The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

องความรู้ของสำนักศิลปวัฒนธรรมและพัฒนาชุมชน

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by kunkorkai, 2022-09-07 09:06:03

ไต้ น้ำมันยาง เรื่องเล่าจากแสงไต้

องความรู้ของสำนักศิลปวัฒนธรรมและพัฒนาชุมชน

ไต้ นำ้ มนั ยางและเร่ืองเลา่ จากแสงไต้ โดย ปราณ ปรชี ญา ๑๔๖

พอสนิ้ ดงตรงบากออกปากช่อง ถงึ ระยองเหย้าเรือนดูไสว
แวะเขา้ ยา่ นบ้านเกา่ คอ่ ยเบาใจ เขาจุดไตต้ อ้ นรบั ให้หลบั นอน

ทีม่ า นิราศเมืองแกลง ของสุนทรภู่ [กรมศลิ ปากร, ๒๕๔๓, น.๗๔]

เมื่อสุนทรภู่เดนิ ทางมาถึงบา้ นตะพงชาวบ้านทนี่ ่ันกำลังตดั ใบกระพ้อนำไปห่อไต้ ซึ่งน่าจะเป็น

อาชพี สำคัญของชาวบา้ นที่นี่

ถึงบ้านแลงทางแหง้ เห็นทุ่งกวา้ ง เฟอื นหนทางทวนทบตลบหา

บุกละแวกแฝกแขมกับหญา้ คา จนแดดกลา้ มาถึงยา่ นบ้านตะพง

มเี คหาอารามงามระรนื่ ด้วยพา่ งพ้นื พุม่ ไม้ไพรระหง

ตัดกระพ้อห่อไต้*ทุกไร่กง พ่ีหลกี ลงทางทงุ่ กระทอลอ

ทีม่ า นริ าศเมอื งแกลง ของสนุ ทรภู่ [กรมศลิ ปากร, ๒๕๔๓, น.๗๕]

หมายเหตุ

* ตน้ ฉบบั ว่า 'ตดั กระพอ้ หอ่ ได*้ ทกุ ไร่กง' คำวา่ 'ห่อได'้ ความหมายไมม่ นี ้ำหนกั และรปู ประโยค

ไม่สมบูรณเ์ ท่า 'ห่อไต้' ชาวบา้ นตัดใบกระพอ้ มาห่อไต้จงึ มคี วามหมายท่ีสมบรู ณ์มากกว่า

• นริ าศเมอื งเพชร
นริ าศเมอื งเพชรเป็นนริ าศเร่ืองสุดท้ายของสุนทรภู่ มีผู้สนั นิษฐานเร่อื งระยะเวลาที่แต่งเป็น ๒
ความเห็นคือ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพและนายธนิต อยู่โพธิ์ คาดว่าแต่งเมื่อประมาณปี
พุทธศักราช ๒๓๘๘–๒๓๙๒ ส่วน พ.ณ. ประมวญมารค และนายฉันท์ ขำวิไล ให้ความเห็นวา่ สุนทรภู่
แต่งนิราศเมืองเพชรเมอื่ ปีพทุ ธศกั ราช ๒๓๗๔

๏ แล้วไปบา้ นตาลเรียงเคียงบา้ นไร่ ท่นี บั ในน้องเนอ้ื ชว่ ยเกือ้ หนนุ

พอวนั นัดซดั น้ำเขาทำบุญ เห็นคนวนุ่ หยดุ ยัง้ ยนื รั้งรอ

เขาว่าน้องของเราเปนเจา้ สาว ไมร่ รู้ าวเรอื่ งเรอ่ มาเจอหอ

เหมอื นจุดไตว้ า่ ยนำ้ มาตำตอ เสียแรงถ่อกายมากอ็ าภัพ

ทีม่ า นิราศเมอื งเพชร ของสนุ ทรภู่ [กรมศิลปากร, ๒๕๔๓, น.๓๓๘]

โคลง

โคลง เป็นคำประพันธ์ร้อยกรองประเภทหนึ่งที่มีวิธีเรียบเรียงถ้อยคำบังคับรูปวรรณยุกต์เอก
โท และบังคับจำนวนคำในวรรคสมั ผสั ตามตำราฉนั ทลักษณ์

ไต้ นำ้ มนั ยางและเรื่องเล่าจากแสงไต้ โดย ปราณ ปรีชญา ๑๔๗

• โคลงกำศรวลศรีปราชญ์
โคลงนิราศท่ีแต่งขึ้นในสมัยกรุงศรีอยธุ ยา มีอรรถรสไพเราะ กินใจและดำเนินความได้ดีถือได้
ว่าเป็นต้นแบบของนิราศคำโคลงเรื่องอื่น ๆ โครงกำศรวลนี้เชื่อและกล่าวกันว่า ศรีปราชญ์เป็นผู้แต่ง
จึงเรียกกันว่า โครงกำศรวลศรีปราชญ์ และกล่าวกันวา่ ศรปี ราชญ์ไดแ้ ต่งข้ึนเนื่องในคราวถูกเนรเทศให้
ไปอย่เู มืองนครศรีธรรมราช จงึ เรียกนั อกี อยา่ งหน่ึงว่า โคลงนิราศนครศรธี รรมราช แตง่ ไว้เป็นโคลงด้ัน
บาทกุญชร ตอนที่ไม่ขาดหายนั้น รู้สึกว่าเชื่อมโยงกันด้วยสัมผัสระหว่างโคลงสนิทดีมาก แต่เท่าที่ได้
ชำระตรวจสอบต้นฉบับสมุดไทยบรรดามีในหอสมุดแห่งชาติ ไม่ปรากฏว่าสมุดเล่มใดมีโคลงกำศรวล
ครบบริบรู ณ์ [ธนิต อยโู่ พธ์ิ, ๒๕๑๑, น.๔–๕]

๔๖จรลิวไตฟ้ า้ ตำ่ เตอื นยาม

โหยบเหนสายใจ จรคล้าย

บลุแม่เมากาม กาเมศ กูเออย

ลพห่ี วา้ ยนำ้ หนา้ มดื เมา ฯ

ที่มา ประวัติและโคลงกำศรวลศรีปราชญ์ พร้อมด้วยบนั ทึกสอบทานและหมายเหตุ ของ ธนิต อยู่โพธิ์

[๒๕๑๑, น.๔๗]

• โคลงอักษรสามหมู่
โคลงอักษรสามหมู่ หรือโคลงกลบทอักษรสามหมู่ หรือโคลงอักษรสาม หรือโคลงตรีประดับ
เพชรนี้ พระศรีมโหสถได้แต่งขึ้นสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลาง ในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
แต่งด้วยโคลงสี่สุภาพซึ่งเป็นกลบทที่เหลือมาถึงปัจจุบันจำนวน ๒๙ บท เนื้อเรื่องไม่บริบูรณ์นัก ขาด
ทั้งตอนต้นและตอนปลายเพราะเริ่มต้นด้วยบรรยายขบวนทัพและการทำสงคราม แต่ตั้งแต่บทที่ ๑๐
ไปจนจบกลบั ชมนก [พิชติ อัคนจิ , ๒๕๓๖, น.๒๗๕] ที่เรียกว่า โคลงกลบทอักษรสามหมู่นั้นคือการนำ
คำ ๓ คำมาเรยี งกัน คอื คำสภุ าพ คำเอก คำโท หรอื เรียงคำโท คำเอก คำสภุ าพ ก็ได้ [คำสุภาพคือคำ
ที่ไม่มรี ปู วรรณยกุ ตก์ ำกับ คำเอกคอื คำทม่ี ีรูปวรรณยุกตเ์ อกกำกบั ซ่ึงอาจจะไดเ้ สยี งวรรณยุกต์เอกหรือ
เสียงวรรณยุกต์โท คำโทคือคำทีม่ รี ปู วรรณยุกตโ์ ทกำกบั ซึง่ อาจไดเ้ สยี งวรรณยุกตโ์ ทหรือตรี]

๑๓.นกน้อยยายย่ายย้าย หนไี ฟ
สนเส่อื พฤๅปามไต ไต่ไต้
ยุงเย้าเย่าเยาไกว หางรอ่ น
เฟอื ยเฟื่อยเฟอ้ื ยเอนไม้ โยกยา้ ยกรายตาย ฯ

ไต้ นำ้ มนั ยางและเร่ืองเล่าจากแสงไต้ โดย ปราณ ปรชี ญา ๑๔๘

ที่มา โคลงอักษรสามหมู่ ใน วรรณกรรมไทย สมัยกรุงสโุ ขทยั –กรุงศรีอยุธยา [พชิ ิต อคั นจิ , ๒๕๓๖, น.
๒๗๗]

• โคลงพระลอสอนโลก
โคลงพระลอสอนโลก เป็นวรรณกรรมคำสอนเรื่องหนึ่งดัดแปลงจาก โคลงเจ้าวิทูรสอนโลก
โดยดดั แปลงเฉพาะตอนตน้ เร่ืองและต้ังชื่อใหม่

ลอราชลอื โลกทา้ ว จอมผะหยา
สงั่ สอนในโลกา โลกน้ี
ไผไคแ่ ถมปญั ญา เพิง่ เลียบดแู ล
เป็นดั่งไมไ้ ต้ช้ี สอ่ งไวเ้ ทยี มใจ

• โคลงทวาทศมาส
โคลงทวาทศมาสเป็นวรรณคดนี ริ าศเกา่ ท่มี คี ุณค่ามากเล่มหนง่ึ ของไทย

พนั ฦกฦาล่นั ฟา้ ลมฉวาง

ทกุ ทวปี ดนิ แดนไตร หมนื่ ไหม้

ไฟกลั ปกระอุปาง ตรนี าศ

โอ้อกเรยี มรอ้ นได้ กว่าแสน ฯ

จรลดิ ลิว่ ลจ้ี ระ ลบั แข แข่งนา

แขแขง่ ขัดหวงแหน แม่ไว้

เลงเดือนกส็ ุดแล ล่ิวล่ี แล้วแฮ

เดอื นสว่างคอื ไต้ไต้ โลกนี้หายโฉม

ที่มา โคลงทวาทศมาส ใน วรรณกรรมไทย สมัยกรุงสุโขทัย–กรุงศรีอยุธยา [พิชิต อัคนิจ, ๒๕๓๖, น.

