The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

องความรู้ของสำนักศิลปวัฒนธรรมและพัฒนาชุมชน

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by kunkorkai, 2022-09-07 09:06:03

ไต้ น้ำมันยาง เรื่องเล่าจากแสงไต้

องความรู้ของสำนักศิลปวัฒนธรรมและพัฒนาชุมชน

ไต้ น้ำมันยางและเร่ืองเล่าจากแสงไต้ โดย ปราณ ปรชี ญา ๔๖

ให้แสงสว่างท่ชี าวบ้านค้นุ เคยและใชก้ ันในอดตี เม่ือเวลาถือคบไต้ยามเดนิ ทางจะมองเหน็ เปน็ ลูกไฟลอย
อยูใ่ นความมดื

ผีพุ่งไต้ ภาษาเหนือ เรียก 'ผีปุ้งส้าว' โดยนัยของคนโบราณจึงหมายถึง 'คบไฟหรือดวงไฟที่ผี
พุ่งผ่านไปในท้องฟ้า' คติความเชื่อเมื่อเกิดปรากฏการณ์ผีพุ่งไตน้ ั้นทำให้มีผลดีและผลร้าย ๒ แนวทาง
กบั ๑ ขอ้ หา้ ม คือ

ความเช่ือ
ลำแสงวาบพุ่งผ่านท้องฟ้าอย่างรวดเรว็ ลงมาพ้ืนดินในคนื เดือนมดื คือปรากฏการณ์ของผู้มีบุญ

ซึ่งอาจจะเปน็ เทพบุตร เทพธิดา เทวดา ได้จุติหรือตายจากภพหน่ึงไปสู่อีกภพหน่ึงแล้วลงมากำเนิดยงั
ภพภูมิของมนษุ ย์
ผลลัพธ์จากความเช่อื

๑. แนวคิดในเชิงบวก เชื่อว่าผู้ใดก็ตามที่เห็นผีพุ่งไต้จะเป็นผู้โชคดีให้อธิษฐานขอพรจะสมดงั
ใจหวงั

๒. แนวคิดในเชิงลบ เชื่อว่าปรากฏดาวตกทั้งหลายนั้นเป็นลางร้ายจึงจินตนาการไปต่าง ๆ
นานา บา้ งวา่ เป็นอาคนั ตุกะท่ีนา่ สะพรึงกลวั ของโลก บา้ งว่าเปน็ งูยักษ์กระหายเลือดท่ีถูกส่งลงมากลืน
กินมวลมนุษย์ หรือกระท่ังเป็นพาหนะทีน่ ำโรคร้ายมาสู่ [รดี เดอรส์ ไดเจสท,์ ๒๕๔๙, ๑๘๔]
ข้อห้าม

ผู้ใดเห็นแล้วห้ามช้ีหรือทัก เพราะถ้าหากชี้หรือทักแล้วเทพบุตร เทพธิดา เทวดาจะไม่ไปเกิด
ในท้องมนษุ ย์ แตจ่ ะไปเกดิ ในท้องสตั วเ์ ดรจั ฉานแทน

ความเชื่อเรื่องผีพุ่งไต้คือผู้มีบุญมาเกิดในท้องมนุษย์นี้ มีการถ่ายทอดเป็น 'เพลงฉ่อย' ร้อง
โต้ตอบกนั ระหว่างพ่อเพลงแมเ่ พลง ๔ ทา่ น คอื ตา 'พรหม เอย่ี มเจ้า' ชาวสมทุ รปราการ [พุทธศักราช
๒๔๓๐–๒๕๑๘ สิริรวม ๘๘ ปี] ยาย 'ทองหล่อ ทำเลทอง' ชาวพระนครศรีอยุธยา [พุทธศักราช
๒๔๔๒–๒๕๓๖ สิริรวม ๙๔ ปี] ยาย 'ต่วน บุญล้น' ชาวราชบุรี [พุทธศักราช ๒๔๔๑–๒๕๒๐ สิริรวม
๗๙ ปี] และยาย 'ทองอยู่ รักษาพล' ชาวนครนายก [พุทธศกั ราช ๒๔๓๖–๒๕๒๘ สิรริ วม ๙๒ ปี] เอนก
นาวิกมูล รวบรวมเขียน 'ยายทองหล่อเจอตาพรหม' ไว้ในนิตยสารศิลปวัฒนธรรม ปีที่ ๔๒ ฉบับที่ ๔
เดอื นกุมภาพันธ์ พทุ ธศกั ราช ๒๕๖๔ หนา้ ๒๔–๓๖ คัดลอกมาเฉพาะความทเ่ี กย่ี วกับผพี ุ่งไต้ ดังนี้

“...เมื่อพ่อเอง็ หนมุ่ แม่เอ็งเป็นสาว คมุ้ ครองมากับเรามากมาย
จะไดจ้ ะเสียเป็นเมยี เปน็ ผวั ลม่ เน้อื เสยี ตวั กันลงไป
แตพ่ อตกลงกนั แล้วนะเล่า เออไอ้ตัวของเราแม่เอ๊ยชา่ งจำได้

ไต้ น้ำมันยางและเร่ืองเล่าจากแสงไต้ โดย ปราณ ปรชี ญา ๔๗

แหม บังเอิญรบทัพกันที่เชียงตุง แหมมันเกิดรบพุ่งกันใหญ่ เขามาเกณฑ์พ่อเอ็งไปทัพ พักน้ี
เขากก็ ลับไม่ได.้ ..” [เอช่ า...]

“...เอ๋ยว่าพ่อเอ็งไปทัพ แหมบังเอิญเขากลับมาไม่ได้ เขาได้เขาเสียเปน็ เมียเปน็ ผัว เขาล่มเนื้อ
เสยี ตวั รู้ไหม

เมอื่ เอ็งไปอยู่ปลายออ้ ปลายแขม มงึ ยงั ไม่มุดเข้าในแคมหนิ ใคร...”
“...แหมมันเกิดโชตชิ ่วงเปน็ ดวงอัคคี ใครไม่รูก้ ็ว่าผีพุง่ ไต้ เมอื่ มึงจะก่อกำเนิดมึงจะเกิดเป็นคน
เทวดาปฏิสนธิมงึ รู้ไหม แหมว่าโชติช่วงเป็นดวงอัคคี ใครไม่รู้ก็ว่าผีพุง่ ไต้ เขาว่าไอผ้ ีพุ่งไต้ เขาว่าไอ้ผีพุ่ง
ไต้ อนั น้เี ขาเกดิ สามัคคกี ันรูไ้ หม
ถ้าไม่มีใครทักใครท้วง ลอยมาอย่างกับพวงมาลัย ถ้าไม่มีใครทักใครว่า เลยเข้าท้องกาท้องไก่
เขาวา่ คนไหนไปวา่ อ้า...พรหมเอ๋ยปากทกั คนนั้นบาปหนกั ร้ไู หม
แหมบังเอญิ บ้อห้อเขาก็ไปลอ่ บ้อแฮ่ มึงผลดุ เข้าท้องแม่มึงส่งไป...” [เอช่ า...]

ปัจจบุ นั วิทยาศาสตร์ไขคำตอบว่าผีพงุ่ ไต้คือ 'ดาวตก [Meteor]' เปน็ เศษวตั ถุเลก็ ๆ หรือฝุ่นท่ี
เกิดตามทางโคจรดาวหาง เมื่อเศษวัตถุเหล่านี้ตกผ่านชั้นบรรยากาศโลกด้วยความเร็วอย่างน้อย ๑๕
กโิ ลเมตรต่อวินาทีก็จะถูกเสยี ดสแี ละเผาไหม้เกิดเปน็ แสงสวา่ งจา้ คลา้ ย 'ลูกไฟ' ให้เห็นในยามคำ่ คืน ใน
บางครง้ั เศษวตั ถุขนาดใหญ่ทเ่ี ผาไหมไ้ มห่ มดและตกถึงพื้นโลกไดเ้ รียกวา่ 'ก้อนอกุ าบาต [Meteorite]'
หมายเหตุ

'อุกกาบาต' [อ่านว่า อุก–กา–บาด] มีรากศัพท์มาจากภาษาบาลีสันสกฤตว่า 'อุกฺกา' [แปลวา่
คบเพลิง] กับคำวา่ 'บาต' [แปลว่า ตก]

• คำทำนายเม่อื ฝนั เห็นไต้

ผู้ใดฝนั ว่าถือไตห้ รือคบไฟ [ไม่ใช่ตะเกยี งหรือโคม] ทม่ี ีแสงไฟลกุ โชนส่องสว่างไสว ทำนายทาย
ว่า ผู้นั้นจะมีเคราะห์ร้ายอย่างหนักหรือถึงกับการเจ็บป่วยหรือหากเป็นผู้มีตำแหน่งหน้าที่การงานจะ
ถกู โยกยา้ ย แต่เมอื่ พ้นเคราะหแ์ ลว้ จะได้ลาภกลบั มาพอสมน้ำสมเน้ือ โบราณว่าเข้าทำนองทกุ ขลาภ

ความฝันดังกลา่ วนีส้ ามารถพเิ คราะห์เลขนำโชคได้ คอื เลข ๔ เดน่ เลข ๑ รอง ๔๔ ๔๙ ๑๔๔
๑๔๙ ๑๔๗

ไต้ นำ้ มนั ยางและเรอื่ งเล่าจากแสงไต้ โดย ปราณ ปรีชญา ๔๘

ลัทธิและศาสนา [Doctrine and Religion]

ลัทธิ [Doctrine] และศาสนา [Religion] ในที่นี้หมายถึง ความเชื่อถือ ความศรัทธาใน
หลักการ [คำสอน] ศีลและวัตรปฏิบัติที่มีผู้นิยมนับถือและปฏิบัติสืบต่อกันมาก่อให้ความมั่นคงทาง
จิตใจและเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวของศาสนิกชน ความเชื่อดังกล่าวจึงมีการถ่ายทอดในรูปแบบของนิทาน
ชาดก เรื่องเล่า วรรณกรรมที่เกี่ยวกับพุทธศาสนา ความเชื่อเรื่องกฎแห่งกรรม นรก สวรรค์ ชาติภูมิ
ฯลฯ ทัศนคติ ความคิด ความเชื่อเรื่องของไต้กับลัทธิและศาสนาไม่มีเรื่องที่เกี่ยวข้องโดยตรง แต่มี
เหตกุ ารณ์ สมเด็จพระพุฒาจารย์ [โต] พระเถราจารยท์ ใ่ี ช้ไต้และแสงไตแ้ ทนการเทศนาธรรม

“...สมเด็จพระพุฒาจารย์ [โต] ครั้งในรัชกาลที่ ๔ กรุงเทพฯ นั้นมีความเป็นมาประการใด
เพราะเจ้าประคุณองค์นี้ เป็นที่ฤๅชาปรากฏ
เกียรติศัพท์เกียรติคุณเกียรติยศ ขจรขจายไป
หลายทิศหลายแคว มหาชนพากันสรรเสริญ
ออกเซ็งแซ่กึกก้องซ้องสาธุการ...” [มหา
อำมาตย์ตรี พระยาทิพโกษา (สอน โลหนันท์),
๒๕๑๔, น.๑]
พระบาทสมเด ็จ พร ะจ อ ม เ ก ล้ า
เจ้าอยู่หัว ทรงต้องพระราชอัธยาศัยกับเจ้า
ประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ [โต] ด้วย
พระองค์ทรงครองสมณเพศถึง ๒๗ พรรษา
ก่อนขึน้ ทรงราชย์
“...สมเดจ็ ฯ ดเู หมอื นจะเกิดมาคบู่ ารมี
ของพระจอมเกล้าฯ ท่านคอยสอดส่อง คอย
ช่วยเหลือ คอยปกปักษ์รักษามาตลอดรัชกาล
เม่ือพระจอมเกล้าฯ เสวยราชย์เมอ่ื พระชนมายุ

มากแลว้ ...” [เทพ สุนทรศารทูล, ๒๕๔๔, น.๙]

• แสงไตเ้ ตือนพระสติ

เมื่อพระวชิรญาณมหาเถระ ทรงลาพระผนวชเพือ่ ขึ้นเสวยราชสมบัติ ตามความเห็นชอบในท่ี
ประชุมของพระบรมวงสานุวงศ์และคณะเสนาบดีภายหลังพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
สวรรคตแล้วเมอ่ื วันท่ี ๒ เมษายน พทุ ธศักราช ๒๓๙๔ และพระองคท์ รงได้รบั การเฉลมิ พระปรมาภิไธย
โดยย่อว่า พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อพระชนมายุ ๔๗

ไต้ น้ำมนั ยางและเรื่องเลา่ จากแสงไต้ โดย ปราณ ปรชี ญา ๔๙

พรรษา รัชกาลที่ ๔ ขึ้นทรงราชย์ในขณะที่ลัทธิจักรวรรดินิยมของมหาอำนาจตะวันตกโดยเฉพาะ
อังกฤษและฝรั่งเศสกำลังแข่งขันแสวงหาอาณานิคม พระองค์ทรงพระดำเนินนโยบายสมาน
สมั พนั ธภาพกับประเทศตะวนั ตกโดยทำสนธสิ ัญญาไมตรีและพาณชิ ย์กบั ประเทศต่าง ๆ ในยุโรป และ
ทรงวางรากฐานความก้าวหน้าแบบอารยประเทศและกิจการงานสมัยใหม่ อาทิ การสำรวจทำแผนท่ี
ชายแดนพระราชอาณาเขต การตั้งโรงพิมพ์ในพระบรมมหาราชวังเพื่อพิมพ์หนังสือราชกิจจานุเบกษา
เผยแพรก่ ฎหมาย คำสั่ง และข่าวสารราชการตา่ ง ๆ ให้ขา้ ราชการและประชาชนรบั ทราบเปน็ หลกั ฐาน
สร้างโรงกษาปณ์เพื่อใช้ทำเงินเหรียญแทนเงินพดดว้ ง ขยายความเจริญทางบกสร้างถนนสำหรับรถมา้
และการสัญจรภายในพระนคร

รัชกาลที่ ๔ ทรงมีพระบรมราโชบายในการอนุรักษ์และฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมของชาติโดยการ
พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้หัดละครผู้หญิงกันได้ อย่างเสรีและพระราชทานพระบร มรา
ชานุญาตให้นำบทพระราชนิพนธ์ไปเล่นละครนอกกันได้อย่างแพร่หลาย หลังจากในแผ่นดิน
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้นไม่ทรงโปรดฯ ทั้งการละครใน [ละครหลวง] และละครนอก
ทำให้ศลิ ปะการแสดงหลายแขนงต่างซบเซา จงึ โปรดให้ประกาศวา่ ดว้ ยละครผู้หญิง เมอื่ ณ วันอังคาร
เดือน ๙ แรม ๗ ค่ำ ปเี ถาะ พุทธศักราช ๒๓๙๘ ดงั นี้

ประกาศว่าดว้ ยละครผูห้ ญิง แลเรือ่ งหมอเรอ่ื งชา่ ง
ด้วยพระยาวรพงศ์พิพฒั น์ รับพระบรมราชโองการใสเ่ กล้าฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สั่งให้
ประกาศแก่พระราชวงศานุวงศ์ และขา้ ราชการผู้ใหญ่ผนู้ ้อยฝ่ายทหารพลเรือน ในพระบรมมหาราชวัง
และพระบวรราชวังให้รู้จงทั่วกันวา่ แต่ก่อนในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก และ
แผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย มีละครผู้หญิงแต่ในวังหลวงแห่งเดียว ด้วยมี
พระราชบัญญัติห้ามมิให้พระราชวงศานุวงศ์ และข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อยฝึกหัดละครผู้หญิง
เพราะฉะนั้น ข้างนอกจึงไม่มีใครเล่นละครผู้หญิงได้ ครั้นในแผ่นดินพระบาทสมเด็จฯ พระนั่งเกล้า
เจ้าอยู่หัวไม่โปรดละคร เป็นแต่ว่าทรงแช่งชักติเตียนจะไม่ให้ผู้อื่นเล่น ถึงกระนั้นก็มีผู้ลักเล่นเงียบ ๆ
อยดู่ ้วยกนั หลายราย มาในแผ่นดนิ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจา้ อยหู่ ัวนี้ พระราชวงศานุวงศ์ และ
ข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อยผู้ใดเล่นละครผู้ชายผู้หญิงก็มิได้ทรงรังเกียจ ทรงเห็นว่ามีละครด้วยกันหลาย
รายดี บ้านเมืองจะไดค้ รึกครื้น จะไดเ้ ป็นเกียรตแิ ผ่นดิน
เดย๋ี วนที้ า่ นทั้งปวงเห็นว่าละครในหลวงมีขึ้น กห็ ามีใครเลน่ ละครเหมือนอยา่ งแต่ก่อนไม่ คอย
จะกลวั ผดิ และชอบอยู่ การอันนี้มไิ ดท้ รงรังเกยี จเลย ทา่ นทง้ั ปวงเคยเลน่ อย่แู ต่ก่อนอย่างไรก็ให้เล่นไป
เถิด ในหลวงมีการงานอะไรบ้าง ก็จะได้โปรดให้หาเข้ามาเล่นถวายทอดพระเนตรบ้าง จะได้
พระราชทานเงินโรงรางวัลให้บา้ ง ผใู้ ดจะเล่นกเ็ ล่นเถิด ขอยกแต่รดั เกล้ายอดอยา่ ง ๑ เครื่องแต่งตัวลง
ยาอย่าง ๑ พานทองหีบทองเป็นเครื่องยศอย่าง ๑ เมื่อบททำขวัญยกแต่แตรสังข์อย่าง ๑ แล้วอย่าให้

ไต้ นำ้ มนั ยางและเรือ่ งเลา่ จากแสงไต้ โดย ปราณ ปรชี ญา ๕๐

ฉุดบุตรชายหญิงที่เขาไม่สมัครเข้ามาเป็นละคร ให้เขาได้ความเดือดร้อนอย่าง ๑ ขอห้ามไว้แต่การ
เหลา่ นี้ ให้ทา่ นท้ังปวงเล่นไปเหมือนอย่างแต่กอ่ นเถิด

ประกาศมา ณ วนั องั คาร เดือน ๙ แรม ๗ ค่ำ ปีเถาะ สัปตศก จุลศกั ราช ๑๒๑๗
ท่มี า ประชุมประกาศรชั กาลท่ี ๔ พ.ศ.๒๓๙๔–๒๔๐๐ [องคก์ ารคา้ คุรสุ ภา, ๒๕๐๓, น.๑๖๑–๑๖๓]

เมื่อการละครกลับมาได้รับความนิยมเจ้าของละครคณะต่าง ๆ มีงานแสดงเพิ่มและได้รับ
ประโยชน์โพดผลมากขึ้น จึงทรงตั้งภาษีโขนละครเมื่อพุทธศักราช ๒๔๐๒ เพ่ือให้เจ้าของละครได้
ชว่ ยเหลือแผ่นดนิ กลบั คืนบ้างเหมือนอย่างท่มี ปี ระเพณีในต่างประเทศ

แต่เดิมในสมัยกรุงศรีอยุธยาพระมหากษัตริย์มีคณะละครส่วนพระองค์แสดงเฉพาะใน
พระราชฐานเรียกว่า 'ละครนางใน' นางใน คือผู้หญิงในราชสำนักผู้เป็นบาทบริจาริกาของ
พระมหากษัตริย์ ทรงโปรดฯ ให้หญิงชาววังหัดละคร สมัยต่อมาเรียกว่า 'ละครใน' หมายถึง ละครรำ
แบบหน่งึ เดิมเปน็ ละครเฉพาะของพระมหากษัตริย์ ตัวละครเปน็ หญงิ ล้วน เครือ่ งแต่งตวั และกระบวน
รำประณีตงดงาม ดนตรีไพเราะ แสดงเฉพาะ ๓ เร่ือง คืออิเหนา รามเกียรติ์ และอุณรุท
[ราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๕๖, น.๑๐๔๓–๑๐๔๔] ละครในสมัยแผ่นดินรัชกาลที่ ๔ ยังคงรักษา
ขนบประเพณสี บื มาแต่เดมิ และได้กลับมาแสดงในพระราชฐานอีกครัง้

“...เป็นธรรมเนียมที่เจ้านายและขุนนางมักจะถวายบุตรีและหลานให้เป็นพระสนมกันมาก
เพื่อหวังจะพึ่งบุญมีบุตรก็ถวายบุตร มีหลานก็ถวายหลาน สุดแต่จะเอาไว้เป็นพระสนมหรือเป็นเจ้า
จอม มีบุตรก็เป็นเจ้าจอมมารดา มีหลานเป็นพระองค์เจ้าชายเจ้าหญิง มีเกียรติยศ มีอำนาจวาสนา
เพราะพึง่ ใบบุญพระเจ้าแผน่ ดนิ ...” [เทพ สนุ ทรศารทลู , ๒๕๔๔, น.๙]

ธรี ยทุ ธ ยวงศรี อดตี อาจารยป์ ระจำหมวดวิชานาฏศลิ ป์โขน วิทยาลยั นาฏศิลปเ์ ชยี งใหม่ เขียน
เล่าเรื่องละครชาวบ้านและได้ให้ข้อมูลของครูละครชายที่เข้าไปถ่ายทอด วิชาการแสดงละครให้สตรี
ชาววังได้โดยที่ไม่เป็นการผิดกฎมณเฑียรบาลและจารตี ประเพณีซึง่ ได้ใชพ้ ื้นท่ีว่างบริเวณชั้นกลางของ
พระบรมมหาราชวังจากประตพู ิมานไชยศรีไปจนถึงประตูสนามราชกิจเปน็ สถานท่ีฝกึ ซ้อม บรรดาพวก
สตรีที่เจ้านายฝ่ายในส่งใหม้ าฝึกรำละคร เล่นละครนั้น มักเป็นพวกสาวศรีสาวใช้หรือกุลสตรีธิดาของ
เหล่าขุนนาง ข้าราชการอื่น ๆ ปะปนเข้ามาด้วยความสมัครใจ และได้อธิบายถึงนางละครบางนาง
เลอ่ื นฐานะเป็น 'นางห้าม' ไดด้ ้วยการดงั นี้

“...หากตัวละครนางใด เป็นที่พอพระราชหฤทยั ของในหลวงได้ขึน้ ถวายงาน ตัวละครนางนน้ั
กจ็ ะกลายเปน็ นางห้าม หรอื หม่อมห้าม ทันที จะตอ้ งย้ายไปอยูร่ ่วมกบั นางห้ามหรือหมอ่ มหา้ มคนอื่น
ๆ ไมต่ ้องมาหัดละครอีกต่อไป หลงั แผน่ ดนิ ลน้ เกลา้ ฯ ร.๓ ต่อแผน่ ดินลน้ เกล้าฯ ร.๔ เริ่มมคี รูละครสตรี
นางหา้ ม หรอื หมอ่ มห้ามท่ีเป็นละคร จงึ มีโอกาสศึกษาหาความรู้ทางการรำ การแสดงได้อย่างต่อเนื่อง
ไม่ขาดตอนเยย่ี งทีผ่ ่านมา...” [ธรี ยทุ ธ ยวงศรี, ๒๕๓๔, น.๕๗]

ไต้ นำ้ มนั ยางและเรื่องเลา่ จากแสงไต้ โดย ปราณ ปรีชญา ๕๑

๏ อนงึ่ พระองค์ทรงเจริญเพลนิ ถนอม
อย่าใหห้ ม่อมหา้ มหลบั ทับหัตถา
ภิรมย์รสอตส่าห์สรงพระคงคา
เจรญิ ราศสี วัสดข์ิ จดั ภยั ฯ
ทม่ี า สวัสดิรักษา ของสุนทรภู่ [กรมศลิ ปากร, ๒๕๐๑, น.๗]

กล่าวกันว่าพระราชฐานยามนั้นเสมือนตกอยู่ในราตรีกาลมีแต่ความมืดอยู่ตลอดเวลา ด้วย
ความห่วงใยในพระพลานามัยและเกรงไพร่ฟ้าประชาชนจะติฉินนินทาได้ สมเด็จฯ โตท่านจึงตริตรอง
หาทางเตือนพระสติพระเจ้าอยู่หัว วันหนึ่งท่านจึงข้ามฟากจากวัดระฆังมาที่ท่าราชวรดิษฐ์และตรงไป
พระบรมมหาราชวังเดินถือไตจ้ ุดไฟลกุ แดงเขา้ เฝ้าพระบาทสมเดจ็ พระจอมเกลา้ เจ้าอยู่หัว

“...เขาลอื กนั วา่ ในวงั หลวงมืดมนนัก จึงตอ้ งจดุ ไต้ เขา้ มาทลู ถามขา่ วคราวว่าจริงเท็จประการ
ใด...”

