การจัดการความรู้และ
การถ่ายทอดความรู้
ปี 2564
Knowledge Management : KM
สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 10 จังหวัดสุราษฎร์ธานี
กระทรวงการพั ฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
คำ นำ
การจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM) เป็นการรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ใน
องค์กร ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสารมาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กร
สามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่ง
ผลให้องค์กรมีความสามารถเชิงแข่งขันสูงสุด โดยเป้าหมายที่สำคัญของการจัดการความรู้มุ่งพัฒนา
ใน 3 ประเด็น ได้แก่ พัฒนางาน พัฒนาคนและการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ สำนักงานส่งเสริมและ
สนับสนุนวิชาการ 10 เป็นองค์กรหลักในการส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการด้านการพัฒนาสังคมแก่
ภาคีเครือข่ายในระดับพื้นที่ ศึกษา วิเคราะห์ สถานการณ์เพื่อคาดการณ์แนวโน้มสถานการณ์ทาง
สังคมและผลกระทรบ การถ่ายทอดความรู้ด้านการพัฒนาสังคมในระดับพื้นที่ รวมถึงเป็นศูนย์เรียนรู้
ศูนย์บริการวิชาการในระดับพื้นที่กลุ่มจังหวัด โดยมีพื้นที่รับผิดชอบ 7 จังหวัด ได้แก่ กระบี่ พังงา
ภูเก็ต ระนอง ชุมพร นครศรีธรรมราช และสุราษฎร์ธานี
สำหรับการดำเนินงานในปี 2564 สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 10 ได้ดำเนิน
โครงการศูนย์บริการวิชาการพัฒนาสังคมและจัดสวัสดิการสังคม โดยมีกิจกรรม การจัดการความรู้
และการถ่ายทอดความรู้ โดยคัดเลือกประเด็นที่น่าสนใจในพื้นที่รับผิดชอบ มาจัดทำเป็นชุดความรู้
ถ่ายทอดให้แก่หน่วยงานและพื้นที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ต่อไป โดยพิจารณาเลือก 5 ประเด็น
ได้แก่
1. ผู้สูงอายุสู่การสร้างอาชีพ
2.เสริมพลัง อพม. สานต่อการพัฒนาสังคม
3.ทีมโฆษก (พม. จังหวัดสุราษฎร์ธานี) กับการขับเคลื่อนงานในพื้นที่
4.ศิลปะบำบัด ศาสตร์ ศิลป์ สู้ซึมเศร้า
5.การจัดการภัยพิบัติ กรณีศึกษา สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
จังหวัดนครศรีธรรมราช
ในโอกาสนี้ สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 10 ขอขอบคุณ คณะที่ปรึกษาการ
จัดทำชุดความรู้ทั้ง 5 เรื่อง ที่ให้การสนับสนุนองค์ความรู้และข้อมูลที่เป็นประโยชน์สำหรับการจัดทำ
ชุดความรู้ในครั้งนี้ และขอขอบคุณ นางสาวมนิดา ลิ่มนิจสรกุล ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและ
สนับสนุนวิชาการ 10 ที่ให้คำแนะนำและสนับสนุนการจัดการความรู้ในครั้งนี้
ทั้งนี้ คณะผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่า การจัดการความรู้ในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อ
ผู้ที่สนใจหรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องและสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนางานหรือนำไป
ประยุกต์ใช้ในการทำงาน เพื่ อให้สอดคล้องตามบริบทงานได้อย่างเหมาะสมต่อไป
คณะผู้จัดทำ
สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 10
ส า ร บั ญ
01 ผู้สูงอายุ...
สู่การสร้างอาชีพ
เสริมพลัง อพม.
02สานต่อ
การพัฒนาสังคม
ทีมโฆษก พม.
03 (จังหวัดสุราษฎร์ธานี)
กับการขับเคลื่อนงาน
ในพื้นที่
ศิลปะบำบัด
ศาสตร์ศิลป์
04สู้ซึมเศร้า
05 การจัดการภัยพิบัติ
กรณีศึกษา
สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคง
ของมนุษย์จังหวัดนครศรีธรรมราช
ผู้สูงอายุ...
สู่การสร้าง
อาชีพ
เรียบเรียงโดย
นางสาวปิยะนาถ ทองส่งโสม
ตำแหน่ง นักพัฒนาสังคมชำนาญการ
คำ นำ
การจัดการความรู้ (KNOWLEDGE MANAGEMENT : KM) เป็นการ
รวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในองค์กร ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร
มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนา
ตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมี
ความสามารถเชิงแข่งขันสูงสุด โดยเป้าหมายที่สำคัญของการจัดการความรู้มุ่ง
พัฒนาใน 3 ประเด็น ได้แก่ พัฒนางาน พัฒนาคน และการเป็นองค์กรหลักในการ
ส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการด้านการพัฒนาสังคมแก่ภาคีเครือข่ายในระดับพื้นที่
ศึกษา วิเคราะห์ สถานการณ์เพื่อคาดการณ์แนวโน้มสถานการณ์ทางสังคมและ
ผลกระทบ การถ่ายทอดความรู้ด้านการพัฒนาสังคมในระดับพื้นที่ รวมถึงเป็น
ศูนย์เรียนรู้ ศูนย์บริการวิชาการในระดับพื้นที่กลุ่มจังหวัด โดยมีจังหวัดพื้นที่รับ
ผิดชอบ 7 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ชุมพร ระนอง พังงา กระบี่ ภูเก็ต
และจังหวัดนครศรีธรรมราชการ
สำหรับการดำเนินงานในปี 2564 สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุน
วิชาการ 10 ได้ดำเนินโครงการศูนย์บริการวิชาการพัฒนาสังคมและจัดสวัสดิการ
สังคม โดยมีกิจกรรม การจัดการความรู้และการถ่ายทอดความรู้ โดยการศึกษา
จากการจัดการดำเนินโครงการตามนโยบายของรัฐบาลเรื่องการสนับสนุนส่งเสริม
การจัดตั้งกองทุนผู้สูงอายุ ให้ผู้สูงอายุได้มีทุนเกี่ยวกับการคุ้มครอง การส่งเสริม
และการสนับสนุนผู้สูงอายุให้มีศักยภาพ ความมั่นคง และมีคุณภาพชีวิตที่ดี รวม
ทั้งให้มีการสนับสนุนกิจกรรมที่ดำเนินงานเกี่ยวกับผู้สูงอายุให้มีความเข้มแข็ง
อย่างต่อเนื่อง
ผู้ สู ง อ า ยุ . . . สู่ ก า ร ส ร้ า ง อ า ชี พ
ในโอกาสนี้ สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 10 ขอขอบคุณ
คุณลุงสมจิตร จิตร์อาภรณ์ ผู้สูงอายุที่ให้การสนับสนุนองค์ความรู้และข้อมูล
สำหรับการจัดการความรู้ในครั้งนี้ และขอขอบคุณ นางสาวมนิดา ลิ่มนิจสรกุล
ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 10 ที่ให้คำปรึกษา แนะนำ
และสนับสนุนการจัดการความรู้ในครั้งนี้
ทั้งนี้ คณะผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่า การจัดการความรู้ในครั้งนี้จะเป็น
ประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจหรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง และสามารถนำไปใช้เป็นแนวทาง
