The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

องความรู้ของสำนักศิลปวัฒนธรรมและพัฒนาชุมชน

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by kunkorkai, 2022-09-07 09:06:03

ไต้ น้ำมันยาง เรื่องเล่าจากแสงไต้

องความรู้ของสำนักศิลปวัฒนธรรมและพัฒนาชุมชน

องคค์ วามรู้ท้องถิน่

ไต้ น้ำมันยาง
และเรือ่ งเล่าจากแสงไต้

โดย ปราณ ปรีชญา

องค์ความรทู้ อ้ งถนิ่

ไต้
นำ้ มันยาง

และ
เรื่องเลา่ จากแสงไต้

โดย ปราณ ปรชี ญา

พฤษภาคม ๒๕๖๕



สารบญั ๑

ไต้ นำ้ มนั ยางและเรอ่ื งเลา่ จากแสงไต้ ๑๑
นำเร่อื ง ๑๗
[๑] แสงแหง่ ภมู ิปัญญา ๑๘
[๒] เข้าไต้เข้าไฟ ๒๑
[๓] วิถผี ูค้ นกับไตส้ อ่ งสว่าง ๒๓
• ไต้ น้ำมันยางของภาคใต้ ๒๖
• ไต้ น้ำมันยางของภาคตะวนั ออกเฉยี งเหนือ ๒๘
• ไต้ น้ำมนั ยางของภาคเหนือ ๓๒
• ไต้ น้ำมันยางของภาคกลาง ๓๘
• ไต้ นำ้ มันยางของภาคตะวนั ออก ๔๑
[๔] ไตแ้ ละน้ำมนั ยางของชาวชอง ๔๕
[๕] เรือ่ งเลา่ จากแสงไต้ ๔๘
เร่ืองย่อยและสารบญั เร่ืองย่อย ๕๔
ความเช่ือ [Beliefs] ๘๙
ลทั ธแิ ละศาสนา [Doctrine and Religion] ๑๐๔
ภมู ปิ ัญญา [Wisdom] ๑๒๔
วัฒนธรรม ประเพณี และพธิ กี รรม [Culture, Tradition and Rite] ๑๓๕
ศลิ ปะดนตรแี ละการแสดง [Arts, Music and Play] ๑๖๐
ภาษาและการใชถ้ ้อยคำ [Linguistics and Verbal Usages]
วรรณกรรม [Literature]

บรรณานุกรม



ไต้ น้ำมนั ยางและเร่ืองเล่าจากแสงไต้ โดย ปราณ ปรชี ญา ๑

ไต้ น้ำมนั ยางและเรอื่ งเล่าจากแสงไต้

นำเรอื่ ง

ดวงอาทิตย์ ถือเป็นแหล่งกำเนิดแสงสว่างและความร้อนตามธรรมชาติที่ยิ่งใหญ่ที่สุด เอื้อให้
สิ่งมีชีวิตบนโลกดำรงอยู่และมีวิวัฒนาการสืบต่อเนื่องเรื่อยมาจากการรับและใช้พลังงานนี้โดยตรง
ต่อเมื่อดวงอาทิตย์ลับหายจากขอบฟ้า โลกตกอยู่ในความมืดมิดไร้แสงส่องสว่างยามราตรีกาล
หลักฐานทางโบราณคดีบง่ ช้ีวา่ มนุษย์เรารจู้ ักไฟและต่อมาสามารถควบคมุ ไฟ เก็บรักษาไฟแล้วนำมาใช้
ประโยชน์ได้ตั้งแต่ยุคก่อนประวตั ิศาสตร์เพื่อให้มีแสงส่องสว่างหลังพระอาทิตย์ลับขอบฟ้าด้วยการก่อ
กองไฟไว้ไล่สัตว์ร้าย ปรุงอาหารให้สุก ให้ความอบอุ่นร่างกายท่ามกลางความหนาวเหน็บ รวมทั้งการ
ใช้ในชีวิตประจำวันและประกอบสัมมาชีพ อาทิ การเผาเครื่องใช้วัสดุที่ประดิษฐ์ขึ้นจำพวก
เครื่องปั้นดนิ เผา อิฐโครงสรา้ ง กระเบื้องมุงหลังคา ฯลฯ จากนั้นมนุษย์ได้พยายามพัฒนาวิธีจุดไฟโดย
ส่วนใหญ่เป็นการนำวัสดุ ๒ ชิ้นมาเสียดสีกันให้ร้อนจนเกิดการลุกไหม้ ดังเช่น การปั่นแท่งไม้ [Hand
Drill Fire Starting] หนิ เหล็กไฟ [Flint Stone] ซึง่ ต่อมาได้มกี ารประดิษฐ์วสั ดุและเครือ่ งมือในการจุด
ไฟแบบต่าง ๆ อาทิ ตะบันไฟ [Fire Piston] ไม้ขีดไฟ [Match] ไฟแช็ก [Light] รวมถงึ พฒั นาการของ
เครื่องมือใช้ส่องสว่างตั้งแต่ คบไฟ [Torch] ไต้ [Torch] เทียนไข [Candle] ตะเกียง [Lamp] ไฟฉาย
[Flashlight] เปน็ ตน้

ไต้ น้ำมันยางและเร่ืองเล่าจากแสงไต้ โดย ปราณ ปรีชญา ๒

คบไฟหรือคบเพลิง [Torch] เปน็ เครื่องมือ
ส่องสว่างที่มนุษย์รู้จักทำให้ไฟมอดไหม้ช้าลง
สามารถถือติดตัวและเคลื่อนที่ไปในที่ต่าง ๆ ได้
สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นรูปแบบของการนำไฟมาใช้
ส่องสว่างในยุคแรก ๆ ที่มนุษย์สามารถควบคุมไฟ
และนำมาใชป้ ระโยชน์ได้แลว้ จากการจุดไฟที่ปลาย
กิ่งไม้ซึ่งอาจจะเป็นการค้นพบโดยบังเอิญจากการ
ใช้กิ่งไม้เขี่ยฟืนในกองไฟแล้วปลายไม้ลุกติดไฟและ
สามารถถือเดินไปได้เช่นเดียวกับท่อนไม้ที่มนุษย์
นำมาใช้เป็นฟืนก่อไฟและอาจจะใช้ฟืนนั้นถือส่อง
ทางมาก่อน แต่ทั้งท่อนฟืนและกิ่งไม้จะลุกติดไฟได้
ไม่นาน ต่อมาจึงรู้จักการใช้ไม้สนสองใบ [Merkus
pine ชือ่ เรยี กอน่ื : เกย๊ี ะเปลือกดำ เกย๊ี ะเปลือกหนา
จ๋วง เชียงเซา โช ไต้ แปก สนเขา สนหางม้า สะ
รอล] มาจุดไฟโดยไมต่ ้องดดั แปลงใด ๆ เน่อื งจากไมส้ นมีนำ้ ยาง [Resin] หรอื น้ำมันอยู่แลว้ ทำให้ติดไฟ
ได้งา่ ย จากนน้ั มนุษย์จงึ มวี ิธกี ารปรับปรงุ ให้ติดไฟไดน้ านขนึ้ โดยการถากเปลือกไม้สนออกให้ถึงเนื้อไม้
แล้วบากเนื้อไม้ให้เปน็ รอยจากนั้นจึงจุดไฟลนรอยบากให้ยางสนสีขาวไหลชโลมเคลือบเน้ือไม้ปล่อยท้ิง
ไว้ให้แห้งยางแห้งเป็นสีเหลืองอำพันแล้วจึงผ่าออกเป็นซีกตามขนาดที่ต้องการ ถ้าต้องการทำเป็นคบ
ไฟส่องนำทางก็ผา่ ลำตน้ ใหม้ ขี นาดใหญพ่ อเหมาะแก่การถือหรือนำซกี ไมส้ นหลาย ๆ ดุ้นมัดรวมกันกจ็ ะ
ทำให้ได้ดวงไฟขนาดใหญ่ขึ้น หากต้องการทำเป็นไม้เชื้อสำหรับก่อไฟก็ผ่าเป็นซี่เล็ก ๆ หรือริดจากก่ิง
ก้านก็ได้ คบไฟของชาวยุโรปมีการดัดแปลงนำวัสดุจำพวกเศษผ้าพันรอบที่ปลายไม้ด้านหนึ่งแล้วชุบ
น้ำมันจากต้นไม้เพื่อให้ได้ไฟดวงใหญ่และอยู่ได้นานมากขึ้น ต่อมาคบไฟได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของ
การการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกดังเช่นการจุดไฟเพ่ือสักการะบูชาเทพเจ้าซูส [Zeus] เทพปกรณัมยุคกรีก
โบราณ ณ วหิ ารของซูสและวหิ ารแห่งเทวีเฮรา [Hera] ประเทศกรซี
คบไฟที่ทำจากไม้สนในแถบภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใตม้ ีช่ือเรียกต่างกันไป อาทิ ชาวไท
ใหญ่ ชาวไทยภูเขา และชาวไทยพื้นราบทางภาคเหนือตอนบนเรียกไม้สนที่นำมาเป็นเชื้อไฟว่า 'ไม้
เก๊ียะ' และบางพื้นท่ีเรยี กวา่ 'ไมแ้ คร่' ขัน้ ตอ่ มามนุษย์จึงร้จู ักดัดแปลงและพัฒนาเครื่องใช้ให้ความสว่าง
ได้ดขี ้ึนตามลำดบั คบไฟ จงึ เป็นส่งิ ประดษิ ฐ์ขน้ั ตน้ ที่มีมาต้ังแต่ยุคดกึ ดำบรรพ์ และมใี ช้เหมอื นกันทั่วไป
ในทุกภูมิภาคของโลก ต่างกันเพียงวัตถุดิบที่นำมาใช้ตามที่มีอยู่ในแต่ละสภาพแวดล้อมของพื้นท่ี
รวมถึงการประดิษฐ์รูปลักณะและการเลือกวัสดุมาทำกระบอกใส่คบไฟให้สวยงามเหมาะสมกับฐานะ
ของผใู้ ชม้ ากขึ้น

ไต้ น้ำมันยางและเรอ่ื งเล่าจากแสงไต้ โดย ปราณ ปรชี ญา ๓

'ไต้' หรือ 'ต้าย' เป็นเชื้อติดไฟชนิดหนึ่งท่ีคนไทยนำวัตถุดิบจากต้นยางที่มีอยู่อย่างอุดมใน
สภาพแวดลอ้ มตามธรรมชาตทิ ั่วทุกภูมิภาคมาดัดแปลงสำหรับใช้ก่อไฟและทำคบไฟส่องนำทาง คำว่า

'ไต้' นี้เป็นคำโบราณมีปรากฏอยู่
ในจารึกหลักที่ ๑๐๗ วัดบางสนุก
[ภาษาบาลีและภาษาไทย] อำเภอ
วังชิ้น จังหวัดแพร่ ด้านที่ ๑
บรรทดั ที่ ๑๖ จารกึ ไว้วา่ 'งพาดสย
งกลองแลขนนเขาตอกดอกไมไต'
นายประสาร บุญประคอง เป็น
ผู้อ่านและปริวรรต ความว่า
'งพาทย์เสียงกลองแลขันข้าวตอก
ดอกไมไ้ ต้' จารกึ หลักดังกล่าวมีอายุประมาณพุทธศักราช ๑๘๘๒ และปรากฏในจารึกหลักที่ ๘ วัดเขา
สุมนกูฏ จังหวัดสุโขทัย ด้านที่ ๒ บรรทัดที่ ๙ จารึกไว้วา่ 'มไตทยนปรทีบ' ศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์
[George Coedes] เป็นผู้อ่านและปริวรรต ความว่า 'มไต้เทียนประทีป' จารึกหลักดังกล่าวมีอายุราว
พุทธศักราช ๑๙๑๒ ทำให้ทราบว่า 'ไต้' คำนี้ใช้กันมามากกว่า ๖๐๐ ปีแล้ว และอาจย้อนเลยไปไกล
มากกวา่ น้นั
ในอดีตชาวบ้านใช้ประโยชน์จากไต้ได้ ๒ ประการ คือ ประการแรกใช้จุดให้แสงสว่างและ
ประการที่สองใช้จุดเป็นเชื้อก่อไฟ การจุดไต้ให้แสงสว่างนั้นใช้ใน ๓ กรณี คือ กรณีเดินทางในยามค่ำ
คืนใช้จุดถือไป เมื่อต้องการมองเห็นระยะไกลก็ชูไต้ให้สูงขึ้น กรณีที่สองใช้จุดในเคหสถานบ้านเรือน
วัดวาอาราม กรณนี ้มี ักมีที่วางไต้ให้เอียงประมาณ ๔๕ องศา บนกระบะไม้ เรียกวา่ 'รางไต'้ [ภาษาถ่ิน
ภาคเหนือ ภาคกลาง] หรือ 'ตีนไต้' [ภาษาถิ่นภาคใต้] ในกระบะมีหลักสูงพอสมควรยึดตรงกลางทำ
เป็นร่องหรือบากง่ามไว้รองรับลำไต้ ส่วนกระบะใช้เป็นที่รองรับขีไ้ ต้ด้วย เนื่องจากไต้ที่ติดไฟแล้วต้อง
คอยเขี่ยขี้ไต้อยู่เป็นระยะ ๆ เพื่อให้ไฟลุกติดอยู่ตลอดเวลา และต้องเลื่อนลำไต้ให้วางพาดร่องไม้ที่
รองรับเมื่อถูกเผาไหม้จนค่อย ๆ สั้นลง ไต้ที่ใช้จุดในบ้านเรอื นนั้นจะมเี ขม่าและควันดำมากจึงต้องวาง
ในท่ีโลง่ โปรง่ ใหค้ วันสามารถระบายออกนอกตวั บ้าน บางสถานทจี่ ะมีท่เี สียบไต้ไว้ตามเสาของเรือน วดั
วาอาราม เรียกวา่ 'เสาไต'้ บา้ ง 'ขาไต้' บ้าง ขไี้ ตท้ ีร่ ่วงนน้ั บางคนเรียกให้ต่างจากข้ีไต้ท่ีใช้จุดเป็นเชื้อไฟ
ว่า 'ไต้ขี้ร่วง' การใช้ไต้ให้แสงสว่างในกรณีที่ ๓ คือในสมัยโบราณมีการนำไต้ไปจุดส่องสว่างเพ่ือ
วัตถุประสงค์อื่น อาทิ ใช้จุดในสวนผลไม้เพื่อไล่ค้างคาว ใช้ส่องไฟเล่นหนังใหญ่ หนังตะลุง ใช้ในการ
คล้องช้าง และคนอีสานสมัยโบราณใช้สุมไฟสายแฮ่ คือสายที่โยงจากแฮ่ [รก] กับสะดือเด็กทารกแรก
เกิด เปน็ ต้น

ไต้ นำ้ มันยางและเร่ืองเล่าจากแสงไต้ โดย ปราณ ปรีชญา ๔

ส่วนไตท้ ่ีใช้เป็นเชือ้ ก่อไฟเร่ิมตน้ เพื่อให้ไฟลุกลามเผาไหม้ไม้ฟนื หรอื ถ่านที่วางทบั ซ้อนโปร่ง ๆ
บนเชอื้ ไต้ต่อไป ไตช้ นิดนจี้ ะทำขายเป็นแทง่ ขนาดเล็กยาวพอประมาณ เม่อื จะใช้กอ่ ไฟกต็ ัดไต้ออกเป็น
ชน้ิ เลก็ ๆ จุดไฟวางไว้ในเตา การใช้ไต้เพือ่ เปน็ เช้ือจดุ ไฟนย้ี ังมีใชม้ าจนถึงปัจจบุ นั

บทบาทของไต้ในการให้แสงส่องสว่างนั้นสมัยปัจจุบันน้ีแทบไม่มีแล้ว คงเหลือเพียงการทำ
เป็นเชื้อไฟและใช้คุณสมบัติของไต้ในด้านอื่น อาทิ ยาเบื่อหนู ส่วนน้ำมันยางยังคงมีการใช้อยู่และมี
ขายตามท้องตลาดแตเ่ ปน็ แหล่งจำหน่ายเฉพาะ คาดว่าอีกไม่นาน คำว่า 'ไต้' จะกลายเป็นคำในอดีตที่
เลิกใช้ในอนาคตเหมือนเช่นคำอื่น ๆ ในหมวดเคร่ืองประทีปของไทย อาทิ 'ตะคัน' 'อัจกลับ' 'ชวาลา'
'กะทอ' 'ตะเกียง' ฯลฯ ซึ่งคำเหล่าน้ีจะพบอยู่เฉพาะในเอกสารโบราณ คำประพันธ์และวรรณคดีเรื่อง
ต่าง ๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่พบเห็นในวิถีชีวิตและสภาพแวดล้อมร่วมสมัยของผู้จารึกหรือรจนาในขณะนั้น
ดังเช่น ในโคลงนิราศนรินทร์ [บทที่ ๔๖] บรรยายบรรยากาศยามค่ำคืนข้างแรมระหว่างเรือแล่นถึง
คลองสามสิบสองคด เข้าคลองยา่ นซอ่ื เมอื งสมทุ รสาครกอ่ นออกแม่นำ้ แม่กลอง ความวา่

๏ โอ้ดวงดาเรศดอ้ ย เดือนดบั
ดบั ดัง่ ดวงอจั กลบั พพู่ รอ้ ย
ชวาลาจะลาลบั นุชพ่ี แพงเอย
หลับฤต่นื ตรอมละหอ้ ย อยูห่ ้องหนหลัง ฯ

หมายรับสั่งในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ เรื่อง พระราชพิธีฉลอง
พระพุทธรูปประจำพระองค์สมเด็จพระศรีสุลาลัย ที่บนพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท พระบรมราช
โองการตอนหนงึ่ ถงึ พระคลังราชการให้จดั เตรียมเคร่ืองประทปี ตามไฟใหค้ รบครนั ความว่าไว้ดังน้ี

“...อนึ่งให้พระคลังราชการเอาเสื่อลวดไปปูบนพระมหาปราสาทให้เต็ม แล้วให้จ่ายน้ำมัน
มะพร้าวให้รักษาพระองค์ ตามตะเกียงแก้ว ตามอัจกลับให้พอ ๔ คืน แล้วให้จ่ายฟืนแสมให้วิเสทหุง
ข้าวถวายพระสงฆ์วันละ ๑๐ ถัง ฟืนแสมรอน ๘๐๐ ดุ้น ฟืนแสมมัด ๓๐๐ มัด...” [คณะกรรมการ
ชำระประวัติศาสตร์ไทยและจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี สำนักเลขาธิการ
นายกรฐั มนตรี, ๒๕๓๖, น.๘๒]

สว่ นความหมายในพจนานกุ รมสมยั ปจั จุบนั อธบิ ายคำว่า ไต้ นำ้ มนั ยาง และขโ้ี ล้ ไว้วา่
ไต้ เป็นเชื้อเพลิงสำหรับจุดให้สว่าง ทำด้วยไม้ผุคลุกน้ำมันยางหรือชัน ห่อด้วยเปลือกเสม็ด
หรือเตยป่า เป็นต้น ทำเป็นเล่มยาว ๆ ใช้ตอกมัดเป็นเปลาะ ๆ หรือใส่กระบอก ถ้ามัดตอนปลายด้าน
หนึ่งเป็นหาง เรียกว่าไต้หาง เรียกส่วนเนื้อของไต้ที่แบ่งเอามาใช้เป็นเชื้อไฟ หรือส่วนของไต้ที่จุดและ
เขย่ี ให้รว่ งหลน่ ลงมาวา่ ขไี้ ต้ [ราชบณั ฑิตยสถาน, ๒๕๕๖, น.๕๒๐]
น้ำมันยาง คือน้ำมันที่ได้จากต้นยางนา ใช้ทาเรือ ทาบ้าน หรือผสมกับชันใช้ยาเรือได้
[ราชบณั ฑติ ยสถาน, ๒๕๕๖, น.๖๒๘]

ไต้ นำ้ มนั ยางและเร่อื งเล่าจากแสงไต้ โดย ปราณ ปรชี ญา ๕

สำหรับขี้โล้ คือคำเรียกน้ำมันที่เป็นขี้ตะกอน ว่า น้ำมันขี้โล้ [ราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๕๖, น.
๑๙๙]

'Dictionarium Linguae Thai' หรือ 'สัพะ พะจะนะ พาสา ไท' พจนานุกรมศัพท์ภาษาไทย
รุน่ บุกเบกิ ฉบบั ๔ ภาษา [ภาษาลาตนิ ภาษาฝร่งั เศส ภาษาองั กฤษ และภาษาไทย] รวบรวมและเรียบ
เรียงโดย ฌงั –บัปตสิ ต์ ปาลเลกวั ซ์ [Jean–Baptiste Pallegoix] มิชชันนารชี าวฝรง่ั เศสผ้ซู ่งึ ได้เดินทาง
มาอยู่ในประเทศไทยตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๓๗๓ [คริสต์ศักราช ๑๘๓๐] จนกระทั่งได้รับแต่งตั้งเป็น
ประมขุ ปกครองมสิ ซังสยามตง้ั แต่ปีพุทธศักราช ๒๓๘๔ [ครสิ ต์ศักราช ๑๘๔๑] ในสมยั พระบาทสมเด็จ
พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ สัพะ พะจะนะ พาสา ไท พิมพ์ที่ประเทศฝรั่งเศสเมือ่ ปพี ุทธศกั ราช
๒๓๙๕–๒๓๙๗ [คริสต์ศักราช ๑๘๕๒–๑๘๕๔] รวม ๘๙๗ หน้า มีคำศัพท์จำนวน ๓๒,๒๙๒ คำ ถึงปี
พุทธศักราช ๒๕๔๒ กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ ได้นำ พจนานุกรมสัพะ พะจะนะ พาสา ไท
มาพมิ พ์คร้ังใหม่โดยการถ่ายแบบจากต้นฉบบั เดิม ทง้ั นมี้ คี ำท่ีเกี่ยวข้องได้ยกมาอ้างอิงพร้อมคำอธิบาย
คำวา่ 'ไต'้ [น.๗๗๐] น้ำมนั ยาง [น.๑๘๕] เขี่ย–เขยี่ ตา้ ย [น.๒๙๐] ไว้ดงั นี้

THAI. PRONONGCIATION. LATIN. FRANCAIS. ANGLAIS.
ไต้ TAI Torche. – Allumer une Torch. – To
น้ำมันยาง NAMMAN JANG Taeda. – จดุ ไต้ torche. kindle a torch.
Accendere taedam. Resine de cet arbre Resin of that tree
เข่ีย KHIA avec laquelle. On fait of which torches
Succus resinosus des torches. are made.
praedictae arboris,
quocum taedas Dissiper, eparpiller la To dissipate, to
conficiunt. terre comme un coq scatter the earth
pour chercher as a cock dose to
Dissipare, spargere quelque chose. – look for
terram in modum Idem. – Eparpiller le something. –
galli ad quaerendum feu. – Moucher une Idem. – To
aliquid. – เขยี่ ต้าย torche. disperse the fire.
Facem mundare. – To snuff a
torch.

