The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

คู่มือประเมินมูลค่าต้นไม้ ปีบัญชี 2562

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by akkhanit pinrod, 2020-09-28 23:48:43

คู่มือประเมินมูลค่าต้นไม้ ปีบัญชี 2562

คู่มือประเมินมูลค่าต้นไม้ ปีบัญชี 2562

144 I การประเมนิ การกกั เก็บคาร์บอนของต้นไม้

ตารางท่ี 7.6 สัดสว่ นนำ้ หนกั แหง้ ของรากต่อตน้ ของต้นไมช้ นิด/พรรณไมต้ ่าง ๆ

ชนดิ /กลมุ่ พรรณไม้ สัดสว่ นคารบ์ อน ทมี่ า
(รอ้ ยละของนำ้ หนกั แห้ง)
พรรณไม้ทุกชนดิ IPCC (2006)
โกงกาง 27.00 คณะวนศาสตร์ (2554)
ปาล์ม 48.00 คณะวนศาสตร์ (2554)
ไผ่ 47.00
เถาวลั ย์ 27.00 IPCC (2006)
27.00 IPCC (2006)

ทมี่ า: องคก์ ารบรหิ ารจัดการก๊าซเรือนกระจก (2558)

7.2.4 ขั้นตอนการประเมนิ การกักเก็บคารบ์ อนในมวลชวี ภาพ

แหล่งสะสมคาร์บอนของป่าไม้ในในการประเมินการลดก๊าซเรือนกระจกปะกอบดว้ ย 6 แหล่ง ดังที่
กล่าวแล้วในหัวข้อ 7.1 การประเมินการกักเก็บคาร์บอนของโครงการการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจ
ตามมาตรฐานของประเทศไทย (T-VER) และกิจกรรมการสนับสนุนการลดก๊าซเรือนกระจก (LESS) สาขา
ป่าไม้และการเกษตร ประเมินการกักเก็บคาร์บอนจาก 2 แหล่ง ได้แก่ มวลชีวภาพเหนือดิน และมวลชีวภาพ
ใต้ดิน เท่านั้น ขั้นตอนการประเมินการกักเก็บคาร์บอนในมวลชีวภาพสำหรับโครงการธนาคารต้นไม้
สามารถสรุปไดด้ ังภาพท่ี 7.3 และมรี ายละเอียดดงั นี้

1) การสำรวจตน้ ไม้ เป็นการสำรวจตน้ ไม้ทกุ ต้น และจำแนกชนิดของต้นไม้

2) การวัดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางและความสูงของต้นไม้ทุกต้นที่ทำการสำรวจ วิธีการวัดขนาด
ดำเนนิ การเช่นเดียวกับการวดั ขนาดเพื่อประเมินมลู ค่าของตน้ ไม้ ดงั ทไี่ ดก้ ลา่ วแลว้ ในบทท่ี 5

3) การคำนวณมวลชีวภาพของต้นไม้ทุกต้น โดยคำนวณมวลชีวภาพเหนือพื้นดินด้วยสมการ
แอลโลเมตรีดังทีก่ ล่าวแล้วในหัวข้อ 7.2.2 และคำนวณมวลชีวภาพใต้ดินจากค่าสัดสว่ นน้ำหนักแห้งของราก
ต่อตน้ ของตน้ ไม้ (หัวข้อ 7.2.3)

4) การคำนวณการกกั เกบ็ คารบ์ อนในมวลชวี ภาพ ทั้งสว่ นทอ่ี ย่เู หนอื พื้นดินและสว่ นที่อยู่ใตด้ นิ โดย
คำนวณการกักเก็บคารบ์ อนในมวลชวี ภาพจากคา่ สัดสว่ นคาร์บอนของต้นไม้ (หัวขอ้ 7.2.1)

5) การคำนวณการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยอาศัยสัดส่วนของมวลโมเลกุลของคาร์บอน
และก๊าซคารบ์ อนไดออกไซด์

การดูดซับก๊าซคารบ์ อนไดออกไซด์ = การกกั เก็บคารบ์ อน x (44/12)

ค่มู อื การประเมินมลู คา่ ต้นไม้ I 145

การสารวจตน้ ไม้
การวดั ขนาดเสน้ ผา่ นศนู ยก์ ลาง
การคานวณมวลชวี ภาพของต้นไม้
การคานวณการกกั เกบ็ คารบ์ อนในมวลชวี ภาพ
การคานวณการดูดซบั กา๊ ซคาร์บอนไดออกไซด์

ภาพที่ 7.3 ขั้นตอนการประเมนิ การกกั เกบ็ คาร์บอนในมวลชีวภาพ

บทท่ี 8

กฎหมายท่เี กี่ยวขอ้ งกบั ไมเ้ ศรษฐกจิ

148 I กฎหมายที่เก่ียวขอ้ งกบั ไมเ้ ศรษฐกจิ

8.1 พระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2562

พระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบบั ท่ี 8) พ.ศ. 2562 เป็นการปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484
ซง่ึ ได้ประกาศในพระราชกิจจานุเบกษา เมอ่ื วนั ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2562 โดยเนื้อหาสำคัญในพระราชบัญญัติ
ที่เกยี่ วขอ้ งกับไม้เศรษฐกิจ สรุปได้ดงั นี้

มาตรา 7 ไม้ชนิดใดที่ขึ้นในป่าจะให้เป็นไม้หวงห้ามประเภทใด ให้กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา
สำหรบั ไม้ทุกชนิดที่ข้ึนในที่ดนิ ที่มีกรรมสิทธ์ิหรือสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายทีด่ ิน ไม่เป็นไม้หวงห้าม
หรือไม้ที่ปลูกขึ้นในที่ดินที่ได้รับอนุญาตให้ทำประโยชน์ตามประเภทหนังสือแสดงสิทธิ ที่รัฐมนตรีประกาศ
กำหนดโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ให้ถือวา่ ไม่เป็นไมห้ วงหา้ ม

มาตรา 18/1 เพื่อประโยชน์ในการจำแนกแหล่งที่มาของไม้ เจ้าของไม้ที่ขึ้นในที่ดินที่มีกรรมสิทธ์ิ
หรือสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายที่ดิน หรือเจ้าของไม้ที่ปลูกขึ้นในที่ดินที่ได้รับอนุญาตให้ทำ
ประโยชน์ตามประเภทหนังสือแสดงสิทธิที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี
จะแจ้งพนกั งานเจา้ หน้าทีเ่ พอ่ื ขอหนงั สือรับรองไมก้ ็ได้ ซึ่งการแจง้ และการออกหนังสือรบั รอง ให้เป็นไปตาม
ระเบยี บท่อี ธบิ ดีกรมปา่ ไม้กำหนดโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรี

มาตรา 18/2 ผู้ใดประสงค์จะขอหนังสือรับรองไม้ ผลิตภัณฑ์ไม้ และถ่านไม้ เพื่อการค้าหรือการ
ส่งออกไปนอกราชอาณาจักร ให้ยื่นคำขอต่อพนักงานเจา้ หน้าท่ีและเสียค่าใชจ้ า่ ยในการออกหนังสือรับรอง
ตามที่กรมป่าไม้กำหนด ซึ่งการแจ้งและการออกหนังสือรับรองไม้ ให้เป็นไปตามระเบียบที่อธิบดีกรมป่าไม้
กำหนดโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรี

มาตรา 18/3 การออกหนังสือรับรองตามมาตร 18/1 หรือ มาตรา 18/2 กรมป่าไม้จะกำหนดให้
สถาบันหรือองคอ์ น่ื ดำเนนิ การแทนก็ได้ ทง้ั นี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธกี าร และเงื่อนไงในระเบียบที่อธบิ ดีกรมป่าไม้
กำหนด ในการนี้ให้ถือว่าพนักงานหรือเจ้าหน้าที่ของสถาบันหรือองค์กรอื่นที่ดำเนินการแทนพนักงาน
เจ้าหนา้ ทีเ่ ปน็ พนกั งานตามประมวลกฎหมายอาญาเฉพาะในส่วนที่เก่ยี วข้องกับการปฏบิ ัติตามความในสว่ นน้ี

มาตรา 25 ผูใ้ ดนำไมท้ ี่มิใช่ไมห้ วงห้ามเขา้ เขตด่านป่าไม้ ตอ้ งเสียคา่ ธรรมเนียมตามอัตราท่ีรัฐมนตรี
กำหนด เว้นแตเ่ ปน็ การนำไปเพื่อใช้สอยส่วนตัวภายในเขตท้องท่ีจังหวัดท่ีทำไม้นัน้ หรือเปน็ การนำไม้ท่ีปลูก
ขึ้นในที่ดินที่ได้รับอนุญาตให้ทำประโยชน์ตามประเภทหนังสือแสดงสิทธิที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดย
ความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ตามมาตรา 7 วรรคหนึ่ง เข้าเขตด่านป่าไม้ไปใช้สอยส่วนตัวไม่ต้องเสีย
ค่าธรรมเนียม

มาตรา 8 ให้เพ่มิ ความตอ่ ไปน้ีเป็น (6) ของมาตรา 51 แหง่ พระราชบญั ญัติปา่ ไม้ พทุ ธศกั ราช 2484
ซง่ึ แกไ้ ขเพ่มิ เตมิ โดยพระราชบญั ญตั ปิ ่าไม้ (ฉบบั ที่ 5) พ.ศ. 2518

“(6) ไมท้ ี่มหี นงั สอื รบั รองมาตรา 18/1 และมาตรา 18/2 หรอื ไม้ที่มหี ลักฐานแสดงวา่ ไดม้ าโดยชอบ
ด้วยกฎหมาย”

มาตรา 9 บรรดาไม้สัก ไม้ยาง ไม้ชิงชัง ไม้เก็ดแดง ไม้อีเม่ง ไม้พะยุงแกลบ ไม้กระพี้ ไม้แดงจีน
ไม้ขะยุง ไม้ซิก ไม้กระซิก ไม้กระซิบ ไม้พะยูง ไม้หมากพลูตั๊กแตน ไม้กระพี้เขาควาย ไม้เก็ดดำ ไม้อีเฒ่า
และไม้เกด็ เขาควาย ทข่ี ึน้ ในปา่ ให้เปน็ ไม้หวงห้ามประเภท ก. ตามพระราชบัญญัติปา่ ไม้ พทุ ธศกั ราช 2484

คู่มือการประเมินมูลค่าตน้ ไม้ I 149

จนกว่าจะไดม้ ีการตราพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามความในมาตรา 7 แหง่ พระราชบัญญัติปา่ ไม้ พุทธศักราช
2484 ซงึ่ แก้ไขเพิม่ เตมิ โดยพระราชบัญญัตนิ ี้

มาตรา 10 การดำเนินการออกระเบียบตามมาตรา 18/1 มาตรา 18/2 และ มาตรา 18/2 แห่ง
พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. นี้ ให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปีนับแตว่ ันที่
พ.ร.บ. น้ีใชบ้ ังคบั หากไม่สามารถดำเนินการได้ ใหร้ ฐั มนตรรี ายงานเหตผุ ลที่ไม่อาจดำเนินการได้ต่อ ค.ร.ม.
เพือ่ ทราบ

จากที่กล่าวมาเป็นมาตราสำคัญในกฎหมายที่ได้มีการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติม อย่างไรก็ดี สำหรับ
ที่ดนิ ท่มี ีเอกสารสิทธติ ามประมวลกฎหมายทด่ี นิ สามารถจำแนกออกไดเ้ ป็น 9 กลุ่ม 22 แบบ ไดแ้ ก่

1) โฉนดท่ีดิน จำนวน 6 แบบ ไดแ้ ก่ น.ส.4, น.ส.4 ก., น.ส.4 ข., น.ส.4 ค., น.ส.4 ง และ น.ส.4 จ.
2) โฉนดแผนท่ี โฉนดตราจอง ตราจองทีต่ ราวา่ ได้ทำประโยชน์แลว้
3) หนงั สอื รบั รองการทำประโยชน์ จำนวน 4 แบบ ได้แก่ น.ส.3, น.ส.3ก, น.ส.3ข., แบบหมายเลข 3
4) ใบจอง จำนวน 2 แบบ ได้แก่ น.ส. 2 และ น.ส.2 ก.
5) ใบไตส่ วน (น.ส.5) ใบนำ
6) ใบเหยียบยำ่ ตราจอง
7) แบบแจ้งการครอบครองทีด่ นิ (ส.ค. 1)
8) บัญชีรบั แจง้ การครอบครองทดี่ นิ (ส.ค. 2)
9) ใบรบั แจง้ ความประสงค์จะไดส้ ิทธิในทดี่ ิน (ส.ค.3)
นอกจากนี้ ในกรณีการนำไม้ที่ได้จากที่ดินกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองเคลื่อนที่ หากพนักงาน
เจ้าหนา้ ทีข่ อตรวจสอบไมเ้ หล่าน้ันอาจมวี ธิ กี ารยนื ยนั ความถูกตอ้ งของไม้ ดงั น้ี
• ทำหลักฐานยืนยันความเป็นเจ้าของไม้ โดยจัดทำหนังสือรับรองตนเองว่าเป็นไม้ที่ได้จากที่ดิน
กรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองของตน โดยอาจมีผู้นำท้องถิ่น/องค์กรท้องถิ่นลงนามเป็นพยาน ภาพถ่าย
ต้นไม้ที่ตัดและแปรรูปทุกขั้นตอน พิกัดต้นไม้/ที่ดิน สำเนาเอกสารสิทธิที่ดินที่มีต้นไม้ข้ึนอยู่ พร้อมบัญชีไม้
หนังสอื สัญญาซือ้ ขาย (ถ้ามี) หรอื อาจจะมสี ำเนาบนั ทกึ ประจำวนั ของพนักงานสวนสอนแนบดว้ ย
• หนงั สือรับรองไม้ ตามมาตรา 18/1, 18/2 แหง่ พ.ร.บ. ป่าไม้ (ฉบับท่ี 8) พ.ศ. 2562
• หลักฐานการได้ไมโ้ ดยชอบตาม พ.ร.บ. สวนป่า พ.ศ. 2535 และทแ่ี ก้ไขเพมิ่ เติม พ.ศ. 2558

