ไต้ นำ้ มันยางและเรอื่ งเลา่ จากแสงไต้ โดย ปราณ ปรชี ญา ๙๖
เมือ่ ตง้ั ศพโดยหันหัวศพไปทางทิศตะวันตก และจัดดอกไมธ้ ูปเทยี นเคารพศพไว้เรียบร้อยแล้ว
'ให้ตามไฟ' คือการตง้ั ตะเกยี งมโี คมและหร่ไี ฟไว้ที่ปลายเทา้ ศพ ๑ ท่ี
• พิธีตั้งศพราชการ เมื่ออาบน้ำศพและบรรจุศพลงหีบนำขึ้นตั้งเรียบร้อยแล้วจะนิมนต์
พระสงฆ์ ๑๐ รูป หรือ ๒๐ รูป สดับปรกรณ์ [บังสุกุล] จบแล้วถวายไทยธรรม พระสงฆ์อนุโมทนา
เจา้ ภาพและญาติ ๆ กรวดน้ำเปน็ อันเสรจ็ พิธี
• พิธีตั้งศพชาวบ้านทั่วไป ปัจจุบันนิยมนิมนต์พระสงฆ์ ๑ รูป หรือหลายรูปก็แล้วแต่ศรัทธา
ของเจ้าภาพ เมื่อพระสงฆ์มาถึงแล้ว เจ้าภาพทอดผ้าบังสุกุลบนหีบศพหรือบนที่ที่เตรียมไว้ นิมนต์
พระสงฆ์ชกั ผ้าบงั สุกุล [เป็นผา้ ไตรจีวร สบง ผ้าเช็ดตวั หรือผ้าเชด็ หนา้ ก็ได้] เมือ่ พระสงฆ์ชักผ้าบังสุกุล
แล้วเปน็ อันเสรจ็ พิธีการต้ังศพ
การจดั งานบำเพ็ญกศุ ลการสวดพระอภิธรรม
การสวดพระอภิธรรมประจำคืนหรือที่ชาวบ้านเรียกว่า 'สวดหน้าศพ' นิยมเริ่มจัดทำต้ังแต่วนั
ตั้งศพเป็นต้นไปทุกคืน โดยทั่วไปนิยมสวด ๑ คืน ๓ คืน ๕ คืน ๗ คืน [บางรายหลังจากทำบุญ ๗ วัน
แล้วอาจจะสวดพระอภิธรรมสัปดาห์ละ ๑ วัน จนครบ ๑๐๐ วัน หรือจนถึงวันฌาปนกิจ] ตาม
ประเพณีนิยมจะนิมนต์พระสวดอภิธรรม ๔ รูป และสวด ๔ จบ พระสงฆ์จะลงสวดตามเวลาแต่ละ
ทอ้ งถิน่ [ปกตเิ รมิ่ ตั้งแต่เวลา ๑๙.๐๐ น.]
การบรรจเุ กบ็ ศพ
หลังจากสวดพระอภิธรรมตามกำหนดแล้ว หากญาติประสงค์จะเก็บศพไว้ก่อนเพื่อรอญาติ
หรือรอโอกาสอันเหมาะสมที่จะทำการฌาปนกิจต่อไปจะกระทำในวันสุดท้ายของการสวดพระ
อภิธรรม โดยสวดจบสุดท้ายเสร็จแล้วจะนำศพไปเก็บไวใ้ นสุสานหรือศาลา ญาตจิ ะเป็นผู้กำหนดเองว่า
จะเก็บศพวันใด ก่ีวนั โดยทำการตกลงกบั ทางวดั หรอื ฌาปนสถาน
การฌาปนกจิ
การฌาปนกิจ คือการปลงศพ หรือเผาศพ เจ้าภาพจะต้องกำหนดวันที่จะทำการฌาปนกิจ
แล้วทำความตกลงกับเจ้าหน้าทีข่ องวัดหรือฌาปนสถานก่อน ทั้งนี้เพื่อเป็นการเลือกจองวันที่ต้องการ
กรณีบรรจุเก็บศพไว้ก่อนที่จะทำการฌาปนกิจจะต้องนำศพมาตั้งสวดพระอภิธรรมอีกวาระหนึ่งโดย
สวดก่อน ๑ คืน แล้ววันรุ่งขึ้นจะทำพิธฌี าปนกิจหรืออาจจะไม่ตั้งสวดพระอภิธรรมอีก เพียงแต่ยกศพ
ขึ้นตั้ง ในตอนเช้าเลี้ยงพระเพลและนิมนต์พระสงฆ์ขึ้นเทศน์พระธรรมเทศนาในช่วงบ่าย แล้วทำการ
ฌาปนกิจในตอนเย็น การกระทำเช่นนี้มักเรียกกันว่า 'ตั้งเช้า เผาเย็น' ถ้าหากศพนั้นเป็นบุพการี สามี
ภรรยา ก็ควรตั้งสวดพระอภิธรรมอีกคืนหนึ่งก่อนเพื่อเป็นเกียรติและระลึกถึงผู้ตาย อีกทั้งยังเป็นการ
บำเพ็ญกุศลเพิม่ เตมิ ใหอ้ ีกวาระหน่ึง
การบำเพญ็ กุศลหน้าศพ
ในวันทม่ี พี ธิ พี ระราชทานเพลิงศพ หรือฌาปนกิจนัน้ นยิ มบำเพญ็ กศุ ลอทุ ศิ ใหผ้ ู้ตายก่อน เช่น
ไต้ นำ้ มันยางและเรือ่ งเลา่ จากแสงไต้ โดย ปราณ ปรีชญา ๙๗
• จดั พิธบี วชลกู หลานเป็นพระภิกษุหรอื สามเณรทเี่ รียกว่า 'บวชหนา้ ไฟ'
• นิมนต์พระสงฆ์ ๑๐ รูป สวดพระพุทธมนต์ และถวายภัตตาหารเพล [อาจจะเลี้ยง
พระเพมิ่ จำนวนเทา่ ใดก็ได้]
• จดั ให้มพี ระธรรมเทศนา ๑ กณั ฑ์
• นิมนตพ์ ระสงฆ์สวดมาตกิ า บังสุกุล [จำนวนพระสงฆ์ ๑๐ รปู หรือตามศรัทธา]
• ถวายเครื่องไทยธรรม กรวดนำ้ เปน็ อันเสร็จพิธีบำเพ็ญกุศลหนา้ ศพ
เคลื่อนศพไปฌาปนสถาน [เมร]ุ
หลังจากบำเพ็ญกุศลอุทิศให้ผู้ตาย ก่อนจะเคลื่อนศพไปตั้งท่ีฌาปนสถาน [เมรุ] นั้น นิยมให้
ลูกหลานคนใกล้ชิดผู้ตายได้ทำพิธีขอขมาศพ เพ่ือเป็นการอภัยโทษท่ีเคยลว่ งเกินต่อกัน โดยตั้งจิตหรือ
กล่าวคำขอขมาต่อศพนั้นว่า "กายะกัมมัง วะจีกัมมัง มะโนกัมมัง อะโหสิกัมมัง โหตุ" [ข้าพเจ้าได้
ล่วงเกินต่อท่าน (อาจจะออกนามผู้ตายก็ได้) ทางกายก็ดีทางวาจาก็ดีทางใจก็ดีขอท่านได้โปรด
อโหสกิ รรมดว้ ยเถดิ ]
การแห่ศพเวียนฌาปนสถาน [เมร]ุ
การเคลอื่ นศพตอ้ งนมิ นต์พระสงฆ์ ๑ รูป เป็นผู้นำศพ เวยี นรอบฌาปนสถาน [เมร]ุ ๓ รอบ
• การเวียนต้องเวียนจากขวาไปซ้ายของฌาปนสถาน [เมรุ] คือ เดินเวียนซ้ายให้ฌา
ปนสถาน [เมร]ุ อยู่ทางซ้ายมอื ของผเู้ ดนิ เรม่ิ นบั รอบที่ ๑ จากบนั ไดหนา้ ฌาปนสถาน [เมร]ุ
• เจ้าภาพและญาติของผู้ตายต้องเดินเข้าขบวนตามศพเวียนรอบฌาปนสถาน [เมรุ]
ด้วย
• ถ้าศพนั้นมีรูปถ่ายของผู้ตายซึ่งนำไปตั้งไว้ในที่บำเพ็ญกุศล ต้องมีผู้ถือรูปถ่าย
นำหน้าศพไปในขบวน โดยมีพระสงฆ์เป็นผู้นำและมีคนถือเครื่องทองน้อยหรือกระถางธูป
นำหนา้ ศพ
• ลำดบั การแห่ศพ ถอื หลกั 'พระสงฆ–์ กระถางธปู –รปู ถ่าย–ศพ–ญาติมติ ร'
• เมื่อได้นำศพเวียนรอบฌาปนสถาน [เมรุ] ครบ ๓ รอบแล้ว เจ้าหน้าที่นำศพขึ้นต้ัง
บนฌาปนสถาน [เมร]ุ
การทอดผ้าบังสกุ ลุ
การทอดผ้าบังสุกุลนั้น เจ้าภาพควรพิจารณาว่า แขกผู้มีเกียรติชั้นผู้ใหญ่ที่เชิญไว้มีจำนวน
เท่าใดก็จัดผ้าไตรเท่ากับจำนวนแขกชั้นผู้ใหญ่ ส่วนจำนวนมากน้อยเท่าใดนั้นควรให้เป็นไปตามความ
เหมาะสม
• การเชญิ แขกข้นึ ทอดผา้ บังสกุ ุลเจ้าภาพจะต้องไปเชิญดว้ ยตนเอง โดยมีผูถ้ อื พานผ้า
ไตรตามเจา้ ภาพไปด้วย
ไต้ นำ้ มนั ยางและเรือ่ งเลา่ จากแสงไต้ โดย ปราณ ปรีชญา ๙๘
• แต่ถ้าแขกทีเ่ ป็นประธานเป็นผูใ้ หญ่ชั้นสงู หรือเป็นผูบ้ ังคับบญั ชาชั้นสงู ของเจา้ ภาพ
ก็ควรถอื พานผ้าไตรไปเชิญด้วยตนเอง
• เมื่อแขกผู้รับเชญิ ลุกจากทีน่ ัง่ เจา้ ภาพหรือผถู้ ือพานผา้ ไตรก็เดนิ ตามแขกผนู้ น้ั ไป
• เมื่อขึ้นบันไดเมรุแล้วก็ส่งมอบผ้าไตรให้ผู้ทอดผ้าก็จะรับผ้าไตรนำไปวางลงตรงที่
สำหรับทอดผ้า แต่ถ้าไม่มีการจัดที่สำหรับทอดผ้าไว้ก็วางผ้าไตรนั้นลงบนหีบศพทางด้านหัว
นอนศพ แล้วผ้ทู อดผ้ากค็ อยอยู่จนกว่าพระสงฆ์จะมาชักผา้ บงั สุกลุ
• โดยลำดับการเชิญแขกขึ้นทอดผ้าบังสุกุลนั้น จะเชิญแขกผู้มีอาวุโสน้อยไปหามาก
ตามลำดบั และเชญิ ประธานในพธิ ีข้ึนทอดผา้ บงั สกุ ลุ เปน็ อันดับสดุ ท้าย
• เมื่อประธานในพิธที อดผ้าบังสุกลุ แล้ว กเ็ ชญิ ทา่ นประกอบพิธปี ระชมุ เพลิงตอ่ ไป
วิธปี ฏบิ ัตใิ นการเผาศพ
• นยิ มยืนตรง ห่างจากศพ ประมาณ ๑ ก้าว
• ถ้าแต่งเครื่องแบบข้าราชการ นิยมยืนตรงโค้งคำนับ
• ถ้ามิได้แต่งเครื่องแบบข้าราชการ นิยมน้อมไหว้พร้อมทั้งธูปเทียน ดอกไม้จันทน์ที่
อยู่ในมอื [เฉพาะศพนน้ั มีอาวุโสสูงกว่าตนหรอื มีอาวโุ สรนุ่ ราวคราวเดียวกัน]
• ขณะทย่ี ืนตรงโคง้ คำนับหรือนอ้ มไหวน้ ้นั ควรต้งั จิตขอขมาต่อศพนนั้ ว่า "กายะกัมมัง
วะจีกัมมงั มะโนกมั มงั อะโหสิกัมมงั โหตุ" [ข้าพเจา้ ไดล้ ่วงเกนิ ตอ่ ท่าน ทางกายก็ดีทางวาจาก็ดี
ทางใจกด็ ขี อท่านได้โปรด อโหสิกรรมให้แกข่ ้าพเจา้ ดว้ ยเถดิ ]
• เมื่อขอขมาต่อศพเสร็จแล้ว น้อมตัวลงวางธูป เทียนดอกไม้จันทน์ที่เชิงตะกอน
ในขณะนั้นควรพิจารณาตวั เองถึงความตาย ว่า "ร่างกายของมนุษย์เรานีย้ ่อมมีความตายเปน็
ธรรมดาอยา่ งนีเ้ ปน็ ปกติอยา่ งนี้ไมล่ ่วงพน้ ความตายอย่างนี้ไปได้เลย" ดังคำพระที่ว่า "อะยัมปิ
โข เม กาโย เอวงั ธมั โม เอวัง ภาวีเอวงั อะนะตีโต"
• เมื่อพิจารณาตัวเองระลึกนึกถึงความตายจบแล้ว ยืนตรง โค้งคำนับ หรือ ยกมือ
ไหว้ศพอีกคร้งั พรอ้ มกบั นกึ อธิฐานในใจว่า "ขอจงไปสูส่ คุ ติ ๆ เถิด"
การตามไฟศพในคติชาวอีสาน
การฌาปนกิจหรือการปลงศพ [เผาศพ] ตามธรรมเนยี มดงั กล่าวถือเปน็ แนวปฏิบัติตรงกันของ
ชาวไทยผู้นับถือพุทธศาสนาโดยทั่วไป อาจมีการปฏิบัติที่แตกต่างไปบ้างในรายละเอียดบางขั้นตอน
ตามคตินิยมของแต่ละท้องถิ่นและกลุ่มชาติพันธุ์ ทั้งนี้ในการตามไฟศพหรือการจุดไฟไว้หน้าศพซึ่งมี
แนวปฏิบัติคือ ตะเกียงมีโคมและหรี่ไฟไว้ที่ปลายเท้าศพ ๑ ท่ี คติความเชื่อของชาวอีสานแต่โบราณมี
แตกตา่ งจากความเช่ือของภาคอนื่ เลก็ น้อย กลา่ วคือ
ไต้ น้ำมนั ยางและเรอื่ งเล่าจากแสงไต้ โดย ปราณ ปรชี ญา ๙๙
เมื่อตั้งศพและจัดดอกไม้ธูปเทียนเคารพศพไว้เรียบร้อยแล้ว 'ให้ตามไฟ' คือการจุดตะเกียง
หรอื 'ไต'้ ไว้ทาง 'หวั ' และ 'เท้า' ศพตลอดคืน หมายความวา่ ในสมยั โบราณท่ยี ังไม่มีไฟฟ้าใช้น้นั ใช้ 'ไต้'
ในการตามไฟศพวางไว้ ๒ จุด คือด้านหัวและด้านปลายเท้าของศพ ทัง้ นี้ไมม่ ีคำอธบิ ายชัดเจนไว้ถึงคติ
ความเชื่อดังกล่าว แต่มีผู้ตีความไว้เป็น ๒ ประการ คือ ประการแรกเป็นคติทางโลก เชื่อว่าจุดไต้ไว้
แทนไฟธาตผุ ตู้ ายบา้ ง หรอื เช่ือว่าจดุ ไว้กันความกลัวบา้ ง เพราะแสงไต้สอ่ งสว่างได้ในวงจำกัด ประการ
ที่สองคติทางธรรม เป็นการสอนให้คนมีปัญญาเพราะปัญญานั้นเป็นแสงสว่างส่องโลก 'โลก
เจริญรุ่งเรืองได้เพราะปญั ญา' [สารสนเทศท้องถิ่นอีสาน พิธีกรรมประจำชีวติ คนอีสาน: การตาย/งาน
ข้อมูลทอ้ งถน่ิ สำนกั วิทยบริการ มหาวิทยาลยั อุบลราชธานี]
การตามไฟให้กับผู้ตายในงานศพโบราณของชาวไทยทั่วไปน้ันมคี ติคลา้ ยกับกลุม่ ชาวเขมรถิ่น
ไทยที่อาศัยอยู่ตามพื้นที่ต่าง ๆ ของประเทศไทย ดังเช่นชาวไทยเขมรที่อาศัยอยู่ในตำบลหนองตาคง
ตำบลเทพนิมิต และตำบลคลองใหญ่ อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี ซึ่งเป็นกลุ่มชนที่มีประเพณี
พิธีกรรม และความเชื่อที่สืบต่อกันมาจากครั้งอดีตเช่นเดียวกับกลุ่มชาวเขมรถิ่นไทยในพื้นที่ตอนใต้
ของภาคตะวันออกเฉยี งเหนอื [อีสานใต]้ และทีอ่ าศยั อยใู่ นประเทศกัมพูชา
กลุ่มชาวเขมรถิ่นไทยในอำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี มีการตามไฟศพ หรือ 'จุดไฟกาล'
ภาษาเขมรเรยี กวา่ 'กีสตะโบงอนั จีญ' แยกคำและความหมายได้ดงั น้ี
กสี แปลว่า เขย่ี
ตะโบง แปลว่า หวั
อญั จญี แปลวา่ แหวน
ในอดีตการจุดไฟกาลในบุญงานศพ [บ็อนขม๊อจ] ต้องจัดเครื่องประกอบการจุดไฟกาล ๘
อยา่ งให้ครบถ้วน ดงั นี้
๑] กระบงุ [กรรเชอ] ๑ ใบ ใส่ขา้ วเปลือกจนเกือบเต็ม
๒] หวั ขวานโยน [ขวานถากไม]้ ๑ อนั
๓] เคยี วเกย่ี วขา้ ว ๑ เลม่
๔] ขา้ วสวย [ขา้ วเจา้ หงุ สกุ ] ๑ กอ้ น
๕] ไข่ไกด่ บิ ๑ ฟอง
๖] ผา้ ขาวยาว ๕ ศอก ๑ ผืน
๗] หมากธรรมสะธอร [สลาธอร] ๑ คู่
๘] มัดขี้ไต้ [จอ็ น–โละฮ] หรอื ตะเกียงนำ้ มันก๊าด
ส่งิ ของทงั้ ๘ อย่าง ใหป้ ฏิบตั ดิ ังนี้ นำขา้ วเจา้ สกุ ใสล่ งไปในรูหวั ขวานโยน แลว้ เอาหวั ขวานโยน
ปักไว้บนข้าวเปลือกในกระบุง จากนั้นนำไข่ไก่ตั้งไว้บนหัวขวานโยน นำผ้าขาววางไว้บนเคียว และมัด
ขไี้ ต้หรอื ตะเกยี งวางไว้ในกระบงุ
ไต้ นำ้ มนั ยางและเรอื่ งเลา่ จากแสงไต้ โดย ปราณ ปรีชญา ๑๐๐
ยุคสมัยปัจจุบันการจุดไฟกาล [กีสตะโบงอันจีญ] ชาวเขมรถิ่นไทยจะใช้ตะเกยี งน้ำมันกา๊ ด ๑
ดวง แตย่ งั คงมคี ติความเช่อื ตามแบบอยา่ งโบราณ
“...การจุดไฟกาลหรือตามไฟศพนั้นชาวไทยเขมรเชื่อว่าจะเป็นไฟแสงสว่างส่องทางให้
วิญญาณผู้เสียชีวิตได้เดินทางไปยังปรโลก ไฟกาลนี้จะต้องจุดอย่างต่อเนื่องและจะต้องไม่ให้ดับ
ระหว่างทีย่ ังไม่ได้นำศพไปฌาปนกิจ ผ้ทู ท่ี ำหน้าท่ดี ูแลไฟกาลกจ็ ะเปน็ ค่ชู วี ิตของผู้ตาย แต่ถ้าหากไม่มีก็
จะใช้ญาติเป็นผู้ดูแล ดูแลไปจนกว่าจะนำศพผู้เสียชีวิตไปทำการฌาปนกิจด้วยการเผาหรือฝัง...”
