คมู่ ือการประเมินมูลคา่ ต้นไม้ I 93
5.4.3 ขัน้ ตอนการประเมนิ มลู ค่าระบบนิเวศปา่ ไม้
1) การเก็บข้อมลู ภาคสนาม
ในการประเมินมูลค่าของระบบนิเวศป่าไม้ ดำเนินการเช่นเดียวกับการประเมินผลกระทบทาง
สิ่งแวดล้อมจากการทำลายป่าไม้ด้วยแบบจำลอง มีการเก็บข้อมูลภาคสนามด้วยกระบวนการวิทยาศาสตร์
กายภาพ (physical based research) (พงษศ์ กั ดิ์ และคณะ, 2554) โดยมีรายละเอียดโดยสังเขปดังตอ่ ไปนี้
1.1) เก็บวัดขอ้ มลู ร้อยละของพ้ืนท่ีหน้าตัดลำตน้ ของไม้ทุกต้น (%BA) ซง่ึ มีเส้นผ่านศูนย์ลำต้น
ทีร่ ะดบั ความสูง 1.30 เมตรจากผวิ ดนิ มากกวา่ 4.5 เซนติเมตร ในพื้นท่ี 20 x 40 ตารางเมตร ของพื้นที่ป่า
ไมท้ ีเ่ หลอื อยู่ขา้ งเคยี ง โดยให้แนวยาวของแปลง คอื 40 เมตร ขนานไปตามความลาดเทของพืน้ ที่
1.2) สมุ่ เกบ็ ตัวอย่างดินผิวจำนวน 7 จุด (เดินเก็บให้ทวั่ พืน้ ทใ่ี นลักษณะของฟนั ปลา) ประมาณ
200 กรัม ในพื้นที่ที่ป่าไม้ถูกทำลาย และพื้นที่ป่าไม้ที่เหลืออยู่ข้างเคียง นำดินมาใส่ขวด เติมน้ำ และเขย่า
อย่างแรงประมาณ 20 ครั้ง เพื่อให้เกิดการแตกตัวของโครงสร้างดิน แล้วตั้งทิ้งเอาไว้ให้ตกตะกอน วัดค่า
ความสูงของตะกอนขนาดต่าง ๆ กันคือ ตะกอนทราย (sand) ตะกอนดินแป้ง (silt) และตะกอนดินเหนียว
(clay)
1.3) เก็บวัดข้อมูลระดับความสูงของพื้นท่ี ความลาดชัน และความยาวด้านลาดเทของพ้ืนทีท่ ่ี
ได้รบั ความเสยี หาย
1.4) รวบรวมข้อมูลปรมิ าณน้ำฝนรายปี จากสถานีตรวจวัดอากาศที่อยู่ใกล้พ้ืนที่ท่ีจะประเมนิ
คา่ ความเสยี หายมากที่สุด
2) การประเมินค่าผลกระทบเป็นจำนวนเงิน
ในการนำผลกระทบมาประเมินค่าเป็นจำนวนเงิน จะประยุกต์ใช้วิธีการทางเศรษฐศาสตร์
สิ่งแวดล้อมที่มีชื่อว่า replacement cost method ซึ่งเป็นวิธีที่สามารถใช้ได้กับสินค้า (ปัจจัยที่ประกอบ
ตัวกันขึ้นเป็นโครงสร้างของระบบนิเวศป่าไม้) ทุกชนิด และบริการทุกประเภทที่ระบบนิเวศเอื้ออำนวย
ประโยชน์ให้กับมนุษย์ หรืออาจใช้ เป็นการกำหนดเปน็ ค่าปรบั หรือบทลงโทษ โดยคิดเป็นค่าใช้จ่ายในการ
นำสินค้ากลับขึ้นมาแทนที่ส่วนที่หายไป และ/หรือ เป็นค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงบริการให้ดีขึ้นเหมือนเดิม
ตัวอย่างเช่น ในการประเมินมูลค่าความเสียหายในการทำลายป่าไม้ของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และ
พันธุ์พืช ข้อมูลทั้งหมดจะถูกนำเข้าสู่แบบจำลอง (ที่มีรูปลักษณะดังภาพที่ 5.7) เพื่อเปรียบเทียบและ
ประเมินค่าออกมาเป็นผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำลายป่าไม้ ก่อนที่จะนำมาตีค่าเป็นจำนวนเงินด้วย
กระบวนการทางเศรษฐศาสตรส์ ิง่ แวดล้อม (พงษศ์ กั ดิ์ และคณะ, 2554)
94 I การใหบ้ รกิ ารของระบบนเิ วศป่าไม้ และแนวทางการประเมินมูลค่า
ภาพท่ี 5.7 แบบประเมินมลู ค่าความเสยี หายทางส่งิ แวดลอ้ มจากการทำลายปา่ ไม้
ท่ีมา: พงษ์ศักด์ิ และคณะ (2554)
บทท่ี 6
ลักษณะทางนเิ วศวทิ ยาและวนวัฒนวิทยาของพรรณไม้
และการประเมินสภาพพน้ื ทท่ี เ่ี หมาะสม
96 I ลกั ษณะทางนิเวศวทิ ยาและวนวฒั นวทิ ยาของพรรณไม้ และการประเมนิ สภาพพ้ืนทท่ี ี่เหมาะสม
6.1 บทนำ
6.1.1 บทบาทของปัจจยั ส่งิ แวดล้อมท่ีมีตอ่ การเติบโตและพฒั นาของต้นไม้
การเจรญิ เติบโตของตน้ ไม้เกดิ จากกระบวนการตา่ ง ๆ ท้ังจากภายในและภายนอกท่ีกระทำร่วมกัน
ความรู้ ความเข้าใจในบริบทของปัจจัยต่าง ๆ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งเพราะจะทำให้ทราบถึงเหตุปัจจัย
และผลท่ีเกิดข้นึ จากการท่ีปจั จัยตา่ ง ๆ กระทำตอ่ ต้นไมจ้ นส่งผลกระทบต่อต้นไม้ที่ปลูก
การเติบโต (growth) และพัฒนา (development) ของต้นไม้เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นภายใน
ตน้ ไม้มีความซบั ซ้อนและเกี่ยวข้องกับปจั จัยต่าง ๆ มากมาย การเตบิ โตเปน็ การเปลี่ยนแปลงท่ีเพิ่มขึ้นในเชิง
ปริมาณ เพิ่มขึ้นของขนาด เช่น ความโต ปริมาตร ความสูง น้ำหนัก ในขณะที่การพัฒนา เป็นการ
เปลี่ยนแปลงในเชิงคุณภาพ เช่น การพัฒนาของดอก ผล เมล็ด ทั้งนี้ ปัจจัยที่มีผลต่อการเติบโตและพัฒนา
ของต้นไม้ประกอบด้วยปัจจัยทางด้านพันธุกรรมของต้นไม้เอง ปัจจัยภายนอก และปัจจัยภายใน ที่จะมี
อิทธพิ ลรว่ มกนั ในการกำหนดการเตบิ โตและพัฒนา
ปัจจยั ทางดา้ นพนั ธุกรรมทส่ี ำคญั คือยนี ส์ (gene) ทีท่ ำหน้าท่กี ำหนดรปู ร่าง ลักษณะ ขนาด จำนวน
ควบคุมการทำงานในระดับเซลให้เป็นไปตามแบบแผนและสามารถถ่ายทอดไปยังลูกหลานได้ การคัดเลือก
สายพันธุ์ในการปลูกจึงมีความสำคัญอย่างมากที่จะทำให้ต้นไม้มีลักษณะดี ในส่วนของปัจจัยภายในของ
ตน้ ไมเ้ อง เช่น ลักษณะทางด้านสัณฐานวิทยา กระบวนการทางสรีรวิทยา ระดับฮอรโ์ มน สารควบคุมต่าง ๆ
เปน็ ตัวกำหนดระดับของการเติบโตและพัฒนาของต้นไม้ ซึ่งลกั ษณะทางพันธุกรรมก็ถือว่าเป็นปัจจัยภายใน
ที่ควบคุมการเติบโตและพฒั นาของต้นไมด้ ว้ ยเชน่ เดียวกัน
ปัจจัยสิ่งแวดล้อม (environmental factors) คือปัจจัยภายนอกที่มีบทบาทอย่างมากต่อต้นไม้
โดยปัจจยั สง่ิ แวดล้อม ท่ีก่อให้เกิดความเสียหายหรือผลกระทบทางลบต่อสวนป่า อาจแบง่ ได้ 3 กลมุ่ ใหญ่ ๆ
(ภาพท่ี 6.1) ไดแ้ ก่
1) ปัจจัยแวดล้อมทางกายภาพ (abiological factors) จากสภาพอากาศที่รุนแรงผันผวนเช่น
สภาพความแห้งแลง้ นำ้ ทว่ ม ลมพายุ ไฟป่า มลพษิ
2) ปจั จัยแวดลอ้ มทางชวี ภาพ (biological factors) ท่สี ำคัญ ได้แก่ แมลงศัตรปู ่าไม้ โรคพืช วชั พืช
รวมทัง้ การทำลายจากสตั ว์
3) ปัจจัยทางด้านมนุษย์ (anthropogenic factors) ซึ่งบทบาทจากกิจกรรมของมนุษย์มี
ความสำคัญต่อการบริหารจัดการสวนป่าให้บรรลุวัตถุประสงค์มากขึ้น ที่สำคัญได้แก่ การบุกรุกพื้นที่ การ
ลกั ลอบตดั ไม้ในสวนปา่ การลกั ลอบเผาสวนปา่
ปัจจัยสิ่งแวดล้อมเหล่านี้มีผลต่อกระบวนการภายในของต้นไม้และเมื่อกระทำร่วมกับปัจจัย
ทางด้านพันธุกรรมด้วยแล้วก็จะส่งผลต่อต้นไม้ ซึ่งต้นไม้แต่ละชนิดก็จะมีความทนทาน ปรับตัวต่อสภาพ
สิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกัน นอกจากนี้แม้ว่าจะเป็นต้นไม้ชนิดเดียวกันก็ยังมีการการเติบโต พัฒนาในแต่ละ
สภาพปัจจัยสิ่งแวดล้อมแตกต่างไปในแต่ละลักษณะพันธุกรรมด้วย ดังนั้น การปรับปรุงพันธุ์ การทดสอบ
สายพันธุ์ที่เหมาะสมในแต่ละสภาพพื้นที่จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง เช่น ไม้สักที่ปลูกในพ้ืนที่ภาคเหนือกับ
พื้นที่ภาคใต้ก็จะมีความแตกต่างกันในด้านของคุณภาพของเนื้อไม้ (ลายไม้) ไม้สักสายพันธุ์จากเชียงใหม่
เตบิ โตไดไ้ มด่ เี ทา่ กับสายพันธ์ุจากลำปางเมอ่ื นำมาปลูกในบริเวณจังหวัดแพร่ เปน็ ต้น
คมู่ อื การประเมินมูลคา่ ต้นไม้ I 97
ภาพที่ 6.1 กล่มุ ปัจจยั สงิ่ แวดลอ้ มที่มีผลกระทบต่อการจัดการสวนป่า
6.1.2 หลักการวนวัฒนวิทยา
วนวัฒนวิทยาเป็นสาขาวิชาหนึ่งทางด้านวนศาสตร์ที่เกี่ยวกับการประยุกต์วิทยาศาสตร์และศิลป
ศาสตร์เพื่อควบคุมการเกิด การเติบโต องค์ประกอบ สุขภาพ คุณภาพของหมู่ไม้เพื่อสนองความต้องการ
และความพึงพอใจอันหลากหลายของสังคมอย่างยงั่ ยืน ซ่ึงศาสตรด์ ้านวนวัฒนวทิ ยาอาจแบ่งได้เป็นสองส่วน
สำคญั คือ
1) รากฐานทางด้านวนวัฒนวิทยา (fundamental of silviculture) ที่ว่าด้วยหลักพื้นฐานทาง
วทิ ยาศาสตร์ที่เกย่ี วกับตน้ ไม้ เช่น ลักษณะทางนเิ วศ กระบวนการเกิด เติบโต และพัฒนา ปัจจยั ส่ิงแวดล้อม
ตา่ ง ๆ ทม่ี ผี ลต่อตน้ ไมแ้ ละหมูไ่ ม้ ปฏิสัมพนั ธ์ระหวา่ งต้นไม้และปจั จยั สิ่งแวดล้อม
2) ปฏิบัติการทางด้านวนวัฒนวิทยา (silvicultural practices) เป็นการนำพื้นฐานทางด้าน
วนวัฒนวิทยามาประยุกต์ใช้เพื่อการพัฒนาหมู่ไม้ ต้นไม้ดีขึ้น เช่น การลิดกิ่ง การตัดขยายระยะ การกำจัด
วัชพชื การป้องกันไฟป่า
ดังนั้น การปลูกต้นไม้ การปลูกป่าจึงมีความจำเป็นที่ต้องทราบหลักพืน้ ฐานที่เกี่ยวข้องกับต้นไม้ใน
แต่ละชนิดแต่ละกลุ่มว่ามีลักษณะอย่างไรในธรรมชาติ มีการตอบสนองต่อปัจจัยสิง่ แวดล้อมต่าง ๆ อย่างไร
และนำองค์ความรู้ที่ได้มาประยุกต์ปฏิบัติการให้สภาพสิ่งแวดล้อมนั้นเหมาะสมเพื่อจัดการหมู่ไม้ในสวนป่า
ให้ได้ผลตามที่ผู้ดำเนินการกำหนดวัตถุประสงค์ความต้องการไว้ เพื่อให้ต้นไม้หรือหมู่ไม้ที่ปลูกมีการเติบโต
และคุณภาพไมท้ ่ีดี
98 I ลักษณะทางนิเวศวิทยาและวนวัฒนวิทยาของพรรณไม้ และการประเมนิ สภาพพ้นื ทท่ี ่ีเหมาะสม
6.1.3 ความสำคญั ของการคัดเลอื กชนดิ ไมใ้ ห้เหมาะสมกบั สมรรถนะของพน้ื ท่ี
พื้นที่แต่ละแห่งมีความผันแปรแตกต่างกันไปตามสภาพภูมิประเทศและสภาพภูมิอากาศที่ตั้งอยู่
ส่งผลให้ปัจจัยสิ่งแวดล้อมทั้งด้านกายภาพและชีวภาพมีความแตกต่างกันออกไป ซึ่งส่งผลไปถึงการเติบโต
พัฒนาของต้นไม้ที่ขึ้นอยู่ในบริเวณนั้น การคัดเลือกชนิดไม้หรือสายพันธุ์ให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่เป็น
ปัจจยั สำคญั เบอ้ื งตน้ ท่ีบ่งบอกถึงโอกาสของความสำเร็จในการปลูกสวนป่า การคัดเลือกชนิดท่ีเหมาะสมกับ
ปัจจัยสิ่งแวดล้อมส่งผลให้การเติบโต การพัฒนา (โดยเฉพาะกลไกทางด้านสรีรวิทยา การปรับตัว) ของ
ต้นไมเ้ ป็นไปอย่างเหมาะสม ลดภาระค่าใชจ้ ่ายของผ้ปู ลูกในการจดั การพน้ื ทล่ี ง เชน่ การปรบั ปรงุ ดิน การให้
น้ำ การกำจดั วัชพืชฯ ในขณะท่หี ากเลือกชนิดท่ีไม่เหมาะสมกับสภาพพนื้ ทน่ี อกจากจะส่งผลต่อค่าใช้จ่ายใน
การปรบั สภาพพ้นื ท่ีให้เหมาะสมแลว้ ยังมีผลต่อการเติบโตและพัฒนา รวมท้งั การยดื ระยะเวลาในการตัดฟัน
ออกไป ซงึ่ หมายถึงคา่ ใชจ้ า่ ยที่เพ่มิ ข้ึนอกี มากมาย
6.2 ปัจจัยสิ่งแวดล้อมสำคัญท่มี ีอทิ ธพิ ลต่อการเติบโตและพัฒนาของตน้ ไมท้ ่ี
เกยี่ วขอ้ งกบั สมรรถนะท่ีดนิ
การเติบโตและพัฒนาของต้นไม้นอกจากจะขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านพันธุกรรมและการจัดการแล้ว
ปัจจัยสิ่งแวดล้อมเป็นตัวแปรสำคัญอย่างมากเช่นเดียวกัน ซึ่งได้สะท้อนออกมาในลักษณะของความ
เหมาะสมของพื้นที่ต่อการปลูกไม้แต่ละชนิดหรือสมรรถนะที่ดิน ปัจจัยสิ่งแวดล้อมประกอบด้วยปัจจัย
ทางด้านกายภาพและปัจจัยทางชีวภาพ ดังท่ไี ด้กล่าวไว้ในบทนำ โดยในทน่ี จ้ี ะขอกล่าวถึงบทบาทของปัจจัย
สิ่งแวดล้อมทางกายภาพเป็นหลักโดยเฉพาะปัจจัยทีม่ ีผลต่อการคัดเลือกชนิดไม้ การเติบโตและพัฒนาของ
ตน้ ไม้บางปจั จัยเทา่ นั้น โดยมรี ายละเอยี ด ดงั น้ี
6.2.1 ความสงู จากระดับน้ำทะเล (elevation)
ความสงู จากระดับน้ำทะเลหรือความสูงในแนวด่ิงมีผลต่อการเติบโตและพฒั นาของต้นไม้เนื่องจาก
ความสูงจากระดบั นำ้ ทะเลมผี ลตอ่ ความเขม้ ขน้ ของปจั จยั สงิ่ แวดล้อมอน่ื ๆ ที่สำคญั ไดแ้ ก่ ความช้นื อณุ หภูมิ
(ความเย็น) รวมทั้งความเร็วและทิศทางของลม ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ส่งผลมายังการเติบโตและพัฒนาของต้นไม้
เฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องอุณหภูมิ โดยหลักการของ dry adiabatic lapse rate นั้น ทุก ๆ ความสูงที่เพิ่มขนึ้
1,000 เมตร จากระดับน้ำทะเล จะมอี ุณหภูมิลดลง 10 องศาเซลเซยี ส (ภาพที่ 6.2)
คมู่ ือการประเมินมูลคา่ ตน้ ไม้ I 99
ภาพท่ี 6.2 การเปล่ยี นแปลงอุณหภมู ติ ามระดับการเปลีย่ นแปลงของความสูงจากระดับน้ำทะเล
6.2.2 ดิน
ดินเป็นปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีพและการเติบโตของพืชทั้งปวง พืชทั่วไป โดยเฉพาะต้นไม้นั้น
เกี่ยวโยงกบั ดินตั้งแต่งอกเป็นต้นกลา้ จนถึงตาย และการปลูกสร้างสวนป่ามีระยะเวลาการลงทุนหรอื การรอ
คอยการใชป้ ระโยชนจ์ ากต้นไม้ทีย่ าวนาน ฉะนน้ั เราตอ้ งเลอื กชนิดไม้ท่ีนำมาปลูกใหเ้ หมาะสมกบั ลักษณะดิน
ในพื้นท่ี หากพนื้ ที่ปลูกสรา้ งสวนป่ามขี นาดใหญ่ ต้องพจิ ารณาลักษณะความสม่ำเสมอของดนิ ว่าเป็นอย่างไร
ซึ่งถ้าพบว่าพื้นที่ปลูกสร้างสวนป่ามีความไม่สม่ำเสมอ จะต้องดำเนินการจำแนกพื้นที่ออกตามลักษณะ
พื้นฐานของดนิ อันไดแ้ ก่ ลกั ษณะหนา้ ตัดของดิน สมบัติทางฟสิ ิกส์และทางเคมีของดิน สำหรับประเทศไทย
กรมพัฒนาท่ีดนิ ไดจ้ ำแนกกลุ่มดนิ ต่าง ๆ ออกเป็น 62 กลุม่ ชุดดนิ โดยการรวมชุดดินที่มลี ักษณะสมบัติ และ
ศักยภาพในการเพาะปลูก รวมถึงการจัดการดินที่คล้ายคลึงกันมาไว้เป็นกลุ่มเดยี วกัน เพื่อประโยชนใ์ นการ
ให้คำแนะนำ การตรวจสอบลักษณะดิน การใช้ที่ดิน และการจัดการดินที่เหมาะสมให้แก่เกษตรกรในการ
ปลูกต้นไม้ ซึ่งแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ กลุ่มดินในที่ลุ่มและกลุ่มดินในที่ดอน โดยสามารถหาข้อมูล
เพมิ่ เติมไดท้ ส่ี ถานพี ัฒนาทีด่ ินจงั หวดั ตา่ ง ๆ (ภาพที่ 6.3)
ในทางปฏิบัติแล้วการจำแนกพื้นที่ตามลักษณะของดินนั้น มักจะเลือกสำรวจสมบัติของดินท่ี
สามารถทำได้ง่าย สะดวก ประหยัดเงนิ และใชเ้ วลาไมม่ าก อาทเิ ชน่ สำรวจโดยดจู ากความหนาแนน่ ของดิน
ความลึกของชั้นดิน ค่า pH ของดิน ประเภทของเนื้อดิน สีของดิน เป็นต้น ซึ่งเมื่อทราบข้อมูลเหล่านี้แล้ว
จะสามารถจำแนกพืน้ ท่ีออกเป็นชนิดตา่ ง ๆ ที่มีลกั ษณะของดนิ ท่ีคล้ายคลงึ กัน จากนนั้ ควรศึกษาสมบัติของ
ดินในแต่ละโซนอย่างละเอียดซึง่ จะใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญในการพิจารณาตั้งแต่การเลอื กชนิดไม้ที่จะ
ปลูก รูปแบบการดูแลรักษา การคาดคะเนปริมาณผลผลิตรวมไปถึงการกำหนดรอบตัดฟันในแต่ละโซนที่
กำหนดไว้ กระบวนการเหลา่ นีเ้ ป็นกระบวนการเพ่มิ ประสทิ ธิภาพการจดั การสวนปา่ ให้มีความสงู ยง่ิ ข้นึ
100 I ลกั ษณะทางนเิ วศวทิ ยาและวนวัฒนวิทยาของพรรณไม้ และการประเมนิ สภาพพื้นที่ทเี่ หมาะสม
ภาพท่ี 6.3 ตวั อยา่ งกลมุ่ ชุดดนิ และหนา้ ตดั ของดิน
6.2.3 แสง
แสงเป็นปัจจัยแวดล้อมที่มคี วามสำคัญตอ่ ต้นไม้ในด้านการสังเคราะห์แสงท่ีส่งผลอยา่ งมากต่อการ
เตบิ โตของต้นไม้ โดยท่ัวไปตน้ ไม้จะมีการตอบสนองต่อแสงที่แตกต่างกนั ทงั้ ในด้านปรมิ าณ คณุ ภาพ ทิศทาง
และระยะเวลา ซึ่งทำให้สามารถจำแนกเป็นชนิดไม้ออกเป็นกลุ่มตามความต้องการแสงคอื ต้นไม้ที่ชอบแสง
และต้นไม้ทนรม่ ซง่ึ การคดั เลอื กชนดิ ไม้ตามปัจจยั เร่ืองของแสงสว่างเปน็ สิ่งท่ีนำมาใช้ในการคัดเลือกชนิดไม้
เพื่อปลูกร่วมกัน ทั้งในระบบวนเกษตร (agroforestry) และการปลูกไม้ผสม (mixed plantation)
นอกจากนี้ในการปลูกต้นไม้และการจัดเรียงกล้าไม้ในเรือนเพาะชำนั้นจะกำหนดแนวปลูกและแนววางกล้าไม้
