The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

อาจาริยบูชา พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by ืทีมงานกรุธรรม, 2022-02-24 21:35:54

อาจาริยบูชา พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร

อาจาริยบูชา พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร

Keywords: อาจาริยบูชา พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร

30  อาจารยิ บูชา พระอาจารย์ฝน้ั อาจาโร

นายอำ�เภอกลับไปแล้ว ฝ่ายคณะสงฆ์มีพระอาจารย์สิงห์เป็นประธาน
ได้เปิดประชุมปรึกษากันว่าเราควรทำ�อย่างไรเรื่องน้ีจึงจะสงบไปด้วยดี ไม่ลุกลาม
ออกไปเปน็ เรอื่ งใหญ่ ในทป่ี ระชมุ ลงความเหน็ ควรมอบเรอื่ งใหพ้ ระอาจารยม์ หาปน่ิ
ปัญญาพโล กับพระอาจารย์อ่อน และพระอาจารย์ฝ้ัน รับไปพิจารณาแก้ไข
หลังจากเลิกประชุมกันแล้วท่านพระอาจารย์ฝ้ันก็ได้ไปกราบเรียนพระอาจารย์ม่ัน
ซงึ่ ทา่ นพกั อยทู่ บ่ี า้ นหนองขอน พระอาจารยม์ น่ั ครนั้ ทา่ นไดท้ ราบเรอื่ งแลว้ ทา่ นพดู วา่
ท่านฝ้ันท่านลองพิจารณาดูซิ เรื่องท่ีเกิดข้ึนน้ีมันจะไปถึงไหน พอตกเย็นค่ำ�คืน
วนั นน้ั พระอาจารยฝ์ นั้ ออกจากทางจงกรมแลว้ เขา้ หอ้ งไหวพ้ ระสวดมนตเ์ สรจ็ แลว้
ก็น่ังสมาธิเข้าที่ พอจิตรวมสงบเบาสบายท้ังกายทั้งจิตแล้ว ก็เกิดมีนิมิตมาปรากฏ
ให้เห็นว่า แผ่นดินท่ีตรงมีเรื่องนั้นได้แตกเป็นทางแยกออกจากกันไปเป็น ๒ ภาค
ผทู้ อ่ี ยขู่ า้ งโนน้ จะขา้ มมาขา้ งนก้ี ข็ า้ มเขา้ มาไมไ่ ด้ ผทู้ อ่ี ยขู่ า้ งนอ้ี ยากจะขา้ มออกไปขา้ ง
โน้นก็ขา้ มออกไปไม่ได้ พอรุง่ เช้าวนั ใหม่ พระอาจารย์ฝัน้ ทา่ นไดก้ ราบเรียนเลา่ เรือ่ ง
นมิ ิตที่ปรากฏเห็นเมอื่ คนื ถวายใหพ้ ระอาจารย์มน่ั ฟัง

พระอาจารย์มหาป่ินกับพระอาจารย์อ่อนไปบิณฑบาตกลับมาฉันแต่เช้า
เสรจ็ แลว้ กอ็ อกเดนิ ทางดว้ ยล�ำ แขง้ เขา้ เมอื งอบุ ลฯ เพอ่ื จะไดไ้ ปพบกบั เจา้ คณะจงั หวดั
เมื่อพระอาจารย์ท้ังสองได้ไปถึงและพบกันกับเจ้าคณะจังหวัดแล้ว ได้เล่าเร่ืองราว
ท่ีเกิดขึ้นว่า เจ้าคณะจังหวัดส่ังให้นายอำ�เภอไปไล่พระกรรมฐานของพวกคณะ
พระอาจารย์ม่ันไม่ให้อยู่ในถ่ินน้ัน เจ้าคณะจังหวัดท่านได้ช้ีแจงว่า ท่านไม่ทราบ
ไม่รู้เรื่องเลย จากนั้นเจ้าคณะจังหวัดจึงได้เขียนจดหมายไปถึงนายอำ�เภอบอก
นายอำ�เภอวา่ เรอื่ งนี้ทา่ นไมเ่ กยี่ วข้อง เรื่องท้งั หมดจงึ สงบลงไป

แกจ้ ติ วิปลาส

พระอาจารย์ฝน้ั ไปชว่ ยพระอาจารย์ดี ฉนั โน บ้านกดุ แห่ ตำ�บลกดุ เชียงหมี
อ�ำ เภอเลงิ นกทา จังหวัดยโสธร เนอ่ื งจากคณะโยมบ้านกดุ แหม่ ศี รทั ธา พร้อมใจกัน
สรา้ งส�ำ นกั สงฆ์ นมิ นตอ์ าจารยด์ ี ฉนั โน มาอยโู่ ปรดโยมทบ่ี า้ นนน้ั พระอาจารยด์ กี ไ็ ด้
ไปอยอู่ บรมส่งั สอน พาปฏบิ ัติฝกึ หดั ภาวนา จนบางคนไดเ้ กิดสัญญาวปิ ลาสขาดสติ
ความส�ำ นกึ รสู้ กึ ตวั พระอาจารยด์ จี งึ รอ้ งขอใหพ้ ระอาจารยฝ์ น้ั ชว่ ยแกไ้ ข ทว่ี า่ บางคน
ภาวนาเกิดเป็นจิตวิปลาสน้ันมันเป็นอย่างไร พระอาจารย์ฝั้นถาม พระอาจารย์ดี

ประวัตพิ ระอาจารย์ฝ้ัน อาจาโร 31

ตอบวา่ บางคนเดนิ ไปตามทางถงึ สแี่ ยก กเ็ กดิ ความรตู้ วั ขนึ้ มาในจติ วา่ สถานทตี่ รงนี้
เปน็ ทอี่ งคส์ มเดจ็ พระสมั มาสมั พทุ ธเจา้ และพระอรยิ สาวกของพระพทุ ธเจา้ เคยเสดจ็
มาทางสายน้ี แลว้ พากนั นงั่ คกุ เขา่ ไหวก้ ราบอยทู่ น่ี น้ั เปน็ เวลานาน กราบแลว้ กราบเลา่
เม่ือลุกไปจากท่ีน้ันแล้ว ไปถึงสี่แยกข้างหน้าก็ปฏิบัติอย่างนั้นอีก บางคนเม่ือเวลา
กำ�ลังน่ังภาวนารวมอยู่ท่ีศาลา เวลาจิตเกิดคิดวิปลาสก็ลุกขึ้นเปล้ืองผ้านุ่งผ้าห่ม
ออกท้ังหมด แล้วเดินฝ่าผู้คนท่ีเขาน่ังภาวนาอยู่ด้วยกัน เรื่องเขาเป็นอย่างน้ี
กระผมพยายามเท่าใดก็ไม่เป็นผล กรุณาท่านอาจารย์ได้เมตตาช่วยแก้ไขให้ด้วย
พระอาจารยด์ ีพูด

พระอาจารย์ฝั้นรับคำ�ว่าจะช่วยแก้ไข พระอาจารย์ดีจึงได้บอกนัดญาติโยม
ในบ้าน ให้ออกไปฟังเทศน์ของพระอาจารย์ฝ้ัน รวมกันท่ีศาลาโรงธรรมตอนเย็น
วันนั้น ครั้งถึงเวลาแล้วพวกญาติโยมก็ได้ทยอยกันออกมารวมกันอยู่บนศาลา
เมื่อพร้อมเพรียงกันแล้ว ได้นิมนต์ท่านพระอาจารย์ฝั้นขึ้นเทศน์ พระอาจารย์ฝั้น
จึงได้แสดงธรรมแนะนำ�วิธีภาวนา อบรมจิตระวังรักษาจิต อย่าให้จิตคิดฟุ้งซ่าน
เพ่นพา่ นออกไปข้างนอก ตัง้ จติ ให้ตรงดำ�รงสติให้ม่นั ให้มคี วามรู้ตวั มคี วามระลึก
นึกคำ�บริกรรมว่า พทุ โธ ธัมโม สงั โฆ พทุ โธ ธัมโม สังโฆ พุทโธ ธมั โม สังโฆ ๓ จบ
แลว้ ใหร้ ะลกึ นกึ เอาแต่ พทุ โธๆๆๆๆ ค�ำ เดยี ว เพอื่ ตดั สญั ญาอารมณข์ า้ งนอกขา้ งใน
ให้เหลือแต่พุทโธอยู่ในใจอย่างเดียว ระลึกไปๆๆๆ อย่าปล่อยให้จิตว่าง เพราะ
จะเป็นช่องทางให้กิเลส ตัณหา สัญญา อารมณ์ เข้ามาอาศัย ก่อกวนจิตใจทำ�ให้
จิตฟงุ้ ซา่ น ขี้เกยี จขค้ี รา้ น เกดิ ความรำ�คาญ อยากหลับอยากนอน

ใหเ้ พยี รพยายามระลกึ พทุ โธ อยา่ ใหเ้ ผลอ เลนิ เลอ่ ขาดสตใิ ชไ้ มไ่ ด้ เพราะสติ
ท�ำ ใหเ้ ราระลกึ ไดห้ มายรสู้ กึ ตวั ของเราเองไดเ้ สมอ เมอ่ื เรามคี วามระลกึ รสู้ กึ ตวั เราเอง
อยู่อย่างนี้ จิตของเราก็ไม่วิปลาสเคล่ือนคลาดไปเป็นอย่างอ่ืน เม่ือมันจะเห็น
เราก็เห็น เราก็รู้ว่ามันจะเป็น เราก็ไม่ให้มันเป็น เพราะมันไม่ดี ไม่ใช่ทางของ
พระอริยะ ทางท่ีถูก เราต้องมีปัญญา รักษาจิตให้ได้รู้ได้เห็นจิตเราเองตลอดเวลา
ทงั้ กลางวนั กลางคนื ยนื เดนิ นง่ั นอน ใหเ้ หน็ ธรรมทงั้ หลายเกดิ ขนึ้ ทใี่ จ ดบั กด็ บั ลงทใี่ จ
เหตเุ กดิ ขน้ึ ทีใ่ จ ผลก็เกิดขน้ึ ท่ีใจ เราไมค่ วรไปดู ไปรูเ้ ห็นท่ไี หน ใหด้ ู รู้ เหน็ อยู่ที่
ใจดวงนดี้ วงเดยี วกพ็ อแลว้ บ�ำ รงุ ใจดวงเดยี วนใ้ี หม้ กี �ำ ลงั ดว้ ยสมาธิ วริ ยิ ะ สติ ปญั ญา
ศรทั ธา ความเชื่อถอื ให้ถกู ต้องตามทางของพระอรยิ ะ

32  อาจารยิ บชู า พระอาจารยฝ์ ้ัน อาจาโร

เม่ือจิตมีสติ สมาธิ ปัญญา ศรัทธา ความเพียร อย่างถูกต้องเป็นกำ�ลัง
มรรคสมังคี มีข้ึนท่ีจิตแล้ว จิตก็สามารถพิชิตชิงชัยได้ชนะกิเลสที่เป็นเหตุให้เกิด
วิปลาสน้นั ไดอ้ ยา่ งสน้ิ ซาก จากนั้นก็เหลือแต่ เอกงั จติ ตงั มจี ติ ดวงเดียว เอกังธัมมัง
มธี รรมอนั เดยี ว มคี วามเหน็ เปน็ อนั เดยี วไมแ่ บง่ แยก เหน็ ธรรมในจติ เหน็ จติ ในธรรม
เหน็ ธรรมเปน็ จติ เหน็ จติ เปน็ ธรรม ปราศจากตวั ตน สตั ว์ บคุ คล เรา เขา จงึ เปน็ จติ วา่ ง
จิตศูนย์ จิตว่างแบบน้ีใช่ว่างเปล่า แต่ว่างจากกิเลส อาสวะ จิตศูนย์ แบบน้ีไม่ใช่
สูญเปล่า แตจ่ ติ สญู จากสัตว์ บคุ คล จากตวั จากตน จากเขาจากเรา

พระธรรมเทศนาทพ่ี ระอาจารยฝ์ นั้ แสดงอบรมครงั้ นน้ั ท�ำ ใหผ้ ฟู้ งั มคี วามรสู้ กึ
ส�ำ นึกรู้ตวั ไดเ้ จรญิ สติ ปญั ญา รักษาจิตอย่างเอาจรงิ เอาจัง ผู้ทีจ่ ิตเคยเกดิ วปิ ลาส
ขาดสติ ปญั ญา จิตกลบั เข้าส่คู วามสงบ ต้ังมัน่ เปน็ สมาธิ มสี ตริ ะลกึ รู้สกึ ตัว จิตท่มี ี
ความเห็นวิปลาสขาดสติก็หายกลับเป็นปกติ พระอาจารย์ดี ฉันโน และญาติโยม
ทุกๆ คน เม่ือได้ฟังธรรมเทศนาจบลงแล้ว ต่างก็มีความปีติปล้ืมใจเป็นอย่างย่ิง
ต่างกแ็ ซซ่ อ้ งสาธุการยินดีโดยท่วั กนั

ท่านพระอาจารย์ฝั้นได้อยู่อบรมแนะนำ� พาทำ�สมาธิภาวนาต่อมาทุกวัน
ญาติโยมก็พากันหลั่งไหลเข้าวัด ปฏิบัติบำ�เพ็ญภาวนามีจำ�นวนเพิ่มมากข้ึน
ทกุ วนั ๆ เมอ่ื ทา่ นเหน็ วา่ ทกุ คนทไ่ี ปภาวนา มสี ตปิ ญั ญารกั ษาจติ ไมว่ ปิ ลาสถกู ตอ้ งแลว้
ท่านจึงได้อำ�ลาพระอาจารย์ดีและญาติโยมกลับไปหาพระอาจารย์ม่ัน เพื่อจะได้
อยจู่ �ำ พรรษากบั ทา่ นทบ่ี า้ นหนองขอนนน้ั พอใกลถ้ งึ วนั จะเขา้ พรรษา พระอาจารยก์ ู่
ซ่ึงอยู่ท่ีสำ�นักวัดป่าบ้านบ่อชะแนง ไม่มีพระสวดปาฏิโมกข์ พระอาจารย์มั่น
จึงได้สง่ พระอาจารย์ฝนั้ ใหไ้ ปอยู่ทว่ี ดั ปา่ บา้ นบ่อชะเนงกับพระอาจารย์กู่ เพือ่ จะได้
สวดปาฏิโมกข์

ออกพรรษาแล้วพระอาจารย์ม่ันก็ได้เดินทางออกมาที่วัดป่าบ้านบ่อชะเนง
ได้ประชุมปรึกษาเรื่องที่ออกปฏิบัติ และอบรมสั่งสอนประชาชนในเขตท้องท่ีเมือง
อบุ ลฯ เมอื่ ประชมุ ตกลงเปน็ ทเ่ี รยี บรอ้ ยแลว้ ไดอ้ อกเดนิ ทางรวมกบั พระอาจารยม์ น่ั
เข้าเมืองอุบลฯ ระหว่างท่ีพระอาจารย์ฝ้ันพำ�นักอยู่ที่วัดบูรพา เมืองอุบลฯ
พระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม ได้ส่ังให้พระอาจารย์ฝ้ัน กลับไปรับคุณโยมแม่ของ

ประวัตพิ ระอาจารย์ฝั้น อาจาโร 33

พระอาจารยม์ น่ั ซง่ึ อยทู่ ว่ี ดั ปา่ บา้ นบอ่ ชะเนง เขา้ มาอยเู่ มอื งอบุ ลฯ ครนั้ พระอาจารยฝ์ น้ั
ไปถึงวัดป่าบ้านบ่อชะเนงแล้ว เห็นพระอาจารย์อุ่น (พระอาจารย์อุ่น มรณภาพ
ทีอ่ ำ�เภอทา่ อุเทน) ได้เดนิ ทางมาพกั อยู่ทน่ี น้ั กอ่ นแลว้ ท่านเรียนพระอาจารยอ์ ุ่นว่า
ท่านกลับมารับคุณโยมมารดาของท่านพระอาจารย์ใหญ่ม่ันไปเมืองอุบลฯ
พระอาจารย์อุ่นจึงพูดรับรองกับพระอาจารย์ฝั้นว่า เร่ืองน้ีให้เป็นภาระหน้าที่
ของผมเอง ท่านไม่ต้องเป็นห่วง ผมก็จักได้เข้าไปนมัสการท่านพระอาจารย์ใหญ่
ม่ันอยู่แล้ว ถ้าท่านอยากจะปลีกตัวไปทำ�ความเพียรบำ�เพ็ญภาวนา ที่ไหนเหมาะ
ก็นิมนต์ ทางนผ้ี มจะจัดการให้เรยี บร้อย

พระอาจารย์ฝั้นเมื่อเห็นว่า พระอาจารย์อุ่นรับเป็นธุระพาโยมแม่ของ
พระอาจารย์ม่ันไปแทนดังนั้นแล้ว ท่านจึงได้คิดเปล่ียนทางใหม่ ไม่อยากจะกลับ
เมืองอุบลฯ อีก ท่านระลึกถึงภูเขาแถวบ้านหนองสูง อำ�เภอคำ�ชะอี ที่ได้ผ่านมา
เหน็ เปน็ สถานทส่ี งบสงดั เหมาะแกก่ ารไปอยปู่ ฏบิ ตั ฝิ กึ หดั จติ ใจ ใหไ้ ดก้ �ำ ลงั สตปิ ญั ญา
สามารถต่อสู้ขับไล่ชิงชัยกับกิเลส อันเป็นเหตุก่อกวนจิตใจให้มัวหมอง เราจึงต้อง
ได้รับทุกข์ให้ราบคาบ เม่ือท่านได้ตัดสินใจเปลี่ยนทางใหม่แน่วแน่แล้ว ก็เตรียม
ออกเดนิ ทาง มีพระเณร ๓ รูป ตาปะขาว ๒ คน ติดตามไปด้วย

ไล่พระกรรมฐาน

ท่านเคยเล่าให้ฟังว่าที่สำ�นักสงฆ์ บ้านบ่อชะเนง นี้แหละเคยมีเร่ือง คือ
พระเจ้าคณะหมวด (เจ้าคณะตำ�บล) ท่านมาไล่ไม่ให้พวกเราอยู่ในเขตท้องที่ของ
ท่าน เรือ่ งมีอยู่ว่า อปุ ัชฌายล์ ยุ ทา่ นไดเ้ ปน็ เจา้ คณะหมวดอยูต่ �ำ บลเค็งใหญ่ ทา่ นได้
ทราบวา่ มีพระกรรมฐานเดินธดุ งค์มาพกั อยูท่ บี่ ้านบอ่ ชะเนงนี้ ได้มาเทศนาสงั่ สอน
ชาวบ้านมีความเคารพเลื่อมใสในพระคณะนี้มาก พากันหลั่งไหลไปทำ�บุญให้ทาน
ทุกวันๆ เต็มไปหมด เกิดความไม่พอใจ ได้พูดกับพวกญาติโยมชาวบ้านว่า
พระอะไรวดั มไี มย่ กั อยู่ไมไ่ ปพกั ไปเทย่ี วพกั ตามหวั ไรห่ วั นาตามปา่ ตามดงนอนกบั ดนิ
กินกับทราย อาตมาจะไปขับไลใ่ หอ้ อกไปใหไ้ กลจากเขตนี้ คอยดูนะโยม

คณะศรัทธาญาติโยมชาวบ้านผู้ท่ีมีความเคารพและเลื่อมใสในพระคณะนี้
เมื่อได้ทราบข่าววา่ อปุ ชั ฌาย์ลยุ เจา้ คณะหมวดจะออกไปขบั ไลพ่ ระกรรมฐาน ซง่ึ มี

34  อาจาริยบูชา พระอาจารย์ฝน้ั อาจาโร

พระอาจารยฝ์ น้ั เปน็ หวั หนา้ ดงั นน้ั ทกุ คนมคี วามตกใจเปน็ ทกุ ขเ์ ดอื ดรอ้ นและเสยี ใจ
มาก ทุกคนไม่อยากจะใหท้ า่ นไป เพราะทา่ นไดม้ าพักอย่ทู ีน่ ่ี ท่านได้เทศนาอบรม
ส่ังสอนพวกเขาทุกวนั ทกุ เวลา ท�ำ ให้พวกเขามศี รัทธาเลอื่ มใส จึงไดพ้ ากันหลง่ั ไหล
ออกไปบำ�เพ็ญกุศล ฝึกหัดไหว้พระสวดมนต์ภาวนา รักษาศีล ยินดีในทานเพ่ิม
จ�ำ นวนมากขน้ึ ทกุ วนั ๆ ท�ำ ใหช้ าวบา้ นมคี วามเลอ่ื มใสในทา่ นมาก จงึ ไมอ่ ยากใหท้ า่ น
หนไี ปจากพวกเขา พวกเขาอยากใหท้ า่ นอยโู่ ปรดพวกเขานานๆ อปุ ชั ฌายไ์ มน่ า่ เลย
พระดีๆ เขา้ มาอยูก่ บั พวกเขาไมไ่ ด้ เวลาท่านพาคณะออกบิณฑบาต พวกญาตโิ ยม
มาใส่บาตรแล้ว ได้กราบเรียนเรื่องดังกล่าวให้ท่านทราบ ท่านพระอาจารย์ฝ้ัน
ได้ฟังแลว้ ทา่ นไม่พูดอยา่ งใด ได้แต่ยิม้ ๆ แลว้ เดินรบั บิณฑบาตผา่ นเรอื่ ยไป สดุ ทาง
แล้วก็กลับ ชาวบ้านก็พากันทยอยออกตามหลังท่านไปเพื่อไปคอยฟังอุปัชฌาย์
เจ้าคณะหมวด ท่านจะออกไปว่าอยา่ งไร

หลังจากน้ัน เจ้าคณะหมวดท่านได้เดินออกมาหาพระอาคันตุกะท่ีมา
พักรุกขมูลทันที เมื่อเจ้าคณะตำ�บลท่านเดินมาถึงที่พักของพระอาจารย์ฝั้นแล้ว
พระอาจารย์ฝ้ันท่านก็ได้ลุกข้ึนปฏิสันถารต้อนรับท่านเจ้าคณะหมวด ผู้มีบุญหนัก
ศักดิ์ใหญ่ มุ่งมาเพื่อจะขับไล่ให้ท่านอาจารย์ออกไปจากที่นั้น โดยจัดที่ถวายให้
ท่านเจ้าคณะหมวดน่ัง แล้วกราบพระเดชพระคุณท่านเจ้าคณะหมวดด้วยความ
เคารพ ท่านเจ้าคณะหมวดถามพระอาจารย์ฝ้ันว่า พวกเธอพากันไปอย่างไร
มาอย่างไร มาอย่ทู ี่น่ีตอ้ งการอะไร พวกกระผมพากนั เดินธดุ งค์มา และจะพากนั ไป
แบบพระธุดงค์กรรมฐานเขาปฏิบัติกัน ท่ีพวกกระผมมาอยู่ที่น่ีก็เพ่ือจะมาอาศัย
พงึ่ บญุ บารมพี ระคณุ ทา่ นเจา้ คณะทน่ี ี่ เพราะพวกกระผมเปน็ พระพง่ึ มาฝกึ ปฏบิ ตั ใิ หม่
ยังไม่ฉลาดในพระธรรมวินัย ถ้าท่านเจ้าคณะเห็นการประพฤติปฏิบัติของ
พวกกระผมไม่ถูกต้อง บกพร่องผิดทำ�นองคลองพระธรรมวินัยบกพร่องตรงไหน
ขอความกรุณาได้ชว่ ยเมตตาตักเตอื นสั่งสอนพวกกระผมด้วย พวกกระผมมคี วามรู้
นอ้ ย ได้ผา่ นการศกึ ษากน็ ้อย ไมค่ ่อยจะมคี วามฉลาด

ดงั นน้ั กระผมขอโอกาสกบั พระคณุ ทา่ นเจา้ คณะ คอื ทพ่ี วกกระผมมาเทย่ี วพกั
อยรู่ กุ ขมลู รม่ ไมพ้ กั อยตู่ ามปา่ พระพทุ ธเจา้ พระองคห์ า้ มไหม พระพทุ ธเจา้ พระองค์
ไม่ห้ามการอยู่ป่า พระองค์กลับทรงอนุญาตเสียอีก เจ้าคณะตอบ แล้วมีความผิด
ทางพระวินัยไหม พระอาจารย์ฝั้นถาม ทางพระวินัยก็ไม่ผิด เจ้าคณะตอบท่าน

ประวตั ิพระอาจารย์ฝ้นั อาจาโร 35

พระอาจารย์ฝั้นก็ได้ซักไซ้ไล่เลียงถามต่อไปว่า พวกกระผมเที่ยวเดินบิณฑบาต
มาฉันผิดไหม ถามถึงฉันสำ�รวมในบาตร ฉันมื้อเดียวเที่ยวพำ�นักพักอยู่ตามป่า
เทศนาอบรมสงั่ สอนญาตโิ ยม ใหม้ คี วามเคารพคารวะรจู้ กั คณุ พระพทุ ธ คณุ พระธรรม
คณุ พระสงฆ์ ใหร้ จู้ กั กราบ ใหร้ จู้ กั ไหว้ รจู้ กั ท�ำ บญุ ใหท้ าน จ�ำ ศลี ภาวนา อะไรเหลา่ นี้
มีความผดิ ไหม พระองค์ห้ามการปฏบิ ัติอยา่ งน้ไี หม เจา้ คณะตอบว่า พระพทุ ธเจ้า
ไม่ได้ห้าม การปฏิบัติของพวกท่านท่ีพากันปฏิบัติอยู่เวลาน้ีก็ไม่มีความผิด
เม่ือปฏิบัติไมผ่ ิด ปฏิบตั ิถกู ตอ้ งตามพระวินัยบญั ญตั ิทุกอยา่ งแลว้ ก็ยอ่ มเป็นผไู้ มม่ ี
ความรงั เกยี จของเพอ่ื นนกั บวชดว้ ยกนั มใิ ชห่ รอื ขอรบั ใช่ ไมค่ วรรงั เกยี จ เจา้ คณะตอบ
ถ้าอย่างนั้นการพักอยู่ปฏิบัติของพวกกระผมไม่มีความผิด ทางพระวินัยก็ไม่ได้
ห้าม และไม่เป็นที่รังเกียจของเพ่ือนนักบวชประพฤติพรหมจรรย์ด้วยกันแล้ว
พวกผมต้องการอยากจะพักบำ�เพ็ญเพียรอยู่ท่ีไหนก็ควรจะอยู่ได้ใช่ไหม คงจะเป็น
อย่างนั้น ใช่แล้ว แต่อย่าพักอยู่นานๆ ประเด๋ียวจะติดบ้านติดถ่ินติดท่ีอยู่ติดญาติ
ตดิ โยม กรรมฐานจะเสอ่ื ม