[ณรงคฤ์ ทธ์ิ สุขสวสั ดิ์, ๒๕๕๗, น.๑๘๒]
ไตจ้ ุดกองฟอน
คำว่า 'กองฟอน' ตามความเข้าใจของชาวบ้านทั่วไป คือ 'กองไม้ใช้เผาศพคนตาย' แต่
พจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายคำว่า 'ฟอน' คือ 'ที่ไหม้เป็นขี้เถ้า' [ราชบัณฑิตยสถาน,
๒๕๕๖, น.๘๕๗] 'กองฟอน' จึงหมายถึง 'กองขี้เถ้าศพที่เผาแล้ว' [ราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๕๖, น.๘๘]
และ 'ฟอน' ของชาวบ้านก็คือ 'ฟืน' หรือไม้ที่นำมากองซ้อนไว้สำหรับเผาศพ ซึ่งรับแบบอย่างมาจาก
อินเดีย คนโบราณได้แยกคำเรียกใชไ้ ว้ระหวา่ ง 'คนเป็น' กบั 'คนตาย' โดยท่ี 'ฟนื ' ถือเป็นคำมงคลใช้กับ
คนที่ยังมีชีวิตอยู่ เช่น 'หากิ่งไม้มาทำฟืนหุงข้าว' 'เปิดฟืนเปิดไฟ' 'พ่อตัดไม้หาฟืนมาไว้ให้แม่อยู่ไฟหลัง
คลอด' เป็นต้น ส่วน 'ฟอน' ใช้เรียกไม้สำหรับเอาไปเผาผี เช่น 'ขอช่อไม้จันทร์ วันฉันนอนกองฟอน'
[จากเนื้อเพลงปั้นดินให้เป็นดาว/ธานินทร์ อินทรเทพ ขับร้อง] ทั้งนี้จะอธิบายและอ้างอิงเรื่องไต้จุด
กองฟอนตามความเขา้ ใจและคติความเช่ือทม่ี มี าแตเ่ ดิม ดงั นี้
ไต้ นำ้ มนั ยางและเรอ่ื งเล่าจากแสงไต้ โดย ปราณ ปรชี ญา ๑๐๑
การปลงศพหรอื เผาศพในสมัยอดีตเมือ่ ยังไม่มีเตาเผาหรือท่ีเรยี กภาษาชาวบ้านว่า 'เมรุ' ศัพท์
ราชการเรียกว่า 'ฌาปนสถาน' หากเป็นเตาเผาของพระมหากษัตริย์ พระบรมวงศานุวงศ์และเจ้านาย
ชั้นสูง เรียกว่า 'พระเมรุมาศ' และ 'พระเมรุ' ตามลำดับชั้น การเผาศพบนกองฟอนในสมัยโบราณน้ัน
ไมม่ กี ารแยกชนชัน้ ทกุ คนท่ีตายแลว้ จะใชว้ ธิ ีการ 'เผากลางแจ้ง' ในลกั ษณะเดียวกัน ต่างกนั ท่ีพิธีกรรม
การเลือกใชช้ นิดไม้มาทำ 'ฟอน' และกระบวนการประดับตกแต่งตามฐานะและชั้นยศซึ่งเรียกว่า 'พระ
ราชพธิ ีถวายพระเพลิง' ผ่านมาถึงปจั จบุ ัน 'การเผาแบบกองฟอน' นน้ั แทบไม่มีแลว้ เพิ่งจะมามีเมื่อปี–
สองปีที่ผ่านมา [พุทธศักราช ๒๕๖๓–๒๕๖๔] ในบางประเทศที่ต้องเผาผู้เสยี ชีวิตจำนวนมากมายจาก
การแพรร่ ะบาดของเชื้อไวรัสโควิด–19
เฟอร์ดินันด์ เมนเดซ ปินโต [Ferdinand Mendaz Pinto] ชาวโปรตุเกส ได้ออกเดินทาง
ผจญภัยไปหลายประเทศนานถึง ๒๑ ปีและช่วงหนึ่งได้เข้ามากรุงศรีอยุธยาราชธานีในรัชสมัยสมเด็จ
พระไชยราชาธริ าช [ครองราชย์ระหว่างพุทธศักราช ๒๐๗๗–๒๐๘๙] พระองค์ได้ยกทัพไปทำสงคราม
กับเชยี งใหม่ ครั้นเสด็จกลบั มาพระนครไดเ้ สดจ็ สวรรคตเน่ืองจากทรงถูกลอบวางยาพิษ เมนเดซ ปินโต
จึงได้เขียนบันทึกถึงสิ่งที่เขาได้เห็นงานพระราชพิธี ถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพร ะไชย
ราชาธิราชในกรุงศรีอยุธยา บันทึกการท่องเที่ยว การเดินทาง และการผจญภัยของเฟอร์ดินันด์ เมน
เดซ ปินโต [The Travels, Voyages and Adventures of Ferdinand Mendaz Pinto] ไดก้ ลา่ วถึง
งานพระราชพธิ ีถวายพระเพลิงพระบรมศพไวด้ ังน้ี
“...บรรดาบคุ คลสำคัญของอาณาจักรไดล้ งความเห็นทีจ่ ะประกอบพิธถี วายพระเพลงิ พระศพ
และบรรดาพิธีซึ่งต้องทำในการนั้นอันเป็นขนบธรรมเนียมของประเทศนี้คือ ตั้งฟืนกองใหญ่อันมีไม้
จันทน์ ไม้กฤษณา ไม้กลำพัก และกำยาน แล้วนำพระศพของพระเจ้าแผ่นดินองค์ซึ่งสวรรคตนั้นขึ้น
วางเหนือกองฟนื ดงั กลา่ ว จุดไฟเผาด้วยวิธกี ารอันแปลกประหลาด ระหวา่ งเวลาทพ่ี ระศพกำลังไหม้ไฟ
อยู่ บรรดาประชาชนไม่ทำอะไร เอาแต่ร้องไห้คร่ำครวญเหนือการแสดงออกทั้งหมด แต่ในที่สุดพระ
ศพกก็ ลายเป็นเถา้ ถ่าน...” [กรมศิลปากร, ๒๕๕๕, น.๑๗–๑๙]
ธรรมเนียมชาวบ้านเมื่อไปเผาศพกลางแจ้งมักจะหยิบฉวยกิ่งไม้แห้งตามขนาดที่หาได้ริมข้าง
ทางติดมือไปด้วย ผู้ชายบางคนจะถือ 'มีดพร้า' ไปร่วมงาน จุดประสงค์ของการหยิบกิ่งไม้และมีดพรา้
ไปด้วยนั้นคือ กิ่งไม้แห้งจะสุมที่กองฟอน มีดพร้าจะช่วยในการตัดฟันไม้ฟอนบางท่อน เป็นคติเชื่อวา่
'คนเป็นช่วยสงเคราะห์ผลบุญให้กับคนตายเป็นครัง้ สุดท้าย' คนที่เคยบาดหมางผิดใจกันเมื่อได้กระทำ
แบบนี้ก็ถือว่าเป็นการอโหสิกรรมให้แก่ผู้ตายด้วย เนื่องจากในสมัยโบราณนั้นงานศพชาวบ้านยังไม่มี
ธรรมเนยี มการวางดอกไมจ้ ันทน์เพงิ่ จะมามีในระยะหลงั เมื่อมกี ารเผาศพในเมรุ
การทำกองฟอนชาวบ้านจะช่วยกันนำไม้แห้งท่อนใหญ่พอประมาณยาวสัก ๑ วามาวางเรียง
เป็นฐานจากนั้นใช้ไม้ขนาดเล็กกว่าไม้ชั้นฐานประมาณ ๔ ท่อนวางขวางบนไม้ฐานหัว–กลาง–กลาง–
ท้ายแลว้ วางไม้ฟอนซ้อนเป็นช้ันที่สองบนไม้ขวางนั้นเพื่อมีช่องวา่ งให้อากาศถ่ายเทระหว่างชั้นไม่ทำให้
ไต้ น้ำมนั ยางและเร่ืองเล่าจากแสงไต้ โดย ปราณ ปรีชญา ๑๐๒
ไฟดับเวลาเผา จากนั้นวางซ้อนเป็นชั้น ๆ
โดยมีไม้ขวางแต่ละชั้นจนกระทั่งมีความสูง
ประมาณสักครึ่งวา [๑ เมตร] หรือสูงกว่า
เล็กน้อย เสร็จแล้วใช้น้ำมันยางราดกอง
ฟอนให้ทั่ว จะเห็นได้ว่ากองฟอนมีความสูง
ขนาดน้ีจำตอ้ งใชไ้ มค้ อ่ นขา้ งมากเพอ่ื เผาศพ
ให้มอดเป็นเถ้าถ่าน ชาวบ้านถึงถือคตินี้นำ
ทอ่ นไม้มาเติมกองฟอนช่วยใหก้ ารเผาลุล่วง
ไปด้วยดีไม่มีหลงเหลือชิ้นส่วนใด ๆ ให้เป็น
ทีอ่ จุ าด ตอ่ มาจงึ มีการสร้าง 'เชิงตะกอน' สำหรบั ศพชาวบา้ น ลกั ษณะเปน็ ฐานขึ้นไปรองรบั การวางศพ
มชี อ่ งวา่ งใสฟ่ อนและใหไ้ ฟลกุ ไหม้ไดส้ ะดวกซึ่งยงั ต้งั อยกู่ ลางแจง้ เชน่ เดมิ
การเผาศพกลางแจ้งบนกองฟอนนั้นบางพื้นที่จะมีการเตรียม 'ไม้เต็งผี' จำนวน ๓–๔ ท่อนไว้
ใช้สำหรบั วางกดทับบนร่างศพโดยจะใช้ไม้สดขนาดลำโตสัก ๔๐ เซนตเิ มตร ทอ่ นแรกวางกดทับลำคอ
ของศพ ท่อนท่สี องและสามวางทับบรเิ วณขาด้านซ้าย–ขวาเม่ือเวลาศพถูกไฟเผาสว่ นแขนหรือขาจะได้
ไมย่ กขน้ึ มาแม้จะถกู รัดตรึงตราสงั ด้วยดา้ ยสายสิญจน์ ๓ เปลาะแล้วกต็ าม
“...การเผาก็ต้องเผาแบบเชิงตะกอน หาฟืนมากอง เอาพระมาสวด นำคนตายไปตั้งบนกอง
ฟอน เอาไฟจุดเป็นอันว่าจบ แต่บางรายจบไมไ่ ด้ หน้าฝนกำลังเผาอยูด่ ี ๆ ฝนเกิดตกลงมา ไฟดับหมด
โอยตะวนั ก็จะค่ำแล้ว หาฟนื มาใหม่ เกือบตัวใครตวั มนั บางรายพอไฟไหม้เทา่ น้ันคนตายก็เกิดยกแขน
ยกขาชูขึ้น บางทีก็กลิ้งลงมาจากกองฟอน สัปเหร่อก็ต้องยุ่งกัน เอาไม้เขี่ยข้างนั้นก็พลิกข้างนี้ กว่าจะ
เอาขึ้นมาตั้งบนกองฟอนได้ก็นับว่าทุเรศทุรังลูกกะตาเหลือเกิน...” [เดช ภูสองชั้น, ๒๕๔๖, น.๗๐–
๗๑]
ไต้ นำ้ มนั ยางและเรอ่ื งเล่าจากแสงไต้ โดย ปราณ ปรชี ญา ๑๐๓
หมายเหตุ
'เมรุ' เป็นชื่อภูเขากลางจักรวาล บนยอดเขาเป็นที่ตั้งสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ซึ่งเป็นเมืองของพระ
อนิ ทร์ นำช่อื มาใช้กบั สถานท่ีเผาศพเสมือนเป็นการสง่ ดวงวิญญาณของผู้ตายไปสวรรคช์ นั้ ดาวดึงส์ทาง
ปลอ่ งควันของเมรตุ อ่ จากตวั อาคารทตี่ ั้งอย่บู นพ้ืนดินสูงตะหง่านขึน้ สูฟ่ า้
'เชิงตะกอน' คือสิ่งเดียวกบั 'จิตกาธาน' ซึ่งเป็นคำเรียกสำหรับทีว่ างศพเจ้านายช้ันสงู
'เต็ง' ภาษาอีสานหมายถงึ 'ทับ' [สำลี รกั , ๒๕๕๔, น.๘๓]
คติเรื่องการเติมไม้กองฟอนนั้นมีธรรมเนียมปฏิบัติทั่ว ๆ ไปของชาวพุทธ เจ้าภาพจะจุดไต้
เตรียมไว้สำหรับให้ชาวบ้านที่นำกิ่งไม้มาด้วยจุ่มปลายไม้กับน้ำมันยางแล้ว นำไปต่อกับไต้ให้ไฟลุกติด
ปลายไม้จากนั้นชาวบ้านจะนำไปวางเตมิ ท่ีกองฟอนซึ่งคล้ายกับการวางดอกไม้จนั ทน์เหมือนปัจจุบันน้ี
ต่อเมื่อภายหลังมีการเริ่มเผาศพในเมรุเพื่อปกปิดความอุจาดและสังเวชได้มากขึ้น กองฟอนและไต้ใน
ฐานะเช้อื เพลงิ สำหรับงานเผาศพก็ค่อย ๆ ลดบทบาทลงชาวบา้ นจึงทยอยเลิกการเผากลางแจ้งบนกอง
ฟอนและเชงิ ตะกอนไปในท่ีสุดเมื่อเมรุไดถ้ ูกสร้างเปน็ ฌาปนกจิ สถานประจำวดั ทอ้ งถ่ินโดยท่วั ไป
ไต้ น้ำมนั ยางและเรอื่ งเล่าจากแสงไต้ โดย ปราณ ปรีชญา ๑๐๔
ศิลปะดนตรแี ละการแสดง [Arts, Music and Play]
ดนตรีและการแสดง เป็นศลิ ปะของการสื่อสารอย่างหนึ่งท่ีคนเราใช้ถา่ ยทอดผ่านอารมณ์และ
ความรสู้ กึ ดนตรี [Music] หมายถึง เสียงทีป่ ระกอบกันเป็นทำนองเพลง หรือ เครื่องบรรเลงซึ่งมีเสียง
ดังทำให้รู้สึกเพลิดเพลินหรือเกิดอารมณ์รัก โศก หรือรื่นเริง เป็นต้น ได้ตามทำนองเพลง
[ราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๕๖, น.๔๒๐–๔๒๑] ส่วนแสดง [Performance] หมายถึง 'การเลน่ ' และการ
เคลื่อนไหวร่างกายใหเ้ กิดทา่ ทางดว้ ยอารมณ์ ความรสู้ กึ และจงั หวะแล้วถ่ายทอดออกมาเป็นเรื่องราว
ต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความเพลิดเพลิน สนุกสนานและผ่อนคลายซึ่งเป็นได้ทั้งแบบดั้งเดิมหรือประยุกต์
เช่น การแสดงดนตรี นาฏศิลป์ การละคร การแสดงพื้นบ้านและการแสดงประเภทอื่น ๆ ความหมาย
ของศิลปะดนตรีและการแสดงรวมทั้งคำทเี่ กี่ยวขอ้ ง มีดังน้ี
เพลง สำเนียงขับร้อง ทำนองดนตรี บทประพันธ์ดนตรี ชื่อการร้องแก้กัน มีชื่อต่าง ๆ เช่น
เพลงปรบไก่ เพลงฉอ่ ย [ราชบณั ฑิตยสถาน, ๒๕๕๖, น.๘๔๖]
เพลงพื้นบา้ น หรอื เพลงพ้ืนเมือง หมายถงึ เพลงทีเ่ ปน็ วรรณกรรมของชาวบา้ น ทไ่ี ด้คิดรูปแบบ
การร้องและการเล่นขึ้น สืบทอดกันมาในแบบมุขปาฐะ กล่าวคือ สืบทอดโดยใช้ความจดจำ ไม่มีการ
บันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่งเพลง ที่มาและระเบียบวิธีการเล่นเพลง [อมรา กล่ำ
เจรญิ , ๒๕๕๓, น.๒]
เพลงกลอ่ มเด็ก คือเพลงทใ่ี ชร้ ้องขับกล่อมเป็นทำนองให้เคลิ้มเพลดิ เพลนิ ทำให้เด็กหลับได้เร็ว
ข้ึน เนอ้ื หาของเพลงมกั แสดงความรกั ความอ่อนโยน ความเออื้ อาทรทแ่ี ม่มตี ่อลูกหรือการเปรยี บเปรย
กับความรักของสัตว์ เพลงกล่อมเด็กมีอยูท่ ัว่ ทกุ ภาคมีชื่อเรียกต่างกันไปพื้นถ่ิน ดังเช่น ภาคใต้เรียกวา่
เพลงชาน้อง เพลงร้องเรือ หรือเพลงน้องนอน ภาคเหนือเรียกว่า เพลงอื่อลูก ภาคอีสานเรียก เพลง
กล่อมลูก หรอื เพลงนอนสาเดอ้
เพลงเรือ เป็นเพลงพื้นบา้ นประเภทเพลงปฏิพากย์คอื การรอ้ งโต้ตอบกันระหว่างชายกับหญิง
มีลูกคู่ร้องรับและกระทงุ้ เพลงเพ่ือให้เกดิ ความสนุกสนาน เน้อื หาของเพลงสว่ นใหญ่เป็นเร่ืองการเกี้ยว
พาราสีกัน เพลงเรือต้องใช้เรือประกอบการเล่นและเล่นกันเฉพาะในฤดูนำ้ หลากจงึ มีชื่อเรยี กอีกอยา่ ง
ว่า 'เพลงท้องน้ำ' และ 'เพลงผ้าป่า' [ใช้ร้องเล่นรับเทศกาลกฐินผ้าป่า] นิยมเล่นกันในเขตภาคกลาง
เชน่ จังหวัดพระนครศรอี ยุธยา ชยั นาท สิงหบ์ ุรี อา่ งทอง สพุ รรณบรุ ี เป็นต้น
“...กำหนดงานเร่ิมแต่ขึน้ ๗ ค่ำ เดือน ๑๒ น้ันเปน็ หน้าน้ำ ชาวนาเองกว็ ่างจากการทำนาใหม่
ๆ เพราะรอใหน้ ำ้ ลด ขา้ วสุกเป็นรวงทอง พาหนะทีใ่ ชจ้ ึงเป็นเรือ มีท้งั เรือมาดส่ีแจว เรือพายม้า พอตก
บ่าย เรือนับร้อยลำก็คอ่ ย ๆ ทยอยพายเนิบนาบกันมาคลาคลำ่ อยู่ในลำน้ำสุพรรณ ตกค่ำก็ยิ่งแน่นนับ
แตใ่ ต้เมอื งถึงเหนือเมอื ง...” [เอนก นาวกิ มลู , ๒๕๕๐, น.๑๒๔]
ไต้ น้ำมนั ยางและเรอ่ื งเลา่ จากแสงไต้ โดย ปราณ ปรชี ญา ๑๐๕
เพลงพาดควาย เป็นเพลงพื้นบ้านเก่าแก่ประเภทหนึ่งที่ชาวบ้านเขตภาคกลางร้องเล่นกัน
ระหวา่ งชายกับหญงิ [เพลงปฏิพากย]์ ในทกุ โอกาส มักเป็นการร้องด้นสด
“...ถ้าใครได้ฟังเพลงพาดควายก็ต้องบอกว่าทำนองคล้ายเพลงฉ่อยตอนไหว้ครู เพราะใช้บท
กลอนอย่างเดียวกัน เพียงแต่เพลงพาดควายเป็นเพลงที่ร้องกันเล่น ๆ ไม่เป็นจริงเป็นจัง และดู
เหมอื นวา่ มักจะรอ้ งเพลงคนเดยี วดว้ ย...” [เอนก นาวิกมูล, ๒๕๕๐, น.๔๖๙]
ในปัจจุบนั สภาพสังคมเปลีย่ นแปลงไปจากสังคมเกษตรกรรมเนื่องจากสังคมอุตสาหกรรมเกิด
การขยายตวั อย่างกว้างขวางได้เขา้ มาแทนที่ทำใหว้ ิถชี ีวิตของคนเป็นไปตามแบบอย่างชาติตะวันตก มี
ของเล่นแปลกใหม่จากต่างประเทศเข้ามาแทนที่ ระบบครอบครัวใหญ่แบบเดิมค่อย ๆ ลดน้อยลงไป
มรดกทางวัฒนธรรมด้านการละเล่นที่มีมาแต่เดิมจึงหยุดการเคลื่อนไหวและกำลังจะสูญหายไปจาก
ความทรงจำ
ดนตรีและการแสดงที่เกยี่ วกบั ไต้มีทั้งท่ีสัมพนั ธ์โดยตรงและโดยอ้อมซึ่งทงั้ หมดเป็นบันทึกจาก
ความทรงจำของผรู้ แู้ ละผศู้ กึ ษาเรือ่ งราวมรดกทางวัฒนธรรมดา้ นการละเลน่ ในอดีตมีดังนี้
ดนตรแี ละเพลง
• นำ้ ตาแสงไต้ [ทม่ี าของเน้ือเพลงและทำนอง]
...นวลเจ้าพี่เอย คำน้องเอ่ยล้ำคร่ำครวญ
ถอ้ ยคำเหมือนจะชวน ใจพี่หวนครวญคร่ำอาลยั ...
'น้ำตาแสงไต้' เพลงเอกประกอบละคร 'พันท้ายนรสิงห์' ที่ยังคงความอมตะอยู่ในห้วงคำนึง
ของผู้ฟังเพลงรุ่นใหญ่ไม่เสื่อมคลาย เพลงนี้ประพันธ์เนื้อร้องโดย 'ครูแจ๋ว' สง่า อารัมภีร [ศิลปิน
แห่งชาติพุทธศักราช ๒๕๓๑ สาขา
ศิลปะการแสดง (เพลงไทยสากล)] ขับร้องโดย
สุรสิทธิ์ สัตยวงศ์ ที่มาของเพลงน้ีครูแจ๋วได้
เขียนเล่าไว้ใน 'ความเอยความหลัง' ว่าเขียน
เพลงนี้เพื่อใช้ประกอบละคร [เวที] ของคณะศิ
วารมณ์ เรื่องพันท้ายนรสิงห์ บทพระนิพนธ์
พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า ภานุพันธ์ ยุคล ผู้แสดงนำคือ สุรสิทธิ์ สัตยวงศ์ และสุพรรณ
บูรณะพิมพ์ เปิดการแสดงที่โรงละครศาลาเฉลิมกรุงเมื่อวันที่ ๑๐ เดือนพฤศจิกายน พุทธศักราช
๒๔๘๗
ไต้ นำ้ มันยางและเรอื่ งเล่าจากแสงไต้ โดย ปราณ ปรชี ญา ๑๐๖
"...เหลือเวลาอีก ๕ วันละครก็จะแสดงแล้ว ปรากฏว่า เพลงเอกของเรื่องคือ 'น้ำตาแสงไต้'
ทำนองยงั ไมเ่ สรจ็ ทัง้ คุณประกจิ (วาทยกร) และคุณโพธิ (ชูประดิษฐ์) แต่งสง่ มาคนละเพลงสองเพลงก็
ยังไม่เป็นท่ีพอใจแกเ่ จ้าของเร่ืองและผู้กำกบั ..." [๒๕๓๑, น.๑๔]
ครูแจ๋วขณะนั้นมีอายุได้ประมาณ ๒๓ ปี เพิ่งเริ่มชีวิตเป็นนักดนตรีได้ไม่นานโดยได้รับ
มอบหมายทำหน้าที่เล่นเปียโนให้นักร้องได้ต่อเพลงและนักแสดงได้ซักซ้อมบทที่ห้องเล็กศาลาเฉลิม
กรุง เวลาที่เหลือน้อยทำให้ทั้งเจ้าของเรื่องและผู้กำกับ คือครูมารุต [ทวี ณ บางช้าง] กับครูเนรมิต
[อำนวย กลัสนิมิ] ตลอดจนผูร้ ว่ มงานทัง้ หลายต่างร้สู กึ อดึ อัด
"...ผมก็พลอยอึดอัดไปกับเขาด้วย ในเมื่อด้านอื่นเขาเสร็จกันเรียบร้อยแล้วยังอยู่แต่เพลง
'น้ำตาแสงไต'้ เพลงเดียวเท่านั้น และใครก็รบั รองไม่ได้ดว้ ยวา่ เมื่อคุณประกิจและคุณโพธิแต่งมาอีกจะ
เปน็ ท่พี อใจแกเ่ จ้าของเร่อื งและผู้กำกับหรือไม่..."
ครูมารุต และครูเนรมิตต้องการเพลงที่มีสำเนียงไทยแท้ มีรสและวิญญาณไปในทาง 'หวาน
เย็นและเศร้า' เพลงของคุณประกิจที่ส่งมามีสำเนียงกระเดียดไปทางฝรั่ง ของคุณโพธิก็ไปกลาง ๆ คือ
คร่ึงไทย ครง่ึ ฝรั่ง
เวลาเดินไปจนใกลจ้ ะถงึ วันทล่ี ะครจะเปิดรอบการแสดง เพลงนำ้ ตาแสงไต้ ทีค่ ุณประกิจส่งมา
ครง้ั ล่าสดุ ทำนองยังไม่ถกู ใจครูเนรมติ และครูมารุต คุณสุรสทิ ธ์ิ นักแสดงนำถึงกับบ่นวา่ "...เหลืออีก ๓
วนั ละครก็จะแสดงแลว้ เดี๋ยวกร็ ้องไม่ทนั หรอก..."
วนั น้นั เปน็ เวลาประมาณบา่ ย ๓ โมงเย็นหลังจากนักแสดงและนาฏศิลป์ซอ้ มเสรจ็ และกลับกัน
หมดแล้ว คงเหลือแตค่ รูมารตุ และครเู นรมติ คุณสุรสิทธิ์ และครูแจ๋วในหอ้ งเลก็ หลังจากเสียงบ่นเงยี บ
ลง ครแู จว๋ ขึ้นดดี เปียโนทำลายความเงยี บ
"...หงา่ ... นั่งเล่นเพลงอะไร..." ครเู นรมติ ถาม
ครูแจ๋วเล่าว่าไม่ทราบว่าเป็นเพลงอะไร เพราะเคลิ้ม ๆ สำเนียงไทยแท้มีรส 'หวานเย็นเศร้า'
ซึ่งครูแจ๋วได้ฟังผ่านความฝันหลังจากซ้อมเสร็จวันวานและไปนั่งดืม่ สุรากับพี่อิน [ทองอิน บุญยเสนา]
ก่อนมาเผลอหลับในหอ้ งแผนกฉากและมารสู ึกตวั เมอ่ื ไดย้ ินเสยี งเปียโนแว่วออกมาจากหอ้ งเล็ก
เมื่อเปิดประตูเข้าไปมีผู้ชาย ๓ คนและหญิง ๑ คน ผู้ชายแต่งกายเหมือนทหารนักรบโบราณ
ส่วนผู้หญิงก็แต่งกายชุดโบราณเช่นเดียวกันกำลังซักซ้อมเพลง 'เขมรไทรโยค' และ 'ลาวครวญ' อย่าง
ไพเราะนุ่มนวลและหวานปนเศร้า ครูแจ๋วได้ยินเสียงชายคนหนึ่งในที่นั้นพูดขึ้นว่า ถ้าเราเอาวิญญาณ
ของเพลงสองเพลงนี้มารวมกันเข้า คงจะไพเราะอย่างหาที่ติไม่ได้เชียวนะ จากนั้นท่วงทำนองเพลงทัง้
สองไดถ้ กู บรรเลงผสานกนั ไดอ้ ย่างสนทิ แนบ
"...นี่แหละ 'น้ำตาแสงไต้...'" ทั้งครูเนรมิตและครูมารุตพูดขึ้นพร้อมกัน จากนั้นเนื้อร้องและ
ทำนองก็ถกู สานต่ออยา่ งสอดรบั กัน
นวลเจา้ พี่เอย... ครมู ารุตรอ้ งข้นึ ทอ่ นแรก
ไต้ นำ้ มันยางและเรื่องเล่าจากแสงไต้ โดย ปราณ ปรีชญา ๑๐๗
คำนอ้ งเอ่ยลำ้ ครำ่ ครวญ... ครูเนรมิตร้องรับต่อ
และชว่ ยกันตอ่ คำรอ้ งจนจบเพลงใน ๑๐ นาที
"...สมยั นัน้ ฉากสดุ ท้าย เมอื่ ทำนองนำ้ ตาแสงไต้พรว้ิ ข้นึ คนร้องไหก้ นั ทั้งโรง แม้พนั ท้ายนรสิงห์
จะสรา้ งเป็นภาพยนตรก์ ย็ งั ใช้ 'น้ำตาแสงไต'้ เปน็ เพลงเอกอยู่..."
นวลเจ้าพ่เี อย คำนอ้ งเอ่ยล้ำคร่ำครวญ
ถอ้ ยคำเหมือนจะชวน ใจพีห่ วนครวญคร่ำอาลัย
น้ำตาอาบแกม้ เพยี งแซมเพชรไสว
แวววับจบั หัวใจ เคล้าแสงไต้ งามจบั ตา
นวลแสงเพชร เกลด็ แก้วอนั ลำ้ ค่า
ยามเมอื่ แสงไฟสอ่ งมา แวววาวชวนช่นื ชม
น้ำตาแสงไต้ ดมื่ ใจพร่ี ้าวระบม
ไม่อยากพรากขวญั ภิรมย์ จำใจข่มใจไปจากนวล
'น้ำตาแสงไต้' ครูสง่า อารัมภีร [๒๕๓๑, น.๑๓–๑๙] ประพันธ์ขึ้นเมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๘๗
ตรงกับสมัยรัชกาลที่ ๘ ซึ่งประเทศไทยโดยเฉพาะในกรุงเทพมหานครมไี ฟฟ้าใช้แล้วแม้ไม่ทั่วทุกพื้นที่
ไต้และตะเกียงก็ยังมีใช้อยู่ประปราย แต่ทั้งนี้บทประพันธ์เรื่องน้ำตาแสงไต้นั้นเป็นเหตุการณ์ที่เกดิ ข้นึ
และย้อนเวลาไป ๒๐๐ กว่าปีในสมัยสมเด็จพระเจ้าเสือ หรือสมเด็จพรระสรรเพชญ์ที่ ๘ [ครองราชย์
ระหว่างพุทธศักราช ๒๒๔๖–๒๒๕๑] พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๒๙ แห่งกรุงศรีอยุธยาราชธานี
แนน่ อนวา่ ในสมัยนั้นยงั ใช้ไต้เป็นแสงสอ่ งสว่างยามค่ำคืน
• เพลงจดุ ไตต้ ำตอ [เพลงจากสำนวน]
คำรอ้ ง สมศกั ดิ์ เทพานนท์
ทำนอง ธนิต ผลประเสริฐ ดัดแปลงทำนองไทยเดิม ลอ่ งน่านเลก็
ขับรอ้ ง เลศิ ประสมทรพั ย์ – ศรสี ดุ า รชั ตะวรรณ – สมศักด์ิ เทพานนท์
ช.๑] พบพอดี น่ีเธอจะไปแห่งไหน
จะไปทห่ี นใด ผมนี้ใครจ่ ะติดตามครับ
ญ.] แปลกจริงเออ พบเธอเป็นต้องลวนลาม
อยากจะขอตดิ ตาม ฉันไปทแ่ี หง่ ใด
ช.๑] เห็นเธอเดนิ คนเดยี วจะเปล่ยี วอรุ า
ไต้ น้ำมนั ยางและเร่อื งเล่าจากแสงไต้ โดย ปราณ ปรีชญา ๑๐๘
หากซ้ือขา้ วของมา ผมคดิ ว่าชว่ ยถือให้ไงละ่ ครับ
ญ.] อยุ๊ อยา่ เลยคณุ ผลบญุ จะตดิ ตามไป
ช.๑] โปรดอย่าคดิ สงิ่ ใด ผมต้งั ใจชว่ ยจรงิ
ญ.] งน้ั คุณ กจ็ งตามฉันมา
ช.๑] แหม โชคชะตา ผมนี้ชา่ งดีจรงิ
ญ.] ฉนั หวังวา่ คณุ คงทำตามทกุ ส่ิง
ช.๑] ผมขอบอกจริง ๆ ผหู้ ญงิ กับผมมนั ถกู กนั นะ่
ญ.] ฉันตัง้ ใจ คดิ ไวจ้ ะไปซอ้ื ของ
จะไปเที่ยวซือ้ ทอง ซื้อทองรปู พรรณ
ช.๑] สว่ นตวั ผม ขอรออยู่ขา้ งนอกนน้ั
เจา้ ของร้านไมถ่ กู กัน เพราะเร่อื งมนั มีมากมาย
ญ.] งนั้ เรว็ ไว ตง้ั ใจจะไปดูหนงั
ช.๑] แหมออกจะเบือ่ เสียจงั
เพราะเคยไปนง่ั แลว้ ตาลายนะครบั
ญ.] จะไปหา ซอ้ื ผ้ากันอกี มากมาย
ช.๑] เบยี ดคนร้อนแทบตาย ขออยา่ กรายไปดู
ญ.] อมื ฉันจะดู รองเท้าสักคู่ดไี หม
ช.๑] เช่อื พี่เถอะขวญั ใจ ไม่มสี ไตลแ์ ปลกหรเู ลย
ญ.] ฮึ ถา้ อย่างนน้ั หากันท่อี ื่นลองดู
ช.๑] อย่าเลยน่ะโฉมตรู ขออย่าดูอกี เลย
ญ.] ง้นั คุณ คงจะหิวหรอื ยัง
ช.๑] อ๋อยัง ความหิวช่างเมินเฉย
ญ.] นอ้ ยหรือน่นั ผลัดคำเร่ือยไปท่เี อ่ย
ช.๑] พขี่ อบอกทรามเชย ไมเ่ คยจะหิวสกั ครา
ญ.] งั้นคุณจง รอคอยอย่ทู ่ตี รงนี้
หากวา่ ขา้ วของมี ขอจงช่วยทีเถดิ หนา
ช.๑] อยา่ ไปนาน แสนนานจนเบอื่ ระอา
ญ.] อกี ประเด๋ยี วกก็ ลบั มา
ช.๑] จะ้ ขวัญตา เชญิ ซจิ ๊ะ เร็วๆ นะจ๊ะ
ญ.] จะ้
ช.๒] เอะ๊ ไงเกลอ ไม่ไดเ้ จอะเจอกนั นาน
ไต้ น้ำมนั ยางและเรอ่ื งเล่าจากแสงไต้ โดย ปราณ ปรีชญา ๑๐๙
อยู่เปน็ สุขสำราญ ครอบครวั ทางบา้ นสบายดีหรือ
ช.๑] โอ๊ย เลกิ กันแล้ว ถงึ แจวมาเตร่แถวน้ี
แต่เกลอเอ๋ยโชคดี แหม พบเม่อื ก้ยี อดเลย
ช.๒] เอะ๊ ใครกนั เธอคงผ่องพรรณน่าดู
ช.๑] แต่รูปรา่ งโฉมตรู เธอคงเจา้ ชูเ้ กง่ จงั เลย
ช.๒] นอ่ี ยู่ทีไ่ หน รักกันเม่อื ไหรเ่ กลอเอย๋
ช.๑] แม่ยอดชคู้ ่เู ชย รักกนั มาเลยกว่าสามปแี ลว้ ล่ะ
ช.๒] ไหน ๆ ใคร
ช.๑] โน่นไง เธอกำลงั รีบมา
ช.๒] นี่ ศรีสดุ านะ คนรกั ฉันนะ่ ซี
ช.๑] ฮ้า จริงหรือนน่ั เธอรู้จักกันหรอื นี่
ช.๒] นแี่ หละยอดชีวี คนน้ีท่หี วังแต่งงาน
ช.๑] อ้าว งั้นตวั เธอ คู่หม้ันของเกลอฉันนะ่ ซิ
ช.๒–ญ.]ชอบกนั กวา่ สามปี รกั กนั มานต่ี งั้ นาน
ถา้ ยงั ไง ขอเชญิ ไปชว่ ยแต่งงาน
ช.๑] อาจไม่พบอกี นาน โอ๊ยจะพานเป็นลม
...เอ๊ย จดุ ใตต้ ำตอเขา้ แล้ว...
