The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by ืทีมงานกรุธรรม, 2022-02-23 21:43:22

พุทธอุทาน

พุทธอุทาน

Keywords: พุทธอุทาน

99

วศนิ  อินทสระ

ข้อว่า  “สัตว์โลกข้องอยู่ด้วยส่ิงใด  สิ่งนั้นเป็นภัย”  เพราะ 
นำ� ทกุ ขม์ าให ้ ดงั พระพทุ ธพจนท์ ว่ี า่  “อจุ จาระกต็ าม ปสั สาวะกต็ าม 
แม้เพียงเล็กน้อยก็มีกล่ินเหม็นฉันใด  ภพแม้เพียงเล็กน้อยก็เป็น 
ท่ีตั้งแห่งทุกข์ฉันน้ัน  ยังมีภพอยู่ตราบใดก็ยังมีภัยคือทุกข์อยู ่
ตราบนั้น

อปุ ธ ิ คอื  ขนั ธ ์ เรยี กขนั ธปู ธ ิ เปน็ ทต่ี ง้ั แหง่ ความยดึ มนั่ ถอื มนั่  
อปุ ธคิ อื กเิ ลส เรยี กกเิ ลสปู ธ ิ เปน็ ทต่ี ง้ั แหง่ กองทกุ ขท์ งั้ สนิ้  ถา้ ไมม่ ี 
ขนั ธเ์ ชน่ รปู ขนั ธเ์ ปน็ ตน้  กไ็ มต่ อ้ งทกุ ขด์ ว้ ยรปู ขนั ธน์ น้ั  ถา้ ไมม่ กี เิ ลส 
เช่น  โลภะ  โทสะ  โมหะ  เป็นต้น  ก็ไม่ต้องทุกข์เพราะกิเลสน้ัน 
ลองคิดดูเถิดว่า  สัตว์โลกผู้เวียนว่ายอยู่ในสังสารวัฏ  ต้องได้รับ 
ทุกข์ทรมานเพราะอุปธิทั้งสองน้ีเพียงไร  แม้พระอรหันต์ผู้ส้ิน 
กิเลสูปธิแล้ว  ก็ยังต้องเดือดร้อนอยู่บ้างเพราะรูปขันธ์อันช�ำรุด 
ทรดุ โทรมเจบ็ ปว่ ย

อปุ าทานมีกามปุ าทานเป็นตน้   เป็นสงิ่ หนึง่ ซึ่งเปน็ เหตแุ ห่ง 
ทุกข์  ท่านจึงกล่าวว่า  “โดยสรุป  อุปาทานในขันธ์  ๕  เป็นทุกข์ 
(สงขฺ ติ ฺเตน ปญจฺ ปุ ฺปาทานกฺขนธฺ า ทุกฺขา)”

อวชิ ชา คอื  ความไมร่ ตู้ ามความเปน็ จรงิ  โดยเฉพาะอยา่ งยงิ่  
อญั ญาณในอรยิ สจั  ๔ เปน็ ความหมายทแ่ี ทจ้ รงิ ของอวชิ ชา คอื  
ไม่รู้ตามความเป็นจริงในเร่ืองทุกข ์ สมุทัย นิโรธ และมรรค ใน 
ปฏจิ จสมปุ บาท พระพทุ ธองคท์ รงแสดงวา่  “อวชิ ชาเปน็ เบอื้ งตน้  
แหง่ ความทกุ ข ์ การดบั อวชิ ชาเปน็ เบอ้ื งตน้ แหง่ การดบั ทกุ ข”์  สตั ว์ 
โลกถูกอวิชชาครอบง�ำอย ู่ จึงไม่เหน็ ตามท่เี ปน็ จริง



คั ม ภี ร์ อุ ท า น

เ ม ฆิ ย ว ร ร ค



๒๗

พระพุทธอทุ าน เร่ือง

วติ ก

(เมฆยิ สตู ร)

ความเบื้องต้น
สมยั หนงึ่  พระผมู้ พี ระภาคเจา้ ประทบั อยทู่ ภี่ เู ขาจาลกิ า ใกล้ 

เมืองจาลิกา  สมัยน้ันพระเมฆิยะเป็นอุปัฏฐาก  เช้าวันหนึ่งพระ 
เมฆยิ ะทลู ขอลาไปบณิ ฑบาต ณ ชนั ตคุ าม เมอื่ พระผมู้ พี ระภาค 
ทรงอนุญาตแล้วก็เข้าไปบิณฑบาต  ขากลับได้พบสวนมะม่วง 
แห่งหนึ่งน่าร่ืนรมย์  เหมาะท่ีจะท�ำความเพียร  จึงรีบกลับมา 
กราบทลู พระผมู้ พี ระภาควา่ จะขอลาไปทำ� ความเพยี รทสี่ วนมะมว่ ง 
พระพุทธเจ้าตรัสยับยั้งไว้ว่า  “ขอให้อยู่ก่อนจนกว่าจะมีภิกษุ 
รปู อน่ื มาเปน็ อปุ ฏั ฐากแทน” แตพ่ ระเมฆยิ ะกย็ งั คงยนื ยนั ทจ่ี ะไป 
ท�ำความเพียรท่ีสวนมะม่วง  พระพุทธเจ้าตรัสห้ามถึง  ๓  ครั้งก ็
ไม่ยอมฟัง  ทูลว่า  “พระองค์ไม่มีกิจท่ีจะต้องท�ำให้ย่ิงขึ้นไปแล้ว 

1พ0ุท4ธอุทาน

ส่วนตนยังต้องท�ำความเพียรเพ่ือคุณย่ิงๆ  ข้ึนไปอยู่”  พระพุทธ- 
เจ้าจึงตรัสว่า “เมื่อเธอพูดว่าจะไปทำ� ความเพียรเพื่อคุณที่ยิ่งขึ้น 
ไป เราจะพงึ กลา่ วอะไรได้อีกเลา่ ”

พระเมฆิยะไปยังสวนมะม่วงนั้นเพ่ือท�ำความเพียรตามที ่
ต้ังใจ  แต่ท�ำไม่ได้เพราะถูกวิตกทั้ง  ๓  ครอบง�ำ  วิตกท้ังสามน้ัน 
คอื  กามวติ ก ความตรกึ เรอ่ื งกาม, พยาบาทวติ ก ความตรกึ เรอ่ื ง 
พยาบาท, วหิ งิ สาวติ ก ความตรกึ เรอื่ งการเบยี ดเบยี น จงึ กลบั มา 
เฝา้ พระผู้มพี ระภาคเจา้  กราบทลู ใหท้ รงทราบเร่อื งวิตกนั้น

พระพุทธเจ้าทรงทราบเรื่องแล้วได้ทรงแสดงธรรมอันเป็น 
คณุ สมบตั  ิ ๕ ประการเพอ่ื บม่ เจโตวมิ ตุ ตทิ ย่ี งั ไมแ่ กก่ ลา้ ใหแ้ กก่ ลา้  
(เจโตวิมุตติ  =  ความหลุดพ้นทางใจ  หมายถึง  สมาธิหรือฌาน 
ระดับต่างๆ) คุณสมบตั ิ ๕ ประการน้ันคอื

๑. เป็นผูม้ กี ลั ยาณมติ ร
๒. เป็นผู้มีศีล  ส�ำรวมในปาติโมกข์  สมบูรณ์ด้วยอาจาระ 
และโคจร  เห็นภัยในโทษแม้เพียงเล็กน้อย  สมาทาน 
ศึกษาอยใู่ นสิกขาบททงั้ หลาย
๓. เป็นผู้ใด้โดยไม่ยากซึ่งอภิสัลเลขกถา คือ  ถ้อยค�ำเป็น 
เคร่ืองขัดเกลากเิ ลส
๔. เป็นผู้มีความเพียรเสมอต้นเสมอปลาย  ไม่ทอดธุระใน 
กศุ ลธรรม
๕. เปน็ ผมู้ ปี ญั ญา ทง้ั อทุ ยตั ถคามนิ ปี ญั ญา และ นพิ เพธกิ - 
ปญั ญา

105

วศนิ  อินทสระ

เมื่อทรงแสดงคุณสมบัติ  ๕  ประการนี้แล้ว  ได้ทรงแสดง 
ธรรมอีก ๔ ประการใหย้ งิ่ ขึน้ ไป คือ

๑. อสุภภาวนา เพอ่ื ละราคะ
๒.  เมตตาภาวนา  เพื่อละพยาบาท
๓. อานาปานสต ิ เพอ่ื ตดั อกุศลวติ กทัง้  ๓
๔. อนจิ จสญั ญาภาวนา เพอ่ื ถอนอสั มมิ านะ (ความทะนง 
ตน) อน่งึ  ผไู้ ดอ้ นัตตสญั ญาอนั สืบเนือ่ งมาจากอนิจจสัญญานัน้  
ยอ่ มเพกิ ถอนอัสมิมานะเสยี ได ้ สามารถบรรลุนพิ พานไดท้ ีเดยี ว
ทรงโอวาทพระเมฆิยะดังนแี้ ล้ว ทรงเปล่งอุทานวา่
“วิตกอันเลวทราม  วิตกอันละเอียด  เป็นไปแล้ว  ท�ำใจให ้
ฟงุ้ ซา่ น บคุ คลผมู้ จี ติ หมนุ ไปแลว้ ไมท่ ราบวติ กแหง่ ใจเหลา่ น ี้ ยอ่ ม 
แล่นไปสู่ภพน้อยและภพใหญ่  ส่วนบุคคลผู้มีความเพียร  มีสติ 
ทราบวิตกแห่งใจ  เหล่าน้ีแล้วย่อมปิดก้ันเสีย  พระอริยสาวก 
ผู้ตรัสรู้แล้วย่อมละได้เด็ดขาด  ไม่มีส่วนเหลือ  ซ่ึงวิตกเหล่านี้ 
ทเี่ ปน็ ไปแลว้ ทำ� ใจใหฟ้ งุ้ ซ่าน”
อธิบายความ
อรรถกถาเล่าว่า  สวนมะม่วงนั้นเคยเป็นพระราชอุทยาน 
ของพระเมฆิยะในชาติหน่ึงเมื่อพระเมฆิยะเป็นพระราชา  เมื่อ 
ท่านไปท�ำความเพียรที่สวนมะม่วงน้ัน  สัญญาเก่าๆ  เกิดขึ้นจึง 
ฟุ้งซา่ นด้วยวติ กตา่ งๆ ไม่อาจทำ� จิตใหส้ งบได้
ค�ำว่า  “อภิสัลเลขกถา”  ในพระสูตรท่านขยายความเป็น 

1พ0ทุ 6ธอทุ าน

กถาวตั ถ ุ ๑๐ กลา่ วคอื  ถอ้ ยคำ� ทค่ี วรนำ� มาพดู กนั  นำ� มาสนทนากนั  
กถาวัตถุ  ๑๐  นั้นคอื

