The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

✍️มองประวัติศาสตร์ชาติไทยผ่านศัสตราวุธ

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by jar_3563.narak, 2021-10-28 04:12:08

✍️มองประวัติศาสตร์ชาติไทยผ่านศัสตราวุธ

✍️มองประวัติศาสตร์ชาติไทยผ่านศัสตราวุธ

มองปผรา่ ะนวตศั ศิสั าตสตรารช์วาธุ ตไิ ทย







มองปผรา่ ะนวตศั ศิสั าตสตรารช์วาธุ ตไิ ทย

จัดพมิ พ์เฉลมิ พระเกียรติ
สมเด็จพระนางเจา้ สริ ิกติ ์ิ พระบรมราชนิ ีนาถ ในวโรกาสทรงเจรญิ พระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา

๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๕

พิมพ์ครัง้ ที่ ๑ พุทธศกั ราช ๒๕๕๕
จำ�นวน ๕๐๐ เลม่
ลิขสทิ ธ ์ิ สำ�นกั งานปลดั กระทรวงกลาโหม
จัดพมิ พ์โดย บรษิ ทั ร่งุ ศิลป์การพิมพ์ (๑๙๗๗) จ�ำ กดั
ISBN 978-974-9752-52-4













คำ� นำ�

ในวโรกาสท่ีสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ มีพระราชดำ�รัสแก่บุคคลคณะต่างๆ ที่
เขา้ เฝา้ ทลู ละอองธุลพี ระบาทถวายพระพรชยั มงคล เน่อื งในวนั เฉลิมพระชนมพรรษา ๑๒ สิงหาคม ๒๕๔๓ ณ
ศาลาดสุ ดิ าลยั พระต�ำ หนกั จติ รลดารโหฐาน พระราชวงั ดสุ ติ มคี วามตอนหนงึ่ ทที่ รงหว่ งใยในการใหก้ ารศกึ ษา
แก่เยาวชนเกยี่ วกบั วชิ าประวัติศาสตรไ์ ทยว่า
...ท่านคงจะเห็นว่าเด๋ียวนี้ในหลักสูตรของเราก็ไม่มีท้ังหน้าที่พลเมือง ศีลธรรม และประวัติศาสตร์
มีแต่วชิ าการสมัยใหม.่ ..ถอื วา่ เปน็ ของล้าสมยั เชย แตค่ วามจริงไมเ่ ลย และวิชาประวัตศิ าสตร์กเ็ ชน่ กนั ข้าพเจ้า
อย่โู รงเรยี นประจำ�ท่สี วิตเซอรแ์ ลนด์ กต็ ้องเรียนประวตั ิศาสตรข์ องสวติ กค็ ดิ ว่า เอะ๊ ! ประวตั ศิ าสตรข์ องแต่ละ
ชาตทิ กุ ชาตเิ ขากท็ ะนถุ นอมและเขากเ็ รยี นของเขากนั แมแ้ ตค่ นตา่ งประเทศไปเรยี นในประเทศเขา กต็ อ้ งเรยี น
ประวัติศาสตร์ของเขาด้วย อันนี้ก็แปลกท่ีเราไม่มีประวัติศาสตร์ชาติไทยเหมือนอย่างว่าแผ่นดินน้ีได้มาอย่าง
ง่ายๆ ไม่ต้องคิดถึงพระเดชพระคุณของปู่ย่าตายายที่บุกบั่นฝ่าฟันมา แม้แต่ชีวิตจะสละให้เพ่ือที่จะเป็นหลัก
ประกนั ของคนไทย...
พระราชดำ�รัสดังกล่าวนี้ นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณแก่การศึกษาของชาติอย่างยิ่ง เพราะทำ�ให้
เยาวชนไทยจะได้โอกาสศึกษาวิชาประวัติศาสตร์ไทย เม่ือสำ�นักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพ้ืนฐานได้
น้อมเกล้าฯ รับพระราชเสาวนีย์ นำ�มาพัฒนาหลักสูตรกำ�หนดให้มีการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ไทย
รวมท้ังให้มีการเสริมหลักสูตรโดยใช้ส่ือการเรียนรู้ต่างๆ เช่น การทัศนศึกษาแหล่งประวัติศาสตร์ การไปชม
พิพธิ ภัณฑ์ เป็นตน้
ในโอกาสมหามงคลเฉลมิ พระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๑๒ สงิ หาคม ๒๕๕๕ ส�ำ นกั งานปลดั กระทรวง
กลาโหมขอน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายพระพรชัยมงคลด้วยการจัดทำ�หนังสือสนองพระราชดำ�ริ เรื่อง
“มองประวัติศาสตรช์ าติไทย ผา่ นศสั ตราวุธ” เพอ่ื ให้เยาวชนมีทางเลอื กในการศึกษาคน้ คว้าอยา่ งรอบด้านว่า
ยงั มีหลกั ฐานขอ้ มลู ท่ีน�ำ ไปสกู่ ารคิดอย่างเป็นเหตเุ ป็นผล ซงึ่ เป็นหวั ใจของการศึกษาประวตั ศิ าสตรต์ ่อไป

ส�ำ นกั งานปลัดกระทรวงกลาโหม

9



สารบญั

ค�ำน�ำ

มองประวตั ศิ าสตรช์ าตไิ ทยผ่านศสั ตราวุธ ๑๕
๑๗
รจู้ กั อาวธุ ครัง้ บรรพกาล ๒๓
๒๓
ศสั ตราวธุ ครงั้ สร้างบา้ นแปลงเมือง : กรงุ สุโขทัย ๓๒
๓๕
• ศสั ตราวธุ และการยุทธ์ ๓๖
๓๗
• การสรู้ บบนหลงั ชา้ ง “ยทุ ธหตั ถ”ี ๔๓
๔๓
ประวัตศิ าสตรเ์ ปลีย่ นศัสตราวุธ ศสั ตราวธุ เปลย่ี นประวัติศาสตร์ทกี่ รุงศรีอยธุ ยา ๕๑
๕๙
• ทีต่ งั้ กรงุ ในทางยุทธศาสตร์ ๗๗
๘๔
• ปรับเปลีย่ นยุทธศาสตร์ ยุทธวิธเี ม่ือคบชาตติ ะวนั ตก ๙๗
๑๐๑
• ความเปน็ จริงและจินตนาการจากความทรงจ�ำ ๑๐๗
๑๐๘
• วทิ ยาการปอ้ มปราการ ๑๐๘

• ปืนต่างๆ ในประวตั ิศาสตร์คร้ังสมยั กรุงศรอี ยธุ ยา
• ปืนใหญย่ โุ รปสมยั กรงุ ศรอี ยธุ ยา

• ปนื ใหญ่ ปนื หลังช้าง ปนื เลก็

• อาวธุ ฟันแทง

• กรชิ

ศสั ตราวธุ ยทุ ธวธิ ี นำ�้ พระราชหฤทยั นกั รบกอบกบู้ ้านเมืองสมัยธนบรุ ี

กรุงรัตนโกสนิ ทร์พระนครแหง่ ใหม่ ศสั ตราวุธอย่างเกา่ ศสั ตราวุธอย่างใหม ่

• กรุงเทพฯ เมอื งปอ้ มปราการ

• การจัดหาศัสตราวธุ แบบตา่ งๆ ส�ำหรบั ไวป้ ้องกนั บา้ นเมอื ง

11



• ศัสตราวธุ เฉลิมพระเกียรตยิ ศ พระบรมเดชานภุ าพ และแสนยานภุ าพ ๑๓๑

• การเสดจ็ เลียบพระนครโดยกระบวนพยหุ ยาตราสถลมารคในสมัยรัชกาลที่ ๒ ๑๓๒

• กระบวนคเชนทรศั วสนาน หรอื แห่สระสนานเดมิ ๑๓๒

• การรบั รองแขกเมอื ง รบั ทตู ๑๓๔

• ศสั ตราวธุ ใชส้ �ำหรบั พระราชพิธ ี ๑๓๖

• กระบวนแห่พระยาช้าง ๑๓๙

• ความก้าวหนา้ ทางศิลปวิทยาการสมยั ใหม่ ยทุ ธศาสตรอ์ ย่างใหม ่ ๑๔๑

• พระราชหตั ถเลขาถงึ องค์พระนโรดม และองคพ์ ระหริราชดไนยแหง่ กรุงกัมพชู า ๑๔๑

• พระราชหัตถเลขาถงึ Mr. Adamson ๑๔๒

ผจู้ ัดการสาขาบรษิ ัท บอรเ์ นียว จ�ำกัด ทีส่ ิงคโปร์

• รชั สมยั พระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อย่หู วั สมัยแหง่ การปฏิรปู ๑๔๙

• เหตุการณส์ �ำคญั ในสมยั รชั กาลที่ ๕ ท่สี ่งผลตอ่ การปฏริ ปู การทหาร ๑๕๔

และอาวุธทหารราบของไทย

• ระบบการปกครองลา้ สมยั ไมส่ ามารถมีกองทัพประจ�ำการจ�ำนวนมากได้ ๑๕๘

• กองทัพขาดเอกภาพและอาวุธไม่มมี าตรฐาน ๑๕๘

• กองทัพขาดเงินทีจ่ ะน�ำไปสรรหาอาวุธ ๑๕๙

• วกิ ฤตการณ์วังหน้า พ.ศ. ๒๔๑๗ ๑๕๙

• สงครามปราบฮ่อ พ.ศ. ๒๔๑๘ และ พ.ศ. ๒๔๒๘ ๑๖๐

• วิกฤตการณ์ ร.ศ. ๑๑๒ (พ.ศ. ๒๔๓๖) ๑๖๐

• บทสง่ ท้าย “รู้ไว้ใช่ว่า ใสบ่ า่ แบกหาม” ๑๖๗

• สำ� นึกทางประวัตศิ าสตรเ์ นอ่ื งดว้ ยพระแสงราชศสั ตราของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ๑๗๕

ภาคผนวก : ต�ำราพไิ ชยสงครามไทย ๑๗๙

13



มผา่อนงศปสัระตวรตัาวศิ ธุาสตรช์ าตไิ ทย

ชาติไทยก็เหมือนชาติต่างๆ ท่ัวโลกที่มีประวัติศาสตร์การก่อต้ัง การสร้างชาติ
การส่ังสมภูมิปัญญาวิชาความรู้จากคนรุ่นก่อนสู่คนรุ่นหลัง จนเป็นชาติที่มีความเจริญไป
พรอ้ มกับนานาอารยประเทศ มเี กียรตภิ ูมทิ ่เี ราภาคภมู ิใจร่วมกันมาจนทุกวนั น้ี
หากเราย้อนมองประวตั ิศาสตร์ชาติไทย ยอ่ มมีหลักฐานท่เี ลา่ เรือ่ งของบรรพชน
มากมายทีล่ ว้ นน่าศกึ ษาหาความรใู้ นแงม่ ุมต่างๆ อย่างเช่น เรือ่ งของศสั ตราวธุ คือ อาวุธ
นานาชนดิ ทใี่ ชท้ งั้ ปอ้ งกนั ตวั เอง และปกปอ้ งคมุ้ ครองความปลอดภยั ความมน่ั คงของคนใน
สงั คมในชาติใหอ้ ยู่รอดรว่ มกนั
การมองประวัติศาสตร์ชาติไทยผ่านศัสตราวุธ จึงเป็นการเสนอทางเลือกเพ่ือ
ชี้ชวนคนร่นุ ใหมว่ ่า เราอาจศึกษาเรยี นรปู้ ระวตั ิศาสตรด์ ้วยหลกั ฐานทที่ ้าทาย ชวนคดิ ชวน
ถกเถยี งหาเหตผุ ลไดอ้ ยา่ งรอบดา้ น เพราะสงิ่ นคี้ อื หวั ใจของการศกึ ษาประวตั ศิ าสตร์ เรามา
รว่ มเรยี นรไู้ ปดว้ ยกนั โดยยอ้ นเวลาไปตงั้ แตแ่ ผน่ ดนิ นยี้ งั มมี นษุ ยถ์ ำ�้ ในยคุ กอ่ นประวตั ศิ าสตร์
เร่ือยมาจนเร่ิมพัฒนาขึ้นเป็นกลุ่มชาติพันธุ์รวมกันเป็นชุมชน เป็นบ้านเป็นเมือง มีการ
ติดต่อรับอารยธรรมจากภายนอกเข้ามาผสมผสานเกิดลักษณะประจ�ำชาติ มีการเรียนรู้
ปรบั เปลย่ี นไปตามกาลเวลา จนถึงสมัยแห่งการปฏริ ูปครง้ั ส�ำคัญในสมยั รชั กาลที่ ๕ แหง่
กรงุ รัตนโกสินทร์