ท่านพระอาจารย์ฝ้ันเห็นได้ท่าแล้ว พูดต่อไปอีกว่า ไหนพระคุณท่านเจ้า
คณะว่าจะมาไล่พระกรรมฐานอย่างน้ันหรือ ดีแล้วที่จะมาไล่กรรมฐาน อะไรเป็น
กรรมฐาน กรรมฐานอยูท่ ไ่ี หน ไมใ่ ช่ เกสา ผม โลมา ขน นขา เล็บ ทนั ตา ฟนั ตะโจ
หนงั เหลา่ นหี้ รอื เปน็ กรรมฐาน มนั มอี ยทู่ เี่ ราทกุ คนมใิ ชห่ รอื สง่ิ เหลา่ นี้ ทา่ นเจา้ คณะ
ก็เป็นอุปัชฌาย์เวลาบวชกุลบุตร ท่านก็คงสอนลูกศิษย์ของท่านให้รู้จักกรรมฐาน
แล้วให้ฝึกอบรมกรรมฐาน ท่านสอนกรรมฐานอย่างน้ีให้เขามิใช่หรือขอรับ
แล้วท่านจะมาขับไล่กรรมฐานโดยวิธีไหนเล่า เกสา - โลมา ท่านจะไล่ด้วยวิธีต้ม
น้ำ�ร้อนลวกเหมือนฆ่าเป็ดฆ่าไก่เหรอ นขา - ทันตา จะเอาแหนบเอาคีมมาคีบ
ดงึ ถอนออกมาอย่างนัน้ หรือขอรบั หรอื พระคณุ ท่านเจ้าคณะจะว่าอย่างไรให้ว่ามา
พวกกระผมและพวกญาติโยมทั้งหลายจักได้ฟัง ถ้าท่านเจ้าคณะจะไล่กรรมฐาน
แบบน้กี ระผมกย็ ินดีใหไ้ ลข่ อรบั

ท่านอุปัชฌาย์เจ้าคณะหมวดบ้านเค็งใหญ่ได้ฟังแล้วก็ย่ิงมีความโกรธมาก
แตจ่ ะท�ำ อะไรกไ็ มไ่ ด้ ควา้ ไดย้ า่ มแลว้ กล็ กุ เดนิ ออกไปทนั ทแี บบไมก่ ลา้ มองดหู นา้ ใครเลย
หลงั จากนน้ั พระอาจารยฝ์ น้ั กไ็ ดพ้ าลกู ศษิ ยข์ องทา่ นออกเดนิ ธดุ งคต์ อ่ ไป มงุ่ ตอ่ ภเู ขา
ล�ำ เนาไพร ไปทางบา้ นหนองสูง อ�ำ เภอคำ�ชะอี จงั หวดั นครพนม ท่านได้พาลูกศิษย์

36  อาจารยิ บูชา พระอาจารยฝ์ ้ัน อาจาโร

ของทา่ นไปพกั ท�ำ ความเพยี รภาวนาอยใู่ นถ�ำ้ แหง่ หนง่ึ ชอื่ วา่ ถ�้ำ จ�ำ ปา แตก่ ารเดนิ ทาง
ไปถ�ำ้ จ�ำ ปานน้ั ล�ำ บากมาก ทางแคบรกเดนิ หลงทางวกไปเวยี นมา ขน้ึ ๆ ลงๆ ดงกห็ นา
ป่าก็ทึบ ทั้งมีสัตว์ร้ายนานาชนิด พอไปถึงหนองนำ้�ใหญ่ก็พากันพักเหนื่อยสักครู่
แล้วก็ออกเดนิ ทางตอ่ ไป

พอเดนิ ไปสกั พกั ใหญ่ โยมผนู้ �ำ ทางพาไปหลงทาง เดนิ ไปเทา่ ไรกไ็ ปไมถ่ งึ สกั ที
เกิดสงสัยเพราะหลงเดินวกย้อนกลับมาทางเก่า โดยเข้าใจว่าเดินไปหน้า ท่าน
อาจารย์จึงบอกพวกเราหลงทางเดินกลับมาทางเก่าอีกแล้ว โยมผู้นำ�ทางยังไม่เช่ือ
ท่านจึงช้ีตรงท่ีน่ังพักเหนื่อยน้ันว่า นี่นำ้�หมากที่เราบ้วนลงตรงท่ีเรานั่งพักเหนื่อย
เม่ือตะกน้ี ี้ โยมจึงเชอ่ื แลว้ จึงกลับตั้งต้นเดนิ ไปใหม่ ออกไปคราวนไี้ มห่ ลง ได้ไปถงึ
ถำ�้ กใ็ นราว ๕ โมงเยน็ เหน็ ว่าคำ�่ แล้ว พวกโยมกร็ ีบเดนิ ทางกลับบา้ น เพราะกลวั
จะมืดกลางทาง ประเดี๋ยวเดินทางกลับบ้านไม่ได้ ท่านพระอาจารย์ถามพวกโยม
ทม่ี าสง่ ว่า หมบู่ ้านเขาอยู่ท่ีไหน พวกโยมกเ็ รียนทา่ นว่าไม่ทราบ

เมือ่ พวกเขาพากนั กลบั บา้ นหมดแล้ว ท่านก็พาเณรจัดเลือกหาทีพ่ ัก ไปตัก
และกรองนำ้�ไว้ฉันไว้ใช้ กว่าจะแล้วเสร็จก็ค่ำ�มืดพอดี เดินทางทุลักทุเลเหน่ือย
ออ่ นเพลยี ทง้ั วนั จงึ เขา้ ทพ่ี กั สวดมนตไ์ หวพ้ ระแลว้ กน็ ง่ั ท�ำ สมาธภิ าวนา ไดพ้ จิ ารณา
ระลกึ นกึ ถงึ หมบู่ า้ นทจี่ ะไปบณิ ฑบาตวา่ จะอยใู่ นทศิ ทางใด แลว้ จงึ ปลอ่ ยวางมาตงั้ สติ
กำ�หนดจิตให้รวมเป็นกำ�ลัง ตั้งสมาธิให้จิตสงบด้วยความพยายาม ไม่ให้กำ�ลังจิต
ยอ่ หยอ่ น (ก�ำ ลงั จติ นน้ั คอื สติ วริ ยิ ะ ปญั ญา ศรทั ธา สมาธิ แตล่ ะอยา่ งนสี้ ามคั คกี บั จติ
ทำ�กิจร่วมกันในอารมณ์กรรมฐานที่เกิดปรากฏในจิตปัจจุบัน) ประเดี๋ยวเดียวจิตก็
รวมอารมณ์เป็นหนึ่ง จิตสงบแน่วแน่อยู่อารมณ์อันเดียว ความเหน่ือยอ่อนเพลีย
งว่ งเหงาหาวนอน ขเ้ี กยี จขค้ี รา้ น ฟงุ้ ซา่ นร�ำ คาญในจติ ดบั ไปมคี วามสงบสบาย อมิ่ กาย
อมิ่ ใจ เกดิ สวา่ งไสวในใจในจติ แลว้ กป็ รากฏนมิ ติ ไดย้ นิ เสยี งววั รอ้ ง ทา่ นไดม้ องไปทาง
ทศิ ทางทไี่ ดย้ นิ เสยี ง กป็ รากฏเหน็ ทาง จงึ ไดเ้ ดนิ ออกไปตามทาง เดนิ ไปๆ กไ็ ปพบนา
และกระทอ่ มนา พอมองขา้ มทงุ่ นาไปฟากฝา่ ยโนน้ เหน็ มหี มบู่ า้ น และนมิ ติ กห็ ายไป

พอรงุ่ เชา้ ทา่ นกอ็ อกมา พาพระเณรปดั กวาดจดั สถานที่นง่ั ฉนั ถึงเวลาไป
บิณฑบาต ทา่ นกพ็ าพระเณรและตาปะขาว เดนิ ออกไปตามทศิ ทางทปี่ รากฏจดจ�ำ
ไวใ้ นนมิ ติ ไดเ้ ดินไปไกลประมาณ ๒๐๐ เสน้ กไ็ ปเห็นกระทอ่ มนา และทางเขา้ ไปใน

ประวตั พิ ระอาจารย์ฝัน้ อาจาโร 37

หมู่บา้ น มจี ริงตามความทเ่ี ห็นในนมิ ิต ไปถึงท่งุ นาหยุดยืนคลุมผ้า บา่ สะพายบาตร
เดนิ เขา้ ไปบณิ ฑบาตในหมู่บ้านซ่ึงมปี ระมาณ ๗ - ๘ หลังคาเรอื น เมือ่ รบั บณิ ฑบาต
แลว้ เวลาจะกลับถ�ำ้ กลบั ไมถ่ ูก เพราะทางออกมาเปน็ ป่ารก ดงหนา ป่าทบึ จึงหลง
กลับไม่ถูก ถามชาวบ้านก็ไม่มีใครรู้จักถำ้�จำ�ปาแม้สักคนเดียว เน่ืองจากพวกเขา
เหล่าน้ันเพิ่งอพยพมาใหม่ ท่านจึงถามเขาอีกว่า โยมรู้จักไหมหนองน้ำ�ใหญ่
อยทู่ างไหน พวกโยมว่า หนองใหญพ่ วกผมรู้จัก ถ้าอยา่ งน้ันโยมพาอาตมาไปใหถ้ ึง
หนองนำ้�ใหญแ่ ล้วอาตมากจ็ ะไปถกู

พวกโยมจงึ ไดพ้ าทา่ นไป เดนิ กลบั มากวา่ จะถงึ ถ�ำ้ ตะวนั กส็ งู ขน้ึ สายมากเวลา
ประมาณ ๑๐ นาฬกิ าเศษ ทถี่ �้ำ จ�ำ ปาเปน็ สถานทว่ี เิ วกเงยี บสงดั และแถมยงั มสี ตั วป์ า่
นานาชนิดเหลือหลากมากหลายอีกด้วย จำ�พวกสัตว์ร้ายก็ชุกชุม ครูบาอาจารย์
สมัยก่อนลูกศิษย์คนใดจิตไม่ค่อยสงบ มีสติหลงใหล โลเล เหลาะแหละมัวเมา
ประมาทขาดความพยายาม ทา่ นมกั สง่ ให้ไปอยู่ฝกึ ต่อสู้กบั สถานทเี่ ช่นนั้น

ท่านพระอาจารย์ฝ้ันได้พักทำ�ความเพียรภาวนา พาลูกศิษย์อยู่ท่ีถำ้�จำ�ปา
เป็นเวลาครึ่งเดอื นกวา่ จากนน้ั ทา่ นก็ได้จาริกไปตามปา่ เขาละแวกน้ัน จวนถงึ เวลา
จะเข้าพรรษา ท่านได้พาลูกศิษย์ของท่านเดินทางออกมา ด้วยต้ังใจว่าจะกลับไป
จำ�พรรษาอยู่กับพระอาจารย์มั่น ที่เมืองอุบลฯ พอเดินทางไปถึงสำ�นักท่ีพักสงฆ์
บ้านบ่อชะเนง ก็ได้พบกับท่านพระอาจารย์ทอง อโสโก ได้มาพักทำ�ความเพียร
ภาวนาอยู่ท่ีน่ัน จึงได้ทราบจากท่านพระอาจารย์ทองว่า พระอาจารย์ใหญ่มั่น
ทา่ นไดล้ งไปอย่กู รงุ เทพฯ กบั ทา่ นเจา้ คุณปัญญาพิศาลเถร (หนู) วัดปทุมวนาราม
ตง้ั แตเ่ ดอื น ๓

เมื่อพระอาจารย์ใหญ่มัน่ ไม่อยู่ ท่านพระอาจารย์ฝน้ั จึงพจิ ารณาว่า ทเ่ี ราได้
เดินทางมาจากการเที่ยววิเวกตามถ้ำ�ตามภูเขา ก็เพราะเรามีความต้องการที่จะมา
จ�ำ พรรษาอยกู่ บั ทา่ นพระอาจารยม์ น่ั เมอื่ ทา่ นพระอาจารยใ์ หญม่ น่ั ไมไ่ ดอ้ ยใู่ นเมอื ง
อุบลฯ แล้ว เราควรกลับไปทำ�ความเพียรภาวนาจำ�พรรษาอยู่เขตท้องที่อำ�เภอ
คำ�ชะอีดีกว่า เพราะสถานที่นั้นเป็นรมณียสถาน ไม่พลุกพล่าน มีความเงียบสงัด
เป็นเสนาสนะเหมาะแก่การบำ�เพ็ญทำ�ความเพียรภาวนาเป็นอย่างยิ่ง เมื่อท่านคิด
เปลย่ี นใจไม่จ�ำ พรรษาทเี่ มอื งอุบลฯ แล้ว จงึ เดนิ ทางกลบั ไปยังสถานทดี่ งั กลา่ ว

38  อาจารยิ บูชา พระอาจารย์ฝัน้ อาจาโร

พรรษาที่ ๔ พุทธศกั ราช ๒๔๗๑

พระอาจารย์ฝ้นั อาจาโร เดินธุดงคไ์ ปถึงบา้ นห้วยทราย ชาวบา้ นมีศรทั ธา
นิมนต์ให้ท่านอยู่จำ�พรรษาในละแวกน้ัน จึงได้ไปจัดทำ�สำ�นักเป็นเสนาสนะ
พักจำ�พรรษาชั่วคราวท่ีป่าหนองขอน ปี พ.ศ. ๒๔๗๑ พระอาจารย์ฝ้ันจำ�พรรษา
บา้ นหว้ ยทราย อ�ำ เภอค�ำ ชะอี จงั หวดั นครพนม เมอื่ หมดเขตพรรษาปวารณาแลว้ ทา่ น
ไดอ้ อกเดนิ ทางยอ้ นกลบั เมอื งอบุ ลฯ อกี ครงั้ ไดม้ าพบกบั ทา่ นพระอาจารยส์ งิ หแ์ ละ
พระอาจารยม์ หาป่ิน ท่บี า้ นหวั วัว ทา่ นพระอาจารยส์ ิงหจ์ ึงได้นดั พระคณะลกู ศษิ ย์
กรรมฐานที่ได้ติดตามพระอาจารย์ม่ันทั้งหมดซ่ึงอยู่ในท้องท่ีจังหวัดอุบลฯ (ท่าน
พระอาจารยม์ นั่ กอ่ นทที่ า่ นจะลงไปกรงุ เทพฯ ทา่ นไดม้ อบใหท้ า่ นพระอาจารยส์ งิ ห์
และพระอาจารย์มหาป่ิน ปกครองอบรมพรำ่�สอนสานุศิษย์ของท่านทั้งหมดแทน)
ใหเ้ ขา้ มาพกั ทพี่ กั สงฆบ์ า้ นหวั ววั เพอ่ื รว่ มปรกึ ษาเกยี่ วกบั ไปชว่ ยทางจงั หวดั ขอนแกน่
ท่ีประชมุ ไดป้ รึกษาตกลงกันวา่ พวกเราควรออกเดนิ ธดุ งค์ไปเผยแพรก่ ารประพฤติ
ปฏบิ ตั ธิ รรมแกป่ ระชาชนชาวจงั หวดั ขอนแกน่ เพอ่ื ชว่ ยทา่ นเจา้ คณุ พระพศิ าลอรญั เขต
(จันทร์ เขมิโย) ซง่ึ ท่านได้ไปเปน็ เจ้าคณะจงั หวดั ฝา่ ยธรรมยุต จงั หวดั ขอนแกน่

เม่ือในที่ชุมนุมปรึกษาได้ตกลงถูกต้องพ้องกันแล้ว จึงได้แยกย้ายกันออก
เดินธุดงค์ไปคนละทิศคนละทาง แต่ก็ได้นัดหมายให้ไปรวมกันที่จังหวัดขอนแก่น
ก่อนเข้าพรรษา พระอาจารย์ฝั้นได้ออกเที่ยววิเวกมาทางจังหวัดสกลนคร เพื่อ
เยยี่ มเยียนญาติโยมและญาตพิ นี่ อ้ งของทา่ น ซงึ่ อยู่บ้านบะทอง อ�ำ เภอพรรณานิคม
จังหวัดสกลนคร ไดข้ ึ้นนงั่ รถยนต์ ท่านเล่าวา่ ตงั้ แตเ่ กิดมายงั ไมเ่ คยเหน็ รถยนตเ์ ลย
จึงคิดจะลองข้ึนน่ังดูบ้าง บอกกะคนรถว่า ท่านจะไปลงท่ีบ้านม่วงไข่ อำ�เภอ
พรรณานิคม ถึงบ้านม่วงไข่ รถหยุด ท่านลงจากรถยนต์แล้ว ออกเดินลัดทุ่งนา
ข้ามห้วยน้�ำ อนู ไปบ้านบะทอง ไปพกั ท่ปี ่าช้าอยูท่ างทิศตะวนั ตก วัดโพนทอง (ท่วี ดั
ป่าอดุ มสมพรปจั จบุ นั )

ท่านได้พักเทศนาอบรมส่ังสอนสมควรแก่อัธยาศัยแล้ว จึงได้ธุดงค์ต่อไป
ได้ไปอ�ำ เภอวารชิ ภมู ิ ผ่านอ�ำ เภอหนองหาน จงั หวดั อดุ รธานี ผา่ นอ�ำ เภอกุมภวาปี
แลว้ ผา่ นไปอ�ำ เภอน�ำ้ พอง จงั หวดั ขอนแกน่ ไดข้ นึ้ รถไฟทสี่ ถานนี �้ำ พอง ไปลงทสี่ ถานี
ขอนแกน่ เพอ่ื จะไดไ้ ปพบกบั ทา่ นพระอาจารยส์ งิ ห์ และพระอาจารยม์ หาปนิ่ ทปี่ า่ ชา้

ประวัตพิ ระอาจารยฝ์ ้ัน อาจาโร 39

บา้ นเหลา่ งา พระคณะกรรมฐานมพี ระอาจารยส์ งิ หเ์ ปน็ หวั หนา้ พระอาจารยม์ หาปน่ิ
ป.ธ.๕ (น้องชายพระอาจารย์สิงห)์ เปน็ รองหวั หน้า ได้มาชมุ นมุ กนั ทัง้ หมดจำ�นวน
๗๐ รปู ทปี่ ่าช้าเหล่างา (วดั ป่าวิเวกธรรมในปจั จบุ ัน)

เมอ่ื พระคณะธรรมจารกิ ไดเ้ ดนิ ทางถงึ หมดครบชดุ แลว้ กไ็ ดแ้ ยกยา้ ยกระจาย
กนั ไปอยตู่ ามหมบู่ า้ นทม่ี สี ถานทเ่ี ปน็ ปา่ รม่ เยน็ เงยี บสงดั ในทอ้ งทอ่ี �ำ เภอเมอื งขอนแกน่

พรรษาท่ี ๕ พุทธศักราช ๒๔๗๒

พระอาจารยฝ์ น้ั ออกเดินทางไปบ้านผือ ตำ�บลโนนทนั อ�ำ เภอเมอื ง จังหวัด
ขอนแกน่ ไดพ้ กั ทีป่ า่ ดอยภูตา มีศาลเจ้าภตู าหลังเลก็ ๆ ทรุดโทรมรกรงุ รัง ชาวบ้าน
สร้างไว้เซ่นสรวงตามความเชื่อว่าเป็นของศักดิ์สิทธิ์ ปีหนึ่งๆ พอถึงฤดูกาล
ชาวบา้ นชว่ ยกนั จดั หาสตั วส์ เี่ ทา้ สองเทา้ ขา้ วปลา สรุ า อาหาร ฆา่ สตั ว์ ๒ เทา้ ๔ เทา้
เอามาท�ำ พลกี รรมเซน่ สรวงเจ้าพอ่ ภตู าทุกๆ ปี

เม่ือชาวบ้านได้เห็นพระมาพักอยู่ที่ศาลเจ้าพ่อภูตาของเขาก็เกิดความ
ไม่พอใจ บางคนมีความโกรธแค้นมาก ผู้ใหญ่บ้านกับลูกบ้านสี่คนด้วยกันพากัน
ออกไปดู ก็เห็นพระคณะของพระอาจารย์ฝ้ันออกมาพักอยู่ท่ีนั้นจริง ท้ังสี่คน
เกดิ ความไมพ่ อใจ ไดแ้ สดงปฏกิ ริ ยิ าตา่ งๆ คนหนง่ึ ในสค่ี นพดู ขนึ้ วา่ พระอะไรมาอยู่
อยา่ งน้ี วดั มที �ำ ไมไมไ่ ปอยู่ ทนี่ ไี่ มใ่ ชท่ อี่ ยขู่ องพระ แลว้ กร็ อ้ งตะโกนเสยี งดงั วา่ เอาปนื
มายงิ ใหม้ นั ตายเสยี เสยี งอกี คนรอ้ งขน้ึ เสยี งดงั ๆ อกี วา่ เอาสากมอง (ไมท้ เี่ ขาท�ำ เปน็
สากกระเดอื่ งส�ำ หรบั ตำ�ขา้ วเปลือก) ตีหวั ให้ในแตกกแ็ ลว้ กัน อีกคนหนง่ึ วา่ พวกเรา
ช่วยกนั เอาดนิ ขว้างให้มันออกไปเสียจากทน่ี ี่

ฝ่ายผู้ใหญ่บ้านก็ว่าพวกเราควรเข้าไปถามดูเสียก่อน จะเป็นพระจริงหรือ
พระปลอม พระรา้ ยหรอื พระดี พวกเราจะไดร้ ู้ ทงั้ สคี่ นพอใจในค�ำ พดู ของผใู้ หญบ่ า้ น
จงึ ไดถ้ อยออกมายนื หา่ งๆ โยมผใู้ หญบ่ า้ นเดนิ เขา้ ไปนง่ั ใกลพ้ ระอาจารยฝ์ น้ั แลว้ ถามวา่
ทา่ นมาอยทู่ น่ี ที่ �ำ ไม ทา่ นตอ้ งการอะไรในทน่ี ่ี ผใู้ หญบ่ า้ นถาม อาตมาไดเ้ ดนิ ออกธดุ งค์
รกุ ขมลู กรรมฐาน ต้องการอยูส่ ถานท่ีเงียบสงดั เพือ่ ปฏบิ ัติอบรมจิต ตามแบบฉบับ
เย่ียงอย่างพระธุดงค์กรรมฐานแต่สมัยก่อน อาตมาได้มาเห็นสถานท่ีตรงนี้เป็น

40  อาจาริยบูชา พระอาจารย์ฝนั้ อาจาโร

ท่ีวิเวกเงียบสงัดดี ไม่มีใครกล้ามาเท่ียวพลุกพล่าน จึงได้ตกลงใจพากันพักท่ีนี่
โยมเห็นว่าพวกอาตมาพกั อยทู่ น่ี ไี่ มด่ ีอย่างไรเลา่ ท่านพระอาจารย์ฝั้นตอบและถาม

ไมด่ ซี ที า่ น ประเดย๋ี วเจา้ พอ่ ภตู าเคอื งเอา เขา้ ไปอาละวาดในหมบู่ า้ นทำ�ความ
เดือดร้อนให้แก่พวกผมและชาวบ้าน เพราะไม่ห้ามปราม ปล่อยให้ท่านมาอยู่ที่นี่
เป็นการไม่ดีอย่างน้ีซีท่าน พวกผมจึงไม่ต้องการให้คณะท่านอาจารย์พักท่ีนี่ขอรับ
ผู้ใหญ่บ้านพูด โยมคิดมากไปเอง ความจริงพวกอาตมากับเจ้าพ่อภูตาเข้ากันได้
อยู่ด้วยกันได้ ตากับหลานทำ�ไมจะอยู่ด้วยกันไม่ได้ พวกอาตมาก็เสมือนลูกหลาน
ของทา่ น นับถือไดแ้ ตพ่ วกโยมหรอื พวกอาตมานับถือดว้ ยไม่ไดเ้ หรอ

อาตมาไดม้ าพกั อยทู่ น่ี ี่ ไดท้ �ำ ความเพยี รสวดมนตไ์ หวพ้ ระนงั่ ท�ำ สมาธภิ าวนา
ทุกวันทุกเวลา ได้แผ่เมตตาจิตอุทิศส่วนกุศลผลบุญไปให้ท่าน เมื่อท่านเจ้าพ่อ
ได้รับแล้วอนุโมทนา ท่านก็คงจะได้รับความสุขพ้นไปจากทุกข์ จากภัย จากเวร
จากอันตรายท้ังหลายทั้งปวงดังนี้ ท่านคงดีใจ คงไม่ทำ�ความเดือดร้อนให้แก่
พวกญาติโยมชาวบ้านดอก เพราะท่านมีความสุขกายสบายจิตจากผลบุญกุศลท่ี
พวกอาตมาไดแ้ ผอ่ ทุ ศิ สง่ ไปให้ โยมทงั้ หลายจงพากนั เขา้ ใจตามนจี้ งึ จะถกู พวกอาตมา
มาพกั อยนู่ ไี่ ดพ้ ากนั ช�ำ ระปดั กวาดท�ำ ความสะอาดเตยี นรม่ รนื่ ไปหมด ดซู โี ยมแตก่ อ่ น
เมื่อพวกอาตมายังไม่ได้มาอยู่ กับที่พวกอาตมามาอยู่เวลานี้เป็นอย่างไรเล่า
เหมอื นกนั เหรอ แตก่ อ่ นมนั รกรงุ รงั ไปหมดไมใ่ ชเ่ หรอ เดยี๋ วนม้ี นั สะอาดขน้ึ มใิ ชเ่ หรอ

ผู้ใหญ่บ้านได้ฟัง ทั้งได้เห็นประจักษ์ข้อเท็จจริงตามความเป็นจริง ตามท่ี
พระอาจารย์ฝ้ันแสดงได้ยกเหตุผลขึ้นมาอ้างดังนี้ ทำ�ให้โยมผู้ฟังทุกคนนึกเอะใจ
เพราะไม่เคยเห็นไม่เคยได้ยินพระองค์ไหนแสดงให้ฟังอย่างน้ีมาก่อนเลย แล้วนึก
อยากจะลองภูมิความรู้ของพระอาจารย์ฝั้น จึงได้คิดข้อธรรมตั้งเป็นปัญหาถาม
พระอาจารย์ก็ได้ตอบแก้ปญั หาอย่างวอ่ งไว พรอ้ มทง้ั ขอ้ อุปมาอุปไมย เปรยี บเทยี บ
ใหเ้ ข้าใจทกุ แง่ทกุ มมุ อย่างคล่องแคลว่ องอาจ จนเปน็ ทีพ่ อใจของผูฟ้ งั เป็นอยา่ งยิ่ง
ถงึ กบั ผู้ใหญบ่ า้ นได้ลัน่ ปากพูดออกมาว่า นา่ เล่อื มใสจรงิ ๆ องคส์ มเด็จพระสมั มา-
สัมพุทธเจ้าพระองค์เท่ียวไปโปรดสัตว์ แสดงธรรมสั่งสอนเม่ือสมัยก่อนฉันใด
เดยี๋ วนที้ า่ นพระอาจารยก์ ไ็ ดพ้ าคณะมา เทย่ี วแสดงธรรมสง่ั สอนโปรดพวกเราฉนั นน้ั
ส่วนพวกลูกบ้านท่ีออกมายืนอยู่ห่างๆ ก็ได้ขยับเข้ามาน่ังใกล้ๆ ทุกคนมีความ

ประวตั พิ ระอาจารย์ฝัน้ อาจาโร 41

พอใจและเล่ือมใสมาก ชวนกันกราบแล้วเข้าไปในหมู่บ้าน ไปขนเอา หมอน เส่ือ
สาด อาสนะ น้ำ�ฉัน น้ำ�ใช้ จัดทำ�ท่ีพักถวายท่าน ชาวบ้านก็ได้ทำ�บุญใส่บาตร
ออกฟังเทศน์และปฏิบัติธรรมจำ�ศีลภาวนาทุกๆ วัน ทำ�ให้เขาเกิดมีศรัทธา
เลื่อมใสในองค์พระอาจารย์ฝ้ันมาก จึงได้พร้อมใจกันนิมนต์ให้ท่านอยู่จำ�พรรษา
ท่านพระอาจารย์จึงว่า ท่ีตรงนี้จะอยู่จำ�พรรษาไม่ได้ เพราะมันอยู่ใกล้ลำ�นำ้�ชี
หน้าฝนน�้ำ จะทว่ ม คณะโยมชาวบ้านจึงไดไ้ ปจัดทป่ี ่าช้าถวายท่าน แล้วนิมนตท์ ่าน
และคณะของท่านให้อยู่จำ�พรรษา พระอาจารย์จึงได้เข้าจำ�พรรษาที่ป่าช้าบ้านผือ
ตำ�บลโนนทัน อำ�เภอเมอื ง จงั หวัดขอนแกน่

