การพัฒนาความสามารถในการคิดแก2ป4ญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช2 รูปแบบการเรียนการสอน SSCS รIวมกับเทคนิคการระดมสมอง รายวิชา ส 22101 สังคมศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปRที่2 โรงเรียนบ2านไผI นายหตัธชยั ประเสริฐสขุ การวิจัยนี้เปVนสIวนหนึ่งของการศึกษารายวิชาปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 1-2 คณะศึกษาศาสตร[ มหาวิทยาลัยขอนแกIน ปRการศึกษา 2565
การพัฒนาความสามารถในการคิดแก2ป4ญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช2 รูปแบบการเรียนการสอน SSCS รIวมกับเทคนิคการระดมสมอง รายวิชา ส 22101 สังคมศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปRที่2 โรงเรียนบ2านไผI นายหตัธชยั ประเสริฐสขุ การวิจัยนี้เปVนสIวนหนึ่งของการศึกษารายวิชาปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 1-2 คณะศึกษาศาสตร[ มหาวิทยาลัยขอนแกIน ปRการศึกษา 2565
ใบอนุมัติงานวิจัยในชั้นเรียน คณะศึกษาศาสตร= มหาวิทยาลัยขอนแกCน หลักสูตรศึกษาศาสตร=บัณฑิต รายวิชา การปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 1-2 ชื่องานวิจัย : การพัฒนาความสามารถในการคิดแก2ป4ญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช2รูปแบบการเรียน การสอน SSCS รIวมกับเทคนิคการระดมสมอง รายวิชา ส 22101 สังคมศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปRที่ 2 โรงเรียนบ2านไผI ชื่อผูPทำวิจัย : นายหัตธชัย ประเสริฐสุข ที่ปรึกษางานวิจัย ....................................................................... ที่ปรึกษาหลัก (อาจารย[อนุรักษ[ กุลวงษา) ........................................................................ ที่ปรึกษารIวม (นางสาวสุพรรษา แถวโนนงิ้ว) ..................................................................... ..................................................................... (รองศาสตราจารย[อรอนงค[ ฤทธิ์]ชัย) (ศาสตราจารย[ ดร.สุมาลี ชัยเจริญ) ประธานคณะกรรมการดำเนินงานรายวิชา คณบดีคณะศึกษาศาสตร[ การปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 1-2 มหาวิทยาลัยขอนแกIน ลิขสิทธิ์ของคณะศึกษาศาสตร[ มหาวิทยาลัยขอนแกIน
ก ชื่องานวิจัย : การพัฒนาความสามารถในการคิดแก1ป3ญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช1รูปแบบ การเรียนการสอน SSCS รIวมกับเทคนิคการระดมสมอง รายวิชา ส 22101 สังคมศึกษาของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปRที่ 2 โรงเรียนบ1านไผI คณะผู4วิจัย : นายหัตธชัย ประเสริฐสุข ผู4วิจัย อาจารยYอนุรักษY กุลวงษา ที่ปรึกษาหลัก นางสาวสุพรรษา แถวโนนงิ้ว ที่ปรึกษาร>วม ป@การศึกษา : 2565 บทคัดย>อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงคYเพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดแก1ป3ญหาและผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนโดยใช1รูปแบบการเรียนการสอน SSCS รIวมกับเทคนิคการระดมสมอง รายวิชา ส 22101 สังคมศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปRที่ 2 โรงเรียนบ1านไผI โดยนักเรียน ร1อยละ 70 มีความสามารถในการคิดแก1ป3ญหา และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนร1อยละ 70 ขึ้นไป กลุIมเป^าหมายที่ใช1ในการวิจัย คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปRที่ 2/11 โรงเรียนบ1านไผI ภาคเรียนที่ 1 ปRการศึกษา 2565 จำนวน 36 คน โดยใช1วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) ดำเนินการ วิจัยโดยระเบียบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) เครื่องมือที่ใช1ในการดำเนินการเก็บรวบรวม ข1อมูลวิจัย คือ แผนการจัดการเรียนรู1รายวิชา ส 22101 สังคมศึกษา ด1วยการจัดการเรียนรู1โดยใช1 รูปแบบการเรียนการสอน SSCS รIวมกับเทคนิคการระดมสมอง จำนวน 9 แผนการจัดการเรียนรู1 เครื่องมือที่ใช1ในการสะท1อนผลการวิจัย ได1แกI 1) แบบบันทึกผลหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู1 2) แบบสังเกตชั้นเรียนโดยผู1รIวมวิจัย 3) แบบสัมภาษณYนักเรียน เครื่องมือที่ใช1ในการประเมินผลการวิจัย ได1แกI 1) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดแก1ป3ญหา และ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน วิเคราะหYข1อมูลเชิงคุณภาพโดยใช1พรรณนาวิเคราะหY วิเคราะหYข1อมูลเชิงปริมาณโดยใช1 สถิติพื้นฐาน ได1แกI คIาเฉลี่ย และร1อยละ ผลการวิจัยพบว>า 1) นักเรียนมีความสามารถในการคิดแก1ป3ญหา ผIานเกณฑYร1อยละ 70 จำนวน 22 คน คิดเป~นร1อยละ 61.12 ของนักเรียนทั้งหมด ซึ่งไมIผIานเกณฑYที่กำหนด คือ นักเรียนร1อยละ 70 มีความสามารถในการคิดแก1ป3ญหาร1อยละ 70 ขึ้นไป 2) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ผIานเกณฑYร1อยละ 70 จำนวน 25 คน คิดเป~นร1อยละ 69.44 ของนักเรียนทั้งหมด ซึ่งไมIผIานเกณฑYที่กำหนด คือ นักเรียนร1อยละ 70 มีผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนร1อยละ 70 ขึ้นไป
ข กิตติกรรมประกาศ งานวิจัยเลIมนี้เสร็จสมบูรณYได1เป~นอยIางดี ด1วยการได1รับความกรุณาและความชIวยเหลือ เอาใจใสIอยIาง ดียิ่งจากอาจารยYอนุรักษY กุลวงษาอาจารยYที่ปรึกษาวิจัยหลัก ที่ได1ให1แนวทางคำปรึกษาและข1อเสนอแนะในการ ทำวิจัยด1วยความเมตตามาโดยตลอด รวมทั้งเป~นแบบอยIางที่ดีในความพยายาม อดทน มุIงมั่น และตั้งใจในการ ทำงาน ผู1วิจัยขอกราบขอบพระคุณเป~นอยIางสูงมา ณ ที่นี้ ขอขอบพระคุณ คุณครูสุพรรษา แถวโนนงิ้ว ที่ปรึกษาวิจัยรIวม ที่กรุณาอำนวยความสะดวกในการเก็บ ข1อมูล ให1คำแนะนำและข1อเสนอแนะในการทำวิจัย รวมทั้งดูแลให1คำแนะนำตIาง ๆ ในระหวIางการปฏิบัติการ สอน ขอขอบพระคุณ ผู1บริหาร คณะครู นักเรียน และบุคลากรโรงเรียนบ1านไผI ที่ให1ความอนุเคราะหYในการ เก็บรวบรวมข1อมูล ขอขอบพระคุณอาจารยYประจำสาขาวิชาสังคมศึกษา และอาจารยYทุกทIานของคณะศึกษาศาสตรY ที่ได1 ให1ความรู1 คำแนะนำ แนวทาง และคำปรึกษากับผู1วิจัยมาโดยตลอด ขอขอบคุณ คุณครูลัดดาวัลยY นนทเสน, ครูกัลยา คามวุฒิ และครูอัมพร ศรีธรรมบุตร ผู1เชี่ยวชาญ ที่กรุณาสละเวลาในการตรวจพิจารณาความถูกต1องสมบูรณYของเครื่องมือ ที่ใช1ในการเก็บรวบรวมข1อมูล ตลอดจนให1คำแนะนำเพิ่มเติมแกIผู1วิจัย ขอขอบคุณ นางสาวสุพิชชา วุฒิเสน ผู1ชIวยวิจัย ที่คอยสนับสนุนและให1การชIวยเหลือใน การสะท1อนผลการปฏิบัติการสอนตลอดระยะเวลาในการเก็บรวบรวมข1อมูลในการวิจัย ตลอดจนคอยเป~น กำลังใจ และให1คำแนะนำผู1วิจัยมาโดยตลอด ขอขอบคุณ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปRที่ 2/11 โรงเรียนบ1านไผI ที่ให1ความรIวมมือในการจัดกิจกรรมการ เรียนรู1 และให1ความรIวมมือในการทำแบบทดสอบอยIางตั้งใจ ขอขอบคุณศูนยYประสบการณYวิชาชีพครู และคณะกรรมการดำเนินงานรายวิชาการปฏิบัติ การสอนในสถานศึกษา 1-2 ของคณะศึกษาศาสตรY มหาวิทยาลัยขอนแกIน ที่ได1ให1การสนับสนุนตลอด ระยะเวลาที่ปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาและในการทำวิจัยครั้งนี้ สุดท1ายนี้ ขอขอบพระคุณบิดามารดา ญาติพี่น1อง และเพื่อน ๆ ที่คอยสนับสนุนและเป~นกำลังใจอัน สำคัญมาโดยตลอด จนทำให1งานวิจัยนี้สำเร็จลุลIวงได1ด1วยดี หัตธชัย ประเสริฐสุข
ค สารบัญ หน4า บทคัดยIอ ก กิตติกรรมประกาศ ข สารบัญ ค สารบัญตาราง ฉ สารบัญรูปภาพ ซ บทที่ 1 บทนำ 1 1. ความเป~นมาและความสำคัญของป3ญหา 1 2. คำถามการวิจัย 3 3. วัตถุประสงคYของการวิจัย 3 4. ขอบเขตในการวิจัย 4 5. นิยามศัพทYเฉพาะ 4 6. ประโยชนYที่ได1รับ 6 บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข4อง 7 1. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุIมสาระการเรียนรู1สังคมศึกษาศาสนา และวัฒนธรรม 7 2. บริบทสถานศึกษาโรงเรียนบ1านไผI 14 3. หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนอนุบาลขอนแกIน กลุIมสาระการเรียนรู1สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ระดับชั้นมัธยมศึกษาปRที่ 1 17 4. แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข1องกับการจัดการเรียนรู1โดยใช1รูปแบบ SSCS 23 5. แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข1องกับเทคนิคระดมสมอง 25 6. การจัดการเรียนรู1โดยใช1รูปแบบการจัดการเรียนรู1 SSCS รIวมกับเทคนิคระดมสมอง 27 7. แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข1องกับความสามารถในการคิดแก1ป3ญหา 28 8. แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข1องกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 32 9. งานวิจัยที่เกี่ยวข1อง 40 10. กรอบแนวคิดในการวิจัย 43 บทที่ 3 วิธีการดำเนินการวิจัย 44 1. กลุIมเป^าหมาย 44 2. ตัวแปรที่ทำการวิจัย 44 3. รูปแบบการวิจัย 44
ง สารบัญ (ต>อ) หน4า 4. เครื่องมือที่ใช1ในการวิจัย 49 5. การสร1างและหาประสิทธิภาพของเครื่องมือ 49 6. การเก็บรวบรวมข1อมูล 58 7. การวิเคราะหYข1อมูล 59 8. สถิติที่ใช1ในการวิเคราะหYข1อมูล 60 บทที่ 4 ผลการวิจัย 62 1. การดำเนินการกIอนการวิจัย 62 2. การสะท1อนผลการปฏิบัติการในวงจรที่ 1 64 3. การสะท1อนผลการปฏิบัติการในวงจรที่ 2 72 4. การสะท1อนผลการปฏิบัติการในวงจรที่ 3 80 5. ผลการพัฒนาความสามารถในการคิดแก1ป3ญหาด1วยการจัดการเรียนรู1 โดยใช1รูปแบบ การจัดการเรียนรู1 SSCS รIวมกับเทคนิคระดมสมอง ในรายวิชา ส 22101 สังคมศึกษา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปRที่ 2 87 6. ผลการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด1วยการจัดการเรียนรู1 โดยใช1รูปแบบการจัดการเรียนรู1 SSCS รIวมกับเทคนิคระดมสมอง ในรายวิชา ส 22101 สังคมศึกษา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปRที่ 2 88 บทที่ 5 สรุปผลการวิจัย อภิปรายผล และข4อเสนอแนะ 89 1. วัตถุประสงคYของการวิจัย 89 2. วิธีดำเนินการวิจัย 89 3. สรุปผลการวิจัย 92 4. อภิปรายผลการวิจัย 92 5. ข1อเสนอแนะ 97 บรรณานุกรม 98 ภาคผนวก 101 ภาคผนวก ก รายชื่อผู1เชี่ยวชาญ ที่ปรึกษารIวม หนังสือแตIงตั้งผู1เชี่ยวชาญ 102 - รายชื่อผู1เชี่ยวชาญ 103 - รายชื่อที่ปรึกษารIวม 103 - หนังสือแตIงตั้งผู1เชี่ยวชาญ 104
จ สารบัญ (ต>อ) หน4า ภาคผนวก ข เครื่องมือที่ใช1ในการวิจัย 107 - ตัวอยIางแผนการจัดการเรียนรู1 108 - ตัวอยIางแบบบันทึกหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู1ของครู 120 - ตัวอยIางแบบสังเกตชั้นเรียนโดยผู1ชIวยวิจัย 121 - แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดแก1ป3ญหาท1ายวงจรที่ 1 123 - แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดแก1ป3ญหาท1ายวงจรที่ 2 125 - แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดแก1ป3ญหาท1ายวงจรที่ 3 128 - แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 131 - ตัวอยIางแบบสัมภาษณYนักเรียน 136 ภาคผนวก ค ผลการหาประสิทธิภาพของเครื่องมือที่ใช1ในการวิจัย 137 - ผลการประเมินความเหมาะสมของแผนการจัดการเรียนรู1โดยการจัดการเรียนรู1 138 - ผลการประเมินคIาดัชนีความสอดคล1องของแบบทดสอบท1ายวงจรที่ 1 140 - ผลการประเมินคIาดัชนีความสอดคล1องของแบบทดสอบท1ายวงจรที่ 2 140 - ผลการประเมินคIาดัชนีความสอดคล1องของแบบทดสอบท1ายวงจรที่ 3 141 - ผลการประเมินคIาดัชนีความสอดคล1องของแบบทดสอบ วัดความสามารถในการคิดแก1ป3ญหา 142 - ผลการประเมินคIาดัชนีความสอดคล1องของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน 143 ภาคผนวก ง การวิเคราะหYข1อมูล 144 - การวิเคราะหYข1อมูลเชิงปริมาณ 145 ภาคผนวก จ ตัวอยIางผลงานนักเรียน และภาพการจัดกิจกรรมการเรียนรู1 148 - ตัวอยIางผลงานนักเรียน 149 - ภาพการการปฏิบัติการสอน 151 ประวัติผู4วิจัย 153
ฉ สารบัญตาราง หน4า ตารางที่ 1 โครงสร1างหลักสูตรกลุIมสาระการเรียนรู1สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต1น ม.1-ม.3 18 ตารางที่ 2 ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู1แกนกลางที่ใช1ในการศึกษา (มาตรฐาน ส 2.2) 25 ตารางที่ 3 โครงสร1างรายวิชา 27 ตารางที่ 4 แสดงผลการพัฒนาความสามารถในการคิดแก1ป3ญหาท1ายวงจรที่ 1 72 ตารางที่ 5 แสดงผลการพัฒนาความสามารถในการคิดแก1ป3ญหาท1ายวงจรที่ 2 79 ตารางที่ 6 แสดงผลการพัฒนาความสามารถในการคิดแก1ป3ญหาท1ายวงจรที่ 3 86 ตารางที่ 7 แสดงคะแนนแบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดแก1ป3ญหา วงจรปฏิบัติการที่ 1-3 87 ตารางที่ 8 แสดงคะแนนผลการพัฒนาความสามารถในการคิดแก1ป3ญหา ด1วยรูปแบบการเรียนการสอน SSCS รIวมกับเทคนิคการระดมสมอง 88 ตารางที่ 9 แสดงคะแนนผลการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด1วยรูปแบบการเรียนการสอน SSCS รIวมกับเทคนิคการระดมสมอง 88 ตารางที่ 10 ผลการประเมินความเหมาะสมของแผนการจัดการเรียนรู1 ด1วยรูปแบบการเรียนการสอน SSCS รIวมกับเทคนิคการระดมสมอง 138 ตารางที่ 11 ผลการประเมินคIาดัชนีความสอดคล1องของแบบทดสอบท1ายวงจรที่ 1 140 ตารางที่ 12 ผลการประเมินคIาดัชนีความสอดคล1องของแบบทดสอบท1ายวงจรที่ 2 140 ตารางที่ 13 ผลการประเมินคIาดัชนีความสอดคล1องของแบบทดสอบท1ายวงจรที่ 3 141 ตารางที่ 14 ผลการประเมินคIาดัชนีความสอดคล1องของแบบทดสอบวัดความสามารถ ในการคิดแก1ป3ญหา 142 ตารางที่ 15 ผลการประเมินคIาดัชนีความสอดคล1องของแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 143 ตารางที่ 16 การวิเคราะหYข1อมูลเชิงปริมาณ 145
ช สารบัญรูปภาพ หน4า ภาพที่ 1 สัญลักษณYโรงเรียนบ1านไผI 17 ภาพที่ 2 แผนภาพขั้นตอนในการแก1ป3ญหาที่ใช1ในการวิจัย 32 ภาพที่ 3 แผนภาพแสดงกรอบแนวคิดในการวิจัย 43 ภาพที่ 4 แผนภาพแสดงรูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) 45 ภาพที่5 แสดงขั้นตอนการเก็บรวบรวมข1อมูลตามกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ 48 ภาพที่ 6 แผนภาพแสดงแผนการจัดการเรียนรู1โดยใช1ใช1รูปแบบการเรียนการสอน SSCS รIวมกับเทคนิคการระดมสมอง 51 ภาพที่ 7 แผนภาพแสดงการสร1างและการหาประสิทธิภาพของแบบบันทึกผล การจัดการเรียนรู1 52 ภาพที่ 8 แผนภาพแสดงการสร1างและการหาประสิทธิภาพของแบบสังเกตชั้นเรียน โดยผู1ชIวยวิจัย 53 ภาพที่ 9 แผนภาพแสดงการสร1างและการหาประสิทธิภาพของแบบสัมภาษณYนักเรียน 54 ภาพที่ 10 แผนภาพแสดงการสร1างและการหาประสิทธิภาพของ แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดแก1ป3ญหา 56 ภาพที่ 11 แผนภาพแสดงการสร1างและการหาประสิทธิภาพของแบบวัดผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน 58 ภาพที่ 12 ตัวอยIางภาพการจัดกิจกรรมการเรียนรู1แผนการจัดการเรียนรู1ที่ 1 เรื่อง การออม 66 ภาพที่ 13 ตัวอยIางผลงานนักเรียน 1 แผนการจัดการเรียนรู1ที่ 1 เรื่อง การออม 66 ภาพที่ 14 ตัวอยIางผลงานนักเรียน 2 แผนการจัดการเรียนรู1ที่ 1 เรื่อง การออม 67 ภาพที่ 15 ตัวอยIางภาพการจัดกิจกรรมการเรียนรู1แผนการจัดการเรียนรู1ที่ 2 เรื่อง การลงทุน 68 ภาพที่ 16 ตัวอยIางผลงานนักเรียนแผนการจัดการเรียนรู1ที่ 2 เรื่อง การลงทุน 68 ภาพที่ 17 ตัวอยIางผลงานนักเรียนแผนการจัดการเรียนรู1ที่ 3 เรื่อง ความหมาย ความสำคัญ ของการผลิตสินค1าและบริการ 70 ภาพที่ 18 ตัวอยIางภาพการจัดการเรียนรู1ในชั้นเรียนแผนการจัดการเรียนรู1ที่ 3 เรื่อง ความหมาย ความสำคัญของการผลิตสินค1าและบริการ 70 ภาพที่ 19 ตัวอยIางผลงานนักเรียนแผนการจัดการเรียนรู1ที่ 4 เรื่อง ป3จจัยการผลิต 74 ภาพที่ 20 ตัวอยIางผลงานนักเรียนแผนการจัดการเรียนรู1ที่ 5 เรื่อง ผู1ประกอบการ 76 ภาพที่ 21 ตัวอยIางผลงานนักเรียนแผนการจัดการเรียนรู1ที่ 6 เรื่อง หลักการผลิตสินค1าและ บริการอยIางมีประสิทธิภาพ 78
ซ สารบัญรูปภาพ (ต>อ) หน4า ภาพที่22 ตัวอยIางภาพการจัดกิจกรรมการเรียนรู1แผนการจัดการเรียนรู1ที่ 7 เรื่อง ป3จจัยที่มี อิทธิพลตIอการผลิตสินค1าและบริการ 81 ภาพที่23 ตัวอยIางผลงานนักเรียนแผนการจัดการเรียนรู1ที่ 8 เรื่อง การนำเทคโนโลยีมาใช1ในการผลิตสินค1าและบริการ 83 ภาพที่24 ตัวอยIางผลงานนักเรียนแผนการจัดการเรียนรู1ที่ 9 เรื่อง ลักษณะของการผลิตสินค1าและบริการของไทย 85 ภาพที่25 ตัวอยIางผลงานนักเรียน เรื่องการผลิตวินค1าและบริการ 149 ภาพที่26 ตัวอยIางผลงานนักเรียน เรื่องผู1ประกอบการ 149 ภาพที่ 27 ตัวอยIางผลงานนักเรียน เรื่องผู1ประกอบการ 150 ภาพที่28 การปฏิบัติการสอนวงจรที่ 1 151 ภาพที่29 การปฏิบัติการสอนวงจรที่ 2 151 ภาพที่30 การปฏิบัติการสอนวงจรที่ 3 152