8.2 พระราชบัญญัตสิ วนปา่ พ.ศ. 2535 และที่แกไ้ ขเพมิ่ เติม

สำหรับเนื้อหาสำคัญในพระราชบัญญัติสวนป่า พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.
2558 ทีเ่ ก่ยี วขอ้ งกับไมเ้ ศรษฐกจิ พอสรปุ ไดด้ ังนี้

มาตรา 3 “สวนป่า” หมายความว่า ที่ดินที่ได้ขึ้นทะเบียนตามมาตรา 5 เพื่อทำการปลูกและ
บำรงุ รกั ษาต้นไมต้ ามบัญชที า้ ยพระราชบญั ญตั ิน้ี (สัก พะยูง ชงิ ชัน กระซกิ กระพ้เี ขาควาย สาธร แดง ประดู่

150 I กฎหมายท่เี กี่ยวขอ้ งกบั ไมเ้ ศรษฐกิจ

ป่า ประดู่บ้าน มะค่าโมง มะค่าแต้ เคี่ยม เคี่ยมคะนอง เต็ง รัง พะยอม ตะเคียนทอง ตะเคียนหิน ตะเคียน
ตาแมว ไม้ตระกูลยาง สะเดา สะเดาเทียม ตะกู ยมหนิ ยมหอม นางพญาเสือโคร่ง นนทรี สตั บรรณ ตีนเป็ด
ทะเล พฤกษ์ ปีป ตะแบกนา เสลา อินทนิลน้ำ ตะแบกเลือด นาคบุด ไม้สกุลจำปี-จำปา แคนา กัลปพฤกษ์
ราชพฤกษ์ สุพรรณิการ์ เหลืองปรีดียาธร มะหาด มะขามป้อม หว้า จามจุรี พลับพลา กันเกรา กระทังใบ
ใหญ่ หลุมพอ กฤษณา ไม้หอม เทพทาโร ฝาง ไผท่ ุกชนดิ ไมส้ กุลมะมว่ ง ไม้สกุลทเุ รียน มะขาม)

การปรับปรุงหรือแก้ไขชนิดของต้นไม้ตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้ ให้กระทำเป็นพระราช
กฤษฎีกา

“ต้นไม้” หมายความว่า ต้นไม้ที่ขึ้นอยู่แล้วหรือปลูกขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์จากเนื้อไม้และ
หมายความรวมถึงต้นไม้ท่ขี ึ้นอยู่แล้วหรือปลูกขน้ึ เพ่ือประโยชน์อย่างอ่ืนแต่อาจใช้ประโยชน์จากเนื้อไม้ได้ดว้ ย

“ผทู้ ำสวนปา่ ” หมายความว่า ผไู้ ด้รบั หนังสือรับรองการข้ึนทะเบยี นทดี่ ินสวนป่าและหมายรวมถึง
ผู้ย่ืนคำขอรบั โอนทะเบียนสวนปา่ ด้วย

มาตรา 4 ที่ดินที่จะขอขึ้นทะเบียนเป็นสวนป่าตามพระราชบัญญัตินี้ต้องเป็นที่ดินประเภทหน่ึง
ประเภทใด ดงั ต่อไปนี้

1) ที่ดินท่มี โี ฉนดทีด่ ินหรือหนังสือรบั รองการทำประโยชน์ตามประมวลกฎหมายที่ดิน

2) ที่ดินที่มีหนังสือของทางราชการรบั รองว่า ที่ดินดังกล่าวอยู่ในระยะเวลาที่อาจขอรับโฉนด
ที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ตามประมวลกฎหมายที่ดินได้ เนื่องจากได้มีการครอบครองและ
เข้าทำกินในที่ดินดังกล่าวตามกฎหมายว่าด้วยการจัดรูปท่ีดนิ เพื่อเกษตรกรรมหรือตามกฎหมายว่าด้วยการ
จดั ทีด่ ินเพอ่ื การครองชพี ไวแ้ ลว้

3) ที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมที่มีหลักฐาน
การอนญุ าต การเชา่ หรือเช่าซ้ือ การโอน หรอื การตกทอดทางมรดก

4) ทด่ี ินทม่ี หี นงั สอื อนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยป่าสงวนแห่งชาติให้บุคคลทำประโยชน์และอยู่
อาศัย หรือปลูกป่าหรือไม้ยืนต้นภายในเขตปรับปรุงป่าสงวนแห่งชาติ หรือทำการบำรุงป่าหรือปลูกสร้าง
สวนปา่ หรือไมย้ ืนตน้ ในเขตป่าเส่อื มโทรม

5) ที่ดินที่มีใบอนญุ าตตามกฎหมายวา่ ดว้ ยปา่ ไมใ้ ห้ทำสวนปา่

6) ท่ดี ินท่ีไดด้ ำเนนิ การเพื่อการปลกู ปา่ โดยส่วนราชการ รฐั วสิ าหกิจ หรือหนว่ ยงานอ่ืนของรัฐ

มาตรา 5 ผมู้ ีกรรมสิทธิ์ สิทธคิ รอบครอง หรือผมู้ ีสิทธิใชป้ ระโยชนใ์ นทีด่ นิ ตามมาตรา 4 ประสงค์จะ
ใช้ทีด่ ินน้ันทำสวนป่าเพื่อการค้าใหย้ ่นื คำขอขน้ึ ทะเบียนต่อนายทะเบียน

การยื่นขอขึ้นทะเบียน และการออกหนังสือรับรองการขึ้นทะเบียนเป็นสวนป่าให้เป็นไปตาม
หลกั เกณฑ์ วธิ กี าร และเง่อื นไขที่กำหนดในกฎกระทรวง โดยการออกกฎกระทรวงตอ้ งกำหนดชนิดพันธ์ุไม้ที่
เหมาะสมในการทำสวนป่าในแต่ละพน้ื ทด่ี ว้ ย

ในกรณีที่ผู้ยื่นคำขอขึ้นทะเบียนสวนป่าเป็นผู้เช่าหรือผู้เช่าซื้อที่ดินที่ขอขึ้นทะเบียนที่ดินเป็น
สวนป่าและที่ดินดังกล่าวเป็นที่ดินตามมาตรา 4 (1) ผู้ยื่นคำขอต้องมีหลักฐานการเช่าหรือเช่าซื้อที่ดิน

คู่มอื การประเมินมลู ค่าตน้ ไม้ I 151

ดังกล่าว พร้อมทั้งหนังสือยินยอมของผู้มีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในที่ดินนั้นที่แสดงว่าอนุญาตให้ทำ
สวนป่าได้

มาตรา 6 ให้กรณีที่นายทะเบยี นรับขึ้นทะเบียนที่ดินเป็นสวนปา่ ให้ผู้ทำสวนป่าทำบัญชีแสดงชนดิ
และจำนวนไมท้ ที่ ำการปลูกและบำรงุ รักษาตามระเบยี บที่อธิบดกี ำหนด

มาตรา 7 ก่อนรับขึ้นทะเบียนที่ดินเป็นสวนป่าตามมาตรา 6 หากที่ดินที่ขอขึ้นทะเบียนเป็นที่ดิน
ตามมาตรา 4 (4) หรือ 5 ใหน้ ายทะเบียนส่ังให้พนักงานเจ้าหน้าที่ออกไปตรวจสอบและทำรายงานเก่ียวกับ
สถานที่ตั้ง สภาพที่ดิน ชนิด ขนาด ปริมาณ และจำนวนของไม้ที่มีอยู่เดิมตามธรรมชาติ ตลอดจน
รายละเอียดของที่ดินที่ขอขึ้นทะเบียนเป็นสวนป่า และในกรณีที่เป็นไม้หวงห้ามตามกฎหมายว่าด้วยป่าไม้
หรือไม้ที่การทำไม้ต้องได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยป่าสงวนแห่งชาติ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่จดแจ้งใน
รายงานดังกล่าวให้แจ้งชัดตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีกำหนดโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรี ทั้งนี้
ให้รายงานผลการตรวจสอบตอ่ นายทะเบียนภายในสามสบิ วนั นบั แต่วันท่ไี ดร้ ับคำส่งั

มาตรา 8/1 ในกรณีที่การส่งออกไม้ที่ได้จากการทำสวนป่าจะมีใบสำคัญรับรองการจัดการป่าไม้
อย่างยั่งยืนจากกรมป่าไม้ตามความต้องการของประเทศปลายทาง หรือผู้ทำสวนป่าผู้ใดประสงค์จะขอให้
กรมป่าไม้ออกใบสำคัญรับรองการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน ให้ยื่นคำขอต่อนายทะเบียนและชำระค่าใช้จ่าย
ในการตรวจสอบหรอื ดำเนินการอน่ื ใดตามระเบียบท่อี ธิบดีกำหนด

การยื่นคำขอ การออกใบสำคัญ และการเพิกถอนใบสำคัญ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง โดยต้องกำหนดให้สอดคล้องกับมาตรฐานระหว่างประเทศที่เป็นการ
รบั รองโดยทว่ั ไป

มาตรา 9/1 ไม้และของป่าที่ได้จากการทำสวนป่าตามพระราชบัญญัตินี้ย่อมเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ทำ
สวนป่า และผู้ทำสวนปา่ มสี ิทธิในการทำไม้ แปรรูปไม้ และเก็บของป่าภายใต้บทบัญญตั ิแหง่ พระราชบัญญตั นิ ี้

มาตรา 9/2 สัตว์ที่เกิดและดำรงอยู่ในสภาพธรรมชาติในสวนป่าโดยไม่มีเจ้าของถือเป็นสัตว์ป่าที่
ไดร้ บั ความค้มุ ครองตามกฎหมายว่าด้วยการสงวนและคมุ้ ครองสัตวป์ า่

มาตรา 10 ในการทำไม้ที่ได้มาจากการทำสวนป่า ผู้ทำสวนป่าอาจตัดหรือโค่นไม้ แปรรูปไม้ ค้าไม้
มไี วใ้ นครอบครอง และนำไมเ้ คล่ือนที่ผา่ นด่านป่าไมไ้ ด้ โดยไม่ต้องขออนญุ าตตามกฎหมายว่าด้วยป่าไม้

มาตราท่ี 10/1 ผู้ทำสวนปา่ ผู้ใดประสงค์จะใชส้ ถานท่ใี ดเพื่อทำการแปรรปู ไม้ท่ีไดม้ าจากการทำสวน
ป่า ให้ยืน่ คำขอรบั ใบอนุญาตตอ่ นายทะเบยี น

การขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตให้เป็นตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่
กำหนดในกฎกระทรวง โดยต้องกำหนดขั้นตอนและวิธีการตรวจสอบเพื่อป้องกันไม่ให้มีการนำไม้ที่มิได้มา
จากการทำสวนป่า

การใชส้ ถานท่ีใดเพอ่ื ทำการแปรูปไมท้ ่ีได้จากการทำสวนป่า ไม่ถอื เปน็ การตัง้ โรงงานแปรรูปไม้
ตามกฎหมายว่าดว้ ยป่าไม้

มาตรา 11 ก่อนการตัดหรือโค่นไม้ที่ได้มาจากการทำสวนป่า ให้ผู้ทำสวนป่าแจ้งเป็นหนังสือต่อ
พนกั งานเจา้ หน้าที่เพ่ือออกหนังสือรบั รองการแจ้ง และเม่ือแจ้งแล้วใหผ้ ู้ทำสวนป่าดำเนนิ การตัดหรือโค่นไม้
ดงั กล่าวได้

152 I กฎหมายท่เี กีย่ วข้องกบั ไม้เศรษฐกิจ

การแจ้งและการออกหนังสือรับรองการแจ้งตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามระเบียบที่อธิบดี
กำหนด ในการนี้นายทะเบียนอาจกำหนดเงื่อนไขอื่นใดที่ผู้ทำสวนป่าต้องปฏิบัตเิ กี่ยวกับการตัดหรือโคน่ ไม้
การตตี อก หรือประทับตราทไ่ี ม้ไวด้ ้วยก็ได้

มาตรา 13 ไม้ที่จะนำเคลื่อนที่ออกจากสวนป่า ต้องมีรอยตราตี ตอก หรือประทับ หรือแสดงการ
เปน็ เจ้าของ และในการนำเคลือ่ นท่ี ผู้ทำสวนป่าตอ้ งมีหนังสือรบั รองการแจ้งตลอดจนบัญชีแสดงรายการไม้
กำกับไปด้วยตลอดเวลาที่นำเคลื่อนที่ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนดโดยความ
เหน็ ชอบของรัฐมนตรี

มาตราที่ 14 บรรดาไม้ที่ได้มาจากการทำสวนป่าไม่ต้องเสียค่าภาคหลวง ค่าบำรุงป่าและ
ค่าธรรมเนียม ตามกฎหมายว่าด้วยป่าไม้และกฎหมายวา่ ดว้ ยปา่ สงวนแหง่ ชาติ