ในกลางพรรษาปีนนั้ มชี าวบา้ นอีกกลมุ่ หนง่ึ ยงั ไม่ไดเ้ ข้ามารับการฝกึ อบรม
ปฏิบัติ รับพระไตรสรณาคมน์ ยังมีทิฏฐิผิด เช่ือถือและนับถือผิด ยังถือฤกษ์
วัน เดอื น ปี ดีร้าย ถอื พระภูมเิ จ้าทภี่ ูตผปี ศี าจ ท�ำ การเซ่นสรวงบชู าทต่ี นเขา้ ใจวา่
เป็นส่ิงศักด์ิสิทธิ์ ถูกผีเจ้าภูตามาเข้าสิงอาละวาดก่อกวนคนในกลางบ้านของ
คนกลมุ่ นน้ั เขา้ สงิ คนนนั้ จากคนนน้ั ไปเขา้ คนโนน้ ออกจากคนโนน้ ไปเขา้ คนนี้ ท�ำ ให้
ผู้คนล้มตายไปแล้วก็มี ที่ยังไม่ตายก็มี ทำ�ให้ชาวบ้านได้รับความเดือดร้อนด้วยผี
ที่เขา้ มาอาละวาดเบียดเบยี น

พวกผู้มีศรัทธาเล่ือมใส ได้รับและเคารพเชื่อถือ ตั้งอยู่ในคุณพระรัตนตรัย
ไม่ถือมงคลภายนอก ถือแต่คุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นท่ีพึ่งที่ระลึก
มแี ต่เขา้ วดั ฟงั ธรรม จ�ำ ศลี ภาวนา ท�ำ บญุ ท�ำ ทานเป็นประจำ� เหน็ ผีเขา้ ไปอาละวาด
เบียดเบียนชาวบ้านกลุ่มน้ันดังกล่าวแล้ว จึงได้ชวนกันออกไปวัด เข้าไปกราบ
นมัสการท่านพระอาจารย์ฝัน้ แลว้ จึงกราบเรยี นท่านวา่ เวลานี้พวกผี ปีศาจ เขา้ ไป
อาละวาดก่อกวนชาวบ้านดังกล่าวมาแล้ว พวกดิฉันและลูกๆ เกรงว่าจะถูกผีเจ้า
เข้าสิงเหมือนกับพวกนั้น พวกดิฉันขอความเมตตาจากพระอาจารย์กรุณาได้เป็น
ทพ่ี ึ่งแก่พวกดิฉันและลกู ด้วย

พระอาจารย์จึงพูดให้พวกโยมมีกำ�ลังใจว่า พวกเราอย่าพากันกลัวเลย
ไม่เป็นไรดอก ไม่ต้องกลัว ให้พากันต้ังใจน้อมนึกระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้า
คุณพระธรรม คุณพระสงฆ์ เอามาเป็นท่ีพึ่งท่ีนับถือ แล้วนึกบริกรรมภาวนาว่า
พุทโธ ธัมโม สงั โฆ พทุ โธ ธัมโม สงั โฆ พทุ โธ ธมั โม สังโฆ ๓ จบแล้ว ใหร้ ะลกึ

42  อาจาริยบชู า พระอาจารย์ฝนั้ อาจาโร

พุทโธๆๆๆๆๆ ค�ำ เดยี ว ใหร้ ะลกึ นึกในใจตลอดไป ทกุ วันทกุ คืน ยนื เดนิ น่นั นอน
ดังน้ี ผีเจ้าพ่อ ผีภูตา ผีโหง ผีห่า จะมาทำ�อะไรเราไม่ได้ดอก กลัวทำ�ไม เราได้
คุณพระมาเป็นท่พี ง่ึ แลว้ พทุ โธ คือเป็นองค์คณุ ของพระพทุ ธเจ้า พุทธานภุ าเวนะ
คุณพระพุทธเจ้ามีคุณามหาอานุภาพมาก พระองค์ทรงชนะข้าศึก ศัตรูหมู่
ปัจจามิตรจะคดิ เบียดเบียนกระทำ�รา้ ยอะไรไม่ได้ ธัมโม เปน็ องคค์ ุณของพระธรรม
อันนำ�มาซึ่งความเป็นธรรมศักดิ์สิทธ์ิ ธัมมานุภาเวนะ คุณของพระธรรมมีคุณา
มหาอานุภาพมาก ย่อมคุ้มครองปกปักรักษาผู้ปฏิบัติให้พ้นจากทุกข์ ภยันตราย
ทั้งปวงได้ สังโฆ เปน็ องคค์ ณุ ของพระอรยิ สงฆ์ ผู้ทรงคุณอนั ศกั ด์ิสทิ ธิ์วเิ ศษ ผู้ควร
กราบไหวส้ กั การบชู า เปน็ เนอ้ื นาบญุ ของสตั วโ์ ลก ไมม่ ที ไ่ี หนอน่ื อกี แลว้ จะเหนอื กวา่
สงั ฆานภุ าเวนะ คณุ ของพระอรยิ สงฆส์ าวกของพระพทุ ธเจา้ นน้ั มคี ณุ ามหาอานภุ าพ
มาก ถ้าผใู้ ดไดน้ อ้ มระลึกกราบไหว้ เคารพปฏิบัตอิ ยูเ่ สมอแล้ว ก็สามารถค้มุ ครอง
และป้องกันทุกข์อุปัทวันตรายท้ังหลายท้ังปวงทุกสิง่ ได้

คุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ สรณะของเรา ที่พึ่งของเรามีเท่านี้
เราตอ้ งระลึกถงึ พระองค์ เมื่อเขา้ ถงึ พระองคแ์ ลว้ จึงจะพง่ึ พระองค์ได้ ถ้าไม่ถงึ กพ็ ง่ึ
ไมไ่ ด้ ถา้ เราระลกึ เคารพ กราบไหวบ้ ชู า ระลกึ ภาวนาทกุ วนั เวลาอยอู่ ยา่ งนี้ ใหเ้ รยี ก
ผมี ากนิ วา่ ผีเอย๋ จงมากนิ เถิด จ้างใหก้ ไ็ ม่กล้ามากนิ ดอก เม่ือโยมได้ฟงั ธรรมของ
พระอาจารย์ฝั้นแสดงจบลงแล้ว ทำ�ให้พวกเขาเกิดเพิ่มกำ�ลังใจในความเล่ือมใส
เปน็ อย่างยงิ่ พากนั กำ�หนดจดจำ�แล้วตง้ั ระลึกนกึ ทอ่ งบรกิ รรมพรำ�่ ภาวนาตลอดวนั
เวลาไม่ได้ขาด ก็ปรากฏว่าพวกภูตผีที่ก่อกวนเบียดเบียน ไม่กล้าเข้ามากล้ำ�กราย
ทำ�อันตรายแก่พวกชาวบา้ นทเ่ี ข้าวดั ปฏิบตั ภิ าวนาน้ันเลย จนพวกนน้ั ออกปากถาม
ผขี ณะทเี่ ขา้ สงิ คนอยนู่ น้ั วา่ ทำ�ไมทา่ นเจา้ ตาไมไ่ ปเขา้ สงิ คนทอี่ ยทู่ างโนน้ บา้ ง ผเี จา้ ตา
ในรา่ งของคนตอบวา่ เขา้ ไปใกลเ้ ขาไมไ่ ด้ ขา้ ไมก่ ลา้ ไป ขา้ จะกลา้ ไปไดอ้ ยา่ งไรเพราะ
ในบ้านของพวกเขาเหลา่ นั้น เหน็ มแี ตพ่ ระนง่ั เปน็ แถวเตม็ ไปหมด

ความจริงคนในบ้านหมู่นั้น ไม่มีใครมีพระพุทธรูปไว้ในบ้านสักองค์แม้แต่
คนเดียว เป็นแตเ่ พยี งพวกเขาเหล่าน้ันมจี ติ เล่อื มใส ไดเ้ คารพปฏิบตั กิ ราบไหว้รำ�ลกึ
นึกบริกรรมคำ�ภาวนาเท่าน้ัน ทำ�ให้เจ้าผีภูตามองเห็นพระน่ังอยู่เต็มบ้านไปหมด
พวกชาวบา้ นทนี่ บั ถอื ผี ไมน่ บั ถอื พระ เมอื่ ถกู ผเี จา้ ตากอ่ กวน จงึ ไดน้ ดั ประชมุ ปรกึ ษา
หารือกัน เร่ืองเก็บเงินเอามาจ้างหมอผี ให้เขามาทำ�พิธีไล่ผีให้หนีออกไปจากบ้าน

ประวัติพระอาจารยฝ์ ้ัน อาจาโร 43

ให้ส้ินซาก เมื่อในที่ประชุมได้ตกลงพร้อมใจกันแล้ว จึงได้ไปติดต่อหมอผี หมอผี
บอกว่าจะให้ไปไล่ผีออกไปจากบ้านนั้นทำ�ได้ รับรองไม่ยาก แต่ต้องเอาเงินมาให้
เสียก่อน จึงจะไปทำ�พิธีขับไล่ผีให้ได้ ถ้าไม่เอาเงินมาเสียก่อน เมื่อเราได้ทำ�การ
ขับไล่ผีให้ได้ออกไปแล้ว ประเดี๋ยวภายหลังจะเอาเงินจากใครก็ไม่ได้ ไม่มีใครยอม
ออกให้ เราจึงตอ้ งเก็บเงนิ เอาไว้กอ่ น

ทกุ คนเม่ือได้ยินหมอผพี ูดดงั น้นั แล้ว จงึ ได้แตง่ ตั้งให้มีผูค้ นเดินเก็บเงนิ จาก
ชาวบา้ นทกุ ๆ หลงั คาเรอื น ถา้ เรอื นใดไมย่ อมเสยี เงนิ เขาจะไมย่ อมขบั ไลแ่ ละปอ้ งกนั
ผใี นเรอื นนน้ั ให้ สว่ นคณะญาตโิ ยมพวกทมี่ คี วามเคารพนบั ถอื พระ ละจากการนบั ถอื ผี
ชวนกันไปวัดไปกราบเรียนพระอาจารย์ฝ้ันว่า เวลาน้ีคณะกรรมการในหมู่บ้านได้
ประชุมกัน เก็บเงินตามชาวบ้านทุกๆ หลังคาเรือน เอาไปจ้างหมอผีให้ขับไล่และ
ปอ้ งกนั ผที เี่ ขา้ มาอาละวาดอยใู่ นบา้ นใหห้ มดไป ถา้ ใครไมอ่ อกเงนิ เขาจะไมป่ อ้ งกนั
และขับไลผ่ อี อกจากเรือนนน้ั ให้

ขอโอกาสพ่อแม่ครูบาอาจารย์ พวกดิฉันสมควรจะออกเงินค่าขับไล่
ค่าคุ้มครองป้องกันผีกับพวกเขาหรือไม่ หรือพ่อแม่ครูบาอาจารย์จะให้พวกดิฉัน
ท�ำ อย่างไรดี พระอาจารย์ฝั้นไดฟ้ ังแลว้ ยิ้มๆ หวั เราะ แล้วพูดว่า ถา้ หากว่าเขาเรีย่ ไร
เก็บเงินเอาสร้างสาธารณประโยชน์ เช่น กุฏิ วิหาร ศาลาการเปรียญ โรงเรียน
ประชาบาล โรงพยาบาลสาธารณสขุ เหลา่ นคี้ วรให้ ถา้ เขาเกบ็ เงนิ เอาไปเปน็ คา่ จา้ งไลผ่ ี
อยา่ ให้ เพราะพวกเราไมไ่ ดน้ บั ถอื ผี พวกเราไมเ่ คยเซน่ สรวง ชบุ เลยี้ งผี พวกเราเคารพ
นับถือไหว้กราบบูชาแต่พระเท่าน้ัน เราพึ่งพระ ไม่ได้พึ่งผี ผีไม่มีอยู่ในบ้านเรือน
ของพวกเรา เราพ่งึ อะไรผี ผีเราพงึ่ อะไรไม่ไดส้ ักอย่าง

พวกเราฟังดูเถอะ ขี้ร้ายก็เหมือนผี เลวก็เหมือนผี สกปรกก็เหมือนผี
โงก่ เ็ หมอื นผี ขีเ้ กยี จขคี้ รา้ นก็เหมอื นผี ผีไม่ใชเ่ ปน็ ของดี สิ่งใดทไ่ี มด่ แี ลว้ เขากเ็ อามา
เปรียบเทียบกับผีท้ังน้ัน อาตมาจึงได้กล่าวว่า ผีเป็นส่ิงที่ไม่ดี ส่ิงที่ไม่ดีเราไม่ควร
เอามาเปน็ ทพ่ี ง่ึ มใิ ชห่ รอื หรอื วา่ ยงั ไง ใครตอ้ งการพงึ่ สงิ่ ทไ่ี มด่ บี า้ ง ทกุ คนไมต่ อ้ งการ
มิใช่หรือของไมด่ ี พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ทง้ั ๓ อย่างน้เี ปน็ ทเ่ี ลศิ ที่ประเสรฐิ
พวกเราเรยี กวา่ คุณพระรัตนตรัย ผู้ท่เี ล่ือมใสเคารพกราบไหว้บชู า แลว้ ตงั้ จิตระลึก
นึกภาวนา เอาเป็นทีพ่ งึ่ ของตนอย่างท่ีเรียกว่า พระไตรสรณาคมน์ บคุ คลใดจะเป็น

44  อาจารยิ บูชา พระอาจารยฝ์ ัน้ อาจาโร

ผหู้ ญงิ หรอื ชายกต็ าม จะเปน็ เดก็ หรอื ผใู้ หญก่ ต็ าม มคี วามเคารพกราบไหวส้ กั การบชู า
ด้วยศรัทธาความเลื่อมใสในคุณพระรัตนตรัย ผู้น้ันแลจักได้ท่ีพ่ึงอันเกษม พี่พ่ึง
อนั เปน็ มงคลอดุ มสงู สดุ พวกเราทง้ั หลายไดท้ พ่ี ง่ึ เชน่ นแ้ี ลว้ ยอ่ มพน้ ไปจากทกุ ขท์ ง้ั ปวง

ดังน้ี พากันเข้าใจใหม่พวกเราทั้งหลาย เร่ืองมันเป็นอย่างน้ี ญาติโยม
ท้ังหลายเข้าใจหรือยัง นี่แหละท่ีพึ่งของเรามีเท่าน้ี พากันเข้าใจไว้ นัตถิ เม
สะระณงั อญั ญงั ทพ่ี งึ่ อนื่ ของเราไมม่ ี พทุ โธ เม สะระณงั วะรงั พระพทุ ธเจา้ เปน็ ทพ่ี ง่ึ
อนั ประเสรฐิ ของเรา นตั ถิ เม สะระณงั อญั ญงั ทพี่ งึ่ อนื่ ของเราไมม่ ี ธมั โม เม สะระณงั
วะรงั พระธรรมเป็นทพี่ ง่ึ อันประเสริฐของเรา นัตถิ เม สะระณงั อัญญัง ท่พี ึ่งอนื่
ของเราไมม่ ี สงั โฆ เม สะระณัง วะรงั พระสงฆเ์ ป็นท่พี ่งึ อันประเสรฐิ ของเรา นตั ถิ
แปลวา่ ไมม่ ี ทา่ นปฏเิ สธหมด พง่ึ อะไรไมไ่ ดส้ กั อยา่ ง ในไตรโลก คอื กามโลก รปู โลก
อรปู โลก ถา้ เรามคี ณุ พระพทุ ธ พระธรรม พระสงฆ์ ไวท้ ใ่ี จของเราบรบิ รู ณเ์ ตม็ ที่ เราจะ
ไปอยโู่ ลกไหนกไ็ ปได้ เพราะเรามที พ่ี ง่ึ ทอ่ี าศยั ทไี่ ป ทอี่ ยแู่ ลว้ เราจะไปจะอยกู่ ม็ คี วามสขุ
เราจะพ่ึงอะไรกพ็ ึ่งได้ เมือ่ เรามีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ไวใ้ นใจของเราอยา่ ง
ล้นฝั่งอยู่เสมอ ไม่บกพร่อง เราจะพ่ึงโลกไหนก็พ่ึงได้โดยแท้ ไม่ต้องสงสัย เม่ือ
พวกท่านท้ังหลายได้สดับในโอวาทานุสาสนีแล้ว ให้พากันกำ�หนดจดจำ�ไว้ในใจ
นำ�เอาไปปฏบิ ตั ติ าม อย่าพากนั มคี วามประมาทดงั ได้แสดงมาด้วยประการฉะน้ี

เมอ่ื พระอาจารยฝ์ นั้ ทา่ นไดแ้ สดงธรรม ชแ้ี นะน�ำ พร�ำ่ สอนจบลงแลว้ ญาตโิ ยม
ทุกคนที่น่ังฟังเกิดความปีติ ปลื้มในใจ เลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาเป็น
อย่างย่งิ จึงได้พากนั เลิกละสละทงิ้ การนบั ถือพระภูมิเจ้าที่ ภูตผี ปศี าจ ที่พวกเขา
เคยนบั ถอื มาแตเ่ กา่ กอ่ นนมนานจนหมดสน้ิ ไดส้ มาทานถอื ศลี กบั พระไตรสรณาคมน์
ต้ังแต่บัดนั้นมา เมื่อออกพรรษาปวารณาแล้ว พระอาจารย์ฝั้นได้อำ�ลาญาติโยม
ออกเที่ยวธุดงค์ไปตามป่า หาสถานที่มีป่าที่สงบวิเวกทางเขตอำ�เภอนำ้�พอง
จงั หวดั ขอนแกน่ จงึ ไดจ้ ดั เตรยี มเกบ็ บรขิ ารเปน็ การส�ำ เรจ็ เสรจ็ เรยี บรอ้ ยแลว้ ไดอ้ อก
เดนิ ทางจากทพี่ กั ส�ำ นกั โนนปา่ ชา้ บา้ นผอื ไดเ้ ขา้ ไปพกั ทวี่ ดั ศรจี นั ทรใ์ นเมอื งขอนแกน่
ส่วนญาติโยมพอได้ทราบว่า พระอาจารย์ฝ้ันได้ออกจากสำ�นักแล้ว พากันมีความ
โศกเศร้าโศกาอาลัยในจิตใจเป็นอันมาก ไม่สามารถระงับดับความอาลัยจากจิตใจ
ของตนได้ พากนั ออกอทุ านวา่ ชาวเราทงั้ หลายจะอยไู่ ดอ้ ยา่ งไรเมอื่ ไมม่ พี ระอาจารย์

ประวตั พิ ระอาจารย์ฝนั้ อาจาโร 45

มาเถดิ พวกเรา ไป พวกเราติดตามทา่ นไป ไปขอร้องให้ท่านมคี วามเมตตา กลับมา
อนุเคราะหโ์ ปรดชาวเราบ้านผืออีกสักครงั้ เถดิ

เม่ือทุกคนตกลงตัดสินใจไปด้วยกันแล้ว ต่างก็ได้รีบออกเดินทางติดตาม
พระอาจารย์ไป ได้ไปทันพบท่านพระอาจารย์ฝั้นที่วัดศรีจันทร์ จึงพากันเข้าไป
อ้อนวอน ขอร้องให้ท่านมีความเมตตา โปรดญาติโปรดโยมอีกสักครั้งเถิด
ขณะเดียวกนั ภูตผีท่ีชาวบา้ นได้เลกิ นับถอื และเชือ่ ถือ ไดส้ ละละทิง้ จนมคี วามสงบ
หลบหนีหายไปแล้วได้กลับเข้ามาอาศัยเบียดเบียนชาวบ้านอีก เหมือนกับว่าภูตผี
เหลา่ นน้ั ช่วยมาเป็นใจกับชาวบ้าน เป็นเหตุให้ชาวบ้านได้ยกเอาเรื่องนี้ขึ้นร้องเรียน
พระอาจารย์อีกด้วยว่า หลังจากท่านพระอาจารย์ได้เดินทางมาแล้ว ภูตผีท่ีเคย
หลบหนีหายไปแล้ว ก็ได้กลับเข้ามาอาศัยอยู่ทุกหลังคาเรือนอีก มันมาเข้าทรง
เข้าสิงเบียดเบียนชาวบ้านให้ได้ลำ�บากเดือดร้อนวุ่นวายเข้าอีก ขอพระอาจารย์
ได้เมตตาพวกกระผมชาวบ้านผือบ้างเถิด ถ้าไม่มีพระอาจารย์แล้ว พวกกระผม
และชาวบ้านผือก็จะอยู่ไม่ได้ อยู่ได้ก็จะไม่มีความสุข ท่านพระอาจารย์องค์เดียว
เท่านั้นที่มีความสามารถแก้ปลดเปล้ืองระงับดับความเดือดร้อนเป็นทุกข์ท่ีปรากฏ
อยูใ่ นเวลานี้ได้

เม่ือพระอาจารย์ฝ้ันได้ฟังคำ�อาราธนาขอร้องนิมนต์ให้ท่านกลับ เพื่อจะได้
ช่วยระงับดับความเดือดร้อนดังกล่าวแล้ว ทำ�ให้ท่านมีจิตเมตตาสงสารชาวบ้าน
หนองผือ ทมี่ ีศรทั ธาเพิ่งเร่ิมเข้าวัดปฏิบัติ ฟงั ธรรม จ�ำ ศีล ไหว้พระภาวนา ทา่ นกไ็ ด้
พิจารณาในใจปรารภถึงตัวท่านเองว่า ที่เราได้บวชเข้ามาในพระพุทธศาสนานี้
ก็มีความตั้งใจเจตนาท่ีจะเข้ามาทำ�ประโยชน์ตนและประโยชน์ส่วนรวม บัดน้ี
ญาตโิ ยมกไ็ ดเ้ กดิ มศี รทั ธาเลอื่ มใสในพระศาสนา เขามคี วามพอใจใครจ่ ะศกึ ษาปฏบิ ตั ิ
ฝึกหัดอบรมบ่มอินทรีย์ จะได้เป็นปัจจัยอุปนิสัยบารมีแก่กล้ายิ่งๆ ข้ึนไป ถ้าเรา
ไม่กลับไปให้ได้บำ�เพ็ญประโยชน์ในคราวคร้ังน้ี ก็เท่ากับว่าเราทำ�งานผิดพลาด
ขาดจากประโยชน์อย่างน่าเสียดาย ความจริงเราก็มุ่งมาบำ�เพ็ญประโยชน์ส่วน
น้ีโดยตรงอยู่แล้ว เป็นโอกาสอันดีท่ีเราจะได้นำ�ธรรมานุธรรมปฏิบัติ มาฝึกหัด
เผยแพร่ให้แก่ประชาชน ได้ฝึกฝนตนให้ถูกต้องตามอริยมรรคปฏิปทา จักได้ดำ�รง
ทรงไวซ้ ง่ึ พระพุทธศาสนาสบื ไป

46  อาจารยิ บชู า พระอาจารยฝ์ ัน้ อาจาโร

ท่านพระอาจารย์ฝั้นได้ตัดสินใจกลับ จึงรับคำ�อาราธนาของญาติโยมว่า
อาตมารบั นมิ นตแ์ ลว้ ใหพ้ ากนั สบายใจ กลบั บา้ นกลบั ชอ่ งกนั เสยี อาตมากจ็ ะตามไป
ภายหลัง คณะโยมบ้านผือได้พากันยกมือสาธุ สาธุการกระพุ่มมือน้อมกราบ
พระอาจารย์ด้วยความดีใจท่ีได้สมหวัง ยังความปราโมทย์ให้แก่ชาวบ้านผือ
ท่ีน่ังรอคอยฟังทุกๆ คน คงเป็นด้วยกุศลท่ีทุกคนได้เคยบำ�เพ็ญมา พระอาจารย์
จึงเมตตากลับมาโปรดพวกเราดงั น้ี

พรรษาท่ี ๖ พทุ ธศกั ราช ๒๔๗๓

พระอาจารย์ฝ้ัน อาจาโร ได้กลับมาจำ�พรรษาสำ�นักโนนป่าช้า บ้านผือ
อกี เปน็ ครงั้ ที่ ๒ ตดิ ตอ่ กนั ในพรรษานี้ พระอาจารยไ์ ดต้ ง้ั จติ คดิ สมาทาน อธษิ ฐานใจ
ในข้อวัตรปฏิบัติขัดเกลาเพ่งเผาฝึกจิตบำ�เพ็ญทำ�ความเพียร เหมือนกับที่ท่านเคย
ปฏบิ ตั มิ าทุกๆ ปี ทา่ นยนิ ดตี ามท่ีมีอยู่ เปน็ ผมู้ คี วามอยากมักนอ้ ยสนั โดษ ส�ำ รวม
ในอธิศีล อบรมอยใู่ นอธจิ ติ จ�ำ เรญิ เจรญิ ให้บรบิ รู ณ์ย่ิงด้วยอธปิ ญั ญา เพอ่ื ใหไ้ ด้มา
ซึ่งวิชชา วิมุตติ ท่านยินดีในท่ีวิเวกสงัดขจัดเสียซ่ึงความคลุกคลี และท้ังได้ต้ังใจ
เทศนธ์ รรม แนะน�ำ พร�ำ่ สอนแกพ่ ทุ ธบรษิ ัท ทัง้ คฤหสั ถ์และนกั บวชจนตลอดพรรษา
ประชาชนได้หล่ังไหลเข้าวัด ฟังธรรม จำ�ศีล เจริญภาวนาเพ่ิมจำ�นวนมากขึ้นๆ
ทกุ วนั ๆ ทา่ นสอนใหเ้ ขาเลกิ ละการทรงเจา้ เขา้ ผี ตลอดถงึ การเซน่ บวงสรวงสกั การะ
พระภมู เิ จา้ ที่ ภตู ผปี ศี าจ หกั ไม้ ดหู มอ ถอื ฤกษ์ ถอื ยาม เปน็ ความเหน็ ผดิ ไมถ่ กู ตอ้ ง
ตามธรรมทางพระพุทธศาสนา ให้นำ�มาซ่ึงทุกข์โทษไม่เกิดประโยชน์แก่ผู้กระทำ�
ญาติโยมโดยส่วนมากที่ได้ฟังเทศน์อบรมธรรมที่พระอาจารย์ได้พรำ่�สอนแล้ว
ก็พากันเลิกละจากทางผิด ตั้งจิตระลึกนึกน้อมไหว้กราบ เคารพรับนับถือแต่ใน
คณุ พระรตั นตรยั เอามาเปน็ ทพ่ี ง่ึ ของตนทกุ ๆ คน ตง้ั แตน่ น้ั มาตลอดกระทง่ั จนทกุ วนั น้ี

