The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

พระมารดาแห่งการคุ้มครองความหลายหลายทางชีวิภาพ

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by jiraporn.van, 2022-07-20 01:17:15

90 พรรษา บรมราชินีนาถ

พระมารดาแห่งการคุ้มครองความหลายหลายทางชีวิภาพ

Keywords: พระมารดาแห่งการคุ้มครองความหลายหลายทางชีวิภาพ

เออ้ื งแซะ

ชือ่ วิทยาศาสตร์ Dendrobium scabrilingue Lindl.
วงศ์ Orchidaceae

กล้วยไม้อิงอาศัย ล�ำลูกกล้วยมีขนส้ันละเอียดสีด�ำปกคลุม ใบรูปรี กว้าง ๑.๕-๒.๕ ซม. ยาว
๕-๖ ซม. ดอกออกตามข้อใกล้ปลายยอด ขนาดบานเต็มท่ีกว้าง ๒.๕-๓ ซม. มีกลิ่นหอมแรง กลีบเล้ียง
และกลีบดอกสีขาวหรืออมเขียวอ่อน กลีบปากสีเหลืองแกมเขียวถึงสีเหลืองส้ม หูกลีบปากตั้งข้ึนและมี
ลายสเี ขยี ว

พบข้ึนตามป่าดิบแล้งและป่าสนทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก
ออกดอกช่วงเดอื นธนั วาคม–กุมภาพนั ธ์

พระมารดาแห่งการคุ้มครองความหลากหลายทางชีวภาพ 99

100 ๙๐ พรรษา บรมราชินนี าถ

รองเท้านารีอินทนนท์

ชือ่ วทิ ยาศาสตร์ Paphiopedilum villosum (Lindl.) Stein
วงศ์ Orchidaceae

กลว้ ยไมอ้ งิ อาศัย ล�ำต้นส้ันและแตกกอ ใบรูปเขม็ ขัดไม่มลี าย กวา้ ง ๓.๕–๔ ซม. ยาว ๒๐–๒๕ ซม.
โคนใบมปี ระสมี ว่ งแกมแดง ดอกออกเดย่ี ว ตามซอกใบ กา้ นดอกยาว ๒๐–๓๐ ซม. กลบี เลย้ี งกลบี บนแผโ่ คง้
ตอนกลางมีแต้มเป็นปื้นสีน�้ำตาล ขอบกลีบสีขาว กลีบดอกรูปช้อนบิด และแผ่โค้งแบน สีน�้ำตาลอมแดง
แถบลา่ งสเี หลอื ง กลีบกระเปา๋ สเี หลืองอ่อนแกมนำ�้ ตาล ดอกบานเต็มท่กี ว้าง ๑๐–๑๒ ซม.

พบข้ึนตามป่าดิบเขา ท่ีระดับความสูง ๑,๒๐๐–๑,๕๐๐ เมตร ทางภาคเหนือ ภาคตะวันออก
เฉียงเหนือ และภาคตะวันตก ต่างประเทศพบท่ี อินเดีย จีนตอนใต้ และเมียนมาร์ ออกดอก
ช่วงเดือนธนั วาคม–กุมภาพนั ธ์

พระมารดาแห่งการค้มุ ครองความหลากหลายทางชวี ภาพ 101

102 ๙๐ พรรษา บรมราชินนี าถ

ดารารัตน์

ชอ่ื วิทยาศาสตร์ Narcissus pseudonarcissus L.
วงศ์ Amaryllidaceae

เม่ือคร้ังท่ียังมิได้ราชาภิเษกสมรส ขณะนั้น ม.ร.ว.หญิงสิริกิต์ิ กิติยากร ประทับอยู่ที่กรุงปารีส
ประเทศฝร่ังเศส เนื่องจากพระบิดาของพระองค์ด�ำรงต�ำแหน่งเอกอัครราชทูตไทยประจ�ำฝรั่งเศส
ในขณะทีพ่ ระบาทสมเด็จพระเจา้ อยูห่ วั ทรงศึกษาและประทบั อยู่ท่ีประเทศสวิตเซอรแ์ ลนด์ หากพอมเี วลา
ว่างคร้ังใด ในหลวงก็มักจะขับรถยนต์ด้วยพระองค์เองข้ามพรมแดนมาเย่ียมเยียนพระราชินีอยู่เสมอ
ทุกครั้งท่ีพระองค์เสด็จมา ก็จะมีดอกไม้มาให้พระราชินี และดอกไม้ที่พระองค์น�ำมาให้เป็นประจ�ำก็คือ
ดอกแดฟฟอดิลสีเหลือง

ดอกดารารัตน์ หรือ ดอกแดฟฟอดิล (Daffodil) เป็นดอกไม้เมืองหนาว โดยชื่อภาษาไทย
ของดอกดารารัตน์ มีความหมายลึกซ้ึงซ่อนอยู่ ค�ำว่า ดารา หมายถึง ดวงดาว นั่นคือส่ิงท่ีอยู่สูงสุด
สว่ นค�ำว่า รัตน์ แปลวา่ แกว้ คือ สง่ิ ท่มี ีค่า รวมไดค้ วามหมายวา่ ส่ิงที่มีคา่ สงู สุด

พระมารดาแหง่ การค้มุ ครองความหลากหลายทางชวี ภาพ 103

104 ๙๐ พรรษา บรมราชินนี าถ

ใบสีทอง

ช่ือวิทยาศาสตร์ Phanera aureifolia (K. Larsen & S. S. Larsen) Bandyop., P. P. Ghoshal
& M. K. Pathak
วงศ์ Fabaceae

ไม้เถาเลื้อยขนาดใหญ่ เล้ือยพันข้ึนสูงคลุมเรือนยอดของต้นไม้ใหญ่ในป่า ใบเด่ียว แผ่กว้างเป็น
สองพู โคนและปลายใบมนเวา้ เขา้ คล้ายรปู หัวใจ ขนาดกวา้ ง ๑๐ ซม. ยาว ๑๘ ซม. แผน่ ใบปกตสิ ีเขยี ว
และมีขนสีทองตามขอบใบและเส้นใบ แต่เม่ือออกดอก ใบบริเวณใกล้ช่อดอกจะเปล่ียนเป็นใบประดับมี
ขนสีทองเหลือบน้�ำตาลคล้ายก�ำมะหยี่ ปกคลุมหนาแน่น มีมือเกาะม้วนงอเป็นตะขอ ดอกออกเป็นช่อ
บรเิ วณปลายกง่ิ มี ๔–๑๒ ดอก เมื่อออกใหม่จะมสี ีเหลืองอ่อนและค่อยเปล่ยี นเป็นสขี าวนวล มกี ลีบดอก
๕ กลีบ เกสรเพศผู้ ๓ อัน ขนาดบานประมาณ ๒–๓ ซม. ผลเป็นฝักแบน รูปขอบขนานปลายเป็นติ่ง
แหลม กว้าง ๔–๖ ซม. ยาว ๑๕–๒๐ ซม. มีขนสีนำ�้ ตาลแดงคลา้ ยก�ำมะหยป่ี กคลุมหนาแน่น เมอ่ื แกฝ่ ัก
แตกออกทางด้านข้าง ภายในมเี มลด็ รปู แบนรี ๔–๖ เมลด็

เป็นพืชถิ่นเดียวพบเฉพาะในเขตจังหวัดปัตตานี นราธิวาส และยะลา เก็บตัวอย่างคร้ังแรกโดย
ดร.ชวลิต นิยมธรรม นักพฤกษศาสตร์ หอพรรณไม้ กรมป่าไม้ พบท่ีชายป่าดิบช้ืน บริเวณน�้ำตกบาโจ
อ�ำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส ในปี พ.ศ. ๒๕๓๑ ใบมีสีสันสวยงาม นิยมมาอัดแห้งใส่กรอบท�ำเป็น
เครือ่ งประดับ ออกดอกชว่ งเดอื นกรกฎาคม–กนั ยายน ขยายพนั ธไ์ุ ดด้ ดี ้วยเมลด็ และกิ่งตอน

เม่ือคราสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง แปร
พระราชฐานทรงงานในภาคใต้ ประทับ ณ พระต�ำหนักทักษิณราชนิเวศน์ ได้ทรงงานในพ้ืนท่ีหลายแห่ง
และโปรดให้ขา้ ราชการและเหล่าพสกนิกรภาคใต้เข้าเฝ้าในวาระต่าง ๆ อยา่ งสม่�ำเสมอ เมอ่ื เหล่าชาวบ้าน
มาเข้าเฝา้ กจ็ ะน�ำเอาดอกไม้และผลไม้ทอ้ งถนิ่ ทีส่ วยงามแปลกตามาถวายใหท้ อดพระเนตรดว้ ย ซ่ึงเป็นท่ี
สนพระทัยมาก โปรดให้นักพฤกษศาสตร์และนักเกษตรที่ตามเสด็จฯ บันทึกรายละเอียดต่าง ๆ ไว้ แล้ว
เสด็จฯ ไปทอดพระเนตรถึงแหลง่ พันธุ์ไม้น้นั ๆ และใหน้ �ำมาขยายพนั ธุ์ไม่ใหส้ ญู ไป อกี ทัง้ เพ่ือใช้ประโยชน์
ในการปลกู เป็นไม้ประดบั และใชใ้ นงานศิลปาชีพ เป็นการเพมิ่ รายไดใ้ ห้ชาวบา้ นอีกทางหน่งึ ด้วย อาทิ ยา่ น
ดาโอ๊ะ (ใบสที อง) ลิเภา บอนสี และดาหลาขาว เป็นต้น