มาตราที่ 14/1 การเก็บหา คา้ มีไวใ้ นครอบครอง หรอื นำเคลอื่ นท่ขี องป่าจากสวนป่าดังต่อไปนี้ ไม่
ต้องขออนุญาตและไม้ต้องเสียค่าภาคหลวงและค่าบำรุงป่า ตามกฎหมายว่าด้วยป่าไม้และกฎหมายว่าด้วย
ป่าสงวนแห่งชาติ ได้แก่

(1) ไม้ รวมทง้ั สว่ นตา่ งๆ ของไม้ ถ่านไม้ น้ำมันไม้ ยางไม้ ตลอดจนสิง่ อ่ืนๆ ทเ่ี กดิ จากไม้
(2) พชื ตา่ ง ๆ ตลอดจนส่งิ อ่นื ๆ ท่ีเกดิ จากพชื นั้น
(3) ครง่ั รวงผง้ึ นำ้ ผ้งึ ขผ้ี ึ้ง และมูลค้างคาว
(4) ของป่าอ่ืนตามทกี่ ำหนดไว้ในกฎกระทรวง

เพื่อประโยชน์ในการรักษาระบบนิเวศหรือเพื่อป้องกันมิให้เกิดความเสียหายแก่ระบบความ
สมดุลของป่าไม้ อธิบดีโดยความเห็นขอบของรัฐมนตรีอาจออกประกาศกำหนดให้การเก็บหา ค้า มีไว้ใน
ครอบครอง หรือ นำเคลื่อนทีซ่ ึ่งของป่าตอ้ งขอใบอนุญาต และกำหนดเง่ือนไขเกี่ยวกับวธิ กี ารเก็บหาของปา่
และปริมาณของป่า แตจ่ ะกำหนดค่าภาคหลวงไม่ได้

สำหรับกฎกระทรวงที่ออกตามความในพระราชบัญบัติสวนป่า (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 ซึ่ง
กำหนดให้ออกกฎกระทรววง 3 ฉบับ ได้แก่

1) กฎกระทรวงการขอขึ้นทะเบียนและการออกหนังสือรับรองการขึ้นทะเบียนที่ดินเป็นสวนป่า
พ.ศ. 2561 โดยมสี าระสำคัญ คือ ผมู้ ีสทิ ธิขอขึ้นทะเบียน คือ ผมู้ ีกรรมสิทธ์ิ สิทธิครอบครอง หรือผู้มีสิทธิใช้
ประโยชน์ทด่ี ินตามมาตรา 4 ซงึ่ ประสงค์ทำสวนปา่ เพอ่ื การค้า และเพิ่มชนิดพนั ธไุ์ ม้ เป็น 58 ชนดิ

2) กฎกระทรวงการขอและการออกใบสำคัญรับรองการจัดการปา่ ไม้ยั่งยืน พ.ศ. 2561 โดยมี
สาระสำคัญ คือ ในกรณีผู้ทำสวนป่า มีความประสงค์จะขอใบสำคญั รับรองการจัดการป่าไม้อย่างย่ังยืนจาก
กรมป่าไม้ตามความตอ้ งการของประเทศปลายทาง เพื่อประโยชน์ทางการค้า โดยเป็นไปตามมาตรฐานชาติ
(มอก. 14061) หรอื มาตรฐานสากล เช่น FSC PEFC เปน็ ตน้

3) กฎกระทรวงการขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตให้ใช้สถานที่เพื่อทำการแปรรูปไม้
ที่ได้มาจากการทำสวนป่า พ.ศ. 2561 โดยมีสาระสำคัญ คือ ในกรณีที่ผู้ทำสวนป่าผู้ใดประสงค์จะใช้สถานที่
เพื่อทำการแปรรูปไม้ที่ได้มาจากการทำสวนป่า ให้ยื่นคำขอรับรองใบอนุญาตต่อนายทะเบียน ซึ่งการใช้
สถานทเี่ พ่ือทำการแปรรปู ไม้ที่ไดม้ าจากการทำสวนปา่ ดังกลา่ ว ไม่ถือวา่ เป็นการแปรรปู ไม้ตามกฎหมายป่าไม้

คู่มอื การประเมนิ มูลคา่ ต้นไม้ I 153

8.3 พระราชบญั ญตั เิ ล่ือยโซ่ยนต์ พ.ศ. 2545

สรปุ สาระสำคัญได้ดังนี้

มาตรา 5 คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้ขอรับใบอนุญาตตามมาตรา 4 ให้เป็นไปตามท่ี
กำหนดในกฎกระทรวง ผู้ขอรับใบอนุญาตมีเลื่อยโซ่ยนต์ต้องประกอบอาชีพหรือประกอบกิจการที่ต้องใช้
เลื่อยโซ่ยนต์และต้องไม่เคยต้องโทษสำหรับความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ หรือตามกฎหมายว่าด้วยป่าไม้
กฎหมายว่าด้วยป่าสงวนแห่งชาติกฎหมายว่าด้วยอุทยานแห่งชาติ หรือกฎหมายว่าด้วยการสงวนและ
ค้มุ ครองสัตวป์ ่า มากอ่ น

มาตรา 6 ในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประสงค์จะเปลี่ยนแปลงพื้นที่ให้มีหรือใช้เลื่อยโซ่ยนต์ให้
แตกตา่ งไปจากทีร่ ะบไุ วใ้ นใบอนุญาตตาม มาตรา 4 วรรคหา้ ให้ผูไ้ ดร้ บั ใบอนุญาตดำเนนิ การตามหลักเกณฑ์
ดังน้ี (1) สำหรับการเปล่ียนแปลงพื้นที่ภายในจังหวัดเดียวกันกับที่ได้รับใบอนญุ าต ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยนื่
คำขอต่อนายทะเบียนเลื่อยโซ่ยนต์ผู้ออกใบอนุญาต (2) สำหรับการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ไปยังจังหวดั อื่น ให้ผู้
ไดร้ ับใบอนญุ าตยน่ื คำขอต่อนายทะเบียนเล่ือยโซย่ นต์ผู้มอี ำนาจในจังหวัดนนั้ ทั้งนี้ใหเ้ ป็นไปตามหลักเกณฑ์
วิธกี าร และเงอื่ นไขที่กำาหนดในกฎกระทรวง

มาตรา 7 ผู้ใดมีเลื่อยโซ่ยนต์ต้องมีใบอนุญาตหรือสำเนาภาพถ่ายใบอนุญาตสำาหรับเลื่อยโซ่ยนต์
เคร่อื งนน้ั เพอ่ื แสดงตอ่ พนักงานเจา้ หนา้ ที่ได้ทันที

มาตรา 8 ในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตให้มีเลื่อยโซ่ยนต์ประสงค์จะนำหรือให้ผู้อื่นนำเลื่อยโซ่ยนต์
ของตนออกไปใชน้ อกพื้นท่ที ี่ไดร้ บั อนุญาต ตามมาตรา 4 วรรคหา้ เปน็ การช่วั คราว ผไู้ ด้รบั ใบอนุญาตจะต้อง
ขออนญุ าตโดยระบุพนื้ ที่และระยะเวลาที่จะนำาไปใชต้ ่อนายทะเบียนเล่ือยโซย่ นต์ และให้นายทะเบียนเล่ือย
โซ่ยนต์อนุญาตหรือไม่อนุญาตภายในสิบห้าวันทำการนับแต่วันที่ได้รับคำขอและถ้านายทะเบียนเลื่อยโซ่
ยนต์มิได้ดำเนินการพิจารณาและแจ้งผลการพิจารณาคำขอให้ผู้ยื่นคำขออนุญาตทราบภายในกำหนดเวลา
ดงั กล่าว ใหถ้ อื วา่ นายทะเบียนเล่ือยโซย่ นต์มคี ำส่งั อนุญาตตามคำขอและใหถ้ ือว่าใบรบั คำขอเสมือนหนึ่งเป็น
หนังสืออนุญาต ให้นายทะเบียนเลื่อยโซย่ นต์ผู้อนุญาตแจ้งและส่งสำเนาหนังสืออนุญาตให้แก่นายทะเบียน
เลื่อยโซ่ยนต์ในพื้นที่ที่ระบุในหนังสืออนุญาต ทั้งนี้ ให้นายทะเบียนเลื่อยโซ่ยนต์ในพื้นที่ที่ระบุในหนังสือ
อนุญาตประกาศการอนุญาตหรือคำขออนุญาตดังกล่าว ณ ที่ทำการขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่นของ
พื้นที่นั้น ในกรณีมีเหตุอันควรผู้ได้รับใบอนุญาตจะขออนุญาตต่อระยะเวลาที่ให้นำเลื่อยโซ่ยนต์ออกไปใช้
นอกพื้นที่อีกได้แต่ต้องขออนุญาตต่อนายทะเบียนเลื่อยโซ่ยนต์ก่อนวันครบกำาหนดระยะเวลาที่ได้รับ
อนุญาตไว้เดิม การขออนุญาตและการอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดใน
กฎกระทรวง

นอกจากนีย้ งั มีกรมปา่ ไมย้ งั มีกฎกระทรวงท่เี กีย่ วข้องกบั เลอื่ ยโซย่ นต์ ดงั น้ี

1) กฎกระทรวงกำหนดคุณสมบัติของผู้ได้รับใบอนญุ าต และหลักเกณฑ์ วธิ กี าร และเงอ่ื นไขการขอ
อนญุ าตและการออกใบอนญุ าต

2) กฎกระทรวงกำหนดลักษณะเลื่อยโซ่ยนต์และส่วนประกอบของเลื่อยโซ่ยนต์ พ.ศ. 2555
สาระสำคัญ “เลื่อยโซ่ยนต์” หมายถึง เครื่องมือสําหรับใช้ตัดไม้หรือแปรรูปไม้ที่มีฟันเลื่อยติดกับโซ่ ซ่ึง

154 I กฎหมายท่ีเกยี่ วขอ้ งกบั ไมเ้ ศรษฐกิจ

ขบั เคล่ือนด้วยกําลัง เครือ่ งจกั รกลทผ่ี ลติ และประกอบสําเร็จรปู เพ่ือการใช้งานที่มตี ้นกําลังตั้งแต่หน่ึงแรงม้า
โดยมแี ผ่นบงั คบั โซ่ ทม่ี ขี นาดความยาวตั้งแต่สบิ สองน้วิ

3) กฎกระทรวงกำหนดลกั ษณะวธิ ีการและเง่ือนไขการขออนญุ าตและการออกใบอนุญาตใหม้ ี ผลิต
หรอื นำเขา้ เลื่อยโซ่ยนต์

8.4 พระราชบัญญัตหิ ลักประกนั ทางธรุ กิจ พ.ศ. 2558

กฎหมายหลักประกันทางธุรกิจเป็นกฎหมายที่มีการเริ่มยกร่างแ ละได้รับการผลักดันมาเป็น
ระยะเวลาทีย่ าวนาน ต้ังแต่ปี พ.ศ. 2541 เนือ่ งจากหนว่ ยงานภาครัฐท่เี กี่ยวข้องรวมทั้งหน่วยงานภาคเอกชน
ผู้ประกอบธุรกิจได้ตระหนักถึงความสำคัญและปัญหาของการขอสินเชื่อในการดำเนินธุรกิจ โดยเฉพาะการ
นำทรัพย์สินมาเป็นหลกั ประกันทางธุรกิจที่มีข้อจำกัดตามกฎหมายหลายประการ ทำให้การประกอบธุรกจิ
ไม่มีความคล่องตัวเท่าที่ควร ดังนั้น กฎหมายหลักประกันทางธุรกิจจึงถือว่าเป็นเครื่องมือที่สำคัญประการ
หนึ่ง สำหรับผู้ประกอบธุรกิจที่สามารถนำมาใช้เอื้ออำนวยในการดำเนินธุรกิจให้เกิดความคล่องตัวมาก
ย่ิงขน้ึ เนอื่ งจากผูป้ ระกอบธรุ กจิ สามารถนำทรัพย์สินที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจมาใช้เป็นหลักประกันการชำระ
หนไี้ ด้อย่างหลากหลาย อกี ทัง้ ยงั สรา้ งความเป็นธรรมใหก้ บั ลูกหนี้และเจา้ หน้ผี รู้ ับหลกั ประกันด้วยระบบการ
บงั คบั หลักประกนั ทม่ี คี วามรวดเร็ว มีประสทิ ธิภาพและเป็นธรรม (อรวรรณ, มปป.)

สาระสำคัญของกฎหมายหลักประกันทางธุรกิจ พอจะสรุปในบางประเด็นที่น่าสนใจได้ดังนี้
(อรวรรณ, มปป.)