ในการเชิญชวนหรือผู้สูงอายุที่สนใจที่จะเข้าร่วมโครงการกองทุนผู้สูงอายุต่อไป
คณะผู้จัดทำ
สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 10
สิงหาคม 2564
ผู้ สู ง อ า ยุ . . . สู่ ก า ร ส ร้ า ง อ า ชี พ
ส า ร บั ญ หน้า
คำนำ
บทนำ
กองทุนผู้สูงอายุ สู่การสร้างอาชีพ 1
ผู้สูงอายุ คือใคร 1
ประเทศไทยกับการเตรียมความพร้อม 3
แผนกลยุทธ์ในการสนับสนุน ผู้สูงอายุ 4
กิจกรรมของกองทุน 5
ด้านการสนับสนุนกิจกรรม 6
เอกสารที่ใช้ประกอบการในยื่นกู้ 6
สถานที่ที่จะขอรับการสนับสนุน 7
เล่าจากประสบการณ์จริง
ปัญหา/อุปสรรค 10
ข้อดีของการมีกองทุน 10
ข้อเสนอแนะ 11
แผนต่อยอดธุรกิจในอนาคต 12
ภาคผนวก
- รัฐธรรมนูญผู้สูงอายุ
- กฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ
ผู้ สู ง อ า ยุ . . . สู่ ก า ร ส ร้ า ง อ า ชี พ
บ ท นำ
ผู้สูงอายุ เป็นประชากรที่อยู่ในช่วงปั้นปลายของชีวิตที่ควรจะได้ใช้ชีวิต
อย่างมีความสุขกับลูกหลาน อยู่กับธรรมชาติ อยู่กับสิ่งที่รัก เป็นวัยที่ควรจะ
เกษียณตัวเองจากการทำงานหนักเพื่อดูแลครอบครัวอย่างที่เคยทำมา ด้วยสภาพ
ของร่างกายที่เริ่มจะเข้าสู่วัยที่ร่วงโรยจึงควรจะทำงานเบาๆเพื่อออกกำลังแทน
การทำงาน อยู่ในความดูแลของลูกหลาน แต่ในความเป็นจริงแล้วผู้สูงอายุส่วน
ใหญ่ต้องทำงานหาเลี้ยงชีพ ดูแลตัวเองดูแลลูกหลาน และยังมีผู้สูงอายุอีก
มากมายยังเป็นกำลังหลักในการหาเงินมาดูแลครอบครัว ด้วยวัยที่ร่วงโรยลงไปนี้
การที่จะให้ไปทำงานเหมือนวัยแรงงาน ไปสมัครงานที่ไหนก็ยากที่จะมีคนรับงาน
ของผู้สูงอายุจึงต้องเป็นงานที่ต้องลงมือทำด้วยน้ำพักน้ำแรงของตัวเองมากกว่าที่
จะไปเป็นลูกจ้างเขา และแน่นอนว่าการจะทำงานอะไรสักอย่างต้องมีทุนเสมอ
และทุนทางการเงินก็เป็นสิ่งจำเป็นที่จะขับเคลื่อนงานให้ดำเนินไปได้ และผู้สูงอายุ
ทียังทำงานเป็นกำลังหลักให้กับครอบครัว ส่วนใหญ่ก็ไม่ได้มีทุนทางด้านการเงิน
มากพอที่จะต่อยอดอาชีพที่ทำอยู่ได้
กองทุนผู้สูงอายุ จึงเป็นกลไกหนึ่งที่ถูกกำหนดขึ้นมาเพื่อเป็นเครื่องมือใน
การคุ้มครอง ส่งเสริม และสนับสนุนผู้สูงอายุในด้านต่าง ๆ ให้มีศักยภาพ ความ
มั่นคง และมีคุณภาพชีวิตที่ดีมากยิ่งขึ้น รวมทั้งสนับสนุนกิจกรรมขององค์กรที่
ดำเนินงานเกี่ยวข้องกับ การส่งเสริมและการสนับสนุนผู้สูงอายุให้มีศักยภาพ
ความมั่นคง และมีคุณภาพชีวิตที่ดี เนื่องจากประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูง
อายุอย่างเต็มรูปแบบในปี พ.ศ. 2564
ผู้ สู ง อ า ยุ . . . สู่ ก า ร ส ร้ า ง อ า ชี พ
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์โดยสำนักงาน
สวัสดิภาพเด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ ได้เล็งเห็นความสำคัญของ
ผู้สูงอายุในวัยเกษียณให้ได้มีงานทำ มีอาชีพและรายได้ในการดำรงชีวิต และยัง
เป็นการสนับสนุนให้ผู้สูงอายุได้มีกิจกรรม จึงเกิดเป็นกองทุนผู้สูงอายุเพื่อ
สนับสนุนเงินให้ผู้สูงอายุสามารถกู้ยืมเงินมาใช้ในการประกอบอาชีพเพื่อเลี้ยงดู
ครอบครัวได้โดยไม่คิด ดอกเบี้ย
ผู้ สู ง อ า ยุ . . . สู่ ก า ร ส ร้ า ง อ า ชี พ
“ ก อ ง ทุ น ผู้ สู ง อ า ยุ สู่ ก า ร ส ร้ า ง อ า ชี พ ”
“ ผู้ สู ง อ า ยุ ” คื อ ใ ค ร
ผู้ สู ง อ า ยุ คื อ บุ ค ค ล ที่ มี อ า ยุ เ กิ น 6 0 ปี บ ริ บู ร ณ์
ขึ้ น ไ ป แ ล ะ มี สั ญ ช า ติ ไ ท ย
ประเทศไทยกับการเตรียมพร้อมเข้าสู่ สั งคมผู้สูงอายุ
ตอนนี้ประเทศไทยได้เปลี่ยนผ่านเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ ซึ่งองค์การ
สหประชาชาติ ได้ระบุว่า ประเทศใดมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปเกินร้อยละ 10 ของ
ประชากรทั้งประเทศ ให้ถือว่าประเทศนั้นได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และถ้าสัดส่วนของ
ประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปเพิ่มร้อยละ 20 ให้ถือว่าเป็นสังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มรูป
แบบ และประเทศไทยในปี 2564 เป็นสังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มรูปแบบ ดูได้จากข้อมูล
จำนวนประชากรของประเทศเมื่อปี 2563 อยู่ที่ 66,186,727 คน และเป็นผู้มีอายุ 60 ปี
ขึ้นไป จำนวน 11,627,130 คน คิดเป็นร้อยละ 17.57 ของจำนวนประชากรทั้งประเทศ
นั้นจึงหมายความว่ากำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแล้ว และประชากรรวมของ 14
จังหวัดภาคใต้ จำนวน 9,467,901 คน เป็นผู้มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 1,440,608 คน
คิดเป็นร้อยละ 15.22 (ข้อมูลจากกรมการปกครอง ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563) ดังนั้น
รัฐบาลจำเป็นต้องให้การสนับสนุนงบประมาณด้านสวัสดิการแก่ผู้สูงอายุมากขึ้น ทั้งต้อง
ให้ผู้สุงอายุได้รับการดูแลเอาใจใส่ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ การมีงานทำ และยังต้อง
สนับสนุนให้มีการเตรียมการวางแผนการออม การใช้ชีวิตในบั้นปลาย ทำให้ผู้สูงอายุ
รู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่าไม่เป็นภาระต่อสังคมและบุคคลรอบข้าง
เมื่อประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มรูปแบบ รัฐบาล จึงได้ให้
ความสำคัญกับผู้สูงอายุในเรื่องของการลดความเหลื่อมล้ำของสังคมและการ
สร้างโอกาสการเข้าถึงบริการต่างๆของทางภาครัฐ และจะพัฒนาระบบการ
คุ้มครองทางสังคม ระบบการออมและระบบสวัสดิการชุมชนให้มีประสิทธิภาพ
และมีความยั่งยืนมากยิ่งขึ้น
ผู้ สู ง อ า ยุ . . . สู่ ก า ร ส ร้ า ง อ า ชี พ 1
รวมถึงการดูแลให้มีระบบการกู้ยืมที่เป็นธรรมและการสงเคราะห์ผู้ยากไร้ตาม
อัตภาพ พัฒนาศักยภาพ คุ้มครองและพิทักษ์สิทธิจัดสวัสดิการช่วยเหลือและ
พัฒนาคุณภาพชีวิต ผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ ผู้สูงอายุ สตรี และเด็ก ซึ่งตามพระราช
บัญญัติผู้สูงอายุพ.ศ.2546 มาตรา 13 ได้ให้มีการจัดตั้ง “กองทุนผู้สูงอายุ”
ภายใต้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยสำนักงาน
สวัสดิภาพเด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ เพื่อเป็นทุนเกี่ยวกับการ
คุ้มครอง การส่งเสริม และการสนับสนุนผู้สูงอายุให้มีศักยภาพ ความมั่นคง และมี
