วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 36 Patricia, 2013) แต่อย่างไรก็ดี ผู้สูงอายุยังคงมีความวิตกกังวลต่อการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารในหลากหลาย ประเด็น อาทิ การใช้คอมพิวเตอร์นาน ๆ ส่งผลให้เกิดอาการปวดเมื่อยคอ แขน และหลัง (สมาน ลอยฟ้า, 2557) ความกลัวต่อความซับซ้อนของเทคโนโลยีประกอบกับไม่เปิดใจเรียนรู้(Czaja, Charness, Fisk, Hertzoq, Nair, Rogers, & Sharit, 2006) รวมทั้ง การขาดประสบการณ์ในการใช้งาน เนื่องจากไม่มี คอมพิวเตอร์เป็นของตนเอง เป็นต้น (อารีย์มยังพงษ์, 2555) 2.5.2 ปัจจัยด้านการใช้งาน (Usability) ที่มีผลความต้องการการจัดสวัสดิการสังคมด้าน เทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุ งานวิจัยนี้ได้กำหนดความหมายของคำว่า ‘การใช้งาน’ตาม ชัยวู ลี และโจเซฟ คอฟลิน (Chaiwoo and Coughlin, 2015) ที่ว่า การใช้งาน (Usability) หมายถึง ผู้สูงอายุรับรู้ถึงฟังก์ชันการใช้งานที่ ง่ายหรือระบบการทำงานของเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่สามารถเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว จากการทบทวน วรรณกรรมจะพบว่า เทคโนโลยีและนวัตกรรมต้องลักษณะและรูปแบบที่ง่ายในการเรียนรู้และใช้งาน เช่น มี ตัวหนังสือขนาดใหญ่ และมีระบบไม่ซับซ้อน จึงจะสร้างการยอมรับและความพึงพอใจในการใช้งานของ ผู้สูงอายุได้ตัวอย่างเช่น สุชาดา วีระกุลพิริยะ (2563) ได้ศึกษาเรื่อง ลักษณะตัวอักษรไทยที่พึงประสงค์ต่อการ อ่านบนเว็บไซต์ของผู้สูงอายุ ผลการศึกษาพบว่า ลักษณะตัวอักษรไทยที่พึงประสงค์ต่อการอ่านบนเว็บไซต์ของ ผู้สูงอายุบนจอคอมพิวเตอร์แบบพกพา ได้แก่ ตระกูลอักษร Boom ขนาดตัวอักษร 24 พิกเซล (หรือ 18 พอยต์) ระยะห่างระหว่างตัวอักษร 0.00 พิกเซล และระยะห่างระหว่างบรรทัด 1.25 บุคลิกตัวอักษรแบบตัว ปกติ การจัดวางแนวตัวอักษรแบบจัดชิดซ้าย สีตัวอักษรใช้สี #555555 (สีเทาเข้ม) และพื้นหลังใช้สี (สีขาว) ส่วนการเลือกลักษณะตัวอักษรของผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 15-59 ปี ส่วนใหญ่เหมือนกับผู้สูงอายุ ยกเว้น ตระกูลอักษร ควรใช้ Tahoma และขนาดตัวอักษร 17 พิกเซล (หรือ 12.75 พอยต์) ประโยชน์ที่ได้จากงานวิจัยนี้ สามารถ เป็นแนวทางในการนำเสนอลักษณะตัวอักษรไทยบนเว็บไซต์ เพื่อทำให้ผู้สูงอายุอ่านเนื้อหาได้ง่าย และทำให้ เนื้อหาบนเว็บไซต์สามารถเข้าถึงได้ง่ายมากยิ่งขึ้น กันตพล บรรทัดทอง (2557) ได้ศึกษาเรื่อง การใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์และความพึง พอใจของกลุ่มคนผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร ผลการวิจัยพบว่า 1) สูงอายุใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์มี ความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมาก 2) ผู้สูงอายุใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์มีแรงจูงใจโดยรวมอยู่ใน ระดับแรงจูงใจมาก ผลการทดสอบสมมติฐานของงานวิจัยนี้เป็นดังนี้1) ผู้สูงอายุที่มีอายุรายได้เฉลี่ยต่อเดือน แตกต่างกัน มีความพึงพอใจในการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์แตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 2) ผู้สูงอายุที่มีวัตถุประสงค์ในการใช้บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ ช่องทางการใช้เครือข่ายสังคม ออนไลน์ สถานที่ที่ใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ ความบ่อยในการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ ระยะเวลาในการใช้เครือข่าย สังคมออนไลน์และช่วงเวลาในการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์แตกต่างกันมีความพึงพอใจในการใช้เครือข่าย สังคมออนไลน์แตกต่างกัน 3) ผู้สูงอายุที่มีเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่นิยมใช้Facebook, Twitter และ Line แตกต่างกัน มีความพึงพอใจในการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์แตกต่างกัน 4) แรงจูงใจในการใช้เครือข่ายสังคม ออนไลน์ มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของผู้สูงอายุ
วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 37 อารีย์ มยังพงษ์และเกื้อกูล ตาเย็น (2559) ได้ศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่ส่งผลต่อความต้องการ เรียนรู้สื่อเทคโนโลยีของผู้สูงอายุในยุคหลอมรวมเทคโนโลยีผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยด้านการยอมรับเทคโนโลยี ของผู้สูงอายุในระดับมากสุด คืออินเทอร์เน็ต ช่วยให้ผู้สูงอายุสามารถติดต่อสื่อสารมีความสัมพันธ์กับครอบครัว ญาติพี่น้อง บุตรหลานและเพื่อน ๆ ที่อยู่ห่างไกลได้สะดวกยิ่งขึ้น รองลงมาคือ ผู้สูงอายุสามารถรับชม ภาพยนตร์และฟังเพลงบนอินเทอร์เน็ต เพื่อสร้างความบันเทิงเริงใจทำให้คลายความเครียดได้เป็นอย่างมาก ปัจจัยด้านการสนับสนุนเทคโนโลยีสำหรับผู้สูงอายุในระดับมากสุด คือ บริการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต ตามห้องสมุดสถานพยาบาล ศูนย์บริการผู้สูงอายุและชมรมผู้สูงอายุต่าง ๆ โดยมีเจ้าหน้าที่ให้คำปรึกษาแนะนา การใช้งานรองลงมา คือ การให้ความรู้และฝึกทักษะการใช้สื่อเทคโนโลยีสำหรับผู้สูงอายุเพื่อการเข้าถึงและการ รู้เท่าทันปัจจัยที่ส่งผลต่อความต้องการเรียนรู้สื่อเทคโนโลยีของผู้สูงอายุในยุคหลอมรวมเทคโนโลยี ประกอบด้วย 1) ปัจจัยด้านคุณลักษณะส่วนบุคคลของผู้สูงอายุ ได้แก่ ระดับการศึกษา อาชีพปัจจุบัน รายได้ เฉลี่ยต่อเดือน และประสบการณ์ใช้คอมพิวเตอร์ โดยสามารถอธิบายความมีอิทธิพลได้ร้อยละ 24.6 2) ปัจจัย ด้านการยอมรับเทคโนโลยีของผู้สูงอายุ และ 3) ปัจจัยด้านการสนับสนุนเทคโนโลยีสำหรับผู้สูงอายุ โดยทั้ง 2 ปัจจัยสามารถอธิบายความมีอิทธิพลได้ร้อยละ 39.7 วิศปัตย์ ชัยช่วย (2560) ได้ศึกษาเรื่อง การใช้LINE ของผู้สูงอายุ: การศึกษาเชิงปรากฏการณ์ วิทยา ผลการศึกษาพบว่า การใช้งานแอพพลิเคชั่น LINE เป็นประสบการณ์ที่แปลกใหม่สำหรับผู้สูงอายุ โดยเฉพาะการทําให้เกิดพื้นที่เสมือน (Virtual space) ที่เอื้อให้ผู้สูงวัยได้มีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นได้ง่ายและสะดวก มากยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องไปพบหน้าจริง ผู้สูงอายุสามารถพูดคุยกับลูกหลาน ญาติพี่น้องที่อยู่ห่างไกลกัน ด้วย วิธีการที่หลากหลาย เช่น การพิมพ์ การส่งภาพ หรือวิดีโอคอล เป็นต้น กลุ่มที่สนทนาผ่าน LINE มากที่สุด คือ กลุ่มเพื่อนในวัยเยาว์ เช่น เพื่อนประถมศึกษามัธยมศึกษา หรือมหาวิทยาลัย หรือกลุ่มผู้สูงอายุด้วยกันเอง ซึ่ง ต่างก็หมดภาระหน้าที่การทํางาน หรือการดูแลลูกหลานแล้ว กลุ่มเพื่อนเหล่านี้มักนัดหมายทำกิจกรรมสังสรรค์ กันอย่างสม่ำเสมอ เมื่อผู้สูงอายุหันมาใช้LINE มากขึ้นก็เกิดการรวมกลุ่มใน LINE ที่ทําให้สามารถพูดคุยได้โดย ไม่จํากัดเวลาและสถานที่ นอกจากนี้ยังสอดคล้องกับแนวคิดการรู้เท่าทันสื่อ ซึ่งการรู้เท่าทันสื่อจะต้องอาศัย ความสามารถของแต่ละบุคคลในการเข้าใจตีความไตร่ตรอง วิพากษ์สารหรือสิ่งต่าง ๆ ที่ถูกถ่ายทอดผ่านสื่อได้ โดยที่ไม่ตกอยู่ภายใต้การครอบงําของสื่อนั้น ๆ ศตพล เกิดอยู่ (2558) ได้ศึกษาเรื่อง ทัศนคติ พฤติกรรมและการรู้เท่าทันการใช้แอพพลิเคชั่น ไลน์ของกลุ่มวัยเบบี้บูมเมอร์ผลการศึกษาที่พบว่า ยิ่งกลุ่มวัยเบบี้บูมเมอร์มีพฤติกรรมการใช้งานแอพพลิเคชั่น ไลน์ในด้านต่าง ๆ มากเท่าไร ระดับการรู้เท่าทันการใช้แอพพลิเคชั่นไลน์ก็มากขึ้นตามเท่านั้น จึงสนับสนุน แนวคิดการรู้เท่าทันสื่อ เพราะแม้ว่าแอพพลิเคชั่นไลน์จะเป็นสื่อสังคมออนไลน์ที่มีรูปแบบคล้ายคลึงกับสื่อ สังคมออนไลน์อื่น ๆ แต่ลักษณะรูปแบบการใช้งานในการเปิดรับสารการสนทนา การส่งข้อมูลต่าง ๆ กลับ แตกต่างออกไป ฉะนั้นการเรียนรู้และการใช้งานในคุณสมบัติต่าง ๆ รวมทั้งรู้ว่าแอพพลิเคชั่นไลน์สามารถ กระทําและตอบสนองแรงจูงใจส่วนไหนได้บ้างอยู่ตลอดจะทําให้เราเข้าใจการใช้แอพพลิเคชั่นไลน์ได้ดีขึ้น เข้าใจ ในทิศทางของข้อมูลข่าวสารที่สามารถไหลผ่านทั้งการเปิดรับและการส่งต่อได้ว่าสามารถเป็นไปในทิศทางใด
วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 38 มาจากช่องทางใดได้บ้าง จนสั่งสมเป็นทักษะประสบการณ์ และท้ายที่สุดจะเกิดการรู้เท่าทันในสื่อแอพพลิเคชั่น ไลน์ ศิริพร แซ่ลิ้ม (2558) ได้ศึกษาเรื่อง พฤติกรรมการใช้ไลน์แอปพลิเคชั่นของผู้สูงอายุในเขต กรุงเทพมหานครผลการศึกษาพบว่า ลักษณะทางประชากรของกลุ่มตัวอย่างผู้ใช้ไลน์แอพพลิเคชั่น เป็นเพศ หญิงมากกว่าเพศชาย โดยกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 60-65 ปี มีการศึกษาระดับ ปริญญาตรีมาก ที่สุด และกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีรายได้ 10,001-20,000 บาท โดยส่วนใหญ่มีอาชีพ ธุรกิจส่วนตัว/ค้าขายด้าน การเข้าถึงไลน์แอพพลิเคชั่น กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีการเข้าถึงอุปกรณ์สื่อสารโทรศัพท์เคลื่อนที่สมาร์ท โฟนมากที่สุด รองลงมาคือแท็บเล็ต และกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีการ เข้าถึงอินเตอร์เน็ตวายฟายที่บ้านมาก ที่สุด รองลงมาคือ อินเตอร์เน็ตแบบรายเดือน ด้าน ความสามารถในการใช้ไลน์แอพพลิเคชั่น ประกอบด้วย ทัศนคติ การรับรู้ความสามารถของตนเอง ความรู้และทักษะการใช้ไลน์ ความรู้และทักษะการจัดการเนื้อหา ในไลน์ พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ มีทัศนคติต่อไลน์ในระดับดี โดยทัศนคติที่กลุ่มตัวอย่างมีทัศนคติในระดับดี มาก ได้แก่ ไลน์เป็นช่องทางการสื่อสารที่สะดวกและรวดเร็ว กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีการรับรู้ความสามารถของ ตนเองในการ ใช้ไลน์อยู่ในระดับมาก กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความรู้การใช้ไลน์ในระดับสูง กลุ่มตัวอย่างส่วน ใหญ่มีทักษะการใช้ไลน์ในระดับปานกลาง กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความรู้การจัดการเนื้อหาในไลน์ อยู่ใน ระดับสูง กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีทักษะการจัดการเนื้อหาในไลน์ อยู่ในระดับปานกลาง ด้านพฤติกรรม การใช้ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ใช้ไลน์เป็นระยะเวลา 2 ปี กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีระยะเวลาในการใช้ไลน์ 1-3 ชั่วโมง กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีจำนวนครั้งในการใช้ไลน์ 2-5 ครั้งต่อวัน สถานที่ใช้กลุ่ม ตัวอย่างส่วนใหญ่ใช้ไลน์ที่บ้าน ลักษณะการใช้ไลน์ของกลุ่มตัวอย่าง มีลักษณะการใช้การแชท/สนทนา ข้อความมากที่สุด รองมาคือ การส่ง ต่อ/แบ่งปันข้อมูลรูปภาพต่าง ๆ กลุ่มตัวอย่างมีวัตถุประสงค์ใน การใช้ไลน์ เพื่อติดต่อลูกหลาน/ครอบครัว รองลงมาคือ ติดต่อเพื่อนเก่าสมัยเรียน/เพื่อนที่ทำงานเก่า สุภาภรณ์วรอรุณ (2558) ได้ศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้เทคโนโลยีเพื่อการดูแล สุขภาพผู้สูงอายุ จังหวัดสุพรรณบุรีประเทศไทย โดยศึกษาความสัมพันธ์และอำนาจการทำนายของปัจจัยการ รับรู้ประโยชน์ต่อการใช้เทคโนโลยีปัจจัยการรับรู้ความง่ายต่อการใช้เทคโนโลยีปัจจัย ทัศนคติต่อการใช้ เทคโนโลยีปัจจัยความตั้งใจต่อการใช้เทคโนโลยีกับการใช้เทคโนโลยีต่อการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุจังหวัด สุพรรณบุรี ผลการวิจัยพบว่า ผลการวิเคราะห์ถดถอยแบบเชิงชั้นแสดงให้เห็นว่า ปัจจัยความตั้งใจต่อการใช้ เทคโนโลยีปัจจัยการรับรู้ความง่ายต่อการใช้เทคโนโลยีปัจจัย การรับรู้ประโยชน์ต่อการใช้เทคโนโลยีสามารถ ทำนายตัวแปรตาม ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .001 และปัจจัยทัศนคติต่อการใช้เทคโนโลยีสามารถ ทำนายตัวแปรตาม ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยปัจจัยดังกล่าวสามารถทำนายตัวแปรตามคือ การใช้เทคโนโลยีต่อการดูแล สุขภาพของผู้สูงอายุ โดยมีความแปรปรวนร่วมกับตัวแปรการใช้เทคโนโลยีเพื่อ การดูแลสุขภาพของ ผู้สูงอายุร้อยละ 51.20 มีค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยในรูปคะแนนดิบ (B) ต่อการใช้เทคโนโลยี ต่อการดูแล สุขภาพผู้สูงอายุในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรีเป็น .678, .349, - .468 และ .325 ตามลำดับ หรือ YIT care = 0.554 + 0.678(Intend) + 0.349 (Easy to use) - 0.468 (Benefit) + 0.325 (Attitude) และให้ ข้อเสนอแนะ โดยสรุปเป็น 2 ข้อ ดังนี้
วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 39 1) ควรมีการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ระหว่างผู้สูงอายุ ผู้ดูแล เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพ โดยการทำความเข้าใจ ทำความยอมรับ แนวคิด ทัศนคติของการใช้เทคโนโลยีมุมมองที่แตกต่าง เพื่อให้เกิด ความเข้าใจทั้งสองฝ่ายร่วมกัน วัตถุประสงค์เพื่อที่จะนำเทคโนโลยีมาใช้ในการดูแลสุขภาพ ทำให้เกิดความ พร้อมที่จะรับข้อมูลใหม่ ๆ และเป็นการหาแนวทางสำหรับช่องทางการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุร่วมกัน และ 2) องค์กรที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในพื้นที่ ควรให้ความสำคัญในการจัดอบรมระบบเทคโนโลยี การใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีที่มีอยู่แล้วในผู้สูงอายุ ซึ่งอาจเชิญผู้เชี่ยวชาญมาให้ความรู้ และทำการชี้แจง ถึง ประโยชน์ต่อการใช้เทคโนโลยีเพื่อการดูแลสุขภาพ กระบวนการฝึกอบรมจะเน้นเครื่องมือที่ใช้ในการ ติดต่อสื่อสารที่ปฎิบัติงานง่ายต่อการใช้ขั้นตอนไม่ยุงยาก สะดวกต่อการใช้งาน โดยพยายามหาวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือที่มีอยู่แล้วในบ้านของตัวผู้สูงอายุเอง ทำให้เกิดช่องทางการประสานงานการติดต่อสื่อสารใหม่ รวดเร็ว ลดระยะเวลาค่าใช้จ่ายในการเดินทาง และสามารถติดต่อและเข้าถึงการรับ บริการสุขภาพได้รวดเร็ว และทันท่วงที Petrie, Kamollimsakul, and Power (2013) ได้ศึกษาเรื่อง ความสามารถในการเข้าถึงเว็บ สำหรับผู้สูงอายุ ผลกระทบของระยะห่างระหว่างบรรทัดและการจัดข้อความในการอ่านหน้าเว็บ ผลการศึกษา พบว่า ระยะห่างบรรทัดและการจัดชิดขอบข้อความไม่มีผลต่อประสิทธิภาพการอ่านของผู้สูงอายุหรือผู้ใหญ่ใน สามวัตถุประสงค์ได้แก่ เวลา่ที่ใช้อ่านต่อหน้า จำนวนหน้าที่เข้าชม และอัตราความสำเร็จของงาน อย่างไรก็ตาม ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุต้องการระยะห่างบรรทัดที่ 1.5 หรือสองบรรทัดเมื่อเปรียบเทียบกับระยะห่างบรรทัดเดียว ในแง่ของความพึงพอใจผู้เข้าร่วมทุกคนไม่ว่าจะเป็นผู้ใหญ่หรือผู้สูงอายุต้องการระยะห่างบรรทัด 1.5 หรือสอง บรรทัด ดังนั้นการนำเสนอระยะห่างบรรทัดที่ 1.5 หรือสองบรรทัด จึงเป็นการออกแบบที่ดีสำหรับผู้ใช้เว็บทุก คนสำหรับการจัดข้อความไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญในความพึงพอใจของตัวแปรใด ๆ นอกจากนั้น Kamollimsakul, Petrie, andPower (2014b) ยังได้ศึกษาเรื่อง การเข้าถึงเว็บ สำหรับผู้อ่านสูงอายุในเรื่องผลกระทบของประเภทตัวอักษรและขนาดตัวอักษรในการอ่านแบบสกิม (Skim reading) บนหน้าเว็บภาษาไทย การศึกษาครั้งนี้พบว่า แบบอักษรไทยมีผลต่อเวลาอ่านสกิมอย่างมีนัยสำคัญ แต่ขนาดตัวอักษรไม่มีความแตกต่างในเวลาอ่านระหว่างสองกลุ่มอายุ ตัวอักษรอนุรักษ์นิยมใช้เวลาในการ อ่านสกิมรวดเร็วยิ่งขึ้นในตัวแปรอื่น ๆ ทั้งหมด ด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพการอ่าน 6.39 วินาทีหรือ 7.3% เมื่อ เทียบกับแบบอักษรที่ทันสมัยทั้งผู้ใหญ่และผู้สูงอายุต้องการแบบอักษรอนุรักษ์นิยมมากกว่าแบบอักษรสมัยใหม่ สำหรับขนาดตัวอักษรผลลัพธ์จะซับซ้อนกว่า โดยทั่วไปแล้วผู้ใหญ่ต้องการตัวอักษรขนาด 14 พอยต์ และ 16 พอยต์ มากกว่า 12 พอยต์ ส่วนผู้สูงอายุต้องการตัวอักษรขนาด 16 พอยต์ มากกว่า 12 พอยต์ และ 14 พอยต์ และขนาด 14 พอยต์ มากกว่า 12 พอยต์นอกจากนี้มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างประเภทตัวอักษรขนาดตัวอักษรและ กลุ่มอายุสำหรับตัวอักษรแบบสมัยใหม่ตัวอักษรขนาด 12 พอยต์ได้คะแนนต่ำมากจากทั้งสองกลุ่ม และ ตัวอักษรขนาด 16 พอยต์ คือจุดกึ่งกลางของระดับสำหรับผู้สูงอายุ ในขณะที่ขนาด 14 พอยต์ และ 16 พอยต์ คือ จุดที่เป็นกลางสำหรับผู้ใหญ่ อย่างไรก็ตามแบบอักษรอนุรักษ์นิยมเป็นที่ยอมรับโดยผู้ใหญ่ ซึ่งถูกจัดอันดับ สูงกว่าจุดกึ่งกลางที่เป็นกลางสำหรับทุกขนาด แต่สำหรับผู้สูงอายุมีการกำหนดค่าที่ชัดเจนสำหรับตัวอักษรแบบ อนุรักษ์นิยมที่ขนาด 14 พอยต์ และ 16 พอยต์ มากกว่า 12 พอยต์
วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 40 Bernard, Liao, B.S. Chaparro, and A. Chaparro (2001) ได้ศึกษาเรื่อง การทดสอบการ รับรู้ของขนาดข้อความและความชัดเจนของแบบอักษรบนออนไลน์สำหรับผู้สูงอายุชายและหญิง โดย การศึกษานี้ตรวจสอบความชัดเจนของแบบอักษรที่รับรู้ความง่ายในการอ่านและความคมชัดของตัวอักษร รวมถึงการรับรู้ถึงความน่าดึงดูดใจของตัวอักษรและความพึงพอใจทั่วไปของแบบอักษรสองชุด ได้แก่แบบ อักษร Serif (Times New Roman และ Georgia) และแบบอักษร Sans serif (Arial และ Verdana) ที่ขนาด 12 และ 14 พอยต์ บนคอมพิวเตอร์ ผลการวิจัยพบว่า ทั้งชายและหญิงรับรู้แบบอักษร 14 พอยต์อ่านง่ายกว่า แบบอักษร 12 พอยต์ นอกจากนี้ผู้ชายยังมองว่าขนาด 14 พอยต์น่าดึงดูดและมีบุคลิกภาพ/ความสนุกมากกว่า ขนาด 12 พอยต์ ในขณะที่การรับรู้ของผู้หญิงไม่ว่าขนาดตัวอักษรใดก็เทียบเท่ากับการรับรู้ของผู้ชาย ที่ขนาด 14 พอยต์โดยรวมแล้วทั้งชายและหญิงชอบแบบอักษร Sans serif แบบ 14 พอยต์มากที่สุด ผลลัพธ์ที่ได้จาก การรวมแบบอักษรอื่น ๆ มีปัจจัยหลายอย่างที่ควรนำมาพิจารณา เช่น ลักษณะตัวอักษร ขนาดของแบบอักษร ระยะห่างระหว่างบรรทัด การตั้งค่าคอมพิวเตอร์และลักษณะของผู้ใช้ สุวิช ถิระโคตร และวีรพงษ์ พลนิกรกิจ (2561) ได้ศึกษาเรื่อง พฤติกรรมการใช้และการรู้เท่า ทัน อินเทอร์เน็ตและทัศนคติการใช้เนื้อหาด้านสุขภาวะบนอินเทอร์เน็ตของผู้สูงอายุ ผลการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์หลักในการใช้ คือ เพื่อการติดต่อสื่อสารกับเพื่อและผู้รู้ และใช้เพื่อแสวงหา ความรู้ด้านสุขภาพอนามัย โดยส่วนใหญ่ใช้โปรแกรมเฟซบุ๊ค ซึ่งมีระดับการรู้เท่าทันอินเทอร์เน็ตอยู่ที่ทักษะการ เข้าถึงและทักษะการวิเคราะห์ มีระดับการรู้เท่าทันอินเทอร์เน็ตแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ซึ่ง เป็นสถานการณ์การเป็นสังคมผู้สูงอายุของประเทศไทยมีความจำเป็นต้องพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุให้มี ความพร้อมทั้งทางกายใจ สังคม และสติปัญญา เพื่อการพึ่งพาตนเองได้ อินเทอร์เน็ตเป็นสื่อกลางหนึ่งที่ถูก นำมาใช้อย่างกว้างขวางเนื่องจากความสามารถให้บริการที่หลากหลายรูปแบบและมีความรวดเร็ว จึงทำให้ ผู้สูงอายุใช้อินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นอย่างมาก เฉลิมพงษ์ ลินลา (2558) ได้ศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกใช้แอพพลิเคชั่นบนสมาร์ท โฟนและแท็บเล็ตของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร ผลการศึกษาพบว่า เพศ อายุ สถานภาพ ที่พักอาศัย อาชีพก่อนเกษียณ/ก่อนเข้าสู่วัยสูงอายุ และรายจ่ายเฉลี่ยต่อเดือน ส่งผลต่อการเลือกใช้แอพพลิเคชั่นประเภท สื่อสังคมออนไลน์ ปัจจัยด้านอาชีพก่อนเกษียณ/ก่อนเข้าสู่วัยสูงอายุ ส่งผลต่อการเลือกใช้แอพพลิเคชั่น ประเภทมัลติมีเดียและบันเทิง ปัจจัยด้านพฤติกรรมการใช้แอพพลิเคชั่นบน สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต พบว่า ด้านความถี่ในการใช้แอพพลิเคชั่นต่อวัน ระยะเวลาในการใช้แอพพลิเคชั่นต่อครั้ง จำนวนของแอพพลิเคชั่นที่ ดาวน์โหลด และแหล่งที่ทำให้รู้จักแอพพลิเคชั่น ส่งผลต่อการเลือกใช้แอพพลิเคชั่นประเภทสื่อสังคมออนไลน์ ปัจจัยด้านความถี่ในการใช้แอพพลิเคชั่นต่อวัน ระยะเวลาในการใช้แอพพลิเคชั่นต่อครั้ง ช่วงเวลาในการใช้ แอพพลิเคชั่น และแหล่งที่ทำให้รู้จักแอพพลิเคชั่น ส่งผลต่อการเลือกใช้แอพพลิเคชั่นประเภทการศึกษาและ การอ้างอิง รุจา รอดเข็ม และสุดารัตน์ ไชยประสิทธิ์ (2562) ได้ศึกษาเรื่อง สังคมสูงวัย: เทคโนโลยีกับ ผู้สูงอายุ ผลการศึกษาพบว่า ปัจจุบันประเทศไทยก้าวสู่สังคมสูงวัยที่มีสัดส่วนของผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ใน ขณะเดียวกันที่เทคโนโลยีมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วและเข้ามามีบทบาทในการดำเนินในชีวิตประจำวันที่ไม่
วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 41 สามารถแยกออกจากความต้องการจำเป็นได้ในปัจจุบันเทคโนโลยีมีความสำคัญต่อการสร้างเสริมคุณภาพชีวิต ของผู้สูงอายุ ที่ทำให้ผู้สูงอายุสามารถใช้ชีวิตที่ลดภาวการณ์พึ่งพิงผู้อื่น มีศักยภาพในการดำเนินชีวิต โดยมี ผู้สูงอายุสามารถเข้าถึงและใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมต่าง ๆ ทั้งด้านการสร้างเสริมสุขภาพ การ ช่วยเหลือในการปฎิบัติกิจวัตรประจำวัน การติดต่อสื่อสาร ความบันเทิง การทำธุรกรรมทางการเงิน การทำ ธุรกรรมออนไลน์ และการเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ผู้สูงอายุต้องมีทัศนคติเชิงบวกและตระหนักถึง ความสำคัญของเทคโนโลยี เป็นผู้สูงอายุในยุค Digital ได้อย่างกลมกลืนร่วมกับคนวัยอื่น ๆ ( Digital Ageing ) เป็นผู้สูงอายุยุคใหม่ที่สามารถพึ่งพาตนเอง พนม คลี่ฉายา (2564) ได้ศึกษาเรื่อง การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลของผู้สูงอายุและข้อเสนอเพื่อ การเสริมสร้าง ภาวะพฤฒิพลังและผลิตภาพของผู้สูงอายุไทย ผลการวิจัยเชิงสำรวจพบว่า กลุ่ม กลุ่มอายุ 50- 54 ปีมีแรงจูงใจในการใช้เทคโนโลยีอยู่ระดับมาก ในขณะที่กลุ่มอายุ 55-70 ปี อยู่ระดับปานกลาง กลุ่มตัวอย่าง ใช้งานอินเทอร์เน็ตวันละ 5-6 ครั้ง ครั้งละ 30 นาที -1 ชั่วโมง โปรแกรมที่ใช้มากที่สุดคือ ไลน์เฟซบุ๊ก และยู ทูบ โดยใช้สนทนา อ่านข่าวติดตามข่าวสาร สืบค้นข้อมูล การรู้เท่าทันสื่อดิจิทัลของผู้สูงอายุกลุ่ม 60-70 ปี อยู่ ระดับปานกลาง กลุ่ม 50-59 ปี อยู่ระดับมาก ผลการวิจัยเชิงคุณภาพชี้ให้เห็นว่า ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง กับการใช้ เทคโนโลยีของผู้สูงอายุ ได้แก่ อาชีพ การเรียนรู้จากเทคโนโลยี ทักษะความสามารถ/การพัฒนาตนเอง ความ ซับซ้อนยุ่งยากของเทคโนโลยี ค่าใช้จ่ายในการใช้บริการอินเทอร์เน็ตและความคุ้มค่า อุปสรรคการใช้ เทคโนโลยี ได้แก่ ปัญหาสายตา การหลงลืม ภาษาอังกฤษ ความกังวลเรื่องความเสี่ยงและอันตรายจากการใช้ งาน กรณีตัวอย่างผู้สูงอายุที่สามารถใช้เทคโนโลยีเสริมสร้างพฤฒิพลังได้ มาจากความเป็นตัวตน ความคิด ความรู้ทักษะความสามารถที่สั่งสมมานานของผู้สูงอายุ การก้าวข้ามอุปสรรคด้านเทคโนโลยีด้วยการเรียนรู้ ด้วยตนเอง และการสอนจากบุตรหลาน การสนับสนุนจากหน่วยงานและองค์กรสาธารณประโยชน์งานวิจัย สร้างข้อเสนอ เพื่อการพัฒนาพฤติพลังผู้สูงอายุประกอบด้วยข้อเสนอเชิงนโยบาย 2 ด้านหลัก ได้แก่ แนวนโยบายสวัสดิการ พื้นฐานด้านเทคโนโลยี และคุณภาพชีวิตในสังคมผู้สูงอายุ 5G และ แนวนโยบายด้าน ความมั่นคงในชีวิตผู้สูงอายุด้วยเทคโนโลยี จุฬาวลี มณีเลิศ (2564) ได้ศึกษาเรื่อง การพัฒนาแอปพลิเคชันส่งเสริมการดูแลผู้สูงอายุกลุ่ม ติดเตียงด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม ผลการวิจัยพบว่า 1) ได้แอปพลิเคชันส่งเสริมการดูแลผู้สูงอายุกลุ่ม ติดเตียงด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม ประกอบด้วยข้อมูลการทํากายภาพบําบัดผู้ป่วยติดเตียงสําหรับ ผู้สูงอายุจํานวน 12 ท่า นําเสนอในรูปแบบการ์ตูนแอนิเมชัน 2 มิติ วีดิโอ และภาพนิ่ง แอปพลิเคชันที่พัฒนาได้ ผ่านการประเมินประสิทธิภาพจากผู้เชี่ยวชาญ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากก่อนนําไปใช้งาน 2) ความพึง พอใจโดยผู้ใช้งาน อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.54 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.64 และ 3) ผู้ใช้ระบบยอมรับระบบ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุดมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.59 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.38 แอปพลิเคชันสามารถนําไปใช้ประโยชน์เพื่อส่งเสริมการดูแลผู้สูงอายุได้ บัณฑิตา โนโชติ (2564) ได้ศึกษาเรื่อง ประสบการณ์และการยอมรับเทคโนโลยีของผู้สูงวัย หลังเกษียณ ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ที่มีผลต่อความเต็มใจใช้งานหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ผล การศึกษาพบว่า ประสบการณ์ใช้งาน หนังสืออิเล็กทรอนิกส์มีอิทธิพลเชิงบวกต่อความเต็มใจใช้งานหนังสือ
วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 42 อิเล็กทรอนิกส์อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ 0.05 ส่วนผลการวิเคราะห์ปัจจัยการยอมรับเทคโนโลยีหนังสือ อิเล็กทรอนิกส์ด้านการรับรู้ประโยชน์ในการใช้งาน ด้านการรับรู้ความง่ายในการใช้งาน ด้านอิทธิพลทางสังคม อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ 0.05 โดยปัจจัยการยอมรับเทคโนโลยีหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านอิทธิพลทางสังคม มีอิทธิพลเชิงบวกต่อความเต็มใจใช้งานหนังสืออิเล็กทรอนิกส์มากที่สุด นอกจากนี้ผลจากการวิจัยยังสะท้อนให้ เห็นว่า ผู้สูงอายุที่ใช้งานหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญในความสะดวกสบายในการใช้งานได้ ทุกที่ ทุกเวลา ปรับให้ตรงตามความ ต้องการเฉพาะบุคคลได้ดังนั้น ทางผู้ประกอบธุรกิจหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ จึงควรมุ่งเน้นในส่วนการ เก็บข้อมูลหนังสือที่ซื้อได้ไม่จำกัด เปิดใช้งานได้รวดเร็ว และมุ่งเน้นส่งเสริม สภาพแวดล้อม เพิ่ม คุณภาพความสุขให้ผู้สูงวัยหลังเกษียณ โดยผู้สูงวัยเป็นกลุ่มลูกค้าที่มีกำลังซื้อ Meshi, Cotton, & Bender (2020) ได้ศึกษาเรื่อง ปัญหาและการรับรู้การใช้สื่อโซเชียลทาง สังคมของผู้สูงอายุเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัญหาการแยกตัวจากสังคมกับการรับรู้การใช้สื่อโซเชียลทาง สังคมของผู้สูงอายุผลการศึกษาพบว่า ปัญหาการแยกตัวทางสังคมของผู้สูงอายุมีความสัมพันธ์ทางลบกับการ รับรู้การใช้สื่อโซเชียลทาสังคมของผู้สูงอายุ แสดงให้เห็นว่าความเชื่อมโยงระหว่างปัญหาการแยกตัวทางสังคม กับการรับรู้การใช้สื่อโซเชียลทางสังคมของผู้สูงอายุสามารถสะท้อนถึงปัญหาความโดดเดี่ยวทางสังคมของ ผู้สูงอายุได้ วีรณัฐ โรจนประภา (2559) ได้ศึกษาเรื่อง พฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีที่มีผลต่อระดับ ความสุขของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร ผลการศึกษาพบว่า ระยะเวลาที่ใช้เทคโนโลยีมีความสัมพันธ์กับ ระดับความสุขของผู้สูงอายุ โดยการใช้ 2-4 ชั่วโมงต่อวันมีผลต่อระดับความสุขของผู้สูงอายุมากที่สุด เช่นเดียวกับจำนวนวันที่ใช้ต่อสัปดาห์ โดยการใช้ 4-6 วันต่อสัปดาห์มีระดับความสุขมากที่สุด รวมถึงในส่วน ของระยะเวลาห่างในการติดตามความเคลื่อนไหวในแต่ละครั้งนั้นเป็นความสัมพันธ์เชิงบวกที่เมื่อผู้สูงอายุมี ระยะเวลาห่างในการติดตามความเคลื่อนไหวในแต่ละครั้งในระยะเวลาห่างที่มากขึ้นระดับความสุขก็จะมากขึ้น โดยการติดตามมากกว่า 2 ชั่วโมงมีระดับความสุขมากที่สุด ขณะที่สถานที่ที่ใช้คือการใช้จากที่ทำงานก็มีผลต่อ ระดับความสุขของผู้สูงอายุ ต่างจากอุปกรณ์ที่ใช้ที่การใช้จากแทปเลตต์ สมาร์ตโฟนหรือคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กที่ ไม่มีความสัมพันธ์ต่อระดับความสุข สำหรับวัตถุประสงค์ในการใช้เทคโนโลยีนั้นมีความสัมพันธ์ระหว่างการใช้ เพื่อความบันเทิงกับการใช้เพื่อสังคมโดยการใช้เพื่อความบันเทิงให้ระดับความสุขมากกว่า สำหรับปัญหานั้น พบว่า ค่าบริการของผู้ให้บริการเป็นปัญหาสำคัญที่สุดส่วนในการศึกษาเกี่ยวกับรูปแบบขององค์กรนั้นพบว่า ควรส่งเสริมให้เกิดโรงเรียนสอนเทคโนโลยี และการผลิตสื่อความรู้ในรูปแบบของความบันเทิง สำหรับผู้สูงอายุ ในรูปแบบของกิจการค้าเพื่อสังคม โดยในแต่ละหลักสูตรหรือสื่อที่ดำเนินการนั้นให้นำไปสู่พฤติกรรมการใช้ เทคโนโลยีอย่างเหมาะสมตามผลที่ได้จากการวิจัยเชิงปริมาณและจากผลการศึกษาดังกล่าวมีข้อเสนอแนะต่อ รัฐบาลในเรื่องการจัดหาแทปเลตต์แจกให้แก่ผู้สูงอายุรวมถึงการจัดให้มีบริการ Wi Fi โดยไม่คิดค่าบริการ ดำเนินการออกกฎหมายการจัดตั้งนิติบุคคลประเภทกิจการค้าเพื่อสังคมพร้อมให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี ดำเนินการรณรงค์สร้างพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีแก่ผู้สูงอายุตามผลการวิจัยที่ได้ กรกช แสนจิตร (2564) ได้ศึกษาเรื่อง การศึกษาระดับความรู้ความสามารถในการใช้ เทคโนโลยีสื่อดิจิทัล ของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร ผลการวิจัยพบว่า ความรู้ระดับต้นด้านอุปกรณ์อยู่ใน
วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 43 ระดับมากมีค่าเฉลี่ยรวม 0.92 ด้านการ เชื่อมต่อออนไลน์อยู่ในระดับมากมีค่าเฉลี่ยรวม 0.79 ความรู้ ระดับกลางด้านอุปกรณ์อยู่ในระดับ ปานกลางมีค่าเฉลี่ย 0.70 ด้านการเชื่อมต่อออนไลน์อยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยรวม 0.66 ความรู้ระดับสูงด้านอุปกรณ์อยู่ในระดับปานกลางมีค่าเฉลี่ย 0.79 และด้านการเชื่อมต่อ ออนไลน์อยู่ในระดับปานกลางมีค่าเฉลี่ยรวม 0.57 ความสามารถระดับต้นด้านอุปกรณ์อยู่ในระดับมากมี ค่าเฉลี่ย 2.77 ด้านการเชื่อมต่อออนไลน์อยู่ในระดับปานกลางมีค่าเฉลี่ย 2.21 ความสามารถระดับกลางด้าน อุปกรณ์อยู่ในระดับ ปานกลางมีค่าเฉลี่ย 2.31 ด้านการเชื่อมต่อออนไลน์อยู่ในระดับปานกลางมีค่าเฉลี่ย 2.13 ความสามารถระดับสูงด้านอุปกรณ์อยู่ในระดับปานกลางมีค่าเฉลี่ย 2.21 ด้านการเชื่อมต่อ ออนไลน์อยู่ในระดับ น้อย มีค่าเฉลี่ย 1.75 ผลการทดสอบสมมุติฐานพบว่า อายุ การศึกษา รายได้ อาชีพ ที่แตกต่างกันมีผลต่อ ความรู้ความสามารถด้านการใช้อุปกรณ์และการเชื่อมต่อออนไลน์ความรู้และความสามารถใน การใช้ เทคโนโลยีสื่อดิจิทัลมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 นทัธมน มั่งสูงเนิน และธาดาธิเบศร์ ภูทอง (2560) การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจใช้ งานบริการสุขภาพผ่านโทรศัพท์มือถือของผู้สูงอายุ ในกรุงเทพมหานคร ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยความคาดหวัง ในประสิทธิภาพ อิทธิพลทางสังคม และความวิตกกังวลด้านเทคโนโลยีเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความตั้งใจใช้ งานบริการสุขภาพผ่านโทรศัพท์มือถือ นอกจากนี้ความตั้งใจใช้ยังส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้งานจริง โดยการ ศึกษาวิจัยในครั้งนี้ให้แนวทางที่เป็นประโยชน์แก่ผู้ที่อยู่ในธุรกิจบริการสุขภาพผ่านโทรศัพท์มือถือไม่ว่าจะเป็น นักพัฒนาระบบบริการสุขภาพผ่านโทรศัพท์มือถือ นักการตลาดของบริษัทหรือผู้ประกอบการ และบุคคลทั่วไป ที่รักสุขภาพ ในการที่จะทำความเข้าใจถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจใช้งานบริการสุขภาพผ่านโทรศัพท์มือถือ โดยเฉพาะปัจจัย บุคลิกภาพด้านความคาดหวังในประสิทธิภาพ อิทธิพลทางสังคม และความวิตกกังวลด้าน เทคโนโลยี เพื่อนำไป ประกอบการพิจารณาแนวทางในการดำเนินธุรกิจ สร้างกลยุทธ์ทางการตลาด และเพื่อ พัฒนารูปแบบบริการสุขภาพผ่านโทรศัพท์มือถือและฟังก์ชั่นให้เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุในประเทศไทยต่อไป รัชชานันท์ ศรีสุภักดิ์, ประภากร ศรีสว่างวงศ์และปภาวี รัตนธรรม (2562) ได้ศึกษาเรื่อง นวัตกรรมโมบายแอปพลิเคชั่นเพื่อการดูแลสุขภาพส่วนบุคคลสำหรับผู้สูงอายุ ผลการวิจัยพบว่า ส่วนใหญ่เป็น เพศหญิงที่ร้อยละ 84.0 มีอายุเฉลี่ย 64.2 ปีมีการปฎิบัติตน ด้านการรับประทานอาหารที่เหมาะสมเป็นบางครั้ง ที่ค่าเฉลี่ย 2.07 (S.D. = 0.35) และมีความเห็นด้วยต่อ การยอมรับการใช้งานเทคโนโลยีเพื่อการดูแลสุขภาพที่ คะแนนเฉลี่ย 2.43 (S.D. = 0.60) มีความต้องการ ทราบข้อมูลที่ทันสมัยเพื่อใช้ในการดูแลสุขภาพตนเอง ใน ส่วนโมบายแอปพลิเคชันที่ถูกพัฒนาสามารถ ทำงานได้ทั้งระบบปฎิบัติการแอนดรอยด์และ ios มี ความสามารถในการบันทึกข้อมูลพฤติกรรม สุขภาพตามหลัก 3 อ. โดยมีผลการประเมินด้านความต้องการ พื้นฐานของระบบอยู่ในระดับดี มีค่าเฉลี่ย 3.92 (S.D. = 0.27) ด้านความถูกต้องในการทำงานอยู่ในระดับดี ที่ ค่าเฉลี่ย 3.92 (S.D. = 0.25) และมีความง่ายในการใช้งานอยู่ที่ระดับดีที่ค่าเฉลี่ย 3.92 (S.D. = 0.25) กชพรรณ กำลังงาม (2565) ได้ศึกษาเรื่อง พฤติกรรมการใช้สื่อกับการสื่อสารด้านสิ่งแวดล้อม สำหรับผู้สูงอายุ ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุ 60-64 ปีขึ้นไป มีระดับการศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น มีสถานภาพสมรสและยังอยู่ด้วยกัน ประกอบธุรกิจส่วนตัว และพักอาศัยอยู่กับคู่สมรส ส่วนพฤติกรรมการใช้สื่อ พบว่า ส่วนใหญ่ติดตามข้อมูลข่าวสารจากอินเตอร์เน็ต ใช้โทรศัพท์มือถือในการ
วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 44 ติดตามข่าวสารมากที่สุด ติดต่อกับลูกหลานเป็นส่วนใหญ่ มีการใช้เครื่องมือสื่อสารทุกวันใช้เวลา 30 นาทีหรือ มากกว่า และส่วนมากมีความสนใจในสื่ออินเตอร์เน็ตประเภท Facebook และ Line ความคิดเห็นที่มีต่อการ สื่อสารของผู้สูงอายุพบว่า โดยรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ เห็นด้วยมากที่สุดว่าอุปกรณ์สื่อสารสามารถทำให้รับรู้ข่าวสารและพักผ่อนหย่อนใจตามความบันเทิง ส่วน ความคิดเห็นที่มีต่อการสื่อสารด้านสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมต่อผู้สูงอายุ พบว่า ความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับ เห็นด้วยมาก เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เห็นด้วยมากที่สุดว่าการสื่อสารช่วยให้เกิดความ ร่วมมือในการแก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมในชุมชนได้เป็นอย่างดี มีระดับรองลงมาคือ การสื่อสารผ่านการ ประชาสัมพันธ์ในชุมชน ดำเนินการได้เป็นอย่างดีการสื่อสารด้านสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุคือ โทรศัพท์มือถือเป็นเครื่องมือในการ สื่อสารที่มีความเหมาะสมกับผู้สูงอายุมากที่สุด โดยใช้สื่อสารทุกวัน วันละ ประมาณ 30 นาทีผ่าน สื่อ อินเตอร์เน็ตประเภท Facebook และLine การออกแบบสื่อเนื้อหาต้องเข้าใจง่าย ตัวอักษรต้องชัดเจน การใช้งานต้องไม่มีความยุ่งยาก ภาพกราฟิกสีเข้มบนพื้นหลังสีอ่อน การสื่อสารด้าน สิ่งแวดล้อม ที่ควรนำเสนอเพื่อประโยชน์ต่อชุมชนและผู้สูงอายุควรมุ่งเน้นการจัดการในภาพรวม เพื่อคุณภาพ ชีวิตและ สภาพแวดล้อมที่ดีของผู้สูงอายุในชุมชน ผ่านการสื่อสารด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัย 2.5.3 ปัจจัยด้านความประหยัด (Affordability) ที่มีผลความต้องการการจัดสวัสดิการสังคมด้าน เทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุ งานวิจัยนี้ได้กำหนดความหมายของคำว่า ‘ความประหยัด’ ตาม ชัยวู ลี และโจเซฟ คอฟลิน (Chaiwoo and Coughlin, 2015) ที่ว่า ความประหยัด (Affordability) หมายถึง ราคาที่ผู้สูงอายุสามารถจ่าย ได้ในการซื้อหรือจัดหา ใช้งาน และความประหยัดหรือต้นทุนที่ลดลงเมื่อใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม จากการ ทบทวนวรรณกรรมจะพบว่า ค่าใช้จ่ายหรือราคาที่ต้องจ่ายมีผลอยากมากต่อการตัดสินใจใช้หรือการเข้าถึง เทคโนโลยีและนวัตกรรมของผู้สูงอายุได้ ตัวอย่างเช่น ทิพวรรณ ผิวผ่อง และ นาถรพี ตันโช (2564) ได้ศึกษา เรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้ออุปกรณ์ดูแลผู้สูงอายุผ่าน ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในเขต กรุงเทพมหานคร ผลการวิจัยพบว่า การส่งเสริมการตลาดส่งผลต่อการตัดสินใจซื้ออุปกรณ์ดูแลผู้สูงอายุมาก ที่สุด ทั้งนี้อาจเป็นเพราะเทคโนโลยีด้าน สื่อ โฆษณา ประชาสัมพันธ์ มีบทบาทในการทำการตลาดมากขึ้น เช่น การโฆษณาผ่านยูทูปโดยเป็นการวิดีโอแนะนำสินค้า วิธีการใช้งาน ทำเป็นขั้นตอนง่าย ๆ ให้ชัดเจน เพราะกลุ่ม ผู้สูงอายุสามารถเข้าถึงได้ง่าย และกลุ่มผู้สูงอายุนิยมรับชมสื่อออนไลน์วีดีโอมากที่สุดเพราะ สามารถเข้าใจง่าย เรียนรู้ได้ง่าย ด้านผลิตภัณฑ์/สินค้า เป็นตัวสำคัญรองลงมาจากด้านการส่งเสริม การตลาด สินค้าต้องมีคุณภาพ มาตรฐานการผลิตที่ดี แข็งแรง ทนทาน การใช้งานง่าย ดูแลรักษาง่าย ไม่ยุ่งยาก ทันสมัย ด้านช่องทางการจัด จำหน่าย สามารถที่สั่งซื้อได้หลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็นทาง ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือหน้าร้านค้า รวมถึงการชำระเงินสะดวกและปลอดภัย การจัดส่ง สินค้าให้ตรงตามกำหนด และด้านราคา สินค้าคุ้มค่ากับ ราคา รวมถึงการกำหนดราคาสินค้าที่ผู้สูงอายุ มีกำลังในการจ่ายได้ ในการซื้อสินค้าผ่านระบบพาณิชย์ อิเล็กทรอนิกส์นั้นผู้ซื้อสามารถสามารถเทียบ ราคาจากร้านอื่นได้เพราะราคาจะถูกกำหนดไว้ในหน้าร้านค้า ทำ ให้สะดวกต่อการตัดสินใจซื้อสินค้า และถ้าทางร้านมีโปรโมชั่นส่งเสริมการขายทางด้านราคาการตัดสินใจซื้อก็
วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 45 จะเร็วขึ้น สอดคล้องกับ งานวิจัยของ สิริชัย ดีเลิศ และ สุภาวดี รัตนพงศ์พันธ์ (2561) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อ กระบวนการ Journal of Marketing and Management Volume 8 No. 2 July - December 2021 71 ตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของกลุ่มผู้บริโภคตลาดเฉพาะกลุ่ม พบว่าปัจจัย ส่วนประสม ทางการตลาดมีความสำคัญมากที่สุด ดังแนวคิดของ ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ (2552) กล่าวไว้ว่าส่วน ประสมทางการตลาดเป็นเครื่องมือทางการตลาดที่สามารถควบคุมได้ และบริษัทจะนำมาใช้ร่วมกันเพื่อ ตอบสนองความต้องการและสร้างความพึงพอใจให้กับกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย งานวิจัยของ วิภาวรรณ มโน ปราโมทย์ (2558) ศึกษา ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านสังคมออนไลน์ (อินสตาแกรม) ของ ประชากรใน กรุงเทพมหานคร พบว่า ปัจจัยด้านส่วนประสมทาง การตลาดมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้า ผ่านสังคมออนไลน์ (อินสตาแกรม) สอดคล้องกับงานวิจัย ของ ปิยมาภรณ์ ช่วยชูหนู (2559) ได้ทำการศึกษา เรื่อง ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านทางสังคมออนไลน์ พบว่า ปัจจัยด้านส่วนประสมทาง การตลาด ได้แก่ ด้านคุณภาพของสินค้า ด้านราคา ด้านการส่งเสริมการตลาด และกระบวนการให้บริการเป็น ปัจจัยส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อ สินค้าผ่านทางสังคมออนไลน์ สอดคล้องกับงานวิจัยของ Elena V. Pogorelova (2016) ได้ทำการศึกษา เรื่อง ส่วนประสมทางการตลาดส่งผลต่อการซื้อผ่านระบบพาณิชย์ อิเล็กทรอนิกส์ โดยศึกษาถึงกระบวนการ ของการเปลี่ยนแปลงของการตลาดในระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ พบว่า ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด มีผลต่อการที่ผู้บริโภคในช่องทางระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ธัญลักษณ์ สุมนานุสรณ (2561) ได้ศึกษาเรื่อง พฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านเครือข่าย สังคมออนไลน์ของผู้สูงอายุกลุ่มเบบี้บูมเมอร์ ผลการศึกษาพบว่า 1) พฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่าน เครือข่ายสังคมออนไลน์ของผู้สูงอายุกลุ่มเบบี้บูมเมอร์จำแนกตามปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ระดับการศึกษา และอาชีพที่แตกต่างกัน จะมีพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่แตกต่างกันอย่างมี นัยสำคัญที่ทางสถิตที่ระดับ .05 ส่วนเพศ อายุสถานภาพและรายได้ที่แตกต่างกัน จะมีพฤติกรรมการตัดสินใจ ซื้อสินค้าผ่านเครือข่าย สังคมออนไลน์ที่ไม่แตกต่างกัน 2) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิต่อพฤติกรรม การตัดสินใจซื้อสินค้าผ่าน เครือข่ายสังคมออนไลน์ของผู้สูงอายุกลุ่มเบบี้บูมเมอร์การวิเคราะห์ปัจจัยส่วน ประสมทางการตลาด สามารถสกัดปัจจัยใหม่ออกมาได้6 กลุ่มโดยใช้วิธีStepwise มีเพียงจำนวน 2 ปัจจัยที่ ส่งผล พฤติกรรมการตัดสินใจซื้อ คือ ปัจจัยด้านการบริการและการจัดส่ง ปัจจัยด้านการให้ข้อมูลข่าวสาร สุธาสินี ตุลานนท์ (2562) ได้ศึกษาเรื่อง การยอมรับเทคโนโลยีที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้า ออนไลน์ของผู้สูงอายุผลการศึกษาพบว่า 1) ปัจจัยความเชื่อมั่นและความไว้วางใจของผู้สูงอายุ ในภาพรวม อยู่ ในระดับ มากเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ได้แก่ ด้านความเชื่อมั่นในการตัดสินใจซื้อ สินค้าออนไลน์รองลงมา ด้านความไว้วางใจในการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์2) ปัจจัยการยอมรับเทคโนโลยี ของผู้สูงอายุ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ได้แก่ ด้าน การรับรู้ประโยชน์จากการใช้งาน รองลงมา ด้านการรับรู้ความเสี่ยงด้านความปลอดภัย ด้านการรับรู้ความ ไว้วางใจ ด้านการรับรู้ความ ง่ายในการใช้งาน ด้านการรับรู้ความเข้ากันได้และด้านการรับรู้ทรัพยากรทาง การเงิน
วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 46 เกตุวดี สมบูรณ์ทวี และ มณียา สายสนิท (2564) ได้ศึกษาเรื่อง อิทธิพลของการยอมรับ เทคโนโลยีและบทบาทตัวแปรกำกับด้านประชากรศาสตร์ ที่มีผลต่อการตั้งใจซื้อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ของ ผู้บริโภคไทย ผลการศึกษาพบว่า ด้านเพศมีผลต่อการรับรู้ถึงความสนุกในการอ่านและการรับรู้ด้านราคา ส่วน ในด้านอายุมีผลต่อการรับรู้ถึงความง่ายของการใช้งาน, การรับรู้ถึงความสนุกในการอ่าน และการรับรู้ด้าน ราคา นอกจากนี้ด้านระดับรายได้เฉลี่ยต่อเดือนมีผลต่อการรับรู้ด้านราคาเท่านั้น ผลการศึกษาสามารถใช้ อธิบายปัจจัยการยอมรับเทคโนโลยีที่มีผลต่อความตั้งใจซื้อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ และพัฒนากลยุทธ์ด้าน การตลาดของธุรกิจ ประเภทหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทยให้มีศักยภาพมากยิ่งขึ้น มนต์ทนา คงแก้ว, มนัดพลพิชัย ดุลยวาทิต และธันยาภรณ์ดำจุติ ได้ศึกษาเรื่อง การลงทุนใน ผลิตภัณฑ์ทางการเงินของผู้สูงอายุยุคดิจิทัล ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้สูงอายุส่วนใหญ่เคยประสบปัญหาด้านเงิน ไม่พอใช้ และมักกู้ยืมเงิน เมื่อมีรายได้ไม่เพียงพอโดยส่วนใหญ่ลงทุนแบบการฝากเงินกับธนาคารพาณิชย์เพราะ เน้นปัจจัยด้านความปลอดภัย ของเงินลงทุนเป็นหลัก 2) ปัญหาอุปสรรคต่อการลงทุน ได้แก่ ความพร้อมใน การลงทุนของตัวบุคคล วินัยการออมเงิน และพฤติกรรมการลงทุน สำหรับปัจจัยที่มีผลต่อการลงทุน ได้แก่ อายุและสุขภาพของผู้ลงทุน เป้าหมายหลักและ วัตถุประสงค์ในการลงทุน สำหรับผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ระดับการปฏิบัติตัวจากพฤติกรรมทางการเงินและ อายุของกลุ่มตัวอย่าง มีอิทธิพลเชิงบวกต่อระดับ ความสำคัญของปัญหาอุปสรรคในการลงทุนผลิตภัณฑ์ทางการเงิน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (R=0.469) และจัดองค์ประกอบของปัจจัยร่วมที่ส่งผลต่อการเลือกลงทุนใน ผลิตภัณฑ์ทางการเงินได้ 6 ปัจจัย (ความผันแปรของตัวแปร ร้อยละ 69.176) เพ็ญพร ปุกหุต, ปฏิมา ถนิมกาญจน์และ พรทิพย์ รอดพ้น (2565) ได้ศึกษาเรื่อง การยอมรับ เทคโนโลยีและพฤติกรรมผู้บริโภคที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้กำลังจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุใน อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา จากผลการวิจัยพบว่า 1) การยอมรับเทคโนโลยีจะมีผลต่อ การตัดสินใจซื้อ สินค้าออนไลน์ได้ ต้องผ่านพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป ตัวแปรพฤติกรรมผู้บริโภคมีลักษณะเป็นตัว แปรคั่นกลางที่สมบูรณ์และ 2) การยอมรับเทคโนโลยีกับวิถีการบริโภคที่เปลี่ยนแปลงทางสังคม ยุคดิจิทัลเป็น ปัจจัยที่ก่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนวิธีการจับจ่ายใช้สอยผ่านช่องทางออนไลน์เพิ่มขึ้น ดังนั้น การปรับ ตัวและ รับมือกับการเปลี่ยนแปลงของผู้ประกอบการ ควรจะมีการออกแบบและปรับปรุงช่องทางการจัดจำหน่าย ให้ เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย รวมทั้งปรับกลยุทธ์การตลาดออนไลน์ให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า เพื่อ เพิ่มความได้เปรียบในการแข่งขันทางธุรกิจต่อไป สุนัยญา แดงเหม และ นริศรา เจริญพันธุ์ (2564) ได้ศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อกำรออมของ ครัวเรือนไทยในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยภูมิภาคมีผลต่อการออมของครัวเรือน ซึ่งครัวเรือน ในกรุงเทพมหานคร มีการออมสะสมของ ครัวเรือนมากที่สุดและครัวเรือนในภาคใต้มีการออมสะสมของ ครัวเรือนน้อยที่สุด ปัจจัยอายุของหัวหน้าครัวเรือน รายได้เฉลี่ย ต่อเดือน ค่าใช้จ่ายดิจิทัล การทำบัญชีรายรับ รายจ่ายและการคิดวางแผนการออมไว้สำหรับยามชรามีผลต่อการออมสะสมของ ครัวเรือนในทิศทางบวก แต่ ปัจจัยการชำระหนี้เฉลี่ยต่อเดือนและจำนวนสมาชิกในครัวเรือนส่งผลต่อการออมสะสมของ ครัวเรือนใน ทิศทางลบ ครัวเรือนที่มีความคิดในการจัดสรรเงินออมโดยแบ่งส่วนของเงินออมไว้ก่อนที่จะนำไปจับจ่ายใช้
วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 47 สอยจะ มีการออมสะสมของครัวเรือนมากกว่าครัวเรือนที่นำเงินที่ได้ไปจับจ่ายใช้สอยก่อนถ้ามีเงินเหลือจึงจะ เก็บออมอย่างมีนัยสำคัญ ดังนั้นรัฐบาลควรส่งเสริมให้ประชาชนมีการตระหนักในการวางแผนทางการเงินโดย ปรับการจัดสรรเงินด้วยการออมก่อนจ่าย ควบคู่ไปกับการทำบัญชีรายรับรายจ่ายตลอดช่วงชีวิต โดยใช้ เทคโนโลยีด้านดิจิทัลที่เหมาะสมกับแต่ละช่วงวัย 2.5.4 ปัจจัยด้านการเข้าถึง (Accessibility) ที่มีผลความต้องการการจัดสวัสดิการสังคมด้าน เทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุ งานวิจัยนี้ได้กำหนดความหมายของคำว่า ‘การเข้าถึง’ ตาม ชัยวู ลี และโจเซฟ คอฟลิน (Chaiwoo and Coughlin, 2015) ที่ว่า การเข้าถึง (Accessibility) หมายถึง ผู้สูงอายุมีข้อมูล ความรู้และ ความสามารถในการเข้าถึงแหล่ง หรือมีระบบนำส่งเทคโนโลยีและนวัตกรรม จากการทบทวนวรรณกรรมจะ พบว่า การใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมของผู้สูงอายุจะเกิดขึ้นไม่ได้เลยหากผู้สูงอายุไม่มีความรู้ ความสามารถ หรือข้อมูลในการใช้ หรือไม่มีอุปกรณ์เทคโนโลยีและตัวเครื่องนวัตกรรม ตัวอย่างเช่น ธิติพร ชาญศิริวัฒน์ และ สมาน ลอยฟ้า (2560) ได้ศึกษาเรื่อง รูปแบบการนำเสนอเว็บที่ผู้สูงอายุสามารถเข้าถึงได้ กรณีศึกษาผู้สูงอายุ จังหวัดอุบลราชธานี ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบเว็บที่ผู้สูงอายุสามารถเข้าถึงได้มีองค์ประกอบสำคัญ 2 ส่วน หลัก คือ (1) โครงสร้างเว็บและการเข้าถึงเว็บ ได้แก่ ชื่อเว็บอยู่บนสุด เนื้อหาอยู่กลางเว็บ เมนูการเชื่อมโยงอยู่ ทางซ้ายมือ สามารถเลื่อนหน้าเว็บได้ทั้งแนวนอนและแนวตั้ง ปุ่มและไอคอนขนาด ใหญ่ชัดเจน ใช้สีพื้นเป็น สีพื้นหลังของเว็บ (2) ส่วนการนำเสนอเนื้อหาของเว็บนำเสนอข้อความร่วมกับภาพนิ่งที่เป็นภาพถ่าย หรือ อินโฟกราฟิก ตัดแบ่งเนื้อหาออกเป็นช่วงสั้น ๆ มีเมนูสำหรับเลือกอ่านหน้าถัดไปหรือย่อนหลังได้ คลิปวิดีโอ แสดงด้วยหน้าจอขนาดเล็กสามารถปรับขนาดและควบคุมเสียงได้ จุดเชื่อมโยงใช้รูปภาพหรือสัญลักษณ์กำกับ รูปแบบการนำทางใช้งานง่ายและชัดเจน ใช้ระยะห่างของตัวอักษรและระยะระหว่างบรรทัดปกติ ระยะห่าง ระหว่างย่อหน้าแบบบรรทัดครึ่ง ตัวอักษรชนิด Sans serif ตัวอักษรตัวหนา โดยชื่อเรื่องและหัวข้อย่อยมีขนาด 24 พอยต์และเนื้อหามีขนาด 18 พอยต์ ใช้สีตัวอักษรมีความแตกต่างกับพื้นหลัง ศิริพร แซ่ลิ้ม (2558) ได้ศึกษาเรื่อง พฤติกรรมการใช้ไลน์แอปพลิเคชั่นของผู้สูงอายุในเขต กรุงเทพมหานครผลการศึกษาพบว่า ลักษณะทางประชากรของกลุ่มตัวอย่างผู้ใช้ไลน์แอพพลิเคชั่น เป็นเพศ หญิงมากกว่าเพศชาย โดยกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 60-65 ปี มีการศึกษาระดับ ปริญญาตรีมาก ที่สุด และกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีรายได้ 10,001-20,000 บาท โดยส่วนใหญ่มีอาชีพ ธุรกิจส่วนตัว/ค้าขายด้าน การเข้าถึงไลน์แอพพลิเคชั่น กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีการเข้าถึงอุปกรณ์สื่อสารโทรศัพท์เคลื่อนที่สมาร์ท โฟนมากที่สุด รองลงมาคือแท็บเล็ต และกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีการ เข้าถึงอินเตอร์เน็ตวายฟายที่บ้านมาก ที่สุด รองลงมาคือ อินเตอร์เน็ตแบบรายเดือน ด้าน ความสามารถในการใช้ไลน์แอพพลิเคชั่น ประกอบด้วย ทัศนคติ การรับรู้ความสามารถของตนเอง ความรู้และทักษะการใช้ไลน์ ความรู้และทักษะการจัดการเนื้อหา ในไลน์ พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ มีทัศนคติต่อไลน์ในระดับดี โดยทัศนคติที่กลุ่มตัวอย่างมีทัศนคติในระดับดี มาก ได้แก่ ไลน์เป็นช่องทางการสื่อสารที่สะดวกและรวดเร็ว การรับรู้ความสามารถของตนเองในการ ใช้ไลน์อยู่ ในระดับมาก มีความรู้การใช้ไลน์ในระดับสูง โดยมีทักษะการใช้ไลน์ในระดับปานกลาง และมีความรู้การจัดการ
วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 48 เนื้อหาในไลน์อยู่ในระดับสูง มีทักษะการจัดการเนื้อหาในไลน์ อยู่ในระดับปานกลาง ด้านพฤติกรรมการใช้ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ใช้ไลน์เป็นระยะเวลา 2 ปี มีระยะเวลาในการใช้ไลน์ 1-3 ชั่วโมง กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ มีจำนวนครั้งในการใช้ไลน์ 2-5 ครั้งต่อวัน สถานที่ใช้ไลน์ที่บ้าน ลักษณะการใช้ไลน์ของกลุ่มตัวอย่าง มีลักษณะ การใช้การแชท/สนทนา ข้อความมากที่สุด รองมาคือ การส่งต่อ/แบ่งปันข้อมูลรูปภาพต่าง ๆ กลุ่มตัวอย่างมี วัตถุประสงค์ใน การใช้ไลน์ เพื่อติดต่อลูกหลาน/ครอบครัว รองลงมาคือ ติดต่อเพื่อนเก่าสมัยเรียน/เพื่อนที่ ทำงานเก่า อารียา ศรีแจ่ม (2562) ได้ศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเข้าถึงเทคโนโลยีของผู้สูงอายุในยุค ดิจิทัล ผลการวิจัยพบว่า ผู้สูงอายุมีวัตถุประสงค์ในการเข้าถึงเทคโนโลยีดังนี้ (1) ค้นหาข้อมูล (2) ความบันเทิง (3) การทำงาน/ธุรกิจ (4) อ่านข่าวสารประจำวัน (5) ทำธุรกรรมทางการเงินออนไลน์(6) สื่อสารระหว่างเพื่อน ฝูง (7) เผยแพร่ตัวตนหรือผลงานตนเอง มีแอปพลิเคชันที่เลือกใช้หลายรูปแบบ คือ (1) Line (2) Facebook (3) Facebook Messenger (4) Mobile Banking (5) Lazada/Shopee และมีการทำกิจกรรมหลายประเภท เช่น (1) ส่งข้อความ-แชท (2) ดูวิดีโอ (3) เล่นเกม (4) Mobile Banking (5) ค้นหาสถานที่การเข้าถึงเทคโนโลยี ของผู้สูงอายุมีประโยชน์ทั้งทางด้านการให้เนื้อหาข่าวสารที่มีประโยชน์และรวดเร็วทำให้เป็น คนทันสมัย และ เป็นเครื่องมือช่วยแก้เหงาได้ดี ศุภณิช จันทร์สอง และย์ศิโรช แท่นรัตนกุล (2563) ได้ศึกษาเรื่อง นวัตกรรมการสื่อสารเพื่อ ขับเคลื่อนกระบวนการยุติธรรมสำหรับผู้สูงอายุในยุคดิจิทัล ผลการวิจัยพบว่า การเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานอย่างหนึ่งซึ่งถูกรับรองไว้ในปฏิญญาสากล ว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights) และกติการระหว่างประเทศว่า ด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil, and Political Rights) ซึ่งผู้สูงอายุในประเทศไทย ได้รับรองสิทธินี้ไว้อย่างชัดเจนใน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร ไทย พ.ศ. 2550 และพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 รวมถึง พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติพ.ศ. 2550 นอกจากนี้ยังมีสิทธิประโยชน์อื่นของผู้สูงอายุที่กำหนดไว้เพื่อให้ ครอบคลุมสิทธิขั้นพื้นฐาน ของผู้สูงอายุอย่างไรก็ตามจากสังเคราะห์องค์ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมที่ เหมาะสม สำหรับกลุ่มผู้สูงอายุในประเทศไทยสามารถแบ่งองค์ความรู้ที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุในปัจจุบัน 3 ระดับ ได้แก่ ระดับการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมขั้นพื้นฐาน ระดับเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม และ ระดับ สูงสุด (การรับโทษตามคำพิพากษา) จากข้อค้นพบพบว่าผู้สูงอายุยังมีองค์ความรู้อยู่ในระดับขั้นพื้นฐาน จึง พัฒนาสื่อและช่องทางการศึกษาออนไลน์ผ่านสื่อดิจิตอล (YouTube) เพื่อการจัดการ ความรู้เพื่อเข้าถึง กระบวนการยุติธรรมสำหรับกลุ่มผู้สูงอายุ 5 เรื่อง ดังนี้ 1) ประเด็นการละเมิดหรือ ถูกล่อลวงผ่านทางสื่อ สมัยใหม่ 2) ประเด็นการละเมิดโดยการทำร้ายด้านร่างกายต่อผู้สูงอายุ 3) ประเด็นละเมิดด้านอารมณ์และ จิตใจ 4) ประเด็นละเมิดทรัพย์สมบัติของผู้สูงอายุ 5) ประเด็นการถูกทอดทิ้ง เพื่อตอบสนองความต้องการขั้น พื้นฐานในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมของผู้สูงอายุ โดยการพัฒนาสื่อและการสื่อสารดังกล่าวจะแสดงถึง แหล่งข้อมูลในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมของ ผู้สูงอายุ และสามารถต่อสู้เพื่อเรียกร้องและคุ้มครองสิทธิ ของตนได้อย่างถูกต้อง
วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 49 รุจา รอดเข็ม และสุดารัตน์ ไชยประสิทธิ์ (2562) ได้ศึกษาเรื่อง สังคมสูงวัย: เทคโนโลยีกับ ผู้สูงอายุ ผลการศึกษาพบว่า ปัจจุบันประเทศไทยก้าวสู่สังคมสูงวัยที่มีสัดส่วนของผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ใน ขณะเดียวกันที่เทคโนโลยีมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วและเข้ามามีบทบาทในการดำเนินในชีวิตประจำวันที่ ไม่สามารถแยกออกจากความต้องการจำเป็นได้ในปัจจุบันเทคโนโลยีมีความสำคัญต่อการสร้างเสริมคุณภาพ ชีวิตของผู้สูงอายุ ที่ทำให้ผู้สูงอายุสามารถใช้ชีวิตที่ลดภาวการณ์พึ่งพิงผู้อื่น มีศักยภาพในการดำเนินชีวิต โดยมี ผู้สูงอายุสามารถเข้าถึงและใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมต่าง ๆ ทั้งด้านการสร้างเสริมสุขภาพ การ ช่วยเหลือในการปฎิบัติกิจวัตรประจำวัน การติดต่อสื่อสาร ความบันเทิง การทำธุรกรรมทางการเงิน การทำ ธุรกรรมออนไลน์ และการเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ผู้สูงอายุต้องมีทัศนคติเชิงบวกและตระหนักถึง ความสำคัญของเทคโนโลยี เป็นผู้สูงอายุในยุค Digital ได้อย่างกลมกลืนร่วมกับคนวัยอื่น ๆ ( Digital Ageing ) เป็นผู้สูงอายุยุคใหม่ที่สามารถพึ่งพาตนเอง ดนัย พาณิชยานุเคราะห์, ศิริวรรณ อนันต์โท และสันทัด ทองรินทร์ (2560) ได้ศึกษาเรื่อง กระบวนการยอมรับอินเตอร์เน็ตเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ ผู้สูงอายุมีการยอมรับอินเตอร์เน็ตที่แตกต่างกัน ได้แก่ ปัจจัยสถานการณ์ทำงานและรายได้ ปัจจัยการเข้าถึง อุปกรณ์ถือเป็น ปัจจัยเพิ่มเติมเข้ามามีความสัมพันธ์กับทัศนคติที่มีต่อการใช้งานอินเตอร์เน็ตและการยอมรับ อินเตอร์เน็ตของผู้สูงอายุมีความสัมพันธ์ต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านกายภาพ และจิตใจ ด้านความสัมพันธ์ทางสังคม และด้านการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร 2.5.5 ปัจจัยด้านระบบสนับสนุนทางเทคนิค (Technical Support) ที่มีผลความต้องการการจัด สวัสดิการสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุ งานวิจัยนี้ได้กำหนดความหมายของคำว่า ‘ระบบสนับสนุนทางเทคนิคตาม ชัยวู ลี และ โจเซฟ คอฟลิน (Chaiwoo and Coughlin, 2015) ที่ว่า ระบบสนับสนุนทางเทคนิค (Technical Support) หมายถึง ผู้สูงอายุได้รับความช่วยเหลือทางเทคนิคหรือด้านดิจิทัลที่เพียงพอและมีคุณภาพ ตลอดระยะเวลา การครองครองเทคโนโลยีและนวัตกรรม จากการทบทวนวรรณกรรมจะพบว่า การได้รับการสนับสนุน ช่วยเหลือทางเทคนิคหรือการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการใช้และการดูแลอุปกรณ์จากผู้เชี่ยวชาญจะช่วย ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุปรับเปลี่ยนทัศนคติ สามารถเรียนรู้และหันมาใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมได้มากขึ้นได้ ตัวอย่างเช่น กานต์ชนิต สุตาคํา และพจนา พิชิตปัจจา (2565) ได้ศึกษาเรื่อง การพัฒนาตัวแบบระบบนิเวศ การเรียนรู้ของผู้สูงอายุกรณีศึกษา หมู่ที่ 11 บ้านทุ่งป่าคาเหนือ องค์การบริหารส่วนตําบลทุ่งปี๊อําเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ ผลการศึกษาพบว่า ระบบนิเวศการเรียนรู้ของผู้สูงอายุหมู่ที่ 11ตําบลทุ่งปี๊สามารถแบ่งได้เป็น 3 ส่วนหลัก ๆ คือ ส่วนที่ 1 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้และบรรยากาศสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ส่วนที่ 2 เงื่อนไข ของนิเวศการเรียนรู้ส่วนที่ 3 กิจกรรมเพื่อสร้างการเรียนรู้ของผู้สูงอายุ ซึ่งสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้และ บรรยากาศสภาพแวดล้อมการเรียนรู้เหล่านี้จะมีกลไกการผลิตร่วมในรูปแบบต่าง ๆ ทําให้เกิดกิจกรรมที่สร้าง การเรียนรู้ของผู้สูงอายุในหมู่ที่ 11 ตําบลทุ่งปี๊ทั้งหมด 12 กิจกรรม ภายใต้เงื่อนไข 3 ประการ คือ 1) การ เรียนรู้ที่เกื้อกูลซึ่งกันและกัน 2) สภาพแวดล้อมที่สร้างวิธีการเรียนรู้ที่หลากหลายให้กับผู้สูงอายุ และ 3) การ
วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 50 ขับเคลื่อนการเรียนรู้ผ่านพันธกิจและเป้าหมายขององค์กร โดยในแต่ละกิจกรรมนั้นนําไปสู่มิติของการเรียนรู้ทั้ง ในมิติสุขภาพ มิติเศรษฐกิจ มิติสังคม และมิติสภาวะ และนําไปสู่เป้าหมายของการเรียนรู้ตลอดชีวิต 4 ประการ คือ เรียนเพื่อรู้เรียนเพื่อปฏิบัติ เรียนเพื่อที่จะเป็น เรียนเพื่อที่จะอยู่ร่วมกัน Jinpon, P., Jueboon, M., Limsuwanmanee, J., & Wichianchuea, J. (2021) ได้ศึกษา เรื่อง การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการดูแลผู้สูงอายุด้านโภชนาการ เพื่อสนับสนุนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีพื้นที่ เทศบาลตําบลชะมาย จังหวัดนครศรีธรรมราช ผลการวิจัยพบว่า ระบบสารสนเทศ สามารถจัดเก็บและ นําเสนอข้อมูลภาวะโภชนาการของผู้สูงอายุได้ในรูปแบบที่เข้าใจง่ายทั้งในรูปแบบเชิงสถิติและเชิงพื้นที่ สามารถสรุปและวิเคราะห์ผลความต้องการใช้งานระบบสารสนเทศเพื่อการดูแลผู้สูงอายุด้านโภชนาการ ซึ่ง เป็นระบบสนับสนุนการตัดสินใจเพื่อการดูแลผู้สูงอายุด้านโภชนาการในพื้นที่เทศบาลตําบลชะมาย สอดคล้อง กับแนวคิดของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Panichkul, & Pongsakoolchai, 2009; Ralph, & George, 2014) โดยระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจควรมีรายงานเพื่อช่วยในการตัดสินใจเพื่อการวางแผน ทํากิจกรรมต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์นอกจากนี้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องยังต้องการให้มีการกําหนดสิทธิ์เข้า ใช้งานที่แตกต่างกันตามความรับผิดชอบเผยแพร่การใช้งานระบบสารสนเทศที่พัฒนาขึ้นผ่านเวทีการประชุม เอกสารและสื่อสังคมออนไลน์ได้แก่ เฟซบุ๊ก (Facebook) และอินสตาแกรม (Instagram) ระบบสารสนเทศ ถูกนําไปใช้เพื่อเป็นเครื่องมือในการดูแลผู้สูงอายุด้านโภชนาการของเทศบาลตําบลชะมาย และผู้สูงอายุในเขต เทศบาลตําบลชะมาย และยังเป็นประโยชน์สําหรับบุคคลทั่วไปที่มีความสนใจ ทําให้สะดวกต่อผู้ใช้งานซึ่ง ปัจจุบันนิยมใช้สมาร์ตโฟนในการอ่านข้อมูลข่าวสารและการใช้งานในกิจวัตรประจําวัน ยอดเพชร ทองขาว (2563) ได้ศึกษาเรื่อง การพัฒนาสื่อความเป็นจริงเสริมเชิงความหมายบน อุปกรณ์เคลื่อนที่เพื่อการดูแลโรคเรื้อรังของผู้สูงอายุ อําเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก ผลการศึกษาพบว่า ฐานความรู้ออนโทโลยีแบ่งออกเป็น 3 ระดับชั้น เชื่อมต่อกับสื่อความเป็นจริงเสริมเพื่อแนะนําการสังเกตอาการ ผิดปกติทางร่างกาย โรคที่เกี่ยวข้อง และโภชนาการ ผู้ใช้พึงพอใจต่อระบบในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดย การบูรณาการฐานความรู้เชิงความหมายกับเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม จะช่วยนำเสนอองค์ความรู้ที่มีความ ซับซ้อน ให้มนุษย์สามารถรับรู้และเข้าใจในเนื้อหาและองค์ความรู้ที่บุคคล หรือองค์กรต้องการสื่อสารและ ประชาสัมพันธ์มากยิ่งขึ้น และทำให้ผู้ใช้รู้สึกเสมือนว่าเรื่องราวต่าง ๆ จับต้องได้อีกทั้งเป็นการพัฒนานวัตกรรม สำหรับผู้สูงอายุให้สามารถดูแลสุขภาพด้วยตนเองในยุค 4.0 การนำแนวคิดออนโทโลยีมาใช้พัฒนาฐานความรู้ เชิงความหมาย จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ในการสืบค้นข้อมูล ช่วยขยายคำค้นให้เข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว และได้ผลลัพธ์ตรงตามที่ผู้ใช้ต้องการมากที่สุด ธิดารัตน์ กุลณัฐรวงศ์และ มหาชาติ อินทโชติ(2564) ได้ศึกษาเรื่อง การพัฒนาระบบ ฝึกอบรมแบบปรับเหมาะบนเว็บเพื่อเสริมสร้างศักยภาพทางเทคโนโลยีของผู้สูงอายุ ผลการวิจัยพบว่า 1) ระบบฝึกอบรมแบบปรับเหมาะบนเว็บเพื่อเสริมสร้างศักยภาพทางเทคโนโลยีของผู้สูงอายุที่พัฒนาขึ้น มี ประสิทธิภาพของบทเรียน (E1/E2) เท่ากับ 82.78/84.47 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์80/80 ที่ตั้งสมมติฐานไว้ ผลการประเมินคุณภาพด้านเนื้อหา มีคุณภาพโดยรวมอยู่ในระดับมาก (X̅= 4.16, S.D. = 0.46) และผลการ ประเมินคุณภาพด้านเทคนิคในการพัฒนาระบบมีคุณภาพโดยรวมอยู่ในระดับมาก (X̅= 4.36, S.D. = 0.58)
วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 51 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการอบรมของผู้เข้าอบรมหลังอบรมสูงกว่าก่อนอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 3) ความพึงพอใจของผู้เข้าอบรมที่มีต่อระบบฝึกอบรมแบบปรับเหมาะบนเว็บเพื่อเสริมสร้างศักยภาพทาง เทคโนโลยีของผู้สูงอายุ โดยรวมอยู่ในระดับมาก (X̅= 4.21, S.D. = 0.67) พิมพ์ใจ ทายะติ, ชไมพร ดิสถาพร และฤทธิชัย อ่อนมิ่ง (2560) ได้ศึกษาเรื่อง รูปแบบการ จัดการเรียนรู้สำหรับผู้สูงอายุประเทศไทยเพื่อการรู้เท่าทันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ผลการวิจัย พบว่า ผู้สูงอายุมีขีดความสามารถในการรู้เท่าทันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเฉลี่ยในระดับปานกลาง โดยมีขีดความสามารถระดับ ปานกลางในองค์ประกอบของเรื่อง การเข้าถึง การประเมิน การรวบรวม การ จัดการ และระดับต่ำใน องค์ประกอบของเรื่องและการสร้างเรื่อง ส่วนการเรียนรู้สำหรับผู้สูงอายุประเทศไทย เพื่อการรู้เท่าทันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและ การ สื่อสารต่างๆ ผ่านทางโซเชียล ได้แก่ การสืบค้น การสานต่อ การสมัคร การสะสม การสอน และการ สร้าง สัมพันธ์ นอกจากนี้ผู้สูงอายุยังมีพฤติกรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารผ่าน หลัก 5ส ซึ่ง ได้แก่ สมจริง สร้างประโยชน์ สำคัญ สร้างสรรค์ และสุขภาพเหมาะสม ในการประเมินข้อมูลเพื่อการรู้เท่าทัน เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร อารีย์ มยังพงษ์ (2554) ได้ศึกษาเรื่อง สภาพและความต้องการฝึกอบรมด้าน ICT ของ ผู้สูงอายุ ในเขตกรุงเทพมหานคร ผลการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีความต้องการฝึกอบรมด้าน ICT (59.4 %) เพื่ออ่านข้อมูล/ข่าวสารและติดต่อสื่อสารทางอินเตอร์เน็ต โดยผู้สูงอายุมีความต้องการต่อประเด็น เหล่านี้ในระดับมาก ได้แก่ การได้รับบริการฝึกอบรมโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย การฝึกอบรมหลักสูตรการใช้ คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตเบื้องต้น การสืบค้นข้อมูลบนอินเตอร์เน็ต สถานที่ฝึกอบรมที่สะดวกในการ เดินทาง และวิทยากรผู้สอนที่เข้าใจข้อจำกัดของผู้สูงอายุ เมื่อเปรียบเทียบความต้องการฝึกอบรมด้าน ICT ของผู้สูงอายุ พบว่า ผู้สูงอายุกลุ่มที่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,000 บาทขึ้นไป จะให้ความสำคัญและสนใจใน ด้านสถานที่และเวลาที่ใช้ในการฝึกอบรม วิทยากร หลักสูตร และการให้บริการในการฝึกอบรม มากกว่ากลุ่มที่ มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่า ผู้สูงอายุที่มีประสบการณ์ในการฝึกอบรมจะมีความต้องการฝึกอบรมด้าน ICT มากกว่าผู้สูงอายุที่ไม่เคยฝึกอบรมมาก่อน และข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ได้แก่ ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ต้องการให้ ภาครัฐจัดหาคอมพิวเตอร์สาธารณะไว้บริการให้แก่ผู้สูงอายุในชุมชน ให้บริการเครือข่ายทางอินเตอร์เน็ตฟรี จัดหาคอมพิวเตอร์หรือแท็บเล็ตในราคาประหยัด และการสนับสนุนงบประมาณเพื่อจัดฝึกอบรมด้าน ICT สำหรับผู้สูงอายุในชุมชน 2.5.6 ปัจจัยด้านระบบสนับสนุนทางสังคม (Social Support) ที่มีผลความต้องการการจัด สวัสดิการสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุ งานวิจัยนี้ได้กำหนดความหมายของคำว่า ‘ระบบสนับสนุนทางสังคม’ ตาม ชัยวู ลี และ โจเซฟ คอฟลิน (Chaiwoo and Coughlin, 2015) ที่ว่า ระบบสนับสนุนทางสังคม (Social Support) หมายถึง ผู้สูงอายุได้รับความช่วยเหลือจากคนในครอบครัว เพื่อน และชุมชน ตลอดระยะเวลาการครองครอง เทคโนโลยีและนวัตกรรม จากการทบทวนวรรณกรรมจะพบว่า การได้รับการสนับสนุนช่วยเหลือจากคน
วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 52 รอบข้าง ทั้งคนครอบครัว เพื่อนฝูง คนในชุมชนหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ จะช่วยส่งเสริมให้ผู้สูงอายุปรับเปลี่ยน ทัศนคติ สามารถเรียนรู้และหันมาใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมได้มากขึ้นได้ ตัวอย่างเช่น จิรานันท์ วงศ์สุวรรณ, ศิวพร อึ้งวัฒนา และสุกฤตา สวนแก้ว (2563) ได้ศึกษาเรื่อง การสนับสนุนทางสังคมและพฤติกรรมสุขภาพของ ผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุอําเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ ผลการวิจัยพบว่า ผู้สูงอายุได้รับการสนับสนุนทางสังคมทั้ง จากครอบครัวในการเข้าร่วมชมรมผู้สูงอายุ ได้รับการสนับสนุนจากภาคีสุขภาพ กศน. พม. อปท. และปราชญ์ ชาวบ้านในการให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น กิจกรรมการส่งเสริมอาชีพ ได้รับ ความรู้จากบุคลากรทางสาธารณสุขเกี่ยวกับการดูแลตนเองให้เป็นบุคคลสุขภาวะ ได้รับแรงสนับสนุนในการ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพภายในกลุ่มเครือข่ายในชมรม ส่งผลให้ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมสุขภาพเป็นไปใน แนวทางที่ดีขึ้น โดยมีเป้าหมายเพื่อที่จะทําาได้ทําาสิ่งดี ๆ ให้กับชุมชนสังคมไปนาน ๆ โดยการได้รับการ สนับสนุนทางสังคมโดยรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมสุขภาพโดยรวมผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ คือ r = .847, p value < .05 ผลการศึกษาในครั้งนี้สามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐาน เพื่อเป็นแนวทางในการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุให้ได้รับการสนับสนุนทางสังคมที่เหมาะสม พรทิพย์ มาลาธรรม และคณะ (2554) ความสัมพันธ์ระหว่างแรงสนับสนุนจากครอบครัวและ แรงสนับสนุนจากเพื่อนกับความพึงพอใจในชีวิตของผู้สูงอายุในชนบท ผลการศึกษาพบว่า การให้แรงสนับสนุน แก่ผู้สูงอายุของครอบครัว และการรับรู้แรงสนับสนุนจากครอบครัวของผู้สูงอายุอยู่ในระดับสูง ส่วนการรับรู้ แรงสนับสนุนจากเพื่อนของผู้สูงอายุและความพึงพอใจในชีวิตของผู้สูงอายุอยู่ในระดับปานกลาง นอกจากนี้ พบว่าการรับรู้แรงสนับสนุนจากครอบครัวและการรับรู้แรงสนับสนุนจากเพื่อนของผู้สูงอายุมีความสัมพันธ์ ทางบวกกับความพึงพอใจในชีวิตของผู้สูงอายุอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ อย่างไรก็ตาม คะแนนการให้ แรงสนับสนุนแก่ผู้สูงอายุตามการรับรู้ของครอบครัว ไม่มีความสัมพันธ์กับแรงสนับสนุนจากครอบครัวตามการ รับรู้ของผู้สูงอายุ หรือกับความพึงพอใจในชีวิตของผู้สูงอายุอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ผลการศึกษาในครั้งนี้ ชี้ให้เห็นความสําคัญของแรงสนับสนุนจากครอบครัวและเพื่อนในการส่งเสริมความพึงพอใจในชีวิตของผู้สูงอายุ และการให้ความช่วยเหลือผู้สูงอายุนั้น หากผู้สูงอายุไม่รับรู้ อาจไม่ช่วยส่งเสริมความพึงพอใจในชีวิตของ ผู้สูงอายุ ดังนั้น บุคลากรทางสุขภาพจึงควรหาแนวทางให้ผู้สูงอายุได้รับการตอบสนองความต้องการด้านแรง สนับสนุนจากครอบครัว เพื่อน และเครือข่ายทางสังคมอย่างเหมาะสม เพื่อความพึงพอใจในชีวิตที่มากขึ้น ศศิพัฒน์ ยอดเพชร และคณะ (2552 : 16) ได้นําเสนอตัวแบบการดูแลผู้สูงอายุที่ดีของ ครอบครัวและชุมชนในชนบทไทย ซึ่งเป็นการถอดตัวแบบพฤติกรรมของผู้ดูแลที่มีต่อผู้สูงอายุ โดยมุ่งหวังให้ เกิดผลทางจิตวิทยามากกว่าการลอกเลียนซึ่งพบว่า ตัวแบบการดูแลที่ดีของครอบครัวประกอบด้วย ตัวชี้วัด หลัก 9 ประการ ได้แก่การดูแลสุขภาพวิทยาส่วนบุคคล การจัดการเรื่องยา การช่วยเหลือในการเคลื่อนไหว การดูแลแผลกดทับ การจัดอาหารที่เหมาะสม การป้อนอาหาร การดูแลด้านการขัวถ่าย การสร้างความมั่นคง ทางด้านอารมณ์ และการดูแลด้านอารมณ์จิตใจและจิตวิญญาณ โดยผู้ดูแลในครอบครัวเป็นองค์ประกอบแรกที่ มีผลต่อการดูแลผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพามากที่สุด ซึ่งสอดคล้องกับผลการวิจัยของสุพัตรา ศรีวณิชชากร และคณะ (2556 : 119-128, 144-145) ที่ได้อธิบายว่า ครอบครัวและคนในชุมชนเป็นกลุ่มที่มีความใกล้ชิด และสนิทสนมกับผู้สูงอายุมากที่สุดมีศักยภาพในการดูแลผู้สูงอายุในชุมชน คือ ค่านิยมความกตัญญูกตเวที ดูแล
วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 53 เอาใจใส่บุพการีหรือผู้สูงอายุด้วยความเคารพรัก เยี่ยมเยียน พูดคุย และให้กําลังใจ ซึ่งทําให้ผู้สูงอายุคลายเหงา และมีความสุขได้ระดับหนึ่ง ดังนั้น ครอบครัวจึงเป็นกลุ่มที่ให้การดูแลผู้สูงอายุครอบคลุม 5 มิติ ประกอบด้วย 1. บทบาทในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ โดยเน้นการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุทั่วไป และ กลุ่มผู้สูงอายุติดบ้าน/ติดเตียง ซึ่งจะต้องให้ความช่วยเหลือและดูแลเรื่องการทํากิจวัตรประจําวันครอบคลุม ทุกอย่าง ตั้งแต่เรื่องอาหารการกิน แต่งตัว ทําความสะอาดร่างกาย การใช้ห้องน้ำห้องส้วม เคลื่อนที่ภายในบ้าน และออกไปทํากิจกรรมนอกบ้าน ซึ่งจะต้องสลับเวลาในการร่วมกันดูแล เนื่องจากมีภาระต้องทํามาหากิน หรือ มีธุระต้องทํา รวมไปถึงการนอนเฝ้าเวลากลางคืน 2. บทบาทในการให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการดําเ นิน ชีวิตประจําวันสําหรับผู้สูงอายุอาทิ ให้เงินใช้ รับผิดชอบดูแลค่าใช้จ่ายในบ้าน เช่น ค่ากับข้าว ค่าน้ำค่าไฟ ค่ารักษาพยาบาล หรือจัดหาวัสดุอุปกรณ์ที่จําเป็นต่างๆ สําหรับการดูแลกลุ่มผู้สูงอายุติดเตียง เช่น กระดาษ ชําระ ผ้าอ้อมสําเร็จรูป เป็นต้น 3. บทบาทในการดูแลอาหารและโภชนาการสําหรับผู้สูงอายุ คือ จัดเตรียมและ ทําอาหารให้ผู้สูงอายุทั่วไป และผู้สูงอายุที่มีโรคประจําตัว 4. บทบาทในการดูแลผู้สูงอายุตามบรรทัดฐานและค่านิยมที่ดีของวัฒนธรรมไทย คือ ปรนนิบัติ ดูแลเอาใจใส่ผู้สูงอายุทั้งยามปกติยามเจ็บป่วย รวมไปถึงเยี่ยมเยียน พูดคุย และให้กําลังใจ 5. บทบาทในการจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่เอื้อต่อการดําเนินชีวิตประจําวัน ของผู้สูงอายุ โดยการจัดบ้าน สภาพแวดล้อม บรรยากาศทั้งในบ้านและรอบๆ บ้าน จัดหาเครื่องมือและวัสดุ อุปกรณ์ต่างๆ ให้เอื้อต่อการดําเนินชีวิตประจําวันของผู้สูงอายุ แต่ก็พบว่าบางบ้านก็ยังมีการจัดบรรยากาศ สถานที่ และจัดหาเครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ไม่เอื้อต่อการดําเนินชีวิตประจําวันของผู้สูงอายุ อาทิ ความ สะอาด ฝุ่นละอองและแม้ว่สังคมไทยจะมีการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมที่มีผลต่อการดูแล ผู้สูงอายุ แต่ยังมีบางครอบครัวที่มีระบบการดูแลที่ดี โดยพบว่าปัจจัยสนับสนุนที่สําคัญ คือ การคัดเลือกผู้ดูแล หลักที่เหมาะสมการดูแลแบบองค์รวมบนพื้นฐานของความรักหรือความกตัญญู ความรู้สึกภาคภูมิใจใน ความสามารถของตนเองของผู้ดูแล และการจัดสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการดูแล (นารีรัตน์ จิตรมนตรี วิไลวรรณ ทองเจริญ และสาวิตรีทยานศิลป์, 2552) เชาวนี แก้วมโน (2565) ความต้องการและแนวทางในการเรียนรู้ของครูวัยก่อนเกษียณในเขต จังหวัดสงขลา ได้ศึกษาเรื่อง ความต้องการในการเรียนรู้โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ซึ่งมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 3.76 เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ทุกด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก โดยด้านสุขภาพอนามัยมีค่าเฉลี่ย มากที่สุดเท่ากับ 3.97 และด้านอาชีพมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดเท่ากับ 3.55 และสำหรับแนวทางในการจัดการเรียนรู้ ควรมีหน่วยงานที่รับผิดชอบอย่างเป็นรูปธรรมชัดเจน มีจัดกิจกรรมให้ผู้สูงอายุมีส่วนร่วมอย่างทั่วถึง การดูแล ใน เรื่องสุขภาพอนามัย ท ากิจกรรมทางสังคม มีความรู้ในการใช้อินเตอร์เน็ต ติดต่อสื่อสารกับเพื่อนใน วัยเดียวกันได้การฝึกอาชีพ ควรมีตลาดรองรับ มีแหล่งทุนในการประกอบอาชีพ และองค์กรที่เกี่ยวข้องควรให้ การสนับสนุน
วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 54 2.5.7 ปัจจัยด้านความชอบส่วนบุคคล (Emotion) ที่มีผลความต้องการการจัดสวัสดิการสังคม ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุ งานวิจัยนี้ได้กำหนดความหมายของคำว่า ‘ความชอบส่วนบุคคล’ ตาม ชัยวู ลี และโจเซฟ คอฟลิน (Chaiwoo and Coughlin, 2015) ที่ว่า ความชอบส่วนบุคคล (Emotion) หมายถึง ผู้สูงอายุรู้สึก หลงใหล ชื่นชอบ และมีความเชื่อส่วนตัวว่าเทคโนโลยีและนวัตกรรมเป็นสิ่งที่ดีสำหรับผู้สูงอายุจากการ ทบทวนวรรณกรรมจะพบว่า หากผู้สูงอายุมีรสนิยม ทัศนคติหรือความชอบส่วนตัวในเทคโนโลยีและนวัตกรรม จะช่วยกระตุ้นให้ให้ผู้สูงอายุอยาก เรียนรู้และหันมาใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมได้ง่ายมากขึ้น ตัวอย่างเช่น เพ็ญพรรณ วันเพ็ญ (2561) ได้ศึกษาเรื่อง การรับรู้และทัศนคติที่มีผลต่อความพร้อมรับมือในการเข้ามาแทนที่ ของปัญญาประดิษฐ์กลุ่มจักรกลอัตโนมัติของบริษัทเอกชนในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ผล การศึกษาพบว่า การรับรู้และทัศนคติที่มีต่อปัญญาประดิษฐ์กลุ่มเครื่องจักรกลอัตโนมัติประกอบด้วยความรู้สึก ที่มีต่อปัญญาประดิษฐ์ โดยที่ทัศนคติที่มีต่อปัญญาประดิษฐ์กลุ่มเครื่องจักรกลอัตโนมัติมาจากการที่พนักงาน บริษัทเอกชนรับรู้ถึงการทำงานของปัญญาประดิษฐ์และความรู้สึกที่มีต่อปัญญาประดิษฐ์นั้นมีในทิศทางที่ดี ทำ ให้สามารถปรับตัวทำงานร่วมกับปัญญาประดิษฐ์ได้ นอกจากนี้ ยังมีการศึกษาของ Alan Au & Peter Enderwick, 2000 เรื่อง A Cognitive Model on Attitude Towards Technology Adoption ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการด้านความรู้ ความ เข้าใจที่มีต่อการกำหนดทัศนคติในการยอมรับเทคโนโลยี ซึ่งได้อธิบายถึงกระบวนการทางความรู้และความ เข้าใจมีผลต่อการกำหนดทัศนคติในการยอมรับเทคโนโลยีอันเนื่องมาจากความเชื่อ ซึ่งได้กำหนดการศึกษา เกี่ยวกับความเชื่อไว้ทั้งหมด 6 ด้านด้วยกัน ได้แก่ 1) ความเชื่อที่ว่าสามารถทำงานร่วมกันหรือเข้ากันได้ 2) ความเชื่อในด้านที่จะทำให้มูลค่าเพิ่มขึ้น 3) ความเชื่อจากการับรู้ถึงผลประโยชน์ที่ได้ คือ เชื่อว่าเทคโนโลยี จะสามารถช่วยปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพให้กับองค์กร เช่น เพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพในการทำงาน ช่วยลดต้นทุนค่าใช้จ่าย และช่วยในการแข่งขันกับคู่แข่งได้ 4) ความเชื่อในด้านการปรับตัวตามประสบการณ์ ซึ่งก็คือการที่ผู้ใช้ยิ่งมีประสบการณ์การใช้เทคโนโลยี ยิ่งทำให้เกิดความเข้าใจต่อเทคโนโลยีและทำให้เกิดการ ยอมรับได้ง่าย 5) การรับรู้ต่อความยาก และ 6) ความเชื่อต่อผู้ให้บริการจากข้อตกลงที่มีร่วมกัน กล่าวคือ การ ที่ผู้ให้บริการให้การ สนับสนุนช่วยเหลือต่อผู้ใช้จะส่งผลให้เกิดผลบวกต่อความเชื่อในตัวให้บริการ จากความ เชื่อที่มีต่อ เทคโนโลยีในด้านดังกล่าวจึงมีผลต่อการเกิดทัศนคติต่อการใช้เทคโนโลยีและเกิดการยอมรับใน เทคโนโลยีนั้นเอง 2.5.8 ปัจจัยด้านความสามารถพึ่งตนเอง (Independence) ที่มีผลความต้องการการจัด สวัสดิการสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุ งานวิจัยนี้ได้กำหนดความหมายของคำว่า ‘ความสามารถพึ่งตนเอง’ ตาม ชัยวู ลี และโจเซฟ คอฟลิน (Chaiwoo and Coughlin, 2015) ที่ว่า ความสามารถพึ่งตนเอง (Independence) หมายถึง ผู้สูงอายุรับรู้ถึง(การถูกมองว่ามี)ความสามารถในการพึ่งตนเองหรือดูแลตนเองได้เมื่อใช้เทคโนโลยีและ นวัตกรรม จากการทบทวนวรรณกรรมจะพบว่า ผู้สูงอายุมีแนวโน้มที่จะเรียนรู้และหันมาใช้เทคโนโลยีและ
วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 55 นวัตกรรมก็ต่อเมื่อผู้สูงอายุสามารถใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมนั้นด้วยตนเองได้หรือเทคโนโลยีและนวัตกรรม นั้นสามารถช่วยทำให้ผู้สูงอายุพึ่งตนเองได้มากขึ้น ตัวอย่างเช่น มนชาย ภูวรกิจ, ธนัญชัย เฉลิมสุข และปรีชา ทับสมบัติ(2565) ได้ศึกษาเรื่อง รูปแบบการออกกําลังกายผ่านสื่อสังคมออนไลน์และความสามารถในการออก กําลังกายด้วยตนเองของผู้สูงอายุ ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีอายุ 60-64 ปีมีพฤติกรรมการใช้สื่อ ออนไลน์ในการสร้างเสริมสุขภาพอยู่ระดับมาก แอปพลิเคชันที่ใช้มากที่สุดคือไลน์ ในภาพรวมรูปแบบการ ออกกําลังกายผ่านสื่อสังคมออนไลน์ที่ผู้สูงอายุนิยมเลือกใช้มากที่สุดคือการออกกําลังกายเพื่อเพิ่ม ความสามารถในการทรงตัว รองลงมาคือการออกกําลังกายเพิ่มความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ การออกกําลังกาย เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อลดการสูญเสียมวลกระดูก และการออกกําลังกายเพื่อเพิ่มความทนทานของ ระบบหัวใจและหลอดเลือด ตามลําดับ เมื่อพิจารณาในกรณีที่ผู้สูงอายุไม่มีโรคประจําตัว จะเลือกการออกกําลัง กายเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อลดการสูญเสียมวลกระดูกมากที่สุด ในขณะที่ผู้สูงอายุมีโรคประจําตัวจะ เลือกการออกกําลังกายเพื่อเพิ่มความสามารถในการทรงตัว นอกจากนี้ยังพบว่า รูปแบบการออกกําลังกายผ่าน สื่อออนไลน์มีความสัมพันธ์ในทิศทางบวกต่อความสามารถในการออกกําลังกายด้วยตนเองของผู้สูงอายุ อย่างมี นัยสําคัญที่ระดับ 0.05 ภาณุวัฒน์ ด่านกลาง (2558) ได้ศึกษาเรื่อง การพัฒนาเทคโนโลยีและระบบสารสนเทศเพื่อ ส่งเสริมการพึ่งพาตนเองและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชุมชนชายทะเลต้นแบบ ผลการวิจัยพบว่า 1. พฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของผู้สูงอายุในเขตชายฝั่งทะเล ตำบลแสนสุข อำเภอเมือง จังหวัด ชลบุรี ของกลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุจำนวน 300 คน พบว่า ผู้สูงอายุติดตามข้อมูลข่าวสารจากสื่อประเภทโทรทัศน์ ทุกวัน รองลงมาคือ วิทยุ สำหรับอินเทอร์เน็ตเป็นสื่อที่กลุ่มตัวอย่างไม่สนใจ เมื่อศึกษาความคิดเห็นต่อการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศของกลุ่มผู้สูงอายุในพื้นที่เทศบาลเมืองแสนสุข พบว่า ไม่เคยได้รับความรู้เกี่ยวกับการใช้ อินเทอร์เน็ต และมีระยะเวลาเฉลี่ยในการใช้งานน้อยกว่า 30 นาที ทั้งนี้ผู้สูงอายุเห็นว่าการใช้เทคโนโลยี สารสนเทศมีประโยชน์ในการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่น โดยเพื่อนหรือสมาชิกในครอบครัวมีผลต่อการใช้เทคโนโลยี สารสนเทศ ซึ่งการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นประจำจะช่วยให้ท่านทราบถึงประโยชน์ของการใช้งาน แต่ต้อง ใช้ระยะเวลาในการเรียนรู้ จากการศึกษาความต้องการข้อมูลด้านต่าง ๆ พบว่า มีความต้องการสื่อสารกับเพื่อน หรือญาติ และข้อมูลด้านการดูแลสุขภาพเกี่ยวกับการติดต่อขอความช่วยเหลือยามฉุกเฉินมากที่สุด 2. การปรับ พฤติกรรมด้านการยอมรับเทคโนโลยีเพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถพึ่งพาตนเองได้ ได้จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฎิบัติการ เรื่อง “วัยเก๋าเข้าใจไอที” ให้แก่ผู้สูงอายุที่สมัครใจเข้าร่วมอบรม จำนวน 60 คน เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีและ Social Media เช่น Line Facebook Youtube เป็นต้น อีกทั้งเป็นการเตรียม ความพร้อมในการรับเทคโนโลยีใหม่ ๆ ในอนาคต ระยะเวลาที่ใช้ในการอบรมทั้งหมด 6 ชั่วโมง โดยมีวิทยากร และผู้ช่วยวิทยากรดูแลรวมถึงตอบข้อซักถาม พร้อมสังเกตุทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของผู้สูงอายุ ตลอดระยะเวลาการอบรม ผลการวัดทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของผู้สูงอายุ พบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนน ทักษะการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้สูงอายุก่อนเรียนแตกต่างจากคะแนนทักษะของผู้สูงอายุหลังเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และผู้สูงอายุความพึงพอใจต่อภาพรวมในการจัดโครงการอบรม อยู่ใน ระดับมาก และเห็นว่าโครงการอบรมฯ มีประโยชน์เป็นอย่างมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า มีความคิดเห็น
วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 56 อยู่ในระดับมากในทุกด้าน ซึ่งมีเรียงลำดับ ดังนี้ ด้านวิทยากรและการบรรยาย ด้านบริการและสถานที่ ด้าน เอกสารประกอบการอบรม และด้านกิจกรรมการอบรมตามลำดับ 3. ระบบแจ้งเตือนเพื่อขอความช่วยเหลือ กรณีฉุกเฉินสำหรับผู้สูงอายุผู้สูงอายุจะใส่สร้อยคอเป็นอุปกรณ์ขอความช่วยเหลือ ซึ่งมีหน้าที่ส่งข้อมูลการแจ้ง เตือนของผู้สวมใส่ส่งผ่าน Bluetooth ไปยัง Smartphone ซึ่งทำหน้าที่เป็นเกตเวย์( IoT gateway) เพื่อส่ง ข้อมูลที่ได้ไปยังระบบแจ้งเตือนเมื่อขอความช่วยเหลือกรณีฉุกเฉินสำหรับผู้สูงอายุซึ่งสามารถแสดงข้อมูลการ แจ้งเตือนต่าง ๆ ผ่าน Cloud Service ที่มีผู้ดูแลรับผิดชอบอยู่ ผลการทดสอบการทดลองใช้ระบบฯ พบว่า ผู้สูงอายุเห็นว่าระบบฯ มีประโยชน์เหมาะสม ด้านเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบ พบว่า ระบบฯ มีประโยชน์ เหมาะสม ครอบคลุมความต้องการ และทำให้สามารถเข้าถึงผู้สูงอายุที่ต้องการความช่วยเหลือได้ง่ายและรวดเร็ว จาก ผลการวิจัยเสนอแนะว่า การจัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับผู้สูงอายุ ระยะเวลาที่เหมาะสมต่อวันคือประมาณ 3 ชั่วโมง และควรจัดมีการให้ความรู้ซ้ำ ๆ และต่อเนื่อง เนื่องจาก สภาพความพร้อมของร่างกายและความเหนื่อยล้า ฐิตินันท์ นาคผู้(2558) ได้ศึกษาเรื่อง การพึ่งพาตนเอง การเสริมสร้างพลังทางสุขภาพ ความ รอบรู้ทางสุขภาพ และความสุขของผู้สูงอายุ ตําบลทับยายเชียง อําเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้สูงอายุมีระดับการพึ่งพาตนเองโดยรวมได้มาก ผู้สูงอายุสามารถรับรู้และมองเห็น ศักยภาพในการดูแลตนเอง จึงสามารถปรับตัวใช้ชีวิตพึ่งพาตนเองได้อย่างเหมาะสมและไม่เป็นภาระแก่ผู้อื่น รวมทั้งการสนับสนุนทางสังคมที่ดีในรูปแบบต่าง ๆ ได้แก่ การจัดกิจกรรมของชมรมผู้สูงอายุ การจัดอบรม ความรู้ในการดูแลตนเอง ในขณะที่การเสริมสร้างพลังทางสุขภาพ ความรอบรู้ทางสุขภาพ และความสุขโดย รวมอยู่ในระดับปานกลาง 2) ผู้สูงอายุที่มีอายุสถานภาพสมรส อาชีพ รายได้ต่อเดือน และชนิดของโครงสร้าง ครอบครัวแตกต่างกัน มีความสุขแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) การพึ่งพาตนเอง การ เสริมสร้างพลังทางสุขภาพ และความรอบรู้ทางสุขภาพ ผู้สูงอายุมีความสามารถในการใช้ทักษะพื้นฐานเพื่อ ค้นหา ทําความเข้าใจ ประเมินข้อมูล และการตัดสินใจในการนําข้อมูลทางสุขภาพไปใช้ในการแลกเปลี่ยน เรียนรู้และสามารถวิเคราะห์วิจารณ์ข้อมูลทางสุขภาพ จนเกิดการปฏิบัติตนและประยุกต์ใช้ข้อมูลใน ชีวิตประจําวันได้ในระดับปานกลาง เกิดข้อจํากัดในกระบวนการเรียนรู้ของผู้สูงอายุ คืออยู่ในช่วงวัยที่มีอายุ มาก ยากต่อการเรียนรู้และเข้าใจในเรื่องต่าง ๆ มากกว่าในช่วงวัยอื่น ซึ่งมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความสุข ของผู้สูงอายุอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ต่อตระกูล ไชยอิน (2560) ได้ศึกษาเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างการพึ่งพาตนเองกับการ ยอมรับเทคโนโลยีของผู้สูงอายุในจังหวัดสงขลา ผลการศึกษาพบว่า 1) การพึ่งพาตนเองของผู้สูงอายุอยู่ใน ระดับมากได้แก่ 1. ด้านร่างกาย 2.ด้านสังคม 3.ด้านจิตใจ 4.ด้านการเงิน ตามลําดับ 2) การยอมรับเทคโนโลยี ของผู้สูงอายุอยู่ในระดับมากได้แก่ 1. ด้านการรับรู้ถึงประโยชน์ 2. ด้านพฤติกรรมการตั้งใจใช้งาน 3. ด้าน ทัศนคติที่มีต่อการใช้ 4. ด้านการรับรู้ความเพลิดเพลิน 5. ด้านอิทธิพลทางสังคม และ 6. ด้านการรับรู้ความ ง่ายในการใช้อยู่ในระดับปานกลาง ตามลําดับ 3) ผู้สูงอายุที่มีอายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ต่างกัน การ ยอมรับเทคโนโลยีแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ .05 4) การพึ่งพาตนเองของผู้สูงอายุมีความสัมพันธ์เชิงบวกใน ระดับปานกลาง กับการยอมรับเทคโนโลยีของผู้สูงอายุ จากผลการศึกษาผู้ดูแลผู้สูงอายุสามารถนําผล
วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 57 การศึกษาไปใช้ ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุสามารถดูแลตนเองได้ทางด้านร่างกายและสามารถส่งเสริมให้เกิดการใช้ เทคโนโลยีได้โดยการ สร้างการรับรู้ถึงประโยชน์เป็นอันดับแรก สุคี ศิริวงศ์ภากร (2556) ได้ศึกษาเรื่อง พฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารที่มีความสัมพันธ์กับ ความสามารถการพึ่งพาตนเองของผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร โดยทําการศึกษาจากรูปแบบของสื่อต่าง ๆ คือ สื่อวิทยุโทรทัศน์ สื่อวิทยุกระจายเสียง สื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออินเตอร์เน็ต สื่อกิจกรรม และสื่อบุคคล ในการหา ความสัมพันธ์ต่อความสามารถในการพึ่งพาตนเองของผู้สูงอายุ 4 ด้านด้วยกัน คือ ด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้าน สังคมและด้านการเงิน จากการศึกษาพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล การศึกษา รายได้ จํานวนสมาชิกในครอบครัวที่ แตกต่างกัน ความสามารถในการพึ่งพาตนเองต่างกันอย่างมีนัยสําคัญที่ระดับ .05 ส่วนสถานะพักอาศัย และ เพศที่ต่างกัน ความสามารถในการพึ่งพาตนเองไม่แตกต่างกัน และยังพบอีกว่า พฤติกรรมในการเปิดรับข่าวสาร ในทุกสื่อที่ทําการศึกษามีความสัมพันธ์กับความสามารถการพึ่งพาตนเองของผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานครอย่าง มีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เอกพบ เอสมทราเมฐ์ (2559) ได้ศึกษาเรื่อง การพึ่งพาตนเองของผู้สูงอายุในชุมชน อําเภอ เมือง จังหวัดนครปฐม โดยการศึกษาจากการพึ่งพาต้นเองของผู้สูงอายุที่ถูกแบ่งออกเป็นการรับรู้ถึงประโยชน์ (Perceived Usefulness) การรับรู้ความง่ายในการใช้(Perceived Ease of use) ปัจจัยภายนอก (External variables) ทัศนคติที่มีต่อการใช้(Attitude toward Using) เจตนาเชิงพฤติกรรม (Behavioral intention) การใช้งานจริง (Actual Use) 14 J ด้าน คือ ด้านเทคโนโลยี ด้านเศรษฐกิจ ด้านทรัพยากรธรรมชาติ ด้านจิตใจ และด้านสังคม จากการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่สามารถพึ่งพาตนเองได้ ในด้านภูมิปัญญาและเทคโนโลยี สาระสนเทศเบื้องต้นซึ่งเป็นหน่วยย่อยของด้านเทคโนโลยี เช่น โทรศัพท์ โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ เพื่อช่วยให้ สามารถติดต่อกนภายในครอบครัวและการพึ่งภาตนเองได้ทางด้านเศรษฐกิจ โดยอาศัยรายได้จากเบี้ยยังชีพ เงินบํานาญและประกอบอาชีพเสริมในการเพิ่มรายได้ให้แก่ตนเอง ในด้านทรัพยากรธรรมชาติ มีการปลูกผัก และพืชสมุนไพรเพื่อบริโภคเองและส่วนหนึ่งสร้างรายได้อีกทางหนึ่ง ความสามารถในการพึ่งพาตนเองได้ ทางด้านจิตใจ จะเป็นการเข้าวัด ทําบุญ ฟังธรรม รักษาศีล และเจริญภาวนาตามสมควรและการพึ่งตนเองด้าน สังคมผู้สูงอายุจะให้ความสําคัญกับส่วนรวม คือ การพึ่งพาอาศัยช่วยเหลือเกื้อกูลและการแบ่งบันกันในสังคม ของผู้สูงอายุในชุมชน 2.5.9 ปัจจัยด้านทักษะและประสบการณ์ในอดีต (Experiences) ที่มีผลความต้องการการจัด สวัสดิการสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุ งานวิจัยนี้ได้กำหนดความหมายของคำว่า ‘ทักษะและความประสบการณ์ในอดีต’ตาม ชัยวู ลี และโจเซฟ คอฟลิน (Chaiwoo and Coughlin, 2015) ที่ว่า ทักษะและความประสบการณ์ในอดีต (Experiences) หมายถึง ผู้สูงอายุมีประสบการณ์ทักษะพื้นฐาน หรือคุ้นเคยกับการใช้เทคโนโลยีและ นวัตกรรม จากการทบทวนวรรณกรรมจะพบว่า หากผู้สูงอายุขาดประสบการณ์ ทักษะและใช้เวลาอย่าง เพียงพอเพื่อสร้างความคุ้นเคยกับเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาก่อน การยอมรับและเปลี่ยนพฤติกรรมไปใช้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ก็จะยากลำบากมากขึ้น ตัวอย่างเช่น การศึกษาของ Adamide, et al. (2013)
วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 58 พบว่า อายุ ระดับการศึกษา รายได้ ประเภทกิจกรรมการเกษตร พื้นที่ทำการเกษตร จังหวัด มีผลต่อการใช้ อินเตอร์เน็ตและคอมพิวเตอร์ โดยคนที่ระดับการศึกษาสูงจะมีโอกาสในการใช้อินเตอร์เน็ตที่สูง เพราะมี ความสามารถในการนำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่มาทำการปรับใช้กับการทำการเกษตร การใช้อินเตอร์เน็ตมี ความสัมพันธ์ผกผันกับระดับอายุ โดยเกษตรกรรุ่นใหม่จะมีแนวโน้มในการนำเอาเทคโนโลยีใหม่มาปรับใช้ และ เกษตรกรที่เป็นผู้สูงอายุโดยส่วนโดยบอกเหตุผลที่ไม่ใช้อินเตอร์เน็ตคือ ไม่มีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์ หรือ สมาร์ทโฟน รวมทั้งการใช้อินเตอร์เน็ตนั้นไม่ได้ช่วยให้มีรายได้เพิ่มมากขึ้น เกษตรกรที่ไม่ได้ทำเกษตรกรรมเต็ม เวลาจะมีแนวโน้มที่จะใช้อินเตอร์เน็ตและคอมพิวเตอร์มากกว่าเกษตรกรที่ทำเกษตรกรรมแบบเต็มเวลา ปิยดา ราชพิบูลย์, ศุมรรษตรา แสนวา และจุฑารัตน์ นกแก้ว (2565) ได้ศึกษาเรื่อง พฤติกรรมการใช้เเละทักษะการประเมินสารสนเทศจากสื่อสังคมออนไลน์ของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์อยู่ในระดับมาก เมื่อจำแนกเป็น รายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ วัตถุประสงค์ ในการใช้สื่อสังคมออนไลน์ รองลงมา ได้แก่ กิจกรรมที่ปฏิบัติในการใช้สื่อสังคมออนไลน์ และการเข้าถึงสื่อสังคมออนไลน์ตามลำดับ 2) ผู้สูงอายุมีทักษะ การประเมินสารสนเทศจากสื่อสังคมออนไลน์โดยรวมอยู่ในระดับสูง ด้านที่มีทักษะสูงที่สุดคือ ด้านความ น่าเชื่อถือ รองลงมาได้แก่ ด้านความถูกต้อง ด้านความทันสมัย และด้านความเกี่ยวข้องตามลำดับ 3) ผู้สูงอายุ ที่มีเพศ อายุ อาชีพและประสบการณ์ในการใช้อินเทอร์เน็ตแตกต่างกัน มีทักษะการประเมินสารสนเทศจากสื่อ สังคมออนไลน์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผู้สูงอายุที่มีระดับการศึกษาต่างมีทักษะ การประเมินสารสนเทศจากสื่อ สังคมออนไลน์ไม่แตกต่างกัน กรกช แสนจิตร (2564) ได้ศึกษาเรื่อง การศึกษาระดับความรู้ความสามารถในการใช้ เทคโนโลยีสื่อดิจิทัลของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร ผลการวิจัยพบว่า ความรู้ระดับต้นด้านอุปกรณ์อยู่ใน ระดับมากมีค่าเฉลี่ยรวม 0.92 ด้านการ เชื่อมต่อออนไลน์อยู่ในระดับมากมีค่าเฉลี่ยรวม 0.79 ความรู้ ระดับกลางด้านอุปกรณ์อยู่ในระดับ ปานกลางมีค่าเฉลี่ย 0.70 ด้านการเชื่อมต่อออนไลน์อยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยรวม 0.66 ความรู้ระดับสูงด้านอุปกรณ์อยู่ในระดับปานกลางมีค่าเฉลี่ย 0.79 และด้านการเชื่อมต่อ ออนไลน์อยู่ในระดับปานกลางมีค่าเฉลี่ยรวม 0.57 ความสามารถระดับต้นด้านอุปกรณ์อยู่ในระดับมากมี ค่าเฉลี่ย 2.77 ด้านการเชื่อมต่อออนไลน์อยู่ในระดับปานกลางมีค่าเฉลี่ย 2.21 ความสามารถระดับกลางด้าน อุปกรณ์อยู่ในระดับ ปานกลางมีค่าเฉลี่ย 2.31 ด้านการเชื่อมต่อออนไลน์อยู่ในระดับปานกลางมีค่าเฉลี่ย 2.13 ความสามารถระดับสูงด้านอุปกรณ์อยู่ในระดับปานกลางมีค่าเฉลี่ย 2.21 ด้านการเชื่อมต่อ ออนไลน์อยู่ในระดับ น้อย มีค่าเฉลี่ย 1.75 ผลการทดสอบสมมุติฐานพบว่า อายุ การศึกษา รายได้ อาชีพ ที่แตกต่างกันมีผลต่อ ความรู้ความสามารถด้านการใช้อุปกรณ์และการเชื่อมต่อออนไลน์ความรู้และความสามารถใน การใช้ เทคโนโลยีสื่อดิจิทัลมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 กิรณา สมวาทสรรค์ (2558) ได้ศึกษาเรื่อง พฤติกรรมการสื่อสารกับการส่งต่อข้อมูลผ่าน แอพพลิเคชั่นไลน์ของผู้สูงอายุ ผลการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุที่ใช้งานแอพพลิเคชั่นไลน์ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อาชีพพนักงาน รัฐวิสาหกิจ ข้าราชการ มีการศึกษาในระดับปริญญาตรี รายได้เฉลี่ยส่วนใหญ่ 30,000 บาท ขึ้นไป การ ใช้งานแอพพลิเคชั่นไลน์ส่วนใหญ่เพื่อติดสื่อสารกับลูก หลาน ญาติ พี่ น้อง ที่มีการใช้งานผ่าน
วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 59 อุปกรณ์โทรศัพท์มือถือจำนวนมากที่สุด โดยเรียนรู้ทักษะการใช้งานและมีการสนทนากับลูกหลาน เพื่อน ร่วมงาน และคนรู้จัก โดยจะใช้งานในทุกๆวัน ครั้งละประมาณ 30 นาที ซึ่งระยะเวลาในการเรียนรู้และเริ่มใช้ งาน แอพพลิเคชั่นไลน์มากกว่า 2 ปี นิยมส่งรูปภาพสติกเกอร์สวัสดีในตอนเช้า รูปภาพวิว บรรยากาศ ธรรมชาติสติกเกอร์ที่แสดงถึงอารมณ์ ณ ขณะนั้น ไม่นิยมส่งข้อความเสียง และไม่นิยมการใช้แอพพลิเคชั่นไลน์ ในการ ซื้อสินค้าออนไลน์ ในขณะเดียวกันนิยมส่งคลิปข่าวเตือนภัย เหตุการณ์ข่าวในระดับมาก และนิยมส่ง คลิป วิดีโอตลก ขำขัน แต่ไม่นิยมส่งคลิปวิดีโอจากลิงก์ยูทูป ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า พฤติกรรมการ สื่อสารของผู้สูงอายุมีความสัมพันธ์กับการส่งต่อ ข้อมูลผ่านแอพพลิเคชั่นไลน์ของผู้สูงอายุที่ระดับนัยสำคัญทาง สถิติ 0.05 ซึ่งผู้สูงอายุมีการใช้งานผ่าน แอพพลิเคชั่นไลน์ในระดับมากโดยเพศหญิงมีจำนวนการใช้งานผ่าน แอพพลิเคชั่นไลน์มากกว่าเพศชายร้อยละ 58.3 และมีพฤติกรรมการสื่อสารที่สัมพันธ์กับการส่งต่อข้อมูลผ่าน แอพพลิเคชั่นไลน์ของผู้สูงอายุได้แก่ ทักษะพื้นฐานในการใช้แอพพลิเคชั่นไลน์ การสื่อสารผ่านไลน์บนอุปกรณ์ ใด กลุ่มการใช้งานบน แอพพลิเคชั่นไลน์ ระยะเวลาการใช้แอพพลิเคชั่นไลน์ กชพรรณ กำลังงาม (2565) ศึกษาเรื่อง พฤติกรรมการใช้สื่อกับการสื่อสารด้านสิ่งแวดล้อม สำหรับผู้สูงอายุ ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุ 60-64 ปีขึ้นไป มีระดับการศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น มีสถานภาพสมรสและยังอยู่ด้วยกัน ประกอบธุรกิจส่วนตัว และพักอาศัยอยู่กับคู่สมรส ส่วนพฤติกรรมการใช้สื่อ พบว่า ส่วนใหญ่ติดตามข้อมูลข่าวสารจากอินเตอร์เน็ต ใช้โทรศัพท์มือถือในการ ติดตามข่าวสารมากที่สุด ติดต่อกับลูกหลานเป็นส่วนใหญ่ มีการใช้เครื่องมือสื่อสารทุกวันใช้เวลา 30 นาทีหรือ มากกว่า และส่วนมากมีความสนใจในสื่ออินเตอร์เน็ตประเภท Facebook และ Line ความคิดเห็นที่มีต่อการ สื่อสารของผู้สูงอายุพบว่า โดยรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ เห็นด้วยมากที่สุดว่าอุปกรณ์สื่อสารสามารถทำให้รับรู้ข่าวสารและพักผ่อนหย่อนใจตามความบันเทิง ส่วนความคิดเห็นที่มีต่อการสื่อสารด้านสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมต่อผู้สูงอายุ พบว่า ความคิดเห็นโดยรวมอยู่ใน ระดับเห็นด้วยมาก เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เห็นด้วยมากที่สุดว่าการสื่อสารช่วยให้ เกิดความร่วมมือในการแก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมในชุมชนได้เป็นอย่างดี มีระดับรองลงมาคือ การสื่อสารผ่าน การประชาสัมพันธ์ในชุมชน ดำเนินการได้เป็นอย่างดีการสื่อสารด้านสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุคือ โทรศัพท์มือถือเป็นเครื่องมือในการ สื่อสารที่มีความเหมาะสมกับผู้สูงอายุมากที่สุด โดยใช้สื่อสารทุกวัน วันละ ประมาณ 30 นาทีผ่าน สื่อ อินเตอร์เน็ตประเภท Facebook และLine การออกแบบสื่อเนื้อหาต้องเข้าใจง่าย ตัวอักษรต้องชัดเจน การใช้งานต้องไม่มีความยุ่งยาก ภาพกราฟิกสีเข้มบนพื้นหลังสีอ่อน การสื่อสารด้าน สิ่งแวดล้อม ที่ควรนำเสนอเพื่อประโยชน์ต่อชุมชนและผู้สูงอายุควรมุ่งเน้นการจัดการในภาพรวม เพื่อคุณภาพ ชีวิตและ สภาพแวดล้อมที่ดีของผู้สูงอายุในชุมชน ผ่านการสื่อสารด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัย 2.5.10 ปัจจัยด้านความมั่นใจ (Confidence) ที่มีผลความต้องการการจัดสวัสดิการสังคมด้าน เทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุ งานวิจัยนี้ได้กำหนดความหมายของคำว่า ‘ความมั่นใจ’ ตาม ชัยวู ลี และโจเซฟ คอฟลิน (Chaiwoo and Coughlin, 2015) ที่ว่า ความมั่นใจ (Confidence) หมายถึง ผู้สูงอายุได้รับการส่งเสริมและ
วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 60 สนับสนุนให้ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยปราศจากการความวิตกกังวลหรือความกลัว จากการทบทวน วรรณกรรมจะพบว่า หากผู้สูงอายุขาดความรู้สึกมั่นใจหรือความไว้วางใจในเทคโนโลยีและนวัตกรรม การ ยอมรับและเปลี่ยนพฤติกรรมไปใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ก็จะยากลำบากมากขึ้น ตัวอย่างเช่น น้ำทิพย์ พรหมสูตร (2563) ได้ชี้ให้เห็นว่า ความรู้สึกมั่นใจหรือความไว้วางใจ มีส่วนสำคัญเช่นเดียวกับปัจจัยด้านอื่น ๆ ที่ได้กล่าวมาข้างต้น น้ำทิพย์ พรหมสูตร (2563) ได้ศึกษาเรื่อง การยอมรับนวัตกรรมทางการเงินของผู้สูงอายุ ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่เกี่ยวข้องในแต่ละขั้นมีความแตกต่างกัน สรุปได้ดังนี้1) ขั้นรับรู้ ประกอบไปด้วย ความไว้วางใจ (การรับรู้ด้านความปลอดภัย) การรับรู้ด้านประโยชน์ (ปทัสถานทางสังคม) และการรับรู้ด้านความง่าย (การควบคุมจากสภาวะภายนอก) 2) ขั้นสนใจ ประกอบไป ด้วย ความไว้วางใจ (การรับรู้ด้านความปลอดภัย) การรับรู้ด้านประโยชน์(ปทัสถานทางสังคมและความ เกี่ยวข้องกับงาน) และการรับรู้ด้านความง่าย (ความสามารถของตน) 3) ขั้นประเมินผล ประกอบไปด้วย ความ ไว้วางใจ (การรับรู้ความเป็นส่วนตัวและการรับรู้ด้านความปลอดภัย) การรับรู้ด้านประโยชน์ (ปทัสถานทาง สังคมและความเกี่ยวข้องกับงาน) และการรับรู้ด้านความง่าย (ความสามารถของตนและความวิตกกังวลอการ ใช้งาน) 4) ขั้นทดลอง ประกอบด้วยความไว้วางใจ (การรับรู้ด้านความปลอดภัย) การรับรู้ด้านประโยชน์ (ปทัสถานทาสังคม ผลลัพธ์และคุณภาพของผลลัพธ์ที่พิสูจน์ได้) และการรับรู้ด้านความง่าย (ความสามารถของ ตนและควิตกกังวลต่อการใช้งาน) 5) ขั้นยอมรับ ประกอบด้วย ความไว้วางใจ (การรับรู้ด้านความปลอดภัย) การรับรู้ด้านประโยชน์ (ปทัสถานทางสังคมและความเกี่ยวข้องกับงาน) และการรับรู้ด้านความง่าย (ความสามารถของตน) จากผลการศึกษาข้างต้น การสร้างการยอมรับนวัตกรรมทางการเงินของผู้สูงอายุควร พิจารณา ปัจจัยที่เกี่ยวข้องในแต่ละขั้น เพื่อกำหนดเป็นแนวทางเชิงกลยุทธ์ในการดำเนินงานได้อย่างมี ประสิทธิภาพต่อไป นันทิยา ณ หนองคาย, สิทธิศักดิ์ รัตนประภาวรรณ และจารุวรรณ ธาดาเดช (2565) ได้ ศึกษาเรื่อง การออกแบบเพื่อส่งเสริมความภาคภูมิใจในตนเองของผู้สูงอายุ จากผลการวิจัยพบว่า สามารถสรุป ได้ 3 ประเด็นดังนี้คือ 1) ข้อจํากัดทางกายภาพด้านร่างกาย 2) ระยะเวลาที่ต้องใช้ในการสร้างสรรค์งาน และ 3) ความชอบส่วนบุคคล นอกจากนี้ยังพบว่า ผลจากการตอบแบบสอบถามความพึงพอใจต่อการเข้าร่วม โครงการเสวนาในรูปแบบออนไลน์ หัวข้อการออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อส่งเสริมสุขภาพสําหรับผู้สูงอายุ Gaow Goods: เพราะวัยเก๋า เราสําคัญ ได้ผลดังต่อไปนี้ 1. ความน่าสนใจของโครงการ และประโยชน์ที่จะเกิดกับ ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรม มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ในระดับดี (x̅=4.00) 2. ประโยชน์ที่ได้รับหลังจากการเข้า ร่วมโครงการ มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ในระดับดีมาก (x̅=5.00) 3. รูปแบบการจัดกิจกรรมด้วยแอปพลิเคชันไลน์ (LINE) และ สื่อยูทูป (YouTube) มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ในระดับดีมาก (x̅=5.00) 4. ความรู้และ ความสามารถของวิทยากรในการบรรยายและการตอบข้อซักถาม มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ในระดับดีมาก (x̅=5.00) และ 5. ระยะเวลาในการจัดกิจกรรม มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ในระดับดี(x̅=4.00) กล่าวโดยสรุป เนื้อหาในบทนี้ ได้แสดงให้เห็นรายละเอียดของตัวแปรสำคัญ 10 ตัวแปร และ ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรทั้งหมด (ตัวแปรต้น) และความต้องการเทคโนโลยีและนวัตกรรมของผู้สูงอายุ (ตัวแปรตาม) โดยความเชื่อมโยงกันของตัวแปรดังกล่าวข้างต้นนี้อาจนำไปสู่ข้อเสนอแนะที่น่าสนใจมากมาย
วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 61 เกี่ยวกับแนวทางการจัดสวัสดิการสังคมที่เหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งแนวทางการส่งเสริมการใช้อินเตอร์เน็ต ในกลุ่มผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญ หากรัฐต้องการจัดสวัสดิการบนแพลตฟอร์มดิจิทัลมากขึ้นในอนาคต เช่น สำนักงานสถิติแห่งชาติ (2557) ได้ศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้อินเตอร์เน็ตของผู้สูงอายุในประเทศไทย ผลการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุที่ใช้อินเตอร์เน็ตในประเทศไทยมีจำนวนทั้งสิ้น 320,791 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 3.3 ของผู้สูงอายุทั้งหมด ผู้สูงอายุที่ใช้อินเตอร์เน็ตส่วนใหญ่ ประมาณ 3 ใน 4 อาศัยอยู่ในเขตเทศบาล โดย จังหวัดที่มีอัตราการใช้อินเตอร์เน็ตมากที่สุดสามอันดับ ได้แก่ ภูเก็ต (ร้อยละ 22.5) ชลบุรี (ร้อยละ 11.4) กรุงเทพมหานคร (ร้อยละ 10.9) ตามลำดับ ส่วนจังหวัดที่มีอัตราการใช้อินเตอร์เน็ตน้อยที่สุดสามอันดับ ได้แก่ บุรีรัมย์ (ร้อยละ 0.08) สุรินทร์ (ร้อยละ 0.13) ศรีสะเกษ (ร้อยละ 0.26) ตามลำดับ ผลการวิเคราะห์ ความสัมพันธ์รพหว่างตัวแปรอิสระและตัวแปรตามด้วยสถิติทดสอบไคสแควร์ พบว่า ตัวแปรอิสระที่นำมา วิเคราะห์ทุกตัวมีความสัมพันธ์กับการอินเตอร์เน็ตของผู้สูงอายุ (ตัวแปรตาม) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ความเชื่อมั่น 99% ส่วนผลการวิเคราะห์แบบจำลองด้วยการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกแบบสองกลุ่ม พบว่า ตัวแปรอิสระในแบบจำลองสามารถอธิบายความผันแปรในตัวแปรการใช้อินเตอร์เน็ตของผู้สูงอายุได้ร้อยละ 73 โดยตัวแปรอิสระที่มีผลต่อการใช้อินเตอร์เน็ตของผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ (1) เขตการปกครอง (2) ระดับการศึกษา (3) สถานภาพการทำงาน (4) การใช้คอมพิวเตอร์ (5) การใช้แท็บเล็ตหรือสมาร์ทโฟน (6) ความสามารถในการเข้าถึงอินเตอร์เน็ต และ (7) การอยู่อาศัยกับบุคคลที่ใช้อินเตอร์เน็ต ซึ่งผู้สูงอายุที่มี ลักษณะดังนี้ ได้แก่ อาศัยอยู่ในเขตเทศบาล จบการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือสูงกว่า เกษียณอายุการทำงาน แล้ว เคยใช้คอมพิวเตอร์ แท็บเล็ตหรือสมาร์ทโฟน ครัวเรือนตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีสัญญาณหรือโครงข่ายที่สามารถ เข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้ และอาศัยอยู่ในครัวเรือนที่มีบุคคลอื่นที่ใช้อินเตอร์เน็ต จะมีโอกาสใช้อินเตอร์เน็ต มากกว่าผู้สูงอายุกลุ่มอื่น ๆ และการผลการวิเคราะห์ดังกล่าว สามารถนำผลที่ได้มาใช้ประกอบการวางแผน ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุใช้อินเตอร์เน็ตเพิ่มขึ้น โดยจัดเรียงลำดับความสำคัญได้ดังนี้ 1.ส่งเสริมการให้ความรู้การใช้คอมพิวเตอร์แก่ผู้สูงอายุ เพราะผลจากการวิเคราะห์ พบว่า ผู้สูงอายุที่เคยใช้คอมพิวเตอร์จะมีโอกาสในการใช้อินเตอร์เน็ตมากกว่าผู้สูงอายุที่ไม่เคยใช้คอมพิวเตอร์ ถึง 90 เท่า 2.จัดหา/จัดให้มีแท็บเล็ตหรือสมาร์ทโฟนราคาถูก เพราะผู้สูงอายุที่มีการใช้อุปกรณ์ ดังกล่าวจะมีโอกาสในการใช้อินเตอร์เน็ตเพิ่มขึ้น 5.5 เท่า 3.การขยายความครอบคลุมของโครงข่ายอินเตอร์เน็ต เพื่อให้ครัวเรือนสามารถ เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้ซึ่งจะส่งผลต่อการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตของผู้สูงอายุ ในขณะเดียวกันควรมีการควบคุม อัตราค่าบริการอินเตอร์เน็ตให้อยู่ในราคาที่ประชาชนสามารถเข้าถึงได้ นอกจากนี้ ธัญรัศมิ์ เศรษฐสิริวุฒิและสุรมน จันทร์เจริญ (2565) ได้ศึกษาเรื่อง รูปแบบการ เพิ่มความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการสื่อสารสําหรับผู้สูงอายุในยุคความปกติใหม่ ยังเชื่อว่า ไม่เพียงแค่ รัฐบาลต้องส่งเสริมการเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีง่าย ๆ ติดตั้งสัญญาณอินเทอร์เน็ตที่มีประสิทธิภาพสูงให้ ครอบคลุมทุกพื้นที่ และให้หน่วยงานในท้องถิ่นจัดอบรมให้ความรู้กับผู้สูงอายุให้มีความสามารถใช้เทคโนโลยี เพื่อการสื่อสาร แต่รัฐต้องส่งเสริมลูกหลานให้ความรู้กับผู้สูงอายุในการใช้งานเทคโนโลยีเพื่อการสื่อสาร ด้วย
วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 62 2.6 กรอบแนวคิดในการวิจัย จากการศึกษาแนวคิดทฤษฎี สมมติฐาน และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูลแล้ว ประมวลเป็นกรอบแนวคิดในการวิจัย โดยจำแนกตัวแปรต้น และตัวแปรตาม ได้แก่ ตัวแปรต้น 1) ปัจจัยด้านคุณลักษณะทั่วไปของผู้สูงอายุ ได้แก่ เพศ อายุระดับการศึกษา สถานภาพสมรส จำนวนสมาชิกในครอบครัว ภาวะสุขภาพ ความพิการ อาชีพ รายรับของตนเอง รายรับของ ครอบครัว แหล่งที่มาของรายรับ จำนวนหนี้สินของตนเอง จำนวนหนี้สินของครอบครัว ลักษณะของหนี้สิน จังหวัดที่อยู่อาศัย เขตที่อยู่อาศัย การเป็นสมาชิกทางสังคมอื่น การมีผู้ดูแลผู้สูงอายุ เวลาในการใช้อุปกรณ์ เทคโนโลยี 2) ปัจจัยด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสวัสดิการทางสังคม ได้แก่ด้านคุณประโยชน์(Value) ด้านการใช้งาน (Usability) ด้านการประหยัด (Affordability) ด้านการเข้าถึง (Accessibility) ด้านระบบสนับสนุนทางเทคนิค (Technical Support) ด้านระบบสนับสนุนทางสังคม (Social Support) ด้านความชอบส่วนบุคคล (Emotion) ด้านความสามารถพึ่งตนเอง (Independence) ด้านทักษะและความประสบการณ์ในอดีต (Experiences) ด้านความมั่นใจ (Confidence) ตัวแปรตาม คือ ความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม สำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาพที่ 2.1 กรอบแนวคิดในการวิจัย คุณลักษณะทั่วไปของผู้สูงอายุ ปัจจัยด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม สวัสดิการทางสังคม - ด้านคุณประโยชน์ - ด้านการใช้งาน - ด้านการประหยัด - ด้านการเข้าถึง - ด้านระบบสนับสนุนทางเทคนิค - ด้านระบบสนับสนุนทางสังคม - ด้านความชอบส่วนบุคคล - ด้านความสามารถพึ่งตนเอง - ด้านทักษะและความ ประสบการณ์ในอดีต - ด้านความมั่นใจ ความต้องการการจัดสวัสดิการ ทางสังคมด้านเทคโนโลยีและ นวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แนวทางจัดสวัสดิการทาง สังคมด้านเทคโนโลยีและ นวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุ ในตะวันออกเฉียงเหนือ
63 วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บทที่ 3 วิธีด ำเนินกำรวิจัย การศึกษาวิจัย “ความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม สำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ” ครั้งนี้เป็นการใช้วิธีระเบียบวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method) ซึ่งเป็นวิธีวิจัยที่รัดกุมเพราะใช้วิธีวิจัยทั้งเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการ วิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) จึงได้ประโยชน์จากจุดแข็งของทั้งสองวิธีวิจัยทั้งสองรูปแบบโดย ผู้วิจัยมีวิธีการ ดังนี้ 3.1 หน่วยในการวิเคราะห์ 3.2 พื้นที่ในการวิจัย 3.3 ประชากร และกลุ่มตัวอย่าง 3.4 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 3.5 วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล 3.6 การตรวจสอบข้อมูล 3.7 การวิเคราะห์ข้อมูล ส่วนที่ 1 หน่วยในกำรวิเครำะห์ ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้มีหน่วยวิเคราะห์ (Unit of Analysis) เป็นหน่วยระดับปัจเจกบุคคล (Individual Unit) ซึ่งประกอบไปด้วยผู้ให้ข้อมูลวิจัย 2 ประเภท ได้แก่ ผู้ตอบแบบสอบถามและผู้ให้ข้อมูล สัมภาษณ์โดยใช้วิธีแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เป็นการเลือกกลุ่มผู้ให้ข้อมูลวิจัยให้เหมาะสมและ ตรงตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย ตามรายละเอียด ดังนี้ ผู้ตอบแบบสอบถาม คือ ผู้สูงอายุ จำนวนทั้งสิน 400 คน ที่อาศัยอยู่ใน 7 จังหวัด ได้แก่ ร้อยเอ็ด ขอนแก่น มหาสารคาม อุดรธานี หนองบัวลำภู เลย และหนองคาย หลักเกณฑ์ที่ใช้เลือกเพื่อให้กลุ่ม ตัวอย่างครอบคลุมทุกกลุ่มผู้สูงอายุมากที่สุดตามขอบเขตการศึกษาวิจัย คือ กลุ่มตัวอย่างต้องเป็นผู้สูงอายุที่ อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่ทำการศึกษา 7 จังหวัดข้างต้น ต้องเป็นตัวแทนของกลุ่มผู้สูงอายุอายุระยะต้น ระยะกลาง และระยะสุดท้าย ต้องเป็นตัวแทนกลุ่มผู้สูงอายุชายและหญิง ต้องเป็นตัวแทนผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เขต เทศบาลและนอกเทศบาล ต้องเป็นตัวแทนผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่คนเดียวและที่มีผู้ดูแล ต้องเป็นตัวแทนผู้สูงอายุ กลุ่มติดสังคม ติดบ้านและติดเตียง และต้องเป็นตัวแทนของผู้สูงอายุที่มีพื้นฐานการศึกษา รายได้ สถานะและ จำนวนสมาชิกครอบครัว สุขภาวะและความพิการ และประกอบอาชีพหลากหลาย ด้วย
64 วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผู้ให้ข้อมูลสัมภาษณ์คือ เจ้าหน้าที่รัฐสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ระดับบริหาร) จำนวน 3 คน, ผู้สูงอายุ (ตัวแทนประธานกลุ่มผู้สูงอายุ) จำนวน 1 คน, และอาสาสมัครพัฒนา สังคมและความมั่นคงมนุษย์ จำนวน 9 คน ผู้ให้ข้อมูลทั้งหมดเป็นผู้ที่เข้าใจและสามารถให้ข้อมูลเชิงลึกซึ่ง สะท้อนบริบทและสถานการณ์ผู้สูงอายุเผชิญอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือทั้งในเขตเมืองและชนบทได้เป็น อย่างดี เหตุเพราะเลือกจากภูมิลำเนาหรือแหล่งที่ตั้งของสำนักงานของผู้ให้ข้อมูลที่อยู่ในเขตเมืองและชนบท โดยสามารถจำแนกออกเป็น อาศัยอยู่ในเขตเมือง มีจำนวน 4 คน และอาศัยอยู่ในเขตชนบท มีจำนวน 9 คน การสัมภาษณ์ดำเนินไปทีละคนและสิ้นสุดการเก็บข้อมูลเมื่อพบว่าข้อมูลที่ได้นั้นไม่มีข้อค้นพบใหม่ มีลักษณะ เดียวกัน หรือเรียกว่า ข้อมูลอิ่มตัว (Data Saturation) 3.2 พื้นที่ในกำรวิจัย ผู้วิจัยได้ทำการคัดเลือกพื้นที่ในการวิจัย ได้แก่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบไปด้วย จังหวัด ขอนแก่น ร้อยเอ็ด มหาสารคาม อุดรธานี หนองคาย เลย และหนองบัวลำภู โดยมีจำนวนผู้สูงอายุเป็น จำนวน 1,204,762 คน เป็นพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 5 จังหวัดขอนแก่น กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 3.3 ประชำกร และกลุ่มตัวอย่ำง การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบประยุกต์ (Applied Research) โดยใช้การดำเนิน การ วิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ผู้วิจัยขออธิบายดังต่อไปนี้ 3.1 การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ผู้วิจัยใช้ข้อมูลประชากรผู้สูงอายุภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จังหวัดขอนแก่น ร้อยเอ็ด มหาสารคาม อุดรธานี หนองคาย เลย และหนองบัวลำภู โดยอ้างอิงฐานข้อมู ลจาก http://www.dop.go.th/download/knowledge/th1580099938-275_1.pdf ซึ่งมีประชากรทั้งหมด 1,204,762 คน ตารางที่ 3.1 แสดงจำนวนประชากรในการวิจัย จำแนกตามจังหวัด จังหวัด จ ำนวนประชำกร (คน) ร้อยเอ็ด 224,131 ขอนแก่น 312,933 มหาสารคาม 164,249 อุดรธานี 234,293 เลย 111,799 หนองบัวลำภู 76,723 หนองคาย 80,634 รวมจ ำนวนตัวอย่ำง 1,204,762
65 วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขั้นตอนต่อมาได้กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างครั้งนี้จากวิธีการ ดังนี้ 1) หาขนาดของกลุ่มตัวอย่างจาก ทาโร ยามาเน่ (Taro Yamane) จากสูตร = + โดยที่ n = ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง N = จำนวนประชากรทั้งหมด e = ค่าความคาดเคลื่อนที่ใช้ในงานวิจัย คือ 0.05 แทนค่า = , +(, (.) ) = ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง คือ 399.867 ปรับเป็นประมาณ 400 ตัวอย่าง 2) แบ่งจำนวนตัวอย่างตามกลุ่มจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยการเทียบ บัญญัติไตรยางศ์ ตารางที่ 3.2 แสดงจำนวนตัวอย่างในการเก็บข้อมูลการวิจัย จำแนกตามจังหวัด จังหวัด จ ำนวนตัวอย่ำง (คน) จ ำนวนประชำกร (คน) ร้อยเอ็ด 74.4 > 74 224,131 ขอนแก่น 103.9 > 104 312,933 มหาสารคาม 54.5 > 55 164,249 อุดรธานี 77.8 > 78 234,293 เลย 37.1 > 37 111,799 หนองบัวลำภู 25.5 > 25 76,723 หนองคาย 26.8 > 27 80,634 รวมจ ำนวนตัวอย่ำง 400 1,204,762 - เกณฑ์การคัดเข้าในการตอบแบบสอบถามของกลุ่มตัวอย่าง ตะหนักถึงตัวอย่างที่เป็น ผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ที่ยังสามารถฟัง อ่านออก และเขียนภาษาไทยได้ สามารถเดินทางไปยังสถานที่ ต่างๆ ได้ และเต็มใจเข้าร่วมงานวิจัยครั้งนี้ - เกณฑ์การคัดออก ได้แก่ ผู้สูงอายุที่ไม่สามารถเข้าร่วมโครงการวิจัยได้ เช่น ผู้สูงอายุที่ ติด เตียง และมีโรคประจำตัว ใส่เครื่องช่วยหายใจ ไม่สามารถรับรู้ถึงด้านสติปัญญา และไม่สามารถช่วยเหลือ ตนเองได้ เป็นต้น - การได้มา และการเข้าถึงกลุ่มตัวอย่าง มีดังต่อไปนี้ 1) ผู้วิจัยทำการหารายชื่อผู้สูงอายุจากฐานข้อมูลจากกรมกิจการผู้สูงอายุ และทำ การหาขนาดของตัวอย่างโดยวิธีของ ทาโร ยามาเน่ (Tara Tayamane) 2) ทำการแบ่งตัวอย่างออกเป็น 7 จังหวัด โดยวิธีเทียบบัญญัติไตรยางศ์
66 วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3) หลังจากนั้นทำการเทียบบัญญัติไตรยางศ์จากแตะละอำเภอในจังหวัดนั้นๆ เพื่อให้ ได้จำนวนตัวอย่างในแต่ละอำเภอ 4) ต่อมาได้รายชื่อกลุ่มตัวอย่างจากการเรียงลำดับรายชื่อ และทำการสุ่มอย่างง่าย โดยใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีใช้ตารางเลขสุ่ม (Table of Random Numbers) เป็นการสุ่มตัวอย่างที่มี ขนาดใหญ่โดยใช้ตารางเลขสุ่มที่กำหนดขึ้นจากคอมพิวเตอร์ที่ไม่ต้องจัดทำสลาก 3.2 การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ใช้กระบวนการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึกในประเด็น กำหนดนโยบายเพื่อรองรับความต้องการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากผู้แทน/ผู้ทรงคุณวุฒิ/ผู้เชียวชาญในประเด็นข้างต้น จำนวน 13 ท่าน 3.4 เครื่องมือที่ใช้ในกำรวิจัย เครื่องมือวิจัยในการโครงการวิจัยครั้งนี้มี2 ประเภท ได้แก่แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ ซึ่งเป็นเครื่องมือวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ตามลำดับ เครื่องมือวิจัยนี้ออกแบบและสร้างอ้างอิงกับข้อมูล และองค์ความรู้จากการทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง แบบสอบถามประกอบไปด้วย 5 ส่วน ได้แก่ ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับคุณลักษณะสำคัญส่วน บุคคล ประเภทเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุ ปัจจัยที่มีอิทธิพลผลต่อ ความต้องการการจัดสวัสดิการด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุ ความพึงพอใจจากการใช้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุ และข้อเสนอแนะ โดยแบบสอบถามที่ ออกแบบมีเป้าหมายหลักเพื่อเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับตัวแปรหรือปัจจัย 10 ประการที่สกัดได้จากการทบทวน วรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ซึ่งตัวแปรเหล่านี้น่าจะมีอิทธิผลต่อการกำหนดความต้องการการจัด สวัสดิการสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุ ตัวแปรทั้ง 10 ประการได้นำไปใช้เป็นกรอบใน การออกแบบข้อคำถามหลักในแบบสอบถาม (ดูรายละเอียดข้อคำถามย่อยในแบบสอบถามในภาคผนวก) ตัว แปร 10 ประการ มีดังนี้ 1. คุณประโยชน์ (Value) หมายถึง ผู้สูงอายุรับรู้ถึงคุณประโยชน์ที่(อาจจะ)เกิดขึ้น จากการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม) 2. ใช้งานได้ง่าย (Usability) หมายถึง ผู้สูงอายุรับรู้ถึงฟังก์ชันการใช้งานที่ง่ายหรือ ระบบการทำงานของเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่สามารถเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว 3. ประหยัด/ลดต้นทุน/ราคาที่จ่ายได้ (Affordability) ผู้หมายถึง สูงอายุรับรู้ถึง ราคาที่สามารถจ่ายได้ในการซื้อหรือจัดหา ใช้งาน และความประหยัดหรือต้นทุนที่ลดลงเมื่อใช้เทคโนโลยีและ นวัตกรรม 4. จัดหาซื้อได้/เข้าถึงได้ (Accessibility) หมายถึง ผู้สูงอายุมีข้อมูล ความรู้ และ ความสามารถในการเข้าถึงแหล่ง หรือมีระบบนำส่งเทคโนโลยีและนวัตกรรม
67 วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 5. ระบบสนับสนุนทางเทคนิค (Technical Support) หมายถึง ผู้สูงอายุได้รับความ ช่วยเหลือทางเทคนิคหรือด้านดิจิทัลที่เพียงพอและมีคุณภาพ ตลอดระยะเวลาการครองครองเทคโนโลยีและ นวัตกรรม 6. ระบบสนับสนุนทางสังคม (Social Support) หมายถึง ผู้สูงอายุได้รับความ ช่วยเหลือจากคนในครอบครัว เพื่อน และชุมชน ตลอดระยะเวลาการครองครองเทคโนโลยีและนวัตกรรม 7. ความชอบ/ความเชื่อ/ความรู้สึกส่วนบุคคล (Emotion) หมายถึง ผู้สูงอายุรู้สึก หลงใหล ชื่นชอบ และมีความเชื่อส่วนตัวว่าเทคโนโลยีและนวัตกรรมเป็นสิ่งที่ดีสำหรับผู้สูงอายุ 8. ความสามารถ/พึ่งตนเอง (Independence) หมายถึง ผู้สูงอายุรับรู้ถึงภาพลักษณ์ หรือการถูกมองว่ามีความสามารถในการพึ่ง/ดูแลตนเองได้เมื่อใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม 9. ทักษะและความประสบการณ์ในอดีต (Experiences) หมายถึง ผู้สูงอายุมี ประสบการณ์ ทักษะพื้นฐาน หรือคุ้นเคยกับการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม 10. ความมั่นใจ (Confidence) หมายถึง ผู้สูงอายุได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนให้ ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยปราศจากการความวิตกกังวลหรือความกลัว เมื่อข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาได้ด้วยแบบสอบถามบ่งชี้ว่าตัวแปรใดมีความสัมพันธ์หรือมี ความสัมพันธ์อย่างโดดเด่นที่สุดกับความต้องการการจัดสวัสดิการสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับ ผู้สูงอายุตัวแปรนั้นจะถูกนำไปออกแบบข้อคำถามในแบบสัมภาษณ์เพื่อใช้เก็บข้อมูลเชิงลึกเพิ่มเติมในการ สัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสัมภาษณ์ต่อไป แบบสัมภาษณ์นี้สร้างขึ้นตามแนวทางการสัมภาษณ์แบบกึ่ง โครงสร้าง (Semi-Structured Interview) ซึ่งมีลักษณะผสมผสานระหว่างการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง (Structured Interview) และการสัมภาษณ์แบบไร้โครงสร้าง (Unstructured Interview) โดยจะมีการ กำหนดกรอบประเด็นคำถามที่ใช้ในการสัมภาษณ์ไว้ล่วงหน้าตามตัวแปรที่พบในการศึกษาวิเคราะห์เชิงปริมาณ แต่อย่างไรก็ตาม ข้อคำถามในการสัมภาษณ์มีลักษณะปลายเปิดเพื่อความยืดหยุ่นในการซักถาม และเปิด โอกาสให้ผู้ให้สัมภาษณ์สามารถบรรยายและตอบข้อคำถามได้โดยอิสระภายใต้ขอบเขตการวิจัย ซึ่งลักษณะการ เก็บข้อมูลแบบนี้เป็นช่องทางให้นักวิจัยไม่เพียงเก็บข้อมูลเชิงลึกและปัจจัยแวดล้อมได้แล้ว อาจช่วยให้ค้นพบตัว แปรใหม่เกินไปจากกรอบการวิจัยหรือผลการศึกษาเชิงปริมาณได้ แบบสัมภาษณ์ที่ออกแบบจะมีส่วนประกอบ ทั้งหมด 3 ส่วนของข้อคำถาม ได้แก่ ข้อมูลทั่วไปของผู้ให้สัมภาษณ์ความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่มีอิทธิผลโดด เด่นต่อการกำหนดความต้องการการจัดสวัสดิการสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุ (จากผล การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณพบ 3 ตัวแปร คือ ทักษะและประสบการณ์ในอดีต ความสามารถในการพึ่งพา ตนเอง และการเข้าถึง) และปัญหาอุปสรรคของผู้สูงอายุในปัจจุบัน
68 วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3.5 วิธีกำรเก็บรวบรวมข้อมูล การเก็บรวบรวมข้อมูลได้ดำเนินการเริ่มจากการยื่นขอเสนอโครงการวิจัยเพื่อขอรับการ พิจารณาจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ ต่อคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ อาคารสำนักหอสมุดและเทคโนโลยีสารสนเทศ ชั้น 3 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อยุธยา ตำบล ลำไทร อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13170 โทรศัพท์ 03-524-8073 เลขที่โครงการ ว.09/2566 เมื่อโครงการวิจัยได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์จึงได้ดำเนินการ เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ซึ่งเครื่องมือวิจัยเชิงปริมาณที่ใช้เพื่อสำรวจความคิดเห็นของผู้สูงอายุ จำนวน ทั้งสิ้น 400 คน ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เขตเทศบาลและนอกเทศบาลใน 7 จังหวัด ได้แก่ ร้อยเอ็ด ขอนแก่น มหาสารคาม อุดรธานี หนองบัวลำภู เลย และหนองคาย ในช่วงเดือนเมษายน 2566 และข้อมูลที่เก็บรวบรวม ได้ถูกบันทึกลงในสเปรดชีต (Spread Sheet) ของโปรแกรมเอ็กเซล (Excel) และหลังจากได้ทำการวิเคราะห์ ข้อมูลจากแบบสอบถามเรียบร้อยแล้ว จึงมีการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยเครื่องมือวิจัยแบบสัมภาษณ์ในลำดับ ถัดไป การสัมภาษณ์เชิงลึกได้ดำเนินการระหว่างวันที่10 – 18 กรกฎาคม 2566 ในเขตพื้นที่จังหวัด มหาสารคาม ขอนแก่น และเลย โดยสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวนทั้งสิ้น 13 คน ประกอบได้ด้วย เจ้าหน้าที่ รัฐสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์(ระดับบริหาร) จำนวน 3 คน จากอำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม และอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น, ผู้สูงอายุ(ประธานกลุ่มผู้สูงอายุในฐานะตัวแทนของ ผู้สูงอายุในพื้นที่เขตเทศบาล) จำนวน 1 คน จากอำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม, และอาสาสมัครพัฒนาสังคม และความมั่นคงมนุษย์ (ในฐานะตัวแทนของผู้สูงอายุในพื้นที่นอกเขตเทศบาล) จำนวน 9 คน จากตำบลปากตม อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย ผู้ให้ข้อมูลทุกคนได้รับการปกป้องสิทธิตามหลักจริยธรรมการวิจัย ก่อนเริ่มการสัมภาษณ์ นักวิจัยต้อง อธิบายวัตถุประสงค์และขอบเขตของโครงการวิจัยให้ผู้ให้ข้อมูลทราบอย่างชัดเจน และผู้ให้ข้อมูลมีสิทธิเลือกให้ ความยินยอมก่อนเริ่มการสัมภาษณ์เสมอ หากมีการจดบันทึก และ/หรือบันทึกภาพ และ/หรือบันทึกเสียง ด้วย เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ในขณะทำการสัมภาษณ์ รวมถึงการบันทึกข้อมูลบนไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ในคอมพิวเตอร์ ขณะทำการเก็บข้อมูล ในขณะสัมภาษณ์ ผู้ให้ข้อมูลมีสิทธิที่จะถอนตัวจากการสัมภาษณ์หรือหยุดการสัมภาษณ์ ชั่วคราว หากเกิดความรู้สึกกดดัน หดหู่ หรือแสดงอาการเศร้าโศกเสียใจ หรือยังไม่สามารถให้ข้อมูลในขณะนั้น ได้ด้วยเหตุใดก็ตาม นอกจากนี้นักวิจัยต้องจัดเก็บข้อมูลอย่างระมัดระวัง โดยข้อมูลส่วนบุคคลที่เก็บรวมรวม จากผู้ให้ข้อมูล ทั้งที่เป็นไฟล์บันทึกเสียงหรือภาพ ไฟล์บันทึกการสัมภาษณ์อิเล็กทรอนิกส์ จะถูกเก็บไว้ใน คอมพิวเตอร์ของผู้วิจัยแบบมีการใส่รหัสผ่าน และในส่วนของข้อมูลที่เป็นเอกสาร (Hard Copy) ผู้วิจัยจะเป็นผู้ เก็บรักษาไว้แต่เพียงผู้เดียว และภายหลังจากโครงการวิจัยดำเนินการแล้วเสร็จ จะมีการทำลายเอกสารโดยมิให้ นำมาอ่านเป็นข้อความได้อีก