1 บทที่ 1 บทนำ 1.1 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา การศึกษาเป็นกลไกหลักในการพัฒนา ส่งเสริม ปลูกฝังแนวคิดและความรู้ให้เยาวชนพลเมืองโดยรวม ที่เป็นตัวแปรหลักของความสามารถในการแข่งขันระยะยาว ซึ่งการออกแบบการศึกษาจึงเป็นข้อต่อสำคัญของ การพัฒนาในทุกด้านอันเป็นเป้าหมายในการสร้างความมั่นคง และขีดความสามารถการพัฒนาและส่งเสริม ทรัพยากรมนุษย์การสร้างโอกาสและเสมอภาคทางสังคมการปรับสมดุลพัฒนาระบบการบริหารจัดการเพื่อการ สร้างสังคมแห่งคุณธรรมและสังคมแห่งการเรียนรู้การสร้างนวัตกรรมและการนำเทคโนโลยีมาใช้ในคุณภาพ การศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันเป็นวิสัยทัศน์เชิงนโยบายการพัฒนาที่เป็นภารกิจสำคัญในการจัดทิศ ทางการพัฒนาการจัดการศึกษา 4.0 ที่ตอบโจทย์ความเป็นพลวัตรแห่งศตวรรษที่ 21 และเป็นกลไกนำไปสู่การ พัฒนาความเข้มแข็งการพัฒนาประเทศสู่ประเทศไทยยุค4.0 (พรชัย เจดามาน และคณะ, 2564) ซึ่งเป้าหมาย ในการพัฒนาประเทศสอดคล้องกับทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ที่ให้ความสำคัญกับการปรับเปลี่ยนวิถี ชีวิตเพื่อให้มีทักษะสำหรับดำรงชีวิตในโลกภายนอกจากการเปลี่ยนผ่านในศตวรรษที่ 20 สู่ศตวรรษที่ 21 ได้แก่ 1) ทักษะการแก้ปัญหาและคิดอย่างมีวิจารณญาณ 2) ทักษะด้านการคิดสร้างสรรค์3) ทักษะด้านความเข้า ใจความแตกต่าง 4) ทักษะด้านความร่วมมือ 5) ทักษะด้านการสื่อสารสารสนเทศ 6) ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และ 7) ทักษะด้านอาชีพ (จีรนันท์ ยาวิสิทธิ์, ม.ป.ป) อีกทั้งยังสอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553 ระบุถึงการจัดกระบวนการ เรียนรู้ ในมาตราที่ 24 ให้สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการฝึกทักษะ กระบวนการคิด การ จัดการ การเผชิญสถานการณ์ และการประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา (สำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี, 2553) เช่นเดียวกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน ได้กำหนดมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา ในมาตรฐาน ที่ 1คุณภาพของผู้เรียน ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ไว้ 6 ประการ คือ 1) ความสามารถในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร และการคิดคำนวณ ตามเกณฑ์ของแต่ละระดับชั้น 2) ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมี วิจารณญาณ อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และแก้ปัญหา 3) ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร 4) ความก้าวหน้าทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา 5) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและ พัฒนาการจากผลการสอบวัดระดับชาติและ 6) ความพร้อมในการศึกษาต่อ การฝึกงานหรือการทำงาน (สำนักทดสอบทางการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2559) แสดงให้เห็นถึงนโยบาย ด้านการศึกษาของไทยที่ให้ความสำคัญกับความสามารถในการคิดแก้ปัญหา หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551ผู้เรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ ซึ่งการพัฒนาผู้เรียนให้บรรลุมาตรฐานการเรียนรู้ที่กำหนดไว้นั้น จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะ สำคัญ 5 ประการ ดังนี้ 1) ความสามารถในการสื่อสาร 2) ความสามารถในการคิด 3) ความสามารถในการแก้ไขปัญหา
2 4) ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิตและ 5) ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี ซึ่งจะเห็นได้ว่าความสามารถ ในการแก้ไขปัญหา มีความสำคัญเนื่องจากถูกกำหนดให้เป็นมาตรฐานการเรียนรู้ที่ผู้เรียนต้องเกิดและบรรลุผล (กระทรวงศึกษาธิการ, 2551) การคิดแก้ปัญหาซึ่งการคิดแก้ไขปัญหาเป็นกิจกรรมพื้นฐานในการดำรงชีวิตของมนุษย์ ปัญหาบาง ปัญหาเราสามารถหาทางแก้ไขได้ทันทีแต่บางปัญหาอาจต้องใช้เวลานานในการคิดค้นหาคำตอบซึ่งคำตอบที่ได้ ต้องพิสูจน์ว่าเป็นคำตอบที่ถูกต้องน่าเชื่อถือและสามารถนำไปอ้างอิงต่อได้การแก้ไขปัญหาของแต่ละบุคคลมี ขั้นตอนและใช้เวลาที่แตกต่างกัน เนื่องจากความรู้และประสบการณ์จะส่งผลต่อความสามารถในการคิดแก้ไข ปัญหา (ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ, 2556) ซึ่งกระบวนการคิดแก้ไขปัญหามีทั้งหมด ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ตาม แนวคิด Weir (1974 อ้างถึงใน ปราณี หีบแก้ว, 2552) ดังนี้ ขั้นที่ 1 การตั้งปัญหา เป็นความสามารถในการ ระบุขอบเขตของปัญหาตามสถานการณ์ที่กำหนดให้ขั้นที่ 2 การวิเคราะห์ปัญหา เป็นความสามารถในการ พิจารณาวิเคราะห์แยกแยะสาเหตุของปัญหาได้ขั้นที่ 3 การเสนอวิธีการแก้ปัญหา เป็นความสามารถในการ คิดค้น และเสนอวิธีการแก้ปัญหาจากสาเหตุของปัญหา และขั้นที่ 4 การตรวจสอบผลลัพธ์ เป็นความสามารถ ในการอธิบายผลที่เกิดขึ้นหลังจากการเสนอวิธีแก้ปัญหา และจากการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนานักเรียน พบว่ารูปแบบการเรียนการสอน SSCS ซึ่งเป็นการสอนเพื่อการแก้ไข ปัญหาเป็นการฝึกทักษะให้ผู้เรียนได้ใช้กระบวนการคิดและหาเหตุผลสำหรับคำตอบของปัญหาโดยนำ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในการแก้ไขปัญหา (ยงยุทธ ทองจำรูญ, 2553) ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ 1) Search (S) 2) Solve (S) 3) Create (C) และ 4) Share (S) (ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์, 2558) โดยรูปแบบการ เรียนการสอนSSCS เป็นวิธีการสอนหนึ่งที่เป็นการสอนที่นำกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในการแก้ปัญหา โดยผู้เรียนจะได้ฝึกทักษะการแก้ปัญหาการคิดและการหาเหตุผลในการแก้ปัญหา ซึ่งครูผู้สอนจะเป็นเพียงผู้ แนะนำให้ผู้เรียนได้เชื่อมโยงความรู้จากประสบการณ์เดิมกับความรู้ใหม่เพื่อหาวิธีการใน การแก้ปัญหา (จุฑามาศ หงส์คำ, 2557) นอกจากนี้การใช้เทคนิคระดมสมองจะช่วยส่งเสริมพัฒนาการคิดในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยเฉพาะเพื่อให้ได้ทางเลือกอย่างหลากหลายวิธี ซึ่งการนำเทคนิคระดมสมองมาใช้ในการจัดการเรียนรู้จะช่วย ในกระบวนการคิดแก้ไขปัญหา เพื่อนำไปสู่คำตอบที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ (วัชรา เล่าเรียนดี, 2555) อีกทั้งเทคนิคระดมสมองยังช่วยส่งเสริมให้เกิดความคิดจากหลากหลายมุมมองโดยไม่ มีการตัดสินใจว่าถูกหรือผิดของสมาชิกในกลุ่มเพื่อหาทางเลือกในการตัดสินใจความคิดใหม่ ๆ เพื่อใช้ในการ วางแผน ซึ่งทุกคนจะมีส่วนร่วมในการแสดงความเห็นอย่างเป็นอิสระ (ศศิมา สุขสว่าง, 2559) จากการสัมภาษณ์ผู้สอนรายวิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม โรงเรียนบ้านไผ่ และการ สังเกตชั้นเรียน พบว่านักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ยังมีความบกพร่องในด้านความสามารถในการแก้ปัญหา โดยยึดจากแนวคิดของ ทิศนา แขมมณีพบว่า 1) การสังเกต คือผู้เรียนได้ศึกษาข้อมูลรับรู้ทำความเข้าใจของ ปัญหาสามารถสรุปและตระหนักในปัญหาได้ 2) อภิปรายแสดงความคิดเห็น เพื่อแยกแยะประเด็นปัญหาสภาพ สาเหตุและลำดับความสำคัญของปัญหาได้3) สร้างทางเลือก ผู้เรียนสามารถแสวงหาทางเลือกในการแก้ปัญหา ได้แต่ยังไม่หลากหลายซึ่งเกิดจากการค้นคว้าทดลอง 4) การเก็บข้อมูลและประเมินทางเลือก ผู้เรียนไม่สามารถ ประเมินทางเลือกที่เหมาะสมและขาดการให้เหตุผล 5) การสรุป ผู้เรียนไม่สามารถสรุปองค์ความรู้ด้วยตนเอง
3 และสื่อสารออกมาในรูปแบบของผลงานได้ และการคิดแก้ปัญหามีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาให้กับนักเรียน ให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงในโลกปัจจุบัน สอดคล้องกับนโยบายทางการศึกษาของไทย และหลักสูตร สถานศึกษาของโรงเรียน เพื่อให้นักเรียนสามารถดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข (ทิศนา แขมมณี, 2548) จากปัญหาและความสำคัญดังกล่าว ผู้วิจัยมีความเห็นว่ารูปแบบการเรียนการสอน SSCS ร่วมกับ เทคนิคการระดมสมอง เป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญกระตุ้นให้ผู้เรียนได้เกิดกระบวนการคิด โดยการกำหนดสถานการณ์ปัญหา การสืบเสาะหาข้อมูล จึงทำให้ผู้วิจัยเกิดความสนใจในการพัฒนา ความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอน SSCS ร่วมกับ เทคนิคการระดมสมอง ในรายวิชา ส 22101 สังคมศึกษา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านไผ่ ซึ่งผู้วิจัยได้เห็นถึงความสำคัญของแนวคิดการพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของผู้เรียน โดยการใช้ วิธีการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอน SSCS ร่วมกับเทคนิคการระดมสมอง มาช่วยในการ ดำเนินการวิจัย เพื่อเป็นการพัฒนาความสามารถในการการคิดแก้ปัญหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพและอยู่ในระดับที่สูงขึ้น และเพื่อเป็นแนวทางในการจัดการเรียนการ สอนสำหรับครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ตลอดทั้งสถานศึกษาต่อไป 1.2 คำถามการวิจัย 1.2.1 ผลการพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอน SSCS ร่วมกับเทคนิค การระดมสมอง พัฒนาความสามารถในคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านไผ่อย่างไร 1.2.2 ผลการพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอน SSCS ร่วมกับเทคนิค การระดมสมอง พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านไผ่อย่างไร 1.3 วัตถุประสงค์ของการวิจัย การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.3.1 พัฒนาความสามารถในคิดแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 รายวิชา ส 22101 สังคมศึกษา โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอน SSCS ร่วมกับเทคนิคการระดมสมอง ให้นักเรียนมีความสามารถ ในการคิดแก้ปัญหาไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 มีคะแนนความสามารถในการคิดแก้ปัญหาเฉลี่ยร้อยละ 70 ขึ้นไป 1.3.2 พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 รายวิชา ส 22101 สังคม ศึกษา โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอน SSCS ร่วมกับเทคนิคการระดมสมอง ให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยร้อยละ 70 ขึ้นไป
4 1.4 ขอบเขตของการวิจัย ขอบเขตของการวิจัย 1.1.4 กลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้เป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/11 ภาคเรียน ที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนบ้านไผ่ จำนวน 36 คน 1.4.2 ตัวแปรในการวิจัย ตัวแปรต้น 1) การจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนSSCS ร่วมกับเทคนิค การระดมสมอง ตัวแปรตาม 1) ความสามารถในคิดแก้ปัญหา 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชา ส 22101 สังคมศึกษา 1.4.3 เนื้อหาในการวิจัย เนื้อหาตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม รายวิชาส 22101 สังคมศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สาระที่ 3 เศรษฐศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 การออมและการลงทุน และหน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง การผลิตสินค้าและ บริการ 1.4.4 ระยะเวลาในการวิจัย เดือนกรกฎาคม พ.ศ.2565 - มกราคม พ.ศ.2566 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โดยใช้ เวลาทดลองจำนวน 9 คาบ คาบละ 50 นาทีเพื่อให้ได้ผลการวิจัยที่มีคุณภาพ และเห็นผลการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ และทักษะความสามารถในการคิดแก้ปัญหา9 คาบ 9 แผนการจัดการเรียนรู้ 3 วงจร วงจรละ 3 แผนการจัดการ เรียนรู้ 1.4.5 สถานที่ทำการวิจัย โรงเรียนบ้านไผ่ ตำบลในเมือง อำเภอบ้านไผ่ อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น 1.5 นิยามศัพท์เฉพาะที่ใช้ในการวิจัย 1.5.1 การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอน SSCS หมายถึง กระบวนการหรือ วิธีการที่ใช้ในการเรียนการสอน รายวิชา ส 22101 สังคมศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สาระที่ 3 เศรษฐศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ที่1 การออมและการลงทุน และ หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง การผลิตสินค้าและบริการ ซึ่งมีลักษณะปัญหาแบบเปิดที่เน้นให้นักเรียนคิดวิเคราะห์ และแก้ปัญหาด้วยตนเอง ซึ่งช่วยกระตุ้นความคิดของนักเรียน ตามกรอบแนวคิดของ ชัยวัฒน์สุทธิรัตน์(2558) โดยใช้ 4 ขั้นตอน ประกอบด้วยวิธีการ ดังนี้
5 1) ขั้นที่ Search (S) นำเสนอ การค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับปัญหาและการแยกแยะประเด็น ปัญหาการแสวงหาข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับปัญหาซึ่งประกอบไปด้วยการระดมสมอง เพื่อให้เกิดการแยกแยะ ปัญหาต่าง ๆ ช่วยให้ผู้เรียนในการมองเห็นความสัมพันธ์ของมโนมติต่าง ๆ ที่อยู่ในปัญหานั้น ๆ 2) ขั้นที่ 2 Solve (S) การวางแผนและการดำเนินการแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการต่าง ๆ หรือการ หาคำตอบของปัญหาที่เราต้องการ ในขั้นนี้ผู้เรียนต้องวางแผนการแก้ไขปัญหารวมถึงการวางแผนการใช้ เครื่องมือในการแก้ปัญหาด้วยตนเอง 3) ขั้นที่ 3 Create (C) การนำผลที่ได้มาจัดกระทำเป็นขั้นตอนเพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจและ เพื่อสื่อสารกับคนอื่นได้การนำข้อมูลที่ได้จากการแก้ปัญหาหรือวิธีการที่ได้จากการแก้ปัญหามาจัดกระทำให้อยู่ ในรูปแบบของคำตอบหรือวิธีการที่สามารถอธิบายให้เข้าใจได้ง่าย 4) ขั้นที่ 4 Share (S)การแลกเปลี่ยนความคิดเกี่ยวกับข้อมูลและวิธีการแก้ปัญหาการที่ให้ ผู้เรียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับขั้นตอนหรือวิธีการที่ใช้ในการแก้ปัญหาทั้งของตนเองและผู้อื่น 1.5.2 เทคนิคการระดมสมอง หมายถึง วิธีที่คนสองคนหรือมากกว่า ร่วมกันใช้จินตนาการเพื่อให้เกิด แนวคิด ซึ่งเป็นแนวคิดที่เกิดขึ้นโดยฉับพลันที่ซึ่งเกิดขึ้นจากจิตเหนือสำนึกของแต่ละคนไปสู่จิตสำนึกของซึงกัน และกันเพื่อแก้ปัญหาหนึ่งโดยเฉพาะ เป็นปัญหาที่คนทั้งกลุ่มได้ตระหนักว่าคืออะไรเป็นการรวบรวมความคิดที่ ดี จำนวนมากของบุคคลที่เก็บไว้และไม่แสดงความคิดเหล่านั้นออกมาเนื่องจากกลัวผู้อื่นจะวิพากษ์วิจารณ์ ฉะนั้น กลวิธีระดมสมองนี้จะปลดปล่อยความคิด ซึ่งถูกกดดันไว้ให้พลังพุ่งออกมาจำนวนมหาศาล 1.5.3 การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอน SSCS ร่วมกับเทคนิคระดมสมอง หมายถึง การนำเอาเทคนิคระดมสมองมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรูปแบบการสอน SSCS ขั้นที่ 1 Search โดยครูให้นักเรียนทำการระดมสมองในขั้นตอนนี้ 1.5.4 ความสามารถในการคิดแก้ปัญหา หมายถึง กระบวนการคิดพิจารณาไตร่ตรองอย่างพินิจ พิเคราะห์สิ่งต่าง ๆ ที่เป็นประเด็นสำคัญของเรื่องหรือสิ่งต่าง ๆ ที่คอยก่อกวนและสร้างความรำคาญสร้างความ ยุ่งเหยิงสับสนและความวิตกกังวลและพยายามหาหนทางคลี่คลายสิ่งเหล่านั้นให้ปรากฏและหาหนทางขจัดปัด เป่าสิ่งที่เป็นปัญหาก่อความรำคาญความวิตก ความยุ่งยากสับสนให้หมดไป ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนโรงเรียนบ้านไผ่ ตำบลในเมือง อำเภอบ้านไผ่จังหวัดขอนแก่น ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ตามแนวคิด Weir (1974 อ้างถึงใน ปราณี หีบแก้ว, 2552) ดังนี้ ขั้นที่ 1 การตั้งปัญหา เป็นความสามารถในการระบุขอบเขตของปัญหาตามสถานการณ์ที่กำหนดให้ ขั้นที่ 2 การวิเคราะห์ปัญหา เป็นความสามารถในการพิจารณาวิเคราะห์แยกแยะสาเหตุของปัญหาได้ ขั้นที่ 3 การเสนอวิธีการแก้ปัญหา เป็นความสามารถในการคิดค้น และเสนอวิธีการแก้ปัญหาจาก สาเหตุของปัญหา ขั้นที่ 4 การตรวจสอบผลลัพธ์ เป็นความสามารถในการอธิบายผลที่เกิดขึ้นหลังจากการเสนอวิธี แก้ปัญหา