พระมารดาแห่งการคุ้มครองความหลากหลายทางชวี ภาพ 105

106 ๙๐ พรรษา บรมราชินนี าถ

พรรณไม้ในโครงการศิลปาชีพ

สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงโปรดที่จะ
พักผ่อนพระราชอิริยาบท เมื่อว่างเว้นจากการทรงงาน ด้วยการช่ืนชมกับธรรมชาติ ป่าเขา ล�ำเนาไพร
พฤกษ์ และพนั ธไ์ุ ม้ป่าต่าง ๆ เพื่อหาแนวทางในการอนุรักษแ์ ละฟ้นื ฟทู รพั ยากรธรรมชาตเิ หล่านนั้ และมี
ความสนพระราชหฤทัยที่จะซักถามนักพฤกษศาสตร์ถึงชนิดพันธุ์ ลักษณะเด่น และความส�ำคัญของพืช
ชนิดต่าง ๆ ที่จะสามารถน�ำไปใช้ประโยชน์แก่โครงการพระราชด�ำริ และโครงการศิลปาชีพ เพ่ือให้
ชาวบา้ นได้น�ำไปใชป้ ระโยชนเ์ ปน็ อาชพี เสรมิ รายได้ ตอ่ ไป

พรรณไม้ทนี่ �ำไปใช้ในโครงการศลิ ปาชพี อาทิ ย่านลิเภา ดาหลา บอนสี สัก โมกมนั หม่อน ฝา้ ย
กญั ชง กระจูด ปะหนัน ไผ่ หวายบนุ่ กลว้ ย ฯลฯ

พระมารดาแห่งการคุ้มครองความหลากหลายทางชีวภาพ 107

108 ๙๐ พรรษา บรมราชินนี าถ

ยา่ นลิเภา

ชือ่ วทิ ยาศาสตร์ Lygodium flexuosum (L.) Sw.
วงศ์ Lygodiaceae

ย่านลิเภาเป็นพืชตระกูลเฟินเล้ือยพันชนิดหนึ่ง พบท่ัวไปทางภาคใต้ ชนิดที่นิยมน�ำมาสานคือ
“ยา่ นลเิ ภาใหญ”่ มีลำ� ต้นตรงและเหนยี ว ขนาดเทา่ กา้ นไมข้ ีดไฟ ยาวประมาณ ๒ เมตร เมอ่ื นำ� มาสานจะ
มีความทนทานใชไ้ ดเ้ ปน็ รอ้ ยปี

สมเด็จพระนางเจา้ สริ กิ ิต์ิ พระบรมราชินนี าถ พระบรมราชชนนพี ันปหี ลวง ได้ทรงพบดงย่านลเิ ภา
ขนาดใหญ่ใจกลางป่าพรุ จังหวัดนราธิวาส และทรงเห็นว่าชาวไทยมุสลิมมีความสามารถสานย่านลิเภา
อยู่แล้ว สามารถน�ำมาพัฒนาเป็นอาชีพเสริมได้ จึงโปรดให้ครูชาวจังหวัดนครศรีธรรมราชมาท�ำการสอน
และทรงพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ดีขึ้น สามารถเป็นรายได้เสริมและเป็นการอนุรักษ์ศิลปะของไทยแต่โบราณ
ไว้ได้

พระมารดาแห่งการคมุ้ ครองความหลากหลายทางชวี ภาพ 109

110 ๙๐ พรรษา บรมราชินนี าถ

ดาหลา

ช่อื วทิ ยาศาสตร์ Etlingera elatior (Jack) R. M. Sm.
วงศ์ Zingiberaceae

ไมล้ ม้ ลุก มีเหงา้ ใต้ดนิ สูงไดถ้ งึ ๕ เมตร ใบเดยี่ ว รูปขอบขนาน กวา้ ง ๑๕–๒๐ ซม. ยาวประมาณ
๕๐ ซม. ดอกออกเป็นช่อจากเหงา้ ใต้ดนิ ขนาดผ่านศูนย์กลาง ๑๐–๑๕ ซม. กา้ นชอ่ ดอกยาวถงึ ๑ เมตร
กลีบรอบนอกแผ่บาน กว้าง ๒–๓ ซม. ยาว ๔–๗.๕ ซม. กลบี ชน้ั ในเรยี งซอ้ นกันแนน่ มขี นาดลดหลน่ั กนั
ยาว ๑–๓.๕ ซม. ดอกย่อยสีขาวอมเหลืองอ่อนหรือสีแดง กลีบดอกเช่ือมติดกัน ปลายกลีบบานแผ่ออก
เกสรเพศผู้สมบูรณ์ ๑ อนั ผลรูปกลม มขี นนุม่ ขนาดผ่านศูนยก์ ลาง ๑–๒ ซม. เมลด็ มขี นาดเลก็

การกระจายและนิเวศวิทยา ในประเทศไทยพบตามบริเวณป่าดิบชื้นทางภาคใต้ ที่ระดับความสูง
๕๐–๔๐๐ เมตร ออกดอกตลอดปี นยิ มปลกู เป็นไม้ประดบั ชอ่ ดอกอ่อนใช้เปน็ อาหาร

เมื่อสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ิ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จทรงงานที่
ภาคใต้ ได้ทอดพระเนตรเห็นดาหลาข้ึนอยู่ท่ัวไป มีดอกสวยงาม และเป็นสิ่งประกอบอาหารของราษฎร
ภาคใต้ดว้ ย จึงทรงสนบั สนุนใหม้ ีการปลกู ดาหลาเป็นพืชเศรษฐกิจเสริมรายได้ให้เกษตรกร

พระมารดาแห่งการคมุ้ ครองความหลากหลายทางชวี ภาพ 111

112 ๙๐ พรรษา บรมราชินนี าถ

บอนสี

ช่ือวิทยาศาสตร์ Caladium bicolor (Aiton) Vent.
วงศ์ Araceae

เมื่อสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จฯ แปร
พระราชฐานทรงงานท่ีภาคใต้ ได้ทอดพระเนตรเห็นบอนสีเกิดขึ้นตามธรรมชาติในป่าและสวนยางพารา
ทรงมีพระราชด�ำริว่าการปลูกเล้ียงบอนสีสามารถเป็นอาชีพเสริมแก่เกษตรกรได้และยังเป็นการอนุรักษ์
พันธุ์ไม้อีกด้วย เพ่ือส่งเสริมให้เกษตรกรสนใจปลูกเลี้ยง จึงโปรดให้จัดการประกวดบอนสีข้ึน ในงาน
ประกวดผลิตภัณฑข์ องศลิ ปาชพี ณ พระต�ำหนกั ทกั ษิณราชนเิ วศน์ เมือ่ พ.ศ. ๒๕๔๑ เปน็ ต้นมา

เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๙ สมเด็จพระกนษิ ฐาธิราชเจ้า กรมสมเดจ็ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราช
กุมารี โปรดให้ส�ำนักโครงการสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จัดให้มีการอบรมการ
เพาะช�ำบอนสีในโรงเรียนต�ำรวจตระเวนชายแดน ท่ีต้งั อยใู่ นจงั หวัดนราธิวาส ยะลา และปตั ตานี จ�ำนวน
๑๑ โรงเรียน เพื่อใหเ้ ยาวชนสามารถมรี ายไดเ้ พ่ิมอกี ทางหนง่ึ

พระมารดาแหง่ การคุ้มครองความหลากหลายทางชวี ภาพ 113

114 ๙๐ พรรษา บรมราชินนี าถ

สัก

ชอ่ื วทิ ยาศาสตร์ Tectona grandis L. f.
วงศ์ Lamiaceae

ไม้ตน้ ขนาดใหญ่ สงู ได้ถงึ ๓๐ เมตร ล�ำตน้ เปลาตรง เปลือกสเี ทาแตกเป็นร่องละเอียดตามยาว มี
พูพอนต้ืน ๆ ใบเดี่ยว แผ่กว้างขนาดใหญ่ ออกตรงข้ามเป็นคู่ ขนาดยาว ๒๕–๓๐ ซม. ดอกสีขาวนวล
ออกเป็นช่อใหญ่หลวม ๆ ที่ปลายกิ่ง ดอกย่อยขนาด ๕–๘ มม. ผลเป็นผลแห้งคล้ายกะเปาะ ค่อนข้าง
กลม ขนาด ๒ ซม. ภายในกลวง มเี มล็ดแข็ง สดี �ำ ๑–๔ เมลด็