15



รจู้ กั อาวธุ ครง้ั บรรพกาล

สิ่งมีชีวิตทุกชนิดที่กินเน้ือ ล้วนเป็นนักล่าและพยายามสังหารส่ิงมีชีวิตอ่ืนเป็น
อาหาร เพอื่ ใหส้ ามารถยงั ชพี อยไู่ ด้ สงิ่ มชี วี ติ ทกุ ชนดิ จงึ มที ง้ั อวยั วะส�ำหรบั การลา่ และปอ้ งกนั
ตวั ทม่ี ีตดิ ตวั มาแตก่ �ำเนดิ ซึง่ จดั เป็น “อาวธุ ” ตามธรรมชาติ
ตามความหมายในสากลแลว้ “อาวธุ ” มคี วามหมายอยา่ งนอ้ ยใน ๓ นยั ยะ ดงั นี้
๑. อวยั วะสว่ นใดสว่ นหนง่ึ ในรา่ งกายทส่ี ามารถใชท้ ง้ั ท�ำรา้ ยผอู้ นื่ หรอื ปกปอ้ งตวั เอง
๒. เครอ่ื งมอื หรอื ประดษิ ฐกรรม หรอื สอ่ื ส�ำหรบั ใชใ้ นการท�ำรา้ ย หรอื ปอ้ งกนั ตวั
ในการสรู้ บ การตอ่ สู้ หรอื การสงคราม
๓. สรรพสงิ่ ทใ่ี ชต้ อ่ กร ทงั้ ในดา้ นปอ้ งกนั ตวั หรอื ท�ำรา้ ยคตู่ อ่ สู้ปรปกั ษ์ ฝา่ ยตรงขา้ ม
หรอื เหยือ่
อยา่ งไรกต็ าม เนอ่ื งจาก “อาวธุ ” ในรา่ งกายของมนษุ ยป์ ระสทิ ธภิ าพไมเ่ พยี งพอ
ส�ำหรับการตอ่ กรกบั ส่ิงมชี วี ติ อ่นื ท่ีแขง็ แรงกวา่ จงึ จ�ำเปน็ ตอ้ งสรา้ ง “อาวธุ ” ขึ้นจากวตั ถุ
นอกกาย เพื่อใชร้ บั มือกบั ผู้ที่แขง็ แรงกวา่ ทั้งนี้ มนุษยเ์ ป็นส่ิงมีชวี ิตประเภทเดยี วทสี่ ามารถ
น�ำวสั ดอุ นื่ ๆ ทม่ี ไิ ดต้ ดิ ตวั แตก่ �ำเนดิ มาประดษิ ฐห์ รอื สรา้ งสรรคเ์ ปน็ เครอ่ื งมอื และอปุ กรณท์ ่ี
ชว่ ยในการลา่ และปอ้ งกนั ตวั นอกเหนอื จากอวยั วะทม่ี ใี นรา่ งกายมาแตก่ �ำเนดิ โดยสามารถ
สรา้ งเคร่อื งมอื และอปุ กรณ์ประเภทนไี้ ด้ตง้ั แตน่ ับแสนๆ ปมี าแลว้ เป็นอย่างน้อย อกี ทัง้ ยงั
ได้มีการปรับปรุงและพัฒนาเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ช่วยในการล่าและป้องกันตัว หรือ
“อาวุธ” มาโดยตลอดจวบจนปจั จบุ ัน
อาวุธรุ่นแรกๆ ของบรรพบรุ ษุ มนุษย์
นักวิชาการที่ศึกษาพฤติกรรมของชิมแปนซีได้พบว่า ในบางคร้ังท่ีจวนตัว
ชมิ แปนซีพยายามใช้ก้อนหินหรือทอ่ นไม้ขวา้ งหรอื เหวยี่ งไปยังศัตรู เพ่อื ป้องกันตนเอง จงึ
เสนอความเห็นว่า บรรพบุรุษร่นุ แรกๆ ของมนุษย์ เม่ือกว่า ๑ ลา้ นปมี าแล้ว ซ่งึ ยงั ไม่ได้
พัฒนาลักษณะกายภาพเป็นมนุษย์อย่างสมบูรณ์น้ัน อาจใช้วัตถุธรรมชาติที่สามารถหยิบ
ฉวยได้รอบตัวเป็นอาวุธแก้ปัญหาเฉพาะหน้าชั่วครั้งช่ัวคราว เม่ือถูกคุกคามหรือต้องการ
ท�ำรา้ ยหรอื ล่าสัตวอ์ ่นื เช่น ใชก้ ง่ิ ไม้เปน็ กระบองและแหลน ใช้ก้อนหินขวา้ งศัตรูหรือสตั ว์
ทต่ี ้องการไลแ่ ละลา่

17

อาวธุ ทีม่ นุษย์รนุ่ แรกๆ ประดิษฐ์ข้ึนมาทีเ่ ก่าสุด คือ หอกไม้ (wooden spear)
มีปลายแหลมลักษณะคลา้ ยแหลนทีใ่ ชใ้ นการแข่งขันกีฬาพงุ่ แหลนสมยั ปจั จุบนั จ�ำนวน ๓
ชน้ิ และไมช้ ว่ ยพงุ่ หอก (throwing stick) ๑ ชน้ิ ของสมยั หนิ เกา่ อายปุ ระมาณ ๓ แสนปมี า
แลว้ พบทเ่ี หมอื งลกิ ไนทใ์ น SchÖningen county, Helmstedt district, Lower Saxony
state, ประเทศเยอรมนี เม่อื ระหวา่ ง พ.ศ. ๒๕๓๗ - ๒๕๔๑ เรยี กกนั ว่า “SchÖningen
Spears” นกั โบราณคดีมีความเหน็ ว่า อาวุธไม้ ท่เี กา่ ทสี่ ุดชดุ น้ี ใช้ส�ำหรับล่าสตั วม์ าเปน็
อาหาร ท้ังนี้เพราะในชั้นทับถมทางโบราณคดีช้ันเดียวกับท่ีพบ หอกไม้ ดังกล่าวได้พบ
กระดกู สตั วป์ ระมาณ ๑๖,๐๐๐ ชนิ้ และแยกไดว้ า่ เปน็ กระดกู ของมา้ ปา่ ไมน่ อ้ ยกวา่ ๒๐ ตวั
โดยกระดกู มา้ ปา่ จ�ำนวนมากมรี อยถกู เครอื่ งมอื หนิ มคี มสบั หรอื เฉอื น กระดกู เชงิ กรานของ
มา้ ปา่ ชน้ิ หนงึ่ ยงั มี หอกไม้ ตดิ อยดู่ ว้ ย กระดกู ของสตั วช์ นดิ อน่ื ไดแ้ ก่ กวางแดง (red dear)
และควายไบซนั สายพนั ธ์ุยโุ รป (european bison)
เม่อื ประมาณ ๑๓๐,๐๐๐ ปีมาแลว้ มนุษย์นีแอนเดอรท์ ัล ไดพ้ ฒั นาวธิ กี ารท�ำ
เครอ่ื งมอื สะเกด็ หนิ ปลายแหลม ทท่ี �ำดว้ ยวธิ กี ารกะเทาะหนิ อยา่ งประณตี เรยี กวา่ เทคนคิ
แบบเลอวลั ลวั (Levallois technique) และไดใ้ ชส้ ะเกด็ หนิ ปลายแหลมชนดิ นต้ี ดิ ทป่ี ลาย
ดา้ มไม้ ท�ำเปน็ อาวธุ ส�ำหรบั แทงหรอื พุ่งเพอื่ ล่าสัตว์
ในช่วงประมาณ ๖๑,๐๐๐ ปีมาแล้ว ได้ปรากฏหัวลูกศรปลายแหลมท�ำจาก
กระดูก แสดงถึงการเร่ิมใช้ ธนู เป็นอาวุธ พบท่แี หล่งโบราณคดี Sibudu Cave ประเทศ
South Africa อยา่ งไรก็ตาม คันธนู ท่เี กา่ ท่สี ุดนนั้ พบทีป่ ระเทศเดนมารก์ มอี ายปุ ระมาณ
๑๑,๐๐๐ ปมี าแลว้ ส่วน หน้าไม้ น้ันเปน็ อาวุธท่ีอาจเร่ิมปรากฏเม่อื ประมาณ ๒,๔๐๐ -
๒,๕๐๐ ปมี าแล้ว
หลงั จากประมาณ ๔๐,๐๐๐ ปมี าแลว้ การท�ำ เครอื่ งมือสะเก็ดหนิ ปลายแหลม
และสะเก็ดหนิ มีคม ส�ำหรบั ท�ำอาวธุ และเครอื่ งมอื ใช้สอย มพี ฒั นาการมากขน้ึ เรื่อยๆ ดัง
เหน็ ไดจ้ าก เคร่อื งมอื สะเกด็ หนิ ปลายแหลม ของวัฒนธรรม โซลูเทรียน (Solutrean)
ในทวีปยโุ รป อายุประมาณ ๑๗,๐๐๐ - ๒๒,๐๐๐ ปีมาแลว้ และสมยั หลังจากนน้ั ซึง่ ท�ำ
ดว้ ยความประณีตมาก
อาวธุ ของคนมรี ปู แบบและประเภทหลากหลายมากยง่ิ ขึ้น เมอื่ มพี ฒั นาการของ
สังคมแบบซับซ้อนระดับแว่นแคว้นและรัฐยุคโบราณ รวมทั้งมีพัฒนาการของเทคโนโลยี
การโลหกรรมด้านการท�ำโลหะส�ำรดิ เกิดขน้ึ ดว้ ย เมอื่ ประมาณ ๕,๐๐๐ - ๖,๐๐๐ ปมี าแลว้
อาวธุ ท่มี นุษยส์ รา้ งข้ึนมากมายหลายชนิดต้ังแตช่ ว่ งเวลาน้ี เป็นรากฐานท่ีไดร้ บั การพัฒนา
ให้มปี ระสทิ ธิภาพมากขน้ึ ตอ่ ๆ กันมาโดยตลอดจนถึงสมยั ปัจจบุ ัน

18

๑๒

๓๔


๑ ตัวอยา่ ง สะเก็ดหนิ ปลายแหลมแบบเลอวลั ลัว
๒ ประติมากรรมขนาดเล็ก รปู ชนเผา่ ไซเธยี นสก์ ำ�ลังใช้ธนู พบในประเทศยเู ครน อายกุ วา่ ๒,๓๐๐ ปมี าแล้ว
๓ ประติมากรรมขนาดเล็ก รูปทหารกำ�ลงั ใชห้ น้าไม้ ประดับบนฝาภาชนะทรงกลองมโหระทึกทใ่ี ช้บรรจขุ องมีค่า
พบทีแ่ หล่งโบราณคดีวัฒนธรรมเตียน ในมณฑลหยุนหนาน ประเทศจนี อายกุ วา่ ๒,๓๐๐ - ๒,๕๐๐ ปีมาแลว้
๔ ตัวอย่าง สะเกด็ หนิ ปลายแหลม ของวัฒนธรรมโซลเู ทรียน
๕ มดี ส้ัน ใบมดี ท�ำ จากหนิ เหลก็ ไฟ (Flint) ด้ามทำ�จากกระดกู สตั ว์
พบทแ่ี หล่งโบราณคดชี าตาลฮยุ ุค ประเทศตุรกี อายุประมาณ ๘,๒๐๐ - ๗,๔๐๐ ปี