ให้สัมพันธ์กับทิศทางการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์ เพื่อให้ต้นไม้ที่ปลูกหรือกล้าไม้ได้รับแสงอย่างเต็มที่ไม่มี
การบดบังกนั โดยทัว่ ไปแสงมีผลตอ่ ต้นไม้ มดี งั นี้
1) ความเข้มของแสง กระบวนการทางสรีรวทิ ยาของพชื ทไ่ี ด้รับผลกระทบจากความเข้มของแสง มี
หลายกระบวนการดงั ต่อไปนี้
- การสังเคราะห์แสง (photosynthesis) การสังเคราะห์แสงของใบจะเพิ่มสูงขึน้ เมื่อปริมาณ
แสงเพ่ิมมาก
- การหายใจ (respiration) พืชที่เติบโตอยู่ในสภาพที่มีแสงน้อย มักจะมีอัตราการหายใจต่ำ
ความเข้มของแสงที่ทำให้อัตราการสังเคราะห์แสงมีค่าเท่ากับอัตราการหายใจ เรียกว่า compensation
point
- การสบื พนั ธ์ุ (reproduction) พืชหลายชนิดจะไม่มีการออกดอก หากอยูใ่ นสภาพท่ีมีความ
เข้มแสงตำ่
คมู่ อื การประเมินมลู ค่าต้นไม้ I 101
- การผลิตฮอร์โมน (production of growth hormone) แสงมีผลทำให้ออกซินที่สร้างขึ้น
ในพืชเสื่อมสภาพ เรียกกระบวนการทีเ่ กิดขึน้ น้ีว่า โฟโตออกซิเดชัน (photooxidation) และพบว่าพืชที่ข้นึ
ในท่ีมืด มกั มกี ารยืดยาวของลำต้นผิดปกติ สว่ นการเบนหาแสงของพืช เรยี กวา่ โฟโตโทรปิซมึ (phototropism)
- การเปิดและปิดของปากใบ (opening and closing of stomata) โดยปกติปากใบจะเปิด
ในช่วงเวลากลางวันเมอื่ มแี สง และมักปดิ ในเวลากลางคนื เมือ่ ไมม่ ีแสง
- การผลติ คลอโรฟิลล์ (production of chlorophyll) การสร้างคลอโรฟลิ ล์ของพวกไม้ดอก
(angiosperm) ต้องอาศัยแสง จัดเป็นพวก photochemical reaction ในขณะที่การสร้างคลอโรฟิลล์ของ
พวกไม้เมล็ดเปลอื ย (gymnosperm) ไมจ่ ำเป็นต้องอาศยั แสง จดั เป็นพวก chemical reaction
- การงอกของเมล็ด (germination of seed) โดยปกติความเข้มแสงจะมีผลต่อการงอกของ
เมล็ดค่อนข้างน้อย อย่างไรก็ตาม พบว่าความเข้มแสงอาจมีผลต่อการงอกของเมล็ดไม้บางชนิดโดยเฉพาะ
อย่างยิ่งเมล็ดประเภทที่มีเนื้อนุ่มสด อย่างไรก็ตาม ผลของแสงต่อการงอกของเมล็ดนั้นจะเกี่ยวข้องกับ
คุณภาพของแสงมากกวา่ ความเข้มของแสง
2) คุณภาพของแสง เนื่องจากแสงมีความยาวของช่วงคลื่นที่แตกต่างกัน แสงจึงมีคุณสมบัติ
แตกต่างกัน รงควัตถุต่าง ๆ ที่อยู่ในใบพืชมีความสามารถในการดูดคลื่นแสงสีต่าง ๆ แตกต่างกัน (ภาพท่ี
6.4) คณุ ภาพของแสงมีผลอยา่ งมากต่อการชักนำการออกดอก เนอ่ื งจากการออกดอกของพืชท่ีไวต่อแสงจะ
ถกู ควบคุมโดยรงควัตถุที่เป็นโปรตีน เรยี กว่า ไฟโทโครม (phytochrome) ซงึ่ มีอยู่ 2 ประเภท คือ ประเภท
ที่ดูดแสงที่มีความยาวคลื่น 500-700 นาโนเมตร โดยจะดูดแสงสีแดงได้ดีที่สุดเรียกว่า P660 หรือ Pr เป็น
ไฟโทโครมท่ีเฉอ่ื ยและไม่มีความสามารถในการกระตุ้นใหม้ ีการเปล่ยี นแปลงการเจริญได้ อีกประเภทหน่ึงจะ
ดูดแสงที่มีความยาวคลื่น 520-800 นาโนเมตร โดยสามารถดูดแสงที่มีความยาวช่วงคลื่น 730 นาโนเมตร
หรือแสงฟราเรดได้ดีที่สุด เรียกว่า P730 หรือ Pfr เป็นไฟโทโครมที่ไว มีความสามารถในการกระตุ้นให้มี
การเปลีย่ นแปลงการเจรญิ ได้ ไฟโทโครมท้งั สองประเภทน้สี ามารถเปลีย่ นรปู กลบั ไปมาได้
3) ช่วงเวลาที่ได้รับแสง (photoperiod) หมายถึง จำนวนชั่วโมงที่พืชได้รับแสงในรอบวัน การ
ตอบสนองของพืชต่อช่วงเวลาท่ีพชื ได้รับแสงนีเ้ รียกวา่ โฟโตเพอริโอดิซึม (photoperiodism) กระบวนการ
ทางสรีรวิทยาของพืชที่พบว่าอยู่ภายใต้อิทธิพลของช่วงเวลาที่ได้รับแสงที่สำคัญได้แก่ การออกดอก การ
เติบโต และการแตกของตาจากสภาวะงัน (dormancy) พืชสามารถแบง่ ออกได้ตามลักษณะการตอบสนอง
ต่อช่วงเวลาที่ได้รับแสงออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ พืชวันสั้น (short day plant) หมายถึง พืชที่ออกดอก
เมื่อช่วงวันสั้นกว่าช่วงวันวิกฤต (critical day length) พืชวันยาว (long day plant) หมายถึง พืชที่ออก
ดอกเมือ่ ชว่ งวันยาวกว่าช่วงวนั วิกฤต และพืชไม่ตอบสนองตอ่ ช่วงวัน (day neutral plant)
102 I ลกั ษณะทางนิเวศวิทยาและวนวฒั นวิทยาของพรรณไม้ และการประเมนิ สภาพพนื้ ท่ีทเี่ หมาะสม
ภาพที่ 6.4 การดดู แสงในชว่ งคลื่นต่าง ๆ ของรงควตั ถุในใบพืช
6.2.4 อุณหภมู ิ
อุณหภูมิ มีผลต่อการเติบโตและพัฒนาของต้นไม้ โดยเฉพาะในกระบวนการทางสรีรวิทยาของ
ตน้ ไม้ เช่น กระบวนการสงั คราะห์แสง กระบวนการคายนำ้ ทเ่ี ช่อื มโยงไปถึงการเปิดปิดปากใบ นอกจากน้ียัง
มีผลต่อลักษณะทางกายภาพของตน้ ไม้ เช่น เกิดการตายภาค (sun scald) จากการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิที่
ฉบั พลัน อณุ หภมู ิ มกั มีความสัมพันธ์กบั สภาพภูมปิ ระเทศในพื้นที่ เชน่ ความสูงจากระดบั น้ำทะเล ตามที่ได้
กล่าวไว้ก่อนหน้านี้แล้ว และทิศทางด้านลาด (aspect) โดยทิศด้านลาดที่หันไปทางทิศใต้และทิศตะวันตก
มักจะมีอุณหภูมิสูงกว่าทิศด้านลาดที่หันไปทางทิศเหนือและทิศตะวันออก ดังนั้นการเลือกปลูกต้นไม้ที่มี
เร่ืองทศิ ด้านลาดมาเกี่ยวข้องจึงต้องพิจารณาเลอื กชนิดไม้ดว้ ย โดยปกติอณุ หภูมทิ ี่เหมาะสมที่ทำให้สิ่งมีชีวิต
เจริญเติบโตได้ดีที่สุดคือ 15-40 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิและช่วงเวลาวิกฤติที่มีผลต่อการตายของ
เนือ้ เย่ือพืชคือการท่ีเน้ือเยอ่ื พชื ไดร้ ับความร้อน 60 องศาเซลเซยี ส เปน็ เวลาต่อเนื่อง 1 นาที
6.2.5 นำ้
น้ำมีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นสัตว์หรือพืช การกระจายของ
พรรณพืชชนิดต่าง ๆ บนพื้นโลกเป็นผลมาจากความผันแปรของอุณหภูมิและนำ้ เป็นหลกั น้ำมีความสำคัญ
ต่อต้นไม้เพราะน้ำมีความสำคัญต่อกระบวนการทางสรีรวิทยาของต้นไม้ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม
บทบาทของน้ำทีม่ ีต่อพืชพอสรุปได้ ดงั นี้ 1) เป็นองคป์ ระกอบหลักของเซลล์ 2) ทำหนา้ ที่เป็นตัวทำละลาย
ทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของก๊าซและธาตุอาหาร 3) ทำหน้าที่เป็นตัวทำปฏิกิริยา ทำให้เกิดกระบวนการท่ี
คมู่ อื การประเมินมลู ค่าต้นไม้ I 103
สำคัญในต้นไม้ เช่น กระบวนการสังเคราะห์แสง และกระบวนการย่อยสลายสารอาหาร 4) เป็นตัวรักษา
ความเต่ง ซึง่ มคี วามสำคัญต่อการเพิ่มขนาดและการเติบโตของเซลล์ นอกจากนน้ั ความเตง่ ยงั มีความสำคัญ
ตอ่ การเปดิ – ปิดของปากใบด้วย
การขาดความชุ่มชื้นของดิน โดยเฉพาะในฤดูกาลที่ต้นไม้กำลังเติบโต ดังเช่นปรากฏการณ์ที่เข้าสู่
ฤดูฝนแล้วไม่มีฝนตก ทำให้ปริมาณน้ำในดินลดน้อยลงไปเรื่อย ๆ จนเกิดการขาดแคลนน้ำขึ้น หากการขาด
น้ำต่อเนื่องยาวนานจนถึงจุดเหี่ยวถาวร (permanent wilting point: PWP) คือมีค่าความเครียดของน้ำท่ี
15 bar (1500 J/kg) ซึ่งเป็นค่าความชื้นในดินต่ำสุดที่จะไม่ทำให้พืชเกิดการเหีย่ วอย่างถาวร หากความชื้น
ในดินต่ำกวา่ นี้จะทำให้พืชเหี่ยวอย่างถาวร ไม่สามารถฟื้นคืนกลับมาได้ในที่สดุ ความแห้งแล้งสามารถสร้าง
ความเสียหายให้กับต้นไม้โดยการชะงักการเติบโตลงจนถึงขั้นที่ทำให้ต้นไม้ตายได้ และมีความอ่อนแอต่อ
การเข้าทำลายของโรคและแมลง โดยความแห้งแล้งท่ีเกิดขึ้นในช่วงตน้ ของฤดูกาลเติบโต จะมีผลทำให้การ
เตบิ โตทางดา้ นความสูง (height growth) ลดลง ในขณะท่ีความแหง้ แล้งในช่วงปลายของฤดูกาลเติบโต จะ
มผี ลทำให้การเตบิ โตทางด้านความโต (diameter growth) ลดลง
ปัจจัยเร่ืองน้ำ ความช้นื จึงมีความสำคญั ในการคัดเลือกชนิดไมป้ ลูกเปน็ อย่างมาก ต้นไม้บางชนิดมี
ความต้องการน้ำมาก สามารถทนอยู่ในสภาพที่มีน้ำในดินสูง หรือน้ำท่วมขังได้ดี ซึ่งหากพื้นที่มีลักษณะ
ดังกล่าว ก็ตอ้ งเลอื กชนิดไม้ที่มีความทนทานต่อสภาพน้ำท่วมขงั ได้ในบางคร้งั หรือมีระดบั น้ำใต้ดินสูง ต้นไม้
หลายชนิดต้องการความชื้นในดินสูง เช่น ยางนา ตะเคียนทอง ในทางตรงกันข้าม ต้นไม้บางชนิด สามารถ
ทนทานต่อความแห้งแลง้ ได้ดีโดยสามารถใช้น้ำท่ีมอี ยู่ในดนิ เพยี งน้อยนิดได้อย่างมปี ระสิทธิภาพสงู (คือใช้น้ำ
ในปริมาณที่น้อยกว่าแตส่ ามารถสร้างผลผลิตต่อหน่วยของน้ำที่ใช้ไปได้มากกว่า) เช่น ไม้ยูคาลิปตัส หรือไม้
บางชนิดสามารถคงทนอยไู่ ด้แม้ในสภาพแห้งแลง้ จัดโดยไม่ตายไป เชน่ ธนนไชย พุทรา เป็นต้น
6.3 วนวัฒนวิธีทส่ี ำคัญ
วนวัฒนวิธี คือ การปฏิบัติการต่าง ๆ ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มการเติบโตและคุณภาพของเนื้อไม้ท่ี
ปลูกให้ได้ตามต้องการ การปลูกไม้เศรษฐกิจสิ่งที่ต้องการคือไม้ท่อนที่มีขนาดและคุณภาพสามารถใช้ประโยชน์
ในทางอุตสาหกรรมได้ ใช้ระยะเวลาในการเติบโตสั้นที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ จากความต้องการที่ตั้งไว้
พิจารณารว่ มกับข้อจำกัดของสภาพท่ีดินท่ีนำมาปลูก ความสามารถในการลงทุนทางการเงิน จงึ กำหนดออกมา
เปน็ รปู แบบการจดั การสวนป่าในทางวนวัฒน์ ซึง่ สามารถแยกย่อยอธบิ ายเป็นวนวัฒนวิธตี ่าง ๆ ได้ดังน้ี
6.3.1 การผลิตกล้าไม้
การผลิตกล้าไม้เพื่อสนับสนุนการปลูกไม้เศรษฐกิจนั้นสามารถแบ่งการผลิตออกได้เป็น 2 ส่วน
ด้วยกนั คอื โดยหนว่ ยงานของกรมปา่ ไมห้ รือหน่วยงานอื่น ๆ ทีส่ ามารถผลติ กลา้ ไม้ได้ และโดยภาคเอกชนที่
มีศกั ยภาพผลติ ข้ึนเพอื่ ปลกู ในสวนป่าของตนเองหรือผลิตเพื่อจำหนา่ ย
การผลิตโดยหนว่ ยงานของกรมป่าไม้หรอื หน่วยงานอื่น ๆ ที่สามารถผลิตกลา้ ไม้ได้ เช่น ศูนย์เพาะ
ชำตา่ ง ๆ องค์การอุตสาหกรรมปา่ ไม้ หรือองคก์ ารไมเ้ ศรษฐกิจท่ีจะมีข้ึนในอนาคต เพื่อเปน็ กลุ่มผลิตกล้าไม้
หลักในการตอบสนองต่อการสง่ เสริมปลูกไม้เศรษฐกิจ นอกจากผลิตกล้าไม้แล้วหน่วยงานเหลา่ นีย้ ังต้องทำ
หน้าที่เปน็ พี่เลี้ยงและแหล่งความรู้ เพื่อให้เกิดการพัฒนาต่อการผลิตกล้าไม้ของกลุ่มผู้ผลิตภาคเอกชน รวม
ไปถงึ การจดั เตรียมเมล็ดสายพันธ์ดุ แี ละมคี ณุ ภาพไว้บริการผผู้ ลิตกล้าไม้ในภาคเอกชน
104 I ลกั ษณะทางนิเวศวิทยาและวนวัฒนวิทยาของพรรณไม้ และการประเมนิ สภาพพน้ื ท่ีท่เี หมาะสม
การผลิตกล้าไม้โดยภาคเอกชนนั้นอาจแบ่งย่อยออกได้เป็น 2 กลุ่มย่อย คือ กลุ่มของภาคเอกชน
รายใหญ่ที่อยู่ในรูปแบบของบริษัทที่มีศักยภาพทั้งการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตและพัฒนาปรับปรุงสาย
พันธุ์ดี และกลุ่มเกษตรกรรายย่อยในท้องท่ตี ่าง ๆ โดยเฉพาะในพื้นท่ีที่อยู่ในเขตเหมาะสมกับการปลูกสร้าง
สวนไม้เศรษฐกิจเป็นพิเศษ ซึ่งกลุ่มนี้คงต้องอาศัยความรู้และแหล่งพันธุ์ดีจากหน่วยงานของรัฐเป็นฝ่าย
สนบั สนนุ หลกั
1) เทคนิคการเตรียมกลา้ ไม้
การผลิตกล้าไม้นั้นมีขั้นตอนและเทคนิคที่แตกต่างกันออกไปตามชนิดของไม้ หรือแม้แต่ชนิดไม้
เดยี วกันก็ยงั มกี ระบวนการผลติ ทแี่ ตกตา่ งกนั อาทิ การผลิตกล้าไม้สกั สามารถเตรยี มจากเหง้าสกั ก่อน และ
การเพาะจากเมล็ดโดยตรง หรือการเตรียมกล้าไม้ยูคาลิปตัส สามารถทำได้จากการขยายพันธุ์แบบอาศัย
เพศด้วยการเพาะจากเมล็ด และการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศโดยการตัดชำ (cutting) เป็นต้น ฉะนั้นควร
เลือกวธิ ีการให้เหมาะสมกับการปลูกไม้เศรษฐกจิ ของแตล่ ะพ้ืนที่ แตถ่ ้าเป็นการปลูกในพ้ืนท่ีขนาดเล็กควรใช้
กล้าไมจ้ ากแหล่งผลติ ทด่ี ี และมีการรบั รองสายพันธุ์จะดกี วา่
2) ดรรชนชี ว้ี ดั คุณภาพกลา้ ไม้
กล้าไม้เป็นสิง่ ทีส่ ำคัญมากในการปลูกสร้างสวนไมเ้ ศรษฐกิจ เป็นตัวกำหนดถึงการเจริญเติบโตของ
ไมท้ ป่ี ลกู กลา่ วคอื ถ้าไดก้ ลา้ ไมท้ ี่มีคุณภาพดี มีสายพนั ธทุ์ ีไ่ ด้รบั การปรบั ปรุงแล้ว และเหมาะกับพ้ืนท่ีท่ีปลูก
จะถือเป็นการการันตีถึงผลผลิตที่จะได้เมื่อช่วงเวลาของการตัดฟัน หน่วยงานที่ผลิตกล้าไม้ต้องประกัน
คณุ ภาพกล้าไมท้ ่ผี ลติ ข้ึน โดยแสดงรายละเอียดแหลง่ ที่มาของสายพนั ธุ์ ขน้ั ตอนการผลติ ทม่ี คี ุณภาพ รับรอง
ผลผลิตของไม้ที่ได้จากกล้าไม้นั้น และได้ผลผลิตที่เป็นกล้าไม้ที่มีคุณลักษณะตามดรรชนีชี้วัดคุณภาพของ
กล้าไม้ ซึ่งต้องมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ (1) สายพันธุ์ของกล้าไม้ (2) แหล่งที่มาของเมล็ดหรือต้นตอ (3) วันที่
เร่มิ การเพาะและอายุของกล้าไม้ (4) ขัน้ ตอนการผลติ กล้าไม้ (5) ช่วงเวลาทีเ่ หมาะสมกับการนำไปปลกู
สำหรับดรรชนีกำหนดคุณภาพกล้าไม้ที่ผลิตได้นี้จะเป็นเกณฑ์การแบ่งเกรดของกล้าไม้ที่ผลิตได้
โดยจะกำหนดขึ้นตามสภาพของกล้าไม้ทผี่ ลิตขึ้นมา อาทิ ขนาดความโตของกล้าไม้ทางเส้นผ่านศูนย์กลางท่ี
โคนต้นกลา้ อยา่ งต่ำ ความสูงกลา้ ไม้ จำนวนใบ หรอื อาจระบุถงึ การเจริญเติบโตหลังการปลูกและสภาพการ
ดูแลสวนป่าระดับปกติที่ควรจะเป็นด้วยยิ่งเป็นการดี โดยการกำหนดดรรชนีเหล่านี้จะแยกตามชนิดของ
ไม้เศรษฐกจิ เป็นหลกั
6.3.2 การเตรียมพืน้ ท่ปี ลูก
การเตรียมพื้นที่ปลูกเป็นขั้นตอนที่สำคัญของการปลูกไม้เศรษฐกิจขั้นตอนหนึ่ง เพราะการเตรียม
พื้นที่นั้นมีผลต่อการเจริญเติบโตของไม้ที่ปลูกเป็นอย่างยิ่ง การเตรียมพื้นที่มีอยู่หลายขั้นตอน ซึ่ง
ประกอบด้วย
1) การกำจัดวัชพืช เศษซากพืชที่เหลืออยู่ในพื้นที่ อาจทำได้ด้วยการใช้แรงคน ใช้เครื่องจักรกล
หรอื ใช้สารเคมจี ำพวกสารกำจดั วชั พืชร่วมดว้ ยในกรณที ม่ี ีข้อจำกัดอ่นื ๆ
2) การไถพรวน เพื่อปรับปรุงสภาพทางกายภาพของดินให้ดีขึ้น จากการศึกษาพบว่าถ้ามีการ
ไถพรวนกอ่ นการปลูกไม้เศรษฐกิจจะทำใหก้ ารเจรญิ เตบิ โตของไม้ในช่วงแรกดีมากย่ิงขึน้
คู่มือการประเมนิ มลู คา่ ตน้ ไม้ I 105
3) การปรับปรุงพื้นที่ด้วยการขุดร่องคูน้ำ เพื่อการเก็บกักและระบายน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ
กล่าวคือ ในพื้นที่ที่ขาดน้ำ ควรปรับปรุงเพื่อมุ่งเน้นในการเก็บกักน้ำไว้ในสวน ส่วนพื้นที่ที่มีปัญหาน้ำมาก
เกินความต้องการ ร่องคูน้ำที่ทำขึ้นควรมุ่งเน้นในการระบายน้ำออกจากพื้นท่ี ไม่ให้เกิดการแช่ขังและ
สามารถเพม่ิ การเก็บกักความช้ืนไว้ในฤดแู ล้งไดอ้ ีกทางหน่งึ
4) การเตรียมหลุมปลูก เป็นขั้นตอนที่สำคัญเช่นกนั ขนาดของหลุมที่ขุดเพื่อเตรียมปลูกนั้นขึ้นอยู่
กบั การเตรยี มพื้นท่ี ในพ้นื ท่ีท่มี ีการไถพรวนอย่างดี ไมจ่ ำเป็นต้องขุดหลุมปลูกที่กว้างมากนัก แต่พื้นที่ท่ีไม่มี
การไถพรวนควรขดุ หลุมเตรยี มปลกู ให้ลึกไมน่ อ้ ยกว่า 30 เซนติเมตร
6.3.3 การจัดแปลงปลูก
การจัดแปลงปลูกเป็นเทคโนโลยีการจัดการสวนไม้เศรษฐกิจที่สามารถช่วยเพิ่มผลผลิตและลด
