๔๖
การสมั ภาษณ์คณุ พอ่ พรชัย สิงหส์ ังข์ ผ้ชู ว่ ยเจ้าอาวาส อาสนวิหาร ในเรือ่ ง
การตั้งถ่ินฐานของญวนท่ีนับถือคริสต์ศาสนานิกายคาทอลิก ได้พูดเร่ืองของคนไทย
เชื้อสายญวน (ที่เป็นคาทอลิก) จากบันทึกหลักฐานในจดหมายวัดนักบุญอันนา
นครสวรรค์ (ปี ค.ศ. ๑๙๐๗ - ๑๙๔๕) กล่อง ๔๐ แฟ้มที่ ๕ ห้องเอกสารอัคร
สังฆมณฑลกรุงเทพฯ (๒๕๕๘) ได้มีการเก็บจดหมายที่เก่ียวข้องกับคนไทยเช้ือสาย
ญวนท่ีนับถือคริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิก ซึ่งมีจดหมายเป็นหลักฐานอยู่
หลายฉบับ เร่ืองการขออนุญาตสร้างโบสถ์ สร้างโรงเรียน และได้บันทึกถึงกลุ่ม
คริสตชนที่อาศัยอยู่ตามริมแม่นํ้าอันเนื่องมาจากประวัติการอพยพซึ่งได้ย้าย
ถ่ินฐานมาทางเรือล่องแม่นํ้ามาจากกรุงเทพฯ “ไล่มาจากพระนครศรีอยุธยา
บา้ นแป้ง สิงหบ์ รุ ี พรหมบุรี บ้านวา่ ว นครนายก เกาะใหญ่ สองพ่นี อ้ ง มาถงึ ต�ำ บล
โพตก อำ�เภอปากน้ําโพ” (หอจดหมายเหตุ, ๒๕๕๘) ซ่ึงมีเขียนไว้ในจดหมาย
ท้ังหมด ชาวญวนในจังหวัดนครสวรรค์อาศัยอยู่ท่ีเกาะซึ่งอยู่บริเวณเลยปากแม่น้ํา
เจ้าพระยามาเล็กน้อยจนเรียกกันติดปากว่า “เกาะญวน” เป็นท่ีอยู่อาศัยของ
ชาวญวนน่ันเอง ชาวญวนเหล่าน้ีอพยพมาจากสามเสน กรุงเทพฯ โดยเม่ือปี
ค.ศ. ๑๙๑๐ (พ.ศ. ๒๔๕๓) โบสถ์ของชาวคาทอลิกจะต้ังอยู่ตามริมแม่น้ํา เช่น
แมน่ ้ําเจ้าพระยา แม่นํ้าสะแกกรัง เปน็ ต้น ทีบ่ นเกาะญวนแหง่ นจ้ี ะมีโรงเรยี นครสิ ต์
คอื โรงเรยี นนกั บุญอันนา ตามเอกสารไดบ้ ันทกึ ไวใ้ นปี ค.ศ. ๑๙๒๐ (พ.ศ. ๒๔๖๓)
หรือเม่ือ ๑๐๐ ปีมาแล้ว ในจดหมายของบาทหลวงชาวต่างชาติได้เขียนอย่าง
ปรากฏชัดว่า “เกาะญวน” เป็นภาษาโรมันด้วยลายมือซึ่งยากแก่การอ่าน และ
มโี รงเรยี นคาทอลกิ อีกแห่งหนง่ึ คอื โรงเรยี นโชติรวี (หรือลาซาลโชติรวีในปจั จุบนั )
ได้สร้างขึ้นภายหลัง (ประมาณ ๕๐ ปี) โรงเรียนนักบุญอันนามีการเขียน
แบบแปลนอย่างคร่าว ๆ บอกถึงตำ�แหน่งที่ต้ังของโรงเรียน ตำ�แหน่งของโบสถ์
และตำ�แหน่งของบ้านบาทหลวงท่ีเป็นทั้งบาทหลวงและครูใหญ่ กลุ่มชาวญวน
ที่มีอยู่มากอีกกลุ่มก็คือ กลุ่มบางพระหลวง ซ่ึงจะเดินทางด้วยเรือมาทำ�กิจกรรม
เข้าโบสถใ์ นวันอาทติ ย์ และยังมีกลมุ่ หัวดง กลมุ่ หาดเสลา
๔๗
ภาพท่ี ๕ หนังสือจากกระทรวงศกึ ษาธิการเรอื่ งการต้งั โรงเรยี น
และแปลนของโบสถบ์ นเกาะญวน
ท่ีมา: ถา่ ยภาพจากหนังสือจดหมายวดั นักบุญอันนา นครสวรรค์
จากหลักฐานในจดหมายท่ีได้บันทึกถึงการต้ังถ่ินฐานของชาวญวน ในปี
ค.ศ. ๑๘๘๔ (พ.ศ. ๒๔๓๗) การสร้างวัดหลังแรกและมีคนญวนเร่ิมมาตั้งถิ่นฐาน
ในปี ค.ศ. ๑๙๐๗ (พ.ศ. ๒๔๙๐) ในการสรา้ งโรงเรียนนักบุญอนั นา มีจดุ ประสงค์
ก็คือ การสอนศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก การสอนวิชาสามัญ ภาษาไทย
การเขียนและการอ่าน โรงเรียนได้ถูกสร้างขึ้นบนเกาะญวน ตำ�บลโพตก อำ�เภอ
ปากนํ้าโพ จังหวัดนครสวรรค์ มณฑลนครสวรรค์ และในเวลาต่อมาโรงเรียน
ได้ถูกปิดไป เน่ืองมาจากพื้นท่ีของเกาะญวนในสมัยก่อนน้ันเป็นพื้นท่ีตํ่าและมีนํ้า
ทว่ มอยเู่ กอื บทกุ ปี นา้ํ ทท่ี ว่ มไดซ้ ดั ตลง่ิ พงั ลงเรอ่ื ย ๆ ท�ำ ใหไ้ มป่ ลอดภยั ซง่ึ บาทหลวง
อันเดรท่ีเป็นครูใหญ่ในสมัยน้ันเห็นว่าโบสถ์และโรงเรียนอาจเสียหายได้จากการ
กัดเซาะตลิ่งและนํ้าท่วม เลยได้ทำ�การย้ายโรงเรียนมาอยู่บนฝ่ัง ต่อมาก็ได้ทำ�การ
ย้ายมาอยู่ในท่ีปัจจุบัน ซึ่งโรงเรียนที่เป็นโรงเรียนคาทอลิกก็มีโรงเรียนเซนต์โยเซฟ
นครสวรรค์ โรงเรียนวันทามารีย์เก่าแต่เดิมน้ันเป็นโรงเรียนของวัดคาทอลิกก็มอบ
ให้บาทหลวงเป็นผู้ดูแลและทำ�โรงเรียนต่อไป และโรงเรียนท่ีเป็นคาทอลิกอีกแห่ง
ก็คือ ลาซาลโชติรวี มีคณะผู้บริหารจากคณะภารดาลาซาล ในช่วงแรกจะสอน
๔๘
คนจนี และลกู หลานชาวไทยเชอ้ื สายจนี กอ่ น โรงเรยี นฆาราวาส โรงเรยี นมารยี ว์ ทิ ยา
ส่วนใหญ่คาทอลิกจะใหค้ วามสำ�คัญกับโรงเรียน เนน้ ในด้านภาษาอังกฤษ และเนน้
คณุ ธรรมจริยธรรม
ภาพที่ ๖ งานฉลองวัดนักบุญอันนา นครสวรรค์ ท่ีตั้งอย่บู นเกาะญวน
ทมี่ า : ถา่ ยภาพจากหนงั สอื จดหมายวัดนกั บุญอันนา นครสวรรค์
คุณพ่อพรชัยได้กล่าวถึงกลุ่มคนไทยเช้ือสายญวนว่า ความเป็นอัตลักษณ์
ของคนญวนน้ันไม่มีอีกแล้ว การแสดงถึงเอกลักษณ์ของชนชาติได้ถูกกลืนไป
หมดแล้ว วิถีชีวิต วัฒนธรรมต่าง ๆ ของญวนไม่มีเหลือให้เห็นในสมัยนี้อีกแล้ว
ส่ิงที่เหลืออยู่ในบางครอบครัวแต่ไม่ปรากฏเด่นชัดก็คือ การเคารพบรรพบุรุษ
อย่างเช่นวันตรุษจะมีการมาเยี่ยมครอบครัว ถ้าพ่อแม่ล่วงลับไปแล้วจะไปที่ศาล
ประกอบพิธีกรรม ในสมัยก่อนน้ันหากใครจะแต่งงานกับคาทอลิกจะต้องมีพิธีล้าง
บาปก่อน สมัยน้ีกฎระเบียบเหล่านี้ได้ถูกยกเว้นไปแล้วต่างคนต่างถือศาสนาของ
ตัวเองได้ คนท่ีเป็นคนคาทอลิกหรือคนญวนบางทีก็แต่งงานแล้วหายออกไปเลย
กลายเป็นคนไทยโดยทั่วไปไม่นับถือคาทอลิกอีก การเข้าโบสถ์ในทุกวันอาทิตย์
เป็นกฎของพระผู้เป็นเจ้าเป็นวิถีชีวิตของผู้คน ชาติพันธุ์ เป็นพิธีกรรมทางศาสนา
วิถขี องชาวญวนที่เป็นคาทอลกิ จงึ สญู สิน้ ไป
๔๙
วัฒนธรรมต่าง ๆ ได้ถูกผสมกันไปมาข้ามชาติพันธุ์ท้ังคนไทย คนจีน หรือ
คนญวน พธิ กี รรมตา่ ง ๆ ทเ่ี คยท�ำ เชน่ ในชว่ งเดอื นมกราคมจะเปน็ ชว่ งการรวมญาติ
ที่สุสานบรรพบุรุษ พิธีกรรมต่าง ๆ ทางศาสนา เช่น พิธีล้างบาป จะเป็นพิธีของ
เด็กที่เกิดได้ ๒ - ๓ เดือน ชาวญวนที่เป็นคาทอลิกจะนำ�เด็กมารับศีลล้างบาป
เวลาคนเสยี ชวี ติ กจ็ ะท�ำ พิธีและน�ำ ไปฝงั ไวใ้ นสุสาน เป็นต้น
ภาพท่ี ๗ น้ําท่วมบรเิ วณวดั บนเกาะญวน
ท่มี า : ถา่ ยภาพจากหนังสอื จดหมายวัดนักบญุ อันนา นครสวรรค์
๕๐
ภาพท่ี ๘ คุณพ่อพรชัย สงิ หส์ งั ข์ ผใู้ ห้ขอ้ มูล
การสัมภาษณ์คุณวัชรินทร์ เป็นชาวบ้านท่ีอาศัยอยู่บนเกาะญวนมาตลอด
ระยะเวลา ๖๓ ปี ซ่งึ คุณวชั รนิ ทร์ไดพ้ ูดถึงคนไทยเชือ้ สายญวนวา่ คนไทยเชอ้ื สาย
ญวนบนเกาะญวนนไี้ มม่ เี หลือแล้ว ส่ิงตา่ ง ๆ ทางด้านประเพณี วัฒนธรรมต่าง ๆ
ของชาวญวนไดถ้ กู กลนื ทางวฒั นธรรมของชาวไทยไปหมดแลว้ สง่ิ ทย่ี งั คงหลงเหลอื
อยู่ในความทรงจำ�ก็คือ ชาวญวนในอดีตส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่บนแพริมแม่น้ํา และ
สถานที่ตั้งของโบสถ์เก่าซ่ึงคนเก่าแก่ได้บอกเอาไว้ก็คือ โบสถ์แห่งแรกนั้นต้ังอยู่
บริเวณด้านหลังของเกาะญวน (บริเวณฝ่ังโรงสูบนํ้า) และส่ิงที่ได้เห็นเมื่อตอนเป็น
เด็กก็คือ อาหารญวนท่ีเรียกว่า “ขนมต้มญวน” ซ่ึงคนท่ีทำ�ก็ได้เสียชีวิตไปแล้ว
๕๑
ภาพท่ี ๙ คุณวชั รนิ ทร์ ผ้ใู ห้ข้อมูล
ที่มา: “ขนมต้มยวน” วัฒนธรรมพน้ื บ้าน “พยหุ ะครี ี.” โดย สถานขี ่าวTNN ข่อง16, (2563, มีนาคม 30)
เขา้ ถงึ ไดจ้ าก https://www.tnnthailand.com/content/33988.
๕๒
ขอ้ มลู จาก “จดหมายวดั นกั บญุ อนั นา นครสวรรค”์ ปี ค.ศ. ๑๙๐๗ - ๑๙๔๕
(พ.ศ. ๒๔๕๐ - ๒๔๘๘) กลอ่ ง ๔๐ แฟม้ ๕ หอ้ งเอกสารอคั รสงั ฆมณฑลกรงุ เทพฯ
(๒๕๕๘) ไดจ้ ดั ท�ำ หนงั สอื สารสาหน์ โดยผเู้ ขยี นค�ำ น�ำ คอื ณ คร สวรรค์ (นามแผง)
ไดเ้ ขยี นไวใ้ นค�ำ น�ำ เอาไวด้ งั น้ี ค�ำ น�ำ ..ภาพเกา่ เลา่ เรอ่ื งราว
คิดอยู่นานว่าจะหาภาพใดมาเป็นภาพปกหนังสือที่ทำ�ข้ึนมาอย่างไม่เป็น
ทางการเล่มนี้ ซึ่งก็เป็นเพียงหนังสือท่ีรวบรวม เอกสาร ภาพ ข่าว และเร่ืองราว
ต่าง ๆ ที่เกิดข้ึนกับชุมชนความเชื่อแห่งหนึ่งที่เป็นหลักของสังฆมณฑลนครสวรรค์
ในปจั จบุ นั ชมุ ชนชาวญวณ (เวยี ดนาม) อาจเปน็ ชมุ ชนเลก็ ๆ เมอ่ื เทยี บกบั ชาวจนี
ท่ีมีอิทธิพลต่อจังหวัดนครสวรรค์มากมาย ท้ังเรื่องการค้าขายท่ีนำ�รายได้เข้าสู่
จังหวัดนครสวรรค์ ดินแดนปากนํ้าโพ ตั้งแต่สมัยโบราณ ชุมชนชาวญวณ
แห่งดินแดนปากน้ําโพ แม้จะเป็นเพียงหยิบมือเดียวของจังหวัดนครสวรรค์
แตก่ ็สร้างสรรคง์ านด้านตา่ ง ๆ ทั้งด้านการปกครอง ศาสนา การคา้ ฯลฯ
เร่อื งราวของชุมชนคนญวณฯ แหง่ ดินแดนปากน้ําโพ เร่มิ ต้นท่เี กาะแหง่ หน่งึ
กลางแม่น้ําเจ้าพระยา คนญวณสำ�คัญขนาดไหน ลองคิดดู ถึงขนาดมีคนตั้งชื่อ
เกาะตามกลุ่มชนที่อาศัยว่า “เกาะญวณ” แล้วเรื่องราวแห่งความเชื่อก็เริ่มขึ้น
จากเกาะญวณ ผู้คน วัด โรงเรียน เคยมีความคิดตั้งโรงเรียนสำ�หรับเตรียมผู้ท่ีจะ
เป็นครูคำ�สอนแม้ว่าเรื่องราวบนเกาะญวณ เราจะรับรู้ได้เพียงนิดหน่อย แต่จาก
ภาพเก่า ๆ เอกสารตา่ ง ๆ ทพี่ อเรยี บเรยี ง เปน็ เรอ่ื งราวความทรงจ�ำ ไม่นอ้ ย
๕๓
จากเกาะสู่แผ่นดิน เร่ืองราวความเชื่อที่สืบทอดไม่สูญหาย ความรักของ
พระเจา้ ยงั คงอยแู่ ละนเ่ี ปน็ บทเรยี นบทส�ำ คญั ทล่ี กู หลานไมเ่ พยี งแตพ่ ลกิ หนา้ กระดาษ
แหง่ ภาพเกา่ เทา่ นน้ั แตค่ วรจดจ�ำ ความหลงั และน�ำ มาสอนชวี ติ ความเชอ่ื เพอ่ื รกั ษา
ให้ย่งั ยนื ตลอดไป
“ปล. เอกสารชดุ นย้ี งั ไมใ่ ชก่ ารคน้ ควา้ จนถงึ ทส่ี ดุ ซง่ึ ผจู้ ดั ท�ำ ก�ำ ลงั ด�ำ เนนิ การอยู่
ทเ่ี ลอื กภาพนม้ี าท�ำ ปก เพราะสอ่ื ความเปน็ กลมุ่ ชนครสิ ตชนแหง่ ความรว่ มมอื ในงาน
ฉลองชุมชนความเชื่อ สมัยคุณพ่อเทโอฟาน หลง มีเฟื่องศาสตร์ เป็นเจ้าอาวาส
มีพระสงฆ์ นักบวชชาย คณะภารดาลาซาล นักบวชหญิง คณะเซนต์ ปอล เดอ
ชาร์ต และพนี่ อ้ งจากทีต่ า่ ง ๆ”
จาก ณ คร สวรรค์ รวบรวม เรยี บเรยี ง เล่าเรอื่ ง
(หมายเหต:ุ การสะกดในค�ำ น�ำ นใ้ี ชก้ ารสะกดวา่ “ญวณ” ไมเ่ หมอื น ญวน ในปจั จบุ นั )
๕๔
คนไทยเช้ือสายมสุ ลมิ ในนครสวรรค์
สำ�หรับคนที่นับถือศาสนาอิสลามในประเทศไทยน้ัน จัดว่าเป็นชนกลุ่มน้อย
ทางศาสนาในประเทศไทย เพราะมีการนบั ถอื ศาสนาอสิ ลามไมม่ ากนักเมือ่ เทยี บกับ
จ�ำ นวนประชากรในประเทศไทย ถึงกระนนั้ ก็ยังมกี ารเติบโตอย่างรวดเรว็ โดยสถติ ิ
ระบวุ า่ ประชากรมสุ ลมิ มรี ะหวา่ ง ๒.๒ ลา้ นคนถงึ ๗.๔ ลา้ นคน ซง่ึ มคี วามหลากหลาย
จากการอพยพเข้ามาจากท่ัวโลก โดยมุสลิมในไทยส่วนใหญ่จะเป็นนิกายซุนนีย์
คือ นิกายหน่ึงในศาสนาอิสลาม มีชื่อเต็มในภาษาอาหรับว่า อะหฺลุซซุนนะหฺ วะ
อัลญะมาอะหฺ (นิยมอ่านว่า อะหฺลุซซุนนะหฺ วัลญะมาอะหฺ) เป็นนิกายที่ใหญ่ท่ีสุด
ในอิสลาม แบ่งเป็นสำ�นักหรือมัซฮับย่อย ๆ ออกเป็นหลายมัซฮับ แต่ปัจจุบัน
เหลือแค่เพียง ๔ มัซฮับ นอกจากนี้ยังมีมัซฮับมุสลิมซุนนีย์ท่ีไม่ยึดถือมัซฮับ
เรียกตนเองว่าพวกสะละฟีย์โดยท่ีมาของคำ�ว่าซุนนีย์ มาจาก อัซซุนนะห แปลว่า
ค�ำ พดู และการกระท�ำ หรอื แบบอยา่ งของศาสดามฮุ ัมมัด (ศ) คำ�วา่ ญะมาอะหฺ คอื
การอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ซ่ึงผู้ที่บัญญัติศัพท์นี้ข้ึนมา คือ อะฮฺมัด บินฮันบัล (ฮ.ศ.
