The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

E-book สุนทราภรณ์

E-book สุนทราภรณ์

ต�ำนานสุนทราภรณ์ 1


ต�ำนำน สุนทราภรณ์ นายแพทย์วิชัย โชควิวัฒน ISBN : 978-616-593-000-0 พิมพ์ครั้งที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๖๕ จ�ำนวน ๒,๕๐๐ เล่ม คณะท�ำงาน สุภาภรณ์ บุญปก | พิมพ์ต้นฉบับ มาริสา เลี้ยงพรพรรณ | พิสูจน์อักษร ฑิฆัมพร พุ่มผลทรัพย์ | ประสานงาน สถิตธรรม สระทองรัด | ประสานงาน ดวงเดือน วามะลุน | ธุรการ ออกแบบปก-รูปเล่ม ไพโรจน์ ชินศิรประภา พิมพ์ที่ บริษัท พิมพ์ดี จ�ำกัด จัดพิมพ์โดย ประธานสมาคมสภาผู้สูงอายุแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ราคา ๒๘๐ บาท รายได้จากการจ�ำหน่ายทั้งหมด มอบเป็นทุนด�ำเนินการ ให้แก่สมาคมสภาผู้สูงอายุแห่งประเทศไทยฯ โดยไม่หักค่าใช้จ่าย


“...วงดนตรีสุนทราภรณ์ เป็นสิ่งมีชีวิต ไม่ใช่เป็นของ เอื้อ สุนทรสนาน แต่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ขอให้วงดนตรีสุนทราภรณ์อยู่ยงต่อไป ด้วยความสามัคคี ด้วยความตั้งใจเชิดชูความดี และให้เป็นศิลปะโดยแท้...” พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชทานแก่วงดนตรีสุนทราภรณ์ วันครบรอบ ๓๐ ปี วันที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๒


4 ต�ำนานสุนทราภรณ์ ...ชนใดไม่มีดนตรีกาล ในสันดานเป็นคนชอบกลนัก อีกใครฟังดนตรีไม่เห็นเพราะ เขานั้นเหมาะคิดกบฏอัปลักษณ์... พระราชนิพนธ์แปลใน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จากบทละครเรื่อง เวนิสวาณิช ของ วิลเลียม เช็กสเปียร์


ต�ำนานสุนทราภรณ์ 5 ค�ำนิยม หนังสือ ต�ำนานสุนทราภรณ์ เล่มนี้ เกิดจากความบันดาลใจ ของ คุณหมอวิชัย โชควิวัฒน ได้อ่านหนังสือชุด ๘๒ ปี สุนทราภรณ์ อนุสรณ์ฝากไว้ ที่ผมเขียน และออกเผยแพร่ เมื่อวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๔ ตรงกับวันก่อตั้ง วงดนตรีสุนทราภรณ์ ( ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒) เป็นวันแถลงข่าวเปิดตัวที่โรงแรมมณเฑียร ริเวอร์ไซด์ พระราม ๓) โดยที่คุณหมอวิชัยเป็นคอลัมนิสต์ที่เขียนอยู่ในหนังสือพิมพ์ โพสต์ทูเดย์ เป็นประจ�ำอยู่ก่อนแล้ว แต่คราวนี้คุณหมอเน้น “หนังสือ ชุด ๘๒ ปี สุนทราภรณ์ อนุสรณ์ฝากไว้” เป็นพิเศษ ก็ต้องขอขอบคุณ ที่ให้ความสนใจ ให้เกียรติ วิพากษ์ วิจารณ์ ติชม อยู่ด้วย เฉพาะอย่างยิ่งภาคผนวก ที่ต้องแก้ไขข้อความ ถ้อยค�ำ ตัวสะกด ต่างๆ แสดงให้เห็นถึงความละเอียดอ่อนและใส่ใจ สนใจต่อ “หนังสือชุด ๘๒ ปี สุนทราภรณ์ อนุสรณ์ฝากไว้” ที่ผมเขียน อย่างจริงจังสมกับ ที่เป็นหนอนหนังสือตัวจริงเสียงจริง ตามที่แถลงเอาไว้ในตอนแรก ทั้งยังอุตส่าห์นับจ�ำนวนหนังสือทั้ง ๘ เล่มว่ามีถึง ๔,๗๖๒ หน้า ให้ด้วย อีกต่างหาก


6 ต�ำนานสุนทราภรณ์ “หนังสือชุด ๘๒ ปี สุนทราภรณ์ อนุสรณ์ฝากไว้” นี้ เริ่มต้น จากหนังสือ พระเจ้าทั้งห้า ต�ำนานความเป็นมาของสุนทราภรณ์ แล้วขยายออกเป็น เอื้อ สุนทรสนาน ดุริยกวีสี่แผ่นดิน | ๑๐๐ เพลง ดี ๑๐๐ ปี เอื้อ สุนทรสนาน | แก้ว อัจฉริยะกุล อัจฉริยะคีตกวีแห่ง กรุงรัตนโกสินทร์ | สุรัฐ พุกกะเวส ยอดขุนพล เพลงสุนทราภรณ์ | ชอุ่ม ปัญจพรรค์ คีตกวีผู้สร้างสรรค์บทเพลงรักหวาน อันแสน ไพเราะ | ศรีสวัสดิ์ พิจิตรวรการ ศิลปิน ครูเพลง นักเลง กวี และ สุนทรียะมาร์เก็ตติ้ง กรณีศึกษา เสรีเซ็นเตอร์กับสุนทราภรณ์ ดังที่ผมเขียนเล่ารายละเอียดเอาไว้ในหนังสือสุนทรียะมาร์เก็ตติ้ง กรณีศึกษา เสรีเซ็นเตอร์กับสุนทราภรณ์ ไว้แล้ว ใน หนังสือต�ำนานสุนทราภรณ์ เล่มนี้ ผมติดใจ บทที่ ๓ ท�ำไม สุนทราภรณ์ จึงครองใจประชาชนได้ยาวนาน ที่คุณหมอวิชัยได้ วิเคราะห์ไว้ถึง ๗ ประเด็น แล้วยังเปรียบเทียบ ครูเอื้อ สุนทรสนาน กับนักประพันธ์เอกของโลก ลีโอ ตอลสตอย นักประพันธ์เอกของโลก และ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ยอดนักวิทยาศาสตร์ผู้อัจฉริยะ เอาไว้อีก ด้วย ส่วนใน บทที่ ๕ อายุวัฒนะ นั้น คุณหมอวิชัยได้ยกกรณีของ การสร้าง โรงเรียนสุนทราภรณ์การดนตรี เหมือนกันกับ พี่น้อง ตระกูลเมโย ที่สร้างเมโยคลินิก อย่างน่าสนใจอีกด้วย ใน บทที่ ๑๔ ปริศนา เพลงศรีปทุมวัน นั้น คุณหมอวิชัยกล่าว ถึง เพลงศรีปทุมวัน ที่ผมเคยบอกเอาไว้ว่า น่าจะเป็นผลงานของ ครูศรีสวัสดิ์ พิจิตรวรการ นั้น คุณหมอแย้งว่า น่าจะเป็นผลงานของ ครูธาตรี มากกว่า ก็คงต้องค้นกันต่อครับ


ต�ำนานสุนทราภรณ์ 7 ใน บทที่ ๑๘ วิชาการตลาดกับสุนทราภรณ์ นั้น คุณหมอ วิชัย ก็ตีโจทย์แตกกระจุย เพราะมีความสนใจงานด้านนี้เป็นทุนเดิม ซึ่งคงจะต่างไปจากแฟนเพลงสุนทราภรณ์ ที่ส่วนใหญ่ไม่ได้ท�ำการค้า การขายอย่างที่ผมท�ำมา จึงอาจมองข้าม หนังสือเล่มที่ ๘ สุนทรียะ มาร์เก็ตติ้ง กรณีศึกษา เสรีเซ็นเตอร์กับสุนทราภรณ์ ไปอย่าง น่าเสียดาย โดยสรุปก็คงต้องบอกว่า ดีใจ ปลื้มใจ ที่คนอ่านที่เป็นแฟนเพลง สุนทราภรณ์ เป็นนักเขียนอย่าง คุณหมอวิชัย โชควิวัฒน ที่ให้ความ สนใจในผลงาน หนังสือชุด ๘๒ ปี สุนทราภรณ์ อนุสรณ์ฝากไว้ ของผมในครั้งนี้ ขออวยพรให้ หนังสือต�ำนานสุนทราภรณ์ เล่มนี้ ของคุณหมอ ขายดี ขายหมดเกลี้ยง เพื่อจะได้น�ำเอาไปเป็นกองทุนด�ำเนินการใน การจัดคอนเสิร์ตการกุศลสุนทราภรณ์ ครั้งที่ ๒ ในวันอาทิตย์ที่ ๑๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๕ ที่จะถึงในเร็วๆ นี้ สมดังที่ใจปรารถนา ทุกประการ ไพบูลย์ ส�ำราญภูติ (ศรี อยุธยา | คีตา พญาไท)


8 ต�ำนานสุนทราภรณ์ “If I were not a physicist, I would probably be a musician. I often think in music. I live my day dream in music. I see my life in terms of music… I get most joy in life out of music” “หากผมไม่ได้เป็นนักฟิสิกส์ ผมคงไปเป็นนักดนตรี บางครั้งผมก็คิดเป็นดนตรี ผมฝันกลางวันไปกับเสียงเพลง ผมมองชีวิตของผมเป็นดั่งเสียงดนตรี สิ่งที่ทำ ให้ผมมีความสุขที่สุดในชีวิต ก็คือดนตรี” - Albert Einstein - นักฟิสิกส์ผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล 8 ต�ำนานสุนทราภรณ์


