The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by wonchai890, 2022-08-01 00:51:24

หนังสือ วิสัชนาธรรม เล่ม 2

พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต

วสิ ัชนำธรรม เลม‹ ๒

สนทนาปญั หาธรรม
โดย ทา่ นพระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
วดั ญาณสังวรารามฯ จังหวัดชลบรุ ี

วสิ ชั นำธรรม เลม‹ ๒

โดย ท่านพระอาจารย์สชุ าติ อภชิ าโต
ISBN : 978-616-593-546-3
พิมพ์ครง้ั ท่ี ๑ : สงิ หาคม ๒๕๖๕
จ�านวน : ๒,๓๐๐ เล่ม
จดั พมิ พโ์ ดย : คณะศิษยานุศษิ ย์

พิมพแจกเปนธรรมทาน
หา มจําหนา ย

พระอาจารย์สุชาต ิ อภชิ าโต.
วิสชั นาธรรม เลม่ ๒.-- ชลบุรี : วัดญาณสังวรารามวรมหาวหิ าร, 2565.
176 หนา้ .
1. พทุ ธศาสนา--คา� ถามและค�าตอบ. I. ชอ่ื เรื่อง.
294.3076
ISBN 978-616-593-546-3

พิมพ์ท ่ี : บรษิ ัท ศิลปส ยามบรรจุภัณฑแ์ ละการพมิ พ์ จ�ากดั
Tel. ๐-๒๔๔๔-๓๓๕๑-๒ Fax. ๐-๒๔๔๔-๐๐๗๘
E-mail: [email protected]

ค�ำนำ�

สรรพสิ่งทั้งหลายมีการเปลี่ยนแปรทุกเวลา
เปน็ สัจธรรมทพี่ ระพุทธองค์ตรสั ไว้

เดิมท่านพระอาจารย์สุชาติอบรมธรรม ณ ศาลา
บนเขาชีโอนทุกๆ บ่าย หากโควิดท�ำให้ทุกอย่างหยุดลง
ขณะเดยี วกนั ทางโลกเริ่มเข้ายคุ ดิจทิ ลั การแสดงธรรมจึง
ใชร้ ะบบออนไลน์ นายแพทยว์ รี ะพนั ธ์ สวุ รรณนามยั (Dr.V)
จึงเริ่มท�ำรายการค�ำถามค�ำตอบจากท่านอาจารย์ข้ึน
นับแตป่ ี ๖๔

คำ� ถามถามโดยผไู้ มร่ หู้ รอื รจู้ ากความจำ� หากคำ� ตอบ
ตอบโดยผรู้ ซู้ ง่ึ รจู้ ากความจรงิ เปน็ วมิ ตุ ติ คำ� ตอบนน้ั จงึ เปน็
ประโยชนย์ ง่ิ ตอ่ ใจทกุ ดวง แมเ้ รมิ่ ดว้ ยสตุ ตมยปญั ญากต็ าม
คำ� ถามคำ� ตอบจงึ ควรกบั การพมิ พร์ กั ษาไวเ้ ปน็ มรดกธรรม

โดยหวงั ว่าใจทกุ ๆ ดวงเมอ่ื อ่านพบ จักเดนิ ตามรอย
ธรรมของทา่ นอาจารยอ์ ยา่ งสขุ ใจยงิ่

คณะศษิ ยานุศิษย์

สารบัญ

หนา้ ความสขุ ทางพระพทุ ธศาสนา
การท�ำบญุ สร้างบารมี
๐๕ ศีล
๑๙ สติ-สมาธิ, การปลีกวเิ วก
๓๕ ปญั ญา
๔๑ อนจิ จัง ทกุ ขัง อนัตตา
๘๕ การแก้นสิ ยั ละกิเลส ธรรมผ้คู รองเรอื น
๑๑๑ พระอริยบุคคล
๑๒๗ ปกณิ กธรรม
๑๓๗
๑๕๑

ความสุขทางพระพุทธศาสนา

ควำมสุขทำงพระพุทธศำสนำ

รายการสนทนาธรรมกบั ทา่ นพระอาจารย์สชุ าติ อภิชาโต
โดย Dr.V (นายแพทย์วีระพนั ธ ์ สุวรรณนามัย)

5

วิสัชนาธรรม เล่ม ๒

ความสขุ แทก้ ค็ ือ
ความสขุ ท่ไี มม่ คี วามทุกขต์ ามมา

ในขัน้ ท่ยี ังเส่ือมไดอ้ ยู่
แล้วกข็ ั้นท่ไี ม่เส่ือม
ก็เป็นความสขุ ทีถ่ าวร

6

ความสุขทางพระพุทธศาสนา

ถาม: ทุกคนท่ีเกิดมา ล้วนแต่เกิดมาแล้วก็แสวงหา
ความสุข แล้วความสขุ ในทางพระพุทธศาสนาน่ี มองเรื่อง
ของความสุขว่าอยา่ งไร ความสขุ คอื อะไร
ตอบ: ความสุขคือความสบาย ความไม่มีทุกข์ ในทาง
ศาสนาน้ี ความสุขอยู่ท่ีใจท่ีสงบ เป็นความสุขที่แท้จริง
เป็นความสุขท่ีปราศจากความทุกข์ เป็นความสุขที่
เหนือกว่าความสุขทั้งปวง ดังท่ีทรงตรัสรู้ว่า “นัตถิ
สนั ตปิ ะรัง สขุ งั ” สขุ อืน่ ทีเ่ หนอื กว่าความสงบไมม่ ี คา� ว่า
“สขุ อนื่ ” กค็ อื สขุ ทไ่ี ดจ้ ากลาภยศสรรเสรญิ การเสพสมั ผสั
รูปเสยี งกลิ่นรสโผฏฐัพพะชนดิ ต่างๆ ความสขุ เหล่านเ้ี ป็น
ความสุขปลอม เพราะเป็นความสุขช่ัวคราว ความสุข
ทเี่ คลอื บหรอื หมุ้ หอ่ ความทกุ ขเ์ อาไว ้ พอความสขุ นนั้ จางไป
ความทกุ ขก์ ็ปรากฏขนึ้ มา เหมือนกบั นา�้ ตาลเคลอื บยาขม
เวลาอมเขา้ ไปใหม่ๆ ยงั มรี สหวานอย ู่ พอน�้าตาลทเ่ี คลอื บ
ยาขมละลายหมด กจ็ ะเจอกับรสของความขมของยา

7

วิสัชนาธรรม เล่ม ๒

ฉันใด ความสุขทางโลกคือโลกธรรม คือลาภยศ
สรรเสริญ รูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะชนิดต่างๆ น้ี เป็น
ความสุขแบบน�้ำตาลเคลือบยาขม ความสุขเคลือบ
ความทกุ ข์ ทกุ คนจงึ ทกุ ขก์ นั รอ้ งหม่ รอ้ งไหก้ นั เวลาสญู เสยี
ความสุขที่ได้จากลาภยศสรรเสริญ จากรูปเสียงกล่ินรส
แต่เนื่องจากมีอวิชชาโมหะ ไม่รู้ว่าความสุขท่ีแท้จริงนั้น
มีอยู่ และอยูท่ ีไ่ หน จงึ ต้องให้มีพระพทุ ธเจา้ มาตรัสรู้แล้ว
มาสอนความจริงอนั นี้ ใหเ้ ปลยี่ นวิธหี าความสขุ จากลาภ
ยศสรรเสริญ จากรูปเสียงกล่ินรสโผฏฐัพพะ ให้มาหา
ความสขุ จากการท�ำใจใหส้ งบ ด้วยการปฏบิ ตั ิจติ ตภาวนา
คือสมถภาวนา และวิปสั สนาภาวนา
ท�ำไมถึงต้องมีทั้ง ๒ ชนิด เพราะชนิดแรกนี้จะเป็น
ความสขุ ช่วั คราว ยงั ไม่ถาวร จะท�ำให้ความสุขช่ัวคราวนี้
ถาวร ต้องเจริญวิปัสสนาภาวนา ดังน้ันจึงมี ๒ ระดับ
ดว้ ยกนั ระดบั แรกของความสงบคอื ใชส้ ติ เมอื่ ไดค้ วามสงบ
จากสตแิ ล้ว ข้นั ตอ่ ไปก็ใหเ้ จริญปัญญาเพ่อื ตดั ความอยาก
ต่างๆ ทย่ี ังไมไ่ ด้ถูกท�ำลาย ทจ่ี ะมาคอยทำ� ลายความสงบ
ดว้ ยปญั ญา คอื ดว้ ยการเหน็ ไตรลกั ษณใ์ นสง่ิ ตา่ งๆ ทค่ี วาม
อยากตอ้ งการ วา่ เปน็ ของชว่ั คราว วา่ จะนำ� ความทกุ ขม์ าให้

8

ความสุขทางพระพุทธศาสนา

ต่อไปเวลามันหมดลง ว่าเป็นส่ิงท่ีไม่สามารถไปห้าม
ไม่ให้มนั หมดไปได้ น่ีคือไตรลักษณ์ อนิจจงั ทุกขงั อนัตตา
นคี่ อื วธิ หี าความสขุ ทางพระพทุ ธศาสนา หาความสขุ
ที่เกิดจากความสงบของใจ ขั้นต้นด้วยการเจริญสติ
นั่งสมาธิ ข้ันท่ี ๒ หลังจากได้สมาธิแล้ว เวลาออกจาก
สมาธมิ า กใ็ ชป้ ญั ญาคอยกำ� จดั ความอยากตา่ งๆ ใหเ้ หน็ วา่
สง่ิ ทีอ่ ยากไดเ้ ปน็ ทุกข์ ทกุ ขเ์ พราะไมเ่ ที่ยง เพราะว่าไมใ่ ช่
เป็นของเรา ไม่สามารถอยู่กับเราไปได้ตลอด น่ีเรื่องของ
ความสขุ ทางพระพทุ ธศาสนา ใหห้ าในตวั เรา ในใจของเรา
นีเ่ อง
ถาม: ทุกคนมีโอกาสที่จะได้รับสัมผัสความสุขชนิดน้ี
ทุกคนใช่ไหม
ตอบ: ทุกคน ถ้าท�ำตามที่พระพุทธเจ้าทรงส่ังสอน
อย่างพระสาวกท้ังหลายน่ีก็มีทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นหญิง
เป็นชาย เป็นเด็กหรือเป็นผู้ใหญ่ เป็นหนุ่มเป็นสาวหรือ
เป็นคนชรา เป็นนักบวชหรือผู้ครองเรือน ผู้ใดที่ได้ยิน
ไดฟ้ งั ธรรมของพระพทุ ธเจา้ แลว้ เขา้ ใจ วา่ ตอ้ งกระทำ� อะไร