• เพลงชาวบา้ น [ไม่ทราบช่อื เพลง]
เพลงชาวบ้านมีลักษณะเฉพาะประการหนึ่งคือมักแทรกบทหยาบโลนกับโลกีย์วิสัยเพื่อความ
สนกุ สนาน บทหยาบโลนเหลา่ น้ีบางทผี ู้รอ้ งก็ร้องตรง ๆ บางทีกร็ ้องอยา่ งเปรยี บเทียบ และบางทีก็ร้อง
อย่างสองแง่สองงา่ ม และผฟู้ ังผู้ดมู ิไดเ้ ห็นเป็นเร่ืองหยาบคายหยาบโลน
แม่ ต.เต่าตนี ตมุ่ แมเ่ ตา๊ ตมุ เต่งตงึ พ่รี ักนอ้ งติดตังพ่ีรกั น้องลมื ตาย
ถา้ ได้แมห่ นเู ดินตามพี่จะใหอ้ ยูห่ อเต๊นท์ เม่ือยามโตจะไดเ้ ต้นมันจะได้ถึงตับไต
พีเ่ หลยี วตาแลตาม อยู่กบั แมเ่ หลืองก้านตอง
พีอ่ ยากจะอยูแ่ ตะตอ้ ง กบั แม่ลูกสองปล่อยปลี
พ่ีอยากจะแตตด๊ิ ตี่ กเ็ มอื่ เวลาจดุ ไต้
บอกอตี ุม่ น้องตมเอง็ อย่าลืมไอ้ต้ัง ถา้ ยอมให้พี่ตา่ งถงึ ตายไหนพ่กี ต็ าย
ถา้ พี่ได้แตะต้องอยู่กบั น้องสองเต้า พจี่ ะหาแตงปอ้ นเต่าไปจนวนั ตาย
ท่มี า เพลงชาวบ้าน [บปุ ผา บุญทพิ ย,์ ๒๕๔๗, น.๒๑๗]
ไต้ นำ้ มนั ยางและเรื่องเลา่ จากแสงไต้ โดย ปราณ ปรชี ญา ๑๑๐
• เพลงกลอ่ มเดก็
คำว่า 'เขี่ยไต้' นอกจากใช้เรียกชื่อ 'รำวง' แล้ว คำนี้มีใช้ทั่วไปในยุคสมัยที่ยังใช้ไต้เป็นคบไฟ
ส่องสว่างในทุกกจิ กรรมยามค่ำของชาวบา้ น ตัวอยา่ ง 'เกยกอื ได' [ภาษาเจะ๊ เห] เพลงกลอ่ มเด็กภาคใต้
[อำเภอตากใบ จงั หวัดนราธวิ าส] ใชค้ ำว่า 'น่ังเข่ียไต้' ในคำรอ้ ง ดงั น้ี
เปล เปล เปล ใคชา่ งเวมาเวแขง่ กัน
เวไม่ทัน ยงั วันหน่งึ เหลย
เก่ยกือ้ ได๋ เกย่ ขน้ึ ไป กินน้ำกนิ ใน กินหมากกนิ พลู
พบเจา้ ดำดู๋ พอ่ มาจไี้ หนเอ๋ย
พ่อมาจี้เกลย้ี ง เกลย้ี งไหนเอ๋ย เกล้ียงกำแพง
อโี สมหนา้ แดง แทงฝกั กือ้ เตาะ
แมเ่ งาะตม้ ถว่ั หม้อมนั ร่วั ไฟมนั ดบั
ปา่ ว ปา่ ว ปา่ ว ตม้ ไขต่ า่ วใหน้ อ้ งเรากิน
ทอดกอื้ ฐิน ให้น้องเราแล
เซอ้ ผ้าแพร ใหน้ อ้ งเราหม่
เซ้อยายพรม มาน่ังเข่ยี ไต้
เซอ้ ยายอา้ ย มานงั่ แย็บจาก
เซอ้ คนยาก ล้างขน้ี ยุ้ เรา
กอ้ื ติ่นแล่นเลา นกเขาตั้งหม้อ
ไอก้ าบหากนิ ก้อื ต่ินนัง่ แล
อีแชปนั่ ฝา้ ย อยี ายทอโหก
ไอ้เหวา่ ไดโ้ ลก กาแต่งเลยี้ ง
จด๊ี จดี๊ เจ๊ียวเจ๊ยี ว กินกือ้ เหนียวกับกล้วย.
ความหมายภาษากลาง
เปล เปล เปล ใคท่ไี กวเปน็ มาไกวแขง่ กัน
ไกวไมท่ ัน ยังมอี ีกวนั หนงึ่ อกี
พาดบันได พาดขึ้นไป กินนำ้ ข้างในบ้าน กนิ หมากกินพลู
พบนายดำ เธอมาจากไหนเอย่
เธอมาจากเกล้ยี ง เกลย้ี งไหนเอ่ย เกลี้ยงบ้านกำแพง
นางโสมหนา้ แดง แทงฝักกะเตาะ
ไต้ นำ้ มนั ยางและเรอ่ื งเล่าจากแสงไต้ โดย ปราณ ปรชี ญา ๑๑๑
แมเ่ งาะต้มถ่ัว หมอ้ มันรวั่ ไฟมนั ดบั
เป่า เปา่ เป่า ตม้ ไขเ่ ต่าใหน้ ้องเรากนิ
ทอดกฐินให้น้องเราดู
ซ้อื ผา้ แพร ใหน้ อ้ งเราห่ม
ซือ้ ยายพรม มาน่ังเขี่ยคบไฟ
ซอ้ื ยายอ้าย มาน่ังเย็บหลงั คาจาก
ซือ้ คนยากไร้ มาลา้ งก้นนอ้ งเรา
นกกระเตน็ วิ่งเลน่ นกเขาหงุ ขา้ ว
นกกาบทำกับข้าว นกกระเตน็ น่งั ดู
นกแชปั่นฝา้ ย ยายทอผ้า
นกกาเหว่ามีลกู นกกาเป็นคนเลยี้ ง
จี๊ดจด๊ี เจี๊ยวเจีย๊ ว กินขา้ วเหนยี วกบั กล้วย.
ทีม่ า เพลงกลอ่ มเด็กภาษาถ่ินใต้ [อนุชา ลือแมะ และสมมาตร เทพพรหม, ๒๕๖๓, น.๑๘–๒๑]
การละเล่นและการแสดงพื้นบา้ น
• รำวงเขี่ยไต้
'รำวงเข่ยี ไต้' คอื 'รำวง' และรำวงเป็นการละเล่นพืน้ บ้านที่กล่าวกันวา่ มีพัฒนาการมาจาก 'รำ
โทน' ซึ่งได้รับความนิยมเล่นกันแพร่หลายทั้งในเมืองหลวงและต่างจังหวัดช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒
ระหว่าง พุทธศักราช ๒๔๘๔–๒๔๘๘ เป็นการเล่นสนุกสนานและการผ่อนคลายแบบง่าย ๆ ทดแทน
มหรสพและการแสดงอื่นที่ไม่สามารถเล่นแสดงได้ในภาวะสงคราม รำวงและรำโทนไม่เล่นในเวลา
กลางวันชาวบ้านจะเล่นกันตั้งแต่หัวค่ำเรื่อยไปจนถึงดึกดื่นในคืนที่ปลอดเสียง 'หวอ' เตือนภัยจาก
เครือ่ งบินท้ิงระเบิดด้วยวิธีการเลน่ งา่ ย ๆ โดยผชู้ ายและผู้หญิงนั่งล้อมวงปรบมือให้จังหวะและมีผู้คอย
ตีหน้าทบั โทนกำกับจงั หวะ จากนน้ั ทงั้ ชายหญงิ จะจับคูก่ ันรา่ ยรำเดินเปน็ ไปรอบ ๆ วงตามจงั หวะเสียง
โทน รำวงเขี่ยไต้มีขนบแบบแผนการเลน่ การรอ้ ง การรำเหมือนรำวงทุกประการ เพียงแต่เป็นชื่อเรียก
เฉพาะถิ่นของชาวบ้านตามสภาพแวดล้อมในยุคสมัยนั้นที่ยังไม่มีไฟฟ้าใช้ รำวงเขี่ยไต้จึงร้องเล่นกัน
ภายใต้แสงไฟสอ่ งสว่างจาก 'ไต'้ ท่ชี าวบา้ นจุดไวร้ อบ ๆ พ้นื ที่การละเล่นนน้ั
“...ท่ีเรียกว่ารำวงเขี่ยไต้นี่เพราะเวลาเล่นไปร้องไปพอไต้จะดับก็ต้องมีคนไปคอยเขี่ยขี้ไต้ให้
หลุดไฟจะได้ติดสว่าง และไต้ไม่ได้จุดไว้ลำเดยี ว จดุ เปน็ สบิ ๆ ลำปกั ไวร้ อบวงเลย ตอ้ งคอยมาเข่ยี ไต้อัน
นั้นทีอันนี้ที รำไปเขี่ยไต้ไปสาละวนอยู่แบบนี้ ชาวบ้านเลยเรียกว่ารำวงเขี่ยไต้ ที่จริงก็คือรำวงเหมือน
ทัว่ ๆ ไป... [กาญจน์ กรณยี ์, สัมภาษณ์ ๒ ธนั วาคม ๒๕๖๔]
ไต้ น้ำมนั ยางและเรื่องเลา่ จากแสงไต้ โดย ปราณ ปรีชญา ๑๑๒
การเขยี่ ไตเ้ พ่อื ไมใ่ ห้ไตด้ บั น้ันเป็นเรื่องปกติท่ีต้องทำกันในสมัยเมื่อยงั ใชไ้ ตเ้ ป็นเคร่ืองส่องสว่าง
ดงั เชน่ การเข่ยี ไต้ปรากฏในโคลงกระทสู้ ุภาษิต ความว่า
๏ จุด เพลิงเดินอวดเท้า ไปโทง
ไต้ หมั่นเข่ียลุกโพลง อยา่ พลั้ง
ตำ รั้วเรือกเรอื นโรง เขาเกิด ความนา
ตอ หลกั ปกั อย่ยู ง้ั หลีกเย้อื งยลทาง
สมทรง กฤตมโนรถ [๒๕๔๒, น.๕๕๙๐] อธิบายความเป็นมาของรำโทนในสารานุกรม
วัฒนธรรมไทย ภาคกลาง เล่ม ๑๒ สรุปได้ว่า แต่เดิมรำโทนเป็นการละเล่นพื้นบ้านของคนไทยภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือแถบจังหวัดนครราชสีมา เหตุที่เรียกว่ารำโทนนั้นเนื่องมาจากใช้โทนเป็นเครื่อง
ดนตรีให้จังหวะเพียงอย่างเดียว ในยุคแรกรำโทนยังไม่มีเพลงร้อง เป็นเพียงการร่ายรำง่าย ๆ ตาม
จังหวะโทนเท่านั้น ชาวบ้านจะนัดหมายกันว่าคืนนี้จะมีการเล่นรำโทนที่บ้านใคร เมื่อใกล้เวลานัด
หมายเจ้าบ้านจะตีโทนเป็นสัญญาณบอกให้ได้ยินกันทั่วหมู่บ้าน ผู้คนก็ทยอยมาร่วมเล่นกันอย่าง
สนุกสนานเรื่อยไปตั้งแต่หัวค่ำ บางครั้งเล่นกันจนดึกหรือยันสว่างของวันรุ่งขึ้นก็มีแล้วแต่ความพอใจ
ของผู้เล่นสว่ นใหญ่เป็นสำคัญ ราวพุทธศกั ราช ๒๔๘๓ มกี ารนำรำโทนไปเลน่ กนั แพร่หลายในพระนคร
ธนบุรี และจังหวัดต่าง ๆ จึงเริ่มมีการแต่งเนื้อร้องสั้น ๆ ให้เข้าจังหวะและคิดท่ารำให้เข้ากับเนื้อร้อง
ตอ่ มาภายหลังจึงพฒั นาไปเปน็ รำวงและรำวงมาตรฐานตามลำดบั
ราวพทุ ธศักราช ๒๔๘๗ สมยั รฐั บาลสมยั จอมพล ป. พิบลู สงคราม มนี โยบายปฏิรปู วฒั นธรรม
ไทย จึงมอบให้กรมศิลปากรพิจารณาปรับปรุงการเล่นรำโทนให้มีระเบียบแบบแผนมากขึ้นและเป็น
สากลตามแบบอย่างวัฒนธรรมของชาตติ ะวันตกท้ังในเรื่องธรรมเนยี มการทักทายดว้ ยการไหว้กันก่อน
จะออกมารำ มารยาทในการเล่นที่กำหนดให้ผู้ชายเป็นฝ่ายโค้งและเชิญผู้หญิงก่อน รวมถึงการแต่ง
กายตามสมัยนิยมและการนั่งชมต้องเป็นระเบียบ ฯลฯ กรมศิลปากรได้แต่งเพลงร้องใหม่จำนวน ๔
เพลงและกำหนดท่ารำให้งดงามตามแบบฉบับนาฏศิลป์ของไทย คือ เพลงงามแสงเดือน ใช้ท่าสอด
สร้อยมาลา ชาวไทย ใช้ท่าชักแป้งผัดหนา้ รำซิมารำ ใช้ท่ารำสา่ ย และคืนเดือนหงาย ใช้ท่าสอดสรอ้ ย
มาลา [แปลง] พร้อมกับการเปลี่ยนชื่อจากรำโทนให้เรียกใหม่ว่า 'รำวง' ตามลักษณะการเล่นที่ผ้เู ล่นมี
การเคล่ือนยา้ ยรำเวยี นกันเป็นวง
“...ต่อมาเมื่อสงครามสงบ คณะรำวงต่าง ๆ เร่ิมยึดการรำวงเปน็ อาชีพ มีการรบั จา้ งแสดงตาม
งานต่าง ๆ โดยเฉพาะงานวัด มีการรำวงแบบจำกัดเวลารำใช้เสียงนกหวีดเป่าเป็นสัญญาณหมดเวลา
ใครจะรำก็ไปซื้อบัตรเลือกนางรำมาเป็นคู่รำ รำวงจึงมิใช่ศิลปะพื้นบ้านแบบรำโทนอีกต่อไป และเป็น
ศิลปะที่ดจู ะมฐี านะลดต่ำลงกวา่ เดิม...” [สมทรง กฤตมโนรถ, ๒๕๔๒, น.๕๕๙๓]
ไต้ น้ำมันยางและเรอ่ื งเล่าจากแสงไต้ โดย ปราณ ปรชี ญา ๑๑๓
วิถีชีวิตของชาวบา้ นในชนบทตั้งแต่อดีตจนถงึ ปจั จุบันต่างผูกพันกับการรอ้ ง การรำทุกชว่ งวยั
กล่าวคือตั้งแต่วัยเด็กจนกระทั่งสูงวัยต้องมีส่วนสมั พันธ์สักคร้ังหนึ่งกับการร้อง การรำเพื่อจุดประสงค์
บางอยา่ งทั้งในฐานะของผู้ชมหรือผู้แสดง ซ่งึ อาจจะเปน็ การร้อง การละเล่นเพ่ือความบันเทิงรื่นเริงใน
กิจกรรมยามว่างหรือการแสดงเนื่องในการประกอบพิธีกรรมความศักดิ์สิทธิ์ งานบุญ งานมงคล งาน
ประเพณีตามเทศกาลต่าง ๆ ทั้งนี้การแสดง การละเล่นนั้นอาจไม่มีระเบียบแบบแผนที่เคร่งครัดแต่
เป็นไปอย่างเรียบง่าย สนุกสนานรื่นเริงตามอารมณ์และบรรยากาศในขณะนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่าการ
ร้อง การละเล่นเป็นความรื่นรมย์ขั้นพื้นฐานและวิถีชีวิตของชาวบ้านที่มาจากจินตนาการโดยได้รับ
อิทธิพลความเชื่อเรื่องเร้นลับที่เหนือการควบคุมและความศรัทธาในศาสนาแล้วถ่ายทอดความคิด
ความรู้สึกภายในจิตใจนั้นออกมาเป็นการร้อง การฟ้อนร่ายรำ การละเล่นรื่นเริงและการแสดงทา่ ทาง
ตา่ ง ๆ
จารึกสุโขทัยหลักที่ ๑ ด้านที่ ๒ บรรทัดที่ ๑๗–๑๘–๑๙ และ ๒๐ บรรยายว่า 'เมื่อจักเข้ามา
เมืองถึงสนามใหญ่เสียงร้องหรืออ่านเปน็ ทำนองเสนาะ เมื่อจักเข้ามาเวียง เรียงกันแต่อรัญญิกพู้นเทา้
หัวสานดํบงคํกลอย? ด้วยเสียงพาทย์เสยี งพิณ เสียงเลื่อนเสียงขับ ใครจักมักเล่นเล่น ใครจักมักหัวหัว
ใครจักมักเลื่อนเลื่อน' ในสมัยกรุงศรีอยุธยา มองซิเออร์ เดอ ลาลูแบร์ ได้บรรยายถึงความรื่นรมย์
สนกุ สนานของชาวบา้ นจากการพบเห็นได้ท่ัวไป ดังน้ี
“...ลางทีก็ใช้ไม้ ๒ ชิ้นสั้น ๆ อันเรียกว่า กรับ [crab] ขยับให้กระทบกันไปพร้อม ๆ กับขับ
รอ้ งเพลง ผ้ทู ่รี อ้ งเพลงนั้นเรียกว่า ช่างขบั [Tchang–cab] เขาหามาเลน่ ในวันสุกดบิ [ก่อนวันแต่งงาน
หน่ึงวัน] พร้อมกับเครื่องดนตรีหลายชิ้นดังที่ข้าพเจ้าได้กล่าวแล้ว พวกราษฎรก็พอใจขับร้องเล่นใน
ตอนเย็น ๆ ตามลานบ้านพร้อมด้วยกลองชนิดหนึ่งเรียกว่า โทน [tong] เขาถือโทนไว้ในมือซ้าย แล้ว
ใช้กำปั้นมือขวาทุบหน้ากลองเป็นระยะ ๆ โทนนั้นทำด้วยดิน [เผา] รูปร่างเหมือนขวดไม่มีก้น แต่หุ้ม
หนงั แทน [ก้น] มีเชอื กผกู รัดกระชับไว้กับคอ [ขวดดนิ ] น้ัน...” [มองซเิ ออร์ เดอ ลาลแู บร์, ๒๕๕๗, น.
๒๑๑]
วรรณคดีเสภาเรื่อง 'ขุนช้างขุนแผน' [ได้รับการขึ้นบัญชีเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม
ของชาติ ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๕๓] แต่งในสมัยต้นรัตนโกสินทร์โดยมีเค้าเรื่องจากนิทานพื้นบ้าน
กล่าวถึงชาวบา้ นเมืองสุพรรณบุรี และกาญจนบุรี สมัยกรงุ ศรอี ยธุ ยาตอนต้น ตอนงานศพขนุ ไกร บิดา
ของพลายแก้ว มมี รสพจัดแสดงหลากหลายอย่าง อาทิ โขน ละคร มอญรำ ห่นุ จำอวด งิ้วปรบไก่ หนงั
แขก อกี ท้งั ยังมีจุดดอกไมไ้ ฟ พลุ ไฟพะเนียง ทำให้งานศพครึกครน้ื ไม่โศกเศร้า
๏ คร้นั แสงสรุ ิยนั ตะวนั เยน็ พนักงานการเลน่ ทุกภาษา
มาโหมโรงแตค่ ่ำย่ำสนธยา สาละพาเฮโลโหเ่ กรยี วไป
ครัน้ ร่งุ แสงสุริฉานประมาณโมง กล็ งโรงเลน่ ประชันอยู่หวัน่ ไหว
ไต้ น้ำมันยางและเรือ่ งเล่าจากแสงไต้ โดย ปราณ ปรีชญา ๑๑๔
โขนละครมอญรำฉ่ำชูใจ ร้องรบั กรบั ไม้นั้นพรอ้ มเพรียง
พวกหุน่ เชดิ ชกั ยกั ย้ายท่า คนเจรจาสองขา้ งต่างถุง้ เถยี ง
จำอวดเอาอา้ ยคอ้ มเขา้ ด้อมเมียง พดู จาฮาเสยี งสนนั่ โรง
พวกง้ิวถือลว้ นแต่ทวนง้าว หนา้ ขาวหนา้ แดงแต่งโอโ่ ถง
บ้างรบรกุ คลุกคลีตตี มุ้ โมง บ้างเขา้ โรงบา้ งออกกลอกหน้าตา
นายแจ้งก็มาเล่นเตน้ ปรบไก่ ยกไหล่ใสท่ ำนองรอ้ งฉ่าฉา่
รำแตแ้ กไ้ ขกับยายมา เฮฮาคร้ืนครนั่ สนั่นไป
เครื่องเล่นพร้อมพรักเปน็ หนกั หนา ชาวประชามาดูเดนิ ออกไขว่
ทัง้ ผู้ดีข้ขี ้าและเขญ็ ใจ หลกี หลบกระทบไหล่กนั ไปมา
พวกผู้หญงิ สาวสาวชาวบา้ นนอก ห่มขาวม้งุ นงุ่ บัวปอกแปง้ ผดั หน้า
เดนิ สะดุดซุดเซเขาเฮฮา หน้าตาตน่ื เก้อเลินเลอ่ พอ
พวกข้เี มาโมเยเดินเซซวน เหน็ ใครชวนชกกนั ทำขนั ขอ้
ใครกีดทางขวางหน้ากด็ า่ ทอ เขาผกู คอใสค่ าทำตาแดง
พวกเจา้ ช้ผู ้ชู ายหลายพวกพ้อง เทยี่ วเทียวท่องลอดเลาะเสาะแสวง
บ้างตดั ผมสวยสั้นชนั เป็นแปรง ทำกล้องแกลง้ เกีย้ วผู้หญิงท้ิงดอกไม้
แตพ่ อบา่ ยชายแสงพระสุรฉิ าน กจ็ ัดแจงทง้ิ ทานหาช้าไม่
ขึ้นตน้ ปลดผา้ ลงวางไว้ หยิบไดม้ ะนาวโปรยโดยกำลงั
เสียดแทรกแขกไทยไปคอยชิง ทั้งชายหญงิ ว่งิ รบั อยคู่ บั คงั่
ไล่ตะครุบทุบถองกันตงึ ตงั บา้ งหลบหลีกมาขา้ งหลังแถลบไป
ท่เี รีย่ วแรงแข็งขอ้ ล่อขยับ โจนประจบตบปับรบั เอาได้
ถกู มือถอื กำขยำไว้ อกึ อกั ผลกั ไสกันไปมา
พอเพลาพลบค่ำลงรำไร จึงให้จดุ ดอกไมด้ ว้ ยหรรษา
ไฟพะเนียงเสยี งพลชุ ่องระทา พวกหน่งึ เรยี กหามาตั้งจอ
เหลา่ เจ้าพวกหนังแขกแทรกเข้ามา พศิ ดูหูตามนั ปอหลอ
รปู รา่ งโสมมผมหยิกงอ จมูกโดง่ โก่งคอเหมอื นเปรตยืน ฯ
ท่ีมา เสภาเร่ืองขนุ ชา้ งขุนแผน ตอนฆ่านางวนั ทอง
กิจกรรมสร้างความสุขสนานของชาวบ้านจึงเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นในสังคมชนบททั่วทุก
หย่อมย่าน การร้องร่ายรำตามจังหวะเพลง ดนตรีหรือการปรบมือ แต่ละกลุ่มชน แต่ละกลุ่มชาตพิ ันธ์ุ
ยอ่ มมขี นบการแสดงของตนมาแต่เดิม อาทิ การฟ้อนในพนื้ ท่ภี าคเหนอื การเซ้ิงในพ้ืนทีภ่ าคอสี าน การ
รำในพื้นที่ภาคกลาง การเคลื่อนไหวร่างกายที่มากกว่าการร่ายรำในภาคใต้ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมี
ไต้ นำ้ มนั ยางและเร่ืองเลา่ จากแสงไต้ โดย ปราณ ปรีชญา ๑๑๕
เพลงพื้นบ้านและการละเล่นที่ต้องใช้ท่าทางประกอบอื่น ๆ อีกหลายแขนงซึ่งชาวบ้านสร้างสรรค์ให้
เกดิ ขึน้ เพือ่ ความสนุกสนานมาอย่างยาวนาน
“...ก่อนหนา้ มีรำโทนหรอื รำวงแบบพน้ื เมอื ง ชาวบา้ นมีเพลงยั่วใหร้ ำตา่ ง ๆ อย่แู ลว้ เช่น เพลง
ช้าเจ้าโลม เพลงสังกรานต์ เพลงยั่ว ฯลฯ พ่อเพลงแม่เพลงทั่วไปถือว่าเพลงรำโทนเป็นของค่อนข้าง
ใหม่ เกิดทหี ลังเพลงพนื้ บา้ นอ่ืน ๆ...” [เอนก นาวกิ มูล, ๒๕๕๐, น.๖๕๗]
รำโทน หรือรำวงจึงเป็นการละเล่นที่ประยุกต์ดัดแปลงมาจากการละเล่นของชาวบ้านที่มีมา
แต่เดิมซึ่งอาจจะไร้ชื่อเรียก ไม่มีรูปแบบระเบียบวิธีเล่นที่ชัดเจน ไม่ต้องตระเตรียมเวทีหรื ออุปกรณ์
การละเล่นให้มากพิธีรีตองเพียงนัดเพื่อนบ้านให้มารวมตัวที่บ้านใครบ้านหนึ่งทำหน้าที่เป็นเจ้าบ้าน
จัดเตรียมข้าวปลาอาหาร และที่ขาดไม่ได้คือ 'สุราพื้นบ้าน' ที่อยู่คู่สังคมชาวบ้านมาจนยากที่จะนับ
ความยาวไกล เพยี งเท่าน้ีการละเล่นแบบชาวบ้านก็เกิดขึ้นได้อยา่ งต่อเน่ืองตัง้ แตห่ วั ค่ำไปยันรุ่งสว่าง
“...รำวงทีเ่ ป็นแบบแผนชาวบ้านขลุงจะเล่นกันปลี ะครั้งหรือสองครัง้ ตามงานวดั งานบุญกฐิน
ผ้าป่า ใช้กลองวัดที่เรยี กกลองเพลมาตีรอ้ งรำกันสนุกสนาน ส่วนทั่ว ๆ ไปก็มีชุมนุมสังสรรค์ร้องรำกัน
ยามว่างเสร็จงานเกี่ยวข้าว นวดข้าว เป็นเรื่องปกติของชาวบ้านซึ่งในสมัยเมื่อก่อนยังต้องใช้การช่วย
แรงกัน เรียกว่าลงแขก พอคนน้ีมาช่วยบ้านนี้พอต่อไปบ้านนี้ก็ไปใช้แรงคืนบ้านนั้น ทำกันต่อ ๆ ไป
แบบนี้ในระบบความสามัคคีของชาวบา้ น...” [กาญจน์ กรณีย,์ สมั ภาษณ์ ๒ ธนั วาคม ๒๕๖๔]
กาญจน์ [สาคร] กรณีย์ ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอขลุง และรองประธานสภาวัฒนธรรม
จังหวัดจันทบุรี เกิดเมื่อวันที่ ๘ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๙๒ เป็นผู้ก่อตั้งกลุ่มอนุรักษ์และเผยแพร่
เพลงพื้นบ้านของหมู่บ้านตะปอนใหญ่ อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี ด้วยเล็งเห็นว่าเพลงพื้นบ้านของ
ท้องถิ่นโดยตรงและเพลงท่ีรับจากภายนอกมีอยู่จำนวนมากซึ่งชาวบ้านใช้ร้องประกอบท่ารำสร้าง
ความเพลิดเพลินสนุกสนานกันในแต่ละโอกาสนั้นกำลังจะสูญหายไปเนื่องจากคนรุ่นใหม่ไม่นิยมและ
ให้ความสำคญั กบั วฒั นธรรมตา่ งประเทศมากกวา่ เพลงพ้ืนบ้าน
“...ผมเคยตั้งวงไปประกวดกลองยาวที่จังหวัดตราดและได้รับรางวัลชนะเลิศ ตอนนั้นน่าจะ
ประมาณปี ๒๕๒๑–๒๕๒๒ วงกลองยาวใช้ชื่อว่า 'วงสวนปู่' มีอาจารย์เชือ้ ชาย ทิพย์สมบัติบุญ สอนท่ี
รำไพตอนนั้นยังเป็นวิทยาลัยครู มาช่วย มีพ่อเยื้อน บำรุงจิต อายุตอนนั้นก็ ๖๐ กว่าแล้ว มีแม่สนม
บุญประกอบ คนนี้เป็นนางรำวงโบราณตั้งแต่ยุคจอมพล ป. พิบูลสงคราม และแม่เฉลา มาร่วมวง...”
