The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

คู่มือประเมินมูลค่าต้นไม้ ปีบัญชี 2562

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by akkhanit pinrod, 2020-09-28 23:48:43

คู่มือประเมินมูลค่าต้นไม้ ปีบัญชี 2562

คู่มือประเมินมูลค่าต้นไม้ ปีบัญชี 2562

คมู่ อื การประเมนิ มลู คา่ ต้นไม้

โครงการฝกึ อบรมหลักสตู รผปู้ ระเมนิ มลู คา่ ตน้ ไม้

โดย....
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
ร่วมกับ มหาวิทยาลยั เกษตรศาสตร์

คมู่ อื การประเมนิ มูลคา่ ตน้ ไม้

โครงการฝกึ อบรมหลกั สตู รผปู้ ระเมนิ มลู คา่ ตน้ ไม้

โดย
ธนาคารเพอ่ื การเกษตรและสหกรณก์ ารเกษตร
รว่ มกบั มหาวิทยาลยั เกษตรศาสตร์
เมษายน 2563

จดั ทำโดย ธนาคารเพอ่ื การเกษตรและสหกรณก์ ารเกษตร (ธ.ก.ส.)
โทรศัพท์ 0-2558-6555 โทรสาร 0-2558-6449
https://www.baac.or.th

ทีป่ รกึ ษากติ ตมิ ศกั ดิ์ ผจู้ ัดการธนาคารเพอ่ื การเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
รองผ้จู ดั การธนาคารเพอ่ื การเกษตรและสหกรณก์ ารเกษตร (ธ.ก.ส.)
นายอภริ มย์ สขุ ประเสริฐ
นายสรุ ชัย รัศมี คณบดีคณะวนศาสตร์ มหาวทิ ยาลัยเกษตรศาสตร์

ผศ.ดร. นิคม แหลมสกั

คณะผจู้ ดั ทำ ธนาคารเพอื่ การเกษตรและสหกรณก์ ารเกษตร (ธ.ก.ส.)
มหาวทิ ยาลยั เกษตรศาสตร์ นายศรายุทธ ธรเสนา
ผศ.ดร. สาพศิ ดิลกสัมพันธ์
นายอดเิ รก วงษค์ งคำ
ผศ.ดร. กอบศกั ด์ิ วนั ธงไชย นายกิตติ กระภูชัย
นายณฐั วัฒน์ คลังทรพั ย์ นายอำนาจ มณีรัตน์
ผศ.ดร. นสิ า เหลก็ สูงเนิน
นายพัฒน์พงศ์ เนียมมศี รี
ดร.นรินธร จำวงษ์ นางอรพรรณ รจุ ิชีพ
ผศ.ดร.วิรงรอง ดวงใจ นายมนตรี หอมตา
ดร. วีนัส ต่วนเครือ
นายเจริญ ทวลี าภสกุล
ดร. พิชติ ลำใย นายวรวุฒิ ภูริพิทักษ์โอฬาร
นางสาวละอองดาว เถาวพ์ ิมาย นายภริ เดช แซโ่ ล้
นางสาวปัทมา แสงวศิ ิษฎภ์ ิรมย์

คำนำ

ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ได้ดำเนินการโครงการธนาคารต้นไม้ ซึ่งมี
แนวคดิ ทีจ่ ะส่งเสริมและสนบั สนนุ ให้เกษตรกรลูกค้าปลูกต้นไม้ตามแนวทางพระราชดำริ “ ปลูกป่า 3 อย่าง
ประโยชน์ 4 อยา่ ง ” โดยใช้ธนาคารตน้ ไมเ้ ป็นกลไกขับเคลื่อน สง่ เสริมใหเ้ กดิ กระบวนการมีส่วนร่วมในการ
จัดการทรัพยากรธรรมชาติของชุมชนอย่างต่อเนื่อง สามารถพึ่งตนเองได้ จนนำไปสู่ชุมชนอุดมสุขอย่างมี
คุณภาพ

ต่อมา คณะกรรมการ ธ.ก.ส. เมื่อคราวประชุมครั้งที่ 1/2553 วันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2553 มีมติ
เห็นชอบให้ใช้ต้นไม้ในโครงการธนาคารต้นไม้เป็นหลักประกันเงินกู้ ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมให้สมาชิกใน
โครงการธนาคารต้นไม้ สามารถนำต้นไม้มาเพิ่มมูลค่าให้กับที่ดินในการจดทะเบียนจำนองเป็นประกันหน้ี
เงนิ กู้ธนาคารได้

ธ.ก.ส. จงึ จดั ทำโครงการฝึกอบรมหลกั สูตรผู้ประเมินมูลคา่ ต้นไม้ ประจำปบี ัญชี 2561 - 2562 เพ่ือ
เปน็ การเตรียมพรอ้ มแกพ่ นักงานและผูต้ รวจวัดและประเมินมูลค่าต้นไมใ้ ห้มคี วามรู้ความเขา้ ใจและมีจำนวน
เพียงพอต่อการปฏิบัติงานในการดำเนินการใช้ต้นไม้เป็นหลักประกัน ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมให้ลูกค้าท่ี
เป็นผู้เขา้ รว่ มโครงการธนาคารต้นไม้ สามารถนำตน้ ไม้ในท่ีดินแปลงดังกล่าวมาเพ่ิมมลู ค่าให้กับที่ดินในการ
จดทะเบียนจำนองเป็นประกันหนี้เงนิ กู้ธนาคารได้ นอกจากนี้ยังได้จัดทำคู่มอื เพื่อเป็นแนวทางให้ผูป้ ระเมิน
ได้ศึกษาและทำความเขา้ ใจรายละเอียดที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้ในการประเมนิ มลู คา่ ต้นไมต้ ่อไป

มหาวทิ ยาลัยเกษตรศาสตร์
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณก์ ารเกษตร

เมษายน 2563

สารบญั

บทที่ 1 โครงการพัฒนาธนาคารตน้ ไมส้ ชู่ มุ ชนไม้มคี ่า หนา้
1.1 โครงการชุมชนไม้มีค่า 1
1.2 โครงการธนาคารตน้ ไม้ 2
1.3 โครงการธนาคารตน้ ไม้กับกลไกการลดกา๊ ซเรอื นกระจก 5
9
บทที่ 2 หลักเกณฑ์ ข้นั ตอนวธิ ปี ฏิบตั กิ ารใช้ต้นไม้เป็นหลักประกัน 15
2.1 คณุ สมบตั ขิ องลูกค้า ต้นไม้ และท่ีดนิ ทใี่ ชเ้ ป็นหลักประกัน 16
2.2 การประเมนิ มลู คา่ และกำหนดราคาประเมนิ ทด่ี นิ พรอ้ มต้นไม้ 17
2.3 วงเงนิ กู้ การรบั รองไม้ยนื ตน้ การจดจำนอง การกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมในการ 19
ตรวจสอบและประเมินมูลค่าตน้ ไมเ้ พอื่ ใช้เป็นหลักประกนั การประกนั วนิ าศภยั
2.4 ขั้นตอนวิธปี ฏิบตั ิการใช้ไม้ยืนต้นเป็นหลักประกันหนเ้ี งินกู้ พระราชบัญญัตหิ ลกั ประกนั 20
ทางธุรกจิ
2.5 การจดทะเบยี นสญั ญาหลักประกนั ทางธรุ กจิ 35
2.6 การขอยกเลิกการจดทะเบยี นสญั ญาหลกั ประกนั ทางธุรกจิ 35
2.7 ข้นั ตอนติดตามหลงั จดจำนอง จดทะเบียนสญั ญาหลกั ประกันทางธุรกจิ 35
37
บทท่ี 3 การตรวจวดั และประเมนิ มูลค่าต้นไม้ 38
3.1 การสำรวจและตรวจวัดตน้ ไม้ 40
3.2 การประเมนิ ผลผลิตของต้นไม้ 46
3.3 หลกั การประเมนิ มูลคา่ ของต้นไม้ 49
3.4 ขน้ั ตอนการประเมนิ มลู ค่าของตน้ ไม้ 67
68
บทที่ 4 การใช้เครอ่ื งมือวดั ขนาดและคณุ ภาพต้นไม้ 69
4.1 หลกั การและวธิ ีการในการวดั ต้นไม้ 75
4.2 เครื่องมือและหลักการวัดตน้ ไม้ 79
4.3 การสรา้ งเครื่องมือพน้ื ฐานในการวดั ต้นไม้ 80
83
บทที่ 5 การให้บริการของระบบนเิ วศป่าไม้ และแนวทางการประเมนิ มลู ค่า 85
5.1 ระบบนิเวศปา่ ไม้ 87
5.2 การใหบ้ ริการทางนิเวศของป่าไม้
5.3 การจ่ายคา่ ตอบแทนการให้บริการของระบบนเิ วศ
5.4 วิธกี ารประเมนิ มลู ค่าการให้บริการทางนเิ วศของป่าไม้

(2) I คู่มอื การประเมนิ มูลค่าตน้ ไม้

สารบญั

บทที่ 6 ลกั ษณะทางนิเวศวทิ ยาและวนวัฒนวทิ ยาของพรรณไม้ หน้า
และการประเมินสภาพพ้นื ท่ีทเี่ หมาะสม 95

6.1 บทนำ 96
6.2 ปัจจยั สิ่งแวดลอ้ มสำคัญท่ีมอี ทิ ธิพลตอ่ การเตบิ โตและพัฒนาของต้นไม้ท่ีเกี่ยวข้อง 98

กับสมรรถนะท่ีดิน 103
6.3 วนวฒั นวธิ ีทสี่ ำคญั 108
6.4 ชนดิ ไมท้ ี่นยิ มปลูกในประเทศไทย 127
6.5 การประเมินสภาพพ้นื ทเี่ หมาะสมต่อการปลูกไมแ้ ละการคดั เลือกชนดิ ทีเ่ หมาะสม
135
กับสภาพพืน้ ที่ 136
บทท่ี 7 การประเมนิ การกกั เกบ็ คาร์บอนของต้นไม้ 139
147
7.1 การกักเก็บคารบ์ อนของต้นไม้ 148
7.2 วิธีการประเมินการกกั เก็บคารบ์ อน 149
บทท่ี 8 กฎหมายท่เี ก่ียวข้องกับไม้เศรษฐกิจ 153
8.1 พระราชบัญญัติปา่ ไม้ (ฉบับท่ี 8) พ.ศ. 2562 154
8.2 พระราชบญั ญตั สิ วนป่า พ.ศ. 2535 และท่ีแก้ไขเพิ่มเติม 156
8.3 พระราชบญั ญตั ิเลอ่ื ยโซ่ยนต์ พ.ศ. 2545 159
8.4 พระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. 2558 160
8.5 การจัดการท่ีดินปา่ ไมต้ ามมติคณะกรรมการนโยบายทีด่ ินแห่งชาติ 160
บทท่ี 9 จรรยาบรรณของผูต้ รวจประเมิน 161
9.1 บทบาทหน้าท่ีของผปู้ ระเมินมลู ค่าทรัพย์สิน 165
9.2 จรรยาบรรณ คณุ ธรรม จรยิ ธรรม ของผู้ตรวจประเมินมลู คา่ ทรัพยส์ ิน 167
9.3 ข้อควรปฏิบัติ และข้อควรละเว้นของผูต้ รวจประเมินมูลคา่ ทรัพยส์ นิ 171
9.4 กฎหมายท่เี กีย่ วข้องกบั ผู้ตรวจประเมินมลู คา่ ทรัพย์สิน 172
บรรณานุกรม 183
ภาคผนวก 188
ภาคผนวกที่ 1 ราคากลางตน้ ไม้ 191
ภาคผนวกที่ 2 แบบตรวจวดั และประเมินมูลคา่ ตน้ ไม้ (ธต. 6/1- ธต. 6/4) 193
ภาคผนวกท่ี 3 รายงานการประชมุ คณะกรรมการธนาคารต้นไม้ (ธต. 5)
ภาคผนวกท่ี 4 ใบสมคั ร/ทะเบยี นสมาชิกฯ (ธต.1)
ภาคผนวกที่ 5 แบบแสดงความประสงค์เขา้ ร่วมโครงการพัฒนาธนาคารต้นไม้

สู่ชมุ ชนไมม้ ีคา่ (ธต.3)

คมู่ ือการประเมินมลู คา่ ตน้ ไม้ I (3)

สารบัญตาราง

ตารางท่ี ตารางผลผลติ ไมส้ ักทป่ี ลูกในภาคตะวนั ออกเฉยี งเหนอื ระยะปลูก 2 x 4 เมตร หนา้
3.1 ชั้นคุณภาพพน้ื ท่ีระดับดีมาก (SI=30) 41
ตารางปรมิ าตรไม้สกั ไมร่ วมเปลอื ก
3.2 ตารางปรมิ าตรไม้ยางนาไม่รวมเปลอื ก 44
3.3 ราคาจำหน่ายไมส้ ักสวนป่าขององค์การอุตสาหกรรมปา่ ไม้ 45
3.4 ตง้ั แต่ วันท่ี 1 มกราคม พ.ศ. 2560 47
รายช่อื พรรณไม้กลุ่มที่ 1 ต้นไมท้ ม่ี ีอตั ราการเตบิ โตเรว็ รอบตดั ฟันสัน้
3.5 มูลค่าของเนื้อไม้ต่ำ 52
รายชอื่ พรรณไม้กลมุ่ ท่ี 2 ตน้ ไมท้ ม่ี ีอตั ราการเติบโตปานกลาง รอบตดั ฟนั ยาว
3.6 มูลค่าของเนื้อไม้คอ่ นขา้ งสงู 54
รายชอ่ื พรรณไม้กลมุ่ ที่ 4 ต้นไม้ที่มีอตั ราการเตบิ โตช้า รอบตดั ฟนั ยาว
3.7 มลู คา่ ของเนื้อไม้สงู มาก 58
การประเมนิ มูลคา่ ของต้นไม้กลมุ่ ที่ 1 ตน้ ไม้ทมี่ ีอัตราการเติบโตเรว็ รอบตดั ฟันสนั้
3.8 มลู ค่าของเนื้อไม้ต่ำ 61
การประเมินมูลคา่ ของตน้ ไม้กลุ่มที่ 2 ต้นไม้ทีม่ ีอตั ราการเติบโตปานกลาง
3.9 รอบตดั ฟันยาว มูลคา่ ของเนื้อไม้ค่อนข้างสงู 62
การประเมินมูลคา่ ของตน้ ไม้กลมุ่ ท่ี 3 ตน้ ไม้ท่มี ีอตั ราการเติบโตปานกลาง
3.10 รอบตัดฟนั ยาว มูลคา่ ของเน้ือไมส้ งู 63
การประเมนิ มลู คา่ ของต้นไม้กลุ่มที่ 4 ต้นไม้ทม่ี ีอตั ราการเติบโตช้า รอบตดั ฟนั ยาว
3.11 มูลค่าของเนื้อไมส้ ูงมาก 65
ความสมั พนั ธ์ของสง่ิ มีชวี ิตในระบบนเิ วศ
5.1 ตัวอย่างการประยุกตใ์ ชก้ ารประเมนิ มูลค่าสิ่งแวดลอ้ ม 81
5.2 การจดั กลมุ่ สมรรถนะทดี่ ินสำหรบั ไม้เศรษฐกจิ โดยใช้ปัจจยั ความชน้ื และดนิ 88
6.1 ระดับความเหมาะสมต่อการเจริญเตบิ โตของไมเ้ ศรษฐกจิ ตามเขตสมรรถนะที่ดนิ 128
6.2 รายชอื่ การแบ่งกลมุ่ จังหวดั ในการสง่ เสริมปลกู ไมเ้ ศรษฐกิจ 131
6.3 ปริมาณคารบ์ อนของชนิด/กล่มุ พรรณไม้ตา่ ง ๆ ทน่ี ิยมปลกู ในประเทศไทย 133
7.1 อัตราการกกั เก็บคารบ์ อนในมวลชวี ภาพรวมของพรรณไมท้ ่ีนยิ มปลูก 137
7.2 ในประเทศไทย 138
สมการแอลโลเมตรีสำหรับการประเมินมวลชวี ภาพของพรรณไม้
7.3 สมการแอลโลเมตรีของตน้ ไม้รายต้นแยกตามชนดิ ป่าของประเทศไทย 141
7.4 สดั สว่ นคารบ์ อนในเน้ือไม้ของชนดิ /พรรณไมต้ า่ ง ๆ 142
7.5 สัดสว่ นนำ้ หนักแหง้ ของรากต่อต้นของต้นไม้ชนดิ /พรรณไม้ต่าง ๆ 143
7.6 144

(4) I คู่มอื การประเมนิ มูลคา่ ต้นไม้

สารบัญภาพ

ภาพที่ หนา้

1.1 แนวคิดของโครงการชมุ ชนไม้มีคา่ 3

1.2 เปา้ หมายของโครงการชุมชนไม้มคี ่า 4

1.3 ขั้นตอนการพฒั นาโครงการ T-VER 10

1.4 ขั้นตอนการรับรองผลการประเมนิ การลดกา๊ ซเรือนกระจกโครงการ LESS 13

2.1 ตัวอย่างการบันทึกสร้างข้อมลู หลักประกนั 31

2.2 การใช้ไม้ยืนต้นเป็นหลักประกันแบบ 1 สญั ญาหลกั ประกัน ตอ่ 1 หลักประกนั 33

2.3 การใช้ไม้ยนื ตน้ เปน็ หลักประกันเงนิ กูแ้ ละมีหลักประกนั ประเภทอื่นร่วม 33

3.1 เครอ่ื งกำหนดตำแหน่งบนพืน้ โลก (Global Positioning System หรือ GPS) 39

3.2 เทปวัดเส้นผ่านศูนย์กลาง (ซ้าย) และสายวัดตัวสำหรบั วดั เส้นรอบวง (ขวา) 39

3.3 ตัวอย่างเคร่ืองมือวัดความสูงของตน้ ไม้ 40

3.4 เปรียบเทียบแก่นไม้สักอายุประมาณ 30 ปี (ซา้ ย) และ อายุประมาณ 15 ปี (ขวา) 48

3.5 ลกั ษณะโพรงตรงกลางลำต้นของไมส้ กั ซงึ่ ทำให้ไม้มลู ค่าลดลง 48

3.6 ลกั ษณะตาตาย หรือตาผขุ องไม้สกั ซ่ึงเปน็ ตำหนิทำให้ไมม้ ีมูลค่าลดลง 49

3.7 การใชเ้ ครื่องเจาะไม้ (increment borer) เพื่อเกบ็ ตัวอยา่ งเนื้อไม้ไปวิเคราะห์ 50

สมบตั ิเน้ือไม้

3.8 ขั้นตอนการประเมนิ มลู ค่าของตน้ ไม้ 51

3.9 ตัวอย่างการประเมินมลู ค่าไม้สกั ขนาดเส้นรอบวง 78.50 เซนติเมตร 60

4.1 หลกั มาตรฐานในการวัดขนาดเส้นผ่านศนู ย์กลางและความโตวดั รอบ 70

4.2 เทปวดั เสน้ ผ่านศูนย์กลางและความโตวดั รอบ 71

4.3 เวอรเ์ นียร์ แคลลิปเปอร์ 71

4.4 หลักการทางเรขาคณิตในการวัดความสงู ต้นไม้ 72

4.5 หลักการทางตรโี กณมิติในการวดั ความสงู ต้นไม้ 73

4.6 ฮากา แอลติมิเตอร์ (Haga altimeter) 74

4.7 กล้องวดั ระยะ (Laser Rangefinder ) ยี่หอ้ Nikon รุ่น Forestry Pro 74

4.8 การวัดความสงู โดยใช้ไม้ 1 ตอ่ 10 75

4.9 การวัดความสูงโดยใชเ้ คร่ืองมือ ครสิ เตน ฮิปโซมิเตอร์ 77

(Christen’s hypsometer)

5.1 ลำดบั การกนิ อาหารเป็นห่วงโซอ่ าหาร (food chain) ของสิ่งมีชวี ติ ในระบบนเิ วศ 82

5.2 เครอื ข่ายใยอาหาร (food web) ในระบบนเิ วศปา่ ไมท้ ีม่ ีความซบั ซ้อน 83

5.3 ประเภทของมลู ค่าสิง่ แวดล้อม 87

5.4 ตวั อยา่ งการประเมินมลู คา่ ทรัพยากรธรรมชาติ 88

5.5 โครงสรา้ งและการทำงานในการใหบ้ ริการของระบบนเิ วศป่าไม้ 90

คมู่ ือการประเมินมูลคา่ ตน้ ไม้ I (5)