9

วิสัชนาธรรม เล่ม ๒

แลว้ นอ้ มนำ� เอาไปปฏบิ ตั ไิ ด้ กจ็ ะไดถ้ งึ ความสขุ ทแี่ ทจ้ รงิ คอื
ความสขุ ทเ่ี กดิ จากความสงบ ทเี่ ราเรยี กวา่ “พระนพิ พาน”
นี่เอง “นิพพานัง ปรมัง สุขัง” ความสุขที่เป็นความสุข
สดุ ยอด คอื ความสขุ ของพระนพิ พาน คอื ใจทสี่ งบสงดั ระงบั
จากความอยากต่างๆ เป็นใจท่ีไม่มีความอยาก ที่มีกิเลส
ตณั หา ความโลภ ความโกรธ ความหลง อยูใ่ นใจ เพราะ
ไดก้ ำ� จัดดว้ ยปญั ญา คือไตรลักษณ์
ถาม: มีความต้ังใจในการหลุดพ้นจากการเวียนว่าย
ตายเกดิ แตย่ งั ไมม่ โี อกาสไดพ้ บครบู าอาจารย์ มแี ตป่ ฏบิ ตั ิ
ท่บี า้ นเท่านน้ั จะท�ำอยา่ งไรไมใ่ ห้หลงทางในการปฏิบัติ
ตอบ: อ๋อ เรามีครูบาอาจารย์ที่ยิ่งใหญ่ คือพระพุทธเจ้า
อยใู่ นพระไตรปฎิ กแลว้ ถา้ เราไมส่ ามารถหาครบู าอาจารย์
รูปนั้นรูปน้ีได้ ก็เข้าหาพระพุทธเจ้า อ่านพระสูตรส�ำคัญ
ต่างๆ ซ่ึงมีไม่ก่ีพระสูตรท่ีเราต้องอ่านกัน มีธัมมจักกัปป-
วตั ตนสตู รอนตั ตลกั ขณสตู รอาทติ ตปรยิ ายสตู รสตปิ ฏั ฐาน-
สูตร แล้วก็มงคลสูตร ถ้าได้อ่านพระสูตร ๕ พระสูตรน้ี
ก็แทบจะได้ความรู้ที่จะสอนให้เราปฏิบัติให้อยู่ในทาง
ทางทจ่ี ะพาให้ไปสู่การหลุดพ้นได้

10

ความสุขทางพระพุทธศาสนา

คิดว่าควรจะต้องหาพระพุทธเจ้าก่อนดีกว่า แล้วค่อยไป
หาครูบาอาจารย์รูปอื่นต่อไป เพ่ือเราจะได้มีมาตรฐาน
วดั ครูบาอาจารยไ์ ปในตวั ว่าทา่ นสอนตามทีพ่ ระพุทธเจา้
ทรงสอนหรอื ไม่ ถ้าเราไมม่ คี ำ� สอนของพระพุทธเจ้า เวลา
เราไปศึกษากับครูบาอาจารย์ บางทีท่านอาจจะสอนผิด
สอนถูก เราก็ไม่รู้ แต่ถ้าเราได้ศกึ ษาจากพระพทุ ธเจา้ ก่อน
ด้วยการศึกษาพระสูตรต่างๆ เหล่าน้ี เราก็จะได้มีมาตร
วัดดูว่าค�ำสอนของครูบาอาจารย์ ว่าอยู่ในแนวตามท่ี
พระพุทธเจ้าทรงส่ังสอนหรือไม่
พระสูตรเหล่าน้ีเราสามารถอ่านเป็นภาษาไทยได้
หรือถา้ เราอ่านภาษาอังกฤษเป็น ก็อ่านภาษาองั กฤษก็ได้
ซงึ่ ภาษาองั กฤษนม้ี กั จะอา่ นง่าย เข้าใจง่ายกว่าภาษาไทย
เพราะวา่ อะไร เพราะวา่ เขาแปลตรงความหมาย แตภ่ าษา
ไทยนี้เราใช้ภาษาความหมาย ค�ำค�ำเดียวแต่มีหลาย
ความหมาย เราก็อาจจะงงว่า หมายถึงค�ำไหนกันแน่
ถ้าอ่านภาษาอังกฤษได้ ก็ลองอ่านดู ตอนที่เราเร่ิมศึกษา
เราก็อ่านสติปัฏฐานสูตรเป็นภาษาอังกฤษ ได้อ่านเร่ือง
อนจิ จัง ทุกขัง อนัตตา เป็นภาษาอังกฤษ อา่ นแลว้ รู้สึกวา่
เข้าใจง่ายกวา่ ภาษาไทย

11

วิสัชนาธรรม เล่ม ๒

ถาม: ศลี สมาธปิ ญั ญา ทบ่ี รสิ ทุ ธแ์ิ ทจ้ รงิ ในพระพทุ ธศาสนา
ตอ้ งปฏบิ ตั ิพรหมวหิ าร ๔ ไปพร้อมๆ กนั เลยเช่นไร
ตอบ: คือการปฏิบัติพรหมวิหาร ๔ ก็เป็นการเจริญศีล
สมาธิ ปัญญานเ่ี อง เพราะศีลก็คือการไมเ่ บยี ดเบยี นผูอ้ น่ื
การไม่ท�ำให้ผู้อื่นเดือดร้อน ท�ำร้ายผู้อ่ืน ก็เรียกว่าเป็น
การรักษาศีล ส่วนสมาธิก็คือการท�ำใจให้สงบคืออุเบกขา
เราก็จะไดอ้ ุเบกขาขน้ึ มา พรหมวิหาร ๔ กค็ ือการปฏบิ ตั ิ
ศลี สมาธิ ปญั ญา นนั่ เอง
ถาม: เราเกดิ ขึน้ ได้เฉพาะส่ิงที่มีวิญญาณเท่าน้นั หรอื เปล่า
ตอบ: คอื เราน่ีเป็นวญิ ญาณ เราคอื จติ ใจนี้ ผรู้ ผู้ คู้ ิดนี้ เวลา
รา่ งกายตายไป ผรู้ ผู้ คู้ ดิ นไี้ มไ่ ดต้ ายไปกบั รา่ งกาย เรากเ็ รยี ก
ผู้รู้ผู้คิดนี้ว่าเป็นดวงวิญญาณ ดวงวิญญาณน้ีก็จะไปหา
ร่างกาย แต่กอ่ นจะไปไดร้ ่างกายอนั ใหม่ อาจจะตอ้ งผ่าน
กระบวนการรบั ผลบญุ ผลบาปกอ่ น เชน่ เปน็ ดวงวญิ ญาณ
ท่ีมีความสุข เราก็เรียกว่าเทพ ส่วนดวงวิญญาณที่มี
ความทุกข์เรากเ็ รียกว่าเปรต เรียกว่าผี
แต่พออานิสงส์ของบุญหรือบาปท่ีได้ท�ำไว้มันหมด
ก�ำลงั ลงดวงวิญญาณนกี้ จ็ ะไปรอรับร่างกาย ดวงวิญญาณ

12

ความสุขทางพระพุทธศาสนา

จะไมไ่ ปเกาะตน้ ไม้ เพราะวา่ ดวงวญิ ญาณนตี้ อ้ งการสงิ่ ทม่ี ี
ตา หู จมกู ล้ิน กาย กอ็ าจจะไปเกาะทรี่ า่ งกายของมนษุ ย์
หรอื รา่ งกายของสตั วเ์ ดรจั ฉาน เพอื่ จะไดเ้ สพรปู เสยี งกลนิ่
รสโผฏฐพั พะ ตามความอยากทย่ี งั มฝี งั อยใู่ นจติ ใจ จะไมไ่ ป
เกาะตดิ กับต้นไม้ เกาะตดิ กับผลไมห้ รอื อะไรตา่ งๆ ท่ไี มม่ ี
ตาหูจมกู ลนิ้ กาย
ถาม: ปกติคือไมล่ ะเมิดศีลเลย แต่บางวนั นีถ่ า้ ฝนั ไป ยังมี
การตดั สนิ ใจทเ่ี หมอื นจะละเมดิ ศลี อยบู่ า้ ง อยา่ งนแ้ี สดงวา่
จิตกับเรามันยังไม่ดพี อใชห่ รือไม่
ตอบ: ใช่ คือจิตใต้ส�ำนึกของเรามันยังอยากจะท�ำบาป
มันเป็นห่วงขึ้นมาเวลาเรานอนหลับฝันไป มันก็ดีอย่าง
มนั เปน็ เหมอื นอนิ ดเิ คเตอร์ (indicator) บอกเราใหเ้ รารวู้ า่
เราต้องระมัดระวัง เวลาเกิดความอยากท่ีจะทำ� บาป เราก็
ต้องฝืน อย่าประมาท คิดว่าเรารักษาศีลได้บริสุทธ์ิแล้ว
น่ีมันยังมีเสือซ่อนเล็บอยู่นะ ซ่อนอยู่ แล้วก็พร้อมท่ีจะ
โผลข่ ้ึนมาเมอ่ื มีโอกาส
ถาม: ความสขุ แท้ กับความสุขปลอม ตา่ งกันอย่างไร

