสบการณ์ในอดีต (Experiences) ด้านทักษะและประสบการณ์ในอดีต (Experiences) ค่าเฉลี่ย (x̅) ส่วน เบี่ยงเบน มาตรฐาน (SD) แปลผล 3.9.1) ท่านมีประสบการณ์ มีทักษะพื้นฐานกับการใช้เทคโนโลยีและ นวัตกรรม 2.82 1.533 ต่ำ 3.9.2) ท่านมีทักษะขั้นสูงในการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม 2.54 1.513 ต่ำ 3.9.3) ท่านสามารถเรียนรู้และเข้าใจวิธีการใช้เทคโนโลยีและ นวัตกรรมจากการฝึกหัดได้ในครั้งแรก 2.59 1.455 ต่ำ 3.9.4) ท่านคุ้นเคยกับการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม 2.59 1.452 ต่ำ 3.9.5) ท่านมีประสบการณ์ในการลงทะเบียนเพื่อรับสวัสดิการผ่าน ช่องทางออนไลน์ 2.64 1.461 ต่ำ รวม 2.63 1.356 ต่ า
วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 97 จากตารางที่4.13 แสดงค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระดับความคิดเห็นเกี่ยวปัจจัยที่มี อิทธิพลต่อความต้องการการจัดสวัสดิการด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุด้านทักษะและ ประสบการณ์ในอดีต (Experiences) หมายถึง ผู้สูงอายุมีประสบการณ์ ทักษะพื้นฐานหรือคุ้นเคยกับการใช้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 400 คน ในภาพรวมอยู่ในระดับต่ำ เมื่อพิจารณา รายข้อสามารถเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ลำดับที่ 1 ท่านมีประสบการณ์ มีทักษะพื้นฐานกับการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม (Mean = 2.82) ลำดับที่ 2 ท่านมีประสบการณ์ในการลงทะเบียนเพื่อรับสวัสดิการผ่านช่องทางออนไลน์ (Mean = 2.64) ลำดับที่ 3 ท่านคุ้นเคยกับการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม (Mean = 2.59) ลำดับที่ 4 ท่านสามารถเรียนรู้และเข้าใจวิธีการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมจากการฝึกหัดได้ ในครั้งแรก (Mean = 2.59) ลำดับที่ 5 ท่านมีทักษะขั้นสูงในการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม (Mean = 2.54) ตารางที่ 4.14 ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระดับความคิดเห็นเกี่ยวปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความต้องการการ จัดสวัสดิการด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุด้านความมั่นใจ (Confidence) ด้านความมั่นใจ (Confidence) ค่าเฉลี่ย (x̅) ส่วน เบี่ยงเบน มาตรฐาน (SD) แปลผล 3.10.1) ท่านวิตกกังวลว่าจะทำผิดหรือสร้างความเสียหายให้กับ อุปกรณ์หรือผู้อื่น เช่น คนในครอบครัว ผู้ดูแล เพื่อน คนในชุมชน หากใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมตามลำพัง 3.36 1.634 สูง 3.10.2) ท่านรู้สึกไม่มั่นใจในการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมก็ต่อเมื่อ มีผู้ดูแลหรือคนที่ท่านไว้ใจอยู่ด้วย 3.32 1.478 สูง 3.10.3) ท่านกลัวเสียงดัง (ลำโพง) 2.94 1.425 ต่ำ 3.10.4) ท่านกลัวสูญเสียความเป็นส่วนตัว เมื่อกรอกข้อมูลส่วนบุคคล ในแพลตฟอร์มดิจิทัล เช่น ไลน์ เฟสบุ๊ค แอปพลิเคชั่นอื่น ๆ เป็นต้น 3.79 1.647 สูง 3.10.5) ท่านรู้สึกไม่มั่นใจในการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมด้วย ตนเองเพราะได้รับการแนะนำ/สอนวิธีการใช้อย่างแม่นยำ 3.61 1.529 สูง รวม 3.40 1.299 สูง
วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 98 จากตารางที่4.14 แสดงค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระดับความคิดเห็นเกี่ยวปัจจัยที่มี อิทธิพลต่อความต้องการการจัดสวัสดิการด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุด้านความมั่นใจ (Confidence) หมายถึง ผู้สูงอายุได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนให้ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยปราศจาก การความวิตกกังวลหรือความกลัว พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 400 คน ในภาพรวมอยู่ในระดับสูง เมื่อพิจารณารายข้อสามารถเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ลำดับที่ 1 ท่านกลัวสูญเสียความเป็นส่วนตัว เมื่อกรอกข้อมูลส่วนบุคคลในแพลตฟอร์มดิจิทัล เช่น ไลน์ เฟสบุ๊ค แอปพลิเคชั่นอื่น ๆ เป็นต้น (Mean = 3.79) ลำดับที่ 2 ท่านรู้สึกไม่มั่นใจในการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมด้วยตนเองเพราะได้รับการ แนะนำ/สอนวิธีการใช้อย่างแม่นยำ (Mean = 3.61) ลำดับที่ 3 ท่านวิตกกังวลว่าจะทำผิดหรือสร้างความเสียหายให้กับอุปกรณ์หรือผู้อื่น เช่น คน ในครอบครัว ผู้ดูแล เพื่อน คนในชุมชน หากใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมตามลำพัง (Mean = 3.36) ลำดับที่ 4 ท่านรู้สึกไม่มั่นใจในการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมก็ต่อเมื่อมีผู้ดูแลหรือคนที่ท่าน ไว้ใจอยู่ด้วย (Mean = 3.32) ลำดับที่ 5 ท่านกลัวเสียงดัง (ลำโพง) (Mean = 2.94) ส่วนที่4 ความพึงพอใจจากการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับสวัสดิการสังคมส าหรับผู้สูงอายุ ผู้ตอบแบบสอบถามระบุความพึงพอใจในรูปแบบเปอร์เซ็นต์ มากที่สุดมีความพึงพอใจ ระหว่างร้อยละ 50-80 คิดเป็น 48.3 รองลงมา พึงพอใจที่ร้อยละ 80-100 และพึงพอใจน้อยกว่าร้อยละ 50 ตามลำดับ (คะแนนสูงสุด 100 เปอร์เซ็นต์) เมื่อรับบริการและสวัสดิการสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม (เช่น โครงข่ายอินเตอร์เน็ต/อินเตอร์เน็ตประชารัฐ, เป๋าตัง, หมอพร้อม, บัตรเอทีเอ็ม, การสื่อสารผ่านช่องทาง โซเชียลมีเดียเพื่อให้ข้อมูล/ความช่วยเหลือต่าง ๆ เป็นต้น) ซึ่งสะท้อนระดับความต้องการการจัดสวัสดิการ สังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุ รายละเอียดผลการวิเคราะห์ดังตารางที่ 4.15 ตารางที่ 4.15 แสดงค่าร้อยละความพึงพอใจเมื่อรับบริการและสวัสดิการสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม สำหรับผู้สูงอายุ Reส่วนที่4 Frequency Percent Valid Percent Cumulative Percent Valid น้อยกว่า 50 90 22.5 22.5 22.5 50 - 80 193 48.3 48.3 70.8 80 - 100 117 29.3 29.3 100.0 Total 400 100.0 100.0
วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 99 ส่วนที่ 5 ข้อเสนอแนะ ผู้ตอบแบบสอบถามได้เสนอแนะเกี่ยวกับการจัดสวัสดิการสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม สำหรับผู้สูงอายุ ดังนี้ มีการแจกมือถือให้ผู้สูงอายุ มีอบรมการใช้งานด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุและเรียนรู้อย่าง ต่อเนื่อง อยากให้มีการอบรมผู้สูงอายุใช้สื่อต่าง ๆ ให้จัดทุก ๆ 3 - 4 เดือนต่อครั้งจะได้มี กิจกรรมใช้สมองพบปะเพื่อนๆบ่อยขึ้น ต้องการหูฟังที่ทันสมัยกว่าเดิมให้มีระบบเช็คตามความพิการและบริการให้ต่อเนื่อง การเดินไปรับหูฟังที่โรงพยาบาลลำบากมาก จัดอบรมการใช้งานด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุทุก ๆ ปีจะได้มี กิจกรรมร่วมกันหลายๆคน ต้องการอุปกรณ์อัจฉริยะเพื่อช่วยความพิการ ต้องการอุปกรณ์อัจฉริยะสำหรับผู้สูงอายุ ต้องการให้หน่วยงานภาครัฐจัดสรรอุปกรณ์ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมให้ผู้สูงอายุ ส่วนที่ 6 ผลการทดสอบสมการเชิงท านายโดยประยุกต์ใช้สถิติแบบการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis: MRA) ผลการการทดสอบสมการเชิงทำนายโดยประยุกต์ใช้สถิติแบบการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis: MRA) สามารถแสดงได้ ดังนี้ ตารางที่ 4.16 แสดงผลการวิเคราะห์ความแปรปรวน (Results of Analysis of Variance (ANOVA)) Set of Predictors Level of Significance (p-value) 1. เทคโนโลยีและนวัตกรรมสวัสดิการสังคม 2. คุณประโยชน์ 3. การใช้งาน 4. ความประหยัด 5. การเข้าถึง 6. ระบบ สนับสนุนทางเทคนิค 7. ระบบสนับสนุนทางสังคม 8. ความรู้สึกชื่นชอบ 9. ความสามารถในการพึ่งพาตนเอง 10. ทักษะและประสบการณ์ในอดีต 11. ความมั่นใจ 0.000** *=p<0.05; **=p<0.01 ตัวแปรตาม (Dependent Variable): ระดับความพึงพอใจด้านบริการและสวัสดิการสังคมด้านเทคโนโลยีและ นวัตกรรม
วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 100 สมมติฐาน (Hypothesis): H0: ชุดตัวแปรทำนายซึ่งประกอบด้วย 1. เทคโนโลยีและนวัตกรรมสวัสดิการสังคม 2. คุณประโยชน์ 3. การใช้งาน 4. ความประหยัด 5. การเข้าถึง 6. ระบบสนับสนุนทางเทคนิค 7. ระบบ สนับสนุนทางสังคม 8. ความรู้สึกชื่นชอบ 9. ภาพลักษณ์ด้านความสามารถในการพึ่งพาตนเอง 10. ทักษะและ ประสบการณ์ในอดีต 11. ความมั่นใจ ไม่มีความสัมพันธ์กับตัวแปรตาม (ระดับความพึงพอใจด้านบริการและ สวัสดิการสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม) HA: ชุดตัวแปรทำนายซึ่งประกอบด้วย 1. เทคโนโลยีและนวัตกรรมสวัสดิการสังคม 2. คุณประโยชน์ 3. การใช้งาน 4. ความประหยัด 5. การเข้าถึง 6. ระบบสนับสนุนทางเทคนิค 7. ระบบ สนับสนุนทางสังคม 8. ความรู้สึกชื่นชอบ 9. ภาพลักษณ์ด้านความสามารถในการพึ่งพาตนเอง 10. ทักษะและ ประสบการณ์ในอดีต 11. ความมั่นใจ มีความสัมพันธ์กับตัวแปรตาม (ระดับความพึงพอใจด้านบริการและ สวัสดิการสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม) จากตารางที่ 4.16 ค่า p-value = 0.000 น้อยกว่า 0.050 จึงปฏิเสธสมมติฐานหลักและ สามารถสรุปได้ว่า ชุดตัวแปรทำนายซึ่งประกอบด้วย 1. เทคโนโลยีและนวัตกรรมสวัสดิการสังคม 2. คุณประโยชน์ 3. การใช้งาน 4. ความประหยัด 5. การเข้าถึง 6. ระบบสนับสนุนทางเทคนิค 7. ระบบ สนับสนุนทางสังคม 8. ความรู้สึกชื่นชอบ 9. ภาพลักษณ์ด้านความสามารถในการพึ่งพาตนเอง 10. ทักษะและ ประสบการณ์ในอดีต 11. ความมั่นใจ มีความสัมพันธ์กับตัวแปรตาม (ระดับความพึงพอใจด้านบริการและ สวัสดิการสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม) ตารางที่ 4.17 แสดงผลการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยของตัวแปรอิสระแต่ละตัวที่จะนำมาพยากรณ์ (Results of Standardized Coefficients (Beta)) Model Standardized Coefficients Collinearity Statistics Beta Tolerance VIF เทคโนโลยีและนวัตกรรมสวัสดิการสังคม -.045 .219 4.558 คุณประโยชน์ -.069 .171 5.854 การใช้งาน .054 .145 6.879 ความประหยัด .068 .123 8.134 การเข้าถึง .117 .113 8.848 ระบบสนับสนุนทางเทคนิค -.145 .159 6.291 ระบบสนับสนุนทางสังคม .076 .116 8.646 ความรู้สึกชื่นชอบ -.014 .130 7.696 ความสามารถในการพึ่งพาตนเอง .182 .206 4.843 ทักษะและประสบการณ์ในอดีต .349 .188 5.331 ความมั่นใจ -.043 .621 1.610 R 2 = 0.278
วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 101 จากตารางที่ 4.17 แสดงผลการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยของตัวแปรอิสระแต่ละตัว ที่จะนำมาพยากรณ์สามารถแทนค่าในสมการได้ดังนี้ ระดับความพึงพอใจด้านบริการและสวัสดิการสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม = 0.349 ทักษะและประสบการณ์ในอดีต + 0.182 ความสามารถในการพึ่งพาตนเอง + 0.117 การเข้าถึง + 0.076 ระบบสนับสนุนทางสังคม + 0.068 ความประหยัด + 0.054 การใช้งาน – 0.145 ระบบสนับสนุนทางเทคนิค – 0.069 คุณประโยชน์– 0.045 เทคโนโลยีและนวัตกรรมสวัสดิการสังคม – 0.043 ความมั่นใจ – 0.014 ความรู้สึกชื่นชอบ จากผลการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์การถดถอย (Multiple Regression Analysis: MRA) สามารถสรุปได้ว่าเมื่อตัวแปรตามเปลี่ยนแปลงไป 1 หน่วย ทักษะและประสบการณ์ในอดีต มีความสัมพันธ์เชิง บวกกับตัวแปรตามในระดับ 0.349 รองมาคือภาพลักษณ์ด้านความสามารถในการพึ่งพาตนเอง เท่ากับ 0.182 และตามด้วยการเข้าถึง เท่ากับ 0.117 และเรียงไปตามลำดับ โดยเมื่อเปรียบระดับ Standardised Coefficient (Beta) ของทักษะและประสบการณ์ในอดีต (0.349) กับ ความรู้สึกชื่นชอบ (0.014) มีระดับ ต่างกันประมาณ 25 เท่า อนึ่ง สมการทำนายนี้มีระดับ R 2 = 0.278 หรือ 27.8% ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ยอมรับได้ทาง สังคมศาสตร์ (Social Science Discipline) โดยค่า R2 ควรใกล้เคียงค่า 0.3 หรือ 30% (Auaumnoy, 2002; Zumitzavan & Michie, 2015) และตัวแปรในสมการทำนายนี้ทุกตัวมีค่า VIF ไม่เกิน 10 ในขณะที่ค่า Tolerance เข้าใกล้ 1 ซึ่งสามารถสรุปได้ว่าสมการทำนายนี้ไม่พบปัญหา Multicollinearity ตารางที่ 4.18 แสดงความสัมพันธ์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความต้องการการจัดสวัสดิการด้านเทคโนโลยีและ นวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุ Independent Variables X1 X2 X3 X4 X5 X6 X7 X8 X9 X10 X11 เทคโนโลยีและนวัตกรรม สวัสดิการสังคม 1 คุณประโยชน์ .594** 1 การใช้งาน .728** .820** 1 ความประหยัด .845** .728** .870** 1 การเข้าถึง .734** .806** .872** .854** 1 ระบบสนับสนุนทางเทคนิค .709** .784** .832** .792** .894** 1 ระบบสนับสนุนทางสังคม .708** .842** .858** .832** .896** .873** 1 ความรู้สึกชื่นชอบ .794** .714** .829** .857** .847** .792** .855** 1 ความสามารถในการพึ่งพาตนเอง .566** .825** .771** .708** .800** .781** .833** .779** 1 ทักษะและประสบการณ์ในอดีต .814** .559** .747** .825** .742** .708** .728** .858** .651** 1 ความมั่นใจ .307** .561** .471** .383** .470** .395** .449** .443** .531** .361** 1 Level of Significances (*=<0.05; **=<0.01)
วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 102 จากตารางที่ 4.18 แสดงความสัมพันธ์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความต้องการการจัดสวัสดิการ ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุ พบว่า ความสัมพันธ์ของตัวแปรต้นในรายคู่มีความสัมพันธ์อย่าง มีนัยสำคัญที่ระดับต่ำกว่า 0.01 และค่า Pearson’s Coefficient สูงกว่า 0.8 หรือค่าความสหสัมพันธ์มีค่าสูง กว่า 80% ในบางรายคู่ แต่เมื่อตรวจสอบค่า VIF และ Tolerance แล้วไม่มีค่าของตัวแปรต้นใดที่เกินค่าที่ กำหนดโดย VIF ไม่ควรเกิน 10 และ Tolerance ควรเข้าใกล้1 จึงสามารถสรุปได้ว่าไม่พบปัญหา Multicollinearity ในชุดตัวแปรทำนายนี้
วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 103 บทที่ 5 ผลการศึกษาเชิงคุณภาพ ผลการศึกษาเชิงคุณภาพเก็บรวบรวมมาจากการสัมภาษณ์เชิงลึกเพื่อเพิ่มเติมต่อยอดจากผล การศึกษาเชิงปริมาณที่บ่งชี้ว่าตัวแปรสามตัว ได้แก่ ทักษะและประสบการณ์ในอดีต ความสามารถในการพึ่งพา ตนเอง และการเข้าถึง มีแนวโน้มโดดเด่นที่สุดต่อการกำหนดความต้องการการจัดสวัสดิการด้านเทคโนโลยีและ นวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตามลำดับ การสัมภาษณ์เชิงลึกได้ดำเนินการระหว่าง วันที่ 10 – 18 กรกฎาคม 2566 ในเขตพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม ขอนแก่น และเลย ผู้ให้ข้อมูลหลักมีจำนวน ทั้งสิ้น 13 คน ประกอบได้ด้วย เจ้าหน้าที่รัฐ (ระดับบริหาร) จำนวน 3 คน, ผู้สูงอายุ (ตัวแทนประธานกลุ่ม ผู้สูงอายุ) จำนวน 1 คน, และอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงมนุษย์ จำนวน 9 คน โดยหากจำแนก ตามภูมิลำเนา จะเห็นว่ามีผู้ให้ข้อมูลจำนวน 4 คน อาศัยอยู่ในเขตเมือง และ อาศัยอยู่ในเขตชนบท จำนวน 9 คน ผู้ให้ข้อมูลจึงถือได้ว่าเป็นผู้ที่เข้าใจและสามารถให้ข้อมูลที่สะท้อนบริบทและสถานการณ์ทั่วไปที่ผู้สูงอายุ เผชิญอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือทั้งในเขตเมืองและชนบทได้เป็นอย่างดี ผลการศึกษาเชิงคุณภาพในบทนี้มุ่งเน้นนำเสนอความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรทั้งสามตัวกับ ความต้องการการจัดสวัสดิการด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุโดยแบ่งเนื้อหาออกเป็น 4 ส่วน หลัก เพื่อแสดงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความต้องการการจัดสวัสดิการด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับ ผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ ทักษะและประสบการณ์ในอดีต ความสามารถในการพึ่งพาตนเอง และการเข้าถึง รวมทั้งปัจจัยตัวที่สี่ คือ การมีคนรอบข้างคอยดูแลช่วยเหลือ ซึ่งเป็นปัจจัยที่ถอดได้จากการ สัมภาษณ์เชิงลึก นอกจากนี้ อุปสรรคปัญหาต่าง ๆ ในแต่ละด้าน ยังถูกนำเสนอเพื่อให้เห็นถึงบริบทและ รายละเอียดเชิงลึกของแต่ละปัจจัย อีกด้วย 5.1 ทักษะและประสบการณ์ในอดีต 5.2 ความสามารถในการพึ่งพาตนเอง 5.3 การเข้าถึง 5.4 การดูแลช่วยเหลือจากคนรอบข้าง
วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 104 5.1 ทักษะและประสบการณ์ในอดีต ผลการสัมภาษณ์เชิงลึกในภาพรวมสนับสนุนผลการศึกษาเชิงปริมาณที่บ่งชี้ว่า ทักษะและ ประสบการณ์ในอดีตมีส่วนสำคัญที่ช่วยให้ผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือสามารถประยุกต์ใช้หรือสามารถ เรียนรู้เทคโนโลยีและนวัตกรรมได้อย่างรวดเร็ว เมื่อใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่หรือนวัตกรรมชิ้นใหม่ก็จะใช้เวลา ปรับตัวไม่นาน ดังนั้น อาจกล่าวได้ว่า สวัสดิการสังคมทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมควรจัดให้สอดคล้องกับ ทักษะและประสบการณ์ในอดีตของผู้สูงอายุ จากข้อมูลสัมภาษณ์ เราสามารถตีความคำว่า ‘ทักษะและประสบการณ์ด้านเทคโนโลยีและ นวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุ’ ได้อย่างกว้างขวางและเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีและนวัตกรรมหลากหลายประเภท ทั้งที่เป็นรูปแบบทั่วไปหรือใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น โทรศัพท์สมาทโฟน แอปพลิเคชันธนาคาร (E-Banking) โซเชียลมีเดีย (Facebook, Line) และรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า เป็นต้น และรูปแบบที่ใช้เฉพาะเจาะจงด้าน สวัสดิการ เช่น อุปกรณ์การแพทย์แบบอิเล็กทรอนิกส์พื้นฐาน หรือแบบอัจฉริยะ (Telemedicine) และแอป พลิเคชันเพื่อรับสวัสดิการ อย่างเช่น เป๋าตัง หมอพร้อม คนละครึ่ง เป็นต้น ไปจนถึงนวัตกรรมที่เป็นเกมส์ เพื่อ ฝึกสมองและความจำ เพื่อสุขภาวะที่ดีของผู้สูงอายุในศูนย์ผู้สูงอายุ ตามที่นางสาวพิมพ์ชนก อัจฉรียสุนทร ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุขอนแก่น ได้กล่าวไว้ (สัมภาษณ์วันที่ 11 ก.ค. 2566) ว่า “เทคโนโลยีและนวัตกรรม มันมีหลากหลาย ไม่ใช่แค่ว่าจะเป็นโทรศัพท์มือถือหรือว่าทีวี มีหลายสิ่งหลาย อย่าง ทำหน้าที่หลายบทบาท อยู่ที่แต่ละหมวดที่เราจะเลือกใช้” อย่างไรก็ตาม นายธงชัย มูลพันธ์ พัฒนาสังคม และความมั่นคงมนุษย์จังหวัดมหาสารคาม (สัมภาษณ์วันที่ 10 ก.ค. 2566) มุ่งให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีและ นวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีพหรือความเป็นอยู่ของผู้สูงอายุเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นที่เกี่ยวข้องกับ “การเดินทาง” “อาหาร” “สุขภาพ” “การพักผ่อน” ด้วยเหตุว่า สิ่งเหล่านี้เป็น “ความจำเป็น” สำหรับ ผู้สูงอายุ เมื่อสอบถามเกี่ยวกับที่มาของทักษะและประสบการณ์ในอดีตด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม ของผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่า ผู้สูงอายุ ทั้งในและนอกเขตเทศบาล สั่งสมทักษะและ ประสบการณ์จากลักษณะพฤติกรรมหรือธรรมชาติการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อวัตถุประสงค์ 2 ประการ ได้แก่ (1) เพื่อความบันเทิง เนื่องจากผู้สูงอายุมีเวลาว่างในการใช้เทคโนโลยีเช่น ทีวี สมาร์ทโฟนในการดูละคร เพลง และคลิปเพื่อความบันเทิงอื่น ๆ เช่น ติ๊กต๊อก (Tik Tok) เป็นต้น และ (2) เพื่อค้นหาข้อมูล ส่วนใหญ่แล้ว การค้นหาข้อมูลของผู้สูงอายุผ่านการใช้เทคโนโลยี เช่น สมาร์ทโฟน ไอแพ็ด หรือคอมพิวเตอร์นั้น โดยเฉพาะ อย่างยิ่งผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในเมือง เพราะมีเทคโนโลยีที่ครบครันและมีความสะดวกสบายในการเชื่อมต่อ สัญญาณอินเตอร์เน็ต เป็นต้น ทั้งนี้ อาจเป็นได้ว่า สิ่งจำเป็นสำหรับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ไม่เพียงแต่มุ่ง ดำรงชีพเท่านั้น แต่ยังเกี่ยวข้องกับกิจกรรมเพื่อความสร้างความสุข ความสนุกสนาน และความผ่อนคลาย อีก ด้วย
วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 105 ส่วนทักษะและประสบการณ์ในอดีตจากการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับ สวัสดิการโดยตรง พบว่า ผู้สูงอายุทั้งในและนอกเขตเทศบาลไม่ได้ให้ความสนใจแก่แพลตฟอร์มของทางหน่วยงาน รัฐหลักที่รับผิดชอบงานด้านสวัสดิการ อย่างเช่น เว็ปไซต์หรือแอปพลิเคชันของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความ มั่นคงของมนุษย์ มีเพียง “ส่วนน้อยที่จะรู้จักแอปพลิเคชันของ พม.” หรือหากจะสนใจก็จะสนใจเฉพาะ แพลตฟอร์มสวัสดิการเพื่อ“รับผลประโยชน์ของตนเอง” (นางนวลน้อย วีระพันธ์, วันที่สัมภาษณ์ 10 ก.ค. 2566) ในช่วงการจ่ายเงินช่วยเหลือของภาครัฐช่างการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ซึ่ง รัฐ “ประชาสัมพันธ์อย่างกว้างขวาง” ผ่านช่องทางหลากหลาย ทั้งทีวีและสื่อประเภทอื่น ๆ เช่น เป๋าตัง หมอ พร้อม คนละครึ่ง เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตาม แม้ผู้สูงอายุจะติดตามสวัสดิการที่เป็นผลประโยชน์ของตน แต่ยังคง มีผู้สูงอายุจำนวนมากที่ไม่เคยกดเงินช่วยเหลือจากตู้เอทีเอ็ม ทั้งที่เป็นความช่วยเหลือแบบชั่วคราวหรือแบบราย เดือน อย่างเช่น เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ส่วนทักษะและประสบการณ์ในการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่มีความก้าวหน้าสูงทาง การแพทย์หรือสาธารณสุข อย่างเช่น อุปกรณ์การแพทย์อัจฉริยะ (Telemedicine) มีผู้สูงอายุส่วนน้อยเท่านั้น ที่จะรู้จัก ถึงแม้จะยอมรับว่า อุปกรณ์การแพทย์อัจฉริยะเหล่านั้นจะ“เป็นสิ่งที่ดีสำหรับผู้สูงอายุ ช่วยลดการ เดินทางไปรับบริการที่โรงพยาบาล ประหยัดค่าใช้จ่าย ประหยัดเวลา และไม่มีความเสี่ยงในการติดต่อของโรค” (นางนวลน้อย วีระพันธ์, วันที่สัมภาษณ์ 10 ก.ค. 2566) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้สูงอายุในพื้นที่ชนบท “ยังไม่ได้มี การใช้Telemedicine แต่มีอสม. เข้าไปรับยามาส่งให้” (อพม. ตำบลปากตม, วันที่สัมภาษณ์ 18 ก.ค. 2566) ผู้ให้ข้อมูลสัมภาษณ์มีความคิดเห็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยมองผลพวงของทักษะและ ประสบการณ์ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมของผู้สูงอายุข้างต้น ว่ามีส่วนช่วยให้ผู้สูงอายุปรับตัวและเพิ่มความ ต้องการสวัสดิการแบบอิเล็กทรอนิกส์หรือการบริการผ่านช่องทางดิจิทัลได้ระยะเวลาในการเรียนรู้จะแตกต่าง กันออกไปขึ้นอยู่กับพื้นฐานของแต่ละคน เช่น อายุและระดับการศึกษา (นางนวลน้อย วีระพันธ์, วันที่สัมภาษณ์ 10 ก.ค. 2566; ผู้แทนอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงมนุษย์ตำบลปากตม อำเภอเชียงคาน จังหวัด เลย, สัมภาษณ์วันที่ 18 ก.ค. 2566) หากผู้สูงอายุคนใดมีประสบการณ์การใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมมา “ก่อนวัยเกษียณ” ผู้สูงอายุนั้นมักสามารถใช้และเรียนรู้เทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านสวัสดิการสังคมได้ด้วย ตนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากเคย “ใช้บ่อย ใช้ถี่” ก็จะสามารถปรับตัวเรียนรู้ได้เร็ว แต่หาก “ไม่มีทักษะตรงนี้ มาก่อนแล้วจะมาเรียนรู้สิ่งใหม่” ก็เรียนรู้ได้ยากมากขึ้น ดังตัวอย่างคำสัมภาษณ์ต่อไปนี้ “ถ้าผู้สูงอายุขาดความรู้และทักษะที่เคยฝึกฝนมาก่อน ไม่มีพื้นฐานอะไรใน ด้านการใช้นวัตกรรมเหล่านี้(ด้านสวัสดิการสังคม) ไม่มีการเตรียมความพร้อมมาก่อนที่จะเข้า สู่วัยผู้สูงอายุ พอเป็นผู้สูงอายุแล้ว ก็อาจจะใช้สิ่งเหล่านี้ได้ยากขึ้น ก็จะมีความยุ่งยากในการใช้ นวัตกรรม…แล้วก็การที่จะมาเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ แล้วเนี่ยมันก็อาจจะยากขึ้น...เพราะว่าพอเรา เป็นผู้สูงอายุสมอง ร่างกาย ความถดถอยมันเกิดขึ้นอยู่แล้ว แล้วการที่เราจะเปิดใจรับสิ่งใหม่
วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 106 มันก็อาจจะยากขึ้น เพราะฉะนั้น เราจะเห็นได้ว่าผู้สูงอายุในสังคมไทยส่วนใหญ่ติดบ้าน ผู้ป่วย ติดบ้านไม่ยอมไปไหนเลย อยู่บ้านไม่ออกไปไหนแล้วก็ไม่อยากใช้อะไร หรือว่าใช้เทคโนโลยี นวัตกรรม”, นางสาวพิมพ์ชนก อัจฉรียสุนทร ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคม ผู้สูงอายุขอนแก่น, วันที่สัมภาษณ์ 11 ก.ค. 2566 “ถ้าเราจะเตรียมความพร้อมให้ผู้สูงอายุสามารถจะใช้หรืออยู่ในโลกที่มี เทคโนโลยีได้สูงสุด อนาคตก็ต้องเตรียมเพื่อให้เขามีทักษะก่อน ตั้งแต่ตอนอายุ 45 ปี 50 ปี แล้วพอ 60 ปี ก็สามารถใช้งานได้มีความรู้พร้อม ต้องมีโรงเรียนเฉพาะที่ใครก็ได้ถ้าไม่มีความรู้ สามารถเดินไปเรียนได้เลย คนที่นั่งคอยให้คำแนะนำเป็นจิตอาสามีหลายแบบ แม้กระทั่งใน สำนักงานรัฐอาจจะมีบูธเล็ก ๆ แต่จิตอาสาเหล่านี้ควรเป็นคนที่มีคุณธรรมพอสมควร เพราะ เขาสามารถและได้รับข้อมูลส่วนตัวของคนที่มาใช้บริการกับเขา เราควรมีการคัดกรองที่ดี”, นางพิศมัย จำปามูล นักพัฒนาสังคมชำนาญการ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของ มนุษย์จังหวัดมหาสารคาม, วันที่สัมภาษณ์ 10 ก.ค. 2566 อย่างไรก็ตาม ในบางกรณีพบว่า บุคลิกภาพหรือลักษณะนิสัยส่วนบุคคล ก็อาจเป็นปัจจัย สำคัญหนึ่งที่มีช่วยทำให้ผู้สูงอายุสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและเพิ่มทักษะการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม ได้เช่นกันถึงแม้ว่าจะไม่ได้ฝึกฝนมาก่อน “ถ้าเกิดว่าถ้าตัวบุคลิกลักษณะของผู้สูงอายุที่เขาเป็นคนที่ชอบหรือว่าใส่ใจที่ จะหาความรู้ใหม่ ๆ คือ เป็นน้ำไม่เต็มแก้วก็จะอาจจะเปิดรับนวัตกรรมเหล่านี้ แต่ว่าถ้าเกิดว่า เป็นผู้สูงอายุที่เป็นคนโบราณหรือว่าคนที่ไม่คุ้นชินกับการใช้สิ่งเหล่านี้อาจจะปฏิเสธไปเลยแล้ว ก็อาจจะไม่อยากใช้เลย เช่น การใช้โทรศัพท์มือถือที่ สามารถทำให้เราเข้าถึงข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ได้”, นางสาวพิมพ์ชนก อัจฉรียสุนทร ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคม ผู้สูงอายุขอนแก่น, วันที่สัมภาษณ์ 11 ก.ค. 2566 5.2 ความสามารถในการพึ่งพาตนเอง ผลการสัมภาษณ์เชิงลึกในภาพรวมสนับสนุนผลการศึกษาเชิงปริมาณที่บ่งชี้ว่า ความสามารถ ในการพึ่งพาตนเอง ถือเป็นส่วนสำคัญในการกำหนดความต้องการสวัสดิการด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมของ ผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ ผู้สูงอายุจะยอมรับในสวัสดิการด้านเทคโนโลยีและ นวัตกรรมอันหนึ่งอันใด ก็ต่อเมื่อผู้สูงอายุสามารถ “สามารถทำได้ด้วยตนเอง” โดยไม่เป็นภาระแก่ผู้อื่นหรือตัว ท่านเอง ดังนั้น อาจกล่าวได้ว่า สวัสดิการสังคมทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมควรจัดให้เหมาะสมกับ ความสามารถของผู้สูงอายุ
วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 107 ผู้ให้ข้อมูลทุกท่านเห็นพ้องกันว่าสวัสดิการด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุควรมี ลักษณะสำคัญ ดังคำสำคัญที่ปรากฏในการสัมภาษณ์ ได้แก่ ‘ใช้งานง่าย’ ‘ไม่ซับซ้อน’ ‘เรียนรู้ได้ตนเอง’ ‘ปลอดภัย’ และ ‘จำเป็น’ ต่อการดำรงชีพหรือการใช้ชีวิตประจำวันของผู้สูงอายุ เพื่อให้มั่นใจว่าเป็นการนำเอา เทคโนโลยีและนวัตกรรมมาช่วยเพิ่มความสามารถในการพึ่งพาตนเองของผู้สูงอายุ “อยากให้พัฒนาอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้เกี่ยวกับผู้สูงอายุ ที่มีความง่าย สะดวกสบาย ปลอดภัย มีประโยชน์ต่อการใช้ สามารถทำได้ด้วยตนเอง เหมาะสมกับ สภาพความเป็นอยู่ของผู้สูงอายุ”, นางนวลน้อย วีระพันธ์, วันที่สัมภาษณ์ 10 ก.ค. 2566 “ความสามารถในเรื่องของการทำได้ด้วยตนเองโดยที่ไม่พึ่งลูกหลาน เป็น เรื่องสำคัญ เพราะว่าผู้สูงอายุมันผ่านกระบวนการหล่อหลอมการเป็นวัยนี้มาแล้ว รู้สึกว่า มันต้องพึ่งพาตัวเอง มันไม่ใช่ว่าต้องไปง้อ เพราะบางทีผู้ใหญ่บางท่านนะไม่ยอมง้อลูกหลาน นะ คือถ้าใช้เองไม่ได้ ใช้ไม่เป็นก็ปฏิเสธไปเลยแล้วก็จะไม่ค่อยมาให้ลูกหลานต้องมาทำ อะไรให้หรือมาช่วยเหลือท่านอะไรแบบนี้... ลูกหลาน อาจจะแค่ว่าสอนให้เป็น แล้วเดี๋ยว ท่านจะทำของท่านเอง เพราะว่าก็คงรำคาญต้องคอยเรียกหลานตลอด แต่ว่าก็เคยเห็นบ้าง นะคะว่าจะมีผู้สูงอายุบางท่านที่ก็แบบว่าพอทำเทคโนโลยีเนี่ยอาจจะต้องเรียกลูกหลานมา นั่งประกบเพื่อฝึก อย่างเช่น อยากจะเข้าสู่การประชุมออนไลน์ ก็อาจจะเรียกหลานสาวรุ่น มัธยมมาช่วยค่ะ”, นางสาวพิมพ์ชนก อัจฉรียสุนทร ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาการจัด สวัสดิการสังคมผู้สูงอายุขอนแก่น, วันที่สัมภาษณ์ 11 ก.ค. 2566 ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุขอนแก่น (วันที่สัมภาษณ์ 11 ก.ค. 2566) ยังเน้นด้วยว่า ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมจะวัดได้แม่นยำมากขึ้น เราต้องคำนึงถึง ประเภทของสวัสดิการที่ตรงกับความต้องการเฉพาะของกลุ่มเป้าหมาย เพราะ “การที่เราจะเอาเทคโนโลยีไป ให้ผู้สูงอายุที่ไม่ได้สนใจหรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้ สวัสดิการเหล่านี้จะกลายเป็นสิ่งไร้คุณค่า” หรือไม่ จำเป็นต้องใช้เป็นก็ได้ โดยตัวอย่างเทคโนโลยีที่จำเป็นต่อผู้สูงอายุที่ถูกกล่าวถึงในการสัมภาษณ์ เน้นด้านการทำ กิจวัตรประจำวัน และด้านสาธารณสุข เช่น อุปกรณ์ทางการแพทย์อัจฉริยะ ซึ่งในปัจจุบันยังคงมีราคาสูง และ ภาครัฐยังคงจัดสรรได้เพียงอุปกรณ์พื้นฐาน เช่น ไม้เท้า รถเข็น เครื่องช่วยฟัง เป็นต้น ถึงแม้ว่าจะมีโครงการ จัดสรรอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น เครื่องช่วยยก/พยุง เครื่องฝึกเดิน แต่ยังมีจำนวนจำกัด และให้บริการใน ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุบางแห่งเท่านั้น และผู้สูงอายุไม่สามารถใช้อุปกรณ์เหล่านี้ได้เพียงลำพัง ต้องมีเจ้าหน้าที่ช่วย อำนวยความสะดวก เพราะอุปกรณ์เหล่านี้มักมีขนาดใหญ่และมีน้ำหนักมากเกินกำลังของผู้สูงอายุ นางนวลน้อย วีระพันธ์ ผู้แทนผู้สูงอายุ จังหวัดมหาสารคาม (วันที่สัมภาษณ์ 10 ก.ค. 2566) ได้แสดงความคิดเห็นไว้ว่า “การดีไซน์อุปกรณ์ให้เหมาะสมกับวัย สภาพกายภาพ จิตวิทยาต่าง ๆ เพราะ
วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 108 ผู้สูงอายุมีคุณภาพด้านสายตาและความสามารถในการพิมพ์ลดลง...ใช้ง่าย เข้าใจได้ง่าย หากสามารถพูดไปเลย อย่างไม่ต้องมาใช้มือกด” ก็มีส่วนสำคัญที่จะช่วยให้ผู้สูงอายุสามารถใช้อุปกรณ์ทันสมัยต่าง ๆ เหล่านี้ได้ง่ายขึ้น และที่สำคัญยังระบุว่า ผู้สูงอายุในเขตเทศบาลมักกังวลหรือกลัวการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ต้องมีความระมัดระวังในการเรียนรู้แอปพลิเคชันใหม่ ๆ เช่น แอปพลิเคชันออนไลน์แบงค์ กิ้ง” ถึงแม้เล็งเห็นว่ากลุ่มผู้สูงวัยมีความจำเป็นต้อง “ทำเป็น” ก็ตาม และจากคำบอกเล่าของอาสาสมัครใน พื้นที่ตำบลปากตม จะเห็นสอดคล้องกับสถานการณ์ในเขตเมืองว่า “ในพื้นที่ชนบท ถึงจะยังไม่มีเทคโนโลยีและ นวัตกรรมต่าง ๆ ผู้สูงอายุบางท่านก็เกิดความหวาดกลัวในการทำธุรกรรมในกรณีที่เจอมิจฉาชีพต่าง ๆ จึงไม่ อยากทำแล้ว” โดยความกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยในโลกไซเบอร์ (Cyber security) สอดคล้องกับ ความเห็นของผู้ให้ข้อมูลท่านอื่น ๆ ด้วย 5.3 การเข้าถึง ผลการสัมภาษณ์เชิงลึกในภาพรวมสนับสนุนผลการศึกษาเชิงปริมาณที่บ่งชี้ว่า หากผู้สูงอายุ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือสามารถเข้าถึงอุปกรณ์ โครงข่ายอินเตอร์เน็ต และองค์ความรู้และข้อมูลที่ถูกต้อง เพียงพอเกี่ยวกับเทคโนโลยีและนวัตกรรมนั้น จะเป็นสิ่งที่สามารถช่วยยกระดับความต้องการสวัสดิการด้าน เทคโนโลยีและนวัตกรรม และที่สำคัญปัจจัยการเข้าถึงยังเชื่อมโยงกับปัจจัยทั้งสองตัวที่กล่าวมา คือ ทักษะและ ประสบการณ์และความสามารถของผู้สูงอายุในการใช้งานหรือการเรียนรู้ได้และสำคัญไปยิ่งกว่า ผลการ สัมภาษณ์สะท้อนให้เห็นว่า ภูมิลำเนาหรือแหล่งที่อยู่ของผู้สูงอายุ (เขตเทศบาลหรือนอกเขตเทศบาล) เป็น เงื่อนไขสำคัญที่กำหนดการเข้าถึงเทคโนโลยีและนวัตกรรม ที่สำคัญอีกด้วย ดังนั้น อาจกล่าวได้ว่า สวัสดิการ สังคมทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมควรจัดให้สอดคล้องกับระดับการเข้าถึงของผู้สูงอายุในแต่ละเขตพื้นที่ด้วย สิ่งแรกที่ผู้ให้ข้อมูลทุกท่านกล่าวถึง คือ การเข้าถึงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โทรศัพท์สมาทโฟน ซึ่งมีราคาสูง แต่เป็นเครื่องมือหลักในการเข้าถึงสิทธิและบริการต่าง ๆ ของรัฐในปัจจุบัน หากมีแค่สมาร์ทโฟนแต่ไม่มีอินเตอร์เน็ตก็ไม่สามารถเข้าถึงและบริการต่าง ๆ ของรัฐ หรือทำธุรกรรมทาง ออนไลน์ได้ เป็นดังตัวอย่างคำสัมภาษณ์เหล่านี้ “กลุ่มสังคมในเมืองกับกลุ่มชนบท การเข้าถึงนวัตกรรมเทคโนโลยี ถ้ากลุ่ม สังคมเมือง ปัญหาจะไม่ค่อยมีเยอะ ก็จะเป็นผู้สูงอายุที่มีความรู้นิดหน่อย ที่สามารถมี อุปกรณ์ เข้าถึงได้แล้วก็มีเงินที่จะจ่ายค่าเน็ต ถ้าเป็นกลุ่มชนบทที่เราได้สัมผัส อย่างที่ หมู่บ้าน ผู้สูงอายุในชนบท น้อยคนที่จะมีโทรศัพท์สมาร์ทโฟน ส่วนใหญ่ก็จะเป็นโทรศัพท์ ปุ่มกดเพื่อที่จะโทรสื่อสารกับลูกกับหลาน แต่ก็จะมีบ้างที่จะมีที่จะใช้สมาร์ทโฟน ทำให้ เวลาที่เขาจะเข้าถึงบริการของรัฐที่เป็นระบบไอทีขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็นการลงทะเบียน มีแอป พลิเคชันต่าง ๆ ในการที่จะมากดรับสวัสดิการต่าง ๆ ในเวลาที่ไม่มีลูกหลานช่วย หลายคน
วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 109 ก็จะเป็นกระดาษเหมือนเดิม ผ่านผู้นำหมู่บ้านเพื่อที่จะเอาแบบฟอร์มมาให้กรอก ถ้าใครมี ลูกหลานที่เป็นคนที่ เป็นความรู้มีเครื่องมือสื่อสารโทรศัพท์ก็สามารถที่จะช่วยเหลือได้ แต่ ถ้าเป็นสังคมชุมชนเมืองก็ไม่น่ากังวลท่านสามารถที่จะช่วยเหลือตัวเองได้”, นางพิศมัย จำปามูล นักพัฒนาสังคมชำนาญการ, วันที่สัมภาษณ์ 10 ก.ค. 2566 ผู้แทนอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงมนุษย์ ตำบลปากตม อำเภอเชียงคาน จังหวัด เลย จำนวน 9 คน (วันที่สัมภาษณ์ 18 ก.ค. 2566) ก็ให้ข้อมูลไปในทิศทางเดียวกันว่า “ผู้สูงอายุส่วนมากจะไม่ มีอุปกรณ์สื่อสาร บางท่านอาจจะมีอุปกรณ์แต่ไม่มีอินเทอร์เน็ต” และ “ช่วงที่มีกิจกรรมลงทะเบียน อพม. ก็ จัดทีมเชิงรุกลงพื้นที่เข้าช่วยเหลือ (ลงทะเบียนให้ผู้สูงอายุที่ไม่มีสมาร์ทโฟน) ตามนโยบาย” ผู้สูงอายุไม่เพียงขาดการเข้าถึงอุปกรณ์ไฮเทค แต่ยังขาดนวัตกรรมพื้นฐานเพื่อคุณภาพชีวิตที่ ดี นายธงชัย มูลพันธ์ พัฒนาสังคมและความมั่นคงมนุษย์จังหวัดมหาสารคาม (วันที่สัมภาษณ์ 10 ก.ค. 2566) ให้ข้อมูลว่า ผู้สูงอายุในภาคอีสานไม่สามารถเข้าถึงนวัตกรรมอย่างทั่วถึง “ในบริบทของชนบททางภาคอีสานเป็นบ้านยกสูง มีปัญหาในการขึ้นลง ค่อนข้างเยอะ ลำบาก ในมหาสารคามมีการปรับปรุงที่อยู่อาศัยของผู้สูงอายุในปีที่แล้วได้ 400 กว่าแห่ง ปีนี้700 กว่าแห่ง ปรับพื้นให้เป็นห้องนอนใหม่สำหรับผู้สูงอายุ ห้องน้ำ ราว จับ ถึงไม่ใช่เทคโนโลยีใหม่แต่ก็เป็นพื้นฐานจำเป็นที่จะต้องมีและยังมีผู้สูงอายุที่ยังเข้าไม่ ถึงอยู่”นายธงชัย มูลพันธ์ พัฒนาสังคมและความมั่นคงมนุษย์จังหวัดมหาสารคาม, วันที่ สัมภาษณ์ 10 ก.ค. 2566 นางสาวพิมพ์ชนก อัจฉรียสุนทร ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ ขอนแก่น (วันที่สัมภาษณ์ 11 ก.ค. 2566) ได้ยกตัวอย่างกิจกรรมโครงการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายที่จังหวัด ชัยภูมิซึ่งเป็นการอบรมที่ต้องใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนเพื่อเปิดร้านขายของออนไลน์ “แต่ปรากฏว่าผู้สูงอายุที่เข้าร่วมอบรม 60 คน พกโทรศัพท์แทบทุกคนแต่ โทรศัพท์ไม่มีอินเตอร์เน็ต ไม่มีเงินเติม ก็ต้องเปิดฮอตสปอตช่วย และไม่มีอินเตอร์เน็ต เท่านั้นไม่พอ พออาจารย์วิทยากรจะเริ่มสอนให้ก็ปรากฏว่าจาก 60 คนมีเพียง 1 หรือ 2 คนเท่านั้น ที่สามารถทำตามวิทยากรได้ เพราะเราก็จะเข้าไปคุณต้องผูกอีเมลก่อนนะแล้ว ผู้สูงอายุจะทำเป็นไหม คือมันซับซ้อนเกินไป” ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุขอนแก่น ยังได้กล่าวถึงความแตกต่าง ของโครงข่ายอินเตอร์เน็ตในพื้นที่เทศบาลและนอกเขตเทศบาล “มันมีความแตกต่างทั้งผู้สูงอายุสังคมเมืองและสังคมชนบท ถามว่าการจะ เข้าถึงอินเทอร์เน็ตการจะเข้าถึงมันยากกว่า ซึ่งเขาก็คงไม่ใช้หรอก แล้วสุดท้ายผู้สูงอายุ ต้องการสวัสดิการก็ยังเดินเข้ามาที่ออฟฟิศมากกว่าที่จะได้เห็นหน้ากัน มันต่อหน้าต่อตามัน
วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 110 มันก็ดีกว่า อยากมานั่งคุยมันก็อยากมาพูดคุยนะ สุดท้ายผู้สูงอายุก็เลือกช่องทางดั้งเดิม อยู่ดี” นางพิศมัย จำปามูล นักพัฒนาสังคมชำนาญการ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของ มนุษย์จังหวัดมหาสารคาม (วันที่สัมภาษณ์ 10 ก.ค. 2566) ก็ให้ข้อมูลไปในทิศทางเดียวกัน “ประเด็นที่ที่เป็นปัญหาก็จะอยู่ส่วนของชุมชนชนบท เหตุเกิดจากไม่มี ประสบการณ์ใช้งานและไม่มีความรู้ ไม่มีอุปกรณ์ หากว่ารัฐบาลแจกสมาร์ทโฟนผู้สูงอายุ คนละเครื่อง ผู้สูงอายุก็ต้องหาเงินเติม(โทรศัพท์แบบเติมเงิน) อย่างน้อยก็ 200 บาท ถ้าไม่ มีเงิน ก็ไม่เกิดการใช้อยู่ดี เน็ตประชารัฐ ก็ใช้ไม่ได้เพราะว่ามันมีแค่บางพื้นที่ บางกลุ่มที่ ใช้ได้ผู้สูงอายุต้องเดินทางไปที่จุดติดเน็ตประชารัฐ ไม่มีคนไปใช้เลย เพราะทุกคนอยู่ใน บ้าน...และในส่วนเข้าถึง ทั้งในเชิงของข้อมูล เข้าถึงในเชิงของอุปกรณ์ เรื่องของราคาที่ต้อง จ่ายบริการต่าง ๆ เน็ตประชารัฐก็มีแต่ไม่ทั่วถึง ก็ต้องเดินทางมา ไม่มีความสะดวกสบาย”, นางพิศมัย จำปามูล นักพัฒนาสังคมชำนาญการ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคง ของมนุษย์จังหวัดมหาสารคาม, วันที่สัมภาษณ์ 10 ก.ค. 2566 นางพิศมัยฯ มองว่า หากรัฐสามารถช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้สูงอายุและเพิ่มความโปร่งใส และเป็นธรรมในกระบวนการคัดกรองผู้มีสิทธิตามหลักเกณฑ์การรับสวัสดิการในกลไกระดับชุมชน อาจช่วย เพิ่มการเข้าถึงสิทธิและบริการช่องทางดิจิทัลต่าง ๆ ได้ “อยากให้มีการช่วยให้มีการค่าธรรมเนียมบัตรให้ผู้สูงอายุ และการเข้าถึง การช่วยเหลือบริการต่าง ๆ จากหน่อยงานต่าง ๆ บางที่มีการช่วยเหลือไม่ทั่วถึง เกิดจาก การที่เจ้าหน้าที่ดำเนินงานมีการเอื้อประโยชย์แก่ญาติตัวเองให้คนรู้จักตัวเองก่อน ทำให้มี การตกหล่นของผู้ที่เดือดร้อนจริง ๆ บ้าง และบ้างที่ก็เป็นปัญหาไม่เข้าร่วมกิจกรรมที่มีใน หมู่บ้านทำให้คนในหมู่บ้านไม่ลงโหวตให้ความช่วยเหลือทำให้ไม่รับทุนช่วยเหลือ แต่เราก็ ควรมองอีกมุมคือ เขาอาจจะไม่มีเวลาแม้แต่ที่จะไปทำอะไรแบบนี้ ถ้าเขาไม่ไปทำงาน เขา ก็จะไม่มีกินในวันนั้น ทำให้เขาเลือกที่จะไม่ไปอันนี้(ร่วมกิจกรรมชุมชน) ก็เป็นเหตุผลที่น่า เห็นใจและต้องเข้าใจ แต่เราไม่สามารถแก้ไขได้มากและไม่สามารถลงไปดูเองได้ทั้งหมดทุก หมู่บ้าน ยังต้องผ่านผู้ดำเนินการต่าง ๆ อยู่ แต่บางคนที่ไม่ได้อาจจะเกิดการขัดแย้งทาง การเมืองในหมู่บ้านตอนเลือกผู้นำไม่ลงคนนี้ ทำให้ผู้นำก็ไม่เลือกเขาให้ได้รับการช่วยแหลือ ก็มี” ผู้แทนอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงมนุษย์ทั้ง 9 ท่าน จากตำบลปากตม อำเภอ เชียงคาน จังหวัดเลย และผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุขอนแก่น ยังเสนอแนะวิธี แก้ปัญหาการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตอีกด้วยว่า
วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 111 “รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจัดให้มีอินเทอร์เน็ตฟรีในปัจจุบัน มีเน็ตประชารัฐแต่ไม่ครอบคลุมพื้นที่สัญญาณไม่ถึงไม่เอื้อต่อการใช้งาน ควรเพิ่มบทบาท ให้กับ อพม. ให้มีอินเทอร์เน็ตเพื่อช่วยเหลือประชาชน และควรเพิ่มจำนวนบุคลากร ตาม รายชื่อมีจำนวนหลายคนแต่คนทำงานจริง ๆ มีน้อย ในแต่ละหมู่บ้าน เพราะไม่มี ค่าตอบแทน ไม่ชัดเจนเลยไม่อยากทำ”, อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงมนุษย์, วันที่สัมภาษณ์ 18 ก.ค. 2566 “ถ้า(รัฐ)มีมุมคอมพิวเตอร์ให้ผู้สูงอายุที่อยากใช้อินเทอร์เน็ต ผู้สูงอายุก็ อาจจะต้องการเข้าไปใช้อินเทอร์เน็ตตรงนั้นหาข้อมูลข่าวสารได้เลย ซึ่งจริง ๆ ตรงเนี้ยเรา อาจจะต้องทำในอนาคตต่อไป ก็อาจจะมีบริการให้อาจจะต้องเป็นแบบบริการรายบุคคล เรียนรู้ออนไลน์ก็มาเรียนรู้ที่นี่ได้มาเล่นอินเตอร์เน็ตตรงนี้ได้เลยค่ะเหมือนร้านเกมของเด็ก ค่ะ”, นางสาวพิมพ์ชนก อัจฉรียสุนทร ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคม ผู้สูงอายุขอนแก่น, วันที่สัมภาษณ์ 11 ก.ค. 2566 นอกจากนี้ การประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุจะไม่เพียงแต่เป็นการให้องค์ความรู้และ ข้อมูลที่ถูกต้อง แต่ยังเป็นหนทางที่จะช่วยสร้างความมั่นใจและลดความกลัวในการทำกิจกรรมและธุรกรรม ทางการเงินออนไลน์ เพราะผู้สูงอายุเชื่อถือในแหล่งข้อมูลทางการของภาครัฐมากที่สุด “ตอนนี้ถ้าเราให้โหลดแอปพลิเคชันอะไรสักอย่าง ผู้สูงอายุเริ่มกลัวโดน หลอก พอเริ่มมีข่าวมิจฉาชีพมาทางแอปพลิเคชันเยอะ ๆ แล้วส่งลิ้งค์มาทางโทรศัพท์ใน โรงเรียนผู้สูงอายุ พอเราจะให้โหลด (แอปพลิเคชัน) ไม่ยอมโหลดนะ บอกว่าไม่เอา ไม่ จำเป็นต้องใช้ คือไม่สามารถชักจูงได้ ต่อให้เราบอกว่ามีประโยชน์นะ ก็จะบอกว่า ไม่เอา ขอบคุณค่ะ แล้วจบกัน”, นางสาวพิมพ์ชนก อัจฉรียสุนทร ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาการจัด สวัสดิการสังคมผู้สูงอายุขอนแก่น, วันที่สัมภาษณ์ 11 ก.ค. 2566 คำสัมภาษณ์ของผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุขอนแก่นสอดคล้อง กับคำบอกเล่าของนางนวลน้อย วีระพันธ์ ประธานกลุ่มผู้สูงอายุในจังหวัดมหาสารคาม ที่เชื่อว่า ข้อมูลที่ส่งไป ยังผู้สูงอายุมีส่วนสำคัญที่จะสร้างความมั่นใจในการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ ได้ดีขึ้น “การประชาสัมพันธ์ให้ทั่วถึง สร้างแรงจูงใจ แรงกระตุ้น ให้มองเห็น ประโยชน์ที่จะได้จากตรงนี้ และจะต้องให้เขาสะดวก ง่ายไม่ยุ่งยาก ไม่ซับซ้อน แล้ว ปลอดภัย ความรู้นำไปสู่ความมั่นใจที่จะสามารถทำได้ด้วยตัวเอง เข้าใจแล้วมันก็มั่นใจที่จะ ใช้ความรู้ประสบการณ์นำไปสู่ความมั่นใจ”, นางนวลน้อย วีระพันธ์, วันที่สัมภาษณ์ 10 ก.ค. 2566
วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 112 แต่อย่างไรก็ตาม จะเห็นได้ว่าแพลตฟอร์มจำนวนมากของภาครัฐที่มีประโยชน์ยังไม่ได้มีการใช้ หรือประชาสัมพันธ์มากนัก อย่างเช่น แอปพลิเคชันโกลด์ของกรมผู้สูงอายุ ซึ่งน่าจะเป็นช่องทางสื่อสารและ เข้าถึงข้อมูลและสิทธิต่าง ๆ ของผู้สูงอายุได้ “แอปพลิเคชันโกลด์ ซึ่งออกมาตั้งแต่ปี 65 แล้วเนี่ย แต่ว่าไม่ได้โปรโมท อย่างต่อเนื่อง มันทำให้ผู้สูงอายุก็ไม่ได้ใช้งาน ไม่มีใครรู้จัก แม้แต่เราทำงานกลุ่มกับผู้สูงอายุ อยู่ เรายังไม่รู้จัก...(ผู้สูงอายุ)สามารถดูข้อมูลข่าวสารของขอนแก่น คล้ายกับแอปพลิเคชัน ของคนพิการ ที่คนพิการสามารถเข้าไปดูบัตรคนพิการและกองทุนคนพิการ และสามารถเข้า ไปแจ้งความจำนงค์ขอรับเงินได้แล้วก็ดูข่าวสารต่างๆข้อมูลข่าวสารของคนพิการเลย แต่ แอปพลิเคชันโกลด์ตอนนี้ไม่มีใครใช้ไม่มีใครรู้จัก ทั้ง ๆ ที่ผู้สูงอายุควรต้องรู้จักตาม ยุทธศาสตร์ของกรมนะ ซึ่งเท่าที่ทราบ ผู้สูงอายุในขอนแก่นก็ยังไม่มีใครจะมาใช้หรือมาถาม เลย แต่จริงๆ แล้วแอปพลิเคชันพวกนี้ต้องเป็นทางเราโปรโมทประชาสัมพันธ์มากกว่า ตอนนี้ กรมฯยังสื่อสารเรื่องนี้น้อย อย่างตอนนี้ทางศูนย์(ผู้สูงอายุขอนแก่น)เองก็ยังไม่ได้รับการ สื่อสารเกี่ยวกับการใช้แอพพลิเคชั่นตัวนี้จากจากทางกรมเท่าไหร่ ไม่ได้มีการให้โปรโมท ต่อเนื่องหรือว่าให้เอามาขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่อง อาจจะพูดได้ว่ามันเป็นจุดอ่อนอย่างหนึ่ง ของระบบราชการที่บางสิ่งบางเรื่องเราไม่สามารถโฟกัส คือโปรโมทก็โปรโมทได้ไม่เต็มที่ หรือไม่ก็เพราะไม่ได้มีตัวชักจูงให้เจ้าหน้าที่ต้องใช้แอปพลิเคชันด้วยตัวเอง”, ผู้อำนวยการ ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุขอนแก่น, วันที่สัมภาษณ์ 11 ก.ค. 2566 จากตัวอย่างคำสัมภาษณ์ข้างต้น จะเห็นได้ว่า ราคาที่ต้องจ่าย เป็นเงื่อนไขสำคัญที่เอื้อให้เกิด การเข้าถึงเทคโนโลยีและนวัตกรรม นอกจากราคาของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และบริการอินเตอร์เน็ตจะเป็น อุปสรรคของการเข้าถึงสิทธิและบริการด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมแล้ว การเข้าถึงองค์ความรู้และข้อมูลที่ ถูกต้องและเพียงพอยังถูกพูดถึงเป็นอย่างมากในการสัมภาษณ์ด้วย เพราะการมีข้อมูลที่ถูกต้องและพอเพียงไม่ เพียงแต่ช่วยเพิ่มการใช้โปรแกรมหรือนวัตกรรมใหม่ ๆ แต่ยังช่วยเพิ่มความรู้สึกปลอดภัยในการทำธุรกรรมใน โลกดิจิทัล ซึ่งเป็นอุปสรรคขวางกั้นระหว่างผู้สูงอายุและเทคโนโลยีและนวัตกรรมตามที่กล่าวไว้ก่อนหน้านี้ อีก ด้วย 5.4 การดูแลช่วยเหลือจากคนรอบข้าง ผู้ให้ข้อมูลสัมภาษณ์ได้ให้ข้อมูลน่าสนใจเพิ่มเติมไปจากผลการวิเคราะห์เชิงปริมาณ เกี่ยวกับ ปัจจัยอีกตัวหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อศักยภาพและความพร้อมของผู้สูงอายุ คือ การสนับสนุนทั้งทางสังคมและทาง เทคนิคของคนรอบข้าง “คนในครอบครัว” “ลูก-หลาน” “เพื่อน” “ผู้นำ(ชุมชน)” และ “อาสาสมัครชุมชน” เป็นผู้ที่มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการช่วยให้ผู้สูงอายุเข้าถึงอุปกรณ์ ข้อมูล และทักษะที่จำเป็นในการใช้เทคโนโลยี และนวัตกรรมได้คนเหล่านี้ถือเป็นบุคคลที่มีความใกล้ชิดกับกลุ่มผู้สูงอายุเป็นอย่างมาก ตัวอย่างเช่น
วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 113 อาสาสมัครในพื้นที่เป็นบุคคลที่มีความคุ้นชินและสามารถเข้าถึงผู้สูงอายุได้มากกว่าเจ้าหน้าที่รัฐกลุ่มอื่น ๆ รวมถึงคนในครอบครัวที่สามารถสอนและช่วยให้ผู้สูงอายุนั้นรับรู้และเข้าใจสวัสดิการสังคมผ่านเทคโนโลยีมาก ขึ้น ในขณะที่เพื่อน ผู้นำชุมชน คือบุคคลที่ผู้สูงอายุพบปะและเชื่อมั่นในการให้ความรู้ เพื่อนและผู้นำชุมชนจึง เป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้ผู้สูงอายุอยากที่จะเข้าใจและเรียนรู้เทคโนโลยี นอกจากนี้ ยังบ่งชี้ว่า เจ้าหน้าที่รัฐ เป็น เพียงส่วนหนึ่งในการเข้าไปให้ความช่วยเหลือและส่งต่อข้อมูลด้านสวัสดิการทางเทคโนโลยีที่จะเป็นประโยชน์ แก่กลุ่มผู้สูงอายุได้รับรู้และสามารถพึ่งพาตนเองได้ นายธงชัย มูลพันธ์ พัฒนาสังคมและความมั่นคงมนุษย์จังหวัดมหาสารคาม (วันที่สัมภาษณ์ 10 ก.ค. 2566) เชื่อว่า “การพึ่งพาตัวเอง(ผู้สูงอายุ)” จำเป็นต้องวัดโดยหรือผูกกับศักยภาพของครอบครัวด้วย ซึ่งความเชื่อนี้เห็นพ้องโดย นางพิศมัย จำปามูล ซึ่งได้เน้นถึงความสำคัญของครอบครัวในฐานะที่เป็นหน่วย วิเคราะห์ในการพิจารณาศักยภาพและความพร้อมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมของผู้สูงอายุ “ถึงแม้ว่า ผู้สูงอายุไม่มีสมาร์ทโฟนแต่ลูกหลานในบ้านทุกคนมีหมด เราก็ มองว่าไม่จำเป็นนะ บางคนมองว่าไม่จำเป็นก็อยู่แต่บ้าน มองภาพผู้สูงอายุเราคงมองเป็น ปัจเจกยากแล้วคงต้องมองเป็นครัวเรือน เพราะทั้งบ้านนี้เป็นยังไง มีความพร้อมในเชิงของ ทักษะในอดีตยังคงจะไม่ได้คิดไกลถึงตัวท่านแต่คนในบ้านเองก็ต้องมีทักษะมีความคุ้นเคย แล้วในเข้าถึงทั้งในเชิงของข้อมูลเข้าถึงในเชิงของอุปกรณ์ เรื่องของราคาที่ต้องจ่ายบริการ ต่าง ๆ”, นางพิศมัย จำปามูล นักพัฒนาสังคมชำนาญการ สำนักงานพัฒนาสังคมและ ความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดมหาสารคาม, วันที่สัมภาษณ์ 10 ก.ค. 2566 “เราควรพัฒนากลุ่มที่มีประสบการณ์พื้นฐานก่อน แล้วใช้แพลตฟอร์มเดิม ๆ (เช่น ชมรมผู้สูงอายุ) ให้เพื่อนสอนเพื่อน และหากลยุทธิ์ เทคนิคต่าง ๆ สร้างแรงจูงใจให้กับ สมาชิกผู้สูงวัยต้องพัฒนาทักษะของตนเองควบคู่ไปด้วย”, นางนวลน้อย วีระพันธ์, วันที่ สัมภาษณ์ 10 ก.ค. 2566 นางพิศมัย จำปามูล นักพัฒนาสังคมชำนาญการ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของ มนุษย์จังหวัดมหาสารคาม (วันที่สัมภาษณ์ 10 ก.ค. 2566) ยังกล่าวเสริมถึงความสำคัญของความช่วยเหลือ เกื้อกูลกันของเพื่อนและคนในครอบครัว แต่อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่าผู้สูงอายุต้องมีภาระค่าใช้จ่ายเป็นค่า อำนวยความสะดวกด้วย ดังคำสัมภาษณ์นี้ “ในโรงเรียนผู้สูงอายุ กลุ่มผู้สูงอายุเขาจะช่วยเหลือกันช่วยเหลือเพื่อนกัน ได้ความช่วยเหลือ รวมไปถึงการกดเงินเบี้ยยังชีพด้วย แต่ถ้าในเขตชนบทห่างไกล ผู้สูงอายุ ก็มาไม่ได้ ก็ให้ลูกให้หลานหรือฝากคนอื่นกดแทน แต่ส่วนใหญ่ก็จะให้ลูกให้หลานมารับให้ มากดให้ ถ้าจำเป็นต้องมาเองก็คือให้คนกรอกข้อมูลให้ มีการบอกรหัสเขาไปเพราะว่าเงิน ส่วนใหญ่มันไม่เยอะ คนอื่นบางคนคิดค่ากดด้วย ลูกหลานนะบางคนก็เอาไปหมดเลย...”,
วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 114 นางพิศมัย จำปามูล นักพัฒนาสังคมชำนาญการ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคง ของมนุษย์จังหวัดมหาสารคาม, วันที่สัมภาษณ์ 10 ก.ค. 2566 นางสาวพิมพ์ชนก อัจฉรียสุนทร ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคม (วันที่ สัมภาษณ์ 11 ก.ค. 2566) เองก็เชื่อว่า ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมของผู้สูงอายุขึ้นอยู่กับ คนในครอบครัว “ก็เคยเห็นนะคะว่าจะมีผู้สูงอายุบางท่านที่พอจะต้องใช้เทคโนโลยีจะต้อง เรียกลูกหลานมานั่งประกบเพื่อฝึก อย่างเช่น อยากจะเข้าสู่มิตติ้ง (ประชุมออนไลน์) ก็ อาจจะเรียกหลานสาวมัธยม ใช้มาช่วยค่ะ อันนี้(ผอ.)ก็มองว่าอาจจะขึ้นอยู่กับลักษณะของ แต่ละครอบครัว”, นางสาวพิมพ์ชนก อัจฉรียสุนทร ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาการจัด สวัสดิการสังคมผู้สูงอายุขอนแก่น, วันที่สัมภาษณ์ 11 ก.ค. 2566 ผู้แทนอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงมนุษย์จากตำบลปากตม อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย มองว่า รัฐหรืออาสาสมัครของภาครัฐไม่ควรเป็นตัวแสดงหลักในการอบรมหรือสอนให้ผู้สูงอายุมี ทักษะดิจิทัล เพราะมีจำนวนเจ้าหน้าที่จำกัด แต่ควรเป็นครอบครัวที่ต้องเข้ามาทำหน้าที่พี่เลี้ยง “ในการช่วยเหลือให้ผู้สูงอายุใช้เทคโนโลยีได้นั้น ควรให้ลูกหลานสอน หาก ให้อพม. เข้าไปสอนอาจทำไม่ไหว เพราะมีจำนวนประชากรจำนวนมาก บางคนก็อาจจะ เข้าใจได้ยาก สุดท้ายรัฐบาลก็เน้นเข้าช่วยเหลือด้วยกลไกเดิม เพื่อแก้ไขข้อบกพร่องทาง กายภาพ (เช่น ซ่อมบ้าน)”, อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงมนุษย์, วันที่สัมภาษณ์ 18 ก.ค. 2566 ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุขอนแก่น (วันที่สัมภาษณ์ 11 ก.ค. 2566) ยังแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมถึงความสำคัญของรูปแบบการสอน โดยมองว่า “การสร้างการเรียนรู้ให้ผู้สูงอายุด้วยต้องสอน คือ ต้องคิดว่าจะสอนยังไง สอนโดยใคร ระยะเวลาในการสอนเป็นยังไง สอนแบบไหน ค่ะ วิธีการกลไกที่มันจะได้ ประโยชน์สูงสุดในการสอนอบรมคือ ถ้าเกี่ยวกับการจะใช้เครื่องมือ ต้องเรียนรู้แบบจับมือ ทำให้เป็น อย่างเช่น การโทรศัพท์เพื่อเข้าแอปพลิเคชัน เข้าไปตรงนี้กดตรงนี้ แบบนี้คือ มันต้องทำให้ท่านเป็นเลย เพราะถ้าไม่จับมือทำ ไปนั่งอบรมเฉย ๆ ทำไม่ได้หรอก มันต้อง ดูก่อนว่านวัตกรรมนั้นจะเป็นใครสอน อย่างเช่น ถ้าเป็นแอปพลิเคชันนี้ก็ต้องเป็นทางกรม กิจการผู้สูงอายุที่ต้องเป็นคนสอน ก็อาจจะต้องมีการจัดโครงการอบรมการใช้แอปพลิเคชัน โกลด์ หรืออาจจะเป็นการทำคลิปวีดีโอสั้น ๆ ที่เผยแพร่ผ่านช่องทางการเข้าถึงให้ หลากหลาย ให้ดูวิธีการ แต่ว่าคลิปมันก็จะเป็นแค่การสื่อสารทางเดียวมันก็ต้องเพิ่มการ
วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 115 สื่อสารสองทาง เช่น ถ้าเกิดว่าดูคลิปนี้แล้วไม่เข้าใจ สามารถติดต่อแชทหาเจ้าหน้าที่ได้เลย เป็นต้น ซึ่งในช่องทางแชทบอทนี้มันก็มีอยู่ โทรสายด่วนก็มี แต่หากว่าเป็นเรื่องการใช้ เครื่องช่วยเหลือต่าง ๆ ที่เราพูดกันตอนต้น ๆ (เช่น เครื่องยก/พยุง) สวทช.จะเป็นคนสอน เพราะว่าเป็นเจ้าเครื่อง เข้ามาสอนให้เจ้าหน้าที่ แล้วเจ้าหน้าที่ก็ส่งต่อข้อมูลไปยังผู้สูงอายุ ที่อยู่ในศูนย์ฯ ส่วนใหญ่ผู้สูงอายุที่อยู่ในศูนย์ฯ ก็จะเป็นพี่เลี้ยงให้กับผู้สูงอายุ” นางสาว พิมพ์ชนก อัจฉรียสุนทร ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุขอนแก่น, วันที่สัมภาษณ์ 11 ก.ค. 2566 ข้อมูลสัมภาษณ์ที่นำเสนอในบทนี้ได้อธิบายถึงตัวแปรสำคัญที่ควรนำมาประกอบการ พิจารณาและให้ความสำคัญในการการจัดสวัสดิการสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ ปัจจัยเหล่านี้ได้แก่ ทักษะและประสบการณ์ในอดีตที่สั่งสมมาจากความคุ้นเคยกับการใช้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมทั้งในรูปแบบทั่วไปและเกี่ยวข้องกับการรับสวัสดิการสังคมโดยตรง, ความสามารถใน การพึ่งตนเองในการใช้และเรียนรู้เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ เพราะอาจจะมีความยากง่าย ความซับซ้อน และความจำเป็นต่อการดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุที่แตกต่างกันไป, การเข้าถึงอุปกรณ์ โครงข่ายอินเตอร์เน็ตและ ข้อมูลและองค์ความรู้ที่ถูกต้องและเพียงพอ, และการได้รับความสนับสนุนและอำนวยความสะดวกในการใช้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมจากผู้คนรอบข้าง ไม่ว่าจะเป็นคนครอบครัว ลูก หลาน เพื่อน ผู้นำชุมชน และ อาสาสมัครชุมชน ปัจจัยทั้งสี่ประการนี้ประกอบกันเป็น ‘ศักยภาพและความพร้อม’ ของผู้สูงอายุ นั่นเอง
วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 116 บทที่ 6 สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ เมื่อสังคมปรับเปลี่ยนเข้าสู่ยุคดิจิทัล บริการและธุรกรรมจำนวนมากเปลี่ยนไปอยู่บน แพลตฟอร์มดิจิทัล หรือต้องใช้อุปกรณ์อัจฉริยะและเครื่องอิเล็กทรอนิกส์เป็นสื่อกลาง เช่น ธุรกรรมทาง ธนาคารออนไลน์ แอปพลิเคชันบนโทรศัพท์สมาร์ทโฟน เว็ปไซต์ แชทบอท โซเชียลมีเดีย และอุปกรณ์ทางการ แพทย์อัจฉริยะและการให้บริการทางสาธารณสุขผ่านสารสนเทศ (Telemedicine) (รุจา รอดเข็ม และสุดา รัตน์ ไชยประสิทธิ์, 2562) รวมถึงสวัสดิการสังคมสำหรับกลุ่มผู้สูงอายุโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ที่เปลี่ยนจากการจ่ายแบบเงินเป็นการโอนเข้าบัญชีธนาคารและถอนเงินผ่านตู้เอทีเอ็มแทน หรือการจ่ายเงิน ช่วยเหลือแบบฉุกเฉินช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ผู้รับสวัสดิการต้องมีแอปพลิเคชันเป๋าตัง เป็นต้น งานวิจัยนี้จึงจัดทำขึ้นเพื่อเก็บข้อมูลและสร้างความเข้าใจในธรรมชาติและมุมมองของผู้สูงอายุในพื้นที่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาเรื่องความต้องการการจัดสวัสดิการด้านเทคโนโลยี และนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุและอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ กับระดับความต้องการการจัด สวัสดิการด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุ ผลการศึกษาในงานวิจัยนี้จะเป็นข้อมูลสำคัญที่สะท้อน ให้เห็นช่องว่างทางนโยบายหรือปัญหาเชิงนโยบายที่เกิดขึ้นในกลุ่มผู้สูงอายุในภาคอีสานที่ต้องการการแก้ไข อย่างแท้จริง นำไปสู่ข้อเสนอแนะการออกแบบเครื่องมือทางนโยบายหรือโครงการเกี่ยวกับสวัสดิการสังคมและ ความช่วยเหลือที่เหมาะสมกับกลุ่มผู้สูงอายุในภาคอีสานมากที่สุด เพื่อลดปัญหาที่เกิดขึ้นจากการกำหนด นโยบายสวัสดิการของรัฐบาลในอดีตที่ไม่ได้อยู่บนข้อมูลและความเข้าใจในกลุ่มเป้าหมายอย่างลึกซึ้ง ไม่ สามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้รับบริการได้อย่างครอบคลุมและทั่วถึง และไม่อาจปรับหรือนำไป ปฏิบัติได้อย่างความเหมาะสมได้ (ปองทิพย์ ฤทธิ์อิ่ม, 2562) การค้นหาช่องว่างเชิงนโยบายหรือเปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุสะท้อนข้อเท็จจริงและสถานการณ์ที่ ตนกำลังเผชิญอยู่นี้นับเป็นส่วนหนึ่งของขั้นตอนแรกในการกำหนดนโยบายสาธารณะตามแนวทางการกำหนด นโยบายแบบเน้นผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง (Client-oriented) ซึ่งมี 5 ขั้นตอน ประกอบไปด้วย ขั้นแรกคือ ผู้รับบริการชี้ปัญหาด้วยตนเอง (Define a policy problem identified by client), ขั้นที่สองประเมินความ เป็นไปได้ของวิธีแก้ปัญหา/ทางเลือกรูปแบบต่าง ๆ ( Identify technically and politically feasible solutions), ขั้นที่สาม กำหนดหลักเกณฑ์และเป้าหมายเพื่อเปรียบเทียบวิธีการแก้ไขปัญหา/ทางเลือกรูปแบบ ต่าง ๆ (Use value-based criteria and political goals to compare solutions), ขั้นที่สี่ คาดการณ์ ผลลัพธ์ของวิธีการแก้ปัญหา/ทางเลือกรูปแบบต่าง ๆ (Predict the outcome of each feasible solutions),
วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 117 และ ขั้นที่ห้า เสนอและวิธีการแก้ปัญหา/ทางเลือกที่เหมาะสมที่สุดให้กับผู้รับบริการ (Make a recommendation to client) (Cairney, 2021) งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสวัสดิการและการดูแลผู้สูงอายุด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมมุ่งศึกษา ทำความเข้าใจในลักษณะพฤติกรรมด้านเทคโนโลยีของผู้สูงอายุ ซึ่งมีความแตกต่างกันในกลุ่มคนที่ใช้เทคโนโลยี เป็นประจำ (Active) กลุ่มคนที่ใช้น้อย (Passive) และกลุ่มคนที่ไม่ใช้เลย (Drop-off) ในปัจจุบัน นักวิชาการมัก ให้ความสนใจไปที่ประเด็นข้อจำกัดและประโยชน์ของเทคโนโลยีและนวัตกรรม ปัญหาอุปสรรคต่อการใช้และ กลไกสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยการศึกษาปัจจัยหรือตัวแปรที่ส่งผลต่อการใช้เทคโนโลยี และนวัตกรรมเป็นวิธีการสำคัญหนึ่งที่จะค้นหาแรงจูงใจ ข้อจำกัดและประโยชน์ของเทคโนโลยีและนวัตกรรม ปัญหาอุปสรรคต่อการใช้ รวมทั้งชี้ช่องโหว่และแนวทางการพัฒนากลไกที่จำเป็นต่อการจัดสวัสดิการสังคมด้าน เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้สูงอายุซึ่งเป็นแนวทางที่งานวิจัยนี้ยึดถือ ปัจจัยที่นำมาพิจารณาในการทำความเข้าใจความต้องการหรือพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมมี 10 ประการ ได้แก่ 1. คุณประโยชน์ (Value) หมายถึง ผู้สูงอายุรับรู้ถึงคุณประโยชน์ที่(อาจจะ)เกิดขึ้น จากการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม 2. ใช้งานได้ง่าย (Usability) หมายถึง ผู้สูงอายุรับรู้ถึงฟังก์ชันการใช้งานที่ง่ายหรือ ระบบการทำงานของเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่สามารถเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว 3. ประหยัด/ลดต้นทุน/ราคาที่จ่ายได้ (Affordability) ผู้หมายถึง สูงอายุรับรู้ถึง ราคาที่สามารถจ่ายได้ในการซื้อหรือจัดหา ใช้งาน และความประหยัดหรือต้นทุนที่ลดลงเมื่อใช้เทคโนโลยีและ นวัตกรรม 4. จัดหาซื้อได้/เข้าถึงได้ (Accessibility) หมายถึง ผู้สูงอายุมีข้อมูล ความรู้ และ ความสามารถในการเข้าถึงแหล่ง หรือมีระบบนำส่งเทคโนโลยีและนวัตกรรม 5. ระบบสนับสนุนทางเทคนิค (Technical Support) หมายถึง ผู้สูงอายุได้รับความ ช่วยเหลือทางเทคนิคหรือด้านดิจิทัลที่เพียงพอและมีคุณภาพ ตลอดระยะเวลาการครองครองเทคโนโลยีและ นวัตกรรม 6. ระบบสนับสนุนทางสังคม (Social Support) หมายถึง ผู้สูงอายุได้รับความ ช่วยเหลือจากคนในครอบครัว เพื่อน และชุมชน ตลอดระยะเวลาการครองครองเทคโนโลยีและนวัตกรรม 7. ความชอบ/ความเชื่อ/ความรู้สึกส่วนบุคคล (Emotion) หมายถึง ผู้สูงอายุรู้สึก หลงใหล ชื่นชอบ และมีความเชื่อส่วนตัวว่าเทคโนโลยีและนวัตกรรมเป็นสิ่งที่ดีสำหรับผู้สูงอายุ 8. ความสามารถ/พึ่งตนเอง (Independence) หมายถึง ผู้สูงอายุรับรู้ถึงภาพลักษณ์ หรือการถูกมองว่ามีความสามารถในการพึ่ง/ดูแลตนเองได้เมื่อใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม 9. ทักษะและความประสบการณ์ในอดีต (Experiences) หมายถึง ผู้สูงอายุมี ประสบการณ์ ทักษะพื้นฐาน หรือคุ้นเคยกับการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม
วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 118 10. ความมั่นใจ (Confidence) หมายถึง ผู้สูงอายุได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนให้ ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยปราศจากการความวิตกกังวลหรือความกลัว ปัจจัยข้างต้นได้นำมาศึกษาเป็นตัวแปรหลักและใช้ออกแบบเครื่องมือวิจัย ในงานวิจัยนี้น้อม เอาระเบียบวิธีการวิจัยแบบผสม (Mixed Method) มาใช้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทั้งสิบประการและ ความต้องการการจัดสวัสดิการด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคอีสาน โดยใช้แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือวิจัยเชิงปริมาณ ในการสำรวจความคิดเห็นของผู้สูงอายุ จำนวนทั้งสิ้น 400 คน ที่อาศัยอยู่ใน พื้นที่เขตเทศบาลและนอกเทศบาลใน 7 จังหวัด ได้แก่ ร้อยเอ็ด ขอนแก่น มหาสารคาม อุดรธานี หนองบัวลำภู เลย และหนองคาย ในช่วงเดือนเมษายน 2566 และแบบสัมภาษณ์เชิงลึกเป็นเครื่องมือวิจัยเชิงคุณภาพในการ สัมภาษณ์เชิงลึก ระหว่างวันที่10 – 18 กรกฎาคม 2566 ในเขตพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม ขอนแก่น และเลย ผู้ให้ข้อมูลหลักมีจำนวนทั้งสิ้น 13 คน ประกอบได้ด้วย เจ้าหน้าที่รัฐ (ระดับบริหาร) จำนวน 3 คน, ผู้สูงอายุ (ประธานกลุ่มผู้สูงอายุในฐานะตัวแทนของผู้สูงอายุในพื้นที่เขตเทศบาล) จำนวน 1 คน, และอาสาสมัครพัฒนา สังคมและความมั่นคงมนุษย์ จำนวน 9 คน โดยหากจำแนกตามภูมิลำเนา จะเห็นว่ามีผู้ให้ข้อมูลจำนวน 4 คน อาศัยอยู่ในเขตเมือง และอาศัยอยู่ในเขตชนบท จำนวน 9 คน ผู้ให้ข้อมูลทั้งหมดจึงถือ ได้ว่าเป็นผู้ที่เข้าใจและ สามารถให้ข้อมูลที่สะท้อนบริบทท้องถิ่น ลักษณะพฤติกรรมและความต้องการของผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในภาค ตะวันออกเฉียงเหนือทั้งในเขตเมืองและชนบทได้เป็นอย่างดี ผลการศึกษาเชิงปริมาณ บ่งชี้ว่า ปัจจัยหรือตัวแปรต้นทั้งหมดมีความสัมพันธ์กับตัวแปรตาม หรือความต้องการการจัดสวัสดิการสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุ (ค่า p-value = 0.000 น้อยกว่า 0.050 ) ซึ่งสะท้อนผ่านระดับความพึงพอใจด้านบริการและสวัสดิการสังคมด้านเทคโนโลยีและ นวัตกรรมที่ผู้สูงอายุใช้อยู่ อย่างไรก็ตาม ผลการทดสอบสมการเชิงทำนายโดยประยุกต์ใช้สถิติแบบการ วิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis: MRA) ระบุว่ามีตัวแปรต้นสามตัวที่มีผลต่อ ความต้องการของผู้สูงอายุโดดเด่นที่สุดเรียงไปตามลำดับ ได้แก่ ทักษะและประสบการณ์ในอดีต (มี ความสัมพันธ์เชิงบวกกับตัวแปรตามในระดับ 0.349) รองมาคือ ความสามารถในการพึ่งพาตนเอง (เท่ากับ 0.182) และตามด้วยการเข้าถึง (เท่ากับ 0.117) ทั้งสามตัวแปรต้นนี้ได้นำไปขยายผลและพูดคุยเพิ่มเติมในการ สัมภาษณ์เชิงลึก ผลการศึกษาเชิงคุณภาพสะท้อนผลการศึกษาที่สอดคล้องกับผลการศึกษาเชิงปริมาณ ผู้ให้ ข้อมูลทุกคนเห็นพ้องกันว่า ทักษะและประสบการณ์ในอดีตที่สั่งสมมาจากความคุ้นเคยกับการใช้เทคโนโลยี และได้ฝึกฝนทักษะดิจิทัลผ่านการใช้แพลตฟอร์มโชเชียลมีเดีย เช่น ไลน์(Line) และเฟสบุ๊ค (Facebook) เพื่อ ความบันเทิงและหาข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพและอื่น ๆ ซึ่งประสบการณ์ของผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นี้คล้ายคลึงกับประสบการณ์ของผู้สูงอายุในพื้นที่อื่นที่มีลักษณะเป็นสังคมเมือง เช่น กรุงเทพมหานคร ชลบุรี (ปิยดา ราชพิบูลย์, ศุมรรษตรา แสนวา และจุฑารัตน์ นกแก้ว, 2565; ธัญรัศมิ์ เศรษฐสิริวุฒิ และสุรมน จันทร์ เจริญ, 2565; มนชาย ภูวรกิจ, ธนัญชัย เฉลิมสุข และปรีชา ทับสมบัติ, 2565; ศิริพร แซ่ลิ้ม, 2558; อารียา ศรี
วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 119 แจ่ม, 2562) ที่ใช้สื่อสังคมออนไลน์อยู่บ่อยครั้ง นอกเหนือจากแพลตฟอร์มเพื่อการสื่อสารแล้ว ผู้สูงอายุใน งานวิจัยนี้ยังได้ฝึกฝนและคุ้นเคยกับการใช้แอปพลิเคชันเพื่อรับสวัสดิการสังคม ทั้งในรูปแบบการรับข้อมูล ข่าวสาร และเงินช่วยเหลือแบบฉุกเฉินช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เช่น แอปพลิเคชันเป๋าตังและ หมอพร้อม เป็นต้น และที่สำคัญการเตรียมความพร้อมและฝึกฝนทักษะที่มีประสิทธิภาพควรทำ “ก่อนผู้สูงอายุเข้าสู่วัยเกษียณ” เพราะเมื่อเข้าสู่วัยเกษียณจะเรียนรู้และใช้เครื่องมือใหม่ ๆ ได้ยากมากขึ้น เพราะข้อจำกัดด้านการมองเห็น การเคลื่อนไหว และความจำ ส่วนปัจจัยด้านความสามารถในการพึ่งตนเอง พบว่าผู้สูงอายุให้ความสำคัญแก่ “การทำเป็น ด้วยตัวเอง” และต้องการเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ “ง่าย” “ไม่ซับซ้อน”“ราคาถูก” และ “เท่าที่จำเป็น” ต่อการดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุเท่านั้น หากต้องอาศัยผู้อื่นให้ช่วยอยู่ร่ำไป ก็มักจะไม่รับเอาเทคโนโลยีและ นวัตกรรม ถึงแม้ว่าอาจจะต้องเสียสิทธิสวัสดิการและประโยชน์จากบริการนั้นไป ดังนั้น การจัดสวัสดิการด้าน เทคโนโลยีและนวัตกรรมจำเป็นต้องทำให้ใช้งานได้ง่าย มีหน้าจอที่ใหญ่ มองเห็นง่าย มีเสียงดังฟังชัด ง่ายต่อ การได้ยิน และไม่ต้องมีลูกเล่นของเทคโนโลยีที่มากมายนัก ให้สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องพึ่งพาคน อื่นทุกครั้งที่ต้องใช้และที่สำคัญต้องมีราคาไม่สูงเกินไป เพื่อไม่เป็นภาระค่าใช้จ่ายแก่ผู้สูงอายุมากจนเกินไป เพราะผู้สูงอายุไม่มีรายได้จากการประกอบอาชีพ และโดยมากไม่ได้มีความจำเป็นต้องทำกิจกรรมต่าง ๆ มากมายในโลกดิจิทัลเท่ากับคนในวัยอื่น เน้นเพียงใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อสุขภาพและการดำรงชีพ อย่างมีคุณภาพเท่านั้น ผลการศึกษาด้านการพึ่งพาตนเองนี้สอดคล้องกับงานวิจัยของกลุ่มผู้สูงอายุในสงขลา ที่ แสดงให้เห็นว่าการพึ่งพาตนเองของผู้สูงอายุมีความสัมพันธ์เชิงบวก (ในระดับปานกลาง) กับการยอมรับ เทคโนโลยี(ต่อตระกูล ไชยอิน, 2560) อีกทั้ง ยังสอดคล้องกับมุมมองของกลุ่มเกษตรกรที่เป็นผู้สูงอายุซึ่งไม่ใช้ อินเตอร์เน็ต ไม่เพียงเพราะไม่มีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์ หรือสมาร์ทโฟน แต่ยังมองว่าการใช้อินเตอร์เน็ต นั้นไม่ได้ช่วยให้มีรายได้เพิ่มมากขึ้น (Adamide, et al., 2013) ส่วนปัจจัยด้านการเข้าถึง หมายถึง การเข้าถึง “อุปกรณ์” “โครงข่ายอินเตอร์เน็ต” และ “ข้อมูลและองค์ความรู้ที่ถูกต้องและเพียงพอ” ซึ่งมีส่วนสำคัญในการกำหนดความต้องการสวัสดิการสังคมด้าน เทคโนโลยีและนวัตกรรมของผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผลการศึกษาด้านนี้สอดคล้องกับผลการวิจัย ของดนัย พาณิชยานุเคราะห์, ศิริวรรณ อนันต์โท และสันทัด ทองรินทร์ (2560) ที่ระบุว่าการเข้าถึงอุปกรณ์ถือ เป็นปัจจัยที่สร้างทัศนคติที่ดีต่อการใช้งานอินเตอร์เน็ตและการยอมรับอินเตอร์เน็ตของผู้สูงอายุและนำไปสู่ การพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านกายภาพและจิตใจ ด้านความสัมพันธ์ทางสังคม และ ด้านการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร นอกเหนือจากนี้ ผลการศึกษาในประเด็นปัจจัยการเข้าถึง ยังแสดงเห็นความ แตกต่างระหว่างผู้สูงอายุในเขตเมืองและเขตชนบท ผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่นอกเขตเทศบาลหรือชนบทอีสานมัก ประสบปัญหาการเข้าถึงอุปกรณ์ และโครงข่ายอินเตอร์เน็ต ซึ่งไม่เพียงแตกต่างจากผู้สูงอายุในเขตเทศบาลหรือ เขตเมืองในงานวิจัยนี้แต่ยังแตกต่างจากผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร ที่สามารถเข้าถึงอุปกรณ์สื่อสาร โทรศัพท์เคลื่อนที่สมาร์ทโฟนในระดับมากที่สุด รองลงมาคือแท็บเล็ต และกลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุใน
วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 120 กรุงเทพมหานครส่วนใหญ่มีการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตวายฟาย (WIFI) ที่บ้านนะดับมากที่สุด รองลงมาคือ อินเตอร์เน็ตแบบรายเดือน (ศิริพร แซ่ลิ้ม, 2558) นอกจากตัวแปรทั้งสามที่บ่งชี้โดยผลการศึกษาเชิงปริมาณแล้ว ผู้ให้ข้อมูลยังให้ข้อมูลอีกด้วย ว่า การสนับสนุนเชิงสังคมและเชิงเทคนิคหรือ การดูแลและความช่วยเหลือจากบุคคลรอบข้างผู้สูงอายุ มี ความสำคัญมากเช่นกัน บุคคลเหล่านี้ ประกอบด้วย คนในครอบครัว ลูก หลาน เพื่อน ผู้นำชุมชน และ อาสาสมัครในหมู่บ้าน เป็นกลไกสำคัญที่ต้องนำมาร่วมพิจารณาในฐานะผู้อำนวยความสะดวกให้ต้องการใช้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมได้ การจัดสวัสดิการความช่วยเหลือและการดูแลด้วยมนุษย์ (Human Help) ยังคงมี ความสำคัญอยู่ ถึงแม้ว่าเทคโนโลยีและนวัตกรรมมีการพัฒนามากขึ้นและเพิ่มบทบาทในการใช้ชีวิตของ ผู้สูงอายุ เหตุเพราะ หากขาดการสนับสนุนจากคนรอบข้าง ผู้สูงอายุอาจไม่สามารถเชื่อมไปยังเทคโนโลยีและ นวัตกรรมนั้นได้เลย คนรอบข้างสามารถช่วยเหลือได้หลายมิติ ไม่ว่าจะเป็นในการเข้าถึงอุปกรณ์ จัดหา เครื่องมือและข้อมูล ไปจนถึงการให้ความรู้และฝึกสอนในการใช้ ให้มีทักษะที่จำเป็นในการใช้เทคโนโลยีและ นวัตกรรมได้บุคคลเหล่านี้เป็นบุคคลที่มีความใกล้ชิดกับกลุ่มผู้สูงอายุมากกว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐและนักสังคม สงเคราะห์ตัวอย่างเช่น อาสาสมัครในพื้นที่เป็นบุคคลที่มีความคุ้นชินและสามารถเข้าถึงผู้สูงอายุได้เร็วกว่า กลุ่มคนในครอบครัวและเพื่อนก็สามารถสอนและช่วยแนะนำให้ผู้สูงอายุได้รับรู้และเข้าใจสวัสดิการสังคมผ่าน เทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องมากกว่า ในขณะที่ ผู้นำชุมชน คือบุคคลที่ผู้สูงอายุสามารถพึ่งพาและเชื่อมั่นในการให้ ข้อมูลข่าวสารที่เป็นทางการจากภาครัฐ ดังนั้น จะเห็นได้ว่า เจ้าหน้าที่รัฐ เป็นเพียงส่วนหนึ่งในการจัดสวัสดิการ สังคมร่วมกับคนรอบข้างอื่น ๆ ที่เข้าไปให้ความช่วยเหลือและส่งต่อข้อมูลด้านสวัสดิการทางเทคโนโลยีที่จะเป็น ประโยชน์แก่กลุ่มผู้สูงอายุได้รับรู้และสามารถพึ่งพาตนเองได้ เมื่อวิเคราะห์อย่างลึกซึ้งลงไปในข้อมูลวิจัยที่สะท้อนอุปสรรคปัญหาที่เป็นตัวขวางกั้นระหว่าง ผู้สูงอายุและเทคโนโลยีและนวัตกรรมในปัจจัยทั้งสี่ด้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องค่าใช้จ่ายเพื่อเข้าถึงเทคโนโลยีที่สูง เกินไป หรือจุดให้บริการโครงข่ายอินเตอร์เน็ตไม่ครอบคลุม หรือการขาดความรู้ ความสามารถหรือโอกาสที่จะ ได้ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมทันสมัยเพื่อสร้างความคุ้นเคยและประสบการณ์ให้แก่ผู้สูงอายุ หรือแม้กระทั่ง ความกลัวที่จะทำธุรกรรมออนไลน์ อุปสรรคปัญหาเหล่านี้ไม่เพียงสะท้อนให้เห็นระดับศักยภาพและความ พร้อมของผุ้สูงอายุ แต่แสดงให้เห็น เงื่อนไขหรือสาเหตุเบื้องหลังศักยภาพและความพร้อมที่แตกต่างของ ผู้สูงอายุ โดยสามารถแบ่งเงื่อนไขออกเป็น 2 ประเภท ที่กำหนดศักยภาพและความพร้อมของผู้สูงอายุ ได้แก่ เงื่อนไขเชิงปัจเจกคือ สถานะทางเศรษฐกิจ และเงื่อนไขเชิงโครงสร้างคือ เขตภูมิลำเนาหรือที่อยู่ของผู้สูงอายุ การจำแนกกลุ่มผู้สูงอายุเป็นขั้นตอนแรกที่จะช่วยให้สามารถทำความเข้าใจและจัดสวัสดิการ สังคมที่เหมาะสมและตรงกับความต้องการของผู้สูงอายุได้ดียิ่งขึ้น (การสัมภาษณ์นายธงชัย มูลพันธ์ พัฒนา สังคมและความมั่นคงมนุษย์จังหวัดมหาสารคาม, วันที่สัมภาษณ์ 10 ก.ค. 2566) ผู้สูงอายุสามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ กลุ่มมีศักยภาพและความพร้อม และกลุ่มไม่มีศักยภาพและความพร้อม โดยปัจจัยที่มีผลต่อ
วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 121 การกำหนดศักยภาพและความพร้อมของผู้สูงอายุ ประกอบด้วย เงื่อนไขเชิงปัจเจก คือ สถานะทางเศรษฐกิจ และสังคม และเงื่อนไขเชิงโครงสร้าง คือ เขตภูมิลำเนาหรือที่อยู่ของผู้สูงอายุ ตารางที่ 6.1 แสดงเงื่อนไขที่กำหนดศักยภาพและความพร้อมของผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มผู้สูงอายุ สถานะทางเศรษฐกิจ เขตภูมิล าเนาหรือถิ่นที่อยู่ของผู้สูงอายุ มีศักยภาพและความพร้อม รายได้มาก เขตเทศบาล (มีโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคที่ครบครัน) ไม่มีศักยภาพและความพร้อม รายได้น้อย นอกเขตเทศบาล (ขาดโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคที่ครบครัน) กลุ่มผู้สูงอายุที่มีศักยภาพ มักเป็นผู้สูงอายุที่มีรายได้อยู่ในระดับสูง หรือไม่อยู่ในสถานะที่ ลำบาก เมื่อมีรายได้มากก็มีแนวโน้มว่ามีศักยภาพที่จะจัดหาหรือ เข้าถึงเครื่องมือและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ต่าง ๆ ได้ และเมื่อมีความคุ้นเคยกับการใช้อุปกรณ์ ก็จะมีองค์ความรู้ทักษะ หรือความชำนาญการใช้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ไม่ว่าจะเป็นความรู้ด้านอุปกรณ์หรือด้านการเชื่อมต่อออนไลน์ซึ่งเป็นความรู้พื้นฐาน ในการใช้เทคโนโลยีสื่อดิจิทัล (กรกช แสนจิตร, 2564) ในทางตรงกันข้าม กลุ่มผู้สูงอายุที่ไม่มีศักยภาพ มักเป็น ผู้สูงอายุที่มีรายได้อยู่ในระดับต่ำ หรืออยู่ในสถานะที่ลำบาก เมื่อมีรายได้น้อยก็มีแนวโน้มว่าไม่มีศักยภาพ พอที่จะจัดหาหรือไม่สามารถเข้าถึงเครื่องมือ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ได้ และเมื่อไม่มีอุปกรณ์ หรือไม่มีความคุ้นเคยกับการใช้อุปกรณ์ ก็จะไม่มีองค์ความรู้ทักษะ หรือความชำนาญการใช้เทคโนโลยีและ นวัตกรรมด้วย นอกจากสถานะส่วนบุคคลจะมีความสำคัญแล้ว โครงสร้างพื้นฐานที่เหมาะสมและโครงข่าย อินเตอร์เน็ตหรือจุดให้บริการอย่างครอบคลุม ก็เป็นเงื่อนไขหลักที่เอื้อให้ผู้สูงอายุสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีและ นวัตกรรมได้ จากข้อมูลวิจัยในโครงการวิจัยนี้จะพบว่า ผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เขตชนบทหรือนอกเขต เทศบาลมักจะประสบปัญหาในด้านนี้มากกว่าผู้สูงอายุในเขตเมือง หากไม่มีโครงข่ายสัญญาณอินเตอร์เน็ต ผู้สูงอายุก็ไม่สามารถเชื่อมต่อกับโลกดิจิทัลได้ หรือแม้แต่โครงสร้างพื้นฐานก็ยังอยู่ในระดับการพัฒนาที่แตกต่าง กันระหว่างเมืองและชนบท หากไม่มีทางเท้าหรือทางขึ้นอาคารที่เหมาะสม ผู้สูงอายุก็ไม่สามารถเดินหรือสัญจร โดยใช้รถมอเตอร์ไฟฟ้าหรือรถเข็นอัจฉริยะ(หรือแม้กระทั่งรถเข็นแบบธรรมดา)ได้ ปัญหาความเหลื่อมล้ำ ทางด้านชีวิตดิจิทัลของประชากรไทยยังคงมีกระจายอยู่ในทุกพื้นที่และเป็นปัญหาเรื้อรังที่สะสมมายาวนาน และต้องการการแก้ไขเชิงระบบ (เรวัต แสงสุริยงค์, 2558; พัชรี สายบุญเยื้อน, 2564) เพื่อเอื้อให้กลุ่ม เปราะบางอย่างกลุ่มผู้สูงอายุมีโอกาสและศักยภาพที่จะได้รับสวัสดิการและบริการด้านเทคโนโลยีและ นวัตกรรมได้มากขึ้น คำถามสำคัญต่อมา คือ ภายใต้เงื่อนไขเรื่องสถานะทางเศรษฐกิจและถิ่นที่อยู่ของผู้สูงอายุ ภาครัฐจะสามารถช่วยเพิ่มศักยภาพและเตรียมความพร้อมให้ผู้สูงอายุเพื่อรับสวัสดิการสังคมด้านเทคโนโลยี
วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 122 และนวัตกรรมได้ดียิ่งขึ้นในอนาคต ได้อย่างไร จากผลการศึกษา จะเห็นว่า ผู้สูงอายุยังต้องการให้มีการจัดสรร ทั้งอุปกรณ์ เช่น สมาร์ทโฟน อินเตอร์เน็ต พร้อมกับการจัดอบรมให้องค์ความรู้และข้อมูลจำเป็นต่าง ๆ อย่างไร ก็ตาม การจัดสรรสิ่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสวัสดิการสังคมและบริการด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมต้องใช้ ทรัพยากรจำนวนมาก ทั้งที่เป็นตัวเงินงบ และที่ไม่เป็นตัวเงิน ดังนั้น ภาครัฐอาจต้องใช้แนวทางการจัดการ ปกครองแบบเครือข่าย (Governance Approach) โดยดึงเครือข่ายหลายภาคส่วนที่มีความถนัดและ ทรัพยากรที่แตกต่างกันเข้ามาร่วมด้วยช่วยกัน จึงจะสามารถยกระดับศักยภาพของผู้สูงอายุให้สูงขึ้นได้ข้อมูล วิจัยระบุว่า เครือข่ายสำคัญ ประกอบด้วย ครอบครัว เอกชน ชุมชน และหน่วยงานภาครัฐ ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย จากการจัดสรรสวัสดิการสังคมและบริการให้เหมาะกับลักษณะความต้องการตามระดับศักยภาพและความ พร้อมของผู้สูงอายุในเขตเมืองและชนบท เช่น การอุดหนุนเงินจากภาครัฐสำหรับการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต ซึ่ง ไม่เพียงเกี่ยวข้องกับบริษัทเอกชนที่ให้บริการโครงข่ายสัญญาณอินเตอร์เน็ต แต่ยังต้องได้รับความร่วมมือจาก บุคคลรอบข้างผู้สูงอายุที่มีส่วนสำคัญในการเพิ่มความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการสื่อสารสําหรับ ผู้สูงอายุร่วมกับการจัดอบรมของภาครัฐ (ธัญรัศมิ์ เศรษฐสิริวุฒิ และสุรมน จันทร์เจริญ, 2565) อุปกรณ์ อัจฉริยะทางด้านการแพทย์และเครื่องไฟฟ้าเพื่อการดูแลผู้สูงอายุก็เช่นกัน หากเครื่องมีราคาสูง ภาครัฐต้อง พึ่งพาการสนับสนุนจากภาคเอกชนมากขึ้น เพราะในปัจจุบัน รัฐยังคงไม่มีงบประมาณมากพอที่จะจัดสรรด้วย ตนเอง รัฐจัดสรรได้เพียงอุปกรณ์พื้นฐานเท่านั้น ซึ่งก็ยังคงมีจำนวนไม่เพียงพอกับความต้องการของผู้สูงอายุอยู่ เช่น ไม้เท้า เครื่องช่วยฟัง และรถเข็น เป็นต้น (นายธงชัย มูลพันธ์ พัฒนาสังคมและความมั่นคงมนุษย์จังหวัด มหาสารคาม, วันที่สัมภาษณ์ 10 ก.ค. 2566; นางสาวพิมพ์ชนก อัจฉรียสุนทร ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาการจัด สวัสดิการสังคมผู้สูงอายุขอนแก่น,วันที่สัมภาษณ์ 11 ก.ค. 2566) การพัฒนาต่อยอดจากกลไกและเครือข่ายความร่วมมือดั้งเดิมในระดับชุมชนก็อาจเป็นแนว ทางการจัดสวัสดิการด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุที่เหมาะสมในช่วงเปลี่ยนผ่านไปสู่ยุคดิจิทัลนี้ ได้เช่น กองทุนสวัสดิการชุมชนในตำบล อาจใช้เป็นฐานในการพัฒนาเป็นระบบเพื่อการส่งเสริมสวัสดิการ สังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมให้แก่ผู้สูงอายุ โดยเน้นให้ผู้สูงอายุมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการกองทุนให้ เหมาะสมกับความจำเป็นความต้องการที่แตกต่างกันตามถิ่นที่อยู่อาศัยของผู้สูงอายุเอง “กองทุนสวัสดิการชุมชนมีความยืดหยุ่นเป็นการบริหารโดยภาคประชาชนไม่ใช่ ภาครัฐ แต่ว่ามีการสมทบจากภาครัฐเข้าไปและเริ่มมีการใช้ระเบียบของภาครัฐเข้าไปจับ กองทุนฯจัดโดยสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน เป็นเครื่องมือสำหรับจัดสวัสดิการให้คนใน ชุมชน โดยที่ไม่ต้องรอการพึ่งพาจากรัฐ แต่เป็นการจัดบริการลักษณะที่ว่าชาวบ้านเอาเงิน มารวมกัน หรือเรียกว่าเอาเงินมาฝาก ไม่มีดอกเบี้ย ถอนออกไม่ได้คือคล้ายทำบุญ 365 บาทต่อปี แล้วเอาเงิน 365 บาทที่เราจ่ายไปเป็นสวัสดิการให้กับสมาชิกที่เอาเงินมาลง รวมกัน เมื่อสมาชิกตาย กองทุนฯ เป็นการบริหารภาคประชาชน ซึ่งสามารถสื่อสาร ระหว่างสมาชิกและร่วมตัดสินใจเลือกประเภทสวัสดิการที่จะจัดได้ เช่น สวัสดิการเกิด
วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 123 หมายถึงถ้าลูกสมาชิกเกิดได้เงิน 500 บาท สวัสดิการไปนอนโรงพยาบาลเจ็บไข้ได้ป่วยอาจ ได้สวัสดิการนอนโรงพยาบาล 1,000 บาท เป็นต้น กองทุนฯก็จะเป็นเหมือนหน่วยจัด สวัสดิการพื้นฐาน บางกองทุนเข้มแข็งมาก มีเงินบริหารเป็น 10 ล้าน และหากมีสมาชิก เข้มแข็ง ก็สามารถที่จะจัดกิจกรรมต่าง ๆ มีสวัสดิการหลายอย่าง บางที่มีกว่า 30 ประเภท มีทั้งทุนการศึกษาให้ลูกหลาน มีทั้งสวัสดิการสำหรับประกอบอาชีพ คือมันขึ้นอยู่กับแต่ละ พื้นที่บริหารจัดการด้วย...กองทุนสวัสดิการชุมชนจะเครื่องมือช่วยให้มันเกิดการสร้าง นวัตกรรมได้ในอนาคต กองทุนฯจะเข้าไปเชื่อมระหว่างการการทำงานของภาครัฐและภาค ประชาชน แล้วก็ทำให้ประชาชนมีความพึ่งพาตัวเอง ไม่รอความช่วยเหลือจากภาครัฐ แต่ จะสามารถที่จะสนุบสนุนซึ่งกันและกันได้” (นางสาวพิมพ์ชนก อัจฉรียสุนทร ผู้อำนวยการ ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุขอนแก่น, วันที่สัมภาษณ์ 11 ก.ค. 2566) เราจะเห็นได้ว่า กองทุนนี้เป็นการสร้างหลักประกันให้ผุ้สูงอายุตามรูปแบบระบบจ่ายเงิน สมทบ (Contributory) ที่ผู้สูงอายุจ่ายเงินสมทบส่วนหนึ่ง และภาครัฐ รวมทั้งภาคส่วนอื่น ๆ เช่น ภาคเอกชน สามารถร่วมสบทบเพิ่มเติมส่วนหนึ่งเพื่อเป็นการสนับสนุนและสร้างความยั่งยืนให้แก่กองทุน ในการจัด สวัสดิการสังคมในรูปแบบนี้รัฐไม่จำเป็นต้องจัดฝ่ายเดียวและมุ่งเน้นหลักการ "สวัสดิการการให้อย่างมีคุณค่า และรับอย่างมีศักดิ์ศรี" นอกจากนี้ กลไกดั้งเดิมในระดับชุมชนในการประชาสัมพันธ์เพื่อให้ความรู้ ข้อมูลที่ถูกต้อง เพียงพอแก่ผู้สูงอายุ ยังคงเป็นกลไกที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด ถึงแม้ว่าจะมีการพัฒนารูปแบบการ ประชาสัมพันธ์ในหลากหลายช่องทางมากขึ้นก็ตาม ในสถานการณ์ปัจจุบันที่มีความสุ่มเสี่ยงจากภัยอาชกรรม ไซเบอร์ (Cyber Crime) ผู้สูงอายุยังคงเชื่อมั่นในรูปแบบการสื่อสารแบบดั้งเดิม ได้แก่ การประชาสัมพันธ์ผ่าน หอกระจายข่าว ผ่านตัวแทนภาครัฐ อย่างเช่น ผู้นำชุมชน และอาสาสมัครชุมชนที่ทำงานร่วมกับหน่วยงาน ราชการ ซึ่งนับว่าเป็นผู้มีความน่าเชื่อถือและไว้ใจได้ ดังนั้น รูปแบบการประชาสัมพันธ์ที่มีเหมาะสมหรับกลุ่ม ผู้สูงอายุในช่วงเปลี่ยนผ่านไปสู่ยุคดิจิทัลนี้อาจไม่จำเป็นต้องเป็นสื่อดิจิทัลเพื่อความล้ำสมัย เพราะการเปิดรับ ข่าวสาร ไม่ว่าจะจากสื่อวิทยุโทรทัศน์ สื่อวิทยุกระจายเสียง สื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออินเตอร์เน็ต สื่อกิจกรรม หรือสื่อ บุคคล ก็สามารถช่วยเพิ่มความสามารถการพึ่งพาตนเองของผู้สูงอายุได้ทั้งในด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านสังคม และด้านการเงิน (สุคี ศิริวงศ์ภากร, 2556) กล่าวโดยสรุป ในปัจจุบัน ผู้สูงอายุกำลังเผชิญความท้าทายในสังคมที่เทคโนโลยีมีการพัฒนา อย่างรวดเร็วและเข้ามามีบทบาทในการดำเนินในชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก การศึกษาทำความเข้าใจใน ความต้องการของผู้สูงอายุกลุ่มเป้าหมาย จึงเป็นขั้นตอนแรกที่สำคัญเพื่อให้ได้ข้อมูลนำเข้าและปัญหาที่แท้จริง ของกลุ่มเป้าหมาย เพื่อภาครัฐจะสามารถนำไปใช้ออกแบบเครื่องมือทางนโยบายเพื่อจัดสวัสดิการสังคมและ ความช่วยเหลือที่เหมาะสมและตอบสนองต่อความต้องการของกลุ่มผู้สูงอายุให้ได้มากที่สุด งานวิจัยนี้ได้ นำเสนอปัจจัยสำคัญภายใต้ความต้องการสวัสดิการสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาค
วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 124 ตะวันออกฉียงเหนือ ได้แก่ ทักษะและประสบการณ์ในอดีต ความสามารถในการพึ่งพาตนเอง การเข้าถึง และ การดูแลและความช่วยเหลือจากคนรอบข้าง ซึ่งประกอบกันเป็นศักยภาพและความพร้อมของผู้สูงอายุที่บ่ง บอกว่าผู้สูงอายุต้องการสวัสดิการสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมหรือไม่ นอกจากนี้ ยังได้วิเคราะห์เงื่อนไข ทั้งเชิงปัจเจก (สถานะทางเศรษฐกิจ) และเชิงโครงสร้าง (เขตภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่) ที่เป็นบริบทสำคัญที่อยู่ เบื้องหลังศักยภาพและความพร้อมของผู้สูงอายุอีกด้วย ปัจจัยและเงื่อนไขทั้งหมดเหล่านี้ นำไปสู่ข้อเสนอแนะ ทางนโยบายที่สำคัญ ได้แก่ แนวทางการจัดการปกครองแบบเครือข่าย (Governance Approach) โดยดึง เครือข่ายหลายภาคส่วนที่มีความถนัดและทรัพยากรที่แตกต่างกันเข้ามาร่วมด้วยช่วยกันในการยกระดับ ศักยภาพของผู้สูงอายุให้สูงขึ้น และการพัฒนาต่อยอดจากกลไกและเครือข่ายความร่วมมือดั้งเดิมในระดับ ชุมชนที่มีประสิทธิภาพ เข้ามาเป็นฐานในการสื่อสารและจัดสวัสดิการสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม สำหรับผู้สูงอายุต่อไปในอนาคต
วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมส าหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 125 บรรณานุกรม กันตพล บรรทัดทอง. (2557). การใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์และความพึงพอใจของกลุ่มคนผู้สูงอายุในเขต กรุงเทพมหานคร. ค้นเมื่อ 12 มกราคม2566, จากhttp:// dspace.bu.ac.th/jspui/ กิรณา สมวาทสรรค์. (2558). พฤติกรรมการสื่อสารกับการส่งต่อข้อมูลผ่านแอพพลิเคชั่นไลน์ของผู้สูงอายุ. ค้นเมื่อ 19 มกราคม2566, จากhttp://www.gscm.nida.ac.th/public-action/2.pdf กุศล สุนทรธาดา. (2553). คุณค่าด้านเศรษฐกิจของผู้สูงอายุไทย. ประชากรและสังคม 2553 คุณค่าผู้สูงอายุใน สายตาสังคมไทย, 65-84. กรกช แสนจิตร. (2564). การศึกษาระดับความรู้ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสื่อดิจิทัลของผู้สูงอายุในเขต กรุงเทพมหานคร. ค้นเมื่อ 12 มกราคม 2566, จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php กรกช แสนจิตร. (2564). การศึกษาระดับความรู้ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสื่อดิจิทัลของผู้สูงอายุในเขต กรุงเทพมหานคร. ค้นเมื่อ 19 มกราคม 2566, จากhttps://so02.tci-thaijo.org/index. กชพรรณ ก าลังงาม. (2565). พฤติกรรมการใช้สื่อกับการสื่อสารด้านสิ่งแวดล้อมส าหรับผู้สูงอายุ.ค้นเมื่อ 12 มกราคม 2566, จาก http://gseda.nida.ac.th/academics/database/.pdf กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2562). สถิติผู้สูงอายุของประเทศไทย. ค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2563, จาก http://www.dop.go.th/download/knowledge/th1580099938-275_1.pdf จริยา ปันทวังกูร. (2558). แนวทางการใช้ประโยชน์และการได้รับความพึงพอใจการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ ของ นักศึกษามหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ค้นเมื่อ 10 มกราคม 2566, จาก https://www.so06.tci-thaijo.org/index.php/dhammathas/article/view/76070 จุฑารัตน์ ประเสริฐ. (2557). พฤติกรรมการใช้แอพพลิเคชั่นไลน์กับการรับรู้ตนเองและการสร้างสัมพันธ์กับ ผู้อื่นของผู้สูงอายุไทย. ค้นเมื่อ 10 มกราคม 2566, จาก https://doi.nrct.go.th จิรานันท์ วงศ์สุวรรณ, ศิวพร อึ้งวัฒนา และ สุกฤตา สวนแก้ว. (2563). การสนับสนุนทางสังคมและพฤติกรรม สุขภาพของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุอ าเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่. ค้นเมื่อ 17 มกราคม 2566, จาก https://he02.tcithaijo.org/index.php/cmunursing/article/download/ จุฬาวลี มณีเลิศ. (2021). การพัฒนาแอปพลิเคชั่นส่งเสริมการดูแลผู้สูงอายุกลุ่มติดเตียงด้วยเทคโนโลยี ความ เป็นจริงเสริม. วารสาร วิชาการ" การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ", 7(2), 84-95. เฉลิมพงษ์ ลินลา. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกใช้แอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตของผู้สูงอายุ ในเขตกรุงเทพมหานคร. ค้นเมื่อ 12 มกราคม2566, จาก http://www.repository.ac.th
วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมส าหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 126 ดนัย พาณิชยานุเคราะห์, ศิริวรรณ อนันต์โท และ สันทัด ทองรินทร์. (2560). กระบวนการยอมรับอินเตอร์เน็ต เพื่ อ พั ฒ น า คุ ณภ าพ ชี วิ ต ข อง ผู้ สูง อ า ยุ. ค้ น เ มื่ อ 15 ม ก ร า ค ม 2566, จ า กhttp://cms, dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1564 ต่อตระกูล ไชยอิน. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างการพึ่งพาตนเองกับการยอมรับเทคโนโลยีของผู้สูงอายุใน จังหวัดสงขลา. ค้นเมื่อ 19 มกราคม 2566, จากhttps://kb.psu.ac.th/psukb/.pdf ธิดารัตน์ สาระพล. (2561). ความต้องการสารสนเทศของผู้สูงอายุเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ โรงเรียนผู้สูงอายุต าบลมะอึ อ าเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด. ค้นเมื่อ 10 มกราคม 2566, จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NRRU/article/view/108602 ฐิตินันท์ นาคผู้. (2558). การพึ่งพาตนเอง การเสริมสร้างพลังทางสุขภาพ ความรอบรู้ทางสุขภาพ และความสุข ของผู้สูงอายุ ต าบลทับยายเชียง อ าเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก. ค้นเมื่อ 19 มกราคม 2566, จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/socku/article/view/131393 ธิิติพร ชาญศิริวัฒน์ และ สมาน ลอยฟ้า. (2560). รูปแบบการน าเสนอเว็บที่ผู้สูงอายุสามารถเข้าถึงได้ กรณีศึกษาผู้สูงอายุจังหวัดอุบลราชธานี. ค้นเมื่อ 13 มกราคม 2566, จาก https://so01.tcithaijo.org/index.php/FEU/article/view/90149 นทัธมน มั่งสูงเนิน และ ธาดาธิเบศร์ ภูทอง. (2560). การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจใช้งานบริการ สุขภาพผ่านโทรศัพท์มือถือของผู้สูงอายุ. ค้นเมื่อ 12 มกราคม 2566, จาก https://he02.tcithaijo.org/index.php/Veridian-E-Journal/article/view/104191 นันทนา อยู่สบาย. (2557). ความต้องการสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุ .สมุทรปราการ : วิทยาลัยการบริหาร รัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา น้ าทิพย์ พรหมสูตร. (2563). การยอมรับนวัตกรรมทางการเงินของผู้สูงอายุในเขตอ าเภอเมือง จังหวัด อุบลราชธานี. ค้นเมื่อ 17 มกราคม 2566, จาก http://www.esanpedia.oar.ubu.ac.th/.pdfบัณฑิ ตา โนโชติ. (2564). ประสบการณ์และการยอมรับเทคโนโลยีของผู้สูงวัยหลังเกษียณ ในเขต ก รุง เ ท พ ม ห า น ค ร แ ล ะ ป ริ ม ณ ฑ ล. ค้ น เ มื่ อ 12 ม ก ร า ค ม 2566, จ า ก http://ithesisir.su.ac.th/dspace/.pdf ประสพชัย พสุนนท์ และวิกันดา เดชตานนท์. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมและความพึงพอใจใน การใช้เฟซบุ๊กของผู้สูงอายุ. ค้นเมื่อ 10 มกราคม2566, จาก https://repository.rmutr.ac.th/ ปริฉัตร พันธุ์ภักดี. (2564).ความต้องการสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุที่มีภูมิล าเนาและ อาศัยอยู่ในเขตองค์การ บริหารส่วนต าบลตะคร้ าเอน อ าเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี.ค้นเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2565 จาก http://www.dop.go.th/download/knowledge/th1617171499-823_0.pdf. ปิยดา ราชพิบูลย์, ศุมรรษตรา แสนวา และ จุฑารัตน์ นกแก้ว. (2565). พฤติกรรมการใช้เเละทักษะการ ประเมินสารสนเทศจากสื่อสังคมออนไลน์ของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร.ค้นเมื่อ 19 มกราคม 2566, จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php
วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมส าหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 127 พนม คลี่ฉายา. (2564). การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลของผู้สูงอายุและข้อเสนอเพื่อการเสริมสร้าง ภาวะพฤฒิพลัง และผลิตภาพของผู้สูงอายุไทย. ค้นเมื่อ 12 มกราคม 2566, จาก https://thainhf.org/work/ พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต. (2556). ศึกษากรณีผู้สูงอายุในจังหวัดชายแดนภาคใต้. : มหาวิทยาลัยเกริก.สมาน ลอยฟ้า. (2554). ผู้สูงอายุกับเทคโนโลยีสารสนเทศ. ค้นเมื่อ 10 มกราคม 2566 จาก https:// so03.tci-thaijo.org/index.php/jiskku/article/view/6101Suranartvatchavong, S. S., & พิมพ์ใจ ทายะติ, ชไมพร ดิสถาพร และ ฤทธิชัย อ่อนมิ่ง. (2560). รูปแบบการจัดการเรียนรู้ส าหรับผู้สูงอายุ ประเทศไทยเพื่อการรู้เท่าทันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.ค้นเมื่อ 15 มกราคม 2566, จาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-E-Journal/article/view/106455 เพ็ญพรรณ วันเพ็ญ. (2561). การรับรู้และทัศนคติที่มีผลต่อความพร้อมรับมือในการเข้ามาแทนที่ของ ปัญญาประดิษฐ์กลุ่มจักรกลอัตโนมัติของบริษัทเอกชนในเขตอ าเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. ค้นเมื่อ 17 ม ก ร า ค ม 2566, จ า ก http://www.ba-abstract.ru.ac.th/AbstractPdf/2561 - 5 - 7_1564997375.pdf เพ็ญพร ปุกหุต, ปฏิมา ถนิมกาญจน์, และ พรทิพย์ รอดพ้น. (2565). การยอมรับเทคโนโลยีและพฤติกรรม ผู้บริโภคที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้ก าลังจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุในอ าเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. University of the Thai Chamber of Commerce Journal Humanities and Social Sciences, 42(4), 16-35. พนม คลี่ฉายา. การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลของผู้สูงอายุและข้อเสนอเพื่อการเสริมสร้างภาวะพฤฒิพลังของผู้สูงอายุ ไทย. (2563).https://thainhf.org/en/work/การใช้เทคโนโลยีดิจิทัล/ แพทย์หญิงสุพัตรา ศรีวณิชชากร.(2555). การวิเคราะห์สถานการณ์และศึกษานโยบาย มาตรการในการ จัดระบบสวัสดิการสังคมที่จ าเป็นส าหรับครอบครัวผู้สูงอายุที่ประสบสภาวะล าบาก กรณีศึกษา : ครอบครัวผู้สูงอายุเลี้ยงดูเด็กตามล าพัง และครอบครัวผู้สูงอายุอาศัยตามล าพัง. : สถาบันพัฒนา สุขภาพอาเซียน.มหาวิทยาลัยมหิดล พรทิพย์ มาลาธรรม และคณะ. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างแรงสนับสนุนจากครอบครัวและแรงสนับสนุน จากเพื่อนกับความพึงพอใจในชีวิตของผู้สูงอายุในชนบท. ค้นเมื่อ 17 มกราคม 2566, จาก https://www.researchgate.net/profile/PorntipMalathum/publication/277207450_Relati onships_of_Family_Support_and_Friend_Support_to_Life_Satisfaction_of_Older_Adult s_in_Rural_Areas/links/561e679808aec7945a2683e2/Relationships-of-Family-Supportand-Friend-Support-to-Life-Satisfaction-of-Older-Adults-in-Rural-Areas.pdf ภาณุวัฒน์ ด่านกลาง, รัชนีภรณ์ ทรัพย์กรานนท์, และ วารี กังใจ. (2558). การพัฒนาเทคโนโลยีและระบบ สารสนเทศเพื่อส่งเสริมการพึ่งพาตนเอง และคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชุมชนชายทะเลต้นแบบ. ค้น เมื่อ 19 มกราคม 2566, จาก https://www.dspace.lib.buu.ac.th มะกรี ยูโซ๊ะ.(2553). การจัดสวัสดิการผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนต าบลสะเอะ อ าเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา. มหาวิทยาลัยขอนแก่น
วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมส าหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 128 มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2562). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2561. นครปฐม: สถาบันวิจัย. มนชาย ภูวรกิจ, ธนัญชัย เฉลิมสุข และ ปรีชา ทับสมบัติ. (2565). รูปแบบการออกก าลังกายผ่านสื่อสังคม ออนไลน์และความสามารถในการออกก าลังกายด้วยตนเองของผู้สูงอายุ. ค้นเมื่อ 19 มกราคม 2566, จากhttps://kuojs.lib.ku.ac.th/index.php/jfam/article/view/4988 มนต์ทนา คงแก้ว, นัดพลพิชัย ดุลยวาทิต และ ธันยาภรณ์ ด าจุติ. (2021). การลงทุนในผลิตภัณฑ์ทางการเงิน ของผู้สูงอายุยุคดิจิทัล. วารสาร บริหารศาสตร์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 10(2), 118-140รัชชานันท์ ศรีสุภักดิ์, ประภากร ศรีสว่างวงศ์, และ ปภาวี รัตนธรรม. (2562). นวัตกรรมโมบายแอปพลิเคชั่นเพื่อ ก า ร ดู แ ล สุ ข ภ า พ ส่ ว น บุค ค ล ส า ห รั บ ผู้ สูง อ า ยุ. ค้ น เ มื่ อ 12 ม ก ร า ค ม 2566, จ า ก http://research.rmu.ac.th/rdi-mis//upload/fullreport/1631605826.pdf รัชพันธุ์ เชยจิตร. (2556). แบบแผนการใช้เวลาของผู้สูงอายุไทย. ค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2564. จาก https://cmudc.library.cmu.ac.th/frontend/Info/item/dc:129911. ทิพวรรณ ผิวผ่อง และ นาถรพี ตันโช. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้ออุปกรณ์ดูแลผู้สูงอายุผ่านระบบ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในเขตกรุงเทพมหานคร. ค้นเมื่อ 13 มกราคา 2566, จากhttps://so05.tcithaijo.org/index.php/mmr/article/view/255111 รุจา รอดเข็ม และสุดารัตน์ ไชยประสิทธิ์. (2562). สังคมสูงวัย: เทคโนโลยีกับผู้สูงอายุ. ค้นเมื่อ 12มกราคม 2566, จาก https://he01.tcithaijo.org/index.php/EAUHJSci/article/download ลัดดา บุญเกิด (2557).ความต้องการด้านสวัสดิการของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลต าบลเกาะจันทร์อ าเภอเกาะ จันทร์ จังหวัดชลบุรี.ค้นเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2565จาก http://ithesisir.su.ac.th/dspace/ bitstream/123456789/3588/1/61602342.pdf วีรณัฐ โรจนประภา. (2559). พฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีที่มีผลต่อระดับความสุขของผู้สูงอายุในเขต กรุงเทพมหานคร. ค้นเมื่อ 12 มกราคม 2566, จาก http://www.graduate.dusit.ac.th/ วิศปัตย์ ชัยช่วย. (2560). การใช้ LINE ของผู้สูงอายุ: การศึกษาเชิงปรากฏการณ์วิทยา. ค้นเมื่อ 12 มกราคม 2566, จาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Journal/article/view/87705 ศตพล เกิดอยู่. (2558). ทัศนคติ พฤติกรรมและการรู้เท่าทันการใช้แอพพลิเคชั่นไลน์ของกลุ่มวัยเบบี้บูมเมอร์. ค้นเมื่อ 12 มกราคม 2566, จาก http://ethesisarchive.library.tu.ac.th/pdf ศิริพร แซ่ลิ้ม. (2558). พฤติกรรมการใช้ไลน์แอปพลิเคชั่นของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร.ค้นเมื่อ 12 มกราคม 2566 จาก, http://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/.pdf ศุภณิช จันทร์สอง และ ยศิโรช แท่นรัตนกุล. (2563). นวัตกรรมการสื่อสารเพื่อขับเคลื่อนกระบวนการยุติธรรม ส าหรับผู้สูงอายุในยุคดิจิทัล. ค้นเมื่อ 15 มกราคม2566, จาก http://www.thaiexplore.net/.pdf สถาบันวิจัยประชากรและสังคม. (2561). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: เดือนตุลา สุคี ศิริวงศ์ภากร. (2556). พฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารที่มีความสัมพันธ์กับความสามารถการพึ่งพาตนเองของ ผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร. ค้นเมื่อ 19 มกราคม 2566, จาก https://dric.nrct.go.th/
วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมส าหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 129 สุจินดา ม่วงมี. (2545). ทัศนคติของนิสิตมหาวิทยาลัยที่มีต่อผู้สูงอายุ. ค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2564. จาก http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/bitstream/handle/1234567890/108/2545_014. pdf?sequence=1&isAllowed=y. สุชาดา วีระกุลพิริยะ. (2563). ลักษณะตัวอักษรไทยที่พึงประสงค์ต่อก ารอ่านบนเว็บไซ ต์ ของ ผู้สูงอายุ. (Doctoral dissertation, สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ส านักวิชาเทคโนโลยีสังคม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี). สุธาสินี ตุลานนท์. (2562). การยอมรับเทคโนโลยีที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้สูงอายุ. ค้นเมื่อ 13 มกราคม 2566, จาก http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/bitstream/.pdf สุนัยญา แดงเหม และ นริศรา เจริญพันธุ์. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อก ารออมของครัวเรือนไทยในยุคเศรษฐกิจ ดิจิทัล. ค้นเมื่อ 20 มกราคม 2566, จาก https://digital.car.chula.ac.th/cgi/ สุวิช ถิระโคตร และวีรพงษ์ พลนิกรกิจ. (2561). พฤติกรรมการใช้และการรู้เท่าทันอินเทอร์เน็ตและทัศนคติ การใช้เนื้อหาด้านสุขภาวะบนอินเทอร์เน็ตของผู้สูงอายุ. ค้นเมื่อ 12 มกราคม 2566, จาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jnat-ned/article/view/127046 ส านักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2561). สังคมผู้สูงอายุกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย. ค้นเมื่อ 16 มีนาคม 2564.จาก http://digital_collect.lib.buu.ac.th/dcms/files/54930528.pdf ส านักงานสถิติแห่งชาติ. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้อินเตอร์เน็ตของผู้สูงอายุในประเทศไทย. ค้นเมื่อ 17 มกราคม 2566, จาก http://www.nso.go.th/sites/2014/DocLib13/.pdf ส านักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 1 – 12. (2558). การจัดระบบดูแลทางสังคมและระบบดูแลระยะยาว ส าหรับผู้สูงอายุในครอบครัวและชมชน. ขอนแก่น: ส านักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 6 ส านักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 1-12.2558. การจัดสวัสดิการที่เหมาะสมส าหรับผู้สูงอายุในแต่ละช่วง วัย. ไอคิว มีเดีย จังหวัดสงขลา หฤษฎ์ หวัง เสรี. (2019). พฤติกรรมและการใช้ประโยชน์จากการเปิดรับชมรายการข่าวภาคเช้าทาง สถานีโทรทัศน์ อารีย์ มยังพงษ์ และเกื้อกูล ตาเย็น. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความต้องการเรียนรู้สื่อเทคโนโลยีของผู้สูงอายุใน ยุคหลอมรวมเทคโนโลยี. ค้นเมื่อ 12 มกราคม2566, จาก https://repository.rmutp.ac.th/ อารีย์ มยังพงษ์. (2554). สภาพและความต้องการฝึกอบรมด้าน ICT ของผู้สูงอายุ ในเขตกรุงเทพมหานคร. ค้นเมื่อ 15 มกราคม 2566, จาก https://dric.nrct.go.th/Search/SearchDetail/271211 อารียา ศรีแจ่ม. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเข้าถึงเทคโนโลยีของผู้สูงอายุในยุคดิจิทัล. (Doctoral dissertation, มหาวิทยาลัยรังสิต). อรอนงค์ แจ่มผล,มัณฑนา จริยรัตน์ไพศาล.(2552). การศึกษาปัญหาและความต้องการการจัดสวัสดิการ ผู้สูงอายุในจังหวัดก าแพงเพชร. มหาวิทยาลัยราชภัฏก าแพงเพชร ส านักงานคณะกรรมการ อุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมส าหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 130 อัมราภรณ์ ภู่ระย้า และขนิษฐา นันทบุตร. (2562). ศักยภาพในการดูแลผู้สูงอายุ. วารสารการพยาบาลและ ก า ร ดู แ ล สุ ข ภ าพ , 3 7 ( 1 ) , 2 2-31. Harter, S. (1999). The construction of the self: A developmental perspective. New York: Guilford Press. Chancharoen, S. (2022). รูปแบบการเพิ่มความสามารถในการใช้เทคโนโลยี เพื่อการสื่อสารส าหรับผู้สูงอายุ ในยุคความปกติใหม่. Journal of the Association of Researchers, 27(4), 18-46. Jinpon, P., Jueboon, M., Limsuwanmanee, J., & Wichianchuea, J. (2021). ก า ร พั ฒ น า ร ะ บ บ สารสนเทศเพื่อการดูแลผู้สูงอายุด้านโภชนาการเพื่อสนับสนุนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี พื้นที่เทศบาลต าบล ชะมาย จังหวัดนครศรีธรรมราช. JOURNAL OF SOUTHERN TECHNOLOGY, 14(1), 40-52. Kulnattarawong, T., & Inthachot, M. (2022). การพัฒนาระบบฝึกอบรมแบบปรับเหมาะบนเว็บ เพื่อ เสริมสร้างศักยภาพทางเทคโนโลยีของผู้สูงอายุ. Journal of Graduate Studies Valaya Alongkorn Rajabhat University, 16(1), 56-69. Nongkai, N. N., Rattanaprapawan, S., & Tadadej, C. (2022). การออกแบบเพื่อส่งเสริมความภาคภูมิใจ ในตนเองของผู้สูงอายุ. RMUTK Journal of Liberal Arts, 4(1), 59-70. Poolsawat, K., & Rachruk, S. (2023). สื่อบันเทิงและบริการด้านสุขภาพบนแพลตฟอร์มดิจิทัลส าหรับ ผู้สูงอายุ. Public Health Policy and Laws Journal, 9(1), 65-84 Sudnongbau, S. (2022). การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลกับการดูแล สุขภาพของผู้สูงอายุในสถานการณ์ ก า ร แ พ ร่ ร ะ บ า ด ข อ ง โ ร ค ติ ด เ ชื้ อ ไ ว รั ส โ ค โ ร น า 2019. JOURNAL OF SOUTHERN TECHNOLOGY, 15(1), 129-138. Sumananusorn, T. (2019). พฤติก ร รมก า รตัดสินใจซื้อ สินค้ า ผ่ านเค รือ ข่ าย สัง คมออนไลน์ ของ ผู้สูงอ ายุกลุ่มเบบี้บูมเมอร์ .Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat, University 6(2), 175-188. Sutakham, K., & Pitchitpatja, P. (2022). การพัฒนาตัวแบบระบบนิเวศการเรียนรู้ของผู้สูงอายุ กรณีศึกษา หมู่ที่ 11 บ้านทุ่งป่าคาเหนือ องค์การบริหารส่วนต าบลทุ่งปี๊ อ าเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่. Political Science and Public Administration Journal, 13(2), 243-272. Thanakijcharoensuk, T., & Srisangoon, Y. (2022). การพัฒนาอินโฟกราฟิกแบบความจริงเสริมที่ส่งเสริม คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ. Journal of MCU Nakhondhat, 9(9), 91-105. Tongkhao, Y. (2020). การพัฒนาสื่อความเป็นจริงเสริมเชิงความหมายบนอุปกรณ์เคลื่อนที่เพื่อการดูแลโรค เรื้อรังของผู้สูงอายุ อ าเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก. Industry Technology Lampang Rajabhat University, 13(1), 35-47. Rachpiboon, P., Saenwa, S., & Nokkaew, J. (2022). พฤติกรรมการใช้เเละทักษะการประเมินสารสนเทศ จากสื่อสังคมออนไลน์ของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร. Library and Information Science Srinakharinwirot University, 15(1).
วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมส าหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 131 ภาคผนวก
1 แบบสอบถามโครงการวิจัย ความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม สำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง เรียน ผู้ตอบแบบสอบถามทุกท่าน เนื่องด้วยข้าพเจ้านางสาวนงลักษณ์ ยะสูงเนิน และคณะผู้วิจัยจากสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุน วิชาการ 5 จังหวัดขอนแก่น กำลังดำเนินโครงการวิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยี และนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความต้องการการ จัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ 2) เพื่อ ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับ ผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ท่านอาจจะไม่ได้รับประโยชน์โดยตรงจากการเข้าร่วมโครงการวิจัยนี้ แต่ ข้อมูลที่ได้จากท่านจะมีประโยชน์ต่องานวิชาการเพื่อสร้างนโยบายรองรับสังคมสูงวัยต่อไป หากท่านตัดสินใจเข้าร่วมการวิจัยแล้ว ผู้วิจัยจะขอให้ท่านตอบแบบสอบถามในประเด็นความต้องการ การจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบ ไปด้วย 4 ส่วน โดยใช้เวลาในการตอบแบบสอบถามประมาณ 25 – 30 นาที และเมื่อท่านตอบแบบสอบถาม เสร็จแล้วผู้วิจัยจะขอให้ท่านส่งแบบสอบถามคืนโดยใส่ซองติดแสตมป์ที่ผู้วิจัยให้มาพร้อมนี้ ส่งไปรษณีย์ถึง ผู้วิจัย และภายใน 7 วัน ผู้วิจัยจะส่งแบบสอบถามถึงท่านอีกครั้งเพื่อติดตาม หากท่านตอบแบบสอบถามแล้ว ไม่ต้องตอบแบบสอบถามที่ส่งไปอีกครั้ง และหากท่านรู้สึกอึดอัด หรือรู้สึกไม่สบายใจกับบางคำถาม ท่านมีสิทธิ์ ที่จะไม่ตอบคำถามเหล่านั้นได้ รวมถึงท่านมีสิทธิ์ถอนตัวออกจากโครงการนี้เมื่อใดก็ได้ โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบ ล่วงหน้า และการไม่เข้าร่วมวิจัยหรือถอนตัวออกจากโครงการวิจัยนี้ จะไม่มีผลกระทบใด ๆ ต่อการใช้ชีวิต ตามปกติของท่าน ข้อมูลในการตอบแบบสอบถามของท่านจะถูกเก็บรักษาไว้ ไม่เปิดเผยต่อสาธารณบุคคล แต่จะรายงาน ผลการวิจัยในภาพรวมเท่านั้น และจะดำเนินการทำลายข้อมูลที่เกี่ยวข้องภายหลังเสร็จสิ้นการวิจัย และการ วิจัยครั้งนี้ท่านจะไม่ได้รับค่าตอบแทน และไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น หากท่านมีข้อสงสัยเกี่ยวกับงานวิจัย โปรดติดต่อได้ที่ นางพลอยวรินทร์จันดา นักพัฒนาสังคมปฏิบัติการสังกัดสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุน วิชาการ 5 จังหวัดขอนแก่น โทร. 091-416-8394 หากท่านได้รับการปฏิบัติไม่ตรงตามที่ระบุไว้ หรือต้องการทราบสิทธิของท่านขณะเข้าร่วมการวิจัยนี้ สามารถติดต่อได้ที่ คณะกรรมการวิจัยในมนุษย์ สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ อาคารสำนักหอสมุดและเทคโนโลยี สารสนเทศ ชั้น 3 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อยุธยา ตำบลลำไทร อำเภอวังน้อย จังหวัด พระนครศรีอยุธยา 13170 โทรศัพท์ 03-524-8073 ในเวลาราชการ ผู้วิจัยจากสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 5
2 ส่วนที่ 1 ข้อมูลคุณลักษณะสำคัญส่วนบุคคล คำชี้แจ้ง : โปรดทำเครื่องหมาย ✓ ลงในช่อง หน้าข้อความ หรือเขียนตอบตามความเป็นจริง (1) เพศ ชาย หญิง (2) อายุ …………… ปี (3) ระดับการศึกษา ต่ำกว่าประถมศึกษา ประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลาย/ปวช. อนุปริญญา/ปวส. ปริญญาตรี สูงกว่าปริญญาตรี อื่น ๆ (โปรดระบุ)............... (4) สถานภาพสมรส โสด สมรส หม้าย หย่าร้าง/แยกกันอยู่ อื่นๆ (โปรดระบุ)........................... (5) จำนวนสมาชิกในครอบครัว (โปรดระบุ) ...................................... คน (6) ภาวะสุขภาพ ไม่มีโรคประจำตัว มีโรคประจำตัว (โปรดระบุ)......................................................................................... (7) ความพิการ ไม่มีความพิการ พิการทางการมองเห็น พิการทางการได้ยินและสื่อความหมาย พิการทางการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกาย พิการทางจิตใจหรือพฤติกรรม พิการทางสติปัญญา พิการทางการเรียนรู้ พิการทางออทิสติก (8) อาชีพปัจจุบัน ไม่ได้ประกอบอาชีพ เกษตรกรรม รับจ้างทั่วไป ข้าราชการบำนาญ ธุรกิจส่วนตัว อื่น ๆ (โปรดระบุ)................................. (9) รายรับของตนเอง (โปรดระบุ) ………………………………. บาท/เดือน (10) รายรับของครอบครัว (โปรดระบุ) ................................................... บาท/เดือน (11) แหล่งที่มาของรายรับ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) การประกอบอาชีพ บุคคลในครอบครัว เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เบี้ยยังชีพผู้พิการ บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ อื่น ๆ (โปรดระบุ) ................................................. (12) จำนวนหนี้สินของตนเอง (โปรดระบุ) ................................................... บาท (13) จำนวนหนี้สินของครอบครัว (โปรดระบุ) …………………………………. บาท
3 (14) ลักษณะของหนี้สิน หนี้ในระบบ หนี้นอกระบบ ไม่มีหนี้สิน (15) ท่านอาศัยอยู่ในจังหวัด ร้อยเอ็ด ขอนแก่น มหาสารคาม อุดรธานี หนองบัวลำภู เลย หนองคาย (16) ท่านอาศัยอยู่ในเขตใด ในเขตเทศบาล นอกเขตเทศบาล (17) การเป็นสมาชิกในชมรมผู้สูงอายุ โรงเรียนผู้สูงอายุ หรือกลุ่มกิจกรรมทางสังคมอื่น เป็นสมาชิก ไม่เป็นสมาชิก (18) การมีผู้ดูแลผู้สูงอายุ มีผู้ดูแลผู้สูงอายุ ไม่มีผู้ดูแลผู้สูงอายุ (19) ท่านใช้เวลาในการใช้อุปกรณ์สื่อสาร/อินเตอร์เน็ต………...........นาที/วัน