สารบัญภาพ หนา้
90
ภาพท่ี
5.6 แนวคดิ ในการกำหนดผลกระทบทางสงิ่ แวดล้อมทเี่ กิดขึน้ 94
97
จากการทำลายระบบนเิ วศป่าไม้ 99
5.7 แบบประเมนิ มูลคา่ ความเสยี หายทางสง่ิ แวดล้อมจากการทำลายป่าไม้
6.1 กลุม่ ปัจจัยสงิ่ แวดล้อมท่ีมีผลกระทบต่อการจดั การสวนปา่ 100
6.2 การเปล่ยี นแปลงอุณหภูมิตามระดับการเปล่ยี นแปลง 102
110
ของความสงู จากระดับนำ้ ทะเล 112
6.3 ตวั อย่างกลมุ่ ชดุ ดนิ และหน้าตัดของดิน 113
6.4 การดดู แสงในช่วงคล่ืนตา่ ง ๆ ของรงควตั ถุในใบพืช 115
6.5 ลกั ษณะของต้นกระถินเทพา ก) ลำต้น ข) ใบ ค) ดอก และ ง) ผล 117
6.6 ลักษณะของต้นแดง ก) ดอก ข) ฝัก และ ค) เมล็ด 118
6.7 ลกั ษณะของต้นตะเคยี นทอง ก) ตน้ ข) ดอก และ ค) ผล 120
6.8 ลกั ษณะของต้นพะยงู ก) ลำต้น ข) ดอก และ ค) ผล 122
6.9 ลกั ษณะของตน้ มะค่าโมง ก) ลำต้น ข) ดอก ค) ฝกั ง) เมล็ด 123
6.10 ลกั ษณะของต้นยางนา ก) ลำตน้ ข) ดอก และ ค) ผล 125
6.11 ลกั ษณะของต้นสนคารเิ บยี ก) ลำตน้ ข) เปลือก ค) เนอ้ื ไม้ ง) ดอก และ จ) ผล 127
6.12 ลักษณะของต้นสนประดิพัทธ์ ก) ลำต้น ข) ดอก และ ค) ใบ 130
6.13 ลักษณะของตน้ สกั ก) ลำต้น ข) กลา้ ไม้สัก ค) เนือ้ ไม้ ง) ดอก และ จ) ผล 136
6.14 ลกั ษณะของต้นประดู่ ก) ลำต้น ข) ดอก และ ค) ผล 140
6.15 ลักษณะของตน้ โกงกาง ก) ลำต้น ข) ดอก และ ค) ผล 145
6.16 แผนที่เขตสมรรถนะที่ดินเพ่ือการปลกู ไม้เศรษฐกจิ
7.1 แหลง่ สะสมคาร์บอนของป่าไม้
7.2 การวางแปลงตัวอย่างและการเกบ็ ข้อมลู ของต้นไม้ในแปลงตัวอย่าง
7.3 ขั้นตอนการประเมินการกักเก็บคาร์บอนในมวลชวี ภาพ

บทท่ี 1

โครงการพฒั นาธนาคารตน้ ไมส้ ่ชู ุมชนไมม้ คี า่

2 I โครงการพฒั นาธนาคารต้นไม้สชู่ ุมชนไมม้ ีค่า

1.1 โครงการชมุ ชนไม้มีค่า

1.1.1 ความเปน็ มาของโครงการชุมชนไมม้ ีคา่

ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) นอกสถานที่อย่างเป็นทางการ ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏ
เพชรบูรณ์ เม่ือวันท่ี 18 กันยายน พ.ศ. 2561 ท่ปี ระชุมได้อนุมตั ิในหลกั การให้จดั ทำโครงการชุมชนไม้มีค่า
ซ่ึงเปน็ โครงการที่ 3 ของรฐั บาลท่ีดำเนินการตามคำเรียกร้องของประชาชน เพ่อื สนบั สนนุ ให้เกษตรกรปลูก
ไม้มีค่าเพื่อใช้เป็นหลักทรัพย์ในการค้ำประกัน หรือเป็นทรัพย์สินสว่ นตัวที่สามารถปลูกและตัดขายได้อย่าง
ถูกต้องตามกฎหมาย ซ่ึงเป็นโครงการต่อเนื่องจากการใช้ไม้ยืนต้นเป็นสินทรัพย์ค้ำประกัน และอนุญาตให้
ปลกู และตดั ต้นไม้มคี ่าได้

หลังจากรัฐบาลอนุมัติในหลักการให้จัดทำโครงการชุมชนไม้มีค่า ธนาคารเพื่อการเกษตรและ
สหกรณก์ ารเกษตร (ธ.ก.ส.) สำนกั งานใหญ่ บางเขน ได้จัดพธิ ีลงนามบันทึกขอ้ ตกลงความร่วมมือ “โครงการ
ชุมชนไม้มีค่า” ระหว่างนายอภิรมย์ สุขประเสริฐ ผู้จัดการ ธ.ก.ส. กับ นายยรรยง กางการ ผู้อำนวยการ
สำนักส่งเสริมการปลูกป่า กรมป่าไม้ นางประเสริฐสุข เพฑูรย์สิทธิชัย ผู้อำนวยการองค์การบริหารจัดการ
ก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก. และนางจุฬารัตน์ นิรัติศยกลุ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนา
เศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) หรือ สพภ. เพื่อขับเคลื่อนโครงการชุมชนไม้มีค่า เมื่อวันท่ี
27 ธันวาคม พ.ศ. 2561 โดยให้เกษตรกรสามารถสร้างมูลค่าจากการใช้ต้นไม้เป็นหลักประกันทางธุรกิจ
สรา้ งสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ ตลอดจนสร้างความม่ันคงทางเศรษฐกิจใหก้ บั ประเทศ

ความร่วมมือในครั้งนี้ กรมป่าไม้จะส่งเสริมการให้ความรู้ด้านพันธุ์ไม้ การคัดเลือกพันธุ์
การเพาะพันธุ์ ตลอดจนสนับสนุนการสรา้ งศูนยเ์ พาะชำ โรงเพาะชำชมุ ชนในทุกจังหวัดทั่วประเทศ เพ่ือเป็น
การรองรับการผลิตกล้าไม้ให้เพียงพอต่อความต้องการปลูกต้นไม้ตามโครงการดังกล่าว อบก. ให้การ
สนบั สนนุ ความร่วมมือด้านวิชาการ การศกึ ษาและวิจัย เพื่อการดำเนนิ กจิ กรรมการกักเก็บก๊าซเรือนกระจก
ซ่ึงเปน็ สาเหตุของการเกิดภาวะโลกรอ้ นและการเปลี่ยนแปลงสภาพภมู ิอากาศ โดยพฒั นาต่อยอดองค์ความรู้
ภูมิปัญญาของชุมชน การพัฒนาศักยภาพบุคลากรของ ธ.ก.ส. ในการพัฒนาโครงการสนับสนุนกิจกรรม
ลดก๊าซเรือนกระจก (Low Emission Support Scheme: LESS) และโครงการลดก๊าซเรือนกระจก
ภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (Thailand Voluntary Emission Reduction Program: T-VER)
ทงั้ จากกิจกรรมภาคป่าไม้และพื้นทส่ี เี ขียวของภาคประชาชน ชนุ ชน และภาคส่วนตา่ ง ๆ ตามโครงการชมุ ชน
ไม้มีค่าทั่วประเทศ สพภ. จะร่วมให้ความรู้ด้านการปลูกป่าเชงิ นเิ วศ การประเมินมูลค่า ระบบนิเวศในพ้นื ที่
ดำเนินการ และการจัดทำแผนที่พื้นที่สีเขียวเพ่ือแสดงข้อมูลและกิจกรรมการอนุรักษ์ ตลอดจนการใช้
ประโยชน์อย่างยั่งยืนจากการปลูกต้นไม้ให้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการ (ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์
การเกษตร, 2561)

1.1.2 เป้าหมายและแนวทางการดำเนินงาน

จุฬารัตน์ (2562) สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) ได้กล่าวถึงแนวคิด
ของโครงการชุมชนไม้มีคา่ ไวด้ ังน้ี

คู่มอื การประเมินมูลคา่ ต้นไม้ I 3

• การแปลงสินทรัพย์ (ต้นไม้ยืนตน้ ) ใหเ้ ปน็ ทุน เพ่อื เปน็ การออมระยะยาว เป็นรายได้เสริมในการ
ดำรงชีพ และเป็นการเพิ่มพื้นที่สีเขียวเพื่อรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ผู้ปลูกควรจะมีรายได้จากแหล่งอื่น ๆ
เพ่ือการดำรงชพี

• เจ้าของต้นไม้ที่ได้รับการแปลงสินทรัพย์ ยังอาจใช้สินทรัพย์ดังกล่าวในการดำเนินธุรกรรม
ด้านการเงนิ อื่น ๆ รวมทง้ั เปน็ หลกั ทรัพยค์ ำ้ ประกนั ทางการเงินกบั สถาบนั ทางการเงนิ

• การส่งเสริมการปลูกต้นไม้เป็นทุนระยะยาว มุ่งเน้นการสร้างแรงจูงใจให้เป็นแหล่งรายได้เสริม
จากการเกบ็ รกั ษาต้นไม้ในระยะยาว มากกวา่ รายได้หลัก

• ต้นไม้ให้ประโยชน์ทางอ้อม ได้แก่ บริการระบบนิเวศ (ecosystem services) อาทิ การรักษา
แหล่งต้นน้ำลำธาร การเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ สะสมคาร์บอน บรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพ
ภูมิอากาศ เป็นต้น (ภาพที่ 1.1)

ภาพท่ี 1.1 แนวคดิ ของโครงการชมุ ชนไม้มีค่า
ทม่ี า: สำนักงานพฒั นาเศรษฐกจิ จากฐานชวี ภาพ (องคก์ ารมหาชน) (2562)

รัฐบาลมีเป้าหมายให้เกิดชุมชนไม้มีค่า 20,000 แห่งทั่วประเทศ เพื่อพื้นที่ป่าเพิ่มขึ้น 26 ล้านไร่
ภายในระยะเวลา 10 ปี (ภายในปี พ.ศ. 2571) มีจำนวนตน้ ไม้ในประเทศเพิม่ ขนึ้ 40 ล้านตน้ ภายใน 1 ปี และมี
จำนวนต้นไม้ที่ปลูกเพิ่มขึ้น 1,040 ล้านต้นภายใน 10 ปี ให้ประชาชนจำนวน 2.6 ล้านครัวเรือน มีความมั่นคง
ในอาชีพตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจประมาณ 1.04

4 I โครงการพฒั นาธนาคารต้นไมส้ ู่ชุมชนไมม้ ีค่า
ล้านล้านบาท (ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร, 2561; สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ,
2561) (ภาพที่ 1.2) ซึ่งจะมีการทำทะเบียนชุมชน ในการขยายผลสร้างเป็นเครือข่าย มีการลงทะเบียน การ
คดั เลือกพันธ์ุ การเพาะชำกล้าไม้ การหาวิธปี ระเมินมูลค่า และสง่ เสริมการแปรรูปอย่างครบวงจร ซ่ึงเช่ือว่าจะ
ทำให้คุณภาพชวี ติ ของประชาชนดีขึน้ ดว้ ยการมหี ลักประกนั ระยะยาว สามารถใชเ้ ป็นเงนิ ออม หรอื เปน็ ธนาคาร
ต้นไม้ของประชาชนเอง และยงั สามารถลดปญั หากา๊ ซเรือนกระจกอีกดว้ ย

ภาพท่ี 1.2 เปา้ หมายของโครงการชุมชนไม้มคี า่
ท่ีมา: สำนกั งานคณะกรรมการวจิ ัยแหง่ ชาติ (2561)

คู่มอื การประเมินมลู คา่ ต้นไม้ I 5

แนวทางการดำเนินโครงการชมุ ชนไมม้ ีค่าจะยึดแนวทางการปฏบิ ัติตามกรอบของโครงการธนาคาร
ต้นไม้ของ ธ.ก.ส. ซึ่งจะมีการกำหนดคุณสมบัติของผู้กู้ คุณสมบัติของที่ดิน คุณสมบัติของต้นไม้หรือ
หลักประกัน ประเภทต้นไม้ที่ ธ.ก.ส. รับเป็นหลักประกัน และการประเมินมูลค่าหลักประกัน ซึ่งจะกล่าว
โดยละเอยี ดในบทที่ 2 หลักเกณฑ์ ขั้นตอน วิธปี ฏบิ ตั กิ ารใชต้ น้ ไมเ้ ป็นหลักประกัน

1.2 โครงการธนาคารตน้ ไม้

1.2.1 ความเปน็ มาของโครงการธนาคารตน้ ไม้

ในปี พ.ศ. 2548 คณะกรรมการผู้นำชุมชนแห่งชาติ นำโดย นายประยงค์ รณรงค์ ได้มีแนวคิดเรื่อง
การส่งเสริมการปลูกต้นไม้ใช้หนี้เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน ด้วยการจัดทำโครงการนำร่องตามแผน
ยุทธศาสตร์การปลูกต้นไม้ใช้หนีเ้ พื่อแก้ไขปัญหาความยากจน การปลูกไม้ยืนต้น ซึ่งเปรียบเสมือนการออม
ทรัพย์ หรือการลงทุนในระยะยาวที่มีความเสี่ยงน้อย ก่อนที่จะยกระดับขึ้นเป็นวาระแห่งชาติว่าด้วยการ
ปลูกต้นไม้ใชห้ นี้ ภายใต้ยทุ ธศาสตรก์ ารพึ่งพาตนเอง และความมั่นคงด้านที่อยู่อาศัย พลังงาน อาหาร และ
ยา ในปี พ.ศ. 2550 โดยมุ่งเน้นไปที่การแก้ไขปัญหาโลกร้อนและปัญหาหนี้สินของเกษตรกรควบคู่กันไป
พร้อมทั้งเป็นการวางรากฐานการพฒั นาเศรษฐกิจภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยส่งเสรมิ ให้
ปลูกต้นไม้ตามแนวพระราชดำริ “ปลูกป่า 3 อยา่ ง ประโยชน์ 4 อย่าง” แทนการปลกู พืชเศรษฐกิจเชิงเดี่ยว
โดยการลดพื้นที่การเกษตรเชิงเดี่ยวลงแต่ยังคงรายได้เท่าเดิม ในขณะเดียวกันยังสามารถพึ่งพาตนเองได้
ด้วยการปลูกพืช 7 กลุ่ม ประกอบด้วย พืชน้ำ พืชใต้ดิน พืชเรี่ยดิน พืชชั้นล่าง พืชชั้นกลาง พืชชั้นบน และ
พืชเถา ในที่ดินของตนเองหรือที่ดินสาธารณะประโยชน์ รมิ ถนน หว้ ย หนอง คลอง บงึ ป่าชมุ ชน ป่าชายเลน
ที่ดินบริเวณวัด โรงเรียน และป่าต้นน้ำของสว่ นรวม และเพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจใหแ้ ก่เกษตรกรผู้ปลูก
ต้นไม้ตามโครงการธนาคารต้นไม้ ธ.ก.ส. จึงได้ประสานขอความร่วมมือจาก สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจาก
ฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) โดยให้ ศูนย์วิจัยป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ดำเนิน
การศึกษา โครงการส่งเสริมการปลูกตน้ ไมเ้ พื่อเป็นทนุ ระยะยาว ซ่งึ ผลการวิจัยพบว่า สามารถดำเนินการตาม
โครงการธนาคารต้นไม้ได้ และให้ประเมินมูลค่าต้นไม้ด้วยการแปลงมูลค่าต้นไม้ในขณะที่มีชีวิตและ
เจริญเติบโตให้เป็นสินทรัพย์ เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรผู้ปลูกต้นไม้ จากผลการวิจัยดังกล่าว ธ.ก.ส.
จงึ ได้ปรับปรุงแนวทางการดำเนนิ งานเพื่อสนบั สนุนให้เกษตรกรปลูกต้นไม้ โดยจัดทำ โครงการธนาคารต้นไม้
ซึ่งเป็นนโยบายสำคัญนโยบายหนึ่งของ ธ.ก.ส. พร้อมกับเสนอไปยังรัฐบาลผ่านกลไกของคณะกรรมการ
เสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนแห่งชาติ ภายหลังได้เปลี่ยนชื่อเป็น ธนาคารต้นไม้ โดยมี ว่าที่ร้อยตรี ไสว
แสงสว่าง เป็นผู้จัดการธนาคารตน้ ไม้คนแรก

ในการประชมุ วนั ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2553 คณะกรรมการ ธ.ก.ส. ไดม้ มี ติเห็นชอบใหใ้ ช้ต้นไม้ตาม
โครงการธนาคารต้นไม้ เป็นหลักประกันหนี้เงนิ กู้ โดยใช้เกณฑ์การประเมินมูลค่าต้นไมต้ ามเกณฑ์มาตรฐาน
การเติบโตและมูลค่าเนื้อไม้ที่กรมป่าไม้ สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (สพภ.) องค์การ
อุตสาหกรรมป่าไม้ (อ.อ.ป.) และคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ทำการศึกษาไว้ (คณะ
วนศาสตร,์ 2552; กรมปา่ ไม,้ 2548) โดยใหใ้ ช้เปน็ หลักประกนั เงินกูไ้ ด้ไมเ่ กินร้อยละ 50 ของมูลค่าไม้ ซ่ึงจะ
ทำให้เกษตรกรผู้ปลูกต้นไม้เข้าถึงแหล่งเงินกู้ในระบบที่มีดอกเบี้ยต่ำ เพื่อแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ ซึ่งจะ
ช่วยให้เกดิ ความมั่นคงกับชวี ติ ในระยะยาวตอ่ ไป

6 I โครงการพัฒนาธนาคารต้นไม้สู่ชุมชนไมม้ ีค่า

1.2.2 เป้าหมายหลกั ของโครงการธนาคารตน้ ไม้

ธนาคารต้นไม้มีแนวคิดที่จะให้ประชาชนโดยเฉพาะเกษตรกรปลูกต้นไม้พื้นบ้านที่มีมูลค่าทาง
เศรษฐกิจเหมาะสม และเกือ้ กูลต่อระบบนิเวศน์ในทดี่ ินทำกินของตนเอง ที่ดนิ สาธารณะ หรือท่ีดินส่วนรวม
ของชมุ ชน โดยมเี ป้าหมายหลกั ของโครงการ ดังนี้

1) ปลูกต้นไม้ช่วยฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การปลูกต้นไม้ตามโครงการธนาคาร
ต้นไม้ เป็นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของเกษตรกรรม โดยสร้างฐานทรัพยากรป่าไม้บนที่ดินทำกินของ
เกษตรกร อันจะส่งผลใหเ้ กดิ ความหลากหลายทางชีวภาพบนที่ดินทำกนิ ทำให้เกดิ การฟ้ืนฟคู วามสมดุลของ
ระบบนิเวศนใ์ นชมุ ชนท้องถิ่น ลดปญั หาภาวะโลกร้อน ภัยแลง้ และปญั หาดา้ นส่งิ แวดลอ้ มอื่น ๆ และยังเพ่ิม
ปริมาณต้นไม้ เพิ่มพื้นที่สีเขียว เพิ่มพื้นที่ป่าไม้ อันเป็นฐานทรัพยากรสำคัญของการพัฒนาที่สอดคล้องกับ
ศักยภาพของประเทศในระยะยาว

2) ปลูกต้นไม้เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ ด้วยการสนับสนุนการทำเกษตรที่ใกล้เคียงกับป่าธรรมชาติ
หรอื ท่เี รยี กวา่ วนเกษตร ช่วยให้เกษตรกรสามารถสร้างผลผลิตทห่ี ลากหลายภายในพื้นที่เดียวกันทั้งอาหาร
ยา ไม้สำหรับสร้างบ้านเรือน หรือพืชพลังงาน ผลผลิตส่วนที่เหลือจากการอุปโภคบริโภคสามารถจำหน่าย
สร้างรายได้รายวนั รายสัปดาห์ รายเดือน และรายปี หรือเป็นรายได้เมื่อยามฉุกเฉิน โดยเกษตรกรสามารถ
ตัดไม้ไปจำหน่ายปลดเปลื้องหนี้สินที่มีอยู่กับสถาบันการเงินทั้งในระบบและนอกระบบ นอกจากนี้ ช่วยให้
เกษตรกรพ่ึงตนเองได้ทางเศรษฐกิจตามหลักปรชั ญาของเศรษฐกจิ พอเพียง รวมถงึ ยังเป็นการช่วยสร้างฐาน
ทรัพยากรในการพัฒนาเศรษฐกิจของชาติในระยะยาว เพราะต้นไม้เป็นทรัพยากรที่เกี่ยวข้องกับการผลิต
อาหาร (เพือ่ สขุ ภาพ) ยา (สมนุ ไพร) พลังงาน (จากพืช) การพัฒนาวิสาหกจิ ชมุ ชน และอตุ สาหกรรมอ่ืน ๆ ท่ี
ใชว้ ัตถุดิบจากไม้

3) ปลูกต้นไมส้ ร้างบำนาญยามชรา การปลกู ตน้ ไม้ยังเปน็ การออมในระยะยาว เปน็ บำนาญชีวติ เม่ือ
ถงึ วยั ชรา ชว่ ยให้เกษตรกรพงึ่ ตนเองได้ทางเศรษฐกจิ ตามหลักปรชั ญาของเศรษฐกจิ พอเพยี ง

