ชือ่ หนงั สอื ศิลปวัฒนวจิ กั ร์
พิมพ์ครงั้ แรก พุทธศักราช ๒๕๖๔
บรรณาธิการ ผูอ้ ำ�นวยการสำ�นกั ศิลปะและวฒั นธรรม
ผู้ชว่ ยศาสตราจารยธ์ รี พร พรหมมาศ
กองบรรณาธิการ
รองศาสตราจารย์พรรษประเวศ อชิโนบุญวัฒน์ รองผู้อำ�นวยการสำ�นกั ศลิ ปะและวฒั นธรรม
ผชู้ ่วยศาสตราจารย์ทศั นีพร วิศาลสวุ รรณกร รองผู้อ�ำ นวยการส�ำ นักศิลปะและวฒั นธรรม
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชุณษิตา นาคภพ รองผ้อู �ำ นวยการส�ำ นกั ศิลปะและวัฒนธรรม
ผชู้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.เพยี งพศิ ชะโกทอง ผู้ชว่ ยผ้อู �ำ นวยการสำ�นกั ศลิ ปะและวัฒนธรรม
จัดพิมพแ์ ละสงวนสิทธโ์ิ ดย
สำ�นักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวทิ ยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
๓๙๘ หมู่ ๙ ถนนสวรรค์วิถี ต�ำ บลนครสวรรคต์ ก อำ�เภอเมอื ง จังหวดั นครสวรรค์ ๖๐๐๐๐
พมิ พ์ที่
หจก.วิสทุ ธ์ิการพมิ พ์ ๑๙๖๙
คำ�นำ�
สำ�นักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ เป็นหน่วยงาน
ที่ขับเคล่ือนงานด้านศิลปะและวัฒนธรรมของมหาวิทยาลัย โดยหน่ึงในกลยุทธ์
ทส่ี �ำ คญั คือ การแสวงหา อนุรกั ษ์ สบื สาน และเป็นแหลง่ ข้อมลู ด้านศลิ ปวฒั นธรรม
และภมู ปิ ญั ญาทอ้ งถน่ิ เพอ่ื การเรยี นรู้ รวมไปถงึ การเผยแพรค่ วามรดู้ า้ นศลิ ปวฒั นธรรม
และภูมิปัญญาท้องถิ่น ซ่ึงสอดคล้องกับเกณฑ์การประกันคุณภาพการศึกษาภายใน
ระดับอุดมศึกษาที่มุ่งเน้นให้เกิดการรวบรวมองค์ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมและ
ความเปน็ ไทยอยา่ งเปน็ ระบบ ในรปู แบบของเอกสารเชงิ วชิ าการ เพอ่ื เผยแพรส่ �ำ หรบั
ผู้สนใจ ทง้ั ในท้องถ่ิน ชมุ ชน สังคม และประเทศชาติ
หนงั สือ “ศลิ ปวัฒนวิจักร์” นี้ จงึ เปน็ หนงั สอื ที่รวบรวม ค้นคว้า และเรียบเรยี ง
ความรู้ทางด้านศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมถึงงานสร้างสรรค์ด้าน
ศิลปะและวฒั นธรรม
สำ�นักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ขอขอบคุณ
ผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้เก่ียวข้องทุกท่านสำ�หรับข้อมูลอันเป็นประโยชน์ และความ
ร่วมมือในการดำ�เนินงานด้านการทำ�นุบำ�รุงศิลปวัฒนธรรมเพ่ือให้เกิดการสืบสาน
งานด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยอย่างยั่งยืน
สารบัญ หนา้
๑
กลุ่มชาตพิ ันธุจ์ นี ในนครสวรรค์ ๒๔
คนไทยเชอื้ สายญวนในจังหวัดนครสวรรค์ ๕๔
คนไทยเช้อื สายมุสลิมในนครสวรรค์ ๘๔
คนไทยเชอื้ สายไทด�ำ ในนครสวรรค ์ ๑๑๕
การอพยพของมอญเขา้ สไู่ ทย ๑๓๑
คนไทยเชื้อสายลาวครั่งในนครสวรรค์ ๑๔๔
บทสรปุ ๑๔๕
เอกสารอา้ งอิง
๑
ประวัตกิ ารอพยพของชนชาตพิ ันธ์ุในนครสวรรค์
อตั ลักษณ์ทางวฒั นธรรม ประเพณี พธิ ีกรรม ความเชื่อ
และความศรทั ธา วถิ ีชวี ติ ความเปน็ อยู่ในนครสวรรค์
กลุ่มชาตพิ ันธุ์จีนในนครสวรรค์
นครสวรรค์เป็นดินแดนท่ีมีแม่นํ้าสำ�คัญหลายสาย คือ แม่นํ้าเจ้าพระยา
แม่น้ําปิง และแม่นํ้าน่าน ส่งผลให้มีผู้คนเดินทางเข้ามาต้ังถ่ินฐานอยู่หนาแน่นกว่า
บริเวณอื่น อีกท้ังจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี ทำ�ให้ทราบว่า
นครสวรรค์เป็นถิน่ ทอ่ี ยอู่ าศัยของมนษุ ย์มาตง้ั แตส่ มัยกอ่ นประวัติศาสตร์ จนกระทงั่
พฒั นาขน้ึ เปน็ ชมุ ชนเมอื งในชว่ งสมยั ประวตั ศิ าสตร์ ซง่ึ มพี ฒั นาการและความเจรญิ
มาเปน็ ลำ�ดบั
สบื เนอ่ื งจากความส�ำ คญั ของดนิ แดนไทยในอดตี เปน็ ทร่ี าบลมุ่ แมน่ า้ํ จงึ เหมาะ
แก่การต้ังถิ่นฐาน ทำ�ให้กลุ่มคนหลากหลายชาติพันธุ์ที่ประกอบไปด้วย กลุ่มคน
ทั้งเชื้อชาติไทย จีน มอญ ญวน ลาว และมุสลิม ได้อพยพเข้ามา โดยการศึกษา
ค้นคว้าข้อมูลทางด้านประวัติศาสตร์และการอพยพย้ายถ่ินฐานทำ�ให้พบข้อมูล
ชุดความรู้ทางวัฒนธรรมท้องถ่ินท่ีเกี่ยวกับชาติพันธ์ุต่าง ๆ อันได้จากการเรียนรู้
เรื่องราวรากเหง้าความเป็นมา ตลอดจนสภาพสังคม ประเพณี ความเชื่อ และ
วัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธ์ุต่าง ๆ ที่มาอาศัยอยู่ร่วมกันในจังหวัดนครสวรรค์
(ซ่ึงจะกล่าวต่อไป) สิ่งท่ีพบสอดคล้องยืนยันตรงกันว่า การเดินทางเข้ามาของ
กลุ่มคนเหล่านี้มีจุดประสงค์เพ่ือการค้า และเพื่อแสวงหาโอกาสในการดำ�เนิน
ชวี ิตใหม่ใหม้ ีฐานะดีข้ึน โดยเฉพาะกลมุ่ ชาวจีน
ซ่ึงเป็นกลุ่มชาติพันธ์ุท่ีเดินทางเข้ามาทำ�การค้าและอพยพมาต้ังรกรากอยู่
ในดินแดนไทยเป็นจำ�นวนมาก และมากขึ้นเร่ือย ๆ โดยเฉพาะในสมัยอยุธยา และ
สมัยต้นรัตนโกสินทร์ ท้ังน้ี เพ่ือหนีความอดอยาก ความยากจน และความวุ่นวาย
ทางการเมอื งภายในประเทศจีน
๒
ประวตั ศิ าสตรก์ ารอพยพของกลุ่มชาติพันธ์จุ ีนในนครสวรรค์
ในบรรดาดินแดนโพ้นทะเลที่ชาวจีนอพยพไปต้ังรกรากน้ัน ภูมิภาคเอเชีย
ตะวันออกเฉียงใต้ หรือดินแดนท่ีชาวจีนเรียกขานว่า “หนานหยาง” เป็นอาณา
บริเวณท่ีชาวจีนโพ้นทะเลอยู่อาศัยมากท่ีสุด เม่ือเทียบกับภูมิภาคอ่ืน ๆ และใน
ภูมิภาคแถบน้ีชาวจีนโพ้นทะเลได้เป็นชนกลุ่มน้อยท่ีสำ�คัญของหลายประเทศ เช่น
มาเลเซีย ไทย ฟิลปิ ปินส์ อนิ โดนเี ซยี แม้ว่าชาวจีนซ่งึ อาศัยอยู่ในดินแดนโพน้ ทะเล
จะมีเอกลักษณ์ท่ีสะท้อนความเป็นจีนร่วมกัน อาทิ การใช้ภาษาจีน อาหารจีน
ความเชอ่ื ตามแนวลทั ธขิ งจอ้ื การไหวเ้ จา้ การกราบไหวบ้ รรพบรุ ษุ รวมทง้ั ประเพณี
ต่าง ๆ (พรพรรณ จันทโรนานนท์, ๒๕๔๖) จนกระทั่งสามารถสร้าง “ชุมชนของ
ชาวจีน” (Chinese Communities) ในดินแดนน้ัน ๆ ได้ แต่ทว่า วิถีชีวิตและ
ชะตากรรมของชาวจีนโพ้นทะเลท่ีต้ังรกรากในแต่ละดินแดนก็แตกต่างกันอย่าง
ส้ินเชิง ภายใต้เงื่อนไขสภาพแวดล้อมทางการเมืองของแต่ละประเทศและความ
เปล่ียนแปลงทางการเมืองในแต่ละยุคสมัย โดยชาวจีนโพ้นทะเลต้องยอมรับ
เง่ือนไขและการกระทำ�โดยรัฐผู้ปกครอง หรือเจ้าของดินแดนโพ้นทะเลนั้น ๆ
ซึง่ แตล่ ะรัฐก็มีนโยบายตอ่ ชาวจนี ในลักษณะตา่ งกนั ไป
จากบันทึกทางประวัติศาสตร์ไทยกล่าวว่าชาวจีนที่เดินทางมาไทยในสมัย
อยุธยาส่วนใหญ่ เป็นจีนฮกเกี้ยนมักมีอาชีพรับราชการ แต่หลังสมัยอยุธยาจะมี
ชาวจีนแต้จิ๋วอพยพเข้ามาเป็นจำ�นวนมาก จีนฮกเกี้ยนมีเป็นจำ�นวนมากตามแถบ
ภาคใตข้ องไทยในจงั หวัดภูเกต็ ปตั ตานี สงขลา และระนอง สำ�หรบั จีนแตจ้ วิ๋ อาศยั
อยู่ในกรุงเทพฯ ฉะเชิงเทราและชลบุรีเป็นส่วนใหญ่ ชาวจีนแต้จิ๋วอพยพเข้ามา
ต้ังถิ่นฐานในประเทศไทยเป็นจำ�นวนมากในระยะหลังปี พ.ศ. ๒๓๑๐ เน่ืองจาก
ได้รับ การสนับสนุนและได้รับสิทธิพิเศษบางประการ เพราะสมเด็จพระเจ้าตากสิน
ทรงมีพระราชบิดาเป็นชาวแต้จิ๋วและชาวแต้จิ๋วได้มีบทบาทในการสู้รบเพ่ือกอบกู้
เอกราช
๓
พวกแต้จิ๋วส่วนใหญ่จะอพยพมาทางเรือและต้ังถ่ินฐานอยู่ในบริเวณทิศ
ตะวนั ออกเฉยี งใตข้ องประเทศไทย ไดแ้ กเ่ มอื งตา่ ง ๆ ในอา่ วไทยฝง่ั ตะวนั ออก ไดแ้ ก่
ตราด จันทบุรี บางปลาสร้อย (ชลบุรี) แปดร้ิว (ฉะเชิงเทรา) และในกรุงเทพฯ
ต่อมาภายหลังในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ พวกแต้จ๋ิวได้ขยับขยายออกไปต้ังถิ่นฐาน
ใหม่นอกเขตดังกล่าว เช่น อุตรดิตถ์ ปากน้ําโพ (นครสวรรค์) ตลอดจนพิจิตร
พิษณุโลก สวรรคโลก เด่นชัย เมื่อมีการสร้างทางรถไฟไปถึงแก่งคอยและขึ้นไป
ทางเหนือในปี พ.ศ. ๒๔๕๑ เป็นการยากท่ีจะระบุจำ�นวนชาวจีนกลุ่มต่าง ๆ
ในประเทศไทย แต่ยืนยันได้ว่าในบรรดาชาวจีนกลุ่มต่าง ๆ นั้นมีชาวจีนแต้จ๋ิว
มากทสี่ ุด (สุภางค์ จันทวานชิ , ๒๕๔๙: ๓๕)
ในสมัยรัตนโกสินทร์ นครสวรรค์มีความเจริญรุ่งเรืองอย่างมากทางธุรกิจ
โดยเฉพาะอย่างย่งิ เมอื่ มีการทำ�สนธิสญั ญาเบาวร์ ิงในสมัยรชั กาลท่ี ๔ ซ่งึ ก่อใหเ้ กิด
การค้าในระบบทุนนิยมหรือเสรีนิยมทำ�ให้จังหวัดนครสวรรค์กลายเป็นแหล่งสินค้า
ท่ีสำ�คัญ (สุภรณ์ โอเจริญ, ๒๕๓๕ : ๑๙) เนื่องจากมีการขนส่งสินค้าได้สะดวก
ด้วยเส้นทางน้าํ ท่ีสำ�คัญ คือ แม่น้าํ เจ้าพระยา จะเห็นความเจริญได้จากบ้านเมือง
ฝ่ังตะวันออก คือ ฝ่ังแม่น้ําแควใหญ่เจริญรุ่งเรืองข้ึน มีโรงสีเหนือ โรงสีกลาง
โรงสใี ต้ มตี ลาดบรษิ ัทค้าไมอ้ สี ต์เอเชียติก บรษิ ทั แมเ่ งา ห้างไมม้ สิ หลุยส์ โรงเลอ่ื ย
โรงน้าํ แข็ง และโกดังสินค้าต่าง ๆ มากมาย ปัจจัยท่ีส่งเสริมความเจริญ คือ ข้าว
ซ่ึงส่งลงมาที่แม่น้ําน่านโดยอาศัยการขนส่งทางเรือยนต์ และรถไฟ ทำ�ให้การ
ขยายตัวทางการค้ามีมากขึ้น มีกลุ่มชาติพันธ์ุไทยจีนหล่ังไหลเข้ามาขายแรงงาน
และประกอบการค้าต่าง ๆ ในนครสวรรค์มากขึ้นคนจีนเหล่านี้เป็นส่วนสำ�คัญใน
การสรา้ งความเจรญิ ทางเศรษฐกจิ ของนครสวรรค์ (เสรี ซาเหลา, ๒๕๔๕: ๖๕-๖๖)
การขยายตัวมาจากทางฝ่งั ตะวันออกน้เี ร่ิมมาจากสมยั รัชกาลท่ี ๕ โปรดให้
ยา้ ยตวั เมอื งมาตง้ั บนฝง่ั ตะวนั ตกของแมน่ า้ํ ประมาณกนั วา่ ปี พ.ศ. ๒๔๗๗ มกี ลมุ่
ชาตพิ นั ธไ์ ทยจนี ในนครสวรรคถ์ งึ ๖,๐๐๐ คน ในขณะทภ่ี าคกลาง (ไมร่ วมกรงุ เทพฯ)
มีคนจีนประมาณ ๑๐,๐๐๐ คน และจำ�นวนคนจีนในนครสวรรค์น้ันจัดว่าอยู่ใน
อันดับ ๓ รองจากกรุงเทพฯ และภเู กต็ (สุภรณ์ โอเจริญ, ๒๕๓๕: ๑๙)
๔
สาเหตุท่ีทำ�ให้ชาวจีนอพยพมายังประเทศไทยหรือท่ีอ่ืน ๆ นั้นเพราะ
ต้องการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่และรายได้ทางเศรษฐกิจให้ดีขึ้น อาจกล่าวได้ว่า
ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ ๒๐ มีคนจีนเข้ามาตั้งหลักปักฐานในเขตชายฝ่ังทะเล
บริเวณลุ่มแม่นํ้าสายใหญ่ ๆ ตั้งแต่บริเวณแม่นํ้าเจ้าพระยา และแม่น้ําท่าจีน
มาจนถึงปากน้าํ โพ ตัง้ แต่สมัยตน้ รัชกาลที่ ๑
ชาวแต้จ๋ิว มีความชำ�นาญเป็นพิเศษในด้านการเกษตร จึงเป็นปัจจัยหน่ึง
ท่ีเพิ่มจำ�นวนคนแต้จ๋ิวในสยามขึ้นอย่างรวดเร็ว ความต้องการของตลาดโลกท่ีมี
เพ่ิมข้ึน ได้แก่ นํ้าตาล พริกไทย และผลิตผลด้านการเกษตรอ่ืน ๆ พ.ศ. ๒๓๕๓
ชาวจนี ทมี่ าต้งั ถน่ิ ฐานอย่แู ลว้ ได้นำ�ออ้ ย พริกไทย และยาสูบเขา้ มาปลูกในสยาม ถอื
ได้ว่าชาวแตจ้ วิ๋ เป็นเกษตรกรและคนงานในไร่ได้ดีเย่ยี ม
ชาวจีนฮกเก้ียน มักเป็นพ่อค้า และกะลาสีเรือเป็นส่วนใหญ่ มีการสร้าง
ศาลเจ้าของชาวฮกเก้ียนโดยมีการนับถือเทียนโฮ่วเซิงหมู่ (เจ้าแม่และจักรพรรดินี
แห่งสวรรค์) ผู้ซ่ึงเป็นเจ้าแม่ประจำ�เรือของพวกกะลาสี ศาลเจ้าเก่าแก่ของกลุ่ม
ฮกเก้ียนยังคงต้องอยู่รอบ ๆ อ่าว และเมืองค้าขายตามปากแม่น้ําต่าง ๆ แต่ไม่
ปรากฏสักแหง่ เดยี วในประเทศไทยทไ่ี กลข้นึ ไปทางเหนอื เกินกว่าอยธุ ยา
ชาวจีนกวางตุ้ง ขาดความชำ�นาญในการเดินเรือแบบฮกเกี้ยน จึงไม่ชอบ
ที่จะตั้งหลักแหล่งออกนอกเมืองใหญ่ ๆ เนื่องจากชำ�นาญในอาชีพด้านช่างฝีมือ
และการค้าเครื่องจักร เครื่องยนต์ ชาวกวางตุ้งเป็นเจ้าของโรงเลื่อย โรงสี
เป็นวิศวกรและช่างกลโลหะ โรงกลึง ก่อสร้าง ทำ�กิจการโรงแรมและภัตตาคาร