6 1.5.5 แบบวัดความสามารถในการคิดแก้ปัญหา หมายถึง เครื่องมือที่ใช้วัดความสามารถในการคิด แก้ไขปัญหาที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น จำนวน 30 ข้อ ในรูปแบบข้อสอบปรนัย 4 ตัวเลือก แบบเลือกตอบ (Multiple Choices test) ตอบถูกได้1 คะแนน ตอบผิดได้0 คะแนน ท้ายวงจรวงจรละ 10 ข้อ 1.5.6 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง ผลการเรียนรู้ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านไผ่ ที่เกิดขึ้นจากการใช้ความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของผู้เรียน จากการจัดการเรียนรู้ โดย การใช้รูปแบบการเรียนการสอน SSCS ร่วมกับเทคนิคระดมสมอง รายวิชา ส 22103 สังคมศึกษา ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สาระที่ 3 เศรษฐศาสตร์ หน่วย การเรียนรู้ที่ 1 การออมและการลงทุน และหน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง การผลิตสินค้าและบริการ 1.5.7 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง เครื่องมือที่ใช้วัดผลสัมฤทธิ์ทางการรายวิชา ส22101 สังคมศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สาระที่ 3 เศรษฐศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 การออมและการลงทุน หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง การผลิตสินค้าและ บริการ ซึ่งเป็นแบบทดสอบที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง จำนวน 30 ข้อ ในรูปแบบข้อสอบปรนัยแบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก (Multiple Choices test) ในรูปแบบข้อสอบปรนัย ตอบถูกได้1 คะแนน ตอบผิดได้0 คะแนน 1.6 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1.6.1 ผู้เรียนกล้าคิด กล้าแสดงออก คิดอย่างมีเหตุผลมากยิ่งขึ้น และสามารถพัฒนาความสามารถใน การคิดแก้ไขปัญหาจนสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ 1.6.2 ผู้สอนในรายวิชาสังคมศึกษา ได้มีแนวทางในการจัดการเรียนรู้ โดยการใช้รูปแบบการเรียนการ สอนSSCS ในการจัดการเรียนรู้ของกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สาระที่ 3 เศรษฐศาสตร์ 1.6.3 โรงเรียนได้นวัตกรรมการสอนที่พัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหา 1.6.4 ผู้เรียนกล้าคิด กล้าแสดงออก คิดอย่างมีเหตุผลมากยิ่งขึ้น และสามารถพัฒนาความสามารถใน การคิดแก้ปัญหาจนสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้
7 บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การวิจัยเรื่อง การพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้รูปแบบ การเรียนการสอน SSCS ร่วมกับเทคนิคการระดมสมอง รายวิชา ส 22101 สังคมศึกษา ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านไผ่ ผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้เป็นทฤษฎี แนวคิดประกอบการศึกษา และเป็น แนวทางในการดำเนินการวิจัย ดังต่อไปนี้ 1. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม 2. บริบทสถานศึกษาโรงเรียนบ้านไผ่ 3. หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนบ้านไผ่ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนา และวัฒนธรรม ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 4. แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ SSCS 5. แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับเทคนิคการระดมสมอง 6. การจัดการเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอน SSCS ร่วมกับเทคนิคระดมสมอง 7. แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับความสามารถในการคิดแก้ปัญหา 8. แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 9. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 10. กรอบแนวคิดในการวิจัย โดยมีรายละเอียด ดังนี้ 1. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนา และวัฒนธรรม หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 จัดทำขึ้นสำหรับท้องถิ่นและสถานศึกษา ได้นำไปใช้เป็นกรอบและทิศทางในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา และจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาเด็ก และเยาวชนไทยทุกคนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานให้มีคุณภาพด้านความรู้ และความสามารถที่จำเป็น สำหรับการดำรงชีวิตในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลง และแสวงหาความรู้เพื่อพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องตลอด ชีวิต (กระทรวงศึกษาธิการ, 2552) โดยมีรายละเอียดตามหัวข้อต่อไปนี้ 1.1 วิสัยทัศน์ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคน ซึ่งเป็นกำลังของชาติให้เป็นมนุษย์ที่มี ความสมดุลทั้งด้านร่างกาย ความรู้ คุณธรรม มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและเป็นพลโลก ยึดมั่นในการ ปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีความรู้และความสามารถพื้นฐาน
8 รวมทั้งเจตคติที่จำเป็นต่อการศึกษาต่อการประกอบอาชีพ และการศึกษาตลอดชีวิต โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็น สำคัญบนพื้นฐานความเชื่อว่าทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ 1.2 หลักการ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีหลักการที่สำคัญ ดังนี้ 1) เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อความเป็นเอกภาพของชาติ มีจุดหมายและมาตรฐานการเรียนรู้ เป็นเป้าหมายสำหรับพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีความรู้ ความสามารถ เจตคติ และคุณธรรมบนพื้นฐานของ ความเป็นไทยควบคู่กับความเป็นสากล 2) เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อปวงชน ที่ประชาชนทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาอย่างเสมอ ภาคและมีคุณภาพ 3) เป็นหลักสูตรการศึกษาที่สนองการกระจายอำนาจ ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ให้สอดคล้องกับสภาพและความต้องการของท้องถิ่น 4) เป็นหลักสูตรการศึกษาที่มีโครงสร้างยืดหยุ่นทั้งด้านสาระการเรียนรู้ เวลาและการจัดการ เรียนรู้ 5) เป็นหลักสูตรการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 6) เป็นหลักสูตรการศึกษาสำหรับการศึกษาในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย ครอบคลุม ทุกกลุ่มเป้าหมาย สามารถเทียบโอนผลการเรียนรู้และประสบการณ์ 1.3 จุดหมาย หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี มีปัญญา มีความสุข มีศักยภาพ ในการศึกษาต่อและประกอบอาชีพ จึงกำหนดเป็นจุดหมายเพื่อให้เกิดกับผู้เรียนเมื่อจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดังนี้ 1) มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ เห็นคุณค่าของตนเอง มีวินัยและปฏิบัติ ตนตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา หรือศาสนาที่ตนนับถือ ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2) มีความรู้ ความสามารถในการสื่อสาร การคิด การแก้ปัญหา การใช้เทคโนโลยี และมี ความสามารถชีวิต 3) มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี มีสุขนิสัย และรักการออกกำลังกาย 4) มีความรักชาติ มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและพลโลก ยึดมั่นในวิถีชีวิตและการ ปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 5) มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย การอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม มีจิตสาธารณะที่มุ่งทำประโยชน์และสร้างสิ่งที่ดีงามในสังคม และอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข
9 1.4 สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะสำคัญ 5 ประการ ดังนี้ 1) ความสามารถในการสื่อสาร เป็นความสามารถในการรับและส่งสาร มีวัฒนธรรมในการใช้ ภาษาถ่ายทอดความคิด ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึก และทัศนะของตนเองเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร และประสบการณ์อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเองและสังคม รวมทั้งการเจรจาต่อรองเพื่อขจัดและลด ปัญหาความขัดแย้งต่าง ๆ การเลือกรับหรือไม่รับข้อมูลข่าวสารด้วยหลักเหตุผลและความถูกต้อง ตลอดจนการ เลือกใช้วิธีการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ โดยคำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อตนเองและสังคม 2) ความสามารถในการคิด เป็นความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ การคิด อย่างสร้างสรรค์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดเป็นระบบ เพื่อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้หรือ สารสนเทศเพื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับตนเองและสังคมได้อย่างเหมาะสม 3) ความสามารถในการแก้ปัญหา เป็นความสามารถในการแก้ปัญหาและอุปสรรค ต่าง ๆ ที่เผชิญได้อย่างถูกต้องเหมาะสมบนพื้นฐานของหลักเหตุผล คุณธรรม และข้อมูลสารสนเทศ เข้าใจ ความสัมพันธ์และการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ต่าง ๆ ในสังคม แสวงหาความรู้ ประยุกต์ความรู้มาใช้ในการ ป้องกันและแก้ไขปัญหา และมีการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม 4) ความสามารถในการใช้ความสามารถชีวิต เป็นความสามารถในการนำกระบวนการต่าง ๆ ไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง การทำงาน และการอยู่ ร่วมกันในสังคมด้วยการสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล การจัดการปัญหาและความขัดแย้งต่าง ๆ อย่างเหมาะสม การปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและสภาพแวดล้อม และการรู้จักหลีกเลี่ยง พฤติกรรมไม่พึงประสงค์ที่ส่งผลกระทบต่อตนเองและผู้อื่น 5) ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี เป็นความสามารถในการเลือก และใช้ เทคโนโลยีด้าน ต่าง ๆ และมีความสามารถกระบวนการทางเทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาตนเองและสังคม ในด้านการเรียนรู้ การ สื่อสาร การทำงาน การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ถูกต้อง เหมาะสม และมีคุณธรรม 1.5 คุณลักษณะอันพึงประสงค์ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะ อันพึงประสงค์ เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข ในฐานะเป็นพลเมืองไทยและพลโลก ดังนี้ 1) รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 2) ซื่อสัตย์สุจริต 3) มีวินัย 4) ใฝ่เรียนรู้ 5) อยู่อย่างพอเพียง
10 6) มุ่งมั่นในการทำงาน 7) รักความเป็นไทย 8) มีจิตสาธารณะ นอกจากนี้ สถานศึกษาสามารถกำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์เพิ่มเติมให้สอดคล้องตามบริบทและ จุดเน้นของตนเอง 1.6 มาตรฐานการเรียนรู้ การพัฒนาผู้เรียนให้เกิดความสมดุล ต้องคำนึงถึงหลักพัฒนาการทางสมองและพหุปัญญา หลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานจึงกำหนดให้ผู้เรียนเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ได้แก่ ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สุขศึกษาและพลศึกษา ศิลปะ การงานอาชีพและเทคโนโลยี และภาษาต่างประเทศ ในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ได้กำหนดมาตรฐานการเรียนรู้เป็นเป้าหมายสำคัญของการพัฒนา คุณภาพผู้เรียน มาตรฐานการเรียนรู้ระบุสิ่งที่ผู้เรียนพึงรู้ ปฏิบัติได้ มีคุณธรรมจริยธรรม และค่านิยมที่พึง ประสงค์เมื่อจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน นอกจากนั้นมาตรฐานการเรียนรู้ยังเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อน พัฒนาการศึกษาทั้งระบบ เพราะมาตรฐานการเรียนรู้จะสะท้อนให้ทราบว่าต้องการอะไร จะสอนอย่างไร และ ประเมินอย่างไร รวมทั้งเป็นเครื่องมือในการตรวจสอบเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษาโดยใช้ระบบการ ประเมินคุณภาพภายในและการประเมินคุณภาพภายนอก ซึ่งรวมถึงการทดสอบระดับเขตพื้นที่การศึกษาและ การทดสอบระดับชาติ ระบบการตรวจสอบเพื่อประกันคุณภาพดังกล่าวเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยสะท้อนภาพการจัด การศึกษาว่าสามารถพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามที่มาตรฐานการเรียนรู้กำหนดเพียงใด 1.7 ตัวชี้วัด ตัวชี้วัดระบุสิ่งที่นักเรียนพึงรู้และปฏิบัติได้ รวมทั้งคุณลักษณะของผู้เรียนในแต่ละระดับชั้น ซึ่งสะท้อน ถึงมาตรฐานการเรียนรู้ มีความเฉพาะเจาะจงและมีความเป็นรูปธรรม นำไปใช้ในการกำหนดเนื้อหา จัดทำ หน่วยการเรียนรู้ จัดการเรียนการสอน และเป็นเกณฑ์สำคัญสำหรับการวัดประเมินผลเพื่อตรวจสอบคุณภาพ ผู้เรียน 1) ตัวชี้วัดชั้นปี เป็นเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียนแต่ละชั้นปีในระดับการศึกษาภาคบังคับ (ประถมศึกษาปีที่ 1 – มัธยมศึกษาปีที่ 3) 2) ตัวชี้วัดช่วงชั้น เป็นเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (มัธยมศึกษาปีที่ 4 – 6) 1.8 ทำไมต้องเรียนสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ช่วยให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจการ ดำรงชีวิตของมนุษย์ทั้งในฐานะปัจเจกบุคคลและการอยู่ร่วมกันในสังคม การปรับตัวตามสภาพแวดล้อม การ
11 จัดการทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด เข้าใจถึงการพัฒนา เปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย กาลเวลาตามเหตุปัจจัยต่าง ๆ เกิดความเข้าใจในตนเอง และผู้อื่น มีความอดทน อดกลั้น ยอมรับในความแตกต่างและมีคุณธรรม สามารถ นำความรู้ไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิต เป็นพลเมืองดีของประเทศชาติและสังคมโลก 1.9 เรียนรู้อะไรในสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ว่าด้วยการอยู่ร่วมกันในสังคมที่มีความเชื่อม สัมพันธ์กัน และมีความแตกต่างกันอย่างหลากหลาย เพื่อช่วยให้สามารถปรับตนเองกับบริบทสภาพแวดล้อม เป็นพลเมืองดี มีความรับผิดชอบ มีความรู้ ความสามารถ คุณธรรม และค่านิยมที่เหมาะสม โดยได้กำหนด สาระต่าง ๆ ไว้ ดังนี้ 1) ศาสนา ศีลธรรม และจริยธรรม แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม หลักธรรมของพระพุทธศาสนาหรือศาสนาที่ตนนับถือ การนำหลักธรรมคำสอนไปปฏิบัติในการพัฒนาตนเอง และการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข เป็นผู้กระทำความดี มีค่านิยมที่ดีงาม พัฒนาตนเองอยู่เสมอ รวมทั้งบำเพ็ญ ประโยชน์ต่อสังคมและส่วนรวม 2) หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ระบบการเมืองการปกครองใน สังคมปัจจุบัน การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ลักษณะและ ความสำคัญ การเป็นพลเมืองดี ความแตกต่างและความหลากหลายทางวัฒนธรรม ค่านิยม ความเชื่อ ปลูกฝัง ค่านิยม ด้านประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข สิทธิ หน้าที่ เสรีภาพการดำเนินชีวิตอย่างสันติ สุขในสังคมไทยและสังคมโลก 3) เศรษฐศาสตร์ การผลิต การแจกจ่าย และการบริโภคสินค้าและบริการ การบริหารจัดการ ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดอย่างมีประสิทธิภาพ การดำรงชีวิตอย่างมีดุลยภาพ และการนำหลักเศรษฐกิจ พอเพียงไปใช้ในชีวิตประจำวัน 4) ประวัติศาสตร์ เวลาและยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ วิธีการทางประวัติศาสตร์พัฒนาการ ของมนุษยชาติจากอดีตถึงปัจจุบัน ความสัมพันธ์และเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ต่าง ๆ ผลกระทบที่เกิดจาก เหตุการณ์สำคัญในอดีต บุคคลสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ในอดีต ความเป็นมาของชาติไทย วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย แหล่งอารยธรรมที่สำคัญของโลก 5) ภูมิศาสตร์ ลักษณะของโลกทางกายภาพ ลักษณะทางกายภาพ แหล่งทรัพยากร และ ภูมิอากาศของประเทศไทย และภูมิภาคต่าง ๆ ของโลก การใช้แผนที่และเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ ความสัมพันธ์กันของสิ่งต่าง ๆ ในระบบธรรมชาติ ความสัมพันธ์ของมนุษย์กับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ และสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น การนำเสนอข้อมูลภูมิสารสนเทศ การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