แม้อาชีพทำไต้และทำน้ำมันยางในภาพรวมจะลดน้อยลงจนแทบไม่มีแล้วก็ตามแต่การ
รวบรวมความรู้เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวนี้ถือเป็นภารกิจสำคัญของหน่วยงานทางวัฒนธรรมในการจด
บันทึกข้อมูลอันแสดงถึงภูมิปัญญา แนวคิด ความเชื่อ อุดมคติ พัฒนาการและการเปลี่ยนแปลง ทาง

ไต้ น้ำมันยางและเร่ืองเลา่ จากแสงไต้ โดย ปราณ ปรีชญา ๖

สังคมท้องถิ่นซึ่งสะท้อนให้เห็นภาพความจริงของวงจรแห่งวัฒนธรรมที่มีการเกิด สืบทอด
เปลี่ยนแปลง และดับสลายไปตามเวลา แต่หากไม่มีการประมวลเรื่องราวไว้แล้วจะ 'เกิดสูญหาย' จาก
ความทรงจำเพิ่มขึ้นในวงจรแห่งวัฒนธรรมเป็นนิรันดร์กาล การ 'จดบันทึก' คติชาวบ้านเรื่อง 'ไต้
น้ำมันยางและเรื่องเล่าจากแสงไต้' จึงเป็นการจัดทำสารสนเทศหรือการรวบรวมองค์ความรู้ของ
ท้องถิ่นเพอ่ื ประโยชนใ์ นการศึกษาค้นคว้าของอนุชนต่อไป

ไต้ น้ำมันยางและเรอื่ งเล่าจากแสงไต้ โดย ปราณ ปรชี ญา ๗

[๑] แสงแห่งภมู ปิ ญั ญา

ในสมัยที่ยังไม่มีแสงสว่างจากพลังงานไฟฟ้า คนเรายังใช้ 'เครื่องตามไฟ' จำพวก ตะเกียง
น้ำมันก๊าด และโคมไฟเติมน้ำมันจากยุโรปให้แสงสว่างในยามค่ำ
คืนกันอยู่นั้น ถือเป็นวิถีชีวิตของคนรุ่นพ่อแม่ ปู่ย่าตายายที่ถอย
เวลากลับไปไม่นานนักประมาณ ๔๐–๕๐ ปีแลว้ แต่พื้นท่ีไหนท่ีการ
ไฟฟ้าเข้าถึงก่อนหลัง หากย้อนเวลาเกินไปกว่านั้นแสงสว่างอัน
น้อยนิดได้จากเทียนไขขี้ผึ้งและคบไฟจากไต้ทำจากน้ำมันยาง
'น้อย' ปวีณ์นุช ธีรเวช อายุ ๗๗ ปี อดีตพยาบาลวิชาชีพ เกิดที่
อำเภอเมืองจันทบุรี เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๘๘ เล่าให้ฟังถึงภูมิ

ปัญญาของชาวบ้านในการทำไต้ใหแ้ สงสว่างจากความทรงจำไว้ว่า
"...ชาวบ้านสมยั กอ่ นต้องทำไต้ใชก้ ันเอง ใช้เป็นทั้งเช้ือไฟในเตาและใช้เปน็ แสงสว่าง ที่บ้านชำ

โสมสมัยที่ยังไม่มีไฟฟ้าใช้ สวนของพ่อมีต้นยางขนาด ๔ คนโอบ พ่อก็จะเจาะต้นยางให้เป็นโพรงแล้ว
เอากระป๋องมารองใส่น้ำมันยาง ถ้าจะทำเชื้อไฟก็เอากาบมะพร้าวมาแช่ทิ้งไว้พอชุ่มก็นำไปผึ่งแดดจน
แห้งสนิท เวลาจะใชก้ เ็ อามดี มาสบั เป็นชิ้นเล็ก ๆ เปน็ ขีไ้ ต้ใช้จดุ เป็นเชื้อไฟในเตา..."

บ้านชำโสม อยู่ในพื้นท่ีตำบลแสลง อำเภอเมืองจันทบุรี ลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบสลับ
เนนิ เขาเล็ก ๆ กระจายทว่ั พนื้ ท่ี ชาวบา้ นส่วนใหญ่คือชาวสวน เม่ือ ๖๐ ปีทผ่ี า่ นมาบา้ นชำโสมถือว่ายัง
เป็นถิ่นชนบทแม้ว่าจะอยู่ในเขตอำเภอเมืองก็ตาม แสงสว่างที่ใช้หลังตะวันตกดินคือไต้และตะเกียง
น้ำมันก๊าด ชาวบ้านจะจุดไต้ไว้นอกชานบ้านเนื่องจากมีควันมากหรือใช้เป็นคบไฟส่องนำทาง ส่วน
ภายในเรือนจะใช้เทยี นไขหรือตะเกียงนำ้ มนั ก๊าด

"...ไต้ที่ทำใหแ้ สงสว่างจะใช้ท่อนไม้มาชบุ น้ำมันยางแล้วผึ่งให้แห้งแล้วห่อด้วยใบพลวงใช้ตอก
มดั ชาวบา้ นที่มีต้นยางก็ทำใชก้ ันมาจนมไี ฟฟ้าเขา้ มาถึง..." [ปวณี น์ ุช ธรี เวช, สัมภาษณ์ ๒๔ กรกฎาคม
๒๕๖๔]

วถิ ชี าวบ้านในสมยั นั้นดำรงอยดู่ ้วยการเรยี นรู้จากธรรมชาติ หยบิ ฉวยวัตถุดิบจากผืนดินถิ่นป่า
มาประดิษฐ์เครื่องใช้ไม้สอยแทนการจ่ายเงินซื้อ นอกจากสิ่งนั้นหาไม่ได้ในท้องถิ่น ปราโมทย์ ร่วมสขุ
อายุ ๖๖ ปี [เกิดเมื่อ ๓ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๙๙] อดีตประธานหอการค้าจังหวัดจนั ทบุรี ย้อน
ความหลังคร้ังอดีตเมื่อวยั เยาว์คราวเรยี นอยู่ช้ันประถม

ไต้ น้ำมนั ยางและเร่อื งเล่าจากแสงไต้ โดย ปราณ ปรีชญา ๘

"...ผมได้ทันใช้ ครุ หาบน้ำ ครุ คือตะกร้าไม้ไผ่สานตาถี่ ๆ แล้วใช้
น้ำมันยางกับชันยาเรือยาทั้งภายในภายนอกจนน้ำไม่รั่ว ใช้ด้ามไม้ตอกเชื่อม
ระหวา่ งของครุสองด้านทำเป็นดา้ มสำหรับห้ิวตักนำ้ ไปรดต้นพลูที่บ้านยาย และ
สมัยเรียนชั้นประถมครูสอนสานกระด้งแล้วพวกเราไปซื้อน้ำมันยางที่ตลาด
ริมน้ำมาทา ตอนหลังจึงใช้แลคเกอร์ [Lacquer] แทน..." [ปราโมช ร่วมสุข,
สัมภาษณ์ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๖๔]

'ครุ' เป็นภาชนะสานรูปกลม ๆ เหมือนกะลาตัด ตัวภาชนะใช้ยาชันอุดรอยสาน มีหูหิ้ว
สำหรับตักนำ้ ประเภทเดียวกับ 'นำ้ ถงุ้ ' ของภาคเหนอื หรือ 'หมาจาก' 'หมาหลาวโอน' ของภาคใต้

การลองผิดลองถูกคือประสบการณ์การเรียนรู้จนตกผลึก ต่อมาจึงกลายเป็นคำพร่ำสอนและ
บทเรียนจากภูมิปญั ญาอันล้ำค่าให้คนรุน่ ต่อมาไม่ต้องเริม่ ต้นลองผิดลองถูกอีกต่อไป พฤนท์ สุขสบาย

อายุ ๖๔ ปี [เกิดเมื่อ ๒ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๐๑] อดีตผู้ประกาศข่าวซี
ทวี ี เคเบิลทีวี จันทบรุ ี [CTV Cable Television Chanthaburi] และทายาท
กิจการร้านขนมไข่ป้าไต๊ ริมน้ำจันทบูร ยังจดจำคำสอนสั่งของคนรุ่นก่อนได้
อย่างข้ึนใจ

"...คนรุ่นปู่ย่าตายายจะบอกเสมอว่ายาเรือให้ยานอก ยาขันยาจอก
ใหย้ าใน..." [พฤนท์ สุขสบาย, สัมภาษณ์ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๖๔]

'ยาเรอื ใหย้ านอก ยาขันยาจอกให้ยาใน' สำบัดสำนวนด้วยการใชค้ ำคลอ้ งจองของคนสมัยก่อน
บ่งบอกถึงภูมิปัญญาอันลึกซึ้งที่สั่งสมจากประสบการณ์และสามารถนำไปใช้ได้จริง 'ยา' ในที่นี้เป็น
คำกรยิ าหมายถงึ 'ทำใหห้ ายร่วั ' [ราชบณั ฑติ ยสถาน, ๒๕๕๖, น.๙๔๕] เรอื เมื่อใช้ไปสักระยะหนึ่งจะรั่ว
เนื่องมาจาก ๓ สาเหตุ คือ กระดานเรือผุกร่อนเพราะแช่น้ำนาน เรือคายหมัน และเพรียงกัดกิน
ชาวเรือจะต้องซอ่ มบำรุงเรือ การยาเรือจึงต้องยาดา้ นนอกที่เรือลอยอยู่ในนำ้ ตลอดเวลา เช่นเดียวกบั
'จอก' ภาชนะขนาดเล็ก ๆ รูปอย่างขัน ถ้าใช้ตักน้ำและลอยอยู่ในขันเรียกว่า 'จอกลอย' เมื่อขันหรือ
จอกรวั่ คนโบราณจะอุดรอยร่ัวนัน้ โดยยาด้านในทีภ่ าชนะต้องสัมผสั หรือโดน [แช่] น้ำตามลักษณะของ
การใช้งาน

แสงแห่งปัญญาก่อเกิดทั่วทุกหัวระแหง ไม่มีการกล่าวอ้างถึงผู้คิดค้นคนแรก การสังเกต การ
เรียนรู้ การถ่ายทอด การจดจำ หรือแม้กระทั่งวิธี 'ครูพักลักจำ' ก็ถือเป็นสายใยทางวัฒนธรรมของ
ชาวบ้านที่เชื่อมต่อส่งถึงกันให้เกิดการแพร่กระจายความรู้ ดังเช่น ทวีป สิริไสยาสน์ อายุ ๗๑ ปี [เกิด
เมื่อ ๒๓ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๔๙๔] ยังจดจำภาพชวี ติ ของวันวานได้ชัดเจน อีกทั้งยังรำลึกถึงคำ
โบราณทเี่ รยี กใชก้ ันในสมยั นนั้ ได้อยา่ งดี

ไต้ น้ำมนั ยางและเร่ืองเล่าจากแสงไต้ โดย ปราณ ปรชี ญา ๙

"...ผมก็ทันได้ไปเจาะต้นยาง พี่ชายผมเรียกไปบ่องต้นยาง เพ่ือ
เอาน้ำมันยางมาทาอี๊ สำหรับเก็บพริกไทย คือหลังจากเก็บพริกไทยเสร็จ
แล้ว ก็จะเอาอี๊มาล้างทำความสะอาดแล้วตากให้แห้งก่อนทาด้วย
น้ำมันยาง..." [ทวปี สริ ไิ สยาสน์, สัมภาษณ์ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๖๔]

'บ่อง' [ภาษาอีสาน] มี ๒ ความหมาย คือ ความหมายแรกเป็น
คำกรยิ า หมายถึง การเจาะรู เชน่ บอ่ งหู ความหมายท่สี องเป็นคำวิเศษณ์
มีความหมายว่า เป็นรอ่ ง เช่น เอกี๋ บ่อง (อกเป็นร่อง) [สำลี รักสทุ ธ,ี ๒๕๕๔, น.๙๖]

ส่วนคำว่า 'อี๊' มาจาก 'เกา้ อ'้ี คนรุ่นเกา่ ในภาคตะวนั ออกแถบจงั หวดั ระยอง จนั ทบรุ แี ละตราด
จะเรียกกร่อนคำหน้าเหลือเพียงคำหลังและเปลี่ยนเสียงเป็นตรี 'อ๊ี' หรือ เก้าอี้ที่ใช้เก็บพริกไทยจะทำ
ด้วยไม้มีขายาวกวา่ เกา้ อี้ปกติเพื่อให้สูงพอสำหรับการเก็บเมล็ดพรกิ ไทยที่ลำต้นเลื้อยเกาะตามไม้หลัก
หรอื 'คา้ งพรกิ ไทย'

จิรภัทร ปาลสุทธิ์ มีพื้นเพอยู่ท่ีตำบลวังหว้า อำเภอแกลง จังหวัดระยอง เล่าเรื่องราวและ
ประสบการณท์ ่ไี ดร้ บั ฟังมาจากคนในเครือญาติได้อยา่ งออกรส

“...ผมเกิดทันได้ใช้ขี้ไต้ราวปี ๒๕๒๒–๒๕๒๕ ยังจำกลิ่น
น้ำมันยางติดจมูกได้ดี ผมได้ฟังเรื่องเล่าทั้งทางฝั่งของพ่อและของแม่ที่
เกี่ยวกับวิถีชีวิตของคนแกลงในสมัยก่อน ก๋ง [พี่ชายคนโตของปู่] เขียน
เล่าไว้ในหนังสือประวัติตระกูลว่าสมัยเด็ก ๆ ๗๐–๘๐ ปีที่แล้วชอบขอ
ตามน้าเข้าป่าไปหาตัดหวายและไปบ่องยาง ถ้าไปกลางวันต้องไปนอน
ค้างบนห้างทีท่ ำไว้บนต้นไม้เพราะเสือชุม พอเช้าค่อยลงมาหาของป่า แต่
ถ้าเข้าปา่ ไปแตเ่ ช้ามดื ก็ไมต่ อ้ งนอนคา้ งในป่า

การบ่องยางก็คือการไปเอาน้ำมนั ยางด้วยการขดุ เจาะให้ต้นยางเป็นโพรงแล้วรอให้น้ำมันยาง
ไหลลงมารวมในหลุมที่เจาะไว้ อุปกรณ์ที่ใช้ขุดต้นยางเรียกว่า ขวานบ่องยาง มีลักษณะคล้ายกับจอบ
แต่เลก็ และสัน้ กว่ามาก คล้ายขวานทข่ี ุดตน้ ไม้ทำเรือ เมอ่ื ได้น้ำมันยางแล้วกต็ ักใส่ปี๊บขนกลับบ้าน คร้ัง
ตอ่ ไปกจ็ ะสุมไฟในหลุมท่ีขุดไว้เพ่ือให้นำ้ มนั ยางใหม่ไหลลงมารวมกันในหลุมแล้ววันรุง่ ขึ้นจึงค่อยมาตัก
น้ำยางใสป่ บี๊ ...”

อาชพี ท่ถี นดั ของชาวจนี ที่โยกย้ายถิ่นฐานมาปักหลักทำมาหากนิ อยู่นอกแผน่ ดินเกดิ คือการค้า
ขาย และรบั ซื้อวัตถดุ บิ จากปา่ ทีค่ นพ้ืนเมืองลำเลียงมาขายหรือแลกเปล่ียนเป็นขา้ วของเครื่องใชจ้ ำเป็น
ในครอบครวั เช่นเดยี วกบั เครือญาตทิ างฝง่ั มารดาของจริ ภทั รทเี่ ปิดร้านค้าและทำไตไ้ ว้จำหนา่ ยดว้ ย

“...แมเ่ ล่าให้ฟงั วา่ ตอนแมย่ ังเด็กราวปี ๒๕๐๓ อาม้า [ยาย] ยังทำโรงสีขา้ วและคา้ ขายด้วยอยู่
ท่ีบา้ นกระแสบน อามา้ รับซื้อนำ้ มนั ยาง เปลอื กเสม็ดขาว และหวายโสม แม่บอกว่าหวายโสมมันมีเส้น
ใหญ่มากเท่ากับข้อมือเลย เวลาจักเป็นตอกได้เส้นใหญ่ ๆ มากถึง ๘–๑๐ เส้น ส่วนน้ำมันยางและ

ไต้ น้ำมนั ยางและเร่อื งเลา่ จากแสงไต้ โดย ปราณ ปรีชญา ๑๐

เปลือกเสม็ดขาวนั้นอาม้ารับซื้อเอามาทำไต้จุดไฟขาย น้ำมันยางนี่ชาวบ้านเขาไปหามาจากในป่า
[ปัจจุบันอยใู่ นเขตตำบลคลองป่าไม้ เลยลกึ เขา้ ไปจนถึงอ่างเกบ็ น้ำประแสร์ซง่ึ เม่ือกอ่ นบริเวณนี้เป็นป่า
มขี นาดใหญม่ าก] แล้วขนใสเ่ รือล่องมาตามคลองประแสร์มาข้ึนท่าทีห่ นา้ วดั กระแสบน

ขั้นตอนการทำไต้คือ เอาน้ำมันยางหรือจะน้ำมันขี้โล้ก็ได้มาตั้งไฟให้ร้อน จากนั้นเอาเปลือก
เสม็ดขาวที่ชาวบ้านลอกมาขายเป็นกาบยาว ๆ เอามาสับตามความยาวที่ต้องการ แล้วใส่ลงไปใน
กระทะน้ำมันยางแล้วคอยเคี่ยวไปเรื่อย ๆ จนน้ำมันซึมเขา้ ไปในเปลือกเสม็ดขาวจนชุ่มดีแลว้ ทิ้งไว้ให้
อุ่นพอจับได้จึงเอาคีมคีบเปลือกเสม็ดที่ชุ่มน้ำมันยางขึ้นมาวางบนใบตองกะพ้อแล้ว ก็พับห่อให้ได้ตาม
ต้องการ มัดดว้ ยตอกไมไ้ ผ่ เท่านี้เปน็ อนั เสรจ็ พร้อมขายในราคาลำละ ๒ บาท...”

การคิด การใช้เหตุผล และการแก้ปัญหา แสดงถึงเชาวน์ปัญญาของคนรุ่นก่อนที่สั่งสมจาก
การเรียนรู้ดงั เช่นการใชป้ ระโยชนจ์ ากแสงไต้ท่ีมีทัง้ เปลวไฟและควัน แต่อีกดา้ นหนึ่งก็เป็นผลลบที่อาจ
ทำใหเ้ กิดไฟไหมบ้ ้านเรือนไดถ้ า้ ขาดความระมดั ระวังขณะใช้งาน

“...สมัยน้นั เทียนไขหายากจึงต้องใช้ไตจ้ ดุ ให้แสงสวา่ งแทนเทยี นไขหรือตะเกียง แม่บอกว่าอา
ม้าจะจุดไต้แล้วเอาลำไต้มาพาดไว้บนปากกระป๋องที่ใส่น้ำไว้ ส่วนปลายด้านที่จุดไฟอยู่ก็ยื่นออกเลย
ปากกระป๋องไป ที่ต้องทำอย่างนี้เพราะเวลาจุดไฟจะมีน้ำมันยางหยดลงมาเหมือนน้ำตาเทียน ก็ให้
หยดลงบนดิน ส่วนที่พาดปากกระป๋องน้ำก็เพื่อเวลาไต้ไหม้จนสั้นพ้นปากกระป๋องปลายด้านติดไฟจะ
ตกลงไปในน้ำไฟก็ดับเป็นการป้องกันไฟไหม้ไปในตัวด้วย...” [จิรภัทร ปาลสุทธิ์, สัมภาษณ์ ๒๓
กนั ยายน ๒๕๖๔]

ในขณะเดยี วกันเพื่อป้องกันไฟไหมบ้ ้านเรือนจากการใช้ 'ไต'้ จดุ ใหแ้ สงสวา่ งจึงมีการประดิษฐ์
อุปกรณส์ ำหรับวางไตแ้ ละรองรับข้ีไต้ทร่ี ว่ งหลน่ และยังมีเศษลูกไฟ [สะเก็ด] เลก็ ๆ อยู่ไม่ให้ลุกลามติด
เสื่อหรือพื้นไม้กระดานได้ เรียกว่า 'ตะคันเสียบไต้' หรือ 'รางไต้' หรือ 'ตีนไต้' บ้าง ทั้งนี้มีชื่อเรียกเป็น
ภาษาถิน่ แตกต่างกันไปตามภมู ิภาค ซึง่ มที ง้ั ทำดว้ ยวัสดไุ ม้และดินเหนยี วเผาไฟ

ตะคันเสียบไต้หรือรางไต้ น้ันถือเป็นภูมิปญั ญาของชาวบ้านในการออกแบบเคร่ืองมือเคร่ืองใช้
ให้เหมาะกับการใช้งานในแต่ละสภาพท้องถิ่น บางพื้นที่ได้ผสมผสานงานศิลปะให้เกิดความสวยงาม
ด้วย แต่ปัจจุบันไดก้ ลายเป็นสิ่งของหายากเนื่องจากไม่มีการใชไ้ ต้ให้แสงสอ่ งสว่างแล้ว ตะคันเสียบไต้
หรือรางไตจ้ งึ เปน็ เครอื่ งมอื เครอ่ื งใชท้ ่ีพ้นยุคสมยั ไปเช่นเดยี วกนั

ไต้ น้ำมนั ยางและเรอ่ื งเลา่ จากแสงไต้ โดย ปราณ ปรชี ญา ๑๑

[๒] เขา้ ไตเ้ ขา้ ไฟ

“...ด้นนแดนดงไต่เต้า เท้าถึงฝ่งงจตุรัสโบษขรณี โดยอจุตฤๅษีส่งง ก็ช่งงใจรำพึง รำพึงดงงน้ี
อชฺช อติสายณฺเห ในวันนี้ ตรวันบ่ายม่ายไม้ ก็จะจวนเข้าไต้ภอพลบ สบโสนธยาบาตแล...” ที่มา:
มหาชาตคิ ำหลวง [กณั ฑก์ มุ าร : พราหมณ์ชูชกทูลขอสองกมุ าจากรพระเวสสันดร]

'เข้าไต้เข้าไฟ' หมายถึงเวลาค่ำจำต้องจุดไต้จุดไฟให้แสงสว่าง เป็นสำนวนโบราณที่ใช้กันมา
เนนิ่ นานในช่วงเวลาที่สยามยังไมม่ ีไฟฟา้ ใช้ ตามประวตั ิบนั ทึกไวว้ ่าเมื่อวันท่ี ๓๑ ธันวาคม พุทธศักราช
๒๔๒๒ ไฟฟ้าเริ่มให้ความสว่างไสวเป็นครั้งแรกที่เมนโลพาร์ก [Menlo Park] รัฐนิวเจอร์ซี ประเทศ
สหรัฐอเมริกา จากนั้นอีก ๕ ปีต่อมา ไฟฟ้าสยามประเทศได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน
พุทธศักราช ๒๔๒๗ ซึ่งเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลท่ี ๕ ไดม้ ีการจ่ายกระแสไฟฟา้ ครง้ั แรกที่พระท่นี ั่งจักรีมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง โดย
จอมพลเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี [เจิม แสงชูโต] เมื่อครั้งยังเป็นเจ้าหมื่นไวยวรนารถได้นำแบบอย่าง
จากประเทศฝรั่งเศสและอังกฤษมาทดลองติดตั้งที่โรงทหารม้า [กระทรวงกลาโหม] เมื่อได้ผลดีจึงได้
กราบบังคมทูลพระกรุณานำไฟฟ้าไปติดตั้งและจ่ายไฟให้โคมระย้าแก้วในพระที่นั่งจักรี และท้องพระ
โรง จากน้นั จงึ ค่อย ๆ ขยายพ้ืนที่จา่ ยไฟฟา้ ออกไปสู่รอบนอกตามลำดับ แมเ้ มื่อมีไฟฟ้าใช้แล้วแต่ยังไม่

ไต้ น้ำมันยางและเรือ่ งเล่าจากแสงไต้ โดย ปราณ ปรีชญา ๑๒

ทัว่ ถงึ ทำให้บางพื้นทโ่ี ดยเฉพาะในชานเมืองและชนบทยงั คงใชไ้ ตใ้ หแ้ สงส่องสวา่ งอยู่ เน่ืองจากไฟฟ้าใน
ระยะแรกนนั้ มคี า่ ใชจ้ ่ายสูงเกนิ ฐานะของชาวบา้ นธรรมดาทั่วไป