๑. อปั ปจิ ฉกถา ถอ้ ยคำ� ทชี่ กั นำ� ใหม้ กั นอ้ ยในปจั จยั  ๔ เปน็ ตน้
๒. สนั ตฏุ ฐกิ ถา ถอ้ ยคำ� ทช่ี กั นำ� ใหส้ นั โดษในปจั จยั  ๔ เปน็ ตน้  
ตามมตี ามได้
๓. ปวิเวกกถา ถอ้ ยค�ำที่ชกั นำ� ให้พอใจในความสงบสงัด
๔. อสงั สคั คกถา ถอ้ ยคำ� ทชี่ กั นำ� ใหไ้ มค่ ลกุ คลดี ว้ ยหมคู่ ณะ 
โดยไม่จ�ำเป็น
๕. วริ ยิ ารมั ภกถา ถอ้ ยคำ� ทช่ี กั นำ� ใหป้ รารภความเพยี ร คอื  
ท�ำความเพียรสม�่ำเสมอติดต่อ  มีความบากบ่ันม่ันคง 
ไมท่ อดท้ิงธรุ ะในกศุ ลธรรม
๖. สีลกถา ถ้อยคำ� ทีช่ กั น�ำใหม้ ีศลี
๗. สมาธิกถา ถ้อยคำ� ท่ชี ักน�ำให้เจริญสมาธิ
๘. ปญั ญากถา ถอ้ ยค�ำที่ชักน�ำใหอ้ บรมปญั ญา
๙. วิมตุ ติกถา ถอ้ ยคำ� ที่ชักนำ� ใหห้ ลุดพ้นจากกเิ ลส
๑๐. วมิ ตุ ตญิ าณทสั สนกถา ถอ้ ยคำ� ทชี่ กั นำ� ใหร้ เู้ หน็ ในความ 
หลดุ พ้นนั้น
คำ� วา่  “อทุ ยตั ถคามนิ ปี ญั ญา” หมายถงึ  ปญั ญาทที่ ำ� ใหร้ เู้ หน็  
ความเกดิ และความดบั แหง่ สงั ขารทงั้ หลาย คำ� วา่  “นพิ เพธกิ ปญั ญา” 
หมายถงึ  ปัญญาท่ีชำ� แรกกเิ ลส รเู้ หน็ ตามเป็นจรงิ ในอริยสจั  ๔

๒๘

พระพทุ ธอุทาน เร่อื ง

ภิกษผุ ไู้ ปสูอ่ �ำนาจแหง่ มาร
(อทุ ธตสูตร)

ความเบ้ืองต้น
สมัยหน่ึง  พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ท่ีสาลวัน  (ป่าไม้ 

สาละ)  ใกล้เมืองกุสินารา  มีภิกษุจ�ำนวนมากด้วยกันพักอยู่ที่นั่น 
แตภ่ กิ ษเุ หลา่ นนั้ ไมส่ งบ ฟงุ้ ซา่ น ปากกลา้  (คอื พดู มาก) ไมส่ ำ� รวม 
วาจา  พระพุทธองค์ทรงปรารภเหตุนี้จึงทรงเปล่งอุทานในเวลา 
นัน้ วา่

“ภิกษุมีกายไม่รักษาแล้ว  เป็นมิจฉาทิฏฐิ  และถูกถีนมิทธะ 
ครอบง�ำแล้ว  ย่อมไปสู่อ�ำนาจแห่งมาร  เพราะเหตุน้ัน  ภิกษุพึง 
เปน็ ผรู้ กั ษาจติ  มคี วามดำ� รชิ อบเปน็ โคจร มงุ่ สมั มาทฏิ ฐเิ ปน็ เบอื้ ง 
หน้า  รู้ความเกิดขึ้น  และเส่ือมไปแล้ว  ครอบง�ำถีนมิทธะ  พึงละ 
ทคุ ตทิ ัง้ หมดได”้

1พ0ุท8ธอุทาน

อธบิ ายความ
คำ� วา่  “ภกิ ษผุ มู้ กี ายไมร่ กั ษาแลว้ ” หมายความวา่  ไมส่ ำ� รวม 

กาย คนองกาย ไมต่ งั้ อยใู่ นกายสจุ รติ  ๓ คอื  เวน้ จากการฆา่  การ 
เบยี ดเบยี นทางกาย เวน้ จากการลกั ทรพั ย ์ เวน้ จากการประพฤต ิ
ผดิ ในกาม กายสจุ ริต คือ เว้นจากกรรมท้งั  ๓ อย่างนั้น

คำ� วา่  “เปน็ มจิ ฉาทฏิ ฐ”ิ  คอื  มคี วามเหน็ ผดิ  เหน็ ไมถ่ กู ตอ้ ง 
ตามท�ำนองคลองธรรม  เช่น  เห็นว่าบุญบาปไม่มี  ท�ำดีไม่ได้ดี 
ท�ำช่ัวไม่ได้ช่วั  เปน็ ต้น

คำ� วา่  “ถกู ถนี มทิ ธะครอบงำ� ” ถนี มทิ ธะ แปลวา่  ความงว่ งงนุ  
ความทอ้ แท้ งว่ งบอ่ ยๆ ทำ� ใหเ้ กยี จครา้ นไมท่ �ำความเพยี ร หรอื  
ไม่ได้ท�ำสิ่งท่ีควรท�ำในเวลาท่ีควรท�ำเพราะมัวง่วงงุนอยู่  มีพระ- 
พุทธภาษิตว่า  “ผู้มักหลับ  พูดมาก  ไม่ลุกข้ึนในกาลที่ควรลุกข้ึน 
เกียจคร้าน  มักโกรธ  นั่นเป็นปากทางแห่งความเสื่อม”  (ปราภว 
สตู ร ขุททกนกิ าย) 

คำ� วา่  “พงึ ไปสอู่ ำ� นาจแหง่ มาร” พงึ ทราบเรอื่ ง มาร ๕ คอื
๑. ขนั ธมาร หมายถึง ขนั ธ์ ๕ มรี ูปขนั ธ์ เปน็ ต้น
๒. กเิ ลสมาร หมายถงึ  กเิ ลสมโี ลภะ โทสะ โมหะ เปน็ ตน้
๓. เทวปุตตมาร  หมายถึง  เทวดาผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิ  คอย 
ขวางก้ันไม่ให้คนท�ำความดี สนับสนุนคนท�ำชั่ว ผู้เป็น 
ใหญท่ ี่มีลักษณะเชน่ นคี้ วรจัดเขา้ ในเทวปุตตมารน้ดี ว้ ย
๔. อภสิ ังขารมาร หมายถึง ความคดิ ปรงุ แต่งในทางชั่ว
๕. มจั จมุ าร หมายถงึ  ความตายซงึ่ มาพรากชวี ติ ของคนดี 
มปี ระโยชนใ์ นกาลที่ยังไม่ควร

109

วศิน  อินทสระ

ขันธ์ท่ีท่านจัดเป็นมารน้ันเพราะเป็นบ่อเกิดแห่งทุกข์นานา 
ประการ  ถ้าไม่มีขันธ์ก็ไม่มีทุกข์  พระพุทธพจน์มีว่า  “ความทุกข ์
เสมอด้วยการบริหารขันธ์ไม่มี  (นตฺถิ  ขนฺธสมา  ทุกฺขา)”  ลองด ู
ความทกุ ขค์ วามวนุ่ วายของสงั คมเถดิ  จะเหน็ ความจรงิ ขอ้ นอ้ี ยา่ ง 
ชัดเจน  เพียงเรื่องการท�ำมาหากินเรื่องเดียวก็ยุ่งไปท้ังโลกแล้ว 
ในหมสู่ ตั วด์ ิรัจฉานยิ่งเหน็ เรอื่ งน้ีชัดเจน

ข้อว่า  “พึงเป็นผู้รักษาจิต”  หมายความว่า  รักษาจิตให้ 
ปราศจากโทษต่างๆ  ตามท่ีกล่าวมาข้างต้น  เพราะจิตที่รักษา 
คุ้มครองดีแล้วย่อมน�ำสุขมาให้  พึงรักษาจิตให้เว้นจากกาย 
ทจุ รติ  วจที จุ ริต มโนทุจริต ใหเ้ วน้ จากมิจฉาทฏิ ฐิต้งั อย่ใู นสัมมา 
ทฏิ ฐ ิ นอกจากนท้ี รงสอนใหร้ กั ษาจติ ดว้ ยความไมป่ ระมาทใน ๔ 
สถาน  คือ  ไม่ให้ก�ำหนัด  ไม่ให้ขัดเคือง  ไม่ให้หลง  ไม่ให้มัวเมา 
ในอารมณ์อันเป็นท่ีตั้งแห่งความกำ� หนัด ขัดเคือง ลุ่มหลง และ 
มัวเมา

ขอ้ วา่  “มคี วามดำ� รชิ อบเปน็ โคจร” หมายความวา่  มคี วาม 
คิดชอบเป็นทางด�ำเนินชีวิตคือคิดเป็น  มีพระพุทธพจน์บทหนึ่ง 
ว่า  “ผู้ใดเห็นสิ่งท่ีไม่เป็นสาระว่าเป็นสาระ  เห็นสิ่งที่เป็นสาระว่า 
ไม่เป็นสาระ  ผู้น้ันมีความเห็นผิดเป็นทางด�ำเนินย่อมไม่ได้สิ่งท่ ี
เป็นสาระ  ส่วนผู้ใดเห็นส่ิงที่เป็นสาระว่าเป็นสาระ  เห็นส่ิงท่ีไม ่
เปน็ สาระวา่ ไมเ่ ปน็ สาระ ผนู้ นั้ มคี วามเหน็ ถกู ตอ้ งเปน็ ทางดำ� เนนิ  
ย่อมได้รบั สิง่ ที่เป็นสาระ” (ธรรมบท ขุททกนิกาย) 

มพี ระพทุ ธพจนใ์ นองั คตุ ตรนกิ ายวา่  “มจิ ฉาทฏิ ฐเิ ปน็ ไปเพอื่  

1พ1ทุ 0ธอทุ าน

โทษใหญ่ สมั มาทิฏฐิเปน็ ไปเพื่อประโยชน์ใหญ”่
ข้อว่า  “รู้ความเกิดขึ้นและเส่ือมไป”  หมายความว่า  ความ 

เกิดข้ึนและเส่ือมไปแห่งสังขาร  แห่งนามรูป  ดังข้อความที่ว่า 
“สังขารท้ังหลายไม่เท่ียงหนอ  มีความเกิดขึ้นและเสื่อมไปเป็น 
ธรรมดา การสงบสงั ขารทั้งหลายเสียไดเ้ ป็นสุข”

ขอ้ วา่  “พงึ ละทคุ ตทิ ง้ั หมดได”้  หมายถงึ  ทคุ ตหิ รอื อบายภมู  ิ
๔ คอื  นรก เปรต อสรุ กาย และสตั วเ์ ดรจั ฉาน และความตกตำ่�  
ต่างๆ ที่บุคคลทำ� ข้ึนเองบ้าง สังคมและโลกทำ� ให้บ้าง ภัยธรรม 
ชาตบิ ้างฯ

๒๙

พระพุทธอทุ าน เรอื่ ง

จิตทต่ี ัง้ ไวผ้ ดิ
(โคปาลสตู ร)

ความเบอื้ งต้น
สมัยหน่ึง  พระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ ่

เสดจ็ จารกิ ไปในแควน้ โกศล ทรงแวะลงขา้ งทางประทบั ทใี่ ตต้ น้ ไม ้
ต้นหน่ึง  นายโคบาล  (คนเลี้ยงโค)  คนหน่ึงเข้าไปเฝ้า  ได้สนทนา 
กับพระผู้มีพระภาคแล้วชื่นใจเลื่อมใส  ได้อาราธนาเพ่ือเสวยท ่ี
บ้านของตนในวนั รงุ่ ขนึ้  พระผมู้ พี ระภาคทรงรบั แลว้  วนั รงุ่ ขึน้ ได ้
เสดจ็ ไปพรอ้ มดว้ ยภกิ ษสุ งฆจ์ ำ� นวนมากทบ่ี า้ นของนายโคบาลนนั้  
เขาได้เตรียมอาหารท่ีประณีตถวาย  พระพุทธเจ้าเสวยเสร็จแล้ว 
ทรงแสดงธรรมให้ฟังคืออนุปุพพิกถาและอริยสัจ  นายโคบาลได ้