4) ปลูกต้นไม้สร้างเครือข่ายชุมชนเข้มแข็งจากภูผาสู่มหานที เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการจะเกิด
การปรับเปลี่ยนวิธีการผลิตและรูปแบบการดำรงชีวิตโดยหันมาพึ่งพาและใช้ประโยชน์จากทรัพยากร
ธรรมชาติบนพื้นฐานของความพอเพียง พึ่งพา ผูกพัน และยั่งยืน เกิดเป็นเครือข่ายคนปลูกต้นไม้ในแต่ละ
ชุมชนตามภูมิสังคม เชื่อมโยงเครือข่ายจากภูผาสู่มหานที นอกจากนี้ การปลูกต้นไม้ยังแก้ไขปัญหาการ
วา่ งงาน ช่วยให้เกิดการสร้างงานในชุมชน ทัง้ เด็ก ผหู้ ญงิ คนพิการ และคนชรา สามารถเขา้ มามีส่วนร่วมได้
ตัง้ แตก่ ระบวนการผลติ การแปรรูป และการตลาดของผลติ ภัณฑท์ เ่ี กิดจากตน้ ไม้

การสร้างชุมชนให้เขม้ แข็งโดยใชต้ ้นไม้เป็นเคร่ืองมือ ต้นไม้สามารถเป็นได้ทั้งทรัพย์สิน หลักทรัพย์
และหลักประกันของเกษตรกร ที่สำคัญการปลูกต้นไม้ยังเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับสมาชิกและชมุ ชนให้
รักษาทดี่ ินทำกิน ป้องกนั การขายท่ดี ินใหก้ ับนายทนุ เม่อื มีอาชพี ที่มัน่ คงและมีที่ดนิ ทำกนิ เป็นของตนเองก็ไม่
จำเป็นต้องอพยพเข้ามาหางานทำในเมือง หรือบุกรุกตัดไม้ทำลายป่าเพื่อหาพื้นที่ทำกินใหม่ ซึ่งเป็นการ
ทำลายทรัพยากรอันมีค่าของส่วนรวม พร้อมกันนี้ยังได้กำหนดมาตรการและหลักเกณฑ์ในการประเมิน
มูลค่าทางสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการปลูกป่า และมูลค่าทางเศรษฐกิจ โดยการประเมินจากมูลค่าของต้นไม้
และคิดค่าตอบแทนมูลค่าต้นไม้ให้แก่เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ โดยได้จัดทำเป็นโครงการนำร่อง 84
ชมุ ชน เกษตรกร 4,999 ครัวเรือน สง่ เสรมิ ให้ปลูกตน้ ไมใ้ นทด่ี นิ ตนเองอยา่ งนอ้ ยเฉล่ีย 2 - 3 ไร่ เพื่อช่วยเพิ่ม

คมู่ อื การประเมนิ มูลคา่ ต้นไม้ I 7

พนื้ ทปี่ ่าไม้ให้กลบั คืนมา ในขณะเดยี วกันยังได้เร่งขยายผลการดำเนินงานโครงการธนาคารต้นไม้ออกไปเป็น
20,000 ชุมชน มีสมาชิก 1 ล้านครัวเรือน ร่วมกันปลูกต้นไม้ 1,000 ล้านต้น ภายในปี พ.ศ. 2563 โดยมี
หน่วยงานท้ังภาครฐั และภาคเอกชนเปน็ ผูส้ นบั สนนุ และมีชุมชนเปน็ ศูนยก์ ลางการขบั เคลอ่ื นโครงการ

1.2.3 ชนิดพรรณไม้ที่ธนาคารต้นไม้รับขน้ึ ทะเบียนและแนวทางการประเมินมลู ค่าตน้ ไม้

ธ.ก.ส. รว่ มกบั กรมปา่ ไม้ สำนักงานพัฒนาเศรษฐกจิ จากฐานชีวภาพ (องคก์ ารมหาชน) หรือ สพภ.
องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (อ.อ.ป.) และคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำหนดเกณฑ์
มาตรฐานการประเมินมลู ค่าต้นไม้ โดยจำแนกตน้ ไม้ออกเป็น 4 กลุ่ม ตามอัตราการเติบโตและมลู ค่าเนื้อไม้
(คณะวนศาสตร์, 2552; กรมป่าไม้, 2548) เพื่อใช้ในการประเมินราคาต้นไม้สำหรับใช้เป็นหลักประกัน
หนี้เงินกู้ และบันทึกในสมุดธนาคารต้นไม้เพื่อคำนวณค่าตอบแทนมูลค่าต้นไม้ โดยประเภทของต้นไม้ท้ัง
4 กลุ่มประกอบด้วย

กลมุ่ ท่ี 1 ตน้ ไมท้ ี่มีอตั ราการเติบโตเรว็ รอบตดั ฟนั ส้นั มลู คา่ ของเน้ือไม้ต่ำ

ต้นไม้ในกลุ่มนี้มีอัตราการเติบโตค่อนข้างเร็ว และอัตราการเติบโตจะถึงจุดสูงสุดภายในระยะเวลา
อันสั้น หลังจากนั้นต้นไม้จะมีอัตราความเพิ่มพูนของเนื้อไม้ลดน้อยลง หากไม่ตัดมาใช้ประโยชน์ คุณภาพ
ของเนื้อไม้จะลดต่ำลง ส่วนมากนำไปใช้ในอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ ชิ้นไม้สับเพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้า
ไม้แบบสำหรับงานก่อสร้าง รวมทั้งไม้ที่ใช้ในการก่อสร้างบ้านเรือน และเครื่องเรือนในระดับท้องถิ่น อาทิ
ไม้กระถินเทพณรงค์ กระถนิ เทพา สะเดา สนประดิพัทธ์ นนทรปี ่า มะฮอกกานี จามจุรี เล่ียน งิ้วปา่ กระทุ่มบก
สะตอ สะเดาเทียม ทุเรยี นป่า เหรียง โกงกาง ทงุ่ ฟา้ และสะเดาไทย เป็นต้น

กล่มุ ท่ี 2 ตน้ ไม้ที่มีอตั ราการเตบิ โตปานกลาง รอบตดั ฟนั ยาว มูลค่าของเนอ้ื ไม้ค่อนข้างสงู

ตน้ ไมใ้ นกล่มุ นี้มีอัตราการเติบโตชา้ กวา่ กลุ่มที่ 1 แต่สามารถเติบโตได้เปน็ ระยะเวลายาวนาน มูลค่า
ของเนื้อไม้จะเพิ่มมากขึ้นเมื่อต้นไม้มีขนาดใหญ่ขึ้น อย่างไรก็ตามมูลค่าของเนื้อไม้ก็ไม่สูงมากนัก เนื่องจาก
การใช้ประโยชน์ยังค่อนข้างจำกัด และคุณสมบัติของเนื้อไม้ที่ไสกบ และตกแต่งยาก จึงมักใช้ใน
อุตสาหกรรมไม้แปรรูป การก่อสร้าง และเฟอร์นิเจอร์ อาทิ ประดู่ ยางนา ตะเคียนทอง แดง ทัง กันเกรา
สนสองใบ สนสามใบ ยมหนิ จำปาทอง (จำปาปา่ ) ประด่ปู า่ สาธร ไขเ่ ขยี ว และสนทะเล เป็นตน้

กล่มุ ที่ 3 ตน้ ไมท้ ่ีมีอตั ราการเติบโตปานกลาง รอบตัดฟันยาว มูลคา่ ของเนือ้ ไมส้ ูง

ต้นไม้ในกลุม่ นี้มีอัตราการเติบโตช้ากว่ากลุ่มท่ี 1 โดยมีการเติบโตใกล้เคียงกับต้นไมใ้ นกลุ่มที่ 2 แต่
มูลค่าของเนื้อไม้สูงกว่าไมใ้ นกลุ่มท่ี 2 โดยเฉพาะอย่างยิ่งเม่ือต้นไม้มีขนาดใหญ่ขึ้น มูลค่าของเนื้อไม้จะเพมิ่
สงู ขน้ึ อย่างมาก เนอื่ งจากเนื้อไม้มีความสวยงาม แข็งแรง ทนทาน เปน็ ที่ต้องการของตลาดทั้งภายในประเทศ
และต่างประเทศ สามารถใช้ในอุตสาหกรรมไม้แปรรูป การก่อสร้าง และเฟอร์นิเจอร์ราคาสูง ได้แก่ ไม้สัก
และมะปนิ (มะตูม)

กล่มุ ท่ี 4 ต้นไมท้ ี่มีอตั ราการเติบโตชา้ รอบตัดฟันยาว มูลคา่ ของเน้อื ไม้สูงมาก

ตน้ ไมก้ ลุ่มนี้มีอัตราการเติบโตช้ามาก โดยเฉพาะในระยะแรก จงึ ไมค่ ่อยนิยมปลูกกันมากนัก แม้ว่าจะ
มีมลู ค่าของเนื้อไม้สูงมากก็ตาม การที่เนื้อไม้มีความสวยงามมาก และมลู ค่าของเน้ือไม้เพิ่มสูงข้ึนอย่างมากเมื่อ

8 I โครงการพัฒนาธนาคารต้นไม้สู่ชุมชนไมม้ ีค่า

ไม้มีขนาดใหญ่ขึ้น จึงนำไปใช้ในอุตสาหกรรมก่อสร้าง และเฟอร์นิเจอร์ราคาสูง รวมทั้งเหมาะสำหรับปลูกเพื่อ
การอนุรักษ์ เนื่องจากมอี ายยุ นื นาน อาทิ ไมพ้ ยงุ ชงิ ชัน จันทรห์ อม มะค่าโมง หลมุ พอ และเคีย่ ม เปน็ ตน้

ในการประเมินมูลค่าของต้นไม้ในแต่ละกลุ่มนั้น ต้นไม้ที่จะได้รับการประเมินมูลค่าจะต้องมีอายุ
มากกว่า 1 ปขี ึ้นไป เพอ่ื ให้มน่ั ใจได้ว่าต้นไม้น้ันสามารถต้ังตัวและมีโอกาสรอดสงู และต้องมขี นาดเสน้ รอบวง
ลำต้นไม่ต่ำกว่า 3 เซนติเมตร ณ ความสูง 130 เซนติเมตรจากพื้นดิน โดยจะต้องเป็นต้นไม้ที่ปลูกในที่ดิน
ของตนเองหรอื ท่ดี ินของชมุ ชน และต้นไม้จะตอ้ งเปน็ กรรมสิทธข์ิ องผปู้ ลูก

แนวทางการดำเนินโครงการธนาคารตน้ ไม้มีการกำหนดหลักเกณฑ์ในการประเมินราคาท่ีดินพร้อม
ต้นไมต้ ามโครงการธนาคารต้นไมเ้ ป็นประกันหนี้เงินก้ธู นาคาร ซึ่งจะกล่าวโดยละเอียดในบทที่ 2 หลักเกณฑ์
ขั้นตอน วธิ ีปฏิบตั กิ ารใช้ตน้ ไมเ้ ปน็ หลักประกัน

1.2.4 บทสรุปธนาคารตน้ ไม้

ธนาคารต้นไม้ (Tree Bank) เป็นโครงการภายใต้การดำเนินงานและการสนับสนุนจากธนาคารเพ่ือ
การเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือ ธ.ก.ส. มีรากฐานมาจากแนวพระราชดำริ เรื่อง การอนุรักษ์ทรัพยากร
ป่าไม้ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จ
พระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง รวมถึงการดำเนินงานโครงการปลูกต้นไม้
ใช้หน้ี จากประสบการณ์และการสั่งสมองค์ความร้จู ากโครงการนำร่องตามแผนยุทธศาสตร์การปลูกต้นไม้ใช้หน้ี
เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน ตามวาระแห่งชาติว่าด้วยการปลูกต้นไม้ใช้หนี้ของคณะกรรมการผู้นำชุมชน
แหง่ ชาติภายใต้ยุทธศาสตร์การพึ่งพาตนเอง และความมั่นคงด้านที่อยู่อาศัย พลังงาน อาหาร และยารักษาโรค
มุ่งเน้นแก้ไขปัญหาโลกร้อน ปัญหาความยากจนของเกษตรกร และเป็นการวางรากฐานการพัฒนาเศรษฐกิจ
โดยใช้กจิ กรรมการปลูกต้นไม้ตามแนวพระราชดำริ ปลกู ป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง สรา้ งระบบการจัดการ
ทรพั ยากรชุมชนรว่ มกัน เช่ือมโยงเป็นเครือข่าย ใหส้ ามารถพ่ึงพาตนเองได้ในระดับครอบครัว ชุมชน เครือข่าย
จนถึงระดับประเทศ ซง่ึ ต่อมาได้เปลย่ี นชื่อเป็นธนาคารต้นไม้

ธนาคารต้นไม้มีแนวคิดที่ต้องการให้ภาคประชาชนโดยเฉพาะเกษตรกรปลูกต้นไม้ในที่ดินทำกินของ
ตนเอง โดยต้นไม้ที่เจริญเติบโตจะเป็นสินทรัพย์ที่สามารถช่วยแก้ปัญหาความยากจน ในขณะเดียวกันยังมี
ส่วนช่วยแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม และส่งเสริมการปลูกต้นไม้แห่งความพอเพียงขึ้นในใจ ด้วยการ
ถ่ายทอดองค์ความรู้ แนวคิด และข้อปฏิบัติของหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จ
พระบรมชนกาธเิ บศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่มุ่งให้เกิดการพึ่งพาตนเอง เกิดความ
มน่ั คงยั่งยืนดา้ นท่ีอยู่อาศัย พลังงาน อาหาร และยารกั ษาโรค

จากข้อดีและประโยชน์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับเกษตรกร ชุมชน สังคม และประเทศดังที่กล่าวมาแล้ว
ข้างตน้ จึงกล่าวได้ว่า ธนาคารต้นไม้ เป็นแนวคิดด้านการเงินรูปแบบใหม่ท่ีทำให้การออมทรัพย์เท่ากับการ
อนุรักษ์และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ยังเป็นการปฏิวัติแนวคิดเรื่อง หลักทรัพย์ ในการประกอบ
ธุรกรรมกับสถาบันการเงิน โดยมุ่งเน้นเรื่องของ คุณค่า มากกว่า มูลค่า ของสินทรัพย์และยังเป็นการสร้าง
ทางเลือก ให้กับเกษตรกรในการแก้ปัญหาภาวะหนี้สิน ไปพร้อม ๆ กับสร้างทางออก ให้กับสังคมไทย
ท่ามกลางวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคมที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาประเทศตามกระแสทุนนิย มของ
โลกาภิวัตน์

คูม่ อื การประเมินมูลค่าต้นไม้ I 9

1.3 โครงการธนาคารตน้ ไม้กับกลไกการลดกา๊ ซเรอื นกระจก

1.3.1 โครงการลดก๊าซเรอื นกระจกภาคสมคั รใจตามมาตรฐานของประเทศไทย

องค์การบริหารจัดการกา๊ ซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) (อบก.) ในฐานะหนว่ ยงานท่ีทำหน้าที่ใน
การส่งเสรมิ การบรหิ ารจัดการก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย ได้พัฒนารปู แบบตลาดคาร์บอนภาคสมัครใจ
ขึ้นเพื่อสนับสนุนให้ประเทศไทยมีกิจกรรมการลดก๊าซเรือนกระจกโดยใช้กลไกตลาดอย่างมีประสิทธิภาพ
ซึ่งรวมถึงกลไกการพัฒนาที่สะอาดของพิธีสารเกียวโต คือ กิจกรรมการปลูกป่า (A/R CDM) หรืออาจเรียก
โครงการ CDM ภาคป่าไม้ ซึง่ จดั เป็นโครงการทมี่ ลี กั ษณะพเิ ศษแตกต่างจากโครงการ CDM อื่น ๆ เน่ืองจาก
เปน็ โครงการประเภทการเพิ่มการกักเก็บกา๊ ซเรอื นกระจก ในขณะทโ่ี ครงการอ่ืน ๆ เปน็ โครงการประเภทลด
การปล่อยก๊าซเรือนกระจก อย่างไรก็ตามความยุ่งยากซับซ้อนของการดำเนินงานด้านป่าไม้ ทำให้โครงการ
CDM ภาคปา่ ไมเ้ กิดข้ึนได้ยากในประเทศไทย ในขณะทห่ี น่วยงานต่าง ๆ ท้งั ภาครัฐและเอกชนมีความสนใจ
ที่จะดำเนินงานด้านป่าไม้เพราะนอกจากจะช่วยลดก๊าซเรือนกระจกแล้ว ในขณะเดียวกันยังก่อให้เกิด
ประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม อบก. จึงมีแนวคิดในการพัฒนาโครงการลดก๊าซ
เรือนกระจกตามมาตรฐานของประเทศไทย (Thailand Voluntary Emission Reduction Program:
T-VER) ขึน้ เพอ่ื ส่งเสรมิ การซื้อขายคาร์บอนเครดิตในตลาดคาร์บอนภาคสมัครใจภายในประเทศ และสร้าง
โอกาสทีจ่ ะส่งเสรมิ โครงการทม่ี คี ุณภาพออกสตู่ ลาดทางการต่อไป

โครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย หรือ T-VER มี
วตั ถปุ ระสงค์เพื่อกำหนดรายละเอยี ดการขนึ้ ทะเบยี น และการบรหิ ารจดั การโครงการตามมาตรฐานสากลท่ี
เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย โดยมีหลักการพื้นฐานสำคัญ 6 ประการเพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อ
คุณภาพของคาร์บอนเครดิตจากโครงการ T-VER ประกอบด้วย 1) ความตรงประเด็น (relevance)
2) ความสมบูรณ์ (completeness) 3) ความสอดคล้อง (consistency) 4) ความถูกต้อง (accuracy)
5) ความโปร่งใส (transparency) และ 6) ความอนุรักษ์ (conservativeness) การพัฒนาโครงการ T-VER
เป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการลดก๊าซเรือนกระจกในประเทศโดยความ
สมัครใจ และสามารถนำปริมาณการลดก๊าซเรือนกระจก หรือคาร์บอนเครดิตที่เกิดขึ้นภายใต้โครงการ
T-VER นี้จำหน่ายในตลาดคาร์บอนภาคสมัครใจในประเทศได้ โดยประโยชน์ที่จะได้รับจากการเข้าร่วม
โครงการ T-VER นอกจากจะเป็นการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เป็นสาเหตุของการ
เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และมีรายได้จากการจำหน่ายคาร์บอนเครดิต (TVERs) ที่เกิดจากกิจกรรม
ของโครงการแล้ว ยังก่อให้เกิดประโยชน์ร่วมกับสิ่งแวดล้อม สังคม และชุมชน เช่น ทำให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้น
เกิดการสร้างงานในท้องถิ่น และสร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อองค์กร ภาพที่ 1.3 แสดงขั้นตอนการพัฒนา
โครงการ T-VER

ในเบื้องต้น อบก. ได้พัฒนาระเบียบวิธีการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจ ( T-VER
methodology) เพื่อใช้ในการคำนวณปริมาณการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการพัฒนาโครงการ
ภาคสมคั รใจในประเทศไทย โดยแบ่งออกเปน็ 2 สาขา ได้แก่ 1) สาขาการผลติ และใช้พลงั งาน อตุ สาหกรรม
การจัดการของเสียและการขนส่ง และ 2) สาขาป่าไม้และการเกษตร สำหรับระเบียบวิธีการลดก๊าซ
เรือนกระจกภาคสมัครใจสาขาป่าไม้ในปัจจุบันมี 3 ระเบียบวิธีการ คือ 1) การปลูกป่าอย่างยั่งยืน
(sustainable forestation) หรือ T-VER-METH-FOR-01 2) การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการ

10 I โครงการพัฒนาธนาคารต้นไม้สชู่ ุมชนไมม้ คี ่า
ทำลายป่าและความเสื่อมโทรมของป่า และการเพิ่มพูนการกักเก็บคาร์บอนในพื้นที่ป่าในระดับโครงการ
( reducing emission from deforestation and forest degradation and enhancing carbon
sequestration in forest area project level: P-REDD+) หรอื T-VER-METH-FOR-02 และ 3) การปลกู
ปา่ อย่างยั่งยนื โครงการขนาดใหญ่ (large scale sustainable forestation project) หรอื T-VER-METH-
FOR-03

ภาพท่ี 1.3 ขัน้ ตอนการพฒั นาโครงการ T-VER
ท่มี า: องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องคก์ ารมหาชน) (2559)

