49
วศนิ อนิ ทสระ
สุขหรือทุกข์ถูกต้องแล้ว บัณฑิตทั้งหลายย่อมไม่แสดงอาการ
ขึ้นลง ภูเขาศิลาล้วนย่อมไม่หว่ันไหวด้วยแรงลมฉันใด บัณฑิต
ท้งั หลายย่อมไม่หว่นั ไหวเพราะนินทาและสรรเสริญฉันนน้ั ”
พทุ ธศาสนกิ ชนควรพจิ ารณาบอ่ ยๆ ซงึ่ โลกธรรม ๘ ตามแนว
ของพระอรยิ ะ คอื พจิ ารณาสำ� เหนยี กตามความเปน็ จรงิ วา่ ลาภ
ยศ สรรเสริญ สุข เส่ือมลาภ เสื่อมยศ นินทา ทุกข์ เป็นของ
ไม่เท่ียง มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา จิตใจจะได้ตั้งม่ันไม ่
หวั่นไหวด้วยโลกธรรม ในมงคลสูตรตรัสสอนว่า จิตของผู้ใดอัน
โลกธรรมถูกต้องแล้วไม่หวั่นไหว เป็นจิตที่ไม่โศก ปราศจากธุล ี
เปน็ จิตเกษม เป็นมงคลอนั สงู สุด
๑๒
พระพทุ ธอทุ าน เรอ่ื ง
ความไมก่ งั วล
เป็นเหตใุ หเ้ กิดสุข
(อปุ าสกสูตร)
ความเบอ้ื งต้น
อุบาสกคนหน่ึงชาวบา้ นอิจฉานังคละไปทำ� ธรุ ะบางอยา่ งที ่
เมืองสาวัตถี เมื่อเสร็จธุระแล้วก็ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ณ วัด
เชตวนั พระพทุ ธองคต์ รสั ทกั ทายวา่ “อบุ าสกไมไ่ ดม้ าเฝา้ เสยี นาน
แลว้ ” เขากราบทลู วา่ อยากจะมาเฝา้ อยนู่ านแลว้ เหมอื นกนั แตม่ ี
ภาระธรุ ะมากยงุ่ อย่ ู จงึ ไมไ่ ดม้ าเฝา้ พระพทุ ธเจา้ ทรงเปลง่ อทุ าน
ในเวลาน้นั ว่า
“กิเลสเครือ่ งกังวลยอ่ มไม่มีแก่ผ้ใู ด ความสุขย่อมมีแกผ่ ู้นนั้
หนอ ผมู้ ธี รรมอนั นบั ไดแ้ ลว้ เปน็ พหสู ตู ทา่ นจงดบู คุ คลผมู้ กี เิ ลส
เครื่องกังวล เดือดร้อนอยู่ ผู้ที่ยังเก่ียวข้องด้วยผู้อ่ืนอยู่ย่อม
เดอื ดร้อน”
51
วศนิ อนิ ทสระ
อธบิ ายความ
อุบาสกผู้นั้นเป็นชาวอิจฉานังคลคาม อิจฉานังคลคามน้ัน
อยใู่ นแควน้ โกศลนนั้ เอง ตามปกตเิ ขาไปเฝา้ พระพทุ ธเจา้ เสมอๆ
แตข่ าดหายไปหลายวัน เพราะย่งุ อยดู่ ้วยกจิ ธุระบางอยา่ ง
เกยี่ วกบั เรอ่ื งความกงั วล มนษุ ยเ์ รามคี วามกงั วลมาก ยง่ิ มี
กิจมากย่ิงมีภาระมากก็ย่ิงมีความกังวลมาก นอกจากนี้ยังกังวล
เพราะกเิ ลส เชน่ ความโลภ ความโกรธ ความหลง ผไู้ มก่ งั วลจงึ
อยเู่ ปน็ สขุ ผมู้ บี ตุ รภรรยาหรอื สามแี ละญาตยิ อ่ มกงั วลดว้ ยบคุ คล
เหลา่ นนั้ ผมู้ ที รพั ยส์ มบตั มิ ากกก็ งั วลดว้ ยทรพั ยส์ มบตั ิ พระพทุ ธ-
องคต์ รสั วา่ “คนเขลายอ่ มเดอื ดรอ้ นอยวู่ า่ บตุ รของเราม ี ทรพั ย์
ของเราม ี อนั ทจี่ รงิ แลว้ ตนของตนยงั ไมม่ ี บตุ รและทรพั ยจ์ ะมแี ต ่
ที่ไหน (จักมีได้อยา่ งไร)” (พาลวรรค ธรรมบท)
บางคราวมผี มู้ ากราบทลู วา่ ผมู้ บี ตุ รยอ่ มบนั เทงิ เพราะบตุ ร
ผมู้ โี ค (ทรพั ยส์ มบตั )ิ ยอ่ มบนั เทงิ เพราะโค ความบนั เทงิ ของบคุ คล
ย่อมมีได้เพราะสิ่งที่ยึดถือ เม่ือไม่มีอะไรจะยึดถือก็ไม่มีอะไร
จะบนั เทงิ พระพทุ ธเจา้ ตรสั ตอบวา่ “ผมู้ บี ตุ รยอ่ มเศรา้ โศกเพราะ
บตุ ร ผมู้ โี คยอ่ มเศรา้ โศกเพราะโค ความเศรา้ โศกของบคุ คลยอ่ ม
มีเพราะส่ิงที่ยึดถือ เม่ือไม่มีสิ่งที่ยึดถือก็จะไม่มีความเศร้าโศก”
(เทวตาสงั ยตุ สังยุตตนิกาย สคาถวรรค)
การเก่ียวข้องกับผู้อื่น น้อยบ้างมากบ้าง ถ้าย่ิงเกี่ยวข้อง
กับบุคคลจ�ำนวนมากก็เดือดร้อนมาก แม้จะให้ความสุขความ
เพลดิ เพลนิ บา้ งกเ็ ปน็ สว่ นนอ้ ย มเี รอ่ื งทกุ ขร์ อ้ นเสยี เปน็ สว่ นมาก
5พ2ทุ ธอุทาน
ท่านเรียกว่าสหคตทุกข์ แปลว่า ทุกข์ที่ไปด้วยกัน ขณะที่เขียน
เรื่องนี้อยู่ น้�ำก�ำลังท่วมใหญ่ท้ังในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด
ชาวบา้ นตอ้ งประสบทกุ ขม์ ากมาย ตอ้ งชว่ ยเหลอื กนั เปน็ อนั มาก
ผู้ที่บ้านน�้ำไม่ท่วมก็ต้องเป็นทุกข์เพราะการต้องช่วยเหลือผู้อ่ืน
ดว้ ยความกรณุ า ดวู นุ่ วายกนั ไปหมด เปน็ มหาอทุ กภยั ตอ้ งกงั วล
เดอื ดรอ้ นเพราะเปน็ หว่ งชวี ติ บา้ ง เปน็ หว่ งสขุ ภาพบา้ ง เปน็ หว่ ง
ทรพั ยส์ นิ สมบตั บิ า้ ง มศี นู ยอ์ พยพผคู้ นมากมายเกดิ ขน้ึ และตอ้ ง
ช่วยเหลือกันยืดเยื้อยาวนานหลายเดือน เมื่อน้�ำลดแล้วก็ต้อง
เดอื ดรอ้ นในเรอ่ื งคา่ ใชจ้ า่ ย เกยี่ วกบั การซอ่ มแซมบา้ นเรอื น และ
ซือ้ หาทรัพย์สินที่เสียหายไป เปน็ ความทกุ ขก์ งั วลไมใ่ ช่น้อย
สภุ าษิตโลกนิต ิ บอกไว้ว่า
มบี ุตรบว่ งหนึ่งเกีย่ ว พนั คอ
ทรัพยผ์ ูกบาทาคลอ หนว่ งไว้
ภริยาเย่ยี งอย่างปอ รงึ รดั มือนา
สามบว่ งใครพ้นได ้ จกั พ้นสงสาร
การเก่ียวข้องกับผู้อื่นน้ันมีเรื่องต้องระวังมาก โดยเฉพาะ
อยา่ งยง่ิ ระวงั วาจา ทา่ นจงึ กลา่ วไวว้ า่ “อยคู่ นเดยี วใหร้ ะวงั ความคดิ
อยู่ในหมู่มิตรให้ระวังวาจา” มีคนเป็นจ�ำนวนมากแตกกันเพราะ
วาจา และรักกนั เพราะวาจากม็ ี สนุ ทรภ่กู ล่าวไว้ว่า
53
วศนิ อนิ ทสระ
อนั ออ้ ยตาลหวานลิน้ แล้วสนิ้ ซาก
แต่ลมปากหวานหไู มร่ ้หู าย
เจ็บอย่างอ่ืนหมนื่ แสนพอแคลนคลาย
เจ็บจนตายเพราะเหนบ็ ใหเ้ จบ็ ใจ
ดว้ ยเหตนุ จี้ งึ ตอ้ งระวงั วาจาใหอ้ ยใู่ นวจสี จุ รติ เสมอ คอื เวน้
จากพูดเท็จ เว้นจากพูดส่อเสียด เว้นจากพูดค�ำหยาบ เว้นจาก
พูดเพ้อเจ้อ แต่ให้พูดค�ำจริง ค�ำประสานสามัคคี ค�ำอ่อนหวาน
และค�ำมีประโยชน์
ความไม่กังวลและความไม่ยึดม่ันถือม่ันนั้นแหละเป็นท่ีพ่ึง
หาใช่อย่างอืน่ ไม่ (พระพุทธพจน)์
๑๓
พระพทุ ธอุทาน เรอ่ื ง
ผู้ไม่กังวลย่อมอยเู่ ป็นสุข
(คพั ภนิ สี ูตร)
ความเบ้อื งต้น
สมยั หนง่ึ พระผมู้ พี ระภาคประทบั อยทู่ เี่ ชตวนั วหิ าร ครงั้ นนั้
มีหญิงคนหนึ่งมีครรภ์แก่จวนคลอด เธอเป็นภริยาของปริพ-
พาชกคนหน่ึง ได้บอกสามีว่าให้ไปเตรียมน้�ำมันไว้ส�ำหรับใช้เม่ือ
เธอคลอดแลว้ (นา่ จะใชส้ ำ� หรบั ทาทอ้ ง) สามบี อกวา่ ไมร่ จู้ ะไปหา
ทไี่ หน เกดิ ฉกุ คดิ ขนึ้ ไดว้ า่ ในพระราชวงั ของพระเจา้ ปเสนทโิ กศล
เขามเี นยใสและน�้ำมนั งาเป็นต้นไว้เล้ยี งสมณพราหมณใ์ ห้บรโิ ภค
เท่าที่ต้องการ แต่ห้ามน�ำออกไป ปริพพาชกคิดว่าจะไปบริโภค
น�้ำมันงาแล้วมาส�ำรอกออก คืออาเจียนออกมาให้ภริยาไว้ใช ้
หลังคลอด เขาได้ไปท�ำตามน้ัน แต่เมื่อกลับมาถึงบ้านแล้วก ็
ไมอ่ าจสำ� รอกออกได ้ คอื อาเจยี นออกไมไ่ ด ้ ถา่ ยกไ็ มไ่ ด ้ จงึ อดึ อดั
ทรมานเพราะดืม่ เขา้ ไปมาก
55
วศนิ อนิ ทสระ
ครงั้ นน้ั เวลาเชา้ พระพทุ ธเจา้ เสดจ็ ออกบณิ ฑบาต ณ เมอื ง
สาวัตถี ทอดพระเนตรเห็นและทราบความเป็นไปเป็นมาของ
ปริพพาชกนน้ั แลว้ จึงทรงเปลง่ อุทานในขณะน้นั วา่
“ชนผู้ไม่มีกิเลสเคร่ืองกังวล มีความสุขหนอ ชนผู้ถึงเวท
