The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ธัมมะในลิขิต - หลวงตาบัว

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by ืทีมงานกรุธรรม, 2022-08-18 00:01:14

ธัมมะในลิขิต - หลวงตาบัว

ธัมมะในลิขิต - หลวงตาบัว

Keywords: ธัมมะในลิขิต - หลวงตาบัว

เดียวกัน ศาสนากับใจกห็ าทางตอ้ งติกนั ไม่ลง ใจก็จรงิ ศาสนากแ็ ท้ ตา่ ง
อนั ตา่ งแท้ ต่างอันตา่ งจริง น่แี หละที่พระพทุ ธเจ้าทา่ นวา่ “ผใู้ ดเหน็ ธรรม
ผู้นัน้ เหน็ เราตถาคต” หมายถงึ ธรรมดวงนี้ ตถาคตนัน้ ไม่ใชร่ ปู รา่ ง รูปรา่ ง
นน้ั เป็นตถาคตประเภทหนึง่ คอื เปน็ เรือนรา่ งของพระพทุ ธเจ้า ซงึ่ เหมือน
กบั ร่างกายของพวกเราทั้งหลาย คอื พระกายนัน้ เปน็ เรอื นร่างของพทุ ธะ
อันวเิ ศษ เราไดเ้ ห็นพระพุทธเจ้า ได้กราบไหว้บชู าพระองค์เป็นขวญั ตา
ขวญั ใจ กไ็ ดช้ อ่ื วา่ เราไดเ้ หน็ ตถาคตทางตา ซึ่งจดั ว่าเห็นตถาคตประเภท
หน่ึง อีกอยา่ งหนง่ึ ผรู้ ะลกึ ถงึ พระพุทธเจา้ พระธรรม พระสงฆ์ดว้ ยความ
เชือ่ ความเลอ่ื มใส ก็ช่ือว่าได้ถงึ ธรรม หรอื ได้ถึงพระพุทธเจ้าอกี ทางหนึ่ง
ผู้สำ�เรจ็ พระโสดา สกิทาคา อนาคา เป็นขั้นๆ ข้นึ ไป กช็ อื่ ว่าไดเ้ หน็
ตถาคตโดยล�ำ ดับจนถึงขน้ั สมบูรณ์ ตถาคตแทค้ ือความบริสทุ ธิแ์ ห่งธรรม
ความบรสิ ุทธิแ์ ห่งใจ ธรรมกบั ใจเปน็ อันเดียวกนั หาทางแยกทางแยะกัน
ไมไ่ ด้ ใจอย่ทู ใี่ ดธรรมอยูท่ นี่ นั้ ธรรมอยูท่ ใี่ ดตถาคตอย่ทู นี่ ่นั จงึ เรยี กได้วา่
“ผใู้ ดเหน็ ธรรม ผู้น้นั เห็นเราตถาคต” การเหน็ ภาคปฏิบตั ิเปน็ อยา่ งนี้ คือ
รเู้ หน็ ธรรมขั้นบริสทุ ธิ์โดยทางใจตามพระพทุ ธเจ้า เรียกวา่ เห็นธรรมหรอื
เห็นตถาคตโดยสมบรู ณ์ จงึ ไม่สงสยั ว่า พระพทุ ธเจา้ ปรินิพพานนานไป
แล้วได้ ๒๕๑๗ ปี หรอื จะปรินพิ พานไปกีก่ ปั ก่กี ัลป์ก็ตาม เพราะน่ันเปน็
สมมตุ ิ ซ่งึ เหมอื นกบั โลกสมมตุ ิทวั่ ๆ ไป และน่ันท่านแสดงไวต้ ามกาลตาม
สถานที่ เพ่อื เปน็ กรุยหมายป้ายทางไว้ใหท้ ราบกาลสถานทีข่ องทา่ นต่าง
หาก สำ�หรบั พทุ ธศาสนกิ ชนผู้เคารพเลื่อมใสทา่ น ได้กราบไหวส้ กั การบูชา
ตามกาลสถานท่วี ันเวลา สว่ นตถาคตแท้นนั้ คอื ความบรสิ ุทธแ์ิ ห่งใจลว้ นๆ
ไม่มีกาลสถานท่ีเข้าเก่ียวข้องเลย ผู้บรสิ ทุ ธล์ิ ว้ นๆ แล้วอยูใ่ นสถานท่ใี ดก็
เท่ากับไดเ้ ฝ้าพระพทุ ธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ อยู่ตลอดเวลาอกาลโิ ก

๙๙

จึงกรุณาประพฤติปฏิบัติศาสนธรรมเหล่าน้ีให้เจริญข้ึนภายในใจ
เถิด ชอ่ื วา่ เราไม่ได้ปราศจากศาสดา อยู่ในสถานทีใ่ ดกเ็ ท่ากบั ได้เฝ้าพระ
ศาสดา พระธรรม พระสงฆ์ อยทู่ กุ เวลา กระท่ังไดเ้ ขา้ ถงึ วมิ ุตติหลดุ พน้
ภายในจิตใจ ก็ทราบชดั ว่าศาสดาคือพระองคใ์ ดแน่โดยไม่ต้องสงสัย

การอธิบายธรรม นับว่าพอสมควร จึงขอยุตเิ พียงเท่าน้ี”

๑๐๐

คำ�ถาม - ค�ำ ตอบ

ทา่ นอาจารย์ “การฟังค�ำ อธบิ ายธรรมะ ถา้ มุ่งจะจำ� เจ้าของไมไ่ ด้
รบั ประโยชนท์ างจติ แตถ่ ้าใหจ้ ิตมุ่งรับประโยชน์ จติ กห็ มนุ ไปกบั การ
พจิ ารณา ควรจะถอดถอนกิเลสขณะนั้น กถ็ อดถอนกันไปตามกรณี
แต่จำ�ไม่ได้ว่าท่านอธิบายเรื่องอะไรบ้าง การฟังเทศน์ทางภาคปฏิบัติ
ส่วนมากไม่สนใจจะจำ�มากกว่าสังเกตจิตกับธรรมท่ีท่านแสดงในเวลานั้น
เพื่อถือเอาประโยชนใ์ นขณะฟัง เชน่ จติ สงบบ้าง อบุ ายปญั ญาเกิดและ
ถอดถอนกเิ ลสบางชนิดได้ในขณะนน้ั บา้ ง” ตอ่ ไปน้จี ะตอบปัญหา
ถ.๑–ญ.๑ พระพุทธเจา้ ท่านละเอยี ดมาก ทา่ นใช้ค�ำ ใดย่อมมีความหมาย
ตรงตัว ท�ำ ไมท่านจงึ ใชจ้ ิตบา้ ง มโนบ้าง?
ตอบ จิต มโน เปน็ ไวพจนข์ องกนั และกันกับวญิ ญาณ ใชแ้ ทนกันได้

ทำ�ไมโลกจงึ ต้องมีหลายค�ำ จากค�ำ วา่ “กิน” ค�ำ เดยี ว เชน่ Eat,
ate, eating, eaten? จะว่า “กิน” คำ�เดยี ว หรือ Eat ค�ำ เดียวไม่
ได้หรอื ? ค�ำ วา่ จติ หรือมโนกเ็ ช่นกัน ยอ่ มเปน็ ไปตามความเหมาะ
สมทีจ่ ะใช้
ถ.๒–ญ.๒ จิตไมใ่ ชว่ ญิ ญาณขันธ์ เพราะฉะน้ันไม่เหมอื นกบั วญิ ญาณอะไร
ตอบ มโนวิญญาณ = ปฏสิ นธิวิญญาณ ที่ไปเกิดในภพตา่ งๆ
ค�ำ สอนของพระพทุ ธเจา้ วา่ กันว่ามี ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขนั ธ์ ไม่
มาก เพราะพระพุทธเจ้าท่านสรุปให้พอเหมาะกับกำ�ลงั ของสตั ว์

๑๐๑

โลกลงได้เท่าน้นั เวลาปฏิบตั ิ ความรู้แตกแขนงออกไปมากต่อมาก
ผปู้ ฏบิ ัตดิ ้วยกนั มาพดู กันก็จะไดร้ อู้ ะไรอีกมาก ถ้ายงั ไม่ได้รับผลจาก
การปฏิบตั ิ ถึงจะแสดงอยา่ งไรกไ็ ม่คอ่ ยเกิดประโยชน์ พระพุทธเจ้า
ทรงรเู้ หน็ มากกว่าน้ัน เวลาสาวกไปทูลถามเร่ืองความรวู้ ่าพบส่ิง
นน้ั และรู้เหน็ อย่างนน้ั พระองค์ทรงทราบก่อนหมดแลว้ ทรงตอบ
ไดท้ นั ที เพราะวา่ แต่ละคนมปี ระสบการณไ์ ม่เหมอื นกนั ผูท้ ไี่ ด้ผ่าน
ประสบการณ์เช่นน้ันมาแล้วจงึ จะเขา้ ใจ และแนะน�ำ กันไดต้ าม
ทางทร่ี ู้เหน็ มา
ถ.๓–ญ.๓ “ฌาน” ไม่ตอ้ งการส�ำ หรับเจรญิ ปัญญา เป็นอยา่ งไร?
ตอบ เรอ่ื ง “ฌาน” นั้น ถ้าเราไมม่ นี สิ ัยกไ็ มต่ ้องพยายามให้ได้ฌาน ถา้
ปรากฏก็ทำ�ไปได้ ใครไม่ควรขวนขวายจะมฌี านยิ่งกวา่ มงุ่ มรรคผล
นพิ พาน เพราะฌานเป็นธรรมปลกี ย่อยจาก ศลี สมาธิ ปญั ญา อัน
เป็นเครือ่ งแกก้ เิ ลสท้งั ปวง เปรียบเหมอื นภาษาประจำ�ชาติ ใครๆ
กท็ ราบดว้ ยกนั แมจ้ ะไม่ไดเ้ รียนสอบเอาปริญญา คนเราไมต่ อ้ ง
เอาปรญิ ญาเพราะการเรยี นก็ได้ แตภ่ าษาประจำ�ชาตยิ อ่ มพูดได้
ฟังไดด้ ว้ ยกนั “ฌาน” นน้ั แปลว่า “เพ่ง” ภาวนา พุทโธ ๆๆๆ
กเ็ ปน็ ฌานแลว้ ฌานเป็นหลกั ธรรมชาติ ฌานไมจ่ �ำ เปน็ ส�ำ หรบั
เจริญปญั ญา เพราะการพิจารณารปู = กม็ ีวิตก ซ่งึ คอื การยกจติ
ขน้ึ มีวจิ ารณ์ คอื การคลค่ี ลายส่งิ ทเี่ ห็นนั้นออก ถา้ การทำ�อย่างน้ี
ตามหลกั ธรรมชาติ ผปู้ ฏิบตั กิ ็มีฌานได้ตามนสิ ัยของตนแมไ้ มเ่ ด่น
ดงั ทีท่ ่านอธบิ ายไว้ คำ�ว่า “ฌาน” ชาวพุทธเราสนใจกันมาก แตไ่ ม่
ค่อยได้รบั ผลตามความจรงิ ของฌาน นอกจากพูดกนั แบบหรๆู พอ
ร�ำ คาญเท่านนั้

๑๐๒

ถ.๔–ญ.๔ ขอทราบวิธีเจริญสมถะ
ตอบ การอบรมให้จติ สงบเปน็ สมถะ การพิจารณาแยกแยะเป็นขน้ั ๆ ให้

เกดิ ความเขา้ ใจเปน็ ปัญญาตามขั้นของปัญญา
ถ.๕–ญ.๒ ท่ีจะเจรญิ สมาธิวปิ ัสสนาเป็น ๒ ทางใช่ไหม บางคนบอกว่า
เปน็ ทางสมถะ บางคนว่าเป็นวปิ สั สนา หรอื ใช้สลับกันได้?
ตอบ ข ณะใดเราตอ้ งการสงบ ขณะนัน้ เราท�ำ สมถะ ขณะใดทจี่ ะพจิ ารณา

ด้วยปัญญาใหเ้ กิดอุบายแยกแยะ ทดสอบท้ังภายนอกภายใน เรยี ก
วา่ วิปสั สนา
ถ.๖–ญ.๒ ร้สู ึกวา่ ล�ำ บากในการเจรญิ ปัญญามากกว่าสมถะ
ตอบ ขณะท�ำ สมาธกิ ม็ งุ่ ต่อความสงบ ขณะท�ำ วปิ สั สนากม็ ุ่งต่อความเหน็
จรงิ ดว้ ยปัญญา พงึ ทำ�ต่างขณะกนั ไมค่ วรให้สับปนคละเคลา้ กนั
งานมหี ลายประเภท ง่าย หนัก กม็ ี งานทางโลกก็มเี ช่นนเี้ หมอื น
กัน บางคนกจ็ �ำ เปน็ ตอ้ งท�ำ งานหนกั ถา้ มวั กลัวยากลำ�บาก งาน
ใดๆ กไ็ ม่ได้ทำ�ท้งั น้นั ถงึ เวลาจะทำ�งานใด จงึ ควรมมุ านะต่องาน
นน้ั จริงๆ จนเห็นผลของงานน้นั ถา้ ท�ำ เชน่ นม้ี ีทางปรากฏผลงาน
ทงั้ สมาธแิ ละวิปัสสนาไมเ่ หลือวิสยั
ถ.๗–ญ.๒ จะสร้างทศั นคตใิ ห้ไม่กลัวยากได้อย่างไร?
ตอบ การฝกึ เจริญปญั ญานน้ั จะทำ�เม่อื ไรท�ำ ท่ีไหนกไ็ ด้ ฝกึ หัดคดิ อา่ น
ไตร่ตรอง แยกธาตขุ ันธจ์ ากภายนอกเข้ามาภายใน แยกธาตขุ นั ธ์
นีข้ องตน ซ่งึ อย่ภู ายในออกเทยี บเคยี งกับสง่ิ ภายนอกจนเหน็ ดว้ ย
ปัญญาวา่ มีลกั ษณะเหมอื นกนั ถา้ เขา้ วิปัสสนาแล้วจะทราบด้วย
ตนเองกวา้ งขวางไปเรอื่ ยๆ ถา้ กลัวแต่ความยากล�ำ บาก กจ็ ะเจอ

๑๐๓

แตค่ วามยากลำ�บากท่มี อี ยูก่ ับใจเรา ขวางงานท่จี ะทำ�อยู่ตลอดกาล
ไมม่ ีโอกาสท่ีจะทำ�งานนนั้ ๆ ไดต้ ลอดไป ความกลวั ยากน้นั ก็คอื
กเิ ลสตวั สำ�คญั ตัวหน่ึงเราดๆี น่เี อง ความมุมานะสู้ เป็นมรรคคอื
เครื่องมือแกก้ เิ ลสทกุ ประเภท จงึ ควรสนใจ
ถ.๘–ญ.๒ อกี ๒-๓ วัน ดิฉันจะไปเขา้ ศึกษาหลักสตู รฝกึ ครูให้สอนเด็ก
ทางศาสนา จะช่วยเด็กใหเ้ ข้าใจกวา้ งในศาสนาไดอ้ ย่างไร?
ตอบ ไม่มีอะไรเป็นอุปสรรคในการสอนใครมากกว่าสอนตนเองให้เข้าใจ
เร่อื งน้นั ๆ ก่อนจะสอนคนอน่ื การสอนศาสนา ถา้ ตนเขา้ ใจศาสนา
ได้หยาบละเอยี ดเพยี งใด กส็ ามารถสอนคนอ่ืนได้ตามทตี่ นเขา้ ใจ
ความเขา้ ใจศาสนาตามต�ำ รานั้นงา่ ย แตจ่ ะเข้าใจศาสนาด้วยใจจริง
นั้นยากทงั้ ตนและผอู้ ่ืน ฉะนั้นการปฏิบตั ิเพอ่ื รู้ศาสนาอยา่ งแท้จริง
จึงสำ�คญั อยมู่ าก
ถ.๙–ญ.๕ เมอื่ ตง้ั ใจฟงั แตจ่ ำ�ไมไ่ ด้ ท่านว่าเป็นอย่างไร?
ตอบ เวลาจ�ำ ได้ ไดป้ ระโยชน์อะไรบา้ ง ตอบวา่ ได้เป็นแนวในการปฏบิ ัติ
แต่ที่จรงิ จำ�ไมไ่ ดก้ ไ็ มเ่ สีย กลับได้ผลประโยชน์อกี ทางหนง่ึ คอื ใจ
ไดร้ บั ความสงบในขณะน้นั เพราะไมม่ ีกงั วลในการจดจ�ำ ธรรมท่ี
ตกคา้ งในใจก็จ�ำ ไดเ้ อง ทฟี่ ังแลว้ เข้าใจกซ็ าบซ้ึงไป ได้ผลเปน็ สขุ ใจ
ในขณะฟงั เปรียบเหมือนเด็กรบั ประทานอาหาร เด็กไมจ่ �ำ ตอ้ งรู้วา่
อาหารมาจากไหน โรงงานไหน เวลารับประทานได้รสชาตทิ ีพ่ อใจ
ไดอ้ าหารไปหลอ่ เลี้ยงรา่ งกายบำ�รงุ รา่ งกายก็พอแลว้ ไมจ่ �ำ เป็น
ตอ้ งจดจำ�ไปเสียทกุ อย่างในขณะฟงั แตส่ �ำ รวมใจใหร้ ู้อยกู่ ับตวั ไม่
ส่งไปอ่ืนในขณะนั้น จติ รับทราบไปตามธรรมทแ่ี สดงโดยตดิ ต่อสืบ
เนือ่ งกนั ก็ย่อมเกดิ ผล คอื ความสงบเย็น หรอื เกิดอุบายตา่ งๆ ข้นึ

๑๐๔

มาในขณะฟัง ชอื่ ว่าไดผ้ ลจากการฟงั ทางปฏบิ ัติ ดงั ท่ีท่านได้ปฏิบัติ
กันมาโดยท�ำ นองนีท้ ง้ั นนั้
ถ.๑๐–ญ.๕ ท่านว่าจ�ำ ไมไ่ ดก้ ไ็ มเ่ สยี หาย เช่นนี้ทำ�ให้ใหเ้ กิดความหวัง
มากข้นึ
ตอบ การฟังโดยจดจ�ำ เอาชื่อเอาค�ำ ไม่ไดป้ ระโยชน์อะไร จะได้แต่ชอ่ื
ของธรรมและของกเิ ลสเทา่ นัน้ แตก่ เิ ลสไมล่ ดลงหรือนอ้ ยไป ถา้
ฟังไม่จ�ำ แตฟ่ ังตามไปด้วยความเข้าใจ ยอ่ มจะถอดถอนกเิ ลสไป
เรื่อยๆ ถึงจำ�ไมไ่ ดก้ ็ไดส้ �ำ เร็จผลทางภาคปฏบิ ตั ิ เพราะขณะฟงั ด้วย
ความมีสตติ ั้งมั่นอยู่กบั ใจตนเอง ไม่สง่ ออกภายนอก แม้ส่งออกไป
หาผู้แสดงในขณะน้ัน มีความรู้อยู่จำ�เพาะตัว ย่อมจะเข้าใจธรรม
ทแ่ี สดงนัน้ ได้ดีกว่าการส่งจติ ออกไปรบั จะปรากฏผลขึ้นกบั ใจโดย
ล�ำ ดบั ระงบั และถอดถอนกเิ ลสไดเ้ ป็นตอนๆ ทุกครัง้ ท่ฟี ัง จน
สามารถผา่ นพน้ ไปได้ ดงั ครัง้ พทุ ธกาลท่านสำ�เรจ็ มรรคผลกนั ใน
ขณะท่ีฟงั ฉะนนั้ การฟังธรรมจึงเป็นภาคปฏิบัตสิ ำ�คัญยิ่งกวา่ การ
ปฏิบตั โิ ดยล�ำ พัง นักปฏิบตั ทิ ่านสนใจกันมากเรอื่ ยมา
ตอ่ จากนัน้ ท่านอาจารยน์ �ำ ทำ�สมาธิ ๕ นาที ปดิ ประชุมเวลา ๑๙.๔๕ น.