คุณภาพชีวิตที่ดี รวมทั้งให้มีการสนับสนุนกิจกรรมที่ดำเนินงานเกี่ยวกับผู้สูงอายุ
ให้มีความเข้มแข็งอย่างต่อเนื่อง
กรมกิจการผู้สูงอายุได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์พ.ศ.2560 -2564 ให้
สอดคล้องกับสภาพแวดล้อม สถานการณ์และบริบททางสังคมที่มีการ
เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 นโยบายด้านสังคมของรัฐบาล แผนพัฒนา
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 กรอบยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี กรอบการ
ปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
พ.ศ. 2560-2564และแผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2545-2564) ฉบับ
ปรับปรุง พ.ศ. 2552 เพื่อใช้เป็นทิศทางหรือแนวทางให้กับผู้บริหารและเจ้าหน้าที่
ในทุกระดับ ได้นำไปใช้ในการดำเนินงานและเป็นเครื่องมือให้กับผู้บริหารในการ
กำกับ ติดตามการดำเนินงานเพื่อร่วมกันพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ
ผู้ สู ง อ า ยุ . . . สู่ ก า ร ส ร้ า ง อ า ชี พ 2
ก ร ม กิ จ ก า ร ผู้ สู ง อ า ยุ มี แ ผ น ก ล ยุ ท ธ์ ใ น ก า ร
ส นั บ ส นุ น ผู้ สู ง อ า ยุ ป ร ะ ก อ บ ด้ ว ย 4 ยุ ท ธ ศ า ส ต ร์
(พ.ศ.2560-2564)
1. ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาระบบและกลไกการขับเคลื่อนงานด้านผู้สูงอายุ
อย่างมีบูรณาการและมีประสิทธิภาพ
2. ยุทธศาสตร์ด้านการผลักดันทุกภาคส่วนให้มีส่วนร่วมเตรียมความพร้อม
สังคมสูงวัยอย่างมีคุณภาพ
3. ยุทธศาสตร์ด้านการคุ้มครอง ส่งเสริม และสนับสนุนผู้สูงอายุและพัฒนา
ภาคีเครือข่ายให้เข้มแข็งเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ
4. ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการงานด้านผู้สูงอายุ
เพื่อส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ
กองทุนผู้สูงอายุมีสาระสำคัญ
กองทุนผู้สุงอายุ จัดตั้งขึ้นตามมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ
พ.ศ. 2546 โดยกรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคง
ของมนุษย์
เหตุผลของการจัดตั้งกองทุนผู้สูงอายุ
ก็เพื่อเป็นทุนใช้จ่ายเกี่ยวกับการคุ้มครอง การส่งเสริม การสนับสนุนผู้สูง
อายุ ตามพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ.2546
องค์กรของผู้สูงอายุ
คือองค์กรที่ผู้สูงอายุรวมตัวกันดำเนินการตามวัตถุ ประสงค์และกิจกรรม
ที่เกี่ยวกับการคุ้มครอง การส่งเสริม และการสนับสนุนผู้สูงอายุ
ผู้ สู ง อ า ยุ . . . สู่ ก า ร ส ร้ า ง อ า ชี พ 3
กิ จ ก ร ร ม ข อ ง ก อ ง ทุ น
1. สนับสนุนเงินอุดหนุนโครงการเพื่อส่งเสริมกิจกรรมผู้สูงอายุในลักษณะกลุ่ม
ชมรม ศูนย์บริการ ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ
2. สนับสนุนเงินอุดหนุนโครงการสำหรับองค์กรของผู้สูงอายุ องค์กรที่ทำงาน
ด้านผู้สูงอายุในชุมชน
3. การให้ทุนประกอบอาชีพ ประเภทกู้ยืมรายบุคคลและรายกลุ่มสำหรับผู้สูง
อายุ
4. ให้ความช่วยเหลือผู้สูงอายุที่ถูกทารุณกรรม แสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ
ถูกทอดทิ้ง รวมทั้งประสบปัญหาความเดือดร้อนเรื่องที่พัก อาหาร และ
เครื่องนุ่งห่ม
5. สนับสนุนเงินอุดหนุนองค์กรที่ดำเนินการเกี่ยวกับการให้คำแนะนำปรึกษา
หรือดำเนินการอื่นที่เกี่ยวข้องในทางคดี รวมทั้งการแก้ไขปัญหาครอบครัว
เป็นรายคดี
6. เรื่องอื่นๆ ตามที่คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติกำหนด เพื่อให้ผู้สูงอายุได้
รับประโยชน์สูงสุดตามพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. ๒๕๔๖
ผู้ สู ง อ า ยุ . . . สู่ ก า ร ส ร้ า ง อ า ชี พ 4
ด้ า น ก า ร ส นั บ ส นุ น กิ จ ก ร ร ม
กองทุนสนับสนุน 2 กิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 การสนับสนุนโครงการจะให้การสนับสนุนโครงการใน 3 ขนาด
โครงการขนาดเล็ก วงเงินไม่เกิน 50,000 บาท
โครงการขนาดกลาง วงเงินไม่เกิน 50,000–300,000 บาท
โครงการขนาดใหญ่ วงเงินเกิน 300,000 บาท
ลักษณะโครงการที่จะได้รับการสนับสนุนเงินกองทุน
1. มีวัตถุประสงค์และกระบวนการในการดำเนินงานชัดเจน
2. สร้างการมีส่วนร่วมของบุคคลหรือหน่วยงานหรือประชาชน
3. โครงการของหน่วยงานภาครัฐควรเป็นโครงการใหม่และเร่งด่วนที่ไม่ได้ต้ั
งงบประมาณรองรับและไม่เป็นโครงการ ต่อเนื่อง
4. เป็นโครงการขององค์กรเอกชนหรือองค์กรของผู้สูงอายุที่ไม่ได้รับการ
สนับสนุนงบประมาณจากส่วนราชการและแหล่งทุนอื่นๆ เว้นแต่กรณีได้รับ
แต่ไม่เพียงพอ
ผู้ สู ง อ า ยุ . . . สู่ ก า ร ส ร้ า ง อ า ชี พ 5
กิจกรรมที่ 2 ให้บริการกู้ยืมเงินประกอบอาชีพ โดยไม่คิดดอกเบี้ย แต่ต้องชำระ
คืนเป็นรายงวด และต้องชำระคืนภายในระยะเวลาไม่เกิน 3 ปี มีลักษณะเป็น
2 แบบ คือ
แบบให้กู้ยืมเป็นรายบุคคล วงเงินคนละไม่เกิน 30,000 บาท
แบบให้กู้ยืมเป็นรายกลุ่ม ๆ ละไม่น้อยกว่า 5 คน วงเงินกลุ่มละไม่เกิน
100,000 บาท
เอกสารที่ใช้ประกอบในการยื่นกู้ (ของผู้กู้ และผู้ค้ำ)
1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้กู้ยืมและผู้ค้ำประกัน
2. สำเนาทะเบียนบ้านของผู้กู้ยืมและผู้ค้ำประกัน
3. สำเนาบัตรประจำตัวคู่สมรสและทะเบียนบ้าน (ถ้ามี)
4. หนังสือรับรองเงินเดือน (ออกให้ไม่เกิน 90 วัน) หรือสลิปเงินเดือน เดือน
ล่าสุดของผู้ค้ำประกัน
สถานที่ที่จะขอรับการสนับสนุน
ผู้สูงอายุ หรือองค์กรของผู้สูงอายุ หรือหน่วยงาน สามารถขอรับการ
สนับสนุนจากกองทุนผู้สูงอายุ โดยการเสนอโครงการ/คำขอกู้ยืมเงิน
1. ผู้ที่มีภูมิลำเนาหรือที่ตั้งของสำนักงานอยู่ในกรุงเทพมหานครให้ยื่นต่อกรม
กิจการผู้สูงอายุ
2. ผู้ที่มีภูมิลำเนาหรือที่ตั้งของสำนักงานอยู่ในส่วนภูมิภาคให้ยื่นต่อสำนักงาน
พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด
ผู้ สู ง อ า ยุ . . . สู่ ก า ร ส ร้ า ง อ า ชี พ 6
เ ล่ า จ า ก ป ร ะ ส บ ก า ร ณ์ จ ริ ง
ลุงสมจิตร จิตร์อาภรณ์ อายุ 84 ปี ปัจจุบันอยู่บ้านเลขที่ 132 หมู่ 1
ตำบลพลูเถื่อน อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี เดิมเป็นคนจังหวัดอยุธยา แต่