ต�ำนานสุนทราภรณ์ 9 ค�ำนิยม “ เ ป็ น ไ ด้ ม า ก ก ว่ า ตํา น า น ” หนังสือชุด “๘๒ ปี สุนทราภรณ์ อนุสรณ์ฝากไว้” ส่วนตัว ผมขอยกให้เป็นมรดกของแผ่นดินไทย ที่ อาจารย์ไพบูลย์ ส�ำราญภูติ ใช้ความเพียรเขียนไว้จ�ำนวน ๘ เล่ม รวม ๔,๗๖๒ หน้า ได้สร้างความ มหัศจรรย์ใจแฝงไว้ซึ่งความชื่นชมให้กับผมเป็นอย่างมาก ครั้งแรกที่ ได้สัมผัส เกิดค�ำถามในใจมากมาย โดยเฉพาะความน่าทึ่งที่เขียนเข้าไป ได้อย่างไรตั้งเกือบ ๕ พันหน้า ค�ำตอบที่ผมสรุปได้คือ ผลงานนี้ เกิดจาก “ความรัก” ที่อาจารย์ไพบูลย์มีต่อสุนทราภรณ์ ซึ่งแฟน พันธุ์แท้ของวงสุนทราภรณ์อยากจะอ่าน แต่ความกังวลที่ตามมา คือ แม้ชุดหนังสือนี้มีคุณค่ามหาศาลต่อคนไทย แต่ก็มีความยาวมากมาย อย่างนี้แล้วใครจะอ่านให้จบครบทั้ง ๘ เล่ม ผมเคยจัดคอนเสิร์ตการกุศลโดยวงดนตรีสุนทราภรณ์ติดกัน มานาน ๑๒ ครั้ง แต่ ๒ ครั้งล่าสุดได้มีโอกาสจัดร่วมกับท่าน อาจารย์ หมอวิชัย โชควิวัฒน โดยส่วนตัวผม ผมรู้จักอาจารย์หมอวิชัย ตั้งแต่ท่านเป็นผู้บริหารระดับสูงในกระทรวงสาธารณสุข ผมแซวท่าน เป็นประจ�ำว่าท่านเป็น “หอสมุดเคลื่อนที่” เพราะความที่ท่านเป็น


10 ต�ำนานสุนทราภรณ์ หนอนหนังสือ ชอบอ่าน ชอบเขียน เลยมีความรอบรู้รอบด้าน ผมพูด ทีเล่นทีจริงในที่ประชุมการเตรียมจัดงานคอนเสิร์ตฯ ครั้งที่ ๒ ว่า คนที่จะอ่าน ๘ เล่มนี้จนจบ แล้วเรียบเรียงสรุปเนื้อหาส�ำคัญแบบ กระชับได้ คือ ท่านอาจารย์หมอวิชัย โชควิวัฒน เท่านั้น ในที่สุดความมหัศจรรย์ใจครั้งที่สองก็เกิดขึ้นกับตัวผม คือ ภายในไม่กี่เดือนอาจารย์หมอวิชัยอ่าน ๘ เล่มจนจบ และร้อยเรียง เนื้อหาสาระส�ำคัญออกมาเป็นหนังสือ “ต�ำนานสุนทราภรณ์” ความ ยาวเกือบ ๒๐๐ หน้า ผมอ่านด้วยความสุขทุกบรรทัดจนจบไป ๒ เที่ยว ท�ำให้เกิดความกระหายที่อยากจะอ่านให้ครบทั้ง ๘ เล่ม เสน่ห์ของหนังสือเล่มนี้ คือ การเป็นได้มากกว่าต�ำนาน สุนทราภรณ์ฉบับย่อ เพราะอาจารย์หมอวิชัยไม่ได้แค่ดึงเอาสาระ ส�ำคัญอันโดดเด่นที่เป็นประวัติอันคลาสสิกของครูเอื้อ สุนทรสนาน และวงดนตรีสุนทราภรณ์จากต้นฉบับ ๔,๗๖๒ หน้า มาประพันธ์ ใหม่ให้เกิดอรรถรสในการอ่านเพียงเท่านั้น แต่ยังได้วิเคราะห์ ชีวประวัติของครูเอื้อในหลากหลายมุมมอง โดยเฉพาะเอาความ เป็นอัจฉริยะด้านดุริยางคศิลป์ของครูเอื้อเปรียบกับความอัจฉริยะ ของบุคคลส�ำคัญของโลกอาทิ ลีโอ ตอลสตอย และ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ และได้ขยายความเป็นอัจฉริยะด้านดุริยกวีของครูเอื้อ และอัจริยภาพด้านคีตกวีของครูแก้ว อัจฉริยะกุล จนสามารถมอง ทะลุเห็นตัวตนท่านทั้งสอง ความที่อาจารย์หมอวิชัยมีความเชี่ยวชาญด้านภาษาไทย จึงได้ วิเคราะห์ที่มาและเกร็ดเพลงสุนทราภรณ์ได้อย่างน่าสนใจแบบที่ ผมไม่เคยรู้มาก่อน ตลอดจนน�ำเอาค�ำร้องในเนื้อเพลงสุนทราภรณ์


ต�ำนานสุนทราภรณ์ 11 ออกมาคลี่ให้เห็นที่มาจากรากศัพท์ที่มีความหมายอันล�้ำลึก การขยาย ความประวัติความเป็นมาและวิวัฒนาการของวงดนตรีสุนทราภรณ์ ได้อย่างน่าทึ่งยิ่ง จนฉายภาพให้เห็นปัจจัยส�ำคัญที่ท�ำให้วงดนตรี สุนทราภรณ์เป็นวงดนตรีที่มีอายุยืนยาวนานมากที่สุดในประเทศไทย และก�ำลังก้าวย่างเข้าสู่ครบหนึ่งศตวรรษอย่างสง่างามอีกไม่นานนี้ “ต�ำนานสุนทราภรณ์” เล่มนี้น่าจะเป็นมรดกด้านวรรณกรรม ที่อยู่คู่ไปกับหนังสือชุด “๘๒ ปี สุนทราภรณ์ อนุสรณ์ฝากไว้” รวมกันเป็นชุด ๙ เล่ม ในนามผู้รักครูเอื้อและวงดนตรีสุนทราภรณ์ ต้องขอขอบพระคุณอาจารย์ไพบูลย์และอาจารย์หมอวิชัย ที่ได้ ต่อลมหายใจให้บทเพลงสุนทราภรณ์ยังคงมีชีวิตขับกล่อมมวลชน คนไทยให้มีความสุข และคงคู่อยู่กับแผ่นดินไทยตลอดไป ดร.สง่า ดามาพงษ์ เลขาธิการคณะกรรมการแผนอาหารเพื่อสุขภาวะ ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.).


12 ต�ำนานสุนทราภรณ์ ค�ำน�ำ ผมเป็นเด็กบ้านนอก เมื่อเรียนจบแพทย์ในปี พ.ศ. ๒๕๑๓ บ้านผมยังไม่มีไฟฟ้าและน�้ำประปาใช้ ในวัยเด็กผมจึงรู้จักแต่ สมยศ ทัศนพันธ์, ชาญ เย็นแข, ค�ำรณ สัมบุณณานนท์ และต่อมาคือ ทูล ทองใจ, ก้าน แก้วสุพรรณ, สุรพล สมบัติเจริญ เป็นต้น ผมเริ่มรู้จักเพลงของ สุนทราภรณ์ ครั้งแรก เมื่อเข้าเรียนใน คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ช่วงที่มีการจัด “มีตติ้ง” ไปทัศนศึกษา ผู้จัดได้โรเนียวเพลงไปร้องกันระหว่างเดินทาง มีหลาย เพลงเป็นเพลงสุนทราภรณ์ เช่น ราชาเป็นสง่าแห่งแคว้น, ฝากรัก, สาส์นรัก, นางฟ้าจ�ำแลง, ฟลอร์เฟื่องฟ้า, ภูกระดึง, ขวัญใจจุฬา, ลาแล้วจามจุรี ได้หัดร้องไปด้วย และคุ้นเคยกับเพลงสุนทราภรณ์ มา ตั้งแต่บัดนั้น ผมเป็น “หนอนหนังสือ” แต่เพิ่งได้เห็นหนังสือชุด ๘๒ ปี สุนทราภรณ์ อนุสรณ์ฝากไว้ ของ อาจารย์ไพบูลย์ ส�ำราญภูติ เมื่อพิมพ์ครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๖๔ เมื่อได้หนังสือชุดนี้มา ผมตั้งใจจะหา เวลาอ่านให้จบ แม้จะยังมีงานยุ่งมากและสายตาก็ไม่ดีเหมือนก่อน