๑๖๔-๒๔๑/ ค.ศ. ๗๘๐-๘๕๕)
กลมุ่ ชาตพิ นั ธท์ุ ค่ี นไทยเรยี กกนั วา่ “แขก” คาดวา่ หมายถงึ ชาวมสุ ลมิ โดยรวม
ท้ังนี้พ่อค้าชาวมุสลิมในคาบสมุทรเปอร์เซียที่เข้ามาค้าขายในแหลมมลายู
(อินโดนีเซียและมาเลเซีย) ได้นำ�ศาสนาอิสลามเข้ามาด้วย ภายหลังคนพ้ืนเมือง
จึงได้เปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลาม ส่วนในประเทศไทยนี้พบหลักฐานว่าคนไทย
ได้ติดต่อสัมผัสกับชาวมุสลิมต้ังแต่ยุคสมัยสุโขทัยและช่วงกรุงศรีอยุธยาเร่ือยมา
โดยชาวมุสลิมบางคนน้ันเป็นถึงขุนนางในราชสำ�นัก ในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์
มีชาวมุสลิมอพยพมาจากมลายูและเปลี่ยนสัญชาติเป็นไทย นอกจากนี้ยังมี
ชาวมุสลิมอินเดียที่เข้ามาต้ังรกรากรวมถึงชาวมุสลิมจากยูนนานที่หนีภัยการ
เบยี ดเบยี นศาสนาหลงั การปฏวิ ตั คิ อมมวิ นสิ ตใ์ นประเทศจนี ประชากรมสุ ลมิ ของไทย
๕๕
มีความหลากหลายและมีวัฒนธรรมท่แี ตกต่างกัน โดยมกี ล่มุ เชือ้ ชาติที่อพยพเข้ามา
จากทง้ั ทางจีน ปากสี ถาน กัมพูชา บงั กลาเทศ อหิ รา่ น มาเลเซีย และอินโดนีเซยี
เช่นเดียวกับชาวไทย ขณะท่ีมุสลิมในประเทศไทยราวสองในสามมีเชื้อสายมลายู
คนสว่ นใหญม่ กั เชอ่ื วา่ ชาวมสุ ลมิ อาศยั อยใู่ นสามจงั หวดั ใตส้ ดุ ของประเทศไทย
ไดแ้ ก่ จงั หวัดยะลา ปตั ตานี และนราธวิ าส อยา่ งไรกต็ าม การศกึ ษาของกระทรวง
การต่างประเทศช้ีว่า ชาวไทยมุสลิมเพียงร้อยละ ๑๘ เท่าน้ันที่อยู่ในพ้ืนท่ีสาม
จังหวัดนี้ ส่วนที่เหลืออาศัยอยู่กระจายไปทั่วประเทศ โดยส่วนใหญ่อาศัยอยู่ใน
กรงุ เทพมหานครและพน้ื ทภ่ี าคใตข้ องประเทศตามขอ้ มลู ของส�ำ นกั งานสถติ แิ หง่ ชาติ
เม่ือ พ.ศ. ๒๕๔๘ มุสลิมในภาคใต้คิดเป็นประชากรร้อยละ ๓๐.๔ ของประชากร
อายุมากกว่า ๑๕ ปี แต่ในส่วนอื่นของประเทศกลับมีเพียงน้อยกว่าร้อยละ ๓
ยกเว้นในวงจำ�กัดของหมู่ผู้เชื่อท่ีได้รับการฝึกอบรมทางศาสนศาสตร์มาแล้ว
โดยท่ัวไปศาสนาอิสลามในประเทศไทย เช่นเดียวกับศาสนาพุทธ ได้ผสมผสาน
ความเชื่อต่าง ๆ เข้ากับหลักปฏิบัติของอิสลามในภาคใต้ จึงเป็นการยากที่จะ
ลากเส้นแบ่งระหว่างวิญญาณนิยมกับวัฒนธรรมมลายูซ่ึงใช้เพื่อขับไล่วิญญาณร้าย
และพธิ กี รรมอิสลามท้องถิน่ เนอ่ื งจากมีความคลา้ ยคลึงกันเปน็ อยา่ งมาก
ความเป็นมาของอิสลามในประเทศไทย
ตามหลกั ฐานทางประวัติศาสตรข์ องอสิ ลามในประเทศไทย เปน็ ลักษณะของ
ความสัมพันธ์ระหว่างการปกครองของไทย ซ่ึงเกิดขึ้นทางภาคใต้ของประเทศ
โดยช่วงน้ันผู้ปกครองหัวเมืองต่าง ๆ นับถือศาสนาอิสลาม ไม่ใช่คนไทยที่นับถือ
ศาสนาพุทธเป็นผู้ลงไปปกครอง ความสัมพันธ์ที่มีอยู่จึงเป็นลักษณะของเมือง
ประเทศราช เมือ่ ถงึ ก�ำ หนดปีกส็ ง่ เงินทองเขา้ มายังเมืองหลวงของไทย ส่วนกิจการ
อน่ื ๆ นั้นก็เรยี กได้วา่ มอี สิ รภาพท่จี ะปกครองตนเองอยา่ งเตม็ ทีม่ กี ารสง่ เครื่องหมาย
๕๖
ของความผกู พนั ความจงรกั ภกั ดเี ขา้ มาเปน็ ครง้ั คราวกน็ บั วา่ เพยี งพอ และนอกจาก
พวกอิสลามที่มีปรากฏอยู่ในประเทศไทยแล้ว นับต้ังแต่กรุงสุโขทัยมาปรากฏว่า
มีการติดต่อในลกั ษณะความสัมพันธร์ ะหวา่ งประเทศไทยกับประเทศอ่นื ๆ ทน่ี ับถือ
ศาสนาอิสลามในหลายประเทศ ทั้งนี้เห็นได้จากหลักฐานท่ีได้ขุดพบแล้วในทาง
โบราณคดี
ในปจั จบุ นั การคน้ พบเครอ่ื งถว้ ยชามสงั คโลกอนั เปน็ ผลติ ภณั ฑข์ องกรงุ สโุ ขทยั
ซึ่งเป็นสินค้าที่ส่งออกเป็นจำ�นวนมากเรียกได้ว่าเป็นสินค้าสำ�คัญอีกอย่างหนึ่งของ
ประเทศไทยในช่วงเวลานั้นถ้วยชามสังคโลกสุโขทัยเหล่านี้ได้ถูกพบในประเทศ
อิสลามต่าง ๆ หลายแห่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอินโดนีเซียมีเป็นจำ�นวนมากและ
ยังอยู่ในลักษณะที่มีความสมบูรณ์มากกว่าที่พบในประเทศไทยเสียอีก เพราะใน
ประเทศไทยตกค้างอยู่ก็เป็นเฉพาะถ้วยชามที่เสียหายแตกร้าวฝังไว้ตามเตาเผา
ถ้วยชาม นอกจากประเทศอินโดนีเซียแล้ว ยังพบถ้วยชามสังคโลกของสุโขทัย
ไกลออกไปถึงประเทศอิหร่าน ซ่ึงเป็นประเทศอิสลาม แล้วยังไกลออกไปจนถึง
ทวีปแอฟริกาอกี หลายแหง่ ซึง่ ได้พบถว้ ยชามสงั คโลกเหล่านนั้ เชน่ กัน
การค้นพบหลักฐานเหล่านี้แสดงให้เห็นว่ามีการค้าขายติดต่อระหว่าง
ประเทศไทยกับชนชาติอิสลามต่าง ๆ มาเป็นเวลาช้านาน หรืออาจจะก่อนสมัย
สุโขทัยข้ึนไปอีกก็ได้ แต่อย่างไรก็ตามยังไม่ปรากฏหลักฐานทางประวัติศาสตร์
ท่ีจะสามารถกล่าวอ้างได้ เพราะฉะนั้นถ้าจะยกช่วงเวลามากล่าวอ้างตามหลักฐาน
ทางประวัติศาสตร์ที่มีอยู่ เรียกได้ว่าคงเป็นลักษณะของความสัมพันธ์ต่าง ๆ
ในระหว่างประเทศ ที่นับถือศาสนาอิสลามน้ันซ่ึงมีมาอยู่ตลอด อาจสันนิฐานได้ว่า
เปน็ เช่นนีส้ บื เนอื่ งมาจากการเดนิ เรือตดิ ต่อกัน
๕๗
หากดูตามประวัติศาสตร์ของชนชาติไทยนั้นไม่ปรากฏว่าเป็นชนชาติที่มี
ความสามารถในการเดินเรือสูงมากนัก เพราะฉะนั้นเรือสินค้าในสมัยนั้นน่าจะเป็น
เรือที่มาก็จากต่างประเทศ คือ ประเทศต่าง ๆ ท่ีส่งเรือสินค้าเข้ามาบรรทุกสินค้า
จากประเทศไทยไปยังประเทศของตนอีกทีหนึ่ง และในขณะน้ันยังไม่ปรากฏว่า
มีชาวยุโรปเข้ามาเก่ียวข้อง ฉะน้ันผู้ที่เข้ามาค้าขายเดินเรือติดต่อกับประเทศกับ
ประเทศไทย จึงน่าจะเป็นมุสลิมท่ีมาจากต่างประเทศเข้ามาตั้งหลักแหล่งเพื่อ
ด�ำ เนนิ การค้าขายอยใู่ นประเทศไทย
ท้ังน้ีหลักฐานยังบ่งช้ีว่าคนไทย (ภาคกลาง) ได้ติดต่อกับมุสลิมต้ังแต่ยุค
สุโขทัย และในช่วงกรุงศรีอยุธยามีมุสลิมบางคนเป็นถึงขุนนางในราชสำ�นัก
เรื่อยมาถึงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ และยังมีมุสลิมอพยพมาจากมลายู (ภาคใต้)
นอกจากนี้ยังพบชาวมุสลิมอินเดียและปากีสถานท่ีอพยพเข้ามาต้ังรกรากในไทย
(ภาคกลางตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) รวมถึงมุสลิมยูนนานท่ีหนีภัย
การเบียดเบียนศาสนาหลังการปฏิวัติคอมมิวนิสต์ในประเทศจีนแล้วมาต้ังรกราก
(ภาคเหนือ) ศาสนาอิสลามขยายตัวเข้าพ้ืนท่ีเอเชียด้วยฝีมือพ่อค้าชาวมุสลิม
จากกลุ่มประเทศอาหรับและคาบสมุทรเปอร์เซียท่ีเข้ามาค้าขายในแหลมมลายู
(อินโดนีเซียและมาเลเซีย) จนทำ�ให้คนพ้ืนเมืองได้เปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลาม
ประชากรมุสลิมของไทยมีความหลากหลายและวัฒนธรรมท่ีแตกต่างกัน โดยมี
กลุ่มเชอ้ื ชาตอิ พยพเขา้ มาจากท้ังทางจีน ปากสี ถาน กัมพชู า บงั กลาเทศ มาเลเซยี
และอินโดนีเซียเช่นเดียวกับชาวไทยมุสลิมในประเทศไทยราวสองในสามมีเชื้อสาย
มาเลย์ ส่วนใหญ่ของประเทศอาศัยอยู่ในสามจังหวัดใต้สุดของประเทศไทย ได้แก่
จังหวัดยะลา ปตั ตานี และนราธิวาส (Dome Niphon, ๒๕๕๗)
ตามหลักฐานท่ีมีอยู่นั้นเห็นได้ว่าศาสนาอิสลามได้เข้ามาในภูมิภาคน้ีตั้งแต่
ศตวรรษที่ ๑๑ หรือบางรายงานก็บอกว่าศาสนาอิสลามเข้ามาในศตวรรษที่ ๑๓
โดยการเผยแพร่ศาสนาในสมยั โบราณนั้นกระท�ำ ได้ ๓ ทางด้วยกัน คือ
๕๘
ประการแรก คือ การใช้กำ�ลังทหาร ประการท่ีสอง โดยมาทางนักบุญหรือ
ผสู้ อนศาสนา ประการสดุ ท้าย เขา้ มาจากทางการค้า
โดยการเผยแพรศ่ าสนาอสิ ลามเขา้ มายงั ประเทศไทยจะใชเ้ ปน็ ประการหลงั สดุ
ได้แก่การที่พ่อค้านำ�มาเผยแพร่ ไม่ใช้กำ�ลังทหารรุกรานเข้ามาทำ�ให้แผ่นดินนี้
เกิดความสงบ สันติ ไม่มีการรบราฆ่าฟันกัน อิสลามท่ีแพร่หลายเข้ามานำ�โดย
กลมุ่ พอ่ คา้ อาหรบั ทม่ี าพรอ้ มกบั การเผยแผศ่ าสนาอสิ ลาม นอกจากนน้ั พอ่ คา้ เหลา่ น้ี
ได้เข้ามาต้ังหลักแหล่งค้าขายในดินแดนที่ตนมาอยู่จนมีฐานะร่ํารวย แล้วมีความ
สัมพันธ์กับเจ้าผู้ครองนคร และในที่สุดเจ้าผู้ครองนครในบริเวณน้ันมีความศรัทธา
ในศาสนาอิสลามจึงหันไปนับถือศาสนาอิสลาม และมีพ่อค้าอาหรับบางคนได้มา
แต่งงานกับชาวพื้นเมือง แล้วอาศัยอยู่ในแถบน้ีโดยไม่หวนกลับไปยังถ่ินกำ�เนิด
ของตนอีก สำ�หรับคนไทยท่ีนับถือศาสนาอิสลาม หรือเรียกว่ามุสลิมไทยก็ได้รับ
อิทธิพลจากศาสนาอิสลาม ในระยะใกล้เคียงกันน้ี ในอดีตคนที่อาศัยอยู่ในดินแดน
แห่งน้ีเคยนับถือศาสนาฮินดูและศาสนาพุทธมาก่อน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เป็นท้องถ่ินที่มีวัฒนธรรมอ่อน และมีความเชื่อถือในไสยศาสตร์ด้วย การยอมรับ
เอาศาสนาอิสลามเข้ามานับถือแทนศาสนาหรือลัทธิความเช่ือเดิมของตนจึงเกิด
ขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดินแดนที่เป็นแหล่งรับวัฒนธรรมด้านศาสนาอิสลามเข้ามา
ในชว่ งแรก ๆ ของไทยกค็ ือบริเวณทางใตส้ ุดของประเทศไทย ไดแ้ ก่ ปัตตานี และ
หากจะถอื เอากรงุ สุโขทัย (ราว พ.ศ. ๑๘๐๐) เป็นจดุ เร่ิมตน้ ของประวตั ิศาสตรไ์ ทย
และถือได้ว่าศาสนาอิสลามได้เข้ามาในประเทศไทยก่อนหน้าที่จะตั้งกรุงสุโขทัย
เปน็ ราชธานี กอ่ นทค่ี นไทยจะยา้ ยมาจากยนู นานดนิ แดนทางภาคใตข้ องประเทศจนี
และศาสนาอิสลามหรือคนที่นับถือศาสนาอิสลามน่าจะอยู่ในดินแดนที่เรียกว่า
ประเทศไทยตง้ั แตเ่ รมิ่ ประวัติศาสตร์ของชาตไิ ทย
๕๙
จากหนงั สอื โบราณคดรี อบอา่ วบา้ นดอนของ “ทา่ นพทุ ธทาสภกิ ข”ุ ไดก้ ลา่ วถงึ
การมาของอนิ เดยี และอน่ื ๆ เอาไวว้ า่ “เมอ่ื ดจู ากเศษกระเบอ้ื งตา่ ง ๆ ทเ่ี กลอ่ื นกลาด
อยบู่ รเิ วณรมิ ทะเลของเมอื งตะกว่ั ปา่ แสดงใหเ้ หน็ ไดว้ า่ ชาวจนี ไดน้ �ำ เครอ่ื งกระเบอ้ื ง
ของตนเข้ามาขายด้วยตั้งแต่ ๑๒๐๐ ปีมาแล้วเหมือนกัน ชาวกรีกได้เข้ามา
เก่ียวข้องด้วย ต้ังแต่คริสต์ศตวรรษท่ี ๒ ถึง ๔ คือ ไม่น้อยกว่า ๑๕๐๐ ปีมาแล้ว
ส่วนชาวอาหรับนั้น มีหลักฐานแน่นอนจากจดหมายเหตุของพวกอาหรับเอง