(คืออรยิ มรรคญาณ) เท่าน้ัน ชือ่ ว่าผไู้ มม่ ีกเิ ลสเครื่องกงั วล ท่าน
จงดูชนผู้มีกิเลสเครื่องกังวลเดือดร้อนอยู่ ชนเป็นผู้มีจิตปฏิพัทธ์
ในชนยอ่ มเดอื ดร้อน”
อธบิ ายความ
เร่ืองความกังวลและไม่กังวลรวมทั้งเรื่องความเก่ียวข้อง
ด้วยผู้อ่ืน ได้อธิบายไว้พอสมควรแล้วในเร่ืองท ่ี ๑๒ อันว่าด้วย
เร่ือง “ความไม่กังวลเปน็ เหตุใหเ้ กิดสขุ ”
๑๔
พระพทุ ธอทุ าน เรื่อง
เหยื่อของมจั จุราช
(เอกปตุ ตสตู ร)
ความเบื้องต้น
อุบาสกคนหน่ึงมีบุตรอันเป็นที่รักเพียงคนเดียวส้ินชีวิตลง
อบุ าสกผนู้ นั้ รวมทง้ั พวกพอ้ งมผี า้ เปยี กผมเปยี ก ไปเฝา้ พระพทุ ธ-
เจา้ ตอนเทยี่ งวนั ณ วดั เชตวนั เมอื งสาวตั ถ ี เมอื่ พระศาสดาตรสั
ถามว่า “เหตุไรจึงมีผ้าเปียกผมเปียก พากันมาเฝ้าแต่เที่ยงวัน”
จงึ กราบทลู เรอ่ื งนน้ั ใหท้ รงทราบ พระผมู้ พี ระภาคทรงเปลง่ อทุ าน
วา่
57
วศิน อนิ ทสระ
“หมู่เทวดาและหมู่มนุษย์เป็นจ�ำนวนมาก ยินดีแล้วด้วย
ความเพลดิ เพลนิ ในรปู อนั เปน็ ทรี่ กั ถงึ ความทกุ ข ์ เสอ่ื มหมดแลว้
(จากสมบตั )ิ ยอ่ มไปสอู่ ำ� นาจแหง่ มจั จรุ าช พระอรยิ บคุ คลเหลา่ ใด
แลไม่ประมาทท้ังกลางคืนและกลางวัน ย่อมละรูปอันเป็นท่ีรัก
เสียได้ พระอริยบุคคลเหล่าน้ันแลย่อมขุดขึ้นได้ซ่ึงเหยื่อแห่ง
มัจจุราช อันเปน็ มลู แห่งวัฏทกุ ข์ที่ล่วงได้โดยยาก”
อธบิ ายความ
ตามพระพทุ ธอทุ านนแ้ี สดงใหเ้ หน็ วา่ ความทกุ ข ์ ความโศก
เกิดจากบุคคลและสิ่งของอันเป็นท่ีรักและเกิดจากความรัก ดัง
พระพทุ ธพจน์ตอนหนงึ่ ว่า “ความโศกและภยั (ความกลวั ) ยอ่ ม
เกิดจากส่ิงอันเป็นที่รักและความรัก ส�ำหรับผู้ท่ีพ้นจากความรัก
และส่ิงอันเป็นที่รักแล้วย่อมไม่มีความโศกและความกลัว”
(ธรรมบท)
ทวี่ า่ กลวั นนั้ กลวั เขาจะไมร่ กั ตอบบา้ ง กลวั ความพลดั พราก
จากสิ่งและบคุ คลอันเป็นทรี่ ักบา้ ง พึงพจิ ารณาเนอื งๆ ตามพระ
พุทธพจน์ที่ว่า “เราจักต้องพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักที่พอใจ
เป็นธรรมดา” เมื่อใดมีความรักและส่ิงอันเป็นท่ีรัก พึงตระหนัก
ไวเ้ สมอว่า มันไมเ่ ท่ียง เป็นทุกข ์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
ดว้ ยสาเหตนุ านาประการ มพี ทุ ธศาสนสภุ าษติ บทหนงึ่ อนั นา่ สนใจ
มากวา่ “ความไมเ่ ทย่ี งเปน็ ธรรมดาของโลกทง้ั ปวง รวมทงั้ เทวโลก
ดว้ ย (สพพฺ สสฺ โลกสสฺ สเทวโลกสสฺ เอเสว ธมโฺ ม ยททิ ํ อนจิ จฺ )ํ ”
5พ8ทุ ธอุทาน
เพื่อความแจ่มแจ้งยง่ิ ขนึ้ พงึ ประมวลมาซ่ึงพระพุทธภาษติ
ในปิยวรรค ธรรมบท และอรรถกถาแหง่ ปยิ วรรค ธรรมบทน้นั
ผทู้ ย่ี งั มคี วามรกั และสงิ่ อนั เปน็ ทรี่ กั ยอ่ มตอ้ งเวยี นวา่ ยตาย
เกดิ อยใู่ นสงั สารวฏั เรยี กวา่ เปน็ เหยอื่ ของมจั จรุ าช สว่ นพระอรยิ เจา้
ผไู้ มป่ ระมาทยอ่ มขา้ มพน้ บว่ งแหง่ มจั จรุ าชเสยี ได ้ คอื ไมต่ อ้ งเวยี น
วา่ ยตายเกิดอีก ชือ่ วา่ เปน็ ผไู้ ม่ตาย สมดังพระพทุ ธภาษติ ทีว่ ่า
“ความไมป่ ระมาทเปน็ ทางทไ่ี มต่ าย ความประมาทเปน็ ทาง
แหง่ ความตาย ผไู้ มป่ ระมาทชอื่ วา่ ยอ่ มไมต่ าย สว่ นผใู้ ดประมาท
แล้ว ชื่อว่าเป็นเหมอื นผ้ตู ายแล้ว”
(อปั ปมาทวรรค ธรรมบท)
ถ้าจ�ำเป็นต้องมีความรักและสิ่งอันเป็นท่ีรัก ก็ขอให้ใช้ให ้
เปน็ ประโยชน ์ โดยการอาศยั สงิ่ นน้ั สรา้ งความดแี ละสรา้ งประโยชน์
แกต่ นและคนหมมู่ าก คอื อาศยั บำ� เพญ็ บารมเี พอ่ื ขา้ มสงั สารวฏั
ต่อไปเหมือนพระโพธิสัตว์รักพระโพธิญาณเกิดแล้วเกิดอีกเพื่อ
บ�ำเพญ็ บารมีจนกว่าจะถึงที่สดุ แห่งวฏั สงสาร
ในนำ�้ ครำ� หรอื นำ้� ทเ่ี ปน็ โคลนตมยงั มเี งาดวงจนั ทรฉ์ นั ใด ใน
สงั สารวัฏอนั เตม็ ไปด้วยทกุ ข์นี ้ กย็ งั พอหาส่ิงทด่ี ไี ด้ฉนั น้นั
ขอให้มีปัญญาเลือกเก็บเอาส่ิงท่ีดีงามท่ามกลางสิ่งที่น่า
รังเกียจ ดังพระพุทธภาษิตที่ว่า “ดอกปทุมเกิดในกองหยากเยื่อ
ที่เขาท้ิงไว้ในหนทางใหญ่ ยังส่งกล่ินหอมรื่นรมย์ใจฉันใด สาวก
59
วศนิ อินทสระ
ของพระสมั มาสมั พทุ ธเจา้ ยอ่ มรงุ่ เรอื งยง่ิ ดว้ ยปญั ญา ในทา่ มกลาง
ปถุ ชุ นผมู้ ดื บอดรกรงุ รงั เหมอื นกองหยากเยอ่ื ฉนั นน้ั ” และสภุ าษติ
ทวี่ า่ “บุคคลผูป้ ระกอบดว้ ยปัญญายอ่ มหาความสุขได้ในส่งิ ทน่ี า่
จะทุกข ์ (ปญฺญาสหิโต นโร อธิ อปทิ กุ เฺ ขสุ สขุ านิ วนิ ฺทต)ิ ”
๑๕
พระพทุ ธอุทาน เรือ่ ง
ทกุ ข์มาในรูปแหง่ สขุ
(สุปปวาสาสตู ร)
ความเบอ้ื งต้น
คร้ังหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่กุณฑิยาวัน ใกล้นคร
กุณฑิยาของชาวโกลิยะ ครั้งน้ัน พระนางสุปปวาสาโกลิยธิดา
ทรงครรภอ์ ย ู่ ๗ ป ี ปวดครรภอ์ ย ู่ ๗ วนั ไดร้ บั ความทกุ ขท์ รมาน
มาก ไม่แน่พระทัยว่าจะมีชีวิตอยู่ต่อไปได้หรือไม่ พระนางอยู ่
ดว้ ยความคดิ ๓ อยา่ ง คอื คดิ ถงึ คณุ ของพระพทุ ธเจา้ คณุ ของ
พระนิพพาน และคุณของพระสงฆ์ ทรงขอร้องพระสวามีให้ไป
เฝา้ พระพทุ ธเจา้ กราบทลู เรอ่ื งทต่ี นทรงครรภอ์ ย ู่ ๗ ป ี และปวด
ครรภ์มา ๗ วันแล้ว ขอถวายบังคมพระผู้มีพระภาคด้วยเศียร
เกล้าเป็นท�ำนองลาตาย พระนางเป็นอริยสาวิการะดับโสดาบัน
พระสวามีได้ไปเฝ้าและกราบทูลพระผู้มีพระภาคตามค�ำของ
พระนาง พระพทุ ธองคต์ รสั วา่ “ขอพระนางสปุ ปวาสาจงปลอดภยั
61
วศิน อินทสระ
ไร้โรค และคลอดบุตรท่ีไร้โรคเถิด” พระพุทธด�ำรัสตรัสอวยพร
เพียงเท่าน้ี ปรากฏว่า พระนางสุปปวาสาคลอดบุตรในเวลานั้น
ทเี ดยี วโดยปลอดภยั เมอ่ื พระสวามกี ลบั มาเหน็ พระนางสปุ ปวาสา
คลอดบตุ รแลว้ รสู้ กึ ชื่นชมยนิ ดยี ง่ิ นกั พระนางขอรอ้ งพระสวามี
ใหไ้ ปเฝา้ พระพทุ ธเจา้ อกี ครง้ั หนงึ่ เพอ่ื กราบทลู อาราธนาพระศาสดา
พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ เพื่อเสวยภัตตาหารในนิเวศของตน พระ
สวามีได้ทำ� ตามนน้ั
เวลานนั้ พระศาสดาไดท้ รงรบั อาราธนาของอบุ าสกคนหนงึ่
ไวแ้ ลว้ เขาเปน็ อปุ ฏั ฐากของพระมหาโมคคลั ลานะ พระพทุ ธเจา้
จึงรับสั่งให้พระมหาโมคคัลลานะเข้าเฝ้า ทรงเล่าเรื่องพระนาง
สุปปวาสาใหฟ้ ัง และตรสั ใหพ้ ระมหาโมคคลั ลานะไปเลือ่ นกณั ฑ์
นิมนต์ของอุบาสกผู้น้ันได้หรือไม ่ พระมหาโมคคัลลานะรับพุทธ
บญั ชาแลว้ ไปหาอบุ าสกเพอ่ื ขอเลอ่ื นการนมิ นตเ์ ปน็ สปั ดาหห์ ลงั
จะได้หรือไม่ อุบาสกกราบเรียนท่านว่า ถ้าท่านสามารถรับรอง
๓ อย่างกเ็ ลื่อนได ้ คอื