ออกพรรษาแล้ว ท่านพระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ ได้มาชักชวนพาไปเท่ียว
วิเวกทางจังหวัดอุดรธานี พอเดินทางไปถึงบ้านจีต อำ�เภอหนองหาน จังหวัด
อุดรธานี พระอาจารย์อ่อนได้แยกทางไปเยี่ยมพี่สาวป่วยหนักอยู่ท่ีบ้านดอนเงิน
อ�ำ เภอกมุ ภวาปี จงั หวดั อดุ รธานี (เปน็ มาตภุ มู ขิ องพระอาจารยอ์ อ่ น) พระอาจารยฝ์ นั้
พักอยู่บ้านจีต แต่ลำ�พังองค์เดียว พระอาจารย์ฝ้ันเผชิญต่อสู้กับปัญหาคนหากิน
ในทางทจุ รติ มจิ ฉาชพี คอื ในบา้ นจตี มตี าปะขาวผมยาวคนหนงึ่ ชอ่ื วา่ ไทส้ ขุ ไดบ้ ญั ญตั ิ

ประวัติพระอาจารย์ฝนั้ อาจาโร 47

ธรรมตอ่ ไก่ ตงั้ ขน้ึ มาเอง เปน็ ทางการหากนิ หลอกลวงชาวบา้ นใหห้ ลงเชอ่ื ตามกลวธิ ี
หากินหลอกลวงของเขาเองว่า ชาวเราท้ังหลาย เราได้ไปพบของดี และเรากไ็ ดน้ �ำ
เอามาเผยแพรแ่ จกจ่ายให้พวกท่านท้ังหลาย ถ้าท่านผูใ้ ดใคร่อยากจะไดบ้ รรลุธรรม
เห็นธรรมแล้ว จงพากันจับเอาไก่ตัวผู้หน่ึงตัวและตัวเมียหน่ึงตัวนำ�เอามาให้เรา
เราจะทำ�ให้ท่านได้บรรลุถึงซ่ึงธรรมของดีจริงโดยไม่ต้องทำ�อะไร ให้พวกท่านกลับ
ไปอยู่ที่บ้านของท่านเฉยๆ ก็สามารถได้บรรลุธรรม รู้ข้ึนมาเองได้ พวกชาวบ้าน
ท่ียังโฉดเขลาเบาสติปัญญาเข้าใจว่าเป็นความจริง เพราะเห็นว่าท่านเป็นนักบวช
ทรงศีลธรรมประจำ�ใจ ชาวบ้านจึงได้เชื่อถือและเล่ือมใส จึงต่างก็พากันจับไก่
คนละคๆู่ เอาไปใหต้ าปะขาวผวู้ างแผนหลอกลวงนน้ั เปน็ จ�ำ นวนมาก พระอาจารยฝ์ นั้
ได้มาประสบเหตุการณ์ เห็นวิธีหากินอันสกปรกโสมม เป็นกลหลอกของไท้สุข
ลวงชาวบา้ นเช่นนนั้

ท่านพระอาจารย์รู้สึกมีความเมตตาสงสารชาวบ้านผู้ไม่คงแก่การศึกษา
ปญั ญายงั ออ่ นเปน็ ก�ำ ลงั จงึ ไดเ้ รยี กอตี าปะขาวไทส้ ขุ มาอบรมสงั่ สอน ใหม้ คี วามรสู้ กึ
ส�ำ นกึ ตน แลว้ ยอมรบั สารภาพผดิ ให้เขาเลิกละจากการหากินทจุ ริตมิจฉาชีพตอ่ ไป
แรกๆ ตาปะขาวไท้สุขเขาไมย่ อมเช่อื ฟังในธรรมตามค�ำ ชี้แจงแสดงส่ังสอนของทา่ น
อาจารย์ เพราะเขาถือว่าทีเ่ ขาทำ�ไปแล้วนัน้ ไม่ผิด เขาอา้ งวา่ เขาไม่ได้บังคบั ให้เอา
มาให้ ชาวบ้านมีศรัทธา มีความพอใจเอาให้เราเอง เขาจึงมีความเห็นว่า ธรรม
ตอ่ ไกข่ องเขาไมด่ แี ละผดิ ตรงไหน ตาปะขาวธรรมตอ่ ไกไ่ ทส้ ขุ ยงั อวดอา้ งธรรมตอ่ ไก่
ของเขาเองว่า ในธรรมต่อไก่ของเขาได้บัญญัติสรณะท่ีพ่ึงของเขาถึง ๔ อย่างคือ
กุฏฐัง พทุ ธัง ธมั มัง สังฆงั สะระณัง คจั ฉามิ ดังน้ี อย่างนี้ดกี วา่ ของท่าน ของทา่ น
มแี ต่เพยี ง ๓ คือ พระพทุ ธ พระธรรม พระสงฆ์ เทา่ นั้น

ท่านพระอาจารย์ฝ้ันได้ซักถามว่า กุฏฐัง หมายถึงอะไร เป็นสรณะที่พ่ึงได้
จรงิ หรือไม่ ตาปะขาวธรรมตอ่ ไกไ่ ท้สขุ ตอบค�ำ ถามของพระอาจารยฝ์ น้ั ไมไ่ ด้ กุฏฐัง
หมายถงึ อะไรกไ็ มร่ ู้ ไดแ้ ตว่ า่ ดกี วา่ ดกี วา่ เทา่ นน้ั แตก่ ไ็ มท่ ราบวา่ ดอี ยา่ งไร ตาปะขาว
หมดปญั ญา อธบิ ายความค�ำ ว่า กฏุ ฐงั ไม่ได้ จงึ ได้อาราธนาขอให้ท่านพระอาจารย์
อธบิ าย ทา่ นพระอาจารยจ์ งึ ได้อธิบายคำ�วา่ กฏุ ฐงั ใหฟ้ ังวา่ คำ�ว่า กฏุ ฐงั น้ัน เปน็ ช่อื
ของโรคชนิดหน่ึง มันเกิดข้ึนที่ร่างกายคนบางคน แปลว่าโรคเร้ือน จะพากันเอา
โรคเร้ือนมาเป็นสรณะท่ีพึ่งได้อย่างไร โรคเร้ือนน้ีถ้าหากว่ามันเกิดเป็นข้ึนมาอยู่ท่ี

48  อาจาริยบชู า พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร

รา่ งกายของผู้ใดแล้ว มไิ ด้ทำ�ใหผ้ นู้ น้ั ไดร้ ับความสขุ สบายเลย มแี ต่ผูน้ ้นั จะต้องไดร้ บั
แต่ความทกุ ข์เจยี นตาย หรือทรมานจนถงึ แก่ความตาย

ตาปะขาวธรรมตอ่ ไกไ่ ทส้ ขุ ยงั ไดต้ อบโตข้ น้ึ มาวา่ ผทู้ น่ี บั ถอื พระพทุ ธ พระธรรม
พระสงฆ์ ๓ อย่างน้ี ตายไปหมดแลว้ ถา้ ถือ ๔ อยา่ งเหมอื นของเขาแล้ว จะไมต่ าย
ถึงตายพระอินทร์ก็ใช้ให้เทวดา เอาสวิงทองคำ�มาตักเอากระดูกมารวมกันเข้า
แล้วเอาน้ำ�เต้าทองมารดชุบชีวิตให้ฟ้ืนขึ้นมา แล้วพาไปอยู่บนสวรรค์ชั้นฟ้า
ทา่ นพระอาจารยฝ์ นั้ ไดอ้ ธบิ ายพรอ้ มทง้ั ยกเหตผุ ลใหฟ้ งั ตาปะขาวธรรมตอ่ ไกไ่ ทส้ ขุ
กย็ งั ไมย่ อมสละทฏิ ฐขิ องตนได้ ยงั ยกเอาคาถา ค�ำ บรกิ รรมภาวนาของเขาวา่ ดวี เิ ศษนกั
ไม่มีของใครอืน่ ใดจะสู้ได้ คอื ทุ สะ นะ โส โม นะ สา ทุ คาถา บริกรรมภาวนา
ของเขา ๘ อักขระน้ีดอี ย่างมหัศจรรย์

เมื่อตาปะขาวกล่าวจบลงแล้ว ท่านพระอาจารย์ได้ยกเอาคาถาของเขาน้ัน
ข้นึ มาแสดงให้เขาฟังตอ่ ไปว่า คำ�วา่ ทุ สะ นะ โส น้นั เป็นคาถาของสัตว์นรก ๔ ตน
ท่ีตายไปตกนรกชื่อว่า โลหกุมภี มีความเดือดร้อนพล่านด้วยนำ้�ทองแดงอยู่ตลอด
เวลา เรอื่ งมีอย่วู ่า สตั วน์ รก ๔ ตนนัน้ เมือ่ คราวได้ไปบงั เกิดเปน็ มนุษย์ ไดเ้ กิดเปน็
บุตรเศรษฐีมที รัพย์มาก ในเมอื งนนั้ มีตระกลู เศรษฐีอยู่ ๔ คน เศรษฐีท้งั ๔ คนนน้ั
ทุกคนต่างก็มลี ูกชายด้วยกันทัง้ ๔ คน มอี ายรุ นุ่ ราวคราวเดียวกนั และเปน็ เพือ่ นกนั
มคี วามรักกันมาก ไปไหนกไ็ ปด้วยกนั บตุ รเศรษฐที ง้ั ๔ คนมีรูปรา่ งหนา้ ตาสะสวย
งดงามมาก ท�ำ ใหส้ ตรมี คี วามก�ำ หนดั รกั ใคร่ เคลบิ เคลมิ้ หลงใหลในรปู สมบตั อิ นั งาม
ท่ีมผี ิวพรรณผุดผอ่ งของบตุ รเศรษฐี พร้อมท้งั มีคุณสมบตั ิและทรัพยส์ มบัตขิ ้าวของ
เงนิ ทองแก้วแหวนแสนสง่ิ ก็มาก

บุตรเศรษฐีทั้ง ๔ คนได้อาศัยท่ีตนมีรูปสมบัติและทรัพย์สมบัติ ใช้จ่าย
ทรัพยน์ ัน้ ลอ่ ใหผ้ หู้ ญงิ ชอบใจ เกิดความกำ�หนัดรักใคร่พอใจในลูกเศรษฐีท้งั ๔ คน
นั้น ได้ทอดตัวเข้าไปได้ประพฤติอสัทธรรมในกามมิจฉาจารโดยไม่เลือกว่าลูกเขา
เมียใคร ไม่เลือก เอาได้ทั้งน้ัน คร้ันบุตรเศรษฐีท้ัง ๔ คน สิ้นชีพวายชนม์แล้ว
ก็ได้ไปตกนรกช่ือว่าโลหกุมภี นรกขุมนี้ สัตว์นรกท่ีตกไปนั้น ไปลอยอยู่ในกระทะ
หม้อนำ้�ต้มทองแดงจนละลายเป็นน้ำ�ร้อนเดือนพล่านตลอดเวลา สัตว์นรกตกไป
ลอยน้�ำ ทองแดงน้ัน เพราะโทษประพฤตผิ ดิ ศีล ๕ ข้อ ๓ เปน็ การกระท�ำ ผดิ ในกาม
มจิ ฉาจาร สตั ว์นรกท่ตี กไปลอยอยู่ในนำ้� พลิกคว่ำ�พลกิ หงายจมลงไปถงึ ๘ หมื่นปี

ประวัตพิ ระอาจารย์ฝั้น อาจาโร 49

จึงถึงกน้ หมอ้ นรกขมุ นน้ั แล้วก็ลอยพลิกคว�่ำ พลกิ หงายลอยขน้ึ มาอีกถึง ๘ หม่นื ปี
จงึ ไดโ้ ผลข่ นึ้ มาได้ แลว้ สตั วน์ รกนนั้ มคี วามปรารถนาใครจ่ ะประกาศบอกผลของกรรม
ที่ตนได้กระท�ำ ใหป้ รากฏ ก็กลา่ วได้เพยี งคำ�เดยี วกจ็ มลงไปอีก พลิกคว่�ำ พลิกหงาย
ในน้ำ�ทองแดงทีเ่ ดอื ดพล่านอยู่ ๘ หมืน่ ปี ถึงก้นหม้อ สตั ว์นรกท้งั ๔ ตนน้ันตา่ งคน
ต่างลอยเช่นเดียวกัน ๘ หมื่นปี จึงโผล่ข้ึนมาได้กล่าวคาถาคนละตัว คนท่ี ๑ ทุ
ที่ ๒ สะ ที่ ๓ ว่า นะ ท่ี ๔ ว่า โส ดงั น้แี ลว้ ก็จมลงไป ถา้ บาปกรรมของสตั วเ์ หลา่ นัน้
ทไี่ ดท้ �ำ ไวย้ งั ไมส่ นิ้ ตราบใด สตั วเ์ หลา่ นน้ั กย็ งั ไมต่ ายอยตู่ ราบนน้ั เพอ่ื จะไดเ้ สวยทกุ ข์
ทรมานดว้ ยกรรมช่ัวทตี่ ัวได้กระทำ�ไว้

ตาปะขาวธรรมต่อไก่ไท้สุขได้ฟังพระอาจารย์ฝั้นเทศน์คาถาที่ตนเอามา
บริกรรมว่า ทุ สะ นะ โส นั้น เป็นคาถาของสัตว์นรก ก็ยังไม่ยอมเช่ือ ท่าน
พระอาจารย์จึงได้อธิบายต่ออีกว่า คำ�ว่า ทุ น้ันแปลว่า ช่ัว สัตว์นรกตนที่ ๑
โผล่ขึ้นมาอ้าปากอยากจะประกาศให้ได้ทราบผลกรรมช่ัวท่ีตัวได้กระทำ�ไว้ เม่ือยัง
เป็นมนุษย์บุตรเศรษฐีน้ันว่า ความช่ัวเราได้ทำ�ไว้แล้วหนอเราจึงได้ตกทุกข์ทรมาน
อยใู่ นนรกนี้ แตย่ ังไมท่ ันจบกจ็ มลงไป ตนท่ี ๒ วา่ สะ น้ันวา่ เราจักพ้นไปจากทกุ ข์
ได้อย่างไร เพราะความดีเราไม่ได้ทำ�ไว้เลย เรามีแต่กรรมช่ัว กล่าวยังไม่จบ
ไดแ้ ต่ สะ ค�ำ เดียวก็จมลงไปอกี ตนท่ี ๓ ว่า นะ นั้น หมายความว่า เมื่อเราไดพ้ น้ ไป
จากนรกนี้แล้ว เราจะไม่ทำ�กรรมชั่วทุจริตกามมิจฉาจารอีกเลย ตนท่ี ๔ ว่า โส
เรานนั้ เมอ่ื ไดไ้ ปเกดิ เปน็ มนษุ ยแ์ ลว้ จะทำ�แตก่ รรมดี มใี หท้ าน ฟงั ธรรม จำ�ศลี ภาวนา
อยา่ งเตม็ ทจ่ี นตลอดชีวิต สัตว์นรกทัง้ ๔ ตนนั้นไดก้ ลา่ วคาถาคนละคำ� กจ็ มลงไป
ยังพน้ื ขมุ โลหกมุ ภนี รก

เม่ือพระอาจารย์ฝั้นแสดงธรรมพรำ่�สอนอบรมจบลงแล้ว ตาปะขาวธรรม
ต่อไกไ่ ทส้ ขุ และบริวาร ก็ยงั ยนื กรานการกระท�ำ ของตนวา่ ตวั เองท�ำ ถกู จึงยงั ไมย่ อม
สละเลิกละจากธรรมต่อได้ ท่านพระอาจารย์ฝั้นไดพ้ ยายามอบรมสงั่ สอนอยู่ ๗ วัน
พรอ้ มท่านพระอาจารย์ออ่ น พระอาจารยก์ ูไ่ ดม้ าสมทบรว่ มดว้ ย ได้ช่วยกนั ตอบโต้
ปัญหาตาปะขาวไท้สุขและบริวาร ซักถามข้อข้องใจและสงสัย เขายกปัญหาธรรม
ส่วนใดข้ึนถาม ทั้งสามพระอาจารย์ก็ได้ช่วยกันตอบโต้แก้ปัญหาธรรมท่ีเขาถาม
มานั้นจนหมดเปลือก ทำ�ให้ผู้ฟังได้ความรู้แจ่มแจ้งส้ินสงสัย จิตใจของตาปะขาว
ผมยาวธรรมต่อไก่ไท้สขุ และบรวิ ารค่อยออ่ น ถอดถอนทฏิ ฐิผิดของตนออกได้

50  อาจาริยบูชา พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร

ตาปะขาวผมยาวไท้สุขจึงได้ยอมรับสารภาพผิด และพูดเปิดเผยความจริง
ให้ฟังว่า ธรรมต่อไก่นี่เป็นของเขาได้บัญญัติขึ้นเอง เป็นนาหากินของพวกผม
พอพวกผมไดฟ้ งั ธรรมของทา่ นพระอาจารยแ์ สดงอบรมพร�ำ่ สอน จงึ ไดเ้ กดิ ความรสู้ กึ
สำ�นึกตัวว่า เป็นการหลอกลวง แต่น้ีต่อไปพวกผมจะตั้งใจปฏิบัติอยู่ในธรรม
คำ�สั่งสอนของพระพุทธเจ้า ตามคำ�แนะนำ�ส่ังสอนของพระอาจารย์ทั้ง ๓ องค์
พระอาจารยฝ์ น้ั เหน็ ผมของตาปะขาวยาวรงุ รงั ทา่ นจงึ ไดส้ ง่ั ใหไ้ ปตดั ออกเสยี ตะปะขาว
แกจะไมย่ อมตัด พดู อ้างวา่ ถ้าแกตดั ผมออกเม่ือไรแกต้องตาย จนพระอาจารยอ์ อ่ น
ช่วยพูดรับรองว่าไม่ตายเพราะเหตุที่ตัดผม เขาจึงยินยอมตัดผมออก ภายหลัง
จากธรรมต่อไก่ไท้สุขตัดผมยาวออกแล้ว มีพลานามัยร่างกายเป็นปกติสุข ทำ�ให้
พวกเขากับทั้งบริวารเพ่ิมความเล่ือมใสในปฏิปทาความรู้ความสามารถของ
พระอาจารยท์ ง้ั สามองคเ์ ปน็ อยา่ งยงิ่ ไดช้ กั ชวนกนั ออกไปฟงั ธรรมค�ำ แนะน�ำ สง่ั สอน
เพิ่มจ�ำ นวนข้นึ ทกุ ๆ วนั

ที่น้ันยังมีโยมผู้หญิงคนหน่ึง เธอเป็นโรคไอเป็นเวลานานแล้ว ขณะที่เธอ
มาน่ังภาวนากไ็ อไมห่ ยุด พระอาจารย์ไดย้ นิ เสียงไอจงึ ไดถ้ ามผู้หญิงคนน้ันวา่ ท�ำ ไม
ไมไ่ ปใหห้ มอเขาตรวจรกั ษา หญงิ คนนนั้ ตอบวา่ ใหห้ มอเขาตรวจรกั ษา กนิ ยามามาก
ตอ่ มากแลว้ มนั กไ็ มเ่ หน็ หายสกั ที เมอื่ พระอาจารยท์ า่ นไดย้ นิ ค�ำ ตอบของผหู้ ญงิ คนนนั้
แลว้ ทา่ นกไ็ ดใ้ ชพ้ ลงั กระแสจติ พจิ ารณากท็ ราบวา่ เปน็ เนอ่ื งมาจากกรรมเกา่ ทเี่ ขาได้
เคยทำ�ไวแ้ ต่ชาตกิ ่อนตามมาใหผ้ ลในชาตินี้ เขาจงึ ไอ รบั ประทานยาเทา่ ใดก็ไมห่ าย
แตจ่ ะหายไดด้ ว้ ยอานภุ าพพลงั จากกำ�ลงั จติ ตภาวนา แลว้ แผเ่ มตตาจติ อทุ ศิ สว่ นกศุ ล
ส่งถึงเจ้ากรรมนายเวร เม่ือเขาเหล่านั้นได้อนุโมนารับเอาซ่ึงส่วนกุศลผลบุญแล้ว
กม็ ีความผอ่ งแผว้ ในจติ กลบั มาเปน็ มิตรกับเรา

พระอาจารย์จึงได้แนะนำ�ผู้หญิงที่เป็นโรคไอคนนั้นว่า เป็นด้วยกรรมไม่ดี
ท่ีเราได้ทำ�ไว้แต่ชาติก่อน ถึงโยมจะกินยาเท่าไรก็ไม่หาย ให้โยมตั้งจิตอธิษฐาน
นง่ั ภาวนาท�ำ ความเพยี รพยายามใหจ้ ติ รวมสงบลงเปน็ สมาธแิ นว่ แน่ เบากายสบายใจ
แจ่มใสปลอดโปร่งโล่งอกโล่งใจ แล้วแผ่เมตตาจิตอุทิศส่วนกุศล เจาะจงส่งไปถึง
เจ้ากรรมนายเวรทโ่ี ยมได้กระท�ำ ไว้แตช่ าติกอ่ น อย่างนี้แน่นอนต้องหาย

โยมผู้หญิงคนนั้นครั้นได้ฟังคำ�แนะนำ�จากท่านพระอาจารย์ฝั้นดังน้ัน ก็มี
จิตชื่นชมยินดีเลื่อมใส พอใจต่อการทำ�ความเพียรภาวนา ตั้งสติระลึกกายหายใจ

ประวตั ิพระอาจารย์ฝัน้ อาจาโร 51

ภาวนาก�ำ กบั อยกู่ บั จติ มคี วามรตู้ วั ประคองไวไ้ มใ่ หใ้ จฟงุ้ ซา่ น เปน็ เวลานานทนทาน
ต่อการนั่งภาวนาครานั้นอย่างไม่ลดละ จิตจึงสละละวางห่างออกไกลจากนิวรณ์
อ่อนสงบระงับสบายหายจากอาการไอ ย่ิงเพ่ิมความเล่ือมใส เป็นกำ�ลังใจให้โยม
คนนนั้ มศี รทั ธา อดทนนงั่ บรกิ รรมค�ำ ภาวนา เพง่ เพยี รพยายามดว้ ยความ ฉนั ทะ วริ ยิ ะ
จติ ตะ วิมงั สา ดว้ ยอำ�นาจอิทธิบาทภาวนา กส็ ามารถยงั จิตใหส้ งบรวมมอี ารมณ์ ๑
แนว่ แน่อยูใ่ นธรรมดวงเดยี วเปน็ สขุ าเอกัคคตา มคี วามสุข วิเวกเอกัคคตา อยู่ด้วย
นามธรรม อาการป่วยไข้ไอประจำ�ก็สงบระงับกลับหายเป็นปกติอย่างไม่น่าเช่ือว่า
จะมีขึ้นได้ แต่ก็ได้มีมาแล้ว โยมผู้หญิงคนน้ันมีความสุขกายสบายใจและดีใจมาก
ได้ต้ังใจแผ่เมตตาจิต อุทิศส่วนกุศลผลคุณสมบัติเจาะจงส่งไปถึงสรรพสัตว์ ท้ัง
มารดา บดิ า อุปัชฌาย์ อาจารย์ อนิ ทร์ พรหม ยม มาร จงมารบั สาธกุ ารสว่ นกุศล
ของขา้ พเจา้ คราวครง้ั นเี้ ถดิ คาถาทที่ า่ นพระอาจารยฝ์ นั้ ไดส้ อนใหโ้ ยมคนนน้ั ภาวนา
ว่าดังนี้ “สขุ ี อตั ตานงั ปะริหะรามิ”

พระอาจารย์ฝั้นท่านได้พักอยู่ที่น้ันตามสมควรแก่อัธยาศัยแล้ว จึงได้ลา
ญาติโยมออกเท่ียววิเวก ทำ�ความเพียรในละแวกน้ันเป็นท่ีพอใจแล้ว ท่านก็ได้
เดินทางกลับมาหาครูบาอาจารย์และหมู่เพื่อนที่จังหวัดขอนแก่นอีก ท่านได้ไปพัก
ท่ีวัดศรีจันทร์ ขณะเดียวกันทางวัดก็กำ�ลังจะจัดเตรียมบริขารจะบวชพระเณร
เป็นจำ�นวนมาก ท่านได้รับมอบภาระในการตัดเย็บผ้า สบง จีวร สังฆาฏิสองช้ัน
กับผ้าบริขารอ่ืนอีกด้วยเป็นจำ�นวนมาก ท่านจึงต้องน่ังตัดเย็บตลอดทั้งกลางวัน
กลางคนื ไม่มเี วลาได้พักผอ่ นหลับนอนเลย เพราะมีเวลาเหลอื น้อย

หลงั จากได้บวชพระเณรเสรจ็ แลว้ ท่านกเ็ รม่ิ กลับปว่ ยเปน็ ไข้มาลาเรยี ขึ้นมา
อกี พระอาจารย์ท่านได้รักษาตัวของทา่ นเองดว้ ยวิธกี ารพกั ผ่อนภาวนารกั ษาจิตใจ
ให้สงบ เป็นธรรมโอสถท่ีท่านพระอาจารย์ได้เคยนำ�เอามาใช้ในเวลาอาพาธตามท่ี
ท่านเคยปฏิบัติ แต่ก็ยังไม่หายสนิท เพียงทุเลาเท่านั้น ท่านได้ระลึกถึงภูระงำ�
นึกอยากจะไปจำ�พรรษาอยู่บำ�เพ็ญเพียรภาวนาท่ีนั้น คงจะได้รับความสงบสงัด
ปฏบิ ัติเพ่มิ พนู กำ�ลงั สมาธิ สติ ปัญญา วชิ ชา วิมตุ ติ ให้ปรากฏประจกั ษแ์ จง้ ชดั ใน
ปจั จบุ นั ทา่ นจงึ ไดเ้ ขา้ ไปอำ�ลาทา่ นพระอาจารยส์ งิ ห์ และพระอาจารยม์ หาปนิ่ ไปอยู่
จำ�พรรษาบนภูเขาระงำ� ท่านพระอาจารย์สิงห์พูดว่า ท่านฝ้ันพาพระหัวโจกข้ึนไป
อยู่ภูเขาภาวนาศึกษาอบรมกับท่านด้วย พระอาจารย์ฝ้ันท่านยังไม่ทราบว่า

52  อาจารยิ บูชา พระอาจารย์ฝ้ัน อาจาโร

พระหัวโจกที่ท่านพระอาจารย์สิงห์บอกน้ันเป็นใคร แต่พอมองเห็นมือท่านยกขึ้น
ช้ีตรงไปท่ีพระอาจารย์กงมา จิรปุญโญ ท่านจึง อ๋อ ท่านกงมาน้ีเอง ท่านว่า
พระหัวโจก (ท่านพดู หยอกแบบกันเอง) ท่านพระอาจารยฝ์ ้ันกับพระอาจารย์กงมา
จงึ ได้ออกเดินทางไปอยจู่ ำ�พรรษาบนภเู ขาระง�ำ ดว้ ยกนั

พรรษาที่ ๗ พทุ ธศักราช ๒๔๗๔

พระอาจารยฝ์ ้ัน อาจาโร ปี พ.ศ. ๒๔๗๔ พรรษาที่ ๗ ท่านไดม้ าจ�ำ พรรษา
อยูท่ ี่บนภูเขาระง�ำ อำ�เภอชนบท จังหวัดขอนแกน่ ตลอดเวลาตงั้ แต่พระอาจารย์ฝั้น
ป่วย เป็นไข้เร้ือรังยังไม่ขาด ยิ่งมาอยู่บนภูเขาระงำ�ยิ่งกลับกำ�เริบหนักข้ึนอีก
ทำ�ให้ปวดตามเน้ือตามตัวท่ัวไปหมด น่ัง นอน ยืน เดิน มีแต่ปวดทุกอิริยาบถ
ปวดไปหมดเหลือท่ีจะอดทน ถึงอย่างนั้นพระอาจารย์ท่านเป็นนักต่อสู้ที่มีจิตใจ
กล้าหาญ เป็นศิษย์ที่ได้รับการฝึกจิตมาแล้วอย่างชำ�นาญจากพระอาจารย์โด่งดัง
ท่านเป็นศิษย์มีครู ฝึกศึกษาวิชาเพลงนักรบกับข้าศึก (คือกิเลส) จากอาจารย์ที่ดี
ฝมี อื เอก (พระอาจารยม์ น่ั ภรู ทิ ตั ตะมหาเถระ) ทา่ นจงึ ไมม่ คี วามอาลยั หว่ งใยในชวี ติ