13

วิสัชนาธรรม เล่ม ๒

ตอบ: ความสุขแท้ก็คือความสุขท่ีไม่มีความทุกข์ตามมา
ในขั้นทย่ี ังเส่ือมไดอ้ ยู่ แล้วกข็ น้ั ท่ไี ม่เส่ือมกเ็ ปน็ ความสขุ ท่ี
ถาวร ความสขุ ใจนม่ี ี ๒ ระดบั ระดบั ชว่ั คราวคอื สมาธิ และ
ระดบั ถาวรก็คอื นพิ พาน อันน้เี ปน็ ความสุขแท้ เพราะเปน็
ความสขุ ทไ่ี มม่ วี นั จดื จาง ไมม่ วี นั สนิ้ สดุ สว่ นความสขุ ปลอม
ก็คือความสุขที่เราสัมผัสจากลาภยศสรรเสริญ จากรูป
เสยี งกลนิ่ รสตา่ งๆ นเ่ี อง พอไดอ้ ะไรมาเรากด็ ใี จวนั สองวนั
แล้วมนั กห็ ายไป แลว้ ทำ� ให้เราต้องไปหาใหมม่ าอยูเ่ ร่อื ยๆ
ต้องเติมอยเู่ รื่อยๆ เตมิ เท่าไหร่กไ็ ม่พอ
เหมือนกับตุ่มน�้ำท่ีเราเติมนี้มันมีรอยร่ัวอยู่ เติม
เท่าไหร่เด๋ียวมันก็พร่อง พอมันพร่องเราก็ต้องเติมอีก
ไอ้รอยรั่วที่ท�ำให้ตุ่มเรา น�้ำในใจเราพร่อง ความสุขในใจ
เราพร่องอยู่ ก็คือตัณหาความอยาก ความอยากในลาภ
ยศสรรเสริญ ในรูปเสียงกล่ินรสต่างๆ มันไม่มีวันหมด
ด้วยการตอบสนองความอยากของเรา กลับย่ิงท�ำให้มี
ความอยากเพ่ิมมากข้ึนอีก อย่างค�ำโบราณท่ีเขาพูดว่า
“ได้คืบก็อยากจะได้ศอก ได้ศอกก็อยากจะได้วา”
ได้นายสิบก็อยากจะเป็นนายร้อย ได้นายร้อยก็อยากจะ
เป็นนายพัน ได้นายพันก็อยากจะเป็นนายพล อยากจะ
เป็นจอมพล

14

ความสุขทางพระพุทธศาสนา

ไม่มีส้ินสุดถ้าท�ำตามความอยาก ความสุขท่ีได้มัน
เลยหมดไป เพราะความอยากใหม่มันเข้ามาแทนท่ีแล้ว
เวลาได้นายสิบใหม่ๆ ฉลองกันวันสองวัน ทีน้ีอยากจะ
ได้นายร้อยแล้วสิถ้าอยากจะได้นายร้อย ใจก็ไม่สงบแล้ว
ไม่สุขแล้ว นี่คือความสุขปลอมเป็นอย่างน้ี ความสุข
จากลาภยศสรรเสริญ จากการเสพรูปเสียงกลิ่นรสต่างๆ
แตค่ วามสขุ ทเี่ กดิ จากความสงบนี้ ถงึ แมว้ า่ จะเปน็ ชว่ั คราว
แตเ่ ราสามารถเตมิ ไดท้ กุ เวลาทเี่ ราตอ้ งการ ถา้ เราเขา้ สมาธิ
เป็น เวลาเราออกมา พอความสุขที่ได้จากสมาธิจางไป
เราก็กลับเข้าไปสมาธิใหม่ ไม่ต้องไปหาอะไรภายนอก
อันนี้เป็นของที่แน่นอน เพราะมีอยู่กับตัวเราตลอดเวลา
แล้วยิ่งถ้าเราได้ความสุขระดับถาวรแล้ว ก็ไม่ต้องไปหา
ไมต่ ้องเขา้ สมาธเิ ลย
ถาม: ถ้าเราเจอความสุข เราต้องวางเฉย ไม่ยินดยี ินรา้ ย
กับมันใชห่ รอื ไม่ แคเ่ พียงรใู้ ช่ไหม
ตอบ: ก็ให้รู้ว่าความสุขมันเป็นความสุขช่ัวคราว ยินดี
เวลามนั หมดกจ็ ะเศรา้ ถา้ ไมย่ นิ ดเี วลามนั หมดกจ็ ะไมเ่ ศรา้
เช่นเดียวกับความทุกข์ ถ้ามันมา ถ้าเราไปไม่ยินดี เราก็

15

วิสัชนาธรรม เล่ม ๒

จะทกุ ข์ ถา้ เราเฉยๆ เรากจ็ ะไม่ทุกข์ หรอื ถ้าเรายินดเี ราก็
จะสขุ แตเ่ ราไมค่ อ่ ยชอบยนิ ดกี บั ความทกุ ขก์ นั ใชไ่ หม ถา้ เรา
หัดยินดีกับความทุกข์ได้ก็จะสบาย อยู่ในโลกน้ีกับความ
ทกุ ขไ์ ดอ้ ยา่ งสบาย เชน่ พระนี่ ทา่ นถกู สอนใหย้ นิ ดกี บั ความ
ทุกข์ยากล�ำบากต่างๆ ให้อยู่แบบอัตคัดขัดสน อยู่แบบ
ทุกข์ยากล�ำบาก เพ่ือฝึกฝนจิตใจให้ยินดีกับความทุกข์
แลว้ ความทกุ ขก์ เ็ ลยไมค่ อ่ ยมาเปน็ ปญั หากบั ผปู้ ฏบิ ตั เิ ทา่ ไหร่
ถาม: บรรลธุ รรมขนั้ สงู สดุ จำ� เปน็ หรอื เปลา่ วา่ ตอ้ งมคี วาม
อศั จรรย์
ตอบ: อ๋อ มันต้องมีอัศจรรย์แน่นอนละ เพราะว่า
มันเป็นการเปล่ียนภาวะของจิตใจ จากผู้เป็นนักโทษให้
กลายเปน็ ผมู้ อี สิ รภาพ เหมอื นกบั ผทู้ อี่ อกจากคกุ นี่ จะรสู้ กึ
มคี วามอศั จรรยใ์ จ แต่การหลดุ ออกจากสังสารวฏั ทีเ่ ป็น
เหมือนคุกของจิตใจน้ี มันก็เป็นในลักษณะเดียวกัน
แต่มันจะมีน้�ำหนักมากกว่ามาก การที่เคยถูกจองจ�ำ
มาเป็นระยะเวลาอันยาวนานแล้ววันหน่ึงก็ได้อิสรภาพ
ข้ึนมานี้ จิตใจที่ได้อิสรภาพ จากการกดข่ีของตัณหานี้
มันเปน็ สิง่ ทีม่ หัศจรรยใ์ จ

16

ความสุขทางพระพุทธศาสนา

ถาม: โดยปกตเิ ป็นคนขโี้ วยวาย แตพ่ อมาศกึ ษาธรรมและ
ฟงั ธรรมสมำ�่ เสมอ จิตใจมนั ออ่ นโยนลง และมสี ติมากข้นึ
อยา่ งนี้ถอื วา่ เราเข้าถึงธรรมบ้างแล้ว ใช่ไหม
ตอบ: ใช่ ถา้ มีอาการเปลย่ี นแปลงทางดา้ นจิตใจไปในทาง
ทดี่ ี ก็ถอื ว่าธรรมะได้เขา้ สใู่ จแลว้
ถาม: คนเราโดยความจรงิ แลว้ มนั ไมม่ ี ทกุ สง่ิ ทกุ อยา่ งลว้ น
วา่ งเปลา่ แล้วเราเกดิ ข้นึ มาไดอ้ ยา่ งไร
ตอบ: ก็เกิดข้ึนมาจากตัณหาความอยากท่ีมีอยู่ในใจ
ของเรา เราไม่มีอะไรแต่เราก็ยังอยากได้นู่นได้น่ี อยากมี
ความสุขจากการสัมผัสรูปเสียงกลิ่นรส อยากมีความสุข
จากการได้ลาภยศสรรเสริญ อยากจะมีความสุขจากการ
ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย มันก็เลยพาให้เรามามีร่างกายกัน
แล้วก็มาหาลาภยศสรรเสริญ มาหารูปเสียงกล่ินรสกัน
แต่เราหามาได้มากหรือน้อย ในท่ีสุดเราก็ต้องทิ้งมันไป
เพราะของทกุ อยา่ งทเ่ี ราได้มา มนั เปน็ ของชวั่ คราว แต่เรา
ไม่มีปัญญา เราก็เลยมาเกิดอยู่เรื่อยๆ ถ้าเรามีปัญญา
ตอ่ ไปเราก็จะไมม่ าเกิดอกี ต่อไป

17

วิสัชนาธรรม เล่ม ๒
18

การทําบุญสรางบารมี

กำรท�ำบุญสรำŒ งบำรมี

รายการสนทนาธรรมกับทา่ นพระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
โดย Dr.V (นายแพทย์วรี ะพันธ ์ สวุ รรณนามัย)

19

วิสัชนาธรรม เล่ม ๒

บารมที งั้ ๑๐ ประการ
ในพระพุทธศาสนา
ทจี่ ะยกระดบั จิตของผปู้ ฏิบตั ิให้สูงจากมนุษย์
ไปเป็นเทพ เป็นพรหม
เป็นพระอริยบุคคลตามล�ำดับขนั้
ของบารมีทเี่ ราสร้าง