ต�ำนานสุนทราภรณ์ 13 เมื่อได้ลงมืออ่านเล่มแรก ก็เห็นว่าไม่ควรจะแค่อ่านเท่านั้น เพราะเป็น หนังสือที่มีคุณค่าอย่างยิ่ง จึงตั้งใจที่จะเขียนแนะน�ำ เผยแพร่ โดยอาจ จะมีการวิเคราะห์วิจารณ์ด้วย และก็ได้เขียนเผยแพร่เป็นตอนๆ ใน คอลัมน์ที่ผมเขียนเป็นประจ�ำในหนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ ซึ่งเผยแพร่ เป็นฉบับออนไลน์ ทุกวันอังคารต่อเนื่องมากว่า ๒๐ ตอน จนเห็นว่าควร รวมพิมพ์เป็นเล่มเพื่อจ�ำหน่ายหารายได้ ให้แก่ สมาคมสภาผู้สูงอายุ แห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ในโอกาสที่สมาคมฯ จะจัดคอนเสิร์ตการกุศลสุนทราภรณ์ ครั้งที่ ๒ ณ หอประชุมศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ในวันอาทิตย์ ที่ ๑๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๕ โดยผมและญาติมิตรจะออกค่าใช้จ่าย ในการพิมพ์ทั้งหมด ส่วนรายได้จากการจ�ำหน่ายจะมอบเป็นทุน ด�ำเนินการให้แก่สมาคมสภาผู้สูงอายุแห่งประเทศไทยฯ ทั้งหมด เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุไทยมีความเข้มแข็ง สามารถพึ่งตนเองได้มาก ที่สุด ยืนยาวที่สุด เป็นภาระแก่สังคมน้อยที่สุด และสั้นที่สุด และ เป็นการบูชาคุณสุนทราภรณ์ที่ท�ำไว้ให้แก่ประเทศชาติบ้านเมือง ขอขอบคุณ อาจารย์ไพบูลย์ ส�ำราญภูติ และ อาจารย์สง่า ดามาพงษ์ ที่กรุณาเขียนค�ำนิยมให้ ขอบคุณ คุณประสาร มฤคพิทักษ์ ที่ช่วยประสานให้ได้รู้จักกับอาจารย์ไพบูลย์ หลังจากที่ผมได้เรียนรู้ จากงานเขียนจ�ำนวนมากของอาจารย์ไพบูลย์มายาวนาน ขอบคุณทุกท่านที่มีส่วนในการจัดคอนเสิร์ตการกุศลครั้งนี้ และร่วมในการจัดท�ำหนังสือเล่มนี้ หวังว่าจะเป็นประโยชน์ตาม สมควร หากมีข้อผิดพลาดบกพร่องประการใด ผมยินดีน้อมรับ ค�ำแนะน�ำติชมด้วยความขอบคุณยิ่ง และขอย�้ำว่า หนังสือชุด ๘๒ ปี สุนทราภรณ์ อนุสรณ์ฝากไว้ เป็นหนังสือทรงคุณค่ายิ่ง ที่ทุกบ้าน


14 ต�ำนานสุนทราภรณ์ ควรหามาวางไว้ในห้องรับแขก ให้ลูกหลานและผู้สนใจได้อ่านประดับ ความรู้ และสร้างแรงบันดาลใจจากความเข้าใจ และเข้าถึงสุนทรียภาพ ของสุนทราภรณ์ให้กว้างขวางยิ่งๆ ขึ้นไป นายแพทย์วิชัย โชควิวัฒน ประธานสมาคมสภาผู้สูงอายุแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี วันพืชมงคล ๒๕๖๕


ต�ำนานสุนทราภรณ์ 15 สำรบัญ ค�ำนิยม : คีตา พญาไท ๕ ค�ำนิยม : ดร.สง่า ดามาพงษ์ ๙ ค�ำน�ำ : นายแพทย์วิชัย โชควิวัฒน ๑๒ ๑. บทน�ำ ๑๙ ๒. พระเจ้าทั้งห้า ต�ำนานความเป็นมาของสุนทราภรณ์ ๒๗ ๓. ท�ำไมสุนทราภรณ์จึงครองใจประชาชนได้ยาวนาน ๓๕ ๔. พระมหากรุณาธิคุณ ๔๙ ๕. อายุวัฒนะ ๕๗ ๖. ดุริยกวีสี่แผ่นดิน ๖๕ ๗. ๑๐๐ เพลงดี ๑๐๐ ปี เอื้อ สุนทรสนาน ๗๑ ๘. ครูแก้ว อัจฉริยะกุล ๗๙ ๙. ครูสุรัฐ พุกกะเวส ๘๗ ๑๐. ครูชอุ่ม ปัญจพรรค์ ๙๓ ๑๑. เบื้องหลังเพลงหนึ่งในดวงใจ ๙๙ ๑๒. ครูศรีสวัสดิ์ พิจิตรวรการ ๑๐๗ ๑๓. “เหมือนบทกวี กรีด และคว้านอารมณ์” ๑๑๑ ๑๔. ปริศนา เพลงศรีปทุมวัน ๑๑๗


16 ต�ำนานสุนทราภรณ์ ๑๕. สุนทรียะมาร์เก็ตติ้ง ๑๒๓ ๑๖. สุนทราภรณ์ในศูนย์การค้า ๑๓๑ ๑๗. พระบรมราโชวาท ๑๓๙ ๑๘. วิชาการตลาดกับสุนทราภรณ์ ๑๔๗ ๑๙. ๖๐ ปี สุนทราภรณ์ ๑๕๕ ๒๐. “ดนตรีไม่ใช่การท�ำเสียงอึกทึก...” ๑๖๑ ๒๑. บทส่งท้าย ๑๖๗ ๒๒. ภาคผนวก ๑๗๓


ต�ำนานสุนทราภรณ์ 17 อันดนตรี มีคุณทุกอย่างไป ย่อมใช้ได้ ดังจินดาค่าบุรินทร์ จากเรื่อง “พระอภัยมณี” พระสุนทรโวหาร (สุนทรภู่) กวีเอกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์


18 ต�ำนาานสุนทราาภรณ์


ต�ำนานสุนทราภรณ์ 19 ๑ บทน�ำ หลักพระไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา(ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน) เป็นหนึ่งในหัวใจพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็น ธรรมชาติของสรรพสิ่งที่ไม่มีสิ่งใดจะพ้นไปได้ หลักอนิจจัง คือ ทุกสิ่งย่อมเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วดับไป วงดนตรีก็เช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะโด่งดังระดับโลก เช่น วงเดอะ บีตเทิลส์ (The Beatles) หรือ “สี่เต่าทอง” ของอังกฤษ ซึ่งมี อิทธิพลอย่างกว้างขวางใน “โลกเสรี” ทั่วโลก ไม่นานก็ถึงกาล ต้องสลายวง ในเมืองไทยก็มีวงดนตรีมากมายที่โด่งดังขึ้นมา ได้ระยะหนึ่ง แล้วก็แตกวงและเลือนหายไป เช่น วงดิอิมพอสซิเบิ้ล, วงรอยัลสไปรท์ส, สุรพล สมบัติเจริญ, ไพรวัลย์ ลูกเพชร, พุ่มพวง ดวงจันทร์ ฯลฯ


20 ต�ำนานสุนทราภรณ์ ครูเอื้อ สุนทรสนาน กับ วงสุนทราภรณ์ 20 ต�ำนานสุนทราภรณ์


ต�ำนานสุนทราภรณ์ 21 มีแต่ วงดนตรีสุนทราภรณ์ ที่ยืนยงมาได้หลายทศวรรษ นับตั้งแต่ก่อตั้งมา เมื่อวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ นับถึงปีนี้ ก็เข้าปีที่ ๘๓ แล้ว นับว่ายาวนานเป็นประวัติการณ์ ไม่เพียงแต่ส�ำหรับ วงดนตรีในประเทศไทย แต่น่าจะไม่มีวงดนตรีลักษณะคล้ายคลึงกัน นี้ในโลกที่มีอายุยืนนานมาได้ขนาดนี้ แน่นอนว่า ด้วยประวัติอันยาวนาน ย่อมมีเรื่องราวมากมาย ที่ควรแก่การ “เล่าขาน” หรือบันทึกไว้ ทั้งเรื่องราวของบทเพลง ชีวิตของผู้คนที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนบทวิเคราะห์เชิงวิชาการว่า ท�ำไม วงดนตรีนี้ถึงได้ด�ำรงอยู่มาได้อย่างยาวนานกว่า ๘ ทศวรรษแล้ว ธรรมดา สังคมไทยเป็น “สังคมคุย” ไม่ใช่ “สังคมอ่าน” นั่นคือ มักจะไม่ใคร่มีการบันทึกเรื่องราวเอาไว้ ซึ่งอาจเป็นเพราะคติแต่โบราณ สอนกันมาว่า “ปากเป็นเอก เลขเป็นโท หนังสือเป็นตรี” คนที่เก่ง หนังสือแต่ก่อนก็มักได้เป็นเพียงเสมียนหรืออาลักษณ์ น้อยนักที่จะเป็น ใหญ่เป็นโต หรืออาจเป็นเพราะเมืองไทยเป็นเมืองร้อน จึงปลูกบ้าน ใต้ถุนสูง กลางวันมักอยู่ใต้ถุนบ้านเพื่อรับลม ไม่อุดอู้อยู่ในบ้านจึงมี โอกาสพบปะผู้คน ได้พูดคุยกัน ต่างจากในเมืองหนาว ที่ทุกปีจะต้อง หลบหนาวอยู่แต่ในบ้านตลอด “ฤดูหนาวอันแสนนาน” ขนบเรื่อง การอ่านหนังสือจึงปลูกฝังและบ่มเพาะขึ้นและสืบทอดต่อๆ กันมา แต่น่ายินดีที่เรื่องราวของสุนทราภรณ์มีผู้ “เห็นคุณค่า” และ “เห็นการณ์ไกล” รวบรวมเรื่องราวไว้เป็นหนังสือถึง ๘ เล่ม รวมแล้ว ถึง ๔,๗๖๒ หน้า คือ “คีตา พญาไท” ซึ่งเป็นนามปากกาของ คุณไพบูลย์ ส�ำราญภูติ ผู้เป็นทั้งนักบริหาร นักขาย นักการตลาด ที่มีชื่อเสียงของไทย มีผลงานที่โด่งดัง โดดเด่น มากมาย รวมทั้งเป็น


