The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by ืทีมงานกรุธรรม, 2022-02-23 21:43:22

พุทธอุทาน

พุทธอุทาน

Keywords: พุทธอุทาน

พทุ ธอทุ านวศนิ อนิ ทสระ

พทุ ธอทุ าน

วศิน อินทสระ

ชมรมกัลยาณธรรม

หนงั สือดลี ำ� ดับที่   ๒  ๙  ๐

พิมพค์ รัง้ ที ่ ๑ กุมภาพนั ธ ์ ๒๕๕๗ จำ� นวนพมิ พ ์ ๕,๐๐๐ เล่ม
จัดพมิ พโ์ ดย 
ชมรมกัลยาณธรรม ๑๐๐ ถนนประโคนชัย ต�ำบลปากน้ำ�  อำ� เภอเมอื ง 
จงั หวดั สมทุ รปราการ ๑๐๒๗๐ โทรศพั ท ์ ๐-๒๗๐๒-๗๓๕๓ และ ๐-๒๗๐๒-๙๖๒๔
ออกแบบปก / รปู เลม่  คนขา้ งหลงั  
พสิ จู นอ์ กั ษร ทมี งานกลั ยาณธรรม
เพลต บรษิ ทั นครแผน่ พมิ พ ์ จำ� กดั  โทร. ๐-๒๔๓๘-๘๔๐๘ 
พมิ พ ์ บริษัทสำ� นกั พมิ พส์ ภุ า จ�ำกัด ๑๑๘ ซอย ๖๘ ถนนจรญั สนิทวงศ ์
เขตบางพลดั  กรงุ เทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร. ๐-๒๔๓๕-๘๕๓๐
สพั พทานงั  ธมั มทานงั  ชินาติ
การใหธ้ รรมะเป็นทาน ย่อมชนะการใหท้ ัง้ ปวง
www.kanlayanatam.com

อปฺปกา เต มนุสฺเสสุ เย ชนา ปารคามิโน
อถายํ อติ รา ปชา ตีรเมวานุธาวติ ฯ
ธมฺเม ธมฺมานุวตฺติโน
เย จ โข สมมฺ ทกฺขาเต มจจฺ ุเธยยฺ ํ สทุ ุตตฺ รํ ฯ
เต ชนา ปารเมสฺสนตฺ ิ

ในหม่มู นุษย์ คนที่ถึงฝ่ัง มีจำ�นวนน้อย
คนส่วนมากเดนิ เลาะไปตามฝง่ั
คนเหลา่ ใดประพฤตธิ รรม
สมควรแก่ธรรมทีเ่ รากลา่ วดแี ล้ว
คนเหล่านน้ั ล่วงพน้ มารแลว้
จกั ถึงฝัง่ ทีข่ า้ มได้ยาก

คป�ำรารภ

เรอื่ ง พทุ ธอทุ าน น ี้ หมายถงึ  พระพทุ ธพจนท์ พี่ ระพทุ ธเจา้  
ตรสั ในโอกาสตา่ งๆ เพราะปรารภเรอื่ งตา่ งๆ ขา้ พเจา้ ไดน้ ำ� มาจาก 
คมั ภรี อ์ ทุ านในพระไตรปฎิ กเลม่  ๒๕ ไดย้ อ่ ความบา้ ง ขยายความ 
บ้าง  เช่น  ความเบ้ืองต้น  เป็นการย่อความ  ส่วนอธิบายความ 
เป็นส่วนท่ีข้าพเจ้าขยายความเท่าที่จะนึกได้  ไม่มีต�ำราให้ 
ค้นควา้ เลย*

ขา้ พเจา้ เขยี นเรอ่ื งนเ้ี มอ่ื หนนี ำ้� ทว่ มมาอยทู่ ค่ี อนโดฯ ชนั้ ท ี่ ๖ 
ของคุณเอกชัย  ดีรุ่งโรจน์  ผู้มีน้�ำใจอันงาม  ได้ไปรับข้าพเจ้ามา 
ให้พักท่ีคอนโดฯ  รีสอร์ทต้า  ถนนพระราม  ๓  โดยการแนะน�ำ 
และสนบั สนนุ ของทนั ตแพทยห์ ญงิ อจั ฉรา กลนิ่ สวุ รรณ ์ ประธาน 
ชมรมกัลยาณธรรม  ด้วยเกรงว่าบ้านช้ันเดียวของข้าพเจ้าท่ีถนน 
พิบูลสงคราม  นนทบุรี  ถ้าน�้ำท่วมแล้วจะเข้าไปช่วยได้ยาก  แต ่
ปรากฎว่าจนบัดน้ี  ท่ีบ้านน�้ำยังไม่ท่วม  แต่ข้าพเจ้ายังพักอยู่ที่

* ได้อาศัยพระสูตรและอรรถกถาแปลคัมภีร์อทุ านของมูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลยั
 เปน็ คมู่ อื  และพระไตรปฎิ กฉบบั ภาษาบาลี เลม่  ๒๕ ของมหามกฏุ ราชวทิ ยาลยั เชน่ เดยี วกนั

5

วศนิ  อินทสระ

คอนโดฯ  ของคุณเอกชัย  ตั้งแต่วันที่  ๙  เดือนตุลาคม  ๒๕๕๔ 
พกั อยูท่ ค่ี อนโดฯ ประมาณ ๒ เดอื นจงึ กลับไปอยบู่ ้าน

โดยธรรมดาข้าพเจ้าจะเขียนค�ำน�ำต่อเม่ือเขียนเน้ือหา 
หนังสือจบเล่มแล้ว  แต่เร่ืองนี้ข้าพเจ้าเขียนค�ำน�ำไว้ก่อน  ด้วย 
เกรงว่าชีวิตจะไปได้ตลอดจนเขียนหนังสือเรื่องนี้จบหรือไม ่ ถ้า 
เขียนยังไม่ทันจบ  สิ้นชีวิตเสียก่อน  ได้แค่ไหนก็ให้ส�ำนักพิมพ์ 
ธรรมดา หรอื  ลกู จมุ๋  (ทนั ตแพทยห์ ญงิ อจั ฉราฯ) นำ� ไปพมิ พเ์ ทา่ ท่ ี
มอี ยู ่ หรอื น�ำไปรวมกับเร่ืองอื่นกไ็ ด้

ขา้ พเจา้ เคยตง้ั ใจไวห้ ลายปมี าแลว้ วา่ จะเขยี นคมั ภรี อ์ ทุ านให ้
สำ� เรจ็  แต่ไม่มโี อกาสเสียเลย มามีโอกาสตอนน้ ี ขอขอบใจยวุ ดี 
อึ๊งศรีวงษ์  ท่ีอุตสาหะพากเพียรจดบันทึกเรื่องนี้ตามที่ข้าพเจ้า 
บอก  บุญกุศลใดท่ีพึงบังเกิดขึ้นแก่ข้าพเจ้าจากการเขียนหนังสือ 
เรื่องน้ี  ขอบุญกุศลน้ันพึงมีแก่คุณเอกชัย  ดีรุ่งโรจน์  ทันตแพทย์ 
หญงิ อจั ฉรา กล่ินสุวรรณ ์ และยวุ ดี อง๊ึ ศรีวงษ์ด้วย

ด้วยอ�ำนาจแห่งพุทธธรรม  ขอผู้มีทุกข์จงพ้นทุกข์  ผู้มีภัย 
จงพ้นภัย  ผู้มีโศกจงพ้นโศก  ขอให้ประสบสรรพมงคล  มีชีวิตที่ 
ดีงามสมความปรารถนา  ขอให้ความด�ำริที่ชอบจงเต็มบริบูรณ ์
ตลอดกาลทุกเมอ่ื

เขียนไว้เมอ่ื  ๑๗ พฤศจกิ ายน ๒๕๕๔

คำ� ขอนงช�ำมรมกัลยาณธรรม

รำ� ลกึ ยอ้ นความทรงจำ� ไปถงึ ชว่ งปลายปพี ทุ ธศกั ราช  ๒๕๕๔  ซง่ึ  
เกิดมหาอุทกภัยใหญ่ในเมืองไทย  มีความรู้สึกห่วงใยในสวัสดิภาพ 
และความปลอดภัยของท่านอาจารย์วศิน  อินทสระ  ในช่วงนั้นได ้
ดูแลอุปัฏฐากไปมาหาสู่ท่านบ้าง  จึงพยายามวิงวอนขอร้องให้ท่าน 
ย้ายออกจากบ้านของท่านท่ีซอยพิบูลสงคราม  จ.นนทบุรี  เพราะ 
ตดิ ตามสถานการณม์ หาอทุ กภยั ใหญท่ ลี่ กุ ลามไปทว่ั แถบจงั หวดั ภาค 
กลางแลว้   กเ็ กรงจะแผข่ ยายวงมาถงึ ตวั เมอื งนนทด์ ว้ ย  พจิ ารณาวา่  
ด้วยความเปราะบางทางสุขภาพร่างกายของท่านอาจารย์น้ัน  หาก 
เกิดเหตุร้ายฉุกละหุกฉุกเฉิน  ท่านคงเสี่ยงอันตรายแก่ชีวิตเกินไป 
ในท่สี ดุ ท่านอาจารย์ตกลงใจยอมยา้ ยไปอยคู่ อนโดฯ ของคุณเอกชยั  
ดีรุ่งโรจน์  (เสนอมาให้เองด้วยใจเกื้อกูล)  ที่พระราม  ๓  ตามท่ีท่าน 
อาจารย์เขียนเล่าไว้ในค�ำปรารภ  นับว่าเป็นความเมตตาของท่านที่
ให้โอกาสคณะศษิ ยไ์ ดร้ ับใชแ้ ละตอบแทนพระคุณ

ในช่วงระหว่างน้ัน  ได้มีโอกาสดูแลท่านอาจารย์  คอยเย่ียม 
เยียนส่งหยูกยาและอาหารเพื่อสุขภาพ  ทั้งได้ฝากฝังคุณเอกชัย 
ซ่ึงอยู่ใกล้ท่านท่ีสุดในระหว่างนี้  ให้คอยดูแลหากเกิดกรณีฉุกเฉิน 
เก่ียวกับปัญหาสุขภาพโรคประจ�ำตัวของท่าน  ท่านอาจารย์มีศิษย์
ใกล้ชิดแวะมาเย่ียมเยียนบ้าง  มีพ่ียุวดี  อึ๊งศรีวงษ์  คอยดูแลอย่าง 

7

วศนิ  อินทสระ

ใกล้ชิด  คร้ันท่านอาจารย์ปรารภว่าอยากตอบแทนอุปการคุณของ 
เจา้ ภาพซงึ่ ใหท้ พี่ กั อาศยั   และใหค้ วามดแู ลเอาใจใสอ่ ยา่ งด ี จงึ ใชเ้ วลา 
เขยี นหนงั สอื ขน้ึ มาเลม่ หนงึ่   แมย้ งั ไมท่ ราบวา่ หนงั สอื นน้ั มรี ายละเอยี ด 
อยา่ งไร  กร็ สู้ กึ ปลมื้ ปตี มิ าก  รอวนั ทจี่ ะไดอ้ า่ น  ไดจ้ ดั พมิ พเ์ ผยแผเ่ ปน็  
ธรรมทานตอ่ ไป