๑๑๐–๑๑๑]

• โคลงสุภาษติ
สุภาษิตที่เอามาเขียนภาพและแต่งโคลงเหล่านี้ เป็นสุภาษิตไทยมีมาแต่โบราณมักชอบอ้าง
และกล่าวเป็นอุปมากันในพื้นเมือง รู้กันมากบ้างน้อยบ้างแพร่หลาย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า
เจ้าอยู่หัวโปรด ฯ ให้รวมสุภาษิตไทยเหล่านี้มาเขียนรูปภาพไว้ที่ท้องฉนวนที่ทรงบาตรในบริเวณพระ
อภเิ นาวนเิ วศน์แหง่ ๑ ก่อน คร้ันทรงปฏสิ งั ขรณ์วัดพระศรีรตั นศาสดาราม จงึ โปรด ฯ ให้พระอาจารย์

ไต้ น้ำมนั ยางและเร่ืองเลา่ จากแสงไต้ โดย ปราณ ปรชี ญา ๑๔๙

อินโข่งเขียนที่ผนังกรอบประตูหน้าต่างพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม แต่โคลงนั้นจะโปรด ฯ
ให้ใครแตง่ หาทราบไม่

๏ ชูไตเ้ ดาะด่มุ เต้า โดนตอ

เจยี นเทา่ แขง้ ขาคอ หักข้น

คนพลำ่ พดู สอพลอ แพลงสดดุ

เจอพูดจนโดนต้น ไปร่ ู้สึกตน ฯ

ท่มี า โคลงสภุ าษติ ประจำภาพ ๑๑๕ จดุ ไตโ้ ดนตอ ในพระอุโบสถวัดพระศรรี ตั นศาสดาราม

• โคลงโลกนิติ
โคลงโลกนติ ิ เป็นสภุ าษิตเก่าแก่แต่งมาแต่โบราณครง้ั กรุงเก่า เดมิ นักปราชญ์ผู้แต่งเที่ยวเลือก
หาคาถาสุภาษิตภาษาบาลีและสันสกฤตอันมีอยู่ในคัมภีร์ต่าง ๆ คือ คัมภีร์โลกนิติบ้าง คัมภีร์โลกนัย
บ้าง ตลอดจนคมั ภีร์พระธรรมบทก็มี เลอื กคาถาสุภาษิตเหลา่ น้ันมาตั้งแลว้ แปลแต่งเป็นคำโคลงไปทุก
ๆ คาถา รวมเป็นเนื้อเรื่องเรียกว่าโคลงโลกนิติเป็นสุภาษิตที่นับถือกันมาช้านาน ครั้นเม่ือ
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกลา้ เจ้าอยู่หัวทรงปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนฯ เมื่อปีเถาะ พุทธศักราช ๒๓๗๔
มีพระราชประสงค์ให้จารึกโคลงโลกนิตลิ งในแผ่นศิลา ตดิ ไว้เปน็ ธรรมทานในวดั พระเชตุพนฯ จึงโปรด
ให้สมเดจ็ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเดชาดศิ รทรงรวบรวมโคลงโลกนิตขิ องเก่ามาชำระแก้ไขใหม่
ให้เรียบร้อยประณีตและไพเราะ เพราะของเก่าลอกคัดลอดกันต่อ ๆ มาปรากฏมีถ้อยคำวิปลาส
ผดิ พลาดมาก ครัน้ สมเดจ็ ฯ กรมพระยาเดชาดิศร ทรงชำระแล้ว โปรดเกลา้ ฯ ให้จารกึ ไวใ้ นวัดพระเชตุ
พนฯ โคลงโลกนติ ิจึงแพร่หลายแต่น้นั สืบมา

๏ ช้างม้าเมยี มง่ิ แกว้ เงินทอง

ตัวมติ ายจักปอง ยอ่ มได้

ชีวติ ส่ิงเดยี วของ หายาก

ใช่ประทีปเทียนไต้ ดับแล้วจุดคนื ฯ

ทมี่ า โคลงโลกนิติ ฉบบั ถอดความ โดย ทองยอ้ ย แสงสินชัย [๒๕๓๙, น.๑๑๑]

๏ ความเพียรเปน็ อริแล้ว เป็นมติ ร

ครา้ นเกียจเป็นเพือ่ นสนิท ร่วมไร้

วชิ าเฉกยาติด ขมขน่ื

ประมาทเหมอื นดบั ไต้ ชัว่ รา้ ยฤๅเหน็

ทมี่ า โคลงโลกนิติ ฉบับถอดความ โดย ทองยอ้ ย แสงสนิ ชัย [๒๕๓๙, น.๑๑๘]

ไต้ น้ำมนั ยางและเรื่องเล่าจากแสงไต้ โดย ปราณ ปรชี ญา ๑๕๐

ลิลติ

ลิลิต เป็นคำประพันธ์ประเภทร้อยกรองแบบหนึ่งแต่งเป็นเรื่องยาวโดยใช้โคลงและร่ายต่อ
สัมผสั กนั ลลิ ติ โองการแชง่ น้ำ หรือประกาศแช่งน้ำโคลงห้า เป็นวรรณคดีเก่าแก่ท่ีสันนิษฐานว่าแต่งใน
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ ปฐมกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา มีลักษณะเป็นลิลิต ซ่ึง
ประกอบด้วยร่าย ดั้น และโคลงห้า หรือ มณฑกคติ จัดเป็นหนังสือที่อ่านเข้าใจยากเนื่องจากถ้อยคำ
สำนวนเป็นคำภาษาไทยโบราณ บางตอนแต่งเป็นคำอรรถคำสวดลึกซึ้งหนักแน่น เพื่อให้เกิดความ
ศักดิ์สิทธิ์ บางตอนใช้ถ้อยคำแข็งกร้าวทำให้ผู้ฟังเกิดอารมณ์สะเทือนใจหวาดหวั่นพรั่นพรึงขนพอง
สยองเกล้าได้

• ลลิ ติ โองการแช่งน้ำ
ลิลิตโองการแช่งน้ำ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ประกาศโองการแช่งน้ำ เป็นเรื่องใช้อ่านหรือ
สวดในพระราชพธิ ีถอื น้ำพิพฒั น์สตั ยา ฉบับทตี่ กทอดมาเขยี นเปน็ หนังสือขอมหรอื พราหมณ์ เนอื้ ความ
เป็นภาษาไทย [พชิ ติ อัคนิจ, ๒๕๓๖, น.๗๖]

๏ ตนเขา เรืองรอ่ นหลา้ เลอหาว
หาวนั คืน ไป่ได้
จาวชิมดนิ แสงหล่น
เพยี งดบั ไต้ มดื มูล

ทีม่ า ลิลติ โองการแชง่ นำ้ ใน วรรณกรรมไทย สมยั กรงุ สุโขทยั –กรงุ ศรอี ยธุ ยา [พิชิต อัคนจิ , ๒๕๓๖, น.
๗๗]

สักรวา

การละเล่นในแม่น้ำลำคลองของชาวบ้านในอดีตมีหลากหลายอย่าง อาทิ การแข่งเรือ การ
เล่นเพลงเรือ เพลงหน้าใย เพลงครึ่งท่อน และเพลงร่อยพรรษา ฯลฯ เนื่องจากเป็นวิถีชีวิตของผู้คนที่
ยังพึ่งพาการสัญจรทางลำน้ำและอาศัยน้ำจากลำน้ำน้อยใหญ่ในการดำรงชีวิตและการประกอบ
สัมมาชีพ การการละเล่นหลายอย่างได้ห่างหายไปจากลำน้ำเนื่องจากไม่สอดคล้องกับวิถีการดำเนิน
ชีวิตในปัจจุบัน การละเล่นสักรวาเป็นตัวอย่างหนึ่งของการละเล่นทางน้ำที่ไม่มีให้เห็นแล้วในสมัย
ปจั จุบนั

“...สักรวา เป็นการละเล่นเพื่อความบันเทิงในฤดูน้ำหลากช่วงเดือน ๑๑ ถึงเดือน ๑๒ ซึ่งมี
งานเทศกาลงานบุญและงานสมโภชต่าง ๆ การเล่นสักรวาได้รับความนิยมในกลุ่มชนชั้นสูงมาตั้งแต่
ครง้ั กรงุ ศรอี ยุธยาตอนปลายมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนตน้ เจา้ ของวงสกั รวาซงึ่ เป็นผู้มบี รรดาศักด์ิ

ไต้ น้ำมนั ยางและเรอื่ งเล่าจากแสงไต้ โดย ปราณ ปรชี ญา ๑๕๑

จะพาบรวิ าร ไดแ้ ก่ ผูบ้ อกบท นักรอ้ งต้นบท ลกู คู่ พร้อมด้วยเคร่อื งดนตรี คอื โทน ทับ กรับ ฉงิ่ ลงเรือ

ไปประชุมเรือเล่นสักรวาประชันกันกับวงอื่น ๆ ผู้บอกบทจะคิดบทให้นักร้องของตน ร้องลำนำ มี

เนื้อหาทั้งการเกี้ยวพาราสีหรือนำเรื่องจากวรรณคดีมาสมมุติ แจกตัวผู้เล่นแต่ละฝ่าย แล้วให้ผู้เล่นใน

วงร้องโต้ตอบกันไปมา ความสนุกสนานของการเล่นสักรวาอยู่ที่ผู้บอกบทและผู้เล่นต้องคิดบทให้ทัน

กับการร้อง ดังนั้นผู้เล่นสกั รวาจึงต้องเป็นผู้ที่มีปฏิภาณไหวพริบในการประชันกลอนสดโต้ตอบกัน...”

[กรมศิลปากร, ๒๕๕๙, น.คำนำ]

บทสักรวาที่ใช้ในการร้องเล่นเป็นทำนองโต้ตอบกันนั้นแต่งเป็นกลอนแบบหนึ่งบทหนึ่งมี ๔

คำ กลอนขน้ึ ต้นดว้ ยคำวา่ 'สกั รวา' และลงท้ายดว้ ยคำว่า 'เอย' ถือเปน็ วรรณกรรมที่ทรงคุณค่าอันเกิด

จากปฏภิ าณกวที ตี่ ้องใช้ไหวพริบและความเฉยี บคมในการแต่งกลอนสดขณะร้องเลน่ กัน

ประชุมบทสักรวาหนา้ พระท่ีน่ัง กรมศิลปากรรวมรวมจากตน้ ฉบับบทสกั รวาเร่ืองอเิ หนา ร้อง

ถวายหน้าพระที่นั่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ในคราวฉลองวัดราชโอรส เมื่อ

พุทธศักราช ๒๓๗๔ และประชุมบทสักรวาเป็นการรวบรวมบทสักรวาที่เล่นถวายหน้าพระที่น่ัง

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ในโอกาสต่าง ๆ ๗ คราว มีกล่าวถึงไต้ส่องไฟ

ดังนี้

บทสักรวาเร่อื งอเิ หนา ตอนไปใช้บน

๏๑๓๘ สักรวาท้าวดาหามาถึงเมือง เสดจ็ เยือ้ งย่างขน้ึ เกยมณศี รี

พรอ้ มพรักอคั เรศแลบุตรี นักสนมนารกี ำนัลใน

ตา่ งนาดกรจรจรลั ผันผาย โขลนจ่ารายจุกชอ่ งทัง้ สอ่ งไต้

ขน้ึ ปราสาทสวุ รรณอนั อำไพ เข้าที่ศรไี สยา เอย ฯ

ท่มี า ประชุมบทสกั รวาหน้าพระที่นัง่ [กรมศลิ ปากร, ๒๕๕๙, น.๓๐]