1พ1ทุ 2ธอุทาน

สำ� เรจ็ โสดาปตั ตผิ ล เมอื่ พระพทุ ธเจา้ เสดจ็ กลบั  เขาเดนิ ไปสง่ เสดจ็  
ช่ัวระยะหน่ึงแล้วกลับ  เขาถูกชายผู้หน่ึงฆ่าตายในระหว่างทาง 
ภิกษุบางรูปท่ีตามมาภายหลังได้เห็นเขาถูกฆ่าตายแล้ว  จึงไป 
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ  พระพุทธองค์ทรงเปล่ง 
อุทานในเวลาน้นั วา่

“โจรเห็นโจร  คนมีเวรเห็นคนมีเวร  พึงท�ำส่ิงร้ายให้แก่กัน 
อันใด จติ ทต่ี ้งั ไว้ผดิ ยังทำ� ร้ายบุคคลไดม้ ากย่งิ กวา่ น้ัน”
อธิบายความ

อรรถกถาเลา่ วา่ นายโคบาลนน้ั ชอื่ นนั ทะ ทจ่ี รงิ เปน็ คนมง่ั คง่ั  
แตเ่ พอ่ื จะปกปดิ ทรพั ยส์ มบตั ขิ องตนจงึ ไปรบั จา้ งเลยี้ งโคของทา่ น 
อนาถบิณฑกิ เศรษฐี

ทเี่ ขาถกู ฆา่ ตายนนั้ อรรถกถาเลา่ วา่  เขาครอบครองสระนำ้�  
แห่งหนึ่งในหมู่บ้านไว้แต่ผู้เดียว  ชาวบ้านแค้นเคืองผูกใจเจ็บ 
ชายคนหนงึ่ ในหมบู่ ้านน้นั เม่ือได้โอกาสจึงฆา่ เขาเสยี

เนอื่ งจากตอนนน้ั เขาเปน็ พระโสดาบนั แลว้  อรรถกถากลา่ ว 
วา่  ผฆู้ า่ เขาไดท้ ำ� อนนั ตรยิ กรรมคอื กรรมอนั หนกั  เพราะฆา่ พระ 
อริยบุคคล  ควรตระหนักในที่นี้ว่า  การฆ่าพระอริยบุคคลแม้ยัง 
ไม่เป็นพระอรหันต์ ท่านอนุโลมเขา้ ในอนนั ตริยกรรมเหมอื นกัน

พงึ ทราบอนันตรยิ กรรม ๕ คือ
๑.  ฆ่ามารดา
๒. ฆ่าบดิ า

113

วศิน อนิ ทสระ

๓.  ฆ่าพระอรหันต์
๔. ทำ� รา้ ยพระพทุ ธเจา้ จนพระโลหติ หอ้  (โดยธรรมดาใครๆ 
ไม่อาจท�ำร้ายพระพุทธเจ้าจนพระโลหิตออกจากพระ 
กายได้) 
๕. ทำ� สังฆเภท คือ ทำ� สงฆ์ให้แตกกัน
พระพุทธอุทานนี้  ทรงหมายถึงผู้ท่ีฆ่านายโคบาลว่าต้ังจิต 
ไวผ้ ดิ  เปน็ เหตใุ หเ้ ขาท�ำกรรมหนกั  มพี ระพทุ ธพจนท์ ต่ี รงกนั ขา้ ม 
กบั พระพทุ ธอทุ านนวี้ า่  “มารดา บดิ า และญาตทิ งั้ หลายสามารถ 
ใหส้ มบตั ใิ ด จติ ทต่ี งั้ ไวถ้ กู สามารถใหส้ มบตั นิ น้ั ไดม้ ากกวา่ ทมี่ ารดา 
บิดาเป็นต้นจะพึงให้ได”้  (ธรรมบท ขุททกนกิ าย)

๓๐

พระพทุ ธอทุ าน เร่ือง

ผ้มู จี ิตไม่หวั่นไหว
(ชณุ หสูตร)

ความเบ้อื งต้น
สมัยหนึ่ง  พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ท่ีเวฬุวันใกล้เมือง 

ราชคฤห ์ สมยั นน้ั พระสารบี ตุ รและพระมหาโมคคลั ลานะอยทู่ ถ่ี ำ้�  
ชอื่  กโปตกนั ทรา เขตเมอื งราชคฤห์น่นั เอง วันหน่งึ เป็นวันเพญ็  
พระจนั ทรเ์ ตม็ ดวง พระสารบี ตุ รนง่ั เขา้ นโิ รธสมาบตั อิ ยทู่ กี่ ลางแจง้  
มียักษ์ ๒ ตนมาจากทิศเหนือจะไปทางทิศใต ้ เห็นพระสารีบุตร 
แลว้  ยักษ์ตนหน่ึงบอกว่าจะทำ� ร้ายพระสารีบุตร คือตีศีรษะด้วย 
ก�ำปั้น  เพื่อนของเขาห้ามถึง  ๓  คร้ังแต่เขาก็ไม่ฟัง  ตีศีรษะพระ 
สารีบุตรซึ่งเพ่ิงปลงผมใหม่ๆ  ยักษ์นั้นถูกแผ่นดินสูบไปตกนรก 
พระมหาโมคคัลลานะเข้าไปถามขณะท่ีพระสารีบุตรออกจาก 
นิโรธสมาบัติแล้วว่า  ท่านรู้สึกเจ็บที่ศีรษะบ้างไหม  พระสารีบุตร 
ตอบว่ารู้สึกปวดศีรษะเล็กน้อย  พระมหาโมคคัลลานะชมเชยว่า 

115

วศนิ  อนิ ทสระ

ทา่ นสารบี ตุ รมฤี ทธม์ิ ากมอี านภุ าพมาก ถกู ยกั ษซ์ งึ่ มอี านภุ าพมาก 
เหลือเกินตีที่ศีรษะ  รู้สึกเพียงปวดศีรษะเล็กน้อย  พระสารีบุตร 
ชมเชยพระมหาโมคคัลลานะว่า  ท่านมหาโมคคัลลานะมีฤทธ ์
มากมีอานุภาพมาก  ที่ได้เห็นยักษ์ท�ำเช่นนั้น  ตัวท่านเองไม่เห็น 
แม้แต่ปีศาจคลุกฝุ่น  พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสดับเสียงสนทนา 
ของพระอัครสาวกทั้งสองน้ันด้วยทิพยโสตแล้ว  ทรงเปล่งอุทาน
ในขณะนน้ั วา่

“จิตของผู้ใดตั้งมั่นไม่หวั่นไหวเหมือนภูเขาหิน  ไม่ก�ำหนัด 
ในอารมณ์อันเป็นที่ต้ังแห่งความก�ำหนัด  ไม่ขัดเคืองในอารมณ ์
อันเป็นท่ีต้ังแห่งความขัดเคือง  จิตของผู้ใดอบรมดีแล้วอย่างนี ้
ความทุกข์จักมีแกท่ ่านผนู้ น้ั ได้อย่างไร”
อธบิ ายความ

อรรถกถากลา่ วว่า ถ้ำ� ที่พระสารบี ตุ รและพระโมคคลั ลานะ 
อาศัยอย่นู ัน้  เคยเปน็ ท่อี ย่ขู องนกพิราบจึงไดช้ ื่ออย่างนนั้

ตามนัยแห่งอรรถกถาของพระสูตรน้ี  พระสารีบุตรเป็นคน 
ผิวขาวเหลืองเพราะท่านว่าผิวเพียงดังทอง  ส่วนพระมหาโมค- 
คลั ลานะผิวดำ� เพราะทา่ นว่าผวิ เหมอื นดอกอุบลเขยี ว

ยกั ษท์ ตี่ พี ระสารบี ตุ รนนั้  ทา่ นวา่ ผกู อาฆาตไวต้ ง้ั แตช่ าตกิ อ่ น 
เพราะเหตไุ รทา่ นไม่ได้บอกไว้

ข้อความในพระพุทธอุทานแจ่มแจ้งแล้วทุกตอน  ไม่ต้อง 
อธิบายเพ่มิ เติมในที่น้ี

๓๑

พระพทุ ธอทุ าน เรื่อง

ทรงยนิ ดีในป่า
(นาคสูตร)

ความเบ้ืองตน้
สมยั หนง่ึ  พระผมู้ พี ระภาคเจา้ ประทบั อยทู่ โ่ี ฆสติ าราม เมอื ง 

โกสัมพี  สมัยน้ันภิกษุชาวเมืองโกสัมพีแตกกันทะเลาะวิวาทกัน 
ทมิ่ แทงกนั ดว้ ยหอกคอื ปาก พระพทุ ธองคท์ รงหา้ มวา่ อยา่ ทะเลาะกนั  
ใหส้ มานสามคั คกี นั  แตภ่ กิ ษเุ หลา่ นน้ั กไ็ มเ่ ชอ่ื ฟงั  ยงั คงทะเลาะกนั  
อยู่อย่างเดิม พระพุทธเจ้าจึงเสด็จปลีกพระองค์ไปอยู่แต่ผเู้ ดยี ว 
ณ ปา่ ปาลไิ ลยกะ บางทกี เ็ รยี กวา่ รกั ขติ วนั  อยใู่ นเขตแดนแคว้น 
โกศล  ครั้งน้ันมีพญาช้างเชือกหน่ึงเบ่ือหน่ายในการคลุกคลีกับ 

117

วศนิ  อินทสระ

ช้างเป็นอันมาก  จึงหลีกออกจากโขลงอยู่แต่ผู้เดียว  มาเจอ 
พระผมู้ พี ระภาคเจา้ แลว้ เลอ่ื มใสเคารพรกั ในพระผมู้ พี ระภาค จงึ  
อยอู่ ปุ ฏั ฐากบำ� รงุ  หาผลาผลในปา่ มาถวาย พระพทุ ธเจา้ ทรงปรารภ 
เร่อื งพระองคแ์ ละเร่ืองช้าง ทรงเปล่งอทุ านในเวลานนั้ วา่

“จติ ของพญาชา้ งมงี าเชน่ กบั งอนรถ ยอ่ มสมกบั จติ ทป่ี ระเสรฐิ  
ของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ  เพราะพระพุทธเจ้าพระองค์เดียว 
ทรงยินดีอยู่ในปา่ ”
อธบิ ายความ

อรรถกถาธรรมบทเล่าว่า  ภิกษุที่ทะเลาะกันน้ันคือคณะ 
พระธรรมกถกึ กบั คณะพระวนิ ยั ธร ทะเลาะกนั เรอ่ื งพระธรรมกถกึ  
เหลือน้�ำไว้ในห้องส้วม  เร่ืองเพียงเล็กน้อยเท่านี้ได้ทะเลาะกัน 
ลกุ ลามไปใหญโ่ ต เพราะทง้ั สองทา่ นมศี ษิ ยเ์ ปน็ คณะใหญจ่ ำ� นวน 
มาก

ตอ่ มา อบุ าสกอบุ าสกิ าชาวเมอื งโกสมั พไี มไ่ ดเ้ หน็ พระศาสดา 
ทราบว่าพระองค์ทรงหลีกเร้นไปเพราะเหตุที่ภิกษุท้ังสองพวก 
ทะเลาะกนั  จงึ นดั หมายกนั ไมท่ ำ� บญุ ไมใ่ สบ่ าตรกบั ภกิ ษเุ หลา่ นน้ั  
กาลเวลาลว่ งไป ภกิ ษเุ หลา่ นน้ั ผา่ ยผอมลงรสู้ กึ ตวั หมดอสั มมิ านะ 
จึงสามัคคีกันไปเฝ้าขอโทษพระพุทธเจ้าที่ป่ารักขิตวัน  เร่ืองนี้ม ี
รายละเอียดในอรรถกถาธรรมบทหรือหนังสือ  ทางแห่งความด ี
เล่ม  ๑  ซึ่งข้าพเจ้าได้เขียนไว้นานแล้ว  ผู้ใคร่ต่อการศึกษาพึงหา 
อา่ นจากหนงั สือดงั กล่าวเถิด