ความเสี่ยงต่อปัจจัยทางด้านลบที่อาจส่งผลกระทบต่อสวนป่าได้ การจัดแปลงปลูกสวนป่านั้นขึ้นอยู่กับ
ขนาดของสวนปา่ เป็นปจั จัยสำคัญ
1) การจดั แปลงปลูกสำหรบั สวนไมเ้ ศรษฐกิจขนาดเลก็
สวนไม้เศรษฐกิจขนาดเล็ก คือ สวนไม้ที่มีขนาดพื้นที่ตั้งแต่ 20-50 ไร่ การจัดแปลงปลูกขึ้นอยู่กับ
ความพร้อมทางด้านเงินทุนของเกษตรกรผปู้ ลูกป่า โดยเกษตรกรที่มคี วามพรอ้ มมากควรมีการปรบั ปรุงพื้นที่
ด้วยการขุดร่องคูเพื่อเก็บกักน้ำ ควรทำถนนตรวจการณ์ล้อมรอบแปลงปลูก แต่ถ้าขาดความพร้อมขอ
แนะนำให้เตรียมพื้นที่ด้วยการไถพรวน หรือถ้าจำเป็นจริง ๆ อย่างน้อยที่สุดเกษตรกรผู้ปลูกสร้างสวนไม้
เศรษฐกิจควรจะกำจัดวัชพืชทข่ี นึ้ อยใู่ นพื้นทีก่ ่อนการปลกู
2) การเตรียมพน้ื ท่สี ำหรบั สวนไมเ้ ศรษฐกจิ ขนาดกลาง
สวนไม้เศรษฐกิจขนาดกลาง คือ สวนไม้ที่มีขนาดพื้นที่ตั้งแต่ 50-200 ไร่ การจัดแปลงปลูกในสวน
ไม้เศรษฐกจิ ขนาดกลางนัน้ ควรดำเนินการตดั ถนนล้อมรอบแปลงปลูกทั้งหมดเพื่อใหส้ ะดวกแก่การเข้าถึงใน
ทุกบรเิ วณ สรา้ งระบบการระบายน้ำของพน้ื ท่ใี ห้ทวั่ ถึงทัง้ พนื้ ทแ่ี ปลง
3) การเตรียมพน้ื ท่สี ำหรบั สวนไม้เศรษฐกจิ ขนาดใหญ่
สวนไม้เศรษฐกิจขนาดใหญ่ คือ สวนไม้ที่มีขนาดพื้นที่ 200 ไร่ขึ้นไป การจัดแปลงปลูกในสวนไม้
เศรษฐกิจขนาดใหญน่ ้ันควรดำเนินการตัดถนนล้อมรอบแปลงปลกู ท้งั หมด เพ่ือให้สะดวกแกก่ ารเข้าถึงในทุก
บริเวณ สร้างระบบการระบายน้ำของพื้นที่ให้ท่ัวถึงทั้งพื้นที่แปลงเช่นเดียวกับแปลงปลูกสวนไม้ขนาดกลาง
แต่ที่แตกต่างจากแปลงปลูกขนาดอื่น ๆ คือ ควรจะจัดการปลูกไมใ้ หม้ ีความแตกต่างของอายุกระจายไปทว่ั
ทั้งพื้นท่ี เพ่ือให้งา่ ยต่อการทำกิจกรรมทางวนวัฒน์ในทุก ๆ ปี
6.3.4 การกำจดั วชั พชื
การกำจัดวัชพืชเป็นการบำรุงดูแลต้นไมท้ ีส่ ำคัญยิ่งในชว่ งแรกหลังจากการเริม่ ปลูก โดยเฉพาะการ
ปลกู สรา้ งสวนป่าในเขตร้อนที่วชั พชื ในกลุ่มหญา้ มีการเตบิ โตอย่างรวดเร็ว การกำจัดวชั พชื มีผลต่อการตั้งตัว
ของกล้าไม้ในระยะแรกและการเจรญิ เติบโตของตน้ ไมเ้ ป็นอยา่ งมาก มงี านศึกษาวจิ ยั อยู่มาก ซึง่ สรุปได้ว่าใน
การปลูกสร้างสวนป่า ค่าใช้จ่ายในการดูแลสวนป่าในช่วงแรกนี้มักจะถูกใช้เพื่อการกำจัดวัชพืชเป็นหลัก
106 I ลักษณะทางนเิ วศวทิ ยาและวนวฒั นวทิ ยาของพรรณไม้ และการประเมนิ สภาพพ้นื ท่ีทเ่ี หมาะสม
ฉะนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่เกษตรกรต้องเข้าใจ สามารถวางแผนและเลือกวิธีการกำจัดวัชพืชให้เหมาะสมกับ
สภาพสวนป่าของตนเอง ซ่ึงวิธกี ำจัดวัชพืชโดยทวั่ ไปมีอยู่ 3 วธิ ี คอื
1) การกำจดั วชั พชื โดยวธิ ีกล
ทำได้โดยใช้คนงานถางวัชพืช ดายหญ้า หรือใช้เครื่องจักรกลไถพรวนกำจัดวัชพืชให้หมดไป วิธีน้ี
ควรดำเนนิ การปลี ะ 2-3 ครง้ั
2) การกำจัดวัชพืชโดยวธิ ีชีวภาพ
เป็นการกำจัดวัชพืชโดยใชส้ ิ่งมีชีวติ ที่เป็นพืช สัตว์ หรือเชื้อโรคต่าง ๆ มาเป็นตัวควบคุมและกำจัด
วัชพืช เชน่ การปลูกพืชคลุมดิน เพื่อป้องกันและกำจดั หญ้าคา หรอื การเลี้ยงวัวในสวนป่า เพื่อให้วัวช่วยกิน
หญา้ คาให้หมดไป เป็นต้น
3) การกำจดั วชั พืชโดยใชส้ ารเคมี
เป็นการใช้ยาและสารเคมีป้องกนั กำจัดวัชพชื ในสวนป่า ซึ่งส่วนมากจะใช้วิธนี ี้กับวัชพืชทีก่ ำจดั โดย
วิธีอน่ื ไดย้ าก และเป็นวัชพืชทีร่ ะบาดรนุ แรง เชน่ หญ้าคา
รปู แบบการกำจัดวชั พืชทีเ่ หมาะสมกับการปลูกสวนไม้เศรษฐกิจในปีท่ี 1 ถึง 3 นนั้ ควรกระทำด้วย
การใชเ้ ครอ่ื งจักรกลขนาดเล็กไถพรวนระหว่างร่องแถว รว่ มกับใช้แรงงานคนกำจัดวชั พืชท่ีอยู่ระหว่างต้นไม้
เป็นวธิ กี ารท่ีทำได้งา่ ย ประหยัดคา่ ใช้จ่าย และทำไดอ้ ยา่ งรวดเรว็ รวมท้ังเกดิ ผลกระทบตอ่ ตน้ ไม้และสวนป่า
น้อยกว่าวธิ ีอ่นื ๆ เม่อื ไม้มีอายมุ ากขน้ึ แล้วควรทำเฉพาะการทำความสะอาดสวนกเ็ ป็นการเพยี งพอ
6.3.5 การใสป่ ุ๋ย
เป็นวนวัฒนวิธีที่ต้องพิจารณาร่วมกับปัจจัยอ่ืน ๆ และอาจจำเป็นต้องมีการศึกษาทดลองในพื้นที่
สวนป่าของตนเองรว่ มกนั ไปดว้ ย เพราะจากรายงานการศึกษาผลของการใส่ป๋ยุ ต่อการเติบโตของไม้น้ันมีผล
ที่แตกต่างกันมาก กล่าวโดยสรุปถ้าพื้นที่สวนป่ามีสภาพดินที่อุดมสมบูรณ์ด้วยธาตุอาหารพืชอยู่ การใส่ปุ๋ย
อาจไม่มีผลในการเพิ่มการเจริญเติบโตของต้นไม้ได้ แต่ในพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ำ อาจ
จำเป็นต้องใส่ปุ๋ยเพื่อเพิ่มปริมาณธาตุอาหารให้กับต้นไม้ในสวนป่า หรือในช่วงการเจรญิ เติบโตของต้นไม้ใน
ระยะแรกหลังการปลูกท่ีรากของต้นไม้ยังไมส่ ามารถหาอาหารได้ดี อาจต้องมกี ารใสป่ ุ๋ยเพ่ิมเตมิ ลงไป การใส่
ปุ๋ยให้กับต้นไม้นั้นมีความแตกต่างไปจากการใส่ปุ๋ยในการปลูกพืชเกษตรอื่น ๆ ฉะนั้นจำเป็นต้องแนะนำ
เกษตรกรผู้ปลูกสวนไม้เศรษฐกิจให้เลือกใช้ชนิดปุ๋ยที่ตรงความต้องการของต้นไม้ และมีกรรมวิธีการใส่ท่ี
ถูกตอ้ งควบคู่ไป
6.3.6 การจัดการกับเศษเหลอื วัชพืชบนพ้นื ป่า
สวนป่าที่มีการจัดการที่ดีจะนำเศษเหลือวัชพืชที่เกิดขึ้นในพื้นสวนป่ามาใช้ให้เกิดประโยชน์ โดย
รูปแบบการจดั การท่ีพบเห็น คอื นำมาเป็นปุย๋ ธรรมชาติให้กบั ไมเ้ ศรษฐกิจทีป่ ลูก ให้เศษพืชเหล่านั้นป้องกัน
ความร้อนจากแสงอาทิตย์ และค่อย ๆ สลายตัวลงไปในดินต่อไป ซึ่งสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายเนื่องจาก
ไมต่ อ้ งเสียคา่ ใช้จ่ายในการขนยา้ ยเศษเหลือวชั พืช และยงั ถือเป็นการปรับปรงุ คุณภาพของดินอีกทางหนงึ่
คู่มือการประเมินมลู ค่าตน้ ไม้ I 107
6.3.7 การลิดกงิ่
การลิดก่งิ จดั ได้วา่ มผี ลอย่างย่ิงต่อการเพ่ิมผลผลิตของไม้เศรษฐกิจที่จะได้ในอนาคต เน่ืองจากการ
ลิดกิ่ง คือ การกำจัดกิ่งไม้ทีไ่ ม่ตอ้ งการ โดยเฉพาะกิ่งที่อยู่ตอนลา่ งออกไป เพื่อให้ต้นไม้ปราศจากตำหนิ อัน
เกิดจากปุ่ม หรือ ตา ช่วยให้ต้นไม้มีคุณภาพดี การลิดกิ่งควรกระทำตั้งแต่ไม้อายุน้อย ๆ และทำอย่าง
สม่ำเสมอตอ่ เนือ่ ง
จากการสำรวจเกษตรกรผู้ปลูกสวนป่าในปัจจบุ ัน พบว่า เกษตรกรที่ปลูกสวนป่าไมเ้ ศรษฐกิจขนาด
ใหญ่จะมีการจัดการในเรื่องของการลิดกิ่งเป็นอย่างดีและสม่ำเสมอ เนื่องจากมีทุนในการจ้างแรงงาน และ
เกษตรกรรายใหญ่จะคำนึงถึงผลผลิตที่จะได้ในอนาคตเป็นสำคัญ ส่วนเกษตรกรที่ปลูกสวนป่าไม้เศรษฐกิจ
ขนาดกลางและขนาดเล็ก เกษตรกรขาดเงินในการลงทุนและความรู้ในการจัดการจึงทำให้การลิดกิ่งเป็นไป
อยา่ งไมส่ ม่ำเสมอ สง่ ผลใหผ้ ลผลิตท่เี กิดข้ึนมปี ระสิทธภิ าพไมเ่ ตม็ ท่ี
6.3.8 การตัดขยายระยะ
การตัดขยายระยะ คือ การเลอื กตัดไม้ที่ผา่ นวัยรุน่ ไปแล้วและขนึ้ อยหู่ นาแน่นออก เพ่ือช่วยให้ต้นไม้
ที่เหลือมีโอกาสเจริญเติบโตเร็วขึ้น ทำให้มีรอบตัดฟันสั้นลง ได้ต้นไม้มีคุณภาพดี และมีรายได้จากการตัด
ขยายระยะตน้ ไมท้ ่ีตดั ออกมาใช้ประโยชน์
จากการศึกษาเก็บข้อมูลเกษตรกรปลูกสวนป่า พบว่า เกษตรกรที่ปลูกสวนป่าไม้เศรษฐกิจจะมี
ระยะปลูกที่แตกต่างกัน โดยส่วนใหญ่จะปลูกระยะ 2 x 4 เมตร เมื่อไม้เศรษฐกิจที่ปลูกมีขนาดที่ใกล้เคียง
กับความต้องการ มีตลาดไม้รองรับ ที่สำคัญคือ มีวัตถุประสงค์ที่จะนำไปใช้ เกษตรกรก็จะทำการตัดขยาย
ระยะ เพื่อให้ไม้ที่เหลืออยู่มีการเจริญเติบโตที่เพิ่มสูงขึ้นและมีคุณภาพดีไปพร้อมกัน อุปสรรคที่สำคัญที่ทำ
ให้เกษตรกรไม่ตัดขยายระยะ คือ มองไม่เห็นว่าจะนำไม้ที่ตัดแล้วไปใช้ประโยชน์อะไร มีแนวคิดที่ยึดต้ังแต่
เริ่มปลูกว่าจะต้องตัดเมื่อไม้นั้นโตพอที่จะขายเป็นไม้ท่อนได้เท่านั้น อาทิ ไม้สัก ไม้ยูคาลิปตัส เป็นต้น การ
ปลูกต้นไม้เพื่อผลิตไม้ท่อนแปรรูปใช้ในอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ต้องเป็นไม้ที่ได้ขนาด ตามต้องการของ
อุตสาหกรรม การตัดขยายระยะจึงเป็นวนวัฒนวิธีที่สำคัญในการช่วยให้ต้นไม้เติบโตเต็มที่และได้ขนาด
ตามทตี่ ลาดไมต้ อ้ งการ
6.3.9 การป้องกนั โรคและแมลง
การปลูกพันธุ์ไม้เพียงชนิดเดียวนั้น มีสภาพที่เหมาะสมจะก่อให้เกิดการระบาดของแมลงศัตรูพืช
ทำความเสียหายแก่ต้นไม้ในสวนป่าอย่างรุนแรง ซึ่งเป็นสิ่งที่เกษตรกรปลูกสวนป่าไม่อยากจ ะให้เกิดข้ึน
การดำเนินการในการควบคุมการเกิดโรค แมลง คือ การตรวจตรา เฝ้าระวัง ปรับสภาพของสวนไม้ให้อย่ใู น
สภาพทีไ่ ม่เออื้ ต่อการเกิดโรคแมลง ด้วยการรักษาความสะอาดสวนไม้อยู่สม่ำเสมอ ไมท่ ำใหส้ ภาพสวนไม้ช้ืน
หรือแห้งจนเกินไป ทำลายต้นไม้ที่เกิดโรคหรือได้รับความเสียหายจากแมลงโดยเร็ว เพื่อป้องกันการระบาด
แต่ถ้ามีการระบาดเกิดขึ้นให้ดำเนินการแกไ้ ขด้วยการควบคุมดว้ ยวิธกี ารต่าง ๆ ทัง้ การใชว้ ิธีการทำลายต้นไม้
ทเ่ี กดิ โรคขนึ้ มา การทำลายตัวเชอื้ โรค หรือแมลงท่รี ะบาด ดว้ ยกำลังคน หรือถา้ ระบาดรุนแรงควรจะปรึกษา
นกั วชิ าการป่าไมแ้ ละใช้การควบคมุ ด้วยสารเคมี
108 I ลกั ษณะทางนเิ วศวิทยาและวนวัฒนวทิ ยาของพรรณไม้ และการประเมนิ สภาพพ้ืนที่ทเ่ี หมาะสม
6.3.10 การปอ้ งกนั ไฟ
ไฟเปน็ ปจั จัยสำคัญต่อการตายและการพฒั นาของไม้ในสวนป่าโดยเฉพาะในสวนไม้ที่ยงั มีขนาดเล็ก
แม้ว่าไม้ทปี่ ลูกบางชนดิ เช่น สัก ประดู่ จะมคี วามสามารถในการทนทานตอ่ ไฟได้แตเ่ มื่อยงั มีขนาดเล็กต้นไม้
เหล่านี้ก็ต้องการการป้องกันไฟด้วยเช่นกัน การจัดการไฟโดยทั่วไปประกอบด้วยมาตรการสำคัญคือ
มาตรการป้องกัน มาตรการควบคุม โดยมาตรการป้องกันมีความสำคัญอย่างยิ่งซึ่งสามารถกระทำได้หลาย
วิธี เช่นการจัดทำแนวกันไฟโดยรอบแปลงที่ปลูก และการวางแผนการจัดการเชื้อเพลิงด้วยการชิงเผาตาม
หลักวิชาการเพื่อลดปริมาณเชื้อเพลิงและลดความเสี่ยงต่อการเกิดไฟไหม้ ส่วนมาตรการการควบคุมไฟ
เจ้าของสวนป่าควรจะมีการจัดหาเครื่องมืออุปกรณ์การควบคุมไฟ เตรียมความพร้อมของกำลังคนรวมท้ัง
จัดทำแผนทีแ่ สดงจดุ เส่ยี งตอ่ การเกดิ ไฟไหม้ไว้ใหพ้ ร้อมเพ่อื เตรียมรบั กบั สถานการณ์ไฟไหม้ในช่วงฤดูแลง้
6.3.11 การติดตามการเตบิ โตของตน้ ไม้
การติดตามการเติบโตของต้นไม้ที่ปลูกเป็นวนวัฒนวิธีที่สำคัญมากในการจัดการสวนไม้เศรษฐกิจ
เพราะข้อมลู การเติบโตของไม้ในแตล่ ะช่วงอายุจะใชเ้ ป็นเคร่ืองมือในการตดั สินใจว่าจะเลือกใช้วนวัฒนวิธีใด
ในการดูแล ปรับปรุงให้ไม้ในสวนมีการพัฒนาไปตามที่ต้องการ เช่น ถ้าการเติบโตของต้นไม้เริ่มมีอัตราท่ี
ลดลง อาจจำเป็นต้องทำการตัดขยายระยะให้เร็วขึ้น หรืออาจต้องปรับปรุงดินด้วยการใส่ปุ๋ย เป็นต้น
นอกจากนี้การติดตามการเติบโตยังช่วยให้ทราบถึงความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ หรือใช้เป็นข้อมูลในการ
ตัดสินใจตัดฟันไม้ในรอบสุดท้ายได้ สวนไม้ที่ปลูกในโครงการฯ นี้ควรทำการติดตามวัดการเติบโตทุก ๆ ปี
ซึ่งอาจดำเนินการโดยนักวิชาการส่วนกลางหรือเจ้าของสวนไม้เศรษฐกิจทำการวัดแล้วนำมาขอคำแนะนำ
จากนกั วิชาการปา่ ไม้ก็ได้
6.3.12 การตัดฟนั เก็บเกี่ยวผลผลิต และการปลกู ทดแทน
การเก็บเกี่ยวผลผลิตควรดำเนินการตามที่วางแผนรูปแบบการจัดการท่ีกำหนดไว้ โดยตรวจสอบ
ปริมาณผลผลิตที่ได้ในขณะนั้น ว่าเป็นไปตามแผนของรูปแบบการจัดการหรือไม่ ถ้าเป็นไปตามแผน
กส็ ามารถตดั ฟนั เพ่ือเกบ็ เกี่ยวผลผลติ ตามกำหนดได้ แต่หากไมเ่ ป็นไปตามแผนก็ใหห้ าวธิ กี ารแก้ไขซึ่งอาจจะ
ใช้วนวัฒนวิธีอื่น ๆ หรือขยายระยะเวลาการตัดฟันออกไป เมื่อทำการตัดฟันเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วให้เร่ิม
ดำเนินการเตรียมพื้นที่เพื่อการปลูกในรอบตัดฟันใหม่ได้ทันที โดยแผนการจัดการสวนไม้เศรษฐกิจอาจ
ปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสม โดยอ้างอิงตามข้อมูลการเติบโตในรอบฟันตัดก่อนหน้า ซึ่งจะทำให้ได้
แผนการจดั การสวนไม้เศรษฐกิจในระดับทอ้ งถน่ิ ที่มีประสทิ ธิภาพมากย่ิงขึ้นไปเร่ือย ๆ
6.4 ชนดิ ไม้ทีน่ ิยมปลกู ในประเทศไทย
ในการพิจารณาและตัดสินใจปลูก สามารถใช้ข้อมูลพรรณไม้เพื่อประกอบการตัดสินใจได้ โดย
สามารถแยกกลมุ่ พรรณไม้ตามลักษณะการเติบโตภายใตส้ ภาพแวดล้อมท่ีเหมาะสมของไม้แต่ละชนิดออกได้
เปน็ 5 กลมุ่ พิจารณาเมื่อตน้ ไมม้ อี ายแุ ละโตได้ขนาดเส้นรอบวงท่รี ะดบั อก 100 เซนติเมตร หรือมขี นาดเส้น
ผ่านศนู ยก์ ลาง 30 เซนติเมตร ซง่ึ เปน็ ขนาดจำกดั ทีเ่ ริ่มนำไปใช้ประโยชนไ์ ด้ ดังน้ี
คูม่ อื การประเมนิ มูลคา่ ตน้ ไม้ I 109
1) ไมโ้ ตเรว็ มาก คอื ไม้ท่ีใช้เวลาในการเติบโตจนถงึ ขนาดท่กี ำหนดเม่ืออายุ 5-10 ปี โดยมีอัตราการ
เติบโตทางเส้นรอบวงมากกว่า 5 เซนติเมตรต่อปี หรือมีเส้นผ่านศูนย์กลางเพิ่มขึ้นมากกว่าปีละ 1.5
เซนตเิ มตร เช่น สะเดาเทียม ตะกู เลยี่ น กระถินณรงค์ กระถินเทพา ยคู าลิปตัส คามาลดเู ลนซิส
2) ไม้โตเร็ว คือ ไม้ที่ใช้เวลาในการเติบโตจนถึงขนาดที่กำหนดประมาณ 10-15 ปี โดยมีอัตราการ
เติบโตทางเส้นรอบวงปลี ะประมาณ 5 เซนติเมตร หรือมเี สน้ ผ่านศนู ยก์ ลางของลำต้นท่รี ะดับอกเพ่ิมขึ้นปีละ
1.5 เซนติเมตร ได้แก่ สะเดา ข้ีเหล็ก ถ่อน สีเสยี ดแกน่ โกงกาง สนทะเล สนประดพิ ทั ธ์
3) ไม้โตเร็วปกติ คือ ไม้ที่ใช้เวลาในการเติบโตจนถึงขนาดที่เริ่มใช้ประโยชน์ได้เมื่ออายุ 15-20 ปี
โดยมีอัตราการเติบโตทางเส้นรอบวง 2.5-4 เซนติเมตรต่อปี หรือมีเส้นผ่านศูนย์กลางเพิ่มขึ้น 0.8-1.2
เซนติเมตรต่อปี ไดแ้ ก่ สกั สนสองใบ สนสามใบ สนคาริเบีย
4) ไม้โตค่อนข้างช้า คือ ไม้ที่ใช้เวลาในการเติบโตจนถึงขนาดจำกัดต่ำสุดที่เริ่มใช้ประโยชน์ได้
(เส้นรอบวงของลำตน้ ที่ระดับอก 130 เซนติเมตร) เมื่ออายุ 20-25 ปี โดยมีอัตราการเติบโตทางเส้นรอบวง
1.0-2.5 เซนติเมตรต่อปี หรือมีอัตราการเติบโตทางเสน้ ผา่ นศนู ย์กลาง 0.3-0.8 เซนตเิ มตรตอ่ ปี ได้แก่ ประดู่
ยางนา แดง หลุมพอ
5) ไมโ้ ตชา้ ได้แก่ ไมท้ ีม่ ีอายุตัดฟนั 25-30 ปี จงึ จะโตได้ขนาดจำกัดท่ีสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
โดยมีอัตราการเติบโตทางเส้นรอบวงน้อยกว่า 1 เซนติเมตรต่อปี หรือมีเส้นผ่านศูนย์กลางเพิ่มขึ้นน้อยกว่า
0.3 เซนติเมตรตอ่ ปี เชน่ ตะเคียนทอง พะยูง ชงิ ชนั มะค่าโมง เต็ง รัง
สำหรับชนดิ ไม้ท่มี ีการปลูกมากในประเทศไทย มรี ายละเอยี ดดังน้ี
6.4.1 กระถนิ เทพา (Acacia mangium)
1) ลกั ษณะทั่วไป
กระถินเทพาเป็นไม้วงศ์ถั่วชนิดหนึ่ง สามารถสูงได้ถึง 30 เมตร มีถิ่นกำเนิดตามธรรมชาติในรัฐ
ควีนสแลนด์ ประเทศออสเตรเลีย ทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือของปาปัวนิวกินี และอินโดนีเซียด้าน