ความหมายของสัญญาหลักประกันทางธุรกิจ สัญญาหลักประกันทางธุรกิจ คือ สัญญา ซึ่ง
คู่สัญญาฝา่ ยหนงึ่ เรยี กว่า ผูใ้ ห้หลักประกันตราทรพั ยส์ นิ ไว้แกค่ ู่สัญญาอีกฝา่ ยหน่งึ เรียกว่า ผ้รู บั หลกั ประกัน
เพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ โดยไม่จำเป็นต้องส่งมอบทรัพย์สินนั้นแก่ผู้รับหลักประกัน และผู้ให้
หลกั ประกันอาจตราทรัพยส์ ินของตนไว้เพื่อประกันการชำระหนี้อนั บุคคลอื่นต้องชำระก็ได้

คู่สัญญา ประกอบด้วย ผู้ให้หลักประกันและผู้รับหลักประกัน โดยผู้ให้หลักประกันจะเป็นบุคคล
ธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ได้ ส่วนผู้รับหลักประกันจะต้องเป็นสถาบันการเงินหรือบุคคลอื่นตามที่กำหนดใน
กฎกระทรวงเทา่ นัน้

ทรพั ยส์ ินท่สี ามารถนำมาเป็นหลักประกนั ได้ ประกอบด้วย (1) กิจการ ได้แก่ ทรัพย์สินทั้งหลายท่ี
ผู้ให้หลักประกันใช้ในการประกอบธุรกิจ และสิทธิต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจนั้น เช่น ที่ดิน
อาคาร รถยนต์ รถบรรทกุ อุปกรณส์ ำนกั งาน ฯลฯ (2) สิทธิเรียกรอ้ ง ไดแ้ ก่ สิทธทิ ีจ่ ะไดร้ บั ชำระหน้ี ไม่ว่าจะ
ได้รับชำระหนี้เป็นเงิน หรือได้รับชำระหนี้เป็นทรัพย์สินอย่างอื่น และสิทธิอื่น ๆ แต่ไม่รวมถึงสิทธิที่มีตรา
สาร (3) สังหารมิ ทรพั ย์ทผี่ ู้ให้หลักประกันใชใ้ นการประกอบธุรกจิ เชน่ เครือ่ งจักร สินคา้ คงคลงั หรือวตั ถุดิบ
ที่ใช้ในการผลิตสินค้า (4) อสังหาริมทรพั ยใ์ นกรณีที่ผู้ให้หลกั ประกันประกอบธรุ กิจอสังหาริมทรัพย์โดยตรง
ได้แก่ ทีด่ นิ อาคารสถานท่ี เชน่ ผูป้ ระกอบกจิ การหมู่บ้านจดั สรร หรือจัดสรรที่ดนิ เปล่าสามารถนำท่ีดินหรือ
อาคาร สถานทีม่ าเป็นหลักประกันได้ (5) ทรัพย์สนิ ทางปัญญา ได้แก่ ลิขสทิ ธิ์ สิทธบิ ัตร เครื่องหมายการค้า
สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ และความลับทางการค้า เป็นต้น (6) ทรัพย์สินอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง เป็น
กรณีที่กฎหมายเปิดช่องให้หากในอนาคต มีทรัพย์สินที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจอื่น ๆ อีกที่กฎหมายยังไม่ได้
บญั ญตั คิ รอบคลมุ เอาไว้ กส็ ามารถกำหนดเพิ่ม โดยกฎกระทรวงได้

คมู่ ือการประเมินมลู คา่ ต้นไม้ I 155

ปัจจุบันกระทรวงพาณิชย์ได้ออกกฎกระทรวงกำหนดให้ทรัพย์สินอื่นเป็นหลักประกัน พ.ศ.
2561 โดยกำหนดให้ “ไม้ยนื ต้นเปน็ ทรัพย์สนิ ทใี่ ชเ้ ป็นหลักประกันได้”

สทิ ธแิ ละหน้าที่ของผู้ให้หลักประกนั และผรู้ บั หลักประกนั

สิทธิของผู้ใหห้ ลกั ประกัน ประกอบด้วย สทิ ธคิ รอบครอง ใช้สอย แลกเปลยี่ น จำหน่าย จ่ายโอน แต่
ไม่มีสิทธินำทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันไปจำนำเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ต่อไป มิเช่นนั้นจะทำให้การ
จำนำตกเป็นโมฆะ สิทธิที่จะตรวจสอบจำนวนหนี้ที่ยังมิได้ชำระ สิทธิในการไถ่ถอนทรัพย์สินที่เป็น
หลักประกนั

หน้าที่ของผู้ให้หลักประกัน ประกอบด้วย แจ้งให้ผู้รับหลักประกันทราบหากรายละเอียดของ
ทรพั ยส์ นิ ทีเ่ ป็นหลักประกนั เปลี่ยนแปลงไปจากทีจ่ ดทะเบียนตามทค่ี ู่สัญญาตกลงกนั ไว้ ดำเนินการขอยกเลิก
การจดทะเบียน เมื่อหนี้ทป่ี ระกันระงับสิ้นไปด้วยเหตุอ่ืนใด อันมใิ ชเ่ หตอุ ายุความ หรือเมื่อคู่สัญญาตกลงกัน
เป็นหนังสือให้ยกเลิกสัญญาหลักประกันทางธุรกิจ หรือเมื่อมีการไถ่ถอนทรัพย์สินที่เป็นหลักประกัน ใช้
ความระมัดระวงั ดูแลสงวนรักษาทรัพย์สนิ ที่เป็นหลักประกนั จดั ทำบญั ชที รพั ย์สนิ ทีเ่ ป็นหลักประกนั ยอมให้
ผรู้ ับหลักประกันเขา้ ตรวจดทู รพั ย์สนิ ที่เปน็ หลกั ประกนั

สิทธิของผรู้ บั หลักประกนั ประกอบด้วย สิทธิไดร้ ับค่าเสียหายในกรณีที่ทรัพยส์ ินที่เป็นหลักประกัน
สูญหาย หรอื เสื่อมราคาลง อนั เนอ่ื งมาจากเหตทุ ี่ผู้ใหห้ ลกั ประกันต้องรับผดิ ชอบ สทิ ธเิ ข้าตรวจดูทรัพย์สินที่
เป็นหลักประกันและบัญชีทรัพย์สินเป็นครั้งคราว สิทธิที่จะได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่เป็นหลักประกัน
กอ่ นเจ้าหนส้ี ามญั ไมว่ ่าสิทธใิ นทรัพย์สินจะโอนไปยงั บคุ คลภายนอกแล้วหรือไม่

หน้าที่ของผู้รับหลักประกัน ประกอบด้วย ดำเนินการขอแก้ไขรายการจดทะเบียนในกรณีคู่สัญญา
ตกลงแก้ไขรายการจดทะเบียนเป็นประการอื่น หรือในกรณีที่รายละเอียดของทรัพย์สินที่เป็นหลักประกัน
เปลี่ยนแปลงไปจากที่จดทะเบียนตามที่คู่สัญญาตกลงกันไว้ ดำเนินการขอยกเลิกการจดทะเบียนเมื่อมีการ
จำหนา่ ยทรพั ย์สินทีเ่ ป็นหลักประกัน ในการบังคับหลักประกันหรือเม่ือทรัพย์สนิ ท่เี ป็นหลักประกันหลุดเป็น
สิทธิแก่ผู้รับหลักประกัน มีหนังสือตอบยืนยันหรือระบุจำนวนหนี้ที่เห็นว่าถูกต้องไปยังผู้ให้หลักประกัน
มิเช่นนั้นหากเกิดความเสียหายผู้รับหลักประกันต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้ให้หลักประกัน ออกหนังสือ
ยินยอมให้ยกเลิกการจดทะเบยี นแก่ผู้ให้หลักประกัน เมื่อหนี้ท่ีประกันระงับส้ินไปดว้ ยเหตุอื่นใดอันมิใช่เหตุ
อายุความ หรือเมื่อคู่สัญญาตกลงกันเป็นหนังสือให้ยกเลิกสัญญาหลักประกันทางธุรกิจ หรือเมื่อมีการไถ่ถอน
ทรัพย์สินที่เป็นหลักประกัน มิเช่นนั้นหากเกิดความเสียหายผู้รับหลักประกันต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้ให้
หลกั ประกนั

สิทธแิ ละหนา้ ท่ีระหว่างผู้ให้หลักประกนั และผู้รับหลักประกันกบั บุคคลภายนอก ผู้รับหลักประกันมี
สทิ ธทิ จี่ ะไดร้ ับชำระหนจ้ี ากทรัพย์สินท่ีเป็นหลักประกันก่อนเจา้ หนส้ี ามญั ไม่ว่าสิทธิในทรัพย์สินจะโอนไปยัง
บุคคลภายนอกแลว้ หรอื ไม่

การบังคับหลักประกัน กฎหมายหลักประกันทางธุรกิจจำแนกวิธีการบังคับหลักประกันเป็น 2
ประเภท คือ การบังคับหลักประกันท่ีเป็นทรัพย์สิน และการบังคับหลกั ประกันทีเ่ ปน็ กิจการ โดยการบังคบั
หลักประกันที่เป็นทรัพย์สินอาจบังคบั หลักประกันได้เปน็ 2 วิธี คือ 1) จำหน่ายทรัพยส์ นิ ท่ีเปน็ หลักประกัน
เพอื่ นำเงินมาชำระหนี้ หรอื 2) เอาทรพั ย์สนิ ทเ่ี ปน็ หลักประกนั หลุดเปน็ สิทธิ

156 I กฎหมายทเี่ กีย่ วขอ้ งกบั ไมเ้ ศรษฐกิจ

ทั้งนี้ รายละเอียดสำคัญอื่น ๆ ของกฎหมายหลักประกันทางธุรกิจ สามารถอ่านได้จาก
https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/elaw_parcy/ewt_dl_link.php?nid=1543

8.5 การจัดการที่ดนิ ปา่ ไม้ตามมตคิ ณะกรรมการนโยบายท่ดี ินแห่งชาติ

แนวทางการจัดการที่ดินป่าไม้ตามมติของคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (คทช.) ซึ่งมติท่ี
ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 ได้เห็นชอบพื้นที่เป้าหมายและกรอบมาตรการ
แก้ไขปญั หาการอยู่อาศยั และทำกินในพื้นทป่ี ่าไม้ทุกประเภทตามนัยมติคณะกรรมการนโยบายที่ดนิ แห่งชาติ
(คทช.) ครง้ั ท่ี 2/2561 เม่ือวนั ท่ี 18 มิถนุ ายน พ.ศ. 2561 โดยแบง่ ออกเปน็ 5 กลมุ่ ดงั นี้

กลุ่มที่ 1 ชุมชนในเขตป่าสงวนแห่งชาติที่อยู่ในลุ่มน้ำชั้นที่ 3-5 ที่อยู่ ก่อน มติ ครม. เมื่อวันที่ 30
มิถนุ ายน พ.ศ. 2541 อนญุ าตให้ถูกตอ้ งตามกฎหมายโดยโครงการจัดทีด่ นิ ทำกินใหช้ มุ ชนตามนโยบาย คทช.

กลุ่มที่ 2 ชุมชนในเขตป่าสงวนแห่งชาติที่อยู่ในลุ่มน้ำชั้นที่ 3-5 ที่อยู่ หลัง มติครม. เมื่อวันที่ 30
มถิ ุนายน พ.ศ. 2541 อนญุ าตให้อยอู่ าศยั และทำกนิ แบบแปลงรวม โดยออกแบบการใช้พื้นทร่ี ่วมกนั ระหว่าง
ชุมชน และหน่วยงานรัฐ โดยชุมชนต้องดูแลรักษาและใช้ประโยชน์พื้นที่ในลักษณะที่เกื้อกูลต่อการอนุรกั ษ์
ตามทกี่ ำหนดรว่ มกนั

กลมุ่ ท่ี 3 ชุมชนในเขตป่าสงวงนแหง่ ชาตทิ ่ีอยใู่ นพื้นที่ล่มุ นำ้ ชั้นท่ี 1-2 ทอ่ี ยู่ กอ่ น มติ ครม. เมื่อวันท่ี
30 มิถุนายน พ.ศ. 2541 จัดระเบียบการใช้ประโยชน์ที่ดินและรับรองการอยู่อาศัยทำกินในลักษณะแปลง
รวม กำกับควบคุมการใช้ที่ดินป่าไม้ ภายใต้การอนุรักษ์และพัฒนาอย่างยั่งยืน ห้ามบุกรุกและขยายพื้นท่ี
ฟื้นฟูป่าในรูปแบบการมีส่วนร่วม ส่งเสริมให้ประชาชนปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง ใช้มาตรการ
อนุรักษ์ดินและน้ำ ควบคุมผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ลดการชะล้างพังทลาย ที่อยู่ หลัง มติ ครม. เมื่อวันที่
30 มิถุนายน พ.ศ. 2541 ให้วางแผนร่วมกับราษฎรและกรรมการหมู่บ้าน ประชาคม/ออกแบบ/คัดเลือก
พันธุ์ไม้ตามแนวพระราชดำริปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง เพื่อฟื้นฟูสภาพป่า โดยกรมป่าไม้จัดหา
พันธุ์ไม้และให้ราษฎรใช้ประโยชน์ที่ดินในระหว่างแถวของต้นไม้ได้ โดยราษฎรจะได้รับประโยชน์จากการ
เก็บเกยี่ วผลผลิตจากไมท้ ี่ปลกู และพืชพ้ืนลา่ งด้วย

กลุ่มที่ 4 ชุมชนที่อยู่ในเขตป่าอนุรักษ์ ที่อยู่มา ก่อนและหลัง มติ ครม. เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน
พ.ศ.2541 โดย 1) หลักการจัดการพื้นที่เพื่อคงเจตนารมณ์ของการกำหนดกฎหมายเกี่ยวกับพื้นที่ป่า
อนุรักษ์ ชุมชนจะได้รับการพิจารณาต้องเป็นชุมชนที่อาศัยอยู่เดิม ไม่มีการจัดที่ดินให้แก่บุคคลภายนอก
พื้นที่ มีการกำหนดขอบเขตพื้นที่ทำกินที่เป็นที่ยอมรับร่วมกัน และเป็นการให้สิทธิทำกินมิให้เอกสารสิทธิ
2) แนวทางการจัดการพื้นที่ ประกอบด้วย 2 ขั้นตอนหลัก คือ การสำรวจ การครอบครองที่ดิน และการ
บริหารจัดการพื้นที่เพื่อให้ได้ข้อตกลงแนวทางการบริหารเพื่อการอนุรักษ์ที่เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายใน
รูปแบบของประชาคมของชมุ ชน