เป็นสว่ นใหญ่
กลุ่มฮกเกี้ยนและแต้จิ๋ว ถือว่ามีฐานะดีท่ีสุด แต้จิ๋วจะเป็นเจ้าของโรงสี
เจา้ ภาษนี ายอากร คมุ กจิ การทม่ี กี �ำ ไรสงู คา้ ขายผลผลติ ของคนทอ้ งถน่ิ ชาวฮกเกย้ี น
คุมการคา้ ใบชา
ชาวจีนแคะ เป็นพ่อค้าอ้อย ค้าขายเบ็ดเตล็ด เป็นช่างฝีมือช้ัน ๒ ช่างเงิน
ช่างตัดเยบ็ หนัง ช่างตัดเยบ็ เสื้อผ้า และชา่ งตัดผม
ชาวไหหลํา เป็นคนงานเลื้อยไม้ คนทำ�สวนผัก ทำ�ประมง เจ้าของโรงน้ําชา
๕
อาจกล่าวได้ว่า ผู้บุกเบิกที่แท้จริงในพ้ืนที่ตอนบนของประเทศไทยนั้น คือ
กลุ่มไหหลํา โดยพบศาลเจ้าที่เก่าแก่ที่สุดในบริเวณปากน้ําโพ รวมท้ังภาคเหนือ
และตะวันออกของปากน้ําโพ จะมีการนับถือ สุย-เหว่ย-เหนียง ซึ่งเป็นเจ้าแม่
ผู้ทรงคุณธรรมประเสริฐย่ิงของชาวไหหลำ�ตามเมืองต่าง ๆ ที่อยู่บนฝ่ังแม่นํ้าน่าน
แมน่ า้ํ ยมและแมน่ า้ํ วงั ในพน้ื ทภ่ี าคกลางและภาคเหนอื จะมศี าลเจา้ ของเจา้ แมอ่ งคน์ ้ี
เป็นที่น่าสังเกตว่าศาลเจ้าของไหหลำ�ท่ีเก่าแก่ท่ีสุดและใหญ่ท่ีสุดอยู่ที่สามเสน
ในกรุงเทพฯ จากหลกั ฐานบนแผ่นคำ�จารกึ และแผน่ ศิลาตามศาลเจา้ พบวา่ บรเิ วณ
ทต่ี ง้ั หลกั แหลง่ ส�ำ คญั ของชาวไหหล�ำ ไดแ้ ก่ บรเิ วณลมุ่ แมน่ า้ํ ยม แมน่ า้ํ นา่ น อยเู่ หนอื
ปากน้ําโพ
จากคำ�บอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ชาวจีนเล่าถึงเร่ืองราวของรุ่นพ่อแม่ รุ่นปู่ย่า
ตายายท่ีเป็นหลักฐานได้ว่า ทุก ๆ เมืองตามฝั่งแม่น้ําน่าน ตั้งแต่พิจิตร ไปถึง
เมืองน่าน และตามฝั่งแม่น้ํายม ตั้งแต่สุโขทัยจนถึงแพร่น้ัน จะมีคนจีนไหหลำ�
ท่ีเป็นกลุ่มแรกที่ได้ตั้งถ่ินฐาน กล่าวได้ว่าชาวไหหลำ�มักจะเป็นกลุ่มคนที่ไปบุกเบิก
ต้ังถิ่นฐานใหม่ เช่น ฝั่งแม่นํ้ายม ท่ีศรีสำ�โรง จังหวัดสุโขทัย หรือฝ่ังแม่น้ําน่าน
ท่ที ่าฬอ่ จงั หวดั พจิ ิตร
ผู้ท่ีมาจากเกาะไหหลำ�เป็นพ่อค้าเร่ ชาวประมง อาจมีความยากจนแต่เป็น
พวกทช่ี อบการรื่นเรงิ ท่สี ุด มคี วามช�ำ นาญในด้านการประมงและต่อเรือ จงึ ไปอาศัย
ตามแม่น้ําสายสำ�คัญ ๆ และมีความถนัดในการทำ�โรงเล่ือยอยู่ทางภาคเหนือ เช่น
ลำ�ปาง อู่เรือของชาวไหหลำ�ท่ีท่าฬ่อและปากน้ําโพ ด้วยลักษณะของชาวไหหลำ�
ทส่ี ามารถอดทนตอ่ สภาพภมู ปิ ระเทศและภมู อิ ากาศของภาคเหนอื เชน่ ตามบรเิ วณ
ท่มี ีปา่ ไดม้ ากกว่าคนแตจ้ ิ๋วหรือกวางตงุ้
๖
พ.ศ. ๒๔๔๖ ชาวแต้จิ๋วและชาวแคะ กระจายตัวจากกรุงเทพฯ สู่ทาง
ภาคเหนือ ไดแ้ ก่ สโุ ขทัย อุตรดติ ถ์ พษิ ณโุ ลก พจิ ติ ร และปากนา้ํ โพ เป็นจดุ สำ�คัญ
มีการเคลื่อนย้ายตั้งรกรากของชาวแต้จ๋ิว และชาวแคะ พร้อมกับทางรถไฟท่ี
กำ�ลังเร่ิมสร้างข้ึน (พ.ศ. ๒๔๕๑) รถไฟสายท่ีแล่นเรียบแม่น้ํานานไปภาคเหนือ
ปากน้ําโพถึงอุตรดิตถ์ รถไฟสายเหนือทั้งสายเด่นชัย จังหวัดแพร่ และสายฝ่ัง
แม่นํ้ายมไปสวรรคโลกบนฝ่ังแม่น้ํายมจึงเป็นเส้นทางรถไฟสายเหนือท่ีผ่าน
บริเวณท่ชี าวไหหลำ�ต้ังถ่ินฐานอยู่
เม่ือคนแต้จิ๋วและอ่ืน ๆ เข้ามาอยู่ในเมืองใหญ่ ๆ พวกคนไหหลำ�ก็จะ
อพยพย้ายออกไปอยู่ในเมืองท่ีเล็กกว่า ไปตามบริเวณที่มักจะยังไม่มีการหักร้าง
ถางพง คนไหหลำ�จึงเป็นกลุ่มแรกที่มาอยู่ต่างจังหวัด แต่พอเมื่อคนแต้จิ๋วมาอยู่
ตามมักจะชนะกลุ่มไหหลํา เน่ืองจากมีความมานะอุตสาหะในการทำ�ธุรกิจ
มีความเฉลียวฉลาดในการค้าขายมากกว่าพวกไหหลำ�ท่ีมักเป็นคนเผชิญโชค
มากกว่า กลุ่มคนไหหลำ�จะมีการต้ังถ่ินฐานกันมากในเมืองต่าง ๆ บนฝั่งแม่น้ํายม
และลำ�ปางที่ทางรถไฟยังไปไม่ถึงรวมถึงบนฝั่งแม่นํ้าน่านกลุ่มชาติพันธ์ุไทยจีน
ที่อาศัยอยู่ในนครสวรรค์ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มจีนแต้จิ๋วและไหหลำ�ได้อพยพเข้ามา
ต้ังถิ่นฐานบริเวณอำ�เภอเก้าเลี้ยวและบ้านท่ามะเกลือ ต่อมากลุ่มคนจีนแต้จ๋ิว
ไดอ้ พยพเข้ามาค้าขายผ้า เครื่องอุปโภคบรโิ ภคตา่ ง ๆ ส่วนจนี แคะและกวางตุง้ น้นั
เข้ามาต้ังโรงงาน
ปัจจุบันกลุ่มชาติพันธุ์ไทยจีนในนครสวรรค์มีคนจีนทั้ง ๔ กลุ่ม กระจาย
อยู่ในอำ�เภอต่าง ๆ ของจังหวัดนครสวรรค์ทุกอำ�เภอ นับได้ว่า กลุ่มคนจีนเป็น
กลุ่มท่ีมีบทบาทสำ�คัญต่อเศรษฐกิจจังหวัดนครสวรรค์ กลุ่มชาติพันธ์ุไทยจีน
เหล่าน้ี ใช้ชีวิตผสมผสานเข้ากับวิถีชีวิตแบบไทยได้เป็นอย่างดี อีกท้ังยังรักษา
ขนบธรรมเนียมประเพณีโดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือ งานเทศกาลตรุษจีน ซึ่งชาว
ปากนา้ํ โพเชอ้ื สายจนี รว่ มกบั ชาวไทยในทอ้ งถน่ิ ไดจ้ ดั ใหม้ ปี ระเพณแี หเ่ จา้ พอ่ - เจา้ แม่
ปากน้ําโพเป็นประเพณีท้องถ่ินและเป็นท่ีเลื่องลือไปทั่วประเทศไทย (เสรี ซาเหลา,
๒๕๔๕: ๖๗-๖๘ อ้างถึงใน อภิพนั ธ์ ภคสกุลวงศ,์ ๒๕๕๓)
๗
ความหลากหลายทางวัฒนธรรมของชุมชนต้นแม่นำ้�เจ้าพระยา :
กรณีศกึ ษาชมุ ชนและศาลเจา้ จนี รมิ แมน่ �้ำ
นครสวรรค์เป็นชุมชนเมืองขนาดใหญ่ท่ีมีความสำ�คัญในทางเศรษฐกิจ
การเมือง และสังคมโดยเป็นเมืองท่ีมีลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่ต้ังเป็นศูนย์กลางใน
การคมนาคมขนส่ง ศูนย์กลางในด้านเศรษฐกิจการค้า รวมถึงเป็นเมืองท่ีมีความ
สำ�คัญในทางสังคมและวัฒนธรรมมีอัตลักษณ์ที่โดดเด่นและมีชื่อเสียงแห่งหน่ึง
ในความเป็นชุมชนจีนต้นแม่น้ําเจ้าพระยาท่ียังคงมีการสืบสานประเพณีและ
วัฒนธรรมจีนอันดีงามของลูกหลานชาวไทยเชื้อสายจีนที่มีคุณค่าความหมายและ
สอดคล้องอย่างลงตัวกับประเพณีวัฒนธรรมของท้องถิ่นในพ้ืนที่ท่ีมีความแตกต่าง
หลากหลายทางชาติพันธ์ุและความหลากหลายทางวัฒนธรรมของลุ่มนํ้าเจ้าพระยา
การศกึ ษาวฒั นธรรมจนี ผ่านศาลเจ้าจีนในอำ�เภอเมืองนครสวรรค์
จากการสัมภาษณ์ข้อมูลและศึกษาประวัติความเป็นมาของศาลเจ้าจีนใน
อำ�เภอเมืองนครสวรรค์ผ่านหนังสือเอกสารของแต่ละศาลเจ้าที่ได้รวบรวมไว้ ทำ�ให้
ได้ข้อมูลเกี่ยวกับตำ�นานเทพเจ้าประจำ�ศาลเจ้า ประวัติการก่อต้ัง และประเพณี
พิธีกรรมท่ีเก่ียวข้อง ตลอดจนการดำ�เนินงานและบริหารงานโดยคณะกรรมการ
บรหิ ารศาลเจา้ ขอ้ มลู ทไ่ี ดจ้ ากการสมั ภาษณพ์ ดู คยุ กบั ผอู้ าวโุ สคนจนี คณะกรรมการ
บริหารศาลเจ้า ทำ�ให้เข้าใจถึงวิธีคิดและความเชื่อความศรัทธาเรื่องเทพเจ้าของ
คนจีน ตลอดจนการสะท้อนสภาพสังคมและวัฒนธรรมชุมชนคนจีนในนครสวรรค์
ตามประเด็นที่ส�ำ คญั ดังนี้
1. ความเชอื่ และศรทั ธาต่อเทพเจา้ ประจำ�ศาลเจ้า
เทพเจ้าประธานที่สำ�คัญประจำ�ศาลเจ้าท้ังสองแห่งเป็นเทพเจ้าที่คนจีน
นับถือและศรัทธา ได้แก่ (๑) เจ้าพ่อเทพารักษ์ (ปุนเถ่ากง หรือปึงเถ่ากง)
เป็นเทพเจ้าที่คนจีนโพ้นทะเลให้ความนับถือ เนื่องจากคนจีนมีความผูกพันกับ
แผ่นดินเกิด มคี วามเชื่อและยึดมั่นต่อเทพเจ้าทต่ี นเคยนับถอื เมอื่ อยูเ่ มืองจีน
๘
เมอ่ื มาอาศยั อยใู่ นเมอื งไทยกม็ ปี รบั เปลย่ี นความเชอ่ื ตามความเชอ่ื ของคนไทย
ที่มีพระภูมิเจ้าท่ีคอยปกปักรักษาชุมชน ซึ่งสอดคล้องกับความเช่ือของคนจีนแต้จิ๋ว
ที่มีเทพเจ้าประจำ�ชุมชนที่เรียกว่า แป๊ะเอี๊ยกง คือ เทพเจ้าที่คุ้มครองรักษาท้องถิ่น
ต่าง ๆ หรือที่น่าจะหมายถึงเทพเจ้าผู้คุ้มครองรักษาชุมชน และ (๒) แม่ทับทิม
ซง่ึ เปน็ เทพเจ้าผมู้ กี ิตตศิ ัพทแ์ ห่งความเมตตาอนั ยง่ิ ใหญ่และมชี อ่ื เสยี ง คนจนี ไหหลำ�
ให้ความเคารพนับถือสูงสุด ประกอบกับเรื่องตำ�นานของเจ้าแม่ทับทิมท่ีคอยปกปัก
รักษาและให้ความช่วยเหลือกับชาวเรือ ชาวประมง จึงทำ�ให้มีชื่อเสียงและมีผู้คน
เดินทางมาเคารพกราบไหว้และขอพรให้สมดังปรารถนา และช่วยให้เป็นท่ีรักของ
ผู้พบเห็น ประกอบอาชีพ ค้าขายรุ่งเรือง นอกจากน้ียังมีเทพเจ้าอ่ืน ๆ ที่คนจีน
นับถือตามความเชื่อต่าง ๆ ได้แก่ เจ้าพ่อกวนอู เป็นเทพเจ้าแห่งความซื่อสัตย์
มีคุณธรรมสูง เป็นที่เคารพนับถือของคนจีนฮากกา มีความเชื่อว่าเป็นเทพเจ้าท่ี
สามารถขจัดความชั่วร้ายและอุปสรรคต่าง ๆ จึงเป็นที่เคารพของผู้รับราชการ
มากราบไหว้ขอพร เจ้าแม่สวรรค์ซ่ึงเป็นเทพเจ้าทางน้ํา ช่วยปกป้องคุ้มครอง
อันตรายนำ�ความสงบรม่ เยน็ มาให้ เปน็ ต้น
2. ความเชื่อเร่อื งวญิ ญาณบรรพบุรษุ เทพเจ้า และการประกอบพิธีกรรม
จากการศึกษาเรื่องความเช่ือและเทพเจ้าในศาลเจ้าจีนดังกล่าว ทำ�ให้
เห็นถึงวิธีคิด โลกทัศน์ของคนจีนท่ีมีต่อความเช่ือเรื่องเทพเจ้า วิญญาณบรรพบุรุษ
และการประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเทพเจ้าและวิญญาณบรรพบุรุษ
สิ่งสำ�คัญท่ีมีอิทธิพลต่อความเช่ือดังกล่าว ประกอบด้วยความเชื่อทางศาสนาเต๋า
คตคิ วาม ค�ำ สอนของขงจอ้ื และค�ำ สอนทางพทุ ธศาสนาฝา่ ยมหายาน ทห่ี ลอ่ หลอม
ผสมผสานทางความคิด ตลอดจนการยึดมั่นในคำ�สอนและแบบแผนการปฏิบัติตน
จากบรรพบุรุษที่สั่งสมสืบทอดต่อกันมาทำ�ให้ส่งผลต่อวิธีคิด ความเช่ือและการ
ปฏิบัติตนของคนจีน รุ่นลูกหลานต่อมา จากรุ่นคนจีนโพ้นทะเลท่ีมาอยู่อาศัยใน
นครสวรรค์ และร่นุ ลกู หลานทยี่ ังคงให้ความเคารพนบั ถอื ต่อองค์เทพเจ้าตา่ ง ๆ
๙
เพอ่ื ขอพรในการเดนิ ทางใหป้ ลอดภยั ของนกั เดนิ ทาง พอ่ คา้ ทางเรอื ตลอดจน
ขอใหเ้ ทพเจา้ ดลบนั ดาลใหส้ มปรารถนาในเรอ่ื งตา่ ง ๆ ทง้ั การคา้ การประกอบอาชพี
หน้าทก่ี ารงาน การประสบความสำ�เรจ็ ในครอบครัว
การนับถือวิญญาณบรรพบุรุษเป็นหลักความเช่ือพื้นฐานท่ีคนจีนยึดม่ัน
และต้องปฏิบัติตามต้องมีการเซ่นไหว้บูชาวิญญาณบรรพบุรุษ ตามประเพณีและ
พิธีกรรมตามแบบแผนของแต่ครอบครัวและกลุ่มภาษา เช่น คนจีนแต้จ๋ิว
คนจนี ไหหล�ำ คนจนี กวางตุ้ง หรือคนจนี ฮากกา จะมแี ตกตา่ งกันบา้ งในบางข้ันตอน
ของพิธีกรรม คติธรรมคำ�สั่งสอนตามหลักของเต๋าในเรื่องของการดำ�เนินชีวิต
การให้ความสำ�คัญกับการปลุกเสกและใช้ไสยศาสตร์เข้ามาในชีวิตประจำ�วัน
นอกจากน้ียังให้ความเคารพและยึดม่ันตามหลักค�ำ สอนของขงจื้อในเร่ืองความเป็น
มนษุ ยท์ ี่สมบูรณต์ ้องปฏบิ ตั ติ ามคณุ ธรรม ๘ ประการ (สชุ พี ปุญญานุภาพ อ้างถงึ
ใน ขรรค์ชัย อภิสุภาพ: ๓๒) โดยให้ความสำ�คัญกับความกตัญญูเป็นอันดับแรก
คอื กตัญญู รกั ญาติ จงรักภักดี มวี าจาสตั ย์ มารยาทดี ซ่ือสตั ย์ บรสิ ุทธ์ิ และละอาย
ต่อความชั่ว นอกจากน้ีเรายังพบคำ�สอนของขงจ้ือท่ีปรากฏอยู่ในศาลเจ้าเพ่ือ
เตือนใจลูกหลานคนจีนที่มาอ่านและพบเห็น โดยมีการนำ�ป้ายเขียนอักษรจีน
เป็นคำ�สอนต่าง ๆ ที่เน้นและให้ความสำ�คัญกับความสัมพันธ์ระหว่างบิดามารดา
กับบุตรธิดาซ่ึงบุตรธิดาจะต้องมีความกตัญญูต่อบิดามารดามีวิธีการแสดงความ
กตัญญูต่อบิดามารดาท้ังในขณะมีชีวิตอยู่และ เม่ือท่านถึงแก่กรรมลงไปแล้ว เช่น
การประกอบพิธีฝังศพ และการประกอบพิธีกรรมเซ่นไหว้ตามเทศกาลต่าง ๆ
ตามประเพณีวัฒนธรรมจีน ซึ่งส่ิงท่ีกล่าวมาน้ีแสดงให้เห็นว่า หลักคำ�สอนของ
ขงจื้อน้ันสอนให้ประชาชนประกอบพิธีกรรมเซ่นไหว้ผี วิญญาณบรรพบุรุษเพื่อ
สอนคุณธรรมด้านความกตัญญู มีความเคารพเช่ือถือบิดามารดา เคารพต่อ
บรรพบุรษุ เปน็ สำ�คญั