"...อ้อ เขารูแ้ ลว้ ขรัวโต ในวงั น้ไี มม่ ืดมนดอก ขอใหก้ ลับวัดไปนอนคลมุ โปงใหส้ บายใจ..."
สมเด็จฯ ก็เอาไต้ขย้ีกับฝาผนังกำแพง แล้วหนั หลงั กลบั ทันที [เทพ สุนทรศารทลู , ๒๕๔๔, น.
๑๐]
การที่สมเด็จฯ โต แสร้งใช้แสงไต้สื่อแทนคำพูดแบบตรงไปตรงมาเพื่อถวายพระพรทูลเตือน
พระสตินั้นนับเปน็ กศุ โลบายทางธรรมที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจา้ อยูห่ วั นัน้ ทรงทราบความนยั
ดังกล่าวทันที อีกท้ังสมเด็จฯ โตก็เข้าใจความหมายที่ทรงตรัสตอบว่าที่จริงแล้วพระองค์ท่านทรง
กระทำตามโบราณราชประเพณีมไิ ด้ทรงลุม่ หลงหรือหมกมนุ่ แตป่ ระการใด

• จุดไตไ้ ล่ความอึมครมึ ของบา้ นเมอื ง

คร้นั วนั พฤหสั บดี ขึน้ ๑๕ ค่ำ เดอื น ๑๑ ปีมะโรง สัมฤทธศิ ก จลุ ศักราช ๑๒๓๐ เวลายาม ๑
กับ ๑ บาท พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ เสด็จสวรรคต สิริพระชนม์ ๖๔
พรรษา เสวยราชสมบตั ิ ๑๗ ปี ๖ เดือน ๑๔ วนั

“...พระจอมเกล้าฯ สวรรคตด้วยไข้มาลาเรีย หลังจากไปทอดพระเนตรสุริยุปราคาจับหมด
ดวงที่ตำบลหว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เมื่อวันที่ ๑๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๑๑ กลับมาถึงกรุงเทพฯ
ได้ ๗ วัน ก็ประชวรหนักพร้อมด้วยพระเจ้าลูกยาเธอ กรมขุนพินิตประชานารถ [คือพระบาทสมเด็จ
พระจุลจอมเกล้าฯ] ประชวรได้ประมาณ ๒ เดือนก็เสดจ็ สวรรคตเม่ือวันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๑๑...”
[เทพ สนุ ทรศารทลู , ๒๕๔๔, น.๑๐๐]

ไต้ น้ำมันยางและเรือ่ งเล่าจากแสงไต้ โดย ปราณ ปรีชญา ๕๒

สมเดจ็ เจ้าฟ้าจฬุ าลงกรณ์ฯ เสดจ็ ข้นึ เสวยราชสมบตั ิสืบต่อจากพระราชบิดา เฉลิมพระนามว่า
'พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว' แต่พระองค์ยังทรงพระเยาว์มีพระชนมายุเพียง ๑๕
พรรษา จึงจำเป็นต้องมีผู้สำเร็จราชการแทน ในระยะ ๕ ปีแรก เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ [ช่วง บุนนาค
ต่อมาคอื สมเด็จเจา้ พระยาพระบรมมหาศรีสรุ ิยวงศ์] จงึ รับหนา้ ทเี่ ปน็ ผู้สำเร็จราชการแผ่นดนิ

“...ในสมัยนั้นพวกตระกูลบุนนาค กำลังมีอิทธิพลมากมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๓ แล้ว พอ
รัชกาลที่ ๓ สวรรคต พวกตระกูลบุนนาคก็อันเชิญพระวชิรญาณภิกขุ คือพระจอมเกล้าฯ เสวยราช
สมบัติ พระจอมเกล้าฯ ยังไม่มีกำลังมากนัก นอกจากกำลังทางพระ แต่อาศัยพระปรีชาสามารถอัน
สุขุมอย่างวิเศษจึงสามารถรักษาราชบัลลังก์ไว้ได้โดยตั้งให้สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ [ดิศ
บุนนาค] เป็นผู้สำเร็จราชแผ่นดิน ตั้งให้สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ [ทัศ บุนนาค] เป็น
ผู้สำเร็จราชการพระนคร ตั้งให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ [ช่วง บุนนาค] เป็นเจ้าพระยากลาโหม ในสมัย
นั้นไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินเลื่องลือกันว่าจักเกิดการผลัดแผ่นดินเป็นวงศ์บนุ นาค แต่ไม่มีใครจะเข้ามาแก้ไข
เหตุการณ์นีไ้ ด้ ล้วนแตก่ ลัวตายกนั ทง้ั นน้ั สมเดจ็ พระพฒุ าจารยท์ ่านก็ร้อนใจกลัวบ้านเมืองจะรบราฆ่า
ฟันกนั ดว้ ยเหตแุ ย่งชงิ ราชสมบัติ ทา่ นจงึ ลงเรอื มาทีต่ ำหนักสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ [ช่วง
บุนนาค] พรอ้ มทั้งจุดไตถ้ อื มาด้วย...” [เทพ สุนทรศารทูล, ๒๕๔๔, น.๑๐๑]

เมื่อถึงตำหนักของเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ [ช่วง บุนนาค] เจ้าพระคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์
[โต] 'พรหมรํส'ี เดนิ ถอื ไต้เข้าไปภายในตำหนักของผู้สำเรจ็ ราชการแผน่ ดนิ

“...เขาลือกันวา่ บา้ นเมืองมดื มนนกั จึงมาถามข่าวทา่ นเจา้ คณุ ว่าจะเทจ็ จริงประการใด..."
"...บ้านเมืองไมม่ ืดมนดอก ตราบใดทก่ี ระผมยังอยู่ รบั รองว่าบา้ นเมอื งไม่มมี ืดมน..."
"...เมือ่ เจ้าคุณรบั รองเช่นน้แี ล้ว อาตมาก็สบายใจ จึงขอลากลบั วดั ..."
ว่าแล้วทา่ นก็ดับไต้ลงจากตำหนักผู้สำเร็จราชการแผน่ ดนิ ไป [เทพ สุนทรศารทูล, ๒๕๔๔, น.
๑๐๑]
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระชนมายุครบ ๒๐ พรรษาทรงผนวชเปน็
พระภิกษใุ นวนั ที่ ๑๕ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๑๖ ณ วัดพระศรีรตั นศาสดาราม และเสดจ็ ไปประทับ
ณ วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร หลังจากทรงลาสิกขาแล้วทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งที่
๒ เมอ่ื วันที่ ๑๘ ตลุ าคม พุทธศกั ราช ๒๔๑๖ และทรงรบั ราชภาระบรหิ ารราชการแผน่ ดินดว้ ยพระองค์
เองสบื มา
ตามบันทึกของมหาอำมาตย์ตรี พระยาทิพโกษา [สอน โลหนันท์] เรื่องประวัติสมเด็จพระ
พุฒาจารย์ [โต] นั้นกล่าวว่า เจ้าพระคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ [โต] ท่านมิได้จุดไต้แต่ได้จุดเทียนเล่ม
ใหญ่ มรี ายละเอยี ดดังน้ี
“...สมเด็จพระพุฒาจารย์ [โต] ท่านจุดเทียนเลม่ ใหญ่ เข้าไปในบ้านสมเด็จพระยาศรีสุริยวงศ์
[ช่วง] คือสมเด็จพระประสาท ผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน สมเด็จพระพุฒาจารย์ [โต] เอาคัมภีร์หนีบ

ไต้ น้ำมนั ยางและเรื่องเล่าจากแสงไต้ โดย ปราณ ปรีชญา ๕๓

รักแร้ ตาลปัตรทำหางเสือ จุดเทียนเล่มใหญเ่ ข้าไปทบ่ี ้านสมเด็จพระประสาทในเวลากลางวันแสกแสก
เดนิ รอบบ้านสมเด็จพระประสาท [คลองสาร] สมเด็จพระประสาทอาราธนาขึ้นบนหอน่ังแลว้ ว่าโยมไม่
สู้มืดนักดอกเจ้าคุณ อนึ่งโยมนี้มีใจแน่นแฟ้นในพุทธศาสนาแน่นอนมั่นคงเสมอ อนึ่งโยมทะนุบำรุ ง
แผ่นดินโดยเที่ยงธรรม และตั้งใจประคับประคองสนองพระเดชพระคุณโดยตรงสุจริตคิดถึงชาติและ
ศาสนา พระมหากษัตริย์ เป็นที่ตั้งตรงอยู่เป็นนติ ย์ ขอเจ้าคุณอย่าปริวิตกให้ยิ่งกว่าเหตุ นิมนต์กลับได้
...” [มหาอำมาตย์ตรี พระยาทิพโกษา (สอน โลหนันท)์ , ๒๕๑๔, น.๗๓]

ไต้ นำ้ มนั ยางและเร่ืองเลา่ จากแสงไต้ โดย ปราณ ปรชี ญา ๕๔

ภมู ปิ ญั ญา [Wisdom]

ภูมิปัญญา คือองค์ความรู้ ทักษะและความสามารถของคนที่เกิดจากการเรียนรู้มาอย่าง
ยาวนานโดยผ่านกระบวนการลองผิดลองถูก แก้ไข ปรับปรุงและพัฒนาจนสามารถนำมาใช้ในการ
ดำรงชีวติ ได้อยา่ งเหมาะสม ภมู ปิ ญั ญามีการสบื ทอดกันมาช้านานถอื เป็นมรดกทางวัฒนธรรม

ภูมิปัญญาในการทำไต้จุดส่องสวา่ งและไต้เชื้อไฟ รวมถึงความรู้ในการเจาะน้ำมันจากต้นยาง
นนั้ มกี ารถา่ ยทอดและสบื สานส่งตอ่ กนั มาหลายชั่วอายคุ น
ต้นยาง

ต้นยาง [Dipterocarpus obtusifolius Teijsm. ex Miq.] มีชื่อเรียกแตกต่างกันไปตาม
ภูมิภาคของประเทศ อาทิ กุง เกาะสะ เตียง คร้าด ตะแบง ตาด ยาง เหียง สะแบง เหียงพลวง เหียง
โยน และยังมีชือ่ พื้นเมืองเฉพาะถิ่นอีก ดังเช่น ขะยาง [ชาวบน นครราชสีมา] ยางแม่น้ำ ราลอย [ชาว
สว่ ย สุรนิ ทร์] ลอยด์ [ชาวโซ่ นครพนม] กาตลี [เขมร ปราจีนบุรี] ยางขาว ยางควาย [หนองคาย] ยาง
ตังชนั นา [ชมุ พร] ยางกงุ [เลย] ยางเนิน [จนั ทบุรี] เคาะ จอ้ ง [กะเหรีย่ ง] ทองหลัก [ละว้า] เป็นตน้

เฮอร์เบิร์ต วาริงตัน สมิธ [Herbert Warington Smyth] นักธรณีวิทยาชาวอังกฤษผู้เคยรับ
ราชการในกรมราชโลหกิจและภูมิวิทยา [Royal Department of Mines and Geology] หรือ 'กรม
เหมืองแร่' ซึ่งเป็นหน่วยงานที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงมีพระบรม
ราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาขึ้นเมื่อวันที่ ๑ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๓๔ ภายใต้การกำกับ
ดูแลของกระทรวงเกษตรพาณิการ ต่อมาระหว่างปีพุทธศักราช ๒๔๓๘–๒๔๓๙ นายสมิธได้ขึ้นดำรง
ตำแหน่งเจ้ากรมเหมืองแร่ และเขาได้เขียนบันทึกประสบการณ์ที่ได้จากการใช้ชีวิตและทำงานอยู่ใน
สยามมาตลอดระยะเวลา ๕ ปี บันทึกการสำรวจพื้นที่ตอนหนึ่งของเขาได้บรรยายถึงความสำคัญของ
ต้นยางที่หมู่บ้านหนึ่งในตำบลเกยชัย [ปัจจุบันอยู่ในอำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์] หมู่บ้าน
ดังกล่าวต้ังอยู่ในจดุ ทีส่ วยงามอยู่บนหาดทรายแหลมทีย่ ืน่ ยาวมีร่มเงาคร้ึมด้วย 'ต้นยาง' สูง เป็นต้นไม้
ที่มีสัดส่วนงดงามที่สุดเช่นเดียวกับความสำคัญของมันในฐานะต้นไม้ที่ทรงคุณประโยชน์ที่สุดในแถบ
อนิ โดจีนนี้

“...Dipterocarpus Levis เป็นไม้จำพวกที่ให้ยาง และข้าพเจ้าก็เชื่อว่าต้นไม้ชื่อ D.
Turbinatus ที่ระบไุ ว้ โดยเซอร์โจเซฟ ฮุคเกอร์ ตามทพี่ บมนั ขึ้นอยู่แถว ๆ เมอื งจติ ตากอง เป็นจำพวก
เดียวกับต้นกานยนิ พม่า [Burmese Kanyin] รวมทงั้ ไมช้ นั ยาเรอื และไม้ยาง เป็นพชื ทเี่ จริญพันธุ์ไปท่ัว
ทกุ สารทิศของดนิ แดนอินโดจนี นับเป็นไม้ปา่ ท่ีมีคณุ ประโยชน์สูงสดุ มันจะยนื ต้นเป็นกลุ่มละ ๔ ถึง ๕
ต้น ในบริเวณใกล้ทางน้ำ ก่อให้เกิดร่มเงา เป็นที่พักพิงที่กองคาราวานจะโปรดปราน กลุ่มที่ข้าพเจ้า
ลองวดั ดูมีความสงู จากกง่ิ ที่ต่ำสดุ ๙๐ ฟตุ แตบ่ างต้นก็เกนิ กว่า ๑๒๐ ฟุต และวดั รอบลำตน้ ได้ ๒๕ ฟุต
ใชว้ ธิ ีเดยี วกนั ในการเก็บนำ้ ยาง ด้วยการกรดี ทลี่ ำต้นเป็นกระเปาะสูงจากพื้น ๒–๓ ฟตุ เพ่ือเก็บน้ำยาง

ไต้ นำ้ มนั ยางและเร่ืองเลา่ จากแสงไต้ โดย ปราณ ปรชี ญา ๕๕

ที่จะไหลออกมาทุก ๒–๓ วัน แลว้ จะเสยี บกิง่ ไม้เผาไฟไปในกระเปาะเพ่ือใหน้ ้ำยางหยุดไหล แต่การทำ
แบบนอ้ี ีกไม่กีป่ ตี ้นไมก้ จ็ ะตาย...” [กรมศลิ ปากร, ๒๕๖๒, น.๑๒๗]

ยางเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดเล็ก ผลัดใบ มีเรือนยอดเป็นพุ่ม สูงประมาณ ๓๐–๔๐
เมตร ลำต้นเกลีย้ งยาวประมาณ ๒๐ เมตร เส้นรอบวงโตตัง้ แต่ ๒๐๐ เซนตเิ มตรขน้ึ ไป เปลือกสีนำ้ ตาล
อมเทา แตกเป็นร่องลึกตามยาว มีถิ่นดั้งเดิมอยู่ในบอร์เนียว [Borneo] หรือ เกาะกาลีมันตัน
[Kalimantan] ประเทศอินโดนีเซีย ชอบขึ้นเป็นกลุ่มในถิ่นทั่วไปที่มีความชุ่มชื้นโดยเฉพาะในที่ราบ
รมิ น้ำ หรือภูเขาในสภาพปา่ ดบิ ป่าเบญจพรรณและปา่ ชายหาดที่มีความสงู ของพื้นท่ีตั้งแต่ ๑๐–๖๐๐
เมตร จากระดบั นำ้ ทะเลปานกลาง ในประเทศไทยมีการกระจายพนั ธ์ไปทั่วทกุ ภมู ภิ าค

องค์ความรู้ในการเลือกเจาะต้นยางเพื่อทำนำ้ มันนั้นชาวบ้านจะเลอื กจากต้นยางที่มีอายุ ๓๐
ปีหรือขนาดเส้นรอบวง ๒ เมตรขึ้นไป [ต้นยางนาสามารถเร่ิมเจาะน้ำมันได้เม่ืออายุ ๑๕–๒๐ ปี แต่จะ
ให้น้ำมันไม่มากเท่าที่ควร] แล้วบากที่ลำต้นให้เป็นโพรงและลึกลงไปเป็นหลุมตามแนวดิ่งสู่ปลายโคน
ต้นประมาณ ๑ คบื บริเวณทีบ่ ากให้สูงจากโคนต้นขึ้นไปประมาณ ๗๐–๘๐ เซนตเิ มตร จดุ ทีจ่ ะบากกะ
ให้ตรงกับกิ่งต้นยางกิ่งแรกของลำต้นจะได้น้ำยางมากกว่าจุดอื่น สุมไฟในโพรงเพื่อกระตุ้นให้น้ำยาง
ไหลเร็วขึ้นประมาณ ๑๕ นาที ดับไฟและทิ้งรอไว้ให้น้ำยางไหลลงมาในหลุมจนได้ปริมาณที่ต้องการ
หรอื ไมล่ น้ ออกนอกหลมุ จงึ ตกั นำ้ ยางนำไปใช้ประโยชน์

ปัจจุบันต้นยางที่ขึ้นในป่าหรือไม่ว่าจะขึ้นอยู่ที่ใดในประเทศไทย แม้จะปลูกไว้ในที่ดินของ
ตนเองถือเป็นไม้หวงห้ามประเภท ก [ได้แก่ ไม้พะยูง ไม้สัก ไม้กระพี้เขาควาย ไม้ชิงชัน ไม้ยาง เป็น
ตน้ ] จะกระทำการใด ๆ ตอ่ ไม้ เช่น ตดั ฟัน โคน่ เลื่อย ถอน ขดุ เปน็ ต้น ตอ้ งยนื่ คำขออนญุ าตทำไม้ใน
ที่ดินกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองเพื่อการใช้สอยส่วนตัว ตามข้อกำหนดฉบับที่ ๑๗ [พุทธศักราช
๒๕๓๐] ต่ออำเภอหรือสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดในทอ้ งที่ [อยู่ศาลากลาง
ทุกจังหวัด] ส่วนในกรุงเทพมหานครให้ยื่นคำขอที่กลุ่มงานอนุญาตไม้และของป่า กองการอนุญาต
กรมป่าไม้ ถ้าหากฝ่าฝืนมีความผิด มีโทษจำคุก ๑–๒๐ ปี และถูกปรับตั้งแต่ ๕๐,๐๐๐ บาท ถึง
๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท

ไต้ น้ำมนั ยางและเรื่องเล่าจากแสงไต้ โดย ปราณ ปรีชญา ๕๖

ไต้ น้ำมนั ยางและเร่อื งเลา่ จากแสงไต้ โดย ปราณ ปรชี ญา ๕๗

นำ้ มนั ยาง
น้ำมันยาง เป็นวัตถุดิบที่ได้จากการเจาะโพรงต้นยางแล้วเผาด้วยไฟเพื่อกระตุ้นให้ไหลลงมา

อยู่ในโพรงที่เจาะเตรียมไว้ น้ำมันยางดิบมีลักษณะเหลวข้นมีความหนืดและมีกลิ่นเฉพาะ เรียกว่า
'Gurjun Balsam' หรือ 'Gurjun oil' นอกจากการทำไต้ส่องสว่างและเช้ือไฟแล้วยังสามารถนำไปใช้
โดยตรงหรือผสมกับชันใช้ยาแนวรอยร่ัวของเรือ หรือใช้ทำนำ้ มันทาไม้ ทาเกวียน ยาเครื่องจักสานกัน
นำ้ ให้เกดิ ความคงทนมากข้ึน

“...ชาวสยามยังได้น้ำมันชนิดต่าง ๆ จากต้นไม้ลางชนิด ใช้ปนกับซีเมนต์ทำให้มีความเหนียว
ย่ิงขนึ้ ผนังที่ใชถ้ มด้วยน้ำมันอย่างน้ีย่อมผ่องดีและเกล้ียงเกลาเป็นมันวบั ราวกับหินอ่อน และอ่างน้ำท่ี
ใช้ซีเมนต์ชนิดนี้ก็กักเก็บน้ำได้ดีกว่าอ่างที่ทำด้วยดินเหนียว และใช้ทำปูนสอก่ออิฐได้มีคุณภาพดีกว่า
ปูนขาวของเรา เพราะน้ำเชื้อหรือน้ำโมงที่เขาใช้ผสมปูนนั้น ต้มเปลือกไม้ลางชนิดกับหนังโคหนัง
กระบือและลางทียังแถมเคี่ยวน้ำตาลลงไปด้วย ต้นไม้ชนิดหนึ่งในป่าสยามให้ยางชนิดนี้ ทำให้การ
เคลือบมีลักษณะเกลี้ยงเกลาเป็นมันวับซึง่ เราเห็นจากผลิตภัณฑ์หลายอย่างที่มีจากประเทศญี่ปุ่นและ
ประเทศจีน พวกปอรตุเกศเรียกยางชนิดนี้ว่า เชแรม [Cheyram] อันเป็นคำที่เนื่องมาจาก cheyro
ซ่งึ แปลว่า กลนิ่ [หรือเครอ่ื งสคุ นธ์] ทัง้ ๆ ท่ียางชนดิ นีไ้ ม่มีสุคนธรสในตัวของมนั เองเลย ชาวสยามเองก็
ไม่สู้จะเข้าใจใช้ยางชนิดนี้ให้เป็นประโยชน์นัก ข้าพเจ้าพบชาวตังเกี๋ยผู้หนึ่งที่กรุงสยามซึ่งทำงาน
ประเภทนี้ แต่ก็ไม่เห็นทำอะไรได้ที่นับว่าเรียบร้อยดี คงจะเป็นเพราะขาดน้ำมันชนิดหนึง่ ซึง่ จะต้องใช้
ผสมกับเชแรม จึงใช้น้ำมันที่หย่อนคุณภาพกว่าผสมลงไปแทน ที่สุดมีผู้บอกแก่ข้าพเจ้าว่าการที่จะลง
น้ำมันให้เป็นเงางามนั้น จำจะต้องลงหลาย ๆ ชั้น อันทำให้ราคาค่างวดแพงเพิ่มขึ้นเป็นธรรมดา ผู้
รจนาจดหมายเหตเุ ร่ืองเมืองจนี ได้กลา่ วไว้ด้วยเหมอื นกนั ว่า น้ำมันชกั เงานม้ี ีอยู่ ๒ ชนิด และชนิดหนึ่ง
นน้ั มคี ณุ ภาพดีกว่าอีกชนดิ หนึ่งมาก เขาใช้วธิ ีทดลองเชแรมด้วยการหยดไปในน้ำ ถ้าหยดน้ำมันนั้นตก
ลงถึงก้นโดยไม่แตกกระจาย ก็นบั วา่ เชแรมน้ันเปน็ ชนดิ ท่ดี มี าก...” [มองซเิ ออร์ เดอ ลาลแู บร,์ ๒๕๕๗,
น.๕๒–๕๓]
หมายเหตุ

Cheyram สนั นิษฐานวา่ น่าจะเปน็ ชนั หรือชะแล็ค

หนงั สือวชิรญาณวิเศษ เลม่ ๖ อธบิ ายการทำน้ำมันยางในสมัยโบราณไวว้ ่า
"...การเผานำ้ มันยางและทำไต้นี้ ต้องไปเที่ยวตรวจดูเสียก่อนว่าป่าไหน แขวงไหน ตำบลไหน
ต้นยางจะมีมากน้อยอย่างไร เหน็ ว่าพอจะทำได้สมควรกับพาหนะของตนแล้ว กต็ อ้ งจัดแจงไปผูกภาษี
เสียก่อนจึงจะลงมือทำได้ การที่จะผูกภาษีนี้ต้องไปผูกต่อเจ้าภาษีที่เขาผูกขาดตัดตอนออกไปจาก
กรุงเทพฯ จึงจะได้ แต่ค่าภาษีที่เขาผูกกันนั้นคละกันทั้งต้นอย่างใหญ่ ต้นอย่างกลาง ต้นอย่างเล็ก
รวมทั้ง ๓ ชนิด ๑๐ ต้นบาท (คือต้นยาง ๑๐ ต้นต้องเสียค่าภาษบี าท ๑) ที่เขาทำกันมากก็ต้องเสียคา่

ไต้ น้ำมันยางและเรือ่ งเลา่ จากแสงไต้ โดย ปราณ ปรชี ญา ๕๘

ภาษีมาก คนหนึ่งทำ ๑๕๐ ต้นต้องเสียค่าภาษี ๑๕ บาท ที่ทำ ๑๐๐ ต้นต้องเสียค่าภาษี ๑๐ บาท
ตามแตท่ ที่ ำนอ้ ยและทำมากดว้ ยกนั

สิ่งซึ่งเป็นของต้องการใช้ก่อนกว่าสิ่งอื่น ๆ ทั้งปวงนั้น คือมีขวานเล่ม ๑ สำหรับที่จะฟันต้น
ยาง มีสิ่วเล่ม ๑ สำหรับที่จะเจาะและขุดต้นยาง กับแครง ๒ ใบ ใหญ่ใบ ๑ เล็กใบ ๑ สำหรับตัก
น้ำมันยางใสค่ รุ กับครุ ๒ คู่หรือ ๓ คู่ สำหรับหาบนำ้ มันยางมาไว้บ้าน กับโอ่งและไหสำหรับที่จะไดใ้ ส่
นำ้ มนั ยางไวท้ ี่บ้านและทเ่ี รอื นเท่าน้ัน

พอเตรียมเครื่องมือพร้อมเสร็จแล้ว เวลาเช้าก็จัดแจงขวานและสิ่ว พากันเข้าไปในป่าไม้ยาง
แล้วก็เจาะต้นยาง เจาะสูงพ้นพื้นดินขึ้นมาประมาณ ๒ ศอกบ้าง ๓ ศอกบ้าง เจาะเป็นบ่อเข้าไปกว้าง
ประมาณ ๑๖ นิ้ว ๑๗ นิ้ว ลึกเป็นบ่อลงไปประมาณ ๑๓ นิ้ว ๑๔ นิ้ว ด้วยเจาะต้นยางน้ีเจาะ ๓ อย่าง
ถ้าต้นใหญ่ต้นหนึ่งเจาะ ๓ บ่อ ถ้าต้นยางอย่างกลางต้นหนึ่งเจาะ ๒ บ่อ ถ้าต้นเล็กต้นหนึ่งเจาะ ๑ บ่อ
การที่เจาะบ่อนี้กว้างและลึกเหมือนกันทุก ๆ ต้น ทุก ๆ บ่อ ไม่แปลกประหลาดอะไรกว่ากัน แต่พอ
เจาะเสร็จแล้วก็จัดแจงเอาเชือ้ ไฟมาเผาจดุ ใส่ลงไปในบ่อทีเ่ จาะไว้นั้น พอไฟติดบ่อทั่วกนั ดีแล้วก็ดับไฟ
เสีย แล้วก็กวาดผงในบ่อเสียให้หมดจด พอเวลากลางคืนน้ำมันยางก็ไหลอาบซาบซึมลงมาขังอยู่ในบอ่
ท่ีเจาะไวน้ ้นั ทกุ ๆ บ่อ ทกุ ๆ ต้น แตเ่ ขาท้งิ ไว้ ๑๐ วัน จงึ จะไปตักน้ำมันยางคราวหนึ่ง เดอื นหนึ่งไปตัก
๓ คร้งั ทุกเดือนไป จะตกั ๔ ครั้ง ๕ ครงั้ กไ็ ม่ได้ ถ้าไปตักเร็วนักแลว้ ได้น้อย อนึ่ง กต็ อ้ งเผาบ่อย ๆ ด้วย
จึงมีกำหนดเสีย ๑๐ วันไปตักครั้งหน่ึง ครั้นถึงกำหนดท่ีจะไปตกั น้ำมนั ยางแล้ว เวลาเช้าจัดแจงเอาครุ
หาบไปคนละคู่ พากันออกไปยังป่าไม้ยาง พอถึงป่าไม้ยางจึงจัดแจงเอาแครงมาตักน้ำมันยางในบ่อใส่
ครุเสียให้หมด แล้วก็ต้องเอาไฟมาเผาที่บ่อยางอีก พอไฟติดทั่วบ่อดีแล้วก็ดับไฟเสียให้หมด แล้วก็
กวาดผงในบ่อเสียให้หมดดีแล้วก็ทิ้งไว้ตามกำหนด แต่การที่เผาและตักน้ำมันยางนี้ ถ้าไปตักครั้งไรก็
ต้องเผาทุก ๆ ครั้งทุกคราวไป ถ้าไม่เผาแล้วน้ำมนั ยางกไ็ ม่ออกเลยจึงต้องเผากนั ร่ำไป เพราะเป็นชนดิ
ของต้นไม้อย่างนั้นเอง แต่การที่ตักที่เผาน้ำมันยางนี้ ที่เผาบ่อนั้นเผาได้เดือนละ ๓ หนทุกเดือนไปจน
สิ้นปี ตักน้ำมันยางนั้นไปตักหนหนึ่ง บ่อหนึ่งคงตักได้นำ้ มันบ่อละทะนาน ๑ หรือทะนานเศษ ต้นใหญ่
ทีเ่ จาะ ๓ บอ่ น้นั ไปตกั หนหนึ่งคงได้ตน้ ละ ๓ ทะนานข้นึ ไป บ่อน้ำมันยางบ่อหน่งึ ๆ น้นั ถา้ จะคิดเป็นปี
แล้ว ปีหนึ่งคงจะได้น้ำมัน ๒๐ ทะนานเศษ คงขายได้เป็นเงิน ๑ บาท ถ้าผู้ใดทำมากถึง ๒๐๐ บ่อ ปี
หนึ่งก็คงจะได้เงิน ๒๐๐ บาท ที่มีพาหนะน้อยทำน้อยเพียง ๑๐๐ บ่อ ปีหน่ึงก็คงได้เงิน ๑๐๐ บาท ที่
ใครมีพาหนะมากกท็ ำไดม้ าก สว่ นผลประโยชนก์ ไ็ ด้มากและนอ้ ยตามแตก่ ำลังของตน

แต่พอตักเสร็จแล้ว เขาก็จัดหาบเอามาใส่โอ่งและไหไว้ที่บ้านและน้ำมันยางนั้นเขาคัดไว้ ๒
ชนิด ชนิดที่ใสเอาไว้ขายดีมีราคา ที่ข้นนั้นเขาเอาไว้สำหรับที่จะทำไต้ได้ต่อไป ที่เขาไม่ขายน้ำมันยาง
ทำแตไ่ ตก้ ็ไม่ต้องคัด ใส่รวมไวแ้ หง่ เดียวกันก็ได้ นำ้ มันยางทีข่ ้นน้เี ป็นด้วยเขม่าไฟและขีเ้ ถ้าเม่ือเผาที่บ่อ
บ้าง เป็นด้วยผงและละอองต่าง ๆ บ้าง จึงทำให้น้ำมันยางนั้นข้นไม่สู้จะใสดี เมื่อเขาจะคัดเอา
น้ำมันยางอย่างที่ใสนัน้ เขาเอาโอ่งใหญ่ตั้งไวก้ ลางแดดแลว้ ก็เอาน้ำมนั ยางนั้นมาใส่ลงไปในโอ่งที่ตั้งไว้

ไต้ น้ำมันยางและเร่อื งเล่าจากแสงไต้ โดย ปราณ ปรีชญา ๕๙

กลางแดด แต่พอแดดร้อนจัดเข้าแล้วน้ำมันยางที่ข้น ที่เป็นผง เป็นละอองต่าง ๆ ก็ลงไปเกรอะอยู่ก้น
โอ่งล้วนเป็นขี้โล้ทั้งสิ้น เขาเห็นว่าน้ำมันยางชั้นบนใสได้ที่แล้ว เขาก็ตักเอาน้ำมันที่ใสผ่อนไว้เสียแห่ง
หนึ่ง เขม่า และผง และขโี้ ล้ ก็ลงไปนอนอย่กู น้ โอ่ง

แต่น้ำมันยางที่ใสที่คัดไว้นั้น คนหนึ่งที่ทำอย่างขยัน ๆ ฝีมือจัด ๆ นั้น ปีหนึ่งคนหนึ่งทำเพียง
๕๐ ต้นยาง ประมาณเป็นบ่อ ๑๐๐ บ่อเศษ ปีหนึ่งจะได้น้ำมันยางประมาณ ๓,๕๐๐ ทะนาน คงจะ
เป็นข้ีโล้เสยี สัก ๑,๐๐๐ จะไดอ้ ยา่ งท่ใี สดีสัก ๒,๕๐๐ ทะนานเศษ แตท่ ่ีขายกนั ตามประเทศนั้น ราคาท่ี
ซื้อขายกันอยู่ ๒๐ ทะนานบาท ถ้าขายเป็นร้อย ร้อยละ ๔ บาท ๒ สลึงบ้าง ๕ บาทบ้าง ในปีหนึ่งคน
หนึ่งคงจะขายได้เงินเพียงชั่ง ๑๐ ตำลึงเป็นอย่างกลาง ที่เขามีพาหนะมากแห่งหนึ่งทำได้ประมาณ ๓
ชง่ั บ้าง ๔ ชั่งบา้ ง ๕ ชงั่ บ้าง ตามแตก่ ำลงั ของคนในประเทศน้นั ..." [กรมศลิ ปากร, ๒๕๕๑, น.๘๔–๘๗]