มาทำงานที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีตั้งแต่หนุ่มๆได้แต่งงานสร้างครอบครัวอยู่ที่นี่ มี
อาชีพทำสวนปาล์ม และทำข้าวซ้อมมือเป็นอาชีพเสริม ด้วยความที่เป็นคน
อยุธยาที่บ้านมีอาชีพทำนามาหลายชั่วอายุคน เมื่อย้ายมาอยู่ที่นี่ใหม่ๆเลยชวน
ครอบครัวทำนา ทำข้าวไร่ ได้รับผลผลิตปีละประมาณ 4-5 ตัน เหลือจากกินใน
ครอบครัวแล้วจึงแบ่งขายเพื่อสร้างรายได้ โดยจ้างให้โรงสีเล็กๆ ในหมู่บ้านสีและ
ช่วยประชาสัมพันธ์ให้ว่าเป็นข้าวไร่ เมื่อเริ่มเป็นที่รู้จักก็เริ่มมีมาสั่งข้าวคนละถัง
บ้าง 2 ถังบ้าง ก็พอจะขายได้เรื่อย ๆ โชคดีที่ก่อนจะมาทำนาที่นี่ลุงทำงานขาย
ทัวร์อยู่ที่โรงแรมวังใต้ จึงพอจะรู้จักหน่วยงาน รู้จักคนที่พอจะช่วยชี้แนะช่อง
ทางในการขาย ประชาสัมพันธ์ และพัฒนาสินค้าให้ดูน่าซื้อขึ้น เมื่อมีโอกาสได้
เข้าไปเป็นคณะกรรมการของศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อการเกษตรประจำตำบล
ก็ได้มีการนำเสนอการทำข้าวซ้อมมือ
ผู้ สู ง อ า ยุ . . . สู่ ก า ร ส ร้ า ง อ า ชี พ 7
ซึ่งเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านและเป็นสินค้าตัวแรกที่นำออกจำหน่าย เมื่อเป็นที่รู้จัก
ของประชาชนทั่วไปแล้ว จึงนำไปจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชนกับสำนักงาน
พัฒนาชุมชนจังหวัด ได้ขึ้นทะเบียนเป็นสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP)
เมื่อมีงานแสดงสินค้าต่างๆก็ได้รับการติดต่อให้นำสินค้าไปขายทำให้เป็นที่รู้จัก
มากขึ้น เมื่อปี พ.ศ.2547 ได้นำสินค้าข้าวซ้อมมือส่งเข้าประกวดปรากฏว่าได้รับ
การคัดเลือกให้ได้ 2 ดาว และเมื่อปี พ.ศ. 2559 ได้รับเป็นผลิตภัณฑ์ 5 ดาว
จนถึงปัจจุบัน
เรื่องเงินทุน
เงินทุนเป็นตัวแปรสำคัญที่จะทำให้ธุรกิจเดินหน้าต่อไปได้ด้วยกำลัง
ทรัพย์ที่ลุงมีอยู่ยังไม่เพียงพอที่จะใช้ขับเคลื่อนกิจการของครอบครัวได้อย่างเต็มที่
ลุงจึงต้องหาเงินทุนเพิ่มเพื่อใช้เป็นทุนหมุนเวียนในการต่อยอดกิจการ ผลพวงจาก
การรู้จักคนและหน่วยงาน ทำให้สามารถเข้าถึงแหล่งทุนได้กว้างขึ้น บางหน่วย
งานให้ทำโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนทุน แต่พอทำโครงการเข้าไปเสนอก็ไม่
ได้รับการสนับสนุนอย่างที่บอกไว้ ลุงจึงต้องมองหาแหล่งเงินทุนไปเรื่อย ๆจนเมื่อ
ปี พ.ศ.2552 ได้มาพบกับกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ซึ่งลุงได้เข้าไปเรียนรู้
และเขียนโครงการเพื่อขอสนับสนุนทุนเป็นเงินกู้เพื่อต่อยอดกิจการ แต่กว่าจะ
ได้การสนับสนุนเงินทุนดังกล่าว ลุงต้องแก้ไขโครงการอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน
จนปี พ.ศ.2556 จึงได้รับอนุมัติเงินกู้จากกองทุน ในวงเงิน 400,000 บาท โดยได้
นำมาทำเป็นโรงเรือน ซื้อเครื่องสีข้าวอัตโนมัติ เครื่องอัด เครื่องซีนถุง แต่ก็ยังไม่
เพียงพอในการประกอบกิจการเพราะปัจจุบันลุงไม่ได้
ผู้ สู ง อ า ยุ . . . สู่ ก า ร ส ร้ า ง อ า ชี พ 8
ทำนาปลูกข้าวเองแล้ว แต่อาศัยสั่งซื้อข้าวเปลือกมาจากต่างจังหวัดเพื่อมาสีเอง
จรึวงมยังค่ตา้อขงนใสช่้งเแงินล
ทะุในนใขนณกาะรเดซืี้ยอวข้กาันวเลปุงลยืัองกต้ซอึ่งงชตำกรอะยูห่ทีน่ี้2ก0อ,ง0ท0ุน0ฟื้บนาฟทูฯ/ตทัุนกปโีดโยดยัยงไม่
ปัจจุบันยังคงค้างอยู่ประมาณ 100,000 บาท ลุงจึงจำเป็นต้องหาแหล่งทุนเพิ่ม
เติม เมื่อลุงได้รู้จักกับกองทุนผู้สูงอายุของ กรมกิจการผู้สูงอายุกระทรวงการ
พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยการแนะนำของ (โอ๋) เจ้าหน้าที่ของ
สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดสุราษฎร์ธานีให้ลุงเข้าไป
เขียนคำร้องขอกู้เงินสำหรับการประกอบอาชีพรายบุคคลจากกองทุนผู้สูงอายุ
จำนวน 30,000 บาท อาจจะไม่เพียงพอต่อความต้องการแต่ก็สามารถนำมาต่อย
อดกิจการได้ อย่างน้อยก็เพียงพอสำหรับการใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการซื้อ
ข้าวเปลือก
เรื่องกลุ่ม
เมื่อปี พ.ศ.2547 ได้ตั้งกลุ่มเริ่มจากสมาชิก 43 คน เก็บค่าสมาชิกคนละ
300 บาท และมีคณะกรรมการศูนย์ จำนวน 13 คน หลังจากปี พ.ศ.2547
สมาชิกก็ค่อยๆ หายไป จนเหลือ 10 คน และสมาชิก 10 คนที่เหลือก็เข้ามาทำ
ข้าวเปลือกซ้อมด้วยมือ ซึ่งถ้ามีข้าวเปลือก 10 ถังก็จะใช้เวลา 10 วันโดย
ประมาณก็ยังไม่เสร็จ เมื่อก่อนกว่าจะได้ข้าวสาร 1 ถังต้องใช้เวลาในการซ้อมนาน
ทำให้สมาชิกค่อยๆ หายไป จนต้องพักกลุ่มไว้ก่อน แต่ถ้าวันใดมีออเดอร์สั่งเข้ามา
เยอะก็จะมีเรียกสมาชิกบางรายเข้ามาช่วย และให้ค่าใช้จ่ายเป็นครั้งๆ รอบๆ ไป
และด้วยเหตุที่ลุงต้องพักกลุ่มไว้ก่อนเนื่องจากยังเป็นหนี้กองทุนอยู่ประมาณหนึ่ง
แสนกว่าบาทด้วย หลังจากนั้นตั้งแต่ปี พ.ศ.2548 ลุงได้ทำข้าวซ้อมมืออยู่กับป้า 2
คนตายาย จนปัจจุบัน
ผู้ สู ง อ า ยุ . . . สู่ ก า ร ส ร้ า ง อ า ชี พ 9
ปั ญหา/อุปสรรค
1. การอนุมัต
ิคำขอกู้ใช้ระยะเวลานานเกินไป อนุมัติล่าช้าไม่ทันต่อความ
ต้องการ
2. ไม่ระบุตัวผู้ค้ำประกันให้ชัดเจน ว่าเป็นใคร ทำอาชีพอะไร มีรายได้เท่าไหร่
3. จำนวนเงินที่ต้องผ่อนชำระมากเกินไปเมื่อเทียบกับรายได้ที่ได้รับ
4. เริ่มรับเงินกู้ไปแล้วก็ต้องเริ่มผ่อนชำระทันทีในเดือนถัดไป ไม่มีการเว้นช่วง
ในการผ่อนชำระในช่วงแรกเพื่อให้สามารถนำเงินทุนไปประกอบกิจการก่อน
5. จำนวนวงเงินที่ให้กู้น้อยเกินไปไม่เพียงพอต่อการนำมาเป็นทุนหรือต่อยอด
ได้
6. วิธีการชำระหนี้ยังใช้วิธีการส่งทางไปรษณีย์ ซึ่งมีความลำบากในการ
เดินทางและต้องเสียค่าธรรมเนียมในการส่ง
ข้อดีของการมีกองทุน
แม้จะเป็นเงินจำนวนที่น้อย แต่สามารถนำมาเป็นทุนต่อยอดทำกิจกรรมได้
ต่อไปได้
เป็นเงินกู้ที่ไม่มีดอกเบี้ย
ผู้ สู ง อ า ยุ . . . สู่ ก า ร ส ร้ า ง อ า ชี พ 1 0
ข้อเสนอแนะ
อยากจะใ
ห้ลดวงเงินการส่งชำระในแต่ละเดือนลงให้น้อยกว่าเดิมเพิ่ม
จำนวนงวดที่ต้องส่งมากขึ้น
ควรมีการพักชำระหนี้ให้กับผู้กู้เนื่องจากสถานการณ์ โควิด -19 หรือ
สถานการณ์ที่เกิดวิกฤตในประเทศ
ควรเพิ่มจำนวนวงเงินกู้ให้มากกว่าเดิม โดยพิจารณาจากกิจกรรมหรือธุรกิจ
ที่ทำอยู่
ผู้ สู ง อ า ยุ . . . สู่ ก า ร ส ร้ า ง อ า ชี พ 1 1
แผนที่จะทำต่อยอดธุรกิจในอนาคต (ถ้ามีทุน)
1. ท ำข้าว
กล้องงอก
เรามารู้จักกันก่อน
ข้าวกล้องงอกคืออะไร?