การจดั พมิ พต์ น้ ฉบบั ตอ้ งใชเ้ วลานานพอสมควร  ในทสี่ ดุ กไ็ ดร้ บั  
ไฟลต์ น้ ฉบบั จากพจ่ี นั ทริ า  แหง่ สำ� นกั พมิ พธ์ รรมดา  เมอื่ กลางป ี ดงั นนั้  
กว่าจะได้ด�ำเนินการจัดพิมพ์ก็ย่างเข้าปีที่  ๓  แล้วหลังจากท่ีท่าน 
เขยี นจบลง  ถงึ แมว้ า่ ทา่ นอาจารยจ์ ะเขยี นหนงั สอื ไวม้ ากมาย  รวมทงั้  
หลายเลม่ ทช่ี มรมกลั ยาณธรรมไดน้ ำ� มาจดั พมิ พ ์ แตไ่ มม่ เี ลม่ ไหนเลย 
ท่ีจะพิเศษเหมือนเล่มน้ี  ที่ท่านอาจารย์เมตตาเขียนมอบให้ข้าพเจ้า 
และมอบให้ชมรมกัลยาณธรรมโดยตรง  โดยท่านระบุไว้ในค�ำ 
อนุโมทนา  ตั้งแต่ยังเขียนไม่จบเล่ม  เพราะท่านไม่ม่ันใจว่าสุขภาพ 
ท่ีเปราะบางระยะน้ัน  ท่านจะมีโอกาสเขียนจบเล่มหรือไม่  และใน 
ทสี่ ดุ   แมจ้ ะนานสกั เพยี งไร  ขา้ พเจา้ กร็ สู้ กึ วา่   นคี้ อื หนงั สอื แหง่ ความ 
หลังและความระลึกที่ขอน้อมรับความเมตตาและภูมิปัญญาของผู้รู้ 
ต้ังใจจัดพิมพ์ออกสู่สาธารณชนให้ได้รับปัญญาที่ถูกตรง  สมตาม 
เจตนารมณ์ของทา่ นอาจารย ์ และความวริ ิยะอตุ สาหะของผชู้ ว่ ยจด 
บนั ทกึ และจดั พมิ พ์ต้นฉบับ

เม่ือทราบว่า  หนังสือท่ีท่านเขียนคือ  พุทธอุทาน  ก็ยิ่งรู้สึกถึง 
คณุ คา่ แหง่ ธรรมทจี่ ะไดร้ บั ฟงั อรรถาธบิ ายจากทา่ นอาจารย ์ ทเ่ี มตตา 
ขยายความธรรมจากพระโอษฐ์  ให้พวกเราได้เข้าใจแจ่มแจ้ง  และ 
น�ำมาใช้ให้เกิดประโยชน์  ท่านอาจารย์กล่าวในค�ำปรารภว่า  เร่ือง 
พุทธอุทาน  นี้  หมายถึง  พระพุทธพจน์ท่ีพระพุทธเจ้าตรัสในโอกาส 

8พุทธอทุ าน

ตา่ งๆ  เพราะปรารภเรอ่ื งตา่ งๆ  ทา่ นไดน้ ำ� มาจากคมั ภรี อ์ ทุ าน  ในพระ 
ไตรปฎิ กเลม่   ๒๕  ซงึ่ ไดย้ อ่ ความบา้ ง  ขยายความบา้ ง  ฯลฯ  ซง่ึ ทา่ น 
ตง้ั ใจไวห้ ลายปแี ลว้ วา่ จะเขยี นคมั ภรี อ์ ทุ านใหส้ ำ� เรจ็   เพง่ิ มามโี อกาส 
ตอนน้ี  นับว่าเป็นช่วงเวลาที่มีคุณค่าย่ิงที่ท่านใช้โอกาสน้ีสร้างสรรค ์
ผลงานอันทรงคุณค่าฝากไว้ในพระพุทธศาสนาตามท่ีท่านตั้งใจไว ้
นานแลว้

ขอขอบคุณคณะทีมงานจิตอาสาของชมรมกัลยาณธรรม 
ทุกท่าน  ที่สละเวลาอันมีค่าช่วยตรวจทานต้นฉบับ  จัดรูปเล่ม  ภาพ 
ประกอบท่ีงดงาม  ให้สมกับเน้ือหาแห่งธรรมท่ีบริสุทธ์ิสูงส่งจากพระ 
พุทธองค์  ท่ีท่านอาจารย์เมตตามอบให้เป็นของขวัญแก่ชมรมฯ  ขอ 
ขอบคุณส�ำนักพิมพ์สุภา  ท่ีพิถีพิถันรักษาคุณภาพในการจัดพิมพ ์
ดว้ ยศรทั ธาในงานเผยแผพ่ ระพทุ ธศาสนาและในธรรมของทา่ นอาจารย ์
อยา่ งยง่ิ   บญุ กศุ ลแหง่ ธรรมทานอนั ถกู ตรงน ้ี ขอนอ้ มถวายเปน็ พทุ ธ- 
บชู า  ขอนอ้ มบชู าอาจรยิ คณุ แดท่ า่ นอาจารยว์ ศนิ   อนิ ทสระ  ปยิ าจารย ์
ผู้เปี่ยมเมตตาอันบริสุทธิ์ย่ิงในชีวิตของข้าพเจ้า  ทั้งยังเมตตาหวัง 
เกื้อกูลแก่เวไนยสัตว์ผู้ยังหลงว่ายวนในห้วงทุกข์และอกุศลวิบาก 
ให้เขาเหล่านั้นได้พบแสงแห่งธรรม  เพชรแห่งธรรม  อันจะเป็นดวง 
ประทีปส่องสว่างทางชีวิต  น�ำความสงบร่มเย็นสู่จิตใจ  ครอบครัว 
สังคม  ประเทศชาตแิ ละตลอดการเดนิ ทางในสังสารวัฏอนั ยาวไกล

กราบขอบพระคุณและอนุโมทนาบญุ อย่างสูง
ทพญ.อจั ฉรา  กลิ่นสวุ รรณ์
ประธานชมรมกลั ยาณธรรม

สารบญั

คัมภรี อ์ ทุ าน โพธวิ รรค ๑๕
๑ “ธรรมพรอ้ มด้วยเหต”ุ  (ปฐมโพธสิ ูตร) ๑๗
๒ “คุณสมบัติทีท่ ำ� ใหเ้ ปน็ พราหมณ์” (อชปาลนิโครธสูตร) ๑๙
๓ “ผสู้ ิน้ สงั โยชน”์  (เถรสูตร) ๒๒
๔ “ผู้คายโทษออกไดแ้ ล้ว” (มหากสั สปสูตร) ๒๕
๕ “ผพู้ ้นจากกเิ ลสเคร่อื งข้อง” (สงั คามชสิ ูตร) ๒๘
๖ “สจั จะและธรรมะ” (ชฏิลสูตร) ๓๐
๗ “พระนิพพานพ้นจากสขุ และทกุ ข์” (พาหิยสตู ร) ๓๒

คมั ภรี อ์ ุทาน มจุ ลินทวรรค ๓๗
๘ “ความสขุ อยา่ งย่งิ ” (มจุ ลินทสูตร) ๓๙
๙ “ใหภ้ กิ ษสุ นทนาธรรม และความสขุ จากการสนิ้ ตณั หา” 
(ราชสตู ร) ๔๓

๑๐ “สัตว์ทั้งหลายใคร่ความสขุ ” (ทัณฑสตู ร) ๔๕
๑๑ “ผสั สะ” (สกั การสูตร) ๔๗
๑๒ “ความไม่กังวลเป็นเหตุให้เกิดสุข” (อุปาสกสูตร) ๕๐
๑๓ “ผไู้ ม่กังวลย่อมอยู่เปน็ สขุ ” (คัพภินีสตู ร) ๕๔
๑๔ “เหยอ่ื ของมัจจรุ าช” (เอกปตุ ตสูตร) ๕๖

๑๕ “ทุกข์มาในรปู แหง่ สุข” (สปุ ปวาสาสตู ร) ๖๐
๑๖ “ความอิสระเป็นสุข” (วิสาขาสตู ร) ๖๕
๑๗ “ผไู้ มม่ ภี ยั ไมม่ ีความโศก” (กาฬิโคธาภัททิยสูตร) ๗๐
คมั ภรี ์อทุ าน นันทวรรค ๗๓
๑๘ “ผู้ละกรรมได้แล้ว” (กรรมสตู ร) ๗๕
๑๙ “ผไู้ ม่หวั่นไหวในสุขและทกุ ข”์  (นันทสูตร) ๗๗
๒๐ “ผ้มู น่ั คงเหมือนภเู ขา” (ยโสชสูตร) ๘๐
๒๑ “พระสารบี ตุ รและพระโมคคัลลานะ”  ๘๓
๘๖
(สารีปุตตสูตร และ โกลติ สตู ร) ๙๐
๙๒
๒๒ “พระปลิ นิ ทวจั ฉะ” (ปลิ นิ ทวจั ฉสูตร) ๙๔
๒๓ “พระมหากสั สป” (มหากัสสปสตู ร) ๙๖
๒๔ “เสยี งสรรเสรญิ ” (ปิณฑปาตสตู ร) ๑๐๑
๒๕ “ไมต่ อ้ งมีศลิ ปะก็อย่ไู ด”้  (สปิ ปสูตร) ๑๐๓
๒๖ “สตั วโลก” (โลกสูตร) ๑๐๗
คัมภีรอ์ ุทาน เมฆยิ วรรค ๑๑๑
๒๗ “วติ ก” (เมฆิยสูตร) ๑๑๔
๒๘ “ภิกษผุ ู้ไปสูอ่ ำ� นาจแห่งมาร” (อทุ ธตสูตร) ๑๑๖
๒๙ “จิตทตี่ ้งั ไวผ้ ดิ ” (โคปาลสูตร)
๓๐ “ผมู้ ีจิตไม่หวั่นไหว” (ชุณหสูตร)
๓๑ “ทรงยนิ ดใี นป่า” (นาคสูตร)