ราคาจำหน่ายนำ้ มนั ยาง [ราคาขายในปจั จบุ นั เมอ่ื พฤษภาคม พุทธศกั ราช ๒๕๖๕]
น้ำมันยาง [นา] ชนดิ กลั่น ราคาลติ รละ ๒๓๐ บาท
น้ำมนั ยาง [ผสมจากไมส้ กลุ ยางหลายชนดิ ] ราคาลิตรละ ๑๓๐ บาท
นำ้ มนั ยาง [ผสมจากไม้สกุลยางหลายชนดิ ] ๒๐๐ ลิตร ราคา ๒๑,๐๐๐ บาท

ทม่ี า บรษิ ทั เอสเอสซีวีคอรป์ อเรชัน่ จำกดั [https://www.nanagarden.com/shop/]
น้ำมนั ยาง [นา] ชนดิ กล่ัน ราคาลิตรละ ๒๓๐ บาท
น้ำมันยาง [ผสมจากไม้สกลุ ยางหลายชนิด] ราคาลิตรละ ๑๗๐ บาท
น้ำมนั ยาง [ผสมจากไมส้ กุลยางหลายชนิด] ๒๐๐ ลิตร ราคา ๒๑,๐๐๐ บาท

ท่ีมา บริษทั เออีซีพัฒนาผลิตภัณฑ์ จำกัด [http://www.kasetvirul.com/]

• องค์ความรูใ้ นการทำไต้ชนดิ ตา่ ง ๆ

ไต้ภาคเหนอื
บุญยัง ชุมศรี และชรินทร์ แจ่มจิตต์ อธิบายการทำและการใช้ประโยชน์จากไต้ของชาวเหนือ

ไวว้ า่
“...ไต้ เป็นของใช้สำหรับจุดไฟให้แสงสว่าง โดยมากมักทำจากไม้ไผ่อย่างไม้ส้าว [ไม้สอย] ที่

เกา่ หรอื ผแุ ล้ว มาผา่ ให้เป็นซ่เี ลก็ ขนาดกว้างประมาณ ๑ เมตร ใช้ตอกมดั เป็นเปลาะ ๆ ใชจ้ ุดไฟให้แสง
สว่างเวลาเดินทาง เมือ่ ถึงทห่ี มายหรือหมดประโยชน์แลว้ ก็สามารถทิ้งไปได้ ลกั ษณะของไม้ไผ่นี้ จะติด
ไฟได้ง่ายและให้แสงสวา่ งได้ดี คุณสมบัติของไต้ท่ีทำไดง้ ่าย สามารถใช้ในการเดนิ ทางโดยไม่ต้องกงั วล
วา่ ไต้จะดับเพราะลมแรง และอาจทง้ิ ไปได้ อกี ทง้ั ไม่จำเปน็ ต้องคำนงึ ถึงราคา ดังกล่าวนี้ ทำให้มีการใช้
ไต้อย่างแพร่หลาย เช่น ใช้เป็นแหล่งแสงสว่างในการเดินทางอย่างจากไร่นากลับมาบ้าน ใช้ส่องทาง

ไต้ น้ำมันยางและเรอ่ื งเล่าจากแสงไต้ โดย ปราณ ปรชี ญา ๖๐

เมือ่ หาบของไปยังทีห่ มายซง่ึ อยู่ไกลและต้องออกเดินทางตงั้ แตด่ ึก ใช้เป็นแหล่งแสงสว่างในการจับสัตว์
เปน็ อาหาร...” [บุญยงั ชมุ ศรี และชรนิ ทร์ แจม่ จิตต,์ ๒๕๔๒, น.๒๕๙๘–๒๕๙๙]
หมายเหตุ

ไมส้ ้าว คอื ไม้ไผร่ วก
ไมส้ อย คอื ไมไ้ ผร่ วกทไ่ี ว้ใชส้ อยผลไม้
ไต้ ภาษาเหนือบางพื้นทีเ่ รียกว่า ไม้แคร่
ไต้ภาคตะวนั ออกเฉียงเหนอื
ข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านหัตถกรรม [จันทร์จิลา จิ๋วสละ และทิพวรรณ สราญรมย์,
สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน)] เรื่องขี้ไต้อ่อยไฟ ของชาวบ้านหนองไฮ
น้อย ตำบลหนองข่า อำเภอปทุมราชวงศา และบ้านเหล่าพรวน ตำบลเหล่าพรวน อำเภอเมือง
อำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ บันทึกรายละเอียดไว้น่าสนใจทั้งการเรียกวัตถุดิบด้วยภาษาพื้นถ่นิ
และวิธีการทำไต้ สรุปได้วา่
นางปรม เสียงสา อาชีพเกษตรกร [ทำนา] เรียกไต้หรือกะบองว่า 'ขี้ไต้อ่อยไฟ' ส่วนนางจูม
สุดสูง อาชพี เกษตรกร เรยี กวา่ 'กะบองหรอื มัดกะบอง' นำ้ มนั ยางทนี่ ำมาเป็นวตั ถุดิบได้จากต้นยางนา
และต้นสะแบงในพื้นที่ วิธีการเจาะน้ำมันยางก็คล้าย ๆ กันกับชาวบ้านในภูมิภาคอื่น แต่ของถิ่นของ
ชาวบา้ นหนองไฮนอ้ ยและบา้ นเหลา่ พรวนน้มี ีคตคิ วามเชอ่ื เร่อื งการเจาะน้ำมันยางตามโบราณว่า
"...การขุดเจาะขุมขี้ยางหรือน้ำมันยางนั้น ห้ามมิให้คนวัยรุ่นเจาะเองโดยลำพัง ต้องให้
ผสู้ งู อายเุ จาะเท่าน้นั จึงจะไมผ่ ิดข้อคะลำ [จารีตประเพณี]..."
ส่วนวัตถุดิบอื่น ๆ และอุปกรณ์ในการทำกะบองของนางปรม เสียงสา และนางจูม สุดสูง มี
ดงั นี้
๑. ไมข้ อนดอก หรอื ข้ีเล่ือย
๒. ใบตองต้นชาด สำหรับห่อขี้กะบอง เลือกใบที่พอดี [ไม่แก่ ไม่อ่อนมาก] ถ้าเลือกใบท่ีแก่
มากเวลาห่อจะแตกขาดง่าย จากนั้นให้ลอกเอาติวใบ [เส้นใบ] ออก ถ้าเก็บไว้นานหลายวันให้ใช้ไม้
หรือสิ่งของทหี่ นัก ๆ ทบั ไว้จะทำใหใ้ บตองแผ่ไมม่ ้วนทำให้หอ่ งา่ ยและสวยงาม
๓. ครุถงั หรอื ภาชนะสำหรบั ใส่ขี้ยางหรอื น้ำมันยาง
๔. ฮางหรือกระบะไม้ สำหรับไว้คลกุ เคล้าผสมขย้ี างกับไม้ขอนหรือข้เี ล่ือย
๕. ขวาน มีด เสียม สำหรับเฉาะขุมข้ยี าง [ขุม คือการเจาะหลุมสำหรับกักเก็บนำ้ ยาง]
๖. บว่ ง หรือชอ้ นสำหรบั ตกั ขยี้ าง [สมัยโบราณใชเ้ ปลือกหอยกาบ]
๗. ไมไ้ ผ่นำมาจกั ทำเปน็ ตอกสำหรบั มัดกะบอง

หมายเหตุ

ไต้ น้ำมนั ยางและเรอื่ งเล่าจากแสงไต้ โดย ปราณ ปรีชญา ๖๑

๑] ต้นสะแบง เป็นภาษาถิน่ ของชาวอสี านเรยี กต้นยางกราด เป็นไม้ยืนต้น สูงประมาณ ๑๕–
๓๐ เมตร สกลุ เดียวกบั ยางนา ยางเหียง ยางพลวง

๒] ภาษาอสี าน นอกจากเรยี กไต้ว่า กะบองแล้ว บางพื้นท่เี รยี กว่า กะไต้ หรือ ดุน้ กะไต้ ดนุ้ กะ
บอง กะบองข้ยี าง กะบองขก้ี ะโตด เป็นต้น

ไต้ภาคตะวนั ออก
ชาวบ้านในแถบภาคตะวันออกไม่นิยมเรียกชื่อไต้แยกชนิดหรือแยกประเภทมักเรียกรวมว่า

'ไต้' ไม่ว่าจะทำหรือห่อด้วยวัสดุชนิดใด ไต้จากน้ำมันยางมีวิธีทำเหมือนเช่นภาคอื่น ๆ คือการเจาะ
นำ้ มนั จากต้นยางแลว้ นำมาคลุกกบั ไม้ผหุ ่อด้วยวสั ดุที่หาได้ในแหลง่ ท้องถน่ิ เช่น ใบเตย ใบเสมด็ [พื้นท่ี
ราบชายทะเล] ใบกะพอ้ หรือใบพลวง [พืน้ ทรี่ าบชายเขา] เปน็ ตน้ มัดดว้ ยตอกเป็นเปลาะ ๆ

ไต้ภาคใต้
ชาวใตท้ ำไต้ไว้ใช้มหี ลายชนิด ดงั นี้
ไต้เล็ก ห่อด้วยใบเตยหนาม [ใบลำเจียก] เป็นที่นิยมมากกว่าไต้ชนิดอื่นเนื่องจากมีขนาดและ

น้ำหนักท่ีพอเหมาะแก่การถือในยามเดินทาง กล่าวคือมีขนาดเส้นผ่านศูนยก์ ลางประมาณ ๑ นิ้ว และ
ยาวประมาณ ๑๒ นิ้ว หรือไม่เกิน ๑๕ นิ้ว แม้จะมีขนาดเล็กแต่ก็มีกรรมวิธีทำที่ยุ่งยากกว่าไต้ชนิดอนื่
ขนั้ แรกนำนำ้ มันยางคลุกกับเปลือกต้นเสม็ดทฉี่ ีกละเอียดเตรียมไว้ [เรยี กวา่ ขีช้ ัน] จากนั้นต้องทำห่อไต้
หรือเรียกว่าทำการคาดเปลือกใต้ไว้ โดยนำใบเตยหนามมาระหนามออกแล้วลนไฟ จากนั้นพับใบให้
ยาวตามขนาดของลำไต้ [๑๒–๑๕ นิ้ว] ตัดออกเป็นท่อน ๆ ตามแบบที่ต้องการ ใช้คลุ้ม [ต้นตะคลุ้ม]
หรือคล้า [ต้นแหย่ง] มัดเป็นเปลาะ ๆ เปลาะหนึ่งห่างประมาณ ๒ นิ้ว ที่ปลายหางผูกแน่นแบบผูกจุก
[เรยี กว่าคาดพุง] เม่ือคาดเปลอื กสำหรับห่อไต้ตามจำนวนทตี่ ้องการแล้ว กใ็ ชไ้ ม้ทเ่ี รียกว่า 'ไม้จุกไต้' ซ่ึง
มีขนาดโตพอทจ่ี ะใส่เข้าไปในเปลือก [หอ่ ] ไต้ได้ นำไมจ้ ุกไต้มาปักยึดกับพน้ื ดินให้ม่ันคงแขง็ แรงโดยปัก
เอียงเล็กน้อย เอาข้ีชนั ท่ีเตรียมไว้อัดเข้าไปในเปลือกไต้ [เรียกวา่ 'จุกไต้'] แลว้ ควำ่ ครอบลงกับไม้จุกไต้
กระทงุ้ จนแน่น จากนน้ั จึงจุกหรืออัดเข้าไปอีกสลบั กันไปเร่ือย ๆ ไปจนเต็มเปลอื กลำไต้ เม่ือจุกไต้เสร็จ
แล้วนำมามัดรวมกันมัดละ ๕๐ ลำ เพื่อสะดวกในการนับเวลาส่งขาย พื้นที่ที่เคยมีการทำไต้เล็กขาย
เปน็ อาชีพของชาวนครศรธี รรมราช ได้แก่ อำเภอท่าศาลา อำเภอสชิ ล และอำเภอขนอม เปน็ ต้น

ไต้เสือมาย มวี ธิ ีทำง่าย ๆ โดยใช้นำ้ มนั ยางขนุ่ คือ กากน้ำมนั ยางทเ่ี หลอื จากการกรอง นำกาก
ส่วนที่ขุ่นนี้มาทำไต้เสือมาย ลำไต้ใช้ไม้ไผ่ [หากเป็นไผ่โป๊ะยิ่งดีเพราะมีข้อปล้องยาว] โดยเว้นข้อหนึ่ง
ตัดลำให้ยาวประมาณ ๑ เมตร จากนั้นนำน้ำมันยางขุ่นใส่จนเต็มข้อปล้อง แล้วจุดไฟจะมีแสงสว่างใช้
เป็นคบไต้ได้ทันที ไต้เสือมายมีข้อดีคือทำง่าย สะดวก รวดเร็ว เวลาใช้ไม่ต้องเขี่ยไต้เหมือนไต้ชนิดอ่ืน

ไต้ นำ้ มนั ยางและเรื่องเล่าจากแสงไต้ โดย ปราณ ปรีชญา ๖๒

และต้านกระแสลมได้ดี ข้อเสียคอื มเี ขม่าควันมากจงึ ไมน่ ิยมจุดใชภ้ ายในบ้านเรือน ชาวไตม้ ักใช้ไต้เสือ
มายปักทัว่ ไปในสวนผลไมป้ อ้ งกนั คา้ งคาวแม่ไกม่ ากัดกนิ ผลไม้

ไต้ทอ หรอื ไต้กระทอ ทำคลา้ ยไต้เสือมายแตม่ วี สั ดุอืน่ ชว่ ยในการติดไฟ กล่าวคือลำไต้ใช้ปล้อง
ไม้ไผ่ขนาดโตกว่าข้อมอื เล็กน้อยยาวประมาณ ๑ ปล้อง ปลายข้างหน่งึ ให้มีข้อตนั ปลายอกี ดา้ นหนง่ึ ตัด
ข้อออก เทน้ำมันยางหรือน้ำมันชันใส่ลงไปในปล้องไม้ไผ่จนเกือบเต็ม จากนั้นใช้เศษผ้า เปลือกเสม็ด
หรือกาบมะพร้าวยุ่ยอุดปากกระบอกไว้ เวลาจะใช้ใหค้ ว่ำปากกระบอกให้น้ำมันไหลมาเปียกชุ่มวัสดุที่
อุดปากกระบอกนั้นแล้วจดุ ไฟ เมื่อไฟจวนมอดก็ควำ่ กระบอกให้น้ำมันเทลงมาชุ่มเศษผ้า เปลือกเสมด็
หรอื กาบมะพรา้ วอกี ทำเชน่ น้ีเรือ่ ย ๆ จนกวา่ น้ำมันในกระบอกจะหมด

ไต้หน้าช้าง เป็นไต้ขนาดใหญ่ มีลำไต้โตขนาดต้นมะพรา้ ว ความยาว ๒–๕ เมตร ห่อด้วยไม้ไผ่
สับฟาก [ภาคใต้เรียกว่าสับเรือก] จึงไม่เหมาะสำหรับการใช้ส่องนำทางและไม่นิยมใช้ในยามปกติ ไต้
หน้าช้างทำขึ้นเม่ือต้องการแสงส่องสว่างเป็นวงกว้างใช้เวลามีงานมงคลหรืออวมงคลต่าง ๆ อาทิ งาน
ศพ งานบวช งานแต่งที่มีผู้คนมาร่วมงานเป็นจำนวนมาก และชาวบ้านทำถวายวัดเมื่อมีงานบุญ
ประจำปี

การทำไตห้ นา้ ช้างน้ันต้องใช้วัสดุปริมาณมากเนื่องจากลำไต้มีขนาดใหญ่ ไตห้ น้าชา้ งลำหนึ่งใช้
นำ้ มันยาง ๒–๓ ปบ๊ี แลว้ แตข่ นาดของลำไตจ้ ะยาวหรือสั้น ส่วนผสมสำคัญคือน้ำมันยาง ใบปอจงและ
ไมผ้ ุ นำใบปอจงจำนวนทตี่ ้องการผ่ึงกลางแดดจนแห้ง ผา่ ไมผ้ ชุ นิดไม้เนอื้ ออ่ นเป็นชนิ้ บาง ๆ ผสมกับใบ
ปอจง ใช้น้ำมันยางราดแล้วคนให้ทั่ว ใช้เท้านวดเหมือนนวดข้าว ขั้นตอนนี้ภาษาถิ่นใต้เรียกว่า 'นวด
ชัน' เมื่อนวดน้ำมันยาง ใบปอจงและไม้ผุเข้ากันดีแล้ว จะได้ส่วนผสมที่เรียกว่า 'ชัน' หรือ 'ขี้ชัน'
จากนั้นนำไม้ไผ่ผาก [ชื่อพันธุ์ไผ่ชนิดหนึ่ง] ทั้งลำยาวตามขนาดของลำไต้ที่ต้องการ เช่น ลำไต้ยาว ๒
เมตร ก็ใช้ไม้ไผ่ผากยาว ๒ เมตร ใช้ขวานทุบหรือสับให้แตกเป็นฟาก เมื่อได้ไม้ไผ่ตามที่ต้องการแล้วก็
นำไปหอ่ ชนั หรอื ข้ชี นั ทเ่ี ตรียมไว้ใหเ้ ป็นลำไต้ มัดดว้ ยหวายเปน็ เปลาะ ๆ เปลาะหน่งึ ห่างกนั ประมาณ ๕
นิ้ว แลว้ ห่อทบั ภายนอกด้วยใบเตยอีกชั้นหน่ึง
หมายเหตุ

ปอจง [ต้นปอหู หรือต้นพญาคชราช] คือพืชยืนต้นชนิดหนึ่งชอบขึ้นตามริมเนินสูงหรือควน
และชายเขา มีใบกลมใหญ่ขนาดจานข้าว ตน้ ที่สมบรู ณด์ ีใบจะโตกว่าจานมาก กา้ นใบยาว ใบหนาและ
มขี นท่หี ลังใบ คนโบราณมักนำเปลือกของตน้ ไปกั้นบา้ นเรือนท่ีอยู่อาศัย ทำโรงช้าง [กูบชา้ ง] ทำกล่อง
เก็บยากลาย

ไผผ่ าก คือไผ่ชนดิ หน่งึ มีขนาดกลาง เนอื้ เหนียว หนา ไม่มีหนาม [สำเนยี งใตเ้ รียกไพพ่ ้าก]

ไต้ นำ้ มันยางและเร่ืองเล่าจากแสงไต้ โดย ปราณ ปรีชญา ๖๓

• องคค์ วามรใู้ นการเจาะนำ้ มนั ยาง

ต้นยางที่สามารถเจาะน้ำมันได้มีภาษาถิ่นเรียกชื่อต่างกัน เช่น กุง เกาะสะ เตียง คร้าด
ตะแบง ตาด ยาง เหยี ง สะแบง เหียงพลวง ฯลฯ สว่ นความรู้ในการเจาะตน้ ยางเพ่ือเอาน้ำมันมาทำไต้
และนำมาใช้ประโยชน์อื่น ๆ นั้น แต่ละท้องถิ่นจะมีขั้นตอนและวิธีเจาะคล้าย ๆ กัน มีความแตกต่าง
บางเรื่อง อาทิ วัสดุอุปกรณ์ที่นำมาใช้ ภาษาถิ่นที่เรียกการเจาะต้นยางต่างกัน และคำสอน ความเชื่อ
ของคนโบราณที่บอกกล่าวเล่าต่อกันมาของบางกลุ่มชาติพันธุ์ ดังนั้นวิธีการเจาะต้นยางจึงจะอธิบาย
ข้นั ตอนแบบภาพรวม ดังนี้
วิธเี จาะตน้ ยาง

๑. เลือกตน้ ยางทมี่ ีลำต้นขนาดใหญ่
๒. ใช้ขวานเจาะลำต้นเพื่อทำโพรงรับน้ำมัน โดยวัดจากโคนต้นขึ้นมาประมาณ ๑.๐ เมตร
เจาะให้ลึกลงไปในเนื้อไม้ยางเป็นรูปสามเหลีย่ มให้มีขนาดยาวตามขวางประมาณ ๑๒–๑๕ นิ้ว ขนาด
ยาวตามแนวตรงลำต้นประมาณ ๙–๑๐ นิ้ว
๓. ขอดดา้ นลา่ งของโพรงให้เป็นหลมุ ลกึ เพื่อรองรบั นำ้ มนั ยาง
๔. ใช้ไฟสมุ ในโพรง [หลมุ ยาง] เพอ่ื กระตุ้นให้นำ้ มันยางไหลลงมา
๕. เมอื่ น้ำมนั ยางไหลลงมาอยู่บรเิ วณหลมุ ทร่ี องรับก็ใช้อปุ กรณ์ [กะลามะพร้าว แครง เปลือก
หอยกาบ ฯลฯ] ตักนำ้ มนั ยางใสภ่ าชนะท่เี ตรยี มไว้ [กระบอกไม้ไผ่ ครุ กระตกิ ถงั ป๊บี ฯลฯ]
การเจาะยางแต่ละครั้ง จะได้น้ำมันยางประมาณมากน้อยแล้วแต่ความสมบูรณ์ของต้นยางท่ี
เจาะ น้ำมันยางที่ได้นำไปใช้ทำไต้ส่องสว่าง ไต้เชื้อไฟ ชุบเปลือกไม้ใช้เป็นเชื้อเพลิง หรือใช้ยาหรืออุด
เรือ เคร่อื งจกั สาน ร่มกระดาษ และทาไม้ เปน็ ต้น

ไต้ นำ้ มนั ยางและเรอ่ื งเลา่ จากแสงไต้ โดย ปราณ ปรชี ญา ๖๔

• องค์ความรู้ในงานฝมี ือของบ้าน [Folk Craft]

ไตส้ ่องสวา่ งทำด้วยเปลอื กตน้ เสม็ดแห้งคลุกนำ้ มันยาง ห่อดว้ ยกาบหมากแหง้ หรอื ใบเตย หรือ
ใบของพืชชนิดอ่ืน ๆ ในท้องถิ่น มดั ดว้ ยเชอื กคลา้ หรอื ตอกติดกันเป็นเปลาะ สว่ นปากใหญ่คอ่ ยเรียวไป
ทางปลายหาง ไต้ไม่ว่าชนิดหรือประเภทไหนเมื่อถกู เผาไหม้จะมีควันและเขม่ามาก เมื่อไต้ติดไฟไปสกั
ระยะหนึ่ง เถ้าถ่านที่เกิดจากการเผาไหมจ้ ะจับเกาะหน้าไต้ทำให้การเผาไหมไ้ ม่ดีเปลวไฟจะหรี่ต้องใช้
ไม้เขี่ยขี้ไต้ออก ขี้ไต้ที่ร่วงหล่นจะมีลูกไฟเล็ก ๆ ที่ยังไม่มอดดับ ชาวบ้านจึงมีการทำท่ีตั้งหรือที่วางไต้
และมีที่สำหรับรองรับขี้ไต้ป้องกันลูกไฟในขี้ไต้ลุกติดเสื่อหรือพื้นเรือน ที่วางไต้และรองรับขี้ไต้มีชื่อ
เรียกแตกต่างกันตามพื้นถิ่น เช่น ตะคันเสียบไต้ ตีนไต้ โพรงกระบอกไฟ หรือรางไต้ วัสดุส่วนใหญ่ทำ
ดว้ ยไม้รูปลกั ษณะแบบเขียง บางพนื้ ทที่ ำดว้ ยดินเผา

๑. ตะคนั สียบไต้ [ภาคกลาง]
ตะคันเสียบไต้ เป็นภูมิปัญญาของชาวบ้านในการออกแบบที่วางไต้และรองรับขี้ไต้ให้เหมาะ

กับการใช้งาน เสฐียรโกเศศ เขียนคำอธิบายวิธีใช้ตะคันเสยี บ
ไตไ้ วว้ ่า ตามปกติใช้เขียงไม้รปู ส่ีเหล่ียมผนื ผ้า ปักหลักมีขนาด
สูงพอสมควรไว้ที่ตรงตอนกลางของเขียง แต่ล้ำหน้าบ้าง
เล็กน้อย พอให้วางไต้ไว้ในเขียงไม่ให้ปลายไต้หรือหางไต้ล้ำ
เลยออกไป เพื่อกันสะดุด ที่ปลายหลักทำเป็นง่ามเอาไต้วาง
นอนตะแคงเป็นอย่างวางต้ังทแยงมุม ให้หัวไต้ยื่นเชิดเลยงา่ ม
ออกไปตามสมควร เมื่อจุดไต้ลุกลามหมดเข้าไปเกือบถึงง่าม
ไม้ที่รองรับ ก็จับเลื่อนลำไต้ขึ้นไปที่ง่ามโดยลำดับ จนกว่าจะ
หมดลำไต้ เพราะฉะนั้นที่ง่ามไม้จึงมักมีเดือยสำหรับเสียบไต้
ไวไ้ ม่ใหห้ ลดุ [เสฐยี รโกเศศ, ๒๕๐๗, น.๔๓] ตวั เขยี งจะทำเปน็
กระบะไว้รองรบั ขีไ้ ต้
หมายเหตุ
คำว่า 'ตะคัน' เป็นคำโบราณเชน่ เดยี วกบั 'ไต'้ และเป็นเครอื่ งตามไฟประเภทหน่งึ ท่ีมีใชม้ าเน่ิน
นานและถูกปรบั ปรุงรูปลักษณะการใช้งานเรื่อยมาจนกระทัง่ พฒั นาเป็น 'ตะเกียง' ความหมายตามรปู
ศัพท์อธิบายวา่ เคร่อื งปัน้ ดนิ เผารูปคลา้ ยจานขนาดเล็ก ๆ สำหรบั วางเทียนอบหรอื เผากำยานเมื่อเวลา
อบน้ำทำน้ำอบไทย เปน็ ตน้ หรอื ใชใ้ ส่น้ำมันตามไฟต่างตะเกยี ง [ราชบัณฑติ ยสถาน, ๒๕๔๖, น.๔๗๕]
เมื่อเวลาอบเทียนหรือเผากำยานจะวางถ้วยตะคันบนฐานรองรับเรียกว่า 'ทวน' ชาวล้านนาเรียกถ้วย
ตะคันว่า 'ผางประทีป' หรือ 'ผางประทีส' หรือ 'ผางผะตีด' [เสียงพูดออกสำเนียงว่า 'ผางผะดี้ด' หรือ
'ผางผะตี๊บ'] ตะคันดินเผาแบบโบราณมีการขุดพบในแหล่งโบราณสถานสมัยก่อนประวตั ิศาสตร์หลาย

ไต้ นำ้ มันยางและเร่ืองเล่าจากแสงไต้ โดย ปราณ ปรีชญา ๖๕

แหง่ อาทิ แหลง่ เมอื งโบราณบ้านคูเมือง อำเภออินทรบ์ รุ ี จงั หวัดสงิ ห์บรุ ี อายุราวพทุ ธศตวรรษท่ี ๑๑–
๑๖ แหล่งเมืองโบราณบ้านคูบัว อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒–๑๗
แหลง่ โบราณสถานถำ้ ววั อำเภอบา้ นลาด จงั หวดั เพชรบุรี อายุสมยั ทวารวดี–อยุธยา กล่มุ โบราณสถาน
เขาพระบาทใหญ่ ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมืองสุโขทยั จังหวัดสุโขทัย อายุราวพทุ ธศตวรรษที่ ๒๐–๒๒
เปน็ ต้น

๒. รางไต้ [ภาคเหนอื ]
รางไต้ ในภาคเหนือมีหลายชื่อเรียก อาทิ โพรงกระบอกไฟ จุดใต้ ตีนไต้ และเชิงไต้ เป็นต้น
ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง หรือทำด้วยดินเหนียวก็ได้ การทำรางไต้ด้วยไม้จะทำอย่างง่าย ๆ โดยเจาะแผ่นไม้
หรืออาจใช้ไม้เป็นท่อน ๆ เจาะให้เว้าลึกเป็นราง รางนี้เป็นที่รองรับขี้ไต้ เจาะรูไม้ในแผ่นรางนั้น ใช้
ท่อนไมอ้ กี ท่อนตอกไปทีร่ อเจาะเตรยี มไว้ ไม้ทอ่ นดงั กล่าวจะตั้งฉากกบั รางแผ่นไม้ ปลายบนท่อนไม้ทำ
รอ่ งไวว้ างไต้สำหรับจุด บางชนดิ เปน็ กรวยทำดว้ ยกาบหมากครอบด้านบนเพื่อป้องกันควันหรือเขม่าไฟ
ต่อมาได้เปลี่ยนแปลงการทำรางไต้โดยการปั้นด้วยดินแล้วนำไปเผา การปั้นมีลักษณะเหมือนเตาเชิง