ถ่ินก�ำเนิดอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทางตอนเหนือของประเทศไทยถึงภาค
ตะวันออกของประเทศเมียนมาร์ เป็นพืชเศรษฐกิจส�ำคัญ เน้ือไม้สีเหลืองถึงสีน�้ำตาลมักมีเส้นสีแก่แทรก
ท�ำให้สวยงาม เลื่อยไสกบตกแต่งชักเงาได้ง่าย และในเน้ือไม้มีสาร Tectoquinone ท่ีแมลงไม่ชอบกัด
แทะ จึงท�ำให้มีความทนทาน ใช้ก่อสร้างบ้านเรือน ต่อเรือ รถ แกะสลัก เครื่องมือกสิกรรม และ
เฟอร์นเิ จอร์รปู แบบต่าง ๆ ฯลฯ

งานแกะสลักไม้สกั เปน็ ศลิ ปะโบราณทงี่ ดงามทสี่ ุดของยุคตน้ รัตนโกสินทร์ ท่เี ปน็ เครื่องใช้ประจ�ำวัน
และงานสถาปตั ยกรรม สมเดจ็ พระนางเจา้ สิรกิ ติ ์ิ พระบรมราชนิ นี าถ พระบรมราชชนนพี นั ปหี ลวง ทรงมี
พระราชปณิธานทีจ่ ะบำ� รงุ รักษาช่างฝีมอื เหล่านี้ไว้ เพ่อื รกั ษามรดกทางวฒั นธรรมของชาตไิ ว้ตอ่ ไป

พระมารดาแหง่ การคมุ้ ครองความหลากหลายทางชีวภาพ 115

116 ๙๐ พรรษา บรมราชินนี าถ

โมกมนั

ช่อื วิทยาศาสตร์ Wrightia pubescens R. Br.
วงศ์ Apocynaceae

ไม้ต้น สูงได้ถึง ๒๐ เมตร ใบเดี่ยว ออกตรงข้าม รูปไข่แกมรี ดอกสีครีม ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง
กลบี ดอก ๕ กลีบ เรยี งเวยี นกนั เกสรเพศผู้ ๕ อัน ผลรปู ทรงกระบอกปลายมน เมอื่ แกจ่ ะแตกตามยาว

เน้ือไม้โมกมันเป็นวัสดุส�ำคัญที่ชาวบ้านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือใช้ในการ
แกะสลักเป็นเคร่ืองใช้ไม้สอย ฯลฯ ท่ีมีความสวยงามและมีเอกลักษณ์เฉพาะ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ิ
พระบรมราชนิ นี าถ พระบรมราชชนนพี นั ปหี ลวง จงึ มพี ระราชดำ� รใิ หก้ ารแกะสลกั ไมโ้ มกมนั เปน็ อาชพี เสรมิ
แกร่ าษฎร พรอ้ มกบั เปน็ การรกั ษามรดกทางวฒั นธรรมของชาติไวต้ ่อไปด้วย

พระมารดาแห่งการคมุ้ ครองความหลากหลายทางชวี ภาพ 117

118 ๙๐ พรรษา บรมราชินนี าถ

หมอ่ น

ชือ่ วิทยาศาสตร์ Morus alba L.
วงศ์ Moraceae

ไม้พมุ่ สูง ๒–๕ เมตร ใบเดีย่ ว เรยี งสลบั รูปไขก่ ว้าง ขอบใบจกั ผิวใบเกล้ยี งสากคาย ดอกสขี าวหม่น
หรือแกมเขียว ออกเป็นช่อรูปทรงกระบอกตามซอกใบ ดอกย่อยมีขนาดเล็กมาก แยกเพศแต่อยู่บนต้น
เดยี วกนั มีกลีบดอก ๔ กลบี ปลายเกสรสีขาวเปน็ คู่คลา้ ยเสน้ ดา้ ยสนั้ ๆ ผลเปน็ ผลรวม รปู กระสวยยาว
ฉ่�ำน้�ำ เมื่อสกุ มีสมี ว่ งแดงถงึ ด�ำ

ต้นหม่อนปลูกกันมากในชนบทท่ัวไปในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผลรับประทานได้
มีรสหวานอมเปรี้ยว ใบใช้เป็นอาหารเล้ียงตัวหนอนไหม เส้นไหมพันธุ์พื้นบ้านของไทยที่ได้จากดักแด้
ของตัวไหมน้ี มีสเี หลืองทองเหลือบมัน

พทุ ธศกั ราช ๒๕๑๓ เมอ่ื สมเดจ็ พระนางเจ้าสริ ิกิต์ิ พระบรมราชนิ ีนาถ พระบรมราชชนนพี นั ปีหลวง
โดยเสด็จฯ พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงเยี่ยมราษฎรในภาค
ตะวนั ออกเฉยี งเหนอื ไดท้ อดพระเนตรเหน็ ชาวบา้ นนงุ่ ซน่ิ ไหมมดั หมล่ี วดลายสวยงามมารบั เสดจ็ ฯ ทกุ พนื้ ท่ี
จึงมพี ระราชด�ำริว่า การทอผา้ ไหมมัดหมีส่ ามารถเป็นอาชีพเสรมิ เพมิ่ รายได้ให้แก่ชาวบา้ นได้ จึงโปรดให้
การสนบั สนนุ การทอผา้ ไหมมดั หมเี่ ปน็ อาชพี เสรมิ และโปรดใหต้ ง้ั กลมุ่ สมาชกิ ปลกู หมอ่ นเลย้ี งไหม สาวไหม
และทอผ้าไหมใหค้ รบวงจรดว้ ย

พระมารดาแหง่ การค้มุ ครองความหลากหลายทางชวี ภาพ 119

กระจูด

ชอ่ื วิทยาศาสตร์ Lepironia articulata (Retz.) Domin
วงศ์ Cyperaceae

ในภาคใตแ้ ละภาคตะวนั ออกของประเทศไทย มพี ชื สำ� คญั ทางเศรษฐกจิ ชนดิ หนงึ่ คอื กระจดู ซง่ึ เปน็
พืชพืน้ บา้ น ท่ีแตเ่ ดมิ ชาวบา้ นนำ� มาจกั สานเปน็ เสอ่ื รองน่งั ทำ� เชอื ก กระสอบ ฯลฯ

สมเด็จพระนางเจ้าสริ ิกิต์ิ พระบรมราชนิ นี าถ พระบรมราชชนนีพันปหี ลวง โปรดให้เพม่ิ มลู คา่ ของ
งานพืน้ บ้านเหล่านี้ โดยการประยกุ ต์ให้หลากหลายข้นึ ท�ำเปน็ กระเปา๋ ถือ หมวก กลอ่ ง แผน่ รองจาน แผน่
รองแก้ว ฯลฯ โดยใหม้ กี ารพัฒนาฝีมือและผลงานให้ประณีตข้นึ และมลี วดลายสวยงามทันสมัย ผลติ ภณั ฑ์
แปรรูปของกระจูดจงึ มีคุณคา่ และสามารถสรา้ งรายได้ใหร้ าษฎรมากขึ้น

120 ๙๐ พรรษา บรมราชนิ นี าถ

ปะหนนั

ชอ่ื วทิ ยาศาสตร์ Pandanus odorifer (Forssk.) Kuntze
วงศ์ Pandanaceae

ปะหนัน หรือเตยทะเล เป็นพืชตระกูลเดียวกับต้นเตย พบขึ้นอยู่มากในภาคใต้ตอนล่างกับภาค
ตะวนั ออกของประเทศ ชาวพน้ื บ้านได้น�ำใบปะหนนั มาจกั สานทำ� เส่ือไว้ใช้กนั ทว่ั ไป

สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ิ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง โปรดให้มีการพัฒนา
ผลติ ภณั ฑ์ต่าง ๆ จากใบปะหนนั เพื่อเป็นอาชีพเสริมใหช้ าวบ้านมีรายไดเ้ พ่ิมขน้ึ

พระมารดาแห่งการคุ้มครองความหลากหลายทางชวี ภาพ 121

ฝา้ ย

ชอื่ วทิ ยาศาสตร์ Gossypium herbaceum L.
วงศ์ Malvaceae

สมเด็จพระนางเจา้ สริ ิกติ ิ์ พระบรมราชนิ ีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงริเร่ิมงานศิลปาชพี
เพอ่ื ใหแ้ มบ่ า้ นชาวนาชาวไรม่ อี าชพี เสรมิ เพม่ิ รายไดย้ ามวา่ งหลงั การทำ� นาทำ� ไร่ โดยทรงนำ� วตั ถดุ บิ พน้ื บา้ น
และขนบประเพณีของพื้นบ้านมาเป็นอาชีพเสริมในหลายพ้ืนที่ โดยเริ่มจากโครงการทอผ้าฝ้ายที่เขาเต่า
จงั หวัดประจวบคีรขี ันธ์ เป็นโครงการพระราชด�ำรโิ ครงการแรก