1พ1ุท8ธอุทาน

การทะเลาะวิวาทกัน  ไม่ว่าในหมู่ภิกษุหรือในหมู่ฆราวาส 
เปน็ ความไมง่ าม เปน็ ไปเพอ่ื ความยอ่ ยยบั ดว้ ยกนั ทง้ั สองฝา่ ย ดงั ท่ี 
พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ในธรรมบท  ขุททกนิกาย  ซ่ึงปรารภเร่ือง 
ทภ่ี ิกษแุ ตกกนั  มสี ภุ าษติ โบราณบทหน่ึงว่า

แมลงวนั ชอบแผล
เศรษฐชี อบทรพั ย์
คนพาลชอบทะเลาะวิวาทกนั
บณั ฑติ ชอบความสงบ
มีนิทานเร่ืองหน่ึงเล่าไว้ว่า  พระราชาพระองค์หนึ่งเสด็จไป 
ตรวจชนบท ปลอมพระองคไ์ ปในหมบู่ า้ นตา่ งๆ ไปถงึ หมบู่ า้ นหนงึ่  
เป็นหมู่บ้านร้างไม่มีคนอาศัยอยู่เลย  ตรัสถามผู้ท่ีตามเสด็จ  เขา 
กราบทูลว่า “ตัวอุบาทว์ลง” คนจึงอยู่ไม่ได ้ เมื่อพระราชาเสด็จ 
กลับแล้ว  ตรัสถามเสนามหาอ�ำมาตย์ว่าใครรู้จักตัวอุบาทว์บ้าง 
ในทป่ี ระชมุ นนั้ ไมม่ ใี ครรจู้ กั ตวั อบุ าทว ์ จงึ รบั สงั่ ใหร้ าชบรุ ษุ คนหนงึ่  
ไปเทย่ี วสบื หาตวั อบุ าทวใ์ นทต่ี า่ งๆ กไ็ มม่ ใี ครรจู้ กั  เขาจงึ เดนิ เขา้ ไป 
ในป่า  ไปพบฤๅษีท่านหน่ึง  ได้ถามฤๅษี  ฤๅษีบอกว่าให้ไปหา 
กระบอกไมไ้ ผม่ า แลว้ จะจบั ตวั อบุ าทวใ์ สไ่ ปให ้ เขาไดก้ ระบอกไมไ้ ผ ่
แลว้  ฤๅษเี ขา้ ไปภายในอาศรม แลว้ กลบั ออกมาสง่ กระบอกไมไ้ ผ ่
ให ้ เอาผา้ อดุ ปากกระบอกไว้ พรอ้ มสงั่ วา่ ใหไ้ ปเปดิ ดใู นทปี่ ระชมุ  
เขาไดต้ วั อบุ าทวแ์ ลว้ รบี กลบั ไปถวายพระราชา พระราชาประชมุ  
เสนาอ�ำมาตย์ให้มาดูตัวอุบาทว์  ส่องดูทีละคนก็เห็นส่ิงท่ีอยู่ใน 

119

วศนิ  อนิ ทสระ

กระบอกนนั้ ไมเ่ หมอื นกนั  เหน็ กนั ไปตา่ งๆ จงึ เถยี งกนั ทะเลาะววิ าท 
กัน  ด้วยเห็นว่าสิ่งที่ตัวเห็นนั้นถูกต้อง  ที่คนอ่ืนเห็นนั้นไม่ถูก 
ท�ำท่าจะตีกันด้วยฝ่ามือ  พระราชาทรงเห็นดังน้ันจึงตรัสให้เอา 
กระบอกไมไ้ ผค่ นื มาแลว้ เทออกดู ปรากฏวา่ เปน็ ชานหมากทฤ่ี ๅษ ี
ไดใ้ สก่ ระบอกใหม้ า พระราชาจงึ ทรงสรปุ วา่  “รจู้ กั แลว้  ตวั อบุ าทว ์
คือการทะเลาะวิวาทกนั ”
ในความทุกข์  ๑๐  อย่างตามต�ำราทางพระพุทธศาสนา  ม ี
ความทุกข์อยู่ข้อหน่ึงเรียกว่า  วิวาทมูลกทุกข์  แปลว่า  ทุกข์ซ่ึงมี 
การววิ าทกนั เปน็ มลู  มนษุ ยเ์ ราแมไ้ มว่ วิ าทกนั กม็ คี วามทกุ ขอ์ ยา่ ง 
อน่ื เบยี ดเบยี นมากมายอยแู่ ลว้  ถา้ ทะเลาะกนั ชงั กนั เขา้ อกี  จะเพม่ิ  
ความทกุ ขอ์ กี เท่าใดลองตรองดเู ถดิ  มีโคลงอยบู่ ทหน่งึ ความว่า
รกั กนั อยู่ขอบฟ้า  เขาเขียว
เสมือนอยู่หอแหง่ เดียว  รว่ มหอ้ ง
ชังกนั บ่แลเหลียว  ตาตอ่  กนั นา
เหมือนขอบฟ้ามาป้อง  ปา่ ไม ้ มาบัง

พระพุทธเจ้าทรงเตือนภิกษุทั้งหลายว่า  “จะเป็นความงาม 
หาน้อยไม่  ถ้าพวกเธอผู้บวชแล้วในธรรมวินัยน้ี  พึงอยู่กันด้วย 
ความสามัคคี”  ตรัสเล่าเรื่องฑีฆาวุกุมารในฑีฆีติโกศลชาดก 
ข้าพเจ้าได้เล่าเรื่องนี้ละเอียดแล้วในหนังสือเร่ือง  “พระคุณของ 
พ่อ”  ใจความส�ำคัญท่ีน่าจับใจก็คือ  พระโอวาทที่พระเจ้าฑีฆีต ิ
โกศลใหโ้ อวาทแกฑ่ ฆี าวกุ ุมารว่า

1พ2ทุ 0ธอุทาน

“ลกู เอยอยา่ เหน็ แกก่ าลยาว อยา่ เห็นแกก่ าลสัน้  
เวรย่อมไม่ระงับด้วยการจองเวร  แต่ย่อมระงับด้วยการไม่ 
จองเวร”
คำ� วา่  “อยา่ เหน็ แกก่ าลยาว” หมายความวา่  อยา่ ผกู เวรไว้ 
ใหน้ าน คำ� วา่  “อยา่ เหน็ แกก่ าลสนั้ ” หมายความวา่  อยา่ รบี ดว่ น 
แตกจากมิตร อะไรพอใหอ้ ภยั กันไดก้ ็ใหอ้ ภัยกันเสีย
สภุ าษติ ไทยบทหนงึ่ วา่  “รกั ยาวใหบ้ นั่  รกั สนั้ ใหต้ อ่ ” มคี วาม 
หมายว่า  ถ้ารักที่จะคบกันยาวก็ให้บ่ันทอนการผูกเวรเสีย  ค�ำว่า 
“รกั สน้ั ให้ต่อ” หมายความว่า ใหต้ อ่ เวรตอ่ พยาบาท
ธรรมท่ีเป็นไปเพ่ือความสามัคคีไม่วิวาทกัน  พระพุทธองค์ 
ทรงแสดงไว้หลายประการ  ในท่ีนี้ขอยกมาพอเป็นตัวอย่างคือ 
พระพุทธพจนท์ ่ีเรยี กว่า สาราณียธรรม ๖ ประการ คือ
๑. เมตตากายกรรม จะท�ำอะไรก็ท�ำด้วยเมตตา
๒. เมตตาวจีกรรม จะพดู อะไรก็พดู ดว้ ยเมตตา
๓. เมตตามโนกรรม จะคิดอะไรกค็ ดิ ดว้ ยเมตตา
๔. สาธารณโภค ี มอี ธั ยาศยั ในการแบง่ ปนั  ไดล้ าภมาแลว้  
ไมห่ วงไวบ้ ริโภคแตผ่ ู้เดยี ว
๕. สีลสามัญญตา  ความเป็นผู้มีศีลเสมอกัน  คือมีความ 
ประพฤตดิ ดี ้วยกนั  ไมร่ ังเกียจกนั เรอ่ื งความประพฤติ
๖. ทฏิ ฐสิ ามญั ญตา ความเปน็ ผมู้ คี วามเหน็ เสมอกนั  แม้ 
จะมีความเห็นไม่ตรงกันบ้างก็ไม่ทะเลาะกันเพราะ 
ความเห็นไมต่ รงกันน้นั

121

วศนิ  อนิ ทสระ

(จาก สาราณยี ธรรมสตู ร องั คตุ ตรนกิ าย ฉกั กนบิ าต พระไตร 
ปิฎกบาล ี เล่ม ๒๒ หน้า ๓๒๒) 

สาราณียธรรม  ๖  น้ีพระพุทธองค์ตรัสบอกอานิสงส์ไว้ว่า 
ทำ� ใหเ้ ปน็ ทรี่ ะลกึ ถงึ กนั  ทำ� ใหเ้ ปน็ ทร่ี กั ทเ่ี คารพ เปน็ ไปเพอื่ ความ 
สงเคราะห์กัน  ไม่วิวาทกัน  เป็นไปเพื่อความสามัคคีและความ 
เป็นอันหนึง่ อันเดียวกัน

๓๒

พระพทุ ธอทุ าน เรือ่ ง

คำ� สอนของ
พระพทุ ธเจ้าทง้ั หลาย

(ปณิ โฑลภารทวาชสตู ร)

ความเบ้ืองตน้
สมยั หนงึ่ พระผมู้ พี ระภาคเจา้ ประทบั อย ู่ ณ วดั เชตวนั  สมยั  

น้ันพระปิณโฑลภารทวาชะเป็นผู้ถือธุดงค์หลายข้อคือ  ถือการ 
อยู่ป่าเป็นวัตร  ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร  ถือทรงไตรจีวรเป็นวัตร 
มีความปรารถนาน้อย  สันโดษ  ชอบสงัด  ไม่คลุกคลีด้วยหมู ่
ปรารภความเพยี ร ผมู้ วี าทะกำ� จดั  (หมายถงึ  มปี กตกิ ลา่ วคณุ ของ 
การถือธุดงค์อันเป็นเครื่องก�ำจัดกิเลส)  หม่ันประกอบในอธิจิต 
ตั้งกายตรงนั่งสมาธิอยู่ในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาค  พระผู้มีพระ 
ภาคทอดพระเนตรเหน็ แล้วทรงเปล่งอุทานในเวลานั้นวา่

“การไมก่ ลา่ วรา้ ยตอ่ ผใู้ ด การไมเ่ บยี ดเบยี นผใู้ ด ความสำ� รวม 
ในปาติโมกข์  (มีระเบียบวินัยดี)  การรู้จักประมาณในการบริโภค 
อาหาร  การอยู่ในที่สงบสงัด  การประกอบความเพียรในอธิจิต 
เหลา่ น้เี ป็นค�ำสอนของพระพุทธเจ้าท้ังหลาย”

123

วศิน  อินทสระ

อธิบายความ
การไม่ว่าร้าย  คือ  ไม่มีเจตนาในการท่ีจะกล่าวร้ายผู้ใด 

หมายถึง  ส�ำรวมวาจา  เว้นวจีทุจริต  ๔  กล่าวคือ  พูดเท็จ  พูด 
ส่อเสียด  พูดค�ำหยาบ  พูดเพ้อเจ้อ  ต้ังอยู่ในวจีสุจริต  ๔  คือพูด 
ค�ำจริง ค�ำสมานสามัคคี ค�ำออ่ นหวาน และค�ำมปี ระโยชน์

การส�ำรวมวาจาเป็นผลดีมากท้ังแก่ตนและแก่ผู้อื่น  ถ้า 
ในสังคมของเราส�ำรวมวาจากันให้มาก  การทะเลาะวิวาทก็จะ 
นอ้ ยลง คนในสงั คมจะอยูก่ ันอย่างสขุ สงบ