19

อาวธุ ของคนยุคก่อนประวัติศาสตรใ์ นประเทศไทย
รองศาสตราจารย์ สรุ พล นาถะพนิ ธุ นกั โบราณคดกี อ่ นประวตั ศิ าสตรข์ องไทย
ใหค้ �ำอธิบายว่า เครอ่ื งใช้ทจี่ ดั ไดอ้ ย่างชัดเจนซึ่งเปน็ ทงั้ อาวธุ ส�ำหรับลา่ สัตวแ์ ละป้องกนั ตวั
ของคนสมัยโบราณทพ่ี บในประเทศไทยนั้น กลมุ่ ท่ีเก่าทสี่ ุดเป็นของยุคกอ่ นประวตั ศิ าสตร์
อายุประมาณ ๓,๐๐๐ - ๔,๐๐๐ ปีมาแลว้ เป็นอยา่ งนอ้ ย พบทแ่ี หลง่ โบราณคดจี �ำนวนมาก
ในภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ส่วนใหญ่เป็นเครื่องมือ
ปลายแหลมส�ำหรับต่อกบั ด้ามไม้ ใช้เปน็ หอก หรอื แหลน และลกู ธนู อาวุธปลายแหลม
รุ่นแรกๆ มักท�ำด้วยกระดูกสัตว์และเขาสัตว์ ต่อมาเม่ือเกิดพัฒนาการด้านโลหกรรม
จึงนิยมท�ำดว้ ยส�ำรดิ และเหล็ก ตามล�ำดบั

๖๗


๖ เคร่อื งมอื ปลายแหลมท�ำ จากกระดกู สตั ว์ พบทีแ่ หลง่ โบราณคดีบา้ นเกา่ อ�ำ เภอเมือง จงั หวดั กาญจนบรุ ี
อายปุ ระมาณ ๓,๗๐๐ - ๔,๐๐๐ ปีมาแลว้
๗ เครอื่ งมอื ปลายแหลมยุคก่อนประวตั ศิ าสตร์ ทำ�จากกระดกู สัตว์
พบที่แหล่งโบราณคดีโคกพนมดี อ�ำ เภอพนัสนคิ ม จังหวัดชลบรุ ี อายุประมาณ ๔,๐๐๐ ปีมาแล้ว
๘ อาวธุ ปลายแหลมทำ�จากเขากวาง พบท่แี หลง่ โบราณคดบี า้ นโป่งมะนาว อ�ำ เภอพัฒนานิคม จงั หวัดลพบรุ ี
อายุประมาณ ๑,๘๐๐ - ๒,๓๐๐ ปีมาแล้ว

20

๙ ๑๐
๑๑ ๑๒

๙ ใบหอก ยคุ กอ่ นประวัตศิ าสตร์ ท�ำดว้ ยส�ำริด พบทแี่ หลง่ โบราณคดบี ้านเชียง อ�ำเภอหนองหาน จังหวัดอดุ รธาน ี
อายไุ ม่น้อยกว่า ๓,๐๐๐ - ๓,๖๐๐ ปีมาแลว้
๑๐ ใบหอก ยคุ กอ่ นประวตั ิศาสตร์ ท�ำดว้ ยส�ำริด พบทแี่ หลง่ โบราณคดอี า่ งเก็บน้�ำนิลก�ำแหง ในศูนย์การบินทหารบก
อ�ำเภอเมือง จงั หวัดลพบรุ ี อายไุ มน่ ้อยกวา่ ๒,๕๐๐ - ๒,๗๐๐ ปมี าแลว้
๑๑ ใบหอก ท�ำด้วยเหล็ก พบที่แหลง่ โบราณคดีบา้ นโป่งมะนาว อ�ำเภอพัฒนานิคม จงั หวดั ลพบุรี
อายปุ ระมาณ ๑,๘๐๐ - ๒,๓๐๐ ปีมาแล้ว
๑๒ แม่พิมพท์ �ำดว้ ยดินเผา ส�ำหรับหลอ่ หัวลูกศรส�ำริด ครง้ั ละ ๓ ชน้ิ พรอ้ มกนั
พบทแี่ หลง่ โบราณคดเี นนิ คลองบ�ำรุง อ�ำเภอทา่ หลวง จงั หวดั ลพบุรี อาจมอี ายุประมาณ ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว

21

๑๓

๑๓ ภาพเขยี นสบี นผนังเพงิ ผาท่บี รเิ วณส�ำนักสงฆเ์ ขาจันทร์งาม บ้านเลิศสวสั ด์ิ อ�ำเภอสีคว้ิ จังหวดั นครราชสมี า
มีภาพคนก�ำลงั ยงิ ธนู หรอื อาจเปน็ คันกระสุน ส�ำหรบั ยงิ ด้วยลกู กระสนุ กลม และมสี นุ ขั อยใู่ กล้ๆ
อาจเปน็ ภาพเลา่ เรอ่ื งนายพรานที่ออกลา่ สตั ว์ โดยมสี นุ ัขไปด้วย

22

กศรสั งุตสรโุ าขวทธุ ยัครงั้ สรา้ งบา้ นแปลงเมอื ง:

หลักฐานการสร้างบ้านแปลงเมืองท่ีชัดเจนสมัยแรกๆ ที่ตกทอดให้เราศึกษาได้
คงต้องยกกรุงสุโขทัยและเมืองบริวารเป็นหลัก เร่ืองราวที่บันทึกผ่านจารึกหลักต่างๆ
ให้ภาพของชุมชนท่ีก่อร่างสร้างตัวจากการท�ำการเกษตร ค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้ากับ
ชมุ ชนภายนอก จนถงึ พัฒนาฝีมอื การท�ำเคร่ืองถว้ ยระดบั อตุ สาหกรรมสง่ ออกไปไกลนอก
แว่นแคว้นในช่วงท่ีต่อเนื่องกับอาณาจักรแห่งใหม่เจริญขึ้นท่ีกรุงศรีอยุธยา นอกจากนี้
ซากโบราณสถานโบราณวัตถุที่ถาวรคงทน ยังบอกเล่าการรับพระพุทธศาสนาเถรวาท
อยา่ งลงั กาวงศม์ าเปน็ รากฐานทางศลี ธรรมของสังคมอยา่ งเหนยี วแนน่

ศัสตราวุธและการยุทธ์

ในสมยั สุโขทยั เราคุน้ กับเหตุการณใ์ นศิลาจารึกหลักที่ ๑ ท่วี ่า
...เม่ือกูใหญ่ได้สิบเก้าเข้า ขุนสามชนเจ้าเมืองฉอดมาท่เมือง
ตาก พอ่ กไู ปรบ ขนุ สามชนหัวซา้ ย ขนุ สามชนขบั มาหวั ขวา ขุนสามชน
เกลื่อนเขา้ ไพรฟ่ า้ หน้าใสพ่อกหู นีญญา่ ยพายจแจ้ - น กบู ห่ นี กขู ี่ชา้ ง
เบกพล กขู บั เขา้ กอ่ นพอ่ กู กตู อ่ ชา้ ง ดว้ ยขนุ สามชน ตนกพู งุ่ ชา้ งขนุ สาม
ชนตัวชอื่ มาสเมอื งแพ้ ขุนสามชนพา่ ยหนี พอ่ กจู ่งึ ขึน้ ช่อื กู ชือ่ พระราม
คำ� แหง เพอื่ กพู งุ่ ช้างขุนสามชน...

นค่ี อื เหตกุ ารณร์ บกนั ดว้ ยชา้ งตวั ตอ่ ตวั ระหวา่ งขนุ สามชนเจา้ เมอื งฉอดกบั พอ่ ขนุ
ศรอี นิ ทราทติ ย์ แมใ้ นชว่ งแรกจะเปน็ ฝา่ ยถอย แตพ่ อ่ ขนุ รามค�ำแหงกเ็ ขา้ ชว่ ยจนมชี ยั ความ
รู้ทไ่ี ด้คือ ภาพของวธิ กี ารต่อสู้ที่เรยี กว่า ชนช้างหรือยทุ ธหตั ถี ชา้ งเชอื กไหนหนไี ม่สกู้ ็เปน็
ฝา่ ยปราชัย แตก่ ารชนช้างคร้ังน้ไี ม่ไดพ้ รรณนาอาวุธของนักรบบนหลังช้างไว้
การตอ่ สกู้ นั บนหลงั ชา้ งดจู ะเปน็ แบบธรรมเนยี มในสมยั สโุ ขทยั ยงั มตี วั แทนของ
นกั สสู้ โุ ขทยั ผเู้ ชยี่ วชาญทงั้ เชงิ รบและการใชอ้ าวธุ บนหลงั ชา้ งอกี คอื เจา้ ศรศี รทั ธาราชจฬุ า
มณี ซง่ึ ภายหลงั ทรงเบอ่ื หนา่ ยทางโลกออกทรงผนวชไดเ้ ปน็ สมเดจ็ พระมหาเถรศรศี รทั ธา
ราชจฬุ ามณศี รีรตั นลังกาทปี มหาสามเี ปน็ เจา้

23

จารกึ วดั ศรชี มุ พบในอโุ มงคว์ ดั ศรชี มุ เลา่ วรี กรรมของเจา้ ศรศี รทั ธาราชจฬุ ามณี
โอรสพระยาก�ำแหงพระราม หลานพ่อขุนผาเมือง ว่า
เมอื่ ทรงพระเยาวไ์ ดเ้ รยี นวชิ าการตอ่ สบู้ นหลงั ชา้ ง หลงั มา้ และการใชอ้ าวธุ นานา
ชนดิ ทง้ั ธนู หน้าไม้ และ ปืน ไดท้ รงท�ำยทุ ธหัตถีกบั ขุนจงั เพ่ือช่วยพระบิดาเชน่ เดียวกบั
ท่ีพ่อขุนรามค�ำแหงช่วยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ แต่รายละเอียดการต่อสู้ของเจ้าศรีศรัทธา
ราชจุฬามณใี นจารึกวดั ศรีชมุ นั้น ดูเหมอื นจะดุเดือดเห็นภาพชดั เจน ดังนี้