กราน แต่มีที่ต้ังไตเ้ ป็นท่อ ๆ สงู ทอ่ แรกท่อี ยู่ตรงขอบจะสูง
ประมาณ ๑๕ เซนติเมตร อีกท่อหนึ่งอยู่ในรางจะสูง
ประมาณ ๕๑๐ เซนตเิ มตร ทอ่ ดังกลา่ วจะใช้สำหรับวางต้ัง
ไต้ในเวลาจุด การจุดไต้ครั้งแรกจะวางไต้ไว้ที่ท่อสูงก่อน
พอไต้ไหม้เกอื บถงึ ท่อแลว้ กย็ กมาวางที่ท่อตำ่ กวา่ ไตจ้ ะไหม้
จนหมด การใช้รางไต้ที่เป็นดินปั้น โดยการนำไปเผานี้จะมี
ลักษณะสวยงามแล้วแต่การออกแบบ [สนม ครุฑเมือง,
๒๕๓๑, น.๒๓๗–๒๓๘]
๓. โฮงกะบอง [ภาคตะวนั ออกเฉยี งเหนอื ]
โฮงกะบอง ภาษาอีสานเรยี กอีกอย่างว่า 'เขยี งกะบอง' คือฐานไม้รองรบั ขก้ี ะบอง [ไต]้ และมที ี่
เสียบกะบองทำเป็นกระบะไมข้ นาดกว้าง ๘ นิ้ว ยาว ๑๒–๑๖ นิ้ว สะดวกในการยา้ ยที่ และขี้ไต้ไม่ตก
เรยี่ ราดบนพ้นื เรอื น
๔. ตนี ไต้ [ภาคใต้]
ตีนไต้ เป็นเครื่องใช้สำหรับเสียบลำไต้ มีส่วนรองรับขี้ไต้ซึ่งเป็นเถ้าถ่านจากการเผาไหม้ไม่ให้
ร่วงหล่นบนพื้น มีส่วนประกอบ ๒ ส่วนคือ ส่วนรองรับขี้ไต้ ทำจากไม้เนื้อแข็ง มีรูปร่างต่าง ๆ กัน
โดยทั่วไปจะทำเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขุดเป็นกระบะสำหรับรองรับขี้ไต้ อีกส่วนหนึ่งคือขาตีนไต้ ทำ
ดว้ ยไม้ตอกตดิ กับตวั ตนี ไต้หรือขอบกระบะ ทำเป็นเสาโค้งไปด้านหลังคล้ายหางยามของคันไถ มีเหล็ก
แหลมตอกไว้กลางเสา ปลายเหล็กขนานไปกับขอบของกระบะหลังเพื่อใช้เสียบลำไต้ให้ปลายเชิดสูง
ประมาณ ๓๐ องศา และเพื่อไม่ให้ลุกลามเร็วเกินไป เมื่อขี้ไต้ร่วงหล่นก็จะตกลงในกระบะที่รองรับ

ไต้ นำ้ มันยางและเร่อื งเล่าจากแสงไต้ โดย ปราณ ปรีชญา ๖๖

ข้างล่าง และอาจทำที่สำหรับวางไม้เขี่ยไต้ไว้ที่กระบะด้วยก็ได้ ตีนไต้สามารถเคลื่อนย้ายที่ตั้งได้
โดยสะดวก แต่ในบางบ้านอาจมีตีนไต้วางไว้ตามที่ต่าง ๆ หลายอัน เพื่อความสะดวกในการใช้งาน
[สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคใต้, ๒๕๔๒, ๒๗๑๓–๒๗๑๔]

• องคค์ วามรูใ้ นการใช้ไตแ้ ละนำ้ มนั ยางเพอ่ื การอ่ืน

๑. ไตท้ ำเชือ้ ก่อไฟ
การทำไต้เป็นเชื้อก่อไฟ หรือขี้ไต้อ่อยไฟ [ภาษาถิ่นอีสาน] เพื่อให้ไฟลุกลามเผาไหม้ไม้ฟืน
หรือถ่านที่วางทับซ้อนโปร่ง ๆ บนเชื้อไต้ต่อไปนั้นมีวิธีทำเชน่ เดียวกับการทำไตใ้ ห้แสงสวา่ งคือนำไม้ผุ
หรอื ขเ้ี ลอ่ื ยไปคลุกเคล้ากับน้ำมนั ยางให้ซมึ จนทัว่ แลว้ ป้นั เปน็ แทง่ ทรงกลมขนาดพอประมาณให้เหมาะ
กับการตัดแบ่งเป็นเชื้อก่อไฟ ปัจจุบันยังมีการทำไต้เป็นเชื้อก่อไฟจำหน่ายอยู่บ้างโดยปรับเปลี่ยน
รปู ลกั ษณะตามยคุ สมยั เชน่ แบบแท่ง แบบเมด็ แบบแผน่ [สามารถหกั ใชไ้ ดส้ ะดวก] เป็นตน้

๒. ไตเ้ พ่ือการคล้องชา้ งในสมยั โบราณ
“...ถ้าจะต้อนโขลงช้างผ่านทุ่งหรือข้ามลำน้ำ ต้องต้อนในเวลากลางคืน เพราะคนอาจเข้าไป
ใกล้กว่าต้อนกลางวัน ต้อนแต่ด้วยเสียงตะขาบอย่างนั้นมาได้จนถึงคอก แต่ต้องกะให้ถึงเวลามืดค่ำ
อย่าให้ช้างเห็นแนวเสาปีกกาที่ปักต้าย จนโขลงช้างผ่านพ้นแนวเสาปีกกาถึงปากคอก จึงจุดต้ายไฟท่ี
รายไวป้ ดิ ทางข้างหลัง และโห่รอ้ งรกุ ไลใ่ หช้ ้างต่ืนวง่ิ หนีเข้าคอก แลว้ ปิดประตขู ังไว้ในคอกหมดท้ังโขลง
...” [สมเด็จพระเจา้ บรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานภุ าพ, ๒๕๔๔, น.๓๓๖]
หมายเหตุ
ตะขาบ คือ เครื่องมือต้อนโขลงช้างทำด้วยไม้ไผ่ลำยาวสองปล้อง ปล้องหนึ่งเป็นแต่ผ่ากลาง
ให้แยกออกไป เอากลบั เขา้ กระทบกันให้เกิดเป็นเสียงได้ อีกปล้องหนง่ึ ต่อลงมาผ่าเพียงถึงข้อแล้วเจียน
ไม้ให้เป็นด้ามมือถือทั้งสองซีกสำหรับจับปล้องที่ผ่ากระทบกันให้เกิดเสียง แต่ปล้องล่างทิ้งไว้ให้ยึด
ตะขาบทั้งหมดไม่ผ่า การต้อนช้างโขลงใช้แต่เสียงตะขาบเป็นพื้น ต่อมีการฉุกเฉินเช่นช้างจะแหกออก
นอกทางทั้งโขลงจึงใชจ้ ดุ คบไฟรายขวางทาง [สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
, ๒๕๔๔, น.๓๓๕]
การคล้องช้างในสมัยโบราณจะต้องจุดไต้ไว้เป็นหมู่หรือเป็นแนวป้องกันช้างเถื่อนวิ่งตื่น ทาง
กลุ่มคน เพราะช้างเถื่อนกลัวไฟเมื่อเห็นแสงไต้จะไม่วิ่งมาทางแนวปักไต้ที่จุดไว้ ช้างเป็นสัตว์ใหญ่ที่
มนุษย์นำมาใช้งานหลากหลายรูปแบบ อาทิ เป็นพาหนะสำรับการเดินทาง บรรทุกสินค้า ชักลากไม้
ใช้ในการศึกสงคราม หรือเป็นสินค้าส่งออก เป็นต้น ช้างยังเป็นเครื่องหมายแสดงถึงอำนาจราชศักดิ์

ไต้ นำ้ มนั ยางและเรอ่ื งเลา่ จากแสงไต้ โดย ปราณ ปรีชญา ๖๗

ของผปู้ กครองดินแดนในยุคสมัยหน่ึงกล่าวคือในแผ่นดินนน้ั หากมีช้างเผือกมาอย่ใู นการครอบครองจะ
ถือว่าเปน็ ช้างค่บู ุญบารมี

“...ประชาชนชาวสยามนับถือช้างกันมาก โดยเชื่อว่าสัตว์ที่สูงศักดิ์ ทั้งทรงพลังวังชาและว่า
นอนสอนงา่ ยอยา่ งนี้ ยอ่ มมวี ิญญาณอันเรืองนามสิงอยู่ ซึ่งในบรรพชาตยิ ่อมจะเคยเป็นเจ้านายหรือขุน
นางผู้ใหญ่อันยิ่งด้วยศักดิ์ แต่โดยเฉพาะช้างเผือกแล้ว ชาวสยามยังนับถือยิ่งกว่าช้างสามัญขึ้นไปอีก
สัตว์จำพวกนี้หาได้ยาก กล่าวกันว่ามีจำเพาะในป่ากรุงสยามเท่านั้น อันที่จริงช้างเผือกก็มิไดข้ าวสนิท
นกั หากเปน็ สเี นอื้ นน่ั แล เหตฉุ ะน้ี วเลียตจงึ ได้กล่าวไว้ในหนังสือของทา่ นว่า ชา้ งขาวกับแดง ชาวสยาม
เรียกสีนี้ว่า เผือก [Peuak] และข้าพเจ้าไม่สงสัยเลยว่าจะเปน็ สีนัน้ แน่กระเดียดไปข้างขาว และโดยท่ี
หาช้างสีนี้ได้ยากนั่นเอง ที่เป็นสาเหตุให้ชาวสยามสักการะบูชาช้างที่มีสีนีเ้ ป็นอย่างสูง ถึงขนาดที่เช่ือ
ว่าวิญญาณของท้าวพญามหากษัตริย์ย่อมจะสิงอยู่ในกายช้างเผือกจะเป็นช้างพลายหรือช้างพังก็ไม่
สำคัญ...” [มองซเิ ออร์ เดอ ลาลแู บร,์ ๒๕๕๗, น.๒๙๖]

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงอธิบาย 'เรื่องจับช้าง' ในนิทาน
โบราณคดี ความตอนหนึ่งว่า ไทยเราได้วิชาคชศาสตร์มาจากชาวอินเดีย เนื่องจาก พวกพราหมณ์
สามารถรวบรวมความรู้ในการจับช้าง เข้า เป็นตำรับตำราเรียกว่า 'คชศาสตร์' ขึ้นแล้ว วิชาจับช้างจึง
แพร่หลายจากอินเดีย ออกมาถึงประเทศอื่น ๆ ในเอเชียภาคที่มีช้างเช่นเดียวกัน เช่นประเทศพม่า
มอญ ไทย เขมร และชวามลายู ด้วยชาวอินเดียซ่ึงไปค้าขายแล้วต้ังภมู ิลำเนาอยู่ตามประเทศเหล่านั้น
พาวิชาคชศาสตร์ไปจับช้างใช้ แล้วฝึกสอนพวกชาวประเทศนั้น ๆ ให้รู้เหมือนอย่างสอนศาสนาและ
วิชาอื่น ๆ ทั้งนกี้ ารคล้องช้างในสมยั โบราณมี ๓ วิธี คอื

๑] วงั ชา้ ง คือการต้งั คอกลอ้ มช้างในป่า จากน้ันจงึ ไล่ตอ้ นชา้ งเถ่อื นท้ังโขลงเข้าคอกที่
ทำไวแ้ ลว้ จงึ คดั จำนวนช้างเชือกทีต่ ้องการ

๒] โพนช้าง คือการใช้ช้างเลี้ยงไปล่อช้างเถื่อน โดยนำช้างจำนวนมากไปไล่ต้อนช้าง
เถือ่ นในปา่ ทลี ะเชอื ก มักจะคลอ้ งกนั ครั้งละ ๔–๕ เชอื ก

๓] เพนยี ดชา้ ง เหมือนกับการวังช้างแต่เป็นวธิ ีคล้องชา้ งของหลวง คือสร้างคอกล้อม
ชา้ ง เรยี กว่า 'เพนียด' แลว้ ตอ้ นโขลงชา้ งเถ่ือนในป่าเข้าในเพนียดจากนัน้ จึงเลือกคล้องเฉพาะ
ชา้ งเชอื กทต่ี อ้ งการ สว่ นท่ีเหลอื ปลอ่ ยกลบั เขา้ ป่าไป
กรมพระคชบาล ตัง้ ขึน้ ในสมัยอยธุ ยาทำหนา้ ทเ่ี สาะหา จับชา้ งปา่ มาฝึกหดั ดแู ลรกั ษา เลี้ยงไว้
ใช้ในราชการท้ังในยามปกติและยามสงคราม ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ครองกรุงศรี
อยุธยา มีการล้อมช้างป่าที่เมืองลพบุรี พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม)
บันทกึ ไวว้ า่
“...ครัน้ เดือน ๙ ขา้ งขึน้ ปีขาลฉศก เจ้ากรมหม่ืนอินทรภักดี พระยากลาโหม กราบถวายบงั คม
ลาแล้วขึ้นไปตั้งล้อมโอบ ไปรางวัดทางได้ ๑๑,๐๐๐ เส้น ครั้น ณ เดือน ๑๐ ข้างขึ้น จึงเสด็จพระราช

ไต้ น้ำมนั ยางและเรอ่ื งเลา่ จากแสงไต้ โดย ปราณ ปรชี ญา ๖๘

ดำเนินขึ้นไป ณ เมืองลพบุรีแล้ว จึงมีพระราชโองการดำรัสเหนือเกล้าฯ สั่งให้ออกไปเร่งนายด่าน
นายกอง ให้เร่งรัดคนเข้า และให้ตั้งค่ายให้มั่น รับ ณ ทะเลชุบศรฟากข้างตะวันออก ที่ล้อมเข้าครั้ง
สมเด็จพระนารายณ์เป็นเจ้า และ ณ เดือน ๑๐ ข้างแรม ครั้นเวลารุ่งเช้าเสด็จพระราชดำเนินไปขึ้น
ตำหนกั ห้างทอดพระเนตรช้าง คนยิงปนื ตีม้าฬ่อเข้ามา ฝูงวัวแดงและกระทิง กระบอื เถื่อน สกุ ร ละม่ัง
กวาง ทราย วิ่งเป็นพวกเป็นฝูงออก ณ กลางแปลงหน้าพระที่นั่งแล้วฝูงเถื่อนออกมา ช้างเชือกจึงวง
ล้อมเข้าคล้อง แต่เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรให้จับ ๒ เพลา จับได้ ๑๘๐ ช้าง ยังไม่ได้จับ
ประมาณ ๓๐๐ เศษ ทรงพระกรุณาสั่งให้เปิดค่ายปล่อยไปแล้ว ทรงพระกรุณาสั่งให้พระราชทาน
เสื้อผ้านายด่านนายกอง คนละสำรับ ทั้ง ๑๐๐ เศษ...” [พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพัน
จันทนมุ าศ (เจมิ ), ๒๕๕๓, น.๓๕๗–๓๕๘]

ชา้ งทค่ี ลอ้ งมาไดน้ ้ันหากเป็นชา้ งสำคัญจกั ต้องจดั พิธีบวงสรวงสมโภชตามโบราณราชประเพณี
ในการสมโภชนน้ั จะมีการอ่าน 'ดษุ ฎสี งั เวยกลอ่ มชา้ ง' คือการสรรเสริญมวลหมู่เทวดา ซ่ึงแบ่งออกเป็น
๓ ตอน ตอนแรกเรียกว่า สดุดีอวยสงั เวย ตอนท่ี ๒ เรียกวา่ สดุดีขอชา้ ง และตอนที่ ๓ ไมม่ ีช่อื เรียก มี
ใจความกล่าวถงึ ฤๅษีดาบสและเทวดาทงั้ หลายประสาทพรแก่ผู้ประกอบพธิ ี

๓. ไตไ้ ล่คา้ งคาวในสวนผลไม้
ในสมัยก่อนชาวสวนภาคใต้ใช้ไต้เสอื มายจดุ ตามสวนผลไม้ตา่ ง ๆ เช่น สวนลางสาด หรือสวน
เงาะ เป็นต้น เพื่อป้องกัน 'ค้างคาวแม่ไก่' ไม่ให้มาทำลายกัดกินผลไม้ในเวลากลางคืน เนื่องจาก
ค้างคาวเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ออกหากินในตอนกลางคืนและกลับมานอนพักในช่วงกลางวันตาม
โพรงถ้ำหรือสถานที่ที่เงียบและมืดสนิท ดังนั้นค้างคาวจึงตื่นแสงไฟ ปัจจุบันชาวสวนใช้หลอดไฟฟ้า
แบบกระพรบิ ไล่คา้ งคาวตามความกา้ วหนา้ ของยคุ สมยั
ไตเ้ สือมายยังใชจ้ ุดสอ่ งทางเดินในงานต่าง ๆ ได้ดว้ ย ดังเชน่ เมอ่ื วัดใดมงี านประจำปีในช่วงคืน
เดือนมืด ชาวบ้านก็จะช่วยกันทำไต้เสือมายไปถวายให้วัดใช้ปักตามริมทางเดินเข้าวัดเป็นระยะ ๆ
เหมือนกับหลอดไฟฟ้าในสมัยนี้ เพื่อส่องสว่างให้มองเห็นทางเดินได้สะดวก รวมถึงบ้านใดมีงาน เช่น
งานบวช งานแต่งงาน หรืองานศพก็จะใช้ไต้เสอื มายจดุ ท่ัวบริเวณงาน หรือบ้านของผูม้ ีฐานะดีในเวลา
กลางคืนกม็ กั จะใช้ไต้เสือมายจุดทั่วบรเิ วณบ้านเพ่ือป้องกนั ขโมยไดเ้ ชน่ กนั

๔. ไต้เปน็ เหยือ่ ล่อดกั หนู
ไต้ สามารถนำมาใช้เป็นเหยื่อล่อดักหนูได้ โดยนำไต้มาตัดแบ่งเป็นชิ้นขนาดเท่าหัวแม่มือ
จากนน้ั นำไฟมาลนชิ้นไต้ใหน้ ่ิมเกือบเหลวส่งกล่นิ หอมแล้วนำไปเป็นเหย่ือวางล่อในกรงดักหนูแทนการ
ใช้เหยือ่ ชนิดอื่น และสามารถนำกลับมาใช้ซ้ำใหม่ได้อีกหลายคร้ังโดยการนำไฟมาลนให้น่ิมเกือบเหลว

ไต้ น้ำมันยางและเรื่องเล่าจากแสงไต้ โดย ปราณ ปรีชญา ๖๙

เชน่ เดมิ สามารถใช้ดักหนูตามบ้านเรือน ในสวนผลไม้ ยงุ้ เกบ็ ข้าว เป็นตน้ ตวั อย่างมีการใช้ข้ีไต้ดักหนู
ในสวนปาลม์ ทางภาคใต้ไดผ้ ลดีกวา่ การใช้เหย่ือจำพวกกลว้ ย ผลปาล์มสกุ หรือมันสำปะหลงั

๕. ไต้ใช้จับสัตว์เพอ่ื บริโภค: กบ ปลา แมงนูน
การจับสัตว์จำพวก กบ อึ่งอ่าง ปลา หรือแมงนูน ฯลฯ ในยามเข้าหน้าฝนนัน้ เปน็ วิถีชีวิตของ
ชาวบ้านทุกภูมิภาค สมัยโบราณชาวบ้านจะใช้ไต้เป็นแสงส่องสว่างออกไปตามท้องทุ่งไร่นา หนองบึง
วังน้ำต่าง ๆ เพอ่ื จบั สัตว์ดงั กลา่ วมาบริโภค ชาวภาคเหนือจะมีศัพท์เรียกเฉพาะวา่ 'ไตก้ บ' คือการใช้ไต้
ส่องหากบ 'ไตป้ ลา' คือการใชไ้ ต้สอ่ งหาปลาตามลำน้ำ ชาวบา้ นจะมชี ่วงเวลาออกไตป้ ลาจนกวา่ ต้นข้าว
จะโต สว่ น 'ไต้แมงนูน' คือการใช้ไตส้ อ่ งหาแมงนูน
แมงนูน [ล้านนา] หรือแมงจินูน [อีสาน] หรือแมงอีนูน เป็นแมลงปีกแข็งชนิดหนึ่งมีชื่อ
วิทยาศาสตร์ว่า Melolontha melolontha อยู่ในวงศ์ Scarabaeidae รูปร่างอ้วนป้อมเป็นรูปไข่
ส่วนหัว ส่วนท้องและส่วนขาเป็นสีน้ำตาล ปีกมี ๒ คู่ ปีกคู่ในบางใส ส่วนคู่นอกแข็งเป็นสีน้ำตาลอ่อน
หรือสนี วล ขนาดลำตัวยาวประมาณ ๓ เซนติเมตร แมลงชนดิ น้ีมีวงจรชวี ิตเป็นหนอนอยู่ใต้ดินนานนับ
ปกี ่อนจะโผล่ขนึ้ จากดินในชว่ งฝนแรกของฤดูใบไม้ผลิเพ่ือไปกัดแทะใบอ่อนของพืชเป็นอาหาร เช่น ใบ
มะขาม ใบมะขามเทศ ใบพุทรา ใบมะกอก ต้นแค อ้อย มันสำปะหลัง ในช่วงหัวค่ำชาวบ้านจะใช้แสง
ไต้ล่อแมงจีนูนหรือเขย่าต้นไม้ที่แมงจีนูนเกาะอยู่ให้ร่วงลงพื้นดินแล้วรวบรวมเอามาขังทิ้งไว้ข้ามคืน
เพื่อให้แมงจีนูนถ่ายมูลออกให้หมดเสียก่อน จากนั้นจึงเด็ดปีกออก [หรือไม่เด็ดปีกก็ได้] แล้วนำไปค่ัว
ในภาชนะอย่างเช่นหม้อดินตั้งบนไฟอ่อน ๆ เติมน้ำลงไปเล็กน้อย ใส่เกลือลงไปพอให้มีรสเค็ม คนให้
เคล้ากับเกลือจนทั่วกันและคั่วจนน้ำแห้งจะมีคราบเกลือสีขาวเกาะตามตัวแมงนูนจึงใช้ได้พร้อม
รบั ประทานเป็นอาหาร

๖. น้ำมันยางในการศกึ สงคราม
กรุงศรีอยุธยาราชธานีในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ [ครองราชย์ระหว่างพุทธศักราช
๒๑๙๙–๒๒๓๑] มกี ารศกึ กบั พม่าเพ่อื ชิงเมอื งเชยี งใหม่ซง่ึ ขณะนน้ั หัวเมืองล้านนาทงั้ หลายเปน็ เมืองข้ึน
ของพม่า พระเจ้าสิรินันทสุธรรมราชา พระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธธรรมราชา [ฟ้าสุทโธ] เจ้านาย
ฝา่ ยพม่าไดข้ น้ึ ปกครองล้านนาแทนหลังพระราชบิดาไดส้ ้ินพระชนม์เมื่อพุทธศักราช ๒๙๗ กอ่ นหน้ารัช
สมัยสมเด็จพระนารายณ์ขึ้นเสวยราชย์
เหตุการณ์ชิงเมืองเกิดขึ้นในปีพุทธศักราช ๒๒๐๓ พวกฮ่อยกทัพลงมารุกรานพม่า พระยา
แสนหลวงเมอื งเชยี งใหม่เกรงว่าฮ่อจะมาตีเชียงใหม่ดว้ ยจึงไดข้ อกำลังทหารไปยังกรุงอังวะ พระเจ้าอัง
วะนันทสุธรรมราชาได้ส่งกองทัพมาช่วยเมืองเชียงใหม่ แต่กองทัพฮ่อรุกคืบปะชิดเมืองอังวะ พระเจ้า

ไต้ น้ำมันยางและเรื่องเลา่ จากแสงไต้ โดย ปราณ ปรชี ญา ๗๐

อังวะนันทสุธรรมราชาจึงให้กองทัพท่ีเมืองเชียงใหม่กลับไปช่วยต้านศึกอังวะ พระยาแสนหลวงเมือง
เชียงใหม่จึงไดส้ ่งแสนสุรนิ ทรไมตรถี ือหนังสอื มายงั กรงุ ศรีอยุธยา มใี จความวา่

“...ชาวเมืองจีนฮ่อยกรี้พลจะมาล้อมเอาเมืองเชียงใหม่ และพระยาแสนหลวง และชาว
เชียงใหมท่ ั้งปวงหาทีพ่ ่งึ พำนักมิได้ จงึ เส่ยี งทายในอารามพระพุทธสิหิงคซ์ ่ึงอยู่ ณ เมืองเชยี งใหมน่ ้ัน ว่า
ถ้าประเทศใดจะเป็นที่พึ่งพำนักได้ไซร้ ขอพระพุทธเจ้าสำแดงใหเ้ หน็ ประจักษ์ และพระพุทธสิหิงค์น้ัน
บ่ายพระพักตร์มายังกรุงเทพพระมหานครบวรทวาราวดีศรีอยุธยา พระยาแสนหลวง ขุนแสนหลวง
แสนหมน่ื ท้ังปวงมีความยนิ ดีนัก จะขอเอาพระเดชเดชานุภาพพระบาทสมเดจ็ บรมบพิตรเจ้าช้างเผือก
เป็นที่พึ่งที่พำนัก ขอพระราชทานข้าหลวงและช้างม้าไพร่พล สรรพด้วยเครื่องสรรพายุทธ์ไปช่วย
ป้องกนั เมอื งเชยี งใหมใ่ ห้พน้ อนั ตราย จะเป็นขา้ ขณั ฑสมี ามณฑลกรุงเทพพระมหานคร บวรทวารวดีศรี
อยุธยา จึงพระยาจักรีเอากราบทูลพระกรุณา...” [พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุ
มาศ (เจมิ ), ๒๕๕๓, น.๓๐๖–๓๐๗]

สมเดจ็ พระนารายณ์จึงโปรดเกล้าฯ ให้ท้าวพระยามนตรมี ุขคมุ ทัพหน้ายกไปชว่ ยเชยี งใหม่ทาง
บก มีแสนสุรินทร์ไมตรีเป็นผู้นำทาง สมเด็จพระนารายณ์เสด็จไปทางน้ำตั้งทัพหลวงที่เมืองพิษณุโลก
เพื่อถวายสักการะพระพุทธชินราช ฝ่ายทัพฮ่อเข้าตีกรุงอังวะหลายครั้งแต่ไม่สำเร็จและขาดแคลน
เสบยี งจึงถอยทัพกลับ พระยาแสนหลวงเมืองเชียงใหม่คร้ันทราบว่ากองทัพฮ่อยกกลับไปแล้วจึงให้คน
รบี มาแจง้ ข่าวให้แสนสรุ ินทร์ไมตรลี อบหนีออกจากกองทัพหน้าซึ่งยังยกไปไม่ถึงเมืองเชยี งใหม่ สมเด็จ
พระนารายณ์ ทรงทราบก็ทรงขัดเคืองเป็นอันมากจึงให้ทัพหน้าติดตามจับตัวแสนสุรินทร์ไมตรีให้ได้
และโปรดเกล้าฯ ให้พระยาสีหราชเดโชไชยกบั พระยากลาโหมยกกองทัพขึ้นไปตีเมืองเชยี งใหม่ แต่ตีไม่
สำเร็จจงึ ยกทพั กลบั

พุทธศักราช ๒๒๐๔ [ศักราช ๑๐๒๓ ปีฉลู ตรีศก] สมเด็จพระนารายณ์ทรงโปรดฯ ให้พระยา
โกษาธบิ ดี [ขุนเหลก็ ] เปน็ แมท่ พั หนา้ ยกไปตีเมอื งเชียงใหมร่ ะหวา่ งทางกองทัพของพระยาโกษาธิบดีตี
ได้เมืองลำปาง เมืองลำพูน แล้วยกทัพเข้าล้อมเชียงใหม่ไว้รอทัพหลวงเคลื่อนมาถึง เมื่อสมเด็จพระ
นารายณ์ทรงนำทัพหลวงเสด็จตามไปถึงเมืองเชียงใหม่ทรงโปรดฯ ให้ทหารเข้าโจมตีเมืองเชียงใหม่
พร้อมกันทกุ ด้าน ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับหมอบรัดเล ไดก้ ล่าวถึงการเตรียมตั้งรับศึก
ของเมืองเชียงใหม่ไว้อย่างแข็งขนั โดยให้เคีย่ วนำ้ มันยางซึ่งมีอยู่อยา่ งอุดมในปา่ ล้านนาไวส้ าดใส่ข้าศึกที่
ประชิดเมือง ดงั น้ี