ซึ่งแสดงให้เราทราบว่าพวกเขาได้เข้ามาเก่ียวข้องกับดินแดนส่วนนี้ต้ังแต่สมัย
๑๑๐๐ ปมี าแลว้ เหมือนกนั
นอกจากน้จี ากหลกั ศลิ าจารึกของพอ่ ขุนรามค�ำ แหงมหาราช ก็มคี �ำ เปอรเ์ ซีย
อยู่ด้วยคำ�หน่ึง คือคำ�ว่า “ปสาน” ซ่ึงแปลว่า “ตลาด” ย่อมแสดงให้เห็นว่ามี
ชาวเปอร์เซีย ซึ่งแน่นอนเหลือเกินว่าเป็นมุสลิมได้เข้ามาทำ�การค้าขายติดต่อและ
ต้งั บา้ นเรอื นอยู่ในประเทศไทยตัง้ แต่สมัยกรงุ สโุ ขทัยแลว้ อย่างแน่นอน
ทั้งนี้ ศาสนาอิสลามได้ถูกประกาศโดยท่านศาสดามุฮัมมัด แห่งชาวซาอุดิ
อาเรเบียนั้นได้อุบัติข้ึนประมาณ ๑๔๐๐ ปีเศษ (ปัจจุบันฮิจเราห์ ๑๔๑๖ และ
ศาสนาอิสลามได้แผ่ขยายมาทางเอเชียอาคเนย์ ในสมัยพระบรมศาสดามุฮัมมัด
ไดส้ วรรคตไปแลว้ ประมาณ ๒๐๐ ปี กเ็ ปน็ การตรงกนั กบั หลกั ฐานขา้ งตน้ วา่ ศาสนา
อิสลามได้เข้ามาสู่กรุงสยาม อินโดนีเซีย และตลอดแหลมมลายูราว ๑๒๐๐ ปีเศษ
ก่อนท่ีคนไทยจะอพยพตนเองลงมาจากดินแดนในแถบน้ี โดยเฉพาะจังหวัดต่าง ๆ
ภาคใตน้ บั แตน่ ครศรีธรรมราชลงไปจนถึงปลายแหลมมลายู
ผู้คนในสมัยดังกล่าวนับถือศาสนาอิสลามเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งศาสนาอิสลาม
น้ีเองได้เข้ามาแทนท่ีศาสนาพุทธซ่ึงเคยรุ่งเรืองมาในแถบน้ีก่อนในสมัยอาณาจักร
ศรีวิชัย เม่ืออาณาจักรศรีวิชัยได้สลายไป ก็เป็นเหตุให้ศาสนาพุทธในย่านน้ีรวมท้ัง
อินโดนีเซีย ซึ่งมีหลักฐานโบราณวัตถุทางศาสนาพุทธ คือ “พระบุโรบุดู”
๖๐
พลอยเส่ือมไปด้วยพร้อมกับอาณาจักรศรีวิชัยบรรดานครต่าง ๆ นับแต่อินโดนีเซีย
มลายู และเมืองไทยทางภาคใต้ ล้วนเป็นผู้ยอมรับเข้านับถือศาสนาอิสลามกัน
แทบทง้ั สนิ้
อย่างไรก็ตามจะขอกล่าวแต่เฉพาะศาสนาอิสลามในประเทศไทยเท่านั้น
เพ่ือให้ได้ทราบถึงความเป็นมาของอิสลามในประเทศไทยอย่างเห็นได้ชัด จากท่ี
ได้กล่าวมาข้างต้นย่อมเป็นเคร่ืองช้ีชัดว่าประเทศไทยนับต้ังแต่นครศรีธรรมราช
ลงไปจนสุดภาคใต้เลยไปจนถึงมาเลเซีย ทั้งประเทศสิงคโปร์ สุมาตรา มะละกา
และหมู่เกาะอินโดนเี ซียทง้ั หมดนี้ ในสมยั แรกท่คี นไทยเคลื่อนย้ายมาจากจีนตอนใต้
มาอยู่สุวรรณภูมินั้นผู้คนในบ้านเมืองเหล่านี้เป็นผู้นับถือศาสนาอิสลามแทบท้ังสิ้น
และเข้าใจว่าคนไทยในสมัยที่ยังคงอยู่ในเมืองจีนนั้นก็ยังได้รับนับถือพระพุทธ
ศาสนาคงจะเป็นการเคารพนับถือบรรพบุรุษเย่ียงคนจีนทั่วไปและมีการถือภูตผีกัน
ตามแบบโบราณดังจะเห็นได้จากการตั้งศาลพระภูมิตามบ้านเรือนนั้นก็เป็นการ
บูชาเจ้าท่ีเจ้าทางซึ่งคนไทยก็นำ�ประเพณีนี้มาจากเมืองจีนนั่นเอง โดยคนไทย
มาตั้งหลักอยู่ในสุวรรณภูมิอิทธิพลของวัฒนธรรมของ ขอมโบราณยังคงมีอยู่ใน
สุวรรณภูมิภาคกลางและภาคเหนือและพระพุทธศาสนาก็ไดเ้ คยได้รบั การท�ำ นบุ ำ�รงุ
จากผู้ปกครองในบ้านเมืองในย่านน้ีมาก่อน และเคยรุ่งเรืองมาแต่ในอดีตในย่านน้ี
เม่ือคนไทยเข้ามาพำ�นักอาศัยอยู่ในย่านนี้จึงได้รับเอาพระพุทธศาสนาซึ่งเป็น
ศาสนาทตี่ อ้ งกบั อุปนิสยั ของคนไทยไว้เปน็ ศาสนาของตนอีกดว้ ย
ในขณะเดียวกันท่ีอาณาจักรของไทยในสมัยกรุงสุโขทัยก็ได้แผ่ขยายไปจนถึง
ใต้สุดปลายแหลมมลายูถึงมะละกา ซ่ึงผู้คนในบริเวณนี้นับถือศาสนาอิสลามอยู่
โดยท่ัวไปทางผู้เป็นใหญ่ในกรุงสุโขทัยก็มิได้ถือเป็นข้อแตกต่างอะไรกันนัก
๖๑
ต่างก็อยู่ร่วมกันมาด้วยความสันติสุขตลอดมา หลายร้อยปีจนถึงปัจจุบันร่วม
๘ ศตวรรษเขา้ ไปแลว้ จากหลกั ฐานในประวตั ศิ าสตรข์ องไทย ไมเ่ คยมขี อ้ บาดหมาง
ระหว่างศาสนาพุทธกับอิสลามเลยแม้สักคร้ังเดียว มีความร่วมมือร่วมใจซึ่งกัน
และกันระหว่างไทยพุทธกับไทยมุสลิม ในการบริหารบ้านเมืองต่อต้านอริราชศัตรู
มาด้วยกันทุกยุคทุกสมัย นับเป็นความมหัศจรรย์อย่างหน่ึงภายใต้พระบารมีของ
พระมหากษัตริย์ไทย ซึ่งทุกพระองค์และทุกราชวงศ์ก็ได้ทรงให้ความอุปถัมภ์คํ้าชู
แก่ศาสนาอิสลามมาโดยตลอด
ศาสนาอิสลามได้เข้ามาสู่ประเทศต้ังแต่ก่อนสมัยสุโขทัย โดยมีอิทธิพลอยู่
บนแหลมมลายกู อ่ นแล้ว เพราะมีหลกั ฐานปรากฏว่าชาวมสุ ลิมจากประเทศอาหรบั
และอินเดียไดเ้ ข้ามาทำ�การคา้ และเผยแพรศ่ าสนาอสิ ลามแก่ผ้ทู ี่อยบู่ นแหลมมลายู
ตอ่ มาในสมยั กรุงศรีอยุธยาประมาณคริสตศกั ราช ๑๕๙๐ - ๑๖๐๕ ไดม้ ีพ่อค้าชาว
อาหรับจากประเทศเปอรเ์ ซยี ชือ่ “เฉกอะหมดั ” เข้ามาตั้งหลักแหลง่ และค้าขายอยู่
ในกรุงศรีอยุธยาและพ่อค้าผู้น้ีต่อมาได้รับการแต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์ไทย คือ
พระเจ้าทรงธรรมให้เป็นเจ้าพระยาเฉกอะหมัด ตำ�แหน่งสมุหนายกว่าราชการ
ทางฝ่ายเหนือท่านผู้น้ีได้เป็นบรรพบุรุษของตระกูลไทยในปัจจุบันหลายตระกูล
สำ�หรับชาวมุสลิมในจังหวัดภาคใต้ของไทยนั้นเป็นชนพื้นเมืองมาแต่ด้ังเดิม
มิได้สืบเช้ือสายมาจากชาวมุสลิมท่ีเข้ามาทำ�การค้า หรืออพยพมาจากดินแดนอื่น
เพราะมีหลักฐานปรากฏว่าชนชาติด้ังเดิมเหล่าน้ีได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่บนแหลม
มลายู ตง้ั แตก่ อ่ นครสิ ตศกั ราชเปน็ เวลา ๔๓ ปี และมอี าณาจกั ส�ำ คญั คอื อาณาจกั ร
ลังกาซู ต่อมาประมาณคริสตศักราช ๒๒๐ ชนชาติน้ีก็ได้ก่อตั้งอาณาจักรข้ึนที่
จังหวัดนครศรีธรรมราช และในคริสตศักราช ๖๕๘ เกิดอาณาจักรข้ึนใหม่ คือ
อาณาจักรศรีวิชัย มีอิทธิพลแผ่ไปทั่วแหลมมลายู และอาณาจักรท่ีจังหวัด
๖๒
นครศรีธรรมราช ก็ตกอยู่ในอำ�นาจของอาณาจักรศรีวิชัยด้วย จนกระทั่งถึงคริสต์
ศตวรรษที่ ๘ อาณาจักรศรีวิชัยเส่ือมอำ�นาจลง และอาณาจักรใหม่เกิดข้ึนแทนท่ี
คอื อาณาจกั รมัชปาหิต ต่อมาถงึ คริสตศกั ราช ๑๔๐๑ อาณาจักนีก้ ็เสือ่ มสลายลง
และอิทธิพลของศาสนาอิสลามก็ได้แผ่เข้าแทนที่วัฒนธรรมอินเดียท่ีเคยมีอยู่ใน
บรเิ วณนป้ี ระมาณปลายครสิ ตศ์ ตวรรษท่ี ๘ ถงึ ตน้ ครสิ ตศ์ ตวรรษท่ี ๙ ศาสนาอสิ ลาม
ไดเ้ ขา้ ฝงั รกรากในอาณาจกั รปตั ตานี ซง่ึ กอ่ ตง้ั โดยพระยาตนกดู นั ดารา และขยายตวั
ไปครอบคลุมจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในปัจจุบันชาวไทยที่นับถือศาสนาอิสลาม
มีอยทู่ ่วั ประเทศ
ชาวไทยมุสลิมทุกคนท่ีเกิดในประเทศไทย ไม่ว่าจะมีภูมิลำ�เนาหรือถ่ินท่ีอยู่
ณ แหง่ ใด ถือว่าเป็นคนสัญชาตไิ ทย และมีสทิ ธิเสรภี าพตามกฎหมายเท่าเทยี มกบั
ชาวไทยท่ีนับถือศาสนาอ่ืน ๆ สำ�หรับชาวไทยท่ีนับถือศาสนาอิสลามในจังหวัด
ชายแดนภาคใต้ ๔ จงั หวดั ไดแ้ ก่ ยะลา ปตั ตานี นราธิวาส และ สตูล รฐั บาลให้
สิทธิพิเศษให้ใช้กฎหมายอิสลามในเรื่องครอบครัวและมรดก เพ่ือให้สอดคล้องกับ
หลักศาสนาและขนบธรรมเนียมประเพณีจึงกำ�หนดกฎหมายให้มีผู้พิพากษาพิเศษ
ข้ึนมีหน้าที่ในการวินิจฉัยช้ีขาดข้อกฎหมายอิสลามนอกเหนือจากผู้พิพากษาที่มี
ประจ�ำ ศาลอยูแ่ ล้วเรยี กวา่ “ดาโตะ๊ ยุตธิ รรม”
ปัจจุบันศาสนาอิสลาม มีองค์กรทางศาสนาท่ีราชการรับรอง เรียกว่าสำ�นัก
จุฬาราชมนตรี โดยมีจุฬาราชมนตรีเป็นผู้นําสูงสุด มีโครงสร้างการบริหารเป็น
กรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย กรรมการกลางอิสลามประจำ�จังหวัด
และกรรมการกลางอิสลามประจำ�มัสยิด ในแต่ละมัสยิด (สุเหร่า) มีอิหม่าม
คอเต็บ และบิหล่ัน ประเภทละ ๑ คน รวม ๓ คน เป็นผู้ปกครองดูแลสัปปุรุษ
๖๓
อสิ ลามไมม่ ีนักบวชในศาสนา ชอื่ ท่เี รียกผนู้ �ำ ในระดับตา่ ง ๆ มคี วามหมายดงั นี้
อหิ มา่ ม หมายถึง ผูน้ �ำ ศาสนาอสิ ลามประจำ�มสั ยิด
คอเตบ็ หมายถงึ ผ้แู สดงธรรมประจ�ำ มัสยดิ
บิหล่นั หมายถึง ผ้ปู ระกาศเชิญชวนให้มุสลมิ ปฏิบตั ศิ าสนกิจตามเวลา
คณะกรรมการกลาง หมายถึง คณะกรรมการกลาง ศูนย์อบรมศาสนา
อิสลามและจรยิ ธรรมประจ�ำ มสั ยดิ
สัปปุรุษประจำ�มัสยิด หมายถึง มุสลิมท่ีคณะกรรมการอิสลามประจ�ำ มัสยิด
มีมติรับเข้าเป็นสัปปุรุษประจำ�มัสยิดและมีช่ืออยู่ในทะเบียนสัปปุรุษประจำ�มัสยิด
และผู้น้ันจะเป็นสัปปุรุษเกินกว่าหนึ่งมัสยิดในเวลาเดียวกันไม่ได้ (Taweesak
Kunyochai, ๒๕๕๐)
มสุ ลิมท่ีสืบเชอื้ สายมาจากมลายูหรอื มาเลย์
เป็นชาวมุสลิมกลุ่มใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ส่วนใหญ่จะอยู่บริเวณ
ชายแดนภาคใต้ของไทยในจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา และบางส่วนใน
จังหวัดสตูลและสงขลา นอกจากนี้ยังอยู่ในภาคอื่น ๆ อาทิเช่น จังหวัดอยุธยาเป็น
จงั หวดั ท่มี ีชาวมุสลิมอยมู่ ากคอื ประมาณ ๑๖๐,๐๐๐ คน โดยมุสลิมเหล่านั้นได้ถูก
กวาดต้อนมาไว้ในพน้ื ทด่ี ังกลา่ วตง้ั แตส่ มยั พระบาทสมเดจ็ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
มหาราช นอกจากน้ีจะมีมากในแถวจังหวัดนครนายก ฉะเชิงเทรา และนนทบุรี
ส่วนในกรุงเทพมหานครไปต้ังรกรากอาศัยอยู่ในท่ีหลาย ๆ แห่ง เช่น ธนบุรี ส่ีแยก
บา้ นแขก ทงุ่ ครุ พระประแดง บางคอแหลม มหานาค พระโขนง คลองตัน มนี บรุ ี
หนองจอก เป็นตน้
๖๔
มุสลิมที่สืบเชอื้ สายมาจากบรรพบรุ ษุ อาหรับเปอรเ์ ซียหรืออหิ ร่าน
ซ่ึงชาวอาหรับเปอร์เซียน้ีได้มีการติดต่อค้าขายกับคนไทยมาตั้งแต่สมัย
สุโขทัย สมัยอยุธยาและสมัยรัตนโกสินทร์ซึ่งชาวเปอร์เซียน้ีได้เข้ามาโดยทำ�การ
คา้ ขายในไทย และไดต้ ง้ั หลกั แหลง่ อยทู่ างใตข้ องประเทศไทยดว้ ย ซง่ึ ชาวเปอรเ์ ซยี น้ี
จะนับถือศาสนาอิสลามทั้งนิกายซุนนีย์และชีอะฮ์ ชาวมุสลิมจากเปอร์เซียที่มี
ชื่อเสียงในประวัติศาสตร์ไทยได้แก่ ชัยค์ (เฉก) อะห์มัด กูมี (Shieak Ahmad
Qumi) ซ่ึงเข้ามาประเทศไทยในรัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (ก่อน พ.ศ.