คมู่ อื การประเมนิ มูลค่าตน้ ไม้ I 11

สำหรับระเบียบวิธีการคำนวณการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจสำหรับการปลูกป่าอย่างยั่งยืน
หรือ T-VER-METH-FOR-01 ลักษณะโครงการเป็นกิจกรรมที่เพิ่มพูนการกักเก็บก๊าซเรือนกระจกในพื้นท่ี
ซึ่งลักษณะของกิจกรรมโครงการที่เข้าข่าย (applicability) คือ 1) มีการปลูก ดูแล และการจัดการอย่างถูกวิธี
2) เปน็ ไม้ยนื ต้นที่มีรอบตดั ฟันยาว และ 3) เปน็ โครงการขนาดเล็ก ที่สามารถกักเก็บก๊าซเรือนกระจกได้ไม่เกิน
16,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ต่อปี โดยการดำเนินโครงการต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขของกิจกรรมโครงการ
(project conditions) ดังนี้ 1) มีหนังสือแสดงสิทธิการใช้ประโยชน์ที่ดินตามกฎหมาย 2) มีพื้นที่โครงการ
ไม่ต่ำกว่า 10 ไร่ ซึ่งสามารถรวมหลาย ๆ พื้นที่เข้าด้วยกัน 3) กรณีพื้นที่เดิมมีสภาพเป็นป่า ก่อนเริ่มโครงการ
ต้องไม่มีการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศป่าไม้ดั้งเดิม และ 4) ไม่มีการทำไม้ออกทั้งหมดในช่วงระยะเวลา 10 ปี
ตั้งแต่เริ่มดำเนินโครงการ ส่วนรายละเอียดระเบียบวิธีลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจสำหรับการปลูกป่า
อย่างยั่งยืนประกอบด้วยหัวข้อสำคัญ ๆ ดังนี้ 1) ลักษณะและขอบเขตโครงการ (scope of project)
2) ข้อมูลกรณีฐาน (baseline scenario) 3) กิจกรรมการปล่อยก๊าซเรือนเรือนกระจกที่นำมาใช้ในการคำนวณ
4) การคำนวณการกักเก็บก๊าซเรือนกระจกจากกรณีฐาน (baseline sequestration) 5) การคำนวณ
การกักเก็บก๊าซเรือนกระจกจากการดำเนินโครงการ (project sequestration) 6) การคำนวณการปล่อยก๊าซ
เรือนกระจกนอกขอบเขตโครงการ (leakage emission) 7) การคำนวณการกักเกบ็ ก๊าซเรือนกระจกที่ได้จาก
โครงการ (carbon sequestration) และ 8) การตดิ ตามผลการดำเนินโครงการ (monitoring plan) ในขณะ
ที่ระเบียบวิธีการการปลูกป่าอย่างยั่งยืน โครงการขนาดใหญ่ หรือ T-VER-METH-FOR-03 เป็นโครงการที่
สามารถกักเก็บก๊าซเรือนกระจกได้มากกวา่ 16,000 ตนั คารบ์ อนไดออกไซด์ต่อปี

1.3.2 โครงการสนบั สนุนกิจกรรมลดกา๊ ซเรอื นกระจก

องคก์ ารบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องคก์ ารมหาชน) ในฐานะหน่วยงานหลกั ทีม่ หี นา้ ที่ส่งเสริม
และสนับสนุนการดำเนินงานเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว
และได้คำนึงถึงความสำคัญในการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่าง ๆ ในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจึงมี
แนวคิดทีจ่ ะพัฒนารูปแบบการดำเนินกิจกรรมลดการปล่อยกา๊ ซเรือนกระจกโดยผา่ นมาตรการแรงจูงใจทาง
สงั คม เพอ่ื สรา้ งความตระหนักให้เกดิ การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และยกย่องผทู้ ำความดีให้ได้รับการ
ยอมรับ โดยผ่านกระบวนการวิเคราะห์และประเมินทางเทคนิควิชาการและนำมาผนวกกับแนวคิดการให้
การสนับสนุน (support) จาก “ผู้ให้” ในภาคองค์กร/ธุรกิจไปสู่ “ผู้รับ” ในสังคม/ชุมชน ทำให้เกิดเป็น
โครงการสนบั สนนุ กจิ กรรมลดกา๊ ซเรอื นกระจก (Low Emission Support Scheme: LESS) ซึ่งเป็นกลไกท่ี
จะช่วยใหม้ ุ่งสู่การเปน็ สงั คมคาร์บอนตำ่ ต่อไป

หลักการพื้นฐานในการวางแผนและการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจกเพื่อมุ่งสู่
สังคมคาร์บอนต่ำ ตลอดจนการคำนวณปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปลอ่ ยออก และหรือกักเก็บจากกิจกรรม
จะใช้แนวคิดจากการพัฒนาโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย
(Thailand Voluntary Emission Reduction: T-VER) โดยใช้วิธีการคำนวณปริมาณการปล่อยก๊าซ
เรือนกระจกในกรณีฐาน (baseline emission) (ยังไม่มีการดำเนินกิจกรรมการลดก๊าซเรือนกระจก)
และนำมาหักลบกับปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการดำเนินกิจกรรม (project emission) เป็น
ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้ (emission reduction) ทั้งนี้ อบก. ได้ประยุกต์วิธีการคำนวณอยู่ในรูปแบบ
ตารางเพื่อให้ง่ายต่อการนำไปใช้ โดยผู้ใช้จะต้องเลือกใช้วิธีการคำนวณให้สอดคล้องกับโครงการหรือ
กิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจก และใส่ข้อมูลให้ถูกต้องและครบถ้วน ซึ่งจะสามารถคำนวณเป็นปริมาณ

12 I โครงการพฒั นาธนาคารตน้ ไมส้ ู่ชุมชนไมม้ ีค่า

ก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้ออกมา โดยผู้พัฒนาโครงการ/เจ้าของโครงการจะเป็นผู้ประเมินปริมาณก๊าซ
เรือนกระจกที่ลดได้ของโครงการหรือกิจกรรม และจัดทำเป็นรายงานสรุปผลการประเมินการลดก๊าซเรือน
กระจก (LESS summary report) พรอ้ มใบสมคั ร สง่ ไปยงั อบก. เพ่ือขอการรับรองผลการประเมินปริมาณ
ก๊าซเรือนกระจกท่ีลดได้ โดยไม่ต้องผา่ นการทวนสอบจากผู้ประเมินภายนอกหรือบุคคลทีส่ าม (ภาพที่ 1.4)
ทั้งนี้ การประเมินปริมาณก๊าซเรือนกระจกของโครงการ LESS เป็นการประเมินเบื้องต้น โดย อบก.
เป็นผู้รับรองผลการประเมินปริมาณการลดก๊าซเรือนกระจก และออกใบประกาศเกียรติคุณ ( Letter of
Recognition: LoR) ดังนั้นปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้จากโครงการ LESS จึงไม่สามารถนำไปซื้อ-ขายได้
(องค์การบรหิ ารจัดการก๊าซเรือนกระจก, 2559ข)

คู่มอื การประเมินมลู คา่ ตน้ ไม้ I 13

ภาพที่ 1.4 ขนั้ ตอนการรับรองผลการประเมินการลดก๊าซเรือนกระจกโครงการ LESS
ที่มา: องค์การบริหารจัดการกา๊ ซเรอื นกระจก (องค์การมหาชน) (2559)

บทท่ี 2

หลกั เกณฑ์ ขน้ั ตอน วิธีปฏบิ ัติการใชต้ ้นไม้
เปน็ หลกั ประกัน

16 I หลกั เกณฑ์ ขนั้ ตอน วธิ ปี ฏบิ ตั ิการใช้ตน้ ไม้เป็นหลกั ประกัน

2.1 คุณสมบตั ิของลกู ค้า ต้นไม้ และทีด่ ินท่ใี ช้เปน็ หลักประกัน

2.1.1 คุณสมบัตขิ องลูกค้าหรือผู้กู้

1) เป็นเกษตรกรลกู คา้ ท่ขี อก้เู งินตามขอ้ บังคบั ฉบับที่ 44 และลูกค้าบคุ คลตามขอ้ บงั คับ ฉบบั ท่ี 45
2) เป็นสมาชิกธนาคารต้นไม้ และมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตพื้นที่ของธนาคารต้นไม้ชุมชนที่ตนเองเป็น
สมาชกิ

2.1.2 คณุ สมบัตขิ องตน้ ไมห้ รอื หลักประกัน

ในการประเมินมูลค่าต้นไม้จะต้องประเมินเป็นรายต้น เพื่อนำมาประกอบรวมกันเป็นมูลค่าต้นไม้
ทั้งหมดบนที่ดินแปลงจำนอง โดยได้กำหนดคุณสมบัติของต้นไม้ที่สามารถนำมาประเมินมูลค่าเพื่อใช้เป็น
หลกั ประกันได้ ดังนี้

1) มีอายมุ ากกว่า 1 ปีข้นึ ไป เพ่อื ให้มคี วามม่ันใจได้วา่ ต้นไมต้ ้ังตัวได้แล้วและมีโอกาสรอดสูง ขนาด
เสน้ รอบวงลำตน้ ทคี่ วามสงู 130 เซนตเิ มตร จากโคนต้น ไม่ต่ำกวา่ 3 เซนติเมตร

2) มลี ำตน้ ตรงสมสว่ นอยา่ งนอ้ ย 2 เมตร การเตบิ โตของลำต้นสมดลุ กบั ความสูง
3) เป็นต้นไม้ตามโครงการธนาคารต้นไม้ที่มีชื่อพรรณไม้กำหนดในเอกสารราคากลางต้นไม้
(ภาคผนวกที่ 1) ซ่ึงลูกคา้ ผกู้ เู้ ปน็ เจ้าของต้นไม้
4) ทดี่ ิน 1 ไร่ รบั ขน้ึ ทะเบยี นตน้ ไม้เพือ่ ประเมนิ มลู คา่ ใช้เป็นหลกั ประกัน ไม่เกิน 400 ตน้
ต้นไม้ที่ไม่รับขึ้นทะเบียนเพื่อตรวจสอบและประเมินมูลค่า ประกอบด้วย ไม้ยางพารา ยูคาลิปตัส
พญาคชสาร มะพรา้ ว และไม้ที่ไมส่ ามารถนำมาแปรรปู ก่อสรา้ งอาคารบ้านเรือนได้

2.1.3 คณุ สมบตั ขิ องทีด่ นิ

1) ทตี่ ง้ั ที่ดนิ ของต้นไม้ตอ้ งอยู่ในเขตพ้ืนท่ีการดำเนินงานของธนาคารต้นไมช้ ุมชนที่ตนเองเป็นสมาชกิ
2) ที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์ของลูกค้าผู้กู้ และมีเอกสารสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายที่ดิน สามารถจด
ทะเบียนจำนองเป็นประกันหนี้ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โดยไม่รวมถึงที่ดินที่ออกโดย
กฎหมายอื่น เช่น เอกสารสิทธิ์ที่ออกโดยกรมประชาสงเคราะห์ หรือสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพ่ือ
เกษตรกรรม (ส.ป.ก.) เป็นต้น
ทั้งนี้อนุโลมให้ผู้ที่ได้ทำการจดทะเบียนสมรสตามกฎหมาย ทรัพย์สินที่ได้มาหลังการสมรสให้ถือ
เป็นกรรมสิทธ์ิของคสู่ มรสดว้ ย
3) เจ้าของทด่ี นิ และต้นไม้ ต้องเปน็ บคุ คลเดยี วกัน

คู่มอื การประเมนิ มูลคา่ ตน้ ไม้ I 17

2.2 การประเมินมูลคา่ และกำหนดราคาประเมนิ ทดี่ ินพร้อมต้นไม้

ธ.ก.ส. ได้ร่วมกับส่วนงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กรมป่าไม้ สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ
(องคก์ ารมหาชน) (สพภ.) องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (อ.อ.ป.) และคณะวนศาสตร์ มหาวทิ ยาลัยเกษตรศาสตร์
(คณะวนศาสตร์, 2552; กรมป่าไม้, 2548) กำหนดเกณฑ์การประเมินมูลค่าต้นไม้ แล้วนำมาบันทึกในแบบ
ตรวจสอบและประเมินมูลค่าต้นไม้ หรือ ธต.6 (ภาคผนวกที่ 2) เพื่อแสดงมูลค่าสินทรัพย์ใช้เป็นหลักทรัพย์
และหลกั ประกัน โดยจำแนกต้นไม้ออกเปน็ 4 กลุ่ม ตามอตั ราการเติบโตและมูลค่าเนือ้ ไม้ ประกอบด้วย

กลุ่มท่ี 1 ต้นไมท้ ี่มอี ตั ราการเตบิ โตเรว็ ถึงปานกลาง รอบตดั ฟนั ส้นั มูลค่าของเนื้อไม้ต่ำ
กลุม่ ท่ี 2 ตน้ ไม้ท่ีมอี ตั ราการเตบิ โตปานกลาง รอบตดั ฟันยาว มูลค่าของเนื้อไมค้ ่อนข้างสูง
กล่มุ ท่ี 3 ต้นไม้ที่มอี ัตราการเตบิ โตปานกลาง รอบตดั ฟันยาว มลู ค่าของเน้ือไม้สูง
กล่มุ ที่ 4 ตน้ ไม้ท่ีมอี ัตราการเติบโตชา้ รอบตัดฟันยาว มูลค่าของเน้ือไมส้ งู มาก
การจำแนกประเภทของต้นไม้และการประเมินมูลค่า มีการกล่าวถึงอย่างละเอียดในบทที่ 3 การ
ตรวจวดั และประเมินมลู ค่าต้นไม้ หวั ขอ้ ที่ 3.3 การจำแนกตน้ ไม้และมลู คา่ ของตน้ ไม้เพอ่ื การประเมินมูลค่า
การกำหนดราคาประเมนิ ทด่ี ินพร้อมตน้ ไม้ให้ถือปฏบิ ัติตามข้ันตอน ดังน้ี

2.2.1 การประเมินราคาท่ดี นิ

การประเมินราคาทีด่ ินดำเนินตามวธิ ปี ฏิบตั ปิ กติของธนาคาร โดยผปู้ ระเมินราคาที่ดิน ประกอบด้วย
1) พนักงาน ธ.ก.ส. ที่ไดร้ ับมอบหมายให้ตรวจสอบที่ดิน จำนวน 2 คน
2) เจา้ ของทดี่ นิ ผขู้ อจำนอง
3) พยานรว่ มตรวจสอบทด่ี ิน จำนวน 1 คน

3.1) กรณที ี่ลูกค้าสังกดั กล่มุ ได้แก่ หัวหนา้ กลมุ่ ลูกค้า เจา้ ของท่ีดนิ ขา้ งเคยี ง กำนนั ผู้ใหญ่บา้ น
3.2) กรณีลกู ค้าไม่สงั กดั กลุ่ม ไดแ้ ก่ ลูกค้าธนาคารทอ่ี ย่ใู กล้เคียง หรือเจา้ ของทด่ี นิ ขา้ งเคียง หรือ
ผู้รว่ มตรวจสอบทีด่ นิ ตามขอ้ 3.1)

2.2.2 การประเมนิ มลู ค่าไมย้ ืนต้น

1) ไม้ยืนต้นที่ตรวจสอบและประเมินมูลค่าเพื่อใช้เป็นหลักประกัน ในการประเมินมูลค่าไม้ยืนต้น
จะต้องประเมินเปน็ รายต้น เพ่อื นำมาประกอบรวมกันเป็นมูลคา่ ไม้ยืนตน้ ทง้ั หมดในทีด่ ินแปลงจำนอง

2) ผู้ประเมนิ มูลคา่ ไมย้ ืนต้น
กำหนดให้กรรมการ หรือกรรมการและสมาชิกธนาคารต้นไม้ที่ได้รับการแต่งตั้งจากที่ประชุม
คณะกรรมการธนาคารต้นไม้อย่างน้อย 2 คน ให้เป็นผู้สำรวจและประเมินมูลค่าไม้ยืนต้น ในเขตพื้นที่การ
ดำเนินงานของธนาคารต้นไม้ และผ่านการอบรมหลักสูตรผู้ประเมินมูลค่าต้นไม้จากธนาคารและได้รับใบ
วุฒิบตั ร

18 I หลักเกณฑ์ ขน้ั ตอน วิธีปฏบิ ตั กิ ารใชต้ ้นไม้เป็นหลกั ประกัน

3) การประเมินมูลค่าตน้ ไมเ้ ป็นรายตน้

ลกู คา้ ผเู้ ป็นเจ้าของต้นไม้เมื่อสมัครเปน็ สมาชิกธนาคารต้นไม้ตาม ธต. 1 (ภาคผนวกท่ี 4) แล้ว ต้อง
จัดทำข้อตกลงการเข้าร่วมโครงการใช้ต้นไม้ตามโครงการธนาคารต้นไม้เป็นหลักประกันสินเชื่อกับธนาคาร
ตามแบบ ธต. 3 (ภาคผนวกที่ 5) และธนาคารต้นไม้กอ่ น จากน้ันให้แจง้ คณะกรรมการธนาคารต้นไม้เพ่ือขอ
ความร่วมมือตรวจประเมินมูลค่าต้นไม้ โดยให้กรรมการ หรือกรรมการและสมาชิกธนาคารต้นไม้เป็น
ผูป้ ระเมินมลู ค่าต้นไม้เป็นรายตน้ โดยมลี ูกค้าทมี่ กี รรมสิทธเิ์ ปน็ เจ้าของตน้ ไม้รว่ มนำชต้ี รวจประเมินต้นไม้บน
ที่ดิน ซึ่งวิธีการประเมินราคาต้นไมใ้ ห้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ เอกสารแบบพิมพ์ตามวิธีปฏิบัตทิ ่ีกำหนดให้ถือ
ใช้ เม่ือคณะกรรมการธนาคารตน้ ไม้ได้มีการประชมุ พิจารณาให้ความเหน็ ชอบมูลค่าต้นไม้ที่มีการตรวจสอบ
ประเมินมูลค่าต้นไม้แล้ว ให้จัดทำรายงานการประชุม หรือ ธต.5 (ภาคผนวกที่ 3) พร้อมแนบเอกสารแบบ
ตรวจสอบและประเมินมูลค่าต้นไม้ (ธต.6) ตามเอกสารแนบราคากลางต้นไม้ (ภาคผนวกที่ 1) เสนอ ธ.ก.ส.
สาขา เพื่อให้พนักงานผู้ได้รับมอบอำนาจใช้ประกอบการพิจารณานำผลการตรวจสอบและประเมินมูลค่า
ต้นไม้ไปใช้เป็นส่วนควบในการเพิ่มวงเงินจดทะเบียนจำนองที่ดินเพื่อใช้เป็นหลักประกันเงินกู้ของธนาคาร
ได้ไม่เกินรอ้ ยละ 50 ของราคาประเมนิ มูลคา่ ต้นไม้ท่ีคณะกรรมการธนาคารต้นไมพ้ ิจารณาใหค้ วามเหน็ ชอบ

2.2.3 การประเมนิ มลู ค่าไมย้ ืนต้นเปน็ หลักประกันหนี้เงินกู้ ตามพระราชบญั ญัติ
หลกั ประกนั ทางธุรกิจ

การประเมินมูลค่าใช้หลักเกณฑ์เดียวกัน การรับไม้ยืนต้นเป็นหลักประกันให้จดทะเบียนสัญญา
หลกั ประกันทางธรุ กิจกบั กรมพฒั นาธุรกจิ การคา้ ที่ดนิ แปลงปลูกไมย้ ืนตน้ ใหจ้ ดทะเบยี นจำนองเอกสารสิทธิ
ในท่ีดินแปลงทใ่ี ช้ไม้ยืนต้นเป็นประกนั กับสำนักงานทดี่ นิ

การกำหนดวงเงนิ กูไ้ มเ่ กินรอ้ ยละ 50 ของวงเงนิ จดทะเบยี นสัญญาหลักประกนั ทางธรุ กิจไม้ยนื ต้น

2.2.4 การวัดมาตรฐานการเตบิ โตเพอื่ ประเมินมลู คา่ ตน้ ไม้

ให้เลือกต้นไม้ที่มีลำต้นตรงอย่างน้อย 2 เมตร โดยวัดเส้นรอบวงที่ความสูง 130 เซนติเมตร ต้องมี
ขนาดเส้นรอบวงไม่ต่ำกว่า 3 เซนติเมตร ซึ่งมูลค่าต้นไม้แต่ละกลุ่มจะสัมพันธ์กับเส้นรอบวงที่ความสูง 130
เซนตเิ มตร โดยไม่เกย่ี วข้องกบั อายุของตน้ ไม้ เช่น ตน้ ไม้ในกลุ่มที่ 4 มเี ส้นรอบวงที่ความสงู 130 เซนติเมตร
เท่ากับ 55.5 เซนติเมตร ให้ดูตารางการประเมินมูลค่าต้นไม้ในเอกสารราคากลางต้นไม้ (ภาคผนวกที่ 1)
หากไม่มกี ำหนดไว้ให้ใช้เส้นรอบวงในสดมภ์ที่น้อยกวา่ จะมีมลู คา่ เทา่ กบั 2,504 บาท (ดใู นสดมภเ์ สน้ รอบวง
55.38 เซนตเิ มตร โดยไมต่ อ้ งพจิ ารณาว่าต้นไม้ทปี่ ระเมินมลู ค่าจะมีอายุเท่าใด)