...เจา้ ศรศี รทั ธาราชจฬุ ามณนี น้ั เจบ็ ใจตา่ งพอ่ ตนหนกั หนา เสมอ
ดังเอาคอ้ นตหี างนาคราชนัน้ ...
เจา้ ศรศี รทั ธาราชจฬุ ามณี หนั หนา้ ไม้ ปกั ปนื ปากจอบ ยงิ ถกู รู
นำ�้ มนั ชา้ งสรายนนั้ เดนิ เจบ็ หนกั หนา คนหนดนิ กย็ งั ชอ่ ยแทงชา้ งสราย
นน้ั จงึ ยกั เพลยี กมดุ ปา่ พงหนี เจา้ ศรศี รทั ธาราชจฬุ ามณจี งึ ขบั แมช่ า้ งไล่
ตามตบี ห่ ยา่ คา้ น บท่ าน เมอื ตามตคี วาญชา้ งวง่ิ หนตี กปา่ แขมเงอื ดค�ำรบ
สองคาบสามคาบเขาทั้งหนดินนั้นวง่ิ หนเี ลย ชา้ งน้ันตามตี บห่ ย่า จงึ ได้
ช้างสรายนัน้ ใหม้ าแล...
การใช้แม่ช้าง (ช้างพัง) สู้กับชา้ งสารตกนำ�้ มันได้ชัยชนะครั้งน้ี นับเป็นวรี กรรม
ของเจา้ ศรศี รทั ธาราชจฬุ ามณที ่ตี ้องบนั ทกึ ไว้
แต่ตอนนี้มีโจทย์ใหม่ให้ศึกษา คือ ปืนปากจอบ ท่ีท่านใช้ยิงถูกรูน�้ำมันอย่าง
แม่นย�ำวา่ คือปนื อะไรกันแน่
ตรงนี้ต้องยกหน้าที่ให้ผู้เช่ียวชาญด้านปืนโบราณ เป็นผู้ให้ค�ำอธิบาย ศิริรัจน์
วังศพ่าห์ ผูส้ นใจใฝ่รู้เร่อื งปนื ใหญส่ บื ตอ่ จาก ศาสตราจารย์นายแพทยส์ ำ� ราญ วงั ศพ่าห์
สนั นษิ ฐานว่า
...ปืนปากจอบ น่าจะเป็นปืนไฟแบบหน่ึงท่ีมีเพลาซ้ายและ
ขวาย่ืนออกมาจากล�ำกลอ้ งมีเหล็กรูปตวั Y โดยทขี่ าดา้ นบนทั้ง ๒ ข้าง
คล้องเพลาซ้ายและขวาไว้ ท�ำให้ปืนต้ังยิงได้ค่อนข้างมั่นคง ส่วนค�ำ
วา่ ปากจอบ นา่ จะหมายถึงลักษณะปากล�ำกลอ้ งที่ตัดตรงลงมาคลา้ ย
จอบ หรืออาจจะเป็นปืนไฟแบบที่ไม่มีเพลามัดติดไว้กับหลักเพ่ือให้มี
ความม่นั คงขณะยง่ิ ก็เป็นได้ แตเ่ ป็นท่ีน่าสนใจเพราะค�ำวา่ “ปืน” อาจ
จะหมายถงึ “ธนู” ไดเ้ ชน่ กนั จากเหตุผลทีว่ ่า เสียงของธนูขณะยิงเสยี ง
ดัง ปรน๋ื น่าจะเป็นเหตุใหผ้ ู้คนสมัยน้นั พากันเรียกธนู เปน็ ปนื สงั เกต
ได้จากรูปหล่อพระนารายณ์ทรงธนู ด้านหน้าพระที่น่ังพุทไธสวรรย์
พพิ ธิ ภัณฑสถานแหง่ ชาติ พระนคร แตก่ เ็ รียกวา่ พระนารายณ์ทรงปนื

24

ถงึ แมย้ งั ไมม่ หี ลกั ฐานการใชป้ นื ไฟครง้ั กรงุ สโุ ขทยั ทแี่ นช่ ดั เมอ่ื พจิ ารณา
ค�ำว่า ปากจอบ ก็ยังไม่พบว่า ธนูปากจอบ มีลักษณะเช่นใดจึงอาจ
สันนิษฐานว่า น่าจะเป็นค�ำเรียกปืนไฟที่ปากกระบอกตัดลงคล้ายรูป
จอบ และเนอื่ งจากมี ปนื มกร ทเ่ี ชอื่ กนั วา่ มอี ายสุ มยั ปลายกรงุ สโุ ขทยั ถงึ
ต้นกรุงศรีอยุธยาปากล�ำกล้องตัดลงคล้ายจอบเช่นกัน ศาสตราจารย์
นายแพทยส์ �ำราญ วงั ศพา่ ห์ ไดศ้ กึ ษาปนื กระบอกนไี้ วว้ า่ มปี ากกระบอก
กว้าง ๑.๓ นวิ้ ล�ำกลอ้ งยาว ๒๓ นวิ้ ตวั ปนื เป็นรปู ทรงกระบอก ทา้ ย
ปืนหล่อเป็นรูปคล้ายเจดีย์สามารถใส่ไม้คัดปืนได้ อาจารย์จุลทัศน์
พยาฆรานนท์ (ราชบณั ฑิต ส�ำนกั ศิลปกรรม) ไดก้ รณุ าให้ความรเู้ รอื่ ง
ลายท่ีประดับบนปืนว่า ปากกระบอกปืนเป็นรูปหน้ากาล หรือ บางที
เรียกว่า เกียรติมขุ อา้ ปากอยู่ ปากของตัวกาล คอื สว่ นปากล�ำกล้อง
ปนื ระหวา่ งตาของตวั กาล มดี งั้ จมกู เปน็ สนั ปากมเี ขย้ี วโคง้ ออกสองขา้ ง
ทา้ ยปนื หลอ่ เปน็ รปู เจดยี โ์ ดยฐานเจดยี ต์ ดิ อยกู่ บั ตวั ปนื รปู ทรงของเจดยี ์
คลา้ ยกบั เจดยี ์จ�ำลององคเ์ ล็ก องค์ระฆงั คลา้ ยกบั ที่วัดศรีโคมค�ำ และ
วดั พระเจา้ ตนหลวง จงั หวดั พะเยา จากเพลาไปจนถงึ รงั เพลงิ มกี ารหลอ่
เป็นตัวกาล หรือ มกร อมปนื ไวอ้ กี ทีหนึง่ ปากมกร อมบรเิ วณเพลาปนื
และบรเิ วณรชู นวนเปน็ เกลด็ ของตวั มกร ลายดา้ นขา้ งของเกลด็ มกรผกู
เป็นกระจังรักร้อยและขอสร้อย ลายท่ีพบบนตัวปืนสันนิษฐานว่าเป็น
ลายสมัยกรุงสุโขทัย ลายแบบนี้พบที่วัดนางพญา อ�ำเภอศรีสัชนาลัย
และรูปหางกระเบ้ือง สมัยปลายกรุงสุโขทัย พบที่วัดสวนแก้วอุทยาน
น้อย และมีความเห็นเพิ่มเติมว่า ลายแบบนี้เลยมาถึงตอนต้นสมัย
กรุงศรีอยุธยา แต่ไม่เกินรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ.
๑๙๙๑ - ๒๐๓๑)

25

๑๕

๑๖
๑๔

๑๔ รูปนารายณ์ทรงปืน หนา้ พระที่นงั่ พทุ ไธสวรรย์ พพิ ิธภัณฑสถานแหง่ ชาติ พระนคร
๑๕ ปืนปากจอบ มหี ลักไว้ปกั ปนื เวลายิง ปากกระบอกตัดตรงลงมาคล้ายรปู จอบ
ปจั จบุ ันอยู่ที่พพิ ิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
๑๖ ปนื มกร มีอายใุ นสมยั สุโขทยั ปจั จุบันอยทู่ ีพ่ ิพิธภณั ฑสถานแห่งชาติ เชียงแสน

26

๑๗

๑๘
๑๗ ปากมกร อมบริเวณเพลาปนื และบริเวณรชู นวนเปน็ เกลด็ ของตวั มกร
ลายด้านขา้ งของเกล็ดมกรผูกเปน็ กระจังรักรอ้ ยและขอสรอ้ ย
๑๘ รปู หนา้ กาลหรือเกียรติมขุ ปากล�ำกลอ้ งของปืนมกร

27

ลักษณะของช้างศึกและบรรดาอาวุธคร้ังกรุงสุโขทัยยังมีเค้ารอยให้เห็นได้บ้าง
เชน่ ประตมิ ากรรมรูปชา้ งรายรอบฐานพระเจดีย์ชา้ งล้อม ช้างรอบ และเครอ่ื งสงั คโลกรูป
ช้างศึกพร้อมจตุลังคบาท และภาพชาดกสลักลายเส้นบนศิลาในอุโมงค์วัดศรีชุม มีภาพ
อาวุธหลายชนดิ เชน่
ภาพท่ี ๒๓ เรอื่ ง กณั ฑนิ ชาดก พระโพธสิ ตั วเ์ ปน็ เทพดาในปา่ มรี ปู นายพราน
โกง่ ธนู ยิงเนื้อคหู่ น่ึง ธนู ในภาพนา่ จะมีรปู และลกั ษณะการใช้
ยิงที่ใกลเ้ คียงกับ ธนูท่ีใช้อย่จู รงิ ในสมยั นน้ั
ภาพที่ ๖๓ เรื่อง มหาสีลวชาดก พระโพธิสัตว์เป็นพระมหาสีลวชาดก
ในพาราณสี มีภาพบรุ ษุ น่งั มือถือ พระขรรค์
ภาพท่ี ๗๗ เรื่อง สังขธัมมชาดก พระโพธิสัตว์เกิดในตระกูลคนเป่าสังข์
มีรูปบรุ ุษยนื มอื ขวาถอื จกั ร มอื ซา้ ยถอื ดาบไทย

28

๑๙

๒๐

๑๙, ๒๐ ภาพชาดกในอุโมงค์วดั ศรชี ุม เมอื งสุโขทยั สลกั ลายเสน้ บนศลิ ามภี าพธนู ดาบไทย ปรากฏอยู่