“...ฝ่ายลาวเมอื งเชยี งใหมท่ ั้งหลายต้านต่อทัพไทยมิได้กใ็ ห้ครัน้ ครา้ มขามกลวั สยดสยองไปสิ้น
ทั้งเมือง. จะรบหรือก็เหลือกำลังที่จะต้านทานได้ จะหนีก็เห็นไม่พ้น. ครั้นจะออกอ่อนน้อมยอมถวาย
เมอื งเลา่ ก็กลัวตายไดท้ ำความชัว่ กลับกลอกมาหลายครงั้ แลว้ ใหจ้ นจิตสน้ิ ความคดิ มิรู้ที่จะทำประการ
ใด ก็นิ่งรกั ษาแต่เมืองไวต้ ามบญุ เผอื่ กุศลจะมาชว่ ยอดุ หนุนบ้าง กพ็ อจะชว่ ยใหพ้ น้ ภัย. จึงบอกหนังสือ
ข้นึ ไปยงั เมอื งอังวะขอกองทัพให้ยกลงมาชว่ ย. แล้วได้ยนิ ศพั ทส์ ำเนียงช้างม้าพลาพลเดินเท้าแห่งข้าศึก

ไต้ น้ำมนั ยางและเรือ่ งเลา่ จากแสงไต้ โดย ปราณ ปรีชญา ๗๑

กึกก้องโกลาหลบหนักขึ้นก็ใหข้ ึ้นดูบนพระเจดียใ์ หญ่อันประดิษฐานอยู่ ณ กลางเมือง จึงเห็นรี้พลช้าง
ม้าข้าศกึ เป็นอันมาก ยกหนุนมาตง้ั คา่ ยใหญ่อย่ใู หม่ในทิศอาคเนย.์ ก็ยง่ิ สะด้งุ ตกใจกลวั ทพั ไทยย่ิงหนัก.
จงึ เรง่ ให้ตกแตง่ การปอ้ งกันเมืองทั้งกลางคืนกลางวนั เป็นสามารถ. แลใหเ้ อาไมซ้ งุ ท้ังหลาย มาผกู แขวน
รายไว้ที่บนใบเสมากำแพงเมืองนั้นโดยรอบแล้วจะได้ตัดให้ตกลงไปทับข้าศึก. แล้วให้ตั้งกระทะคั่ว
กรวดทรายปูนผง แล้วเคี่ยวน้ำมันยางไว้ให้ร้อนจงทุก ๆ หน้าที่สำหรับจะหว่านซดั สาดราดเทลงไปให้
ถูกตอ้ งขา้ ศกึ ล้มตาย ขณะเมื่อจะยกเข้ามาป่ายปนี กำแพงปลน้ เอาเมืองนน้ั อย่าให้ทำการได้ถนดั แล้ว
ก็คอยกองทัพอังวะจะยกลงมาช่วยหรือประการใด...” [พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับหมอบ
รัดเล, ๒๕๔๙, น.๓๐๗]

๗. นำ้ มันยางทาภาชนะเครอ่ื งจักสาน
น้ำมันยางมีสถานะเป็นของเหลว มีคุณสมบัติเหนียวข้น สามารถนำไปใช้ได้โดยตรงหรอื ผสม
กับชันเป็นผลผลิตจากไม้ชนิดอื่น ๆ เช่น ต้นจิก ต้นรัง ต้นตะเคียน เป็นต้น ชันเป็นน้ำยางชนิดหนึ่งท่ี
ถูกขับออกมาจากเนื้อไม้เมื่อต้นไม้มีบาดแผลฉีกขาดหรือถูกหนอนเจาะเปน็ รูเพือ่ มาปิดสมานรอยแผล
นั้น ๆ การขับน้ำยางของต้นไม้จะมากหรือน้อยนั้นเป็นไปตามธรรมชาติซึ่งเกิดขึ้นตลอดทั้งปี หาก
น้ำยางถูกขับออกมามากก็จะสะสมพอกพูนล้นออกนอกบาดแผลของต้นไม้เกาะย้อยเป็นยางก้อนสี
ตามธรรมชาติของต้นไม้แต่ละชนิด ชาวอีสานเรียกว่า 'ขี้ซี' ชาวบ้านจะเก็บชันหรือยางขี้ซีจากต้นไม้น้ี
สะสมไว้เมื่อได้จำนวนมากพอก็นำไปส่งขายกับร้านที่รับซื้อยางขี้ซี ราคาซื้อ–ขายเป็นกิโลกรัมตาม
ราคาตลาด ณ เวลานน้ั
การนำมาใช้งาน จะต้องบดหรือตำชันให้ละเอียดเป็นผงแล้วนำไปผสมกับน้ำมันยางใน
อตั ราส่วนท่ีพอเหมาะกวนเคล้าจนเข้าเป็นเนื้อเดยี วกันจะได้กาวยางลักษณะหนึง่ ซง่ึ มคี ุณสมบัติเหนียว
ข้นหยุ่น ๆ ใช้ทารอยแตกหรือสมานรอยต่อของเนื้อไม้และเคลือบกันน้ำได้ การนำมาใช้ทาเครื่องจัก
สานน้ันชาวบ้านจะทาท้ังดา้ นนอกและดา้ นในหากเปน็ ภาชนะเคร่ืองจักสานท่ีต้องใส่นำ้ เช่น ครุ แครง
ตอ้ งทาใหห้ นาพอที่จะขังน้ำได้
ครุ ภาชนะทำด้วยไม้ไผ่และทา
ด้วยน้ำมันยางกันน้ำรั่วสำหรับใช้ตักน้ำ
หรือหาบหิ้วน้ำ การสานครุจะต้องจักตอก
เป็นเส้นเล็กบาง ๆ ใช้เฉพาะด้านผิวไม้ไผ่
เริ่มสานที่ส่วนก้นก่อนไล่ขึ้นไปจนเป็นรูป
ทรงกระบอก ขอบครุจะงุ้มเข้าเล็กน้อย
ลายขัด ทำให้ขอบครุไม่หลุดง่าย ครุส่วน
ใหญ่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ

ไต้ น้ำมันยางและเรือ่ งเลา่ จากแสงไต้ โดย ปราณ ปรีชญา ๗๒

๓๕ เซนติเมตร มีความสงู จากก้นถึงขอบประมาณ ๒๕ เซนตเิ มตร ฐานรองครใุ ชไ้ มเ้ นื้อแข็งไขว้เป็นรูป
กากบาทเพ่ือให้ตงั้ วางได้ ที่ห้วิ หรือสำหรับจับถือเรียกว่า 'งวง' ทำดว้ ยไมเ้ หลาเป็นรูปโค้งงอคล้ายคอม
ควายสำหรับใส่ไถนา สอดปลายไม้งวง ๒ ข้างกับรูที่สานเว้นไว้ จากนั้นครุไปผึ่งแดดหรือรมควันจน
ตอกแหง้ แล้วจึงทาน้ำมันยางทผี่ สมชันบดละเอยี ดภายในครุให้ทว่ั

การขดั ลวดลายสานตวั ครบุ างลาย ชาวบ้านจดจำทอ่ งเป็นบทกลอนไว้ดงั น้ี
“ยกสองขม่ สาม
ยกสาม ขม่ ส่ี
ยกใหถ้ ่ถี ี่
ยกสยี่ กสอง”

ชาวบา้ นใช้ครตุ ักหรือหาบนำ้ มาใช้ในครวั เรอื น หรือตกั น้ำรดพชื ผลตา่ ง ๆ ปจั จุบนั ไม่มีใชแ้ ล้ว
“...เมื่อหาบนำ้ คร้ังแรกรู้สึกเจ็บที่บ่า ใส่น้ำครึ่งครุก็หาบมา หาบครั้งแรกเอวจะไม่อ่อน ทำให้
น้ำซัดกระเดน็ หกเร่ียราดมาตามทาง เหน่อื ยกเ็ หน่อื ย เจ็บบ่าก็เจบ็ ตอ้ งวางไว้ข้างทางหลายคร้ังกว่าจะ
ถึงบ้าน เหนือน้ำไม่กี่ขันในครุ ตื่นเช้ามาบ่าก็บวม ก็ต้องสู้ พอหาบนาน ๆ ไปก็เคยชิน น้ำก็ไม่หกแล้ว
บ่าก็ไม่บวมเหมือนเกา่ แลว้ ...” [เดข ภูสองชนั้ , ๒๕๔๖, น.๓๐]
แครง หรือตะแครง ภาชนะทำด้วยไม้ไผ่สานเป็นรูปคล้ายกาบหอยแครง ทาชันเพื่อกันน้ำ
ไม่ให้รั่วและผุเร็วเช่นเดียวกับครุ ชาวสวนใช้แครงแบบมีด้ามไม้ตักน้ำจากท้องร่องสวนสาดรดต้นไม้
นอกจากนีช้ าวสวนยงั ใชแ้ ครงตกั ดินเลนขึ้นจากท้องร่องมากองโปะไว้ใต้ต้นไม้ หรือใช้สอยผลไม้ได้ด้วย
ชาวเรือในสมัยกอ่ นจะนำแครงมาใช้สำหรับวดิ นำ้ ในเรอื เพราะแครงจะไม่ทำให้ท้องเรือไม่สึกกร่อน
“...แครงที่ใช้วิดน้ำในเรือจะต้องมีขนาดกว้างราว ๕๖ นิ้ว หรือมีขนาดที่จะสอดลงไปใน
ระหว่างกงเรือได้ ถ้าแครงใหญ่เกินไปก็ใช้ไม่ได้ เพราะการวิดน้ำเรือจะต้องใช้แครงตักน้ำที่ขังอยู่
ระหวา่ งกงเรือใส่ในภาชนะใหญ่เอาไปท้ิง ฉะน้ันกงเรือทุกตัวจะต้องบากท้องกงตรงกระดูกงูพอให้เป็น
ทางน้ำไหล ไม่ให้นำ้ ขงั ...” [ส. พลายน้อยล ๒๕๔๐, น.๔๓]
การวดิ น้ำดว้ ยแครงทำได้ ๒ แบบ คอื ใชแ้ ครงตักน้ำในเรือใสภ่ าชนะใหญ่ไปเทท้ิง กบั ใช้แครง
แบบมีดา้ มไม้ยนื วดิ นำ้ ในเรือสาดท้ิงออกนอกเรือได้เลย

๘. น้ำมันยางในการทำหมนั เรือ
'หมนั เรอื ' หรอื 'ตอกหมันยาชันเรือ' คือ การอดุ รอยรว่ั ของเรอื ดว้ ยด้ายดิบเปน็ ตน้ ท่ีใช้คลุกกับ
ชัน น้ำมันยาง สำหรับยัดแนวเรือ [ราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๕๖, น.๑๒๙๙] ชาวเรือจะรู้จักกันดีถึง
กรรมวธิ ีอดุ รูรอยรัว่ ของเรือหรือประสานรอยแตกร้าวของเนื้อไม้ให้เป็นเน้ือเดียวกัน ในอดีตชาวเรือใช้
เปลือกต้นหมันมาทุบให้แตกเป็นเส้นเล็ก ๆ จนมีลักษณะคล้ายเส้นด้ายแล้วนำมาตอกอัดเข้าตาม

ไต้ น้ำมันยางและเร่อื งเลา่ จากแสงไต้ โดย ปราณ ปรชี ญา ๗๓

รอ่ งรอยแตกเน้ือไม้ของลำเรือ ปจั จบุ ันชาวเรือใช้ดา้ ยดิบแทนเปลือกเสน้ หมันนำมาคลุกนำ้ มันยางผสม
ชัน หรอื ใช้กาววทิ ยาศาสตรแ์ ทนนำ้ มนั ยางซ่งึ วัสดุทั้งสองทีน่ ำมาใช้ทดแทนนัน้ ให้ความสะดวก รวดเร็ว
และราคาย่อมเยากว่า องค์ความรู้เรื่องการทำหมันเรือถือเป็นภูมิปัญญาที่ชาวเรือสั่งสมกันมานาน
สมควรที่จะบันทึกไว้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมเนื่องจากในปัจจุบันเรือไม้นับวันจะหมดความนิยมลง
เนื่องจากมเี รือเหลก็ เรือที่ทำจากวัสดุเสน้ ใยแก้วหรอื ไฟเบอร์กลาส [Fiberglass] เข้ามาแทนท่ี

ต้นหมัน ชื่อท้องถิ่น เก้าศรี สะหลีหลวง สะหลี ย่อง ปู [ชื่อวิทยาศาสตร์ Cordia
cochinchinensis Gagnepain อยู่ในวงศ์ BORAGINACEAE] เป็นไม้ผลัดใบยืนต้นขนาดกลาง ขึ้นได้
ทว่ั ไปในพื้นทที่ ี่มีสภาพดินเลนมนี ้ำและความชุ่มชื้นสูง เรอื นยอดเป็นพมุ่ กลม ลำต้นสูงได้ถึง ๑๕ เมตร
เปลือกต้นมีสีเทาเข้มปนดำ แตกเป็นร่องถี่ตื้น ๆ ตามความยาวต้น ชาวบ้านนิยมนำเปลือกมาทุบให้
แตกเปน็ เสน้ แลว้ ทำเป็นเส้นเชือกไว้ผกู วัว ควาย และนำมาใช้ตอกหมันเรอื ต้นหมันมชี ื่อปรากฏในพระ
ราชพงศาวดารกรุงศรอี ยุธยา ฉบบั พันจนั ทนุมาศ [เจิม] คราวแรกสรา้ งกรุงศรีอยธุ ยา ความว่า

“...ศุภมัสดุ ศักราช ๗๑๒ ปีขาลโทศก วันศุกร์ เดือน ๕ ขึ้น ๖ ค่ำเพลา ๓ นาฬิกา ๙ บาท
สถาปนากรงุ พระนครศรีอยุธยา ชีพ่อพราหมณ์ให้ฤกษ์ตั้งพิธีกลบบัตร ไดส้ ังขท์ ักขิณาวัฏใต้ต้นหมันใบ
หนึ่ง แล้วสร้างพระที่นั่งไพฑูรย์มหาปราสาทองค์หนึ่ง สร้างพระที่นั่งไพชยนต์มหาปราสาทองค์หน่ึง
สร้างพระที่นั่งไอสวรรย์มหาปราสาทองค์หนึ่ง...” [พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุ
มาศ (เจิม), ๒๕๕๓, น.๓๗]

การตอกหมันและยาชันเรือเป็นการซ่อมบำรุงเรือไม้ให้อยู่ในสภาพดีสามารถลอยน้ำได้โดยท่ี
น้ำไม่ซึมเข้าเรือตามแนวรอยต่อเปลือกเรือแต่ละแผ่นหรือตามรอยหัวตะปู รูน็อตที่ยึดตัวเรือไว้ หรือ
รอยเพรยี งกัดกนิ เน้ือไม้ เรอื ท่จี ะตอกหมนั และยาชันได้ผลดีน้ันต้องมีความหนาของไมเ้ ปลือกเรืออย่าง
น้อย ๓/๔ นวิ้ หรือ ๖ หนุ เพ่ือใหส้ ว่ิ ตอกหมันสามารถตอกฝากหมันเข้าไปในเนื้อไม้ริมแผ่นเปลือกเรือ
ได้แน่นมีประสิทธิภาพดีกว่า หากเปลือกเรือบางไม่สามารถตอกหมันได้ก็ใช้วิธีการยาแนวเฉพาะ
เปลอื กเรอื เพียงอยา่ งเดียว

เปลอื กเรือ คอื โครงสร้างของตัวเรอื ทำด้วยไม้ทง้ั ลำมขี นาดความหนาและความกวา้ งตามส่วน
ของเรือยึดติดกับกงเรือ [ไม้รูปโค้งที่ตั้งเป็นโครงเรือ] ด้วยตะปูหรือลูกประสัก มี ๒ แบบ คือ เปลือก
เรือชนั้ เดียว และเปลือกเรือสองชัน้

“...ปญั หาทีช่ าวเรือหนไี มพ่ ้นอีกเรอ่ื งหนง่ึ ก็คือเรือรั่ว ต้นเหตุที่เรือร่วั เกดิ ขึน้ ไดห้ ลายอย่าง เช่น
เรือคายหมัน เพรยี งกิน และกระดานผกุ รอ่ น ฯลฯ

เรือคายหมันอาจมีคนไม่เข้าใจ ตามธรรมดาเรือขนาดใหญ่ที่เรียกว่าเรือต่อ จะมีแนวเรือคือ
ร่องระหว่างริมกระดานต่อกัน แนวเรือดังกล่าวนี้ถ้าไม่อุดตามแนวให้แน่น น้ำก็จะไหลเข้าเรือ ทำให้
เรือจมได้ ฉะน้ันเขาจึงต้องอดุ แนวเรอื ด้วยหมัน

ไต้ นำ้ มันยางและเรื่องเล่าจากแสงไต้ โดย ปราณ ปรีชญา ๗๔

หมันเป็นเปลือกไม้ชนิดหนึ่งทุบให้เป็นเส้นเล็ก ๆ ชุบน้ำมันยาง ใช้หมันตอกอัดเข้าไปในแนว
เรือใหแ้ น่น แล้วจึงเอาชันยาทบั อกี ครงั้ หนง่ึ วิธีการเช่นน้เี รยี กวา่ 'ตอกหมันยาชัน'

หมันทต่ี อกอดั เข้าไปในแนวเรือ ถา้ ตอกไม่แน่น เมอื่ อย่ใู นน้ำนาน ๆ หมนั กอ็ าจจะพองและล้น
หลุดออกมาจากแนวเรือ อาการท่ีหมนั พองหลุดออกมานี้ ภาษาชาวเรือเขาเรยี กว่า 'เรือคายหมัน' เม่ือ
หมันคายหลุดออกมาน้ำก็เข้าไปแทนที่ น้ำไหลเข้าเรือได้ ถ้าแก้ไขไม่ทัน เรือก็จม...” [ส. พลายน้อย,
๒๕๔๐,น.๔๑]

วสั ดใุ นการตอกหมันเรือ
๑] หมัน [เปลือกหมัน] มีจำหน่ายเฉพาะแหล่งแบบที่ทุบเป็นเส้นแล้วและยังไม่ทุบ

ควรเลือกที่ไม่มสี ีดำคล้ำ เนา่ เปื่อย เปน็ เช้อื รา หรือหมันท่ีมคี วามชื้นมากไม่ควรนำมาใชง้ าน
๒] ดา้ ยหมันหรอื ดา้ ยดิบ
๓] ชนั ผง
๔] น้ำมันยาง
๕] เสนแดงหรอื ตะก่ัวแดง [สารประกอบประเภทออกไซด์ของตะก่วั ลกั ษณะเป็นผง
ละเอียด สีแดงเข้ม ใช้ประโยชน์อุตสาหกรรมทำสี
ทา และทำแก้ว] นำเสนแดง ชัน และน้ำมันยาง
ผสมให้เข้ากันแล้วนำมาโรยเส้นหมันที่ทุบแล้ว
คลุกเคล้าให้ทั่วทุกเส้นหมันโดยใช้ค้อนไม้ช่วยไล่ทุบ
แบบนวดไปตลอด เส้นหมันที่คลุกเสนแดงผสมแล้ว
จะมคี วามเหนยี วคงนานไมใ่ หเ้ ป่ือยง่าย
๖] ปูนแดง [ปูนกินหมาก] นำมาผสมกับ

ชันและน้ำมันยางในอัตราส่วนที่เหมาะสมกับพื้นท่ีงานที่จะยา จะช่วยให้ชันที่ผสมน้ีแห้งเร็ว
ขึ้นเหมาะสำหรบั การยาในตำแหนง่ ที่ต้องการใหแ้ ห้งเรว็ เช่นบริเวณหวั ตะปู เป็นต้น

๗] น้ำมันก๊าด เป็นส่วนผสมของชัน น้ำมันยางและปูนแดงในอัตราส่วน ชัน ๓ ส่วน
น้ำมันยาง ๓ ส่วน ปูนแดง ๑ ส่วน น้ำสะอาด ๑ ส่วน จะช่วยให้งานที่ทำแห้งเร็วขึ้น
น้ำมันก๊าดใช้เช็ดทำความสะอาดเครื่องมือตอกมันและยาชัน เช็ดทำความสะอาดเสื้อผ้าและ
รา่ งกายท่ีติดชนั ไดด้ ว้ ย
เครื่องมอื ตอกหมันยาชนั

๑] ขวานไทย ใช้สำหรับหมันโดยใช้ด้านสนั หรอื หัวขวานตอก ด้ามขวานควรเหลาให้
เล็กพอเหมาะกับอุ้งมือเมื่อเวลาใช้งานจะจับได้กระชับมือมากขึ้น และควรลบด้านคมขวาน
ออกเพอื่ ป้องกันอุบตั เิ หตุ

ไต้ น้ำมันยางและเรือ่ งเลา่ จากแสงไต้ โดย ปราณ ปรชี ญา ๗๕

๒] คอ้ นหวั แพะ ใชต้ อกย้ำหวั ตะปบู างตวั ทยี่ ังไม่จมในเน้ือไม้ โดยใชค้ ้อนตอกเหลก็ ส่ง
ตะปูใหจ้ มลงในเนอ้ื ไม้

๓] คอ้ นไม้ ใช้ทบุ หมนั ใหเ้ ส้นหมันแตกเป็นเสน้
๔] สิ่วตอกหมัน ใช้สำหรับตอกอัดหมันเข้าแนวเปลือกเรอื และใชต้ อกอัดด้ายดิบเขา้
แนวเปลือกเรือ
๕] สิ่วปากบาง ขนาด ๑ นิ้ว ใช้หลาแนวเปลือกเรือ ส่วนที่เป็นแนวรอยต่อและรอย
ชนเปลือกเรอื ทส่ี นทิ เปดิ แนวรอยตอ่ เปลอื กใหก้ ว้างตอกหมันและยาชันได้
๖] สว่ิ ย้ำหมัน ใช้ตอกอดั ยำ้ หมันในรอ่ งแนวเปลือกเรอื ให้แน่นไมห่ ลดุ ออกไดง้ ่าย โดย
ตอกย้ำให้เรียบเสมอตลอดแนวเปลือกเรือทุกแนวเปลือกทั้งแนวเปลือกไม้ใหม่และแนว
เปลอื กไมเ้ กา่
๗] เหล็กขดู ใชข้ ูดเอาหมนั และชนั ของเก่าออก
๘] เหล็กขูดชัน ต้องทำด้วยเหล็กมีคุณภาพ มีความแข็งและเหนียว ดัดงอโค้งและ
เจียรนัยให้มีความคมเพื่อใช้ขูดชันเก่าที่หมดอายุการใช้งานแล้วซึ่งจะมีความแข็งและกรอบ
เหล็กขูดไมค่ มจะทำให้ขดู ออกยาก
๙] เหล็กปา้ ยชัน ใชป้ ้ายชนั ตามแนวเปลอื กเรอื หวั ตะปู รูนอ็ ต รูเพรยี ง และแนวรอย
แตกร้าวของไม้ เหล็กป้ายชันเป็นเหล็กแบน อาจทำจากใบเลื่อยก็ได้เพราะใบเลื่อยมีความ
ยดื หยนุ่ ในความอ่อนและแข็งเมื่อรับแรงกด
๑๐] ไมป้ าดแนวเปลือกเรอื ใช้ปาดชันทยี่ าแนวเปลือกเรอื ให้ผวิ เรยี บเสมอทวั่ กัน
วิธีผสมชันยาแนว
๑] ชันยา ใช้สำหรับพอกยาแนวชั้นแรก มีส่วนผสม ๓ อย่างคือ ชันผงบดละเอียด
นำ้ มนั ยาง และปูนแดง เทนำ้ มนั ยางใส่ในผงชนั [อัตราส่วนใหพ้ อเหมาะ] กวนให้เข้ากันให้ข้น
เหนียวเหลวพอประมาณ ใส่ปูนแดง ๑ ต่อ ๑๕ ส่วน [ปูนแดงประมาณหวั แม่มือต่อชันท่ผี สม
แลว้ หน่งึ กะลามะพรา้ ว] ใช้เหล็กยาแนวกวนใหเ้ ข้ากนั เปน็ สชี มพอู อ่ น ๆ
๒] ชันพอน ใช้สำหรับพอกยาแนวเรือทับชันยาเพื่อสมานรอยตามดที่เกิดจาก
ฟองอากาศในชนั ยาจากการยาแนวครัง้ แรก รอยหัวตะปู รูเพรียงเลก็ ๆ ท่ียังหลงเหลอื อยู่ ใช้
ชนั พอนพอกกทับจนท่วั ทอ้ งเรือและส่วนทจี่ มอยู่ในน้ำแลว้ ปาดให้เรยี บเสมอท่ัวกัน
การผสมชันพอน ใช้น้ำมันยางผสมกับชันคนให้เข้ากันพอเหลว แล้วใส่ปูนแดงลงไป
ให้มากกว่าปริมาณของชันเล็กนอ้ ย กวนจนเข้าท่ีและไม่เหลวจนเกินไป [ลองใช้นิ้วมือจุ่มแลว้
ยกขึน้ มาถา้ ชนั พอนจะไมห่ ยดยอ้ ยจึงใช้ได้]

ไต้ นำ้ มันยางและเรอ่ื งเลา่ จากแสงไต้ โดย ปราณ ปรชี ญา ๗๖

๓] ชันนำ้ มสี ่วนผสมคือ ชนั กบั นำ้ มนั ก๊าด ใส่รวมกนั แลว้ คนให้เข้ากันเป็นชันยาแนว
แบบแห้งเร็ว ใช้สำหรับกรณีการยาแนวเรือพายขนาดเล็กที่ต้องการแห้งเร็วคือยาแนวเสร็จ
แล้วยกลงน้ำใช้ไดท้ ันที
การเตรยี มเรือก่อนตอกหมนั

๑] นำเรือขึน้ คาน ลา้ งเรือเอาตะไคร่และคราบสกปรกออกก่อน
๒] ขดู เพรยี งทเ่ี กาะใต้ท้องเรือออกให้หมด
๓] งัดหมนั เก่าทเี่ สยี หายในแนวเรือออก
๔] ขดั สีเกา่ ที่เปลือกเรอื
๕] ซ่อมหรอื เปลยี่ นไมเ้ ปลือกเรือท่ีผุ
การตอกหมันและยาชัน
๑] ตอกหมันใหม่อดุ แทรกตามแนวเปลือกเรือให้แน่น
๒] แนวเปลือกไม้ใหม่ท่ีสนิทแน่นมากเกินไปไม่มีร่องที่จะตอกหมันอัดลงไปได้ ต้อง
แตง่ แนวเปลอื กไมใ้ หมใ่ หส้ ามารถตอกอัดหมนั ลงไปได้
๓] แนวเปลือกไม้ถ้าห่างมากเกินไปควรใช้ไม้ตีทาบแนวข้างในตัวเรือเพื่อกันไม่ให้
หมนั หลุดเขา้ ไปในตวั เรือมากเกนิ ไป แล้วใชด้ ้ายดิบตอกรองพื้นก่อนทจ่ี ะตอกหมันทบั ลงไปอีก
ชน้ั หน่งึ
๔] การตอกหมันควรให้จิกเข้าในรมิ เนือ้ ไม้ตามแนวเปลือก เรียกว่า 'การตีฝากหมัน'
เพื่อไม่ให้หมันหลุดออกจากแนวเปลือกได้ง่าย และควรตอกพอตึงมือไม่ควรตอกให้แน่น
จนเกินไปเพราะเมื่อนำเรอื ลงน้ำเนื้อไมจ้ ะขยายตัวจะทำให้หมนั ที่ตอกปลน้ิ ออกได้
๕] การต่อหมันตามรอยแนวเปลือก ต้องให้เส้นหมันเกยกันอย่าให้ขาดช่วง มิฉะนั้น
จะทำให้น้ำรวั่ ซมึ ได้
๖] การย้ำหมัน ควรใช้สิว่ ย้ำหมันให้มขี นาดความหนาของสิว่ พอดีกบั แนวเปลือกเรือ
เพื่อไม่ให้รมิ เปลือกเรือช้ำ
๗] แนวเปลือกเรือต้องรีดอัดชนั ให้แน่นด้วยปลายเหล็กป้ายชันกันไม่ใหน้ ้ำซึมเข้าใน
เนื้อหมนั ได้
๘] เมื่อตอกหมันเสร็จแล้วอย่าใหแ้ นวที่ต้องตอกหมันและจะยาชันในขั้นต่อไปเปียก
นำ้ เพราะจะทำให้การปาดชนั ตามแนวไมต่ ิดเนื้อไม้
๙] ปาดปิดแนวหมันด้วยชันยาและชันพอนตามลำดับ แล้วปาดตกแต่งรอยชันให้
เรียบ แลว้ ปลอ่ ยรอใหแ้ ห้ง