22 ต�ำนานสุนทราภรณ์ เล่ม ๑ พระเจ้าทั้งห้า เล่ม ๓ ๑๐๐ เพลงดี เล่ม ๖ ชอุ่ม ปัญจพรรค์ เล่ม ๒ เอื้อ สุนทรสนาน เล่ม ๔ แก้ว อัจฉริยะกุล เล่ม ๗ ศรีสวัสดิ์ พิจิตรวรการ เล่ม ๕ สุรัฐ พุกกะเวส เล่ม ๘ สุนทรียะมาร์เก็ตติ้ง 22 ต�ำนานสุนทราภรณ์


ต�ำนานสุนทราภรณ์ 23 นักเขียน นักแปล และเป็นผู้ที่รู้จักคลุกคลีอยู่ในวงการดนตรี รวมทั้ง เกี่ยวข้องโดยตรงกับวงดนตรีสุนทราภรณ์ด้วย ซึ่งเมื่อหนังสือเล่มแรก ที่หนาถึง ๖๙๒ หน้าออกมาในประเทศไทย ซึ่งเป็น “สังคมคุย” ไม่ใช่ “สังคมอ่าน” ดังได้กล่าวแล้ว จึง “มีปัญหาเรื่องจัดจ�ำหน่าย” แต่คุณไพบูลย์ก็สามารถแก้ปัญหาได้โดยการจัดคอนเสิร์ต โดย “ขายบัตรคอนเสิร์ตแถมหนังสือ” หรือ “ซื้อหนังสือแถมบัตร คอนเสิร์ต” จนประสบความส�ำเร็จถึงขั้น “ติดลม” เขียนเรื่องราวของ สุนทราภรณ์ต่อมาได้รวมถึง ๘ เล่ม รวมพิมพ์ครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๕ และได้พิมพ์ครั้งที่ ๒ ในปี พ.ศ.๒๕๖๔ แน่นอนว่า การรวบรวมเรื่องราวของสุนทราภรณ์ในสังคมไทย ที่ไม่ใคร่รู้จักหรือไม่ให้ความส�ำคัญกับสิ่งที่ฝรั่งเรียกว่า archives หรือ “จดหมายเหตุ” เท่าไรนัก ท�ำให้มักจะไม่มีการเก็บหลักฐาน ส�ำคัญไว้ ปล่อยให้สูญหายไปกับกาลเวลา เอกสารส�ำคัญก็มักไม่มีการ เก็บไว้อย่างเป็นระบบ ระเบียบ เรื่องราวต่างๆ จึงมักจะอยู่ในรูป “มุขปาฐะ” (oral tradition) หรือเป็นเรื่องเล่าแบบ “ปากต่อปาก” ซึ่งส่วนมากย่อม “ผิดเพี้ยน” หรือถึงขั้น “ผิดพลาดคลาดเคลื่อน” และสุดท้าย เรื่อง “ดีๆ” จ�ำนวนมากก็ “ตายไปกับตัว” ของบรรดา “ผู้รู้” หรือ “ประจักษ์พยาน” นั้น คุณไพบูลย์จึงได้บันทึกไว้ท้ายหนังสือ เล่มที่ ๑ ว่า “เมื่อได้ ลงมือรวบรวมข้อมูล เอกสาร หนังสือต่างๆ ของบุคคล เหตุการณ์ ที่เกี่ยวข้องกับวงดนตรีสุนทราภรณ์แล้ว จึงพบว่าเป็นงานที่หนักหนา สาหัสเอาการ เพราะข้อมูลที่มีอยู่กระจัดกระจายหลายที่หลายแห่ง และไม่มีความสมบูรณ์ในตัวเองเลย”


24 ต�ำนานสุนทราภรณ์ “บางเรื่องก็เป็นการบอกเล่า กล่าวขาน เขียนขึ้นจากความ ทรงจ�ำ หรือได้ยินได้ฟังต่อๆ กันมา บางเหตุการณ์ก็สอดคล้องต้องกัน บางเรื่องก็ขัดแย้ง หรือไม่ตรงกัน และที่ส�ำคัญก็คือ ผู้ที่เกี่ยวข้อง หรืออยู่ในเหตุการณ์นั้นๆ ก็ลาจากพวกเราไปอยู่บนสวรรค์กัน หมดสิ้นแล้ว” “ยิ่งไปกว่านั้น หน่วยราชการบางหน่วยที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราว เหล่านี้โดยตรง เช่น กรมประชาสัมพันธ์ และ อ.ส.ม.ท. กลับไม่มี ข้อมูล เอกสาร ที่จะสามารถอ้างอิงได้เลย เพราะเกิดเหตุการณ์ เพลิงไหม้ขึ้นเมื่อหลายปีที่ผ่านมา จึงต้องอาศัยเอกสาร หนังสือจาก ห้องสมุดต่างๆ ... รวมทั้งเอกสารต่างๆ จาก วงดนตรีสุนทราภรณ์ ฯลฯ เป็นหลัก” ในที่สุด คุณไพบูลย์จึงเลือกใช้วิธี การ คือ “ได้พยายามค้นหา ศึกษาหา ข้อมูลรายละเอียดต่างๆ ให้มากที่สุด เท่าที่จะท�ำได้ ภายใต้ข้อจ�ำกัดดังกล่าว ข้างต้น และเห็นว่าข้อเขียนของผู้ที่ เกี่ยวข้องต่างๆ นั้น ล้วนมีคุณค่าในเชิง ประวัติศาสตร์ หรือต�ำนาน เรื่องราว ความเป็นมา จึงน�ำมาร้อยเรียงใหม่ให้ น่าอ่านและเข้าใจง่ายขึ้น โดยจะไม่ไป แตะต้องหรือดัดแปลงข้อมูลเก่าใดๆ ทั้งสิ้น เพื่อเป็นการยกย่อง เชิดชูเกียรติ เจ้าของบทความหรือข้อเขียน นั้นๆ ให้เป็นที่ปรากฏ และจะได้เป็นแนวทางในการท�ำการค้นคว้า ศึกษาวิจัยต่างๆ ในอนาคต” ไพบูลย์ ส�ำราญภูติ


ต�ำนานสุนทราภรณ์ 25 ต้องขอบคุณคุณไพบูลย์เป็นอย่างยิ่งที่สร้างงานวรรณกรรมที่ ทรงคุณค่ายิ่งชุดนี้ออกมา ทั้งๆ ที่มีงานหลักคืองานด้านธุรกิจ มิใช่ “นักวิชาการ” งานนี้แม้มิใช่ “เรื่องแต่ง” (Fiction) ในวงวรรณกรรมไทย อย่าง “ผู้ชนะสิบทิศ” ของ ยาขอบ, “ขุนศึก” ของ ไม้ เมืองเดิม, “ล่องไพร” ของ น้อย อินทนนท์, “เพชรพระอุมา” ของ พนมเทียน แต่เรื่องราวที่ส่วนมากเป็น “เรื่องเล่า” จากชีวิตจริง ก็มีคุณค่ายิ่ง สามารถให้คติเตือนใจ และข้อส�ำคัญคือ ได้เรียนรู้ว่าวงดนตรีสุนทราภรณ์ของเด็กหนุ่มน้อยจากอัมพวาคนนี้ มีก�ำเนิด เติบโต ยิ่งใหญ่ และยั่งยืนมายาวนานได้อย่างไร


26 ต�ำนาานสุนทราาภรณ์


ต�ำนานสุนทราภรณ์ 27 ๒ พระเจ้าทั้งห้า  ต�ำนานความเป็นมา ของสุนทราภรณ์ หนังสือเล่มแรกในชุด “๘๒ ปี สุนทราภรณ์ อนุสรณ์ ฝากไว้” ชื่อ “พระเจ้าทั้งห้า : ต�ำนานความเป็นมาของสุนทราภรณ์” เขียนขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๔๕ ซึ่งเป็นปีที่วงดนตรีสุนทราภรณ์มีอายุครบ ๖๓ ปี คำว่า “พระเจ้าทั้งห้า” เป็นชื่อ เพลงสุดท้ายในชีวิตของสุนทราภรณ์ที่ ครูเอื้อ สุนทรสนาน มอบให้ สุรัฐ พุกกะเวส ประพันธ์คำร้อง เป็นเพลงสุดท้ายที่ ครูเอื้อบันทึกเสียงไว้ พระเจ้าทั้งห้า คือ (๑) บิดาและมารดร (๒) ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ (๓) ครูอาจารย์ (๔) ลูกรัก เมียขวัญ และ (๕) ซอสุดรัก “ไวโอลิน”