๓๒ “คำ� สอนของพระพทุ ธเจา้ ทงั้ หลาย”  ๑๒๒
๑๒๕
(ปณิ โฑลภารทวาชสตู ร) ๑๒๙
๑๓๒
๓๓ “ผไู้ ม่มคี วามโศก” (สารีปตุ ตสูตร) ๑๓๕
๓๔ “ความอดกล้ัน” (สุนทรีสูตร) ๑๓๙
๓๕ “ผไู้ มม่ ีภพใหม”่  (อุปเสนวงั คนั ตปตุ ตสูตร) ๑๔๑
๓๖ “ผู้มีจิตสงบระงับ” (สารปี ตุ ตสตู ร) ๑๔๔
คมั ภีรอ์ ุทาน โสณเถรวรรค ๑๔๗
๓๗ “ไม่มใี ครเปน็ ทรี่ กั ยง่ิ กวา่ ตน” (ราชสตู ร) ๑๕๒
๓๘ “พงึ เวน้ บาป” (สุปปพทุ ธกฏุ ฐิสูตร)  ๑๕๗
๓๙ “ความอัศจรรย์แห่งพระธรรมวนิ ัย ๘ ประการ”  ๑๖๐
๑๖๔
(อุโปสถสตู ร) ๑๖๙
๑๗๑
๔๐ “ผไู้ มย่ ินดีในบาป” (โสณสูตร) ๑๗๔
๔๑ “คนดที �ำดีได้ง่าย” (อานันทสูตร) ๑๗๗
๔๒ “ไมพ่ งึ เป็นผู้มแี ผลประพฤติธรรม” (ปฏสิ ัลลานสูตร) ๑๗๙
๔๓ “สมณพราหมณ์ววิ าทกัน” (ปฐมกิรสูตร)
คมั ภรี อ์ ทุ าน จูฬวรรค
๔๔ “ผู้หลุดพน้ ” (ปฐมภทั ทิยสตู ร)
๔๕ “ผูส้ ้ินตัณหา” (ตัณหักขยสตู ร)
๔๖ “ความสิ้นไปแหง่ ปปญั จธรรม” (ปปัญจขยสูตร)
๔๗ “น�ำ้ ด่ืม” (อุทปานสูตร)

คมั ภรี อ์ ุทาน ปาฏลคิ ามยิ วรรค ๑๘๓
๔๘ “โทษของศลี วบิ ัตแิ ละคณุ ของศีลสมบัต”ิ  (ปาฏลคิ ามิยสูตร) ๑๘๕
๔๙ “ผูร้ ู้กบั ผไู้ ม่ร้”ู  (ทวิธาปถสตู ร) ๑๙๐
๕๐ “ความรักกบั ความทกุ ข์” (วิสาขาสตู ร) ๑๙๒
๕๑ “การนพิ พานของพระทัพพมัลลบุตร” (ปฐมทพั พสตู ร) ๑๙๔

บันทกึ ทา้ ยเล่ม ๑๙๗

“เปือกตมคือกาม อันผ้ใู ดข้ามได้แลว้
หนามคอื กามอันผ้ใู ดยํา่ ยีได้แล้ว
ผูน้ น้ั เปน็ ผ้ถู งึ ความสิ้นโมหะ
ยอ่ มไมห่ วัน่ ไหวในสุขและทกุ ข”์

นันทสตู ร



คั ม ภี ร์ อุ ท า น

โ พ ธิ ว ร ร ค





พระพุทธอุทาน เรอื่ ง

ธรรมพร้อมด้วยเหตุ
(ปฐมโพธสิ ูตร)

ความเบอ้ื งตน้
เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้ใหม่ๆ  ประทับท่ีใต้ต้นโพธิ์ที่ตรัสรู ้

น้ันเอง  ทรงพิจารณาปฏิจจสมุปบาท  (ส่ิงท่ีอาศัยกันเกิดขึ้น)  ม ี
อวิชชาเป็นปัจจัยสังขารจึงมี  เป็นต้น  แล้วทรงเปล่งอุทานด้วย 
ความเบิกบานพระทัยในเวลาน้ันว่า

“เมื่อใดธรรมทั้งหลาย  (สิ่งทั้งหลาย)  ปรากฏแก่พราหมณ์ 
ผู้มีความเพียร  ผู้เพ่งพินิจอยู่  เมื่อนั้นความสงสัยทั้งปวงของ 
พราหมณน์ ั้นยอ่ มสนิ้ ไป เพราะมารู้ธรรมพรอ้ มดว้ ยเหต”ุ
อธิบายความ

เร่ืองปฏิจจสมุปบาทนี้  ข้าพเจ้าได้เขียนไว้ละเอียดแล้วใน 
หนงั สอื เรอื่ ง “หลกั คำ� สอนสำ� คญั ในพระพทุ ธศาสนา (พทุ ธปรชั ญา 
เถรวาท)”  ตอนท่ีว่าด้วยปฏิจจสมุปบาท  ที่แยกพิมพ์ต่างหากก็ม ี
ช่ือหนังสือว่า  “ไตรลักษณ์และปฏิจจสมุปบาท”  ขอท่านผู้สนใจ 

1พ8ุทธอทุ าน

ได้โปรดอ่านตามที่แนะน�ำมาน้ี  ก็จะเข้าใจปฏิจจสมุปบาทตาม 
สมควร เขียนไวต้ ้ังแต่ป ี ๒๕๑๘ เปน็ เวลาถึง ๓๖ ปีมาแลว้

คำ� วา่  “พราหมณ”์  ในพทุ ธอทุ านน ี้ หมายถงึ  ทา่ นผรู้  ู้ ผสู้ งบ 
หมายอยา่ งสงู ถงึ พระอรหนั ตผ์ สู้ นิ้ กเิ ลส เรยี กอกี ชอื่ หนงึ่ วา่  พระ 
ขณี าสพ แปลวา่  ผสู้ น้ิ อาสวะแลว้  คำ� วา่  “พราหมณ”์  ความหมาย 
โดยทั่วไปหมายถึง  ผู้ท่ีเกิดในวรรณะพราหมณ์ในสังคมอินเดีย 
โบราณ  ซึ่งแบ่งประชาชนออกเป็น  ๔  วรรณะ  คือ  กษัตริย์ 
พราหมณ์  ไวศยะ  ศูทร 

ในพระสตู รท ่ี ๒ และท ี่ ๓ แหง่ โพธวิ รรคน ้ี ใหช้ อ่ื วา่  ทตุ ยิ - 
โพธสิ ตู ร และตตยิ โพธสิ ตู ร ทา่ นเลา่ เรอื่ งพระพทุ ธเจา้ ทรงพจิ ารณา 
ปฏิจจสมุปบาทเหมือนกัน  ต่างกันแต่เพียงพุทธอุทานตอนท้าย 
เพียงเลก็ นอ้ ย คอื  

พระสูตรที ่ ๒ วา่  “เพราะร้คู วามสิ้นไปแห่งเหตุปจั จยั ”
พระสูตรท่ี  ๓  ว่า  “ย่อมก�ำจัดมารและเสนามารเสียได ้
เหมอื นดวงอาทติ ยอ์ ทุ ยั ก�ำจดั ความมืดฉะนน้ั ”
พระสูตรที่  ๑  ว่าด้วยปฏิจจสมุปบาทโดยอนุโลมคือตาม 
ลำ� ดบั ตงั้ แตอ่ วชิ ชาเปน็ ตน้ มา หมายถงึ  ปฏจิ จสมปุ บาทสายเกดิ  
คอื  ความเกดิ ขนึ้ แหง่ ทกุ ข ์ พระสตู รท ่ี ๒ วา่ ดว้ ยปฏจิ จสมปุ บาท 
สายดบั  หมายถงึ  การดบั แหง่ ทกุ ขเ์ พราะอวชิ ชาดบั เปน็ ตน้  เรยี ก 
อกี อยา่ งหนงึ่ วา่ ปฏจิ จสมปุ บาทโดยปฏโิ ลม พระสตู รท ่ี ๓ วา่ ดว้ ย 
ปฏจิ จสมปุ บาททงั้ อนโุ ลมและปฏโิ ลม คอื ทงั้ สายเกดิ และสายดบั  
หมายถึง การเกดิ แหง่ ทกุ ข์และการดับแหง่ ทกุ ข์



พระพทุ ธอุทาน เรอ่ื ง

คณุ สมบตั ิ
ทีท่ ำ� ให้เป็นพราหมณ์

(อชปาลนโิ ครธสตู ร)

ความเบ้อื งตน้
เม่ือพระพุทธเจ้าตรัสรู้ใหม่ๆ  สัปดาห์ท่ี  ๔  ประทับอยู่ใต ้

ต้นอชปาลนิโครธ  (ต้นไทรซ่ึงเด็กเล้ียงแพะชอบมาพัก)  ตลอด 
เวลา ๗ วนั  ครง้ั นนั้  มพี ราหมณค์ นหนงึ่ ผา่ นมา พราหมณค์ นนี้ 
ท่านว่าชอบพูดตวาดผู้อ่ืนว่า  หึ  หึ  ได้ทูลถามพระพุทธองค์ว่า 
บุคคลมีคุณสมบัติเช่นไรจึงเรียกว่าเป็นพราหมณ์  พระพุทธเจ้า 
ตรัสตอบว่า

“ผู้ใดลอยบาปได้แล้ว  ไม่มักตวาดผู้อื่นว่า  หึ  หึ  ไม่มีกิเลส 
ย้อมใจ  ส�ำรวมตนแล้ว  จบเวท  จบพรหมจรรย์แล้ว  ไม่มีกิเลส 
เป็นเหตุใหฟ้ ูข้ึน ผนู้ ั้นควรได้รับยกยอ่ งว่าเป็นพราหมณ์โดยชอบ 
ธรรม”

2พ0ทุ ธอุทาน

อธิบายความ
การลอยบาปหรือการละเว้นบาป  เป็นหลักค�ำสอนส�ำคัญ 

อย่างหนึ่งของพระพุทธศาสนา  ดังข้อความตอนหน่ึงในโอวาท 
ปาตโิ มกขว์ า่  การไมท่ ำ� บาปทง้ั ปวง ๑ การทำ� กศุ ลใหถ้ งึ พรอ้ ม ๑ 
การท�ำจิตของตนให้ผ่องแผ้ว  ๑  เป็นค�ำสอนของพระพุทธเจ้า 
ท้ังหลาย

ผู้บวชแล้วท่านเรียกว่า  บรรพชิต  แปลว่า  ผู้ลอยบาปหรือ 
เวน้ บาป ถา้ ทำ� ไดต้ ามชอื่ กจ็ ะเปน็ ผคู้ วรไดร้ บั การเคารพบชู าจาก 
ศาสนิกชน

ตามประเพณีนิยมของคนไทย  ถึงกลางเดือน  ๑๒  นิยม 
ลอยกระทงกันในแม่น�้ำ  ข้าพเจ้าเคยเสนอว่า  ถึงวันเช่นนี้ถ้าเรา 
มานดั กนั ลอยบาป คอื  เวน้ จากการทำ� ชว่ั ทว่ั ประเทศสกั วนั หนงึ่ ก็ 
จะดไี มน่ อ้ ย แทนการลอยกระทง ซง่ึ ความหมายคลมุ เครอื เตม็ ที 
ไม่ชัดเจนว่าท�ำเพ่ืออะไร  ตอนที่ข้าพเจ้าเขียนเรื่องนี้เป็นเวลาที่ 
กำ� ลงั เกดิ อทุ กภยั ใหญห่ ลวงในเมอื งไทย สงสยั วา่ เขาจะลอยกระทง 
กันอย่างไร  นอกจากอุทกภัยแล้ว  โรคภัยและโจรภัยก็มีมากข้ึน 
ทพุ ภกิ ขภยั  (ความอดอยาก) กม็ มี ากขน้ึ ดว้ ย ลำ� บากกนั ไปทว่ั หนา้  
พิจารณาแล้วน่าสงสารจริงๆ  ควรเป็นที่ต้ังแห่งความสังเวช 
สลดใจว่า  นี่เป็นภัยอย่างหนึ่งของสังสารวัฏ  (การเวียนว่ายตาย 
เกิด)  ตราบใดที่ยังมีสังสารวัฏทุกข์  ก็ย่อมติดตามอยู่ตราบนั้น 
ทุกข์เป็นภัยใหญ่ของสัตว์โลกตามพระพุทธพจน์ที่ว่า  “ทุกฺขมสฺส 
มหพภฺ ย”ํ  แปลวา่  ทกุ ขเ์ ปน็ ภยั ใหญข่ องสตั วโ์ ลก บาปเปน็ ตน้ เหต ุ