122 ๙๐ พรรษา บรมราชนิ ีนาถ

กัญชง

ช่ือวิทยาศาสตร์ Cannabis sativa L.
วงศ์ Cannabaceae

ชาวไทยภเู ขาหลายเผา่ รจู้ กั นำ� กญั ชงมาใชป้ ระโยชนท์ ำ� เครอ่ื งนงุ่ หม่ มานานแลว้ เมอ่ื เดอื นกมุ ภาพนั ธ์
พ.ศ. ๒๕๔๔ สมเดจ็ พระนางเจา้ สริ กิ ติ ์ิ พระบรมราชนิ นี าถ พระบรมราชชนนพี นั ปหี ลวง จงึ โปรดใหส้ นบั สนนุ
ชาวไทยภเู ขาทอผา้ จากใยกญั ชงเปน็ อาชพี เสรมิ และมพี ระราชเสาวนยี ใ์ หอ้ งคก์ ารสวนพฤกษศาสตรท์ ำ� การ
ศึกษาและพัฒนากัญชงใหเ้ ปน็ พชื เศรษฐกิจของประเทศ

พระมารดาแหง่ การคุม้ ครองความหลากหลายทางชวี ภาพ 123

ไผ่

ช่ือวิทยาศาสตร์ Dendrocalamus sp.
วงศ์ Poaceae

การจักสานไผ่ลายขิด เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซ่ึงหาผู้มีความรู้
ความช�ำนาญอยา่ งแท้จริงไมไ่ ดแ้ ลว้ ยังคงเหลอื เพยี งครอบครวั เดียวทอ่ี �ำเภอกฉุ ินารายณ์ จงั หวัดกาฬสินธุ์
สมเดจ็ พระนางเจา้ สริ กิ ติ ิ์ พระบรมราชนิ นี าถ พระบรมราชชนนพี นั ปหี ลวง ทรงขอใหม้ าสอนสมาชกิ ศลิ ปาชพี
ท่ีมีอายุน้อย เพ่ือถ่ายทอดต่อไปยังอนุชนรุ่นหลัง และสืบสานศิลปวัฒนธรรมการจักสานแขนงน้ีไม่ให้
สูญหายไป

124 ๙๐ พรรษา บรมราชนิ ีนาถ

หวายบุ่น

ชือ่ วิทยาศาสตร์ Daemonorops lewisiana (Griff.) Mart.
วงศ์ Arecaceae

หวายบนุ่ มลี ำ� ตน้ ทอดเลอ้ื ยยาวไปไดไ้ กล และมคี วามเหนยี วมาก ใชเ้ ปน็ วสั ดปุ ระกอบในงานศลิ ปาชพี
ได้แก่ ใชเ้ ป็นโครงในการจกั สาน และใชถ้ ักขอบเครื่องจกั สานไผล่ ายขดิ ใหแ้ ขง็ แรงทนทาน เปน็ ตน้

พระมารดาแห่งการคุ้มครองความหลากหลายทางชวี ภาพ 125

126 ๙๐ พรรษา บรมราชินนี าถ

กลว้ ย

ชื่อวิทยาศาสตร์ Musa sp.
วงศ์ Musaceae

กล้วยเป็นหนึ่งในพืชท่ีสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
ไดพ้ ระราชทานพระราชดำ� รใิ หก้ รมวชิ าการเกษตรนำ� ไปปลกู ใหแ้ กช่ าวไทยภเู ขาทอี่ พยพลงมาจากปา่ ตน้ นำ้�
เพราะกล้วยเหมาะสมจะเป็นไม้เบิกน�ำปลูกในพ้ืนท่ีเส่ือมโทรม เพื่อเพิ่มความชุ่มช้ืน เป็นอาหาร และยัง
สามารถหยุดการลกุ ลามของไฟปา่ ได้

พระมารดาแหง่ การคมุ้ ครองความหลากหลายทางชวี ภาพ 127

128 ๙๐ พรรษา บรมราชินนี าถ

สมเดจ็ พระบรมราชชนนพี ันปีหลวง

กับการคุ้มครองความหลากหลายทางชีวภาพ
พระมารดาแหง่ การคุม้ ครองความหลากหลายทางชีวภาพ 129

คนกับป่าอย่รู ว่ มกันอย่างยั่งยนื

“...เราต้องเขา้ ใจใหล้ ึกซึง้ ว่า ทรพั ยากรป่าไมน้ น้ั สำ� คัญตอ่ พวกเรามาก โดยเฉพาะอยา่ งยง่ิ ปา่
ไมเ้ ปน็ แหลง่ ต้นน�้ำลำ� ธาร ท่ใี ห้ความชุ่มฉำ�่ ตอ่ แผน่ ดนิ และปา่ ไม้ตอ้ งมสี ตั ว์เพ่ือชว่ ยในการขยายพันธ์ุ
และสร้างความสมดุลของธรรมชาติ ส่วนสตั ว์ปา่ นน้ั ก็ต้องมีแหล่งอาหารและทอี่ ยู่อาศยั จงึ กลา่ วได้ว่า
มนษุ ย์ ป่าไม้ และสัตวป์ ่า มคี วามสมั พนั ธ์กนั อยา่ งละเอียดลกึ ซึง้ จนไม่สามารถจะขาดส่วนหนง่ึ สว่ น
ใดไปได.้ ..”

พระราชด�ำรสั สมเด็จพระนางเจ้าสริ กิ ติ ์ิ พระบรมราชนิ นี าถ พระบรมราชชนนพี ันปีหลวง
ณ บ้านถำ้� ตวิ้ อำ� เภอสอ่ งดาว จงั หวดั สกลนคร
วนั ที่ ๒๐ ธนั วาคม ๒๕๒๕

130 ๙๐ พรรษา บรมราชินีนาถ

เสด็จฯ ณ บริเวณป่าคลองฮาลา ตำ� บลอัยเยอรเ์ วง อ�ำเภอเบตง จงั หวัดยะลา วันท่ี ๒ กันยายน ๒๕๔๓

สมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณใหญ่หลวงย่ิงต่อพสกนิกรปวงชน
ชาวไทย ตลอดระยะเวลาท่ีผ่านมา พระองค์ทรงงานหนักเพื่อประโยชน์สุขของปวงประชา โดยเฉพาะ
ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่าไว้ให้เป็นมรดกตกทอดแก่อนุชนรุ่นหลัง ก่อให้เกิดความ
สมดลุ และยง่ั ยนื ของระบบนเิ วศ รวมถงึ ทรพั ยากรธรรมชาตแิ ละสงิ่ แวดลอ้ มทเ่ี ออื้ ประโยชนต์ อ่ การดำ� รงชพี
และการประกอบอาชีพของราษฎร

กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เป็นหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบภารกิจในการดูแล
คุ้มครอง และฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า ในพ้ืนท่ีป่าอนุรักษ์ทั่วประเทศ ดังน้ัน จึงได้น้อมน�ำแนว
พระราชด�ำริของพระองคท์ ่านมาเปน็ แนวทางในการปฏบิ ัตงิ านอนุรกั ษ์ คุม้ ครอง ดูแลรกั ษาทรพั ยากรป่า
ไม้และสัตว์ป่า ไม่ให้ถูกบุกรุกท�ำลาย ฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่าท่ีเสื่อมโทรมและลดจ�ำนวนลง
จากภัยคุกคามรูปแบบต่าง ๆ ให้ฟื้นคืนสู่สภาพธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ดังเดิม ควบคู่ไปกับการ
พัฒนาคุณภาพชีวิตราษฎรท่ีอาศัยอยู่ในพ้ืนท่ีป่าอนุรักษ์และบริเวณใกล้เคียง ให้สามารถด�ำรงชีพได้
โดยไม่รบกวนท�ำลายป่า อาศัยพ่ึงพิงป่าอย่างเก้ือกูล เป็นแนวร่วมในการอนุรักษ์ป้องกันทรัพยากรป่าไม้
และสัตวป์ ่าตามแนวพระราชด�ำริ “คนอยรู่ ่วมกบั ป่า อย่างเก้อื กูล สมดุล และยง่ั ยืน”

พระมารดาแห่งการค้มุ ครองความหลากหลายทางชีวภาพ 131

การอนุรักษ์สภาพปา่

สมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงมีพระราชปณิธานอย่างแน่วแน่ในการช่วยเหลือเหล่า
พสกนิกรทุกหมู่เหล่า ทรงมีพระราชด�ำริจัดตั้งโครงการต่าง ๆ ขึ้น เพ่ือฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ โดยอาศัย
ความร่วมมือของประชาชน อาทิ โครงการป่ารักน้�ำ โดยมีพระราชประสงค์เชิญชวนประชาชนมาปลูก
ต้นไม้บริเวณที่รกร้างว่างเปล่า เป็นการฟื้นฟูสภาพป่าไม้ที่เส่ือมโทรม ปรับปรุงต้นน้�ำล�ำธาร เพื่อให้มีป่า
ไม้รักษาความชุ่มชื้นและควบคุมความผันแปรของดิน ฟ้า อากาศ และภัยแล้ง ราษฎรมีไม้ไว้ใช้สอยใน
อนาคต เป็นการเสริมสร้างให้ราษฎรเกิดความรักความหวงแหนทรัพยากรป่าไม้ โครงการป่ารักน้�ำน้ี ยัง
ช่วยเหลือราษฎรท่ียากจน ขาดแคลนที่ดินท�ำกินที่บุกรุกกระจัดกระจายในเขตป่า ให้มีที่อยู่เป็นหลัก
แหลง่ มอี าชพี ท่แี น่นอน มรี ายได้ และความเปน็ อย่ทู ี่ดีขึน้