๑. รบั รองวา่ ตลอดเวลา ๗ วนั น ้ี โภคะของเขา จะไมเ่ สอื่ ม
สนิ้ ไป
๒. เขายงั คงจะมีชวี ิตอยู่
๓. ศรทั ธาของเขาจะไม่เสื่อม
พระมหาโมคคลั ลานะตอบวา่ “รบั รองไดเ้ พยี ง ๒ อยา่ งคอื
เรอื่ งโภคะกบั เรอื่ งชวี ติ สำ� หรบั เรอื่ งศรทั ธานน้ั อบุ าสกตอ้ งรบั รอง
ตวั เอง อบุ าสกจึงตกลง
6พ2ุทธอทุ าน
เปน็ อนั วา่ พระศาสดาพรอ้ มดว้ ยภกิ ษสุ งฆไ์ ดเ้ สดจ็ ไปเสวย
ฉลองศรทั ธาของพระนางสปุ ปวาสา พระสารบี ตุ รไดต้ ามเสดจ็ ดว้ ย
ไดท้ กั ทายกบั เดก็ นอ้ ยผเู้ ปน็ โอรสของพระนางสปุ ปวาสา พระนาง
ดีพระทัยย่ิงนักท่ีพระสารีบุตรทักทายบุตรของตน พระศาสดา
ตรสั ถามพระนางวา่ ทรงครรภอ์ ย ู่ ๗ ป ี ปวดครรภอ์ ย ู่ ๗ วนั ไดร้ บั
ความทกุ ขม์ ากอยา่ งน ี้ ยงั ปรารถนาบตุ รอกี หรอื ไม ่ พระนางกราบ
ทลู วา่ “ถา้ มไี ดอ้ กี สกั ๗ หนกจ็ ะพอใจอยา่ งยงิ่ ” พระศาสดาทรง
เปล่งอุทานวา่
“ส่ิงไม่น่ายินดีมักมาในรูปของสิ่งท่ีน่ายินดี ส่ิงที่ไม่น่ารัก
มักมาในรูปของส่ิงท่ีน่ารัก ความทุกข์มักมาในรูปของความสุข
เพราะฉะน้นั คนจงึ ประมาทกนั นัก”
อธิบายความ
อะไรคืออดีตกรรมของพระนางสุปปวาสาและบุตร อรรถ-
กถาเล่าว่าในอดีตกาล พระเจ้าโกศลยกทัพไปตีเมืองพาราณส ี
จบั พระเจา้ พรหมทตั ผคู้ รองเมอื งพาราณสไี ดแ้ ลว้ ประหารชวี ติ เสยี
ได้อภิเษกอัครมเหสีของพระเจ้าพรหมทัตให้เป็นมเหสีของตน
ส่วนบุตรชายของพระเจ้าพรหมทัตหนีไปได้ ซ่องสุมบุคคลอยู่
หลายปีจนสามารถจัดเป็นกองทัพได้ มาล้อมกรุงพาราณสีเพ่ือ
แย่งราชสมบัติคืน ได้ล้อมอยู่ถึง ๗ ปีแต่ไม่อาจตีกรุงพาราณส ี
ให้แตกได ้ เพราะประชาชนในกรุงได้พากันออกทางประตูเล็กไป
หานำ�้ ฟนื และอาหารมาเลย้ี งดกู นั ไดใ้ นเมอื ง พระมเหสซี ง่ึ เปน็
63
วศนิ อนิ ทสระ
มารดาของเจา้ ชายไดส้ ง่ สาสน์ ไปบอกความลบั ใหว้ า่ ใหป้ ดิ ประตู
เล็กเสียด้วย เจ้าชายได้ท�ำดังน้ันเป็นเวลา ๗ วัน ประชาชน
เดือดร้อนจึงได้จับพระเจ้าโกศลปลงพระชนม์เสีย ราชกุมารจึง
สามารถตกี รงุ พาราณสกี ลบั คนื มาได ้ นค่ี อื อดตี กรรมของพระนาง
สุปปวาสาและบตุ ร
พระราชโอรสในสมัยนั้นมาเกิดเป็นพระสีวลี ซ่ึงได้รับการ
ยกยอ่ งเปน็ เอตทคั คะทางมลี าภกวา่ ใครๆ ไปทางไหนไมอ่ ดอยาก
บางคราวพระพุทธเจ้าเสด็จไปทางกันดารพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์
ตรัสถามว่าพระสีวลีมาด้วยหรือไม่ ถ้าพระสีวลีมาด้วยก็ให้ไป
ทางลัดซ่ึงเป็นทางกันดารได้ อะไรคืออดีตกรรมของพระสีวลี
ซ่ึงเป็นเหตุให้สมบูรณ์ด้วยลาภ อรรถกถาเล่าว่า ในสมัยของ
พระพทุ ธเจา้ พระนามวา่ ปทมุ ตุ ตระ พระสวี ลไี ดเ้ คยถวายมหาทาน
แกพ่ ระพทุ ธเจา้ และแกภ่ กิ ษสุ งฆ ์ ตง้ั ความปรารถนาวา่ ในอนาคต
ขอให้เป็นผู้เลิศด้วยลาภ ต่อมาในสมัยพระพุทธเจ้าพระนามว่า
วปิ สั ส ี ไดถ้ วายนำ�้ ผง้ึ นำ้� ออ้ ยและเนยใส ตง้ั ความปรารถนาเชน่ นน้ั
เหมอื นกนั มาถงึ สมยั พระพทุ ธเจา้ พระองคน์ จี้ งึ เปน็ ผเู้ ลศิ ดว้ ยลาภ
พระพุทธเจ้าทรงต้ังไว้ใหเ้ ป็นเอตทคั คะในทางมลี าภ
กรรมดแี ละกรรมชว่ั ตามใหผ้ ลแกผ่ ทู้ �ำตลอดสงั สารวฏั ทา่ น
จึงกล่าวว่า ชีวิตมนุษย์เป็นสนามทดลองแรงกรรมว่าใครเคยได ้
ทำ� อะไรมาอย่างไร
ขออธิบายพระพทุ ธอทุ านเพยี งเล็กน้อย ดังนี้
โดยปริยายแห่งธรรม ขันธ์ ๕ เป็นสิ่งไม่น่ายินดี แต่คน
6พ4ุทธอุทาน
ท้ังหลายก็ชื่นชมยินดีต่อขันธ์ ๕ ดูเวลาเด็กเกิดใหม่เถิด พ่อแม ่
และญาตพิ ากนั ชน่ื ชมยนิ ด ี แมแ้ ตล่ กู สนุ ขั และลกู แมว ลกู ววั ลกู
ควาย ลกู ชา้ ง ลกู หมแี พนดา้ เปน็ ตน้ กเ็ ปน็ เชน่ เดยี วกนั ขนั ธ ์ ๕
เปน็ สิ่งไม่นา่ รักเพราะน�ำทุกข์มาใหน้ านาประการ แต่คนก็พากัน
หลงรกั ถงึ กบั แยง่ ชงิ กนั กม็ ี เปน็ เหตใุ หท้ ะเลาะววิ าทกนั ประหตั
ประหารกันเพราะสิ่งอันเป็นที่รักเป็นท่ียินดี ในมหาสติปัฏฐาน
สตู รพระพทุ ธองคต์ รสั ไวว้ า่ “ตณั หาเมอ่ื จะตง้ั ลง กต็ งั้ ลงในปยิ รปู
สาตรปู นเ้ี อง” ขนั ธ ์ ๕ เปน็ ทกุ ข ์ แตค่ นทงั้ หลายมกั เหน็ เปน็ ความสขุ
มีพระพุทธพจน์ว่า “ความทุกข์เสมอด้วยการบริหารขันธ์ไม่ม ี
(นตถฺ ิ ขนธฺ สมา ทุกฺขา)” และวา่ “สงขฺ ารา ปรมา ทกุ ขฺ า สังขาร
เป็นทุกข์อย่างยิ่ง” นอกจากน้ีนางวชิราภิกษุณีได้กล่าวไว้อย่าง
น่าจับใจว่า “ทุกข์เท่าน้ันเกิดขึ้น ทุกข์เท่าน้ันต้ังอยู่ ทุกข์เท่าน้ัน
ดับไป นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรเกิด นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรดับ”
ขันธ์ ๕ น้ันเองเป็นตัวทุกข์ เกิดขึ้น ต้ังอยู่ และดับไป เพราะ
ไมเ่ หน็ อยา่ งน ้ี แตเ่ หน็ ตรงกนั ขา้ มคอื เหน็ ขนั ธ ์ ๕ นา่ ยนิ ด ี นา่ รกั
และเป็นเหตใุ ห้เกดิ สุข คนจึงประมาทกนั นกั
๑๖
พระพทุ ธอุทาน เร่อื ง
ความอิสระเป็นสขุ
(วสิ าขาสตู ร)
ความเบ้ืองตน้
เมอื่ พระพุทธเจ้าประทับอยู่ท่ีปพุ พาราม ปราสาทของนาง
วิสาขามิคารมารดา นางวิสาขาได้เข้าไปเฝ้าต้ังแต่เที่ยงวัน พระ
ศาสดาทรงทกั ทายวา่ “เหตไุ รวนั นจี้ งึ มาแตเ่ ทย่ี งวนั ” นางกราบทลู
วา่ ไปเฝา้ พระเจา้ ปเสนทโิ กศลดว้ ยกจิ ธรุ ะบางอยา่ งหลายครงั้ แลว้
แตไ่ มส่ ำ� เร็จคือไม่ไดเ้ ฝ้า พระผู้มพี ระภาคทรงเปล่งอุทานวา่
“การอยู่ในอ�ำนาจของผู้อื่นทั้งหมดเป็นความทุกข์ ความ
อิสระทุกอย่างเป็นความสุข บุคคลเป็นอันมากเดือดร้อนอยู ่
เพราะเป็นคนสาธารณะ เพราะเหตุว่าความเก่ียวข้องกันเป็นสิ่ง
ท่ีล่วงพ้นได้ยาก”
6พ6ุทธอทุ าน
อธบิ ายความ
ปราสาทคือเรือนช้ัน นางวิสาขาให้สร้างด้วยการบริจาค
ทรัพย ์ ๙ โกฏกหาปณะ ซึ่งนางไดม้ าจากการขายเครอื่ งประดบั
มหาลดาปสาธน์ ซงึ่ นางซอื้ ของนางเอง* ทชี่ อ่ื “ปพุ พาราม” นน้ั
เพราะอยู่ทางทิศตะวันออกของนครสาวัตถี นางวิสาขามักจะ
มชี ือ่ ตามวา่ “มิคารมารดา” มีนัย ๒ อย่างคือ
พ่อของสามชี ่อื มิคารเศรษฐ ี นบั ถอื นางเป็นมารดาเพราะ
ได้ชกั น�ำให้มานับถือพระพุทธศาสนา
บางตำ� ราวา่ นางรสู้ กึ ละอายทค่ี นทงั้ หลายเรยี กนางเชน่ นนั้
เมอ่ื มบี ตุ รชายคนหนงึ่ จงึ ตงั้ ชอื่ บตุ รชายนนั้ วา่ มคิ าระ เพอ่ื จะได้
หมายความวา่ นางเปน็ มารดาของเด็กชายมคิ าระ
ที่นางไปเฝ้าพระเจ้าปเสนทิโกศลด้วยกิจธุระอย่างใดอย่าง
หนงึ่ นน้ั อรรถกถาแหง่ พระสตู รนเี้ ลา่ วา่ มคี นสง่ ของมาใหน้ าง แต ่
เจา้ หนา้ ทเ่ี กบ็ สว่ ย (ภาษ)ี เกบ็ มากเกนิ ไป อนั ทจี่ รงิ นางตงั้ ใจไวว้ า่