28 ต�ำนานสุนทราภรณ์ หนังสือเล่มนี้หนาถึง ๖๙๒ หน้า เริ่มต้นสรุป “เส้นทางแห่งต�ำนาน ๖๒ ปี ของสุนทราภรณ์” เรียงล�ำดับ ย้อนหลังไปตั้งแต่วันที่ ๑๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๒๖ ซึ่งเป็นวันเกิด พระเจนดุริยางค์ “นักดนตรีเอกของไทย ยุครัตนโกสินทร์” จนถึง พ.ศ. ๒๕๔๔ ปิดท้ายด้วยรายการคอนเสิร์ต “ยอด ขุนพลแห่งวงดนตรีสุนทราภรณ์” จัดที่หอประชุมใหญ่ศูนย์วัฒนธรรม แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ ๘ ธันวาคม “ข้อมูลส่วนใหญ่ได้มาจากหนังสืออนุสรณ์งานพระราชทาน เพลิงศพ และข้อเขียนจากหนังสือที่ระลึก สูจิบัตร งานคอนเสิร์ต ของบรรดาศิลปิน ครูเพลง นักร้อง นักดนตรีที่มีชื่อเสียง” ต่อจากนั้นเป็นเรื่องราวตามล�ำดับ “พระเจ้าทั้งห้า” ตามหลักฐาน เอกสาร ค�ำบอกเล่า ทั้งเรื่องราวชีวิตเบื้องหลังความเป็นมาของ เพลงบางเพลง รวมทั้งเนื้อเพลงส�ำคัญๆ จ�ำนวนมาก โดยเนื้อเพลง ได้ผ่าน “การสังคายนาเนื้อเพลง โน้ตเพลงสุนทราภรณ์ทั้งหมด” ที่ได้จัดท�ำในโอกาสงานฉลอง ๖๐ ปี วงดนตรีสุนทราภรณ์ ที่จัดเมื่อ ปี พ.ศ. ๒๕๔๒ ตลอดทั้งเล่ม มีเกร็ดต�ำนาน เรื่องราวที่ทรงคุณค่าน่าสนใจ มากมาย เช่น รวงทอง ทองลั่นธม เดิมชื่อ ก้อนทอง คนที่ช่วยกันคิด ชื่อ “รวงทอง” ให้ คือ พลโท ม.ล.ขาบ กุญชร, ครูแก้ว อัจฉริยะกุล พระเจนดุริยงค์ (ปิติ วาทยะกร) เป็นชาวเยอรมัน ชื่อเดิมคือ ปีเตอร์ ไฟท์


ต�ำนานสุนทราภรณ์ 29 และ ชอุ่ม ปัญจพรรค์ เมื่อครั้งได้มี โอกาสร้องเพลง “รักบังใบ” ที่ ชอุ่ม ปัญจพรรค์ ตั้งใจแต่งให้ และได้บันทึก เสียงไว้เป็นคนแรก เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๙ หลังจากญาติผู้ใหญ่พาไปฝากฝังครูเอื้อ ให้ฝึกฝนด้านการขับร้องเพลงในปี พ.ศ. ๒๔๙๗ เมื่ออายุได้ ๑๗ ปี ครูเอื้อเล่าว่า ตอนร้องเพลง “รักบังใบ” ส่งกระจายเสียงทางวิทยุ กรมประชาสัมพันธ์ “บรรดาแฟนเพลงในกรมประชาสัมพันธ์ถึงกับ วิ่งกันเกรียวกราวมาดูตัวผู้ร้อง ตลอดจนผู้หลักผู้ใหญ่และผู้อุปการะ วงดนตรีได้ให้ความสนใจ โทรศัพท์มาไต่ถาม และขอฟังเพลงอีก หลายครั้งในรายการเดียวกัน” (หน้า ๔๔๐) รวงทองมีฉายา “ลูกเป็ดขี้เหร่” สาเหตุเพราะ “เป็นเด็กที่มี ความมั่นใจในตนเองมาก แต่งตัวตามใจตน ... เพราะร่างโปร่ง สุ่มไก่ ใส่รองเท้าส้นสูง เวลาเดินแลดูคล้าย ลูกเป็ด ส่วนค�ำว่า ‘ขี้เหร่’ นั้น เรียก ด้วยความเอ็นดู” (น. ๔๔๒) อีกฉายา หนึ่ง คือ นักร้อง “เสียงน�้ำเซาะหิน” มาจากข้อเขียนของ รัตนะ ยาวะประภาษ เจ้าของฉายา “กวีร้อยแก้ว” จากส�ำนวนกลอนเปล่าในนามปากกา “ราช รังรอง” ในนิตยสาร “ชาว กรุง” รวงทอง ทองลั่นธม รัตนะ ยาวะประภาษ


30 ต�ำนานสุนทราภรณ์ “รวงทอง ทองลั่นธม ... เจ้าของเสียง ... น�้ำเซาะหิน ใสและเสนาะไปด้วยกังวาน เสียงน�้ำเซาะหิน วิเวก ... และแผ่วหายไป ... ดังบีบหัวใจให้เสียดลึก กระแสเสียงเยี่ยงนี้ ... สร้างทั้งความหลับ และความตื่น ... สร้างทั้ง ความสุข และความวิโยค ... ที่สุด ... สร้างทั้งความเคลิ้มเผลอ ต่อคนที่มีความหวังสูง ให้อาดูรไปกับความเปราะ ... และสูญของหัวใจ ... คนนี้คือ ... รวงทอง ทองลั่นธม และคนนี้คือดรุณีนางที่ “สุนทราภรณ์” ถนอมและหวงแหน ไม่ใช่ความบอบบางแห่งเรือนร่าง ... แต่มนต์เสียงที่สะกดผู้ยินทั่วทิศ และคนนี้เอง ... ที่โลดสู่เวหาเพลง อย่างประหลาดล�้ำ ด้วยท่วงท�ำนองเสียงละม้าย มัณฑนา โมรากุล อยู่มาก (น. ๔๓๙) ส่วนเพลง “จ�ำได้ไหม” ที่โด่งดังอีกเพลงของรวงทอง เป็นเพลง รัก แต่ที่มาของชื่อเพลงนี้ “ครูธาตรี” คือ วิชัย โกกิลกนิษฐ์ เล่าว่า มาจากเป็นหนี้ค่าเหล้า เมื่อถามเจ้าของร้านว่า “ท�ำไมมากนักล่ะ” เจ้าของร้านพลิกสมุดให้ดูแล้วถามว่า “ยังจ�ำได้มั้ย” ค�ำถามนี้เลย กลายเป็นชื่อเพลงที่ท�ำให้รวงทองโด่งดังครองใจผู้คนยาวนาน นักร้องประจ�ำวงสุนทราภรณ์คู่หนึ่งคือ เลิศ ประสมทรัพย์ - ศรีสุดา รัชตะวรรณ นั้น คนจ�ำนวนมากเข้าใจผิดว่าเป็นสามีภรรยา กัน เพราะ “ร้องคู่กันเป็นประจ�ำ ... บอกไม่ใช่ก็หาว่าโกหก” (น. ๓๘๑)


ต�ำนานสุนทราภรณ์ 31 เลิศ แต่งงานกับ ม.ล.ปราลี มาลากุล หลังจากรู้จักกันมาเกือบ ๑๖ ปี คุณอาภรณ์ ภรรยาครูเอื้อเล่าว่า ครูเอื้อรักเลิศเหมือนลูก และครูเอื้อ กับภรรยาเป็นคนไปสู่ขอ ม.ล. ปราลี กับคุณหญิง ผู้เป็นมารดา ท�ำให้ “คุณเลิศได้คู่ครองที่ดี เป็นผู้มีสกุลรุนชาติ จนท�ำให้คุณเลิศสุขสบาย จนวาระสุดท้ายของชีวิต” (น. ๓๘๒) นักร้องในต�ำนานของวงดนตรี สุนทราภรณ์คนหนึ่ง คือ วินัย จุลละบุษปะ เข้าสู่วงการเพลง และ “แจ้ง เกิด” จากการร้องเพลงหน้าเวทีที่ โรงภาพยนตร์โอเดียนกับวงดนตรี สุนทราภรณ์ เพลงแรกที่ร้องคือเพลง “ทาสน�้ำเงิน” ครูสมาน (ใหญ่) นภายน ผู้ได้รับฉายา “คัมภีร์สุนทราภรณ์เคลื่อนที่” เพราะมีความรู้และ เลิศ ประสมทรัพย์ ศรีสุดา รัชตะวรรณ วินัย จุลละบุษปะ


32 ต�ำนานสุนทราภรณ์ ประสบการณ์เกี่ยวกับเรื่องราวของบุคคลที่อยู่ในวงดนตรีสุนทราภรณ์ มากกว่าใครๆ เล่าว่าวันที่วินัยออกไปร้องเพลงทาสน�้ำเงินนั้น ผู้คนใน โรงภาพยนตร์ “พากันสงสัยว่าจะไปรอดหรือไม่ เพราะโดยรูปร่าง หน้าตาแล้ว ไม่น่าจะมาเป็นนักร้องอะไรกับเขาได้เลย แต่พอวินัย จุลละบุษปะ ขึ้นเพลงเพียงท่อนแรก ผู้ชมก็พากันเงียบกริบ เพราะ น�้ำเสียงที่ร้องนั้น นุ่ม ชัดเจน และมีความไพเราะมาก จึงปรบมือให้ อย่างกึกก้อง เมื่อร้องจบ” (น. ๓๗๐) และตั้งแต่นั้นมาชื่อของ วินัย จุลละบุษปะก็เป็นที่รู้จักและยอมรับกันไปทั่ว ปีนั้นราว พ.ศ. ๒๔๘๖ วินัยอายุได้ราว ๒๑ ปี เพ็ญศรี พุ่มชูศรี มัณฑนา โมรากุล อีกเรื่อง คือ “ชื่อเล่น” ของ เพ็ญศรี พุ่มชูศรี ที่ใครต่อใคร เรียกว่า “พี่โจ๊ว” บ้าง “ป้าโจ๊ว” บ้าง ครูเอื้อเล่าไว้ตั้งแต่เมื่อวันที่ ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๙ ว่า “เพ็ญศรีชอบแต่งตัวชุดสีเหลืองเป็น กระโปรงยาวๆ บ่อยครั้ง มัณฑนา โมรากุล นักร้องของวงในขณะนั้น