บทสกั รวาเลน่ หนา้ พระทีน่ ง่ั สนามจันทร์ ครงั้ ที่ ๒ คนื ท่ี ๒

ตำรวจ

๏ สกั รวาพระสงครามความชนะ ตำรวจจะประนอมยอมทำขวัญ

จดั แจงหาอะไรกไ็ มท่ นั ฉวยไตพ้ ลันตา่ งเทยี นจุดเวยี นไป

แลว้ เวียนขวามาซา้ ยยา้ ยตำหรับ กระเหมา่ จบั ตา่ งกระแจะแลว้ เจิมให้

กาบหมากดบั โบกควนั ไปทนั ใด ชว่ ยกันโหอ่ วยไชยสงคราม เอย. ฯ

มหาสงคราม นี่อะไรมาทำขวญั ฉนั หนักหนา
๏ สกั รวาชำระความตามวไิ สย เอาควนั ไตเ้ จิมหนา้ ระอาใจ

ชา่ งทำใหท้ จุ รติ ผิดตำรา

ไต้ นำ้ มันยางและเร่ืองเล่าจากแสงไต้ โดย ปราณ ปรชี ญา ๑๕๒

ฤๅจะเล่นบวชนาคกระดากจิตร ฤๅสน้ิ คดิ ไม่มเี ทียนเวยี นด้วยไต้

มาทำเล่นตา่ งต่างช่างกระไร คณุ อนิ ทรไ์ มเ่ มตตาตอ้ งลา เอย. ฯ

ทม่ี า ประชุมบทสกั รวาหน้าพระท่นี งั่ [กรมศลิ ปากร, ๒๕๕๙, น.๑๑๑]

กลอนสวด

กลอนสวด คือกลอนที่แต่งโดยใช้ฉันทลักษณ์กาพย์ คือ กาพย์ยานี ๑๑ กาพย์ฉบัง ๑๖ และ
กาพย์สุรางคนางค์ ๒๘ มักแตง่ เป็นเรื่องราวทางศาสนา เช่น ชาดก นทิ านธรรม เปน็ ตน้ เวลาอ่านเป็น
ทำนองสวด ในนกกระจาบกลอนสวดมีกล่าวถึงไตด้ งั น้ี

• นกกระจาบกลอนสวด สำนวนที่ ๑
๑๖ ผใู้ ดประมาท
ทำหนังสอื ขาด ปราศจากมรรคผล
นำ้ หมากขี้ไต้ ไฟไหมล้ ามลน
ให้ลงไปทน ทุกข์ในจตรุ า
หมายเหตุ
นกกระจาบเป็นนิทานไทยโบราณมีเค้าเรื่องปรากฏใน 'สรรพสิทธิชาดก' อันเป็นปัญญาส
ชาดกเรื่องหนึ่ง นิทานเรื่องนี้เคยเป็นที่รู้จักแพร่หลายในสังคมไทย กวีในอดีตนำมาประพันธ์เป็นร้อย
กรองหลายสำนวน เชน่ นกกระจาบกลอนสวดสำนวนท่แี ต่งในสมัยรชั กาลที่ ๑ และสรรพสิทธ์คำฉันท์
พระนพิ นธใ์ นสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชติ ชโิ นรส เปน็ ตน้

สภุ าษิตสอนหญิง

สุภาษิตสอนหญิงเป็นผลงานกวีนิพนธ์แบบกลอนเนื้อหาเป็นคำสอนสตรีเกี่ยวกับหลัก
ประพฤตปิ ฏบิ ตั ใิ นชวี ติ ประจำวนั ท้งั สว่ นทีเ่ กยี่ วกับครอบครัวและเกีย่ วกับสังคม เปน็ คำสอนที่ใช้ได้กับ
สตรีทุกชนชั้น มีทั้งข้อห้ามและข้อควรปฏิบัติ และมีตัวอย่างผลร้ายเมื่อไม่ปฏิบัติตามและผลดีเม่ือ
ปฏิบัติตามคำสอน สุภาษิตสอนสตรี แต่งโดยสุนทรภู่ ได้กล่าวสอนผู้หญิงในการปฏิบัตติ นเมื่อถึงเวลา
ค่ำคืน ดงั น้ี

• สภุ าษติ สอนสตรี
ยามสิน้ แสงสุรยิ าอยา่ ไปไหน
จุดไตไ้ ฟเขา้ ไปสอ่ งในห้องก่อน
ระวังดูปปู ดั สลดั ท่นี อน

ไต้ น้ำมนั ยางและเรอื่ งเลา่ จากแสงไต้ โดย ปราณ ปรชี ญา ๑๕๓

ทง้ั ฟูกหมอนอยา่ ใหม้ ีธุลีลง
ทมี่ า สุภาษติ สอนสตรีของสนุ ทรภู่ [สุนทรภู่, ๒๕๐๑, น.๕๑]

• บทกวีนิพนธ์
ตอ
๏ เม่ือจุดไตแ้ ตล่ ะคร้ังหวังสวา่ ง
รู้หนทางที่มืดยดื ยาวไหม
เห็นทางตนั หนั กลับมาดับไฟ
กลับกล่าวไตต้ ง้ั ต่ำมาตำตอ
๏ เหมอื นจ่อชุดจดุ เช้ือเม่อื แฉะช้ืน
จะฝนื ฟนื ตดิ ไฟไฉนหนอ
ต่อใหส้ ิบแสนไตก้ ไ็ มพ่ อ
เมือ่ ตอหมอ้ มันผุดรดุ ขนึ้ รบั
๏ เม่อื นำ้ ใจลดจางตอต่างโผล่
ไตม้ นั โง่ง่งั งำไปตำดบั
ตอเพ่ิงตั้งแต่เรมิ่ ประเดิมทับ
ข่อู ย่าจับจดุ ไตต้ อ่ ไปนะ
๏ ถ้ามตี อแตต่ อนก่อนจุดไต้
จะยอมให้ไฟดับรับวา่ ปะ
เพราะจดุ ไตต้ ำตอจอ่ ปะทะ
จะยอมละแต่นี่เป็นตอเลน่ กล
๏ โอต้ อเอ๋ยตอแหลตอแต่หลัง
คดิ จะตั้งตอแน่ต้องแต่ตน้
ไม่มตี อตอ่ มีไตต้ อไล่ชน
อยา่ ทำตนเปน็ ตอลอ่ ไตเ้ ลย

ทีม่ า คำหยาด รวมบทกวีนิพนธย์ ุคเร่มิ แรก [เนาวรัตน์ พงษ์ไพบลู ย์, ๒๕๒๙, น.๗๔–๗๕]

ไต้ในวรรณคดี [Literature]
วรรณคดีคืองานวรรณกรรมประเภทหนึ่งที่แต่งขึ้นมุ่งให้เกิดความเพลิดเพลิน ใช้ถ้อยคำ

สำนวนโวหารไพเราะสละสลวยสามารถใช้เป็นแบบแผนในการแต่งได้ รัญจวน อินทรกำแหง ได้แยก

ไต้ นำ้ มนั ยางและเร่ืองเลา่ จากแสงไต้ โดย ปราณ ปรชี ญา ๑๕๔

ให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างวรรณคดีและวรรณกรรมไว้โดยใช้คุณสมบัติของช่วงเวลา เป็น
ตัวกำหนด โดยถือว่าหนังสือซึ่งเขียนขึ้นตั้งแต่ต้นจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า
เจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นเวลาทีย่ ังไม่ได้รับอิทธิพลจากวรรณกรรมตะวนั ตกเป็นหนังสือประเภทวรรณคดีและ
ถือว่าหนังสือที่เขียนขึ้นหลังจากที่ได้รับอิทธิพลจากวรรณกรรมตะวันตกเป็นหนังสื อประเภท
วรรณกรรม [พชั ลนิ จ์ จนี นุน่ , ๒๕๖๒, น.๕] ส่วนร่นื ฤทัย สัจจพนั ธ์ุ แยกความตา่ งโดยใช้คณุ สมบัติด้าน
วรรณศิลป์เป็นเกณฑ์ โดยกล่าวว่า วรรณคดีเป็นงานประพันธ์ที่สืบทอดกันมาช้านานและมีผู้ยกย่อง
คุณค่าเป็นที่ประจักษ์อย่างกว้างขวางมักได้รับการเรียกขานว่า 'วรรณคดี' ส่วนงานประพันธ์ในรูป
แบบอยา่ งใหม่ซ่ึงปรากฏนับแต่สมัยรชั กาลที่ ๕ เปน็ ต้นมา มีคุณคา่ ในฐานะเป็นงานประพันธ์ร่วมสมัย
เรยี กว่า 'วรรณกรรม' แม้จะเรยี กต่างกนั แต่วรรณคดีและวรรณกรรมต่างมีคุณลักษณะสำคัญ คอื เป็น
ศิลปกรรมที่ถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดของมนุษย์ด้วยภาษา อันอาจเป็นภาษาพูดหรือเขียนก็ได้ [พัช
ลินจ์ จีนนุ่น, ๒๕๖๒, น.๕–๖]

• พระอภยั มณี
นิทานวรรณคดเี รื่องพระอภยั มณี เป็นผลงานของพระสนุ ทรโวหารหรอื สนุ ทรภู่แตง่ ด้วยกลอน
สุภาพ ภาษาที่ใช้มีความเรียบง่าย มีสัมผัสในไพเราะงดงามโดยตลอด ตามฉบับพิมพ์ของหอพระสมุด
มคี วามยาวท้ังสน้ิ ๒๔,๕๐๐ คำกลอน แบง่ บทประพันธ์ไว้ทัง้ ส้ิน ๖๔ ตอน สันนิษฐานว่าสุนทรภู่น่าจะ
เรม่ิ แต่งเร่อื งพระอภัยมณีตง้ั แต่ครัง้ สมัยรัชกาลที่ ๒ เม่ือคราวต้องโทษติดคุก [ประมาณ ปีพุทธศักราช
๒๓๖๔–๒๓๖๖] โดยค่อยแต่งทีละเลม่ สองเลม่ เร่ือยไปซง่ึ ใช้เวลาแต่งท้งั หมดประมาณ ๒๐ ปี นบั ต้งั แต่
ปีพุทธศักราช ๒๓๖๔–๒๓๖๖ ไปจนถึงปีพุทธศักราช ๒๓๘๘ รวม ๙๔ เล่มสมุดไทย พระอภัยมณี
ตอนเกย้ี วนางสวุ รรณมาลี [ตอนที่ ๒๑] มคี วามกล่าวถึงเหตกุ ารณอ์ ุศเรนหมายตามไปแก้แคน้ พระอภัย
จึงเร่งโยธาเข้าตีจนถึงเรือใหญ่แล้วเอาไฟโยนเข้าใส่เรือเกิดรบกันอุศเรนต้องอาวุธและแตกทัพ ใน
ระหวา่ งการรบมกี ารใชน้ ้ำมนั ยางและคบไฟทำใหเ้ กิดเพลิงไหมเ้ ผาผลาญเรือ ดงั น้ี