เย็นค่ำ�วันหน่ึง ท่านได้พิจารณาถึงทุกข์ท่ีท่านได้รับและทรมานท้ังร่างกาย
และจิตใจ ได้บังเกิดความเบ่ือหน่ายในสังขารร่างกาย ไม่เสียดายอาลัยในชีวิต
ท่านจึงได้ตั้งจิตปรารภความเพียรอย่างอุกฤษฏ์ ถึงชีวิตจะแตกดับก็ยอม เราจะ
นง่ั สมาธภิ าวนาจนมนั หาย ถา้ ไมห่ ายตายกย็ อม ทา่ นจงึ ไดอ้ อกไปนง่ั ทบี่ นรา้ นเตย้ี ๆ
อยู่ใต้ร่มไม้ข้างนอก เป็นท่ีมีอากาศโล่งโปร่งสดชื่นสบาย ท่านได้นั่งตั้งกายตรง
ดำ�รงสติไว้มั่น เพียรเพ่งต่อสู้กำ�หนดรู้เวทนา เป็นทุกข์ที่มีกำ�ลังกล้าจากอาการ
เจบ็ ไขใ้ นเวลานั้น

พระอาจารย์ท่านกำ�หนดรู้ทุกขเวทนาท่ีเผ็ดร้อนเจ็บแสบกล้าในเวลาน้ัน
ทง้ั หมดรวมเปน็ ทกุ ขสจั จะ ในทกุ ขเวทนาขนั ธ์ เปน็ ขนั ธมาร เปน็ มารกอ่ กวนขดั ขวาง
หลอกลวงใหเ้ ราหลง เราจงึ ไมไ่ ดป้ ระสบพบทางอนั สงบสขุ ขนั ธมารมนั ไมไ่ ดเ้ ปน็ มติ ร
กับเรา มันเบียดเบียนเรา บีบคั้นเราตลอดเวลา ข้ารู้ข้าเห็นด้วยตัวมันแล้ว
โดยความเปน็ จรงิ วา่ ทกุ ขน์ เี้ ปน็ มารอนั โหดรา้ ยทสี่ ดุ มารคอื ทกุ ขขนั ธ์ เปน็ ศตั รขู องเรา
อยา่ งฉกรรจ์ เราจะตอ้ งต่อส้เู พื่อปราบศตั รูให้สนิ้ ซากไปจากเรา ทกุ ขขนั ธมารนมี้ นั

ประวัตพิ ระอาจารยฝ์ นั้ อาจาโร 53

อยรู่ อบตวั เราอยา่ งแนน่ หนา เหมอื นภเู ขาหนิ ลว้ นสงู จรดฟา้ ตง้ั อยโู่ ดยรอบทง้ั ๔ ทศิ
แต่ละทศิ กลิ้งเขา้ มาหากัน หาชอ่ งทจี่ ะหลบหลกี ลอดออกไปกไ็ ม่มแี ม้แต่น้อย

ท่านได้กำ�หนดเอาทุกขเวทนาท่ีเป็นปัจจุบัน ตั้งสติระลึกทุกขเวทนาน้ันมา
เปน็ เวทนาสตปิ ฏั ฐานภาวนา สมั ปชาโน มีความร้ตู วั มีความอดทน มคี วามเพียร
เพ่งเผากิเลสท่ีอาศัยทุกขเวทนาเป็นปัจจัยแล้วเกิดข้ึนจนพินาศ ท่านพยายามด้วย
สติปัญญาอันคมกล้า ทุกขเวทนาไม่สามารถข่มขี่ขู่เข็ญครอบงำ�จิตของท่านได้
จิตกร็ วมสงบ เวทนากด็ บั พร้อมทั้งวิตก วจิ าร ทุกข์ ปตี ิ สุข ก็ดบั ๆๆๆๆ ไปหมด
เหลอื แต่ เอกงั จิตตงั จิตดวงเดยี วเป็นอเุ บกขารมณ์อยู่ดว้ ย อปั ปนาจติ ตลอดคืน
ยังรุ่ง ทุกขเวทนาท่ีเคยมีกำ�ลังกล้าก็ได้ถูกแผดเผาด้วยขันติธรรม ความอดกลั้น
ทนทานและด้วยความเพียร อันเป็น ตปะ เคร่ืองเผากิเลส ทั้งกองทุกข์ก็ได้ดับ
หมดส้นิ ไปดว้ ยกบั ความสงบอย่างสนทิ ชนดิ ท่ีถอนรากถอนโคนที่ยงั ไมเ่ คยพบเหน็
เป็นมมี าก่อนเลย

ท่านน่ังตั้งสมาธิภาวนาต้ังแต่หัวคำ่�จนรุ่งเช้าข้ึนวันใหม่ ถึงเวลาพระเณร
ออกบณิ ฑบาตแลว้ ทา่ นก็ยังน่งั ต้ังตัวเทยี่ งตรงแน่วแนเ่ ฉยอยู่ พระเณรไปบิณฑบาต
กลับมาแล้วท่านก็ยังนั่งอยู่ จดั เตรยี มอาหารรอคอยท่านจนสาย ทา่ นก็ยงั นัง่ ทา่ ตรง
ดำ�รงสติเท่ียงมั่นเหมือนจะไม่ได้หายใจอย่างนั้นแหละ พระเณร ใครๆ ก็ไม่กล้า
เขา้ ไป แตพ่ อเหน็ ตะวนั ขน้ึ สายจนสดุ วสิ ยั ทจี่ ะรอคอยไดแ้ ลว้ สามเณรองคห์ นงึ่ จงึ ได้
คอ่ ยยอ่ งคลานเขา้ ไปใกลๆ้ ทา่ นแลว้ กราบ กพ็ อดจี ติ ของทา่ นไดถ้ อนออกจากสมาธิ
ปรากฏไดย้ นิ เสยี งสามเณรกราบ ท่านพระอาจารยไ์ ด้ลืมตามองดูสามเณร

ทา่ นมองเหน็ สามเณรครงั้ แรกทา่ นบอกวา่ เหน็ เหมอื นไมใ่ ชส่ ามเณร เหมอื น
กะสัตว์อะไรท่ีท่านยังไม่เคยรู้จัก พอได้ยินเสียงสามเณรพูดนิมนต์ให้ไปฉัน จึงได้
รู้ว่าเป็นสามเณร ท่านจึงได้พูดกับสามเณรว่า ฉันอะไร เรายังไม่ได้ไปบิณฑบาต
พวกกระผมไปบิณฑบาตกลับมาและได้จัดอาหารรอคอยท่าท่านอาจารย์ เวลาน้ี
ตะวนั สายประมาณเกอื บ ๑๐ โมงกว่าแลว้ โอ้ ๑๐ โมงกว่าแล้วหรือ แหม เรานั่ง
ปรากฏเหมือนว่าน่ังประเดี๋ยวเดียวเท่านั้นเอง สามเณรถวายการปฏิบัติกิจเสร็จ
เรยี บรอ้ ยแลว้ ทา่ นพระอาจารยจ์ งึ ไดไ้ ปนงั่ ฉนั อาหารบณิ ฑบาต พรอ้ มดว้ ยพระภกิ ษุ
สามเณร แตว่ นั น้ันปรากฏว่าฉนั สายมากผดิ ปกตเิ ป็นประวตั ิการณ์

54  อาจารยิ บูชา พระอาจารย์ฝัน้ อาจาโร

ตง้ั แตว่ นั นนั้ มา อาการอาพาธดว้ ยไขม้ าลาเรยี กไ็ ดด้ บั สญู สลายหายเปน็ ปกติ
ท่านก็มีความอิ่มเอิบด้วยความสงบสุข ด้วยความวิเวก สงบวิเวกทั้งกาย ทั้งจิต
ทงั้ อปุ ธกิ เิ ลส เปน็ ความสงบสขุ อยา่ งเยยี่ มยอด ตลอดทง้ั กลางวนั กลางคนื นอน เดนิ
นง่ั กเ็ ปน็ สขุ ทา่ นยงั ไดร้ �ำ พงึ ระลกึ ถงึ พระองคส์ มเดจ็ พระสมั มาสมั พทุ ธเจา้ เมอ่ื สมยั
พระองค์ไดต้ รัสรู้ใหม่ๆ พระองคไ์ ด้เสวยวิมตุ ตสิ ุขอยู่ ๔๙ วัน ถ้าอยา่ งนกี้ ็ควรนง่ั ได้
เพราะไมม่ ที กุ ขท์ ไี่ หนอะไรมาจากไหนทจี่ ะมากอ่ กวน มแี ตค่ วามสขุ ลว้ นๆ ทเ่ี กดิ แต่
ความวเิ วกภายในจิตใจ

ในคืนวันหน่ึง ท่านพระอาจารย์ฝั้นท่านน่ังภาวนา พอจิตกำ�ลังจะรวมสงบ
แวบออกไป กป็ รากฏนิมติ เหน็ ผูห้ ญิงสาวทอ้ งมีครรภ์แกค่ นหนึ่ง ปวดท้องจะคลอด
บุตร ท่านจึงได้เทศน์เตือนสติให้หญิงคนน้ันภาวนาท่องบริกรรมด้วยคาถาดังนี้
“โสตถิ คัพภสั สะ” ดงั น้ี หญงิ นั้นกค็ ลอดอยา่ งง่ายดาย เป็นเดก็ ชายแล้วใหญเ่ ติบโต
รา่ งกายสมบรู ณ์ ลกุ ขนึ้ เดนิ ออกวงิ่ ไปวงิ่ มาท�ำ การท�ำ งานไดอ้ ยา่ งนา่ อศั จรรย์ วนั ตอ่ มา
มีผู้หญิงสูงอายุคนหนึ่งได้พาลูกสาวมีครรภ์ ขึ้นมาหาท่านพระอาจารย์ฝั้น แล้ว
กราบเรียนปรับทุกข์ให้ท่านฟังว่า ลูกสาวของดิฉันคนนี้มีท้องแก่จวนจะคลอดแล้ว
ดิฉันเป็นทุกข์กระวนกระวายใจมาก เพราะเขาพ่ึงมีครรภ์ครั้งแรกด้วย คิดกลัวว่า
จะเป็นอันตรายแก่ชีวิตลูกสาวของดิฉัน ขอพระคุณท่านพระอาจารย์ ได้มีความ
เมตตาเป็นท่ีพ่ึงแก่ลูกสาวของดิฉันด้วย กรุณาช่วยชีวิตลูกสาวของดิฉันไว้อย่าให้
มีอนั ตรายดว้ ยเถิด

ท่านอาจารย์จึงคิดรำ�พึงแต่ในใจว่า เรื่องน้ีเองที่ปรากฏเป็นนิมิตให้เราเห็น
มากอ่ นแลว้ แตเ่ มอ่ื คนื พรอ้ มทงั้ คาถา ทา่ นพระอาจารยจ์ งึ ไดพ้ ดู ปลอบใจวา่ ไมเ่ ปน็ ไร
ดอกโยม อาตมาจะช่วย ให้พากันทำ�ใจให้สบาย อาตมารับรองไม่เป็นไร ว่าแล้ว
ท่านพระอาจารย์ก็พาโยม ๒ คนแม่ลูกประกาศปฏิญาณตนรับพระไตรสรณคมน์
โดยท่านเป็นผู้นำ�ว่า ใหเ้ ขาวา่ ตาม ว่า

อะระหัง สัมมา สัมพุทโธ ภะคะวา พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ
ท่านเตอื นว่า กราบลง ๑ ครงั้ นีเ่ รากราบพระพุทธ

สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม ธัมมัง นะมัสสามิ กราบลง ๑ ครัง้ น่ีเรากราบ
ระลกึ ถงึ คุณพระธรรม

สปุ ะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สังฆัง นะมามิ กราบลง ๑ ครัง้ น้ี
เรากราบระลกึ ถงึ คณุ พระอริยสงฆ์

ประวัติพระอาจารย์ฝน้ั อาจาโร 55

ท่านพระอาจารย์ น�ำ วา่ นะโม ๓ หน

นะโม ตสั สะ ภะคะวะโต อะระหะโต สมั มา สัมพทุ ธสั สะ
นะโม ตสั สะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพทุ ธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สมั พุทธัสสะ

พทุ ธงั สะระณัง คัจฉามิ ขา้ พเจ้าขอถงึ ซ่งึ คุณพระพทุ ธเจ้า
วา่ เป็นท่ีพ่งึ ทน่ี ับถือ
ธัมมงั สะระณงั คัจฉามิ ข้าพเจา้ ขอถึงซึง่ คุณพระธรรม
ว่าเป็นทพ่ี ง่ึ ทีน่ ับถือ
สังฆงั สะระณัง คจั ฉามิ ข้าพเจ้าขอถึงซงึ่ คณุ พระอริยสงฆ์
ว่าเป็นทพี่ ึ่งที่นบั ถือ

ทตุ ยิ มั ปิ พุทธัง สะระณัง คจั ฉามิ ข้าพเจา้ ขอถงึ ซงึ่ คุณพระพุทธเจา้
แม้เป็นครั้งท่สี อง
ทุตยิ มั ปิ ธัมมัง สะระณัง คจั ฉามิ ข้าพเจา้ ขอถึงซงึ่ คุณพระธรรม
แม้เป็นครง้ั ทส่ี อง
ทุติยมั ปิ สังฆงั สะระณัง คจั ฉามิ ขา้ พเจ้าขอถงึ ซ่งึ คุณพระอริยสงฆ์
แมเ้ ปน็ ครัง้ ทสี่ อง

ตะตยิ มั ปิ พทุ ธงั สะระณงั คจั ฉามิ ขา้ พเจา้ ขอถงึ ซง่ึ คุณพระพุทธเจ้า
แม้เป็นครัง้ ที่สาม
ตะตยิ มั ปิ ธมั มงั สะระณงั คัจฉามิ ข้าพเจ้าขอถงึ ซง่ึ คณุ พระธรรม
แม้เป็นครง้ั ท่ีสาม
ตะติยมั ปิ สังฆัง สะระณัง คจั ฉามิ ขา้ พเจ้าขอถึงซ่งึ คุณพระอริยสงฆ์
แมเ้ ปน็ คร้ังทสี่ าม

ทา่ นนำ�กล่าวคำ�ปฏิญาณตนเป็นอุบาสกิ า

เอสาหัง ภันเต, สจุ ิระปะรนิ ิพพตุ มั ป,ิ ตัง ภะคะวันตงั สะระณงั คจั ฉามิ,
ธัมมัญจะ ภิกขุสังฆัญจะ, อุปาสิกัง มัง สังโฆ ธาเรตุ, อัชชะ ตัคเค ปาณุเปตัง
สะระณงั คะตัง.

56  อาจาริยบูชา พระอาจารย์ฝ้ัน อาจาโร

ทตุ ยิ มั ปาหงั ภนั เต, สจุ ริ ะปะรนิ พิ พตุ มั ป,ิ ตงั ภะคะวนั ตงั สะระณงั คจั ฉาม,ิ
ธัมมัญจะ ภิกขุสังฆัญจะ, อุปาสิกัง มัง สังโฆ ธาเรตุ, อัชชะ ตัคเค ปาณุเปตัง
สะระณัง คะตงั .

ตะตยิ มั ปาหงั ภนั เต, สจุ ริ ะปะรนิ พิ พตุ มั ป,ิ ตงั ภะคะวนั ตงั สะระณงั คจั ฉาม,ิ
ธัมมัญจะ ภิกขุสังฆัญจะ, อุปาสิกัง มัง สังโฆ ธาเรตุ, อัชชะ ตัคเค ปาณุเปตัง
สะระณงั คะตัง.

ข้าพเจ้าขอถึงซ่ึงพระพุทธเจ้า กับทั้งพระธรรม และพระอริยสงฆ์ ว่าเป็น
ที่พึ่งท่ีนับถือ ขอพระสงฆ์จงจำ�ไว้ว่า ข้าพเจ้านี้เป็นอุบาสิกา ในพระพุทธศาสนา
ตง้ั แตบ่ ดั นเี้ ปน็ ตน้ ไป ตราบเทา่ สนิ้ ชวี ติ แหง่ ขา้ พเจา้ นแี้ ล แลว้ ทา่ นน�ำ สวดพทุ ธคณุ ตอ่

อิติปิ โส ภะคะวา อะระหงั สัมมาสัมพทุ โธ วชิ ชาจะระณะสัมปันโน สคุ ะโต
โลกะวทิ ู อะนตุ ตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สตั ถา เทวะมะนสุ สานงั พุทโธ ภะคะวาติ

ใหห้ มอบลงแล้ววา่
กาเยนะ วาจายะ วะ เจตตะสา วา, พทุ เธ กุกัมมัง ปะกะตงั มะยา ยงั ,
พทุ โธ ปะฏิคคัณหะตุ อจั จะยันตงั , กาลนั ตะเร สงั วะรติ งุ วะ พทุ เธ. เงยข้ึนแล้ววา่
สวากขาโต ภะคะวะตา ธมั โม สนั ทฏิ ฐโิ ก อะกาลโิ ก เอหปิ สั สโิ ก โอปะนะยโิ ก
ปจั จตั ตัง เวทติ ัพโพ วิญญูหีติ ให้หมอบลงแล้ววา่
กาเยนะ วาจายะ วะ เจตตะสา วา, ธัมเม กกุ มั มงั ปะกะตัง มะยา ยงั , ธัมโม
ปะฏคิ คณั หะตุ อจั จะยันตงั , กาลันตะเร สังวะริตุง วะ ธมั เม. ให้เงยขน้ึ แล้ววา่
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต
สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน
ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา
เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสงั โฆ อาหเุ นยโย ปาหเุ นยโย ทกั ขเิ ณยโย อญั ชะลกี ะระณี
โย อะนุตตะรัง ปญุ ญกั เขตตัง โลกัสสาติ

ให้หมอบลงแล้ววา่
กาเยนะ วาจายะ วะ เจตตะสา วา, สังเฆ กกุ มั มงั ปะกะตงั มะยา ยัง, สงั โฆ
ปะฏคิ คัณหะตุ อจั จะยันตงั , กาลนั ตะเร สงั วะริตุง วะ สงั เฆ. แลว้ ให้เงยข้ึน

ประวตั ิพระอาจารย์ฝน้ั อาจาโร 57

ตอ่ ไปท่านนำ�สวด แผเ่ มตตาตน
อะหงั สุขโิ ต โหมิ นทิ ทกุ โข โหมิ อะเวโร โหมิ อพั ฺยาปชั โฌ โหมิ อะนโี ฆ
โหมิ สขุ ี อัตตานัง ปะรหิ ะรามิ (น้แี ผ่เมตตาตนแล) ท่านน�ำ สวดแผเ่ มตตาสัตว์
สัพเพ สัตตา สุขิตา โหนตุ สัพเพ สัตตา อะเวรา โหนตุ สัพเพ สัตตา
อัพฺยาปัชฌา โหนตุ สัพเพ สัตตา อะนีฆา โหนตุ สัพเพ สัตตา สุขี อัตตานัง
ปะริหะรนั ตุ (นอ้ี งคเ์ มตตาแล)
สัพเพ สัตตา สพั พะทกุ ขา ปะมุญจันตุ (นีอ้ งค์กรณุ าแล)
สพั เพ สตั ตา ลทั ธะสัมปตั ตโิ ต มา วิคัจฉันตุ (นี้องคม์ ทุ ิตาแล)
สพั เพ สัตตา กัมมสั สะกา กัมมะทายาทา กมั มะโยนิ กมั มะพนั ธุ กัมมะ
ปะฏสิ ะระณา ยงั กมั มงั กะรสิ สนั ติ กัลยาณัง วา ปาปะกัง วา ตัสสะ ทายาทา
ภะวิสสนั ติ (นอ้ี งค์อเุ ปกขาแล)
เสรจ็ แล้วทา่ นสอนใหภ้ าวนาโดยท่านน�ำ วา่ ให้เขาวา่ ตาม ดังนี้
พทุ โธ ธมั โม สงั โฆ พทุ โธ ธัมโม สังโฆ พุทโธ ธมั โม สังโฆ

แล้วท่านให้ว่า พุทโธๆ คำ�เดียวตลอดไป ท่านพระอาจารย์ฝั้นท่านเทศน์
อบรมสง่ั สอนพธิ ปี ฏบิ ตั ใิ นพระไตรสรณคมน์ ตลอดถงึ การเคารพกราบไหว้ นอ้ มนกึ
ระลกึ ถึงคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มาภาวนาทุกวนั ทุกเวลาพอสมควรแล้ว
ท่านจึงหยิบเอากระดาษซองบุหร่ีมาเขียนคาถาคลอดบุตร ตามท่ีท่านได้นิมิต
แต่เม่ือคืนว่า โสตถิ คัพภัสสะ ท่านเขียนเสร็จแล้ว เอาวางให้ลูกสาวยายคนน้ัน
ท่องภาวนา หญงิ สองคนแมล่ กู กราบลากลบั บา้ น

หญงิ ลกู สาวไดค้ าถาแลว้ กต็ ง้ั ใจทอ่ งจ�ำ ระลกึ นกึ บรกิ รรมภาวนาอยตู่ ลอดเวลา
เพราะกลัวตาย วาระสุดท้ายวันเวลาก็มาถึง หญิงคนน้ันก็ได้คลอดบุตรออกมา
อย่างง่ายดายโดยความสวัสดีไม่มีอันตรายและความเจ็บปวด ทำ�ให้ทั้งแม่และลูก
ต่างมีความดีอกดีใจมาก ยิ่งเพิ่มความเคารพและเล่ือมใสในองค์พระอาจารย์ฝ้ัน
ยงิ่ ขนึ้ สว่ นประชาชนชาวบา้ นไดท้ ราบขา่ วกพ็ ากนั หลง่ั ไหลขน้ึ ไปหาพระอาจารยฝ์ น้ั
บนภูระงำ� ไปทำ�บุญฟังธรรมจำ�ศีล ภาวนา และขอเรียนคาถาคลอดบุตร
ทา่ นพระอาจารย์ก็บอกสอนให้ทกุ ผู้ทกุ คนไมเ่ ลอื กแต่ผูใ้ ด

58  อาจารยิ บูชา พระอาจารยฝ์ ั้น อาจาโร

ท่ีบนภูเขาระงำ�นี้เอง ท่านได้เขียนหนังสือเล่มหนึ่งด้วยมือของท่านเอง
เป็นอักษรไทยน้อย (ที่ภาคโน้นเรียกตัวหนังสือธรรม) จากหนังสือใบลาน ชื่อว่า
“อภิธรรมสังคิณีมาติกาบรรยาย” (ได้เคยพิมพ์แล้วอยู่ในหนังสือ อนุสรณ์งานศพ
พระอาจารย์ฝั้น อาจารเถระ) เป็นลายมือของท่านเองท้ังหมด ท่านเขียนหนังสือ
อักษรธรรมได้สวยมาก พร้อมทั้งมีคำ�อธิบายมีข้ออุปมาอุปไมยอย่างลึกซึ้ง
แจม่ แจง้ ยงั ไมเ่ คยเหน็ ใครทไี่ หนจดั ท�ำ มากอ่ น เมอ่ื เวลามงี านศพกน็ มิ นตพ์ ระมาสวด
มาติกาบงั สกุ ลุ เทา่ น้ัน พวกเราไมท่ ราบความหมาย และมอี รรถาธบิ ายว่าอย่างไร
เปน็ หนงั สือทีน่ า่ อา่ นน่าศกึ ษามาก ผู้ใคร่ตอ่ การศกึ ษาควรหามาอ่าน

เมื่อออกพรรษาแล้วท่านก็ออกเที่ยวจาริกเดินธุดงค์ไปพักบำ�เพ็ญเพียร
ภาวนา ในท้องท่ีเขตอำ�เภอน้ำ�พอง จังหวัดขอนแก่นไปพบกับพระอาจารย์สิงห์
พระอาจารยม์ หาปิน่ อยทู่ ี่น้นั โดยบงั เอญิ ไมไ่ ด้นดั หมายกันมากอ่ น

ตงั้ ส�ำ นกั วัดป่าศรัทธาราม นครราชสมี า

ทพี่ ระคณะกรรมฐานมที า่ นพระอาจารยส์ งิ ห์ ขนั ตยาคโม (เจา้ คณุ พระญาณ
วิศิษฏ์) เป็นหัวหน้าได้นำ�คณะพระกรรมฐานมาเผยแพร่ อบรมส่ังสอนประชาชน
ชาวจังหวัดนครราชสีมา สมัยนั้นสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสสะมหาเถระ อ้วน)
เมอื่ ยงั เปน็ ทพ่ี ระพรหมมนุ ี ด�ำ รงต�ำ แหนง่ เจา้ คณะมณฑลอสี าน ยา้ ยจากเมอื งอบุ ลฯ
มาเปน็ เจา้ อาวาสวดั สุทธจนิ ดา ในเมอื งจังหวัดนครราชสีมา

ทา่ นพระอาจารย์ฝัน้ เคยเล่าให้ผู้เขยี นฟังวา่ สมเดจ็ ท่านคงวา้ เหว่ เน่อื งจาก
เมอ่ื กอ่ นทา่ นเจ้าคุณสมเดจ็ ฯ ท่านอย่วู ัดสปุ ฏั ฯ เมืองอบุ ลฯ เคยมีลกู ศิษย์ลูกหาท้งั
คฤหสั ถ์ และบรรพชติ จากทกุ ทศิ ทกุ ทางหอ้ มลอ้ มดว้ ยความเคารพนบั ถอื อยใู่ กลช้ ดิ
สนิทสนมเป็นอันมาก ท่านย้ายมาอยนู่ ครราชสมี าใหม่ๆ คงมีคนและลกู ศษิ ย์ลูกหา
นอ้ ย จงึ เปน็ เหตใุ หท้ า่ นระลกึ ถงึ พระอาจารยส์ งิ ห์ และพระอาจารยม์ หาปนิ่ ทา่ นเปน็
พระคณาจารย์มีคนเลื่อมใสเคารพนับถือมีช่ือเสียงโด่งดังมาก ท่านได้พาคณะ
ลูกศิษย์ของท่านเป็นจำ�นวนมาก กำ�ลังออกเผยแพร่พรำ่�สอนอบรมธรรมะปฏิบัติ
กรรมฐานอยู่ในท้องที่จังหวัดขอนแก่น สมเด็จฯ จึงหาวิธีออกอุบายเดินทางไป
ตรวจการคณะสงฆ์จังหวัดขอนแก่น เพื่อจะได้ไปพบกับพระอาจารย์สิงห์ ซ่ึงเป็น
สัทธิวิหารกิ ของสมเด็จฯ ท่าน