๒๑๔๓) โดยท่านผู้น้ีนำ�ศาสนาอิสลามนิกายชีอะฮ์มาเผยแพร่เป็นครั้งแรกใน
ประเทศไทย ในสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม Shieak Ahmad Qumi
เจริญรุ่งเรืองในทางราชการในราชสำ�นักของไทย ได้รับยศเทียบเท่าเจ้าพระยา
เป็นผู้เช่ียวชาญด้านการพาณิชย์และช่วยปรับปรุงราชการด้านกรมท่าขวา และได้
เป็นจุฬาราชมนตรี มีหน้าที่เก็บภาษีสินค้าเข้าออก ดูแลการเดินเรือระหว่าง
ประเทศและดูแลกิจการศาสนาอิสลามในประเทศไทย ท่านผู้น้ีเป็นต้นตระกูล
บุนนาค บุณยรัตตพันธ์ ศรีเพ็ญ สุคนธาภิรมย์ เป็นต้น ขณะนี้มุสลิมนิกายชีอะฮ์
จากเปอร์เซยี จะอยกู่ นั มากย่านเจรญิ พาสน์ ฝงั่ ธนบุรี
มุสลมิ ท่ีมบี รรพบรุ ษุ จากชวา
จากการหลักฐานที่ค้นพบถ้วยชามสังคโลกในอินโดนีเซียเป็นเครื่องยืนยันได้
ว่าประเทศไทยกับอินโดนีเซียมีความสัมพันธ์อันยาวนานมาตั้งแต่ครั้งกรุงสุโขทัย
ในสมัยอยุธยาน้ันก็มีชาวชวามาตั้งหลักแหล่งอยู่เช่นเดียวกันกับคนกลุ่มอ่ืน ๆ
อย่างไรก็ตามเรื่องราวของชาวชวาไม่ได้ปรากฏขึ้นอีกในประวัติศาสตร์ของไทย
ทง้ั นค้ี าดกนั วา่ ชาวชวาคงถกู กลนื หายไปกบั ชาวมสุ ลมิ เชอ้ื สายมาเลย์ อยา่ งไรกต็ าม
มีหลักฐานยืนยันว่าชาวชวาเข้ามาไทยอีกในสมัยรัชกาลที่ ๕ การท่ีชาวชวาเข้ามา
น่าจะมีสาเหตุมาจากการทำ�มาหากิน เพราะค่าจ้างในไทยสูงกว่าในชวาถึง ๓ เท่า
และในสมัยสงครามโลกคร้งั ท่สี องชาวชวาถูกญ่ปี ่นุ เกณฑ์มาสร้างทางรถไฟสายมรณะ
๖๕
เม่ือญี่ปุ่นแพ้สงครามชาวชวาก็หนีมาอาศัยอยู่ในไทยไม่ยอมกลับอินโดนีเซีย
ปัจจุบันในกรุงเทพฯ จะมีมุสลิมเชื้อสายชวามากรองจากเช้ือสายมาเลย์เท่าน้ัน
โดยต้ังหลักแหล่งอยู่ท่ีท้องตามที่ต่าง ๆ อาทิ เขตพระราชวัง ชนะสงคราม
บางขุนพรหม สามเสน ดสุ ติ นางเล้งิ ประแจจนี บา้ นทวาย สาทร บางรัก พาหุรัด
ส�ำ ราญราษฎร์ เป็นต้น
มุสลิมทมี่ ีเชื้อสายมาจากจาม-เขมร
ในอดีตน้ันจามมีประเทศเป็นของตนเองแต่ปัจจุบันเหลือเพียงแต่เผ่าพันธ์ุ
เท่าน้ัน ในสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ ทหารอาสามาจากเขมรท่ีนับถือศาสนา
อสิ ลามได้เข้ามาอาสารบกับขา้ ศึกของไทย เหตทุ ท่ี หารอาสาจามเขา้ มาประเทศไทย
เน่ืองจากอาณาจักรจามปาของจามถูกเวียดนามรุกราน ชาวจามส่วนหนึ่งจึง
อพยพหนีออกนอกประเทศ เม่ือกรุงศรีอยุธยาแตกครั้งท่ี ๒ นั้น แขกจามบางคน
กต็ กเปน็ เชลยเชน่ เดยี วกบั คนไทย บางคนอพยพมาตง้ั ถน่ิ ฐานอยตู่ ามคลองแสนแสบ
ทเ่ี รยี กวา่ เจรญิ ผล ในสมยั รชั กาลท่ี ๕ พวกจามจ�ำ นวนหนง่ึ กอ็ พยพตามเจา้ พระยา
อภยั ภเู บศร์ ผสู้ �ำ เรจ็ ราชการเมอื งเขมรเวลานน้ั เขา้ มาบรเิ วณทแ่ี ขกจามตง้ั หลกั แหลง่
อยู่เวลานี้ได้แก่ บริเวณบ้านครัว ต้ังแต่เจริญผลฝ่ังตรงข้ามสนามกีฬาแห่งชาติ
ไปจรดเขตอุรุพงษ์ หลักแหล่งท่ีอื่นก็มีมัสยิดวัดสุวรรณ ถนนเจริญนคร ตำ�บล
นา้ํ เชีย่ ว อำ�เภอแหลมงอบ จงั หวัดตราด และท่พี ่มุ เรยี ง จงั หวดั สรุ าษฎร์ธานี
๖๖
มสุ ลิมทม่ี เี ชือ้ สายมาจากจีน
คนเหล่าน้ีได้เข้ามาประเทศไทยทางชายแดนภาคเหนือโดยตั้งรกรากอยู่
ในจังหวัดเชียงราย ลำ�พูน แม่ฮ่องสอน และเชียงใหม่ ชาวจีนฮ่อมุสลิมเข้ามา
ประเทศไทยคร้ังแรกในสมัยรัชกาลที่ ๕ ส่วนสาเหตุที่เข้ามายังประเทศไทยนั้น
น่าจะเน่ืองมาจากการลุกฮือของมุสลิมในปี ๒๔๙๘ เพราะไม่พอใจการปกครอง
ของจนี ท�ำ ใหจ้ นี ฮอ่ ถกู สงั หารเปน็ จ�ำ นวนมาก การอพยพครง้ั ตอ่ มามขี น้ึ ในปี ๒๔๙๓
เมอ่ื ประเทศจนี เปน็ คอมมวิ นสิ ตก์ องพล ๙๓ ทเ่ี ปน็ ทหารของเจยี งไคเชค็ แหง่ กก๊ มนิ ตง๋ั
จึงไม่อาจอยู่ในประเทศจีนต่อไปได้ จึงอพยพมาที่อำ�เภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่
ทหารจีนเหล่าน้ีบางส่วนเป็นมุสลิมเช่นเดียวกับจีนฮ่อ ได้รวมตัวกันพำ�นักอยู่ท่ี
เชยี งใหม่ (จรัล มะลูลมี , ๒๕๔๗)
กล่าวได้ว่าศาสนาอิสลามเข้ามาสู่ประเทศไทยโดยเฉพาะอย่างย่ิงในภาคใต้
ก่อนแลว้ จึงค่อย ๆ ขยายออกมาในภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉยี งเหนอื
หรอื ทกุ ภาคของประเทศไทย จากคนทเ่ี ขา้ มาหลายเชอ้ื ชาติ หลายเผา่ พนั ธ์ุ ทง้ั มาเลย์
เปอร์เซีย ชวา อินเดยี ปากีสถาน จาม และจนี เข้ามาอยใู่ นดินแดนทเ่ี รียกว่าแผน่
ดนิ ไทยอยา่ งมคี วามสขุ ไมม่ ปี ญั หาความขดั แยง้ กนั ทกุ คนอยรู่ ว่ มกนั อยา่ งมคี วามสขุ
และสันติ มีวัฒนธรรมอิสลามเป็นเคร่ืองช้ีนำ�การดำ�เนินชีวิต และเป็นวิถีของชาว
มุสลมิ ท้ังหลาย มุสลมิ ทกุ คนทอี่ ยู่ในประเทศไทยตา่ งเป็นคนหนงึ่ ท่มี ที ้งั เชื้อชาตไิ ทย
สัญชาติไทย มีความเป็นไทยทั้งชีวิตและจิตวิญญาณที่จะอยู่ร่วมกันกับคนไทย
ทง้ั หลายอยา่ งสงบสขุ ตามค�ำ สอนของศาสนาอสิ ลามตลอดไป (ณรงค์ ดดู งิ , ๒๕๔๗)
๖๗
อิทธพิ ลของอิสลามตอ่ สงั คมไทย
อิทธิพลของอิสลามที่มีต่อสังคมไทยนั้นมีเป็นอันมาก โดยเฉพาะในเรื่อง
การปกครอง ในเรื่องศิลปะการดนตรี แม้แต่การที่จะเห็นได้ชัดคือเคร่ืองต้นของ
พระมหากษัตริย์ของไทยน้ัน มีอยู่อย่างหนึ่งท่ีเรียกว่า “ฉลองพระองค์อย่างเทศ”
(ฉลองพระองค์อย่างเทศหรือที่เรียกว่าเส้ืออย่างเทศ) เป็นเส้ือท่ีไทยรับมาจาก
“แขกเทศ” คือชนชาตใิ นวัฒนธรรมอินโด - เปอร์เซีย (Indo - Persian culture)
ซ่ึงหมายถึงเครือข่ายวัฒนธรรมเปอร์เซียหรืออิหร่านจากเอเชียกลางซ่ึงเผยแพร่
มาถึงอนุทวีปอินเดียโดยชาวเติร์กตั้งแต่คริสต์ศตวรรษท่ี ๑๓ จนถึงคริสต์ศตวรรษ
ที่ ๑๖ ที่จักรวรรดิโมกุล (Mughal Empire) ซ่ึงมีผู้ปกครองเป็นมุสลิมเชื้อสาย
เตริ ก์ - มองโกลได้ ครอบครองอนทุ วปี อนิ เดยี เกอื บทง้ั หมด ไดร้ บั วฒั นธรรมเปอรเ์ ซยี
มาใช้ในราชสำ�นักโมกุลอย่างเข้มข้น รวมไปถึงเคร่ืองแต่งกายอย่างเปอร์เซียด้วย
เมื่อพิจารณาจากภาพเขียนเคร่ืองแต่งกายชองชาวเปอร์เซียและอินเดียที่อยู่ไล่เลี่ย
กับรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์น้ัน พบว่าเป็นแบบเดียวกันกับเสื้อที่คณะทูตสยาม
สวมใส่ คือ เป็นเสอ้ื แขนกระบอก เอวจีบ มีชายยาวเลยเขา่ คลา้ ยกระโปรง อาจมี
กระดุมผ่าอกหรือทำ�เป็นเสื้อป้ายคล้ายเสื้อญี่ปุ่น ตัดด้วยผ้าราคาสูงจากอินเดีย
เชน่ ผ้าเยียรบับ ผ้าตาด ผ้าเขม้ ขาบ ฯลฯ
ดังท่ีพบภาพเขียนของราชสำ�นักโมกุลสวมเสื้ออย่างเทศหลากสีหลาก
ลวดลายมาก สันนิษฐานว่าราชสำ�นักอยุธยาน่าจะรับเสื้อชนิดนี้เข้ามาในราว
รัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ ซ่ึงวัฒนธรรมอินโด - เปอร์เซียเฟ่ืองฟูในราชสำ�นักมาก
โดยอาจจะรับมาจากเปอร์เซียโดยตรง หรือรับผ่านโมกุลอีกต่อหนึ่ง ซึ่งมีหลักฐาน
ว่าสมเดจ็ พระนารายณ์โปรดทรงฉลองพระองคแ์ บบอินโด - เปอรเ์ ซีย เม่อื พจิ ารณา
จากภาพพิมพ์ของออกพระวิสุทสุนธร ออกหลวงกัลยาราชไมตรี และออกขุนศรี
วสิ ารวาจา ทท่ี �ำ ในฝรง่ั เศสโดยโยฮนั น์ ไฮเซลมาน (Johan Hainzelman) พบวา่
ทัง้ สามทา่ น
๖๘
แม้จะสวมเส้ืออย่างเทศเหมือนกันแต่มีลักษณะแตกต่างกันเล็กน้อย เช่น
เสื้อของออกพระวิสุทสุนธรกับออกหลวงกัลยาราชไมตรีมีลักษณะสวมทับกัน
เป็นเส้ือป้ายคล้ายเสื้อญ่ีปุ่น แต่มีลวดลายผ้าแตกต่างกัน เส้ือออกพระวิสุทสุนธร
เป็นลายเถารูปดอกไม้ใบไม้ เสื้อออกหลวงกัลยาราชไมตรีเป็นลายริ้วใกล้เคียงกับ
“ผา้ เขม้ ขาบ” สว่ นเสอ้ื ออกขนุ ศรวี สิ ารวาจาเปน็ กระดมุ ผา่ อก (วพิ ากษป์ ระวตั ศิ าสตร,์
๒๕๖๑)
โดยความจริงฉลองพระองค์อย่างเทศน้ีเป็นเสื้อยาวถึงเข่า ซ่ึงแต่เดิมเกิดข้ึน
ในประเทศอิหร่านหรือเปอร์เซียเป็นแห่งแรกแล้วก็ได้มาถึงประเทศไทย ได้รับ
ความนิยมจนกระทั่งยกเป็นเครื่องแบบอย่างหน่ึงของสมเด็จพระมหากษัตริย์
ที่น่าอัศจรรย์คือเคร่ืองแต่งกายแบบสากลของเรานี่เอง ก็มาจากเส้ือตัวเดียวกันน้ี
เส้ือแบบเปอร์เซียน้ันไม่ใช่แต่เผยแพร่ออกมามีผู้นิยมทางภาคตะวันออกของ
เปอร์เซียเท่านั้น แต่ได้มีผู้นำ�เอาไปใช้ในทวีปยุโรปและตะวันตก ข้ึนต้นก็เป็น
ฟลอคโค๊ตของฝรั่งเศส คือ ฝรั่งใส่ด้วยลักษณะคอปิดไม่ได้พับคอลงก่อนคอปิด
ยาวถึงเข่า แต่ทีน้ีในยุโรปเป็นประเทศหนาว เพื่อป้องกันความหนาวคนจะต้องเอา
ขนสัตว์บ้าง ผ้าแพร ผ้าไหมพันคอไว้หนา ๆ เพ่ือไม่ให้หนาวคอ การท่ีจะใส่เสื้อ
คอปดิ ก็ไมส่ ะดวก จึงได้พบั คอเสื้อลงมาในลกั ษณะน้ี เพือ่ ปล่อยท่ไี วพ้ นั คอได้มาก ๆ
เพราะในสมัยน้ันเร่ืองการอุ่นบ้าน เรื่องการต้มน้ําฝังท่อนํ้าร้อนไปให้บ้านอบอุ่น
การก่อสร้างเพ่ือป้องกันความหนาวยังไม่ดี ถึงหน้าหนาวฝร่ังต้องใส่เสื้อหนา ๆ
รุ่มร่ามกันอยู่ทั้งวันท่ีมาเปรียบเทียบอย่างน้ีเพราะเหตุว่าความเจริญของบ้านเมือง
เกิดข้ึน บ้านเรือนก็อบอุ่นขึ้นกว่าแต่ก่อน ผ้าพันคอก็เหลือเพียงเท่านี้ คือ เนคไท
๖๙
ดงั ทไ่ี ดใ้ ชก้ นั อยทู่ ว่ั ไปในปจั จบุ นั สว่ นคอเสอ้ื กเ็ ลยแบะลงไป เพราะแตก่ อ่ นผา้ พนั คอ
มีขนาดใหญ่ แต่อย่างไรก็ตามฟลอคโค๊ตของฝรั่งก็ยาวแค่เข่า เดี๋ยวน้ีก็ยังใส่กันอยู่
แต่สำ�คัญแปลงรูปไป ในท่ีสุดก็กลายเป็นเสื้อแบบสากลอย่างน้ีแต่ว่าในเครื่องต้น
ของพระมหากษัตริย์ก็ยังมีที่เรียกว่าฉลองพระองค์อย่างเทศซึ่งเรียกได้ว่าเป็น
อิทธิพลที่มาจากเครื่องแต่งกายของชาวมุสลิมจากประเทศเปอร์เซียโดยแท้ในเร่ือง
การดนตรีก็มีเพลงตา่ ง ๆ ซงึ่ อาจจะมาจากพวกซฟู ีทีเ่ รยี กว่า “เกรตนั ” น้นั มเี พลง
ต่าง ๆ ที่ตกค้างอยู่ได้กลายเป็นเพลงไทยไป และตลอดจนท่าทางลีลาของการ
ฟ้อนรำ�ก็ได้ตกมาอยู่ในระบบนาฏศิลป์ของไทย อย่างจะเห็นได้อยู่ทุกวันน้ีถ้ามี
ความรู้ในเรื่องละครรํา จะเห็นได้ว่าการรำ�ตะเข็งนั้นมาจากการฟ้อนรำ�ของพวก
ซูฟี (คือ การเต้นให้เข้าถึงฌาน ดนตรี และการเข้าถึงพระเจ้าของนักบวชซูฟีใน
ตรุ กี เปน็ พธิ กี รรมทใ่ี ชด้ นตรแี ละการเคลอ่ื นไหวรา่ งกายตามดนตรี และเพือ่ ละอัตตา
โดยเชื่อว่าการหมุนร่างกายรอบแล้วรอบเล่าพร้อมกับดนตรีจะทำ�ให้เข้าสู่ภาวะปิติ
ทางจิตวิญญาณ (Spiritual Ecstasy) และเป็นหน่ึงเดียวกับพระเจ้า) ตลอดจน
การรำ�อย่างศิลปากรทุกวันน้ี เขาเรียกว่า “ดาวดึงส์” คือ รำ�ประเท้าแล้วสองมือ
ตบอกน้ันก็เป็นอิทธิพลการฟ้อนรำ�ท่ีมาจากอิสลามสำ�นักชีอะฮ์ ท่ีเรียกว่าการเต้น
มะหะหร่าํ นน่ั เอง
๗๐
ด้านศิลปะและการตกแต่งตามอิทธิพลของศาสนาอิสลามถ้าใครเคยไป
ประเทศเปอร์เซียหรืออิหร่านในปัจจุบันแม้แต่ทุกวันนี้ จะสังเกตเห็นอะไรสะดุดตา
อย่างหนึ่งว่า ตามมัสยิดในประเทศอิหร่านนั้นเขาใช้ถ้วยชามท่ีเป็นลวดลายต่าง ๆ
สีตา่ ง ๆ ประดบั หน้ามสั ยดิ บ้าง ประดบั ข้างในบ้างสดุ แลว้ แต่ แตน่ น่ั เปน็ ความนยิ ม
ของชาวเปอร์เซียมาต้ังแต่ช้านานหลายพันปีทีเดียว เขาใช้อย่างนั้นในการใช้
ถ้วยชามประดับวัดวาในเมืองไทยก็เกิดขึ้นในราวสมัยค่อนข้างตอนท้าย ๆ ของ
กรุงศรีอยุธยา แล้วก็มานิยมแพร่หลายกันในสมัยกรุงเทพฯ วัดโพธิ์ก็ดี วัดอรุณก็ดี
อย่างมากจึงมั่นใจได้ว่าการใช้ถ้วยชามประดับวัดน้ีก็เป็นอิทธิพลของอิสลาม
อย่างหนึ่งท่ีมาจากเปอร์เซียนั่นเอง เพราะในอิสลามน้ันไม่นิยมการวาดรูปถ้าเรา
ไปดูจะเห็นว่าได้อาศัยถ้วยชามสีต่าง ๆ เป็นลวดลายประดับพระวิหาร พระเจดีย์
ต่าง ๆ ลวดลายสิ่งมีชีวิตไว้บนผนังหรืออาคารต่าง ๆ และเป็นส่ิงต้องห้ามตาม
พระบัญญัติของอิสลามอีกด้วย ดังนั้นชาวมุสลิมจึงใช้วัสดุประเภทถ้วยชาม
มาประดับแทน ซ่ึงนอกจากจะเป็นของสวยงามแล้ว ยังเป็นการอนุรักษ์ไว้เป็น
อนุสรณ์แก่ชนรุ่นหลังได้อีกด้วย จากลักษณะของบรรดามัสยิดต่าง ๆ ในเปอร์เซีย