12 1.10 สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ สาระที่ 1 ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม มาตรฐาน ส 1.1 รู้และเข้าใจประวัติ ความสำคัญ ศาสดา หลักธรรมของพระพุทธศาสนา หรือศาสนาที่ตนนับถือและศาสนาอื่น มีศรัทธาที่ถูกต้อง ยึดมั่น และปฏิบัติตามหลักธรรม เพื่ออยู่ร่วมกันอย่าง สันติสุข มาตรฐาน ส 1.2 เข้าใจ ตระหนักและปฏิบัติตนเป็นศาสนิกชนที่ดี และธำรงรักษา พระพุทธศาสนาหรือศาสนาที่ตนนับถือ สาระที่ 2 หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม มาตรฐาน ส 2.1 เข้าใจและปฏิบัติตนตามหน้าที่ของการเป็นพลเมืองดี มีค่านิยมที่ดีงาม และ ธำรงรักษาประเพณีและวัฒนธรรมไทย ดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคมไทยและสังคมโลกอย่างสันติสุข มาตรฐาน ส 2.1 เข้าใจระบบการเมืองการปกครองในสังคมปัจจุบัน ยึดมั่น ศรัทธา และธำรง รักษาไว้ซึ่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข สาระที่ 3 เศรษฐศาสตร์ มาตรฐาน ส 3.1 เข้าใจและสามารถบริหารจัดการทรัพยากรในการผลิตและการบริโภคการ ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า รวมทั้งเข้าใจหลักการของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อ การดำรงชีวิตอย่างมีดุลยภาพ มาตรฐาน ส 3.2 เข้าใจระบบและสถาบันทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ และความจำเป็นของการร่วมมือกันทางเศรษฐกิจในสังคมโลก สาระที่ 4 ประวัติศาสตร์ มาตรฐาน ส 4.1 เข้าใจความหมาย ความสำคัญของเวลาและยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ สามารถใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์มาวิเคราะห์เหตุการณ์ต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ มาตรฐาน ส 4.2 เข้าใจพัฒนาการของมนุษยชาติจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ในด้านความสัมพันธ์ และการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์อย่างต่อเนื่อง ตระหนักถึงความสำคัญและสามารถวิเคราะห์ผลกระทบที่ เกิดขึ้น มาตรฐาน ส 4.3 เข้าใจความเป็นมาของชาติไทย วัฒนธรรม ภูมิปัญญาไทย มีความรัก ความ ภูมิใจ และธำรงความเป็นไทย สาระที่ 5 ภูมิศาสตร์ มาตรฐาน ส 5.1 เข้าใจลักษณะทางกายภาพของโลกและความสัมพันธ์ของสรรพสิ่งซึ่งมีผล ต่อกัน ใช้แผนที่และเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ในการค้นหา วิเคราะห์และสรุปข้อมูลตามกระบวนการทาง ภูมิศาสตร์ ตลอดจนใช้ภูมิสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ มาตรฐาน ส 5.2 เข้าใจปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพที่ก่อให้เกิดการ สร้างสรรค์วิถีการดำเนินชีวิต มีจิตสำนึกและมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนา ที่ยั่งยืน
13 1.11 คุณภาพผู้เรียน 1) จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 - มีความรู้เรื่องเกี่ยวกับตนเองและผู้ที่อยู่รอบข้าง ตลอดจนสภาพแวดล้อมในท้องถิ่น ที่อยู่ อาศัยและเชื่อมโยงประสบการณ์ไปสู่โลกกว้าง - มีความสามารถกระบวนการ และมีข้อมูลที่จำเป็นต่อการพัฒนาให้เป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม ประพฤติปฏิบัติตามหลักคำสอนของศาสนาที่ตนนับถือ มีความเป็นพลเมืองดี มีความรับผิดชอบ การ อยู่ร่วมกันและการทำงานกับผู้อื่น มีส่วนร่วมในกิจกรรมของห้องเรียน และได้ฝึกหัดในการตัดสินใจ - มีความรู้เรื่องราวเกี่ยวกับตนเอง ครอบครัว โรงเรียน และชุมชนในลักษณะการบูรณาการ ผู้เรียนได้เข้าใจแนวคิดเกี่ยวกับปัจจุบันและอดีต มีความรู้พื้นฐานทางเศรษฐกิจ ได้ข้อคิดเกี่ยวกับรายรับ – รายจ่ายของครอบครัว เข้าใจถึงการเป็นผู้ผลิต ผู้บริโภค รู้จักการออมขั้นต้นและวิธีการเศรษฐกิจพอเพียง - รู้และเข้าใจในแนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม หน้าที่พลเมือง เศรษฐศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และภูมิศาสตร์ เพื่อเป็นพื้นฐานในการทำความเข้าใจในขั้นที่สูงต่อไป 2) จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 - มีความรู้เรื่องของจังหวัด ภาค และประทศของตนเอง ทั้งเชิงประวัติศาสตร์ ลักษณะทาง กายภาพ สังคมประเพณี และวัฒนธรรม รวมทั้งการเมือง การปกครอง และสภาพเศรษฐกิจโดยเน้นความเป็น ประเทศไทย - มีความรู้และความเข้าใจในเรื่องศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม ปฏิบัติตนตามหลักธรรมคำสอน ของศาสนาที่ตนนับถือ รวมทั้งมีส่วนร่วมศาสนพิธีและพิธีกรรมทางศาสนามากยิ่งขึ้น - ปฏิบัติตนตามสถานภาพ บทบาท สิทธิหน้าที่ในฐานะพลเมืองดีของท้องถิ่น จังหวัด ภาค และประเทศ รวมทั้งได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมตามขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมของท้องถิ่นตนเอง มากยิ่งขึ้น - สามารถเปรียบเทียบเรื่องราวของจังหวัดและภาคต่าง ๆ ของประเทศไทยกับประเทศเพื่อน บ้าน ได้รับการพัฒนาแนวคิดทางสังคมศาสตร์ เกี่ยวกับศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม หน้าที่พลเมือง เศรษฐศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และภูมิศาสตร์ เพื่อขยายประสบการณ์ไปสู่การทำความเข้าใจในภูมิภาคซีกโลก ตะวันออกและตะวันตกเกี่ยวกับศาสนา คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม ความเชื่อ ขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม การดำเนินชีวิต การจัดระเบียบทางสังคม และการเปลี่ยนแปลงทางสังคมจากอดีตสู่ปัจจุบัน 3) จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 - มีความรู้เกี่ยวกับความเป็นไปของโลก โดยการศึกษาประเทศไทยเปรียบเทียบกับประเทศ ในภูมิภาคต่าง ๆ ในโลก เพื่อพัฒนาแนวคิด เรื่องการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข - มีความสามารถที่จำเป็นต่อการเป็นนักคิดอย่างมีวิจารณญาณ ได้รับการพัฒนาแนวคิด และขยายประสบการณ์ เปรียบเทียบระหว่างประเทศไทยกับประเทศในภูมิภาคต่าง ๆ ในโลก ได้แก่ เอเชีย ออสเตรเลีย โอเชียเนีย แอฟริกา ยุโรป อเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ ในด้านศาสนา คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม
14 ความเชื่อ ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม การเมืองการปกครอง ประวัติศาสตร์ และภูมิศาสตร์ ด้วย วิธีการทางประวัติศาสตร์ และสังคมศาสตร์ - รู้และเข้าใจแนวคิดและวิเคราะห์เหตุการณ์ในอนาคต สามารถนำมาใช้เป็นประโยชน์ใน การดำเนินชีวิตและวางแผนการดำเนินงานได้อย่างเหมาะสม 4) จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 - มีความรู้เกี่ยวกับความเป็นไปของโลกอย่างกว้างขวางและลึกซึ้งยิ่งขึ้น - เป็นพลเมืองที่ดี มีคุณธรรม จริยธรรม ปฏิบัติตามหลักธรรมของศาสนาที่ตนนับถือ รวมทั้ง มีค่านิยมอันพึงประสงค์ สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นและอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข รวมทั้งมีศักยภาพ เพื่อ การศึกษาต่อในชั้นสูงตามความประสงค์ได้ - มีความรู้เรื่องภูมิปัญญาไทย ความภูมิใจในความเป็นไทย ประวัติศาสตร์ของชาติไทยยึดมั่น ในวิถีชีวิต และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข - มีนิสัยที่ดีในการบริโภค เลือกและตัดสินใจบริโภคได้อย่างเหมาะสม มีจิตสำนึก และมีส่วน ร่วมในการอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมไทย และสิ่งแวดล้อม มีความรักท้องถิ่นและประเทศชาติ มุ่งทำประโยชน์ และสร้างสิ่งที่ดีงามให้กับสังคม - มีความรู้ความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของตนเอง ชี้นำตนเองได้ และสามารถแสวงหา ความรู้จากแหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆในสังคมได้ตลอดชีวิต จากการศึกษาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคม ศึกษาศาสนา และวัฒนธรรม สรุปได้ว่า เป็นหลักสูตรที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคน ซึ่งเป็นกำลังของชาติให้เป็น มนุษย์ที่มีความสมดุลทั้งด้านร่างกาย ความรู้ คุณธรรม มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและเป็นพลโลก โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญบนพื้นฐานความเชื่อว่าทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ อีกทั้งยังเป็นสาระการเรียนรู้ที่บูรณาการศาสตร์ความรู้ที่มีความจำเป็นในการดำเนินชีวิตในสังคมในเรื่องของ การนับถือศาสนา การอยู่ร่วมกันภายใต้ความแตกต่างของศาสนา แนวทางการปฏิบัติตนเป็นพลเมืองที่ดี หลัก เศรษฐศาสตร์ที่เกี่ยวข้องในชีวิตประจำวัน ประวัติความเป็นมาของชาติไทย ตลอดจนภูมิศาสตร์ ศาสตร์ที่กล่าว มานั้นสามารถนำไปปรับหรือประยุกต์ใช่ในชีวิตประจำวันได้ทั้งสิ้น 2. บริบทสถานศึกษาโรงเรียนบ้านไผ่ 2.1 ประวัติสถานศึกษาโรงเรียบ้านไผ่ โรงเรียนบ้านไผ่เป็นโรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษา ได้รับอนุมัติให้เปิดทำการสอนเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2491 เมื่อแรกตั้งได้อาศัยสถานที่โรงเรียนประชาบาล ตำบลบ้านไผ่ “เวฬุคามวิทยาคาร” เป็นที่ ทำการสอน เปิดทำการสอนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 จนกระทั่งวันที่ 17 พฤษภาคม 2493 ได้ย้ายมาทำการสอน ณ สถานที่ปัจจุบัน ซึ่งอยู่ทางทิศเหนือของอำเภอห่างจากที่ว่าการอำเภอบ้านไผ่ประมาณ 1 กิโลเมตร บริเวณ โรงเรียนตั้งอยู่ริมถนนเจนจบทิศซึ่งเป็นทางหลวงแผ่นดินเชื่อมระหว่างอำเภอบ้านไผ่กับจังหวัดขอนแก่น
15 ลักษณะพื้นที่เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า คิดเป็นเนื้อที่ 55 ไร่ ต่อมาทางราชการได้แบ่งเนื้อที่เพื่อตั้งโรงเรียนบ้านไผ่ ประถมศึกษา จำนวน 12 ไร่ 384 ตารางวา ปัจจุบันโรงเรียนบ้านไผ่มีเนื้อที่ทั้งหมด 42 ไร่ 16 ตารางวา พ.ศ. 2502 เปิดสอนถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และเพิ่มชั้นมัธยมศึกตอนต้น 3 ห้องเรียน มัธยมศึกษาตอนปลาย 6 ห้องเรียน เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2502 เวลาประมาณ 21.40 น ได้มีผู้ลอบวางเพลิง เผาอาคารเรียนเสียหายทั้งหลัง ทางราชการจึงได้ให้ไปเปิดทำการสอนชั่วคราวที่สถานโรงบ่มใบยาโนนชัย สำนักงานไร่ยาสูบบ้านไผ่ ตั้งแต่วันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2502 ต่อมาได้ไปอาศัยที่โรงเรียนประชาบาลบ้านไผ่ยิ่ง ยงอุทิศ จนถึงวันที่ 1 กันยายน 2502 จึงได้กลับมาเรียนที่โรงเรียนปัจจุบัน โดยเรียนที่ อาคารเรียนที่สร้างเป็น โรงยาว ซึ่งนายยิ่งยง สวัสดิ์พาณิชย์ ได้สร้างให้เป็นสมบัติของโรงเรียน พ.ศ. 2503 กรมสามัญศึกษา จัดสรรงบประมาณให้ 280,000 บาท สร้างอาคารเรียนไม้ 2 ชั้น หลังคา มุงกระเบื้องจำนวน 12 ห้องเรียน และได้ใช้เป็นอาคารเรียนตั้งแต่วันที่ 20 ตุลาคม 2503 (รื้อถอนแล้ว) พ.ศ. 2515 ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียน จำนวน 12 ห้องเรียน เป็นอาคารครึ่งไม้ครึ่งปูน ค่าก่อสร้าง 960,000 บาท พ.ศ. 2518 ได้รับงบประมาณเพิ่มเติมอีก 4 ห้องเรียน (ทางทิศตะวันตก) เป็นเงิน 420,000 บาท ปัจจุบันเรียกว่าอาคาร 1 พ.ศ. 2521 ได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียน จำนวน 8 ห้องเรียน เป็นเงิน 1,300,000บาท และ ได้รับงบประมาณเพิ่มเติมอาคารในปี พ.ศ. 2526 เป็นเงิน 2,050,000 บาท ปัจจุบันเรียกว่า อาคาร 2 พ.ศ. 2524 ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียน เป็นเงินจำนวน 3,800,000 บาท พ.ศ. 2527-2528 ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียน เป็นจำนวนเงิน 4,237,000 บาท ปัจจุบัน เรียกว่า อาคาร 3 พ.ศ. 2530 ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารโรงฝึกงาน แบบ102/27 ราคาก่อสร้าง 660,000 บาท พ.ศ. 2532 ได้รับงบประมาณสร้างห้องน้ำ-ห้องส้วม 1 หลัง ราคา 165,000 บาท พ.ศ. 2533 ได้รับงบประมาณสร้างโรงฝึกงาน แบบ 102/27 ราคาก่อสร้าง 1,620,000บาทและได้รับ งบประมาณก่อสร้างบ้านพักครู 1หลัง 356,000 บาท พ.ศ. 2534 ได้รับงบประมาณ 180,000 บาท สร้างห้องน้ำ-ห้องส้วม 1 หลัง พ.ศ. 2536 กรมสามัญศึกษาอนุมัติให้รื้อถอนอาคารเรียน เพราะชำรุดและได้รับงบประมาณสร้าง อาคารเรียนชั่วคราว 3 หลัง 8 ห้องเรียนเป็นเงิน 400,000 บาท และเปิดสาขาโรงเรียนที่ตำบลหัวหนอง อำเภอ บ้านไผ่ ปัจจุบันคือ โรงเรียนบ้านไผ่ศึกษา พ.ศ. 2537 กรมสามัญศึกษา อนุมัติเปิดสาขาโรงเรียน ที่ตำบลหนองน้ำใส อำเภอบ้านไผ่ ปัจจุบันคือ โรงเรียนบ้านไผ่พิทยาคม พ.ศ. 2538 ได้รับงบประมาณ 13,890,000 บาท สร้างอาคารเรียน จำนวน 1 หลัง ปัจจุบันคือ อาคาร 4 พ.ศ. 2551 เปิดทำการสอนทั้งระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย จัดชั้นเรียนเป็น 10 -10 - 10 /12 - 12 - 10 รวม 64 ห้องเรียน มีนักเรียน รวมทั้งสิ้น 2,841 คน ครู-อาจารย์ จำนวน 135 คน ลูกจ้างประจำ
16 10 คน พนักงานราชการ 1 คน ครูอัตราจ้าง 8 คน พนักงาน 9 คน มีอาคารเรียนถาวร 4 หลัง หอประชุม 1 หลัง อาคารเรียนชั่วคราว 3 หลัง บ้านพักครู 18 หลัง บ้านพักลูกจ้างประจำ 3 หลัง อาคารประกอบอื่น ๆ 12 หลัง และอาคารศูนย์วิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จำนวน 1 หลัง โดยมีนายสุรพล สุวรรณชาติ เป็น ผู้อำนวยการโรงเรียน 2.2 สภาพทั่วไป โรงเรียนบ้านไผ่ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น สังกัดสำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 มีพื้นที่ 7 ไร่ 2 งาน 94 ตารางวา เป็นโรงเรียนระดับ มัธยมศึกษาขนาดใหญ่ เปิดสอนตั้งแต่ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่1 ถึงชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 6 1) ที่ตั้งโรงเรียน เลขที่ 851 หมู่ 1 ถนนเจนจบทิศ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น 40110 2) ข้อมูลนักเรียน ปีการศึกษา 2564 จำนวนนักเรียนทั้งหมด 2,908 คน โดยเป็นเพศชายจำนวน 1,088 คน และเพศหญิงจำนวน 1,820 คน 3) ข้อมูลบุคลากร ปีการศึกษา 2565 จำนวนบุคลากรทั้งหมด 192 คน 4) ข้อมูลผู้บริหารสถานศึกษา ชื่อผู้บริหารสถานศึกษา : นายสุรพล สุวรรณชาติโดยได้ดำรงตำแหน่งที่โรงเรียน แห่งนี้ เมื่อ ปีพุทธศักราช 2563 5) ปรัชญาประจำโรงเรียน “การเรียนดี กีฬาเด่น เน้นวินัย ใฝ่คุณธรรม”
17 6) สัญลักษณ์ประจำโรงเรียน ภาพที่ 1 สัญลักษณ์โรงเรียนบ้านไผ่ ตราสัญลักษณ์โรงเรียนบ้านไผ่ เป็นรูปบ้านทรงไทย มีอักษร บ.ผ. ประกอบด้านหน้า และมีวงกลมล้อมรอบบ้านทรงไทย หมายถึง ความรัก ความสามัคคีของทุกคนที่มาอยู่ร่วมกันภายในสถาบันแห่งนี้ 7) สีประจำโรงเรียน สีประจำโรงเรียน บ้านไผ่คือ ม่วง – ขาว ม่วง หมายถึง ความสามัคคี ขาว หมายถึง คุณธรรมความบริสุทธิ์ 8) วิสัยทัศน์ (Vision) มุ่งมั่นพัฒนานักเรียนให้เป็นผู้มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ อยู่อย่างพอเพียง ด้วยการบริหารงานตามเกณฑ์รางวัล คุณภาพ OBECQA 9) พันธกิจ (Mission) 1. เสริมสร้างการมีระเบียบวินัย ใฝ่เรียนรู้ และอยู่อย่างพอเพียงให้แก่นักเรียน 2. ส่งเสริมกระบวนการบริหารงานตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพ OBECQA 3. ส่งเสริมกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นให้นักเรียนมีวินัย ใฝ่เรียนรู้ อยู่อย่างพอเพียง 4. ระดมทรัพยากร และสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ 3. หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนบ้านไผ่ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนา และวัฒนธรรม ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2 การวิจัยในครั้งนี้ได้ใช้เนื้อหาจากกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สาระที่ 3 เศรษฐศาสตร์ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยมีรายละเอียด ดังนี้ สาระที่3 เศรษฐศาสตร์ มาตรฐาน ส 3.1 เข้าใจและสามารถบริหารจัดการทรัพยากรในการผลิตและการบริโภคการใช้ ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า รวมทั้งเข้าใจหลักการของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อการดำรงชีวิตอย่างมีดุลยภาพ
18 มาตรฐาน ส 3.2 เข้าใจระบบ และสถาบันทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ และความจำเป็นของการร่วมมือกันทางเศรษฐกิจในสังคมโลก ตารางที่1 โครงสร้างหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรมระดับชั้นมัธยมศึกษา ตอนต้น ม.1-ม.3 ภาคเรียนที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 รหัส/รายวิชา ชั้น เวลาเรียน (หน่วยกิต/ชม.) รหัส/รายวิชา ชั้น เวลาเรียน (หน่วยกิต/ชม) พื้นฐาน ส 21101 สังคมศึกษา ม.1 60 ชม. / 1.5 นก. ส 21103 สังคมศึกษา ม.1 60 ชม. / 1.5 นก. ส 21102 ประวัติศาสตร์ ม.1 20 ชม. / 0.5 นก. ส 21104 ประวัติศาสตร์ ม.1 20 ชม. / 0.5 นก. ส 22101 สังคมศึกษา ม.2 60 ชม. / 1.5 นก. ส 22103 สังคมศึกษา ม.2 60 ชม. / 1.5 นก. ส 22102 ประวัติศาสตร์ ม.2 20 ชม. / 0.5 นก. ส 22104 ประวัติศาสตร์ ม.2 20 ชม. / 0.5 นก. ส 23101 สังคมศึกษา ม.3 60 ชม. / 1.5 นก. ส 23103 สังคมศึกษา ม.3 60 ชม. / 1.5 นก. ส 23102 ประวัติศาสตร์ ม.3 20 ชม. / 0.5 นก. ส 23104 ประวัติศาสตร์ ม.3 20 ชม. / 0.5 นก.