๑๐๕

๑๐๖

การอธบิ ายธรรม

วันอังคาร วนั ท่ี ๑๘ มิถนุ ายน พ.ศ. ๒๕๑๗ (ค.ศ.๑๙๗๔)

เร่ิมเวลา ๑๘.๑๕ น.
ทา่ นอาจารย์ “จะเร่มิ อธบิ ายธรรมเช่นท่เี คยปฏิบตั ิ หลังจากนน้ั ทา่ น
ผู้มีขอ้ ข้องใจในแงใ่ ดก็ตาม คอ่ ยปรารภกันทีหลงั
การฟงั ธรรมเชน่ ทไ่ี ดเ้ คยพดู ให้ฟัง เชน่ เม่ือวานนเ้ี ปน็ ตน้ ปรากฏว่ามี
ผู้ถามถงึ เรอ่ื งความจ�ำ ได้ จ�ำ ไมไ่ ด้ การจ�ำ ไม่ได้มีประโยชน์อยา่ งไร?
การฟังธรรมทางภาคปฏิบตั ิ ขณะที่ทา่ นฟงั ทา่ นเข้าใจคำ�ช้ีแจง แต่
เวลานอ้ี าจารยพ์ ดู เป็นภาษาหนึง่ ต่างหาก ท่านผู้ฟังอาจจะยังไมเ่ ข้าใจใน
ขณะทอี่ าจารย์ก�ำ ลงั แสดง ถ้าจติ อยู่จำ�เพาะหนา้ คือ ต้งั ใจฟงั ในขณะนน้ั
แล้ว กบั กระแสแหง่ ธรรมที่แสดงเข้าไปสมั ผสั ภายในจติ ใจ ก็จะท�ำ ใหใ้ จ
รสู้ กึ กับความสัมผัสแหง่ เสยี งนัน้ ๆ แลว้ เปน็ ความสงบเยน็ ใจจนได้ เพราะ
เป็นอารมณ์ที่จะยงั จติ ให้เป็นปจั จุบันจติ ได้
ส�ำ หรบั ท่านผู้ฟังซง่ึ เขา้ ใจภาษาโดยล�ำ ดับๆ ในขณะท่ีก�ำ ลงั แสดงอยู่
แล้วนน้ั เป็นสิง่ ท่ีทราบได้ชดั ในขณะท่ีฟัง แล้วจติ กม็ คี วามเพลดิ เพลินไป
ในบทแหง่ ธรรมทีท่ ่านแสดง เพราะการแสดงธรรมน้ันจะตอ้ งพดู เรอ่ื ง
หรอื ส่งิ ทีม่ อี ยู่ในตวั ของเราด้วยกนั เพราะสิ่งเหล่านีม้ อี ยูท่ ่ัวโลก คอื สิง่
ทีธ่ รรมทา่ นกล่าวถึงและศาสนาไดป้ ระกาศลงไว้ เปน็ เรื่องของสิง่ ท่มี อี ยู่
ประจ�ำ สัตวแ์ ละสังขารท่วั ๆ ไป ซึง่ ควรจะทราบไดด้ ว้ ยกนั และเข้าใจเรื่อง
ของมีอย่ขู องตน ทศ่ี าสนาท่านประกาศสอนไว้แล้วในสมัยนนั้ ท่านแสดง

๑๐๗

เรื่องนี้ด้วย เราผู้ฟังจงึ ไดร้ บั ความเขา้ ใจเปน็ ล�ำ ดับๆ ตามความจริงท่ธี รรม
ทา่ นสอน
ในขณะฟังที่จิตเรามคี วามจดจ่อตอ่ ธรรมนั้น จะเกดิ ความสงบเยน็ ใจ
เป็นล�ำ ดบั ๆ ไม่คดิ ไปในสถานทีต่ ่างๆ และอารมณ์ใดๆ ในขณะฟัง ใจก็มี
ความสงบลงได้ และเย็นสบาย ลืมเวลำ่�เวลา ตลอดจนความเหน็ดเหนื่อย
เมื่อยลา้ ลืมไปหมด ถ้าจติ มีความหนักไปในทางพินจิ พจิ ารณา ทที่ า่ น
เรยี กว่า วปิ ัสสนา หรอื ปญั ญา นั้น เป็นอีกแง่หนึ่ง ขณะท่ีท่านแสดงไป
จติ จะขยับตามเร่อื ยๆ เหมือนกับเดินตามรอยเท้าที่ท่านเดินไปกอ่ นหนา้
เรา พอทา่ นยกเท้าขึน้ เรากส็ วมรอยตามท่านไปโดยล�ำ ดับๆ คือท่าน
บุกเบกิ ทางให้เราไดท้ ราบได้เขา้ ใจในขณะฟงั เม่อื ทราบและเขา้ ใจ ไตร่ตรอง
ตามท่านไป นก้ี ท็ ำ�ใหเ้ กดิ ความเพลิดเพลินและเขา้ ใจไปเร่อื ยๆ และ
สามารถถอดถอนกิเลสอาสวะไปไดใ้ นขณะทฟี่ ัง
เพราะฉะน้ันครั้งพุทธกาลเวลาสาวกท้ังหลายท่านฟังพระพุทธเจ้า
ทรงแสดงธรรม จงึ ปรากฏว่าสำ�เรจ็ มรรคผลนิพพานเป็นจำ�นวนมากก็
เพราะเหตุนี้เอง บางคร้งั จิตกา้ วไปได้แคน่ ี้ ฟังคราวต่อไปจติ ขยับข้ึนไป
เรอื่ ยๆ จนถึงท่ีสุดแห่งธรรม ทา่ นเรยี กว่าบรรลธุ รรมสูงสดุ โดยเข้าใจใน
ขณะที่ฟงั นน้ั เท่าน้นั ไม่สนใจกับความจดจ�ำ ได้ประโยชน์ในขณะท่ีฟงั คอื
ได้ความสงบเยน็ ใจ ไดค้ วามเขา้ ใจแจ่มแจง้ ไปโดยลำ�ดบั ไดค้ วามสขุ ความ
สบาย ได้อุบายแยบคายต่างๆ ในขณะท่ฟี ัง นีเ่ ปน็ ผลท่ีทา่ นได้รบั ในขณะ
ท่ีฟัง ไม่ไดจ้ ากการจดจำ�เหมือนเราท่องบน่ สงั วัธยายธรรมในสูตรต่างๆ
แต่ถา้ ธรรมบทใดบาทใดตกค้างอยูใ่ นความทรงจ�ำ ของเรานนั้ เราก็จำ�ได้
เอง การฟงั ธรรมภาคปฏิบัตจิ ึงถอื กนั มากในวงปฏบิ ัติ

๑๐๘

จะขอเล่าเร่อื งท่านอาจารยม์ ั่น ซง่ึ เป็นอาจารย์ในกรรมฐานสายน้ี ให้
ทา่ นผู้ฟังท้ังหลายทราบบ้างเล็กน้อยว่า ท่านมีความหนักแนน่ หรือสนใจ
ในทางใด เกี่ยวกบั บรรดาลกู ศษิ ยท์ ี่ไปศึกษากบั ท่าน ทา่ นมีความสนใจใน
การแสดงธรรมอบรมพระเณรทไ่ี ปศกึ ษากบั ท่านมากกว่าอยา่ งอืน่ และ
สอดส่องดกู ิรยิ ามารยาท ความประพฤติปฏิบตั ิของพระเณร กลวั ว่าจะผิด
พลาดจากหลักธรรมวินยั นี่เป็นประการที่สอง ประการแรกคอื การอบรม
สงั่ สอนให้พระเณรเขา้ ใจในปจั จบุ นั ธรรม อันเป็นทรี่ วมแหง่ ความรคู้ วาม
เขา้ ใจตลอดมรรคผลเบื้องสงู

ท่านแสดงธรรมครัง้ หน่ึงๆ ถา้ มเี ฉพาะพระเณรเท่าน้ัน อยา่ งนอ้ ย
๒ ชว่ั โมงถงึ จะจบลง บางครง้ั ก็ ๓ ชวั่ โมงบ้าง ๔ ชว่ั โมงบ้าง บางครงั้
ถงึ ๖ ช่วั โมงกม็ ี แต่กน็ า่ ประหลาดเหมือนกัน บรรดาทา่ นผูน้ ่งั ฟังอยใู่ น
ขณะนน้ั เงยี บไมม่ ีเสยี ง ประหนึ่งว่าไมม่ ีพระไมม่ เี ณรอยูใ่ นสถานท่นี น้ั เลย
ได้ยินแตเ่ สยี งธรรมท่านกงั วานอยู่เปน็ ล�ำ ดับๆ ไมข่ าดสาย ไม่ขาดวรรค
ขาดตอน จนกระทง่ั จบลงเทา่ นั้น

พระเณรมจี ำ�นวนมากเพียงใดกเ็ ทา่ กบั ไมม่ ี เพราะต่างองค์ตา่ งฟัง
ด้วยความสนใจ ฟังด้วยความจดจ่อ ทกุ ขอ์ งคอ์ ยู่ในความสงบ จิตมุ่งต่อ
อรรถตอ่ ธรรมเพ่อื เป็นความสงบเย็นใจ ถ้าจติ ก้าวเขา้ สู่ภูมิปญั ญา คอื
ความคดิ อ่านไตรต่ รองตามท่านได้ จติ กข็ ยับตามธรรมท่านเรือ่ ยๆ เปน็
อันว่าเพลินด้วยกันท้ังสองขั้น คอื
ข้นั ที่ ๑ ความสงบ กเ็ พลินไปตามความสงบ และเพลนิ ไปตามธรรม
ท่ีขบั กล่อม จติ ใจให้ไดค้ วามสงบเย็นฉ�่ำ ในขณะนั้นๆ
ขั้นท่ี ๒ ทเี่ รียกว่าปญั ญา คือเพลินไปตามธรรมทจี่ ะใหจ้ ิตใจไดร้ บั คติ
เป็นระยะๆ จงึ เปน็ ความสนใจในธรรมจนไม่มีความสนใจกบั ความเหนด็

๑๐๙

เหนอ่ื ยเม่อื ยลา้ ใดๆ ทงั้ สนิ้ ในขณะทฟี่ งั และทา่ นจะเทศนแ์ ตข่ ้อปฏบิ ตั ิ
ต้งั แตเ่ ร่ืองของสมาธิ ปัญญา ล้วนๆ ศลี กต็ า่ งคนต่างประพฤตปิ ฏบิ ตั ิอยู่
แลว้
ทา่ นไม่แสดงอะไรมาก จะแสดงแตห่ ลักของสมาธิ ของปญั ญา
และวิมตุ ติหลดุ พ้น ถา้ ลงไดแ้ สดงในวนั ประชุมวนั ใดก็ตาม จะตอ้ งทะลุ
ปรโุ ปร่งไปถึงมรรคผลนิพพานทีเดียว ไมเ่ คยคั่งค้างในท่แี หง่ หนึง่ แห่งใด
เลย น่เี ปน็ นสิ ัยของทา่ น เพราะท่านมีความรคู้ วามฉลาดทางด้านปฏบิ ตั ิ
มากมาย และมคี วามรอบคอบ มีความชำ�นิช�ำ นาญมากทางดา้ นปฏิบัติ
ใจเราเม่อื ได้รบั การอบรมด้วยอรรถธรรมอยู่เสมอ จะมีหลักยดึ ใจที่
มหี ลักยึดยอ่ มอยู่เปน็ สขุ ปกตกิ เ็ ป็นสขุ ประกอบหน้าท่ีการงานกเ็ ปน็ สุข
เพราะใจมีหลกั เปน็ อยู่ก็เป็นสขุ ตายก็เปน็ สขุ เพราะมีหลกั ยึดอยภู่ ายใน
คนมหี ลกั ยดึ ย่อมไมเ่ ดือดรอ้ น ธรรมคือหลักยึดของใจ ด้านวตั ถุเปน็ หลัก
ยดึ หรือเป็นทอี่ าศัยของกาย เช่น ตึกรามบ้านชอ่ ง เสอ้ื ผ้าเคร่อื งน่งุ ห่ม
ใชส้ อย อาหารหวานคาวท่ีเป็นอาหารเปน็ ที่พง่ึ ที่อาศัยของกาย การท่ีเรา
มคี วามจำ�เปน็ ต้องอาศยั สง่ิ เหลา่ น้ี เพราะเกดิ มากเ็ กดิ จากส่งิ เหล่าน้ี ต้อง
อาศยั สง่ิ เหล่านี้เป็นเครอื่ งบำ�บดั รักษาเรอ่ื ยๆ ไปจนวนั สดุ ท้ายแหง่ ชีวติ
สว่ นใจมีธรรมเป็นเครอ่ื งพยุง เปน็ เครอื่ งอาศยั เป็นเครื่องรักษา เปน็
เครือ่ งเสวย ท่ีเรยี กว่ามธี รรมเป็นอาหารของใจ หรือเป็นอารมณข์ องใจ แต่
ค�ำ ว่าอารมณน์ น้ั อารมณด์ ีกม็ ี ช่วั ก็มี ถ้าอารมณไ์ ม่ดกี เ็ ปน็ ยาพษิ แก่ใจ และ
แผดเผาจิตใจให้เดือดรอ้ น ถา้ อารมณ์ดีกท็ ำ�จิตใจใหเ้ ยอื กเย็นเปน็ สุข แลว้
ฝังอยู่ในจติ นนั้ ดว้ ย ทีท่ า่ นเรยี กว่า อปุ นิสัย หรือ วาสนาบารมี กห็ มายถึง
การสร้างความดงี ามมาโดยสมำ�่ เสมอ สร้างมามากเพียงไร กฝ็ งั ลงไป

๑๑๐

ในจิตใจของผู้นัน้ จนกลายเปน็ นิสยั วาสนาข้ึนมา เมอ่ื ใจได้เคลื่อนย้ายไป
สถานทใ่ี ด ภพใดภมู ใิ ด ก็ตอ้ งขนึ้ อยกู่ ับความดีทีต่ นไดส้ รา้ งไว้ และบรรจุ
อยู่ภายในจิตใจ นี่เป็นเคร่อื งหนุนจิตใจใหเ้ ป็นไปในทางดีมีสุคติเปน็ ท่หี วัง
และเปน็ ที่อยทู่ ีเ่ สวย
ร่างกายนั้นมีปา่ ชา้ เราไปตงั้ บา้ นต้งั เรอื นอยูท่ ี่ไหนกต็ ้องมปี า่ ช้าสำ�หรบั
ร่างกาย ไมว่ า่ จะอยู่บา้ นนอก จะอยู่ในเมือง จะอย่ใู นป่าในเขา อยูใ่ นถ้�ำ
บนบก มันมีป่าชา้ อยู่ด้วยกนั ทัง้ น้นั เพราะธรรมชาติน้เี ปน็ สงิ่ ท่ีเกิดแลว้
ต้องตาย ตายทีไ่ หนก็เป็นป่าช้าท่ีนนั่ ร่างกายเปน็ อยา่ งนี้
ส่วนจติ ใจไมม่ ปี ่าชา้ เพราะใจไมต่ าย หลกั ใหญ่อยู่ตรงนี้ กรุณาพากนั
จดจ�ำ ไว้ให้ดี นีแ่ หละหลกั ความจรงิ อันตายตัวของเรา ถา้ ผู้มีความ
ใครค่ รวญพนิ จิ พิจารณาเรื่องจิตใจด้วยดี และพยายามปฏิบตั ิตอ่ ตนเอง
ดว้ ยความดที ั้งหลายตามธรรมทสี่ อนไว้ ผ้นู ั้นจะเป็นผมู้ ีหวัง อยทู่ ี่ใด ไปท่ใี ด
เกิดในสถานที่ใดก็ตาม จะเปน็ ผูไ้ ม่ผิดพลาดจากความมุ่งหวัง หรือความ
มุ่งหมายที่ตนตัง้ ไว้ จะเป็นผ้สู มหวังดัง่ ใจหมาย
อย่างเราทัง้ หลายทีม่ าอบรมในวันน้ี กค็ ือการมาอบรมธรรมเพอ่ื เข้า
ถึงจิตใจให้เปน็ หลักยึด และอาศยั ธรรมะนี้เป็นหลกั เกณฑ์แก่จติ ใจ เพราะ
ใจนเี้ ปน็ สงิ่ ไม่ตายไมห่ มายป่าชา้ ไม่เหมือนธาตขุ นั ธ์ คือ ร่างกาย รา่ งกาย
แตกดบั แตใ่ จไมแ่ ตกดบั เมือ่ ออกจากรา่ งนี้กไ็ ปเข้าร่างน้ัน ออกจากร่าง
น้ันกไ็ ปเข้าร่างโน้น สูงๆ ต่�ำ ๆ ลมุ่ ๆ ดอนๆ นัน้ เป็นเพราะส่ิงท่ีมีอยู่ภายใน
จิต ทา่ นเรยี กวา่ “วิบาก” ซง่ึ เกิดขนึ้ จากกรรมหรือการกระทำ�ของจิตเอง
จิตเป็นผู้คดิ เป็นผู้ปรุง ในเรอื่ งดี เรือ่ งชัว่ จิตเป็นผูบ้ งการออกมาทาง
วาจา ทางกาย ให้กระท�ำ ทางวาจา ทางกาย การกระท�ำ ทางใจน้ันเรยี ก