๑๐
3. ศาลเจา้ กบั การเปน็ ศนู ยร์ วมของกลมุ่ คนจนี และองคก์ รสมาคมในการท�ำ กจิ กรรม
ทางสังคมและการสบื ทอดวัฒนธรรมประเพณี
การสร้างศาลเจ้าเป็นศาสนสถานเพื่อประดิษฐานเทพเจ้าและใช้ประกอบ
พิธีกรรมทางศาสนาตามระบบความเช่ือถือของคนจีนทำ�ให้ศาลเจ้าเป็นสถานที่
สำ�คัญต่อการกราบไหว้บูชาและเป็นศูนย์รวมจิตใจความเชื่อและความศรัทธา
อย่างเคร่งครัดต่อเทพเจ้า การตอบแทนพระคุณและแสดงความกตัญญูต่อเทพเจ้า
ผี วิญญาณบรรพบุรุษในการประกอบพิธีสักการะเซ่นไหว้ตามประเพณี เช่น
ในเทศกาลเช็งเม้ง เทศกาลตรุษจีน และการรำ�ลึกนึกถึงคุณงามความดีและความ
ศักด์ิสิทธ์ิต่อองค์เทพเจ้า ซ่ึงจะมีการประกอบพิธีกรรมและบูชาเซ่นไหว้ในงาน
วันเกิดเทพเจ้าต่าง ๆ เช่น วันเกิดเจ้าพ่อเทพารักษ์ วันเกิดเจ้าพ่อกวนอู วันเกิด
เจ้าแม่ทับทิม เป็นต้น ซึ่งกลุ่มคนจีน หรือองค์กรสมาคมจีนต่าง ๆ จะมาทำ�
กิจกรรมทางสังคมด้านต่าง ๆ ท่ีศาลเจ้าอีกด้วย เช่น งานการกุศลสงเคราะห์
ผยู้ ากไรเ้ พอ่ื ชว่ ยเหลอื คนยากจนและผปู้ ระสบภยั ตา่ ง ๆ การบรจิ าคใหท้ นุ สงเคราะห์
หรือทุนการศึกษา เพื่อเป็นการทำ�บุญทำ�ทานและสาธารณกุศลตามหลักศาสนา
การสงเคราะห์ศพและการฌาปนกิจศพ เพ่ือการให้ความช่วยเหลือกลุ่มคนจีน
ด้วยกันหรือผู้คนในชุมชนอื่น ๆ ด้วยจึงทำ�ให้บทบาทและความสำ�คัญของศาลเจ้า
นอกจากเร่ืองคุณค่าทางศาสนาแล้ว ยังมีคุณค่าทางด้านสังคม การศึกษาและ
วัฒนธรรมด้วย โดยสะท้อนผ่านการทำ�งานร่วมกันของกลุ่มสมาคมองค์กรจีน
แต่ละอำ�เภอในจังหวัดนครสวรรค์ เพ่ือร่วมกันจัดกิจกรรมสืบสานประเพณี
วัฒนธรรมจีนตามเทศกาลต่าง ๆ เช่น งานตรุษจีน งานสารทจีน งานเทศกาล
ไหว้พระจันทร์ เป็นต้น
๑๑
ลกั ษณะทางกายภาพของชมุ ชนจนี ในอ�ำ เภอเมอื งนครสวรรค์
อ�ำ เภอเมอื งนครสวรรค์ เปน็ อ�ำ เภอขนาดใหญท่ ม่ี คี วามส�ำ คญั ในทางเศรษฐกจิ
การเมืองและสังคมโดยเป็นเมืองที่มีลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่ต้ังเป็นศูนย์กลาง
ในการคมนาคมขนส่ง ศูนย์กลางในด้านเศรษฐกิจการค้า รวมถึงเป็นเมืองท่ีมี
ความสำ�คัญในทางสังคมและวัฒนธรรม มีอัตลักษณ์ที่โดดเด่นและมีช่ือเสียง
แห่งหนึ่งในความเป็นชุมชนจีนต้นแม่น้ําเจ้าพระยาที่ยังคงมีการสืบสานประเพณี
และวัฒนธรรมจีนอันดีงามของลูกหลานชาวไทยเชื้อสายจีนในแบบฉบับของวิถี
ปากนํ้าโพท่ีมีคุณค่าความหมายและสอดคล้องอย่างลงตัวกับประเพณีวัฒนธรรม
ของทอ้ งถน่ิ ในพน้ื ทท่ี ม่ี คี วามแตกตา่ งหลากหลายทางชาตพิ นั ธแ์ุ ละความหลากหลาย
ทางวฒั นธรรม
พ้ืนท่ีอำ�เภอเมืองนครสวรรค์อยู่ในการปกครองของเทศบาลนครนครสวรรค์
มีพ้ืนท่ีประมาณ ๒๘.๘๗ ตารางกิโลเมตร มีประชากรจำ�นวน ๒๔๓,๑๗๐ คน
(เม่ือปี พ.ศ. ๒๕๕๗) มีลักษณะของความเป็นชุมชนเมือง ขนาดใหญ่ มีความ
หนาแน่นของประชากรที่มาอาศัยอยู่ในตลาดปากนํ้าโพที่ประกอบไปด้วย การรวม
กล่มุ ของผูค้ นหลากหลายเชื้อชาตทิ ้ังไทย จนี มอญ ญวน ลาว และมสุ ลมิ ซง่ึ จะมี
การประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจทางด้านอุตสาหกรรม การค้าหรือการบริการ
เปน็ หลกั และมกี ารตง้ั ถน่ิ ฐานแบบกลมุ่ หรอื แบบกระจกุ ตวั (Cluster Settlement)
เป็นการรวมกลุ่มของบ้านเรือนและชุมชนริมฝั่งแม่น้ํา ได้แก่ แม่น้ําปิง แม่น้ําน่าน
และบริเวณต้นแม่น้ําเจ้าพระยาท่ีเรียกว่า ตลาดปากนํ้าโพ เป็นบริเวณที่แม่น้ําปิง
และแม่น้ําน่านไหลมาบรรจบกัน ลักษณะการตั้งบ้านเรือนจะตั้งอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม
กระจุกตัวหนาแน่น มีศูนย์กลางของชุมชนอยู่ไม่ไกลจากที่ต้ังของบ้านเรือน เช่น
โรงเรยี น ตลาด วดั มสั ยดิ และศาลเจา้ ในอดตี จะมปี ระชากรมาอาศยั อยไู่ มม่ ากนกั
และยังคงมีพ้ืนท่ีการเกษตรอยู่โดยรอบชุมชน ต่อมาเมื่อชุมชนมีความเจริญและ
เติบโตมากข้ึน มีการขยายตัวของชุมชนและประชากรท่ีเพ่ิมมากขึ้นจึงกลายเป็น
ชุมชนที่มีขนาดใหญ่ และมีประชากรอยู่อาศัยหลายชั่วอายุคนตามประวัติ
๑๒
ความเป็นมาของชุมชนท่ีสามารถสืบค้นได้จากทั้งหลักฐานเอกสารทางราชการ
และประวตั ิศาสตร์ชุมชนผา่ นค�ำ บอกเล่าของผู้อาวโุ สในตลาดปากนา้ํ โพ
ภาพท่ี ๑ ลกั ษณะและรูปแบบการตัง้ ถน่ิ ฐานของชมุ ชนจนี
อำ�เภอเมืองนครสวรรค์ จังหวดั นครสวรรค์
จากการศกึ ษากลมุ่ คนจนี ภาษาตา่ ง ๆ ทม่ี าอยอู่ าศยั ในอ�ำ เภอเมอื งนครสวรรค์
ประกอบดว้ ย คนจีนไหหลำ� แต้จว๋ิ ฮากกา (แคะ) และกวางตุง้ ซึ่งบรรพบรุ ษุ ของ
คนจีนเหล่าน้ี ได้อพยพย้ายถิ่นฐานมาจากมณฑลกวางตุ้ง มณฑลฮกเกี้ยน และ
มณฑลไห่หนาน ประเทศจีน คนจีนกลุ่มภาษาต่าง ๆ ท่ีมาอยู่นครสวรรค์มีวิธีการ
ด�ำ เนนิ ชวี ติ ทางสงั คมและวฒั นธรรมบนพน้ื ฐานความเปน็ จนี ไดแ้ ก่ การนบั ถอื เทพเจา้
และวญิ ญาณบรรพบรุ ษุ การยดึ มน่ั ในความกตญั ญรู คู้ ณุ บพุ การี การยดึ มน่ั ในค�ำ สอน
๑๓
ตามหลักปรัชญาในลัทธิขงจ้ือและเต๋า รวมท้ังศาสนาพุทธมหายาน หรืออาจจะมี
ความเป็นแบบเฉพาะหรือความแตกต่างกันบางประการของแต่ละกลุ่มภาษา เช่น
เรื่องเครื่องยึดเหน่ียวจิตใจและการนับถือองค์เทพเจ้าหรือเซียน เพ่ือเป็นกำ�ลังใจ
ในการประกอบอาชีพและการดำ�รงชีวิต ได้แก่ คนจีนไหหลำ�เล่ือมใสศรัทธาต่อ
องค์เจ้าแม่ทับทิม ในขณะท่ีชาวจีนฮากกา (แคะ) เล่ือมใสในองค์เทพเจ้ากวนอู
และคนจีนแต้จวิ๋ จะเลือ่ มใสศรทั ธาต่อเจา้ พ่อปุงเถา่ กง (ปงึ เถ่ากง) เปน็ ต้น
การรวมกลุ่มทางสังคมเป็นสมาคมหรือมูลนิธิของคนจีนในนครสวรรค์ท่ีมี
การจัดตั้งขึ้นน้ันสะท้อนให้เห็นถึงภาพรวมของชุมชนจีนนครสวรรค์ที่ยังคงยึดม่ัน
ในหลักการของความเป็นพวกพ้องเดียวกัน ช่วยเหลือพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน
การรวมตัวกันเป็นกลุ่มโดยมีเป้าหมายและวัตถุประสงค์เดียวกัน สะท้อนความ
พยายามในการประสาน ความร่วมมือของกลุ่มสมาคมและองค์กรจีนต่าง ๆ
ในนครสวรรค์เข้าด้วยกัน นอกจากน้ีชุมชนจีนอำ�เภอเมืองนครสวรรค์ยังแฝง
ไปด้วยเรื่องของความเช่ือขนบธรรมเนียมจารีตประเพณีแบบจีนท่ีชาวจีนนำ�ติดตัว
มาด้วยหรือยึดถือปฏิบัติเป็นธรรมเนียมสืบต่อมานั้น ถือว่ามีส่วนสำ�คัญในการ
หลอมรวมความเปน็ ชุมชนจีนขึ้นในนครสวรรค์
ภาพที่ ๒ ศาลเจ้าแม่หนา้ ผา
๑๔
ภาพที่ ๓ ศาลเจา้ พอ่ เทพารกั ษ์เจ้าแม่ทบั ทิมแควใหญ่
การมีวัฒนธรรมและความเชื่อที่คล้ายคลึงกันในวัฒนธรรมจีน คนจีนกลุ่ม
ภาษาต่าง ๆ ต่างมีเครื่องยึดเหน่ียวจิตใจและการนับถือองค์เทพเจ้าหรือเซียน
เพ่ือเป็นกำ�ลังใจในการประกอบอาชีพ การดำ�รงชีวิต เช่น ชาวจีนไหหลำ�เลื่อมใส
ศรัทธาต่อองค์เจ้าแม่ทับทิม ในขณะที่คนจีนฮากกา (แคะ) เลื่อมใสในองค์เทพเจ้า
กวนอู และคนจีนแต้จิ๋วจะเลื่อมใสศรัทธาต่อเจ้าพ่อปุงเถ่ากง (ปึงเถ่ากง) เป็นต้น
ซ่ึงเป็นความเชื่อและศรัทธาต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ตนนับถือว่าสามารถช่วยให้หลุดพ้น
จากความทุกข์ภัยต่าง ๆ ได้ ประกอบกับสภาพปัจจุบันท่มี ีการปรับตัว ปรับเปล่ยี น
วถิ ีชวี ิตจากภาคเกษตรกรรมมาเปน็ ภาคอุตสาหกรรมและการบรกิ าร จึงไดม้ ีการน�ำ
ความเชื่อและความศรัทธาในเรื่องการบนบานสิ่งศักด์ิสิทธิ์ให้ช่วยเหลือในกิจการ
การค้าขายต่าง ๆ การรวมกลุ่มของคนจีนในนครสวรรค์ การเคารพนับถือและ
ศรัทธาต่อสิ่งศักด์ิสิทธิ์ร่วมกันหรือคล้ายคลึงกันตามคติความเช่ือและวัฒนธรรมจีน
แบบดั้งเดมิ ตามอย่างบรรพบรุ ุษ
๑๕
ศาลเจ้า ถือได้ว่าเป็นจุดศูนย์รวมและสถานที่ยึดเหน่ียวจิตใจของลูกหลาน
คนจีนทุกเพศ ทุกวัย ในทุกกลุ่มภาษา เป็นสถานที่ที่คนจีนให้ความเคารพศรัทธา
ในเทพเจา้ และสง่ิ ศกั ดส์ิ ทิ ธท์ิ ง้ั หลายทช่ี ว่ ยปกปอ้ งคมุ้ ครอง ใหช้ ว่ ยเหลอื เมอ่ื ประสบ
ทุกข์ภัยต่าง ๆ เป็นสถานท่ีในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาและความเช่ือ
ตามประเพณีแบบแผนการปฏิบัติตามที่บรรพบุรุษเคยปฏิบัติและส่ังสอนสืบต่อ
กันมา จากความเช่ือในการประกอบพิธีกรรมตามประเพณีดังกล่าว ได้สะท้อน
ให้เห็นถึงความยึดมั่นในความเชื่อและศรัทธาต่อเทพเจ้า สิ่งศักด์ิสิทธ์ิตามลัทธิ
ความเชื่อต่าง ๆ ของจีน ผ่านการประกอบพิธีกรรมความเช่ือต่าง ๆ ท่ีเป็นจารีต
แบบแผนการปฏิบัติท่ีตามบรรพบุรุษได้ทำ�ให้เห็นและสั่งสอนสืบต่อกันมา แนวคิด
ความเช่ือและแนวทางการปฏิบัติเหล่านี้สามารถเช่ือมโยงคนจีนทุกกลุ่มภาษา
ทุกเพศ ทุกวัย มาร่วมกันสืบสานประเพณีวัฒนธรรมและวิถีจารีตในงานพิธีกรรม
ต่าง ๆ ของคนจนี
ภาพที่ ๔ แผนภาพประเพณีในรอบ ๑๒ เดอื น ของชาวจีนนครสวรรค์ (Festival)
๑๖
การเข้ามาต้ังถ่ินฐานในนครสวรรค์ของชาวจีนดังกล่าวนำ�มาซ่ึงวัฒนธรรม
และประเพณีแบบจนี เขา้ มาดว้ ย เน่อื งจากชาวจีนอพยพหรอื จีนโพน้ ทะเลส่วนใหญ่
ยังคงยึดม่ันแนวทางการดำ�รงชีวิตตามอย่างบรรพบุรุษยึดถือคติความเชื่ออย่าง
เหนียวแนน่ และปฏิบตั สิ บื ทอดกนั มาจนเปน็ นสิ ยั โดยเฉพาะวัฒนธรรมและประเพณี
ความเช่ือเก่ียวกับเทพเจ้า ผี เทวดา และวิญญาณบรรพบุรุษ ซ่ึงมีความจำ�เป็น
ต้องเคารพเซ่นไหว้ ถือเป็นศาสนกิจที่ต้องปฏิบัติเพ่ือความเป็นสิริมงคลโดย
ประเพณีความเชื่อดังกล่าวมีทั้งการปฏิบัติที่บ้าน ศาลเจ้า วัด โรงเจ และสุสาน
บรรพบุรุษ (ฮวงซุ้ย)
การไหวเ้ จา้ เปน็ ความเชอ่ื วา่ จะตอ้ งไหวเ้ จา้ ทแ่ี ละไหวบ้ รรพบรุ ษุ เพอ่ื ใหต้ นเอง
และครอบครัวมีความสุข ความเจริญพ้นจากความช่ัวร้ายจากเภทภัยต่าง ๆ
ในปีหนึ่งชาวจนี จะมกี ารไหวเ้ จ้า ๘ ครงั้ ดงั น้ี
ไหวค้ รั้งท่ี ๑ คือไหว้ครงั้ แรกของปี คือ ตรุษจีน (งว่ งตัง้ โจ่ย)
ไหว้คร้ังท่ ี ๒ เรยี กวา่ งว่ งเซยี วโจย่ ไหวต้ ่อจากคร้งั ท่ี ๑ เป็นเวลา ๑๕ วนั
ไหวค้ รั้งท ี่ ๓ เรียกว่าไหว้เช็งเม้ง เป็นการไหว้บรรพบุรุษท่ีล่วงลับที่สุสาน
ราวเดอื น ๓ ของจนี (ประมาณเดือนเมษายนของทกุ ป)ี
ไหวค้ ร้ังท ่ี ๔ เรยี กว่าโหงวเหวย่ หรือเทศกาลขนมจา้ ง
ไหวค้ รง้ั ท่ี ๕ เรียกวา่ ตงง้วงโจ่ย คือ เทศกาลสารทจีน เดือน ๗ ของจนี
ไหวค้ รง้ั ที่ ๖ เรยี กวา่ ตงชิวโจ่ย หรอื เทศกาลไหวพ้ ระจันทร์
ไหวค้ ร้งั ที ่ ๗ เรียกว่าตังโจ่ย หรือเทศกาลไหว้ช่วงปลายปี ไม่ได้กำ�หนดวัน
แน่นอนขนึ้ อยกู่ ับศาลเจา้ แต่ละแห่ง
ไหว้ครง้ั ที่ ๘ เรียกว่าก๊วยนโี้ จ่ย หรือตรษุ จีนในปีถัดไป
๑๗
กำ�เนิดประเพณีการแหเ่ จ้าพ่อเจา้ แม่ปากน�้ำ โพ
เปน็ ประเพณีท้องถ่นิ ท่สี �ำ คญั ของจังหวดั นครสวรรค์ ซ่งึ ปฏบิ ัตสิ ืบเน่อื งกันมา
อย่างยาวนานการแห่เจ้าพ่อเจ้าแม่ปากน้ําโพเริ่มครั้งแรกเม่ือใดไม่ปรากฏหลักฐาน
ชดั เจนจากค�ำ บอกเลา่ ของผอู้ าวโุ สของ ชาวไหหล�ำ คณุ เตยี งตนุ่ แชภ่ ู่ วา่ การแหเ่ จา้
มีมาก่อนที่จะเกิดโรคระบาด โดยสมัยก่อนแห่ทางน้ําใช้เวลาในการแห่ ๒ วัน
โดยอญั เชญิ รปู จ�ำ ลองเจา้ พอ่ เทพารกั ษ์ เจา้ พอ่ กวนอู เจา้ แมท่ บั ทมิ ประทบั บนเกย้ี ว