132 ๙๐ พรรษา บรมราชินีนาถ

สมเด็จพระบรมราชชนนพี ันปหี ลวง ทรงมีพระราชด�ำรใิ หจ้ ดั ตง้ั โครงการปา่ รกั น้�ำข้นึ ที่บรเิ วณอ่าง
เกบ็ นำ้� คำ� จวง บา้ นถำ้� ตว้ิ ตำ� บลปทมุ วาปี อำ� เภอสอ่ งดาว จงั หวดั สกลนคร และไดพ้ ระราชทานเงนิ ของมลู นธิ ิ
ส่งเสริมศิลปาชีพและเงินจากส�ำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์จ�ำนวนหน่ึง ตั้งเป็นกองทุนส�ำหรับ
โครงการปา่ รกั นำ้� ทรงเรม่ิ ตน้ โครงการดว้ ยการปลกู ปา่ เปน็ ตวั อยา่ งแกร่ าษฎรในพน้ื ที่ ๑ ไร่ และโปรดเกลา้ ฯ
ใหเ้ ชญิ พราหมณม์ าทำ� พธิ บี วงสรวงประกาศอญั เชญิ เทพยดาอารกั ษ์ เจา้ ปา่ มาสถติ อยู่ ณ ปา่ ทท่ี รงปลกู เพอ่ื
รวมนำ�้ ใจชาวบา้ นและสรา้ งความศกั ดส์ิ ทิ ธแ์ิ กโ่ ครงการ ทรงปลกู กลา้ ไมอ้ ยา่ งถกู วธิ เี ปน็ ตวั อยา่ ง แลว้ ทรงชวน
ราษฎรรว่ มกนั ปลูกปา่ และได้พระราชทานช่อื โครงการน้วี า่ “โครงการปา่ รกั น้�ำ” ดังพระราชด�ำรัสท่วี า่

“…พระเจ้าอยู่หัวเป็นน�้ำ ฉันจะเป็นป่า ป่าท่ีถวายความจงรักภักดีต่อน้�ำ พระเจ้าอยู่หัวสร้าง
อ่างเก็บนำ้� ฉันจะสรา้ งปา่ …”

พระมารดาแห่งการคุ้มครองความหลากหลายทางชีวภาพ 133

เสด็จฯ โครงการพฒั นาปา่ ไมอ้ ันเน่ืองมาจากพระราชด�ำริสวนปา่ สริ ิกิต์ิ ๑ อำ� เภอแม่แจม่ จังหวัดเชยี งใหม่
วันท่ี ๔ กมุ ภาพันธ์ ๒๕๔๔

“...ปา่ ไม้ของประเทศไทย เรยี กว่า ป่าฝน ซง่ึ ชาวต่างประเทศเขาบอกวา่ แหล่งน้�ำของไทยนี่
มาจากป่าฝน เขาใช้ค�ำวา่ rain forest วา่ เราน่ีแหล่งน้�ำได้มาจากท่ีน่ี ถ้าเราตัดปา่ มาก ๆ ข้าพเจ้า
กเ็ กรงวา่ นำ้� ของเรานกี่ จ็ ะหมดไป คอ่ ย ๆ รอ่ ยหรอไป ไมส่ มดลุ กบั การเกดิ ของประชากรทตี่ อ้ งใชน้ ำ�้ ปา่
ไม้นี้ช่วยซึมซับน�้ำฝนไว้ใต้ดิน เรียกว่าท�ำน�้ำใต้ดินแล้วค่อย ๆ ระบายลงมาเป็นธารน�้ำ เป็นล�ำคลอง
เปน็ แมน่ ำ�้ ทใี่ หเ้ ราใชไ้ ดเ้ สมอมา เราจงึ ควรถนอมรกั ษาปา่ ไว้ ใหค้ งอยเู่ ปน็ ตน้ นำ�้ ลำ� ธาร เพอื่ วา่ ลกู หลาน
เราจะไดไ้ มล่ ำ� บาก...”

พระราชด�ำรัส สมเดจ็ พระนางเจา้ สิริกติ ิ์ พระบรมราชินนี าถ พระบรมราชชนนีพนั ปีหลวง
พระราชทานแก่คณะบคุ คลต่าง ๆ ที่เขา้ เฝ้าถวายพระพรชยั มงคลในโอกาสวันเฉลมิ พระชนมพรรษา

ณ ศาลาดสุ ดิ าลัย พระราชวงั ดสุ ิต
วันที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๓๔

134 ๙๐ พรรษา บรมราชนิ ีนาถ

เสดจ็ ฯ ณ บ้านมืดหลอง อำ� เภอแมแ่ จม่ จงั หวดั เชียงใหม่ วันที่ ๒๓ มกราคม ๒๕๔๔

โครงการสวนปา่ สริ กิ ติ ิ์ เรม่ิ ดำ� เนนิ การเมอื่ ปพี ทุ ธศกั ราช ๒๕๒๕ จากการทส่ี มเดจ็ พระบรมราชชนนี
พนั ปหี ลวง ทรงโปรดเกลา้ ฯ ใหม้ กี ารสำ� รวจสภาพปา่ บรเิ วณบา้ นโมง่ หลวงและบา้ นโมง่ นอ้ ย อำ� เภอแมแ่ จม่
จังหวัดเชียงใหม่ ด้วยพบว่ามีสภาพป่าที่ควรไว้เป็นแหล่งต้นน้�ำล�ำธาร แต่เน่ืองจากมีราษฎรอาศัยอยู่
จึงทรงให้ด�ำเนินงานปรับปรุงพื้นที่ เพื่อให้เป็นแหล่งต้นน้�ำล�ำธาร และพัฒนาคุณภาพชีวิตของราษฎร
ในพ้ืนท่ีให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นไปด้วยพร้อมกัน โดยให้กรมป่าไม้เป็นหน่วยงานหลักและมีส่วนราชการ
อ่ืน ๆ ได้แก่ กรมพัฒนาท่ีดิน กรมปศุสัตว์ และกรมส่งเสริมการเกษตร เข้ามาช่วยปฏิบัติงาน
เพื่อใหก้ ารพัฒนาเปน็ ไปอย่างรวดเรว็

กรมป่าไม้ในสมัยนั้นได้น้อมน�ำแนวพระราชเสาวนีย์ของสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง ใน
โครงการป่ารกั น้ำ� โดยให้ “คนอยคู่ ูก่ บั ปา่ ” ดว้ ยการสง่ เสรมิ ใหร้ าษฎรมีความรู้ ความเข้าใจ ในเรอ่ื งของ
ปา่ ไมท้ เ่ี ปน็ แหลง่ ตน้ นำ�้ ลำ� ธาร ใหแ้ นวทางทจี่ ะเพาะปลกู ทำ� กนิ ไดโ้ ดยไมบ่ กุ รกุ ทำ� ลายปา่ ปลกู สรา้ งจติ สำ� นกึ
และสนับสนุนให้ราษฎรในพื้นที่เกิดความรู้สึกหวงแหนในทรัพยากรป่าไม้และพร้อมท่ีจะเป็นก�ำลังส�ำคัญ
ในการอนรุ กั ษ์ปา่ ไม้ไว้สืบไป โดยไดร้ ับพระราชทานนามพ้ืนท่นี ว้ี ่า “สวนป่าสริ ิกติ ิ์”