กลุ่มที่ 5 ชุมชนที่อยู่ในพื้นที่ป่าชายเลน 1) พื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและพื้นที่เกษตรกรรม 2) พื้นที่
เมอื งและส่ิงกอ่ สร้างถาวร กรมทรพั ยากรทางทะเลและชายฝง่ั ให้ดำเนินการจัดทำเขตการใช้ประโยชน์พื้นที่
ปา่ ชายเลน พร้อมทง้ั กันพ้ืนท่ีดินสว่ นที่อยู่ห่างจากทะเล ไมน่ อ้ ยกว่า 100 เมตร และ พื้นท่ีห่างจากริมคลอง
ไม่น้อยกว่า 20 เมตร เพื่อการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าชายเลน ปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบ มติคณะรัฐมนตรีท่ี
เกี่ยวข้องกับป่าชายเลน และกำหนดอัตราและเรียกเก็บค่าใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชายเลนในกรณีต่างๆ

คู่มือการประเมนิ มูลค่าตน้ ไม้ I 157

เสนอและรับฟงั ข้อคิดเห็นจากคณะอนุกรรมการบูรณาการด้านการบริหารจัดการทรัพยากรป่าชายเลนและ
ป่าชายหาด คณะทำงานสำรวจการครอบครองที่ดินระดับพื้นที่ ให้จัดประชุมชี้แจงให้ประชาชนในพื้นที่
เป้าหมาย สำรวจ ตรวจสอบ และจดั ทำแผนผังท่ีดนิ รายแปลง จดั ทำขอบเขต แผนผังบริหารจัดการพ้ืนท่ีป่า
ชายเลน คณะกรรมการบริหารพื้นที่ป่าชายเลน ให้จัดทำแผนบริหารจัดการและโครงการเพื่อการอนุญาต
รับฟงั ความคดิ เหน็ ของคณะอนุกรรมการบูรณาการด้านบริหารจดั การทรัพยากรป่าชายเลนและป่าชายหาด
และนำเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายและแผนบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งแห่งชาติ
นำเสนอคณะรัฐมนตรเี พื่อขอความเห็นชอบและยกเวน้ มติคณะรฐั มนตรี ดำเนินการอนุญาตตามแผนบริหาร
จดั การพืน้ ท่ี

ทั้งนี้ กฎระเบียบและแนวทางที่เกี่ยวข้องกับไม้เศรษฐกิจที่ปลูกในพื้นที่ คทช. ปัจจุบันอยู่ระหว่าง
การพจิ ารณาของหน่วยงานท่เี กยี่ วขอ้ ง

บทท่ี 9

จรรยาบรรณของผ้ตู รวจประเมนิ

160 I จรรยาบรรณของผูต้ รวจประเมิน

9.1 บทบาทหนา้ ทข่ี องผู้ประเมินมูลคา่ ทรัพย์สิน

ผู้ประเมินจะต้องเป็นผู้ท่ีมีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ทเี่ หมาะสม อีกท้ังจะต้องเข้าใจ
และทำหน้าที่ตามบทบาทที่ถูกต้องในการให้บริการแก่ลูกค้า ตลอดจนต้องมีความเป็นอิสระในการปฏิบัติ
หน้าทดี่ ้วย ซง่ึ ผปู้ ระเมนิ ทจ่ี ะปฏิบตั งิ านประเมนิ มลู คา่ ทรัพย์สินตอ้ งมีคุณสมบตั ิ ดังน้ี

1) ผู้ประเมนิ ต้องมคี วามรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ทางวิชาชีพ ซึง่ พจิ ารณาได้ว่าเพียงพอ
สำหรบั การประเมนิ มลู ค่าทรัพย์สนิ ใหเ้ หมาะสมกับวตั ถุประสงค์การประเมิน ประเภททรัพย์สิน และเป็นไป
ตามมาตรฐานและจรรยาบรรณวชิ าชพี

2) ผูป้ ระเมินตอ้ งมคี ุณสมบัติขน้ั ต่ำทางวิชาชีพตามที่กำหนดโดยกฎหมายท่เี กยี่ วข้องกับการกำกับ
ดูแล ผู้ประเมิน รวมถึงข้อกำหนดของหน่วยงานรัฐที่กำกับดูแลและสมาคมวิชาชีพ ทั้งนี้ คุณสมบัติขั้นต่ำ
ทางวิชาชีพให้หมายความรวมถึงคุณวุฒิขั้นต่ำทางการศึกษาหรือการผ่านการอบรมตามที่ได้รับความ
เห็นชอบจากหนว่ ยงานท่ีกำกับดูแลหรอื สมาคมวิชาชีพ และความสามารถประสบการณ์ในวชิ าชพี

3) ผู้ประเมินตั้งแต่สองรายขึ้นไปซึ่งได้รับมอบหมายจากลูกค้าผู้รับบริการให้ประเมินมูลค่า
ทรัพย์สินร่วมกัน โดยไม่มีความเป็นอิสระจากกัน ผู้ประเมินทุกรายนั้นต้องลงนามรับรองมูลค่าประเมินใน
รายงานการประเมนิ มลู คา่ ทรพั ย์สินร่วมกนั เพ่ือแสดงความรับผิดชอบตอ่ ผลงานในฐานะ “ผปู้ ระเมนิ รว่ ม”

4) ผู้ประเมินต้องแจ้งให้ลูกค้าผู้รับบริการทราบถึงความจำเป็นกรณีที่ต้องว่าจ้าง “ผู้ประเมิน
เพมิ่ เตมิ ” เพอ่ื ประเมนิ มูลค่าทรัพย์สินบางรายการ และต้องได้รับการยอมรับจากลกู ค้าผู้รับบริการก่อนการ
ว่าจ้างผู้ประเมินเพิม่ เติม ทั้งนี้ ผู้ประเมินมีหนา้ ที่ต้องตรวจสอบคุณสมบตั ิทางวิชาชีพของผู้ประเมินเพิ่มเติม
ว่ามคี ณุ สมบัตเิ หมาะสมเพียงพอสำหรับการประเมินมูลค่าทรพั ยส์ ินรายการนั้น ๆ

5) ผปู้ ระเมินมหี นา้ ที่ต้องเปิดเผยเป็นลายลักษณ์อักษรเก่ียวกับความเก่ียวข้องใด ๆ ที่ผ่านมาและ
ที่มีอยู่ ณ วันที่รับงานประเมินกับลูกค้าผู้รับบริการหรือกับทรัพย์สินที่ประเมิน เพื่อให้ผู้ใช้ประโยชน์จาก
รายงานการประเมินมูลคา่ ทรพั ย์สินสามารถประเมินความเปน็ อสิ ระของผูป้ ระเมินได้

6) ผู้ประเมินต้องมีความเป็นอิสระและไม่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์หรือเกี่ยวข้องในเชิง
ผลประโยชน์ทัง้ ทางตรงและทางอ้อมในทรัพยส์ ินที่ประเมินและลูกค้าผู้รบั บรกิ าร (สมาคมนักประเมินราคา
อสิ ระไทย, 2561)

9.2 จรรยาบรรณ คณุ ธรรม จริยธรรม ของผู้ตรวจประเมินมลู คา่ ทรพั ยส์ ิน

เนื้อหาในส่วนนี้จะกล่าวถึงหลักการและกรอบแนวปฏิบัติทางวิชาชีพที่เหมาะสม จรรยาบรรณ
วิชาชีพครอบคลุมทั้งแนวปฏิบัติส่วนบุคคลและแนวปฏิบัติทางวิชาชีพในด้านที่ละเอียดอ่อน ซึ่งมิใช่กรอบ
แนวปฏิบัติทางเทคนิค แต่เปรียบเสมือน “จริยธรรม” ของผู้ที่เลือกเข้าสู่วชิ าชีพประเมินมูลค่าทรัพย์สินใน
ฐานะของผู้ประเมนิ ได้แก่ ความซ่อื สตั ยส์ จุ รติ ความนา่ เช่อื ถอื และความเปน็ กลางในการปฏิบัติทางวชิ าชพี

9.2.1 ความซื่อสตั ย์สุจรติ และความน่าเชื่อถือ

1) ผู้ประเมินต้องไม่ประพฤติปฏิบัติใด ๆ ที่ส่อไปในทางไม่สุจริตหรือก่อให้เกิดความเข้าใจผิด โดย
การเสนอข้อมูลทไ่ี ม่ถกู ต้อง หรือละเวน้ ที่จะกล่าวถึงข้อมูลที่มนี ยั สำคญั ต่อการให้ความเหน็

คูม่ อื การประเมินมลู ค่าต้นไม้ I 161

2) ผูป้ ระเมินต้องไมจ่ ัดทำรายงานการประเมนิ ซึ่งให้ความเหน็ ที่ผดิ และมีความลำเอยี งโดยเจตนา
3) ผปู้ ระเมนิ ต้องไม่ยนิ ยอมโดยตง้ั ใจให้เกดิ ความเขา้ ใจผิดเกยี่ วกับคุณสมบตั ทิ างวชิ าชพี ทตี่ นไมม่ ี
4) ผู้ประเมินต้องดูแลเพื่อมั่นใจได้ว่า เจ้าหน้าที่ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาซึ่งร่วมปฏิบัติงานด้วยจะ
สามารถปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชพี ได้
5) ผูป้ ระเมนิ จะต้องปฏิบัตติ ามกฎหมายในทอ้ งที่ท่ใี หบ้ รกิ ารอยา่ งเคร่งครดั
6) ผู้ประเมินต้องปฏิบตั ิหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ ระมัดระวัง รอบคอบ ซื่อสัตย์สจุ ริต น่าเชื่อถอื
เยย่ี งผมู้ วี ชิ าชีพจะพึงกระทำ

9.2.2 ความเปน็ กลางในการปฏบิ ตั ิทางวชิ าชีพ

1) ผปู้ ระเมินต้องปฏบิ ัตงิ านทางวชิ าชีพดว้ ยความเป็นอสิ ระ ตรงไปตรงมา ไมล่ ำเอยี งและปราศจาก
ผลประโยชน์สว่ นตวั ใด ๆ

2) ผู้ประเมินต้องไม่รับหรือให้บริการงานซึ่งมีการกำหนดการให้ความเห็นหรือข้อสรุปเป็นการ
ล่วงหน้า

3) ผู้ประเมินต้องไม่รับหรือให้บริการงาน ซึ่งมีการกำหนดให้ค่าบริการขึ้นอยู่กับผลการประเมิน
หรือการให้ความเห็นใด ๆ ในรายงานการประเมนิ

4) ผู้ประเมินต้องไม่ให้ความเห็นโดยอ้างอิงข้อมูลที่มีนัยสำคัญที่ได้จากลูกค้าผู้รับบริการหรือ
แหล่งข้อมูลอื่นโดยไม่มีการระบุเป็นเงื่อนไขเอาไว้ หรือได้รับการยืนยันจากแหล่งข้อมูลที่เป็นอิสระ เว้นแต่
วา่ เปน็ การอ้างองิ ทสี่ ามารถทำไดใ้ นลักษณะของขอ้ จำกัดของการประเมิน

5) ผู้ประเมินต้องไม่ให้ความเห็นโดยอ้างอิงข้อสรุปที่ไม่มีเหตุผลสนับสนุนอย่างเพียงพอ ซึ่งเป็น
ข้อสรุปที่มีอคติและความลำเอียง อันจะส่งผลต่อการให้ความเห็นเกี่ยวกับมูลค่าของผู้ประเมิน (สมาคมนัก
ประเมนิ ราคาอิสระไทย, 2561)

9.3 ขอ้ ควรปฏบิ ัติ และข้อควรละเว้นของผู้ตรวจประเมินมูลคา่ ทรัพย์สิน

ในการประเมินมูลค่าทรัพย์สิน มีข้อควรปฏิบัติและข้อควรละเว้นที่ผู้ตรวจประเมินควรคำนึงถึง
ได้แก่ การเปิดเผยข้อมูลความสามารถทางวิชาชีพ การปฏิบัตติ ามมาตรฐานวิชาชีพ ข้อบังคับและกฎหมาย
ที่เกี่ยวข้อง การป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ หลักปฏิบัติในการให้บริการทางวิชาชีพ หลักปฏิบัติ
ต่อผู้ประเมินอื่นและสมาคมวิชาชีพ และข้อพิจารณาความเพียงพอของข้อมูลที่ใช้ในการประเมิน (สมาคม
นกั ประเมนิ ราคาอสิ ระไทย, 2561) ดงั น้ี

9.3.1 ความสามารถทางวชิ าชพี

1) ในการจัดทำข้อเสนองานตามคำสั่งและเงื่อนไขว่าจ้างงานของลูกค้าผู้รับบริการ ผู้ประเมินต้อง
เปิดเผยรายละเอียดข้อเท็จจริงที่ถูกต้องเกี่ยวกับคุณวุฒิการศึกษา ความรู้ ความชำนาญและประสบการณ์
ทางวชิ าชีพ และต้องม่ันใจว่ามีความสามารถทางวิชาชีพอย่างเพียงพอทจ่ี ะให้บริการตามท่ีได้รับการร้องขอ