“...คราวนี้จะพูดถึงการจุดไฟในเรือนเวลาค่ำคืน เดิมก็คงใช้จุดไต้ เรื่องจุดไฟด้วยตะเกียง
น้ำมนั คงมาทีหลัง ทกุ วันนีใ้ นท้องถ่ินชนบทลางแห่ง ราษฎรยงั ใช้จุดไต้กนั อยู่ ก็การจดุ ไต้นั้น ผิดกับจุด
ตะเกียงทใี่ ช้นำ้ มนั นอกจากเป็นควันทำให้สกปรก เพราะมีเขมา่ มากยงั ตอ้ งคอยเข่ียข้ีไต้ให้มันร่วงหล่น
ออกจากลำไต้ มิฉะนั้นไฟไต้จะมีแสงสวา่ งนอ้ ยลงทุกทีจนเป็นแสงรบิ หรี่แล้วดับไป ด้วยขี้ไต้อุดทางไฟ
เสียหมด...” [เสฐียรโกเศศ, ๒๕๐๗, น.๔๑–๔๒]

คนไทยในสมัยโบราณจะคุ้นเคยและเติบโตมากับบ้านไมท้ ีม่ ีรูปแบบเฉพาะถิ่น อาทิ เรือนไทย
ในภาคกลาง เรือนแบบกาแล ในภาคเหนือ เรือนปั้นหยา ของภาคใต้ ซึ่งก่อนหน้านั้นบ้านไม้ของชาว
สยามปลูกกันอย่างง่าย ๆ คอื เรอื นเคร่ืองผูก โดยใช้ตอกไม้ไผ่และหวายผูกมัดส่วนตา่ ง ๆ ของตัวเรือน
เข้าด้วยกัน ฝาเรือนขัดแตะ หลังคามุงจากบ้าง ใบสาคูบ้าง ใบตองตึงบ้างแล้วแตว่ ัสดุที่หาไดใ้ นพื้นถนิ่
ส่วนในเมืองหลวงมีเรือนแพปลูกลอยน้ำเรียงรายเป็นแถวแนวยาวตลอดสองฝั่ง แม่น้ำเจ้าพระยาดังท่ี
มองซเิ ออร์ เดอ ลาลแู บร์ [Simon de La Loubère] เอกอคั รราชทูตของพระเจา้ หลุยส์ที่ ๑๔ เจา้ กรุง
ฝรง่ั เศสเขา้ มาเจริญสัมพันธไมตรีกับสยามในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ณ กรุงศรีอยุธยาราชธานี กล่าว
ไว้ในจดหมายเหตุ ลา ลูแบร์ ราชอาณาจักรสยาม ว่า เมืองเหล่านี้ก็ไม่ผิดอะไรกับเมืองอื่น ๆ ใน
ราชอาณาจกั รสยาม กลา่ วคือเป็นหมู่เรือนจำพวกกระท่อม ล้อมรอบดว้ ยรว้ั ไมเ้ สา ลางทีก็มีกำแพงหิน
และอิฐบ้างเหมือนกัน แต่ที่เป็นกำแพงหินนั้นน้อยเต็มที [มองซิเออร์ เดอ ลาลูแบร์, ๒๕๕๗, น.๓๐]
และบรรยายรูปแบบบ้านเรอื นไว้ดังน้ี

“...ที่อยู่อาศัยของชาวสยามนั้นเป็นเรือนหลังย่อม ๆ แต่มีอาณาบริเวณกว้างขวางพอใช้ พ้ืน
เรือนนั้นก็ใช้ไม้ไผ่มาสับเป็นฟากและเรียงไว้ไม่ค่อยถี่นัก แล้วยังจักตอกขัดแตะเป็นฝาและใช้เป็น
เครื่องบนหลังคาเสรจ็ ไปด้วยในตัว เสาตอม่อที่ยกพื้นขึ้นสูงใหพ้ ้นนำ้ ท่วมกใ็ ช้ไมไ้ ผล่ ำใหญ่กว่าขา และ
สูงจากพ้นื ดนิ ราว ๑๓ ฟตุ เพราะลางครัง้ น้ำก็ทว่ มข้นึ มาถึงเท่านั้น ตอม่อแถวหนึ่งมีไม่มากกว่า ๔ หรือ
๖ ต้น แล้วก็เอาลำไม้ไผ่ผูกขวางเป็นรอด บันได [escalier] ก็เป็นกระได [echelle] ไม้ไผ่ซ่ึงทอดอยู่
ขา้ งนอกตวั เรอื นเหมือนกระไดโรงสีลม...” [มองซิเออร์ เดอ ลาลูแบร์, ๒๕๕๗, น.๑๐๑]

ในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ มีชาวยุโรปหลายชาติได้เดินทางเข้ามาค้าขายและเผยแผ่คริสต์
ศาสนา คณะทตู รอ้ ยโทเจมส์ โลว์ [James Low] ชาวองั กฤษไดร้ ับแต่งต้ังให้เป็นทูตเข้ามาพบเจ้าเมือง
นครศรีธรรมราชเมื่อปีพุทธศักราช ๒๓๖๗ ในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

ไต้ นำ้ มันยางและเร่ืองเลา่ จากแสงไต้ โดย ปราณ ปรีชญา ๑๓

รัชกาลที่ ๓ ได้เขียนจดหมายเหตุเจมส์ โลว์ [Journal of a public mission to Raja of Ligor] เป็น
บันทึกรายวันตอนหนึ่งได้กล่าวถึงการสร้างบ้านและการใช้คบไฟในบ้านเรือนของชาวใต้ไว้ในบันทึก
วันท่ี ๑๙ พฤษภาคม เมื่อเรือเข้าจอดทอดสมอท่ีอ่าวตรัง ดงั นี้

“...ข้าพเจ้าประหลาดใจเสมอเมื่อเห็นพวกคนสยามกับพวกมลายู ถือคบเพลิงหรือคบไฟ
เหล่านี้เข้าไปในบ้านเรือนของตน ซึ่งสร้างด้วยวัสดุที่ไหม้ไฟได้อย่างไม่กลัวเลย และยังเห็นเขาจุดคบ
แล้วก็เอาไปไว้ใกล้ ๆ ฝาซึ่งสร้างด้วยใบไม้หรือใบจาก ต้นจากนี้พวกสยามเรียกต้นจาก พวกมลายู
เรยี กชื่อวา่ อทั ทับ [Attap]

อยา่ งไรก็ตาม ผู้คนเหล่านี้สร้างบ้านเรือนของตนในอัตราราคาถูกมากและฉะนั้นจึงไม่ค่อยจะ
ระมัดระวังว่ามันจะเป็นอะไรไป พวกเขาไม่เคยใช้อิฐและปูนหรือหินเลย ทุกคนเป็นช่างไม้ด้วยตัวเอง
และทั่วทั้งภาคใต้ของประเทศสยามก็ล้วนแล้วไปด้วยป่า วัสดุที่ใช้ปลูกบ้านก็อยู่ใกล้ ๆ มือนั่นเอง...”
[กรมศิลปากร, ๒๕๑๙, น.๒๑]

เฟรเดอรคิ อาร์เธอร์ นีล [Fredrick Athur Neale] ชาวองั กฤษเดนิ ทางเข้ามาเม่ือพุทธศักราช
๒๓๘๓ สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และรับราชการในหน่วยทหารของสยามได้เขียน
บนั ทกึ ถงึ สภาพของเมืองหลวงสมยั น้ันในหนงั สอื 'Narrative of a Residence in Siam' ไว้ว่า

“...เมื่อแสงอาทิตย์ขึ้นสว่างเราจึงแลเห็นแพเป็นแถวยาวจอดอยู่เป็นแถวในแม่น้ำทั้งสองฝ่ัง
ตกค่ำก็ดูโอ่อ่าและมีแสงสว่างเกิดขึ้นในพระมหาราชวัง มีประกายแวววาวด้วยแสงสะท้อนสีทองจาก
ดวงอาทติ ย์ ในตอนเชา้ ก็เกดิ ความสับสนวุ่นวายไม่ร้วู ่าอนั ไหนเปน็ อันไหน เพราะมที ้ังเจดีย์ เรือสำเภา
เรือบด เรือใบสินค้า เรือหาปลา แพไม้ไผ่และยังมีไม้ไผ่และไม้ซุงที่มากับแพ เมื่อแดดกล้าขึ้นก็ทำให้
เห็นอะไร ๆ ชัดเจนขึ้น ถึงอย่างไรก็พอสรุปได้ว่าเป็นลักษณะที่น่าชื่นชม และเมื่อถึงเวลาที่เราพอจะ
ถอนสมอได้ เราก็ออกเดินทางไปยังทุ่นจอดเรือ จึงได้เห็นเมืองบางกอกชัดทั้งเมืองว่ามีบ้านไม้ที่เรียง
เป็นแถวเดียวกนั บางแหง่ กซ็ อ้ นกนั เป็นสามแถว แตส่ ร้างเป็นระเบียบเรยี บรอ้ ย ตามห้องพกั ท่ีเป็นไม้ก็
ทาสีสวยงาม เรอื นเหลา่ น้ีลอยอยู่บนแพไมไ้ ผ่หนา ๆ โยงติดกนั และกันไวด้ ้วยโซ่ หมู่ละ ๖ หรือ ๗ บ้าน
[โซน่ ้ีผูกตดิ กบั เสาใหญ่ทป่ี ักลงไปในน้ำ] ภาพเรือนแพนีก้ ็ดเู หมือนกับเป็นภาพอนั น่ามหัศจรรย์ และทำ
ให้เราชนื่ ชมเหลอื เกิน...” [กรมศิลปากร, ๒๕๒๕, น.๒๗]

เฟรเดอรคิ อารเ์ ธอร์ นีล ยงั ไดบ้ รรยายบรรยากาศในยามคำ่ คืนของเมืองหลวงไวว้ า่
“...พอพระอาทติ ยต์ ก แสงอาทติ ยใ์ นยามสายัณห์ก็หายไปอย่างรวดเรว็ ทำใหเ้ วลากลางคืนยิ่ง
มืดมิดมากขึ้น เสียงร้องของกาก็จะดังขึ้นอีกครั้งหนึ่งเมื่อมันบินกลับรังในตอนเย็น ตามเรือนแพก็จะ
ปรากฏแสงไฟจากตะเกียงดวงเล็ก ๆ ทวั่ ไปหมด และบนเรือสินค้าต่าง ๆ ด้วย เรอื ที่จอดอยู่ตามแม่น้ำ
ก็จะดูมืดมิดมองไม่เห็น สิ่งต่าง ๆ ก็ยากที่จะเห็นได้ชัดเจน เราก็จะได้ยินเสียงระฆังตีอีกเมื่อเวลา ๖
โมงครึ่ง และทั่วทุกหนแห่งก็จะถูกห่อหุ้มไว้ด้วยความหนาวเย็นในเวลากลางคืน...” [กรมศิลปากร,
๒๕๒๕, น.๓๗]

ไต้ นำ้ มนั ยางและเรอื่ งเล่าจากแสงไต้ โดย ปราณ ปรชี ญา ๑๔

บ้านเรือนไม้ของราษฎรถูกไฟไหม้บ่อยครั้งมีทั้งความประมาทจากการจุดไต้ จุดตะเกียงไล่
ความมืดและการถูกจุดไฟลอบวางเพลิงเพื่อขโมยทรัพย์สิน เหตุการณ์ไฟไหม้เป็นที่โจษจันกันในหมู่
ชาวต่างชาติที่ประสบเหตุการณ์ นายมอลลอช [D.E.MALLOCH] พ่อค้าชาวองั กฤษที่เดนิ ทางเข้ามาใน
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รชั กาลท่ี ๔ ไดเ้ ขยี นบนั ทึกคราวไฟไหม้ครัง้ ใหญ่ไว้วา่

“...เกิดไฟไหม้ครั้งใหญ่ที่กรุงเทพฯ บางครั้งและสร้างความเสียหายใหญ่หลวง เมื่อครั้งท่ี
ขา้ พเจ้ายังอยู่ที่น่ันก็ประสบด้วยตนเองอยู่บ่อย ๆ และกอ่ นท่ขี ้าพเจ้าจะจากมาได้เกิดเพลิงไหม้ข้ึนคร้ัง
หนึ่งใกล้ ๆ กับพระบรมมหาราชวังซึ่งเผาผลาญบ้านเรือนกว่า ๕๐๐ หลังคาเรือน หนึ่งในจำนวน
เหลา่ นน้ั ก็คือวังท่ปี ระทับของพระเจา้ น้องยาเธอของพระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อยูห่ ัวดว้ ย เป็นธรรมเนยี ม
ของประเทศนี้ท่ีจะต้องมีการส่งของกำนัลมากมายมาถวายพระองค์ตลอดระยะเวลา ๓ เดือนเตม็ และ
ตา่ งมคี วามเชื่อเชน่ เดียวกันว่า ที่พระองค์และพระราชวงศ์พระองค์อ่ืน ๆ ตอ้ งมาประสบเคราะห์กรรม
เช่นนีเ้ ป็นเพราะถึงคราวเคราะห์ของพระองค์เท่านั้น ซึ่งถ้าเกดิ กับคนยากจนแลว้ ก็จะไม่เป็นเช่นนี้ คือ
จะมกี ารแสดงความเสียใจเพยี งเล็กนอ้ ยหรือมอบส่งิ ของบางส่ิงให้ เพลิงไหมค้ ร้ังใหญอ่ ีกครงั้ หนึ่งซ่ึงเกิด
หลังจากครั้งนี้ไม่นานนัก ต้นเพลิงคือบริเวณพระคลังสินค้าของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวซึ่งอยู่
บริเวณตลาดกลางริมแม่น้ำ เกิดโดยชายคนหนึง่ ถือตะเกยี งเดินผา่ นไปยังท่ีพัก แตแ่ ลว้ เกิดอุบัติเหตุขึ้น
เพลิงไหม้ในครั้งนี้ก่อให้เกิดการระเบิดคร้ังใหญ่ กล่าวกันว่าพระเพลิงได้เผาผลาญบ้านเรือนทั้งบริเวณ

ไต้ นำ้ มันยางและเร่อื งเลา่ จากแสงไต้ โดย ปราณ ปรีชญา ๑๕

สองฟากฝั่งแม่น้ำและแถบชายฝั่งไปไม่น้อยกว่า ๑ พันหลังคาเรือน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า
เจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระป่ินเกลา้ เจ้าอยู่หัว และเจ้านายหลายพระองค์ทรงรุดเข้าไปยังจดุ ทีเ่ กดิ
เหตเุ พอ่ื ให้ความชว่ ยเหลือแก่ราษฎรเทา่ ท่ีจะทรงกระทำได้ ถา้ เปน็ เพลิงไหมใ้ นกรณธี รรมดา ๆ แล้วจะ
เห็นแต่ความวุน่ วายสับสนไปทั่ว ไม่มีการให้ความสำคญั เช่นในครั้งนี้ บ้านของพระยาศรีพิพัฒน์หรือผู้
รั้งตำแหน่งเจา้ พระยาพระคลงั คนท่ี ๒ ซึ่งเป็นบุคคลสำคญั ท่ีสดุ คนหนงี่ ของประเทศได้ถูกพระเพลิงเผา
ผลาญจนราบเป็นหน้ากลอง และสูญเสียชีวิตบุตรชายผู้เยาว์คนหนึ่งไปในกองไฟแต่ทว่ารักษาเงินตรา
ของตนไว้ได้ครบถ้วน เป็นเหตุให้ผู้คนพากันวิพากษ์วิจารณ์ถึงเรื่องนี้กันอย่างกว้างขวาง...” [กรม
ศิลปากร, ๒๕๕๕, น.๑๐๘–๑๐๙]

เมอ่ื มีเหตุไฟไหม้ครัวเรอื นของราษฎรบ่อยคร้ัง รชั กาลท่ี ๔ จึงโปรดเกล้าฯ มหี มายรับสงั่ ใหข้ ุน
นางประกาศให้ประชาชนระวังไฟไหม้บ้านและวางหลักเกณฑ์การออกนอกบ้านในยามวิกาลโดยห้าม
ประชาชนพกพาอาวุธเป็นอันขาดให้ถือได้เฉพาะ 'ไต้' เป็นคบไฟส่องนำทางเท่านั้นเพื่อเป็นการแสดง
เจตนาบริสุทธิข์ องผู้มีธรุ ะออกนอกบา้ นในตอนกลางคืนและง่ายต่อการตรวจตราของเจ้าหน้าทีใ่ นการ
แยกระหวา่ งชาวบา้ นกบั โจรผูร้ า้ ย

ประกาศใหร้ ะวังเพลิงไหม้
คดั จากหมายรับส่ัง
วนั อาทิตย์ เดือน ๑๒ แรม ๗ ค่ำ ปีขาลฉศก
พระยาเพ็ชรฎา รับพระบรมราชโองการใส่เกล้าฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สั่งว่า เทศกาล
เดือน ๑๒ เดือนอ้าย เดือนยี่ เดือน ๓ เดือน ๔ เดือน ๕ เปนฤดูแล้งลมว่าวพัดกล้า มักเกิดเพลิงไหม้
บ้านเรือนอาณาประชาราษฎร เกลือกจะมีอ้ายผู้ร้ายลอบแอบเอาไฟจุดเรือนโรงร้านปลอมเก็บเอา
ทรัพย์สิ่งของ แลอ้ายผู้ร้ายตีชิงวิ่งราวตัดช่องย่องเบามีชุกชุมกำเริบขึ้นเนือง ๆ ราษฎรจะไล่จับโจร
ผู้ร้ายนั้นได้โดยยาก ให้นายอำเภอประกาศป่าวร้องข้าราชการแลราษฎร ให้ตั้งจำหล่อจงทุกตรอกทุก
ถนน เปนระยะทางเหมอื นอย่างตามเคยมาแต่ก่อน
อนึ่งให้เจ้าของบ้าน เจ้าของเรือน เจ้าของโรง เจ้าของร้าน ระวังรักษาเรือนโรงร้านบ้านของ
ตวั อยา่ ใหม้ ีอา้ ยผูร้ ้ายไปลอบจุดไฟเรือนโรงรา้ นบ้านของตัวได้ ถา้ แลบา้ นใดมีเรอื นโรงร้านร้างเปล่าอยู่
ไม่มคี นอยเู่ ฝ้ารักษา กใ็ ห้นายอำเภอรอื้ แย่งเสีย อยา่ ใหเ้ ปนเชื้อเพลงิ ข้นึ ได้ ถ้าบ้านใดเกดิ เพลงิ ไหมเ้ รือน
โรงรา้ น จะเอาเจา้ ของเรอื นโรงรา้ นมาทำโทษ ต้ังแตน่ ส้ี ืบไปเพลากลางคืนตง้ั แต่ยามหนึ่งขน้ึ ไป ราษฎร
ผู้หนึ่งผู้ใดจะมีกิจการไปแห่งหนึ่งแห่งใดตำบลใด ก็ให้จุดไต้เพลิงถือเดินไปจึงจะชอบ ห้ามมิให้ถือ
เครอื่ งสาตราอาวุธเดินทางกลางคนื เปนอนั ขาดทีเดยี ว

ไต้ น้ำมนั ยางและเรือ่ งเล่าจากแสงไต้ โดย ปราณ ปรีชญา ๑๖

อนึ่งโจรผู้ร้ายลอบจุดไฟลอบชกตีฟันแทง แลเพลากลางคืนอ้ายคนร้ายถือมีดขวานไม้พลอง
กระบองสั้นยาวกลวงใหญ่ ก็ให้เจ้าของบา้ นกบั นายอำเภอจับเอาอ้ายคนรา้ ยไว้ให้จงได้ แล้วใหม้ าสง่ กับ
ผูร้ บั สัง่ จะไดพ้ ิจารณาเอาโทษตามโทษานุโทษ

ให้มหาดไทย กลาโหม กรมพระสัสดี หมายทูลเจ้าต่างกรม เจ้ายังไม่ได้ตั้งกรม บอกแก่
ขา้ ราชการผใู้ หญ่ผูน้ อ้ ย ใหน้ ายอำเภอประกาศราษฎรให้รู้จงทั่วตามรบั ส่งั .
ทมี่ า ประชมุ ประกาศรัชกาลท่ี ๔ พ.ศ.๒๓๙๔–๒๔๐๐ [องคก์ ารคา้ ครุ ุสภา, ๒๕๐๓, น.๑๒๒–๑๒๔]

เออร์เนสต์ ยัง [Eenest Young] นักเขียนชาวอังกฤษ เคยรับราชการอยู่ในกระทรวงธรรม
การของสยาม สมยั รชั กาลท่ี ๕ บนั ทกึ วิธีการดับไฟไวใ้ น Peep at Many Land: Siam ดงั น้ี

“...บ้านเรือนของชาวสยามฝาผนังและพื้นบ้านมักจะทำด้วยไม้หรือไม้ไผ่ ส่วนหลังคาถ้าเป็น
เรือนในเขตกรุงเทพฯ มักนิยมมุงหลังคาด้วยกระเบื้องเป็นหลัก ส่วนบ้านเรือนในชนบทหลังคามักจะ
มุงด้วยใบจาก ในฤดูแล้งเราจึงมักเห็นเปลวไฟที่ลุกไหม้ขึ้นจากบ้านซ่ึงสร้างด้วยวัสดุจำพวกไม้และ
ใบไม้ เผาไหม้ลุกลามจากบ้านหลังหนึ่งไปยังอีกหลังหนึ่งอยู่เสมอ มีผลให้บ้านเรือนของผู้อื่นต้องตก
เปน็ เหยอื่ ของเปลวไฟลงไปพรอ้ มกันดว้ ย ภายในหมบู่ ้านไมม่ ีพนักงานดบั เพลิง ชาวบ้านจึงต้องใช้หม้อ
ดินใส่นำ้ วางไวท้ ่ีปลายหลังคา เมอ่ื เกิดเพลงิ ไหม้กท็ บุ หม้อให้แตก หลงั คาจะเปยี กช้ืนและไมต่ ดิ ไฟ เวลา
เกิดเพลิงไหม้จะมีทหารมาช่วยดับเพลิง โดยพวกเขาจะใช้ขวานจามที่ตัวบ้าน เพื่อป้องกันมิให้ไฟ
ลกุ ลามไปติดบ้านอน่ื อีกต่อไป...” [กรมศิลปากร, ๒๕๕๕, น.๓๕๗–๓๕๘]

ไต้ นำ้ มันยางและเรือ่ งเลา่ จากแสงไต้ โดย ปราณ ปรชี ญา ๑๗

[๓] วิถีผู้คนกับไตส้ ่องสวา่ ง

'ไต้' คือภูมิปัญญาชาวบ้านในการทำวัสดุเป็นเชื้อไฟและให้แสงส่องสว่างยามวิกาล ซึ่งมีการ
ทำใช้กันทั่วไปทุกย่อมย่านและมีชื่อเรียกแตกต่างกันตามภาษาถิ่นและวัตถุดิบที่นำมาใช้ ดังเช่น
ภาคใต้ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเรยี กว่า 'ไต'้ บางท้องถน่ิ ออกเสยี งยาวเปน็ 'ต้าย' กม็ ี ภาคเหนือส่วน
ใหญเ่ รียกไตเ้ ช่นกันแต่มบี างท้องท่ีเรียกวา่ 'ไม้แคร่' ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนอื เรียกวา่ 'กะไต'้ หรือ
'กะบอง'