พระมารดาแห่งการคุม้ ครองความหลากหลายทางชีวภาพ 135

ป่าฮาลา–บาลา เป็นพ้ืนที่ครอบคลุมพื้นที่อ�ำเภอแว้ง อ�ำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส และ
อ�ำเภอเบตง จังหวัดยะลา เป็นป่าดงดิบที่มีความอุดมสมบูรณ์และเป็นแหล่งต้นน้�ำล�ำธาร สมเด็จพระ
บรมราชชนนพี ันปหี ลวง ทรงมีรบั สั่งเมือ่ ครั้งเสดจ็ แปรพระราชฐานมาประทบั ณ พระตำ� หนักทักษิณราช
นิเวศน์ เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๓๓ ให้มีการเข้าส�ำรวจพื้นท่ี และจัดตั้งโครงการอนุรักษ์ธรรมชาติ
และสัตว์ป่า สวนป่าพระนามาภิไธยภาคใต้พ้ืนท่ีส่วนที่ ๒ เพ่ืออนุรักษ์สัตว์ป่าในป่าผืนแห่งน้ี ซ่ึงปัจจุบัน
เป็นแหล่งก�ำเนิดของความหลากหลายทางชีวภาพมากมายของป่าดิบช้ืนที่ผิดแผกไปจากป่าดิบช้ืนแห่ง
อ่ืนในประเทศไทย ท้ังยังเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าหายากหลากหลายชนิด อาทิ กระซู่ สมเสร็จ
กระทิง ช้าง เสือ เป็นต้น และที่ส�ำคัญ เป็นถ่ินที่อยู่อาศัยของชนิดพันธุ์นกเงือกที่หายากในประเทศไทย
ถงึ ๑๐ ชนิด จาก ๑๓ ชนิด ซึง่ เป็นดัชนชี วี้ ัดความอุดมสมบูรณข์ องผืนปา่ แห่งน้ี รวมถงึ ยงั เป็นแหลง่ ก�ำเนดิ
ตน้ น้�ำลำ� ธารสำ� คัญ ๓ สายหลกั คอื แมน่ ำ�้ สุไหงโกลก แม่นำ�้ สายบรุ ี และแมน่ �้ำปัตตานี ท่ีหล่อเลยี้ งชุมชนที่
อย่โู ดยรอบผนื ป่าและพ้นื ที่ภาคใตต้ อนลา่ งมาอย่างยาวนาน

136 ๙๐ พรรษา บรมราชินนี าถ

การอนุรักษ์พนั ธ์ุพชื

อนุรักษพ์ นั ธ์ุกลว้ ยไมร้ องเทา้ นารีอนิ ทนนท์
สมเดจ็ พระนางเจ้าสริ ิกติ ิ์ พระบรมราชินนี าถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ได้มพี ระราชด�ำรเิ มื่อ

เดอื นมนี าคม พ.ศ. ๒๕๔๗ สรปุ ความได้วา่ “ใหพ้ ิจารณาหนทางในการอนุรกั ษพ์ ันธุ์กลว้ ยไมร้ องเทา้ นารี
ซ่ึงเป็นกล้วยไม้ไทยท่ีหายากและใกล้สูญพันธุ์จากแผ่นดินไทย เนื่องจากการถูกลักลอบเก็บออกจากป่า
สง่ ไปจำ� หน่ายยงั ต่างประเทศ และใหห้ น่วยงานด�ำเนินการปรบั ปรงุ แนวทางให้เหมาะสม”

ด้วยพระมหากรุณาธิคุณในการอนุรักษ์พันธุ์กล้วยไม้รองเท้านารี กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า
และพันธุ์พืช จึงได้ด�ำเนินการโครงการอนุรักษ์พันธุ์กล้วยไม้รองเท้านารีอินทนนท์ตามพระราชด�ำริใน
พื้นที่ภาคเหนือ (ดอยอินทนนท์) จังหวัดเชียงใหม่ และ (ขุนยวม) จังหวัดแม่ฮ่องสอน เพ่ือฟื้นคืน
ทรพั ยากรที่เป็นสมบตั อิ ันลำ�้ ค่าในปา่ ไว้ พื้นที่อนรุ ักษ์เหลา่ นี้ ยงั เปน็ แหล่งตน้ น้�ำลำ� ธารที่ส�ำคญั ตอ่ การเอ้ือ
ประโยชน์แก่ชุมชนท่ีอาศัยอยู่ในพื้นท่ีต้นน�้ำและปลายน้�ำ เป็นแหล่งพันธุกรรมของพรรณพืชป่า
หลากหลายชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นแหล่งก�ำเนิดกล้วยไม้รองเท้านารีอินทนนท์ ซึ่งเป็นกล้วยไม้ท่ี
สวยงาม หายาก พบน้อยในสภาพธรรมชาติ โดยส่งเสริมให้ชาวบ้านเข้ามามีส่วนร่วมด้วยการน�ำพันธุ์ไป
ปลูกเล้ียงและน�ำกลับปล่อยคืนสู่ป่าดั้งเดิม และท�ำการขยายพันธุ์ไปยังพ้ืนท่ีป่าส่วนอื่น ๆ ส่งผลให้เกิด
สถานท่ีท่องเท่ียวเชิงอนุรักษ์ เป็นท่ีดึงดูดใจของนักท่องเที่ยวที่เข้ามาสัมผัสความสวยงาม และความ
หลากหลายทางชวี ภาพทางธรรมชาติ

พระมารดาแห่งการคุม้ ครองความหลากหลายทางชวี ภาพ 137

“...กลว้ ยไมไ้ ทยมคี วามงามมากและมกี ลนิ่ หอมมาก ซงึ่ นบั วนั จะหาดไู ดย้ ากและใกลส้ ญู พนั ธไ์ุ ป
ทุกขณะ ขอใหช้ ่วยกันหาทางรวบรวมและอนุรักษไ์ ว้ พรอ้ มกบั การขยายพันธ์ุให้มีปริมาณมากพอทีจ่ ะ
คนื สปู่ ่าธรรมชาต.ิ ..”

พระราชด�ำรัส สมเดจ็ พระนางเจา้ สิริกิติ์ พระบรมราชนิ นี าถ พระบรมราชชนนพี นั ปีหลวง
พระราชทานในงานประชมุ กล้วยไม้เอเชียแปซฟิ กิ ครงั้ ท่ี ๔ ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จงั หวัดเชยี งใหม่

วนั ที่ ๒๒ มกราคม ๒๕๓๕

138 ๙๐ พรรษา บรมราชินนี าถ

อนุรักษแ์ หลง่ พนั ธุกรรมไมส้ กั
ในปี พ.ศ. ๒๕๔๙ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ปา่ และพันธ์พุ ชื สำ� รวจพบปา่ ผสมผลดั ใบทม่ี ไี มส้ กั

ธรรมชาติ ทม่ี คี วามอดุ มสมบูรณม์ าก ข้ึนกระจายอยู่เป็นบริเวณกวา้ ง มพี ้ืนท่ตี ่อเนือ่ งกันกวา่ ๖๐,๐๐๐ ไร่
ในพ้ืนที่เขตรกั ษาพนั ธุส์ ัตวป์ ่าลุ่มน้�ำปาย อำ� เภอเมอื ง และอำ� เภอปางมะผา้ จังหวดั แมฮ่ อ่ งสอน ซ่งึ เปน็ ป่า
ทีฟ่ นื้ ตัวจากการสัมปทานทำ� ไมใ้ นอดตี จนกระท้ังมกี ารประกาศจดั ตั้งเขตรกั ษาพันธุส์ ตั ว์ปา่ ลุ่มน้�ำปาย ใน
ปี พ.ศ. ๒๕๑๕ ซึ่งพบวา่ ปา่ แหง่ น้ีมีไม้สักขึน้ อยูอ่ ย่างหนาแน่น และมที รงต้นใหญ่สวยงาม เปน็ “ป่าสักผืน
ที่มีความสมบูรณ์มากที่สุดของประเทศไทย” นอกจากน้ี ยังพบว่าไม้สักในที่แห่งนี้สามารถขึ้นได้ที่ระดับ
ความสงู ถงึ ๑,๓๐๐ เมตร จากทเี่ คยมกี ารบนั ทกึ ไวไ้ มเ่ กนิ ระดบั ความสงู ๗๕๐ เมตร ทดี่ อยเชยี งดาว จงั หวดั
เชยี งใหม่ จงึ ไดน้ ำ� ความกราบบงั คมทลู สมเดจ็ พระนางเจา้ สริ กิ ติ ิ์ พระบรมราชนิ นี าถ พระบรมราชนนพี นั ปหี ลวง
และได้ทรงโปรดเกล้าฯ รับไว้เป็นโครงการอันเน่ืองมาจากพระราชด�ำริเม่ือเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๓
โดยไดพ้ ระราชทานชื่อผืนป่าน้วี า่ “ปา่ สกั นวมนิ ทรราชินี”

พระมารดาแหง่ การคมุ้ ครองความหลากหลายทางชวี ภาพ 139

การคมุ้ ครองสตั วป์ า่

“...เม่ือข้าพเจ้าเดินทางไปต่างประเทศครั้งที่แล้ว ข้าพเจ้ามีโอกาสได้พบกับผู้ทรงคุณวุฒิใน
ดา้ นธรรมชาติและการอนุรกั ษ์ ผูท้ รงคณุ วฒุ ิเหลา่ น้ัน ไดแ้ สดงความหว่ งใยเปน็ อย่างยิ่ง ต่อการสญู เสยี
ปา่ ไมแ้ ละสตั วป์ า่ ของไทยเรา ขา้ พเจา้ เพงิ่ ตระหนกั วา่ หลายสงิ่ หลายอยา่ ง ทเ่ี ราไมไ่ ดใ้ หค้ วามสำ� คญั กบั
มันมากนัก กลับกลายเปน็ สิ่งทม่ี คี วามส�ำคญั และล้ำ� คา่ ในสายตาของคนทีส่ นใจอ่นื ๆ ทวั่ โลก สัตวป์ า่
เช่น นกหวา้ ไก่ฟา้ พญาลอ กระทิง กปู รี แรด และกระซู่ เป็นเพียงบางสว่ นของสัตวป์ ่าของไทยท่ใี กล้
จะสญู พันธุ์ แมแ้ ต่ช้างซ่ึงเปน็ สตั วท์ ี่หาไมย่ าก แต่ก็มคี วามส�ำคัญตอ่ วัฒนธรรมและประวตั ศิ าสตร์ของ
ชาติเรา ก็กำ� ลงั ลดจ�ำนวนลงอยา่ งรวดเรว็ ...”