2.2.5 การจดั ทำแผนทร่ี ปู แปลงทีต่ ้ังที่ดนิ และต้นไม้

ในการออกตรวจสอบประเมินราคาที่ดินแปลงที่ปลูกต้นไม้ตามโครงการธนาคารต้นไม้เพื่อใช้เป็น
หลักประกัน ให้มีการถ่ายภาพต้นไม้ในบรเิ วณทั่วไปของแปลงที่ดนิ เพื่อให้พนักงานผู้ได้รับมอบอำนาจเห็น
สภาพทว่ั ไปของแปลงท่ีดินและสภาพตน้ ไม้ รวมทั้งเสน้ ทางคมนาคมเข้าออกเพอื่ ใช้ประกอบการพจิ ารณารับ
หลักประกนั และกำหนดวงเงินจดทะเบียนจำนองทีด่ ิน

คมู่ อื การประเมนิ มูลคา่ ตน้ ไม้ I 19

2.3 วงเงินกู้ การรับรองไม้ยืนต้น การจดจำนอง การกำหนดอัตราค่าธรรมเนยี มใน
การตรวจสอบและประเมนิ มลู ค่าตน้ ไม้เพื่อใช้เป็นหลักประกัน การประกนั วินาศภัย

2.3.1 การกำหนดวงเงินกู้

ไม่เกนิ ร้อยละ 50 ของวงเงินจดทะเบยี นสญั ญาหลกั ประกันทางธุรกิจไมย้ นื ตน้

2.3.2 การรบั ไมย้ ืนต้นเป็นหลักประกนั หนเ้ี งินกู้

1) ที่ดินแปลงปลูกไม้ยืนต้น ให้จดทะเบียนจำนองเอกสารสิทธิในที่ดินแปลงที่ใช้ไม้ยืนต้นเป็น
ประกัน กบั สำนักงานที่ดนิ

2) ไมย้ นื ตน้ ใหจ้ ดทะเบียนสัญญาหลักประกนั ทางธรุ กจิ กับกรมพฒั นาธุรกจิ การค้า

2.3.3 การจดทะเบียนจำนอง

การจดทะเบียนจำนองหรือขึ้นวงเงินจำนองที่ดินแปลงที่ปลูกต้นไม้ตามโครงการธนาคารต้นไม้
ให้ดำเนินการเช่นเดียวกับการจดทะเบียนจำนองที่ดินหรือขึ้นวงเงินจำนองที่ดินปกติ เพราะแบบพิมพ์ท่ี
ธนาคารใช้ยื่นขอจดทะเบียนจำนอง ณ สำนักงานที่ดิน ปัจจุบันครอบคลุมถึงการจำนองที่ดินและต้นไม้อยู่
แล้ว ซึง่ ในหนงั สือสัญญาจำนองท่ดี ินจะมีข้อความระบวุ า่ “สิง่ ปลกู สรา้ ง และต้นไม้ ที่มอี ยแู่ ล้วหรอื ที่จะมีขึ้น
ในภายหน้าย่อมจำนองด้วยทงั้ สน้ิ ”

2.3.4 การกำหนดอตั ราคา่ ธรรมเนียมประเมินมูลค่าไมย้ นื ตน้ เพ่อื ใชเ้ ป็นหลักประกัน
เงนิ กู้

ให้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมประเมินมูลค่าไม้ยืนต้นเพื่อใช้เป็นหลักประกันเงินกู้ ตามประกาศอัตรา
ค่าบรกิ ารและคา่ ธรรมเนยี มของธนาคาร

2.3.5 การประกนั วนิ าศภัยไมย้ ืนต้น

1) ขอความร่วมมอื ใหจ้ ัดทำประกันอคั คีภยั ไมย้ ืนต้นเป็นลำดับแรก และวินาศภัยอ่ืน ๆ เช่น วาตภัย
หรืออุทกภัย เป็นต้น ตามความเหมาะสม โดยการทำประกันภัยแต่ละคราวให้มีระยะเวลาเอาประกัน
ไม่นอ้ ยกวา่ 1 ปี และให้ทำประกันภยั จนกว่าจะชำระหนเ้ี สรจ็ สิ้น กรณหี ลังจากลูกคา้ กเู้ งินแล้วไม่ต่อประกัน
วนิ าศภัยในครัง้ ตอ่ ไป ให้สาขาติดตอ่ ลกู คา้ ขอความรว่ มมอื ดำเนินการตอ่ อายุประกนั ภยั โดยเร็ว

2) ในกรมธรรม์ประกันภยั จะตอ้ งระบุให้ธนาคารเป็นผ้รู ับประโยชน์
3) วงเงินเอาประกันภยั ต้องไม่นอ้ ยกวา่ ราคาประเมินประกนั ภยั ไมย้ ืนต้น

20 I หลกั เกณฑ์ ขน้ั ตอน วิธปี ฏบิ ตั ิการใช้ตน้ ไม้เป็นหลกั ประกัน

2.4 ข้นั ตอนวิธีปฏิบตั ิการใช้ไมย้ นื ตน้ เป็นหลักประกนั หน้ีเงนิ กู้ พระราชบัญญตั ิ
หลักประกันทางธุรกิจ

ผ้รู บั ผดิ ชอบ กจิ กรรม เอกสารและระบบที่เกี่ยวข้อง

พพธ. จดุ เรมิ่ ตน้ - สมดุ คู่บญั ชีเงนิ กู้ (42-020)
- สำเนาเอกสารแสดงสิทธิแปลงปลูกไมย้ ืนต้น
1. รบั แจง้ ความประสงค์/ชีแ้ จง - สำเนาทะเบยี นบา้ นของเจา้ ของท่ดี ิน
หลักเกณฑ์ - สำเนาบตั รประจำตวั ประชาชนของเจา้ ของ

ทดี่ ิน
- สำเนาทะเบยี นสมรส (ถา้ มี)
- สำเนาทะเบยี นบ้านคู่สมรส (ถา้ มี)
- สำเนาบตั รประจำตวั ประชาชนคู่สมรส (ถ้าม)ี

หกง. (Maker) / หนภ. (Maker) 2. ตรวจสอบหลกั ประกัน/ประสาน - เอกสารตามขอ้ 1
/ พพธ. กรรมการธนาคารต้นไม้ - เลขทบ่ี ตั รประชาชนผใู้ หห้ ลักประกนั
(ตรวจสอบภาระการจดทะเบียนสญั ญา
หลักประกันทางธรุ กจิ )

กรรมการธนาคารต้นไม้ 3. วางแผนการสำรวจและประเมนิ - เอกสารตามข้อ 2
มูลคา่ ไมย้ นื ตน้ - ข้อตกลงเขา้ รว่ มโครงการใชไ้ มย้ นื ตน้
เปน็ หลักประกนั หนี้เงินกู้

กรรมการธนาคารตน้ ไม้ / 4. สำรวจและประเมินมลู ค่าไมย้ ืนต้น - เอกสารตามขอ้ 3
กรรมการและสมาชกิ ธนาคาร N - รายงานการประชุมคณะกรรมการ
ต้นไม้ ธนาคารต้นไม้ (ธต. 5) แต่งตง้ั ผสู้ ำรวจและ
ประเมนิ มลู ค่าไม้ยนื ตน้
- แบบตรวจวดั และประเมนิ มลู คา่ ไมย้ ืนต้น
ธต. 6 (6/1 – 6/4)
- ราคากลางตน้ ไม้

คณะกรรมการธนาคารตน้ ไม้ 5. เห็นชอบรบั ราคา - เอกสารตามข้อ 4
ประเมินมูลค่า - รายงานการประชุมแต่งต้ังคณะกรรมการ
ไมย้ ืนต้น ธนาคารต้นไม้ (ธต. 4)
- รายงานการประชุมคณะกรรมการ
Y ธนาคารตน้ ไม้ (ธต. 5) เหน็ ชอบ
รบั ราคาประเมินมลู ค่าไม้ยนื ต้น
1

หมายเหตุ: * หมายถงึ ขัน้ ตอนท่ีมีความสำคญั จำเป็นตอ้ งกำหนด จุดควบคมุ ความถ่ใี นการควบคมุ และ
ระดบั การควบคมุ ของข้ันตอนน้นั ๆ เพอ่ื ให้พนักงานหรอื ผู้รบั ผิดชอบปฏบิ ตั ิ

คมู่ ือการประเมนิ มลู ค่าตน้ ไม้ I 21

ผ้รู บั ผดิ ชอบ กจิ กรรม เอกสารและระบบทเ่ี กย่ี วข้อง

พพธ. 1 - เอกสารตามขอ้ 5
หนภ. - รายงานการประชุมสมาชิกธนาคารต้นไม้
* 6. สุม่ ตรวจสอบไมย้ นื ตน้ (ธต. 4) (คำสัง่ แตง่ ตัง้ คณะกรรมการฯ)
- แบบพมิ พ์สุ่มตรวจสอบไม้ยืนตน้ และอนุมัติ
* 7. ตรวจสอบความถกู ต้องของ วงเงินจดทะเบียนสญั ญาหลักประกันทาง
เอกสารการประเมินมลู ค่าไมย้ นื ตน้ ธุรกจิ

- เอกสารตามข้อ 6

ผจข./ผ้รู บั มอบอำนาจ 8. อนุมตั ิวงเงิน N
จดทะเบยี นสญั ญา
หลักประกันทางธุรกิจ - เอกสารตามข้อ 7

Y

พพธ. 9. จดั ทำสญั ญาหลักประกนั ทางธรุ กิจ - เอกสารตามขอ้ 8
- สัญญาหลักประกนั ทางธุรกจิ

10. จดั เก็บคา่ ธรรมเนียม - เอกสารตามขอ้ 9

พกง. - ประกาศอัตราคา่ บริการ

และคา่ ธรรมเนียมของธนาคาร

2

หมายเหตุ: * หมายถงึ ขัน้ ตอนที่มีความสำคัญจำเป็นตอ้ งกำหนด จดุ ควบคุม ความถใี่ นการควบคมุ และ
ระดบั การควบคุม ของขนั้ ตอนนั้น ๆ เพ่อื ให้พนักงานหรือผู้รบั ผดิ ชอบปฏบิ ัติ

22 I หลกั เกณฑ์ ข้นั ตอน วิธปี ฏบิ ตั กิ ารใชต้ ้นไมเ้ ป็นหลกั ประกัน

ผู้รบั ผดิ ชอบ กิจกรรม เอกสารและระบบท่ีเกี่ยวข้อง
2
หกง. (Maker)
ผช.ผจข. (Checker) * 11. สรา้ งคำขอจดทะเบยี นสัญญา ที่ Web Site กรมพัฒนาธรุ กิจการค้า
หลกั ประกันทางธรุ กจิ (www.dbd.go.th) ในระบบจดทะเบยี น
หกง. (Maker) สญั ญาหลกั ประกนั ทางธรุ กจิ
พพธ. - เอกสารตามขอ้ 10

* 12. ยนื ยันคำขอ N
จดทะเบียนสญั ญา
หลักประกันทางธรุ กิจ ที่ Web Site กรมพฒั นาธรุ กจิ การคา้
(www.dbd.go.th) ในระบบจดทะเบียน
สัญญาหลักประกนั ทางธุรกิจ
- เอกสารตามข้อ 11

Y ที่ Web Site กรมพฒั นาธรุ กิจการค้า
*13. พิมพ์หลักฐานการจดทะเบยี น (www.dbd.go.th) ในระบบจดทะเบยี น
สัญญาหลกั ประกันทางธรุ กิจ
สญั ญาหลกั ประกันทางธุรกิจ - เอกสารตามขอ้ 12
- แบบแจ้งขอ้ มูลการจดทะเบยี นสญั ญา
14. บันทึกข้อมูลในระบบ หลกั ประกนั ทางธรุ กจิ พิมพ์จากระบบ
จดทะเบียนสญั ญาหลกั ประกนั ทางธรุ กิจ

- เอกสารตามข้อ 13
- ขอ้ มูลลูกค้ารายคน

ผช.ผจข. *15. ตรวจสอบความถูกต้อง - เอกสารตามข้อ 14

พธก. 16. จัดเก็บเอกสาร - เอกสารตามขอ้ 15

จุดส้นิ สุด

หมายเหตุ: * หมายถึง ข้ันตอนที่มีความสำคญั จำเปน็ ต้องกำหนด จดุ ควบคมุ ความถีใ่ นการควบคมุ และ
ระดับการควบคุม ของขน้ั ตอนนั้น ๆ เพ่ือให้พนกั งานหรอื ผู้รับผิดชอบปฏบิ ตั ิ

คู่มือการประเมินมูลค่าต้นไม้ I 23

รายละเอยี ดข้ันตอนการปฏิบตั ิงาน

1) รบั แจ้งความประสงค/์ ชี้แจงหลกั เกณฑ์

พนักงานพัฒนาธุรกิจ รับแจ้งความประสงค์จากลูกค้าที่มาติดต่อขอกู้เงินโดยใช้ไม้ยืนต้นที่ปลูกใน
ท่ีดินแปลงกรรมสิทธิข์ องลกู คา้ เปน็ หลักประกันหน้เี งนิ กู้ ตามพระราชบญั ญัตหิ ลักประกนั ทางธุรกิจ และแจ้ง
ให้ลูกค้านำสมุดคู่บัญชีเงินกู้ สำเนาเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดิน สำเนาทะเบียนบ้านของเจ้าของที่ดิน
สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าของที่ดิน และสำเนาทะเบียนสมรส (ถ้ามี) มาติดต่อ เมื่อลูกค้ามา
ตดิ ตอ่ ใหด้ ำเนินการดังนี้

1.1) ชี้แจงหลักเกณฑ์การใช้ท่ีดินและไม้ยืนต้นเป็นหลักประกันหนีเ้ งินกู้ ตามพระราชบัญญัติ
หลักประกนั ทางธุรกจิ โดยต้องมที ดี่ ินทมี่ ีเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ในท่ดี ิน และจดทะเบยี นจำนองกับธนาคาร
ได้ตามหลักเกณฑ์วิธีปฏิบัติในการใชไ้ ม้ยืนต้นเป็นหลกั ประกัน การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการตรวจสอบ
และประเมินราคาที่ดินที่เสนอขอจำนอง และค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสัญญาหลักประกันทางธุรกิจ
ไม้ยนื ต้นกับกรมพัฒนาธรุ กิจการคา้

1.2) ตรวจสอบชื่อและชื่อสกุลในหนังสือแสดงสิทธิ ทะเบียนบ้านและบัตรประจำตัว
ประชาชนว่าถูกต้องตรงกันหรือไม่ หากไม่ถูกต้องให้แนะนำลูกค้านำกลับไปดำเนินการติดต่อเจ้าพนักงาน
เพอ่ื แกไ้ ขใหถ้ กู ตอ้ งตรงกนั ก่อน

เมื่อตรวจสอบเอกสารถูกต้องแล้วจัดส่งเอกสารให้แก่หัวหน้าการเงิน/หัวหน้าหน่วยอำเภอ เพ่ือ
ดำเนินการตรวจสอบหลกั ประกันต่อไป

2) ตรวจสอบหลักประกนั /ประสานกรรมการธนาคารต้นไม้

ให้หัวหน้าการเงิน/หัวหน้าหน่วยอำเภอ ซึ่งทำหน้าที่ Maker ทำการสืบค้นและตรวจสอบจาก
ระบบเว็บไซต์กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ว่าไม้ยืนต้นในแปลงที่ดินที่เสนอมีการจดทะเบียนหลักประกันทาง
ธุรกจิ ไวก้ ่อนหรือไม่ โดยสบื ค้นจากเลขทีเ่ อกสารสิทธิแปลงท่ีดนิ ปลูกไม้ยืนต้น เลขท่ีบัตรประชาชนของผู้ให้
หลักประกัน และการจดทะเบียนประเภทกิจการท่ีมีแปลงที่ดินปลกู ไม้ยนื ต้นร่วมอยู่ด้วย หากตรวจพบว่ามี
การจดทะเบียนไว้กอ่ นหนา้ จะไมส่ ามารถนำมาเปน็ หลกั ประกันได้

การตรวจสอบหลักประกันทางธุรกิจ ให้หัวหน้าการเงิน/หัวหน้าหน่วยอำเภอ (Maker) พิมพ์เอกสาร
ยืนยันการตรวจสอบแนบกับเอกสารคำขอกู้ทุกครั้ง โดยวิธีการตรวจสอบมีรายละเอียดตาม คู่มือระบบจด
ทะเบยี นสญั ญาหลักประกนั ทางธุรกจิ

ในส่วนการตรวจสอบประวัติบุคคลล้มละลายและตรวจสอบประวัติข้อมูลเครดิต ให้ปฏิบัติตามวิธี
ปฏิบตั ปิ กติของธนาคาร

เมื่อตรวจสอบเอกสารถูกตอ้ งแล้วจัดส่งเอกสารให้พนักงานพัฒนาธรุ กจิ รวบรวมจดั สง่ เอกสารให้แก่
กรรมการธนาคารต้นไม้เพื่อดำเนนิ การวางแผนตรวจประเมินมูลค่าไม้ยืนต้น ต่อไป

3) วางแผนสำรวจและประเมินมูลค่าไมย้ นื ต้น

เมื่อกรรมการธนาคารต้นไม้ได้รับเอกสารจากธนาคารแล้ว ดำเนินการตรวจสอบเอกสารเบื้องต้น
ตามเงื่อนไขที่ธนาคารกำหนด จากนั้นมอบหมายกรรมการ หรือกรรมการและสมาชิกธนาคารต้นไม้ทีไ่ ด้รบั

24 I หลักเกณฑ์ ขนั้ ตอน วธิ ีปฏิบัตกิ ารใช้ต้นไม้เป็นหลกั ประกัน

การแต่งตั้งจากธนาคารต้นไม้เป็นผู้ประเมินราคาและผ่านการอบรมหลักสูตรผู้ประเมินมูลค่าต้นไม้จาก
ธนาคารและได้รับใบวฒุ ิบัตร อยา่ งน้อย 2 คน ร่วมกบั ลูกค้าท่ีมีกรรมสิทธเ์ิ ป็นเจ้าของไม้ยืนต้น หรือคู่สมรส
เจ้าของไม้ยืนต้น รวมกันอย่างน้อย 3 คน นัดหมายตรวจสอบประเมินมูลค่าไม้ยืนต้นพรอ้ มจัดทำข้อตกลงเขา้
ร่วมโครงการใชไ้ ม้ยืนต้นเป็นหลักประกนั หนี้เงนิ กู้ ตามพระราชบญั ญัติหลักประกันทางธรุ กิจ

ทั้งนี้หากมีลูกค้าแสดงความประสงค์ที่จะใช้ไม้ยืนต้นเป็นหลักประกันหลายราย อาจประสาน
กรรมการธนาคารต้นไม้ให้ใช้วิธีจัดประชุมร่วมกัน 3 ฝ่าย ระหว่าง ผู้รับมอบอำนาจจากธนาคาร กรรมการ
ผู้รับมอบอำนาจจากธนาคารต้นไม้ และลูกค้าธนาคาร เพื่อประชุมชี้แจงทำความเข้าใจและจัดทำข้อตกลง
เขา้ ร่วมโครงการใช้ไมย้ ืนต้นเป็นหลกั ประกันหนี้เงินกู้ ฯ ร่วมกัน

4) สำรวจและประเมนิ มลู คา่ ไม้ยนื ตน้

กรรมการ หรือกรรมการและสมาชิกธนาคารต้นไม้ที่ได้รับการแต่งตั้งจากธนาคารต้นไม้
เป็นผู้ประเมินมูลค่าไม้ยืนต้น และผ่านการอบรมหลักสูตรผู้ประเมินมูลค่าต้นไม้จากธนาคารและได้รับ
ใบวุฒิบัตรอย่างน้อย 2 คน ดำเนินการสำรวจตรวจวัดและประเมินมูลค่าไม้ยืนต้นตามแบบตรวจวัดและ
ประเมินมูลค่าไม้ยืนต้น ธต. 6 (6/1-6/4) ณ ที่ดินแปลงปลูกไม้ยืนต้นที่จะเข้าโครงการ โดยมีลูกค้าที่มี
กรรมสทิ ธเิ์ ป็นเจา้ ของไมย้ นื ต้น หรือคสู่ มรสเจ้าของไมย้ นื ต้น รว่ มนำชี้การสำรวจตรวจวดั และประเมินมูลค่าไม้ยืน
ตน้ ในทด่ี ินแปลงปลกู ไมย้ นื ตน้ เมอื่ สำรวจตรวจวัดและประเมินมูลคา่ ไมย้ นื ต้นพร้อมลงลายมือช่ือแล้ว ให้รวบรวม
เอกสารส่งคณะกรรมการธนาคารต้นไม้ เพื่อประกอบการจัดประชุมพิจารณารับราคาประเมินมูลค่าไม้ยืนต้น
ต่อไป พร้อมแนบสำเนารายงานการประชุมคณะกรรมการธนาคารต้นไม้ ที่มีวาระแต่งตั้งผู้สำรวจและ
ประเมินมูลค่าไม้ยืนต้น (ธต. 5) แบบตรวจวัดและประเมินมูลค่าไม้ยืนต้น ธต. 6 (6/1 – 6/4) และราคา
กลางต้นไม้เพื่อใชป้ ระกอบการพิจารณา