แสงส่องสว่างถือเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับทุกครัวเรือน นอกจากจะทำไว้ใช้ในครัวเรือนแล้วยังมี
การทำไตเ้ ป็นสินคา้ ส่งขายไปท่วั ทกุ พ้ืนที่ ฌงั –บปั ตสิ ต์ ปาลเลกวั ซ์ ไดส้ รุปภาพรวมของสินค้าส่งออกที่
สำคัญในปีหนึ่ง ๆ ของราชอาณาจักรสยามราวพุทธศักราช ๒๓๙๗ ไว้ในหนังสือ 'เล่าเรื่องเมืองสยาม
[Description du Royaume Thai ou Siam]' โดยระบุวา่

"...ไต้ มัดละ ๑ เฟื้อง ปริมาณส่งออก ๓๐๐,๐๐๐ มัด น้ำมันยาง หาบละ ๕–๖ บาท ปริมาณ
สง่ ออก ๒๕,๐๐๐ หาบ..." [๒๕๕๒, น.๒๑๘]

ในหนังสือวชิรญาณวิเศษ เล่ม ๖ พิมพ์ในสมัยรัชกาลที่ ๕ เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๓๓ กรม
ศลิ ปากรนำมาพมิ พใ์ หม่พุทธศักราช ๒๕๕๑ ไดแ้ จกแจงไต้ออกไว้ ๕ ชนดิ คอื

"...ไต้มีอยู่ ๕ อย่าง คือ ไต้หางอย่าง ๑ ไต้กะปรอกอย่าง ๑ ไต้เสม็ดอย่าง ๑ ไต้เทียนอย่าง ๑
ไต้เหนอื อย่าง ๑ รวมเป็น ๕ ชนดิ อยา่ งน้ี..." [กรมศิลปากร, ๒๕๕๑, น.๘๗]

ไต้ นำ้ มนั ยางและเรอื่ งเลา่ จากแสงไต้ โดย ปราณ ปรชี ญา ๑๘

ส่วนวธิ ที ำไต้ คุณสมบตั ิของไต้แตล่ ะชนดิ และราคาท่ีซื้อขายกันในสมัยน้ันมีคำอธิบายเพ่ิมเติม
ไว้ว่า

"...ไต้หาง เขาห่อด้วยใบกะพ้อ แต่ไต้หางนี้ลูกใหญ่กว่าไต้ทั้งหลายทั้งปวง ยาวประมาณศอก
คืบ และรูปไตช้ นิดน้ีก็เหมือนกันกบั ไต้ธรรมดา แปลกแตใ่ หญย่ าวกว่ากันเท่าน้ัน ถ้ามีการงานกลางคืน
แล้วเขามักใช้ไต้หางนี้ เพราะว่าดวงไฟนั้นใหญ่สว่างดี ถึงว่าลมจะพัดมาก็ไม่ค่อยจะดับ แล้วก็ไม่ค่อย
จะต้องเข่ียบ่อย ๆ ดว้ ย

ไต้กะปรอก นี้เขาห่อด้วยใบพลวง เมื่อเขาจะทำนั้นเอาใบพลวงมาห่อให้หลายชั้น ด้วยไต้
กะปรอกนี้ลูกยาวใหญ่เหมือนกันกับไต้หาง ต่างแต่ไม่มีหางเท่านั้น ไต้กะปรอกนี้คนชาวทะเลและคน
ชาวบ้านนอกเขามักชอบใช้หาหอย หาปู หากุ้ง หาปลา เพราะว่าดวงไฟนั้นใหญ่และไม่ค่อยจะดับ ถึง
วา่ ลมพัดดบั แล้วเอาแกว่งลมเขา้ ก็กลับติดไดเ้ ป็นปรกติดังเก่า เพราะวา่ ใบพลวงเขาห่อไวห้ ลายช้นั เป็น
เช้อื อยจู่ ึงแกวง่ ลมลุกไดง้ ่าย ถา้ ใชไ้ ต้อนื่ แล้วไปดบั กลางทาง เวลาไม่มไี ม้ขีดไฟ หรอื เหลก็ ไฟเชอ้ื ไฟ แล้ว
ก็ต้องลำบาก เพราะฉะนั้นเขาจึงชอบใช้ไต้ชนดิ นโี้ ดยมาก

ไต้เสม็ด นี้เขาห่อด้วยใบเตย แต่ไต้เสม็ดนี้จะใช้จุดทำการงานอะไรก็เต็มทีมิใคร่จะติด และ
ดวงไฟก็ไมค่ อ่ ยสวา่ ง ดแี ตท่ ำเช้ือไฟหุงขา้ วอยา่ งหนงึ่ กับเขาใชผ้ งิ สะดือเด็ก ๆ อย่างหนึ่งเทา่ น้นั

ไตเ้ ทียน นี้ เขาทำเปน็ ๒ ชนดิ อยา่ งหน่ึงเขาทำด้วยขเ้ี ลือ่ ยก็มี ชนิดหนึง่ เขาทำด้วยไม้ผุ ของท่ี
ห่อไต้เทียนนกี้ ็ใชอ้ ยู่ ๒ ชนิดเหมือนกัน หอ่ ดว้ ยใบตาลออ่ นอยา่ งหน่ึง หอ่ ด้วยเยอ่ื กาบหมากชั้นในอย่าง
หนึ่ง ไต้เทียนนีจ้ ดุ ไฟลกุ สว่างดีคล้ายกับเทียนขี้ผ้ึง แต่รูปและสัณฐานนัน้ กเ็ หมือนกับไต้ท่ีกล่าวมาแล้ว
ต่างกนั แตล่ ูกเล็กมดั เล็กกว่าไต้ที่ใช้กนั อยู่ทุกวันนเ้ี ท่าน้ัน ไต้เทยี นน้ีเขาขมี้ ักทำขายเม่ือเวลาประชุมชน
นมสั การพระพุทธบาทโดยมาก แต่ไต้ ๔ อย่างน้ีเขาทำใช้หรือซ้ือขายกนั ก็น้อยไม่สู้มากเหมือนอย่างไต้
เหนือแท.้ ..” [กรมศิลปากร, ๒๕๕๑, น.๘๗–๘๘]

• ไต้ นำ้ มันยางของภาคใต้

จดหมายเหตุเจมส์ โลว์ [Journal of a public mission to Raja of Ligor] ได้เขียน
รายละเอียดของการทำคบเพลิงของชาวใต้จากเปลือกต้นเสม็ดเปล้าและน้ำมันยางในบันทึกวันที่ ๑๙
พฤษภาคม ไว้ดงั นี้

“...ต้นเสม็ดเปล้า [Ton Samet Plau] หรือที่มลายูเรียกต้นกิลลัม [Gillum] จำนวนมาก
ขึ้นอยู่ตามชายหาด ใบของมันเป็นรูปลูกธนู และมีดอกสีตะกั่วดอกเล็ก ๆ และมีกลิ่นหอมแรงแต่รส
ปร่าฉุน มีเปลือกหนาเป็นเส้น ๆ และหยุ่นฟู ปรากฏว่าพวกชาวสยามและมลายูนำเอาเปลือกไม้นี้มา
พันเข้าด้วยกันหลายชั้น แล้วใช้เป็นคบเพลิง แต่ว่ามิใช่จะเอาไปจุดได้เลยทีเดียวต้องนำมันไปจุ่มใน
น้ำมันยางหรือเอาไปเกลือกชันยาเรือเสียก่อน แล้วจะจุดไฟติดสว่างไสว ส่วนใบหรือหน่อของมันถูก

ไต้ น้ำมนั ยางและเรื่องเลา่ จากแสงไต้ โดย ปราณ ปรชี ญา ๑๙

นำไปใช้ในการย้อมผ้า เพื่อช่วยทำให้สีดำติดผ้าไหมสนิทดี นอกจากนี้ยังใช้เปลือกของมันแทนหมัน
สำหรบั ตอกเรอื ได้ด้วย..." [กรมศลิ ปากร, ๒๕๑๙, น.๒๐–๒๑]

ภาคใต้เปน็ แหลง่ ผลติ ท่ีสำคัญเนื่องจากพน้ื ที่อุดมไปด้วยต้นยาง รายงานบาญชีจำนวนสินค้าที่
ราษฎรซื้อขายอยู่ในเมืองนครศรีธรรมราช ร.ศ. ๑๑๗ [พุทธศักราช ๒๔๔๑] ของพระยาสุขุมนัยวินิต
[ปั้น สุขุม] ข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลนครศรีธรรมราช ว่ามีไต้ที่ทำจากเมืองนครศรีธรรมราชถึง
๒๒๖,๗๔๐ ลำ คิดเป็นเงนิ ทุน ๑,๘๘๕ บาท สูงกวา่ สนิ คา้ ประเภทอน่ื ๆ หลายประเภท เช่น หนังสัตว์
หวาย กุง้ แหง้ เยือ่ เคย ปูเค็ม เป็นตน้ และไตจ้ ากเมืองน้สี ง่ ไปจำหนา่ ยทั้งหวั เมืองในพระราชอาณาเขต
และตา่ งประเทศ เช่น สิงคโปร์ เป็นต้น

ในรัชสมยั พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั รัชกาลที่ ๕ มีกรณีการเรยี กเก็บภาษีไต้
เสม็ดโดยไม่เป็นธรรมท่ีหัวเมืองปักษ์ใต้ เจ้าพระยาสุธรรมมนตรีศรีธรรมราช [หนูพร้อม ณ นคร] เจ้า
เมอื งนครศรธี รรมราช [พทุ ธศกั ราช ๒๔๔๐–๒๔๔๗]

"...ในช่วงกรุงรัตนโกสินทร์ ไต้เสม็ดที่ผลิตจากหัวเมืองปักษ์ใต้เป็นสินค้าส่งออกและเป็นส่วย
ส่งให้เมืองหลวง เฉพาะที่เมืองนครศรีธรรมราช เจ้าเมืองเรียกเก็บภาษีไต้เอาตามใจ จนเกิดเป็นคดี
ความฟอ้ งร้องกนั ขึ้น เมื่อเร่ืองราวขยายถึงพระเนตรพระกรรณ เจา้ เมืองนครที่มชี ่ือว่า หนูพร้อมถึงกับ
ตอ้ งทำหนังสือขอพระราชทานอภยั โทษ..." [ล้อม เพง็ แก้ว, ๒๕๕๓, น.๙๘]

ต่อมามีการแย่งเจาะต้นยางจนเกิดการทะเลาะวิวาทหลายท้องที่ทำให้ทางราชการเข้ามา
ควบคุมและออกข้อกำหนดในการเจาะเผาต้นยางตอ้ งขออนุญาตต่อกรมการอำเภอก่อนตามประกาศ
เรื่องการเจาะเผาต้นยางทำน้ำมันในมณฑลนครศรีธรรมราช มณฑลชุมพร และมณฑลจันทบุรี เม่ือ
พทุ ธศักราช ๒๔๕๑ ความมีดงั น้ี

“...ประกาศเรื่องการเจาะเผาต้นยางทำน้ำมันในมณฑลนครศรีธรรมราช มณฑลชุมพร แล
มณฑลจันทบุรี ลงวันท่ี ๓๐ ธนั วาคม รัตนโกสนิ ทร์ศก ๑๒๗

มีพระบรมราชโองการดำรัสเหนือเกล้าฯ สั่งว่า การเจาะเผาต้นยางทำน้ำมันในมณฑล
นครศรีธรรมราช มณฑลชุมพร แลมณฑลจันทบุรี เวลานี้ราษฎรได้พากันทำจำหน่ายซื้อขายได้
ประโยชน์ดี แลในทบี่ างแหง่ ราษฎรได้ยึดถือเป็นกรรมสทิ ธโิ์ ดยอา้ งวา่ ไดเ้ คยทำมาแตก่ อ่ น เมือ่ ละท้ิงไม่
ทำแลว้ ราษฎรผอู้ ื่นจะไปจดั ทำก็หวงห้ามแยง่ ชิงกนั จนเกิดเป็นเหตวุ วิ าทกันขึ้น ทรงพระราชดำริห์เห็น
ว่า สมควรจะจัดการป้องกันการวิวาทของราษฎรในการเจาะเผาตน้ ยาง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ใหต้ ราประกาศข้นึ ไว้ใช้ในมณฑลนครศรธี รรมราช มณฑลชมุ พร แลมณฑลจันทบุรีสบื ไปดงั นี้

ข้อ ๑ เมื่อผู้ใดมีความประสงค์ที่จะกระทำการเจาะเผาต้นยางต้นใดในท้องที่ใด ให้ไปขอรับ
ใบอนุญาตต่อกรมการอำเภอ ในท้องที่นั้น ๆ เสียก่อน เสียค่าอนุญาตเปน็ รายต้น ๆ ละ ๔ อัฐ แล้วจึง
จะกระทำการเจาะเผาตน้ ยางตน้ นนั้ ๆ ได้

ไต้ นำ้ มนั ยางและเรื่องเลา่ จากแสงไต้ โดย ปราณ ปรชี ญา ๒๐

ข้อ ๒ ถ้าผู้ใดได้รับอนุญาตต่อกรมการอำเภอแล้ว มีความประสงค์จะให้คนอื่นซึ่งอยู่ใน
ครัวเรือนของตน กระทำการเจาะเผาต้นยางนั้นก็ได้ แต่ต้องขอให้กรมการอำเภอลงชื่อผู้นั้น ๆ ลงใน
ใบอนุญาตให้ปรากฏชัดเจน คนอื่นจะเจาะเผาต้นยางนั้น ๆ ไม่ได้ ใบอนุญาตเจาะเผาต้นยางมีอายุ
ใช้ไดต้ ั้งแตว่ ันท่ี ๑ เมษายน จนถึงวนั ท่ี ๑๑ มนี าคม เป็นหมดเขตร์

ข้อ ๓ ถ้าผู้ใดกระทำการเจาะเผาต้นยางต้นใดซึ่งตนไม่ได้รับอนุญาตกระทำการเจาะเผาต้น
ยางตามประกาศนี้ ผู้นั้นมีความผิดต้องระวางโทษปรับครั้งหนึ่งไม่เกิน ๒๐ บาท หรือจำคุกไม่เกิน ๑
เดือน หรอื ทงั้ ปรับแลจำดว้ ยทงั้ สองสถาน

ประกาศมา ณ วันที่ ๓๐ ธันวาคม รัตนโกสินทร์ศก ๑๒๗ เป็นวันที่ ๑๔๖๕๙ ในรัชกาลปัตยุ
บันนี.้ ..” [ราชกจิ จานเุ บกษา เล่ม ๒๕ หนา้ ๑๑๖๔ วันท่ี ๓ มกราคม ๑๒๗]

ศาสตราภิชานลอ้ ม เพง็ แกว้ 'ปราชญเ์ มืองเพชร' เกดิ เมอ่ื ปีพุทธศักราช ๒๔๘๐ เขียนเล่าเร่ือง
'ฟน่ั เทียน–ทำไต้' ไว้ในหนงั สือเกิดเปน็ คนใต้ ดังน้ี

"...ไต้นั้นทำจากน้ำมันยางคลุกไม้ผุ เปลือกเสม็ด หรือไม้ขูด ซึ่งทางถิ่นบ้านที่ผมเกิดเรียกว่า
'หยอย' (ออกเสียงเป็น ย นาสกิ ) นำ้ มันยางกเ็ จาะเอาจากตน้ ยางตามหวั ไร่ปลายนา การเจาะกใ็ ช้ขวาน
ฟันหรือบากเป็นหลุม น้ำมันยางจะไหลมาขัง แล้วก็ไปตักเอา หรือจะใช้หยอยคลุกน้ำมันยางในหลุม
เลยกไ็ ด้..." [ล้อม เพ็งแกว้ , ๒๕๕๓, น.๙๗]

อาจารยล์ ้อม เพง็ แก้ว ยงั ไดเ้ ขียนเล่าประสบการณใ์ นการเจาะต้นยางไว้ดว้ ยว่า
"...เมือ่ นำ้ มนั หยุดไหล กใ็ ช้ไฟสุมตรงรอยเจาะ ก็จะไดน้ ้ำมันยางอีก และเมอ่ื รอยเจาะเป็นถ่าน
ก็ต้องเบิกรอยให้ถึงเนื้อไม้สด ๆ อีกครั้งหนึ่ง หากแผลโตเกินไปก็ต้องหยุดเจาะเพื่อให้ต้นยางได้พักฟื้น
อีกหลายปีจึงเจาะได้ใหม่ หากไม่มีการพักฟื้นหรือแผลเจาะขยายมากเกินไป ต้นยางอาจตายหรือหัก
โค่นเสียก็ได้ เรื่องเหล่าน้ี คนหาน้ำมันยางต้องเข้าใจและรู้จักดูแผลว่าควรจะหยุดเจาะเมื่อไร..." [ล้อม
เพง็ แก้ว, ๒๕๕๓, น.๙๗–๙๘]

วิถีชาวใต้รู้จักและใช้ไต้อยู่หลายชนิดแต่ที่นิยมทำและนิยมใช้กันทั่วไปคือ ไต้เล็ก ไต้เสือมาย
ไต้ทอ และไต้หน้าช้าง ซ่ึงมีขนาดและวิธีทำต่างกันบ้าง ชาวใต้นั้นใช้ไต้ให้แสงสว่างมาเนิ่นนานจนถึง
ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง [๑ กันยายน ๒๔๘๒ – ๒ กันยายน ๒๔๘๘] จึงหันมาใช้ตะเกียง
น้ำมนั ก๊าดแทน

"...ไต้ที่ใช้กันอยู่ในชนบทได้ค่อย ๆ หมดความนิยมไปในช่วงหลังสงคราม เพราะมีน้ำมันก๊าด
และตะเกียงมาแทนทีแ่ ละใชไ้ ดส้ ะดวกกว่า การซื้อหาน้ำมันก๊าดก็ไมล่ ำบากอะไรเพราะมีตลาดร้านค้า
อยใู่ นชมุ ชนเกอื บจะทุกหนทกุ แห่ง..." [ล้อม เพง็ แก้ว, ๒๕๕๓, น.๑๐๓]

ไต้ น้ำมนั ยางและเรื่องเลา่ จากแสงไต้ โดย ปราณ ปรีชญา ๒๑

• ไต้ นำ้ มันยางของภาคตะวนั ออกเฉียงเหนอื

ชาวอีสานเรียก 'ไต้' ว่า 'กะบอง' ส่วนคำว่า 'ไต้' ในภาษาอีสานเป็นคำกริยา หมายถึง 'จุดไฟ'
ดังนั้น การจุดไต้ภาษาอีสานจึงเรียกว่า 'ไต้กะบอง' ส่วนฐานเสียบกะบองหรือตะกรับเสียบได้และ
รองรับข้ีกระบองเรียกว่า 'เขียงกะบอง' หรือ 'โฮงกะบอง' ทำเป็นกระบะไม้ขนาดกว้าง ๘ นิ้ว ยาว
๑๒–๑๖ นิ้ว

'กะบอง' หรือไต้ของคนแถบภาคอีสานหรือจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีกรรมวิธีทำ
จากน้ำมันยางเช่นกันโดยนำ 'ไม้ขอนดอก' หรือขุยของขอนไม้ผุที่ล้ม [ภาษาลาวเวียงจันทน์เรียกว่า
'โดก'] คลุกเคล้ากับน้ำมันยางแล้วปั้นให้เป็นแท่งทรงกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑ นิ้วหรือใหญ่กว่า
เล็กน้อย ยาวประมาณ ๑ ศอก [หน่วยวัดความยาวของไทยโบราณเทียบมาตราส่วนสากลเท่ากับคร่ึง
เมตร] จากนั้นห่อด้วยใบไม้ขนาดใหญ่ที่หาได้ในท้องถิ่นจำพวกใบจิก ใบพลวง หรือใบของต้นยางนา
แลว้ มดั เป็นระยะดว้ ยตอกใหเ้ ปน็ เปลาะ ๆ จงึ เรยี กตามรูปลักษณะเมื่อแลว้ เสร็จว่า 'กะบอง' และเรียก
เฉพาะเจาะจงวา่ 'กะบองขี้ไต'้ เนื่องจากเปน็ ไตท้ ท่ี ำมาจากน้ำมนั ของตน้ ยางนาเพราะนอกจากน้ำมันท่ี
ได้จากตน้ ยางแล้วยงั มีวัตถุดบิ ทีช่ าวอีสานนำมาใช้คลกุ กบั ไม้ขอนดอกเพื่อทำกะบองอกี ๓ อยา่ งคอื

๑. 'ข่ีซี' หรือ 'ขี่ซี้' ภาษาอีสานหมายถึง 'ชัน' โดยนำชันมาป่นให้ละเอียดก่อนนำไปคลุกเคล้า
กับไมข้ อนดอกแล้วหอ่ หมุ้ ด้วยเปลอื กไมห้ รอื ใบไม้ เรยี กวา่ 'กะบองข้ีซ'ี

๒. 'ขี่ต๋ก' หรือ ยางของจากต้นพลวงที่ตก
ลงมาบนขุยไม้พลวงใต้โคนต้น ชาวบ้านจะเก็บขุย
ไมพ้ ลวงทีป่ นยางพลวงนี้มาทำกะบอง เรยี กว่า 'กะ
บองขตี่ ก๋ ' และ

๓. 'ขี่ควง' หรือรังของแมลงคล้ายชันโรง
แล้วนำไปคลุกเคล้ากับไม้ขอนดอก เรียกว่า 'กะ
บองขี้ควง'

ปัจจุบันกะบองทีท่ ำจากวัสดทุ ั้ง ๓ อย่าง
ข้างต้นไม่ค่อยพบแล้วนอกจากที่ยังมีการทำ
จำหน่ายอยู่คือวัตถุดิบน้ำมันยางที่ได้มาจากต้น
ยางนาหรือกะบองขี้ไต้ ชาวอีสานมีการเรียก
ลักษณะนามหรือหน่วยนับของกะบองว่า 'ดุ้น'
หรอื 'เล่ม' [กะบอง ๑ ด้นุ หรือ ๑ เลม่ กไ็ ด้] ในการ
จำหน่ายขั้นต้นจะมัดรวมกัน ๕ ดุ้น เรียก ๑ มัด
ถ้านำมารวมกนั ๑๐ ดุ้น เรียกวา่ 'ลึม' หรือ 'หลมึ ' [๑ ลึม หรือ ๑ หลึมเทา่ กับ ๑๐ ด้นุ หรอื ๑๐ เลม่ ]

ไต้ น้ำมนั ยางและเรื่องเลา่ จากแสงไต้ โดย ปราณ ปรชี ญา ๒๒

ประยูร มูลสาร หรอื 'ยงค์ ยโสธร' [นามปากกา] เขียนนวนยิ ายเล่าวิถีชีวติ ของ 'คำอ้าย' เด็กท่ี
เติบโตบนถิ่นที่ราบสูง มีเรื่องราวขนาดสั้น ๆ หลายตอน ดังเช่นเรื่อง 'ต่อไก่' สะท้อนการทำ 'กะบอง'
ของชาวอีสานในพื้นที่เมืองยโสธรได้ชัดเจน จากบทสนทนาของเพื่อนสนิทวัยเด็กระหว่าง 'คำอ้าย'
และ 'จัน' สอดแทรกองค์ความรู้เรื่องการคัดเลือก 'ใบชาด' วัตถุดิบในท้องถิ่นสำหรับนำมาห่อกะบอง
ความตอนหนึ่งว่าไว้ดังนี้