ข้าวกล้องงอก (GERMINATED BROWN RICE) หรือ GABA – RICE
คือ การนำข้าวกล้องมาผ่านกระบวนการงอก (ข้าวกล้องที่จุ่มน้ำจะมีรากงอกออก
มาเหมือนกับที่เราปลูกถั่วงอก) เมล็ดข้าวกล้องงอกประกอบด้วยเปลือกหุ้มเมล็ด
หรือแกลบ ในเมล็ดมีจมูกข้าวหรือคัพภะ รำข้าว (เยื่อหุ้มเมล็ด) และเมล็ดข้าว
ขาวหรือข้าวสาร ซึ่งกำลังได้รับความสนใจเป็นอย่างมากจากผู้บริโภค เนื่องจาก
ข้าวกล้องงอกนั้นมีสารอาหารที่ดีต่อสุขภาพของเรามากมาย
ประโยชน์ของข้าวกล้องงอก
ในข้าวกล้องงอกมีสารอาหารมากมายแต่ที่เป็นหัวใจสำคัญของข้าว
กล้องงอกคือ GABA (GAMMA AMINOBUTYRIC ACID) หรือกาบา ซึ่งเป็นกรด
อะมิโน ผลิตจากกระบวนการ DECARBOXYLATION ของกรดกลูตามิก โดยกรด
นี้จะทำหน้าที่สื่อประสาทในระบบประสาทส่วนกลางของเรา กาบาจะทำหน้าที่
รักษาสมดุลในสมอง ช่วยให้สมองผ่อนคลาย นอนหลับสบาย และไปกระตุ้นต่อม
ไร้ท่อทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนที่ช่วยในการเจริญเติบโตของร่างกาย ทำให้เกิดการ
สร้างเนื้อเยื่อกล้าม เนื้อต่างๆ ของเรา โดยในข้าวกล้องงอกจะมีสารกาบา
มากกว่าข้าวกล้องปกติถึง 15 เท่าเลยทีเดียว ช่วยป้องกันการทำลายสมอง
ผู้ สู ง อ า ยุ . . . สู่ ก า ร ส ร้ า ง อ า ชี พ 1 2
เพราะมีสารเบต
้าอไมลอยด์เปปไทด์ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคอัลไซเมอร์ นอกจากนี้
ยังมีข่าวว่าทางการแพทย์ได้นำสารกาบานี้มาใช้รักษาโรคเกี่ยวกับระบบประสาท
ต่างๆ เช่น การนอนไม่หลับ โรควิตกกังวล หรือลมชัก เป็นต้น
นอกจากกาบาแล้วยังมีผลวิจัยว่าข้าวกล้องงอกช่วยลดความดันโลหิต
ลดน้ำหนัก ช่วยให้ผิวพรรณดี ตลอดจนมีสารต้านอนุมูลอิสระกลุ่มฟีโนลิค
ป้องกันการเกิดฝ้า ชะลอความแก่ ลดริ้วรอยเหี่ยวย่นของผิว รวมทั้งออริซานอล
ที่ช่วยควบคุมปรับระดับฮอร์โมนในวัยทอง และมีกากใยอาหารช่วยควบคุมระดับ
น้ำตาลในเลือด ป้องกันมะเร็งลำไส้ และลดอาการท้องผูก เป็นต้น
ผู้ สู ง อ า ยุ . . . สู่ ก า ร ส ร้ า ง อ า ชี พ 1 3
2. ทำน้ำข้าว (หม้อ) เช็ดน้ำแบบโบราณ
วิธีทำน้ำข้าว
การต้มข้าวให้เดือดและต้องหมั่นคนอย่าให้เมล็ดข้าวติดก้นหม้อ พอ
เมล็ดข้าวเกือบสุก ยังมีไตขุ่นเป็นจุดเล็กให้รินน้ำข้าวออกโดยใช้ไม้ขัดฝาหม้อที่ทำ
จากไม้ไผ่มาสอดขัดกับหูหม้อ นิยมนำน้ำข้าวมาให้คนป่วย คนชรา เด็กเล็กๆ ดื่ม
เพื่อบำรุงกำลัง
ประโยชน์ของน้ำข้าว (หม้อ) จากการหุงข้าว
วิธีเช็ดน้ำแบบโบราณ
ในน้ำข้าวนั้นจะมีวิตามินที่ละลายมากับน้ำและความร้อน โดยเฉพาะมี
วิตามินอีสูง และมีคุณสมบัติเป็นยาเย็นช่วยบำรุงร่างกาย รวมถึงแก้ร้อนในและใช้
ถอนพิษผิดสำแดงและช่วยขับปัสสาวะด้วย อีกทั้งน้ำข้าวยังเหมาะสำหรับผู้ป่วย
หรือผู้ที่เพิ่งฟื้นไข้ ที่ต้องกินอาหารอ่อนๆ เพราะน้ำข้าวย่อยง่าย ไม่ทําให้ท้องอืด
ท้องเสีย และร่างกายสามารถดูดซึมสารอาหารและซ่อมแซมร่างกายส่วนที่
สึกหรอได้ทันที รวมไปถึงผู้ที่มีอาการท้องเสีย โดยเฉพาะเด็กๆ ก็สามารถดื่มน้ำ
ข้าวผสมเกลือแทนน้ำเกลือแร่ได้ด้วยเช่นกัน
ผู้ สู ง อ า ยุ . . . สู่ ก า ร ส ร้ า ง อ า ชี พ 1 4
ผู้ สู ง อ า ยุ . . . สู่ ก า ร ส ร้ า ง อ า ชี พ 1 5
ผู้ สู ง อ า ยุ . . . สู่ ก า ร ส ร้ า ง อ า ชี พ 1 6
ภาคผนวก
ผู้ สู ง อ า ยุ . . . สู่ ก า ร ส ร้ า ง อ า ชี พ
รั ฐ ธ ร ร ม นู ญ ผู้ สู ง อ า ยุ
บทบัญญัติคุ้มครองสทธิผู้สูงอายุในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
มีดังต่อไปนี้
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 เป็นรัฐธรรมนูญ
ฉบับแรกที่มีบทบัญญัติกล่าวถึงผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นบทบัญญัติภายใต้
หมวด 5 ว่าด้วยแนวนโยบายแห่งรัฐดังนี้
หมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ
มาตรา 81 รัฐพึงช่วยเหลือและสงเคราะห์ผู้สูงอายุและผู้พิการให้มี
สุขภาพ กําลังใจ และความหวังในชีวิต เพื่อสามารถดํารงตนอยู่ได้
ตามสมควร
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มีบทบัญญัติเกี่ยว
กับผู้สูงอายุไว้ดังนี้
หมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ
มาตรา 54 บุคคลซึ่งมีอายุเกินหกสิบปีบริบูรณ์และไม่มีรายได้เพียง
พอแก่การยังชีพ มีสิทธิได้รับความช่วยเหลือจากรัฐ ทั้งนี้ ตามที่
กฎหมายบัญญัติ
มาตรา 80 รัฐต้องคุ้มครองและพัฒนาเด็กและเยาวชน ส่งเสริม
ความเสมอภาคของหญิงและชาย เสริมสร้างและพัฒนาความเป็น
ปึกแผ่นของครอบครัว และความเข้มแข็งของชุมชน
รัฐต้องสงเคราะห์คนชรา ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพและผู้ด้อย
โอกาส ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและพึ่งตนเองได้
ผู้ สู ง อ า ยุ . . . สู่ ก า ร ส ร้ า ง อ า ชี พ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มีบทบัญญัติที่
บรรจุหลักการให ้ความชวยเหลือผู้สูงอายุไว้ดังนี้ ่หมวด 3 สิทธิและ
เสรีภาพของชนชาวไทย
มาตรา 40 บุคคลย่อมมีสิทธิในกระบวนการยุติธรรม ดังต่อไปนี้
(6) เด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ หรือผู้พิการหรือทุพพลภาพ ย่อมมี
สิทธิได้รับความคุ้มครองในการดําเนินกระบวนพิจารณาคดีอย่าง
เหมาะสม และย่อมมีสิทธิได้รับการปฏิบัติที่ เหมาะสมในคดีที่เกี่ยว
กับความรุนแรงทางเพศ
หมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ
มาตรา 53 บุคคลซึ่งมีอายุเกินหกสิบปีบริบูรณ์และไม่มีรายได้เพียง
พอแก่การยังชีพ มีสิทธิได้รับสวัสดิการ สิ่งอํานวยความสะดวกอัน
เป็นสาธารณะอย่างสมศักดิ์ศรี และความช่วยเหลือที่เหมาะสมจาก
รัฐ
มาตรา 80 รัฐต้้องดําเนินการตามแนวนโยบายด้านสังคม การ