162 I จรรยาบรรณของผู้ตรวจประเมิน

ทั้งนี้ ผู้ประเมินต้องไม่ลังเลที่จะปฏิเสธการให้บริการหากไม่มั่นใจว่ามีคุณสมบัติและความสามารถทาง
วชิ าชพี อย่างเพยี งพอทีจ่ ะให้บรกิ ารอย่างมีประสิทธิผล

2) ในการให้บริการร่วมกับผู้ประเมินรายอื่นหรือผู้ชำนาญการในวิชาชี พอื่น ผู้ประเมินต้อง
ตรวจสอบด้วยความรอบคอบเพื่อให้มั่นใจได้ว่า ผู้ประกอบวิชาชีพรายอื่นเหล่านั้นมีคุณสมบัติและ
ประสบการณ์ทางวิชาชีพอย่างเพียงพอ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการประเมินที่กำหนดโดยลูกค้ารับ
บริการ และต้องระบถุ งึ บทบาทความชว่ ยเหลือของผปู้ ระกอบวชิ าชพี รายอ่นื เหลา่ นน้ั ในรายงานการประเมิน
โดยเปิดเผย

3) ผู้ประเมินต้องไม่ทำการโฆษณากล่าวอ้างหรือกล่าวเกินความเป็นจริงเกี่ยวกับคุณสมบัติทาง
วิชาชพี หรอื ความรคู้ วามชำนาญและประสบการณท์ างวชิ าชีพของตน เพื่อใหไ้ ด้รบั งานบรกิ ารท่ตี ้องการ

4) ผู้ประเมินต้องหมั่นศึกษาและเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมทางวิชาชีพอย่างสม่ำเสมอ เพื่อพัฒนา
และเพิ่มพูนความรู้ทางวิชาชีพและความรู้ในสาขาวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเพื่อพัฒนาคุณภาพของงาน
บริการใหไ้ ด้มาตรฐานตลอดเวลา

5) ผปู้ ระเมินต้องไมร่ ับงานประเมินทเ่ี กนิ ความรู้ความสามารถของตนเอง

9.3.2 การปฏบิ ัติตามมาตรฐานวชิ าชีพ ขอ้ บังคบั และกฎหมายทเี่ กยี่ วข้อง

1) ผู้ประเมินมีหน้าที่ต้องศึกษา ติดตาม และทำความเข้าใจพัฒนาการทางวิชาชีพ และการ
เปลี่ยนแปลงของมาตรฐานวิชาชีพการประเมินมูลค่าทรัพย์สิน เพื่อให้มั่นใจว่าการให้บริการแก่ลูกค้า
ผู้รับบรกิ ารเปน็ ไปตามมาตรฐานท่ีทันสมยั อยูเ่ สมอ

2) ผู้ประเมินมีหน้าที่ต้องติดตามพัฒนาการ และการเปลี่ยนแปลงของมาตรฐานในสาขาวิชาชีพท่ี
เกี่ยวข้อง เช่น มาตรฐานการบัญชี เป็นต้น โดยเฉพาะในส่วนที่อาจส่งผลต่อการปฏิบัติทางวิชาชีพการ
ประเมินมูลค่าทรัพยส์ นิ

3) ผู้ประเมินมีหน้าทีต่ ้องติดตามพัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงของระเบียบ ข้อบังคับ กฎเกณฑ์
และกฎหมายท่เี กย่ี วข้องกับทรพั ย์สนิ และการประเมินมลู คา่ ทรัพยส์ ิน เพอ่ื ให้มัน่ ใจวา่ จะสามารถปฏิบตั ิ ตาม
ระเบียบข้อบังคับ กฎเกณฑ์ และกฎหมายเหล่านั้นได้อย่างถูกต้อง เช่น ประกาศของธนาคารแห่งประเทศ
ไทย ประกาศของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กฎหมายเกี่ยวกับ
คา่ ธรรมเนยี มและภาษที รัพยส์ ิน เปน็ ตน้

4) ผปู้ ระเมินมีหน้าท่ีที่จะต้องให้ความรว่ มมืออย่างเตม็ ท่ีในการให้ข้อมูลข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องหาก
ได้รับการร้องขอ โดยเฉพาะในกรณีที่มีการดำเนินการไต่สวนความผดิ ทางวิชาชีพโดยสมาคมวิชาชีพ และ/
หรือหนว่ ยงานกำกบั ของรัฐ เมอื่ ได้ผา่ นการรับรองว่าเป็นกรณที ม่ี ีมลู ความผดิ แลว้

9.3.3 ความขดั แยง้ ทางผลประโยชน์

1) ผ้ปู ระเมินต้องไม่รับหรือใหบ้ ริการงานประเมินมลู คา่ ทรัพยส์ ิน ซ่ึงอาจพจิ ารณาไดว้ ่าจะก่อให้เกิด
ความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ระหว่างลูกค้าผู้รับบริการหรือเจ้าของทรัพย์สินกับผู้ประเมินหรือบริษัท
ประเมินมูลค่าทรัพย์สินที่ผู้ประเมินสังกัดอยู่ หากไม่แน่ใจ ผู้ประเมินจะต้องหารือกับสมาคมวิชาชีพเพื่อ

คู่มือการประเมนิ มลู คา่ ตน้ ไม้ I 163

ความชัดเจนถูกต้อง และผู้ประเมินจะต้องหยุดการให้บริการทันทีท่ีได้รับทราบว่าการประเมินนั้นอาจ
กอ่ ให้เกิดโอกาสความขดั แย้งทางผลประโยชน์

2) ผู้ประเมินต้องแจ้งให้ลูกค้าผู้รับบริการทราบทันทีที่ได้รับรู้ว่ามีความขัดแย้งทางผลประโยชน์
เกิดขึ้น พร้อมทั้งแจ้งให้ลูกค้าผู้รับบริการทราบว่าผู้ประเมินจะไม่สามารถใหบ้ รกิ ารตอ่ ไปได้ หากผู้ประเมิน
ไดร้ บั ทราบภายหลงั จากทไี่ ด้ใหบ้ รกิ ารเสรจ็ สิน้ เรยี บร้อยแล้ว ผู้ประเมนิ จะต้องเปดิ เผยให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
ไดร้ ับทราบภายในเวลาอันควร

3) ผู้ประเมินต้องไม่รับงานหรือให้บริการแก่ลูกคา้ ผู้รับบริการตัง้ แต่สองรายข้ึนไปสำหรับทรัพยส์ ิน
เดยี วกัน เว้นเสียแต่ว่าจะได้รับการยนิ ยอมอยา่ งเปน็ ลายลกั ษณ์อักษรจากทุกฝ่ายทเี่ ก่ียวข้อง

9.3.4 หลกั ปฏิบตั ิในการใหบ้ ริการทางวชิ าชีพ

1) ผู้ประเมินมีหน้าที่ที่จะต้องทำความเข้าใจกับลูกค้าผู้รับบริการให้ชัดเจนเกี่ยวกับงานที่พึง
คาดหวังได้ จากบริการของผ้ปู ระเมินและหลักเกณฑ์ในการคดิ คา่ บริการ กอ่ นทลี่ กู คา้ ผรู้ ับบริการจะตอบรับ
คำสั่งวา่ จ้างงาน ทั้งนี้ผู้ประเมินอาจทำความตกลงกับลูกค้าผู้รับบริการเกี่ยวกับหลกั เกณฑ์การคิดค่าบริการ
วชิ าชพี แต่ต้องไม่เป็นการคิดคำนวณค่าบริการโดยองิ กบั มลู ค่าของทรพั ยส์ ิน

2) ผปู้ ระเมินมหี นา้ ท่ีที่จะต้องปฏบิ ัติเกีย่ วกับภารกจิ ของลูกค้าผรู้ บั บริการด้วยวิจารณญาณและการ
รักษาความลับอย่างเหมาะสม โดยผู้ประเมินต้องไม่เปิดเผยข้อมูลสำคัญที่ได้รับจากลูกค้าผู้รับบริการหรือ
ผลการให้บริการตามที่ได้รับมอบหมายแก่บุคคลหรือนิติบุคคลอื่นใด นอกจากผู้ซึ่งได้รับอนุญาตจากลูกค้า
ผ้รู ับบรกิ าร หรือผู้ซ่ึงได้รับสิทธติ ามกฎหมายทจี่ ะไดร้ บั การเปดิ เผยรายงานการประเมนิ

3) ผู้ประเมินต้องไม่อ้างอิงผลงานซึ่งเคยให้บริการกับลูกค้าผู้รับบริการรายอื่น ในลักษณะของการ
โฆษณากล่าวอ้างกับลูกค้าผรู้ ับบรกิ ารรายใหม่ จนกวา่ จะไดร้ ับอนุญาตอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรจากลูกค้า
เจ้าของผลงานน้นั

4) ผู้ประเมินต้องไม่เสนอค่าตอบแทนเพื่อเป็นสิ่งจูงใจแก่บุคคลหรือนิติบุคคลอื่น โดยมีเจตนา
เพื่อให้ได้งานบริการที่ต้องการ หรือกระทำการอื่นใดที่อาจพิจารณาได้ว่าเป็นการสร้างความไม่เป็นธรรม
สำหรับการแขง่ ขนั ทางธรุ กจิ กับผู้ประเมนิ รายอนื่

5) ผู้ประเมินต้องไม่พยายามชักจูงให้บุคคลใดที่ผู้ประเมินทราบอยู่แล้วว่ากำลังรับบริการจากผู้
ประเมินรายอื่นมาเป็นลูกค้าผู้รับบริการของตน ทั้งนี้ จนกว่าการให้บริการนั้นเสร็จสิ้นไปเสียก่อน หรือ
เว้นเสยี แตว่ า่ ลกู คา้ ผู้รบั บรกิ ารยินดีจะใช้บรกิ ารจากผู้ประเมนิ ท้งั สองราย

6) ผู้ประเมินต้องไม่ลอกเลียนผลงานหรือข้อมูลอ้างอิงของผู้อื่น และแอบอ้างว่าเป็นผลงานหรือ
ขอ้ มลู อ้างอิงของตนเอง หรอื กระทำการอื่นใดซง่ึ พจิ ารณาไดว้ า่ เปน็ การละเมดิ ลิขสทิ ธทิ์ างปัญญาของผู้อ่ืนใน
การเสนอผลงานของตนตอ่ ลกู ค้าผูร้ บั บริการ

7) ในการให้บริการทางวิชาชีพ ผู้ประเมินมีหน้าที่ที่จะต้องนำเสนอผลการให้บริการในลักษณะท่ี
แยกแยะใหเ้ ห็นอย่างชดั เจนระหว่างขอ้ มลู ข้อเท็จจริง การวเิ คราะห์ และการใหค้ วามเหน็ ของผ้ปู ระเมนิ เพื่อ
มใิ ห้เกิดความสบั สนแกผ่ ูใ้ ช้ประโยชนจ์ ากรายงานการประเมนิ

164 I จรรยาบรรณของผู้ตรวจประเมิน

8) ผู้ประเมินต้องรับรู้ว่าการลงนามรับรองในรายงานการประเมินถือเป็นความรับผิดชอบโดย
สมบูรณ์ของผูป้ ระเมินผู้ลงนามที่มีต่อเน้ือหาสาระและความถกู ต้องของรายงานการประเมิน รวมทั้งเนื้อหา
ทอี่ าจเปน็ ผลงานของผอู้ นื่ ท่ีได้รบั การอา้ งองิ ถึง

9) ผู้ประเมินต้องไม่จ้างงาน ส่งงาน หรือยินยอมให้บุคคล/นิติบุคคลอื่นทำงานประเมินให้ ไม่ว่า
ทั้งหมดหรือบางส่วน โดยอ้างอิงหรือใช้ชื่อหรือสำนักงานของผู้ประเมิน เว้นแต่จะเป็นผู้ประเมินร่วมหรือ
ผู้ประเมินเพิ่มเติม รวมทั้งต้องไม่ให้สิทธิ์แก่บุคคล/นิติบุคคลอื่นในการให้บริการประเมินมูลค่าทรัพย์สินใน
ลกั ษณะของการให้แฟรนไชส์ (franchise) หรอื การให้บริการในลักษณะทำนองเดียวกัน

9.3.5 หลักปฏบิ ัตติ ่อผู้ประเมนิ อนื่ และสมาคมวิชาชีพ

1) ผู้ประเมินต้องไม่ประพฤติตนในลักษณะใด ๆ ที่ทำให้เป็นการเสื่อมเสียชื่อเสียง ความน่านับถือ
ความเชื่อมั่น และความน่าไว้วางใจที่ลูกค้าผู้รับบริการหรือสาธารณชนมีต่อผูป้ ระกอบวิชาชีพ และสมาคม
วิชาชีพ

2) ผู้ประเมินต้องไม่พยายามทำลายชื่อเสียงทางวิชาชีพของผู้ประเมินรายอื่นหรือของสมาคม
วิชาชีพ ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม ด้วยการโฆษณา หรือด้วยการให้ข้อความที่ไม่เป็นความจริง หรือ
ดว้ ยขอ้ ความทอี่ าจทำใหผ้ อู้ ่นื เข้าใจผดิ ได้

3) ผู้ประเมินต้องไม่เผยแพร่ข้อความต่อสาธารณชน อันเป็นการอ้างถึงความสามารถทางวิชาชีพ
ของตนท่ีเหนือกว่าผปู้ ระเมนิ อนื่