19 คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สาระการเรียนรู้พื้นฐาน รายวิชา ส 22101 สังคมศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เวลา 60 ชั่วโมง จำนวน 1.5 หน่วยกิต ศึกษา เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ในการรวบรวม วิเคราะห์ และนำเสนอข้อมูล เกี่ยวกับลักษณะทาง กายภาพ และสังคม ของทวีปยุโรป และแอฟริกา ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางกายภาพและสังคมของ ทวีปยุโรป และแอฟริกา การก่อเกิดสิ่งแวดล้อมใหม่ทางสังคมอันเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติ และทางสังคมของทวีปยุโรป และแอฟริกา การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปัญหาเกี่ยวกับ สิ่งแวดล้อม ในทวีปยุโรป และแอฟริกา การเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมในทวีปยุโรป และแอฟริกา ที่มีต่อ ประเทศไทย ศึกษา ความหมาย และความสำคัญของการลงทุนและการออมต่อระบบเศรษฐกิจ การบริหารจัด การเงินออม และการลงทุนภาคครัวเรือน ปัจจัย และปัญหาของการลงทุน และการออมในสังคมไทย หลักการผลิตสินค้าและบริการอย่างมีประสิทธิภาพ การนำหลักการผลิตมาวิเคราะห์การผลิตสินค้าและ บริการในท้องถิ่น หลักการและเป้าหมายของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียงในท้องถิ่น กฎหมายคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การดำเนินกิจกรรม และ แนวทางการปกป้องสิทธิผู้บริโภค ระบบเศรษฐกิจแบบต่างๆ หลักการและผลกระทบการพึ่งพาอาศัยกัน และการแข่งขันกันทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย การกระจายของทรัพยากรน้ำมัน ป่าไม้ ทองคำ ถ่านหิน แร่ เป็นต้น ในโลก ที่ส่งผลต่อความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ การแข่งขันทางการค้าในประเทศ และต่างประเทศ โดยใช้กระบวนการคิดวิเคราะห์ กระบวนการสืบค้นข้อมูล กระบวนการทางสังคม กระบวนการ ปฏิบัติ กระบวนการเผชิญสถานการณ์และแก้ปัญหา กระบวนการกลุ่ม เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะทางกายภาพ การเปลี่ยนแปลงของสังคม เศรษฐกิจ การเมือง รู้จักตนเอง มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการ ดำเนินชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข รวมทั้งมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในด้านรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ อยู่อย่างพอเพียง มุ่งมั่นในการทำงาน รักความเป็นไทย และมีจิตสาธารณะ รหัสตัวชี้วัด ส 5.1 ม.2 /1 ม.2 /2 ส 5.2 ม. 2/1 ม.2 /2 ม.2 /3 ม.2 /4 ส 3.1 ม.2/1 ม.2 / 2 ม.2 /3 ม.2 /4 ส 3.2 ม. 2/1 ม.2 / 2 ม.2 /3 ม.2/4 รวมทั้งหมด 14 ตัวชี้วัด
20 กำหนดหน่วยการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สาระการเรียนรู้พื้นฐาน รายวิชา ส 22101 สังคมศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เวลา 60 ชั่วโมง จำนวน 1.5 หน่วยกิต ตารางที่ 2 ตารางแสดงกำหนดหน่วยการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม ระดับชั้นมัธยมศึกษา ตอนต้น ม.1-ม.3 ลำ ดับที่ หน่วยการเรียนรู้ มาตรฐาน การเรียนรู้ / ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้ เวลา/ ชั่วโมง (60) คะแนน (100) 1 2 สาระภูมิศาสตร์ เครื่องมือทาง ภูมิศาสตร์ ภูมิศาสตร์ทวีปยุโรป ส 5.1 ม.2/1 ม.2/2 ส 5.2 ม. 2/1 ม.2/2 ม.2/3 ม.2/4 เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ - เครื่องมือสำคัญทางภูมิศาสตร์ - การแปลความหมาย มาตราส่วน ทิศและสัญลักษณ์ในแผนที่ ภูมิศาสตร์ทวีปยุโรป -ลักษณะทางกายภาพของทวีปยุโรป -การใช้เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ เช่น ภาพถ่าย ทางอากาศ แผนที่ ภาพถ่ายจากดาวเทียมใน การศึกษาลักษณะทางกายภาพของทวีปยุโรป -ทำเลที่ตั้งและกิจกรรมทางเศรษฐกิจและ สังคม เช่น พื้นที่เพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ แหล่ง ประมง การกระจายของภาษาและศาสนาใน ทวีปยุโรป -ปัจจัยทางกายภาพและปัจจัยทางสังคมที่มี ผลต่อทำเลที่ตั้งของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ และสังคมในทวีปยุโรป -แนวทางการจัดการทรัพยากรและ สิ่งแวดล้อมในทวีปยุโรป - สาเหตุการเกิดภัยพิบัติและผลกระทบจาก การเกิดภัยพิบัติในทวีปยุโรป 6 12 10 20
21 ตารางที่ 2 ตารางแสดงกำหนดหน่วยการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม ระดับชั้นมัธยมศึกษา ตอนต้น ม.1-ม.3 (ต่อ) ลำ ดับที่ หน่วยการเรียนรู้ มาตรฐาน การเรียนรู้ / ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้ เวลา/ ชั่วโมง (40) คะแนน (100) 3 4 5 ภูมิศาสตร์ทวีป แอฟริกา สาระเศรษฐศาสตร์ การลงทุน และการ ออม การผลิตสินค้าและ บริการที่มี ประสิทธิภาพ ส 5.1 ม.2/1 ม.2/2 ส 5.2 ม. 2/1 ม.2/2 ม.2/3 ม.2/4 ส 3.1 ม.2/1 ม.2/2 ม.2/3 ม.2/4 ส 3.1 ม.2/1 ม.2/2 ม.2/3 ม.2/4 ภูมิศาสตร์ทวีปแอฟริกา -ลักษณะทางกายภาพของทวีปแอฟริกา -การใช้เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ เช่น ภาพถ่าย ทางอากาศ แผนที่ ภาพถ่ายจากดาวเทียมใน การศึกษาลักษณะทางกายภาพของทวีป แอฟริกา -ทำเลที่ตั้งและกิจกรรมทางเศรษฐกิจและ สังคม เช่น พื้นที่เพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ แหล่ง ประมง การกระจายของภาษาและศาสนาใน ทวีปแอฟริกา -ปัจจัยทางกายภาพและปัจจัยทางสังคมที่มี ผลต่อทำเลที่ตั้งของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ และสังคมในทวีปแอฟริกา -แนวทางการจัดการทรัพยากรและ สิ่งแวดล้อมในทวีปแอฟริกา - สาเหตุการเกิดภัยพิบัติและผลกระทบจาก การเกิดภัยพิบัติในทวีปแอฟริกา การลงทุน และการออม -การลงทุน -การออม การผลิตสินค้าและบริการที่มีประสิทธิภาพ -ความหมายและความสำคัญ -ปัจจัยในการผลิตสินค้าและบริการ -การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการผลิตสินค้าและ บริการ 12 6 6 10 10 10
22 ตารางที่ 2 ตารางแสดงกำหนดหน่วยการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม ระดับชั้นมัธยมศึกษา ตอนต้น ม.1-ม.3 (ต่อ) ลำ ดับที่ หน่วยการเรียนรู้ มาตรฐาน การเรียนรู้ / ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้ เวลา/ ชั่วโมง (60) คะแนน (100) 6 7 8 ปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียง การคุ้มครองสิทธิ ผู้บริโภค ระบบเศรษฐกิจ ที่สำคัญ ส 3.2 ม. 2/1 ม.2/2 ม.2/3 ม.2/4 ส 3.2 ม. 2/1 ม.2/2 ม.2/3 ม.2/4 ส 3.2 ม. 2/1 ม.2/2 ม.2/3 ม.2/4 ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง -หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง -การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงในการผลิต สินค้าและบริการในท้องถิ่น การคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค -ความสำคัญของการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค -กฎหมายและหน่วยงานคุ้มครองสิทธิ ผู้บริโภค -แนวทางปกป้องคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภค ระบบเศรษฐกิจที่สำคัญ -ระบบเศรษฐกิจที่สำคัญ -การพึ่งพาและการแข่งขันทางเศรษฐกิจของ เอเชีย -ทรัพยากรกับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ ระหว่างประเทศ -การแข่งขันทางการค้าภายในและ ต่างประเทศ 6 6 6 10 10 10 รวมตลอดภาคเรียน 60 100
23 4. แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ SSCS 4.1 ความหมายของรูปแบบการเรียนการสอน SSCS ยงยุทธ ทองจำรูญ (2553) กล่าวว่าวิธีการสอนแบบ SSCS เป็นการสอนการแก้ปัญหา ซึ่งเป็นการ ฝึกทักษะให้ผู้เรียนได้ใช้กระบวนการคิดและหาเหตุผลสำหรับคำตอบของปัญหาโดยนำกระบวนการทาง วิทยาศาสตร์มาใช้ในการแก้ปัญหา จุฑามาศ หงส์คำ (2554) กล่าวว่าการสอนแก้ปัญหาแบบ SSCS เป็นการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ผู้สอนเป็นผู้แนะแนวทางซึ่งผู้เรียนต้องเชื่อมโยงประสบการณ์เดิมเข้ากับความรู้ใหม่เพื่อนำมาหาวิธีการ แก้ปัญหาตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์ กล่าวว่า SSCS เป็นรูปแบบการสอนที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในการเรียนรู้การแก้ปัญหา โดยนำกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาปรับใช้กับการแก้ปัญหาซึ่งนอกจากที่ผู้เรียนจะได้เรียนรู้การแก้ปัญหา แล้วยังได้เรียนรู้กระบวนการแก้ปัญหาด้วย จากการศึกษาแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ SSCS สามารถสรุปได้ว่า กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโดยผู้สอนเป็นผู้แนะแนวทางให้ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยง ประสบการณ์เดิมเข้ากับความรู้ใหม่เพื่อนำมาหาคำตอบและแก้ไขปัญหา ตามสถานการณ์ที่ผู้เรียนได้พบเจอ โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในการแก้ปัญหา 4.2 แนวคิดของการเรียนการสอน SSCS Butts (1984 อ้างถึงนาย Pizzini, Shepardson, Abell, 1989) กล่าวว่า การจัดการเรียนรู้แบบ SSCS พัฒนาขึ้นมาจากสมมติฐานที่ว่านักเรียนเรียนรู้การใช้ทักษะการแก้ปัญหาได้สมบูรณ์ที่สุดโดยผ่าน ประสบการณ์การแก้ปัญหาและในการที่จะแก้ปัญหาให้สำเร็จนั้นจะต้องมีองค์ประกอบในด้านทักษะการคิดที่ ได้รับจากประสบการณ์การแก้ปัญหาพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ Presseisen (1985) กล่าวว่าสำหรับการแก้ปัญหามีทักษะความคิดที่จำเป็นคือทักษะในการจัดระบบ ข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงการตัดสินใจว่าข้อมูลที่มีความจำเป็นอะไรบ้างที่ต้องหาเพิ่มเติมหรือสรุปแนะแนว ทางเลือกของวิธีแก้ปัญหาและทำการทดลองทางเลือกเหล่านั้น พยายามบูรณาการข้อมูลให้อยู่ในระดับที่สาม อธิบายให้เข้าใจได้มากที่สุดขจัดความขัดแย้งต่าง ๆ ออกไปให้หมดและตรวจสอบความถูกต้องของวิธีการ แก้ปัญหาที่เลือกเพื่อใช้ดำเนินการต่อไป Sternberg (1986) ได้เสนอการคิดที่นำไปสู่การแก้ปัญหาขั้นตอนดังต่อไปนี้ ขั้นที่1 การนิยามธรรมชาติของปัญหาเป็นการทบทวนปัญหาเพื่อทำความเข้าใจต่อจากนั้น เป็นการตั้งเป้าหมายและนิยามปัญหาเพื่อนำไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ ขั้นที่2 การเลือกองค์ประกอบหรือขั้นตอนที่จะใช้ในการแก้ปัญหาเป็นการกำหนดขั้นตอน เพื่อให้แต่ละขั้นตอนมีความเหมาะสมไม่กว้างเกินหรือแคบเกินไปควรพิจารณารายละเอียดแต่ละ ขั้นตอนให้ถี่ถ้วนก่อน
24 ขั้นที่ 3 การเลือกกลวิธีในการจัดลำดับองค์ประกอบในการแก้ปัญหาแต่ต้องแน่ใจว่าการ พิจารณาอย่างทั่วถึงแล้วไม่ด่วนสรุปในสิ่งที่เกิดขึ้นเพราะอาจทำให้เกิดความผิดพลาดได้ต้องแน่ใจว่า เรียงลำดับขั้นตอนเป็นไปตามลักษณะธรรมชาติหรือเหตุผลที่นำไปสู่เป้าหมาย ขั้นที่ 4 การเลือกตัวแทนความคิดเกี่ยวกับข้อมูลของปัญหาซึ่งต้องทราบรูปแบบ ความสามารถของตนใช่ตัวแทนทางความคิดในรูปแบบต่าง ๆ จากความสามารถที่ตนมีอยู่ตลอดจนใช้ ตัวแทนจากภายนอกมาเพิ่มเติม ขั้นที่ 5 การกำหนดแหล่งข้อมูลที่เป็นประโยชน์จะต้องมีความทุ่มเทให้กับการวางแผนอย่าง รอบคอบใช้ความรู้ที่มีอย่างเต็มที่ในการวางแผนและกำหนดแหล่งข้อมูลที่นำมาใช้ประโยชน์มีความ ยืดหยุ่นในการเปลี่ยนแปลงแผนและแหล่งข้อมูลเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพสถานการณ์ในการ แก้ปัญหา ไม่แสวงหาข้อมูลที่เป็นประโยชน์แหล่งใหม่อยู่เสมอ ขั้นที่ 6 การตรวจสอบวิธีการแก้ปัญหาว่าเป็นวิธีที่นำไปสู่เป้าหมายที่วางไว้หรือไม่ จากการศึกษาแนวคิดของการเรียนการสอน SSCS สามารถสรุปได้ว่า การสอนการแก้ปัญหา โดยใช้รูปแบบ SSCS มีการนำเอาทฤษฎีการประมวล 6 ขั้นตอนเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในองค์ประกอบ ของการเรียนการสอนแบบ SSCS โดยผู้สอนจะมีหน้าที่ในการคอยชี้แนะผู้เรียนคอยให้ความช่วยเหลือ ผู้ได้ในทุกด้านโดยการเรียนการสอนจะเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการสร้างองค์ความรู้ ให้กับตนเองได้มากที่สุด 4.3 ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอน SSCS ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์(2558) กล่าวว่า การสอนแบบ SSCS จะได้ผลดีที่สุดก็ต่อเมื่อได้รับ การสอนที่มี ความเกี่ยวข้องกับการค้นคว้าวิธีการแก้ปัญหาประกอบไปด้วย 4 ขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1) ขั้นที่ Search (S) นำเสนอ การค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับปัญหาและการแยกแยะประเด็น ปัญหาการแสวงหาข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับปัญหาซึ่งประกอบไปด้วย การระดมสมอง เพื่อให้เกิดการแยกแยะ ปัญหาต่าง ๆ ช่วยให้ผู้เรียนในการมองเห็นความสัมพันธ์ของมโนมติต่าง ๆ ที่อยู่ในปัญหานั้น ๆ 2) ขั้นที่ 2 Solve (S) การวางแผนและการดำเนินการแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการต่าง ๆหรือการ หาคำตอบของปัญหาที่เราต้องการ ในขั้นนี้ผู้เรียนต้องวางแผนการแก้ไขปัญหารวมถึงการวางแผนการใช้ เครื่องมือในการแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง 3) ขั้นที่ 3 Create (C) การนำผลที่ได้มาจัด กระทำเป็นขั้นตอนเพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจและ เพื่อสื่อสารกับคนอื่นได้การนำข้อมูลที่ได้จากการแก้ปัญหาหรือวิธีการที่ได้จากการแก้ปัญหามาจัดกระทำให้อยู่ ในรูปแบบของคำตอบหรือวิธีการที่สามารถอธิบายให้เข้าใจได้ง่าย 4) ขั้นที่ 4 Share (S)การแลกเปลี่ยนความคิดเกี่ยวกับข้อมูลและวิธีการแก้ปัญหาการที่ให้ ผู้เรียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับขั้นตอนหรือวิธีการที่ใช้ในการแก้ไขปัญหา ทั้งของตนเองและผู้อื่น จากการศึกษาแนวคิด ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนSSCS ประกอบไป ด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 Search (S) เป็นขั้นการค้นหาข้อมูล ขั้นที่2 Solve (S) เป็นขั้นในการวาง