ไต้ น้ำมนั ยางและเรือ่ งเล่าจากแสงไต้ โดย ปราณ ปรีชญา ๗๗

การยาชันแนวเปลือกเรือ ควรใช้ชันแห้งช้าจะทำให้ชันยาแนวมีความเหนียวแน่น
และการพอนชันท้องเรือควรผสมชันแบบแห้งช้าจะช่วยให้ชันพอนเคลือบแนวไม้ได้เหนียว
แนน่ มากยง่ิ ขึ้น

๑๐] ตกแต่งสเี รอื

๙. นำ้ มนั ยางใช้เคลอื บยาพิษไว้ลา่ สัตวข์ องนายพราน
วิถีนายพรานหรอื พรานพืน้ เมืองในอดตี คอื ผู้นำทางในการบุกป่าฝา่ ดง ไม่ว่าการนำทางน้นั จะ
เพื่อท่องไพร การล่าสัตว์ คาราวานค้าขายระหว่างเมือง หรือเพื่อการอื่นใดที่จะต้องเดินทางรอนแรม
ในดงใหญ่ไพรกว้างเพราะพื้นที่ของประเทศในอดีตความเจริญเป็นชุมชนเมืองยังเป็นพื้นที่เพยี งหย่อม
ย่านเล็ก ๆ เท่านั้น การแกะร่องรอยสัตว์ การล่าสัตว์เพื่อเป็นอาหาร การสังเกตทิศทางในการเดินป่า
การสังเกตทอ้ งฟา้ และดวงดาว หรอื แม้แต่ต้นไมพ้ ชื ป่าชนดิ ใดมีคุณชนดิ ใดเปน็ พษิ ภูมปิ ญั ญาเหล่านี้คือ
วิชาในเชิงพรานที่ไดร้ บั สืบทอดกนั ต่อ ๆ มารุ่นแล้วรุ่นเล่า พรานพื้นเมืองยอ่ มชำนาญพื้นท่ีและเอาตวั
รอดในไพรกว้างได้เนื่องจากสภาพของป่ามีความแตกต่างกันตามสภาพของภูมิประเทศและสภาพ
ภูมอิ ากาศ
เคร่ืองมือประจำกายของนายพรานนอกจากปืนผาหน้าไม้แล้วสิ่งอื่น ๆ ก็หยิบฉวยหาเอาได้
จากในปา่ รวมถงึ 'ยาพิษ' ทใี่ ช้ในการลา่ สตั วโ์ ดยไดจ้ ากการผสม 'ยาง' จากไม้หลายชนิด และสว่ นผสม
ของยางแต่ละชนิดยังให้ 'ระดับพิษ' มีความรุนแรงต่างกันเพื่อเลือกใช้ในการล่าสัตว์เล็กไปจนถึงสัตว์
ใหญ่อีกด้วย ดงั เช่น 'ยางนอ่ ง' พรานป่าจะร้จู กั กันดีวา่ มพี ิษนำมาใช้ทาลูกดอกหรอื ลูกหน้าไม้ยิงสตั วไ์ ด้
ยางนอ่ ง เปน็ ยางไมท้ ่ีไดจ้ ากพรรณไม้หลายชนดิ หน่งึ ในนนั้ คือ 'ต้นน่อง' พรานปา่ และพวกชน
เผ่าบนดอยและในป่า อาทิ ชนเผ่าม้งทางภาคเหนือเรียกว่า 'ด่องชั่ว' กะเหรี่ยง เรียก 'นอ' ชาวเมี่ยน
[เย้า] เรียก 'เมี่ยนเดีย' ชนเผ่าซาไกหรือ 'ก็อย' หรือ 'มันนิ' อาศัยอยู่ในป่าทางภาคใต้เรียกว่า 'ต้นโปะ
[โบะ๊ ห์]' หรือ 'อโิ ปะ' พวกเขาเหลา่ น้ีจะรูด้ วี า่ ยางนอ่ ง [อโิ ปะ] มพี ษิ ทำใหส้ ัตว์ท่โี ดนพษิ เป็นอัมพาตและ
ตายได้ พวกเขาจึงกรีดยางน่องที่เปลือกของลำต้น น้ำยางน่องจะไหลออกมาแล้วนำไปผสมกับยางไม้
ชนดิ อน่ื ๆ จะชว่ ยเร่งให้พษิ แล่นเข้าสู่โลหิตเรว็ ขึ้น และก็รู้ดว้ ยวา่ เวลากรดี หรือฟันเปลือกยางน่องต้อง
อยู่เหนอื ลม เพราะหากอย่ใู ตล้ มตวั เองก็อาจไดร้ ับพิษของยางน่องได้
ต้นน่อง พบในป่าดงดิบ มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Antiaris toxicaria Leschen. อยู่ในวงศ์
Moraceae เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดใหญ่และสูงมาก สูงประมาณ ๖๐ เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง
ประมาณ ๑.๘๐ เมตร ลำต้นตั้งตรงเป็นพูพอน แผ่ออกพื้นดินเพื่อยึดลำต้น มียางสีขาวหม่นและ
เปล่ียนเปน็ สนี ำ้ ตาลแก่และเปน็ เมด็ เลก็ ๆ เม่ือถูกอากาศแห้ง

ไต้ น้ำมนั ยางและเรื่องเล่าจากแสงไต้ โดย ปราณ ปรีชญา ๗๘

ไต้ นำ้ มันยางและเรือ่ งเล่าจากแสงไต้ โดย ปราณ ปรชี ญา ๗๙

พิษของยางนอ่ งนำมาใช้ทาลกู ดอกไว้ 'ตดุ ' สตั ว์เลก็ ๆ เช่น ลิง คา่ ง เปน็ อาหารแตก่ อ่ นจะทาน
เนื้อสัตว์ตัวนั้นต้องแล่เฉือนเอาเนื้อสีเขียวคล้ำที่ถูกพิษจากพิษยางน่องออกให้หมดเสียก่อน ส่วนพวก
พรานลา่ สตั วใ์ ช้ทากระสุนปืนหน้าไม้ เพือ่ ยิงสัตวใ์ หญ่จำพวกอเี ก้ง กวาง ฟาน เสอื แรด ช้าง และยังใช้
ทามดี ดาบ หอก หรือขวากกบั ดัก เพอื่ ฆา่ ศตั รูใหต้ ายเรว็ ขึ้น

ตุด เป็นการเป่าลูกดอกอาบยางน่องจากกระบอกตุด [กระบอกเป่าลูกดอก] มันนิ [ซาไก]
เรียกว่า 'บอเลา' อาวุธประจำกายของมันนิผู้ชายใช้ยิงสัตว์ ทำจากไม้ไผ่ที่มีลำปล้องยาวแล้วนำลำไผ่
นัน้ มาตอ่ กันประมาณ ๒ ทอ่ นเชื่อมดว้ ยยางชนั ให้เป็นท่อยาวขึ้นจากนั้นใช้ไม้ไผท่ ี่มีขนาดลำเล็กกว่ามา
ต่อแบบเดียวกนั แล้วสอดซอ้ นเข้าไปในกระบอกไม้ไผล่ ำแรกทีม่ ีขนาดใหญ่กวา่ จะได้กระบอกตดุ สองช้ัน
สามารถเป่าลูกดอกพุ่งแรงไดไ้ กลหลาย ๆ สิบเมตรซึ่งขึ้นอยู่กบั กำลงั ของผูเ้ ป่าด้วย ส่วนลกู ดอกน้นั จะ
บรรจใุ นกระบอกทำจากไมไ้ ผ่ใชห้ วายทำเปน็ เชอื กคล้องสะพายได้

๏ เม่ือน้นั ดอลซมพลาฟงั ทงั้ สองวา่

ชน่ื ชมสมถวิลจินดา จึง่ มีวาจาตอบไป

กูขอบใจทม่ี ึงให้อาหารน้ี ใจดหี าใครไมเ่ หมือนได้

วทิ ยาอาคมใดใด จะสอนใหส้ มคดิ ไมป่ ดิ บงั

วา่ พลางทางแก้ตอกนกุ ออก เอากระบอกมันนึนนั้ มาต้ัง

เปิดฮอนเลด็ เหน็ บิลาลูกกำลงั แลว้ ก็นัง่ ช้แี จงใหแ้ จ้งใจ

อนั บลิ าน้ที ายางอโิ ปะ แมน้ เปา่ โผละถูกเนือ้ ทต่ี รงไหน

เปนยาพิศม์โลหติ สูบส้านไป ไม่มใี ครรอดพน้ สักคนเลย

อันนกใหญใ่ ชด้ นิ ไมอ่ ยู่ดอก กจู ะบอกวธิ ใี หม้ งึ เหวย

ถงึ กาวับตาโกะ๊ กูกเ็ คย ถกู ไมเ่ งยลม้ ผับดบั ชวี า

ที่มา บทละครเรื่องเงาะป่า พระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว [๒๕๑๒, น.

๒๗–๒๘]

หมายเหตุ อธิบายคำก็อย

ตอกนุก สายแล่งลูกดอก

มนั นึ กระบอกลูกดอก

ฮอนเล็ด กระบอกบรรจุลูกดอก

บลิ า ลกู ดอก

อิโปะ ยางนอ่ ง

กาวบั หมี

ตาโกะ๊ เสอื

ไต้ นำ้ มันยางและเรอ่ื งเล่าจากแสงไต้ โดย ปราณ ปรีชญา ๘๐

สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคใต้ อธิบายถึงยางน่องชนิดอื่น ๆ และวิธีทำให้ยางน่องมีพิษ
รุนแรงมากยิ่งขึ้นซึ่ง 'น้ำมันยาง' เป็นวัตถุดิบสำคญั ในการเคลือบพษิ ยางน่องที่อาบไว้บนลูกดอกให้อยู่
คงทน สรุปไดด้ งั น้ี

ยางนอ่ งยงั ได้จากตน้ ไมจ้ ำพวกน่อง [Antiaris toxicaria Leschen.] อีก ๓ ชนดิ คอื
๑] น่องชนิดยืนต้น ลักษณะมีใบสีเขียวอ่อนมีขนสีขาวตามใบ ยางน่องที่ได้จากไม้

น่องชนิดนี้ มีพษิ ออ่ นใชท้ าลกู ดอกยิงสัตว์เล็ก เช่น นก ไกป่ ่า กระจง ลิง คา่ ง
๒] น่องชนดิ ยนื ตน้ ลกั ษณะมกี า้ นใบสแี ดง ใบมีสีแดงปนเขียวตลอดท้ังใบ ยางน่องท่ี

ได้จากไม้น่องชนิดนี้ มีพิษร้ายแรง ทาลูกดอก กระสุนปืนหน้าไม้ใช้ยิงสัตว์ใหญ่ เช่น กวาง
ฟาน เสอื แรด

๓] น่องชนดิ เถา ลักษณะมีเถาสแี ดงเข้ม เถายาว ๑๐–๒๐ ฟุต ใบเป็นแฉก ๆ กา้ นใบ
มสี แี ดงปน ใบสแี ดงปนสีเขยี วเข้มเป็นมันระยับ ยางจากเถาและใบ มีพิษรา้ ยแรงกว่ายางน่อง
ชนดิ ยนื ต้นหลายเทา่ พิษจะแลน่ เข้าสู่หวั ใจของสตั วถ์ ึงตายภายใน ๑๐–๑๕ นาที
ยางนอ่ งมพี ษิ รุนแรงในระดบั หนึ่งหากต้องการทำใหย้ างน่องมีพษิ รุนแรงและชว่ ยเร่งให้พิษน้ัน
แลน่ เข้าสู่โลหติ ได้เรว็ ขึ้น ตอ้ งนำไปผสมกับวตั ถดุ ิบอน่ื ๆ เช่น

๑] แมลงอีโปะ เป็นแมลงชนิดหนึ่งที่มีลักษณะเหมือนตั๊กแตน มีสีเขียว ตัวโต ใหญ่
กว่าตั๊กแตนธรรมดามาก คือ โตขนาดเท่าหัวแม่เท้า ชอบอาศัยอยู่ในป่าบนภูเขาทั่วไป เป็น
แมลงไมม่ พี ษิ ร้าย แต่ถ้าไดน้ ำมาผสมกับยางน่องก็จะกลายเป็นพษิ รา้ ยแรงทนั ที

๒] ยางอีโปะ เป็นเถาวัลย์ชนิดหนึ่งที่มีลักษณะเป็นเถาเปลือกเป็นเหลี่ยมคม มีใบสี
เขยี วใหญม่ น ตามปกติไม่มีพิษ แตเ่ ม่ือนำมาผสมกบั แมลงอีโปะ จะมพี ษิ ร้ายแรงทันที

๓] ยางทิเงาะ เกดิ จากเถาทเิ งาะ ซ่ึงเปน็ พชื ชนดิ หน่ึง
๔] น้ำมนั ยาง จากต้นยางซงึ่ มีอยทู่ วั่ ไป
วิธที ำยางนอ่ งให้รนุ แรงมากยิง่ ขึ้น คือนำแมลงอโี ปะมาตำให้พอแตกชำ้ ๆ แต่ไมล่ ะเอยี ด แล้ว
นำไปแช่หมักผสมเข้ากับยางอีโปะและยางทิเงาะหมักปล่อยทิ้งไว้ประมาณ ๓–๔ วัน หลังจากนั้นก็
นำไปใชไ้ ด้ ถ้าหากจะอาบลูกดอกไว้ตุดหรือเป่าสตั ว์ก็ให้นำลูกดอกจุ่มลงไปในยางน่องแลว้ แช่ไว้ ๓ วัน
จากนั้นก็นำไปตากแดดจนแห้ง แล้วนำไปจุ่มลงในน้ำมันยาง นำไปผึ่งแดดให้แห้งอีกครั้งหนึ่งจึง
นำไปใช้ได้ หากยางนอ่ งทอี่ าบลูกดอกไว้แหง้ กรังจากการท้ิงไวน้ านเมื่อต้องการใชก้ น็ ำไปอุ่นหรือย่างไฟ
พอให้ยางเรม่ิ เหนียวทงิ้ ไวใ้ หแ้ ขง็ ตัวกน็ ำไปใชไ้ ด้อีกครงั้
ผู้ที่ถูกพิษของยางน่องกล่าวกันโวยความเชื่อทสี่ ่งต่อกันวา่ หมอพ้ืนบ้านให้ผู้ถูกพิษกินดินหรือ
รากต้นรางจืดจะสามารถแก้พษิ ได้ บางตำราวา่ ถา้ ถกู พิษยางน่องให้ใชเ้ ปลือกไมพ้ ลาหรือซมั พลา หรือ
พลับพลามาเคี้ยวกลืนน้ำลงในทอ้ งโดยเรว็ ทำใหย้ างนอ่ งหมดพษิ จะรอดตายได้

ไต้ น้ำมนั ยางและเรื่องเล่าจากแสงไต้ โดย ปราณ ปรชี ญา ๘๑

๑๐. นำ้ มนั ยางใชเ้ ป็นสว่ นผสมในการทำยางดกั นก
'ดัก' คือการวางเครื่องมืออย่างใดอย่างหนึ่งสำหรับจับสัตว์ เครื่องมือในการใช้ดักสัตว์นั้นถือ
เป็นภูมิปัญญาของชาวบ้านในการคิดกลวิธีแล้วประดิษฐ์อุปกรณ์ช่วยจับสัตว์ที่มีความปราดเปรียว
ว่องไว รู้หลบหลีกหนีได้ด้วยคุณสมบัติและสัญชาตญาณของสัตว์ชนิดนั้น ๆ ภูมิปัญญาที่คิดประดิษฐ์
เป็นเครื่องมือท่ีใช้อยูใ่ นวิถชี ีวิตของชาวบ้านสมยั ก่อนอย่างเช่น เบ็ด บ่วง แร้ว สุ่ม ไซ ชนาง กรง ครืน
ตาข่าย เพนียด ฯลฯ ซง่ึ บางอย่างก็มใี ช้สืบทอดตอ่ มาและพฒั นาให้ทนั สมยั ยิง่ ข้นึ
การดกั สัตวข์ องชาวบ้านมีหลายวัตถุประสงค์ตั้งแต่การดักนกที่มากินพืชผลผลิตหรือก่อความ
เดือดร้อนรำคาญ ดักนกเพื่อนำมาเลี้ยง นำมาบริโภคเป็นอาหาร หรือนำมาขาย ทั้งนี้ทัศนคติของ
ชาวบ้านในสมัยอดีตนั้นทำเพื่อการยังชีพอย่างพอเพียง กล่าวคือพอเหมาะพอควรในแต่ละครอบครัว
แต่ปัจจุบันแนวความคิดอาจเปลี่ยนไปเมื่อชาวบ้านนั้นมีสถานภาพเป็นพ่อค้าการจับสัตว์จึงมี
จุดประสงค์ใหญ่กว่าการบริโภคเพยี งในครอบครัวและเน้นปริมาณเพื่อการจำหน่าย แต่ทั้งน้ีการดักนก
ด้วยยางดักนกนั้นถือเป็นภูมิปัญญาของชาวบ้านในทำเพื่อการดำรงชีพแบบพอเหมาะพอควรและ
นา่ สนใจศึกษา
การดักนกนอกจากใช้เครื่องมือดักสัตว์ปีกจำพวก 'เพนียดดักนก' 'คอนตัง' 'ตังบาน' 'ครืน'
หรือ 'ครึน' หรือบางถิ่นเรียก 'ครุน' ก็มี แต่ก็มีชาวบ้านบางคนใช้วิธีง่าย ๆ ด้วยการนำยางจากต้นไม้
หลากหลายชนิดมาดัดแปลงทำเป็นกาวดักนกได้โดยไม่ต้องพึ่งเครื่องมือดักสัตว์ปีกดังกล่าว ข้างต้น
เพียงแต่ว่าการดักอาจต้องเฝ้ารอจังหวะของนกด้วยและกาวดักนกสามารถใช้ได้กับนกตัวเล็กหรือมี
กำลงั กระพอื ปีกบนิ ไม่ได้แรงมาก ยางดักนกนั้นทำจากยางไม้หลายชนิด เช่น ยางมะเดื่อ ยางขนนุ ยาง
ไทร ยางตีนเปด็ ยางกล้วย น้ำยางพารา และน้ำมันยาง ชาวบา้ นแตล่ ะถน่ิ มีวิธีทำกาวดักนกทั้งเหมือน
และแตกต่างกันบ้างเล็กน้อย ดังเช่น ใช้ยางจากพืชนิดใดชนิดหนึ่งในท้องถิ่นที่หาได้แล้วนำมาทำกาว
ดักนกเพียงชนิดเดียว หรือบางพื้นที่นำยางหลากหลายชนิดมาผสมเข้าด้วยกันเพื่อเพิ่มความเหนียว
เหนอะมากข้ึนไปอีก
ชนเผ่ากะเหรี่ยงทางภาคเหนือใชน้ ้ำยางจากต้นพะฮี้ [ภาษากระเหรี่ยง] ทาที่ไม้ดักนกแล้วผึง่
แดดใหน้ ำ้ ในยางระเหยออกหมดจนแห้งสนิท ไม้ดกั นกนี้ทำจากก่ิงไม้ตามสภาพธรรมชาติเพื่อใช้ล่อนก
ใหบ้ ินมาเกาะ จากน้นั จึงนำไมด้ ักนกนไี้ ปปักไว้ทแ่ี หลง่ นำ้ ท่นี กจะลงมากินน้ำเมื่อนกบินไปเกาะท่ีไม้ดัก
นกจะตดิ ยางทเ่ี หนยี วหนึบจนไมส่ ามารถบินหนีไปได้
ยางจากตน้ มะเดื่อ เมอ่ื กรีดเอายางใส่ภาชนะได้ตามต้องการแลว้ นำยางมะเด่ือไปต้ังไฟไม่ต้อง
ใช้ไฟแรงมาก ใช้ไม้คนน้ำยางจนยางแห้งงวดจับตัวกันเป็นก้อนเรียกวา่ 'กาวตัง' หรือ 'กาวตังเม' แล้ว
นำไปแช่น้ำให้ทิ้งไว้ [ก้อนกาวตังเมจะลอยน้ำ] เวลาใช้ก็ยืดกาวตังเมให้เป็นเส้นพันเป็นเกลียวรอบไม้
ดักนกแล้วนำไม้ดักนกนั้นไปปักไว้ให้นกบินมาเกาะ การนำกาวตังเมออกจากกิ่งไม้โดยใช้มือจุ่มน้ำให้

ไต้ นำ้ มนั ยางและเร่อื งเล่าจากแสงไต้ โดย ปราณ ปรีชญา ๘๒

เปียกแล้วรูดกาวตังเมออกจากไม้ดักนกจับเป็นก้อนแล้วแช่นำ้ ไว้เช่นเดิมเพื่อรักษาสภาพความเหนียว
หนืดของกาวตังเม

สำหรับยางดักนกแบบผสมกันหลาย ๆ ชนิดนั้นจะทำให้ยางดักนกนั้นมีคุณสมบัติของความ
เหนยี วและความเหนอะเพ่ิมมากกว่าการใช้ยางเพียงชนิดเดียวจงึ สามารถยึดจับตนี นกให้ติดอยู่กับยาง
ดักนกนั้นได้ตรึงแน่นมากขึ้นหรือติดปีกนกทำให้เหนียวเหนอะแหนะไม่สามารถใช้ปีกบินหนีได้
ชาวบ้านจะเสาะหายางจากพืชชนิดต่าง ๆ ข้างต้นหาได้ยิ่งมากชนิดยิ่งดีโดยการใช้มีดกรีดหรือสับ
เปลือกต้นไม้ชนิดนั้นเพื่อให้น้ำยางไหลหยดลงในภาชนะแล้วนำน้ำยางแต่ละชนิดที่หาได้มาใส่ใน
ภาชนะผสมกันในอัตราส่วนที่เหมาะสม ใช้ไม้เล็ก ๆ ขนาดพอเหมาะมือยาวประมาณ ๑.๕ ฟุต เรียก
'ไม้กวนยาง' กวนน้ำยางให้เข้ากันจนกระทั่งเนื้อของยางเข้มข้นและเหนียวเหนอะพอเหมาะ อาจ
ทดลองโดยใช้มือจมุ่ นำ้ แลว้ มาแตะยางดกั นกถ้าไมต่ ิดมือกเ็ ป็นอันใช้ได้ จากนนั้ ผสมเขมา่ ไฟหรอื ผงถ่าน
ลงไปเพื่อทำให้ยางดักนกมีสคี ลำ้ และกลมกลืนกับสีของต้นไม้ทั่ว ๆ ไป เป็นการพรางไม่ให้นกรู้สกึ เห็น
เป็นส่ิงแปลกปลอม

ในภาคใต้ชาวบ้านมีวิธีทำยางดักนกไว้ ๓ ประเภท ได้แก่ 'ยางตีน' ซึ่งใช้สำหรับดักนกให้ตีน
ของนกติดยางบินหนีไปไม่ได้ 'ยางสะเหลือด' ใช้สำหรับดักนกเพื่อให้นกเกาะแล้วล้มและเมื่อนก
กระพือปีกหนยี างก็จะติดปีกนกดว้ ยทำให้บนิ ไปไหนไมไ่ ด้ และ 'ยางปีก' ใชส้ ำหรับแตะปีกนกในขณะที่
นกนอนหลับหรือไมร่ ู้ตัว ยางท้ัง ๓ ชนิด มีวิธีทำและวิธใี ชด้ ังนี้

๑] ยางตนี
ยางตีน ทำได้โดยนำยางหลายชนิดมาผสมเข้าด้วยกันยิ่งมียางหลากหลาย ๆ ชนิดก็
ยิ่งดี อย่างเช่น น้ำมันยาง ยางพารา ยางไทร ยางตีนเป็ด ยางขนุน ยางกล้วย เป็นต้น ใช้ไม้
กวนให้เข้ากันจนเหนียวแล้วผสมเขม่าไฟหรือผงถ่านให้ดำคล้ำ กลมกลืนกับกิ่งไม้ห รือ
สภาพแวดล้อม วิธีใช้ยางตีนนี้โดยการนำยางไปพันรอบกิ่งไม้ดักนกที่ชุบน้ำเปียกน้ำไว้ก่อน
แลว้ เพอ่ื ทำให้ยางตีนไม่ตดิ ยึดแน่นกับไม้ดักนกเม่ือเลิกใช้ก็สามารถรูดเก็บยางตีนท่ีพันรอบไม้
ดกั นกนนั้ ออกไดห้ มดแลว้ นำไปใสไ่ ว้ใน 'โหลกยาง' แลว้ นำโหลกยาง [กะโหลกกะลา] นไ้ี ปเก็บ
ไว้ในที่ร่มสามารถนำมาใช้ในครั้งต่อไปได้ เช่นเดียวกันเวลาพันก็ต้องให้มือเปียกน้ำหมาด ๆ
ด้วยเพื่อไม่ให้ยางตีนนี้ติดมือ จากนั้นก็นำไม้ดักนกนี้ไปปักไว้ในที่ที่คาดว่านกจะมาเกาะ เชน่
บรเิ วณทนี่ กจะมากนิ นำ้ หรือท่ีท่ีมีนกต่อเพ่ือเรียกนกอ่ืนใหม้ าเกาะ เปน็ ต้น ขอ้ เสียของยางตีน
คือไม่สามารถดักนกที่ตนี เปยี กน้ำได้ จงึ ไม่เหมาะในการใช้ยางชนดิ น้ีดักนกในตอนเช้าหรือดัก
นกประเภทนกนำ้
๒] ยางสะเหลอื ด
ยางสะเหลือด [ยางลื่น] เป็นยางดักนกให้ติดตีนและปีกของนก ลักษณะคล้าย 'ยาง
ตีน' แตเ่ หลวและลื่นกวา่ ทำให้นกทีเ่ กาะจะลน่ื ตกสู่พืน้ ดนิ ทง้ั น้เี พราะมสี ว่ นผสมของน้ำมันพืช

ไต้ นำ้ มนั ยางและเร่อื งเลา่ จากแสงไต้ โดย ปราณ ปรีชญา ๘๓

ดว้ ย วธิ ีผสมทำเชน่ เดยี วกับยางตีนแล้วนำไปเคี่ยวบนไฟแลว้ กวนให้ยางอ่อนตัวและเหลวกว่า
ยางตนี การใช้ยางสะเหลือดโดยการพันไว้รอบไม้ดักนกเหมอื นยางตีนจากนนั้ นำไปพาดวางไว้
ตามท่ีต่าง ๆ ที่คาดว่านกจะบินมาเกาะ เช่น บนต้นไม้ที่มีผลสุก เมื่อนกบินมาเกาะไม้ดักนก
ยางจะติดตีนและปีกของนกทำให้ตีนนกจับไม่ติดและลื่นตกลงสู่พื้นดินก็สามารถจับนกได้
เหมาะสำหรับใช้ดักนกที่ชอบอยู่บนต้นไม้สูง ๆ เมื่อดักได้แล้วผู้ดักไม่ต้องปีนต้นไม้ไปจับนก
เหมอื นยางตนี วธิ ีการเก็บยางสะเหลือดเหมอื นกบั การเกบ็ รกั ษายางตนี ทุกประการ

๓] ยางปีก
ยางปีก เป็นยางดักนกที่มีลักษณะเหนียวน้อยกว่ายางตีนใช้แตะให้ติดที่ปีกหรือขน
ของนก วิธีการผสมยางปีกคล้ายกับการทำยางสะเหลือดแต่ให้เหลวกว่าโดยนำยางตีนหรือ
ยางที่มีส่วนผสมคล้ายยางตีนมาตั้งบนไฟเคี่ยวให้เหลวโดยเติมน้ำมันพืชลงไป ถ้าต้องการให้
ยางสะเหลอื ดเขม้ ข้นก็เติมนำ้ มนั พชื เพียงเล็กน้อย หากต้องการให้เหลวมากกเ็ ตมิ มากขนึ้ การ
ใช้ยางปีกจะตอ้ งใช้ไม้ดกั นกก้านเลก็ ๆ เช่น ก้านมะพร้าว จุ่มลงในน้ำยางปีกแล้วนำไปปักลง
บนก้านกล้วย หรือทางสาคู ตัดให้ยาวประมาณ ๑ ฟุต แล้วนำปลายไม้รวกมาเสียบต่อกับ
ก้านน้ีให้ยาวขึ้น เมื่อใช้งานก็นำไม้ดักนกน้ีค่อย ๆ แหย่ไปแตะปีกหรือตัวของนกในขณะทีน่ ก
เผลอไม่รู้ตัว เมื่อนกตกใจจะกระพือปีกหนียางปีกที่ไม้ดักนกก็จะติดปีกของนกทำให้
เหนอะหนะไม่สามารถบินหนีไปได้ การเก็บยางปีกโดยนำไม้ดักนกที่ชุบยางปีกไว้แล้วเก็บใส่
ในกระบอกไม้ไผ่เล็ก ๆ แลว้ เกบ็ ไว้ในทร่ี ่มสามารถนำมาใชใ้ นโอกาสตอ่ ไปได้