5) เหน็ ชอบรับราคาประเมนิ มูลค่าไม้ยนื ต้น

คณะกรรมการธนาคารต้นไม้ได้รับเอกสารการตรวจวัดและประเมินมูลค่าไม้ยืนต้น (ตามข้อ 4)
ดำเนินการจัดประชุมพิจารณารับราคาประเมินมูลค่าไม้ยืนต้น เมื่อประชุมและพิจารณาเห็นชอบรับราคา
ประเมินมูลค่าไมย้ ืนต้นแล้ว ใหจ้ ัดส่งสำเนารายงานการประชมุ และเอกสารท่ีเกย่ี วข้อง ใหส้ าขา ดังน้ี

5.1) หนังสือนำส่งแจ้งผลการพิจารณาเห็นชอบรับราคาประเมินมูลค่าไม้ยืนต้น โดยให้ประธาน
กรรมการธนาคารตน้ ไมเ้ ปน็ ผู้ลงนาม

5.2) สำเนารายงานการประชุมคณะกรรมการธนาคารต้นไม้ ที่มีวาระเห็นชอบรับราคาประเมิน
มลู ค่าไม้ยืนต้น (ธต. 5) (เอกสารแนบ 3) โดยใหป้ ระธานกรรมการธนาคารต้นไมล้ งนามรับรองสำเนาถูกต้อง
ไว้ทกุ หน้า

5.3) ตน้ ฉบบั แบบตรวจวัดและประเมนิ มลู คา่ ไมย้ ืนต้น ธต. 6 (6/1–6/4)

5.4) สำเนารายงานการประชุมคณะกรรมการธนาคารต้นไม้ ที่มีวาระแต่งตั้งผู้สำรวจและ
ประเมินมูลค่าไม้ยืนต้น (ธต. 5) (เอกสารแนบ 3) โดยให้ประธานกรรมการธนาคารต้นไม้ลงนามรับรองสำเนา
ถูกตอ้ งไว้ทุกหน้า

คมู่ อื การประเมินมูลค่าต้นไม้ I 25

5.5) สำเนารายงานการประชุมสมาชิกธนาคารต้นไม้ ประจำปี ที่มีวาระแต่งตั้งคณะกรรมการ
ธนาคารต้นไม้ (ธต. 4) (เอกสารแนบ 2) โดยให้ประธานกรรมการธนาคารต้นไม้ลงนามรับรองสำเนาถูกต้องไว้
ทุกหน้า

ทั้งนี้ ข้อตกลงเข้าร่วมโครงการใช้ไม้ยืนต้นเป็นหลักประกันหนี้เงินกู้ และราคากลางต้นไม้ มีอยู่ท่ี
สาขาแล้ว

6) สมุ่ ตรวจสอบไมย้ ืนตน้

เมื่อสาขาได้รับเอกสารการประเมินมูลค่าไม้ยืนต้นจากคณะกรรมการธนาคารต้นไม้แล้ว มอบให้
หัวหน้าหน่วยอำเภอพิจารณามอบหมายพนักงานพฒั นาธุรกจิ 2 คน นำผลการสำรวจตรวจวัดและประเมิน
มูลคา่ ไมย้ นื ต้น ตามแบบตรวจวดั และประเมินมูลค่าต้นไม้ ธต. 6 (6/1-6/4) ท่ีกรรมการหรือกรรมการและ
สมาชิกธนาคารต้นไม้เป็นผู้สำรวจตรวจวัดและประเมินมูลค่าไม้ยืนต้น มาใช้ประกอบการสุ่มตรวจสอบ
ความถูกต้องของไม้ยืนต้นแต่ละชนิดพรรณไม้ในแปลงปลูกของลูกค้าแต่ละราย ว่ามีไม้ยืนต้นในแปลงปลูก
จริงหรือไม่ ตามที่ธนาคารต้นไม้ได้มีการสำรวจตรวจวัดและประเมินมูลค่าไว้ โดยใช้บันทึกการสุ่ม
ตรวจสอบไม้ยืนต้นและอนุมัติวงเงินจดทะเบียนสัญญาหลักประกันทางธุรกิจ เมื่อดำเนินการสุ่ม
ตรวจสอบแล้วเสร็จส่งเอกสารที่เกี่ยวขอ้ งท้งั หมดใหห้ วั หนา้ หนว่ ยอำเภอ

* จุดควบคุม สุ่มตรวจสอบประเภทพรรณไม้ยืนต้นที่คณะกรรมการธนาคารต้นไม้
เหน็ ชอบรบั ราคาประเมินมลู คา่ ไมย้ ืนตน้

ความถี่ในการควบคมุ ทกุ ราย

ระดับการควบคมุ หัวหน้าหน่วยอำเภอ หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย ตรวจสอบความถูกต้อง
ก่อนนำเสนอพนักงานผู้ได้รับมอบอำนาจ อนุมัติวงเงินจดทะเบียน
สัญญาหลักประกันทางธรุ กิจ

7) ตรวจสอบความถกู ต้องของเอกสารการประเมินมลู ค่าไม้ยนื ตน้

หัวหน้าหนว่ ยรบั เอกสารและตรวจสอบความถูกต้องพร้อมลงลายมือช่ือ ก่อนนำเสนอพนักงานผู้ได้รับ
มอบอำนาจ พจิ ารณาวงเงินจดทะเบียนสญั ญาหลกั ประกันทางธรุ กิจ

* จุดควบคมุ ตรวจเอกสารให้ถูกต้องตรงตามลำดับข้ันตอน เพ่ือยืนยันความถกู ต้อง

ความถีใ่ นการควบคุม ทกุ ราย

ระดับการควบคุม หวั หนา้ หนว่ ยอำเภอ หรือผทู้ ่ีไดร้ ับมอบหมาย ตรวจสอบความถูกต้อง
กอ่ นนำเสนอพนักงานผู้ได้รบั มอบอำนาจ อนุมัตวิ งเงินจดทะเบียน
สญั ญาหลักประกนั ทางธรุ กิจ

8) อนุมัติวงเงินจดทะเบียนสัญญาหลักประกนั ทางธุรกิจ

เมื่อพนักงานผู้ได้รับมอบอำนาจ ได้รับบันทึกการสุ่มตรวจสอบไม้ยืนต้นและอนุมัติวงเงินจดทะเบียน
สัญญาหลักประกันทางธุรกิจ ข้อตกลงเข้าร่วมโครงการใช้ไม้ยืนต้นเป็นหลักประกันหนี้เงินกู้ (ฉบับธนาคาร
เก็บ) และราคากลางต้นไม้ พร้อมทั้งสำเนารายงานการประชุม และเอกสารการตรวจวัดและประเมินมูลค่า
ไม้ยืนต้น ตามข้อ 5 ที่ธนาคารต้นไม้จัดส่งมาให้สาขา ใช้ประกอบการพิจารณาความถูกต้องและเหมาะสม

26 I หลกั เกณฑ์ ขั้นตอน วิธปี ฏบิ ัติการใชต้ ้นไม้เป็นหลักประกัน

ของมูลค่าไม้ยืนต้นที่จะใช้เป็นหลักประกันและอนุมัติวงเงินจดทะเบียนสัญญาหลักประกันทางธุรกิจ โดย
พิจารณาเทียบเคียงกับข้อมูลราคากลางต้นไม้ตามที่ธนาคารกำหนด เมื่อพิจารณาอนุมัติวงเงินจดทะเบียน
สญั ญาหลักประกันทางธรุ กิจแลว้ สง่ ให้หนว่ ยอำเภอดำเนนิ การ ตอ่ ไป

9) จดั ทำสญั ญาหลักประกนั ทางธุรกจิ

พนักงานพัฒนาธุรกิจติดต่อเจ้าของไม้ยืนต้นในฐานะผู้ให้หลักประกัน เพื่อจัดทำสัญญาหลักประกัน
ทางธุรกิจพร้อมลงนามให้ความยินยอม เมื่อแล้วเสร็จ จัดส่งเอกสารที่เกี่ยวข้องให้พนักงานการเงิน
ดำเนนิ การต่อไป

ทั้งนี้ พึงระมัดระวัง การลงวันที่ทำสัญญาหลักประกันทางธุรกิจ จะต้องเกิดขึ้นก่อนการบันทึก
สร้างคำขอจดทะเบียนสัญญาหลักประกันทางธุรกิจ เนื่องจากมีข้อกฎหมายกำหนดไว้ และหากทำผิด
กฎหมายกำหนดบทลงโทษทางแพง่ และอาญาไว้

10) จัดเก็บค่าธรรมเนียม

ให้พนกั งานการเงินดำเนินการจัดเก็บคา่ ธรรมเนียมเป็นไปตามประกาศธนาคาร เรอื่ ง อัตราค่าบริการ
และคา่ ธรรมเนียม เมื่อดำเนินการแล้วสง่ เอกสารทีเ่ ก่ียวข้องท้ังหมดใหห้ วั หนา้ การเงินเพื่อดำเนนิ การต่อไป

11) สรา้ งคำขอจดทะเบียนสัญญาหลกั ประกันทางธุรกจิ

กระบวนการตง้ั แตผ่ ใู้ ห้หลักประกนั ลงนามในสัญญาหลกั ประกันทางธุรกิจ จนถงึ ผู้ช่วยผู้จัดการ
สาขา (Checker) ทำการยืนยันคำขอจดทะเบียนสัญญาหลักประกันทางธุรกิจเข้าระบบไปกรมพัฒนา
ธุรกิจการค้า ต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จ ภายใน 14 วัน นับแต่วันที่ผู้ให้หลักประกันลงนามทำสัญญา
หลักประกันทางธุรกิจ เนื่องจาก ตาม พ.ร.บ. หลักประกันทางธุรกิจ ได้กำหนดบทลงโทษทางแพ่งและ
อาญาไว้

ทั้งนี้ ต้องมีการจัดทำหนังสือกู้เงนิ ก่อน ถึงจะดำเนินการสร้างคำขอจดทะเบียนสญั ญาหลักประกัน
ทางธุรกิจเข้าระบบ Web Site กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เนื่องจากการที่นำทรัพย์สินมาจดทะเบียน
สัญญาหลักประกนั ทางธุรกจิ ไว้เพื่อประกันการชำระหน้ีนัน้ ต้องมีหนี้ระหว่างเจา้ หนี้และลกู หนี้อยู่ก่อนแล้ว ซ่ึง
เรียกได้ว่าเป็นสัญญาประธานแล้วจึงมีการจดทะเบียนสัญญาหลักประกันทางธุรกิจที่เป็นการนำเอา
ทรัพย์สนิ ไปตราเปน็ ประกนั หน้ีน้นั ซึ่งอาจเรียกไดว้ า่ เปน็ สัญญาอุปกรณ์ เปน็ หลกั การท่ีกฎหมายกำหนดไว้

การบันทึกข้อมูลจดทะเบียนสัญญาหลักประกันทางธุรกิจผ่าน Web Site กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
(www.dbd.go.th) ในระบบจดทะเบียนสัญญาหลักประกันทางธุรกิจ เพื่อเข้าไปสร้างคำขอจดทะเบียนใน
ระบบ ตามขัน้ ตอนวธิ ีการบันทึกไมย้ ืนต้นในระบบจดทะเบียนสัญญาหลักประกันทางธรุ กิจ (เอกสารแนบ 8)
ส่วนการดำเนินการอื่นที่นอกเหนือจากนี้ให้ศึกษาได้จาก คู่มือระบบจดทะเบียนสัญญาหลักประกันทาง
ธุรกิจ สามารถดาวน์โหลดได้ที่ http://baacnet/ --> ส่วนงานต่างๆ --> สำนักพิธีการสินเชื่อและหลักประกัน
--> ข่าวสารหลักประกัน โดยให้หัวหน้าการเงิน ทำหน้าที่เป็น Maker เป็นผู้สร้างคำขอจดทะเบียนสัญญา
หลกั ประกนั ทางธุรกิจ และจัดส่งให้ ผชู้ ่วยผู้จัดการสาขา (Checker) ตรวจสอบพร้อมส่งยืนยนั การจดทะเบียนไป
กรมพัฒนาธุรกจิ การค้า โดยดำเนนิ การตามขั้นตอนดงั นี้

11.1) ลงชอ่ื เข้าใช้งานระบบจดทะเบียนสัญญาหลักประกันทางธุรกิจ ผ่านเว็บไซต์กรมพัฒนา
ธุรกิจการค้า (www.dbd.go.th) โดยผู้ใช้ (Username) กำหนดเป็น baac ตามด้วยรหัสพนักงาน

คมู่ ือการประเมินมูลคา่ ตน้ ไม้ I 27

เช่น baac99999999 ส่วนรหัสผ่าน และ รหัสยืนยันตัวตน (Activate Code) ในการเข้าใช้งานครั้งแรก จะ
ได้รับจากกรมพฒั นาธุรกจิ การคา้ ผา่ นอีเมลธ์ นาคารของแต่ละบคุ คล

11.2) บนั ทึกคำขอจดทะเบียนสัญญาหลักประกันทางธุรกิจ โดยจะตอ้ งบันทกึ รายละเอียดต่าง ๆ
ประกอบด้วย การบันทึกวนั ท่ีทำสัญญาหลักประกันทางธรุ กจิ การบันทกึ ข้อมูลลูกหนี้ การบันทึกข้อมูลผู้ให้
หลกั ประกนั การบันทกึ ข้อมูลผู้รับหลักประกัน การบันทึกข้อมลู หลักทรัพย์ (ไม้ยืนต้น) การบันทึกมูลค่าไม้ยืน
ต้นรวมของพรรณไม้ทุกชนิดในแปลงปลูกของที่ดินเอกสารสิทธิ์ฉบับนั้น ๆ (ตามวงเงินจดทะเบียนสัญญา
หลักประกันทางธุรกิจที่พนักงานผู้ได้รับมอบอำนาจอนุมัติวงเงินไว้) ในหน้าจอ กลุ่มทรัพย์สิน ในช่อง
“มูลค่าตามสกุลเงิน” ของรายการมูลค่าทรัพย์สินและจำนวนเงินที่เป็นหลักประกัน สกุลเงินเลือก “THB-
บาท” อัตราแลกเปลย่ี น ณ วนั ที่ “เลือกใส่วนั ทบี่ ันทึกข้อมลู ” อัตราแลกเปลย่ี นบนั ทึก “1.00” การบันทึกเพ่ิม
ไมย้ นื ตน้ ในกลุ่มทรัพย์สนิ การบนั ทกึ หนท้ี ีก่ ำหนดให้มีการประกันการชำระ การบันทกึ เหตุบงั คับหลักประกัน
การเลือกธนาคารเป็นผู้ชำระค่าธรรมเนียม ระบบจะขึ้นจำนวนเงินค่าธรรมเนียมมาให้โดยอัตโนมัติ แต่
ธนาคารได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม ตาม พ.ร.บ. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
มาตรา 41 สามารถดำเนินการข้ันตอนต่อไปได้ พงึ ระมัดระวัง หา้ มเลือก “ อยู่ในกจิ การ” เน่ืองจากไม่ได้
จดทะเบยี นใช้กิจการเป็นหลักประกัน ส่วนการดำเนนิ การอนื่ ทน่ี อกเหนือจากนีใ้ ห้ศึกษาได้จาก คูม่ อื ระบบจด
ทะเบยี นสัญญาหลักประกันทางธรุ กิจ

* จุดควบคมุ การบันทึกมลู ค่าทรัพย์สนิ และจำนวนเงนิ ทเ่ี ป็นหลักประกนั ในระบบ
จดทะเบยี นสญั ญาหลกั ประกันทางธรุ กจิ

ความถีใ่ นการควบคุม ทกุ สัญญา

ระดับการควบคมุ หัวหน้าการเงิน (Maker) บันทึกมูลค่าทรัพย์สินและจำนวนเงินที่เป็น
หลกั ประกนั ใหถ้ ูกต้อง

* จดุ ควบคุม การบันทึกข้อมูลผู้ชำระค่าธรรมเนียม ให้คลิก “เลือกจากผู้รับ
หลักประกัน” เท่านั้น (ห้ามพิมพ์จำนวนเงินเอง) แล้ว คลิกเลือก
“ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร” เป็นผู้ชำระ
ค่าธรรมเนียมทุกสัญญา (หากเลือกผิดระบบจะแจ้งเรียกเก็บ
ค่าธรรมเนียม ทำให้ต้องมีการบันทึกระบบแก้ไขเปลี่ยนแปลง
ใหม่)

ความถ่ใี นการควบคุม ทกุ สัญญา

ระดบั การควบคุม หัวหน้าการเงิน (Maker) เลือกขอ้ มูลผชู้ ำระค่าธรรมเนียม โดยเลือก
ผู้รบั หลักประกัน คอื ธนาคารเป็นผ้ชู ำระค่าธรรมเนยี มทุกสัญญา

11.3) ตรวจสอบสถานะคำขอจดทะเบียนสัญญาหลักประกนั ทางธุรกจิ ผูใ้ ชง้ านระดับ Maker
ตอ้ งตรวจสอบดสู ถานะคำขอที่กรมพัฒนาธุรกจิ การคา้ ส่งกลบั มาว่า คำขอจดทะเบยี นหลักประกันทางธุรกิจ
อยใู่ นสถานะใด รายละเอียดการบนั ทึกตาม คมู่ ือระบบจดทะเบียนสัญญาหลักประกันทางธุรกิจ

11.4) บนั ทึกขอเปล่ียนแปลง/แก้ไขรายการจดทะเบียนหลกั ประกันทางธรุ กจิ ซ่งึ ได้แก่ การเพ่ิม
หรือลดวงเงินกู้ การแก้ไขคำนำหนา้ นาม ชื่อตัว ชื่อสกุล ที่อยู่ของลูกหนี้ ผู้ให้หลักประกัน ผู้รับหลกั ประกนั

28 I หลกั เกณฑ์ ขนั้ ตอน วิธีปฏิบตั กิ ารใช้ตน้ ไมเ้ ปน็ หลกั ประกัน

โดยให้จดั ทำหนังสือยินยอมการแก้ไขรายการจดทะเบยี นสญั ญาหลักประกันทางธรุ กิจและผู้ให้หลกั ประกัน
ลงนามใหค้ วามยนิ ยอม แล้วทำการบนั ทึกคำขอเปลี่ยนแปลง/แก้ไขสัญญาหลักประกนั ทางธรุ กจิ ในระบบจด
ทะเบียนสัญญาหลักประกันทางธุรกิจ เพื่อให้นายทะเบียนกรมพัฒนาธุรกิจการค้าอนุมัติคำขอเปลี่ยนแปลง/
แก้ไขรายการจดทะเบียนสญั ญาหลักประกันทางธรุ กิจ ภายในระยะเวลาไม่เกนิ 14 วนั นับต้ังแต่วันที่ผู้ให้
หลักประกันลงนามทำหนงั สือยนิ ยอมขอเปล่ียนแปลง/แกไ้ ขสัญญาหลกั ประกันทางธรุ กจิ

12) ยนื ยันคำขอจดทะเบยี นสัญญาหลกั ประกนั ทางธรุ กิจ

ผู้ช่วยผู้จัดการสาขา (Checker) ทำหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องของคำขอจดทะเบียนสัญญา
หลักประกันทางธุรกิจท่ี หัวหน้าการเงิน (Maker) ทำการบันทึกเข้าระบบไว้ หากพบข้อผิดพลาดให้ส่งกลบั
ไปให้หัวหน้าการเงิน (Maker) ทำการบันทึกแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้อง เมื่อ ผู้ช่วยผู้จัดการสาขา (Checker) ได้
ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมลู ครบถว้ นแลว้ ใหท้ ำการยืนยนั สง่ คำขอจดทะเบียนสญั ญาหลักประกันทาง
ธุรกจิ เข้าระบบไปกรมพัฒนาธรุ กิจการค้าอนุมัติคำขอต่อไป รายละเอียดตาม ค่มู อื ระบบจดทะเบียนสัญญา
หลักประกันทางธุรกจิ พึงระมัดระวัง หาก ผ้ชู ่วยผูจ้ ัดการสาขา (Checker) สง่ ยืนยนั คำขอเข้าระบบไปกรม
พัฒนาธุรกิจการค้าแล้ว การดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนใด ๆ จะต้องยื่นคำขอจดแจ้งตามที่
กฎหมายกำหนดไว้ ซึ่งมีขอบระยะเวลาและบทลงโทษทางกฎหมาย ถ้ามีการตรวจสอบข้อมูลแก้ไขก่อนส่ง
ยืนยนั เขา้ ระบบกจ็ ะไมไ่ ด้รับผลกระทบ

* จุดควบคุม ตรวจสอบการบันทึกข้อมูลและการเลือกผู้ชำระค่าธรรมเนียม ให้
เลอื กผรู้ บั หลักประกนั (ธนาคาร) เปน็ ผชู้ ำระคา่ ธรรมเนียม