“...คำอ้ายมัดเสร็จก่อน แล้วก็นั่งรอจันเรียงใบชาดของเธออยู่ ใบชาดที่จันเก็บได้ ดูมีแต่
สวยงามสม่ำเสมอ ไม่แก่หรืออ่อนเกินไป เหมาะจะใช้ห่อกะบองอย่างยิ่ง เมื่อเรียงแนบเข้าด้วยกนั ก็ดู
เหมือนเปน็ ใบเดียวกนั ไมม่ สี ้ันบ้างยาวบา้ งอย่างของคำอา้ ย...” [ยงค์ ยโสธร, ๒๕๔๓, น.๑๙๙]

บทสนทนาถดั มาทำใหไ้ ด้ทราบวา่ 'ขยี้ าง' นัน้ เป็นสิง่ มคี า่ ของคนอสี าน
“ถ้ากูมีต้นยางเอง กูจะทำกะบองชายเอาเงิน เหมือนแม่ใหญ่กว้าง” จันเงยหน้ามองคำอ้าย
ซ่ึงนงั่ ชน่ื ชมใบชาดของเธออยูเ่ งียบ ๆ ในใจ
“แมใ่ หญก่ ว้างข้ีเหนยี ว กเู อาข้ชี นั ต้งั มากไปแลก ไดก้ ะบองเล่มเดยี ว” คำอ้ายพูด
“อ้ือ เพนิ่ ขเ้ี หนียวจรงิ ๆ แม่กวู ่าเพิ่นเอาน้ำใส่ปนกับขี้ยางด้วย ให้มนั ไดก้ ะบองหลาย ๆ เล่ม”
จันว่า
“แม่ใหญ่กูไม่ทำอย่างนั้น ฝนตกใส่ขุมขี้ยาง แม่ใหญ่ไม่ตักเอาเลย” คำอ้ายพูดพลางนึกถึงวัน
ออกไปช่วยแม่ใหญ่ตักน้ำยางยางที่นาห้วยไผ่ ก่อนหน้านั้นมีฝนตกทำให้น้ำฝนไหลเข้าขุมยางที่จุดไว้
เหน็ เป็นนำ้ ใส ๆ ปนอย่กู ับน้ำมนั ยาง แม่ใหญไ่ ม่ตกั เอา
“ฝนตกใส่แลว้ ตกั เอาไปทำกะบอง จุดไฟลุกไมด่ ”ี
แม่ใหญ่ว่าในวันนั้น ซึ่งเด็กน้อยก็เห็นด้วย เพราะกะบองที่ตนเอาชันแลกมาจากแม่เฒ่าบุญ
กว้างนั้น ปรากฏว่า เวลาจุดจะมีเสียงแตกดังเป้าะแป้ะ ๆ เขี่ยขี้ออกแล้วออกอีกยังดังจ้วด ๆ ซาด ๆ
แล้วมอดดับไป จุดอา่ นหนงั สอื ก็เปลืองสายตาและเสียเวลาเข่ียบ่อย ๆ
“แมใ่ หญไ่ ม่ข้เี หนยี วดอก กกู ับแม่ก็ไปเอาข้ยี างนาแมใ่ หญ่มงึ นัน่ แหละ มาทำกะบองแลกข้าว”
จนั พดู พลางใช้เครือ่ งเครอื ไมม้ ดั ใบชาดเขา้ ดว้ ยกนั ดเู ธอระมดั ระวังแทบไมอ่ ยากใหใ้ บมีรอยพบั
“แม่กูบอกว่าแมใ่ หญ่กวา้ งหวงขมุ ขี้ยางย่งิ กวา่ หวงลูกสาว” คำอ้ายวา่ พลางแหงนมองอีกาท่ีส่ง
เสียงรอ้ งกา้ ๆ บนิ ชา้ ๆ ไปทางตะวนั ตก ๔–๕ ตัว เสียงจักจน่ั เรมิ่ รัวดังขนึ้ ท่นี ั่นที่นใ่ี นราวปา่
“หวงจรงิ ๆ จุดขมุ ข้ียางไวแ้ ลว้ กใ็ หเ้ ซยี งกา่ ยไปนอนเฝา้ ใครเข้าใกลก้ ไ็ ม่ได้” จนั พูด
“แต่กะบองเพิ่นมแี ตเ่ ลม่ งาม ๆ เต็มมมุ เรือน กเู คยเห็นมาแลว้ ” คำอ้ายวา่
“งามแตข่ า้ งนอก ขา้ งในจุดไม่ไหม้ กูไม่ออนซอนดอก” จันพดู แล้วยกมดั ใบชาดขนึ้ ดู
“กะบองแม่มึง ก็ใส่ขอนดอกมากเกินไป” คำอ้ายพูดตรง ๆ ว่าแม่ของจันใช้ขอนไม้ผุผสม
น้ำมนั ยางมากไป จันจอ้ งหน้าเดก็ ชายดว้ ยสายตาเคอื งหนอ่ ย ๆ
“ก็แม่กูไม่มีตน้ ยางเองนี่ ใส่ขย้ี างมากไป กไ็ ด้กะบองน้อย”

ไต้ นำ้ มนั ยางและเรือ่ งเลา่ จากแสงไต้ โดย ปราณ ปรีชญา ๒๓

“นาใหม่กูมีขุมขี้ยางหลายต้น ให้แม่มึงไปจุดเอาซี แม่กูไม่หวงดอก” คำอ้ายว่า จันยิ้ม [ยงค์
ยโสธร, ๒๕๔๓, น.๒๐๐–๒๐๑]

• ไต้ น้ำมนั ยางของภาคเหนอื

ประวัติศาสตร์แห่งพระราชอาณาจักรสยาม ฉบับตุรแปง บันทึกการทำไต้ของเมืองพิษณุโลก
ในเขตภาคเหนือตอนล่างไว้น่าสนใจว่า

“...ที่จังหวัดพิษณุโลกมีคนทำไต้ที่ทำด้วยน้ำมันดินกับน้ำมนั และมีคนทำยางแดง [Gomme
rouge] ทใ่ี ชท้ ำครัง่ ประทบั ตรา [cire d’ Espagne] นอกจากนยี้ งั มคี นทำไม้สำหรับสร้างบ้านและย้อม
สมี าก พน้ื ดนิ เมืองพษิ ณุโลกผลติ ดบี ุก และอำพนั สเี ทาดว้ ย...”[กรมศิลปากร, ๒๕๕๙, น.๑๗]

ฟรองซัวส์ อองรี ตุรแปง ไม่ได้ให้รายละเอียดวิธีการทำไต้ด้วยน้ำมันดินไว้ จึงไม่ทราบ
แหล่งท่มี าของนำ้ มนั ดนิ ส่วนผสมของวตั ถดุ ิบอ่นื ๆ และกรรมวิธีการทำไตน้ ้ำมนั ดนิ ทั้งนี้ พจนานุกรม
ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมาย 'น้ำมันดิน' คือ ของเหลวลักษณะข้น สีเข้มจนดำ ได้จากการ
กลั่นทำลายไม้หรือถ่านหิน ใช้ทารักษาเนื้อไม้หรือกันปลวกและแมลง เป็นต้น เมื่อนำไปกลั่นโดยใช้
อุณหภูมิให้เหมาะสม จะได้สารอื่น ๆ ที่มีประโยชน์อีกมาก [ราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๕๖, น.๖๒๙] ใน
ปัจจบุ ัน น้ำมันดิน [Coal Tar] นอกจากเปน็ สารกันนำ้ ในการรักษาเน้ือไม้โดยใชท้ าเรอื ไมป้ ้องกันการผุ
กร่อน หรือทาหลงั คาบา้ นกนั รัว่ ซมึ วัสดขุ ดั มนั และเป็นเช้ือเพลิงให้แสงสว่างแล้ว นำ้ มันดนิ ทไี่ ดจ้ ากไม้
บางชนดิ ยงั ใชเ้ ปน็ ยารักษาบางโรคได้

หนังสือวชิรญาณวิเศษ เล่ม ๖ ได้อธิบายวิชาอาชีพชาวสยาม ถึงการทำไต้และการทำ
น้ำมันยางในสมัยโบราณไว้ทำให้มองเห็นภาพกว้างของสัมมาชีพคนในสมัยนั้นชัดเจนขึ้น โดยเฉพาะ
เมืองกำแพงเพชรในเขตตอนเหนอื นั้นมีการทำอาชีพนอ้ี ย่างเปน็ ลำ่ เป็นสัน ดงั นี้

"...การทที่ ำน้ำมันยางและทำไต้นี้ ถา้ จะวา่ โดยผลประโยชน์มากและทำนำ้ มันยางมาก และทำ
ไต้มากแล้ว ถ้าฝ่ายเหนือคือเฉพาะในพระราชอาณาเขตประเทศสยามแล้ว ไม่มีเมืองไหนจะมากกว่า
เมอื งกำแพงเพชร ถ้าฝา่ ยตะวันออกคือเมืองกบินทรเ์ ปน็ มากกว่าทุกหวั เมืองหมด ขา้ งฝ่ายใตน้ ั้นการทำ
น้ำมันยางและไตไ้ มค่ อ่ ยจะชุกชุมเหมือนฝา่ ยเหนอื ถงึ เมืองอนื่ ๆ กม็ บี ้างเล็กน้อย ไมส่ ูม้ ากเหมอื นเมือง
กำแพงเพชร..." [กรมศิลปากร, ๒๕๕๑, น.๘๔]

วิธที ำไต้เหนอื น้นั มีคำอธิบายข้นั ตอนไว้ด้วยว่า
“...ทนี จี้ ะกล่าวถึงวธิ ีท่ีเขาทำ ไตเ้ หนือ ซ่ึงมผี ลประโยชน์มากต่อไป เครื่องมือท่ีเขาใช้ก็ไม่สู้จะ
มีอะไรมากนัก คือ มีกะโล่ใหญ่ใบ ๑ กะโล่นั้นเหมือนอย่างกระด้ง แต่ว่าใหญ่กว่ากระด้งมาก แล้วเขา
ทาชันเสียไม่ใหน้ ้ำรั่วได้ ไว้สำหรับหมกั ขีไ้ ต้ อีกอย่างหนึ่งต้องไปเที่ยวหาเปลือกเลียงมาไว้ ต้องผึ่งแดด
ไว้ให้แห้งดีแล้วเขาก็เก็บมัดไว้สำหรับที่จะได้ห่อไต้กับหวายตอกต้องจักผึ่งแดดไว้ให้แห้ง สำหรับมัด

ไต้ นำ้ มนั ยางและเรอ่ื งเลา่ จากแสงไต้ โดย ปราณ ปรีชญา ๒๔

และผูกไต้ อีกอย่างหนึ่งต้องไปเที่ยวหาไม้ฟืนผุ ๆ มาไว้ให้มาก ไม่ต้องเลือกว่าไม้อะไรเป็นแต่ผุแล้วก็
ใช้ได้ทงั้ น้นั เขาเก็บเอามาไว้สำหรับที่จะได้ระคนปนกนั กับขโี้ ลเ้ ท่านั้น

เมื่อเขาจะทำไต้นั้น ก็เอาไม้ผุนั้นมาสับฟันให้ละเอียดไว้มาก ๆ แล้วจึงเอาไม้ผุนั้นมาใส่ใน
กะโล่ใหญ่แล้ว จึงเอาขี้โล้น้ำมันยางมาระคนปนใส่ลงคลุกเคล้ากันแล้วก็เหยียบย่ำหมักหม่าไว้ ๓ คืน

บ้าง ๔ คืนบ้าง พอให้ซาบซึมทั่วกันดีแล้ว จึงเอา
เปลือกเลียงมาห่อ ห่อเข้าแล้วมัดด้วยตอก ๔ เปลาะ
แต่คนหนึ่งที่ทำขยัน ๆ ฝีมือห่อจัด ๆ นั้น ห่อได้วัน
หนึ่ง ๘๐ ใบไต้บ้าง ๑๐๐ ใบไต้บ้าง ถ้าจะคิดเป็นมัด
ใหญ่ได้ ๘ มัดบ้าง ๑๐ มัดบ้าง มัดหนึ่ง ๑๐ ใบไต้ ที่
เขาหมักหม่าไว้คราวหนึง่ ห่อได้ ๕๐ มัดใหญ่บ้าง ๗๐ มัดใหญ่บ้าง แล้วเขาก็หมักหม่าต่อไปอีกเหมือน
ครั้งก่อน ในเดือนหนึ่งคงหมักหม่าได้ ๒ ครั้งบ้าง ๓ ครั้งบ้าง ได้ไต้ประมาณ ๑๕๐ มัดบ้าง ๒๐๐ มัด
บ้าง ปหี นึ่งคนหนงึ่ ทำไต้ไดป้ ระมาณ ๑,๕๐๐ มดั เศษ และราคาที่ซื้อขายกันอยู่นั้นท่ีประเทศบ้านนอก
ขายกนั ร้อยละ ๘ บาทบา้ ง ๙ บาทบา้ ง ปีหนึ่งคนหน่ึงท่จี ะขายไต้ได้เปน็ เงินประมาณชง่ั ๑๐ ตำลงึ เศษ
ที่เขามีพาหนะกำลังมากและน้อยดังนี้ พวกพ่อค้าที่เคยไปรับซือ้ เป็นจำนำกันอยู่นัน้ เขาก็พากันไปซื้อ
มาส่งตามพ่อค้าใหญ่ ๆ ในกรุงเทพฯ บ้าง ตามสวนบ้างสุดแท้แต่ผู้ใดจะต้องการ เขาก็เอาไปจำหน่าย
ขายจนหมด ราคาที่เขาเอามาขายส่งนี้ น้ำมันยาง ๑๐๐ ทะนาน เป็นเงิน ๘ บาทบ้าง ๙ บาทบ้าง
ราคาไต้นัน้ ๑๐๐ มัดเปน็ เงนิ ๑๐ บาทบา้ ง ๑๒ บาทบา้ ง..." [กรมศลิ ปากร, ๒๕๕๑, น.๘๘–๘๙]
ไต้ น้ำมันยางจากหลายเมืองทางภาคเหนือ ถูกลำเลียงลงมาขายให้ชาวบ้านในเขตภาคกลาง
และเมืองหลวง
“...แต่ก่อนนี้เวลาเข้าพรรษา เคยเห็นเรือขนาดใหญ่อย่างเรือบรรทุกวัวล่องลงมาจากเมือง
เหนอื เรยี กกนั วา่ เรอื เหนอื บรรทกุ เอาสินคา้ ของป่ามาทางเหนอื มไี ตช้ ัน น้ำมนั ยาง นำ้ ผึ้ง ขผ้ี งึ้ และสง่ิ
อื่น ๆ อีกหลายอย่าง มาจอดอยู่ริมแม่น้ำตามห้างร้านที่รับซื้อสิ่งของเหล่านี้ แล้วมีพวกจีนไหหลำนำ
เรือกุเหละรับซื้อเอาไปขายเร่ตามแม่น้ำลำคลอง เดี๋ยวนี้หมดไปไม่ค่อยเห็น เพราะการขนส่ง
เปลี่ยนแปลงมาเป็นทางรถไฟสะดวกกว่า ความเป็นไปครั้งก่อนก็ต้องหมดไป...” [เสฐียรโกเศศ,
๒๕๐๗, น.๓๙]

เมื่อคราว เจมส์ แมคคาร์ธี [James McCarthy] ชาวอังกฤษ ต่อมาได้รับพระราชทานสัญญา
บตั รตราตั้งเปน็ 'พระวิภาคภวู ดล' เจ้ากรมแผนที่ทหาร เจมส์ แมคคารธ์ ี ได้รับมอบหมายทำการสำรวจ
ภูมิประเทศเพื่อวางโครงข่ายสามเหลี่ยมทำแผนที่เขตแดนสยาม เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๒๗ และใน
เดือนพฤศจิกายน คณะสำรวจของเจมส์ แมคคาร์ธีได้เดินทางผ่านเมืองอุตรดิตถ์เพื่อจะเดินเท้าต่อไป

ไต้ นำ้ มันยางและเรอ่ื งเลา่ จากแสงไต้ โดย ปราณ ปรชี ญา ๒๕

ยังเมืองน่านระหว่างทางเกิดเหตุการณ์ทำให้ช้างตื่นตกใจวิ่งหนีเตลิดไป เขาได้บันทึกการเดินทางคร้ัง
นัน้ ไวเ้ มื่อตอ้ งเดนิ ทางในตอนพลบคำ่ และใช้ภูมิความรขู้ องคนท้องถ่นิ ในการทำคบไฟนำทาง

“...ช้างที่บรรทุกจำนวนหนึ่งหนีไป ทำให้ข้าพเจ้าต้องเสียเวลา และชดเชยเวลาที่เสียไปใน
วันรุ่งขนึ้ ด้วยการเดนิ ไปยัง ม.หนิ [M.Hin] รวดเดยี ว ๑๑ ชวั่ โมง ช่วงหลงั ของระยะทางต้องใช้คบไต้ ให้
แสงสว่างที่ทำจากลำไผ่แห้งเกรียมปลาย ฉวยเอาได้จากที่ขึ้นอยู่ข้างทางนั่นเอง...” [พระวิภาคภูวดล,
๒๕๓๓, น.๘๔]

ไม้สน หรือที่ชาวกะเหรี่ยงสะกอ 'ปากะญอ' เรียกว่า 'สนเกี๊ยะ' มีคุณสมบัติต่างจากไม้เชื้อไฟ
ชนิดอื่นเนื่องจากเนื้อไม้สนเกี๊ยะอมน้ำมันมากมันจึงเป็นเชื้อติดไฟได้ดีแม้ขณะยังสด ๆ นอกจากนี้
กระพี้สนยงั เปน็ ยารัดรากเหงือกทำให้ฟนั ยึดกันแน่นด้วยแกะเปลือกสนออกการลอกกระพี้มาเค้ียวกิน
น้ำฝาด ๆ หวาน ๆ ความรู้จากพงไพรนี้ชาวปากะญอได้เรียนรู้สืบต่อกันมารุ่นแล้วรุ่นเล่าตามวิถีของ
การดำรงเผ่าพันธุ์ในถิ่นป่า 'มาลา คำจันทร์' ได้สะท้อนวิถีชีวิตของผู้คนกลุ่มเล็ก ๆ ที่บ้านห้วยตอง
ตำบลแม่วิน อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ไว้ในวรรณกรรมเยาวชน 'หมู่บ้านอาบจันทร์' เล่า
เร่ืองราวของการจบั กบเขยี ดในช่วงก่อนการหวา่ นไถ ไวว้ า่

ฝนต้นฤดูร่วงราย กบเขียดที่ขดตัวจำศีลในหลืบลกึ มาเนิ่นนานเร่ิมออกล่า นุโพสะพายทีลูทอ
คล้องไหล่รดั กุม ในมือมสี นน้ำมันติดไฟกำหนงึ่ นอกท่งุ มีดวงไฟวูบ ๆ เป็นจดุ ๆ แลลานตา ไกลออกไป
ในความมดื ที่ห่อหุม้ คือแนวเขาตะคุ่มตวั อยู่เลือนลาง ลมเย็นหอบเอาความชุ่มช้ืนมาชื่นฉ่ำ ดินใต้อุ้งเท้า

ไต้ น้ำมนั ยางและเรอ่ื งเลา่ จากแสงไต้ โดย ปราณ ปรีชญา ๒๖

หมาดน้ำนุ่มนิ่ม ยังหรอก...การทำนายังไม่เริ่มเพราะต้องรอให้ดินอุ้มน้ำจนอิ่มตัวเสียก่อน ดินมันแห้ง
แตกระแหงมานานวัน นำ้ ฝนท่หี ลน่ มาจงึ ถกู มันดดู ซมึ หายลงไปเสยี หมด

เด็กชายส่องไฟเรี่ย ๆ ลงแทบจะติดพื้น ฝนลงแรก ๆ เขียดทรายจะร้องระงมทุ่ง เขียดทราย
ตัวเล็ก ๆ ขายาวเหยยี ด เนอ้ื มันกินอร่อยเพราะไม่คาวจัดเหมือนเขยี ดป่าชนิดอื่น มันหมอบกระแตติด
ดินเหน็ แตค่ างขาว ๆ คว้าหมบั หยอ่ นลงทลี ูทอ แล้วกราดไฟไล่หาอีก

“นโุ พ!”
เด็กชายครางหือแล้วเอามอื พรางไฟ หมอ่ เงพอน่ันเอง
“แกออกมานานแล้วหรือ เงพอ?”
“เพง่ิ ออก แกกส็ ่องเขยี ดเหมอื นกนั หรือนุโพ?”
“ทำไมละ่ ”
“ไมร่ ูแ้ หละ่ ” หมอ่ เงพอหวั เราะเบา ๆ “ขา้ วา่ คนอยา่ งแกไม่จำเป็นต้องหาเขียดกินก็ได้ พ่อแก
มเี งิน”
“ไม่นะ พ่อข้าไม่มีเงินหรอก” นุโพขมวดคิ้ว “คนมีเงินควรจะเป็นหน่อบูเงป่า หรือปู่แก
มากกว่า ไมใ่ ชพ่ ่อข้า”
ลมเย็นหอบเอากล่นิ ดอกไม้มาเบาบาง เงพอไม่ต่อคำว่าอยา่ งไรหากแต่ส่องไฟเลยี ดดิน ไฟสอง
ดวงจึงก้ม ๆ เงย ๆ แยกย้ายจากกัน ตา่ งมไี ฟในมือคนละดวง ถอื คบคนละท่อน บางคร้งั ดวงไฟก็หันเห
เข้าหากัน บางทีก็หนีห่างกันแล้วแต่เขียดทรายจะชักนำไปหนใด [มาลา คำจันทร์, ๒๕๓๕, น.๘๘–
๙๐]

• ไต้ น้ำมนั ยางของภาคกลาง

ไต้ ของภาคกลางมีวิธีทำไม่ต่างจากของภาคอื่น นอกจากวัสดุที่นำมาใช้เป็นส่วนผสมและหอ่
ลำไต้นั้นอาจจมีแตกต่างไปบ้างตามที่หาได้ในท้องถิ่น คือ ใช้ไม้ผุที่ย่อยให้เป็นชิ้นละเอียดคลุกกับ
น้ำมันยางปนั้ เปน็ แท่งทรงกระบอกหรืออาจเป็นทรงกระบอกทคี่ ่อนไปทางแบนบ้างเล็กน้อย ขนาดส้ัน
หรือยาวตามต้องการ [ประมาณ ๑–๑ ๑/๒ ฟุต] แล้วห่อด้วยใบเตย กาบหมาก ใบตาล ใบลาน หรือ
เปลือกเสม็ด เปน็ ต้น มัดด้วยตอกเปน็ เปลาะ ๆ เรียกกนั ว่า 'ลูกไต'้ ท่รี ูจ้ ักและนิยมกันมากคือ 'ไตเ้ สม็ด'
ทำจากเปลือกเสม็ดแล้วเอาเปลือกเสม็ดหรือสิ่งอื่น ๆ ห่อมัด ถ้าไต้ที่มัดเหลือตอนปลายเป็นหางไว้ก็
เรยี กว่า 'ไตห้ าง' สว่ น 'ไต้ชนั ' นน้ั ไมค่ ่อยนยิ มใช้กนั เพราะแสงไฟไม่ค่อยสว่าง ต้องคอยเข่ียข้ีไต้บ่อย ๆ
และดับง่าย บางแห่งใช้ไม้ผุคลุกน้ำมันยางยัดลงไปในกระบอกไม้ไผ่ เรียกว่า 'กระบอก' หรือ 'ไต้
กระบอก'