21

วศิน อนิ ทสระ

สำ� คญั อยา่ งหนงึ่ ของความทกุ ข์ พระพทุ ธเจา้ ตรสั เตอื นไวว้ า่  “ถา้  
ท่านท้ังหลายกลัวต่อความทุกข์  ความทุกข์ไม่เป็นท่ีรักของท่าน 
ทงั้ หลายแล้ว ท่านทัง้ หลายอย่าท�ำบาปทง้ั ในที่แจ้งและในทล่ี ับ

ค�ำวา่  “ไม่มกี ิเลสย้อมใจ”  น้ัน มีอธิบายโดยย่อวา่  จติ โดย 
สภาพปกติเป็นสิ่งผ่องใส  แต่เศร้าหมองไปเพราะกิเลสต่างๆ 
เข้ามาย้อม  เช่น  โลภ  โกรธ  หลง  เป็นต้น  เม่ือถูกกิเลสตัวใด 
ครอบงำ� หรอื ยอ้ มจติ  บคุ คลยอ่ มทำ� กรรมตา่ งๆ ไปตามกเิ ลสนนั้  
ขา้ พเจา้ ระลกึ อยเู่ สมอและพดู อยเู่ สมอวา่  กเิ ลสเปน็ ศตั รหู มายเลข 
หนึ่งของมนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย  เมื่อกิเลสครอบง�ำจิตก็เป็น 
เหตุให้ท�ำกรรมที่เป็นบาปอกุศล  กรรมซ่ึงเขาท�ำต่างกันท�ำให้มี 
วิบากคือผลต่างกัน  ท�ำให้สัตว์ทั้งหลายต่างกัน  เป็นวัฏจักรคือ 
หมนุ เวยี นไป กเิ ลส กรรม วบิ าก ทา่ นเรยี กวา่  วฏั ฏะ ๓ ถา้ ไมม่ ี 
กิเลสเครื่องย้อมใจ  จิตก็บริสุทธ์ิ  เป็นไปชั่วคราวบ้างท่ีเรียกว่า 
ตทังควิมุตติ  เป็นไปเพราะข่มกิเลสไว้ได้บ้าง  ด้วยก�ำลังฌาน 
ทา่ นเรยี กวา่  วกิ ขมั ภนวมิ ตุ ต ิ ตดั กเิ ลสไดเ้ ดด็ ขาดบา้ ง ทา่ นเรยี ก 
ว่า  สมุจเฉทวิมุตติ ผู้ตัดกิเลสได้เด็ดขาดแม้เพียงบางส่วนย่อม 
เปน็ พระอรยิ เจา้  คอื  พระโสดาบนั บา้ ง พระสกทาคามบี า้ ง พระ 
อนาคามีบ้าง  ถ้าตัดกิเลสได้ส้ินเชิงก็เป็นพระอรหันต์ท่ีท่านเรียก 
ในพทุ ธอทุ านนวี้ า่  จบเวท จบพรหมจรรย ์ เรยี กวา่ เปน็ พราหมณ ์
โดยชอบธรรม  การส้ินกิเลสควรจะเป็นจุดหมายสูงสุดของชีวิต 
เพราะทำ� ใหส้ ้นิ ภพ สิน้ ชาต ิ และสิ้นทุกข์



พระพุทธอทุ าน เร่ือง

ผ้สู นิ้ สงั โยชน์
(เถรสูตร)

ความเบ้อื งตน้
ครง้ั นนั้ พระผมู้ พี ระภาคเจา้ ประทบั อยทู่ เี่ ชตวนั วหิ าร เมอื ง 

สาวัตถี  มีพระเถระผู้ใหญ่เป็นจ�ำนวนมาก มีพระสารีบุตร  พระ 
โมคคัลลานะเป็นต้นไปเฝ้า  ภิกษุผู้เคยอยู่ในวรรณะพราหมณ์รูป 
หน่ึงทูลถามพระพุทธเจ้าว่า  บุคคลเช่นใดเรียกว่าเป็นพราหมณ ์
พระพุทธเจ้าตรัสตอบว่า

“ผใู้ ดลอยบาปไดแ้ ลว้  มสี ตทิ กุ เมอื่  สน้ิ สงั โยชนแ์ ลว้  เปน็ ผรู้ ้ ู
เราเรยี กผูน้ ้นั วา่ เปน็ พราหมณ”์
อธบิ ายความ

ค�ำว่า “สติ” มคี วามหมายหลายอยา่ ง เชน่  
ความระลกึ ได ้ คอื  ระลกึ สง่ิ ทเ่ี คยทำ� และคำ� ทเ่ี คยพดู แลว้ แม้ 
นานได ้ ความหมายนีป้ รากฏในนาถกรณธรรมสตู ร

23

วศิน  อินทสระ

ความระวัง  ซ่ึงมีความหมายเท่ากับความไม่ประมาท  เช่น 
ข้อความท่ีว่า  “กระแสกิเลสเหล่าใดไหลไปในโลก  กระแสกิเลส 
เหลา่ นนั้ ยอ่ มปดิ กนั้ เสยี ไดด้ ว้ ยสต”ิ  หรอื  “สตเิ ปน็ เครอ่ื งกนั้ กระแส 
กเิ ลสเหลา่ นน้ั ” ทา่ นมกั จะกลา่ วเสมอวา่  “ความไมป่ ระมาท คอื  
การอยโู่ ดยไมป่ ราศจากสต”ิ  บางแหง่ ทา่ นกลา่ ววา่  เอาสตเิ ปน็ เครอื่ ง 
รักษาจิต  หรือท�ำการรักษาจิตด้วยสติคือด้วยความไม่ประมาท 
เช่น

ระวังจติ ไม่ใหก้ ำ� หนดั ในอารมณท์ น่ี า่ กำ� หนัด
ระวงั จติ ไมใ่ ห้ขดั เคอื ง ในอารมณ์อันน่าขัดเคือง
ระวังจิตไม่ให้หลง ในอารมณท์ นี่ า่ หลง
ระวงั จิตไม่ให้มัวเมา ในอารมณท์ ี่นา่ มวั เมา
ในสตปิ ฏั ฐานสตู ร พระพทุ ธองคท์ รงสอนใหพ้ ทุ ธสาวกเปน็  
ผู้มีความเพียร  มีสติ  มีสัมปชัญญะ  เพ่ือถอนความพอใจและ 
ไมพ่ อใจในโลกเสีย
มีพระพุทธพจน์มากหลายที่ตรัสสรรเสริญสติ  เช่น  ผู้มีสต ิ
ทุกเม่ือ  วางเฉยในอารมณ์ต่างๆ  ไม่ส�ำคัญตนว่าวิเศษกว่าเขา 
ต่�ำกว่าเขา  หรือเสมอเขา  บุคคลเช่นน้ันย่อมไม่มีกิเลสอันเป็น 
เหตุให้ฟูข้ึน
ฯลฯ
คำ� วา่  “ผสู้ นิ้ สงั โยชนแ์ ลว้ ” หมายถงึ  สงั โยชน ์ ๑๐ สงั โยชน ์
คือ กิเลสทผ่ี กู พันสัตว์ไว้ในวัฏฏะ
สักกายทิฏฐิ  ความเห็นว่ากายนี้เป็นของตน  ซ่ึงความจริง 

2พ4ทุ ธอุทาน

แลว้ เปน็ ของธรรมชาต ิ ประกอบดว้ ยธาต ุ ๕ คอื  ดนิ  นำ�้  ไฟ ลม 
และอากาศ (ช่องว่างทมี่ ีในกาย) 

วจิ กิ จิ ฉา ความสงสยั ไมแ่ นใ่ จในคณุ ของพระรตั นตรยั  และ 
ในปฏิปทาเพอื่ ให้ถงึ นพิ พาน

สีลัพพตปรามาส  ความเช่ือถือที่งมงายขัดกับหลักกรรม 
ไมเ่ ปน็ ไปเพ่ือความพน้ ทกุ ข์

กามราคะ ความกำ� หนัดพอใจในกาม
ปฏิฆะ ความหงุดหงิดร�ำคาญใจ
รูปราคะ ความตดิ ใจในรปู ฌาน
อรูปราคะ ความติดใจในอรูปฌาน
มานะ ความทะนงตน ความถอื ตัว
อุทธจั จะ ความฟุ้งซ่าน
อวชิ ชา ความไมร่ ูต้ ามความเปน็ จรงิ
ขอ้  ๑-๓ พระโสดาบนั ละได ้ สว่ นพระสกทาคามลี ะไดเ้ หมอื น 
พระโสดาบนั  และทำ� ราคะ โทสะ โมหะ ใหเ้ บาบาง ขอ้  ๔ และ ๕ 
พระอนาคามลี ะได ้ ขอ้  ๖-๑๐ พระอรหันต์ละได้
ค�ำว่า  “ผู้รู้”  คือ  รู้อริยสัจส่ีตามความเป็นจริง  ค�ำว่า  “ผู้รู้” 
ในทน่ี แี้ ปลมาจากคำ� วา่  “พทุ ธะ” ซงึ่ ทา่ นกลา่ วไว ้ ๓ ประเภทคอื  
สาวกพุทธะ  ปัจเจกพุทธะ  และสัมมาสัมพุทธะ  อรรถกถากล่าว 
วา่  ในท่ีน้ีท่านหมายเอาสาวกพทุ ธะ คือพทุ ธะผเู้ ปน็ สาวก



พระพุทธอทุ าน เรอ่ื ง

ผูค้ ายโทษออกได้แล้ว
(มหากสั สปสตู ร) 

ความเบอ้ื งต้น
สมยั หนึง่  พระผมู้ ีพระภาคเจา้ ประทับอยู่ ณ เวฬวุ ันวิหาร 

(สวนไม้ไผ่)  อันเป็นท่ีพระราชทานเหยื่อแก่กระแต  ใกล้กรุงราช- 
คฤห์  สมัยน้ัน  พระมหากัสสปอาพาธหนักอยู่ท่ีปิปผลิคูหา  เมื่อ 
หายอาพาธแลว้  ทา่ นตอ้ งการไปบณิ ฑบาตเพอ่ื โปรดคนทง้ั หลาย 
ใหไ้ ดร้ บั ความสขุ จากการถวายบณิ ฑบาตแกท่ า่ น ทราบวา่ เทวดา 
เป็นจ�ำนวนร้อยเตรียมถวายบิณฑบาตแก่ท่าน  แต่ท่านไม่สนใจ 
(เพราะเห็นว่าเทวดาเหล่าน้ันมีสมบัติ  มีความสุขอยู่แล้ว)  ท่าน 
ไปโปรดคนยากจน พระพทุ ธเจา้ ทรงทราบเรอ่ื งนน้ั ดว้ ยทพิ ยจกั ษ ุ
แลว้  ไดท้ รงเปลง่ อทุ านวา่