แล้วนำ�ลงเรือบรรทุกข้าวหรือเรือบรรทุกไม้ ล่องไปทางตลาดใต้ บ้านตากุ๋ย
แล้วอัญเชิญกลับศาล วันที่สองจะทำ�การแห่ขึ้นไปทางเหนือทางสถานีรถไฟ
ขบวนแหจ่ ะมเี ฉพาะองคเ์ ทพเจา้ และพะโหลว่ ตอ่ มาเมอ่ื การคมนาคมทางบกสะดวก
จึงได้อัญเชิญออกแห่รอบตลาดปากน้ําโพ และได้นำ�เอาศิลปะและวัฒนธรรมของ
ชาวไหหลํา คือ การเชิดเสือ พะโหล่ว สาวงามถือโบ้ยโบ้ (อาวุธเจ้า) ไซกี่ (ธง)
และมารว่ มในขบวน
จนกระท่ังเม่ือปี พ.ศ. ๒๔๖๐ - ๒๔๖๒ เกิดโรคห่า (อหิวาตกโรค) ระบาด
ทำ�ใหป้ ระชาชนลม้ ตายเปน็ จำ�นวนมาก ด้วยเหตเุ พราะการแพทย์ การสาธารณสขุ
สมัยนั้นยังไม่เจริญเท่าท่ีควร ชาวบ้านต้องพึ่งพาหมอตามบ้าน หรือชินแสจีน
แต่ก็ไม่สามารถยับย้ังโรคระบาดได้ ส่วนใหญ่หันไปพ่ึงส่ิงศักด์ิสิทธ์ิ ซึ่งในคร้ังน้ัน
เจ้าพ่อแควใหญ่ (เจ้าพ่อเทพารักษ์) ได้ประทับทรง ทำ�พิธีรักษาโรคด้วยการเขียน
“ยนั ต์กระดาษ” หรือเรยี กวา่ “ฮ”ู้ ใหต้ ิดตวั หรือปิดไวห้ นา้ บ้าน และไดน้ �ำ ฮเู้ ผาไฟ
เพื่อทำ�นํ้ามนตใ์ ห้ประชาชนดม่ื กินและประพรมรอบตลาด บริเวณใดที่ได้ท�ำ พิธแี ลว้
ก็จะใช้ผ้าแดงก้ันไว้ให้ประชาชนผ่านไปมาเส้นทางนี้ได้ เป็นผลให้การระบาดของ
โรคหมดไป ความศักดิ์สิทธ์ิจากปากต่อปากท่ีเล่าขานและแรงศรัทธา จึงทำ�ให้มี
ผู้คนศรทั ธามากราบไหวเ้ พิ่มข้ึนทุกปี
๑๘
จากแรงศรัทธาน้ีทำ�ใหท้ ้งั ชาวไทย ชาวจีนกวางตงุ้ ชาวจีนแคะ และชาวจนี
แตจ้ ว๋ิ ไดเ้ ขา้ มารว่ มในขบวนแหโ่ ดยน�ำ เอาศลิ ปะและวฒั นธรรมของกลมุ่ ตนเขา้ รว่ ม
ในขบวนแห่ เช่น ขบวนสิงโต ขบวนมังกร ขบวนเอ็งกอ ขบวนล่อโก๊ว ฯลฯ และ
ใน พ.ศ. ๒๕๑๐ ชาวไหหล�ำ ไดน้ ำ�ศลิ ปะการรำ�ถว้ ยเขา้ มาในขบวนแหแ่ ละไดจ้ ดั เป็น
ประเพณีทไี่ ดถ้ ือปฏิบตั ินบั แตน่ น้ั มา และตามบรษิ ทั หา้ งร้านต่าง ๆ ได้จัดโตะ๊ รับเจา้
ทัว่ ตลาดปากนํ้าโพ เพื่อความเปน็ สริ ิมงคลต่อกจิ การและครอบครวั
ปัจจุบันประเพณีการแห่เจ้าพ่อเจ้าแม่ปากน้ําโพในเทศกาลตรุษจีนได้สร้าง
ชื่อเสียงให้กับจังหวัดนครสวรรค์เป็นอย่างมากซึ่งรูปแบบการจัดงานได้มีการ
เปลี่ยนแปลงไปตามยุคตามสมัย โดยได้คัดเลือกชาวตลาดปากนํ้าโพเข้ามาเป็น
คณะกรรมการจัดงานหรือท่ีเรียกว่าคณะกรรมการกลาง (เถ่าน้ัง) โดยในงาน
จะจัดให้มีการแสดงต่าง ๆ ท้ังอุปรากรจีนท้ังไหหลำ�และแต้จ๋ิว การจัดขบวนแห่
ก็ได้จัดให้มีขบวนแห่กลางคืนมีแสงสีท่ีสวยงาม และในวันรุ่งข้ึนจะมีการอัญเชิญ
องค์เจา้ พอ่ เจา้ แม่ออกแห่รอบตลาดปากนํา้ โพ
ภาพท่ี ๕ ขบวนแห่เจ้าพอ่ เจ้าแม่ปากนา้ํ โพ อ�ำ เภอเมอื งนครสวรรค์ จงั หวัดนครสวรรค์
ชาวตลาดปากน้ําโพท้ังชาวไทย ชาวจีนแต้จิ๋ว จีนกวางตุ้ง และจีนแคะ
จึงได้ร่วมกับจีนไหหลำ�จัดการละเล่นของแต่ละกลุ่มภาษาจึงได้ร่วมกันอัญเชิญ
เจ้าพ่อเจ้าแม่ท่ีอยู่ในศาลเจ้าพ่อเทพารักษ์ มาแห่รอบตลาดเพ่ือความเป็นสิริมงคล
แก่ชีวิตและครอบครัวของชาวตลาดปากน้ําโพเป็นประจำ�ทุกปี ในวันข้ึน ๑ ค่ํา
เดือน ๑ ของจีน เพ่ือเป็นสิริมงคลแก่ทุกคนในช่วงเทศกาลตรุษจีนและได้อัญเชิญ
องคเ์ จา้ พอ่ เจา้ แมท่ กุ องคแ์ หท่ างนา้ํ แลว้ ขน้ึ บกแหร่ อบตลาดแหร่ อบตลาดปากนา้ํ โพ
๑๙
จนในปัจจุบันเปล่ียนมาแห่ทางบกเพียงอย่างเดียว ยึดถือปฏิบัติมาแต่โบราณจนถึง
ปัจจุบัน ในช่วงเทศกาลตรุษจีนของทุกปีจนกลายเป็นประเพณีสืบทอดกันมากกว่า
๑๐๐ ปี เพ่ือแสดงการขอบคุณเทพเจ้าและเพื่อความเป็นสิริมงคลความเจริญ
ก้าวหน้าในด้านการค้า การเคารพกราบไหว้เปรียบเสมือนเทพเจ้าได้มาอำ�นวย
อวยชัยให้พรยังร้านค้าอันเป็นแหล่งทำ�กิน ในพิธีจะมีขบวนแห่มากมาย อาทิ เช่น
สิงโต จากคณะเช้ือสายจีนต่าง ๆ เอ็งกอ พะบู๊ ล่อโก้ว มังกรทอง ขบวนสาวงาม
และนางฟ้า ขบวนองคส์ มมุตเิ จ้าแม่กวนอมิ เปน็ ตน้
ประเพณีแห่เจ้าพ่อเจ้าแม่ปากน้ําโพเป็นประเพณีของชาวไทยเชื้อสายจีน
ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดนครสวรรค์ จัดขึ้นเป็นประจำ�ทุกปีในช่วงเทศกาลตรุษจีน
เพ่ือความเป็นสิริมงคล การแห่เจ้านี้เริ่มทำ�คร้ังแรกใน พ.ศ. ๒๔๗๕ และได้ปฏิบัติ
สืบเน่ืองมาจนถึงปัจจุบัน เป็นประเพณีท่ียิ่งใหญ่ของชาวนครสวรรค์โดยในพิธีแห่
จะมี ๒ รอบ คอื รอบกลางคืนในวนั ชวิ ซา (วนั ท่ี ๓ เดอื น ๑ ตามปฏทิ นิ ของจนี )
โดยเริ่มตั้งแต่เวลาประมาณ ๑๘.๐๐ น. ไปจนถึง เวลา ๒๒.๐๐ น. สำ�หรับรอบ
กลางวันในวันชิวส่ี (วันที่ ๔ เดือน ๑ ตามปฏิทินของจีน) ในขบวนแห่รอบเมือง
ประกอบไปด้วย ขบวนแห่มังกรทองซึ่งชาวจีนถือว่าเป็นเทพเจ้าที่บันดาล
คุณประโยชน์อย่างมากแก่มวลมนุษย์ จึงถือได้ว่าเป็นงานประเพณีอันยิ่งใหญ่และ
มีการสืบทอดกันมายาวนาน เพ่ือแสดงความกตัญญู โดยมีการเชิดชูและนำ�องค์
เจ้าพ่อเจ้าแม่ในศาลเจ้าออกมาร่วมขบวนแห่ไปตามถนนต่าง ๆ ในตัวเมือง
นครสวรรค์
ภาพที่ ๖ บรรยากาศงานประเพณแี หเ่ จ้าพ่อเจา้ แม่ปากน้าํ โพ จงั หวดั นครสวรรค์
๒๐
พธิ แี ห่เจ้าพอ่ เจา้ แม่ปากน้�ำ โพ
จัดขึ้นในระหว่างเวลาประมาณ ๐๗.๓๐ - ๑๙.๓๐ น.โดยจะมีพิธีแห่เจ้าพ่อ
เจ้าแม่ปากนํ้าโพไปตามถนนสายต่าง ๆ ภายในตัวเมือง มีวัตถุประสงค์เพื่อปัด
รังควาน ขจัดความชั่วร้ายออกไปจากบ้านหรือร้านค้าเพ่ือความเป็นสิริมงคล
โดยเร่ิมจากการอัญเชิญองค์เจ้าพ่อเจ้าแม่จากศาลเจ้าพ่อเทพารักษ์เจ้าแม่ทับทิม
จากศาลเจ้าแควใหญ่ไปตามถนนเพื่อข้ามสะพานเดชาชาติวงศ์มายังจุดเร่ิมต้น
การต้ังขบวนแห่เจ้าพ่อเจ้าแม่ปากน้ําโพ ณ บริเวณส่ีแยกไฟแดง แยกสะพาน
เดชาติวงศ์ โดยจะจัดรูปขบวนองค์เจ้าพ่อเจ้าแม่ปากนํ้าโพร่วมกับองค์เจ้าพ่อ
เจา้ แม่จากศาลเจา้ แม่หนา้ ผา
พิธกี รรมและขน้ั ตอนตา่ ง ๆ ดังนี้
เจ้าของบ้าน เจ้าของร้านค้าบริษัท ท่ีต้ังโต๊ะไหว้เจ้าหรือรับเจ้า จะเริ่มจุด
ธูปเทยี นเมื่อขบวนแห่เจ้าพอ่ เจ้าแม่ มาถึง โดยร่างทรง ลงจากเก้าอต้ี ะปู มาทำ�พธิ ี
ให้กับบ้านหรือบริษัทร้านค้าที่จัดโต๊ะไหว้เจ้า ร่างทรงทำ�พิธีที่โต๊ะไหว้ด้วยการ
เขียนฮู้ และใช้ถ้วยครอบขา้ วสาร แลว้ ท�ำ การตั้งกงหล่วน เมื่อสามารถตงั้ กงหลว่ น
ได้ร่างทรงจะพรมนํ้ามนต์และซัดข้าวสาร หลังจากน้ันเจ้าของบ้านหรือบริษัท
ร้านค้า จุดประทัดเป็นอันเสร็จพิธี ร่างทรงขึ้นน่ังบนเก้าอ้ีตะปู ย้ายไปทำ�พิธีให้กับ
บา้ นหรอื บริษทั รา้ นคา้ หลงั ตอ่ ไป
อปุ กรณท์ ใ่ี ช้ โตะ๊ บชู าตามบา้ น กระดาษฟาง พกู่ นั ผา้ หมกึ สแี ดง ตราประทบั
เจา้ พ่อ
ข้าวสาร นํ้ามนต์ กงหล่วน ขบวนเกี้ยวเจ้าพ่อเจ้าแม่ และขบวนต่าง ๆ
เก้าอต้ี ะป เครอื่ งดนตรี (ผ่าง)
๒๑
ภาพท่ี ๗ โต๊ะรับเจา้ ทีบ่ รษิ ทั ห้างร้านตา่ ง ๆ ในตลาดปากน้ําโพ
จัดโตะ๊ ของไหวร้ บั เจ้าในวันชิวสี่ วนั ท่แี ห่รอบตลาด
บรรดาร้านค้าท้ังหลายถือว่า เป็นมงคลก็จัดตั้งโต๊ะเครื่องเซ่นไหว้รอรับเจ้า
และขบวนต่าง ๆ ผ่านร้านของตนเอง และถือว่าเป็นวันแรกของการทำ�การค้าขาย
ในปีใหม่ โดยจะมีการประกวดแข่งขันเรื่องการจัดโต๊ะรับเจ้าของร้านค้าต่าง ๆ
ในตลาดอีกด้วย นอกจากขบวนของเจ้าพ่อเจ้าแม่ปากนํ้าโพแล้วน้ัน จะมีขบวน
มังกรทอง หรือขบวนสงิ โตของคณะตา่ ง ๆ ทจี่ ะเข้ามารว่ มเชดิ หรอื แสดงในบริเวณ
ท่ีต้ังโต๊ะไหว้หรือรับเจ้านั้นด้วยซึ่งขบวนเหล่าน้ีถือว่าเป็นสัตว์มงคลท่ีมาอวยพร
ปใี หมใ่ นการท�ำ มาคา้ ขายใหเ้ จรญิ รงุ่ เรอื ง เพม่ิ ความเปน็ สริ มิ งคลแกเ่ จา้ ของหา้ งรา้ น
บริษัทต่าง ๆ และลูกจ้างพนักงานต่าง ๆ ซึ่งจะมีการให้แต๊ะเอียกับคณะต่าง ๆ
ทเ่ี ขา้ มาแสดงหรอื อวยพรใหก้ บั รา้ นคา้ หา้ งรา้ น บรษิ ทั ตา่ ง ๆ ถอื วา่ เปน็ การบรจิ าค
ทำ�บุญให้กับคณะสิงโต หรือคณะมังกร รวมท้ังคณะดนตรีล่อโก้วต่าง ๆ ที่เข้ามา
รว่ มในขบวนแหเ่ จ้า
ช่วงเทศกาลตรุษจีน ชาวไทยเช้ือสายจีนจะถือประเพณีปฏิบัติอยู่ ๓ วัน คือ
วันจา่ ย, วนั ไหว้, และวนั ปีใหม่ รายละเอียด ดังนี้
๑) วันจ่าย หรือ ต่ือเส็ก คือ วันก่อนวันสิ้นปี เป็นวันที่ชาวไทยเชื้อสายจีน
จะตอ้ งไปซอ้ื อาหารผลไมแ้ ละเครอ่ื งเซน่ ไหวต้ า่ ง ๆ กอ่ นทร่ี า้ นคา้ ทง้ั หลายจะปดิ รา้ น
หยดุ พักผอ่ นยาว ในตอนค่ําจะมกี ารจดุ ธูปอญั เชิญเจา้ ท่ี หรือ ตจี่ เู๋ อยี๊ ใหล้ งมาจาก
สวรรค์เพ่ือรับการสักการบูชาของเจ้าบ้าน หลังจากที่ได้ไหว้อัญเชิญข้ึนสวรรค์เม่ือ
๔ วันทแี่ ล้ว
๒๒
๒) วันไหว้ คือ วันส้ินปี จะมีการไหว้ ๓ คร้ัง คือ ตอนเช้ามืด ไป๊เล่าเอี๊ย
คือ การไหว้ เทพเจ้าต่าง ๆ เครื่องไหว้ คือ เน้ือสัตว์ ๓ อย่าง (ซาแซ ได้แก่
หมสู ามชน้ั ตม้ ไก่ เปด็ ปรบั เปลย่ี นเปน็ ชนดิ อน่ื ได้ หรอื มากกวา่ นน้ั ไดจ้ นเปน็ เนอ้ื สตั ว์
หา้ ชนดิ ) เหลา้ นา้ํ ชา และกระดาษเงนิ กระดาษทอง ตอนสาย ไปเ๊ ปบ้ อ๊ คอื การไหว้
บรรพบุรุษ พ่อแม่ญาติพี่น้องท่ีถึงแก่กรรมไปแล้วเป็นการแสดงความกตัญญูตาม
คตจิ นี การไหวค้ ร้งั น้ีจะไหว้ ไมเ่ กินเทยี่ ง เครื่องไหว้จะประกอบด้วย ซาแซ อาหาร
คาวหวาน (ส่วนมากจะทำ�ตามที่ผู้ท่ีล่วงลับเคยชอบ) รวมท้ังการเผากระดาษเงิน
กระดาษทอง เส้ือผ้ากระดาษเพื่ออุทิศแก่ผู้ล่วงลับ หลังจากนั้นญาติพี่น้องจะมา
ร่วมกันรับประทานอาหารที่เซ่นไหว้ไป เพ่ือความเป็นสิริมงคลและถือเป็นเวลาที่
ครอบครัวหรือวงศ์ตระกูลจะรวมตัวกันได้มากที่สุด จะมีการแลกเปลี่ยนอ่ังเปา
หลังจากรับประทานอาหารร่วมกัน ตอนบ่าย ไป๊ฮ้อเฮียต๋ี คือ การไหว้ผีพ่ีน้องที่
ล่วงลับไปแล้ว เคร่ืองไหว้จะเป็นพวกขนมเข่ง ขนมเทียน เผือกเช่ือมน้ําตาล
กระดาษเงินกระดาษทอง พร้อมทั้งมีการจุดประทัดเพ่ือขับไล่สิ่งช่ัวร้ายและเพ่ือ
ความเป็นสริ ิมงคล
ประเพณแี หเ่ จา้ พอ่ เจา้ แมป่ ากนา้ํ โพ ในเทศกาลตรษุ จนี ของชาวปากนา้ํ โพนน้ั
เกิดจากพลังแห่งความร่วมมือของชาวตลาด ขององค์กรต่าง ๆ มูลนิธิสมาคม
ชาวจีน สถานศึกษาและสถาบันต่าง ๆ ในอำ�เภอเมือง โดยมีอาสาสมัครต่าง ๆ
ทีใ่ ชเ้ วลาวา่ งมาฝกึ ฝนการแสดงตา่ ง ๆ เพอ่ื เข้าร่วมในขบวน รวมถงึ ผ้มู จี ิต ศรัทธา
ในองค์เจ้าพ่อเจ้าแม่ปากน้ําโพ ที่เช่ือมโยงผู้คนในทุกสาขาอาชีพของปากน้ําโพ
ความเคารพศรัทธาต่อองค์เจ้าพ่อเจ้าแม่ที่พร้อมเพรียงกันมาร่วมแรงร่วมใจกัน
ในการอนุรักษ์สืบสานประเพณีของท้องถ่ินอันย่ิงใหญ่ เพ่ือให้เป็นที่น่าสนใจดึงดูด
นกั ทอ่ งเท่ยี วให้มาเที่ยวงานตรุษจนี ทีป่ ากนา้ํ โพ จังหวัดนครสวรรค์
การดำ�รงชีวิตของกลุ่มชาวจีนและระบบความเชื่อของคนท่ีมาอยู่ในชุมชน
ต้นนํ้าเจ้าพระยา พบว่า มีการยอมรับความเชื่อหลายอย่างผสมผสานเข้าด้วยกัน
จนเกิดเป็นรูปแบบเฉพาะตน อาจกล่าวได้ว่า ชาวจีนได้นำ�ความคิดเชิงปรัชญา
ขงจอ้ื มาใชใ้ นชวี ติ ประจ�ำ วนั โดยเนน้ เรอ่ื งของความกตญั ญตู อ่ บรรพบรุ ษุ ผสมผสาน
กับความพยายามต่อสู้กับอำ�นาจเหนือธรรมชาติตามลักษณะสังคมไทยที่เป็นแบบ
๒๓
วัฒนธรรมชาวนาท่ีมักเช่ือในเรื่องเร้นลับ ไสยศาสตร์ นับถืออำ�นาจเหนือธรรมชาติ
ปจั จยั ดงั กลา่ วจงึ ท�ำ ใหเ้ กดิ การเซน่ สรวงบชู าสง่ิ ตา่ ง ๆ อาทิ การเซน่ ผหี รอื วญิ ญาณ