ไต้ น้ำมันยางและเรื่องเล่าจากแสงไต้ โดย ปราณ ปรชี ญา ๒๗

ชาวตะวันตกชาติต่าง ๆ ที่เข้ามาค้าขายกับชาวสยามได้บันทึกเรื่องวิถีความเป็นอยู่ของผู้คน
และสภาพบ้านเมืองไว้หลายช่วงเวลา ดังเช่น จอร์จ วินด์เซอร์ เอิร์ล [George Windsor Earl]
นักเขียนและเป็นนักเดินเรือชาวอังกฤษ เดินทางเข้ามากรุงเทพฯ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระน่ัง
เกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ พร้อมกับ โรเบิร์ต ฮันเตอร์ [Robert Hunter] พ่อค้าชาวอังกฤษ ซึ่งนาย
ฮันเตอร์เคยตั้งร้านค้าอยู่ท่ีกฎุ ีจีนมาก่อนหนา้ นี้ [คนไทยเรียกว่า ห้างหันแตร ต่อมาได้รับพระราชทาน
โปรดเกล้าฯ เป็นหลวงอาวุธวิเศษประเทศพานิช] หลังจาก จอร์จ วินด์เซอร์ เอิร์ล เดินทางกลับ
ประเทศอังกฤษ ต่อมาในปีพุทธศักราช ๒๓๘๐ เขาได้เขียนหนังสือเรื่อง The Eastern Seas, or
Voyages and Adventures in the Indian Archipelago in 1832–33–34 บันทึกเรื่องราวการ
เดินทางไปสู่สยาม–กรุงเทพฯ และดินแดนในแถบนี้ บันทึกของจอร์จ วินด์เซอร์ เอิร์ล เล่าเหตุการณ์
ของการเดินทางจากเมืองสงขลามุ่งหนา้ ขนึ้ สู่กรงุ เทพฯ เมื่อเรือได้แวะจอดทีป่ ากนำ้ เมอื งสมุทรปราการ
และมกี ารใชค้ บไฟทำด้วยกระบอกไม้ไผใ่ นขณะน้ัน ดงั นี้

“...หลังเที่ยงคืนเล็กน้อยเมื่อน้ำขึ้นเราก็ได้ออกเดินทางต่อไป ถังใส่น้ำกินของเราวางไว้อย่าง
ไม่ระมัดระวังทำให้น้ำไหลออกจนหมด และน้ำในแม่น้ำก็เค็มมาก เรือของเราได้แล่นเข้าไปใกล้เรือ
คา้ ขายเลก็ ๆ ลำหนึ่งซง่ึ จอดอยู่ ด้วยประสงคจ์ ะไดเ้ รื่องราวท่ีนา่ พอใจมาบ้าง ลูกเรือชาวชวาของเราก็
ไม่รู้จักภาษาไทยดีไปกว่าข้าพเจ้า ดังนั้นเราจึงสื่อความหมายกันไม่ได้ว่าเราต้องการอะไร ต่อมา
ข้าพเจ้าได้ทราบจากมิสเตอร์ฮันเตอร์ว่า คำว่า ปากน้ำ [Paknam] นั้นมีความหมายว่า 'ปากของ
แม่น้ำ' และด้วยความหมายนี้ได้ชว่ ยให้ผู้ฟังในเรือลำนัน้ เข้าใจความต้องการของเรา และได้จัดเตรียม
คบเพลิงทท่ี ำจากกระบอกไม้ไผ่ให้เรา หนุม่ สองคนซึ่งอยใู่ นเรือสยามตรงกราบเรอื ทีข่ ้าพเจ้ายึดอยู่น้ันมี
ท่าทางตกใจ เมื่อแสงไฟจากคบเพลิงส่องให้เห็นว่าพวกเขาอยู่ใกล้คนยุโรปคนหนง่ึ หนุม่ ท้ังสองค่อย ๆ
ถอยหนีและแอบมองมาที่พวกเรา จนพวกเขาถอยไปอยู่ใตห้ ลังคาเรือ แต่พวกเขาก็มิได้มีท่าทางวา่ จะ
ใยดขี ้าพเจ้ามากนัก แมว้ า่ พวกเขาจะมีท่าทางหวาดระแวงพวกเราแต่เขากส็ ่งนำ้ ให้พวกเรา ขา้ พเจ้าจึง
ส่งผ้าเช็ดหน้าสีแดงซึ่งเป็นผา้ ฝ้ายให้เปน็ การตอบแทนโดยมิได้มีการพูดจาหรือโต้ตอบกัน การกระทำ
ดังกล่าวดำเนินไปอย่างเงยี บสงบ แล้วเราจึงออกเรอื และเดินทางต่อไป...” [กรมศิลปากร, ๒๕๕๕, น.
๑๒๐–๑๒๑]

การเจาะน้ำมันยาง มีวิธีการทำเหมือนกับภาคอื่น ๆ สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคกลาง
อธิบายวธิ ีการเจาะนำ้ มันยางไว้ดังน้ี

“...การทำน้ำมันยาง ผู้ทำไต้จะต้องเสาะหาต้นยางขนาดใหญ่ ใช้มีดหรือขวานเจาะบริเวณ
โคนต้นยางสูงจากพื้นประมาณครึ่งเมตรถึงหน่ึงเมตร เรียกว่า 'บ่องยาง' โดยบ่องให้ลึกถงึ เนือ้ ไม้ขนาด
กว้างยาว ๒–๔ ฟุต น้ำยางจะไหลออกมาใช้ไฟสุมในรูที่บ่องไว้จนน้ำยางสุกกลายเป็นน้ำมันยาง...”
[ทองใบ แทน่ มณี, ๒๕๔๒, น.๒๔๑๐]

ไต้ น้ำมันยางและเร่ืองเลา่ จากแสงไต้ โดย ปราณ ปรชี ญา ๒๘

เรอ่ื งตน้ ไมท้ ใ่ี ห้นำ้ มนั และวธิ กี ารเจาะน้ำมนั มีชาวยุโรปบนั ทกึ ไวว้ ่า
“...น้ำมนั ตน้ ไมเ้ ป็นนำ้ มันที่มีมากที่สดุ ตน้ ไมท้ ีอ่ อกน้ำมัน เป็นตน้ ไมต้ ้นโต ๆ เน้ือไม้สแี ดงแกม
สีน้ำตาลอ่อนและอยู่ไม่นาน เพื่อจะได้น้ำมันจากต้นไม้ ต้องทำเหมือนกับต้นยางเชเรียง คือ เจาะรูที่
โคนต้นไมล้ กึ เขา้ ไปประมาณสามสีน่ ิว้ แล้วจดุ ฟางกำมือหน่ึงก็จะทำให้น้ำมันไหลออกมาในกระบอกไม้
ไผ่ ต้นไม้ชนดิ น้มี อี ยทู่ วั่ ไปในป่า...” [กรมศลิ ปากร, ๒๕๕๙, น.๑๒๙]

หมายเหตุ
เชเรียง [Cherian] ฟรองซัวส์ อองรี ตุรแปง อธิบายว่าเป็นน้ำยางท่ีออกจากต้นไม้ใหญ่ชนิด

หนึ่ง เนื้อไม้งามมากและสีแดงเข้ม ยางที่ออกมาเป็นสีน้ำตาล และเปลี่ยนเป็นสีที่ต้องการได้โดยง่าย
[ปอล วาเวียร์ ผู้แปล ไม่ทราบความหมายว่า เชเรียง หมายถึงต้นอะไร เข้าใจว่าเป็นภาษาไทยในสมยั
นน้ั และฟรองซวั ส์ อองรี ตุรแปง เรียกทับศพั ทแ์ ตเ่ รียกผิดเพยี้ นจนไม่เข้าใจความหมาย]

• ไต้ น้ำมันยางของภาคตะวันออก

บันทกึ การเดนิ ทางของอ็องรี มโู อต์ [Henri Mouhot] เมอื่ เดินทางมาสำรวจถ้ำท่ีเขาสระบาป
บริเวณบ้านคมบาง เมืองจันทบูร ช่วงรอยต่อระหว่างปีพุทธศักราช ๒๔๐๑–๒๔๐๒ ตามศักราชของ
ไทยในขณะน้นั ท่นี บั วนั เปล่ียนศกั ราชใหม่เปน็ วันตรุษสงกรานต์

“...ข้าพเจ้าบอกตัวเองไว้นานแล้วว่าจะไปเที่ยวถ้ำบริเวณเทือกเขาสระบาปที่คั่นอยู่ระหว่าง
เมอื งจนั ทบรู กบั คมบาง วา่ กันวา่ ถ้ำแห่งนนั้ ลึกยาวขึ้นไปจนถึงยอดเขานั่นเลยเทยี ว ข้าพเจ้าเตรียมของ
ที่จำเป็นไปครบครันแล้วออกเดินทางพร้อมกับไพรและเนีย้ ว พอถึงปากถ้ำเราก็จุดคบไฟ เริ่มไต่ระดบั
โขดหินแกรนิตใกล้ปากทาง แล้วเดินเข้าถ้ำลึกลงไปเรื่อย ๆ ปรากฏว่าฝูงค้างคาวนับพัน ๆ ตัวตื่นแสง
ไฟ พากันมาบนิ วนรอบ ๆ กระพือปกี พ่บึ พับ่ ใสห่ นา้ ทำเอาคบไฟเราดับ ไพรเดนิ นำหนา้ ใชห้ อก อาวุธ
ค่กู ายทำเป็นไม้เทา้ หยั่งระดบั พื้น เดินกันไปอย่างนี้ได้ประมาณร้อยกา้ ว จู่ ๆ ไพรก็หนั กลบั มาปะทะตัว
ข้าพเจ้า ร้องเสียงหลงด้วยความกลัวสุดขีด “งู! งู! ถอยไป ถอยไป!” ขณะนั้นข้าพเจ้าเห็นงูเหลือมตัว
มหึมาอยู่ห่างออกไปราว ๑๕ ก้าว กำลังชูคอ อ้าปากกว้าง แลบลิ้นออกมา ทำท่าว่าพร้อมจะฉกกัด
หนมุ่ ไพร ปืนยาวที่ขา้ พเจ้าถืออยู่บรรจุกระสุนไว้ในรัง ๒ นดั และอีกรงั หนึ่งเปน็ กระสุนตะกั่วเม็ดใหญ่
ข้าพเจ้าปลดสลักลน่ั ไกไป ๒ นดั รวด เกิดควันหนาทึบหอ้ มล้อมพวกเราจนมองไม่เหน็ อะไรอีกเลย ทาง
ที่ดีที่สุดสำหรับพวกเราคือต้องสู้ไปถอยไป และแล้วพวกเราก็ออกไปตั้งหลักคอยท่าอยู่ที่ปากถ้ำอย่าง
กังวลใจ พร้อมจะสู้กับศัตรูตัวร้ายกาจหากมนั โผล่ออกมาข้างนอก แต่ไม่มีอะไรเกิดขึ้น ไพรคนนำทาง
ที่แสนดแี สดงความกลา้ ใหเ้ หน็ เขาจุดคบไฟข้ึนใหม่ ถือปืนของข้าพเจา้ ทีบ่ รรจกุ ระสุนไว้เต็มกำลัง เดิน
กลับเข้าไปในถ้ำคนเดียวพร้อมเชือกเส้นยาว พวกเราข้างนอกถือปลายเชือกอีกข้างไว้ เตรียมพร้อมจะ

ไต้ น้ำมันยางและเรื่องเล่าจากแสงไต้ โดย ปราณ ปรีชญา ๒๙

ลุยเข้าไปช่วยหากได้รับสัญญาณ ระหว่างช่วงเวลาแสนยาวนานราวกับไม่มีที่สิ้นสุด เรายิ่งวิตกกังวล
หนักขึน้ ...” [อ็องรี มูโอต์, ๒๕๕๘, น.๑๓๓–๑๓๔]

ปีพุทธศักราช ๒๔๑๙ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลา้ เจา้ อยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เสด็จประพาส
เมืองจันทบุรี ทรงพระราชนิพนธ์ระยะทางเสด็จประพาสจันทบุรี ปีชวดจุลศักราช ๑๒๓๘ เมื่อเรือ
อรรคราชวรเดชทอดสมอที่เกาะสีชัง [เมืองชลบุรี] พระองค์มีพระราชประสงค์เสด็จฯ เยี่ยมท้าวเสม
[ท้าวคิรีรักษา] ที่ไร่ทับทิมในหมู่บ้านเกาะสีชัง เนื่องจากในขณะทรงพระเยาว์ได้ตามเสด็จฯ รัชกาลที่
๔ พระราชบิดาเมื่อพุทธศักราช ๒๔๐๐ นั้นทรงมีพระประชวรจึงไม่ได้ตามเสด็จฯ ไปไร่ทับทิม ในการ
เสด็จฯ ครั้งนี้ทรงมีพระราชประสงค์ทอดพระเนตรสภาพหมู่บ้านเกาะสีชังด้วย หลังจากเสด็จฯ กลับ
เป็นช่วงเวลาค่ำ จึงต้องมีไต้ส่องสว่างนำทาง แสดงถึงการใช้ไต้นั้นมีตั้งแต่ชนชั้นระดับสูงลงมาถึง
ราษฎรท่วั ไป ความตอนน้ีทรงพระราชนพิ นธไ์ ว้ว่า

"...ซงึ่ ไปวันนี้ก็ตั้งใจจะไปใหถ้ ึงบ่อน้ำทเ่ี รียกว่าบ่อเงิน ดว้ ยมีคำเลา่ กนั มาวา่ บ่อนี้แต่เดิมไม่เป็น
บ่อ ภายหลังมีผู้ได้ลายแทงว่าเงินมีที่ตรงนั้น จึงมาขุดดูพบเงิน แต่เมื่อจะหยิบเอาเงินมาเงินนั้นก็ล่ัน
ครึดไป ๆ ที่นี้จึงเป็นบ่อน้ำที่ชาวบ้านได้อาศัยอยู่จนทุกวันนี้ เป็นเวลาค่ำเสียแล้ว ไปไม่ทันจึงกลับมา
พระไพรัชกับสรรพ์เพธ ไปด้วยกัน มีไต้ไปรับ ๑๒ ดวง ๑๓ ดวง แล้วกลับมาลงเรือ แต่พระยาภาษน้ัน
อุย้ อา้ ยมาไมท่ ัน เรอื ออกเสยี กลบั มาถงึ เรืออรรคราชเวลายำ่ ค่ำ ๔๐ มนิ ิตเศษ..." [พระบาทสมเดจ็ พระ
จลุ จอมเกลา้ เจ้าอย่หู ัว, ๒๕๑๔, น.๙๗]

พระราชนพิ นธ์อีกตอนหนึง่ ทรงบรรยายถงึ การทำไต้ของเมืองแกลง ไวว้ า่
"...วิธีทำไต้ที่เมืองแกลงมี ๒ อย่าง อย่างหนึ่งทำด้วยเปลือกเสม็ด เอามาทอนให้เท่ากับลำไต้
เมื่อเห็นน้ำมันออกดีแล้วจึงเอาใบไม้สดฟาดปากหลุมให้ไฟดับ แล้วเอาเปลือกเสม็ดอัดไว้ในหลุม
พอสมควรทิ้งไว้สามคืน แล้วจึงไปคัดเอามาแบ่งออกพอลำไต้ใช้ใบกะพ้อห่อนอกมัดเข้าเป็นลำอย่างนี้
เรียกว่าไต้เสม็ด ไต้อีกอย่างหนึ่งนั้นเอาไม้ยางผุ ๆ มาถากให้เท่ากับลำไต้แล้วแช่น้ำมันยาง บางทีก็ห่อ
ใบกะพ้อ บางทีก็ไม่ห่อ เรียกว่าไต้คบ ทนกว่าไต้เสม็ด ได้ซื้อขายกันที่เมืองจันทบุรี ราคามัดหนึ่ง ๒๐
ลำ ๑๐ มัดบาท ปี ๑ ออกจากเมืองจันทบุรีตั้งหมื่นมัดขึ้นไป..." [พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า
เจา้ อย่หู วั , ๒๕๑๔, น.๑๕๘]
หมายเหตุ
ในอดีตเมืองแกลงอยูใ่ นการปกครองของเมืองจนั ทบรุ ี ต่อมาเมอ่ื ปพี ทุ ธศกั ราช ๒๔๕๑ รชั กาล
ที่ ๕ โปรดเกลา้ ฯ ใหโ้ อนไปขึน้ กบั เมอื งระยอง

ไต้ นำ้ มันยางและเร่ืองเล่าจากแสงไต้ โดย ปราณ ปรีชญา ๓๐

เฉลียว ราชบุรี [๒๕๔๙, น.๔๗๓] กล่าวว่า ในอดีตแหล่งผลิตไต้ที่สำคัญของเมืองแกลงอยู่
บริเวณบ้านป่ายุบ คลองเขต ชากนา คลองพลุ เนื่องจากบริเวณดังกล่าวเป็นแหล่งต้นยางขึ้นตาม
ธรรมชาติมพี ้นื ทข่ี นาดใหญ่

ไต้ นับเป็นสินค้าเศรษฐกิจทำรายได้เข้าเมืองจันทบุรีอยู่ไม่น้อยดังเอกสารหอจดหมายเหตุ
แห่งชาติ [ร.๕ ค.๑๔/๕ คลัง เรื่องภาษีอากรต่าง ๆ] รายงานกรณีจีนเฮงเจ้าภาษีไต้ ชัน น้ำมันยาง
จำนวน ๑๒ เมืองไดย้ น่ื เร่ืองราวขอประมูลภาษีไต้ ชนั นำ้ มนั ยาง ปีพทุ ธศกั ราช ๒๔๓๕ เพ่ิมเมืองนอก
พิกัดท้องตราขึ้นอีก ๖ เมือง คือ เมืองชลบุรี เมืองแกลง เมืองตราด เมืองบางละมุง เมืองระยอง และ
เมืองจันทบุรี รวมเป็น ๑๘ เมือง โดยให้เหตุผลว่า ราษฎรในเมืองทั้ง ๖ ดังกล่าวนั้นได้บรรทุกสินค้า
ประเภทไต้ ชัน น้ำมันยาง มาจำหน่ายในกรุงเทพมหานครและส่งออกไปจำหน่ายยังตลาดญวนเป็น
จำนวนมาก

จนั ทบุรี เปน็ เมืองหน่ึงในประกาศเรอ่ื งการเจาะเผาต้นยางทำน้ำมันในมณฑลนครศรีธรรมราช
[เมืองนครศรีธรรมราช เมืองสงขลา เมืองพัทลุง และบริเวณ ๗ หัวเมือง] มณฑลชุมพร [เมืองชุมพร
เมืองหลังสวน เมืองไชยา และเมืองกาญจนดิษฐ์] และมณฑลจันทบุรี [เมืองจันทบุรี เมืองระยอง และ
เมืองตราด] เมื่อพุทธศักราช ๒๔๕๑ เนื่องจากมีการแย่งเจาะต้นยางจนเกิดการทะเลาะวิวาทหลาย
ทอ้ งที่ทำให้ทางราชการต้องเขา้ มาควบคุมและออกขอ้ กำหนดในการเจาะเผาต้นยางต้องขออนุญาตต่อ
กรมการอำเภอกอ่ น [ราชกิจจานุเบกษา เลม่ ๒๕ หนา้ ๑๑๖๔ วนั ที่ ๓ มกราคม ๑๒๗]

ตลาดท่าหลวงถือเป็นย่านการค้าทางน้ำที่สำคัญของเมืองจันทบุรีมาแต่ครั้งโบราณเมื่อมีการ
ยา้ ยศูนยก์ ลางของเมืองจากบ้านหวั วงั ตำบลพงุ ทลาย บนฝ่ังตะวนั ออกของแม่น้ำจนั ทบุรีมาอยู่ฝ่ังตรง

ไต้ นำ้ มนั ยางและเรอื่ งเล่าจากแสงไต้ โดย ปราณ ปรชี ญา ๓๑

ข้ามบริเวณบ้านลุ่ม ซึ่งเป็นที่ราบลาดสูงชัน เหมาะเป็นที่อยู่อาศัยและป้องกันเมือง [กรมศิลปากร,
๒๕๔๔, น.๓๓] เฟรเดอริค อารเ์ ธอร์ นลี [Frederick Arthur Neil] ไดเ้ ดินทางเข้ามายงั ประเทศสยาม
เมอื่ ปีพุทธศักราช ๒๓๘๓ จากน้ันได้ล่องเรือมายังเมืองจันทบุรี เขาเขยี นบรรยายไว้ เมื่อเดินทางมาถึง
ยา่ นทา่ หลวงวา่

"...ในชัว่ ครู่หนึ่งเราก็มองเห็นเจดียว์ ัดท่ีในเมืองจันทบูรณ์ ซึ่งส่องแสงระยิบระยับราวกับเพชร
เมื่อแล่นเรือไปอีกสัก ๕ นาที เราก็มาถึงที่กว้างในแถบนั้น ริมฝั่งสูงกว่าที่อื่น ๆ ที่เราผ่านมา มี
ต้นมะขามอยู่เป็นจำนวนมาก เราเลือกได้ที่ร่ม ๆ สำหรับจอดเรือ..." [กรมศิลปากร, ๒๕๒๕, น.๑๐๖]
บริเวณรอบย่านท่าหลวงในขณะนั้นคือพื้นที่ที่มีการเพาะปลูกอุดมสมบูรณ์ เฟรเดอริค อาร์เธอร์ นีล
บรรยายไวใ้ หเ้ หน็ ภาพชดั เจนว่า

"...มีต้นไมห้ ลายชนดิ ในบรเิ วณนั้นทเี่ ราเอายางจากต้นของมนั ได้ และกเ็ ป็นยางราคาแพง ของ
อยา่ งอน่ื ก็มีการบูร กำยาน เครื่องเทศต่าง ๆ ดว้ ยเหตุน้ีแถวนี้จึงไม่มีการเลยี้ งวัวกันเลย เพราะกลัวจะ
ไปเหยยี บยำ่ ต้นไม้พวกนี้เขา้ โดยเฉพาะต้นอ่อน ๆ ท่ียังไมไ่ ด้เอาไปปลูก ฉะนน้ั ยามจึงยอมให้แต่ลูกม้า
เขา้ ไปกินหญา้ ในแถบนี้ แต่ก็ผูกขาข้างขวาของมันเอาติดไว้กับตอไม้เพื่อให้มนั ไปไดร้ อบ ๆ เท่าที่ผูกไว้
เทา่ นน้ั ..." [กรมศิลปากร, ๒๕๒๕, น.๑๐๖]

ไต้ นำ้ มันยางและเรอ่ื งเล่าจากแสงไต้ โดย ปราณ ปรชี ญา ๓๒

[๔] ไตแ้ ละน้ำมันยางของชาวชอง

ไต้และน้ำมันยาง ถือเป็นสินค้าที่จำเป็นทุกครอบครัวและเป็นสินค้าขายดีอย่างยิ่งในยุคสมัย
หนึ่ง สินค้าที่ออกมาจากป่าตอนเหนือของเมืองจันทบุรีนอกจากจะมีเรว่ กระวาน หวาย หนังสัตว์ ไม้
หอม ชัน สมุนไพร แล้วยงั มไี ต้และน้ำมันยางรวมอยู่ดว้ ย

"ไต้นี่มีเท่าไร มีคนเหมาหมด เจ๊มะลิจะมารอท่ี
ท่าหลวงรับซื้อหมด ไปส่งทุกเที่ยวมีไม่พอ" สุขสวัสด์ิ
ฉัตรเงิน ลกู หลานชาวชองโดยกำเนิด ผ้ยู ดึ อาชีพทำสวน
ผลไม้และรับมรดกวิชาทำไต้ตกทอดสืบต่อกันมาจาก
ชองร่นุ พอ่ แม่ เลยข้นึ ไปถงึ ปูย่ า่ ตายาย