๑๑๑

วา่ “มโนกรรม” พูดทางวาจาเรียกว่า “วจกี รรม” ท�ำ ทางกายเรยี กว่า
“กายกรรม” คำ�วา่ “กรรม” คือการกระท�ำ จงึ มีการเกดิ ได้ท่กี าย วาจา
ใจของคนเราน้เี ป็นส�ำ คัญ เมอื่ กรรมเปดิ ทางเพื่อผลคอื ดีชว่ั อยู่แล้ว สขุ
ทุกข์ทีเ่ ปน็ ผลของกรรมดีช่วั กย็ อ่ มเกดิ ขน้ึ ชนิดหา้ มไม่ได้
มโนกรรมคือการกระทำ�ทางใจ ทำ�ได้ทง้ั ดี ท้งั ช่วั ท้งั กลางๆ พดู ได้ทง้ั
ดี ท้ังชวั่ ท้งั กลางๆ ท�ำ ทางกายได้ท้ังดี ทัง้ ชว่ั ทง้ั กลางๆ การกระท�ำ เหลา่
นท้ี า่ นเรียกวา่ “กรรม” ตามหลักพุทธศาสนาเรียกว่า “กรรม” คอื การกระ
ทำ� ความเคลอื่ นไหวของจติ ความเคลอ่ื นไหวของกาย วาจา ท่านถอื วา่
เป็นการกระทำ�ท่ีเรยี กวา่ “กรรม” เมื่อมีการกระท�ำ มกี ารเคลอื่ นไหว
เป็นต้นเหตุแห่งการกระทำ�แล้ว “วบิ าก” คือผล ต้องสืบทอดกนั ไปเป็น
ลำ�ดับๆ เปน็ แต่ช้าหรือเร็วตา่ งกนั เพียงเลก็ นอ้ ยเทา่ น้นั บางอยา่ งก็เกิด
เปน็ ผลไดเ้ ร็ว บางอยา่ งก็ช้า เช่นเดยี วกบั ผลทางโลกท่ีเราเหน็ กนั อยู่ บาง
อยา่ งก็ขน้ึ อยูก่ บั เวลาเพียงเล็กน้อย บางอยา่ งกป็ รากฏขึ้นในขณะนน้ั บาง
อย่างเปน็ เวลานานๆ ค่อยปรากฏตวั ข้ึน แตส่ ุดทา้ ยก็เรียกวา่ เปน็ ผลดว้ ย
กัน นี่แหละทา่ นเรียกวา่ “วบิ าก” ซึ่งมีอย่ภู ายในใจ ใจเปน็ ผสู้ รา้ งข้ึนมา
ใจเป็นผู้ท�ำ ขนึ้ มา แต่ใจจ�ำ ไมไ่ ดบ้ า้ ง จำ�ไดบ้ ้าง สุดทา้ ยกจ็ ำ�ไม่ได้ เพราะ
ท�ำ อยเู่ สมอ ท�ำ อยู่ทุกภพทกุ ชาติ ท�ำ อยทู่ กุ วนั ทุกคืน ทุกปี ทุกเดือน ใคร
จะไปชนะจดจำ�เอาไว้ไดห้ นกั หนา
ตัง้ แต่เราเกิดมาในโลกน้ี ไมต่ ้องพูดถึงวันน้ันเดอื นนี้ เราพูดในวนั นี้
เท่านัน้ เรากจ็ ำ�ไมไ่ ดว้ า่ ในวนั น้เี ราคดิ เรื่องอะไรบา้ ง แต่ความคิดความ
ปรงุ การกระท�ำ ดี กระทำ�ชว่ั ทางกาย วาจาของเรานไ้ี ม่ไดข้ น้ึ อยู่กับการจ�ำ
ได้หรอื ไมไ่ ด้ ขนึ้ อยกู่ ับการกระทำ�เทา่ น้นั ผลดี-ชั่ว ตอ้ งปรากฏจากการก
ระทำ�เสมอ นเี่ ปน็ หลักส�ำ คัญ ทา่ นจงึ สอนให้พยายามท�ำ ดีเสมอ เวลาน้ี

๑๑๒

เป็นโอกาสที่เราจะตักตวงหรือแก้ไขอะไรท่ีเห็นว่าบกพร่องได้ทุกแง่ทุกมุม
ซึง่ ไม่สดุ ความสามารถไปได้ ถ้าหากผ่านพ้นจากชีวิตอัตภาพนี้แล้วเป็น
ความไม่แน่นอน ท้ังการกระท�ำ และการเสวยผล เพราะในเมอื งผี เมือง
เทพ ไมป่ รากฏว่ามีโรงงานเหมอื นเมืองมนุษย์เรา พอจะขี้เกยี จท�ำ ดีใน
โลกนี้ แล้วไปขยนั หม่ันเพียรในโลกหนา้ คอื โลกเมืองผี เมืองเทพโน้น น่นั
เปน็ ความเขา้ ใจผดิ

นักปราชญ์ทง้ั หลายจึงสัง่ สอน ผู้มาสอนเราไม่ใช่คนโง่ ค�ำ วา่ “พระ
พทุ ธเจา้ ” นัน้ คอื จอมศาสดา เป็นศาสดาของโลกทัง้ สาม เปน็ ผูร้ แู้ จง้ เหน็
จรงิ จริงๆ ธรรมทต่ี รัสแตล่ ะบทละบาท เป็นความแน่นอนตายตวั เป็น
ความสัตย์ความจริง ไมม่ ธี รรมปลอมแปลงแฝงอยภู่ ายในพระโอวาทนัน้ ๆ
เลย ทา่ นจงึ เรยี กว่า “สวากขาตธรรม” แปลวา่ ธรรมทพ่ี ระพทุ ธเจา้ ตรัส
ไวช้ อบแล้ว ค�ำ วา่ “ชอบ” คือความพรอ้ มมูลสมบูรณท์ กุ อยา่ งแล้วนน่ั เอง
นิยยานิกธรรม เป็นธรรมทยี่ งั ผ้ปู ฏบิ ัติสมควรแกธ่ รรมให้พน้ จากทุกขไ์ ปได้
โดยล�ำ ดบั ไม่มีทางสงสัยเลย เปน็ ธรรมตายตัว เปน็ ธรรมแน่นอน

ใครที่จะพูดถูกตอ้ งแม่นย�ำ ตลอดมาเหมือนพระพุทธเจา้ นี้ รสู้ กึ ว่า
ไม่มแี ลว้ ในโลกมนษุ ย์เรา ถา้ จะเทียบแล้ว สามญั ชนท่วั ไปพูด ๑๐๐ คำ�
อาจปลอมไปอย่างนอ้ ยราว ๒๕ คำ� จะมจี รงิ เพยี ง ๗๕ ถ้าพูดไปนานๆ
ไอ้ปลอมรสู้ ึกจะมากขึน้ ๆ และอาจกลายเป็นปลอมไปหมด แตค่ �ำ พดู
ของพระพุทธเจา้ ไมป่ ลอม เพราะพระทยั ไม่ปลอม พระทยั เปน็ พระทยั
ท่ีบริสุทธิ์ ร้จู รงิ เหน็ จริงจากการปฏิบัตแิ ท้ ประทานโอวาทอันใดออกมา
จงึ ออกมาจากพระทยั ทเ่ี ป็นของดีของแท้ท้งั นนั้ แลว้ จะหาความปลอม
มาจากทไ่ี หน จงึ เปน็ พระโอวาทและเป็นศาสดาที่เราทงั้ หลายจะยดึ ถอื
เป็นหลักตายตัวหรือตายใจได้เลยว่า พระพุทธเจ้าและศาสนธรรมของ

๑๑๓

พระองค์ไม่เป็นศัตรคู ู่อรแิ ก่พวกเราท้งั หลาย พระพุทธเจ้าก็ดี พระธรรม
ก็ดี พระสงฆ์ก็ดี เปน็ ผู้วเิ ศษและเป็นธรรมประเสรฐิ เหนอื โลก
การท่ที า่ นประทานพระโอวาท คือพระศาสนาไว้ กเ็ พือ่ หมชู่ นเทา่ น้นั
ไม่ได้เพือ่ พระพุทธเจ้า ไม่ไดเ้ พ่ือพระธรรม ไม่ไดเ้ พื่อพระสงฆ์สาวกองค์
ใดบรรดาท่ผี า่ นพ้นไปแลว้ แต่เพ่ือพวกเราอยา่ งเดยี ว ท่านไมม่ ีสิง่ ใด
บกพร่องพอจะหวงั ผลจากพวกเราเป็นเคร่อื งตอบแทน เพราะพระเมตตา
นีเ้ ทา่ น้นั ทีป่ ระทานพระโอวาทไว้แกห่ มูช่ นพอได้ยดึ เป็นทิศทางเดิน
เราเพียงแตจ่ ะปฏิบัตติ ามพระโอวาทของท่าน ก็เห็นว่าเปน็ ความ
ล�ำ บากลำ�บน ไมส่ ามารถจะตะเกียกตะกายตามท่านไปได้แลว้ เราจะอยู่
ในโลกนี้ได้ด้วยวิธีใดจึงจะมีความสุขกายสุขใจสมกับมนุษย์เป็นผู้ฉลาด
เพ่อื แสวงหาความสุขใส่ตน นี่เปน็ ปญั หาทีเ่ ราควรยกขึ้นถามตวั เองเวลา
ความข้เี กยี จมกั งา่ ยเกดิ ข้ึน เพ่อื จะแก้ส่ิงเหลา่ นที้ ี่เปน็ มารคอยกีดกนั ทาง
ด�ำ เนินได้ ดว้ ยอบุ ายอันชอบธรรมและเฉลยี วฉลาดของเรา พอมีทางเพ่ือ
ก้าวไปเพือ่ ความสุขสมหวัง ไมต่ ีบตนั อัน้ ตไู้ ปเสียทกุ ภพทุกชาตทิ กุ วนั เวลา
ดงั ท่ีเป็นอยู่น้ี ซึ่งเต็มไปด้วยกองทกุ ข์ภายในใจจนหาทางและวธิ ีปลอ่ ยวาง
ไม่ได้ สมกับมนุษยม์ ีมากในโลกปัจจุบนั แทบจะไม่มแี ผ่นดินใหอ้ ยู่ ยงั มีผู้
ฉลาดแหลมคมหาอุบายแหวกวา่ ยไปไดบ้ ้าง ไมม่ ดื มนอนธการไปด้วยกนั
เสยี สิน้ ซงึ่ น่าสลดสังเวชของนักปราชญท์ า่ นนักหนา
เราควรจะวินิจฉัยใครค่ รวญกันอยา่ งไรบ้าง เมอื่ เราคอยลา้ งมอื เปบิ
เท่านีก้ ย็ ังท�ำ ไม่ได้ พระโอวาทท่านสอนมาแลว้ โดยถกู ต้องแม่นยำ�ทกุ สิ่ง
ทุกอย่าง เพียงแตจ่ ะปฏิบตั ติ ามเท่าน้ียังเห็นวา่ ล�ำ บาก เราจะไปหาความ
สะดวกทไ่ี หน เราเกดิ มานานแลว้ ในโลกน้ี เราได้ความสะดวกจากอะไร

๑๑๔

บ้าง ควรถามเราอยา่ งนบี้ า้ งอาจไดข้ ้อคดิ ถ้าจะเปน็ ไปตามความต้องการ
ของเราว่า อยากสะดวก อยากได้ง่ายๆ สบายๆ เรากค็ วรจะเป็นคนงา่ ย
คนสบายมานานแลว้ ไม่ควรจะมาแบกกองทุกข์อย่เู หมือนโลกท่ัวๆ ไป
แตน่ ่มี นั ไมเ่ ปน็ ไปตามความวาดภาพเอาอย่างใจหมาย นอกจากกเิ ลส
มันหลอกพวกเราเทา่ นัน้ เพราะกิเลสเคยหลอกมนษุ ย์และสตั วท์ ้ังหลาย
มาเป็นเวลานาน เรายังไม่เห็นโทษแหง่ ความหลอกลวงของมันบา้ งเลย
นอกจากเชอ่ื อย่างสนทิ ดว้ ยการกลอ่ มใหห้ ลับอย่างถนัดของมันเท่านนั้
ศาสดาในวัฏสงสารกค็ อื กิเลสนเ่ี อง ลงมันไดส้ อนใครเป็นติดมือมนั มา
เป็นพวงๆ จนรับไม่ไหว เพราะสตั วโ์ ลกชอบกลอบุ ายแหง่ การเส้ยี มสอน
ของมันมาก ไม่มีวนั เบ่ือหนา่ ยอิม่ พอกนั บา้ งเลย แม้จะไดร้ บั ความทกุ ข์
ทรมานเพราะถูกหลอกมานาน
ส่วนศาสดาของววิ ฏั ฏะก็คือพระพุทธเจ้าองคเ์ อก ความรูก้ เ็ อก การ
อบรมส่งั สอนกเ็ อก ไม่มใี ครเสมอเหมือน แตก่ เิ ลสไม่ชอบ และขวางกบั
ธรรมอย่เู รือ่ ยมา สตั ว์โลกผู้ชอบกเิ ลสจงึ มักเบื่อธรรม ธรรมจึงมกั ไมเ่ ข้า
ถึงใจแมจ้ ะฟงั และปฏบิ ัตมิ านาน ความเปน็ ทงั้ นี้ทัง้ นั้นกรุณาดูตวั เราตัว
ทา่ นก็พอทราบไดไ้ ม่ยากนกั
เราจะไปทางใด เราต้องแยกแยะออกดู ถ้าเราจะเปน็ ศษิ ยท์ ี่มีครูสอน
คอื ศาสดาของเราก็ต้องพยายาม การท�ำ ความดกี เ็ พอื่ จะชะลา้ งส่งิ ท่ีช่ัวรา้ ย
ท้งั หลาย การตอ่ สกู้ ็ต้องมีความหนกั ความล�ำ บากบา้ งเป็นธรรมดา เรา
ตอ้ งคดิ อย่างนไ้ี วเ้ สมอ ดกี ว่าเอากิเลสความขีเ้ กยี จมักงา่ ยมาเปน็ ศาสดา
ฉดุ ลากเราลงทางต�ำ่ ใหท้ นทุกขท์ รมาน ไม่มีขอบเขตเหตุผลวา่ จะปลดเปลอื้ ง
ทกุ ขไ์ ปได้เมอื่ ไร

๑๑๕

ขณะนเ้ี ป็นโอกาสทเ่ี ราควรจดั การอยู่แลว้ พรอ้ มอยู่แล้วทกุ อยา่ ง
ชวี ติ อัตภาพรา่ งกายกเ็ ปน็ ไปด้วยดี และทราบอยู่วา่ เราเป็นมนษุ ย์ได้พบ
พระพทุ ธศาสนา และเป็นโอกาสทจ่ี ะได้บำ�เพ็ญคณุ งามความดเี ขา้ สจู่ ิตใจ
เพ่อื จะไดถ้ ึงจุดท่ีหมายซง่ึ เราต้องการ มใี จกบั ธรรมเท่านนั้ ท่จี ะให้ความ
สมหมายแกเ่ ราได้ เราต้องพยายามเอาสง่ิ ดีงามเข้าบรรจทุ ่ีใจซ่ึงเป็นของ
ไมต่ าย นอกนน้ั หาความแน่นอนไมไ่ ด้ เพราะโลกสมมตุ ทิ งั้ มวลเปน็
อนิจจัง พรอ้ มทัง้ ตัวเราเอง อาศยั อะไรกค็ อยแตจ่ ะทะลายลงไป ทะลาย
ลงไป เราเห็นอยทู่ ุกแหง่ ทุกหน มีอยูท่ ่ัวไป ทา่ นจึงเรียกวา่ “อนจิ จงั ทุกขงั
อนตั ตา” มีรอบด้านท้งั ภายนอกภายใน เป็นท่ีใหค้ วามไว้วางใจไมไ่ ด้
นอกจากคุณความดี คือ ปฏบิ ตั ติ นใหม้ คี วามราบร่ืนดงี ามดว้ ยธรรมน้ี
เท่าน้นั เป็นหลกั อันส�ำ คัญที่จะใหค้ วามมุง่ ม่นั ของเราส�ำ เรจ็ เป็นระยะๆ

ใจน้นั อยากไปเสมอ ไมอ่ ยากอยู่ในกองทกุ ข์ทรมาน อยากเปน็ สุขก็
คือใจ ถา้ พดู ถงึ ข้นั ถงึ ภูมิคือสวรรคพ์ รหมโลก กค็ อื ใจเป็นผอู้ ยากไป สว่ น
นรกไม่อยากลงเลย ความทุกข์ไมอ่ ยากประสบพบเหน็ ในชีวติ ไม่อยาก
สมั ผสั ถูกตอ้ งเลย แตท่ ำ�ไมโลกถึงไดป้ ระสบและสัมผัสถกู ตอ้ งกนั เรือ่ ยมา
ก็เพราะหลงกลอุบายของกิเลส ซงึ่ มีอ�ำ นาจและความฉลาดแหลมคมกวา่
สัตวท์ ้งั หลายน่ันเอง เป็นอาจารย์สอนสัตว์ ฉุดลากสัตวท์ ง้ั หลายใหจ้ มลง
ทงั้ ๆ ไม่อยากจะจม จะมอี ะไรเล่าท่เี ปน็ ศาสดาแห่งวฏั ฏะ ทีแ่ หลมคมของ
โลกทกุ วันน้ี นอกจากกิเลสตณั หาอาสวะน้ีเทา่ น้ัน ไม่มีแล้วในโลกสมมตุ ิ
ทั้งสามอันเป็นที่อยูแ่ ห่งมวลสัตว์ และไม่มีอนั ใดท่ีจะสามารถถอดถอน
ธรรมชาตินี้ออกได้ นอกจากธรรมทเ่ี รียกวา่ “สวากขาตธรรม” ของ
พระพทุ ธเจ้าเทา่ นนั้