ตะวนั ออก ปจั จยั ทีม่ ีผลตอ่ การเตบิ โตของไมก้ ระถนิ เทพา ไดแ้ ก่ 1) อณุ หภูมิ กระถินเทพาจะข้ึนในบริเวณที่
มีอากาศร้อนชื้น อุณหภูมิ 31-34 องศาเซลเซียส ส่วนอากาศเย็นจะมีอุณหภูมิระหว่าง 15-22 องศา
เซลเซียส กระถนิ เทพาจะไม่ขน้ึ ในบริเวณทม่ี ีอุณหภูมิ 38 องศาเซลเซียส และต่ำถึงจุดน้ำค้างแข็ง 2) น้ำฝน
กระถินเทพาชอบขึ้นในที่ชุ่มชื้น ความแห้งแล้งจะทำให้การเติบโตลดลงมาก 3) การทนร่ม กระถินเทพาจะ
เติบโตได้ดีที่สุดเมื่อได้รับแสงเต็มที่ และ 4) ค่าความเป็นกรด-ด่าง กระถินเทพาขึ้นได้ดีในดินที่มีสภาพเป็น
กรดมาก (pH 4.2) (ภาพที่ 6.5)
2) การขยายพนั ธ์ุและการผลิตกลา้ ไม้
การขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด เริ่มโดยการนำเมล็ดแช่ในน้ำร้อนเป็นเวลา 30 วินาที เทน้ำร้อน
ออกแล้วใส่น้ำเย็นลงไปแทนและแช่ไว้ข้ามคืน เมล็ดที่ผ่านกระบวนการนี้หลังจากผึ่งจนแห้งก็สามารถ
นำไปใช้หว่านลงแปลงแล้วกลบด้วยทรายละเอียดหรือดินอัตราส่วน 1 ต่อ 1 โดยปริมาตร เมล็ดจะงอก
หลงั จากเพาะ 3-8 วัน หลังจากทเ่ี ร่มิ มใี บคู่แรกจึงค่อยยา้ ยชำ
110 I ลกั ษณะทางนิเวศวิทยาและวนวัฒนวทิ ยาของพรรณไม้ และการประเมนิ สภาพพ้นื ท่ีทีเ่ หมาะสม
3) การเตรียมพน้ื ที่สำหรบั ปลูก
กระถินเทพาเป็นพืชที่มีความต้องการแสงแดด พื้นที่ปลูกจึงควรเป็นที่โล่งแจ้ง หากพื้นที่มีวัชพืช
มากควรมีการเตรียมดินให้ดีเป็นพิเศษเพื่อลดปัญหาเรื่องกำจัดวัชพืชให้น้อยลง เพราะกระถินเทพามี
คณุ สมบัตเิ ตบิ โตช้าในระยะแรก
4) การปลูกและการบำรุงรกั ษา
ก่อนย้ายต้นกล้าไปแปลงปลูก ต้องตัดแต่งรากที่งอกออกมานอกถุงเพาะชำและรดน้ำให้ชุ่มก่อนย้าย
ปลูก โดยทัว่ ไปควรทำการปลูกตน้ ฤดูฝนเพ่ือการเจรญิ เติบโตได้ยาวนานเพียงพอ ใน 1 - 2 ปีแรกตอ้ งมีการดูแล
รกั ษาทด่ี ี อัตราการรอดตายจะสงู สำหรับระยะปลูกไม้โตเรว็ โดยท่ัวไปนิยมใช้ระยะ 2 x 2 เมตร ทั้งนี้ข้ึนอยู่กับ
วตั ถุประสงคแ์ ละปัจจยั สิ่งแวดล้อมต่าง ๆ เช่น ความอุดมสมบรู ณ์ของดิน เงินลงทนุ การใชป้ ระโยชน์และความ
สะดวกในการทำงาน ส่วนการบำรุงรักษา ไดแ้ ก่ การปลกู ซ่อม และกำจดั วชั พชื ปีละ 2 ครัง้
5) การเติบโต
ผลการศึกษาในรัฐซาบาห์ ประเทศมาเลเซีย ภายใต้สภาวะที่เหมาะสม กระถินเทพาเติบโตเร็วมาก
ในชว่ งอายุ 10 - 13 ปี มีความสงู ได้มากถึง 20 - 25 เมตร และความโตทางเส้นผ่านศนู ย์กลาง 20-30 เซนตเิ มตร
6) การใชป้ ระโยชน์
ไม้กระถินเทพาไสและขัดให้เรียบได้ง่ายจะเป็นมันเงาลื่นไม่มีรอยเสี้ยน เจาะได้ง่าย เหมาะสำหรับ
ทำเครื่องเรือน วงกบประตู หน้าต่าง ใช้ในการก่อสร้างที่ไม่ต้องรับน้ำหนักมาก ๆ เส้นใยนำมาทำเยื่อ
กระดาษได้ดี
กข
ค ง
ภาพที่ 6.5 ลักษณะของตน้ กระถนิ เทพา ก) ลำตน้ ข) ใบ ค) ดอก และ ง) ผล
คูม่ ือการประเมินมูลคา่ ตน้ ไม้ I 111
6.4.2 แดง (Xylia xylocarpa)
1) ลักษณะทวั่ ไป
แดง เป็นไม้ผลัดใบขนาดกลางถึงใหญ่ สูงประมาณ 20-30 เมตร และมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง
ประมาณ 30-120 เซนติเมตร เป็นไม้โตช้าที่มีค่าทางเศรษฐกิจชนิดหนึ่งของประเทศไทย ชื่อเรียกทางการ
ค้า คือ “Iron wood” พบได้ในประเทศลาว พม่า กัมพูชา เวียดนาม และอินเดีย ในประเทศไทยพบ
กระจายทางภาคเหนือ ภาคกลาง และพบได้มากในภาคตะวนั ออกเฉียงเหนือ ท้ังในป่าเบญจพรรณ และป่า
เตง็ รัง ไม้แดงเจรญิ เติบโตได้ดีในพ้ืนทคี่ ่อนขา้ งแห้งแล้ง อณุ หภมู สิ งู 38-39 องศาเซลเซียส ดินร่วนปนทราย
ที่มหี นา้ ดนิ ตน้ื มคี วามช้ืน และมีการระบายนำ้ ไดด้ ี (ภาพที่ 6.6)
2) การขยายพันธุแ์ ละการผลิตกลา้ ไม้
ขยายพนั ธ์ไุ ม้แดงด้วยการเพาะเมล็ด ซ่ึงเมลด็ ท่ีจะนำมาเพาะควรแกส่ มบูรณ์เต็มท่ี ต้องนำเมล็ดแช่
ในนำ้ เดือด 1-3 วินาที จะช่วยเรง่ ให้เมลด็ งอกเร็วขน้ึ ประมาณ 5-10 วัน ทำการเพาะเมล็ดโดยการหว่านลง
กระบะเพาะ ซึง่ ทรายเปน็ วัสดุที่เหมาะสำหรบั เพาะเมล็ดแดง หว่านใหเ้ มลด็ กระจายท่วั ๆ กนั แล้วกลบด้วย
ทรายหรือขุยมะพร้าวบางๆ และอาจคลุมด้วยฟางอีกชั้นหนึ่งเพื่อรักษาความชื้นในดิน เมื่อเมล็ดโผล่พ้น
ทรายแล้ว จึงยา้ ยชำลงในถงุ ใหไ้ ดร้ บั แสงประมาณรอ้ ยละ 50-70 และรดนำ้ เช้าเย็น
3) การเตรยี มพ้ืนทส่ี ำหรบั ปลูก
ต้องเป็นพื้นที่สูงไม่เกิน 600 เมตรจากระดับน้ำทะเล ไม่มีน้ำขัง ก่อนจะทำการปลูกต้องเก็บริบสุม
เผาเศษกง่ิ ไมแ้ ละวชั พืชในแปลง หากมรี ถแทรกเตอร์ควรไถพรวนพน้ื ท่ี เพราะจะช่วยให้ดนิ ร่วนซยุ เหมาะแก่
การเจริญเติบโตของกล้าไม้แดง ขุดหลุมปลูกให้ลึกและกว้างเพื่อการระบายน้ำได้ดี รวมถึงการใส่ปุ๋ยหมัก
หรือปุ๋ยวิทยาศาสตร์รองที่ก้นหลุมก่อน จะช่วยให้กล้าไม้เจริญเติบโตได้ดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะพื้นที่ที่ดินมีธาตุ
อาหารน้อย
4) การปลกู และการบำรุงรักษา
ก่อนจะทำการปลูกประมาณ 1 เดือน ควรย้ายกล้าไม้แดงไปในพื้นที่โล่งแจ้ง ให้กล้าไม้ได้รับแสง
เต็มที่ เป็นการทำให้กล้าไม้มีความแข็งแรงก่อนย้ายปลูก ระยะปลูกที่เหมาะสมนั้นก็ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์
ของการปลูกและลักษณะการแข่งขันของพืชในพื้นท่ี สามารถปลูกไม้แดงคู่กับไม้อื่นได้ เพราะเศษซากท่ีร่วง
หล่นไม่เป็นพิษ และเป็นพืชตระกูลถั่ว ในช่วง 3 ปีแรกที่ปลูกไม้แดง ต้องดูแลรักษาเป็นอย่างดี ไม่ให้วัชพชื
ปกคลุมกล้าไม้ ดายวัชพชื อย่างนอ้ ยปลี ะ 3 ครัง้
5) การเติบโต
แดงเป็นไม้ที่มีการเติบโตดีมากถ้าขึ้นในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม เช่น มีปริมาณน้ำฝนเพียงพอ
แตถ่ า้ ขึน้ ในสภาพแวดล้อมที่ไมเ่ หมาะสม การเจรญิ เตบิ โตจะช้าลง
6) การใชป้ ระโยชน์
เนื้อไม้ค่อนข้างแข็งแรง ทนทานต่อการกระแทกสูง เหมาะกับการใช้ในงานก่อสร้าง เช่น ใช้ทำเสา
คาน ไมพ้ น้ื ใช้ทำเคร่ืองเรือน เรือ ไมห้ มอนรถไฟ สะพาน เคร่ืองมอื ทางการเกษตร เป็นต้น
112 I ลักษณะทางนิเวศวทิ ยาและวนวฒั นวทิ ยาของพรรณไม้ และการประเมนิ สภาพพืน้ ท่ีทเี่ หมาะสม
ข
กค
ภาพท่ี 6.6 ลักษณะของต้นแดง ก) ดอก ข) ฝัก และ ค) เมล็ด
6.4.3 ตะเคียนทอง (Hopea odorata)
1) ลักษณะทั่วไป
ตะเคียนทองเป็นไม้ขนาดใหญ่ ไม่ผลัดใบ สูง 20-40 เมตร มีถิ่นกำเนิดในป่าดิบแล้งและป่าเต็งรัง
ทางภาคเหนอื และภาคตะวันออกเฉยี งเหนือของประเทศไทย ข้นึ ไดด้ ีบนพืน้ ทคี่ ่อนขา้ งราบใกลร้ มิ น้ำ ถือเป็น
ไม้ท่ีสำคญั ทางเศรษฐกจิ และเป็นไม้เด่นของป่าดิบชน้ื มีการกระจายพนั ธ์ุตามธรรมชาติทางตอนใต้ของทวีป
เอเชยี ในแถบประเทศไทย พมา่ ลาว เวียดนาม กัมพชู า และมาเลเซยี ตะเคยี นทองเป็นไม้ท่ีชอบแสง โตได้
ดใี นบรเิ วณท่ีเปน็ ดินรว่ นปนทรายท่ีมคี วามอดุ มสมบูรณแ์ ละระบายนำ้ ไดด้ ี (ภาพที่ 6.7)
2) การขยายพนั ธ์แุ ละการผลิตกล้าไม้
มีการผลิตกล้าจากการเพาะเมล็ด ซึ่งเมล็ดตะเคียนทองจัดเป็นพวกที่สูญเสียการงอกไว
(recalcitrant seed) กลา้ ไม้ตะเคยี นทองท่ีเหมาะต่อการนำไปปลูกควรเปน็ กลา้ ท่ีค้างปี เพราะกล้าจะแกร่ง
และมีการรอดตายสูง
3) การเตรยี มพื้นทส่ี ำหรบั ปลูก
ทำการเตรียมพื้นท่ีโดยการ เก็บริบ เผาริบ ก่อนที่จะทำการปลกู โดยกล้าที่จะนำมาปลูกต้องทำให้
แกรง่ เสียก่อน โดยนำออกไปรบั แสงเตม็ ท่ปี ระมาณ 1-2 สัปดาห์ แลว้ ย้ายปลูกหลงั จากฝนตก ทง้ั น้คี วรนำถัง
ใส่นำ้ เข้าไปในพ้ืนท่ปี ลูก จากนัน้ นำกล้าตะเคียนทองจุ่มลงในถงั น้ำ เพ่อื ใหร้ ากดูดซับน้ำไว้จนอ่ิมตัว ก่อนจะ
นำลงปลูก วิธีการนี้จะช่วยให้กล้าตะเคียนทองรอดตายสูงขึ้นในกรณีที่ฝนทิ้งช่วง ควรปลูกตะเคียนทอง
ร่วมกับไม้โตเร็วตระกูลถั่ว ซึ่งจะสามารถตรึงไนโตรเจน ช่วยให้ตะเคียนทองเติบโตได้ดีขึ้น โดยในระยะแรก
ค่มู อื การประเมินมูลค่าตน้ ไม้ I 113
ต้องบำรุงรักษาไม้ตะเคียนทอง เพื่อให้สามารถตั้งตัวได้ ควรมีการใส่ปุ๋ย โดยเฉพาะปุ๋ยไนโตรเจนและ
ฟอสฟอรัส พรอ้ มกับใหไ้ ด้รบั แสงเต็มท่ี
ข
กค
ภาพที่ 6.7 ลักษณะของต้นตะเคยี นทอง ก) ต้น ข) ดอก และ ค) ผล
4) การปลกู และการบำรุงรกั ษา
ไม้ตะเคียนทองมีการเติบโตที่ค่อนข้างช้า อัตราการรอดตายของไม้ตะเคียนทองที่ปลูกร่วมกับ
กระถินยักษ์ที่มีระยะปลูก 2x2, 2x3 เมตร และในพื้นที่โล่ง พบว่า เมื่อเวลาผ่านไป 1 ปี ไม้ตะเคียนทองท่ี
ระยะปลูก 2x2 เมตร มีอัตราการรอดตายสูงที่สุด รองลงมาคือ ระยะปลูก 2x3 เมตร และพื้นที่โล่ง อัตรา
การรอดตายมีค่าเท่ากับ ร้อยละ 50, 40 และ 30 ตามลำดับ ทั้งนี้การปลกู ไม้ตะเคียนทองภายใต้เรือนยอด
ของไมโ้ ตเร็วท่ีมีระยะปลูกหา่ งจะช่วยให้ไมต้ ะเคยี นทองมีการเติบโตทีด่ ี
5) การเติบโต
เนือ้ ไม้ใชแ้ ปรรูปในงานกอ่ สรา้ ง โครงสรา้ งทใี่ ช้รับนำ้ หนัก บา้ นเรือน สะพาน หมอนรถไฟ ตวั ถังเรือ
เคร่ืองเรอื น และส่งิ ปลูกสรา้ งท่ีต้องการความแข็งแรงทนทาน นอกจากน้ี ตะเคยี นทองยังมีช่ือทางการค้าว่า
“Rock Dammar” กอ้ นยางนี้จะพบตามลำต้น หรือบริเวณทเี่ จาะเอายาง มีสีเหลือง มกี ลิ่นเลก็ นอ้ ย เมื่อถูก
อากาศจบั ตัวจะเป็นก้อนแข็งกลม ๆ รอยแตกจะเปน็ มนั วาว สามารถละลายได้ในนำ้ มันสนหรือแอลกอฮอล์
ใช้เป็นน้ำมันชักเงาตบแต่งเครื่องใช้ในร่ม ใช้ผสมกับวัสดุอื่น ๆ เช่น ใช้ทาเคลือบเรือเพื่อรักษาเนื้อไม้และ
ป้องกันเพรียงทำลาย และยางไม้ตะเคียนเมื่อนำมาบดเป็นผง สามารถใช้เป็นยารักษาบรรเทาอาการ
เจบ็ ปวดได้
114 I ลกั ษณะทางนิเวศวิทยาและวนวฒั นวิทยาของพรรณไม้ และการประเมินสภาพพน้ื ท่ีท่เี หมาะสม
6) การใช้ประโยชน์
ตะเคียนทองเปน็ ไมโ้ ตช้าที่ต้องการความชุ่มช้ืน และมไี ม้อภบิ าลให้ในชว่ งแรก เม่อื ไม้สามารถต้ังตัว
ได้ จึงทำการเปิดให้รับแสงได้เต็มที่ ปริมาณน้ำฝนก็เป็นข้อจำกัดอีกอย่างหนึ่ง ควรมีความสูงกว่า 1,500
มิลลิเมตรต่อปีถึงจะเติบโตได้ดี สำหรับการปลูกตะเคียนทองนั้นต้องหาแหล่งเมล็ดไว้ล่วงหน้า นอกจากนั้น
เมล็ดตะเคียนทองเป็นเมล็ดที่เสื่อมการงอกไว ต้องทำการติดตามระยะการให้เมล็ดให้ดี เพราะหลังจากท่ี
เมลด็ รว่ งหล่นเกนิ 15 วนั เมลด็ จะไมง่ อก และเม่อื เพาะเมล็ดแล้วจะต้องเกบ็ กล้าไว้ค้างปี เพราะชว่ งฝนแรก
ท่ีเพาะเมล็ดตะเคียนทอง กล้าตะเคยี นยงั ไม่แกร่งพอที่จะนำไปปลูกได้
6.4.4 พะยูง (Dalbergia cochinchinensis)
1) ลกั ษณะทัว่ ไป
พะยูงเป็นไม้ขนาดกลางถึงใหญ่ สูงถึง 25 เมตร เป็นไม้มีค่าทางเศรษฐกิจที่สำคัญของไทย และยัง
เป็นไม้ที่มีราคาแพงมากที่สุดชนิดหนึ่งในตลาดต่างประเทศ มีชื่อทางการค้าในตลาดต่างปร ะเทศว่า
Siamese Rosewood หรือ Thailand Rosewood มีถิ่นกำเนิดอยูใ่ นประเทศไทย พม่า กัมพูชา ลาว และ
เวยี ดนาม เนอ่ื งจากพะยงู เปน็ ไม้ท่ีมีถ่นิ กำเนดิ ในหลายประเทศ มสี ภาพภมู อิ ากาศและภูมิประเทศและระบบ
นิเวศที่แตกต่างกันไป การกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติจึงขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ลักษณะและ
องคป์ ระกอบทางพันธุกรรมทจี่ ะเอื้ออำนวยให้สายพนั ธุน์ ั้นสามารถปรบั ตวั ได้ในส่งิ แวดล้อม และระบบนิเวศ
พรรณไม้ที่เป็นองค์ประกอบ สำหรับประเทศไทยสามารถพบพะยูงได้ตามธรรมชาติในป่าเบญจพรรณชื้น
และป่าดิบแล้งทั่วไป ทางภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในพื้นที่ที่สูงจากระดับน้ำทะเล
ประมาณ 100-200 เมตร (ภาพท่ี 6.8)
2) การขยายพนั ธแ์ุ ละการผลิตกล้าไม้
การขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดเป็นวิธีที่เหมาะสมและสะดวกที่สุด แต่เนื่องจากเมล็ดพะยูงมีความงันท่ี
เปลือก จึงต้องปฏิบัติกับเมล็ดด้วยการนำไปแช่ในน้ำเย็นเป็นเวลา 24 ชั่วโมง หรือแช่ในน้ำกรดกำมะถัน
เข้มข้น 1 นาที แล้วล้างกรดออกด้วยน้ำไหล 30 นาที หลังจากนั้นนำเมล็ดลงเพาะในกระบะทราย กลบ
เมลด็ ดว้ ยทรายเบา ๆ และรดน้ำให้สมำ่ เสมออย่าให้แฉะ เมลด็ จะงอกภายใน 7 วนั หลังจากหวา่ น เม่ือเมล็ด
งอกได้ 10-14 วัน ก็สามารถย้ายไปชำในถุงได้ สำหรับวัสดุที่ใช้ในการเพาะชำกล้าไม้ พบว่า ดินตะกอนริม
ห้วย:ทราย:ขเ้ี ถา้ แกลบ:ปยุ๋ หมกั เท่ากบั 5:2:2:1 มคี วามเหมาะสมท่ีสุด
3) การเตรียมพื้นที่ การปลูก และการบำรุงรักษา
การเตรียมพื้นที่ประกอบไปด้วยการกำจัดวัชพืชในแปลงปลูก การไถพรวนพื้นที่หากสภาพภูมิ
ประเทศเอื้ออำนวย การเก็บและทำลายเศษปลายไม้และวัชพืช ช่วงที่เหมาะสำหรับการปลูกไม้พะยูง คือ
ช่วงต้นหรือกลางฤดูฝน (พฤษภาคม-สิงหาคม) เพราะจะทำให้กล้าไม้มีอัตราการรอดตายสูง โดยทั่วไปการ
ปลูกพะยูงด้วยกล้าไม้จะไดผ้ ลดีกว่าการปลูกด้วยเหง้า ซึ่งก่อนทีจ่ ะย้ายลงปลูกในแปลงประมาณ 2 สัปดาห์
ควรลดปริมาณการให้น้ำแก่กล้าไม้ ใส่ปุ๋ยประมาณต้นละ 1 ช้อนชาเพื่อให้กล้าไม้มีปริมาณธาตุอาหารท่ี
เพียงพอในช่วงระยะแรกของการตั้งตัว และสามารถแข่งขับกับวัชพืชได้สำหรับระยะปลูกที่เหมาะสม คือ
2x2 หรือ 2x3 เมตร การบำรุงรักษาควรทำการกำจัดวัชพืชอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง ควบคู่กับการป้องกันไฟ
คูม่ อื การประเมนิ มูลคา่ ต้นไม้ I 115
รวมถึงการใส่ปุ๋ยควรดำเนินการอย่างน้อยปีละ 3 ครั้ง และทำการตัดสางไม้พะยูงเมื่อเรือนยอดเริ่ม
เบียดเสียดชดิ กนั มาก ทั้งนี้ควรพจิ ารณาตน้ ท่โี ตด้อยกวา่ ตน้ อน่ื เปน็ หลัก
4) การเติบโต
พะยูงเปน็ ไม้ทม่ี กี ารเตบิ โตค่อนขา้ งช้า สามารถปลกู ผสมกบั ไม้ชนดิ อ่ืนได้ แตค่ วรเป็นชนดิ ไมท้ ่ีมีการ
เจริญเตบิ โต และความต้องการในสภาพของระบบนเิ วศทีใ่ กลเ้ คยี งกบั พะยูง เชน่ ประดู่ มะคา่ โมง แดง เป็น
ตน้ เพื่อลดการแก่งแย่งของระบบรากและเรือนยอดในระยะยาว
5) การใช้ประโยชน์
โดยมากจะอยู่ในรูปของการใช้ประโยชน์จากเน้ือไม้ทีม่ ีสีสันและลวดลายท่ีสวยงาม เนื้อไม้พะยูงมีความ
ละเอยี ด เหนยี ว แขง็ แรงทนทานและชักเงาได้ดี มีนำ้ มนั ในตวั จึงมักใช้ในการทำเครื่องเรือน เคร่ืองใชต้ ่าง ๆ
6) การใชป้ ระโยชน์
พะยูงเป็นไม้มีค่าทางเศรษฐกิจที่สำคัญ คุ้มค่าแก่การลงทุนและให้ผลตอบแทนสูง แต่ไม้พะยูงมี
แนวโนม้ ทจ่ี ะแตกเป็นพุม่ ต้ังแต่อายุ 3-4 ปี ดังน้นั การปลูกควรจะปลูกในระยะชิด เช่น 2x2 เมตร เพ่ือบังคับ
รูปทรงของต้นไม้ใหม้ ีความเปลาตรงมากขึน้ และสะดวกต่อการควบคุมวัชพืช และท่ีสำคญั เมล็ดที่ใช้สำหรับ
การเพาะกล้าควรมคี ณุ ภาพหรือไดร้ บั การปรบั ปรุงคุณภาพทางพนั ธุศาสตร์แล้ว