ที่มีการประดับด้วยถ้วยชามดังกล่าวแล้วน้ัน จะเก่าแก่กว่าบรรดาวัดวาอารามท่ี
ประดับด้วยถ้วยชามในเมืองไทย แสดงให้เห็นว่าความนิยมเช่นนั้นมีมาก่อนแล้ว
และได้มาเผยแพร่ในเมืองไทยในภายหลัง เป็นเหตุให้คนไทยท่ีนับถือศาสนาพุทธ
จ�ำ ไปตกแต่งวดั วาอารามบา้ ง
ส่วนการขับร้องที่เรียกว่า “ดิเกร์” นั้น (ดิเกร์ (Dikir) มีรากศัพท์มาจาก
คำ�ว่าซีเกร์ ซ่ึงเป็นภาษาอาหรับ หมายถึง การอ่านทำ�นองเสนาะ ส่วนคำ�ว่าฮูลู
แปลว่าใต้หรือทิศใต้ รวมความแล้วหมายถึงการขับบทกลอนเป็นทำ�นองเสนาะ
จากทางใต้ ท่านผู้รู้ยังได้กล่าวไว้อีกว่าดิเกร์ฮูลูน่าจะเกิดขึ้นเริ่มแรกที่อำ�เภอรามัน
๗๑
ซ่ึงไม่ทราบแน่ว่าผู้ริเร่ิมน้ี คือ ใครโดยข้อสนับสนุนก็คือ ชาวปัตตานีเรียกคนใน
อำ�เภอรามันว่าคนฮูลู ในขณะที่คนมาเลเซียเรียกศิลปะนี้ว่า “ดิเกร์ปารัต”
ซึ่งปารัตแปลว่าเหนือ จึงเป็นท่ียืนยันได้ว่า ดิเกร์ฮูลู หรือดิเกร์ปารัตน้ีมาจาก
ทางเหนือของมาเลเซียและทางใต้ของปัตตานี ซึ่งก็คือบริเวณอำ�เภอรามัน
จังหวัดยะลา และคำ�ว่าดิเกร์หรือลิเก ในพจนานุกรม Kamus Dewan พิมพ์โดย
สมาคมภาษาและหนังสือประเทศมาเลเซียเรียกลิเกเป็นดิเกร์เป็นศัพท์เปอร์เซีย
มีสองความหมาย คือ เพลงสวดสรรเสริญพระเจ้า ปกติเป็นการขับร้องเนื่องใน
เทศกาลวันกำ�เนิดพระนบี ชาวมุสลิมเรียกงานเมาลิด เรียกการสวดดังกล่าวนี้ว่า
“ดิเกเมาลิด” นอกจากน้ีดิเกยังหมายถึงกลอนเพลงโต้ตอบ นิยมเล่ากันเป็นกลุ่ม
หรือเป็นคณะ โดยมีไม้ไผ่มาตัดท่อนสั้นแล้วหุ้มกาบไม้ข้างหนึ่งทำ�ให้เกิดเสียงดัง
แล้วร้องรำ�ทำ�เพลงขับแก้กันตามประสาชาวป่า (ว่ากันว่าไม้ไผ่หุ้มกาบไม้นี้
ได้กลายเป็นบานอ หรือรือปานาหรือรำ�มะนาท่ีใช้กันมาจนทุกวันนี้) (วิกิพีเดีย
สารานุกรมเสรี, ๒๕๖๐) ก็กลายเป็นลิเก หรือย่ีเก ไปอย่างท่ีคนท้ังหลายได้ทราบ
กันอยู่แล้ว การเปล่ียนแปลงไปนั้น ก็เชื่อว่ากลายไปในสมัยรัตนโกสินทร์น่ีเอง
ซ่ึงเป็นระยะใกล้ ๆ ไมจ่ �ำ เปน็ ตอ้ งกลา่ วถึง
ในหลักการปกครองประเทศน้นั อิสลามมีอิทธิพลต่อเมืองไทยมากเหมือนกัน
ถา้ หากดใู นเรอ่ื งกฎมณเฑยี รในสมยั กรงุ ศรอี ยธุ ยา ในตอนทก่ี �ำ หนดพระราชกรณยี กจิ
ประจำ�วันของพระเจ้าแผ่นดินไว้น้ัน จะเห็นได้ว่ามีการกำ�หนดต้ังแต่รุ่งอรุณไป
ถึงตอนเช้าท่ีบรรทม ซึ่งเป็นเวลาสองนาฬิกาหรือตีสอง ก่อนท่ีจะเข้าบรรทม
หนึ่งชั่วโมง มีข้อความในกฎมณเฑียรบาลท่ีน่าสนใจไว้ว่าดังนี้ “เวลาเจ็ดทุ่งเบิก
นักเทศน์ขันทีเข้าเฝ้า” สำ�หรับขันทีนี้ไม่ปรากฏว่าเคยมีในราชสำ�นักไทย เข้าใจว่า
มาจากราชสำ�นักอาหรับเป็นส่วนใหญ่และนักเทศน์ในที่นี้ก็ไม่มีเหตุผลไม่มีทางที่
๗๒
เข้าใจได้ว่าเป็นนักเทศน์คนไทยท่ีนับถือศาสนาพุทธหรือเป็นพระสงฆ์แต่เข้าใจว่า
จะเป็นผู้นับถือศาสนาอิสลาม แล้วเข้าไปชี้แจงธรรมะบางอย่างของศาสนาถวาย
พระเจ้าแผ่นดินสมัยกรุงศรีอยุธยาและการเข้าใจฟังธรรมะนั้นเข้าใจว่าจะทำ�ด้วย
วิธีเล่านิทานต่าง ๆ แล้วไปสรุปความที่เป็นคติธรรม เม่ือเจ็ดทุ่มเบิกนักเทศน์ขันที
เข้าเฝ้าแล้วแปดทุ่มถึงตีสองจึงได้เบิกมโหรี เป็นอันเสร็จพระราชกรณียกิจในวันนั้น
มโหรีก็หมายความว่าถึงเวลานอนได้แล้วเพราะดนตรีไทยนั้นมีวัตถุประสงค์ไว้เพื่อ
กล่อมให้หลับ ไม่ได้มีวัตถุประสงค์อย่างอื่น เล่นไปฟังไปไม่นานก็จะรู้สึกง่วงนอน
และหลบั สบาย
ศาสนาอิสลาม
ศาสนาอิสลาม (Islam) เป็นศาสนาเอกเทวนิยมและศาสนาอับราฮัม
บัญญัติไว้ในคัมภีร์อัลกุรอาน คัมภีร์ศักด์ิสิทธิ์ของอิสลามซ่ึงสาวกถือว่าเป็น
พระวจนะคำ�ต่อคำ�ของพระเป็นเจ้า (อัลลอฮฺ) และสำ�หรับสาวกส่วนใหญ่
เป็นคำ�สอนและตัวอย่างเชิงบรรทัดฐาน (เรียกว่าสุนัต และประกอบด้วยหะดีษ)
ของมุฮัมมัด เป็นศาสดา (นบี) องค์สุดท้ายของพระเป็นเจ้า สาวกของศาสนา
อสิ ลาม จะเรียกวา่ มสุ ลิม โดยที่มสุ ลิมเชอื่ ว่าพระเจา้ เป็นหนง่ึ และหาทีเ่ ปรียบไม่ได้
และจุดประสงค์ของการดำ�รงอยู่ คือ เพื่อรักและรับใช้พระเป็นเจ้า ชาวมุสลิม
ยังเชื่อว่าศาสนาอิสลามเป็นบรรพศรัทธาฉบับสมบูรณ์และเป็นสากลท่ีสุดซ่ึงได้
ประจกั ษม์ าหลายครง้ั กอ่ นหนา้ นน้ั ผา่ นศาสดาซง่ึ จะรวมถงึ อาดมั โนอาห์ อบั ราฮมั
โมเสสและพระเยซู (เป็นบุคคลในคริสต์ศาสนา) พวกเขายึดมั่นว่าสารและวิวรณ์
๗๓
ถูกแปลผิดหรือเปลี่ยนแปลงบางส่วนตามกาล แต่มองว่าอัลกุรอานภาษาอาหรับ
เป็นทง้ั วิวรณ์สดุ ท้ายและไมเ่ ปลย่ี นแปลงของพระเปน็ เจา้ มโนทศั นแ์ ละหลกั ศาสนา
มีเสาหลักท้ังห้าของอิสลาม ซึ่งเป็นมโนทัศน์พ้ืนฐานและการปฏิบัติตนนมัสการ
ท่ีต้องปฏิบัติตามและกฎหมายอิสลามท่ีตามมาซ่ึงครอบคลุมแทบทุกมุมของชีวิต
และสังคมโดยกำ�หนดแนวทางในหัวเร่ืองหลายหลาก ต้ังแต่การธนาคารไปจนถึง
สวัสดิการ ชีวิตครอบครัวและส่ิงแวดล้อม มุสลิมส่วนใหญ่เป็นนิกายซุนนีย์
โดยคิดเป็น ๗๕ - ๙๐% ของมุสลิมท้ังหมด นิกายใหญ่ที่สุดอันดับสอง คือ ชีอะฮ์
คิดเป็น ๑๐ - ๒๐% ประเทศมุสลิมใหญ่ท่ีสุด คือ ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งมีชาว
มุสลิม ๑๒.๗% ของโลก ตามมาด้วยปากีสถาน (๑๑.๐%) อินเดีย (๑๐.๙%)
และบังกลาเทศ (๙.๒%) นอกจากนี้ ยังพบชุมชนขนาดใหญ่ในจีน รัสเซีย และ
ยุโรปบางส่วน ด้วยสาวกกว่า ๑,๕๐๐ ล้านคน หรือ ๒๒% ของประชากรโลก
อิสลามจึงเป็นศาสนาใหญ่ที่สุดอันดับสองและศาสนาหลักท่ีเติบโตเร็วท่ีสุดในโลก
ศาสนาหนง่ึ (วิกิพีเดยี สารานุกรมเสรี, ๒๕๖๓)
ความเชือ่ ของศาสนาอสิ ลาม
ศาสนาอิสลามเกิดขึ้นในดินแดนทะเลทรายอาหรับ เมืองเมกกะ (ประเทศ
ซาอุดิอาระเบียปัจจุบัน) เป็นศาสนาที่มีความสำ�คัญศาสนาหน่ึงของโลกซึ่งมี
ผนู้ ับถอื จากทุกชาติทุกภาษา มีศาสดาชอ่ื ศาสดามฮุ ัมมัด มคี มั ภรี ์ ไดแ้ ก่ คัมภรี อ์ ลั
กรุ อาน มพี ิธีกรรม เชน่ การละหมาด การถือศีลอด การบ�ำ เพญ็ ฮจั ญ์ มีศาสนสถาน
เช่น มัสญดิ อัลกะอ์บะฮ์ และเรยี กผู้ที่นบั ถอื ศาสนาอิสลามวา่ มุสลิม
๗๔
โดยที่ท้ังหมดจะเช่ือผู้สร้างสรรพส่ิงท้ังหมด เชื่อในอำ�นาจของพระองค์
การปฏิบัติท้ังหมดเกิดจากคำ�ส่ังของอัลบัสและดำ�เนินตามแบบอย่างของท่านนบี
มุฮัมมัด (มุฮัมมัด (ซ.ล.) เป็นนบี (ศาสดา) ของศาสนาอิสลามในทัศนคติของ
อิสลามมุฮัมมัด เป็นศาสดาองค์สุดท้ายท่ีอัลลอฮ์ (ซน.) ทรงประทานแต่งต้ังนบี
มฮุ ัมมดั หรอื มหุ ัมมัด)
คำ�ว่า “อิสลาม” เป็นภาษาอาหรับ หมายถึง การนอบน้อม มอบตน
จำ�นนต่ออัลลอฮ์ คือ การยอมมอบตนตามประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้าโดยส้ินเชิง
ยังหมายถึงความสันติความปลอดภัย อิสลามในฐานะเป็นชื่อของศาสนาใช้ตาม
คมั ภีร์อุลกรุ อาน
คำ�วา่ “มุสลมิ ” คอื ผู้ทน่ี บั ถอื ศาสนาอิสลาม ค�ำ วา่ มสุ ลิม ยงั มีความหมาย
รวมถงึ ผใู้ ฝส่ นั ติ ผยู้ อมมอบกายและหวั ใจตอ่ พระเจา้ คนไทยทน่ี บั ถอื ศาสนาอสิ ลาม
จงึ ไดช้ อื่ ว่า ชาวไทยมสุ ลิม
คำ�ว่า “อัลลอฮ์” พระนามเฉพาะของพระเป็นเจ้า หมายถึง พระนามของ
พระผู้เป็นเจ้าแห่งสากลจักรวาล ในศาสนาอิสลามนับถืออัลลอฮ์องค์เดียวเท่านั้น
ท่ีเป็นผู้บังเกิดโลกนี้และจักรวาลท้ังหลายมา พร้อมท้ังเป็นผู้ทรงบังเกิดสิ่งที่มีชีวิต
และส่งิ ทีไ่ ม่มีชีวิต สิง่ ท่เี รามองเห็นและส่งิ ท่ีเรามองไม่เห็น ทรงเปน็ ผสู้ ร้าง ทรงเป็น
ผคู้ วบคมุ ทรงเป็นผู้ดแู ล และเป็นผู้ทรงประทานสรรพส่ิงทง้ั หลายมา
คำ�ว่า “อัลกุรอาน” คัมภีร์ของศาสนาอิสลามซึ่งรวบรวมวะห์ยุ หรือ
พระดำ�รัสของอัลลอฮ์ ท่ีประทานแก่ศาสดามุฮัมมัด ผ่านมลาอิกะฮ์ที่มีนามญิบรีล
เพื่อเป็นสิ่งชี้ทางแก่มนุษยชาติ ถ่ายทอดเป็นภาษาอาหรับ ประทานคร้ังแรกในคืน
อลั ก็อดร์ คอื คนื ที่ส�ำ คัญที่สดุ ในเดอื นเราะมะฎอน
๗๕
หลกั การของอสิ ลาม ๒ ประการ คอื หลกั ศรทั ธา ๖ ประการ และหลกั ปฏบิ ตั ิ
๕ ประการ
หลักศรทั ธา ๖ ประการ คอื
๑. ศรทั ธาในพระเจ้า (อัลลอฮ์)
๒. ศรทั ธาในบรรดามลาอกิ ะฮ์ ของอลั ลอฮ์ หรือเทวฑตู
๓. ศรทั ธาในบรรดาคัมภีรข์ องอัลลอฮ์
๔. ศรัทธาในบรรดาศาสดาหรือนบี (ศาสดาหรือนบี แปลว่าผู้ประกาศหรือ
ว่าแจง้ ข่าว)
๕. ศรทั ธาในวนั ตัดสนิ และการเกดิ ใหมใ่ นปรโลก
๖. ศรทั ธาในกฎก�ำ หนดสภาวะแห่งธรรมชาติ แห่งชวี ติ
คําวา่ “ศรทั ธา” หมายถงึ ความเชอ่ื ถอื ความเลือ่ มใส
ส�ำ หรับหลักปฏิบตั ิ มี ๕ ประการ คอื
๑. การปฏิญานตนว่า “ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮ์ และท่านนบี
มฮุ ัมมดั คือ ศาสนฑตู ของพระองค”์
๒. การนมาซ หรอื นมสั การวนั ละ ๕ เวลา ค�ำ วา่ “นมาช” เปน็ ภาษาเปอรเ์ ซยี
แผลงเป็นภาษาไทยว่า “ละหมาด” เวลาท่ีกำ�หนดไว้ คือ ย่ํารุ่งก่อน
ดวงอาทิตย์ขึ้น บ่าย เย็น หวั ค่ํา และยามดกึ กอ่ นเทยี่ งคืน การละหมาด
อาจทําท่ีใดก็ได้แต่ต้องหันหน้าไปทางเมืองเมกกะประเทศซาอุดิอาระเบีย
๓. การถอื ศีลอด (๑ เดือน คอื เดอื นท่ี ๙ ของฮิจเราะหส์ กั ราช ตามปฏิทิน
ทางจันทรคติของอิสลาม ซง่ึ เรยี กเดือน “เราะมะฎอน”)
๔. การบรจิ าคซะกาต
๕. การประกอบพิธฮี จั ญ์ คือ การไปเยยี่ มหรือการเดินทางไปมกั กะฮ์
๗๖
วถิ ีชวี ิตของชาวมสุ ลิมในประเทศไทย
วิถีชีวิตของชาวมุสลิมส่วนใหญ่น้ันจะประกอบอาชีพด้านการเกษตร
โดยเฉพาะท่ีอยู่ในบริเวณภาคใต้สุดของประเทศไทย ซ่ึงส่วนใหญ่จะมีฐานะยากจน
กว่ามุสลมิ ทางภาคอื่นในดินแดนอ่ืน ๆ นอกจากนกี้ ย็ ังมีการประกอบอาชพี ทางการ
ประมงบ้างส่วนมุสลิมในภาคอื่น ๆ ส่วนใหญ่จะมีฐานะค่อนข้างดี เช่น ในภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ โดยส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพเป็นพ่อค้าเน้ือ
เป็นหลัก ในภาคกลางและในกรุงเทพมหานครชาวมุสลิมจะมีฐานะดี เป็นเจ้าของ
ท่ีดินที่มีราคาสูง และชาวมุสลิมส่วนใหญ่จะเลือกที่อยู่ติดกับแม่น้ํา เช่น แม่นํ้า
ลำ�คลองต่าง ๆ
ไม่ว่าจะมีบรรพบุรุษมาจากเชื้อสายใด แต่ชาวมุสลิมหลากหลายเชื้อสาย
ในประเทศไทยจะมีความรักใคร่กลมเกลียวกันระหว่างพี่น้องมุสลิม พ่ีน้องต่าง
มุสลิมและพ่ีน้องต่างศาสนา ลักษณะของความสัมพันธ์ในประเทศไทยเป็นส่ิงท่ี
น่ายกย่องมากก็คือในประวัติศาสตร์ของประเทศไทยจะเห็นความขัดแย้งกัน
ระหว่างศาสนาน้อยมากระหว่าง เพื่อนร่วมศาสนาและต่างศาสนา ชาวมุสลิม
กจ็ ะเขา้ กนั ไดเ้ ปน็ อย่างดี
เม่ือคนที่มาจากแหล่งต่าง ๆ เข้ามาพร้อมกับศาสนาอิสลาม ดังน้ันอิสลาม
จึงมาพร้อมกับพ่อค้าที่นำ�ศาสนาอิสลามมาด้วย และค่อย ๆ เปลี่ยนภูมิภาคเอเชีย
ตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะโลกท่ีเรียกว่าเป็นมาเลย์เวิร์ล (Malay World)
เป็นดินแดนที่นับถือศาสนาอิสลาม กฎเกณฑ์ทางศาสนาอิสลามซ่ึงส่วนใหญ่เป็น
ภาษาอาหรับ คัมภีร์อัลกุรอานได้รับการอ่านการสอนเริ่มในโรงเรียน มีโต๊ะครู
ในภาคใต้ โดยเฉพาะอยา่ งย่ิงในปตั ตานีจ�ำ นวนมาก
๗๗
เมอื่ คนมุสลิมไม่วา่ จะมาจากทใ่ี ดกต็ าม เม่อื เปน็ คนไทยแล้ว กจ็ ะอยู่ในสังคม
ได้อย่างมีความสุขและมีวัฒนธรรมของตัวเองคือวัฒนธรรมแบบอิสลาม เช่น
มีประเพณีการแต่งงาน ประเพณีรับประทานอาหารเป็นของตนเอง มีวัฒนธรรม
การอยู่ร่วมกันเป็นครอบครัวใหญ่ การให้เกียรติผู้ที่มีอายุในบ้าน ในประเทศ
อิสลามนั้นจะไม่มีสถานรับเล้ียงคนชราเพราะถือว่าคนมีอายุมากควรได้รับการดูแล
ไมถ่ กู ทอดทง้ิ ใหโ้ ดดเดย่ี วและเหงาเศรา้ อยหู่ า่ งไกลลกู หลาน ฉะนน้ั ในศาสนาอสิ ลาม
คนทมี่ อี ายสุ ามารถบอกใหล้ ูกหลานเชือ่ ฟงั ได้
ประเพณขี องอสิ ลาม