ใครอยากพ้นทุกข์ก็พยายามตะเกียกตะกายปฏิบัติตามธรรมท่าน

๑๑๖

ย่อมจะมีทางผา่ นพน้ ไปได้ ใครขยนั บน่ ให้ทุกขก์ บ็ ่นไปตามความถนัด
ถา้ ไม่อยากใหก้ เิ ลสหวั เราะเยาะซำ้�เข้าอกี เราควรพยายามท�ำ ความเขา้ ใจ
กับเราเสมอ เพราะถึงเวลาจนตรอกจนมมุ จนจริงๆ เวลาเช่นนัน้ เข้า
ถึงตัวเราจะทำ�อย่างไร เราต้องตง้ั กระท้ถู ามเราไว้กอ่ น เวลาหนาว
สิง่ ที่ท�ำ ความอบอุ่นเราเห็นว่าสำ�คญั ในขณะน้ัน เวลารอ้ น สิ่งทีจ่ ะทำ�
ความรม่ เยน็ ให้เราคืออะไร เราจะถอื เป็นส�ำ คัญเวลานัน้ เวลาทุกข์
เกดิ ขึ้นมา สิ่งทจ่ี ะท�ำ ให้เราได้รบั ความสขุ คอื อะไร ทเ่ี ป็นคู่เคยี งกนั มา
ก็คอื ความดี เป็นเคร่ืองระงบั ดบั ทุกข์ได้ และดับได้อย่างมั่นใจ ไม่
คลางแคลงสงสยั เพราะไม่มีกเิ ลสตัวใดมีอ�ำ นาจเหนือธรรมไปไดแ้ ต่ไหน
แต่ไรมา
สรุปแลว้ ถ้ามคี วามดีอยทู่ ไี่ หนก็เปน็ สุขอบอุน่ ใจ อุปมาใกลๆ้ เหมอื น
คนตกนำ้� ไม่มที เ่ี กาะทีย่ ดึ ในเวลาน้นั แมจ้ ะเคยกลัวผมี าแต่วันกำ�เนิด
เกิดขน้ึ มาเป็นมนษุ ย์กต็ าม แต่ขณะทีต่ กน�ำ้ น้นั ถ้ามซี ากผีตายลอยผ่าน
เขา้ มา ซึง่ เปน็ ขณะที่คนๆ นน้ั ก�ำ ลงั จะจมน้�ำ ตาย และก�ำ ลงั คว้าหาท่พี งึ่
ที่ยึดทเ่ี กาะอย่างกระวนกระวายใจ พอซากผลี อยผ่านเข้ามาเขาจะคว้า
เกาะซากผีตายน้ันทันที เพ่อื ประทงั ชีวติ ไว้ใหพ้ น้ ตาย โดยไมค่ �ำ นงึ ถึง
ความกลัวผที เี่ คยกลวั มาเลย เพราะชวี ิตมคี วามส�ำ คญั ยิ่งกวา่ ความกลวั
ผี นี่แหละเป็นเครือ่ งเทียบ เวลาชีวติ จติ ใจของคนทีจ่ นตรอกจนมมุ เข้ามา
จริงๆ วาระสุดท้ายท่ีชีวิตส้นิ สุดลงตอ้ งเป็นแบบน้ี จิตจะตอ้ งคิดไปตา่ งๆ
เช่น คิดถึงคณุ งามความดบี ้าง คดิ ถึงความชวั่ บา้ ง เมอื่ ไมม่ คี วามดตี ดิ ตวั
พอใหอ้ ุ่นใจบ้าง กค็ ดิ ถึงความชั่วจนได้ แล้วเกิดความเดือดรอ้ นเสียใจขน้ึ
มา เลยสุมเข้าไปภายในจิตใจใหร้ ุ่มรอ้ นเพิ่มขึน้ ไปอกี และพาจมไปเลย ถ้า
เคยท�ำ ความดีไว้ พอคิดถึงความดี จิตเกาะป๊บั ทนั ที และเย็นไปเลย ยิง่ ผู้

๑๑๗

ปฏบิ ตั ิความดอี ยู่เรื่อยมาแล้ว ไม่ตอ้ งสงสยั ความดนี น้ั แลเปน็ เพื่อนสอง
เปน็ มิตรสหาย เป็นค่พู ง่ึ เป็นพ่งึ ตายได้อยา่ งแทจ้ ริงยิ่งกว่าสิง่ ใดๆ ในโลก
พวกเราชาวพุทธ กรณุ าท�ำ ความเขา้ ใจไวก้ บั ตนเองเถดิ คอื ใจเปน็
สิ่งส�ำ คัญทอี่ ธบิ ายไว้เปน็ ๒ แง่ คือ แง่หนึ่ง ศาสดาของวฏั ฏะนัน้ คืออะไร
ศาสดาของวิวฏั ฏะน้นั คืออะไร ที่พดู มาเมอ่ื ตะกนี้ ี้ กรุณาอยา่ ได้ลืม
ขอยตุ เิ พยี งเท่าน้กี ่อน เพื่อทา่ นปัญญาฯ จะได้แปลให้ทา่ นผู้ฟงั ทราบ
ตอ่ ไป”

๑๑๘

ค�ำ ถาม - คำ�ตอบ

ถ.๑–ญ.๑ เวลาทำ�สมาธิแล้ว มักจะมี Yoki Sleep (เข้าภวงั คล์ ึก)
บางคนบอกวา่ ดี บางคนบอกว่าไม่ดี เปน็ อย่างไร
ตอบ ข อให้อธิบาย Yoki Sleep และถามว่าตนเองรูส้ กึ อยา่ งไร ภาย

หลงั ที่รูส้ ึกตัวแล้ว ได้อะไรตดิ มาในจิตบ้างไหม?
ญ.๑ ผ้ถู ามตอบ ไมม่ ีอะไรตดิ มา แตร่ ู้สกึ สดช่ืนขนึ้
ตอบ คนนัน้ วา่ ดี คนน้วี า่ ไม่ดี ทำ�ไมจะไปเชือ่ เขา เราตอ้ งรูอ้ ย่กู บั ตนเองวา่

ดหี รอื ไม่ดี จึงไมค่ วรบอก กลัวจะติดอยใู่ นค�ำ ท่ีบอก ธรรมที่แสดง
เพยี งเริม่ ๆ ยังไม่แตกแขนงพอให้ผู้เรยี นได้รับประโยชน์ เพราะ
ฉะน้ันจงึ ตอบบ้างไมต่ อบบา้ งดี การตอบมากๆ เป็นพษิ แก่จิตใจ
เจา้ ของควรจะพจิ ารณาผลทเี่ กิดแก่จิตตนเอง ท่พี ูดน้ตี ้องแล้วแต่ผู้
มาตดิ ต่อด้วย ว่าควรจะรับหรอื จะรบั ธรรมอยา่ งใด ธรรมดา กลาง
สูง ตำ�่ ตามขน้ั ภูมิของผูม้ าเกย่ี วข้อง
ถามอย่างนี้ท�ำ ให้คดิ ว่าหลกั ของธรรมไมแ่ น่นอน ผปู้ ฏบิ ตั ติ ้องผ่าน
มาแล้ว ถ้าท�ำ สมาธิจติ ตกลึก จิตตอ้ งรู้ ถา้ หลับไป ตืน่ ขึ้น ไม่มี
ใครทราบ เป็นเสียง “ง่วงนอน” นอนเสมอ ตัวเราจะทราบเรอ่ื ง
จติ ได้อย่างไร การทำ�สมาธิ พอจิตจะลง เรากว็ ่าไมใ่ หล้ ง บังคบั
ให้ทำ�งาน ฉะน้นั จึงสรา้ งความมน่ั คงให้จิตไม่ได้ สมกบั ค�ำ วา่ ทำ�
สมาธิเพือ่ ความสงบ คำ�วา่ สมาธิมไิ ด้หมายความวา่ หลบั ไมร่ ้อู ะไร
ตอ้ งรู้กบั ตัวเองโดยเฉพาะ ไมร่ ้กู บั อะไรอ่นื นอกจากตัวเอง

๑๑๙

ถ.๒–ญ.๒ เรือ่ งหวั ใจกบั อนัตตายังไม่เข้าใจ
ตอบ เขา้ ใจ อตั ตา ไหม (ญ.๒ ตอบว่า เข้าใจ) เคยทำ�สมาธหิ รือเปลา่ ?

(เขาเข้าใจ) จิตไดร้ บั ความสงบกับอารมณใ์ ด วิธกี ารใด วิธกี าร
นัน้ จะใช้เรยี นอตั ตาหรืออนตั ตาก็ตาม ในระยะตน้ ๆ ให้ยึดอตั ตา
ไว้ก่อน ตอ่ ไปคอ่ ยถอนความยึดถอื อตั ตาลงเป็นล�ำ ดับๆ จนถอน
ได้เด็ดขาด เพราะจติ เปน็ ตัวของตวั เองด้วยหลกั ธรรมชาตอิ ยา่ ง
สมบูรณ์แล้ว แต่มิใช่เป็นตนแบบอตั ตาดงั กล่าวมา น่ีเป็นสมมุติ
แตน่ ั้นเป็นวิมุตติ จึงผิดกนั (อนัตตา)
ถ.๓–ช.๑ ท�ำ อยา่ งไรจงึ จะทำ�สมาธิไดด้ ี ในชวี ติ ประจำ�วันมีธุระต้องไป
ไหนก็ตอ้ งงดไปกระน้ันหรือจงึ จะปฏิบตั ิไดส้ ม่�ำ เสมอ?
ตอบ ถ้าจิตทราบความเจริญและความเสื่อมของตนเองมันก็ยกจิตขึ้น
เอง ถ้าไม่เข้าใจ จติ ก็หลงตวั เรา การพจิ ารณาขน้ึ อยูก่ ับจติ โอกาส
ถ้ามกี ารงานมาก ภาวนาลดลงไป ก็ไปลดตัวจากผลท่คี วรได้ จิตจึง
เส่อื ม ทจ่ี ริงจติ ไม่ไดเ้ ส่ือม อาการเหลา่ นแี้ สดงเจริญหรือเสือ่ มเป็น
เพยี งอาการของจิต ตัวจติ ไม่ได้เส่อื ม
ถ.๔–ช.๒ “Aping or Monkey practice” ซึ่งหมายความวา่ การเหน็ ใคร
เขาทำ�อะไร ตนอยากจะแสดงตนวา่ เปน็ พวกเดยี วกับเขา กท็ �ำ อย่างเขา
ทกุ อยา่ ง ท�ำ อยา่ งไรจะร้วู า่ ปฏบิ ัติจริงหรอื ไมจ่ ริง?
ตอบ ตวั ทา่ นเองจะรู้ตวั เอง ค�ำ ตอบน้ีอยู่ในคำ�ถามของทา่ นเองแล้ว เรา
เองเปน็ ตัวการอยู่แลว้ ไมจ่ �ำ เป็นต้องไปตะครุบเงา ซ่ึงเป็นของ
เทียม

๑๒๐

ถ.๕–ช.๓ ทท่ี า่ นวา่ จติ สะสมความดีไวม้ ากกไ็ ปเกดิ ในท่ีดีข้ึน อยากทราบ
ว่าดขี ึน้ น้นั คือจะไปเปน็ อะไร?
ตอบ จติ สร้างกรรมขน้ึ มา ผลก็อยทู่ ี่จิต สง่ จิตไปยงั ทค่ี วรแก่ผลนัน่ เอง

เจา้ ของจติ ดวงน้ันไมร่ ู้ ไม่มีสงิ่ ทท่ี �ำ ใหร้ ู้ มพี ระพทุ ธเจ้าและพระสาวก
ทปี่ รากฏวา่ ท่านสามารถรูไ้ ด้ ฉะนน้ั จึงมักหลงเรือ่ งของตัวมาประจ�ำ
โลกดว้ ยกัน ไม่มีใครยิ่งหยอ่ นกว่ากนั เราปฏบิ ตั ิเองจิตเรารู้เอง
ถ้าจติ สามารถ สติปญั ญาตอ้ งละเอยี ดยิ่งข้ึน แลว้ ทา่ นจึงจะทราบ
ไดเ้ องโดยไม่ต้องถามใคร ไมม่ ีอะไรเหลือวสิ ยั ของสติปญั ญาไปได้
เพราะบรรดากเิ ลสกลัวธรรมคือสติปัญญาเป็นตน้ ทงั้ สิน้ ไม่มกี ิเลส
ชนดิ ใดเหนือธรรมคือสตปิ ญั ญาไปได้ ถ้าฝกึ ใหส้ ามารถ
ถ.๖–ช.๔ จิตจะกลับมาเป็นมนษุ ยย์ ากหรือเปล่า?
ตอบ เกดิ มาเปน็ มนษุ ย์ยากไหม? ตัวเราไม่ทราบเรือ่ งของเรา เพราะวา่
จิตไม่มกี ำ�ลัง ถา้ มสี ตกิ ็ทราบเป็นระยะๆ เคยอธิบายใหฟ้ งั แล้ววา่
ขันธม์ แี ต่จะแตก ขณะท่ขี ันธจ์ ะแตก จิตกลับแข็งแรงขน้ึ ขณะที่
จิตจะแยกกับขนั ธ์ มคี วามทกุ ข์มากหรือน้อย หรือไม่มี วดั กนั ไดว้ ่า
จติ มีสติหรือไม่ ภาคปฏบิ ัติยอ่ มทราบวา่ จิตตา่ งกนั ไม่มีอะไร
ละเอียดยงิ่ กว่าจติ วัดกนั ไม่ได้ จติ มสี ตปิ ัญญาจงึ จะตามได้ ดังน้ัน
ต้องแลว้ แต่สตปิ ญั ญาท่อี บรมมามากน้อยต่างกัน

มกี ลา่ วไว้ว่า ขณะทพี่ ระพุทธเจา้ จะเสดจ็ เขา้ ปรินพิ พาน ท่านทรง
เข้าฌานสมาบัติ ต้ังแต่ปฐมฌานขึน้ ไป จนถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ
พระอนรุ ุทธเถระ ซ่งึ เปน็ ผู้เช่ยี วชาญทางจิตกก็ �ำ หนดจิตติดตาม
พระพทุ ธเจา้ พระจติ ของพระพุทธเจา้ เขา้ ฌานไหน คอื ตัง้ แต่รปู
ฌาน ๔ ขน้ึ ไป อรูปฌาน ๔ ตลอดถึงสัญญาเวทยติ นโิ รธ ทรง

๑๒๑

พักอยทู่ ่นี ่ันครหู่ น่งึ แลว้ ทรงถอยลงมาอรปู ฌานและรปู ฌานจนถึง
จิตบริสุทธิ์ปกติแล้วทรงเข้าปฐมฌานถึงจตุตถฌาน และเสด็จ
ปรินพิ พานระหว่างรปู ฌานกบั อรปู ฌานตอ่ กัน จากนั้นก็สดุ วิสัยที่
ใครๆ จะตามรูไ้ ด้ เพราะพน้ จากสมมุตโิ ดยประการทงั้ ปวงไปแลว้
ในขณะท่กี ำ�ลงั ทรงเข้าฌานตา่ งๆ อยู่นั้น พระอนุรุทธเถระ
ส่งกระแสจติ ตามไม่ลดละ และรตู้ ามวาระจติ ของพระพุทธเจ้า
โดยลำ�ดับ เมือ่ พระสาวกทง้ั หลายถามในขณะนน้ั วา่ “พระองค์
ปรนิ ิพพานแล้วหรอื ?” ทา่ นกต็ อบวา่ ยงั และบอกไปตามลำ�ดับ
ท่ีทรงเขา้ และถอยจากฌานน้ันๆ และบอกไดต้ ลอดจนถึงขณะ
พระพทุ ธเจ้าเข้าปรนิ ิพพาน
ท�ำ ไมท่านจึงรขู้ ณะจิตของพระพทุ ธเจา้ ได้ทกุ วาระทท่ี รงเคลอ่ื นไหว
เข้าและออกจากฌานนั้นๆ? ผิดกับพวกเราที่มีใจรับรู้สิ่งต่างกัน
เช่นเดียวกันแค่ไหน ความรู้ความสามารถแห่งจิตที่ฝึกอบรมจน
สมบูรณ์เต็มภูมิแล้วย่อมแตกต่างจากจิตสามัญธรรมดาอยู่มากราว
ฟา้ กบั ดิน จิตที่เตม็ ไปด้วยภาระหนักราวกบั ถงั มตู รคูถกดถ่วงจิตใจ
อยู่ตลอดเวลาแล้ว กบั จิตทบี่ รสิ ุทธิ์สดุ สว่ นแลว้ จงึ น�ำ มาเทยี บ
เคียงและแข่งขันกันไม่ได้ ผู้ฉลาดจึงยอมเชื่อผู้ที่มีความรู้ความ
สามารถเหนือกว่าเป็นครู เช่น พุทธบริษัทถือพระพุทธเจ้าเป็น
ศาสดาและเป็นสรณะเปน็ ต้น ผิดกับคนโง่ที่มัวสำ�คัญว่าตนฉลาด
จนความฉลาดพาใหล้ ่มจมฉบิ หายปน่ ป้ี กย็ ังไม่ยอมรู้สกึ ตวั ว่าเป็น
อย่างไรเลย ความฉลาดแบบนม้ี มี ากในโลกมนุษย์เรา และนบั วนั
เพิม่ ข้นึ อยา่ งไม่มปี ระมาณจนนา่ กลวั จะไมม่ ีโลกให้อยู่

ปดิ ประชุมเวลา ๑๘.๐๐ น.