25 แผนการแก้ปัญหา ขั้นที่3 Create (C) เป็นขั้นที่นำเอาข้อมูล มาจัดเรียงให้เข้าใจได้ง่าย และขั้นที่ 4 Share (S) เป็นขั้นทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับข้อมูลที่ได้รับมา 5. แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับเทคนิคการระดมสมอง 5.1 ความหมายของการระดมสมอง วัชรา เล่าเรียนดี(2555) กล่าวว่าเทคนิคระดมสมอง เป็นเทคนิคส่งเสริมพัฒนาการคิดของได้ จำนวนมากในเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะเพื่อให้ได้ทางเลือกอย่างหลากหลายวิธีในระหว่างการระดมสมองไม่มี การประเมินหรือแสดงความคิดเห็นใด ๆเกี่ยวกับแนวคิดที่ทุกคนเสนอสามารถนำเทคนิคระดมสมองไปใช้ได้กับ ทุกขั้นตอนของกระบวนการแก้ปัญหา ประสาท อิสราปรีดา (2532) กล่าวว่าการระดมสมอง คือการที่คนจำนวนมาก เก็บข้อมูล เอาไว้และไม่แสดงความคิดเห็นนั้นออกมาเนื่องจากว่ากลัวผู้อื่นจะวิพากษ์วิจารณ์ฉะนั้นกลวิธีการระดมสมองนี้ จะไม่เริ่มด้วยการวิพากษ์วิจารณ์ในสิ่งที่สมาชิกในกลุ่มคิดขึ้นมาว่าเป็นสิ่งที่ดีหรือไม่ถูกต้องหากแต่พยายาม กระตุ้นให้ทุกคนคิดให้มากที่สุดเสียก่อนแล้วจึงมีการประเมินและสั่งขอความคิดเห็นเหล่านั้นในภายหลัง บุณย์ รัตนะปัญญา (2550) กล่าวว่า เป็นการที่คนสองคนหรือมากกว่านั้นร่วมกันใช้ จินตนาการเพื่อให้เกิดความคิดซึ่งเว็บขึ้นจากจิตเหนือสำนึกของแต่ละคนไปสู่จิตเหนือสำนึกของซึงกันและกัน เพื่อให้การแก้ปัญหาใดปัญหาหนึ่ง โดยเฉพาะซึ่งเป็นปัญหาที่คนทั้งกลุ่มได้ตระหนักว่าคืออะไรความคิดเห็นจะ ถูกเขียนลงบนกระดาษอย่างฉับพลันทันทีเมื่อมันมากระทบกับจิตของแต่ละคนและไม่ยอมให้เกิดการ วิพากษ์วิจารณ์หรือตกลงใจจนกว่าความเห็นทั้งหลายแต่ได้เขียนลงบนกระดาษทั้งหมดแล้วหลังจากนั้นความ คิดเห็นต่าง ๆ นั้นก็จะถูกวิเคราะห์กลั่นกรองและตัดสินเพื่อกำหนดคุณค่าและแนวทางปฏิบัติต่อไป จากการศึกษาแนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับ ความหมายของการระดมสมอง สามารถสรุปได้ว่าการ ระดมสมองหมายถึง การที่นำเอาความคิดของบุคคลหลายๆบุคคลเขียนลงบนกระดาษโดยยังไม่ผ่านการ กลั่นกรองหรือการตีคุณค่าเพื่อให้ได้ความคิดจำนวนมากแล้วจึงตัดสินคุณค่าร่วมกัน 5.2 หลักของการระดมสมอง Osborn (1987) กล่าวว่าหลักของการระดมสมอง ประกอบไปด้วย 1) ไม่มีการวิพากษ์วิจารณ์ความเห็นทั้งของตนและของผู้อื่น 2) พยายามหาคำตอบที่แปลกแตกต่างออกไป 3) พยายามหาคำตอบให้ได้มากที่สุด 4) พยายามดัดแปลงตกแต่งความคิดที่มีอยู่ อารีพันธ์มณี(2546) ได้นำเสนอหลักในการระดมสมองไว้ดังนี้ 1) ประวิงการตัดสินใจ 2) อิสระทางความคิด 3) ส่งเสริมปริมาณความคิด 4) การระดมสมองและปรุงแต่งความคิด
26 จากการศึกษาแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับหลักการระดมสมองสามารถสรุปได้ว่า หลักการระดมสมอง จะต้อง ปล่อยให้มีอิสระทางความคิด และพยายามหาคำตอบที่แปลกแตกต่างออกไป จากผู้อื่นและให้ได้ จำนวนคำตอบมากที่สุด เพื่อให้ได้มาซึ่งคำตอบที่มากและหลากหลาย 5.3 ขั้นตอนและคำถามที่ใช้ในการระดมสมอง Rawlinson (1998) กล่าวว่าขั้นตอนสำคัญ ของการระดมสมอง ประกอบไปด้วย 6 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่ 1 กำหนดพิจารณาปัญหาเป็นการแจ้งให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้รับทราบและร่วมกัน พิจารณาถึงปัญหาที่ต้องการจะแก้ไขว่าลักษณะของปัญหาเป็นอย่างไร ขั้นที่2 การทบทวนปัญหาพยายามหาวิธีการที่เป็นไปได้ในการแก้ปัญหาโดยพยายามตั้ง คำถามให้คิดว่า “อย่างไร” พร้อมทั้งเขียนประเด็นต่าง ๆ ที่เสนอไว้ ขั้นที่ 3 คัดเลือกประเด็นเบื้องต้นที่เป็นไปได้และเหมาะสมกับการแก้ปัญหาซึ่งอาจมีหลาย ประเด็นที่เป็นไปได้แต่อย่างไรก็ตามในขั้นตอนนี้ผู้นำการประชุมจะต้องพยายามให้สมาชิกคัดเลือกให้เหลือ เพียง 1 หรือ 2 ประเด็น ที่จะสามารถระดมสมองได้ ขั้นที่ 4 เร้าและกระตุ้นความสนใจในการประชุม คันนี้เป็นการกระตุ้นสร้างความสนใจให้ ผู้เข้าร่วมประชุมเกิดความเข้าใจในประเด็นที่จะระดมสมองกันในขั้นนี้อาจใช้เวลาเพียงสั้น ๆ คือไม่เกิน 5 นาที ขั้นที่ 5 ระดมความคิดระดมสมองเป็นการเริ่มระดมความคิดโดยผู้นำการประชุมอ่าน ประเด็นปัญหาที่เลือกไว้จากนั้นให้ผู้เข้าร่วมประชุมแสดงความคิดเห็นออกมาโดยผู้นำจะเขียนแนวคิดแต่ละคิด ไว้ซึ่งในขั้นตอนนี้แนวคิดทุกแนวคิดจะไหลออกมาอย่างอิสระเสรีไม่มีการคัดค้านใด ๆ ทั้งสิ้น ขั้นที่ 6 คัดเลือกแนวคิด เป็นขั้นสุดท้ายของการระดมสมองหลังจากผู้เข้าร่วมประชุมและ เสนอแนวคิด ต่าง ๆ มามากพอสมควรจะช่วยเหลือการคัดเลือกแนวคิดที่ไม่ค่อยดีไม่น่าจะเป็นไปได้ทิ้งให้เหลือ เฉพาะแนวคิดที่สามารถนำไปใช้แก้ปัญหาได้จริง ๆ เท่านั้น Maxim (1995) กล่าวว่าในการระดมสมองนั้นสิ่งจำเป็นและขาดไม่ได้อีกประการหนึ่งคือ คำถามหรือปัญหาที่ใช้ในการระดมสมองและให้แนวคิดเกี่ยวกับคำถามที่ใช้ในการระดมสมองว่าคำถามที่ดี สำหรับให้นักเรียนคิดในการระดมสมองนั้นควรเป็น หรือมีลักษณะอย่างไรดังต่อไปนี้ 1) คำถามเกี่ยวกับเรื่องใหม่ๆความคิดใหม่ๆเพื่อให้นักเรียนได้แสดงความคิดแปลกใหม่ และหลากหลาย 2) คำถามเกี่ยวกับการดัดแปลง เช่น “มีอะไรอีกมั้ยที่เหมือน” เราสามารถดัดแปลงสี รูปร่างเสียงได้อีกหรือไม่” 3) คำถามที่ใช้ขยายความคิดให้กว้างหรือขยายรายละเอียดเพิ่มมากขึ้น เช่น “เราสามารถ เพิ่มเติมอะไรได้อีก” 4) คำถามที่ให้กระชับลง เช่น “เราสามารถจะตัดอะไรทิ้งได้บ้าง”
27 5) คำถามเกี่ยวกับการแทนที่ เช่น “เราสามารถใช้อะไรทำอย่างเดียวกันนี่ด่าอีกบ้าง” “มี อุปกรณ์อื่นใดอีกบ้างที่เราจะสามารถนำมาใช้ได้” จากการศึกษาแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับ ขั้นตอนและคำถามที่ใช้ในการระดมสมองสามารถสรุปได้ ดังนี้ การใช้คำถามควรเป็นคำถามปลายปิด และครูค่อยๆสรุปรวบยอดประเด็นให้มีความกระชับมากขึ้น แล้ว ให้นักเรียนสามารถเลือกคำตอบที่มีความเหมาะสม และค่อย ๆ ตัดคำตอบหรือคำตอบที่ไม่สามารถเป็นไปได้ ลงจนเหลือคำตอบที่สามารถเป็นไปได้ซึ่งอาจมีหลายคำตอบ 6. การจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอน SSCS ร่วมกับเทคนิคระดมสมอง การจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนSSCS ประกอบไปด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 Search (S) เป็นขั้นการค้นหาข้อมูล ขั้นที่2 Solve (S) เป็นขั้นในการวางแผนการแก้ปัญหา ขั้นที่3 Create (C) เป็นขั้นที่นำเอาข้อมูล มาจัดเรียงให้เข้าใจได้ง่าย และขั้นที่ 4 Share (S) เป็นขั้นทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เกี่ยวกับข้อมูลที่ได้รับมา การระดมสมองหมายถึง การที่นำเอาความคิดของบุคคลหลายๆบุคคลเขียนลงบนกระดาษโดยยังไม่ ผ่านการกลั่นกรองหรือการตีคุณค่าเพื่อให้ได้ความคิดจำนวนมากแล้วจึงตัดสินคุณค่าร่วมกัน การจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอน SSCS ร่วมกับเทคนิคระดมสมอง หมายถึงการ จัดการเรียนรู้ที่นำการจัดการเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบการสอน SSCS มาเป็นหลักในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และนำเอาเทคนิคการระดมสมองมาประยุกต์ใช้ในขั้น Search เพื่อให้นักเรียนสามารถนำความรู้ มาจัด ระเบียบ ให้ได้ความคิดที่หลากหลาย และสามารถนำความรู้เหล่านั้นมาสรุปเป็นองค์ความรู้ใหม่ ที่จะใช้สู่ ความสามารถในการคิดแก้ปัญหา ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่ 1 Search (S) หมายถึงการค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับปัญหาและการแยกแยะประเด็นของ ปัญหาการแสวงหาข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับปัญหาซึ่งประกอบไปด้วย การระดมสมองเพื่อทำให้เกิดการแยกแยะ ปัญหาต่าง ๆ ช่วยผู้เรียนในด้านการมองเห็นความสัมพันธ์ของมโนมติต่าง ๆที่มีอยู่ในปัญหานั้นนั้นผู้เรียน จะต้องอธิบายให้ขอบเขตของปัญหาด้วยคำอธิบายจากความเข้าใจของผู้เรียนซึ่งจะต้องตรงกับจุดมุ่งหมายของ บทเรียนที่ตั้งไว้ในชั้นเรียนผู้เรียนจะต้องหาข้อมูลของปัญหาเพิ่มเติมโดยอาจหาจากการที่ผู้เรียนตั้งคำถามกับ ครูหรือเพื่อน การอ่านบทความในวารสารหรือหนังสือคู่มือต่าง ๆการสำรวจและอาจได้มาจากงานวิจัยตำรา ต่าง ๆ ขั้นที่ 2 Solve (S) หมายถึงการวางแผนและดำเนินการแก้ปัญหาด้วยวิธีต่าง ๆ หรือการหาคำตอบ ของปัญหาที่เราต้องการในขั้นนี้ผู้เรียนต้องวางแผนการแก้ปัญหารวมไปถึงการวางแผนการใช้เครื่องมือในการ แก้ปัญหาด้วยตนเองการหาวิธีในการแก้ปัญหาที่หลากหลายเพื่อนำไปสู่ปัญหาที่ถูกต้อง โดยนำข้อมูลที่ได้จาก ขั้นที่ 1 มาใช้ประกอบในการแก้ปัญหาขณะที่ผู้ดำเนินการแก้ปัญหาถ้าพบปัญหาผู้เรียนสามารถย้อนกลับไปที่ ขั้นที่ 1 ได้อีกหรือผู้เรียนอาจจะปรับปรุงแผน การของตนวางไว้โดยการประยุกต์วิธีต่าง ๆ มาใช้ร่วมกัน ขั้นที่ 3 Create (C) หมายถึงการนำเอาผลที่ได้มาจัดกระทำเป็นขั้นตอนเพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจและ เพื่อสื่อสารกับคนอื่นได้การนำข้อมูลที่ได้จากการแก้ปัญหาหรือวิธีการที่ได้จากการแก้ปัญหามาจัดให้อยู่ใน
28 รูปแบบของคำตอบ หรือวิธีการที่สามารถอธิบายให้เข้าใจได้ง่ายโดยอาจทำเป็นภาษาที่ง่ายสลวยมาขยายความ หรือตัดทอนคำตอบให้อยู่ในรูปแบบที่สามารถที่บ้านหรือสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจได้ง่าย ขั้นที่4 Share (S) หมายถึงการแลกเปลี่ยนความคิดเกี่ยวกับข้อมูลและวิธีการแก้ปัญหากันที่ให้ผู้ได้ แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับขั้นตอนหรือวิธีการที่ใช้ในการแก้ปัญหาทั้งของตนและผู้อื่นโดยที่ผู้เรียนแต่ละคน อาจใช้วิธีการที่แตกต่างกัน เจอคำตอบที่ได้อาจจะได้รับการยอมรับหรือไม่ได้รับการยอมรับก็ได้คำตอบที่ได้จะ มีการยอมรับและถูกต้องผู้เรียนจะมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการที่ใช้การหาคำตอบส่วนคำตอบหรือวิธีการ ไม่ได้รับการยอมรับผู้เรียนจะต้องร่วมกันพิจารณาว่าเกิดจากข้อผิดพลาดได้บ้างอาจจะทำผิดพลาดในขั้นตอน การวางแผนแก้ปัญหาหรือการแก้ปัญหาผิดพลาด 7. แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับความสามารถในการคิดแก้ปัญหา 7.1 ความหมายของความสามารถในการคิดแก้ปัญหา สำนักงานเลขาธิการการศึกษา (2550) ได้ให้ความหมายของทักษะกระบวนการแก้ปัญหาว่า เป็น กระบวนการทำงานที่สลับซับซ้อนของสมองที่ต้องอาศัยสติปัญญา ทักษะ ความรู้ ความเข้าใจ ความคิด การ รับรู้ ความชำนาญรูปแบบพฤติกรรมต่าง ๆ ประสบการณ์เดิมทั้งจากทางตรง เป็นการใช้ประสบการณ์ที่ค้นพบ ด้วยตนเองที่เกิดจากการสังเกต การเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การตีความ และการสรุปความเพื่อนำไปสู่ การแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผล สุกัญญา ศรีสาคร (2550) กล่าวว่า การแก้ปัญหา คือ การดำเนินการเพื่อให้บรรลุตามจุดมุ่งหมายที่ ต้องการโดยอาศัยความรู้ ประสบการณ์ และความคิด มาใช้แก้ปัญหาสถานการณ์ต่าง ๆ โดยในการแก้ปัญหา สถานการณ์ที่ซับซ้อนอย่างมีคุณภาพและประสบผลสำเร็จ จำเป็นต้องเลือกใช้วิธีการหรือกระบวนการในการ แก้ปัญหาที่ดีที่สุด ซึ่งครูผู้สอนสามารถพัฒนาทักษะกระบวนการแก้ปัญหาของผู้เรียนได้ โดใช้ระบบการสอนที่ มุ่งเน้นในเรื่องการพัฒนาทักษะกระบวนการแก้ปัญหา วัชรา เล่าเรียนดี (2552) ได้ให้ความหมายของการแก้ปัญหาไว้ว่า เป็นความสามารถในการเข้าใจ ปัญหา มองเห็นสาเหตุของปัญหา และผลที่จะเกิดจากปัญหานั้น รวมทั้งสามารถคิดหาวิธีการแก้ไขปัญหานั้น ๆ ได้อย่างมีเหตุผล ทักษะการแก้ปัญหาประกอบด้วย ทักษะการคิดหลายประเภท เช่น ทักษะการคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ การคาดคะเนเหตุผล รวมทั้งทักษะการเข้าใจกับปัญหา คิดหาทางแก้ไขปัญหาที่เป็นไปได้หลาย แนวทาง ประเมินผลแนวทางการแก้ปัญหา ทบทวนวิธีการแก้ปัญหา เป็นต้น ซึ่งขั้นตอนในการแก้ปัญหาอาจใช้ ขั้นตอนการวิจัยหรือขั้นตอนแบบวิทยาศาสตร์ก็ได้ เปลว ปุริสาร (2553) กล่าวว่า การแก้ปัญหา หมายถึง กระบวนการทำงานของสมองที่ต้องอาศัย ความรู้และประสบการณ์เดิมช่วยทั้งทางตรง และทางอ้อมมาจัดเรียงลำดับให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของ ปัญหา ในการพิจารณาโครงสร้างของปัญหา เพื่อหาแนวทางปฏิบัติเพื่อขจัดปัญหานั้นให้หมดไปและสามารถ บรรลุจุดมุ่งหมายที่ต้องการได้
29 จากการศึกษาความหมายของความสามารถในการคิดแก้ปัญหา สามารถสรุปได้ว่า หมายถึง การทำ ความเข้าใจปัญหาโดยการอาศัยประสบการณ์เดิม ร่วมกับ การเผชิญปัญหา จากประสบการณ์ใหม่ที่พบเจอ และต้องประเมินสถานการณ์ พร้อมทำทบทวนวิธีการแก้ปัญหา เพื่อให้ได้มาซึ่งแนวทางการแก้ไข โดยประกอบ ไปด้วยทักษะย่อยหลายทักษะ เช่น ทักษะการคิด ทักษะการวิเคราะห์ 7.2 ลักษณะของปัญหา วิชุดา กิจธรธรรม (2559) ได้กล่าวถึงการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อนำมาสู่การคิดแก้ปัญหาว่า ครูผู้สอนจำเป็นต้องเลือกปัญหาให้มีความเหมาะสมกับผู้เรียน ลักษณะของปัญหาที่สามารถนำมาใช้ ควรมีลักษณะดังนี้ 1. เป็นปัญหาปลายเปิดซึ่งเป็นปัญหาที่สร้างขึ้นให้มีคำตอบเปิดกว้างคำตอบ หรือมีแนวทาง วิธีการหา คำตอบได้หลายวิธี 2. แปลกใหม่ ซับซ้อน นักเรียนไม่คุ้นเคยมาก่อน 3. ดึงดูดความสนใจ ท้าทายความสามารถของนักเรียน 4. เกี่ยวข้องกับชีวิตจริงหรือมีความหมาย เหมาะกับระดับความสามารถของนักเรียน 5. มีความเชื่อมโยงกับบทเรียนสามารถหาคำตอบหรืออธิบายวิธีหาคำตอบได้โดยใช้ความรู้พื้นฐาน 6. เหมาะกับยุทธวิธีแก้ปัญหาที่จะแทนนำกับนักเรียนในบทเรียนนั้น ๆ 7. บางปัญหาสามารถสอดแทรกความรู้หรือใช้เป็นสื่อจุดประกายความรู้ทางสังคมศึกษาที่สูงขึ้น จากการศึกษาลักษณะของปัญหาดังข้างต้น สามารถสรุปได้ว่า ปัญหาจะต้องเป็นปัญหาปลายปืนที่มี คำตอบกว้างๆแปลกใหม่ดึงดูดความสนใจและเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันอีกทั้งยังสามารถเชื่อมโยงบทเรียน ให้ เข้ากับชีวิตประจำวันได้ 7.3 องค์ประกอบของกระบวนการคิดแก้ปัญหา ความสามารถในการแก้ปัญหา ต้องอาศัยองค์ประกอบหลายอย่างที่จะช่วยให้การแก้ปัญหาบรรลุได้ ตามจุดมุ่งหมายที่ต้องการ นักการศึกษาได้กล่าวไว้หลายท่านดังนี้ สุวิทย์ มูลคำ (2551) กล่าวถึง ลักษณะของกระบวนการคิดแก้ปัญหามี ดังนี้ 1. การแก้ปัญหา ต้องเป็นการกระทำที่มีจุดมุ่งหมาย การกระทำที่ขาดจุดมุ่งหมายไม่นับว่าเป็นการ แก้ปัญหา 2. การแก้ปัญหามีวิธีการหลายวิธี ผู้แก้ปัญหาจะต้องเลือกวิธีการที่มีความเหมาะสมกับความต้องการ และความสามารถของตน 3. วิธีแก้ปัญหาแต่ละปัญหาอาจจะใช้วิธีการที่แตกต่างกัน จะขึ้นอยู่กับความเหมาะสมปัจจัยหรือ บริบทที่เกี่ยวข้องกับปัญหานั้น ๆ 4. การแก้ปัญหาจะต้องอาศัยความรู้แจ้งเห็นจริง คือ ในการแก้ปัญหาแต่ละครั้งนั้นจะต้องศึกษา ปัญหาให้เข้าใจถ่องแท้เสียก่อนจึงจะสามารถแก้ปัญหานั้นได้