29

แม้จะไม่สามารถยืนยันอย่างชัดเจนได้ว่า มีการใช้ปืนไฟในสมัยสุโขทัยหรือไม่
ศริ ริ จั น์ วังศพา่ ห์ ได้ใหค้ วามรู้เรอ่ื งก�ำเนดิ ของปืนไฟไว้ว่า หลังจากจีนคิดคน้ สูตรของดนิ ด�ำ
ได้เปน็ ผลส�ำเรจ็ ชาวจนี สมัยราชวงศ์ถัง (พ.ศ. ๑๑๖๑ - ๑๔๕๐) ได้บรรจุดินด�ำในประทัด
และดอกไม้ไฟเพื่อจุดในเทศกาลรน่ื เรงิ ตา่ งๆ อีกราว ๕๐ ปีตอ่ มา ตรงกบั สมัยราชวงศซ์ อ้ ง
(พ.ศ. ๑๕๐๓ - ๑๘๒๒) ดนิ ด�ำไดถ้ ูกน�ำมาใชใ้ นการรบเป็นคร้งั แรกในรูปของธนูเพลงิ ท่ีใช้
แรงระเบดิ ของดนิ ด�ำเปน็ ตวั ขบั เขา้ หาเปา้ หมาย ตอ่ มาราวปี พ.ศ. ๑๖๗๓ ชาวจนี กป็ ระดษิ ฐ์
อาวุธท่ีมีรูปร่างคล้ายปืนท�ำจากกระบอกไม้ไผ่ จนถึงราว พ.ศ. ๑๘๐๒ ปืนแบบแรกที่มี
ลูกเหลก็ และดนิ ด�ำขบั กระสุน (Houch lang) ก็ประดษิ ฐเ์ ปน็ ผลส�ำเร็จ
ย้อนดูทางฝง่ั ยโุ รปบา้ ง มบี ันทึกวา่ นายโรเจอร์ เบคอน (Roger Bacon) คดิ
สูตรดินด�ำได้เมื่อ พ.ศ. ๑๗๘๕ และอีกราว ๑๐๐ ปีต่อมา บาทหลวงชาวเยอรมันนาม
ว่า เบอรน์ ารด์ สวอซ (Bernard Swatz) ก็คดิ สูตรของดนิ ด�ำได้ส�ำเรจ็ สว่ นปนื ไฟแบบ
แรกของยโุ รปทม่ี ีรูปทรงขวดและลกู กระสนุ เปน็ ลูกศรนน้ั ประดษิ ฐข์ ึ้นกร็ าว พ.ศ. ๑๘๖๘
ดูเหมือนว่าชาวตะวันออกอย่างพวกเราเรียนรู้ที่จะใช้ประโยชน์จากดินด�ำเพื่อการร่ืนเริง
และการท�ำสงครามกอ่ นชาวตะวนั ตกหลายทศวรรษ แตก่ ลบั เปน็ ชาวตะวนั ตกทส่ี ามารถใช้
ประโยชนจ์ ากดนิ ด�ำไดอ้ ยา่ งมปี ระสทิ ธภิ าพจนน�ำไปสกู่ ารสรา้ งปนื ใหญน่ อ้ ยทม่ี อี านภุ าพสงู
มาจนถงึ ปจั จบุ นั อนงึ่ มบี นั ทกึ เกา่ แกเ่ กย่ี วกบั การใชป้ นื ไฟในสงครามระหวา่ งสยามกมั โพช
กับพวกมัชปาหติ เมอื่ ราวปี พ.ศ. ๑๘๕๗ ในครง้ั นนั้ พวกชวาเก็บปนื ใหญ่ของสยามกมั โพช
ได้ ๒ กระบอก ชอื่ Guntar Geni และ Jagur เปน็ หลกั ฐานทย่ี กเปน็ ขอ้ สงั เกตไว้ แต่
ปืนไฟอีกกระบอกหน่ึงที่เช่ือกันว่า เก่าท่ีสุด ในประเทศไทย ปากล�ำกล้องเป็นรูปเหรา
บรรจุลูกกระสุนด้านท้ายล�ำกล้อง มีรังเพลิงส�ำรองบรรจุดินด�ำและล่ามสายชนวนไว้ เมื่อ
จะยิงจึงบรรจุลูกกระสุนบริเวณรังเพลิง วางรังเพลิงส�ำรองดันปลายท่ีบรรจุดินด�ำเข้าใน
ล�ำกล้อง ขัดรังเพลิงส�ำรองไว้กับตัวปืนโดยใช้ไม้เสียบขวางไว้ แล้วจึงจุดชนวนที่รังเพลิง
ส�ำรอง ดินด�ำทีอ่ ยู่ในรังเพลิงส�ำรองระเบดิ ขับกระสนุ ออกไป รังเพลิงส�ำรองทใ่ี ชแ้ ล้วจะถูก
ยกขึ้นและเปล่ียนรังเพลิงอันใหม่แทน ท�ำให้มีอัตราการยิงท่ีรวดเร็วแต่มีอานุภาพในการ
ท�ำลายและความแม่นย�ำนอ้ ย
ปืนล�ำกล้องรูปเหรานี้ ผู้รู้ด้านศิลปะว่าลวดลายเก่าถึงสมัยอยุธยายุคต้นที่น่า
ศึกษาคือ เป็นปนื ไฟที่อาจจะมีใชอ้ ยกู่ ่อนทช่ี าวยโุ รปตะวนั ตกชาตแิ รก คือชาวโปรตเุ กสจะ
เดนิ ทางมาถึงกรงุ ศรีอยธุ ยาหรอื ไม่ ?

30

๒๑

๒๒ ๒๓

๒๔ ๒๕
๒๑ ปืนไฟแบบแรกของยโุ รปรูปขวด
๒๒ ปนื เหรา ปจั จุบนั อยูท่ พ่ี พิ ิธภณั ฑสถานแหง่ ชาติ พระนคร
๒๓ รงั เพลิงแบบของปนื เหรา ปืนใหญ่บรรจุทา้ ยอยา่ งเกา่
๒๔ รงั เพลงิ ส�ำรองไวว้ างในรงั เพลงิ ของปืน
๒๕ แสดงขั้นตอนการยิงปนื บรรจุทา้ ยอยา่ งเก่า ใสด่ ินด�ำในรงั เพลงิ ส�ำรองตอ่ ชนวน บรรจลุ กู กระสุนในล�ำกลอ้ ง
วางหมอน แลว้ วางรังเพลิงส�ำรองลงในรังเพลงิ ปนื ขัดไม้ จดุ ชนวนรงั เพลงิ ส�ำรอง ยงิ กระสนุ ไปยังเป้าหมาย

31

การสูร้ บบนหลังช้าง “ยุทธหัตถ”ี

แม้การใช้ช้างเข้าร่วมการรบ และการสู้รบกันบนหลังช้างสมัยสุโขทัยจะมีอยู่
ตอ่ มาในสมัยอยุธยา แตก่ ต็ ้องนบั ว่า การยทุ ธหตั ถีครง้ั สมัยสุโขทัยไดเ้ รม่ิ เปดิ ฉากใหเ้ ราได้
ศกึ ษากนั จึงนา่ จะอธบิ ายกระบวนยุทธวธิ บี นหลังช้างวา่ เปน็ อยา่ งไร
ในหนังสือ ท่รี ะลึกวันสถาปนากระทรวงกลาโหมครบ ๖๖ ปี เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๖
อธบิ ายเกยี่ วกบั พลชา้ ง (หรอื ทหารชา้ ง) หนงึ่ ใน “จตรุ งคเสนา” ตามต�ำราพชิ ยั สงครามไว้
วา่ การฝกึ หดั ชา้ งใหเ้ ขา้ รว่ มการยทุ ธ เขา้ ชนชา้ ง และการขบั ขชี่ า้ งนน้ั เปน็ ศาสตรช์ น้ั สงู ทคี่ น
ไทยสามารถท�ำไดอ้ ยา่ งดเี ยยี่ ม เนอื่ งจากผทู้ จ่ี ะเรยี นต�ำราพระคชศาสตรไ์ ดต้ อ้ งเปน็ ตระกลู
ขัตติยะ หรือชายชาตทิ หารที่สืบตระกลู ต่อกันมาแต่โบราณ และยังมคี ตนิ ิยมวา่ ผูท้ รงชา้ ง
ได้ คือ พระมหากษตั รยิ ์ หรอื ผู้ท่เี ป็นแม่ทพั นายกองขช่ี า้ งศกึ ตามเสดจ็ การรบเมอื่ อยบู่ น
คอช้างดว้ ยพระแสงของา้ วจนได้ชยั ชนะ ถอื วา่ เปน็ เกียรตยิ ศช่วั กาลนาน
ความรู้ในเร่ือง “พลช้าง” ในหนังสือเล่มเดียวกัน ยังอธิบายการจัดระเบียบ
และหน้าท่ีของกรมช้างไว้ด้วยว่า สมัยโบราณนิยมจัดขบวนช้างเข้ากองช้างทั้งเข้าสู้ศึก
และขนเสบียงอาหาร ตั้งเป็น กรมช้างกัน ได้แก่ช้างท่ีมีคชลักษณะถูกต้องตามลักษณะ
ทีเ่ ปน็ คณุ เชน่ ช้างเผอื กตระกูลตา่ งๆ หรอื ชา้ งสีประหลาด และชา้ งกองนอก คอื ขบวน
ช้างจัดไว้ส�ำหรบั รับศึก เชน่ ช้างดั้ง ชา้ งกัน ชา้ งแซก ชา้ งแซง ช้างลอ้ มวงั ชา้ งคำ้� ชา้ งค่าย
ช้างพังค่า ช้างพระไชย ช้างพระคชาธาร ช้างพระที่น่ังกระโจมทอง ช้างโคตรแล่น คือ
ช้างซับมันอยู่ท้ายกระบวนสุดกันอาละวาด ช้างแต่ละต�ำแหน่งมีพลประจ�ำช้างครบครัน
ต้งั แตก่ ลางช้าง ควาญช้าง เท้าชา้ ง
สว่ นพลชา้ งในกองทพั ฮนิ ดแู ตโ่ บราณตามทอี่ ธบิ ายในหนงั สอื เลม่ นี้ มชี า้ งแตง่ ตวั
ดว้ ยเครอื่ งปอ้ งกนั อาวธุ มสี ปั คบั และกบู บนหลงั ชา้ งมพี ลถอื ธนู และอาวธุ ยงิ อน่ื ๆ กบั หอก
บนหลงั ชา้ งส�ำหรบั แทงขา้ ศกึ เชน่ เมอ่ื เวลาจะเขา้ โจมตตี อ่ พวกปจั จามติ ร ชา้ งนน้ั กต็ อ่ สรู้ บ
ศกึ ดว้ ย และใชช้ ว่ ยเปน็ ก�ำลงั ในการจะหกั โหมแทงทลายประตเู มอื ง ขา้ ศกึ นายทหารผใู้ หญ่
มกั จะข่ชี ้างออกรบโดยมาก

32

๒๖

๒๗
๒๖ ภาพจติ รกรรมแสดงการรบบนหลงั ช้างดว้ ยของ้าว
๒๗ ประติมากรรมรูปช้างศึกมจี ตุลังคบาทประจ�ำต�ำแหนง่

33

ความรู้เร่ืองพลช้าง การใช้อาวุธรวมทั้งการสู้รบบนหลังช้างตามที่อธิบายน้ี ดู
เหมือนจะสอดคล้องกับภาพวาดจิตรกรรมท่ีเก่ียวกับยุทธหัตถี น่าจะเป็นเพราะช่างเขียน
ได้เคยพบเหน็ ด้วยประสบการณ์จรงิ และความรู้ตามต�ำราประกอบกัน
ยงั ได้พบเคร่ืองสังคโลก ผลิตจากเตาบา้ นเกาะน้อย เมืองศรีสัชนาลยั ท�ำเปน็ รปู
ชา้ งศกึ ชดุ หนง่ึ มคี นขอ่ี ยทู่ คี่ อ นา่ จะเปน็ คนส�ำคญั เพราะมรี ปู ทหารถอื ดาบเขนประจ�ำสเี่ ทา้
ช้างเปน็ จตุลังคบาท
อกี ชุดหน่ึงมคี วาญชา้ ง สัปคับกลางชา้ ง และทา้ ยชา้ ง นา่ จะเปน็ หลกั ฐานช้างศึก
สโุ ขทยั ทนี่ า่ ศกึ ษาอยา่ งยงิ่ โดยเฉพาะชดุ แรก รปู บคุ คลอมเมยี่ งแกม้ ตยุ่ เหมอื นทพ่ี บในตกุ๊ ตา
เสียกบาลท่วั ไป

๒๘ ๒๙

๒๘ สงั คโลกสุโขทยั ท�ำเป็นประตมิ ากรรมรปู ชา้ งศกึ มผี ขู้ ี่อยู่ท่คี อ และพลประจ�ำรกั ษาสเี่ ท้าช้าง
๒๙ สังคโลกรปู ช้างศึก มคี วาญชา้ ง สปั คบั กลางช้าง และทา้ ยชา้ งประจ�ำหน้าท่ี พบจากเตาเมืองศรสี ัชนาลัยทง้ั ๒ รูป