๑๒๒

๑๒๓

การอธิบายธรรม

วันพธุ วนั ท่ี ๑๙ มิถนุ ายน พ.ศ. ๒๕๑๗ (ค.ศ.๑๙๗๔)

เริ่มเวลา ๑๘.๓๐ น.
ท่านอาจารย์ “จะเทศน์เรอ่ื ง การภาวนา
การภาวนา เป็นการมาเรียนเรอ่ื งหรือสอดสอ่ งดกู าย ทดสอบจิตใจ
อ่านดเู รื่องราวของใจ จิตใจจะเขยี นเรอ่ื งตา่ งๆ วนั ยงั ค่ำ� เขยี นแลว้ ไมเ่ คย
อา่ น แม้ไมเ่ คยทราบวา่ ตนได้คิดดีชว่ั อะไรบา้ งในวนั และเวลาหนง่ึ ๆ แตก่ ็
เป็นนิสยั ของจิตทช่ี อบคดิ ปรุงแตง่ ไปต่างๆ จะแสดงออกมาในเวลาท่ีเรา
ภาวนา เพราะจติ ด้ินรนกวดั แกวง่ มากไม่อยู่เปน็ สขุ ได้ นสิ ยั ของจิตสามญั
ชนท่วั ไปมักเปน็ เชน่ น้ี จึงเปน็ สิ่งทีห่ ักห้ามยากกวา่ ส่งิ ใดๆ เพราะปกติจิตก็
เป็นของละเอียดอย่แู ล้ว จงึ ตอ้ งอาศยั สตกิ ับปัญญาเป็นผคู้ วบคุมรกั ษา
ยิง่ ไดท้ ดสอบดคู วามผดิ ถกู ชวั่ ดี ของตนแลว้ มกั ไม่มีขอบเขต สิ่งเสีย
มมี าก เพราะฉะนน้ั หลักศาสนาจึงสอนให้ไตร่ตรองดูสว่ นดีสว่ นเสียของ
ตน บางทีแสดงออกไปทางทกุ ขบ์ า้ ง สขุ บา้ ง ศาสนาเปน็ เครอ่ื งมอื ทยี่ อด
เยย่ี มอย่แู ล้ว สว่ นมากก็สอนเร่อื งใจมากกวา่ อยา่ งอื่น มีหลักธรรมเท่านั้น
ที่เป็นเครื่องมือทันกับใจ นอกจากเราจะประกอบการให้เหมาะสมกับ
เครอื่ งมือน้ีไดห้ รอื ไม่ ส่ิงของทกุ อยา่ งเขาใชเ้ คร่ืองมอื ถ้านายช่างที่มฝี มี ือ
ดี สิง่ ของก็งดงามน่าใช้ กาย วาจา ใจของเราก็เหมือนกัน รา่ งกายเปรียบ
เหมอื นไมย้ นื ต้น เน้อื ออ่ นหรอื แขง็ ไม่ส�ำ คญั ส�ำ คัญอยู่ทีช่ ่างต้องนำ�มา
ดดั แปลงเป็นเครอ่ื งใช้ เชน่ โต๊ะ เกา้ อ้ี เปน็ ต้น แล้วแต่จะตอ้ งการชนิด

๑๒๔

ใด ส่ิงนั้นก็สำ�เร็จและงดงาม นา่ อยู่ หรือใชส้ อย ตามเนอ้ื ไมแ้ ละความ
สามารถของนายช่าง
กาย วาจา ใจก็เช่นกนั เม่อื ได้ดัดแปลงแกไ้ ขตามหลกั ธรรมด้วย
ความเพียรอย่างเต็มภมู แิ ลว้ จะเปน็ สมบัตอิ ันมีค่าย่งิ กวา่ สิ่งใดๆ เพราะ
คนไม่เหมือนสตั ว์ จะมคี ณุ ค่าสงู ต่�ำ เพียงไรนนั้ ยอ่ มขึน้ อยกู่ ับความดเี ปน็
คณุ สมบัติ มใิ ชเ่ นอ้ื หนังเป็นคุณคา่ สว่ นสัตวท์ ้ังหลายโลกถือว่าอวัยวะ
เนอ้ื หนงั ตา่ งๆ ของเขามีคณุ คา่ ดังนัน้ เวลาเขาตายจงึ ไมม่ ใี ครรงั เกยี จ
กัน แตค่ ุณคา่ ของมนษุ ย์มิไดอ้ ยทู่ ี่อวยั วะเน้ือหนงั อยา่ งเดยี ว ต้องมีความ
ประพฤติดีงามเปน็ เครอ่ื งประกันคณุ ค่าของมนุษย์ ความประพฤติดีด้วย
กายวาจาใจนี้แล คือคุณค่าอันสูงสง่ ของมนุษย์เรา คุณคา่ และความงาม
อนั น้ีไม่เปล่ยี นแปลงไปตามวัยเหมอื นร่างกาย ตามธรรมดารา่ งกายคน
เราย่อมเปล่ยี นแปลงไปตามวยั ถา้ มคี ุณงามความดีเปน็ เครื่องประดับตน
แล้ว ถงึ ร่างกายจะร่วงโรยไปเปน็ ลำ�ดบั แต่คณุ งามความดยี งั เดน่ อย่มู ิได้
รว่ งโรยไปตามร่างกาย
โดยเฉพาะการอบรมภาวนา พยายามระงบั จิตของตนใหห้ ยุดปรงุ แต่ง
ตา่ งๆ พอเป็นความสงบเยน็ ใจได้บา้ ง ยอ่ มเรมิ่ จะเหน็ คณุ ค่าของใจขน้ึ มา
ขณะภาวนาพยายามใหจ้ ิตปรงุ เฉพาะงานทีต่ นตอ้ งการ เชน่ “พทุ โธๆ ๆ”
อนั เป็นงานท่ีจะยงั ใจใหส้ งบ เมื่อพยายามท�ำ ดว้ ยความสนใจ มีสตกิ ำ�กบั
จติ ย่อมสงบลงได้ อารมณไ์ ม่รบกวน ใจที่ปราศจากส่งิ รบกวนยอ่ มเป็น
สุขสงบเยน็ รเู้ ห็นประจักษใ์ จในขณะนนั้ ความสงบสุขของจติ ทีไ่ ม่มี
อารมณร์ บกวนยอ่ มเป็นสุขที่พงึ หวังอย่างย่ิง จิตท่ที รงตัวอยดู่ ้วยความรู้
เพยี งอนั เดยี ว ทา่ นเรียกวา่ “เอกคั คตาจติ ”

๑๒๕

เอกัคคตาจิต คอื รู้อันเดยี ว เปน็ ความสขุ ใจไมม่ ีอะไรเสมอเหมอื น
แมแ้ ต่พระพุทธเจ้าผทู้ รงธรรมอนั เลิศ เสด็จปรินพิ พานไปแลว้ ตั้ง ๒๕๑๗ ปี
แต่พระคุณทั้งหลายก็ยังเป็นที่พึ่งที่เคารพนับถือของชาวพุทธทั้งหลาย
ไมม่ ที ี่สิน้ สุด เมื่อสิ้นพุทธสมยั ของพระพทุ ธเจ้าองคน์ แ้ี ล้ว ก็ยังจะมี
พระพุทธเจา้ องค์ใหม่มาตรสั ร้แู ละสั่งสอนโลกสบื ทอดกันไป
ใจถา้ สงบขาดจากอารมณ์ในขณะนั้น เราจะทราบความอศั จรรย์ของ
ใจทนั ที แม้ไมเ่ คยประสบมาก่อน เพราะเปน็ ความแปลกประหลาดและ
อัศจรรย์ในชวี ิตของผูไ้ มเ่ คยประสบความสงบของจิต ขณะจิตสงบ ยอ่ ม
ไม่คดิ ปรุงอารมณ์ข้นึ มารบกวนตนเองใหย้ ุ่งเหยงิ วุน่ วาย ตงั้ ตนเปน็ เอกจติ
เอกธรรม อย่โู ดยเฉพาะ จนกวา่ จะถอนข้นึ มา และคดิ ปรงุ อารมณต์ ่างๆ
ต่อไปตามนิสัยทเี่ คยคิดปรุง ถา้ จติ ลงไดส้ งบตวั ลงเพยี งครงั้ เดียวเทา่ น้ัน
ย่อมจะทำ�ความตน่ื เตน้ แกผ่ บู้ ำ�เพ็ญอย่างน่าประหลาด และไม่มวี นั
หลงลมื ไดง้ า่ ยๆ เลย นอกจากจะพยายามทำ�ภาวนาใหย้ งิ่ ขนึ้ ไปโดยล�ำ ดบั
ถา่ ยเดยี ว ฉะนัน้ ผู้ท่ปี รากฏผลแล้วจึงมักจะมีความเพยี รกล้าไม่ท้อถอย
ภาคปริยัติทเี่ รยี นรู้กย็ กไว้บชู า จะขอนำ�ภาคปฏิบตั ิมาอธบิ ายให้ทา่ น
ท้งั หลายทราบก่อนพอเปน็ แนวทาง เพราะเรยี นธรรมตอ้ งรูธ้ รรม ปฏบิ ตั ิ
ธรรมตอ้ งร้ผู ล เพราะธรรมไม่ใชส่ ิง่ ล้ีลบั ต้งั แต่พระพุทธเจ้าตรัสรแู้ ลว้
จนถึงบดั น้ี ธรรมท่ีประกาศสอนให้เราทราบอยบู่ ัดนีก้ ย็ งั คงจริง ไม่มี
บกพร่องเลยแม้แตน่ อ้ ย การปฏบิ ตั ิตามพระพทุ ธศาสนาก็ยังคงได้ผลไม่
ยิ่งหย่อนไปกว่าทเ่ี คยประกาศสอนไปแลว้ นอกจากผู้ปฏิบตั ิไมส่ ามารถ
เหมอื นผปู้ ฏิบัติสมัยโน้นเท่านน้ั ผลจงึ ไมเ่ หมอื นกนั เหตุย่อหย่อน ผลก็
อ่อนก�ำ ลัง เหตไุ มม่ ี ผลกไ็ มป่ รากฏ แล้วจะควรตำ�หนอิ ะไรหรอื ต�ำ หนิใคร
จึงจะควรแกเ่ หตุผล เวลาน้ใี ครเล่าก�ำ ลงั ขวางธรรมอยู่ ไมก่ า้ วเดินทางท่ี

๑๒๖

ท่านสอน นอกจากตวั เราเอง
ในคร้งั พทุ ธกาล ธรรมเปน็ ธรรมจรงิ ๆ เรยี นธรรมเพือ่ รู้เห็นธรรมและ
ปฏบิ ัติธรรมจริง ไม่ได้หนว่ งเหนย่ี วให้ธรรมเป็นโลก อาจารยข์ อเรยี นวา่
อาจารย์เองกไ็ มด่ ีไปเสยี ทุกอย่าง ที่มาเย่ียมพี่น้องในลอนดอน ก็มคี วามดี
ความชวั่ ติดตวั มาด้วย หากผดิ พลาดกห็ วงั วา่ คงได้รับอภัยจากท่านผฟู้ ังทง้ั
หลาย
จะยกตัวอยา่ งธรรมเปน็ โลกใหท้ า่ นท้ังหลายฟัง เบ้ืองแรกอาจารย์
เรียนหนงั สือ สอบไล่ไดเ้ ป็นนกั ธรรมตรี ดีใจใหญ่ มกี ิเลสกองหนึ่ง ตอ่
มาไดน้ กั ธรรมโท เอก ตัวก็ใหญ่พองขึน้ กิเลสก็เพมิ่ กองใหญ่ขึ้นจนจะก้าว
ไมอ่ อก มีแต่กเิ ลสเตม็ ไปหมดในตัวเรา คิดวา่ ตนเปน็ คนฉลาด ต่อมาได้
เปน็ มหาเปรยี ญ กย็ ิ่งคิดว่าตนเกง่ ท่ีจรงิ กเ็ ก่งแตจ่ �ำ ช่ือกเิ ลสตัณหาอาสวะ
ไดม้ าก รูแ้ ตช่ ่ือ แตไ่ มเ่ คยสะดุดใจ และท�ำ ให้กิเลสแม้แตน่ อ้ ยหลดุ ไปจาก
ใจของตนได้เลย มีแตส่ �ำ คญั ว่าตวั ฉลาด ไดช้ ้นั นน้ั ชัน้ น้ี ถา้ ไมส่ ังเกตกไ็ ม่
ทราบวา่ ธรรมกลายเป็นโลกไปเม่อื ไร
พอหันมาสนใจปฏิบัติ จติ มุ่งต่ออรรถต่อธรรม ความพองตัวกค็ ่อยๆ
ลดลงไป การเป็นนกั ธรรมช้ันใดเปรยี ญชั้นใดกเ็ ร่มิ หมดความหมายไปโดย
ลำ�ดบั จนร้สู กึ อายไมอ่ ยากจะให้ใช้คำ�ว่า มหา น�ำ หน้าชอ่ื เลย น่กี ก็ ลาย
เป็นกเิ ลสอีกชนดิ หน่งึ เหมอื นกัน เข้าใจว่าเปน็ ความคิดถูก แตก่ ่อนนีช้ อบ
ให้มีชื่อมีมหาอยู่ข้างหนา้ เดยี๋ วนอ้ี ยากให้มหาอยู่ขา้ งหลัง กเิ ลสกค็ อื ธรรม
ไม่เป็นธรรม กลายมาเปน็ โลก เมือ่ ปฏิบตั ิธรรมมากขนึ้ กิเลสเหลา่ นีก้ ็
คอ่ ยๆ สลายตวั ไปในใจ ขอเรยี นวา่ ไมไ่ ดม้ ุง่ ให้กระทบกระเทือนใคร เล่า
เรือ่ งของตนวา่ เคยเปน็ อย่างน้ี ทเ่ี รียกวา่ ธรรมกลายเปน็ โลก ถา้ ไมเ่ ขา้ ใจ

๑๒๗

ธรรมจะไมส่ ามารถแก้กิเลสที่แฝงอยอู่ ยา่ งลึกลบั ได้เลย คำ�วา่ สมาธิทเี่ คย
ได้ยินแต่ชอ่ื ก็มาปรากฏท่ใี จ เม่อื เรียนปริยัตนิ ัน้ ท่องเสียจนคล่องติดปาก
ติดใจ มาร้คู วามจรงิ บ้างเมอ่ื ปฏบิ ตั ิไปตามกำ�ลัง แต่กม็ ไิ ดห้ มายความว่า
รู้จนเกดิ กเิ ลสกองเทา่ ภเู ขา ท้งั ทตี่ ัวเทา่ หนูหรอื ตวั เทา่ ช้างสารอะไรหรอก
เลา่ ตามเร่ืองของกิเลสซึ่งมอี ยู่ในจติ เจา้ ของตอ้ งเปน็ ผู้รู้เอง ละเองตา่ งหาก
สมาธคิ ือความมนั่ คงของใจ ก็มัน่ คงเปน็ ล�ำ ดับ จึงร้ทู งั้ ชอ่ื ร้ทู ง้ั ตัว
สมาธิ และรกู้ บั ใจตนเอง เมอ่ื พิจารณาธาตขุ นั ธ์ รูปกายเป็นธาตุ ๔ ทัง้
ภายในภายนอก รวมแล้วกล็ งไตรลกั ษณ์ อนิจจัง ทกุ ขงั อนัตตา
เร่ืองของปญั ญา กไ็ ด้ทงั้ ช่ือ ได้เหน็ ทั้งใจ ทำ�งานด้วยปญั ญาไม่ขาด
วรรคขาดตอนเต็มความสามารถ ตามภาคปฏบิ ัตเิ ป็นอยา่ งน้ี สติปญั ญาก็
เป็นธรรมทีร่ อู้ ยู่กับตวั คำ�วา่ มรรค ผล ก็ไมส่ งสัยทไ่ี หนแลว้ มรรค ก็คอื
สติปญั ญาท่ที �ำ ใหก้ เิ ลสหลดุ ลอยจากใจไปเป็นล�ำ ดบั เหน็ อย่ทู ใี่ จวา่ ทกุ ข์
สมทุ ัย นโิ รธ มรรค เปน็ ของจรงิ มาด้ังเดมิ เม่ือสตปิ ัญญาอ่านได้ถูกตอ้ ง
ตามความจรงิ จนถงึ ใจแล้วความสงสยั กส็ น้ิ ไป ผูไ้ ม่สงสัยก็อยู่อยา่ งเยน็ ใจ
ไม่ยงุ่ กับอะไรตอ่ ไปอีก เร่ืองก็มเี ทา่ นี้ ธรรมก็เปน็ ธรรม โลกกเ็ ปน็ โลก ตา่ ง
อันตา่ งจริง ตา่ งอันตา่ งอยู่ ความกระทบกระทง่ั กันระหว่างจิตกับส่ิงท้ัง
หลายกไ็ ม่มี
คำ�ว่า “เตสงั วปู สโม สโุ ข” มิไดห้ มายความว่าตายเพราะดับสังขาร
แลว้ ก็เป็นสขุ อยา่ งเดียว แตก่ ารดับสงั ขารอนั เปน็ ตัวสมุทยั ใหเ้ กิดกเิ ลสได้
เมือ่ ไรก็เปน็ สุขเมื่อนั้นเหมอื นกนั แมย้ ังไม่ตาย
วันนี้อธบิ ายธรรมเปน็ ธรรมกับธรรมกลายเป็นโลก ถา้ ปฏบิ ัติให้ไดเ้ ชน่
ทท่ี า่ นกระท�ำ กนั ในพทุ ธกาลกจ็ ะไดผ้ ลเชน่ ครง้ั พทุ ธกาลดว้ ยแตน่ า่ เสยี ดาย

๑๒๘

ทีธ่ รรมเปน็ ของจรงิ ส่วนพวกเราชอบท�ำ เลน่ กนั เปน็ สว่ นมาก สิ่งที่
ปรากฏจนน่ารำ�คาญจึงมักมีแต่คำ�ถกเถียงกันว่ามรรคผลนิพพานหมดเขต
หมดสมยั ไปเสยี แล้ว ใครปฏบิ ตั ดิ สี กั เท่าไรก็ไมม่ หี วงั บรรลุ ราวกับเป็นผู้
ผกู ขาดมรรคผลนิพพานแต่ผู้เดยี ว ประหนึ่งเป็นสพั พญั ญู ทงั้ ทกี่ เิ ลสเต็ม
ตัวไมม่ ใี ครกลา้ แขง่ ศาสนาจึงมกั มีแต่ช่อื ส่วนความจริงแห่งธรรมในวง
ของผู้เข้าใจว่าตนนบั ถอื พทุ ธศาสนา ไดถ้ กู กเิ ลสขโมยหรือปลน้ เอาไปกิน
แทบไมม่ เี หลอื อยูใ่ นใจกายวาจาบ้างเลย ถา้ ยังขนื เข้าใจดังทเี่ ปน็ อยู่ ต่อไป
กน็ ่ากลวั จะเปน็ ศาสนาคัมภีร์ มแี ต่ชื่อ”

คำ�ถาม - คำ�ตอบ

ถ.๑–ญ.๑ ทา่ นปญั ญาฯ วา่ จติ ดา้ นหนึง่ จะไปหาธรรม อกี ใจหนึง่ อยาก
จะไปทางโลก ควรจะไปทางไหน?
ตอบ เม่อื ทั้งสองต่อสู้กนั ถา้ จิตคล้อยไปตามโลก ธรรมกแ็ พ้ พระพทุ ธเจา้

และพระสาวกไม่ใชเ่ ปน็ ไม้แห้งหรือคนตาย ท่านเปน็ คนอยา่ งเราๆ
พระพุทธเจ้ายังทรงสละทรัพย์สมบัติผู้คนบริวารครอบครัวเสด็จ
ออกทรงผนวชได้ แสดงว่าเป็นผทู้ ท่ี รงตอ่ สู้ ฝา่ ฝนื จนไม่มีอะไรจะ
ฝนื ราวโลกธาตุหวน่ั ไหว ลกู เมียใครๆ ก็รัก บริวารทรพั ยส์ มบัติ
ก็ตอ้ งเสียดายเปน็ ธรรมดา ท่ีทรงฝนื ก็เพราะทรงเหน็ วา่ ทางนดี้ ี
กวา่ พระพุทธเจ้าและพระสาวกมไี ม่นอ้ ยท่ตี อ่ สู้ แลว้ ตดั สนิ ใจหัน

๑๒๙

มาทางธรรมน้ี และปฏิบตั ิตอ่ ส้กู ับโลกในดวงใจจนชนะและพน้ ไป
ได้ ส่วนพวกเราเคยแพ้กเิ ลสมาทกุ ภพทุกชาติ ไม่คดิ อยากชนะมนั
บา้ งหรือ หรือกลวั พน้ ทุกข์จึงไมอ่ ยากฝืนมนั
ถา้ เปรียบเทียบกันแลว้ อะไรจะเลวร้ายยง่ิ กวา่ กิเลส และอะไรจะ
เลิศล้ำ�น�ำ คนใหป้ ระเสริฐยิง่ กวา่ ธรรม จะเอาอยา่ งไรด?ี ดกี บั เลว
ก็ทราบกันอยแู่ ลว้ ตามข้อเปรยี บเทยี บ สว่ นกิเลสมนั มอี ยู่ในใจของ
พวกเราอย่แู ลว้ ถ้าจะเลิศก็ควรเลศิ ไปนานแล้ว ไม่จำ�เป็นต้องมา
คดั เลือกใหเ้ สียเวลา
ถ.๒–ญ.๒ ปญั หาเกิดแกจ่ ิตดิฉันเอง คิดตัดสนิ ใจไม่ได้ ไม่แนว่ ่าจะทำ�
อย่างไรดีที่สุด?
ตอบ คนเราอยใู่ นโลกมานานเทา่ ไร ยอ่ มมปี ัญหาเกิดขึ้นให้ตอ้ งแก้ไข
กันอยเู่ สมอ ไม่ทราบว่าเคยปฏิบัตติ ่อปญั หาเหลา่ นัน้ อย่างไรบา้ ง
จงึ อยู่มาไดจ้ นป่านน?้ี
ถ.๓–ญ.๒ จะใหเ้ รียนจากความผิดพลาดเช่นนน้ั หรือคะ?
ตอบ การแก้ปญั หาก็มีหลายอยา่ ง ยอมแพ้เลย เหน็ ควรส้กู ็สู้ เหน็ ควร
ยอมกย็ อม กเ็ รารู้อยวู่ า่ ในกรณเี ชน่ น้นั ทำ�อยา่ งไรจะชนะได้ ก็ทำ�
อย่างน้ัน ถา้ ไม่อยากเป็นคนแพ้อยู่ร่ำ�ไป แตถ่ ้าแพ้เป็นพระชนะ
เป็นมาร แบบนกี้ ด็ ี นกั ธรรมะท่านแพแ้ บบนี้ ถา้ นักโทษกช็ อบ
เอาชนะผู้อน่ื แตต่ นยอมตดิ ตะราง สว่ นการแพก้ ิเลสแบบนักโทษ
นั้นดลี ะหรือ? ควรพจิ ารณาใหล้ ะเอียดถ่ถี ้วน
ถ.๔–ช.๑ ถ้าท�ำ สมาธดิ ว้ ย ยุบหนอ-พองหนอ แลว้ เกิดความเจบ็ ปวดขน้ึ
จะควรเพ่งทค่ี วามเจ็บปวด หรอื ควรเพง่ ทย่ี บุ หนอ-พองหนอ?