การไมท่ ำ� รา้ ยผใู้ ด คอื  การเวน้ จากกายทจุ รติ  ๓ ไดแ้ ก ่ การ 
ฆา่ กนั  การลกั ทรพั ย์ การประพฤติผดิ ในกาม เมอ่ื เว้นอย่างนี้ได้ 
แลว้ ทา่ นสอนใหป้ ระพฤตธิ รรม คอื  เมตตากรณุ า ความเสยี สละ 
และความสนั โดษในคคู่ รองของตน

การส�ำรวมในปาติโมกข์  คือ  การมีระเบียบวินัยดี  ศีล  ๕, 
ศลี  ๘, กศุ ลกรรมบถ ๑๐ เปน็ วนิ ยั ของคฤหสั ถ ์ ศลี  ๑๐ เปน็ วนิ ยั  
ของสามเณร ศลี  ๒๒๗ เปน็ วนิ ยั ของพระภกิ ษ ุ การสำ� รวมระวงั  
อยูใ่ นวินัยดงั กล่าว ชื่อว่าสำ� รวมในปาติโมกข์

ความเป็นผู้รู้จักประมาณในการบริโภคอาหาร  ไม่มากจน 
อดึ อดั  ไมน่ อ้ ยจนระโหย คอื บรโิ ภคแตพ่ อดเี พอ่ื หลอ่ เลยี้ งรา่ งกาย 
ใหด้ ำ� รงอยไู่ ด ้ เพอ่ื ทำ� ประโยชน ์ ไมก่ นิ เพอ่ื เลน่ เพอื่ เมาอาหาร มที ง้ั  
คุณและโทษ  ท่านสอนให้สังเวชสลดใจเหมือนสองสามีภรรยา 
จำ� ใจบรโิ ภคเนอ้ื บตุ รทต่ี ายลงในการเดนิ ทางขา้ มทะเลทราย สงั สาร- 
วัฏน้ีเปรียบเหมือนทะเลทราย  ซ่ึงเต็มไปด้วยภยั และความทกุ ข์

1พ2ทุ 4ธอทุ าน

ยากลำ� บาก ใหร้ บี ประพฤตธิ รรมเพอื่ ขา้ มสงั สารวฏั ใหเ้ รว็ ทสี่ ดุ เทา่ ท ่ี
กำ� ลงั ความสามารถจะทำ� ได ้ พระอานนทเ์ คยสอนวา่  “กายนเี้ กดิ ขนึ้  
มขี นึ้ เพราะอาหาร บคุ คลพงึ อาศยั อาหารละอาหาร หมายความ 
ว่า  ละความติดในรสอาหาร”

อยู่ในที่สงบสงัด คือ  พอใจในท่ีสงบสงัด  ไม่ยินดีคลุกคล ี
ดว้ ยหมคู่ ณะมากเกนิ ไป พระผมู้ พี ระภาคเจา้ เคยตรสั กบั พระนาง 
มหาปชาบดีโคตมีว่า  “ส่ิงใดเป็นไปเพ่ือการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ 
ส่ิงน้ันไม่ใช่ธรรม  ไม่ใช่พระวินัย ไม่ใช่ค�ำส่ังสอนของพระองค์ 
สง่ิ ใดเปน็ ไปเพอื่ ความสงบสงดั  สง่ิ นนั้ เปน็ ธรรม เปน็ วนิ ยั  เปน็ คำ�  
สงั่ สอนของพระองค”์

การประกอบความเพยี รในอธิจิต (อธิจิตตาโยคะ) อธิจิตต 
สิกขา  โดยปริยายหน่ึงหมายถึงสัมมาสมาธิ  ซึ่งประกอบด้วย 
สมั มาวายามะ ความเพยี รชอบ สมั มาสต ิ ความระลกึ ชอบ และ 
สมั มาสมาธ ิ สมาธชิ อบ การหมนั่ ประกอบเนอื งๆ ในสมั มาสมาธนิ ี ้
เรียกวา่  อธิจิตตาโยคะ

ทงั้  ๖ ประการนเี้ ปน็ คำ� สอนของพระพทุ ธเจา้ ทง้ั หลายตาม 
ทต่ี รสั ในพระสตู รน ี้ หลกั ธรรมทงั้  ๖ ประการนปี้ รากฏในตอนท ี่ ๓ 
ของโอวาทปาตโิ มกขซ์ งึ่ ขา้ พเจา้ ไดบ้ รรยายไวโ้ ดยละเอยี ดแลว้ ใน 
หนังสอื ช่อื  “โอวาทปาติโมกข”์

๓๓

พระพทุ ธอุทาน เรอื่ ง

ผู้ไม่มีความโศก
(สารปี ตุ ตสตู ร)

ความเบื้องต้น
สมยั หนงึ่ พระผมู้ พี ระภาคเจา้ ประทบั อย ู่ ณ วดั เชตวนั  พระ 

สารบี ตุ รผมู้ กั นอ้ ยสนั โดษ ชอบความสงดั  ไมค่ ลกุ คลดี ว้ ยหมคู่ ณะ 
ปรารภความเพยี ร หมนั่ ประกอบในอธจิ ติ  นง่ั สมาธอิ ย ู่ ณ ทไ่ี มไ่ กล 
พระผมู้ พี ระภาค พระพทุ ธองคท์ รงปรารภเรอ่ื งพระสารบี ตุ รนท้ี รง 
เปล่งอทุ านในเวลานน้ั ว่า

“ความโศกทั้งหลายย่อมไม่มีแก่ผู้ท่ีมีจิตยิ่ง  ไม่ประมาท 
เป็นมุนี ศกึ ษาอยใู่ นคลองแห่งมนุ ี คงท่ี สงบ มีสตทิ กุ เมื่อ”

1พ2ุท6ธอุทาน

อธิบายความ
ค�ำว่า  “มักน้อย”  หรือ  “ปรารถนาน้อย”  หมายความว่ามี 

ความต้องการน้อย มหี ลายอย่างเชน่
มกั นอ้ ยในปจั จยั  ๔ มอี าหารเปน็ ตน้  แมม้ ผี จู้ ดั ถวายมาก 

ของก็มีมาก  ต้องการแต่น้อยพอประมาณตนเรียกว่า  ปัจจย- 
อปั ปจิ โฉ คนทม่ี คี วามตอ้ งการมากนน้ั  ทา่ นวา่ ไดเ้ ทา่ ไรไมร่ จู้ กั พอ 
เหมือนมหาสมุทรไม่อ่มิ ด้วยน�ำ้  ไฟไมอ่ ่ิมดว้ ยเช้ือ

มกั นอ้ ยในปรยิ ตั  ิ (การศกึ ษาเลา่ เรยี น) หมายความวา่  แม ้
จะเรียนมากรู้มากแต่ก็ไม่อวดรู้  ปกปิดความเป็นพหูสูตของตน 
ไม่ต้องการให้ใครรู้เรียกว่า  ปริยัติอัปปิจโฉ  ความรู้ท่ีปราศจาก 
การโออ้ วด เปน็ ส่ิงท่ีหาได้ยากอยา่ งหน่ึงในโลก 

มกั นอ้ ยในธดุ งคคณุ  หมายความวา่  แมจ้ ะถอื ธดุ งคข์ อ้ ใด 
ข้อหนึ่งหรือหลายข้อ  ก็ปกปิดธุดงค์ของตนไม่ต้องการให้ใครรู ้
ไม่โอ้อวด  ท่านเรียกว่า  ธุตังคอัปปิจโฉ  มีพระเถระบางท่านถือ 
โสสานิกธุดงค์คือ  อยู่ในป่าช้ามาเป็นเวลาถึง  ๖๐  ปี  ไม่มีใครรู้ 
เลยว่าท่านถอื ธดุ งคข์ ้อน ้ี ทา่ นเปลง่ อุทานดว้ ยความเบกิ บานใจ

มกั นอ้ ยในคณุ ธรรมทไ่ี ดบ้ รรล ุ หมายความวา่  ไดบ้ รรลถุ งึ  
คุณธรรมใดหรือมรรคผลอันใด  ก็ปกปิดคุณธรรมนั้นไม่โอ้อวด 
ไมต่ อ้ งการใหใ้ ครร ู้ ทา่ นเรยี กวา่  อธคิ มอปั ปจิ โฉ มกั นอ้ ยในอธคิ ม 
ผมู้ กั นอ้ ยในขอ้ นยี้ อ่ มไมม่ กี ารอวดอตุ รมิ นสุ สธรรม แปลวา่  ธรรม 
อันย่ิงของมนุษย ์ กล่าวคือ ฌาน วิโมกข์ สมาธ ิ สมาบัติ มรรค 
ผล

127

วศิน  อินทสระ

ค�ำว่า  “เป็นผู้สันโดษ”  หมายความว่า  พอใจตามมีตามได ้
ในปัจจยั  ๔ โดยย่อทา่ นจำ� แนกไว ้ ๓ อย่างคือ

๑. ยถาลาภสนั โดษ ยินดตี ามทีไ่ ด้
๒. ยถาพลสันโดษ ยินดตี ามก�ำลงั ของตน
๓.  ยถาสารุปปสันโดษ  ยินดีตามสมควรแก่ตน  อะไรไม ่
สมควรแกต่ นแมม้ ผี ้ใู ห้กไ็ ม่รับ ไมแ่ สวงหาปัจจัยในทาง
ที่ไมช่ อบธรรม
คำ� วา่  “ชอบความสงดั ” หมายความวา่  ชอบปลกี วเิ วก ไม่ 
คลุกคลีด้วยหมู่คณะโดยไม่จำ� เปน็  ทา่ นแสดงไว้ ๓ อย่างคอื
๑. กายวเิ วก สงดั กาย ชอบอยใู่ นทสี่ งบสงดั ไมพ่ ลกุ พลา่ น 
ดว้ ยผ้คู น 
๒. จิตตวิเวก  สงัดจิต  หมายความว่า  มีจิตสงบอยู่เสมอ 
ไมฟ่ งุ้ ซา่ น ปรยิ ายเบอื้ งสงู ทา่ นหมายถงึ  ฌาน ๔ หรอื  
ฌาน ๘
๓. อปุ ธวิ เิ วก สงดั อปุ ธ ิ หมายความวา่  สงดั จากกเิ ลส ได ้
อริยมรรคอริยผล กล่าวคือ มรรค  ๔ ผล ๔  มีโสดา- 
ปตั ติมรรค เป็นต้น
ค�ำว่า  “ปรารภความเพียร”  หมายความว่า  มีความเพียร 
เสมอตน้ เสมอปลาย มคี วามเพยี รสมำ่� เสมอไมเ่ บอ่ื หนา่ ย จนกวา่  
จะบรรลุถึงคุณท่ีต้องการ  มีความบากบ่ันมั่นคงก้าวไปข้างหน้า 

1พ2ุท8ธอุทาน

ไมท่ อดธรุ ะในกุศลธรรมทัง้ หลาย
ในพระพทุ ธอทุ านนค้ี ำ� วา่  “ผมู้ จี ติ ยงิ่ ” คอื  ประกอบในอธจิ ติ  

อรรถกถาแห่งพระสูตรนี้อธิบายว่า  ผู้ประกอบด้วยอรหัตตผล
จิต  ค�ำว่า  “มุนี”  ในพระคาถาน้ี  ท่านหมายถึง  พระขีณาสพ  (ผู้ 
ส้นิ กเิ ลสแล้ว) 

เรอื่ ง คณุ ของพระสารบี ตุ ร ขา้ พเจา้ เคยบรรยายไวล้ ะเอยี ด 
พอสมควรแล้วทางรายการวิทยุ  บัดนี้ก�ำลังจัดพิมพ์เป็นหนังสือ 
อยู่*