พระราชด�ำรัส สมเด็จพระนางเจ้าสริ กิ ติ ิ์ พระบรมราชินนี าถ พระบรมราชชนนพี ันปหี ลวง
พทุ ธศักราช ๒๕๒๖

140 ๙๐ พรรษา บรมราชินีนาถ

ตลอดระยะเวลาที่ทรงงานอยู่ทุกหนแห่งในประเทศ สมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรง
บำ� เพญ็ พระราชกรณียกิจทีท่ รงคณุ ประโยชน์ต่อพสกนกิ รชาวไทยทกุ หมเู่ หล่า นำ�้ พระทยั ของพระองค์ทรง
เผื่อแผไ่ ปยงั สรรพสัตวน์ ้อยใหญ่ เพราะทรงตระหนกั ถึงคุณคา่ และความสมั พนั ธ์ของทกุ ชีวิตบนผืนดินน้ี ท่ี
มผี ลกระทบตอ่ กนั ไม่วา่ จะเป็นทางตรงหรือทางออ้ ม ทรงใหศ้ กึ ษา ส�ำรวจ รวบรวมพันธ์สุ ัตวห์ ายาก แล้ว
น�ำมาขยายพันธุ์ให้มีความพร้อมที่จะกลับคืนสู่ธรรมชาติ เพ่ือน�ำไปปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ น�ำมาซ่ึงความ
อดุ มสมบูรณ์ของทรพั ยากรชีวภาพในประเทศไทย

โครงการอันเนอ่ื งมาจากพระราชด�ำริของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ปา่ และพนั ธ์พุ ชื นอกจากจะ
เปน็ การอนุรักษ์ ฟืน้ ฟู ทรพั ยากรดนิ น�้ำ ป่าไมแ้ ลว้ ทรงตระหนักถงึ ความสมดลุ ทางธรรมชาติ กอ่ ให้เกดิ
โครงการดา้ นการอนุรักษส์ ัตว์ปา่ อาทิ โครงการอนรุ กั ษแ์ ละฟน้ื ฟสู ภาพปา่ บริเวณป่าสงวนแหง่ ชาติกยุ บรุ ี
อันเนื่องมาจากพระราชด�ำริ โครงการสวนสัตว์ป่าเปิดภูเขียวอันเน่ืองมาจากพระราชด�ำริ จังหวัดชลบุรี
โครงการฟื้นฟูอาหารช้างป่าภูหลวงอันเนื่องมาจากพระราชด�ำริ จังหวัดเลย โครงการเพาะเลี้ยงและ
ขยายพันธเ์ุ ขียดแลวแบบธรรมชาติตามพระราชเสาวนีย์ จงั หวดั แม่ฮ่องสอน เปน็ ต้น

พระมารดาแหง่ การคุ้มครองความหลากหลายทางชวี ภาพ 141

“...ทรงเปน็ หว่ งประชาชนจะไมม่ อี าหารโปรตนี จากเนอ้ื สตั วบ์ รโิ ภคอยา่ งเพยี งพอ เขยี ดแลวเปน็
กบชนิดหน่ึง ท่ีมีเฉพาะในท้องถ่นิ จังหวดั แมฮ่ อ่ งสอน และเป็นที่นิยมบรโิ ภคของประชาชน ทำ� ให้เขียว
แลวในสภาพธรรมชาติลดน้อยลง เป็นท่ีน่าวิตกว่าจะสูญพันธุ์ในอนาคต ขอให้กรมป่าไม้จัดหาพ้ืนที่
เหมาะสม ท�ำการเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์ต่อไป ด้วยการจัดหาสถานที่เพาะเล้ียงเขียดแลว
แบบธรรมชาติ ใหก้ รมปา่ ไมจ้ ดั หาพนื้ ทอ่ี ยา่ งนอ้ ย ๑,๐๐๐ ไร่ กรมชลประทานจดั ทำ� แหลง่ นำ�้ สรา้ งความ
ชมุ่ ชน้ื กรมประมงจัดหาพันธ์ุเขียดแลว ปล่อยในพืน้ ที่ปา่ ไมต้ ามธรรมชาติ โดยให้ราษฎรเขา้ มามสี ว่ น
ร่วมในการบรหิ ารจัดการ...”

พระราชด�ำริ สมเด็จพระนางเจา้ สริ กิ ิต์ิ พระบรมราชนิ นี าถ พระบรมราชชนนีพนั ปหี ลวง
ณ สวนปา่ ตามโครงการพระราชด�ำริ ปางตอง ๑ (ห้วยมะเขอื ส้ม)
วนั ท่ี ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๔

“…ข้าพเจ้าอยากจะเล่าโครงการปล่อยช้างคืนสู่ธรรมชาติ ข้าพเจ้าพูดเล่นเท่านั้นเอง พูดเล่น
กับพวกที่อยู่ข้างเคียง บอกว่าไปไหนพระเจ้าอยู่หัวทรงล้อว่า มีแต่ทรงปล่อยไก่เท่านั้นเอง เดี๋ยวพระ
ราชินปี ล่อยไกท่ ีโ่ นน่ ปลอ่ ยไก่ท่ีนี่ เลยบอกแหม...ถ้าไดป้ ล่อยช้างคืนสูธ่ รรมชาติบา้ งกด็ ี แลว้ ทุกคนก็
ชว่ ยกันจดั ให้ขา้ พเจา้ ปลอ่ ยชา้ ง ไดท้ ราบว่าเปน็ ท่สี นใจของชาวตา่ งประเทศมาก ในการปลอ่ ยชา้ งเป็น
อิสระแลว้ ดูได้ผลดี รู้สึกเคา้ สดชื่น ดปู รบั ตวั เข้ากับป่าได้เป็นอย่างดี…”

พระราชด�ำรัส สมเดจ็ พระนางเจา้ สริ ิกติ ์ิ พระบรมราชนิ ีนาถ พระบรมราชชนนพี นั ปหี ลวง
ณ ศาลาดุสิดาลัย วนั ที่ ๑๒ สงิ หาคม ๒๕๔๒

142 ๙๐ พรรษา บรมราชินนี าถ

“...เม่ือพูดถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติแล้ว ข้าพเจ้าใคร่จะขอให้ถือเป็นกรณีท่ีต้อง
พิจารณาไตร่ตรองเป็นพิเศษ เพราะเหตุว่าการอนุรักษ์นั้น แม้เป็นส่ิงท่ีดีมาก ท่ีทุกประเทศมุ่งรักษา
ประโยชนร์ ะยะยาวของแผน่ ดนิ และประชาชนกต็ าม แตห่ ากทำ� โดยไมร่ ะมดั ระวงั และโดยรอบคอบถถ่ี ว้ น
บางทีก็อาจเป็นผลเสยี ก่อนทจ่ี ะวางแผนและปฏิบตั ิการอนรุ ักษ์ จงึ จำ� เป็น ต้องพิจารณาศกึ ษาให้เหน็
ตลอดปลอดโปร่ง มีความอะลุ่มอล่วย และด�ำเนินการไปโดยไม่ให้ขัดกับเหตุการณ์ส่ิงแวดล้อม
มนุษย์สัมพันธ์ และส�ำคัญท่ีสุดต้องไม่ขัดกับการครองชีพของประชาชน สรุปว่า ทุกคนต้องไม่ลืมว่า
การอนุรักษ์นั้นกค็ ือ การปฏบิ ัติเพื่อมุง่ รักษาประโยชน์ อนั ถาวรของแผน่ ดนิ และประชาชน…”

พระราชด�ำรสั สมเด็จพระนางเจา้ สิรกิ ติ ิ์ พระบรมราชินนี าถ พระบรมราชชนนพี นั ปีหลวง
วันท่ี ๓๑ มีนาคม ๒๕๑๘

พระมารดาแห่งการคมุ้ ครองความหลากหลายทางชีวภาพ 143

สถานีพัฒนาการเกษตรทสี่ งู ตามพระราชดำ� ริ

ด้วยเหตุที่ผืนป่าภาคเหนือเป็นผืนป่าต้นน้�ำล�ำธารท่ีส�ำคัญ ถูกแผ้วถางบุกรุกเพื่อเปิดพื้นท่ีส�ำหรับ
การเกษตรดว้ ยความรเู้ ทา่ ไมถ่ งึ การณข์ องประชาชนในพนื้ ท่ี ยงั ผลทำ� ใหพ้ น้ื ทต่ี น้ นำ�้ ถกู ทำ� ลายและสง่ ผลตอ่
ผู้คนท่ีอยู่อาศัยอยู่ในพ้ืนที่เบ้ืองล่าง ที่มักจะประสบปัญหาการขาดแคลนน้�ำในฤดูแล้ง ซ่ึงปัญหา
ดงั กล่าว นบั วนั จะทวคี วามรุนแรงอยา่ งต่อเนอ่ื ง

สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ิ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ได้พระราชทาน
พระราชด�ำริให้จัดตั้งสถานีพัฒนาการเกษตรท่ีสูงตามพระราชด�ำริในพื้นท่ีภาคเหนือ ตั้งแต่ปี พ.ศ.
๒๕๔๓ เป็นต้นมา จนถึงปจั จบุ นั รวม ๑๘ สถานี โดยมวี ตั ถุประสงค์เพื่อเปน็ แหล่งเรียนรู้และตัวอย่างการ
ท�ำการเกษตรท่ีถูกต้องตามหลักวิชาการ และช่วยเหลือให้ราษฎรในพื้นที่สูงให้สามารถด�ำรงชีพอยู่ใน
พื้นที่ท�ำกินเดิมอย่างมีความสุข ไม่อพยพโยกย้ายถ่ินฐาน มีอาหารเพียงพอต่อการบริโภค มีความมั่นคง
และมคี ุณภาพชีวิตทีด่ ขี ้นึ รวมถึงมจี ติ ส�ำนกึ ในการอนุรักษท์ รพั ยากรธรรมชาติ โดยให้ราษฎรเข้ามามีส่วน
ร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ของสถานีฯ เพื่อซึมซับความรู้และเกิดทักษะในการน�ำไปใช้ท�ำการเกษตรในพื้นที่
ของตนเอง

144 ๙๐ พรรษา บรมราชินีนาถ

สถานีพัฒนาการเกษตรทสี่ งู ตามพระราชดำ� ริบ้านปางขอน
จังหวดั เชยี งราย

สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ิ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงทราบถึงปัญหา
พื้นที่ป่าต้นน้�ำบริเวณดอยเกี๊ยะ ต�ำบลห้วยชมภู อ�ำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ถูกบุกรุกท�ำลายเป็นพ้ืนที่
หลายพันไร่ เพ่ือเป็นพ้ืนที่ท�ำกิน และมีการปลูกพืชเสพติด เป็นต้นทางล�ำเลียงยาเสพติด จึงได้เสด็จ
พระราชดำ� เนนิ ไปทอดพระเนตรพน้ื ทด่ี ว้ ยพระองคเ์ อง เมอื่ วนั ท่ี ๑๓ มนี าคม ๒๕๔๕ และพระราชทานแนว
พระราชด�ำริให้จัดตั้งสถานีพัฒนาการเกษตรที่สูงตามพระราชด�ำริบ้านปางขอนข้ึน เพ่ือแก้ไขปัญหา
ความมั่นคง และปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรป่าไม้ โดยทรงมุ่งหวังให้ราษฎรในพ้ืนที่มีรายได้ที่
เพียงพอต่อการด�ำรงชีพ โดยไม่ต้องบุกรุกท�ำลายป่า รวมท้ังการยุ่งเก่ียวกับยาเสพติด และทรงเสด็จฯ
ตดิ ตามผลการด�ำเนินงานอีกครง้ั เมื่อวนั ที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๔๘

พระมารดาแห่งการค้มุ ครองความหลากหลายทางชวี ภาพ 145

ภาพถ่ายดาวเทียมเปรียบเทียบพนื้ ท่สี ถานีพฒั นาการเกษตรท่สี ูงฯ พ.ศ. 2548 และ พ.ศ. 2558

การด�ำเนินการหลักท่ีเกี่ยวข้องกับทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อมตามแนวพระราชด�ำริคือ
การสร้างสมดุลของการใช้ประโยชน์ และการอนุรักษ์ ฟื้นฟู วิจัย และพัฒนาป่าไม้ ในวิถีปฏิบัติของ
ชาวบ้าน ด้วยการส่งเสริมการปลูกกาแฟ ซ่ึงสามารถช่วยลดการพังทลายของหน้าดิน ลดการใช้
ทรัพยากรน้�ำ และยังช่วยสร้างผืนป่าให้กับพ้ืนที่ได้เป็นอย่างดี เพราะกาแฟเป็นพืชท่ีต้องการร่มเงา จึง
ต้องมีการปลูกต้นไม้อื่นควบคู่เสมอ (พืชแซม) ปัจจุบันพื้นท่ีบ้านปางขอนเป็นต้นแบบให้กับหมู่บ้าน
ใกล้เคียงในการพัฒนาเป็นพื้นท่ีท่องเท่ียว ผืนป่าจากการส่งเสริมการปลูกแมคคาเดเมียส�ำหรับผืนป่าช้ัน
บน และการปลูกกาแฟส�ำหรบั ผนื ป่าช้นั ล่าง นอกจากน้ี ความเปล่ียนแปลงทางด้านรายได้ของราษฎรใน
พื้นที่ มีการปรับตัวสูงข้ึนอย่างเห็นได้ชัดจากปี พ.ศ. ๒๕๔๕ รายได้/ครัวเรือน/ปี เฉลี่ย ๕,๐๐๐ บาท
ตอ่ มา ในปี พ.ศ. ๒๕๖๒ รายได/้ ครวั เรือน/ปี เฉลี่ย ๒๘๘,๖๑๕.๖๓ บาท

146 ๙๐ พรรษา บรมราชินนี าถ

เสด็จฯ สถานีพฒั นาการเกษตรทีส่ ูงตามพระราชด�ำริดอยมอ่ นล้าน จงั หวัดเชยี งใหม่ วนั ท่ี ๒๘ มกราคม ๒๕๔๗

สถานีพัฒนาการเกษตรทสี่ งู ตามพระราชดำ� ริดอยมอ่ นลา้ น
จังหวดั เชยี งใหม่

เมื่อวันท่ี ๒๘ มกราคม ๒๕๔๗ สมเดจ็ พระนางเจา้ สริ กิ ติ ิ์ พระบรมราชนิ นี าถ พระบรมราชชนนี
พันปีหลวง เสด็จฯ ไปทอดพระเนตรพ้ืนท่ีบริเวณดอยม่อนล้าน ณ จุดความสูง ๑,๓๖๐ เมตร ใกล้บ้าน
อาแย หมู่ที่ ๓ ต�ำบลป่าไหน่ อ�ำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ เน่ืองจากพ้ืนท่ีดังกล่าวได้ถูกแผ้วถาง ท�ำไร่
หมุนเวียน เป็นแนวกว้าง ด้วยความห่วงใยพ้ืนที่ป่าที่ถูกบุกรุกเสียหาย ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ต้ังสถานี
พัฒนาการเกษตรท่ีสูงตามพระราชด�ำริดอยม่อนล้าน และพระราชทานพระราชด�ำริ เม่ือวันท่ี ๗
กุมภาพันธ์ ๒๕๔๘ ในการปลูกป่า เพ่อื ฟนื้ ฟพู น้ื ท่ีตน้ น�้ำลำ� ธาร โดยให้ใชไ้ มใ้ นท้องถ่นิ อาทิ นางพญาเสือ
โคร่ง จ�ำปีป่า มะยมป่า มะขามป้อม ท�ำการเพาะขยายพันธุ์พืชหายากหรือใกล้สูญพันธุ์ อาทิ จ�ำปีป่า
มณฑาดอย ตะไคร้ต้น เพือ่ แจกจา่ ยให้ประชาชนน�ำไปปลูก เพ่อื ช่วยอนุรกั ษม์ ใิ ห้สญู พันธุ์ ทำ� การทดลอง
เพาะเล้ียงและขยายพันธุ์ไก่ฟ้าหลังเงินและนกแว่น ซึ่งเป็นนกท่ีเคยพบในพ้ืนท่ี และพัฒนาพื้นที่ให้เป็น
แหลง่ ทอ่ งเทย่ี วทางธรรมชาติและวัฒนธรรม

จากแนวพระราชด�ำริส่งผลให้พื้นที่ป่าต้นน�้ำบริเวณดังกล่าวได้กลับฟื้นคืนสภาพเป็นป่าที่สมบูรณ์
มีความหลากหลายของชนิดพรรณพืช ป่าปลูกมีความหลากหลายทางธรรมชาติใกล้เคียงกับป่าธรรมชาติ
เปน็ ที่อยอู่ าศยั ของสัตว์ปา่ นานาชนิด เป็นแหล่งท่องเท่ียวทางธรรมชาติที่ประชาชนท่ัวไปรู้จัก

พระมารดาแห่งการคมุ้ ครองความหลากหลายทางชวี ภาพ 147

ทรงปลูกตน้ พญาไม้ ณ สถานพี ฒั นาการเกษตรท่สี ูงดอนม่อนลา้ น จงั หวดั เชียงใหม่
วนั ที่ ๗ กุมภาพนั ธ์ ๒๕๔๘

148 ๙๐ พรรษา บรมราชนิ นี าถ


Click to View FlipBook Version