"คนชองจะเรียกว่า 'ไต้ไม้พุก' ลำขนาด ๑ ศอก
ผู้ชาย ส่งลำละ ๑๐ บาท เป็นราคาส่งในสมัยนั้นนะ
สว่ นเขาจะไปขายเทา่ ไรนผ่ี มไมร่ ู้"

สุขสวัสดิ์ เกิดเมื่อ ๑๒ มิถุนายน พุทธศักราช
๒๕๐๗ ปัจจุบันอายุ ๕๗ ปี [พุทธศักราช ๒๕๖๔] ที่
บ้านตะเคียนทอง [คนชองออกเสียง 'ตะเคียนทอง' ว่า:
ซุกว่ายกะท่อง] บรรพบุรุษชองสมัยที่เขาถือกำเนิดยังมี
อาชีพหาของบตัวป่าในแถบเทือกเขาตะเคียนทองมา
ขายยังตลาดในเมอื งจันทบุรี [คนชองออกเสยี ง 'จันทบุรี' ว่า: จนั กะบูย]
"สมัยรุ่นพ่อแม่ผมยังไม่มีรถยนต์ การเดินทางไปตลาดในเมืองคือต้องใช้เกวียน เกวียนนี่ใช้
ควายเทียม ๑ คู่ คนชองไม่เลี้ยงวัว เลี้ยงควายไว้ไถนาแล้วก็เทียมเกวียนด้วย" [คนชองออกเสียง
'ควาย' วา่ : กะปาว, 'เกวยี น': กะแทฮ่ ]
ชาวชอง [Chong] เป็นกลุ่มชาติพันธุ์พื้นเมืองที่มีวิถีชีวิตในการตั้งถิ่นฐานอยู่รวมกันเป็นกล่มุ
และใช้ชวี ิตผูกพนั อย่กู ับธรรมชาตริ อบตวั
“...พวกชองในปจั จุบันต้ังภูมลิ ำเนาทำมาหากินอย่ใู นป่าซง่ึ อยู่ตดิ กับเขตแดนเมืองพระตะบอง
ประเทศเขมร มภี าษาพูดอย่างหนง่ึ ตา่ งหากจากภาษาเขมรและไทย นกั ปราชญ์ในทางมานุษยวิทยาได้
จดั ให้อยใู่ นจำพวกตระกลู มอญเขมรเชน่ เดียวกบั พวกขอมโบราณเหมือนกนั พวกชองชอบลูกปัดสีต่าง
ๆ และใช้ทองเหลืองเป็นเครื่องประดับเหมือนอย่างเช่นพวกกะเหรี่ยงที่อยู่ในเขตเมืองกาญจนบุรี
เข้าใจวา่ เดมิ ทเี ดียวชนพวกน้ี คงจะตั้งถิน่ ฐานบา้ นเรือนอยู่ตามท้องทต่ี ่าง ๆ ในเขตเมอื งจันทบุรีเต็มไป

ไต้ น้ำมนั ยางและเรือ่ งเล่าจากแสงไต้ โดย ปราณ ปรชี ญา ๓๓

หมด เพิ่งจะถอยร่นเข้าป่าเข้าดงไปในเมื่อไทยมีอำนาจเข้าครอบครองเมืองจันทบุรีในสมัยกรุงศรี
อยุธยาน่ีเอง...” [ตรี อมาตยกุล, ๒๕๒๐, น.๑๐]

ยอ้ นไปเมอ่ื กอ่ นพุทธศักราช ๒๕๐๐ ชาวชองในตำบลตะเคียนทอง อำเภอเขาคิชฌกฏู จะเดนิ
ทางเข้าตัวเมืองจันทบุรีโดยขบวนควายเทียมเกวียน เดินทางไป
กันเป็นกลุ่มใช้เส้นทางบกออกจากบ้านตะเคียนทองในช่วงบ่าย
เส้นทางลัดเลาะไปตามลำน้ำ อาทิ คลองกระสือน้อย คลอง
เจริญ คลองตะเคียน และจะไปถึงทุ่งสนม [บริเวณโรงพยาบาล
เขาคิชฌกูฏในปัจจบุ ัน] เวลาเยน็ จวนคำ่ กจ็ ะหยุดพักหุงข้าวปลา
อาหารและนอนค้างแรมกันท่บี ริเวณน้ี
"...เชา้ วนั รงุ่ ขึ้นกเ็ ดนิ ทางต่อไปถึงเมืองจนั ท์ก็จะหยุดพัก
แรมกันแถวบ้านลุม่ [บริเวณพื้นที่ตั้งของเรือนจำจังหวัดจนั ทบรุ ี
เดิม/ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของสำนกั งานยุติธรรมจังหวัดจันทบุรี] รุ่ง
ขึน้ ก็เอาของไปขายที่ตลาดท่าหลวง..."
การเดินทางด้วยเกวียนใช้เวลาเดินทางไป–กลับรวม

๕–๖ วัน ขากลับชาวชองก็จะซื้อเสบียงจำพวกกะปิ น้ำปลา เกลือ พริก หอม กระเทียม และที่ขาด
ไม่ได้คือ 'เปลอื กเสม็ด' ซ่งึ เป็นวัสดสุ ำคญั ในการทำไต้เสมด็

"...เปลือกเสม็ดนี่จะเอามาฉีกเป็นฝอย ๆ คลุกกับขี้โล้ ไม้พุก หมักหม่าไว้ให้น้ำมันซึมจนท่ัว
เอาไปแผ่ให้แห้ง แล้วมัดด้วยใบกะพ้อเป็นปล้อง ๆ ใบกะพ้อหาได้ตามตีนเขา..." เฉลียว วรรณภักดี
อายุ ๗๒ ปี [เกิดปีพุทธศักราช ๒๔๙๒] เล่าประสบการณ์สมัยเมื่อยังเด็กและต้องช่วยพ่อ–แม่ทำไต้
เสมด็ เปน็ อาชพี เสรมิ ของชาวชอง บ้านตะเคยี นทอง

ดาว ฉัตรเงิน อายุ ๕๖ ปี [เกิดพุทธศักราช ๒๕๐๗] บอกว่าสืบทอดความรู้การทำไต้มาจาก
คนรุน่ พอ่ –แม่ แต่มาทำเมอื่ อายุได้ ๑๒ ปใี นสมยั ทีม่ รี ถโดยสารวงิ่ จากจันทเขลมไปตัวเมืองจันทบุรีแล้ว
การเดนิ ทางไปส่งไตจ้ งึ ไมล่ ำบากเหมอื นสมยั คนรุ่นก่อน

การทำไต้ไม้พุกนั้นวัสดุสำคัญคือ ต้องเตรียมหาไม้พุกให้ได้ก่อน 'ไม้พุก' ความหมายของคน
ชองนน้ั คือ ขอนไมย้ างทลี่ ม้ ตายแล้ว

"...มีทั่วไปในป่า เมื่อเจอขอนไม้ล้มก็เคาะฟังเสียง ไม้พุกเวลาเคาะจะมีเสียงดังตุ้บ ๆ..." ดาว
เล่าวิธีหาและทำไม้พุกของคนชอง "...ใช้ขวานเฒ่าถากเปลือกออก แล้วใช้มีดเล็กแซะขอนไม้ตัด
ออกเป็นท่อน ๆ บางคนก็ใช้เลื่อยให้เป็นท่อนสี่เหลี่ยมขนาดนิ้วครึ่ง ยาวหนึ่งศอก [ยาวประมาณ ๖๐
เซนตเิ มตร]..."

เมื่อไดไ้ มพ้ ุกจำนวนหนง่ึ ตามขนาดของไมข้ อน กน็ ำมาผึ่งแดดให้แห้ง

ไต้ นำ้ มนั ยางและเรอื่ งเล่าจากแสงไต้ โดย ปราณ ปรชี ญา ๓๔

"...ไม้พุกทำให้น้ำมันยางซึมเข้าเนือ้ ไม้ได้ดีกว่าไม้ชนิดอื่น การทำให้ไม้พุกแห้งเร็วนั้น คนชอง
จะนำมาย่างไฟ แล้วนำมาเหลาลบเหลีย่ มให้กลมเป็นท่อน ขอนไม้ขนาด ๒ คนโอบ [เส้นรอบวงตน้ ๒
วา] จะทำไมพ้ กุ ไดป้ ระมาณ ๒๐๐ ทอ่ น..."

การหาต้นยางเพือ่ เจาะน้ำมนั นนั้ ดาวอธิบายวา่
"...หาต้นยางใบเกลย้ี งล่ืน นำ้ ยางจะออกดี ต้นยางตามภูเขาจะมีเยอะ แตจ่ ะมเี ฉพาะบางลกู ๆ
กไ็ ม่มี ต้นยางก็ตอ้ งเลือกขนาดสองคนโอบถึงจะบ่องได.้ ..”
'บ่อง' [ภาษาชองมีความหมายเดยี วกับภาษาอีสาน] คอื การเจาะรูเน้อื ไม้บริเวณเหนือโคนของ

ต้นยางให้เป็นหลุมสำหรบั ไว้พักนำ้ ยางหรือแชไ่ ม้พุก
“...เวลาบ่องก็ใช้ขวานอีลู [ขวานปูลู] บ่องต้น

ยางให้เป็นหลุมขนาดกว้างหนึ่งศอกพอที่จะใส่ไม้พุกเข้า
ไปจุ่มน้ำมันยางในหลุมได้ประมาณ ๖ ถึง ๑๐ ท่อน
แลว้ แตข่ นาดของตน้ ยาง..."

ต้นยางที่ถูกเจาะหลุมครัง้ แรกนั้น สุขสวัสดิ์บอก
ว่าไม่ตอ้ งจุดไฟเผา น้ำมนั ยางจะไหลออกมาเองแล้วลงไป
พักอยูใ่ นหลมุ ท่ีเจาะหรอื บ่องไว้

"...บ่องเสร็จก็เอาไม้พุกแช่ทิ้งไว้เลยสัก ๑๐ คืน
พอได้เวลาก็เอาไม้พุกชุดใหม่ไปแช่แทน แต่คราวนี้ต้อง
จดุ ไฟเผากอ่ น..."

การจุดไฟในหลุมนั้นน้ำมันยางจะลุกติดไฟเพื่อ
รมเนื้อไม้ยางสัก ๓–๕ นาทีแล้วใช้กิ่งไม้ที่มีใบด้วยสัก
หนึ่งกำมือมาตีไฟให้ดับ จากนั้นก็กวาดขี้เถ้าและเศษผงในหลุมออกให้หมดเพื่อนำไม้พุกชุดใหม่แช่ใน
หลมุ ท้ิงไว้ ๗–๑๐ คืนเชน่ เดียวกัน
"...คนชองที่ไปทำไต้ในสมัยก่อนนั้นไปกันเป็นสิบครอบครัว เตรียมเสบียงข้าวปลาอาหารไป
ดว้ ย พอถึงบนเขาก็แยกย้ายกนั ไปทำเขตใครเขตมนั คือตน้ ยางท่ีเราเจาะไว้ คนอ่ืนจะไม่มายุ่ง คนชอง
จะเคารพกติกาของใครของมัน เพราะต้นยางมีเยอะ คนหนึ่งใช้ต้นยางทำไต้ก็ประมาณ ๓๐–๕๐ ต้น
แล้วแต่จำนวนไมพ้ กุ ของแตล่ ะคน..."
สังคมคนชองคือเครอื ญาติพี่น้องจึงมีความรักใคร่ชว่ ยเหลือแบ่งปนั ซึง่ กนั และกัน
"...แต่ละวันเม่ือเสร็จงานก็จะกลับมารวมกัน แล้วก็ตั้งวงกินข้าวปลาเฮฮาสนุกสนาน ผมชอบ
นะเวลาไปทำไต้ ไปนอนค้างที่ขนำบนเขาอยู่กับเพื่อน ๆ ไปครั้งหนึ่งก็นอนค้าง ๓–๔ คืนกว่าจะเสร็จ
งาน แล้วก็หาบไม่พุกที่แช่น้ำมันยางแลว้ ลงมาผึ่งต่อทีบ่ ้านให้แห้ง เก็บรวบรวมไว้ให้ได้จำนวนพอที่จะ
เอาไปสง่ ขายได้ เดอื นหน่ึงก็ไปทำ ๓ ครัง้ ๑๐ วันคร้งั หนง่ึ ..."

ไต้ นำ้ มนั ยางและเรือ่ งเลา่ จากแสงไต้ โดย ปราณ ปรชี ญา ๓๕

นอกจากกติกาที่คนชองรุ่นปู่ย่าตายายสั่งสอนลูกหลานชองให้เคารพพื้นท่ีทำกินของแต่ละคน
แล้ว อีกข้อหนึ่งที่สำคัญมากคือ การทำไต้นั้นต้องจุดไฟเผาต้นยางเมื่อจุดไฟแล้วต้องดับให้เรียบร้อย
ไม่ให้มีเชื้อไฟหลงเหลืออยู่ มิฉะนั้นไฟจะไหม้ป่าทำลายแหล่งทำมาหากินทำใหท้ ุกคนเดือดรอ้ นได้ คำ
สอนนด้ี าวบอกให้ฟังว่า

“...คนชองร่นุ กอ่ นจะสอนว่าใตต้ น้ ยางนนั้ ต้องกวาดให้เตียนไมใ่ หม้ เี ศษใบไม้ กิ่งไม้แห้งทจี่ ะติด
ไฟได้ ถา้ เศษไฟจากต้นยางหล่นมาจะได้ตกลงดนิ แล้วก็ดับเองไม่ไปติดเศษใบไม้แห้ง...”

ปัจจุบันไต้นั้นหมดความนิยมและเลิกใช้แล้ว
เนื่องจากมีไฟฟ้าให้แสงสว่าง และการก่อไฟหุงต้มก็ใช้
เตาแกส๊ เตาไฟฟา้ แทน ไมต่ อ้ งยุ่งยากเหมอื นเช่นอดตี

"...ประมาณปี ๒๕๔๔ ทำไต้ไปส่งแล้วขาย
ยาก คนไม่ซื้อใช้แล้วผมก็เลยเปลี่ยนมาทำน้ำมันยาง
แทน..." สุขสวัสด์ิ รำลึกความหลังใหฟ้ ัง

จากการสำรวจร้านค้าในตลาดอำเภอ
เขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี เมื่อวันที่ ๑๙ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๖๔ พบว่าร้านป้าแต๋ว ยังมีไต้
แบบแทง่ และแบบอดั เมด็ จำหน่ายอยู่

ไต้ น้ำมนั ยางและเร่อื งเล่าจากแสงไต้ โดย ปราณ ปรชี ญา ๓๖

"...มีคนมาส่ง แต่ไม่ใช่ของทำที่จันท์แล้วนะ มาส่งครั้งหนึ่งก็หายไปนานเพราะขายไม่ค่อยได้
นาน ๆ จงึ สั่งมาสักครัง้ หนึ่ง แต่ก็ยงั มีคนมาซือ้ ไปใชน้ ะเอาไปจุดเตา มไี มบ่ ่อยขายไม่ค่อยดี..."

ร้านวริ ยิ ะ ตำบลตะเคียนทอง ใหข้ ้อมลู ว่า
"...เดี๋ยวนี้ไม่มีแล้ว คนที่ทำก็ตายไปหมดแล้วเมื่อก่อนคนที่ทำชื่อเติบ จะทำแบบเป็นชิ้น ๆ
ส่วนคนทีท่ ำเปน็ มดั ปล้อง ๆ บ้านจะอยู่แถวหลงั โรงเรียนตะเคียนทอง แต่ตอนนี้ไม่มีใครทำเพราะไมม่ ี
คนใช้แลว้ ..."
เฉิน ผันผาย อายุ ๗๑ ปี [เกิดเมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๙๔] ผู้อาวุโสชาวชองและอดีตกำนัน
ตำบลคลองพลู เลา่ ประสบการณ์คราวเข้าปา่ ไปช่วยพ่อ–แมบ่ ่องน้ำมนั ยางเม่ือ สมัยน้นั การบ่องตน้ ยาง
ไม่ไดท้ ำบรเิ วณโคนตน้
“...สมัยที่ผมไปช่วยพ่อแม่ทำน้ำมันยางต้องปีนขึ้นไปบ่องบนค้างต้นยาง [ขัดห้างที่พักบน
ต้นไม้] ลำบากมากเพราะมันมีที่แคบ ๆ และสูง ไม่ได้อยู่บนพื้นดิน ต้องระวัง ดีไม่ดีตกต้นยางได้ สมัย
นั้นปา่ ยงั รกสัตว์ดุร้ายยงั ชุม เสอื ก็มีถึงตอ้ งขึน้ ไปทำบนคา้ ง...” [เฉิน ผันผาย, สัมภาษณ์ ๒๔ กมุ ภาพนั ธ์
๒๕๖๕]

ไต้ น้ำมันยางและเร่ืองเล่าจากแสงไต้ โดย ปราณ ปรีชญา ๓๗

ชาวชองท่ีเคยทำไต้ขายเปน็ ล่ำเป็นสนั ตอ่ มาต้องเปลี่ยนไปทำน้ำมันยางอย่างเดียว หรือทำไต้
ไวใ้ ชใ้ นเฉพาะครวั เรือน เนื่องจากในเมืองจันทบุรีมีไฟฟ้าใช้แลว้

"...ประมาณปี ๒๕๔๔ ทำไต้ส่งไปแล้วขายยาก คนไม่ค่อยซื้อใช้แล้ว ยอดขายไม่ค่อยดีผมก็
เลยเปลย่ี นมาทำน้ำมันยางแทน..." สขุ สวสั ดิ์ ฉัตรเงิน ชาวชองตำบลคลองตะเคียนผู้รับช่วงสืบทอดการ
ทำไต้น้ำมันยางมาจากบรรพบุรุษชองตัง้ แต่เขายังเด็ก เมื่อไต้ไม้พุที่เคยทำมานั้นในสมัยตอ่ มามีการใช้
นอ้ ยลงเรอื่ ย ๆ จงึ หนั มาทำน้ำมันยาง สุขสวสั ด์เิ ลา่ ให้ฟงั ต่อวา่

"...นำ้ มันยางน่ีทำได้เท่าไรก็ไมพ่ อ มคี นมารับซ้ือถึงท่ีบา้ น ราคาก็ดีดว้ ย..."
สุขสวัสดิ์ อธิบายให้ฟังว่าเมื่อขึ้นเขาตะเคียนทองไปเจาะน้ำมันยางเขาจะใช้กระติกขนาด
ความจุ ๕ ลิตรร้อยใส่หาบไปครั้งละ ๒๐ ใบ แล้วไปวางไว้ตามต้นยางเพื่อไว้ใส่น้ำมันที่ตักมาจากหลุม
ต้นยาง จากน้ันกจ็ ะรวบรวมไปไว้ทข่ี นำ [เพิงพักบนเขา] กอ่ นทจี่ ะหาบลงมาท่บี ้าน
"...น้ำมันยางที่ได้ก็ต้องมาใส่ไว้ในถัง ๒๐ ลิตร ๒ ใบ แล้วก็หาบลงมา เอามากรองใส่ในถัง
๒๐๐ ลติ รหลงั บ้าน แลว้ ก็ไปเก็บมาใหม่ จนได้มากพอก็เตรียมขาย..."
ราคาขายส่ง [รบั ซอ้ื ] ในขณะนนั้ [ประมาณพุทธศกั ราช ๒๕๔๔] ลิตรละ ๔๐–๕๐ บาท เทียบ
กับราคาขา้ วสารอย่างดีถงั ละ ๓๐–๔๐ บาทเทา่ น้ัน และราคารับซอื้ ของพ่อคา้ ก็ปรับเพิ่มข้ึนมาเรื่อย ๆ
ถึงปี ๒๕๕๕ ราคาส่งขายอยู่ที่ลิตรละ ๘๐–๙๐ บาท แต่แล้วสุขสวัสดิ์ก็ต้องยุติการทำน้ำมันยางโดย
สนิ้ เชงิ เม่ือลม้ ปว่ ยและกลา้ มเนอ้ื ขาอ่อนแรง
"...เสียดายทต่ี อ้ งมาเป็นแบบน้ี น้ำมนั ยางราคากำลังข้นึ ดีมาก ช่วงทห่ี ายากราคาข้ึนไปถึงลิตร
ละร้อยก็มี ถ้าผมร่างกายดี ๆ คงจะหาเงินได้มากกวา่ นี้ เพราะเราไม่ต้องไปส่งแลว้ มพี ่อค้ามารับซื้อถึง
บ้าน ทหารเรือเขาต้องใชม้ ากเพราะจะเอาไปผสมชนั สำหรับยาเรือ..."