9.3.6 ขอ้ พิจารณาความเพียงพอของข้อมลู ที่ใชใ้ นการประเมนิ

1) ผู้ประเมินต้องตระหนักอยู่เสมอว่าความไม่ครบถ้วนเพียงพอของข้อมูล อันเนื่องมาจากการ
ละเลย หรือความรู้ความสามารถไม่เพียงพอ อาจก่อให้เกิดความผิดพลาดและผลเสียหายจากการประเมิน
ดังนั้น ผู้ประเมินตอ้ งหมั่นศกึ ษาและรับรูข้ อ้ มูลที่จำเป็นให้ครบถว้ นโดยสม่ำเสมอ หากผู้ประเมนิ ไม่มั่นใจใน
การทำงานชิ้นนั้น ๆ ผู้ประเมินอาจขอปฏิเสธหรือหาผู้ประเมินร่วมที่มีความรู้ความสามารถในงานชิ้นน้ัน
เขา้ มาร่วมงาน หรือแมแ้ ต่การว่าจ้างผู้เช่ียวชาญเฉพาะสาขาก็อาจจำเป็นในบางกรณี

2) ข้อมูลเกี่ยวกับข้อจำกัดทางกฎหมายจะมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องจำนวนมาก ดังนั้น ผู้ประเมิน
จะต้องมีความรอบคอบและหม่ันติดตามความเปลี่ยนแปลงของกฎหมาย เพื่อให้การให้ความเห็นของมูลค่า
สอดคล้องกับกฎหมายนั้น ๆ นอกจากนี้ ยังมีข้อจำกัดเกี่ยวกับกฎหมายท้องถิ่น ซึ่งผู้ประเมินจะต้องทำการ
ตรวจสอบกบั หน่วยงานของทอ้ งถน่ิ ซงึ่ ทรัพยส์ ินทีป่ ระเมนิ นน้ั ต้งั อยู่

3) ข้อมูลที่ได้รับจากลูกค้าผู้ให้บริการอาจมีความถูกต้องหรือไม่ก็ตาม ผู้ประเมินควรต้องทำการ
สอบทานขอ้ มูลที่ได้รับนน้ั จากแหล่งภายนอกอน่ื ๆ เพอ่ื ให้มนั่ ใจว่าควรนำข้อมลู ที่ได้รับจากแหล่งต่าง ๆ มา
ปรับใช้ให้เหมาะสมได้อย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิง่ ข้อมูลทีเ่ ก่ียวกบั การวเิ คราะห์และประเมินมูลค่า

คู่มอื การประเมินมูลคา่ ตน้ ไม้ I 165

9.4 กฎหมายท่เี ก่ียวข้องกบั ผู้ตรวจประเมินมูลค่าทรัพยส์ ิน

9.4.1 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณชิ ย์

มาตรา 137 และ 138 ได้ให้นิยามของคำว่า “ทรัพย์” และ“ทรัพย์สิน” โดย “ทรัพย์” หมายถึง
วัตถุท่มี ีรูปร่าง “ทรพั ย์สนิ ” หมายถงึ ทรัพย์และวตั ถุทีไ่ มม่ ีรูปรา่ ง ซงึ่ อาจมีราคาและถือเอาได้ คำวา่ วตั ถทุ ไ่ี ม่
มรี ปู รา่ งนั้น หมายรวมถึงสิทธิทั้งหลายท่ีไมใ่ ช่สทิ ธิเฉพาะตวั บคุ คล (สทิ ธิในชีวติ ร่างกาย เสรีภาพ เกียรติยศ
ชื่อเสียง) ที่ก่อตั้งโดยอำนาจของกฎหมาย เช่น กรรมสิทธิ์ สิทธิครอบครอง ภาระจำยอม สิทธิเหนือพื้นดิน
สิทธิจำนอง สิทธิการเช่า สิทธิเรียกร้อง (สิทธิที่เจ้าหนี้จะเรียกบังคับให้ลูกหนี้ชำระหนี้) ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร
สทิ ธใิ นเครื่องหมายการคา้ เป็นต้น

มาตรา 139 ถึง 143 ได้จำแนกทรัพย์สินเป็น 5 ประเภท คือ อสังหาริมทรัพย์ สังหาริมทรัพย์
ทรัพย์แบ่งได้ ทรัพย์แบ่งไม่ได้ และทรัพย์นอกพาณิชย์ ทรัพย์สินประเภทที่มีการประเมินมูลค่าส่วนใหญ่
ได้แกอ่ สงั หาริมทรัพย์ ซึ่งมาตรา 139 บัญญัตใิ หห้ มายถึง “ที่ดินและทรัพย์อันติดอยู่กับท่ีดิน มีลักษณะเป็น
การถาวรหรือประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดินนั้น และหมายความรวมถึงทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับที่ดินหรือ
ทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดินหรือประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดินนั้นด้วย” ทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับที่ดิน ได้แก่
กรรมสิทธิ์ สิทธิครอบครอง ภาระจำยอม สิทธิเหนือพื้นดิน ภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น ส่วน
ทรัพยสิทธิเกี่ยวกับทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดิน ได้แก่ สิทธิตามกฎหมายในอาคารและสิ่งปลูกสร้างที่ติดอยู่กับ
ที่ดิน ดังนั้นแนวคิดสำหรับอสังหาริมทรัพย์ตามกฎหมายไทยในส่วนที่ไม่เกี่ยวกับลักษณะทางภายภาพจึง
ไดแ้ ก่ทรพั ยสทิ ธอิ ันเก่ยี วกับท่ีดินหรือทรพั ย์อนั ติดอยกู่ ับที่ดนิ (สมาคมนักประเมินราคาอสิ ระไทย, 2561)

9.4.2 พระราชบญั ญัตหิ ลกั ประกันทางธุรกจิ พ.ศ. 2558

กฎหมายหลักประกันทางธุรกิจเป็นกฎหมายที่มีการเริ่มยกร่างและได้รับการผลักดันมาเป็น
ระยะเวลาทีย่ าวนาน ตั้งแตป่ พี .ศ. 2541 เนื่องจากหนว่ ยงานภาครัฐท่ีเก่ยี วข้องรวมท้ังหนว่ ยงานภาคเอกชน
ผู้ประกอบธุรกิจได้ตระหนักถึงความสำคัญและปัญหาของการขอสินเชือ่ ในการดำเนินธุรกิจ โดยเฉพาะการ
นำทรัพย์สินมาเป็นหลักประกันทางธุรกิจทีม่ ีข้อจำกัดตามกฎหมายหลายประการ ทำให้การประกอบธุรกิจ
ไม่มีความคล่องตัวเท่าที่ควร พระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. 2558 ได้มีการประกาศในราช
กิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 โดยให้มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 240 วัน นับแต่วัน
ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ยกเว้นกรณีบางมาตราให้มีผลใช้บังคับทันที ซึ่งหลักการที่สำคัญ
อย่างย่ิงของกฎหมายฉบับน้คี ือการเปลย่ี นแปลงระบบหลักประกนั ทรัพยส์ นิ ของไทย โดยการเพม่ิ โอกาสให้ผู้
ประกอบธุรกิจสามารถนำทรัพย์สินที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจมาใช้เป็นหลักประกันในการขอสินเชื่อได้
หลากหลายมากยิ่งขึ้น ประกอบกับการสร้างระบบการบังคับหลักประกันที่มีความรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ
และเป็นธรรม ซึง่ สาระสำคัญของพระราชบัญญตั หิ ลกั ประกันทางธรุ กิจฯ (อรวรรณ, มปป.) มดี ังน้ี

1) ความหมายของสัญญาหลักประกันทางธุรกิจ สัญญาหลักประกันทางธุรกิจ คือ สัญญาซึ่ง
คูส่ ญั ญาฝ่ายหนึง่ เรยี กวา่ ผู้ใหห้ ลักประกันตราทรพั ยส์ ินไว้แก่คสู่ ัญญาอีกฝา่ ยหนงึ่ เรียกว่า ผู้รับหลักประกัน
เพือ่ เป็นประกันการชำระหน้โี ดยไมจ่ ำเปน็ ต้องส่งมอบทรัพย์สนิ นน้ั แกผ่ รู้ ับหลักประกัน และผ้ใู หห้ ลักประกัน
อาจตราทรัพย์สนิ ของตนไว้เพอ่ื ประกันการชำระหน้ีอันบคุ คลอน่ื ต้องชำระก็ได้ (มาตรา 5)

166 I จรรยาบรรณของผู้ตรวจประเมิน

2) คสู่ ญั ญา ประกอบดว้ ย ผ้ใู หห้ ลักประกันและผู้รับหลักประกนั โดยผใู้ หห้ ลักประกนั จะเป็นบุคคล
ธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ได้ (มาตรา 6) ส่วนผูร้ ับหลกั ประกันจะต้องเป็นสถาบนั การเงินหรือบุคคลอื่นตามท่ี
กำหนดในกฎกระทรวงเท่าน้นั (มาตรา 7)

3) ทรัพย์สินที่สามารถนำมาเป็นหลักประกันได้ โดยหลักทรัพย์สินที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจย่อม
สามารถนำมาเป็นหลักประกันได้ทั้งสิ้น โดยมาตรา 8 ของพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจฯ ได้
กำหนดประเภทของทรัพย์สินไว้ ดังนี้

3.1) กจิ การ ไดแ้ ก่ ทรัพย์สนิ ท้ังหลายที่ผู้ให้หลักประกันใช้ในการประกอบธุรกิจ และสิทธิต่าง ๆ
ท่เี กีย่ วขอ้ งกับการประกอบธรุ กจิ น้นั เช่น ท่ีดนิ อาคาร รถยนต์ รถบรรทกุ อปุ กรณส์ ำนักงาน เป็นต้น

3.2) สิทธิเรียกร้อง ได้แก่ สิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ ไม่ว่าจะได้รับชำระหนี้เป็นเงิน หรือได้รับ
ชำระหนเ้ี ป็นทรพั ยส์ ินอย่างอื่น และสิทธิอื่น ๆ แต่ไม่รวมถึงสทิ ธิท่มี ีตราสาร

3.3) สังหาริมทรัพย์ที่ผู้ให้หลักประกันใช้ในการประกอบธุรกิจ เช่น เครื่องจักร สินค้าคงคลัง
หรอื วัตถุดบิ ทีใ่ ช้ในการผลิตสนิ คา้

3.4) อสังหาริมทรัพย์ในกรณีที่ผู้ให้หลักประกันประกอบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์โดยตรง ได้แก่
ที่ดิน อาคารสถานที่ เช่น ผู้ประกอบกิจการหมู่บ้านจัดสรร หรือจัดสรรที่ดินเปล่าสามารถนำที่ดินหรือ
อาคารสถานทีม่ าเปน็ หลักประกนั ได้

3.5) ทรัพย์สินทางปัญญา ได้แก่ ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า สิ่งบ่งชีท้ างภูมศิ าสตร์
และความลับทางการคา้ เป็นต้น

(3.6) ทรัพย์สินอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง เป็นกรณีที่กฎหมายเปิดช่องให้ หากใน
อนาคตมีทรัพย์สินที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจอื่น ๆ อีกที่กฎหมายยังไม่ได้บัญญัติครอบคลุมเอาไว้ก็สามารถ
กำหนดเพม่ิ โดยกฎกระทรวงได้

รายละเอียดพระราชบัญญัตหิ ลักประกนั ทางธุรกิจ พ.ศ. 2558 โดยละเอียดกล่าวไว้ในบทที่ 8
หัวขอ้ ที่ 8.4

9.4.3 กฎกระทรวงกำหนดให้ทรพั ย์สินอ่ืนเป็นหลักประกนั พ.ศ. 2561

วันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่กฎกระทรวงลงนามโดย นาย
สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดให้ทรัพย์สินอื่นเป็นหลกั ประกัน พ.ศ.
2561 ซึ่งเป็นการกำหนด “ให้ไม้ยืนต้นเป็นทรัพย์สินที่ใช้เป็นหลักประกันได้” โดยอาศัยอำนาจตามความ
ในมาตรา 4 วรรคหน่ึง และมาตรา 8 (6) แห่งพระราชบัญญตั หิ ลักประกันทางธุรกจิ พ.ศ. 2558

เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบบั นี้ คือ โดยทเี่ ป็นการสมควรกำหนดใหไ้ มย้ นื ต้นเปน็
ทรพั ย์สนิ ทน่ี ำมาใช้เปน็ หลกั ประกนั ได้ ตามกฎหมายว่าดว้ ยหลกั ประกันทางธรุ กิจ เพื่อเป็นการส่งเสริมใหม้ ี
การใหห้ ลกั ประกันทางธรุ กจิ มากยงิ่ ข้ึน อนั จะเป็นประโยชนแ์ กก่ ารประกอบธุรกิจและเศรษฐกิจของ
ประเทศและโดยที่มาตรา 8 (6) แห่งพระราชบัญญัติหลักประกนั ทางธรุ กิจ พ.ศ. 2558 บญั ญตั ใิ หท้ รัพยส์ ิน
อื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวงเป็นหลักประกันได้ จงึ จำเป็นตอ้ งออกกฎกระทรวงนี้ (ภาคผนวก ก)

บรรณานุกรม

168 I บรรณานุกรม

กรมป่าไม้. 2548. ไม้เนื้อแข็งของประเทศไทย. สำนักวิจัยการจัดการป่าไม้และผลิตผลป่าไม้, กรมป่าไม้,
กรงุ เทพฯ.

ข่าวทำเนียบรัฐบาล. วันจันทร์ที่ 18 มิถุนายน 2561 แหล่งที่มา: http://www.thaigov.go.th, 4 มีนาคม
2562.