ผู้ล่วงลับและบรรพบุรุษ และยังนำ�หลักธรรมในพุทธศาสนานิกายมหายาน
มาผสมผสานเข้ากับความเชื่อและความเป็นอยู่ของสังคม ซึ่งความคิดนี้ทำ�ให้เรา
ได้พบเห็นพิธีกรรมต่าง ๆ ที่เกิดข้ึนในชุมชนมากมาย อาทิ ในอดีตที่เคยเกิด
โรคระบาดในชุมชน มีคนเจ็บป่วยล้มตายเป็นจำ�นวนมากเมื่อเกิดความกลัวต่อ
ส่ิงท่ีเกิดขึ้น ผู้คนในสังคมจึงได้พยายามพึ่งพาอำ�นาจเหนือธรรมชาติตามที่ตน
นับถอื เพอ่ื ชว่ ยให้ปลอดภัยจากความกลัวตา่ ง ๆ เปน็ ต้น
ทั้งน้ีลัทธิความเชื่อและศาสนาท่ีกลุ่มชาวจีนกลุ่มนี้นับถือซึ่งไม่เพียงแต่มี
บทบาทในการสรา้ งความเชื่อม่ันทางด้านจิตใจ และคอยเปน็ ก�ำ ลังใจเม่ือเกดิ ปญั หา
ในชีวิตต่าง ๆ ปรากฏการณ์ดังกล่าว ยังช่วยให้หมู่คนจีนได้เกิดความสามัคคี
รักพวกพ้อง ร่วมมือร่วมใจกันและยึดมั่นในความเคารพและศรัทธาต่อสิ่งท่ีตน
นบั ถือซ่งึ เปน็ หลกั สำ�คญั ของกลมุ่ ชาติพันธจุ์ นี
๒๔
คนไทยเชอื้ สายญวนในจังหวดั นครสวรรค์
ชาวไทยเชื้อสายญวน หรือบางคนอาจเรียกว่า “แกว” หรือชาวเวียดนาม
เป็นหน่ึงในกลุ่มชาติพันธ์ุหน่ึงในประเทศไทย ในปัจจุบันชาวไทยเชื้อสายญวน
แบ่งเป็นสองกลุ่ม ได้แก่ ญวนเก่า และญวนใหม่ โดยที่กลุ่มญวนเก่าได้อพยพ
เข้ามายังสยามในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ไปตั้งบ้านเรือนอยู่
บริเวณวัดส้มเกลี้ยงเหนือบ้านเขมร เพราะนับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก
เชน่ เดยี วกบั ชาวเขมรทเ่ี ขา้ มาอยตู่ ง้ั แตส่ มยั พระบาทสมเดจ็ พระพทุ ธยอดฟา้ จฬุ าโลก
มหาราช และชาวโปรตุเกสท่ีเข้ามาอยู่ตั้งแต่สมัยสมเด็จ พระนารายณ์มหาราช
โดยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานเงินส่วนพระองค์ซื้อที่ดิน
สวนแปลงใหญ่ใกล้เคียงกันพระราชทานใหเ้ ป็นทีอ่ ยอู่ าศยั ซึ่งชาวญวนเกา่ ปัจจบุ นั
ไดผ้ สมกลมกลนื ไปกบั คนไทยหมดแลว้ และบางสว่ นกแ็ ตง่ งานอยอู่ าศยั กบั ชาวเขมร
และชาวโปรตุเกสบริเวณวัดคอนเซ็ปชัญ ส่วนญวนใหม่ คือ คนท่ีอพยพเข้ามา
ในไทยเมอื่ ปี พ.ศ. ๒๔๘๘ (เร่ิมการประกาศราชบัญญตั ิตรวจคนเข้าเมือง) และในปี
พ.ศ. ๒๔๘๙ (ปีที่คอมมวิ นิสต์เขา้ มาอิทธพิ ลในประเทศเวียดนาม) ซ่ึงชาวญวนใหม่
เหล่านี้ได้ทยอยเข้ามาในไทยจนถึงปี พ.ศ. ๒๔๙๙ สาเหตุสำ�คัญท่ีชาวญวนอพยพ
เข้าสู่ดินแดนสยาม คือ เพื่อล้ีภัยทางการเมืองและลี้ภัยทางศาสนา เนื่องจากสยาม
เป็นเพ่ือนบ้านที่มีเสถียรภาพ อุดมสมบูรณ์ และพวกเขาสามารถอาศัยอยู่อย่าง
สงบสขุ ได้
๒๕
ภาพที่ ๑ คนไทยเชอื้ สายเวียดนาม
ทม่ี า : “คณะคนไทยเช้ือสายเวียดนามเยี่ยมสถานเอกอัครราชทตู ณ กรงุ ฮานอย.” โดย สถานเอกอคั รราชทตู ณ กรุงฮานอย,
(๒๕๕๙, ตุลาคม ๑๒),
เข้าถึงไดจ้ าก http://thaiembassy.org/hanoi/th/news/1757/71027-%20คณะคนไทยเชอ้ื สายเวยี ดนามเยยี่ มสถานเอกอัคราชฑูต%20
ณ%20กรุงฮานอย.
ปัจจุบัน ชาวญวนเก่าในประเทศไทยถูกกลืนจนไม่มีหลงเหลืออยู่แล้ว
ยังคงเหลือแต่ชาวญวนเก่าที่นับถือศาสนาคริสต์ในกรุงเทพฯ (สามเสน) และ
จันทบุรีเท่าน้ัน ที่ยังรักษาภาษาและขนบธรรมเนียมประเพณีเดิมไว้ได้ ซ่ึงต่างจาก
ญวนเกา่ ทเ่ี ปน็ พทุ ธทเ่ี ขา้ กบั คนไทยไดด้ ี เนอ่ื งจากมศี าสนาเดยี วกนั แมช้ าวญวนเกา่
ที่นับถือศาสนาคริสต์ในไทยจะไม่ติดต่อกับชาวญวนในประเทศเวียดนามเลยนาน
นับศตวรรษ แต่พวกเขาเหล่านั้นก็อยู่กันตามเชื้อชาติโดยแยกต่างหากจากคนไทย
ทำ�ให้พวกเขายังสามารถรักษาภาษาและขนบธรรมเนียมประเพณีไว้ได้ ทั้งน้ี
พวกเขามีความภาคภูมิใจในวัฒนธรรมของเขา จึงเป็นสาเหตุหน่ึงท่ีทำ�ให้พวกเขา
ไมก่ ระตอื รอื รน้ ทจ่ี ะเปน็ คนไทย หรอื ปรบั ตวั เขา้ กบั สงั คมไทยอยา่ งรวดเรว็ รวมไปถงึ
การต้ังถ่ินฐานแออัดกันรอบ ๆ โบสถ์ และการแต่งงานกับคนที่นับถือศาสนาและ
เชอื้ ชาติเดยี วกนั
ในปี พ.ศ. ๒๕๐๐ ชาวเวียดนามสูงอายุท่ีอาศัยอยู่ในสามเสน กรุงเทพฯ
และจันทบุรี ยังคงการใช้ภาษาเวียดนามอยู่ แต่เป็นสำ�เนียงเวียดนามใต้ ซ่ึงเป็น
ภาษาเวียดนามเก่าท่ีประเทศเวียดนามไม่ได้ใช้แล้วจึงทำ�ให้ไม่สามารถติดต่อกับ
ชาวเวียดนามได้ง่าย รวมไปถึงคำ�ศัพท์และสำ�นวนหลายคำ�ได้รับอิทธิพลมาจาก
ภาษาไทย พวกเขามีคำ�สวดท่ีใช้ทุกวันและหนังสือสอนศาสนาเป็นภาษาเวียดนาม
ด้วยอักษรโกว๊กหงือ (Quốc Ngữ) เป็นภาษา เวียดนาม ในไทยปัจจุบันมีคำ�ไทย
ปะปนอยู่มาก ทงั้ สำ�เนียงก็ยงั เปน็ แบบไทย
๒๖
การสนทนาระหว่างคนญวนจากประเทศเวียดนามกับคนญวนในไทยจึงต้อง
อาศัยล่ามช่วยอธิบาย ดังนั้นราวหนึ่งหรือสองช่วงคนหรืออีก ๕๐ ปีเป็นอย่างมาก
คนญวนในไทยจะถูกผสมกลมกลืนทางภาษาได้ส�ำ เร็จ โดยกลุ่มท่ีสามารถใช้ภาษา
เวียดนามได้น้ัน ในปัจจุบันล้วนเป็นผู้สูงอายุท้ังสิ้น ขณะที่เด็กรุ่นใหม่บางคนฟังได้
พอเขา้ ใจแต่ไมส่ ามารถพดู ได้ จากผลการวิจยั ของ Bui Quang Tung ได้กล่าวถึง
คนที่ยังพูดภาษาเวียดนามได้เป็นผู้มีอายุไม่ต่ํากว่า ๓๐ ปีท้ังสิ้น ที่อายุน้อยกว่านี้
พอเข้าใจแต่พูดไม่ได้ที่พูดได้บ้างก็ไม่ดีนัก ทั้งนี้ เนื่องจากนโยบายกลืนชาติของ
จอมพลแปลก พิบูลสงคราม ท่ีนำ�นโยบายชาตินิยมมาใช้และมีผลกระทบต่อชาว
ญวนในไทย (สารานุกรมเสรี, ๒๕๖๓)
ประวัติศาสตร์การอพยพของชาวเวียดนาม
บันทึกจากหอจดหมายเหตุ อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ได้กล่าวว่า
ชาวเวียดนามใช้เวลายาวนานในการเดินทางเข้าประเทศไทยและกระจายกัน
อาศัยอยู่เกือบท่ัวประเทศไทย คือ นับตั้งแต่ก่อนรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์
มหาราชในสมัยอยุธยา จนถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ในสมัยรัตนโกสินทร์จำ�นวนชาวเวียดนามได้เพิ่มข้ึนจนกลายเป็นชนกลุ่มน้อย
ทส่ี �ำ คญั กลมุ่ หนง่ึ ของประเทศกอ่ นสมยั กรงุ รตั นโกสนิ ทรน์ น้ั ไมอ่ าจทราบรายละเอยี ด
เร่ืองการเข้ามาในไทยของชาวเวียดนามได้มากนักแม้ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์เอง
กค็ น้ ควา้ ไดแ้ ตเ่ ฉพาะหลกั ฐานเกย่ี วกบั ชาวเวยี ดนามทเ่ี ขา้ มาเปน็ กลมุ่ ใหญ่ ๆ เทา่ นน้ั
การจำ�แนกประเภทชาวเวียดนามด้วยการพิจารณากลุ่มชาวเวียดนามท่ีสำ�คัญ
ซ่ึงพำ�นักตามแหล่งต่าง ๆ ได้แก่ ในกรุงเทพฯ จันทบุรี ระยอง ชลบุรี อยุธยา
กาญจนบุรี นครสวรรค์ อุดรธานี หนองคาย สกลนคร และนครพนมและพิจารณา
จากสาเหตุที่ทำ�ให้ชาวเวียดนามเดินทางเข้ามาในประเทศไทยประกอบกับลักษณะ
การเดนิ ทางมาได้เท่าน้นั
๒๗
สาเหตุท่ีชาวเวยี ดนามเขา้ มาในประเทศไทย
การท่ีชาวเวียดนามต้องจากบ้านเกิดเมืองนอนมาอาศัยอยู่ในประเทศไทย
มีสาเหตุสำ�คัญ ๒ ประการ คือ ส่วนใหญ่อพยพเพื่อลี้ภัยทางการเมืองและ
การเบียดเบียนศาสนาอีกทั้งถูกกวาดต้อนเข้ามาในฐานะเชลยศึกสงครามท้ังสอง
ประการแตกต่างกนั
ประการแรกชาวเวียดนามมาด้วยความสมัครใจแบบหนีร้อนมาพึ่งเย็น
แต่ประการหลังน้ันโดยทั่วไปถูกบังคับให้เข้ามาชาวเวียดนามสมัครใจเข้ามา
ในประเทศไทยเน่ืองจากไทยเป็นประเทศเพื่อนบ้านท่ีมีเสถียรภาพ อุดมสมบูรณ์
และเป็นท่ีอาศัยอยู่ได้อย่างสงบสุข โดยสำ�หรับพวกเวียดนามลี้ภัยน้ันไม่มีทางเลือก
อน่ื ใดทจ่ี ะดไี ปกวา่ เดนิ ทางมาทศิ ตะวนั ตกเพอ่ื เขา้ สดู่ นิ แดนไทย เพราะทางตะวนั ออก
ของเวียดนามเป็นทะเลจีนใต้ ซ่ึงการอพยพเข้ามาก็เพ่ือล้ีภัยทางการเมืองและ
ศาสนาถึงแม้ว่าเราไม่อาจกำ�หนดได้อย่างแน่ชัดว่าชาวเวียดนามเข้ามาอาศัย
อยู่ในไทยตั้งแต่เม่ือใดแต่ปรากฏหลักฐานว่าในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
(พ.ศ. ๒๑๙๙ - ๒๒๓๑) กษตั รยิ อ์ งคท์ ่ี ๒๗ แหง่ กรงุ ศรอี ยธุ ยามหี มบู่ า้ นชาวเวยี ดนาม
ตั้งอยู่ท่ามกลางหมู่บ้านชาวต่างชาติอ่ืน ๆ ในอาณาเขตกรุงศรีอยุธยาแล้ว
โดยส่วนมากพวกเวียดนามที่อาศัยในกรุงศรีอยุธยานั้นเป็นชาวโคชินจีน หมู่บ้าน
ชาวเวียดนามเป็นที่รู้จักกันในนามว่า “ค่ายชาวโคชินไชน่า” ทั้งนี้เป็นไปได้ว่า
ชาวโคชนิ จีนสามารถเดินทางมากรงุ ศรอี ยธุ ยาไดโ้ ดยทางทะเล
ซึ่งสะดวกกว่าพวกเวียดนามจากอันนัม หรือตังเก๋ียที่ต้องเดินทางบก ต้ังแต่
สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเป็นต้นมา ได้มีชาวเวียดนามพากันเดินทาง
มาจากอนั นมั ตงั เกีย๋ และโคชินจนี ทง้ั ทางบกและทางเรอื มาอาศยั ยังอยุธยา และ
จันทบุรี มีส่วนน้อยท่ีเดินทางไปยังพิษณุโลก มะริด ตะนาวศรี การเดินทางไปยัง
มะริดและตะนาวศรีนั้นบาทหลวงชาวฝร่ังเศสเป็นผู้นำ�เข้าไปเพ่ือฝึกสอนศาสนา
และพร้อมกันน้นั ก็ได้ลภ้ี ัยทางศาสนาดว้ ย
๒๘
สาเหตุที่ชาวเวียดนามต้องลี้ภัยเข้ามาในสมัยนี้ เป็นเพราะในเวียดนามเกิด
การสู้รบชิงอำ�นาจระหว่างตระกูลตรินห์ ซึ่งปกครองอยู่ในตังเก๋ียและตอนเหนือ
ของอันนัม กับตระกูลเหงียนที่ปกครองอันนัมตอนใต้และโคชินจีน ในเวลาต่อมา
การสู้รบกินเวลากว่าครึ่งของคริสต์ศตวรรษท่ี ๑๗ (ต้ังแต่ พ.ศ. ๒๑๖๓ - ๒๒๑๗)
นอกจากนั้นพวกเวียดนามยังต้องล้ีภัยศาสนาด้วย เพราะทั้งสองตระกูลมีนโยบาย
กดขี่ข่มเหงพวกท่ีนับถือคริสต์ศาสนา หมายถึง บาทหลวงนักสอนศาสนาชาว
ตะวันตก และพวกเวียดนามท่ีนับถือคริสต์ศาสนา สำ�หรับประเทศไทยในขณะนั้น
สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงมีพระบรมราโชบายส่งเสริมการค้าขายและ
การเจริญพระราชไมตรีกับนานาประเทศ ทรงให้เสรีภาพทางการค้าและทรงมี
ขันติธรรมทางศาสนา เป็นเหตุสำ�คัญประการหนึ่งท่ีทำ�ให้ชาวต่างประเทศเข้ามา
แลพกั อาศัยเปน็ อันมาก ดังท่ี ซีโมน เดอ ลา ลูแบร์ (Simone De la Loubere)
ราชทูตฝรั่งเศสในคณะทูตชุดท่ี ๒ ของพระเจ้าหลุยส์ท่ี ๑๔ ที่เดินทางเข้ามายัง
กรุงศรอี ยธุ ยาเม่อื พ.ศ. ๒๒๓๐ กล่าวไว้ในจดหมายเหตขุ องเขาวา่
“ชาวต่างประเทศมีจำ�นวนมาก อพยพมาจากบ้านเมืองต่าง ๆ โผเข้า
กรุงสยามแต่กาลก่อน เพราะข้อท่ีมีความชอบธรรมมีอิสระ ค้าขายได้ตามชอบใจ
มีผู้บอกเล่าว่า มหานครสยามมีมนุษย์ต่างชาติมาพ่ึงพระบรม - โพธิสมภาร
ตงั้ ท�ำ มาหากินเลี้ยงชีพอยู่ถงึ ๔๐ ภาษา”
ชาวต่างชาติที่ต้ังภูมิลำ�เนาในกรุงศรีอยุธยาได้รับ “ความชอบธรรมที่จะ
เลี้ยงชีพอยู่ตามยถาสุขได้ตามธรรมเนียมของตนสุดแท้แต่จะศรัทธาสักการบูชา
ศาสนาไหนไดโ้ ดยสมคั ร” นอกจากนน้ั ยงั ทรงพระกรณุ าโปรดเกลา้ ฯแกผ่ ทู้ เ่ี ขา้ มาพง่ึ
พระบรมโพธิสมภาร พระราชทานที่ดินให้ได้อาศัยอยู่เป็นหมวดหมู่ตามพรรคพวก
ของชาติตนที่ดินพระราชทานอยู่รอบนอกเขตพระนครห่างจากชุมชนที่อาศัยของ
ชาวสยาม
๒๙
หมบู่ ้านชาวต่างชาติ ได้แก่ ชาวโปรตุเกส จีน มลายู ญีป่ ุ่น ฮอลันดา และ
เวียดนาม เป็นต้น หมู่บ้านชาวต่างชาติมักเรียกกันในหมู่คนไทยว่า “บ้าน”
แต่ชาวต่างชาติเองเรียกว่า “ค่าย” การที่ชาวเวียดนามอาศัยอยู่ในกรุงศรีอยุธยานี้
อาจกลา่ วไดว้ ่าเปน็ เพราะพระมหากษัตรยิ ์ไทยทรงคณุ ธรรมดงั กล่าว ชาวเวียดนาม