จะถวายของบางสว่ นแดพ่ ระเจา้ ปเสนทโิ กศล แตน่ างไมม่ โี อกาส
ได้เข้าเฝ้าถึง ๓ คร้ัง คร้ังสุดท้ายจึงมาเฝ้าพระพุทธเจ้าเล่าเรื่อง
ถวาย พระพุทธองค์จึงทรงเปล่งอทุ านน้ี
พระพุทธอุทานนี้แปลตามความรู้ความเข้าใจของข้าพเจ้า
ไมต่ รงกบั พระไตรปฎิ กแปลเสยี ทเี ดยี ว ขอยกภาษาบาลมี าไวเ้ พอ่ื
พิจารณาในทน่ี ดี้ ว้ ย
* โปรดดรู ายละเอยี ดในเร่ือง พระอานนท์พทุ ธอนุชา หรือเร่อื ง ทางแห่งความด ี เลม่ ๑
ของผูเ้ ขียนคนเดยี วกัน
67
วศิน อนิ ทสระ
สพพฺ ํ ปรวส ํ ทุกขฺ ํ สพพฺ ํ อิสสฺ ริยํ สุขํ
สาธารเณ วหิ ญญฺ นตฺ ิ โยคา หิ ทรุ ตกิ ฺกมา
อธบิ ายโดย ๒ ปริยายคือ
ปรยิ ายเบอื้ งตำ�่ หมายความว่า การอยูใ่ นอ�ำนาจของผู้อ่ืน
ทุกอย่างไปเป็นความทุกข์อย่างหน่ึง สมัยที่ยังมีทาสอยู่ลอง
พจิ ารณาดชู วี ติ ทาสกไ็ ด ้ แลว้ แตเ่ จา้ นายจะทำ� อยา่ งไร จะเฆย่ี นตี
จะจองจ�ำก็ท�ำได้ทั้งนั้น เพราะอยู่ในอ�ำนาจของเขา พระพุทธ-
พจน์ว่า “อ�ำนาจเป็นใหญ่ในโลก (วโส อิสฺสริยํ โลเก)” เมื่อมี
ผมู้ าถามวา่ อะไรเปน็ ใหญใ่ นโลก สว่ นความอสิ ระทกุ อยา่ งเปน็ สขุ
คือเสรีภาพนั้นเอง ทุกสังคมแสวงหาเสรีภาพไม่มีใครต้องการ
ถูกกดข่ี แต่เสรีภาพต้องประกอบด้วยศีลธรรมและมนุษยธรรม
มฉิ ะนน้ั จะเปน็ ความปา่ เถอ่ื นไมม่ ขี อบเขต เราตอ้ งจำ� กดั เสรภี าพ
ของเราเพ่ือเสรีภาพของผู้อน่ื บา้ ง
สว่ นขอ้ ทวี่ า่ “บคุ คลยอ่ มเดอื ดรอ้ นเพราะเปน็ คนสาธารณะ”
คอื เปน็ ทเี่ กาะเปน็ ทอ่ี าศยั ของผอู้ น่ื นงุ นงั ไปหมด ไมม่ เี วลาเปน็ ของ
ตวั เอง ความเปน็ สว่ นตวั (Privacy) เกอื บจะไมม่ เี ลย แตบ่ างคน
ชอบกม็ คี วามสขุ ความเพลดิ เพลนิ ไปกบั กจิ กรรมนนั้ ๆ ถา้ ไมช่ อบ
ก็เห็นเป็นเรื่องรุงรังรบกวน พระพุทธพจน์ในโอวาทปาติโมกข์ม ี
อยขู่ อ้ หนงึ่ วา่ ใหย้ นิ ดใี นทน่ี งั่ ทนี่ อนอนั สงดั (ปนตฺ ญจฺ สยนาสนํ)
ท่านสอนพระก็จริงแต่ฆราวาสก็เอามาใช้ได้เหมือนกัน การอยู ่
ในทส่ี งบสงดั เปน็ กายวเิ วกเปน็ ความสขุ อยา่ งหนงึ่ การเปน็ บคุ คล
6พ8ุทธอทุ าน
สาธารณะยอ่ มตอ้ งเดอื ดรอ้ นเพราะคนสว่ นมาก เพราะโดยทว่ั ไป
ทกุ คนมปี ญั หาจงึ มากระทบกบั บคุ คลสาธารณะนนั้ ดว้ ย เพราะวา่
ความเกี่ยวข้องกันเป็นสิ่งที่ล่วงพ้นได้ยาก ท้ังน้ีเพราะความ
เกรงใจบ้าง เพราะเป็นหนา้ ท่บี ้าง
ปริยายเบ้ืองสูง ท่านเล็งไปถึงกิเลสและความปลอดจาก
กเิ ลส กลา่ วคอื การอยใู่ นอำ� นาจของกเิ ลสเปน็ ทกุ ข ์ ความอสิ ระ
จากกเิ ลสเปน็ สขุ ความขวนขวายมากเกนิ ไปในสาธารณประโยชน ์
ท�ำให้บุคคลต้องเดือดร้อน ลองดูผู้เป็นใหญ่ซ่ึงมีหน้าท่ีบ�ำบัด
ทกุ ขบ์ ำ� รงุ สขุ ของคนทง้ั หลาย เขาตอ้ งเดอื ดรอ้ นเพยี งไรในการทำ�
สาธารณประโยชน์ให้ส�ำเร็จ อันท่ีจริงการท�ำสาธารณประโยชน ์
เป็นส่ิงท่ีดี แต่เป็นความดีท่ีต้องเดือดร้อนในการขวนขวายช่วย
เหลือคนเป็นอันมาก ดูเวลาน�้ำท่วมใหญ่ในปี ๒๕๕๔ น่ันเถิด
ผู้เป็นใหญ่ซ่ึงต้องรับผิดชอบมากต้องเดือดร้อนเพียงใด ค�ำ
อธิบายส�ำหรับข้อนี้คล้ายคลึงกับค�ำอธิบายในปริยายเบ้ืองต่�ำ
ส่วนค�ำว่า “ความเก่ียวข้องเป็นส่ิงท่ีล่วงพ้นได้ยาก” น้ัน ท่าน
อธบิ ายไปถงึ กเิ ลสเครอื่ งเกย่ี วขอ้ ง อรรถกถาอธบิ ายคำ� วา่ “ความ
เกีย่ วขอ้ ง” (สงฺคา) เปน็ โยคะ ๔
“โยคะ” แปลว่า กิเลสเป็นเครื่องข้องเป็นเคร่ืองประกอบ
สัตวไ์ วใ้ นวัฏฏะ ประกอบด้วย
69
วศิน อินทสระ
กามโยคะ เกี่ยวกบั เร่ืองกามคณุ
ทฏิ ฐโิ ยคะ เกี่ยวกบั เรอื่ งความเห็นผดิ
ภวโยคะ เกยี่ วกับเรื่องความตดิ ใจในภพ
ความอยากจะเกดิ อีก
อวิชชาโยคะ ความไมร่ ูต้ ามความเปน็ จริง
๑๗
พระพุทธอทุ าน เร่อื ง
ผไู้ ม่มภี ยั ไม่มคี วามโศก
(กาฬิโคธาภัททยิ สูตร)
ความเบอ้ื งต้น
สมยั หนง่ึ พระผมู้ พี ระภาคเจา้ ประทบั อยทู่ อ่ี นปุ ยิ อมั พวนั แควน้
มลั ละ สมยั นน้ั พระภทั ทยิ ะผเู้ ปน็ พระราชโอรสของพระนางกาฬ-ิ
โคธาราชเทวกี อ็ ยทู่ นี่ น่ั ดว้ ย ทา่ นจะยนื เดนิ นงั่ นอน ในทใ่ี ดๆ
กจ็ ะเปลง่ อทุ านวา่ สขุ จรงิ หนอ สขุ จรงิ หนอ ภกิ ษทุ งั้ หลายไดย้ นิ
ค�ำน้ันบ่อยๆ เข้าใจว่า ท่านเปล่งอุทานเพราะระลึกถึงความสุข
ในราชสมบตั ิ จงึ ไดเ้ ขา้ ไปเฝา้ พระผมู้ พี ระภาคเจา้ กราบทลู ความคดิ
ของตนในเรอ่ื งพระภทั ทยิ ะนน้ั พระพทุ ธองคร์ บั สงั่ ใหภ้ กิ ษรุ ปู หนงึ่
ไปตามพระภทั ทยิ ะมาเฝา้ ตรสั ถามเรอ่ื งนน้ั พระภทั ทยิ ะกราบทลู
วา่ เมอื่ กอ่ น อยใู่ นราชสมบตั มิ ี คนแวดลอ้ มมาก มอี ารกั ขามาก
71
วศนิ อนิ ทสระ
กย็ งั อดสะดงุ้ หวาดหวน่ั ไมไ่ ดถ้ งึ ภยั อนั ตรายทอี่ าจจะเกดิ ขนึ้ แกต่ น
แตบ่ ดั นอ้ี ยผู่ เู้ ดยี วไมม่ กี ารอารกั ขาใดๆ แตก่ ม็ คี วามสขุ สงบด ี จงึ
อุทานอยู่เสมอว่า สุขหนอ สุขหนอ พระผู้มีพระภาคทรงทราบ
แล้วทรงเปล่งอุทานวา่
“ทา่ นผใู้ ดไมม่ คี วามโกรธ ลว่ งพน้ ความเปน็ อยา่ งนน้ั อยา่ งน ี้
ได้แล้ว แม้เทวดาทั้งหลายก็ไม่อาจรู้จิตของท่านผู้เช่นน้ันซึ่งเป็น
ผู้มีความสุข ปราศจากภัยและไม่เศร้าโศก (จะกล่าวไยถึงมนุษย ์
ทงั้ หลายเล่า)”
อธิบายความ
พระภัททิยะออกบวชพร้อมกับพระอานนท์ พระอนุรุทธ
พระเทวทตั และอบุ าลภี ษู ามาลาทอี่ นปุ ยิ อมั พวนั นนั้ เอง บวชแลว้
ไม่นานก็ได้ส�ำเร็จเป็นพระอรหันต์ ได้รับการยกย่องจากพระ-
พุทธเจา้ วา่ เป็นเอตทัคคะในทางเปน็ ผู้มตี ระกลู สงู (ออกบวช)
เมื่อท่านเปล่งอุทานว่า สุขหนอ สุขหนอ ด้วยปรารถนา
เนกขัมมสุขคือสุขท่ีได้จากการออกบวช และสิ้นกิเลสแล้ว ภิกษุ
ทงั้ หลายไมเ่ ขา้ ใจจงึ ไปกราบทลู พระพทุ ธเจา้ เชน่ นนั้ พระพทุ ธเจา้
แม้ทรงรู้อยู่ด้วยพระองค์เองแล้วว่า พระภัททิยะเปล่งอุทาน
เพราะเหตุไร แต่ก็ทรงประสงค์จะให้พระภัททิยะพูดออกมาเอง
จึงตรัสถามพระภัททิยะเช่นนั้น พระพุทธองค์ตรัสว่า แม้เทวดา
ทง้ั หลายผมู้ อี านภุ าพมากยงั ไมร่ จู้ ติ ของภกิ ษเุ ชน่ พระภทั ทยิ ะ จะ
กลา่ วไยถึงปถุ ุชนทง้ั หลายผู้ยงั มกี เิ ลสอยู่
คั ม ภี ร์ อุ ท า น
นั น ท ว ร ร ค
๑๘
พระพุทธอทุ าน เรอ่ื ง
ผ้ลู ะกรรมได้แล้ว
(กรรมสตู ร)
ความเบือ้ งต้น
เมอ่ื พระผมู้ พี ระภาคประทบั อย ู่ ณ วดั เชตวนั เมอื งสาวตั ถ ี
สมยั นน้ั มภี กิ ษผุ เู้ ปน็ พระอรหนั ตร์ ปู หนงึ่ ซง่ึ เปน็ ศษิ ยข์ องพระมหา
โมคคัลลานะ น่ังฟังธรรมอยู่ในที่ไม่ไกลจากพระผู้มีพระภาคเจ้า