[กาญจน์ กรณีย,์ สมั ภาษณ์ ๒ ธันวาคม ๒๕๖๔]
ก่อนไปแขง่ ขันสมาชิกวงสวนปู่สว่ นใหญ่วยั เกนิ ๖๐ แล้วยกเว้นผู้กอ่ ตัง้ อายุย่างเข้า ๓๐ ปีต้อง
ซักซ้อมกนั อย่างจริงจังไม่คำนงึ ถึงอายุทรี่ ่วงเลยไป พอ่ เย้ือน และแมส่ นม รา่ ยรำประกอบจังหวะกลอง
ยาวได้ไมร่ ู้จักเหน็ดเหน่อื ย
ไต้ นำ้ มนั ยางและเรอื่ งเล่าจากแสงไต้ โดย ปราณ ปรีชญา ๑๑๖
“...เพลงนกเขาไฟ พ่อเยื้อน และแม่สนม รำได้อย่างสวยงาม ผมเกิดความประทับใจมาก จึง
เกดิ ความคดิ ว่าเพลงพ้นื บ้านพวกนนี้ ่าจะต้องรวบรวมไวใ้ ช้ประโยชน์ต่อไปในอนาคตได้ พอกลบั มาจาก
การประกวดผมก็เริ่มรวบรวมเพลงรำวงโบราณเรื่อยมาจากเดิมที่มีอยู่แล้วประมาณสิบเพลง...”
[กาญจน์ กรณยี ,์ สมั ภาษณ์ ๒ ธนั วาคม ๒๕๖๔]
นกเขาไฟบนิ ถลา นกเขาชวาบินมาหาคู่
ต้ังประชัน ๆ ขันคู [ซำ้ ] มาจจู้ ุ๊กกรู มาจู้จุ๊กกรุก [ซำ้ ]
เสียงตวั เมียร้องกรู เสยี งตัวผู้รอ้ งกรุก
จู้จุ๊กกรู จู้จุ๊กกรกุ [ซำ้ ] ถึงยามสนุก จูก้ รุกจกู้ รู [ซำ้ ]
ที่มา เพลงนกเขาไฟ รวบรวมโดย กาญจน์ กรณีย์
หมายเหตุ
เพลงนกเขาไฟ มีเนื้อร้องคล้ายกับเพลง 'นกบิน' ซึ่งเป็นหนึ่งในจำนวนเพลงที่ชาวชองนำมา
ร้องเป็นเพลงรำวงเล่นกันเฉพาะกลุ่มของสงั คมชาวชอง
เพลงนกบิน
นกเอย้ี งบนิ มา นกสาลกิ าบินมาหาคู่
จกั กระจน่ั ขันกรู มาจุก๊ กรู จู๊กก็จูก๊
ตวั เมียรอ้ งกรู ตอ้ งผ้รู อ้ งกรุก
จกุ๊ กรูจ๊กุ กรกุ เมอื่ ยามสนกุ จุ๊กกรกุ จกุ๊ กรู
ทม่ี า รำวงโบราณชอง [พรศิริ ถนอมกุล, ๒๕๖๓, น.๙๐]
ไม่เฉพาะเพลงพื้นบ้านท่ีกาญจน์ กรณีย์ ให้ความสนใจ อดีตไวยาจักรวัดตะปอนใหญ่ผู้นี้คือ
เลือดเนื้อเชื้อไขชาวเมืองขลุงมาแต่กำเนิดและยึดอาชีพเป็นเกษตรกรสืบต่อจากบรรพบุรุษ ยังเป็นผู้
ปลุกกระแสอนุรักษ์วัฒนธรรมพื้นบ้านแขนงอื่นท่ีกำลังสูญหายไปจากท้องถิ่นดังเช่น ประเพณีชักเย่อ
เกวียนพระบาทของอำเภอขลุง จนกระทั่งได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทาง
วฒั นธรรมของชาติปีพทุ ธศักราช ๒๕๕๘
“...รำวงเขี่ยไต้ก็คือรำวงเหมือนที่อื่น ๆ ทั่วไป เรียกชื่อตามที่ชาวบ้านเขาเห็นกัน คือรำกับ
แสงไต้ ตอนนั้นผมยังเด็ก พอจำความได้ก็เห็นมีตะเกียงใช้แล้ว แต่ยังน้อยก็มีไต้ใช้ผสมกันอยู่เพราะ
เวลาเล่นลานกว้าง ๆ ตะเกียงเจ้าพายุลูกอยู่กลางลานก็สว่างมากแล้ว แต่บางที่ก็ไม่มีตะเกียงเจ้าพายุ
ราคามนั แพงต้องบา้ นคนที่มสี ตางคห์ น่อยจงึ จะซ้ือมาใช้ บ้านไหนไมม่ กี ็ใช้ไตจ้ ุดไว้รอบ ๆ ไต้นี่ชาวบ้าน
ไต้ น้ำมันยางและเร่อื งเล่าจากแสงไต้ โดย ปราณ ปรชี ญา ๑๑๗
ก็ไปซื้อหามาใช้ ไม่ได้ทำเอง เป็นมัดไต้ใบกะพ้อมีหางยาว เอามาปักในกระบอกไม้ไผ่ ก็เรียกว่ารำวง
เข่ยี ไต้ พอมไี ฟฟา้ ไต้กไ็ ม่มีใครใช้แล้ว...” [กาญจน์ กรณยี ์, สัมภาษณ์ ๒ ธนั วาคม ๒๕๖๔]
วิเคราะห์ช่อื รำวงเขย่ี ไต้
'รำวงเขยี่ ไต้' เปน็ การละเล่นของชาวบา้ นในสมยั ก่อนมีไฟฟ้าใช้ กลา่ วได้วา่ เป็นการละเล่นที่มี
ระเบยี บแบบแผนตามแบบของรำโทนท่ีกรมศิลปากรไดป้ รับปรุงข้ึน ทง้ั น้ีช่อื 'รำวง' จงึ เกิดขึ้นภายหลัง
'รำโทน' และชื่อ 'รำวงเขี่ยไต้' ก็น่าจะมาเรียกในภายหลังจากที่มีคำว่า 'รำวง' เกิดขึ้นแล้ว แต่เชื่อว่า
การร้องการร่ายรำของชาวบ้านในลกั ษณะรำวงที่ยังไม่มรี ะเบยี บแบบแผนเช่นรำโทนนั้นมีมาเนิน่ นาน
ก่อนท่ี 'รำโทน' หรอื 'รำวง' มีชือ่ อุบตั ิขน้ึ สว่ นจะเรยี กชอ่ื อยา่ งไรนั้นไม่มกี ารบนั ทึกหรอื กล่าวอ้างไว้ ซึง่
อาจจะเรียกว่า 'รำเขย่ี ไต้' กไ็ ด้ และเม่ือมีคำว่า 'รำวง' รวมทั้งมวี ธิ เี ล่นเปน็ ระเบยี บแบบแผนมากขึ้นจึง
นำคำวา่ 'รำวง' มาใชเ้ รียก 'รำเขย่ี ไต'้ ใหมว่ า่ 'รำวงเขี่ยไต้'
จากสืบคน้ พบข้อมูลวา่ รำวงเขีย่ ไต้ ไม่ได้มีเฉพาะพืน้ ที่อำเภอขลงุ จงั หวดั จันทบรุ ี ตามท่กี ล่าว
อ้างไว้เท่านัน้ ชาวบ้านที่ตำบลหนองเสม็ด อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด ก็เคยมีการละเล่นลักษณะ
นแี้ ละเรียกชอ่ื วา่ 'รำวงเขย่ี ไต้' เชน่ เดยี วกนั
• รำตง
ข้อมูลเรื่อง 'รำตง ตำบลด่านแม่แฉลบ อำเภอศรีสวัสด์ิ' โดยสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด
กาญจนบุรี กล่าวว่าชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยงในจังหวัดกาญจนบุรี ใช้ผ้าเช็ดหน้าสีขาว ดอกไม้ และ
คบไฟเป็นอุปกรณ์ประกอบการแสดงรำตง และมีบทรอ้ งเปน็ ภาษากะเหร่ียงและภาษาพม่า
“...รำตงเป็นศิลปะการแสดงหนึ่งของชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยง ซึ่งเกิดขึ้นมาเกือบ ๒๐๐ ปี
แล้ว แต่เดิมมีการรำเพื่อถวายพระแม่โพสพ ระลึกถึงบุญคุณของ พระแม่โพสพ รำตงหมายถึง การ
เหยียบย่ำ หรือการเต้นให้เข้าจังหวะ ซึ่ง ตง เป็นภาษากะเหรี่ยงแปลว่า เกาะหรือเคาะให้เกิดเสียงดงั
การแสดงรำตงเป็นการละเล่นที่สนุกสนานในงานพิธีสำคัญ ๆ เช่น งานศพ งานบุญข้าวใหม่ งาน
สงกรานต์ เปน็ ต้น...” [ข้อมลู ออนไลน์ https://www.m-culture.go.th/kanchanaburi/]
'กะเหรี่ยง' เป็นชนพื้นเมืองดั้งเดิมของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แผ่นดินใหญ่ (Mainland
Southeast Asia) ตั้งถิ่นฐานเป็นแนวยาวจากเหนือลงใต้ในเขตแดนไทยพม่าเมื่อราว ๖๐๐–๗๐๐ ปี
มาแล้ว นักวิชาการสันนิษฐานว่า กะเหรี่ยงอพยพลงมาจากทางเหนือ มาตั้งถิ่นฐานทางทิศตะวันออก
ของสหภาพพม่าและทางภาคเหนือของประเทศไทยก่อนศตวรรษท่ี ๑๘ ทั้งนไ้ี ด้มกี ะเหร่ยี งจำนวนหน่ึง
เข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทยก่อนที่ชนชาติไทยจะเคลื่อนย้ายลงมาสู่แหลมสุวรรณภูมิ แต่ที่สหภาพ
พม่า กะเหรี่ยงน่าจะอพยพเข้ามาในดินแดนดังกล่าวหลังกลุ่มตระกูลมอญ–เขมร [วิชาติ บูรณะ
ประเสริฐสขุ , ๒๕๕๕, น.๑]
ไต้ นำ้ มนั ยางและเรอ่ื งเล่าจากแสงไต้ โดย ปราณ ปรชี ญา ๑๑๘
คำว่า 'กะเหรี่ยง' เป็นชือ่ ที่คนทัว่ ไปใช้เรียกกลุ่มชาติพันธุ์กลุม่ หนึ่งตามอย่างชาติพันธุ์มอญซ่งึ
เรียกชาติพันธุ์กลุ่มนี้ว่า 'กะเรง' ชนชาติพม่าเรียกว่า 'กะยีน' ส่วนชาวกะเหรีย่ งเรียกตนเองว่า 'ปกาเก
อญอ' ซึ่งแปลว่า 'คน' นอกจากนี้ยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น กะหร่าง กะยา กะยัน กะยอ สะกอ ยาง
ปากะญอ ปกากะญอ โป โผล่ง บเว ปะโอ ตองสู ต้องสู้ ปาดอง ฯลฯ
ชนเผ่ากะเหรี่ยงในประเทศไทยกระจายตัวกันอาศัยอยู่ทั้งในภาคเหนือตอนบนลงไปถึงภาค
กลางและเขตชายแดนด้านตะวันตกของประเทศไทยรวม ๑๕ จงั หวดั ไดแ้ ก่ เชียงราย เชียงใหม่ ลำพูน
ลำปาง แพร่ แม่ฮอ่ งสอน ตาก กำแพงเพชร สุโขทยั อทุ ยั ธานี สพุ รรณบรุ ี กาญจนบรุ ี ราชบุรี เพชรบุรี
ประจวบคีรีขันธ์ ชาติพันธุ์กะเหรี่ยงแบ่งออกได้เป็น ๔ กลุ่มใหญ่ คือ ๑] สะกอ [Sgaw] หรือยางขาว
หรือ ปากกะญอเป็นกลุ่มที่มีประชากรมากที่สุด ๒] โป [Pwo] หรือ โพล่อยู่ในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน
เชียงใหม่ และลำพูน ๓] ปะโอ หรือ ตองสู [Pa-o/Taungthu] และ ๔] บเว [Bwe] หรือ คะยา อยู่ใน
เขตจังหวัดแม่ฮอ่ งสอน
แต่เดิมชาวกะเหรี่ยงนับถือผีมีการบวงสรวงและเซ่นสังเวยอย่างเคร่งครัดภายหลังหันมานับ
ถือศาสนาพุทธและศาสนาคริสต์มากขึ้น แต่ก็ยังคงความเชื่อเดิมอยู่ไม่น้อย เช่น ความเชื่อเรื่องขวั ญ
หรอื การทำกจิ กรรมตา่ ง ๆ จะต้องมีการเซน่ เจา้ ท่ีเจ้าทางและบอกกล่าวบรรพชนให้อดุ หนนุ ค้ำจนุ ช่วย
ให้กจิ การงานนัน้ ๆ เจริญกา้ วหน้า ทำเกษตรกรรมได้ผลผลิตดี ใหอ้ ย่เู ยน็ เป็นสุข ปกป้องคุ้มครองดูแล
อกี ทัง้ ยังเปน็ การขอขมาอีกด้วย ชาวกะเหร่ยี งเช้ือสายไทยยังคงสบื ทอดประเพณีที่เกย่ี วข้องกับการทำ
พิธกี รรมเลีย้ งผี บวงสรวงดวงวญิ ญาณดว้ ยการต้มเหลา้ ฆ่าไก่–แกง และมัดมือผรู้ ว่ มพิธีด้วยฝ้ายดิบซึ่ง
เกีย่ วโยงกัน [สำนกั งานวัฒนธรรมจงั หวัดเชียงราย, ๒๕๕๙, น.๑๙]
วิถีชีวิตของชาวกะเหร่ียงจะใช้เพลงและดนตรีเขา้ ไปมีบทบาทสำคัญในทุกช่วงของชีวิตตั้งแต่
เกิดจนตาย เช่น เพลงกล่อมเด็ก เพลงจีบสาว และเพลงส่งวิญญาณท่ีใช้ร้องในงานศพ อีกทั้งใน
กระบวนการผลิตของฤดูเก็บเก่ียวข้าวชาวกะเหรี่ยงยังใช้เพลงและดนตรีเป็นส่ือระหว่าง 'โผล่ว [ปาเก
อญอ]' กับ 'พิบือโย [แม่โพสพ]' ดังเช่น 'เพลงฟาดข้าว' ที่นำมาร้องใน 'งานฟาดข้าว' ที่ร้องโต้ตอบกัน
ระหว่างชาย–หญิง เนื้อหาของเพลงได้กล่าวถึงหลกั คำสอนทางพุทธศาสนา สำหรับพิธีกรรมต่าง ๆ ท่ี
จัดขึ้นในรอบปี อาทิ พิธีบุญข้าวใหม่ พิธีผูกข้อมือ ดนตรีได้ทำหน้าที่ประกอบพิธกี รรม [Ceremonial
Music] เป็นสื่อกลางระหว่างชาวโผลว่ กับส่ิงศักดิ์สิทธิ์และสื่อนำจติ ใจของผู้เข้าร่วมพิธกี รรมใหม้ สี มาธิ
มีความศรทั ธาและยำ้ เตือนความภาคภูมิใจในชาตพิ ันธ์ุของตนเอง
“...ชาวกะเหรีย่ งยงั มีความเชื่อในพระแมโ่ พสพที่ทำใหต้ ้นขา้ วเจริญงอกงาม ชาวกะเหรย่ี งจึงมี
การทำพิธเี พอื่ เป็นการระลกึ ถงึ พระคุณของพระแม่โพสพและขอบคณุ พระเจา้ งานบุญข้าวใหมข่ องชาว
กะเหรี่ยงจะกระทำกันในช่วงเข้าพรรษาปีละ ๒ ครั้ง การทำพิธีจะจัดทำกันที่ยุ้งฉางในหมู่บ้านทุกคน
จะต้องมาร่วมพิธีในพิธีนี้เพื่อความเป็นสิริมงคล ผู้ทำพิธีหมอผีหรือบู้คูซ่ ึ่งเป็นผู้ที่อาวโุ สเป็นผูม้ ีความรู้
ทางพิธีกรรมจะเป็นคนดำเนินการทำพิธีโดยจะนำข้าวในยุ้งฉางมา ๑ มัดมาตีจนหมดซึ่งเรียกว่า บูเด
ไต้ นำ้ มนั ยางและเร่อื งเล่าจากแสงไต้ โดย ปราณ ปรีชญา ๑๑๙
หรือสะดอื ข้าวหรือข้าวสะดือและนำดอกไม้ในไร่ข้าวที่มสี ีแดงสีเหลืองมาผูกรวมกัน จากนั้นนำดินที่มา
จากการขดุ รูของปูนามาใส่ในกระทงที่สานดว้ ยไมไ้ ผ่ นำมาผกู กนั กบั สะดือข้าวและดอกไม้รวมทั้งเคียว
เก่ยี วข้าวดว้ ยมาประกอบพิธไี หว้พระแมโ่ พสพ สิง่ ของทีใ่ ช้ในพิธีได้แก่ ขา้ วเปลอื ก พชื ผลท่อี ย่ใู นนาขา้ ว
หรือในไร่ เช่น กล้วย อ้อย มัน แตง เมื่อเสร็จพิธีคนที่มาร่วมในพิธีก็จะกินพืชผลที่นำมาประกอบพิธี
เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ตน และจะมีการแสดงรื่นเริง เช่น รำปลูกข้าว ซึ่งเป็นการแสดงท่าทางในวิธีการ
ปลกู ขา้ วหรือร่วมร้องเพลงโตต้ อบกนั เพื่อความสนุกสนาน..." [วิสดุ า เจียมเจมิ , ๒๕๕๔, น.๔๔]
งานบุญขา้ วใหม่ของชาวกะเหร่ียงมีการเล่านิทาน รำตำข้าว รำตง นอกจากนรี้ ำตงยังเป็นการ
แสดงที่สนุกสนานและเป็นการแสดงหลักในงานพิธีสำคัญ ๆ เช่น งานศพ งานสงกรานต์ งานมงคล
และงานรื่นเริงต่าง ๆ ของชาวบ้าน รำตงมักแสดงในบริเวณทีเ่ ป็นลานกวา้ ง ผู้แสดงมีท้ังชายและหญงิ
จำนวนไม่น้อยกว่า ๑๒ คน ประกอบด้วยนักร้อง นักดนตรี และผู้รำ แต่งกายด้วยชุดประจำชนเผ่า
เครอ่ื งดนตรีหลักทใ่ี ช้คือ ปี่ กลอง และฉ่งิ
ข้อสันนิษฐานว่าคบไฟเป็นหนึ่งในอุปกรณ์สำคัญประกอบการแสดงรำตงน่าจะใช้ไม้เกี๊ยะท่ี
ชาวกะเหรี่ยง 'ปากะญอ' รู้จักกันดี คือ 'สนเกี๊ยะ' ซึ่งมีคุณสมบัติอมนำ้ มันมากจงึ เป็นเชื้อตดิ ไฟได้ดแี ม้
ขณะยงั สด ๆ
• ผพี ุ่งไต้
ผีพุ่งไต้ เป็นการละเล่นพื้นบ้านเฉพาะชาวบ้านที่มีอาชีพประมงในอำเภอหัวหิน จังหวัด
ประจวบครี ีขันธ์ 'เรือ่ งเล่าของชาวหวั หิน' [เทศบาลเมอื งหวั หนิ , ๒๕๔๙, น.๘๘–๘๙] บันทกึ ไวว้ ่า
“...การละเล่นชนิดนี้ เขาจะเริ่มเล่นกันในช่วงก่อนตะวันตกดินเล็กน้อย ส่วนใหญ่ก็จะมีแต่
หนมุ่ สาวอกี นัน่ แหละ เพราะการละเล่นผีพุ่งไตน้ จ้ี ะต้องว่ิงเปน็ ระยะทางไกลพอสมควร เรียกว่าวิ่งจาก
ทา้ ยบ้านไปหวั หมู่บา้ นนั่นแหละ หญิงชายจะเร่มิ จดั แถวยาวไมจ่ ำกัดจำนวนคน คนทอี่ ยูห่ วั ขบวนจะถือ
ไตต้ ามไฟไว้ด้วย และคนที่อยูท่ า้ ยขบวนกถ็ อื ไตไ้ วเ้ ช่นกนั ...”