จึงพากันเข้ามาเพ่ือหวังผลกำ�ไรทางการค้าด้วย อย่างไรก็ดี ในเวลาต่อมาเมื่อได้
เกิดการจลาจลสู้รบเพื่อชิงราชบัลลังก์ใน พ.ศ. ๒๒๓๑ ก็ทำ�ให้ชาวเวียดนาม
จำ�นวนหนึ่งอพยพออกจากกรุงศรีอยุธยาไป ต่อมา ตลอดสมัยราชวงศ์บ้าน
พลูหลวง (พ.ศ. ๒๒๓๑ - ๒๓๑๐) ไทยได้หันไปดำ�เนินนโยบายไม่คบค้ากับชาว
ตะวันตกเช่นแต่ก่อน นับต้ังแต่สมัยสมเด็จพระเพทราชา (พ.ศ. ๒๒๔๑ - ๒๒๕๑)
เปน็ ต้นมา พระองคท์ รงชงิ ชงั ชาวตะวนั ตกโดยเฉพาะชาวฝร่งั เศสและพวกท่ีนบั ถอื
คริสต์ศาสนาอย่างรุนแรง จนถึงกับมีการทารุณกรรมเพราะระแวงว่าจะเป็นผู้นำ�
อันตรายมาคุกคามเอกราชของประเทศ แม้ว่าในปลายรัชกาลพระองค์จะทรง
ลดหย่อนความรุนแรงและทรงเมตตาให้ชาวเวียดนามได้อยู่อาศัยในท่ีเดิม และ
ปฏิบัติกิจทางศาสนาได้ตามใจชอบก็ตาม ความสงบสุขท่ีเคยมีก็ถูกกำ�จัดให้น้อยลง
กวา่ ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
ท้ังนี้ เนื่องจากชาวเวียดนามมีความสัมพันธ์กับบาทหลวงฝรั่งเศสซึ่งเป็น
ชาติท่ีไทยระแวงว่าจะทำ�ให้เกิดอันตรายได้ จำ�นวนชาวเวียดนามที่ยังคงสมัครใจ
อยู่ในกรุงศรีอยุธยาจึงเหลือน้อยมากและท่ีเหลือก็เป็นพวกท่ีศรัทธาในศาสนาอย่าง
จรงิ จังเทา่ นน้ั ดังนนั้ จึงอาจกล่าวได้ว่า ชาวเวียดนามในสมัยกรงุ ศรอี ยธุ ยาเป็นพวก
ท่ีล้ีภัยทางการเมืองและศาสนามากกว่าจะเข้ามาเพราะเห็นแก่ความอุดมสมบูรณ์
ของเมอื งไทย
ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ต้ังแต่ รัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า
จุฬาโลกจนถึงพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีชาวเวียดนามอพยพ
เขา้ มาอาศยั อยใู่ นไทยเปน็ จ�ำ นวนมากและหลายกลมุ่ สว่ นใหญอ่ าศยั อยใู่ นกรงุ เทพฯ
จนั ทบรุ ี และภาคตะวนั ออกเฉยี งเหนอื โดยเฉพาะอยา่ งยง่ิ พวกเวยี ดนามในกรงุ เทพฯ
ไดอ้ าศยั อยใู่ นทต่ี า่ ง ๆ กนั เปน็ กลมุ่ ๆ ทส่ี �ำ คญั คอื บา้ นญวนพาหรุ ดั (ต�ำ บลบา้ นหมอ้
ถนนพาหรุ ัด)
๓๐
บ้านญวน ตำ�บลบางโพ และบ้านญวน ตำ�บลสามเสนเวียดนาม พวกแรก
ที่เข้ามาเป็นพวกท่ีมาพึ่งพระบรมโพธิสมภารของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีและ
ได้รับพระราชทานที่นอกฝ่ังพระนครทางด้านตะวันออก คือ แถวถนนพาหุรัด
ในปัจจุบันให้เป็นท่ีอยู่อาศัย เรียกว่า บ้านญวนพาหุรัด เวียดนามพวกนี้ ได้แก่
องเชียงชุน พระอนุชากษัตริย์เมืองเว้ และบริวารซึ่งล้ีภัยทางการเมืองจากพวก
กบฏไตเซนิ ใน พ.ศ. ๒๓๒๑ (บา้ งกว็ า่ พ.ศ. ๒๓๑๙) มาจากเมืองบันทายมาศหรอื
ฮาเตียน หลักฐานระบุว่า ภายหลังองเชียงชุนต้องพระราชอาญาประหารชีวิต
พร้อมกับบริวารเพราะคิดหนีกลับเวียดนาม (บ้างก็ว่าเป็นเพราะสมเด็จพระเจ้า
กรุงธนบรุ ี ทรงมีพระสติฟัน่ เฟือนเข้าพระทยั วา่ องเชียงชนุ ขโมยเพชรกลนื ไว้ในท้อง
ในพงศาวดารญวน กล่าวว่า องเชียงชุนถูกประหารเน่ืองจากมีโจรสลัดเวียดนาม
ปล้นเรือสินค้าไทยทำ�ให้ทรงพิโรธ ประกอบกับท่ีพวกเขมรฟ้องร้องว่าองเชียงชุน
เป็นไส้ศึกเวียดนาม) จำ�นวนชาวเวียดนามท่ีถูกประหารชีวิตกับองเชียงชุนระบุ
ไว้วา่ มี ๕๔ คน ท่เี หลือไม่ปรากฏจ�ำ นวนนน้ั สมเด็จพระเจา้ กรุงธนบรุ ที รงเนรเทศ
ออกไปอยู่นอกเขตพระนครหมด ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า
จุฬาโลกทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ชาวเวียดนามเหล่าน้ีกลับมาอยู่ในกรุงเทพฯ
เช่นเดมิ พร้อมท้งั ทรงอดุ หนนุ พระราชทานเงินทอง เสอ้ื ผา้ เสบยี งอาหาร และให้
ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่เดิม คือ ที่หนองระโหน ตำ�บลบ้านหม้อ ถนนพาหุรัดในปัจจุบัน
และทีต่ ำ�บลบางโพ
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (พ.ศ. ๒๓๒๕ - ๒๓๕๒)
องเชียงสือ หรือ เหงียนฟุกอ๊ัญ เจ้าเมืองไซ่ง่อน นัดดาขององเชียงชุนเข้ามา
พึ่งพระบรมโพธิสมภารพร้อมข้าบริวารและทหารเวียดนาม โดยล้ีภัยกบฏไตเซิน
มาเชน่ กัน พำ�นกั อยทู่ เี่ กาะกระบอื ใน พ.ศ. ๒๓๒๔ พระยาชลบุรลี าดตระเวนพบเขา้
จึงได้นำ�มาเข้าเฝ้าใน พ.ศ. ๒๓๒๖ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
ทรงกรุณาต่อองเชียงสืออย่างจริงจังโปรดเกล้าฯ ให้พำ�นักอยู่กับบริวารที่ใต้บ้าน
ต้นสำ�โรง ตำ�บลคอกกระบือ (คอกควาย) ริมฝ่ังตะวันออกของแม่นํ้าเจ้าพระยา
(ปากคลองผดุงกรุงเกษม) ทรงชุบเลี้ยงเทียบเท่าเจ้าเขมร คือ พระราชทานเบี้ย
๓๑
หัวหวัดเงินปี ปีละ ๕ ตำ�ลึง เคร่ืองยศอันมี พานหมาก คนโท กลดคันส้ัน บริวาร
ญาติวงศ์ที่ติดตามมาก็ได้รับพระราชทานเบ้ียหัวหวัดเช่นกัน และชุบเลี้ยงพวก
เวียดนามข้าราชการให้ข้ึนกรมต่าง ๆ นอกจากน้ัน ทรงมีพระบรมราชโองการ
มายังเจ้าเมืองกรมการเมืองสมุทรปราการให้ปล่อยพวกเวียดนามท่ีเป็นพรรคพวก
องเชียงสือเข้าออกทำ�มาหากินในท้องทะเลได้โดยสะดวกในคราวท่ีล้ีภัยมาครั้งแรก
บริวารที่ติดตามมายังกรุงเทพฯ มีประมาณ ๒๐ คน ต่อมาพวกเวียดนามที่
สนับสนุนพระองค์ได้พากันทยอยเดินทางจากเวียดนามเข้ามาในไทย ส่วนมากพัก
อยู่แค่จันทบุรีเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงส่งกองทัพไปช่วย
องเชียงสือสู้รบปราบปรามกบฏไตเซินในเวียดนามสองคร้ัง (พ.ศ. ๒๓๒๖ และ
พ.ศ. ๒๓๒๗) (ในหลักฐานเวียดนามว่าช่วยคร้ังเดียว) ปรากฏว่าพ่ายแพ้มา
ท้ังสองครั้งน้ัน มีทหารเวียดนามในกองทัพขององเชียงสือได้ติดตามองเชียงสือ
กลบั มายงั กรุงเทพฯ อกี ในคร้งั นีเ้ ป็นขนุ นางและนายทหาร ๒๘ คน เป็นทหารและ
กะลาสีชั้นนายพลราว ๒๐๐ คน มากบั เรือสำ�เภา ๕ ลำ�
นอกจากน้ันพวกเวียดนามท่ีสวามิภักด์ิต่อตระกูลเหงียนก็ได้แตกกระสาน
ซ่านเซน็ หลบซ่อนพวกไตเซิน และพาครอบครวั ล้ีภยั เขา้ มาในเขตสยาม โดยเฉพาะ
พวกเวียดนามแคว้นโคชินจีนอาจประมาณจำ�นวนได้ราวพันคนเม่ือจำ�นวนเพ่ิม
มากขึ้น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก จึงโปรดเกล้าฯให้องเชียงสือ
ย้ายไปพำ�นัก ณ ตำ�บลโคกหลวง ชาวเวียดนามจำ�นวน ๑,๐๐๐ คนน้ีดูเหมือน
ว่าจะมากเกินไปและไม่น่าเป็นไปได้ แต่พงศาวดารญวนระบุว่า หลังจากท่ีเข้ามา
ในกรุงเทพฯ อีกคร้ัง บรรดานายทหารที่ซ่องสุมผู้คนอยู่นอกอาณาเขตสยาม
มีศูนย์กลางอยู่ท่ีบริเวณเมืองบันทายมาศ ได้เข้ามาติดต่อกับองเชียงสืออยู่เนือง ๆ
ระหวา่ งน้ีทหารเวยี ดนามอกี ประมาณ ๖๐๐ คนเศษ ซง่ึ นำ�โดยลาวังกุน ทหารเอก
ขององเชียงสือได้พากันลงเรือเข้ามากรุงเทพฯ องเชียงสือไม่ได้พำ�นักอยู่ในไทย
อยา่ งเปลา่ ประโยชน์ ไดต้ อบแทนพระมหากรณุ าธคิ ณุ พระบาทสมเดจ็ พระพทุ ธยอดฟา้
- จุฬาโลก โดยถวายขนษิ ฐภคนิ เี ปน็ ข้าบาทบรจิ ารกิ า และอาสาน�ำ กองก�ำ ลังทหาร
เวียดนามเข้าร่วมทำ�สงครามกับพม่าใน พ.ศ. ๒๓๒๙ โดยทำ�หน้าที่เป็นทัพหน้าจน
๓๒
ได้รับชัยชนะ ซึ่งเป็นการยืนยันว่าจำ�นวนชาวเวียดนามขององเชียงสือน่าจะมีถึง
พันคนได้ ใน พ.ศ. ๒๓๓๐ องเชียงสือช่วยปราบปรามกบฏแขกมลายู โดยใช้ให้
ทหารเวียดนามต่อเรือรบนับสิบลำ�สำ�หรับคอยท่ากบฏที่เกาะช้าง และให้ลาวังกุน
น�ำ กำ�ลังชว่ ยสมเดจ็ กรมพระราชวงั - บวรสถานมงคลมหาสรุ สงิ หนาถ ปราบปราม
จนสำ�เร็จอีก อย่างไรก็ดีใน พ.ศ. ๒๓๓๐ องเชียงสือลอบหนีจากกรุงเทพฯ
ไปโดยเรือ ๔ ลํา พวกที่ติดตามไปมีแต่ญาติวงศ์และบริวารที่ใกล้ชิดซ่ือสัตย์
ประมาณ ๑๕๐ คน ภายหลงั แม้จะมคี นเวยี ดนามตดิ ตามองเชยี งสอื ออกไปชว่ ยรบ
ในเวียดนามอีก หากแต่จำ�นวนคนเวียดนามบริวารองเชียงสือคงเหลืออยู่ในสยาม
อีกเป็นจำ�นวนมาก มีคนเวียดนามจำ�นวนมากไม่เต็มใจท่ีจะกลับเวียดนามเพื่อไป
สู้รบ เลือกท่ีจะอยู่ในสยามต่อไป อาจเป็นเพราะพวกเวียดนามเร่ิมชินกับชีวิต
ท่ีสงบสุขในกรุงเทพฯ การกลับไปเวียดนามเป็นการเส่ียงชีวิต เพราะความหวังที่
จะเอาชนะน้นั ดูเลือ่ นลอยเตม็ ท่ี
นอกจากน้ันพวกเวียดนามเหล่าน้ีเป็นทหารมาตัวเปล่าและได้แต่งงาน
มีครอบครัวตั้งเป็นหลักแหล่งกับคนไทยในกรุงเทพฯแล้วพระบาทสมเด็จ
พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้ทรงย้ายพวกเวียดนามเหล่านี้จากคอกกระบือมารวม
อยู่ทตี่ ำ�บลบางโพ เน่ืองจากสมเด็จกรมพระราชวงั บวรมหาสรุ สิงหนาถทรงขดั เคอื ง
พระทัยพวกเวียดนามเป็นอย่างมากท่ีองเชียงสือลอบหนีไป หลังจากท่ีองเชียงสือ
จากไปไมน่ านนกั เหงยี นวนิ ทด์ กึ (Nguyen Huynh Duc) แมท่ พั ญวนผเู้ คยคมุ ทพั
ทางใต้ขององเชียงสือได้พ่ายแพ้พวกไตเซินใน พ.ศ. ๒๓๒๖ ลี้ภัยเข้ามาในสยาม
โดยผ่านทางลาวพร้อมกับนำ�กำ�ลังคนราว ๕,๐๐๐ คน เข้ามาถึงกรุงเทพฯ ด้วย
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงชักชวนให้เหงียนวินท์ดึก ทำ�ราชการ
อยู่ที่กรุงเทพฯ แต่เมื่อเขายืนยันที่จะตามออกไปช่วยองเชียงสือจึงทรงพระกรุณา
จัดหาเรือเสาเรือใบให้ไป แต่เหงียนวินท์ดึกจำ�ต้องทิ้งพวกเวียดนามท่ีแสดงความ
จ�ำ นงจะอยู่ตอ่ ไปในกรุงเทพฯ
๓๓
ด้วยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงชักชวนให้เหงียนวินท์ดึก
ทำ�ราชการอยู่ท่ีกรุงเทพฯ แต่เมื่อเขายืนยันที่จะตามออกไปช่วยองเชียงสือจึงทรง
พระกรุณาจัดหาเรือเสาเรือใบให้ไป แต่เหงียนวินท์ดึกจำ�ต้องทิ้งพวกเวียดนาม
ท่ีแสดงความจำ�นงจะอยู่ต่อไปในกรุงเทพฯ ไว้ เป็นท่ีเชื่อว่าราว ๒ ใน ๓ หรือ
จำ�นวน ๑,๐๐๐ - ๒,๐๐๐ คน ตกลงใจเลอื กอยู่ในกรงุ เทพฯ พวกเวยี ดนามเหล่าน้ี
ต้ังบ้านเรือนอยู่ร่วมกับพวกญวนบางโพ ส่วนพวกท่ีนับถือคริสต์ศาสนาอยู่ที่
สามเสน พวกเวียดนามที่ตกค้างในกรุงเทพฯ รับราชการทหารในกองทัพสยาม
โดยรับยศเทียบเท่ายศฝ่ายเวียดนามทงดุงเกียน (Thong Dung Gian) และ
โฮเดืองดัก (Ho Duong Dac) นายทหารเวียดนามได้รับเลือกเป็นหัวหน้าหมู่บ้าน
และผบู้ งั คบั กองทหารขนึ้ ตรงต่อสมุหพระกลาโหม
ทม่ี า : “Nguyễn Huỳnh Đức.” By Bách khoa toàn thư mở Wikipedia, (n.d.), Retrieved from https:// vi.wikipedia.org/wiki/
Nguyễn_Huỳnh_Đức
๓๔
เรื่องการลี้ภัยของคนเวียดนาม และกระตือรือร้นเตรียมรับเหตุการณ์ที่จะมี
การล้ีภัยข้ึนอย่างจริงจัง โดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงยินดีรับ
เอาชาวเวยี ดนามเอาไวใ้ นประเทศ โดยมีพระบรมราช - โองการว่า
“...พวกญวนเข้ารีตท่ีเมืองเว้ เมืองโจดก และไซ่ง่อน มีมากตลอดขึ้นมาถึง
เมืองโจด ลำ�นํ้า (เข้าใจว่าเป็นเมืองล่านำ�หรือแง่อาน - ผู้เขียน) เมืองตังเกี๋ย
เมืองกวางเบือง ต่อเขตแดนแขวงเมืองพวร แลหัวเมืองลาวฟากโขงตะวันออก
ถ้าญวนเข้ารีตทนฝีมือญวนไม่ได้คงพาครอบครัวหลบหนีมาทางเมืองมหาไชย
เมอื งพวน เมืองพวนกบั เมืองหลวงพระบาง หนองคาย นครพนมเขตแดนติดต่อกนั
ให้เจ้าเมืองหลวงพระบาง พระพนมนคราปุริก พระประทุมเทวาภิบาล ท้าวเพ้ีย
มีปัญญา คุมไพร่ออกลาดตระเวนพบปะญวนเข้ารีตแตกหนีมาก็ให้พูดจาชักชวน
เข้ามาไว้ในเมืองหลวงพระบาง เมืองหนองคาย เมืองนครพนมให้ได้จงมาก...”