“ผทู้ ่ีเลี้ยงตน ไม่เล้ยี งผูอ้ ืน่  ผู้รู้ยง่ิ  ผ้ฝู ึกตนแลว้  ดำ� รงอยู่ใน 
สารธรรม ผสู้ น้ิ อาสวะแลว้  ผคู้ ายโทษออกไดแ้ ลว้  วา่ เปน็ พราหมณ”์

2พ6ทุ ธอุทาน

อธบิ ายความ
ทวี่ า่  “เลยี้ งตนไมเ่ ลย้ี งผอู้ น่ื ” นน้ั  เพอ่ื ใหเ้ ปน็ ผเู้ บากายเบาจติ  

(สลฺลหุกวุตฺติ)  ตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ในกรณียเมตตสูตร 
ตอนที่ว่าด้วยคุณสมบัติของผู้บรรลุสันตบท  กล่าวคือ  นิพพาน 
เม่ือประพฤติตนเป็นผู้เบากายเบาจิต  เป็นผู้เลี้ยงง่าย  ย่อมไม่มี 
อะไรตอ้ งหนกั อกหนกั ใจ ผคู้ รองเรอื นถา้ มลี กู หลานและบรวิ ารมาก 
ต้องมีภาระมากในการเล้ียงดูพวกเขา  มักหาได้ไม่พอค่าใช้จ่าย 
ท�ำให้หนักอกหนักใจ  สมณะผู้ปลีกตนออกจากเรือน  เป็นผู้ไม ่
ครองเรอื นซง่ึ ทา่ นเปรยี บวา่  มบี าตรเปน็ เหมอื นปกี นก โผผนิ บนิ  
ไปได้ตามทต่ี ้องการ

คำ� วา่  “ผรู้ ยู้ ง่ิ ” นนั้  หมายความวา่  รสู้ งิ่ ทค่ี วรร ู้ รแู้ ลว้ ทำ� ให้ 
ส้นิ ทกุ ข์หรอื ทุกข์น้อยลง

ค�ำว่า  “ฝึกตนดีแล้ว”  น้ัน  หมายความว่า  ฝึกอินทรีย์  คือ 
ตา ห ู จมกู  ลน้ิ  กาย ใจ ไมใ่ หต้ กไปในอำ� นาจของกเิ ลส วางเฉย 
อยใู่ นอารมณท์ ัง้  ๖ มีรปู เปน็ ตน้

คำ� วา่  “ดำ� รงอยใู่ นสารธรรม” นนั้  หมายความวา่  ดำ� รงอย ู่
ในสารธรรม คอื  ศลี  สมาธิ ปญั ญา วิมุตต ิ วิมุตตญิ าณทัศนะ

คำ� วา่  “ผสู้ นิ้ อาสวะแลว้ ” นน้ั  หมายความวา่  สนิ้ อาสวะทง้ั  ๔ 
คอื  กามาสวะ ทฏิ ฐาสวะ ภวาสวะ และอวชิ ชาสวะ

อาสวะ แปลวา่  กเิ ลสเครอ่ื งหมกั ดองจติ  ม ี กาม ความใคร,่  
ทฏิ ฐ ิ ความเหน็ ผดิ , ภพ ความยดึ ตดิ ในความเปน็ นน่ั เปน็ น ่ี หรอื  
ยังมคี วามตอ้ งการท่จี ะเกิดใหม่ คอื ยังยนิ ดใี นภพ

27

วศนิ  อินทสระ

อวชิ ชา คอื ความไมร่ ตู้ ามความเปน็ จรงิ  ทำ� ใหเ้ ขลาในชวี ติ
และปญั หาชีวติ

ค�ำว่า  “ผู้คายโทษออกได้แล้ว”  หมายความว่า  กิเลสอัน 
เป็นโทษ  กล่าวคือ  ราคะ  โทสะ  โมหะ  หรือ  โลภ  โกรธ  หลง 
เป็นต้น  เป็นสิ่งที่ท่านคายออกได้แล้ว  เหมือนหม้อที่คว่�ำไม่เก็บ 
นำ�้ ไว้

ตามตน้ เรอื่ งวา่  พระผมู้ พี ระภาคเจา้ ทรงเปลง่ อทุ านขอ้ ความ 
ดังกล่าวมาน้ี  เม่ือประทับอยู่ที่วัดเวฬุวันกลันทกนิวาปะ  เวฬุวัน 
นั้นเป็นวัดแรกในพระพุทธศาสนาที่พระเจ้าพิมพิสารน้อมถวาย 
พระพทุ ธเจา้  เมื่อเสดจ็ ราชคฤหเ์ ปน็ ครงั้ แรก หลงั จากตรสั รแู้ ล้ว

ค�ำว่า  “กลันทกนิวาปะ”  นั้น  แปลว่า  เป็นที่ให้เหยื่อแก่ 
กระแต พระอรรถกถาจารยเ์ ลา่ วา่  ในสมยั พระราชาพระองคก์ อ่ น 
พระองค์เสด็จไปชมราชอุทยาน  ทรงบรรทมที่ใต้ต้นไม้ต้นหนึ่ง 
ขณะน้ัน  งูเห่าตัวหน่ึงเลื้อยมาเพื่อจะฉกกัดพระองค์  กระแต 
ตัวหน่ึงร้องเสียงดังข้ึนจนพระราชาตื่นบรรทม  ทรงเห็นงูเลื้อย 
จากไป  ทรงรู้สึกว่าพระองค์รอดชีวิตคร้ังน้ีเพราะเสียงกระแต 
รับส่ังถามข้าราชบริพารว่า  สัตว์กระแตนี้ชอบอยู่ในท่ีใด  ทรง 
ทราบว่ามันชอบอยู่ท่ีต้นไผ่  เพื่อกตัญญูต่อมันและพวกของมัน 
จงึ รบั สง่ั ใหป้ ลกู ตน้ ไผเ่ ปน็ จ�ำนวนมากจนเปน็ สวนไผอ่ นั นา่ รน่ื รมย์ 
และรับสง่ั ให้ให้เหยอ่ื แกก่ ระแตเป็นประจ�ำทุกวัน



พระพุทธอุทาน เรอ่ื ง

ผ้พู น้ จากกิเลสเคร่ืองข้อง
(สังคามชสิ ูตร)

ความเบ้อื งต้น
สมยั หนง่ึ  พระผมู้ พี ระภาคประทบั อย ู่ ณ เชตวนั วหิ าร เมอื ง 

สาวัตถี  พระภิกษุรูปหนึ่งช่ือสังคามชิ  (แปลว่า  ผู้ชนะสงคราม) 
ไปเฝา้ พระผมู้ พี ระภาค ออกจากทเ่ี ฝา้ แลว้ มาพกั อยู่ ณ ใตต้ น้ ไม้ 
ต้นหน่ึง  มารดาบิดาของท่านมาอ้อนวอนให้ท่านสึกเพื่อไป 
ครอบครองสมบตั  ิ เมอ่ื ไมส่ ำ� เรจ็ จงึ ไปขอใหล้ กู สะใภซ้ ง่ึ มบี ตุ รนอ้ ย 
ผู้เป็นอดีตภรรยาของพระสังคามชิมาอ้อนวอน  เพื่อให้ท่านสึก 
ไปครองเรือนเพื่อเลี้ยงตนและบุตร  แต่ท่านสังคามชิก็คงน่ังเฉย 
นางจึงปล่อยเด็กไวใ้ กล้ๆ ทา่ นแลว้ ไปแอบดอู ย่ ู ดว้ ยหวงั วา่  แม ้
พระสังคามชิจะไม่ยินดีในตนก็จักยินดีในบุตร  แต่พระสังคามชิก ็
คงเฉย นางเห็นเช่นนนั้ นางจึงได้มาอ้มุ เด็กกลับไป

29

วศนิ  อนิ ทสระ

พระผู้มพี ระภาคเจา้ ไดท้ รงเห็นเหตกุ ารณน์ ั้นด้วยทพิ ยจกั ษ ุ
จึงทรงเปล่งอุทานในเวลานัน้ ว่า

“ผใู้ ดไมย่ นิ ดตี อ่ หญงิ ผมู้ าอย ู่ ไมเ่ ศรา้ โศกเสยี ใจเมอื่ เขาจากไป 
ผู้พ้นแล้วจากกิเลสเป็นเครื่องข้อง  ผู้ชนะสงครามแล้ว  เราเรียก 
ผนู้ น้ั ว่าเป็นพราหมณ”์
อธบิ ายความ

อรรถกถาเลา่ วา่  พระสงั คามชเิ ปน็ บตุ รเศรษฐคี นหนง่ึ ในเมอื ง 
สาวตั ถ ี ไดฟ้ งั ธรรมของพระผมู้ พี ระภาคเจา้ แลว้ ขอบวช แตม่ ารดา 
บดิ าไมอ่ นญุ าต จงึ นอนอดอาหารจนมารดาบดิ าสงสาร ทนไมไ่ ด้ 
จึงได้อนญุ าตให้บวชเชน่ เดียวกบั เรอ่ื งของพระรฐั บาล

ตอนท่ีภรรยาเก่าของพระสังคามชิพาบุตรมาหานั้น  พระ 
สงั คามชไิ ดส้ ำ� เรจ็ เปน็ พระอรหนั ตแ์ ลว้ จงึ เปน็ การงา่ ยทจี่ ะไมย่ นิ ด ี
เมอ่ื เขามา และไมเ่ สยี ใจเมอ่ื เขาจากไป โดยธรรมดาเรอื่ งอยา่ งน้ ี
เปน็ การทำ� สงครามในจิตใจส�ำหรบั ปุถุชนทว่ั ไป  แต่พระสังคามชิ 
เปน็ ผชู้ นะสงครามแลว้  พน้ แลว้ จากกเิ ลสเปน็ เครอ่ื งขอ้ ง ๕ อยา่ ง 
กล่าวคอื  ราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทฏิ ฐ ิ

ในทบ่ี างแหง่ เชน่ ในคมั ภรี ธ์ รรมบท พระผมู้ พี ระภาคตรสั วา่  
“เคร่ืองผูกเครื่องจองจ�ำที่ท�ำด้วยเชือกและไม้เป็นต้น  ไม่ม่ันคง 
เหมอื นเครอ่ื งผกู เครอ่ื งจองจ�ำกลา่ วคอื  บตุ ร ภรรยา และทรพั ย์ 
สมบัติ”



พระพุทธอทุ าน เร่อื ง

สัจจะและธรรมะ
(ชฏลิ สตู ร)

ความเบอ้ื งต้น
สมัยหนึ่ง  พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ท่ีคยาสีสะใกล ้

แมน่ ำ�้ คยาเมอื งราชคฤห ์ สมยั นนั้  มชี ฎลิ เปน็ อนั มากลงอาบนำ�้ ใน 
แม่น�้ำคยา  ด้วยหวังว่าตนจะบริสุทธ์ิสะอาดจากบาปด้วยน�้ำน้ัน 
พระผมู้ ีพระภาคเจา้ ทรงทราบเร่อื งนั้นแล้ว ทรงเปล่งอทุ านว่า