ไต้ น้ำมันยางและเรอ่ื งเล่าจากแสงไต้ โดย ปราณ ปรีชญา ๑๒๐
หวั หิน เปน็ หมู่บ้านชาวประมงขนาดเล็ก เรม่ิ มีผู้คนอาศยั อยู่ตัง้ แต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระ
นั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ส่วนหนึ่งเป็นผู้ย้ายภูมิลำเนามาจากบ้านบางจาน และบ้านบางแก้ว
เมืองเพชรบรุ ี และบางส่วนมาจากเมืองพัทลงุ เมอื งภเู กต็ เมอื งตรัง อย่ใู นเขตปกครองของแขวงปราณ
บุรี เมืองปราณบุรี ในปัจจุบันมีฐานะเป็นอำเภอขึ้นกับจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ แต่เดิมเรียกว่า 'สมอ
เรียง' คำว่า 'สมอ' เพี้ยนมาจาก 'ถมอ' [ภาษาเขมร: หิน] สมอเรียงจึงมีความหมายว่า 'หินเรียง' หรือ
'แหลมหิน' ซงึ่ มาจากลักษณะบริเวณชายหาดหมูบา้ นชาวประมงและตามแนวชายฝงมีหมูหินเรียงราย
สลับซับซ้อนดูเหมือนแหลมยื่นออกไปในทะเล หมู่แหลมหินสีทึบเรียงจากใหญ่ไปหาเล็กมองดูคล้าย
ศรี ษะของคนโผล่ข้ึนมาจากท้องทะเลตัดกบั ชายหาดมีทรายขาวละเอียด ท้องฟา้ ใสและอากาศบริสุทธ์ิ
จึงเป็นมนต์ดึงดูดให้บรรดาเจ้านาย พระบรมวงศานุวงศ์และชนชั้นสูงมาพักตากอากาศที่บริเวณนี้
ต่อมาพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศรวรฤทธิ์ [พระราชโอรสพระองค์ที่ ๑๗ ในพระบาทสมเด็จ
พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว] อดีตเสนาบดีกระทรวงมุรธาธร ทรงสร้าง 'ตำหนักแสนสราญ' และ 'ตำหนัก
สุขนิเวศน์' ทางด้านใต้ของหมู่แหลมหนิ และทรงขนานนามชายหาดบริเวณนั้นว่า 'หัวหิน' ชื่อหัวหนิ ได้
กลายเป็นชื่อพื้นที่และชายหาดสืบต่อเรื่อยมาและเป็นสถานที่สำหรับการพักผ่อนที่มีชื่อเสียงของ
ประเทศ
สารนิพนธ์ เรื่อง 'ศึกษาการละเล่นผีพุ่งไต้ในอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์' ของ
มัณฑนา เทียมทัด ได้นำเสนอว่า การละเล่นผีพุ่งไต้นั้นเกิดจากความเชื่อเรื่องอำนาจเหนือธรรมชาติ
คือ ภูตผีปีศาจว่าสามารถบันดาลให้เกิดปรากฏการณ์ต่าง ๆ ได้ ดังนั้นเพื่อให้สิ่งเหนือธรรมชาติอวย
ชยั ใหพ้ รแก่ชาวบ้าน และเป็นการขบั ไล่สิ่งช่ัวรา้ ย โรคภัยไขเ้ จบ็ ออกจากหมบู่ ้าน จงึ เกดิ การละเล่นผีพุ่ง
ไตข้ ึน้ นยิ มเล่นในวนั ทา้ ย ๆ ของช่วงเทศกาลสงกรานต์ซึง่ เป็นวันข้นึ ปใี หม่ไทย
“...การละเล่นผีพุ่งไต่ยังเปน็ การถา่ ยทอดมรดกทางวฒั นธรรม ประเพณีอนั งดงาม เชน่ ความ
กตญั ญู ความนอบนอ้ มเคารพบชู ากราบไหว้สนิ่งท่ีให้คณุ คอื เทพเจ้า แมย่ ่านาง อีกทั้งการละเล่นผีพุ่ง
ไต้ยังสร้างปฏิสัมพันธท์ ี่ดีในกลุ่มชาวบา้ น สร้างความรกั ความสามัคคีและความสนุกสนานบันเทิงผ่อน
คลายความเหน็ดเหนื่อยจากการทำงานตลอดระยะเวลาหนงึ่ ปี...” [มัณฑนา เทียมทัด, ๒๕๕๑, น.๑]
ผพี ุง่ ไต้ เปน็ การละเล่นเพ่ือบชู าผแี หง่ ท้องทะเล ซงึ่ ชาวบ้านเชอื่ วา่ มีอำนาจสามารถบันดาลให้
'สุขหรือทุกข์' ได้ และมีอิทธิฤทธิ์ทำให้เกิดปรากฏการณ์ต่าง ๆ ซึ่งเป็นเรื่องที่เหนือการควบคุมของ
มนุษย์ เพื่อแสดงความนอบน้อมต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายและแสดงความกตัญญูกตเวทิตาต่อเทพเจ้า
เทพเทวดา แม่ย่านาง ที่ช่วยคุ้มครองชาวบ้านให้อยู่กันอย่างร่มเย็นเป็นสุข ทำมาหากินได้ตามปกติ
ผลผลิตไม่ฝืดเคือง น้ำท่าไม่ขาดแคลนแร้นแค้นจึงต้องมีการเล่นสังเวยต่อสิ่งที่ชาวบ้านเคารพศรัทธา
เหล่าน้นั
ไต้ นำ้ มันยางและเรื่องเล่าจากแสงไต้ โดย ปราณ ปรีชญา ๑๒๑
ผพี ุง่ ไต้เปน็ การละเล่นท่ีมีสืบเนื่องมากว่า ๑๐๐ ปีแลว้ ตง้ั แต่สมยั ทช่ี าวบ้านแถบน้ียังใช้ไต้เป็น
เครื่องส่องสว่างเพราะยังไม่มีไฟฟ้าใช้ โดยเรียกชื่อตามลักษณะของการเล่นที่เหมือนกับดาวตก 'ผีพุ่ง
ไต้' ที่ทอดแสงเป็นหางยาวพุ่งตกจากท้องฟ้า อีกทั้งชาวบ้านเคยใช้ 'ไต้' รับเสด็จพระบาทสมเด็จ
พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ คราวเสด็จประพาสหัวหิน ชาวบ้านจะเล่นกันในช่วงเทศกาล
สงกรานต์ ก่อนการละเล่นในตอนเช้ามีการทำบุญตักบาตร เวลาบ่ายมีการรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ และ
เวลาตอนเย็นไปจนถึงค่ำมืดจะมีการละเล่นพื้นบ้าน เช่น แม่ศรี สะบ้า ลูกช่วง รำวง ผีอึ่งอ่าง ผีลิงลม
และผีพงุ่ ไต้
การละเลน่ ผีพ่งุ ไต้เริ่มโดยการต้ังแถวยาวหลายสบิ คนทั้งชาย–หญิง แตง่ กายแบบชาวบ้านพื้น
ถิ่น คนเป็นหัวหนา้ จะอยูห่ วั แถวถอื ไตท้ ี่จุดไฟสว่างไว้ และคนสุดท้ายปลายแถวถือไต้จุดไฟสว่างอีกลำ
หนงึ่ ทุกคนในแถวจะจับมอื กนั แน่นแบบมดั ขา้ วต้มเพื่อให้แถวไม่ขาดง่าย จากน้นั หัวหนา้ แถวจะพาลูก
แถววิ่งไปรอบหมู่บ้านในขณะที่วิ่งทุกคนต้องส่งเสยี งร้องเพลง 'ผีพุ่งไต้ พุ่งลงทะเล' และวิ่งต่อไปจนถงึ
ชายทะเลเมอื่ ถึงทะเลกพ็ งุ่ ตวั ลงไปในน้ำ
“...มพี ่อเพลงและแม่เพลงฝ่ายละประมาณ ๕ คน ยนื จบั มือตอ่ แขนกันเป็นแถวยาวสลับชาย–
หญิง พ่อเพลงเป็นบุคคลที่ยืนอยู่หัวแถวและพ่อเพลงจะต้องถือไต้ไว้ที่มือซ้าย ลูกคู่ที่ยืนอยู่ในแถว
จะตอ้ งจับมือกนั แบบข้าวต้มมัด และแม่เพลงจะอย่ทู ้ายแถว การละเลน่ ผีพุ่งไต้จะว่งิ ไปรอบ ๆ หมบู่ ้าน
พร้อมทั้งร้องเพลง ระหว่างทางพ่อเพลงจะต้องวิ่งวนกลับไปลอดแขนของสองคนที่ยืนอยู่ท้ายแถวซึ่ง
ยกแขนเป็นซุ้มประตู มีลักษณะเหมือนงูกินหาง และลูกคู่ก็ต้องว่ิงวนตามมาลอดดว้ ยเช่นกัน พ่อเพลง
และแม่เพลงจะต้องรู้จักการหลบหลีกว่องไวและมีความเข้มแขง็ ในปจั จุบนั การละเล่นผีพุ่งไต้ไม่จำกัด
จำนวนผู้เล่น ข้ึนอยู่กบั ความสมคั รใจของผู้เลน่ ...” [มัณฑนา เทยี มทัด, ๒๕๕๑, น.๓๗–๓๘]
ในปัจจุบันการละเล่นผีพุ่งไต้มีการปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัย อาทิ ใช้ 'คบไฟ' ที่ทำจากเศษ
กระสอบปา่ นชุบนำ้ มนั กา๊ ดพันรอบปลายไมแ้ ทน 'ไต'้ ท่เี คยใช้มาต้งั แต่เดิม ผู้เล่นสมัยก่อนจะทาน้ำมัน
เตาเพอื่ การพรางตัวแตป่ ัจจุบนั ไม่นยิ มทา การแต่งกายผู้เลน่ ชายไม่สวมเส้ือแต่ปจั จุบันสวมเสื้อผ้าแบบ
พืน้ เมือง รวมท้งั เพลงประกอบการเล่นที่มีการแต่งเนือ้ ร้องข้ึนใหม่ เปน็ ต้น
พอ่ เพลง “...อ้าว เฮละโล สาระพา...”
แม่เพลง “...อ้าว สาระพา อา้ วเฮละโล...”
ลกู คู่ “...เฮโลสาระพา อา้ วสาระพาเฮโล...”
พ่อเพลง “...แม่ขวญั เอ๋ยกข็ วญั เอ๋ย ขวญั อยา่ เลยไกลห่าง
ขวญั ของแมก่ ย็ ่านาง อ้าวแมจ่ งมาสงิ สู่
จงอยดู่ งหนอพงไพร แม่จงได้รับรู้...”
ไต้ นำ้ มันยางและเรอ่ื งเล่าจากแสงไต้ โดย ปราณ ปรชี ญา ๑๒๒
แม่เพลง “...เชิญแม่เข้ามาสู่ สงิ ส่ใู นนาวา
ลูกขอเชญิ หนอเทพเจา้ อยู่ในเขาอย่ใู นถำ้
จะอยู่ลำคลองหรือหนองน้ำ เม่ือไดย้ ินคำเรยี กหา...”
ลูกคู่ “...จงเสดจ็ มาทันใด ขวัญใจของลกู ยา...”
พ่อเพลง “...เชิญเทพ ณ บุญฤทธ์ิ จงเนรมติ ลงมา
มาประสิทธ์พิ รชัย สถติ ไวใ้ นนาวา...”
ลกู คู่ “...ในขนุ พญานั้นยืนอยู่ เคยี งคูแ่ ม่คงคา...”
ทีม่ า บทไหวค้ รู เพลงผพี ุ่งไต้ [มณั ฑนา เทยี มทดั , ๒๕๕๑, น.๔๐]
• ผีหง้ิ
ผีหงิ้ เป็นพิธีกรรมเก่ยี วกับความเช่ือและความเคารพต่อผีบรรพบรุ ุษของชาวชองชาติพันธ์ุเดิม
อาศัยอยู่ตามที่ราบระหว่างหุบเขาในพื้นที่ภาคตะวันออกต่อเนื่องไปในเขตประเทศกัมพูชา ปัจจุบัน
จำนวนประชากรมีอย่างเบาบางกระจายอยู่ในจังหวัดระยอง ตราด จันทบุรี และอีกบางจังหวัด
ใกล้เคยี ง ชาวชองเช่ือว่าผบี รรพบรุ ษุ แมเ้ สียชวี ิตไปแลว้ แต่ดวงวญิ ญาณยงั คงวนเวยี นดูแลลูกหลานและ
บุคคในครอบครัวอยู่โดยมีผลจากความประพฤติ หากลูกหลานประพฤติตัวดี มีความกตัญญู อยู่ใน
ศีลธรรมและขนบความเชือ่ แบบอย่างชาวชองในอดีต ผีบรรพบุรุษจะคุ้มครองให้อยู่เย็นเปน็ สุข ทำมา
หากินได้อย่างคล่องตัว ถ้าประพฤติตัวไม่ดีผลจะเป็นตรงกันข้าม และอาจถูกผีบรรพบุรุษลงโทษได้
ชาวชองจึงต้องมีหิ้งบรรพบุรุษประจำครัวเรือนและทำพิธีบูชาผีบรรพบุรุษเป็นประจำทุกปี ชาวชอง
เรียกว่า 'พิธีบูชาผีหิ้ง' โดยการนำเครื่องเซ่นสังเวยมาเซ่นไหว้พร้อมดอกไม้ ธูป เทียน [ไต้] อาหาร
หวานคาว อาทิ หัวหมูนึ่ง ไก่นึ่ง ไข่ต้ม ขนมลูกโทน น้ำผ้ึง เหล้าขาว เป็นต้น และมีบทเพลงที่ใช้ร้อง
เชญิ ผีและสงิ่ ศกั ด์ิสทิ ธ์มิ ารับเครื่องเซน่ สงั เวยของลกู หลาน
ในเนื้อร้องจะกล่าวเชิญดวงวิญญาณให้รีบมาโดยเร็วอย่าให้ไต้หรือเทียนที่ลูกหลานจุดบูชา
ตอ้ งมอดไหม้ไปมาก ความวา่
เชญิ เอย๋ มาเชญิ ลง เชญิ เจ้าทุกองค์และเทวดา
องคใ์ ดทีศ่ ักด์สิ ิทธิ์ ให้เนรมิตทา่ นลงมา
ลงมาอยา่ แวะอยา่ เวียน อยา่ ใหเ้ ปลืองเทยี นเปลืองไต้
ลงมาเตว็ดน้อย ๆ หอ้ ย ๆ ลงมาเตวด็ ใหญ่ ๆ
เชิญเอ๋ยมาเชิญเอ๋ยเจา้ เขาเอย๋ เขาแกลด ข่ีช้างตากแดดมารบั เครอื่ ง
กระยาเสวย
ไต้ นำ้ มันยางและเร่ืองเลา่ จากแสงไต้ โดย ปราณ ปรชี ญา ๑๒๓
เชิญเอ๋ยมาเชิญเอย๋ เจา้ พระอิศวร พระนารายณ์ ข่ชี า้ งงาลายมารบั
เคร่อื งกระยาเสวย
ท่มี า รำแพน ศลิ าปาน [สมั ภาษณ์ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒]
ไต้ น้ำมนั ยางและเร่ืองเลา่ จากแสงไต้ โดย ปราณ ปรชี ญา ๑๒๔
ภาษาและการใชถ้ อ้ ยคำ [Linguistics and Verbal Usages]
ภาษา คือ วัฒนธรรม เป็นเครื่องมือสื่อสารที่สำคัญทีส่ ดุ ของมนุษย์ในการสร้างความเขา้ ใจซึ่ง
กันและกัน สามารถถ่ายทอดอารมณ์ ความรู้สึกนึกคดิ ของผู้พดู และยงั สะท้อนวถิ ีชีวิตของกลุ่มชนดว้ ย
ภาษาเป็นส่วนส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาให้วัฒนธรรมด้านอื่น ๆ เจริญก้าวหน้าขึ้นด้วย ซึ่ง
แต่ละภาษาต่างก็มีวิธีใช้ที่แตกต่างกันออกไปถือเป็นเอกลักษณ์และวัฒนธรรมเฉพาะของแต่ละชาติ
สำหรับภาษาไทยหรือภาษาไทยกลางนั้นเป็นภาษาราชการและภาษาประจำชาติ [National
language] นบั เป็นมรดกล้ำค่าที่บรรพบุรุษได้สร้างไว้ “...ภาษาเปน็ เครื่องผูกพันมนุษย์ต่อมนุษย์แน่น
แฟ้นยิ่งกว่าสิ่งอื่น และไม่มีสิ่งไรที่จะทำให้คนรู้สึกเป็นพวกเดียวกันดี หรือแน่นอนยิ่งไปกว่าพูดภาษา
เดียวกัน...” [พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖, ๒๕๑๗, น.๑๒–๑๓] อีกทั้งยัง
แสดงถึงภูมิปัญญาในการสร้างสรรค์และประดิษฐ์ถ้อยคำ ข้อความ สำนวนโวหาร อุปมาอุปไมย คำ
คล้องจอง ฯลฯ ภาษาและการใช้ถ้อยคำเกยี่ วกบั ไต้มมี ากมายเน่ืองจากเปน็ ถ้อยคำเก่าโบราณที่เกิดข้ึน
ในขณะยังใชไ้ ต้เป็นเคร่อื งตามไฟ ดงั เช่น
ภาษาถนิ่ เกีย่ วกับไต้
ภาษาท้องถิ่น คือ ภาษาที่ใช้พูดกันอยู่ตามท้องถิ่นต่าง ๆ สื่อความหมายความเข้าใจกัน
ระหว่างคนในท้องถิ่นนัน้ ๆ ซึ่งอาจแตกต่างไปจากภาษามาตรฐาน (ภาษากลาง) และภาษาในทอ้ งถิ่น
อื่นทั้งทางด้านเสียง คำ การใช้คำ แต่การเรียงคำในประโยค และความหมายของคำนั้นคงเดิม [ธวชั
ปุณโณทก, ๒๕๖๑, น.๓]
๑] ภาษากลาง
• ไต้ หรอื ต้าย เรยี กลกั ษณะนามของไตว้ ่า ดุ้น อนั และมคี ำเรียกเฉพาะเจาะจงจาก
วสั ดทุ ี่นำมาใชท้ ำไต้ ดังน้ี
– ไตห้ าง
– ไต้เสมด็
– ไตช้ ัน
– ไต้กระบอก
– ไต้เทยี น
๒] ภาษาอสี าน
• กะบอง หมายถึงไต้ของภาคกลางและภาคอื่น ๆ ส่วนไต้ [อีสาน] หมายถึงการจุด
[ไฟ] แต่มีชาวอีสานในบางจังหวัดเรียกว่าไต้เหมือนภาคกลาง และเรียกลักษณะนามของไต้ว่า เล่ม
หากมัดรวมกนั ๑๐ เลม่ เรียกวา่ ลึม หรอื หลมึ
ไต้ นำ้ มนั ยางและเรื่องเลา่ จากแสงไต้ โดย ปราณ ปรชี ญา ๑๒๕
๓] ภาษาเหนอื
• ไต้ [น้ำมนั ยางนา]
• ไมแ้ คร่ [น้ำมนั ยางนา]
• ไมเ้ กย๋ี ะ [น้ำมันยางสน]
๔] ภาษาใต้
• ไต้ เรียกลักษณะนามของไต้ว่า ลำ และมีคำเรียกเฉพาะเจาะจงจากวัสดุทีน่ ำมาใช้
ทำไต้ ดังน้ี
– ไตเ้ ลก็
– ไต้ทอ
– ไต้เสือมาย
– ไตห้ น้าช้าง
๕] ภาษาถิน่ และกลุ่มชาตพิ ันธ์ุ
• มันนิ [ซาไก] เรียกไต้ว่า ปา–เอนิ ก–ู บะ คบไฟ ไต้
• สะกอ [กะเหรี่ยง] เรียกคบไฟจากไมส้ นว่า ไมเ้ กย๊ี ะ
• ลาวครัง่ [ข้ไี ต]้
'ลาวครัง่ ' เป็นช่อื ของภาษาและช่ือกลุ่มชาติพันธ์ุหนึ่งหมายถึง 'ผมู้ ีเช้ือสายลาว' กลุ่มหนึ่งท่ีใช้
ภาษาในตระกูลภาษาไท–กะได และมกี ารอพยพเคลื่อนย้ายหลายคร้งั ตามห้วงเวลาต่างกนั เข้ามาอาศัย
อยู่ในเขตภาคกลางและภาคเหนือตอนล่างของประเทศโดยกระจายอยู่ตามทอ้ งถ่ินตา่ ง ๆ เช่น จังหวัด
นครปฐม สุพรรณบุรี กาญจนบุรี เพชรบุรี สระบุรี ชัยนาท นครสวรรค์ อุทัยธานี พิจิตร และ
กำแพงเพชร เปน็ ตน้
"...ถึงแม้ว่ากลุ่มลาวครั่ง จะเป็นกลุ่มชนที่เคยอาศัยอยู่ในดินแดนอาณาจักรล้านช้างหรือ
ปัจจุบันคือ เขตแดนประเทศลาวมาก่อน แต่จากการวิจัยศึกษาเอกสารหลักฐานด้านภาษาศาสตร์
พบว่า ภาษาเขียนที่พบในคัมภีรใ์ บลาน สมุดไทยขาว สมุดไทยดำซึ่งบันทึกเรื่องราวตา่ ง ๆ ในรูปแบบ
ของ ตำรายา ตำนาน คาถา ตำราโหราศาสตร์ และนทิ าน ลว้ นใชภ้ าษาในตระกูลภาษาไทหรือไต โดย
กลุ่มลาวครั่ง จะใช้ภาษาเขียนด้วย 'อักษรไทน้อย' เป็นอักษรหลักและมีการใช้อักษรบาลีและขอม
แทรกอยู่บา้ ง จากหลักฐานทัง้ ภาษาเขียน ภาษาพดู และวฒั นธรรม เป็นหลกั ฐานอันชัดเจนว่ากลุ่มลาว
ครั่ง จัดเป็นกลุ่มที่สืบเช้ือสายมาจากบรรพบุรุษ 'ชาติพันธุ์เผ่าไท' เช่นเดียวกันกบั กลุ่มชาติพันธ์ุเผ่าไท
อื่น ๆ แต่ชาวไทยทั่วไปมักเรียกคนในกลุ่มนี้ว่า 'ลาว' นั้นคงเป็นการเรียกขานที่แสดงถึงการแบ่งแยก
กลุ่มชาติพันธุ์และวัฒนธรรมออกจากชาวสยาม ชาวจีน ชาวมอญ ออกเป็นชาวลาวและคงด้วยชาว
ไทยกล่มุ น้ไี ด้อพยพมาจากดนิ แดนสว่ นหน่ึงของราชอาณาจักรลาว..." [สทิ ธิชยั สมานชาต,ิ ๒๕๕๓, น.
๘]
ไต้ น้ำมนั ยางและเรื่องเล่าจากแสงไต้ โดย ปราณ ปรชี ญา ๑๒๖
ลาวคร่ัง มกี ารเรียกขานช่ือชาตพิ นั ธ์ุออกเปน็ ๔ กลมุ่ ใหญ่ ดังน้ี
๑] ลาวครงั่ มกี ารต้งั ข้อสันนษิ ฐานไว้ ๒ ประการถึงที่มาของชือ่ คอื
๑.๑ สันนิษฐานจากถิ่นฐานเดิม ชาวลาวครั่งมีถิ่นฐานเดิมอยู่ในบริเวณเขตเทือกเขา
ภูคัง หรือภูฆัง ภูเขาที่มีลักษณะคล้ายระฆังอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของหลวงพระ
บาง ประเทศลาว จึงเรียกวา่ ลาวคงั ลาวคัง่ หรือ ลาวครัง่
๑.๒ สันนษิ ฐานจากสัมมาชพี เดมิ ชาวลาวกลุ่มนน้ี ยิ มเล้ียงครั่งเพอ่ื ใช้สำหรบั การย้อม
ผา้ และส่งครง่ั เปน็ สว่ ยใหก้ บั รฐั บาลสยามสมยั หนง่ึ จึงได้ชื่อว่าลาวขี้คร่ังหรือลาวคร่ัง
คำว่า 'คั่ง' ในภาษาลาว [ไม่มีตัว ร ควบกล้ำ] มีความหมายตรงกับคำว่า 'ครั่ง' ใน
ภาษาไทย
๒] ลาวเวยี ง คอื ชาวลาวครัง่ ท่ีอพยพมาจากเมืองเวยี งจนั ทน์
๓] ลาวกา คือกลุ่มที่พูดสำเนียงเสียงดังคล้ายกาและมักใช้คำลงท้ายประโยคว่า 'ละกา' ทั้งนี้
คำว่าลาวกาเปน็ คำเรียกเชิงหมิ่นแคลน กลุ่มนีจ้ งึ ไม่เรยี กตัวเองว่า ลาวกา แตเ่ รยี กวา่ ลาวเวียง
๔] ลาวซี คือกลุ่มชาวลาวครงั่ ที่หาข้ีชนั าขายเล้ียงชีพ จงึ เรียกว่า ลาวซี ซี คือ 'ขซี้ 'ี หรือ 'ข้ชี นั '
ทั้ง ๔ กลุ่มมีความแตกต่างกันในด้านสำเนียงภาษาผิดเพี้ยนกันบ้าง มีประวัติการอพยพ
เคลื่อนย้ายจากลุ่มน้ำโขงลงมาดินแดนแม่น้ำเจ้าพระยาท่ีช่วงของเวลาต่างกัน แต่สิ่งที่เหมือนกันคือ
ภาษาเขียนที่ใช้อักษรลาวร่วมกันกับกลุ่มชาติพันธุ์ลาวอื่น ๆ มีวัฒนธรรมประเพณีแบบเดียวกัน
นอกจากนี้ยังมีชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามถิ่นฐานที่อยู่ใหม่ ปัจจัยแวดล้อมและการประกอบอาชีพ
ดงั้ เดมิ ดังน้ี
'ไทคร่ัง' ใช้เรียกกลมุ่ ชาตพิ ันธใุ์ นงานวิจยั เนือ่ งจากเปน็ ภาษาตระกูลไทเชน่ เดยี วกับภาษาไทย
และลาว และเพอ่ื ไม่เปน็ การแบ่งแยกจากชาติพนั ธไ์ุ ทอน่ื ๆ ในประเทศไทย
'ลาวด่าน' เป็นชื่อเรียกลาวครั่งที่อาศัยอยู่ในอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย และอำเภอด่านช้าง
จังหวัดสพุ รรณบุรี
'ลาวเต่าเหลือง' เป็นชื่อเรียกลาวครั่งที่อาศัยอยู่ในจังหวัดนครสวรรค์ ชื่อนี้มีที่มาว่าชาวลาว
คร่ังทจี่ ังหวัดนี้อาศยั อยตู่ ามป่าเขา เหมอื นเต่าทม่ี กี ระดองสีเหลือง
'ลาวโนนปอแดง' เป็นชื่อเรียลาวครั่งที่อาศัยอยู่ในอำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์
นอกจากนี้ยังมกี ารรียกชื่อลาวคร่ังตามเสียงคำลงท้ายของภาษาลาวคร่ัง คือ 'ลาวก๊ะล่ะ' หรือ 'ลาวล่อ
ก๊อ' [มยรุ ี ถาวรพัฒน์, ๒๕๔๘, น.๕–๗]
สีมา อนุรักษ์ และ ประชิด สกุณะพัฒน์ ได้นำเสนอข้อสันนิษฐานว่า 'ลาวครั่ง' คือ 'ลาวขี้ไต้'
ซึ่งคำนี้อาจจะมาจาก 'ลาวขี้ครั่ง' ก็ได้แต่ก็ไม่มีหลักฐานยืนยันชัดเจน จึงบันทึกไว้เป็นข้อมูลเกี่ยวกับ
'ไต'้ ดังนี้
ไต้ น้ำมันยางและเร่ืองเล่าจากแสงไต้ โดย ปราณ ปรชี ญา ๑๒๗
“...ลาวใต้หรือลาวขี้ไต้ [ใต้] เป็นชื่อของภาษาและชื่อของกลุ่มคนที่อาศัยอยู่ใบบริเวณภาค
กลางของประเทศไทย เช่น ในจังหวัดนครปฐม จังหวัดราชบุรี ลาวใต้มักจะเรียกตนเองว่า ลาว หรือ
ลาวใต้ หรือ ลาวขีไ้ ต้ คำว่าใต้ หรอื ไต้ หรือขี้ไตน้ นั้ ยังไม่ทราบแน่ชดั ว่าควรจะใช้เรยี กลาวในกลุ่มน้ีตาม
ความหมายของคำใด เพราะอาจจะหมายถึง ขี้ไต้ที่ใช้จุดไฟเมื่อเทียบกับคำว่า ขี้ครั่ง ความหมายท่ี
เป็นไปได้อีกอย่างหนึ่งคือ อาจหมายถึง 'ใต้' ที่หมายถึงลาวทางภาคใต้ เพราะสำเนียงของลาวใต้
ใกล้เคียงกับลาวในแถบจำปาศักดิ์หรือลาวในภาคอีสานของคนไทย เชื้อสายลาวใต้ที่อยู่ในนครปฐม
บรรพบุรุษอพยพมาจากเวียงจันทน์และเคยอยูใ่ นเขตจังหวัดราชบรุ ี ก่อนจะอพยพมาตั้งหลกั แหล่งใน
จังหวดั นครปฐม...” [สมี า อนุรกั ษ์ และ ประชดิ สกุณะพฒั น,์ ๒๕๕๑, น.๑๔๙]
สำนวนเกีย่ วกบั ไต้
'สำนวน' คือ ถ้อยคำหรือข้อความที่กล่าวสืบต่อกันมาใช้ในการพูดหรือเขียนมีความหมาย
โดยนยั แฝงอยู่ไม่ตรงตามตวั อักขระ เปน็ ลกั ษณะความหมายเชิงอุปมา เปรียบเทียบ ปัจจัยท่ีทำให้เกิด
สำนวนส่วนใหญ่มาจากการพบเห็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ ส่ิงแวดลอ้ ม วฒั นธรรม แบบแผนประเพณี
ศาสนา การละเล่น นิทาน ตำนาน พงศาวดาร ประวัติศาสตร์ หรือพฤติกรรมและความเป็นอยู่ใน
ชีวิตประจำวนั ของคนทั้งอดีตและปจั จบุ นั ขนุ วิจติ รมาตรา ได้อธิบายความหมายของสำนวนไว้ดังน้ี
“...คำพูดของมนุษย์เราไมว่ ่าชาติใดภาษาใด แยกออกได้กวา้ ง ๆ เปน็ สองอย่าง อย่างหนึ่งพูด
ตรงไปตรงมาตามภาษาธรรมดา พอพูดออกมาก็เข้าใจกันได้ทันที อีกอย่างหนึ่งพูดเป็นชั้นเชิงไม่
ตรงไปตรงมาแต่ให้มีความหมายในคำพูดนั้น ๆ คนฟังอาจเข้าใจความหมายทันทีถ้าคำพูดนั้นใช้กัน
แพร่หลาย แต่ถ้าไม่แพร่หลายคนฟังก็อาจก็ไม่อาจเข้าใจได้ทันที ต้องคิดจึงเข้าใจ หรือบางทีคิดแล้ว
เข้าใจไปอย่างอื่นก็ได้ หรือไม่เข้าใจเอาเลยก็ได้ คำพูดเป็นชั้นเชิงนี้ เราเรียกกันว่า 'สำนวน' คือคำพูด
เปน็ สำนวนอย่างชาวบา้ นเขาเรียกกันวา่ 'พูดสำบดั สำนวน'...” [สงา่ กาญจนาคพันธ์ุ (ขนุ วิจติ รมาตรา),
๒๕๓๘, น.๑]
• จดุ ไตต้ ำตอ
จุดไต้ตำตอ เปน็ สำนวนเกา่ หมายถึง พดู หรือทำสิ่งใดส่ิงหนึ่งบังเอิญไปโดนเอาเจ้าตัวหรือผู้ท่ี
เป็นเจ้าของเรื่องนัน้ เขา้ โดยผู้พดู หรือผู้ทำไมร่ ู้ตัว [พจนานุกรม ฉบับเฉลิมพระเกียรติ พ.ศ. ๒๕๓๐, น.