69 วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3.6 กำรตรวจสอบข้อมูล หลังจากทำการเก็บรวบรวมข้อมูลวิจัยด้วยเครื่องมือวิจัยแบบสำรวจและการสัมภาษณ์เชิงลึก แล้ว ข้อมูลวิจัยเชิงปริมาณได้นำไปตรวจสอบความครบถ้วนถูกต้องแม่นยำของข้อมูล (Validity) และความ เชื่อถือ (Reliability) ของข้อมูล ด้วยการทดสอบแจกแจงปกติ (Test of Normality) และข้อมูลวิจัยเชิง คุณภาพ ได้ทำการตรวจสอบข้อมูลกับผู้ให้ข้อมูลโดยตรงและเจ้าหน้าที่สังกัดหน่วยงานกระทรวงการพัฒนา สังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในพื้นที่วิจัย 7 จังหวัด ในการประชุมเชิงปฏิบัติการผ่านช่องทางออนไลน์ จำนวน 2 ครั้ง อีกด้วย 3.7 กำรวิเครำะห์ข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลวิจัยสามารถแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ ตามประเภทของข้อมูลวิจัยที่เก็บ รวบรวมมา รูปแบบแรก ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้นำมาวิเคราะห์ทางสถิติเชิงพรรณนาด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS (Statistical Package for the Social Science) และวิเคราะห์โดยการทดสอบสมการเชิงทำนายโดย ประยุกต์ใช้สถิติแบบการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis: MRA) รูปแบบที่สอง ข้อมูลเชิงคุณภาพ ได้นำมาวิเคราะห์แบบเชิงเนื้อหา (Content Analysis) โดย สามารถลำดับขั้นตอนการวิเคราะห์ เริ่มจากการนำข้อมูลที่ได้จากการบันทึกการสัมภาษณ์มาถอดเทปอย่าง ละเอียด แล้วจึงนำข้อมูลจากการถอดเทปมาคัดแยก เลือกเฉพาะข้อมูลที่เกี่ยวข้องเท่านั้น พร้อมกับจัดระบบ และจำแนกคำหรือข้อความที่ได้จากการสัมภาษณ์เพื่อนำมาวิเคราะห์โดยยึดตามกรอบตัวแปรหรือแนวคิดใน การวิจัยและคำนึงถึงความสอดคล้องกับคำถามการวิจัยและวัตถุประสงค์การวิจัย ข้อมูลที่ได้ดังกล่าวนี้จะถูก นำไปวิเคราะห์แบบอุปนัย (Analytic Induction) คือ การสรุปข้อมูลเป็นกลุ่มข้อมูลที่จำแนกได้จากการ วิเคราะห์ข้อมูล และทำการตีความและพรรณนา (Descriptive) ข้อมูลแต่ละกลุ่มอย่างเป็นระเบียบ พร้อมยก เหตุผลประกอบจากการศึกษาทบทวนวรรณกรรมที่ได้ค้นคว้ามา กล่าวโดยสรุป เนื้อหาในบทนี้ได้ฉายภาพให้เห็นวิธีดำเนินการวิจัยที่ใช้ในโครงการวิจัยนี้ตาม แนวทางระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method) ซึ่งประกอบไปด้วยเครื่องมือวิจัยเชิงปริมาณ คือ แบบสอบถาม และเครื่องมือวิจัยเชิงคุณภาพ คือ แบบสัมภาษณ์ เพื่อใช้เก็บรวมรวมข้อมูลวิจัยในพื้นที่ 7 จังหวัด ได้แก่ ร้อยเอ็ด ขอนแก่น มหาสารคาม อุดรธานี หนองบัวลำภู เลย และหนองคาย ข้อมูลที่เก็บรวบรวม นี้ได้นำไปวิเคราะห์เชิงปริมาณด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS (Statistical Package for the Social Science) และการทดสอบสมการเชิงทำนายโดยประยุกต์ใช้สถิติแบบการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis: MRA) และทำการวิเคราะห์เชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์แบบเชิงเนื้อหา (Content Analysis) และการวิเคราะห์แบบอุปนัย (Analytic Induction) ตามลำดับ
วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 70 บทที่ 4 ผลการศึกษาเชิงปริมาณ ผลการศึกษาเชิงปริมาณในบทนี้มุ่งเน้นนำเสนอผลการศึกษาเรื่องความต้องการการจัด สวัสดิการด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และอธิบายความสัมพันธ์ ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ กับระดับความต้องการการจัดสวัสดิการด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุ การเก็บข้อมูลด้วยแบบสำรวจได้ดำเนินการในช่วงเดือนเมษายน 2566 ในพื้นที่เขตเทศบาลและนอกเขต เทศบาลของ 7 จังหวัด ได้แก่ ร้อยเอ็ดขอนแก่น มหาสารคาม อุดรธานี หนองบัวลำภู เลย และหนองคาย โดยมีผู้ตอบแบบสอบถามซึ่งประกอบด้วยผู้สูงอายุจำนวนทั้งหมด 400 คน ผลการศึกษาเชิงปริมาณประกอบด้วยผลการวิเคราะห์ทางสถิติเชิงพรรณนาและผลการ ทดสอบสมการเชิงทำนายโดยประยุกต์ใช้สถิติแบบการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis: MRA) ซึ่งสามารถแบ่งเนื้อหาออกเป็น 6 ส่วน ด้วยกัน คือ ส่วนที่ 1 ข้อมูลคุณลักษณะสำคัญส่วนบุคคล ส่วนที่ 2 ประเภทเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับสวัสดิการสังคมสำหรับ ผู้สูงอายุ ส่วนที่ 3 ปัจจัยที่มีอิทธิพลผลต่อความต้องการการจัดสวัสดิการด้านเทคโนโลยีและ นวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุ ส่วนที่ 4 ความพึงพอใจจากการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับ สวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุ ส่วนที่ 5 ข้อเสนอแนะ ส่วนที่ 6 ผลการทดสอบสมการเชิงทำนายโดยประยุกต์ใช้สถิติแบบการวิเคราะห์การ ถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis: MRA)
วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 71 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ส่วนที่ 1 ข้อมูลคุณลักษณะส าคัญส่วนบุคคล ผลการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม โดยการหาจำนวนและค่าร้อยละ จำแนกตาม ปัจจัยด้านคุณลักษณะทั่วไปของผู้สูงอายุ ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษาสถานภาพสมรส จำนวนสมาชิกใน ครอบครัว ภาวะสุขภาพ ความพิการ อาชีพ รายรับของตนเอง รายรับของครอบครัว แหล่งที่มาของรายรับ จำนวนหนี้สินของตนเอง จำนวนหนี้สินของครอบครัว ลักษณะของหนี้สิน จังหวัดที่อยู่อาศัย เขตที่อยู่อาศัย การเป็นสมาชิกทางสังคมอื่น การมีผู้ดูแลผู้สูงอายุ เวลาในการใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีโดยมีรายละเอียดดังตาราง ที่ 4.1 ตารางที่ 4.1 จำนวนและร้อยละของข้อมูลคุณลักษณะสำคัญส่วนบุคคล n=400 ข้อมูลคุณลักษณะส าคัญส่วนบุคคล จ านวน ร้อยละ เพศ ชาย 140 35.0 หญิง 260 65.0 อายุ ต่ำกว่า 68 ปี 138 34.5 68 - 78 ปี 133 33.3 78 ปี ขึ้นไป 129 32.3 ระดับการศึกษา ต่ำกว่าประถมศึกษา 86 21.5 ประถมศึกษา 173 43.3 มัธยมศึกษาตอนต้น 59 14.8 มัธยมศึกษาตอนปลาย/ปวช. 22 5.5 อนุปริญญา/ปวส. 14 3.5 ปริญญาตรี 39 9.8 สูงกว่าปริญญาตรี 7 1.8 สถานภาพสมรส โสด 30 7.5 สมรส 178 44.5 หม้าย 159 39.8 หย่าร้าง/แยกกันอยู่ 33 8.3 จำนวนสมาชิกในครอบครัว น้อยกว่า 3 คน 163 40.8 3-5 คน 139 34.8 5 คนขึ้นไป 98 24.5
วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 72 n=400 ข้อมูลคุณลักษณะส าคัญส่วนบุคคล จ านวน ร้อยละ ภาวะสุขภาพ ไม่มีโรคประจำตัว 230 57.5 มีโรคประจำตัว 170 42.5 ความพิการ ไม่มีความพิการ 369 92.3 พิการทางการมองเห็น 3 0.8 พิการทางการได้ยินและสื่อความหมาย 7 1.8 พิการทางการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกาย 21 5.3 อาชีพ ไม่ได้ประกอบอาชีพ 212 53.0 เกษตรกรรม 79 19.8 รับจ้างทั่วไป 42 10.5 ข้าราชการบำนาญ 50 12.5 ธุรกิจส่วนตัว 15 3.8 อื่น ๆ 2 0.5 รายรับของตนเอง น้อยกว่า 1,500 บาท 151 37.8 1,500 - 4,000 บาท 115 28.7 มากกว่า 4,000 บาท 134 33.5 รายรับของครอบครัว น้อยกว่า 9,321 บาท 116 29.0 9,321 – 20,000 บาท 122 30.5 มากกว่า 20,000 บาท 162 40.5 แหล่งที่มาของรายรับ การประกอบอาชีพ 134 13.9 บุคคลในครอบครัว 270 28.1 เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 330 34.3 เบี้ยยังชีพผู้พิการ 27 2.8 บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 190 19.8 อื่นๆ 10 1.0 จำนวนหนี้สินของตนเอง น้อยกว่า 10,000 บาท 34 8.5 10,000 - 46,564 บาท 42 10.5 มากกว่า 46,564 บาท 324 81.0 จำนวนหนี้สินของครอบครัว น้อยกว่า 25,000 บาท 47 11.8 25,000 - 78,261 บาท 70 17.5 มากกว่า 78,261 บาท 283 70.8
วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 73 n=400 ข้อมูลคุณลักษณะส าคัญส่วนบุคคล จ านวน ร้อยละ ลักษณะของหนี้สิน หนี้ในระบบ 185 46.3 หนี้นอกระบบ 17 4.3 ไม่มีหนี้สิน 198 49.5 จังหวัด ร้อยเอ็ด 74 18.5 ขอนแก่น 105 26.3 มหาสารคาม 54 13.5 อุดรธานี 78 19.5 หนองบัวลำภู 25 6.3 เลย 37 9.3 หนองคาย 27 6.8 เขต ในเขตเทศบาล 156 39.0 นอกเขตเทศบาล 244 61.0 การเป็นสมาชิกกลุ่มกิจกรรม ทางสังคมอื่น เป็นสมาชิก 170 42.5 ไม่เป็นสมาชิก 230 57.5 การมีผู้ดูแลผู้สูงอายุ มีผู้ดูแลผู้สูงอายุ 291 72.8 ไม่มีผู้ดูแลผู้สูงอายุ 109 27.3 เวลาในการใช้อุปกรณ์ สื่อสาร/อินเตอร์เน็ต น้อยกว่า 2.65 นาที 133 33.3 2.65 - 40 นาที 147 36.8 มากกว่า 40 นาที 120 30.0 รวม 400 100.00 จากตาราง 4.1 แสดงข้อมูลคุณลักษณะสำคัญส่วนบุคคล (Demographic of Respondents) พบว่า เพศ ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน 240 คน คิดเป็นร้อยละ 65 และ เพศชาย 140 คน คิดเป็นร้อยละ 35 อายุ ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีอายุต่ำกว่า 68 ปี จำนวน 138 คน คิดเป็นร้อยละ 34.5 รองลงมาคือ อายุ 68-78 ปีจำนวน 133 คน คิดเป็นร้อยละ 33.3 และอายุ 78 ปีขึ้นไป จำนวน 129 คน คิดเป็นร้อยละ 32.3 ระดับการศึกษา ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษา จำนวน 173 คน คิดเป็นร้อยละ 43.3 รองลงมาคือ ระดับต่ำกว่าประถมศึกษา จำนวน 86 คน คิดเป็นร้อยละ 21.5 และ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 59 คน คิดเป็นร้อยละ 14.8
วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 74 สถานภาพการสมรส ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีสถานภาพสมรส จำนวน 178 คน คิดเป็นร้อยละ 44.5 รองลงมาคือ หม้าย จำนวน 159 คน คิดเป็นร้อยละ 39.8 หย่าร้าง/แยกกันอยู่ จำนวน 33 คน คิดเป็นร้อยละ 8.3 และโสด จำนวน 30 คน คิดเป็นร้อยละ 7.5 จำนวนสมาชิกในครอบครัว ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีจำนวนสมาชิกในครอบครัว คือ 4 คน จำนวน 98 คน คิดเป็นร้อยละ 24.5 รองลงมาคือ 3 คน จำนวน 92 คน คิดเป็นร้อยละ 23 และ 5 คน จำนวน 79 คน คิดเป็นร้อยละ 19.8 ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีภาวะสุขภาพแบบไม่มีโรคประจำตัว จำนวน 230 คน คิดเป็น ร้อยละ 57.5 และมีโรคประจำตัว จำนวน 170 คน คิดเป็นร้อยละ 42.5 ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ไม่มีความพิการ จำนวน 369 คน คิดเป็นร้อยละ 92.3 รองลงมาพิการทางการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกาย จำนวน 21 คน คิดเป็นร้อยละ 5.3 พิการทางการได้ยินและ สื่อความหมาย จำนวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ 1.8 และพิการทางการมองเห็น จำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 0.8 ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ไม่ได้ประกอบอาชีพ จำนวน 212 คน คิดเป็นร้อยละ 53.0 รองลงมาคือ อาชีพเกษตรกรรม จำนวน 79 คน คิดเป็นร้อยละ 19.8 ข้าราชการบำนาญ จำนวน 50 คน คิด เป็นร้อยละ 12.5 และรับจ้างทั่วไป จำนวน 42 คน คิดเป็นร้อยละ 10.5 ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีรายรับต่อเดือนของตนเองน้อยกว่า 1,500 บาท จำนวน 151 คน คิดเป็นร้อยละ 37.8 และรายรับของครอบครัว มากกว่า 20,000 บาท จำนวน 162 คิดเป็นร้อยละ 40.5 แหล่งที่มาของรายรับส่วนใหญ่มาจาก เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ จำนวน 330 คน คิดเป็นร้อยละ 34.3 รองลงมา คือ บุคคลในครอบครัว จำนวน 270 คน คิดเป็นร้อยละ 28.1 ในด้านหนี้สิน พบว่า ส่วนใหญ่มีหนี้สินของตนเองมากกว่า 46,564 บาท จำนวน 324 คน คิดเป็นร้อยละ 81.0 และหนี้สินของครอบครัวมากกว่า 78,261 บาท จำนวน 283 คน คิดเป็นร้อยละ 70.8 ลักษณะของหนี้สิน พบว่า ส่วนใหญ่ไม่มีหนี้สินจำนวน 198 คน คิดเป็นร้อยละ 49.5 รองลงมาคือ หนี้ในระบบ จำนวน 185 คน คิดเป็นร้อยละ 46.3 และหนี้นอกระบบ จำนวน 17 คน คิดเป็น ร้อยละ 4.3 ผู้ตอบแบบสอบถามอาศัยอยู่จังหวัดร้อยเอ็ด ขอนแก่น มหาสารคาม อุดรธานีหนองบัวลำภู เลย หนองคาย ซึ่งอาศัยอยู่จังหวัดขอนแก่นมากที่สุด จำนวน 105 คน คิดเป็นร้อยละ 26.3) อยู่นอกเขต เทศบาล จำนวน 244 คน คิดเป็นร้อยละ 61.0 และในเขตเทศบาล จำนวน 156 คน คิดเป็นร้อยละ 39.0 ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นสมาชิกในชมรมผู้สูงอายุ โรงเรียนผู้สูงอายุ หรือกลุ่ม กิจกรรมทางสังคมอื่น จำนวน 230 คน คิดเป็นร้อยละ 57.5 และเป็นสมาชิก จำนวน 170 คน คิดเป็น ร้อยละ 42.5 ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีผู้ดูแล จำนวน 291 คน คิดเป็นร้อยละ 72.8 ผู้ตอบแบบสอบถามใช้เวลาในการใช้อุปกรณ์สื่อสาร/อินเตอร์เน็ต ส่วนใหญ่อยู่ที่ 2.65 - 40 นาที จำนวน 147 คน คิดเป็นร้อยละ 36.8
วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 75 ส่วนที่ 2 ประเภทการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับสวัสดิการสังคมส าหรับผู้สูงอายุ ตารางที่ 4.2 แสดงระดับของการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุ n=400 เทคโนโลยีและนวัตกรรม ที่เกี่ยวข้องกับสวัสดิการสังคมส าหรับผู้สูงอายุ น้อย มาก 2.1) ท่านทำธุรกรรมทางธนาคาร เช่น การถอนเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ/ผู้พิการ จากตู้เอทีเอ็ม การฝากเงิน/ชำระค่าบริการผ่านตู้เอทีเอ็ม 209 52.3% 191 47.8% 2.2) ท่านทำธุรกรรมทางธนาคารออนไลน์ (Internet banking/ E-banking) เช่น การโอนเงิน การชำระ ค่าบริการ เป็นต้น 271 67.8% 129 32.3% 2.3) ท่านร้องทุกข์ผ่านช่องทางโซเชียลมีเดีย เช่น เฟสบุ๊ค (Facebook), ไลน์ (Line) line OA 289 72.3% 111 27.8% 2.4) ท่านร้องทุกข์ผ่านช่องทางทางการของสำนักงานพัฒนาสังคมและความ มั่นคงของมนุษย์ (พม.) เช่น สายด่วน1300 E-mail (พม.) 294 73.5% 106 26.5% 2.5) ท่านใช้แอปพลิเคชันโกลด์ “Gold by dop” 302 75.5% 98 24.5% 2.6) ท่านใช้แอปพลิเคชันเพื่อรับสวัสดิการ เช่น เป๋าตัง หมอพร้อม คนละครึ่ง เป็นต้น 276 69.0% 124 31.0% 2.7) ท่านใช้สมาร์ทโฟน/ไอแพด/แท็ปเล็ต 270 67.5% 130 32.5% 2.8) ท่านใช้รถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า (automobile) 305 76.3% 95 23.8% 2.9) ท่านใช้อุปกรณ์การแพทย์อัจฉริยะ (Telemedicine/ Telehealth) เช่น เครื่องตรวจสอบหัวใจ ปอด เบาหวานระบบประสาท นาฬิกาอัจฉริยะ หุ่นยนต์ อัจฉริยะ บ้านอัจฉริยะ (smart-home/smart-care) เป็นต้น 300 75.0% 100 25.0% 2.10) ท่านใช้เว็บไซต์ของสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ หรือ ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ 291 72.8% 109 27.3% 2.11) ท่านใช้แอปพลิเคชันสั่งอาหาร เช่น แกร็ป (Grab) หรือ แอปพลิเคชันขนส่ง พัสดุ เช่น เคอรี่ (Kerry) แฟลช (Flash) เป็นต้น 293 73.3% 107 26.8% 2.12) ท่านใช้แอปพลิเคชันและเว็บไซต์ อื่น ๆ 276 69.0% 124 31.0%
วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 76 จากตารางที่ 4.2 แสดงระดับของการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับสวัสดิการ สังคมสำหรับผู้สูงอายุ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 400 คน ในภาพรวมมีการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม ที่เกี่ยวข้องกับสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุอยู่ในระดับน้อย และจำนวนผู้ตอบแบบสอบถามที่ใช้เทคโนโลยี และนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุอยู่ในระดับน้อย มีเพียงการทำธุรกรรมทาง ธนาคาร ที่ปรากฏว่าจำนวนผู้ตอบแบบสอบถาม มีการใช้อยู่ในระดับมาก หากพิจารณารายข้อสามารถสรุปได้ ดังนี้ ผู้ตอบแบบสอบถามทำธุรกรรมทางธนาคาร อยู่ในระดับน้อย จำนวน 209 คน (ร้อยละ 52.3) และระดับมาก จำนวน 191 คน (ร้อยละ 47.8) ผู้ตอบแบบสอบถามทำธุรกรรมทางธนาคารออนไลน์ (Internet banking/ E-banking) อยู่ ในระดับน้อย จำนวน 271 คน (ร้อยละ 67.8) และระดับมาก จำนวน 129 คน (ร้อยละ 32.3) ผู้ตอบแบบสอบถามร้องทุกข์ผ่านช่องทางโซเชียลมีเดีย อยู่ในระดับน้อย จำนวน 289 คน (ร้อยละ 72.3) และระดับมาก จำนวน 111 คน (ร้อยละ 27.8) ผู้ตอบแบบสอบถามร้องทุกข์ผ่านช่องทางทางการของสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคง ของมนุษย์ (พม.) อยู่ในระดับน้อย จำนวน 294 คน (ร้อยละ 73.5) และระดับมาก จำนวน 106 คน (ร้อยละ 26.5) ผู้ตอบแบบสอบถามใช้แอปพลิเคชันโกลด์ “Gold by dop” อยู่ในระดับน้อย จำนวน 302 คน (ร้อยละ 75.5) และระดับมาก จำนวน 98 คน (ร้อยละ 24.5) ผู้ตอบแบบสอบถามใช้แอปพลิเคชันเพื่อรับสวัสดิการ อยู่ในระดับน้อย จำนวน 276 คน (ร้อย ละ 69) และระดับมาก จำนวน 124 คน (ร้อยละ 31) ผู้ตอบแบบสอบถามใช้สมาร์ทโฟน/ไอแพด/แท็ปเล็ต อยู่ในระดับน้อย จำนวน 270 คน (ร้อย ละ 67.5) และระดับมาก จำนวน 130 คน (ร้อยละ 32.5) ผู้ตอบแบบสอบถามใช้อุปกรณ์การแพทย์อัจฉริยะ (Telemedicine/ Telehealth) อยู่ใน ระดับน้อย จำนวน 305 คน (ร้อยละ 76.3) และระดับมาก จำนวน 95 คน (ร้อยละ 23.8) ผู้ตอบแบบสอบถามใช้รถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า (automobile) อยู่ในระดับน้อย จำนวน 300 คน (ร้อยละ 75.0) และระดับมาก จำนวน 100 คน (ร้อยละ 25.0) ผู้ตอบแบบสอบถามใช้เว็บไซต์ของสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ หรือ ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุอยู่ในระดับน้อย จำนวน 291 คน (ร้อยละ 72.8) และระดับมาก จำนวน 109 คน (ร้อยละ 27.3) ผู้ตอบแบบสอบถามใช้แอปพลิเคชันสั่งอาหาร หรือแอปพลิเคชันขนส่งพัสดุ อยู่ในระดับน้อย จำนวน 293 คน (ร้อยละ 73.3) และระดับมาก จำนวน 107 คน (ร้อยละ 26.8) ผู้ตอบแบบสอบถามใช้แอปพลิเคชันและเว็บไซต์ อื่น ๆ อยู่ในระดับน้อย จำนวน 276 คน (ร้อยละ 69.0) และระดับมาก จำนวน 124 คน (ร้อยละ 31.0)
วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 77 ผลการวิเคราะห์ลักษณะพฤติกรรมของผู้ตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับใช้เทคโนโลยี และนวัตกรรมที่ เกี่ยวข้องกับสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุโดยใช้สถิติค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) มีรายละเอียดดังตารางที่ 4.3 ตารางที่ 4.3 ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ เกี่ยวข้องกับสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุ เทคโนโลยีและนวัตกรรมสวัสดิการสังคม ค่าเฉลี่ย (x̅) ส่วน เบี่ยงเบน มาตรฐาน (SD) การแปล ผล 2.1) ท่านทำธุรกรรมทางธนาคาร เช่น การถอนเงินเบี้ยยังชีพ ผู้สูงอายุ/ผู้พิการจากตู้เอทีเอ็ม การฝากเงิน/ชำระค่าบริการผ่าน ตู้เอทีเอ็ม 3.39 1.732 สูง 2.2) ท่านทำธุรกรรมทางธนาคารออนไลน์ (Internet banking / E-banking) เช่น การโอนเงิน การชำระ ค่าบริการ เป็นต้น 2.76 1.525 ต่ำ 2.3) ท่านร้องทุกข์ผ่านช่องทางโซเชียลมีเดีย เช่น เฟสบุ๊ค (Facebook), ไลน์(Line) line OA 2.46 1.500 ต่ำ 2.4) ท่านร้องทุกข์ผ่านช่องทางทางการของ สำนักงานพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เช่น สายด่วน1300 E-mail (พม.) 2.51 1.488 ต่ำ 2.5) ท่านใช้แอปพลิเคชันโกลด์ “Gold by dop” 2.42 1.428 ต่ำ 2.6) ท่านใช้แอปพลิเคชันเพื่อรับสวัสดิการ เช่น เป๋าตัง หมอพร้อม คนละครึ่ง เป็นต้น 2.71 1.469 ต่ำ 2.7) ท่านใช้สมาร์ทโฟน/ไอแพด/แท็ปเล็ต 2.81 1.495 ต่ำ 2.8) ท่านใช้รถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า (automobile) 2.47 1.414 ต่ำ 2.9) ท่านใช้อุปกรณ์การแพทย์อัจฉริยะ (Telemedicine/ Telehealth) เช่น เครื่องตรวจสอบหัวใจ ปอด เบาหวานระบบ ประสาท นาฬิกาอัจฉริยะ หุ่นยนต์อัจฉริยะ บ้านอัจฉริยะ (smarthome/smart-care) เป็นต้น 2.45 1.443 ต่ำ 2.10) ท่านใช้เว็บไซต์ของสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคง ของมนุษย์ หรือ ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ 2.55 1.477 ต่ำ 2.11) ท่านใช้แอปพลิเคชันสั่งอาหาร เช่น แกร็ป (Grab) หรือ แอปพลิเคชันขนส่งพัสดุ เช่น เคอรี่ (Kerry) แฟลช (Flash) เป็นต้น 2.48 1.425 ต่ำ 2.12) ท่านใช้แอปพลิเคชันและเว็บไซต์ อื่น ๆ 2.74 1.485 ต่ำ รวม 2.64 1.276 ต่ า
วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 78 จากตารางที่ 4.3 แสดงค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยี และนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 400 คน มี ลักษณะพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุในภาพรวมอยู่ ในระดับต่ำ โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.64 สำหรับการพิจารณาเป็นรายข้อ ปรากฎว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 2.42 - 3.39 ซึ่งสามารถเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้ดังนี้ ลำดับที่ 1 ท่านทำธุรกรรมทางธนาคาร เช่น การถอนเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ/ผู้พิการจากตู้ เอทีเอ็ม การฝากเงิน/ชำระค่าบริการผ่านตู้เอทีเอ็ม (Mean = 3.39) ลำดับที่ 2 ท่านใช้สมาร์ทโฟน/ไอแพด/แท็ปเล็ต (Mean = 2.81) ลำดับที่ 3 ท่านทำธุรกรรมทางธนาคารออนไลน์ (Internet banking/ E-banking) เช่น การ โอนเงิน การชำระ ค่าบริการ เป็นต้น (Mean = 2.76) ลำดับที่ 4 ท่านใช้แอปพลิเคชันและเว็บไซต์ อื่น ๆ (Mean = 2.74) ลำดับที่ 5 ท่านใช้แอปพลิเคชันเพื่อรับสวัสดิการ เช่น เป๋าตัง หมอพร้อม คนละครึ่ง เป็นต้น (Mean = 2.71) ลำดับที่ 6 ท่านใช้เว็บไซต์ของสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ หรือ ศูนย์ พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ (Mean = 2.55) ลำดับที่ 7 ท่านร้องทุกข์ผ่านช่องทางทางการของ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของ มนุษย์ (พม.) เช่น สายด่วน1300 E-mail (พม.) (Mean = 2.51) ลำดับที่ 8 ท่านใช้แอปพลิเคชันสั่งอาหาร เช่น แกร็ป (Grab) หรือ แอปพลิเคชันขนส่งพัสดุ เช่น เคอรี่ (Kerry) แฟลช (Flash) เป็นต้น (Mean = 2.48) ลำดับที่ 9 ท่านใช้รถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า (automobile) (Mean = 2.47) ลำดับที่ 10 ท่านร้องทุกข์ผ่านช่องทางโซเชียลมีเดีย เช่น เฟสบุ๊ค (Facebook), ไลน์(Line) line OA (Mean = 2.46) ลำดับที่ 11 ท่านใช้อุปกรณ์การแพทย์อัจฉริยะ (Telemedicine/ Telehealth) เช่น เครื่อง ตรวจสอบหัวใจ ปอด เบาหวาน (Mean = 2.45) ลำดับที่ 12 ท่านใช้แอปพลิเคชันโกลด์ “Gold by dop” (Mean = 2.42)
วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 79 ส่วนที่3 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความต้องการการจัดสวัสดิการสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมส าหรับ ผู้สูงอายุ ตารางที่ 4.4 แสดงระดับของปัจจัยที่มีอิทธิผลต่อความต้องการการจัดสวัสดิการด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม สำหรับผู้สูงอายุ n=400 ปัจจัยที่มีอิทธิพลผลต่อความต้องการการจัดสวัสดิการสังคม ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมส าหรับผู้สูงอายุ น้อย มาก 3.1 คุณประโยชน์ (Value): หมายถึง ผู้สูงอายุรับรู้ถึงคุณประโยชน์ที่(อาจจะ)เกิดขึ้นจากการใช้เทคโนโลยีและ นวัตกรรม 3.1.1) ท่านทราบถึงประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต และประโยชน์ต่อการทำกิจวัตร ประจำวัน (เช่น (เช่น ระบบติดตาม (Tracking service) นาฬิกาอัจฉริยะ (Smart watch) เครื่องมือทางการแพทย์อัจฉริยะ กล้อง CCTV Smart home ปลั๊กไฟฟ้า อัจฉริยะ ประตูอัจฉริยะ เป็นต้น) 243 60.8% 157 39.3% 3.1.2) ท่านทราบถึงประโยชน์ต่อสุขภาพ หรือสามารถแก้ไขปัญหา/ลดอุปสรรคที่เกิดขึ้น จากความเจ็บป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ (เช่น ลดการเดินทางไปโรงพยาบาล/ธนาคาร/ ร้านอาหาร หรือเพิ่มความสะดวกในมิติอื่น ๆ เป็นต้น) 241 60.3% 159 39.8% 3.1.3) ท่านทราบถึงประโยชน์ในการสร้างความใกล้ชิดกับครอบครัว ญาติและเพื่อน 230 57.5% 170 42.5% 3.1.4) ท่านทราบถึงประโยชน์ในการส่งเสริมกิจกรรมทางสังคม ศาสนพิธี/กิจกรรมทาง ความเชื่อ งานสังสรรค์ และงานประเพณี นันทนาการ เช่น การทำบุญตักบาตร 227 56.8% 173 43.3% 3.1.5) ท่านทราบถึงประโยชน์ในการทำให้รู้เท่าทันความเปลี่ยนแปลงทางสังคม เช่น การติดตามข่าว สารบ้านเมือง การฉีดวัคซีนป้องกันโรค Covid-19 218 54.5% 182 45.5% 3.2 การใช้งาน (Usability): หมายถึง ผู้สูงอายุรับรู้ถึงฟังก์ชันการใช้งานที่ง่ายหรือระบบการทำงานของเทคโนโลยี และนวัตกรรมที่สามารถเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว 3.2.1) ท่านสามารถใช้งานได้ด้วยตนเอง 257 64.3% 143 35.8% 3.2.2) ท่านสามารถใช้งานได้ ก็ต่อเมื่อมีคนช่วยแนะนำขณะใช้งานเท่านั้น เช่น คนใน ครอบครัว ผู้ดูแล เพื่อน อาสาสมัคร เจ้าหน้าที่ธนาคาร เจ้าหน้าที่องค์กร ปกครองส่วน ท้องถิ่น นักสังคมสงเคราะห์ เป็นต้น 241 60.3% 159 39.8% 3.2.3) ท่านสามารถเข้าใจการสื่อความหมายจากภาษาหรือรูปภาพในคู่มือการใช้งาน และท่านเลือกใช้ตัวอักษรแบบตัวหนา และ/หรือ ขนาดใหญ่ 251 62.7% 149 37.3%
วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 80 ปัจจัยที่มีอิทธิพลผลต่อความต้องการการจัดสวัสดิการสังคม ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมส าหรับผู้สูงอายุ น้อย มาก 3.2.4) ท่านสามารถใช้จอแบบสัมผัส (Touch screen) ได้ 245 61.3% 155 38.8% 3.2.5) ท่านสามารถจดจำรหัสผ่านและขั้นตอนการใช้งานได้ เช่น รหัสบัตร ATM บัตร สวัสดิการแห่งรัฐ เครื่องตรวจโรคเบาหวาน 240 60.0% 160 40.0% 3.3 ความประหยัด (Affordability): หมายถึง ผู้สูงอายุรับรู้ถึงราคาที่สามารถจ่ายได้ในการซื้อหรือจัดหาใช้งาน และความประหยัดหรือต้นทุนที่ลดลงเมื่อใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม 3.3.1) ท่านสามารถซื้อหรือจัดหาเทคโนโลยีและนวัตกรรม เช่น สมาร์ทโฟน ไอแพด แท็ปเล็ท นาฬิกาอัจฉริยะ รถเข็นอัจฉริยะ ลิฟท์บันไดอัจฉริยะ เครื่องช่วยฟัง 265 66.3% 135 33.8% 3.3.2) ท่านสามารถจ่ายค่าธรรมเนียมการใช้งานเทคโนโลยีและนวัตกรรม เช่น ค่าธรรมเนียมรายปีบัตรเอทีเอ็ม ค่าบริการอินเตอร์เน็ตรายเดือน เป็นต้น 265 66.3% 135 33.8% 3.3.3) ท่านประหยัดเงินหรือลดค่าใช้จ่ายลง เมื่อใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม เช่น ค่า เดินทาง ค่ารักษาพยาบาล เป็นต้น 260 65.0% 140 35.0% 3.3.4) ท่านได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐ เพื่อใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม เช่น เงินทุน เงิน อุดหนุน เงินกู้เป็นต้น และท่านได้รับเงินสนับสนุนจากครอบครัว เพื่อใช้เทคโนโลยีและ นวัตกรรม เช่น เงินค่าเลี้ยงดู เป็นต้น 289 72.3% 111 27.8% 3.3.5) ท่านได้รับเงินกู้จากผู้อื่นหรือหน่วยงานเอกชน เพื่อใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม เช่น เงินกู้ เงินผ่อน เป็นต้น 295 73.8% 105 26.3% 3.4 การเข้าถึง (Accessibility): หมายถึง ผู้สูงอายุมีข้อมูล ความรู้ และความสามารถในการเข้าถึงแหล่ง หรือมี ระบบนำส่งเทคโนโลยีและนวัตกรรม 3.4.1) ท่านทราบข้อมูลเกี่ยวกับสวัสดิการที่ท่านพึงได้รับผ่านช่องทางดิจิทัล เช่น เว็ป ไซต์ ไลน์ เฟสบุ๊ค เป็นต้น 249 62.3% 151 37.8% 3.4.2) ตู้เอทีเอ็มและธนาคารตั้งอยู่ใกล้กับที่อยู่อาศัยของท่าน 218 54.5% 182 45.5% 3.4.3) ท่านสามารถใช้อินเตอร์เน็ตประชารัฐได้ 280 70.0% 120 30.0% 3.4.4) ท่านสามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตของผู้ให้บริการภาคเอกชนได้ เช่น True Ais Dtac เป็นต้น 270 67.5% 130 32.5% 3.4.5) ท่านมีและสามารถใช้สมาร์ทโฟน หรืออุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศอื่น ๆ (เช่น คอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต นาฬิกาอัจฉริยะ เป็นต้น) ในการลงทะเบียนเพื่อรับสวัสดิการได้ 265 66.2% 135 33.8%
วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 81 ปัจจัยที่มีอิทธิพลผลต่อความต้องการการจัดสวัสดิการสังคม ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมส าหรับผู้สูงอายุ น้อย มาก 3.5 ระบบสนับสนุนทางเทคนิค (Technical Support):หมายถึง ผู้สูงอายุได้รับความช่วยเหลือทางเทคนิคหรือ ด้านดิจิทัลที่เพียงพอและมีคุณภาพ ตลอดระยะเวลาการครองครองเทคโนโลยีและนวัตกรรม 3.5.1) ท่านได้รับการอบรม การแนะนำ หรือความช่วยเหลือทางเทคนิคหรือด้านดิจิทัล 260 65.0% 140 35.0% 3.5.2) ท่านได้รับบริการติดตั้งสำหรับการใช้งาน 265 66.2% 135 33.8% 3.5.3) ท่านได้รับบริการซ่อม/บำรุงรักษาระบบ 273 68.3% 127 31.8% 3.5.4) ท่านเข้าใจคู่มือการใช้เกี่ยวกับเทคนิค 266 66.5% 134 33.5% 3.5.5) ท่านมี (ศูนย์บริการ) ใกล้บ้าน หรือศูนย์ให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์ (Call Center) 261 65.3% 139 34.8% 3.6 ระบบสนับสนุนทางสังคม (Social Support):หมายถึง ผู้สูงอายุได้รับความช่วยเหลือจากคนในครอบครัว เพื่อน และชุมชน ตลอดระยะเวลาการครองครองเทคโนโลยีและนวัตกรรม 3.6.1) ท่านได้รับความช่วยเหลือหรือแรงบันดาลใจจากคนในครอบครัว/ผู้ดูแล ในการใช้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม 244 61.0% 156 39.0% 3.6.2) ท่านได้รับความช่วยเหลือหรือแรงบันดาลใจจากเพื่อนในการใช้เทคโนโลยีและ นวัตกรรม 251 62.7% 149 37.3% 3.6.3) ท่านได้รับความช่วยเหลือหรือแรงบันดาลใจจากคนในชุมชนในการใช้เทคโนโลยี และนวัตกรรม เช่น ผู้นำ อพม. อาสาสมัครอื่น ๆ 251 62.7% 149 37.3% 3.6.4) ท่านได้รับความช่วยเหลือหรือแรงบันดาลใจจากหน่วยงานราชการในการใช้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เช่น พม. สาธารณสุข ปกครอง แรงงาน เป็นต้น 266 66.5% 134 33.5% 3.6.5) ท่านได้รับความช่วยเหลือหรือแรงบันดาลใจผ่านสื่อช่องทางโซเชียลมีเดีย 258 64.5% 142 35.5% 3.7 ความรู้สึกชื่นชอบ (Emotion):หมายถึง ผู้สูงอายุรู้สึกหลงใหล ชื่นชอบ และมีความเชื่อส่วนตัวว่าเทคโนโลยีและ นวัตกรรมเป็นสิ่งที่ดีสำหรับผู้สูงอายุ 3.7.1) ท่านมีความรู้สึกหลงใหลและชื่นชอบในเทคโนโลยีและนวัตกรรม เช่น สมาร์ท โฟน ไลน์ เฟสบุ๊ค เป็นต้น 275 68.8% 125 31.3%
วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 82 ปัจจัยที่มีอิทธิพลผลต่อความต้องการการจัดสวัสดิการสังคม ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมส าหรับผู้สูงอายุ น้อย มาก 3.7.2) ท่านมีความรู้สึกว่าเทคโนโลยีและนวัตกรรมช่วยลดความเครียดและสร้าง ความสุขให้แก่ผู้สูงอายุ 237 59.3% 163 40.8% 3.7.3) ท่านใช้เวลานาน/หมกมุ่นในการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม 297 74.3% 103 25.8% 3.7.4) ท่านต้องการซื้อ/เป็นเจ้าของเทคโนโลยีและนวัตกรรมรุ่นใหม่อยู่เสมอ เช่น สมาร์ทโฟน 306 76.5% 94 23.5% 3.7.5) ท่านมีความรู้สึกว่าเทคโนโลยีและนวัตกรรมสร้างความสุขให้แก่ผู้สูงอายุ 246 61.5% 154 38.5% 3.8 ความสามารถในการพึ่งตนเอง (Independence):หมายถึง ผู้สูงอายุมี (ภาพลักษณ์หรือการถูกมองว่ามี) ความสามารถในการพึ่ง/ดูแลตนเองได้เมื่อใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม 3.8.1) ท่านคิดว่าเทคโนโลยีและนวัตกรรมช่วยลดภาวะพึ่งพิงของผู้สูงอายุในการ ดำรงชีวิต เช่น การส่งสินค้าอุปโภค บริโภค ยารักษาโรค 238 59.5% 162 40.5% 3.8.2) ท่านคิดว่าเทคโนโลยีและนวัตกรรมช่วยให้ผู้สูงอายุลงทะเบียนเพื่อรับสวัสดิการ ได้ด้วยตนเอง 241 60.3% 159 39.8% 3.8.3) ท่านคิดว่าการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมทำให้ท่านมีภาพลักษณ์ที่ดีทันสมัย 244 61.0% 156 39.0% 3.8.4) ท่านคิดว่าการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมทำให้เรียนรู้และเสริมสร้างสิ่งใหม่ ๆ เสมอ 231 57.8% 169 42.3% 3.8.5) ท่านคิดว่าเทคโนโลยีและนวัตกรรมช่วยให้สามารถแบ่งปันประสบการณ์ให้แก่ ผู้อื่นได้ 227 56.8% 173 43.3% 3.9 ทักษะและประสบการณ์ในอดีต (Experiences):หมายถึง ผู้สูงอายุมีประสบการณ์ ทักษะพื้นฐานหรือ คุ้นเคยกับการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม 3.9.1) ท่านมีประสบการณ์ มีทักษะพื้นฐานกับการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม 264 66.0% 136 34.0% 3.9.2) ท่านมีทักษะขั้นสูงในการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม 295 73.8% 105 26.3% 3.9.3) ท่านสามารถเรียนรู้และเข้าใจวิธีการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมจากการฝึกหัดได้ ในครั้งแรก 289 72.3% 111 27.8% 3.9.4) ท่านคุ้นเคยกับการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม 287 71.8% 113 28.2%
วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 83 ปัจจัยที่มีอิทธิพลผลต่อความต้องการการจัดสวัสดิการสังคม ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมส าหรับผู้สูงอายุ น้อย มาก 3.9.5) ท่านมีประสบการณ์ในการลงทะเบียนเพื่อรับสวัสดิการผ่านช่องทางออนไลน์ 284 71.0% 116 29.0% 3.10 ความมั่นใจ (Confidence):หมายถึง ผู้สูงอายุได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนให้ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยปราศจากการความวิตกกังวลหรือความกลัว 3.10.1) ท่านวิตกกังวลว่าจะทำผิดหรือสร้างความเสียหายให้กับอุปกรณ์หรือผู้อื่น เช่น คนในครอบครัว ผู้ดูแล เพื่อน คนในชุมชน หากใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมตามลำพัง 211 52.8% 189 47.3% 3.10.2) ท่านรู้สึกไม่มั่นใจในการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมก็ต่อเมื่อมีผู้ดูแลหรือคนที่ ท่านไว้ใจอยู่ด้วย 219 54.8% 181 45.3% 3.10.3) ท่านกลัวเสียงดัง (ลำโพง) 265 66.3% 135 33.8% 3.10.4) ท่านกลัวสูญเสียความเป็นส่วนตัว เมื่อกรอกข้อมูลส่วนบุคคลในแพลตฟอร์ม ดิจิทัล เช่น ไลน์ เฟสบุ๊ค แอปพลิเคชั่นอื่น ๆ เป็นต้น 172 43.0% 228 57.0% 3.10.5) ท่านรู้สึกไม่มั่นใจในการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมด้วยตนเองเพราะได้รับการ แนะนำ/สอนวิธีการใช้อย่างแม่นยำ 177 44.3% 223 55.8% จากตารางที่ 4.4 พบว่า ความต้องการการจัดสวัสดิการด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมของ ผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 400 คน ได้รับอิทธิจากปัจจัยประเภทต่างๆในระดับน้อยและระดับมาก โดยจำแนกออกเป็นแต่ละประเภท ดังนี้ คุณประโยชน์ (Value): หมายถึง ผู้สูงอายุรับรู้ถึงคุณประโยชน์ที่(อาจจะ)เกิดขึ้นจากการใช้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ผู้ตอบแบบสอบถามทราบถึงประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต และประโยชน์ต่อการทำกิจวัตร ประจำวัน อยู่ในระดับน้อย จำนวน 243 คน (ร้อยละ 60.8) และระดับมาก จำนวน 157 คน (ร้อยละ 39.3) ผู้ตอบแบบสอบถามทราบถึงประโยชน์ต่อสุขภาพ หรือสามารถแก้ไขปัญหา/ลดอุปสรรคที่ เกิดขึ้นจากความเจ็บป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ อยู่ในระดับน้อย จำนวน 241 คน (ร้อยละ 60.3) และระดับ มาก จำนวน 159 คน (ร้อยละ 39.8) ผู้ตอบแบบสอบทราบถึงประโยชน์ในการสร้างความใกล้ชิดกับครอบครัว ญาติและเพื่อน อยู่ในระดับน้อย จำนวน 230 คน (ร้อยละ 57.5) และระดับมาก จำนวน 170 คน (ร้อยละ 42.5) ผู้ตอบแบบสอบทราบถึงประโยชน์ในการส่งเสริมกิจกรรมทางสังคม ศาสนพิธี/กิจกรรมทาง ความเชื่อ งานสังสรรค์ และงานประเพณี นันทนาการ อยู่ในระดับน้อย จำนวน 227 คน (ร้อยละ 56.8) และ ระดับมาก จำนวน 173 คน (ร้อยละ 43.3)
วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 84 ผู้ตอบแบบสอบทราบถึงประโยชน์ในการทำให้รู้เท่าทันความเปลี่ยนแปลงทางสังคม อยู่ใน ระดับน้อย จำนวน 218 คน (ร้อยละ 54.5) และระดับมาก จำนวน 182 คน (ร้อยละ 45.5) การใช้งาน (Usability): หมายถึง ผู้สูงอายุรับรู้ถึงฟังก์ชันการใช้งานที่ง่ายหรือระบบการ ทำงานของเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่สามารถเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว ผู้ตอบแบบสอบสามารถใช้งานได้ด้วยตนเอง อยู่ในระดับน้อย จำนวน 257 คน (ร้อยละ 64.3) และระดับมาก จำนวน 143 คน (ร้อยละ 35.8) ผู้ตอบแบบสอบสามารถใช้งานได้ ก็ต่อเมื่อมีคนช่วยแนะนำขณะใช้งานเท่านั้น อยู่ในระดับ น้อย จำนวน 241 คน (ร้อยละ 60.3) และระดับมาก จำนวน 159 คน (ร้อยละ 39.8) ผู้ตอบแบบสอบสามารถเข้าใจการสื่อความหมายจากภาษาหรือรูปภาพในคู่มือการใช้งาน และท่านเลือกใช้ตัวอักษรแบบตัวหนา และ/หรือ ขนาดใหญ่ อยู่ในระดับน้อย จำนวน 251 คน (ร้อยละ 62.7) และระดับมาก จำนวน 149 คน (ร้อยละ 37.3) ผู้ตอบแบบสอบสามารถใช้จอแบบสัมผัส (Touch screen) ได้อยู่ในระดับน้อย จำนวน 245 คน (ร้อยละ 61.3) และระดับมาก จำนวน 155 คน (ร้อยละ 38.8) ผู้ตอบแบบสอบสามารถจดจำรหัสผ่านและขั้นตอนการใช้งานได้ อยู่ในระดับน้อย จำนวน 240 คน (ร้อยละ 60.0) และระดับมาก จำนวน 160 คน (ร้อยละ 40.0) ความประหยัด (Affordability): หมายถึง ผู้สูงอายุรับรู้ถึงราคาที่สามารถจ่ายได้ในการซื้อ หรือจัดหาใช้งาน และความประหยัดหรือต้นทุนที่ลดลงเมื่อใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม ผู้ตอบแบบสอบสามารถซื้อหรือจัดหาเทคโนโลยีและนวัตกรรม อยู่ในระดับน้อย จำนวน 265 คน (ร้อยละ 66.3) และระดับมาก จำนวน 135 คน (ร้อยละ 33.8) ผู้ตอบแบบสอบสามารถจ่ายค่าธรรมเนียมการใช้งานเทคโนโลยีและนวัตกรรม อยู่ในระดับ น้อย จำนวน 265 คน (ร้อยละ 66.3) และจำนวนมาก จำนวน 135 คน (ร้อยละ 33.8) ผู้ตอบแบบสอบประหยัดเงินหรือลดค่าใช้จ่ายลง เมื่อใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม อยู่ในระดับ น้อย จำนวน 260 คน (ร้อยละ 65.0) และระดับมาก 140 คน (ร้อยละ 35.0) ผู้ตอบแบบสอบได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐ/ครอบครัว เพื่อใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม อยู่ใน ระดับน้อย จำนวน 289 คน (ร้อยละ 72.3) และระดับมาก จำนวน 111 คน (ร้อยละ 27.8) ผู้ตอบแบบสอบได้รับเงินกู้จากผู้อื่นหรือหน่วยงานเอกชน เพื่อใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม อยู่ ในระดับน้อย จำนวน 295 คน (ร้อยละ 73.8) และระดับมาก จำนวน 105 คน (ร้อยละ 26.3) การเข้าถึง (Accessibility): หมายถึง ผู้สูงอายุมีข้อมูล ความรู้ และความสามารถในการ เข้าถึงแหล่ง หรือมีระบบนำส่งเทคโนโลยีและนวัตกรรม ผู้ตอบแบบสอบทราบข้อมูลเกี่ยวกับสวัสดิการที่ท่านพึงได้รับผ่านช่องทางดิจิทัล อยู่ในระดับ น้อย จำนวน 249 คน (ร้อยละ 62.3) และระดับมาก จำนวน 151 คน (ร้อยละ 37.8)
วิจัยความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 85 ผู้ตอบแบบสอบมีตู้เอทีเอ็มและธนาคารตั้งอยู่ใกล้กับที่อยู่อาศัย อยู่ในระดับน้อย จำนวน 218 คน (ร้อยละ 54.5) และระดับมาก จำนวน 182 คน (ร้อยละ 45.5) ผู้ตอบแบบสอบสามารถใช้อินเตอร์เน็ตประชารัฐได้อยู่ในระดับน้อย จำนวน 280 คน (ร้อยละ 70.0) และระดับมาก จำนวน 120 คน (ร้อยละ 30.0) ผู้ตอบแบบสอบสามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตของผู้ให้บริการภาคเอกชนได้ อยู่ในระดับน้อย จำนน 270 คน (ร้อยละ 67.5) และระดับมาก จำนวน 130 คน (ร้อยละ 32.5) ผู้ตอบแบบสอบมีและสามารถใช้สมาร์ทโฟน หรืออุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศอื่น ๆ ในการ ลงทะเบียนเพื่อรับสวัสดิการได้ อยู่ในระดับน้อย จำนวน 265 คน (ร้อยละ 66.2) และระดับมาก จำนวน 135 คน (ร้อยละ 33.8) ระบบสนับสนุนทางเทคนิค (Technical Support): หมายถึง ผู้สูงอายุได้รับความ ช่วยเหลือทางเทคนิคหรือด้านดิจิทัลที่เพียงพอและมีคุณภาพ ตลอดระยะเวลาการครองครองเทคโนโลยีและ นวัตกรรม ผู้ตอบแบบสอบได้รับการอบรม การแนะนำ หรือความช่วยเหลือทางเทคนิคหรือด้านดิจิทัล อยู่ในระดับน้อย จำนวน 260 คน (ร้อยละ 65.0) และระดับมาก จำนวน 140 คน (ร้อยละ 35.0) ผู้ตอบแบบสอบได้รับบริการติดตั้งสำหรับการใช้งาน อยู่ในระดับน้อย จำนวน 265 คน (ร้อยละ66.2) และระดับมาก จำนวน 135 คน (ร้อยละ 33.8%) ผู้ตอบแบบสอบได้รับบริการซ่อม/บำรุงรักษาระบบ อยู่ในระดับน้อย จำนวน 273 คน (ร้อยละ 68.3) และระดับมาก จำนวน 127 คน (ร้อยละ 31.8) ผู้ตอบแบบสอบเข้าใจคู่มือการใช้เกี่ยวกับเทคนิค อยู่ในระดับน้อย จำนวน 266 คน (ร้อยละ 66.5) และระดับมาก จำนวน 134 คน (ร้อยละ 33.5) ผู้ตอบแบบสอบมีศูนย์บริการใกล้บ้าน หรือศูนย์ให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์ (Call Center) อยู่ ในระดับน้อย จำนวน 261 คน (ร้อยละ 65.3) และระดับมาก จำนวน 139 คน (ร้อยละ 34.8) ระบบสนับสนุนทางสังคม (Social Support): หมายถึง ผู้สูงอายุได้รับความช่วยเหลือจาก คนในครอบครัว เพื่อน และชุมชน ตลอดระยะเวลาการครองครองเทคโนโลยีและนวัตกรรม ผู้ตอบแบบสอบได้รับความช่วยเหลือหรือแรงบันดาลใจจากคนในครอบครัว/ผู้ดูแล ในการใช้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม อยู่ในระดับน้อย จำนวน 244 คน (ร้อยละ 61.0) และระดับมาก 156 (ร้อยละ 39.0) ผู้ตอบแบบสอบได้รับความช่วยเหลือหรือแรงบันดาลใจจากเพื่อนในการใช้เทคโนโลยีและ นวัตกรรม อยู่ในระดับน้อย จำนวน 251 คน (ร้อยละ 62.7) และระดับมาก จำนวน 149 คน (ร้อยละ 37.3) ผู้ตอบแบบสอบได้รับความช่วยเหลือหรือแรงบันดาลใจจากคนในชุมชนในการใช้เทคโนโลยี และนวัตกรรม อยู่ในระดับน้อย จำนวน 251 คน (ร้อยละ 62.7) และระดับมาก จำนวน 149 คน (ร้อยละ 37.3)