30 5. การแก้ปัญหาเป็นการสร้างสรรค์ คือ เมื่อแก้ปัญหานั้นได้สำเร็จจะต้องได้ความรู้ใหม่เกิดขึ้นและผู้ แก้ต้องมีสติปัญญางอกงามขึ้นด้วย 6. ปัญหาที่นำมาแก้ต้องไม่เป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นเป็นประจำ เพราะกิจกรรมที่เกิดขึ้นเป็นประจำนั้นไม่ ถือว่าเป็นปัญหา 7. กระบวนการที่กระทำไปโดยไม่มีแบบแผน ไม่ถือว่าเป็นกระบวนการ แก้ปัญหา 8. กิจกรรมที่นำมาใช้ในการแก้ปัญหาเดิมไม่ได้ ไม่ถือว่าเป็นกระบวนการแก้ปัญหา 9. กิจกรรมที่ทำไปเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหา ไม่ถือว่าเป็นกระบวนการแก้ปัญหา 10. การแก้ปัญหาย่อมประกอบด้วยการวิพากษ์ วิจารณ์ วิเคราะห์และสังเคราะห์ กรอสซินิเกิลและเบรกเนอร์ (Grossinickle and Brueckner 1959, อ้างถึงใน สุกัญญา ยุติธรรมนนท์, 2550) ได้กล่าวถึง องค์ประกอบของความสามารถในการแก้ปัญหา ดังนี้ 1. สภาพปัญหาที่เกิดขึ้นจะต้องมีความสัมพันธ์หรือเกี่ยวข้องกับเด็ก 2. เป็นปัญหาที่สามารถคิดหาแนวทางแก้ไขได้ 3. ปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นต้องอยู่ในขอบเขตที่ชัดเจน 4. เด็กจะสามารถเสนอแนะวิธีการที่สามารถเป็นไปได้ 5. เด็กจะได้รับการแนะนำจากครูในการวางแผนการแก้ปัญหา 6. การเก็บรวบรวมข้อมูล การจัดกระทำข้อมูลและการประเมินผล โดยใช้วิธีการต่าง ๆ 7. เด็กจะนำขั้นตอนการแก้ปัญหาที่เคยประสบมาแล้วใช้ในสถานการณ์ที่เป็นต้นกำเนิดของปัญหาที่ เกิดขึ้นต่อไป จอห์นสันและไรซิง (Johnson and Rising, 1969 อ้างถึงใน สุกัญญา ยุติธรรมนนท์, 2550) ให้ ความเห็นว่า กระบวนการแก้ปัญหาเป็นกระบวนการทางสมองที่ซับซ้อน ซึ่งมีองค์ประกอบ ดังนี้ 1. การมองเห็นภาพ (Visualizing) 2. การจินตนาการ (Imagining) 3. การจัดทำอย่างมีทักษะ (Manipulation) 4. การวิเคราะห์ (Analyzing) 5. การสรุปในเชิงนามธรรม (Abstracting) 6. การเชื่อมโยงความคิด (Association Ideals) ออซูเบล (Ausubel, 1968 อ้างถึงใน สุกัญญา ยุติธรรมนนท์, 2550) กล่าวว่าองค์ประกอบที่ทำให้ บุคคลแตกต่างกันในการแก้ปัญหา แบ่งออกได้ 3 ประการคือ 1. ความรู้ในเนื้อหาวิชาและความเคยชินในการคิดเกี่ยวกับเรื่องนั้น 2. การใช้แบบความคิดที่ไวต่อการแก้ปัญหา และความรู้ทั่ว ๆ ไปเกี่ยวกับวิธีการแก้ปัญหาที่มี ประสิทธิภาพ 3. คุณลักษณะทางบุคลิกภาพ เช่น แรงขับ ความมั่นคงในอารมณ์ ความวิตกกังวล
31 จากการศึกษาองค์ประกอบของกระบวนการคิดแก้ปัญหา สามารถสรุปได้ว่า องค์ประกอบที่สำคัญ และจำเป็นที่จะต้องนำมาใช้ในการคิดแก้ปัญหาของแต่ละบุคคลนั้น คือ คุณลักษณะทางบุคลิกภาพ วุฒิภาวะ ประสบการณ์ และระดับสติปัญญา ซึ่งจะทำให้บุคคลมีความสามารถ ในการแก้ปัญหาแตกต่างกัน 7.4 กระบวนการในการคิดแก้ปัญหา กรมวิชาการ (2542) ได้เสนอขั้นตอนในกระบวนการคิดแก้ปัญหาว่ามีทั้งหมด 5 ขั้นตอน ดังนี้ 1. สังเกต โดยการศึกษาข้อมูล รับรู้ ทำความเข้าใจ ตระหนักในปัญหา 2. วิเคราะห์ เป็นการอภิปรายแสดงความคิดเห็น แยกประเด็นปัญหา และจัดลำดับความสำคัญ 3. แสวงทางเลือก แสวงหาทางเลือกอย่างหลากหลาย ทดลอง ค้นคว้าตรวจสอบ 4. เก็บข้อมูล ประเมินทางเลือก โดยการปฏิบัติตามแผนบันทึก รายงานตรวจสอบ 5. สรุปด้วยการสังเคราะห์ Weir (1974 อ้างถึงใน ปราณี หีบแก้ว, 2552) ได้เสนอขั้นตอนในการแก้ปัญหาไว้ 4 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่ 1 การตั้งปัญหา เป็นความสามารถในการระบุขอบเขตของปัญหาตามสถานการณ์ที่กำหนดให้ ขั้นที่ 2 การวิเคราะห์ปัญหา เป็นความสามารถในการพิจารณาวิเคราะห์แยกแยะสาเหตุของปัญหาได้ ขั้นที่ 3 การเสนอวิธีการแก้ปัญหา เป็นความสามารถในการคิดค้น และเสนอวิธีการแก้ปัญหาจาก สาเหตุของปัญหา ขั้นที่ 4 การตรวจสอบผลลัพธ์ เป็นความสามารถในการอธิบายผลที่เกิดขึ้นหลังจากการเสนอวิธี แก้ปัญหา John Dewey (มปป. อ้างถึงใน ล้วน สายยศ, 2553) ได้เสนอวิธีการคิดแก้ปัญหาที่ปัจจุบันถือว่าเป็น วิธีการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ไว้ 5 ขั้นตอน ดังนี้ 1. กำหนดปัญหา เป็นขั้นที่ปรากฏความยุ่งยากเกิดเป็นปัญหาขึ้น 2. จํากัดขอบเขตของปัญหาและนิยามความยุ่งยาก เป็นขั้นของการสังเกต เก็บ รวบรวมข้อเท็จจริงและหาสาเหตุเพื่อช่วยให้ปัญหาชัดเจนขึ้น 3. เสนอแนะการแก้ปัญหา จากการเก็บรวบรวมข้อมูลข้างต้น ทำให้สามารถคาดคะเนคำตอบเกี่ยวกับ วิธีการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น การคาดคะเนคำตอบนี้จะต้องสอดคล้องกับข้อเท็จจริงที่เป็น สาเหตุของปัญหา 4. อนุมานเหตุผลในการแก้ปัญหาเป็นขั้นของการเก็บรวบรวมข้อมูล หรือหลักฐาน ต่าง ๆ เพื่อ นำไปใช้พิจารณาหาสาเหตุของปัญหาได้ 5. ทดสอบสมมติฐาน เป็นขั้นของการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อทดสอบดูว่าข้อเท็จจริงที่ได้เก็บรวบรวม ข้อมูลมา และวิธีแก้ปัญหาดังกล่าวเชื่อถือได้หรือไม่ Pearson and Dewey (มปป. อ้างถึงใน สุวิทย์ มูลคํา, 2550) ได้เสนอขั้นตอนของกระบวนการคิด แก้ปัญหาดังนี้ 1. การกำหนดปัญหา 2. การตั้งสมมติฐาน
32 3. การค้นหาหลักฐานเพื่อทดสอบสมมติฐาน 4. การประเมินความถูกต้องของสมมติฐาน 5. การปรับปรุงแก้ไขสมมติฐานถ้าจำเป็น 6. การนำข้อสรุปไปประยุกต์ใช้กับปัญหาที่คล้ายคลึงกัน ในงานวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้นำขั้นตอนในการแก้ปัญหาของ Weir (1974 อ้างถึงใน ปราณี หีบแก้ว, 2552) มาประยุกต์ใช้ในการศึกษาเพื่อออกแบบในการสร้างข้อสอบวัดความสามารถในการคิดแก้ปัญหา ซึ่ง ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 การตั้งปัญหา ขั้นที่ 2 การวิเคราะห์ปัญหา และขั้นที่ 3 การเสนอวิธีการ แก้ปัญหา โดยสามารถสรุปเป็นแผนภาพได้ ดังนี้ ภาพที่ 2 แผนภาพขั้นตอนในการแก้ปัญหาที่ใช้ในการวิจัย 8. แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 8.1 ความหมายของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบทดสอบนั้นความจริงมีการแบ่งแตกต่างกันมากมาย ขึ้นอยู่ว่าจะใช้เกณฑ์อะไรในการแบ่งประเภท ส่วนแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นการแบ่งตามจุดมุ่งหมายในการใช้ประโยชน์เป็นเกณฑ์ โดยมีผู้ กล่าวถึงความหมายของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไว้ ดังนี้ พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข (2548) กล่าวว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหมายถึง ขนาดของ ความสำเร็จที่ได้จากกระบวนการเรียนการสอน ปราณี กองจินดา (2550) กล่าว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง ความสามารถหรือผลสำเร็จที่ ได้รับจากกิจกรรมการเรียนการสอนเป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและประสบการณ์เรียนรู้ทางด้านพุทธิพิสัย จิตพิสัย และทักษะพิสัย และยังได้จำแนกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไว้ตามลักษณะของวัตถุประสงค์ของการเรียน การสอนที่แตกต่างกัน ไพโรจน์ คะเชนทร์ (2556) ได้ให้ความหมายของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไว้ว่า คือ คุณลักษณะ รวมถึง ความรู้ ความสามารถของบุคคลอันเป็นผลมาจากการเรียนการสอน หรือมวลประสบการณ์ทั้งปวงที่บุคคล ขั้นที่ 1 การตั้งปัญหา ขั้นที่ 2 การวิเคราะห์ปัญหา ขั้นที่ 3 การเสนอวิธีแก้ปัญหา
33 ได้รับจากการเรียนการสอน ทำให้บุคคลเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในด้านต่าง ๆ ของสมรรถภาพทาง สมอง ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นการตรวจสอบระดับความสามารถสมองของบุคคลว่าเรียนแล้วรู้อะไรบ้าง และมี ความสามารถด้านใดมากน้อยเท่าไร ตลอดจนผลที่เกิดขึ้นจากการเรียน การฝึกฝนหรือประสบการณ์ ต่าง ๆ ทั้งในโรงเรียน ที่บ้าน และสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ รวมทั้งความรู้สึก ค่านิยม จริยธรรมต่าง ๆ ก็เป็นผลมาจาก การฝึกฝนด้วย จากความหมายของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสามารถสรุปได้ว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน หมายถึง ความรู้ความสามารถของนักเรียน รวมถึงผลการเรียนรู้ของผู้เรียนที่ได้มาตามหลักการวัดและ ประเมินผล ที่ครอบคลุมทั้งด้านความรู้ความคิดหรือพุทธิพิสัย ด้านอารมณ์และความรู้สึกหรือจิตพิสัย และด้าน ทักษะปฏิบัติหรือทักษะพิสัยที่ผู้สอนกำหนดไว้ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง 8.2 ประเภทของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พวงรัตน์ ทวีรัตน์ (2549) ได้จัดประเภทแบบทดสอบไว้ 3 ประเภท ดังนี้ 1. แบบปากเปล่า เป็นการทดสอบที่อาศัยการซักถามเป็นรายบุคคล ใช้ได้ผลดีถ้ามีผู้เข้าสอบจำนวน น้อย เพราะต้องใช้เวลามาก ถามได้ละเอียด เพราะสามารถโต้ตอบกันได้ 2. แบบเขียนตอบ เป็นการทดสอบที่เปลี่ยนแปลงมาจากการสอบแบบปากเปล่า เนื่องจากจำนวนผู้ เข้าสอบมากและมีจำนวนจำกัด แบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ 2.1 แบบความเรียง หรืออัตนัย เป็นการสอบที่ให้ผู้ตอบได้รวบรวมเรียบเรียงคำพูดของตนเองใน การแสดงทัศนคติ ความรู้สึก และความคิดได้อย่างอิสระภายใต้หัวเรื่องที่กำหนดให้ เป็นข้อสอบที่สามารถ วัด พฤติกรรมด้านการสังเคราะห์ได้อย่างดี แต่มีข้อเสียที่การให้คะแนน ซึ่งอาจไม่เที่ยงตรง ทำให้มีความเป็นปรนัย ได้ยาก 2.2 แบบจำกัดคำตอบ เป็นข้อสอบ ที่มีคำตอบถูกใต้เงื่อนไขที่กำหนดให้อย่างจำกัด ข้อสอบแบบนี้ แบ่งออกเป็น 4 แบบ คือ แบบถูกผิด แบบเติมคำ แบบจับคู่ และแบบเลือกตอบ 3. แบบปฏิบัติ เป็นการทดสอบที่ผู้สอบได้แสดงพฤติกรรมออกมาโดยการกระทำหรือลงมือปฏิบัติ จริง ๆ เช่น การทดสอบทางดนตรี ช่างกล พลศึกษา เป็นต้น บุญชม ศรีสะอาด (2545) ได้จำแนกประเภทของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไว้ 2 ประเภทคือ 1. แบบทดสอบแบบอิงเกณฑ์ (Criterion Referenced Test) หมายถึง แบบทดสอบที่สร้างขึ้นตาม จุดประสงค์พฤตกรรม มีคะแนนจุดตัดหรือคะแนนเกณฑ์สำหรับใช้ตัดสินว่า ผู้สอบมีความรู้ตามเกณฑ์ที่กำหนด หรือไม่ การวัดตามจุดประสงค์เป็นหัวใจสำคัญของข้อสอบในแบบทดสอบประเภทนี้ 2. แบบทดสอบแบบอิงกลุ่ม (Norm Referenced Test) หมายถึง แบบทดสอบที่มุ่งสร้างเพื่อวัดให้ ครอบคลุมหลักสูตรจึงสร้างตารางวิเคราะห์หลักสูตร ความสามารถในการจำแนกผู้สอบตามความเก่งอ่านได้ดี เป็นหัวใจสำคัญของข้อสอบในแบบทดสอบประเภทนี้ การรายงานผลการสอบอาศัยคะแนนมาตรฐาน ซึ่งเป็น
34 คะแนนที่สามารถให้ความหมายแสดงถึงสถานภาพความสามารถของบุคคลนั้นเมื่อเปรียบเทียบกับบุคคลอื่น ๆ ที่ใช้เป็นกลุ่มเปรียบเทียบ ไพโรจน์ คะเชนทร์ (2556) ได้จัดประเภทของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1. แบบทดสอบที่ครูสร้างขึ้น เป็นแบบทดสอบที่ครูสร้างขึ้นเองเพื่อใช้ในการทดสอบผู้เรียนในชั้นเรียน แบ่งเป็น 2 ประเภท 1.1 แบบทดสอบปรนัย (Objective tests) ได้แก่ แบบถูก – ผิด (True-false) แบบจับคู่ (Matching) แบบเติมคำให้สมบูรณ์ (Completion) หรือแบบคำตอบสั้น (Short answer) และแบบเลือกตอบ (Multiple choice) 1.2 แบบอัตนัย (Essay tests) ได้แก่ แบบจำกัดคำตอบ (Restricted response items) และแบบ ไม่จำกัดความตอบ หรือ ตอบอย่างเสรี (Extended response items) 2. แบบทดสอบมาตรฐาน (Standardized tests) เป็นแบบทดสอบที่สร้าง โดยผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ ในเนื้อหา และมีทักษะการสร้างแบบทดสอบ มีการวิเคราะห์หาคุณภาพของแบบทดสอบ มีคำชี้แจงเกี่ยวกับ การดำเนินการสอบ การให้คะแนนและการแปลผล มีความเป็นปรนัย (Objective) มีความเที่ยงตรง (Validity) และความเชื่อมั่น (Reliability) แบบทดสอบมาตรฐาน ได้แก่ California Achievement Test, Iowa Test of Basic Skills, Standford Achievement Test และ the Metropolitan Achievement tests เป็นต้น โดยแบบทดสอบทั้ง 2 ประเภทนี้จะถามเนื้อหาเหมือนกัน คือ ถามสิ่งที่ผู้เรียนได้รับจากการเรียนการ สอนซึ่งจัดกลุ่มพฤติกรรมได้ 6 ประเภท คือ ความรู้ ความจำ ความเข้าใจ การนำไปใช้ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ และการประเมิน ซึ่งการศึกษาในครั้งนี้ ผู้วิจัยได้เลือกแบบทดสอบอิงเกณฑ์ ( Criterion Referenced Test) เพื่อใช้ตัดสินว่ากลุ่มเป้าหมายมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้หรือไม่ ดังนั้นผู้วิจัยจึงได้ ทำการศึกษาวิธีการสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบอิงเกณฑ์ โดยจะกล่าวในหัวข้อถัดไป 8.3 การสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบอิงเกณฑ์ บุญชม ศรีสะอาด (2545) ได้กล่าวถึงขึ้นตอนการสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบอิง เกณฑ์สรุปได้ดังนี้ 1. วิเคราะห์จุดประสงค์เนื้อหาวิชา ในขั้นแรกจะต้องทำการวิเคราะห์ดูว่ามีหัวข้อ เนื้อหาใดบ้างที่ ต้องการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และที่จะต้องวัด แต่ละหัวข้อเหล่านั้นต้องการให้ผู้เรียนเกิดพฤติกรรมหรือ สมรรถภาพอะไร กำหนดออกมาให้ชัดเจน 2. กำหนดพฤติกรรมย่อยที่จะออกข้อสอบขั้นแรก โดยพิจารณาต่อไปว่าจะมีพฤติกรรมย่อยอะไรบ้าง อย่างละกี่ข้อ พฤติกรรมย่อยดังกล่าวคือจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมนั่นเอง เมื่อกำหนดจำนวนข้อที่ต้องการจริง เสร็จแล้ว ต่อมาพิจารณาว่าจะต้องออกข้อสอบเกินไว้กี่ข้อควรออกเกินไว้ไม่ต่ำกว่า 25% ทั้งนี้เนื่องจาก