๑๔๗] ไต้เป็นเครื่องตามไฟใช้กันในสมัยโบราณ ยามเดินทางต้องถือไต้ส่องไล่ความมืดแต่ไม่วายเดิน
สะดุดเพราะแสงไตส้ ่องได้ไม่ท่ัวถงึ นำมาเปน็ สำนวนเปรียบกับการพูดหรือกระทำที่เจ้าตัวไม่รู้ว่ากำลัง
พูดกบั คนท่กี ลา่ วถึง ขุนวจิ ติ รมาตรา [สงา่ กาญจนาคพนั ธ์ุ] อธบิ ายเพิม่ เติมไวว้ ่า
“...จุดไตต้ ำตอ เป็นสำนวนหมายความว่า พดู หรอื ทำอะไร สิง่ หน่งึ สิง่ ใดมาโดนกับผู้ที่เขาเป็น
เจ้าของเรื่องนัน้ เอง หรือเป็นตัวเขาเองโดยคนพูดหรือคนทำน้ันไมร่ ู้ตัว สำนวนนี้เข้าใจวา่ มาจากจุดไต้
ไฟให้สวา่ ง ควรจะเห็นทางแลว้ ยังกลับไปปะทะตอ [ในนำ้ หรือบนบกกไ็ ด้] เข้าอกี ในบทละครขุนช้าง
ไต้ น้ำมนั ยางและเร่อื งเล่าจากแสงไต้ โดย ปราณ ปรชี ญา ๑๒๘
ขุนแผนของกรมพระราชวังบวรฯ ตอนวันทองทะเลาะกบั ลาวทอง มกี ลอนวนั ทองว่าลาวทอง 'มาจ่อไต้
ตำตอเข้าถ้ำรกั ชอบหรือหม่อมไม่ทนั ทักนางเมยี งาม' สำนวนนี้ลางทีเรากท็ ิง้ คำ 'จุดไต้' พูดแต่ 'ตำตอ'
เช่นว่า 'พูดจนโดนตอ' หรือ 'พูดจนตำตอ' ก็เข้าใจกัน...” [สง่า กาญจนาคพันธุ์ (ขุนวิจิตรมาตรา),
๒๕๓๘, น.๑๔๖]
ตวั อย่างสำนวนจดุ ไตต้ ำตอ
ในสาส์นสมเด็จ พุทธศักราช ๒๔๘๐–๒๔๘๖ ลายพระหัตถ์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรม
พระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเขียนถึงสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
ฉบับลงวันที่ ๑๐ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๘๒ มีความตอนต้นทรงตำหนพิ ระองค์เองว่า 'จุดไต้ตำตอ'
เมอื่ ไดท้ ลู อธิบายเรอื่ งพระราชลญั จกร รายละเอียดสังเขปมดี ังน้ี
“...เมื่ออ่านลายพระหัตถ์ฉบับนี้แล้ว หม่อมฉันนึกขันด้วยความรู้สึกตัวว่าที่ทูลอธิบายเรื่อง
พระราชลญั จกรต่าง ๆ ถวายไปนัน้ เป็นเหมือนอย่างเขาว่า “จดุ ไตต้ ำตอ” เพราะทา่ นทรงทราบดีกว่า
หม่อมฉันมาก
แต่พระราชลัญจกร “นามกรุง” ที่ประทับในบัตรพระราชทานที่วิสุงคามสีมานั้น พอจะทูล
อธิบายเปน็ ความคิดเพมิ่ เตมิ ได้บ้าง มูลเหน็ จะมาแต่ทรงค้นในคมั ภีรส์ ีมาขนั ธแ์ ละมีพระราชประสงค์จะ
ให้พระสงฆส์ น้ิ รังเกียจสีมา จึงทรงเพ่มิ คำเขา้ ในบัตรวิสุงคามสีมาว่าให้ทภี่ ายในพัทธสีมาน้ัน “เป็นส่วน
หนึ่งต่างหากจากพระราชอาณาเขต” หมายความเพียงเพื่อให้พระสงฆ์สะดวกใจในการที่จะทำสังฆ
กรรมหรอื ว่าอีกอย่าง ๑ เปน็ วนิ ยั กรรม มิใช่รัฐกรรม หม่อมฉนั นึกไดว้ ่า เมอื่ เปน็ อภิรัฐมนตรีในรัชกาล
ที่ ๗ ได้เคยยกคำนั้นขึ้นเป็นปัญหาครั้ง ๑ ว่าขัดกับนิติประเพณีที่ถือกันในปัจจุบันนี้ เพราะคำว่า
“พระราชทานที่ให้เป็นส่วนหนึ่งต่างหากจากพระราชอาณาเขต” ไปตรงกับที่เรียกในภาษาอังกฤษว่า
Extra Territorial หมายความวา่ ในบรเิ วณที่นนั้ รฐั บาลเจา้ ของเมืองไม่มีอำนาจจะเข้าไปบังคับบัญชา
ว่ากลา่ วอยา่ งใดได้ อยา่ งเชน่ สถานทูตเป็นต้น ผดิ กบั ท่ถี อื ในทางพระวินยั หมอ่ มฉันไดเ้ คยเสนอว่าควร
ถอนคำน้นั ออกเสียจากบตั รพระราชทานที่วสิ ุงคามสมี าต่อไป...”
• เข้าไต้เขา้ ไฟ
เข้าไต้เข้าไฟ หรือยามเข้าไต้เข้าไฟ เป็นสำนวนบอกเวลา หมายถึงเวลาโพล้เพล้ หรือพลบค่ำ
เริ่มมืดต้องใช้แสงไฟ เป็นช่วงเวลาหลังพระอาทิตย์ตกดินซึ่งยังไม่มืดเสียทีเดียว แต่มองไม่ค่อยชัดจึง
ต้องจดุ ไต้ให้แสงสวา่ ง [เปน็ ชว่ งเวลาต่อจาก 'ผตี ากผา้ อ้อม' สำนวนบอกเวลายามเยน็ ใกล้พลบค่ำก่อน
พระอาทติ ยต์ กดนิ ]
“...ไต้เป็นเคร่ืองตามไฟ ลกั ษณะเป็นลำใหญต่ ิดไฟได้นาน และใหค้ วามสว่างมาก สมัยโบราณ
ใช้ไต้กันทั่วไป 'เข้าไต้' หมายถึงเวลาที่ต้องจุดไต้ คือเวลาค่ำ คำว่า 'เข้าไต้' จึงเป็นสำนวนเก่าแก่ที่สุด
ไต้ นำ้ มนั ยางและเรือ่ งเล่าจากแสงไต้ โดย ปราณ ปรีชญา ๑๒๙
สำนวนหนึง่ ในภาษาไทย คำว่า 'เขา้ ไฟ' หมายถงึ เวลาที่ตอ้ งจดุ ไฟ คือเวลาค่ำเช่นเดยี วกัน คงจะพดู เติม
เขา้ ในภายหลงั ...” [สง่า กาญจนาคพันธุ์ (ขุนวจิ ิตรมาตรา), ๒๕๓๘, น.๘๖–๘๗]
ตวั อย่างสำนวนเข้าไต้เขา้ ไฟในคำประพนั ธ์
[๑] วรรณกรรมไทย เรื่องส่แี ผน่ ดิน บทประพนั ธ์ของ หมอ่ มราชวงศค์ ึกฤทธ์ิ ปราโมช
“...พอไดย้ ินช้อยถามพลอยก็รสู้ ึกว่าท่คี อต้นื ตนั ข้ึนมาทันที ความจริงพลอยรู้สึกชอบมาพากล
ตั้งแต่ตอนบ่ายแล้ว อยู่ ๆ ก็ให้นึกอยากร้องไห้ จะมองอะไรตอนเย็นให้รู้สึกว้าเหว่ วังเวงอย่างบอกไม่
ถูก แต่พอได้ยินช้อยถามพลอยก็รู้สึกตัว ว่าความรู้สึกที่บอกไม่ถูกนั้นเองคือความคิดถึงบ้าน คิดถึง
สิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ที่มิเคยจากมาเลยชั่วชีวิต ที่บ้านเป็นอย่างไร มีกลิ่นอายอย่างไร เมื่อตอนพลบค่ำ
เขา้ ไต้เข้าไฟน้ี ยงั อยู่ในความทรงจำของพลอยอย่างเดน่ ชัด ป่านนี้เจา้ คณุ พ่อคงจะเพ่งิ กลับขึ้นตึก และ
ถ้ายังอยู่ทีบ่ ้านพลอยก็คงจะกลับขึ้นเรือนแม่ ความอบอุ่นในใจที่เคยมเี มื่ออยู่ที่บ้านนั้น บัดนี้ดูจะหมด
สิ้นไปจากหวั ใจ จรงิ อยใู่ นวงั มีสิ่งทท่ี ำใหพ้ ลอยต่ืนตาตืน่ ใจอยู่เปน็ อันมาก แตเ่ วลาพลบคำ่ ในสถานที่อัน
กว้างใหญ่เช่นนี้ สำหรับเด็กตัวเล็ก ๆ อย่างพลอยก็มีแต่ความเปล่าเปลี่ยว จะเอาแม่เป็นที่พึ่งก็ไม่ได้
เพราะแม่กำลังสนใจกับเพ่ือนฝูงทีไ่ ม่ได้พบกันนาน เมื่ออยู่บา้ นพลอยกร็ ู้สึกว่าตัวเปน็ คนสำคัญของแม่
แต่มาวันนีก้ ลับรสู้ กึ ว่าแม่มีคนอ่ืน ๆ อกี มาก...” [คกึ ฤทธ์ิ ปราโมช, ๒๕๕๔, น.๔๓–๔๔]
[๒] วรรณคดไี ทย เรอ่ื ง ขุนชา้ งขนุ แผน
คราน้ันขุนไกรใจหาญ รับหมายแลว้ อ่านหาช้าไม่
สง่ั นายหมวดพลันทนั ใด จงเทยี่ วติดตามไพรใ่ หร้ ีบมา
สง่ั เสร็จพอเวลาเขา้ ไตไ้ ฟ ขุนไกรก็เขา้ ในเคหา
กับนางทองประศรภี ริ ยิ า ทัง้ บุตรพลายแกว้ แววไว
ให้มลี างคืนนน้ั สน่นั อึง แมลงมุมตอี กผึงหาหยดุ ไม่
สยดสยองพองขนทกุ คนไป เย็นยะเยอื กจับใจไปทกุ ยาม
ทองประศรนี อนหลบั แล้วกลับฝัน ความกลวั ตัวส่ันตกใจหวาม
สะดุ้งฟ้นื ตน่ื ขน้ึ ให้คร่นั ครา้ ม อารามตกใจปลกุ ซ่ึงสามี
ขนุ ไกรถามไปว่าอะไรเจ้า นางจึงเลา่ ความฝนั น้ันถว้ นถ่ี
ว่าฟันฉนั หักกระเดน็ เหน็ ไม่ดี ชว่ ยทำนายฝนั น้ใี ห้แจง้ ใจ
ขนุ ไกรไดฟ้ ังดังใครผลาญ เอะ๊ จะมีเหตกุ ารเปน็ ข้อใหญ่
ถา้ กูทำนายวา่ ร้ายไป ทองประศรีท่ีไหนจะห่างตัว
ไม่ร้ายดอกฝนั ดีจะมีสขุ เจ้าอย่าเปน็ ทกุ ข์จงฟงั ผวั
แต่ใจคิดคร้งั นมี้ ิรอดตัว น่ากลัวกจู ะมว้ ยด้วยกระบอื ฯ
ที่มา เสภาเรื่องขนุ ชา้ งขนุ แผน [กรมศิลปากร, ๒๕๔๔, น.๑๕]
ไต้ น้ำมนั ยางและเรอ่ื งเลา่ จากแสงไต้ โดย ปราณ ปรีชญา ๑๓๐
[๓] วรรณกรรมไทย เรอื่ ง แสนแสบ บทประพันธ์ของ ไม้ เมืองเดิม
“...ช้อยยังสะอึกสะอื้นอยู่อีกนานความคิดหลับ ๆ ตื่น ๆ แทบไม่รู้ว่าเวลานั้นกำลังโพล้เพล้
ใกล้ค่ำ เสียงควายคอกจามฟืดฟัดแปลกกลิน่ แลว้ สะบัดเขา ยิง่ อา้ ยปลอดตัวท่ีเจ้าแผลงซอื้ มาจากหนอง
จอกคู่กับอ้ายหลัก ถึงลุกยืนเบิง่ แล้วถอยหน้าถอยหลงั และในครู่น้ันเองควายท้ังคอกก็ลุกยืนพรวดขนึ้
หมด บา้ งส่งเสียงร้องตะกยุ ดินและเอาเขาแงะไมค้ อก
ช้อยถลันยืน ตะวันจะชิงพลบเข้าไต้เข้าไฟขมุกขมัวคนด้อมตะคุ่มอยู่ข้างคอก แล้วหลบลงทำ
ให้นางช้อยขวัญหายคิดไปว่า ชะรอยนักเลงดีจะรู้แกวว่าพ่อตายไม่มีคนอยู่จะเข้าเปิดคอกแต่ยงั ไม่ทัน
คำ่ เมอ่ื คดิ วา่ จะเปน็ คนปลน้ แลว้ แข้งขาออ่ นแทบจะยนื ไม่ทรงตัว
ครู่นั้น เจ้าคนที่หลบก็อ้อมคอกมาโผล่ยืนอยู่ชานห้างใกล้เจ้าช้อย...” [ไม้ เมืองเดิม, ๒๕๔๔,
น.๖๗]
• หักไฟหัวลม
หักไฟหัวลม เป็นสำนวนโบราณที่ปัจจุบันไม่มีใช้แล้วจึงอาจไม่คุ้นและไม่เคยได้ยิน เพ็ญแข
วจั นสุนทร [๒๕๒๘, น.๙๕] อธิบายความหมายไวว้ า่ พอเห็นเรอ่ื งจะเกิดขึน้ ก็รีบขจดั ขดั ขวาง เทยี บได้
กับสำนวนที่ยังคงมีใช้ในปัจจุบันคือ 'ตัดไฟต้นลม' หรือ 'ตัดไฟแต่ต้นลม' หรือ 'ตัดไฟหัวลม' คือ ตัด
ต้นเหตุเพื่อไม่ให้เหตุการณ์ลุกลามต่อไป [ราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๕๖, น.๔๘๕] หักไฟหัวลม เป็น
สำนวนเตอื นสติให้รบี แกไ้ ขปัญหาก่อนทีจ่ ะลุกลามบานปลายจนแก้ไมท่ นั สนั นิษฐานวา่ เปน็ สำนวนใน
ขณะที่ยังใช้ไตเ้ ป็นไฟส่องสวา่ งอยู่ จึงสามารถเปรยี บเทียบด้วยการ 'หัก' ส่วนหัวของไต้ที่กำลังลุกไหม้
ไฟอยู่ออกไปเพื่อเปน็ การดบั ไฟให้เบ็ดเสรจ็ เด็ดขาดไม่หลงเหลือเชื้อลุกติดไฟขนึ้ มาใหม่ได้จากแรงลมที่
พัดกระพอื
คำคลอ้ งจองเก่ียวกับไต้
คำคลอ้ งจอง หมายถงึ คำทใี่ ชส้ ำนวนในการเขียนหรือพูดท่ีคลอ้ งจองกนั ซึ่งอาจจะใชส้ ระและ
มาตราตัวสะกดหรอื พยัญชนะตน้ เร่ืองเดียวกนั กไ็ ด้ คำคล้องจองอาจจะมีตั้งแต่ ๒ คำข้ึนไป โดยมีความ
คล้องจองกันในเรื่องของเสียง หรือการสัมผัส โดยข้อความที่ได้ต้องมีความหมายอยู่ในเรื่องเดียวกัน
หรือในแนวทางเดยี วกนั คำคลอ้ งจองมกั ปรากฏในแบบเรียนภาษาไทยสำหรับเดก็ เพอื่ หดั อ่าน ดงั เช่น
• บรุ พบท คำใช้ไม้ม้วน ๒๐ คำ ผดิ จากไม้มลาย
บา้ น ใกล้ ทาง ไกล
ของ ใคร เห่อื ไคล
รกั ใคร่ ตะไคร่ น้ำ
หัว ใจ ไหม สองไจ
ไต้ นำ้ มนั ยางและเรื่องเลา่ จากแสงไต้ โดย ปราณ ปรชี ญา ๑๓๑
มิ ใช่ เจาะ ไช
คน ใช้ ซกั ไซ้
โต ใหญ่ หยกั ไย่
ผู้ ใด บัน ได
ทศิ ใต้ จุด ไต้
ข้าง ใน หูก ไน [รชดาภเิ ษก, ๒๕๕๑, น๔๗]
• บุรพบทวิธหี นงั สอื ไทย ๒๗ อ่านคำอกั ษรกลำ้ ทีใ่ ช้ผันดว้ ยไม้เอก
ใหญ่กวา่ คร่าไป พลา่ เนือ้ กล่ีใหญ่ น้ำไหลปร่ี ใบไม้คล่ี
เชา้ ตรู่ ครใู หญ่ เตร่ไป แลดเู ผล่ เผลไ้ ป ไมแ้ คร่
แพรไ่ ป ไมใ่ หโ้ ผล่ โพลใ่ หญ่ เกล่ยี เสมอ เพรอื่ ไป
ไกล่เกลี่ย เอาไมไ้ ชว่ ไพลม่ อื มอื เปล่า สะเพรา่ เกา่ คร่ำ
พร่ำเพรอ่ื [รชดาภเิ ษก, ๒๕๕๑, น๒๙๗]
• แบบเรียนภาษาไทย สำหรบั ช้นั ประถมปีท่ี ๑
ไขไ่ ก่ ไม้ไผ่ ใตถ้ ุน ไต่ถาม เทียนไข
ไก่แจ้ จุดไต้ ไก่ขัน หัวเข่า ไข่หา่ น หายไข้ [แบบเรียนเร็วใหม่ เล่ม ๑ ตอนต้น หน้า
๔๖]
อปุ มาโวหารเกยี่ วกบั ไต้
อุปมาโวหาร มีความหมายว่า สำนวนเขียนที่กล่าวถึงเรื่องราวโดยยกสิ่งต่าง ๆ ขึ้นมา
เปรียบเทียบประกอบ [ราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๕๖, น.๑๔๒๗] เพื่อให้เข้าใจง่ายและเกิดอารมณ์
ความรู้สึกมากขึ้น สำนวนในเชิงเปรียบเปรยจึงมีความหมายโดยนัย [second meaning] ไม่ตรงตาม
อกั ขระ สำนวนอปุ มาโวหารที่เกยี่ วกับไต้คน้ พบในวรรณกรรมประเภท 'ค่าวซอ' ของชาวล้านนา
'ค่าวซอ' เป็น ๑ ใน ๔ ประเภท [วรรณกรรมโคลง วรรณกรรมค่าวธรรม วรรณกรรมค่าวซอ
และวรรณกรรมเบ็ดเตล็ด] ของวรรณกรรมของภาคเหนือ มีลักษณะของการนำนิทานพื้นบ้าน หรือ
เรื่องราวเนื้อหาจากชาดก เรื่องจักร ๆ วงศ์ ๆ มาขับลำนำหรือการขับร้องด้วยทำนองเสนาะในที่
ประชมุ ชน และมีการขับลำแก้กันระหว่างชายหญิงด้วย เช่น เรอื่ งเจา้ สุวัตรกับนางบัวคำ หงส์หิน อ้าย
รอ้ ยขอด สุวรรณะหอยสงั ข์ [สงั ข์ทอง] ชิวหาล้นิ คำ ชา้ งโพงนางผมหอม เจ้าแสนเมืองหลงถำ้ เปน็ ต้น
เรอื่ งเจา้ สวุ ัตรกบั นางบวั คำ มีการอ้างอปุ มาโวหารเปรียบเทียบอยหู่ ลายแหง่ มีสำนวนท่ีเตือน
หญิงชายต้องระมัดระวังการอยู่กันตามลำพังสองต่อสอง ยากจะหักห้ามใจในความใกล้ชิด โดย
เปรยี บเทยี บกับสองสิง่ ทีไ่ ม่ควรอยใู่ กลก้ นั ดังน้ี
องึ่ อา่ งแมงเมา่ จ๊นิ เน่ากบั หนอน [จน๊ิ = ชิน้ เน้อื ]
ไต้ น้ำมันยางและเรอื่ งเล่าจากแสงไต้ โดย ปราณ ปรีชญา ๑๓๒
งเู หา่ ปังปอน บ่ควรลน่ื ใกล้ [ปงั ปอน = พังพอน, ลืน่ = เกินกำหนด]
จายคาเรอื น กับไฟไมไ้ ต้ [จายคา = ชายคา]
บค่ วรดลี วน ล่ืนชดิ
อุปมาโวหารสำนวนนี้มีภาษิตล้านนาที่ความหมายเป็นการตักเตือนไม่ให้ผู้หญิงอยู่ใกล้ชิด
ผู้ชายจนเกนิ งาม ดงั เชน่ น้ำตาลใกลม้ ด [ภาคกลาง] คือ คร่ังใกลไ้ ฟ ไขใกล้แดด ญงิ ใกลจ้ าย ควายใกล้
หญา้ [สมร เจนจิจะ, ๒๕๔๗, น.๔๑]
ปริศนาคำทายเก่ียวกบั ไต้
ปริศนาคำทาย คือ ถ้อยคำที่ผูกเป็นเงื่อนงำ เพื่อทดสอบเชาวน์ปัญญา และความสนุกสนาน
ส่วนมากมักทายกันในหมู่เด็ก [ประพนธ์ เรืองณรงค์, ๒๕๕๙, น.๙๓] พบอยู่ทั่วไปทุกภูมิภาค ในสมัย
โบราณ การลองภูมิปัญญาว่าผ้นู น้ั มีความเฉลียวฉลาดหรือไม่เพียงใด วิธหี นึ่งท่ใี ช้ทดสอบก็คือการถาม
ปริศนาคำทายหรือทายปัญหาซึ่งอาจเป็นปริศนาที่ถามตรง ๆ หรือผูกเป็นแบบแยบยลบ้างแล้วแต่มีผู้
คิดขน้ึ มามที งั้ ปัญหาทางโลกและทางธรรม ปริศนาคำทายทเ่ี กี่ยวกับไต้ ทคี่ น้ พบมีดังน้ี
• อะไรเอย่ [ภาคกลาง] มาจากเมอื งนอก ขไี้ มอ่ อกเอาไม้แคะ [ตอบ ไต้จดุ ไฟ]
• อะไรเอย่ [ภาคกลาง] ใบโอบขี้ [ตอบ ไต้จุดไฟ]
• อะไรเอย่ [ภาคใต้] หวั แดง ท้ายแกว่งรูลอ่ ง [ตอบ ไตจ้ ดุ ไฟ]
ภาษิตเกี่ยวกับไต้
ภาษิต หรือสุภาษิต คือ ถ้อยคำหรือข้อความที่กล่าวสืบต่อกันมาช้านานแล้ว มีความหมาย
เป็นคติสอนใจ [ราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๕๖, น.๑๒๔๕] ภาษิต อาจเป็นการสัง่ สอนชีใ้ หเ้ หน็ สัจจะแหง่
ชีวติ ก็ได้ ภาษติ ท่ีเกย่ี วกบั ไต้ ค้นพบในภาษติ ลา้ นนา ดงั น้ี
จะไปเอาคนต๋าบอดมานำตาง จะไปเอาคนต๋าฟางมาแบกไม้แคร่ [ภาษติ ลา้ นนา]
ความหมาย
อยา่ ไปเอาคนตาบอดมานำทาง อย่าเอาคนตาฟางมาแบกไม้มาทำไต้ [สมร เจนจจิ ะ, ๒๕๔๗,
น.๖๑]
ผญาเก่ียวกบั ไต้
ผญา หรือคำผญา หมายถึงถ้อยคำที่เป็นสำนวนโวหารในการพูด ต้องตีความจึงจะเข้าใจ
ความหมายไดซ้ ง่ึ เป็นเอกลักษณ์ของชาวอีสาน แต่เดมิ ผญา มักเปน็ คำภาษิต เป็นคำปราชญ์ ต่อมามีผู้
คิดผูกคำผญาเป็นทำนองเกี้ยวพาราสีเพือ่ หลีกเลี่ยงการพูดฝากรักกันตรง ๆ ให้ผู้ฟังสังเกตเอาจากนัย
แห่งคำพูดเอง แล้วพูดโต้ตอบกันด้วยคำในลักษณะเดียวกัน [บุปผา บุญทิพย์, ๒๕๔๗, น.๙๗] ผญามี
ไต้ น้ำมนั ยางและเร่ืองเลา่ จากแสงไต้ โดย ปราณ ปรีชญา ๑๓๓
หลายอย่าง เช่น ผญาภาษิต ผญาเกี้ยว ผญาปริศนา เป็นต้น ชาวอีสานจะไม่ใช้พูดกันใน
ชวี ิตประจำวัน จะพดู กนั ในโอกาสอันสมควรเทา่ น้นั
• บทผญากล่าวเปรียบเปรยแสงของไต้ [กะบอง] กับดวงจันทร์และผู้อาวุโสที่ชาว
อีสานให้ลำดับความสำคัญไว้ ดงั นี้
ช่อื ว่าจันทรเ์ พญ็ แจง้ บ่ปานแสงสรุ เิ ยศ
แสงกะบองหมน่ื เล่มบ่ปานแจง้ แห่งเดอื น
คือดง่ั แนวหลานหล่อนบ่ปานปูนเฒ่าย่า
เดก็ นอ้ ยมตี ง้ั ลา้ นบ่ปานเฒ่าปู่ผู้เดียว [จิรพร ศรีบญุ ลอื , ๒๕๔๖, น.๘๕]
• ผญายา่ สอนหลาน
ยามเม่อื เปน็ หน่มุ น้อย ใหฮ้ ีบฮ่ำเฮยี นคณุ
บาดท่าบญุ เฮามี สใี หญ่สงู ไปหนา้
ไปภายหน้า สหิ าเงนิ ไดง้ า่ ย
ไผผคู้ วามฮตู้ ้นื ภายหน้าสิยากจนฯ
คันแมน่ มคี วามฮู้ เตม็ พุงเพยี งปาก
โตสอนโตบไ่ ด้ ไผสยิ ่องว่าดฯี
คนั แม่นมคี วามรู้ พาโลเฮด็ บ่แมน่
ความฮทู้ ่อแผ่นฟา้ เป็นบ้าทอ่ แผน่ ดนิ
ช่ือวา่ จนั ทร์เพ็งแจ้ง บป่ านแสงสุรยิ ัน