พวกเวียดนามล้ีภัยทางศาสนาส่วนมากอยู่ทางตอนใต้ของประเทศเวียดนาม
เดินทางโดยทางเรือเลียบมาทางชายฝ่ังเขมรมายังบริเวณชายฝ่ังตะวันออกเฉียง
เหนือใตข้ องสยามและไดก้ ระจายกันอย่เู ป็นกลมุ่ ตามเมืองสำ�คัญ เช่น จนั ทบรุ ี ขลงุ
ตราด ระยอง ชลบรุ ี สมุทรสงคราม ส่วนพวกท่เี ขา้ มาตามล�ำ นํ้าเจา้ พระยาได้ข้นึ บก
ท่กี รงุ เทพฯ อยธุ ยา และนครสวรรค์ (ปากนํ้าโพ) จำ�นวนผลู้ ภี้ ยั คราวนี้มีประมาณ
๕,๐๐๐ คน ในสมยั พระบาทสมเดจ็ พระจอมเกลา้ - เจา้ อยหู่ วั พวกเวยี ดนามทล่ี ภ้ี ยั
ทางการและพวกที่ล้ีภัยศาสนาเดินทางเข้ามาโดยผ่านทางอาณาจักรลาว และมา
อยู่ในบริเวณริมฝ่ังแม่นํ้าโขง พวกเวียดนามท่ีมาจากเมืองในเขตอันนัมตอนเหนือ
เชน่ เมืองทนั หัว (Thanh Hua) แง่อาน (Nghe An) และฮาตนิ ฮ์ (Ha Tinh)
มักมาอาศัยบนฝั่งซ้ายและฝั่งขวาของแม่นํ้าโขงพวกเวียดนามหลาย
ร้อยคนได้อาศัยอยู่ที่เมืองท่าอุเทน ไชยบุรี หนองคาย นครพนม พระบาทสมเด็จ
พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราชโองการให้ผู้ปกครองหัวเมืองลาว
จัดลาดตระเวนเกลี้ยกล่อมพวกเวียดนามล้ีภัยที่เดินทางเข้ามาทางเขตลาวให้เข้ามา
อยใู่ นเขตสยามใหไ้ ด้มากเช่นกัน
๓๕
อย่างไรก็ตามพวกเวียดนามท่เี กล้ยี กล่อมมาน้นั เป็นพวกเวียดนามท่หี นีความ
อดอยากมาทั้งสิ้น เนื่องจากเกิดภัยแล้งในเวียดนามเป็นเวลานาน การเกลี้ยกล่อม
ดำ�เนินมาจนถึง พ.ศ. ๒๔๐๕ ปรากฏว่าได้คนเวียดนามเป็นจำ�นวน ๑๓๓ คน
โปรดเกล้าฯ ให้ทำ�มาหากินอยู่ในเขตเมืองนครพนมและสกลนคร ชาวเวียดนาม
ที่ต้องลี้ภัยทางศาสนามายังสยามน้ัน เนื่องจากการท่ีพระจักรพรรดิมินห์มางทรง
นำ�นโยบายการกดข่ีข่มเหงพวกที่นับถือคริสต์ศาสนากลับมาใช้อีก ทรงออกพระ
ราชกฤษฎีกาจนถึงขั้นประหารพวกท่ีนับถือคริสต์ศาสนาโดยท่ัวไปใน พ.ศ. ๒๓๗๗
อย่างไรก็ดีในสมัยพระจักรพรรดิมินห์มาง การข่มเหงพวกท่ีนับถือคริสต์ศาสนา
ไมเ่ ดด็ ขาดรนุ แรงเทา่ กบั ในรชั กาลตอ่ มา คอื สมยั พระจกั รพรรดติ อื ดก๊ึ (พ.ศ. ๒๓๙๑
- ๒๔๒๖) พระจักรพรรดิตือดึ๊กทรงใช้นโยบายนี้ตอบโต้การแทรกแซงทางการเมือง
การปกครองเวียดนามของพวกบาทหลวงและนักสอนศาสนาชาวตะวันตก โดยให้
ทำ�ลายชีวิตและหมู่บ้านพวกเวียดนามที่นับถือคริสต์ศาสนา ชาวเวียดนามเข้ารีต
นับถือคริสต์ศาสนาหลายพันคนถูกประหารชีวิต เมื่อฝรั่งเศสใช้กำ�ลังบุกเมือง
ท่าตูราน (ดานัง) เป็นครั้งแรกใน พ.ศ. ๒๔๐๑ และรุกรานจนได้เข้าครอบครอง
แคว้นโคชินจีนนั้น พระจักรพรรดิทรงเข้าพระทัยว่าพวกเวียดนามท่ีนับถือ
คริสต์ศาสนาสนับสนุนพวกฝร่ังเศส จึงทรงกดข่ีกระทำ�การทารุณกรรมพวก
เวียดนามเหล่านี้รุนแรงข้ึน
“...ญวนได้ต้ังค่าย คอยจับญวนเข้ารีตฝร่ัง ที่ด่านมีไม้กางเขนเป็นรูปพระ
ของฝรั่ง ถ้าผู้ใดมาถึงด่านไม่ข้ามไม้กางเขน ญวนจับว่าเข้ารีต ถ้าผู้ใดข้ามไป
นายด่านปล่อยตัวไป ญวนจับได้ญวนเข้ารีตฝรั่งแล้วให้เฆี่ยนถ้ามีพวกญวนเข้ารีต
ตั้งแต่เมืองป่าศักตลอดจนมาจนถึงเมืองโจดก พากันสดุ้งต่ืนหลบหนี...เดี๋ยวนี้ญวน
คิดก�ำ จดั ญวนเข้ารตี บนั ดาอยใู่ นเขตแดนเมืองญวนทกุ บ้านเมอื ง...”
อย่างไรก็ดีภายหลังจากท่ีฝร่ังเศสเร่ิมบุกเวียดนามโดยยึดเมืองตูรานและ
เวียดนามสู้รบกับฝร่ังเศสและพ่ายแพ้จนต้องตกอยู่ในฐานะรัฐในอารักขาของ
ฝรง่ั เศสใน พ.ศ. ๒๔๒๗ ท�ำ ใหม้ เี วยี ดนามหลบหนลี ภ้ี ยั สงคราม เขา้ มาอาศยั ในสยาม
๓๖
เป็นจำ�นวนมาก โดยเฉพาะเวียดนามที่หลบหนีการปกครองของฝร่ังเศสและ
พวกชาตินิยมต่อต้านฝร่ังเศส ซึ่งได้กลายเป็นปัญหาสำ�หรับสยามในสมัยพระบาท
สมเดจ็ พระจุลจอมเกลา้ เจ้าอยูห่ วั
การถกู กวาดต้อนเข้ามาในฐานะเชลยศึกสงคราม
ประเพณกี ารจบั ขา้ ศกึ เปน็ เชลยกลบั บา้ นเมอื งนน้ั แทท้ จ่ี รงิ แลว้ เปน็ จดุ มงุ่ หมาย
อันสำ�คัญย่ิงของการทำ�สงครามของสยามและประเทศใกล้เคียง “การกวาดต้อน
ผู้คนพลเมืองท่ีตีได้ไปเป็นเชลยของฝ่ายชนะเป็นประเพณีมีมาแต่ดึกดำ�บรรพ์”
เพราะไม่เป็นแต่เพียงการลดทอนกำ�ลังของฝ่ายข้าศึกในการทำ�สงครามครั้งต่อไป
แต่ยังเป็นการทดแทนพลเมืองที่สูญเสียไปในระหว่างการรบด้วยและเพื่อเป็น
รางวลั แก่ นายทพั นายกอง ให้รบั เอาเชลยนน้ั ไปเปน็ ทาส นอกจากน้นั ในสมยั น้ัน
ยังถือว่ากำ�ลังคนเป็นปัจจัยทางเศรษฐกิจท่ีสำ�คัญของประเทศด้วย การทำ�สงคราม
ระหว่างสยามและเวียดนามก็เช่นกัน คราวใดที่สยามชนะก็จะกวาดต้อนเชลย
เวียดนามมาไว้ในเขตสยาม การกวาดต้อนชาวเวียดนามปรากฏในสมัยสมเด็จ
พระเจ้ากรุงธนบุรีว่า เมื่อทรงนำ�กองทัพโจมตีเมืองบันทายมาศใน พ.ศ. ๒๓๑๔
ทรงฆ่าฟันเวียดนามในบันทายมาศเสียเกือบส้ินเว้นแต่พวกไม่เป็นภัย คือ พวก
เขา้ รีต (นบั ถอื คริสต์ศาสนา) ท่แี ก่ชราถูกกวาดตอ้ นเข้ามามีจ�ำ นวน ๔๖ คน และ
ให้อยู่รวมกับพวกถือคริสต์ศาสนาในธนบุรี ซึ่งลี้ภัยจากกรุงศรีอยุธยาต้ังแต่ครั้ง
เสียกรุงแกพ่ มา่ ครงั้ ที่ ๒ อย่างไรกด็ ีไม่จำ�เปน็ เสมอไปท่ฝี ่ายชนะจะเปน็ ผกู้ วาดต้อน
ผู้คนฝ่ายแพ้ไปเป็นเชลย ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว สยามทำ�
สงครามกับเวียดนามยืดเยื้อถึง ๑๕ ปี ซ่ึงตรงกับรัชกาลพระจักรพรรดิมินห์มาง
จักรพรรดิอเทียวตรี และพระจักรพรรดิตือด๊ึก แห่งเวียดนาม หลักฐานสยาม
ได้บนั ทึกเกี่ยวกับการไดช้ าวเวียดนามจากสงครามครงั้ นี้มาไว้ในสยาม ในลักษณะ
ต่าง ๆ กัน เมื่อแรกเริ่มการสู้รบใน พ.ศ. ๒๓๗๖ เจ้าพระยาบดินทร์เดชา
(สิงห์ สิงหเสนี) เป็นแม่ทัพใหญ่คุมทัพพร้อมกับทัพเรือของเจ้าพระยาพระคลัง
๓๗
ไปโจมตีไซ่ง่อน ระหว่างทางจนถึงเมืองโจดกได้มีการกวาดต้อนจับครัวเวียดนาม
ไว้ได้มากเป็นภาระยุ่งยากในการเดินทัพต่อไป ครั้นจะส่งกลับไปกรุงเทพฯ
ก็ไม่สะดวก เน่ืองจากไม่มีเรืออื่นนอกจากเรือรบหากจะพักไว้ท่ีโจดกก็ไม่ไว้ใจ
เน่ืองด้วยชาวเวียดนามเหล่านี้เป็นราษฎรมีจำ�นวนชายฉกรรจ์ราว ๘๐ คนเศษ
เจ้าพระยาบดินทร์เดชาจึงตัดสินใจประหารชีวิตหมด ส่วนครอบครัวของชาย
ฉกรรจ์เหล่านี้ให้ส่งไปพักไว้ท่ีเมืองบันทายมาศ นอกจากจะใช้การบังคับกวาดต้อน
ในคราวศึกสงครามแล้ว การเกลี้ยกล่อมแล้วกวาดต้อนเข้าเขตสยามก็เป็นอีกวิธี
หน่ึงท่ีทำ�ให้ได้ชาวเวียดนามเป็นจำ�นวนมาก โดยเฉพาะชาวเวียดนามที่เข้ารีต
เม่ือกองทัพสยามมาถึงคลององเจือง ใน พ.ศ. ๒๓๗๗ ได้ใช้บาทหลวงมีชื่อว่า เป๋
ซ่ึงมาพร้อมกับพระยาวิเศษสงคราม (หัวหน้าหมู่บ้านเขมรเช้ือสายโปรตุเกสที่
ตำ�บลสามเสน) เป็นผู้เกลี้ยกล่อมได้พวกเวียดนามเข้ารีตที่ตั้งบ้านเรือนอยู่คลอง
องเจืองมาได้ทัง้ หมดประมาณ ๓๐๐ คนเศษ ต่อมากไ็ ดช้ าวเวยี ดนามเข้ารีตในเมือง
โจดก มาเพ่ิมเติมพวกเวียดนามเข้ารีตเหล่าน้ีเมื่อมาถึงกรุงเทพฯ พระบาทสมเด็จ
พระนั่งเกล้า - เจ้าอยู่หัวพระราชทานที่เหนือบ้านเขมรเข้ารีตริมวัดส้มเกลี้ยง
เพื่อให้เป็นท่ีอาศัยและให้สักเข้าหมวดพวกเวียดนามว่า “ญวนสวามิภักดิ์”
ในปีเดียวกัน ขณะท่ีทัพบกและทัพเรือสยามต้องถอยมาอยู่ท่ีเมืองพระตะบอง
และจันทบุรี ทัพที่สามซึ่งเป็นทัพหัวเมืองลาวตะวันออกได้มาเกือบถึงไซ่ง่อนและ
ต้องถอยกลับเช่นกัน ระหว่างทางได้กวาดต้อนผู้คนกลับไปด้วยเป็นจำ�นวนมาก
ทางดา้ นเมอื งพวนและเชยี งขวางไดร้ ายงานวา่ ฆา่ ทหารเวยี ดนามไดร้ าว ๓๐๐ คนเศษ
และจับเปน็ ได้ ๔๑ คน
ใน พ.ศ. ๒๓๘๓ ขณะทเ่ี จ้าพระยาบดินทรเ์ ดชาคุมทัพอยทู่ ีเ่ มอื งพระตะบอง
พวกทหารเวียดนามในค่ายขององเดียญกุญแม่ทัพเวียดนามที่เมืองกำ�พงธมหนี
ไข้ป่วง (โรคระบาด มีอาการท้องร่วงและอาเจียน) ออกมาหาพวกเขมร ๑๓๔ คน
ต่อมาหนีจากค่ายเมอื งพนมเปญอีกราว ๒๐๐ คน
๓๘
เมื่อส่งเข้ามายังกรุงเทพฯ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ
ให้สักข้อมือเป็นกองอาสารบญวนและพระราชทานแก่สมเด็จพระเจ้าน้อยยาเธอ
กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ไว้ใช้สอย พวกญวนนี้อาศัยท่ีตำ�บลบางโพ ระหว่าง พ.ศ.
๒๓๗๖ - ๒๓๘๔ พวกเขมรท่ีนิยมฝ่ายไทยรบเวียดนามโดยใช้วิธีรบแบบกองโจร
สามารถจับพวกเวียดนามมาได้เป็นจำ�นวนมากกว่า ๒,๐๐๐ คน เนื่องจากมีการ
จ่ายรางวัล คือ จับได้มากกว่า ๑ ตำ�ลึง ถ้าน้อยได้ ๑ บาท เวียดนามเหล่าน้ี
โปรดเกล้าฯ ให้ส่งไปไว้ยังเมืองกาญจนบุรีและหัวเมืองทางเหนือ เช่น พิษณุโลก
และตาก แต่ถ้าเป็นเวียดนามเข้ารีตโปรดเกล้าฯ ให้ส่งไปไว้ท่ีสามเสนนอกจาก
การเข้ามาด้วยเหตุเพื่อล้ีภัยและถูกกวาดต้อนเป็นเชลยแล้วยังมีอีกกรณีหน่ึง คือ
เวียดนามเมืองพุทไธมาศ ซ่ึงขึ้นตรงต่อไทยในฐานะประเทศราชในสมัยสมเด็จ
พระเจ้ากรุงธนบุรี และพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พระยาราชา
เศรษฐเี จ้าเมอื งซ่งึ เปน็ ชาวเวยี ดนาม เม่ือเข้ามาในเมืองหลวงไดพ้ าบรวิ ารเวยี ดนาม
และจีนเขา้ มาดว้ ย ในสมยั สมเดจ็ พระเจ้ากรงุ ธนบุรี พระยาราชาเศรษฐแี ละบริวาร
อาศยั อยทู่ ่ตี รอกพระยาไกร (สามเพง็ ในปัจจบุ ัน) จนกระท่งั เม่อื พระยาราชาเศรษฐี
ถึงแก่อสัญกรรมจึงถูกไล่ที่เพื่อทำ�ตลาด พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
พระราชทานที่ใหม่ให้พวกเวียดนามอาศัยอยู่ใต้วัดสามเพ็ง (วัดประทุมคงคาราม)
อย่างไรกด็ ี ชาวเวียดนามบริวารเจา้ เมืองพุทไธมาศน้เี ข้าใจว่าคงมีจ�ำ นวนไม่มากนกั
อน่ึงนอกจากเวียดนามล้ีภัยและถูกกวาดต้อนเข้ามาในสมัยสงครามระหว่าง
สยามกับเวียดนามแล้วยังมีเวียดนามที่เข้ามาในสยามในฐานะคนในบังคับฝรั่งเศส
อีกด้วย หลังจากท่ีสยามทำ�สัญญา ร.ศ. ๑๑๒ (พ.ศ. ๒๔๓๖) กับฝรั่งเศสยังผลให้
คนในบังคับฝร่ังเศสชาติเอเชีย ได้แก่ ชาวเวียดนาม เป็นต้น ได้รับความคุ้มครอง
ทางการศาลให้อยู่ในอำ�นาจปกครองของกงสุลฝรั่งเศสในสยามในระยะน้ี
พวกเวียดนามได้พากันเดินทางเข้ามาหาผลประโยชน์และติดตามชาวฝร่ังเศส
เข้ามาเป็นลูกจ้างจำ�นวนมาก
๓๙
เวียดนามเหล่าน้ีมักรวมอาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ คือ ท่ีตำ�บลบางรักและใน
ภาคตะวนั ออกเฉียงเหนอื คือ อบุ ลราชธานี เมอ่ื ฝร่งั เศสยดึ จันทบรุ ีเพื่อเป็นประกัน
ให้สยามทำ�ตามข้อตกลงในสัญญาที่สยามได้ยอมยกดินแดนฝั่งซ้ายของแม่นํ้าโขง
ให้แก่ฝร่ังเศส ฝร่ังเศสได้นำ�กองทหารเวียดนามมาประจำ�อยู่เป็นจำ�นวนมาก
แต่คนเวียดนามเหล่านี้ได้มาอาศัยอยู่เป็นการช่ัวคราว เมื่อฝรั่งเศสถอนทหารออก
จากจันทบุรีเข้าใจว่าคงจะกลับออกไปเกือบทั้งหมดด้วยจำ�นวนชาวเวียดนาม
ในสยาม หลักฐานที่ระบุเหตุและจำ�นวนชาวเวียดนามที่เข้ามาแต่ละคราวไม่อาจ
ช่วยให้สรุปได้ว่าจำ�นวนเวียดนามที่อาศัยอยู่มีท้ังหมดเท่าใด เป็นท่ีเช่ือแน่ว่า
ชาวเวียดนามเหล่านั้นนอกจากท่ีเข้ามากับองเชียงสือแล้วก็มีจำ�นวนน้อยนักท่ีจะ
กลับออกไปอีก เน่ืองจากสยามเป็นชาติท่ีมีขันติธรรมทางศาสนาและให้เสรีภาพ
ในการเป็นอยู่พอสมควร ประกอบกับชาวเวียดนามมีหนทางทำ�มาหากินตั้งหลัก
แหล่งอย่างเป็นสุขแล้ว อีกท้ังการคมนาคมติดต่อในสมัยนั้นก็เป็นไปด้วย
ความยากล�ำ บาก ดว้ ยเหตทุ ก่ี ารเดนิ ทางทรุ กนั ดารนเ้ี อง พวกเวยี ดนามตอ้ งเสยี ชวี ติ
ไปมากระหว่างทางท่ีถูกกวาดต้อนเข้ามาเป็นเชลย อย่างในสมัยพระบาทสมเด็จ
พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกครั้งท่ีจับพวกเวียดนามตังเกี๋ยท่ีลี้ภัยพวกไตเซินใน
พ.ศ. ๒๓๓๓ ไดม้ าจากลาวราว ๔๐๐ คน แตก่ ต็ ายไปราว ๓๐๐ คน
ดังน้ัน จำ�นวนชาวเวียดนามที่ระบุในบัญชีที่นำ�ส่งเข้ามา เช่น ในรัชกาล
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า - เจ้าอยู่หัวกับที่ได้ส่งเข้ามาจริง ๆ ย่อมน่าจะ
ไม่ตรงกันได้ นอกจากนั้นยังไม่อาจหาหลักฐานเก่ียวกับจำ�นวนท่ีแน่นอนของ
ชาวเวียดนามที่เข้ามาด้วยสาเหตุลี้ภัยและที่อาศัยในแต่ละแห่งได้ พวกเหล่าน้ี
เมื่อได้เข้ามาในสยามแล้ว พากันย้ายไปยังจังหวัดต่าง ๆ จึงเป็นการยากที่จะ
ประมาณจำ�นวนท้ังหมดได้ ถึงกระน้ันได้มีการประมาณอย่างคร่าว ๆ ว่ามีชาว
เวียดนามอาศัยอยู่ในสมัยน้ันราว ๖,๐๐๐ - ๘,๐๐๐ คน หลักฐานร่วมสมัย เช่น
บันทึกของปัลเลอกัวซ์ (Jean-Baptiste Pallegoix เป็นบาทหลวงคณะมิสซัง
ต่างประเทศแห่งกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ที่ได้เข้ามาอยู่ในสยามตรงกับสมัย
พระบาทสมเดจ็ พระจอมเกลา้ เจ้าอยู่หวั และอยนู่ านถึง ๒๔ ป)ี
๔๐
ได้กล่าวถึงชาวเวียดนามเฉพาะในกรุงเทพฯ ว่ามีถึงราว ๑๒,๐๐๐ คน
จากจำ�นวนพลเมืองในกรุงเทพฯ ทั้งหมด ๔๐๔,๐๐๐ คน (ไม่นับรวมกับพวกที่
นบั ถอื ครสิ ตศ์ าสนาชาตติ า่ ง ๆ มรี าว ๔,๐๐๐ คน และเปน็ ชาวเวยี ดนาม ๑,๔๐๐ คน)
เซอร์จอห์น เบาว์ริง เป็นอีกผู้หน่ึงที่บันทึกจำ�นวนเวียดนามไว้ แต่กล่าวเฉพาะ
พวกเวียดนามเชลยศึกว่ามีถึง ๑๐,๐๐๐ คน สำ�หรับเวียดนามในกรุงเทพฯ นั้น
เขาอ้างจากบันทึกของปัลเลอกัวซ์เปรียบเทียบกับหนังสือ “ข้อสังเกตเก่ียวกับ
หมเู่ กาะอนิ เดยี ” (Notices of Indian Archipelago) ของมวั ร์ (Moor) ทก่ี ลา่ ววา่
เวียดนามในกรุงเทพฯ พ.ศ. ๒๓๗๑ มีประมาณ ๑,๐๐๐ คน และประชาชนใน
กรงุ เทพฯ ทงั้ หมดมี ๓๗๖,๕๐๐ คน ซง่ึ เบาว์ริง เชื่อปลั เลอกวั ซม์ ากกวา่ เพราะวา่
มัวร์ประมาณไว้น้อยเกินไปมาก นอกจากนั้นที่แน่นอน คือ พ.ศ. ๒๓๗๗ เวียดนาม
ในกรุงเทพฯ มมี ากกว่า ๒,๐๐๐ คน อย่างไรก็ดีจำ�นวน ๑๒,๐๐๐ คน ที่ปัลเลอกัวซ์
วา่ ไดด้ มู ากเกนิ ไปเช่นเดียวกันกับทข่ี องมัวร์ทีน่ อ้ ยไป
ในปี พ.ศ. ๒๔๔๖ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ
ให้สำ�รวจประชากรโดยทำ�บัญชีสำ�มะโนครัวอย่างละเอียด แต่ทำ�สำ�เร็จได้เพียง
๑๒ มณฑล จำ�นวนคนท้ังหมด ๓,๓๐๘,๐๓๒ คน เป็นเวียดนาม ๔,๗๕๗ คน
(ในจำ�นวนน้ีเป็นเวียดนามในมณฑลปราจีนบุรีถึง ๑,๑๒๔ คน ส่วนที่เหลือ
เข้าใจว่าเป็นของมณฑลจันทบุรีเป็นส่วนมาก) สำ�หรับมณฑลท่ีเหลือที่ยังไม่ได้
สำ�รวจน้ันมีกรุงเทพฯ และอุดรฯ ซ่ึงเป็นแหล่งที่อาศัยของชาวเวียดนาม ใน พ.ศ.