๑๓๐

ตอบ ท�ำ ตามธรรมดา ยงั ไม่เกิดทกุ ขเวทนาใดมากพอจะถอนจติ ไปพจิ ารณา
เร่อื งน้ัน ถา้ มันเกิดทกุ ข์มากก็ต้องถอนออกจากการพิจารณา ยุบ
หนอ-พองหนอ มาพจิ ารณาความเจบ็ เพ่อื ใหท้ ราบความจรงิ ถ้า
เรามัวยึดยบุ หนอ-พองหนอ อยู่ กเ็ ลยไม่รู้ความจรงิ คอื ตัวทกุ ข์
แล้วจติ ก็จะเกิดความระอา ถอยความเพียรไปเสีย เลยไมเ่ กดิ ผล

แตถ่ า้ พิจารณาทกุ ข์ มนั ทุกข์มากจนทนไม่ไดจ้ รงิ ๆ มันเหลือเขญ็
แล้ว กต็ ้องยอมบ้าง แต่สำ�คญั ท่ีจติ ไมย่ อมถอย จะต้องการเขา้ ใจ
เร่ืองนี้ จิตปกั ลงไปก็ท�ำ ให้ทุกข์ดบั ได้ เพราะจติ พจิ ารณาแยกความ
ทุกขอ์ อก เป็นทุกข์ท่กี ายหรือท่จี ิต ถา้ จติ สามารถด้วยปัญญา ย่อม
รูเ้ ทา่ และเวทนาก็ถอนได้ เกิดอศั จรรย์อยา่ งไมเ่ คยพบเห็นมาก่อน
ก็จะมาเห็นกันในคร้งั นี้ และไมม่ ีลมื ตลอดไป

ถ.๕–ช.๑ การพิจารณาน้ันคือท�ำ อยา่ งไร?
ตอบ การพิจารณาคอื การแยกแยะตวั ทกุ ขอ์ อกดู วา่ ทกุ ขเ์ กิดในจุดใดที่

เด่นกวา่ เพ่อื น เราเข้าใจว่านน่ั เป็นทุกข์ เรากต็ รวจสอบอยตู่ รงท่ี
ต่างๆ เชน่ เจบ็ ทไ่ี หนแน่ ท่ีกระดูกหรือกล้ามเนอ้ื หรอื หนงั จิต
ตอ้ งจ่อทมี่ ันเปน็ ทุกข์มากกว่าเพือ่ นนน้ั ถ้ารู้ว่ามันทุกข์ที่กระดูก ก็
พจิ ารณาตอ่ ไปว่า ถ้าตายแลว้ เขาเอากระดกู ไปเผา ท�ำ ไมกระดูก
ไม่เจ็บ เม่อื พิจารณาครบถ้วนแล้ว เรากจ็ ะเหน็ ว่าทกุ สว่ นของ
รา่ งกายมนั กเ็ ปน็ อยา่ งเดยี วกนั คือตา่ งอนั ต่างจริงตามธรรมชาติ
ของตน จิตใจเราต่างหากท่ยี ึดเอาทุกข์ข้นึ มาเป็นตน เป็นเรา เรา
เป็นทกุ ข์ เราก็จะรวู้ ธิ ดี บั ทุกขต์ ามชนั้ ตามภมู ิแห่งสตปิ ัญญาของ
ตน และไดค้ วามรอู้ ยา่ งนา่ อศั จรรย์ ที่พดู นัน้ ก็เพ่อื ใหน้ ักปฏิบัติ
ทัง้ หลายยดึ ไวป้ ฏิบตั ิในเวลาจำ�เปน็ เกดิ ข้ึน เช่น เวลานง่ั นานหรอื

๑๓๑

เวลาเจ็บไข้เปน็ ทกุ ข์มากๆ
ถ.๖–ญ.๑ ถ้าเปน็ ความเจ็บทางจติ ใจ จะใชว้ ธิ ีพจิ ารณาอย่างนีไ้ ดไ้ หม?
และจะหายไปไดห้ รอื ไม?่
ตอบ ใช้ได้ ทุกข์ทางใจก็ได้แกเ่ สียใจ ยุ่งใจตา่ งๆ ถา้ พิจารณาแลว้ ทกุ ข์

ก็หายไปเหมอื นกัน แตก่ ารพิจารณาดับทกุ ขท์ างใจนน้ั ต้องแล้ว
แต่นิสัยของบคุ คลวา่ จะเหมาะสมอยา่ งไร ถา้ เปน็ คนไมเ่ ดด็ เดยี่ ว
อาจหาญก็แกไ้ ด้ดว้ ยวธิ หี น่งึ ถ้าเปน็ คนเดด็ เด่ยี วอาจหาญ ก็ต้อง
ใช้อกี วิธีหนึง่ จติ ตอ้ งตรวจดูตวั เอง หมนุ ตัวเข้าหาทางดบั ทุกขท์ ่ี
เหมาะแก่นสิ ยั จติ ของตน ไม่เช่นน้ันก็ขัดตอ่ นิสัย และไมไ่ ด้ผลเทา่
ทค่ี วร
ถ.๗–ญ.๒ ถ้าเอาอยา่ งพระพุทธเจา้ คือละบ้านเรอื นไปเสยี แล้ว กจ็ ะ
ล�ำ บากสำ�หรับบตุ รภรรยา ถ้าพวกเราทำ� ไมแ่ นใ่ จว่าจะดี?
ตอบ เมอ่ื ยังไม่แนใ่ จอะไรก็อยา่ เพง่ิ ทิ้งไป ศาสนามไิ ด้สั่งบงั คบั วา่ ทกุ คน
ต้องสละหมดอย่างพระพุทธเจ้าทุกกระเบยี ด แตเ่ รายอมรับว่าเรา
ไมส่ ามารถเหมือนพระพุทธเจ้า เพราะฉะนั้นเราจึงพอทำ�ตามได้
ตามที่เห็นว่าเหมาะสมกับเราผ้เู ปน็ ศษิ ย์มีครู แตก่ ค็ วรระวังไวบ้ า้ ง
วา่ ถ้านอนใจโดยคิดว่าเราเปน็ ข้ันลูกศิษยท์ า่ น จะทำ�อย่างท่าน
ไม่ได้ แตเ่ ราจะทำ�ตามกเิ ลสบงการนนั้ อาจจะลมื ระลกึ ถึงคณุ ครู
คอื ศาสดา ผทู้ รงสอนให้คนมคี วามขยนั หม่นั เพียรเพอ่ื เดนิ ตามครู
กไ็ ด้ จงึ ควรระลึกข้อน้ไี วเ้ สมอ จะไม่ลมื ตัวใหก้ ิเลสหวั เราะเอา
ถ.๘–ญ.๒ ดฉิ นั อยากจะออกจากครอบครัวไปปฏิบตั ธิ รรม แต่กลวั ลูกจะ
เสียใจ

๑๓๒

ตอบ เรายังไปไมไ่ ดก้ ็ไม่มีใครมาทำ�โทษ คนเราก็เหมือนผลไม้ เมือ่ ยงั ไม่
สกุ กต็ ดิ อยกู่ ับขั้วไปก่อนจนกว่าจะควรแกก่ าล พอถึงคราวสุกมันก็
สุกเอง พองอมเต็มท่แี ล้วก็หล่นจากขัว้ ได้ฉันใด มนษุ ยเ์ รากย็ งั ต้อง
รอวา่ พรอ้ มท่จี ะสละไดเ้ ม่อื ใดฉันน้นั ไม่ใช่ทำ�ตามอยา่ งกนั ไปโดยที่
ตนยังไม่พร้อม แต่ก็ไม่ควรคิดเร่ืองเสยี ใจของคนอ่ืนถา่ ยเดยี ว ควร
คดิ ถึงเรอ่ื งจะเสียการของตนแฝงไปเสมอ จะไม่ประมาทเพราะผู้
อ่ืนเป็นเหตุอยา่ งเดยี ว

ถ.๙–ญ.๒ เราทำ�ลายความสมั พนั ธ์หรอื อปุ าทานยึดถอื กนั แลว้ ยงั คงอยู่
ในบ้านเดยี วกันจะได้ไหม?
ตอบ (ท่านอาจารยไ์ มต่ อบ แต่ชแ้ี จงกบั ลกู ศิษยไ์ ทย ๒ คน และพระฝรั่ง

๒ องคว์ ่า ถ้าบอกวา่ ใช้ไดแ้ ล้ว จะกลายเป็นเปดิ ทางใหค้ นที่
ออกไปแลว้ กลับเข้าไปใหม่ แล้วกห็ นีไมพ่ ้นอปุ าทาน ความจรงิ
พระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ท่านละอุปาทานในขนั ธแ์ ลว้ ทา่ นก็
ยังอาศัยขนั ธ์ไปตลอดวันนพิ พาน ไมเ่ ห็นทา่ นแยกจากขนั ธไ์ ปอยู่
เสียท่อี ่นื )

ถ.๑๐–ญ.๒ ได้อา่ นหนังสอื Forest Dhamma ธรรมะปา่ แล้วร้สู ึกว่า
ท่านอาจารย์จะเป็นคนดุ แต่มาได้พบทา่ นอาจารย์แลว้ เหน็ ท่านหัวเราะ
ได้ พูดเลน่ ได้ ย้ิมแย้มดี
ตอบ แสดงวา่ หนังสอื นั้นไม่ใช่คนนี้เขยี นใช่ไหม หรอื มิฉะน้นั ก็อาจเป็น

ไปไดท้ จี่ ะคดิ วา่ คนอน่ื เขยี นอยา่ งหนง่ึ หรอื เจา้ ของเขยี นเองแตเ่ ขยี น
เวลาท่ีรู้สึกดุ
หมายเหตุ ผู้ฟังทั้งปวงแสดงกริ ิยาเหน็ ดว้ ยกับการที่ ญ.๒ ต้ังขอ้
สงั เกตเชน่ น้นั

๑๓๓

ถ.๑๑–ญ.๒ ทา่ นจะประชมุ คร้งั สดุ ทา้ ยเม่ือไรคะ?
ตอบ เยน็ วนั ศกุ ร์ วนั ท่ี ๒๑ มิถนุ ายน ๒๕๑๗ วันท่ี ๒๒ มถิ ุนายน กต็ ้อง

ลากลบั แตเ่ ชา้ กลบั ไปก็จะคดิ ถึงพนี่ ้องทลี่ อนดอนเราเหมือนกนั
อาจารย์กเ็ ป็นคนอยใู่ นโลก โลกดกุ ็ดุได้ โลกหวั เราะก็หวั เราะได้
ไมใ่ ช่พระอิฐพระปนู ลอนดอนนหี้ นาว อากาศหนาวขน้ึ อาจารย์
ไปแล้วกค็ ดิ ถึงพ่นี อ้ งทางลอนดอน ไมแ่ น่วา่ จะไดม้ าอีกเมือ่ ไร และ
ก็ไม่แน่อีกเหมือนกันท่ีพ่ีน้องทางลอนดอนอาจไปเย่ียมอาจารย์ทาง
โนน้ บ้างกไ็ ด้ พี่นอ้ งทางเมืองไทยหว่ งอาจารย์ และอาจารย์ก็หว่ ง
เขา เพราะความเกี่ยวเน่ืองกนั ทางศาสนาทีต่ ้องเป็นหว่ งกนั ตลอด
ความสุข-ทุกขท์ ่ีมอี ยู่กบั เพือ่ นร่วมโลก ซ่ึงตนพอจะช่วยบรรเทา
แล ะปล ดเปล้ืองได้ตามกำ�ลัง

ปดิ ประชมุ เวลา ๒๐.๑๐ น.

๑๓๔

การอธบิ ายธรรม

วนั พฤหัสบดี วนั ที่ ๒๐ มถิ นุ ายน พ.ศ. ๒๕๑๗ (ค.ศ.๑๙๗๔)

เชา้ วนั นี้ ตอนถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ ณ ธมั มปทีปวหิ าร กรุง
ลอนดอน พนั เอกพเิ ศษ หม่อมราชวงศ์ พงศ์ดิศ ดิศกุล ผชู้ ่วยทตู ทหารบก
สถานเอกอัครราชทูตไทยประจำ�กรงุ ลอนดอน และ Mr.J.Brian DYAS
ประธาน Mrs.Sue TUCKER กรรมการของกลุม่ พทุ ธศาสนกิ ชนของ
HAMPSHIRE ประเทศอังกฤษ มานมัสการและถวายอาหาร ในโอกาส
นไ้ี ด้ถอื โอกาสกราบเรียนถามท่านอาจารย์พระมหาบัว ญาณสัมปันโน ดัง
ต่อไปนี้

ค�ำ ถาม - ค�ำ ตอบ

ถ.๑–Mrs.Dyas ไดจ้ ดหมายตดิ ตอ่ กับทา่ นปญั ญาวัฑโฒ จึงได้ทราบวา่
ท่านอาจารย์มากรงุ ลอนดอน จึงอยากจะเรยี นถามวา่ วธิ ีเจรญิ สตใิ น
เวลาอน่ื ๆ เชน่ เวลาท�ำ งานให้มีสติ ไมใ่ ช่ต้องนง่ั ท�ำ สมาธิ จะทำ�ไดห้ รือ
ไม่?
ตอบ การฝกึ สติของนักธรุ กจิ ทำ�อย่างไร จะต้องระลึกถึงอะไรบา้ ง จะต้องมี

สตสิ มั ปชญั ญะ รู้ตัวอย่วู า่ ก�ำ ลังท�ำ อะไร เพราะเหตใุ ด สบื ตอ่ เนอ่ื ง
กันโดยไม่เผลอตัว นกั ธุรกิจก็เจรญิ สติได้ นักภาวนาก็ควรจะทำ�ได้

๑๓๕

ในอริ ยิ าบถต่างๆ ท่ีก�ำ ลังประกอบกจิ การใดๆ อยู่ เพราะสติกบั
ปญั ญาอยู่กบั ใจผู้เปน็ เจา้ ของงานนัน้ ๆ ซึง่ ควรจะนำ�มาใช้ไดท้ ุก
เวลา หรือใชไ้ ด้มากกวา่ นักธุรกจิ เสียอกี จึงไม่มีอปุ สรรคในการตง้ั
สตทิ กุ ๆ อิรยิ าบถกับงานน้นั ๆ
ถ.๒–Mrs.Wint เขา้ ใจวา่ ภาวนาพทุ โธ นนั้ ควรใชเ้ วลานั่งภาวนาเทา่ นั้น
จะใชเ้ วลาอ่ืนได้หรอื ไม?่
ตอบ เวลาท�ำ งานต้องใชจ้ ิตคิดไปทางอนื่ หรอื เปลา่ ถ้าภาวนาพุทโธแต่
จิตไปคดิ เร่อื งอื่นๆ แม้ขณะน่งั ภาวนาอยูก่ ็ไม่มปี ระโยชน์ ฉะนัน้
การภาวนาบทใดกต็ าม สตอิ ยกู่ บั ใจ ระลึกได้ทกุ เวลา จะใช้ในเวลา
ใดกไ็ ด้ ไมข่ ัดขอ้ งสำ�หรบั ผ้สู นใจฝึกตน
ถ.๓–Mrs.Cherry รู้สึกว่าใจดิฉันเหมือนลงิ โดดไปกิง่ โนน้ ก่ิงนี้ จะท�ำ
อยา่ งไรด?ี
ตอบ ใชว้ ธิ ีภาวนาลิงจับลงิ คือพยายามใหจ้ ติ มานึกถงึ คำ�ภาวนา สติ
เครอ่ื งระลกึ รู้ตัวน้นั รวดเรว็ ยิ่งกว่าลิง จงึ สามารถเอาสตจิ บั จิตที่
เหมอื นลงิ ได้อยา่ งไมม่ ปี ญั หา
ถ.๔–Mrs.Wint มผี ู้หญงิ คนหนง่ึ ขอนัดจะมาหาท่านอาจารย์ เพ่ือขอให้
ชว่ ยแก้ปัญหาทางจติ ใจให้เขา คอื กอ่ นท่ีเขาจะมาเป็นพทุ ธ เขาเคยไป
หาพวกอนิ เดียและนบั ถือเทพต่างๆ บัดน้ีเขายงั รสู้ กึ วา่ เทพของอินเดีย
ยังเขา้ มาท�ำ ใหเ้ ขากลัว เขาเคยเป็นนกั เปียโนมีชอื่ บัดนีอ้ อกจากงาน
แล้ว
ตอบ เปน็ เรือ่ งจติ หลอกเจา้ ของเอง เจ้าของคดิ ไป กห็ ลอกเจา้ ของไป
แลว้ ไปเชอ่ื วา่ เทพของอินเดียมาหลอก ท้ังๆ ทหี่ ลอกตัวเอง มี