ความถีใ่ นการควบคุม ทุกสัญญา

ระดบั การควบคุม ผู้ช่วยผู้จัดการสาขา (Checker) ตรวจสอบการบันทึกข้อมูลและการ
เลือกผู้ชำระค่าธรรมเนียมให้ถูกต้อง โดยตรวจดูว่า Maker ได้คลิก
“เลือกจากผู้รับหลักประกัน” แล้ว คลิกเลือก “ธนาคารเพ่ือ
การเกษตรและสหกรณ์การเกษตร” เป็นผู้ชำระค่าธรรมเนียมทุก
สัญญาไว้ถกู ตอ้ งหรือไม่

* จุดควบคมุ ตรวจสอบการบันทึกมูลค่าทรัพย์สินและจำนวนเงินที่เป็น
หลกั ประกัน ในระบบจดทะเบียนสัญญาหลกั ประกันทางธรุ กิจ

ความถใี่ นการควบคมุ ทุกสัญญา

ระดบั การควบคมุ ผู้ช่วยผู้จัดการสาขา (Checker) ตรวจสอบการบันทึกมูลค่า
ทรัพย์สินและจำนวนเงินที่เป็นหลักประกัน ให้ถูกต้องตามวงเงินจด
ทะเบียนสญั ญาหลกั ประกนั ทางธรุ กิจ

ทั้งนี้ ผู้ช่วยผู้จัดการสาขา (Checker) ต้องทำการยืนยันคำขอจดทะเบียนสัญญาหลักประกัน
ทางธุรกิจ ในระบบจดทะเบียนสัญญาหลักประกันทางธุรกิจไปกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ต้องดำเนินการ
ให้แล้วเสร็จ ภายใน 14 วัน นับแต่วันที่ผู้ให้หลักประกันลงนามทำสัญญาหลักประกนั ทางธุรกิจ เนื่องจาก
ตาม พ.ร.บ. หลักประกันทางธรุ กจิ ไดก้ ำหนดบทลงโทษทางแพง่ และอาญาไว้

คูม่ อื การประเมนิ มูลคา่ ตน้ ไม้ I 29

13) พิมพห์ ลกั ฐานการจดทะเบยี นสญั ญาหลักประกันทางธุรกิจ

ผู้ช่วยผู้จัดการสาขา (Checker) เมื่อส่งยืนยันคำขอจดทะเบียนสัญญาหลักประกันทางธุรกิจแล้ว
ต้องแจ้งให้ หัวหน้าการเงิน (Maker) คอยเปิดดูระบบรายงานสถานะคำขอ เพื่อตรวจดูผลการอนุมัติคำขอ
จดทะเบียนจากนายทะเบียนกรมพัฒนาธุรกิจการค้า หากอนมุ ตั ิคำขอแลว้ ให้ หวั หน้าการเงิน (Maker) ทำการ
พิมพ์แบบแจ้งข้อมูลการจดทะเบียนสัญญาหลักประกันทางธุรกิจ เพื่อเก็บรวมไว้กับสัญญากู้เงินทุกครั้ง
รายละเอยี ดตาม คมู่ อื ระบบจดทะเบยี นสัญญาหลักประกนั ทางธรุ กจิ และรายงานแจง้ ผลการอนุมัติคำขอจด
ทะเบียนให้ ผู้ชว่ ยผู้จัดการสาขา (Checker) ทราบ

* จดุ ควบคมุ ตรวจดูผลการอนมุ ัติคำขอจดทะเบยี น จากรายงานสถานะคำขอ

ความถีใ่ นการควบคุม ทกุ สัญญา

ระดบั การควบคมุ หัวหน้าการเงิน (Maker) ตรวจดูผลการอนุมัติคำขอจดทะเบียน
ให้ถูกต้องครบถ้วนตรงตามวงเงินที่พนักงานผู้ได้รับมอบอำนาจ
อนุมัติไว้ และทำการพิมพ์แบบแจ้งข้อมูลการจดทะเบียนสัญญา
หลกั ประกนั ทางธุรกิจเก็บไว้ทุกสญั ญา

14) บันทกึ ขอ้ มูลในระบบ

เมื่อลูกค้า (เจ้าของไม้ยืนต้น) ได้จดทะเบียนสัญญาหลักประกันทางธุรกิจไม้ยืนต้นกับกรมพัฒนา
ธรุ กิจการค้าแลว้ ให้พนักงานพฒั นาธุรกิจบันทึกสร้างขอ้ มูลหลกั ประกันในหน้าจอ WEB CSR โดยเข้าบันทึก
ระบบหลกั ประกนั --> สรา้ งหลักประกัน ดังนี้

Collateral Type เลอื ก 2 – สิ่งปลกู สร้าง 

Sub Type เลือก “0 – ไม่มีประเภทยอ่ ย”

เลขทส่ี ง่ิ ปลกู สร้าง เลขที่สัญญาหลักประกันทางธุรกิจ ในแบบแจ้งข้อมูลการจดทะเบียน
สัญญาหลกั ประกันทางธรุ กิจ

จังหวัดที่ตงั้ จังหวดั ทต่ี ง้ั ท่ีดินแปลงปลกู ไม้ยนื ต้น

อำเภอ/เขต อำเภอหรือเขตท่ตี ้งั ทีด่ ินแปลงปลกู ไมย้ ืนตน้

ตำบล/แขวง ตำบลหรือแขวงท่ตี งั้ ทีด่ นิ แปลงปลกู ไม้ยืนต้น

ทตี่ ง้ั ท่ดี ิน ใหใ้ ส่เลขท่หี นังสอื แสดงเอกสารสิทธ์ิท่ดี นิ แปลงปลูกไม้ยืนต้น

ประเภทส่งิ ปลกู สรา้ ง เลือก 9 - ไม้ยนื ต้น 

ราคาประเมนิ ราคาประเมินมูลค่าไม้ยืนต้น (นำวงเงินจดทะเบียนสัญญาหลักประกัน
ทางธรุ กิจไม้ยนื ต้น ทพี่ นักงานผ้ไู ด้รับมอบอำนาจอนุมัติ มาบันทึก)

วนั ทีป่ ระเมินราคา ให้บนั ทึกวันท่ีอนุมัติวงเงินจดทะเบียนสญั ญาหลักประกันทางธุรกจิ

เหตุผลประกอบราคาประเมิน -

ประเมินโดย สว่ นงานผ้ปู ระเมนิ เลอื ก 4 – ธนาคารตน้ ไม้ 

30 I หลักเกณฑ์ ข้นั ตอน วิธปี ฏบิ ัตกิ ารใช้ตน้ ไมเ้ ป็นหลกั ประกัน

ผู้ประเมินราคา 1 ช่อื ผู้ประเมนิ ราคาใหส้ าขาบันทึก ธต.บา้ น..........(ระบชุ อื่ บ้าน) 

ผู้ประเมนิ ราคา 2 -

ผ้ปู ระเมินราคา 3 -

เลขทะเบยี นผเู้ สยี ภาษขี องบริษทั -

ประเมินราคา

ช่อื บรษิ ัทประเมินราคา -

สาขา/ศูนยท์ ีท่ ำการประเมินราคา รหัสสาขา/หน่วยงานของธนาคารท่ปี ระเมินราคา

หนว่ ยงานผู้อนุมตั ิราคาประเมนิ รหสั สาขา/หนว่ ยงานของธนาคารท่ีอนุมัติราคาประเมนิ

รหัสหลักประกันของธนาคารแห่งประเทศไทย เลือก 286008 - อื่นๆ ที่เกี่ยวกับที่ดินและ
ส่ิงปลูกสรา้ ง 

รหสั หลักประกันยอ่ ย -

สถานทเี่ กบ็ เอกสาร -

Non CRM เครอื่ งหมาย สำหรบั หลักประกันที่ไมส่ ามารถนำมูลคา่ หลักประกัน
มากนั สำรองตามเกณฑ์ IAS39

หมายเหตุ บันทึกกรณีมีการเปลี่ยนแปลง/แก้ไข/ยกเลิกการจดทะเบียนสัญญา
หลกั ประกันทางธุรกจิ

โดยตวั อย่างการบันทึกสร้างข้อมูลหลักประกนั แสดงดงั ภาพท่ี 2.1

ภาพที่ 2.1 ตัวอยา่ งการบนั ทึกสร้างข้อมูลหลกั ประกนั ค่มู อื การประเมินมลู คา่ ต้นไม้ I 31

1 4 32 I หลักเกณฑ์ ขั้นตอน วิธปี ฏบิ ัตกิ ารใช้ตน้ ไม้เปน็ หลักประกัน

ปปรระะเภเภททสส่งิ ปิง่ ปลลกู กูสสรา้รง้างเลเอืลกือก2 ส2ิ่ง–ปลสกูงิ่ สปรล้าูกง ผู้ประเมินราคา 1 บันทกึ ธต.บ้าน......
สรา้ ง
ปปรระะเเภภททสสง่ิ ิ่งปปลลกู ูกสสรรา้ า้งงเลเลืออืกก99ไม–้ยืนไมตย้ ้นนื ต้น

2

3

ประเมินโดย เลอื ก 4 - ธนาคารตน้ ไม้

รหสั หลกั ประกันธนาคารแห่งประเทศไทย

5 เลือก 286008 – อ่นื ๆทีเ่ ก่ียวข้องกบั ที่ดนิ
และสิ่งปลกู สร้าง

ภาพท่ี 2.1 (ต่อ)

คมู่ ือการประเมนิ มลู คา่ ต้นไม้ I 33

กรณีใช้ไม้ยืนต้นเป็นหลักประกันให้สร้างสัญญาหลักประกัน (Contract) เป็นแบบ 1 สัญญา
หลักประกัน 1 ต่อ 1 หลักประกัน โดยเมื่อสร้างหลักประกัน (Collateral) เสร็จแล้ว นำหมายเลข
หลักประกัน (Collateral Number) และบัญชีคุมวงเงิน (Commitment) ของลูกค้า มาผูกความสัมพันธ์กับ
สัญญาหลักประกัน (Contract) ตามวิธีปฏิบัติงานสาขาสำหรับผู้ใช้ (Loan User Manuals) ระบบสินเช่ือ
บทที่ 4 ข้อ 4.4 การสร้างสัญญาหลักประกัน หลังจากนั้นระบบจะออกเลขที่สัญญาหลักประกันให้
โดยอัตโนมัติ ให้นำเลขที่สัญญาหลักประกันมาบันทึกในเอกสารที่เกี่ยวข้อง และข้อมูลลูกค้ารายคน
รายละเอยี ดตามภาพประกอบ

หลักประกนั ไมย้ ืนต้น สัญญาหลกั ประกนั หนังสอื กู้เงินเพื่อเป็น
(Collateral) (Contract) ค่าใช้จา่ ย

(Commitment )

รายงานเบิก
(Account)

ภาพท่ี 2.2 การใช้ไม้ยนื ตน้ เป็นหลกั ประกันแบบ 1 สัญญาหลกั ประกัน ต่อ 1 หลกั ประกัน

กรณีใช้ไม้ยืนต้นเป็นหลักประกันเงินกู้และมีหลักประกันประเภทอื่นร่วมด้วย โดยเมื่อสร้าง
หลักประกัน (Collateral) ตามประเภทหลักประกันครบถ้วนแล้ว ให้สร้างสัญญาหลักประกัน (Contract)
ตามประเภทหลักประกัน และนำหมายเลขหลักประกัน (Collateral Number) กับบัญชีเงินกู้ (Account)
ของลูกคา้ มาผกู ความสมั พันธก์ ับสญั ญาหลักประกัน (Contract) ตาม

สาขาสำหรับผู้ใช้ (Loan User Manuals) ระบบสินเชื่อ บทที่ 4 ข้อ 4.4 การสร้างสัญญาหลักประกัน
หลังจากนั้นระบบจะออกเลขที่สัญญาหลักประกันให้โดยอัตโนมัติ ให้นำเลขที่สัญญาหลักประกันมาบันทึกใน
เอกสารทเี่ ก่ียวข้อง และขอ้ มลู ลูกค้ารายคน รายละเอยี ดตามภาพประกอบ

หลักประกนั ไม้ยนื ต้น สญั ญาหลักประกัน
(Collateral) (Contract)

หนงั สือกเู้ งินเพอื่ เป็นคา่ ลงทนุ
(Account)

ท่ีดิน สญั ญาจำนอง
(Collateral) (Contract)
ระบเุ ป็นหลกั ประกัน
1. หนังสือกเู้ งินเพอื่ เป็นค่าลงทุน
2. หนงั สือกเู้ งินเพอ่ื เป็นคา่ ใช้จ่าย

ภาพที่ 2.3 การใชไ้ ม้ยืนต้นเป็นหลกั ประกันเงินกแู้ ละมีหลกั ประกนั ประเภทอนื่ ร่วม

34 I หลกั เกณฑ์ ข้ันตอน วิธปี ฏิบตั ิการใช้ตน้ ไม้เปน็ หลกั ประกัน

15) ตรวจสอบความถกู ต้อง

ให้ผู้จัดการสาขา ผู้ช่วยผู้จัดการสาขาหรือผู้ได้รับมอบหมาย ตรวจสอบความถูกต้องของการบันทึก
หลักประกันในหน้าจอ WEB CSR ตามวิธีปฏิบัติงานสาขาสำหรับผู้ใช้ (Loan User Manuals) ระบบงาน
สินเชื่อ บทที่ 4 เรื่องเรียกดู/แก้ไขข้อมูลหลกั ประกัน เมื่อดำเนินการแลว้ ให้ Print Screen เอกสารหน้าจอ
หลักประกันแถบรายการ Collateral info พร้อมลงลายมือชื่อและวันที่กำกับไว้เป็นหลักฐาน และส่งเอกสาร
ทง้ั หมดใหพ้ นักงานธรุ การจัดเก็บต่อไป

* จุดควบคุม ตรวจเอกสารใหถ้ ูกต้องตรงตามลำดับขั้นตอน เพื่อยนื ยนั ความถกู ต้อง

ความถใี่ นการควบคุม ทกุ ราย

ระดับการควบคมุ ผู้จัดการสาขาหรือผู้ช่วยผู้จัดการสาขา ตรวจสอบความถูกต้อง
กอ่ นจัดเกบ็ เอกสาร

16) จัดเกบ็ เอกสาร

ให้พนักงานธุรการจัดเก็บเอกสารการจดทะเบียนสัญญาหลักประกันทางธุรกิจ และเอกสารการ
ประเมนิ มูลค่าไมย้ นื ต้น ไว้กับสญั ญากู้เงิน ดงั น้ี

16.1) แบบแจง้ ขอ้ มูลการจดทะเบยี นสัญญาหลักประกันทางธรุ กจิ พิมพจ์ ากระบบจดทะเบียน
สญั ญาหลักประกันทางธรุ กิจ

16.2) สญั ญาหลกั ประกนั ทางธุรกิจ

16.3) ข้อตกลงเขา้ ร่วมโครงการใช้ไม้ยืนต้นเป็นหลักประกันหนเี้ งินกู้

16.4) บันทึกการสุ่มตรวจสอบไม้ยืนต้นและอนุมัติวงเงินจดทะเบียนสัญญาหลักประกันทาง
ธรุ กจิ

16.5) ราคากลางตน้ ไม้

16.6) หนังสือนำส่งแจ้งผลการพิจารณาเห็นชอบรับราคาประเมินมูลค่าไม้ยืนต้น โดยให้
ประธานกรรมการธนาคารต้นไม้เป็นผลู้ งนาม

16.7) สำเนารายงานการประชุมคณะกรรมการธนาคารต้นไม้ ที่มีวาระเห็นชอบรับราคาประเมิน
มลู ค่าไมย้ นื ต้น (ธต. 5) โดยใหป้ ระธานกรรมการธนาคารต้นไมล้ งนามรับรองสำเนาถูกต้องไวท้ ุกหน้า

16.8) ตน้ ฉบบั แบบตรวจวดั และประเมนิ มูลค่าไม้ยนื ต้น ธต. 6 (6/1–6/4)

16.9) สำเนารายงานการประชุมคณะกรรมการธนาคารต้นไม้ ที่มีวาระแต่งตั้งผู้สำรวจและ
ประเมนิ มูลค่าไม้ยืนตน้ (ธต. 5) โดยใหป้ ระธานกรรมการธนาคารตน้ ไมล้ งนามรบั รองสำเนาถูกต้องไวท้ ุกหนา้

16.10) สำเนารายงานการประชุมสมาชิกธนาคารต้นไม้ประจำปี ที่มีวาระแต่งตั้งคณะกรรมการ
ธนาคารตน้ ไม้ (ธต. 4) โดยใหป้ ระธานกรรมการธนาคารต้นไม้ลงนามรบั รองสำเนาถูกต้องไวท้ ุกหน้า

คมู่ ือการประเมนิ มูลคา่ ต้นไม้ I 35

2.5 การจดทะเบยี นสัญญาหลักประกันทางธุรกิจ

ให้จดทะเบียนสัญญาหลักประกันทางธุรกิจไม้ยืนต้น ผ่านเว็บไซต์กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
(www.dbd.go.th) ในระบบจดทะเบียนสัญญาหลักประกันทางธุรกิจ ตามคู่มือระบบจดทะเบียนสัญญา
หลักประกันทางธุรกจิ

ขอ้ ควรระมัดระวงั

1) การจดทะเบียนสัญญาหลักประกันทางธุรกิจในแต่ละครั้งจะใช้เป็นหลักประกันเงินกู้ได้เพียง
สญั ญาเดยี วเท่านั้น หากมกี ารชำระหนสี้ ัญญากู้เงนิ ฉบบั นนั้ เสร็จสนิ้ จะไมส่ ามารถนำมาเปน็ หลกั ประกันใหม่
ได้ จะตอ้ งทำหนังสือแจ้งผู้ให้หลักประกนั จัดทำหนังสือยินยอมให้ธนาคารทำการยกเลิกการจดทะเบียนสัญญา
หลักประกันทางธุรกิจ โดยให้ดำเนินการตาม ข้อ 6 (สาขาต้องควบคุมกำกับโดยเคร่งครัดและแจ้งให้ลูกค้า
ทราบทุกครงั้ กรณลี ูกคา้ มาชำระหนเ้ี สรจ็ สน้ิ )

2) หนังสอื กเู้ งนิ เพ่ือเป็นค่าใช้จา่ ย/เพ่อื เปน็ ทุนหมุนเวยี น ไม่สามารถยกหนีเ้ ดิมไปรวมกบั หนีเ้ งินกู้
สญั ญาฉบับใหม่ได้ เพราะจะทำให้ธนาคารเสียสิทธ์กิ ารบงั คับหลักประกนั ตามกฎหมาย

2.6 การขอยกเลิกการจดทะเบยี นสัญญาหลักประกันทางธุรกจิ

เมื่อลูกค้าส่งชำระหนี้สัญญากู้เงินท่ีใช้ไม้ยืนต้นเป็นประกันเสร็จสิ้น ต้องทำการยกเลิกการจดทะเบียน
สัญญาหลักประกันทางธุรกิจ ตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนด โดยให้ธนาคารแจ้งผู้ให้หลักประกันทราบถึงการ
ได้รับชำระหนี้เสร็จสิ้น ของสัญญากู้เงินทีผ่ ูกหลักประกันไม้ยืนต้นจดทะเบียนสญั ญาหลักประกันทางธุรกิจ และ
ธนาคารยนิ ยอมให้ผู้ให้หลักประกันขอยกเลิกการจดทะเบียนสญั ญาหลักประกันทางธุรกิจได้ โดยติดต่อนัดหมาย
ผู้ให้หลักประกันมาพบที่ธนาคารเพื่อจัดทำหนังสือยินยอมการขอยกเลิกการจดทะเบียนสัญญาหลักประกันทาง
ธุรกิจและผู้ให้หลักประกันลงนามให้ความยินยอม เนื่องจากหนี้ที่เป็นประกันระงับสิ้นไปด้วยเหตุชำระหนี้เสร็จ
สิ้นแล้ว หรือขอไถ่ถอนทรัพย์สินที่เป็นหลักประกัน (กรณี มีหลักประกันอื่นที่มั่นคงกว่ามาทดแทนโดยไม่มี
การชำระหนี้) แล้วให้ หัวหน้าการเงิน (Maker) ทำการบันทึกขอยกเลิกการจดทะเบียนสัญญาหลักประกันทาง
ธุรกิจ เขา้ ระบบผ่านเว็บไซต์กรมพฒั นาธรุ กิจการค้า ในระบบจดทะเบียนสญั ญาหลกั ประกนั ทางธุรกิจ จากนั้น
ส่งให้ ผู้ชว่ ยผจู้ ดั การสาขา (Checker) ตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูล และสง่ ยนื ยันคำขอยกเลิกการ
จดทะเบียนสัญญาหลักประกันทางธุรกิจเข้าระบบไปกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ภายในระยะเวลาไม่เกิน 14 วัน
นับตั้งแต่วันที่ผู้ให้หลักประกันลงนามให้ความยินยอมทำหนังสือขอยกเลิกการจดทะเบียนสัญญาหลักประกัน
ทางธุรกิจ รายละเอียดการบันทึกตาม คู่มือระบบจดทะเบียนสัญญาหลักประกันทางธุรกิจ พึงระมัดระวัง
หากเกนิ ระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด ผใู้ ห้หลกั ประกันจะมีความผิดไดร้ ับโทษทางกฎหมาย เนื่องจาก ตาม
พ.ร.บ. หลกั ประกันทางธุรกจิ ไดก้ ำหนดบทลงโทษทางแพ่งและอาญาไว้