20

การทําบุญสรางบารมี

ถาม: บารมีในทางพระพุทธศาสนาคืออะไร แล้วเรา
สามารถทจ่ี ะสร้างเอง สรา้ งได้ไหม
ตอบ: บารมีก็คุณธรรมอันวิเศษ ที่จะยกระดับจิตใจให้
สูงข้ึนตามล�าดับ จนถึงขั้นสูงสุดคือข้ันพระอริยบุคคล
ม ี ๑๐ ประการด้วยกนั ทจี่ ะต้องสร้างกนั ขนึ้ มา ข้นั แรก
ก็คือเมตตาบารมี คือต้องมีความเมตตาต่อสรรพสัตว์
ท้งั ปวง ตามพระสูตรที่เราสวดกัน “สพั เพ สัตตา อเวรา
โหนต”ุ จะไมม่ ีเวรกบั สัตว์ท้งั ปวง “อพั ๎ยาปัชฌา โหนตุ”
จะไม่เบียดเบียน “อนฆี า โหนต”ุ ต้องไมท่ า� ใหผ้ ู้อ่ืนทกุ ข์
กายทกุ ขใ์ จ “สขุ ี อตั ตานงั ปรหิ รนั ต”ุ ทา� ใหผ้ อู้ น่ื มคี วามสขุ
นบ่ี ารมีข้อ ๑ ทจี่ ะต้องท�ากนั ไม่ใชข่ อ บารมีขอไมไ่ ด ้
เปน็ ของทตี่ อ้ งทา� พทุ ธศาสนาไมไ่ ดส้ อนใหข้ อ เปน็ “ศาสน-
ธรรม” คือสอนให้ท�า ทุกอย่างที่พระพุทธเจ้าทรงสอนน้ี
สอนให้พวกเรานา� มาปฏิบตั ิ แลว้ เรากจ็ ะได้ “ปฏเิ วธ” คือ
ผลท่ีเกิดจากการปฏิบัติ อยากได้บารมีก็ต้องสร้างบารมี

21

วิสัชนาธรรม เล่ม ๒

ด้วยการกระท�ำบารมีท้ัง ๑๐ ประการ เมตตาบารมี
ตามด้วยทานบารมี ทำ� บญุ ใหท้ าน แลว้ กศ็ ีลบารมี รกั ษา
ศีล ๕ ไม่ท�ำบาปทัง้ ปวง
เนกขัมมบารมี การออกบวช หรือการออกจาก
การเสพกาม ก็คอื การถือศลี ๘ หรือถือศีล ๑๐ หรอื ถอื ศีล
๒๒๗ เรยี กวา่ “เนกขมั มะบารม”ี เพอ่ื จะไดไ้ ปมเี วลาสรา้ ง
บารมตี วั ตอ่ ไป กค็ อื “อเุ บกขาบารม”ี อเุ บกขาบารมกี ค็ อื
อเุ บกขาทไ่ี ดจ้ ากการนง่ั สมาธิ ทำ� จติ ใจใหร้ วมเปน็ อปั ปนา-
สมาธิ เพอื่ จะได้อเุ บกขา คอื ใจทเ่ี ป็นกลาง ใจท่ปี ราศจาก
ความรกั ชงั กลวั หลง แตย่ งั ไมไ่ ดเ้ ปน็ อเุ บกขาแบบถาวร จงึ
ตอ้ งเจริญบารมอี กี ขั้น ก็คอื “ปญั ญาบารม”ี เพราะถา้ มี
ปัญญาบารมี ปัญญาจะมาคอยก�ำจัดตัวท่ีมาคอยท�ำลาย
อเุ บกขาทไี่ ดจ้ ากสมาธิ กค็ อื ความอยากตา่ งๆ กเิ ลสตณั หา
ถา้ มปี ัญญากส็ ามารถละความอยากตา่ งๆ ได้
สังเกตดูเวลาใจเราอยู่เฉยๆ นี่ไม่มีความเดือดร้อน
อะไร แต่พอเกิดความอยากขึ้นมาแล้ว อยู่ไม่เป็นสุขแล้ว
อยู่ไม่ได้แล้ว ต้องไปท�ำตามความอยาก วิธีท่ีจะก�ำจัด
ความอยาก ต้องใช้ปัญญาสอนใจให้เห็นว่าส่ิงท่ีเราอยาก

22

การท�ำบุญสร้างบารมี

ได้นั้น มนั เปน็ ความสุขชัว่ คราว ได้มาแล้ว เดีย๋ วมนั ก็ต้อง
หมดไป พอหมดไปมนั กจ็ ะกลายเปน็ ความทกุ ข์ สรปุ ก็คือ
การไปหาความทุกข์น่ันเอง แต่ขาดปัญญา ก็เลยคิดว่า
ไปหาความสุขกนั อนั นี้เห็นไตรลักษณด์ ว้ ยปญั ญา กจ็ ะ
ระงบั ความอยากได้ พอใจหยดุ ความอยากได้ อเุ บกขาคอื
ความสงบก็กลับมา ความอ่ิม ความสุขใจก็กลับมาโดยท่ี
ไม่ตอ้ งไปหาความสขุ จากภายนอก
น่คี ือบารมตี ่างๆ ท่พี ระพุทธเจา้ ทรงสอนให้ชาวพุทธ
เราสรา้ งกัน และการจะสรา้ งบารมีเหล่าน้ไี ด้ ต้องมอี กี ๔
บารมี เปน็ ผู้ด�ำเนินการ คอื ๑. อธิษฐานบารมี อธษิ ฐานนี้
หมายถึงการตั้งใจ ตั้งเป้าหมาย เช่น ตั้งเป้าหมายว่าจะ
ต้องท�ำทาน ต้องรกั ษาศีล นี่คืออธษิ ฐาน คือพระพุทธเจา้
ตอนนง่ั อยู่ใตต้ ้นโพธิ์ ตัง้ ใจนั่งใหต้ รสั รู้ ถา้ ยงั ไมต่ รัสรกู้ จ็ ะ
ไมล่ กุ ออกจากทน่ี ง่ั ไป นเี่ รยี กวา่ “อธษิ ฐาน” คอื การตงั้ จติ
ต้ังใจว่าจะต้องท�ำอะไร อย่างใดอย่างหน่ึง เราต้องมี
อธษิ ฐาน เชน่ คนื นเ้ี ราตอ้ งตงั้ ใจจะมาฟงั เทศนฟ์ งั ธรรมกนั
ถ้าไม่ตั้งใจเดี๋ยวเพื่อนโทรมาชวนไปเท่ียว ก็อาจจะไปกับ
เพื่อนได้ แต่ถา้ ตั้งใจ ก็อาจจะปฏิเสธเขาไป

23

วิสัชนาธรรม เล่ม ๒

จะปฏิเสธหรือไม่ปฏิเสธก็อยู่ที่บารมีตัวท่ี ๒ คือ
“สัจจะบารมี” ก็ต้องมีสัจจะ คือความจริงใจต่อความ
ตงั้ ใจของเรา บางทตี งั้ ใจจะรกั ษาศลี ๕ พอตกเยน็ เพอ่ื นมา
ชวนไปกนิ เหลา้ เอา้ เปลี่ยนใจ ก็เลยไมร่ กั ษาศีลข้อ ๕ ไป
อย่างน้แี สดงวา่ ไมม่ ีสจั จะ ตอนต้นนอ่ี ธิษฐานมคี วามตงั้ ใจ
ว่า วันน้ีวันพระจะรักษาศีล ๕ แต่พอดีตกเย็นเพื่อนมา
ชวนไปกินเหลา้ เกรงใจเพอ่ื นมากกวา่ เกรงใจตัวเอง
หลวงตามหาบัวท่านเคยพูดว่า “ถ้าเกรงใจคน
ธรรมกแ็ หลก” ธรรมกค็ ือศีลธรรม อะไรตา่ งๆ พอคนมา
ขอรอ้ งกเ็ กรงใจ ทำ� ตามท่เี ขาขอ สัจจะวาจาทเ่ี ราตงั้ ไว้วา่
จะรักษาศีล จะไม่โกหกก็อาจจะล้มไป เพราะว่ามีคนมา
ขอรอ้ งอะไร กเ็ กรงใจเขา ไมอ่ ยากจะใหเ้ ขาเสยี ใจ ไมอ่ ยาก
ให้เขาโกรธเรา อะไรท�ำนองน้ี หลวงตาบอก ท่านไม่
เกรงใคร ท่านเกรงธรรม ถ้าเกรงใจคนแล้ว ธรรมแหลก
ตอ้ งเกรงธรรม อย่าไปเกรงใจคน ถ้าเราตง้ั ใจรักษาศลี ๕
แล้ว เราตอ้ งมสี จั จะ ใครจะมาชวนไปกินเหลา้ กบ็ อกไป
ไมไ่ ด้ วนั นีถ้ ือศลี ๕ ก็ไมไ่ ป ตอ้ งมสี ัจจะ

24

การท�ำบุญสร้างบารมี

เหมือนกับพระพุทธเจ้าต้ังสัจจะอธิษฐานอยู่ใต้โคน
ต้นโพธิ์ ว่าจะนั่งภาวนาไปจนตรัสรู้ ถ้ายังไม่ตรัสรู้ธรรม
อนั ประเสริฐ จะไม่ลุกจากทน่ี ง่ั น้ไี ป ถึงแม้เลอื ดในรา่ งกาย
จะเหือดแห้งไป ก็จะไม่มีวันท่ีจะลุก ยอมตาย ถ้าจะลุก
ก็คือได้ตรัสรู้ธรรมอันวิเศษแล้ว ถึงท�ำให้ท่านสู้กับกิเลส
ที่อยากจะลุก เพราะนั่งไปแล้วมันปวด มันเจ็บท่ัว
สรรพางค์กาย ต้องมีสัจจะ คนเราตั้งใจจะท�ำอะไรแล้ว
ถ้าไม่มีสัจจะมักจะล้มเหลว เช่น คนเรามักจะชอบตั้งใจ
ต้งั จติ อธิษฐานวันปใี หม่ ว่าจะเปน็ คนดี จะขยัน จะไมง่ อน
ไมโ่ กรธ ไมเ่ กลยี ด ทำ� ไดไ้ มก่ ว่ี นั ลมื แลว้ พอกเิ ลสเขา้ มาปบ๊ั นี้
ลม้ หมดเลย เพราะไม่มสี ัจจะ ถ้ามีสัจจะแล้วจะไมล่ ้ม
เม่ือมีสัจจะแล้วก็ต้องมี “วิริยะบารมี” คือต้องท�ำ
ในสิ่งท่ีเราตั้งใจจะท�ำ ถ้าเรายังไม่ท�ำมันก็ยังไม่ส�ำเร็จผล
ดังนั้นพอต้ังใจว่าจะท�ำบุญท�ำทานเป็นประจ�ำทุกวัน
ใส่บาตรทุกเช้านี้ ถึงเวลาก็ต้องท�ำ ถ้าไม่ท�ำมันก็ไม่ได้ผล
แลว้ ขอ้ สดุ ทา้ ย บารมขี อ้ สดุ ทา้ ยกค็ อื “ขนั ตบิ ารม”ี ตอ้ งมี
ความอดทน เพราะทำ� ความดมี กั จะมมี ารมาขวางอยเู่ รอ่ื ย
มักจะมีเพื่อนมาชวนไปเที่ยว ไปกินเหล้า มักจะมีใคร
มาแหยใ่ ห้เราไปทำ� ในสิ่งท่เี ราไมอ่ ยากจะทำ�

25

วิสัชนาธรรม เล่ม ๒

นค่ี อื บารมีทง้ั ๑๐ ประการในพระพทุ ธศาสนา ที่จะ
ยกระดับจิตของผู้ปฏิบัติให้สูงจากมนุษย์ไปเป็นเทพ เป็น
พรหม เป็นพระอริยบุคคลตามล�ำดับขั้นของบารมีท่ีเรา
สร้าง ถา้ ท�ำทานบารมี รกั ษาศีลบารมไี ด้ เรากจ็ ะขนึ้ จาก
มนุษยไ์ ปเปน็ เทวดา ถา้ เราตอ่ ดว้ ยอเุ บกขาบารมี เรากจ็ ะ
ไปเปน็ พรหม แลว้ ถา้ เราตอ่ ดว้ ยปญั ญา เรากจ็ ะไปเปน็ พระ
อริยบคุ คล ไปพระนิพพาน นี่คอื สรปุ เร่ืองของบารมี ๑๐
ประการให้ท่านได้ฟัง อย่างนั้นอย่าไปขอ บารมีขอไม่ได้
บารมีตอ้ งสร้างกนั ตอ้ งท�ำกนั เอง ไม่มใี ครท�ำแทนเราได้
ถาม: มีคนมาทำ� รา้ ยจติ ใจ คอื อกตัญญู พยายามใหอ้ ภยั
ปล่อยวาง แต่เวลาเจอหน้าเขา แล้วสมองมันปี๊ดขึ้นมา
ช่วยแนะน�ำว่า ทำ� อย่างไรทีจ่ ะให้อภัยเขาได้เต็ม ๑๐๐
ตอบ: ก็ต้องซ้อมไว้ก่อน เวลาที่ยังไม่เจอเขา ยังไม่เห็น
หน้าเขา แล้วเวลาเห็นหนา้ เขา พยายามย้มิ ให้เขา ซอ้ มได้
ของอยา่ งนเ้ี หมอื นกบั การเลน่ ละคร ตอ้ งซอ้ มบอ่ ยๆ นกึ ถงึ
หน้าเขาบ่อยๆ ทุกครั้งที่เห็นหน้าเขาก็ย้ิมให้เขา อย่าปี๊ด
ขึ้นมา ซ้อมไปเรื่อยๆ ทุกคร้ังท่ีเห็นหน้าเขาก็ให้อภัยเขา
ยิ้มให้เขา แลว้ ต่อไปเวลาเจอเขา เราก็จะยม้ิ ออก เรากจ็ ะ

26

การท�ำบุญสร้างบารมี

ใหอ้ ภยั เขาได้ ต้องซ้อมบ่อยๆ ของอยา่ งน้ี ซอ้ มได้ เหมือน
นักมวย นักมวยกต็ อ้ งซอ้ มชกกอ่ น แลว้ พอรูจ้ ักวิธีชกที่ถกู
ต้องแล้ว เวลาข้ึนเวทีก็ชกได้ อันนี้ก็เหมือนกัน เวลาเรา
เจอคตู่ อ่ สู้ เรากซ็ อ้ มชกกอ่ นทจี่ ะไปขนึ้ เวที ซอ้ มยม้ิ ไวก้ อ่ น
ซอ้ มใหอ้ ภยั เขาไวก้ อ่ น แลว้ พอถงึ เวลาจรงิ ๆ เรากจ็ ะทำ� ได้
ถาม: คนทีม่ บี ารมี คอื คนที่เคยสรา้ งกรรมดีไวใ้ ชไ่ หม
ตอบ: ใช่ บารมกี ค็ ือกรรมดตี า่ งๆ มี ๑๐ ประการด้วยกัน
คือ ทานบารมี ศีลบารมี เนกขมั มบารมี คอื การออกบวช
เรยี กวา่ เนกขมั มบารมี อเุ บกขาบารมี กค็ อื การนง่ั สมาธใิ ห้
ไดฌ้ าน กจ็ ะไดอ้ เุ บกขาบารมี ปญั ญาบารมกี ค็ อื การมคี วาม
เห็นทีถ่ ูกต้อง เหน็ ไตรลกั ษณ์ เห็นอริยสัจ ๔ เป็นต้น น่คี ือ
ส่ิงท่เี ราได้สะสม ไดท้ ำ� มาในอดตี ชาติ มันก็เลยเปน็ บารมี
ส่งเสรมิ ให้เขาไดท้ �ำความดไี ปเร่ือยๆ
ถาม: การฟังธรรมะถือว่าเป็นการบ�ำเพ็ญทานบารมีไป
ด้วยในตวั ใชไ่ หม
ตอบ: ไม่ใช่ เปน็ การบำ� เพ็ญปัญญาบารมี ปัญญาบารมีใน
ระดบั สตุ มยปญั ญา ในระดบั แรก คอื ปญั ญาทเ่ี กดิ จากการ

27

วิสัชนาธรรม เล่ม ๒

ศกึ ษา จากการได้ยินได้ฟังธรรมทพ่ี ระพุทธเจา้ ทรงตรัสวา่
เป็นมงคลอย่างย่ิง กาเลน ธมฺมสฺสวนํ เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ
การฟังธรรมตามกาล ตามเวลาเป็นมงคลอย่างยิ่ง เช่น
ทกุ วนั พระ เปน็ วนั ธรรมสวนะ วนั ฟงั ธรรม คอื ถา้ ไมก่ ำ� หนด
วันข้ึนมา ฆราวาสก็จะไม่รู้ว่าจะฟังธรรมตอนไหน ก็อาจ
จะมัวหมกมุ่นอยู่กับการท�ำงาน แล้วก็หมกมุ่นอยู่กับการ
หาความสุขทางตา หู จมกู ลิน้ กาย แลว้ เราจะไม่มเี วลา
ฟังธรรมกัน พระพุทธเจ้าฉลาดก็เลยทรงก�ำหนดวันพระ
ขึ้นมา วันพระให้หยุดท�ำงานแล้วก็เข้าวัด สมัยก่อนต้อง
เข้าวัดถึงจะได้ฟังธรรม เขาไม่มีสื่อต่างๆ เหมือนสมัยนี้
จะฟังธรรมต้องไปฟังธรรมจากพระที่อยู่ในวัด ก็เลย
ถือโอกาสไปวัดแล้วได้ไปท�ำบุญท�ำทานรักษาศีล แล้วก็
ฟงั ธรรมไปใหค้ รบสตู ร แลว้ กน็ ง่ั สมาธิ กไ็ ดท้ าน ศลี ภาวนา
ได้ทานบารมี ได้ศลี บารมี ได้เนกขัมมะบารมี ได้อเุ บกขา
บารมี และได้ปัญญาบารมี ในวันพระ เป็นวันที่บ�ำเพ็ญ
บารมีต่างๆ
ถาม: การได้ท�ำทานในแต่ละวันถือว่าเป็นการสะสมบุญ
ประเภททานใช่หรือไม่ แต่มีวิธีการท�ำบุญอีกวิธีใดบ้าง
นอกเหนือจากการท�ำทาน

28

การท�ำบุญสร้างบารมี

ตอบ: วิธีท�ำบุญนี้มีอยู่ ๑๐ วิธีด้วยกัน ๑. ทาน ๒. ศีล
๓. ภาวนา ๔. การอทุ ศิ บุญ ๕. การอนุโมทนาบุญ ๖. การ
รับใชผ้ ูอ้ ืน่ ๗. การออ่ นนอ้ มถอ่ มตน ๘. การมีความเห็น
ที่ถูกต้อง เช่น เห็นว่าบาป บุญ นรก สวรรค์นี้มีจริง
๙. การฟังธรรม ๑๐. การเผยแผ่ธรรมให้ผู้อ่ืน ถ้าเรามี
ธรรมะแลว้ เรากส็ ามารถเผยแผ่ธรรมได้ การกระท�ำ ๑๐
ข้อน้ีเป็นวิธีท่ีจะท�ำให้เราเกิดความสุขใจขึ้นมา เป็นบุญท่ี
เราสะสมได้ แตเ่ ปน็ บญุ ทมี่ อี านสิ งสต์ า่ งกนั ไป มปี ระโยชน์
ต่างกันไป จึงต้องท�ำทั้ง ๑๐ ชนิด ถ้าอยู่ในภาวะที่ควร
จะท�ำ คือบุญบางอย่างก็อาจจะท�ำบ้าง ไม่ท�ำบ้างก็ได้
แล้วแต่ว่ามีภาวะที่จะท�ำให้เราควรจะท�ำหรือไม่ เราถึง
แบง่ บญุ ไวเ้ ปน็ ๒ รูปแบบ ในบญุ ๑๐ ชนิดนี้ คอื บุญหลัก
กบั บญุ เสรมิ เหมอื นกบั อาหารหลกั กบั อาหารเสรมิ อาหาร
หลักก็คือข้าว กับข้าวอะไรอย่างนี้ เรียกเป็นอาหารหลัก
อาหารเสริมก็อาจจะเป็นพวกขนม ผลไม้ หรือเครื่องดื่ม
ต่างๆ อาหารเสริมชนิดต่างๆ คืออาหารเสริมน้ีบางที
มีก็ได้ ไม่มีก็ได้ แต่อาหารหลักน้ีต้องมี ต้องมีข้าวมีกับ
บุญก็เหมือนกัน บุญที่เป็นอาหารท่ีเป็นบุญหลักก็มี
๑. การทำ� ทาน รกั ษาศลี การฟงั เทศนฟ์ งั ธรรม การภาวนา