• องค์ความรใู้ นการใช้ไต้ในการแสดงเพ่อื ประกอบอาชพี

๑. สอ่ งไฟแสงไตเ้ ลน่ หนงั ใหญ่
หนงั ใหญ่เปน็ มหรสพสำคญั มาตั้งแตค่ รงั้ สมัยกรุงศรอี ยุธยา ปรากฏหลกั ฐานอยู่ในเอกสารและ
วรรณคดีสมัยอยุธยาหลายเรื่อง หนึ่งในนั้นคือ 'บุณโณวาทคำฉันท์' ซึ่งพระมหานาค วัดท่าทราย
ประพันธข์ ึน้ ในรชั กาล สมเดจ็ พระเจา้ อยู่หวั บรมโกศ ได้กล่าวถงึ หนังใหญอ่ นั เป็นมหรสพอยา่ งหน่ึงซ่ึงมี
ในการสมโภชพระพุทธบาทที่สระบุรี การเล่นหนังใหญ่ในสมัยนั้นเป็นที่นิยมอย่างมาก เพราะมีเครื่อง
ดนตรีปี่พาทย์ประกอบด้วย กลอง ฆ้อง ระนาด ตะโพน ทำให้เกิดอารมณ์ครึกครื้นเรียกผู้คนให้มา
ชุมนมุ กนั ได้อยา่ งมากมาย จนเป็นคำเรยี กติดปากชาวบ้านว่า 'ปพี่ าทยร์ าดตะโพน'
การเชิดหนังใหญ่ต้องเลน่ ในเวลากลางคืน เนื่องจากต้องใช้แสงไฟส่องผา่ นฉลุลวดลายของตวั
หนงั ให้ตกทาบลงบนจอจงึ จะปรากฏให้เหน็ ความงดงามอันวิจิตรตระการตา
๏ กลางวันโขนละครโสภา หุน่ เหน็ แจม่ ตา
ประดับดว้ ยเครื่องเรอื งรอง

ไต้ นำ้ มนั ยางและเรอื่ งเล่าจากแสงไต้ โดย ปราณ ปรีชญา ๘๔

๏ ราตรีอคั คแี จม่ ใส หนงั สอ่ งแสงไฟ

จงึ เหน็ วิจิตรลวดลาย

ทมี่ า บทพากย์สามตระ เบิกหน้าพระ ความท่ี ๓ ในประชุมคำพากยร์ ามเกยี รต์ิ ภาค ๑

ในยุคกอ่ นนยิ มแสงจากตะเกยี งลานหรอื ตะเกียงเจ้าพายุน้ัน คนส่องไต้ หรอื 'นายไต'้ จะใช้ไต้
จดุ ให้แสงส่องอยู่หลงั คนเชิดหนัง แสงสว่างจะสอ่ งทาบตัวหนังโดยไม่ใหเ้ งาของคนเชิดไปปรากฏบนจอ
ด้วย ดังนั้นนายไต้จึงต้องมีทักษะและความชำนาญ ทำงานประสานกับคนเชิดหนังได้อย่างดี ดังท่ี
ปรากฏในบทพากยห์ นังใหญข่ องเกา่ วา่

เร็วเร็วเถิดนายไต้
เรง่ ใส่ไฟเขา้ หนหลัง
สอ่ งแสงอยา่ ให้บงั
เราจะเล่นหนงั ให้ท่านทั้งหลายดู [ทองใบ แทน่ มณี, ๒๕๔๒, น.๒๔๑๑]

๒. สอ่ งไฟแสงไตเ้ ลน่ หนงั ตะลุง

หนังตะลุงเกิดขึ้นเมื่อใดนั้นไม่มีหลักฐานยืนยันแน่ชัด ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันหนังตะลุงเป็น

มหรสพพื้นบ้านที่อยู่คู่กับคนใต้มายาวนานควบคูก่ ับมโนห์ราถา่ ยทอดสืบเนื่องกันมาเปน็ เวลาเกือบ ๒

ศตวรรษแล้วจึงถือเป็นมรดกทางวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของชาวปักษ์ใต้ มีการรับและ

ปรับเปลี่ยนให้เข้ากับท้องถิ่นและสมัยนิยมตลอดเวลา อีกทั้งภาคใต้อยู่ระหว่างภาคกลางกับมาเลเซยี

และชวา หนังตะลุงจึงรับเอารูปแบบของหนังชวาที่เรียกว่า 'วายัง' เข้ามาประสมประสานด้วย พ่วง

บษุ รารัตน์ กล่าวว่า หนงั ตะลงุ เกิดจากการเชดิ เลียนแบบหนังใหญ่แต่ใช้ตวั หนงั ทม่ี ีขนาดเล็กกวา่

“...หนังใหญ่ เดิมเรียกว่าหนัง เมื่อมีหนังตะลุงขึ้นในภาคใต้รูปหนังที่ใช้เชิดเล็กกว่ามากจึง

เรียกหนังที่มาก่อนว่าหนังใหญ่ หนังตะลุงเลียนแบบหนังใหญ่ ย่อรูปหนังให้เล็กลง คงแสดงเรื่อง

รามเกียรตเิ์ หมือนหนังใหญ่ เปล่ยี นบทพากยเ์ ป็นภาษาพนื้ เมือง เครอ่ื งดนตรจี ากพิณพาทย์ ตะโพน มา

เปน็ ทับ กลอง ฉงิ่ โหมง่ ...” [พว่ ง บษุ รารตั น์, ๒๕๔๒, น.๒๒]

หนงั ตะลุงต้องใช้แสงไฟในการแสดงเหมือนหนังใหญ่เพยี งแต่การวางตำแหน่งของแสงผิดจาก

หนงั ใหญเ่ พราะในกรณีการแสดงหนังตะลุงตอ้ งจุดไฟส่องอยู่หลงั จอ

“ ...โอมข้าจะไหว้ฤๅษชี ีเฒา่ อาจารย์ ส่ังสอนครบถว้ นทุกประการ

เร่ืองเลน่ ในโลกพสุธา กลางวนั เล่นละครโนรา

คนเหน็ ประจกั ษต์ า ประดับประดาดว้ ยเคร่ืองเรืองอไุ ร

ราเอย๋ ราตรีอคั คแี จม่ ใส เอาหนังมาส่องแสงไฟ

แลดเู พริศพร้งิ ลวดลาย พรง่ั พร้อมด้วยเครอ่ื งประโคมทง้ั หลาย

ไต้ น้ำมันยางและเร่ืองเลา่ จากแสงไต้ โดย ปราณ ปรชี ญา ๘๕

เชดิ โฉมเฉดิ ฉาย รำรา่ ยอรออ้ นออ

เอาไมไ้ ผ่ส่ีลำปักทำเป็นจอ ส่มี มุ หมุ้ หอ่ ด้านหนงึ่ ขงึ กน้ั ผ้าขาว

เอาหนงั พระโคมาต่อตดั เป็นรปู อศิ วรนารายณ์จา้ ว

กลางหาวล่องแลว้ ลบั แสง ลงการากษสสำแดง

อยธุ ยากลา้ แกรง่ มาเลน่ หนงั ใหท้ า่ นทัง้ หลายดู

ยกสองเทา้ รปู เชิดชู รบรอต่อสู้ บม่ ิได้หลบเล่ียงเบีย่ งบัง

มีผ้าขาวกางกั้นกำบัง เปน็ ทบั ทาบตวั หนัง

ไฟสอ่ งแสงไฟแลงาม เบอ้ื งซ้ายขา้ ไหว้ทา้ วราม

เบือ้ งขวาทรงนาม ป่ินเกล้าทา้ ววรามณ์ศักดา

ขอให้มีสิริเดชา อันตรายอยา่ ไดบ้ ีฑา

จงชว่ ยหอ่ หมุ้ คุ้มภยั ศรีศรีสวสั ดีมชี ยั

เล่นในสถานทใ่ี ด ขอใหล้ าภล้นสมหวงั

ศรศี รีสวัสดมี ลี าภัง ห่อหมุ้ คุม้ บงั

อนั ตรายอยา่ ได้มีมา...”

ท่ีมา โองการหรอื รา่ ยมนตพ์ ระอิศวร สำนวนที่ ๑ [พ่วง บษุ รารตั น์, ๒๕๔๒, น.๔๗]

แสงไฟหลังจอหนังตะลุงในยุคโบราณก่อนมีตะเกียง ไฟฟ้าและเครื่องปั่นไฟ ก็ใช้แสงจากไต้

เหมือนหนงั ใหญ่ ดงั บทเบิกหน้าพระหนังตะลุงภาคใต้ฝง่ั ตะวนั ตก กล่าวถึงคนสอ่ งไต้ หรอื นายไต้ วา่ ไว้

ดังนี้

“ ...ทา่ นทั้งหลายตาดหู ูฟัง คำพากยร์ ูปหนงั

จงตใิ ห้ตอ้ งคำแสดง

เร็วเข้าเหวยนายไต้ ฉายเพลงิ มาให้เห็นแสง

สองท้าวเธอจะแผลง พระเดชให้ทา่ นทั้งหลายดู

สองหตั ถ์คำรพเชิญครู ยกรูปเชิดชู

รบรอตอ่ สู้ หลีกเลย่ี งมลายเลือนเบอื น...”

ทมี่ า วัฒนา จนิ ดาพล และคณะ อา้ งใน พทิ ยา บุษรารัตน์, ๒๕๔๑, น.๒๗

๓. สอ่ งไฟแสงไตเ้ ลน่ การละเลน่ อืน่
นอกเหนือจากหนังใหญ่และหนังตะลุงที่มีบทร้องกล่าวถึงแสงไต้ตามยุคสมัยนั้นแล้ว การ
แสดง การละเล่นอื่น ๆ ก็มีกล่าวถึงเช่นกัน รวมถึงการซักซ้อมของตัวแสดงของหลากหลายมหรสพ

ไต้ น้ำมันยางและเรือ่ งเล่าจากแสงไต้ โดย ปราณ ปรชี ญา ๘๖

ภายใต้แสงไต้ก่อนขึ้นเวทีด้วย ดังเช่น หนังสดหรือโขนสดบางกะจะ จังหวัดจันทบุรี ในยุคเริ่มต้นก่อ
ร่างสร้างคณะราวปพี ทุ ธศักราช ๒๔๙๑ ทน่ี กั แสงต้องซกั ซ้อมกนั ยามค่ำคืนท่ยี ังไร้แสงจากไฟฟา้

...ลุงติ่น หรือ นายประสงค์ จันทเพชร เกิดเมื่อ ๑๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๓ เมื่อจบชั้น
ประถมศึกษาปีที่ ๔ แลว้ กไ็ ม่ได้เรียนต่อ ชว่ ยพอ่ แมท่ ำนา เมอื่ ไม่ถูกเกณฑ์ทหารก็บวชศึกษาพระธรรม
อยู่ ๒ พรรษา หลังสึกแล้วก็ยงั ยึดอาชีพทำนาอยู่อีกหลายปี ลุงติ่นบอกว่าตอนนั้นหนังสดหรือโขนสด
เริ่มมีคนรู้จักแล้ว ออกแสดงตามงานต่าง ๆ ตัวแสดงหลักก็คือลูกศิษย์รุ่นแรก อาทิ นายทอง แก้วกูล
แสดงเป็นยกั ษ์ นายราน แกว้ กูล แสดงเปน็ หนมุ าน นายหวงั เรอื งทอง แสดงเปน็ ยกั ษ์ นางรุน แสดง
เปน็ พระราม นง แสดงเปน็ ตวั นาง

ขอ้ มูลกอ่ นหน้านี้ทไี่ ด้จากการสัมภาษณ์ปา้ อำไพ บอกไว้วา่
“ครทู อง เป็นลุงแท้ ๆ ของฉันเปน็ พช่ี ายของแม่ เปน็ คนโต น้ารานเปน็ คนสุดทอ้ ง”

เม่อื ไล่ลำดบั ญาติพ่ีน้องฝ่ายแม่ของปา้ อำไพ มีทง้ั หมด ๘ คน คือ ลุงทอง แมผ่ ดุ น้าจุก [ชาย]
นา้ เผือด [หญิง] นา้ แดง [หญงิ ] น้ารอง [ชาย] นา้ รุน [หญิง] และ นา้ ราน [ชาย] ใน ๘ คนนี้ไปเป็นลูก
ศษิ ยค์ รอู อ้ นถงึ ๔ คน คอื ลุงทอง นา้ รอง นา้ รนุ และ นา้ ราน สว่ นลงุ เตมิ เป็นหลานของครูหวงั

“ครูหวัง เป็นน้องแม่ผิว เป็นน้าของตาเม้า [ป้าอำไพ เรียกลุงเติมว่าตาเม้า] ครูหวัง
ไปเรียนหนังสดหรือโขนสดกับครูอ้อน แล้วก็มาตั้งคณะ ครูอ้อนไม่มีคณะ สอนอย่างเดียวแต่เวลาครู
หวังมีงาน ครูอ้อนก็ไปช่วย แล้วก็มีลุงทอง น้ารานที่ไปเรียนกับครูอ้อน พอเป็นแล้วแกก็ไม่ได้ตั้งคณะ
นา้ รานแกจะเมามากกว่า”

ป้าอำไพ เล่าใหฟ้ งั สอดคล้องกับลุงต่นิ
“เกือบ ๓๐ แลว้ นะ”

ลุงติ่นตอบเม่ือถกู ถามวา่ ไปเปน็ ศิษย์ครูอ้อนเมื่อไร
“ครูอ้อนมีลูก ๔ คนแล้ว ตอนนั้นครูหวังตั้งคณะชื่อ สมหวัง บรรเทิงศิลป์ รับเล่น

ตามงานแล้วหลายปี พอผมฝึกเป็นก็ไปเล่นกับครูหวัง เป็นตัวเสนา ครูหวังแก่กว่าผม สักปีหรือสองปี
สมัยนั้นตอนฝึกกจ็ ุดไตฝ้ กึ กนั ยงั ไม่มีไฟฟา้ ” [ปราณ ปรชี ญา, ๒๕๖๒, ๑๙๗]

• องคค์ วามร้ใู นการมดั หอ่ อาหารแบบการมดั ไต้

คำวา่ 'มดั ' หรอื 'หอ่ ' หรอื 'มัดห่อ' มีความหมายเป็นที่เขา้ ใจกันวา่ 'หมุ้ สิ่งของด้วยวัสดุจำพวก
ใบไมห้ รือกระดาษแล้วผูกรดั เข้าด้วยกันให้แน่น' ถา้ เปน็ ขนม อาหาร อยา่ งใดอยา่ งหนึ่งวัสดุท่ีนำมาหุ้ม
ห่อแล้วมัดได้แก่ 'ใบตอง' 'ใบตองตึง' 'ใบกะพ้อ' 'ใบบัว' 'ใบมะพร้าว' 'ใบเตย' 'ใบไผ่เสี้ยว' เป็นต้น
คุณสมบตั ิของใบไม้เหล่านส้ี ามารถรักษากล่ินของส่งิ ทถ่ี ูกหุ้มห่อไว้ได้ และก็มีใบไมบ้ างชนิดได้เพ่ิมกลิ่น

ไต้ นำ้ มันยางและเร่ืองเล่าจากแสงไต้ โดย ปราณ ปรีชญา ๘๗

หอมอ่อน ๆ จากใบไม้ชนิดนั้นด้วย สำหรับสิ่งที่นำมาผูกมัดคือไม้ไผ่ที่จักตอกให้เป็นเส้นบางเล็ก ๆ
หรอื หากเปน็ ขนม อาหารที่ไม่สามารถผูกรัดใหแ้ น่นตึงได้ก็มักทำเป็นห่อรูปทรงสามเหลย่ี มให้มชี ่องว่าง
ด้านบน ห่อเป็นกรวยปลายแหลมหรือใส่ 'กระทง' แบบเปิดเผยรูปลักษณ์หน้าตา แล้วใช้ 'ไม้กลัด'
เสียบขดั ไวใ้ ห้อยู่รกั ษารูปทรงของหอ่ หรือกระทงนั้นกเ็ ป็นอนั ใชไ้ ด้

ภูมิปัญญาในการ 'มัดห่อ' ของคนสมัยก่อนถือว่าเป็นการ 'ประดิษฐ์ประดอย' ด้วยฝีมือและ
แรงงานซึ่งต้องใช้เวลาพอสมควรกว่าจะมัดห่อให้แล้วเสร็จ ซึ่งการคิดอ่านของคนรุ่นก่อนยุคพลาสติก
นั้นหยิบฉวยจากสิ่งที่ใกล้ตัวมาทั้งสิ้นเมื่อเสร็จสำเร็จแล้วมองดูเหมือนง่าย หากลองถอดเป็นบทเรียน
จะพบขัน้ ตอนท้งั การจัดหาวัตถุดบิ และการลงมือทำทีย่ งุ่ ยากไม่น้อย ถา้ เปรียบกับสมยั ปัจจบุ ัน 'มัดห่อ'
นนั้ เทยี บได้กบั 'บรรจุภณั ฑ์ [Packaging]' ทมี่ ีการออกแบบลักษณะรูปร่าง ลวดลาย สีสนั ฯลฯ ให้เข้า
กับ 'สิ่งของ' ที่อยู่ข้างใน ส่วนวัสดุที่นำมาทำบรรจุภัณฑ์นั้นก็มีให้เลือกมากมายและสามารถผลิตด้วย
เครื่องจักรกลในปริมาณท่ีมาก รวดเร็ว ลดขั้นตอนการทำงานไปได้มาก แต่ทั้งนี้บรรจุภัณฑ์สมัยใหมท่ ี่
ใช้วัสดุจำพวกพลาสติกหรือสงิ่ ท่ีย่อยสลายยากกลับเพิ่ม 'ขยะ' อนั เป็นภาระให้กบั สภาวะแวดล้อมของ
โลกอย่างนา่ กงั วลและปัญหาท่ีต้องร่วมมอื กนั แก้ไขอยา่ งเรง่ ด่วน

การมัดห่อนั้นมีหลากหลายลักษณะ คนรุ่นปู่ย่าตายายได้ผ่านการคิดและแยกแยะไว้อย่าง
น่าชื่นชมว่าขนม อาหาร ชนิดนี้ควรหุ้มห่อแบบไหน ดังเช่น ขนมสอดไส้ ห่อหมก ทำห่อแบบรูปทรง
สามเหลี่ยมใชไ้ ม้กลัดที่ปีกของห่อหรืออาจจะทำเส้นเข็มขัดคาดรัดห่อที่เรียกว่า 'เตี่ยว' ไว้อีกชั้นหนึง่ ก็
ยิ่งเพิ่มเสน่ห์ให้กับห่อนั้นได้ด้วย เตี่ยวที่ว่านี้จะตัดปลายแตกต่างกัน เช่น ปลายแหลม ปลายตัด ฯลฯ
เพ่อื เป็นเครื่องหมายบอกให้รู้ว่าข้างในเป็นขนมชนิดไหน สอดไสอ้ ะไร เปน็ ต้น ขนมตาล ขนมจีบ ขนม
เข่ง ทำเป็นกระทงรูปลักษณะและขนาดของกระทงก็แตกต่างกันไป ส่วนขนมตะโก้นั้นใส่กระทง
เหมือนกันแต่ไม่ต้องใช้ไม้กลัดเพียงพับใบเตยขัดสอดไปมาก็เป็นกระทงเล็ก ๆ หยอดตะโก้ขนาดพอดี
คำ หรือจำพวกแหนม หมูยอ ข้าวเหนียวปิ้ง ต้องห่อมัดรัดใหแ้ นน่ สำหรับข้าวต้มมดั ไต้จะตอ้ งมัดและ
รัดใหเ้ ปน็ เปลาะแบบการมดั ไต้ จงึ เรียกว่า 'ขนมมดั ไต้'

ข้าวต้มมัดไต้ หรือขนมมัดไต้ ทำด้วยข้าวเหนียวผัดกับกะทิ ใส่ถั่วทอง [ถั่วเขียวแกะเปลือก]
และมันหมู ที่เรยี กว่าขนมมดั ไต้นน้ั เนอ่ื งมาจากวธิ ีการห่อขา้ วเหนียวดว้ ยใบตองหรอื ใบกะพ้อเป็นท่อน
กลมแล้วใช้ตอกมัดเป็นเปลาะ ๆ และ เหลือปลายไว้ด้านหนึ่ง การมัดเป็นเปลาะนั้นคล้ายกับการมัด
ข้ไี ต้ เชื้อจดุ ไฟสอ่ งสวา่ งทำจากนำ้ มันของต้นยางนา จึงเรียกว่า 'ข้าวต้มมัดไต้' หรือ 'ขนมมดั ไต'้

ข้าวต้มมัดไต้หรือขนมมัดไต้นั้นมีพื้นเพมาจากประเทศเวียดนาม โดยชาวญวนทำเป็นเสบียง
สำหรับเดินทางย้ายถิ่นเข้ามาตั้งหลักปักฐานในประเทศไทย ซึ่งข้อมูลดังกล่าวนี้ ส. พลายน้อย ได้เล่า
เขียนไว้ในสารคดีประมวลความรู้ด้านวัฒนธรรมไทยชุด ขนมแม่เอ๊ย เรื่อง ขนมเดือน ๑๑ หน้า ๒๗–
๒๘ ดังน้ี

ไต้ นำ้ มนั ยางและเรอ่ื งเลา่ จากแสงไต้ โดย ปราณ ปรีชญา ๘๘

“...สมัยผู้เขียนเริ่มเป็นหนุ่มเคยคุมเรือทรายไปแถวลานเท แถวนั้นเคยมีพวกญวนทำข้าวต้ม
มดั ไตม้ าขายพวกเรือพ่วง นอกจากขา้ วตม้ มัดไตก้ ็มเี หลา้ เถื่อน กไ็ ดล้ ิ้มรสมาแล้วท้งั สองอย่าง ท่ีเรยี กว่า
ข้าวต้มมัดไต้นั้นก็เพราะข้าวต้มมดั แบบนี้มีขนาดยาวต้องใช้ตอกมัดหลายเปลาะ แบบเดียวกับมดั ไตท้ ่ี
จดุ ไฟ ผิดกบั ข้าวต้มผัดธรรมดาที่ทำตอนตักบาตรเทโวท่มี ดั เพียงสองเปลาะเทา่ นั้น...”

วิธีการทำข้าวตม้ มัดไตน้ ั้น ส. พลายนอ้ ย ได้เขียนเล่าไว้ด้วยวา่
“...พูดถึงวิธีทำข้าวต้มมัดใต้ก็ออกจะมากเรื่องกว่ากัน คือ ข้าวต้มมัดไต้ต้องใช้ข้าวเหนียวถ่ัว
เขียว [เอาเปลือกออก] และมันหมู เคลา้ เกลือพรกิ ไทยมากเร่ืองกว่าขา้ วต้มผดั มาก เวลาหอ่ ก็ต้องตั้งใจ
มากกว่าคือ เอาใบตองม้วนให้แน่นปิดหัวข้างหนึ่ง แล้วเอาไม้กลม ๆ กระทุ้งให้ข้าวกับถั่วแน่นดี
เสียก่อน จงึ จะปดิ หัวอกี ขา้ งหน่ึงได้ เวลากินต้องมีน้ำตาลทรายละเอียดแถมอกี จึงจะอร่อย...”
ในตอนท้าย ส. พลายน้อย ได้เฉลยที่มาของข้าวต้มมัดไต้และเขียนชมชาวจันทบุรีที่มีฝีมือใน
การทำขนมชนิดนี้
“...ข้าวต้มมัดไต้นี้เดิมที่เป็นของพวกญวนทำเห็นจะถ่ายทอดวิชาให้ไทยรู้จักกันนานมาแล้ว
โดยเฉพาะชาวจันทบุรีกล่าวกันว่ามีฝีมือในการทำข้าวต้มมัดไต้ได้อย่างดีมาก...” [ส. พลายน้อย,
๒๕๓๒, น.๒๗–๒๘]

ไต้ นำ้ มนั ยางและเรือ่ งเลา่ จากแสงไต้ โดย ปราณ ปรชี ญา ๘๙

วฒั นธรรม ประเพณี และพิธีกรรม [Culture, Tradition and Rite]

วัฒนธรรม ประเพณีและพิธีกรรมต่าง ๆ ในแต่ละสังคมเกิดจากกลุ่มคนในท้องถิ่นน้ัน ๆ ดำริ
สร้างข้นึ ดว้ ยความเช่ือ ความศรทั ธาโดยเฉพาะเพ่ือเปน็ การสรา้ งขวัญกำลังใจและให้มีหลักแนวดำเนิน
ชีวิตที่ดีงามไปในแนวทางเดียวกัน มีการถ่ายทอด การสืบสาน และเป็นการรวมพลังความสามคั คีของ
ผูค้ นในสังคมใหส้ ามารถยดึ โยงอยรู่ ่วมกนั เป็นกลุ่มไดอ้ ยา่ งสนั ตสิ ุข

๑ บุญไต้ประทีป ประเพณภี าคตะวนั ออกเฉียงเหนือ

'บุญไต้ประทีป [ไต้จุดไฟ]' หรือ 'บุญไต้ประทีปโคมไฟ' หรือ 'จุดประทีปไต้น้ำมัน' ชื่อเรียกที่
คล้ายกันตามแต่ละท้องถิ่นแต่คือประเพณีของชาวอีสานที่ปฏิบัติสืบต่อกันมายาวนานเป็นส่วนหน่ึง
ของงานบญุ ในช่วงเทศกาลออกพรรษา อนั ประกอบด้วย 'บญุ ผาสาทเผงิ้ [บญุ ปราสาทผง้ึ ]' 'ไหลเรือไฟ'
และ 'บุญส่วงเฮือ [แข่งเรือ]' บางท้องถิ่นจะจัดงานรวมกัน บางท้องถิ่นจะจัดทยอยกันไปตามโอกาส
หรือบางท้องถิ่นก็เลือกจัดตามความนิยมของท้องถิ่น กล่าวคือ วัดที่อยู่ห่างจากลำน้ำจะไม่จัดพิธีไหล
เรือไฟ และส่วงเฮือ ส่วนบุญไต้ประทีป และบุญผาสาทเผิ้ง จะจัดพิธีต่อเนื่องกันเกือบทุกวัด [อาจจะ
งดเวน้ บางปี ถ้าพืชผลไมบ่ ริบูรณ์ หรอื วัดขาดเจ้าอาวาสแต่จะไปรวมจดั กับวัดอน่ื ทอ่ี ย่ใู กล้เคยี ง]

วันออกพรรษาคือวันสุดท้ายในการจำพรรษาตลอดระยะเวลา ๓ เดือนในช่วงฤดูฝนของ
พระภิกษุสงฆ์หรือวันที่สิ้นสุดระยะการจำพรรษาของพระภิกษุตามวินัยบญั ญัติ ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ

ไต้ น้ำมนั ยางและเรื่องเล่าจากแสงไต้ โดย ปราณ ปรชี ญา ๙๐

เดือน ๑๑ [หรือขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ ในกรณีเข้าพรรษาหลัง] เรียกว่า 'วันมหาปวารณา [วันที่
พระภิกษุสงฆ์ทุกรูปเปิดโอกาสให้ว่ากล่าวตักเตือนกันได้]' ตามประวัติกล่าวว่า เมื่อพระพุทธเจ้าทรง
ประทับจำพรรษาอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร กรุงสาวัตถีนั้น มีพระภิกษุกลุ่มหนึ่งแยกย้ายกันจำ
พรรษาอยู่ตามอารามรอบ ๆ นคร พระภิกษุเหล่านั้นเกรงจะเกิดการขัดแยง้ ทะเลาะวิวาทกันจนอย่ไู ม่
เป็นสุขตลอดพรรษา จึงได้ตั้งกติกาว่าจะไม่พูดจากัน [มูควัตร] เมื่อถึงวันออกพรรษา พระภิกษุ
เหล่านั้นก็พากันไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าที่พระเชตะวันมหาวิหารกราบทูลเรื่องทั้งหม ดให้ทรงทราบ
พระพุทธเจ้าจึงทรงตำหนิว่าอยู่กันเหมือนฝูงปศุสัตว์ แล้วทรงมีพระบรมราชานุญาตให้พระภิกษุ
กระทำการปวารณาตอ่ กนั