ก ขค
ภาพท่ี 6.8 ลักษณะของตน้ พะยงู ก) ลำตน้ ข) ดอก และ ค) ผล
6.4.5 มะคา่ โมง (Afzelia xylocarpa)
1) ลกั ษณะท่วั ไป
ไม้มะค่าโมงเป็นไม้มีค่าเศรษฐกิจชนิดหนึ่งของประเทศไทย เป็นไม้ต้นขนาดใหญ่ ความสูงระหว่าง
10-18 เมตร ขึ้นกระจายอยู่ในประเทศแถบตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ประเทศเวียดนาม ลาว กัมพูชา พม่า
อนิ เดยี และไทย ทมี่ ีการกระจายอยู่ในสังคมพชื ป่าเบญจพรรณ โดยเฉพาะในพ้ืนที่ท่ีค่อนข้างชุ่มชื้น และป่า
ดิบแล้งท่ัวไป ยกเว้นภาคใต้ (ภาพท่ี 6.9)
116 I ลักษณะทางนิเวศวทิ ยาและวนวัฒนวิทยาของพรรณไม้ และการประเมนิ สภาพพ้นื ท่ีที่เหมาะสม
2) การขยายพนั ธแุ์ ละการผลิตกล้าไม้
วิธีที่นิยมและสะดวกที่สุด คือ การขยายพันธุ์จากเมล็ด โดยใช้เมล็ดเพาะชำเพื่อจัดเตรียมเป็นกลา้
ไม้ แต่เนื่องจากเปลือกเมล็ดมะค่าโมงนั้นแข็งมาก จึงต้องทำการขลิบเปลือกเมล็ดส่วนหัวให้เห็นด้านใน
เล็กน้อยก่อน แล้วจึงนำไปแช่น้ำเป็นเวลา 1 คืน หรือแช่เมล็ดดว้ ยน้ำเดือด ทิ้งไว้จนน้ำเย็นและแชไ่ ว้ 1 คืน
โดยไม่ต้องขลิบเปลือกเมล็ดก็ได้ แล้วจึงนำเมล็ดไปหว่านลงในแปลงที่เตรียมไว้ ซึ่งวัสดุเพาะชำควรจะเป็น
ดินปนทรายอัตราส่วน 1:1 ในระยะแรกควรให้น้ำ เช้าเย็น ทุก ๆ วัน และควรผสมยาป้องกันเช้ือรากับน้ำที่
รดด้วย ประมาณ 7-10 วันหลังหว่าน เมล็ดก็จะเริ่มงอกและมีใบเลี้ยง สามารถย้ายชำลงถุงพลาสติกและ
นำไปเลี้ยงไว้ในเรือนเพาะชำพรางแสงร้อยละ 50 จากนั้นเลี้ยงกล้าไม้ไว้ไม้น้อยกว่า 1 ปี ก่อนจะย้ายปลูก
ต่อไป
3) การเตรยี มพ้ืนท่สี ำหรับปลูก
พน้ื ที่ต้องไม่เปน็ ที่ลมุ่ นำ้ ขงั เม่ือฝนตก สภาพความอุดมสมบูรณ์ของดนิ พอใช้ คัดเลือกพ้ืนท่ีท่ีมีความ
ลาดชนั นอ้ ย เพือ่ สะดวกแกก่ ารเตรยี มพืน้ ทีแ่ ละการบำรุงรกั ษาหลังจากการปลูก ทำการเตรียมพ้นื ทด่ี ว้ ยการ
ถางวัชพืช กำจัดต้นไม้ กิ่งไม้ ปลายไม้ที่ไม่ต้องการ กองทิ้งไว้ให้แห้งแล้วเผา อีกทั้งหากมีงบประมาณมาก
พอควรทำการไถพรวนเพ่ือปรบั สภาพดินท่ีแน่นใหร้ ว่ นซุย ถา่ ยเทอากาศได้ดี และดินจะสามารถดดู ซับน้ำฝน
ได้มากขึน้
4) การปลกู และการบำรุงรกั ษา
ในการปลูกควรใช้กล้าไมท้ ีช่ ำลงในถุงดนิ อายุอย่างน้อย 6 เดือนปลูกในแปลง โดยก่อนที่จะนำกล้า
ไม้ไปปลูกควรรดน้ำกล้าไม้ให้ชุ่มอีกครั้ง เพื่อสามารถทนต่อสภาพแห้งแล้งได้นานขึ้น ในช่วง 1 ปีแรก
หลังจากย้ายปลูก มะค่าโมงสามารถเจริญเติบโตได้ดีที่สดุ เมื่อมีแสงร้อยละ 40-50 ดังนั้นหากมีการปลูกพืช
ควบจะเป็นตัวช่วยอนุบาลกล้าไม้มะค่าโมงภายหลังการย้ายปลูกได้ด้วย การปลูกมะค่าโมงผสมกับพืช
เกษตร เช่น พืชตระกูลถั่ว ให้ปลูกในร่องกลางระหว่างแถวต้นไม้ตามแนวยาว เว้นระยะห่างจากโคนต้น
ประมาณ 50 เซนติเมตร จะช่วยในการปรับปรุงดิน ขณะที่ระยะปลูกท่ีเหมาะสมในรูปแบบการปลูกสร้าง
สวนป่ามะค่าโมง คือ 4x4 เมตร ซึ่งจะให้ผลตอบแทนในด้านปริมาตรเนื้อไม้ต่อพื้นที่ปลูกเพิ่มขึ้น อีกท้ัง
รูปทรงของต้นไม้จะมีความเรียวเหมาะสมที่จะทำเป็นการค้าได้ ด้านการบำรุงรักษา หลังจากการปลูกกล้า
ไม้มะค่าโมงแล้วประมาณ 1 เดือน ให้ถางหญ้าและพรวนโคนตน้ ไม้ โดยในช่วงปีแรกให้ทำ 2-3 ครั้ง ขึ้นอยู่
กับวัชพืชในแปลงปลูก ใส่ปุ๋ยเสริมโดยพิจารณาจากความอุดมสมบูรณ์ของดิน ป้องกันไฟ โรคและแมลง
ภายในแปลง และทำการลิดกิ่งมะค่าโมงเมื่อมีแนวโน้มที่จะทำให้รูปทรงเสีย และเมื่อต้นไม้มีอัตราการ
เจรญิ เตบิ โตที่ลดลง อาจจะทำการตัดขยายระยะในลักษณะแถวเวน้ แถว
5) การเตบิ โต
ไม้มะค่าโมงเมื่ออายุครบ 1 ปี ไม้ที่ปลูกภายใต้แสงร้อยละ 40 จะมีการเติบโตดีที่สุด มีความสูง
เฉล่ียประมาณ 2.50 เมตร
6) การใช้ประโยชน์
ไม้มะค่าโมงมีความแข็งแรงทนทาน ขัดและชักเงาได้ดี เหมาะสำหรับใช้ในการก่อสร้างที่ต้องการ
ความแขง็ แรงทนทาน นอกจากนีเ้ ปลือกใช้ในการฟอกหนังได้ และเนือ้ ในเมลด็ ออ่ นใช้รับประทานได้
คูม่ อื การประเมินมูลค่าต้นไม้ I 117
ข
ค
กง
ภาพท่ี 6.9 ลักษณะของต้นมะค่าโมง ก) ลำตน้ ข) ดอก ค) ฝัก ง) เมลด็
6.4.6 ยางนา (Dipterocarpus alatus)
1) ลกั ษณะท่ัวไป
ยางนา เปน็ ไมม้ คี า่ ทางเศรษฐกจิ ชนิดหนึง่ ของไทย เป็นไม้ขนาดใหญ่ ไมผ่ ลัดใบ ชอบข้นึ อยูเ่ ปน็ กลุ่ม
ตามที่ราบชายลำธารในป่าดิบทั่วไป กระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางในประเทศบังคลาเทศ ตอนใต้ของพม่า
ลาว กัมพูชา เวียดนาม สำหรับประเทศไทยนั้น ยางนาสามารถขึ้นได้ในทุกภาคของประเทศ ภาคเหนือพบ
ในจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ ลำพูน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบในจังหวัดเลย ขอนแก่น นครราชสีมา
ภาคกลาง พบในจังหวัดสระบุรี กาญจนบุรี ภาคตะวันออก พบในจังหวัดปราจีนบุรี ชลบุรี จันทบุรี ตราด
และภาคใต้พบในจังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ตรัง ยางนาชอบขึ้นในดินร่วนปนทรายทีร่ ะบายน้ำ
ไดด้ ี และมีความชื้นสูง (ภาพที่ 6.10)
2) การขยายพนั ธ์ุและการผลิตกลา้ ไม้
นยิ มใชเ้ มลด็ เพื่อการขยายพันธุ์ เพราะเป็นวิธที สี่ ามารถเตรยี มกล้าไม้ได้เปน็ จำนวนมาก และง่ายใน
การดูแลรักษา โดยเด็ดปีกที่เมล็ดออกก่อนทำการเพาะในกระบะ ใช้กระสอบ ฟาง หรือใยมะพร้าวคลุม
เมล็ด แลว้ รดน้ำเชา้ เย็น ทุกวันหลังจากทำการเพาะประมาณ 1 สัปดาห์ เม่อื เมลด็ ไม้ยางนางอกรากออกมา
ประมาณ 1 นว้ิ จึงย้ายไปปลูกในถงุ พลาสติก ซง่ึ ในระยะน้จี ะเจรญิ เติบโตเป็นกล้าไม้อย่างรวดเร็วจนกระทั่ง
ย้ายปลูกได้ ประมาณ 1 เดือน จงึ คัดเลอื กต้นกลา้ ไม้ยางนาท่ีมีลักษณะดีไปปลกู ลงถุงขนาดใหญ่ขน้ึ (5 นิ้ว x
8 นิ้ว ขึ้นไป) เพื่อให้รากของกล้าไม้ยางนาเจริญได้ดียิ่งขึ้น และควรเลี้ยงกล้าไม้ยางนาในถุงขนาดใหญ่ให้มี
อายอุ ย่างนอ้ ย 1 ปี ก่อนจะนำไปปลูกในพื้นที่ตอ่ ไป
118 I ลกั ษณะทางนิเวศวิทยาและวนวฒั นวิทยาของพรรณไม้ และการประเมนิ สภาพพืน้ ที่ทเ่ี หมาะสม
3) การปลกู และการบำรงุ รกั ษา
ในช่วง 1-3 ปีแรก ควรมีร่มเงาให้ไม้ยางนา ไม่นิยมปลูกไม้ยางนาในที่โล่งแจ้งโดยตรง เพราะอัตรา
การรอดตายจะน้อย โดยไม้ที่จะเป็นร่มเงาให้ไม้ยางนาควรจะเป็นพันธุ์ไม้โตเร็วพวกตระกูลถั่ว หรืออาจจะ
ปลกู พืชควบโดยระบบวนเกษตร ตัดไม้รม่ เงาออกหลังจากผ่านปีแรกไปแลว้ โดยค่อย ๆ เปดิ ร่มเงาออกและ
ควบคุมวชั พชื อย่างดใี นระยะ 1-2 ปี การปลกู ไม้ยางนานั้นควรทำในฤดูฝน เพราะกลา้ ไม้จะเจริญเติบโตได้ดี
และสามารถต้งั ตัวได้งา่ ย ท้ังน้ีทำการดายวชั พชื ปอ้ งกนั ไฟ และปลูกซอ่ มกล้าไมย้ างนา
4) การเตบิ โต
ไม้ยางนาสามารถขึ้นได้เองตามธรรมชาติทั่วทุกภาคของประเทศไทย การเติบโตจึงแตกต่างกันไป
ตามแต่ละท้องที่ ซึ่งเป็นผลมาจากสภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศ และปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม ในระยะตั้งตัว
กลา้ ไม้ยางนาต้องการแสงสวา่ งประมาณรอ้ ยละ 50
5) การใช้ประโยชน์
ไม้ยางนามีลักษณะสูงใหญ่ เปลาตรง ปราศจากกิ่งก้าน เนื้อไม้มีความแข็งปานกลาง ใช้ในการ
ก่อสร้าง สามารถเลื่อย ไสกบ ตกแต่งได้ง่าย จึงเป็นที่ต้องการในอุตสาหกรรมการใช้ไม้ สะดวกในการแปร
รูป นอกจากนี้ไม้ยางนายังสามารถผลิตน้ำมันยางที่ใช้ในการทำไต้ทาบ้านเรือน รักษาเนื้อไม้ ทาร่มป้องกัน
น้ำฝนไหลซึม ผสมชนั ยารรู ว่ั ของเรอื เป็นตน้
ก ข
ค
ภาพท่ี 6.10 ลกั ษณะของตน้ ยางนา ก) ลำต้น ข) ดอก และ ค) ผล
คูม่ ือการประเมนิ มูลค่าต้นไม้ I 119
6.4.7 สนคารเิ บีย (Pinus caribaea)
1) ลกั ษณะทั่วไป
ไมส้ นคาริเบยี เปน็ ไม้สนขนาดใหญ่ สงู ได้มากถึง 45 เมตร และเส้นผา่ นศูนย์กลางกวา้ งมากถงึ 1.35
เมตร สนคาริเบียมีถิ่นกำเนิดในอเมริกากลาง มีการกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติในแถบอเมริกากลางและ
หมู่เกาะคาริเบีย สนคาริเบียนั้นชอบขึ้นในบริเวณที่มีอากาศร้อนและมีฝนตกชุก และสามารถเติบโตได้ดี
ในบริเวณที่มีอุณหภูมิเฉลี่ย 27 องศาเซลเซียส โดยเฉพาะในบริเวณที่มีความชื้นสูง สนคาริเบียสามารถ
เตบิ โตได้ตลอดไมห่ ยดุ (ภาพท่ี 6.11)
2) การขยายพันธุแ์ ละการผลิตกล้าไม้
การขยายพนั ธ์โุ ดยการใช้เมล็ดเปน็ วธิ ีที่เหมาะสมและได้ผลดี สามารถทำได้โดยแช่เมล็ดสนคาริเบีย
ในน้ำเย็นที่ไหลตลอดเวลาหรือเปลี่ยนน้ำทุก ๆ ชั่วโมง เป็นเวลา 24 ชั่วโมง นำดินที่ได้จากหน้าดินใน
ป่าธรรมชาติมาทุบและร่อนจนได้ขนาดเล็กและร่วนซุยเทในกระบะเพาะแล้วเกลี่ยให้เรียบ โดยที่กระบะเพาะ
ควรอยู่ในร่มที่มีแสงประมาณร้อยละ 50 และควรพ่นยาฆ่าแมลงเพื่อกันมดกินเมล็ด รวมทั้งรดน้ำกระบะเพาะ
เมล็ด เชา้ และเยน็
หลังจาก 8-12 วัน ที่เมล็ดงอกและมีใบเลี้ยง 4-5 ใบ จึงค่อยย้ายไปปลูกในถุงพลาสติก และ
หลังจากที่ย้ายชำกล้าจากกระบะเพาะลงถุงพลาสติกก็ควรรดน้ำ เช้าและเย็น เมื่อย้ายชำได้ประมาณ
3 เดือน สามารถใช้ปุ๋ยสูตร 12-12-17-2 (N-P-K-Mg) ในการเร่งการเตบิ โตของกล้าไมส้ นคารเิ บีย เมื่อกล้ามี
ความยาวประมาณ 15-20 เซนติเมตร กถ็ ือว่าเป็นขนาดท่ีเหมาะสมในการนำไปปลกู
3) การเตรยี มพ้นื ที่สำหรบั ปลูก
เมล็ดสนคาริเบียที่จะนำไปปลูก ควรนำมาจากแหล่งธรรมชาติที่มีลักษณะภูมิอากาศและดินท่ี
ใกล้เคียงกับพื้นที่ที่จะปลูก เช่น จังหวัดเชียงใหม่ ควรนำเมล็ดมาจากแหล่งบนภูเขาของประเทศเม็กซิโก
และในทางตรงกันข้าม จังหวัดชุมพรหากใช้เมล็ดที่ได้มาจากที่ราบชายฝั่งของประเทศกัวเตมาลาจะเติบโต
ไดด้ กี ว่าท่ีได้มาจากภเู ขาของประเทศเม็กซิโก
4) การปลกู และการบำรงุ รักษา
นำกลา้ ไม้สนคารเิ บียปลูกลงในหลุมดนิ ให้คอรากอยู่ในระดับผิวดินแล้วกลบหลุมและกดดนิ รอบ ๆ
ใหแ้ น่น ควรปลกู ในช่วงต้นฤดฝู นเพื่อใหก้ ลา้ ไม้สนคาริเบยี มเี วลาต้ังตัว และระบบรากจะเจริญยึดติดดินได้ดี
ก่อนสิ้นฤดูฝน ซึ่งจะช่วยให้กล้าไม้รอดตายตลอดฤดูแลง้ สำหรับการบำรุงรกั ษาควรกำจดั วัชพืชประมาณปี
ละ 3 ครั้ง ใส่ปุ๋ยสูตร 12-12-17-2 (N-P-K-Mg) โดยขุดหลุมลึกประมาณ 5 เซนติเมตร 2 หลุมตรงกันข้าม
หลมุ ละประมาณ 50 กรมั และใส่ปลี ะ 2 ครง้ั คอื ช่วงตน้ และกลางฤดูฝน ป้องกันไฟ โรคและแมลง รวมทั้ง
ทำการลดิ กง่ิ และตัดขยายระยะเพือ่ ใหไ้ ดผ้ ลผลติ สงู สุด
5) การเตบิ โต
การเติบโตของไม้สนคาริเบยี ขึ้นอยู่กับแหล่งที่ปลูกและแหลงท่ีนำเมลด็ เข้ามา สำหรับประเทศไทย
ที่จังหวัดเชียงใหม่การเติบโตเฉลี่ยสูงสุดประมาณ 4.0 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ ที่จังหวัดชุมพรประมาณ 26.4
120 I ลกั ษณะทางนิเวศวิทยาและวนวัฒนวทิ ยาของพรรณไม้ และการประเมินสภาพพื้นท่ีที่เหมาะสม
ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ เนื่องจากไม้สนคาริเบียเป็นไม้ต่างถิ่นจึงมีข้อจำกัดในการจัดหาเมล็ดเพื่อปลูกเป็นป่า
ขนาดใหญ่ แต่ก็สามารถแก้ไขในระยะยาวไดด้ ้วยการสรา้ งแหลง่ ผลิตเมลด็ และสวนผลติ เมล็ด
6) การใชป้ ระโยชน์
เนื้อไม้มีความแข็งพอประมาณ เหมาะสำหรับใช้ในการก่อสร้างภายในหรือเครื่องใช้ในครัวเรือน
หากผ่านการอาบน้ำยาจะช่วยเพิ่มความทนทานของไม้ สำหรับไม้สนคาริเบียอายไุ ม่เกิน 15 ปี มีคุณสมบัติ
เหมาะสมในการทำเยอื่ กระดาษ โดยเฉพาะกระดาษทใ่ี ช้ในอุตสาหกรรมหีบห่อบรรจุ ทง้ั น้ี น้ำมนั และชันสน
เม่อื สังเคราะหแ์ ละผสมสแี ละส่ิงเคลอื บผวิ แล้วสามารถใชเ้ ป็นส่วนผสมในการทำน้ำหอมและสารแตง่ กลน่ิ ได้
ก ขค
งจ
ภาพท่ี 6.11 ลักษณะของต้นสนคารเิ บยี ก) ลำตน้ ข) เปลือก ค) เน้อื ไม้ ง) ดอก และ จ) ผล
6.4.8 สนประดพิ ทั ธ์ (Casuarina junghuhniana)
1) ลกั ษณะทั่วไป
สนประดิพัทธ์เป็นไม้ขนาดกลาง ไม่ผลัดใบ สูงประมาณ 10-20 เมตร มีถิ่นกำเนิดอยู่ในบริเวณภาค
กลาง และภาคตะวนั ออกของเกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย ซ่งึ เปน็ บรเิ วณที่มสี ภาพอากาศแห้งแล้ง เนื่องจาก
อยใู่ กลภ้ เู ขาไฟ และมักจะเกิดไฟไหม้ทุกปี ในถิ่นกำเนดิ เดมิ เปน็ ไม้ท่ีทนไฟมากท่ีสดุ สนประดพิ ัทธ์สามารถขึ้น
ได้ในทกุ สภาพพ้ืนที่ เปน็ ไม้ทมี่ ีเพศผแู้ ละเพศเมียแยกคนละตน้ กนั (dioecious tree) (ภาพที่ 6.12)
2) การขยายพนั ธ์แุ ละการผลิตกลา้ ไม้
การขยายพันธ์ไุ ม้สนประดพิ ทั ธ์สามารถทำได้ทง้ั วิธอี าศยั เพศและไมอ่ าศัยเพศ
คู่มอื การประเมนิ มลู คา่ ตน้ ไม้ I 121
(1) เมล็ดเป็นส่วนของพืชที่ใช้ขยายพันธ์ุแบบอาศัยเพศ ต้นตัวเมียสามารถใช้เมล็ดขยายพันธุ์
ได้ แต่ต้องสั่งเมล็ดไม้จากประเทศอินโดนีเซีย หรือประเทศอื่น ๆ ที่มีเมล็ดส่งเข้าประเทศเมื่อมีการ
ขยายพันธ์ุ
(2) การขยายพันธโ์ุ ดยไมอ่ าศัยเพศ
• ใช้หน่อจากราก โดยการขุดหน่อ (ไหล) ของไม้สนประดิพัทธ์จากต้น แล้วนำไปปลูกหรือ
ใส่ภาชนะอย่างหน่ึงกอ่ น ดแู ลจนกล้าไม้ตั้งตวั ไดจ้ งึ นำไปปลูก
• การตอนจากกิ่ง ซึ่งสามารถใช้กิ่งหลายขนาด หากทำในฤดูฝนจะติดรากได้ดีกว่าในฤดูอื่น
เพราะฝนชว่ ยให้บรเิ วณทต่ี อนชุ่มชื้นอย่เู สมอ
• การชำจากกิ่ง เลือกกิ่งอ่อนไม้สนที่มีอายุ 3-6 เดือน เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.1-0.2
เซนติเมตร ยาว 10-20 เซนติเมตร ใช้กรรไกรลดกิ่งเป็นรูปปากฉลาม ลิดใบบริเวณที่จะปักชำออกให้หมด
แลว้ นำไปแชฮ่ อรโ์ มน I.B.A. ความเขม้ ขน้ ร้อยละ 5 ท้งิ ไว้ 18-24 ชั่วโมง และใช้ถงุ พลาสติกคลมุ กง่ิ ที่แช่ เพื่อ
ลดการคายน้ำของก่งิ
3) การเตรยี มพืน้ ทีส่ ำหรับปลูก
สนประดพิ ทั ธ์สามารถขน้ึ ได้ในดนิ แทบทุกชนดิ โดยเฉพาะในพื้นท่ีคอ่ นข้างแห้งแลง้ ยกเว้นดินลกู รัง
ทีแ่ ขง็ ซ่ึงยากแกก่ ารเตบิ โตและการแผก่ ระจายของเรอื นราก ข้ึนได้ดใี นทุก ๆ ภาคของประเทศไทย โดยการ
เตรียมพื้นที่ปลูกนั้นขึ้นอยู่กับแต่ละสภาพพื้นที่ ในบริเวณที่น้ำท่วมถึง ต้องยกพื้นที่ให้สูง โดยทำคันดินกั้น
รอบๆ ส่วนบริเวณที่น้ำท่วมไม่ถึงนั้น ต้องดายวัชพืชและทำให้แห้ง จากนั้นจึงทำการเผาวัชพืชและ
ดำเนนิ การปลกู ต่อไปได้
4) การปลูกและการบำรุงรักษา
การปลูกโดยใช้กล้าไม้กิ่งตอน ให้ขุดหลุมขนาดลึกพอที่จะฝังรากให้มิดและระดับของรากควรอยู่
ต่ำกว่าผิวดินรวม 5 เซนติเมตร หรือลึกพอที่จะทำให้กล้าไม้ตั้งอยู่ในแนวตรงได้ ซึ่งการใช้ไม้ค้ำยันมีความ
จำเปน็ อย่างมาก หากสดั สว่ นระหวา่ งรากกบั ลำต้นของก่งิ ตอนต่างกนั มากกจ็ ะไดร้ บั อันตรายจากลมไดง้ ่าย