สาธารณสุขการศึกษา และวัฒนธรรม ดังต่อไปนี้
(1) คุ้มครองและพัฒนาเด็กและเยาวชน สนับสนุนการอบรมเลี้ยงดู
และให้การศึกษาปฐมวัย ส่งเสริมความเสมอภาคของหญิงและชาย
เสริมสร้างและพัฒนาความเป็นปึกแผ่นของสถาบันครอบครัวและ
ชุมชน รวมทั้งต้องสงเคราะห์และจัดสวัสดิการให ้แก่ผู้สูงอายุ ผู้
ยากไร้ ผู้พิการ หรือทุพพลภาพ และผู้อยู่ในสภาวะยากลําบาก ให้
มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและ พึ่งพา ตนเองได้
มาตรา 84 รัฐต้องดําเนินการตามแนวนโยบายด้านเศรษฐกิจ ดัง
ต่อไปนี้
(4) จัดให้มีการออมเพื่อการดํารงชีพในยามชราแก่ประชาชนและ
เจ้าหน้าที่ของรัฐอย่างทั่วถึง
ผู้ สู ง อ า ยุ . . . สู่ ก า ร ส ร้ า ง อ า ชี พ
ก ฎ ก ร ะ ท ร ว ง เ กี่ ย ว กั บ ผู้ สู ง อ า ยุ
ผู้ สู ง อ า ยุ . . . สู่ ก า ร ส ร้ า ง อ า ชี พ
ผู้ สู ง อ า ยุ . . . สู่ ก า ร ส ร้ า ง อ า ชี พ
ผู้ สู ง อ า ยุ . . . สู่ ก า ร ส ร้ า ง อ า ชี พ
ผู้ สู ง อ า ยุ . . . สู่ ก า ร ส ร้ า ง อ า ชี พ
ผู้ สู ง อ า ยุ . . . สู่ ก า ร ส ร้ า ง อ า ชี พ
ผู้ สู ง อ า ยุ . . . สู่ ก า ร ส ร้ า ง อ า ชี พ
ผู้ สู ง อ า ยุ . . . สู่ ก า ร ส ร้ า ง อ า ชี พ
ค ณ ะ ผู้ จั ด ทำ
ที่ปรึกษา
นางสาวมนิดา ลิ่มนิจสรกุล
(ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 10)
คณะทำงาน
นางสาวปิยะนาถ ทองส่งโสม (นักพัฒนาสังคมชำนาญการ)
นางสาวนิศากร หนูนวล (นักพัฒนาสังคม)
จัดพิมพ์และเผยแพร่
สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 10
สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
33 หมู่ที่ 1 ตำบลขุนทะเล อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84100
โทรศัพท์ : 0-7735-5022-3
โทรสาร : 0-7735-5705
E-mail : [email protected]
Website : http://tpso-10.m-society.go.th
Facebook : ศูนย์วิชาการพัฒนาสังคม สสว.สิบ สุราษฎร์ธานี
Line : @tpso10surat
ปีที่ผลิต กรกฎาคม 2564
ผู้ สู ง อ า ยุ . . . สู่ ก า ร ส ร้ า ง อ า ชี พ
เสริมพลัง
อพม.
สานต่อ
การพั ฒนา
สังคม
เรียบเรียงโดย
นางสาวพนิดา แซ่ตั้ง
ตำแหน่ง นักพัฒนาสังคมชำนาญการ
คำนำ
การจัดการความรู้ ( Knowledge management : KM ) เป็นการรวบรวม
องค์ความรู้ที่มีอยู่ในองค์กร ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร
มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้และพัฒนา
ตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กร
มีความสามารถเชิงแข่งขันสูงสุด โดยเป้าหมายที่สำคัญของการจัดการความรู้
มุ่งพัฒนาใน 3 ประเด็น ได้แก่ พัฒนางาน พัฒนาคนและการเป็นองค์กร
แห่งการเรียนรู้
ในปีงบประมาณ 2564 สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 10
ได้ดำเนินโครงการศูนย์บริการวิชาการพัฒนาสังคมและจัดสวัสดิการสังคม
โดยมีกิจกรรม การจัดการความรู้และการถ่ายทอดความรู้ได้จัดทำชุดความรู้
เรื่อง “ เสริมพลัง อพม. สานต่อการพัฒนาสังคม” เป็นการถ่ายทอดเรื่องราว
องค์ความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ของบุคคลตัวอย่าง ที่มีจิตอาสา เสียสละ
เวลา แรงกาย แรงใจ เพื่อช่วยเหลือผู้อื่นหรือสังคมให้เกิดประโยชน์และ
มีความสุขมากขึ้น โดยไม่หวังสิ่งตอบแทนใดๆ รวมถึงบอกเล่าถึงจุดเริ่มต้น
ของการก้าวเข้ามาสู่การเป็นอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
(อพม.) ฐานคิด แรงบันดาลใจ เป้าหมายในการทำงาน และคุณธรรม
ในการดำเนินงาน บังเกิดผลการขับเคลื่อนงานที่เป็นรูปธรรม สามารถทำให้
คนในชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นในทุกๆด้าน เข้าถึงสิทธิของตนได้อย่าง
ครบถ้วนเท่าเทียมกัน โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ด้วยผลงานที่เป็นที่ประจักษ์และ
ประสบผลสำเร็จที่ผ่านมา ทำให้ได้รับการประกาศเกียรติคุณ เป็นอาสาสมัคร
พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ดีเด่นพิเศษ
ในโอกาสนี้ สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 10 ขอขอบคุณ
นางระพี น้ำจันทร์ อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ดีเด่น
พิเศษ ประจำปี 2561 จังหวัดระนอง และนางวรรณทิพย์ สอนเนียม
อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ดีเด่นพิเศษ ประจำปี 2560
จังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่ได้ถ่ายทอด แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ประสบการณ์
และข้อมูลสำหรับการจัดการความรู้ในครั้งนี้ และขอขอบคุณ
นางสาวมนิดา ลิ่มนิจสรกุล ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุน
วิชาการ 10 ที่ให้คำแนะนำและสนับสนุนการจัดการความรู้ในครั้งนี้
ทั้งนี้ ผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่า การจัดการความรู้ในครั้งนี้จะเป็น
ประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และสามารถนำไปใช้เป็นแนวทาง
ในการพัฒนางานหรือนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงาน เพื่อให้สอดคล้องตาม
บริบทงานได้อย่างเหมาะสมต่อไป
คณะผู้จัดทำ
สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 10
สิงหาคม 2564
สารบัญ หน้า
คำนำ 1
สารบัญ 4
บทนำ 7
9
- อพม. ผู้สร้างแรงบันดาลใจ 13
- ก้าวสู่การเป็นผู้ให้ 16
- ฐานคิด / แรงบันดาลใจ 20
- ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จ 21
- คุณค่าที่เกิดขึ้น 24
- ปัญหาและอุปสรรค 30
- ข้อเสนอแนะ
อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.)