๏ อศุ เรนเหน็ ทพั เขา้ รับรบ เร่งสมทบโยธาทงั้ หน้าหลงั
ตีระดมลมกลา้ ดาประดงั จนกระท่ังเรอื ใหญเ่ อาไฟโยน
บ้างทิ้งผ้าน้ำมนั ยางบา้ งขวา้ งคบ บา้ งตลบปนี ป่ายตะกายโหน
จนเพลงิ พลงุ่ รงุ่ โรจน์ขึ้นโชตโิ ชน ทหารโจรรบรับบา้ งดบั ไฟ
บ้างอุดชอ่ งสองขา้ งเอาวางถงั ให้น้ำขงั ดาดฟา้ ชลาไหล
ถงึ จะท้ิงเพลิงเผาสกั เทา่ ไร กไ็ ม่ไหมส้ ำเภาเสากระโดง
ดว้ ยทองหมุ้ ชมุ่ นำ้ แล้วซ้ำสาด ข้าศึกฟาดไฟนำ้ มนั ควันโขมง
ติดแตใ่ บสายระยางสว่างโพลง เสยี งผางโผงพลขนั ธป์ ระจัญรบ

ไต้ น้ำมนั ยางและเรอื่ งเล่าจากแสงไต้ โดย ปราณ ปรชี ญา ๑๕๕

พระอภัยศรีสวุ รรณสินสมุทร อตุ ลดุ ขบั ไพร่มใิ ห้หลบ

อุศเรนรุกรน้ พลสมทบ เขา้ รุกรบเรอื ใหญไ่ ฟประดัง

พอเพลงิ ไหมใ้ บกลางสว่างฟา้ องั กุหร่าแลเหน็ ลำเรือที่นง่ั

ใหพ้ ลขนึ้ ยืนเยื้องยิงประดงั ถกู พลลังกาตายเสยี หลายพัน

ทงั้ พระชงฆอ์ งค์อุศเรนหัก เลือดทะลกั ล้มถลาแทบอาสัญ

พอเกดิ คล่ืนลมกลา้ สลาตนั ตกี ำปั่นพลดั พรายกระจายไป

พอเดอื นดับลับฟา้ ภาณุมาศ ก็โอภาสแผว้ สางสวา่ งไสว

ศึกสำเรจ็ เสร็จสรรพทง้ั ดับไฟ กำปัน่ ใหญ่ลอยลำอยู่ท่ามกลาง

ฝา่ ยพวกเรือเหลอื ตายที่พรายพลัด แต่เลย้ี วลัดแล่นวนอยจู่ นสวา่ ง

บา้ งก็ล่มจนตายลงวายวาง บ้างขึ้นคา้ งเกาะแกง่ ทุกแหง่ ไป

ฝา่ ยโยธีศรีสุวรรณสินสมุทร ตอ้ งอาวธุ เจ็บป่วยมว้ ยตักษัย

ทีย่ ังเหลือเรอื รบสำหรับใช้ ใหน้ ับไดห้ า้ รอ้ ยมาลอยเรยี ง

บ้างเปลย่ี นใบใสเ่ สาหางเสอื เสร็จ แลว้ สำเร็จสารพันไมท่ ันเท่ียง

ตงั้ แหแ่ หนแลน่ ล้อมมาพร้อมเพรยี ง สน่ันเสียงขานโหเ่ ปน็ โกลา

ไปตามเข็มเล็มเลีย้ วแหลมสุหรดั แลว้ แลน่ ตดั ปากน้ำสำปันหนา

อ้อมถนนพ้นกำแพงลังกามา หมายพาราผลึกแลน่ ตามแผนทาง ฯ

ทมี่ า พระอภยั มณี ตอนท่ี ๒๑ เกย้ี วนางสวุ รรณมาลี [กรมศิลปากร, ๒๕๔๔, น.๒๔๖–๒๔๗]

พระอภัยทุกข์ร้อนรำพึงถึงนางสุวรรณมาลีจึงเขียนสารแล้วให้สินสมุทรถือไปให้นางสุวรรณ

มาลีไดก้ ลา่ วถึงช่วงเวลา 'เข้าไตเ้ ข้าไฟ' ไว้ด้วย ดงั น้ี

๏ นางทราบสารหวานแทช้ ่างแก้เกี้ยว กลับกลมเกลยี วจะขอปะชะพอ่ เอย๋

น่าใคร่หยิกใคร่ตีกระไรเลย ท้งั เยาะเย้ยยอ้ นวา่ สาระพดั

แลว้ คลส่ี ารอ่านซ้ำคำพนิ ิจ จะหยิบผดิ ท่ีตรงไหนไมถ่ นดั

เราขอสัตย์ขัดคำเธอซ้ำนดั จะป้องปัดก็เปน็ เราเจา้ มารยา

จะตามใจใหเ้ ธอเกย้ี วก็เสียวไส้ กลวั แต่ใจจะหลงเช่ือเบ่อื หนกั หนา

นางนึกพลางทางประดษิ ฐค์ ิดสารา ดว้ ยปรชี าเชงิ ความตามทำนอง

ครน้ั เสร็จสรรพพบั ผนึกให้ลูกแก้ว พ่อใหแ้ ล้วทลู ลากลับมาหอ้ ง

พระหนอ่ ไทได้สมอารมณป์ อง พลางยมิ้ ยอ่ งยอ้ นถามตามสงกา

พระบติ รุ งค์ทรงส่ังแตข่ ้างเช้า วา่ คำ่ เข้าไต้ไฟให้ไปหา

เด๋ยี วนี้แม่กำชับใหก้ ลบั มา อนั ลูกยาไมร่ ู้แห่งจะแบ่งเลย ฯ

ท่มี า พระอภยั มณี ตอนที่ ๒๑ เก้ียวนางสุวรรณมาลี [กรมศิลปากร, ๒๕๔๔, ๒๕๒]

ไต้ นำ้ มนั ยางและเร่อื งเลา่ จากแสงไต้ โดย ปราณ ปรชี ญา ๑๕๖

• มโนห์รา
มโนห์ราเป็นชื่อของนางเอกเร่ืองนางมโนหร์ านทิ านเรื่องหน่ึงในสุธนชาดกของคัมภรี ์ปัญญาส
ชาดกซึ่งเรียกกันว่า 'คำภีร์ชาดกนอกนิบาต' เพราะมิได้มีมาในคัมภีร์พระไตรปิฎก คณะละครนอกได้
นำนิทานพื้นบ้านเรื่องนี้มาแสดงมีบทละครซึ่งแต่งเมื่อครั้งกรุงเก่าสมัยอยุธยาแต่ต้นฉบับไม่สมบูรณ์
หอสมดุ วชิรญาณไดต้ รวจสอบชำระตน้ ฉบบั ดงั กล่าวทีม่ อี ยูเ่ พียง ๑ ตอน คอื ตอนนางมโนราห์ถูกจับไป
ถวายพระสุธน และจัดพิมพ์ขึ้นเมื่อพุทธศักราช ๒๔๖๒ บทละครวรรณคดีประกอบการแสดงเรื่องนี้
แต่งเป็นกลอนบทละครแต่ไม่ใช่กลอนแปดแท้ บางตอนมีลักษณะเป็นกาพย์ตามรูปแบบการแสดง
'โนรา' ของภาคใต้

ฝนั ว่ารัว้ ใต้ ทำลายไปข้างหวั นอน
ฝนั วา่ ครามสดุ ลุย่ หลดุ ลงแลว้ อย่ขู จร
ตกลงในทน่ี อน คว้าหาไม่เหน็ กร็ ้องไห้
ตืน่ ขึ้น ปลุกนางสนมสาวใช้
สาวสรีไปจดุ ไต้ ชาวใช้ไปจุดชวาลา
เทยี นยาม กต็ ามไปเร่ส่องหา
นางเสดจ็ ข้ึนเฝา้ ทา่ นท้าวทมุ พรราชา

ไตใ้ นเรือ่ งเลา่

• ผจี ดุ ไต้

“...วันหนง่ึ คุณพระศรฯ ซง่ึ เปน็ ผใู้ หญ่ทีพ่ ่อนับถือ ให้คนมาเชิญพอ่ ไปท่ีบ้าน ขณะนั้นเป็นเวลา
ใกล้ค่ำ พ่อจงึ ให้ตาสุ่มกบั หลำเตรียมเรือมาด เพราะระยะทางไกลโขอยู่ พ่อไม่ชอบเดินไกล ๆ จึงนงั่ เรอื
ไปขากลับจะได้มาได้สะดวก คุณพระศรฯ มีธุระปรึกษาพ่อ แล้วก็เลยชวนรบั ประทานอาหารข้าวเย็น
ด้วยกัน เมื่อเสร็จธุระแล้วพ่อเกรงว่าจะดกึ ก็ลากลับลงเรือแจวมาเรื่อย ๆ พ่อเล่าวา่ ลมพัดเยน็ สบาย ดู
หิ่งห้อยเกาะกิ่งต้นลำพูชายคลอง ส่งแสงวับ ๆ แวม ๆ ดูสวยแลเห็นถนัดเพราะเป็นคนื ข้างแรมไร้แสง
จันทร์

พ่อถามตาสุ่มกับหลำว่ากินข้าวแล้วหรือยัง สองคนบอกว่ากินแล้ว คุณพระท่านให้คนเอา
กบั ขา้ วใส่ถาดมาให้กินท่ีเรอื พอบอกวา่ ถ้าเช่นนั้นก็แจวไปเร่ือย ๆ ไม่ต้องรบี ร้อนเพราะอ่มิ หนำสำราญ
แล้ว

ไต้ นำ้ มันยางและเร่ืองเลา่ จากแสงไต้ โดย ปราณ ปรีชญา ๑๕๗

พอถึงสะพานโคสถิตย์ใกล้บ้านแขกหมอก็แลเห็นเรือเล็กลำหนึ่งเป็นเรือยาวคล้ายเรือม่วง มี
คนน่ังสองคนโพกผ้าขาว ๆ เรือลำนั้นพายอยู่ขา้ งหน้าในระยะหา่ งประมาณเส้นเศษ มีไต้จุดปักหัวเรอื
มองเห็นควนั ไตส้ ีดำ และเปลวไฟค่อนขา้ งสีแดง

ในเรือมาดลำทีพ่ ่อน่ังมานั้น เผอิญไม่มีไฟ ตาสุ่มบอกวา่ คิดว่าหลำเอาตะเกียงลงมาแล้วหลำก็
คิดวา่ ตาสมุ่ เอาติดมาด้วย ตาสมุ่ ว่าแกถอดเอาไปเติมน้ำมัน แล้วกเ็ ลยลืมเอามาใส่

พ่อก็เลยดุว่ามีแต่คนขี้ลืมทั้งนั้น อย่ามัวเถียงกันอยู่เลยให้รีบเร่งแจวให้ทันเรือลำหน้า จะได้
อาศัยแสงไฟจากไต้ของเรือลำหน้า พอแลเห็นหนทางด้วยว่าสองข้างคลองนั้นเต็มไปด้วยต้นกกและ
เหงือกปลาหมอสลับกบั ตน้ ลำพูและเสาผุ ๆ ถ้าหวั เรือไปชนเขา้ ก็จะเจบ็ ตัว