ท่านประสบทุกขเวทนาอันแรงกล้าอันเนื่องจากกรรมเก่า พระ
พทุ ธเจ้าทรงทราบแล้วจึงทรงเปล่งอทุ านในเวลาน้นั ว่า
“ภิกษุละกรรมท้ังหมดได้แล้ว ก�ำจัดกรรมเป็นดังธุลีท่ี
ตนทำ� ไวแ้ ลว้ ในกาลกอ่ น ไมม่ กี ารยดึ ถอื วา่ ของเรา ดำ� รงมนั่ คงท ี่
ประโยชน์ทีจ่ ะกลา่ วกะชน (วา่ ท่านจงท�ำยาเพอ่ื เรา) ย่อมไมม่ ”ี
7พ6ุทธอุทาน
อธบิ ายความ
พึงทราบกรรม ๔ อยา่ งก่อน คือ
กรรมดำ� มวี บิ ากดำ� หมายถงึ กรรมชว่ั มผี ลเปน็ ทกุ ข ์ เชน่
วบิ ากของพวกนรก
กรรมขาว มีวิบากขาว คือ กรรมดีมีผลเป็นสุข เช่น ผล
กรรมของเทวดาบางพวก
กรรมทั้งด�ำท้ังขาว มีผลท้ังด�ำท้ังขาว หมายความว่า ทั้ง
กรรมดกี รรมชวั่ ผสมกนั คละกนั มผี ลเปน็ สขุ บา้ งเปน็ ทกุ ขบ์ า้ ง เชน่
ผลกรรมในหมู่มนุษย์
กรรมไมด่ ำ� ไมข่ าว มวี บิ ากไมด่ ำ� ไมข่ าว เปน็ ไปเพอ่ื ความสน้ิ
กรรม เช่นกรรมของพระอรหันต์ แต่พระอรหันต์ก็ยังต้องเสวย
วบิ ากแหง่ กรรมเกา่ อย ู่ เชน่ พระอรหนั ตอ์ งคท์ พ่ี ดู ถงึ ในพระสตู รนี้
แต่ท่านกล่าวว่า พระอรหันต์ไม่กลัวตาย เพราะฉะน้ันท่านจึง
ไม่ขวนขวายเพื่อให้ใครมารักษาโรคของท่าน แม้จะป่วยหนัก
สกั เพยี งใดกต็ าม นอกจากวา่ ผใู้ กลช้ ดิ ทา่ นจะไปแสวงหาหมอหรอื
ยามาถวาย ทา่ นกร็ บั ไวเ้ พอ่ื เปน็ บญุ แกเ่ ขาเหลา่ นนั้ ทา่ นละความ
ยึดมนั่ ในสังขารได้แล้ว ไมย่ ินดียินร้ายในสังขาร
๑๙
พระพทุ ธอทุ าน เรอื่ ง
ผูไ้ มห่ ว่นั ไหว
ในสขุ และทุกข์
(นนั ทสตู ร)
ความเบ้อื งตน้
สมัยหน่ึง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ วัดเชตวัน
สมยั นน้ั พระนนั ทะผเู้ ปน็ บตุ รของพระนา้ นาง (พระนางมหาปชาบด-ี
โคตมี) ไม่ยินดีประพฤติพรหมจรรย์ ปรารถนาจะสึก มีภิกษุ
รูปหนึ่งไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคถึงเรื่องน้ัน พระศาสดาให้
ภกิ ษรุ ปู หนง่ึ ไปตามพระนนั ทะมาเฝา้ ตรสั ถามวา่ “เปน็ ความจรงิ
หรอื ไมท่ ไ่ี มย่ นิ ดปี ระพฤตพิ รหมจรรย์ ปรารถนาจะสกึ ” เมอ่ื พระ
นันทะกราบทูลรับว่าเป็นจริง แล้วตรัสถามว่า “เพราะเหตุไร”
กราบทูลว่าระลึกถึงเจ้าสาวในวันแต่งงาน พระผู้มีพระภาคเจ้า
จงึ ไดน้ ำ� พระนนั ทะไปชมเทพธดิ าชน้ั ดาวดงึ ส์ ซง่ึ มอี ยเู่ ปน็ จำ� นวน
7พ8ุทธอทุ าน
มาก และตรสั ถามวา่ “ระหวา่ งเทพธดิ าชน้ั ดาวดงึ สก์ บั นางชนบท
กลั ยาณซี ง่ึ เปน็ เจา้ สาวของเธอ ใครจะสวยกวา่ กนั ” นนั ทะทลู รบั
วา่ เทพธดิ าทง้ั หลายสวยกวา่ อยา่ งเทยี บกนั ไมไ่ ดเ้ ลย พระพทุ ธ-
องคต์ รสั วา่ ขอใหพ้ ระนนั ทะตงั้ ใจประพฤตพิ รหมจรรย ์ ทรงรบั รอง
วา่ จะใหเ้ ทพธดิ าเหลา่ นน้ั เปน็ รางวลั แลว้ พาพระนนั ทะเสดจ็ กลบั
มาวดั เชตวนั ภกิ ษทุ งั้ หลายทราบเรอื่ งนน้ั แลว้ พากนั พดู ลอ้ เลยี น
พระนันทะว่าเป็นลูกจ้าง ประพฤติพรหมจรรย์เพ่ือให้ได้นางฟ้า
เมื่อบ่อยเข้าพระนันทะก็รู้สึกละอายระอิดระอาอยู่ จึงปลีกออก
จากหมู่อยู่แต่ผู้เดียว ตั้งใจท�ำความเพียรจนได้บรรลุอรหัตตผล
เปน็ พระอรหนั ตขณี าสพ
คืนน้ันเอง เทวดาได้ทราบเร่ืองแล้ว ได้เข้าไปกราบทูล
พระผมู้ พี ระภาควา่ บดั นพ้ี ระนนั ทะไดส้ ำ� เรจ็ เปน็ พระอรหนั ตแ์ ลว้
วนั รงุ่ ขนึ้ พระนนั ทะไดเ้ ขา้ เฝา้ พระศาสดากราบทลู วา่ การทพี่ ระองค ์
ทรงประกันให้ข้าพระองค์ได้เทพธิดาน้ัน บัดนี้ พระองค์ได้พ้น
จากเปน็ ผปู้ ระกนั แลว้ คอื ไดห้ ลดุ พน้ จากความเปน็ ผปู้ ระกนั พระ
ศาสดาตรสั วา่ ขอ้ นเี้ ราไดท้ ราบดว้ ยตนเองแลว้ เมอ่ื คนื นแี้ มเ้ ทวดา
กม็ าบอกเราเหมือนกนั ” ดังน้ีแล้วทรงเปลง่ อุทานว่า
“เปือกตมคือกาม อันผู้ใดข้ามได้แล้ว หนามคือกามอัน
ผใู้ ดย่ำ� ยีได้แลว้ ผู้นั้นเปน็ ผถู้ ึงความสิ้นโมหะ ย่อมไม่หว่ันไหวใน
สุขและทุกข”์
79
วศนิ อินทสระ
อธิบายความ
อรรถกถาแห่งพระสูตรน้ีและอรรถกถาธรรมบท เล่าไว ้
ตรงกันว่า เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จกรุงกบิลพัสดุ์ ได้รับอาราธนา
ให้เสด็จไปในงานแต่งงานของพระนันทะกับนางชนบทกัลยาณี
พระนันทะน้ันเป็นบุตรของพระนางมหาปชาบดีโคตมี เป็นน้อง
ร่วมบิดาเดียวกันกับพระผู้มีพระภาค ต่างพระมารดา เม่ือเสวย
เสรจ็ แลว้ ไดท้ รงมอบบาตรใหน้ นั ทกมุ ารถอื ตามเสดจ็ นนั ทกมุ าร
นั้นคิดว่า พระศาสดาจะรับบาตรคืนตรงน้ันตรงนั้น แต่ไม่ทรง
รบั คนื จนเสดจ็ ไปถงึ วดั ตรสั ถามวา่ “จะบวชไหม” พระนนั ทะนน้ั
ใจจริงแล้วไม่อยากบวชเพราะนึกถึงเจ้าสาว แต่ทรงเกรงพระทัย
พระศาสดา ไม่กล้าตอบปฏิเสธจึงบวช การบวชของพระนันทะ
มมี าดว้ ยอาการอยา่ งน้ี
พระพทุ ธพจนข์ า้ งตน้ น ้ี ทรงเปรยี บกามวา่ เหมอื นเปอื กตม
บา้ ง นา่ จะเปน็ เพราะเปน็ ของไมส่ ะอาด และตกลงไปแลว้ ถอนตน
ข้ึนได้ยาก ดังที่มีเร่ืองเล่าไว้ว่า ช้างศึกของพระราชาบ้าง สิงโต
บ้าง ตกลงไปในเปือกตมแล้วถอนตนขึ้นไม่ได้ต้องมีผู้ช่วยเหลือ
ทรงเปรยี บกามวา่ เหมอื นหนามบา้ ง เพราะทม่ิ แทงใหเ้ จบ็ ปวดแก่
ผู้ที่เข้าไปเกี่ยวข้องโดยไม่ระวัง ได้ทรงแสดงโทษของกามไว้เป็น
อันมากในที่ต่างๆ เช่น พระพุทธพจน์ท่ีว่า “กามท้ังหลายมีรส
ที่น่ายินดีน้อย แต่มีโทษมากมีทุกข์มาก” เป็นต้น ส�ำหรับผู้พ้น
จากกามแล้ว สิน้ โมหะแล้ว ยอ่ มไม่หวัน่ ไหวในสุขและทุกข์
๒๐
พระพุทธอุทาน เร่ือง
ผู้มน่ั คงเหมือนภเู ขา
(ยโสชสตู ร)
ความเบอื้ งตน้
ครงั้ หนงึ่ พระผมู้ พี ระภาคประทบั อยทู่ ว่ี ดั เชตวนั พระยโสชะ
พรอ้ มดว้ ยภกิ ษบุ รวิ าร ๕๐๐ เดนิ ทางไปเฝา้ เมอื่ ไปถงึ วดั เชตวนั
แลว้ ปราศรยั กบั ภกิ ษุเจา้ ของถิน่ สง่ เสยี งออื้ อึง พระผมู้ ีพระภาค
ตรสั ถามพระอานนทว์ า่ “ใครนะ สง่ เสยี งออ้ื องึ เหมอื นชาวประมง
แย่งปลากัน” พระอานนท์กราบทูลให้ทรงทราบ รับส่ังให้ภิกษ ุ
เหล่าน้ันเข้าเฝ้า ตรัสประณามคือขับไล่ไม่ให้อยู่ในส�ำนัก ภิกษุ
เหล่าน้ันมีพระยโสชะเป็นประมุข ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค
81
วศนิ อนิ ทสระ
แลว้ จารกิ ไปยงั แควน้ วชั ชี พำ� นกั อยทู่ รี่ มิ ฝง่ั แมน่ �้ำวคั คมุ ทุ า สรา้ ง
เสนาสนะมุงด้วยใบไม้ ในพรรษาน้ันพระยโสชะได้ให้โอวาทแก ่
ภกิ ษบุ รวิ ารวา่ พระผมู้ พี ระภาคผหู้ วงั ประโยชนเ์ กอ้ื กลู แกพ่ วกเรา
ได้ประณามพวกเราแล้ว ท่านทั้งหลายอย่าได้ประมาท จงหมั่น
ทำ� ความเพยี ร ภกิ ษเุ หลา่ นน้ั เชอ่ื คำ� สงั่ สอนของพระยโสชะ เปน็ อย่ ู