* เรอ่ื ง คณุ ของพระสารบี ตุ ร และจิตตคหบดี พิมพ์เสร็จแลว้ ต้งั แตเ่ ดือนมกราคม ๒๕๕๕
โดยชมรมกัลยาณธรรม

๓๔

พระพุทธอทุ าน เรอ่ื ง

ความอดกลนั้
(สุนทรสี ูตร)

ความเบ้อื งต้น
สมยั หนง่ึ พระผมู้ พี ระภาคเจา้ ประทบั อย ู่ ณ วดั เชตวนั  เมอื ง 

สาวัตถี  สมัยนั้นมีลาภสักการะและความเคารพนับถือเกิดขึ้น 
เป็นอันมากแก่พระพุทธองค์และหมู่ภิกษุสงฆ์  จนเป็นท่ีริษยา 
ของพวกเดยี รถยี ์ทง้ั หลาย (เดียรถยี ค์ ือนกั บวชนอกพุทธศาสนา) 
พวกเขาจงึ วางแผนท�ำลายพระศาสดา โดยใหน้ างสนุ ทรปี รพิ พา- 
ชกิ าซง่ึ เปน็ หญงิ ทส่ี วยมากอยใู่ นเมอื งสาวตั ถนี นั้  เดนิ เขา้ เดนิ ออก 
ในวัดเชตวัน  แล้วจ้างพวกนักเลงให้ฆ่านางเสีย  หมกไว้ที่คูน�้ำใน 
วดั เชตวนั นนั้ เอง แลว้ ไปเฝา้ พระเจา้ ปเสนทโิ กศลทลู วา่  นางสนุ ทรี 
หายไป  สงสัยจะถูกฆาตกรรมท่ีวัดเชตวัน  เพราะเห็นเดินเข้า 

1พ3ุท0ธอทุ าน

เดินออกอยู่ที่นั่น  พระสมณโคดมคงจะร่วมอภิรมย์กับนาง  แล้ว 
ให้คณะศิษย์ฆ่าเสียเพื่อปิดปาก  พระเจ้าปเสนทิโกศลจึงรับสั่ง 
ใหพ้ วกเดยี รถยี ไ์ ปหาศพ พวกเดยี รถยี ท์ ำ� ทไี ปเทยี่ วหาหนอ่ ยหนงึ่  
แลว้ ไปทลู พระเจา้ ปเสนทโิ กศลวา่  เจอศพนางสนุ ทรที คี่ นู ำ�้ * พวก 
เดียรถียเ์ ที่ยวโพนทนาว่า  พระสมณโคดมอภิรมย์กับนางสุนทร ี
แล้วให้ฆ่านางเสีย  เสียงน้ีเล่าลือกันไปมาก  ภิกษุในวัดเชตวัน 
พากันเดือดร้อน  พระผู้มีพระภาคตรัสปลอบภิกษุทั้งหลายว่า 
อย่าเดือดร้อนไปเลย  ไม่เกิน  ๗  วันเร่ืองคงสงบระงับไป  และ 
ตรัสว่าถ้าพวกเธอทนไม่ได้ก็ให้กล่าวตอบว่า  “คนพูดไม่จริง  ท�ำ 
แล้วไมไ่ ดท้ �ำ เปน็ ผมู้ ีกรรมอนั เลวย่อมตกนรก”

ต่อมาพระเจ้าปเสนทิโกศลรับส่ังให้ราชบุรุษสืบหาฆาตกร 
จับฆาตกรได้โดยท่ีพวกเขาเมาสุราแล้วทะเลาะกันจึงได้รู้กันว่า 
พวกเขารบั จา้ งพวกเดยี รถยี ใ์ หฆ้ า่ นางสนุ ทร ี ขา่ วลอื เกย่ี วกบั ความ 
เสื่อมเสีย  ซ่ึงเกี่ยวโยงมาถึงพระผู้มีพระภาคเจ้าก็สงบระงับไป 
ภกิ ษทุ ง้ั หลายไปกราบทลู เรอ่ื งนแ้ี ดพ่ ระผมู้ พี ระภาค พระพทุ ธองค ์
ทรงเปล่งอุทานในเวลานน้ั ว่า

“ชนทั้งหลายผู้ไม่ส�ำรวมแล้ว  ย่อมทิ่มแทงชนเหล่าอ่ืนด้วย 
วาจา เหมอื นเหลา่ ทหารทเ่ี ปน็ ขา้ ศกึ ทม่ิ แทงกญุ ชรตวั ทเี่ ขา้ สงคราม 
ด้วยลูกศรฉะนั้น ภกิ ษผุ ู้มีจิตไม่ประทุษรา้ ยฟงั ค�ำอันหยาบคายท ่ี
ชนทั้งหลายเปลง่ ข้นึ แล้ว พงึ อดกลัน้ ”

* อรรถกถาธรรมบทวา่  พบศพท่กี องดอกไมใ้ กลพ้ ระคันธกุฎขี องพระพุทธเจ้า

131

วศนิ  อนิ ทสระ

อธบิ ายความ
พระพทุ ธองคต์ รสั ไวว้ า่ การสำ� รวมตาเปน็ การด ี การสำ� รวม 

ห ู สำ� รวมจมกู  สำ� รวมวาจา สำ� รวมกาย ลว้ นแตเ่ ปน็ การดที ง้ั นนั้  
การส�ำรวมใจกเ็ ปน็ สงิ่ ทด่ี ี การส�ำรวมอายตนะทงั้ หมดยอ่ มท�ำให้ 
พ้นทุกข์ทง้ั ปวงได้

ในพระพทุ ธอทุ านนตี้ รสั ถงึ ผไู้ มส่ �ำรวมวาจาวา่  ยอ่ มใชว้ าจา 
ท่ิมแทงผู้อื่นเหมือนท่ิมแทงช้างศึกในสงคราม  ภิกษุผู้มีจิตไม่คิด 
ประทุษรา้ ยพึงอดกล้ันอดทน มีผูก้ ล่าววา่  

อดทนต่อผู้สงู กวา่ เพราะความกลัว
อดทนตอ่ ผู้เสมอกนั เพราะเกรงว่าจะสู้กนั ได้
ส่วนผู้ใดอดทนตอ่ ผู้ทต่ี ำ�่ ตอ้ ยกว่า 
ท่านกลา่ ววา่ ความอดทนน้ันสงู สดุ  ดีทีส่ ุด 
พระพุทธองค์เคยตรัสกับพระอานนท์ว่า  “เราจักอดทนต่อ 
คำ� ลว่ งเกนิ ของผอู้ นื่  เหมอื นชา้ งศกึ กา้ วเขา้ สสู่ งครามยอ่ มอดทน 
ต่อลูกศรที่มาจากทั้ง  ๔  ทิศ  เพราะคนส่วนมากเป็นคนช่ัว  สัตว ์
ท้ังหลาย  เช่น  ช้าง  ม้าท่ีฝึกดีแล้วเป็นสัตว์ประเสริฐ  แต่คนท่ีฝึก 
ดแี ลว้ ยงั ประเสรฐิ กวา่ นน้ั  ในหมมู่ นษุ ยด์ ว้ ยกนั  ผใู้ ดฝกึ ตนใหเ้ ปน็  
คนอดทนตอ่ ค�ำลว่ งเกนิ ของผอู้ ืน่ ได ้ ผูน้ ัน้ ประเสริฐทีส่ ุด”

๓๕

พระพทุ ธอทุ าน เรื่อง

ผู้ไม่มภี พใหม่

(อุปเสนวงั คันตปุตตสูตร)

ความเบอ้ื งตน้
สมัยหน่ึงพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ท่ีวัดเวฬุวันใกล้

เมืองราชคฤห์  สมัยน้ันพระอุปเสนวังคันตบุตร  (น้องชายพระ 
สารบี ตุ ร) หลกี เรน้ อยใู่ นทแี่ หง่ หนง่ึ  ไดม้ คี วามคดิ วา่  เปน็ ลาภของ
เราหนอทเ่ี ราไดพ้ ระผมู้ พี ระภาคเปน็ ศาสดา เราเปน็ ผมู้ ฤี ทธม์ิ าก 
มีอานุภาพมาก  มีบริวารมาก  พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบ
ความคิดของพระอปุ เสนแลว้  ทรงเปล่งอุทานในเวลานัน้ วา่

133

วศนิ  อนิ ทสระ

“ชีวิตย่อมไม่ท�ำให้ผู้ใดเดือดร้อน  ผู้น้ันย่อมไม่เศร้าโศก 
ในที่สุดคือมรณะ  ถ้าว่าผู้นั้นมีบทอันเห็นแล้วไซร้  เป็นนัก 
ปราชญ ์ ยอ่ มไมเ่ ศรา้ โศกในทา่ มกลางแห่งสัตว์มคี วามโศก ภกิ ษ ุ
ผมู้ ภี วตณั หาอนั ตดั ขาดแลว้  มจี ติ สงบ มชี าตสิ งสารสน้ิ แลว้  ยอ่ ม 
ไมม่ ีภพใหม่”
อธิบายความ

อรรถกถาแห่งพระสูตรน้ีเล่าว่า  ท่านเป็นบุตรของวังคันต 
พราหมณ์จึงมีช่ือต่อท้ายว่าวังคันตบุตร  ส่วนพระสารีบุตรผู้เป็น 
พช่ี ายนนั้ เรยี กตามชอ่ื ของมารดาคอื สารพี ราหมณ ี อรรถกถาเลา่  
ว่าเม่ือพระอุปเสนบวชได้  ๒  พรรษา  ได้เป็นอุปัชฌาย์ให้ภิกษุ 
รปู หนงึ่ แลว้ พาไปเฝา้ พระศาสดา ถกู พระศาสดาตำ� หนวิ า่  ทำ� สง่ิ ท่ี 
ไมส่ มควร คอื เปน็ อปุ ชั ฌายบ์ วชใหภ้ กิ ษเุ รว็ เกนิ ไป (ตามธรรมดา 
ภิกษุผู้มีพรรษา  ๑๐  แล้วจึงสามารถเป็นอุปัชฌาย์บวชให้สัทธิ 
วหิ ารกิ ได)้  พระอปุ เสนรสู้ กึ สงั เวชสลดใจ จงึ ทลู ลาพระศาสดาไป 
บ�ำเพ็ญเพียรจนได้บรรลุอรหัตตผลพร้อมด้วยอภิญญาและ 
ปฏิสัมภิทาท้ังหลาย  ท่านเป็นผู้มีบริวารมาก  ตัวท่านเองก็เป็น 
ผู้น่าเล่ือมใส  บริวารของท่านก็เป็นผู้น่าเลื่อมใส  เม่ือได้บรรล ุ
อรหัตตผลแล้วท่านจึงพาบริวารไปเฝ้าพระศาสดาอีก  คราวน้ี 
พระผู้มีพระภาคทรงสรรเสริญว่าเป็นผู้น่าเลื่อมใส  ทั้งบริวารก็ 
น่าเล่ือมใส ทรงยกย่องพระอปุ เสนวังคันตบตุ รให้เป็นเอตทคั คะ 
(เปน็ เลศิ ) ในทางเปน็ ผนู้ า่ เลอื่ มใสโดยรอบ หมายความวา่ ตวั ทา่ น 

1พ3ุท4ธอทุ าน

เองก็น่าเล่ือมใส  บริวารทั้งหลายก็น่าเลื่อมใส  (เอตทคฺคํ  ภิกฺขเว 
มม สาวกาน ํ สมนตฺ ปาสาทกิ าน ํ ยททิ  ํ อปุ เสโน วงคฺ นตฺ ปตุ โฺ ต) 