34

ประวตั ศิ าสตรเ์ ปลย่ี นศสั ตราวธุ

ศสั ตราวธุ เปลย่ี นประวตั ศิ าสตรท์ ก่ี รงุ ศรอี ยธุ ยา

การเกิดศูนย์กลางการเมืองการปกครองที่ลุ่มน�้ำเจ้าพระยาในพุทธศตวรรษ
ท่ี ๑๙ คอื กรงุ เทพทวารวดศี รอี ยธุ ยา หรอื กรงุ ศรีอยธุ ยา เปน็ ราชธานที ่ีมคี วามเจริญ
มง่ั คงั่ มนั่ คงยง่ั ยนื ตอ่ มานานถงึ ๔๑๗ ปี ยอ่ มมปี ระวตั ศิ าสตรท์ เี่ นอื่ งดว้ ยการจดั การปกครอง
การควบคุมผู้คน การท�ำมาหากินประกอบอาชีพของราษฎร ท�ำมาค้าขายกับบ้านเมือง
ภายใน ภายนอก การติดต่อเจริญสัมพันธไมตรีกับแว่นแคว้นใกล้ไกลและการช่วงชิง
ความเป็นผนู้ �ำ น�ำไปสู่ความขดั แย้งประลองก�ำลงั จนถงึ ท�ำศึกทั้งเปน็ ฝา่ ยปกป้องและเปน็
ฝ่ายรุก เรื่องราวเหล่านี้ย่อมมีความเก่ียวเนื่องกับศัสตราวุธ ท่ีชาวอยุธยาต้องสรรค์สร้าง
ฝึกปรือให้ใช้อย่างแคล่วคล่องยามท่ีต้องใช้ และยังมีความรู้เชิงวัฒนธรรมที่ศัสตราวุธเป็น
ส่วนหน่ึงของการพระราชพิธีต่างๆ เช่น ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระราชพิธี
ถือนำ้� พระพพิ ฒั น์สัตยา เปน็ เคร่อื งยศและเปน็ เคร่ืองมงคลบรรณาการทางพระราชไมตรี
ประเดน็ ขอ้ วเิ คราะหท์ างประวตั ศิ าสตรเ์ รอื่ ง พระเจา้ อทู่ องไมไ่ ดเ้ สดจ็ มาจากเมอื ง
อทู่ อง เป็นข้อมูลทย่ี อมรับกนั แล้ว สว่ นข้อสนั นิษฐานว่า พระเจ้าอ่ทู องมาจากไหนก่อนจะ
ทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยา ซึ่งบ้างก็ว่ามาจาก เมืองอโยธยาศรีรามเทพนคร ซึ่งอยู่ทาง
ฝง่ั ตะวนั ออกใกลก้ นั และบา้ งกใ็ หข้ อ้ สงั เกตวา่ มไิ ดท้ รงประกอบพระราชพธิ บี รมราชาภเิ ษก
คงเปน็ เพราะไดท้ รงครองเมอื งใดอยกู่ อ่ นแลว้ สนั นษิ ฐานวา่ อาจเสดจ็ มาจาก เมอื งพระนคร
กเ็ ปน็ ได้ เหตผุ ลสนบั สนนุ ทน่ี า่ ฟงั กค็ อื การมคี วามสมั พนั ธก์ บั เขมรในยคุ ตน้ เชน่ การทโี่ ปรด
ใหไ้ ปตพี ระนครธมใหส้ �ำเรจ็ เพราะขอมแปรพกั ตร์ และทรงเฉลมิ พระนามจาก พระเจา้ อทู่ อง
ขนึ้ เปน็ สมเด็จพระรามาธบิ ดี รวมทงั้ การมปี ระเพณรี าชส�ำนักอย่างพระนครหลวง สาระ
ท่ีน่าศึกษาเชิงลึกเหล่าน้ีขอเว้นไว้ให้นักประวัติศาสตร์ได้ถกเถียงกันต่อไป จะขอน�ำเข้าสู่
เรอ่ื งของประวตั ศิ าสตร์ผา่ นศสั ตราวธุ ในประเดน็ ต่างๆ ดงั นี้

35

ที่ต้งั กรุงในทางยุทธศาสตร์

พระยาโบราณราชธานินทร์ (พร เดชะคุปต)์ อดีตสมหุ เทศาภบิ าลมณฑล
อยธุ ยา ซงึ่ เอาใจใสโ่ บราณคดกี รงุ ศรอี ยธุ ยาอยา่ งละเอยี ดถถี่ ว้ น ท�ำค�ำอธบิ ายแผนทกี่ รงุ
ศรอี ยธุ ยา อธบิ ายภมู สิ ถานเมอ่ื แรกสถาปนากรงุ วา่ ทตี่ ง้ั นน้ั เปน็ แผน่ ดนิ แหลมของแมน่ ำ้�
ลพบุรี ด้านเหนือ ด้านใต้ ด้านตะวนั ตกจดแมน่ �้ำ ดา้ นตะวนั ออกเปน็ คูเมืองขดุ แยกจาก
แมน่ ำ�้ ลพบรุ ที ต่ี �ำบลหวั รอไปบรรจบแมน่ ำ�้ เจา้ พระยาทบ่ี างกระจะเรยี กวา่ คขู อ่ื หนา้ เดมิ
คงจะแคบ สมเดจ็ พระมหาธรรมราชาโปรดใหข้ ดุ ขยายใหก้ วา้ งเพราะมีประสบการณ์ที่
กองทัพหงสาวดถี มคูขา้ มเข้าตีกรุงได้ในแผน่ ดินสมเดจ็ พระมหนิ ทราธริ าช
พลโทด�ำเนิน เลขะกุล อาจารย์ประวัติศาสตร์ทหาร เขียนไว้ในเร่ือง การ
ทหารสมัยอยุธยา มองที่ตั้งกรุงศรีอยุธยาในด้านยุทธศาสตร์ว่า การท่ีตั้งอยู่ในจุดรวม
ของแม่น�้ำต่างๆ ท่ีไหลลงมาจากเหนือ ท�ำให้สะดวกท่ีจะส่งก�ำลังรบและเสบียงอาหาร
โดยทางเรือขึ้นไปป้องกันดินแดนในภาคเหนอื ได้สะดวกรวดเร็ว และยังอย่บู นฝง่ั แม่น�ำ้
เจ้าพระยาไม่ใกล้ปากน�้ำมากจนกระท่ังถูกข้าศึกต่างชาติท่ียกมาทางเรือขนาดใหญ่เข้า
จู่โจมโดยไม่ทันรู้ตัว ไม่ห่างเกินไปจนไม่อาจใช้เรือล�ำเลียงทหารไปป้องกันดินแดนบน
แหลมมลายูได้ นอกจากนีก้ ารทเ่ี ปน็ ทีล่ มุ่ มีแม่น�้ำหลายสายมารวมกัน ในปหี นงึ่ ๆ จะมี
น�ำ้ หลากลงมาท่วมบริเวณนี้ถึง ๔ เดือน ต้ังแตเ่ ดอื น ๑๐ ถึงเดอื นอ้าย ระหวา่ งน้รี อบๆ
กรงุ ศรอี ยธุ ยาจะถกู นำ้� ทว่ มเปน็ บรเิ วณกวา้ งขวาง ล�ำบากแกก่ ารเดนิ ทางไปมาของผคู้ น
และสัตวพ์ าหนะ ทุกบา้ นช่องจะตอ้ งมีเรือไวใ้ ชเ้ ปน็ ประจ�ำ ลักษณะเชน่ นยี้ อ่ มบังคับให้
ฝา่ ยขา้ ศกึ มโี อกาสมาลอ้ มกรงุ ศรอี ยธุ ยาไดเ้ พยี งปลี ะ ๘ เดอื นเทา่ นนั้ เมอื่ ลอ้ มอยถู่ งึ หนา้
น�้ำหลากก็จ�ำตอ้ งยกทัพกลบั ไป
กำ� แพงเมอื ง
ก�ำแพงเมอื ง นอกจากบอกขอบเขตพระนครแลว้ ยังเปน็ เครอื่ งป้องกันความ
ปลอดภัยช้ันในสุดของบ้านเมืองท่ีต้องดูแลความปลอดภัยด้วยวิธีต่างๆ อย่างสุดก�ำลัง
พระยาโบราณฯ ศกึ ษาตรวจสอบแล้วอธบิ ายวา่ ก�ำแพงพระนครเมื่อแรกสรา้ งกรุงเป็น
เชิงเทิน โดยขุดดนิ ทางรมิ นำ้� กับข้างในขึ้นถม ส่วนก�ำแพงอิฐมากอ่ ภายหลงั เพราะพบ
รากก�ำแพงอิฐบนเชงิ เทนิ ดนิ ทีส่ ูงกวา่ ระดบั ดินธรรมดา

36

ปรับเปลย่ี นยุทธศาสตร์ ยทุ ธวิธีเมอ่ื คบชาติตะวันตก

พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับหลวงประเสริฐฯ ที่นักประวัติศาสตร์
เชือ่ ถือความถกู ตอ้ งมากที่สดุ ฉบบั หน่งึ บันทกึ วา่
ศกั ราช ๘๘๐ (พ.ศ. ๒๐๖๑) ครง้ั สมเด็จพระรามาธิบดสี ร้างพระศรสี รรเพชญ
เสวยราชสมบตั ิ แรกต�ำราพิชยั สงคราม และแรกท�ำสารบาญชี พระราชสัมฤทธทิ ุกเมือง
ปีศักราชและเหตุการณ์ท่ีโปรดให้ท�ำต�ำราพิชัยสงครามและท�ำสารบาญชี คือ
โปรดให้ตั้งกรมพระสุรัสวดี มีหน้าที่ท�ำบัญชีก�ำลังพลทั่วพระราชอาณาเขตน�ำมาเก็บไว้ใน
ราชธานี เมื่อมีศึกสงครามจะได้เรียกก�ำลังพลตามบัญชีจากเจ้าเมือง ข้าหลวงเมืองต่างๆ
ไดค้ รบถว้ นถูกต้อง มขี ้อควรสังเกตคอื ในปเี ดยี วกนั นี้ได้มชี าติตะวนั ตกชาตแิ รกเขา้ มาถงึ
การมชี าวผวิ ขาวผมแดงจมกู โดง่ เดนิ ทางเขา้ มาถงึ กรงุ ศรอี ยธุ ยาเปน็ คราวแรกใน
ครงั้ นน้ั คดิ วา่ เปน็ เรอ่ื งประหลาดนา่ ตน่ื เตน้ ส�ำหรบั ชาวอยธุ ยาหรอื ไม่ เราไมอ่ าจจนิ ตนาการ
ได้ แต่ที่แน่ๆ คือชาวอยุธยาน้ันคงไม่ต่ืนกับชาวต่างชาติเท่าใดนัก เพราะก่อนหน้าน้ีก็มี
บรรดาแขกชาตติ า่ งๆ ทง้ั อาหรบั เปอรเ์ ซยี อนิ เดยี มลายู จนี ไปมาคา้ ขายเปน็ ประจ�ำจนถงึ
ได้ตัง้ ถน่ิ ฐานบ้านเรอื นอยรู่ ว่ มกับชาวอยธุ ยาบ้างแลว้ ชาวโปรตเุ กสทีเ่ ดนิ ทางเข้ามาถงึ ครง้ั
แรกๆ ก็โดยสารเรอื ส�ำเภาจนี ซึ่งมาเปน็ ประจ�ำอย่กู อ่ น
ภาพการท่ีผู้แทนจากอุปราชโปรตุเกส Duarte Fernandes เข้าเฝ้าสมเด็จ
พระรามาธบิ ดที ี่ ๒ พรรณนาไวอ้ ย่างน่าสนใจในหนังสอื The Commentaries of the
Great Afonso Dalboquerque ซ่ึง ขุนวจิ ติ รมาตรา ถา่ ยถอดความไวใ้ นหนังสือเรอื่ ง
ประวตั ิการค้าไทย ว่า

...พระเจา้ กรงุ ศรอี ยธุ ยาทรงทราบวา่ อฟั ฟอนโสดลั โบเกกิ แมท่ พั
เรือโปรตุเกสมาท่ีเมืองมะละกา มีหนังสือมาถึงพระองค์ ก็โปรดให้น�ำ
เฝ้าทันที ท่านข้าราชการไทยน�ำเฟอนันเดกับนายส�ำเภาจีนลงเรือขึ้น
มาตามล�ำแมน่ ำ�้ จนถงึ กรงุ ศรอี ยธุ ยาขนึ้ จากเรอื แลว้ กพ็ าเฟอนนั เดไปยงั
พระราชวงั พระเจา้ กรงุ ศรอี ยุธยาคอยอยู่ในท้องพระโรงใหญ่ ซงึ่ แขวน
มา่ นลายทอง รอบๆ มเี บาะหมอนงามวิจิตร พระองคป์ ระทบั บนเก้าอ้ี
สงู เบอ้ื งซา้ ยขวามพี ระมเหสี พระราชธดิ านงั่ อยใู่ กล้ ๆ แตง่ พระองคด์ ว้ ย
ผ้ายกทอง ตาดทอง และแพร สอดสวมเครอ่ื งประดับทองค�ำและเพชร
นลิ จนิ ดาพราว ถดั ออกไปทง้ั สองขา้ งเปน็ หมนู่ างพระก�ำนลั แตง่ ตวั อยา่ ง
เดียวกัน มองดูมโหฬารตระการตาเปน็ อยา่ งยิ่ง สตรีไทยออกจะเต้ียไป
หนอ่ ย แตก่ ระน้นั ก็สวยนัก นอกจากน้ีกม็ ีขนุ นางผูใ้ หญท่ ง้ั หมดแต่งตัว
ล้วนงดงามทกุ คน