เม่ือมีคนเสียชีวิตชาวบ้านก็จะช่วยกันขุดหลุมศพ ป้ันลูกดินขนาดใหญ่
เพ่ือใส่ในหลุม จะมีผู้คนไปร่วมหลับนอนในบ้านที่มีคนเสียชีวิตและจะมีการจุดไฟ
สว่างไสวเพ่อื ให้เกียรติแก่ผ้เู สียชีวิตไปแล้ว ในการอาบน้าํ ศพผ้เู สียชีวิต ญาติท่เี ป็น
ชายหรือบุตรผูต้ ายจะเข้าไปชว่ ยอาบนํ้าศพให้พ่อ สว่ นบตุ รสาวหรือญาตทิ ่เี ป็นสตรี
จะเป็นผู้อาบนํ้าศพให้แม่ ด้วยการกดท้องให้ทุกส่ิงทุกอย่างในร่างกายออกมาทำ�ให้
สะอาด สำ�หรับผู้ชายเม่ือเสียชีวิตจะห่อด้วยผ้าขาว ๓ ผืน ส่วนผู้หญิงจะห่มด้วย
ผา้ ขาว ๕ ผนื ลกั ษณะเชน่ นไ้ี มว่ า่ จะเปน็ ภาคใต้ ภาคกลาง ภาคตะวนั ออกเฉยี งเหนอื
หรือภาคเหนือของไทย อิสลามจะมีวัฒนธรรมเหมือนกันหมด เป็นวัฒนธรรม
ท่ีมาจากคัมภีร์อัลกุรอาน ฉะน้ันคำ�ว่าอิสลามจึงมีความหมายกว้างขวาง สำ�หรับ
มุสลิมแล้วถือว่าอิสลามเป็นวิถีชีวิต ด้วยเหตุน้ีศาสนาจึงเป็นส่วนหนึ่งของอิสลาม
๗๘
ในคำ�สอนของศาสนาอิสลามท่ีกลายมาเป็นวัฒนธรรมกลายมาเป็นประเพณี
ของชาวมสุ ลมิ จะกลายเปน็ ประเพณเี ดยี วกนั วฒั นธรรมเดยี วกนั พธิ กี รรมทางศาสนา
คือ หลักปฏิบตั ิหลักศรัทธาเหมอื นกนั หมดส�ำ หรบั มสุ ลิมทุกภาคในประเทศไทย เช่น
หลักการถือศีลอดหลักเดียวกัน การไปประกอบพิธีฮัจญ์ในรูปเดียวกัน มีการออก
ทานบังคับหรือซะกาตร้อยละ ๒.๕ แบบเดียวกัน มีวันฉลองเหมือนกันหมด
ทั่วประเทศและท่ัวโลกคือฉลองก่อนสิ้นสุดพิธีฮัจญ์และหลังวันถือศีลอดครบแล้ว
ในสังคมมุสลิมถือว่ามัสยิดเป็นศูนย์รวมของจิตใจฉะน้ันมัสยิดจึงเป็น
สัญลักษณ์ที่สำ�คัญ เป็นสถานท่ีรวมตัวกัน ฉะน้ันจึงมีคำ�สอนของอิสลามว่าเวลา
ละหมาดไปทำ�ท่ีมัสยิด ความมุ่งหมายที่สำ�คัญเพื่อให้คนได้มารวมตัวกันให้รู้จักกัน
และอิสลามนั้นไม่มีการแบ่งสีผิว เผ่าพันธุ์ ถือว่าทุกคนเท่าเทียมกันในสายตาของ
พระเจ้า ไม่มีผู้หญิง ผู้ชาย ขาว - ดํา นิโกร ใครก็ตามท่ีเมื่อไปทำ�พิธีละหมาด
หากไปถึงก่อนจะยืนอยู่แถวหน้า ไม่มีการแบ่งชั้นวรรณะ ลักษณะเช่นน้ีทำ�ให้
ศาสนามีความเรียบง่าย และการสักการบูชาน้ันจะสักการะเฉพาะพระผู้เป็นเจ้า
พระองค์เดียว ลักษณะเช่นนี้ทำ�ให้อิสลามไม่มีส่ือกลาง ถ้าจะเข้าหาพระเจ้าก็ขอ
จากพระเจ้าโดยตรง ไม่ขอจากนักบุญหรือหลุมฝังศพ เหล่าน้ีคือวัฒนธรรมท่ี
เหมอื นกนั หมดเรียกว่าวัฒนธรรมอิสลาม
วัฒนธรรมอื่น ๆ ของศาสนาอิสลามอย่างเช่น การร้องเพลง อิสลามไม่ได้
ห้ามการร้องเพลง แต่มีขอบเขตกำ�หนดว่าดนตรีชนิดไหนจะใช้ได้ คำ�ร้องใดท่ีไม่ได้
ส่อในด้านการปลุกเร้าในด้านกามโลกีย์จะได้รับอนุญาต จะเห็นว่าภาคใต้ของไทย
โดยเฉพาะใน ๓ จังหวัดภาคใต้จะไม่มีคาราโอเกะหรือร้องรำ�ทำ�เพลง ซ่ึงถือว่า
เป็นการขัดกับแนวคิดของอิสลามซ่ึงรักความสงบ และมีดนตรีตามหลักการของ
ตนเอง
๗๙
วฒั นธรรมด้านการแต่งกายของชาวมุสลิม
สามารถแตง่ กายไดต้ ามหลกั การของศาสนาอสิ ลามทเ่ี รยี กวา่ ฮญิ าบ (Hijab)
สำ�หรับหลักของศาสนาอิสลามยํ้าว่าสำ�หรับผู้หญิงจะต้องปกปิดทุกส่วนในร่างกาย
ยกเว้นใบหน้าและฝ่ามือท่ีสามารถเปิดได้ ส่วนการแต่งกายของผู้ชายจะต้องปิด
ตั้งแต่สะดือถึงหัวเข่า สำ�หรับการตั้งชื่อของชาวไทยมุสลิมน้ัน สามารถต้ังช่ือเป็น
ภาษาอาหรับ อันเป็นภาษาศาสนาได้อย่างเต็มที่ ซึ่งรัฐธรรมนูญได้ให้โอกาสของ
ความเท่าเทียมกันในการใช้ชื่อท่ีมาจากภาษาอาหรับอันเป็นภาษาของศาสนา
อสิ ลามได้
คนไทยอิสลามในจังหวัดนครสวรรค ์
จากการสัมภาษณ์คุณกมล หนุ่มรักชาติท่ีเป็นอิหม่าม (ผู้นำ�ศาสนาอิสลาม
ประจำ�มัสยิด) มัสยิดปากีสถาน จังหวัดนครสวรรค์ โดยเกิดท่ีนครสวรรค์ ได้เล่า
ให้ฟังถึงประวัติของชาวมุสลิมที่ได้อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในจังหวัด นครสวรรค์ว่า
ในเร่อื งชาวมุสลมิ ชุดแรกที่ได้เข้ามาเมือ่ ๑๐๐ กวา่ ปีมาแลว้ โดยสมัยนั้นจะมาจาก
ประเทศอนิ เดีย ซง่ึ จะเป็นประเทศอนิ เดยี เพยี งอย่างเดยี วเทา่ นัน้ ไม่มปี ากีสถานหรือ
บังคลาเทศ โดยการแบ่งตามสายตระกูลจะเป็นตระกูลซายิบ เป็นเชื้อสายชีอะฮ์
ตระกูลแรกที่ได้อพยพเข้ามาในนครสวรรค์ ต่อมาได้แต่งงานอยู่กินกับคนไทยท่ีนี่
มีลูกมีหลานสืบเช้ือสายต่อกันมาเร่ือย ๆ จนกลายเป็นคนไทยไปจนเกือบหมด
โดยที่ตระกูลน้ีในปัจจุบันได้สูญหายไป และผู้อพยพชาวมุสลิมในรุ่นต่อ ๆ มาก็จะ
เป็นกลุ่มท่ีมาจากปากีสถาน ซึ่งถ้าสืบประวัติแล้วจะพบว่ากลุ่มผู้อพยพจาก
ปากีสถานนี้เองที่เป็นต้นตระกูลของพวกเราที่น่ี มาแต่งงานมีครอบครัวกับคนไทย
เหมือนกันแล้วก็มีลูกหลานสืบต่อกันมาโดยที่ประกอบอาชีพในช่วงแรกจะเป็นยาม
รกั ษาความปลอดภัย หรือทีช่ าวบา้ นเรียกกนั ว่า “แขกยาม” ตอ่ มาก็จะเมอ่ื มฐี านะ
ทางสงั คมท่ดี ีแลว้ ก็จะไม่ประกอบอาชพี นี้
๘๐
ภาพที่ ๑๐ คุณกมล หนุม่ รักชาติ ทเ่ี ปน็ อหิ ม่าม (ผนู้ �ำ ศาสนาอสิ ลามประจำ�มัสยิด)
สำ�หรับภาษาพูดจะเรียกว่า ปาชตู หรือ ปุคตุน ของชาวปาทานและปุชโต
(ภาษาของชาวปากีสถาน) พวกรุ่นหลัง ๆ จะพูดภาษาปุชโตปากีสถานท่ีต้อง
ไปเรียนที่น่ัน แต่สำ�หรับบางคนน้ันเรียนภาษาพูดกับพ่อแม่ท่ีอยู่ในเมืองไทยเลย
ส่วนบางคนทพ่ี ดู ไม่ได้กเ็ นอ่ื งมาจากการย้ายถิน่ บอ่ ย ท�ำ ใหไ้ มส่ ามารถพูดได้
ประเพณีนั้นจะเก่ียวพันกับศาสนาทั้งหมดการแต่งงานก็จะมีพิธีกรรมของ
ศาสนาอิสลามเข้ามา ความเป็นอยู่จะคล้ายกับธรรมเนียมประเพณีของคนไทยมาก
และด�ำ เนนิ ชวี ติ ดว้ ยศาสนาธรรมเนยี ม สว่ นใหญก่ จ็ ะเปน็ การตอ้ นรบั ผมู้ าเยย่ี มเยยี น
เม่ือมีแขกเดินทางมาหาจะมีการเตรียมอาหารให้กับแขก เพ่ือให้ได้รับความสะดวก
สบาย
พิธีกรรมการละหมาด ถูกกำ�หนดแน่นอนตายตัว คือ จะมีทั้งส้ิน ๕ เวลา
ในหนง่ึ วนั ทเ่ี ปน็ ภาคบงั คบั เวลาเชา้ เวลาบา่ ย เวลาเยน็ เวลาพลบคา่ํ และเวลาดกึ
โดยมีแผนในการละหมาดเอาไว้ให้พี่น้องมุสลิมที่จะต้องปฏิบัติ และการถือศีลอด
โดยในทุก ๆ ปี ศาสนิกชนมุสลิมจะปฏิบัติภารกิจถือศีลอดเดือนเราะมะฎอน
๘๑
เปน็ การทดสอบความศรทั ธาอนั แรงกล้าต่อองค์พระผ้เู ปน็ เจา้ ทป่ี ระทานพระบัญญตั ิ
แก่มวลมนุษย์ เพื่อฝึกฝนให้มวลมนุษย์รู้จักความอดกลั้นอดทนมีจิตใจหนักแน่น
และไม่ท้อถอยอย่างง่ายดายต่อความยากลำ�บาก เม่ือเข้าเดือนเราะมะฎอน
ชาวมุสลิมจะเริ่มถือศีลอดตลอดช่วงเดือนน้ีเป็นเวลา ๒๙ - ๓๐ วัน ตามจันทรคติ
เปน็ การปฏิบตั ติ นตามบทบัญญตั ขิ อ้ ท่ีสีใ่ นหลักปฏิบตั ศิ าสนบญั ญัติ ๕ ประการ คือ
๑. การกล่าวปฏิญาณตนว่าไม่มีพระเจ้าอ่ืนใดนอกจากอัลเลาะห์ (ซม.) และ
นบีมฮู ัมมัด (ซ.ล.) เปน็ ศาสนทตู ของพระองค์
๒. ด�ำ รงละหมาด
๓. การบรจิ าคทาน (ซะกาต)
๔. ถอื ศีลอดในเดอื นเราะมะฎอน
๕. ประกอบพธิ ฮี ัจย์ทีน่ ครมกั กะฮ์
การถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอนน้ันมีวัตถุประสงค์เพ่ือให้ผู้ถือศีลอด
ได้สัมผัสและรับรู้ถึงความทุกข์ยากลำ�บาก ได้เรียนรู้ถึงอุปสรรคต่าง ๆ ของการ
ดำ�เนินชีวิต และเม่ือได้สัมผัสได้รับรู้ถึงความทุกข์ยากแล้ว การถือศีลอดจึงส่งผล
สืบเน่ืองให้ผู้ถือศีลน้ันรู้จักอดกล้ันอดทนต่อความทุกข์ยากต่าง ๆ ด้วยความ
พากเพียรและสติปัญญากล่าวคือฝึกฝนจิตใจของชาวมุสลิมทุกคนให้เป็นผู้มีสติ
หนักแน่น มจี ติ ใจอดทนอดกล้นั ท้งั ต่อความหวิ โหย ตอ่ ความโกรธ ความปรารถนา
แหง่ อารมณ์ และสง่ิ ยว่ั ยวนนานบั ประการ ซง่ึ ผลทไ่ี ดจ้ ากความเพยี ร คอื การพฒั นา
ตนเองไปในทางทด่ี ี มีความใฝ่สูงด้านจิตใจอย่ตู ลอดเวลา จิตสงบ ไม่ฟงุ้ ซ่าน และ
พร้อมท่ีจะเผชิญและฝ่าฝันอุปสรรคต่าง ๆ นานามุ่งสู่ความสำ�เร็จ การถือศีลอด
ในเดือนเราะมะฎอนของชาวมุสลิมจึงมีคุณประโยชน์อย่างย่ิงต่อการดำ�เนินชีวิต
ต่อหน้าที่การงาน และกิจวัตรประจำ�วันของชาวมุสลิม นอกเหนือไปจากความ
ยำ�เกรง และศรัทธาอย่างแรงกลา้ ท่ีจะได้ใกล้ชิดพระผู้เป็นเจา้
๘๒
โดยเม่ือหลังจากการถือศีลอดแล้วจะมีวันสำ�คัญอีกวัน คือ วันละศีลอด
วันตรษุ หลงั จากน้นั ประมาณ ๗๐ วนั วนั ตรษุ อดี หรอื วันอดี เปน็ วนั เฉลมิ ฉลอง
ในศาสนาอิสลาม โดยในวันนี้จะมีกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การแต่งกายให้สะอาด
เรยี บร้อย ร่วมกันทำ�พิธลี ะหมาดวนั อดี ทสี่ นามหรือในมัสยิด เย่ียมเยยี นญาตพิ นี่ ้อง
รับประทานอาหารร่วมกัน เป็นตน้
มุสลมิ ท่พี ูดภาษามลายูจะเรยี กวนั นีว้ ่า ฮารรี ายอ (ภาษามลายปู าตานี) หรอื
Hari Raya ในภาษามลายูกลาง แปลว่า วนั ใหญ่ หรือ วันอดี (ทับศพั ทจ์ ากภาษา
อาหรับ) ศาสนพิธีตรุษอิดิลฟิตรี ปฏิบัติกันตามหัวเมืองท่ัว ๆ ไป วันอีดมี ๒ วัน
ในแต่ละปคี ือ
อดี ลุ ฟฏิ ริ (สะกดไมม่ าตรฐาน อดี ลิ ฟติ ร)ี ในวนั ท่ี ๑ เชาวาล จะมเี ลย้ี งอาหาร
ให้แก่ญาติมิตร หลังจากนมาซอีดอีดุลอัฎฮา ในวันที่ ๑๐ ซุลฮิจญะหฺ จะมีการ
เชอื ดสตั วพ์ ลี (กรุ บาน) วนั ตรษุ เปน็ วนั เชอื ดสตั วเ์ พอ่ื แจกเนอ้ื ทง้ั หมด โดยจะไมข่ าย
แมแ้ ตช่ นิ้ เดียว
“อีด” หรือวาระแห่งการเฉลิมฉลองทางศาสนาตามท่ีท่านศาสดามุฮัมมัด
(ซ.ล) ไดป้ ระกาศไว้ มี ๒ วนั คอื อดี ลิ ฟติ รแ์ิ ละอดี ลิ อฎั ฮา อดี ลิ ฟติ ร์ิ ตรงกบั วนั ท่ี ๑
เดือนเชวาล (เดือนท่ี ๑๐ ตามปฏิทินอิสลาม) เป็นโอกาสเฉลิมฉลองเนื่องจาก
เสร็จส้ินจากการถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอน ท่ีเรียกว่าอีดิลฟิตร์ิเน่ืองจากมี
กิจกรรมสำ�คัญควบคู่กับอีดน้ี คือ “ซะกาตฟิตเราะห์” ซึ่งมุสลิมทุกคนที่มีชีวิตอยู่
ในวันอีดและมีฐานะที่จะทำ�ได้ต้องบริจาคทานเป็นอาหารหลักประจำ�ถ่ิน (ถ้าเป็น
ท่เี มอื งไทยกบ็ ริจาคเปน็ ข้าวสาร) เวลาบริจาคทีด่ ีท่ีสดุ คอื กอ่ นละหมาดอีด
๘๓
พธิ ีการแต่งงาน ทางภาษาอิสลามจะเรียกวา่ นกิ ะห์ เป็นพิธแี ตง่ งานของผทู้ ่ี
นบั ถอื ศาสนาอิสลาม เรม่ิ ต้นเมอื่ ชายหญงิ ตกลงใจกันและฝา่ ยชายจะสง่ ผ้ใู หญ่ไป
สขู่ อเรียกว่า มาโซะมินตะ หรอื มนแี น โดยการสขู่ อน้จี ะตกลงกันระหว่างผู้ใหญ่ท้ัง
สองฝา่ ย เก่ียวกบั เร่อื งมะฮวั สินสอดทองหม้ัน และตกลงเร่ืองกำ�หนดวนั แตง่ งาน
(นกิ ะห์) การท�ำ พิธนี กิ ะห์ จะตอ้ งมีองค์ประกอบทสี่ �ำ คัญ คอื
๑. ผูป้ กครองของฝ่ายเจา้ สาว เรียกว่า วะลี คือ ชายทมี่ สี ทิ ธใิ นการประกอบ
พิธีนิกะห์ให้แก่หญิง ซ่ึงจะต้องเป็นชายท่ีนับถือศาสนาอิสลามท่ีไม่เป็น
คนวิกลจรติ และไม่อยูใ่ นระหวา่ งประกอบพิธีฮจั ญ์
๒. ผู้ทำ�พิธีนิกะห์ ผู้ปกครองอาจทำ�พิธีนิกะห์เองหรือมอบให้โต๊ะอิหม่าม
โต๊ะครูก็ได้
๓. เจ้าบา่ ว
๔. พยาน ๒ คน ตอ้ งเป็นชายมสุ ลมิ ทีเ่ ช่อื ถือได้
๕. ผูอ้ บรมหรอื อ่านคุฎะฮน์ กิ ะห์
๖. มะฮวั คอื สินสอดทองหม้ันทจี่ ะมอบแกเ่ จา้ สาว
การไว้เครา ก็ถือว่าเป็นส่วนหน่ึงจากซุนนะฮฺของท่านนบีท่ีท่านได้ทำ�ไว้
เป็นรูปแบบและกำ�ชับเอาไว้ อยากที่จะนำ�เสนอให้ได้รับรู้ถึงความสำ�คัญของการ
ไว้เครา และผลท่ีได้รับของผู้ที่ปฏิบัติตามและผู้ท่ีละท้ิง และอยากท่ีจะให้พ่ีน้อง
ได้มองเห็นซ่ึงความสำ�คัญของซุนนะฮฺของท่านนบี ทุกอย่างไม่ว่าส่ิงนั้นจะเป็นเร่ือง
การไว้เคราหรือวา่ เร่ืองการตอ่ ต้านการทำ�เมาลิดนบี ฯลฯ เพราะจริง ๆ แลว้ ผทู้ อี่ ้าง
ตนว่าเป็นผู้ปฏิบัติตามและรักษาไว้ซึ่งซุนนะฮฺของท่านนบี จะขะมักเขม้นในการ
ปฏิบัติตามแบบอย่างซุนนะฮฺของท่านนบีอันบริสุทธิ์ โดยเขาน้ันจะไม่คำ�นึงเลือก
เอาเฉพาะที่เขาถูกใจเท่าน้ัน การไว้เคราถือว่าเป็นการน้อมรับคำ�ส่ังของอัลลอฮฺ
(ซม.)