29

วิสัชนาธรรม เล่ม ๒

อนั นถ้ี ือว่าเปน็ บญุ หลกั ที่เราควรจะทำ� ทกุ ๆ วนั ท�ำใหม้ าก
สว่ นบญุ อนื่ นแี้ ลว้ แตโ่ อกาสนะ เชน่ ถา้ เราทำ� บญุ เรากอ็ ทุ ศิ
บุญให้แก่ผู้อ่ืนได้ ถ้าเราเห็นผู้อื่นเขาท�ำบุญแล้วเราอยาก
จะร่วมท�ำบุญกับเขา อนุโมทนาร่วมกับเขาก็ท�ำไป ถ้ามี
ถ้าไม่มีก็ไม่ต้องท�ำ แล้วถ้าเราพบปะกับคน เราก็ควรจะ
มีความออ่ นนอ้ มถ่อมตน หรือวา่ ถ้าเราพบปะกนั เราเห็น
เขาเดือดร้อน เขาก�ำลังท�ำอะไรอยู่ เราก็ย่ืนไม้ยื่นมือไป
ช่วยเหลือกันได้ เรียกว่ารับใช้ผู้อื่น ดังนั้น บุญหลักนี่ก็
มอี ยู่ ๔ ทาน ศีล ภาวนา และการฟงั ธรรม นอกนน้ั กถ็ ือว่า
เป็นบุญแล้วแต่โอกาส มีโอกาสก็ท�ำ ไม่มีโอกาส ไม่ท�ำก็
ไมเ่ สยี หายตรงไหน
ถาม: อยา่ งวนั นม้ี าฟงั พระอาจารย์ แลว้ แชรไ์ ปกไ็ ดบ้ ญุ แลว้
ตอบ: อนั นก้ี แ็ บง่ ธรรมะให้
ถาม: หากเราคิดอยากจะมีเงินมากๆ จะได้ท�ำบุญให้
ช่ืนใจ อย่างนโี้ ลภไหม
ตอบ: โลภ การทำ� บุญนี้ใหท้ ำ� ตามกำ� ลงั ของเรา ตามทีเ่ รา
มีอยู่ เพราะเวลาได้ข้ึนมาจริงมันไม่ท�ำหรอก บางคนถ้า

30

การท�ำบุญสร้างบารมี

ถูกหวยแล้วจะท�ำบุญ ใช่ถูกหวยแล้วท�ำ ถูกล้านหน่ึง
หกล้านมาท�ำแค่สองพัน สองหมื่น แล้วก็เอาเงินไปกิน
ไปเทีย่ วไปดม่ื กนั เสยี มากกว่า
ถาม: การบรจิ าคเงนิ ชว่ ยเหลอื ผขู้ าดแคลนในตา่ งประเทศ
โดยท่ีเห็นแก่ผู้ด�ำเนินงานมูลนิธิที่ต้ังใจระดมทุนเพ่ือช่วย
เหลือผู้เดือดร้อนมากกว่าความศรัทธาท่ีจะช่วยเหลือ
จะได้บุญบา้ งไหม
ตอบ: ก็ได้บุญเหมือนกัน คือถ้าเราได้ช่วยเหลือผู้อ่ืน
ไม่ว่าด้วยสาเหตุอันใดก็ตาม ก็เป็นการท�ำบุญอย่างหน่ึง
คอื บริจาคก็เปน็ ทานอยา่ งหน่ึง
ถาม: เวลากระผมทำ� บญุ เสรจ็ ทกุ ครง้ั จติ ใจกระผมจะเยน็
เหมอื นน้�ำ นี่เป็นเพราะบุญเกิดแล้วใชไ่ หม
ตอบ: ถูกต้อง บุญก็คือความสุขใจ ความเย็นใจน่ีเอง
ความอ่มิ ใจ
ถาม: ผมจะเอาเงินไปมอบให้เจ้าอาวาสวัดสร้างโบสถ์
กับเอาเงินตั้งเป็นกองผ้าป่าสร้างโบสถ์ แบบไหนได้บุญ
มากกวา่ กนั

31

วิสัชนาธรรม เล่ม ๒

ตอบ: การตง้ั กองผา้ ปา่ หมายถึงเราตอ้ งการทีจ่ ะให้คนอื่น
เขามารว่ มทำ� บญุ กบั เรา กอ็ ยทู่ ว่ี า่ ถา้ ตวั เรา เงนิ ของเราเอง
เราจะท�ำหรือเปล่า พอเราได้เงินคนอื่นมาแล้วเราไม่เอา
เงินของเราออกเลยนี้เราก็ไม่ได้บุญเลย เพราะเป็นเงิน
ของคนอ่ืน แต่ถ้าเราก็ตั้งใจว่าจะเอาเงินก้อนน้ีไปสร้าง
โบสถแ์ ลว้ แตอ่ ยากจะเปดิ โอกาสใหค้ นอนื่ ทเ่ี ขาไมม่ โี อกาส
ไปวัดมาร่วมท�ำบุญกับเราด้วยการท�ำกองผ้าป่า อันนี้ก็
ทำ� ได้ แตถ่ า้ เราอยากจะไดบ้ ุญเทา่ กนั แบบท�ำผ้าปา่ หรือ
ไมท่ �ำผา้ ปา่ เรากต็ อ้ งบรจิ าคเงินเท่าเดิม ถา้ เราบริจาคเงิน
โดยที่ไม่ตั้งกองผ้าป่า สมมุติห้าพันอย่างน้ี แล้วเรามา
ตงั้ กองผา้ ปา่ เรากย็ งั บรจิ าคหา้ พนั อยมู่ นั กไ็ ดเ้ ทา่ กนั แตถ่ า้
เราต้ังผ้าป่าแล้วเห็นว่ามีคนมาร่วมเงินมากกว่าห้าพัน
เราก็เลยตัดจ�ำนวนเงินของเราลงให้มันเหลือแค่ห้าพัน
แทนท่ีจะบริจาคห้าพัน เราอาจจะบริจาคแค่พันเดียว
อยา่ งนี้เทา่ กับเราลดการท�ำบุญของเราลง ในส่วนของเรา
ถาม: ท�ำไมกระผมท�ำบุญอยู่บ่อยคร้ัง แต่กระผมยังต้อง
เจอแตอ่ ปุ สรรคปญั หาอยา่ งมากมาย นเ่ี ปน็ เพราะกรรมเกา่
ก�ำลังส่งผลอยใู่ ช่ไหม

32

การท�ำบุญสร้างบารมี

ตอบ: ก็มีส่วน และวิถีการด�ำเนินชีวิตของเรา บางที
เราชอบไปหาอุปสรรคกันเอง แต่ทางท่ีไม่มีอุปสรรคเรา
ไม่ไปกนั มนั กเ็ ป็นเรือ่ งของการเดินของเรา ถา้ ไม่มปี ัญญา
เรามักจะเดินเข้าหาอุปสรรคกัน แต่ถ้าเรามีปัญญาเรา
มักจะเดินถอยออกมาจากอุปสรรค เพราะเรารู้ว่าเหตุท่ี
ท�ำให้เกิดอุปสรรคก็คือความอยากกิเลสตัณหาของเรา
น้ีเอง ไมใ่ ชอ่ ะไรหรอก

33

วิสัชนาธรรม เล่ม ๒
34

ศีล

ศลี

รายการสนทนาธรรมกับท่านพระอาจารย์สชุ าติ อภชิ าโต
โดย Dr.V (นายแพทย์วรี ะพันธ ์ สวุ รรณนามัย)

35

วิสัชนาธรรม เล่ม ๒

จะวนั พระ
หรอื ไมว่ ันพระ
ฆา่ เม่ือไหร่
ก็บาปเม่อื นนั้

36

ศีล

ถาม: ถา้ เราผิดศลี การภาวนาจะได้บุญไหม
ตอบ: การภาวนาก็จะยาก เช่น ถ้าเราดื่มสุรา เวลา
นั่งสมาธิเวลาเมาน้ี น่ังไม่รู้เร่ืองนะ หรือถ้าเราไปท�าบาป
ท�าอะไร มีเร่ืองกับใคร ใจของเราก็จะวุ่นวาย วิตกกังวล
มันก็จะทา� ให้การท�าใจภาวนานท้ี า� ไดย้ ากขึน้
ถาม: หากเปน็ พนกั งานเสิรฟ์ อาหาร ต้องสง่ั อาหารสดให้
ลูกค้า เช่นกุ้งที่อยู่ในตู้น้�า มาประกอบอาหาร และต้อง
แนะนา� เครื่องดื่มมนึ เมา หรือเสริ ์ฟ-รนิ ใหล้ ูกค้า โดยไมไ่ ด้
มเี จตนาท่ีจะท�า แต่ทา� ไปเพื่องาน แบบนี้เท่ากบั พนักงาน
ท�าผดิ ศีล ๕ ไหม
ตอบ: คือเรื่องฆ่าสัตว์น่ี ถ้าเรามีส่วนร่วม คือมีส่วนที่ไป
ส่ังให้เขาฆ่าอย่างนี้ เรากบ็ าปดว้ ย สว่ นเร่อื งสุราน ้ี ถา้ เรา
ไม่ด่ืมเองไม่บาปนะ แต่เร่ืองการฆ่าน่ี ถ้าเราส่ังให้เขาฆ่า
หรอื ฆา่ เองน้ถี อื ว่าบาปเหมอื นกนั