37

เมื่อดวตเตเฟอนันเดเข้าไปในท้องพระโรงกระท�ำความเคารพ
พระเจา้ แผน่ ดนิ อยา่ งฮนิ ดแู ลว้ กเ็ ขา้ ไปถวายหนงั สอื ของอฟั ฟอนโสดลั โบ
เกกิ พรอ้ มกบั ดาบ อนั เปน็ เครอื่ งราชบรรณาการ พระเจา้ กรงุ ศรอี ยธุ ยา
มพี ระด�ำรสั ตอบขอบใจ ครน้ั แลว้ มพี ระราชปฏสิ นั ฐานถามถงึ เหตกุ ารณ์
ทเ่ี มอื งมะละกา ถามถงึ พระเจา้ แผน่ ดนิ โปรตเุ กส ถามถงึ อาณาจกั รและ
พระราชอ�ำนาจของพระเจ้าแผ่นดินน้ัน ซึ่งเฟอนันเดได้กราบทูลตอบ
อยา่ งด.ี ..
และตอ่ มากไ็ ดม้ กี ารท�ำสญั ญาทางพระราชไมตรตี อ่ กนั ตามสญั ญานี้ มขี อ้ หนง่ึ ที่
กรุงศรอี ยุธยาให้โปรตุเกสจดั หา ปนื และ กระสนุ มาขายใหร้ าชส�ำนักสยาม
ชาวโปรตเุ กสทเี่ ขา้ มาตงั้ แตร่ ชั สมยั สมเดจ็ พระรามาธบิ ดที ่ี ๒ นี้ นอกจากน�ำสนิ คา้
ยทุ ธปัจจยั อยา่ งใหม่ คือ ปืน กระสุนปนื เขา้ มาแล้ว กรงุ ศรอี ยุธยายงั ได้รบั เข้าเป็นทหาร
รับจ้างประจ�ำกองทัพ เพ่ือถ่ายทอดวิชาการใช้อาวุธแก่ก�ำลังพลของไทยต้ังเป็น กรมฝรั่ง
แมน่ ปนื ตามความช�ำนิช�ำนาญ
พจิ ารณาตามหลกั ฐานนี้ ชวนให้เกดิ จนิ ตนาการว่า น่าจะมี ปนื ใหญ่โปรตเุ กส
เข้ามาในสมัยอยุธยาจ�ำนวนหนึ่งท้ังในกรุงและหัวเมือง แต่กลับพบหลงเหลือน้อยมาก
ศริ ริ จั น์ วงั ศพา่ ห์ ศกึ ษาสอบคน้ พบกระบอกหนงึ่ ทหี่ นา้ พพิ ธิ ภณั ฑท์ หารเรอื สมทุ รปราการ
เป็นปืนหลอ่ จากเหล็ก ตวั ปนื ยาว ๑๑๒.๖ นวิ้ ล�ำกลอ้ งยาว ๙๖.๒ นิ้ว ใช้ลกู กระสนุ ขนาด
๔.๘ น้วิ ล�ำกลอ้ งด้านในเรียบ บรรจุลูกกระสนุ ทางปากล�ำกล้อง สญั ลกั ษณท์ ่ีบอกให้รู้วา่
เปน็ ปืนของโปรตุเกส คือรูปนูนตราอารม์ มโี ล่ซ้อนกัน ๒ โล่ ในโลข่ นาดเล็กมโี ล่สฟี ้า ๕
โล่ (five quinas) หรอื small blue shield เรยี งกนั คลา้ ยรูปไมก้ างเขน ภายในโล่สีฟ้า ยงั
มสี ัญลักษณ์ five white bezants หรอื the five wounds of Christ แสดงถึงความเจบ็
ปวด ความเสียสละของพระเยซู ทั้ง ๕ ไดแ้ ก่ การถูกตอกมือซ้ายขวา ขาซา้ ยขวาติดตรงึ
กับไม้กางเขน และหอกท่ีทิ่มแทงไปยังร่างของพระองค์ ตราอาร์มน้ีกษัตริย์อัลฟองโซ
ทรงสร้างเพ่ือแสดงความซาบซึ้งในพระกรุณาธิคุณแห่งพระเยซูท่ีประทานพรให้มีชัยชนะ
ตอ่ กองทพั แขกมวั ร์ ๕ แคว้น ในการรบท่ี Ourique เมอื่ ราวปี พ.ศ. ๑๖๒๘
สว่ นรูปโลข่ นาดใหญ่มีปราสาท ๗ หลัง หมายถึงป้อม ๗ แห่งทก่ี ษตั ริย์อลั ฟอง
โซที่ ๓ ยึดไดจ้ ากชยั ชนะเหนอื แขกมวั ร์ ทีเ่ หนือตราอาร์มมรี ูปมงกุฎประดบั อยู่
นอกจากนี้รูปลักษณะปืนและหูจับยกปืนยังเป็นลักษณะเฉพาะท่ีบอกได้ว่า
เปน็ ปนื ใหญห่ ล่อจากบริษัทหล่อปืนท่มี ีชอื่ เสียงของโปรตุเกส คอื The Boccaro Gun
Founders มีส�ำนกั งานในอนิ เดียและจีน แม้พบเพียงกระบอกเดยี วกบ็ อกเล่าเรือ่ งราวได้
คุม้ ค่า

38

๓๐

๓๑

๓๐ ปนื ใหญเ่ หลก็ สมยั อยุธยาของโปรตุเกสมีอายุราว ๔๐๐ ปี ขดุ ได้แนวปอ้ มเกา่ ทป่ี ากน้ำ�
พบเพียงกระบอกเดียวในประเทศไทย ปัจจบุ ันตั้งแสดงทีพ่ พิ ธิ ภัณฑท์ หารเรอื จงั หวดั สมุทรปราการ
๓๑ หูจบั ยกปืนเปน็ ลกั ษณะเฉพาะของปืนทห่ี ล่อมาจากโรงหลอ่ The Boccaro Gun Founders
ทมี่ ีส�ำนักงานอยู่ทเ่ี มือง Gua ประเทศอนิ เดีย และประเทศจีน

39

๓๒ ๓๓

๓๒ ตราอาร์มของประเทศโปรตุเกส
พบในปืนใหญโ่ ปรตเุ กสทีพ่ ิพิธภณั ฑ์ทหารเรอื จังหวดั สมุทรปราการ
๓๓ ตราอารม์ ของประเทศโปรตุเกสตราอารม์ มโี ล่ซอ้ นกัน ๒ โล่ ในโลข่ นาดเลก็ มโี ลส่ ฟี ้า ๕ โล่ (five quinas)
หรอื small blue shield เรียงกนั คลา้ ยรูปไม้กางเขน โลส่ ีฟา้ มสี ญั ลักษณ์แสดงถงึ ความเจบ็ ปวดและ
ความเสียสละของพระเยซูทง้ั ๕ ได้แก่ การถูกตอกมอื ซ้ายขวา ขาซา้ ยขวาติดตรึงกับไมก้ างเขน
และหอกทีท่ ิ่มแทงไปยงั ร่างของพระองค์ ตราอาร์มนก้ี ษัตรยิ ์อัลฟองโซ ทรงสร้างเพือ่ แสดงความซาบซ้ึงใน
พระกรุณาธคิ ุณแหง่ พระเยซทู ี่ประทานพรให้มชี ยั ชนะตอ่ กองทพั แขกมวั ร์ ๕ แควน้ ราวปี พ.ศ. ๑๖๒๘
รปู โลข่ นาดใหญ่ที่มีปราสาท ๗ หลงั หมายถงึ ปอ้ ม ๗ แห่งท่กี ษัตรยิ อ์ ัลฟองโซท่ี ๓ ยดึ ไดจ้ ากชยั ชนะ
เหนอื แขกมวั ร์ ท่เี หนอื ตราอารม์ มรี ูปมงกุฎประดบั อยู่

40

เหตุผลทพ่ี บ ปนื โปรตุเกส นอ้ ย ศิริรัจน์ วงั ศพา่ ห์ ยงั มคี วามเหน็ ว่า อาจเปน็
เพราะในเวลาต่อมามี ปืนใหญส่ ำ� ริดของฮอลันดาทมี่ ีคุณภาพสงู กวา่ เข้ามาแทน จึงไมไ่ ด้
สงั่ อาวธุ ของโปรตเุ กสเข้ามาเพ่มิ เตมิ นอกจากนี้ ปืนของโปรตุเกสเปน็ ปืนเหลก็ หากขาด
การบ�ำรงุ รกั ษากอ็ าจเกดิ สนมิ เหลก็ ผกุ รอ่ นช�ำรดุ ไปตามกาลเวลา จงึ อาจมกี ารน�ำปนื เหลก็
ไปหลอมใชป้ ระโยชนอ์ ย่างอ่ืนกเ็ ปน็ ได้ ชาวโปรตเุ กสและปนื ของโปรตเุ กสจึงเป็นที่มาของ
การท�ำต�ำราพิชยั สงคราม การตง้ั ท�ำบัญชพี ล รวมทงั้ การได้รบั ผ้เู ช่ียวชาญด้านการใช้อาวุธ
ปนื อยา่ งใหมท่ ส่ี งั่ เขา้ มาไวใ้ หฝ้ กึ ฝนถา่ ยทอดวทิ ยาการการใช้ การหลอ่ ปนื จนถงึ การรบั เขา้
เป็นทหารเข้ารว่ มรบไปในกองทัพ เปน็ ประวัติศาสตรห์ น้าใหม่ที่มีชาวตะวันตกเขา้ มาเป็น
ส่วนหนึ่ง อีกทั้งยังได้รับบ�ำเหน็จความชอบพระราชทานท่ีดินให้ตั้งบ้านเรือน ต้ังวัดใน
ครสิ ตศ์ าสนาส�ำหรบั ปฏิบัตศิ าสนกจิ ได้
หลังจากโปรตุเกสเข้ามายังกรุงศรีอยุธยาเป็นชาติแรกในรัชสมัยสมเด็จพระ
รามาธบิ ดที ี่ ๒ แลว้ กม็ ชี าตติ ะวนั ตกชาตอิ น่ื ๆ ทเี่ ปน็ คคู่ า้ คแู่ ขง่ ทางการเมอื ง การคา้ ในยโุ รป
ทยอยตามเขา้ มาอยา่ งต่อเนื่อง ได้แก่ สเปน ฮอลนั ดา อังกฤษ ฝรงั่ เศส ซงึ่ ต่างกช็ งิ ความได้
เปรยี บซงึ่ กนั และกนั เกอื บ ๒๐๐ ปี จนสนิ้ แผน่ ดนิ สมเดจ็ พระนารายณม์ หาราช นบั เปน็ ชว่ ง
แหง่ ความเปลย่ี นแปลงทก่ี รงุ ศรอี ยธุ ยา หรอื สยามไดก้ า้ วเขา้ สสู่ งั คมนานาชาติ ทง้ั ทางการคา้
และวฒั นธรรม กรงุ ศรอี ยธุ ยาไดด้ �ำเนนิ วเิ ทโศบายประสานประโยชน์ ทา่ มกลางการแขง่ ขนั
ของประเทศเหลา่ นี้จนอยูร่ อดปลอดภยั มาไดโ้ ดยไมถ่ กู ยดึ ครองดังเช่นประเทศอื่นๆ
แต่การอยู่ท่ามกลางชนต่างชาติทั้งหลายก็ใช่ว่าจะประมาทขาดการระมัดระวัง
ดังมีกฎหมายลักษณะอาญาหลวงประกาศไว้ให้ตระหนกั ร่วมกัน เช่น