พระอุปเสนได้ร�ำพึงถึงตัวท่านเองว่า  เรามีชีวิตอยู่ก็ดี  เรา 
ตายกด็  ี (ภททฺ ก ํ เม ชวี ติ  ํ ภททก ํ เม มรณ)ํ  หมายความวา่  อยา่ ง 
ท่านน้ีมีชีวิตอยู่ก็ดี  มีประโยชน์ทั้งแก่ตัวท่านเองและแก่พุทธ 
บรษิ ทั  ถา้ นพิ พานไปกด็ เี พราะไมต่ อ้ งทกุ ขเ์ กย่ี วกบั สงั ขาร ถา้ พดู  
ตามภาษาคนท่ัวไปก็ว่า  อยู่ก็ดี  ตายก็ดี  ดีท้ังสองอย่าง  ใครคิด 
ได้อยา่ งน้ีกจ็ ะไดป้ ระโยชน์มาก

ส�ำหรับข้อความในพระพุทธอุทานนั้น  ค�ำว่า  “ผู้มีบทอัน 
เห็นแล้ว”  หมายความว่า  ได้เห็นบทแห่งอมตธรรมแล้ว  คือ  ได ้
ถงึ นิพพานแลว้ ด้วยกเิ ลสนพิ พานคือดับกิเลสไดส้ ้ินแลว้

ค�ำว่า  “ภวตัณหา”  คือ  ตัณหาในภพ  ความพอใจในการที ่
จะเกิดอีกในภพใดภพหนึ่ง  ท่านตัดขาดแล้วท่านจึงสิ้นสังสารวัฏ 
เพราะฉะนนั้ ภพใหมจ่ งึ ไมม่ แี กท่ า่ น ทใ่ี ดมภี พทนี่ น่ั กม็ ที กุ ข ์ สมดงั  
พระพุทธพจน์ที่ว่า  “อุจจาระก็ตาม  ปัสสาวะก็ตามแม้เพียงเล็ก 
น้อยก็มีกล่ินเหม็นฉันใด  ภพแม้เพียงเล็กน้อยก็เป็นบ่อเกิดแห่ง 
ทกุ ข์ฉนั นน้ั ”

๓๖

พระพทุ ธอุทาน เร่อื ง

ผู้มจี ิตสงบระงบั
(สารปี ตุ ตสูตร)

ความเบือ้ งตน้
สมยั หนงึ่ พระผมู้ พี ระภาคเจา้ ประทบั อย ู่ ณ วดั เชตวนั  พระ 

สารีบุตรน่ังเข้าผลสมาบัติ  พิจารณาถึงคุณของพระนิพพานอัน 
เป็นท่ีดับกองกิเลสและกองทุกข์ของตน  พระพุทธเจ้าทรงทราบ 
ทรงเปลง่ อุทานในเวลานน้ั วา่

“ภิกษุผู้มีจิตสงบระงับ  มีตัณหาอันจะน�ำไปในภพตัดขาด 
แล้ว ชาติสงสารส้นิ แล้ว พ้นแล้วจากเครือ่ งผูกแหง่ มาร”
อธิบายความ

อรรถกถาแห่งพระสูตรนี้เล่าว่า  พระสารีบุตรพิจารณาถึง 
ความทุกข์ของสัตว์โลกผู้ยังมีกิเลส  เวียนว่ายตายเกิดอยู่ใน 
สังสารวัฏ  เกิดความสังเวชสลดใจแล้วพิจารณาถึงคุณของพระ

1พ3ุท6ธอุทาน

นพิ พานอนั เปน็ ทสี่ งบระงบั กองกเิ ลสและกองทกุ ขท์ งั้ มวลของตน 
มีความสุขอย่างยงิ่ เพราะไมถ่ กู กิเลสรบกวน

สมาบตั ินัน้ มหี ลายอย่าง คอื
ฌานสมาบตั  ิ หมายถงึ  การเขา้ ฌานของผไู้ ดฌ้ าน ซง่ึ มอี ย่ ู
๘  ระดบั
นิโรธสมาบัติ  หมายถึง  การเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธของ 
ท่านผู้ได้ฌาน  ๘  และได้เป็นพระอนาคามีแล้วหรือเป็นพระ 
อรหันต์แลว้
ผลสมาบัติ  หมายถึง  การเข้าไปเสวยรสแห่งอริยผลของ 
ทา่ นผไู้ ดบ้ รรลอุ รยิ มรรคอรยิ ผลแลว้  ตงั้ แตโ่ สดาปตั ตผิ ลเปน็ ตน้ ไป 
จนถงึ อรหตั ตผล ผลสมาบตั นิ ีพ้ ระอรยิ บุคคลเท่าน้ันจงึ จะเขา้ ได้
ทพ่ี ระสารบี ตุ รนงั่ เขา้ ผลสมาบตั ติ ามในพระสตู รน ี้ หมายถงึ  
เขา้ ไปเสวยรสแหง่ วิมตุ ตสิ ุขอนั สัมปยตุ ตด์ ว้ ยอรหัตตผลนนั่ เอง
อรรถกถาแห่งพระสูตรนี้ได้กล่าวถึงพระสารีบุตรว่า  เป็น 
ผู้มีปัญญาหลายอย่างมีปัญญามาก  ปัญญาแน่นหนา  เป็นต้น 
ขา้ พเจา้ ไดก้ ลา่ วไวค้ อ่ นขา้ งละเอยี ดแลว้ ในหนงั สอื เรอื่ ง “คณุ ของ 
พระสารบี ตุ ร”

สิ่งที่ไม่น่ายินดี
มักมาในรูปของสิง่ ทนี่ ่ายนิ ดี
สิง่ ท่ีไม่นา่ รกั มักมาในรปู ของส่งิ ที่นา่ รกั

ทุกข์มักมาในรปู แห่งสขุ
เพราะฉะน้ันคนจงึ ประมาทกนั นัก

(อทุ าน เลม่ ๒๕ ข้อ ๖๒ สปุ ปวาสาสตู ร)

อสาตํ สาตรูเปน
ปยิ รเู ปน อปปฺ ยิ ํ
ทุกฺขํ สขุ สฺส รเู ปน
ปมตฺตมตวิ ตฺตติ



คั ม ภี ร์ อุ ท า น

โสณเถรวรรค



๓๗

พระพทุ ธอทุ าน เรื่อง

ไมม่ ีใครเปน็ ทรี่ ักย่ิงกว่าตน
(ราชสตู ร)

ความเบ้อื งต้น
วนั หนงึ่ พระเจา้ ปเสนทโิ กศลประทบั อยทู่ ปี่ ราสาทชน้ั บนกบั  

พระนางมลั ลกิ าอคั รมเหส ี ตรสั ถามพระนางวา่  “มใี ครอนื่ อนั เปน็  
ที่รักยง่ิ กว่าตวั เธอเองไหม” พระนางทูลตอบวา่  “ไมม่ ”ี  พระนาง 
ได้ทูลถามพระเจ้าปเสนทิโกศลในท�ำนองเดียวกันว่า  “มีใครอ่ืน 
อันเป็นท่ีรักย่ิงกว่าพระองค์เองไหม”  พระเจ้าปเสนทิโกศลตรัส 
ตอบวา่  “ไม่มี” เชน่ เดยี วกัน

พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จลงจากปราสาทไปเฝ้าพระผู้มี 
พระภาคเจา้  ณ วดั เชตวนั  ตรสั เลา่ เรอื่ งทที่ รงสนทนากบั พระนาง 
มลั ลกิ าใหท้ รงทราบ พระพุทธองคท์ รงเปล่งอุทานในเวลานั้นว่า

“พิจารณาไปท่ัวทุกทิศแล้ว  ไม่เห็นใครอ่ืนอันจะเป็นที่รัก 
ยิ่งกว่าตน  คนอ่ืนเป็นอันมากก็รักตนเช่นเดียวกัน  เพราะฉะนั้น 
ผ้รู กั ตนจึงไม่ควรเบยี ดเบียนผูอ้ นื่ ”

1พ4ทุ 2ธอุทาน

อธบิ ายความ
อรรถกถาเลา่ วา่  พระนางมลั ลกิ าเดมิ ทเี ดยี วเปน็ ลกู สาวของ 

ช่างจัดดอกไม้  วันหนึ่งไปซ้ือขนมที่ตลาด  กลับมาได้พบพระผู้มี 
พระภาคเจ้าพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หลายรูป  นางได้ถวายขนมแด ่
พระผู้มีพระภาค  พระพุทธองค์ทรงแสดงอาการว่าจะประทับนั่ง 
เสวย  พระอานนท์จึงปูจีวรถวาย  เมื่อเสวยเสร็จแล้ว  ทรงบ้วน 
พระโอษฐ์แล้ว  ทรงมีอาการยิ้มแย้มให้ปรากฏ  พระอานนท์จึง 
ทูลถามว่า  “ทรงแย้มเร่ืองอะไร”  จึงตรัสว่า  “สตรีผู้น้ีจะได้เป็น 
อัครมเหสีของพระราชาในวนั น้ที เี ดียว”

วันนั้น  พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จกลับจากการรบ  (กับ 
พระเจา้ อชาตศตั ร)ู  เรอ่ื งแยง่ กาสกิ คามกนั  เสดจ็ ผา่ นมาทางสวน 
ดอกไมซ้ งึ่ หญงิ สาวมลั ลกิ ากำ� ลงั เกบ็ ดอกไมอ้ ย ู่ ทรงพกั ผอ่ นทน่ี นั่  
นางไดเ้ ขา้ มาปรนนบิ ตั พิ ระราชาดว้ ยดี พระราชารสู้ กึ พอพระทยั  
จงึ ใหต้ ามบดิ าของนางมา ทรงทราบวา่ นางยงั ไมม่ สี ามจี งึ ขอนาง 
ไปอภเิ ษกเปน็ อคั รมเหส ี ทรงโปรดปรานยงิ่ นกั เพราะพระนางเปน็  
หญิงฉลาดและเป็นคนดี

เรื่องกาสิกคามนั้นสืบเน่ืองมาจากพระเจ้ามหาโกศลผู้เป็น 
พระราชบดิ าของพระเจา้ ปเสนทโิ กศล ไดพ้ ระราชทานแกพ่ ระนาง 
เจ้าเวเทหิเป็นท�ำนองของรับไหว้  เม่ือพระนางได้อภิเษกสมรส 
กบั พระเจา้ พมิ พสิ ารแหง่ นครราชคฤหแ์ ควน้ มคธ ตอ่ มาเมอื่ พระเจา้  
พิมพิสารส้ินพระชนม์เพราะการกระท�ำของพระเจ้าอชาตศัตร ู
และพระนางเจา้ เวเทหสิ วรรคตแลว้ เพราะตรอมพระหฤทยั  พระเจา้  

143

วศิน  อินทสระ

ปเสนทิโกศลจึงทรงทวงกาสิกคามคืน  พระเจ้าอชาตศัตรูไม่
ทรงยอมโดยให้เหตุผลว่า  มรดกของมารดาย่อมตกเป็นของลูก 
สงครามระหว่างแคว้นมคธกับโกศลจึงเกิดขึ้น  ผลัดกันแพ้ผลัด
กันชนะ ในที่สุดพระเจา้ ปเสนทโิ กศลชนะ  จบั พระเจ้าอชาตศัตรู
ไดแ้ ต่ให้ปล่อยไปดว้ ยทรงเห็นว่าเป็นหลาน

พระเจา้ ปเสนทโิ กศลตรสั ถามพระนางมลั ลกิ าเปน็ เชงิ หยงั่ ดู
ว่า  พระนางมัลลิการักพระองค์มากหรือไม่  ค�ำตอบท่ีทรงอยาก
ไดก้ ค็ อื  พระนางมลั ลกิ าตอบวา่ รกั พระเจา้ ปเสนทโิ กศลมากทส่ี ดุ  
แต่ทรงผิดหวังเมอื่ พระนางตอบวา่ รกั ตนเองมากทีส่ ดุ