การปลูกโดยใช้กงิ่ ชำ เปน็ วธิ ที ่นี ิยมมากทีส่ ุด เพราะกิ่งชำมีสัดสว่ นของรากและลำต้นท่สี มดลุ กัน ใน
การปลูกเพยี งขดุ หลมุ ใหม้ ขี นาดกวา้ งกวา่ ถุงเลก็ น้อย จากนัน้ จึงกลบหลมุ และเหยียบดนิ ใหแ้ นน่ พอประมาณ
ด้านการบำรุงรักษา ในระยะแรกต้องทำการกำจัดวัชพืช ปีละ 2-3 ครั้ง ป้องกันไฟ ใส่ปุ๋ยสูตร 15-
15-15 (N-P-K) ประมาณ 0.5 กิโลกรัมต่อต้นต่อ 3 ปี ลิด แต่งกิ่งเมื่อมีอายุ 2-3 ปี และตัดขยายระยะเมื่อ
อายุ 4-5 ปขี ึน้ ไปทีไ่ มม้ เี รอื นยอดชดิ ตดิ กนั
5) การเติบโต
ไม้สนประดิพัทธ์มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว ในช่วงเวลา 1-3 ปี มอี ตั ราการเติบโตเฉลี่ยประมาณ 2.49
เซนตเิ มตรต่อปี แตเ่ มอื่ อายุ 3-4 มีอัตราการเติบโตเฉลยี่ ประมาณ 0.96 เซนตเิ มตรตอ่ ปี
6) การใช้ประโยชน์
เนื้อไม้มีลักษณะค่อนข้างสวยงาม มีความแข็งแรงทนทานค่อนข้างสูง เหมาะที่จะนำไปใช้ในการ
ก่อสร้างที่อยู่อาศัย เช่น ทำพื้นไม้ปาร์เก้ ส่วนประกอบของโครงสร้างหลังคาบ้าน นอกจากนี้เนื้อไม้สน
122 I ลักษณะทางนิเวศวทิ ยาและวนวัฒนวทิ ยาของพรรณไม้ และการประเมนิ สภาพพืน้ ท่ีทีเ่ หมาะสม
ประดิพัทธ์ค่อนข้างละเอียด มีเสี้ยนตรง ปราศจากน้ำยางหรือน้ำมัน จึงเหมาะที่จะนำไปใช้ทำเครื่องเรือน
และใช้เป็นแหลง่ ผลิตเชอื้ เพลงิ ขนาดใหญ่ได้ เพราะเปน็ ไม้ชนิดหน่ึงทส่ี ามารถใหพ้ ลังงานความร้อนสงู
ข
กค
ภาพท่ี 6.12 ลักษณะของตน้ สนประดพิ ทั ธ์ ก) ลำต้น ข) ดอก และ ค) ใบ
6.4.9 สกั (Tectona grandis)
1) ลกั ษณะทว่ั ไป
สักเป็นไม้ผลัดใบในเขตร้อน มีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบเอเชียตอนใต้ แบ่งเป็น 5 ชนิด ได้แก่ สักทอง
สักหิน สักหยวก สักไข่ และสักขี้ควาย ในประเทศไทยพบกระจายอยู่ตามธรรมชาติทางภาคเหนือ เช่น
เชียงราย เชียงใหม่ ลำพนู ลำปาง แมฮ่ อ่ งสอน แพร่ และน่าน (ภาพที่ 6.13)
ปัจจยั ท่ีมีอทิ ธิพลต่อการกระจายและการเตบิ โตของไมส้ ัก ไดแ้ ก่ 1) ปริมาณนำ้ ฝนและความชื้นของ
ดิน ไม้สักขึ้นได้ดีในบริเวณที่มีปริมาณน้ำฝนประมาณ 1,250-1,650 มิลลิเมตรต่อปี 2) อุณหภูมิ มีอิทธิพล
อย่างมากในระยะกล้าไม้ ในเวลากลางวันท่ีมีอุณหภูมิระหว่าง 27-36 องศาเซลเซียส และในเวลากลางคืนท่ี
มีอุณหภูมิ 22-31 องศาเซลเซียส กล้าสักจะเติบโตได้ดี 3) แสง ไม้สักต้องการแสงมากและไม่ทนร่ม 4)
สภาพทางธรณีวิทยา ความเป็นกรด-ด่างของดิน ปริมาณอินทรียวัตถุ และธาตุอาหารในดิน ดินที่มีการ
ระบายน้ำได้ดีเหมาะกับการเติบโตของไม้สัก 5) แสงสว่าง มีผลต่อการเตบิ โตของไม้สักไม่น้อยไปกวา่ ปจั จยั
ข้างตน้ ดงั ท่ีกลา่ วมา
2) การขยายพนั ธุ์และการผลิตกล้าไม้
นำเมล็ดสกั แช่น้ำ 2 วนั สลับกบั ผง่ึ แดด 1 วนั รวมเปน็ เวลา 15 วัน หว่านเมล็ดในแปลงเพาะ แล้ว
ปล่อยให้เมล็ดงอกเป็นกล้าไม้ และใช้เวลาในการเติบโตประมาณ 1 ปี จึงถอนและตัดแต่งให้เป็นเหง้า โดย
คมู่ ือการประเมนิ มูลค่าต้นไม้ I 123
ตัดส่วนลำต้นออกให้เหลือตา 1-2 คู่ มีความยาวประมาณ 1-2 เซนติเมตร ตัดรากแขนงออกให้เหลือเพียง
รากแก้วยาวประมาณ 10-15 เซนติเมตร (เหง้าสัก) แล้วนำไปปลูกในพื้นที่ที่เตรียมไว้ ซึ่งควรเป็นพื้นที่ท่ี
เหมาะตอ่ การเตบิ โตของไม้สัก ระยะปลูกท่เี หมาะสมอาจใช้ระยะ 3x3 (178 ตน้ ต่อไร่) หรือระยะ 4x2 (200
ตน้ ตอ่ ไร่) แลว้ แต่ความเหมาะสมของพนื้ ที่ปลกู และจำนวนตน้ ทตี่ ้องการปลกู
3) การปลกู และการบำรงุ รกั ษา
การปลูกด้วยเหง้าจะทำให้ต้นสักเติบโตได้ดีกว่าการปลูกทั้งต้นหรือปลูกโดยตรง ซึ่งประหยัด
ค่าใช้จ่ายในการย้ายปลูก การขนส่งสะดวก และปลูกได้ง่าย โดยใช้เหล็กชะแลงกระทุ้งดินให้เป็นรูลึก
ประมาณ 20-25 เซนติเมตร ตามความยาวของเหง้าสัก โดยในช่วง 1 ปีแรก ต้องทำการกำจัดวัชพืช เพ่ือ
ช่วยให้ต้นสักเติบโตได้อย่างเต็มที่ ซึ่งมักจะกำจัดวชั พืชติดต่อกัน 3 ปี ในปีแรกทำ 3-4 ครั้ง และในปีที่ 2-3
ทำปลี ะ 2-3 ครง้ั รวมท้ังทำการปลูกพืชคลุมดิน ปลูกซอ่ ม ปอ้ งกันโรคและแมลง ปอ้ งกันสัตว์เล้ียง และการ
ป้องกนั ไฟ
4) การใช้ประโยชน์
ไม้ซุงขนาดใหญ่ที่นำมาแปรรูปใช้ในการก่อสร้างอาคาร บ้านเรือน ไม้อัด ไม้ปาร์เก้ ไม้แกะสลัก
เครื่องเรือนต่าง ๆ ต่อเรือ ไม้ซุงขนาดเล็กลงมานิยมนำมาทำเป็นไม้โมเสค วงกบประตู และหน้าต่าง
เน่ืองจากมลี วดลายท่ีสวยงาม เล่อื ย ผา่ ไสกบตกแต่งได้ง่าย และชกั เงาได้ดี ปลวก มอด ไมท่ ำลาย เพราะมี
สารเทคโทควโิ นน (tectoquinone) ทำใหม้ ีคณุ สมบัติคงทนตอ่ ปลวก แมลง และเหด็ รา
กข ค
ค ง
ภาพที่ 6.13 ลกั ษณะของต้นสกั ก) ลำต้น ข) กลา้ ไม้สัก ค) เนอ้ื ไม้ ง) ดอก และ จ) ผล
124 I ลักษณะทางนิเวศวทิ ยาและวนวฒั นวิทยาของพรรณไม้ และการประเมินสภาพพน้ื ที่ทีเ่ หมาะสม
6.4.10 ประดู่
1) ลกั ษณะทว่ั ไป
ไม้สกุลประดู่ เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงใหญ่ ส่วนใหญ่ขึ้นอยู่ในป่าเบญจพรรณชื้นสูง ในประเทศ
ไทยที่รู้จักกันดีมีเพียง 2 ชนิด คือ ประดู่บ้าน (Pterocarpus indicus) และประดู่ป่า (Pterocarpus
macrocarpus)
ประดู่บ้าน (P. indicus) เป็นไม้ผลัดใบหรือกึ่งผลัดใบ สูงตั้งแต่ 20 เมตรขึ้นไป ในประเทศไทยพบ
ในป่าเบญจพรรณทางภาคใต้ด้วย เปน็ ไม้ทีน่ ยิ มปลูกใหร้ ่มริมทาง
ประดู่ป่า (P. macrocarpus) เป็นไม้ผลัดใบขนาดใหญ่ สูงตั้งแต่ 20 เมตรขึ้นไป มีเส้นผ่าน
ศูนย์กลางของลำต้นประมาณ 1.3-2.1 เมตร เรือนยอดสูงประมาณ 6-12 เมตร เป็นพันธุ์ไม้ที่ต้องการแสง
เติบโตได้ดใี นพน้ื ท่ีดนิ รว่ นปนทราย การระบายนำ้ ดี โดยท่ัวไปแล้วพบมากทส่ี ุดในดินรว่ นปนทราย ประดู่ป่า
จดั เป็นไมท้ ่ีมีค่าทางเศรษฐกจิ สูงชนดิ หนง่ึ ในแถบเอเชีย มชี อ่ื ทางการค้าวา่ Padauk หรือ Nara พบทั่วไปใน
ป่าเขตร้อน ประเทศอินโดนีเซีย อินเดีย พม่า ลาว กัมพูชา ไทย และทางตอนใต้ของประเทศเวียดนาม
นอกจากนี้ยังพบได้ในแถบแอฟริกาและอเมริกา สำหรับประเทศไทย พบประดู่ป่าขึ้นอยู่ในป่าเบญจพรรณ
และปา่ เตง็ รงั ในภาคเหนอื ภาคตะวนั ออกเฉยี งเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวนั ตกของประเทศไทย
ปัจจัยที่เป็นข้อจำกัดในการเจริญเติบโตของไม้ประดู่ ได้แก่ 1) ดิน ควรเป็นดินตะกอน หรือดินที่
เกิดจากหินภูเขาไฟ มีความลึก ระบายน้ำได้ดี 2) สภาพภูมิประเทศ ไม้ประดู่จะมีอัตราการรอดตายต่ำและ
เตบิ โตไม่ดี ในพน้ื ทท่ี ่ีอยูส่ ูงจากระดับนำ้ ทะเลเฉล่ียมากกว่า 600 เมตรขึ้นไป รวมท้งั พ้นื ที่ท่มี นี ำ้ ท่วมขงั และมี
สภาพแลง้ จดั กเ็ ปน็ ข้อจำกัดในการเตบิ โตของไมป้ ระดู่ด้วย (ภาพท่ี 6.14)
2) การขยายพันธุ์และการผลิตกล้าไม้
วิธีการที่เหมาะสมและนิยมปฏิบัติกันโดยทั่วไปในปัจจุบัน คือ การขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด เนื่องจาก
จัดหาเมล็ดได้สะดวก โดยใช้เมล็ดที่ได้จากต้นแม่ไม้ที่มีคุณสมัติและลักษณะตามที่ต้องการ ก่อนจะนำไป
เพาะให้ตดั ส่วนทเี่ ป็นปีกรองผลออกและอาจจะใชก้ รรไกรขลิบรอบ ๆ ด้านในของปีก หรือนำมาขัดผิวหรือสี
ปกี ผลประดู่ออก หลงั จากการขัดผิวหรือสีปีกผลประดู่ออกแล้ว วิธีการปฏบิ ตั เิ พื่อขจัดความงันเมล็ดที่น่าจะ
เป็นวิธีท่ีเหมาะสมท่ีสุด คือ การใช้วิธีทำให้แห้งและชื้น สลับกันโดยนำเมล็ดประดูไ่ ปแช่นำ้ ประมาณครึง่ วัน
แล้วนำมาผึ่งในที่อากาศถ่ายเทได้สะดวกประมาณครึ่งวัน ทำแบบนี้สลับกัน 3 ครั้ง เมล็ดจะงอกได้เร็วขึ้น
และสม่ำเสมอ แลว้ จงึ หว่านเมล็ดนน้ั ลงในแปลงเพาะ จากนัน้ ใช้ฟางหรอื ขี้เถ้าแกลบคลุมหน้าดินไว้ เมล็ดจะ
ใช้ระยะเวลาในการงอกประมาณ 28 วัน ทำการย้ายชำกล้าเมื่อเริ่มแตกใบคู่ที่ 2 แล้ว โดยดินที่ใช้ใส่ในถุง
เพาะควรผสมทรายอตั ราส่วนมาก รดนำ้ เชา้ เย็น และยา้ ยกลา้ ไมป้ ระดู่ไปปลกู เมือ่ มอี ายุ 6 เดือนขน้ึ ไป
3) การเตรียมพน้ื ทีส่ ำหรบั ปลูก
ควรทำการไถพรวนพื้นที่เพ่ือลดการอัดตัวแน่นของดิน และให้มีการระบายน้ำได้ดี จะช่วยส่งผลให้
กล้าไม้มีการเติบโตและสามารถตั้งตัวได้ดีในระยะเริ่มปลูกและมีการรอดตายสูง พร้อมทั้งกำจัดวัชพืชและ
ป้องกันไฟ
คู่มือการประเมินมูลค่าตน้ ไม้ I 125
4) การปลูกและการบำรุงรกั ษา
การปลูกไม้ประดู่สามารถทำได้หลายวิธี ได้แก่ การปลูกด้วยกล้าไม้ ปลูกด้วยกล้าเปลือยราก และ
การปลูกด้วยเหง้า ซึ่งสามารถปลูกได้ในช่วงฤดูแล้งหรือฤดูฝนที่เกิดภาวะฝนทิ้งช่วง ทั้งนี้การปลูกไม้ประดู่
ด้วยกล้าจะมีอัตราการรอดตายสูง ระยะปลูกในเชงิ พาณิชย์หรือเพื่อการค้า 2x4 หรือ 4x4 เมตร เป็นระยะ
ปลูกที่ไม่กว้างหรือแคบจนเกินไป ในขณะที่การปลูกในระบบวนเกษตร ควรเป็น 2x8 หรือ 4x4 เมตร เพื่อ
ความสะดวกในการปฏิบัติงานและสามารถใช้พื้นที่ระหว่างแถวของต้นไม้ในการปลูกพืชเกษตรได้อย่าง
ต่อเนื่องเป็นเวลานานกว่าระยะปลูกที่แคบกว่า และในการบำรุงรักษาเพื่อให้ไม้ประดู่ที่ปลูกมีการรอดตาย
และการเติบโตได้ดี จึงต้องกำจัดวัชพืช ปลูกซ่อม ใส่ปุ๋ย ป้องกันไฟ ป้องกันโรคและแมลง รวมถึงการลิดก่ิง
และการตัดขยายระยะเมื่อเรือนยอดของต้นไมเ้ ริม่ ชดิ ตดิ กนั
5) การเติบโต
ประดู่มีการเติบโตดีในสภาพพืน้ ทีต่ ่าง ๆ กัน เชน่ ท่รี าบลุ่มเขา พื้นที่ลาดเขา ดนิ แน่น เป็นต้น จาก
การปลูกทดลองบริเวณอำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา พบว่า การเติบโตในช่วงแรกของไม้ประดู่
ค่อนขา้ งชา้ และจะพงุ่ โตเรว็ หลงั จากไม้มีอายุได้ 1 ปี มอี ตั ราการรอดตายสงู และทนต่อสภาพการปกคลุมของ
วัชพชื ไดด้ ี ในพน้ื ท่ีทด่ี ินขาดความอุดมสมบูรณ์ พบวา่ การใส่ปยุ๋ ทำใหก้ ารเติบโตของกลา้ ไม้ดีกวา่ ไม่ใสป่ ยุ๋
6) การใชป้ ระโยชน์
ประดู่เป็นไม้ที่มีความแข็งแรงทนทานสูง เหมาะสำหรับใช้ในงานก่อสร้างทั่วไปซึ่งต้องการไม้ที่รับ
น้ำหนักน้อยจนถึงมาก ไม้ประดู่ขนาดเลก็ หรือกิง่ ก้านสามารถนำไปทำไม้ปาร์เก้ ไม้ประสาน ชิ้นไม้อัด แผ่น
ชบุ ซเี มนตไ์ ด้
ข
ก ค
ภาพที่ 6.14 ลักษณะของต้นประดู่ ก) ลำต้น ข) ดอก และ ค) ผล
126 I ลกั ษณะทางนิเวศวิทยาและวนวัฒนวิทยาของพรรณไม้ และการประเมินสภาพพ้ืนที่ท่เี หมาะสม
6.4.11 โกงกาง
1) ลกั ษณะทวั่ ไป
ในประเทศไทยมีไม้สกุลนี้อยู่ 2 ชนิด คือ โกงกางใบเล็ก (Rhyzophora apiculata) และโกงกาง
ใบใหญ่ (Rhyzophora macronata) ซึ่งไม้ทั้งสองชนิดเป็นพันธุ์ไม้เด่นของป่าชายเลน โดยปกติโกงกาง
ใบเล็กและโกงกางใบใหญ่จะขึ้นอยู่ปนกัน แต่ปริมาณโกงกางใบใหญ่จะมีน้อยกว่าโกงกางใบเล็กมาก
ในพื้นที่ถัดลกึ เข้าไปจากฝัง่ ปริมาณต้นโกงกางใบใหญ่จะนอ้ ยมาก ส่วนใหญเ่ กอื บทั้งหมดจะเป็นต้นโกงกาง
ใบเลก็ ไม้โกงกางขึ้นได้ดีในพ้ืนท่ีดินเลนอ่อน มนี ้ำทะเลท่วมถึงทุกวนั หรือเกือบทุกวัน ยกเว้นบริเวณดินเลน
งอกใหม่ (ภาพท่ี 6.15)
โกงกางใบเล็ก (R. apiculata) เป็นไม้ต้นขนาดกลางถึงใหญ่ เส้นผ่านศูนย์กลางเหนือคอราก เม่ือ
โตเต็มที่ประมาณ 30 เซนติเมตร สูง 20-30 เมตร ในพื้นที่บางแห่ง พบว่า โกงกางใบเล็กมีขนาดเส้นผ่าน
ศูนย์กลางเหนอื คอราก ถึง 60 เซนตเิ มตร และสงู ถงึ 35 เมตร
โกงกางใบใหญ่ (R. macronata) เป็นไม้ยนื ต้นขนาดกลางถึงใหญ่ เสน้ ผ่านศูนย์กลางเหนือคอราก
เมื่อโตเตม็ ทปี่ ระมาณ 30 เซนติเมตร สูง 20-30 เมตร
2) การขยายพนั ธแ์ุ ละการผลิตกล้าไม้
การขยายพันธุ์ไม้โกงกางมีเพียงวิธีเดียว คือ อาศัยส่วนใต้ใบเลี้ยงที่ยื่นยาวออกมา ที่มองคล้ายฝัก
และโดยทั่วไปเรยี กว่าฝกั โกงกาง ปลูกได้โดยใช้ฝักโดยตรง แต่ในกรณีต้องการปลกู ด้วยกลา้ สามารถเตรียม
กล้าไม้โกงกางโดยเพาะชำฝักโกงกางลงในถุงพลาสติก โดยใช้ดินบกผสมปุ๋ยคอก และจัดเรียงถุงในพื้นท่ี
น้ำทะเลท่วมถึง ในชว่ งนำ้ ตาย (นำ้ ทะเลทว่ มไม่ถึง) จำเป็นต้องรดนำ้
3) การเตรียมพนื้ ท่ีสำหรบั ปลูก
พน้ื ที่ทเี่ หมาะสมต่อการปลูกไมโ้ กงกาง คือ พ้ืนทเ่ี ลนอ่อนท่ีมีน้ำทว่ มถึงเกือบทุกวัน ในการปลูกเชิง
พาณชิ ย์ ควรเตรยี มพนื้ ทแี่ บบตัดหมดแลว้ ทำการเกบ็ รบิ เผาเพอ่ื ลดปริมาณเศษไม้ ปลายไมใ้ หเ้ หลอื น้อยที่สุด
ท้ังนหี้ ากสามารถเตรียมพ้นื ท่ลี ว่ งหน้ากอ่ นการปลูก 1 ปี กจ็ ะทำให้อัตราการรอดตายของกล้าไมส้ ูงขึน้
4) การปลูกและการบำรงุ รักษา
การปลูกไม้โกงกาง โดยทั่วไปจะปลูกโดยใช้ฝักปักลงในพื้นที่โดยตรง ไม่นิยมปลูกด้วยกล้า
บำรงุ รกั ษาโดยการกำจดั วัชพืช การปลกู ซอ่ ม และการป้องกนั การทำลายกล้าไม้จากศัตรูตามธรรมชาติ ทั้งนี้
ระยะเวลาในการบำรุงรักษาขึ้นอยู่กับสภาพพื้นทีท่ ี่ปลูก ชนิดของวัชพืช ปริมาณศัตรูและชนิดของศัตรูตาม
ธรรมชาติ และควรทำการบำรงุ รักษาติดตอ่ กันไม่นอ้ ยกวา่ 3-5 ปี
5) การเติบโต
ไมโ้ กงกางมีอัตราการเตบิ โตเพ่ิมขึ้นเม่ือระยะปลูกห่างข้ึน โดยไม้โกงกางใบเล็ก และโกงกางใบใหญ่
อายุ 10 ปี จะมีอตั ราการเตบิ โตด้านเสน้ ผ่านศูนย์กลางเพยี งอก 0.7 เซนตเิ มตรตอ่ ปี ที่ระยะปลกู 1x1 เมตร
และที่ระยะปลูก 3x3 เมตร โกงกางใบเลก็ จะมีอัตราการเติบโตด้านเส้นผ่านศูนย์กลางเพียงอกเพ่ิมเป็น 0.9
เซนติเมตรต่อปี ในขณะทีโ่ กงกางใบใหญจ่ ะเพ่ิมเปน็ 0.96 เซนติเมตรต่อปี ในขณะท่กี ารเติบโตด้านความสูง
จะไม่เปล่ยี นแปลงเมอ่ื ระยะปลกู กว้างขึน้ โดยจะมีอตั ราการเติบโตด้านความสูงประมาณ 1 เมตรต่อปี
คูม่ อื การประเมินมลู คา่ ตน้ ไม้ I 127
6) การใชป้ ระโยชน์
โดยปกติแล้วจะใช้ไม้โกงกางในการเผาถ่าน ซึ่งถ่านไม้โกงกางถือว่าเป็นถ่านไม้ที่ดีที่สุด โดยจะให้
ความร้อนสูง น้ำหนักมาก สามารถหักเป็นท่อนหรือผ่าโดยไม่แตกมากนัก สามารถคุอยู่ได้นานหลังติดไฟ
ไม่แตกปะทุระหวา่ งติดไฟ และเหลอื เถ้าถา่ นน้อย
ก
ขค
ภาพที่ 6.15 ลกั ษณะของต้นโกงกาง ก) ลำตน้ ข) ดอก และ ค) ผล
6.5 การประเมนิ สภาพพื้นที่เหมาะสมตอ่ การปลูกไม้และการคัดเลือกชนิดท่ี
เหมาะสมกบั สภาพพน้ื ท่ี
6.5.1 การจำแนกเขตสมรรถนะทด่ี นิ ตามความเหมาะสมสำหรบั การเจริญเติบโตของ
ไมเ้ ศรษฐกิจ
คณะวนศาสตร์ (2548) ได้จัดทำรูปแบบและวิธีการในการจำแนกเขตสมรรถนะที่ดินตามความ
เหมาะสมสำหรับการเติบโตของไม้เศรษฐกิจที่อาศัยปัจจัยพื้นฐานทางสิ่งแวดล้อมซึ่งประกอบไปด้วย
ปริมาณน้ำฝน อุณหภูมิ และคุณสมบัติของดิน ซึ่งสามารถสรุปผลการจัดกลุ่มพื้นที่ได้ดังตารางที่ 6.1 โดย
แยกตามปจั จัยหลัก 2 ปจั จยั คือ ดชั นคี วามช้ืน (H-index) ทีค่ ำนวณไดจ้ าก ปริมาณน้ำฝนกับอุณหภูมิเฉลี่ย