๘๔
คนไทยเชอื้ สายไทดำ�ในนครสวรรค ์
ชาวไทยเชื้อสายไทดํา นับเป็นชนชาติที่มีความเป็นมาซึ่งมีการสืบสาน
วัฒนธรรมและรักษาภูมิปัญญาของตนเอง โดยชาวไทยเชื้อสายไทดำ�เป็นชน
กลุ่มหนึ่งท่ีมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับคนไทย ซ่ึงได้เข้ามาต้ังถ่ินฐานอยู่ปะปนกัน
สำ�หรับความเป็นมาของชาวไทยเชื้อสายไทด�ำ นับตง้ั แตส่ มยั ทีม่ กี ารแย่งชงิ ดินแดน
แคว้นต่าง ๆ ทางตอนเหนือของประเทศลาว (และบริเวณพื้นท่ีบางส่วนของ
ประเทศเวยี ดนาม) ซึ่งเรยี กว่าแควน้ ๑๒ จไุ ทย ชาวไทดำ�อพยพมาจากแควน้ พวน
สาธารณรฐั ประชาธปิ ไตยประชาชนลาวในปจั จบุ นั (ประตสู อู่ สี านบา้ นเฮา, ๒๕๖๐)
ในบางข้อมูลจะบอกถึงว่าเป็นกลุ่มชาวไทกลุ่มหนึ่งท่ีมีถิ่นฐานดั้งเดิมอยู่ในเขต
สิบสองจุไทเดิม หรือบริเวณลุ่มแม่น้ําดำ�และแม่น้ําแดงในเวียดนามตอนเหนือ
ซึ่งเป็นถ่ินท่ีอยู่ด้ังเดิมของชาวไทดำ�และชาวไทขาว ปัจจุบันสิบสองจุไท คือ
จังหวัดเดียนเบียนฟูของเวียดนาม มีเขตติดต่อกับประเทศลาว คือ แขวงพงสาลี
ปจั จบุ นั ชอ่ื ทช่ี าวพน้ื เมอื งใชเ้ รยี กตนเองทจ่ี งั หวดั เดยี นเบยี นฟวู า่ “ไตด�ำ ” (วกิ พิ เี ดยี ,
๒๕๖๒)
แคว้นสิบสองจุไทน้ันมีบันทึกในพงศาวดารเมืองไลว่า “เมืองที่พวกผู้ไทดำ�
อยู่นน้ั คือ เมืองแถงหนงึ่ เมืองควายหนึ่ง เมอื งตุงหนึ่ง เมืองมว่ ยหน่ึง เมอื งลาหน่ึง
เมืองโมะหนึ่ง เมืองหวัดหน่ึง เมืองซางหนึ่ง รวมเป็น ๘ เมือง เมืองผู้ไทขาว
๔ เมอื ง ผู้ไทดำ� ๘ เมือง เปน็ ๑๒ เมอื ง จึงเรยี กว่าเมืองสบิ สองผ้ไู ท แตบ่ ัดนีเ้ รยี ก
เขตสิบสองจุไท บริเวณลุ่มแม่น้ําดำ�และแม่นํ้าแดงในเวียดนามภาคเหนือ ซึ่งเป็น
ถน่ิ ทอ่ี ยขู่ องไทดำ� ไทแดง และไทขาว เมื่อฝรงั่ เศสเข้ามาปกครองเวียดนามไดเ้ รียก
ชนเผ่าที่อาศัยอยู่ลุ่มแม่นํ้าดำ�ว่า ไทดํา ท่ีเรียกว่าไทดำ�เพราะชนชาติดังกล่าวนิยม
สวมเสื้อผ้าสดี ำ�ซง่ึ ย้อมด้วยตน้ หอ้ มหรือคราม แตกต่างกับชนเผ่าท่อี ยู่ใกล้เคียง
๘๕
ชาวไทด�ำ เขา้ มาในประเทศไทยเมอ่ื ปี พ.ศ. ๒๔๑๗ เนอ่ื งมาจากเกดิ เหตกุ ารณ์
พวกจีนฮ่อยกกำ�ลังมาตีเมืองเชียงขวาง ซ่ึงเป็นหัวเมืองสำ�คัญในแคว้นพวน
ทางหลวงพระบางขอให้ฝ่ายไทยส่งกองทัพไปช่วยเหลือโดยมีพระยาภูธราภัยเป็น
แมท่ ัพคมุ กองทพั ไปปราบจนี ฮอ่ ผลการปราบจนี ฮอ่ คร้ังน้ันไทยชนะ เม่ือเหตกุ ารณ์
สงบไทยได้ใช้นโยบายอพยพผู้คนจากแคว้นพวนเข้ามายังประเทศไทยด้วย
ชาวไทด�ำ ถกู กวาดต้อนมาถงึ กรุงเทพฯ โดยท�ำ มาหากินตามท่ตี า่ ง ๆ เชน่ เพชรบรุ ี
ราชบรุ ี ลพบรุ ี สพุ รรณบรุ ี และพษิ ณโุ ลก ภายหลงั พระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้
เจา้ อย่หู ัว โปรดเกลา้ ฯ ใหไ้ ปตง้ั หลักแหล่งทบ่ี ้านหม่ี คลองสนามแจง จังหวัดลพบุรี
หลงั จากนน้ั ประมาณ ๘ ปี เจา้ เมอื งบรขิ นั ธม์ าทลู ขอราษฎรกลบั ไปยงั เมอื งเชยี งขวาง
ตามเดิม โดยเริ่มอพยพลงไปตามเส้นทางเร่ือย ๆ จนได้มาพักท่ีบ้านน้ํากอใหญ่
อำ�เภอหลม่ เก่า จงั หวดั เพชรบรู ณ์ ในขณะเดยี วกนั ฝรัง่ เศสก็เขา้ ครอบครองดินแดน
ล้านช้างและได้ขอให้ไทยส่งคนอพยพคืนสู่ภูมิลำ�เนาเดิม ชาวไทดำ�บางส่วนเห็นว่า
ต้องบุกป่าฝ่าดงเดินทางมาด้วยความยาก ลำ�บาก จึงขอหยุดต้ังหลักแหล่งที่บ้าน
นาปา่ หนาด อ�ำ เภอเชียงคาน จงั หวัดเลย
ส่วนชาวไทดำ�อีกกลุ่มหน่ึงได้เดินทางข้ามแม่น้ําโขงไปยังบ้านนํ้ากุ่ม
แขวงเวียงจันทน์ แต่ในขณะน้ันเขตเวียงจันทน์มีปัญหาการเจรจากับฝร่ังเศส
ชาวไทดำ�จึงข้ามแม่น้ําโขงย้อนกลับมาต้ังหมู่บ้านท่ีตาดซ้อ ตำ�บลเขาแก้ว
อำ�เภอเชียงคาน จังหวัดเลย อยู่ได้ระยะหน่ึงจึงอพยพมาต้ังถิ่นฐานท่ีบ้านนาเบน
แต่ภูมิประเทศไม่เหมาะแก่การดำ�รงชีพจึงได้อพยพมาตั้งหลักแหล่งถาวรท่ีหมู่บ้าน
นาป่าหนาด ตำ�บลเขาแก้ว อำ�เภอเชียงคาน จังหวัดเลยด้วยกัน เพราะสภาพเป็น
ที่ดอนนํ้าท่วมไม่ถึงมีป่าเขาลำ�เนาไพรคล้ายถิ่นฐานเดิม เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๘ โดยมี
จำ�นวนครวั เรือนในขณะนน้ั ๑๕ หลัง ปจั จบุ ันชาวไทด�ำ มีจ�ำ นวน ๘๒๕ ครวั เรอื น
โดยส่วนใหญ่ประกอบอาชพี ในทางการเกษตรกรรม
๘๖
ภาพที่ ๑ จงั หวดั เดยี นเบียนฟู ประเทศเวียดนาม
ที่มา : “ชาวไทด�ำ .” โดย วิกพิ เี ดยี , (๒๕๖๒, เมษายน ๑๙), เข้าถึงไดจ้ าก https://th.wikipedia.org/wiki/ชาวไทดำ�
นอกจากน้ียังมีชาวไทดํา ไทยทรงดำ�หรือลาวโซ่งทางด้านจังหวัดเพชรบุรี
ซึ่งได้เดินทางเข้ามาสู่ประเทศไทยตั้งแต่สมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี โดยอพยพมาจาก
เมืองแถงประเทศเวียดนาม ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๑ และรัชกาลที่ ๓ แห่งกรุง
รัตนโกสนิ ทรโ์ ปรดเกลา้ ฯ ใหล้ าวโซง่ ล่องเรือมาอยทู่ ต่ี ำ�บลท่าแรง้ อำ�เภอบ้านแหลม
จังหวัดเพชรบุรี โดยลาวโซ่งยังได้ตั้งถ่ินฐานกระจัดกระจายอยู่ในจังหวัดเพชรบุรี
และจงั หวัดใกล้เคยี งอกี ด้วย
ชาวไทดำ�มีวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง เช่น ภาษาพูดและ
ภาษาเขยี น อาชพี การแตง่ กาย ขนบธรรมเนยี มประเพณี พธิ กี รรมตา่ ง ๆ การด�ำ รง
ชีวิตประจำ�วันยังคงผูกพันกับประเพณี พิธีกรรม และความเชื่อดั้งเดิมอยู่เป็น
อันมาก
๘๗
ลักษณะทางสังคมของไทดำ�ยังคงรักษาขนบธรรมเนียมจารีตประเพณีและ
พิธีกรรมไว้อย่างเคร่งครัด ซ่ึงเป็นปัจจัยสำ�คัญในความเป็นปึกแผ่นและการดำ�รง
เอกลกั ษณข์ องกลุ่มชาติพันธุ์
การแต่งกายแบง่ เปน็ ๒ ประเภท คอื เสอื้ ผ้าส�ำ หรบั ใชใ้ นชีวติ ประจำ�วนั กบั
อีกชนิดหนึ่ง คือ ส�ำ หรับใส่ในงานประเพณีหรืองานบุญต่าง ๆ ซงึ่ ส่วนใหญ่ท้ังชาย
และหญิงมักนิยมใช้ผ้าฝ้ายทอมือย้อมคราม สำ�หรับเส้ือผ้าที่ใส่ในพิธีกรรมจะจัดทำ�
ข้ึนเป็นพิเศษมีสีดำ�ตกแต่งด้วยผ้าไหมชิ้นเล็ก ๆ ส่วนใหญ่มีเครื่องประดับเป็นเงิน
ผู้หญิงมี “ผ้าเปียว” คล้องคอ ส่วนเด็ก ๆ จะมีหมวกคล้ายถุงผ้าปักไหมหรือด้าย
สวยงาม เรียกว่า “ม”ู
การใช้ผ้าซ่ินเป็นเอกลักษณ์ของหญิงเผ่าไทดํา ส่วนใหญ่จะนุ่งผ้าท่ีทอกัน
ขึ้นมาใช้เองตั้งแต่อดีตถึงยุคปัจจุบัน ชาวลาวโซ่งก็เช่นกัน ทุกครัวเรือนผู้หญิงจะ
เป็นผู้ทอผ้าข้นึ มาใช้เอง เป็นผา้ ฝา้ ยทอมือประกอบไปดว้ ยเชิงบนซนิ่ เปน็ “หวั ซนิ่ ”
“ตัวซิ่น” เชิงล่างซึ่งเป็น “ตีนซิ่น” ย้อมครามจนเป็นสีครามเข้มเกือบดำ�นำ�มาทอ
สลับลวดลายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของลาวโซ่ง ผู้หญิงในชีวิตประจำ�วันจะนุ่งซิ่น
“ลายแตงโมฎ” หรือ “ลายชะโด”
ภาพท่ี ๒ การแตง่ กายของชาวไทดำ�
๘๘
ลกั ษณะเฉพาะของผา้ ลายแตงโม แบ่งออกเปน็ ๓ ส่วน
สว่ นที ่ ๑ คือ หัวซิน่ จะเป็นสีครามไมม่ ลี วดลายกว้าง ๑๒ น้วิ
ส่วนท่ี ๒ จะเปน็ ลายโดยใชเ้ ทคนิคการทอขดั แต่พเิ ศษทว่ี ่าเปน็ ฝ้ายแกมไหม
คอื ใชไ้ หมสีแดงเป็นเส้นยนื ทอเสน้ พงุ่ ดว้ ยฝา้ ยสีครามสลับสผี ้าอ่อนเปน็ ทางเลก็ ๆ
คล้ายลายบนผลแตงโม เวลาทอเสรจ็ จะมองไมเ่ ห็นไหมสแี ดงเลย
ส่วนที ่ ๓ กว้างประมาณ ๑ ฟุต มีลวดลายสีขาวสองสามริ้ว เย็บติดเป็น
ตีนซน่ิ ถ้าสามีตายต้องเลาะตีนซนิ่ นอี้ อกเพ่อื ไวท้ กุ ข์
การนุ่งซิ่นลายแตงโมจะต้องจับขอบบนของผ้านุ่งทั้งซ้ายและขวามาทบ
เกยกันตรงกลาง และพับขอบผ้าลงมาโดยไม่ต้องคาดเข็มขัดผ้าก็ไม่หลุด ตำ�นาน
ผา้ ซน่ิ ลายแตงโมเปน็ ค�ำ บอกเลา่ สบื ตอ่ กนั มา การทผ่ี า้ ซน่ิ ลายแตงโมใชเ้ สน้ ยนื สแี ดง
เปน็ หลักเสน้ พุง่ เป็นสดี ำ�หรอื ครามเขม้ เกอื บดำ�น้ันเรอ่ื งราวกม็ ีอยู่ว่า
“เป็นธรรมเนียมมาตั้งแต่โบราณกาลผู้ชายท่ีเป็นสามีเป็นผู้นำ�ของครอบครัว
มีหน้าท่ีออกจากบ้านไปเข้าป่าหักร้างถางพงเป็นแหล่งทำ�มาหากินทำ�ไร่ไถนา
หาเผอื กหามนั ปลอ่ ยใหภ้ รรยาอยกู่ บั เหยา้ เฝา้ เรอื นจนกวา่ สามจี ะกลบั บา้ น สาวเจา้
จะนั่งทอผ้าไปใจก็ประหวัดนึกถึงสามีที่เข้าป่าหลายวัน อันความรักความคิดถึง
ย่อมจะมีอยู่ในตัวของทุกคนมันว่ิงแล่นอยู่ทุกลมหายใจยิ่งกว่ากระสวยที่พุ่งผ่าน
เป็นเส้นขัดให้เป็นผืนผ้าในกี่ทอผ้าที่กำ�ลังทออยู่ สาวเจ้าจึงใช้สีแดงย้อมเส้นยืนซ่ึง
เป็นสีที่ใช้แทนหัวใจที่โหยหาอาวรณ์ในคนรักท่ีจากกัน ส่วนเส้นพุ่งใช้สีครามเข้า
เกือบดำ�แทนตัวเองใช้ทอทับเป็นเส้นขัดให้เกิดเป็นเน้ือผ้าโดยซ่อนเส้นยืนสีแดง
เอาไว้ เม่ือเวลานุ่งผ้าซ่ินลายแตงโมคอยสามีต้องแสงแดดแวววับของเหลือบสีแดง
สะท้อนออกมา เสมือนหนึ่งเป็นส่ือสัญญาณแห่งความรักท่ีมีต่อกันแม้จะเห็นเพียง
ราง ๆ ก็ตาม ที่เป็นเช่นนี้ก็เพ่ือปกปิดความอายท่ีเป็นคุณสมบัติของหญิงสาว
ชาวลาวโซ่งโดยแท้”
๘๙
ผ้าซิ่นลายแตงโมจะต้องนำ�มาต่อหัวซิ่นสีครามเข้มเกือบดํา ส่วนตีนซิ่น
เย็บต่อให้มีความหนาเพื่อป้องกันไม่ให้ชายผ้าซ่ินขาดง่าย โดยหลักการของการ
ทอผ้าทั่ว ๆ ไป เส้นยืนจะมขี นาดเลก็ กว่าเสน้ พุ่ง การทอผา้ แบบลาวโซง่ จงึ สามารถ
ท่ีจะซ่อนสีแดงของเส้นยืนเอาไว้อย่างมิดชิด แต่ไม่สามารถจะซ่อนอณูของสีท่ี
เหลือบเอาไว้ เมื่อเวลาต้องแสงแดดจะมีสีของเส้นยืนสะท้อนออกมาให้เห็นน่ีแหละ
ภูมปิ ญั ญาพ้ืนบา้ นของชาวไทด�ำ
ตำ�นานซ่ินนางหาญเป็นชื่อเรียกซิ่นตาหม่ีของชาวบ้านนาป่าหนาด
จังหวัดเลย เป็นซิ่นท่ีทอลักษณะเดียวกับซ่ินตาหม่ี แต่มีการขีดค่ันลายมากกว่า
ซิ่นตาหมี่ โดยที่ซ่ินนางหาญน้ีมีตำ�นานเล่ามา คือ หญิงไทดำ�ท่ีทอ มีพี่น้องที่
เปน็ หญิง ๓ คน หญิงคนแรกเปน็ ผ้คู ดิ คน้ การมัดลายและทำ�การทอ แต่ทอยงั ไม่ทนั
แล้วเสร็จก็เสียชีวิตลง คนท่ีสองจึงทอต่อ ในระหว่างทอก็เสียชีวิตตามกันไปเป็น
คนท่ีสอง หญิงคนท่ีสามจึงได้บอกเล่าผีเรือนว่า หากทอซิ่นผืนนี้สำ�เร็จ เมื่อมีการ
เสนเรอื นจะใสส่ �ำ รบั ใหจ้ งึ ท�ำ ใหห้ ญงิ คนทส่ี ามทอซน่ิ ผนื ดงั กลา่ วไดส้ �ำ เรจ็ ตง้ั แตน่ น้ั มา
ชาวไทดำ�จึงนิยมใช้ซิ่นตาหม่ี หรือซ่ินนางหาญ ประกอบในพิธีการเสนเรือนมา
จนถึงปจั จุบนั ค�ำ วา่ “นางหาญ” ชาวบ้านนาปา่ หนาดบอกวา่ หมายถึง ความกลา้
ความเด็ดเด่ียว ซ่งึ น่าจะหมายถงึ หญงิ ในต�ำ นานคนที่สาม ท่ีกล้าทอซน่ิ ผนื ดังกลา่ ว
ไดจ้ นสำ�เร็จอย่างเดด็ เดยี่ วนน่ั เอง
เส้ือก้อมเป็นเสื้อสีดำ�ด้วยการย้อมคราม ตัดเย็บด้วยมือฝีเข็มละเอียด
จนสามารถสวมได้ท้ังสองด้าน ลักษณะเป็นเสื้อคอกลมผ่าหน้าแขนกระบอกเข้ารูป
ตดิ กระดมุ เงินถมี่ ากประมาณ ๙ - ๑๑ เม็ด ถ้าฐานะดีก็จะติด ๒ แถว กระดุมนนั้
ทำ�ด้วยเงินเก่าตีด้วยฝีเข็มเป็นยอดแหลมมีลายกลีบบัวติดห่วง ปัจจุบันหายากมาก
เส้ือก้อมเป็นเส้ือที่ใช้คู่กับผ้าซิ่นเป็นชุดลำ�ลองหรือชุดประจำ�เผ่าของชาวลาวโซ่ง
ซง่ึ ผหู้ ญิงใช้สวมไปทกุ แหง่
๙๐
ทรงผมของชาวไทดำ�หรือลาวโซ่ง เป็นอีกเอกลักษณ์หน่ึงที่มีความโดดเด่น