ส�ำหรับพระพุทธอุทานในเรื่องนี้  ทรงรับรองพระวาจาของ
พระนางมัลลิกาและทรงสรุปว่า  เม่ือเป็นเช่นนี้ผู้รักตนจึงไม่ควร
เบยี ดเบียนผู้อ่ืน

มีพระพุทธพจน์หลายแห่งท่ีทรงแสดงท�ำนองนี้  เช่น  “ผู้ใด 
ปรารถนาความสุขเพ่ือตนโดยการน�ำทุกข์เข้าไปให้ผู้อ่ืน  ผู้น้ัน 
ระคนไปด้วยเวร ยอ่ มไมพ่ ้นจากเวร”

“สัตว์ทั้งหลายใคร่ต่อความสุข  ผู้ใดเบียดเบียนผู้อ่ืนด้วย 
อาชญา  แม้จะแสวงหาความสุขเพื่อตน  เขาล่วงลับไปแล้วย่อม 
ไม่ได้สุข  ในทางตรงกันข้าม  ผู้แสวงหาความสุขเพ่ือตนโดยไม ่
เบยี ดเบยี นผู้อน่ื  ล่วงลับไปแลว้ ย่อมได้สขุ ”

ฯลฯ

๓๘

พระพุทธอุทาน  เรื่อง

พงึ เวน้ บาป
(สปุ ปพทุ ธกฏุ ฐิสูตร)

ความเบือ้ งต้น
เมอื่ พระผมู้ พี ระภาคเจา้ ประทบั อยทู่ ว่ี ดั เชตวนั เมอื งราชคฤห์ 

ทรงแสดงธรรมแก่พุทธบริษัทอยู่  คร้ังนั้นมีบุรุษผู้เป็นโรคเรื้อน 
คนหนง่ึ  ชอื่  สปุ ปพทุ ธะ เปน็ คนยากไร ้ ขดั สน กำ� พรา้  หาอาหาร 
ได้โดยยาก  ได้เห็นประชาชนประชุมกันท่ีวัดเวฬุวัน  เขาคิดว่า 
คงจะได้อาหารจากคนเหล่าน้ีบ้าง  จึงเดินเข้าไปยืนอยู่ที่ท้าย 
บริษัท  ขณะน้ันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมอยู่  สุปป- 
พทุ ธะจงึ ไดฟ้ งั ธรรมไปดว้ ย พระผมู้ พี ระภาคทรงเหน็ อปุ นสิ ยั ของ 
เขาแล้ว  จึงทรงแสดงอนุปุพพิกถา กล่าวคือ  ทาน  ศีล  สวรรค์ 

145

วศิน  อินทสระ

กามาทีนพและเนกขัมมานิสังสกถา  ๒  ประการหลังนี้หมายถึง 
โทษของกามและอานิสงส์ในการออกจากกาม  แล้วทรงแสดง 
อรยิ สจั  ๔ สปุ ปพทุ ธะผเู้ ปน็ โรคเรอื้ นไดฟ้ งั แลว้ บรรลโุ สดาปตั ตผิ ล 
เปน็ พระโสดาบนั  เมอื่ พทุ ธบรษิ ทั กลบั กนั ไปแลว้  เขาไดเ้ ขา้ ไปเฝา้  
พระผมู้ ีพระภาค ขอถึงพระรัตนตรยั ตลอดชวี ติ

เมื่อเขาจากที่น้ันไปแล้วปรากฏว่าถูกแม่โคขวิดตาย  ภิกษุ 
ได้เห็นแล้วมากราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า  ทูลถามถึงคติ 
สมั ปรายภพของสปุ ปพทุ ธะ พระพทุ ธองคต์ รสั ตอบวา่  เขาเปน็ พระ 
โสดาบนั บงั เกดิ ในเทวโลกแลว้  ภกิ ษทุ งั้ หลายทลู ถามวา่  อะไรเปน็  
เหตเุ ปน็ ปจั จยั ใหส้ ปุ ปพทุ ธะเปน็ โรคเรอื้ น กำ� พรา้  ขดั สน พระผมู้ ี 
พระภาคตรสั ตอบวา่  “เขาเคยทำ� บาปไวค้ อื  ชาตกิ อ่ นเขาเคยเปน็  
บุตรเศรษฐีในกรุงราชคฤห์น้ีเอง  วันหน่ึงไปเที่ยวสวน  เห็นพระ 
ปัจเจกพทุ ธเจา้ องค์หนึง่ นามวา่  ตครสกิ ขี เขาดหู มิน่  ถ่มน้ำ� ลาย 
ลงบนพ้ืนและพูดว่า  “คนเป็นโรคเรื้อนเท่ียวเดินอยู่”  ด้วยกรรม 
อนั นท้ี ำ� ใหเ้ ขาไปตกนรกอยเู่ ปน็ เวลานาน เศษแหง่ กรรมทำ� ใหเ้ ขา 
มาเกดิ เปน็ คนโรคเรือ้ น ลำ� บากขัดสน

พระผมู้ พี ระภาคเจ้าทรงเปลง่ อทุ านในเวลาน้นั วา่
“บัณฑิตในโลกนี้  เมื่อความพยายามมีอยู่  พึงเว้นบาป 
ทงั้ หลายเสยี  เหมอื นคนมีตาดเี วน้ หนทางทีข่ รขุ ระเสียฉะนนั้ ”

1พ4ทุ 6ธอุทาน

อธบิ ายความ
ในอรรถกถาธรรมบท  พาลวรรค  เล่าว่า  เหตุท่ีถูกโคขวิด 

ตายนน้ั เปน็ เพราะเคยประทษุ รา้ ยหญงิ คนหนง่ึ  แยง่ เอาทรพั ยเ์ ขา 
เขาผูกใจเจ็บขอให้ได้ท�ำร้ายตอบ  จึงเป็นยักษิณีแปลงมาในรูป 
ลกั ษณ์ของแม่โค

เหตุที่ได้บรรลุธรรมนั้นท่านกล่าวว่า  เป็นอานิสงส์ที่เคย 
ใส่บาตรแก่สมณะรูปหน่ึง  แล้วต้ังจิตอธิษฐานว่า  “ขอให้ได้เห็น 
ธรรมท่สี มณะไดเ้ หน็ แล้ว”

ในพระคาถาพุทธอุทานนี้ตรัสบอกว่าบุคคลผู้เป็นบัณฑิต 
เมอ่ื ยงั มเี รยี่ วแรงมกี ำ� ลงั อยทู่ จ่ี ะทำ� ไดท้ งั้ ความดแี ละความชว่ั  พงึ  
เวน้ ความชว่ั ทงั้ หลายเสยี  พยายามทำ� ความดใี หม้ าก เหมอื นคน 
มตี าดี เมอ่ื จะเดนิ ทาง กเ็ วน้ ทางทข่ี รขุ ระหรอื เปน็ หลม่ เลน แลว้  
เลือกไปในทางท่ีดีราบเรียบ  ทางแห่งบาปเป็นทางล�ำบาก  ทาง 
แหง่ บญุ เปน็ ทางสะดวกสบาย ผรู้ กั ความสขุ เกลยี ดตอ่ ความทกุ ข์ 
พงึ เวน้ บาปทงั้ หลายเสยี  บาปเปน็ มลู รากแหง่ ความทกุ ขใ์ นสงั คม

๓๙

พระพุทธอุทาน  เร่ือง

ความอัศจรรย์
แหง่ พระธรรมวนิ ยั  ๘ ประการ

(อุโปสถสตู ร)

ความเบอ้ื งตน้
คราวหน่ึงพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่ปุพพารามอัน 

เป็นวัดของนางวิสาขาใกล้เมืองสาวัตถี  มีภิกษุมาประชุมกันเป็น 
จ�ำนวนมากในวันอุโบสถ  เม่ือปฐมยามล่วงไปแล้ว  พระอานนท ์
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า  “ปฐมยามล่วงไปแล้ว  ภิกษ ุ
ท้ังหลายนั่งคอยอยู่นานแล้ว  ขอให้พระผู้มีพระภาคทรงแสดง 
ปาติโมกข์เถิด”  พระพุทธองค์ทรงน่ิงอยู่  เม่ือล่วงมัชฌิมยาม 
และล่วงปัจฉิมยามจนอรุณข้ึนแล้ว  พระอานนท์ก็กราบทูลเช่น 
เดยี วกนั  พระผมู้ พี ระภาคตรสั วา่  “บรษิ ทั ไมบ่ รสิ ทุ ธ”์ิ  เปน็ ไปไมไ่ ด้ 
ท่พี ระองค์จะทรงแสดงปาตโิ มกขใ์ นบริษทั เชน่ น้ี

1พ4ุท8ธอุทาน

คร้ังน้ัน  พระมหาโมคคัลลานะผู้เลิศด้วยฤทธ์ิ  ก�ำหนดจิต 
ของบริษัทด้วยจิตของตน  ได้เห็นภิกษุรูปหน่ึงเป็นผู้ไม่บริสุทธิ์จึง 
ไปบอกว่า  “พระผู้มีพระภาคเจ้าเห็นท่านแล้ว  ท่านออกไปเสีย 
เถิด”  พระมหาโมคคัลลานะพูดถึง  ๓  คร้ัง  แต่ภิกษุนั้นยังคงน่ัง 
เฉยอยู่  พอถึงครั้งท่ี  ๔  พระมหาโมคคัลลานะจึงดึงแขนออกไป 
แลว้ ใสก่ ลอนประตเู สยี  เมอื่ ภกิ ษรุ ปู นน้ั ออกไปแลว้  พระอานนท ์
จงึ ทูลใหแ้ สดงปาติโมกข์อกี  พระศาสดาตรัสว่า

“อศั จรรยจ์ รงิ โมคคลั ลานะ หนกั หนาจรงิ โมคคลั ลานะ เรอื่ ง 
ไมเ่ คยมไี ดม้ ขี น้ึ แลว้  โมฆบรุ ษุ ผนู้ นั้ ถงึ กบั ตอ้ งกระชากออกไปจาก 
หมู่สงฆ์  เธอช่างไม่มีหิริโอตตัปปะส�ำรวจตนเองเสียเลย  ภิกษุ 
ท้ังหลาย  เป็นอฐานะ  เป็นไปไม่ได้ท่ีตถาคตจะพึงท�ำอุโบสถ 
แสดงปาติโมกข์ท่ามกลางชุมนุมสงฆ์ที่ไม่บริสุทธ์ิ  แม้จะมีเพียง 
รูปเดียวก็ตาม  ภิกษุท้ังหลาย  โมฆบุรุษผู้นั้นท�ำให้เราล�ำบากใจ 
ภกิ ษทุ ง้ั หลาย เราขอประกาศใหเ้ ธอทงั้ หลายทราบวา่  ตงั้ แตบ่ ดั นี้ 
เป็นต้นไป  เราตถาคตจะไม่ท�ำอุโบสถแสดงปาติโมกข์อีก  ขอให้ 
ภกิ ษุทัง้ หลายทำ� กันเอง”

แล้วพระพุทธองค์ก็ทรงแสดงความอัศจรรย์แห่งธรรมวินัย 
๘ ประการ เปรยี บด้วยความอศั จรรยแ์ หง่ มหาสมทุ ร ดงั น้ี

“ภกิ ษทุ ง้ั หลาย มหาสมทุ รยอ่ มลกึ ลงตามลำ� ดบั  ลาดลงตาม 
ส�ำดับ  ไม่โกรกชันเหมือนเหวหรือภูเขาขาดฉันใด  ธรรมวินัยนี ้
ก็ฉันนั้น  มีการศึกษาตามล�ำดับ  การบรรลุตามล�ำดับ  ลุ่มลึกลง 
ตามล�ำดับ


Click to View FlipBook Version