37

วิสัชนาธรรม เล่ม ๒

ถาม: แล้วเทของมึนเมาใหล้ ูกค้าอย่างน้ีบาปไหม
ตอบ: ไม่บาปเพราะเราไมไ่ ดด้ ่มื เพียงแต่ว่าเราอาจจะไป
ส่งเสริมให้เขามึนเมา ซ่ึงก็เป็นอาชีพท่ีไม่ควรจะท�ำ
ขายสุรา หรือเสิร์ฟสุราให้ผู้อื่นเขาดื่ม เพราะจะไป
สนบั สนนุ ใหเ้ ขาขาดสติ แลว้ อาจจะกลบั มาเปน็ โทษกบั เรา
กไ็ ด้ พอเขาเมาแล้วเขาอาจจะอาละวาดใสเ่ ราก็ได้
ถาม: ถ้าเราลงทุนในบริษัทที่ขายขนม และขายเคมี
กำ� จัดปลวก เราจะผิดศีลหรือเปน็ สัมมาอาชีพหรือไม่
ตอบ: อันน้ีก็แล้วแต่ว่าเราจะตีความสัมมาชีพไปถึง
ระดับไหน ถ้าเราไม่ตีมันแผ่ไปกว้าง มันก็อาจจะไม่ผิด
แต่ถ้ามันเป็นอาชีพท่ีเราท�ำโดยตรงเอง อันนี้มันก็ผิด
แต่ถ้าเราท�ำงานกับบริษัทที่มีทั้งขายขนม มีทั้งขายเคมี
กำ� จดั ปลวก มที งั้ ลงทนุ การซอ้ื อาวธุ หรอื อะไรตา่ งๆ เพราะ
สมัยนี้การค้าหรือธุรกิจนี้ บางทีมันครอบคลุมไปหมด
มันต้องแผ่กระจายไปเกือบทุกแขนง มันก็เลยมีส่วนที่
เป็นมิจฉาชีพ คือไม่ใช่เป็นสัมมาชีพ แต่ถ้าโดยตัวเราเอง
เราไม่ได้ไปท�ำสิ่งเหล่านี้ เราเพียงแต่เป็นพนักงานบัญชี

38

ศีล

ในบรษิ ทั นี้ เปน็ ตน้ กถ็ า้ เราคดิ แบบน้ี เราคดิ แคก่ ารกระทำ�
ของเราทใี่ กลต้ วั เรา มนั กเ็ ปน็ สมั มาชพี อยู่ แตถ่ า้ เราจะเอา
แบบต้องบริสุทธ์ิร้อยเปอร์เซ็นต์ บริษัทน้ีถ้าไปท�ำอะไรท่ี
ทำ� ใหเ้ กดิ ความเดอื ดรอ้ นเสยี หายใหแ้ กส่ ง่ิ ทมี่ ชี วี ติ นก่ี ถ็ อื วา่
กไ็ มใ่ ชเ่ ปน็ อาชพี ทถี่ กู ตอ้ งแลว้ อยา่ งนเ้ี รากจ็ ะยาก อาจจะ
ต้องท�ำอาชีพคนเดยี ว ขายสม้ ต�ำอะไรแบบนี้
ถาม: ถ้าเราจ่ายเงนิ เดือนให้ลูกจ้างแล้วลกู จ้างนำ� เงินน้ีไป
ท�ำแทง้ เราจะกลายเป็นผู้รว่ มกระทำ� ดว้ ยไหม
ตอบ: ไมห่ รอก เพราะวา่ เราจา่ ยเขาเพราะวา่ เราจา้ งเขามา
ทำ� งาน สว่ นรายไดข้ องเขาเขาจะเอาไปใชอ้ ะไรนเี้ ปน็ เรอ่ื ง
ของเขา ไมเ่ ก่ยี วกับเรา
ถาม: ถ้าเราฆ่ามดในวันพระ แต่เราลืมไปว่าเป็นวันพระ
จะบาปมากไหมคะ
ตอบ: บาปทุกวันนะ่ จะวันพระหรอื ไม่วันพระ ฆา่ เมอ่ื ไหร่
กบ็ าปเมอื่ นั้น

39

วิสัชนาธรรม เล่ม ๒
40

สติ-สมาธิ, การปลีกวิเวก

สติ-สมำธ,ิ กำรปลกี วเิ วก

รายการสนทนาธรรมกับทา่ นพระอาจารย์สชุ าติ อภิชาโต
โดย Dr.V (นายแพทย์วรี ะพันธ์ สวุ รรณนามัย)

41

วิสัชนาธรรม เล่ม ๒

ฐานทีต่ งั้ ของจิต
กอ็ ยทู่ ีอ่ เุ บกขานีเ่ อง
คือเราตอ้ งฝึกสติ
เพ่ือหยดุ ความคดิ
ให้จิตรวมลงเขา้ สสู่ มาธใิ ห้ได้

42

สติ-สมาธิ, การปลีกวิเวก

ถาม: นั่งสมาธิแล้วร้สู ึกกลัว ขอค�าชี้แนะ
ตอบ: กถ็ ามว่าเรากลัวอะไรละ่ เวลาเรานอนหลับ ทา� ไม
เราไมเ่ หน็ กลวั เวลาเรานงั่ หลบั ตากไ็ มต่ า่ งกบั เวลาเรานอน
หลบั ตา เวลานอนหลบั ตาเรากห็ ลบั ได ้ เวลานง่ั หลบั ตาเรา
กน็ งั่ ไมไ่ ดน้ อนหลบั ไมม่ อี ะไรนา่ กลวั การนงั่ สมาธ ิ ถา้ มสี ติ
คอยควบคุมใจ แต่ถ้านั่งแบบไม่มีสตินี้อาจจะมีภาพหรือ
มอี ะไรทน่ี า่ กลวั ปรากฏขนึ้ ในขณะทเี่ รากา� ลงั นงั่ ได ้ ถา้ ไมม่ ี
สติคอยควบคุมใจ กิเลสมันก็จะผลิตอะไรต่างๆ ข้ึนมา
มีทั้งภาพสวยก็มี ภาพไม่สวยก็มี น่าเกลียดน่ากลัวก็มี
นน่ั แสดงวา่ อันน้ันไม่มีสติแลว้
แตถ่ า้ นงั่ แลว้ มสี ต ิ บรกิ รรมพทุ โธพทุ โธไปเรอ่ื ยๆ หรอื
เฝ้าดูลมหายใจอยู่ตลอดเวลา ไม่ท้ิงอย่างใดอย่างหน่ึงน้ี
รับประกันได้ว่าไม่มีอะไรน่ากลัวเกิดข้ึน จะมีแต่ส่ิงที่ดีๆ
เช่น ปีติ สุข แล้วก็ความสงบปรากฏขึ้นตามล�าดับ ไม่มี
อะไรน่ากลัวจากการนั่งสมาธ ิ เรากลัวไปเอง เราคิดไปเอง

43

วิสัชนาธรรม เล่ม ๒

แตถ่ า้ เราไดย้ นิ ไดฟ้ งั จากผทู้ เี่ ขาปฏบิ ตั อิ ยา่ งวธิ ถี กู ตอ้ ง แลว้
ก็จะรู้ว่าไม่มีอะไรน่ากลัว มีแต่ของดีๆ รอเราอยู่จากการ
น่ังสมาธิ
ถาม: เวลามีแรงกระทบจากภายนอกเข้ามา เรานิ่งเฉย
แต่อีกใจก็อยากจะได้ มันเถียงกัน พยายามข่มตัวเอง
อยากถามวา่ เราจะท�ำอย่างไรดี
ตอบ: เพราะเรายงั ไมน่ งิ่ จรงิ เรานง่ิ ดว้ ยการสำ� นกึ ดว้ ยการ
บงั คบั เราต้องฝกึ สมาธใิ ห้มากๆ ให้จติ สงบ แล้วจติ จะนิ่ง
โดยธรรมชาติ แลว้ ตอ่ ไปมนั จะนง่ิ เอง จะไมม่ กี ารโตเ้ ถยี งกนั
แต่ตอนนี้มันยังไม่นิ่ง มันเพียงแต่ใช้เหตุผลสอนใจว่า
เราควรจะนิ่ง แต่กิเลสมันไม่ยอมนิ่ง มันยังไม่ได้ถูกก�ำลัง
ของสติ ของสมาธมิ ากดเอาไว้ มันเลยแสดงอาการตอ่ ส้ไู ด้
แตถ่ า้ ฝกึ สติ ฝกึ สมาธจิ นจติ เขา้ สมาธไิ ด้ กเิ ลสกจ็ ะถกู ระงบั
ไปชว่ั คราว แลว้ กจ็ ะน่ิงอย่างสบาย ไม่รสู้ กึ เดอื ดร้อน
ถาม: เคยชนิ กับการใชค้ วามคดิ มานานมาก การสวดมนต์
นั่งสมาธิให้หยุดคิดเพ่ือให้จิตรวบสงบ เป็นเรื่องท่ีท�ำได้
ยากมากๆ ควรจะท�ำอย่างไรให้มีความสุขจากความสงบ
ในการท�ำสมาธไิ ด้

44

สติ-สมาธิ, การปลีกวิเวก

ตอบ: ถ้าชอบคิดก็ให้คิดทางปัญญาเลยก็ได้ ที่เรียกว่า
“ปัญญาอบรมสมาธิ” ให้คิดถึงสิ่งท่ีเรามีอยู่ว่าเป็นของ
ชั่วคราว เช่น ลาภยศสรรเสริญ ความสุขที่เราได้จาก
สงิ่ ตา่ งๆ ในโลกนเ้ี ปน็ ของชว่ั คราว จะตอ้ งหมดไปวนั ใดวนั
หนง่ึ แล้วมันกจ็ ะท�ำให้เราทุกข์ แล้วเรากไ็ ม่สามารถท่จี ะ
ไปหา้ มมนั ไมใ่ หเ้ กดิ ขนึ้ ได้ ทกุ อยา่ งในโลกนม้ี นั เปน็ อยา่ งนี้
มันมีเกิดมีดับเป็นธรรมดา ให้คิดแบบน้ีก็ได้ถ้าชอบใช้
ความคดิ คิดไปในทางปญั ญา
หรือให้คิดไปดู ศึกษาเร่ืองของร่างกายก็ได้ ท่ีเป็น
นกั ศกึ ษาแพทย์ ศกึ ษาอาการ ๓๒ ของร่างกาย คอื มแี ต่
ผมขึน้ ไป ผม ขน เลบ็ ฟนั หนงั เนอ้ื เอน็ กระดกู เข้าไป
ดูอาการต่างๆ ภายใต้ผิวหนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อใน
กระดกู มา้ ม หวั ใจ ต่างๆ พังผืด ไต ปอด ไสใ้ หญ่ ไส้น้อย
อาหารใหม่ อาหารเกา่ เปน็ ต้น นีก่ ็คือการคดิ ดว้ ยปัญญา
คิดแบบน้ีกจ็ ะทำ� ใหใ้ จสงบ ใจมีความสขุ ได้
ถาม: บางครง้ั การปฏบิ ตั ขิ องเรา เรารสู้ กึ เบอ่ื หนา่ ย แตพ่ อ
เราเหมอื นจะหลดุ ออกไปจากการปฏบิ ตั ิ แตค่ วามรสู้ กึ ของ
การปฏิบัตกิ เ็ ข้ามา ตวั นี้คอื อะไร