พุทธศาสนิกชนจะถือโอกาสวันสำคญั นีจ้ ัดงานบุญตามคตินิยมของแต่ละท้องถิ่นเพื่อรำลึกถงึ
'วันเทโวโรหนะ' คือวันท่ีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จกลับมายังโลกมนุษย์หลังจากการไป
ตรัสอภิธรรมโปรดพระมารดาบนสวรรค์ชนั้ ดาวดงึ ส์ สำหรับชาวภาคตะวนั ออกเฉยี งเหนือหลายจงั หวัด
จะจัดพิธีจุดประทีปไต้น้ำมันในเวลากลางคืนเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาและร่วมเฉลิมฉลองวาระสำคัญ
ของวนั ดงั กลา่ ว

งานบญุ ไต้ประทปี มีกำหนด ๓ วัน คือก่อนวันออกพรรษา ๑ วนั [ขึ้น ๑๔ ค่ำ] เรยี กว่า 'วันไต้
น้ำมันน้อย' วันออกพรรษาของพระภิกษุ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เรียกว่า 'วันไต้น้ำมันใหญ่' และวันสุดท้าย แรม
๑ คำ่ เรยี กว่า 'วนั ไตน้ ำ้ มนั ลา้ งหางประทปี ' ก่อนถงึ วันกำหนดเล็กน้อย ผ้นู ำชาวบ้านจะประชุมร่วมกับ
ชาวบ้านเพ่ือจัดแบง่ หน้าท่ี ชาวบา้ นท่มี ีฝีมอื งานชา่ งจะชว่ ยกันสรา้ งร้านไมไ้ ผ่สูงระดบั เพียงตา เรียกว่า
'ข่วงไต้ประทีป' หรือ 'หอประทปี ' 'หอไตน้ ้ำมัน' 'หอฮุ่งเฮอื ง' แลว้ แต่ชือ่ เรียกตามภาษาถ่ิน โดยใชห้ ยวก
กล้วย ตน้ อ้อยและดอกไม้มาประดับตกแตง่ ใหเ้ ปน็ รูปเรือ มผี าสาท [ปราสาท] ผา้ ม่านกง้ั [กนั้ ] หลังคา
มีลวดลายตามแบบปราสาทหลังคาซ้อน พวกซะบับ [ช่าง] จะแทงหยวกเป็นลวดลายตามลายท้องถ่นิ
ร้านเรือหยวกกล้วยนั้นจะทำไว้เพื่อเป็นที่ที่แขวน 'บักโฮงเฮง [โคมประทีป]' บางวัดจะตกแต่งบริเวณ
ทางเดินมาถึงที่ตั้งรูปเรือหยวกกล้วยโดยทำร้ัวกั้นให้เป็นทางเดินลดเลี้ยววนเวียนไปมาหลายชั้นคลา้ ย
'ครี วี งกต' และประดับด้วยต้นอ้อย ต้นกล้วย หรอื ตน้ ไมอ้ ื่น ๆ ประดบั โคมประทีปให้สวยงาม

บักโฮงเฮง หรือโคมประทีป ใช้ลูกตุมกาขาว [หมากขี้กา] ที่สุกเหลืองขูดเนื้อในออกให้หมด
เจาะเป็นรูส่วนบน หรืออาจจะฉลุเป็นลวดลาย ส่วนตอนล่างจะคงรูปเดิมไว้เพื่อใส่น้ำมันเชื้อเพลิง
นอกจากนบ้ี กั โฮงเฮงยังสามารถทำไดจ้ ากฟกั ทอง มะละกอ ส้มโอ มาขูดเน้อื ในออกเหลอื เปลือกบาง ๆ
ทำเช่นเดียวกับลูกตุมกาขาว บางแห่งใช้กระบอกไม้ไผ่ ตัด ๑ ปล้องเจาะครึ่งปล้องส่วนบนให้เป็นรู
หรอื ลวดลายเพ่ือให้แสงส่องออกมาเวลาจดุ ไฟ ส่วนตอนลา่ งของกระบอกไม้ไผ่นั้นคงรปู เดิมไว้ใส่น้ำมัน
เชื้อเพลิงซึ่งใช้ไขวัว ไขสัตว์ หรือใช้น้ำมันมะพร้าวเท่าที่หาได้ บางพื้นที่สกัดน้ำมนั จากลูกบกั เยา หรือ
มะเยา [เมล็ดสบู่ดำ] ส่วนไส้โคมไฟใช้ด้ายฝ้ายทอผา้ ขนาด ๒ หุน เล็กกว่าน้ิวก้อยเล็กน้อย ฟั่นเป็นรปู

ไต้ นำ้ มนั ยางและเร่อื งเลา่ จากแสงไต้ โดย ปราณ ปรชี ญา ๙๑

ตีนกา [กากบาท] ตามความเช่อื เรือ่ งพระเจา้ ๕ พระองค์ ที่กาขาวลอยประทปี เพอ่ื บชู าแม่ แล้วนำดา้ ย
นี้ไปทำเป็นไสน้ ้ำมนั จุดไฟ

งานบุญไต้ประทีปวนั แรกคือวนั ขน้ึ ๑๔ คำ่ เดือนสบิ เอด็ 'วันบญุ ไตน้ ้ำมนั น้อย' ชาวบา้ นจะนำ
โคมประทปี ไปแขวนท่ีข่วงไต้ประทปี หรือร้านหยวกกลว้ ยรูปเรือ ตามต้นไม้ในบริเวณลานวัดทำให้ลาน
วัดสวา่ งไสวละลานตาไปด้วยแสงสวา่ งจากโคมประทีป และชาวบา้ นจะไปรว่ มฟงั เทศน์เร่ือง 'อานิสงส์
บุญประทีปโคมไฟ' ทโี่ ฮงธรรม [ศาลาการเปรยี ญ]

งานบุญไต้ประทีปวันที่สองคือวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนสิบเอ็ด 'มื้อไต้น้ำมันใหญ่' ในตอนเช้า
ชาวบ้านจะนำภัตตาหารมาทำบุญที่วัดเนื่องในวันวันออกพรรษา ครั้นตกเย็นชาวบ้านก็จะนำประทีป
โคมมาจุดที่ลานวัดให้สว่างไสวเพิ่มเติมรวมทั้งการนำน้ำมันมาเติมใส่โคมของตน จากนั้นจะมีการฟัง
เทศน์สวดมนต์ทำวัตรเย็นที่โฮงธรรม

งานบุญไต้ประทีปวันที่สามคือวันแรม ๑ ค่ำ เดือนสิบเอ็ด 'มื้อไต้น้ำมันล้างหางประทีป'
ชาวบ้านนำภัตตาหารมาทำบญุ วันออกพรรษาในตอนเช้าซง่ึ บางวัดจัดเป็นพธิ ตี กั บาตรเทโวโรหนะ บาง
วัดอาจทำบุญตามปกติ ในเวลาเย็นชาวบ้านก็จะนำประทีปโคมมาจุดที่ลานวัดให้สว่างไสวเพิ่มเติม
รวมทั้งการนำน้ำมนั มาเตมิ ใส่โคมของตน ในคืนวันไต้น้ำมันลา้ งหางประทีปนี้ ทำให้งานบุญไต้ประทีป
วันสุดท้ายนี้จะมีโคมประทีปจำนวนมากกวา่ ทุกวันบริเวณวัดจึงสว่างไสวเป็นพิเศษ มีการจุดบั้งไฟพลุ
ตะไล และกะโพก [ประทัด] ด้วยและรอจนกว่าโคมไฟที่ประดับไว้ตามลานวัดจะมอดดับไปจึงจบส้ิน
งานบุญไต้ประทีปและเตรียมงานไหลเรือไฟต่อไปถ้าวัดนั้นอยู่ใกล้แม่น้ำ ลำคลอง หนองบึงใหญ่ ๆ ท่ี
สามารถไหลเรอื ไฟได้

งานไหลเรอื ไฟคือการนำเรือหยวกกลว้ ยทป่ี ระดิษฐ์ไวท้ ่ีขว่ งไต้ประทีปกลางคีรวี งกตไปลอยน้ำ
ในม้อื ไต้นำ้ มันลา้ งหัวประทปี นี้ [วนั สดุ ทา้ ย] ชาวบ้านจะนำธปู เทยี น ซวยดอกไม้ [กรวยดอกไม้] หมาก
บุหรี่ ขนม ผลไม้ มาใส่ไว้ในเรือไฟเป็นเครื่องบูชารอยพระพุทธบาทโดยที่เรือไฟจะเป็นพาหนะนำพา
บุญของชาวบ้านไป จากนั้นเมื่อถึงกำหนดเวลาชาวบ้านต่างช่วยกันหามเรือหยวกกล้วย หรือ 'เรือไฟ'
ไปไหลหรือลอยในน้ำ มีขบวนกลองยาวฟ้อนรำแห่แหนไปพร้อมกับขบวนชาวบ้านและยืนดูจนเรือไฟ
ลอยไปจนสดุ สายตาหรอื โคมประทปี ในเรือไฟมอดดบั หมดจึงจบงานไหลเรือไฟ

บุญไต้ประทีป เป็นพิธีกรรมของชาวบ้าน แต่พระภิกษุสามเณรก็มักจะนำประทีปมาไต้ [จุด]
รว่ มกบั ชาวบา้ นด้วย เพราะเชอื่ กันว่าเป็นการจุดประทีปโคมไฟบูชาพระพุทธเจ้า วันที่เสด็จกลับสู่โลก
หลงั จากได้เสด็จไปจำพรรษาที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ สว่ นการนำเรือประทปี ไปลอยน้ำที่เรียกว่า 'ไหลเรือ
ไฟ' นั้น เป็นการบูชารอยพระพุทธบาทในแม่น้ำที่ประทับไว้ให้เป็นที่บูชาแก่พระยานาค งานบุญ
ประเพณีทก่ี ระทำตอ่ เนื่องจากบญุ ไต้ประทีปและไหลเรอื ไฟ คอื 'บญุ ผาสาทเผิง้ ' หรือบุญทอดกฐินทอด
หอผาสาทเผิ้ง จะกระทำต่อเน่ืองจากบญุ ไตป้ ระทีปก็ได้หรอื อาจจะเวน้ ระยะตอ่ มาอีก ๗ วันแต่ไม่เกนิ
เดือนสบิ สองกลางเดอื น

ไต้ นำ้ มันยางและเร่อื งเล่าจากแสงไต้ โดย ปราณ ปรีชญา ๙๒

๒ บญุ ไตป้ ระทปี ประเพณภี าคกลางของชาวลาวครง่ั

บญุ ไตป้ ระทปี หรอื การไตน้ ำ้ มนั ของชาวลาวคร่ังซ่งึ ในอดีตไดม้ ีการเคลือ่ นย้ายถ่ินอาศัยมาอยู่ท่ี
ตำบลสระเหลี่ยม อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม จึงได้นำการไต้น้ำมันแบบอย่างประเพณีท่ี
พุทธศาสนิกชนชาวอีสานยึดถือปฏิบัติกันสืบมาในช่วงเทศกาลออกพรรษา ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ
เดือน ๑๑ เพอื่ ถวายเป็นพุทธบูชา ซง่ึ งานบุญไต้ประทีปหรือการไต้น้ำมนั ของชาวลาวคร่ังมีต่อเน่ือง ๓
วัน ๓ คืน เฉกเช่นเดียวกับบญุ ไต้ประทีปทางภาคอีสานท้ังรูปแบบและรายละเอยี ดของงาน

๓ การทำบญุ แหไ่ ตห้ น้าชา้ งภาคใต้

ไต้หน้าช้าง เป็นไต้ที่ไม่ได้ทำใช้ในยามปกติหรือชีวิตประจำวันเนื่องจากลำไต้มีขนาดใหญ่โต
เทา่ ตน้ มะพร้าว มคี วามยาวประมาณ ๒–๕ เมตร จำเป็นต้องใช้วัตถุดบิ ในการทำไต้จำนวนมาก จึงมัก
ทำขึ้นใช้ในวาระพิเศษที่ต้องใช้แสงสว่างส่องคลุมพื้นที่ที่มีความกว้างขวาง อาทิ งานบุญประจำปีของ
วัดต่าง ๆ หรือตามบ้านที่มีงานมงคล งานอวมงคลที่มีผู้คนเข้ามาร่วมงานจำนวนมาก เจ้าภาพก็จะใช้
ไต้หนา้ ชา้ งในการจุดให้มีแสงสว่างส่องได้ครอบคลุมพน้ื ทบี่ ้านงานให้สว่างมากทส่ี ดุ

การทำไต้หน้าช้างต้องใช้น้ำมันยางที่มากเป็นพิเศษ รวมถึงวัตถุดิบจำพวกเศษไม้ผุ ขี้เลื่อย
เพื่อนำมาคลุกน้ำมันยางทำขี้ชัน [ดูวิธีทำที่] เมื่อวัดใดมีงานบุญชาวบ้านจะช่วยกันทำไต้หน้าช้างไป
ถวายวัดเพื่อใช้จุดส่องสว่างในงาน การนำไต้หน้าชา้ งไปวัดแต่ละคร้ังต้องช่วยกันหามไม่ต่ำกว่า ๘ คน
เพราะไต้มีน้ำหนักมาก จึงมีการแห่และร้องรำทำเพลงไปตลอดทางเช่นเดียวกับการแห่เทียนพรรษา
เพ่อื ใหเ้ กิดความสนุกสนานและความสามัคคีของคนในหมู่บ้าน

เทศกาลงานบุญของแต่ละท้องถิ่นในภาคใต้จะคล้าย ๆ กัน นอกจากจะมีงานเทศกาลและวัน
สำคัญทางพุทธศาสนาแล้ว อาทิ วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอาสาฬหบูชา วันอัฏฐมีบูชา วัน
เข้าพรรษา วันออกพรรษา เปน็ ตน้ ยังมีงานบญุ อืน่ ตามคตคิ วามเช่อื ซง่ึ มีท้ังงานเลก็ และงานใหญ่ ดงั นี้

๑] ลากพระหรอื ชักพระ
๒] สารทเดอื นสบิ
๓] การให้ทานไฟ
๔] แห่ผา้ ขนึ้ ธาตุ
ลากพระหรือชกั พระ
'ลากพระ' เป็นคำเรียกที่ชาวใต้คุ้นเคยกันดีเพราะเป็นภาษาถิ่น ส่วน 'ชักพระ' เป็นประเพณี
และคำเรียกของภาคกลาง ลากพระเป็นประเพณีทำบญุ ในวันสุดท้ายของเทศกาลออกพรรษา ตรงกับ
วันแรม ๑ ค่ำ เดอื น ๑๑ เชือ่ กันวา่ เม่อื คร้ังที่พระพทุ ธเจ้าเสดจ็ ไปจำพรรษา ณ สวรรค์ช้ันดาวดึงส์เพื่อ
โปรดพระมารดา เมอื่ ครบพรรษาจึงเสดจ็ กลับมายังโลกมนุษย์ พทุ ธศาสนิกชนจงึ มารอเฝา้ รบั เสดจ็ แล้ว

ไต้ นำ้ มันยางและเร่ืองเล่าจากแสงไต้ โดย ปราณ ปรีชญา ๙๓

อันเชิญพระพุทธเจ้าขึ้นประทับบนบุษบกแล้วแห่ไปรอบเมือง การลากพระหรือชักพระจึงเป็นคล้าย
การจำลองเหตุการณใ์ นสมยั พทุ ธกาลซึง่ ชาวใต้ท่ัวทุกพ้ืนที่ตา่ งปฏบิ ัติจนเป็นประเพณีสืบทอดมาอย่าง
ยาวนาน

“...การชักพระของชาวใต้มี ๒ อย่าง ซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่ของชุมชนว่าใกล้หรือไกลลำนำ้
ถ้าอยู่ใกล้ลำนำ้ ก็นยิ มชักพระทางเรือ โดยใชเ้ รอื ประดบั ตกแต่งด้วยบุษบกเพอ่ื ประดิษฐานพระพุทธรูป
แล้วชาวบา้ นใชเ้ รือพาย หรือเรือเพรียวที่ใช้แข่งประลองความเร็ว ร่วมกันชกั ลากเรือพระ ถ้าชุมชนอยู่
ไกลห่างลำน้ำก็นิยมชักพระทางบก โดยทำรูปเรือมีพื้นที่นั่งและวางบุษบก รวมทั้งส่วนที่ผูกเชือกชัก
ลากแล้วใส่เลื่อนหรือล้อไม้เพื่อชักลากให้เคลื่อนที่ไป ปัจจุบันนิยมใช้รถบรรทุกนำมาตกแต่งเป็นเรือ
พระ กรณีชาวบ้านมีจำนวนไม่มากนัก อาจใช้เครื่องยนต์แทน...” [ประพนธ์ เรืองณรงค์, ๒๕๕๘, น.
๓๐๕]

ชาวบ้านที่เป็นพุทธศาสนิกชนจะพร้อมใจกันอาราธนาพระพุทธรูปปางอุ้มบาตรจากวัด [บาง
พื้นท่ีใช้ปางห้ามญาติ] ขึ้นประดิษฐานบนบุษบก หรือ พนมพระ ชาวบ้านเรียกว่า 'นมพระ' ซึ่งช่าง

พื้นบ้านจะตกแต่งหัวเรือและท้ายเรือ
เป็นรูปพญานาค ๕ ตัวบ้าง ๗ ตัวบ้าง
ประดับประดาด้วยคันทวย ช่อฟ้า
ใบระกา หางหงส์ ตัวลำยอง กระจัง
ฐานพระ บัวปลายเสา เป็นต้น ถ้าลาก
พระทางบกก็แห่แหนช่วยกันลากเรือ
พระบกไปตามถนน หากลากทางน้ำจะ
ช่วยกันแห่แหนเรือพระน้ำแล้วใช้เรือ
พายช่วยกันลากไปตามลำน้ำเป็นทิว
แถว ขณะที่เรือพระน้ำเคลื่อนไปน้ัน
ชาวบ้านสองฝั่งลำน้ำจะรอ 'ซัดต้ม' คือ
การโยนหรือขว้างปาขนมต้มให้ถึงเรือ
พระ ผู้ที่อยู่บนเรือจะคอยรับขนมต้มซึ่ง
ทำจากข้าวสารเหนียวนำมาแช่ให้อิ่มตวั
แล้วผัดด้วยกะทิเกือบสุกทิ้งไว้ให้เย็น
แล้วจึงนำมาห่อด้วยใบกระพ้อเป็นรูป
สามเหล่ียมคล้ายฝักกระจับ และเมือ่ เสร็จงานชาวบ้านแตล่ ะหมู่บา้ นจะมาช่วยกันลากเรือพระกลับวัด
เป็นการส้ินสุดประเพณีลากพระในปนี ัน้ ๆ

ไต้ น้ำมนั ยางและเรอ่ื งเล่าจากแสงไต้ โดย ปราณ ปรีชญา ๙๔

สารทเดอื นสบิ
สารทเดือนสิบเป็นประเพณีสำคัญของชาวใต้ได้รับอทิ ธิพลมาจากอินเดียโดยมีพื้นฐานมาจาก

ความเชื่อที่ว่าในวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๐ พญายมจะปล่อย เปรต จากนรกภูมิให้ขึ้นมาพบญาติพีน่ ้อง
ของตนในเมืองมนุษย์ และให้กลับลงสู่นรกในวันแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ โอกาสนี้ชาวบ้านจึงจัดให้มี
การทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับญาติพี่น้องในวงศ์ตระกูลที่ล่วงลับไปแล้วและปฏิบัติสืบต่อกันมาตั้งแต่
ครงั้ โบราณจนถึงปจั จบุ ัน
การใหท้ านไฟ

การให้ทานไฟ คือการทำบุญด้วยไฟหรือการถวายความอบอุ่นแก่พระภิกษุสงฆ์ด้วยไฟในฤดู
หนาวโดยชาวบ้านช่วยกันก่อกองไฟให้พระได้ผิงไฟเกิดความอบอุ่นแก่ร่างกายคลายความหนาวเย็น
ในช่วงเดือนธันวาคม–มกราคม ซึ่งเวลาดังกล่าวมีกระแสลมมรสุมจากทิศตะวันออกเฉียงเหนือพัดพา
อากาศหนาวเย็นจากทางภาคเหนือและจากทะเลจีนใต้มายังแหลมมลายูตอนเหนือ ทำให้อากาศใน
ภาคใต้มคี วามหนาวเย็นมากกว่าปกติ พุทธศาสนิกชนในละแวกวัดใกล้เคียงจะนดั หมายพร้อมใจนำไม้
ฟืนไปรวมกันที่วัดตอนเช้ามืดในช่วงเดือนอ้ายต่อเดือนย่ีของวันใดวันหนึ่ง จากนั้นจะช่วยกันปรุง
อาหารคาวหวานถวายพระสงฆ์ สามเณร แล้วก่อกองไฟไว้ในบริเวณลานวัดเพื่อนิมนต์พระสงฆ์
สามเณรมาฉันภัตตาหารรอบกองไฟ ตามคติความเชื่อ ความเลื่อมใสในพระรัตนตรัยของ
พทุ ธศาสนิกชนของชาวใต้หลายจังหวดั ในภาคใตท้ ไ่ี ดป้ ฏิบัตสิ ืบต่อกนั มาแตโ่ บราณ
แหผ่ ้าข้นึ ธาตุ

แห่ผ้าขึ้นธาตุ คือการแห่ผ้าขึ้นห่มโอบรอบฐานองค์พระบรมธาตุเจดีย์ที่บรรจุพระบรม
สารีริกธาตุ ณ วดั มหาธาตุวรมหาวหิ าร จังหวดั นครศรธี รรมราช ซ่ึงรู้จกั กันดใี นหมู่ชาวพุทธศาสนาจาก
ทุกจังหวัดทั่วประเทศและเรียกกันวา่ 'แห่ผ้าขึ้นพระธาตุเมืองนคร' เนื่องในวันมาฆบูชาและปฏิบตั ิสบื
ต่อกันมายาวนานกว่า ๗๐๐ ปีแล้วจนกระทั่งกลายเป็นประเพณีสำคัญของชาวใต้ บางจังหวัดได้สืบ
ทอดคตกิ ารแหผ่ ้าขึน้ ธาตุไปปฏิบตั ใิ นทอ้ งถิน่ ตนดว้ ย

ตำนานประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุกล่าวว่า เมื่อประมาณปีพุทธศักราช ๑๗๗๓ ในสมัยที่พระเจ้า
สามพี่น้อง คือ พระเจ้าศรีธรรมโศกราช พระเจ้าจันทรภาณุ และพระเจ้าพงษาสุระ กำลังเตรียมการ
สมโภชพระบรมธาตอุ ยนู่ น้ั คลื่นได้ซดั ผ้าแถบใหญ่ยาวผนื หน่ึงมาขนึ้ ท่ีชายหาดปากพนัง ผ้าผืนดังกล่าว
มีการเขียนเรื่องราวพุทธประวัติไว้ด้วยซึ่งเรียกกันว่า 'ผ้าพระบฏ' ชาวบ้านได้เก็บผ้าผืนนั้นแล้วนำไป
ถวายพระเจ้าศรีธรรมโศกราช พระองค์รับสั่งให้ซักจนสะอาดแต่ลายเขียนพุทธประวัติก็ไม่ลบเลือน
ยังคงสมบูรณ์ดีทุกประการ จึงรับสั่งให้ประกาศหาเจ้าของได้ความว่า ชาวพุทธกลุ่มหนึ่งราวร้อยคน
จากเมืองอินทรปัตกำลังเดินทางไปลังกาเพื่อนำพระบฏไปถวายเป็นพุทธบูชา 'พระทันตธาตุ' หรือ
'พระเขี้ยวแก้ว' แต่ถูกมรสุมซัดเรือแตกที่ชายฝั่งเมืองนคร มีผู้รอดชีวิตราว ๑๐ คน ส่วนผ้าพระบฏถูก
คลน่ื ซัดหายไป พระเจา้ ศรธี รรมโศกราชทรงพจิ ารณาเหน็ ว่าควรจะนำขึ้นไปห่มพระบรมธาตุเจดยี ์เนื่อง

ไต้ นำ้ มันยางและเรื่องเล่าจากแสงไต้ โดย ปราณ ปรีชญา ๙๕

ในโอกาสสมโภชพระบรมธาตุ เจ้าของพระบฏที่รอดชีวติ กย็ ินดีดว้ ย จงึ โปรดให้ชาวเมืองนครจัดเครื่อง
ประโคมแห่แหนผา้ ห่มโอบฐานพระบรมธาตุเจดยี ์ จงึ เปน็ ประเพณปี ระจำเมอื งนครสบื มาจนทกุ วนั น้ี

๔ ไต้ในธรรมเนียมโบราณการทำศพ

สังคมไทยยังมีความเชื่อในเรื่อง 'การตาย' เป็นเรื่องไกลตัว ส่วนคำพูดว่า 'ตาย' นั้นถือเป็นคำ
'อัปมงคล' เป็นส่งิ ต้องหา้ มพดู เพราะเหมือนเป็นการสาปแชง่ และท้ายทส่ี ดุ เมื่อมีคนส้นิ ลมหายใจ ตาม
วัฏฏะของชีวิต 'เกิด แก่ เจ็บ ตาย' ซึ่ง 'ความตาย' นั้นเป็นขั้นสุดท้ายได้บังเกิดขึ้นแล้วและเป็นสิ่งที่
มนุษย์ทุกคนจะต้องประสบไม่สามารถหลีกหนีจุดจบของชีวิตได้ ไม่ว่าจะเป็นคนในครอบครัวหรือ
บคุ คลใกลช้ ิดที่ร้จู ักมักจะนำมาซง่ึ ความโศกเศรา้ เสียใจอย่างทส่ี ดุ

ประเพณีไทยมีพิธีกรรมในการจัดการกับศพเพื่อแสดงถึงความรักอาลัยให้แก่ผู้ตาย ซึ่งมีขนบ
นิยมและแบบแผนชาวพุทธศาสนาที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาโดยใช้การฌาปนกิจ [เผา] ถือเป็นการส่งดวง
วิญญาณผู้ตายให้ไปส่สู ุขคติ ปัจจุบันขัน้ ตอนบางอยา่ งได้ถูกลดทอนลงไปบ้างคงเหลือขั้นตอนสำคัญ ๆ
ดงั น้ี
การอาบนำ้ ศพ

การอาบน้ำศพ เป็นการชำระร่างกายศพให้สะอาดและแต่งตัวให้ผูเ้ สียชีวติ ด้วยคติความเช่ือ
ว่าการอาบน้ำศพนั้นจะช่วยให้ผู้ล่วงลับเดินทางไปสู่ภพภูมิที่ดีได้อย่างสะอาดและบริสุทธิ์ ถือว่าเป็น
เรื่องเฉพาะภายในครอบครัวสำหรับผู้เปน็ บุตรธิดาจึงไมน่ ิยมเชิญคนภายนอก ผู้ที่ทำหน้าที่อาบน้ำศพ
อาจให้เจ้าหน้าที่ของวัด [สัปเหร่อ] ทำหน้าที่นี้แทนก็ได้ และปัจจุบันมีบริษัทรับจัดงานศพแบบครบ
วงจร หรือเจา้ หน้าท่ีของโรงพยาบาลรบั ทำหนา้ ที่อาบนำ้ ศพให้
พิธรี ดนำ้ ศพ

การรดน้ำศพจะจัดหลังจากการอาบน้ำศพ นิยมตั้งเตียงไว้ด้านซ้ายของโต๊ะหมู่บูชาพระ
รัตนตรัย โดยตั้งโต๊ะหมู่บูชาไว้ด้านบนศีรษะของศพ จัดให้ศพนอนหงายหันด้านขวามือของศพหรือ
ด้านปลายเท้าของศพให้อยู่ทางผู้ที่มาแสดงความเคารพ และใช้ผ้าห่มใหม่ ๆ หรือผ้าแพรคลุมตลอด
รา่ งศพนนั้ โดยเปิดหน้าและมอื ขวาไว้เทา่ น้นั
การจดั ศพลงหบี

การจัดศพลงหีบนั้นนิยมมอบให้เจ้าหน้าที่ของวัด [สัปเหร่อ] เป็นผู้ทำพิธีกรรมต่าง ๆ ตาม
ประเพณีนิยมของท้องถิ่นนั้น ๆ เพื่อให้เกิดความเรียบร้อย แล้วจะได้ตั้งบำเพ็ญกุศลศพต่อไป สำหรับ
ศพท่ไี ดร้ ับพระราชทานโกศหรอื หบี หลวงน้นั ทางเจา้ หนา้ ที่จากสำนกั พระราชวงั เปน็ ผดู้ ำเนนิ การ
การจัดตั้งศพ


Click to View FlipBook Version