128 I ลกั ษณะทางนิเวศวทิ ยาและวนวฒั นวิทยาของพรรณไม้ และการประเมินสภาพพ้นื ที่ทีเ่ หมาะสม
รายเดอื น โดยแบง่ ดัชนคี วามช้นื ออกเปน็ 6 ระดับ คือ ระดบั ความชื้นต่ำ ค่อนขา้ งต่ำ ปานกลาง คอ่ นข้างสูง
สูง และสูงมาก ส่วนคุณสมบัติของดินที่นำเอาชนิดของเนื้อดิน (soil texture) ค่าปฏิกิริยาดิน (soil
reaction, pH) การระบายน้ำ (drainage) และระดบั ความสมบรู ณ์ของธาตุอาหารในดิน (soil fertility) มา
คิดเป็นค่าดัชนีความอุดมสมบูรณ์ของดิน แบ่งออกเป็น 4 ระดับ คือ ระดับความอุดมสมบูรณ์ต่ำมาก ต่ำ
ปานกลาง และสูง นำมาแจกแจงในบริเวณต่าง ๆ ได้ 8 เขตสมรรถนะที่ดิน พื้นที่ที่ถูกจำแนกออกเป็นเขต
สมรรถนะที่ดินต่าง ๆ ได้แสดงไว้ในภาพที่ 6.16 โดยมีลักษณะของพื้นที่ในแต่ละเขตสมรรถนะที่ดิน
ดงั ต่อไปนี้
ตารางท่ี 6.1 การจัดกลมุ่ สมรรถนะทด่ี นิ สำหรบั ไม้เศรษฐกิจโดยใชป้ ัจจยั ความช้นื และดิน
ระดับความชนื้ ระดับความสมบรู ณข์ องดนิ สงู
ตำ่ มาก ตำ่ ปานกลาง
ตำ่
คอ่ นข้างตำ่ HglSl HlSh
ปานกลาง HmSh
คอ่ นข้างสงู HrhSh
สงู
สูงมาก HghSl HhSh
HvhSh
ท่ีมา: คณะวนศาสตร์ (2548)
เขตสมรรถนะท่ี 1 ความชื้นสูงมากดนิ ดี (HvhSh) เป็นบรเิ วณพ้ืนทีท่ ่มี ีสภาพความช้นื เฉลี่ยตลอดปี
อยู่ในระดับสูง มีคุณสมบัติดินที่เหมาะสมกับการการปลูกต้นไม้ในระดับปานกลางถึงดี มีช่วงของฤดูแล้งท่ี
ค่อนข้างสัน้ และไมช่ ดั เจน
เขตสมรรถนะท่ี 2 ความชื้นสงู ดนิ ดี (HhSh) เป็นบริเวณพื้นท่ีท่ีมีสภาพความชื้นเฉลี่ยตลอดปีอยู่ใน
ระดับสูง มีคุณสมบัติดินที่เหมาะสมกับการปลูกต้นไม้ในระดับปานกลางถึงดี แต่มีช่วงของฤดูแล้งที่ชัดเจนและ
ยาวเกิน 4 เดอื น
เขตสมรรถนะที่ 3 ความชื้นค่อนข้างสูงดินดี (HrhSh) เป็นบริเวณพื้นที่ที่มีสภาพความชื้นเฉลี่ย
ตลอดปอี ยู่ในระดบั คอ่ นขา้ งสงู และมคี ณุ สมบตั ิดนิ ทเ่ี หมาะสมกบั การการปลูกต้นไม้ในระดับปานกลางถงึ ดี
เขตสมรรถนะที่ 4 ความชื้นปานกลางดินดี (HmSh) เป็นบริเวณพื้นที่ที่มีสภาพความชื้นเฉล่ีย
ตลอดปอี ยู่ในระดบั ปานกลาง และมีคุณสมบัตดิ นิ ท่ีเหมาะสมกบั การการปลูกตน้ ไมใ้ นระดบั ปานกลางถึงดี
เขตสมรรถนะที่ 5 ความชื้นค่อนข้างต่ำดินดี (HrlSh) เป็นบริเวณพื้นที่ที่มีสภาพความชื้นเฉล่ีย
ตลอดปที ่ีคอ่ นข้างตำ่ แตม่ ีคณุ สมบัติดินทเ่ี หมาะสมกับการปลูกตน้ ไมใ้ นระดับปานกลางถงึ ดี
เขตสมรรถนะที่ 6 ความชื้นค่อนข้างสูงดินไม่ดี (HghSl) เป็นบริเวณพื้นที่ที่มีสภาพความชื้นเฉลี่ย
ตลอดปีทป่ี านกลางถงึ สูงมากและมีคุณสมบัติดินในระดบั ทีต่ ำ่ ถงึ ตำ่ มาก
คมู่ อื การประเมนิ มูลคา่ ต้นไม้ I 129
เขตสมรรถนะที่ 7 ความชื้นค่อนข้างต่ำดินไม่ดี (HglSl) เป็นบริเวณพื้นที่ที่มีสภาพความชื้นเฉล่ีย
ตลอดปที ่คี ่อนข้างต่ำ และมีคุณสมบตั ดิ นิ ในระดบั ทต่ี ำ่ ถงึ ต่ำมาก
เขตสมรรถนะที่ 8 พื้นที่สูง (Highland) เป็นบริเวณพื้นที่ที่มีระดับความสูงของพื้นที่สูงเกิน 700
เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ซ่ึงมีความเหมาะสมกับไม้ที่สามารถเติบโตได้ภายใต้สภาวะที่มีความช้ืนสูง แต่
อณุ หภูมติ ่ำ
6.5.2 ชนิดพรรณไมท้ เี่ หมาะสมในแต่ละเขตสมรรถนะทดี่ ิน
จากการจำแนกเขตสมรรถนะทดี่ นิ ออกเป็น 8 กลมุ่ โดยคณะวนศาสตร์ (2548) มาแลว้ นัน้ สามารถ
สร้างความสัมพันธ์และประเมินการเติบโตของต้นไม้ชนิดต่าง ๆ ได้ ตามชนิดไม้ที่มีศักยภาพในการส่งเสริม
ที่ประกอบด้วย ไม้สัก ไม้ยูคาลิปตัส ไม้กระถินเทพา และไม้ยางพารา รวมทั้งไมใ้ นกลุ่มอื่น ๆ ซึ่งอาจใชเ้ ปน็
แนวทางเลือกอื่น ๆ สำหรับเกษตรกรในกรณีที่มีความประสงค์จะปลูกไม้ชนิดอื่น ๆ ซึ่งได้จำแนกออกเป็น
กลุ่มไมอ้ ่ืน ๆ 5 กลมุ่ โดยมีความเหมาะสมแบ่งเปน็ ระดับตา่ ง ๆ คอื เหมาะสมมาก (H) เหมาะสมปานกลาง
(M) เหมาะสมน้อย (L) และไมม่ คี วามเหมาะสม (N) ดังแสดงไวใ้ นตารางท่ี 6.2
จากตารางที่ 6.2 ได้ประเมินระดับการเติบโตของชนิดไม้ที่เลือกปลูกในเขตสมรรถนะที่ดินต่าง ๆ
ซง่ึ สามารถสรุปโดยแยกตามชนดิ ไมไ้ ดด้ งั นี้
ไม้สกั มีความเหมาะสมในเกณฑร์ ะดับมาก สำหรับเขตสมรรถนะท่ีดินที่ 2 และ 3 มคี วามเหมาะสม
ในเกณฑ์ระดับปานกลาง สำหรับเขตสมรรถนะที่ดินที่ 1 และ 4 มีความเหมาะสมในเกณฑ์ระดับน้อย
สำหรบั เขตสมรรถนะทด่ี ินที่ 5 และไมม่ คี วามเหมาะสมสำหรบั เขตสมรรถนะท่ีดนิ ท่ี 6, 7 และ 8
ไม้ยูคาลิปตัส มีความเหมาะสมในเกณฑ์ระดับมาก สำหรับเขตสมรรถนะที่ดินที่ 3 และ 4 มีความ
เหมาะสมในเกณฑร์ ะดบั ปานกลางสำหรับเขตสมรรถนะท่ีดินที่ 1, 2 และ 5 มคี วามเหมาะสมในเกณฑ์ระดับ
นอ้ ยสำหรับเขตสมรรถนะทดี่ ินที่ 6 และ 7 และไมม่ ีความเหมาะสมสำหรบั เขตสมรรถนะท่ดี นิ ท่ี 8
ไม้กระถนิ เทพา มีความเหมาะสมในเกณฑร์ ะดับมาก สำหรบั เขตสมรรถนะที่ดินที่ 1 และ 2 มีความ
เหมาะสมในเกณฑ์ระดับปานกลางสำหรับเขตสมรรถนะที่ดินที่ 3 และ 4 มีความเหมาะสมในเกณฑ์ระดับ
นอ้ ยสำหรับเขตสมรรถนะทดี่ ินท่ี 5 และไมม่ คี วามเหมาะสมสำหรบั เขตสมรรถนะทีด่ ินที่ 6, 7 และ 8
ไม้ยางพารา มีความเหมาะสมในเกณฑ์ระดับมาก สำหรับเขตสมรรถนะที่ดินที่ 1 และ 2 มีความ
เหมาะสมในเกณฑ์ระดับปานกลางสำหรับเขตสมรรถนะที่ดินที่ 3 และ 4 มีความเหมาะสมในเกณฑ์ระดับ
น้อยสำหรบั เขตสมรรถนะทีด่ ินท่ี 5 และ 6 และไม่มีความเหมาะสมสำหรบั เขตสมรรถนะทีด่ นิ ที่ 7 และ 8
130 I ลักษณะทางนิเวศวทิ ยาและวนวัฒนวทิ ยาของพรรณไม้ และการประเมนิ สภาพพ้นื ท่ีทีเ่ หมาะสม
ภาพที่ 6.16 แผนท่เี ขตสมรรถนะท่ีดนิ เพื่อการปลูกไมเ้ ศรษฐกิจ
ท่มี า: คณะวนศาสตร์ (2548)
คู่มือการประเมินมูลคา่ ต้นไม้ I 131
ตารางท่ี 6.2 ระดบั ความเหมาะสมต่อการเจรญิ เติบโตของไม้เศรษฐกิจตามเขตสมรรถนะทดี่ นิ
ชนดิ ไม้ Z1 Z2 เขตสมรรถนะทด่ี ินเพือ่ การปลกู ไม้เศรษฐกจิ Z8
HvhSh HhSh Z3 Z4 Z5 Z6 Z7 Highland
สัก ช้ืนสูง ชนื้ สูงดิน HrhSh HmSh HrlSl HghSl HglSl พน้ื ทีส่ งู
ยูคาลิปตัส มาก ช้นื ช้นื ปาน ชืน้ ชื้น ชน้ื
กระถินเทพา ดนิ ดี ดี ค่อนขา้ ง กลาง คอ่ นข้าง ค่อนขา้ ง ค่อนขา้ ง N
ยางพารา สูงดนิ ดี ดนิ ดี ต่ำดินดี สงู ดินไม่ดี ต่ำดนิ ไมด่ ี N
ไมก้ ลมุ่ 1 M H HML NN N
ไมก้ ลมุ่ 2 M M HHML L N
ไม้กลมุ่ 3 H H MML NN N
ไม้กลมุ่ 4 H H MML L N N
ไม้กลมุ่ 5 M H HMMN L N
H H MML L L N
H M LLLLN H
M M MLMLH
N N NNNNN
ทมี่ า: คณะวนศาสตร์ (2548)
หมายเหตุ: H = เหมาะสมมาก, M = เหมาะสมปานกลาง, L = เหมาะสมน้อย
และ N = ไม่มคี วามเหมาะสม
ไม้กลุ่มที่ 1 ที่ประกอบไปด้วย ไม้สะเดา มะค่าโมง ประดู่ พะยูง ชิงชัน แดง ไม้นนทรีป่า มีความ
เหมาะสมในเกณฑ์ระดับมาก สำหรับเขตสมรรถนะที่ดินที่ 2 และ 3 มีความเหมาะสมในเกณฑ์ระดับปาน
กลาง สำหรับเขตสมรรถนะที่ดินที่ 1, 4 และ 5 มีความเหมาะสมในเกณฑ์ระดับน้อย สำหรับเขตสมรรถนะ
ทีด่ นิ ท่ี 7 และไมม่ ีความเหมาะสมสำหรบั เขตสมรรถนะทด่ี นิ ที่ 6 และ 8
ไม้กลมุ่ ท่ี 2 ท่ีประกอบไปดว้ ย ไมย้ างนา ตะเคียนทอง มีความเหมาะสมในเกณฑ์ระดับมาก สำหรับ
เขตสมรรถนะที่ดินที่ 1 และ 2 มีความเหมาะสมในเกณฑ์ระดับปานกลางสำหรับเขตสมรรถนะที่ดินที่ 3
และ 4 มีความเหมาะสมในเกณฑ์ระดับน้อยสำหรับเขตสมรรถนะที่ดินที่ 5, 6 และ 7 และไม่มีความ
เหมาะสมสำหรับเขตสมรรถนะทด่ี นิ ท่ี 8
ไม้กลุ่มที่ 3 ที่ประกอบไปด้วย ไม้หลุมพอ ไม้สะเดาเทียม มีความเหมาะสมในเกณฑ์ระดับมาก
สำหรับเขตสมรรถนะที่ดินที่ 1 มีความเหมาะสมในเกณฑ์ระดับปานกลางสำหรับเขตสมรรถนะที่ดินที่ 2 มี
ความเหมาะสมในเกณฑ์ระดับน้อยสำหรับเขตสมรรถนะที่ดินที่ 3, 4, 5 และ 6 และไม่มีความเหมาะสม
สำหรบั เขตสมรรถนะท่ีดินที่ 7 และ 8
ไม้กลุ่มที่ 4 ที่ประกอบไปด้วย ไม้สนประดิพัทธ์ สนทะเล มีความเหมาะสมในเกณฑ์ระดับมาก
สำหรบั เขตสมรรถนะที่ดนิ ที่ 7 มีความเหมาะสมในเกณฑ์ระดับปานกลางสำหรับเขตสมรรถนะที่ดนิ ท่ี 1, 2,
3 และ 5 มีความเหมาะสมในเกณฑ์ระดับน้อยสำหรับเขตสมรรถนะที่ดินที่ 4 และ 6 และไม่มีความ
เหมาะสมสำหรับเขตสมรรถนะท่ดี ินท่ี 8
132 I ลักษณะทางนิเวศวทิ ยาและวนวฒั นวิทยาของพรรณไม้ และการประเมนิ สภาพพื้นที่ท่ีเหมาะสม
ไมก้ ล่มุ ที่ 5 ที่ประกอบไปดว้ ย ไมส้ นสองใบ สนสามใบ สนคารเิ บีย มคี วามเหมาะสมในเกณฑ์ระดับ
มาก สำหรบั เขตสมรรถนะท่ีดินที่ 8 และไม่มคี วามเหมาะสมสำหรับเขตสมรรถนะทด่ี ินทีเ่ หลือท้ังหมด
6.5.3 การกระจายของเขตสมรรถนะท่ีดนิ ต่างๆ
การกระจายของเขตสมรรถนะที่ดินนั้นสามารถจำแนกออกเป็นพน้ื ที่ในรายจังหวัดได้ตามตารางท่ี 6.3
ซึ่งสามารถที่จะกำหนดโซนการส่งเสริมปลูกไม้เศรษฐกิจได้ละเอียดมากยิ่งขึ้น ซึ่งสามารถสรุปแยกตาม
ชนิดไม้ได้ดงั นี้
1) ไม้สัก
พื้นที่ประเทศไทยมีสมรรถนะทีด่ ินที่เหมาะสมในเกณฑ์ระดับมากและปานกลางเป็นส่วนใหญ่ โดย
กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนกลุ่มที่ 1 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนกลุ่มที่ 2 กลุ่ม
จังหวัดภาคเหนือตอนบน เป็นบริเวณที่มีเขตสมรรถนะที่ดินไม้เศรษฐกิจที่มีความเหมาะสมในเกณฑ์ระดับ
มากในปริมาณเนื้อที่มากที่สุด ส่วนบริเวณที่มีเขตสมรรถนะที่ดินไม้เศรษฐกิจที่มีความเหมาะสมในเกณฑ์
ระดับปานกลาง คือ กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน ภาคเหนือตอนล่างกลุ่มที่ 1 และภาคตะวันออก-
เฉียงเหนือตอนบนกลุ่มที่ 1 และเนื่องจากไม้สักเป็นไม้ที่มีแนวโนม้ ให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจท่ีดี จึงควร
สง่ เสริมในพืน้ ที่ของกลมุ่ จังหวดั เหลา่ นี้เป็นกลุ่มแรก ๆ ของการส่งเสริม
2) ไม้ยคู าลปิ ตสั
พื้นที่ประเทศมีสมรรถนะที่ดินที่เหมาะสมในเกณฑ์ระดับมากเป็นส่วนใหญ่ กลุ่มจังหวัดภาคเหนือ
ตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างกลุ่มที่ 1 กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน เป็นบริเวณที่มีเขต
สมรรถนะที่ดินไม้เศรษฐกิจทีม่ ีความเหมาะสมในเกณฑ์ระดบั มากในปริมาณเนือ้ ที่มากที่สุด ส่วนบรเิ วณที่มี
เขตสมรรถนะที่ดินไม้เศรษฐกิจที่มีความเหมาะสมในเกณฑ์ระดับปานกลาง คือ กลุ่มจังหวัดภาคเหนือ
ตอนบน ภาคเหนอื ตอนล่างกล่มุ ท่ี 1 และ 2
3) ไม้กระถินเทพาและยางพารา
ไม้กระถินเทพาและยางพารามีความต้องการพื้นที่ที่มีสภาพใกล้เคียงกัน โดยพื้นที่ที่มีสมรรถนะ
ที่ดินที่เหมาะสมนั้นกระจายอยู่ทางภาคใต้ ภาคตะวันออก และบางส่วนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ตอนบน ซ่ึงมพี ื้นท่ไี ม่มากนัก
คมู่ อื การประเมนิ มูลคา่ ตน้ ไม้ I 133
ตารางท่ี 6.3 รายชื่อการแบง่ กลุ่มจงั หวดั ในการสง่ เสรมิ ปลูกไม้เศรษฐกจิ
ภูมภิ าค กล่มุ จังหวัดในภูมิภาค รายชอ่ื จงั หวัด
กลมุ่ จงั หวดั ภาคเหนือตอนบน เชียงใหม่ ลำพนู ลำปาง แพร่ น่าน พะเยา
ภาคเหนือ เชียงราย แม่ฮ่องสอน
กลุ่มจังหวดั ภาคเหนือตอนล่าง กลุ่มที่ 1 อตุ รดิตถ์ ตาก พิษณโุ ลก เพชรบรู ณ์ สุโขทยั
กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง กลุ่มท่ี 2 นครสวรรค์ อทุ ัยธานี กำแพงเพชร พิจติ ร
กลุม่ จงั หวดั ภาคตะวนั ออกเฉียงเหนอื หนองบัวลำภู อดุ รธานี เลย หนองคาย
ตอนบน กลมุ่ ที่ 1
กลมุ่ จงั หวัดภาคตะวนั ออกเฉียงเหนือ กาฬสนิ ธ์ุ สกลนคร นครพนม มกุ ดาหาร
ตอนบน กลุ่มที่ 2
ภาค กลมุ่ จงั หวัดภาคตะวนั ออกเฉียงเหนอื ขอนแกน่ มหาสารคาม รอ้ ยเอ็ด
ตะวนั ออกเฉยี งเหนอื ตอนบน กลมุ่ ที่ 3
กลมุ่ จงั หวดั ภาคตะวันออกเฉียงเหนอื นครราชสมี า บุรรี ัมย์ สุรินทร์ ชัยภมู ิ
ตอนลา่ ง กลุม่ ที่ 1
กลุ่มจงั หวดั ภาคตะวันออกเฉียงเหนอื อบุ ลราชธานี ยโสธร อำนาจเจริญ
ตอนลา่ ง กลุม่ ที่ 2
กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน กลุ่มท่ี 1 ลพบุรี สิงห์บรุ ี ชยั นาท สระบุรี
กลุ่มจังหวดั ภาคกลางตอนบน กลุม่ ท่ี 2 นนทบรุ ี ปทุมธานี พระนครศรอี ยธุ ยา
อา่ งทอง
ภาคกลาง กลมุ่ จังหวดั ภาคกลางตอนลา่ ง กลุ่มท่ี 1 ราชบรุ ี กาญจนบรุ ี สุพรรณบุรี นครปฐม
กลมุ่ จังหวัดภาคกลางตอนลา่ ง กลุม่ ท่ี 2 สมทุ รสาคร สมุทรสงคราม เพชรบุรี
ประจวบคีรีขนั ธ์
กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนลา่ ง กลุม่ ที่ 3 สมุทรปราการ ฉะเชงิ เทรา ปราจีนบรุ ี
นครนายก สระแกว้
ภาคตะวันออก กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก ชลบรุ ี ระยอง จันทบุรี ตราด
กลุม่ จังหวัดภาคใต้ กลุ่มที่ 1 สรุ าษฎร์ธานี ระนอง ชมุ พร
กลมุ่ จังหวัดภาคใต้ กลุ่มท่ี 2 นครศรธี รรมราช ตรัง พัทลงุ
ภาคใต้ กลมุ่ จังหวดั ภาคใต้ กลุ่มท่ี 3 กระบ่ี พังงา ภูเก็ต
กลมุ่ จงั หวดั ชายแดนภาคใต้ กลมุ่ ที่ 1 ปตั ตานี ยะลา นราธวิ าส
กลมุ่ จังหวัดชายแดนภาคใต้ กลุ่มที่ 2 สงขลา สตูล
ทีม่ า: คณะวนศาสตร์ (2548)
บทท่ี 7
การประเมินการกักเกบ็ คารบ์ อนของต้นไม้
136 I การประเมนิ การกักเก็บคารบ์ อนของต้นไม้
7.1 การกักเกบ็ คาร์บอนของตน้ ไม้
ป่าไม้มีบทบาทสำคัญในการดูดซับก๊าซคารบ์ อนไดออกไซด์ โดยกระบวนการสังเคราะห์แสงของใบ
เพื่อสร้างอินทรียสารซึ่งมีคาร์บอนเป็นองค์ประกอบ นำมาสะสมไว้ในส่วนต่าง ๆ ของต้นไม้ หรือที่เรียกว่า
มวลชีวภาพ (biomass) ทั้งส่วนที่อยเู่ หนือพ้ืนดิน ไดแ้ ก่ ลำตน้ กงิ่ และใบ และมวลชีวภาพท่ีอยู่ใต้ดิน คือ
ราก นอกจากนี้ ต้นไม้ที่ตาย เศษซากพืชที่ตายแล้ว ได้แก่ กิ่ง ใบ ดอก ผล และรากฝอย ตลอดจน
อินทรียวัตถุในดินจะถูกย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ต่าง ๆ และปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์กลับสู่
บรรยากาศ แต่คารบ์ อนสว่ นหนึ่งจะถูกเปลี่ยนเป็นสารประกอบท่ีมีโครงสร้างซับซ้อนและมีความเสถียรเป็น
คาร์บอนที่สะสมอยู่ในดิน (สาพิศ, 2550) โดยทั่วไป แหล่งสะสมคาร์บอนของป่าไม้ ประกอบด้วย 6 แหล่ง
(ภาพที่ 7.1) ดังน้ี
• มวลชวี ภาพเหนอื พนื้ ดิน หมายถงึ ทุกส่วนของตน้ ไม้ที่อยูเ่ หนอื พื้นดิน ได้แก่ ลำตน้ กิง่ ใบ ดอก
และผล ของต้นไม้ รวมทงั้ พชื พรรณอน่ื ๆ
• มวลชีวภาพใต้ดนิ หมายถงึ ส่วนของต้นไม้ทอ่ี ย่ใู ต้ดนิ คือ ราก
• ไมต้ าย ได้แก่ ต้นไมท้ ล่ี ม้ หรือยืนต้นตาย
• ซากพชื หมายถงึ สว่ นต่าง ๆ ของต้นไม้ท่ีร่วงหลน่ สดู่ นิ ไดแ้ ก่ ก่งิ กา้ น ใบ ดอก และผล
• อินทรยี วตั ถุในดิน
• ผลิตภณั ฑไ์ ม้ ในกรณที ี่มกี ารตดั ฟันไมเ้ พอ่ื ใชป้ ระโยชน์