ประวตั พิ ระอาจารยฝ์ ั้น อาจาโร 59

เมื่อสมเด็จฯ มาถึงจังหวัดขอนแก่นแล้ว สมเด็จฯ ท่านได้ถามหาท่าน
พระอาจารย์สิงห์และท่านพระอาจารย์มหาปิ่น แล้วมีบัญชาว่าท่านต้องการพบ
เมื่อท่านพระอาจารย์สิงห์และท่านพระอาจารย์มหาปิ่นได้เข้าพบกับสมเด็จฯ
สมเดจ็ ฯ จงึ สง่ั ใหพ้ ระอาจารยส์ งิ หแ์ ละทา่ นพระอาจารยม์ หาปน่ิ พาคณะพระกรรมฐาน
ไปชว่ ยทางจงั หวดั นครราชสมี า พระอาจารยส์ งิ หซ์ ง่ึ เปน็ หวั หนา้ คณะจงึ ไดพ้ าลกู ศษิ ย์
พระคณะกรรมฐานพรอ้ มดว้ ยบรษิ ทั บรวิ ารเปน็ จ�ำ นวนมาก ออกเดนิ ทางมาเผยแพร่
ฝึกหดั ปฏิบตั ิภาวนากรรมฐาน อบรมสัง่ สอนประชาชนชาวนครราชสมี า

พระอาจารยฝ์ น้ั อาจารเถระ ก็ได้เดนิ ทางรว่ มกับคณะมาคราวคร้ังนั้นด้วย
คร้ังแรกมาพักที่วัดสุทธจินดา ในเมืองนครราชสีมา คุณหลวงชาญนิคม ผู้บังคับฯ
ตำ�รวจกองเมืองนครราชสีมา มีศรัทธายกท่ีดินถวายเป็นสำ�นักพระกรรมฐาน
หลังกองช่างกลรถไฟนครราชสีมา ที่วัดป่าสาลวันอยู่ทุกวันนี้ หลังจากรับ
ถวายท่ีดินของคุณหลวงชาญฯ เรียบร้อยแล้ว เจ้าพระคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์
(ตสิ โส อว้ น) ไดพ้ าพระอาจารยส์ งิ ห์ พระอาจารยม์ หาปน่ิ (เปน็ นอ้ งชายพระอาจารย์
สงิ ห)์ และพระอาจารยฝ์ นั้ ไปเยยี่ มทา่ นเจา้ คณุ อบุ าลคี ณุ ปู มาจารย์ (สริ จิ นั โท จนั ทร)์
วดั บรมนวิ าส กรงุ เทพฯ เพราะไดท้ ราบขา่ ววา่ ทา่ นเจา้ คณุ พระอบุ าลฯี ขาหกั ทา่ นพกั
ที่วดั บรมนวิ าส ตง้ั แต่เดือน ๓ จนถงึ เดือน ๖ จึงไดก้ ลับจงั หวดั นครราชสมี า

ตอนนี้จักได้นำ�ท่านผู้ใคร่ต่อการศึกษาและท่านผู้คงแก่การปฏิบัติได้อ่าน
เพ่ือจักได้ทราบจริยานุวัตร อันเป็นปฏิปทาบารมีส่วนหน่ึงของพระอาจารย์ฝ้ัน
อาจารเถระ จากจรยิ านุวตั รอันดีงามทั้งหลายเหล่านเ้ี อง เปน็ บารมสี ่งเสรมิ ใหท้ า่ น
ไดร้ ับความเคารพนบั ถือวา่ เปน็ ปูชนียภกิ ขรุ ูปหนึง่ ในประเทศไทยสมัยปจั จุบัน

ผู้เขียนได้ฟังแล้วจากพระอาจารย์ฝั้นเล่าให้ฟังว่า ตลอดเวลาที่ท่านพักอยู่
ทีว่ ัดบรมนิวาส กรงุ เทพฯ คราวนน้ั มีแตท่ ่านองคเ์ ดยี วต้องออกจากท่พี ักแตเ่ ชา้ ๆ
ต้องไปปฏบิ ัติพระอาจารยส์ งิ ห์ พระอาจารย์มหาปิ่น และสมเด็จฯ ถวายน้ำ� ถวาย
ไม้สีฟัน และยาสีฟัน ถวายผ้าเช็ดตัว เทและล้างกระโถน ชำ�ระทำ�ความสะอาด
เกบ็ ทน่ี อน หมอนมุ้ง เอาบาตร อาสนะ กระโถน กาน้ำ� ออกไปปูแตง่ ตง้ั ไวท้ โี่ รงฉนั
เวลาเดียวกนั เสรจ็ จากปฏบิ ัติพระอาจารยส์ ิงห์แลว้ กไ็ ปปฏบิ ัตพิ ระอาจารยม์ หาปิ่น
และสมเด็จฯ เหมือนดังกล่าวแล้ว ปฏิบัติอย่างนี้ทุกวันๆ ก่อนออกรับบิณฑบาต

60  อาจารยิ บูชา พระอาจารยฝ์ ัน้ อาจาโร

ถวายทา่ นพระอาจารย์สงิ ห์ พระอาจารยม์ หาป่นิ และสมเดจ็ ฯ ดว้ ย สมเด็จฯ ท่าน
ไม่เคยสะพายบาตร พระอาจารย์ฝ้ันถวายแนะวิธีสะพายและวิธีเปิดฝาบาตรปิด
ฝาบาตรเวลาอาหารในบาตรสมเด็จฯ เตม็ ท่านรีบถา่ ยเอาอาหารออกด้วยเกรงวา่
สมเด็จฯ จะหนัก เวลากลับจากบิณฑบาต ท่านก็จัดบาตรจัดอาหารใส่บาตร
น�ำ อาหารท่ีทา่ นเคยฉันถวาย เอาอาหารทีท่ ่านไมฉ่ ันออก เพราะไม่ถกู กบั ธาตขุ อง
ทา่ น เมอ่ื ทา่ นฉนั เสรจ็ แลว้ ทา่ นตอ้ งลา้ ง เชด็ ท�ำ ความสะอาดบาตรทงั้ ๔ ใบของทา่ น
ดว้ ย เสรจ็ แล้วน�ำ เอาไปเกบ็ ไว้

ทกี่ ลา่ วมานกี้ ลา่ วเฉพาะเวลาทท่ี า่ นพ�ำ นกั อยทู่ ว่ี ดั บรมนวิ าส เสมอื นทา่ นยงั
เปน็ พระนวกะบวชใหม่ ทา่ นไดไ้ ปอยทู่ ไ่ี หนกบั พระอาจารยอ์ งคใ์ ด ทา่ นปฏบิ ตั ติ งั้ อยู่
จรยิ านวุ ตั รอนั ดงี ามเปน็ ประจ�ำ นสิ ยั ตวั องคท์ า่ นตลอดไป ทา่ นเปน็ ผมู้ ปี กตขิ ยนั หมน่ั
เพียร มีความอดทนต่อความเหนื่อยยากลำ�บากในกิจการงานที่รู้ว่าเป็นประโยชน์
ท้ังส่วนของท่านและของคณะส่วนรวม ตลอดถึงประโยชน์ประเทศชาติ ศาสนา
ทา่ นมคี วามเคารพออ่ นนอ้ มกบั พระเถระผใู้ หญผ่ เู้ ปน็ ครเู ปน็ อาจารยม์ าก ทา่ นไปอยู่
กับพระอาจารย์องค์ใดหรือหมู่ใด คณะใดท่ีไหน พระอาจารย์องค์น้ัน หรือหมู่น้ัน
คณะนัน้ และสถานทน่ี ั้นๆ ไม่เคยมีความหนักอกหนกั ใจ หรอื ความว่นุ วายเสยี หาย
จากพระอาจารย์ฝ้ันแม้แต่น้อยเลย เพราะปฏิบัติด้วยความเคารพและเล่ือมใส
ในพระธรรมวินัยจากใจจริงมั่นคงอย่างเปิดเผย ตรงไปตรงมาทั้งต่อหน้าและ
ลบั หลงั ทา่ นมสี ตปิ ญั ญาเฉลยี วฉลาดองอาจแกลว้ กลา้ รา่ เรงิ ทา่ มกลางชมุ นมุ ชนชนั้
ทกุ คณะทุกบริษัท

ท่านพระอาจารย์ฝ้นั ทา่ นมีน�ำ้ มนั ผง้ึ ทีท่ า่ นไดก้ ลั่นเอาจากข้ผี งึ้ แท้ ทีเ่ รียกวา่
ขผึ้ ง้ึ บรสิ ทุ ธ์ิ ส�ำ หรบั ทาแกป้ วด เคลด็ ยอก ตามมอื เทา้ แขง้ ขา มไี วป้ ระจ�ำ ไปทไ่ี หนทา่ น
ก็พาติดตวั ไปด้วย เวลาสมเดจ็ ฯ พกั ผอ่ นกลางวนั ท่านก็เอาน�ำ้ มันผง้ึ เข้าไปปฏบิ ัติ
นวดเทา้ ถวายสมเดจ็ ฯ ทกุ วนั ๆ สมเดจ็ ฯ รกั และนบั ถอื เชอื่ ถอื ในองคพ์ ระอาจารยฝ์ น้ั
มาก สมเด็จฯ ท่านได้พูดออกปากกล่าวปวารณากับท่านพระอาจารย์ฝั้นเสมอๆ
วา่ ทพี่ วกเธอถกู ฉนั ตกั เตอื นสง่ั สอน บางครงั้ จนตอ้ งถกู ดุ ถกู ดา่ วา่ กลา่ วดว้ ยเจตนา
หวังดี เธอมีความคิดเห็นและรู้สึกอย่างไรบ้าง ท่านกราบเรียนตอบสมเด็จฯ ว่า
ถ้าพระเดชพระคุณไม่ว่ากล่าวดุด่าส่ังสอนพวกเกล้าฯ แล้ว ก็ไม่ทราบว่าจะให้ใคร
มาดุด่าว่ากล่าวตักเตือนพร่ำ�สอนพวกเกล้าฯ คำ�ที่พระเดชพระคุณดุด่าว่ากล่าว

ประวตั ิพระอาจารยฝ์ ้นั อาจาโร 61

ตกั เตอื นพรำ�่ สั่งพร่�ำ สอนพวกเกล้ากระผม เกลา้ ฯ มีความเคารพนับถือว่า มีคุณคา่
อันประเสริฐสูงสุด ยิ่งกว่าคำ�สรรเสริญเยินยอของชาวโลกเสียหลายร้อยเท่าพันทวี
จากคำ�ตอบตรงน้ีแหละสมเด็จฯ มีความพอใจมาก เออฉันก็คิดเห็นอย่างน้ี
จึงได้ว่ากลา่ วไปอย่างนน้ั แต่นต้ี อ่ ไปฉนั จะไม่ดุด่าวา่ พวกเธอและใครๆ อีกแล้วน่ะ
บอกคณะกรรมฐานของพวกเธอให้ทราบด้วย ฉันจะไม่ใช้อารมณ์โมโหโทโสกับ
พวกเธออกี นะ ตง้ั แต่นตี้ อ่ ไป สมเด็จฯ ท่านพูดปวารณาอยา่ งนีก้ ับพระอาจารยฝ์ น้ั

ทา่ นพระอาจารยฝ์ น้ั เขา้ ไปปฏบิ ตั เิ วลาทา่ นพกั ผอ่ นตอนกลางวนั ประจ�ำ ทกุ ๆ วนั
มีวันหน่ึง พระอาจารย์ฝ้ันท่านลงไปซักผ้าอยู่ข้างล่าง ท่านกำ�ลังน่ังซักผ้าจีวรอยู่
ได้ยินเสียงของแข็งกระทบกับฝากุฏิอยู่ข้างบนดังเปร้ียง แล้วเสียงกลิ้งคลุกๆๆ
ออกไป ทา่ นพระอาจารยค์ ดิ ในใจว่ามเี ร่ืองอะไรอีกแลว้ จงึ ได้ลกุ ไปดู เห็นสมเด็จฯ
ยืนที่ประตูห้อง กำ�ลังดุพระองค์หน่ึงอยู่ พอท่านได้มองเห็นพระอาจารย์ฝั้นข้ึนไป
สมเด็จฯ รีบเข้าห้องปิดประตูเงียบไปเลย พระอาจารย์กลับลงไปซักผ้าและย้อม
ผ้าสบงจีวรอีก มีพระมหาเปรียญองค์หนึ่ง ซ่ึงอยู่ใกล้ๆ กับกุฏิสมเด็จฯ นั้นแหละ
ไดเ้ ดนิ ไปเหน็ พระอาจารยฝ์ น้ั ซกั ผา้ และยอ้ มผา้ ไดม้ ศี รทั ธาเกดิ ขน้ึ ในใจ ใครอ่ ยากไดบ้ ญุ
จึงได้ขอช่วยซักย้อมผ้ากะท่านพระอาจารย์ฝ้ัน ท่านอาจารย์เห็นพระมหาองค์นั้น
ยงั ซกั ผา้ ยอ้ มผา้ ไมเ่ ปน็ ทา่ นจงึ ไดแ้ นะสอนใหพ้ ระองคน์ นั้ เขา้ ใจในวธิ ซี กั และยอ้ มผา้

พระองค์น้ันจึงได้ออกปากพูดข้ึนให้ท่านอาจารย์ฟังว่า อ้อ อย่างนี้เอง
เมือ่ ก่อนพระอาจารยม์ ัน่ ทา่ นไดม้ าซกั และย้อมผา้ สบงจีวรของท่านอย่ทู ี่นี้ ผมไดไ้ ป
ขอซักและย้อมผ้าช่วยท่าน แต่ท่านไม่ยอมให้ผมช่วย และพระอาจารย์ม่ันท่านได้
พดู วา่ พระวินัยทา่ นเรยี นอยถู่ ึง ๕ ปีก็ยังไมจ่ บ ผมนกึ แตใ่ นใจวา่ เรียนวินยั อะไรถึง
๕ ปไี มจ่ บ เราเรยี นไมถ่ งึ ปที อ่ งนวโกวาทไมก่ ว่ี นั กจ็ บ เดย๋ี วนผ้ี มรตู้ วั วา่ ตวั เองพง่ึ รจู้ กั
พระวินัยของตัวเองจากการแนะนำ�ของท่านอาจารย์วันน้ีเอง ผมยังซักผ้าย้อมผ้า
สบงจีวรไม่เป็น ถึงทำ�ได้ก็ไม่ถูกต้องตามพระวินัยที่พระพุทธองค์ได้ทรงบัญญัติไว้
การซักผ้า ยอ้ มผ้า เปน็ วนิ ัยของเราผเู้ ปน็ พระท้ังน้นั

หลังจากนั้น ท่านพระอาจารย์ฝั้นได้ไปพักท่ีวัดป่าดอนขวาง นครราชสีมา
พระองคน์ ้ันไดอ้ อกจากวดั บรมฯ ตงั้ ใจไปฝกึ หดั ปฏิบัติภาวนาเจรญิ ธรรมกรรมฐาน
กับท่านพระอาจารย์ฝ้ัน ที่วัดป่าดอนขวาง วันหน่ึงคณะญาติโยมนำ�ผ้าขาวเป็นไม้

62  อาจารยิ บูชา พระอาจารยฝ์ ัน้ อาจาโร

หลายๆ พับมาทอดเป็นผ้าป่ามหาบังสุกุลเป็นจำ�นวนมาก ท่านพระอาจารย์ฝั้น
ไดท้ �ำ การตดั เยบ็ เปน็ ผา้ สบง จวี ร ถวายพระภกิ ษสุ ามเณรทข่ี าดแคลน ทา่ นมหาอยาก
จะเปลยี่ นผา้ สงั ฆาฏใิ หม่ เพราะผนื เกา่ คร�ำ่ ครา่ มาก จงึ ไดเ้ รยี นใหท้ า่ นพระอาจารยฝ์ น้ั
ทราบ พระอาจารยจ์ งึ เอาผ้าใหเ้ ลือก เมื่อทา่ นมหาเลอื กผา้ ได้แล้ว ทา่ นบอกใหท้ ่าน
มหา วัด กะ ตัดเอาเองตามใจชอบ แตก่ ต็ ดั ไม่เป็น ท่านพระอาจารย์จงึ วัดกะตดั ให้
แล้วบอกให้พระมหาเย็บเอาเอง ท่านก็เย็บไม่เป็นอีก ท่านพระอาจารย์ก็เย็บให้
เสรจ็ แลว้ บอกทา่ นมหาถกั ลกู ดมุ รงั ดมุ และใหต้ ดิ ลกู ดมุ รงั ดมุ เอาเอง แตท่ า่ นองคน์ นั้
ก็ทำ�ไม่เป็นสักอย่าง คราวนี้ทำ�ให้พระมหาองค์น้ันมีความสำ�นึกรู้สึกตัว ว่าตัวเอง
ยงั ไมไ่ ดเ้ รยี นรพู้ ระวนิ ยั เลย จงึ ไดบ้ อกประกาศตวั เองใหค้ ณะญาตโิ ยมซงึ่ นง่ั อยทู่ น่ี น้ั
ฟังว่า อาตมาเพิ่งมาฝึกหัดเรียน ก ข ใหม่ พระคณะปฏิบัติท่านเรียนรู้พระวินัย
จริงๆ อาตมายังโงม่ าก ทำ�อะไรก็ไมเ่ ปน็ สักอยา่ ง นแ้ี หละ พระอาจารย์ม่ันทา่ นพดู
ใหอ้ าตมาฟังวา่ ทา่ นเรยี นพระวินยั ๕ ปจี บ นี้เปน็ ความจริง

เม่ือท่านพระอาจารย์ฝั้นยังพำ�นักอยู่วัดบรมนิวาส กรุงเทพฯ วันหน่ึง
ทา่ นพระอาจารยส์ งิ ห์ใดพ้ าท่านพระอาจารยฝ์ น้ั ไปฟังเทศนท์ า่ นเจา้ คณุ พระปญั ญา
พิศาลเถร (หนู) วัดปทุมวนาราม สมัยนั้นรถยนต์หายาก ต้องยำ่�ไปด้วยเท้า
ในระหว่างทางท่ีท่านกำ�ลังเดินไป ได้พบกับหญิงสาวคนหน่ึงเดินสวนทางมา
พอไดเ้ หน็ เทา่ นน้ั แหละ ทง้ั ๆ ทไ่ี มเ่ คยไดร้ จู้ กั มกั คนุ้ มากอ่ น ไมท่ ราบวา่ เขาชอ่ื เรยี งเสยี งไร
พ่อแม่ เรือนชาน บ้านช่อง พ่ีน้องวงศ์วานของแม่สาวคนนั้นก็ไม่รู้ว่าอยู่ท่ีไหน
ชั่วขณะที่เห็นเท่าน้ัน ทำ�ให้เกิดอารมณ์ปลาบท่ีหัวใจทันที เกิดความรักใคร่พอใจ
ในตัวแม่สาวคนน้ัน วางไม่ลง พยายามหาอุบายพิจารณาแก้ไขอย่างไรก็ไม่ได้ผล
อบุ าย สติ ปญั ญา สมถะ วปิ สั สนากก็ ลบั กลายหายหนา้ ไปหมด ความรกั ความใครน่ ี้
มไิ ดเ้ ลือกกาล สถานท่ี เลว ดี มี จน แต่อยา่ งใด มนั ขม่ เหงหวั ใจของสตั ว์ทัง้ หลาย
โดยมไิ ดเ้ ลอื กหนา้ วา่ เปน็ ใคร ชนชนั้ วรรณะไหน ไมไ่ ดเ้ วน้ ทงั้ นนั้ แตก่ ไ็ ดม้ คี วามรสู้ กึ
ส�ำ นกึ ตวั อยเู่ สมอมไิ ดป้ ระมาท ขณะเดยี วกนั ทา่ นกไ็ ดเ้ ตอื นตวั ทา่ นเองวา่ เราจ�ำ ตอ้ ง
ขจัดอารมณ์อันเป็นหลุมรักอันกว้างใหญ่และลึกมาก ยากที่สัตว์ในโลกผู้มีอวิชชา
ตณั หา อปุ าทาน กรรม ภพ ท่ีขา้ มไปให้พ้นได้

ท่านพระอาจารย์ฝั้นพอเดินทางกลับมาถึงวัดบรมนิวาสแล้ว ท่านได้กราบ
เรียนพระอาจารย์สิงห์ เร่ืองจิตของท่านได้หลงไปตกนรก ขุมนำ้�แสบ น้ำ�เค็ม

ประวตั พิ ระอาจารยฝ์ นั้ อาจาโร 63

ให้ท่านทราบ เผ่ือท่านจักได้หาอุบายวิธีแก้ไข พระอาจารย์สิงห์จึงแนะนำ�ให้ท่าน
พระอาจารย์ฝั้นเข้าไปพักทำ�ความเพียรภาวนาอยู่ในวิหารคด ท่ีบริเวณโบสถ์
วดั บรมนวิ าส พระอาจารยฝ์ นั้ กป็ ฏบิ ตั ติ ามค�ำ ทที่ า่ นพระอาจารยส์ งิ หแ์ นะน�ำ ทา่ นได้
เขา้ ไปอยปู่ ฏบิ ตั ปิ ระกอบท�ำ ความเพยี รเจรญิ ภาวนา ตงั้ สตริ ะลกึ รตู้ วั อยอู่ ยา่ งแนน่ หนา
พจิ ารณากายาอสภุ กรรมฐาน ตงั้ จติ มน่ั คง ด�ำ รงสตแิ นว่ แน่ ดว้ ยความเพยี รพยายาม
ใหต้ ดิ ตอ่ เนอื่ งกันไปมใิ หพ้ ลง้ั เผลอทงั้ กลางวันกลางคืน ยืน เดนิ นงั่ นอน เจริญทัง้
สมถะ และวิปสั สนาภาวนาสัมพันธ์กันไป เพอื่ จะชงิ ชยั กับกเิ ลสทีม่ ันยึดเบญจขันธ์
เปน็ ทอี่ าศยั หลบซอ่ น เสมอื นเปน็ เกราะปอ้ งกนั ปราการทกี่ เิ ลสไดพ้ ง่ึ อาศยั ยากทใ่ี ครๆ
ในโลกจะเข้าไปทำ�ลายมันได้ เราจะใช้ความเพียรและความอดทนเป็นตบะมาเพ่ง
แผดเผา เกราะป้อมปราการของมัน (เบญจขันธ์ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร
วิญญาณ) ใหพ้ งั ทลายเป็นจุณวิจุณในคราวครงั้ น้ใี หส้ ิ้นซากไป

ท่านปฏิบัติอยู่ ๗ วัน จิตใจสงบสบาย มีความเบากายเบาใจ สว่างไสวในใจ
จะนกึ คดิ สงิ่ ใดทะลปุ รโุ ปรง่ จงึ ไดร้ เู้ รอ่ื งแมห่ ญงิ สาวคนนนั้ วา่ เปน็ บพุ เพสนั นวิ าส คอื
เคยครองเรอื นครองรกั สมคั รสงั วาสรว่ มกนั มาแลว้ ในอดตี กาล จงึ ใหไ้ ดเ้ กดิ ความรสู้ กึ
มอี ารมณม์ ากระทบกระเทอื นใจเชน่ นน้ั บดั นเี้ ราไดเ้ หน็ ไดร้ จู้ กั แลว้ เจา้ สงั ขารเจา้ เอย๋
เจ้าได้อวิชชามาเป็นปัจจัยอาศัย เป็นเกราะหุ้มห่อหลบซ่อนตัวของเจ้าเป็นอย่างดี
เราจกั ตอ้ งท�ำ ลายเกราะของเจา้ คอื อวชิ ชา ดว้ ยอาวธุ ๓ วธิ ี คอื สจั จญาณวถิ ปี นาวธุ
กิจจญาณวถิ ปี นาวุธ และกตญาณวิถปี นาวุธ ให้หมดสนิ้ ไป เจ้าจะไมม่ ีโอกาสได้พบ
กับเราอีกแลว้ การพบกันคร้งั นีเ้ ปน็ ครง้ั สดุ ท้าย เจา้ สงั ขารเอย๋ เจา้ จงไปอยา่ งผู้ท่สี ิ้น
เหตปุ ัจจยั เถิด

ท่านพระอาจารย์ได้เล่าให้ฟังว่า ปีนั้นกรุงเทพมหานครมีงานฉลองสมโภช
พระนคร เน่ืองในวาระที่ได้ต้ังกรุงเทพมหานครอมรรัตนโกสินทร์ มาเป็นเวลาได้
๑๕๐ ปี เป็นครั้งแรกในชีวิตของท่านท่ีมีโอกาสเข้าไปเห็นกรุงเทพฯ ท่านได้ไป
ท่ีโบสถ์พระแก้วกับพระมหาสมบูรณ์ ท่านได้เห็นพระเจ้าแผ่นดินรัชกาลที่ ๗
ตอนเสดจ็ พระราชด�ำ เนนิ เขา้ ไปในโบสถพ์ ระแกว้ เวลาขากลบั แทบจะหาทางออกไป
ไม่ได้ เพราะมีแต่คนเต็มแน่นไปหมด เบียดเสียดยัดกันไป ไม่ทราบว่าใครเป็นใคร
ท่านพระอาจารย์ได้อาศัยเด็กลูกศิษย์ท่ีเดินทางไปด้วย เอามากั้นตัวท่านไว้เวลา
ผหู้ ญงิ จะชนทา่ น กวา่ จะเดนิ ไปถงึ วดั บรมนวิ าสกแ็ ทบแย่ ถงึ วดั ดกึ ดน่ื พระอาจารยฝ์ น้ั

64  อาจารยิ บชู า พระอาจารย์ฝน้ั อาจาโร

ท่านได้พักอยู่ที่วัดบรมนิวาสประมาณเดือนเศษ จึงได้กลับนครราชสีมา ไปพัก
ทว่ี ดั ปา่ สาลวัน หลงั กองช่างกลรถไฟโคราช ตอ่ มาทา่ นไดไ้ ปสร้างสำ�นักอีกแหง่ หนึ่ง
อยทู่ ป่ี า่ ชา้ ท่ี ๒ ระหวา่ งบา้ นหวั ทะเลกบั กรมทหารบกมณฑลท่ี ๓ จงั หวดั นครราชสมี า

พรรษาที่ ๘ พทุ ธศักราช ๒๔๗๕

สำ�นักสงฆ์แห่งนี้ (ต่อมาช่ือว่า วัดป่าศรัทธารวม) เมื่อบุกเบิกครั้งแรก
ท่านพระอาจารย์มหาป่ิน ปัญญาพโล เป็นหัวหน้า มีพระอาจารย์เทสก์ เทสรังสี
พระอาจารย์ฝ้นั อาจาโร และพระอน่ื ๆ อกี ๑๐ รปู สามเณร ๔ รปู มีชาวบ้าน
ในหมู่บา้ นมาปฏิบัติฝึกหัดอบรม ฟงั เทศนฟ์ งั ธรรม จำ�ศีล ภาวนา ปฏิบัตอิ ุปถมั ภ์
ทะนุบำ�รุง ได้แก่ บ้านหนองโสน บ้านหนองปรือ บ้านหัวทะเล และในเมือง
นครราชสมี า สมัยนั้น นายพลตรีหลวงชำ�นาญยุทธศาสตร์ (จอมพลผนิ ชณุ หะวัณ)
เปน็ ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ ๓ จังหวดั นครราชสีมา วดั ป่าศรัทธารวมเปน็ วดั
ของคณะกรมทหารพรอ้ มราษฎรรว่ มกนั สรา้ ง เพอ่ื การบำ�เพญ็ บญุ กศุ ลและอบรมของ
คณะทหาร เม่ือพระอาจารย์มหาปิ่นและพระอาจารย์องค์อื่นๆ ได้ออกจากวัดป่า
ศรทั ธารวมไปแลว้ ทา่ นพระอาจารยฝ์ น้ั อาจาโร ไดเ้ ปน็ เจา้ อาวาสวดั ปา่ ศรทั ธารวม
จนถึงปี พ.ศ. ๒๔๘๗ ท่านจึงไดอ้ ยู่จ�ำ พรรษาวดั บูรพา ในเมืองอุบลราชธานี