“ความสะอาด (ภายใน) มไี มไ่ ดด้ ว้ ยนำ�้  แตย่ งั มคี นเปน็ อนั มาก 
ทอ่ี าบนำ�้ อยเู่ พอ่ื ความสะอาดนนั้  สจั จะและธรรมะมใี นผใู้ ด ผนู้ นั้  
เป็นผู้สะอาดและเปน็ พราหมณ์”

31

วศิน  อินทสระ

อธิบายความ
พระพุทธเจ้าเคยตรัสว่า  ถ้าบุคคลจะบริสุทธ์ิได้ด้วยน�้ำ  ไป 

สวรรคไ์ ดด้ ว้ ยการอาบนำ้� ในแมน่ ำ้� ทเ่ี ขาเขา้ ใจวา่ เปน็ แมน่ ำ�้ ศกั ดสิ์ ทิ ธ์ิ 
กงุ้  หอย ป ู ปลา และเตา่ ในแมน่ ำ�้ กค็ งจะบรสิ ทุ ธ ์ิ และไปสวรรค์ 
กนั หมดแล้ว เพราะแชอ่ ยใู่ นแมน่ ำ้� ตลอดเวลา

คำ� วา่  “สจั จะ” หมายถงึ  สจั จวาจา มพี ระพทุ ธศาสนสภุ าษติ  
หลายแห่งท่ีกล่าวถึงคุณของสัจจวาจา  เช่นว่า  สัจจะเป็นวาจาที ่
ไม่ตาย  สัจจะเป็นรสดียิ่งกว่ารสทั้งหลาย  สัตบุรุษท้ังหลายย่อม 
ต้ังอยูใ่ นสจั จะที่เปน็ ประโยชน์และเป็นธรรม ฯ

สัจจะ  หมายถึง  สัจจญาณก็ได้  กล่าวคือ  ญาณในสัจจะ 
ทัง้  ๔ ไดแ้ ก ่ ญาณในอรยิ สจั  ๔

ค�ำว่า  “ธรรมะ”  ในท่ีน้ี  หมายถึง  โลกุตตรธรรม  ๙  คือ 
มรรค  ๔  ผล ๔ มีโสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล เป็นต้น  และ 
นพิ พาน ๑ ถามวา่  โลกยี ธรรมมเี ทา่ ใด ตอบวา่  นอกจากโลกตุ ตร- 
ธรรม ๙ แลว้  กเ็ ปน็ โลกียธรรมทั้งหมด

พระพุทธเจ้าตรัสเร่ืองน้ีเม่ือประทับอยู่ท่ีภูเขาลูกหน่ึงชื่อ 
คยาสีสะ  อรรถกถาอธิบายว่าที่ช่ือคยาสีสะน้ัน  เพราะมียอด 
เหมือนหัวช้าง



พระพุทธอทุ าน เร่อื ง

พระนิพพาน
พ้นจากสขุ และทุกข์

(พาหยิ สูตร)

ความเบือ้ งต้น
พระสตู รน ้ี ความเบอ้ื งตน้ ไดเ้ ลา่ เรอื่ งพระพาหยิ ะ ทารจุ รี ยิ ะ 

ซง่ึ ทา่ นไดร้ จนาไวแ้ ลว้ ในอรรถกถาธรรมบท สหสั สวรรควรรณนา 
ซ่ึงข้าพเจ้าได้เขียนไว้แล้วในหนังสือช่ือ  ทางแห่งความดี  เล่ม  ๒ 
(สำ� นกั พมิ พธ์ รรมดาจดั พมิ พ)์  จะนำ� มากลา่ วในทน่ี เี้ ฉพาะบางสว่ น 
คือ

ทา่ นพาหยิ ะไดต้ ง้ั ความปรารถนาไวเ้ พอ่ื บรรลธุ รรมไดร้ วดเรว็  
(ขปิ ปาภญิ ญา) ในสมยั พระพทุ ธเจา้ พระนามวา่ ปทมุ ตุ ตระ เพราะ 
ไดเ้ หน็ ภกิ ษรุ ปู หนง่ึ ผเู้ ปน็ สาวกของพระสมั มาสมั พทุ ธเจา้ พระองค ์
นั้นได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้เลิศในทางขิปปาภิญญา  จึงต้ัง 
ความปรารถนาว่า  ขอให้ตนได้เป็นเช่นน้ันบ้างในศาสนาของ
พระพทุ ธเจา้ องคใ์ ดองคห์ นงึ่ ในอนาคต จงึ ไดส้ ำ� เรจ็ สมปรารถนา 
ในศาสนาของพระพทุ ธเจา้ พระองค์น้ี

33

วศิน อนิ ทสระ

เม่ือท่านพาหิยะได้ทราบข่าวจากเทวดาผู้เป็นเพื่อนเก่าว่า 
บดั นพี้ ระพทุ ธเจา้ ไดเ้ กดิ ขนึ้ แลว้  ใหร้ บี เดนิ ทางไปเฝา้ พระพทุ ธเจา้  
ผู้เป็นพระอรหันต์  ณ  เมืองสาวัตถี  ราชธานีแห่งแคว้นโกศล 
ระยะทางห่างจากท่าสุปปารกะซึ่งท่านพาหิยะพักอยู่ในเวลานั้น 
ถึง  ๑๒๐  โยชน์  (๑  โยชน์  =  ๑๖  กิโลเมตร)  ไกลถึง  ๑,๙๒๐ 
กิโลเมตร ซ่ึงเป็นระยะทาง มิใช่น้อย บางต�ำราว่าเดินทางเพียง 
คนื เดยี ว วนั รงุ่ ขนึ้ กถ็ งึ วดั เชตวนั ดว้ ยเทวานภุ าพและพทุ ธานภุ าพ 
บางตำ� ราวา่  เดนิ ทางโดยพกั แหง่ ละ ๑ คนื เทา่ นน้ั  หมายความวา่  
ออกเดนิ ทางแตเ่ ชา้ คำ่� ไหนนอนนน่ั  แตน่ อนเพยี งราตรเี ดยี วแลว้  
ออกเดินทางตอ่ ไป (เชน่  ในอรรถกถาพาหยิ สตู ร) 

พระพุทธพจน์ท่ีตรัสกับท่านพาหิยะว่า  “ท่านพึงศึกษาว่า 
จกั สักแตว่ ่าเหน็ ในสงิ่ ท่ีได้เห็น (ทิฏเฺ ฐ ทฏิ ฐฺ มตตฺ ํ) จกั สกั แตว่ า่ ฟัง 
ในส่ิงที่ได้ฟัง  (สุเต  สุตมตฺตํ)  จักสักแต่ว่ารู้ในส่ิงที่ได้รู้  (มุเต 
มุตมตฺตํ )”  ข้อน้ีหมายความว่า  รู้ทางจมูก  ลิ้น  กาย  จักสักแต่ว่า 
รแู้ จง้ ในสงิ่ ทไี่ ดร้ แู้ จง้  (วญิ ญฺ าเต วญิ ญฺ าตมตตฺ ํ) ขอ้ นห้ี มายความ 
วา่  รูท้ างใจ

รวมความว่า ให้ไม่ยินดียินร้ายเม่ือได้เห็นรูปด้วยจักษ ุ ฟัง 
เสียงด้วยหู  จนถึงรู้อารมณ์ด้วยใจ  คือ  ให้ระวังส�ำรวมอินทรีย ์
คอื  อายตนะภายใน ๖ นนั่ เองเมอ่ื กระทบกบั อายตนะภายนอก ๖ 
เมอ่ื ทำ� ไดด้ งั นก้ี จ็ ะถงึ ทสี่ ดุ แหง่ ทกุ ขค์ อื สน้ิ ทกุ ขน์ น่ั เอง ทา่ นพาหยิ ะ 
ไดส้ ำ� เร็จเปน็ พระอรหันต์ด้วยพระพทุ ธโอวาทเพยี งเท่าน้ี

เมอ่ื ทา่ นพาหยิ ะเปน็ พระอรหนั ตแ์ ลว้  ไปแสวงหาบาตรและ 

3พ4ทุ ธอุทาน

จีวรเพ่ือบวช  ถูกแม่โคลูกอ่อนขวิดจนเสียชีวิต  แม่โคลูกอ่อนน ี้
ทา่ นวา่ เปน็ ยกั ษณิ ซี ง่ึ ผกู เวรกบั ทา่ นไวใ้ นชาตกิ อ่ น ซง่ึ ทา่ นพาหยิ ะ 
และพวกรุมกันท�ำร้ายหญิงคนหนึ่งเพอื่ ชงิ เอาสมบตั ิ

เมอื่ พระผมู้ พี ระภาคเจา้ เสดจ็ กลบั จากบณิ ฑบาตพรอ้ มดว้ ย 
ภิกษุสงฆ์  ได้ทอดพระเนตรเห็นศพของท่านพาหิยะ  ได้ตรัสกับ 
ภิกษุทั้งหลายว่า  “เพื่อนพรหมจรรย์ของพวกเธอได้สิ้นชีวิตแล้ว 
(สพฺรหฺมจารี โว ภิกฺขเว การกโต)”  แล้วรับสั่งให้ภิกษุบางรูปไป 
ขอเตียงจากชาวบ้านมาหามศพท่านพาหิยะไปเผา  แล้วให้ท�ำ 
สถูปบรรจุกระดูกไว้เป็นท่เี คารพบชู าของมหาชน

มีข้อน่าสังเกตตรงนี้ว่า  ท่านพาหิยะยังไม่ได้บวช  แต่พระ- 
พทุ ธเจา้ ตรสั กบั ภกิ ษทุ ง้ั หลายวา่  “เพอ่ื นพรหมจารขี องเธอสน้ิ ชวี ติ  
แล้ว”  เม่ือตรัสตั้งเอตทัคคะ  (ความเป็นผู้เลิศ)  ท่านพาหิยะเป็น 
ผเู้ ลศิ ทางขปิ ปาภญิ ญา (รธู้ รรมไดเ้ รว็ ) และจดั อยใู่ นกลมุ่ ของภกิ ษุ

ณ วดั เชตวนั  เมอื งสาวตั ถ ี ภกิ ษทุ ง้ั หลายทลู ถามพระพทุ ธ- 
เจ้าว่า  ท่านพาหิยะได้ฟังธรรมเพียงเล็กน้อยในระหว่างทางท ่ี
พระองค์เสด็จออกบิณฑบาต  ไฉนจึงส�ำเร็จเป็นพระอรหันต์ได้ 
อยา่ งรวดเรว็  พระพทุ ธเจา้ ตรสั ตอบวา่  “เธออยา่ คดิ วา่ คำ� ของเรา 
มากหรอื นอ้ ย” และตรสั ต่อไปว่า

“คาถาแม้ตั้งพัน  แต่ไม่ประกอบด้วยบทอันมีประโยชน์ 
ไม่ประเสริฐเลย  บทแห่งคาถาเดียวที่บุคคลฟังแล้วสงบระงับได้ 
ประเสรฐิ กว่า”