๒๔๕๒ การส�ำ รวจมณฑลกรุงเทพฯ ท้ังหมด ๕๒๒,๐๕๔ คน และในบญั ชแี ยกชาติ
ส่วนอารามเป็นเวียดนาม ๗๔ คน จาก ๑๘,๖๒๕ คน สำ�หรับมณฑลอุดรฯ
ใน พ.ศ. ๒๔๕๒ สำ�รวจได้เวียดนาม ๙๖๓ คน ซ่ึงเป็นระยะล้ีภัยฝรั่งเศสเฉพาะ
ในจังหวัดนครพนมมีเวียดนามเพ่ิมข้ึนในเวลาต่อมาถึง ๒๐๐ คนเศษ และเมื่อ
สำ�รวจใน พ.ศ. ๒๔๕๖ ปรากฏจำ�นวนเวียดนามในมณฑลอุดรฯ ถึง ๑,๕๖๗ คน
๔๑
เม่ือประมาณจำ�นวนชาวเวียดนามท่ีได้จากการสำ�รวจกระท่ังถึง พ.ศ. ๒๔๕๖
อยา่ งครา่ ว ๆ แลว้ อาจกลา่ วไดว้ า่ มชี าวเวยี ดนามอาศยั อยทู่ ง้ั หมดกวา่ ๑๐,๐๐๐ คน
เป็นท่ีน่าเสียดายท่ีไม่อาจประมาณจำ�นวนชาวเวียดนามท่ีเข้ามาในสยาม
กอ่ นสมยั สงครามโลกคร้งั ท่ี ๑ (ญวนเกา่ ) ให้แนน่ อนได้มากกวา่ นี้ ซ่งึ โดยทวั่ ไปน้นั
เข้าใจกันว่าอาจทำ�ไม่ได้เลยทีเดียว เน่ืองจากหลักฐานและบันทึกการสำ�รวจท่ีมีอยู่
ไม่สมบูรณ์และถูกต้องเพียงพอ แต่การประมาณจำ�นวนเช้ือชาติ “ญวนเก่า”
ในปัจจุบันท่ียังคงความเป็นเวียดนามอยู่นั้นพอจะกระทำ�ได้ แม้ว่าจะต้องประสบ
กับอุปสรรคมากมาย คือ ผู้ค้นคว้ายังคงไม่อาจพ่ึงข้อมูลจากรัฐบาลได้เช่นเดิม
ประการท่ีสำ�คัญ คือ สภาวะการเมืองปัจจุบันทำ�ให้การสำ�รวจไม่ได้รับผลสำ�เร็จ
เท่าที่ควร ผู้ที่ให้รายละเอียดเกี่ยวกับจำ�นวน “ญวนเก่า” ในปัจจุบันได้ดี คือ
ปเี ตอร์ เอ พลู (Peter A. Poole) นกั สงั คมวิทยาชาวอเมริกา ซึ่งได้คน้ ควา้ และ
เขียนหนังสือเกยี่ วกับชาวเวียดนามในประเทศไทยหลายเลม่
เขาได้กล่าวถึงความยุ่งยากในการสำ�รวจว่าเกิดจากชาวเวียดนาม พยายาม
ปกปิดเช้ือชาติของตนอย่างจริงจัง แต่ในท่ีสุดราว พ.ศ. ๒๕๑๐ เขาสามารถหา
ตัวเลขแสดงจำ�นวนชาวเวียดนามที่อาศัยในแหล่งสำ�คัญได้จากการสัมภาษณ์
บาทหลวงนกิ ายโรมนั คาทอลกิ และเวยี ดนามครสิ ตจ์ ากหมบู่ า้ นเวยี ดนาม ๑๕๙ แหง่
ประมาณจากจำ�นวนเวียดนามคริสต์ท่ีพูดและอ่านภาษาเวียดนามและไม่ได้
แตง่ งานกบั คนเชอื้ ชาตไิ ทยและจนี (หอจดหมายเหต,ุ ๒๕๕๘)
๔๒
ภาพที่ ๓ พระสงั ฆราช ปลั เลอกวั กบั เดก็ ไทยชอื่ แกว้ และเด็กญวนชือ่ ชม
ถ่ายท่ีปารสี เมอื่ พ.ศ. ๒๓๙๗
ทม่ี า: “ฌ็อง-บาติสต์ ปาลกวั .” โดย สารนกุ รมเสร,ี (๒๕๖๓, พฤษภาคม ๑๙), วกิ ิพเี ดีย เข้าถงึ ไดจ้ าก th.wikipedia. org/wiki/
ฌอ็ ง-บาตสิ ต์ ปาลกัว.
กฎระเบียบทางสังคม
ญวนมีระบบครอบครัวเครือญาติที่แน่นแฟ้นมีความเคารพผู้อาวุโส และ
บรรพบุรุษ สมาชิกในครอบครัวมีความรักและผูกพันกัน มีความภาคภูมิใจในชีวิต
ครอบครัวและกลุ่มชาติพันธ์ุของตนสูง สมาชิกในครอบครัวมีบทบาทหน้าที่
ที่เท่าเทียมกัน และผู้สูงอายุจะเป็นศูนย์รวมจิตใจของครอบครัว รวมทั้งยังมีการ
รวมกลมุ่ ทางสงั คมเฉพาะทเ่ี ปน็ ญวนดว้ ยกนั เชน่ กลมุ่ ธรุ กจิ การคา้ ทง้ั น้ี ผล อฐั นาค
(๒๕๔๓) ยังได้กล่าวถึงประเพณีการแต่งงานของญวน มีการประกอบพิธีตาม
ขั้นตอนเริ่มจากขั้นดูฐานะทางครอบครัวแต่ละฝ่าย โดยฝ่ายเจ้าสาวจะไปดูตัวและ
ฐานะของเจ้าบ่าวเป็นอันดับแรก ต่อมาฝ่ายเจ้าบ่าวจึงจะไปดูตัวและฐานะของ
เจ้าสาว หลังจากตกลงค่าสินสอดแล้วจะนำ�สินสอดมาใส่รวมกันในปี๊บ ในพิธี
แต่งงานจะมีการด่ืมนำ้�ชาและไหว้บรรพบุรุษ โดยฝ่ายเจ้าสาวจะจัดทํา “ขนมฮำ�”
เพอ่ื นำ�ไปไหว้บรรพบรุ ุษทัง้ สองฝ่าย (ผล อัฐนาค, ๒๕๔๓)
๔๓
ความเชอ่ื
ญวนมคี วามเช่ือในเรือ่ งภตู ผีวิญญาณหรอื สง่ิ เหนอื ธรรมชาติ มีการประกอบ
พิธีกรรมตามความเช่ือ คือ “หมอจ๋ิน” เป็นพิธีกรรมเก่ียวกับการปัดรังควานของ
ผีภัยให้ออกจากร่างกายของผู้ป่วยและเป็นการส่งเสริมส่ิงดีงามให้แก่ผู้คนทั่วไป
นอกจากน้ียังมีความเช่ือในเร่ืองโชคลางหรือสิ่งศักด์ิสิทธ์ิเช่นเดียวกับคนไทยใน
ท้องถิ่น แต่แตกต่างกันในส่วนของการประกอบพิธีกรรม ด้านศาสนามีท้ังที่นับถือ
ศาสนาพุทธและศาสนาคริสต์ ในส่วนของพิธีศพน้ัน จะถูกจัดข้ึนตามข้ันตอน
โดยพิธีสวดศพจะมีการจ้างตระกูลที่รับจ้างร้องไห้ มาร้องไห้ต่อหน้าศพเพื่อแสดง
การไว้อาลัยญาติพี่น้องจะสวมชุดสีขาวมาร่วมขบวนแห่ศพและมีตัวแทนญาติ
ของผู้ตายทำ�การเดินถอยหลังและใช้มือผลักรถบรรทุกศพเพื่อส่งวิญญาณ ในกรณี
ทีเ่ ป็นญวนนบั ถอื ศาสนาพุทธจะเผาศพ สว่ นญวนท่นี บั ถือศาสนาคริสต์จะฝังศพ
การศึกษา
ในระยะแรกที่ญวนอพยพเข้ามาในปะเทศไทยจะถูกจำ�กัดในเร่ืองการศึกษา
มีเพียงบางคนเท่านั้นท่ีมีโอกาสเข้าศึกษาในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา
ตอนตน้ สว่ นใหญจ่ ะเป็นกลมุ่ คนญวนรุน่ แรก การเรียนรศู้ ึกษาดังกล่าวเพื่อน�ำ ไปใช้
ในการดำ�เนินชีวิตร่วมกับสังคมท้องถ่ินและสังคมไทยทั้งเพื่อการค้าขายด้วย
นอกจากนี้ยังมีการเรียนการสอนภาษาญวนให้แก่บุตรหลานโดยกระทำ�อย่างลับ ๆ
ไม่มีสถานศึกษาที่แน่นอน ปัจจุบันได้รับการศึกษาโดยรัฐบาลเปิดโอกาสให้เรียน
ภายใตก้ ารปรบั ปรงุ แนวทางปฏบิ ตั ใิ นการศกึ ษาใหม่ ตามมตทิ ป่ี ระชมุ คณะกรรมการ
ควบคุมญวนอพยพของสภาความม่ันคงแห่งชาติ ครั้งที่ ๑/๒๕๓๙ เมื่อวันที่ ๒๔
พฤษภาคม ๒๕๓๙
๔๔
การแพทย์
เม่ือคนญวนคนใดมีอาการไข้จะมีหมอยากลางบ้านมาทำ�การรักษาโดยใช้
สมนุ ไพรและใชภ้ มู ปิ ัญญาจากการสังเกตอาการของผปู้ ่วย เชน่ การตรวจจับชพี จร
จะรวู้ า่ มอี าการปว่ ยเกย่ี วกบั โรคอะไรขณะเดยี วกนั จะใชย้ าปฏชิ วี นะควบคกู่ นั ไปดว้ ย
แต่เน้นรักษาด้วยสมุนไพรเป็นหลักกรณีท่เี กินความสามารถของหมอกลางบ้านแล้ว
คนป่วยจะถูกนำ�ตัวส่งเข้ารักษาที่โรงพยาบาลของรัฐต่อไป ปัจจุบันการรักษา
พยาบาลของคนไทยเชื้อสายญวนที่เจ็บป่วยเล็กน้อยจะรักษาท่ีคลินิกแพทย์
แผนปัจจุบัน หากเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลจะได้รับบริการและสวัสดิการ
เหมอื นคนไทยทว่ั ไป
การแตง่ กาย
การแต่งกายแบบด้ังเดิมคล้ายของชาวจีน จะนุ่งกางเกงขายาวโดยใช้ผ้า
บาง ๆ ทงั้ หญงิ และชาย เสอ้ื คลุมผา่ ข้างยาวคลุมถงึ เขา่ และมผี า้ ม้วนพันรอบศรี ษะ
ท้ังหญิงและชาย ในระยะแรกที่อพยพเข้ามา เด็กผู้หญิงญวนจะสวมใส่กางเกง
ขาก๊วย เสื้อแขนส้ันหรือยาวตัดเย็บด้วยผ้าต่วนหรือผ้าแพรบางมีสีฟ้า สีดํา หรือ
ไม่มีสีและลวดลาย ขึ้นอยู่กับการดำ�เนินกิจกรรม เช่น ทำ�งานเก่ียวกับการเกษตร
จะสวมใส่กางเกงเส้ือผ้าสีดำ�หรือสีน้ําเงินซึ่งย้อมสี สวมหมวกญวนที่เรียกว่า
“กุ๊บ” ส่วนการแต่งกายเม่ือมีพิธีกรรมต่าง ๆ น้ันจะนิยมสวมใส่ชุดพื้นเมืองของ
ชาวเวียดนามท่ีเรียกว่า “โอได๋” หรือ “เอ๋าด่าย” สำ�หรับผู้ชายในวัยเด็กจะสวม
ใส่กางเกงขาสั้น เส้ือยืดคอกลม หรือเส้ือเช้ิตติดกระดุมสีดํา สีขาว หรือสีอื่น ๆ
ตามฐานะและความพอใจ วยั หน่มุ จะแต่งกายเหมอื นชาวไทยทั่วไป วัยชราจะสวม
ใสก่ างเกงขาส้นั เสื้อยืดคอกลม เส้ือกล้าม แต่ในงานพธิ กี รรมตา่ ง ๆ จะสวมใสเ่ ส้ือ
ขาวแขนยาว กางเกงสีดำ�หรือสีน้ําเงิน ยกเว้นพิธีศพจะสวมใส่กางเกงขาก๊วยและ
เสอ้ื แขนยาวหรอื แขนสน้ั สขี าว ในพธิ แี ตง่ งานเจา้ สาวจะสวมชดุ สแี ดง สวมหมวกกบุ๊
เจ้าบ่าวจะสวมเส้ือสขี าว กางเกงสดี ำ�
๔๕
สว่ นคแู่ ต่งงานท่ีอพยพมาจากเวียดนามใต้เจ้าสาวจะสวมชดุ สเี หลอื ง สวม
หมวกกุ๊บ เจา้ บ่าวจะสวมเส้ือสขี าวกางเกงสดี ำ�
ภาพท่ี ๔ การแตง่ กายของชาวไทยเชอื้ สายญวน
ทมี่ า: “ชาวไทยเชอ้ื สายญวน รว่ มงานมหกรรม 10 ชาตพิ ันธ์.ุ ” โดย Gumpon, (2562), ทอล์คนิวส์ เข้าถงึ ไดจ้ าก talknewsonline.
com/120261/.
อาหาร
อาหารญวนท่ีมีลักษณะคล้ายคลึงกับอาหารจีน อาหารท่ีเป็นเอกลักษณ์ของ
ญวน คอื หมูยอ แหนมเนือง ฯลฯ บางพวกอาจนิยมรับประทานเนือ้ สุนขั เช่นเดยี ว
กับชาวจีน ชาวเวียดนามมีวัฒนธรรมการกินคล้ายกับชาวจีน คือ บริโภคอาหาร
จำ�พวกเส้นซึ่งนิยมใช้ตะเกียบ อาหารส่วนมากมีรสชาติจืด ปัจจุบันคนญวนหรือ
คนไทยเชื้อสายเวียดนามนิยมบริโภคอาหารเหมือนกับคนไทยท่ัวไป แต่จะเน้น
อาหารจำ�พวกผักเป็นพิเศษ ผักจะเป็นส่วนประกอบของอาหารทุกมื้อ ในยุคแรก
ที่ญวนอพยพเข้ามา บ้านทุกบ้านจะมีหิ้งบูชาและภาพของโฮจิมินห์และมีการสวด
บูชาโฮจิมินห์ทุกวัน ต่อมาเมื่อทราบว่ากรรมการองค์กรชาวเวียดนามบางคน
ยักยอกเงินไป ชาวญวนอพยพจึงเลิกความเชื่อถือดังกล่าว ปัจจุบันจะไม่พบเห็น
หิง้ บชู าหรอื ภาพถ่ายโฮจมิ นิ หอ์ ีกแลว้ (ผล อฐั นาค, ๒๕๔๓)