ในระยะเวลาที่ท่านพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร พำ�นักอยู่วัดป่าศรัทธารวม
ตำ�บลหัวทะเล อำ�เภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา มีท่านพระอาจารย์มหาป่ิน
ปญั ญาพโล เป็นหวั หนา้ ไดน้ �ำ ปฏิปทาข้อวัตรปฏบิ ัติที่ไดฝ้ ึกหัดอบรมมาในฝา่ ยทาง
วปิ สั สนากรรมฐาน สายของทา่ นพระอาจารย์เสาร์ กนตฺ สีโล และพระอาจารย์มัน่
ภูริทัตตะมหาเถระ มาประกาศเผยแผ่แก่ประชาชนบริษัท จังหวัดนครราชสีมา
ต้ังหลักปฏิบัติสำ�นักวัดวิปัสสนา ฟื้นฟูเชิดชูพระพุทธศาสนา ตามเยี่ยงอย่างอริยะ
ประเพณมี าจากอรยิ วงศ์ขององคส์ มเดจ็ พระศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ให้ด�ำ รงทรง
อยู่ตอ่ มาไดก้ ระทง่ั ถึงปจั จุบันนี้ ในการนี้ มพี ระอาจารยฝ์ นั้ อาจาโร ดว้ ยองค์หนึ่ง
ไดเ้ ปน็ ก�ำ ลงั ชว่ ยน�ำ คณะประพฤตปิ ฏบิ ตั ิ ฝกึ หดั อบรมภาวนา เทศนาธรรมพร�่ำ สอน
คณะพทุ ธบรษิ ทั ทงั้ คฤหสั ถบ์ รรพชติ ใหม้ จี ติ ศรทั ธาเลอื่ มใสในพระบวรพทุ ธศาสนา
ไดเ้ ขา้ มาบวชเปน็ พระภกิ ษุ สามเณร อบุ าสก อบุ าสกิ า เปน็ จ�ำ นวนมาก ออกพรรษา

ประวตั พิ ระอาจารย์ฝัน้ อาจาโร 65

สนิ้ เวลาเขตกฐนิ ไปแลว้ ทา่ นกน็ �ำ พระภกิ ษุ สามเณรไปอยตู่ ามภเู ขาล�ำ เนาปา่ เสาะหา
ทางวิเวกเพื่อเป็นการฝึกหัดการปฏิบัติในการออกเดินธุดงค์ ดำ�รงชีวิตอบรม
จติ ตภาวนาอยตู่ ามป่า ที่เรยี กตามภาษาธดุ งคว์ า่ อยูร่ กุ ขมลู

ครง้ั หนง่ึ ทา่ นพระอาจารยไ์ ดไ้ ปกบั ทา่ นพระอาจารยอ์ อ่ น ญาณสริ ิ ออกธดุ งค์
เทยี่ ววิเวกไปทางบ้านคลองไผ่ ต�ำ บลลาดบวั ขาว อำ�เภอสีค้ิว จงั หวดั นครราชสีมา
ไปถึงบ้านหนองบัว พระอาจารย์ฝั้นป่วยเป็นไข้อาการหนักมาก ฉันยาแก้ไขอะไร
เข้าไปก็ไม่หาย ท่านนั่งพิจารณาเวทนาท่ีเป็นทุกข์ ท่ีท่านกำ�ลังได้รับความทรมาน
อย่างหนัก เกิดความเบ่ือหน่ายในชีวิต มีแต่เจ็บๆ ไข้ๆ ถึงจะอยู่ไปก็มีแต่ทุกข์
มีแตเ่ จบ็ มแี ตไ่ ข้ แลว้ ๆ เลา่ ๆ เดย๋ี วก็เป็นเด๋ยี วกห็ าย ประเด๋ยี วกส็ บาย ประเดยี๋ ว
ก็ทุกข์อยู่อย่างนี้ไม่มีประโยชน์อะไรเลย ท่านจึงตัดสินใจว่าเราจะนั่งภาวนา
เอาความตายเป็นที่ต้ัง ถ้ามันหายก็หาย ถ้าไม่หายตายก็แล้วไป ท่านจึงได้ไป
กราบเรียนท่านพระอาจารย์อ่อนว่า วันน้ีผมจะน่ังภาวนาให้มันตายถ้ามันไม่หาย
ดงั นแี้ ลว้ ทา่ นกก็ ลบั ไป เขา้ ทน่ี งั่ ท�ำ สมาธภิ าวนา ก�ำ หนดเอาทกุ ขเวทนามาเปน็ ธรรม
ที่ควรกำ�หนดรู้ตัว มีความเพียรมีความพยายามเอาสติกับปัญญามาประกอบการ
พิจารณาเป็นกิจจญาณ ในการเพ่งเพียรแผดเผาเอากิเลสท่ีได้เหตุปัจจัยอาศัยจาก
ทุกขเวทนาแล้วเกิดข้ึนมารบกวน อย่างโดยไม่มีการยับยั้งลดละเลิกถอน แม้แต่
คำ�ว่าย่อหย่อนเลิกถอยก็ไม่ให้มี สติปัญญาพิจารณาเผามันเลย จิตท่ีมีสติปัญญา
เปน็ เครอื่ งรกั ษา และก�ำ จดั คมุ้ ครอง หรอื ปอ้ งกนั อยอู่ ยา่ งมน่ั คง ทกุ ขเวทนาอนั เปน็
ท่ีน�ำ มาซึง่ กเิ ลส เป็นเหตนุ ำ�ทำ�จติ ให้ฟ้งุ ซา่ นเกดิ ความรำ�คาญ (อุทธัจจะ กุกกุจจะ)
ก็ถงึ ซึง่ ความสงบ ระงับดับหายลงไป

ในทนั ใดนั้นกม็ ีนมิ ิตมาปรากฏใหเ้ ห็น จะเปน็ อะไรก็ไมท่ ราบ กระโดดออก
จากร่างกายมายืนอยู่ข้างหน้าของท่าน แล้วท่านพระอาจารย์ก็ได้กำ�หนดจิตตามดู
เจ้าสิ่งน้ันก็ได้กลับกลายมาเป็นกวาง แล้วก็กระโดดลงไปในห้วย กระโดดขึ้น
จากห้วยว่ิงต่อไป แล้วกลายมาเป็นช้างตัวใหญ่ เดินบุกเข้าไปในป่าโครมครามๆ
ออกไป จนลบั สายตาของท่าน

พระอาจารย์ฝั้นท่านได้พิจารณาซึ่งนิมิตที่ปรากฏเกิดขึ้นแก่ท่านคราวน้ีว่า
ไข้มาลาเรียทีท่ า่ นกำ�ลงั ป่วยอยู่ขณะนี้ มนั ได้กระโดดหนีไปจากรา่ งกายของทา่ นไป

66  อาจารยิ บชู า พระอาจารย์ฝ้นั อาจาโร

หมดส้นิ แลว้ คราวนี้ไข้ตอ้ งหายขาดแน่นอน ท่านนั่งภาวนาอยู่นานเทา่ ไรกไ็ ม่ทราบ
เมื่อท่านพิจารณาเห็นว่าอาการไข้ได้ดับไปพร้อมกับทุกขเวทนาหายไปหมดแล้ว
ท่านจึงได้ถอนจิตออกจากสมาธิ รู้สึกมีความเบากายเบาใจ มีจิตสว่างไสวปลอด
โปรง่ สงบอิ่มเอิบสดชนื่ ในจติ ในใจ จะยนื หรอื เดนิ น่งั นอนอย่างไรกม็ ีความสขุ สงบ
วเิ วกไปหมด ทา่ นไดอ้ อกเดนิ ไปทท่ี า่ นพระอาจารยอ์ อ่ นอยู่ ทา่ นพระอาจารยอ์ อ่ นพดู
ทกั ขึ้นว่า แนะ่ ไหนว่าท่านจะนัง่ สตู้ ายถ้าไข้ไมห่ าย ลุกมาท�ำ อะไรเล่า พระอาจารย์
ฝน้ั ตอบวา่ หายแลว้ กระผมจงึ ไดล้ กุ ออกมา แลว้ ทา่ นกไ็ ดเ้ ลา่ เรอื่ งนมิ ติ ทท่ี า่ นไดเ้ หน็
ดังที่ได้กล่าวมาแล้วทุกประการ ถวายให้พระอาจารย์อ่อนฟังต้ังแต่ต้นจนอวสาน
ต้ังแต่น้ันมาพระอาจารย์ฝั้นท่านไปอยู่ป่าดงพงไพรภูเขาท่ีใด ก็ไม่ปรากฏว่าท่าน
เปน็ มาลาเรยี อีกเลย

ท่านพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร พำ�นักอยู่ท่ีวัดป่าศรัทธารวม นครราชสีมา
ต้ังแต่ปีพุทธศักราช ๒๔๗๕ ถึง ๒๔๘๖ รวมเป็นระยะเวลา ๑๒ ปี ตลอดเวลา
ที่ท่านอยู่ที่นครราชสีมา ณ วัดป่าศรัทธารวม ท่านได้ปฏิบัติบำ�เพ็ญประโยชน์
ท้ัง ๒ โดยสม่ำ�เสมออย่างสมบูรณ์ คือ อัตตประโยชน์ และสาธารณประโยชน์
ด้วยความพากเพียรพยายามและความอดทน โดยไม่เห็นแก่ความยุ่งยาก ลำ�บาก
เหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า ผลท่ีปรากฏออกมาก็คือ เกียรติศัพท์อันงามของท่าน
พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร เร่ิมมีเสียงดังปรากฏออกมาแล้วสู่ชุมนุมชนบริษัท
ท้ังคฤหัสถ์และบรรพชิตต่างก็น้อมจิตเลื่อมใส กราบไหว้สักการบูชาในปฏิปทา
จริยานุวัตร ข้อประพฤติปฏิบัติอันดีงามถูกต้อง ตามมรรคาพระอริยสาวกสงฆ์
ผู้สุปฏิปันโน ท่านปฏิบัติฝึกหัด กาย วาจา ใจ อย่างเท่ียงตรงต่อพระธรรมวินัย
ได้อยา่ งเปิดเผย ทา่ นไมม่ สี ง่ิ ใดในจติ ใจท่จี ะทำ�ใหท้ ่านต้องซ่อนเรน้ ปกปิดอำ�พราง
ในดา้ นการประพฤตแิ ละปฏบิ ตั ิ ดว้ ยกาย และวาจาใจ ทจี่ ะใหเ้ กดิ ความเคลอื บแคลง
ระวังระแวง กนิ แหนงสงสัยในวงภายในของคณะผปู้ ฏบิ ตั ิ ทง้ั คฤหัสถแ์ ละบรรพชิต
ทุกคนและทุกชนชั้นต่างก็มีจิตใจเล่ือมใสเคารพบูชา ศรัทธาในพระบารมีท่ีมีอยู่ใน
องคท์ ่านพระอาจารยฝ์ ้นั อาจาโร

ทา่ นพระอาจารยฯ์ ท่านอย่วู ดั ปา่ ศรทั ธารวมแตใ่ นพรรษา เวลาออกพรรษา
แลว้ ทา่ นนำ�ลูกศิษย์ออกเดนิ ธดุ งค์ทกุ ๆ ปี จงึ เกิดมสี ำ�นักปฏบิ ัตวิ ปิ ัสสนากรรมฐาน
ตามบ้านทที่ า่ นได้ไปพักข้นึ หลายแห่ง คราวหน่ึง ท่านพรอ้ มด้วยพระภิกษุสามเณร

ประวัติพระอาจารยฝ์ นั้ อาจาโร 67

หลายรูปและตาปะขาวด้วย ออกเดินธุดงค์ไปท้องท่ีอำ�เภอโชคชัย แล้วผ่านไปที่
อำ�เภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา ได้ไปพักวิเวก ทำ�ความเพียรภาวนาอยู่ท่ี
ภูเขาตะกดุ รัง ทีน่ ้นั มีรอยพระบาทจำ�ลองต้ังแต่สมยั ไหนไม่ทราบได้ มศี าลาหลังคา
มุงด้วยสังกะสีครอบรอยพระพุทธบาทเพื่อมิให้ฝนตกถูก มีพระองค์หนึ่งได้ไปพัก
ปักกลดอยขู่ ้างๆ รอยพระพุทธบาทน้ัน ต่อมามโี ยมใคร่จะทำ�บุญบ้าน ไดม้ านมิ นต์
พระไปสวดพุทธมนตม์ งคลบา้ นในตอนเยน็ ค�ำ่

ตอนบ่ายในวันน้ัน ไปรวมฉันนำ้�ร้อนเสร็จแล้ว ได้พากันซ้อมสวดมนต์
เพ่ือจะได้ให้เสียงเข้ากัน แต่เมื่อสวดปรากฏว่าเสียงไม่ถูกกัน บ้างก็เสียงสูงบ้าง
กเ็ สยี งต�่ำ บา้ งกเ็ สยี งเลก็ ใหญไ่ มเ่ ขา้ กนั จงึ เกดิ มปี ากเสยี งถกเถยี งกนั ขน้ึ ไมล่ งรอยกนั
แลว้ กเ็ ลกิ กนั ไป อยปู่ ระจ�ำ ทขี่ องตนๆ เพอ่ื ประกอบท�ำ ความเพยี รภาวนา พอตอนดกึ
สงดั เงยี บกไ็ ดย้ นิ เสยี งนกหวดี ดงั ขน้ึ เปน็ สญั ญาณเรยี ก ไดย้ นิ ทวั่ ถงึ ทกุ ๆ องค์ สกั ครกู่ ็
ไดย้ นิ เสยี งนกหวดี ดงั ขน้ึ มาอกี เปน็ ครงั้ ท่ี ๒ และครงั้ ที่ ๓ ดงั มาจากทางรอยพระบาท
ที่พระองค์นั้นพักอยู่ ทุกองค์จึงลุกขึ้นออกมาดู ก็ปรากฏเห็นพระองค์ที่พักอยู่ข้าง
รอยพระพทุ ธบาทนง่ั ตวั สน่ั มเี หงอ่ื ออกโซมทง้ั ตวั เปน็ อะไร พระอาจารยฝ์ น้ั ทา่ นถามขน้ึ
ท่านอาจารย์ไม่ได้ยินหรือ เสียงดังเหมือนกะสังกะสีอยู่บนหลังคาจะพังแหลกไป
หมดแล้ว เขามาจะทุบกระผมแต่ยังไม่ทันจะทุบ กำ�ลังขู่และทุบสังกะสี เสียงดัง
เหมือนกับฟ้าผ่า แท้จริงเสียงท่ีว่าน้ัน นอกจากพระองค์น้ันแล้วองค์อ่ืนไม่มีใคร
ได้ยินเลย มีแต่ท่านทอ่ี ยู่ขา้ งรอยพระพุทธบาทองคเ์ ดยี วเท่านั้นไดย้ นิ

พระอาจารย์ฝ้ันท่านได้พิจารณารู้เหตุแล้ว ท่านจึงได้เรียกพระทุกองค์
มารวมกันแล้ว ท่านจึงได้เทศน์ตักเตือนพระภิกษุสามเณรให้เห็นโทษในความวิบัติ
ท่ีมีความเห็นขัดแย้งซึ่งกันและกันเร่ืองสวดมนต์เม่ือตอนบ่ายน้ี ไม่มีความเคารพ
ซึง่ กันและกนั ตามพระธรรมวินยั ไมเ่ ป็นไปเพ่อื ความสามคั คีพร้อมเพรยี งกนั ตอ่ ไป
พวกเราควรระมัดระวังอย่าให้เร่ืองวิบัติอย่างนี้เกิดขึ้นในคณะของพวกเราได้อีก
ให้ตั้งอยใู่ นความสามคั คี คอื กายสามคั คี จิตสามคั คี ทิฏฐิสามคั คี อย่าใหก้ ายแตก
สามคั คี กายแตกไมด่ ี ใชไ้ มไ่ ด้ จติ แตกกไ็ มด่ ี ใชไ้ มไ่ ด้ ความคดิ เหน็ แตกแยกกไ็ มด่ ี เมอื่
ไมด่ แี ลว้ มนั กใ็ ชไ้ มไ่ ด้ ใครกไ็ มอ่ ยากได้ ใครๆ กไ็ มป่ รารถนาไมต่ อ้ งการเพราะมนั แตก
ใหม้ จี ติ ประกอบดว้ ยความเมตตาเคารพคารวะซงึ่ กนั และกนั จงึ จะเปน็ ไปเพอื่ ความ
สุขความเจริญในพระธรรมวินัยของเรา ท่ีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรง

68  อาจารยิ บชู า พระอาจารยฝ์ ้ัน อาจาโร

ประทานไว้มอบให้พวกเราแล้ว พวกเราควรรักควรทะนุถนอมบำ�รุงรักษาไว้ให้ดี
เราทั้งหลายควรปฏบิ ตั ิตามอย่างน้ีต่อไป

พระทกุ องคท์ ไ่ี ดม้ านง่ั รว่ มกนั ประชมุ ฟงั โอวาทของทา่ นพระอาจารยฝ์ น้ั แลว้
ตา่ งองคต์ า่ งกร็ สู้ กึ ส�ำ นกึ ผดิ กลบั มจี ติ ใจผอ่ งใส ไดท้ �ำ ความเคารพคารวะซง่ึ กนั และกนั
แล้วจงึ ได้เลิก กลับไปประกอบท�ำ ความเพยี รบำ�เพญ็ ภาวนา เหตกุ ารณ์กส็ งบตง้ั แต่
นน้ั มา ไมม่ อี ะไรเกิดขน้ึ อีก พระอาจารยฝ์ น้ั ไดพ้ าพระภิกษุสามเณรพักวเิ วกฝึกจิต
บำ�เพ็ญภาวนา พอจวนถึงเวลาใกล้จะเข้าจำ�พรรษาแล้วก็พากันกลับมาจำ�พรรษา
อยทู่ วี่ ดั ปา่ ศรัทธารวม

ออกเดนิ ธดุ งคไ์ ปจังหวดั เชียงใหม่

นับแต่ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตะมหาเถระ แยกจากคณะศิษยานุศิษย์
ไปอยู่ทางภาคเหนือจังหวัดเชียงใหม่แต่ลำ�พังองค์เดียว เปรียบประดุจช้างเผือก
หัวหน้าจ่าฝูงออกจากโขลงเที่ยวอยู่แต่ลำ�พังผู้เดียว ไม่เกลื่อนกล่นไปด้วยช้างและ
ลูกช้างด้วยกัน มีตนตัวเดียวเที่ยวหากินแต่ลำ�พังตามใจชอบ ย่อมได้รับรสจาก
หญ้าอ่อนและน้ำ�ใสอย่างสะดวกสบายเพียงพอแก่ความต้องการน้ีฉันใด แม้ท่าน
พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตะมหาเถระ ก็ได้ออกจากคณะไปเที่ยววิเวกอยู่ตามป่าที่
จังหวดั เชียงใหม่ ในสว่ นเหนือของแดนไทยกฉ็ นั น้ัน

พระอาจารย์ฝั้นมีความระลึกถึงท่านพระอาจารย์ม่ันผู้เป็นอาจารย์ของ
ท่านมิไดข้ าด เม่อื ออกพรรษาแลว้ จึงไดค้ ดิ ตดั สินใจออกเท่ียวเดินธุดงค์ โดยมที ่าน
พระอาจารย์อ่อนได้ร่วมทางไปด้วย ต้ังจิตเจาะจงตรงไปที่พระอาจารย์ของท่าน
ณ ภาคเหนือ เมอื งเชียงใหม่ เพราะไดท้ ราบขา่ วว่าท่านพระอาจารย์ใหญ่มน่ั ท่านไป
อยทู่ น่ี น้ั พอไปถงึ วดั เจดยี ห์ ลวงกไ็ ดไ้ ปพบพระอาจารยใ์ หญม่ นั่ มารอคอยอยกู่ อ่ นแลว้
พอท่านพระอาจารย์อ่อนและพระอาจารย์ฝ้ันเดินเข้าไปหา พระอาจารย์ใหญ่ม่ัน
ได้พูดทักพระอาจารย์ทั้งสองวา่ แหม พวกพระเจา้ ชู้ ทา่ นพระอาจารยฝ์ นั้ พอได้ยิน
ทา่ นพระอาจารยใ์ หญพ่ ดู วา่ ดงั นนั้ นกึ สะดงุ้ เกดิ มคี วามละอายในใจตวั ทา่ นเองมาก
แต่ทา่ นกม็ ีความส�ำ นกึ ระลกึ ร้สู กึ ตัวขน้ึ ไดว้ ่าเรามคี วามผิด เพราะแต่กอ่ นเมอื่ อยูก่ บั
พระอาจารยม์ น่ั ผา้ จวี ร สบง บรขิ าร ทา่ นพระอาจารยใ์ หญท่ า่ นพายอ้ มดว้ ยแกน่ ขนนุ

ประวัตพิ ระอาจารย์ฝนั้ อาจาโร 69

(สกี รกั ) ทา่ นไมใ่ หใ้ ชย้ อ้ มสเี หลอื งอยา่ งทตี่ ลาดเขานยิ มใชก้ นั แตน่ ผี่ า้ จวี รและผา้ สบง
ของพระอาจารย์ฝั้นและพระอาจารย์อ่อนล้วนแต่ย้อมสีเหลืองแจ๋ว ประกอบกับ
ฝาบาตรก็ประดับด้วยมุก ขัดแวววาวด้วยลวดลายทั้งสององค์ พระอาจารย์ใหญ่
จึงได้พดู อย่างนัน้ ทา่ นพูดตามความจรงิ ความจรงิ มีอยู่อย่างนี้ท่านกพ็ ูดอยา่ งน้ี

ทา่ นพระอาจารยอ์ อ่ นทา่ นนกึ ละอายในใจมาก ทา่ นปรารภวา่ จะเอาฝาบาตร
โยนท้ิงเข้าไปในป่า แต่ภายหลังเห็นว่ามุกที่ประดับฝาบาตรท่านไม่ได้ขัดหรือเล่ือย
ตัดทำ�เอง เป็นของเขาทำ�ไว้แล้วคงใช้ได้ วันต่อมาท่านพระอาจารย์ท้ังสองจึงได้
ถากแก่นขนุนเอามาต้มเคี่ยวให้ออกเป็นสีดีแล้ว ซักผ้าจีวร สบง และผ้าบริขารให้
สีเหลืองออกแล้ว จึงซักย้อมด้วยนำ้�แก่นขนุนที่ต้มเคี่ยวเอาไว้จนผ้าเป็นสีแก่นขนุน
ตามที่ตอ้ งการ

น่ังภาวนาจนสวา่ ง

ท่านพระอาจารย์ใหญ่ได้บอกให้จัดท่ีพักเสร็จเรียบร้อยแล้ว ตอนเย็นคำ่�
วันนั้น พระอาจารย์ทั้งสองได้เข้าไปถวายการปฏิบัติ ท่านพระอาจารย์ใหญ่ได้พูด
กับท่านพระอาจารย์ท้ังสองว่า พวกท่านมานี้นับว่าโชคดีมาก ที่ผมได้มารอพบ
พวกทา่ นอยทู่ นี่ ้ี มฉิ ะนนั้ พวกทา่ นจะไมไ่ ดเ้ หน็ ผมเลย มพี ระภกิ ษุ สามเณร หลายคณะ
หลายพวกมาเที่ยวตามหาผมแต่ไม่พบ เพราะผมออกไปปฏิบัติ ไปอยู่ตาม
สถานทีส่ งบสงัดแตล่ ำ�พังองคเ์ ดยี ว ไมม่ ีใครรู้จัก พระเณรเป็นร้อยๆ มา กไ็ มส่ ำ�คญั
เทา่ พวกทา่ นมาดอก

ท่านอาจารย์ทัง้ สองถวายการปฏิบตั ิอยู่ดกึ เกอื บสองยาม พระอาจารย์ใหญ่
ได้ลุกข้ึนน่ัง ต้ังท่าตรงองอาจ แล้วแสดงธรรมปฏิบัติ เปิดเผยให้ท่านพระอาจารย์
ทั้งสองฟังอย่างจะแจ้ง ยกขึ้นมาแสดงเรื่องมรรคผล นิพพานญาณวิมุตติ
แลว้ แสดงอรยิ วงศ์ อรยิ ประเพณขี องพระพทุ ธเจา้ และพระอรยิ สงฆส์ าวกเจา้ ทงั้ หลาย
ว่าพระพุทธเจ้าก็ดี พระอริยสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้าก็ดี ท่านผู้เป็นพระอริยะ
ทั้งหลายเหล่าน้ัน ท่านมีข้อวัตรปฏิบัติเพ่ือให้เป็นเย่ียงอย่าง ทุกกาลทุกเวลา
ทุกอิริยาบถ ท่านไม่ได้เลิกละ สละปล่อยวางจนตลอดชีวิต พระองค์ไม่คลุกคลี
ทรงชกั น�ำ พาสาวกยนิ ดแี ตใ่ นทว่ี เิ วกสงบสงดั พาสาวกของพระองคป์ ฏบิ ตั ิ อปั ปจิ ฉตา

70  อาจาริยบูชา พระอาจารย์ฝ้นั อาจาโร

มกั นอ้ ย สนั โดษ มจี ติ ใจเดด็ เดย่ี วมน่ั คง คงทไี่ มเ่ ปลย่ี นแปลง มรรคผลธรรมวเิ ศษนน้ั
ไม่เลือกบคุ คล เพศ ภูมิ ชนช้นั วรรณะ และไมเ่ ลอื กกาล สถานท่ี ผู้ดีมีจน มรรคผล
มีตลอดกาล ตลอดเวลา มีประจ�ำ อยตู่ ั้งแตไ่ หนแต่ไรมา

เรายงั ขาด ศลี สมาธิ ปัญญา ศรทั ธา สติ ความเพยี ร ยงั ไมแ่ กก่ ล้า เต็มเปย่ี ม
บรบิ รู ณ์ จติ จึงไม่มกี ำ�ลงั ต่อส้เู อาชนะกับกเิ ลสได้ พวกเรามาน้ไี ม่ใช่มาเลน่ เราบวช
ก็ไม่ใช่บวชเล่น เราบวชจริง เรามาจริง เราต้องปฏิบัติจริง จึงจะรู้จึงจะเห็นธรรม
อันเป็นของจริง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ทรงตรัสรู้ธรรมจริง เป็นสัจธรรม
พระองคท์ รงแสดงธรรมเปน็ ค�ำ ทม่ี น่ั คง มอี ยแู่ ละตงั้ อยตู่ ลอดกาล ไมเ่ คยเปลย่ี นแปลง
ทั้งในอดีต อนาคต และปัจจุบัน ไม่เคยคร่ำ�ครา ยังสดใสใหม่เอ่ียมเต็มเปี่ยมอยู่
ตลอดกาลทุกเมื่อ ไม่เคยขาดตกบกพร่องแม้แต่น้อย จงพากันปฏิบัติอย่างเอาจริง
เอาจัง เพื่อจิตจะได้มีกำ�ลังแข็งแกร่ง ต่อสู้กับข้าศึกผู้คึกคะนองก่อกวนเราอยู่
ตลอดเวลามาเป็นเวลาอันยาวนาน จะนับประมาณกี่ร้อยก่ีพันกัปกัลป์อนันตชาติ
กป็ ระมาณมไิ ด้ ท�ำ ใหเ้ ราไดร้ ับทกุ ขท์ รมานมาแสนสาหัสจนนับร่องรอยไม่ได้