บทบาทหน้าที่และภารกิจของ อพม.
เสริมพลัง อพม. สานต่อการพั ฒนาสังคม
ในยุคที่ผู้คนต่างไขว่คว้าหาความสุขและความสำเร็จ คนส่วนใหญ่มัก
โฟกัสที่เป้าหมายและความต้องการของตัวเองเป็นหลัก จนอาจหลงลืมว่ายังมี
ผู้คนอีกมากมายในสังคม เรามองหาสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อตนเอง และกำลังเอา
เปรียบผู้อื่นหรือเปล่า เรามองเห็นคุณค่าของผู้คนที่อยู่รอบๆ ตัวเราบ้างหรือ
เปล่า อาจจะเป็นคำถามที่ไม่ต้องให้ใครมาช่วยตอบ เพียงแต่คุณลองทบทวนดู
ว่าทุกวันนี้ตัวของคุณเองเคยมองดูคนรอบข้าง คอยช่วยเหลือซึ่งกันและกันบ้าง
หรือเปล่า บางครั้งการละสายตาจากตัวเองบ้าง ก็อาจช่วยให้เรามองเห็นผู้อื่น
และหยิบยื่นสิ่งดีให้แก่กัน ซึ่งช่วยให้สังคมงดงามและเติบโต เมื่อสังคมเรามีทั้ง
“ผู้ให้” และ “ผู้รับ” พื้นที่แห่งนี้จะมีแต่ความเกื้อกูลและความสุขมากขนาด
ไหน “จิตอาสา” คำนี้คนจำนวนหนึ่งคงได้ยินได้ฟังมาบ้างแล้ว แต่ยังมีอีก
มากมายหลายล้านคน ไม่เคยได้ยินหรือรู้ความหมายของคำเล็กๆ คำนี้เลย
จิตอาสา คือ ผู้ที่มีจิตใจที่เป็นผู้ให้ เช่น ให้สิ่งของ ให้เงิน ให้ความ
ช่วยเหลือด้วยกำลังแรงกาย แรงสมอง ซึ่งเป็นการเสียสละสิ่งที่ตนเองมีแม้
กระทั่งเวลา เพื่อเผื่อแผ่ให้กับส่วนรวม อีกทั้งยังช่วยลด “อัตตา” หรือ
ความเป็นตัวเป็นตน ของตนเองลงได้บ้าง
เสริมพลัง อพม. สานต่ อการพัฒนาสังคม I 1
“อาสาสมัคร” เป็นงานที่เกิดจากผู้ที่มี จิตอาสา ซึ่งมีความหมายอย่าง
มากกับสังคมส่วนรวม เป็นผู้ที่เอื้อเฟื้ อ เสียสละเวลา แรงกาย แรงใจ เพื่อช่วย
เหลือผู้อื่น หรือสังคมให้เกิดประโยชน์และความสุขมากขึ้น การเป็นอาสาสมัคร
ไม่ว่าจะเป็นงานใดๆก็แล้วแต่ ที่ทำให้เกิดประโยชน์ในทางบวก ล้วนแต่เป็น
สิ่งที่เราควรทำทั้งสิ้น คนที่จะเป็นอาสามสมัครได้นั้น ไม่จำกัดที่ วัย การศึกษา
เพศ อาชีพ ฐานะ หรือข้อจำกัดใดๆทั้งสิ้น หากแต่ต้องมีจิตใจที่เป็น จิตอาสา
ที่อยากจะช่วยเหลือผู้อื่นหรือสังคมเท่านั้น
นิยามของคำว่า “อาสาสมัคร” อาจไม่มีคำจำกัดความที่ตายตัว
ต่างแปลกแยก แตกออกไปตามประสบการณ์และการเรียนรู้ของแต่ละบุคคล
ทว่า…สิ่งสำคัญที่สุดสำหรับผู้ที่เป็นอาสาสมัครนั้น คงอยู่ที่ความตั้งใจทำ และ
ความสุขใจนั้นจะคืนกลับมาเป็นกำไรแห่งชีวิต
ภาพแห่งการเกื้อกูลกันในสังคมอาจจะ
มีน้อยลงไปทุกที แต่วันนี้ อยากให้เห็น
ตัวอย่างของจิตอาสา ที่เป็นตัวแทนของ
อาสาสมัครพัฒนาสังคมและ
ความมั่นคงของมนุษย์ หรือ
เรียกย่อๆ ว่า อพม. จังหวัดระนอง
และจังหวัดสุราษฎร์ธานี ผู้ซึ่งมี
ผลงานเป็นที่ประจักษ์ จนได้รับ
รางวัลเชิดชูเกียรติ เป็นอาสาสมัคร
พัฒนาสังคมและความมั่นคง
ของมนุษย์ดีเด่นพิเศษ ที่จะมามอบ
รอยยิ้มและบอกเล่าเรื่องราว
2 I เสริมพลัง อพม. สานต่อการพัฒนาสังคม
ที่เกิดขึ้นจริงของคนในสังคมที่ยังคงมีความเอื้ออาทร ช่วยเหลือเกื้อกูล
กัน รวมทั้งการส่งต่อ ความรัก ความทุ่มเท เสียสละ ให้กับผู้ประสบปัญหาทาง
สังคมในทุกครั้งที่มีโอกาส ทุกคนในชุมชนมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือกันและ
กัน ทำให้ชุมชนอยู่ได้อย่างมีความสุข เปลี่ยนพื้นที่ว่างเปล่าในจิตใจ ให้เต็ม
เปี่ ยมไปด้วยความรัก ความสุขใจ อยากให้ลองอ่านบทความนี้ แล้วส่งต่อความ
เกื้อกูลในแบบของคุณต่อไป
เมื่อคุณมอบรอยยิ้ม คุณจะได้มิตรภาพ
เมื่อคุณมอบอาหาร คุณจะอิ่มใจ
ให้อีกคนอิ่ม
เมื่อคุณมอบความรู้ คุณจะทำให้สังคม
เติบโต
หลักการง่ายๆ ของการให้และการเกื้อกูล คนที่ลงมือทำเท่านั้นที่จะมอง
เห็นและสัมผัสมัน
“อยากเห็นสังคมไทย เป็นสังคมที่เกื้อกูล
เริ่มต้น ง่ายๆ จากตัวเรา
เกื้อกูลได้ทุกที่ ไม่มีสิ้นสุด”
เสริมพลัง อพม. สานต่ อการพัฒนาสังคม I 3
อพม. ผู้สร้างแรงบันดาลใจ
นางระพี น้ำจันทร์
อาสาสมัคร
พัฒนาสังคม
และความมั่นคง
ของมนุษย์ดีเด่น
พิเศษ
ประจำปี 2561
ชื่อ นางระพี น้ำจันทร์ อายุ 61 ปี
วันเดือนปีเกิด 15 กันยายน 2503
สัญชาติ ไทย
เชื้อชาติ ไทย
ศาสนา พุทธ
ตำแหน่ งปัจจุบัน ที่อยู่ปัจจุบัน
ประธานอาสาสมัครพัฒนาสั งคมและ
ความมั่นคงของมนุษย์
อำเภอสุขสำราญ จังหวัดระนอง บ้านเลขที่ 10/1 หมู่ 1
อาชีพปัจจุบัน ถนน เพชรเกษม ตำบลนาคา
เกษตรกร /ค้าขาย
อำเภอสุขสำราญ
จังหวัดระนอง 85120
โทรศั พท์มือถือ 093 609 3211
4 I เสริมพลัง อพม. สานต่อการพัฒนาสังคม
อพม. ผู้สร้างแรงบันดาลใจ
นางวรรณทิพย์ สอนเนียม
อาสาสมัคร
พัฒนาสังคม
และความมั่นคง
ของมนุษย์ดีเด่น
พิเศษ
ประจำปี 2560
ชื่อ นางวรรณทิพย์ สอนเนี ยม อายุ 49 ปี
วันเดือนปีเกิด 29 มีนาคม 2515
สัญชาติ ไทย
เชื้อชาติ ไทย
ศาสนา พุทธ
ตำแหน่ งปัจจุบัน ที่อยู่ปัจจุบัน