สองคนหัวท้ายจึงเร่งแจว แตถ่ งึ จะเร่งเทา่ ไร ๆ กไ็ ม่ใกล้เรือลำหน้าเข้าไปเลย ทั้ง ๆ ท่ีดูเรือลำ
นนั้ กพ็ ายช้า ๆ เนิบ ๆ ดูท่าทางไม่นา่ จะไปไดเ้ ร็ว
สักครู่เรือลำนั้นก็พายห่างออกไป ตาสุ่มบอกให้หลำแจวเต็มที่ เรือมาดของพ่อก็เกยตลิ่งโครมเต็มรัก
และเต็มแรง เพราะแจวกันไมย่ ั้งท่ีเรือเกยนั้นเป็นตล่ิงขอบถนนหน้าสามส้างพอดิบพอดี เรือลำหน้ามัน
พายเข้าไปในสามส้าง แลว้ กห็ ายวับไปกับตา...”
ท่มี า เด็กบา้ นสวน [พ. เนตรรังส,ี ๒๕๓๘, น.๑๓๓–๑๓๔]

ไตใ้ นเร่ืองสนั้

• บ่าวสาวเก้ียวกัน

คืนนั้นคูนนอนหลับอยู่บนฟูกเก่า ๆ ข้างฝาห้องเดียวคนเดียวเหมือนคืนก่อน ๆ ก็มีเสียงฟ้า
ร้องครืนใหญ่ คนู ดใี จลกุ ทะล่ึงตงึ ตงั ขนึ้ มาน่งั พรอ้ มกบั มีเสยี งฟ้าผา่ เปรีย้ ง ๆ ในทุ่งรมิ บา้ น

“เอ้า ผ่าลงมาอีก ผ่าลงมานาน” พ่อว่าเท่านั้นก็เปิดประตูครืดลงเรือนหายไป แม่จุดไต้ขึ้น
สว่างพรึบพร้อมกับมีควันลอยขึ้นโขมงไปยังขื่อบ้าน คูนถามแม่ว่าพ่อไปไหน แม่ก็บอกว่าไต้ที่มีอยู่ก็
กำลังจุดอยู่นแี่ ล้ว พอ่ จึงไปซือ้ ลำไต้มาเผ่ือฝนตกจะไดไ้ ปจบั กบและอ่ึงอ่างสักครู่ฟ้าบนหัวก็ร้องข้ึนครืน
ใหญ่อกี คูนลกุ ผุดขนึ้ ไปนัง่ ท่ปี ระตพู ร้อมกบั ร้องขึน้ ว่า

“เอา้ ตกลงมาให้นากหู ่งให้ซ่งกูเปยี ก”
ความหมายของคำพูดก็คือ ขอใหฝ้ นตกลงมามนี ้ำขังในนานาน ๆ และให้กางเกงเปยี กฝนสักที
และคำพูดที่คูนลืมตัวพูดขึ้นนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งของคำกลอนเซิ้งนางแมวขอฝนที่ทิดฮาดขี้เมาว่าบ่อย ๆ
จนคนู จำได้
“อย่าเพิ่งพูด” แมบ่ อกคูนเบา ๆ
“ทำไมละ่ ”
“ขืนพดู ก่อนดใี จก่อน พระยาแถนขา้ งบนจะไม่ใหน้ ำ้ ฝนน่ะลกู ”

ไต้ น้ำมนั ยางและเรื่องเลา่ จากแสงไต้ โดย ปราณ ปรชี ญา ๑๕๘

ขณะมีเสยี งเซ็งแซท่ างเรือนป้าบัวศรีพอ่ กห็ อบลำไตข้ ึ้นมาถึงห้าลำ
“รบี รอ้ นนักลืมเอาสตางค์ไปดว้ ย” พ่อว่าแลว้ วางลำไต้ลง
“ของใครล่ะ” แมส่ งสยั
“ของคนญวนมาใหม่ ไอเ้ จก๊ อ๋มู นั ไม่ยอมเปดิ ประต”ู
“คนญวนมนั ใหม้ าร”ึ แมพ่ ดู งง ๆ
“อ้ือ ฉนั บอกมนั ว่าอยู่เรอื นเจ้าของไขไ่ กท่ ่มี นั มาซื้อ มนั กห็ อบใหท้ นั ที พร่งุ นคี้ อ่ ยเอาสตางค์ไป
ให”้
“พ่อรักคนญวนเข้าแลว้ นะ” คูนโพลง่ ข้นึ
“จำเปน็ น่ะลกู ถ้าฝนตกลงมาจะไปไม่ทันเขาจบั กบและอ่ึงอ่างทางโคกหนองใหญ่” พ่อว่าเบา
ๆ แล้วนั่งน่ิง
คูนรู้ว่าที่พ่อกับแม่นั่งนิ่งก็เพราะตั้งใจฟังเสียงฟ้าฝนจึงนั่งทอดสายตาฝ่าความมืดไปข้างหน้า
อยู่ใกล้ ๆ พ่อ แต่พอไต้จุดอยู่จวนจะหมดพ่อก็เป่าพรวดให้ดับมอดทันที เมื่อพ่อบอกคูนให้กลับไปท่ี
นอน คนู ก็ไปนอนถอนใจโมโหให้ฟา้ อยูค่ นเดยี ว [คำพูน บญุ ทวี, ๒๕๕๘, น.๔๔–๔๖]

• ไตด้ ับ

คำอ้ายรีบวิ่งไปเอากะบองเรอื นแม่ใหญ่ เห็นพ่อใหญ่แมใ่ หญ่เตรยี มข้องใบโต เอื้อยจำปีถือกะ
บองข้องใหญ่ ยืนคุยกระซี้กระซิบกับน้าอำพรปานนกกระจิบหลังฝนใหม่ คำอ้ายเคยกินปลาร้าอึ่ ง
มาแล้ว แมน้ ำอึ่งทีเ่ ป็นปลาร้าป้ิงไฟให้ลุก จนมนี ำ้ เยิ้มหยดตอ้ งถ่านแดงดังฉ่า ๆ จงึ ยกมาใส่ถ้วยป้ันข้าว
เหนยี วจ้มิ ลงไป เน้ืออ่ึงจะเป่ือยย่ยุ โดยไม่จำต้องใช้เล็บฉีกให้ยาห รสชาตแิ ซบซ่ากว่าปลาร้าปลาหลาย
เทา่ เพยี งแตน่ ึกกน็ ้ำลายสอเสียแล้ว

ชาวบ้านกระจายกันออกจับตามอัธยาศยั สายของคำอา้ ยมุง่ สู่ลำห้วยนาวงั หนิ ท่หี มายตาไว้แต่
ตอนบ่าย สายนี้มีทิดสีทานำขบวนสาว ๆ เดินออกหน้า คำอ้ายและจันจ้ำตามติด ๆ ทิ้งผู้ใหญ่ไว้เบื้อ
หลัง เห็นแสงกะบองตามหลังเป็นสาย ฟ้าหลังฝนฉ่ำใส ดวงดาวน้อยใหญ่เปล่งแสง สายลมรวยร่ืน
อากาศชน่ื เยน็ สบาย เสียงอง่ึ อ่างหง่างระงมอยู่ข้างหนา้ มันน่าจะมเี ปน็ พนั เป็นหมืน่ หรอื มากกวา่ นนั้

เมื่อถึงที่หมาย ต่างแยกย้ายกันลงจับ ใช้ไฟกะบองส่องหา ในวังน้ำตามสายห้วย เสียงอึ่งดัง
กลบเสียงพูดคุยของคนเสียสิ้น คำอ้ายได้กลิ่นคาวอึ่งเคล้ากลิ่นน้ำฝนใหม่ ชื่นใจดีแท้ เด็กน้อยสะพาย
ข้องใบใหญ่ยักแย่ยักยัน ลุยน้ำลงส่องไต้ตะครุบจับ จันก็ปุ้บปู้ปุ้บปั้บ จับผิดจับถูก อึ่งผิวลื่นขึ้นขี่หลัง
กันเป็นคู่ ๆ จู๋จี๋กันเพลิน จนลืมว่ามีคนจ้อง ตะเบ็งเสียงร้องอยู่เอ็ดอึง ตัวที่ยังเปลี่ยวเอกาก็ว่ายน้ำหา
ค่ขู าไขว่ ๆ สว่ นใหญ่ลอยตุบ๊ ป่อง ๆ อยูบ่ นผวิ นำ้ ซ่งึ มฟี องขาวจับเป็นคราบ มีบ้างทต่ี กใจมุดดำหนี แต่
ประเด๋ยี วก็โผล่หายใจไมห่ า่ งทีเ่ ดิมนัก

ไต้ นำ้ มนั ยางและเร่อื งเล่าจากแสงไต้ โดย ปราณ ปรชี ญา ๑๕๙

คำอ้ายสนุกตื่นเต้นทุกครั้งที่จับเจ้าสัตว์ผิวลื่นได้ บางทีมันขี่หลังกันอยู่แท้ ๆ แต่ก็จับได้ตัว
เดียว อีกตัวหลุดมือไปได้ มือหนึ่งชูกะบอง อีกมือคอยจับ ตาจ้อง ฝ่ามือเหนียวเหนอะเปรอะยางอึ่ ง
เด็กน้อยสังเกตเห็นว่าตัวที่อยู่ข้างบนมักจะตัวเล็กกว่าตัวที่อยู่ข้างล่าง มันกระดืบกระแด่วอยู่บนหลัง
กัน พลิกคว่ำคะมำหงาย ดู ๆ ไปคล้ายเด็กคนพี่ให้น้องขี่หลังเที่ยวเล่น แต่เท่าที่เห็นอยู่ ดูมันไม่ได้เล่น
ธรรมดาอย่างเด็ก เพราะขี่กันไปพลางก็ออกไขส่ ีลายดำใส ๆ ลอยเปน็ แพ