ต�ำนานสุนทราภรณ์ 33 พูดกับเพื่อนๆ แบบติดตลกว่า เพ็ญศรีแต่งตัวเหมือน ‘ฮุดโจ๊ว’ ซึ่ง แปลว่า พระจีน ใครต่อใครขบขันนิคเนมของเพ็ญศรี ก็เลยพลอยเรียก กันเล่นตามที่มัณฑนาตั้งขึ้นว่า ‘ฮุดโจ๊ว’ เรื่อยมา ไม่ค่อยมีใครเรียก เพ็ญศรี นานๆ เข้าค�ำว่า ‘ฮุด’ ก็ค่อยๆ หายไป เหลือค�ำเดียวว่า ‘โจ๊ว’ คล้ายๆ เด็กผู้ชาย ก็เลยมีบางคนเรียกอย่างสนิทสนมว่า ‘ไอ้โจ๊ว’ และ กลายเป็น ‘พี่โจ๊ว’ ของน้องๆ เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน” (น. ๔๐๗) เกร็ดเรื่องเช่นนี้มีมากมาย เล่าได้ไม่รู้จบ อยากรู้ต้องไปหา หนังสือมาอ่าน


34 ต�ำนาานสุนทราาภรณ์


ต�ำนานสุนทราภรณ์ 35 ๓ ท�ำไมสุนทราภรณ์ จึงครองใจประชาชน ได้ยาวนาน ประเด็นสำคัญของตำนานสุนทราภรณ์ คือ ทำไมวง ดนตรีนี้จึงโด่งดัง และยั่งยืนมายาวนานกว่า ๘ ทศวรรษแล้ว หนังสือ “พระเจ้าทั้งห้า ต�ำนานความเป็นมาของสุนทราภรณ์” ได้รวบรวมข้อมูลและข้อเขียนไว้มากมาย พอจะสรุปได้เป็น เบื้องต้นว่า ปัจจัยสำคัญที่สุดของความสำเร็จของวงดนตรี สุนทราภรณ์ ก็คือตัว ครูเอื้อ สุนทรสนาน การวิเคราะห์ความ สำเร็จของวงดนตรีสุนทราภรณ์จึงต้องเริ่มต้นที่การวิเคราะห์ ความสำเร็จของครูเอื้อ ซึ่งพอจะสรุปได้ ดังนี้


36 ต�ำนานสุนทราภรณ์ ประการแรกคือ การได้ครูดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งครูคนแรกคือ พระเจนดุริยางค์ ซึ่งเป็นอาจารย์ใหญ่โรงเรียนพรานหลวงที่สอนทั้ง ดนตรีไทยและดนตรีฝรั่งในภาคบ่าย โดยภาคเช้าเรียนวิชาสามัญ ซึ่ง “หลังจากสอบผ่านมัธยม ๑ ผ่านขึ้นไปเรียนมัธยม ๒ ในปี พ.ศ. ๒๔๖๕ พระเจนดุริยางค์เห็นว่าครูเอื้อมีความสามารถพิเศษ นอกจาก หัดไวโอลินแล้ว ท่านอาจารย์ยังหัดเป่าแซ็กโซโฟนอีกอย่างหนึ่งด้วย และให้เปลี่ยนการเรียนดนตรีเป็นเรียนเต็มวัน ส่วนวิชาสามัญนั้น ให้งดเรียนตั้งแต่ชั้นมัธยม ๒” (น. ๔๙๕) นอกจาก พระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยะกร) ผู้ได้รับการยกย่องให้ เป็น “บิดาแห่งดนตรีสากลของไทย” (น.๘๔) แล้ว ครูเอื้อยังได้มีโอกาส เรียนรู้กับ “ครูดนตรี” และ “ครูเพลง” จ�ำนวนมาก ได้แก่ ครูพุ่ม บาปุยะวาทย์, ขุนวิจิตรมาตรา, หลวงวิจิตร วาทการ, พรานบูรพ์, หลวงสุขุมนัย ประดิษฐ, พลโท หม่อมหลวงขาบ กุญชร, นารถ ถาวรบุตร, พระองค์เจ้า จักรพันธ์เพ็ญศิริ, พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล, ท่านผู้หญิงพวงร้อย (สนิทวงศ์) อภัยวงศ์ เป็นต้น (น. ๗๘) ประการที่สอง การมีโอกาสเล่าเรียนทางดนตรี และฝึกฝน ตั้งแต่ยังเล็ก โดย “ค้นพบ” ตนเองว่ารักดนตรีตั้งแต่ยังเด็ก และอยู่ กับดนตรีมาจนตลอดชีวิต ผิดกับวิชาภาษาอังกฤษ ที่พี่สะใภ้เคี่ยวเข็ญ พระเจนดุริยางค์


ต�ำนานสุนทราภรณ์ 37 ให้เรียนเมื่อพ่อส่งตัวเข้ามาเรียนในกรุงเทพฯ เมื่ออายุได้เพียง ๕ ขวบ ทนไม้เรียวของพี่สะใภ้ไม่ไหวก็หนีกลับบ้านที่อัมพวา ส่วนวิชาการ ดนตรีนอกจากได้เรียนในโรงเรียน จากครึ่งวันเป็นเต็มวันแล้ว ยังท�ำ เป็น “อาชีพ” โดยได้บรรจุเข้ารับราชการประจ�ำในกองเครื่องสาย ฝรั่งหลวง ในกรมมหรสพ กระทรวงวัง รับพระราชทานยศเป็น “เด็กชา” (ข้าราชการ ชั้นผู้น้อยจําพวกรับใช้ในกรมมหาดเล็ก) เงินเดือน ๕ บาท ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๖๗ เมื่ออายุได้เพียง ๑๔ ปี และได้ เลื่อนต�ำแหน่งโดยล�ำดับ และสามารถตั้งวงดนตรี ซึ่งเติบโตมาเป็น วงสุนทราภรณ์ได้ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๒ ขณะอายุได้เพียง ๒๙ ปี และ อยู่กับดนตรีจนลมหายใจสุดท้ายของชีวิต ประการที่สาม การได้เพื่อนร่วมงานที่ดี เพราะวงดนตรีจะต้อง ประกอบด้วยองค์ ๕ คือ นักแต่งท�ำนอง (Composer) นักแต่งค�ำร้อง (Lyricist) ซึ่งประกอบเป็นเพลง และยังต้องมี นักเรียบเรียงเสียง ประสาน (Arranger) นักดนตรี (Musician) และ นักร้อง (Singer) ที่มีความรู้ความสามารถที่ “เข้าขั้น” เป็นศิลปิน (Artist) ซึ่งวงดนตรี สุนทราภรณ์มีครบ โดยครูเอื้อเป็นแกนหลักที่ “ครบเครื่อง” ทั้งเป็น ศิลปินนักแต่งท�ำนอง นักดนตรี นักร้อง และหัวหน้าวง เพื่อนร่วมงาน ของครูเอื้อ เช่น เวส สุนทรจามร, เอิบ ประไพเพลงผสม, คีติ คีตากร (ชาวฟิลิปปินส์), แก้ว อัจฉริยะกุล, สมาน กาญจนะผลิน, สง่า อารัมภีร, ชาลี อินทรวิจิตร, สุวัฒน์ วรดิลก, สมศักดิ์ เทพานนท์, สุรัฐ พุกกะเวส, สมาน นภายน, พยงค์ มุกดา, สุรพล โทณะวณิก, พรพิรุณ, ชอุ่ม ปัญจพรรค์, อาจินต์ ปัญจพรรค์ เป็นต้น (น. ๑๘๔) ซึ่งมีจ�ำนวน มาก มีความสามารถสูงเด่น จนได้รับยกย่องเป็นศิลปินแห่งชาติ


38 ต�ำนานสุนทราภรณ์ ประการที่สี่ การได้ศึกษาเล่าเรียนและฝึกฝนทั้งด้านดนตรี สากลและดนตรีไทย โดยมีผู้พยายาม “ผสมผสาน” ความงามและ ความไพเราะของดนตรีทั้งสองสายเข้าด้วยกันในลักษณะ “สังคีต สัมพันธ์” คือการ “น�ำดนตรีมาผสมกัน จนไม่สามารถจะแยกได้ ซึ่งตรงกับการที่ได้น�ำดนตรีไทยกับดนตรีสากลมารวมกัน นั่นก็หมาย ถึงว่า การน�ำเอาเครื่องดนตรีสากล ซึ่งได้แก่ เปียโน กีตาร์ แซ็กโซโฟน กลอง ฯลฯ มาบรรเลงร่วมกับดนตรีไทย ซึ่งได้แก่ ระนาด ฆ้องวง ฯลฯ มาบรรเลงเพลงไทยที่มีมาแต่สมัยโบราณ ... แล้วมาเพิ่มสีสัน โดยการใส่จังหวะทางด้านดนตรีสากลเข้าไป เช่น จังหวะแทงโก้ รุมบ้า เป็นต้น” (น.๙๓) ซึ่งวงดนตรีสุนทราภรณ์ เดินมาตามเส้นทางนี้ จึงสามารถจับใจ ผู้คนด้วยทั้งความหวานของดนตรีไทย และความเร้าใจของดนตรี สากล โดยครูเอื้อสามารถเข้าถึงแก่นแท้ของความงามของดนตรี ทั้งสองสาย นั่นคือ เรียนมาทางด้านดนตรีสากลเป็นพื้นฐานอย่าง ลึกซึ้ง เช่น ไวโอลิน อยู่ในวงดนตรี คลาสสิกที่มีพระเจนดุริยางค์เป็น ผู้ก�ำกับอยู่ถึง ๑๖ ปี ต่อมาได้รับมอบ หมายให้บันทึกเพลงไทยเดิมลงไว้ เป็นโน้ตสากล เมื่อเพลงแจ๊สเข้ามาใน เมืองไทย ก็ได้เพื่อนรุ่นพี่คือ ครูนารถ ถาวรบุตร เป็นครูและมีนักดนตรี ฟิลิปปินส์มาร่วมเล่น ท�ำให้สามารถ เข้าถึงดนตรีแจ๊ส และน�ำมาผสมผสาน ในวงดนตรีได้อย่างกลมกลืน โดย ครูนารถ ถาวรบุตร