เมอ่ื ภกิ ษทุ งั้ หลายทลู ถามวา่  คตสิ มั ปรายภพของทา่ นพาหยิ ะ 

35

วศิน อนิ ทสระ

เป็นอย่างไร  พระพุทธองค์ตรัสตอบว่า  “ท่านพาหิยะสิ้นกิเลส 
นิพพานแลว้ ” และตรสั พระพทุ ธภาษติ น้ีวา่

“ทใ่ี ดไมม่  ี ดนิ  นำ�้  ไฟ ลม ไมม่ แี สงจนั ทร ์ แสงอาทติ ย ์ แสง 
ดาวก็ไม่มี  แต่ในท่ีนั้นไม่มีความมืด  เมื่อใดพราหมณ์ผู้เป็นมุน ี
รู้ด้วยตนเองแล้ว  ด้วยญาณเป็นเครื่องรู้  เมื่อนั้นย่อมพ้นจากรูป 
อรปู  สขุ และทุกข์”

พระพทุ ธพจนน์  ้ี พระพทุ ธองคท์ รงแสดงอนปุ าทเิ สสนพิ พาน 
คือ  นิพพานของท่านผู้สิ้นกิเลสแล้วและสิ้นชีวิตแล้วว่า  พ้นจาก 
สขุ และทกุ ข ์ ทวี่ า่ พระนพิ พานเปน็ สขุ อยา่ งยงิ่ นนั้  โดยปรยิ ายหนง่ึ  
หมายเอาสอุปาทิเสสนิพพาน  คือ  “นิพพานของท่านผู้สิ้นกิเลส 
แล้วแต่ยังมีชีวิตอยู่”  ปุถุชนเป็นทุกข์อยู่ด้วยเร่ืองใดด้วยกิเลสใด 
ท่านไมต่ ้องทุกขด์ ้วยเรื่องน้ันด้วยกเิ ลสน้ัน จงึ เป็นสขุ อย่างยง่ิ

นิพพาน  ๒  อีกปริยายหนึ่ง  ช่ือเหมือนกันแต่ความหมาย 
ต่างกนั

สอุปาทิเสสนิพพาน  ดับกิเลสบางส่วนแต่ยังมีกิเลสเหลือ 
อยบู่ างสว่ น หมายถงึ  นพิ พานของพระโสดาบนั  พระสกทาคาม ี
พระอนาคามี

อนปุ าทเิ สสนพิ พาน ดบั กเิ ลสโดยไมม่ กี เิ ลสเหลอื  หมายถงึ  
นิพพานของพระอรหนั ต์*

* เรอ่ื งน้ีไมม่ ีหัวข้ออธบิ ายความ เพราะไดอ้ ธบิ ายเรื่อยๆ มาแล้ว



คั ม ภี ร์ อุ ท า น

มุ จ ลิ น ท ว ร ร ค





พระพทุ ธอทุ าน เรือ่ ง

ความสขุ อย่างยง่ิ
(มจุ ลินทสูตร)

ความเบอ้ื งตน้
พระคนั ถรจนาจารยเ์ ลา่ ไวว้ า่  ครงั้ นนั้ เมอ่ื ตรสั รใู้ หมๆ่  พระ- 

พุทธองค์ประทับอยู่ท่ีใต้ต้นมุจลินท์  (ต้นจิก)  ฝนตกพร�ำตลอด 
๗  วัน  ท่านเล่าว่ามีพญานาคชื่อมุจลินท์  เนรมิตกายให้ใหญ ่
วงลอ้ มพระผมู้ พี ระภาคไว ้ ๗ รอบ แผพ่ งั พานเปน็ หลงั คาปกปอ้ ง 
พระผู้มีพระภาคไม่ให้ถูกน�้ำฝน  เมื่อครบ  ๗  วันแล้วพญานาค 
แปลงกายเป็นคนหนุ่มยืนเฝ้าพระพุทธเจ้าอย ู่ พระพุทธเจ้าออก 
จากสมาธแิ ล้ว ทรงเปลง่ พระอุทานในเวลาน้ันวา่

4พ0ทุ ธอทุ าน

“สำ� หรบั ผสู้ นั โดษ ไดส้ ดบั ธรรมแลว้  เหน็ แจง้ อย ู่ ความวเิ วก 
เปน็ สขุ  ความไมเ่ บยี ดเบยี น กลา่ วคอื ความสำ� รวมในสตั วท์ งั้ หลาย 
เปน็ สขุ ในโลก ความปราศจากราคะ คอื  การกา้ วลว่ งกามทงั้ หลาย 
เสียได้  เป็นสุขในโลก  การถอนอัสมิมานะเสียได้  เป็นความสุข 
อย่างย่งิ ”
อธิบายความ

เกยี่ วกบั เรอ่ื งพญานาคน ี้ ถา้ เชอื่ วา่ เปน็ พญานาคจรงิ กห็ มด 
เร่ืองไป แต่บางท่านไม่เชอ่ื  สันนิษฐานวา่ เป็นคนดุร้ายพวกหน่ึง 
เรียกว่า  พวกเผ่านาคา  เลื่อมใสในพระผู้มีพระภาค  มาช่วยท�ำ 
ทพี่ กั ถวาย อรรถกถาแหง่ พระสตู รนเ้ี ชอื่ วา่ เปน็ พญานาคจรงิ  จงึ  
อธิบายไปแนวน้ัน

สำ� หรบั พระพทุ ธอุทานนั้น ขอแบ่งเปน็ เรอ่ื งๆ ดงั นี้
๑. เรอื่ ง “ความวเิ วก” กลา่ วคอื  ความสงดั  ทา่ นแบง่ เปน็  
๓ อย่าง คอื

๑.๑ กายวิเวก ความสงดั ทางกาย คือไดอ้ ยู่ในทีส่ งบ
๑.๒ จิตตวิเวก แปลว่า ความสงัดทางจิต คือใจสงบ 
อย่างสูงท่านหมายถึงฌาน  ๘  คือ  รูปฌาน  ๔ 
อรูปฌาน ๔
๑.๓  อุปธิวิเวก  ความสงัดกิเลส  หมายถึง  อริยมรรค 
อริยผล มโี สดาปตั ติมรรค เป็นต้น

41

วศิน อนิ ทสระ

๒. ความไมเ่ บยี ดเบยี น หมายถงึ  ความไมเ่ บยี ดเบยี นตน 
บา้ ง ความไมเ่ บยี ดเบยี นผอู้ นื่ บา้ ง ไมเ่ บยี ดเบยี นทงั้ ตนและผอู้ นื่  
บา้ ง ทา่ นขยายความเปน็ ความสำ� รวมในสตั วท์ งั้ หลาย ลองนกึ ด ู
เถิดว่า  ถ้าสัตว์ท้ังหลาย  เช่น  สังคมมนุษย์เป็นต้น  เว้นจากการ 
เบียดเบียนกัน  เก้ือกูลกันด้วยวิธีต่างๆ  สังคมโลกจะเป็นสุขสัก
เพียงใด  ในหมู่สัตว์เดรัจฉานก็เบียดเบียนกันอย่างน่าสยดสยอง 
ลองดูภาพยนต์สารคดีชีวิตสัตว์ในป่าหรือในทะเลทราย  ก็จะ 
เหน็ วา่  สตั วเ์ หลา่ นนั้ เบยี ดเบยี นกนั อยา่ งนา่ สะพรงึ กลวั  นา่ หวาด 
เสยี ว นา่ สงั เวชสลดจติ เพยี งใด มนษุ ยม์ ภี ยั รอบดา้ นอยแู่ ลว้  เชน่  
โรคภยั  ทพุ ภกิ ขภยั  (ความอดอยาก ขาดแคลนอาหาร) อทุ กภยั  
อคั คภี ยั  เปน็ ตน้  มากมายอยแู่ ลว้  มนษุ ยย์ งั เบยี ดเบยี นกนั เองอกี  
เชน่  โจรภยั  ววิ าทมลู กภยั  (ภยั เกดิ จากการทะเลาะววิ าทกนั ) เขา้  
มาอีก  มนุษย์ต้องเดือดร้อนหาความสงบสุขได้ยาก  ผู้ใดอยู ่
อยา่ งสงบสุขได ้ ผ้นู ้ันนบั ว่าโชคดใี นโลก

๓.  ความปราศจากราคะ  คือ  การล่วงพ้นกามทั้งหลาย 
เสียได ้ เป็นความสุขในโลก

โดยปริยายหนึ่ง  ราคะ  คือ  ความก�ำหนัดในอารมณ์ต่างๆ 
มรี ูปารมณ์ เปน็ ตน้  ทา่ นแบ่งเปน็  ๓ ช้นั  คือ

๓.๑  กามราคะ  ความก�ำหนัดยินดีในกามคุณ  กล่าว 
คอื รปู  เสียง กลนิ่  รส โผฏฐพั พะ

๓.๒ รปู ราคะ ความกำ� หนดั ยนิ ดีพอใจในรปู ฌาน ๔

4พ2ทุ ธอทุ าน

๓.๓ อรูปราคะ ความกำ� หนัดตดิ ใจในอรูปฌาน ๔
อรรถกถากลา่ ววา่  คำ� วา่  “ความปราศจากราคะ” คอื  ลว่ งพน้  
กามเสยี ได ้ หมายถงึ อนาคามมิ รรคญาณ ผบู้ รรลญุ าณนเี้ ปน็ พระ 
อนาคามี
๔.  อัสมิมานะ  หมายถึง  ความทะนงตน  ความถือตัว 
ความส�ำคญั มน่ั หมายวา่ ตนสงู กวา่ เขา ตำ่� กวา่ เขา หรอื เสมอเขา 
การถอนอสั มมิ านะเสยี ไดเ้ ปน็ ความสขุ อยา่ งยงิ่  อรรถกถากลา่ ววา่  
ข้อน้ีท่านหมายถึงอรหัตมรรคญาณ  ผู้บรรลุญาณนี้เป็นพระ 
อรหนั ต์



พระพุทธอุทาน เรือ่ ง

ให้ภกิ ษุสนทนาธรรม
และความสุขจากการสน้ิ ตณั หา

(ราชสตู ร)

ความเบ้อื งตน้
สมัยหน่ึง  พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่  ณ  พระวิหาร 

เชตวัน  เมืองสาวัตถี สมัยน้ันภิกษุมากรูปด้วยกันสนทนากันว่า 
ระหว่างพระราชา  ๒  พระองค์  คือ  พระเจ้าพิมพิสารราชาแห่ง 
แคว้นมคธ  และพระเจ้าปเสนทิโกศลราชาแห่งแคว้นโกศล 
พระองค์ใดมีทรัพย์สมบัติมากกว่ากัน  พระศาสดาเสด็จมายัง 
อุปัฏฐานศาลานั้น  (ศาลาเป็นที่บ�ำรุงสงฆ์)  ตรัสถามว่า  “ภิกษุ 
ทง้ั หลายสนทนากนั เรอ่ื งอะไรคา้ งอย ู่ เมอื่ ภกิ ษทุ ง้ั หลายกราบทลู  