“ไปวงั อน่ื เถอะคำ” เสยี งจนั ดังมาจากอีกฝง่ั ของวังน้ำตน้ื
คำอ้ายเดินตามหลังจันขึ้นฝั่งห้วย มองเห็นแสงไต้เรียงรายตามสายห้วย ซึ่งมีกอไผ่บงขึ้นอยู่
ตามฝงั่ พวกผใู้ หญย่ งั อยู่วังหลงั ๆ พวกหนมุ่ สาวลยุ ไปวงั หนา้ ก่อนแลว้ เสยี งองึ่ มิได้ซาลงแตอ่ ยา่ งใด ถึง
วังใหม่ เด็กทั้งสองมองเห็นน้าอำพรกับสาวสีนวลลุยน้ำก้อม ๆ เงย ๆ น้ำอำพรเงยเห็นสองเด็กน้อยก็
พดู เร่ง
“รบี ไปวังหน้า อยา่ ชา้ เดย๋ี วไมท่ ันคนอ่ืน”
เด็กน้อยทั้งสองชูกะบองวิ่งต่อ ข้องสายตึงฟัดเวี่ยงไปมา บ่าหนึบถ่วง เสียงอึ่งในข้องร้องโอด
ครวญโอ้ดอ้อด ๆ คงไม่มีตัวใดคิดกอดข่ีกันอีกแล้ว ถึงวังที่สอง มีคนจองอยู่ก่อน จึงต้องวิ่งซ่อก ๆ ต่อ
จันออกหนา้ คำอ้ายตามหลัง เลาะเลียบไปตามฝัง่ หว้ ย พอดลี มกระโชกมาวูบใหญ่ ไตใ้ นมือดบั พรบึ มืด
เหมือนกำตา คำอ้ายร้องเรียกจันให้คอยทา่ จันวง่ิ พลางหนั มามอง แลว้ กม็ ีเสียงร้องอ๊ยุ ก่อนล้มคว่ำ กะ
บองกระเด็นหวอื ดับมอดมืดไปทง้ั สองคน
“กเู ตะขอนไม”้ จนั นั่งกุมหน้าแข้งรอ้ งครางในความสลัว กะบองตกอีกทาง ขอ้ งตะแคงข้างอยู่
อกี ที่ คำอา้ ยปรเ่ี ขา้ ชว่ ยจับข้อง พลางร้องถาม
“มงึ ลกุ ไดม้ ย๊ั ”
“ได้ ไหนล่ะกะบองกู” จันควานหากะบองจนพบ จากนั้นเด็กทั้งสองก็ลุกเดินต่อ ใช้เท้าคลำ
ทางไปใต้แสงดาวพราวไสว จนถึงวังใหมอ่ ีกแห่งเห็นแสงกะบองสองเล่มริบหรี่ ๆ เหมือนจะดับรอมมะ
รอ่
“มืดไม่เหน็ ทาง กูไปจุดกะบองก่อน” คำอา้ ยพูดพลางวางข้องไวแ้ ล้วเดนิ ไถลตัวลงลำห้วย อึ่ง
รอ้ งหง่างโหงก ๆ อย่ไู ม่กี่ตัว กะบองเลม่ หน่ึงวางอย่บู นผืนทรายใกล้ขอ้ ง เจ้าของหายไป คำอ้ายมองไฟ
ฝั่งเหนือ แล้วก็ต้องตกใจ ใครสองคนกำลังกอดปล้ำกันพัลวัน ยื้อแย่งกะบองกันเป็นการใหญ่ ขี้ไต้
หยาดวบิ วับ เด็กนอ้ ยเดินออ้ มไปดูใกล้ ๆ ด้วยใจเต้นองึ คะนึงพอ ๆ กับเสยี งอึง่ ร้อง ก็พอดีไต้ถูกเป่าดับ
แต่ไฟอีกฝัง่ ยงั สอ่ งสาดเรอ่ื ๆ แลเห็นสองรา่ งไร ๆ
ทีม่ า คำอ้าย [ยงค์ ยโสธร, ๒๕๔๓, น.๑๑๓–๑๑๕]

ไต้ น้ำมนั ยางและเรอ่ื งเล่าจากแสงไต้ โดย ปราณ ปรชี ญา ๑๖๐

[๗] บรรณานุกรม

กรมศิลปากร. [๒๕๕๕]. การเดินทางไปสู่สยาม–กรุงเทพ [The Eastern Seas, or Voyages and
Adventures in the Indian Archipelago in 1832–33–34] ในรวมเรื่องแปล
หนังสือและเอกสารทางประวัติศาสตร์ ชุดที่ ๑ สารภี สิริสิงห์ แปลและเรียบเรียง.
กรงุ เทพฯ: ไอเดีย สแควร.์

กรมศลิ ปากร. [๒๕๕๕]. การทอ่ งเท่ียว การเดินทาง และการผจญภัยของเฟอร์ดินันด์ เมนเดซ
ปินโต ในรวมเรื่องแปลหนังสอื และเอกสารทางประวัติศาสตร์ ชุดท่ี ๓ นันทา วรเนติ
วงศ์ แปลและเรยี บเรียง. กรุงเทพฯ: ไอเดีย สแควร์.

กรมศิลปากร. [๒๕๑๙]. จดหมายเหตุเจมส์ โลว์ [Journal of a public mission to Raja of
Ligor] นนั ทา วรเนติวงศ์ แปล. กรงุ เทพฯ: สำนักเลขาธิการนายกรฐั มนตร.ี

กรมศลิ ปากร. [๒๕๒๕]. ชีวติ ความเป็นอยู่ในกรุงสยามในทศั นะของชาวตา่ งประเทศ ระหวา่ ง พ.ศ.
๒๓๘๓–๒๓๘๔, ลินจง สุวรรณโภคิน แปล. กรุงเทพฯ: กองวรรณคดีและ
ประวตั ิศาสตร.์

กรมศิลปากร. [๒๕๔๓]. ชีวิตและงานของสุนทรภู่ ฉบบั กรมศิลปากรตรวจสอบชำระใหม่ [พิมพ์คร้ัง
ท่ี ๙]. กรุงเทพฯ: องคก์ ารคา้ ของคุรสุ ภา.

กรมศิลปากร. [๒๕๕๕]. นิทานเร่ืองพระร่วง [พิมพ์คร้ังท่ี ๓]. กรุงเทพฯ: แสงดาว.
กรมศลิ ปากร. [๒๕๕๙]. ประชมุ บทสกั รวาหน้าพระที่น่ัง. กรงุ เทพฯ: สำนักวรรณกรรมและ

ประวตั ิศาสตร.์
กรมศลิ ปากร. [๒๕๕๕]. ประเทศสยาม : ขอ้ สงั เกตทว่ั ไปในเรอ่ื งผลผลิต โดยเฉพาะเรือ่ งสนิ คา้ เข้า

และสินค้าออกรวมทั้งแนวทางดำเนินธุรกิจการค้ากับชาวสยาม ใน รวมเรื่องแปล
หนังสือและเอกสารทางประวัติศาสตร์ ชุดที่ ๓ เสาวลกั ษณ์ กีชานนท์ แปลและเรียบ
เรยี ง. กรงุ เทพฯ: ไอเดยี สแควร์.
กรมศิลปากร. [๒๕๕๙]. ประวัติศาสตรแ์ ห่งพระราชอาณาจักรสยามและประวตั ิศาสตร์ไทยสมัยกรุง
ศรีอยุธยา ฉบับตรุ แปง. กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์.
กรมศลิ ปากร. [๒๕๐๑]. พระราชพงศาวดารเหนอื [พมิ พเ์ ป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลงิ ศพ
มหาเสวกเอก เจ้าพระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษาธิบดี (ม.ร.ว.มูล ดารากร) ณ สุสาน
หลวง วัดเทพศิรินทราวาส วันท่ี ๑๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๐๑]. กรุงเทพฯ: ไทยเขษม.
กรมศิลปากร. [๒๕๔๔]. พระอภัยมณี ของ สนุ ทรภู่ เลม่ ๑ พิมพค์ รง้ั ที่ ๔๖. กรุงเทพฯ:
ศลิ ปาบรรณาคาร.

ไต้ นำ้ มันยางและเร่อื งเลา่ จากแสงไต้ โดย ปราณ ปรีชญา ๑๖๑

กรมศลิ ปากร. [๒๕๕๕]. มองสยาม ในรวมเรือ่ งแปลหนงั สือและเอกสารทางประวัติศาสตร์ ชดุ ท่ี ๒
นนั ทพร บรรลือสนิ ธ์ุ แปลและเรียบเรียง. กรุงเทพฯ: ไอเดีย สแควร.์

กรมศลิ ปากร. [๒๕๕๑]. วชิ าอาชีพชาวสยาม จากหนังสอื วชริ ญาณวิเศษ ร.ศ. ๑๐๙–๑๑๐.
กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวตั ิศาสตร์.

กรมศิลปากร. [๒๕๔๔]. เสภาเรือ่ งขนุ ชา้ งขนุ แผน เลม่ ๑. กรงุ เทพฯ: ศลิ ปาบรรณาคาร.
กรมศิลปากร. [๒๕๐๑]. สวัสดิรักษา และสภุ าษติ สอนสตรี ของสุนทรภู่ [พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงาน

ฌาปนกิจลูกเสือเอก ประวิตร์ มิลินทจินดา ณ เมรุ วัดมกุฎกษัตริยาราม วันที่ ๘
พฤศจกิ ายน พ.ศ. ๒๕๐๑]. กรุงเทพฯ: โรงพิมพม์ หาวทิ ยาลัยธรรมศาสตร์.
กรมศิลปากร. [๒๕๖๒]. ห้าปใี นสยาม เล่ม ๑ เสาวลกั ษณ์ กีชานนท์ แปลและเรยี บเรยี ง. กรุงเทพฯ:
กองวรรณกรรมและประวัตศิ าสตร.์
คกึ ฤทธ์ิ ปราโมช. [๒๕๕๔]. ส่แี ผน่ ดนิ เลม่ ๑ พิมพ์คร้ังท่ี ๑๕. กรุงเทพฯ: ดอกหญา้ ๒๐๐๐.
คณะกรรมการจดั พมิ พเ์ อกสารทางประวตั ิศาสตร์ วัฒนธรรม และโบราณคดี สำนกั นายกรัฐมนตร.ี
[๒๕๐๘]. ประชมุ ศิลาจารกึ ภาคท่ี ๓. กรงุ เทพฯ: สำนกั ทำเนียบนายกรัฐมนตร.ี
คณะกรรมการชำระประวตั ิศาสตรไ์ ทยและจัดพมิ พเ์ อกสารทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี สำนกั
เลขาธิการนายกรัฐมนตรี. [๒๕๓๖]. ประชุมหมายรับสั่งภาค ๔ ตอนที่ ๑ สมัยกรุง
รัตนโกสินทร์ รัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จ.ศ.๑๑๘๖–๑๒๐๒.
กรุงเทพฯ: สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตร.ี
คณะกรรมการฝา่ ยประมวลเอกสารและจดหมายเหต.ุ [๒๔๔๔]. วัฒนธรรม พฒั นาการทาง
ประวตั ิศาสตร์ เอกลกั ษณ์และภูมปิ ัญญาจงั หวัดจันทบุร.ี กรุงเทพฯ: กรมศลิ ปากร.
คำพนู บญุ ทวี. [๒๕๕๘]. ลกู อสี าน. กรุงเทพฯ: โปย๊ เซยี น.
โคลงโลกนติ ิ ฉบับถอดความ โดย ทองยอ้ ย แสงสินชยั . [๒๕๓๙]. กรงุ เทพฯ: สหธรรมกิ .
จุลจอมเกลา้ , พระบาทสมเด็จพระ. [๒๕๑๒]. เงาะป่า. กรงุ เทพฯ: ศลิ ปาบรรณาคาร.
จุลจอมเกลา้ , พระบาทสมเด็จพระ. [๒๕๑๔]. ระยะทางเสด็จประพาสจันทบรุ ี ปีชวดจุลศกั ราช
๑๒๓๘ ใน ชุมนุมเรื่องเมืองจันทบุรี [พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ
นางวรรณ จันทวิมล ณ สุสานหลวงวัดเทพศิรินทราวาส วันที่ ๒๙ พฤศจิกายน
พุทธศักราช ๒๕๑๔]. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.
เฉลียว ราชบรุ ี. [๒๕๔๙]. ประวตั ศิ าสตร์เมอื งระยอง. ระยอง: ระยองกนั เอง.
แชรแวส, นโิ กลาส. [๒๕๕๐]. ประวัติศาสตร์ธรรมชาตแิ ละการเมอื งแห่งราชอาณาจักรสยาม [ใน
แผ่นดนิ สมเดจ็ พระนารายณม์ หาราช]. นนทบรุ ี: ศรปี ญั ญา.
ชัยวัฒน์ ศรีแกว้ . [๒๕๕๒]. พจนานุกรมภาษาถิน่ ใต้–ภาษาไทยกลาง. กรงุ เทพฯ: พัฒนาศกึ ษา.
ฌงั บัปตสิ ต์ ปาลเลกวั ซ.์ [๒๕๕๒]. เลา่ เรือ่ งกรุงสยาม. นนทบุร:ี ศรปี ญั ญา.