ดว้ ยความไมป่ ระมาท ได้บรรลอุ รหัตตผลในพรรษานน้ั ทเี ดียว
พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจากวัดเชตวันไปยังเมืองเวสาลี
แควน้ วชั ช ี ประทบั อย ู่ ณ กฏู าคารศาลาปา่ มหาวนั รบั สงั่ กบั พระ
อานนท ์ ใหภ้ กิ ษรุ ปู ใดรปู หนง่ึ ไปตามพระยโสชะพรอ้ มดว้ ยบรวิ าร
มาเฝา้ เมอ่ื ภกิ ษเุ หลา่ นน้ั มาเฝา้ แลว้ พจิ ารณาวา่ พระผมู้ พี ระภาค
เปน็ อยดู่ ว้ ยวหิ ารธรรมอะไรหนอ ทราบวา่ ทรงอยดู่ ว้ ยอาเนญชสมาธิ
(เข้าผลสมาบัติประกอบด้วยอรหัตตผล) จึงได้เข้าสมาธิเช่นนั้น
บา้ ง พระอานนทไ์ ดเ้ หน็ พระผมู้ พี ระภาคทรงเฉยอย ู่ จงึ ไดก้ ราบทลู
พระผู้มีพระภาคถึง ๓ คร้ัง ทั้งในปฐมยาม มัชฌิมยาม และ
ปัจฉิมยามว่า ภิกษุทั้งหลายน่ังอยู่นานแล้ว ขอให้ตรัสอะไรๆ
แก่ภิกษุเหล่าน้ันบ้าง เม่ือรุ่งอรุณพระผู้มีพระภาคจึงตรัสกับพระ
อานนท์ว่า พระองค์และภิกษุท้ังหลายเหล่านั้นอยู่ด้วยอาเนญช
สมาธิ (แต่พระอานนทไ์ มร่ )ู้ ทรงเปลง่ อุทานในเวลานัน้ ว่า
“ภิกษุใดชนะหนามคือกาม ชนะการด่า การฆ่า และการ
จองจ�ำได้แล้ว ภิกษุนั้นม่ันคงไม่หวั่นไหวดุจภูเขา ภิกษุน้ันย่อม
ไม่หว่ันไหวในสขุ และทุกข”์
8พ2ุทธอทุ าน
อธบิ ายความ
เร่ือง “หนามคือกาม” ไดก้ ลา่ วไว้แล้วในเร่อื งที ่ ๑๙
เรอื่ ง “อาเนญชสมาธ”ิ ทา่ นหมายถงึ สมาธซิ ง่ึ สมั ปยตุ ดว้ ย
อรหัตตผล มจี ตตุ ถฌานเปน็ บาท
“ผมู้ นั่ คงเหมอื นภเู ขา” อนั วา่ ภเู ขาศลิ ายอ่ มไมห่ วนั่ ไหวดว้ ย
แรงลมฉันใด ผู้บรรลุอรหัตตผลแล้วย่อมไม่หวั่นไหวในสุขและ
ทกุ ขฉ์ ันนน้ั
๒๑
พระพุทธอทุ าน เร่อื ง
พระสารีบตุ ร
และพระโมคคัลลานะ
(สารปี ตุ ตสตู ร และ โกลติ สูตร)
ความเบ้อื งต้น
สมยั หนง่ึ พระผมู้ พี ระภาคทอดพระเนตรเห็นพระสารีบุตร
และพระโมคคลั ลานะ นงั่ คบู้ ลั ลงั กต์ ง้ั กายตรง ดำ� รงสตไิ วเ้ ฉพาะหนา้
เข้าผลสมาบัติ (เข้าไปเสวยความสุขจากอริยผลซ่ึงตนได้แล้ว)
ทรงเปลง่ อุทานส�ำหรับพระสารบี ตุ รวา่
“ภกิ ษผุ ดู้ จุ ภเู ขา ยอ่ มไมห่ วนั่ ไหวเพราะความสนิ้ โมหะ เหมอื น
ภูเขาหินไมห่ ว่ันไหว ตั้งอยูด่ ้วยดฉี ะน้นั ”
ทรงเปล่งอุทานส�ำหรบั พระมหาโมคคัลลานะวา่
“ภิกษุผู้เข้าไปตั้งกายคตาสติไว้แล้ว ส�ำรวมแล้วในผัสสาย-
ตนะ ๖ มจี ติ ตงั้ ม่นั แลว้ เนืองๆ พึงรูน้ พิ พานของตน”
8พ4ทุ ธอุทาน
อธบิ ายความ
๑. ค�ำว่า “กายคตาสติ” แปลว่า สติเป็นไปในกาย หมาย
ความว่า พิจารณากายนี้โดยอาการ ๓๒ (ทวัตติงสาการ) โดย
ความเปน็ ของปฏกิ ลู บา้ ง โดยความเปน็ ธาตบุ า้ ง ถา้ พจิ ารณาโดย
ความเป็นของปฏิกูล จัดเป็นสมถกรรมฐาน ถ้าพิจารณาโดย
ความเป็นธาตุสักแต่ว่าธาตุกล่าวคือ ดิน น้�ำ ไฟ ลม อากาศ
จัดเปน็ วิปสั สนากรรมฐาน
อาการ ๓๒ น้ัน จัดเป็นธาตุดิน ๒๐ มีผม ขน เล็บ ฟัน
หนัง เป็นต้น จัดเป็นธาตุน�้ำ ๑๒ มีน�้ำลาย น�้ำมูก น�้ำไขข้อ
นำ้� มตู ร (ปสั สาวะ) เปน็ ตน้ พระพทุ ธเจา้ ทรงสรรเสรญิ กายคตา-
สตไิ วม้ าก เชน่ วา่ ผใู้ ดไดบ้ รโิ ภคกายคตาสต ิ ผนู้ นั้ ชอื่ วา่ ไดบ้ รโิ ภค
อมตธรรม เปน็ ต้น
๒. ข้อว่า “ส�ำรวมดีแล้วในผัสสายตนะ ๖” อธิบายว่า
ผสั สายตนะ ทงั้ ๖ คอื ตา ห ู จมกู ลน้ิ กาย ใจ เมอ่ื กระทบกบั
อายตนะภายนอก ๖ มรี ปู เปน็ ตน้ ทา่ นเรยี กวา่ อนิ ทรยี สงั วร ใน
นิทเทศแห่งอินทรียสังวร (นิทเทศ = ค�ำขยาย) พระพุทธองค ์
ตรัสว่า “เห็นรูปด้วยตาแล้วไม่ถือเอาโดยนิมิตต์ ไม่ถือเอาโดย
อนพุ ยัญชนะ ทเ่ี ป็นเหตุให้อภิชฌาและโทมนัสร่วั ไหลเข้าสู่จติ ”
ค�ำว่า “ถือเอาโดยนิมิตต์” นั้น หมายความว่า ถือเอา
โดยส่วนรวม เช่น รูปน้ีสวย รูปนี้ไม่สวย ค�ำว่า “ถือเอาโดย
อนุพยัญชนะ” นั้นคือ ถือเอาโดยแยกส่วน เช่น ตาสวย ตา
ไมส่ วย มอื สวย มือไมส่ วย เป็นตน้
85
วศนิ อินทสระ
ค�ำว่า “อภิชฌา” หมายถึง ความยินดี ความอยากได้
ความพอใจ ค�ำว่า “โทมนัส” คือ ความไม่อยากได้ ความไม่น่า
ยินดี ความไม่พอใจเมื่อเห็นรูปด้วยตาเป็นต้นแล้ว ระวังจิตมิให ้
ยินดียินร้ายในเร่ืองหูกับเสียง จมูกกับกล่ิน ล้ินกับรส กายกับ
โผฏฐัพพะ ใจกับธัมมารมณ์ (อารมณ์ที่เกิดข้ึนกับใจ) ก็ท�ำนอง
เดียวกนั
๓. ค�ำว่า “มีจิตใจม่ันคงเป็นไปติดต่อ” หมายความว่า ม ี
จิตใจต้ังม่ันไม่หวั่นไหวในผัสสายตนะท้ัง ๖ และในโลกธรรม ๘
มลี าภ ยศ เปน็ ตน้
๔. คำ� วา่ “ผเู้ ชน่ นน้ั ยอ่ มรนู้ พิ พานของตน” หมายความวา่
เม่ือประกอบด้วยธรรม ๓ อย่างข้างต้น มีกายคตาสติเป็นต้น
ย่อมเขา้ ถงึ นพิ พานอันบคุ คลไดโ้ ดยยาก
๒๒
พระพทุ ธอทุ าน เรอ่ื ง
พระปิลินทวจั ฉะ
(ปลิ ินทวัจฉสูตร)
ความเบ้ืองต้น
สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ เวฬุวัน ใกล้นคร
ราชคฤห ์ สมยั นนั้ พระปลิ นิ ทวจั ฉะมปี กตเิ รยี กผอู้ นื่ วา่ “คนถอ่ ย”
(วสลิวาทะ) ภิกษุทั้งหลายได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า พระ
ปิลินทวัจฉะพูดค�ำหยาบ ยกตนข่มผู้อ่ืน พระศาสดารับสั่งให ้
ภิกษุรปู หนงึ่ ไปตามพระปลิ นิ ทวจั ฉะมาเฝา้ เมอ่ื พระปลิ นิ ทวจั ฉะ
มาเฝ้าแล้ว ตรัสถามว่า “จริงหรือที่มักเรียกผู้อื่นว่า ‘คนถ่อย’ ”
พระปลิ นิ ทวัจฉะทูลรับว่าเป็นความจริงอย่างนั้น ทรงใคร่ครวญ
ถงึ ขนั ธใ์ นอดตี ของพระปลิ นิ ทวจั ฉะ ทรงทราบวา่ พระปลิ นิ ทวจั ฉะ
เคยเกิดในตระกูลพราหมณ์ติดต่อกันมา ๕๐๐ ชาติแล้ว จึงตรัส
บอกแก่ภกิ ษทุ ั้งหลายถงึ เรื่องนนั้ แลว้ ทรงเปลง่ อุทานว่า
87
วศิน อินทสระ
“มายาและมานะไม่มีในท่านผู้ใด ผู้ใดสิ้นโลภะไม่ยึดถือ
อะไรๆ วา่ เป็นของตน เปน็ ผไู้ ม่หวัง ละความโกรธไดแ้ ล้ว มีตน
คือจิตเยือกเย็นเต็มท่ี ผู้น้ันจะเรียกว่าพราหมณ์ก็ได้ เรียกว่า
สมณะกไ็ ด้ เรียกวา่ ภิกษุกไ็ ด”้
อธิบายความ
คำ� วา่ “มายา” มคี วามหมาย ๓ อยา่ งคอื
๑. เจา้ เลห่ ์ หมายความวา่ ไมแ่ สดงตนตามทเี่ ปน็ จรงิ เสแสรง้
หลอกลวง
๒. ความงาม เชน่ พระนามของพระนางมหามายาพระพทุ ธ-
มารดา แปลวา่ ผมู้ ีความงามมาก
๓. ขนบประเพณ ี เชน่ คำ� วา่ “ขตั ตยิ มายา” หมายถงึ ขนบ
ประเพณขี องกษตั รยิ ์ “พราหมณมายา” ขนบประเพณขี อง
พราหมณ ์ เป็นตน้
มายาในพระคาถาน้ี หมายถึง ความหมายในข้อท่ี ๑ คือ
เจ้าเล่ห์
ค�ำว่า “มานะ” แปลว่า ความถือตัว ความทะนงตน ท่าน
แสดงไว ้ ๙ อยา่ ง แตข่ อกลา่ วในทน่ี เ้ี พยี ง ๓ อยา่ ง คอื มานะวา่
สูงกว่าเขา เสมอเขา ต�่ำกว่าเขา ตามความเป็นจริงแล้วไม่มีใคร