แสงกะบองหมื่นเล่ม บ่ปานแจ้งแห่งจนั ทร์
ที่มา สานสัมพันธว์ รรณกรรมไทยลาว ฟื้นฟูภูมิปัญญาผญาพาม่วน [อุดม บัวศร,ี ๒๕๕๗, น.๒๒]
• คำกลอนสนิ ไซ พรรณนาถึงพระสงฆ์เรยี นธรรม
ถัดนน้ั วหิ ารหอ้ ง มหาสมสารปู
เรอื่ งเรือ่ ล้วน วันเข้มแข่งบุญ
พ่าง ๆ เหลือ้ ม คำพอกพนั หลัง
ยน ๆ ชาวเป็งจาน จดู เทยี มตามไต้
เจดยี ด์ ้ัว เรอ่ื งเล่นลกู งาม
สว่า ๆ สร้าง สงั ฆราชเรยี นทำ
แปลดีกา ข่าวขนั ไขกวา้ ง
วนั แลงเหล้ือน ลงฟงั ธรรมเทศน์
ไต้ น้ำมนั ยางและเรอื่ งเล่าจากแสงไต้ โดย ปราณ ปรชี ญา ๑๓๔
พระพ่อ เจา้ ติ่งสรอ้ ย ใจแจ้งจอดบญุ
สำ่ หน่งึ คองแคบแจง้ ใจประกอบกรรมการ
วนั ที่สมั โพดเพาเพยี มลำ้
ยามเทียมแท้ แสงตาตกต่ำ
เวน้ โลกพ้น ใจแจ้งสอ่ งยาม
ที่มา สานสัมพันธ์วรรณกรรมไทยลาว ฟื้นฟูภูมิปัญญาผญาพาม่วน [ไพวัน มาลาวง (พระอาจารย์),
๒๕๕๗, น.๑๕๐]
• จำ้ หมากม้/ี เลน่ หมากลี้
จ้ำหมากม้ี ไปขี้หมากมน
หกั ขาคน ใส่หนา้ นกกด
หนา้ นกกด หนา้ ลงิ หน้าลาย
หนา้ ผีผาย หน้าลงิ หน้ากอ้ ม ยอ้ มแยะ
หมากตำแหละ เปน็ หมากตอกลาง
(หางนกยงู มาต่อกันได้
ผกั สม้ เสีย้ ว เข้ยี วฟักเข้ยี วฟัน)
นำ้ มนั ยางข้นุ เข้ยี ว เลย้ี วฟกั เล้ียวฟัน
สาวเวียงจนั ทร์ คือแหวนเบอื้ งซ้าย
ยา้ ยออก ตอกแปะ
(ตกโดนใคร เอามอื ปิดตา ใหเ้ พื่อนไปซอ่ น หา้ มพูดแลว้ ตนเองก็เปน็ คนไปหา)
ท่ีมา สานสมั พันธ์วรรณกรรมไทยลาว ฟนื้ ฟภู ูมปิ ัญญาผญาพาม่วน [หงเหนิ ขุนพทิ กั ษ์, ๒๕๕๗, น.๗๓]
ไต้ น้ำมันยางและเรือ่ งเลา่ จากแสงไต้ โดย ปราณ ปรีชญา ๑๓๕
วรรณกรรม [Literature]
วรรณกรรม คือ งานเขียน การเรียบเรียง การเล่า การผูกถ้อยร้อยคำเป็นข้อความหรือการ
แสดงออกผ่านภาษาทั้งที่เป็นร้อยแก้วและร้อยกรอง ดังเช่น การเล่านิทานหรือตำนานด้วยปากเปล่า
ปริศนาคำทาย คำพังเพย ผญา เพลงพื้นบ้าน เรื่องสั้น บทกวี บทละคร บทความ สารคดี คำปราศรยั
สุนทรพจน์ ฯลฯ คำว่า 'วรรณกรรม' ปรากฏขึ้นครั้งแรกในพระราชบัญญัติคุ้มครองศิลปะและ
วรรณกรรม พุทธศักราช ๒๔๗๕ ตราขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗
แทนคำว่า 'วรรณคดี' ที่ใช้มาแตเ่ ดมิ
งานวรรณกรรมท่ีสืบเนื่องหรือเกี่ยวกบั ไต้ บรรยายเหตุการณ์ภายใต้แสงส่องสว่างจากไต้หรือ
การเปรียบเปรยสิ่งใดส่ิงหนึ่งกับแสงสว่างจากไต้ในยุคสมัยนั้นมีหลากหลายประเภททั้งร้อยแก้วและ
ร้อยกรอง อาทิ ศิลาจารึก พงศาวดาร ตำนาน นิทานพื้นบ้าน สำนวน ผญา วรณคดี นิราศ นวนิยาย
เรอื่ งสั้น ฯลฯ ดังน้ี
ไตใ้ นศลิ าจารกึ [Inscription]
ศิลาจารึก เป็นการเขียนหรือจารให้เป็นรอยลึกลักษณะของตัวอักษรหรือภาพบนแผ่นศิลา
[หนิ ] ถอื เป็นวรรณกรรมชนดิ ลายลักษณ์อกั ษรอยา่ งหนึ่ง ศลิ าจารึกที่กลา่ วถึงไตน้ ้ันมหี ลายหลกั อาทิ
• จารึกหลักที่ ๑๐๗ วัดบางสนุก อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ [ภาษาบาลีและภาษาไทย] จารึก
หลักดงั กล่าวมีอายุประมาณพทุ ธศกั ราช ๑๘๘๒
ดา้ นที่ ๑ บรรทดั ที่ ๑๖ จารกึ ไวว้ า่
งพาดสยงกลองแลขนนเขาตอกดอกไมไต
นายประสาร บญุ ประคอง เปน็ ผอู้ ่านและปรวิ รรต ความว่า
งพาทยเ์ สียงกลองแลขันขา้ วตอกดอกไม้ไต้
ไต้ นำ้ มนั ยางและเรื่องเลา่ จากแสงไต้ โดย ปราณ ปรีชญา ๑๓๖
ไต้ นำ้ มนั ยางและเรือ่ งเล่าจากแสงไต้ โดย ปราณ ปรีชญา ๑๓๗
• จารึกหลักท่ี ๘ วดั เขาสุมนกฏู อำเภอเมืองสโุ ขทยั จังหวดั สโุ ขทัย [อกั ษรไทยสุโขทัย] จารึก
หลักดังกลา่ วมอี ายุประมาณพทุ ธศกั ราช ๑๙๑๒
ดา้ นที่ ๒ บรรทัดท่ี ๙ จารึกไว้ว่า
มไตทยนปรทบี
ศาสตราจารย์ยอรช์ เซเดส์ [George Coedes] เปน็ ผ้อู ่าน
และปริวรรต ความว่า
มไต้เทยี นประทีป
• จารึกหลักที่ ๖๒ วัดพระยืน อำเภอเมืองลำพูน จังหวัด
ลำพูน [อักษรไทยสุโขทัย] จารึกหลักดังกล่าวมีอายุประมาณ
พทุ ธศกั ราช ๑๙๑๓
ด้านที่ ๑ บรรทดั ท่ี ๒๔ จารกึ ไว้วา่
กไมไตทยนตพี าดดงงพินคอง
กลองปีสรไนพิสเนญไชยท
นายฉำ่ ทองคำวรรณ เป็นผอู้ ่านและปรวิ รรต ความว่า
กไมไ้ ต้เทยี น ตีพาทยด์ ังพณิ ฆอ้ ง
กลองปี่สรไน พิสเนญชัย ทะ–
ทม่ี า ประชมุ ศลิ าจารึก ภาคท่ี ๓ [คณะกรรมการกรรมการจัดพิมพ์
เอกสารทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และโบราณคดี สำนัก
นายกรฐั มนตร,ี ๒๕๐๘, น.๑๓๗–๑๔๓]
หมายเหตุ
ป่สี รไน ปี่ไฉน
พิสเนญชัย คำว่า พิสเนญ น่าจะเป็น ปีเสนง หรือ เขนง ซึ่งขอมเรียกว่า แสฺนง ได้แก่
เขาววั เขาควายที่ใชเ้ ป่า [ชัย เป็นคำประกอบ]
ไตใ้ นพงศาวดาร [Chronicle]
พงศาวดาร เป็นคำเก่าที่ใช้มานานเท่าที่ปรากฏเป็นหลักฐานพบในหนังสือประวัติ
กระทรวงศึกษาธิการ พุทธศักราช ๒๔๓๕–๒๕๐๗ มีข้อความกำหนดในหลักสูตรเป็น ๑ ในวิชาท่ีต้อง
เรียนปีพุทธศักราช ๒๔๓๘ คือวิชา 'พงศาวดาร' ซึ่งว่าด้วยความเป็นมาหรือเร่ืองราวของประเทศชาติ
ราชบณั ฑิตยสถานให้ความหมายของพงศาวดารไว้วา่ คือ เรอ่ื งราวของเหตุการณ์เกย่ี วกบั ประเทศชาติ
ไต้ นำ้ มนั ยางและเรือ่ งเลา่ จากแสงไต้ โดย ปราณ ปรชี ญา ๑๓๘
หรือพระมหากษัตริย์ผู้เป็นประมุขของประเทศชาตนิ ัน้ เช่น พงศาวดารกรุงศรีอยุธยา พงศาวดารกรุง
รัตนโกสินทร์ [ราชบณั ฑิตยสถาน, ๒๕๕๖, น.๘๐๐]
พงศาวดารเหนือเป็นตำนานที่เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับบ้านเมืองตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ ตั้งแต่ครั้งยังดำรงพระเกียรติยศเป็นกรม
พระราชวังบวรสถานมงคล มีรับสั่งให้พระวิเชียรปรีชา [น้อย] เป็นผู้รวบรวมเรื่องมาเรียบเรียงเมื่อปี
เถาะ นพศก จุลศกั ราช ๑๑๖๙ [พุทธศกั ราช ๒๓๕๐]
"...หนังสือที่รวมเรียกว่าพงศาวดารเหนือนี้ ที่จริงเป็นหนังสือหลายเรื่องมีมาแต่ครั้งกรุงเก่า
แตเ่ ดมิ ดูเหมอื นจะจดจำไวเ้ ป็นเร่อื งต่าง ๆ กัน ไดเ้ คยเหน็ มาบางเรอ่ื งมีอย่ใู นที่อ่ืน จะพึ่งเอามารวบรวม
แลแต่งหัวต่อเชื่อมให้เปน็ เร่ืองเดียวกัน เมื่อครั้งพระบาทสมเดจ็ พระพุทธเลศิ หล้านภาลัยรับส่ังให้พระ
วิเชียรปรีชาเรียบเรียง วิธีเรียบเรียงอยู่ข้างจะไขว้เขวสับสน บางทีเรื่องเดียวกันเล่าซ้ำเป็นสองหนก็มี
หนงั สอื พงศาวดารเหนือน้ี พระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกล้าเจา้ อยู่หวั มรี บั ส่ังให้พมิ พ์เป็นคร้ังแรกเม่ือ
ปีมะเส็ง เอกศก จุลศักราช ๑๒๓๑ พ.ศ. ๒๔๑๒ มีเรื่องตำนานพระแก้วมรกตติดอยู่ข้างท้ายด้วย ใน
การพิมพ์ใหม่ครั้งน้ี [พ.ศ. ๒๔๕๗] เพ่ือจะให้สะดวกแก่ผู้อ่าน ข้าพเจ้าได้ลงชื่อเรื่องไว้ทุก ๆ เรื่องใน
พงศาวดารเหนือ แลเรื่องที่เล่าซ้ำกันได้ตัดออกเสีย แต่ขอให้ผู้อ่านเข้าใจว่าหนังสอื พงศาวดารเหนอื น้ี
พิมพ์ตามฉบบั เดมิ ข้าพเจ้าไมไ่ ด้สอบสวนลงเนอื้ เห็นความจรงิ เทจ็ ของเร่ืองราวไว้ในท่ีน้ี..." [สมเด็จพระ
เจ้าบรมวงศเ์ ธอ กรมพระยาดำรงราชานภุ าพ, ๒๕๐๑, น.คำนำ]
เรื่องพระร่วงเมืองสุโขทัย ในพงศาวดารเหนือ กล่าวถึงประวัติพระร่วงว่าเป็นกษัตริย์ครอง
กรุงสุโขทัย มีพระบิดาเป็นมนุษย์ ทรงพระนามว่าพระยาอภัยคามมะนี ผู้ครองนครหริภุญไชย ส่วน
พระมารดาเป็นนางนาค บางตำนานว่านายร่วงเป็นบุตรของนายคงเคราผู้เป็นนายกองส่วยน้ำของ
เมืองละโว้ ที่มีหน้าที่คุมไพร่พลตักน้ำจากทะเลชุบศรไปถวายพระเจ้าปทุมสุริยวงศ์ ณ เมืองขอม เมื่อ
บิดาเสียชีวิต นายร่วงได้เป็นนายกองส่งส่วยน้ำแทนบิดาเห็นว่าการขนส่งส่วยน้ำนั้นลำบาก จึงให้คน
สานชะลอมแล้วเอาไปจุ่มในน้ำและสั่งให้น้ำขังอยู่ในชะลอมไม้ไผ่สานได้ เมื่อกษัตริย์เขมรทราบเรื่อง
เกรงว่านายร่วงจะตั้งตัวขึ้นเป็นใหญ่จึงให้ผู้มีฝีมือไปจับตัว นายร่วงหนีไปบวชอยู่ที่วัดมหาธาตุ เมือง
สโุ ขทัย ผ้ทู ีต่ ามมาจบั ตัวได้ดำดินมาโผล่ใกล้ที่พระร่วงกำลังกวาดลานวัดอยู่ แลว้ ถามหา พระร่วงจึงส่ัง
ให้คอยอยู่ที่นั้นจนกลายเป็นหินไป เรื่องเกี่ยวกับพระร่วงจากหลาย ๆ ตำนานมีความสอดคล้องกัน
และยกใหพ้ ระรว่ งเปน็ ผู้มวี าจาสทิ ธิ์ จงึ กล่าวได้ว่าพระร่วงเปน็ บคุ คลสมมตุ ิทางประวัติศาสตร์
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ได้ทรงแถลงไว้ตามตำนานและ
สนั นิษฐานโบราณคดปี ระกอบพระราชนพิ นธ์บทละครเรอื่ งพระร่วงหรือขอมดำดนิ ดงั นี้
“...พระร่วงน้ีได้เป็นทง้ั พระเจา้ แผ่นดินและเป็นวีรบุรุษเป็นผู้มีสติปัญญาไหวพริบ เช่นการคิด
ภาชนะอย่างใหม่ขึ้นใช้ตักน้ำ ท่ีเรียกว่าชะลอม นั้น น่าจะมุ่งความแตเ่ พียงว่าเป็นภาชนะทีส่ านด้วยไม้
อยา่ งชะลอม ไม่ใชป่ ้นั ดว้ ยดินอย่างตุ่มหรือโอ่งและไมใ่ ช่เปน็ ชะลอมตาห่าง ๆ อยา่ งใช้ใส่ผลไม้ คงเป็น
ไต้ น้ำมนั ยางและเรอ่ื งเล่าจากแสงไต้ โดย ปราณ ปรชี ญา ๑๓๙
ตาถี่ ๆ และมีชันทาภายในจึงตักน้ำได้ไม่รั่ว กล่าวโดยย่อ คือพระร่วงเป็นผู้คิดทำกระออมหรือครุข้ึน
เปน็ ของคดิ ขนึ้ ใหม่ จึงพากนั ต่ืนเต้นเหน็ เป็นของวิเศษ ทีว่ าจาสทิ ธ์นิ ้ันก็น่าจะอธิบายไดว้ ่า พระร่วงเป็น
ผู้ที่พลเมืองนิยมนับถือมาก จะมีบัญชาสั่งอะไรก็เป็นไปตามบัญชาการทุกประการ...” [กรมศิลปากร,
๒๕๕๕, น.๑๕๙–๑๖๐]
ขอมดำดนิ หรือตำนานเร่ืองพระรว่ งเมืองสโุ ขทัยนนั้ ไมม่ ีเร่ืองเกี่ยวข้องกับไต้จุดไฟ แต่มีการใช้
น้ำมันยางมาทาชะลอมไม้ไผ่สานหรือครุสำหรับใช้ตักน้ำส่งส่วยทำให้น้ำขังอยู่ในชะลอมได้จนเป็นที่
อศั จรรยต์ อ่ กษตั รยิ ์เขมร ความดังกล่าวในพงศาวดารเหนอื วา่ ไวด้ งั นี้
• เร่ืองพระรว่ งเมอื งสโุ ขทัย
๏ ขณะนั้นบุตรพระยาร้อยเอ็ดเป็นนายส่วยน้ำถึงแก่พิราลัย ขณะนั้นนายคงเคราเป็นสว่ ยนำ้
เสวยเมืองละโว้ไปส่งเมืองกัมพชู าธิบดี สามปสี ง่ ทีหนง่ึ แตน่ ั้นมานายคงเคราคมุ ไพร่ ๓๐๐ คนรักษาน้ำ
เสวยอยูใ่ นทุ่งทะเลชุบศร มีเรือเล็กร้อยหนึง่ นายคงเครามีบุตรคนหนึ่ง อายุ ๑๑ ขวบ ชื่อนายร่วง แต่
ชาติกอ่ นเอาผลมะทรางทำน้ำอัฐบานถวายพระโกนาคมพุทธเจ้า จึงว่าไรเปน็ น้ัน ครัน้ อยู่มาน้ำมากเอา
เรือพายเลน่ ในท้องพรหมมาศเหนื่อยแลว้ ขน้ึ มา จงึ วา่ น้ำลงเชี่ยวนัก ใหไ้ หลกลับไปถึงเรือนเราเถิด พอ
ตกค่ำลงน้ำก็ไหลกลับมาส่งบ้าน นายร่วงเห็นดังนั้นก็นิ่งอยู่ ครั้นอยู่มานายคงคุมไพร่เป็นนายกองน้ัน
ตาย ไพรท่ ้ังปวงจึงยกนายร่วงบุตรนายกอง เป็นนายกองบังคับไพรต่ อ่ มา
ครัน้ อยมู่ าครบคำรบ นกั คมุ้ คุมเกวียน ๕๐ เลม่ กบั ไพร่ ๑๐๐๐ หน่งึ มาบรรทกุ น้ำเสวยพระเจ้า
พันธุมสุริยวงศ์สืบมา ลุ้งน้ำเล่ม
ละ ๒๕ ใบ ครั้นมาถึงที่สระน้ำ
นั้นก็จอดเกวียนพร้อมกัน จึง
ให้หานายกองให้เปิดประตูจะ
ตักน้ำ หาพบนายกองไม่ ถาม
ไพร่ ๆ บอกว่านายร่วงบุตร
นายคงเป็นนายได้รักษา จึง
บอกนาย ๆ ก็มาพูดจากับนัก
คุ้มว่าลุ้งน้ำเอามาหนักเสีย
เปล่า ครั้งนี้ไขว่ชะลอมใส่ไป
เถิด จะได้มากได้พอนานจึงมา
ตักนักคุ้มก็ตอบว่าตาห่างจะขัง
น้ำได้ฤๅ นายร่วงว่ากลัวจะไม่มี
ที่ใส่อีก นักคุ้มกลัวก็รับ จึง
ไต้ นำ้ มันยางและเร่ืองเลา่ จากแสงไต้ โดย ปราณ ปรีชญา ๑๔๐
เกณฑ์สานชะลอมเล่มละ ๒๕ ใบ ให้นักคุ้มนำกราบทูลพระเจ้าละแวกเถิด ครั้นกำหนดจะกลับจึงเปิด
ประตู เอาชะลอมลงจุ้มน้ำยกขึ้นใส่เกวียนบรรทุกลงแล้ว นักคุ้มกลัวก็ยกไปจากที่นั้น ครั้นแรมรอน
มาถงึ แดนด่าน คนคมุ นำ้ มาสงสยั ในใจอยู่วา่ ชะลอมจะขงั น้ำได้ฤๅ บันดาลใหน้ ำ้ ในเล่มเกวียนน้ันไหลลง
เห็นทั่วกันจึงสรรเสริญ ฉะนั้นจึงจารึกลงไว้ ที่นั้นจึงเรียกว่าด่านพระจารึก จึงยกไปทางตึกโช ครั้นถึง
เมืองเข้าแล้วผู้คนเล่าลอื กันว่าเอาชะลอมบรรทุกมาไม่มีน้ำ พระเจ้ากรุงกัมพูชาจึงเอานักคุม้ นายกอง
คุมเกวียนไปถามกท็ ลู ทุกประการ ยกชะลอมน้ำแกล้งเทลงในเพนยี งจนไมม่ ีทีใ่ ส่ เสนาอำมาตย์จึงกราบ
ทลู พระเจา้ กัมพูชา ๆ ตกพระทัยว่าผู้มีบุญมาเกิดแล้วเราคิดว่าจะจับตัวฆ่าเสียให้ได้ เสนาพฤฒามาตย์
ราชปุโรหิตพระยา พระเขมร ก็เห็นดว้ ยจึงเกณฑ์ทพั เมืองขอมไปตามจบั ขอมรบั อาสาตามจับ นายรว่ ง
รู้ข่าวดังนั้นก็หนีไปถึงแดนเมืองพิจิตรไปอาศัยเขาอยู่ริมวัดขอข้าวชาวบ้านกิน ชาวบ้านเอาข้าวมา
ให้แก่นายร่วงกับปลาหมอตับหนึ่ง นายร่วงอดอาหารมาก็กิน หยิบปลาข้างละแถบแล้วโยนลงไปใน
สระให้ปลาเป็นว่ายไป จนคุ้มเท่าบัดนี้ นายร่วงก็หนีไปจากที่นั้นไปอาศัยอยู่วัดเมืองสุโขทัยพอได้
อุปสมบทสมภารจึงเรี่ยรายชาวบ้าน เอานายร่วงอุปสมบทเป็นภิกขุ จึงเรียกพระร่วง ขอมดำดินมาถึง
เมืองละโว้ที่สระน้ำเสวยนั้น ถามชาวบ้านว่านายร่วงนายกองส่วยน้ำอยู่ฤๅชาวบ้านบอกว่าขึ้นไปเมือง
เหนือ ขอมรู้ดังนั้นก็ยกแยกกันไป ครั้นไปถึงเมืองสวรรคโลกถามชาวบ้านว่านายร่วงมาแต่เมืองใต้มา
อยู่น่ีฤๅ ชาวบ้านบอกว่าเขาเล่าลือกันว่าไปอยู่เมืองสุโขทัยบวชเป็นภิกขุอยู่ ขอมได้ความดังนั้นก็ไป
เมืองสุโขทยั ผุดขึ้นกลางวัด พอพระร่วงมากวาดวัดอยู่ ขอมจึงถามว่าพระรว่ งอยู่ไหน พระร่วงบอกวา่
อยู่น่ีเถดิ จะบอกใหข้ อมก็อยู่ทนี่ ั้นเป็นหนิ อยู่คุม้ เทา่ บดั นี้
พระพุทธศักราช ๑๕๐๒ ปี เจ้าเมอื งสุโขทยั ทวิ งคต เสนาบดีประชมุ กันวา่ วงศานวุ งศ์ไมม่ ีแล้ว
เราจะเห็นผู้ใดเล่า เห็นแต่พระร่วงบวชอยู่วัด ก็เห็นด้วยอยู่พร้อมกันจึงเสนากรมการพร้อมกันไปวัด
อันเชิญพระร่วงเจ้าลาผนวชแล้ว รับพระร่วงเข้ามาครองกรุงสุโขทัย พระยาศรีจันทราธิบดี จึงยกพล
ขึ้นไปเมืองสาวัตถี จึงเอาอ่างแก้วที่วัดสวรรค์ทารามไปลูกหนึ่งกับพระไตรปฎิ ก ครั้นไปถึงเมืองฉเชียง
หลวง จึงให้เอวงาช้างเผือกงาดำมาแกะเป็นรูปพระร่วง กับเขี้ยวงูใหญ่ ทั้งพระไตรปิฎก กับพระบรม
ธาตุของพระพุทธเจา้ ท้งั อา่ งแกว้ มาบรรจุไว้ที่หินปูนใช้ได้ ๑๐๒ ปี พระองคส์ วรรคต
ทมี่ า พระราชพงศาวดารเหนือ [กรมศิลปากร, ๒๕๐๑, น.๑๘–๒๐]
ไตใ้ นตำนาน [Legend]
ตำนานหรือตำนานพื้นบ้าน หมายถึง เรื่องเล่าหรือนิทานสั้น ๆ ที่เล่ากันในท้องถิ่นใดท้องถ่ิน
หนึง่ มีเนอ้ื หาที่เชอื่ กันว่าเป็นเรอ่ื งราวหรอื เหตุการณ์ที่เกิดขนึ้ จริง [เสาวลักษณ์ อนันตศาสตร,์ ๒๕๕๘,
น.๒๕] ตำนานเปน็ สว่ นหน่ึงของวัฒนธรรมซึง่ สะท้อนใหเ้ ห็นถึงวิถีชวี ิตและความเชื่อของคนพื้นบ้านใน
ท้องถิ่นที่มีการเล่าเรื่องนั้น เนื้อหาของตำนานส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ ความเชื่อ และ
ไต้ นำ้ มนั ยางและเรอื่ งเล่าจากแสงไต้ โดย ปราณ ปรชี ญา ๑๔๑
สิ่งที่เหนือธรรมชาติ ตำนานสามารถเคลื่อนย้ายในลักษณะของการแพร่กระจายจากที่หนึ่งไปยังอีกท่ี
หนึง่ ได้
• ตำนานเรอื่ งภูบ่อบิด
วันหนึ่งขณะที่ชายคนหนึ่งกำลังเที่ยวป่าล่าสัตว์ และได้หลงเข้าไปในถ้ำนั้น เขานึกอยากจะ
เที่ยวชมถ้ำ จึงหาวัตถุมาทำเป็นคบไฟเพื่อส่องทางเข้าไป เขาเข้าไปถึงโพรงลึกก้นถ้ำได้เห็นสมบัติ
มากมายมหาศาลกด็ ใี จมาก รบี ตรงจะเขา้ ไปเอาสมบัตินั้น
ทันใดนั้นปิศาจที่เฝ้ารักษาสมบัติก็ปรากฏตัวขึ้น และมีท่าทางโกรธแค้นชายคนนั้นมาก แต่