4พ4ทุ ธอทุ าน

ให้ทรงทราบแล้ว  จึงตรัสว่า  “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  เมื่อพวกเธอ 
ประชมุ กนั  มกี จิ ทคี่ วรทำ�  ๒ อยา่ งคอื  สนทนาธรรม หรอื มฉิ ะนน้ั  
ก็น่ิงเสียประเสริฐกว่า  (ที่จะสนทนาเรื่องโลกๆ)”  ดังนี้แล้ว  ทรง 
เปลง่ อทุ านว่า

“กามสขุ กต็ าม ทพิ ยสขุ กต็ าม ในโลก มคี ณุ คา่ ไมถ่ งึ เสย้ี วท่ี 
๑๖ ของความสุขซ่งึ ได้จากการส้ินตัณหา”
อธิบายความ

สำ� หรบั ภกิ ษสุ งฆ ์ พระพทุ ธเจา้ ทรงพรำ�่ สอนใหห้ มน่ั สนทนา 
ธรรมเมอ่ื พบปะกนั  หมนั่ สอนธรรมแกค่ ฤหสั ถ ์ ตรสั สอนวา่  คฤหสั ถ ์
มอี ปุ การะมากแกเ่ ธอทงั้ หลายดว้ ยการถวายปจั จยั  ๔ เธอทงั้ หลาย 
ควรตอบแทนและทำ� อปุ การะแกเ่ ขาเหลา่ นนั้ ดว้ ยธรรมทาน เปน็  
ส่ิงขัดเกลาจิตใจและเปน็ เหตใุ หส้ ้นิ กเิ ลสส้ินทุกขไ์ ดด้ ว้ ย

กามสุข  พระพุทธเจ้าตรัสว่ามีรสน้อยมีทุกข์มาก  ไม่เท่ียง 
ไม่ย่ังยืน  เร่าร้อน  แม้ทิพยสุขของเทวดาก็ยังอยู่ในประเภท 
กามสขุ เหมอื นกนั  พระองคจ์ งึ ตรสั วา่  “ความสขุ เหลา่ นน้ั ไมถ่ งึ เสย้ี ว 
ท ่ี ๑๖ ของความสขุ ซงึ่ ไดจ้ ากการสน้ิ ตณั หา เพราะการสน้ิ ตณั หา 
ยอ่ มชนะทกุ ข์ท้งั ปวง (ตณหฺ กฺขโย สพพฺ ทุกขฺ ํ ชนิ าติ)”

๑๐

พระพุทธอุทาน เรอ่ื ง

สตั ว์ทัง้ หลายใครค่ วามสขุ
(ทณั ฑสูตร)

ความเบ้อื งตน้
เมื่อพระพุทธองค์ประทับอยู่  ณ  วัดเชตวัน  เมืองสาวัตถี 

เชา้ วนั หนง่ึ เสดจ็ ไปบณิ ฑบาตในเมอื งสาวตั ถี ระหวา่ งทางไดท้ รง 
พบเด็กเปน็ จ�ำนวนมากกำ� ลังใช้ท่อนไม้ตีงอู ย ู่ จงึ ทรงเปล่งอุทาน 
เปน็ เชงิ สอนวา่

“สตั วท์ ง้ั หลายใครต่ อ่ ความสขุ  ผใู้ ดแสวงหาความสขุ เพอื่ ตน 
ดว้ ยการเบยี ดเบยี นผอู้ น่ื ดว้ ยทอ่ นไม ้ ผนู้ นั้  ละโลกนไี้ ปแลว้  ยอ่ ม 
ไมไ่ ดค้ วามสขุ  สว่ นผใู้ ดแสวงหาความสขุ เพอื่ ตน โดยไมเ่ บยี ดเบยี น 
ผู้อืน่  ผูน้ น้ั ละโลกน้ีไปแล้วยอ่ มไดค้ วามสุข”
อธบิ ายความ

โดยธรรมดา  ท้ังมนุษย์และสัตว์เดรัจฉานย่อมรักความสุข 
เกลยี ดความทกุ ขด์ ว้ ยกนั ทง้ั นนั้  การแสวงหาความสขุ เพอ่ื ตนดว้ ย 

4พ6ทุ ธอทุ าน

การเบยี ดเบยี นผอู้ นื่ เปน็ การไมช่ อบธรรม ลองนกึ ในทางกลบั กนั  
ว่า  ถ้าเขาเบียดเบียนเราบ้างด้วยท่อนไม้หรือด้วยศัสตรา  เรา 
พอใจหรือ โบราณทา่ นจงึ สอนให้ “เอาใจเขามาใสใ่ จเรา” การท่ ี
ท่านสอนให้รักษาศีล  เช่น  ศีล  ๕  เป็นต้น  ก็เพื่อให้เว้นจากการ 
เบียดเบียนผู้อื่นบ้าง  เว้นจากการเบียดเบียนตนบ้าง  สอนให้ 
มีธรรม  เช่น  เมตตา  กรุณา  เป็นต้น  เพื่อน�ำสุขไปให้ผู้อ่ืน  ช่วย 
ก�ำจดั ทกุ ขผ์ ้อู นื่  เป็นตน้  เมอ่ื ใหส้ ุขแกผ่ ้อู น่ื  สขุ นน้ั ยอ่ มยอ้ นกลบั  
มาหาตน  (สุขโต  สุขฐานํ)  ในทางกลับกัน  เมื่อให้ทุกข์แก่ผู้อ่ืน 
ทุกข์น้ันก็ยอกย้อนมาหาตัว  (ทุกฺขโต  ทุกฺขฐานํ)  มีพุทธศาสน 
สุภาษิตอีกมากหลายในท�ำนองน ้ี เชน่

ผูฆ้ า่ ยอ่ มไดร้ ับการฆ่าตอบ
ผ้ชู นะย่อมไดร้ บั การชนะตอบ
ผู้ด่าย่อมไดร้ บั การดา่ ตอบ
ผ้ปู ระทษุ รา้ ยยอ่ มได้รบั การประทุษร้ายตอบ
ผู้บชู ายอ่ มไดร้ ับการบูชาตอบ
ผไู้ หว้ย่อมไดร้ ับการไวต้ อบ
ฯลฯ
เมื่อไม่มีใครลงโทษหรือให้รางวัล  กฎแห่งกรรมและกฎ 
แห่งธรรมย่อมลงโทษและให้รางวัลเองโดยวิธีใดวิธีหน่ึง  ทันตา 
เห็นบ้าง  ในสัมปรายภพบ้าง  เพราะฉะนั้นจึงควรเว้นจากการ
เบยี ดเบยี นกัน ควรอยดู่ ว้ ยการเกอื้ กลู กนั  ใหค้ วามสุขซึง่ กนั และ
กัน

๑๑

พระพทุ ธอุทาน เรอ่ื ง

ผัสสะ

(สักการสูตร)

ความเบ้ืองต้น
เม่ือพระพุทธเจ้าประทับอยู่ท่ีวัดเชตวัน  ลาภ  สักการะ 

ความเคารพนับถือจากมหาชน  ได้เกิดขึ้นเป็นอันมากแก่พระ- 
พุทธเจ้าและแก่พระภิกษุสงฆ์  พวกนักบวชในลัทธิอื่น  (อัญญ- 
เดียรถีร์)  เกิดความริษยา  ไม่พอใจ  ที่ลาภสักการะและความ 
นบั ถอื ไมไ่ ดเ้ กดิ ขนึ้ แกพ่ วกตนเชน่ นนั้ บา้ ง จงึ ชวนกนั ดา่ วา่ เสยี ดส ี
พระผมู้ พี ระภาคและภกิ ษสุ งฆ์ ภกิ ษทุ งั้ หลายไดก้ ราบทลู เรอื่ งนนั้  
แดพ่ ระศาสดา พระพทุ ธองคต์ รสั วา่

“ท่านท้ังหลาย  ผู้อันสุขและทุกข์ถูกต้องแล้วในบ้าน  ในป่า 
ไมต่ ง้ั สขุ และทกุ ขน์ น้ั จากตน ไมต่ ง้ั สขุ และทกุ ขน์ น้ั จากผอู้ นื่  ผสั สะ 
ทง้ั หลายยอ่ มถกู ตอ้ งเพราะอาศยั อปุ ธิ ผสั สะทงั้ หลายพงึ ถกู ตอ้ ง 
นิพพานอนั ไมม่ อี ุปธไิ ดอ้ ย่างไรเลา่ ”

4พ8ทุ ธอุทาน

อธบิ ายความ
พระพุทธพจน์นี้ตรัสสอนภิกษุท้ังหลายว่า  จะอยู่ในบ้าน 

หรืออยู่ในป่าก็ตาม  ให้ระวังเรื่องผัสสะ  เช่น  โสตผัสสะ  การ 
ได้ยินได้ฟังคำ� ด่าหรือค�ำสรรเสริญ มุนีทั้งหลายย่อมตระหนักว่า 
การไหวแ้ ละการดา่ เสมอกนั  สขุ หรอื ทกุ ขเ์ กดิ เพราะผสั สะ อยา่ งท ่ี
ท่านพุทธทาสภิกขกุ ล่าวไว้ว่า 

“ความทกุ ข์ยอ่ มโผล่ เมือ่ โงเ่ รื่องผัสสะ
ความทุกข์ย่อมไมโ่ ผล ่ เม่ือไมโ่ ง่เรือ่ งผสั สะ”
สขุ หรอื ทกุ ขเ์ กดิ จากกระท�ำของผอู้ น่ื บา้ ง เกดิ จากความคดิ  
ปรงุ ของตนเองบา้ ง แตถ่ า้ พจิ ารณาในแงส่ ญุ ญตา คอื  ความวา่ ง 
จากตัวตนหรือของตน  ย่อมไม่มีผู้ด่าหรือผู้ถูกด่า  มันเป็นเพียง 
สกั แตว่ า่ ธาต ุ ไม่มีสัตวไ์ มม่ บี คุ คล ไมม่ ีตัวตน ไมม่ ีเราเขา
พระพุทธพจนน์ ต้ี รัสถงึ อุปธิดว้ ย อุปธินัน้ ม ี ๒ อยา่ ง คือ
ขันธปู ธิ สิ่งอนั เป็นทต่ี ั้งแห่งความยดึ มนั่ คือขนั ธ์
กเิ ลสูปธ ิ สง่ิ อันเปน็ ทต่ี ั้งแห่งความยดึ ม่นั คือกเิ ลส
เมอ่ื ไมม่ ที งั้  ๒ อยา่ งกเ็ ปน็ นพิ พาน เรยี กวา่ ขนั ธนพิ พานบา้ ง 
กิเลสนิพพานบ้าง  ผัสสะท้ังหลายจะถูกต้องนิพพานได้อย่างไร 
นิพพานไม่มอี ารมณ ์ (อนารมณฺ )ํ  
พระพุทธพจน์น้ีทรงแสดงธรรมอย่างสูงแก่พระสงฆ์ผู้ 
เดอื ดรอ้ นเพราะถกู ดา่  ในทบ่ี างแหง่ พระพทุ ธองคต์ รสั วา่  “เพราะ 


Click to View FlipBook Version