กล่าวคอื ทรงผมนีม้ ีชอ่ื เรียกว่า “ปั้นเกลา้ ” โดยลักษณะของป้ันเกล้าจะบ่งบอกถึง
อายแุ ละสถานะภาพทางสังคม ซ่ึงมีชื่อเรียกแตกต่างกันดังนี้
- หญิงอายุ ๑๓ - ๑๔ ปี ผมยาวประไหล่ แต่ยังรวบไม่ได้ทรงน้ี เรียกว่า
เออ้ื ม ไหล่ หรอื เอือ้ มไร
- หญิงอายุ ๑๔ - ๑๕ ปี ผมเร่ิมยาวมากขึ้นจะพับปลายผมม้วนข้ึนแล้วใช้
หวีสับไวต้ รงทา้ ยทอยทรงนี้ เรยี กวา่ ผมสบั ป้นิ
- หญงิ อายุ ๑๕ - ๑๖ ปี ผมยาวพอมดั ไดบ้ า้ งแลว้ รวบผมมดั เปน็ กระจกุ และ
ทำ�เหมอื นกระบงั ไว้ทางด้านหน้า ปลอ่ ยหางผมไว้ดา้ นหลังทรงนี้ เรียกวา่ ผมจกุ ตบ๊
- หญิงอายุ ๑๖ - ๑๗ ปี ผมยาวพอสมควรแล้ว รวบโดยเอาผมผูกเป็นปม
เหมอื นผูกเชอื กไวด้ ้านหลงั ปล่อยชายผมลงขา้ งขวาทรงน้ี เรียกวา่ ผมขอดกระตอ๊ ก
- หญิงอายุ ๑๗ - ๑๘ ปี เกล้าผมโดยผูกลักษณะคล้ายโบว์ ไว้ด้านซ้าย
ปลอ่ ยชายผมเปน็ หางไวด้ ้านหลัง ทรงนเ้ี รยี กวา่ ปนั้ เกลา้ ขอดซอย
- หญิงอายุ ๑๙ - ๒๐ ปีข้ึนไป ถือว่าเป็นสาวเต็มตัว ผมทรงนี้ต้องใช้ผม
ยาวมากจึงจะเกล้าได้โดยเกล้าผมตลบไว้กลางศีรษะม้วนชายสอดเข้าข้างใน ใช้ไม้
สอดขดั ไว้เพื่อไมใ่ หห้ ลุด ทรงนี้ เรียกว่า ปั้นเกล้าต่วง และเม่อื พอ่ แม่ หรือสามีตาย
หญิงน้ันต้องไว้ทุกข์โดยป้ันเกล้าให้ตกค่อนไปทางด้านหลังไม่ยกสูงทรงนี้ เรียกว่า
ป้ันเกล้าตก๊ หรือทรงแมห่ ม้าย
๙๑
การละเล่นของชาวไทดำ�
ชาวไทดำ�หรือลาวโซ่งมีอาชีพหลัก คือ การทำ�นา หลังจากเก็บเกี่ยวข้าว
เสร็จแล้วช่วงเดือน ๕ - ๖ เป็นช่วงพักผ่อน ชายหนุ่มก็จะเดินทางไปเท่ียวยัง
ต่างหมู่บ้านเพ่ือพูดคุยและทำ�ความรู้จักกับหญิงสาวโดยมีการใช้เสียงแคนเป็นสื่อ
ประเพณีอันนี้เราเรียกว่า “อิ้นกอนฟ้อนแคน” จะเริ่มด้วยการโยนลูกช่วง เมื่อรับ
ลูกช่วงได้ก็จะมาเจรจาของสิ่งของเป็นที่ระลึกแก่กัน ชายมักขอสไบของหญิง
เป็นสื่อแทนรักหญิงจะขอผ้าขาวม้าเป็นท่ีระลึกหลังจากน้ันก็จะเป็นการละเล่น
ฟ้อนแคน ซึ่งเพลงท่ีใช้ในการฟ้อนแคนมีอยู่หลายเพลง ลักษณะลีลาร่ายรำ�
เป็นไปตามจังหวะและทำ�นองของเสียงแคน “แคนย่าง” เป็นจังหวะค่อนข้างช้า
การร่ายรำ�อ่อนช้อยงดงาม “แคนแล่น” เป็นเพลงจังหวะเร็ว การร่ายรำ�เป็นการ
หยอกล้อสนุกสนาน “แคนแกร” เป็นเพลงจังหวะปานกลางการร่ายรำ�อ่อนช้อย
สลบั การร�ำ อย่กู ับท่โี ดยยอ่ และโยต้ วั ตามจังหวะ
ฮตี คองประเพณี
ประเพณีการเกิดนับตั้งแต่ท้องจนถึงวันคลอดผู้เป็นแม่คงทำ�งานตามปกติ
ไมม่ กี ารพกั ผอ่ น โดยเชอ่ื วา่ การออกใชแ้ รงงานนน้ั จะท�ำ ใหค้ ลอดลกู งา่ ย เมอ่ื มอี าการ
เจ็บท้องก่อนคลอดจะทำ�พิธีเซ่นผีเรือน เรียกว่า “วานขวัญผีเรือน” การประกอบ
พิธีกรรมให้หมอขวัญเป็นผู้ทำ�พิธีฆ่าไก่ ๑ ตัว เซ่นให้ผีญาติพี่น้องที่ตายทั้งกลม
หรือตายในขณะคลอดลูกกินก่อน เพื่อไม่ให้มารังควาญรบกวนในขณะคลอด
เม่ือเด็กคลอดพ้นจากครรภ์มารดาแล้ว ก็จะตัดสายรกซึ่งเรียกว่า “สายแห่”
ยาวประมาณ ๒ ข้อมือ อาบนํ้าเด็กน้อยด้วยน้ําอุ่นแล้วนำ�ไปวางไว้ในกระด้ง
รอจนกระทั่งสายรกหลดุ ออกมา
๙๒
เมื่อสายรกหลุดพ้นออกจากครรภ์แล้วนำ�ไปล้างบรรจุใส่กระบอกไม้ไผ่
ท่ีเตรียมไว้ แล้วนำ�ไปแขวนที่คบไม้ใหญ่ในป่าบั้งแห่ ซ่ึงเป็นป่าสำ�หรับท้ิงรกเด็ก
แรกเกดิ โดยแขวนสงู จากพน้ื ดนิ ระดบั เสมอศรี ษะคนเดนิ ผา่ น สว่ นแมก่ ใ็ หล้ า้ งช�ำ ระ
ทำ�ความสะอาดร่างกายเล็กน้อยแล้วน่ังอยู่ไฟเรียกว่า “อยู่กำ�เดือน” เม่ือถึงเตาไฟ
ให้หันหน้าเข้าหาเตาไฟจะเอามือควักเขม่าควันไฟมากิน หลังจากน้ันดื่มน้ําร้อน
อยไู่ ฟและอาบนํา้ ร้อนทีต่ ม้ ผสมใบไม้ซ่งึ เป็นสมนุ ไพรพน้ื บ้านจนครบเดอื น
ภายหลงั คลอดเรม่ิ อยไู่ ฟตง้ั แตว่ นั แรกเปน็ เวลา ๓๐ วนั ในระยะแรก การอยไู่ ฟ
จะน่ังอยู่ที่เตาไฟตลอดเวลา ๓ วัน เรียกว่า “อยู่กำ�ไฟ” แม่กำ�เดือนหรือหญิงที่
อยู่ไฟจะต้องระมัดระวังเร่ืองอาหาร รับประทานได้แต่ข้าวเหนียวน่ึงกับเกลือค่ัว
หรือเกลือเผาจนครบ ๓ วัน จึงจะ “ออกกำ�ไฟ” ในระยะน้ีจะมีญาติพ่ีน้องและ
ผใู้ กล้ชดิ มาเยี่ยมเยือนและอยเู่ ป็นเพ่อื นตลอดเวลา เมอ่ื ออกก�ำ ไฟแล้ว ให้ไปสระผม
ท่ีท่านํ้าแต่จะไม่อาบนํ้า ใช้ผ้ารัดเอวไว้ผืนหนึ่งพร้อมกับคาด “ผ้าฮ้ายฟ่ันใต้ไฟ”
(ชุดติดไฟ) ทับไว้อยู่ขา้ งนอกเพอ่ื ให้เกิดความอบอุ่นแก่รา่ งกาย เม่อื กลบั มาถงึ เรือน
แล้วท�ำ พธิ ีเซน่ ผียา่ ไฟโดยใช้ไข่ไก่ ๑ ฟอง ไปวางไว้ตรงที่ทารกคลอด ทำ�พิธสี ูข่ วัญ
ให้แก่เด็กน้อย สู่ขวัญนม และสู่ขวัญที่นอนเพ่ือขอให้ช่วยดูแลรักษาและเล้ียงดู
เด็กน้อยท่ีเกิดใหม่ ส่วนแม่ใช้ไก่ต้ม ข้าวต้ม ขนม จัดใส่สำ�รับทำ�พิธีสู่ขวัญ
หลังจากนั้นเมื่อถึงเวลากลางคืนก็ให้แม่และเด็กน้อยย้ายไปนอนบริเวณที่นอน
ตามปกติ แต่ผู้เป็นแม่จะต้องอยู่ไฟต่อไปจนกระทั่งครบ ๓๐ วัน จึงออกจาก
“อยู่กำ�เดือน”
๙๓
อาหารการกินในเวลาอยู่ไฟจะไม่รับประทานเน้ือสัตว์ท่ัวไป มีแต่ผักและ
ปลาบางชนดิ เชน่ ปลาคงิ ปลาแกม้ โดยน�ำ มาป้ิงเม่ือครบ ๒๐ วัน ฆา่ เปด็ ๑ ตวั
เพื่อทำ�พิธีเซ่นผีเต่ท่า จากนั้นจึงเริ่มรับประทานเนื้อสัตว์ได้ โดยเริ่มจากเป็ดก่อน
ตอ่ มาเปน็ ไก่ หมู ปลาย่าง ปลาไหลย่าง ห้ามรบั ประทานเน้ือสัตว์ใหญ่ เช่น เนอ้ื ววั
เน้ือควายจนกว่าจะออกจากกำ�เดือน โดยเฉพาะเน้ือควายเผือกห้ามรับประทาน
เดด็ ขาด เพราะจะท�ำ ใหม้ ีอาการแสลงอาจถงึ ตายได้
ประเพณีวัยหนุ่ม การศึกษาอบรมพ่อจะสอนลูกชายให้รู้จักการทำ�ไร่ไถนา
การจักสาน เชน่ สานกะเหลบ็ กระบงุ ข้อง ไซ และภาชนะต่าง ๆ สว่ นแมจ่ ะสอน
ลูกสาวให้รู้จักเวียก (การงาน) เหย้าการเรือน ป่ันฝ้าย เลี้ยงไหม สาวไหม ทอผ้า
และการประดิษฐ์ลวดลายตา่ ง ๆ บนผนื ผ้า
การเลอื กคคู่ รอง
เม่ืออายุย่างเข้าสู่วัยหนุ่มวัยสาว ผู้สาวจะชวนเพื่อน ๆ ไปลงข่วงปั่นฝ้าย
เป็นกลุ่ม ๆ ในยามคํ่าคืนของฤดูหนาว ส่วนผู้บ่าวก็จะชวนกันไปเก้ียวสาวปั่นฝ้าย
โดยเปา่ ปแ่ี ลว้ ขบั ไทด�ำ วนเวยี นไปมาตามขว่ งโนน้ บา้ งขว่ งนบ้ี า้ ง มกี ารขบั โตต้ อบกนั
ไปมาระหว่างหนุ่มสาวจนดึกด่ืน จึงกลับขึ้นเรือนโดยมีผู้บ่าวที่ชอบพอกันติดตาม
ไปส่ง กระทำ�เช่นนี้เป็นกิจวัตรประจำ�จนเกิดความรักซึ่งกันและกัน ฝ่ายชายจะเล่า
ให้พ่อแม่ฟังเก่ียวกับเรื่องท่ีตนไปรัก มักผู้สาวแล้วอยากได้เป็นภรรยา หลังจากนั้น
พ่อแมก่ ็จะไปหารือบรรดาลงุ ปา้ น้าอาท่ีนับถือ แล้วแต่ง “พ่อใช้” (พอ่ สอ่ื ) ไปถาม
ผู้ใหญ่ฝ่ายหญิง ๒ - ๓ ครั้ง โดยปกติการไปถามครั้งแรก หรือครั้งที่สองพ่อแม่
ฝ่ายหญิงจะยังไม่ตอบตกลงหรืออาจบอกปัดก็ได้ ดังน้ันจึงไปถามอีกเป็นครั้งท่ีสาม
เรียกว่า “ถามขาด” เม่ือพ่อแม่ฝ่ายหญิงตอบรับก็เป็นอันว่าตกลงให้แต่งงานกันได้
หลังจากนั้นจะเตรียมพธิ กี นิ ดองน้อย
๙๔
กินดองน้อยเป็นพิธีสู่ขอเรียกว่า “ไปส่อง” ฝ่ายชายจะจัดเตรียมพาข้าว
หรือขันหมากสูข่ อ โดยฆา่ ไก่ ๔ ตัว แยกเป็น ๔ หอ่ สิง่ ของประกอบพิธสี ขู่ อจะท�ำ
เป็นหอ่ อย่างละ ๔ หอ่ ได้แก่ ปลาปงิ้ ๔ หอ่ หนงั หาด ๔ ห่อ (เปลือกไมใ้ ช้เค้ียว
กับหมาก) พลู ๔ ห่อ เหล้า ๔ ขวด จัดใส่สำ�รับมอบให้เฒ่าแก่ญาติฝ่ายเจ้าสาว
แล้วมอบตัวเป็นเขยกว้านในวันน้ัน เพื่อเตรียมพิธีกินดองใหญ่ (แต่งงาน) ต่อไป
เขยกวา้ นจะอาศยั อยทู่ บ่ี า้ นเจา้ สาวเพอ่ื เตรยี มตวั เขา้ สพู่ ธิ กี นิ ดองโดยใชเ้ วลา ๒ เดอื น
ถึง ๑ ปี บางรายอาจใช้เวลา ๓ - ๔ ปี และยังไม่มีสิทธิ์อยู่กินกันฉันสามีภรรยา
เพราะผิดผีเรือน จะต้องนอนอยู่ทางกว้าน (ปลายเท้าของพ่อตาแม่ยาย) หลังจาก
พิธีส่อง ฝ่ายหญิงยังมีสิทธิเสรีในการพูดคุยกับผู้บ่าวคนอื่นท่ีมาเก้ียวพาราสี
โดยว่าท่ีสามีจะต้องทำ�เป็นไม่รู้ไม่เห็นและไม่โกรธ ท้ังน้ีเพื่อทดสอบความอดทน
อดกล้ันในอารมณ์
“พิธแี ตง่ ดอง” เป็นพธิ แี ต่งงานของไทดำ�มกี �ำ หนด ๓ วนั บางคร้ังจะจดั พิธี
พรอ้ มกับการ “เสนเรอื น”
วนั แรกฝ่ายชายจะท�ำ พิธีเซน่ ผเี รือนท่ีบ้านเจ้าสาวโดยฆา่ หมู ๑ ตวั ไก่ ๘ ตัว
ปลาป้งิ ๘ หอ่ หาด ๘ ห่อ พลู ๘ ห่อ เหล้าไห ๒ ไห พร้อมกบั เงนิ สนิ เลยี้ ง หรือ
คา่ นํ้านม ๕ หมนั ๒ บ้ี ฆ่าควาย ๑ ตัว เล้ยี งแขกทีม่ าร่วมงาน วันท่ีสองสะใภใ้ หม่
จะไปหยามเรือนพ่อปู่แม่ย่า คือ ไปเย่ียมพ่อแม่ของสามีตั้งแต่ตอนเช้าเพื่อแสดง
ความเคารพ สะใภจ้ ะต้องมขี องไปฝาก เชน่ ผา้ เปยี ว ผา้ ปู ที่นอน ซน่ิ ไหม เส้อื ถงุ
ยา่ ม ทท่ี �ำ จากฝมี อื ของตนเอง สว่ นพอ่ ปแู่ มย่ า่ จะใหเ้ งนิ รบั ไหวจ้ �ำ นวน ๕ - ๑๐ หมนั
หรือใหส้ ่ิงของตอบแทนตามสมควรแกฐ่ านะ หลังจากนน้ั กจ็ ะไปนบไหว้ญาตผิ ใู้ หญ่
ของสามี จนกระท่ังถึงตอนบ่ายจึงเดินทางกลับไปรับประทานอาหาร เรียกว่า
กินงายหัว ส่วนวนั ทสี่ ามของพิธีแต่งดองเปน็ วันสรปุ เพือ่ เกบ็ ของทย่ี ืมมาจัดงานสง่
ทำ�อาหารเล้ยี งผ้ทู อี่ ยชู่ ่วยงาน ส่วนมากจะเป็นญาติพนี่ อ้ งเพื่อนสนิทและเพื่อนบา้ น
ใกล้เคยี ง
๙๕
ธรรมเนียมดั้งเดิมของไทดำ�ผู้เป็นเขยจะต้องอยู่ท่ีบ้านของพ่อตาแม่ยาย
ถึง ๑๒ ปี จงึ จะมสี ิทธ์กิ ลบั คนื ไปอย่กู ับพ่อแมฝ่ ่ายสามี หรอื ปลูกเรอื นใหญอ่ ยู่ใกล้ ๆ
กบั พ่อแมแ่ ละญาติฝ่ายสามี ตอ่ มาลดลงเหลอื ๘ ปี ปจั จบุ ันลดลงเหลือ ๔ ปี
ส�ำ หรบั ค�ำ วา่ “มานทาง” ในธรรมเนยี มของชาวไทด�ำ หมายถงึ หญงิ ทม่ี ที อ้ ง
นอกสมรส ซ่ึงจะถูกสังคมลงโทษโดยถูกอำ�นาจการปกครองของหมู่บ้านปรับไหม
ท้งั ชายและหญิงเป็นเงิน ๑ หมัน ๕ บี้ เรียกว่า “เงนิ ล้างนํา้ ลา้ งทา่ ” แล้วใหอ้ ยู่กนิ
เป็นสามีภรรยากัน ถ้าหากฝ่ายชายไม่ยอมรับเป็นภรรยาจะต้องเสียค่าปรับไหม
ให้แก่ฝ่ายหญิงเป็นเงิน ๓๐ หมัน ในกรณีท่ีหญิงน้ันตายจะถูกชาวบ้านปรับไหม
เรียกว่า “เฮียวซาว” โดยให้ฆ่าควาย ๑ ตัว เพื่อเลี้ยงผู้มาช่วยงานศพแล้วมอบ
ความรบั ผดิ ชอบการจัดงานศพใหฝ้ า่ ยชายรบั ภาระท้งั หมด
ประเพณกี ารตาย
เมื่อมีคนตายในหมู่บ้านจะมีการยิงปืนขึ้นฟ้า ๓ นัด เพื่อเป็นสัญญาณ
บอกกล่าวแก่ชาวบ้าน ซึ่งทุกคนจะหยุดทำ�งานจนกว่าจะนำ�ศพไปฝัง หลังตาย
บรรดาญาติพ่ีน้องจะช่วยกันอาบนํ้าศพ จากน้ันก็แต่งตัวด้วยชุดเส้ือผ้าของเผ่า
ไทดำ � นำ�ผ้าแพรสีขาวมาเย็บเป็นถุงบรรจุศพแล้วใช้ไหมเย็บติดให้เรียบร้อยบรรจุ
ลงในโลงศพโดยใช้ผ้าคลุมหน้าศพไว้ผืนหนึ่งกรณีเด็กน้อยตายจะไม่ประกอบ
พธิ กี รรม โดยตายวนั ไหนใหน้ �ำ ไปฝงั ในวนั นน้ั สว่ นคนหนมุ่ สาวถา้ ตายตอนกลางคนื
ในเช้าวันรุ่งขึ้นให้ฆ่าหมู หรือวัว หรือควาย ๑ ตัว เพ่ือทำ�อาหารจัดสำ�รับทำ�บุญ
อุทิศให้กับผู้ตายกิน ที่เรียกว่า “เฮ็ดงาย” พอถึงตอนเย็นก็นำ�ไปฝัง ส่วนคนวัย
กลางคนหรือผู้สูงอายุตายเก็บศพไว้ ๑ - ๒ คืน แล้วจึงนำ�ไปฝังและฆ่าหมู หรือวัว
หรือควาย ๑ ตวั เฮด็ งายใหผ้ ้ตู ายในเชา้ ของวนั ทีจ่ ะน�ำ ไปฝงั