ไต้ นำ้ มนั ยางและเรอื่ งเลา่ จากแสงไต้ โดย ปราณ ปรชี ญา ๑๖๒

ฌัง บปั ตสิ ต์ ปาลเลกวั ซ์. [๒๕๔๒]. สพั ะ พะจะนะ พาสา ไท. กรงุ เทพฯ: กระทรวงศึกษาธกิ าร.
ญบิ พนั จนั ทร์. [๒๕๓๕]. ชีวติ ด่งั ฝนั ทเี่ ทอื กเขาบรรทัด. กรงุ เทพฯ: ศิลปวรรณกรรม.
เดช ภสู องชน้ั . [๒๕๔๖]. ประวตั ิศาสตร์สามญั ชนฅนทงุ่ กลุ า [พมิ พ์คร้งั ท่ี ๒]. กรงุ เทพฯ: มตชิ น.
ดำรงราชานุภาพ, สมเดจ็ พระเจ้าบรมวงศเ์ ธอ กรมพระยา. [๒๕๔๔]. เรอ่ื ง นิทานโบราณคด.ี

กรุงเทพฯ: สำนกั เลขาธกิ ารนายกรัฐมนตร.ี
ตรี อมาตยกลุ . [๒๕๒๐]. ประวัติเมืองจันทบุรี [พมิ พแ์ จกเป็นอนสุ รณ์ในงานฌาปนกจิ นางอรณุ

วรรณ ปุณศรี ณ เมรุวัดจันทนาราม ตำบลจันทนิมิต อำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัด
จนั ทบุรี วันท่ี ๑๓ สิงหาคม พุทธศกั ราช ๒๕๒๐]. กรุงเทพฯ: กรมศลิ ปากร.
เทพ สุนทรศารทูล. [๒๕๔๔]. อตุ ตรมิ นุสสธรรม ของสมเด็จพระพุฒาจารย์ [โต]. กรุงเทพฯ:
ดวงแกว้ .
เทพชู ทับทอง. [๒๕๒๑]. สยามในอดีต. กรงุ เทพฯ: อกั ษรบณั ฑติ .
เทศบาลเมอื งหวั หิน. [๒๕๔๙]. เร่ืองเลา่ ของชาวหวั หิน. ประจวบครี ขี นั ธ์: ปราณนิวส.์
ธนติ อยโู่ พธ์.ิ [๒๕๑๑]. ประวัตแิ ละโคลงกำศรวลศรปี ราชญ์ พร้อมด้วยบันทึกสอบทานและหมาย
เหตุ [พิมพ์ครั้งที่สาม ในงานฌาปนกิจนายเดือนลอย บุนนาค]. กรุงเทพฯ: กรม
ศิลปากร.
ธีรยทุ ธ ยวงศร.ี [๒๕๓๔]. ละครชาวบ้าน ใน เบกิ โรง: ขอ้ พจิ ารณานาฏกรรมในสงั คมไทย [ปรติ ตา
เฉลิมเผ่า กออนันตกูล–บรรณาธิการ]. กรุงเทพฯ: สถาบันไทยคดีศึกษา
มหาวทิ ยาลยั ธรรมศาสตร์.
ธวชั ปณุ โณทก. [๒๕๖๑]. ภาษาถ่ินในวรรณกรรมท้องถน่ิ . กรงุ เทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
เนาวรัตน์ พงษ์ไพบลู ย.์ [๒๕๒๙]. คำหยาด รวมบทกวีนิพนธย์ คุ เรม่ิ แรก เนาวรตั น์ พงษไ์ พบูลย์
[กวซี ีไรท]์ พมิ พค์ รัง้ ที่ ๔. กรงุ เทพฯ: ก.ไก.่
เบญจภคั ค์ เจริญมหาวทิ ย.์ [๒๕๖๐]. คตชิ นวทิ ยาประยุกต.์ กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลยั รามคำแหง.
บุปผา บญุ ทิพย์. [๒๕๔๗]. คตชิ าวบ้าน. กรุงเทพฯ: มหาวทิ ยาลัยรามคำแหง.
ประชมุ ประกาศรชั กาลท่ี ๔ พ.ศ.๒๓๙๔–๒๔๐๐. [๒๕๐๓]. กรุงเทพฯ: องค์การคา้ ครุ สุ ภา.
ประพนธ์ เรืองณรงค.์ [๒๕๕๘]. ๑๐๐ เรอื่ งเมืองใต้ [พมิ พค์ รง้ั ที่ ๒]. กรงุ เทพฯ: อมรนิ ทร์.
ปราณ ปรีชญา. [๒๕๖๒]. รายงานการค้นควา้ เรอื่ ง โขนสด บางกะจะ จันทบรุ ี. จันทบรุ ี: สำนัก
ศลิ ปวัฒนธรรมและพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลยั ราชภฏั รำไพพรรณ.ี
พ. เนตรรงั ส.ี [๒๕๓๘]. เด็กบา้ นสวน. กรงุ เทพฯ: บรรณากจิ (๑๙๙๑).
พัชลินจ์ จนี นุ่น. [๒๕๖๒]. วรรณคดเี กยี่ วกบั ประวัตศิ าสตร์. คณะมนุษยศาสตรแ์ ละสงั คมศาสตร์
มหาวิทยาลัยทกั ษณิ .
พิชติ อคั นิจ. [๒๕๓๖]. วรรณกรรมไทย สมยั กรุงสุโขทัย–กรงุ ศรอี ยุธยา. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

ไต้ นำ้ มนั ยางและเร่อื งเล่าจากแสงไต้ โดย ปราณ ปรีชญา ๑๖๓

เพ็ญแข วัจนสนุ ทร. [๒๕๒๘]. คา่ นยิ มในสำนวนไทย [พิมพค์ รัง้ ท่ี ๓]. กรงุ เทพฯ: โอเดยี นสโตร.์
พระราชพงศาวดารกรงุ ศรอี ยธุ ยา ฉบับพนั จนั ทนุมาศ [เจิม] และเอกสารอืน่ . [๒๕๕๓]. นนทบุร:ี

ศรีปญั ญา.
พระราชพงศาวดารกรุงศรอี ยุธยา ฉบับหมอบรดั เล พิมพค์ รง้ั ท่ี ๒. [๒๕๔๙]. กรุงเทพฯ: โฆษติ .
พระวภิ าคภูวดล (James Fitzroy McCarthy). [๒๕๓๓]. บันทึกการสำรวจและบกุ เบกิ ในแดน

สยาม สมุ าลี วรี ะวงศ์ แปล. กรุงเทพฯ: กรมแผนท่ีทหาร.
พว่ ง บุษรารัตน์. [๒๕๔๒]. วรรณกรรมไทยบวั หลวง เรือ่ ง หนงั ตะลงุ . กรุงเทพฯ: มลู นธิ ิธนาคาร

กรุงเทพ.
ไม้ เมอื งเดมิ . [๒๕๔๔]. แสนแสบ. กรุงเทพฯ: เฟ่ืองอกั ษร.
มงกุฎเกล้าเจา้ อยหู่ วั , พระบาทสมเด็จพระเจ้าอย่หู ัว. [๒๕๑๗]. ยทุ ธภยั และความเป็นชาติโดย

แท้จริง [พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจนางฉลวย สมบูรณ์]. กรุงเทพฯ: อรุณการ
พมิ พ์.
มาลา คำจันทร์. [๒๕๓๕]. หม่บู า้ นอาบจันทร์ พมิ พ์ครงั้ ที่ ๗. กรุงเทพฯ: ตน้ ออ้ .
มลู นิธิสมเดจ็ พระเทพรัตนราชสุดา. [๒๕๕๔]. นามานุกรมพระมหากษตั รยิ ไ์ ทย. กรงุ เทพฯ: นาน
มีบุ๊คสพ์ บั ลเิ คช่นั ส์.
มูลนิธสิ ารานกุ รมวัฒนธรรมไทย. [๒๕๔๒]. สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคกลาง. กรุงเทพฯ: มลู นิธิ
สารานุกรมวฒั นธรรมไทย ธนาคารไทยพาณชิ ย์.
มลู นธิ ิสารานกุ รมวัฒนธรรมไทย. [๒๕๔๒]. สารานกุ รมวฒั นธรรมไทย ภาคใต.้ กรงุ เทพฯ: มลู นธิ ิ
สารานกุ รมวฒั นธรรมไทย ธนาคารไทยพาณชิ ย์.
มูลนธิ ิสารานกุ รมวฒั นธรรมไทย. [๒๕๔๒]. สารานกุ รมวัฒนธรรมไทย ภาคอีสาน. กรุงเทพฯ: มูลนธิ ิ
สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณชิ ย์.
มูลนธิ สิ ารานกุ รมวัฒนธรรมไทย. [๒๕๔๒]. สารานกุ รมวฒั นธรรมไทย ภาคเหนอื . กรงุ เทพฯ: มลู นิธิ
สารานกุ รมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณชิ ย์.
มยุรี ถาวรพฒั น์ และเอมอร เชาว์สวน. [๒๕๔๘]. สารานุกรมกลุม่ ชาตพิ นั ธใ์ุ นประเทศไทย ลาวคร่ัง.
นครปฐม: สถาบันวจิ ัยภาษา และวฒั นธรรมเพือ่ การพัฒนาชนบท.
มโู อต,์ ออ็ งรี. [๒๕๕๘]. บันทึกการเดินทางของออ็ งรี มูโอต์ ในราชอาณาจักรสยาม กมั พูชา ลาว
และอินโดจีนตอนกลางส่วนอื่น ๆ พิมพ์ครั้งที่ ๒ กรรริการ์ จรรย์แสง ผู้แปล.
กรงุ เทพฯ: มติชน.
ยงค์ ยโสธร. [๒๕๔๓]. คำอ้าย [พมิ พ์ครง้ั ท่ี ๔]. กรงุ เทพฯ: มิ่งมิตร.
รชดาภิเษก. [๒๕๕๑]. ทรงพระกรุณาโปรดเกลา้ โปรดกระหมอ่ มให้พมิ พ์พระราชทานในงาน