41

...มาตราหนึ่ง แขกพราหมณ์ ญวน ประเทศฝร่ัง อังกฤษ จีน
จาม วลิ นั ดา ชวา มลายู กวย ขอม พม่า รามญั เข้ามาสูโ่ พธสิ มภารกด็ ี
เข้ามาคา้ ขายทางบกทางเรือก็ดี ให้ชาวพระทวารด่านคอยเจ้าพนกั งาน
ตรวจตราดดู รี า้ ย เกบ็ เครอื่ งสาตราวธุ ไวอ้ ยา่ ใหเ้ ทยี่ วเตรล่ อบลกั ซอ้ื ขาย
กฤษณา ฝาง ดบี กุ ถา้ ลกู คา้ จะตอ้ งการสง่ิ ใดใหบ้ อกแกล่ า่ มพนกั งาน ถา้
ตา่ งประเทศลกู คา้ จะยาตราไปทางบกกด็ ี เมอ่ื ส�ำเภาจะยาตรากด็ ี ใหเ้ จา้
พนักงานตรวจตราดูส่งิ ของตอ้ งห้ามผคู้ นซึ่งลอบลกั ซุ่มซ่อนพาไปนัน้ ...
...มาตราหนึ่ง ราษฎรข้าแผ่นดินชายหญิงไทยมอญ บ่มิย�ำบ่มิ
กลวั พระราชอาญาพระราชก�ำหนดกฎหมาย เห็นพัศดุเข้าของ เงนิ ทอง
ของมิจฉาทิฐิอันมาค้าขายแต่นานาประเทศ นอกด่านต่างแดน แลยก
ลูกสาว ยกหลานสาวให้เปนเมยี ฝรั่ง องั กฤษ วิลันดา ชวา มลายู อัน
ตา่ งศาสนา แลให้เข้ารตี ถอื อย่างมิจฉาทฐิ นิ อกพระศาสนา ทา่ นว่าผู้นนั้
เปน็ เสยี้ นหนามในแผน่ ดนิ แลมนั เอาใจไปแผเ่ ผอ่ื แกป่ จั จามติ รขา้ ศกึ ศตั รู
หมู่ร้าย ทา่ นใหล้ งโทษ ๖ สถาน... อย่าใหด้ เู ย่ยี งกัน เหตใุ ดจึ่งกลา่ วด่งั น้ี
เหตวุ า่ พอ่ มันดั่งพืชหวา่ นลงเหนอื แผ่นดนิ จะเปน็ พืชผลสบื ไป ฝ่ายพ่อ
มัน ลูกมนั จะเอากจิ การบา้ นเมอื งไปแจง้ แกน่ านาประเทศ ๆ มันร้แู ล้ว
มนั จะคดิ มาเบียดเบียนพระนครธานี ขอบขัณฑเสมา พระพทุ ธศาสนา
ก็จะพลอยเศรา้ หมองไป...
นอกจากนี้ในส่วนทีท่ างการจะควบคุมศสั ตราวธุ ยุทธภัณฑ์ ท่ีเขา้ มาในราชธานี
กรุงศรีอยุธยาได้ใช้ระบบพระคลังสินค้าผูกขาดการค้า โดยก�ำหนดว่าบรรดาพ่อค้าที่น�ำ
สนิ คา้ เขา้ มาจ�ำหนา่ ยโดยเฉพาะอาวธุ ปนื และวสั ดทุ ใ่ี ชป้ ระกอบทำ� กระสนุ ทง้ั หลายจะตอ้ ง
ซอื้ ขายกับพระคลังสินค้าเทา่ นั้น
เร่อื งราวในประวตั ิศาสตร์สมัยอยธุ ยาชว่ งเกือบ ๒๐๐ ปี หลังจากชาวโปรตุเกส
มาเปิดฉากของ ฝร่ังแม่นปืน แล้วยังมีประเด็นทคี่ วรศึกษาอีกหลายดา้ น

42

ความเปน็ จรงิ และจินตนาการจากความทรงจ�ำ
วทิ ยาการป้อมปราการ

พระยาโบราณราชธานินทร์ ส�ำรวจขุดตรวจป้อมก�ำแพงเมืองอยุธยาในสมัย
รัชกาลท่ี ๕ ไดพ้ บในตอนน้ัน ๑๖ ป้อม แตเ่ ข้าใจวา่ จะมีมากกวา่ ท่านตัง้ ขอ้ สงั เกตวา่ ปอ้ ม
ทีส่ รา้ งอยู่ตรงแม่น�้ำหรือทางร่วมเปน็ ปอ้ มใหญก่ ่ออย่างแขง็ แรง เช่น ป้อมเพชร เปน็ ปอ้ ม
ใหญส่ �ำหรบั ปอ้ งกนั ขา้ ศกึ ทจ่ี ะมาทางนำ้� ตรงมมุ พระนครดา้ นใต้ การกอ่ สรา้ งกอ่ ยน่ื ออกไป
จากแนวก�ำแพงหนา ๓ วาเศษ กลางปอ้ มเปน็ พนื้ ดนิ วา่ ง มบี นั ไดอฐิ ขน้ึ เชงิ เทนิ ในปอ้ ม ตาม
เหล่ียมป้อมที่พ้นื ดนิ มีประตคู ูหาก่อเป็นรปู โคง้ กว้าง ๔ ศอก สูง ๕ ศอก มีรอยตดิ บานใช้
เปิดปิดเข้าออกได้ หลังคูหามีช่องกลวงตลอดขึ้นไปถึงเชิงเทิน เม่ือมีข้าศึกมาติดพระนคร
คงจะลากปนื ใหญอ่ อกตง้ั ยงิ ปอ้ งกนั ตามช่องคหู า แตถ่ ้าเมื่อเหน็ จะเสยี ทว่ งทกี ค็ งลาก ถอย
ปืนใหญไ่ ปในป้อม เอาไม้แกน่ ปกั ลงในช่องว่างเปน็ ระเนียดปิดชอ่ งคหู ากันหนา้ บานประตู
สว่ นบนปอ้ มก็คงจะ ตงั้ ปนื ใหญ่ ได้ดว้ ยมีทีก่ วา้ ง
คำ� ให้การขนุ หลวงหาวดั พรรณนาลักษณะปอ้ มเพชรนี้ เช่นกันว่า ... เป็นปอ้ ม
ปนื ใหญ่ กอ่ ดว้ ยศลิ าแลงมนั่ คงแขง็ แรง สงู ๓ วา ๒ ศอก สงู กวา่ ก�ำแพงเมอื ง ๒ ศอก มชี าลา
ล้อมป้อมกวา้ ง ๓ วา มีก�ำแพงแกว้ ล้อมรอบชานปอ้ ม มปี นื แทรกตามช่อง ๘ กระบอก ชัน้
ล่างปืนใหญร่ างเกวียนบรรจุช่อง ๑๖ กระบอก
ศิริรจั น์ วงั ศพ่าห์ และปรญิ ญา สญั ญะเดช ผเู้ ชีย่ วชาญอาวุธโบราณได้ส�ำรวจ
แลว้ ใหค้ วามเห็นวา่ ป้อมปนื แห่งนี้พบคหู าวางปนื ใหญม่ รี ปู โค้ง ภายในคูหาด้านซ้ายขวามี
รอ่ งสเ่ี หลย่ี มทอดยาวท�ำหนา้ ทค่ี ลา้ ยกบั รางเปน็ ทส่ี �ำหรบั ผกู เชอื กยดึ ดา้ นซา้ ยและขวาของ
ปืนใหญ่รางเกวียน (เหมือนอย่างกระบอกที่ตั้งประดับหน้าศาลาว่าการกลาโหม) เพ่ือรับ
แรงสะทอ้ นถอยหลงั ทเ่ี กดิ ขน้ึ ขณะยงิ ปนื ใหญ่ เหนอื คหู ามชี อ่ งไวร้ ะบายความรอ้ นและควนั
ทเี่ กิดจากการยิงปืนใหญ่ นบั เป็นปอ้ มทที่ นั สมยั มาก
ป้อมท่ีมีศักยภาพแข็งแรงจนได้ช่ือว่า ป้อมเพชรน้ี ประทีป เพ็งตะโก นัก
โบราณคดี กรมศลิ ปากร ซึ่งท�ำการขดุ แตง่ บูรณะป้อมเพชรได้ศกึ ษาหลักฐานจากภาพวาด
กรงุ ศรอี ยธุ ยาของชาวฮอลนั ดาพบวา่ ปอ้ มนเ้ี คยเปน็ รปู กลมมน แบบปอ้ มทโ่ี ปรตเุ กสนยิ ม
สรา้ ง ภายหลังมภี าพแผนทีท่ เี่ ขียนโดยชาวฝรง่ั เศสในรชั สมัยสมเด็จพระนารายณม์ หาราช
ปอ้ มเพชรเปน็ ปอ้ ม รปู หกเหลยี่ ม เปน็ ขอ้ มลู ทตี่ รงกบั หลกั ฐานในการขดุ แตง่ ทพี่ บวา่ มกี าร
สรา้ งทบั ซ้อนกันอยู่ ๒ สมยั ครงั้ แรก เป็นปอ้ มรปู กลมมน สนั นิษฐานวา่ น่าจะสรา้ งเม่อื
คราวขยายก�ำแพงเมืองไปถึงริมแม่น�้ำเจ้าพระยาในรัชกาลสมเด็จพระมหาธรรมราชาเมื่อ
ราว พ.ศ. ๒๑๒๓ ส่วนการสร้างขยายป้อมจาก รปู กลมมนเปน็ รปู หกเหลยี่ ม นา่ จะเปน็
ผลงานการออกแบบของวศิ วกรชาวฝรงั่ เศสทเี่ ขา้ มาในรชั กาลสมเดจ็ พระนารายณม์ หาราช

43

๓๔

๓๕
๓๔ ปอ้ มเพชร ปอ้ มปืนใหญร่ กั ษากรงุ ศรีอยุธยา ทางมุมพระนครด้านใต้
๓๕ คูหาปืนใหญ่ของป้อมเพชร ส�ำหรับวางปืนใหญร่ างเกวียน

44

๓๖

๓๗
๓๖ ภายในคูหาปืนใหญ่ของป้อมเพชร ทางด้านซา้ ยและขวามรี อ่ งส�ำหรบั รอ้ ยเชอื กยดึ รับแรงสะทอ้ นถอยหลงั
๓๗ ปืนใหญร่ างเกวยี น หรือ ปืนใหญร่ างล้อ สมัยรัตนโกสนิ ทร์ มีชื่อ มุหงดิ ทะลวงฟนั
ตง้ั ประดบั ดา้ นหนา้ ศาลาวา่ การกลาโหม

45

๓๘

๓๙
๓๘, ๓๙ ภาพวาดสีน�ำ้ มนั ทิวทศั น์เมืองอยุธยา (Iudia) จติ รกรชาวฮอลันดา
ชื่อ Johannes Virgboors เป็นผวู้ าดเมอื่ ค.ศ. ๑๖๖๕ เห็นป้อมเพชรเดมิ ยงั เปน็ รูปกลมมน

46


Click to View FlipBook Version