ประธานอาสาสมัครพัฒนาสั งคมและ
ความมั่นคงของมนุษย์
อำเภอคีรีรัฐนิ คม จังหวัดสุราษฎร์ธานี บ้านเลขที่ 12 หมู่ที่ 1
อาชีพปัจจุบัน ตำบลท่ากระดาน
เกษตรกร /ค้าขาย
อำเภอคีรีรัฐนิ คม
จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84180
โทรศั พท์มือถือ 087 419 2250
เสริมพลัง อพม. สานต่ อการพัฒนาสังคม I 5
6 I เสริมพลัง อพม. สานต่อการพัฒนาสังคม
ก้าวสู่การเป็นผู้ให้
การทำงานสิ่งแรก คือ ใจต้องมา ต้องเสียสละ
ทำมาจากใจ เงินทองไม่ใช่อุปสรรคในการทำงาน
ของเราเลย เราเป็นตัวแทนของชาวบ้าน
นำไปสู่การช่วยเหลือคนในชุมชน
บางครั้งการที่คน ๆ หนึ่ง จะทำความดี มีจิตอาสา และเดินก้าวเท้าเข้ามา
ทำงานอาสาสมัคร ก็ไม่มีเหตุผลใดๆ เป็นสำคัญ เพียงแค่คนๆ นั้น มีจิตสำนึก
ที่ดี มีความเสียสละ อยากช่วยเหลือผู้อื่นให้เขาพ้นทุกข์ แล้วตนเองก็บังเกิด
ความสุข ความอิ่มเอมใจ เท่านั้นเอง เฉกเช่นเดียวกับ อาสาสมัครพัฒนาสังคม
และความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) ทั้ง 2 ท่านนี้ ที่มีจุดเริ่มต้นของการเข้ามา
เป็น อพม. มาจากจิตใจที่พร้อมจะเสียสละความสุขส่วนตัว เพื่อความสุข
ส่วนรวมเห็นปัญหาของเพื่อนบ้าน
ของคนรอบตัว เป็นปัญหาของตนเอง
แล้วเข้าไปช่วยคลี่คลาย แก้ไขปัญหา
ไม่นิ่งดูดาย ปล่อยให้เกิดปัญหาที่ร้ายแรง
ปานปลายจนยากที่จะแก้ไขปัญหาได้
เสริมพลัง อพม. สานต่ อการพัฒนาสังคม I 7
อพม. ท่านหนึ่งเริ่มต้นจากการที่เจอเด็กผู้หญิงอายุ 4 ขวบ อยู่บนรถ
โดยสารเพียงลำพังไม่มีผู้ปกครอง ท่านก็ได้เข้าไปช่วยเหลือ ดูแล ติดต่อ
ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะกระทรวงการพัฒนาสังคม
และความมั่นคงของมนุษย์ จนท้ายที่สุดก็ได้รับเด็กคนนั้นมาเป็นบุตรบุญธรรม
อยู่ในความอุปการะของครอบครัว “จากคนแปลกหน้า สู่นางฟ้าของลูก”
คงสะท้อนให้เห็นถึงความเป็นผู้เอื้อเฟื้ อ เสียสละ มีความรัก ความปราถนาดี
ที่จะให้และช่วยเหลือผู้อื่นได้เป็นอย่างดี ท่านสร้างคนให้เป็นคน เติบโตขึ้นมา
อย่างมีคุณค่า จากเด็กที่ถูกทอดทิ้งในวันนั้น สามารถทำงาน มีรายได้เลี้ยงดู
ตนเอง และมีครอบครัวที่มีความสุข ความอบอุ่นได้จวบจนทุกวันนี้
ทั้งนี้ อพม. ทั้ง 2 ท่าน เป็นอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) อยู่ก่อนแล้ว
มีหน้าที่ดูแลด้านสุขภาพ เฝ้าระวังโรคต่างๆ
ทำให้คนสุขภาพดี แต่เมื่อได้เห็นความทุกข์ยาก
ของพี่น้องในชุมชน ต้องการให้คนมีคุณภาพ
ชีวิตที่ดีขึ้นในทุกๆด้านให้ได้รับสิทธิสวัสดิการ
สังคมอย่างเท่าเทียม และไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง
จึงได้เข้ามาเป็น อพม.
ต้องการช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมายที่ประสบปัญหา
ความเดือดร้อน ให้สามารถเข้าถึงบริการและ
สวัสดิการสังคมอย่างเหมาะสม มุ่งหวังสร้าง
ความเป็นธรรมลดความเลื่อมล้ำ ส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดี
ของประชาชน สามารถดำเนินชีวิตในสังคมอย่างมีศักดิ์ศรี
ตลอดจนได้รับโอกาสอย่างเท่าเทียมกัน
8 I เสริมพลัง อพม. สานต่อการพัฒนาสังคม
ฐานคิด / แรงบันดาลใจ
คติพจน์ ประจำใจ
มือที่อยู่ข้างบน คือ เป็นมือที่มีแต่ให้ไม่จำเป็นว่ามือที่อยู่ด้านล่าง
จะเป็นอย่างไร สามารถให้ได้ทุกกลุ่ม มีความเสียสละในการทำงานเพื่อส่วนรวม
โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน หวังเพียงรอยยิ้มของผู้รับที่เปี่ ยมด้วยความสุข
วิสั ยทัศน์
สังคมมีความมั่นคง ประชาชนมีคุณภาพ
เป้าหมายการทำงาน
ชุมชนเข้มแข็ง ประชาชนมีรายได้และคุณภาพชีวิตที่ดีตามหลักปรัชญา
เศรษฐกิจพอเพียง
เสริมพลัง อพม. สานต่ อการพัฒนาสังคม I 9
คุณธรรมในการดำเนิ นชีวิต
และการปฏิบัติงาน
" ครองตน ครองคน ครองงาน "
การครองตน
ดำรงชีวิตโดยยึดหลักค่านิยมคนไทย 12 ประการ คือ
1.มีความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.ซื่อสัตย์ เสียสละ อดทน
3.กตัญญูต่อพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูอาจารย์
4.ใฝ่หาความรู้ หมั่นศึกษาเล่าเรียนทั้งทางตรง และทางอ้อม
5.รักษาวัฒนธรรม ประเพณีไทย
6.มีศีลธรรม รักษาความสัตย์
7. เข้าใจเรียนรู้การเป็นประชาธิปไตย
8.มีระเบียบ วินัย เคารพกฎหมาย ผู้น้อยรู้จักการเคารพผู้ใหญ่
9.มีสติ รู้ตัว รู้คิด รู้ทำ
10. รู้จักดำรงตนอยู่โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
11.มีความเข้มแข็งทั้งร่างกาย และจิตใจ ไม่ยอมแพ้ต่ออำนาจฝ่ายต่ำ
12. คำนึงถึงผลประโยชน์ของส่วนรวมมากกว่าผลประโยชน์ของตนเอง
1 0 I เสริมพลัง อพม. สานต่อการพัฒนาสังคม