45

วิสัชนาธรรม เล่ม ๒

ตอบ: มันเป็นอารมณ์ เบ่ือๆ อยากๆ ฉะน้ันเวลาเบอ่ื น่ีเรา
ต้องรีบเจริญสติ พยายามพุทโธๆ ไป แลว้ อารมณเ์ บอ่ื มัน
ก็จะหายไป เพราะว่าเวลาเราไม่มีสติกิเลสมันจะมาสร้าง
อารมณเ์ หล่านี้ เพอ่ื ให้เราเลกิ ปฏบิ ตั ิ เพราะกิเลสมนั ชอบ
ดึงเราไปหาความสุขทางตาหูจมูกลิ้นกายกัน พอเราเบ่ือ
ปฏบิ ตั เิ รากต็ อ้ งไปเทย่ี วดกี วา่ ไปกนิ ไปดมื่ อะไรดกี วา่ อนั น้ี
เป็นอุบาย เป็นเล่ห์กลของกิเลส ในยามท่ีเราไม่คุมจิต
ด้วยสติ
พอเราเร่ิมมีอาการเบ่ือนี้ เราต้องบอกตัวเราว่ามัน
เป็นสัญญาณบ่งบอกว่า ตอนน้ีสติเราเร่ิมบกพร่องแล้ว
เราต้องรีบฝึกสติข้ึนมา เหมือนมาตรวัดน้�ำมันในรถน้ี
พอมันเร่ิมขึ้นขีดแดงขึ้นมาแล้ว มันก็เตือนเราแล้วว่า
ถงึ เวลาตอ้ งรบี ไปเตมิ นำ�้ มนั แลว้ นะ ไมอ่ ยา่ งนน้ั เดย๋ี วนำ�้ มนั
จะหมด ให้เราคิดว่าอาการเบ่ือน้ีเป็นเหมือนมาตรเตือน
เราก็แล้วกัน เตือนเราว่าสติตอนน้ีก�ำลังไม่สงบแล้วนะ
รบี เตมิ สติ รบี พุทโธ พทุ โธ รีบสวดมนต์เสียต้งั แต่ตอนนไ้ี ป
แล้วเด๋ียวอาการเบ่อื หนา่ ยมันกจ็ ะหายไป

46

สติ-สมาธิ, การปลีกวิเวก

ถาม: เราจะเจรญิ สติขณะกำ� ลงั ทำ� งานได้ไหม มีวิธีปฏบิ ตั ิ
อยา่ งไร
ตอบ: ได้ กใ็ ห้อย่กู ับงานทีเ่ ราทำ� นน่ั เอง ไม่วา่ จะเป็นงาน
ชนดิ ใดก็ตาม เริ่มต้ังแต่ลืมตาข้นึ มาเลยกไ็ ด้ พอตนื่ ขน้ึ มา
เรากต็ อ้ งไปทำ� งานในหอ้ งนำ�้ แลว้ เรากไ็ ปลา้ งหนา้ อาบนำ�้
แปรงฟัน ก็ให้เฝ้าดูการท�ำงานเหล่านี้ ก็เรียกว่าเป็นการ
เจริญสติในขณะท่ีท�ำงาน เราสามารถเจริญสติได้ตลอด
ท้ังวนั นั่งรถไปทำ� งาน ขบั รถไปท�ำงาน ก็เจริญสติอยกู่ ับ
การขับรถ คืออย่าปล่อยให้ใจไปคิดถึงอดีต หรืออนาคต
ให้อยู่กับงานที่เราก�ำลังท�ำอยู่ในปัจจุบันน้ี เป็นวิธีการ
เจรญิ สติ
ถาม: ขณะน่ังสมาธิ ๕ ถึง ๑๐ นาที มันจะสงบน่ิงมาก
พิจารณากายสังขารในขณะที่นั่ง มีแต่ลมหายใจเข้าออก
ทุกขณะ แบบน้ที �ำถูกไหม
ตอบ: คือ การนั่งสมาธินี้ เราจะไม่นิยมพิจารณา เราจะ
ใช้การเพ่งเป็นหลัก เช่น เพ่งอยู่กับลมหายใจ หรือเพ่ง
อยู่กบั บริกรรมพทุ โธๆ ไม่พิจารณา ไมค่ ดิ ปรงุ แต่ง ค�ำว่า
“พิจารณา” นมี่ นั หมายถึงปรุงแต่ง บางทอี าจจะทำ� ความ

47

วิสัชนาธรรม เล่ม ๒

เข้าใจคลาดเคลื่อน เพราะไม่ให้พิจารณากาย ไม่ให้
พิจารณาสังขาร ไม่ให้ทำ� อะไร นอกจากดูลมหายใจเพียง
อย่างเดียว จิตจะได้น่ิงจะได้สงบมาก แต่ถ้าเราพิจารณา
แล้วมนั กจ็ ะชะงักอยตู่ รงน้ัน มนั จะไม่เขา้ ลกึ ไปกว่าน้นั ได้
ถาม: เพ่ิงเร่ิมนั่งสมาธิ จติ เราควรก�ำหนดไวท้ ่ีไหน
ตอบ: ก็ก�ำหนดไว้ ถ้านั่งก็ดูท่ีลมหายใจก็ได้ หรือจะ
ก�ำหนดพทุ โธพทุ โธไปก็ได้ แลว้ แตเ่ ราจะชอบ ชอบพทุ โธ
เรากก็ ำ� หนดจติ ใหอ้ ยกู่ บั พทุ โธพทุ โธไป ชอบดลู มกก็ ำ� หนด
จติ ใหด้ ูลมไป บางท่านก็ชอบ ๒ อยา่ งปนกนั กไ็ ด้ หายใจ
เข้ากค็ ดิ ถึงพทุ หายใจออกก็คิดถึงโธกไ็ ด้ อันนก้ี ็มี ๓ วิธใี ห้
เลือกเอา แล้วแต่เราจะชอบแบบไหน
ถาม: ขอคำ� อธบิ ายคำ� วา่ “สมาธนิ ำ� ปญั ญา” และ “ปญั ญา
น�ำสมาธิ” และเราควรปฏิบัติแบบไหนดี ถ้าเป็นคนท่ี
ไม่คอ่ ยมีสตติ ้งั มน่ั
ตอบ: คอื โดยปกตนิ ี่ มนั ตอ้ งสมาธิกอ่ น แลว้ ถงึ จะไปทาง
ปญั ญาไดอ้ ย่างเมอื่ กไี้ ด้อธบิ ายไว้ก่อนตอนตน้ แต่ในกรณี
พิเศษในช่วงบางช่วง ที่เราจะท�ำสมาธิ แล้วไม่สามารถ

48

สติ-สมาธิ, การปลีกวิเวก

ใช้สติท�ำสมาธิได้ เพราะจิตมันไปผูกพันอยู่กับเร่ืองใด
เร่ืองหน่ึง เราก็ต้องไปพิจารณาเร่ืองท่ีเราไปผูกพันว่า
มันเป็นไตรลักษณ์ มันไม่เที่ยง มันเป็นอนัตตา เราไป
ควบคุมบังคับ ไปสั่งให้มันเป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้ไม่ได้
พอเราเหน็ แลว้ เราเขา้ ใจแลว้ เรากจ็ ะไดป้ ลอ่ ยวางเรอ่ื งนน้ั
ก็ท�ำให้จิตเรากลับมาสู่สภาพปกติ สามารถใช้สติเจริญ
สมาธิต่อไปได้
โดยปกติแล้ว ทุกคนจะต้องใช้ไปตามข้ัน คือ ศีล
แล้วก็สมาธิ แล้วก็ปัญญา แต่ในบางครั้ง ในช่วงขณะท่ี
เจริญสมาธนิ ี้ บางทไี มส่ ามารถใชส้ ตทิ ำ� จิตให้เป็นสมาธิได้
กต็ อ้ งใชป้ ญั ญาพจิ ารณาสง่ิ ทที่ ำ� ใหจ้ ติ ใจเราวนุ่ วาย วา่ เปน็
ไตรลักษณ์ พอเราเห็นว่าเป็นไตรลักษณ์ ท�ำอะไรไม่ได้
ต้องปล่อยให้เขาเป็นไปอย่างนั้น พอเราปล่อย จิตเราก็
กลบั มาสงบใหม่ มาท�ำสมาธิต่อได้
ถาม: พิจารณาจนเหลือแต่ผู้รู้ และพิจารณาผู้รู้น้ีและ
รู้ตัวใน จนไมห่ ลงรูต้ วั ใน จึงเป็นผู้รู้ทบี่ รสิ ุทธ์ิ ถกู ไหม
ตอบ: กไ็ ม่ทราบว่าพจิ ารณายงั ไง จนเหลือแตผ่ ู้รู้ เพราะ
ว่าการพิจารณานี้ มันไม่ได้พิจารณาให้เหลือแต่ผู้รู้

49


Click to View FlipBook Version