ทั้งนี้ ในการประเมินการกักเก็บคาร์บอนของการปลูกป่า หรือปลูกต้นไม้ พิจารณาแหล่งสะสม
คาร์บอนเพยี ง 2 แหลง่ เท่านน้ั คือ มวลชีวภาพเหนือพ้ืนดนิ และมวลชวี ภาพใตด้ นิ
ภาพที่ 7.1 แหล่งสะสมคารบ์ อนของปา่ ไม้
คู่มอื การประเมินมลู ค่าต้นไม้ I 137
ศักยภาพในการดูดซับกา๊ ซคาร์บอนไดออกไซด์ของปา่ ไม้สามารถพิจารณาจากการกักเกบ็ คาร์บอน
ในมวลชีวภาพของป่า ทั้งนี้ การกักเก็บคาร์บอนในมวลชีวภาพของป่าธรรมชาติแต่ละชนิดขึ้นอยู่กับ
ปริมาณคาร์บอน (carbon content) ที่สะสมในส่วนต่าง ๆ ของต้นไม้แต่ละชนิด และมวลชีวภาพของ
ป่า ในทำนองเดียวกนั การกักเก็บคาร์บอนในมวลชวี ภาพของสวนป่าหรือปา่ ปลกู ขึ้นอยู่กับปริมาณคาร์บอน
และผลผลิตมวลชีวภาพของพรรณไม้ที่ปลูก โดยทั่วไปปริมาณคาร์บอนที่สะสมในมวลชีวภาพมีการแปรผนั
ไม่มากนัก ทำให้การแปรผันของการกักเก็บคาร์บอนในมวลชีวภาพของป่าธรรมชาติหรือสวนป่าส่วนใหญ่
ขึ้นอยู่กับความแตกต่างของมวลชีวภาพของป่าหรือสวนป่ามากกว่าปริมาณคาร์บอนที่สะสมในมวลชีวภาพ
ดังนั้น ป่าธรรมชาติหรือสวนปา่ ที่มีมวลชีวภาพหรือการเติบโตมากจะมกี ารกักเก็บคาร์บอนมากด้วยเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม มวลชีวภาพของป่าธรรมชาติมีการแปรผันขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ เช่น ชนิดป่า ชนิดไม้ที่เป็น
องค์ประกอบของป่า ความหนาแน่นของป่า สภาพภูมิประเทศ และปัจจัยสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ในขณะท่ี
มวลชีวภาพของสวนป่ามีการแปรผันขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ เช่น ชนิดไม้และลักษณะทางพันธุกรรม อายุ
ระยะปลกู หรือความหนาแนน่ และคุณภาพทอ้ งท่ี เป็นต้น
ปรมิ าณคาร์บอนทีส่ ะสมในมวลชีวภาพส่วนต่าง ๆ ของต้นไม้ ได้แก่ ลำตน้ กงิ่ ใบ และราก มีความ
แตกต่างระหว่างชนิดของพรรณไม้ไม่มากนัก โดยในช่วงแรกมีรายงานปริมาณคาร์บอนในมวลชีวภาพมีค่า
ร้อยละ 50 ของนำ้ หนกั แหง้ แต่ตอ่ มาเม่อื มขี อ้ มลู อ้างองิ เพม่ิ เติมมากข้ึน คา่ กลางของปรมิ าณคาร์บอนสะสม
ในมวลชีวภาพมีค่าร้อยละ 47 ของน้ำหนักแห้ง ตารางที่ 7.1 สรุปปริมาณคาร์บอนที่สะสมในมวลชีวภาพ
สว่ นต่าง ๆ ของพรรณไมท้ น่ี ยิ มปลกู ในประเทศไทย
ตารางท่ี 7.1 ปรมิ าณคารบ์ อนของชนดิ /กลมุ่ พรรณไม้ต่าง ๆ ที่นยิ มปลกู ในประเทศไทย
ชนดิ /กลุม่ พรรณไม้ ปรมิ าณคารบ์ อน (ร้อยละของนำ้ หนักแห้ง)
ลำต้น กง่ิ ใบ ราก เฉลี่ย
สกั 48.10 46.22 47.01 46.07 48.13
ยูคาลปิ ตัส 48.24 49.46 52.30 49.19 49.88
อะคาเซยี 48.09 46.13 49.45 46.51 47.66
กระถินยักษ์ 48.19 47.24 50.37 49.19 48.75
โกงกาง 47.57 47.49 46.41 na 47.15
ยางพารา 48.01 50.55 52.77 47.88 49.90
ปาลม์ นำ้ มนั 41.30 43.00 42.00 39.40 41.30
พรรณไมพ้ ื้นเมืองโตช้า พรรณไม้อเนกประสงค์ 48.72 47.28 47.39 45.92 47.33
และพรรณไม้ปลูกในเมือง
ท่ีมา: คณะวนศาสตร์ (2554)
การกักเก็บคาร์บอนของพรรณไม้แต่ละชนิดขึ้นอยู่กับอัตราการเติบโต พรรณไม้ที่มีอัตราการ
เติบโตอย่างรวดเร็วสามารถสะสมคาร์บอนในสว่ นต่าง ๆ ของตน้ ไมม้ ากกวา่ พรรณไมท้ เ่ี ติบโตช้ากวา่ ใน
การประเมินเพื่อตรวจสอบการดำเนินโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคป่าไม้ แหล่งสะสมคาร์บอนของป่าไม้
ที่สำคัญ ได้แก่ มวลชีวภาพเหนือดิน และมวลชีวภาพใต้ดิน แต่การสะสมคาร์บอนในมวลชีวภาพใต้ดิน
138 I การประเมินการกกั เก็บคาร์บอนของต้นไม้
มกี ารแปรผันสูงและประเมินได้คอ่ นข้างยาก ดังน้นั การประเมนิ การกักเกบ็ คาร์บอนของสวนป่าหรือป่าปลูก
จงึ ให้ความสำคัญกับมวลชวี ภาพเหนอื ดนิ ของพรรณไมท้ ่ีปลูกมากกว่าแหล่งสะสมคาร์บอนอนื่ ๆ และใช้เป็น
ฐานในการประเมินการสะสมคาร์บอนในแหล่งอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำอัตราส่วนระหว่างมวลชีวภาพ
เหนือดินและมวลชีวภาพใต้ดิน หรือที่เรียกว่าอัตราส่วนระหว่างรากและลำต้น (root/shoot ratio, R/S
ratio) มาใช้ในการประเมินมวลชีวภาพใต้ดิน (Watson, 2009) อย่างไรก็ตาม พรรณไม้แต่ละชนิดมี
ศักยภาพในการสะสมคาร์บอนในมวลชีวภาพเหนือดิน หรืออัตราการเพิ่มพูนของมวลชีวภาพเหนือดินท่ี
แตกต่างกัน ตารางที่ 7.2 แสดงอัตราการกักเก็บคาร์บอนในมวลชีวภาพรวม (ทั้งในมวลชีวภาพเหนือดิน
และมวลชีวภาพใต้ดิน) ของพรรณไม้ทนี่ ยิ มปลูกในประเทศไทย
ตารางท่ี 7.2 อตั ราการกกั เก็บคารบ์ อนในมวลชวี ภาพรวมของพรรณไม้ท่นี ยิ มปลูกในประเทศไทย
ชนิด/ ศกั ยภาพของพ้ืนท่ี การกักเกบ็ คาร์บอน
กลุ่มพรรณไม้
สกั เหมาะสมมาก ตนั คารบ์ อนต่อไร่ ตันคารบ์ อน
เหมาะสมปานกลาง ไดออกไซด์ต่อไร่
ยูคาลิปตัส
เหมาะสมน้อย 0.59 2.16
กระถนิ เทพา เหมาะสมมาก
เหมาะสมปานกลาง 0.47 1.72
กระถนิ ณรงค์ เหมาะสมน้อย
เหมาะสมมาก 0.37 1.36
กระถนิ ยักษ์ เหมาะสมปานกลาง
เหมาะสมน้อย 1.66 6.09
โกงกาง เหมาะสมมาก
ยางพารา เหมาะสมปานกลาง 1.30 4.77
ปาล์มนำ้ มัน เหมาะสมน้อย
พรรณไมพ้ ื้นเมืองโตชา้ เหมาะสมมาก 0.86 3.15
พรรณไมอ้ เนกประสงค์ เหมาะสมปานกลาง
พรรณไมป้ ลูกในเมอื ง เหมาะสมน้อย 1.66 6.09
ทีม่ า: คณะวนศาสตร์ (2554) ไม่ได้จำแนกพ้ืนที่
ไม่ได้จำแนกพน้ื ที่ 1.20 4.40
ไมไ่ ด้จำแนกพื้นที่
ไม่ได้จำแนกพืน้ ที่ 1.09 4.00
ไม่ได้จำแนกพื้นท่ี
ไมไ่ ด้จำแนกพ้ืนท่ี 1.20 4.40
0.95 3.48
0.62 2.27
1.77 6.49
1.31 4.80
0.21 0.77
0.75 2.75
1.15 4.22
0.68 2.49
0.26 0.95
0.40 1.47
0.33 1.21
คมู่ ือการประเมินมูลค่าตน้ ไม้ I 139
7.2 วิธกี ารประเมินการกักเก็บคารบ์ อน
องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) กำหนดระเบียบวิธีการคำนวณการลด
ก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจสำหรับการปลูกป่าอย่างยั่งยืน (sustainable forestation) หรือ T-VER-
METH-FOR-01 และ LESS-FOR-01 และเครื่องมือคำนวณการกักเก็บคาร์บอนของต้นไม้ T-VER-TOOL-
FOR/AGR-01 เคร่ืองมอื การคำนวณการสะสมคาร์บอนในดนิ T-VER-TOOL-FOR/AGR-02 และคู่มืออา้ งอิง
การพัฒนาโครงการการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย สาขาป่าไม้และ
การเกษตร (องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก, 2558) ซึ่งระเบียบวิธีการดังกล่าวนี้เป็นการประยุกต์
ระเบียบวิธีการที่นิยมใช้กันทั่วไป และมีมาตรฐานในระดับสากล มาปรับให้ง่าย และสะดวกในการปฏิบัติ
โดยมีรายละเอียดดงั น้ี
7.2.1 การวางแปลงสำรวจและการเกบ็ ขอ้ มลู
การวางแปลงสำรวจปริมาณคาร์บอนในการประเมินการกักเก็บคาร์บอนสำหรับโครงการภาคป่าไม้
เป็นส่วนสำคัญ จงึ มกี ารกำหนด ดงั นี้
1) การกำหนดชั้นภูมิ (stratification) ตามความแตกต่างของพื้นที่ อาจกำหนดตามความ
หนาแน่นของพืชพรรณที่ปกคลุม แตกต่างกันอย่างชัดเจน โดยสามารถแบ่งเป็น 3 ชั้นภูมิ คือ ความ
หนาแน่นสูง ความหนาแนน่ ปานกลาง และความหนาแนน่ ตำ่
2) การคำนวณขนาดพื้นที่ที่เหมาะสำหรับแปลงตัวอย่าง ในการประเมินการกักเก็บคาร์บอน
กำหนดใหข้ นาดพ้ืนที่สำหรบั วางแปลงตวั อยา่ งเกบ็ ข้อมูลเพอื่ ประเมนิ การกักเกบ็ คาร์บอน อย่างน้อยร้อยละ
1 ของพื้นท่ีดำเนนิ โครงการทงั้ หมด และวางแปลงตัวอยา่ งให้กระจายในแต่ละชัน้ ภมู ิอย่างเหมาะสม
3) การกำหนดขนาดแปลงตัวอย่างที่เหมาะสม แปลงตัวอย่างที่แนะนำเป็นแปลงรูปสี่เหลี่ยม
มขี นาด 1 ไร่ (40 เมตร x 40 เมตร) ในกรณที ีพ่ ืน้ ท่ีดำเนนิ โครงการมีพ้ืนที่ไม่เพียงพอทจ่ี ะวางแปลงตัวอย่าง
ขนาด 40 เมตร x 40 เมตร ให้พิจารณาวางแปลงตัวอย่างรูปสี่เหลี่ยมขนาดอื่น ๆ ได้ตามความเหมาะสม
โดยมพี ืน้ ที่รวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละ 1 ของพ้นื ท่ีทง้ั หมด และแบง่ เปน็ แปลงย่อยขนาด 10x10 เมตร โดยที่
มุมซ้ายด้านลา่ งวางแปลงย่อยขนาด 4x4 เมตร และแปลงยอ่ ยขนาด 1x1 เมตร จำนวน 4 แปลง (ภาพท่ี 7.2)
7.2.2 สมการแอลโลเมตรี
การประเมินปริมาณการกักเก็บคาร์บอนของต้นไม้ทั้งในส่วนเหนือพื้นดินและใต้ดินในพื้นท่ี
โครงการ สามารถคำนวณได้โดยใช้สมการแอลโลเมตรีในการประเมิน ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการคำนวณ
ปริมาณการกักเก็บทั้งในส่วนของกรณีฐานและการดำเนินงานภายใต้กิจกรรมโครงการ ท้ังการปลูกในป่า
ธรรมชาติและสวนป่า สมการแอลโลเมตรีที่สามารถนำมาใช้ในการคำนวณสามารถแบ่งได้เป็น 3 ระดับ
ประกอบด้วย
1) ระดบั ที่ 1 สมการแอลโลเมตรที ี่แนะนำโดย อบก. แบ่งเปน็ 5 กล่มุ พรรณไม้ใหญ่ ๆ ดงั ตารางท่ี 7.3
140 I การประเมินการกักเก็บคาร์บอนของต้นไม้
2) ระดับท่ี 2 สมการแอลโลเมตรีท่ีมีการศึกษาและตีพิมพ์ในบทความทางวิชาการและสามารถระบุ
ได้ว่าเหมาะสมกับพื้นที่ดำเนินโครงการ ดังตารางที่ 7.4 เป็นสมการแอลโลเมตรีของต้นไม้รายต้นแยกตาม
ชนิดป่าของประเทศไทย ที่มกี ารตีพิมพใ์ นเอกสารวชิ าการ
3) ระดับที่ 3 สมการแอลโลเมตรีที่พัฒนาขึ้นสำหรับพื้นที่ดำเนินโครงการ โดยจำเป็นต้องจัดส่ง
ขอ้ มูลทใ่ี ชใ้ นการพฒั นาสมการดงั กลา่ วมายงั อบก. เพ่อื ตรวจสอบอกี ครัง้
ภาพท่ี 7.2 การวางแปลงตัวอย่างและการเกบ็ ขอ้ มูลของต้นไม้ในแปลงตัวอย่าง
ท่มี า: องค์การบรหิ ารจดั การก๊าซเรอื นกระจก (2558)
คู่มอื การประเมินมลู ค่าตน้ ไม้ I 141
ตารางท่ี 7.3 สมการแอลโลเมตรีสำหรบั การประเมนิ มวลชวี ภาพของพรรณไม้
สมการ ทมี่ า
กลมุ่ พรรณไมท้ ่ัวไป
WS = 0.0396 (D2H)0.933 Ogawa et al. (1965)
WB = 0.00349 (D2H)1.030
WL = (28/ (WS+WB+0.025))-1
WT = WS + WB + WL
กลุ่มพรรณไมป้ า่ ชายเลน
WS = 0.05466 (D2H)0.945 Komiyama et al. (1987)
WB = 0.01579 (D2H)0.9124
WL = 0.0678 (D2H)0.5806
WT = WS + WB + WL
กลุ่มปาล์ม
WT = 6.666 + 12.826 (H)0.5 (ln H) Pearson et al. (2005)
กลุ่มไผ่
ไผบ่ งป่า WT = 0.1466 (D)0.7187 อิทธพิ งศ์ (2557)
ไผบ่ งดำ WT = 0.49522 (D2)0.8726 Kutintara (1995)
ไผข่ า้ วหลาม WT = 0.17446 (D2)1.0437
ไผไ่ ร่และไผ่ผาก WT = 0.2425 (D2)1.0751
ไผบ่ งป่า WT = 0.1466 (D)0.7187 อิทธิพงศ์ (2557)
ไผ่บงดำ WT = 0.49522 (D2)0.8726 Kutintara (1995)
ไผข่ ้าวหลาม WT = 0.17446 (D2)1.0437
ไผ่ไรแ่ ละไผ่ผาก WT = 0.2425 (D2)1.0751
เถาวัลย์
Wt = 0.8622 (D)2.0210 ชิงชยั และคณะ (2554)
หมายเหตุ: WS = มวลชีวภาพเหนอื พื้นดินในสว่ นท่ีเป็นลำต้น (กโิ ลกรัม)
WB = มวลชวี ภาพเหนือพน้ื ดินในส่วนท่เี ป็นกงิ่ (กโิ ลกรัม)
WL = มวลชวี ภาพเหนอื พน้ื ดินในสว่ นทเี่ ป็นใบ (กิโลกรัม)
WT = มวลชีวภาพเหนือพ้นื ดินทั้งหมด (กโิ ลกรมั )
D = ขนาดเสน้ ผา่ นศนู ย์กลางทีร่ ะดบั ความสูงเพยี งอก (เซนตเิ มตร)
H = ความสงู ท้งั หมดของตน้ ไม้ (เมตร)
142 I การประเมนิ การกกั เก็บคารบ์ อนของต้นไม้
ตารางท่ี 7.4 สมการแอลโลเมตรขี องตน้ ไม้รายตน้ แยกตามชนดิ ป่าของประเทศไทย
ชนิดป่า สมการ อ้างอิง
ปา่ ดบิ แลง้ WS = 0.0509 (D2H)0.919 Tsutsumi et al. (1983)
ปา่ ดบิ เขา WB = 0.00893 (D2H)0.977 Ogawa et al. (1965)
WL = 0.0140 (D2H)0.669 Ogawa et al. (1965)
ป่าดบิ ชน้ื WT = WS + WB + WL สนุ ันทา (2531)
WS = 0.0396 (D2H)0.9326 พงษ์ศักด์ิ (2524)
ปา่ เตง็ รังและ WB = 0.006003 (D2H)1.027 Komiyama et al. (1987)
ปา่ เบญจพรรณ WL = (28/ (WS+WB+0.025))-1 Komiyama et al. (1987)
WT = WS + WB + WL
ปา่ สนเขา
(สนสองใบ) WS = 0.0396 (D2H)0.933
WB = 0.00349 (D2H)1.03
ปา่ สนเขา WL = (28/ (WS+WB+0.025))-1
(สนสามใบ) WT = WS + WB + WL
WS = 0.2141 (D2H)0.9814
ปา่ ชายเลน WB = 0.00002 (D2H)1.4561
(โกงกาง) WL = 0.00072 (D2H)1.0138
WT = WS + WB + WL
ป่าชายเลน
(ชนดิ อื่น ๆ) WS = 0.02698 (D2H)0.946
WB = 0.00018 (D2H)1.455
WL = 0.00072 (D2H)1.094
WT = WS + WB + WL
WS = 0.05466 (D2H)0.945
WB = 0.01579 (D2H)0.9124
WL = 0.0678 (D2H)0.5806
WT = WS + WB + WL
WS = 0.0449 (D2H)0.9549
WB = 0.02412 (D2H)0.8649
WL = 0.09422 (D2H)0.5439
WT = WS + WB + WL
หมายเหตุ: WS = มวลชีวภาพเหนือพ้นื ดินในส่วนทเ่ี ปน็ ลำต้น (กก.)
WB = มวลชวี ภาพเหนือพืน้ ดินในสว่ นท่ีเป็นกง่ิ (กก.)
WL = มวลชวี ภาพเหนอื พ้ืนดินในสว่ นท่เี ป็นใบ (กก.)
WT = มวลชีวภาพเหนือพ้ืนดินทั้งหมด (กก.)
D = ขนาดเสน้ ผา่ นศูนยก์ ลางทร่ี ะดับความสงู เพียงอก (ซม.)
H = ความสงู ท้งั หมดของตน้ ไม้ (เมตร)
คูม่ อื การประเมินมูลค่าตน้ ไม้ I 143
7.2.3 ค่าสมั ประสทิ ธิ์
ในการประเมนิ ประกอบดว้ ยค่าสัมประสทิ ธิท์ ีจ่ ำเป็นต้องนำมาใช้คือ คา่ สดั สว่ นคาร์บอน (Carbon
Fraction: CF) และ ค่าสดั สว่ นนำ้ หนักแหง้ ของรากตอ่ ต้นของตน้ ไม้ (root/shoot ratio) ดังนี้
1) คา่ สัดส่วนคารบ์ อน (Carbon Fraction: CF) คอื ปริมาณคาร์บอนทส่ี ะสมในมวลชีวภาพของ
ต้นไม้ มีการผนั แปรระหว่างชนิดของพรรณไม้ไมม่ ากนัก โดยคณะวนศาสตร์ (2554) รวบรวมข้อมูลค่า
สัดสว่ นของคาร์บอนของพรรณไมป้ ่าตา่ ง ๆ ดงั ตารางที่ 7.5
2) ค่าสัดส่วนนำ้ หนกั แห้งของรากตอ่ ต้นของต้นไม้ (root/shoot ratio) สดั สว่ นนำ้ หนักแห้งของ
รากตอ่ ตน้ ของต้นไม้ เพื่อนำมาประเมนิ หามวลชีวภาพใต้ดนิ ของต้นไม้ ในการคำนวณค่าดังกล่าวสามารถ
แบง่ ไดเ้ ป็น 3 ระดบั ดังน้ี
ตารางที่ 7.5 สัดส่วนคารบ์ อนในเนอ้ื ไมข้ องชนิด/พรรณไม้ต่าง ๆ
ชนดิ /กลุม่ พรรณไม้ สัดสว่ นคาร์บอน ท่ีมา
(ร้อยละของน้ำหนกั แห้ง)
พรรณไมท้ ุกชนิด IPCC (2006)
โกงกาง 47.00 คณะวนศาสตร์ (2554)
ปาลม์ 47.15 คณะวนศาสตร์ (2554)
ไผ่ 41.30
เถาวัลย์ 47.00 IPCC (2006)
47.00 IPCC (2006)
ท่ีมา: องค์การบริหารจัดการก๊าซเรอื นกระจก (2558)
ระดับท่ี 1 การคำนวณโดยใช้คา่ สัดสว่ นน้ำหนักแหง้ ของรากต่อต้น ที่ อบก. แนะนำ ดงั ตารางที่ 7.6
ระดับที่ 2 การคำนวณโดยใช้ค่าสัดส่วนน้ำหนักแห้งของรากต่อต้นที่มีการตีพิมพ์ในบทความทาง
วชิ าการและสามารถระบไุ ด้วา่ เหมาะสมกบั พ้นื ที่ดำเนนิ โครงการ
ระดับที่ 3 การคำนวณโดยใช้ค่าสัดส่วนน้ำหนักแหง้ ของรากต่อต้นทีพ่ ัฒนาข้ึนสำหรบั พื้นทีด่ ำเนิน
โครงการ โดยจำเปน็ ต้องจัดสง่ ขอ้ มูลท่ีใช้ในการพฒั นาคา่ สดั ส่วนดังกล่าวมายัง อบก. เพ่อื ตรวจสอบอกี คร้งั