สงู กวา่ ใครหรอื ต่�ำกวา่ ใครโดยประการทง้ั ปวง สงู กวา่ หรอื ต�่ำกวา่
อยู่ที่มาตรฐานเทียบ
คำ� วา่ “ผสู้ นิ้ โลภะ” หมายความวา่ ไมม่ โี ลภะทง้ั อยา่ งหยาบ
8พ8ุทธอุทาน
อย่างกลาง อย่างละเอียด โลภะอย่างหยาบ คือ โลภอยากได้
ของผอู้ นื่ โดยไมช่ อบธรรม คอื อยากไดใ้ นทางทจุ รติ นน่ั เอง โลภะ
อยา่ งกลาง หมายถงึ ความไมร่ จู้ กั พอ แมจ้ ะไดม้ าโดยสจุ รติ กต็ าม
(อสนฺตุฏฺฐิตา อมตฺตญฺญุตา) โลภะอย่างละเอียด หมายถึง
ความติดใจหมกมุ่นพัวพันในสมบัติของตน ไม่รู้จักปล่อยวาง
ไมเ่ ห็นความไม่เท่ยี งของส่ิงท้ังหลาย โลกนีไ้ ม่มีอะไรเปน็ ของเรา
ที่แท้จริง เราจ�ำต้องละทิ้งส่ิงท้ังปวงไป ทรัพย์สมบัติท่ีมีอยู่เพียง
แต่อาศัยใช้ช่ัวคราวเท่าน้ัน จึงไม่ควรยึดมั่นว่าอะไรๆ เป็นของ
เราทีแ่ ท้จรงิ (อมโม)
คำ� วา่ “เปน็ ผไู้ มห่ วงั ” พงึ ทราบบคุ คล ๓ จำ� พวกโดยปรยิ าย
ทางธรรม คือ
๑. ผู้หมดหวัง หมายความว่า เป็นผู้ไม่มีศีลไม่มีธรรม
หมดหวงั ในการบรรลมุ รรคผล เหมอื นคนเกดิ ในตระกลู
จัณฑาล หมดหวงั ในราชสมบตั ิ
๒. ผู้มีหวัง คือ ผู้มีศีลมีธรรม มีหวังในมรรคผลนิพพาน
เปรยี บเหมอื นผเู้ กดิ ในตระกลู กษตั รยิ ม์ หี วงั ในราชสมบตั ิ
๓. ผไู้ มห่ วงั หมายความวา่ ไดบ้ รรลถุ งึ ความหวงั แลว้ ไมต่ อ้ ง
หวงั อกี ตอ่ ไป หรอื ไดบ้ รรลมุ รรคผลนพิ พานแลว้ เปรยี บ
เหมอื นผไู้ ดร้ บั อภเิ ษกเปน็ พระราชาแลว้ ในพระคาถาน ี้
หมายเอาบคุ คลประเภทที ่ ๓ น้ี
ขอ้ วา่ “ผลู้ ะความโกรธไดแ้ ลว้ ” คอื ไมม่ คี วามโกรธ จงึ เปน็
ผู้มีตนคือจิตเยือกเย็นเต็มท่ี ไม่หว่ันไหวต่ออารมณ์ที่มาย่ัวให้
โกรธ
89
วศิน อินทสระ
ผู้มีคุณสมบัติดังกล่าวมานี้ จะเรียกว่าเป็นพราหมณ์ก็ได ้
ในความหมายว่าเป็นผู้ลอยบาปได้แล้ว จะเรียกว่าสมณะก็ได้ใน
ความหมายว่าเป็นผู้สงบ จะเรียกว่าภิกษุก็ได้ในความหมายว่า
เปน็ ผู้ทำ� ลายกิเลสไดแ้ ลว้ เปน็ ผู้เห็นภัยในสังสารวฏั
อรรถกถาแห่งพระสูตรนี้กล่าวว่า ที่พระปิลินทวัจฉะกล่าว
ถ้อยค�ำว่า “คนถ่อยๆ” ดังน้ีจนติดปากแม้เป็นพระอรหันต์แล้ว
ท่านว่าเป็นวาสนาคือความประพฤติจนเคยชิน แม้พระอรหันต์
ก็ละวาสนาไม่ได้ มีแต่พระพุทธเจ้าเพียงพระองค์เดียวเท่านั้นท่ ี
ละไดท้ ้งั กิเลสและวาสนา
๒๓
พระพทุ ธอุทาน เรอ่ื ง
พระมหากสั สป
(มหากสั สปสตู ร)
ความเบือ้ งต้น
สมยั หนงึ่ พระผมู้ พี ระภาคเจา้ ประทบั อยทู่ เ่ี วฬวุ นั พระมหา-
กัสสปเข้านิโรธสมาบัติอยู่ที่ปิปผลิคูหาใกล้เมืองราชคฤห์น่ันเอง
เมอื่ ครบ ๗ วนั แลว้ ไดอ้ อกจากนโิ รธสมาบตั ิ พจิ ารณาหาคนทจ่ี ะ
ถวายบณิ ฑบาตแกท่ า่ นเพอื่ ไดอ้ านสิ งสม์ าก มเี ทพธดิ าจำ� นวนมาก
ตอ้ งการถวายอาหารแกท่ า่ นแตท่ า่ นหา้ มเสยี เพราะทา่ นตอ้ งการ
โปรดคนยากจน สมัยน้ันท้าวสักกเทวราชพร้อมด้วยนางสุชาดา
ได้ปลอมตัวมาเป็นช่างหูกที่ยากจน เม่ือพระมหากัสสปผ่านมา
ทางนั้น ก็ได้ถวายอาหารบิณฑบาตแก่ท่าน พระมหากัสสปรับ
แล้วพิจารณาอาหารน้ัน เห็นว่าประณีตนักไม่สมกับเป็นของ
คนยากจน จึงพิจารณาดูด้วยญาณ ทราบว่าเป็นท้าวสักกะจึง
กล่าวว่า ต่อไปมหาบพิตรอย่าได้ท�ำเช่นน้ีอีก (เพราะเป็นการ
91
วศิน อินทสระ
ขัดลาภของคนยากจน) ท้าวสักกะดพี ระทยั เหาะขึ้นไปในอากาศ
แล้วเปล่งอุทานว่า “ทานท่ียอดเยี่ยมเราได้ต้ังไว้ดีแล้วในพระ-
มหากสั สป”
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสดับเสียงน้ันของท้าวสักกะด้วย
ทิพยโสตแล้ว ทรงเปล่งอทุ านว่า
“เทวดาทง้ั หลายยอ่ มชนื่ ชมยนิ ดตี อ่ ภกิ ษผุ ถู้ อื บณิ ฑบาตเปน็
วัตร ผูเ้ ลย้ี งตนไม่เลีย้ งผอู้ ่ืน ผูค้ งท่ ี ผ้สู งบดีแล้ว ผ้มู สี ตทิ ุกเมื่อ”
อธบิ ายความ
การถอื บณิ ฑบาตเปน็ วตั รนน้ั เปน็ ธดุ งคข์ อ้ หนง่ึ ใน ๑๓ ขอ้
ความจรงิ พระมหากสั สปถอื ธดุ งคไ์ มเ่ พยี งแตบ่ ณิ ฑบาตเทา่ นน้ั มี
ข้ออื่นๆ อีกมาก แต่ในทนี่ ีท้ ่านยกมากล่าวเพียงเรือ่ งบณิ ฑบาต
ค�ำว่า “ผู้เลี้ยงตนไม่เลี้ยงผู้อื่น” น้ัน แสดงถึงความเป็น
ผเู้ บากายเบาจติ เปน็ ผมู้ กี จิ นอ้ ยมภี าระนอ้ ย เปน็ คณุ สมบตั ขิ อง
ผูม้ งุ่ สนั ตบท
คำ� วา่ “ผคู้ งท”ี่ หมายความวา่ จติ ใจมนั่ คงไมห่ วนั่ ไหวดว้ ย
โลกธรรม ๘ มีลาภ เสือ่ มลาภ เปน็ ตน้
คำ� วา่ “ผสู้ งบดแี ลว้ ” หมายความวา่ มกี ายสงบ วาจาสงบ
ใจสงบ
ค�ำว่า “มีสติทุกเม่ือ” หมายความว่า เป็นผู้ไม่ประมาท ม ี
สติเป็นเครื่องคุ้มครองตน เทวดาท้ังหลายย่อมช่ืนชมยินดีต่อ
ภิกษผุ เู้ ป็นเช่นนี้
๒๔
พระพทุ ธอุทาน เรอื่ ง
เสียงสรรเสริญ
(ปณิ ฑปาตสตู ร)
ความเบ้ืองต้น
เม่ือพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ท่ีวัดเชตวัน ภิกษุมาก
รูปด้วยกันชวนกันว่า พวกเราถือเท่ียวบิณฑบาตเป็นวัตรกันเถิด
เพราะจะไดเ้ หน็ ไดฟ้ งั ไดด้ มกลนิ่ ไดล้ มิ้ รส ไดถ้ กู ตอ้ งโผฏฐพั พะ
อนั นา่ พอใจ และไดย้ นิ เสยี งสรรเสรญิ จากมหาชนดว้ ย เมอื่ เทย่ี ว
บณิ ฑบาต ฉนั อาหารเชา้ แลว้ นงั่ สนทนากนั ทโ่ี รงกลมในวดั เชตวนั
พระผู้มีพระภาคเสด็จมา ตรัสถามทราบความท่ีภิกษุเหล่านั้น
สนทนากนั แลว้ จงึ ตรสั วา่ “สนทนากนั ในเรอ่ื งอยา่ งนหี้ าสมควรไม ่
ธรรมดาภิกษุเมื่อน่ังประชุมกันควรสนทนาธรรมกันหรือน่ิงเสีย
ยงั จะดกี ว่า” ดงั นแี้ ล้วทรงเปล่งอุทานว่า
93
วศนิ อินทสระ
“ถ้าไม่ต้องการเสียงสรรเสริญแล้ว เทวดาท้ังหลายย่อม
ชนื่ ชมยนิ ดีตอ่ ภกิ ษผุ ู้ถอื บณิ ฑบาตเปน็ วตั ร เลย้ี งตนไม่เล้ยี งผ้อู น่ื
เป็นผูค้ งท”่ี
อธิบายความ
ในพระพทุ ธพจนน์ ้ี มเี งอ่ื นไขอยทู่ วี่ า่ ถา้ ภกิ ษไุ มอ่ ยากไดเ้ สยี ง
สรรเสรญิ แลว้ การถอื บณิ ฑบาตเปน็ วตั รกเ็ ปน็ สง่ิ ทดี่ ี แตถ่ า้ ทำ� ไป
เพราะอยากไดเ้ สยี งสรรเสรญิ พระพทุ ธองคก์ ท็ รงตำ� หน ิ ในคมั ภรี ์
พระวนิ ยั มเี รอื่ งเลา่ ไวว้ า่ ภกิ ษรุ ปู หนง่ึ ถอื การอยปู่ า่ เปน็ วตั ร กราบทลู
พระพุทธเจ้าว่า ท่านถือการอยู่ป่าเป็นวัตรด้วยคิดว่าเพ่ือให ้
ชนท้ังหลายเคารพนับถือเลื่อมใส พระพุทธเจ้าตรัสว่า “เธอคิด
อยา่ งนเี้ ปน็ อาบตั ทิ กุ กฎแลว้ ” (อาบตั ทิ กุ กฎ แปลวา่ ไมด่ ี ไมง่ าม
ไมเ่ หมาะสม)
โดยนยั น ้ี ธรรมดาภกิ ษถุ อื วตั รตา่ งๆ ไมค่ วรทำ� เพอ่ื ตอ้ งการ
เสยี งสรรเสรญิ ความนบั ถอื จากมหาชน แตค่ วรทำ� เพอ่ื การขดั เกลา
กิเลส เพ่ือฝึกตนให้ก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรม มีพระพุทธพจน ์