ต�ำนานสุนทราภรณ์ 39 รากฐานด้านดนตรีคลาสสิก ท�ำให้เข้าถึงดนตรีนี้ได้อย่างดี เพราะ แท้จริงแล้ว “ดนตรีแจ๊สไม่ได้ทิ้งรากของดนตรีคลาสสิกไปเลย” (น. ๕๗๙) จึงแม้เมื่อแรกครูใหญ่ คือ พระเจนดุริยางค์ จะสั่งห้ามไม่ให้ ไปเล่นดนตรีไทยและแจ๊ส เพราะเกรงว่าจะ “หู” เสีย แต่ครูเอื้อ สามารถก้าวข้ามข้อห้ามนี้ไปได้อย่างงดงาม โดยผสมผสาน ความงามของดนตรีทั้งสามสายเข้าด้วยกันอย่างกลมกลืนลงตัว และจับใจผู้คนมากมายได้อย่างกว้างขวางและยั่งยืนนาน ประการที่ห้า สภาพแวดล้อมและบรรยากาศ ที่บางครั้ง “บีบเค้น” ให้ศักยภาพทางดนตรีแสดงอัจฉริยภาพออกมาได้อย่าง งดงาม โดยหลังก�ำเนิดวงสุนทราภรณ์ได้เพียง ๒ ปีเศษ ประเทศไทย ก็ตกอยู่ในภาวะสงคราม บางคืน นักแต่งท�ำนองและนักแต่งค�ำร้อง กลับบ้านไม่ได้ ต้องค้างที่โรงแรมรัตนโกสินทร์ ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับ “กรมโฆษณาการ” ขณะนั้นคือ กรมประชาสัมพันธ์ในปัจจุบัน ท�ำให้ ทั้งสองฝ่ายต้องท�ำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด โดยบางครั้ง “ท่านผู้น�ำ” คือ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ก็สั่งให้แต่งเพลงออกมาให้เสร็จ โดยเร็ว ทั้งคู่ก็สามารถร่วมกันรังสรรค์เพลงที่ถึงพร้อมด้วยคุณค่า ทางศิลปะ และออกมาได้อย่างรวดเร็ว “ทันใจ” ด้วย ประการที่หก ย่อมหนีไม่พ้น คือ อัจฉริยภาพของครูเอื้อ ที่ “เยี่ยมยอด” ทั้งการแต่งเพลง ร้องเพลง และเล่นดนตรี แล้วยัง “ดูคนออก” ว่า นักร้องคนไหน ควรจะร้องเพลงท�ำนองไหน เช่น เลิศ ประสมทรัพย์เป็นคนชอบสนุก คุยเก่ง หัวเราะเก่ง ครูเอื้อจึงแต่ง เพลงเร็วๆ ให้ร้อง (น. ๓๘๑) เห็น รัชตพันธ์ พงศบุตร ร้องเพลงพร้อม


40 ต�ำนานสุนทราภรณ์ ดีดกีตาร์ ก็ทักว่า “อยากจะเป็นนักร้องหรือนักดนตรี อยากจะเป็น อะไร ควรเลือกเอาดีสักอย่าง” รัชตพันธ์จึงเลือกเป็นนักร้องต่อมา (น. ๔๗๖) กับ เพ็ญศรี พุ่มชูศรี ซึ่ง ครูเวส สุนทรจามร น�ำไปฝึกลอง เสียงตั้งแต่ยังเป็นเด็กหญิงอายุ ๑๔ ครูเอื้อเห็นแล้วก็มองออกว่าเธอ “เสียงพอใช้ ควรสนับสนุนให้เธอเป็นนักร้องดีเด่นในวันหนึ่งได้ แน่นอน” (น. ๕๖๐) สวัสดิ์ ธงศรีเจริญ เจ้าของเพลง “ฝากหมอน” เล่าว่า “บางครั้ง เข้าไปหาครูเอื้อ แล้วเล่าให้ครูฟังถึงไอเดียของเพลงที่อยากจะแต่ง ครูเอื้อก็จะเอากระดาษมาจดโน้ตให้ แล้วก็เอาท�ำนองมาใส่เนื้อ บางเพลงใช้เวลาแค่ ๕ นาทีเท่านั้น ...” (น. ๓๑๖) ครูเอื้อเอาใจใส่ลูกศิษย์อย่างดียิ่ง อย่าง สุพรรณิกา ฉายาพรรณ เคยถูก ครูสริ ยงยุทธ ดุและเคี่ยวเข็ญจนร้องไห้ ครูเอื้อ “จะเรียกเข้ามาปลอบและสอนวิธีการร้องให้ฟังก่อนออกรายการทุก ครั้ง” (น. ๔๘๙) ประการที่เจ็ด เรื่องความรัก ซึ่ง ครูเอื้อมีประสบการณ์ความรักที่เต็มไป ด้วยอุปสรรคขวากหนาม เพราะเป็น ทั้ง “รักต่างชนชั้น” และ “รักต่างวัย” นั่นคือ คุณอาภรณ์ กรรณสูต ที่ครูเอื้อ หมายปองตั้งแต่วัยหนุ่ม อายุ ๒๓ ปี เป็นลูกสาว พระยาสุนทรบุรี ขณะที่ ครูเอื้อเป็นเด็กบ้านนอกจากอัมพวา และมีสถานะของ “คนเต้นกิน ร�ำกิน” คุณอาภรณ์ กรรณสูต


ต�ำนานสุนทราภรณ์ 41 เพราะมีอาชีพเป็น “เพียงนักดนตรี” ที่ผู้ใหญ่ฝ่ายหญิงเคยเรียกไปพบ แล้วบอกว่า “เป็นอธิบดี ฉันยังไม่ให้เลยคุณ” (น. ๑๕๘) และฝ่ายหญิงก็ยัง “เด็กมาก” อายุเพียง ๑๓ ปี เท่านั้น ยังเป็น นักเรียนโรงเรียนขัตติยานีผดุง และต่อมาเข้าเป็นนักศึกษาเตรียม ธรรมศาสตร์ มีหนุ่มน้อยหนุ่มใหญ่มารุมจีบมากมาย ทั้งนักเรียนญี่ปุ่น ทหาร นักเรียนนอก และนักศึกษาธรรมศาสตร์ (น. ๑๕๓) แต่ครูเอื้อมุ่งมั่น ใช้ความมานะพยายามมากมาย จนเกิดต�ำนาน เพลง “บ้านเรือนเคียงกัน” และอื่นๆ เช่น “เพลงยอดดวงใจ” ที่มี เนื้อร้องซึ่งคนแต่งได้สะท้อนความในใจของครูเอื้อ เช่น “ดวงใจคนดี ที่ฉันห่วง โศกรุมเร้าทรวงหน่วงเหนี่ยว ดวงใจ ที่ฉันชื่นชม กลมเกลียว ฉันฝากรักเธอคนเดียว คนอื่นไม่เหลียว ไม่แล ปองรักก็แต่ดวงใจ ...” ซึ่งเพลงนี้เป็นเพลงที่ประทับใจคุณอาภรณ์มากที่สุด (เล่ม ๓ น. ๒๒๕) เพราะ “... เป็นเพลงที่ครูเอื้อแต่งให้กับดิฉัน สมัยที่เริ่มรักกัน ตอน นั้นเป็นช่วงประมาณปี พ.ศ. ๒๔๘๕ เป็นเพลงที่มีท่วงท�ำนองไพเราะ จับใจ อาจเป็นเพราะเพลงนี้ ที่ท�ำให้ดิฉันมีความประทับใจในตัว ครูเอื้อ และได้แต่งงานกับครูเอื้อในอีก ๔ ปี ต่อมา” (เล่ม ๔ น. ๓๗๗) พยานส�ำคัญที่ยืนยันว่าคุณอาภรณ์อยู่ใน “หัวใจ” ของครูเอื้อ เสมอ คือเมื่อครั้งครูเอื้อน�ำวงดนตรีไปเล่นที่โรงภาพยนตร์โอเดียน แล้วจ�ำเป็นต้องตั้งชื่อวงใหม่เพื่อมิให้เป็นปัญหากับวงของ “ทาง ราชการ” คือวงของ “กรมประชาสัมพันธ์” เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๖ ครูเอื้อ ก็คิดเสนอชื่อโดยน�ำค�ำแรกของนามสกุลบวกกับชื่อคุณอาภรณ์ จนเป็นชื่อ “สุนทราภรณ์” (น.๔๙๘) และใช้ตลอดมา ก่อนจะได้ แต่งงานกันอีก ๓ ปีต่อมา