คณะวนศาสตร์. 2552. โครงการส่งเสริมปลูกต้นไม้เพื่อเป็นทุนระยะยาว. รายงานฉบับสมบูรณ์. ศูนย์วิจัย
ป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั เกษตรศาสตร์, กรงุ เทพฯ.

คณะวนศาสตร์. 2553. คู่มือการดำเนินโครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาดภาคป่าไม้. บริษัท เอส. อาร์.
พรน้ิ ติง้ แมสโปรดกั ศ์ จำกดั , กรุงเทพฯ.

คณะวนศาสตร์. 2554. คู่มือศักยภาพของพรรณไม้สาหรับส่งเสริมภายใต้โครงการกลไกการพัฒนาท่ี
สะอาดภาคปา่ ไม.้ อกั ษรสยามการพิมพ์ จำกดั , กรุงเทพฯ.

คณะวนศาสตร์. 2560. ยุทธศาสตร์และแผนงานการส่งเสริมไม้เศรษฐกิจแบบครบวงจร (พ.ศ. 2561-
2579). รายงานฉบับสมบูรณ์. ศูนย์วิจัยป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์,
กรุงเทพฯ.

จรินทร์ ศรพี รมา. 2513. ตารางปริมาตรไม้ชนิดสำคญั ในประเทศไทย, น. 256-288. ใน รายงานการประชุม
ทางวิชาการมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 9 (สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา).
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรงุ เทพ.

จุฬารัตน์ นิรัติศยกุล. 2562. การขับเคลื่อนชุมชนไม้มีค่า. สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ
(องค์การมหาชน). แหล่งที่มา: https://www.dbd.go.th/download/article/article_ 2019021
4162806.pdf, 4 มีนาคม 2562.

ชาญ บุญญสิริกุล. 2513. การคณิตป่าไม้เบื้องต้น. ภาควิชาการจัดการป่าไม้ คณะวนศาสตร์
มหาวทิ ยาลยั เกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร. 2554. ธนาคารต้นไม้ วิถีแห่งความพอเพียง มั่งคั่ง ยั่งยืน.
ธนาคารเพ่อื การเกษตรและสหกรณก์ ารเกษตร.

ธนาคารเพ่ือการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร. 2561. ธ.ก.ส. จบั มือ 3 หนว่ ยงาน ร่วมขับเคล่ือนชุมชนไม้มีค่า.
ข่าวที่ 84/2561, 27 ธันวาคม 2561. แหล่งที่มา: http://www.mof.go.th/home/pr/baac_
271261.pdf, 3 มีนาคม 2562.

ธนาคารเพอ่ื การเกษตรและสหกรณ์การเกษตร. ม.ป.ป. ธนาคารตน้ ไม้ : พอเพยี ง มั่งคั่ง ยั่งยืน. ธนาคารเพื่อ
การเกษตรและสหกรณ์การเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ,์ กรุงเทพฯ.

ปริญญารัตน์ เลี้ยงเจริญ. 2560. ‘พันธบัตรป่าไม้’ กลไกการคลังฟื้นป่าเศรษฐกิจ. สถาบันวิจัยเพื่อการ
พฒั นาประเทศไทย. แหล่งท่ีมา: https://tdri.or.th/2017/08/11-kt-opinion/, 4 มนี าคม 2562.

ปัสสี ประสมสินธ์. 2534. คู่มือปฏิบัติการการคณิตป่าไม้. ภาควิชาการจัดการป่าไม้ คณะวนศาสตร์
มหาวิทยาลยั เกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

คูม่ อื การประเมินมูลคา่ ตน้ ไม้ I 169

ปัสสี ประสมสินธ์ และขวัญชัย ดวงสถาพร. 2548. การคณิตป่าไม้ I : คู่มือการศึกษาและฝึกปฏิบัติงาน
ภาคสนาม. ภาควชิ าการจัดการปา่ ไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

พงษ์ศักดิ์ วิทวัสชุติกุล, สำเริง ปานอุทัย, โสภา ศิริไพพรรณ และปัทมา ทิพรส. 2554. การพัฒนาแบบจำลอง
มลู ค่าของระบบนิเวศปา่ ไม.้ เอกสารเผยแพร่. กรมอุทยานแห่งชาติ สตั วป์ ่า และพันธ์พุ ืช, กรุงเทพฯ.

พงษ์ศักดิ์ สหุนาฬุ. 2538. ผลผลิตและการหมุนเวียนธาตุอาหารในระบบนิเวศป่าไม้. คณะวนศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

พระราชบญั ญตั ิสวนปา่ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558. แหล่งที่มา: http://library2.parliament.go.th/giventake
/content_nla2557/law44-260558-1.pdf, 25 กุมภาพนั ธ์ 2562.

พระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. 2558. ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 132 ตอนที่ 104 ก. วันที่ 5
พฤศจิกายน 2558. แหล่งที่มา: library2.parliament.go.th/giventake/content_nla2557/
law104-051158-1.pdf, 2 กมุ ภาพนั ธ์ 2561.

รพพี ัฒน์ องิ คสทิ ธ์ิ และคณะ. 2558. คณุ คา่ ของระบบนิเวศ และนิเวศบรกิ ารสำหรบั ภาคธรุ กจิ แปลและเรียบ
เรียงจากหนังสือ Guide to Corporate Ecosystem Valuation และ The Corporate Ecosystem
Services Review. ECO-BESt, กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, EU, GIZ, TEI, TBCSD,
HELMHOLTZ center for Environmental Research-UFZ.

ศูนย์วิจัยป่าไม้. 2560. ยุทธศาสตร์และแผนส่งเสริมไม้เศรษฐกิจแบบครบวงจร (พ.ศ. 2561-2579). เสนอ
กรมป่าไม้ กระทรวงทรพั ยากรธรรมชาติและส่งิ แวดลอ้ ม. กรุงเทพฯ.

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. 2549. โครงการจัดลำดับความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อม. รายงานฉบับสมบูรณ์ สนับสนุนโดยโครงการนโยบายสาธารณะเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี ที่
ดำเนินการโดยมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ ภายใต้การสนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการ
สร้างเสรมิ สขุ ภาพ.

สถาบนั วจิ ัยเพ่ือการพัฒนาประเทศไทย. แหลง่ ท่ีมา: http://www.konkao.net/read.php?id=24350,
4 มีนาคม 2562.

สถิตย์ วัชรกิตติ. 2525. การสำรวจทรัพยากรป่าไม้. ภาควิชาการจัดการป่าไม้ คณะวนศาสตร์
มหาวทิ ยาลัยเกษตรศาสตร์, กรงุ เทพฯ.

สมาคมนักประเมินราคาอิสระไทย. 2561. มาตรฐานและจรรยาบรรณวิชาชีพการประเมินมูลค่าทรัพย์สิน
สำหรบั ธุรกรรมในตลาดเงิน. แหลง่ ที่มา: http://www.tva.or.th, 19 ธนั วาคม 2561.

สุรีย์ ภูมิภมร, วินัย ถาวร และอยุธ ลัดพลี. ม.ป.ป. ตารางปริมาตรไม้เลี่ยนที่สวนป่าลาดกระทิง จังหวัด
ฉะเชงิ เทรา. Winrock International – F/FRED, กรงุ เทพฯ.

เสมอ ลิม้ ชูวงศ์ 2553. แนวคิด และประสบการณ์เก่ียวกบั การจา่ ยคา่ ตอบแทนคณุ คา่ ระบบนเิ วศ (Payment
for Environment Services : PES). วารสารสมาคมศิษยเ์ กา่ วนศาสตร์ 7 (2)

170 I บรรณานกุ รม

องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน). 2558. คู่มืออ้างอิงการพัฒนาโครงการลดก๊าซ
เรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทยสาขาปา่ ไม้และการเกษตร. องค์การบริหาร
จดั การกา๊ ซเรอื นกระจก (องคก์ ารมหาชน), กรงุ เทพฯ.

องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน). 2559ก. โครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาค
สมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย. แหล่งที่มา: http://ghgreduction.tgo.or.th/t-ver/, 25
สิงหาคม 2559.

องคก์ ารบรหิ ารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน). 2559ค. รายละเอียดระเบียบวิธีลดก๊าซเรือนกระจก
ภาคสมัครใจ สำหรับการปลูกป่าอย่างยั่งยืน. แหล่งที่มา: http://ghgreduction.tgo.or.th/t-ver
/index.php?option=com_fabrik&view=list&listid=38&Itemid=292 , 25 สิงหาคม 2559.

องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน). 2559ง. การคำนวณการกักเก็บคาร์บอนของ
ต้นไม้ (Calculation for Carbon Sequestration). แหล่งที่มา: http://ghgreduction.tgo.or.th/
t-ver/index.php?option=com_fabrik&view=list&listid=46&Itemid=295, 25 สิงหาคม 2559.

องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน). 2559จ. การคำนวณการสะสมคาร์บอนในดิน
(Calculation for Soil Carbon). แหล่งที่มา: http://ghgreduction.tgo.or.th/t-ver/index.php?
option=com_fabrik&view=list&listid=46&Itemid=295, 25 สิงหาคม 2559.

องคก์ ารบรหิ ารจดั การกา๊ ซเรือนกระจก (องคก์ ารมหาชน). 2559ข. โครงการสนบั สนุนกจิ กรรมลดก๊าซเรือน
กระจก. แหลง่ ทมี่ า: http://ghgreduction.tgo.or.th/less/, 25 สิงหาคม 2559.

อดิเรก วงษ์คงคำ. 2561. ต้นไม้เป็นหลักประกันของ ธ.ก.ส. แหล่งที่มา: https://www.dbd.go.th/
download/article/article_20181122133446.pdf, 2 มีนาคม 2562.

อรพรรณ ณ บางช้าง-ศรีเสาวลักษณ์, อิทธิพล ศรีเสาวลักษณ์, มาโนช วงษ์สุรีย์รัตน์, อัจฉรี ชไตน์มีลเลอร์,
เรวดี จรุงรัตนาพงศ์, นันทนา พันธุสุนทร, เรืองยศ ทองโศภิน, กัลยาณี ทองโศภิน, กัญญา สุทัศน์,
ฉลวย บุญมาก และแสงดาว แหลมทอง. 2554. โครงการการเรียกค่าเสียหายในคดีสิ่งแวดล้อมทาง
ทะเลและชายฝั่ง. กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝัง่ : กรงุ เทพฯ.

อรวรรณ เกสร. ม.ป.ป. หลักการและสาระสำคัญของกฎหมายหลักประกันทางธุรกิจ. แหล่งที่มา: https://
www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/elaw_parcy/ewt_dl_link.php?nid=1543, 2 กุมภาพันธ์
2561.

Bateman, I. J., R. T. Carson, B. Day, M. Hanemann, N. Hanley, T. Hett, M. Jones-Lee, G.
Loomes, S. Mourato, E. Özdemiroglu, D. W. Pearce OBE, R. Sugden and J. Swanson.
2002. Economic Valuation with Stated Preference Techniques: A Manual. Department
of Transport. Edward Elgar Publishing Limited: Cheltenham, UK.

Freeman, A. Myrick. 2003. The Measurement of Environmental and Resource Values: Theory
and Methods, 2nd edition. RFF Press book: Washington, DC.

ภาคผนวก

172 I ภาคผนวก

ภาคผนวกที่ 1

ราคากลางต้นไม้

ค่มู อื ผู้ประเมนิ มลู คา่ ต้นไม้ I 173

174 I ภาคผนวก

ค่มู อื การประเมนิ มลู คา่ ต้นไม้ I 175

176 I ภาคผนวก

ค่มู อื การประเมนิ มลู คา่ ต้นไม้ I 177

178 I ภาคผนวก

ค่มู อื การประเมนิ มลู คา่ ต้นไม้ I 179

180 I ภาคผนวก

ค่มู อื การประเมนิ มลู คา่ ต้นไม้ I 181

182 I ภาคผนวก

คู่มือผปู้ ระเมนิ มูลคา่ ต้นไม้ I 183

ภาคผนวกท่ี 2

แบบตรวจวัดและประเมินมูลค่าต้นไม้ (ธต. 6/1- ธต. 6/4)

184 I ภาคผนวก

ค่มู อื การประเมนิ มลู คา่ ต้นไม้ I 185

186 I ภาคผนวก

ค่มู อื การประเมนิ มลู คา่ ต้นไม้ I 187

188 I ภาคผนวก

ภาคผนวกท่ี 3

รายงานการประชุมคณะกรรมการธนาคารต้นไม้ (ธต .5)

ค่มู อื การประเมนิ มลู คา่ ต้นไม้ I 189

190 I ภาคผนวก

ค่มู อื การประเมินมลู คา่ ต้นไม้ I 191

ภาคผนวกท่ี 4

ใบสมัคร/ทะเบียนสมาชิกฯ (ธต.1)

192 I ภาคผนวก

คมู่ อื การประเมนิ มูลค่าตน้ ไม้ I 193

ภาคผนวกที่ 5

แบบแสดงความประสงค์เข้าร่วมโครงการ
พัฒนาธนาคารต้นไม้สู่ชุมชนไม้มีค่า (ธต.3)

194 I ภาคผนวก

ธนาคารเพอ่ื การเกษตรและสหกรณก์ ารเกษตร (ธ.ก.ส.)
โทรศพั ท์ 0-2558-6555 โทรสาร 0-2558-6449

https://www.baac.or.th


Click to View FlipBook Version