อยบู่ ทหนงึ่ ซง่ึ นา่ สนใจมากสำ� หรบั ภกิ ษผุ ปู้ ฏบิ ตั ิ คอื พระพทุ ธพจน์
ท่ีว่า
“ผู้ใดยอมให้ท้องพร่อง อดทนต่อความหิวได ้ เป็นผู้ฝึกตน
แลว้ บำ� เพญ็ ตบะ (คอื ความอดทน) พอประมาณในอาหารทบ่ี รโิ ภค
ไม่ท�ำบาปเพราะเห็นแก่กิน บัณฑิตท้ังหลายเรียกผู้นั้นว่าเป็น
สมณะในโลก”
๒๕
พระพทุ ธอทุ าน เร่ือง
ไม่ตอ้ งมศี ิลปะก็อย่ไู ด้
(สปิ ปสตู ร)
ความเบือ้ งตน้
ณ วดั เชตวนั วหิ าร บา่ ยวนั หนงึ่ ภกิ ษทุ งั้ หลายนง่ั สนทนากนั
ทโ่ี รงกลมถงึ เรอ่ื งศลิ ปะตา่ งๆวา่ ศลิ ปะอะไรเปน็ เลศิ เชน่ ศลิ ปะ
เรอ่ื งชา้ ง เรอื่ งมา้ เปน็ ตน้ พระพทุ ธเจา้ เสดจ็ มา ณ ทน่ี น้ั ตรสั ถาม
ถึงเรื่องที่ภิกษุทั้งหลายสนทนาค้างอยู่ ทรงทราบแล้วตรัสว่า
“พวกเธอบวชแล้วไม่ควรสนทนากันเรื่องอย่างน ้ี เมื่อนั่งประชุม
กนั ควรสนทนาธรรมหรอื นง่ิ เสยี ดกี วา่ ดงั นแี้ ลว้ ทรงเปลง่ อทุ านวา่
“ผใู้ ครป่ ระโยชน์ ประพฤตติ นเบากายเบาใจ มอี นิ ทรยี ส์ งบ
แล้ว หลุดพ้นแล้วในธรรมทั้งปวง ไม่มีอาลัย ไม่ยึดมั่นอะไรๆ
95
วศนิ อินทสระ
วา่ เปน็ ของเรา ไมห่ วงั ประหารมารไดแ้ ลว้ เทย่ี วไปผเู้ ดยี ว ชอ่ื วา่
เปน็ ภกิ ษแุ ท ้ ไมต่ อ้ งมีศิลปะก็มชี วี ติ อย่ไู ด้”
อธบิ ายความ
๑. ค�ำว่า “ไม่ต้องมีศิลปะก็มีชีวิตอยู่ได้” แปลจากค�ำว่า
“อสปิ ปฺ ชีว”ี แตต่ ้องเปน็ ผ้มู ีคณุ สมบัติตา่ งๆ ตามท่ีพระพทุ ธองค์
ตรสั ไว้ในพระคาถานี้
๒. คำ� วา่ “ผใู้ ครป่ ระโยชน”์ หมายถงึ ทงั้ ประโยชนต์ นและ
ประโยชน์ผู้อ่ืน หรือประโยชน์ท้ัง ๓ คือ ประโยชน์ในโลกน ้ี
ประโยชนใ์ นโลกหนา้ และประโยชนส์ งู สดุ คอื มรรค ผล นพิ พาน
๓. คำ� วา่ “ประพฤตติ นเบากายเบาใจ” หมายความวา่ เปน็
ผ้มู กี จิ นอ้ ยมภี าระนอ้ ย ไมม่ ีเรอ่ื งยงุ่ ยากในชวี ติ
๔. คำ� วา่ “ผมู้ อี นิ ทรยี ส์ งบแลว้ ” คอื มอี นิ ทรยี ์ ๖ กลา่ วคอื
ตา ห ู จมกู ลน้ิ กาย ใจ สงบแลว้
๕. คำ� วา่ “หลดุ พน้ แลว้ ในธรรมทง้ั ปวง” หมายความวา่ ไมต่ ดิ
ในธรรมทัง้ ปวง ละได้แล้วทัง้ บญุ และบาป
๖. คำ� วา่ “ไมม่ อี าลยั ” หมายถงึ ไมม่ อี าลยั ในทอ่ี ย ู่ ไมย่ ดึ ถอื
อะไรๆ วา่ เปน็ ของเรา ไมห่ วงั เพราะไดต้ ามทห่ี วงั แลว้ หมายถงึ
อรหตั ตผลและนิพพาน
๗. คำ� วา่ “ฆา่ มารไดแ้ ลว้ ” โดยเฉพาะอยา่ งยงิ่ คอื กเิ ลสมาร
เท่ยี วไปผู้เดียว ไม่มีตณั หาเป็นเพื่อน
๒๖
พระพุทธอทุ าน เรอื่ ง
สัตวโลก
(โลกสูตร)
ความเบอ้ื งตน้
เมอื่ พระพทุ ธเจา้ ตรสั รใู้ หมๆ่ ประทบั เขา้ นโิ รธสมาบตั เิ สวย
วมิ ตุ ตสิ ขุ อย ู่ ๗ วนั ใตต้ น้ โพธท์ิ ตี่ รสั รนู้ นั่ เอง เมอ่ื ออกจากนโิ รธ-
สมาบัตแิ ล้วทรงพจิ ารณาสตั ว์โลกดว้ ยพทุ ธจกั ษ ุ ทรงเปล่งอทุ าน
ในเวลาน้ันวา่
“โลกนี้มีความเดือดร้อน ถูกผัสสะครอบง�ำแล้ว สัตว์โลก
ขอ้ งอยใู่ นภพ มคี วามแปรปรวนเปน็ ธรรมดา ถกู ภพครอบงำ� แลว้
เพลดิ เพลนิ อยใู่ นภพนนั่ เอง สตั วโ์ ลกเพลดิ เพลนิ ดว้ ยสง่ิ ใด สงิ่ นนั้
เป็นภัย ทุกขน์ ้ียอ่ มเกดิ เพราะอาศัยอุปธ ิ (ขนั ธ์และกเิ ลส) ความ
เกิดแห่งทุกข์ย่อมไม่มีเพราะสิ้นอุปาทาน สัตว์ท้ังหลายเป็น
จำ� นวนมากถูกอวิชชาครอบง�ำ”
ฯลฯ
97
วศนิ อนิ ทสระ
อธิบายความ
ทวี่ า่ “ทรงตรวจดหู มสู่ ตั วด์ ว้ ยพทุ ธจกั ษ”ุ นน้ั ทา่ นหมายเอา
อาสยานสุ ยญาณและอินทรยิ ปโรปรยิ ัตตญาณ
อาสยานุสยญาณ น้ัน หมายถึง พระญาณท่ีทรงรู้อาสัย
และอนสุ ยั แหง่ สตั วท์ งั้ หลาย อาสยั คอื อธมิ ตุ หมายถงึ ความโนม้
เอียงแห่งจิต อนุสัย หมายถึง กิเลสที่นอนเน่ืองอยู่ในสันดาน
ของสัตวท์ ง้ั หลาย เป็นกิเลสส่วนลกึ
อนิ ทรยิ ปโรปรยิ ตั ตญาณ นน้ั หมายถงึ พระญาณทท่ี รงร ู้
อินทรีย์ของสัตว์ท้ังหลายว่าอ่อนหรือแก่กล้า อินทรีย์ หมายถึง
อินทรีย์ ๕ คือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา พระญาณ
ดังกลา่ วนี้ไม่มที ่วั ไปแกส่ าวกทงั้ หลาย คอื มเี ฉพาะพระพุทธเจ้า
เทา่ น้นั
สัตว์โลกมีความเดอื ดรอ้ นอยู่ด้วยเพลงิ ๒ กอง คอื เพลงิ
กิเลสและเพลิงทุกข์ สมดังที่ตรัสไว้ในอาทิตตปริยายสูตรว่า
“ส่ิงท้ังปวงเป็นของร้อน” ค�ำว่า “สิ่งทัง้ ปวง” หมายถึง อายตนะ
ภายใน ๖ มีตาเป็นต้น, อายตนะภายนอก ๖ มีรูปเป็นต้น
จกั ขวุ ญิ ญาณ จกั ขสุ มั ผสั เวทนาซงึ่ เกดิ จากจกั ขสุ มั ผสั เปน็ ตน้ นน้ั
เป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง ไม่ทุกข์ไม่สุขบ้าง ก็ล้วนเป็นของร้อน
ร้อนเพราะเพลิงกิเลสคือ ราคะ โทสะ โมหะ ร้อนเพราะเพลิง
ทกุ ขม์ เี กดิ แก ่ เจบ็ ตาย เปน็ ตน้ สาวกของพระอรยิ ะไดฟ้ งั ดงั น้ี
แลว้ เหน็ ความจรงิ ดงั นแ้ี ลว้ จงึ เบอ่ื หนา่ ยในตา รปู เปน็ ตน้ เมอื่
เบอ่ื หน่ายก็คลายก�ำหนดั เม่ือคลายก�ำหนัดกห็ ลดุ พ้นฯ
9พุท8ธอุทาน
คำ� วา่ “ถกู ผสั สะครอบงำ� แลว้ ” หมายความวา่ พอใจในผสั สะ
บ้าง ไม่พอใจในผัสสะบ้าง ท�ำให้เกิดอภิชฌาบ้าง โทมนัสบ้าง
อภชิ ฌา คือความอยากได้ โทมนัส คอื ความเสียใจ
ในทบี่ างแหง่ พระพทุ ธเจา้ ทรงแสดงถงึ ผสั สายตนกิ นริ ยะ คอื
นรกทเ่ี กย่ี วกบั อายตนผสั สะ คอื ผสั สะทางอายตนะอนั ไมเ่ ปน็ ท่ี
พอใจ เปน็ นรกทเ่ี หน็ ไดใ้ นปจั จบุ นั พรอ้ มกนั นนั้ ทรงแสดงผสั สา-
ยตนกิ สคั คะ แปลวา่ สวรรคท์ เี่ กยี่ วกบั ผสั สายตนะ คอื ผสั สะอนั
เปน็ ทพ่ี อใจ หมายความว่า เมอ่ื ใดได้เหน็ รูป ได้ฟงั เสียงเป็นตน้
อันเป็นท่ีพอใจ เมื่อนั้นเป็นสวรรค์ส�ำหรับบุคคลน้ัน เมื่อใดได้
เห็นรปู ได้ฟังเสียงเป็นต้นอันไม่เป็นที่พอใจ เมือ่ นั้นเปน็ นรก
คำ� วา่ “สตั วโ์ ลกขอ้ งอยใู่ นภพ ทอ่ งเทยี่ วอยใู่ นภพ” ดงั ขอ้ ความ
ทว่ี า่ “สตั ว ์ ๕ ขนั ธบ์ า้ ง ขนั ธเ์ ดยี วบา้ ง ๔ ขนั ธบ์ า้ ง ทอ่ งเทยี่ วอย ู่
ในภพใหญภ่ พนอ้ ย (ปญเฺ จกจตโุ วการา สสํ รนตฺ า ภวาภเว)” คำ� วา่
“ภพใหญ่” หมายถึง สุคติ คือมนุษย์ เทวดา และพรหม ค�ำว่า
“ภพน้อย” หมายถึง ทุคติหรืออบาย ๔ คือ นรก เปรต อสุร-
กาย เดรัจฉาน โดยปริยายหนึ่ง ภพมี ๒ อย่าง คือ กรรมภพ
ได้แก่ ความอยากเกิดในภพต่างๆ ที่คิดว่ามีความสุข (The will
to be born) อปุ ปตั ตภิ พ หมายถงึ ทเี่ กดิ ของสตั วท์ งั้ หลาย กลา่ ว
คอื กามภพ รปู ภพ อรปู ภพ เรยี กเปน็ “ภมู ”ิ กม็ ี หมายถงึ ภมู ิ
จิตของสัตว์ผู้ข้องอยู่ในภูมิต่างๆ เช่น กามาวจรภูมิ ภูมิจิตของ
สัตวผ์ ้ขู อ้ งอย่ใู นกาม เปน็ ตน้