2.7 ข้ันตอนตดิ ตามหลังจดจำนอง จดทะเบยี นสัญญาหลักประกันทางธรุ กจิ

2.7.1 การทบทวนราคาประเมินมูลคา่ ไม้ยืนต้น

การทบทวนราคาประเมินมลู คา่ ไมย้ ืนตน้ ใหท้ บทวนทุก ๆ 3 ปี หากทบทวนแล้วพบว่ามีมูลค่าลดลง
ให้ดำเนินการหาหลักประกันอื่นที่มีความมั่นคงมาเป็นหลักประกันเพิ่ม หรือชำระหนี้ให้คุ้มหนี้ที่มีอยู่ใน

36 I หลักเกณฑ์ ข้ันตอน วิธปี ฏบิ ตั กิ ารใช้ต้นไมเ้ ปน็ หลักประกัน

ขณะนั้น โดยราคาประเมินมูลค่าไม้ยืนต้นที่ทำการทบทวน ต้องมีราคาประเมินไม่น้อยกว่าสองเท่าของหน้ี
สัญญากเู้ งนิ ทใ่ี ช้ไมย้ ืนต้นเปน็ ประกัน หากพบว่าไมย้ นื ตน้ มีมลู คา่ เพ่ิมข้ึนและลูกคา้ มีความประสงค์จะขอกู้เงิน
สัญญาใหม่ ลูกค้าต้องชำระหนี้สัญญาเดิมที่ใช้ไม้ยืนต้นเป็นหลักประกันให้เสร็จสิ้น และทำการยกเลิกการ
จดทะเบียนสัญญาหลักประกันทางธุรกิจฉบบั เดิม แล้วทำการจดทะเบียนสญั ญาหลกั ประกันทางธุรกิจฉบับใหม่
เพ่อื ใชเ้ ป็นหลักประกนั หนังสอื กเู้ งินฉบับใหม่

2.7.2 การขออนุญาตปลูก ตัด เคลือ่ นยา้ ย ไม้ยนื ตน้

การขออนุญาตปลูก ตัด เคลื่อนย้าย ไม้ยืนต้น และการทำไม้ ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติป่าไม้
พระราชบัญญัติสวนป่า กฎกระทรวงที่ทางราชการกำหนด เมื่อใช้เป็นหลักประกันหนี้เงินกู้กับธนาคารแล้ว
การดำเนินการใด ๆ ของผู้เป็นเจ้าของไม้ยืนต้นต้องได้รับความอนุญาตจากธนาคารเป็นลายลักษณ์
อกั ษรกอ่ น

2.7.3 การจดั ทำทะเบียนคุมหลักประกนั ต้นไม้

ให้พนักงานพัฒนาธุรกิจจัดทำไฟล์แบบพิมพ์บันทึกทะเบียนคุมต้นไม้ที่ใช้เป็นหลักประกัน แล้วทำ
การบันทึกข้อมูลเก็บไว้ในไฟล์ โดยดูข้อมูลที่ใช้บันทึกได้จากแบบตรวจสอบและประเมินมูลค่าต้นไม้ หรือ
ธต.6 (ภาคผนวกที่ 2) เพื่อเตรียมรายงานให้ส่วนงานที่เกี่ยวข้องใช้เป็นข้อมูลเพื่อเสนอให้ผู้บริหารธนาคาร
ทราบ

บทท่ี 3

การตรวจวดั และประเมนิ มลู คา่ ตน้ ไม้

38 I การตรวจวดั และประเมินมลู คา่ ตน้ ไม้

3.1 การสำรวจและตรวจวดั ตน้ ไม้

การสำรวจป่าไม้ (forest Inventory) เป็นการเก็บข้อมูลสภาพป่าไม้ เพื่อใช้ในการวางแผน และ
ตัดสินใจดำเนินการทางวนวัฒนวิทยา (silviculture) เพื่อให้เกิดการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน และสามารถ
ประเมินกิจกรรมการดำเนินงานอยา่ งมีประสิทธิภาพ แต่ในระยะเวลาต่อ ๆ มานั้น ได้ตระหนกั ถึงคุณค่าของ
ทรัพยากรป่าไม้ในด้านที่เกี่ยวกับการรักษาสมดลุ ของธรรมชาติ อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงและความ
ผันผวนของสภาพภูมิอากาศของโลก จึงมีการสำรวจป่าไม้เพื่อวัตถุประสงค์อื่น ๆ เช่น การสำรวจความ
หลากหลายทางชวี ภาพ การสำรวจป่าเศรษฐกิจและสวนป่าเพือ่ ประเมนิ ผลผลิต และการประเมินการกกั เกบ็
คารบ์ อน เปน็ ต้น

อย่างไรก็ตาม นับตั้งแต่กรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้จัดทำ
ยุทธศาสตร์และแผนงานการส่งเสริมไม้เศรษฐกิจแบบครบวงจร (พ.ศ. 2561-2579) หรือขอเรียกสั้น ๆ ว่า
“ยุทธศาสตร์ไม้เศรษฐกิจ” โดยมอบหมายให้ คณะวนศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั เกษตรศาสตร์ เปน็ ผูด้ ำเนินการ
ซึ่งเสรจ็ สมบรู ณ์ตั้งแต่เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2560 ทผี่ ่านมา โดยกำหนดเป้าหมายหนึ่งไว้ในอีก 20 ปี
ขา้ งหนา้ (พ.ศ. 2579) เพอ่ื เพิม่ พื้นที่ปลูกไม้เศรษฐกจิ เพม่ิ ขึน้ เปน็ ไมน่ อ้ ยกว่า 26 ลา้ นไร่ และไดม้ กี ารกำหนด
ยุทธศาสตร์เพื่อขับเคลื่อนการส่งเสริมไม้เศรษฐกิจแบบครบวงจรในด้านต่าง ๆ ไว้หลายด้าน แต่ประเด็น
ยุทธศาสตร์ที่สำคัญที่สุด ได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาและปรับปรุงกฎหมาย และการสร้าง
แรงจูงใจทางด้านการเงินและการคลัง เป็นมาตรการเร่งด่วนที่รัฐบาลดำเนนิ การเพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์
ไมเ้ ศรษฐกจิ อันเป็นเหตุให้มีการแก้ไขกฎหมายป่าไม้ และการอนุมัติกฎกระทรวงพาณชิ ย์กำหนดให้ไม้ยืนต้น
เป็นทรัพย์สินที่ใช้เป็นหลักประกันได้ ตามพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. 2558 ตั้งแต่วันที่
24 ตลุ าคม พ.ศ. 2561 ทำให้บคุ คลและหน่วยงานที่เก่ียวข้องกับการปลูกไม้เศรษฐกจิ ทั้งภาครัฐและเอกชน
ตื่นตัวกันเป็นอย่างมาก ดังนั้น การสำรวจและตรวจวดั ต้นไม้เพื่อใช้ในการประเมินมูลค่าของต้นไม้เพื่อเป็น
หลกั ประกันทางธรุ กจิ จงึ เปน็ สิ่งจำเป็นอย่างยิง่

หลกั การสำรวจปา่ ไมห้ รือตน้ ไมท้ ่สี ำคัญ หากพืน้ ท่ปี ่าไม้ หรอื พ้นื ที่ปลูกปา่ มีขนาดใหญม่ าก จำเป็นต้อง
ใช้การสุ่มตัวอย่าง (sampling) โดยการกำหนด เทคนิคการสุ่มตัวอย่าง (sampling techniques) รูปร่าง
ขนาด และจำนวนของแปลงตัวอย่างที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์และลักษณะของพื้นที่ที่ต้องการประเมิน
ในทางตรงข้าม หากพื้นที่ขนาดเล็ก การสำมะโนประชากรต้นไม้ (tree census) ซึ่งเป็นการเก็บข้อมูล
ต้นไมใ้ นปา่ ‘ทุกต้น’ ตามวัตถุประสงค์ หรือขอบเขตพน้ื ที่ที่กำหนด เช่น การสำรวจและเก็บข้อมูลไม้ยืนต้น
ทุกตน้ ในสวนสันตภิ าพ กรุงเทพมหานคร เพอ่ื ประเมินการกักเก็บคาร์บอน การสำรวจและตรวจวดั ต้นไม้ทุก
ต้นในที่ดินของ นาย ก. เนื้อที่ 5 ไร่ เพื่อประเมินมูลค่าต้นไม้ การสำรวจและตรวจวัดต้นไม้ทุกต้นบนถนน
ราชดำเนินเพื่อจัดทำฐานข้อมูลต้นไม้ เป็นต้น สำหรับกรณีการประเมินมูลค่าต้นไม้ภายใต้โครงการ
ธนาคารตน้ ไมเ้ ปน็ การตรวจวดั ต้นไมท้ ุกต้นทข่ี น้ึ ทะเบียน

สำหรบั ตัวแปรการสำรวจและตรวจวัดต้นไม้อาจจำแนกเปน็ 2 กลุ่ม ดงั น้ี

1) ตวั แปรพ้ืนฐาน (basic parameters) เป็นตวั แปรเกี่ยวกบั บรเิ วณการสำรวจและท่ีต้งั เช่น ทต่ี ้งั
ทางภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศ และประวัติการใช้พื้นที่ในอดีตและปัจจุบัน สามารถหาได้จากแผนท่ี ภาพถ่าย
ทางดาวเทียม (satellite imagery) และเครื่องกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลก (Global Positioning System
หรอื GPS) สำหรับวดั พกิ ดั (ภาพท่ี 3.1)

คมู่ อื การประเมนิ มูลค่าตน้ ไม้ I 39
2) ตัวแปรของต้นไม้ (tree parameters) เช่น ความสูงของต้นไม้ และเส้นผ่านศูนย์กลางของต้นไม้
(diameter) สำหรับการสำรวจต้นไม้โดยทั่วไป วัดเส้นผ่านศูนย์กลางวัดทีร่ ะดับ 1.3 เมตร ซึ่งเรียกว่า เส้นผ่าน
ศนู ย์กลางเพยี งอก (Diameter at Breast Height หรอื DBH) อาจวัดด้วยเทปวัดเสน้ ผ่านศูนย์กลาง (diameter
tape) หรือวัดเป็นเส้นรอบวงด้วยสายวัดตัว (ภาพที่ 3.2) ในขณะท่ีความสูงของต้นไม้สามารถวัดด้วย
เครือ่ งมือหลายตัว เชน่ Haga altimeter, Haglof Vertex Hypsometer และ Nikon Forestry Pro เป็นต้น
ตลอดจนเครื่องมอื อย่างง่ายท่ีสามารถทำขึ้นเองได้ เช่น ไม้ 1 ต่อ 10 และ คริสเตนฮิบโซมิเตอร์ (Cristen’s
Hypsometer) เป็นตน้ (ภาพที่ 3.3)

ภาพท่ี 3.1 เครอ่ื งกำหนดตำแหนง่ บนพน้ื โลก (Global Positioning System หรอื GPS)
ทั้งนี้ รายละเอียดวิธีการใชเ้ ครื่องมือต่าง ๆ สามารถอ่านเพิม่ เตมิ ได้ในบทที่ 4 การใช้เครื่องมือวัด

ขนาดและคุณภาพต้นไม้ นอกจากนี้ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ยังได้พัฒนา
แอปพลิเคชันสำหรับในการประเมินมูลค่าต้นไม้ในโครงการธนาคารต้นไม้ ซึ่งจะมีรายละเอียดเพิ่มเติมใน
บทที่ 5 การใช้แอปพลเิ คชนั ในการประเมนิ มูลคา่ ตน้ ไม้

ภาพท่ี 3.2 เทปวัดเส้นผ่านศูนยก์ ลาง (ซ้าย) และสายวดั ตวั สำหรับวดั เส้นรอบวง (ขวา)

40 I การตรวจวดั และประเมินมลู คา่ ต้นไม้

Haga Altimeter

Nikon - Forestry Pro

Christen’s Hypsometer

ภาพที่ 3.3 ตัวอยา่ งเคร่อื งมือวดั ความสูงของตน้ ไม้
3.2 การประเมินผลผลิตของต้นไม้

ในการประเมินผลผลิตของป่าธรรมชาติและสวนป่าทั่วไปนิยมประเมินเป็น มวลชีวภาพ
(biomass) หมายถึง น้ำหนักของพืชที่วัดออกมาเป็นน้ำหนักแห้ง อาจเป็นน้ำหนักต่อหน่วยของพืช เช่น
ต่อต้น หรือ ต่อหน่วยพื้นท่ี แต่โดยทั่วไปแล้วนิยมหาออกมาในรูปของน้ำหนักแห้งซึ่งมีหน่วยเป็นตันต่อไร่
(พงษ์ศักด,ิ์ 2538) สำหรบั ผลผลิต (yield) หมายถึง จำนวนหรอื ปริมาณไมท้ งั้ หมดทส่ี ามารถตัดฟันไดจ้ ริง ๆ
ในเวลาที่กำหนด ซึ่งปริมาณทั้งหมดของหมู่ไม้ในเวลาที่กำหนดใด ๆ ก็คือผลผลิตของหมู่ไม้นั้น ๆ ตั้งแต่
เริ่มต้นการเติบโตจนถึงอายุที่กำหนดให้ โดยไม่ได้มีการตัดขยายระยะไม้ออกไป อย่างไรก็ตาม ผลผลิตของ
หมู่ไม้แปรผันไปตามปัจจัยต่าง ๆ ได้แก่ ชนิดไม้ องค์ประกอบของหมู่ไม้ คุณภาพของพื้นที่ (site quality)
ชน้ั อายุ ความหนาแนน่ การรบกวนจากปัจจัยภายนอก ตลอดจนการปฏิบตั ิทางวนวฒั นวิทยา

ในการประเมินผลผลติ สามารถใช้ ตารางผลผลติ (yield table) ซึ่งเปน็ ตารางทแี่ สดงปริมาตรต่อ
หนว่ ยเนอ้ื ทีแ่ ละลักษณะอ่ืน ๆ ของหม่ไู ม้ท่ีมีอายุสม่ำเสมอ (even-aged stand) ตามชน้ั อายุ พ้ืนที่ ชนิดไม้
และความหนาแน่นต่าง ๆ ตารางผลผลติ ของหมู่ไม้ท่ีมีอายสุ ม่ำเสมอสามารถเตรียมได้จากการศึกษาผลผลิต
ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรตาม เช่น ปริมาตร พื้นที่หน้าตัด และตัวแปรอิสระที่อธิบายสภาพของ
หม่ไู ม้ เช่น อายุ คุณภาพแหลง่ ไม้ และความหนาแนน่ ของหมู่ไม้ เปน็ ตน้ โดยทตี่ ารางผลผลติ สร้างไดจ้ ากสมการ
วิเคราะห์การถดถอย โดยคำนวณจากพื้นที่หน้าตัดต่อไร่ ดัชนีแหล่งไม้ หรืออายุของไม้แต่ละชนิด ในตาราง

คมู่ อื การประเมินมลู คา่ ตน้ ไม้ I 41

ผลผลิตจะประกอบด้วยขนาดและความเพิ่มพูนของปริมาตรไม้เมื่อมีอายุเพิ่มขึ้น ได้แก่ ความแตกต่างขอ ง
แหล่งไม้ อายุ ค่าเฉลี่ยของพื้นท่ีหน้าตัด จำนวนต้นไม้ ความสูง เส้นผ่านศูนยก์ ลาง และอาจมีค่าการเตบิ โต
เฉล่ยี รายปหี รอื การเตบิ โตรายปีรวมอยูด่ ว้ ย ตารางผลผลติ มีหลายประเภทขึน้ อยู่กับตัวแปรอิสระที่ใช้ในการ
สร้างตาราง ตารางที่ 3.1 แสดงตัวอย่างตารางผลผลิตไม้สักที่ปลูกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระยะปลูก
2 x 4 เมตร ช้นั คุณภาพพ้นื ทร่ี ะดับดีมาก (SI=30)

ตารางที่ 3.1 ตารางผลผลิตไม้สักที่ปลูกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระยะปลูก 2 x 4 เมตร ชั้นคุณภาพ
พนื้ ทรี่ ะดบั ดมี าก (SI=30)

อายุ ความสูงไมเ้ ด่น ความสงู เฉลี่ย ความโตเฉล่ีย พื้นท่ีหนา้ ตดั ปริมาตรตอ่ ต้น ปรมิ าตร

(ป)ี (ม.) (ม.) (ซม.) (ตร.ม./ไร่) (ลบ.ม./ต้น) (ลบ.ม./ไร่)

5 14.8 11.9 34.8 1.580 0.066 11.186
6 15.7 12.8 38.0 1.791 0.085 13.312
7 16.5 13.5 41.0 1.991 0.105 15.421
8 17.2 14.3 43.9 2.182 0.126 17.517
9 18.0 15.0 46.8 2.365 0.149 19.601
10 18.7 15.8 49.5 2.542 0.173 21.675
11 19.5 16.5 52.2 2.714 0.197 23.739
12 20.2 17.2 54.8 2.881 0.223 25.794
13 20.9 17.8 57.4 3.044 0.249 27.841
14 21.5 18.5 59.9 3.202 0.276 29.882
15 22.2 19.1 62.3 3.358 0.304 31.915
16 22.8 19.7 64.6 3.510 0.333 33.943
17 23.4 20.3 67.0 3.659 0.363 35.965
18 24.0 20.9 69.2 3.805 0.393 37.981
19 24.6 21.5 71.4 3.949 0.423 39.992
20 25.1 22.0 73.6 4.090 0.455 41.999
21 25.7 22.6 75.7 4.229 0.487 44.000
22 26.2 23.1 77.8 4.367 0.520 45.998

42 I การตรวจวดั และประเมินมูลค่าต้นไม้

อยา่ งไรก็ตาม สำหรบั สวนปา่ เศรษฐกิจการประเมินผลผลิตนยิ มประเมินเป็นปริมาตรไม้ เนื่องจากเป็น
ตัวแปรหรือหน่วยวัดที่มีการซ้ือขายกันในตลาด เช่น สัก ยาง ตะเคียนทอง ประดู่ และพะยูง เป็นต้น ยกเว้น
ไมโ้ ตเรว็ เช่น ยูคาลปิ ตสั กระถนิ เทพา กระถนิ ณรงค์ และกระถินยักษ์ ท่นี ิยม ซอ้ื ขายกันในรปู น้ำหนักสด

โดยทั่วไป การคำนวณปริมาตรของไม้ตัวอย่างแต่ละต้น สามารถทำได้โดยใช้ Samalian’s formula
โดยคำนวณปริมาตรของไม้แต่ละท่อนจากสูตร ดังสมการที่ (1) และปริมาตรท่อนบนสุดสามารถคำนวณจาก
สตู รดังสมการท่ี (2)

V= π (D12 + D22) (L) (1)
8 (106) (2)

V= π (D12 ) (L)
12 (106)

โดยท่ี V = ปริมาตรของทอ่ นไม้ (ลกู บาศกเ์ มตร)

D1 = เส้นผ่านศนู ยก์ ลางทโี่ คนทอ่ น (เซนติเมตร)
D2 = เสน้ ผา่ นศนู ย์กลางท่ีปลายท่อน (เซนตเิ มตร)
L = ความยาวของท่อน (เซนติเมตร) (เซนติเมตร)

ในการประเมนิ ปรมิ าตรไม้ยนื ต้น โดยหลักการประเมินจากตัวแปร 3 ตัวแปร ได้แก่ ขนาดเส้นผ่าน
ศนู ย์กลาง (diameter) ความสงู (height) และรูปทรง (form) ดงั แสดงในสมการที่ (3) นอกจากนี้ สามารถ
ประเมินจากพื้นทีห่ นา้ ตดั หรอื เสน้ ผ่านศนู ย์กลางเพยี งอก เท่านนั้ ดังแสดงในสมการท่ี (4) เช่น ปริมาตรไม้
ของสวนป่าไม้สัก ซึ่งเป็นสมการปริมาตรไม้สักที่สร้างจากตัวแทนต้นไม้ 12 ต้น เพื่อนำไปประมวลหา
ปริมาตรของตน้ ไม้ทง้ั แปลง (สมชาย และคณะ, 2560)

= (3)

V = ปรมิ าตรของต้นไม้ (Volume)
B = พนื้ ท่ีหนา้ ตดั ของต้นไม้ (Basal area)
H = ความสูงทั้งหมดของต้นไม้ (Total Height)
f = ค่าแสดงลกั ษณะรปู ทรงของต้นไม้ หรอื คา่ สมั ประสิทธ์ติ ัวคณู ลดปริมาตรรปู

ทรงกระบอก

= 0.0002( )2.3162 (4)

โดยที่ V = ปรมิ าตรของต้นไม้ (ลูกบาศก์เมตร)
DBH = ขนาดเสน้ ผา่ นศูนยก์ ลางเพยี งอก (เซนติเมตร)


Click to View FlipBook Version