ชาบคนนั้นก็อยากได้สมบัติเหลือเกิน จึงอ้อนวอนกราบไหว้จนปิศาจใจอ่อน อนุญาตให้นำสมบัติไปได้
แต่มขี ้อแม้วา่ ชายคนนน้ั จะต้องเปลือยกายเขา้ ไปขนเอาของมีค่าออกมา หา้ มไมใ่ ห้ใช้อะไรห่อหรือหอบ
หิ้วออกมาเป็นอันขาด ชายคนน้ันก็ปฏิบัติตาม เขาพยายามใช้ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายนำของมีค่า
ออกมา เช่น ใส่ปาก ยัดในรูหู หนีบรักแร้ หนีบใต้คาง ใช้มือกอบ ก็นำของมีค่าออกมาได้มาก
พอสมควร
ข่าวเรื่องการได้สมบัติของชายคนนั้นกระจายไปในละแวกใกล้เคียงอย่างรวดเร็ว คนอื่น ๆ
อยากจะได้สมบัติบ้าง ก็ไต่ถามชายคนนั้น แล้วก้พากันไปที่ถ้ำ ปิศาจที่รักษาสมบัติเห็นคนแห่กันมา
มากมายเชน่ น้ันกเ็ หน็ ใจ จึงออกปากอนุญาตให้ขนสมบัติไปได้ แตต่ ้องปฏบิ ตั ติ ามคำขอของปศิ าจอย่าง
เคร่งครดั คอื ใหเ้ ปลอื ยกายเขา้ ไปขนสมบัติ ห้ามใชภ้ าชนะใด ๆ มาขน หา้ มหญงิ ชายพูดจาเกยี้ วพาราสี
และถูกเนื้อต้องตวั กัน หากฝ่าฝนื ข้อห้ามน้ีอาจจะเกิดเหตุรา้ ยแรงขึน้ ได้ พวกชาวบา้ นก็ยอมและกราบ
ไหวป้ ิศาจดว้ ยความยนิ ดี
ชาวบ้านที่เข้าไปขนสมบัติต้องใช้ไต้หรือคบไฟส่องนำทาง ในช่วงสองสามวันแรกเหตุการณ์
เป็นไปอยา่ งเรียบร้อย ต่อมาเมื่อชาวบ้านที่อยู่หมู่บ้านใกล้เคียงทราบขา่ ว ตา่ งก็พากันไปขนสมบัติเป็น
จำนวนมาก จนกระทง่ั วนั หนึ่ง มผี ู้คนหลง่ั ไหลมาขนสมบัตอิ ย่างเคย ในจำนวนน้ันมีสามเณรอยู่รูปหน่ึง
สามเณรรูปนเี้ ปน็ ผมู้ คี าถาอาคมเกง่ กล้าและมีศลี ธรรม
ขณะทีผ่ ู้คนที่เปลือยกายหมดกำลังส่องไฟและคลานลอดโพรงหินในถ้ำตามกันไปอยูน่ ้ัน มีชาย
หนุ่มใหญ่คนหนึ่งคลานตามหญิงสาวสวยคนหนึ่งไปติด ๆ แล้วก็เห็นอวัยวะเพศของหญิงสาว เขาจึง
เกิดความกำหนัดขึ้นมาจนอดรนทนไมไ่ ด้ จึงเอื้อมมอื ไปบิดอวัยวะเพศของหญิงสาวทนั ทีอย่างลืมตัว
หญิงสาวทั้งตกใจทั้งโกรธ เธอหันมาต่อว่าชายหนุ่ม ในทันทีทันใดนั้นเองก็มีเสียงดังเหมือน
ก้อนหินเลื่อนภายในถ้ำ และมีก้อนหินใหญ่มหึมาพังลงมาปิดปากถ้ำขังผู้คนที่กำลังเข้าไปขนสมบัติ
ต่อมาคนเหล่านี้ก็เสียชีวิตอยู่ในถ้ำ ส่วนคนที่อยู่ข้างนอกพอได้ข่าวก้อนหินถล่มก็ตกใจพากันเอาจอบ
เสียมมาช่วยกันขุดถากก้อนหินที่ปิดปากถ้ำอยู่หลายวัน แต่หินนั้นหนาและแข็งมาก ขุดอย่างไร ก็ไม่
สำเรจ็ คงมแี ตร่ อยจอบเสียมขนาดใหญ่ตดิ อยู่ทหี่ น้าผาทภี่ บู อ่ บดิ มาจนทุกวันน้ี
ไต้ นำ้ มนั ยางและเรอ่ื งเลา่ จากแสงไต้ โดย ปราณ ปรชี ญา ๑๔๒
ฝ่ายสามเณรที่เข้าไปติดอยู่ข้างในด้วยคงจะชะตายังไม่ถึงฆาต หรืออาจเป็นเพราะมี
คาถาอาคมดีและเป็นคนดี ก็บังเอิญคลำไปพบช่องทางแคบ ๆ พอดีตัว มีน้ำไหลซึมอยู่ จึงยึดเอาทาง
น้ำไหลนั้นเป็นทางเดินออกจากถ้ำ เมื่อเดินมาได้สักพัก เท้าก็ไปเหยียบไม้คานอนั หนึ่งเข้า สามเณรจึง
ใช้ไม้คานนั้นคลำทางมาตามซอกหินใต้บาดาล เดินอยู่ราว ๑๕ วัน ก็มาถึงบริเวณหนึ่ง ได้ยินเสียงโค
กระบือเลม็ หญ้าอยู่เหนือศีรษะ เข้าใจวา่ เปน็ บริเวณท่ีพ้ืนดนิ บางมากจึงร่ายคาถาอาคมพร้อมกับพุ่งไม้
คานกระท้งุ ดินข้างบน ทำให้ดนิ แยกออกเปน็ รูกวา้ ง สามเณรก็ออกมาจากถ้ำใตด้ นิ ได้
สถานที่ทส่ี ามเณรโผล่ขน้ึ มานัน้ เรียกว่า กุด ป่อง ซ่งึ มลี กั ษณะเป็นลำน้ำหรือสายน้ำท่ีเคยเป็น
ห้วยหรือคลองและมีช่องทะลุขึ้นมา ส่วนชื่อภูบ่อบดิ นั้น อาจมาจากลักษณะของภูเขาและโพรงถ้ำทีม่ ี
รูปบิดเบี้ยวคดเคี้ยวไปมา หรืออาจมาจากภูบ่าวบิด ซึ่งหมายถึง การที่ชายหนุ่มบิดของลับของผู้หญิง
แล้วกลายมาเป็น ภบู ่อบดิ [เสาวลักษณ์ อนนั ตศาสตร,์ ๒๕๕๘, น.๑๔๘–๑๕๐]
ไตใ้ นนทิ านวชริ ญาณ
นิทานวชิรญาณ เป็นวรรณกรรมร้อยแก้วประเภทบันเทิงคดี [Fiction] ที่มีคุณค่าท้ังเนื้อหา
สาระและประเทอื งอารมณแ์ กผ่ ู้อา่ น กำเนิดในรชั สมยั พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจา้ อยู่หัว เรยี บ
เรียงเรื่องราวต่าง ๆ เป็นสำนวนร้อยแก้วหรือร้อยกรองโดยบรรดาสมาชิกวชิรญาณ สโมสรแห่งวิชา
ความรู้และแบบแผนราชการทั้งเก่าและใหม่ งานเขียนทุกเรื่องผ่านการคัดเลือกจากกรรมการของหอ
พระสมดุ วชิรญาณ เรียกว่า 'กรรมสัมปาทกิ ' ก่อนการตพี ิมพ์
เรื่องปลาด จุดไต้ตำตอ ลงพิมพ์ในวชิรญาณวิเศษ เล่ม ๙ แผ่นที่ ๑๓ วันพฤหัศบดีที่ ๒๕
เดือนมกราคม รัตนโกสินทร์ ศก ๑๑๒ [พุทธศักราช ๒๔๓๖] การดำเนินเรื่องใช้บทสนทนาของตัว
ละครด้วยคำพูดแบบเก่า [โบราณ] ในขณะนั้นเป็นหลักโดยให้เหตุการณ์สอดคล้องกับสำนวนและชื่อ
เร่ืองวา่ จดุ ไตต้ ำตอ
• เรอื่ งปลาด จุดไต้ตำตอ
จำเดิมในกาลเมื่อเวลาวันหนึ่งมีหญิงสองคนขึ้นรถรางนั่งมาด้วยกัน แม่ปานจึ่งถามแม่จุ้ยว่า
เออหล่อนรู้เรื่องการหยาบช้าของนายอุ่นที่เขาทำการกดขี่ และหยาบคายต่อแม่สุดภรรยาของเขาแล
บตุ รของเขาบา้ งหรือเปล่า แมจ่ ้ยุ กระซบิ พาว ๆ พดู เสียงกระสบั กระสา่ วหนา้ ตาประหมา่ เข้าไปกระซิบ
ที่หูแม่ปานว่าอย่าพูดให้มันดังนักสิหล่อน แม่ปานทำไก๋ไม่ยักรู้สึกกลับพูดดังหนักไปอิกว่า ฉันเชื่อว่า
ความที่เขาเล่าฦากันนั้น เปนความจริงทั้งสิ้น เขาว่ากันว่า นายอุ่นนั่นใจฅอชั่วร้ายเหี้ยมโหดแท้ ๆ แม่
สุดเมียของเขาหนะ แต่จะขออัฐซื้อกินก็ไม่ค่อยจะได้แต่สักอัฐสักฬด กว่าจะขอได้แต่ละเฟื้องก็ต้องนั่ง
อ้อนวอนกันเสียแย่ตารักทีเดียว ยิ่งกว่าขอทานเงินสัก ๑๐ ชั่งอีก ถ้าบทเขาจะให้ขึ้นมาละก้อไม่ได้มี
พูดจายิ้มแย้มหละ ลุกขึ้นได้ก็โยนทิ้งรดหัวให้ ประดุจดังอ้ายคนตระหนี่เหนียวแน่น ทิ้งก้างให้สุนัข
อย่างนั้นและ แม่จุ้ย พุทโธ่แม่ปาน อย่าพูดให้มันดังนักสิหล่อน แม่ปาน แม่สุดนั้นหนา มันนุ่งผ้าสอง
ไต้ น้ำมันยางและเร่อื งเล่าจากแสงไต้ โดย ปราณ ปรชี ญา ๑๔๓
ผืนผลดั มาสักสองสามปแี ลว้ ได้ดอกกระมัง หรือจะกวา่ เสยี อีก เห็นมนั ประเชินแล้วประเชินเล่ากว่าร้อย
ตอ่ พันตอ่ อกิ แต่ผ้าสองผนื นีม้ นั ยงั ไมถ่ ึงดดี อก อ้ายเสอื้ กระบอกของเขาตวั หน่งึ หนะมันดีถึงเทศแท้หละ
ถ้าเป็นลายครามก็คงเปนชิ้นผา้ แดงหรอื เชีย่ งฮ้อเป็นแน่ ดีกว่าไปกมิ ตึ๊งเสียอิก แม่สุด เขาใส่ไปหาฉันท่ี
บ้านเมื่อวานซืนนี้ แม่นั่นก็เหลือเหตุหละช่างเหลือรักผัวเสียจริง ๆ ยังมีหน้ากลับมาคุยกับฉันได้ ว่า
เสื้อกระบอกตัวนั้นเขาใส่มา ๒๘ ปีแล้ว แม้คิดไปดูอายุของเสื้อกระบอกนั้น มันรุ่นราวคราวเดียวกัน
กับอายขุ องเจ้าจำเริญลูกฉันน่นั แน่ แม่จยุ้ หลอ่ นคิดดูทีหรือ วา่ เจา้ จำเรญิ นน่ั มนั โตเท่าไรหละ มีลูกเปน
๖ คน ๗ คนแล้วไม่ใช่หรือ อายุเสื้อของแม่สุดเขาเก่าแก่อย่างนั้นแลว้ เขาบอกแก่ฉันว่าเขาขอผัวเขา
เปลี่ยนใหม่สักตัวหนึ่ง ผัวเขาก็ไม่ยักปราร์ถนาให้ ถ้าผัวเราเปนอย่างนี้บ้างจะทำอย่างไรหาแม่จุ้ย แต่
ฉันหนะถ้าพ่อปลอดมันมาทำใจดำอัมหิดกับฉันอย่างนายอุ่นเขาทำกับแม่สุดแล้ว อย่านึกเลยหนะไม่
เขาก็เราไม่เราก็เขาเปนได้เล่นกันย้ำเหยอหละ ถ้าเขาเปนใจไม้ไส้ระกำอย่างน้ี เราจะมานั่งงอตีนงอ
มือเปนพระอิฐพระปูนอย่างแม่สุดอย่างนั้นไม่มียอมเสียหละ ฉันบอกแม่จุ้ยจริง ๆ หนา ในชาติน้ีหนะ
เรื่องผัวแล้วเปนไม่มียอมเสียเลยดีก็ดีต่อกัน ไม่ดีก็ไม่ดีต่อกันเท่านั้น นี่แม่สุดมันช่างกระไรช่างนั่งนิ่ง
เปนตุ่นเปนเตา่ เปนเบอ้ื เปนใบ้ กลวั เกรงผวั เสยี จริง ๆ พ่ออ่นุ นัน่ หนามนั เปนคนชาตโิ หดเหยี้ ม ใจเขาชว่ั
เองนั่นและ มใิ ชเ่ ขายากจนอยเู่ ม่ือไร เขาทำมาหากินไดถ้ มเถ เขามั่งมกี ว่าผัวหล่อนแหละผัวฉันเสียอีก
แตม่ นั เปนคนชาติใจหิณน่นั เองมนั ถงึ ได้ตระหนเี่ หนยี วแน่นนกั เห็นเงินบาทเทา่ น่าแข้งหัวเข่าไปทีเดียว
แม่จุ้ย โปรดพูดเบา ๆ สักหน่อยเถอะแม่ปาน แม่ปานทำไก๋เฉยเปนทองไม่รู้ร้อน เสียงก็ไม่รู้จักแหบ
ด้วย อ้ายเรื่องลูกของเขาหนะหล่อนไมเ่ ห็นหรือแม่จุ้ย วิ่งออกพล่านเปนทะโมนไปตามกันทัง้ นั้น โต ๆ
จนเกอื บเท่าวัวเท่าควายหละโรงเรียนกย็ ังไม่ได้เข้า กอ ขอ้ ก็ยงั ไม่กระดิกหเู สยี อีกดอกกระมัง ฉันถาม
แม่สุดเขาวันหนึ่ง ว่าทำไมอ้ายลูกก็โต ๆ แล้ว เหตุใดถึงไม่ให้ไปเล่าเรียนหนังสือหนังหาบ้าง เขาพูด
หน้าเฉยบอกว่าไม่มีเครื่องจะแต่งตัวตัวจ้ะ จะให้ไปเล่าเรียน มันไม่มีเครื่องแต่งเนื้อแต่งตัวเทียมหน้า
เพื่อนเขาจะให้มนั ไปก็นึกกระดาก ขอเงินพอ่ เขาจะซ้ือจะหาให้มันบา้ งเขาก็ไม่ให้ เพราะฉนแ้ี ลถึงให้มัน
วิ่งอยู่กับบ้าน เพราะการแต่งเนื้อแต่งตัวมันไม่ค่อยจะเปลือง ให้มันนุ่งแต่กุงเกงขาก๊วยตัวเดียวก็
พอแล้ว พ่อเขาก็เต็มที อ้ายลูกเข้ามาถึงพ่อเข้าละก้อราวกะหนูกับแมวทีเดียว ดูมันราวกับเปนศัตรู
กาลกณิ ีกนั มาแต่ชาตไิ หนก็ไม่รู้ พอลกู เข้ามาใกลพ้ อ่ เขาละดุแว๊ดทเี ดยี ว ข้างเจ้าลูกก็เปิดสดุ กู่ สดุ ลิ่มสิน้
ประตูหมดเสียงสังข์ทีเดียว ไม่ได้เข้ามาใกล้พ่อเข้าได้หละ แม้ฉันได้ยินแม่สุดเขาเล่าอย่างนั้นแล้ว ดู
ใจฅอมนั น่าสลดจรงิ ๆ ดูเปนท่นี ่าสงสารอ้ายเด็ก ๆ พวกน้นั แท้ ๆ แตอ่ ย่างนัน้ ยงั ไม่พอ แมส่ ดุ เขายงั มา
นั่งปรับทุกข์กับฉันต่อไปอิกว่านี่ก็จวนตรุศแล้ว จะขอเงินนายอุ่นเขามาซื้อของทำบุญให้ทานบ้าง เขา
จะให้หรอื ไมใ่ ห้กย็ งั ไมร่ ู้ พวกลูก ๆ หนะเคร่อื งแตง่ เน้ือแต่งตวั ก็ไม่มดี ชู า่ งวจิ ารแท้ ๆ กลวั ลกู จะไม่ได้ไป
วัดทำบญุ ให้ทานดว้ ย จะขอเงนิ ทีผ่ ัวกก็ ลัว เขาจะใหห้ รือไมใ่ ห้ก็ยงั ไมร่ ู้ อา้ ยฉนั หรือกอ็ ตุ ตริกลบั ไปเตือน
เขาอีก วา่ ถา้ ขอผัวเขาไมใ่ หก้ ็ไปเท่ยี วขอทานตามเพ่ือนบา้ นก็คงจะไดเ้ งินมาทำบุญบา้ งดอกกระมงั บาง
ทีบุญของหลอ่ นท่ีไดท้ ำทานมัยนั้น ไปชาติน่ากศุ ลคงจะส่งให้หล่อนได้ผัวดีขึน้ กว่าน้ีอกี สกั สองเทา่ ดอก
ไต้ น้ำมันยางและเรอ่ื งเล่าจากแสงไต้ โดย ปราณ ปรีชญา ๑๔๔
กระมัง แม่จุ้ยสกิดแกรก ๆ ในทันใดนั้นเสียงผู้ชายข้างน่ารถร้องบอกว่าคนขับรถหยุดฉันจะลงที่นี่
แหละ พอรถหยดุ ผชู้ ายคนนน้ั กล็ งจากรถไป แมจ่ ุย้ คอ่ ยโล่งหัวใจ ใจฅอโปรง่ หันหน้ามาบอกแม่ปานว่า
นั่นแน่แม่ปานพ่ออุ่นเขาลงไปจากรถเดี๋ยวนี้เองแหละ หล่อนมานั่งนินทาเขาใหฉ้ ันฟังหนะ มันก็คงเขา้
เรือ่ งดังทีเ่ ขาวา่ กันวา่ จดุ ไต้ตำตอ ที่หลอ่ นพดู อะไรพ่ออนุ่ เขามเิ กบ็ เอาไปได้ยินหมดหรือน่ี แม่ปานจุ๊ ฉัน
ทราบแล้วช่างเปนไร ฉันแกล้งจดุ ไตต้ ำตอให้ตอมันร้อนเล่นอย่างนัน้ แหละ เขาจะไดไ้ ม่ประพฤติการชั่ว
ร้ายดังเชน่ ทีเ่ ขาเปนมาแลว้ ต่อไป บางทีบุตรและภรรยาเขาจะได้รบั ความสุข จากเงินทองของเขาบ้าง
เพราะเขาได้รับความยากลำบากมานานแล้ว ก็นี่และหล่อนที่ฉันจุดไต้วันนี้ ก็ได้ตำเข้าไปที่ตอแล้ว ถ้า
ตอมนั ตดิ ไตล้ ุกจริงตามความคาดหมายแลว้ มนั ก็จะเปนคุณท่ีไดช้ ว่ ยเพื่อนมนุษย์ ให้ได้รับผลความสุข
ได้บ้างดอกกระมัง ถ้าเปนไปได้จริงตามความคิดของฉันแล้วฉันคงจะได้กุศลหนาหล่อน ถ้าตอนั้นมัน
ดา้ นจดุ ไมต่ ดิ แลว้ กช็ ่างมนั เถอะ เปนแตช่ ว่ั เหนอ่ื ยปากหน่อยเทา่ นั้น อ้อนมี่ าถงึ สามแยกแล้วฉันจะต้อง
ลาหลอ่ นทหี ละแมจ่ ุย้ เพราะฉนั จะไปที่วัวลำพอง น่ีหล่อนจะเลยไปกบั รถถึงบางรกั ทีเดียวไมใ่ ชห่ รอื จ๊ะ
พอ่ คนขบั รถพ่อคุณเถอะหยุดให้ฉนั ลงที แม่จยุ้ ฉนั ลาก่อนหนาวันอนื่ ถึงค่อยมาพบกนั ใหม่ ว่าง
ๆ ไปแวะเท่ยี วคุยกนั เล่นทบ่ี ้านฉนั สักวนั เถอะ พอแม่ปานลงจากรถมาแล้วก็นึกกระหยิ่มในใจ ว่าท่ีเรา
จุดไต้ตำตอวนั นีห้ นอ ตอมันจะติดไต้หรอื ไม่แต่ไม่เปนไรดอกเรารอฟงั ขา่ วดสู ัก ๒ วนั ๓ วนั กค็ งจะได้รู้
วา่ ตอมนั จะตดิ ไตห้ รือไมต่ ิด
ท่ีมา วชิรญาณวิเศษ เล่ม ๙/๙ แผน่ ท่ี ๑–๔๘ พฤศจกิ ายน ร.ศ. ๑๑๒ – กนั ยายน ร.ศ. ๑๑๓. [๒๕๕๙,
น.๑๕๕–๑๕๗]
ไต้ในนทิ านพ้ืนบา้ น
นิทานพื้นบ้าน เป็นวรรณกรรมมุขปาฐะที่เล่าสืบต่อกันมาหลายชั่วอายุคน เพื่อความ
สนุกสนานเบิกบานใจ ผอ่ นคลายความตึงเครียด เพอ่ื เสรมิ สร้างศรัทธาในศาสนา เทพเจา้ ส่ิงศักด์ิสิทธิ์
เป็นคติเตือนใจ ช่วยอบรมบ่มนิสัย ช่วยให้เข้าใจสิ่งแวดล้อมและปรากฏการณ์ธรรมชาติ [เบญจภัคค์
เจรญิ มหาวิทย์, ๒๕๖๐, น.๒๔]
• ตาหลวงโดนหลอก [นทิ านพ้นื บ้านภาคใต้]
ตาหลวง [ชาวใต้เรียกหลวงตาว่าตาหลวง] รูปหนึ่งมักให้เด็กวัดปลุกก่อนจะไปบิณฑบาตทุก
วนั จนเดก็ วัดพากนั เออื มระอา วันหนึง่ ตาหลวงบอกเด็กวัดเชน่ เคยว่า
“พอดาวรุ่งขึ้นเทียมปลายตาล มึงปลุกด้วยนะ” [พอดาวรุ่งขึ้นเท่ากับปลายตาล มึงปลุกด้วย
นะ]
เดก็ วัดคนหนึ่งคดิ แกลง้ ตาหลวงจึงเอาไต้จุดไฟสว่างไปมัดไวบ้ นยอดตน้ ตาล ขณะนั้นประมาณ
สามนาฬิกา ทุกคนกำลังหลับสนิท เด็กวัดลุกขึ้นปลุกตามคำสั่ง ตาหลวงรีบลุกขึ้นมองเห็นแสงสว่าง
ไต้ น้ำมันยางและเรอื่ งเลา่ จากแสงไต้ โดย ปราณ ปรีชญา ๑๔๕
เหนอื ยอดตาลนกึ วา่ ดาวรงุ่ ข้ึนแล้ว จงึ รีบควา้ บาตรออกเดิน เดนิ ไปเป็นเวลานานเหน็ บ้านเรือนยังเงียบ
สงบ ประตูบา้ นยังปิดอยู่ ตาหลวงบน่ วา่
“ไม่เหน็ แจง้ สักที” [ยงั ไมเ่ หน็ สว่างสักท]ี จึงอ้าปากหาวนอน ในที่สดุ ตัดสนิ ใจเขา้ ไปนอนใต้ถุน
บ้านหลังหนงึ่ พอดีลกู สาวบา้ นน้นั ลุกขน้ึ ปัสสาวะลงมาตรงศรี ษะตาหลวง ทา่ นนึกว่าฝนตกและบ่นเป็น
ภาษาถ่นิ ใตว้ ่า
“ฝนไหรเค็มและเหม็นพันน้ี” [ฝนอะไรเคม็ และเหม็นอย่างนี้]
[อา้ งใน ประพนธ์ เรอื งณรงค์ (๒๕๕๙, น.๙๗–๙๘)]
ไตใ้ นคำประพันธ์และวรรณศลิ ป์
นริ าศ
นิราศ เป็นคำประพันธ์ที่พรรณนาถึงการจากกันหรือจากถิ่นที่อยู่ไปในที่ต่าง ๆ มักแต่งเป็น
กลอนหรือโคลง และยังกล่าวถึงสถานที่ต่าง ๆ ที่ผ่านพบมีทั้งการเปรียบเปรยกับนางอันเป็นที่รัก
รวมถงึ เลา่ ความเปน็ มาของสถานทีน่ ั้นแทรกไวด้ ้วย
๖๔• โคลงนิราศนรนิ ทร์
๏ ทพั ใต้ทัพตงั้ ปา่ เป็นเรอื น
จากนชุ มานอนเดอื น ต่างไต้
ตรอมตายแตจ่ ักเยือน กันยาก แลแม่
เรอื นฤเหน็ เห็นไม้ ป่าไมเ้ ปน็ เรือน ฯ
นายนรินทร์ธเิ บศร์ [อิน] กล่าวบรรยายถึงตำบลทับใตเ้ มือ่ เดินทางมาถงึ ท่ีนี่ ปัจจุบันเปน็ ตำบล
หน่ึงในอำเภอหัวหิน จงั หวดั ประจวบคีรีขนั ธ์ สะกดใหม่ว่า 'ตำบลทับใต้'
• นิราศเมืองแกลง
นิราศเมืองแกลง เป็นนิราศเรื่องแรกของสุนทรภู่ สันนิษฐานว่าแต่งในสมัยรัชกาลที่ ๑ เม่ือ
พุทธศกั ราช ๒๓๕๐ เมื่อครั้งท่สี นุ ทรภู่เดนิ ทางไปหาบิดาทเ่ี มืองแกลง สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรม
พระยาดำรงราชานุภาพ ทรงประมวลเรื่องราวที่ปรากฏในนิราศเรื่องนี้ ประกอบกับปีพุทธศักราชปี
เกิดของสุนทรภู่ แล้วทรงวิเคราะห์ว่าสุนทรภู่คงจะแต่งขึ้นเมื่อมีอายุประมาณ ๒๐ ปี และคงจะมี
ชื่อเสียงในการแต่งกลอนถึงกับมีผู้ฝากเป็นศิษย์ เพราะปรากฏในนิราศเรื่องนี้ว่ามีศิษย์คิดตามไปด้วย
๒ คน สุนทรภู่เม่อื เดินทางถึงเมืองระยองในเวลาคำ่ ชาวบ้านท่ีนั่นกำลังจุดไต้ไฟสว่างไสว