๑๓๖

นทิ านเรอื่ งพระกรรมฐานที่บวชใหม่กลัวผี อาจารยพ์ าไปอยูท่ ่ีป่าชา้
บอกให้น่งั ตรงนแี้ ล้วอาจารยจ์ ะไปน่งั ตรงโนน้ ใหน้ ่ังหลบั ตาภาวนา
ไปจนกวา่ ผมจะมาเรียกจงึ คอ่ ยลกุ อาจารยส์ ง่ั แลว้ กไ็ ปน่ังที่โน้นพัก
หนึ่งแลว้ จงึ เลยไปวดั
ส่วนพระใหมน่ น้ั น่ังหนั หนา้ ไปทางทอ่ี าจารยน์ งั่ แล้วกภ็ าวนาตอ่ ไป
โดยไมน่ กึ กลวั ผี เพราะเขา้ ใจวา่ อาจารยน์ งั่ ควบคุมผใี ห้ พอนานเขา้
ชกั นกึ หวาดเรอ่ื งผขี ้นึ มา จึงคอ่ ยๆ ลกุ แล้วเดินมาหาทีซ่ ่ึงอาจารย์
บอกวา่ จะนั่งอยดู่ ้วย ครนั้ เดินมาท่ีนนั่ ไม่เห็นอาจารย์กเ็ กิดความ
กลวั และวง่ิ แน่วมาวัด อาจารยก์ ็พดู กบั พระองคน์ ั้นว่า ก็ผมยัง
ไม่ได้ไปตาม ลุกมาท�ำ ไม แลว้ ก็ดุเอาบ้าง น่ีแสดงวา่ เวลาท่านนกึ
วา่ อาจารยอ์ ยูด่ ว้ ยกไ็ ม่กลวั พอไมเ่ ห็นอาจารย์อยทู่ นี่ ่ันตามความ
เขา้ ใจก็เกิดกลัวผยี งิ่ ขน้ึ จนต้องวิง่ ถงึ วดั โดยไม่รออาจารย์ให้มารบั
ตัวเลย น่ีแลคือลกั ษณะของจิตที่หลอกตวั เอง โดยผไี มจ่ ำ�เปน็ ตอ้ ง
มาหลอกแต่อยา่ งใด ฉะนั้นค�ำ ว่าเทพอนิ เดยี เข้ามาท�ำ ให้กลวั จงึ มกั
เปน็ จิตตวั เองก่อเร่ืองหลอกตัวเองมากกวา่
ถ.๕–ม.ร.ว.พงศด์ ิศ จะฝกึ กรรมฐานอย่างไรจึงจะไม่มอี นั ตราย?
ตอบ ปลูกต้นไม้ยา้ ยบ่อยๆ ตน้ ไม้ไมง่ อกงามฉันใด การฝึกสมาธถิ า้
เปลยี่ นวิธบี ่อยๆ มกั จะไมไ่ ดผ้ ล ควรจะฝึกตงั้ ลมและสติไวท้ ี่ตรงลม
สัมผัสไม่มอี ันตราย เพราะจิตไม่ส่งออกนอกเพ่อื หาเรอื่ งมาหลอก
หลอนตัวเอง การพิจารณาธรรมกด็ ีเหมือนกัน แตจ่ ิตตอ้ งสนใจกับ
การพจิ ารณาอยา่ ใหส้ ง่ ออกนอกลนู่ อกทาง

๑๓๗

ถ.๖–Mrs.Cherry ดิฉนั ภาวนาพุทโธและทำ�อย่างเดียว ถา้ หายใจเข้า
พุท หายใจออก โธ จะดีไหม?
ตอบ ไมห่ ้าม ท�ำ ให้สบายใจตามจริตที่ชอบย่อมไดผ้ ลเหมอื นกนั ถ้ามสี ติ

แตถ่ า้ ขาดสตคิ วบคมุ ไม่วา่ จะภาวนาแบบไหน กค็ ือแบบไมม่ สี ติ
และแบบไมไ่ ด้ผลนั้นเอง
ถ.๗–Mr.Dyas อานาปานสตติ ้องเฝา้ ดูลม ดอู ะไร ดูวา่ มีลมหายใจกับผู้
เหน็ ลมหายใจหรอื ?
ตอบ เริ่มดว้ ยมีสติเฝ้าดลู มหายใจเข้าและลมหายใจออก กบั ผรู้ ู้ลมหายใจ
น้ีแหละ แตต่ อ่ ไปลมหายใจกับจติ จะคอ่ ยๆ เชือ่ มโยงเข้าหากนั
แมแ้ ตอ่ งค์ภาวนากด็ บั ไปด้วย เหลอื แตต่ ัวรูเ้ ทา่ น้ัน และอยู่กับ
ความรู้อยา่ งเดยี วไมก่ ังวลกบั ส่ิงใดอีก
ทา่ นอาจารยแ์ ละพระภิกษุฝรั่งอีกสองรปู ขึ้นไปกฏุ เิ วลาราว ๑๐.๓๕ น.

๑๓๘

๑๓๙

การอธิบายธรรม

เริม่ ประชุมฟังธรรมในตอนเย็นเวลา ๑๘.๒๕ น.
ทา่ นอาจารย์ “คนเราเมอื่ ใจเคยรักชอบในเร่ืองใด เมื่อพดู ส่ิงนนั้
เรอื่ งนน้ั ขึน้ มา ทำ�ใหจ้ ิตใจมีความรื่นเรงิ เพลิดเพลิน เปน็ ธรรมดา เชน่
นกั กีฬาพูดเรือ่ งกฬี าวนั ยงั ค�ำ่ ไมต่ อ้ งกินขา้ ว กนิ น้�ำ เขากอ็ ยู่ได้ เขาสนุก
เขา นักธรรมก็เหมือนกัน พดู เรือ่ งธรรม พูดในวงปฏิบัติโดยเฉพาะ พูด
เรื่องจติ ตภาวนานแ้ี ลว้ ย่อมมคี วามเพลนิ ไปโดยลำ�ดับ เพลนิ จนลมื เวลำ�่
เวลา กชี่ ั่วโมงไม่ไดค้ �ำ นึง ในขณะทีส่ นทนาธรรมปฏิบัติกนั จะมเี พยี ง ๒
องคก์ ็ตาม ๓ องคก์ ต็ าม เปน็ เรือ่ งเพลิดเพลินโดยดี
ครูอาจารยท์ ่านอบรมส่งั สอนเร่ืองสมาธสิ มาบตั ิ สติปญั ญา พดู กัน
เรอ่ื งการละการถอดถอนกิเลสประเภทตา่ งๆ ด้วยอ�ำ นาจของสติ ปัญญา
ศรัทธา ความเพียร ไปเปน็ ลำ�ดบั ๆ ยิง่ ท�ำ ให้มคี วามเพลิดเพลนิ ไปตาม
ท่าน แมเ้ จา้ ของจะยังไม่สามารถรู้เห็นธรรมในสว่ นใดไปตามท่านกต็ าม
แตก่ ท็ �ำ ให้มีความร่นื เรงิ บันเทิงในธรรมท่ีทา่ นได้ประพฤตปิ ฏิบัติ ได้รไู้ ด้
เห็นและมาเล่าให้เราฟงั อยา่ งเพลนิ ใจ ไม่มีวนั และไมม่ ีเวลาอ่มิ พอ ทา่ น
กล่าวไวใ้ นธรรมว่า “รสแห่งธรรมช�ำ นะรสทั้งปวง” ค�ำ ว่า ทัง้ ปวง น้ีคือ
ทงั้ หมด ไมว่ ่ารสอนั ใดๆ ไม่ยง่ิ ไปกวา่ รสธรรม รสธรรมนี้ชนะหมด ถ้ารส
ธรรมไม่เลศิ ประเสรฐิ ขนาดน้ัน โลกทงั้ สามก็ไมย่ อมกราบไหว้บชู าธรรม
ธรรมกไ็ มจ่ ดั ว่ายงิ่ ไมส่ ามารถจะเป็นสรณะเป็นท่ียดึ เป็นท่แี นใ่ จ เป็นท่ี
ตายใจของสาธชุ นทง้ั หลายได้เลย

๑๔๐

เทา่ ที่ชาวพุทธศาสนกิ ชนทัง้ หลายมีความเคารพเลอื่ มใสในธรรม ก็
เพราะธรรมเป็นของประเสริฐสมช่ือและเกียรติศักดิ์ของธรรมท่ีระบือมา
จากพระพทุ ธเจา้ แต่ละพระองค์ๆ และพระสงฆ์สาวกมจี ำ�นวนไม่นอ้ ยที่
เป็นสาวกของพระศาสดาแต่ละพระองค์ จนลงมาถงึ พวกเรา ล้วนแลว้
แตท่ ่านผู้ไดด้ ืม่ รสแห่งธรรมด้วยใจ ดว้ ยพระทยั แลว้ นำ�ธรรมท่ีทรงรทู้ รง
เห็นและร้เู ห็นนัน้ มาประกาศแกโ่ ลก จนกระท่ังปจั จบุ ันนี้ ไมใ่ ชท่ ่านด้น
เดาวา่ รสแห่งธรรมชนะรสทัง้ หลาย แต่เป็นทา่ นผู้ไดร้ ้รู สของธรรม ทั้ง
เห็นประจกั ษใ์ นธรรมทงั้ หลาย จึงไดน้ ำ�ความรู้ ความปรากฏนน้ั ออกมา
ประกาศสอนโลกตามหลักความจรงิ ทร่ี ู้ทเ่ี ห็นมาแล้ว โดยเอาความรู้ความ
เห็นของตนเองออกเปน็ สักขีพยานในการประกาศธรรมสอนโลก

นแ่ี หละท่เี ราว่า “ธัมมัง สรณงั คัจฉามิ” มีความลกึ ซ้ึงขนาดไหน
ไม่ใช่ธรรมอนั ผิวเผิน ร้เู ห็นอยา่ งผวิ เผนิ และสอนโลกอยา่ งผวิ เผนิ แต่
ทรงร้ตู ามความจรงิ สอนโลกตามความจริงแห่งธรรมทกุ ข้ัน ผฟู้ ังจงึ ควร
ฟังดว้ ยความสนใจ ปฏิบตั ดิ ว้ ยความจริงใจ ผลท่จี ะได้รับจากธรรมจะเป็น
ธรรมอนั ถึงใจเป็นขั้นๆ ตลอดจนถอดถอนกิเลสประเภทต่างๆ กถ็ อดถอน
ไดโ้ ดยส้ินเชิงถงึ ใจ รปู้ ระจักษใ์ จตัวเอง ดังธรรมสอนไวว้ า่ “สนั ทฏิ ฐโิ ก”
คือ รเู้ องเหน็ เอง แมพ้ ระพุทธเจา้ ประทับอยู่ตอ่ หนา้ กไ็ มท่ ลู ถามให้เสีย
เวลา เพราะเปน็ ความจริงเสมอกนั และร้เู ห็นอยา่ งเดยี วกนั

แตก่ ารปฏบิ ัตธิ รรมระหวา่ งนักปราชญ์ท้ังหลาย ท่านระมัดระวังมาก
เพราะธรรมไมเ่ หมือนโลก ถา้ ธรรมเหมือนโลกแลว้ ธรรมก็ไม่เรยี กว่า
ธรรม เพราะเหมือนกนั วา่ โลก คำ�เดยี วเท่าน้ันกพ็ อแล้ว กลมกลืนกนั
ไปกับทางโลก แตน่ เ่ี พราะธรรมกบั โลกไมเ่ หมือนกัน แม้จะอยู่ในโลกดว้ ย
กันกไ็ ม่เป็นอนั เดยี วกัน เป็นแต่แทรกอยูด่ ้วยกัน แตไ่ มเ่ หมอื นกัน เปน็

๑๔๑

แต่อยดู่ ้วยกันเฉยๆ เช่นอยา่ งเราท้ังหลายอยูด่ ว้ ยกัน ณ บัดนี้ พระกบั
ฆราวาสอยดู่ ้วยกัน แต่ไม่ใชอ่ นั เดยี วกัน ผูห้ ญงิ กับผชู้ ายอยดู่ ว้ ยกันแต่
ไม่ใชอ่ ันเดียวกนั เด็กกบั ผู้ใหญอ่ ยดู่ ว้ ยกัน แตไ่ มใ่ ชอ่ นั เดียวกัน ถึงจะอยู่
ด้วยกนั ก็เปน็ คนละสัดละสว่ น คนละช้ินละอัน อยนู่ น่ั เองแหละ นี่แหละ
เรื่องธรรมกับเร่อื งของโลก เป็นอย่างนี้
นักปราชญ์ท่านปฏิบัติจนรู้เห็นประจักษ์ใจ แล้วนำ�ศาสนามาด้วย
ความสม่ำ�เสมอไม่แสลงหูแสลงตาของผู้นับถือพระพุทธศาสนา คือ
พระพุทธเจ้าและพระสาวกอรหนั ตท์ า่ นน�ำ มาใหเ้ ราดู เราชมด้วยความ
สวยงามอยา่ งยง่ิ ท่านไมไ่ ด้นำ�มาแบบกระเทือนฝง่ั
ในขอ้ นีจ้ ะเรยี นให้ท่านทั้งหลายทราบพอเปน็ คติเลก็ น้อย ส�ำ หรับทา่ น
ผู้กำ�ลงั ประพฤติปฏบิ ตั ิธรรมภายในใจอยู่ และอาจมีกรุ่นๆ หรือปรม่ิ ๆ
อย่บู า้ งภายในใจ ในเมือ่ มโี อกาสอาจระบายหรอื ประกาศโฆษณาออกได้
โดยไม่มีความกระดากอายว่าใครจะตำ�หนิติเตียนอย่างใดบ้าง เพราะ
ความอยากดงั อยากเด่นอันเปน็ เร่อื งของกิเลสมันผลักดนั จงึ ขอน�ำ คติของ
ปราชญ์ ทท่ี า่ นทำ�ตามหลกั ท่พี ระพุทธเจ้าพาดำ�เนินมาแสดงเป็นทศั นคติ
บา้ ง เชน่ พระอสั สชไิ ด้บรรลุเปน็ พระอรหนั ต์ทั้งองค์ ในจำ�นวนปญั จวัคคีย์
ท้ังห้าทเี่ ป็นปฐมสาวกของพระพุทธเจา้ มพี ระอญั ญาโกณฑัญญะเปน็ ต้น
พระอสั สชิเปน็ องคท์ ห่ี ้า ท่านบรรลุธรรมแลว้
ตอนน้ันทา่ นอุปตสิ สะ คือ พระสารีบุตรทเ่ี ปน็ พระอัครสาวกขา้ งขวา
ของพระพทุ ธเจา้ นน่ั เอง แตก่ ่อนที่ท่านยังไม่ได้เปน็ พระสาวกทา่ นก�ำ ลัง
ออกบวชในสำ�นกั ปรพิ าชก บ�ำ เพ็ญไปตามประเพณขี องคนสมยั นน้ั เวลา
มาเห็นพระอัสสชทิ ีม่ ีความสวยงามมากด้วยกริ ยิ ามารยาท กา้ วหน้า ถอย

๑๔๒

กลับ เหลือบซ้าย แลขวา เป็นผู้มีอากัปกริ ยิ าท่ีสำ�รวมน่าเคารพเล่ือมใส
มาก จงึ พยายามแอบดอ้ มตามหลังท่านไป พอพน้ จากหมูบ่ า้ น ก็เรียนถาม
ส�ำ นักทอ่ี ย่อู าศยั ของอปุ ัชฌาย์อาจารยข์ องทา่ น ท่านกพ็ ูดให้ฟงั เพียงยอ่ ๆ
เก่ยี วกับเรื่องธรรมของศาสดาหรอื ครูอาจารยท์ ่านสอนอย่างไร ทา่ นว่า
“เราไมม่ คี วามรอู้ ันกว้างขวาง จะแสดงให้ท่านฟังได้เพียงย่อๆ เทา่ นนั้
“เย ธมฺมา เหตุปฺปภวา” เป็นตน้ “ธรรมทั้งหลายเกดิ จากเหตุ เมอื่ ดบั ก็
ต้องดบั เหตุก่อน” พระพุทธเจา้ ท่านสอนอย่างนี้” เพียงเทา่ นี้พระสารีบุตร
ทเี่ ป็นปรพิ าชกท่านได้บรรลุพระโสดาขึ้นทนั ที

ส่วนพระอัสสชิผเู้ ปน็ อาจารยน์ ้นั ท่านหาไดป้ ระกาศตนไม่วา่ ท่านเป็น
พระอรหนั ตอ์ งค์หนงึ่ ท่านไม่ปรปิ ากพูดเลย สว่ นพระสารีบตุ รอาจทราบ
ภูมิธรรมท่านได้ในขณะที่ได้ฟังธรรมย่อ เพราะภูมิพระโสดาปัตติมรรค
โสดาปัตติผลน้ี สามารถจะหย่งั ทราบความจรงิ ของทา่ นทีม่ ภี มู ิสูงกวา่ ตน
ได้ จึงสามารถสอนธรรมประเภทอศั จรรยไ์ มเ่ คยฟงั ใหแ้ ก่ตนจนไดบ้ รรลุ
แต่ไม่ปรากฏในตำ�นานว่าพระสารีบุตรท่านได้ทราบจากพระอัสสชิ
เล่าให้ฟงั ว่าท่านเปน็ พระอรหันต์ เพราะพระอัสสชไิ มไ่ ดแ้ สดงตวั ออกมา
วา่ ทา่ นเป็นพระอรหนั ต์ นีข่ ้อหนง่ึ เป็นเครื่องสาธกพอหยบิ ยกเทดิ ทูน