42 ต�ำนานสุนทราภรณ์ โดยในที่สุด ทั้งคู่ได้เข้าพิธีสมรสเมื่อวันที่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๙ ซึ่งขณะนั้นวงดนตรีสุนทราภรณ์มีอายุได้ราว ๖ ปีครึ่งแล้ว ความสมหวังในรักที่ไขว่คว้าและรอคอยมายาวนาน ย่อม เป็นเครื่องหล่อเลี้ยงใจให้ครูเอื้อสร้างทั้งครอบครัวและวงดนตรี สุนทราภรณ์มาได้ด้วยดีอย่างไม่ต้องสงสัย เรื่องเช่นนี้เกิดขึ้นกับบุรุษที่ยิ่งใหญ่มาแล้วมากมาย เช่น ลีโอ ตอลสตอย นักประพันธ์เอกของโลก ก็สร้างวรรณกรรมเรื่องยิ่งใหญ่ คือ “สงครามและสันติภาพ” หลังจากผ่านชีวิตวัยหนุ่มอันโชกโชน จนมาตกหลุมรักสาวน้อยต่างวัย เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๕ โดยตอลสตอย เป็น “หนุ่มใหญ่” อายุ ๓๔ ปี ขณะที่เจ้าสาวอายุเพียง ๑๘ ห่างกันถึง ๑๖ ปี รูปวันแต่งงาน ครูเอื้อ สุนทรสนาน และคุณอาภรณ์ กรรณสูต


ต�ำนานสุนทราภรณ์ 43 ตอลสตอยใช้เวลาเขียนนวนิยายเรื่องสงครามและสันติภาพ เป็นเวลาถึง ๕ ปีเต็ม เริ่มเมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๘ “ใช้เวลาห้าปีเขียน อย่างต่อเนื่องโดยไม่ถูกขัดจังหวะ” และท�ำด้วยความอุตสาหะภายใต้ สภาพของชีวิตที่ดีที่สุด สภาพของชีวิตที่ดีที่สุด เพราะเป็นช่วงที่เขาแต่งงานกับ โซเฟีย อองเดรเยฟนา เมอร์ส ซึ่งมาจากครอบครัวชั้นสูงได้ ๓ ปี โดย ๑๕ ปี แรกของชีวิตแต่งงานเป็นช่วงชีวิตที่มีความสุขที่สุดของตอลสตอย เขาอุทิศตัวให้กับชีวิตสมรสและครอบครัว โดยมีลูกถึง ๑๓ คน ช่วงที่ เขียน “สงครามและสันติภาพ” นั้น ตอลสตอยนับว่ามีความเข้าใจโลก ชีวิต ความรัก และสงคราม ได้อย่างกว้างขวางและลึกซึ้ง โดยเขามี ประสบการณ์จริงของสงครามจากการได้ไปเป็นอาสาสมัครในหน่วย โซเฟีย อองเดรเยฟนา เมอร์ส และ ลีโอ ตอลสตอย


44 ต�ำนานสุนทราภรณ์ ทหารที่คอเคซัสตั้งแต่เมื่ออายุได้ ๒๓ ปี ย้ายไปรบที่เซวัสโตโปล ในสงครามไครเมีย เมื่ออายุ ๒๖ ปี และลาออกจากกองทัพเมื่ออายุ ได้ ๒๙ ปี ตอลสตอยเกิดเมื่อสงครามระหว่างรัสเซียกับนโปเลียนผ่านไป แล้ว ๑๕ ปี เมื่อเริ่มเขียน สงครามและสันติภาพ เหตุการณ์ผ่านไป แล้ว ๕๒ ปี แต่ยังมีคนที่ผ่านสงครามจ�ำนวนไม่น้อยที่ยังมีชีวิตอยู่ ตอลสตอยมีโอกาส “ทบทวนวรรณกรรม” จ�ำนวนมาก เพราะเขามี ความสามารถ อ่าน เขียน และพูดได้หลายภาษา ได้พบปะพูดคุยกับ ผู้ผ่านเหตุการณ์โดยตรงจ�ำนวนมาก และได้ไปดูสถานที่ที่เกิด เหตุการณ์จริงหลายแห่ง ฉากสงครามและชีวิตผู้คนจึงโดดเด่นอยู่ใน สมองของตอลสตอย ในเรื่องความรัก ชีวิตรักอันหวานชื่น ท�ำให้ตอลสตอย สามารถเขียนเรื่องความรักของตัวละครหลายคนได้อย่างลึกซึ้ง และงดงาม บุคคลส�ำคัญที่จะขอกล่าวถึงอีกท่านหนึ่ง ก็คือ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ยอดนักวิทยาศาสตร์ของโลกที่นิตยสารไทม์เลือกให้เป็น “บุรุษแห่งศตวรรษที่ ๒๐” (Man of the 20th Century) ช่วงชีวิตที่รุ่งโรจน์ที่สุดของไอน์สไตน์ คือ ปี ค.ศ. ๑๙๐๕ ซึ่งถือว่าเป็น “ปีมหัศจรรย์ของไอน์สไตน์” เพราะสามารถตีพิมพ์ ผลงานทางวิทยาศาสตร์ที่ “เปลี่ยนโลก” ได้ถึง ๔ เรื่องในปีนั้น เมื่ออายุได้เพียง ๒๙ ปี ซึ่งรวมทั้งทฤษฎีสัมพัทธภาพเฉพาะ และ สมการ E=mc2


ต�ำนานสุนทราภรณ์ 45 ไอน์สไตน์มีสัมพันธ์รักกับเพื่อนสาวชื่อ มิเลวา มาริก ตั้งแต่จบ การศึกษาจากวิทยาลัยโพลีเทคนิคในปี ค.ศ. ๑๙๐๐ และได้ลูกสาว ชื่อ ลีเซิร์ล เมื่อปี ค.ศ. ๑๙๐๑ แต่เธอพิการหรือป่วยหนัก ก่อนจะถูก ยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของครอบครัวหนึ่งและเสียชีวิตเมื่ออายุ ประมาณ ๒ ขวบ ไอน์สไตน์แต่งงานกับมาริก เมื่อปี ค.ศ. ๑๙๐๓ และ ปี ค.ศ. ๑๙๐๕ ฮานส์ ลูกชายก็เกิด สตีเฟน ฮอว์กิง อัจฉริยะทางฟิสิกส์ในยุคปัจจุบันเขียนถึง ไอน์สไตน์ว่า “ช่วงนั้น เป็นช่วงเวลาที่มีความสุขที่สุดของไอน์สไตน์ เพื่อนบ้านจ�ำได้ว่า มักจะเห็นคุณพ่อวัยหนุ่มเข็นรถลูกอย่าง ใจลอยไปตามถนนในเมือง และบ่อยๆ ที่ไอน์สไตน์จะก้มลงไปหยิบ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และ มิเลวา มาริก


46 ต�ำนานสุนทราภรณ์ แผ่นกระดาษเพื่อจดบันทึกบางอย่าง เป็นไปได้อย่างยิ่งว่าแผ่น กระดาษจดบันทึกในรถเข็นเด็กนั้นเป็นสูตรและสมการที่ต่อมา กลายเป็นทฤษฎีสัมพัทธภาพ...” ไอน์สไตน์กับครูเอื้อ เหมือนกันอีกอย่างหนึ่งคือ “ไวโอลิน” ไอนสไตน์เริ่มฝึกไวโอลินตั้งแต่เมื่ออายุประมาณ ๖ ขวบ และ ไวโอลินก็กลายเป็นชีวิตจิตใจตลอด ชั่วชีวิตของเขา แน่นอนว่า มันสมองอันล�้ำเลิศ เป็นปัจจัยส�ำคัญของความ ส�ำเร็จในงานทั้งด้านวิทยาศาสตร์ และศิลปะ แต่เบื้องหลังความ ส�ำเร็จจ�ำนวนมาก คือ “รักที่สมหวัง” ไอน์สไตน์จะพกพาไวโอลิน ซึ่งมีชื่อเล่นว่า “ลีนา” ติดตัวไปด้วยเสมอ ระหว่าง เดินทาง เพื่อใช้เล่นในวงแชมเบอร์ (วงดนตรีขนาดเล็กที่มีเครื่องเล่นน้อยชิ้น) ที่บ้าน เพื่อนสักคนตอนเย็น


ต�ำนานสุนทราภรณ์ 47 คุณอาภรณ์ นอกจากจะเป็น “ดวงใจ” ของครูเอื้อแล้ว ยังเป็นคู่ชีวิต ที่เป็น “หลักชีวิต” ให้แก่ครูเอื้อด้วย ดังกรณีที่ครูเอื้อกับมิตรรุ่นน้องคือ คุณไพบูลย์ ลีสุวัฒน์ เจ้าของวงดนตรี “คีตะวัฒน์” ที่มีเรื่องที่ท�ำท่าจะ “ผิดใจ” กัน คุณไพบูลย์ไปขอพบเพื่อ ชี้แจงถึงบ้าน แต่ครูเอื้อไม่ยอมลงไปคุย ด้วย ก็ได้คุณอาภรณ์ขึ้นไป “อ้อนวอน แกมบังคับ” ท�ำให้ครูเอื้อยอมลงมาคุย ด้วย (เล่ม ๒ น. ๙๓) จนเข้าใจกัน และ เป็นมิตรที่ดีต่อกันสืบมา คุณไพบูลย์ ลีสุวัฒน์ (ซ้าย) กับคุณชรินทร์ นันทนาคร


48 ต�ำนาานสุนทราาภรณ์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ครูเอื้อ สุนทรสนาน เข้าเฝ้า ทูลละอองธุลีพระบาทบนพระต�ำหนักอย่างใกล้ชิด


Click to View FlipBook Version