ไต้ นำ้ มนั ยางและเรอ่ื งเลา่ จากแสงไต้ โดย ปราณ ปรีชญา ๑๖๔

พระราชพิธีพระราชทานเพลิงศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลป์ยาณิวัฒนา
กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์. กรุงเทพฯ: สำนกั ราชเลขาธกิ าร.
ราชบัณฑิตยสถาน. [๒๕๕๖]. พจนานุกรมฉบบั ราชบณั ฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔. กรงุ เทพฯ:
ราชบัณฑติ ยสถาน.
รดี เดอร์ส ไดเจสท.์ [๒๕๔๙]. รรู้ อบตอบได้. กรุงเทพฯ: รดี เดอร์ส ไดเจสท์.
ลาลแู บร์, ซมิ อน เดอ. [๒๕๕๗]. จดหมายเหตุ ลาลแู บร์ ราชอาณาจักรสยาม. นนทบุรี: ศรปี ัญญา.
ลอ้ ม เพง็ แก้ว. [๒๕๕๓]. เกดิ เปน็ คนใต.้ กรงุ เทพฯ: โอเพ่นบกุ๊ ส์.
วชิ าติ บูรณะประเสรฐิ สขุ . [๒๕๕๕]. เร่ืองเลา่ จากชายแดนไทย–พมา่ : ประกายไฟทางปัญญาเพ่ือ
การพฒั นาอย่างยั่งยนื . กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนบั สนนุ การวิจยั .
วชริ ญาณวิเศษ เลม่ ๙/๙ แผน่ ท่ี ๑–๔๘ พฤศจิกายน ร.ศ. ๑๑๒ – กนั ยายน ร.ศ. ๑๑๓. [๒๕๕๙].
กรุงเทพฯ: มูลนิธสิ มเดจ็ พระเทพรัตนราชสุดา.
ส. พลายนอ้ ย. [๒๕๔๐]. เกิดในเรอื . กรุงเทพฯ: สารคดี.
สงา่ กาญจนาคพันธ์ุ, ขุนวจิ ติ รมาตรา. [๒๕๓๘]. สำนวนไทย. กรงุ เทพฯ: ดวงกมลสมัย.
สงา่ อารมั ภีร. [๒๕๓๑]. ความเอยความหลัง. กรุงเทพฯ: พี. วาทิน พบั ลิเคชนั่ .
สนม ครฑุ เมอื ง. [๒๕๓๑]. สารานกุ รมของใชพ้ นื้ บา้ นไทยในอดตี เขตหัวเมืองฝ่ายเหนือ. กรงุ เทพฯ:
อมรินทร์ พริ้นต้ิง.
สมร เจนจจิ ะ. [๒๕๔๗]. ภาษติ ล้านนา พมิ พ์ครงั้ ที่ ๓. กรุงเทพฯ: สถาพรบคุ๊ ส.์
สอน โลหนนั ท,์ มหาอำมาตย์ตรี พระยาทิพโกษา. [๒๕๑๔]. ประวัติสมเดจ็ พระพุฒาจารย์ [โต] จาก
บันทึกของมหาอำมาตย์ตรี พระยาทิพโกษา [สอน โลหนันท์] อนุสรณ์ในงาน
ฌาปนกิจนายปาน มงคลสินธุ์ ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาส วันจันทร์ที่ ๙ สิงหาคม
๒๕๑๔. พระนคร: วทิ ยากร.
สำนักงานวฒั นธรรมจังหวดั เชียงราย. [๒๕๕๙]. เสนห่ ์เชียงรายหลากหลายชาติพันธ์.ุ เชยี งใหม:่
มหานทแี มกกาซนี .
สำลี รักสทุ ธ.ี [๒๕๕๔]. พจนานกุ รมภาษาอีสาน–ไทยกลาง. กรงุ เทพฯ: พัฒนาศึกษา.
สมี า อนรุ กั ษ์ และ ประชดิ สกุณะพัฒน์. [๒๕๕๑]. มรดกคนภาคกลาง ภาคตะวันออก ประเพณี
และวถิ ีชวี ติ . อดุ รธานี: สรุ ยิ า.
สวุ รรณ กลิน่ พงศ์ และวันดี จนั ทร์ประดิษฐ.์ [๒๕๕๒]. พิธกี รรมและประเพณี. กรงุ เทพฯ: กรมการ
ศาสนา.
เสาวลกั ษณ์ อนันตศาสตร์. [๒๕๕๘]. ตำนานพ้นื บา้ น. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
อนชุ า ลอื แมะ และสมมาตร เทพพรหม. [๒๕๖๓]. เพลงกล่อมเด็กภาษาถ่นิ ใต้ [ภาษาเจะ๊ เหและ
ภาษามลายูถ่นิ ]. นราธวิ าส: สำนกั งานวฒั นธรรมจงั หวดั นราธวิ าส.

ไต้ นำ้ มนั ยางและเร่อื งเลา่ จากแสงไต้ โดย ปราณ ปรีชญา ๑๖๕

อมรา กล่ำเจริญ. [๒๕๕๓]. เพลงและการละเล่นพ้ืนบ้าน. กรงุ เทพฯ: โอเดียนสโตร์.
• วิจยั และวทิ ยานพิ นธ์
ณรงค์ฤทธ์ิ สุขสวสั ด.ิ์ [๒๕๕๗]. การดำรงอยูข่ องวิถชี วี ิต ประเพณี พธิ กี รรมและความเชื่อของกลุ่ม

ชนชาวไทยเขมร [เขมรถิ่นไทย] ที่อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี. ดุษฎีนิพนธ์
สาขาวิชาไทยศกึ ษา คณะมนุษยศาสตร์และสงั คมศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั บรู พา.
ธรี พล ทรัพยบ์ ุญ และชอ่ เพชร จำปี. [๒๕๕๖]. รายงานการวิจัย เร่อื งการใช้เทคโนโลยสี ารสนเทศ
ส ำ ห ร ั บ ก า ร เ ผ ย แ พ ร ่ ค ว า ม ร ู ้ ก ร ณ ี ศ ึ ก ษ า เ ร ื อ จ ำ ล อ ง ท ี ่ ใ ช ้ ใ บ พ า ย ข อ ง จ ั ง ห วั ด
พระนครศรอี ยุธยา. มหาวทิ ยาลัยราชภฏั พระนครศรีอยุธยา.
พรศริ ิ ถนอมกลุ . [๒๕๖๓]. รำวงโบราณชอง ในวารสารวชิ าการมนุษยศาสตรแ์ ละสงั คมศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี ปีท่ี ๓ ฉบับที่ ๓ กนั ยายน–ธันวาคม ๒๕๖๓.
วิสุดา เจียมเจมิ . [๒๕๕๔]. การศกึ ษาดนตรีของชาวกะเหร่ียงบ้านปา่ ละอู ตำบลห้วยสตั ว์ใหญ่
อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปกรรมศาสตรมหา
บณั ฑิต, มหาวิทยาลยั ศรนี ครินทรวิโรฒ, สาขาวิชามนุษยดรุ ยิ างควิทยา.
สิทธิชัย สมานชาต.ิ [๒๕๕๓]. รายงานการวิจัยฉบบั สมบรู ณ์ การย้อมสคี รัง่ ของชาวลาวคร่งั ใน
ประเทศไทย: วิทยาศาสตร์ธรรมชาติและความเชื่อ. คณะศิลปประยุกต์และการ
ออกแบบ มหาวทิ ยาลยั อบุ ลราชธาน.ี
• ข้อมูลอิเล็กทรอนกิ ส์
ขอ้ มูลภูมิปัญญาทอ้ งถ่ินด้านหัตถกรรม เรอื่ งขีไ้ ต้ออ่ ยไฟ. [๒๕๕๙]. สำนกั งานพัฒนาเศรษฐกิจจาก
ฐานชวี ภาพ (องค์การมหาชน). สืบค้นเมื่อวันท่ี ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๖๔, จาก

https://app2.bedo.or.th/bedo/?page=pageContent/info&pageID=213&lang=en&lang=th&lang=en

พิธีกรรมประจำชวี ิตคนอีสาน: การตาย. [๒๕๕๘]. สารสนเทศทอ้ งถนิ่ อสี าน งานข้อมลู ทอ้ งถน่ิ
สำนักวิทยบรกิ าร มหาวทิ ยาลัยอบุ ลราชธานี. สืบคน้ เม่อื วนั ที่ ๕ ตลุ าคม ๒๕๖๔, จาก
http://www.esanpedia.oar.ubu.ac.th/localinformation/?p=442

• สมั ภาษณ์บุคคล
จิรภัทร ปาลสุทธ์ิ. [๒๕๖๔, ๒๓ กนั ยายน]. ตำบลวังหวา้ อำเภอแกลง จงั หวดั ระยอง.
เฉลยี ว วรรณภักดี. [๒๕๖๔, ๑๙ มถิ ุนายน]. ตำบลตะเคียนทอง อำเภอเขาคิชฌกูฏ จังหวดั จนั ทบรุ .ี
ดาว ฉตั รเงิน. [๒๕๖๔, ๒๕ มิถุนายน]. ตำบลตะเคยี นทอง อำเภอเขาคิชฌกูฏ จงั หวดั จนั ทบรุ ี.
ทวีป สริ ิไสยาสน์. [๒๕๖๔, ๒๕ กรกฎาคม]. อำเภอเมอื งจนั ทบรุ ี จงั หวดั จันทบรุ ี.
ปวณี น์ ุช ธรี ะเวช. [๒๕๖๔, ๒๔ กรกฎาคม]. ตำบลจันทนมิ ติ อำเภอเมอื งจนั ทบรุ ี จังหวัดจนั ทบุร.ี
ปราโมช รว่ มสขุ . [๒๕๖๔, ๒๕ กรกฎาคม]. ตำบลท่าชา้ ง อำเภอเมอื งจนั ทบุรี. จังหวดั จันทบรุ ี.
พฤนท์ สขุ สบาย. [๒๕๖๔, ๒๕ กรกฎาคม]. ตำบลจันนิมติ อำเภอเมอื งจันทบรุ ี. จังหวดั จนั ทบุร.ี

ไต้ นำ้ มันยางและเร่อื งเลา่ จากแสงไต้ โดย ปราณ ปรชี ญา ๑๖๖

รา้ นป้าแต๋ว. [๒๕๖๔, ๒๕ มิถนุ ายน]. ตลาดเขาคชิ ฌกูฏ อำเภอเขาคชิ ฌกูฏ จังหวดั จนั ทบรุ .ี
รา้ นวิรยิ ะ. [๒๕๖๔, ๒๕ มถิ ุนายน]. ตำบลตะเคยี นทอง อำเภอเขาคชิ ฌกฏู จังหวดั จนั ทบุร.ี
รำแพน ศลิ าปาน. [๒๕๖๒, ๒ กุมภาพันธ์]. ตำบลจันทเชลม อำเภอเขาคชิ ฌกฏู จงั หวดั จนั ทบรุ ี.
สขุ สวัสด์ิ ฉตั รเงิน. [๒๕๖๔, ๑๙ มถิ นุ ายน]. ตำบลตะเคียนทอง อำเภอเขาคชิ ฌกูฏ จังหวดั จันทบรุ .ี


Click to View FlipBook Version