ธรรมปฏิปทาที่ท่านพระอาจารย์ใหญ่เทศนาแสดงในคืนวันน้ัน แหมช่าง
นา่ อัศจรรยม์ าก ยงั ไมเ่ คยไดย้ ินได้ฟงั มากอ่ นเลย ทา่ นน่งั ตัวตง้ั ตรง ทา่ ทางองอาจ
ตาแหลมคมทอดต่ำ�สำ�รวม เสียงก้องดังฟังกังวานนุ่มนวลชวนให้จิตผู้ฟังปล้ืมปีติ
สงบอิ่มอย่างบอกไม่ถูก ทำ�ให้พระอาจารย์ทั้งสองมีกำ�ลังใจ ในคืนวันน้ันท่าน
น่งั สมาธิจนสวา่ ง ไมร่ ้สู ึกเจบ็ ปวดเหน็ดเหนอ่ื ยออ่ นเพลยี เลย

ท่านพระอาจารย์อ่อนกราบขออนุญาต ลาพระอาจารย์ใหญ่ไปบำ�เพ็ญ
ท�ำ ความเพยี รภาวนาทอ่ี �ำ เภอพร้าว ท่านพระอาจารย์ฝนั้ ปรารภวา่ จะไปด้วย แต่ยัง
ไมท่ นั ไดล้ า ทา่ นพระอาจารยใ์ หญไ่ ดพ้ ดู ขนึ้ กอ่ นวา่ ทา่ นฝน้ั อยกู่ บั ผมทน่ี กี่ ส็ บายแลว้
ถงึ จะไปทอี่ น่ื กไ็ มส่ บายดอก พระอาจารยใ์ หญพ่ ดู ใหน้ ยั อยา่ งนี้ ทา่ นพระอาจารยฝ์ น้ั
ทราบไดท้ นั ทวี า่ พระอาจารยใ์ หญต่ อ้ งการใหพ้ ระอาจารยฝ์ นั้ อยกู่ บั ทา่ น ไมอ่ ยากให้
ไปที่อื่น ทา่ นพระอาจารยจ์ งึ ไมไ่ ดไ้ ปอำ�เภอพรา้ วกับท่านพระอาจารย์อ่อน

หลายครง้ั ทท่ี า่ นพระอาจารยฝ์ น้ั ปรารภวา่ จะไปกราบขออนญุ าตลาไปเทย่ี ว
วเิ วกบ�ำ เพญ็ เพยี รภาวนาทอ่ี น่ื ทา่ นพระอาจารยก์ ไ็ มใ่ หไ้ ป โดยพดู กบั ทา่ นพระอาจารยฝ์ น้ั
ว่าท่านฝ้ันอยู่ที่นี่ก็ดีอยู่แล้วทุกครั้งไป เม่ือท่านพระอาจารย์ใหญ่ม่ันไม่ประสงค์จะ

ประวตั พิ ระอาจารย์ฝั้น อาจาโร  71

ให้พระอาจารย์ฝ้ันไปที่อื่น ท่านพระอาจารย์ฝ้ันก็ไม่ไป จนกว่าท่านอนุญาตเมื่อไร
ท่านจึงจะไป ท่านมีความเคารพเช่ือฟัง ตั้งอยู่ในโอวาทของพระอาจารย์ของท่าน
อย่างหาผู้ที่เสมอเหมือนได้โดยไม่เป็นการง่ายเลย ต่อมาท่านจึงได้อนุญาตให้ไป
พระอาจารยฝ์ น้ั จงึ ไดไ้ ป ไดอ้ อกไปพกั ทหี่ ว้ ยน�้ำ รนิ และทบ่ี า้ นโปง่ กบั ทา่ นพระอาจารย์
อ่อน อยู่ที่บ้านโป่ง พระอาจารย์อ่อนป่วยเป็นไข้มาลาเรีย ท่านพระอาจารย์ฝ้ัน
ไดร้ กั ษาพยาบาลทา่ นพระอาจารยอ์ อ่ นอยหู่ ลายวนั อาการไขข้ องท่านพระอาจารย์
ออ่ นพอทเุ ลาเบาบางขน้ึ แลว้ จงึ ไดพ้ ากนั กลบั ไปหาพระอาจารยม์ นั่ ทวี่ ดั เจดยี ห์ ลวง
เมืองเชยี งใหม่ พอท่านอาจารยท์ ้ังสองไปถงึ พระอาจารย์ใหญ่ได้เทศน์และสอนให้
พระอาจารย์ฝ้ันทำ�ความเพียรท้ังกลางวันและกลางคืนไม่มีเวลาหลับนอน จนจิต
มกี �ำ ลงั กลา้ เปน็ ธรรมดวงเดียวไม่เกาะเกีย่ วกบั อะไรๆ ทัง้ สิ้น

พอเวลาใกล้จะถึงกาลเข้าพรรษา ท่านพระอาจารย์ฝ้ันได้รับธนาณัติจาก
พ.ท.หลวงเกรียงฤทธิพิเชตุ เสนาธิการมณฑลทหารบกที่ ๓ จังหวัดนครราชสีมา
เป็นเงิน ๔๐ บาท พร้อมกบั จดหมายนิมนต์พระอาจารย์ฝน้ั กลับไปจ�ำ พรรษาวดั ป่า
ศรัทธารวม โคราช ท่านพระอาจารยฝ์ ัน้ ยงั ไม่อยากกลบั แตท่ า่ นพระอาจารย์อ่อน
ชวนกลับว่า ไป กลับๆๆ ไม่อยู่แล้ว กลับๆๆ ตกลงพระอาจารย์ท้ังสองจึงเข้า
ขออนุญาตกราบนมัสการลาพระอาจารย์ใหญ่กลับนครราชสีมา จำ�พรรษาอยู่
วัดป่าศรัทธารวม ท่านพระอาจารย์อ่อนอยู่วัดป่าสาลวัน หลังกองช่างกลรถไฟ
นครราชสีมา เช้ือไข้มาลาเรียท่ีท่านพระอาจารย์อ่อนเป็นไข้อยู่ท่ีเมืองเชียงใหม่
ยงั ไม่หายขาด จึงไดต้ ิดตามทา่ นมาถงึ โคราช กลับมาก�ำ เริบเปน็ ข้ึนมาอีกอยา่ งแรง
จนขึน้ สมอง เพอ้ คลง่ั ไม่มสี ตริ ู้สกึ ตวั ทหาร ๕-๖ คนจับแทบจะไมอ่ ยู่ จงึ ไดร้ บั เอาไป
รักษาทเ่ี สนารกั ษ์ มณฑลทหารบก นครราชสีมา เหน็ นายทหารเขา้ มาเยีย่ มกย็ กมือ
ชหี้ นา้ ดา่ ใครตอ่ ใคร ดา่ สวด ดา่ ซาย ชหี้ นา้ นนั่ กห็ มาตวั หนง่ึ นกี่ ห็ มาตวั หนง่ึ มองเหน็
สายไฟว่าเป็นงูไปหมด ร้องเสียงลั่น งูๆๆๆ หมอจึงได้ถวายยาฉันให้นอนหลับ
จงึ สงบหลับไป รกั ษาพยาบาลอยู่ประมาณ ๗ วัน ทา่ นพระอาจารย์อ่อนจงึ ไดห้ าย
จากมาลาเรยี ขนึ้ สมอง จากนั้นมาอาการไขจ้ ึงคอ่ ยหายดขี น้ึ ตามล�ำ ดับ

ตอ่ มา ปี พ.ศ. ๒๔๘๒ พระอาจารยส์ งิ ห์ ขนั ตยาคโม (เจา้ คณุ พระญาณวศิ ษิ ฏ)์
เจ้าอาวาสวัดป่าสาลวัน ได้รับจดหมายของโยมบ้านนาโสก อำ�เภอนาแก จังหวัด
นครพนม วา่ เวลาน้ีทีว่ ัดปา่ ดงเทา้ เก่า บา้ นนาโสก มแี มช่ ีเป็นพระอรหันต์ ประกาศ

72  อาจาริยบูชา พระอาจารยฝ์ ั้น อาจาโร

ตวั เองวา่ เปน็ นางภกิ ษุ มผี คู้ นแตกตน่ื กนั มาก บางคนกเ็ ชอ่ื บางคนกไ็ มเ่ ชอื่ ในจดหมาย
ขอนิมนต์ท่านพระอาจารย์สิงห์ไประงับเหตุการณ์น้ีด้วย ท่านพระอาจารย์สิงห์
ติดธรุ ะไปไมไ่ ด้ จึงไดม้ อบใหท้ ่านพระอาจารยฝ์ นั้ รบั เปน็ ธุระไปทำ�หน้าทแ่ี ก้ไขแทน
ครน้ั ออกพรรษาสนิ้ เขตกฐนิ ไปแลว้ ทา่ นจงึ ไดอ้ อกเดนิ ทางเพอื่ ไปท�ำ ธรุ ะตามทไ่ี ดร้ บั
มอบหมายจากทา่ นพระอาจารย์สิงห์

แมช่ ีอรหันต์ ?

เร่ืองมีอยู่ว่า ผู้หญิงคนหน่ึงชื่อ แม่ตัด อยู่บ้านนาน้อย มีศรัทธาเลื่อมใส
ใคร่อยากจะออกบวชเป็นนางชี จึงได้สละลูกหลานบ้านเรือนแล้วมาบวชเป็นแม่ชี
(ผู้หญงิ โกนผมโกนค้ิว แล้วนงุ่ ขาวหม่ ผ้าขาว รกั ษาศลี ๘) แล้วมาฟังเทศน์ฟงั ธรรม
กบั ทา่ นพระอาจารยอ์ าญาครดู ี ซงึ่ ทา่ นอยทู่ ว่ี ดั สนั ตกิ าราม บา้ นนาโสก (ดงเทา้ เกา่ )
แม่ชีตัดเมื่อได้รับการอบรมส่ังสอนวิธีการปฏิบัติฝึกหัดภาวนาจากท่านพระอาญา
ครูดีแล้ว ก็กลับไปปฏิบัติอยู่ที่บ้านนาแกน้อย แต่แม่ชีเทียวออกมาฟังเทศน์
พระอาญาครดู แี ทบทกุ วนั ท�ำ ใหจ้ ติ ใจของแมช่ มี กี �ำ ลงั ความเลอ่ื มใสในใจอยา่ งแรงกลา้
ตั้งใจทำ�ความเพียรภาวนาตลอดเวลาไม่ลดละ เธอได้กำ�หนดจิตคิดต้ังบริกรรม
ค�ำ ภาวนาทงั้ วนั ทง้ั คนื เดนิ ยนื นง่ั นอน จติ ทไี่ ดก้ �ำ ลงั จากสติ ปญั ญา ศรทั ธา ความเพยี ร
กร็ วมลงสคู่ วามสงบสงดั จากกาม สงดั จากอกศุ ล จติ กผ็ อ่ งใสบรสิ ทุ ธหิ์ มดจดสะอาด
มีกำ�ลังสามารถรู้สึกรู้เห็นชาติของตนเองได้ว่า แต่ชาติก่อนตัวเองเคยได้ถือกำ�เนิด
เกดิ เป็นลูกชายของท่านพระอาญาครดู ี

แม่ชีตัดจึงได้นำ�เอาเรื่องนี้ไปเล่าถวายให้ท่านพระอาญาครูดีฟัง ท่านพระ
อาญาครดู ีจงึ ซักถามแมช่ ตี ดั วา่ มอี ะไรเป็นหลกั ฐานแสดงให้เห็นวา่ เปน็ ความจรงิ วา่
แตช่ าตกิ อ่ นแมช่ เี คยไดม้ าถอื เอาก�ำ เนดิ เกดิ เปน็ ลกู ของอาตมาจรงิ ฝา่ เทา้ ของคณุ พระพอ่
มรี ปู กงจกั ร แมช่ ตี อบ แลว้ แมช่ จี งึ ขออนญุ าตดฝู า่ เทา้ ของคณุ พระพอ่ (คอื ฝา่ เทา้ ของทา่ น
พระอาญาครดู )ี ทา่ นกอ็ นญุ าตใหด้ ู ในความรสู้ กึ ของแมช่ กี ป็ รากฏวา่ มเี ปน็ ความจรงิ
แมช่ จี งึ ไดม้ คี วามเชอื่ มนั่ วา่ ตวั เองเคยไดถ้ อื เอาก�ำ เนดิ มาเกดิ เปน็ ลกู ของคณุ พระพอ่
คือพระอาญาครูดีจริงๆ ต้ังแต่นั้นมาแม่ชีตัดก็เรียกท่านพระอาญาครูดีว่าเป็น
พระพ่อ ส่วนท่านพระอาญาครูดีท่านก็เชื่อ นับถือแม่ชีตัดว่าเป็นลูกชายของ









ประวตั พิ ระอาจารย์ฝนั้ อาจาโร  73

ท่านจริงๆ ทั้งสองฝ่ายต่างก็ได้ไปมาสังคมสมาคมอย่างใกล้ชิดสนิทสนมเหมือน
พ่อกับลูก แม่ชีจึงได้ขออนุญาตคุณพระพ่อเข้ามาอยู่ในวัด เพ่ือจะได้ฝึกหัดและ
ปฏิบัติใกล้ชิดกับคุณพระพ่อ ท่านพระอาจารย์อาญาครูดีก็ได้อนุญาตให้ลูกชาย
ในเพศรา่ งของแมช่ เี ขา้ มาอยกู่ ฏุ ใิ กลก้ นั กบั กฏุ ขิ องทา่ น คณุ พระพอ่ (พระอาญาครดู )ี
ก็ได้อบรมสั่งสอนลูกชาย (แม่ชีตัด) ให้เร่งทำ�ความเพียรเพ่ือให้ได้บรรลุธรรมที่ยัง
ไม่ได้บรรลุ เพ่ือให้ถึงซ่ึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อตัดกระแสแห่งวัฏฏะ เพื่อละสังโยชน์
โดยล�ำ ดบั ใหไ้ ดบ้ รรลถุ งึ ซง่ึ ธรรมชน้ั สงู ยง่ิ ๆ ขน้ึ ไป ลกู ชายในรา่ งของนางชกี ม็ คี วาม
เคารพเชอ่ื ฟงั ตง้ั อยใู่ นโอวาทของคณุ พระพอ่ ทกุ อยา่ ง ปฏบิ ตั คิ ณุ พระพอ่ อยา่ งเหมอื นกบั
เด็กผูช้ ายปฏบิ ัตกิ บั อาจารย์ ท�ำ ใหค้ ุณพระพ่อหลงรักลูกชายชีคนนม้ี าก

ต่อมาการบรรลุธรรมบังเกิดขึ้นแก่ลูกชาย โดยพระธรรมมาแสดงตัว
ให้ปรากฏเห็นเป็นองค์พระอยู่บนศีรษะแม่ชีตัด พระท่ีสถิตบนศีรษะก็ค่อยสั่งสอน
ตักเตือนแม่ชีให้ปฏิบัติตามตลอดเวลา แม่ชีก็ทำ�ตาม พูดตาม ไปตาม อยู่ตาม
พระธรรมทา่ นบอกทา่ นสอนทกุ อยา่ ง พระธรรมไดแ้ สดงใหแ้ มช่ ฟี งั วา่ ในอดตี ชาตทิ ี่
ลว่ งกาลมายาวนานแลว้ วา่ ทา้ วฯ ไดถ้ อื ก�ำ เนดิ เกดิ มาเปน็ ลกู ชายของทา่ นพระอาญา
ครูดี (ท้าวฯ คือชื่อทีพ่ ระธรรมเรยี กแม่ชตี ดั เม่อื เป็นลกู ชายของอาญาครูด)ี มนี ามว่า
ท้าวบุญ มีศรทั ธาไดเ้ ขา้ มาบวชเป็นพระภกิ ษุในพระพทุ ธศาสนาอยทู่ ี่เมืองตักกสิลา
ต่อมาได้เป็นพระอาจารย์บุญ พระอาจารย์บุญเป็นพระที่มีเมตตามหานิยมมาก
มีประชาชนคนทุกเพศทุกวยั เคารพเล่อื มใสรักใครท่ ่านมาก

พระอาจารย์บุญคลุกคลีม่ัวอยู่กับบริษัทบริวารทุกวันทุกเวลามากจนเกิน
ขอบเขต เปน็ เหตใุ ห้จติ ใจเส่อื มทราม จนหลงลมื สติ ไม่มีเหลอื แม้กระทง่ั พระธรรม
เคร่ืองคุ้มครองทั้งตนและโลก คือ หิริ โอตตัปปะ กิเลสกามและวัตถุกามติดตาม
มาประจวบกันได้จังหวะ ตัณหาราคะท่ีมีอยู่ภายในก็บีบเอาหัวใจพระอาจารย์บุญ
บงั คบั สนบั สนนุ ใหพ้ ระบญุ พอใจหลงใหลในสกี าผมู้ าเปน็ โยมอปุ ฏั ฐากของตน จนได้
กระท�ำ กรรมอนั ลามกต�ำ่ จนถงึ ทส่ี ดุ ในการประพฤตพิ รหมจรรย์ ดว้ ยขม่ ขนื เสพเมถนุ
ธรรมกับสีกาผู้อุปัฏฐากตน ยังผลให้ตนต้องอาบัติปาราชิกขาดจากความเป็นพระ
อาจารยบ์ ุญ เม่ือตายจากนนั้ กไ็ ปตกนรกเสวยทนทุกขเวทนาอย่ใู นนรกน้ัน ๗ หมนื่
กัลป์ พน้ จากนรกขุมใหญ่แลว้ ยังตกนรกขมุ เลก็ ท่เี ป็นบรวิ ารอยโู่ ดยรอบขมุ ใหญอ่ กี
เสวยเวทนาทนทุกข์ในนน้ั จนส้นิ บาปกรรม พ้นจากนรกก็มาเกิดเป็นเปรต ๗ กัลป์

74  อาจารยิ บูชา พระอาจารย์ฝนั้ อาจาโร

พน้ จากเปรตมาเปน็ สตั วเ์ ดยี รจั ฉาน ถกู เขาตอนตดั พชื ออกอกี ๗ กลั ป์ นบั ชาตไิ มถ่ ว้ น
ท่ไี ดท้ ่องเทีย่ วเกดิ ในก�ำ เนดิ ต่างๆ ใหไ้ ด้รับทุกขท์ รมานแสนสาหสั เพราะกรรมทต่ี น
ทำ�ใหต้ อ้ งอาบตั ิโทษเมือ่ คราวเปน็ พระบุญนนั้

ครน้ั กลบั ชาตมิ าชาตนิ จ้ี งึ ไดม้ าเปน็ เพศหญงิ มสี งิ่ ทเี่ ปน็ ต�ำ หนอิ ยทู่ แ่ี ขง้ มรี อย
โดยรอบ เพราะบาปกรรมทีไ่ ด้กระทำ�จึงถกู จองจ�ำ ทำ�โทษทรมาน จึงมรี อยปรากฏ
เป็นแขง้ ขากวิ่ มาในชาติน้ี บัดน้ีทา้ วฯ ไดเ้ กดิ มาเป็นคน แลได้มาพบกับคณุ พระพอ่
แล้ว ถ้าหากว่าคุณพระพ่อไปไหนและอยู่ท่ีไหน ให้ท้าวฯ ติดต้อยห้อยตามคอย
ปรนนิบัติปฏิบัติดูแลรักษาคุณพระพ่อ (พระธรรมพูดผ่านมาทางแม่ชีตัด) ต่อมา
พระธรรมได้พูดผ่านในร่างของแม่ชีตัดอีกว่า ไป๊ ให้พากันไปดูบ้านเก่าของท้าวฯ
และคุณพระพ่อที่เมืองตักกสิลา ชื่อว่าวัดกู่แก้ว บ้านจีด ป่าขี ตำ�บลจีด อำ�เภอ
หนองหาน จงั หวัดอดุ รธานี

การเดินทางไปเมืองตักกสิลา คือบ้านจีด ในครั้งนั้นมีท่านพระอาญาครูดี
พระบุญ (ไม่ใช่พระบุญหรือแม่ชีตัดชาติก่อน) สามเณรทองเพียร สามเณรทองดี
สามเณรทองใย และแม่ชีตัด ไปถึงบ้านจีดแล้ว ได้ไปพักปักกลดอยู่ที่วัดกู่แก้ว
พระธรรมในร่างของแม่ชีกบ็ อกวา่ นแี่ หละเมืองตักกสิลา อันเปน็ บา้ นเกิดของทา้ วฯ
และคุณพระพ่อ แล้วพระธรรมก็บอกว่า มีเถาย่านางเถาใหญ่อยู่ห่างไปประมาณ
๑ เส้นกว่า แลว้ มเี จดยี เ์ กา่ ๆ อยู่หนึ่งองค์อยู่ที่ต้นไทร ไทรต้นนัน้ พระธรรมบอกวา่
เป็นไทร ๙ กำ� คือรากหย่ังลงดินมี ๙ ราก พระบอกว่าให้คุณพระพ่อพาท้าวฯ
ไปนง่ั ภาวนาอยู่ท่ีนัน้ แหละ ตอ่ ไปพระธรรมจะเอาไหเงินไหทองคำ�ขึน้ มาให้ เพราะ
เจา้ ของไดม้ าถงึ แลว้ ใหค้ อยดู บอกอกี วา่ คนื นแ้ี หละจะเอาไหเงนิ ไหทองค�ำ ขนึ้ มาใหไ้ ด้
มีคนคอยเฝ้าดูอยู่ที่น้ัน แต่ก็ไม่เห็นปรากฏ เห็นมีแต่รอย ส่วนชาวบ้านได้ประชุม
ปรึกษาตกลงกนั ว่าไมค่ วรเอาข้นึ กเ็ ลยเลกิ กนั ไป

พอจะถงึ วันเขา้ พรรษาก็ได้พากันอยู่จำ�พรรษาท่วี ัดกแู่ ก้วน้ัน ระหว่างกลาง
พรรษากม็ เี รอ่ื งแปลกประหลาดมาอกี คอื พระธรรมในรา่ งของแมช่ แี สดงธรรมเทศนา
แก้กรรมพระภิกษุสามเณรในวัด มีแก้กรรมของพระบุญ เพราะพระบุญมีกรรม
หนกั มากถงึ ๗ แสน แลพระบญุ ได้มคี วามประมาทในคุณพระพอ่ วธิ แี ก้กรรมของ
พระบุญหรอื ขององค์อ่ืนๆ และใครกด็ ี พระธรรมบอกวา่ ให้ปล่อยวางกรรมน้นั เสยี
อยา่ งนท้ี ุกราย

ประวัติพระอาจารยฝ์ ้นั อาจาโร  75

เม่ือหมดเขตพรรษากาลผ่านพ้นไปแล้ว ได้ออกเดินธุดงค์ไปจำ�พรรษาท่ี
บา้ นเหลา่ เมอื งพกึ พรรษานพี้ ระธรรมแสดงธรรมเทศนาประกาศวา่ เวลานไ้ี ดม้ ศี ตั รู
ตดิ มาคดิ จะฆา่ คณุ พระพอ่ ขอใหท้ า้ วและพระภกิ ษสุ ามเณรชว่ ยกนั ระมดั ระวงั รกั ษา
คณุ พระพอ่ ใหด้ ี จงึ ไดป้ ระชมุ ปรกึ ษาจดั ผลดั เปลยี่ นกนั อยเู่ วรยามตดิ ตอ่ กนั ตลอดวนั
ตลอดคืน ได้ปฏบิ ตั จิ ัดการอยู่เวรยามกันมากห็ ลายวันหลายคืนแล้ว ก็ไมป่ รากฏว่า
มอี ะไรหรอื ใครทไี่ หนมาเปน็ ศตั รคู อู่ าฆาตมาดรา้ ยแตอ่ ยา่ งใดเลย จงึ สามเณรทองใย
กับสามเณรจวงอยากจะพิสูจน์ว่าเป็นความจริงอย่างไรหรือไม่ ตอนดึกประมาณ
๕ ทุ่มเศษ สามเณรจึงไปเอาค้อนมาตีเคาะไม้ลองดู แม่ชีตัดพอได้ยินเสียงไม้
ที่สามเณรเคาะเท่าน้ันแหละ ก็ตกใจ ลุกข้ึนตะโกนออกเสียงล่ันว่า เขาจะมาฆ่า
คุณพระพ่อแล้ว ช่วยด้วยๆๆ พระเณร ชาวบ้านพอได้ยินเสียงแม่ชีร้องตะโกน
ดังน้ันก็เข้าใจว่ามีคนจะมาฆ่าพระอาญาครูดีจริงๆ เพราะต่างคนก็ต่างเตรียม
ระมัดระวงั อยแู่ ล้ว กพ็ ากนั วิ่งออกมา ได้ยินแตเ่ สียงถามกนั วา่ อะไรๆ ใคร ท่ีไหนๆ
ถามกนั ไปถามกนั มา กไ็ มเ่ หน็ มใี ครทไ่ี หนเปน็ ศตั รมู าจะท�ำ รา้ ยคดิ ฆา่ พระอาญาครดู ี
เพียงแต่ได้ยินเสียงท่ีสามเณรเคาะไม้เท่านั้น ก็กลัวร้องตะโกนเสียงล่ันไปเลย
ไมน่ า่ เชอ่ื เลย ท�ำ ใหค้ นแตกตน่ื โดยไมม่ เี หตผุ ล แลว้ กเ็ ลกิ รากลบั ไป พระอาญาครดู ลี ง
ทณั ฑกรรมท�ำ โทษสามเณร เพราะไดต้ เี คาะไมใ้ หแ้ มช่ ตี ดั ตกใจ แลว้ รอ้ งตะโกนท�ำ ให้
ผคู้ นแตกตื่น

สามเณรทองเพียร สามเณรทองใย สามเณรทองดี มีความเหน่ือยหน่าย
คลายความเลื่อมใส และความเคารพนับคือพระอาญาครูดีกับแม่ชีตัด เพราะเห็น
การปฏิบัติคลุกคลีกันเกินขอบเขต สามเณรทั้ง ๓ องค์ จึงพากันหนีโดยไม่ได้
บอกลาพระอาจารยอ์ าญาครดู ีแต่อยา่ งใด ได้ไปอยู่วัดปา่ สาลวนั นครราชสมี า กับ
พระอาจารยส์ งิ ห์ขนั ตยาคโม(พระญาณวศิ ษิ ฏ)์ ตอ่ มาสามเณรทงั้ ๓องค์อายุ๒๐ปเี ตม็
กไ็ ดเ้ ข้าอปุ สมบทเป็นพระภิกษุทงั้ ๓ องค์ อย่ทู ่ีวัดป่าสาลวัน จงั หวัดนครราชสีมา

สว่ นทา่ นอาญาครดู กี บั พระบญุ และแมช่ ตี ดั ไดเ้ ดนิ ทางกลบั มาอยวู่ ดั ปา่ สงบ
อารมณ์ (สันติการาม) บ้านนาโสก ต.นาแก จ.นครพนม ซึ่งเป็นวัดเดิมของท่าน
ทา่ นเคยอยมู่ ากอ่ นแลว้ แมช่ ตี ดั ไดเ้ รง่ ประกอบท�ำ ความเพยี รภาวนาไปตามความส�ำ คญั
อันเป็นอุดมการณ์ของตน ซ่ึงใครจะตำ�หนิติชมประการใดมิได้เอาใจใส่อะไร


Click to View FlipBook Version