35 หลังจากที่นำไปทดลองใช้และวิเคราะห์หาคุณภาพของข้อสอบรายข้อแล้วจะตัดข้อที่มีคุณภาพไม่เข้าเกณฑ์ ออก ข้อสอบที่เหลือได้ไม่น้อยกว่าจำนวนที่ต้องการจริง 3. กำหนดรูปแบบของข้อความและศึกษาวิธีเขียนข้อสอบ ขั้นตอนนี้จะเป็นการตัดสินใจว่าจะใช้ คำถามรูปแบบใด และศึกษาวิธีเขียนข้อสอบ เช่น ศึกษาหลักในการเขียนข้อคำถามแบบนั้น ๆ ศึกษาเทคโนโลยี การเขียนข้อสอบ เพื่อที่จะได้นำมาใช้ในการเขียนข้อสอบของตน 4. ลงมือเขียนข้อสอบตามจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม โดยดำเนินการตามตารางที่ได้กำหนดจำนวน ข้อสอบของแต่จุดประสงค์เชิงพฤติกรรมไว้ และในรูปแบบเทคนิคการเขียนข้อสอบตามที่ได้ศึกษาในขั้นตอนที่ กำหนดรูปแบบ 5. การตรวจทานข้อสอบ โดยการนำข้อสอบที่ได้เขียนไว้แล้วมาพิจารณาทบทวนอีกครั้งหนึ่ง โดย พิจารณาความถูกต้องตามหลักวิชาว่าแต่ละข้อวัดพฤติกรรมย่อยหรือจุดประสงค์เชิงพฤตกรรมที่ต้องการ หรือไม่ ภาษาที่ใช้เขียนมีความชัดเจนเข้าใจง่ายหรือไม่ ตัวถูกตัวลวงเหมาะสมเข้าเกณฑ์หรือไม่ ทำการปรับปรุง ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น 6. ให้ผู้เชี่ยวชาญพิจารณาความเที่ยงตรงตามเนื้อหา โดยการนำจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมและข้อสอบ ที่วัดแต่ละจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมไปให้ผู้เชี่ยวชาญด้านการวัดผล และด้านเนื้อหาจำนวนไม่ต่ำกว่า 2 คน พิจารณาว่าข้อสอบแต่ละข้อวัดตามจุดประสงค์ที่ระบุเอาไว้นั้นหรือไม่ 7. พิมพ์แบบทดสอบฉบับทดลอง โดยการนำข้อสอบทั้งหมดที่ผ่านการพิจารณาว่าเหมาะสมเข้าเกณฑ์ ในข้อ 6 แล้วมาพิมพ์แบบทดสอบ มีคำชี้แจงเกี่ยวกับแบบทดสอบวิธีตอบ จัดวางรูปแบบการพิมพ์ 8. ทดลองใช้ วิเคราะห์คุณภาพและปรับปรุง โดยการนำแบบทดสอบไปทดลองสอบกลุ่มที่คล้ายกับ กลุ่มตัวอย่างจริง จำนวน 50 คนหรือมากกว่า โดยสอบในชั่วโมงแรกของวิชานั้นเรียกว่าการสอบก่อนเรียน และนำแบบทดสอบเดิมมาสอบกับกลุ่มตัวอย่างเดิมอีกครั้งหนึ่งหลังจากที่เรียนวิชานั้นจบแล้วเรียนว่าการสอบ หลังเรียนนำเอาผลการสอบสองครั้งมาวิเคราะห์หาค่าอำนาจจำแนกของข้อสอบรายข้อโดยใช้วิธีวิเคราะห์ตาม แบบอิงเกณฑ์คัดเลือกข้อสอบที่มีอำนาจจำแหนเข้าเกณฑ์ตามจำนวนที่ต้องการหาค่าความเชื่อมั่นแบบอิง เกณฑ์ 9. พิมพ์แบบทดสอบฉบับจริง โดยการนำข้อสอบที่มีค่าอำนาจจำแนกเข้าเกณฑ์จากผลการวิเคราะห์ ในขั้นตอนที่ 8 มาพิมพ์เป็นแบบทดสอบฉบับจริงต่อไปโดยเน้นความถูกต้อง จากการศึกษาขึ้นตอนการสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบอิงเกณฑ์ สามารถสรุปได้ ว่า ผู้วิจัยต้องดำเนินการวิเคราะห์เนื้อหาวิชา กำหนดรูปแบบ จุดประสงค์ โดยต้องออกแบบตารางการสร้าง แบบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อน จากนั้นจึงเริ่มเขียนข้อคำถามตามที่ได้ออกแบบไว้ และนำไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจ และ นำไปทดลองใช้ก่อนที่จะนำไปใช้ในการเก็บข้อมูลจริง
36 8.4 พฤติกรรมการศึกษาด้านพุทธิพิสัยหรือสติปัญญา บูมและคณะ (Bloom and Other, 1956 อ้างถึงใน สมชาย วรกิจเกษมสกุล, 2552) ได้นำเสนอสาร ระบบจำแนกจุดประสงค์ทางการศึกษา (Taxonomy of Educational Objective) ที่ใช้เป็นแนวทางในการใช้ วัดและประเมินผลด้านพุทธิพิสัยหรือสติปัญญาของผู้เรียน โดยได้จำแนกสติปัญญาของมนุษย์ตามลำดับของ ความซับซ้อนของกระบวนการเป็น 6 ระดับ ดังนี้ 1. ความรู้ (Knowledge) เป็นความสามารถของผู้เรียนในการจดจำ ระลึกได้ของเนื้อหาสาระที่ได้ เรียนรู้ผ่านมาแล้วถ่ายทอดสู่ผู้อื่นได้อย่างถูกต้อง แม่นยำและชัดเจน โดยสามารถจำแนกได้ ดังนี้ 1.1 ความรู้ด้านเนื้อหา (Knowledge of Specifics) เป็นความสามารถในการจดจำเนื้อหาสาระใน เนื้อเรื่องที่ได้เรียนรู้ สามารถจำแนกได้ดังนี้ - ความรู้เกี่ยวกับศัพท์และนิยาม (Knowledge of Terminology) เป็นความสามารถในการ จดจำสัญลักษณ์ ศัพท์ หรือนิยาม ที่กำหนดไว้เพื่อใช้ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ตัวอย่างคำถาม การวัดผล แปลว่า อะไร เป็นต้น - ความรู้เกี่ยวกับข้อเท็จจริง (Knowledge of Specific Facts) เป็นความสามารถในการ จดจำสิ่งที่เป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นและเรียนรู้มาแล้ว อาทิ วัน เดือน ปี สถานที่ บุคคล หรือ เหตุการณ์ ฯลฯ ตัวอย่างคำถาม ก๊าซที่มนุษย์หายใจออก คือ ก๊าซอะไร เป็นต้น 1.2 ความรู้เกี่ยวกับวิธีดำเนินการในเนื้อหา (Knowledge of Ways and Means of Dealing with Specifics) เป็นความสามารถในการจดจำวิธีการ ลำดับขั้นตอน เกณฑ์ หรือการจำแนก ประเภท สามารถ จำแนกได้ดังนี้ - ความรู้เกี่ยวกับระเบียบประเพณี (Knowledge of Conventions) เป็นความสามารถในการจดจำ ประเพณี วัฒนธรรม ธรรมเนียมหรือสิ่งที่กระทำกันในสังคมเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือในเนื้อหาวิชา ตัวอย่างคำถาม แสตมป์ของไปรษณีย์จะติดที่ส่วนใดของซองจดหมาย เป็นต้น - ความรู้เกี่ยวกับแนวโน้มและลำดับขั้น (Knowledge of Trends and Sequences) เป็น ความสามารถในการจดจำในส่วนที่เกี่ยวข้องกับแนวโน้มหรือลำดับขั้นตอนเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ตัวอย่างคำถาม บุคคลที่สูบบุหรี่ส่วนมากจะเป็นโรคอะไร เป็นต้น - ความรู้เกี่ยวกับการจำแนกประเภท (Knowledge of Classifications and Categories) เป็น ความสามารถในการจดจำประเภท หรือการจัดกลุ่มของเนื้อหาที่ได้เรียนรู้มาแล้ว ตัวอย่างคำถาม พืชประเภท ใดไม่มีรากแก้ว - ความรู้เกี่ยวกับเกณฑ์ (Knowledge of Criteria) เป็นความสามารถในการจดจำกฎเกณฑ์ในการเกิด หลักการ ความคิดรวบยอด ความคิดเห็นและอื่น ๆ ตัวอย่างคำถาม เพราะเหตุใด จึงทราบว่าน้ำจากก้นมดแดง มีฤทธิ์เป็นกรด เป็นต้น - ความรู้เกี่ยวกับวิธีการ (Knowledge of Methodology) เป็นความสามารถในการจดจำวิธีการ แสวงหาความรู้ เทคนิควิธีการ และกระบวนการต่าง ๆ ที่ได้เรียนรู้มาแล้ว ตัวอย่างคำถาม วิธีการทาง ประวัติศาสตร์คืออะไร เป็นต้น
37 1.3 ความรู้เกี่ยวกับความคิดรวบยอด (Knowledge of Universals and Abstraction in a Field) เป็นความสามารถในการจดจำขั้นสูง จำแนกได้ดังนี้ - ความรู้เกี่ยวกับหลักวิชาและการสรุปอ้างอิงทั่วไป (Knowledge of Principles and Generalizations) เป็นความสามารถในการจดจำหลักวิชาและการสรุปอ้างอิงทั่วไปในหลักวิชานั้น ๆ ตัวอย่าง คำถาม สมการทางเคมีที่มีปฏิกิริยาให้เกิดน้ำ คือ สมการใด เป็นต้น - ความรู้เกี่ยวกับทฤษฎีและโครงสร้าง (Knowledge of Theories and Structures) เป็น ความสามารถในการจดจำทฤษฎีและโครงสร้างของสิ่งที่เรียนรู้มาแล้ว ตัวอย่างคำถาม ในการเดินขบวนของ ชาวบ้านเพื่อประท้วงรัฐบาลสามารถอธิบายปรากฏการณ์ดังกล่าวด้วยทฤษฎีใดได้บ้าง เป็นต้น 2. ความเข้าใจ (Comprehension) เป็นความสามารถในการแปลความ ตีความ และขยายความจาก สื่อความที่ได้พบเห็นได้อย่างสมเหตุสมผล สามารถจำแนกได้ดังนี้ 2.1 การแปลความ (Translation) เป็นความสามารถในการถ่ายโยงความหมายจากภาษาที่เข้าใจยาก ในเรื่องหรือประเด็นนั้น ๆ ให้เป็นภาษาที่สามารถเข้าใจได้ง่ายขึ้น ตัวอย่างเช่น จุดไต้ตำตอ หมายความว่า อย่างไร เป็นต้น 2.2 การตีความ (Interpretation) เป็นความสามารถในการสรุปความ หรือพิจารณาในภาพรวมให้ เป็นประโยคใจความสั้นๆ ที่มีความหมาย ตัวอย่างคำถาม พระเจ้าตากสินมหาราชเป็นบุคคลลักษณะใด เป็น ต้น 2.3 การขยายความ (Extrapolation) เป็นความสามารถในการคาดคะเนข้อเท็จจริงล่วงหน้าโดยใช้ แนวโน้มของสถานการณ์ที่เกิดขึ้นแล้ว ตัวอย่างคำถาม ถ้าประเทศไทยประสบปัญหาน้ำมันขาดแคลนจะส่งผล อย่างไรต่อภาคเศรษฐกิจ เป็นต้น 3. การนำไปใช้ (Application) เป็นความสามารถในการนำความรู้หลักวิชาหรือทฤษฎีไปใช้แก้ปัญหา ในสถานการณ์ใหม่ที่ไม่เคยเรียนหรือไม่คุ้นเคย โดยจำแนกลักษณะคำถามที่ใช้ 5 ลักษณะดังนี้ 3.1 ถามความสอดคล้องกันระหว่างหลักวิชาและการปฏิบัตินั้น ๆ ตัวอย่างเช่น พ่อค้าขายทรายใช้ หลักการเดียวกับการขายอะไร เป็นต้น 3.2 ถามขอบเขตของการใช้หลักวิชาและการปฏิบัติ ตัวอย่างคำถาม เครื่องมือประเภทนี้เหมาะสมกับ งานชนิดใด เป็นต้น 3.3 ถามให้อธิบายหลักวิชาว่าเหตุการณ์นั้นเกิดจากอะไร เพราะเหตุใด ตัวอย่างคำถาม ถ้าท่านไม่มี อาหารประเภทเนื้อสัตว์รับประทาน ท่านจะได้รับประทานอาหารอะไรทดแทน เพื่อให้ได้รับคุณค่าของอาหาร เหมือนเดิม เป็นต้น 3.4 ถามเหตุผลของการปฏิบัติ เป็นการตรวจสอบเหตุผลที่แท้จริงว่าจะปฏิบัติอย่างไร และเพราะเหตุ ใด ตัวอย่างคำถาม ชาวสวนนิยมขยายพันธุ์ต้นมะม่วง ด้วยวิธีการใด เพราะเหตุใด เป็นต้น 4. การวิเคราะห์ (Analysis) เป็นความสามารถในการจำแนกแยกแยะ เพื่อหาส่วนประกอบย่อย ๆ ของเหตุการณ์ ว่ามีประเด็นที่สำคัญคืออะไร แต่ละประเด็นมีความสัมพันธ์กันอย่างไร และใช้หลักการอะไร สามารถจำแนกได้ดังนี้
38 4.1 การวิเคราะห์ความสำคัญ (Analysis of Elements) เป็นความสามารถในการจำแนกความสำคัญ ของประเด็นในเหตุการณ์ เหตุผล ตัวอย่างคำถาม ในศีลข้อ 5 ข้อใดเป็นข้อที่สำคัญที่สุด เป็นต้น 4.2 การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ (Analysis of Relationships) เป็นความสามารถในการจำแนก ความสัมพันธ์หรือความเกี่ยวข้องของเหตุการณ์ย่อย ๆ เพื่อนำมาอุปมาอุปไมย ตัวอย่างคำถาม เพราะเหตุใด แสงจึงมีความเร็วมากกว่าเสียง เป็นต้น 4.3 การวิเคราะห์หลักการ (Analysis of Organizational Principles) เป็นความสามารถในการระบุ หลักการที่ใช้เชื่อมโยงเหตุการณ์ย่อย ๆ ให้อยู่กันเป็นระบบ ตัวอย่างคำถาม หลักการที่ใช้ทำให้รถยนต์วิ่งได้ คือ หลักการใด เป็นต้น 5. การสังเคราะห์ (Synthesis) เป็นความสามารถในการผสมผสานส่วนย่อย ๆ เพื่อให้เกิด องค์ประกอบใหม่ที่มีโครงสร้างใหม่ สามารถจำแนกได้ดังนี้ 5.1 การสังเคราะห์ข้อความ (Production of Unique Communication) เป็นความสามารถในการ สังเคราะห์ข้อความเพื่อหาข้อสรุปร่วมกันโดยการพูด การเขียน หรือวิพากษ์วิจารณ์ ตัวอย่างคำถาม ให้ผู้เรียน เขียนเรียงความเรื่อง “คุณลักษณะของนักเรียนไทยในอนาคต” เป็นต้น 5.2 การสังเคราะห์แผนงาน (Production of Plan and Proposed Set of Operations) เป็น ความสามารถในการกำหนดแนวทางและขั้นตอนการปฏิบัติงานใหม่หรือการสังเคราะห์ แผนงานเดิมเพื่อจัดทำ แผนงานใหม่ที่ช่วยให้การดำเนินงานสอดคล้องกับเกณฑ์และมาตรฐานได้ดีกว่าเดิม ตัวอย่างคำถาม ผู้เรียนจะ วางแผนอย่างไรจึงจะทำให้เรียนเก่ง เป็นต้น 5.3 การสังเคราะห์ความสัมพันธ์ (Derivation of a Set of Abstract Relations) เป็นความสามารถ ในการนำแนวคิดย่อย ๆ มาสัมพันธ์กันอย่างสมเหตุสมผลจนเปลี่ยนเป็น สมมติฐาน กฎ หรือทฤษฎี ตัวอย่าง คำถาม ให้ผู้เรียนได้กำหนดสมมติฐานในปัญหาการวิจัยที่จะดำเนินการ หรือให้สรุปผลที่ได้ตามจุดประสงค์ที่ กำหนดไว้ เป็นต้น 6. การประเมินค่า (Evaluation) เป็นความสามารถในการพิจารณาตัดสินคุณค่า เช่น ดี-เลว, เหมาะไม่เหมาะ ฯลฯ โดยการนำมาเปรียบเทียบเกณฑ์มาตรฐาน จำแนกได้ดังนี้ 6.1 การประเมินค่าโดยใช้เกณฑ์ภายใน (Judgment in Terms of Internal Evidence) เป็น ความสามารถในการพิจารณาความถูกต้อง ความสมเหตุสมผล หรือความสอดคล้องโดยใช้เกณฑ์ภายในของ ประเด็นนั้น ๆ เป็นสำคัญ ตัวอย่างคำถาม การปฏิบัติได้ผลตรงตามเป้าหมายมากหรือน้อยเพียงใด หรือการ เลือกใช้วิธีการที่เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นหรือไม่ เป็นต้น 6.2 การประเมินค่าโดยใช้เกณฑ์ภายนอก (Judgment in Terms of External Evidence) เป็น ความสามารถในการพิจารณาความถูกต้อง ความสมเหตุสมผล หรือความสอดคล้องโดยใช้เกณฑ์ภายนอกที่ สังคม หรือระเบียบประเพณีที่กำหนดไว้ ตัวอย่างคำถาม สิ่งที่ดำเนินการให้ประโยชน์ต่อสังคมในด้านใดบ้าง หรือผลที่ได้รับมีความสอดคล้องกับหลักการที่กำหนดให้หรือไม่ อย่างไร เป็นต้น
39 ทั้งนี้พฤติกรรมด้านสติปัญญาตามลำดับขั้นนั้นสามารถเปลี่ยนให้อยู่ในระดับที่สูงกว่าได้ โดยการใช้ ภาษาหรือคำถามที่เหมาะสม และจากการศึกษาพฤติกรรมการศึกษาด้านพุทธิพิสัยหรือสติปัญญาจะถูก นำไปใช้ในการสร้างเครื่องมือแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบวัดท้ายวงจร 8.5 ลักษณะของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ที่ดี ภัทรา นิคมมานนท์ (2540) ได้กล่าวว่า เครื่องมือวัดคุณลักษณะใดก็ตามควรเป็นเครื่องมือที่มี คุณลักษณะที่ดีเพราะผลการวัดจะเป็นตัวแทนคุณลักษณะของสิ่งนั้น ถ้าเครื่องมือไม่มีคุณภาพ ผลการวัดก็จะ เชื่อถือไม่ได้ ในการเรียนการสอนก็เช่นกัน การทำแบบทดสอบที่มีคุณภาพจะทำให้คะแนนที่ได้จากการวัดมี ความหมายและมีความยุติธรรม ดังนั้นครูจึงควรทราบถึงลักษณะของข้อสอบที่ดี ดังนี้ 1.1 ความตรงตามเนื้อหา (Content Validity) คือ แบบทดสอบสามารถวัด สมรรถภาพทางสมองด้าน ต่าง ๆ ได้ตรงตามที่ระบุไว้ในหลักสูตร 1.2 ความเที่ยงตรงตามโครงสร้าง (Construct Validity) คือ แบบทดสอบวัดสมรรถภาพทางสมอง ด้านต่าง ๆ ได้ตรงตามที่ระบุไว้ในหลักสูตร เช่น สมรรถภาพด้านการคำนวณจะมีหลายสมรรถภาพ ถ้า แบบทดสอบครอบคลุมสมรรถภาพดังกล่าวก็จัดว่ามีความเที่ยงตรงตามโครงสร้าง 1.3 ความตรงตามสภาพ (Concurrent Validity) หมายถึง ลักษณะของแบบทดสอบที่วัดได้ตรงตาม สภาพความเป็นจริงของผู้ถูกทดสอบ เช่น นาย ก.สามารถทำโจทย์บวกลบมาตราเงิน ได้ดีจะสามารถคิดเงิน ทอนได้เช่นกัน ความตรงตามสภาพเราไม่สามารถวัดได้จริง แต่เราต้องนำคะแนนของเด็กไปเปรียบเทียบกับ สภาพจริงเพื่อดูว่าสอดคล้องกันหรือไม่ 1.4 ความตรงเชิงทำนาย (Predictive Validity) หมายถึง ความสามารถของแบบทดสอบที่สามารถ ใช้ผลการสอบในปัจจุบันไปใช้ทำนายอนาคตเป็นการให้คะแนนได้สอดคล้องกับผลการเรียนภายหน้า เช่น คนที่ สอบได้คะแนนสูงในหมวดคำนวณหรือทางช่างก็สามารถคะเน ได้ว่าเขาจะเป็นผู้มีความสามารถในทางวิชาชีพ ช่างหรือด้านวิศวกรในอนาคต เป็นต้น 1.5 ความเที่ยง (Reliability) คือ ความคงเส้นคงวาของคะแนนจากการสอบ การหาค่าความเที่ยงของ แบบทดสอบเป็นการหาตัวบ่งชี้เพื่อบอกให้เราทราบว่าแบบทดสอบนั้น มีความคงที่ในการวัดหรือสามารถรักษา สภาพตำแหน่งของคะแนนสอบของนักเรียนแต่ละคนไว้ได้มากน้อยเพียงใด 1.6 ความเป็นปรนัย (Objectivity) คือ ความแจ่มชัดในคำถาม ทุกคนอ่านแล้วเข้าใจตรงกันมีการ แปลความหมายของคะแนนองที่แน่นอน เช่น ถ้าตอบถูกได้ 1 คะแนน ไม่ว่าใคร จะตรวจก็ตาม 1.7 ความชัดเจน (Comprehensiveness) คือ ความเข้าใจถูกต้องชัดเจนตรงกับจุดประสงค์ของ ผู้ถาม เมื่อผู้สอบอ่านคำถามแล้วเข้าใจความหมายได้แจ่มชัด ไม่กำกวม 1.8 ระดับความยากของแบบทดสอบ (Level of Difficulty) คือ แบบทดสอบที่มีความยากง่าย พอเหมาะกับระดับความรู้ของผู้สอบ โดยทั่วไปแบบทดสอบควรมีความยากง่ายปานกลาง