ไต้ นำ้ มันยางและเรอ่ื งเลา่ จากแสงไต้ โดย ปราณ ปรชี ญา ๓๘

[๕] เร่ืองเลา่ จากแสงไต้

สังคมชนบทหลังพลบค่ำก่อนที่จะมีไฟฟ้าให้แสงสว่างตามแบบอย่างของสังคมชาวตะวันตก
นั้นชีวิตในยามวิกาลไม่มีกิจกรรมให้กระทำได้สะดวกเฉกเช่นในเวลากลางวัน เนื่องจากอาณาบริเวณ
ถกู ปกคลมุ ดว้ ยความมืดและความเงียบสงัด ลำพังแสงไฟอันน้อยนดิ จาก 'ประทีปตามไฟ' เคร่ืองมือใช้
ส่องสว่างหลากหลายชนิดที่ถูกประดิษฐ์คิดทำขึ้นมาตามยุคสมัยดังเช่น ไต้ ตะคัน เทียนไข ตะเกียง
ฯลฯ มีความสว่างเพยี งพน้ื ที่อันจำกัดไม่สามารถขบั ไล่ความมดื ให้หลุดพน้ ไปท้งั หมดได้ ในความมืดมิด
ของราตรีจึงมองเห็นแสงวอมแวมดวงน้อย ๆ ดุจแสงหิ่งห้อยกระจายเว้นระยะห่างเป็นย่อมย่านตาม
บ้านเรือนในอาณาบริเวณท้องทุ่งไร่นา แต่อย่างไรก็ตามชีวิตยามค่ำในสังคมชนบทก็ไม่ได้สงบนิ่งไร้
ชีวิตชีวาเสียทีเดียว มีเอกสารหลักฐานหลายฉบับที่ระบุว่า 'ความบันเทิงจากประทีปตามไฟ' ใต้ดวง
จันทรา คือ 'พื้นที่' ของการรวมกลุ่มคนในสังคมชนบทท่ีทำให้พวกเขาเหล่านั้นก้าวออกจากบ้านมา
เสพสุขความสำราญไดห้ ลงั หมดแสงสว่างจากดวงสรุ ยิ นั

๏ เร่งเรว็ เถดิ นายไต้ เอาเพลิงใส่เขา้ หนหลัง
สอ่ งแสงอย่าให้บัง จะเล่นให้ท่านท้งั หลายดฯู
ทมี่ า: พากยส์ ามตระ เบกิ หนา้ พระ ความท่ี ๑ ใน ประชุมคำพากย์รามเกยี รติ์ เล่ม ๑ กรมศลิ ปากร

ตรแิ ล้วกลา่ ววาจา แกภ่ ริยาของตนพลนั
พวกสดู เู ยี่ยงกนั กินเพราะชายสบายแด

ไต้ น้ำมนั ยางและเร่ืองเลา่ จากแสงไต้ โดย ปราณ ปรชี ญา ๓๙

ทอหกู แต่ละเสน้ แล่นลอดเล่นเลห่ ร์ า่ งแห

ทำการส่ิงใดแช มเิ ป็นอิมเิ ป็นอัน

แตต่ วั ไปตลาด กรกรายนาดตาเมลยี งมัน

หยบิ ไนจะมาป่ัน หนั สองโกรกโงกคา้ งการ

เชิงชั้นขยันดี ถ้ารวู้ า่ จะมงี าน

มโหรสพในราชฐาน การสมโภชโขนละคร

ยังรุ่งนอนไมห่ ลับ ขยนั ตัวทจ่ี ะจร

ประจุสมัยตน่ื แต่นอน ชวนเพื่อนสาวคราวไปกนั

มโนห์ราลาโรงค่ำ ยำ่ ฆ้องแล้วจงึ มาใน

ล้างมือเปิบขา้ วใส่ จนท้องเต้งเด้งพุงนอน

ท่ีมา: มหาชาดกคำกาพย์ กณั ฑ์ชชู ก ตอนพรามหณ์หนุ่มดุดา่ ภรรยาตน [อ้างจาก ประพนธ์ เรอื งณรงค์

(๒๕๕๙, น.๑๖๐–๑๖๑)]

การจดุ ไต้ใหค้ วามสว่างในยามวกิ าลน้ันมีคำโบราณเรียกว่า 'ไตต้ ามไฟ' คือวถิ ขี องชาวบ้านเมื่อ
ครั้งยังไม่มีไฟฟ้าใช้ซึ่งเป็นพื้นที่ภายใต้แสงไฟจากไต้ก่อเกิดขนบธรรมเนียม ประเพณี ความเช่ือ
แนวคิด อดุ มคติ ความตอ้ งการ ความบันเทงิ ของชาวบา้ นสบื มาและมกี ารเปลยี่ นแปลงไปตามกาลเวลา
อาทิ สำนวน: จดุ ไต้ตำตอ เพลง: นำ้ ตาแสงไต้ รำวง: รำวงเขีย่ ไต้ ประเพณ:ี บุญไต้ประทีป ฯลฯ รวมท้ัง
เรื่องเล่า ตำนาน นิทาน นวนิยายหลากหลายรูปแบบ สิ่งเหล่านี้ล้วนสะท้อนสภาพความเป็นอยู่ของ
ผู้คนในท้องถิ่น อันเป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นสืบเนื่องมาจากภูมิปัญญาของชาวบ้านที่รู้จักการนำวัสดุ
ธรรมชาตมิ าผลิตอปุ กรณ์สอ่ งสว่างในยคุ สมัยไต้ตามไฟ

เรื่องเล่าจากแสงไต้ จึงเสมือนเป็นการรวบรวมและการจดบันทึกสารัตถะภูมิวัฒนธรรมอัน
ทรงคุณค่าต่อการศึกษาในเชิงคติชนวิทยาและขนบนิยมของผู้คนในสมัยโบราณมิให้สูญสลายหายไป
ตามกาลเวลา บุปผา บุญทิพย์ [๒๕๔๗, น.๑๐–๑๑] อ้างถึงประเภทของคติชาวบ้านหรือคติชน
[Folklore] ตามแนวคิดของ แจน ฮาโรลด์ บรุนแวนด์ [Jan Harold Brunvand] ได้จำแนกออกเป็น
๓ ประเภท คือ คติชาวบ้านที่ใช้คำพูด คติชาวบ้านที่ไม่ใช้คำพูด และคติชาวบ้านประเภทผสม มี
รายละเอยี ดพอสงั เขปดงั นี้

๑. คติชาวบ้านที่ใช้คำพูด [Verbal Folklore] คือ คติชาวบ้านประเภทที่ใช้ภาษาหรือคำพูด
ไดแ้ ก่

๑.๑ คำพูดของชาวบ้าน รวมทั้งภาษาถิ่น และการตั้งชื่อของชาวบ้าน [Folk
Speech, Dialects, Naming]

๑.๒ สภุ าษิต และคำกล่าวทเ่ี ปน็ ภาษิต [Folk Proverbs Proverbial Sayings]

ไต้ นำ้ มันยางและเรื่องเล่าจากแสงไต้ โดย ปราณ ปรีชญา ๔๐

๑.๓ ปรศิ นาคำทาย [Folk Riddles]
๑.๔ คำพดู ทีค่ ล้องจองกัน [Folk Rhymes]
๑.๕ เรือ่ งเล่า [Folk Narratives]
๑.๖ เพลงชาวบา้ น [Folk Songs]
๑.๗ เพลงกล่อมเด็ก [Lullaby]
๑.๘ นิทานและขำขนั [Folk Tales and Jokes]
๒. คติชาวบ้านที่ไม่ใช้คำพูด [Non Verbal Folklore] คือคติชาวบ้านที่ไม่ต้องใช้ภาษาพูด
หรือคำพูด ก็สามารถถา่ ยทอดสืบทอดกันได้ การสืบทอดใชว้ ธิ กี ารสังเกต และปฏบิ ัตฝิ ึกฝน ไดแ้ ก่
๒.๑ สถาปัตยกรรมชาวบ้าน [Folk Architecture]
๒.๒ ศลิ ปะชาวบ้าน [Folk Art]
๒.๓ งานฝีมือของบ้าน [Folk Craft]
๒.๔ การแต่งกายของชาวบา้ น [Folk Costumes]
๒.๕ อาหารของชาวบ้าน [Folk Food]
๒.๖ กริ ิยาทา่ ทางของชาวบ้าน [Folk Gesture]
๒.๗ ดนตรีชาวบ้าน [Folk Music]
๓. คติชาวบ้านประเภทผสม [Partly Verbal Folklore or Mix] เป็นประเภทผสมระหว่าง
ชนดิ ท่ตี ้องใช้ภาษาและทา่ ทางประกอบกนั ได้แก่
๓.๑ ความเช่อื และคตใิ นเรอื่ งโชคลาง [Beliefs and Superstitions]
๓.๒ การละเล่นของชาวบา้ น [Folk Games]
๓.๓ การละคร [Folk Dramas]
๓.๔ ระบำรำเตน้ [Folk Dances]
๓.๕ ประเพณพี ืน้ บา้ น [Folk Customs]
๓.๖ งานมหกรรม พธิ ี การฉลองรนื่ เริง [Folk Festivals]

คติชาวบ้าน [Folklore] หรือ คติชนในความหมายปัจจุบัน คือเรื่องราว แนวทาง หรือวิถี
ดำเนนิ ชวี ติ ของกลุ่มชนในถ่ินต่าง ๆ สมยั อดีตทแี่ สดงออกมาดว้ ยถ้อยคำ [Verbal] ไม่ใช่ถอ้ ยคำ [Non
Verbal] และท้ังใชแ่ ละไม่ใชถ่ ้อยคำ [Partly Verbal] อันเป็นเคร่ืองแสดงถงึ ระดับวฒั นธรรม ศีลธรรม
ความเชื่อถือ ความต้องการ แนวคิด อุดมคติ และอื่น ๆ อีกหลายประการ ท่ีได้เล่าปากต่อปากและ
ประพฤติสืบ ๆ กันมาหลายชั่วอายุคนในรูปนิทาน ตำนาน สำนวน ภาษิต คำพังเพย ปริศนาคำทาย
เพลง การละเล่น ศิลปะ สิ่งประดิษฐ์ เป็นต้น จากการศกึ ษารวบรวมสารัตถะจากแสงไต้ พบวา่ มขี ้อมูล
เรื่องราวที่แสดงถึงลักษณะของสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนในถิ่นต่าง ๆ ยุคสมัยหนึ่งซึ่งเกิดข้ึน

ไต้ นำ้ มนั ยางและเรอ่ื งเลา่ จากแสงไต้ โดย ปราณ ปรชี ญา ๔๑

ภายใต้เงื่อนไขบริบททางสังคมและวัฒนธรรมทั้งที่เหมือนและแตกต่างกันในรูปแบบของความเชื่อ
ตำนาน นิทาน วรรณกรรม ดนตรี ประเพณี สิ่งประดิษฐ์ ฯลฯ สามารถนำมาประมวลผลแยกตาม
ประเภทของคติชนโดยใช้เกณฑ์ในการพจิ ารณามีคำว่า 'ไต'้ ในบรบิ ทของ 'เช้ือเพลิงสำหรับจุดให้สว่าง
ทำด้วยไม้ผุคลุกน้ำมันยางหรือชัน ห่อด้วยเปลือกเสม็ดหรือเตยป่า เป็นต้น' สอดแทรกอยู่ในแต่ละ
ประเภทนั้น ๆ แต่ทั้งนี้ได้จัดแบ่งกลุ่มใหม่ออกเป็น ๗ กลุ่มเพื่อให้เห็นทัศนคติ ความคิด ความเชื่อ
ลกั ษณะสภาพชีวติ ความเป็นอยู่ของผคู้ นแต่ละสังคมได้ชดั เจนขึ้น ดังนี้

๑. ความเชื่อ [Beliefs] มีความเช่ือเก่ียวกบั ไต้ คอื
๑.๑ ความเช่อื เรอ่ื งผพี งุ่ ไต้ [หน้า ๔๕–๔๗]
๑.๒ คำทำนายเม่ือฝันเหน็ ไต้ [หน้า ๔๗]

๒. ลัทธิและศาสนา [Doctrine and Religion] ไม่มีเรื่องที่เกี่ยวข้องโดยตรง แต่มีเหตุการณ์
การใชแ้ สงไต้เตอื นใหร้ ะลึกถึงจริยธรรมและศลี ธรรมอันดงี าม

๒.๑ แสงไต้เตอื นพระสติ [หนา้ ๔๘]
๒.๒ จุดไตไ้ ลค่ วามอึมครมึ ของบ้านเมอื ง [หนา้ ๕๑]
๓. ภูมิปัญญา [Wisdom] ไต้ เป็นผลผลิตที่เกิดจากภูมิปัญญาในการจัดทำวัสดุให้แสงส่อง
สว่าง อีกทงั้ ยังมีการนำไต้ไปใช้การอ่นื ๆ อกี หลายอย่าง ดังน้ี
๓.๑ องคค์ วามรใู้ นการทำไต้ชนิดต่าง ๆ

• ไตภ้ าคเหนอื [หนา้ ๕๙]
• ไตภ้ าคตะวนั ออกเฉียงเหนือ [หนา้ ๖๐]
• ไตภ้ าคตะวนั ออก [หน้า ๖๑]
• ไตภ้ าคใต้ [หน้า ๖๑]
๓.๒ องคค์ วามร้ใู นการเจาะน้ำมนั ยาง
• วิธีเจาะต้นยาง [หน้า ๖๓]
๓.๓ องค์ความรใู้ นงานฝมี อื ของชาวบ้าน [Folk Craft]
• ตะคันเสียบไต้ [หนา้ ๖๔]
• รางไต้ [หนา้ ๖๕]
• โฮงกะบอง [หน้า ๖๕]
• ตนี ไต้ [หนา้ ๖๕]
๓.๔ องค์ความรใู้ นการใช้ไต้และน้ำมันยางเพ่ือการอืน่
• ไต้ทำเชื้อก่อไฟ [หน้า ๖๖]
• ไตเ้ พ่อื การคลอ้ งช้างในสมัยโบราณ [หน้า ๖๖]
• ไต้ไล่คา้ งคาวในสวนผลไม้ [หน้า ๖๘]

ไต้ น้ำมนั ยางและเร่ืองเลา่ จากแสงไต้ โดย ปราณ ปรีชญา ๔๒

• ไต้เปน็ เหยื่อล่อดกั หนู [หน้า ๖๘]
• ไตใ้ ช้จับสตั วเ์ พอื่ บรโิ ภค: ไตก้ บ ไต้ปลา ไตแ้ มงนนู [หน้า ๖๙]
• นำ้ มนั ยางในการศึกสงคราม [หน้า ๖๙]
• นำ้ มนั ยางทาภาชนะเคร่ืองจักสาน [หน้า ๗๑]
• น้ำมนั ยางในการทำหมนั เรือ [หนา้ ๗๒]
• น้ำมนั ยางใช้เคลือบยาพิษไวล้ า่ สัตวข์ องนายพราน [หนา้ ๗๗]
• นำ้ มันยางใชเ้ ปน็ สว่ นผสมในการทำยางดกั นก [หน้า ๘๑]
๓.๕ องค์ความรูใ้ นการใช้ไตใ้ นการแสดงเพือ่ ประกอบอาชีพ
• สอ่ งไฟแสงไตเ้ ล่นหนงั ใหญ่ [หนา้ ๘๓]
• ส่องไฟแสงไตเ้ ล่นหนังตะลุง [หน้า ๘๔]
• ส่องไฟแสงไตเ้ ล่นการละเล่นอนื่ [หน้า ๘๕]
๓.๖ องคค์ วามรใู้ นการมดั ห่ออาหารแบบการมดั ไต้
• ขา้ วต้มมดั ไต้ [หนา้ ๘๖]
๔. วัฒนธรรม ประเพณี และพิธกี รรม [Culture, Tradition and Rite]
๔.๑ บญุ ไตป้ ระทีป ประเพณีภาคตะวนั ออกเฉียงเหนือ [หน้า ๘๙]
๔.๒ บญุ ไตป้ ระทปี ประเพณภี าคกลางของชาวลาวครง่ั [หนา้ ๙๒]
๔.๓ การทำบุญแห่ไต้หน้าช้างภาคใต้ [หน้า ๙๒]
๔.๔ ไตใ้ นธรรมเนยี มโบราณการทำศพ [หนา้ ๙๕]
• การตามไฟศพในคตชิ าวอสี าน
• ไต้จุดกองฟอน
๕. ศิลปะดนตรแี ละการแสดง [Arts, Music and Play]
๕.๑ ดนตรีและเพลง
• เพลงไทยสากล: เพลงน้ำตาแสงไต้ [หนา้ ๑๐๕]
• เพลงไทยสากล: เพลงจดุ ไต้ตำตอ [หน้า ๑๐๗]
• เพลง: เพลงชาวบา้ น/ไม่ทราบชอ่ื เพลง [หน้า ๑๐๙]
๕.๒ การละเล่นและการแสดงพ้นื บา้ น
• รำวงเข่ียไต้ [หน้า ๑๑๑]
• รำตง [หนา้ ๑๑๗]
• ผพี งุ่ ไต้ [หน้า ๑๑๙]
• ผหี ง้ิ [หน้า ๑๒๒]
๖. ภาษาและการใชถ้ อ้ ยคำ [Linguistics and Verbal Usages]

ไต้ นำ้ มนั ยางและเรื่องเล่าจากแสงไต้ โดย ปราณ ปรีชญา ๔๓

๖.๑ ภาษาถ่นิ เก่ียวกบั ไต้
• ภาษากลาง [หน้า ๑๒๔]
• ภาษาอสี าน [หนา้ ๑๒๔]
• ภาษาเหนอื [หนา้ ๑๒๕]
• ภาษาใต้ [หน้า ๑๒๕]
• ภาษาถน่ิ และกล่มุ ชาตพิ ันธุ์ [หน้า ๑๒๕]

๖.๒ สำนวนเกี่ยวกับไต้
• จุดไตต้ ำตอ [หนา้ ๑๒๗]
• เข้าไต้เข้าไฟ [หน้า ๑๒๘]
• หักไฟหวั ลม [หนา้ ๑๓๐]

๖.๓ คำคลอ้ งจองเกีย่ วกับไต้
• บุรพบท คำใช้ไมม้ ว้ น ๒๐ คำ ผดิ จากไม้มลาย [หนา้ ๑๓๐]
• บุรพบทวิธีหนังสือไทย ๒๗ อ่านคำอักษรกล้ำที่ใช้ผันด้วยไม้เอก [หน้า

๑๓๑]
• แบบเรียนภาษาไทย สำหรับชั้นประถมปีที่ ๑ [หน้า ๑๓๑]

๖.๔ อุปมาโวหารเก่ยี วกบั ไต้
• คา่ วซอเร่ืองเจ้าสวุ ตั รกบั นางบวั คำ [หน้า ๑๓๑]

๖.๕ ปรศิ นาคำทายเกยี่ วกับไต้
• อะไรเอ่ย/ภาคกลาง [หนา้ ๑๓๒]
• อะไรเอ่ย/ภาคกลาง [หนา้ ๑๓๒]
• อะไรเอย่ /ภาคใต้ [หน้า ๑๓๒]

๖.๖ ภาษิตเก่ียวกับไต้
• ภาษิตลา้ นนา [หน้า ๑๓๒]

๖.๗ ผญาเก่ยี วกบั ไต้
• บทผญากล่าวเปรียบเปรยแสงของไต้ [กะบอง] กับดวงจนั ทร์ [หนา้ ๑๓๓]
• ผญายา่ สอนหลาน [หนา้ ๑๓๓]
• คำกลอนสินไซ พรรณนาถึงพระสงฆ์เรยี นธรรม [หน้า ๑๓๓]
• จ้ำหมากม้ี/เลน่ หมากล้ี [หนา้ ๑๓๔]

๗. วรรณกรรม [Literature]
๗.๑ ไตใ้ นศิลาจารกึ
• จารกึ หลักท่ี ๑๐๗ วดั บางสนุก [หน้า ๑๓๕]

ไต้ นำ้ มนั ยางและเรอื่ งเลา่ จากแสงไต้ โดย ปราณ ปรชี ญา ๔๔

• จารึกหลกั ท่ี ๘ วดั เขาสุมนกูฏ [หน้า ๑๓๗]
• จารกึ หลกั ท่ี ๖๒ วัดพระยนื [หน้า ๑๓๗]
๗.๒ ไต้ในพงศาวดาร
• เร่ืองพระรว่ งเมืองสุโขทัย [หนา้ ๑๓๙]
๗.๓ ไต้ในตำนานพ้นื บ้าน
• ตำนานนิทานพ้ืนบ้านเมืองเลย เรอื่ งภูบอ่ เบดิ [หนา้ ๑๔๑]
๗.๔ ไตใ้ นนิทานวชิรญาณ
• เรอื่ งปลาด จดุ ไตต้ ำตอ [หนา้ ๑๔๒]
๗.๕ ไต้ในนทิ านพื้นบา้ น
• นทิ านตลกพ้นื บ้านของภาคใต้ เร่ืองตาหลวงโดนหลอก [หนา้ ๑๔๔]
๗.๖ ไต้ในคำประพันธ์และวรรณศิลป์
• ร้อยกรอง นิราศ โคลง ลิลิต สกั รวา ฯลฯ [หน้า ๑๔๕–๑๕๓]
• บทกวีนพิ นธ์ [หนา้ ๑๕๓]
๗.๗ ไต้ในวรรณคดี
• พระอภยั มณี [หนา้ ๑๕๔]
• มโนหร์ า [หน้า ๑๕๖]
๗.๘ ไต้ในเรอ่ื งเล่า
• ผีจุดไต้ [หนา้ ๑๕๖]
๗.๙ ไต้ในเรอ่ื งสั้น
• บ่าวสาวเก้ียวกนั [หนา้ ๑๕๗]
• ไตด้ ับ [หนา้ ๑๕๘]

ไต้ น้ำมันยางและเรือ่ งเลา่ จากแสงไต้ โดย ปราณ ปรชี ญา ๔๕

ความเช่ือ [Beliefs]

ความเช่อื โชคลาง และส่ิงเร้นลบั หมายถึง การยอมรับนับถือหรือยึดม่ันในสิ่งใดส่ิงหน่ึงท้ังท่ีมี
ตัวตนหรือไม่ก็ตามว่าเป็นความจริงหรือมีอยู่จริง การยอมรับนับถือนี้อาจจะมีหลักฐานอย่างเพียง
พอท่จี ะพสิ ูจน์ได้หรืออาจจะไม่มีหลักฐานที่จะนำมาใช้พิสจู น์ให้เห็นจริงเกย่ี วกับสิ่งนน้ั กไ็ ด้ [บุปผา บุญ
ทพิ ย์, ๒๕๔๗, น.๑๕๖] ในสมัยโบราณน้ันคนเรายังไม่มีภูมิรูด้ ้านวทิ ยาศาสตร์จงึ มีความเชื่อในส่ิงท่ีไม่มี
ตัวตนอันอยู่เหนือความเข้าใจของคนโดยยึดมั่นว่าความเชื่อนั้นจะช่วยให้ชีวิตของตนมีความสุขและมี
ความปลอดภัย จึงมีการรับและถ่ายทอดสูค่ นในปกครอง ญาติพี่น้องด้วยวาจา การตักเตือน หรือการ
สอนสั่งในแต่ละโอกาสหรือขณะประสบเหตุการณ์นั้น ๆ ความเชื่อเกี่ยวกับไต้โดยตรงนั้นไม่มี แต่มี
ความเชื่อจากการฝันเห็นไต้และการเรียกลักษณะที่ปรากฏดาวตก [Meteor] บนท้องฟ้าเปรียบ
เหมือนกับแสงของไต้ที่พัดวูบไหวเป็นหางยาว ปรากฏการณ์ที่มีลักษณะไม่ปกติและผิดวิสัย ผิดเวลา
ผดิ ฤดกู าล เช่นน้คี นโบราณเช่อื ว่าเป็น 'ลาง' บอกเหตุเภทภัย ซ่ึงลางบอกเหตุดงั กลา่ วนีแ้ บ่งออกเป็น ๒
อย่าง คอื 'บาต' และ 'ธุม' มีความหมายดงั น้ี

บาต แปลว่า 'การตก' คนโบราณหมายถึงสิ่งที่ตกลงมาจากฟากฟ้าและไม่มีเหตุผลใดมา
อธิบายต่อสิ่งที่เกิดขึ้นได้จึงเชื่อว่าเป็นลางบอกเหตุนำมาซึ่งเหตุเลวร้าย โบราณาจารย์ท่านได้แบ่ง
ออกเป็น ๔ บาต คือ อะสะนีบาต หรือฟ้าผ่า ๑ กะลาบาต หรือลูกไฟตก ๑ คาหะกาบาต ๑ อุกาบาต
หรือผีพุ่งใต้ ๑ สำหรับผีพงุ่ ไต้นน้ั โบราณาจารย์ท่านได้เตือนไวว้ ่า ตกสแี ดงชว่ งเห็นยาวสามศอกสี่ศอก
หัวใหญ่เท่าลกู ส้มโอ หางเทา่ แสงคบเพลงิ ตกแต่บรุ พพิศไปสู่อดุ รทศิ ร้ายนกั ใหป้ ระหยัดจงดี

ธุม แปลว่า 'ควัน' เป็นลางบอกเหตุจากปรากฏการณ์ผิดปกติในธรรมชาติหรือในอากาศอีก
ลกั ษณะหนง่ึ ทีค่ วรระมดั ระวังเหตุร้ายอาจจะเกิดข้ึนได้

• ความเชื่อเรื่องผีพุง่ ไต้

คนในสมัยโบราณเช่ือกนั ว่าสง่ิ ท่ีเห็นลำแสงวาบพุ่งผ่านท้องฟ้าอย่างรวดเรว็ ลงมาพ้ืนดินในคืน
เดือนมืดคือปรากฏการณ์ของผู้มีบุญ [อาจจะเป็น
เทพบุตร เทพธิดา เทวดา] ได้จุติ [ตายจากภพหนึ่ง
ไปสู่อีกภพหนึ่ง] แล้วลงมากำเนิดยังภพภูมิของ
มนุษย์ ลักษณะของลำแสงนั้นส่วนหัวเป็นกลุม่ ลกู ไฟ
เม่ือพ่งุ ลงมาผา่ นอากาศด้วยความเรว็ จึงมแี สงไฟแนว
ยาวเป็นทางคล้ายหางหรือรอยดาวตก [train]
ชาวบ้านเรียกว่า 'ผีพุ่งไต้' ตามลักษณะของไต้จุดไฟ


Click to View FlipBook Version