ข้อท่สี อง กอ็ ย่างท่ีนายกามนติ ซง่ึ ไปพบพระพุทธเจ้าในเรอื นชา่ ง
หมอ้ เวลาพระองคถ์ ามวา่ จะไปไหน กบ็ อกว่าจะไปเฝา้ พระพุทธเจ้า จะ
ไปเฝ้าพระพทุ ธเจ้าที่ไหน? ก็บอกวา่ จะไปโนน้ อยเู่ มืองสาวัตถนี ่นั แน่ะ
แตพ่ ระพุทธเจ้าหาไดบ้ อกไม่ว่าเราคอื พระพทุ ธเจ้า ความทีน่ กั ปราชญ์
ท่านลกึ ซงึ้ ขนาดไหนทีท่ า่ นไมบ่ อก ทา่ นทรงทราบเหตุผลทุกอย่างแลว้ ว่า
การบอกมผี ลประการใดบา้ ง มคี วามไดเ้ สียประการใดบ้าง เมอ่ื บวกลบ
กันดูแลว้ การไมบ่ อกมปี ระโยชนด์ ีกว่ากนั อย่างไรบา้ ง ท่านจึงออกทาง

๑๔๓

ไมบ่ อก เลยไม่บอกวา่ เราเป็นพระพทุ ธเจา้ ทงั้ ที่นายกามนิตนน่ั จะไปหา
พระองคอ์ ย่แู ล้ว
พอตน่ื เช้าเขากจ็ ากพระพทุ ธเจา้ ไป พอดีไปเจอพระสารบี ุตร พระโมค
คลั ลาน์ ซึง่ ก�ำ ลงั เดนิ สวนทางมา จะไปเฝ้าพระพทุ ธเจ้าที่เรือนช่างหม้อ
นนั้ ทา่ นไดถ้ ามนายกามนิตคนนนั้ เขาบอกวา่ เขาจะไปเฝ้าพระพทุ ธเจ้า
พระสาวกทง้ั สองนัน้ กถ็ ามวา่ เม่ือผ่านมานั้นไดพ้ บใครบ้าง ณ สถานที่
ใดบ้าง เขาบอกวา่ ไดพ้ บสมณะองค์หนึ่งอย่ใู นเรือนชา่ งหมอ้ ท่านเปน็ ผู้
มอี ากปั กริ ิยาน่าเคารพเลอ่ื มใสมาก ทา่ นประกอบความเพียรเมื่อคืนนท้ี ั้ง
คนื เทศนาวา่ การไพเราะเพราะพริ้งเป็นท่ีจบั จิตจับใจมาก แตเ่ รายงั ไม่
จุใจ ยงั อยากจะไปเฝ้าพระพทุ ธเจา้ อกี จงึ ได้จากทา่ นมา
พระสารีบุตร พระโมคคัลลานก์ ็ไม่ได้บอกอยา่ งไรเลยว่า นายคนน้หี า
ทราบไมว่ ่านนั่ คอื พระพทุ ธเจา้ เพราะเหตุใดถงึ ไม่บอก เพราะนักปราชญ์
ท่านก็เปน็ อยา่ งน้ี ถ้าจะบอกกค็ วรเปน็ เรอ่ื งของพระพทุ ธเจ้าบอกมาเสีย
กอ่ น จ�ำ เป็นอะไรจะต้องให้นายคนนเี้ ขาผ่านมาทั้งคืนทง้ั วนั จนกระท่ัง
มาพบกบั พระสารีบุตรและพระโมคคลั ลาน์ระหวา่ งทาง เป็นแต่พดู กนั
ลบั หลังนายคนน้นั ว่า “เออ อตี าบรุ ุษคนนน้ั ไม่ทราบเลยว่าตนได้เข้าเฝา้
พระพุทธเจา้ แลว้ พระองคท์ า่ นก็ไม่รบั สง่ั วา่ อย่างไร พดู งา่ ยๆ ว่า เพราะ
ฉะนัน้ พวกเราจึงบอกไม่ได้” นี่นักปราชญท์ ่านถงึ กนั ทันที ความรู้ความ
เข้าใจไม่ขดั แยง้ กันเลย ไมเ่ หมือนคนทมี่ ีกิเลสทง้ั หลาย ซ่ึงคอยแตจ่ ะ
ขายตัวย่วั ยกุ ิเลสให้พอกพนู จิตใจมากขึน้ ยงิ่ กว่าจะพยายามถอนมนั
การปฏิบัตธิ รรมในวงพระศาสนามกั มีอยเู่ สมอ จึงได้วติ กวจิ ารณเ์ ป็น
ห่วงเปน็ ใย ท้งั ๆ ทเ่ี รากน็ า่ จะเปน็ หว่ งตัวเราเองมากกว่าผ้อู ่นื แต่กอ็ ด

๑๔๔

เปน็ หว่ งเพอื่ นฝงู ตลอดจนอบุ าสก อบุ าสกิ า คณะศรทั ธาทั้งหลายในวง
กวา้ งออกไปโดยลำ�ดับไมไ่ ด้ หากมีอยใู่ นรายใดรายหน่ึงท่แี สลงใจขึ้นมาใน
ลักษณะน้ี ซ่ึงไมใ่ ช่ทางเดนิ ของพทุ ธบรษิ ัท ไมใ่ ช่ทางเดนิ ของผูต้ ้องการ
ความเป็นบัณฑติ นกั ปราชญต์ ามทางของพระพทุ ธเจา้ ย่อมจะทำ�ความ
เสื่อมเสียแกต่ นและวงพระศาสนาไดเ้ ชน่ กนั ผู้ปฏิบตั ธิ รรมจงึ ควรสำ�รวม
ระวังไว้เป็นการดี เพราะธรรมตา่ งจากโลก

การปฏบิ ัตธิ รรม แม้จะมุง่ ต่อมรรคผลนิพพานโดยตรง จนสามารถ
บรรลุผลท่ีเราตอ้ งการได้ เช่น อรหตั ผลกต็ าม ท่านมิได้ปรปิ ากพดู วา่ ท่านรู้
ท่านสำ�เรจ็ เพราะเหตใุ ดท่านจงึ ไมพ่ ดู ก็เพราะคำ�วา่ ได้สำ�เร็จนัน้ จะเปน็
อบุ ายวธิ ีอะไรทีจ่ ะให้ผู้ฟงั ไดร้ ับประโยชน์บ้าง ไม่เหน็ มี นอกจากจะเป็น
การอวดภูมขิ องตนตามโลกท่เี ขานิยมกนั เท่าน้ันไมม่ อี ะไร ท่านจึงไม่ใช้วิธี
น้นั ทา่ นใช้โดยวิธกี ารแนะน�ำ พร่�ำ สอนโดยเหตุโดยผล ควรสอนในแง่
หนกั เบามากนอ้ ยเพียงไร ทา่ นก็สอนไปตามภูมิของผมู้ าอบรมศกึ ษา และ
ตามกาล สถานที่ บคุ คล ตามช้นั ตามภูมิที่ควรจะอบรมศึกษาได้ ทา่ นกส็ ั่ง
สอนไปตามเหตตุ ามผลนนั้ ๆ ท่านไม่พูดท่านไม่บอกวา่ ทา่ นได้สำ�เรจ็ ธรรม
ข้นั นน้ั ๆ ส่งิ นนั้ ไม่ใช่ของงาม ทา่ นไม่ติดใจอยากพดู เพราะเป็นความไม่
ราบรนื่ สมภมู ขิ องปราชญ์

ครัง้ พทุ ธกาลทา่ นถอื กนั นกั ท่านระมดั ระวงั กันมากในเรอ่ื งน้ี แม้ใน
สมัยปัจจุบนั น้ี ถ้าเป็นผดู้ ำ�เนินตามทางของพระพุทธเจ้าจริงๆ แลว้ เขา้ ใจ
วา่ ท่านจะไมเ่ ดินปลกี จากรอ่ งรอยนีไ้ ป นอกจากนกั ปราชญส์ มัยปจั จุบนั น้ี
ซ่ึงมจี ำ�นวนมากนับทงั้ ผ้เู ทศน์ดว้ ยกไ็ ด้ ว่าก�ำ ลงั ปริ่มๆ อยูเ่ สมอ คอยจะ
เลยเถดิ เร่อื ยไป ถา้ เปน็ เชน่ น้ันแสดงวา่ ความล้นฝั่งภายในจิตใจมากไป
ไมใ่ ชธ่ รรม ถา้ รจู้ รงิ เหน็ จรงิ กใ็ ห้กงั วานอยภู่ ายในใจของตนโดยเฉพาะอยา่

๑๔๕

ให้ออกไปขา้ งนอก มนั กระทบกระเทือน มีดที่คม เราใส่ฝักเก็บไว้ในที่
ปลอดภัยดี ทงิ้ เกลื่อนกลาด ไมว่ ่ามีดชนดิ ไหน ศาสตราวุธชนิดใด เป็น
ภัยทั้งแก่ตัวและผู้อนื่ ได้ ถา้ เก็บไวเ้ รียบร้อยไมเ่ ปน็ ภยั นอกจากจะได้รบั
ประโยชน์แต่ถ่ายเดียว
ผปู้ ฏิบัติพูดอวดตัววา่ เราเปน็ ผูส้ �ำ เรจ็ พระโสดา พระสกิทา พระอ
นาคา พระอรหันต์ ไม่มีเหตผุ ลทีผ่ ใู้ ดจะยนิ ดฟี ัง นอกจากจะคลายศรทั ธา
ลงไปโดยล�ำ ดบั ๆ แลว้ เหน็ กิเลสของคนๆ นัน้ อย่างเต็มใจ อยา่ งน่าเบื่อนา่
เออื มระอาเทา่ นนั้ ไมม่ อี ยา่ งอน่ื ทีน่ ่านบั ถอื ฉะนัน้ ผปู้ ฏบิ ัติทัง้ หลาย ถา้
เปน็ ผ้มู ุ่งต่อธรรมจริงๆ ต้องมุ่งตอ่ เหตุผลมากกว่าจะประกาศธรรมอย่าง
น้ีออกมา ซึง่ ไมใ่ ช่ทางของพระพทุ ธเจา้ เป็นทางของปลาเน่าประกาศให้
แมลงวันมาตอม ประกาศขายปลาเน่าให้แกแ่ มลงวันนัน่ เอง เรอื่ งปลา
เน่าเป็นอย่างนี้ ผ่านเข้าหมู นั กฉ็ นุ ในหู ผา่ นเขา้ ทางจมูกมนั ก็ฉนุ ในจมกู
ฉนุ เข้าหัวใจ ทำ�ไมมนั ถึงฉนุ อยา่ งน้ี ถา้ ธรรมของจริงท�ำ ไมจะฉุน
ทง้ั ๆ ที่เราต้องการธรรมของจรงิ นีด้ ้วยกันทุกคน แต่เวลาสง่ิ เหล่าน้นั
มาผา่ นเข้าในจติ ใจ มันฉนุ และเบอ่ื ไปตามๆ กัน ต่างคนตา่ งมุ่งต่ออรรถ
ธรรมขนั้ สูง แต่ประกาศมาอย่างหาเหตุผลไม่ได้ นน่ั คือความอดั อน้ั ตันใจ
คอื ความหวิ โหย เมื่อประกาศออกมามันจึงไม่น่าฟงั แมเ้ จ้าของจะไมร่ สู้ ึก
ตวั กต็ าม คนอื่นเตอื นก็ควรจะรบั ทราบ ถา้ เปน็ ผ้มู ุ่งอรรถมุ่งธรรมอยู่แลว้
ก็ควรจะรู้สกึ ตวั แล้วพึงส�ำ รวมระวังตนตอ่ ไป อยา่ ทำ�ตนเป็นปลาเน่าใน
วงพระศาสนา ซึ่งเปน็ ธรรมทห่ี อมหวนชวนให้เคารพบชู ามาประจ�ำ โลก
เปน็ เวลานาน
วันนีอ้ ธบิ ายเพียงเทา่ นีก้ อ่ น ท่านปญั ญาฯ อธบิ ายตอ่ ไป ถา้ พูดมาก

๑๔๖

ประเดี๋ยวจะลืมเสีย บรรดาทพี่ ดู ไปแลว้ (หมายเหตุ ท่านปัญญาฯ แปล
เปน็ ภาษาองั กฤษแลว้ ยังมีเวลาอยหู่ น่อย ท่านอาจารยจ์ ึงพูดตอ่ ไปดังนี)้
นทิ านสมยั ปัจจุบันนี้ อาจารย์หมอ (ศจ.นพ.อวย เกตสุ ิงห)์ เคยไดย้ ิน
ไหม? พูดถงึ เร่อื งความตรงไปตรงมา ตรงเสยี จนเป็นนิทานขนึ้ มา คือ
มีพระองคห์ น่งึ สมัยปจั จบุ ันน้นี ะไม่ใช่นานอะไร สมัยท่านอาจารย์
ม่ันเรานี้แหละ มพี ระไปฝกึ บ�ำ เพญ็ ธรรมกรรมฐานดว้ ยกนั บนภูเขา ไมต่ อ้ ง
บอกจงั หวัดที่ไปภาวนา การภาวนานน้ั พอหกทุ่มเทยี่ งคืน ภกิ ษุรปู นน้ั
ท่านพจิ ารณาอะไรไม่ทราบ เข้าใจวา่ ตนบรรลุธรรมเปน็ พระอรหนั ต์ขึ้นมา
มือลว้ งเขา้ ไปเอากลอ้ งยานตั ถเ์ุ ปลา่ ๆ ในย่ามมาเป่า ปรีด๊ ๆ ๆ พระอกี ๒
องคอ์ ย่บู นเขารีบวง่ิ มาหา ตายจรงิ เกดิ เหตอุ ันตรายอะไรไมท่ ราบ ไม่เคย
คิดว่าถา้ ท่านบรรลุธรรมท่านจะเปา่ นกหวดี จงึ นกึ วา่ เปน็ อนั ตราย “โอย๊
เปน็ อะไรเรอะ?” “ไม่เป็นไรดอก กผ็ มสำ�เรจ็ แล้วนี่” “โอ๊ยตาย ส�ำ เรจ็
อะไร?” “ก็ส�ำ เร็จอรหันตน์ ่ะซ”ิ
พระ ๒ องคน์ น้ั ไม่ได้พดู ร้สู ึกวา่ กำ�ลงั ใจหมดไปแล้ว น่ีนะถึงว่าเป็น
พระอรหนั ต์ก็ตาม ส่งิ หน่งึ ทีม่ ันหนักวา่ นน้ั ก็มอี ย่นู ่นี ะ “โอ้โฮ ส�ำ เร็จเป็น
พระอรหันต์ไปแลว้ เป่านกหวีด นม่ี ันจะขนั้ ไหนนะ” สงสยั แตท่ ่านไมพ่ ูด
อะไร เพราะความครนุ่ คดิ ตา่ งๆ แลว้ ท่านเลยกลบั ไปดว้ ยความอ่อนใจ
ตอ่ มาอีกคนื หนึ่ง ราวเท่ียงคนื เชน่ เดียวกนั พระทัง้ สองไดย้ นิ เสยี ง
นกหวดี อกี ทา่ นนกึ ว่า “คงจะสำ�เร็จข้ันไหนขึ้นมาอีกแลว้ ” แต่จะไมม่ าดู
กไ็ ม่ได้ เพราะมอี ยดู่ ว้ ยกนั เทา่ น้ี เผือ่ มอี นั ตรายมาจรงิ มันกเ็ ป็นหน้าท่ที ่ี
จะตอ้ งช่วยกนั อยดู่ ี ทา่ นท้ังสองกม็ าหาพระองคท์ เี่ ป่านกหวีดอกี และถาม
ทา่ นว่า

๑๔๗

“เปา่ นกหวดี คราวนม้ี นั สำ�เร็จขนั้ ไหนอกี มันไม่ปาเขา้ ถึงขน้ั บา้ ไปแลว้
หรือพระอรหันต์อะไรยุ่งจริง” คราวนี้ท่านประกาศว่า “เมื่อคืนก่อน
เข้าใจผิดว่าสำ�เร็จก็เป่าเรียกหมู่พวกมาบอกด้วยความดีใจ ครั้นคืนนี้
พิจารณาแล้วพบวา่ ไมส่ ำ�เร็จ กต็ อ้ งเป่านกหวีดเพ่อื จะใหเ้ พอ่ื นทราบว่า
ที่จริงไม่ได้สำ�เร็จดอก” พระทั้งสององค์เกิดความขบขันและสลดใจใน
ความเป็นบ้าของพระอรหนั ตน์ กหวดี องคน์ ้นั ถึงกบั เล่าให้เพ่ือนฝงู ฟงั จน
กลายเป็นนทิ านมาน่ีเอง
พระองค์นี้ยงั มีเรื่องอีก คือ คราวหนึง่ นั่งภาวนา มีดวงสว่างเหมอื น
พระอาทิตย์โตขนาดมะพร้าว ตกลงตรงหนา้ จติ เป็นสมาธิวา่ เหน็ แสง ก็
เดินตามแสงนั้นไป แสงนน้ั เลื่อนไป ท่านก็ลกุ จากที่ตามแสงนนั้ ไปโดย
ไมร่ ูส้ ึกตัว แสงน้ันข้ึนต้นไมท้ ่านกข็ น้ึ ตาม แสงน้นั เหาะลอยหายเงียบไป
จึงไดส้ ติระลกึ รตู้ วั อย่บู นตน้ ไม้ เลยร้องไห้อย่บู นตน้ ไม้จนเพือ่ นฝงู วง่ิ มาดู
และช่วยกนั นำ�พระองคน์ น้ั ลงจากต้นไม้ และถามเรอ่ื งราวตา่ งๆ จงึ ทราบ
ว่าสมาธพิ าเหาะลอยขนึ้ ต้นไม้ไปดังนี้
เม่อื ๒ ปีกวา่ มานี้ มีเณรองค์หนง่ึ มาเลา่ ใหฟ้ งั ขณะท่ีอาจารยไ์ ปพกั
อยทู่ ีว่ ดั แหง่ หน่งึ เณรน้ีข้นึ มาหาพร้อมกบั พระอกี องคห์ น่ึง มาเล่าเรอ่ื ง
ความร้ตู า่ งๆ กฟ็ ังเลา่ จนจบ เมือ่ จบแล้วอาตมากบ็ อกว่า “เณรตอ้ งระวงั
นะ จะตะครบุ เงา หรือขน้ึ ตน้ ไม้ไลต่ ามแสงสว่าง” อาตมาไมเ่ คยทราบว่า
เณรเคยเปน็ มาอยา่ งไร ต่อมาจงึ มผี ู้เลา่ ให้ฟังวา่ เณรนเี้ คยพาพระไลต่ าม
แสงสว่างมาแลว้ แสงสว่างพาเข้าไปในปา่ เณรกว็ ิง่ ตามและเรียกพระ
ใหม้ าช่วยกนั จบั แสงสว่างให้ พระท่ไี ม่รใู้ นทางน้กี ็พากนั คน้ หาแสงสวา่ ง
อึกทึกไป จนพระในทน่ี น้ั ทราบและมาดูจงึ เลิกรากนั ไป

๑๔๘


Click to View FlipBook Version